You are on page 1of 361

BIOLOGY

สรุปชีววิทยา ม.ปลาย

นันท์นภัส ธิลาวรกาญจน์
คำนำ

วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปั จจุ บัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์กเ็ ช่ น กัน


สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เสมอ หนังสือเล่มนี้ได้ เรียบเรียงความรู้ทางชีววิทยาให้ เข้ าใจได้ ง่ายขึ้น โดยมุ่งหวังให้
ผู้อ่ า นเกิดความเข้ า ใจในแนวคิดที่สาคัญ ในการเรี ยนชีววิทยา เหมาะสาหรั บ นั กเรี ยนเพื่อใช้ สรุป บทเรียน
ชีววิทยาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และครูผ้ ูสอนชีววิทยาสามารถนาไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
ของตนเองได้
หนั ง สือ เล่ ม นี้ ผู้ เ รี ย บเรี ย งได้ จั ด ท าและพั ฒ นาขึ้ น เพื่ อ ให้ ต รงตามหลั ก สูต รแกนกลางการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2560) ประกอบด้ วย พื้นฐานทางชีววิทยา พันธุศาสตร์ ชีวิตและ
กระบวนการดารงชีวิตของพืช ชีวิตและกระบวนการดารงชีวิตของสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ชีวิตและ
สิ่งแวดล้ อม
ผู้เรียบเรียงหวังไว้ เป็ นอย่างยิ่งว่า เล่มนี้จะเป็ นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา
ของครูผ้ ูสอน รวมทั้งทาให้ นักเรียนได้ เข้ าใจบทเรี ยนในรายวิชาชีววิทยาเพิ่ มมากยิ่งขึ้น หากมีข้อบกพร่ อง
ประการใด ผู้เรียบเรียงน้ อมรับคาแนะนาด้ วยความยินดีย่งิ

นันท์นภัส ธิลาวรกาญจน์
เรียบเรียง
สารบัญ
บทที่ เรื่อง หน้ า
1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต 1
2 เคมีท่เี ป็ นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต 7
3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต 24
4 ยีนและโครโมโซม 53
5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 74
6 เทคโนโลยีทาง DNA 85
7 วิวัฒนาการ 93
8 การสืบพันธุข์ องพืชดอกและการเจริญเติบโต 105
9 โครงสร้ างและหน้ าที่ของพืชดอก 116
10 การลาเลียงของพืช 132
11 การสังเคราะห์ด้วยแสง 139
12 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช 156
13 ระบบย่อยอาหาร 161
14 ระบบหายใจ 172
15 ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบนา้ เหลือง 179
16 ระบบภูมิค้ มุ กัน 189
17 ระบบขับถ่าย 192
18 ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส 198
19 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต 221
20 ระบบต่อมไร้ ท่อ 230
21 การสืบพันธุแ์ ละการเจริญเติบโต 238
22 พฤติกรรม 255
23 ความหลากหลายทางชีวภาพ 259
24 ระบบนิเวศและประชากร 289
25 มนุษย์กบั ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้ อม 311
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 321
บทที่ 1 : ธรรมชาติของสิง่ มีชีวิต
1.1 สิง่ มีชีวิตคืออะไร

สิ่งมีชีวิต มีองค์ประกอบและคุณสมบัติ ดังนี้

1) มีการสืบพันธุ ์
➢ แบ่งออกเป็ น  การสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศ - ใช้ เซลล์สบื พันธุ์ : เกิดความแปรผันทางพันธุกรรม
 การสืบพันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศ - ใช้ เซลล์ร่างกาย : ได้ ลักษณะเหมือนต้ นแบบ

2) ต้องการสารอาหารและพลังงาน โดยอาศัยกระบวนการเมตาบอลิซึม
➢ กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) : ปฏิกริ ิยาเคมีท่เี กิดขึ้นในสิง่ มีชีวิต แบ่งเป็ น
 Catabolism ; การสลายโมเลกุลของสารจากขนาดใหญ่ให้ เล็กลง
 Anabolism ; การสังเคราะห์สารจากโมเลกุลขนาดเล็กให้ ใหญ่ข้ ึน

3) มีการเจริญเติบโต มีอายุขยั และขนาดจากัด


➢ การเจริญเติบโต ประกอบด้ วยขั้นตอน คือ …
 การเพิ่มจานวนเซลล์  การขยายขนาดของเซลล์
 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทาหน้ าที่เฉพาะ  การเกิดรูปร่างที่แน่นอน
➢ สัตว์บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะมีการเจริญเติบโต เรียกว่า Metamorphosis
➢ พืช ❖ สามารถแบ่งตามอายุขัยได้ ดังนี้
 พืชอายุส้นั (Ephemeral Plant) เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง พืชตระกูลแตง
 พืชอายุ 1 ปี (Annual Plant) เช่น ข้ าว อ้ อย สับปะรด
 พืชอายุ 2 ปี (Biennial Plant) ลาต้ นใต้ ดิน เช่น หอม กระเทียม
 พืชอายุมากกว่า 2 ปี (Perennial Plant) ไม้ พ่มุ ไม้ ยืนต้ น
❖ หากใช้ ความสูงเป็ นเกณฑ์ แบ่งเป็ น
 พืชล้ มลุก (< 120 cm.)  ไม้ พ่มุ (120–300 cm.)
 ไม้ ยนื ต้ น (> 300 cm.)

4) มีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
➢ พารามีเซียม : ใช้ Contractile Vacuole
➢ พืช : ใช้ การคายนา้ ออกทางปากใบบริเวณเซลล์คุม
➢ ปลานา้ จืด : รักษาเกลือแร่ แต่ ขับนา้ ออก
➢ ปลานา้ เค็ม : รักษานา้ แต่ ขับเกลือแร่ออก
➢ สัตว์เลือดเย็น : อุณหภูมใิ นร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
สิง่ แวดล้ อม (ปลา ครึ่งบกครึ่งนา้ เลื้อยคลาน) (A) สัตว์เลือดอุ่น (B) สัตว์เลือดเย็น
➢ สัตว์เลือดอุ่น : อุณหภูมิในร่างกายคงที่ ไม่ เปลี่ยนแปลง
ไปตามสิ่งแวดล้ อม (สัตว์ปีก, เลี้ยงลูกด้ วยนม)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 1
สิ่งมีชีวิต มีองค์ประกอบและคุณสมบัติ (ต่อ)

5) มีการตอบสนองต่อสิง่ เร้า
➢ สัตว์ ใช้ ระบบประสาท แต่ พืชใช้ การตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก เช่น แสง อุณหภูมิ ฯลฯ

6) มีลกั ษณะจาเพาะ
➢ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัวเป็ นเอกลักษณ์ ทาให้ สามารถบอกความแตกต่างได้
➢ นักชีววิทยาใช้ ลักษณะจาเพาะของสิ่งมีชีวิตจัดจาแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็ น 5 อาณาจักร คือ…
 Monera  Protista  Fungi  Plantae  Animalia

7) มีการจัดระบบ
➢ Cell  Tissue  Organ  System  Body

ภาพแสดงการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 2
ภาพแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะจาเพาะ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

1.2 ชีววิทยาคืออะไร

➢ ชีววิทยา (Biology) มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คา คือ...


 Bios ; ชีวิต  Logos ; ความคิดและเหตุผล
ดังนั้น Biology หมายถึง การศึกษาความคิดทีเ่ กี่ยวกับสิง่ มีชีวิต
➢ แขนงวิชาต่างๆ ของชีววิทยา

 แขนงวิชาหลัก
❖ สัตววิทยา (Zoology)
❖ พฤกษศาสตร์ (Botany)
❖ จุลชีววิทยา (Microbiology)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 3
 แขนงวิชาย่อย
❖ Anatomy (กายวิภาคศาสตร์) ❖ Physiology (สรีรวิทยา)
❖ Morphology (สัณฐานวิทยา) ❖ Embryology (วิทยาเอ็มบริโอ)
❖ Protozoology (โปรโตซัววิทยา) ❖ Entomology (กีฏวิทยา)
❖ Ichthyology (มีนวิทยา) ❖ Ornithology (ปักษีวิทยา)
❖ Mammalogy (เลี้ยงลูกด้ วยนม) ❖ Genetics (พันธุศาสตร์)
❖ Bryophyte (พืชไม่มีท่อลาเลียง) ❖ Virology (ไวรัสวิทยา)
❖ Vascular plant (พืชมีท่อลาเลียง) ❖ Mycology (ราวิทยา)
❖ Bacteriology (แบคทีเรียวิทยา) ❖ Phycology (สาหร่ายวิทยา)
❖ Ecology (นิเวศวิทยา) ❖ Evolution (วิวัฒนาการ)
❖ Paleontology (บรรพชีวนิ วิทยา) ❖ Ethology (พฤติกรรมวิทยา)
❖ Cytology (วิทยาเซลล์) ❖ Parasitology (ปรสิตวิทยา)

1.3 การศึกษาชีววิทยา

ภาพแสดงตัวอย่างขั้นตอนของวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 4
➢ ในการศึกษาชีววิทยา ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา ประกอบด้ วย

การสังเกต ; (อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง : เลี้ยงเชื้อรากับแบคทีเรีย  ยาปฏิชีวนะ)

การตั้งปัญหา ; เกิดจากการสังเกต
(ไอสไตน์ : การตั้งปัญหาย่อมสาคัญกว่าการแก้ ปัญหา)

การตั้งสมมติฐาน ; คาตอบที่อาจเป็ นไปได้ ของปัญหานั้น (อาจมีได้ มากกว่าหนึ่งสมมติฐาน)

ตรวจสอบสมมติฐาน  โดยการทดลอง แบ่งชุดการทดลองเป็ น 2 ชุด คือ ชุดทดลอง


และชุดควบคุม
 มีการกาหนดตัวแปร 3 ชนิด คือ
 ตัวแปรต้ น : ต้ องการศึกษา
 ตัวแปรตาม : ผลจากตัวแปรต้ น
 ตัวแปรควบคุม : ถูกกาหนดให้ คงที่ ไม่ให้ มีผลต่อตัวแปรตาม

การรวบรวม และ
 หาความสัมพันธ์ของข้ อมูล เพื่อนาไปสรุปผล
วิเคราะห์ข้อมูล

การสรุปผล

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 5
➢ ความรูท้ างวิทยาศาสตร์ ได้ จากการใช้ วิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้ วย

ข้ อเท็จจริง ❖ : สิง่ ที่ได้ จากการสังเกต (ทุกคนสังเกตเห็นเหมือนกัน)

ข้ อมูล ❖ : ข้ อเท็จจริงที่ได้ จากการทดลอง (วัดได้ )

ข้ อสรุป ❖ : สิง่ ที่ประมวลผลได้ จากข้ อมูลการทดลอง

ทฤษฎี ❖ : สมมติฐานที่ได้ รับการตรวจสอบแล้ วสามารถนาไปใช้ ในการอธิบายได้

กฎ ❖ : ความจริงหลัก แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล มีทฤษฎีประกอบ


ซึ่งอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ

1.4 ชีวจริยธรรม

หมายถึง การปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม ไม่ทาร้ ายต่อสัตว์หรือมนุษย์


ชีวจริยธรรม (bioethics)
เพื่อการศึกษาหรือการวิจัย
ตัวอย่าง เช่น

จรรยาบรรณในการใช้ สตั ว์ทดลอง

การใช้ อาวุธชีวภาพ

การโคลนมนุษย์

การทาแท้ง

สิ่งมีชีวิต GMOs

ทัวร์อวสานชีวิต/การุณพิฆาต

..................................................................

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 6
บทที่ 2 : เคมีที่เป็ นพื้ นฐานของสิง่ มีชีวิต
สิง่ ที่ควรทราบ...
➢ ภายในสิง่ มีชีวิตมีสารเคมีท่เี ป็ นองค์ประกอบ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
❖ สารอนินทรีย์  นา้ และ แร่ธาตุ
❖ สารอินทรีย์ : มีธาตุองค์ประกอบหลัก คือ C, H, O และมีหมู่ฟังก์ชันที่แสดงสมบัติเฉพาะของสารนั้น
 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด วิตามิน และกรดนิวคลีอกิ
➢ สารที่ให้ พลังงานแก่ร่างกาย  คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และลิพิด

2.1 สารอนินทรีย ์

นา้
สารอนินทรีย์ในสิ่งมีชวี ิต
แร่ธาตุ

นา้ (H2O)

➢ ระหว่างอะตอมของนา้ : H และ O รวมตัวกันด้ วยพันธะโคเวเลนต์ (เป็ นพันธะเคมี)

➢ ระหว่างโมเลกุลของนา้ รวมตัวกันด้ วยพันธะไฮโดรเจน (เป็ นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล)

➢ นา้ เป็ นโมเลกุลมีข้วั  นา้ จึงเป็ นตัวทาละลายที่ดี

➢ สาร แบ่งเป็ น 2 ประเภท คือ  สารที่ชอบนา้ ละลายนา้ ได้ : เรียก Hydrophilic


 สารที่ไม่ชอบนา้ ไม่ละลายนา้ : เรียก Hydrophobic

➢ นา้ เมื่อแตกตัว จะให้ H+ (กรด) + OH- (เบส)

➢ นา้ มีความจุความร้ อนสูง  ทาให้ สามารถรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายได้

พันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมของนา้ พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของนา้
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 7
แร่ธาตุ

➢ ไม่ให้พลังงาน แต่ร่างกายขาดไม่ได้ เพราะมีสว่ นช่วยในกระบวนการ Metabolism

➢ เป็ นส่วนประกอบของเอนไซม์ และส่วนประกอบของโปรตีน ฯลฯ

➢ แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม คือ...

 Macroelement (ต้ องการมาก) เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม


คลอรีน แมกนีเซียม กามะถัน

 Microelement (ต้ องการน้ อย) เช่น เหล็ก ไอโอดีน แมงกานีส


ทองแดง สังกะสี ฟลูออรีน

ตารางแสดงแร่ธาตุแต่ละชนิด

แร่ธาตุ อาหารที่พบมาก ประโยชน์ อาการเมื่อขาดแร่ธาตุ


ปลาไส้ตัน กุ้งแห้ ง เป็ นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน โรคกระดูกอ่อน
แคลเซียม
เนยแข็ง นมสด ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การทางานของกล้ ามเนื้อผิดปกติ
Ca
ไข่ ผัก และการทางานของกล้ ามเนื้อ เลือดแข็งตัวช้ า

ฟอสฟอรัส กุ้ง ปลาไส้ตัน ไข่ นมสด เป็ นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน โรคกระดูกอ่อน


P ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ช่วยในการสร้ างเซลล์ประสาท อ่อนเพลีย

เนื้อสัตว์ นม กล้ วย ควบคุมของเหลวในเซลล์ การทางานของกล้ ามเนื้อ


โพแทสเซียม
ผักใบเขียว ส้ม ถั่ว และการทางานของกล้ ามเนื้อ และระบบประสาทผิดปกติ
K
ข้ าว เห็ด ไข่ และระบบประสาท เบื่ออาหาร ซึมเศร้ า

เหล็ก ไข่แดง ผักสีเขียว เป็ นส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน


โรคโลหิตจาง
Fe ตับ เนื้อวัว งาดา ในเม็ดเลือดแดง
ถ้ าเด็กขาดจะเตี้ย แคระแกร็น
ไอโอดีน เกลือแกง นม ป้ องกันโรคคอพอก ช่วยในการเจริญเติบโต
สติปัญญาเสื่อม (เอ๋อ)
I ไข่ อาหารทะเล เป็ นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน
ผู้ใหญ่จะเป็ นโรคคอพอกธรรมดา
ช่วยรักษาความสมดุลของนา้ และ
เบื่ออาหาร เป็ นตะคริว
โซเดียม อาหารทะเล นา้ ปลา ความเป็ นกรดในร่างกาย
ชัก หมดสติ
Na เกลือแกง ไข่ นม เนย ควบคุมการทางานของกล้ ามเนื้อ
คลื่นไส้อาเจียน ความดันต่า
และระบบประสาท
เกิดอาการผิดปกติ
แมกนีเซียม ราข้ าว ผักใบเขียว ควบคุมการทางานของกล้ ามเนื้อ
ทางระบบประสาทและกล้ามเนื้ อ
Mg ถั่ว นม อาหารทะเล และระบบประสาท
อาจเกิดอาการชัก
ฟลูออไรด์ นา้ ดื่มจากบ่อธรรมชาติ เป็ นส่วนประกอบของสารเคลือบฟัน
ฟันผุง่าย
F บางแห่ง อาหารทะเล ทาให้ ฟันแข็งแรง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 8
2.2 สารอินทรีย ์

