You are on page 1of 14

P a g e | 162

ดนตรีในการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ: กรณีศกึ ษาโรงเจบั่นกิม๊ ยืออีต๊ วั่


ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
MUSIC PERFORMING FOR THE EVENING CHANT DURING
CHINESE VEGETARIAN FESTICAL:
A CASE STUDY OF BUN KIM YEU EI TUA CHINESE SHRINE IN
SAO CHA NHOK SUB-DISTRICT, BANGKLA DISTRICT,
CHACHEANGSAO PROVINCE

เธียรธิรา งามรัตนกุล1
Teantira Ngamrattanakul
รุจี ศรีสมบัต2ิ
Rujee Srisombut

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาด้านมานุษยดุริยางควิทยา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพิธีกรรมการสวด
มนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ และศึกษาดนตรีที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ
ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารและข้อมูล
ภาคสนามประกอบการศึกษา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
พิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรนี้เป็นไปตามแบบแผนพิธีกรรมของพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยการสวดมนต์
ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว จะแบ่งเป็น 4 เวลา คือ 5.00น., 10.00น., 14.00น. และ 19.00 น.
ในพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรจะมีวงดนตรีบรรเลงประกอบการสวดในทุกช่วงเวลาสาหรับการสวดมนต์ทาวัตรเย็น
ช่วง 19.00 น. หรือการสวดบทปักเต้าเกงเป็นการสวดมนต์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษต่างจากการสวดมนต์ทาวัตรใน
ช่วงเวลาอื่นๆ โดยบทสวดจะแตกต่างออกไป มีบทสวดสาหรับสะเดาะเคราะห์ต่อดวงชะตาและบทสวดสาหรับการเดิน
เวียนธูป และมีดนตรีบรรเลงทานองคลอไปตลอดการสวด

1
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ )มานุษยดุริยางควิทยา(
2
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตาจารย์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา
The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 163

เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรที่คณะวงดนตรีของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ 1.


กลองจีน 2.เจ็งหรือกระดิ่ง 3.เอี่ยวคิ้มหรือขิมจีน และ 4.ตีต้าหรือปี่ โดยใช้นักดนตรีบรรเลงกลองและเจ็ง 1 คน
บรรเลงเอี่ยวคิ้มและตีต้าเครื่องมือละ 1คน รวมทั้งหมด 3 คน บทเพลงที่ใช้ประกอบพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรเย็นมี
6 เพลง เป็นเพลงจีนกวางตุ้งที่ใช้ในการแสดงดนตรีประกอบพิธีกรรม โดยจะแบ่งเป็น เพลงบรรเลงสาหรับคั่นบทสวด
3 เพลง และเพลงที่บรรเลงคลอไปกับทานองสวดของพระอีก 3 เพลง ลักษณะที่สาคัญในการแสดงดนตรีคือการที่นัก
ดนตรีสามารถเปลี่ยนบันไดเสียงตามทานองการสวดของพระสงฆ์ ทาให้ท่วงทานองในการสวดมีความแม่นยาและมี
ความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะต่างจากการสวดมนต์ทาวัตรของโรงเจอื่นๆที่ไม่มีดนตรีประกอบการ
สวด
คาสาคัญ: เทศกาลกินเจ; สวดมนต์ทาวัตร; โรงเจ

Abstract
This research is a study in a musical anthropology with two purposes. Firstly, the author
studies an evening Buddhist chant in vegetarian festival. Secondly, the author studies music that is
used while an evening Buddhist chant happening at Bun Kim Yeu Ei Tua Chinese Shrine in Sao Cha
Ngok Sub- District, Bangkla District , Chacheangsao Province. In this research, we use information
from documents and field data, and we found as follows.
This Buddhist chant is a part of Mahayana style buddhism. The ritual normally performs 4
times a day, which are 5am, 10am, 2pm, and 7pm. In each session, there will be a musical band
playing at the same time the chant performs. More importantly, the 7pm session has more its
unique characteristic than the rest. There are additional songs for the purpose of having a good
luck and walk back and forth together, and music playing along the ritual happening
There are 4 musical instruments that use for the chant, which are 1. Chinese drum 2. Jeng
(Bell) 3. Ieo-kim (Chinese cymbalo) 4. Tita (Chinese Flute). There are one musician playing drum
and bell, and one each one playing Chinese cymbalo and Chinese flute. There are 6 Cantonese-
style songs for the an evening ritual, which separates into 2 kinds, The first kind is 3 songs that
perform on the interim between each chant, and the second kind is another 3 songs that perform
when the chant happens. The most important characteristic of these musical performance is that

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 164

the musician transposed their key to adapt with monk’s chant tone enhancing the precision and
the beauty of the chant more than just normal chant that happens at another Chinese shrine.
Keywords: Vegetarian Festival; Evening Buddhist Chant; Chinese Shrine

