You are on page 1of 7

สรุปบทเรียน บทที่ 5

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการแพร่ กระจาย และทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม

การเรี ยนรู้ (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลอันเนื่องมาจากการเผชิญ


สถานการณ์ โดยเฉพาะสถานการณ์ ซ้ า ๆ โดยที่ ไ ม่ ไ ด้เป็ นสั ญ ชาติ ญ าณหรื อ เป็ นส่ ว นของการ
พัฒนาการโดยปกติ
การเรี ยนรู ้เป็ นกระบวนการที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior) ด้านความรู ้
(Knowledge) ด้านทัศนคติ (Attitude) หรื อด้านทักษะ (Skill) ในตัวบุคคลโดยผ่านทางกิจกรรมต่างๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้
แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ และความเข้ าใจ (Cognitive)

1. ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักทฤษฎีทางการศึกษาและนักจิตวิทยากลุ่มนี้ เช่น Pavlov, Skinner, Thorndike
1.1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีน้ ี คือ Pavlov กล่าว
ไว้วา่ ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ งของคนไม่ได้มาจากสิ่ งเร้า (Stimulus) อย่างใดอย่างหนึ่ ง
แต่เพียงอย่างเดี ยว อาจมี สิ่งอื่นที่ทาให้เกิ ดการตอบสนองเช่ นเดี ยวกันได้ หากมีเงื่ อนไขที่ ถูกต้อง
เหมาะสม
1.2 ทฤษฎีความสั ม พันธ์ ต่อเนื่ อง (Connectionism Theory) เจ้า ของทฤษฎี น้ ี คื อ
Thorndike ซึ่ งกล่าวไว้วา่ สิ่ งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ งอาจทาให้เกิดการตอบสนองได้หลายอย่าง ซึ่ งในที่สุด
ผูไ้ ด้รับสิ่ งเร้านั้นจะค้นพบและเลือกสรรการตอบสนองที่ดีที่สุด และ Thorndike สรุ ปออกมาเป็ นกฎ
การเรี ยนรู ้ คือ
1) กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
2) กฎแห่งการฝึ กหัด (Law of Exercise)
- กฎของการใช้ (Law of Used)
- กฎของการไม่ใช้ (Law of Disused)
3) กฎแห่งความพอใจ (Law of Effect)
1.3 ทฤษฎีก ารวางเงื่ อ นไข/ทฤษฎีก ารเสริ ม แรง (S –R Theory หรื อ Operant
Conditioning)
Skinner กล่าวถึง การเรี ยนรู ้ที่ได้มาจากการได้รับผลของการกระทา โดยกล่าวถึงทฤษฎี
นี้ วา่ “ปฏิ กิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ ง อาจไม่ใช่เนื่ องมาจากสิ่ งเร้าเพียงสิ่ งเดียว แต่อาจจะมา
จากสิ่ งเร้าอื่นที่เสริ มเข้ามา ซึ่ งทาให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้ามีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง”
Skinner ทดลองโดยใช้กล่องที่สร้ างขึ้นมาและนานกไปใส่ ไว้ในกล่อง และนกเคลื่อนไหว
ถู กคานอาหารหล่นลงมา นกจึงรู ้ ว่าการกดคานแล้วจะได้อาหาร สรุ ปเป็ นองค์ประกอบ 3 ตัว คื อ สิ่ งที่
ก่อให้เกิดขึ้นก่อน พฤติกรรม และผลที่ได้รับ
2. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ (Cognitive)
นักทฤษฎีทางการศึกษาและนักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสาคัญของส่ วนรวม ทฤษฎีทาง
จิตวิทยาของกลุ่มนี้ ซ่ ึ งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น Kohler, Lewin,
Witkin แนวคิดของทฤษฎีน้ ีจะเน้นความพอใจของผูเ้ รี ยน ผูส้ อนควรให้ผเู ้ รี ยนหรื อเกษตรกรทางาน
ตามความสามารถของเขาและคอยกระตุน้ ให้ผเู ้ รี ยนประสบความสาเร็ จ การเรี ยนการสอนจะเน้นให้
ผูเ้ รี ยนลงมือกระทาด้วยตัวเขาเอง ผูส้ อนเป็ นผูช้ ้ ี แนะ โดยเน้นเรี ยนจากประสบการณ์ (Experience)
และการเรี ยนรู ้โดยการปฏิบตั ิจริ ง (Learning by Doing)