สารอินทรีย ์ จะมีหมูฟ่ ังก์ชนั ที่แสดงคุณสมบัติเฉพาะของสาร เช่น


ไฮดรอกซิล (hydroxyl) แหล่งพบ : นา้ ตาล กลีเซอรอล
คาร์บอกซิล (carboxyl) แหล่งพบ : กรดไขมัน กรดอะมิโน
คาร์บอนิลกลุ่มคีโตน (ketone) แหล่งพบ : นา้ ตาล
คาร์บอนิลกลุ่มอัลดีไฮด์ (aldehyde) แหล่งพบ : นา้ ตาล
อะมิโน (amino) แหล่งพบ : กรดอะมิโน โปรตีน
ซัลฟ์ ไฮดริล (sulfhydryl) แหล่งพบ : กรดอะมิโน โปรตีน
ฟอสเฟต (phosphate) แหล่งพบ : ฟอสโฟลิพิด นิวคลีโอไทด์ กรดนิวคลีอกิ

ภาพแสดงหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 9
คาร์โบไฮเดรต

➢ ความหมาย ... คาร์บอนที่อ่มิ ตัวด้ วยนา้

➢ ประกอบด้ วยธาตุหลัก C, H, O โดยที่ H : O = 2 : 1 เสมอ

➢ แบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม Monosaccharide

Oligosaccharide

Polysaccharide

➢ การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
❖ นา้ ตาล + สารละลายเบเนดิกต์  ต้ ม  ตะกอนสีแดงอิฐ
❖ แป้ ง + ไอโอดีน  สีนา้ เงินแกมม่วง

➢ Monosaccharide
❖ สูตรทั่วไป (CH2O)n โดยมีจานวนคาร์บอนตั้งแต่ 3–7 อะตอม
❖ ได้ แก่ Triose Tetrose Pentose Hexose Heptose
❖ กลุ่ม Hexose  C6H12O6 ที่ควรรู้จัก คือ …  Glucose  Fructose  Galactose

NOTE ; โครงสร้างของ Monosaccharide


1) นา้ ตาลที่มีหมู่คาร์บอนิลอัลดีไฮด์ในโครงสร้ าง เรียกว่า Aldose ได้ แก่ นา้ ตาลกลูโคส และนา้ ตาลกาแล็กโตส
2) นา้ ตาลที่มีหมู่คาร์บอนิลคีโตนในโครงสร้ าง เรียกว่า Ketose ได้ แก่ นา้ ตาลฟรักโตส

ภาพแสดงตัวอย่างโครงสร้ างนา้ ตาล hexose


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 10
➢ Oligosaccharide
❖ เกิดจาก Monosaccharide มาต่อกัน 2–10 โมเลกุลด้ วยพันธะไกลโคซิดิก
❖ ตัวอย่าง Oligosaccharide ที่ควรรู้จักคือ Disaccharide

C6H12O6 + C6H12O6 = C12H22O11 + H20

❖ ประกอบด้ วย  Glucose + Glucose  Maltose + H20 (ได้ จากการย่อยแป้ ง)


 Glucose + Fructose  Sucrose + H20 (นา้ ตาลทราย)
 Glucose + Galactose  Lactose + H20 (นา้ ตาลในนม)

➢ Polysaccharide
❖ เกิดจาก Monosaccharide ตั้งแต่ 11 โมเลกุลมาต่อกัน
❖ ที่ควรรู้จัก คือ…
 Starch (แป้ งในพืช) ; Amylose และ Amylopectin
 Glycogen (แป้ งสะสมในสัตว์ : ตับกับกล้ ามเนื้อ)
 Cellulose (ผนังเซลล์พืช)
 Pectin (เปลือกสีขาวในส้ มโอ)
 Chitin (เปลือกกุ้ง ปู)

ภาพแสดงโครงสร้ างของ starch และ glycogen


ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE ; Reducing sugar


1. รีดิวซิงชูการ์ (reducing sugar) เป็ นไดแซ็กคาไรด์ท่สี ามารถเกิดปฏิกริ ิยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้
เมื่อให้ ความร้ อนจะได้ ตะกอนสีแดงอิฐของคอปเปอร์ (I) ออกไซด์ (Cu2O) ได้ แก่ นา้ ตาลมอลโทส และ
นา้ ตาลแลกโทส
2. นอนรีดิวซิงชูการ์ (non–reducing sugar) เป็ นไดแซ็กคาไรด์ท่ไี ม่เกิดปฏิกริ ิยากับสารละลายเบเนดิกต์
ได้ แก่ นา้ ตาลซูโครส

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 11
NOTE ; พันธะไกลโคซิดกิ
1) มอลโทส (Maltose) ; เกิดจากการสร้ างพันธะไกลโคซิดิกระหว่างคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 ของ α–D–กลูโคส
โมเลกุลหนึ่งกับคาร์บอนตาแหน่งที่ 4 ของ α– หรือ β–D–กลูโคส อีกโมเลกุลหนึ่ง

2) ซู โครส (sucrose) ; เกิดจากการสร้ างพันธะไกลโคซิดิกระหว่างคาร์บอนตาแหน่งที่ 1 ของ α–D–กลูโคส


โมเลกุลหนึ่งกับคาร์บอนตาแหน่งที่ 2 ของ β–D–ฟรักโทส

3) แลกโทส (lactose) ; เกิด จากการสร้ า งพั น ธะไกลโคซิ ดิ กระหว่ า งคาร์ บอนตาแหน่ ง ที่ 1 ของ β–D–
กาแลกโทสโมเลกุลหนึ่งกับคาร์บอนตาแหน่งที่ 4 ของ α– หรือ β–D–กลูโคส

4) Polysaccharide ; เกิดจากการต่อกันของนา้ ตาลโมเลกุลเดี่ยวจนเป็ นสายยาว แบ่งเป็ น 2 ชนิด คือ


4.1 โฮโมโพลีแซ็กคาไรด์ ประกอบด้ วย นา้ ตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดเดียว
4.2 เฮเทอโรโพลีแซ็กคาไรด์ ประกอบด้ วย นา้ ตาลโมเลกุลเดี่ยวหลายชนิด
โพลีแซ็กคาไรด์ที่สาคัญมีหลายชนิด ได้ แก่
- แป้ ง เป็ นอาหารสะสมในเซลล์พืช ประกอบด้ วย โพลีเมอร์ของกลูโคส 2 ชนิด คือ
อะไมโลส โซ่ตรงต่อด้ วย α1-4
อะไมโลเพกติน โซ่ก่งิ โดยส่วนที่เป็ นเส้ นตรงต่อด้ วย α1-4 และส่วนที่แตกกิ่งต่อด้ วย α1-6
- ไกลโคเจน เป็ นอาหารสะสมในเซลล์สตั ว์ มีโครงสร้ างคล้ ายอะไมโลเพกตินแต่แตกกิ่งมากกว่า
- เซลลูโลส เป็ นโครงสร้ างของเซลล์พืช ลักษณะเป็ นโซ่ตรงของกลูโคส ไม่แตกกิ่ง ต่อกันด้ วยพันธะ β1-4
- ไคติน พบในเปลือกหอย กุ้ง ปู เป็ นโฮโมโพลีแซ็กคาไรด์ของ N-acetyl-D-glucosamine ต่อกัน
ด้ วยพันธะ β
- เปบทิโดไกลแคน เป็ นโครงสร้ างของเยื่อหุ้มเซลล์แบคทีเรียบางชนิด ประกอบด้ วย N-acetylglucosamine
และ N-acetylmuramic acid ต่อกันด้ วยพันธะ β1-4
- ไกลโคซามิโนไกลแคน เป็ นส่วนประกอบของสารที่อยู่ระหว่างเซลล์สตั ว์ เป็ นสายโพลีแซ็กคาไรด์ของนา้ ตาล
โมเลกุลคู่ซา้ ๆ กัน คือ hyaluronic acid

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 12
โปรตีน

➢ Polymer of Amino acid (โพลีเมอร์ของกรดอะมิโน)

➢ ธาตุท่เี ป็ นองค์ประกอบ คือ C, H, O และ N, S, Fe

➢ หน่วยย่อย คือ กรดอะมิโน แบ่งเป็ น 2 ประเภท


ลิวซีน วาลีน ไลซีน ไอโซลิวซีน ทริโอนีน
กรดอะมิโนจาเป็ น ทริปโตเฟน เมไทโอนีน ฟิ นิลอะลานีน
ฮีสทีดีน* อาร์จีนิน* (* จาเป็ นในเด็ก)
กรดอะมิโนไม่จำเป็ น

➢ โปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนมาต่อกันด้ วยพันธะเปปไทด์

➢ โปรตีนสมบูรณ์ : โปรตีนที่มกี รดอะมิโนจาเป็ นครบทุกตัว เช่น เนื้อ นม ไข่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง

➢ การเสื่อมสภาพของโปรตีน เกิดจากอุณหภูมิท่สี งู หรือต่า และค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงไป

➢ โปรตีนมีความสาคัญต่อสิง่ มีชีวิตหลายประการ ดังนี้


1) เสริมสร้ างความเเข็งเเรงเเละเป็ นโครงสร้ างร่างกาย เช่น คอลลาเจนในกระดูกอ่อนเเละเอ็น
2) เป็ นเอนไซม์ มีหน้ าที่เร่งปฏิกริ ิยาเคมีในสิ่งมีชีวิต เช่น อะไมเลส เพปซิน เป็ นต้ น
3) ช่วยลาเลียงสารไปยังอวัยวะต่างๆ เช่ น ฮีโมโกลบิน
4) เกี่ยวข้ องกับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต เช่น เเอกทิน เเละไมโอซิน ในเซลล์กล้ ามเนื้อ
5) เป็ นฮอร์โมน มีหน้ าที่กระตุ้นหรือยับยั้งการทางานของอวัยวะต่างๆ
6) ทาหน้ าที่เป็ นภูมิค้ มุ กัน เช่น Antibody

➢ การทดสอบโปรตีน
❖ โปรตีน + ไบยูเร็ต (คอปเปอร์ซัลเฟต + เบส)  สีม่วง
❖ โปรตีน + ไนตริกเข้ มข้ น  สีเหลือง + แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์  สีส้ม

ภาพแสดงโครงสร้ างของกรดอะมิโน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 13
พันธะเพปไทด์ (Peptide bond)

ตัวอย่างการเกิดพันธะเพปไทด์ เช่น การนาเอากรดอะมิโนชนิดไกลซีนมาต่อกับกรดอะมิโนชนิดอะลานีน

ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

โดยการเกิดพันธะเพปไทด์น้นั กรดอะมิโนตัวที่ 1 จะนาเอา OH ของหมู่คาร์บอกซิล


มาจับกับ H ของหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนตัวที่ 2 กลายออกมาเป็ นนา้

ภาพแสดงการเกิดพันธะเพปไทด์ (Peptide bond)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 14
ลิพิด

➢ ธาตุท่เี ป็ นองค์ประกอบ คือ C, H, O แต่ H : O ≠ 2 : 1

➢ เป็ นสารที่ไม่มีข้วั  ไม่ละลายนา้ แต่ละลายในตัวทาละลายอินทรีย์ เช่น อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม

➢ เป็ นตัวทาละลายวิตามิน  A D E K

➢ ประเภทของลิพิด ❖ ที่อุณหภูมิห้อง  ของแข็ง  Fat


 ของเหลว  Oil
 กึ่งแข็งกึ่งเหลว  Wax
ลิพิดเชิงเดี่ยว

❖ ประกอบด้ วย กรดไขมัน + กลีเซอรอล ยึดกันด้ วยพันธะเอสเทอร์ (COO-C)


 1 glycerol + 1 fatty acid  Monoglyceride
 1 glycerol + 2 fatty acid  Diglyceride
 1 glycerol + 3 fatty acid  Triglyceride***

❖ กรดไขมัน (Fatty acid)


 แบ่งตามโครงสร้ าง ❖ กรดไขมันอิ่มตัว (C-C : พันธะเดี่ยว)
❖ กรดไขมันไม่อ่มิ ตัว (มี C=C : พันธะคู่)
 แบ่งตามการสังเคราะห์ ❖ กรดไขมันจาเป็ น (ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ )
 ไลโนเลนิก ไลโนเลอิก อะราชิโดนิก
❖ กรดไขมันไม่จาเป็ น (ร่างกายสังเคราะห์ได้ )
 ปาล์มมิติก บิวทีริก

➢ เป็ นไขมันที่มีสารประกอบอื่นๆ มาเกาะ เช่น


❖ ฟอสโฟลิพิด : พบที่เยื่อหุ้มเซลล์, ในไข่แดง, ในสมอง
ลิพิดเชิงประกอบ
❖ ไกลโคลิพิด : พบตามเยื่อประสาท
❖ ไลโปโปรตีน : ใช้ ในการเร่งการใช้ คอเลสเตอรอล

➢ เป็ นสารประกอบที่มีโครงสร้ างแตกต่างจากลิพิดทัว่ ไป


อนุพันธ์ลิพิด ❖ มีสมบัติทางฟิ สิกส์คล้ ายลิพิด เช่น ละลายในตัวทาละลายอินทรีย์
❖ ได้ แก่ คอเลสเตอรอล และ สเตอรอยด์ เช่น ฮอร์โมนเพศ

➢ การทดสอบไขมัน
❖ ไขมัน + ถูกบั กระดาษ  กระดาษ “โปร่งแสง”

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 15
ภาพแสดงโครงสร้ างของ triglyceride

ภาพแสดงโครงสร้ างของอนุพนั ธ์ลิพิด

(a) คอเลสเตอรอล ซึ่งเป็ นองค์ประกอบที่สาคัญของเยื่อหุ้มเซลล์สตั ว์ และเป็ นสารเริ่มต้ นในการสัง เคราะห์สเตอรอยด์


ฮอร์โมนที่พบในเพศชายและเพศหญิง รวมทั้งเกี่ยวข้ องกับการสังเคราะห์เกลือนา้ ดี (bile salt)
(b) คอร์ติซอล ซึ่งเป็ นฮอร์โมนทีห่ ลั่งมาจากต่อมหมวกไต

ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 16
วิตามิน

➢ ไม่ให้ พลังงาน แต่ขาดไม่ได้ เพราะมีความสาคัญต่อกระบวนการ Metabolism

➢ บางชนิดเป็ น Coenzyme

➢ แบ่งตามคุณสมบัติการละลาย ❖ ละลายในนา้ ได้ แก่ B…, C

❖ ละลายในไขมัน ได้ แก่ A D E K

ตารางแสดงประโยชน์และอาการขาดวิตามิน
วิตามิน แหล่งอาหาร ประโยชน์ อาการเมื่อขาดวิตามิน
1. ละลายในไขมัน
นม เนย ไข่แดง ตับ
A บารุงสายตา บารุงผิว ไม่สามารถมองเห็นในที่สลัว
นา้ มันตับปลา ผักและผลไม้
(retinol)
นา้ มันตับปลา ไข่ ตับ นม เนย
D ดูดซึมแคลเซียมและ
ร่างกายสร้ างจากคอเลสเตอรอล กระดูกอ่อน ฟันผุในเด็ก
(calciferal) ฟอสฟอรัสในลาไส้เล็ก
ใต้ ผิวหนังเมื่อได้ แสงแดด
เม็ดเลือดแดงแข็งแรง เป็ นหมัน แท้งง่ายในหญิงมีครรภ์
E ผักสีเขียว ไขมันพืช
สลายโมเลกุลของกรดไขมัน เกิดโรคโลหิตจางในเด็กชาย
(α-tocopheral) เมล็ดพืช
ช่วยสร้ างเอนไซม์ อายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ
ผักและตับ
K ช่วยสร้ างสารที่จาเป็ น
สามารถสร้ างได้ จาก เลือดแข็งตัวช้า
(α-phylloquinone) ในการแข็งตัวของเลือด
แบคทีเรียในลาไส้
2. ละลายในนา้
ข้ าวซ้ อมมือ ตับ บารุงระบบประสาทและ
B1 โรคเหน็บชา
ไข่ ถั่ว มันเทศ การทางานของระบบหัวใจ
(thiamine)
B2 ไข่ นม การเจริญเติบโตปกติ
โรคปากนกกระจอก
(riboflavin) ผัก ถั่วเหลือง บารุงผิวหนัง ลิ้น ตา
เนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ข้ าวซ้ อมมือ บารุงประสาท
B3 ข้ าวสาลี ยีสต์ และร่างกาย ช่วยในปฏิกริ ิยาการหายใจ ระบบย่อยอาหารและ
(niacin) สร้ างได้ เองจากกรดอะมิโน เป็ นตัวช่วยสร้ างพลังงาน ประสาทผิดปกติ
บางชนิด และสังเคราะห์สาร
บารุงผิวหนังและประสาท
B6 นม ตับ เนื้อ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
ช่วยการทางานของ ประสาทเสื่อม
(pyridoxine) ข้ าวซ้ อมมือ
ระบบย่อยอาหาร
ช่วยในการสร้ างเม็ดเลือดแดง
B12
ไข่ เนยแข็ง ตับ สมอง เนื้อสัตว์ ของไขกระดูก และการทางาน โลหิตจาง เม็ดเลือดผิดปกติ
(cyanocobalamin)
ของระบบประสาท
C ส้ม มะขามป้ อม ฝรั่ง มะนาว ผนังเส้นเลือดเหนียวและ เลือดออกตามไรฟัน ผนังเส้นเลือด
(Ascorbic acid) มะเขือเทศ กะหล่าปลี ผักสีเขียว แข็งแรง บารุงฟันและเหงือก ฝอยเปราะ ภูมิต้านทานลดลง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 17
กรดนิวคลีอกิ

