You are on page 1of 24

1

“เวลาอย่างใหม่ ” กับการสร้ างระบบราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕


วิภสั เลิศรัตนรังษี๑

ประกาศ “ให้ ใช้ วันอย่างใหม่ ”


ปลายปี พ.ศ.๒๔๒๗ ความตึงเครี ยดระหว่างอังกฤษกับอังวะใกล้มาถึงจุดแตกหัก ชนชั้นนาสยาม
ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อใดที่องั กฤษผนวกอังวะเป็ นอาณานิ คมได้สาเร็ จ พรมแดน
ระหว่างสยามกับอังกฤษก็จะมาประชิดกันในทันที
ภายใต้สถานการณ์ ที่ว่านี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕, ครองราชย์ พ.ศ.
๒๔๑๑-๕๓) ต้องมีพระราชหัตถเลขาไปถามความเห็นจากราชทูตสยามประจายุโรปว่า สยามควรจะแสดง
ท่าทีอย่างไร เพราะราชทูตกลุ่มนี้อยูใ่ กล้แหล่งข่าวและศูนย์กลางอานาจในยุโรป จุดเริ่ มต้นนี้เองที่นาไปสู่ การ
เกิดขึ้นของคากราบบังคมทูลขอแก้ไขการปกครองแผ่นดินโดยเจ้านายและขุนนาง ร.ศ.๑๐๓ (พ.ศ.๒๔๒๗)
เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรคากราบบังคมทูลแล้วก็มีพระราชดารัสตอบกลับไปว่า ทรงเห็นด้วยที่สยาม
จะต้องปรับปรุ งการปกครองให้เหมาะสมกับกาลสมัยตามที่เสนอมา แต่ก็ยงั มีขอ้ ขัดข้องอีกหลายประการที่
สยามยังไม่สามารถเข้าสู่ การปกครองด้วยรัฐธรรมนูญได้ ตามความเห็นส่ วนพระองค์ สิ่ งแรกที่จะต้องทาให้
สาเร็ จเสี ยก่อนคือ “คอเวอนแมนต์รีฟอม” หรื อการปฏิรูปการบริ หารราชการแผ่นดิน หากทาสิ่ งนี้ได้แล้วก็จะ
ตั้งต้นทาสิ่ งต่างๆ ต่อไปได้โดยไม่ยากเย็นนัก๒
หลังจากมี พ ระราชดารัส ตอบไปแล้ว ๓ ปี การท า “คอเวอนแมนต์รีฟ อม” ก็ ได้เริ่ ม ขึ้ นอย่างเป็ น
ทางการ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิ บายแก้ไขการปกครอง
แผ่นดินตอนปลายปี พ.ศ.๒๔๓๐๓ ซึ่ งนักวิชาการต่างเห็ นพ้องต้องกันว่าพระราชนิ พ นธ์น้ ี คือหมุ ดหมาย
ส าคัญ ของการสิ้ น สุ ดลงของระบบการเมื องที่ ใช้กันมาตั้งแต่ ส มัย อยุธยา เพราะโปรดฯ ให้ ยกเลิก ระบบ


นักศึกษาปริ ญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ผเู ้ ขียนต้องขอขอบพระคุณอาจารย์สมเกียรติ วัน
ทะนะ สาหรับคาแนะนาอย่างมากเพื่อแก้ไขบทความนี้ รวมถึงอาจารย์ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ที่เอื้อเฟื้ อหลักฐานสาคัญคือ
รัฐธรรมนูญอนุสรณ์ปี พ.ศ.๒๔๘๓ ถ้าหากมีความผิดพลาดประการใด ย่อมยกเป็ นความรับผิดชอบของผูเ้ ขียนเท่านั้น

ชัยอนันต์ สมุทวณิ ช และขัตติยา กรรณสู ต รวบรวม. เอกสารการเมืองการปกครองไทย (พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๗๗).
(กรุ งเทพฯ: สถาบันสยามศึกษา, ๒๕๓๒). น. ๖๒.

Wyatt, David K. The Politics of Reform in Thailand: Education in Reign of King Chulalongkorn. (New Heaven: Yale
University Press, 1969). pp. 91 – 92.
2

ราชการแบบจตุสดมภ์ ยกเลิกการปกครองโดยแบ่งอานาจตามพื้นที่ แล้วเปลี่ยนไปใช้การแบ่งอานาจตาม


หน้าที่โดยมีระบบราชการสมัยใหม่เป็ นกลไกสาคัญแทน๔
เมื่อการปรับโครงสร้างการปกครองผ่านไป ๑ ปี พระองค์เริ่ มขั้นตอนต่อไปของการทา “คอเวอน
แมนต์รีฟ อม” คือการเปลี่ ยนปฏิ ทิน รัฐบาลได้ออกประกาศฉบับ หนึ่ งเรี ยกว่า “ให้ใช้วนั อย่างใหม่ ”๕ ที่ มี
สาระสาคัญอยู่ ๔ ประการคือ ๑. ยกเลิกการใช้ปฏิทินจันทรคติในระบบราชการ โดยเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินสุ ริ
ยคติระบบเกรกอเรี ยนที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการ (๒๔๐๑-๖๖) ได้สร้างขึ้น ๒. ให้
เรี ยกชื่อวันเดือนอย่างใหม่ที่บญั ญัติข้ ึนตามราศีของเดือนนั้น ๓. กาหนดให้วนั ที่ ๑ เมษายนของทุกปี เป็ นวัน
ขึ้นปี ใหม่แทนวันขึ้น ๑ ค่าเดือน ๕ และ ๔. กาหนดให้ใช้ศกั ราชใหม่ที่เรี ยกว่า “รัตนโกสิ นทรศก” (ร.ศ.)
โดยนับจากปี ที่สถาปนากรุ งเทพฯ เป็ นปี ที่ ๑
ประกาศฉบับนี้ เผยแพร่ ในราชกิจจานุเบกษาฉบับวันแรม ๑๔ ค่าเดือน ๔ ซึ่งหมายความว่าวันถัดมา
คือวันขึ้น ๑ ค่าเดือน ๕ จะถูกเรี ยกอย่างใหม่ในทันที ว่า “วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสิ นทรศก ๑๐๘” (พ.ศ.
๒๔๓๒) ดังที่ปรากฏพร้อมกันในท้องตราทุกฉบับที่ส่งออกจากกรุ งเทพมหานคร
มีเรื่ องเล่ากันต่อมาว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงร่ างประกาศฉบับนี้ดว้ ยพระองค์
เองทุ ก ตัว อัก ษร เพราะหาผู ้ที่ ไ ว้ว างพระราชหฤทัย ไม่ ไ ด้เลย ๖ หากเรื่ อ งเล่ า นี้ เป็ นจริ ง ก็ น่ า จะสะท้อ น
ความสาคัญของการเปลี่ยนปฏิ ทิ นได้อยู่ไม่น้อย แต่ก็น่าเสี ยดายนักที่ ก ารศึ กษาที่ ผ่านมากลับ ไม่ เคยรวม
ประกาศฉบับนี้ ให้เป็ นส่ วนหนึ่ งของการแก้ไขการปกครองแผ่นดิน สาเหตุสาคัญน่าจะมาจากตัวบทที่เต็มไป
ด้วยข้อมูลทางเทคนิคที่เข้าใจได้ยากในปัจจุบนั ทาให้การอ่านถูกมองข้ามไปจากบริ บทอย่างน่าเสี ยดาย โครง
เรื่ องของการปฏิรูปการปกครองจึงมีแต่การจัดโครงสร้างทางการเมืองเท่านั้น
ทั้งนี้ ท้ งั นั้น ผูเ้ ขียนก็ไม่ปฏิเสธข้อเท็จจริ งว่ามีการใช้ “ปฏิทินเกรกอเรี ยน” อยูใ่ นสังคมสยามมาก่อน
ปี พ.ศ.๒๔๓๒ เพราะชาวตะวันตกก็ตีพิมพ์ปฏิทินระบบนี้มาก่อนเป็ นเวลานานแล้ว๗ เราอาจเทียบเคียงความ
เข้าใจนี้ ได้จากการเข้ามาของ “นาฬิกากล” ก็ได้ เพราะเป็ นที่ทราบกันดีว่ามีการสร้างหอสู งบอกเวลานาฬิกา


พระราชดารั สในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัวแถลงพระบรมราชาธิ บายแก้ ไขการปกครองแผ่ นดิน และพระ
ราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัวทรงมีไปมากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ า กรมพระยาวชิ รญาณวรโร
รส. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๐).

“ให้ใช้วนั อย่างใหม่,” ใน กฎหมายในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑. (กรุ งเทพฯ: สานักพระราชวัง, ๒๕๔๐). น. ๘๕๐ – ๘๕๙.

เจริ ญศุขโสภาคย์ เกษมสันต์, น.อ. ม.จ.. ปฏิทินรั ตนโกสิ นทร์ ค.ศ. ๑๙๐๐ ถึง ๒๑๙๙. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิง
ศพ นาวาเอก หม่อมเจ้าเจริ ญศุขโสภาคย์ เกษมสันต์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๗). น. ๓๘.

ดู Bangkok Calendar, 1862. และ หนังสื อจดหมายเหตุ=The Bangkok Recorder. (กรุ งเทพฯ: สานักราชเลขาธิการ,
๒๕๓๗).
3

กลหลายแห่งในกรุ งเทพฯ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เช่นกัน๘ แต่ถา้ หากเราอ้างอิงการปรากฏตัวขึ้นจากหลักฐาน


ดังกล่าว อาณาบริ เวณของการใช้ “เวลาอย่างใหม่ ” ที่ ม าจากปฏิ ทิ นเกรกอเรี ยนและนาฬิ กากลก็ คงจะอยู่
โดยรอบท่าเรื อและไม่พน้ กาแพงพระนครเป็ นแน่
บทความนี้ จึงไม่เห็นด้วยกับการกล่าวอ้างว่าพลังของตลาดและเทคโนโลยีการคมนาคมเป็ นเงื่อนไข
สาคัญของการแพร่ กระจาย “เวลาอย่างใหม่” ดังเช่นที่มนั ควรจะเป็ นเช่นเดียวกับในสังคมอื่น ๙ เพราะถ้าเรา
อ้างอิงตามข้อเสนอนั้น การขยายตัวของการใช้ “เวลาอย่างใหม่” ก็อาจจะต้องรอไปจนถึงทศวรรษ ๒๔๔๐
เป็ นอย่างช้า คือเมื่อสายโทรเลขถูกลากออกจากกรุ งเทพฯ ไปทุกภูมิภาค และทางรถไฟหลวงสายแรกเปิ ด
ให้บริ การจากกรุ งเทพฯ ถึงกรุ งเก่า
ในทางตรงกันข้าม ผูเ้ ขียนกลับเห็ นว่ากระบวนการรวมศูนย์อานาจของรัฐต่างหากที่เป็ นเงื่อนไข
สาคัญเสี ยยิ่งกว่าการขยายตัวของตลาด อีกทั้งความจาเป็ นที่จะต้องใช้ “เวลาอย่างใหม่” ก็หาได้มาจากพลัง
ของทุนนิยมเสมอไป ดังที่เคยยกตัวอย่างไว้แล้วว่าการแข่งขันทางโหราศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทาให้
พระองค์ต้องน าเข้า “เวลาอย่างใหม่ ” เข้ามาใช้เป็ นบางส่ วนแล้ว แต่ถ ้าหากจะอ้างอี ก ว่าเทคโนโลยีก าร
คมนาคมยังคงเป็ น “พาหะ” ต่อไปให้ได้ เราก็ตอ้ งไม่หลงลืม ข้อเท็จจริ งสาคัญว่า เทคโนโลยีดงั กล่าวก็เป็ น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการรวมศูนย์อานาจของรัฐอีกเช่นกัน๑๐
ฉะนั้น เหตุปัจจัยและพลังผลักดันให้ มีการบังคับใช้ “เวลาอย่ างใหม่ ” ได้ อย่ างต่ อเนื่ องยาวนานที่สุด
จึงน่ าจะมาจากกลไกการรวมศูนย์ อานาจของรัฐในเวลานั้น ซึ่งก็คือการสร้ างระบบราชการสมัยใหม่
จากข้อเสนอนี้ ผูเ้ ขียนกาลังคืนตัวบท “ให้ใช้วนั อย่างใหม่” กลับไปยังจุดเริ่ มต้นของการแก้ไขการ
ปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ อีกครั้งหนึ่ง เพราะด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่เราจะจัดวางสยามไว้ในระนาบเดียวกับ
การประกาศ “ให้ใช้วนั อย่างใหม่” ในฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง๑๑ ทั้ง


พิศาลศรี กระต่ายทอง. “หอสู งกับการบอกเวลา.” ใน ศิลปวัฒนธรรม. ๓๖, ๑๒(๒๕๕๘): ๑๕๐ - ๑๖๗. และประกาศให้
นับเวลาตามนาฬิกากลของรัชกาลที่ ๔ อีกหลายฉบับ

Suwannakij, Sing. “King and Eye: Visual Formation and Technology of the Siamese Monarchy.” (PhD Dissertation,
University of Copenhagen, 2013). pp. 105 - 107; Hongsaton, Preedee. “Wela Wang: Technologies, Markets, and Morals
in Thai Leisure Culture, 1830s–1932.” (PhD Thesis, Australian National University, 2015). pp.80-85.
๑๐
ดูบทความของผูเ้ ขียนเรื่ อง “ก่อนจะเกิดสรรพคราสหว้ากอ: เส้นสมมติทางภูมิศาสตร์กบั การทานายอุปราคาของพระจอม
เกล้าฯ” (ศิลปวัฒนธรรม ปี ที่ ๓๙ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๑) และ “รัฐกับความเร็ ว: การคมนาคมในสมัย
สมบูรณาญาสิ ทธิราชย์สยาม” (ศิลปวัฒนธรรม ปี ที่ ๓๗ เดือนสิ งหาคม พ.ศ.๒๕๕๘)
๑๑
กรณี ของญี่ปุ่นดู Tanaka, Stefan. New Time in Modern Japan. (Princeton: Princeton University Press, 2004). จีนดู
Harrison, Henrietta. China: Inventing the Nation. (London: Arnold, 2001). pp. 158 – 161. รัสเซียดู Ssorin-Chaikov,
Nikolai. Two Lenins: A Brief Anthropology of Time. (Chicago: Hau Books, 2017). p. 3. ฝรั่งเศสดู Perovic, Sanja. The
4

ยังเป็ นการคื น ตัวบทนี้ ก ลับ สู่ การจัดวาง “โครงการทางการเมื อง” ของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้า
เจ้าอยูห่ ัวตอนต้นทศวรรษ ๒๔๓๐ ร่ วมกับพระราชนิพนธ์เรื่ อง “แถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครอง
แผ่นดิน” ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ และ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๓๓ อีกด้วย๑๒

