You are on page 1of 18

ศึกษาแนวคิดปรัชญาทางการเมืองของเพลโต1* 0

A Study of The Concept of Political Philosophy of Plato


ประภาส แกวเกตุพงษ
Prapas Kaewketpong
คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน
Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kean University
Email: purepas@hotmail.com

บทคัดยอ
บทความนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค เ พื่ อ ศึ ก ษาแนวความคิ ด ทางการเมื อ งของเพลโต จาก
การศึกษาพบวา สาเหตุที่ทําใหเพลโตสนใจปรัชญาทางการเมือง เพราะเกิดจากสภาพความ
ปนปวนในนครเอเธนส ซึ่งเปนเหตุใหโสคราตีสผูเปนอาจารยถูกประหาร เพราะวิพากษวิจารณ
สังคมการเมือง เมื่อนครเอเธนสอยูภายใตการปกครองของสปารตาแลวเพลโตก็ออกทองเที่ยวไป
ยังสถานที่ตาง ๆ เพื่อแสวงหาความรูเพิ่มเติมแลวกลับมาสูนครเอเธนสเพื่อตั้งสํานักอคาเดมีเพื่อ
ใชเปนศูนยกลางถายทอดความรูทางการศึกษาและการเมืองแกสังคม ลักษณะผูนําทางการเมือง
ที่ดีจะตองมีรางกายแข็งแรงและจิตแจมใส ราชาปราชญที่เปนผูปกครองตองมีความรู ลักษณะ
การเมื อ งที่ ดี ต อ งให ก ารศึ ก ษาแก ป ระชาชน รู ป แบบการปกครองที่ ดี ข องเพลโตก็ คื อ
อภิชนาธิปไตย อิทธิพลของศาสนาที่มีตอแนวความคิดทางการเมืองของเพลโตเชิงอภิปรัชญาอยู
ในโลกของแบบจุดเดน การพัฒนาทางการเมืองนั้นตองเครงครัดในกฎระเบียบ และจุดออน
ทางการเมืองอยูที่ประชาชนขาดการศึกษา สวนแนวความคิดทางสังคมการเมืองของเพลโตอยูที่
การแบงงานกันทํา ปญหาสังคมการเมืองมาจากความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเขมแข็ง
ทางการเมือง อยูที่การจัดตั้งองคกรแบบมีสวนรวม อิทธิพลของมนุษยที่มีตอการสรรคสราง
* ไดรับบทความ: 29 เมษายน 2563; แกไขบทความ: 30 พฤศจิกายน 2563; ตอบรับตีพิมพ: 8 ธันวาคม 2563
Received: April 29, 2020; Revised: November 30, 2020; Accepted: December 8, 2020
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 184

สังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิต การศึกษาที่เปนเครื่องมือพัฒนาสังคมก็คือเลขคณิต เลขาคณิต


และดาราศาสตร

คําสําคัญ: ปรัชญาการเมือง; เพลโต; อภิชนาธิปไตย

Abstract

This article aims to study the political concepts of Plato. From the study found
that: The political ideology arose from the turbulence in the city of Athens. This caused
Socrates, Plato’s instructor, to be executed because of his social and political criticism.
After Athens had been under Sparta’s government, Plato travelled to many places to
increase his knowledge. At later time, he returned to Athens and established an
academy institution with the objectives of making it an educational center for
enlightening the educational and political knowledge to the people. The good
characteristics for a political leader are healthy and possessed of cheerful minds. The
scholarly kings who govern the countries must be well educated. The ideal political
characteristic is to provide education for the people. Plato’s great governing category is
aristocracy. The religious influences towards Plato’s political ideology are based on
Metaphysics in the world of form. The distinctive point of political development is to
strictly follow the rules and regulations. On the contrary, the political weakness is the
people’s educational deficiency. Generally, the politicians take advantages rather than
sacrifice themselves to the nation. Plato’s political ideology is to work in divisions. The
social political problems in political societies arise from over imagination. The political
strength depends on co-operative organization. The human influence on the creation
of political societies is the mental enhancement. The education which is the
implementation for social improvement is arithmetic, geometry and astronomies.
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 185

Keywords: political philosophy; plato; aristocracy

1. บทนํา
เพลโตเปนนักปรัชญาเมธีที่ยิ่งใหญของโลกพอ ๆ กับโสคราตีสที่เปนอาจารยของทาน
แตเปนนักปราชญเมธีที่แตกตางจากโสคราตีสตรงที่วา ไดเขียนผลงานสําคัญไวมากมายหลายเลม
ในจํานวนผลงานเหลานี้ เทยเลอรไดศึกษาผลงานของทาน ซึ่งสามารถแบงออกเปน 4 กลุมใหญ
ๆ คือ กลุมแรก เปนบทสนทนากันในตอนตน ๆ เพื่อสะทอนใหเห็นถึงความสนใจและหลักการ
ของโสคราตีสกอนตายในทางประวัติ ศาสตร ไดแก ผลงานเรื่อง Apoligy, Crito Euthyphro
และ Gorgias กลุมที่สอง เปนขอเขียนที่เพลโตเขียนเกี่ยวกับปรัชญาแนวความคิดของเพลโตเอง
โดยเฉพาะเรื่องทฤษฎีรูปแบบ ไดแก Meno, Protagorus, Symposium, Phaedo, Republic
และ Phaedrus กลุ ม ที่ ส าม เป น บทสนทนาที่ เ น น หลั ก วิ ภ าษวิ ธี ม ากกว า เชิ ง วิ ธี ได แ ก
Parmenides, Theaetatus, Sophist และ Statesman และกลุมที่สี่ เปนบทละครอยางทั่ วไป
ไดแก Philebus, Timaeus และ Laws (พลศักดิ์ จิรไกรศิริ, 2529) เพลโตซึ่งถือไดวาเป น ผู มี
อิทธิพลอยางมากตออารยธรรมตะวันตก เนื่องจากเพลโตเปนทั้งนักคิด นักเขียนและเปนเมธีคน
แรกของตะวันตกที่วางแนวความคิดไวเปนหลักและเปนระบบที่คอนขางสมบูรณจนเปนที่ยอมรับ
กันวาเปนผูบุกเบิกวิชารัฐศาสตรในปจจุบัน แนวความคิดทางการเมืองของเพลโตนอกจากจะมี
อิ ท ธิ พ ลอย า งมหาศาลต อ ทฤษฎี ก ารเมือ ง สั ง คม การศึ ก ษาและอื่ น ๆ แล ว ระบบการเมื อง
ทั้งหลายทั้งปวงในปจจุบันรวมทั้งลัทธิคอมมิวนิสตลวนแตไดรับอิทธิพลมาจากปราชญผูนี้แทบ
ทั้งสิ้น เพลโตมีความใฝฝนทางการเมือง (Political Ambition) สูงมากมีแนวคิดวา “ชองวาง
ระหวางมโนภาพนิยมกับสัจธรรมนิยมจะตองมีสะพานเชื่อมตอ โดยเอาสติปญญากับอํานาจอยูใน
บุคคลคนเดียวกัน ฉะนั้น นักปรัชญาจึงสมควรเปนผูปกครอง ซึ่งจะประสบความสําเร็จได ตอง
อาศัยความรวมมือจากทุกฝาย คือ ทั้งตัวผูปกครองและผูถูกปกครอง คือ ประชาชน (Arehie J.
Bahm, 1969) เพราะเพลโต ถือวา นักปกครองจะตองปกครองรัฐไดทั้งโดยความสมัครใจยินยอม
และทั้งโดยไมสมัครใจยินยอม แตดวยการจูงใจใหยินยอมของผูอยูในปกครอง เพลโตเนนวาสังคม
ที่ดีขึ้นอยูกับคุณความดีของบุคคลและความดีขึ้นอยูกับอุปนิสัยของแตละบุคคล เพราะมวลชนที่
ดีสรางรัฐที่ดี แตเมื่อนักการเมืองคดโกงยอมสรางการเมืองที่คดโกง ดังนั้น คุณคาทางศีลธรรม
และความประพฤติของบุคคลขึ้นอยูกับสันดานทางจิตวิทยาของแตละบุคคลและลักษณะทาง
ชีวภาพโดยแบงสัดสวนของกายภาพออกเปน 3 สวน คือ 1) หัว 2) หัวใจ และ3) ทอง ซึ่งแตละ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 186