1. บทนา
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรและเป็นประเทศที่ไม่ปิดกั้นการติดต่อกับ
ต่างประเทศ ทั้งในด้านการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า การรับวัมนธรรมใหม่ๆ รวมไปถึงการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาของชน
ชาติต่างๆ เมื่อมีประชากรจากชาติอื่น ๆ เข้ามาจึงทาให้มีการนาเอาขนบประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติเมื่อครั้งยังอยู่ใน
ประเทศของตนเข้ามาด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทาให้ประเทศไทยมีความหลากหลายของวัมนธรรมที่เห็นได้ชัดเจนคือ
วัมนธรรมจีน
ชาวจีนได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจานวนมาก เมื่อมีการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชน ทาให้มีความเข้มแข็ง
ทางวัมนธรรม ไม่ว่าเป็นในด้านอาหารการกิน การใช้ภาษา รวมไปถึงการสร้างวัดและศาลเจ้าจีนขึ้นมาเป็นศูนย์รวม
ของชุมชนนั้นๆ ในด้านประเพณีความเชื่อก็คงติดตามมาพร้อม ๆ กับความศรัทราของชาวจีน เกือบกล่าวได้ว่าทุกแห่ง
ที่มีชาวจีนจะต้องมีศาลเจ้าอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้าต่างๆกันไปตามแต่ความเชื่อถือ ในจานวนศาลเจ้าทั่วประเทศไทย
มีนับเป็นพัน ๆ แห่ง มูลเหตุในการสร้างศาลเจ้านั้นนอกเหนือจากจะเป็นที่ประกอบพิธีกรรมตามประเพณีต่างๆ แล้ว
ศาลเจ้ายังเป็นที่พบปะสังสรรค์ของผู้คน เป็นที่ตั้งของมูลนิธิเพื่อสังคม เป็นโรงพยาบาลและโรงเรียนด้วย (เนตรดาว
พละมาตย์. 2530: 223)
วัมนธรรมของชาวจีนจึงแพร่กระจายไปยังทุกที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวจีน รวมไปถึงประเพณีถือศีล
กินเจเทศกาลกินเจของจีนมีลักษณะเดียวกับการกินมังสวิรัติของไทยทั้งเนื้อหาและรูปแบบ เนื้อหาคือการทาจิตใจให้
บริสุทธิ์ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รูปแบบคือการรับประทานแต่ผัก ผลไม้ และนิยมเฉพาะบางหมู่เหล่าเท่านั้นจึงพบว่าชาวจีน
ส่วนใหญ่ไม่นิยมเทศกาลกินเจ อาจเป็นเพราะว่าการกินอาหารเจมิได้เป็นไปโดยธรรมชาติ แต่เป็นการเลือกกินเฉพาะ
อย่างซึ่งขัดกับหลักโภชนาการและรสนิยมของคนทั่วไป รวมทั้งขัดกับหลักธรรมที่สอนให้บุคคลไม่ยึดถือมั่นในปัจจั ย
แห่งการเลี้ยงชีพ พระภิกษุที่ต้องภิกขาจารอาหารจากชาวบ้าน ยิ่งต้องอยู่ง่ายกินง่าย การกินมังสวิรัติจึงมิได้เป็นพุทธ
บัญญัติ (สมบูรณ์ สุขสาราญ. 2530: 66)
สาหรับอาเภอบางคล้าเป็นอาเภอที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศเหนือมีอาณาเขตติดกับ
จังหวัดปราจีนบุรี ทิศตะวันตกติดกับแม่น้าบางปะกงทาให้พื้นที่ในบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทาการ
เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้
อพยพชาวจีนในครั้งอดีตหรือชาวจีนโพ้นทะเลบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายจีนในอาเภอบางคล้าเหล่านี้มาจากแต้จิ๋ว
รองลงมาจีนแคะ จีนฮกเกี้ยนและจีนไหหลา เมื่อมีชาวจีนอาศัยและจับจองพื้นที่เป็นจานวนมากทาให้มีการเข้ามาของ

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 165

วัมนธรรมจีนควบคู่ไปด้วย วัมนธรรมและประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายจีน อาเภอบางคล้า ปฏิบัติกันทุกปีได้แก่ การไหว้