หนึ่งประเทศ สองระบบ : การแยกปฏิทินของรัฐบาลออกจากปฏิทินของสังคม


หาก “ปฏิทิน” เป็ นเครื่ องกากับจังหวะของกิจกรรมส่ วนรวมตลอดจนรับประกันความสม่าเสมอ
ให้กบั กิจกรรมต่างๆ เสมอมา๑๓ รัฐกับสังคมสยามก็ย่อมจะเคยมีจงั หวะเวลาและ “อยู่ร่วมเวลาเดียวกัน” ด้วย
ปฏิทินจันทรคติมาอย่างยาวนานก่อนที่จะเริ่ มแบ่งแยกจากกันในปี พ.ศ.๒๔๓๒
ในทุ ก ปี เมื่ อ ถึ ง พระราชพิ ธี ส งกรานต์ พระโหราธิ บ ดี จ ะเป็ นผู ้ถ วายปฏิ ทิ น ฉบับ ใหม่ ใ ห้ ท รง
ประกาศใช้ทวั่ พระราชอาณาจักร๑๔ เพราะหน้าที่อย่างน้อยที่สุดของปฏิทินคือการกาหนดกรอบเวลาของทั้ง
พระราชอาณาจักรให้มีทิศทางเดียวกันอย่างหลวมๆ และยังเป็ นเครื่ องมือที่รัฐจะนาไปใช้ควบคุมกิจกรรม
ของสังคมด้วย ดังจะเห็นได้จากการใช้อานาจบังคับผ่านกาหนดเวลาเกณฑ์ไพร่ การใช้อานาจพิธีกรรมผ่าน
วันสาคัญทางศาสนาและพระราชพิธี และการใช้อานาจทางเศรษฐกิจผ่านกาหนดวันเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ส่ ง
ส่ วยภาษี หรื อค้าสาเภา เมื่อปฏิทินมีความสาคัญยิ่งยวดเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทาไมรัฐต้องคอยกาชับ
กาชาองค์กรคณะสงฆ์ที่มีหน้าที่กากับเวลาของสังคมว่าอย่าปล่อยให้คลาดเคลื่อนได้๑๕
แต่การที่ท้ งั พระราชอาณาจักรจะใช้ปฏิทินระบบเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องกาหนดวัน
หรื อเดือนให้ตรงกันเสมอไป การเหลื่อมกันของวันตามปฏิทินกับการสังเกตดวงจันทร์ ของแต่ละพื้นที่เป็ น
เรื่ องปกติอย่างมาก ความคลาดเคลื่อนเพี ยงเล็กน้อยเช่ นวันเพ็ญหรื อวันดับ ที่ไม่ตรงกับ ปรากฏการณ์ บ น
ท้องฟ้าจริ งๆ ยังเป็ นสิ่ งที่ยอมรับได้ในสมัยนั้น หากมีความคลาดเคลื่อนกันมากๆ ผูส้ ร้างปฏิทินก็จะชดเชย
วันเดือนที่คลาดเคลื่อนนั้นด้วยการเพิ่มเดือน ๘ เข้าไปอีกหน และเรี ยกปี ที่มี ๑๓ เดือนนั้นว่า “อธิกมาส” หาก
ไม่ ตกลงกันให้เป็ นที่ แน่ นอนว่าจะชดเชยกัน เมื่ อใด ปฏิ ทิ นที่ ใช้ก็ จะคลาดเคลื่ อนจากฤดู ก าลจริ ง ท าให้

Calendar in Revolutionary France: Perception of Time in Literature, Culture, Politics. (USA: Cambridge University
Press, 2012).
๑๒
ผูเ้ ขียนเคยเสนอไว้ในตอนท้ายของบทความ “โลกการเมืองในพระราชพิธีสิบสองเดือน” (ศิลปวัฒนธรรม ปี ที่ ๔๐ เดือน
ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒)
๑๓
ฐานิดา บุญวรรโณ. หมุนนาฬิกาสู่เวลาทางสังคม. (กรุ งเทพฯ: Illumination Editions, ๒๕๖๓). น.๒๑.
๑๔
หนังสื อ COURT ข่ าวราชการ เจ้ านาย ๑๑ พระองค์ ทรงช่ วยกันแต่ ง เล่ ม ๒. (กรุ งเทพฯ: สานักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๙). น.
๘๑.
๑๕
“ประกาศให้พระสงฆ์บอกศักราชให้ถูกต้อง.” ใน กฎหมายในรั ชกาลที่ ๕ เล่ ม ๑.
5

เข้าพรรษาอาจจะไม่ตรงกับฤดูฝน เริ่ มเพาะปลูกแล้วแต่ฝนไม่ตก หรื อน้ าท่วมเสี ยก่อนจะต้องเก็บเกี่ยว ความ


วิป ริ ตอันเกิดจากปฏิทิ น ที่ คลาดเคลื่อนจากฤดูกาลนี้ ดู จะสุ่ ม เสี่ ยงที่ จะท าให้ราษฎรลุกขึ้นต่อต้านพระเจ้า
แผ่นดินอยู่ไม่น้อย เพราะในยุคสมัยดังกล่าวความเข้าใจเรื่ องฤดูกาลหรื อดินฟ้ าอากาศ “มักจะเป็ นไปตาม
อาการของพระเจ้าแผ่นดินประพฤติ”๑๖
ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔, ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๙๔-
๒๔๑๑) พระองค์ตอ้ งการจะทาให้ท้ งั พระราชอาณาจักร “อยู่ร่วมเวลาเดียวกัน ” ให้ได้มากที่สุด จึงปรากฏ
ความพยายามของรัฐที่จะกากับสังคมให้ทากิจกรรมต่างๆ โดยพร้อมเพรี ยงกันผ่าน “ประกาศสงกรานต์” ที่
ได้เริ่ มต้นขึ้นในรัชสมัยนี้ ๑๗ ส่ วนความคลาดเคลื่อนสะสมในปฏิทินที่ใช้อยู่ก็คงจะสร้างปั ญหาให้รัฐอยู่ไม่
น้ อ ย พระองค์ ไ ด้เสนอให้ ใ ช้ ป ฏิ ทิ น ระบบเกรกอเรี ย นที่ แ บ่ ง เดื อ นอย่ างสม่ า เสมอมาแก้ปั ญ หาความ
คลาดเคลื่อนจากฤดูกาลจริ ง แต่หลังจากทรงทดลองใช้อยู่ระยะหนึ่ งแล้วก็พบว่าปฏิ ทินใหม่น้ ี ไม่สามารถ
สื่ อสารกับสังคมได้อย่างที่คาดหวัง เพราะวิธีการ “แปล” ปฏิทินเกรกอเรี ยนมาเขียนในระบบสัญลักษณ์ของ
ปฏิทินไทย กลับทาให้ผูอ้ ่านที่ คุย้ เคยกับปฏิ ทินไทยมาก่ อนรู ้สึกขัดแย้งกับสามัญสานึ กในทันทีว่า “ปลาย
เดือนก็ไม่ได้กบั วันดับ กลางเดือนก็ไม่ได้กบั วันเพ็ญ”๑๘
แต่อย่างไรก็ตาม การใช้งานปฏิทินของชาติอื่นๆ ในทางราชการแล้วกลับไม่ใช่เรื่ องผิดปกติ เราอาจ
กล่าวได้ว่ารัฐเลือกที่จะใช้ปฏิทินแต่ละฉบับให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ตอ้ งทาโดยเสมอก็ได้ ดังจะเห็นได้
จากการใช้ “ปฏิทินจีน” สาหรับดูวนั เดือนเพื่อบอกฤดูลมข้างจีน ดังที่เคยมีรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระนัง่
เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓, ครองราชย์ พ.ศ.๒๓๖๗-๙๔) ให้เคลื่อนกองทัพเรื อจากกรุ งเทพฯ ไปยังสงขลา
นอกฤดูลมเอาไว้ว่า “ออกไปเถิด รดูน้ ี ก็ยงั เปนรดูลมสะดวกดอก คิดดูเปนรดูล่าไม่เหมือนทุกปี ปี นี้ ขา้ งจีน
เดือน ๘ สองหน ถ้าจะคิดตามเดือน ๘ สองหนแล้ว เดือนสี่ ก็เปนเดือนสาม ถูกกับรดูลม ดูเลือกแม่ทพั นายก
องออกไปเถิด”๑๙
ส่ วนกรมกองราชการต่างๆ ก็ย่อมจะต้องมีปฏิทินฉบับอื่นๆ สาหรับการแปลหรื อเทียบวันเดือนใน
ใบบอกให้เป็ นเวลาของกรุ งเทพฯ เช่น กรมมหาดไทยก็ตอ้ งมี “ปฏิทินเหนือ” สาหรับแปลงเวลาจากหัวเมือง
ล้านนาและล้านช้าง กรมพระกลาโหมก็ตอ้ งมี “ปฏิทินแขก” สาหรับแปลงเวลาของหัวเมืองแขกมลายู ส่ วน

๑๖
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. (กรุ งเทพฯ: ศิลปบรรณาคาร, ๒๕๕๔). น.๓๗๑.
๑๗
ดู ราชกิจจานุเบกษารั ชกาลที่ ๔. (กรุ งเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๔๐).
๑๘
ราชกิจจานุเบกษารั ชกาลที่ ๔. น. ๑๓๗ – ๑๓๘.
๑๙
อุดมสมบัติ (จัน), หลวง. จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ (ฉบับปรั บปรุ ง). (นนทบุรี: ศรี ปัญญา, ๒๕๕๔). น. ๒๑๗.
6

กรมท่าอาจจะมีหลายฉบับกว่ากรมอื่น คือต้องมีท้ งั “ปฏิทินจีน” “ปฏิทินแขก” และ “ปฏิทินยุโรป” เพราะ


ต้องใช้ในการติดต่อค้าขายและการทูตเป็ นประจา๒๐
ครั้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ การตั้งหน่ วยงานตรวจสอบบัญชี หรื อ “ออดิตออฟฟิ ศ” และ “กรมพระ
คลังมหาสมบัติ” ตอนต้นรัชกาลก็ยงั ใช้ระบบจันทรคติอยูเ่ หมือนเดิม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการทาสมุดบัญชีที่
กฎหมายเรี ยกว่า “ปฏิทิน สาหรับจดบาญชีตรางเดือนกาหนดเงิน ให้ทราบว่าจะต้องใช้ในการข้างน่า มีความ
ว่าวันนั้นจะต้องใช้เงิ นให้แก่ ผูน้ ้ ันเท่ านั้น ”๒๑ แนวคิดของ “สมุดปฏิทิ น ” ที่ ว่านี้ มาจากรากศัพ ท์ของคาว่า
Calendar ของตะวันตกมากกว่าจะเป็ นรากศัพท์ของคาว่าปฏิทินที่ภาษาไทยนามาใช้ อย่างชัดเจน เพราะคาว่า
ปฏิทินที่ใช้ในภาษาไทยมาจาก “ปรติทิน” ที่แปลว่า เฉพาะวัน สาหรับวัน แต่คาว่าปฏิทินในภาษาอังกฤษมา
จากรากศัพ ท์ภาษาละติ นที่ ว่า Calendarium ที่ แปลว่า Account Book หรื อสมุ ดบัญ ชี เพราะจุดก าเนิ ดของ
ปฏิทินและการทาบัญชีของชาวตะวันตกเป็ นสิ่ งเดียวกันมาก่อน๒๒
ความโดดเด่นของระบบจันทรคติยงั สะท้อนออกมาในข้อกาหนดวิธีการส่ งเงินภาษีอากร ในสมัย
รัชกาลที่ ๔ พระองค์จะไม่เรี ยกเก็บเงินเพิ่มอีกหนึ่งเดือนในปี ที่เป็ นอธิกมาส “พระราชทานยกเดือนอธิกมาส
ในจานวนปี มเมียสัมเรทธิ ศกนี้ ให้เดื อนหนึ่ ง”๒๓ แต่เมื่อการปฏิ รูปการเงินการคลังเกิ ดขึ้นแล้ว รัฐบาลของ
รัชกาลที่ ๕ ได้ยกเลิกนโยบายดังกล่าว “ถ้าปี ใดเป็ นอธิ คะมาตก็ให้เจ้าภาษีบวกเงินอากรทูลเกล้าถวายขึ้นอีก
เดือนหนึ่ ง”๒๔ ทั้งยังกาหนดให้ตอ้ งส่ งเงินภาษีอย่างเคร่ งครัดทุกๆ เดือนแทนการจ่ายเป็ นงวด ส่ วนการทา
งบประมาณรายจ่ายประจาปี ก็ยงั ไม่ได้บงั คับทุกหน่วยงาน บังคับใช้ได้แต่กรมใหม่ๆ ที่เพิ่งตั้งขึ้นเท่านั้น เช่น
กรมไปรษณีย ์ กรมโทรเลข กรมแผนที่ กรมทหารหน้า เป็ นต้น๒๕
แม้ว่าการเพิ่มเดื อนในปี อธิ กมาสจะทาให้รัฐเก็บภาษี ได้เพิ่ มขึ้นก็ตาม แต่ก็จะตามมาด้วยการจ่าย
เงินเดือนเพิ่มอีกเช่นกัน เพราะแนวคิดตั้งต้นที่จะสร้างระบบราชการสมัยใหม่ คือการทาให้ขา้ ราชการไม่เป็ น
อิสระจากรัฐด้วยเงินเดือน หากรัฐบาลยืนกรานที่จะใช้ระบบจันทรคติต่อไปเช่นนี้ ก็หมายความว่าทุกๆ ๑๙ ปี
๒๐
มีตวั อย่างว่ากรมมหาดไทยจะต้องแปลทั้งภาษาและเวลาให้เป็ นของกรุ งเทพฯ ในใบบอกจากหัวเมืองล้านนามักจะเขียน
ว่า “เดือนเหนือ” ซึ่งจะเร็ วกว่ากรุ งเทพฯ อยู่ ๒ เดือน เช่น หจช. ร.๕ ม.๒.๑๒ก/๑ ใบบอกเมืองลาพูน (ร.ศ. ๑๐๔ – ๑๐๙).
เป็ นต้น
๒๑
ดู “พระราชบัญญัติสาหรับกรมพระคลังมหาสมบัติและว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินรวม ๑๓ มาตรา.” ใน
กฎหมายในรั ชกาลที่ ๕ เล่ ม ๑. น. ๓๐๐.
๒๒
วินยั พงศ์ศรี เพียร. วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช. (กรุ งเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๕๒). น. ๔.
๒๓
ราชกิจจานุเบกษารั ชกาลที่ ๔. (กรุ งเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๔๐). น. ๒๗.
๒๔
หจช. รล-กห ๒/๔ สารตรา ว่าด้วยนาตั้งจีนเปลี่ยนภาสี น้ ามันมะพร้าวเป็ นเจ้าภาษีซ้ือผลมะพร้าว ๕ เมือง (จ.ศ. ๑๒๑๔).
๒๕
หจช. ร.๕ พศ ๒๙/๙๑ แซงชัน่ เบิกเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงข้าราชการกรมไปรสนียโทรเลข, หจช. กส.๕/๑๒๗๒ เจ้ากรมแผน
ที่ยื่นบาญชีรายจ่ายเงินให้แก่พนักงานที่ไปทาแผนที่พระราชอาณาเขตร.
7