สวนทําหนาที่ตามธรรมชาติของมัน เชน หัวเปนสัญลักษณของเหตุผล หัวใจเปนสัญลักษณของ


วิญญาณและทองเปนสัญลักษณของกิเลส (ความตองการ) ดังนั้น เพลโตไดพูดถึงความดีเดนนั้น
บุคคลจะตองมีลักษณะทั้ง 3 อยางนั้น โดยอธิบายศิลปะแหงความดีนั้นวา ถาหากบุคคลมีศิลปะ
แหงเหตุผลเปนผูมีความดีคือปญญา ถาหากบุคคลไดมีพลังใจในการตัดสินใจ บุคคลนั้นเปนผูมี
ความดี คือ ความกลาหาญ ถาบุคคลใดสามารถควบคุมความตองการของตนไดบุคคลนั้นมีความ
ดีคือเปนผูพัฒนา
ดังนั้น เพลโตเปนปราชญที่มีแนวคิดทางปรัชญาการเมืองที่มองการเมืองในเชิงของการ
นํามาซึ่งความสงบสุข โดยอาศัยสติปญญา ศีลธรรมและความยุติธรรม ซึ่งการศึกษาแนวความคิด
ของทานจะทําใหเกิดประโยชนทั้งเชิงวิชาการและจะเปนสวนสรางสรรคองคความรูใหมที่ เปน
ประโยชน และยั ง เป น แนวทางออก หรื อ ทางเลื อ กในสั ง คมในทุ ก ระดั บ ไม วา จะเป น สั ง คม
แนวความคิดแบบตะวันออกหรือแนวความคิดแบบตะวันตก ทําใหสามารถเขาใจถึงแนวทางการ
แกปญหาสังคมการเมืองของทานไดดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถมองเห็นถึงจุดแข็งและจุดออนของ
แนวความคิดดังกลาวไดอีกดวย

2. แนวคิดปรัชญาการเมืองของเพลโต
ตอนวัยหนุมเพลโตตองการเปนขาราชการของกรุงเอเธนสมาก แตเพราะการทําลายลาง
ของสงคราม และการปกครองที่ลมเหลวของเหลาสามสิบทรราช ทําใหเพลโตลมเลิกความตั้งใจที่
จะเปนราชการตองเปลี่ยนแปลง อีกอยางเพราะระบบประชาธิปไตยในกรุงเอเธนสเองที่ไมมีความ
เปนธรรม จึงทําใหโสคราตีสผูเปนอาจารยของเพลโตตองถูกประหารชีวิต เพลโตจึงละทิ้งแนวคิด
ที่ตั้งใจไว แลวออกเดินทางทองเที่ยวแสวงหาความรูในรัฐตาง ๆ จนถึงเมืองอียิปตจึงเกิดแนวคิด
ขึ้ น ได แล วกลั บ มายั งกรุ งเอเธนส เ พื่ อก อตั้ งสํ า นักอะคาเดมี (Academy) เพื่ อ เป น ศู น ยกลาง
ถายทอดความรูทางปรัชญาแกชาวกรุงเอเธนสและรัฐอื่น ๆ ผลงานที่ทําใหเพลโตมีชื่อเสียงมาก
ที่ สุ ด คื อ “แนวคิ ด อุ ต มรั ฐ ” (ฟ น ดอกบั ว , 2532) หลั ก อุ ต มรั ฐ ของเพลโตเกิ ด ขึ้ น มาจาก
แนวความคิดที่ไมพอใจตอสภาพสังคมที่ถูกกดขี่ขมเหงจากชนชั้นปกครอง ทําใหประชาชนทุกข
ยากและขาดระเบียบวินัย ซึ่งเพลโตไดเสนอแนวความคิดทางการเมืองการปกครองตอสังคมใน
สมัยนั้น ถือเปนปจจัยที่มีอิทธิพลตอแนวความคิดทางปรัชญาทางการเมืองการปกครองของเพล
โตนั้นก็คือ ผลอันเนื่องมาจากสภาพความปนปวนในกรุงเอเธนสซึ่งเกิดมีสงครามกลางเมืองและ
ความพายแพสงครามเปนเหตุใหแนวความคิดของคนในสังคมทั่วไปในยุคนั้นไดตั้งเปนขอ สงสัย
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 187

หยิ บ ยกมาเป น ป ญ หาสนใจเกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ ข องคนในสั ง คมและการเมื อ งการปกครอง


โดยเฉพาะอยางยิ่งการคิดคนทางการเมืองการปกครองในกรุงเอเธนสนั้น ไดรับแรงกระตุนจาก
แนวคิดการเปรียบเทียบระบบของการปกครองกับนครรัฐตาง ๆ ซึ่งการพายแพของกรุงเอเธนสที่
มีระบบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยตอพวกสปารตาที่มีการปกครองแบบอนาธิป ไตย
(Anarchy) ในสงคราม
จากสภาพบริบทความปนปวนทางการเมืองในนครเอเธนสนี้เอง เพลโตจึงเสนอแนวคิด
ทางการเมืองขึ้นมาในเรื่องธรรมชาติของมนุษยวา ประกอบดวยจิตหรือวิญญาณที่แตกตางกันจึง
เปนตัวสําคัญผลักดันใหมนุษยแสดงพฤติกรรมออกมาไมเหมือนกัน โดยแบงตามสภาพจิตใจของ
แตละบุคคลออกเปน 3 ระดับ เพื่อจะเปนตัวกําหนดหนาที่บทบาทของชนชั้นในบริบทการเมือง
และรูปการปกครองในอุดมคติ ไดแก
1. ชนชั้นพลเมือง เปนบุคคลที่มีจิตใจอยูในภาคตั ณหาครอบงํา มีความละโมบที่ เ กิ ด
พื้นฐานมาจากความอยาก จึงมีหนาที่ในการผลิต และสรางเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจใหกับ
รัฐ ถือวาชนชั้นพลเมืองมีมากที่สุดในนครรัฐ
2. ชนชั้นพิทักษเปนบุคคลที่มีจิตวิญญาณมีน้ําใจครอบครองสังคม เปนพวกรักเกียรติยศ
ชื่อเสียงมากกวาทรัพยสมบัติ มีน้ําใจสูงรูจักเอื้อเฟอเผื่อแผแกประชาชน มีความวองไว กําลังกาย
ดีเหมาะแกการเปนผูนําตอตานศัตรูภายนอกมากกวาและใหความคุมครองประชาชนภายในรัฐ
3. ชนชั้ น ปกครอง เป น บุ ค คลที่ มี จิ ต วิ ญ ญาณประกอบด วยเหตุ ผ ลให ค วามคุ ม ครอง
ประชาชน มีความฉลาด มีปญญามาก รับรูอะไรได ร วดเร็ ว หมั่นแสวงหาแนวทางศึกษาเล า
เรียน เปนผูใหความสําคัญเกี่ยวกับการพิทักษผลประโยชนของรัฐเปนที่ตั้งบุคคลประเภทนี้มีจิต
วิญญาณสูงสง (พินิจ รัตนกุล, 2515)

3. ผูปกครองและการเมืองที่ดี
เพลโตไดกลาวถึงลักษณะของผูปกครองที่ดี และการเมืองที่ดีดังตอไปนี้
3.1 ผูปกครองที่ดี
ในอุตมรัฐของเพลโตนั้นกลาวถึงหัวใจสําคัญของอุตมรัฐก็คือลักษณะของผูปกครอง
ที่ดี จะตองเปนราชาปราชญ หรือพระราชาผูมีความรูความสามารถเปนผูปกครองนครเทานั้น ซึ่ง
รั ฐ ที่ จ ะเจริ ญ ก า วหน า ได นั้ น จะต อ งมี นั ก ปกครองที่ มี ค วามสามารถในการปกครองรั ฐ เป น
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 188