บรรพบุรุษและเทพเจ้าในเทศกาลต่าง ๆ พิธีแต่งงาน พิธีศพ การทากงเต๊ก ตรุษจีน สาทรจีน รวมไปถึงเทศกาลกินเจ
ที่ตาบลสาวชะโงกซึ่งอยู่ในอาเภอบางคล้าเป็นตาบลที่มีชุมชนชาวจีนอยู่มาก จากคาบอกเล่าของคนเก่าแก่ได้
เล่าว่า พื้นที่ส่วนนี้เป็นของชาวเขมรมาก่อน ต่อมามีการอพยพย้ายถิ่นของชาวจีนเกิดขึ้น ชาวจีนบางกลุ่มได้มาสร้าง
ชุมชนและประกอบอาชีพทาสวนผลไม้และปลูกผักเพื่อนาไปขายที่ตลาด เนื่องจากบริเวณนี้ติดแม่น้าบางปะกงซึ่งเป็น
ทาเลที่เหมาะแก่การเพาะปลูกทาให้การทาการเกษตรได้ผลดี เมื่อชาวจีนมีจานวนมากขึ้นจากการอพยพชักชวนกันเข้า
มาทามาหากินในพื้นที่รวมไปถึงการแต่งงานมีลูกหลานเพิ่มมากขึ้น ทาให้ชาวเขมรที่เคยอยู่แต่เดิมต้องย้ายถิ่นฐานไป
การสร้างโรงเจบั่น กิ๊มยื ออี๊ตั่วเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเติบโตของชุมชน โรงเจแห่งนี้อยู่ติดแม่น้าบางปะกง ซึ่งการ
คมนาคมทางน้าถือได้ว่าเป็นการคมนาคมหลักในสมัยก่อน และประชาชนมักตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนใกล้แม่น้า ทาให้คน
ไทยเชื้อสายจีนจากละแวกใกล้เคียงเดินทางมายังโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วอย่างมากมายทุกปี
ในทุกๆ ปีช่วงเทศกาลกินเจ โรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วจะทาการเชิญเทพเจ้าเพื่อมาสถิตอยู่ในศาลเจ้าสาหรับให้ผู้คน
เคารพบูชา องค์เจ้าประจาศาลคือ เก้าอ๊วงฮุดโจ้ว นอกจากนั้นยังมีการเชิญพระจีนนิกายมหายานมาทาพิธีตลอดช่วง
เทศกาลกินเจ ตลอด 10 วันจะมีการสวดมนต์ทาวัตรทุกวัน วันละ 4 เวลา ได้แก่เวลา 5:00น. 10:00น. 14:00น. และ
19:00น. ในการสวดมนต์ทาวัตรแต่ละเวลาจะมีดนตรีร่วมบรรเลงด้วย
เดิมทีเดียวดนตรีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมการบวงสรวงเซ่นไหว้เทพยดาฟ้าดินตามลัทธิขงจื้อ หรือมีลักษณะเป็น
ดนตรีบรรเลง ไม่มีคาร้องการบอกกล่าวแด่เทพยดาฟ้าดินกระทาโดยการสวด อย่างไรก็ตามตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง ได้
มีการประพันธ์คาร้องให้สอดคล้องกับทานองดนตรี ซึ่งทานองเพลงในดนตรีขงจื้อ มีทั้งที่เป็นทานองที่ประกอบด้วย 7
เสียงและ 5 เสียงอย่างไรก็ตามทานองที่ประกอบ ด้วย 5 เสียงได้รับความนิยมมากกว่ากรณีของ 7 เสียง (เฉลิมศักดิ์
พิกุลศรี, 2540: 30)
สาหรับการทาวัตรเย็นเวลา 19.00 น. หรือการสวดปักเต้าเกง บทสวดที่ใช้จะเป็นทานองสูงต่าเป็นส่วนมาก
และวงดนตรีสามรถบรรเลงคลอไปกับบทสวดได้ นอกจากนั้นในช่วงทาวัตรเย็นนี้จะมีการเดินเวียนธูปตั้งแต่บริเวณ
รอบศาลเจ้าด้านนอกจนไปถึงโต๊ะหมู่บูชาด้านใน ซึ่งในขณะที่เดินเวียนธูป พระจีนจะทาการสวดเป็นทานองพร้อมกับ
เคาะกระดิ่งไปด้วย สาหรับวงดนตรีจะบรรเลงคลอไปจนจบการสวด ซึ่งเมื่อเทียบกับบทสวดทาวัตรในช่วงเวลาอื่ น ๆ
แล้วถือได้ว่าบทสวดทาวัตรเย็นใช้เวลานานกว่าและมีความไพเราะของช่วงทานองมากกว่าบทสวดในช่วงเวลาอื่น ๆ
และบทเพลงที่ใช้ในพิธีการสวดทาวัตรเย็นนั้น ยังมิได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้วิจัยจึงได้เลือกศึกษาดนตรีที่ใช้ป ระกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจ
บั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา แม้ตามศาลเจ้าต่างๆทั่วไปในประเทศไทยจะมีการ
จัดเทศกาลกินเจเหมือนกัน แต่ยังมีส่วนน้อยที่มีการจัดวงดนตรีเล่นประกอบการสวดทาวัตรในเทศกาลกินเจ และชาว
ไทยเชื้อสายจีนที่เป็นจีนแท้ ๆ แต่ดั้งเดิมนับวันก็จะกลมกลืนกลายเป็นคนไทยไปเกือบหมด การจะหาคนจีนที่เล่น

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 166

เครื่องดนตรีจีนแบบดั้งเดิมได้นั้นจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลาบาก อีกทั้งผู้ที่จะสามารถเล่นประกอบบทสวดมนต์จาเป็น
จะต้องมีพื้นฐานความรู้ภาษาจีนเนื่องจากบทสวดที่ใช้ในเทศกาลกินเจเป็นบทสวดภาษาจีน ผู้บรรเลงจึงจาเป็นต้อง
เข้าใจว่าควรบรรเลงอย่างไรให้เข้ากับบทสวดและเริ่มบรรเลงช่วงไหนหรือหยุดช่วงไหน การศึกษาดนตรีที่ใช้บรรเลง
ประกอบการสวดมนต์ในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว จึงมีความน่าสนใจและควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง

2.วัตถุประสงค์ของการวิจยั
1. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
2. ศึกษาดนตรีและบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยือ
อี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

3. กรอบแนวคิดของการวิจัย

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 167

4. วิธดี าเนินการวิจัย
การศึกษาดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่น กิ๊มยืออี๊ตั่วตาบล
สาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาตามกระบวนการทางมานุษยดุริยางค
วิทยาเป็นแนวทางในการศึกษา โดยทาการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตารา บทความทางวิชาการ เอกสารสิ่งพิมพ์
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นฐานความรู้และออกปฏิบัติภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูล ซึ่งในการออกภาคสนามนั้น
ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม
ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต บันทึกเสียง บันทึกภาพ จากนั้นจึงนาข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้มาเรียบเรียงและ
วิเคราะห์เป็นรายงานการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยได้กาหนดแนวทางวิธีการดาเนินการตามขั้นตอน
ดังนี้
1. การกาหนดแหล่งข้อมูล
1.1 การเลือกพื้นที่ในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Selective)
ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบล
สาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
1.2 การกาหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกศึกษากลุ่มตัวอย่าง
ชาวจีน และชาวไทยเชื้อสายจีน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัด
ฉะเชิงเทรา โดยผู้วิจัยได้ทาการแบ่งกลุ่มประชากรที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ
- ผู้ให้ข้อมูลที่มีบทบาทและหน้าที่เกี่ยวข้องกับโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ได้แก่ ประธานและกรรมการโรง
เจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ผู้ประกอบพิธี นักดนตรี
- ผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ โดยกลุ่มประชากรนี้จะเป็นผู้ที่อยู่และเคยอยู่ในพื้นที่ และเป็นผู้ที่สามารถให้
ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนในอดีตซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. การรวบรวมข้อมูล
2.1 ศึกษาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงต่างๆ
ผู้วิจัยได้ทาการศึกษาจากเอกสาร ตารา แถบบันทึกเสียง รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ
สืบค้นข้อมูลในเบื้องต้น โดยผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เช่นหอสมุดแห่งชาติ
กรมศิลปากร, สานักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรม ประสานมิตร, สานักหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา, ห้องสมุดประชาชนในชุมชน
2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม
เพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ ผู้วิจัยได้ทาการสารวจและเก็บข้อมูล
จากภาคสนาม โดยเลือกสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา
The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 168

จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต การบันทึกเสียง และบันทึกภาพนิ่ง โดยทาความเข้าใจถึงดนตรีที่


ใช้บ รรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ บทบาท และโอกาสที่ใช้บรรเลงในกิจกรรมอื่นๆ
นอกเหนือจากการบรรเลงประกอบการสวดทาวัตร วิธีที่ใช้ในการดาเนินการวิจัยเป็นไปตามขั้นตอนทางมานุษยดุริ
ยางควิทยา ดังนี้
2.2.1 การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยได้ทาการสัมภาษณ์ 2 แบบคือ การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ
(Formal Interview) และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เพื่อให้ได้รายละเอียดและข้อมูล
เชิงลึก โดยเลือกสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ได้แก่ พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธี หัวหน้าวงดนตรีนักดนตรี ประธานมูลนิธิโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว และประชาชนในชุมชน
ใกล้เคียง
2.2.2 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) โดยใช้การสังเกตและบันทึกข้อมูลในแบบ
บันทึกที่ผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้นเพื่อนาไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.2.3 การบันทึกเสียง (Recording) ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือบันทึกเสียงระบบบันทึกเสียงเป็นไฟล์ mp3 โดยใช้
บันทึกเสียงขณะทาการสัมภาษณ์และบันทึกบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของ
โรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อนามาทาการวิเคราะห์ เรียบเรียงและ
บันทึกเป็นโน้ตเพลง
2.2.4 การบันทึกภาพ (Photography) ผู้วิจัยได้ทาการบันทึกภาพ 2 ระบบ คือภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
จุดประสงค์เพื่อบันทึกภาพวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่บรรเลงในโอกาสต่างๆ ทาให้เห็นภาพและใช้เพื่อ นาเสนอ
ผลการวิจัยต่อไป
3. การศึกษาข้อมูล
เมื่อได้ข้อมูลทั้งจากเอกสารที่ค้นคว้ามาและจากการเก็บข้อมูลภาคสนามแล้ว ผู้วิจัยได้นามาจัดเป็นหมวดหมู่
ดังนี้
3.1 ศึกษาประวัติความเป็นมาและพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยทาการศึกษาถึง ประวัติความเป็นมาของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
รวมไปถึงองค์ประกอบของพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรเย็น ในด้านความเชื่อ ขั้นตอน การจัดสถานที่ และการสวด
มนต์ของบรรพชิต โดยนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลภาคสนามมาทาการวิเคราะห์เรียบเรียง
3.2 ศึกษาองค์ประกอบของดนตรี ได้แก่ วงดนตรี นักดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ และเทคนิคในการบรรเลงรวม
ไปถึงบทเพลงต่างๆ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้การบันทึกเสียงหรือ
ภาพเคลื่อนไหว และนาข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงและนามาบันทึกเป็นโน้ตเพลงควบคู่ไปกับบทสวด

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 169

5. การวิเคราะห์ขอ้ มูล
เมื่อได้จาแนกข้อมูลที่ได้มาทั้งจากเอกสารต่างๆและจากการเก็บข้อมูลภาคสนามออกเป็นหมวดหมู่แล้ว ผู้วิจัย
ได้ทาการศึกษาวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่
5.1 ศึกษาประวัติความเป็นมาและพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
1. ประวัติความเป็นมาของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
2. ประวัตินักดนตรีและความเป็นมาของคณะดนตรีที่ใช้บรรเลง
3.. องค์ประกอบของพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรเย็นของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
- ความเชื่อในพิธีกรรม
- ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม
- การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรม
- ลักษณะการสวดมนต์ของบรรพชิต
5.2 ศึกษาดนตรีและบทเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบั่นกิ๊
มยืออี๊ตั่วตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
1. เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธี
2. เทคนิควิธีการบรรเลง
3. ศึกษาและบันทึกโน้ตเพลงที่ใช้ในพิธีสวดมนต์ทาวัตรเย็น

6. สรุปผลการวิจยั
1. ประวัติความเป็นมาและพิธกี รรมในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบัน่ กิม๊ ยืออีต๊ วั่
1.1 ประวัติความเป็นมาของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
ประวัติโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วหรือที่รู้จักกันอีกชื่อในชื่อของโรงเจตลาดบ้านหมู่ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตาบลสาวชะโงก
อาเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทราโดยมีทาเลที่ตั้งอยู่ติดริมแม่น้าบางปะกง จากการสัมภาษณ์ คุณจงกล ทิมอรุณ
ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงเจตลาดบ้านหมู่และชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้ความว่า ประวัติของโรงเจบั่นกิ๊มยือ
อี๊ตั่วนี้จากการเล่าสืบต่อกันมา ทราบว่ามีอายุมากกว่า 100 ปี สาเหตุที่โรงเจบั่นกิ๊ม ยืออี๊ตั่วมีอีกชื่อหนึ่งคือโรงเจตลาด
บ้านหมู่นั้นเป็นเพราะในสมัยโบราณ ชุมชนตลาดบ้านหมู่ในอาเภอบางคล้าเป็นชุมชนใหญ่ ส่วนมากการสัญจรในอดีต
นั้น มักอาศัยการสัญจรทางน้าเป็นหลัก จากชุมชนตลาดบ้านหมู่มีเรือกลไฟลาใหญ่เป็นเรือโดยสารวิ่งไปยังตัวเมือง
ฉะเชิงเทราและบางคล้าทางแม่น้าบางปะกง ในจุดที่สร้างโรงเจในปัจจุบันนี้ อดีตได้มีผู้เม่าชาวจีนฮกเกี้ยนเริ่มก่อสร้าง
โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา
The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 170