➢ เป็ นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่คล้ ายโปรตีน

1. DNA (deoxyribonucleic acid)


➢ แบ่งออกเป็ น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
2. RNA (ribonucleic acid)

➢ ประกอบด้ วยธาตุ C, H, O, N และ P

➢ ทาหน้ าทีเ่ ก็บและถ่ายทอดข้ อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชวี ิต

➢ ทาหน้ าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

➢ ประกอบด้ วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) มีส่วนประกอบ ดังนี้

❖ เบสไนโตรเจน ❖ หมู่ฟอสเฟต ❖ นา้ ตาลเพนโทส

 เบสในกรดนิวคลีอิก (Nitrogenous base)  น้ าตาลในกรดนิวคลีอิก


มีไนโตรเจนประกอบในโมเลกุล แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม นา้ ตาลเพนโทส (pentose) จะมีจานวนอะตอมของ
คือ ... คาร์บอน 5 อะตอม แบ่งเป็ น 2 ชนิด คือ …
1. เบสพิวรีน (purine base) ประกอบด้ วย 1. นา้ ตาลไรโบส (Ribose sugar) : พบใน RNA
วงแหวนหกเหลี่ยมเชื่อมต่อกับวงแหวนห้ าเหลี่ยม 2. นา้ ตาลดีออกซีไรโบส (Deoxyribose sugar) :
ได้ แก่ พบใน DNA
- Adenine (A) - Guanine (G) ข้ อสังเกต : คาร์บอนตาแหน่งที่ 2 ของนา้ ตาลเพนโตส
2. เบสไพริมิดีน (pyrimidine) ประกอบด้ วย - ถ้ าเป็ น OH จะเป็ นนา้ ตาลไรโบส
วงแหวนรูปหกเหลี่ยม ได้ แก่ - ถ้ าเป็ น H จะเป็ นนา้ ตาลดีออกซีไรโบส
- Thymine (T) - Uracil (U)
- Cytosine (C)
 การจับตัวของเบส ใน DNA
 A = T และ C ≡ G (ด้ วยพันธะไฮโดรเจน)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 18
ภาพแสดงโครงสร้ างของกรดนิวคลีอกิ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

2.3 ปฏิกิริยาเคมีในสิง่ มีชีวติ

➢ ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิง่ มีชีวิต

1. ปฏิกริ ิยาดูดพลังงาน (Endergonic reaction) คือ ปฏิกริ ิยาที่มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้ อมเข้ าสู่


ระบบ นั่นคือ พลังงานของสารผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาสูงกว่าพลังงานของสารตั้งต้น

2. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exergonic reaction) คือ ปฏิกิริยาที่มีการถ่ ายเทพลังงานจากระบบออกสู่


สิ่งแวดล้ อม นั่นคือ พลังงานของสารตั้งต้นในปฏิกิริยาจะสูงกว่าพลังงานของสารผลิตภัณฑ์

ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงาน (A) แบบคายพลังงาน (B) แบบดูดพลังงาน


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 19
เอนไซม์ (Enzyme)

➢ ทาหน้ าที่เร่งปฏิกริ ิยาโดยไปลดระดับพลังงานกระตุน้ (EA) ทาให้ ปฏิกริ ิยาเกิดเร็วขึ้น

➢ สมบัติของเอนไซม์
❖ เป็ นสารประเภทโปรตีนรูปทรงกลม (Globular Protein) ละลายได้ ในนา้ และกลีเซอรอล
❖ เมื่อได้ รับความร้ อนสูงหรือ pH ไม่เหมาะสม จะเสียสภาพ (Denature) เร่งปฏิกริ ิยาไม่ได้
❖ มีความจาเพาะเจาะจงต่อปฏิกริ ิยา (Specificity)
❖ หลังเร่งปฏิกริ ิยาแล้ วมีคุณสมบัติเหมือนเดิมจึงสามารถเร่งปฏิกริ ิยาใหม่ได้

➢ ปัจจัยที่มีผลต่อการทางานของเอนไซม์ ได้ แก่


❖ อุณหภูมิ เหมาะสมในช่วง 25-40 องศาเซลเซียส
❖ ความเป็ นกรด-เบส
❖ ความเข้ มข้ นของเอนไซม์และสารตั้งต้ น

กราฟแสดงการทางานของเอนไซม์ ซึ่งทาหน้ าที่เป็ นตัวเร่งปฏิกริ ิยาโดยไปลดพลังงานกระตุ้น (ก่อกัมมันต์ : EA)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

กราฟแสดงการทางานของเอนไซม์
(a) อุณหภูมิท่เี หมาะสมต่อการทางานของเอนไซม์บางชนิด (b) ค่าpH ที่เหมาะสมต่อการทางานของเอนไซม์บางชนิด
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 20
➢ การทางานของเอนไซม์
❖ มีความจาเพาะเจาะจงต่อสารตั้งต้ น (Substrate) เป็ นไปตาม…

1. ทฤษฎีแม่กุญแจและลูกกุญแจ (Lock and Key Theory) มีใจความว่า “โครงสร้ างของ


เอนไซม์สวมกันได้ พอดีกบั สารตั้งต้ น โดยโครงสร้ างไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม”

2. ทฤษฎีเหนี่ยวนาให้เหมาะสม (Induced Fit Theory) มีใจความว่า “สารตั้งต้ นเหนี่ยวนา


ให้ เอนไซม์ปรับรูปร่างจับกับสารตั้งต้ นได้ อย่างเหมาะสมเปรียบเสมือนการใส่ถุงมือ”

ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงการทางานของเอนไซม์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 21
เอนไซม์บางชนิดต้ องการโมเลกุลของสารอื่นเป็ นตัวร่วมในการทางาน ทาให้ เอนไซม์
➢ โคแฟกเตอร์ของเอนไซม์
ทางานได้ ดีข้ นึ
ประกอบด้ วย
ส่วนทีเ่ ป็ นเอนไซม์ เรียกว่า อะโปเอนไซม์ (apoenzyme)
โดย 2 ส่วนนี้ ต้องรวมกัน
ถึงทางานได้ดี
ส่วนที่ไม่ใช่เอนไซม์ เรียกว่า โคแฟกเตอร์ (co-factor)
เรียกว่า “Holoenzyme”
ทาให้ เอนไซม์ทางานได้ ดีข้ นึ
แบ่งเป็ น

ไอออนของโลหะ ทาให้ โครงสร้ างของ Enzyme เหมาะสมหรือมีส่วนร่วมในการจับทั้ง


เอนไซม์และสารตั้งต้ นให้ อยู่ร่วมกัน เช่น Zn2+ Fe2+ Fe3+
Mg2+ Na+ เป็ นต้ น

โคเอนไซม์ ส่วนใหญ่เป็ นพวก Vitamin เช่น วิตามิน B3 (NAD+, NADP+)


วิตามิน B2 (FAD)

ภาพแสดงการทางานร่วมกันของ Apoenzyme กับ Cofactor ได้ โครงสร้ างที่เรียกว่า “Holoenzyme”


ที่มา ; https://www.pathwayz.org/Tree/Plain/ENZYME%20COFACTORS

ประเภทของเอนไซม์

Oxidoreductase เป็ นเอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับปฏิกริ ิยาออกซิเดชันรีดักชัน


Transferase เป็ นเอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับการแลกเปลี่ยนหมู่ หรือตาแหน่งของหมู่ฟังก์ชัน
Hexokinase เป็ นเอนไซม์ท่เี ร่งปฏิกริ ิยาการย้ ายหมู่ฟอสเฟตจาก ATP ในนา้ ตาล Hexose
Lyase เป็ นเอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับการแยกหมู่ของอะตอมออก และเกี่ยวกับการสร้ าง
พันธะคู่โดยไม่มีนา้ เข้ าช่วย
Isomerase เป็ นเอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับการเปลี่ยนไอโซเมอร์ของสาร
Synthetase (Ligase) เป็ นเอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับการสร้ างสารโมเลกุลเล็ก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 22
➢ ตัวยับยั้งเอนไซม์ (Inhibitor)

 ยับยั้งการทางานของเอนไซม์ มี 2 แบบ

1) ตัวยับยั้งแบบทวนกลับได้ (Reversible Inhibitor)


เป็ นการยับยั้งแบบชั่วคราว เพราะตัวยับยั้งจับกับเอนไซม์ด้วยพันธะที่ไม่แข็งแรง ได้ แก่
1. ตัวยับยั้งแบบแข่งขัน (Competitive Inhibitor)
2. ตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (Noncompetitive Inhibitor)

2) ตัวยับยั้งแบบไม่ทวนกลับ (Irreversible Inhibitor)


เกิดจากตัวยับยั้งรวมกับเอนไซม์เป็ นสารประกอบที่เสถียรทาให้ เร่งปฏิกิริยาไม่ได้ เช่น แก๊ส
ประสาท (Nerve Gas), พาราไธออน, มาลาไธออน ถ้ า ได้ รั บเข้ า สู่ร่ า งกายปริ มาณมากอาจทาให้
เสียชีวิตได้

(a) แสดงการทางานของเอนไซม์ตามปกติ
โดยมีสารตั้งต้ นจับกับเอนไซม์บริเวณ
ที่เรียกว่า บริเวณเร่ง หรือ “Active site”

(b) แสดงการทางานของตัวยับยั้งเอนไซม์แบบแข่งขัน โดย


ตัวยับยั้งจะแย่งกับสารตั้งต้ นเพื่อจับกับเอนไซม์
หากตัวยับยั้งเข้ าจับกับเอนไซม์ สารตั้งต้ นก็ไม่สามารถเข้ า
จับกับเอนไซม์ได้ ปฏิกริ ิยาจึงถูกยับยั้ง
(แข่งขันไปจับกับเอนไซม์)

(c) แสดงการทางานของตัวยับยั้งเอนไซม์แบบไม่แข่งขัน
โดยตัวยับยั้งจะเข้ าจับกับเอนไซม์ (ทั้งสารตั้งต้ นและ
ตัวยับยั้งสามารถจับกับเอนไซม์ได้ โดยไม่มีอทิ ธิพลต่อกัน)

ภาพแสดงการทางานของตัวยับยั้งเอนไซม์ (Inhibitor)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 23
บทที่ 3 : เซลล์ของสิง่ มีชีวิต
3.1 เซลล์ และทฤษฎีเซลล์

ชวันน์และชไลเดน ได้ ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory) ซึ่งมีใจความสาคัญว่า


สิง่ มีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้ นด้วยเซลล์ และเซลล์คือหน่วยพื้ นฐานของสิง่ มีชีวิตทุกชนิด

➢ ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันครอบคลุมใจความสาคัญ 3 ประการ คือ…


1. สิ่งมีชีวิตอาจมีเพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ภายในมีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมตาบอลิซึม
ทาให้ ส่งิ มีชีวิตดารงชีวิตอยู่ได้
2. เซลล์เป็ นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สดุ ของสิ่งมีชีวิต ที่มีการจัดระบบการทางานภายในโครงสร้ างของเซลล์
3. เซลล์มีกาเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม โดยการแบ่งตัวของเซลล์เดิม ถึงแม้ ว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการ
มาจากสิ่งไม่ มีชีวิต แต่ นักชีววิทยายังคงถือว่ าการเพิ่มขึ้นของจานวนเซลล์เป็ นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์
รุ่นก่อน

กล้องจุลทรรศน์ แบ่งเป็ น...


1) แบบใช้ แสงเชิงประกอบ
1. กล้ องจุลทรรศน์แบบใช้ แสง
2) แบบสเตอริโอ (เห็นภาพแบบ 3 มิติ)

1) แบบส่องผ่าน : เห็นทะลุทะลวงหมด
(Transmission electron microscope : TEM)
2. กล้ องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน
2) แบบส่องกราด : เห็นภาพแบบ 3 มิติ
(Scanning electron microscope : SEM)

ภาพแสดงส่วนประกอบของกล้ องจุลทรรศน์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 24
ตารางเปรียบเทียบกล้ องจุลทรรศน์แบบใช้ แสง กับ กล้ องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอน

ลักษณะที่เปรียบเทียบ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน


1. แสงทีใ่ ช้ แสงสว่างในช่วงที่ตามองเห็นได้ ลาแสงอิเล็กตรอน
2. ชนิดของเลนส์ เลนส์แก้ ว เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้ า
3. กาลังขยาย 1,000-1,500 เท่า 200,000-500,000 เท่าขึ้นไป
4. วัตถุเล็กที่สดุ ที่มองเห็น 0.2 ไมโครเมตร 0.0004 ไมโครเมตร
5. ตัวกลาง อากาศ สุญญากาศ
6. ภาพทีไ่ ด้ ภาพเสมือนหัวกลับดูได้ จากเลนส์ใกล้ ตา ภาพปรากฏบนจอรับภาพเรืองแสง
7. วัตถุท่สี ่องดู มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีชีวิตเท่านั้น

ภาพแสดงโครงสร้ างของกล้ องจุลทรรศน์


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 25
➢ การคานวณเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์
1) หากาลังขยายของกล้อง
 กาลังขยายของกล้ อง = กาลังขยายของเลนส์ใกล้ ตา X กาลังขยายของเลนส์ใกล้ วัตถุ
2) หากาลังขยายของภาพ
ขนาดของภาพ
 กาลังขยายของภาพ =
ขนาดของวัตถุ
3) หาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ
กาลังขยายเลนส์ต่าสุด × เส้นผ่านศูนย์กลางจอภาพกาลังขยายต่าสุด
 เส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ =
กาลังขยายของเลนส์ท่กี าลังศึกษา

ตัวอย่างการคานวณ

ที่กาลังขยาย 10 x 4 ของกล้ องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ วัดความยาวเส้ นผ่านศูนย์กลางจอภาพได้ 4 มิลลิเมตร


นาเซลล์สาหร่ายไปวัดขนาดโดยใช้ กล้ องจุลทรรศน์ตวั เดียวกันนี้ แต่เปลี่ยนกาลังขยายไปเป็ น 10 x 40 พบว่า ความยาว
ของเซลล์ของสาหร่ายต่อกัน 8 เซลล์ จึงจะเต็มจอภาพ ความยาวของสาหร่าย 1 เซลล์ มีขนาดกี่ไมโครเมตร
วิธีทา หาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพจากสูตร
กาลังขยายเลนส์ต่าสุด × เส้นผ่านศูนย์กลางจอภาพกาลังขยายต่าสุด
เส้ นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ =
กาลังขยายของเลนส์ท่กี าลังศึกษา

40 ×4 ×10−3 𝑚
= = 0.4 × 10−3 𝑚
400
สาหร่ายต่อกัน 8 เซลล์ จึงจะเต็มจอภาพ
0.4 ×10−3 𝑚
ดังนั้น ความยาวของสาหร่าย 1 เซลล์ = = 0.05 × 10−3 𝑚
8

ทาให้ เป็ นไมโครเมตร = 0.05 × 10−3 × 10−6 × 106 𝑚

= 50 ไมโครเมตร

3.2 โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

เซลล์ (Cell) หมายถึง หน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สดุ ของสิ่งมีชีวิต

แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้ างของเซลล์

❖ โพรคาริโอต (Prokaryote) ได้ แก่ พวกแบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมนา้ เงิน


(พวกนี้ จะไม่มีเยือ่ หุม้ นิวเคลียส มีไรโบโซม แต่ไม่มีออร์กาเนลล์อื่นๆ)

❖ ยูคาริโอต (Eukaryote) ได้ แก่ พวกโพรทิสต์ ฟังไจ พืช และสัตว์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 26
➢ โครงสร้างของเซลล์ยูคาริโอต โดยทั่วไป แบ่งเป็ น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึม นิวเคลียส