ผูปกครองที่ดี ดังนั้น จึงตองใหนักปราชญเปนผูปกครอง เพราะนักปราชญยอมตองการแตความรู


ความยุติธรรม ความดี และนํารัฐไปสูความสงบสุขอันเปนรัฐที่สมบูรณแบบ
นอกจากนี้เพลโตยังไดใหความเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่จะเปนสมาชิกของรัฐวา บุคคลที่
จะเปนคนดีไดก็โดยการเปนสมาชิกของรัฐ เปนคนดีโดยผานกระบวนการของรัฐและความรูสูงสุด
ซึ่งคนที่จะเปนคนดี จะตองทําก็คือ คนดีตองรูจักความดี และความดีนั้นเปนความดีสูงสุด เพราะ
จุดหมายของชีวิตก็คือการเปนคนดี และความรูตองเปนความรูที่แทก็คือการรูสิ่งที่เปนจริง ดังนั้น
การเป น มนุ ษ ย ที่ ส มบู ร ณ แ บบตามแนวความคิ ด ของเพลโตจะต อ งเป น ผู ที่มี ด วงวิ ญ ญาณที่มี
คุณธรรมมากกวาใคร ๆ ถายิ่งผูใดมีคุณธรรมมากและเขาใจถึงการกระทําความดีอยางแทจริงได
และผูปกครองรัฐที่ดีจะตองมีรางกายแข็งแรงและจิตใจที่สมบูรณ และจะตองมีเปนบุคคลที่ไดรับ
คัดเลือกมาแลวเปนอยางดี การศึกษาก็เปนเกณฑสําคัญที่จะตองทําการควบคุมอยางเขมงวดมา
ตั้งแตเริ่มตน
เพลโตยั ง ได กล า วถึง คุ ณลั ก ษณะของนักปกครองที่ดีต อ งประกอบด วยคุ ณ ธรรม
สําคัญ 4 ประการ ไดแก ความฉลาด ความยุติธรรม ความรูจักประมาณ และความกลาหาญ
(ชวลิต ศิริภิรมย, 2515) ดังมีรายละเอียดตอไปนี้
3.1.1 ป ญ ญา (Wisdom) บุ ค คลผู มี คุ ณ ธรรมย อ มกระทํ า กิ จ กรรมทุ ก อย า งด วย
เหตุผลเสมอ หรือกลาวไดวากิจกรรมที่มีเหตุผลยอมประกอบดวยคุณธรรม ดังนั้น ปญญาจึงเปน
คุณธรรมที่รวมเอาคุณธรรมอื่น ๆ ไวทั้งหมด และเปนรากฐานของคุณธรรมทั้งหมด เมื่อปราศจาก
ปญญาแลว คุณธรรมที่เหลืออยูก็ไมอาจทําใหเที่ยงธรรมได ปญญาจึงหมายถึง การกระทําที่
เหมาะสมกับสถานการณตามเวลาและสถานที่ เพลโตถือวาการคาดการณไวลวงหนา ความ
ระมัดระวัง การตัดสินใจที่แนวแน และความสุขุมก็รวมอยูในคําวาปญญา
3.1.2 ความกลาหาญ (Courage) เปนคุณธรรมที่สําคัญมากในการดํารงชีวิต เพราะ
เปนคุณธรรมที่จะเปนการปองกันชีวิตเรา ความกลาหาญในที่นี้หมายรวมถึงความอดทนเข าไว
ดวยกัน ความกลาหาญเปนคุณลักษณะภายนอกและความอดทนเปนคุณลักษณะภายในของ
ความกล า หาญ เพราะความกล า หาญนี้ เ อง บุ ค คลเราจึ ง บรรลุ จุ ด มุ ง หมายได โ ดยไม มี
อุปสรรค ดังนั้น ความกลาหาญจึงเปนคุณสมบัติของสังคมที่ทุกคนยอมรับ
3.1.3 ความรูจักประมาณ (Temperance) เปนคุณสมบัติของปจเจกชน ซึ่งความ
รูจักประมาณ หมายถึง การรูจักควบคุมตัวเองโดยอาศัยเหตุผลใหอยูบนความพอดี
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 189

3.1.4 ความยุติธรรม (Justice) เปนคุณธรรมทางสังคมที่รวมเอาคุณธรรมทางสังคม


ทั้งหลายเขาไวดวยกันโดยแทจริง เชน ความรัก ความกลาหาญ ความรื่นเริง ความซื่อสัตย ความ
จงรักภักดี การทําหนาที่และการรักษาสัญญา เปนตน บุคคลผูมีความยุติธรรมควรเปนผูที่มีความ
เอื้ อ เฟ อ เผื่ อ แผ ต อ บุ ค คลอื่ น ด ว ย เพราะเป น เงื่ อ นไขที่ จํ า เป น ในการแสดงออกซึ่ ง ความ
เอื้อเฟอเผื่อแผนั้น
คุณธรรมทั้ง 4 ประการ เพลโตยกยองความยุติธรรมเปนคุณธรรมสูงสุดในอุตมรั ฐ
เพราะวาความยุติธรรมไดรวบรวมเอาคุณธรรมทั้งหมดเขาไวดวยกัน เปนที่ยอมรับกันวา “ผูยึดใน
อุดมคติที่วาคุณคาที่สําคัญที่สุดของมนุษยอยูที่สัจจะ ความรู ความยุติธรรม คุณธรรมและความ
งาม” เมื่อผูปกครองมีความฉลาด ผูพิทักษก็ตอสูอยางกลาหาญคนงานก็ทํางานอยางขยันขันแข็ง
ทุกคนมีความเชื่อตอเหตุผลที่ปกครองตน เมื่อมองจากทัศนะภายนอกแลว ความยุติธรรมก็คือ
การแบงปนแรงงานที่สมบูรณนั่นเอง

3.2 การเมืองที่ดี
ทัศนะเกี่ยวกับอุตมรัฐของเพลโตที่เนนการศึกษาเปนเครื่องมือในการเมืองที่ดีและ
การแบงชนชั้นปกครอง ใครจะสังกัดชนชั้นใดใหขึ้นอยูกับความสามารถในทางการศึกษาของเขา
เด็กที่เกิดจากพอแมผูเปนพลเมืองของประเทศ อาจจะเลื่อนขั้นเปนนักปกครองได ถาเขาไดรับ
การศึกษาที่ดีสวนเด็กที่เปนลูกของนักปกครองอาจเปนพลเมืองก็ได ถาไมประสบผลสําเร็จดาน
การศึกษา ดังนั้น ระบบการศึกษาจึงเปนเครื่องมือสรางคนใหเปนนักปกครองที่ดี ในขณะเดียวกัน
ก็เปนเครื่องกลั่นกรองใชเปนหลักประกันวาคนที่มีการศึกษาดี มีคุณสมบัติเหมาะสมเทานั้นจึงจะ
ไดเปนนักปกครอง ในอุตมรัฐที่ทําใหการเมืองที่ดีไดตามลําดับ ดังนี้
3.2.1 ชั้นตนเปนการใหการศึกษาแกเด็กที่มีอายุต่ํากวา 20 ป จะไดรับโอกาสทาง
การศึกษาที่เทาเทียมกันทั้งเด็กชายและเด็กหญิง โดยวิชาที่ศึกษาเลาเรียนประกอบดวย กาย
บริหารและดนตรี กายบริหารเกี่ยวของกับการพัฒนารางกาย ในขณะที่ดนตรีถูกกําหนดขึ้นเพื่อ
ยกระดับจิตวิญญาณ ดนตรีนั้นหมายรวมเอาวัฒนธรรมเขาไปดวย ดังนั้น วิชาทั้งสองจึงรวมทุก
วิชาที่ทําใหคนเปนผูดี คือ วรรณคดี ดนตรีและเลขคณิตเบื้องตน วิชาเรียนจะตองไมเปนแบบ
บังคับ แตอาจมีเล็กนอยเทาที่จําเปนเพราะคนที่เสรีชนไมควรเรียนเยีย่ งทาสการเรียนที่เกิดจาก
การบังคับจะทําใหวิชาที่เรียนไมติดอยูในจิตวิญญาณ วิธีเรียนจะตองมีความสนุกสนานเหมือนวิธี
เลนดวยวิธีดังกลาวจะทําใหรูไดวาใครมีความสามารถทางไหนและพรอมจะถูกคัดเลือกในชั้น
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 190