โรงเจ โดยในเริ่มแรกเป็นโรงเรือนไม้ขนาดย่อมและมุงหลังคาด้วยจากซึ่งถือเป็นโรงเรือนสาหรับใช้ในพิธีเทศกาลกินเจ
เดือนเก้าในทุกๆ ปี ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มชาวบ้านตลาดบ้านหมู่ ร่วมกันสร้างโรงเจเป็นเรือนไม้มุงด้วยหลังคาสังกะสี
จวบจนถึงปี พ.ศ. 2528 ทางโรงเจได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อโรงเจตลาดบ้านหมู่ และได้มีการพัมนาสร้างโรงเจเป็นเรือน
คอนกรีตหลังคากระเบื้องอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน รวมไปถึงได้เพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ตามลาดับ
ตามปกติแล้วโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วจะปิดให้บริการ นอกจากช่วงเทศกาลกินเจที่โรงเจจะเปิดให้ประชาชนเข้ามา
กราบไหว้บูชา ในแต่ละปีจะมีวันสาหรับไหว้เจ้าคือวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน เรียกว่าวันชิดอิดจับโหงว และเปิดอีก
ครั้งในวันเกิดเจ้าแม่กวนอิม และวันไหว้กลางปี ขึ้น1ค่าเดือน5
1.2 ชีวประวัติและความเป็นมาของคณะดนตรีที่ใช้บรรเลง
คณะดนตรีของโรงเจบั่นกิ้มยืออี๊ตั่วประกอบด้วยนักดนตรีจานวน 3 คน ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถในการเล่น
เครื่องดนตรีได้หลายชนิด นักดนตรีในคณะดนตรีจะมีการรวมตัวกันเมื่อมีงานสาคัญต่างๆ เช่น งานพิธีกงเต็ก งานพิธี
ทิ้งกระจาด รวมไปถึงการเล่นประกอบการสวดทาวัตรในเทศกาลกินเจทุกๆปี โดยนักดนตรีสามท่านประกอบด้วย 1.
นายสมบูรณ์ แซ่ปึง เป็นหัวหน้าคณะนักดนตรี บรรเลงเอี่ยวคิ้ม 2.นายกิ้มง้วน แซ่ปึง บรรเลงตีต้าหรือปี่ 3.นายสุนิธิ
ปิ่นแก้ว บรรเลงเจ็งและกลองจีน
1.3องค์ประกอบของพิธีกรรมในการสวดมนต์ทาวัตรเย็น ของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว
1.3.1 ความเชื่อในพิธีกรรม
พิธีการกินเจเดือนเก้าตามปฏิทินจีนทุกๆ ปีจะมีกาหนดเก้าวันตามแบบลัทธิมหายานเป็นการ
ประกอบพิธีกรรมสักการะบูชาพระพุทธเจ้า 7 พระองค์กับพระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์รวมเป็น 9 พระองค์หรือนิยม
เรียกอีกอย่าหนึ่งว่าดาวพระเคราะห์ทั้งเก้า ซึ่งได้แก่ พระอาทิตย์พระจันทร์ดาวพระอั งคารดาวพระพุธดาวพระ
พฤหัสบดีดาวพระศุกร์ดาวพระเสาร์พระราหูและพระเกตุ พิธีเก้าอ๋องเจนี้กาหนดวันตามจันทรคติ คือเริ่มตั้งแต่วัน ขึ้น
1 ค่าเดือน 9 ถึงขึ้น 9 ค่าเดือน 9 ตามปฏิทินจีนรวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน ในส่วนของพิธีกรรมสักการะบูชา
พระพุทธเจ้า 7 พระองค์กับพระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์นั้น ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างสละจิตโลกียวัตรและ
บาเพ็ญศีลสมาทานกินเจมังสวิรัติไม่บริโภคเนื้อสัตว์ บริโภคแต่อาหารผักผลไม้งดเว้นไม่กระทากิจใดๆอันจะนามาซึ่ง
ความเบียดเบียนเดือดร้อนให้แก่สัตว์ทั้งปวงกล่าวคือ 1.ไม่เอาชีวิตของสัตว์มาต่อเติมบารุงชีวิตของเรา 2.ไม่เอาเลือด
ของสัตว์มาเป็นเลือดของเรา3.ไม่เอาเนื้อของสัตว์มาเป็นเนื้อของเราซักฟอกมลทินออกจากร่างกายวาจาและใจ ผู้ถือ
ศีลกินเจจะสวมเสื้อผ้าสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากจุดด่างพร้อยพากันเดินทางสู่วัดวาอารามหรือโรงเจต่างๆ พร้อม
ด้วยดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการน้อมบูชาแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและองค์พระพุทธเจ้า 7 พระองค์กับพระ
โพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ (กิ๋วอ๋องฮุดโจ้ว) และยังมีการจัดหาเครื่องกระดาษ โดยเครื่องกระดาษนี้นิยมทาเป็นรูปเครื่อง
ทรง เสื้อผ้าหมวกรองเท้ากระดาษเงินกระดาษทองต่างๆ นาไปน้อมถวายเป็นเครื่องสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
และถือศีลสวดมนต์ทาสมาธิภาวนา แผ่เมตตาจิตขอพรเพื่อความเจริญสมบูรณ์พูนสุข