(1) ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
- พบในเซลล์พืช รา ยีสต์
(พืชโครงสร้ างเป็ น Cellulose, แบคทีเรียบางชนิดเป็ น Peptidoglycan,
เห็ดเป็ น Chitin)
- สร้ างความแข็งแรงทาให้ เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้
- ยอมให้ โมเลกุลของสารเกือบทุกชนิดผ่านเข้ าออกได้ อย่างอิสระ
Cell wall ในพืชมี 3 ชั้น คือ
ผนังเซลล์ 1) Middle lamella มี Pectin เปลี่ยนแปลงมาจาก cell plate
(Cell Wall) (แผ่นกั้นเซลล์) = แคลเซียมเพกเต็ต
2) Primary wall (ผนังเซลล์ปฐมภูมิ)
- Cellulose fiber + hemicellulose
- มีความยืดหยุ่นและบาง อยู่ถัดเข้ ามาจาก middle lamella
3) Secondary wall (ผนังเซลล์ทุติยภูมิ)
- Cellulose + hemicellulose
- เกิดเมื่อเซลล์หยุดเจริญแล้ วอยู่ด้านในสุด เพิ่มความแข็งแรง

- พบในเซลล์สง่ิ มีชีวิตทุกชนิด
เยื่อหุ้มเซลล์ - ควบคุมการผ่านเข้ าออกของสาร เพราะมีสมบัติเป็ นเยื่อเลือกผ่าน
(Cell Membrane) (Semipermeable Membrane)
- ประกอบด้ วยไขมัน (Phospholipid) และโปรตีนอยู่รวมกันเป็ นโครงสร้ าง
เรียกว่า Fluid Mosaic Model

ภาพแสดงโครงสร้ างของผนังเซลล์ (cell wall)


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 27
ภาพแสดง Fluid Mosaic Model ของเยื่อหุ้มเซลล์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE ; โครงสร้างของเยือ่ หุม้ เซลล์


1) ไกลโคลิพิด มีหน้ าทีเ่ ป็ นตัวกาหนดเครื่องหมายเพื่อการจดจาของเซลล์
2) ไกลโคโปรตีน มีบทบาทในการจดจาเซลล์เป้ าหมายของเชื้อก่อโรค มีผลทาให้ ฟอสโฟลิพิดยึดติดกันแข็งแรง
3) ฟอสโฟลิพิด ทาหน้ าที่เลือกให้ สารบางชนิดผ่านเข้ าไปภายในเซลล์ได้ พบมากในส่วนสมองและเส้ นประสาท
และสามารถไหลได้ (Fluidity) ซึ่งฟอสโฟลิพิดเป็ นโครงสร้ างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ จึงเรียกว่า Fluid -
Mosaic Model และสามารถสร้ างเวสิเคิลเพื่อใช้ ในการลาเลียงสารขนาดใหญ่ผ่านเข้ าออกจากเซลล์ได้
4) โปรตีน มีหน้ าที่ยึดไซโทสเกเลตัน ลาเลียงอิเล็กตรอน และลาเลียงสาร
เยื่อหุ้มเซลล์ทาหน้ าที่เป็ นเยื่อเลือกผ่ าน ยอมให้ เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจาเป็ นต้ องใช้ เท่านั้นผ่ านเข้ า
ออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ ดี (โมเลกุลไม่มีข้ัว) นอกจากนี้ แก๊ส เช่น CO2
และ O2 สามารถละลายได้ ท่ี lipid bilayer และลาเลียงผ่านด้ วยการแพร่ได้ ส่วนสารอื่นๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือแร่ นา้ ตาล
รวมถึงสารโมเลกุลที่มีข้ัวหรือไอออนที่แพร่เข้ าเซลล์ไม่ได้ จะใช้ การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็ นไปได้ ท้งั แบบที่
ใช้ พลังงานและไม่ใช้ พลังงาน

(2) ไซโทพลาสซึม เป็ นของเหลวในเซลล์ท่อี ยู่รอบนิวเคลียส ประกอบด้ วย นา้ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน


(Cytoplasm) ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ
ประกอบด้ วย
ไซโทซอล ซึ่งเป็ นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว มีการไหลของไซโทซอล เรียกว่า “Cyclosis”

ออร์แกเนลล์ (Organelle) หลายชนิด ทาหน้ าที่ต่างๆ ได้ แก่...

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 28
 ชนิดผิวขรุขระ (Rough Endoplasmic Reticulum ; RER)
 มีไรโบโซมเกาะที่ผิวด้ านนอก
 พบมากในเซลล์ท่มี ีการสังเคราะห์โปรตีนหรือเอนไซม์ต่างๆ เช่น เซลล์ในตับอ่อน
1. ร่างแหเอนโดพลาสซึม
 ชนิดผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum ; SER)
(Endoplasmic Reticulum)
 ไม่มีไรโบโซมเกาะที่ผิวด้ านนอก
 หน้ าที่สงั เคราะห์ไขมันหรือสารสเตียรอยด์ และยังทาหน้ าที่กาจัดสารพิษ พบใน
เซลล์ตับ ต่อมหมวกไต อัณฑะ รังไข่ เป็ นต้ น
 เป็ นแหล่งบรรจุและขนส่งสารต่างๆ ไปใช้
2. กอลจิคอมเพล็กซ์
 เติมหมู่คาร์โบไฮเดรตให้ กบั โปรตีนหรือลิพิดที่มาจาก ER แล้ วบรรจุใส่ถุง
(Golgi Complex)
Vesicle
 เป็ นก้ อนกลมรี มีเยื่อหุ้มชั้นนอกทาหน้ าที่ควบคุมการผ่านเข้ าออกของสาร
3. ไมโทคอนเดรีย และเยื่อชั้นในพับย่นไปมายื่นเข้ าข้ างใน เรียก “คริสตี” (Cristae) และ
(Mitochondria) มีของเหลวภายใน เรียก “เมทริกซ์” (Matrix)
 มีหน้ าที่สร้ างพลังงานให้ แก่เซลล์ในรูป ATP
 ลิวโคพลาสต์ (Leucoplast) ไม่มีสี มีหน้ าที่สะสมแป้ ง นา้ มัน หรือโปรตีน
 โครโมพลาสต์ (Chromoplast)
4. พลาสทิด - มีสสี ้ มแดง เพราะมีรงควัตถุพวกแคโรทีน (Carotene) หรือ
(Plastid) - มีสนี า้ ตาลเหลือง เพราะมีรงควัตถุพวกแซนโทฟิ ลล์ (Xanthophyll)
 คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) มีสเี ขียว จะมีรงควัตถุพวกคลอโรฟิ ลล์
(Chlorophyll) มีความสาคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 ฟูดแวคิวโอล (Food Vacuole) ใช้ สะสมอาหาร พบในสิง่ มีชีวิตเซลล์เดียว
 คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ทาหน้ าที่ขับนา้ ออกจากเซลล์
5. แวคิวโอล ควบคุมสมดุลของสารละลายภายในเซลล์ พบในสิง่ มีชวี ิตเซลล์เดียว เช่น
(Vacuole) พารามีเซียม
 แซปแวคิวโอล (Sap Vacuole) เป็ นแวคิวโอลที่สะสมสารละลายต่างๆ เช่น
โปรตีน นา้ ตาล เกลือแร่ และรงควัตถุท่ที าให้ เกิดสีต่างๆ ได้ แก่ แอนโทไซยานิน
ซึ่งทาให้ เซลล์กลีบดอกไม้ มีสี เช่น ชบา
 มีเอนไซม์สาหรับย่อยสลายสารต่างๆ ภายในเซลล์
6. ไลโซโซม  ย่อยสลายเนื้อเยื่อหรือเซลล์ท่หี มดอายุ เช่น การย่อยสลายคอร์ปัสลูเทียมหลัง
(Lysosome) การตกไข่ การย่อยสลายหางลูกอ๊อดก่อนกลายเป็ นกบ เรียกกระบวนการนี้ว่า
“ออโตไลซิส” (Autolysis)
7. ไรโบโซม
 มีหน้ าที่สงั เคราะห์โปรตีนสาหรับใช้ ภายในเซลล์และส่งออกไปใช้ นอกเซลล์
(Ribosome)
 ประกอบด้ วยไมโครทิวบูล 9 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ท่อ เรียงกันเป็ นวงกลมเรียกว่า
8. เซนทริโอล
9+0 มีหน้ าที่สร้ างเส้นใยสปิ นเดิล (Spindle Fiber) ดึงโครโมโซมในขณะ
(Centriole)
ที่มีการแบ่งเซลล์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 29
ในพืช มีบทบาทสาคัญ คือ เปลี่ยนกรดไขมันที่สะสมอยู่ในเมล็ดพืช ให้ เป็ น
คาร์โบไฮเดรตสาหรับใช้ เป็ นแหล่งพลังงานในการงอกของเมล็ด
9. เพอร็อกซิโซม ในสัตว์ พบมากในตับและไต บรรจุ Enzyme ที่เกี่ยวข้ องกับการสังเคราะห์
(Peroxisome) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) โดยที่ประมาณ 40% เป็ นเอนไซม์
คะตะเลส (Catalase)
* peroxisome จะทางานได้ ดีเกี่ยวกับ Metabolism ของไขมัน และการกาจัด
สารพิษ เช่น เอทานอล
 ไมโครฟิ ลาเมนท์ (Microfilament)
 เกิดจากเส้ นใยโปรตีนแอกทิน
 มีหน้ าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนทีข่ องเซลล์ เช่น อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาว
 มีหน้ าที่คา้ จุน พบใน microvilli เยื่อบุลาไส้ เล็ก
 การแบ่งไซโทพลาสซึมในการแบ่งเซลล์
10. ไซโทสเกเลตัน  ไมโครทิวบูล (Microtubule)
(Cytoskeleton)  ประกอบด้ วยโปรตีนพวกทิวบูลินเรียงต่อกันเป็ นวงเห็นเป็ นท่อ
เป็ นโครงร่างคา้ จุนของเซลล์  มีหน้ าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเซลล์
(เป็ นส่วนประกอบของซิเลียและแฟลเจลลัม : 9+2)
 อินเทอร์มีเดียทฟิ ลาเมนท์ (Intermediate filament)
 จัดเรียงตัวเป็ นร่างแหตามรูปร่างของเซลล์ พบที่โปรตีนเคอราทินที่ผิวหนัง ขน
และเล็บ

NOTE ; ขนาด Microtubule > Intermediate filament > Microfilament


25 nm. 8–12 nm. 7 nm.

ภาพแสดง cytoskeleton ซึ่งเป็ นโครงร่างคา้ จูนเซลล์


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 30
(3) นิวเคลียส (Nucleus) ถือว่าเป็ นศูนย์กลางควบคุมการทางานของเซลล์

 เป็ นยูนิตเมมเบรน 2 ชั้น ทีม่ ีคุณสมบัติเป็ นเยื่อเลือกผ่าน


เยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์
(Nuclear Membrane)  ที่ผิวของเยื่อหุ้มมีรูเล็กๆ (Annulus) เป็ นช่องติดต่อระหว่าง
ของเหลวในนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม

นิวคลีโอลัส  เป็ นบริเวณที่สะสม RNA และสังเคราะห์ไรโบโซม


(Nucleolus)

 เป็ นเส้ นใยโมเลกุลของ DNA ที่มีโปรตีนหุ้ม เมื่อมีการแบ่งเซลล์


โครมาทิน
เส้นใยโครมาทินจะขดพันกันแน่นเป็ นแท่ง เรียกว่า “โครโมโซม”
(Chromatin)
(Chromosome)

 สิง่ ที่ควรทราบ :

➢ ออร์แกเนลล์ท่ไี ม่มีเยื่อหุ้ม ได้ แก่ เซนทริโอล ไซโทสเกเลตัน และไรโบโซม

➢ ออร์แกเนลล์ท่มี ีเยื่อหุ้มชั้นเดียว ได้ แก่ ไลโซโซม แวคิวโอล ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์

➢ ออร์แกเนลล์ท่มี ีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ได้ แก่ คลอโรพลาสต์ ไมโทคอนเดรีย

➢ ออร์แกเนลล์ท่มี ี DNA ได้ แก่ นิวเคลียส คลอโรพลาสต์ และไมโทคอนเดรีย

NOTE ;
“Ri – Cen – Cy = ไม่มีเยื่อหุ้ม” : ไรโบโซม เซนทริโอล และไซโทสเกเลตัน ไม่มีเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์
“ไม - ขอ – 2” : ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์มีเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ 2 ชั้น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 31
ภาพแสดงเซลล์พืช
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 32
ภาพแสดงเซลล์สตั ว์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 33
➢ การลาเลียงสารผ่านเซลล์

1) การลาเลียงสารแบบผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

1. การลาเลียงแบบไม่ใช้ พลังงาน แบ่งออกเป็ น 3 วิธี คือ

1.1 การแพร่ธรรมดา (Simple Diffusion)


1.2 ออสโมซิส (Osmosis)
1.3 การแพร่แบบฟาซิลเิ ทต (Facilitated Diffusion)

2. การลาเลียงแบบใช้ พลังงาน หรือแอกทีฟทรานสปอร์ต (Active Transport)

2) การลาเลียงสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

1. เอนโดไซโทซิส (Endocytosis)

1.1 ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)


1.2 พิโนไซโทซิส (Pinocytosis)
1.3 การนาสารเข้ าสูเ่ ซลล์โดยอาศัยตัวรับ (Receptor-Mediated Endocytosis)

2. เอกโซไซโทซิส (Exocytosis)

➢ การลาเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน

1. การแพร่ธรรมดา (Simple Diffusion)


คือ การเคลื่อนที่ของโมเลกุลหรือไอออนของสาร จากบริเวณที่มีความเข้ มข้ นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้ มข้ นต่า
จนกว่ า ทุ กบริ เ วณจะมี ค วามเข้ มข้ นของสารนั้น เท่ ากัน เรี ย กว่ า สมดุ ล ของการแพร่ (เมื่อ เกิ ด สมดุ ลของการแพร่
สารยังคงเคลือ่ นที่อยู่ตลอดเวลา)

ภาพแสดงการแพร่ของสาร
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 34
2. ออสโมซิส (Osmosis)
อาจกล่ า วได้ ว่ า เป็ นการแพร่ ข องน้า (ซึ่ ง ท าหน้ า ที่เ ป็ นตั ว ทาละลาย) ผ่ า นเยื่ อเลื อ กผ่ า น ( Semipermeable
Membrane) จากบริเวณที่มีความเข้ มข้ นต่าไปยังบริเวณที่มีความเข้ มข้ นสูง ซึ่งการออสโมซิสของน้าทาให้ ปริมาตรของ
เซลล์เปลี่ยนแปลงได้

ภาพแสดงการออสโมซิส
ที่มา ; Reece et al. (2011)

สารละลาย แบ่งออกเป็ น 3 ประเภท ตามแรงดันออสโมซิส ได้ แก่

สารละลายไอโซโทนิก สารละลายภายนอกเซลล์มีความเข้ มข้ นเท่ากับภายในเซลล์ เซลล์น้ัน


(Isotonic Solution) จะมีปริมาตรคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

สารละลายภายนอกเซลล์จะมีความเข้ มข้ นสูงกว่าภายในเซลล์ ทาให้


สารละลายไฮเพอร์โทนิก
นา้ ออสโมซิสออกจากเซลล์ ส่งผลทาให้ เซลล์เหี่ยว เรียกปรากฏการณ์
(Hypertonic Solution)
ที่เกิดขึ้นนี้ว่า Plasmolysis

สารละลายภายนอกเซลล์มีความเข้ มข้ นต่ากว่าภายในเซลล์ ทาให้ นา้


สารละลายไฮโพโทนิก ออสโมซิสจากสารละลายภายนอกสู่ภายในเซลล์ ส่งผลทาให้ เซลล์เกิด
(Hypotonic Solution) การเต่งหรือแตกได้ เรียกปรากฏการณ์น้ ีว่า Plasmoptysis

NOTE ; Hyper = Plasmo , Hypo = Plasmop

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 35
ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงของสารละลาย
ที่มา ; Reece et al. (2011)

3. การแพร่แบบฟาซิ ลิเทต (Facilitated Diffusion) เป็ นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มี ความเข้มข้นสู ง


ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารตา่ โดยมีโปรตีนเป็ นตัวพา (Protein Carrier) สารนั้นเข้ าสู่เซลล์โดยไม่ ต้องใช้
พลังงาน (ATP) จากเซลล์ การแพร่แบบนี้เกิดขึ้นได้ เร็วกว่าการแพร่แบบธรรมดา

ภาพแสดงการแพร่แบบฟาซิลิเทต
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ การลาเลียงแบบใช้พลังงาน

แอกทีฟทรานสปอร์ต (Active Transport) เป็ นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลสาร จากบริเวณที่มีความเข้มข้นตา่ ไป