ตอไปในชั้นเรียนนี้เปาหมายของการศึกษาก็เพื่อปลูกฝงคุณธรรมและจริยธรรมแกเด็กดวยการ
อบรมใหมีระเบียบวินัย เมื่ออายุประมาณ 18 ป จะเนนการฝกฝนทางดานการทหาร ทําใหไมมี
เวลาวางสําหรับการศึกษา
3.2.2 ชั้นกลาง ผูที่สอบตกจากการคัดเลือกในชั้นตนจะออกไปประกอบอาชีพเปน
พลเมือง สวนผูที่สอบผานจะไดเรียนตอไปอีก 10 ป วิชาที่เรียนคงเหมือนกันในชั้นตน เพียงแต
ตองมีความรูลึกซึ้งและมองเห็นความสัมพันธที่แตละวิชามีตอกัน ไดแก วิชาเลขคณิต เรขาคณิต
และดาราศาสตร
3.2.3 ชั้นสูง เมื่ออายุครบ 30 ป มีการทดสอบอีกครั้งหนึ่งผูสอบไมผานจะออกไปทํา
หนาที่ผูพิทักษ ผูสอบผานจะไดเรียนตอไปอีก 5 ป วิชาที่ศึกษาคือวิชาไดอะเลคติกหรือวิภาษวิธี
และหลักการสูงสุดทางดานศีลธรรม เมื่อทุกคนเรียนจบหลักสูตรอายุครบ 35 ป จะออกไปฝกฝน
ปฏิบัติงานโดยการรับใชประชาชนในตําแหนงผูชวยราชาปราชญ จนกระทั่งมีอายุครบ 50 ป ผูที่
ผานการทดสอบวามีความสามารถในทุกดานแลวจึงจะมีสิทธิเขารับตําแหนงราชาปราชญ ตาม
วาระที่หมุนเวียนกันมาถึง ซึ่งวิชาที่ใหศึกษาสําหรับบุคคลผูที่เตรียมตัวจะเปนราชาปราชญ เปน
การศึกษาวิชาชั้นสูงสุด ไดแก เลขคณิต เรขาคณิต ไดอะเลคติก
นอกจากนี้แลว ผูปกครองหรือราชาปราชญตองมีคุณสมบัติราชาปราชญ คือ
ตองมีจิตใจสูงสงสงางาม เปนผูใฝแสวงหาสัจจะ ความยุติธรรม ความกลาหาญ ความมีขันติและ
รูจักประมาณ ดังนั้น คุณสมบัติที่สําคัญของราชาปราชญ คือ
1) เปนผูมีความรูและคุณธรรม ประสบความสําเร็จทางปญญาและความคิดที่
จัดไดวาเปนปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไปทั้งหมด
2) มีความรูตอสิ่งที่ใหคุณคา คานิยมและความหมายแกสรรพสิ่งทุกอยางใน
โลก เพลโต เห็นวา การกระทําทั้งปวงไมมีวัตถุประสงคอื่นใดนอกจากเพื่อสิ่งที่ดีงาม
3) ก า วพ น จากลั ก ษณะภายนอกของสรรพสิ่ ง ไปสู รู ป แบบหรื อ ความเป น
จริง ดังนั้น เขาจึงกาวพนจากประสบการณสวนตัวเกี่ยวกับความดีงามและหยั่งรูถึงรูปแบบแหง
ความดี (เพลโต, 2523)
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 191

3.3 รูปแบบการปกครองที่ดี
เพลโต เชื่ อ ว า ระบบการเมื อ งการปกครองที่ดี ต ามหลั กอุ ต มรั ฐ ก็ คื อ ระบบอภิ
ชนาธิปไตย (Aristocracy) ที่อํานาจการเมืองการปกครองอยูในชนชั้นสูงเพียงชนชั้นเดียว โดย
การถูกคัดเลือกขึ้นมาจากการศึกษา มิใชกลุมบุคคลผูมาจากตระกูลมั่งมีหรือร่ํารวย ซึ่งชนชั้นนี้จะ
ผลัดเวียนเปลี่ยนวาระกันขึ้นทําหนาที่เปนราชาปราชญหรือกษัตริยเ มธีที่มีอํานาจเด็ดขาดในการ
สั่งการ
สวนทัศนะเกี่ยวกับระบบการเมืองที่ดีของเพลโตที่มีตอระบบสังคมและการเมืองการ
ปกครองที่ มี อ ยู ใ นสมั ย นั้ น มี อ ยู 4 แบบ ซึ่ ง เกิ ด จากลั ก ษณะของพลเมื อ งว า มี น้ํ า หนั ก ทาง
วิ ญ ญาณ หรื อ ทั ศ นะไปฝ า ยไหนมากกว าระบบการปกครองก็จ ะเป น ไปตามลั ก ษณะเชนนั้น
ดวย เมื่อรวมกับระบบการเมืองการปกครองตามแบบอุตมรัฐเขาไปดวยแลว ก็จะมีอยู 5 แบบ ซึ่ง
เรียงตามลําดับการปกครองที่ดีที่สุดไปหาระบบการปกครองที่เลวที่สุด ตามทัศนะของเพลโตมี
ดังนี้
3.3.1 แบบอภิชนาธิปไตย (Aristocracy) ถือเปนรูปแบบการปกครองที่ดีท่ีสุดใน
ขณะนั้น ซึ่งมีระบบการปกครองโดยอํานาจการเมืองการปกครองอยูในชนชั้นผูเปนราชาปราชญ
(Philosophers-Kings) เพราะราชาปราชญ เ ป น ผู ผ า นการทดสอบคั ด เลื อ กมาเป น อย า งดี มี
คุณธรรม เมตตาแกประชาชนผูอยูใตปกครองทุกคน
3.3.2 แบบโยธาธิปไตย (Public Works) ถือเปนรูปแบบการปกครองที่ผูปกครอง
นิยมชมชอบในเกียรติยศชื่อเสียง บูชาเกียรติยศชื่อเสียงเหนือสิ่งอื่นใด อันเปนแบบการปกครอง
ของสปารตาในเมือ งสปาร ตา ชนชั้นปกครองเปนนัก รบส วนชนชั้นผู ถูก ปกครองเปนทาสติ ด
ที่ดิน ทาสเหลานี้คือชนชั้นราษฎรแบบอุตมรัฐ เพลโต ยกยองสปารตาเพราะเสรีชนในนครรัฐนี้
ทุกคนตองฝกวิชาทหาร การใชชีวิตของเขาจึงถูกควบคุมดวยระเบียบวินัยที่เครงครัด ดังนั้นรัฐ
ที่ มี ก ารปกครองอย า งนี้ จึ ง ไม ส นใจแสวงหาปรั ช ญา เมื่ อ ระยะเวลาผ า นไปจากการบู ช า
เกียรติยศ ชื่อเสียงและอํานาจ ยอมจะพาไปสูการสะสมทรัพยสินในที่สุด เมื่อมีคนร่ํารวยมากขึ้น
การปกครองแบบรักเกียรติยศชื่อเสียงจะถูกความร่ํารวยครอบงําในที่สุด การปกครองก็จะตกอยู
ในมือของคนร่ํารวยเพียงกลุมเดียว
3.3.3 แบบคณาธิปไตย (Oligarchy) ถือเปนรูปแบบการปกครองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการ
ประเมินทรัพยสินของคนร่ํารวยเพื่อคนที่ร่ํารวยมีการจํากัดสิทธิทางการเมืองใชเพื่อผลประโยชน
ในกลุมตน มีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบคนชั้นอื่นโดยมุงเพื่อประโยชนตนเพียงอยางเดียวเมื่ อ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 192