ทฤษฎีการแพร่ กระจาย
Everett Roger (1995) เป็ นบุคคลที่คิดค้นและได้พิสูจน์ทฤษฎีการแพร่ กระจายนวัตกรรม
(Diffusion of Innovation Theory) โดยทฤษฎี น้ ี เน้นความเชื่ อว่า การเปลี่ ยนแปลงสังคมและ
วัฒนธรรมเกิ ดขึ้นจากการแพร่ กระจายของสิ่ งใหม่ๆ จากสังคมหนึ่ งไปยังอีกสังคมหนึ่ งและสังคมนั้น
รับเข้าไปใช้สิ่งใหม่ๆ นี้ คือ นวัตกรรม ซึ่ งเป็ นทั้งความรู ้ ความคิด เทคนิ ควิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ
โดยได้อธิ บ ายทฤษฎี ก ระบวนการแพร่ ก ระจายนวัตกรรมนี้ ว่า มี ตวั แปรหรื อองค์ป ระกอบหลัก
ที่สาคัญ 4 ประการ (Four main element in the diffusion of innovations) คือ
1. นวัตกรรม (Innovation) หรื อสิ่ งใหม่ที่จะแพร่ กระจายไปสู่ สังคมเกิ ดขึ้น นวัตกรรมที่จะ
แพร่ กระจายและเป็ นที่ยอมรับของคนในสังคมนั้น โดยทัว่ ไปประกอบด้วยส่ วนสาคัญ 2 ส่ วน คือ
ส่ วนที่เป็ นความคิดและส่ วนที่เป็ นวัตถุ นวัตกรรมใดจะถูกยอมรับหรื อไม่น้ นั นอกจากจะเกี่ยวกับ
ตัวผูร้ ับ ระบบสังคม และรับการสื่ อสารแล้ว ตัวของนวัตกรรมเองก็มีความสาคัญ
นวัตกรรมที่ยอมรับได้ง่ายควรจะต้องมีลกั ษณะ 5 ประการ โดยนวัตกรรมที่มีลกั ษณะ
ตรงกันข้ามกันกับ 5 ประการ ต่อไปนี้มกั จะเป็ นที่ยอมรับได้ยาก
 ได้ประโยชน์มากกว่าเดิมที่เข้ามาแทนที่ (Relative Advantage)
 มีสอดคล้องกับวัฒนธรรมในสังคมที่จะรับ (Compatibility)
 ไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก (Complexity)
 สามารถแบ่งทดลองครั้งละน้อยได้ (Trialability)
 สามารถมองเห็นหรื อเข้าใจได้ง่าย (Observability)
2. การสื่ อสารโดยผ่ านสื่ อทางใดทางหนึ่ง (Types of Communication) เพื่อให้คนในสังคม
ได้รับรู ้ ระบบการสื่ อสาร การสื่ อสาร คือ การติ ดต่อระหว่างผูส้ ่ งข่าวสารกับผูร้ ับข่าวสาร โดยผ่านสื่ อ
หรื อ ตัวกลางใดตัวกลางหนึ่ ง ที่ น วัต กรรมนั้น แพร่ ก ระจายจากแหล่ ง ก าเนิ ด ไปสู่ ผู ใ้ ช้หรื อ ผู ร้ ั บ
นวัตกรรม อันเป็ นกระบวนการกระทาระหว่างกันของมนุ ษย์ การสื่ อสารจึงมีความสาคัญต่อการรับ
นวัตกรรมมาก

แหล่งความรู ้ ผูร้ ับ
ช่องทาง / สื่ อ
(ผูส้ ่ ง)

เจ้าหน้าที่ส่งเสริ ม บุคคลเป้าหมาย

3. เกิดในช่ วงเวลาหนึ่ง (Time or Rate of Adoption) เพื่อให้คนในสังคมได้รู้จกั นวัตกรรม