ก็จะต้องจ่ายเงินเดือนเพิ่มอีก ๗ เดือนตามรอบการชดเชยปฏิทิน การตระหนักได้ถึงปั ญหานี้ ทาให้รัฐบาลเมจิ


ตัดสิ นใจยกเลิกปฏิทินจันทรคติท้ งั ของรัฐและสังคมพร้อมกัน โดยมัน่ ใจว่าจะเปลี่ยนแปลงได้สาเร็ จภายใน
๓ ปี อีกด้วย๒๖
แต่ ใ นกรณี ข องสยามนั้ น ไม่ พ บว่ ามี ก ารพู ด ถึ ง ประเด็ น นี้ การจ่ ายเงิ น เดื อ นของข้าราชการกรม
ไปรษณี ยแ์ ละกรมโทรเลขก็ยงั ใช้ปฏิทินจันทรคติ มาตั้งแต่ตน้ ๒๗ จนกระทัง่ ๔ เดือนสุ ดท้ายก่อนสิ้ นปี พ.ศ.
๒๔๓๑ ซึ่งจะตรงกับวันที่ ๑ มกราคมของปฏิทินยุโรป กรมไปรษณี ยจ์ ึงได้มีคาสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆ จ่ายเงิน
เดือนเจ้าพนักงานไปรษณี ยด์ ว้ ยปฏิทินยุโรปที่ส่งไปให้ คาสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากทรงแถลงพระบรมราชาธิ บาย
แก้ไขการปกครองแผ่นดินไปเพียง ๘ เดือนเท่านั้น และความรี บร้อนที่จะประกาศใช้ยงั เห็นได้จากการใช้
ปฏิทินยุโรปที่ทบั ศัพท์ไปพลางก่อนด้วย๒๘
แน่ น อนว่ารั ฐบาลคงจะไม่ ไ ด้ใ ช้เวลาแค่ ๔ เดื อ นนั้ น คิ ด การเปลี่ ย นปฏิ ทิ น ดัง จะเห็ น ได้ต่ อไป
ข้างหน้าว่ามี การเตรี ยมการดังกล่าวมาเป็ นเวลาเกือบสิ บ ปี แล้ว แต่ก ารรั บ รู ้ น้ ี ยงั จากัดในหมู่ ชนชั้นนาใน
กรุ งเทพฯ เท่านั้น แกนนาคนสาคัญที่ดาเนินการอย่างลับๆ คือพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
ที่มีผลงานเกี่ยวกับปฏิทินมาตั้งแต่พระชนมายุ ๑๘ พรรษา กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๔๑๙ พระองค์ได้เผยแพร่
ปฏิทินยุโรปลงหนังสื อข่าวราชการเป็ นครั้งแรก๒๙ ปี ต่อมา ทรงสร้างปฏิทินเทียบวันเดือนอย่างไทยและ “วัน
ฝรั่งอย่างนิ วสะไตล์” (ระบบเกรกอเรี ยน) ลงในหนังสื อมิวเซี ยม ฤา รัตนโกษ๓๐ ปี พ.ศ.๒๔๒๒ (เป็ นอย่าง
ช้า) ทรงท าตารางเที ย บปฏิ ทิ น ไทยและยุโรปส าหรั บ ใช้จดพระราชกิ จรายวัน ๓๑ ปี ต่อ มามี พ ระบรมราช
โองการให้ยกเลิกออดิตออฟฟิ ศและโอนงานตรวจบัญชีไปอยูก่ รมบาญชีกลาง พระองค์ก็ยา้ ยไปรับตาแหน่ง
ราชเลขานุการฝ่ ายต่างประเทศพร้อมทั้งดารงตาแหน่งผูบ้ งั คับการกรมบัญชีกลางด้วย๓๒

๒๖
Cork, Jessica Kennett. The Lunisolar Calendar: A Sociology of Japanese Time. (Florida: Dissertation.com, 2010). pp.
53 – 54. การเปลี่ยนปฏิทินใหม่ได้รับแรงต่อต้านจากภาคสังคมในทันที และถึงกระนั้น การใช้ปฏิทินจันทรคติก็ยงั คงเหนียว
แน่นในกลุ่มเกษตรกรและชาวประมงเกือบครึ่ งหนึ่งของประเทศมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒
๒๗
หจช. ร.๕ ม.๒.๑๒ก/๑ ใบบอกเมืองกาแพงเพชร (มี.ค.๑๐๓ – ๒๗ พ.ค. ๑๑๐).
๒๘
หจช. รล-ตราน้อย ๒๗/๘๗๙ เมืองสระบุรี ให้ทศรองจ่ายเงินเดือนให้ไปรสนีบุรุษ ๖ คน ตามปติทินทุกเดือนยุโรปเสมอ
ทุกเดือนต่อไป ได้ส่งปติทินยุโรปไปด้วย จ.ศ. ๑๒๕๐.
๒๙
สานักราชเลขาธิการ. หนังสื อ COURT ข่ าวราชการ เล่ ม ๒. (กรุ งเทพฯ: สานักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๙). น. ๓๐๔ – ๓๐๕
๓๐
“ปฏิทินปี ฉลูนพศก.” ใน มิวเซียม ฤา รั ตนโกษ เล่ ม ๑. (กรุ งเทพฯ: สานักพระราชวัง, ๒๕๖๐).
๓๑
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัว
ปี เถาะ จุลศักราช ๑๒๔๑. (พระนคร: แสงทองการพิมพ์, ๒๕๑๙). น. ๑๓๐.
๓๒
สานักราชเลขาธิการ. ประวัติสานักราชเลขาธิ การ. น. ๙.
8

จากภาระงานทั้งสองตาแหน่ งนี้ เองกระมังที่ทาให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์น้ ี ตอ้ งคลุกคลีอยู่กับ


การใช้ป ฏิ ทิ นไทยและปฏิ ทิ นยุโรปอยู่เป็ นนิ จ จนนาไปสู่ ก ารศึก ษาเปรี ยบเที ยบปฏิ ทิ นระบบต่างๆ และ
หลังจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึ งแก่พิ ราลัยไปเพี ยง ๗ วัน พระองค์ก็บนั ทึ กว่าได้เริ่ มสร้ างตารางปรับเที ยบ
ปฏิ ทิ น ไทยและยุโรปขึ้ น แล้ว ซึ่ งในวัน เดี ยวกันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มี พ ระ
ราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) น้องชายของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่าจะทรง
ยึดโรงภาษีกรมท่าเพื่อเริ่ มการสะสางบัญชีภาษีที่คงั่ ค้างด้วย๓๓
การสร้ างตารางปรับ เที ยบนี้ จะแตกต่างจากการปรับเที ยบที่ ท รงเคยท ามาก่ อนหน้าทั้งหมด (และ
รวมถึงการแปลปฏิทินของรัชกาลที่ ๔) เพราะจะเป็ นคู่มือสาหรับการสะสางปฏิทินที่ผูใ้ ช้งานจะสามารถ
เปรี ย บเที ย บปฏิ ทิ นใหม่ (เกรกอเรี ย น) กับ ปฏิ ทิ นเก่ า (จัน ทรคติ ) ได้ภายในเวลาไม่ กี่ นาที โดยไม่ ต้องมา
เสี ยเวลาคานวณให้ยงุ่ ยากอีก ผูเ้ ขียนสันนิษฐานว่าตารางปรับเทียบนี้น่าจะเสร็ จสมบูรณ์ก่อนที่พระองค์จะไป
รับตาแหน่งเสนาบดีกรมท่าแทนเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ ที่ลาออกในปี พ.ศ.๒๔๒๘ เพราะในปี รุ่ งขึ้นพระองค์
ได้เขียนคาอธิบายขนาดยาวถึงวิธีการใช้ตารางดังกล่าวลงในวชิรญาณวิเสศแล้ว๓๔
จะเห็นได้วา่ ต้องใช้เวลากว่า ๑ ทศวรรษในการแปลระบบเกรกอเรี ยนเข้ามาใช้ แต่ก็ยงั มีปริ ศนาอยูว่ ่า
ทาไมต้องรอจนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๒ ถึงจะประกาศอย่างเป็ นทางการ ความเป็ นไปได้ที่สุดก็คือการรอคอยเวลา
ที่เหมาะสม เพราะการปรับโครงสร้างการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ยังเป็ นเพียงคณะเสนาบดีชุดทดลองที่
การบริ หารราชการจริ งๆ ยังอยู่ในมือเสนาบดีจตุสดมภ์ตามเดิม แต่การเปลี่ ยนปฏิ ทินนั้นแตกต่างออกไป
เพราะถูกนาไปใช้งานจริ งในทันทีที่ประกาศ และในปี ร.ศ.๑๐๘ (พ.ศ.๒๔๓๒) นี้ เอง ยังเป็ นปี แรกที่ราษฎร
ที่เกิดในรัชกาลของพระองค์จะบรรลุนิติภาวะ (๒๑ ปี ) ซึ่งรวมไปถึงลูกทาสที่จะปลดตัวเองเป็ นไพร่ กลุ่มแรก

๓๓
ปรี ดีเทพย์พงษ์ เทวกุล, ม.จ.. ปุญญกถา พระประวัติ และจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยา
เทวะวงศ์ วโรประการ. พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.หญิง ทิพรัตนประภา เทวกุล วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๘. น.
๙๑ – ๙๒. และณัฐวุฒิ สุ ทธิสงคราม, เจ้ าพระยาภาณุวงศ์ มหาโกษาธิ บดี (ท้ วม บุนนาค) (เจ้ าคุณกรมท่ า), พิมพ์ในงาน
พระราชทานเพลิงศพ นายเทอด บุนนาค ณ เมรุ วดั ธาตุทอง วันที่ ๑๖ สิ งหาคม ๒๕๒๒, น.๗๐๒-๗๐๔.
๓๔
“วิธีเทียบวันไทยกับวันฝรั่ง.” วชิ รญาณวิเสศ. เล่ม ๑ แผ่น ๓๓ จ.ศ. ๑๒๔๘. ทั้งนี้ ในประกาศสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๒๗
รัฐบาลได้ทาตารางเทียบปฏิทินไทยและยุโรปไว้ในประกาศด้วย ดู “ประกาศสงกรานต์ปีระกาสัปตศก.” ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม ๑ ตอนที่ ๑๒ หน้า ๑๐๓.
9

ด้วย ผูเ้ ขียนจึงคิดว่าน่ าสนใจไม่น้อย ถ้าหากการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่ งหลายอย่างที่ จะเริ่ มขึ้นในปี นี้ ไม่ได้
เกิดขึ้นจากความบังเอิญ๓๕
หลังจากประกาศใช้ปฏิทินใหม่ไปแล้วครึ่ งปี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการ ก็
ตีพิมพ์คาอธิ บ ายการใช้ปฏิทินดังกล่าวลงในหนังสื อ “ประติทินบัตรแลจดหมายเหตุ ” โดยใช้คาอธิ บายที่
เข้าใจง่ายกว่าที่เคยมีการตีพิมพ์ในที่ใดๆ มาก่อน เพราะพระองค์ตอ้ งการจะเผยแพร่ ให้ราษฎรนอกพระนคร
ได้รับทราบ๓๖ ภายหลังมีการเรี ยกปฏิทินใหม่น้ ีอย่างลาลองว่า “เทวะประติทิน” ตามพระนามของผูส้ ร้าง
ส่ วนการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินใหม่ตามหัวเมือง จากการสารวจใบบอกแล้วพบว่าต้องใช้เวลาถึง ๑ ปี
เต็มจึงจะเปลี่ยนได้ทว่ั พระราชอาณาจักร
โดยสรุ ปแล้ว ประกาศ “ให้ใช้วนั อย่างใหม่” ได้กลายเป็ นหมุดหมายสาคัญของการเปลี่ยนแปลงถึง
๔ ประการในเวลาต่อมาคือ ๑. ทาให้ ระบบราชการอยู่ร่วมเวลาเดียวกัน หัวเมืองประเทศราชที่เคยใช้ปฏิทิน
ของตัวเองก็ตอ้ งเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินของกรุ งเทพฯ จึงกล่าวได้ว่าประเทศราชเหล่านี้ถูกผนวก “เวลา” ไปก่อน
“พื้นที่” เสี ยอีก ๒. ทาให้ สยามอยู่ร่วมเวลาเดียวกับคนอื่น (“แลรู ้ทวั่ ไปในประชุมชนโลกย์น้ ี ได้มาก”) ซึ่งคน
อื่นในที่น้ ี หมายถึงชาติในยุโรปเพราะใช้ระบบเกรกอเรี ยนเป็ นพื้นฐานเหมือนกัน ๓. แก้ ปัญหาการทาบัญชี
รายรับรายจ่ ายของรัฐบาล โดยแยกการสะสางภาษีและบัญชีตามปฏิทินเก่าออกไปจาก พรบ.วิธีงบประมาณ
แผ่นดินฉบับใหม่ ที่จะประกาศใช้ในปี ต่อมา๓๗ และ ๔. แยกเวลาของรัฐออกจากสั งคม นัน่ คือปฏิทินใหม่จะ
บังคับใช้เฉพาะระบบราชการเท่านั้น ส่ วนปฏิทินเก่าจะยังคงควบคุมเวลาของศาสนจักรและสังคมตามเดิม
ต่อไป

การเผยแพร่ และผลิตซ้าการใช้ “วันเดือนอย่างใหม่ ” : ปี งบประมาณ, เงินเดือน และหนังสื อราชการ


บทบาทที่สาคัญที่สุดของปฏิทินใหม่และอาจจะลี้ลบั ที่สุดด้วยปรากฏอยูใ่ นตอนท้ายของประกาศให้
ใช้วนั อย่างใหม่ว่า “ในราชการแลสารบาญชี ท้ ังปวง...เงินภาษีอากรทั้งปวงนั้นให้ส่งตามเดื อนปี ที่ ว่ามานี้
เงินเดือนเงินปี ในราชการทั้งปวง ก็ให้จ่ายตามเดินตามปี นี้เหมือนกัน” ข้อความนี้ เป็ นการประกาศว่า ต่อไปนี้

๓๕
สิ่ งนี้อาจจะเป็ นการยืนยันว่าพระองค์มีแรงผลักดันทางอุดมการณ์จริ ง แต่การเตรี ยมการนั้นกลับไปอยูท่ ี่การปรับ
โครงสร้างการเมืองการปกครอง มากกว่าที่จะเตรี ยมการรองรับทาสที่ถูกปลดปล่อยในปี เดียวกัน ดู นิธิ เอียวศรี วงศ์. “เลิก
ทาส.” มติชนสุ ดสัปดาห์ ฉบับวันที่ ๒๔-๓๐ สิ งหาคม พ.ศ.๒๕๖๑.
๓๖
ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ เล่ ม ๑ เดือนตุลาคม-มีนาคม. (กรุ งเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๔๐).
๓๗
“พระราชบัญญัติกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ว่าด้วยงบประมาณแลรายงาน รัตนโกสิ นทรศก ๑๐๙.” ใน กฎหมายใน
รั ชกาลที่ ๕ เล่ ม ๓. (กรุ งเทพฯ: สานักพระราชวัง, ๒๕๔๐).
10