ยังบริ เวณที่มีความเข้มข้น สู ง โดยอาศัยโปรตีนเป็ นตัวพา และต้ องใช้ พลังงาน (ATP) เช่ น การลาเลียงโซเดี ย ม-
โพแทสเซียม (Na+-K+) เข้ าและออกจากเซลล์ประสาท (Sodium-Potassium Pump) การดูดซึมสารอาหารที่ลาไส้ เล็ก
การดูดแร่ธาตุเข้ าสู่รากพืช เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 36
ภาพแสดงการแพร่แบบแอกทีฟทรานสปอร์ต
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ การลาเลียงสารโดยไม่ผ่านเยือ่ หุม้ เซลล์


เยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ ทาให้ เซลล์สามารถลาเลียงสารโมเลกุลใหญ่ผ่านเข้ าออก
เซลล์ได้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ...
❖ เอนโดไซโทซิส (Endocytosis) เป็ นการลาเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่จากสิ่งแวดล้ อมภายนอกเข้ าสู่ภายในเซลล์
แบ่งออกเป็ น 3 วิธี
เป็ นการลาเลียงสารที่มีสถานะเป็ นของแข็งเข้ าสู่เซลล์ โดยการยื่นส่วนของไซโทพลาสซึม
ฟาโกไซโทซิส
ไปโอบล้ อมสารนั้นๆ แล้ วสร้ างเป็ นเวสิเคิลนาเข้ าไปภายในเซลล์ เช่น การกินอาหารของ
(Phagocytosis)
อะมีบา การกินเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวบางชนิด เป็ นต้ น
เป็ นการล าเลี ย งสารที่มีส ถานะเป็ นของเหลวเข้ า สู่เ ซลล์ โดยจะมี การเว้ า เข้ า ไปของ
พิโนไซโทซิส
ไซโทพลาสซึมจนเกิดเป็ นเวสิเคิล เช่น การนาสารเข้ าสู่เซลล์ท่หี น่วยไต และการนาสารเข้ า
(Pinocytosis)
สู่เซลล์ท่เี ยื่อบุลาไส้
เป็ นการลาเลียงสารเข้ าสู่เซลล์ท่ีเกิดขึ้น โดยมีโปรตีนที่อยู่ บนเยื่อหุ้ มเซลล์เป็ นตั ว รั บ
การนาสารเข้ าสู่เซลล์ ซึ่งสารที่ถูกลาเลียงเข้ าสู่เซลล์ด้วยวิธนี ้ จี ะต้ อง มีความจาเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับ
โดยอาศัยตัวรับ (Protein Receptor) ที่อยู่ บนเยื่ อหุ้ มเซลล์ จึ ง จะสามารถน าเข้ า สู่เ ซลล์ ไ ด้ เช่ น การน า
(Receptor-Mediated Endocytosis)
ฮอร์โมนเข้ าสู่เซลล์
❖ เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็ นการลาเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ออกจากเซลล์ โดยสารเหล่านั้นจะบรรจุอยู่ใน
เวสิเคิล (Vesicle) แล้ วค่ อยๆ เคลื่อนเข้ ามารวมกับเยื่อหุ้ มเซลล์ จากนั้นสารในเวสิเคิลจะถูกปล่ อยออกสู่นอกเซลล์
เช่ น การหลั่งฮอร์โมนอินซูลินของเซลล์ ตับอ่อนเข้ า สู่กระแสเลื อด การหลั่งเอนไซม์ของเซลล์บริเวณกระเพาะอาหาร
หรือ การนาของเสียออกจากเซลล์ของอะมีบา เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 37
ภาพแสดงการนาสารเข้ าสู่เซลล์แบบ Phagocytosis

ภาพแสดงการนาสารเข้ าสู่เซลล์แบบ Pinocytosis

ภาพแสดงการนาสารเข้ าสู่เซลล์แบบ Receptor mediated Endocytosis

ภาพแสดงกระบวนการนาสารออกจากเซลล์ (Exocytosis)
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 38
การแบ่งเซลล์

มี 2 ขั้นตอน
ไมโทซิส (Mitosis)
การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis)
ไมโอซิส (Meiosis)
การแบ่งไซโทพลาสซึม (Cytokinesis)

ภาพแสดงวัฏจักรของเซลล์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงการเปรียบเทียบการแบ่งนิวเคลียสแบบ mitosis และ meiosis


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 39
➢ ไมโทซิส (Mitosis)

- เป็ นการแบ่งเพื่อเพิ่มจานวนเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (แบ่งเซลล์ร่างกายในสัตว์ : สร้ างเซลล์สบื พันธุ์ของพืช)


- จานวนโครโมโซมหลังการแบ่งเซลล์ยังคงเป็ นดิพลอยด์ (Diploid) หรือ 2n เท่าเดิม
- แบ่งออกเป็ น 2 ระยะ คือ
1) ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase)
- เซลล์มีอตั ราเมตาบอลิซึมสูงมาก มีการสังเคราะห์ DNA, RNA และโปรตีน จึงเป็ นช่วงที่ใช้เวลานานที่สุด
- แบ่งออกเป็ น 3 ช่วง คือ
1. G1 phase หรือระยะก่อนสังเคราะห์ DNA
2. S phase หรือระยะสังเคราะห์ DNA (DNA Synthetic Phase)
3. G2 phase หรือระยะหลังสังเคราะห์ DNA
2) ระยะแบ่งเซลล์ (Cell Division)
- เป็ นระยะที่มองเห็นโครโมโซม (Chromosome)
2.1 การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis)
ระยะ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้ น
- โครมาทินจะมีการขดตัวสั้นลงเห็นเป็ นแท่งโครโมโซม (Chromosome)
ประกอบด้ วย 2 โครมาทิด นิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสค่อยๆ สลายไป
1. ระยะโพรเฟส
- ในเซลล์สตั ว์ มีการสร้ างเส้ นใย เรียกว่า “เส้นใยสปิ นเดิล” (Spindle Fiber)
(Prophase)
ยึดระหว่างเซนทริโอลที่ข้วั เซลล์กบั เซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซม
แต่ในเซลล์พืชไม่มีเซนทริโอล ใช้ Polar cap แทน
- โครโมโซมขดพันกันแน่น เรียงตรงกลางเซลล์มองเห็นเป็ น 2 โครมาทิดชัดเจน
2. ระยะเมทาเฟส
ที่สดุ ระยะนี้จึงเหมาะสมที่สดุ ในการนับจานวนโครโมโซมและศึกษาความ
(Metaphase)
แตกต่างของลักษณะโครโมโซม
- เซนโทรเมียร์มีกจิ กรรมมากที่สดุ เมื่อเส้นใยสปิ นเดิลหดตัวก็จะดึงแต่ละโครมา
3. ระยะแอนาเฟส (Anaphase)
ทิดให้ แยกออกจากกันไปยังขั้วเซลล์แต่ละข้ าง
- โครมาทิดแยกจากกันอยู่ท่ขี ้วั เซลล์แต่ละข้ างและคลายตัวออกเป็ นเส้ นใยโครมา
ทิน พันกันอยู่เป็ นกลุ่มเหมือนกับระยะอินเตอร์เฟส
4. ระยะเทโลเฟส (Telophase) - เส้ นใยสปิ นเดิลสลายตัวไป เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฏให้ เห็น
- เห็นนิวเคลียสใหม่เป็ น 2 นิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสมีจานวนโครโมโซมเท่ากัน
และเท่ากับเซลล์เริ่มต้ น

2.2 การแบ่งไซโทพลาสซึม (Cytokinesis)


- เซลล์สตั ว์ เยื่อหุ้มเซลล์จะคอดเข้ าหากันบริเวณกลางเซลล์ (cleavage furrow) จนแยกหลุดออกจากกันเป็ น
เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีจานวนโครโมโซมและสารพันธุกรรมเหมือนเซลล์เดิมทุกประการ
- เซลล์พืช มีการสร้ างแผ่นกั้นเซลล์ (Cell Plate) เริ่มจากแนวกลางเซลล์ไปยังขอบเซลล์ท้งั สองข้ างจนจรดกับ
ผนังเซลล์ทุกด้ าน ต่อมาเกิดการสะสมเซลลูโลสบนแผ่นกั้นเซลล์ เกิดเซลล์ใหม่ 2 เซลล์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 40
NOTE ; สรุป ลักษณะโครโมโซม
Inter – จาลอง Pro – หดตัว Meta – กึ่งกลาง Ana – ดึง Telo – คลาย

ภาพแสดงการแบ่งเซลล์แบบ Mitosis
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 41
➢ ไมโอซิส (Meiosis)

- เป็ นการแบ่งเพื่อลดจานวนโครโมโซม (สร้ างเซลล์สบื พันธุ์ของสัตว์ : สร้ างสปอร์ของพืช)


- จานวนโครโมโซมหลังการแบ่งเซลล์ลดลงครึ่งหนึ่ง จากดิพลอยด์ (Diploid) หรือ 2n กลายเป็ นแฮพลอยด์
(Haploid) หรือ n
1) ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase)
- มีการจาลอง DNA มีการสังเคราะห์ RNA และโปรตีน เพื่อเตรียมพร้ อมที่จะแบ่งเซลล์
2) ระยะแบ่งเซลล์ (Cell Division) แบ่งออกเป็ น 2 ระยะใหญ่ ได้ แก่...
2.1 ไมโอซิส I (Meiosis I) เป็ นระยะที่ทาให้ ลดจานวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง แบ่งเป็ น 4 ระยะ คือ
ระยะ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้ น
- Homologous Chromosome (โครโมโซมที่เหมือนกัน) จะมาจับคู่กนั
- เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของนอนซิสเตอร์โครมาทิด เรียกกระบวนการนี้
2.1.1 ระยะโพรเฟส I
ว่ า “ครอสซิงโอเวอร์” (Crossing Over) ทาให้ ยีนมีการจัดเรียงตั ว ใหม่
(Prophase I)
และเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม (Variation)
- นิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสเริ่มสลายไป
- Homologous Chromosome หดสั้นที่สดุ และเรียงตัวตรงกลางเซลล์
2.1.2 ระยะเมทาเฟส I
- มีเส้ นใยสปิ นเดิลยึดที่เซนโทรเมียร์ของโครโมโซม ซึ่งกาลังจะแยกจากกัน
(Metaphase I)
ไปยังขั้วเซลล์แต่ละข้ าง
- เส้ นใยสปิ นเดิลจะดึง Homologous Chromosome แต่ละคู่ออกจากกันไปยัง
2.1.3 ระยะแอนาเฟส I ขั้วเซลล์แต่ละข้ างมากขึ้น โดยพบว่า โครโมโซมที่ได้ ยังจะมี 2 โครมาทิด
(Anaphase I) ซึ่งโครมาทิดที่เกิด Crossing Over จะมียีนที่แตกต่างจากโครมาทิดอีกแท่ง
หนึ่ง
2.1.4 ระยะเทโลเฟส I - โครโมโซมแยกไปถึงขั้วเซลล์ แต่ละโครโมโซมยังมี 2 โครมาทิด มีจานวน
(Telophase I) โครโมโซมเป็ นแฮพลอยด์ (n)

2.2 ไมโอซิ ส II (Meiosis II) เป็ นระยะที่ไม่มีการสังเคราะห์โครโมโซมใหม่ (มีข้ นั ตอนเหมือนกับการแบ่ง


นิวเคลียสแบบไมโทซิส) ทาให้ จานวนโครโมโซมเป็ นแฮพลอยด์เหมือนเดิม แบ่งเป็ น 4 ระยะ คือ
2.2.1 ระยะโพรเฟส II (Prophase II)
2.2.2 ระยะเมทาเฟส II (Metaphase II)
2.2.3 ระยะแอนาเฟส II (Anaphase II)
2.2.4 ระยะเทโลเฟส II (Telophase II)
 หลังแบ่งนิวเคลียส แต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซมเป็ นแฮพลอยด์ (n) หรือลดลงครึ่งหนึ่งจากเซลล์เริ่มต้ น
 การแบ่งไซโทพลาสซึม
- สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการแบ่งไซโทพลาสซึมหลังจากผ่านไมโอซิส I กลายเป็ นเซลล์ใหม่ 2 เซลล์ จากนั้นจึงแบ่ง
อีกครั้งหลังไมโอซิส II กลายเป็ นเซลล์ใหม่ 4 เซลล์
- สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะแบ่งไซโทพลาสซึมหลังจากผ่านไมโอซิส II แล้ วเกิดเป็ นเซลล์ใหม่ 4 เซลล์ พร้ อมกัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 42
ภาพแสดงการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 43
3.3 การสือ่ สารระหว่างเซลล์

➢ กรณีท่เี ซลล์อยู่ใกล้ กนั

1) จุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ ใช้ การหลั่งสารเคมี

2) เซลล์สตั ว์ ใช้ ช่อง gap junction

3) เซลล์พืช ใช้ ช่องพลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)

ไทท์จังชัน (tight junction)


เป็ นโครงสร้ า งที่ เ กิ ด จากเยื่ อ หุ้ ม เซลล์
ที่ อ ยู่ ติ ด กั น เกิ ด การรวมตั ว กั น ป้ องกั น
การรั่ ว ไหลของของเหลวภายในเซลล์และ
นอกเซลล์เข้ าหากัน
เดสโมโซม (desmosome)
ท าหน้ าที่ ต รึ ง เซลล์ เ ข้ า ด้ ว ยกั น โดยมี
อิ น เตอร์ มี เ ดี ย ทฟิ ลาเมนต์ ช่ ว ยเพิ่ ม ความ
แข็งแรงให้ แก่เดสโมโซม
แกพจังชัน (gap junction)
เป็ นช่ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ นระหว่ า งเซลล์ ท่ี อ ยู่
ติ ด กั น ท าให้ สารและโมเลกุ ล สามารถ
เคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง

ภาพแสดงโครงสร้ างที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสาร (เชื่อมต่อ)ระหว่างเซลล์


ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ กรณีท่เี ซลล์อยู่ไกลกัน

1) สัตว์ : อาศัยระบบประสาท และระบบต่อมไร้ ท่อ (ฮอร์โมน)

2) พืช : มีการใช้ ฮอร์โมนพืช และการลาเลียงสารผ่าน Xylem และ Phloem

สรุป ; การสื่อสารนี้มีอยู่ 3 ขั้นตอน

การรับสัญญาณ (reception) การส่งสัญญาณ การตอบสนอง (response)


(signal transduction)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 44
3.4 การหายใจระดับเซลล์

NOTE ; กระบวนการสร้าง ATP


1) Substrate level phosphorylation ; เป็ นการสร้ าง ATP โดยการเติมหมู่ฟอสเฟต
Adenosine + Pi AMP
AMP + Pi ADP
ADP + Pi ATP
2) Oxidative phosphorylation ; เป็ นการสร้ าง ATP โดยการถ่ายทอดอิเล็กตรอน (ETC) มีการแลกเปลี่ยน
Proton : H+ (Chemiosmosis) เกิดภายใน Mitochondria โดยอาศัย...
1. NAD+ (Nicotinamide adenine dinucleotide) มี B3 เป็ นองค์ประกอบ ;
NAD+ + H+ + 2e-  NADH
2. FAD (Flavin adenine dinucleotide) มี B2 เป็ นองค์ประกอบ ;
FAD + H+ + 2e-  FADH2
3) Photophosphorylation ; เป็ นการสร้ าง ATP ในพืชโดยอาศัย Chloroplast เพื่อใช้ ในการสังเคราะห์ด้วยแสง

ภาพแสดงโครงสร้ างของสารให้ พลังงานสูง ATP


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

การหายใจระดับเซลล์ เป็ นกระบวนการสลายสารอาหารภายในเซลล์ เพื่อให้ ได้ พลังงานมาใช้ ในกิจกรรม


มี 2 รูปแบบ คือ…
❖ การหายใจแบบใช้ ออกซิเจน
❖ การหายใจแบบไม่ใช้ ออกซิเจน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 45
ภาพแสดงการหายใจแบบใช้ ออกซิเจนเพื่อให้ ได้ พลังงาน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

 การหายใจแบบใช้ ออกซิเจน ➢ เป็ นการสลายสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน


(Aerobic Respiration) และลิพิด โดยมีออกซิเจนเข้ าร่วมปฏิกริ ิยา มี 3 ขั้นตอน

1) Glycolysis

2) การสร้ าง Aetyl Co.A และ Kreb’s cycle

3) Electron transport chain

1. ไกลโคไลซิส (Glycolysis)

2 ATP 2 ADP 4 ADP + 4 Pi 4 ATP


กลูโคส (C6) 2 G3P (C3) 2 Pyruvic â (C3)
เติมหมู่ฟอสเฟต
2 NAD+ 2 NADH

- เกิดที่ไซโทซอล
- มีการสลายกลูโคส 1 โมเลกุลเป็ นกรดไพรูวิก 2 โมเลกุล
- เกิด 4 ATP แต่ใช้ ไป 2 ATP ตอนเริ่มต้ นในการเติมหมู่ฟอสเฟต จึงได้ สทุ ธิ 2 ATP
- 2 NAD+ รับอิเล็กตรอนเป็ น 2 NADH เข้ าสู่กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 46
2. การสร้างแอซีติลโคเอนไซม์ เอ (Acetyl Coenzyme A) และวัฏจักรเครบส์ (Kreb’s Cycle)
2.1 การสร้างแอซีติลโคเอนไซม์ เอ (Acetyl Coenzyme A)