แนวความคิ ดใหม่ หรื อมี การใช้ป ระโยชน์ จากสิ่ งที่ มีอยู่แล้วมาใช้ในรู ป แบบใหม่ เพื่อทาให้เกิ ด
ประโยชน์ทางเศรษฐกิ จและกระบวนการแพร่ กระจายนวัตกรรมต้องอาศัยระยะเวลาและมีลาดับ
ขั้นตอนเพื่อให้บุคคลปรับตัวและยอมรับนวัตกรรมหรื อแนวความคิดใหม่ (a given time period)
4. ระบบสั งคม (Social System) โดยการแพร่ กระจายเข้าสู่ สมาชิ กของสังคม ระบบสังคมจะมี
อิทธิ พลต่อการแพร่ กระจายและการรับนวัตกรรม กล่าวคือ สังคมสมัยใหม่ระบบของสังคมจะเอื้อต่อ
การรับนวัตกรรม ทั้งความรวดเร็ วและปริ มาณที่จะรับ (Rate of Adoption) เพราะมีบรรทัดฐานและรับ
ค่านิ ยมของสังคมที่สนับสนุ นการเปลี่ ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีการแพร่ กระจาย
สิ่ งใหม่ เข้ามา สังคมก็จะยอมรั บได้ง่า ย ส่ วนสัง คมโบราณหรื อสั งคมที่ ติดยึดกับ ความเชื่ อต่า งๆ
ซึ่ งเป็ นสังคมล้าหลังจะมีลกั ษณะตรงกันข้ามกับสังคมสมัยใหม่ ความรวดเร็ วของการแพร่ กระจาย
และปริ มาณที่จะรับนวัตกรรมจึงเกิดได้ชา้ กว่าและน้อยกว่าหรื ออาจจะไม่ยอมรับเลยก็ได้
การยอมรับนวัตกรรม
การยอมรับว่าเป็ นกระบวนการ (Process) ที่เกิดขึ้นทางจิตใจภายในบุคคล เริ่ มจากได้ยินในเรื่ อง
วิทยาการนั้นๆ จนกระทัง่ ยอมรับนาไปใช้ในที่สุด ซึ่ งกระบวนนี้ มีลกั ษณะคล้ายกับกระบวนการ
เรี ยนรู ้และการตัดสิ นใจ (Decision Making) โดยได้แบ่งกระบวนการยอมรับออกเป็ น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นรับรู้ หรื อตื่นตน (Awareness Stage)
เป็ นขั้นเริ่ มแรกที่ นาไปสู่ การยอมรั บหรื อปฏิ เสธสิ่ งใหม่หรื อวิธีการใหม่ ขั้นนี้ เป็ นขั้นที่
ได้รับรู ้เกี่ยวกับสิ่ งใหม่ๆ (นวัตกรรม) ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชี พหรื อกิจกรรมของเขา แต่ยงั
ได้รับ ข่าวสารไม่ครบถ้วน ซึ่ ง การรั บรู ้ ม กั เป็ นการรั บรู ้ โดยบังเอิ ญและจะทาให้เกิ ดความอยากรู ้
ต่อไป อันเนื่องจากมีความต้องการวิทยาการใหม่ๆ นั้น ในการแก้ปัญหาที่ตนเองมีอยู่
ขั้นที่ 2 ขั้นสนใจ (Interest Stage)
เป็ นขั้นที่เริ่ มมี ความสนใจแสวงหารายละเอี ยดเกี่ ยวกับวิทยาการใหม่ๆ เพิ่มเติ ม พฤติกรรมนี้
เป็ นไปในลักษณะที่ต้ งั ใจแน่ ชดั และใช้กระบวนการคิดมากกว่าขั้นแรก ซึ่ งในขั้นนี้ จะทาให้ได้รับ
ความรู ้เกี่ยวกับสิ่ งใหม่หรื อวิธีการใหม่มากขึ้น ซึ่ งบุคลิกภาพและค่านิ ยม ตลอดจนบรรทัดฐานทาง
สังคมหรื อประสบการณ์เดิ มจะมีผลต่อบุคคลนั้น และมีผลต่อการติดตามข่าวสารหรื อรายละเอียด
ของสิ่ งใหม่หรื อวิทยาการใหม่น้ นั ด้วย
ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินค่ า (Evaluation Stage)
เป็ นขั้นที่ จะไตร่ ตรองว่าจะลองใช้วิธีการหรื อหาวิทยาการใหม่ๆ นั้นดี หรื อไม่ ด้วยการ