ความมั่งคั่งและคนมั่งมีไดรับการยกยองในรัฐ คุณธรรมและคนดียอมถูกเหยียดหยาม คนรวยเปน


ผูปกครองสวนคนจนไมมีโอกาสไดตําแหนงทางการปกครอง เมื่อความอยากไมมีที่สุดก็เกิดการ
แกงแยงระหวางกลุมคนรวยดวยกันเอง การปกครองก็ออนแอลง คนจนที่ถูกกดขี่จึงไดโอกาสลม
อํานาจลงแลวเสนอการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้น
3.3.4 แบบประชาธิปไตย (Democracy) ถือเปนการปกครองโดยประชาชนเพื่ อ
ประโยชนของประชาชน แตเพลโตเห็นวา การปกครองแบบประชาธิปไตยนี้ยังมีขอบกพรองอยู
มาก เพราะใหเสรีภาพเกินไปจนเลยขอบเขต เมื่อคนสวนใหญมีความรูนอยและฉลาดนอยเปนผูที่
ใชสิทธิออกเสียงสวนใหญ คือ เปนประชามติในการบริหารจัดการรัฐ ยอมนําไปสูเปาหมายที่
ผิดพลาด อีกประการหนึ่งการทีป่ ระชาธิปไตยเนนที่เสรีภาพเกินไป ทุกคนตางเรียกรองหาความ
เสมอภาค ทุกคนมีเสรีภาพในการออกความคิดเห็นอยางเสรี ตัวรัฐเองก็มีเสรีภาพไปดวย นานวัน
เข า ก็ ไ ม มี ใครเกรงกลั วหรื อเคารพต อกฎระเบี ย บของสั ง คม เพราะต า งคนต างถือ ว าตั วเองมี
เสรีภาพทําอะไรไดตามใจ ขาดวินัยในตัวเอง จึงเกิดความแตกราวกันในภาครัฐ จนเปนเหตุให
ตองมีใครคนหนึ่งที่เขมแข็งมาเปนผูนําที่สามารถควบคุมเหตุการณได นั่นก็คือ การนําไปสูการ
ปกครองแบบทรราชในที่สุด
3.3.5 แบบทรราช (Tyrant) ถือเปนการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งการปกครองแบบ
ทรราชนี้สืบเนื่องมาจากการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะภายหลังจากเกิดเหตุวุนวายขึ้นใน
ระบบประชาธิ ป ไตยจนไม ส ามารถจะยุ ติ ล งได ก็ จ ะปรากฏบุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง ที่ แ สดงถึ ง
ความสามารถเขามาระงับเหตุการณใหสงบลงในตอนแรกเขาดูเหมือนวีระบุรุษของประชาชน
และตางสัญญาวาจะใหทุกคนมีเสรีภาพ แตในไมชาเขาก็จะมัวเมาในอํานาจจนเปนเหตุนําไปสู
ระบบเผด็จการในที่สุด เพลโต เห็นวา ระบบการปกครองแบบทรราชนี้เปนระบบที่เลวที่สุดของ
การปกครองที่ไมมีกฎหมายหรือทุกระบบดังที่ไดกลาวมา (พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต),
2532)
จากแนวคิดทางการเมืองทั้ง 5 แบบนั้น เพลโต ยกยองการเมืองการปกครองแบบ
อภิชนาธิปไตยมากที่สุดและยังไดอุปมาเปรียบเทียบลักษณะราชาผูเปนปราชญเหมือนกับนักโทษ
หลุดออกจากเครื่อ งจองจํา วา คนทั้งหลายเหมือนนักโทษที่ถู กคุ มขัง อยูในถ้ํา มองเห็น สิ่ ง ต า ง
ๆ เพียงเงาสะทอนของวั ตถุ จากแสงคบเพลิ ง เมื่อนักโทษนั้นพนจากที่คุม ขังและออกจากถ้ํ า
แลว เขาจะพบกับสิ่งตาง ๆ ตามความเปนจริง เห็นดวงอาทิตยเปนที่มาของสิ่งตาง ๆ ตลอดจนมี
ความเขาใจแมแบบหรือตนกําเนิดของสิ่งตาง ๆ อันเปรียบเสมือนแมแบบแหงความจริงและความ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 193

ดี ทั้ ง ปวง เมื่ อ ราชาปราชญ ไ ด รู ค วามจริ ง แล ว ต อ งกลั บ คื น สู ถ้ํ า เพื่ อ ชี้ ค วามจริ ง นั้ น กั บ
นักโทษ (พลเมือง) ผูอยูในถ้ํา (Plato, 1959)
รูปแบบการเมืองการปกครองที่ดีจะตองมีราชาผูเปนปราชญปกครอง ซึ่งเปรียบ
เหมือนหมอรักษาโรคใหแกคนไข คือ พลเมืองหรือประชาชนผูอยูใตปกครอง ความสัมพันธของ
นักการเมืองกับประชาชนเหมือนกับคนไข ดังนั้น การปกครองบานเมืองตองขึ้นอยูกับนักปราชญ
ที่มองเห็นประโยชนและความสําคัญเกี่ยวกับชีวิตความเปนอยูของประชาชนเปนที่ตั้งยอมบริหาร
บานเมืองใหพนจากความทุกขยาก

3.4 อิทธิพลของศาสนาตอแนวความคิดทางการเมือง
ระบบความเชื่ อ ในศาสนาของชาวกรี ก โบราณเป น แบบพหุ เ ทวนิ ย ม คื อ นั บ ถื อ
เทพเจาหลายองค ถือวา ธรรมชาติตาง ๆ ลวนแตมีเทพเจาสิงสถิตอยูทั้งสิ้น ดังนั้น เทพเจาจึงมี
มากและอีกประการชาวกรีกถือวาศาสนาและการเมืองหรือรัฐไมแยกออกจากกัน โดยเทพเจาใน
ศาสนากรีกจึงมีลักษณะเหมือนกับมนุษยรวมทั้งอุปนิสัยใจคอ รูปรางหนาตา แตวามีอิทธิฤทธิ์
มากและเปนนิรันดร
จะเห็นไดวา ในโบราณชาวกรีกใหความเคารพเทพเจามาก ถึงแมเทพเจาจะมีกิเลส
ตัณหา ความโกรธ ความเกลียดและมีความประพฤติไมแตกตางจากมนุษย พวกเขาก็ใหความ
เคารพเลื่อมใสศรัทธามีการบวงสรวงบูชาออนวอนตอเทพเจา เพราะเชื่อวาเทพเจามีฤทธานุภาพ
มากสามารถดลบันดาลใหคุณใหโทษแกมนุษยได (พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2532)
เพลโต ไดใหทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของอิทธิพลศาสนาตอแนวความคิดทางการเมื อง
การปกครองวาไมสามารถแยกออกจากกันได “เทพเจาก็เหมือนรัฐ รัฐก็เหมือนกับเทพเจา” โดย
ยกเอาจากเรื่องราวกรณีของ โสคราตีสที่ถูกกลาวหาวา เปนผูที่สรางเทพเจาขึ้นมาใหม ถือวามี
ความผิดรายแรงตอ รัฐ ดวยเชนกัน แมแตเรื่องทางการเมืองการปกครองกับ สงครามเทพเจ า
เหลานี้ก็มีอิทธิพลมากตอการดําเนินกิจการของรัฐดังมีคําที่ยืนยันถือไดวา “ครอบครัวหนึ่ง เท
มิสโตคลีสไมเห็นดวยและรูวานครเอเธนสจะรับศึกไมอยูจึงเพทุบายวา พระเจาเดลฟบอกใบใหใช
กําแพงไมรบเปอรเซียไมมีใครกลาขัดคําสั่งเทพเจา” (เพลโต, 2523)
ดวยการยกยองถอยคํานี้มากลาวแสดงเพื่อชี้ใหเห็นวา ชาวกรีกกับศาสนาหรือความ
เชื่อเรื่องเทพเจา และมีความสําคัญตอความรูสึกของชาวกรีกมาก ดังนั้น การเมืองการปกครอง
กับศาสนาจึงไมอาจแยกออกจากกันได นอกจากนั้น เพลโตยังไดกลาวถึงอิทธิพลศาสนาที่มีตอ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 194