การบริ หารทรั พ ยากรของรั ฐทั้งหมดจะอยู่ในกรอบเวลาตามปฏิ ทิ นใหม่ ตั้งแต่ก ารเก็บ ภาษี การเบิ ก จ่าย
งบประมาณ จนไปถึงการจ่ายเงินเดือน ปฏิทินใหม่จึงมีบทบาทอยู่เบื้องหลังหรื อกากับการทางานขององค์กร
และกลไกทางกฎหมายที่ ถูกจัดตั้งมาเพื่อดึงทรัพยากรออกจากมือเสนาบดี ขุนนาง และเจ้าภาษี หน่วยงาน
ราชการต่ างๆ จึ งไม่ มี อ านาจที่ จะใช้ง บประมาณตามแต่ ค วามต้องการได้เหมื อ นแต่ ก่ อน เพราะจะต้อ ง
ดาเนินการตามกรอบเวลาที่เรี ยกว่า “ปี งบประมาณ” ที่กาหนดไว้ตามปี ปฏิทินใหม่
ฉะนั้นปี งบประมาณในสมัยสมบูรณาญาสิ ทธิ ราชย์จึงอยู่ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๑ มีนาคม
ของทุกปี การโยกย้ายข้าราชการและการเกณฑ์ทหารจึงถูกกาหนดไว้ที่เดือนเมษายนที่เป็ นต้นปี และเดือน
ตุลาคมที่เป็ นกลางปี งบประมาณ ในแต่ละปี ทุกกระทรวง ทุกมณฑล จะต้องยื่นบัญชีต่อกระทรวงพระคลัง
มหาสมบัติก่อนปลายเดือนธันวาคม เสนาบดีจะตรวจสอบจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์จึงจะนาเข้าสู่เสนาบดี
สภาเพื่อขออนุมตั ิ หากได้รับการอนุมตั ิแล้วก็จะนาขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในเดือนมีนาคม จากนั้นกระทรวงพระ
คลังมหาสมบัติจึงจะสั่งจาหน่ ายงบประมาณแก่ ทุกกระทรวง และสั่งจ่ายทางโทรเลขไปทุกมณฑลภายใน
เดือนเมษายนของทุกปี ๓๘ ซึ่ งความพยายามที่จะกาหนดเวลาจัดทางบประมาณอย่างเคร่ งครัดนี้ ไม่ว่าจะสาเร็ จ
หรื อไม่ก็ตาม ก็ถือได้ว่าแตกต่างไปจากช่วงเวลาก่อนหน้า ที่กรมกองต่างๆ จะกาหนดกรอบเวลาการเก็บภาษี
และส่ งเงินเข้าท้องพระคลังกันเอง เมื่อรายรับรายจ่ายของรัฐบาลไม่เคยอยู่ในกรอบเวลาเดียวกันทั้งหมด ทา
ให้เกิดปัญหาเรื่ องเงินในท้องพระคลังรั่วไหลโดยเสมอ๓๙
เมื่อเราดูจากรายงานงบประมาณแผ่นดินก็จะพบอีกว่า รายจ่ายประจาสู งสุ ดของรัฐบาลคือเงินเดือน
ข้าราชการ คิ ดเป็ นร้อยละ ๔๐ ของงบประมาณแผ่น ดิน ในแต่ล ะปี ๔๐ สถิ ติดังกล่าวสะท้อนให้เห็ น ความ
ใหญ่ โตของระบบราชการมาตั้งแต่ แรกสถาปนาก็ว่าได้ อี กทั้งยังทาให้เห็ นว่ารัฐต้องมี ค่าใช้จ่ายมโหฬาร
ขนาดไหนเพื่อที่จะทาให้ขา้ ราชการไม่เป็ นอิสระจากรัฐด้วยเงินเดือน เพราะด้วยเงินเดือนนี้ เองที่จะทาให้รัฐ
สามารถปลดหรื อโยกย้ายข้าราชการตั้งแต่ระดับล่างสุ ดไปจนถึงพระเจ้าน้องยาเธอให้ไปทางานที่ไหนก็ได้
ตามคาสั่ง แตกต่างไปจากช่วงเวลาก่อนหน้านี้ที่ขนุ นางหัวเมืองมีอานาจต่อรองสู ง เพราะมีแหล่งรายได้ที่เป็ น

๓๘
หจช. ศธ.๒/๖ ข้อบังคับกระทรวงพระคลังฯ ว่าด้วยการทางบประมาณ (๑ ต.ค. ๒๔๔๓ – ๒๘ ต.ค. ๒๔๕๐). หรื อดู
สานักราชเลขาธิการ. รายงานการประชุมเสนาบดีสภา ร.ศ. ๑๑๑. (กรุ งเทพฯ: อมริ นทร์พริ้ นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง, ๒๕๕๐). น.
๑๔๓๔ – ๑๘๘๙. และ สานักราชเลขาธิการ. รายงานการประชุมเสนาบดีสภา ร.ศ. ๑๑๒ ตอน ๒. (กรุ งเทพฯ: กรมศิลปากร,
๒๕๕๒). น. ๑๙๓ – ๒๓๔.
๓๙
ในทางปฏิบตั ิแล้วการทางบประมาณแผ่นดินไม่เคยทาได้ทนั กรอบเวลาที่วางไว้เลย ดู สุ มาลี บารุ งสุ ข. “การรวบรวม
รายได้แผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (พ.ศ. ๒๔๑๖ – ๒๔๕๓).” (วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรม
หาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๕).
๔๐
นคริ นทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวตั ิสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕. (กรุ งเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราฯ, ๒๕๓๕). น. ๕๖.
11

อิสระจากรัฐ การปลดหรื อโยกย้ายขุนนางออกจากพื้ นที่ หรื อตาแหน่ งใดๆ จึงเป็ นไปได้น้อยมากในทาง


ปฏิบตั ิ
นอกจากทรัพยากรของกระทรวงและข้าราชการจะอยูภ่ ายใต้อานาจปฏิทินแล้ว แม้แต่งานเอกสารที่
ข้าราชการต้องทาอยู่ทุกวันก็เป็ นการบังคับให้ใช้ปฏิทินใหม่ไปในตัวเองด้วย เพราะนับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔
ทรงเปลี่ยนวิธีการปรึ กษาข้อราชการให้มาอยู่ในพื้นที่ของกระดาษมากกว่าในท้องพระโรง หนังสื อราชการก็
ทวีความสาคัญขึ้นอย่างเห็นได้ชดั ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ ทรงออกประกาศหลายฉบับที่เพื่อสร้างแบบแผนการ
เขียนหนังสื อราชการขึ้น ตั้งแต่การกาหนดเวลาให้ถวายหนังสื อราชการประวันอย่างแน่ นอน การกาหนด
แบบแผนทางภาษา และการสร้างรู ปแบบการเขียนที่แตกต่างไปจากของเดิม๔๑ ประกอบกับเทคโนโลยีการ
พิมพ์ที่ทาความเร็วได้มากกว่าการเขียนถึง ๕ เท่า และทาสาเนาได้ทีละ ๕ ฉบับ๔๒ ก็ย่งิ ทาให้หนังสื อราชการ
กลายเป็ นธรรมเนียมปฏิบตั ิทว่ั ไปภายในครึ่ งแรกของรัชกาลได้สาเร็ จ ส่ วนการออกท้องพระโรงประจาวันก็
ถูกลดความสาคัญไปเป็ น “พิธี” เพื่อรักษาธรรมเนียมเดิมเอาไว้เท่านั้น๔๓
ความเป็ นรัฐเอกสารของสยามก็ยงั มีส่วนช่วยเผยแพร่ การใช้วนั เดือนอย่างใหม่ด้ วย ราว ๖ ปี ก่อนจะ
เปลี่ยนปฏิทินใหม่ก็มีขอ้ มูลว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทรงรับหนังสื อราชการไว้ถึง ๙,๖๐๐
ฉบับ ครอบคลุมกว่า ๖,๐๐๐ เรื่ อง๔๔ ท าให้พระองค์ตอ้ งมี คาสั่งปรั บปรุ งการเขียนหนังสื อราชการออกมา
เนื องๆ เช่น การยกเลิ กการทวนคาสั่งที่ ทาให้ตอ้ งเสี ยเวลาในการอ่าน โดยให้ใช้ “เลขที่ หนังสื อ” ในการ
อ้างอิงแทน ให้แยกเนื้ อหาที่จะรายงานออกเป็ นเรื่ องๆ มิให้ปะปนกันอีก และข้อสาคัญคือให้ยา้ ยการลงวันที่
และสถานที่เขียนหนังสื อราชการจากด้านล่างสุ ดของเอกสาร ไปไว้ที่บนสุ ดของเอกสาร๔๕ เพราะกรมราช
เลขานุ การจะเริ่ มเก็บหนังสื อราชการเหล่านี้ โดยเรี ยงลาดับ ตาม “เวลา” จากวันเดือนปี ที่ ส่งเข้ามา แต่ก็มา
พบว่ามีความล่าช้าเมื่อต้องสื บค้นย้อนหลัง ทาให้หลังเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ที่มีการลดพระราชกิจลง กรม

๔๑
หจช. ร.๕ บ ๑.๒/๒๓ พระราชหัตถเลขาเรื่ อง ให้รวบรวมใบบอก ร่ างตรา ของกรมมหาดไทยให้อยูท่ ี่เดียวกันเพื่อสะดวก
แก่การค้นหาและป้องกันสู ญหาย (ร.ศ. ๑๐๕).
๔๒
“เรื่ องสนทนากับเสมียนดีดเครื่ องไทป์ ไรเตอร์ .” วชิ รญาณ. ตอนที่ ๘ พฤษภาคม ๑๑๔. น. ๘๓๖ – ๘๔๒.
๔๓
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. เทศาภิบาล. (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๕). น. ๔๑ – ๔๒.
๔๔
กฎหมายในรั ชกาลที่ ๕ เล่ ม ๒. (กรุ งเทพฯ: สานักพระราชวัง, ๒๕๔๐). น. ๖๒๔ – ๖๒๕.
๔๕
หจช. ร.๕ บ ๑.๒/๒๓ พระราชหัตถเลขาเรื่ อง ให้รวบรวมใบบอก ร่ างตรา ของกรมมหาดไทยให้อยูท่ ี่เดียวกันเพื่อสะดวก
แก่การค้นหาและป้องกันสู ญหาย ร.ศ. ๑๐๕, หจช. รล-ตราน้อย ๕๐/๕๒ ว่าด้วยให้มีศุภอักษร ใบบอก ข้อราชการลงมา ณ
กรุ งเทพฯ จ.ศ.๑๒๕๓, หจช. รล-มท ๒๗/๑๗๑ ถึงเจ้าเมืองกรมการ ๗๓ เมือง ประกาศให้ลงเบอร์หนังสื อบอกแลให้บอกข้อ
ราชการเปนเรื่ องๆ จ.ศ.๑๒๔๖. และ หจช. รล-มท ๒๘/๖๘ ถึงข้าหลวงเจ้าเมืองกรมการเจ้านายเมืองประเทศราช ๗๘ เมือง
ประกาศให้ลงวันข้างต้นศุภอักษรใบบอก จ.ศ.๑๒๔๗.
12

ราชเลขานุการจึงได้เปลี่ยนมาเก็บเอกสารโดยแยกตามเรื่ อง และเริ่ มย่อความก่อนที่จะกราบบังคมทูลเป็ นครั้ง


แรก๔๖
เมื่อประกาศเปลี่ยนปฏิทินแล้ว การเขียนวันเดือนปี ด้านบนหนังสื อราชการก็ตอ้ งเปลี่ยนเป็ นแบบ
ใหม่ดว้ ย ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแทบจะในทันทีมาจากพระยากลันตัน โดยให้เหตุผลว่า “ไม่มีคนเข้าใจคิตนับปี แล
วันเดือนเสมือนโปรดเกล้าฯ นั้น เพราะไม่เคยได้ยนิ มา จึ่งเปนการลาบากตามประดาคนมลายูซ่ ึงจะเข้าใจ” คา
ร้องนี้ ทาให้ทางกรุ งเทพฯ ต้องผ่อนผันให้พระยากลันตันใช้ปฏิทินเก่าไปพลางก่อนได้๔๗ ส่ วนการฝึ กหัดใช้
ปฏิทินใหม่น้ นั ก็พบหลักฐานจากเอกสารโบราณเมืองโกสุ มพิสัย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็ นสมุดฝึ กหัดการเขียน
หนังสื อของเสมียนพนักงานช่วงต้นทศวรรษ ๒๔๔๐ ด้วยมีขอ้ ความที่แสดงให้เห็นการใช้วนั เดือนอย่างใหม่
ว่า “เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่า เป็ นวันที่ ๑ เดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่า เป็ นวันที่ ๑ ... เดือนเจือง แรม ๗ ค่า เป็ นวันที่ ๑ ...
เดือนเมษายน มี ๓๐ วัน เดือนพฤษภาคม มี ๓๑ วัน ... เดือน ๑๒ พึกชกีกายยน เดือนอ้าย ทันวาคม เดือนยี่
มักระคม...”๔๘
จะเห็ น ได้ ว่ า หนั ง สื อ ราชการได้ ก ลายเป็ น “พาหะ” ของการเผยแพร่ ว ัน เดื อ นอย่ า งใหม่ ที่ มี
ประสิ ทธิ ภาพที่สุดในขณะนั้น ข้าราชการและเสมียนพนักงานจึงน่าจะเป็ นคนกลุ่มแรกๆ ของสังคมไทยที่
เปลี่ยนมาใช้วนั เดือนตามปฏิทินใหม่ก่อนที่การศึกษาสมัยใหม่จะขยายตัวเสี ยอีก ส่ วนความเปลี่ยนแปลงที่
เกิดขึ้นภายในของแต่ละคนนั้นย่อมแปรผันไปตามหน้าที่ทางราชการที่ได้รับผิดชอบ คือยิ่งอยูใ่ กล้ศูนย์กลาง
ของระบบราชการมากเท่ าใด ความคิ ดเรื่ องวัน เวลาก็ อาจจะเปลี่ ยนแปลงไปอย่างรุ น แรงมากขึ้ นเท่ านั้น
ตัวอย่างสาคัญก็คือพระราชปรารภของสมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ไปถึง สมเด็จฯ กรมพระยานริ ศ
รานุวดั ติวงศ์ ที่ว่า “แม้แต่ตวั หม่อมฉันเอง เคยนับวันอย่างขึ้นแรมมาแต่เด็ก จนเปลี่ยนปะดิทินเป็ นอย่างสุ ริ
ยคติ ร.ศ.๑๐๘ จนทุกวันนี้ จะเป็ นขึน้ แรมกีค่ ่าก็จาไม่ได้ ด้วยไปใช้ในทางสุริยคติเสี ยอย่างเดียว”๔๙