2 Co.A 2 CO2
2 Pyruvic â (C3) 2 Acetyl Co.A (C2)
2 NAD+ 2 NADH

- เกิดใน Matrix ภายในไมโทคอนเดรีย


- กรดไพรูวิกเปลี่ยนเป็ นแอซีตัลดีไฮด์ และรวมตัวกับโคเอนไซม์ เอ กลายเป็ นแอซีติลโคเอนไซม์ เอ
- เกิด CO2 2 โมเลกุล
- มี 2 NAD+ รับอิเล็กตรอนเป็ น 2 NADH เข้ าสู่กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน
- ไม่มี ATP เกิดขึ้ น
2.2 วัฏจักรเครบส์ (Kreb’s Cycle)
- เกิดใน Matrix ของไมโทคอนเดรีย (เกิด 2 รอบ เพราะมี 2 Acetyl Co.A)
Acetyl Co. A (C=2) รวมตัวกับ Oxaloacetic acid (C=4)

เกิดเป็ น Citric acid (C=6) แล้ วมีการเปลี่ยนแปลงเป็ น α - Ketoglutaric acid (C=5)

เปลี่ยนเป็ น Succinic acid (C=4) และ Oxaloacetic acid เป็ นวัฏจักรตามลาดับ

- ถ้ าใช้ กลูโคส 1 โมเลกุล เมื่อผ่านวัฏจักรเครบส์ จะเกิด 4 CO2, 2 ATP มี NAD+ และ FAD มารับ
อิเล็กตรอนกลายเป็ น 6 NADH และ 2 FADH2 เพื่อเข้ าสู่กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน

แผนภาพแสดงวัฏจักรเครบส์ (หรือวัฏจักรกรดซิตริก)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 47
3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron Transport System)
- เกิดที่ Cristae ของไมโทคอนเดรีย และถ่ายทอดอิเล็กตรอนบริเวณ intermembrane space
- เป็ นปฏิกริ ิยา Redox มีการรับส่งอิเล็กตรอนและปลดปล่อย ATP เรียก Oxidative phosphorylation
- มี O2 เป็ นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายทาให้ เกิดนา้ ขึ้นจากปฏิกริ ิยา
- หาก NAD+ เป็ นตัวรับอิเล็กตรอนเป็ น NADH จะเกิด 3 ATP ต่อ 1 โมเลกุล และ
FAD เป็ นตัวรับอิเล็กตรอนเป็ น FADH2 จะเกิด 2 ATP ต่อ 1 โมเลกุล
- ผลจากการสลายกลูโคส 1 โมเลกุล เมื่อผ่านการถ่ายทอดอิเล็กตรอน จะเกิด 32-34 ATP
การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียตรงส่วนที่เรียกว่า คริสตี (cristae)

โดยจะเกิดขึ้นเป็ นทอดๆ ผ่านตัวนาอิเล็กตรอน ซึ่งเป็ นกลุ่มของโปรตีน (protein complex)
ที่ฝังตัวอยู่บนเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย

กลุ่มโปรตีนเหล่านี้ ได้ แก่ complex I, II, III และ IV นอกจากกลุ่มโปรตีน 4 กลุ่มนี้แล้ ว
บนเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย ยังมีโคเอนไซม์ Q และไซโตโครม c
ซึ่งสามารถเคลื่อนทีไ่ ด้ เพื่อช่วยในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างกลุ่มโปรตีนเหล่านั้น

เมื่ออิเล็กตรอนถูกส่งไป ก็จะมีออกซิเจน (O2) มาทาหน้ าที่รับอิเล็กตรอนเป็ นตัวสุดท้าย
ได้ ผลิตภัณฑ์เป็ นนา้ (H2O)

- ผนังชั้นในของไมโทคอนเดรียมีกลุ่มโปรตีนที่เรียก ATP synthase อยู่ เป็ นจานวนมาก ATP synthase เป็ น


เอนไซม์ท่ีประกอบด้ วยหน่วยย่อยหลายหน่วย กลุ่มหนึ่งของหน่วยย่อยทาหน้ าที่เป็ นช่ องให้ โปรตอนผ่าน อีกกลุ่มหนึ่ง
ทาหน้ าที่จับกับ ADP และ Pi เพื่อสร้ าง ATP
การส่งอิเล็กตรอนต่อเป็ นทอดๆ ในระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอน

ทาให้ เกิดการสูบโปรตอนจากข้ างในแมทริกซ์ผ่านเยื่อหุ้มชั้นใน

ส่งผลให้ ความเข้ มข้ นของโปรตอนในสองข้ างของเยื่อหุ้มต่างกัน คือ…
ทางด้ านแมทริกซ์จะต่า และทางด้ านช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้ม (intermembrane space) จะสูง
และเกิดความต่างศักย์ท่เี ยื่อหุ้ม โดยทางด้ านแมทริกซ์จะเป็ นลบ ทางด้ านช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเป็ นบวก

แรงที่เกิดจากความต่างศักย์ท่เี ยื่อหุ้มและความแตกต่างของความเข้ มข้ นของโปรตอน
จะรวมกันเกิดเป็ นแรงขับเคลื่อนโปรตอน เพื่อนาโปรตอนผ่านเยื่อหุ้มชั้นในกลับไปยังแมทริกซ์
โดยมี ATP synthase ทาหน้ าที่เป็ นช่องทางผ่าน

การผ่านของไฮโดรเจนอิออนหรือโปรตอนทาให้ เกิดพลังงานที่ช่วยผลักดันให้ เกิดการสร้ าง ATP
โดยการรวมตัวของ ADP กับ Pi

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 48
ภาพแสดง Oxidative phosphorylation
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ตารางแสดง ATP ที่ได้ จากการถ่ายทอดอิเล็กตรอน

จากกระบวนการ จานวนสมมูลรีดิวซ์ ATP


ไกลโคไลซิส 2 NADH หรือ 2 FADH2 4-6 ATP
การสร้ างอะซิติลโค. เอ 2 NADH 6 ATP
วัฏจักรเครบส์ 6 NADH และ 2 FADH2 22 ATP
รวม 32-34 ATP

ตารางสรุป ATP ที่ได้ จากการเผาผลาญกลูโคส 1 โมเลกุล

กระบวนการ ATP สุทธิทเี่ กิดขึ้ น


ไกลโคไลซิส 2 ATP
การสร้ างอะซิติลโค. เอ -
วัฏจักรเครบส์ 2 ATP
การถ่ายทอดอิเล็กตรอน 32-34 ATP
รวม 36-38 ATP

➢ เซลล์กล้ ามเนื้อหัวใจ ไต ตับ ได้ 38 ATP


(NADH จากไกลโคไลซิสจะถ่ายทอดอิเล็กตรอนในรูปของ NADH ได้ 6 ATP)
➢ เซลล์กล้ ามเนื้อโครงร่าง สมอง และเซลล์อ่นื ๆ ได้ 36 ATP
(NADH จากไกลโคไลซิสจะถ่ายทอดอิเล็กตรอนในรูปของ FADH2 ได้ 4 ATP)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 49
 การสลายลิพิด : ลิพิดจะถูกเอนไซม์ไลเพสสลายเป็ นกลีเซอรอลและกรดไขมัน จากนั้น
1. กลีเซอรอล  เปลี่ยนเป็ น ฟอสโฟกลีเซอรอลดีไฮด์ (PGAL) หรือ G3P จะเข้ าสู่ไกลโคลิซิสต่อไป
2. กรดไขมัน  ถูกสลายโดยกระบวนการ β-Oxidation เกิดเป็ นแอซิติลโคเอนไซม์เอ เข้ าสู่วัฏจักรเครบส์
 การสลายโปรตีน : กรดอะมิโนจะถูกสลายโดยกระบวนการ Oxidative Deamination เกิดเป็ นแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งเป็ นสารพิษ จึงถูก
กาจัดออกนอกร่างกายในรูปของยูเรีย หรือกรดยูริก

NOTE ; การสลายโปรตีนเป็ นกรดอะมิโน


กรดอะมิโนแต่ละชนิดจะถูกเปลี่ยนแปลงได้ หลายแนวทาง เช่น
1) ไกลซีน ซีรีน อะลานีน ซีสเทอิน และทริโอนีน ให้ สารตัวกลางเป็ นกรดไพรูวิก
2) ฟิ นิลอะลานีน ไลซีน ลิวซีน ทริปโตเฟน และไทโรซีน ให้ สารตัวกลางเป็ นอะซิติลโคเอนไซม์ เอ
3) อาร์จีนีน ฮิสทีดิน โปรลีน กรดกลูตามิก ไอโซลิวซีน วาลีน เมไทโอนีน กรดแอสปาร์ติก และแอสปาราจีน ให้ สารตัวกลาง
ในวัฏจักรเครบส์

 การย่อยโปรตีน
H O
NH2-C-C-OH
R

การกาจัดหมู่อะมิโน เรียก Oxidative deamination

NH3 กลุ่ม 1 : เป็ นสารตัวกลางใน glycolysis


กลุ่ม 2 : เป็ นสารตัวกลางใน Acetyl Co. A
ยูเรีย , ยูริก กลุ่ม 3 : เป็ นสารตัวกลางใน Kreb’s cycle

ขับถ่าย

 การย่อยลิพิด
กรดไขมัน + กลีเซอรอล

PGAL

เข้ า glycolysis

Acetyl Co. A (C2)

เกิด β–Oxidation (โดยตัด C ทีละ 2 อะตอม)

เป็ น C2 (Acetyl Co.A) เข้ าสู่ Kreb’s cycle ETC

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 50
ภาพแสดงผังสรุปการสลายสารอาหารระดับเซลล์ของสารอาหารแต่ละชนิด
ที่มา ; Reece et al. (2011)

 การหายใจแบบไม่ใช้ ออกซิเจน (Anaerobic Respiration)

เป็ นกระบวนการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต โดยไม่มี O2 เข้ าร่วมปฏิกริ ิยา แบ่งออกเป็ น 2 แบบ คือ…

หมักแอลกอฮอล์ (Alcohol Fermentation)

หมักกรดแลกติก (Lactic Acid Fermentation)

1. การหมักแอลกอฮอล์ (Alcohol Fermentation)

- มีการสลายกลูโคส  กรดไพรูวิก  แอซิตัลดีไฮด์  เอทานอล ตามลาดับ (เกิดเฉพาะไกลโคไลซิส)


- การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล เกิด 2 ATP, 2 CO2 และ 2 Ethyl Alcohol
- พบในเซลล์ยีสต์ และเซลล์พืช

2. การหมักกรดแลกติก (Lactic Acid Fermentation)

- มีการสลายกลูโคส  กรดไพรูวิก  กรดแลกติก ตามลาดับ (เกิดเฉพาะไกลโคไลซิส)


- การสลายกลูโคส 1 โมเลกุล เกิด 2 ATP และ 2 Lactic Acid แต่ไม่มี CO2 เกิดขึ้ น
- พบในเซลล์กล้ ามเนื้อโครงร่างขณะออกกาลังกาย พยาธิตัวตืด และแบคทีเรียบางชนิด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 51
ภาพแสดงการหมักแอลกอฮอล์ (Alcohol Fermentation)

ภาพแสดงการหมักกรดแลกติก (Lactic Acid Fermentation)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 52
บทที่ 4 : ยีนและโครโมโซม
4.1 การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม

การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม

➢ ในกระบวนการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ ได้ ส่ิงมีชีวิตรุ่นใหม่เกิดขึ้น เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์


สืบพั น ธุ์ ซึ่ ง จะมี การเจริ ญ เติ บโตและพั ฒ นาต่ อไป ดั ง นั้ น ยี น จากพ่ อและแม่ น่ า จะมี การส่ ง ถ่ า ยสู่ลู ก ด้ ว ย
กระบวนการดังกล่าว

➢ เมื่อมีการค้ นพบสีย้ อมนิวเคลี ยสในปี พ.ศ. 2423 จึงพบว่ าในนิวเคลียสมีโครโมโซม และทาให้ ร้ ู จั ก


การแบ่งนิวเคลียสของเซลล์ 2 แบบ คือ แบบไมโทซิส และแบบไมโอซิส

➢ วอเตอร์ ซัตตัน ได้ เสนอทฤษฏีโครโมโซมในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (chromosome theory of


inheritance) โดยเสนอว่าสิ่งที่เรียกว่า แฟกเตอร์ ที่เมนเดลเคยเสนอนั้นคือ ยีน (Gene) โดยยีนน่าจะเป็ นส่วน
หนึ่งของโครโมโซม ดังนี้
1) ยีนมี 2 ชุด และโครโมโซมก็มี 2 ชุด
2) ยีนและโครโมโซมสามารถถ่ายทอดไปสู่ร่นุ ลูกหลานได้
3) ขณะที่มีการแบ่งนิวคเลียสของเซลล์แบบไมโอซิส โครโมโซมมีการเข้ าคู่กัน และแยกจากกันไป
ยังเซลล์ท่เี กิดขึ้นคนละเซลล์ ซึ่งลักษณะเดียวกันนี้กเ็ กิดขึ้นได้ กับยีนโดยมีการแยกตัวของอัลลีล
ทั้งสองไปยังเซลล์สบื พันธุ์
4) การแยกตัวของโครโมโซมที่เป็ นคู่ กันไปยังขั้วเซลล์ขณะที่มีการแบ่งเซลล์น้ัน แต่ละคู่เกิดอย่าง
อิสระเช่นเดียวกับการแยกตัวของแต่ละอัลลีลไปยังเซลล์สบื พันธุ์
5) ขณะเกิ ด การสืบ พั น ธุ์ การรวมกั น ของเซลล์ ไ ข่ แ ละสเปิ ร์ มเกิด เป็ นไซโกตเป็ นไปอย่ า งสุ่ม
ทาให้ เ กิด การรวมกันระหว่ างชุ ดโครโมโซมจากเซลล์ ไ ข่ แ ละสเปิ ร์มเป็ นไปอย่ างสุ่มด้ ว ยซึ่ง
เหมือนกับการที่ชุดของอัลลีลที่เกิดขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อกลับมารวมกันอีกครั้งกับอัลลีล
ในเซลล์สบื พันธุข์ องแม่ เมื่อมีการสืบพันธุก์ เ็ ป็ นไปอย่างสุ่มเช่นกัน
6) ทุกเซลล์ท่ีพัฒนามาจากไซโกตจะมีโครโมโซมครึ่งหนึ่งจากแม่และอีก ครึ่งหนึ่งจากพ่ อซึ่งยีน
ครึ่งหนึ่งก็มาจากแม่และอีกครึ่งหนึ่งก็มาจากพ่อเช่นกัน ทาให้ ลูกที่เกิดมามีลักษณะแปรผันไป
จากพ่อและแม่

ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างยีนและโครโมโซม
ที่มา ; http://www.csus.edu/indiv/l/loom/lect%2026-27%20s07.htm

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 53
4.2 การค้ นพบสารพันธุกรรม

การค้ นพบสารพันธุกรรม

➢ เฟรดริ ช มิ เ ชอร์ (Friedrich Miescher) ได้ ศึ ก ษาส่ ว นประกอบในนิ ว เคลี ย สของเซลล์ เ ม็ด เลื อ ดขาวที่ติ ด มากับ
ผ้ าพันแผล พบว่า มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็ นองค์ประกอบ จึงเรียกสารที่สกัดจากนิวเคลียสว่า นิวคลีอิน ( nuclein)
ต่อมาอีก 20 ปี ได้ มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า กรดนิวคลีอกิ

➢ โรเบิร์ต ฟอยล์แกน (Robert Feulgen) พัฒนาสีฟุคซิน (fuchsin) ย้ อมติด DNA ให้ สีแดง พบว่าสีจะติดที่นิวเคลียส
และรวมตัวหนาแน่นที่โครโมโซม จึงสรุปว่า DNA อยู่ท่โี ครโมโซม

➢ เฟรเดอริก กริฟฟิ ท (Frederick Griffith) ทดลองฉีดแบคทีเรียเข้ าไปในหนูโดยใช้ แบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ คือ