แนวความคิ ด ทางการเมื อ งเกี่ ย วกั บ ป ญ หา โสคราตี ส ถู ก ประหารแบบไม ไ ด รั บ ความเป น


ธรรม เนื่องจากนักการเมืองชื่อนีตัสกับพรรคพวกไมพอใจ โสคราตีสมักมีคําถามที่ทาทายทฤษฎี
การปกครองที่รั ฐ บาลใช อยู ทําให ป ระชาชนเห็ นว า “การปกครองระบบประชาธิ ป ไตยไมใช
รูปแบบการปกครองที่ดี เพราะมติมหาชนอาจเปนมติที่เลวก็ไดและนครเอเธนสเองยังไม เ คยมี
ผูนําที่สามารถสอนคุณธรรมแกชาวนครเอเธนสได” (พินิจ รัตนกุล, 2515) ซึ่งลักษณะคํากลาว
ที่โสคราตีสใชดําเนินชีวิตประจําวันแบบนี้ทําใหรัฐบาลอยูลําบาก เนื่องจากนครเอเธนสอยูใน
สภาพที่ลําบากพึ่งแพสงคราม สปารตา เพราะโสคราตีสมักชักชวนคนหนุมวิพากษวิจารณรัฐบาล
อยูเนืองนิด แมจะมีเจตนาดีก็ตามแตเกิดผลเสียตอบานเมืองมากมาย จึงเปนเหตุใหอนีตัสกับ
พรรคพวกผูนําทางศาสนาพยายามใหรายโสคราตีสดวยคํากลาวที่วา “โสคราตีสไมเคยเคารพ
บู ช าศาสนาของเอเธนส แ ละทํ า ให ค นหนุ ม เสื่ อ มเสี ย ” พร อ มกั น นั้ น ก็ มี ก ารสร า งละคร
โศกนาฏกรรมล อ เลี ย น โสคราตี ส เป น เหตุ ใ ห ป ระชาชนเกลี ย ดชั ง โดยมองว า โสคราตี ส เป น
อันตรายตอบานเมืองและในที่สุดขึ้นศาลเขาก็ถูกประหารชีวิต หากพิจารณาอิทธิพลศาสนาที่มี
ตอความเชื่อทางการเมืองของเพลโตแลว ตองดูจากขอพิจารณาของเพลโตนํามายกเปนตัวอยาง
วา “โสคราตีสยังนับถือเทพเจานครเอเธนสอยู แมเพื่อนสนิทบอกใหเขาหนีไปก็ไมยอม เพราะ
โสคราตีสตระหนักวาสิทธิของสังคมเหนือกวาสิทธิปจเจกชน “คนดี คือ คนเคารพตอกฎหมาย
บ า นเมื อ ง” แม เ พื่ อ นว า ยอมจ า ยเงิ น แทนค า ลงโทษให โ สคราตี ส ก็ ไ ม รั บ เขายอมถู ก ลงโทษ
ประหาร ซึ่ ง ในวั น สุ ด ทายกอนที่โสคราตี สจะถู กประชี วิต เพลโตได บั น ทึก คํ ากล า วโสคราตีส
เกี่ยวกับอมตะวิญญาณวา “มนุษยประกอบดวยรางกายกับวิญญาณ วิญญาณเปนสิ่งอมตะไมตาย
ไปพรอมกับรางกาย รางเปนเสมือนที่คุมขังของวิญญาณ เมื่อเราตายวิญญาณก็เปนอิสระจาก
รางกาย” (พินิจ รัตนกุล, 2515)ยังไดกลาวอีกวาโสคราตีสไดขอรองใหลูกศิษยนําเอาไกไปมอบแก
เอคูปอุส (Aesculepius) คือ เทพเจาแหงยาและอาหารที่คอยดูแลรักษามิใหเขาเจ็บปวยทรมาน
รางกาย นี้ก็เปนหลักฐานยืนยันไดวา เพลโตมีความเชื่อในอิทธิพลศาสนาตอแนวความคิดทาง
การเมืองการปกครองเชนเดียวกับโสคราตีสผูเปนอาจารยที่วา “ไมมีใครหรอกที่จะแสดงไดวาคน
ที่ จ วนจะตายนั้ น วิ ญ ญาณจะกลั บ ไม เ ที่ ย งธรรม เพราะความตายนั้ น ” (ปรี ช า ช า งขวั ญ ยื น ,
2523) ภายหลังจากโสคราตีสผูเปนอาจารยถูกประหารแลว เพราะความเคารพในเทพเจาแหง
นครเอเธนสนั่นเอง โดยเพลโตก็ไมยุงเกี่ยวกับการเมืองอีกเชนกัน นี้ก็เปนการแสดงความเคารพ
ในศาสนาแหงรัฐ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 195

ทัศนะความเชื่อเรื่องศาสนากับการเมืองการปกครองของเพลโตนั้น เปนเชิงอภิปรัชญา
แบบจิตนิยมมากกวา โดยแบงโลกของมนุษยออกเปน 2 สวน ไดแก 1) โลกที่สามารถมองเห็นได
ดวยตาเปลา เปนสิ่งที่เกิดจากประสาทสัมผัส และ 2) โลกแหงความคิดหรือแบบ (Form) หรือ
โลกแหงอุดมคติ ตองอาศัยทฤษฎีรูปแบบ (Theory of Form) ซึ่งเพลโตมีความเชื่อวาทุกสิ่งทุก
อยางในโลกมีเพียง 2 ชนิด คือ สิ่งที่ปรากฏอยูและรูปแบบที่เปนจริงของสิ่งนั้น สิ่งที่ปรากฏอยู ก็
คือ มนุษยอาจจะเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปตามกฎเกณฑธรรมชาติ แตรูปแบบที่เปนความดีสูงสุด
จะยังปรากฏอยูในโลกชั่วนิรันดร ดังปรากฏอยูในอิทธิพลความเชื่อเรื่องศาสนาของเพลโตวา
พระผูเปนเจาไมใชผูที่สรางอยางแทจริง เปนเพียงผูออกแบบโลก จัดโลกและสิ่งต า ง
ๆ ใหเปนระเบียบเทานั้น โลกที่ปรากฏประกอบดวยธาตุ 4 คือ ดิน น้ํา ไฟ และลม วิญญาณโลก
เปนตัวกลางระหวางโลกที่ปรากฏกับโลกแหงความคิด ซึ่งในทัศนะเพลโตนั้นจัดแบงวิญญาณ
ออกเปน 3 สวน คือ 1) สวนที่มีเหตุผลซึ่งมีสติปญญามาแตกําเนิด 2) สวนที่มีอารมณซึ่งเปนสวน
ที่ควบคุมรางกาย และ 3) สวนที่มีความตองการ หรือความอยาก (สถิต วงศสวรรค, 2540) แสดง
ใหเห็นไดวา วิญญาณนี้เปนอมตะ เปนอยูในสภาพนิรันดร จุดมุงหมายสูงสุดของวิญญาณ ก็คือ
การกลับไปสูโลกแหงอุดมคติ (อุตมรัฐ) หรือเปนโลกแหงความคิด เพื่อความยุติธรรมในสังคม
นั้นเอง