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 171

1.3.2 ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม
การถือศีลกินเจตามหลักปฏิทินจีนจะกินเวลา 9 วัน 9 คืน แต่ในความเป็นจริงแล้วกาหนดการต่างๆ
ตั้งแต่การเชิญเทพเจ้าลงมาสถิตย์ ณ ศาลเจ้าโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว จนถึงวันส่งเจ้ากลับขึ้นสวรรค์ จะใช้เวลารวม 11 วัน
โดยมีพิธีสาคัญ เช่น พิธีอัญเชิญกิวอ๋องฮุดโจ้ว รับองค์โป๊ยเซียนโจวซือ พิธีไหว้พระสวดมนต์ พิธีปล่อยปลา เต่า นก
และพิธีลอยกระทง พิธีเทกระจาดโปรยทาน แจกข้าวสาร มอบทุนการศึกษา พิธีถวายเครื่องทรงกระดาษ และพิธีส่ง
กิวอ๋องฮุดโจ้ว
ในส่วนของการประกอบพิธีกรรมสวดมนต์ทาวัตรเย็นเวลา 19.00 น. หรือเรียกอีกอย่างว่าการสวด
ปักเต้าเกง เป็นการสวดสาหรับสะเดาะเคราะห์ต่อดวงชะตา จะทาการสวดทุกวันตั้งแต่วันแรกจนถึงวันส่งเจ้าวัน
สุดท้าย
1.3.3 การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรม
ในการจัดสถานที่ประกอบพิธีสวดมนต์ทาวัตรนั้น จะใช้บริเวณศาลเจ้าด้านในเป็นจุดทาพิธี โดยส่วน
ทาพิธีจะเป็นบริเวณหน้าโต๊ะหมู่บูชา พระสงฆ์สามรูปจะยืนทาพิธีสวดต่อหน้าองค์พระและหน้ารูปปั้น กิวอ๋องฮุดโจ้ว
ทางฝั่งซ้ายจะเป็นโต๊ะหมู่บูชาของปักเต้าแชกุนหรือผู้กาหนดชะตาชีวิต รูปปั้นของปักเต้าในมือจะถือพู่กันและสมุด มี
ความหมายเป็นนัยว่าเป็นผู้ตรวจสอบความประพฤติและคอยจดรายชื่อ ทางฝั่งขวาเป็นโต๊ะหมู่บูชาของทีกงแชกุนผู้
กาหนดชะตาฟ้าดิน ส่วนโต๊ะหมู่ตรงกลางมีรูปปั้นพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และ พระโพธิสัตว์ 2 พระองค์ และมี
กระถางธูป เป็นตัวแทนของเทพเจ้า โดยทางฝั่งขวาของโต๊ะพิธี เป็นที่ตั้งของวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์
ทาวัตร โดยเรียงจากด้านในสุดคือกลองกับกระดิ่ง ตรงกลางคือ เอี่ยวคิ้ม (ขิมจีน) และริมสุดชิดธรณีประตูคือ ตีตา้ (ปี)่
1.3.4 ลักษณะการสวดมนต์ของบรรพชิต
ในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วจะแบ่งเป็นสี่วงเวลาคื
่ ช่ อ 05.00 น.,
10.00 น., 14.00 น. และ 19.00 น. ซึ่งการสวดทาวัตรเย็นช่วงเวลา 19.00 น. มักเรียกอีกอย่างว่าการสวดปักเต้าเกง
เป็นบทสวดสาหรับสะเดาะเคราะห์ต่อดวงชะตา สาหรับรูปแบบของการสวดมนต์ของบรรพชิต แบ่งออกได้เป็น 2
แบบหลักๆ คือ ทานองที่สวดโดยไม่มีเครื่องดนตรี และ ทานองที่สวดโดยมีดนตรีประกอบ
2. ศึกษาดนตรีและบทเพลงทีใ่ ช้บรรเลงประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ของโรงเจบัน่ กิม๊ ยืออีต๊ วั่
ตาบลสาวชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
2.1 เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธี
เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรที่คณะวงดนตรีของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ 1.
กลองจีน 2.เจ็งหรือกระดิ่ง 3.เอี่ยวคิ้มหรือขิมจีน และ 4.ตีต้าหรือปี่ โดยใช้นักดนตรีบรรเลงกลองและเจ็ง 1 คน
บรรเลงเอี่ยวคิ้มและตีต้าเครื่องมือละ 1คน รวมทั้งหมด 3 คน