เปรี ยบเทียบระหว่างข้อดีและข้อเสี ยว่า เมื่อนามาใช้แล้วจะเป็ นประโยชน์ต่อกิจกรรมของตนหรื อไม่
หากรู ้ สึกว่ามีขอ้ ดี มากกว่าจะตัดสิ นใจใช้ ขั้นนี้ จะแตกต่างจากขั้นอื่นๆ ตรงที่เกิ ดการตัดสิ นใจที่จะลอง
ความคิดใหม่ๆ โดยบุ คคลมักจะคิ ดว่าการใช้วิทยาการใหม่ๆ นั้นเป็ นการเสี่ ยงไม่แน่ ใจถึ งผลที่จะ
ได้รับ ดังนั้นในขั้นนี้ จึงต้องการแรงเสริ ม (Reinforcement) เพื่อให้เกิ ดความแน่ใจยิ่งขึ้นว่าสิ่ งที่เขา
ตัดสิ นใจแล้วนั้นถูกต้องหรื อไม่ โดยการให้คาแนะนาให้ข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสิ นใจ
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลอง (Trial Stage)
เป็ นขั้นที่บุคคลทดลองใช้วิทยาการใหม่ๆ นั้นกับสถานการณ์ของตน ซึ่ งเป็ นการทดลองดู
กับส่ วนน้อยก่ อน เพื่อจะได้ดูว่าได้ผลหรื อไม่ ในขั้นนี้ บุคคลจะแสวงหาข่าวสารที่เฉพาะเจาะจง
เกี่ยวกับวิทยาการใหม่หรื อนวัตกรรมนั้น
ขั้นที่ 5 ขั้นตอนการยอมรับ (Adoption Stage)
เป็ นขั้นที่บุคคลยอมรับวิทยาการใหม่ๆ นั้น ไปใช้ในการปฏิบตั ิกิจกรรมของตนอย่างเต็มที่
หลังจากที่ได้ทดลองปฏิบตั ิและเป็ นประโยชน์ในสิ่ งนั้นแล้ว
อย่างไรก็ตาม วิทยา (2529:39) ได้กล่าวว่า ในปั จจุบนั พบว่าทฤษฎี กระบวนการยอมรับ
วิทยาการใหม่ๆ หรื อ นวัตกรรมของ Roger นั้น มี จุดบกพร่ องในกระบวนการยอมรั บดังกล่ าว
หลายประการด้วยกัน คือ
1. กระบวนการนี้ มกั จะจบด้วยการตัดสิ นใจยอมรับนวัตกรรมนั้น ซึ่ งตามความจริ งแล้ว
เมื่อบุคคลในบรรลุถึงขั้นประเมินผลแล้วอาจจะปฏิเสธก็ได้
2. ขั้นตอนทั้ง 5 กระบวน อาจไม่เป็ นไปตามขั้นตอนก็ได้เพราะบางขั้นตอนถูกข้ามไปได้
โดยเฉพาะอย่างยิง่ ขั้นทดลองและขั้นประเมินผล อาจจะสามารถทาได้ตลอดกระบวนการได้
3. กระบวนการนี้ มกั จะจบลงโดยการยอมรั บนวัตกรรมนั้น แต่หากเขามีโอกาสในการ
แสวงหาข้อ มู ล เพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ยื น ยัน หรื อ สนับ สนุ น การตัด สิ น ใจในการยอมรั บ หรื อ ไม่ ย อมรั บ
นวัตกรรมนั้นได้ ดังนั้น จึงได้มีการเปลี่ ยนแปลงแก้ไขกระบวนการยอมรับดังกล่าว และได้เสนอ
แบบจาลองของกระบวนการตัดสิ นใจยอมรับหรื อไม่ยอมรับนวัตกรรมแทน (Innovation Decision
Process) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
3.1 ขั้นความรู้ (Knowledge) ขั้นนี้ บุคคลจะรับทราบเกี่ ยวกับนวัตกรรมและมีความเข้าใจ
บางอย่างเกี่ยวกับหน้าที่การทางานของนวัตกรรม
3.2 ขั้นชั ก ชวนหรื อ สนใจ (Interest) บุ ค คลจะรู ้ สึ ก ชอบหรื อไม่ ช อบการยอมรั บ
นวัตกรรมนั้น เพราะมีทศั นคติที่ดีหรื อไม่ดีต่อนวัตกรรมนัน่ เอง
3.3 ขั้นตัดสิ นใจ (Decision) บุคคลจะเข้าไปเกี่ ยวข้องในกิ จกรรมต่างๆ ซึ่ งจะนาไปสู่
การตัดสิ นใจที่จะยอมรับหรื อไม่ยอมรับนวัตกรรม