4. สรุป
เพลโตเปนนักคิดทางการเมืองการปกครองที่สําคัญของโลก ดวยการแยกประเด็นการ
ปกครองออกจากกันใหสังคมไดเรียนรู ดังตอไปนี้
4.1 จุดเดน
จุดเดนตามแนวความคิดทางการเมืองของเพลโต ไดแก การครุนคิดถึงปญหาการเมือง
การปกครองของสังคมการเมืองที่เรียกวา “Poiteia หรือในภาษาอังกฤษ คือ Polity” หมายถึง
สังคมการเมืองรูปแบบใดแบบหนึ่ง เรื่องนี้เปนหัวขอสําคัญที่ปรากฏอยูในผลงานศึกษาของเพลโต
เรื่องอุตมรัฐหรือสังคมทางการเมืองในอุดมคติ ซึ่งตางไปจากความคิดของนักคิดคนอื่น ๆ ไดแก
4.1.1 การเนนหนักในเรื่องลักษณะของความสัมพันธทางการเมือง วิธีการที่มนุษย
มารวมกันเปนกลุมที่มีระเบียบ และวิธีการดําเนินการเชนนั้นอยางมีประสิทธิภาพ เพลโตให
ทั ศ น ะ ว า คุ ณ ส ม บั ติ ท า ง ศี ล ธ ร ร ม ข อ ง ม นุ ษ ย ค ว ร จ ะ เ ป น แ บ บ เ ดี ย ว กั น กั บ ค นที่ มี
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 196

ความสุข กลาวคือ คุณธรรมตาง ๆ ที่จะประกันใหเกิดความสมานฉันทปรองดองของชีวิตที่มีการ


รวมกลุมคลายกับคนมารวมกลุมกันดวยศรัทธาตอศาสนจักรแทนที่จะเปนการจงรักภักดีตอรัฐ
4.1.2 การเนนหนักในเรื่องคุณสมบัติทางศีลธรรม อันพึงประสงคหรือแบบแผนของ
พฤติ ก รรมอั น พึ ง ประสงค (ชุ ม พล สั ง ขปรี ช า, 2528) จะเห็ น ว า เพลโตมี ค วามเชื่ อ เรื่ อ ง
ปญญา ความกลาหาญ ความอดทนอดกลั้น ความยุติธรรม เปนคุณสมบัติสําคัญอยางยิ่งของนัก
ปกครอง คุณสมบัติ 2 ประการแรกสําคัญตอนักปกครองที่ดี 2 คุณสมบัติหลัง ถือวาพึงบังเกิดขึ้น
ในทุกคนทุกกลุม และประชากรโดยสวนรวมของรัฐ ความอดทนอดกลั้น และความยุติธรรม ยัง
เป น เครื่ อ งแสดงออกถึ งความร วมมื ออยา งสมานฉั นท ป รองดองกั นระหว า งส วนต า ง ๆ ของ
สวนรวมทั้งหมด
4.2 จุดออน
เพลโตไดกลาวถึงจุดออนแนวความคิดทางการเมืองการปกครองไวอยางชัดเจน โดย
ชี้ ใ ห เ ห็ น ถึ ง ข อบกพร อ งเป น อันดั บ แรก ก็ คื อ ความเขลาอั น เนื่อ งมาจากขาดการศึ กษาอยาง
เพียงพอและไรสมรรถภาพของนักการเมือง เขาไมเห็นดวยอยางยิ่งกับหลักการประชาธิปไตยของ
นครเอเธนสที่ทําใหอํานาจการปกครองแกประชาชนทุกคน ซึ่งสวนใหญขาดความรูเกี่ย วกั บ
ศาสตรทางการเมือง เมื่อนครเอเธนสพายแพแกสปารตา ชาวเอเธนสสวนใหญชื่นชมความมี
ระเบียบวินัยของทหารสปารตา แตเพลโตเองก็มิไดนิยมชมชอบนักในการเนนการศึกษาดาน
การทหารอยางเดียว เขาก็ยังเลื่อมใสการอุทิศตนในหนาที่ของประชาชนตอรัฐเปนอยางยิ่ง
จุดบกพรองอีกประการหนึ่ง ก็คือ มีการใชกําลังและความเห็นแกตัวอยางรุนแรงใน
การดิ้นรนเพื่อความเปนพรรคเปนพวกพอง อันทําใหเห็นความสําคัญของประโยชนสวนตัวเหนือ
ประโยชนสวนรวมของรัฐ เพลโต เห็นวา ความผสมผสานของชีวิตทางการเมือง การปกครองมี
ความสัมพันธอันเหมาะสมระหวางผลประโยชนสวนตัวและสวนรวม เปนเพียงความฝนอันเลื่อน
ลอยเทานั้น (ชวลิต ศิริภิรมย, 2515)
นอกจากนั้น สิ่งที่มองวาเปนจุดออนทางการเมืองเสมอเชนเดียวกับแนวความคิด
ของเพลโต ไมวายุคใดสมัยใดนักการปกครอง นักการเมือง นักปฏิวัติมักจะนํามากลาวอางอยู
เสมอในเหตุผลการเขาครอบครอง หรือเขายึดอํานาจจากรัฐอื่นจากบุคคลอื่นวา เปนความชอบ
ธรรมทําเพื่อปกปองรัฐและอาณาประชาราษฎรทําเพื่อรักษาความยุติธรรมในสังคม ถือเปนเรื่อง
ธรรมดาความยุติธรรม ยอมมาพรอมกับผลประโยชนของผูแข็งแรงกวาผูมีพลังมากกวายอมทํา
ถูกตองเสมอ (Might is right) นี้ถือเปนจุดออนของระบบการเมืองโดยตรง และผูยึดอํานาจมักใช
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 197

ผลประโยชนตนมาแอบแฝงเสมอ ถาจะกลาวถึงจุดออนทางการเมือง ในทัศนะของเพลโต ก็


คือ ความยุติธรรมที่มักนํามาอางทางการปกครองเพื่อใชเปนหลักความดีของตน สิ่งที่อยูตรงขาม
ก็คือ การสรางความอยุติธรรมหรือสิ่งชั่วรายใหแกคนอื่น ดังที่เพลโต กลาวไววา “ในทุกรัฐจะมี
หลักเกี่ยวกับความยุติธรรมอันเดียวกัน กลาวคือ ผลประโยชนของรัฐ บาลนั่น เอง และโดยที่
รัฐบาลเปนผูมีอํานาจ ดังนั้น มีหลักอันหนึ่งของความยุติธรรม คือ ผลประโยชนของผูแข็งแรง
กวา” (ฟน ดอกบัว, 2532)
อีกประเด็นหนึ่ง ถือเปนจุดออนทางการเมืองที่สังคมไมยอมรับแนวความคิดทาง
การเมืองของเพลโต โดยทานเสนอหลักเกณฑบทลงโทษไมเทาเทียมกันในสังคมวา “สําหรับการ
นอนหลับทับสิทธิของสมาชิกชนชั้นมั่นคงทั้งสามชั้นนั้น จะมากนอยลดหลั่นกันลงไป ยิ่งมีทรัพย
มากหากเมินเฉยสิทธิทางการเมืองจะถูกลงโทษมากกวา ผูมีทรัพยสมบัตินอยกวา แตชนชั้นต่ําสุด
ไมมีบทลงโทษจะออกคะแนนเสียงหรือไมออกก็ไดไมสําคัญ” (สุขุม นวลสกุล และบรรพต วีระ
สัน, 2520)
แสดงใหเห็นวา แนวความคิดทางการเมืองของเพลโตยังขาดความเทาเทียมกัน หรือ
ความยุติธรรมในสังคมยังไมถือวาเปนการเมืองระบบประชาธิปไตยที่แทจริง ถือเปนการปกครอง
อยู ใ นลั ก ษณะแบบคณาธิ ป ไตยผสมผสานกั น เพราะให สิ ท ธิ ช นชั้ น ต่ํ า มากเกิ น ไป มี ก ารวาง
มาตรฐานตัดสินทางการเมืองอยูที่ความสามารถของบุคคลที่แสวงหาทรัพยสินมาเพื่อประโยชน
ของรัฐ ยอมถือวามีความสามารถทางการเมืองมากกวาบุคคลอื่น