เวลาราชการ : การทางานตามเวลานาฬิ กากล


นอกจากปฏิ ทิ นที่ ถูก ใช้เพื่ อประโยชน์ในงานราชการคื อดู วนั จ่ายเงินเดือนและเขี ยนในหนังสื อ
ราชการแล้ว รัฐบาลยังนาเวลาจากนาฬิกากลมากากับการทางานด้วยเช่นกัน ขั้นตอนนี้เป็ นส่ วนหนึ่ งของการ
๔๖
อัจฉราพร กมุทพิสมัย. บทบาทของกรมราชเลขาธิ การในสมัยสมบูรณาญาสิ ทธิ ราช. (กรุ งเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๓). น. ๔๒.
๔๗
หจช. รล-กห. ๗๐/๑๘๖ หนังสื อเจ้าพระยาพลเทพฯ ถึงพระยากลันตัน เรื่ องให้ฝึกทาหนังสื อบอกราชการลงวันเดือน
ศักราชแบบกรุ งเทพฯ (๖ ธ.ค. ๑๐๘).
๔๘
เอกสารโบราณเมืองโกสุมพิสัย รั ตนโกสิ นทรศก ๑๑๗ – ๑๑๙. น. ๑๕๗ – ๑๖๐. (เอกสารอัดสาเนา)
๔๙
สาส์นสมเด็จ เล่ม ๑๐ (ภาค ๕๐-๕๕). (นนทบุรี: ต้นฉบับ, ๒๕๖๓), น.๑๙๓-๑๙๔. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
13

ทาให้พ้ืนที่และเวลาราชการกลายเป็ นสถาบัน คือเริ่ มจากแยกพื้นที่ทางานออกจากบ้านเสนาบดีไปเป็ นที่ทา


การที่มีหลักแหล่งถาวรคือศาลาว่าการกระทรวง และกาหนดให้มาทางานตามเวลาที่แน่นอน แทนการอนุวตั ิ
ไปตามประสงค์พระเจ้าแผ่นดินและเสนาบดีอย่างแต่ก่อน
นโยบายนี้ บ ังคับ ใช้กับ บางหน่ วยงานก่ อนตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๑๘ ๕๐ ยกเว้น แต่ “ออฟฟิ ศหลวง” ที่
จะต้องทางาน ๒๔ ชัว่ โมงตลอด ๗ วันต่อสัปดาห์ ข้าราชการในออฟฟิ ศหลวงจึงต้องแบ่งกันมาทางานเป็ น
๓ ผลัดต่อวัน ๕๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๑ มี รับสั่ งให้สมเด็จฯ กรมพระบาราบปรปั กษ์ สมุ หนายก ทรงตั้ง
“ออฟฟิ ศกรมมหาดไทย” ขึ้นในบริ เวณวังของพระองค์ แต่ยงั เป็ นแค่การแยกพื้นที่ออกมาจากจวนเสนาบดี
เท่านั้น ยังไม่ได้กาหนดเวลาราชการขึ้นในทันที๕๒ การแยกพื้นที่และเวลาราชการออกมาสาเร็ จครั้งแรกก็ใน
ปี พ.ศ.๒๔๒๘ เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการทรงรับ ตาแหน่ งเสนาบดีก รมท่ า
พระองค์ไ ด้รับ พระราชทานวัง สราญรมย์เป็ นศาลาว่าราชการ เมื่ อถึ งปี พ.ศ.๒๔๓๕ ที่ มี ก ารจัด ตั้ง ๑๒
กระทรวงขึ้นพร้อมกัน รัฐบาลได้กาหนดเวลาทางานไว้วนั ละ ๖ ชัว่ โมง ๖ วันต่อสัปดาห์ (วันเสาร์ทางานครึ่ ง
วัน) แต่กาหนดเวลาเปิ ดและปิ ดกระทรวงนั้นให้เป็ นเรื่ องภายใน ดังที่มีผบู ้ นั ทึกว่า “การทาเดี๋ยวนี้ ไม่ใคร่ เปน
เวลาเดียวกันตลอด แล้วแต่ราชการจะเปนไป ที่ใดมีการกลางวันก็เปิ ดออฟฟิ ศเที่ยงปิ ดย่าค่า ที่เปิ ดก่อนเที่ยงก็
กลับบ่ายเย็น เวลางานอยูใ่ นวัน ๖ ชัว่ โมงเปนประมาณ”๕๓
เมื่อหน่วยงานราชการยังเปิ ดปิ ดไม่ตรงกันจึงดูเหมือนว่าการบริ หารราชการแผ่นดินขาดความเป็ น
เอกภาพ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรประการได้เสนอให้ทุกกระทรวงกาหนดเวลาให้เป็ นแบบ
เดี ยวกัน คือ ๑๑.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. โดยให้ เริ่ ม ใช้ในระหว่างที่ พ ระเจ้าอยู่หั วเสด็ จประพาสยุโรปในปี พ.ศ.
๒๔๔๐๕๔ กาหนดเวลาดังกล่าวมาเปลี่ ยนแปลงอี กครั้งเมื่ อถึ งรัชกาลที่ ๖ เนื่ องจากข้าราชการจานวนมาก
สมัครเป็ นพลเสื อป่ าและต้องเข้าฝึ กซ้อมทุ กวัน ในเวลา ๑๗.๐๐ น. ที่ ลานพระราชวังดุ สิ ต แต่เพราะเวลา
ฝึ กซ้อมตรงกับเวลาเลิกงานราชการพอดีทาให้ขา้ ราชการวิตกกันว่าการเดินทางไปสายบ่อยๆ ก็อาจจะทาให้

๕๐
“พระราชบัญญัติสาหรับกรมพระคลังมหาสมบัติและว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินรวม ๑๓ มาตรา.” ใน กฎหมาย
ในรั ชกาลที่ ๕ เล่ ม ๑. น. ๓๐๐.
๕๑
อัจฉราพร กมุทพิสมัย. อ้ างแล้ ว. บทที่ ๑ – ๒.
๕๒
หจช. ร.๕ พศ ๒/๑๗๐ โปรดฯ ไกล่เกลี่ยให้พระยาศรี สหเทพกับพระยาจ่าแสนปรองดองกัน และโปรดฯ ให้ต้งั ออฟฟิ ซก
รมมหาดไทยขึ้น จ.ศ. ๑๒๔๐.
๕๓
“ประพฤติอิริยาบถผลัดเปลี่ยนอย่างไรจึงจะสบาย.” วชิ รญาณ. ตอนที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๔.
๕๔
กรมศิลปากร. การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัว ร.ศ. ๑๑๖ เล่ ม ๑. (กรุ งเทพฯ: ศรี
เมืองการพิมพ์, ๒๕๔๒). น. ๙๐ – ๙๑. และ หจช. ศธ. ๑/๒๒ เลื่อนเวลาทาการเสมียนพนักงาน (๑๕ เม.ย. ๒๔๔๐).
14

ต้นสังกัดของตนมีปัญหาได้๕๕ พวกเขาจึงเข้าชื่อกันขอให้เลื่อนเวลาราชการเร็ วขึ้นอีก ๑ ชัว่ โมง ด้วยเหตุน้ ี


เอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ทุกกระทรวงในกรุ งเทพฯ จึงต้องเลื่อนเวลาราชการเป็ น ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. และ
ใช้ไปจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง๕๖
ในส่ วนของหัวเมือง การจาลองระบบราชการของกรุ งเทพฯ ออกไปโดยกระทรวงมหาดไทย ทาให้
การใช้ “เวลาอย่างใหม่” ขยายตัวเป็ นวงกว้างมากขึ้น ที่ทาการมหาดไทยกว่า ๓,๖๑๐ แห่ งยังได้กลายเป็ น
ศู น ย์ก ลางของการเผยแพร่ “เวลาอย่างใหม่ ” คู่ ข นานไปกับ วัด ที่ เป็ นศู น ย์ก ลางของ “เวลาอย่ า งเก่ า ”๕๗
เครื อข่ายโทรเลขที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคราวทศวรรษ ๒๔๔๐ บังคับให้หน้าปัดนาฬิกากลของทุกหน่วยงาน
ราชการเดิ น ตรงกัน ประหนึ่ งว่า ทั้งประเทศก าลังใช้นาฬิ ก าเรื อนเดี ย วกัน แต่ ที่ น่ าสนใจกว่านั้น คื อความ
หลงใหลในคุณค่าของเวลาของเสนาบดีมหาดไทย ดังที่ทรงประทานตูน้ าฬิกาให้กบั ศาลาว่าการของทุกเมือง
เมื่อถึงวาระสาคัญของพระองค์แทนการติดพระรู ปหรื อสร้างอนุสาวรี ย๕๘

แต่การประดิษฐ์สิ่งใดสิ่ งหนึ่ ง ย่อมหมายถึ งการประดิษฐ์อนั ตรายจากสิ่ งนั้นขึ้นมาด้วย การนาเข้า
“เวลาอย่างใหม่” มาใช้โดยหวังที่จะได้ควบคุมระบบราชการก็อาจจะกลายเป็ นภัยต่อชนชั้นนาโดยไม่รู้ตวั ดัง
กรณี ที่ น่ าสนใจคื อการสร้ าง “บัญ ชี ช่ัวโมงท างาน” ของพระยาศรี ส หเทพ (เส็ ง วิริยศิ ริ) ปลัด กระทรวง
มหาดไทยในปี พ.ศ.๒๔๓๗
ในบัญชีดงั กล่าวจะระบุวา่ ข้าราชการตั้งแต่เสนาบดีลงไปถึงเสมียนทางานปี ละกี่ชว่ั โมง ขาดราชการ
กี่วนั ทางานมากหรื อน้อยกว่าเวลาอัตราที่กาหนด และหากปฏิบตั ิราชการนอกสถานที่ ก็ให้นับเป็ นชัว่ โมง
ทางานเหมือนกัน เมื่ อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรบัญชี ฉบับนี้ แล้วทรงพอ
พระราชหฤทัยมาก มีรับสั่งถึงพระยาศรี สหเทพว่า “เปนการมีคุณต่อราชการ...ว่าข้าราชการแลเสมียนผูใ้ ดได้
ทาราชการฉลองพระเดชพระคุณมากแลน้อยแลเปนหลักฐานที่ จะได้ตรวจสอบในการที่จะพระราชทาน

๕๕
หจช. กส. ๑/๙๐๕ คาสัง่ เปลี่ยนเวลาราชการ ตั้งแต่ ๔ โมง ถึงบ่าย ๔ โมง (ร.ศ. ๑๓๐).
๕๖
คณะราษฎรพยายามที่จะเปลี่ยนเวลาราชการให้มาเป็ น ๘.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. แต่ก็ถูกใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนมา
เป็ น ๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. แทน ส่วนเวลาราชการในปัจจุบนั นี้ เป็ นมรดกจากสมัยปฏิวตั ิของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดู หจช.
ศธ ๑.๑/๓๐ เรื่ องเปลี่ยนเวลาทางานของข้าราชการเป็ นตั้งแต่ ๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. (๑๑ – ๑๔ ก.ค. ๒๔๗๖).
๕๗
มหาอามาตยาธิบดี (เส็ง วิริยศิริ), พระยา. การปกครองฝ่ ายพลเรื อน. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพระภักดีศรี
สุ พรรณภูมิ (สุ ด สุ นทรศารทูล) วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๕). น. ๔๗. และ นคริ นทร์ เมฆไตรรัตน์. อ้ างแล้ ว. น. ๕๖.
๕๘
พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง. ชีวิตและงานสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ. (พระนคร: สานักงานหอสมุดกลาง,
๒๕๑๕). น. ๒๒.
15

บาเหน็จบานาญ แก่ผซู ้ ่ ึ งจงรักภักดีต่อราชการสื บไปภายน่า แลทั้งเปนเครื่ องป้ องกันที่จะไม่ให้ขา้ ราชการแล


เสมียนแชเชือนไปไม่มารับราชการให้เสี ยราชการในกระทรวง”๕๙
หากว่ากันตามนี้ อุดมคติของบัญชีชั่วโมงทางานจึงอยู่ที่การทาให้ เวลากลายเป็ นสิ่ งที่มีค่าหรื อไม่ มีค่า
เสมอเหมือนกันหมด เวลาจึงกลายเป็ นสิ่งที่ว่างเปล่ า และข้ าราชการทุกคนก็มีอยู่เท่ าๆ กัน ผลลัพธ์ ที่ดีที่สุดจึง
มาจากการที่ข้าราชการทาดีที่สุดต่ อตนเอง ความหมายหรื อคุณค่ าใดๆ จึงเป็ นผลแห่ งการกระทาที่ข้าราชการ
แต่ ล ะคนสะสมในแต่ ล ะวั น ไปจนบรรจบครบรอบปี ด้ ว ยเหตุ นี้ รายงานบั ญ ชี ชั่ ว โมงท างานของ
กระทรวงมหาดไทยจึงระบุให้ ลาดับตามชั่ วโมงสะสมจากมากสุ ดไปยังน้ อยสุ ดโดยไม่ ยึดตามบรรดาศั กดิ์
หรื อตาแหน่ ง จึงเท่ ากับว่ าทุกคนในกระทรวงจะเสมอหน้ ากันในทางสถิติ๖๐
ทว่าความกระตือรื อร้นที่จะเปลี่ยนแปลงสามัญสานึกของข้าราชการกลายเป็ นข้อขัดแย้งกับค่านิยม
ของสังคมที่ยงั มีลาดับชั้น ซึ่งระบบราชการสมบูรณาญาสิ ทธิ์พยายามจะรักษาความซับซ้อนดังกล่าวเอาไว้อยู่
เช่นเดิม๖๑ ในเวลาไม่นานนักหลายกระทรวงได้ยกเลิกการบันทึกชัว่ โมงทางานของเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง
อธิบดีกรม และเจ้ากรม แต่จะบังคับใช้บญั ชีดงั กล่าวเฉพาะข้าราชการชั้นผูน้ อ้ ยและเสมียนพนักงานเท่านั้น
แม้แต่กระทรวงมหาดไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็เปลี่ยนมาการประเมินผลตามอัตวิสัยของผูเ้ ป็ นนายที่เรี ยกว่า
รายงานลับ อาการเคร่ งครัดกับผูน้ ้อยแต่ผ่อนปรนกับผูใ้ หญ่จึงฝังตัวอยู่ในระบบการประเมินผลมาตั้งแต่ใน
สมัยนั้น ดังที่กระทรวงธรรมการประกาศว่า “และใบตรวจนั้น ให้เสมียนตรารับกลับไปรวบรวมไว้ทุกเดือน
เมื่อสิ้ นปี หนึ่ งให้ทางบปี ขึ้นเสนออีกครั้งหนึ่ง เพื่อปลัดทูลฉลองจะได้นาเสนอเสนาบดีขอความดาริ ห์ที่จะได้
ลงโทษผูเ้ กียจคร้านและบาเหน็จผูห้ มัน่ และได้ราชการด้วยอย่างใด แล้วแต่เสนาบดีจะเห็นสมควร”๖๒
เมื่ อบัญชี ช่ัวโมงท างานถู ก ดัดแปลงมาใช้เพื่ อค้ าจุ นระบบชนชั้น ส านึ ก เวลาที่ เท่ าเที ยมกันจึงไม่
อาจจะถื อกาเนิ ดขึ้นในทันที และความคิดนั้นยังถูกมองว่าเป็ นสิ่ งที่ แปลกปลอม ดังที่หลวงวิจิตรวาทการ
บันทึกเอาไว้ว่า “มีนอ้ ยเหลือเกินที่จะมาถึงกระทรวงในเวลา ๑๐ น. ตามกาหนด โดยมากมากันเกือบเที่ยง แม้
เสมียนธรรมดาก็มาเกือบเที่ยง มีสมุดลงเวลาเหมือนกัน แต่ไม่ปรากฏว่ามีใครกวดขันเรื่ อ งเวลาทางาน ท่าน