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 172

2.2 เทคนิควิธีการบรรเลง
เทคนิคที่นักดนตรีในคณะดนตรีใช้เป็นเทคนิคเฉพาะของแต่ละเครื่องดนตรี ส่วนมากนักดนตรีในวงไม่ได้ผ่าน
การเรียนการสอนที่มีแบบแผน จะอาศัยการสังเกต จดจา และฝึกฝน ทาให้มีการคิดค้น เทคนิคใหม่ๆที่มีเอกลักษณ์
และวิธีการเรียกเฉพาะของแต่ละเครื่อง นักดนตรีค่อนข้างมีทักษะและมีความพลิกแพลงในการบรรเลงสูง สามารถจับ
บันไดเสียงการสวดของพระสงฆ์ที่มักจะมีการเปลี่ยนบันไดเสียงตลอดเวลา และสามารถบรรเลงคลอกับการสวดไปได้
อย่างไพเราะ
2.3 ศึกษาเพลงประกอบบทสวดที่ใช้ในพิธีสวดมนต์ทาวัตรเย็น
บทเพลงที่ใช้ประกอบพิธีการสวดมนต์ทาวัตรเย็นของโรงเจบั่นกิ้มยืออี๊ตั่ว ประกอบด้วยเพลงบรรเลง 3 เพลง
ได้แก่ 1. เพลงจับปุยจิ้ว (เหล้า 10 จอก) 2. เพลงปักเจี้ยเก็ง (วังทางเหนือ) และ 3. เพลงไคซีเท็ง (หน้าต่าง 4 บาน)
และเพลงบรรเลงคลอไปกับบทสวดอีก 3 เพลง ได้แก่ 1. เพลงประกอบการสวดบูชาธูปเทียน 2. เพลงประกอบบทสวด
นาซิงปักเต้าและ 3. เพลงประกอบบทสวดพระคาถาไภษัชอภิเษก
จากนั้นผู้วิจัยนามาศึกษาและบันทึกโน้ตโดยแบ่งทั้งหมด 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ลาดับการบรรเลง
ในการสวดมนต์ทาวัตรเย็นช่วง 19.00 น. มีลาดับการบรรเลงดังต่อไปนี้ 1.ดนตรีบรรเลงเพลงปักเจี้ยเก็ง (วัง
ทางเหนือ)เพื่อเป็นการโหมโรง 2.จบดนตรีบรรเลงเริ่มเข้าสู่คากล่าวบูชาธูปเทียน ซึ่งเป็นเป็นบทสวดที่มีดนตรีบรรเลง
ทานองคลอไปกับบทสวด 3.ต่อด้วยการสวดบทไคเกงกี่หรือคาถาบทแรกเป็นบทสวดพูด ไม่มีดนตรีบรรเลง 4.ดนตรี
บรรเลงเพลงจับปุยจิ้ว (เหล้า 10 จอก) 5.จบดนตรีบรรเลงต่อด้วยบทไคเกงกี่เป็นบทสวดที่มีดนตรีบรรเลงทานองคลอ
ไปกับบทสวด 6.ดนตรีบรรเลงเพลงไคซีเท็ง (หน้าต่าง 4 บาน) 7.บทไคเกงกี(่ ต่อ) เป็นบทพูดไม่มีดนตรีบรรเลง 8.บทจั่ง
อยาก เป็นบทสวดที่มีดนตรีบรรเลงทานองคลอไปกับบทสวด โดยทานองเป็นทานองเดียวกับบทบูชาธูปเทียน 9.ดนตรี
บรรเลงเพลงจับปุยจิ้ว (เหล้า 10 จอก) 10.บทสวดหยกซื้อกวงเต้งจิงงั้ง (พระคาถาไภษัชอภิเษก) เป็นบทสวดที่มีดนตรี
บรรเลงทานองคลอไปกับบทสวด พร้อมกับมีการเดินเวียนธูป
2. ทานองเพลงประกอบกับคาสวด
ในการสวดมนต์ทาวัตรเย็นช่วง 19.00 น มีการแบ่งเพลงเป็นสองประเภท คือ เพลงบรรเลง และเพลง
ประกอบบทสวด ในส่วนของเพลงบรรเลง 3 เพลงเป็นเพลงที่มีโน้ตและบันไดเสียงตายตัวเนื่องจากเป็นการบรรเลง
เฉพาะดนตรีอย่างเดียวเลยไม่จาเป็นต้องเปลี่ยนบันไดเสียง สาหรับเพลงที่ประกอบกับบทสวดพระสงฆ์ผู้ทาการสวดจะ
มีการเปลี่ยนบันไดเสียงขึ้นลงบ่อยครั้ง ทาให้นักดนตรีต้องใช้ทักษะและไหวพริบเพื่อจับเสียงที่ถูกต้องและให้การ
บรรเลงประกอบบทสวดเป็นไปได้อย่างเรียบร้อย

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 173

ผู้วิจัยได้ทาการบันทึกโน้ตเป็นโน้ตไทยและสากลโดยบันทึกเสียงในบันไดเสียงโดเพื่องานต่อการเข้าใจ จากนั้น
นามาแยกทานองโดยบันทึกเป็นตัวโน้ต 1 แถว พร้อมทั้งใส่บทสวดภาษาจีน 1 แถว และคาอ่านภาษาไทยควบคู่ไปกับ
โน้ตอีก 1 แถว ซึ่งทาให้สามารถทราบทานองของบทสวดแต่ละบทได้ ดังตัวอย่างการสวดบทนาซิงปักเต้าบทที่ 1

3. ความหมายของบทสวด
การสวดมนต์ทาวัตรเย็นรอบ 19.00 น. หรือการสวดปักเต้าเกง มีความหมายของบทสวดต่างๆดังนี้ 1. คา
กล่าวบูชาธูปเทียน มีความหมายถึงการบูชา กลิ่นหอมของธูปที่เกิดจากการจุดของผู้มีจิตศัทราล่องลอยไปไกลเพื่อเป็น
การแสดงความเคารพนอบน้อมแด่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ 2.บทไคเกงกี่หรือคาถาบทแรก มีความหมายเล่าถึงพระ
มัญชุศรีโพธิสัตว์ผู้ได้สดับรับฟังการแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าและตั้งคาถามเกี่ยวกับดาวเทพสัตตเคราะห์ทั้ง 7
ซึ่งมีอานุภาพในการดลบันดาลสิ่งต่างๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตอบคาถามนั้นๆพร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดของดาว
เทพสัตตเคราะห์ทั้ง7 อันได้แก่พระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์เมื่อได้ฟังคาอธิบายของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ทาให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของพระเจ้าทั้ง 9พระองค์ จึงมีความยินดีและนอบน้อมสรรเสริญ และขอพร
ให้ดาวเทพสัตตเคราะห์ช่วยปกปักรักษา ขอพรให้สิ่งที่ตั้งใจไว้สาเร็จตามที่ใจคิด 3.บทจั่งอยากมีความหมายถึงการ