3.4 ขั้นยืนยัน (Confirmation) ในขั้นนี้ บุคคลจะแสวงหาแรงเสริ ม (Reinforcement)
เพื่อยอมรั บการใช้นวัตกรรมต่อไป แต่เขาอาจจะเปลี่ ยนแปลงการตัดสิ นใจหากพบข้อมูลขัดแย้ง
เกี่ยวกับนวัตกรรมภายหลังก็ได้
การยอมรับเป็ นกระบวนการทางจิตใจของบุคคล ซึ่งจะยอมรับหรื อไม่น้ นั เป็ นการตัดสิ นใจ
ด้วยตัวเขาเอง ปั ญหาจึงมีอยู่วา่ ทาอย่างไรที่จะจูงใจให้เขายอมรับและนาไปปฏิ บตั ิตามดังที่มุ่งหวัง
หากพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วจะเห็นได้วา่ การจูงใจให้เขายอมรับและปฏิ บตั ิตามนั้น มิได้ข้ ึนอยูก่ บั
เทคนิ คและศิลปะในการจูงใจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริ มการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยงั ขึ้นอยูก่ บั ตัว
แนวคิดหรื อวิธีการใหม่ ตลอดจนปั จจัยอื่นๆ ด้วย ซึ่ ง ดิเรก (2527:57-62) ได้กล่าวถึงปั จจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการยอมรับแนวความคิดใหม่ ดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยทีเ่ ป็ นเงื่อนไขหรื อสภาวการณ์
ปั จจัยที่เป็ นเงื่อนไขหรื อสภาวการณ์โดยทัว่ ไป ได้แก่
1.1 สภาพทางเศรษฐกิจ เกษตรกรที่มีปัจจัยการผลิ ตมากกว่า มีแนวโน้มที่จะยอมรับ
การเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าและเร็ วกว่าเกษตรกรที่มีปัจจัยการผลิตน้อยกว่า
1.2 สภาพทางสั งคมและวัฒนธรรม มวลชนที่ อยู่ใ นสั ง คมที่ รักษาขนบธรรมเนี ย ม
ประเพณี เก่าๆ อย่างเคร่ งครัดมากกว่า มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมอย่างเห็นได้ชดั กว่า มีค่านิ ยมและ
ความเชื่ อที่ เ ป็ นอุ ป สรรคต่ อการนาการเปลี่ ย นแปลงมากกว่า จะมี ผ ลท าให้เ กิ ดการยอมรั บ การ
เปลี่ยนแปลงที่ชา้ ลงและน้อยลงด้วย
1.3 สภาพทางภูมิศาสตร์ มีพ้ืนที่ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถติดต่อกับท้องที่อื่นๆ
โดยเฉพาะท้อ งที่ ที่ เ จริ ญ ทางด้า นเทคโนโลยี ไ ด้ม ากกว่า หรื อ เป็ นพื้ น ที่ มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ
ที่เกี่ยวข้องกับปั จจัยในการผลิตมากกว่า จะมีผลให้เกิดแนวโน้มในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เร็ วกว่า
และมากกว่า
1.4 สมรรถภาพในการทางานของสถาบันที่เกี่ยวข้ อง เช่ น สถาบันสิ นเชื่ อเพื่อการเกษตร
สถาบันวิจยั และส่ งเสริ มการเกษตร สถาบันจัดการเกี่ ยวกับการตลาด เป็ นต้น สถาบันเหล่ านี้ ถา้ มี
ประสิ ทธิ ภาพในการดาเนิ นการที่ใ ห้ประโยชน์แก่ บุ คคลก็จะทาให้การยอมรั บ การเปลี่ ยนแปลง
เป็ นไปได้เร็ วและง่ายขึ้น
2. ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้ องโดยตรง
ปั จจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่