๕๙
ต่อมาก็ขยายไปใช้ทุกกระทรวง ดู เช่น หจช. ร.๕ ม.๑/๑๕ บัญชีเวลาข้าราชการรับราชการในกระทรวงมหาดไทย (๒๘
ส.ค. ๑๑๗ – ๒๘ ต.ค. ๑๑๙), หจช. ร.๕ ก.๓/๑ บัญชีตรวจเวลาข้าราชการกระทรวงกลาโหม (๑๖ ก.ค. ๑๒๑ – ๒๐ พ.ค.
๑๒๓), หจช. กส.๑/๑๐๑ บาญชีรายงานตรวจเวลาข้าราชการซึ่งรับราชการ ศก ๑๑๘. เป็ นต้น
๖๐
ดูคาอธิบายเรื่ องเวลาสมัยใหม่จาก ชูศกั ดิ์ ภัทรกุลวณิ ชย์. “บันไดแห่งความรัก: เธอลิขิตชีวิต บนหลุมศพ
สมบูรณาญาสิ ทธิราชย์.” อ่ าน. ตุลาคม ๒๕๕๙. น. ๑๐๗ – ๑๓๕.
๖๑
ดูคาอธิบายของ นคริ นทร์ เมฆไตรรัตน์. อ้ างแล้ ว. บทที่ ๓.
๖๒
หจช. ศธ.๒/๑๔ กฎที่ ๓ ว่าด้วยเวลารับราชการ (๑๕ เม.ย. ๒๔๔๕). และ หจช. กส.๑/๑๒๑๖ มณฑลภูเก็ต ว่าข้าราชการ
ในแผนกกระทรวงเกษตรควรจะใช้แบบรายงานลับอย่างกระทรวงมหาดไทย.
16

เจ้ากรมเองมาราวบ่าย ๓ โมง ทางานชั่วโมงเดียวก็กลับบ้านได้ คนคนเดียวที่มาตรงเวลา คือผูท้ ี่มีตาแหน่ ง


เป็ นนายเวร” เมื่อสภาพแวดล้อมการทางานในกระทรวงการต่างประเทศเป็ นเช่นนั้น หลวงวิจิตรวาทการจึง
เลือกที่จะมาทางานตรงเวลาเพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่างไปจากข้าราชการส่ วนใหญ่ ๖๓ ที่สาคัญคือ
กระทรวงการต่างประเทศมักจะเงียบเหงาในเวลากลางวัน แต่คึกคักในเวลากลางคืนเพราะเป็ นเวลาทางาน
ของเสนาบดี นักการทูตชาวอังกฤษบันทึกเอาไว้ว่า หากจะมาขอเข้าพบเสนาบดีว่าการต่างประเทศในเวลา
ราชการก็จาเป็ นจะต้องรู ้ภาษาสยามอยู่ ๒ คา คือคาว่า “อยู่” และ “ไม่อยู่” เพราะพระองค์มีเวลาทางานไม่
เหมือนข้าราชการทัว่ ไป๖๔
อีกเหตุผลหนึ่ งที่ทาให้ขา้ ราชการไม่อุทิศแรงกายให้กับเวลาราชการ เพราะข้าราชการในเวลานั้น
ตระหนั ก รู ้ ไ ด้โ ดยธรรมชาติ ว่ า “เวลาราชการ” ที่ แ ท้จ ริ ง หาใช่ เวลาท างานในกระทรวงหรื อ การเข้า
เฝ้าทูลละอองธุ ลีพระบาทในรัฐพิธี ๖๕ ถ้าต้องการจะอุทิศตนให้กับเวลาราชการก็สมควรใช้เวลานั้นไปกับ
กิจกรรมที่เป็ นพระราชนิ ยม ซึ่ งก็แล้วแต่ว่าพระเจ้าแผ่นดินจะโปรดสิ่ งใดในชัว่ สมัยนั้นๆ ดังตัวอย่างของ
ข้าราชการขอให้เลื่อนเวลาราชการเพื่อไม่ให้กระทบการฝึ กพลเสื อป่ า หรื อข้าราชการที่ร่วมฝึ กและชมละคร
ตามพระราชนิยมจนถึงดึกดื่นเป็ นประจา๖๖
ค่านิ ยมดังกล่าวยังถูกถ่ายทอดออกมาในบันทึกของผูก้ ่อการปฏิวตั ิ ร.ศ. ๑๓๐ ที่ว่า “อีกจาพวกหนึ่ ง
นั้นถึงแม้ว่ามีหน้าที่ต้ งั แต่งให้ทางานสาหรับรัฐบาลก็จริ ง แต่เอาเวลาไปใช้ในทางสอพลอเสี ยหมด...ขอแต่
ให้ได้ใกล้ชิด กลิง้ เกลือกอยูก่ บั ฝ่ าบาทก็แล้วกัน...ประเดี๋ยวได้ลาภประเดี๋ยวได้ยศ ฝ่ ายพวกที่มวั หลงทาการอยู่
ยังออฟฟิ ซก็ตอ้ งอดโซไปตามกัน บางคนก็ติเตียนว่าคนเหล่านี้โง่ไม่รู้จกั หาความดีความชอบใส่ ตวั มัวนัง่ มุด
หัวอยู่แต่ที่ ออฟฟิ ซ แลยังซ้ าติ เตี ยนว่าเป็ นคนเกี ยจคร้ าน ไม่รู้จกั เข้าเฝ้าเจ้าเฝ้านาย”๖๗ จะเห็ นได้ว่าการนั่ง

๖๓
วิจิตรวาทการ, หลวง. วิธีทางานและสร้ างอนาคต. (กรุ งเทพฯ: สร้างสรรค์บคุ๊ ส์, ๒๕๔๒). น. ๔๖ – ๔๗.)
๖๔
เฮนรี่ นอร์แมน. “ชีวิตความเป็ นอยูแ่ ละการเมืองการปกครองของชาวตะวันออกไกล ตอนประเทศสยาม.” พรพรรณ ทอง
ตัน แปล. ใน กรมศิลปากร. รวมเรื่ องแปลหนังสื อและเอกสารทางประวัติศาสตร์ ชุดที่ ๔. (กรุ งเทพฯ: กรมศิลปากร,
๒๕๕๕). น. ๑๗๕.
๖๕
จักรปาณี ศรี ศิลวิสุทธิ์ , หลวง. เรื่ องของเจ้ าพระยามหิ ธร. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามหิธร (ลออ
ไกรฤกษ์) ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙). น. (๑๖๐), หจช. กส.๑/๙๐๗ คาสั่ง ให้ขา้ ราชการใน
กระทรวงเกษตราธิการและกรมขึ้นผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่พระที่นง่ั อภิเษกดุสิต (ร.ศ. ๑๓๐) และ
หจช. กส.๑/๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้งดเงินเดือนเสนาบดีและปลัดทูลฉลองซึ่งขาดเฝ้าในการพระราชพิธีโสกันต์ (ร.ศ. ๑๑๘).
๖๖
พิทยลาภพฤฒิยากร, กรมหมื่น. อัตตชีวประวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร. (กรุ งเทพฯ: แสงดาว, ๒๕๕๖). น. ๑๒๐.
๖๗
เหรี ยญ ศรี จนั ทร์ และเนตร พูนวิวฒั น์. ปฏิวัติ ร.ศ. ๑๓๐. (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖). น. ๒๔๘. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
17

ทางานตามเวลาราชการกลายเป็ นสิ่ งที่ชว่ั ร้ายไปเสี ยแล้ว สภาวะดังกล่าวนี้ ก็ดูจะสอดคล้องไปกับข้อสังเกต


ของนักการทูตอังกฤษที่มีต่อข้าราชการสยามที่วา่ “พวกเขาทางานขณะเล่น และเล่นไปทางานไป”๖๘

วันหยุดราชการ : วันพระหรื อวันอาทิตย์


สิ่ งที่สัมพันธ์กบั เวลาทางานก็คือวันหยุด รัฐบาลในเวลานั้นก็ยงั คงใช้วนั พระเป็ นวันหยุดราชการ
เช่นเดียวกับสมัยก่อนหน้า กรณี น้ ี ทาให้เห็นว่า “เวลาอย่างเก่า” ก็ยงั คงมีอิทธิพลอยู่ไม่น้อยในระบบราชการ
สมัยใหม่ ซึ่ งถ้ามองให้ไกลกว่าการสื บทอดค่านิ ยมของสังคมไปสู่ เรื่ องสานึ กของเวลาทางศาสนาแล้ว การ
หยุดราชการในวันพระยังเป็ นการยืนยันว่าวันทุกวันสาคัญไม่เท่ากันอีกด้วย (ความคิดดังกล่าวจึงขัดแย้งกับ
อุดมคติที่บญั ชีชวั่ โมงทางานพยายามจะสร้างให้เวลาในทุกวันมีค่าหรื อไม่มีค่าเท่าๆ กันทั้งหมด) สานึกเวลา
แบบนี้ ก็ไม่แตกต่างไปจากสานึ กเรื่ องเวลากลางวันกลางคืนที่เคยมีคุณค่าไม่เท่ากันมาก่อน แต่เมื่อรัฐต้องการ
เพิ่มประสิ ทธิ ภาพของระบบราชการในเวลากลางคืน จึงต้องออกกฎมารับรองว่าข้าราชการที่เข้าเวรรักษา
กระทรวงในเวลากลางคืนจะถูกนับชัว่ โมงทางานอย่างเท่าเทียมกับข้าราชการที่มาทางานในเวลากลางวัน๖๙
เหตุผลที่ว่าเวลาของแต่วนั สาคัญไม่เท่ากันก็มาจากคาอธิบายทางศาสนาที่ว่า “อันว่าพระจตุโลกบาล
เดินดูดีดูร้ายแห่ งโลกทั้งหลายนี้ ทุกวันย่อมใช้ให้เทพยดาองค์อื่นมาต่างตัวในวันศีลน้อย คือวันอัฐมีน้ ันไส้
ย่อมใช้ลูกมาต่างตัว ผิแลวันศีลใหญ่ คือวันบูรณมีแลอมาพัสสานั้นไส้ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ย่อมมาเดินดู
เอง” เมื่อคนส่ วนใหญ่มีความเชื่อที่ว่าเทวดาผูม้ ีหน้าที่บนั ทึกกรรมดีของสัตว์โลกมีความสาคัญไม่เท่ากันใน
แต่ละวัน ทาให้พวกเขาเข้าใจไปว่าการปฏิบตั ิดีก็ไม่จาเป็ นต้องทาให้เท่ากันทุกวันก็ได้ ด้วยคาอธิบายเช่นนี้จึง
ทาให้วนั พระใหญ่จึงเป็ นวันสาคัญที่สุดในรอบเดือนที่คนไทยจะนิยมทาบุญ เพราะท้าวจตุโลกบาลจะเสด็จ
มาบันทึกความดีของมนุ ษย์ที่กระทาในวันนั้นด้วยพระองค์เอง วันพระเล็กจะเป็ นหน้าที่ของโอรสของท้าว
จตุโลกบาล ส่วนวันธรรมดาจะเป็ นหน้าที่ของเทวดาที่ได้รับมอบหมาย๗๐
วันพระจึงเป็ นวันส าคัญกว่าวันอื่นๆ ในสามัญสานึ กของคนไทยมาอย่างช้านาน กรมนาในสมัย
รัชกาลที่ ๔ ยังกาหนดให้ขุนนางที่ตอ้ งออกเดินประเมินที่นาต้องสาบานตัวในวันพระ ดังที่ระบุว่า "อนึ่ง ถ้า
ถึงวันพระ ๘ ค่า ๑๕ ค่า ให้ขา้ หลวงเสนากรมการกากับกานันพันนายบ้าน ผูญ้ ื่นหางว่าวเสมียรตะนายผูถ้ ือ
๖๘
เฮนรี่ นอร์แมน. อ้ างแล้ ว. น. ๑๘๒.
๖๙
วีระยุทธ ปี สาลี. “มโนทัศน์เรื่ อง “เวลากลางคืน” ในสังคมไทย.” รั ฐศาสตร์ สาร. ปี ที่ ๓๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม – เมษายน
๒๕๕๕. น. ๑๓๘ – ๑๖๘. และ หจช. ร.๕ ม.๑/๑๕ บัญชีเวลาข้าราชการรับราชการในกระทรวงมหาดไทย (๒๘ ส.ค. ๑๑๗
– ๒๘ ต.ค. ๑๑๙).
๗๐
สมเกียรติ วันทะนะ. โลกที่(คิดว่า)คุ้นเคย?: ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุ งศรี อยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐.
(กรุ งเทพฯ: ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , ๒๕๖๑). น. ๑๒๗ – ๑๒๘.
18

บาญชี นา และชักเชื อกกระแสพยานที่ ได้วดั ชัณะสู ท นาของราษฎรไปพร้อมกันณพระอาราม ษาบาลตัว