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 174

แสดงความนอบน้อมแด่ พระธรรมสันนิบาตวัมนชันษาเจ้าพระพุทธะ และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ 4. หยกซื้อกวง


เต้งจิงงั้ง (พระคาถาไภษัชอภิเษก) มีความหมายแสดงความนอบน้อมต่อพระไภษชัยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ผู้
ประเสริฐ 5. ห่วยเฮียงบุ้ง (บทแผ่เมตตา)มีความหมายถึงการแผ่อุทิศส่วนกุศลต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง
4. โอกาสที่ใช้ในพิธีกรรม
จากการศึกษาดนตรีประกอบการสวดมนต์ทาวัตรเย็นในเทศกาลกินเจ ทั้ง 6 เพลง พบว่า เพลงบรรเลง 3
เพลงเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงตอนโหมโรงเพื่อทาให้ทราบว่ากาลังจะมีการสวดมนต์เกิดขึ้น เป็นการรอเพื่อเตรียมความ
พร้อมต่างๆในการทาพิธี ส่วนเพลงอื่น ๆ ใช้บรรเลงคั่นระหว่างบทสวด เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักเหนื่อยและดื่มน้า
เนื่องจากการสวดแต่ละบทใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน สาหรับทานองเพลงที่ใช้บรรเลงคลอไปกับบทสวดมีนัยสาคัญ
เพื่อให้พระสงฆ์ที่ทาการสวดไม่เหนื่อยจนเกินไป ในช่วงรอยต่อของการหายใจจะเป็นช่วงที่ไม่มีการสวด การที่มีดนตรี
ทาให้ทานองยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและทาให้การสวดเป็นระเบียบเรียบร้อย

7.การอภิปรายผล
การศึกษาวิจัยเรื่อง ดนตรีในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ: กรณีศึกษาโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาว
ชะโงก อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า การสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจของโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่วมี
เอกลักษณ์เฉพาะ คือมีการนาเอาดนตรีเข้ามาประกอบการสวดมนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดมนต์ทาวัตรเย็นช่วง
19.00 น. หรือการสวดบทปักเต้าเกงซึ่งเป็นบทสวดที่มีความไพเราะ นักดนตรีที่บรรเลงประกอบบทสวดมี
ความสามารถและไหวพริบ นอกจากจะมีเทคนิคเฉพาะตัวที่คิดค้นขึ้นมาเองแล้ว ในการบรรเลงประกอบการสวดยังมี
ความยากของการบรรเลงเนื่องจากพระสงฆ์ที่ทาการสวดมักจะมีการเปลี่ยนบันไดเสียงทุกครั้งที่ขึ้นบทสวด หรือแม้แต่
ในขณะที่ทาการสวดอยู่ด้วยก็ตาม ซึ่งนักดนตรีต้องจับบันไดเสียงและเปลี่ยนบันไดเสียงตามการสวดของพระสงฆ์อยู่
ตลอดเวลา โดยจะมีบันไดเสียงโดเป็นหลักและในขณะที่พระทาการสวดนักดนตรีจะฟังบันไดเสียงของพระสงฆ์และ
เปลี่ยนบันไดเสียงให้เท่ากับเสียงสวดของพระสงฆ์ ทาให้การสวดมนต์ทาวัตรมีความเป็นระเบียบเรียบร้ อยและจังหวะ
แม่น ย าถูกต้องตลอดการสวด ส าหรั บ นั กดนตรี นั้ น ไม่ได้มีการบั นทึกโน้ตเพลงไว้เป็นลายลั ก ษณ์อักษร อาศั ย
ความคุ้นเคยและจดจาทานองของบทสวดแต่ละบทได้โดยไม่ต้องดูโน้ต เพลง ทาให้การสวดมนต์ในเทศกาลกินเจของ
โรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ต่างจากการสวดทาวัตรในเทศกาลกินเจของโรงเจอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการสวดโดยพระสงฆ์
อย่างเดียวไม่มีดนตรีประกอบ ในส่วนของการบันทึกโน้ตควบคู่ไปกับบทสวดจะทาให้สามารถจับทานองที่ใช้ประกอบ
บทสวดและทาให้ผู้ที่สนใจทราบถึงทานองสวดที่ถูกต้องได้โดยเทียบจากโน้ตเพลงและคาสวดที่ได้บันทึกไว้

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education
P a g e | 175

8.ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาดนตรีในการสวดมนต์ทาวัตรในเทศกาลกินเจ: กรณีศึกษาโรงเจบั่นกิ๊มยืออี๊ตั่ว ตาบลสาวชะโงก
อาเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ทาให้ผู้วิจัยทราบถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรี และพิธีกรรมการสวดมนต์ทาวัตรใน
เทศกาลกินเจของพุทธศาสนานิกายมหายาน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรทาการศึกษาบทเพลงที่เกี่ยวกับพิธีกรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆที่อยู่ในประเทศไทย
2. ควรทาการศึกษาพิธีกรรมอื่นๆที่มีดนตรีประกอบ ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย

9. บรรณานุกรม
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2540). ดนตรีจีน. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เนตรดาว พละมาตย์. (2530). ศาลเจ้าจีนในเมืองไทย.คนจีน200ปีภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ภาค2. เส้น ทาง
เศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: ม.พ.ป.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2547). จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทแบรนด์เอจ จากัด
สมบูรณ์ สุขสาราญ. (2530). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของชุมชนชาวจีน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ: ศิลปกรรมวิชาการ ครั้งที่ 2: ศิลปะ 4.0: ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์และศิลปะเพื่อการศึกษา


The 2nd National Fine Arts Conference: The Arts 4.0: Creative Art and Art Education

You might also like