2.1 บุคคลเป้ าหมาย (Target Person) หรื อเกษตรกรผูร้ ับการเปลี่ยนแปลง โดยพื้นฐาน
ของเกษตรกรเองจะเป็ นส่ วนสาคัญต่อการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เช่น
2.1.1 พื้นฐานทางสั งคม (Society) พบว่า เพศหญิ ง ยอมรั บ การเปลี่ ย นแปลง
มากกว่าเพศชาย ผูม้ ีระดับการศึกษาและประสบการณ์ ที่สูงกว่า มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริ ม
การเกษตรมากกว่า จะยอมรับกว่าผูท้ ี่มีสิ่งเหล่านี้ น้อยกว่า และบุคคลที่ อยู่ในวัยรุ่ นจะยอมรับเร็ วที่สุด
และช้าลงไปตามลาดับเมื่อมีอายุมากขึ้น
2.1.2 พื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economics) เกษตรกรที่มีกรรมสิ ทธิ์ ถื อครองที่ดิน
จานวนมากกว่า การทากินในเนื้ อที่ดินที่มากกว่า การมีทรัพยากรที่จาเป็ นในการผลิ ตมากกว่า ทาให้เกิ ด
การยอมรับการเปลี่ยนแปลงเร็ วกว่าและมากกว่าเกษตรกรที่มีพ้นื ฐานทางเศรษฐกิจน้อยกว่า
2.1.3 พื้นฐานในการติดต่ อสื่ อสารของเกษตรกร (Communication) เกษตรกรที่มี
ความสามารถในการอ่าน ฟัง พูด และเขียน เป็ นสิ่ งที่ทาให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
2.1.4 พื้ น ฐานในเรื่ อ งอื่ น ๆ เกษตรกรที่ มี แ รงจู ง ใจใฝ่ สั ม ฤทธิ์ (Achievement
Motivation) มี ความพร้ อมทางด้า นจิ ตใจ มี ท ศั นคติ ที่ ดีต่อเจ้า หน้า ที่ ส่ งเสริ มการเกษตรและต่ อ
เทคโนโลยีที่นามาเพื่อการเปลี่ยนแปลง จะมีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าและ
รวดเร็ วกว่า
2.2 ปั จ จัยที่เนื่ อ งมาจากนวัต กรรม (Innovation) หรื อเทคโนโลยีที่ จะนาไปสู่ ก าร
เปลี่ยนแปลงที่สาคัญ คือ
2.2.1 ต้ นทุนกาไร (Cost and Profit) เทคโนโลยีที่ลงทุนน้อยที่สุดและกาไรมากที่สุด
การยอมรับจะสู งกว่าและเร็ วกว่า
2.2.2 ความสอดคล้ องและเหมาะสมกับสิ่ งที่มีอยู่ในชุ มชน (Similar and Fit) คือ
ไม่ขดั ต่อขนบธรรมเนี ยมประเพณี ความเชื่ อของบุคคลในชุ มชนและเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ
ของทรัพยากรที่มีอยูใ่ นชุมชนด้วย
2.2.3 ความสามารถปฏิบัติได้ และเข้ าใจได้ ง่าย (Practical and Understood) คือ
ไม่เป็ นเรื่ องที่ยงุ่ ยากซับซ้อนและไม่มีกฎเกณฑ์ยงุ่ ยากจนเกินไป
2.2.4 สามารถเห็นได้ ว่าปฏิบัติได้ ผลมาแล้ว (Visibility) คือ เห็นว่าเกิดผลดีมาก่อน
ก็จะปฏิบตั ิหรื อยอมรับได้ง่ายและเร็ วกว่า
2.2.5 สามารถแบ่ งแยกเป็ นขั้นตอนหรื อเป็ นเรื่ องๆ ได้ (Divisibility)
2.2.6 ใช้ เวลาน้ อยหรื อประหยัดเวลา (Time – saving)
2.2.7 เป็ นการตัดสิ นใจของกลุ่ม (Group Decision)
ลักษณะที่เกี่ ยวข้องกับนวัตกรรมทั้งหมดนี้ ถ้ามีครบมากเท่าใดการยอมรับนวัตกรรม
หรื อเทคโนโลยีการเกษตรจะรับได้เร็ วและมากเท่านั้น

You might also like