จาเภอะพระภักพระพุทธิ เจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าจงทุกวันพระ อย่าให้เอาจานวรนาซรึ่ งเปนหลวงไป
ยกให้แก่ราษฎร อย่าให้เอานาของราษฎรเหลือเกินไปใส่ในหลวง ให้ทาบาญชีแต่โดยสัจโดยจริ ง"๗๑ และวัน
พระยังคงเป็ นวันหยุดราชการไปจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ จะมียกเว้นก็แต่ “ออฟฟิ ศหลวง” เท่านั้นที่ ไม่ได้หยุด
ดังที่มีบนั ทึกว่า “แลเราก็เข้าไปในพระบรมมหาราชวัง ทาการอยูท่ ี่ออฟฟิ ซๆ อื่นๆ เขามีวนั พระเลิกกันหมด
แต่ออฟฟิ ซนี้ไม่มีเลิกเลย ต้องทาการเสมอ”๗๒
ส่ วนปฏิทินจันทรคติระบบปั กขคณาของรัชกาลที่ ๔ ที่มกั จะมีวนั พระที่แตกต่างไปจากปฏิทินกรม
โหรทาให้ตอ้ งแจ้งในประกาศสงกรานต์ของทุกปี ๗๓ เมื่อเปลี่ยนปฏิทินใหม่ก็ตอ้ งแจ้งวันพระปั กขคณาด้วย
การเขียนวันเดือนอย่างใหม่เช่นกัน แต่ก็คงจะมีแรงต่อต้านจากสังคมหรื อไม่ก็องค์กรคณะสงฆ์ เพราะการ
บอกวันพระด้วยวิธีใหม่น้ ีทาได้เพียง ๓ ปี เท่านั้น (พ.ศ. ๒๔๓๓ – ๓๕) ก็ตอ้ งกลับไปเขียนวันเดือนแบบไทย
ตามเดิม อย่างไรก็ดี ระบบปั กขคณาก็คงจะใช้อย่างจากัดมากคือในพระราชสานักเท่านั้น แต่ในระดับรัฐคือ
การประชุ มเจ้านายและเสนาบดีที่จดั ขึ้นทุกวันโกน ยังคงอ้างอิงเป็ นวันพระตามปฏิทินจันทรคติของกรม
โหร๗๔
เมื่ อจัดตั้ง ๑๒ กระทรวงขึ้นในครึ่ งหลังของทศวรรษ ๒๔๓๐ บางหน่ วยงานเริ่ มใช้วนั อาทิตย์เป็ น
วันหยุดราชการแทนวันพระ ๗๕ รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดยให้หยุดราชการในวันอาทิตย์เหมือนกันทั้งหมดทุก
กระทรวงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ หรื อหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ๗๖ แม้ว่าจะไม่แจ้ง
เหตุผลว่าทาไมจึงเปลี่ยนวันหยุดราชการ แต่ก็สันนิษฐานว่ารับความคิดมาจากการเสด็จประพาสยุโรป อีกทั้ง
ความคงเส้นคงวาของวันอาทิตย์ ที่ไม่ตอ้ งบอกต้องสั่งกันเป็ นรายสัปดาห์ไป ก็เป็ นสิ่ งที่วนั พระตามปฏิทิน
ไทยไม่สามารถจะกระทาได้
การเปลี่ยนวันหยุดราชการเช่นนี้ กลับทาให้ผพู ้ ิพากษากระทรวงยุติธรรมได้รับผลกระทบมากที่สุด
เพราะถึงแม้วา่ การพิพากษาอรรถคดีจะเคร่ งครัดไปตามตัวบทกฎหมาย แต่เมื่อเวลาราชการเข้ามาทับซ้อนกับ
เวลาของศาสนาเช่ นนี้ พวกเขาจึงรู ้สึกไม่ส บายใจที่ จะต้องลงโทษผูต้ อ้ งหาในวันพระเท่ าใดนัก เสนาบดี
กระทรวงยุติธรรมกราบทูลในเรื่ องนี้ ว่า “ด้วยในการจะปิ ดออฟฟิ ศวันพระ วันอาทิตย์น้ นั ก็ไม่เปนการสาคัญ
๗๑
หจช. ร.๔ กห. ๑/๑๐ สารตราว่าด้วยตั้งข้าหลวง เสนา ออกไปเดินประเมินนาหัวเมือง (จ.ศ. ๑๒๑๓).
๗๒
ปรี ดีเทพย์พงษ์ เทวกุล, ม.จ.. อ้ างแล้ ว. น. ๖๖, ๘๖ – ๘๗.
๗๓
“ประกาศสงกรานต์ปีระกาสัปตศก.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑ ตอนที่ ๑๒. น. ๑๐๓.
๗๔
ปรี ดีเทพย์พงษ์ เทวกุล, ม.จ.. อ้ างแล้ ว. น. ๑๒๔.
๗๕
“ประพฤติอิริยาบถผลัดเปลี่ยนอย่างไรจึงจะสบาย.” วชิ รญาณ. ตอนที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๔.
๗๖
หจช. ร.๕ น.๑.๑/๑๔๕ กระทรวงต่างๆ แจ้งเหตุหยุดทาการวันอาทิตย์ (๕ ก.พ. ๑๑๗ – ๓ เม.ย. ๑๑๘).
19

นัก เกล้ากระหม่อมได้พูดๆ กันดูเหนด้วยเกล้าฯ ว่า ที่จะทาการในวันพระนั้นมีหงุดหงิดอยูห่ น่อยหนึ่งคือ คน


ถือศีลไม่ใคร่ มาเปนเพราะจะไปฟั งเทศน์ ในหัวเมืองหยุดมาก ในกรุ งเทพฯ ไม่ใคร่ กระไรนัก แลอีกอย่ าง
หนึ่ง ในความอาญาพิพากษาลงโทษคนในวันพระนั้นไม่ ชอบกล (ไม่เข้าที-ผูเ้ ขียน) ส่ วนฝรั่งในกระทรวงนี้จะ
ให้ทาวันอไรได้หมด ตัวมิศเตอร์สเลสเซอร์เองก็เห็นว่าควรปิ ดออฟฟิ ศวันพระ...ในเรื่ องที่ว่าจะปิ ดวันพระฤา
วันอาทิ ตย์น้ ัน ก็ไ ม่ มี อไรเปนสลัก ส าคัญ จริ ง จะทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้าอย่างไรก็ไ ด้ ” เมื่ อเรื่ องเข้าสู่ ที่
ประชุมเสนาบดีแล้ว พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดารงราชานุ ภาพ เสนาบดีมหาดไทยก็คดั ค้านว่าจะให้
กระทรวงยุติธรรมหยุดวันพระไม่ได้ เพราะจะทาให้การประสานงานราชการในกรุ งเทพฯ ขาดความเป็ น
เอกภาพ๗๗
แต่ในปี รุ่ งขึ้น เสนาบดีมหาดไทยก็กราบบังคมทูลขอให้ที่ทาการในหัวเมืองหยุดวันพระทุกมณฑล
โดยพระองค์ให้เหตุผลไว้น่าสนใจว่า “ตามหัวเมืองเกี่ยวข้องด้วยกิจธุ ระของราษฎรในพื้นเมือง คือการเก็บ
ภาษีอากรแลการถ้อยความเปนต้น ประเพณี ราษฎรในพื้นเมืองโดยมากเขาหยุดการในวันพระ ไปรักษาศีล
ทาบุญให้ทานตามประเพณี ที่มีสืบกันมาแต่โบราณ เพราะฉะนั้น การเปิ ดที่ว่าการในวันพระ ย่อมเปนการ
ลาบากของราษฎรที่จะต้องมายังที่ว่าการในที่เขาหยุดการเพื่อทาบุญให้ทาน ส่ วนข้างปิ ดศาลาวันอาทิตย์น้ ัน
เล่า ทาให้เสี ยเวลาของราษฎรไปวันหนึ่ งเหมือนกัน ด้วยเหตุน้ ี เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ที่ว่าการหัวเมืองควรปิ ดวัน
พระ ซึ่งเปนวันหยุดการของราษฎรต่อไป”๗๘
หากพิจารณาตามเหตุผลที่เสนาบดีมหาดไทยให้ไว้จะพบว่า คาอธิบายของพระองค์เน้นไปที่การใช้
เวลาอย่างคุม้ ค่าที่สุดต่อทั้งสองฝ่ าย จึงแตกต่างไปจากเหตุผลของตุลาการที่ไม่อยากจะพิพากษาในวันพระ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และมีรับสั่งต่อไปอีกว่า “ถึงในกรุ งก็
ออกจะเปนที่ขดั วางอยู่เหมือนกัน นานไปภายน่า น่าจะกลับลงเปนวันพระ” ๗๙ แต่ก็ไม่เคยพบว่าหน่ วยงาน
ราชการในกรุ งเทพฯ เปลี่ยนกลับมาหยุดวันพระอีกเลยจนระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์ล่มสลาย

เวลาทางานของเจ้ านาย : มือซ้ ายและมือขวาของพระจุลจอมเกล้ าฯ


แบบแผนเวลาราชการที่ กล่าวถึ งส่ วนใหญ่ เป็ นข้อบังคับที่ ใช้กับข้าราชการโดยทัว่ ไป แต่สาหรับ
ผูบ้ ริ หารที่ส่วนใหญ่เป็ นพระบรมวงศานุ วงศ์น้ นั จะมีเวลาทางานที่แตกต่างออกไป นั่นคือไม่ มีกาหนดเวลา
ทางานที่แน่ นอน เวลาทางานของบรรดาเจ้านายจึงแล้วแต่พระประสงค์ ดังที่ได้ยกตัวอย่างของกระทรวงการ
๗๗
หจช. ร.๕ ย. ๑/๑๐ เบ็ดเตล็ดยุติธรรม (๑๖ เม.ย. ๑๑๒ – ๒๕ ก.ย. ๑๑๔). (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๗๘
หจช. ร.๕ ม.๑/๒๒ เรื่ องปิ ดที่ว่าการหัวเมืองเป็ นวันพระ (๑๘ ส.ค. ๑๒๒).
๗๙
หจช. ร.๕ ม.๑/๒๒ เรื่ องปิ ดที่ว่าการหัวเมืองเป็ นวันพระ (๑๘ ส.ค. ๑๒๒).
20

ต่างประเทศไว้แล้วว่าเสนาบดีจะทรงงานในเวลากลางคืน ทาให้ขา้ ราชการที่สังกัดกองบัญชาการต้องทางาน


ในเวลากลางคืนไปด้วย ซึ่งต้องกล่าวไว้ดว้ ยว่า การทางานหรื อใช้ชีวิตในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวันเป็ น
วิถี แ ห่ ง ราชส านัก ๘๐ ดังนั้ น ก่ อ นที่ ส ถาบัน พระมหากษัต ริ ย ์จะเข้ากุ ม อานาจการบริ ห ารราชการแผ่น ดิ น
เสนาบดีที่ มาจากตระกู ลขุนนางก็ท างานในเวลากลางวันกันมาก่ อน ความไม่คุน้ เคยกับ การนอนดึ กของ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็ นสิ่ งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ความสนพระทัยเป็ นพิเศษ ดังที่ปรากฏในหนังสื อพระราชพิธีสิบสองเดือนอยูห่ ลายช่วงหลายตอน๘๑
เมื่ อพระเจ้าน้อ งยาเธอหลายพระองค์เข้ามารับ ราชการและมี ต าแหน่ งต้อ งเข้าประชุ ม พร้อ มกับ
เสนาบดีที่มาจากตระกูลขุนนาง กาหนดเวลาประชุมเจ้านายและเสนาบดีต้ งั แต่ปี พ.ศ.๒๔๒๕ ก็ยงั เป็ นเวลา
บ่ายไปถึงเย็นของทุก วันโกน แต่เมื่ อทรงจัดตั้ง ๑๒ กระทรวงในอีกสิ บปี ต่อมา สมาชิกเสนาบดีสภาส่ วน
ใหญ่เป็ นพระบรมวงศานุวงศ์ การประชุมจึงย้ายมาจัดในช่วงหัวค่าถึงเที่ยงคืนของทุกวันแทน ๘๒ การบริ หาร
ประเทศในยามค่ าคืนเช่ นนี้ นอกจากจะผิดไปจากความเข้าใจของคนในปั จจุบนั แล้ว ก็ยงั ผิดไปจากความ
เข้าใจของขุนนางที่รับราชการมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ด้วย
ข้าราชการในสมัยสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์หลายคนยังบันทึกประสบการณ์ที่ได้ทางานร่ วมกับเจ้านาย
หลายพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจ ทิศทางจากบันทึกแสดงให้เห็นว่า การดาเนิ นชีวิตโดยไม่มีตารางเวลาหรื อ
ทางานในเวลากลางคืนไม่ใช่อาการเสแสร้งแต่เป็ นการปฏิบตั ิที่ออกมาจากจิตใจ ทั้งนี้ เพราะการปฏิบตั ิต่อ
เจ้านายตั้งแต่ประสู ติจนถึงสิ้ นพระชนม์เป็ นไปภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากการเลี้ยงดูแบบตระกูล
ขุนนางหรื อราษฎรเป็ นอย่างมาก๘๓ กระทัง่ ระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิ ราชย์ได้ขยายฐานเข้าไปแทรกในระบบ
ราชการจึงทาให้ความลี้ลบั และวิถีแห่ งราชสานักที่เคยอยู่แวดวงจากัดถูกเปิ ดเผยสู่ โลกภายนอก รู ปแบบการ
ปฏิบตั ิต่อเจ้านายจึงขยับขยายจากวังไปสู่กระทรวง
แม้แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ผูน้ าเข้าการใช้
“เวลาอย่างใหม่” ก็ยงั ทรงปฏิบตั ิพระองค์ตามวิถีแห่งราชสานักไม่เคยเปลี่ยนแปลง การสร้างปฏิทินและเวลา

๘๐
ตามคาของนางแอนนา ในที่น้ ีเสนอว่าเป็ นวิถีแบบรัชกาลที่ ๔ ที่ถา่ ยทอดไปยังพระราชโอรสของพระองค์ มากกว่าที่จะ
เป็ นข้อกาหนดตามพระราชานุกิจในกฎมณเฑียรบาล ดู แอนนา ลีโอโนเวนส์. อ่ านสยามตามแอนนา: การบ้ านและการเมือง
ในราชสานักคิงมงกุฎ. สุ ภตั รา ภูมิประภาส และสุ ภิดา แก้วสุ ขสมบัติ แปล. (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๒). น. ๑๑๔ – ๑๒๕.
๘๑
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. น. ๒๔, ๘๙, ๑๓๙, ๑๕๑.
๘๒
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันภาค ๑๓. (พระนคร: โรงพิมพ์ท่าพระจันทร์,
๒๔๗๙). น. ๗, ปรี ดีเทพย์พงษ์ เทวกุล, ม.จ.. อ้ างแล้ ว. น. ๕๙ – ๖๑; ๖๕; ๗๔; ๘๕; ๙๖; ๑๐๕; ๑๑๕; ๑๒๔. และ หจช. ร.๕
อ.๓/๓ ตะราง (ตารางรายงานที่ประชุมเสนาบดี) (เม.ย. ๑๑๑ – ก.ค. ๑๑๒).
๘๓
นคริ นทร์ เมฆไตรรัตน์. อ้ างแล้ ว. น. ๒๕ – ๒๖.
21

ราชการจึงเป็ นเรื่ องของการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพของระบบราชการสมัยใหม่เท่านั้น กระทัง่ การทางานในวัน