1. สายพันธุ์ R (ผิวหยาบ) ไม่มีสารห่อหุ้มเซลล์ (Capsule) ไม่ทาให้ เกิดโรคปอดบวม
2. สายพันธุ์ S (ผิวเรียบ) มี Capsule ทาให้ เกิดโรคปอดบวม
แบ่งชุดการทดลอง เป็ น 4 ชุด…
ชุดที่ 1 นาสายพันธุ์ R ฉีดให้ หนู พบว่า หนูไม่ตาย
ชุดที่ 2 นาสายพันธุ์ S ฉีดให้ หนู พบว่า หนูตาย
ชุดที่ 3 นาสายพันธุ์ S ที่ทาให้ ตายด้วยความร้ อน ฉีดให้ หนู พบว่า หนูไม่ตาย
ชุดที่ 4 นาสายพันธุ์ S ที่ทาให้ ตายด้วยความร้ อนใส่พร้ อมกับสายพันธุ์ R ฉีดให้ หนู พบว่า หนูตาย

ดังนัน้ สรุปได้ ว่า แบคทีเรียสายพันธุ์ S ที่ตายด้ วยความร้ อนสามารถเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ R ให้ กลายเป็ นสายพันธุ์ S ได้

➢ ออสวอลด์ ที แอเวอรี (Oswald T. Avery) คอลิน แมคลอยด์ (Colin MacLeod) และ


แมคลิน แมคคาร์ที (Maclyn McCarty) ทาการทดลองต่อจากกริฟฟิ ท
 นาแบคทีเรียสายพันธุ์ S มาทาให้ ตายด้ วยความร้ อน แล้ วสกัดเอาสารจากแบคทีเรียสายพันธุ์ S ออกมา
ใส่ในหลอดทดลอง 4 หลอด

หลอดที่ 1 หลอดที่ 2 หลอดที่ 3 หลอดที่ 4


เติมแบคทีเรีย เติมแบคทีเรีย เติมแบคทีเรีย
สายพันธุ์ R สายพันธุ์ R สายพันธุ์ R เติมแบคทีเรีย
+ RNase + Protease + DNase สายพันธุ์ R
เพื่อสลาย RNA เพื่อสลายโปรตีน เพื่อสลาย DNA
พบ Bacteria พบ Bacteria ไม่พบ Bacteria พบ Bacteria
สายพันธุ์ S สายพันธุ์ S สายพันธุ์ S สายพันธุ์ S

ดังนั้น สรุปได้ ว่า ; สารที่เปลี่ยนแปลง Bacteria สายพันธุ์ R ให้ เป็ นสายพันธุ์ S คือ DNA
 แอเวอรีจงึ สรุปว่า กรดนิวคลีอกิ ชนิด DNA เป็ นสารพันธุกรรม ไม่ใช่ โปรตีน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 54
4.3 โครโมโซม

4.3.1 รูปร่าง ลักษณะ และจานวนโครโมโซม

➢ โครโมโซมจะมีลักษณะเป็ นเส้ นเล็กยาวขดพันกันอยู่ในนิวเคลียสเรียกว่า โครมาทิน เมื่อมีการแบ่งเซลล์


โครโมโซมจะจาลองตัวเองเป็ นเส้ นคู่ท่เี หมือนกันทุกประการในระยะอินเตอร์เฟส แล้ วจึงขดสั้นและหนาขึ้น
สามารถเห็นได้ ชัดเจนในการแบ่งเซลล์ระยะเมทาเฟสจากการย้ อมด้ วยสีย้อม DNA เช่น สีแอซี โทคาร์มีน
(acetocarmine)

ภาพแสดงโครโมโซมของมนุษย์
ที่มา ; http://learn.genetics.utah.edu/content/basics/diagnose/

➢ สิ่งมีชีวิตต่ างชนิดกันอาจมีจานวนโครโมโซมเท่ากันได้ แต่ เมื่อศึกษาลักษณะของโครโมโซมจะพบว่า


สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีโครโมโซมที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป

➢ โครโมโซมมีรูปร่างแตกต่างกัน 4 แบบ คือ…


1) โครโมโซมแบบเทโลเซนทริก (Telocentric chromosome) เป็ นโครโมโซมที่มีเ ซนโทรเมีย ร์อยู่ต รงปลายสุด
ทาให้ มองเห็นโครโมโซมเป็ นแท่งหรือแขนเพียงข้ างเดียว
2) โครโมโซมแบบอะโครเซนทริก (Acrocentric chromosome) เป็ นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ค่อนข้ างไปทาง
ส่วนปลายด้ านใดด้ านหนึ่ง มีแขน 2 ข้ างยาวแตกต่างกันมาก
3) โครโมโซมแบบซั บ เมทาเซนทริ ก (Submetacentric chromosome) เป็ นโครโมโซมที่มี เ ซนโทรเมี ย ร์ไ ม่ อ ยู่
ตรงกลาง ทาให้ แขน 2 ข้ างยาวไม่เท่ากัน
4) โครโมโซมแบบเมทาเซนทริก (Metacentric chromosome) เป็ นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ตรงกลางพอดี
ทาให้ แขน 2 ข้ างยาวเท่ากัน

ภาพแสดงรูปร่างของโครโมโซมแต่ละประเภท
ที่มา ; http://www.suggest-keywords.com

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 55
4.3.2 ส่วนประกอบของโครโมโซม

โครโมโซมของยูคาริโอต
จะพบว่าประกอบด้ วย

DNA 1/3 ส่วน


โปรตีน Non-histone
ประกอบด้ วย
โปรตีน 2/3 ส่วน
โปรตีน Histone

Histone = เป็ นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่มีสภาพเป็ นประจุบวก (basic amino acid) เช่น ไลซีน, อาร์จีนีน
ไปเกาะกับ

DNA ที่มปี ระจุลบ


DNA + histone เรียกว่า “nucleosome”

ภาพแสดงโครงสร้ างของโครโมโซม
ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ สาหรับในโพรคาริโอต
มีสารพันธุกรรมเป็ นรูปวงแหวน เรียกว่า Plasmid อยู่ในไซโทพลาสซึม ประกอบด้ วย DNA 1 โมเลกุล
และไม่มีฮิสโตนเป็ นองค์ประกอบ

➢ จี โนม (genome) หมายถึง สารพันธุกรรมทั้งหมดภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 56
4.4 องค์ประกอบทางเคมีของ DNA

DNA (Deoxyribonucleic acid)

➢ เป็ นกรดนิ ว คลิ อิ ก ชนิ ด หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น พอลิ เ มอร์ (polymer) สายยาวประกอบด้ ว ย มอนอเมอร์
(monomer) ที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) โดยจะมีการเชื่อมของนิวคลีโอไทด์ท่ีเกิดจากการสร้ าง
พันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ (phosphodiester bond) ระหว่างหมู่ฟอสเฟตซึ่งอยู่ท่คี าร์บอนตาแหน่งที่ 5 ของ
นา้ ตาลในนิวคลีโอไทด์หนึ่งกับคาร์บอนตาแหน่งที่ 3 ของนา้ ตาลในอีกนิวคลีโอไทด์หนึ่ง

➢ เออร์วิน ชาร์กาฟฟ์ (Erwin Chargaff) นักชีวเคมีชาวอเมริกัน ได้ ทาการวิเคราะห์ปริมาณเบสที่เป็ น


องค์ประกอบทางเคมีของโมเลกุล DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ พบว่า อัตราส่วนของเบส 4 ชนิดใน DNA
ที่สกัดได้ จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ นั้นจะแตกต่างกัน แต่จะมีปริมาณของ A ใกล้ เคียงกับ T และ C ใกล้ เคียง
กับ G เสมอ เรียกว่า กฎของชาร์กาฟฟ์ (Chargaff’s rule) โดยสิ่งมีชีวิตจะมีอัตราส่วนระหว่าง A : T และ
อัตราส่วนระหว่าง C : G ใกล้ เคียงกับ 1

4.5 โครงสร้ างของ DNA

โครงสร้ างของ DNA

➢ มัวริส เอช เอฟ วิลคินส์ (Maurice H. F. wilkins) และ โรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิ สิกส์
ชาวอังกฤษ ทาการศึกษาโครงสร้ างของ DNA ในสิ่งมีชีวิต โดยใช้ เทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน (X-ray
diffraction) แปลผลได้ ว่า โครงสร้ างของ DNA ประกอบด้ วย พอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะ
เป็ นเกลียว โดยเกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่าๆ กัน

➢ เจมส์ ดี วอตสัน (James D. Watson) นักชีวเคมีชาวอเมริกัน และฟราสชิส คริก (Francis Crick) นักฟิ สิกส์
ชาวอังกฤษ ได้ เสนอแบบจาลองโครงสร้ างโมเลกุลของ DNA ที่สมบูรณ์ท่สี ุด พยายามหาพันธะเคมีท่เี ชื่อม
พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายให้ ติดกัน ต่อมาได้ พบว่าพันธะดังกล่าว คือ พันธะไฮโดรเจน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคู่
เบส พบว่า ระหว่าง A กับ T เกิดพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ ระหว่าง C กับ G เกิด 3 พันธะ

➢ โครงสร้ างเกลียวคู่ทาให้ โครงสร้ าง DNA มีลักษณะคล้ ายบันไดเวียน ประกอบด้ วยพอลินิวคลีโอไทด์


2 สาย โดยโครงสร้ างเกลียวคู่มีความกว้ าง 2 nm เกลียวแต่ ละรอบห่ างกัน 3.4 nm และแต่ ละคู่เบสมี
ระยะห่างกัน 0.34 nm

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 57
v

ภาพแสดงโครงสร้ างของ DNA


ที่มา ; Reece et al. (2011)

4.6 สมบัติของสารพันธุกรรม

สมบัติของสารพันธุกรรม

➢ ประการแรก ต้ องสามารถเพิ่มจานวนตัวเองได้ โดยมีลักษณะเหมือนเดิม

➢ ประการที่สอง สามารถควบคุมให้ เซลล์สงั เคราะห์สารต่างๆ

➢ ประการที่สาม อาจเปลี่ยนแปลงได้ บ้าง ทาให้ เกิดลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม ส่งผลให้ เกิด


สิ่งมีชีวิตสปี ชีสใ์ หม่ๆ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 58
4.6.1 การสังเคราะห์ DNA

 การสังเคราะห์ DNA (DNA replication)

ภาพแสดงการเกิด DNA replication


ที่มา ; Reece et al. (2011)

DNA 1 โมเลกุล (Double helix)

คลายเกลียว เห็นเป็ น polynucleotide 2 สาย


แต่ละสายทาหน้ าทีเ่ ป็ น template (แม่แบบ)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 59
เอนไซม์ Helicase สลายพันธะไฮโดรเจน

Nucleotide อิสระจับกับ Nucleotide บน template โดยมีทศิ ทาง 5’ 3’ แบ่งเป็ น


การจาลองเป็ นสายยาว อาศัยเอนไซม์ DNA polymerase เรียกว่า Leading strand
การจาลองเป็ นสายสั้นๆ โดยใช้ DNA polymerase แต่ละท่อนเรียกว่า Okazaki fragment
แล้ วถูกนามาเชื่อมเข้ าด้ วยกัน โดยเอนไซม์ DNA ligase เรียกสายที่จาลองแบบนี้ว่า Lagging strand
มี primer มาเกาะตรงจุดเริ่มต้ นของการสร้ างสายใหม่

Polynucleotide สายใหม่ กับ template แต่ละสายเชื่อมด้ วยพันธะไฮโดรเจน

ได้ DNA 2 โมเลกุล แต่ละโมเลกุลประกอบด้ วยสายเดิม


ที่เป็ น template 1 สาย และสายใหม่อกี 1 สาย

เรียกการจาลอง DNA ในลักษณะนี้ว่า


“การจาลองตัวแบบกึ่งอนุรักษ์” (Semiconservative)

4.6.2 การควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของ DNA

➢ โปรตีนมีหลายชนิดและมีบทบาทในการแสดงลักษณะเฉพาะของเซลล์ได้ จึงอาจกล่ าวได้ ว่าโปรตีน


เกี่ยวข้ องกับการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมและการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งโดยทางตรงและทางอ้ อม

➢ เวอร์นอน เอ็ม อินแกรม (Vernon M. Ingrame) ศึกษาโครงสร้ างทางเคมีฮีโมโกลบินของคนที่เป็ น


โรคโลหิ ต จางชนิ ดซิ กเคิ ลเซลล์ (sickle cell anemia) เปรี ย บเทีย บกับฮี โมโกลบิ นของคนปกติ พบว่ า
องค์ประกอบของฮีโมโกลบินในคนปกติและคนที่เป็ นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ต่างกันที่การเรียงตัว
ของกรดอะมิโนเพียง 1 ตาแหน่ ง โดยในคนปกติจะเป็ น กรดกลู ตามิก (glutamic acid) ส่วนคนที่เป็ น
โรคซิกเคิลเซลล์จะเป็ นวาลีน (valine) ความผิดปกติท่เี กิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง DNA หรือ
ยีนทาให้ ฮีโมโกลบินผิดปกติ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 60
ภาพแสดงลักษณะของเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติและเมล็ดเลือดแดงชนิด sickle cell
ที่มา ; http://nigeriahealthwatch.com/can-your-love-survive-the-genotype-test/

➢ จากการศึกษา สามารถสรุปได้ ว่า

DNA : ข้ อมูลทางพันธุกรรม

ส่งผ่านข้ อมูลไปยัง RNA

RNA กาหนดการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโน

กรดอะมิโนเชื่อมด้ วยพันธะ peptide

เป็ นโปรตีน (polypeptide)

โปรตีนทาให้ เกิดการแสดงลักษณะทางพันธุกรรม

4.6.3 DNA กับการสังเคราะห์โปรตีน

➢ DNA ส่งผ่ านข้ อมูลพันธุกรรมให้ กับ RNA เพื่อสังเคราะห์ โปรตีนโดยอาศัยไรโบโซม สอดคล้ องกับ
สมมติฐานของ ฟรองชัว จาค็อบ (Francois Jacob) และ จาค โมนอด (Jacques Monod) ที่ได้ เสนอว่า ตัวกลาง
ที่อยู่ระหว่าง DNA กับ ไรโบโซมคือ RNA

➢ RNA มีลักษณะเป็ นพอลิเมอร์ส ายยาวของนิว คลี โอไทด์ท่ีเ ชื่อมต่ อกันด้ ว ยพัน ธะโควาเลนต์ ระหว่ า ง
หมู่ฟอสเฟตและหมู่ไฮดรอกซิลของโมเลกุลนา้ ตาล เช่นเดียวกับ DNA แต่ใน RNA จะแตกต่างจาก DNA
คือ น้าตาลเพนโทสที่ประกอบขึ้นเป็ น RNA นั้น จะเป็ นน้าตาลชนิดไรโบส และจะไม่ พบเบสไทมีน (T)
เป็ นองค์ประกอบ แต่จะพบเบสยูราซิล (U) แทน

➢ RNA ในเซลล์ มี 3 ชนิด ทาหน้ าที่แตกต่างกัน คือ ;


1. mRNA (messenger RNA) ; นารหัสการสร้ างโปรตีนจาก DNA ไปยังไรโบโซม
2. tRNA (transfer RNA) ; นากรดอะมิโนที่สอดคล้ องกับรหัสบนสาย mRNA มาให้ ไรโบโซม
3. rRNA (ribosomal RNA) ; เป็ น RNA ที่เป็ นองค์ประกอบของไรโบโซม

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 61
ตารางการเปรียบเทียบระหว่าง DNA และ RNA
ข้อเปรียบเทียบ DNA RNA
Polynucleotide 2 สาย 1 สาย
โครงสร้ าง บิดเกลียว ไม่บิดเกลียว
เบส A T C G A U C G
นา้ ตาล Deoxyribose Ribose
หน้ าที่ เป็ นสารพันธุกรรม เกี่ยวข้ องกับการสังเคราะห์โปรตีน

ภาพแสดงโครงสร้ างเปรียบเทียบระหว่าง DNA และ RNA


ที่มา ; https://www.thoughtco.com/dna-versus-rna-608191

ภาพรวมของการสังเคราะห์โปรตีน (Transcription และ Translation)

DNA เป็ น template (แม่แบบ)

เกิดการถอดรหัส (transcription)

ได้
mRNA

เกิดการแปลรหัส (translation)
โดยอาศัย Ribosome

กรดอะมิโนถูกนามาจัดเรียงกันด้ วยพันธะ peptide

กลายเป็ น polypeptide (โปรตีน)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 62
ภาพแสดงการเกิด transcription and translation
ที่มา ; Reece et al. (2011)

 การสังเคราะห์ mRNA หรือ การถอดรหัส (transcription) มีข้นั ตอน ดังนี้

เอนไซม์ RNA polymerase จะเข้ าไปจับกับ DNA ตรงบริเวณที่จะสังเคราะห์ mRNA


ทาให้ พันธะไฮโดรเจนระหว่างคู่เบสสลาย พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายของ DNA จะคลายเกลียวแยกออกจากกัน
โดยมีสายหนึ่งของ DNA เป็ นแม่แบบ