5. สรุป
จากสภาพความป น ป วนทางการเมื อ งในสมั ยนั้ น จึ ง เป น แรงบั น ดาลให เ พลโตเขี ย น
หนังสือเกี่ยวกับอุตมรัฐขึ้น ถือเปนการรวบรวมแนวทางการเมืองการปกครองของรัฐตาง ๆ ในยุค
นั้น พรอมทั้งตั้งสํานักปรัชญาชื่อวาอคาเดมี ถือเปนมหาวิทยาลัยแหงแรกของกรีก ตลอดทั้ง
รวบรวมผลงานของโสคราตีสที่เปนอาจารยของเพลโตมาจัดไวเปนหมวดหมู เพื่อใหสานุศิษยได
ศึกษาเลาเรียนกัน ผลงานที่เพลโตแตงขึ้นยังมีอิทธิพลมาถึงระบบการเมืองการปกครองในยุค
ปจจุบันวาเพลโตเปนบิดาแหงการเมืองการปกครองของโลก
จากผลงานอุตมรัฐของเพลโตที่ผานมานี้เอง ไดสะทอนใหเห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมมนุษย
มีความเกี่ยวเนื่องกับการเมืองการปกครองโลกวา กลุมชนใดหรือประเทศใดจะเลือกรูปแบบการ
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 198

ปกครองที่เหมาะสมหรือสนองความตองการของสังคมกลุมชนได ซึ่งระบบการเมืองการปกครอง
ที่เพลโตไดทองเที่ยวไปศึกษาเรียนรูมา ทําใหเพลโตสามารถสรุปรูปแบบทางการเมืองของโลกไว
มี 5 รูปแบบ ไดแก 1) แบบอภิชนาธิปไตย 2) แบบโยธาธิปไตย 3) แบบคณาธิปไตย 4) แบบ
ประชาธิปไตย และ 5) แบบทรราช โดยรูปแบบการปกครองที่เพลโตใหการยอมรับมากที่สุด ก็
คือ แบบอภิชนาธิปไตย
ดั ง นั้ น จะเห็ น ได ว า เพลโตมองป ญ หาทางการเมื อ งในสมั ย นั้ น ว า เกิ ด จากคนขาด
ความรู ทําใหการเมืองไมสามารถพัฒนาไปได ถาคนไดรับการศึกษาดีแลวการเมืองก็จะพัฒนา
ได และจุดเดนของการเมืองการปกครอง ก็คือ การรักษากฎระเบียบแบบแผนของสังคมไว และ
ชนชั้นปกครองจะไมพยายามเขาไปพั วพัน ผลประโยชน ส วนตั วกับ ส วนรั ฐ จะทําใหการเมื อ ง
ปนปวนได ทางออกทางการเมืองนั้นจะตองจัดแบงงานใหคนทําตามหนาที่ ตามความสามารถ
ของแตละคน เปนธรรมชาติ ของรั ฐมี คนอดอยากมากกวา คนร่ํา รวย รัฐจะตองหาทางออกที่
รอบคอบ และเปนเครื่องมือในการศึกษาแกประชาชนเพื่อใหประชาชนสามารถดํารงชีวิตอยูใน
สั ง คมได อ ย า งมี ค วามสุ ข เพราะมนุ ษ ย ส ามารถพั ฒ นาได เนื่ อ งจากมนุ ษ ย มี จิ ต แบ ง
ออกเปน 3 ภาค ไดแก จิตภาคตัณหา ตองทําใหลดความเห็นแกตัวใหได จิตภาคน้ําใจ มีความ
เสียสละรักษาผลประโยชนสวนรวมเปนที่ตั้ง และจิตภาคปญญา มีการใชเหตุผลในการดํารงชีวิต
อยูในสังคม

6. องคความรูใหม
จากการศึกษาทําใหพบองคความรูใหม เกี่ยวกับปรัชญาการเมืองของเพลโตที่มีทัศนะเกี่ยวกับ
การเมื อ งการปกครองที่ ต า งจากแนวความคิ ด แบบดั้ ง เดิ ม โดยมองว า การปกครองที่ ดี ที่ สุ ด คื อ
อภิชนาธิปไตย ดังแผนภาพที่ 1
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 199

แผนภาพที่ 1 : การปกครองที่ดีกับการปกครองที่ไมดีตามแนวคิดของเพลโต

การปกครองที่ไมดีทั้ง 4 ประการ คือ โยธาธิปไตย เปนรูปแบบการปกครองที่ผูปกครองนิยม


ชมชอบในเกียรติยศชื่อเสียง บูชาเกียรติยศชื่อเสียงเหนือสิ่งอื่นใด การปกครองก็จะตกอยูในมือของคน
ร่ํารวยเพียงกลุมเดียว คณาธิปไตย เปนรูปแบบการปกครองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการประเมินทรัพยสินของ
คนร่ํารวยเพื่อคนที่ร่ํารวยมีการจํากัดสิทธิทางการเมืองใชเพื่อผลประโยชนในกลุมตน คนจนที่ถูกกดขี่จึง
ไดโอกาสลมอํานาจลงแลวเสนอการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้น ประชาธิปไตย เปนการปกครอง
โดยประชาชนเพื่อประโยชนของ เพราะใหเสรีภาพเกินไปจนเลยขอบเขต เปนเหตุใหตองมีใครคนหนึ่งที่
เขมแข็งมาเปนผูนําที่สามารถควบคุมเหตุการณได นั่นก็คือ การนําไปสูการปกครองแบบทรราชในที่สุด
ทรราช เปนการปกครองแบบเผด็จการ ระบบการปกครองแบบทรราชนี้เปนระบบที่เลวที่สุดของการ
ปกครองที่ไ มมีกฎหมายหรือทุกระบบ สวนระบบที่เพลโตยอมรับมากที่สุดคือ อภิชนาธิป ไตย เปน
ระบบการปกครองโดยอํานาจการเมืองการปกครองอยูในชนชั้นผูเปนราชาปราชญ เพราะราชาปราชญ
เปนผูผานการทดสอบคัดเลือกมาเปนอยางดี มีคุณธรรม เมตตาแกประชาชนผูอยูใตปกครองทุ กคน
และคุณลักษณะของนักปกครองที่ดีตองประกอบดวยคุณธรรมสําคัญ 4 ประการ ไดแก ความฉลาด
ความยุติธรรม ความรูจักประมาณ และความกลาหาญ ซึ่งเปนคุณธรรมสูงสุดในอุตมรัฐ เพราะวาความ
ยุติธรรมไดรวบรวมเอาคุณธรรมทั้งหมดเขาไวดวยกัน
ปที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2564) วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 200

เอกสารอางอิง
ชวลิ ต ศิ ริ ภิ ร มย . (2515). ปรั ช ญาการเมื อ งและหลั ก จริ ย ธรรมสมั ย นครรั ฐ กรี ก . เชี ย งใหม:
สํานักพิมพมหาวิทยาลัยเชียงใหม.
ชุมพล สังขปรีชา. (2528). ปรัชญาและทฤษฎีการเมื องวา ด วยธรรมชาติม นุษย . กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2532). ปรัชญากรีก : บอเกิดภูมิปญญาตะวันตก. กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพสยาม.
พลศั ก ดิ์ จิ ร ไกรศิ ริ . (2529). ความคิ ด ทางการเมื อ งเบื้ อ งต น . กรุ ง เทพฯ: มหาวิ ท ยาลั ย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พินิจ รัตนกุล. (2515). เพลโตและปญหาเกี่ยวกับคุณธรรม. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
เพลโต. (2523). โสคราตีส [Socrates] (สุลักษณ ศิวรักษ, ผูแปล). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
(ตนฉบับพิมพ ป พ.ศ. 2523).
เพลโต. (2523). อุตมรัฐ [The Republic] (ปรีชา ชางขวัญยืน, ผูแปล). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (ตนฉบับพิมพ ป พ.ศ. 2523).
ฟน ดอกบัว. (2532). ปวงปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.
สถิต วงศสวรรค. (2540). ปรัชญาเบื้องตน. กรุงเทพฯ: อักษรการพิมพ.
สุขุม นวลสกุล และ บรรพต วีระสัน. (2520). ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง และ
พุทธศาสตรกับความคิดเชิงการเมือง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยรามคําแหง.
Arehie J. Bahm. (1969). The Heart of Confucius. New York: John Weatherhill. Ine.
Plato. (1959). The Republic of Plato. Translated by H.D.P. Lee. Maryland: Penguin
Book Ltd.

You might also like