พระก็ไม่ได้บ่งชี้ ว่าทรงเห็นความส าคัญของเวลาอย่างเท่าเที ยมกันทุ กวัน และถึงที่สุดคือเวลาทางานของ
พระองค์น้ นั ก็สะท้อนวิธีคิดแบบเจ้านายที่วา่ เวลายังไม่ใช่ที่สาคัญสาหรับคนอื่น๘๔
แต่ก็ยงั มีเจ้านายระดับ สู งที่มีวินัยแตกต่างไปจากเจ้านายร่ วมสมัย นักการทู ตชาวอังกฤษที่ เข้ามา
สยามช่วงหลังเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ได้บนั ทึกการทางานของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดารงราชานุภาพ
เมื่อครั้งยังทรงว่าการกระทรวงธรรมการเอาไว้ว่า “พระองค์ทรงเป็ นชาวสยามที่ ทรงทางานโดยไม่คานึ งถึง
เวลาและขั้นตอนที่ยุ่งยาก...พระองค์ทรงปฏิบตั ิหน้าที่อยู่ในห้องทางานตั้งแต่ ๑๑ นาฬิกา ต่อเนื่ องไปถึง ๑๖
นาฬิกา”๘๕ เมื่อทรงย้ายมาเป็ นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ยงั ส่ งเสริ มค่านิ ยมในเรื่ องเวลาดังที่ได้กล่าวถึง
ไปแล้ว หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัยได้บนั ทึกถึงความมีวินยั ในการใช้ชีวิตและทางานเอาไว้วา่ “เสด็จพ่อทรงใช้
เวลาของพระองค์อย่างนี้ ทุกวันโดยไม่เปลี่ยนแปลงเลย และทรงตรงต่ อเวลาเป็ นอย่างยิ่ง ตรัสว่ าสะดวกแก่ ผ้ ู
ทางานกับเรา”๘๖
หากพิ จารณาจากบริ บ ทของกระทรวงมหาดไทยที่มีขา้ ราชการและเสมี ยนพนักงานมากที่ สุดใน
ประเทศ ประกอบกับข้อราชการจานวนมากที่ตอ้ งสะสางในแต่ละวัน บริ บทการทางานเช่นนี้อาจจะมีส่วนที่
ทาให้พระองค์คานึ งถึง “เวลาของคนอื่นๆ” มากกว่าเจ้านายรุ่ นราวคราวเดียวกัน พระองค์ยงั คลุกคลีอยู่กบั
ปฏิ ทิ นใหม่ มากกว่าข้าราชการผูใ้ ดในเวลานั้น คือนอกจากจะใช้ป ระกอบการเขี ยนหนังสื อราชการเป็ น
ประจาอยูแ่ ล้ว ปฏิทินมีความจาเป็ นต่องานสะสางลาดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ตอ้ งตรวจสอบวันเวลา
อย่างเคร่ ง ครั ด ในชุ ด เอกสารส่ วนพระองค์ที่ ห อจดหมายเหตุ แห่ งชาติ ย งั หลงเหลื อ ร่ องรอยการใช้ง าน
“ปฏิ ทิ น ร.ศ. ๘๗” (พ.ศ. ๒๔๑๑ ตรงกับปี ที่ รัชกาลที่ ๕ สื บราชสมบัติ) ที่ นักจดหมายเหตุระบุ ว่าปฏิ ทิ น
ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สันนิ ษฐานได้ว่าทรงใช้ปฏิทินฉบับนี้ ประกอบการเขียน
พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕ ที่เริ่ มนิพนธ์ข้ ึนในปี ดังกล่าว๘๗
คงจะเห็ น แล้วว่า พระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ที่ เปรี ย บเสมื อน “มื อซ้ายและมื อขวา” ของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยงั ให้ความสาคัญกับเวลาจากมุมที่แตกต่างกัน พระองค์หนึ่งให้
ความส าคัญ กับ เวลาในฐานะที่ เป็ นเครื่ องมื อ แต่อีก พระองค์ห นึ่ งให้ความส าคัญ กับ เวลาในฐานะที่ เป็ น
๘๔
เป็ นคาอธิบายของหมอสมิธ ใน มัลคอล์ม สมิธ. อ้ างแล้ ว.
๘๕
พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง. อ้ างแล้ ว. น. ๖๒. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๘๖
หจช. สบ.๒/๔๒ ปฏิทิน ร.ศ. ๘๗ (๑ เม.ย. ๒๔๕๘). และ ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระ
ราชพงศาวดารรั ชกาลที่ ๕. (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๑).
๘๗
หจช. สบ.๒/๔๒ ปฏิทิน ร.ศ. ๘๗ (๑ เม.ย. ๒๔๕๘). และ ดารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระ
ราชพงศาวดารรั ชกาลที่ ๕. (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๑).
22

ภาคปฏิบตั ิ ซึ่ งความสนใจในภาคปฏิบตั ิน้ ี กระมัง ที่ทาให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดารงราชานุภาพ ทรง


รักษาวิถีแห่งราชสานักน้อยกว่าพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๔ พระองค์อื่นๆ

ชัยชนะของระบบราชการ
เมื่อถ้อยคาในประกาศเปลี่ยนปฏิทินระบุอย่างชัดเจนว่าจะบังคับใช้เฉพาะในระบบราชการเท่านั้น ก็
แสดงว่าจะไม่มีการยกเลิกปฏิทินเดิมที่ใช้พ้ืนที่ทางสังคม ความคิดดังกล่าวนี้ ดูจะแตกต่างไปจากอีกหลายๆ
ประเทศที่ตอ้ งการใช้ปฏิทินใหม่เปลี่ยนรัฐและสังคมไปพร้อมๆ กัน (ไม่ว่าจะสาเร็ จหรื อไม่ก็ตาม) คาถามก็
คือ อะไรทาให้ผนู ้ าการเปลี่ยนปฏิทินของสยามถึงเลือกที่จะใช้วิธีการเช่นนั้น ?
ความเป็ นไปได้ป ระการหนึ่ ง คื อชนชั้นนาสยามถอดบทเรี ยนมาจากการปฏิ วตั ิ ฝ รั่ งเศส เพราะมี
ตัวอย่างว่าหลังการปฏิวตั ิผ่านไป ๔ ปี ฝรั่งเศสได้ประกาศยกเลิกวิธีนบั เวลาแบบเดิม แล้วแทนที่ดว้ ยการนับ
เวลาในระบบฐาน ๑๐ แนวคิดนี้เป็ นความพยายามจะตัดขาดความต่อเนื่องของเวลาจากสังคมเก่า แต่หลังจาก
ทดลองใช้อยูถ่ ึง ๑๓ ปี จักรพรรดินโปเลียนได้ประกาศให้กลับไปใช้ระบบเวลาก่อนการปฏิวตั ิอีกครั้ง เพราะ
เขาต้องการทาให้ฝรั่งเศสกลายเป็ นจักรวรรดิ ซึ่ งหมายความว่าจะต้องย้อนกลับไปหาความรุ่ งโรจน์ที่เกิดขึ้น
ก่อนจะถูกการปฏิวตั ิตดั ตอนไป๘๘
แม้จะยืนยันไม่ได้ว่าชนชั้นนาสยามรับรู ้เรื่ องนี้ มากน้อยเท่าใด แต่ถา้ ดูจากร่ องรอยของการตั้งศักราช
ใหม่คือ “รัตนโกสิ นทรศก” ก็เป็ นไปได้มากว่ามี “สาธารณรัฐศักราช” ของฝรั่งเศสเป็ นต้นแบบ อีกทั้งชนชั้น
นาสยามช่ วงต้น รัชกาลที่ ๕ ก็ ส นใจประสบการณ์ จากฝรั่ งเศสอยู่ไม่ น้อย ดังที่ มี รับ สั่ งให้ แปลประมวล
กฎหมายนโปเลียน ซึ่งมีส่วนสาคัญในการออกแบบกลไกของรัฐแบบรวมศูนย์อานาจในเวลาต่อมา๘๙
อีกประการหนึ่งคือคุณสมบัติของผูน้ าการเปลี่ยนแปลงที่เป็ นนักปฏิรูป ในประกาศ “ให้ใช้วนั อย่าง
ใหม่” จึงไม่ปรากฏถ้อยคาประณามว่าปฏิทินเก่าเป็ นรากเหง้าของความล้าหลังของชาติดว้ ยสายตาแบบนัก
ปฏิวตั ิ การแบ่งแยกการใช้เวลาอย่างใหม่กบั รัฐบาลซึ่งผ่านการ “รี ฟอม” มาแล้ว กับเวลาอย่างเก่าในพิธีกรรม
ของราชสานักต่อไป ก็ไม่เป็ นอุปสรรคต่อชนชั้นนาสยามแต่อย่างใด เพราะแกนนาของรัฐบาลและราชสานัก
เป็ นคนกลุ่มก้อนเดียวกัน เส้นแบ่งระหว่างสองพื้นที่น้ นั ก็พล่าเลือนมาก พวกเขาข้ามไปข้ามมาระหว่างเส้น
ดังกล่าวโดยตลอด การดารงอยู่ของเวลาทั้งอย่างเก่าและอย่างใหม่จึงสะท้อนความเป็ นตัวตนอย่างที่สุดของ

๘๘
รุ่ งพงษ์ ชัยนาม. “ปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส.” วารสารสุโขทัยธรรมาธิ ราช. ปี ที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม – ธันวาคม
๒๕๕๔. น. ๕ – ๒๑.
๘๙
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. ระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิ ราชย์ : วิวัฒนาการรั ฐไทย. (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๖๒). น.๑๐๐-๑๐๑.
23

ผู ้ป กครองในระบอบสมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ที่ ต้อ งการอยู่ เหนื อ ทั้ ง การเปลี่ ย นแปลงและสิ่ ง ที่ ไ ม่ เคย
เปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กัน
ซึ่ งความต้องการจะอยู่เหนื อการเปลี่ ยนแปลงนั้นเอง ทาให้ชนชั้นนาสยามไม่อาจจะเด็ดเดี่ยวมาก
พอที่จะเป็ นผูน้ าของการสร้างมาตรฐานใหม่ได้ ดังกรณี ที่เจ้ากรมและเสนาบดีไม่ยินยอมที่จะลงเวลาทางาน
เหมือนกับข้าราชการทัว่ ไป ปฏิ กิริยาสัญชาตญาณของพวกเขารับรู ้ ในทันที ว่า “บัญชี ช่วั โมงทางาน” เป็ น
ความคิดที่อนั ตรายต่อชนชั้นปกครอง เพราะการทางานของบัญชีดงั กล่าวคือการปลูกจิตสานึ กที่วา่ ทุกคนนั้น
มีเวลาเท่าเทียมกันหมด หากข้าราชการ เจ้ากรม และเสนาบดีตอ้ งลงเวลาทางานเหมือนๆ กัน ปี ศาจของการ
เปรี ยบเทียบว่าใครทางานมากใครทางานน้อยก็จะถูกปลุกขึ้น “ระบอบความสามารถ” ที่มาจากการทุ่มเท
ท างานโดยมิ รู้ จัก เหน็ ด เหนื่ อ ยก็ จ ะกลายเป็ นคู่ แ ข่ ง กั บ “ระบอบชาติ ก าเนิ ด” ที่ เป็ นใจกลางของ
สมบูรณาญาสิ ทธิราชย์โดยทันที
เมื่อความคิดที่ว่าทุกคนมีเวลาเท่าเทียมกันถูกคุมกาเนิ ด รัฐจึงส่ งเสริ มการใช้ “เวลาอย่างใหม่” เป็ น
เครื่ องมือของอานาจเพียงด้านเดียว และต่อให้ระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิราชย์จะล่มสลายไปแล้วก็ตาม ระบบ
ราชการรวมศูนย์อานาจที่ พวกเขาสร้างไว้ก็ยงั คงทาหน้าที่เผยแพร่ อยู่ต่อมา จึงอาจฟั งดูตลกร้ายถ้าหากจะ
กล่าวว่า ยิ่งระบบราชการรวมศูนย์มากขึ้นเท่าใด การใช้ “เวลาอย่างใหม่” ก็จะถูกเผยแพร่ มากขึ้นเท่านั้น เรา
อาจจะทดลองทางความคิดง่ายๆ เพื่อหาคาตอบนี้ ดว้ ยตัวเอง โดยการกลับไปอ่านประกาศ “ให้ใช้วนั อย่าง
ใหม่” อีกสักครั้ง เชื่อได้เลยว่าผลลัพธ์ของแต่ละคนคงจะไม่แตกต่างกันไปมากนัก คือเราจะเข้าใจในสิ่ งที่
พวกเขาต้องการจะเปลี่ยนแปลงได้ไม่ยากเย็น เพราะประกาศกาลังอธิ บายในสิ่ งที่เรากาลังใช้อยู่ในทุกวันนี้
แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นทันที คือการทาความเข้าใจในสิ่ งที่พวกเขาต้องการจะยกเลิกต่างหาก
ประเด็นสุ ดท้ายคือ “คุณค่าของเวลา” ที่แม้จะถูกกักกุมคุมขังความคิดโดยรัฐเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยงั
สามารถเติบโตขึ้นได้ในข้าราชการบางส่ วน ดังจะเห็นได้จากข้อเขียนของคณะปฏิวตั ิ ร.ศ.๑๓๐ หรื อแม้แต่
หลวงวิจิตรวาทการ จนถึงหลังเกิดการปฏิวตั ิ ๒๔๗๕ ก็มีขา้ ราชการได้ยกเรื่ องการมีเวลาที่เท่าเทียมกันขึ้นมา
กล่าวอีกครั้ง แต่เปลี่ยนจากการท้าทายระบอบชาติ กาเนิ ดไปสู่ การสร้างความเจริ ญของชาติบา้ นเมืองแทน
ดังที่บทความ “ค่าของเวลา” ในหนังสื อรัฐธรรมนูญ อนุสรณ์ ปี พระพุทธศักราช ๒๔๘๓๙๐ กล่าวเอาไว้อย่าง
น่าสนใจว่า
“เวลาไม่มีตัวตนจับต้องไม่ได้ และทุกคนมีทรัพย์ สินอันมีค่าคือ “เวลา” นีเ้ ท่ากันหมด นับแต่
กระยาจก เศรษฐี และพระมหากษัตริย์...พวกเราทุกคนใช้ เวลาที่ว่างเปล่ าให้ เป็ นประโยชน์ แก่ ตนเอง

สพรรกิจ (นามแฝง). “ค่าของเวลา.” รั ฐธรรมนูญอนุสรณ์ ปี พระพุทธศักราช ๒๔๘๓. (พระนคร: โรงพิมพ์คณะช่าง,


๙๐

๒๔๘๓). น.๖๕-๖๘.
24

ทุกคนแล้ ว ความเจริญก็จะบังเกิดแก่เราตลอดทั้งครอบครัว เมื่อทุกๆ หน่ วยงานแห่ งพวกเรา


เจริญรุ่งเรื องแล้ ว ความเจริญของชาติกย็ ่อมเดินตามไปด้วย”

You might also like