ไรโบนิวคลีโอไทด์ท่มี ีเบสที่เข้ าคู่กบั นิวคลีโอไทด์ของ DNA แม่แบบ คือ
C เข้ าคู่กบั G , G เข้ าคู่กบั C , U เข้ าคู่กบั A และ A เข้ าคู่กบั T
จะเข้ ามาจับกับนิวคลีโอไทด์ของ DNA แม่แบบ

เอนไซม์ RNA polymerase จะเชื่อมไรโบนิวคลีโอไทด์อสิ ระของ mRNA มาต่อกันเป็ นสายยาว
โดยมีทศิ ทางการสังเคราะห์สาย mRNA จากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’ และ
การสร้ างสาย mRNA นั้น จะเรียงสลับทิศกับสาย DNA ที่เป็ นแม่แบบ

เอนไซม์ RNA polymerase หยุดทางานและแยกตัวออกจาก DNA สายแม่แบบ

สาย mRNA ที่สงั เคราะห์ได้ จะแยกออกจาก DNA ไปยังไซโทพลาสซึม

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 63
ภาพแสดงการเกิดการถอดรหัส (transcription)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงการเกิดการถอดรหัสจาก DNA แม่แบบ เป็ น mRNA


ที่มา ; http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Organic/transcription.html

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 64
ตารางการเปรียบเทียบกระบวนการ DNA Replication และกระบวนการ Transcription

DNA Replication Transcription


1. ใช้ พอลินวิ คลีโอไทด์ท่เี ป็ นแม่แบบทั้ง 2 สาย 1. ใช้ พอลินวิ คลีโอไทด์ท่เี ป็ นแม่แบบสายเดียว
2. ใช้ เอนไซม์ DNA polymerase 2. ใช้ เอนไซม์ RNA polymerase
3. ใช้ ดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ท่ปี ระกอบด้ วย 3. ใช้ ไรโบนิวคลีโอไทด์ท่ปี ระกอบด้ วย
เบส 4 ชนิด คือ A T C G เบส 4 ชนิด คือ A U C G
4. ได้ DNA สายใหม่ 2 สาย 4. ได้ mRNA สายเดียว

 รหัสพันธุกรรม (genetic code)

➢ เป็ นการเรียงลาดับของนิวคลีโอไทด์ชนิดต่างๆ ของ mRNA ที่เป็ นตัวกาหนดการเรียงลาดับของกรด


อะมิโน เพื่อใช้ ในการสังเคราะห์โปรตีน

➢ โมเลกุลของ RNA จะมีนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด แต่รหัสพันธุกรรมจะประกอบไปด้ วย 3 นิวคลีโอไทด์


ดังนั้นจะได้ รหัสพันธุกรรม 64 รหัส เพื่อใช้ ในการกาหนดกรดอะมิโนจานวน 20 ชนิด

➢ สาหรับกรดอะมิโนที่ได้ จากการถอดรหั สพันธุกรรมจาก DNA เกิดจากการทางานของไรโบโซมใน


ไซโทพลาสซึมร่วมกับ tRNA ที่ทาหน้ าที่นากรดอะมิโนมาเรียงต่อกันตามรหัสพันธุกรรมของ mRNA ได้
เป็ นสายพอลิเพปไทด์เรียกกระบวนการนี้ว่า การแปลรหัส (translation)

ภาพแสดงองค์ประกอบของการแปลรหัส (translation)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 65
 การแปลรหัส (Translation) มีข้นั ตอนดังนี้
ไรโบโซมมาจับกับ mRNA

ไรโบโซมจะเริ่มแปลรหัสเมื่ออ่าน mRNA เจอรหัสเริ่มต้ น (Start codon) คือ AUG

tRNA นากรดอะมิโนตัวแรกมาจับกับรหัสเริ่ม AUG ของ mRNA นั่นคือ กรดอะมิโนเมไทโอนีน
(วิธีการจับนั้น tRNA จะใช้ anticodon จับกับ codon ของ mRNA)

tRNA โมเลกุลที่ 2 ที่มี anticodon เป็ นคู่สมกับ codon ถัดไปของ mRNA
นากรดอะมิโนตัวที่ 2 เข้ ามาเรียงต่อกับกรดอะมิโนตัวแรก แล้ วสร้ างพันธะเพปไทด์เชื่อมระหว่างกรดอะมิโนทั้งสอง

ไรโบโซมจะเคลื่อนที่ไปยัง codon ถัดไปในทิศทางจากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’
ซึ่ง tRNA โมเลกุลแรกจะหลุดออกไปจากไรโบโซมและสาย mRNA

tRNA โมเลกุลที่ 3 ที่มี anticodon เป็ นคู่สมกับ codon ลาดับถัดไป
นากรดอะมิโนตัวที่ 3 เข้ าจับกับ mRNA ตรง codon ที่ว่าง
แล้ วสร้ างพันธะเพปไทด์ระหว่างกรดอะมิโนตัวที่ 2 กับกรดอะมิโนตัวที่ 3

ไรโบโซมจะเคลื่อนที่ต่อไปทีละ codon ตามลาดับ
กระบวนการต่างๆ จะดาเนินต่อไป จนได้ สายที่มีกรดอะมิโนต่อกันเป็ นสายยาวเรียกว่า พอลิเพปไทด์

เมื่อไรโบโซมเคลื่อนที่ต่อไปบน mRNA จนพบกับรหัสหยุดรหัสใดรหัสหนึ่ง
ได้ แก่ UAA UAG UGA จะไม่มี tRNA เข้ ามาจับกับรหัสหยุด

ทาให้ หยุดการแปลรหัสพอลิเพปไทด์

ไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กและหน่วยย่อยขนาดใหญ่จะแยกออกจากกัน
และ mRNA จะหลุดออกจากไรโบโซม

➢ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการทางานของไรโบโซมหลายโมเลกุลที่อยู่บน mRNA
สายเดียวกัน ไรโบโซมแต่ละโมเลกุลจะสังเคราะห์พอลิเพปไทด์ท่สี มบูรณ์และเกิดขึ้นได้ พร้ อมๆ กัน จะเรียก mRNA ที่มี
ไรโบโซมหลายๆ โมเลกุล ที่กาลังแปลรหัสอยู่น้ วี ่า พอลิโซม (polysome) หรือ พอลิไรโบโซม (polyribosome)

ภาพแสดงการแปลรหัสของไรโบโซมหลายตาแหน่ง (Polyribosome)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 66
ภาพแสดง Genetic code เพื่อใช้ ในการแปลรหัส (translation)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงการเกิดการแปลรหัส (translation)
ที่มา ; http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Organic/translation.html

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 67
ภาพแสดงการแปลรหัสจาก mRNA เป็ น tRNA และได้ กรดอะมิโน
ที่มา ; http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/Organic/translation.html

ภาพแสดงความสัมพันธ์ของกระบวนการถอดรหัสและแปลรหัส
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 68
➢ บทบาทและหน้าที่ของโปรตีนมีหลายอย่าง เช่น

เป็ นองค์ประกอบของโครงสร้ าง เช่น คอลลาเจนและเคอราทินในสัตว์ โปรตีนที่ผนังเซลล์ของพืช

เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น แอกทินและไมโอซินในกล้ ามเนื้อของคน ทิวบูลินในซิเลียหรือแฟลเจลลัม


ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

ทาหน้ าที่เกี่ยวข้ องกับระบบภูมิค้ ุมกัน เช่น อิมมู โนโกลบูลิน (Immunoglobulin) ในสัตว์ หรือ ซิ สเทมิน
(systemin) และ โปรติเนส อินฮิบิเตอร์ (proteinase inhibitor) ในพืช เป็ นต้ น

ทาหน้ าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ชนิดต่างๆ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ เป็ นต้ น

➢ สรุปได้ ว่า การใช้ รหัสพันธุกรรมในการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนเกิดขึ้นได้ ดงั นี้


การถอดรหัส การแปลรหัส
DNA mRNA พอลิเพปไทด์

DNA สายแม่แบบ 3’ TAC CTT AAG GGA TTA CCG TCT ATG ATC 5’
โคดอนของ mRNA AUG GAA UUC CCU AAU GGC AGA UAC UAG
แอนติโคดอนของ tRNA UAC CUU AAG GGA UUA CCG UCU AUG -
กรดอะมิโน Met Glu Phe Pro Asn Gly Arg Tyr -
พอลิเพปไทด์ Met – Glu – Phe – Pro – Asn – Gly – Arg – Tyr

ภาพสรุปการสังเคราะห์โปรตีน
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 69
4.7 มิวเทชัน

การกลายหรือมิวเทชัน (mutation)

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลาดับและจานวนของเบสใน DNA และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับโครโมโซม


ซึ่งอาจมีผลทาให้ ลักษณะ หรือฟี โนไทป์ ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไป และสามารถถ่ ายทอดลักษณะไปยังรุ่น
ต่อๆ ไปได้

➢ DNA จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ หลายลักษณะ เช่น


- เบสเปลี่ยนจากชนิดเดิมเป็ นเบสชนิดอื่น
- นิวคลีโอไทด์ขาดหาย
- นิวคลีโอไทด์มีจานวนเพิ่มขึ้น หรือลาดับของนิวคลีโอไทด์เปลี่ยนไป

การเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้ นเหล่านี้ เป็ น มิวเทชันเฉพาะจุด (point mutation)


ทาให้รหัสพันธุกรรมเปลีย่ นไป

➢ การเกิดมิวเทชันเฉพาะจุดในบริเวณ DNA ทีเ่ ป็ นตาแหน่งของยีนแบ่งเป็ น 2 ประเภท คือ

1) การแทนที่คู่เบส (base-pair substitution)

2) การเพิม่ ขึ้ นหรือการขาดหายของนิวคลีโอไทด์ (insertion or deletion of nucleotide)

1) การแทนที่คู่เบส (base-pair substitution)

เป็ นการแทนที่ค่เู บสในบางตาแหน่งของยีน อาจมีผลต่อการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมหรือไม่กไ็ ด้

เมือ่ เกิดการแทนที่ของคู่เบสแล้วมีผลทาให้รหัสพันธุกรรมเปลีย่ นไปเป็ นรหัสพันธุกรรมของกรดอะมิโน


ต่างชนิดกัน ก็จะทาให้ได้สายพอลิเพปไทด์ที่มีลาดับของกรดอะมิโนแตกต่างไป

หากบริเวณดังกล่าวมีความสาคัญต่อการเกิดรูปร่างของโปรตีน หรือมีความจาเพาะต่อการทางานของโปรตีน
ชนิดนั้น จะมีผลต่อฟี โนไทป์ ของสิ่งมีชีวิตนั้น

ตัวอย่างเช่น การแทนที่คู่เบสจาก T เป็ น A จะส่งผลทาให้ การสังเคราะห์กรดอะมิโนเปลี่ยนไปจากกลูตามิก


เป็ นวาลีน ทาให้ เกิดโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์
คนปกติ คนเป็ นโรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์
DNA 3’---- CTC ---- 5’ DNA 3’---- CAC ---- 5’
mRNA 5’---- GAG ---- 3’ mRNA 5’---- GUG ---- 3’

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 70
ภาพแสดงการเกิดมิวเทชันโดยการแทนที่ค่เู บสที่ทาให้ เกิด sickled cell
ที่มา ; Reece et al. (2011)

2) การเพิม่ ขึ้ นหรือการขาดหายของนิวคลีโอไทด์ (insertion or deletion of nucleotide)

การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของนิวคลีโอไทด์ มีผลทาให้ ลาดับกรดอะมิโนตั้งแต่ตาแหน่งที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง


ของโคดอนเปลี่ยนไปทั้งหมด

เรียกการเกิดมิวเทชันเช่นนี้ว่า เฟรมชิฟท์มิวเทชัน (frameshift mutation)

ภาพแสดงการเกิด frameshift mutation


ที่มา ; https://www.quora.com/What-is-frameshift-mutation-and-what-are-the-effects-of-it

ตารางเปรียบเทียบ base-pair substitution และ frameshift mutation


base-pair substitution frameshift mutation
1. มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่ค่เู บสในสายพอลินิวคลีโอไทด์ 1. มีการเพิ่มหรือขาดหายของนิวคลีโอไทด์ในสายพอลินิวคลีโอไทด์
ของ DNA เช่น A–T ถูกแทนที่ด้วย G–T ของ DNA
2. ทาให้ เปลี่ยนแปลงเฉพาะบริเวณรหัสพันธุกรรม แต่ไม่ทาให้ 2. ทาให้ รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลาดับและชนิด
รหัสพันธุกรรมอื่นเปลี่ยนแปลง ของกรดอะมิโนหลังจากนี้ไปจะเปลี่ยนด้ วย
3. อาจมีผลหรือไม่มีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตก็ได้ 3. โปรตีนที่ได้ จากกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนจะเปลี่ยนไป
 ถ้ าเกิดการแทนที่ค่เู บสในรหัสพันธุกรรมแล้ วแปลรหัสได้
กรดอะมิโนชนิดเดิม จะไม่มีผลต่อลักษณะพันธุกรรม
 แต่ถ้าทาให้ ชนิดของกรดอะมิโนเปลี่ยนไป โปรตีนที่ได้
จะเปลี่ยนไปด้ วย มีผลต่อการแสดงลักษณะของสิ่งมีชีวิต

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 71
Mutation

➢ สิ่งที่สามารถกระตุ้นหรือชักนาให้ เกิดมิวเทชัน เรียกว่า มิวทาเจน (mutagen) เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา


รังสีอลั ตราไวโอเลต และสารเคมี เช่น ควันบุหรี่ สารที่สร้ างจากรา ฯลฯ ซึ่งก่อให้ เกิดโรคมะเร็งได้ โดยทาให้
เกิดการแบ่งเซลล์ผิดปกติ ดังนั้นมิวทาเจนหลายชนิดจึงเป็ น สารก่อมะเร็ง (carcinogen)

➢ ปั จจุ บันการชักนาให้ เกิดมิวเทชันเฉพาะจุ ดถูกนามาใช้ ประโยชน์ในการศึกษาการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต


หลายชนิด เช่น ยีสต์ แมลงหวี่ หนอนตัวกลม และอะราบิดอพซิส (Arabidopsis thaliana L.) เพราะการทา
ให้ เกิดมิวเทชันเฉพาะจุ ดอาจมีผลต่อการทางานของโปรตีน ทาให้ สามารถวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้ าที่ของ
โปรตีนชนิดนั้นๆ ได้

➢ มิวทาเจนที่เป็ นรังสีและสารเคมี รวมทั้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะที่มีการแบ่ งเซลล์แบบไมโอซิส


สามารถทาให้ เกิดมิวเทชันในระดับโครโมโซมได้ มิวเทชันที่เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมอาจทาให้
เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมได้

➢ การเปลี่ยนแปลงจานวนโครโมโซมจะเกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โดยฮอมอโลกัส


โครโมโซมจะไม่ แยกออกจากกันในระยะแอนาเฟส I หรือโครมาทิดไม่ แยกในระยะแอนาเฟส II ทาให้
โครโมโซมเคลื่อนย้ ายไปยังขั้วเดียวกันของเซลล์ เรียกกระบวนการนี้ว่า นอนดิสจังชัน (nondisjunction)
เซลล์สบื พันธุท์ ่ไี ด้ มีจานวนโครโมโซมขาดหรือเกินมาจากจานวนปกติ

➢ การเปลี่ยนแปลงจานวนโครโมโซมเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ โครโมโซมมีจานวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง สามารถ


พบได้ ในทั้งออโตโซมและโครโมโซมเพศ

➢ การเปลี่ยนแปลงจานวนโครโมโซมเป็ นชุดจากจานวนดิพลอยด์

สิ่งมีชีวิตที่มีจานวนโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด เรียกว่า พอลิพลอยด์ (polyploid)

ส่วนใหญ่ เกิดจากการแบ่ งเซลล์แบบไมโอซิสผิดปกติจากปรากฏการณ์นอนดิสจังชัน ทาให้ เซลล์


สืบพันธุ์มีโครโมโซมจานวน 2 ชุด หรือดิพลอยด์ เช่ น ข้ าวโพดพันธุ์ 4n มีวิตามินสูงกว่าพันธุ์ 2n
ยาสูบพันธุ์ 4n มีสารนิโคตินสูงกว่าพันธุ์ 2n เป็ นต้ น

- พืชที่เป็ นพอลิพลอยด์เลขคู่ ได้ แก่ 4n 6n 8n สามารถสืบพันธุแ์ ละถ่ายทอดพันธุกรรมต่อไปได้


- พืชที่เป็ นพอลิพลอยด์เลขคี่ ได้ แก่ 3n 5n 7n มักเป็ นหมัน จึงนามาพัฒนาสายพันธุเ์ พื่อให้ ได้
พืชไร้ เมล็ด เช่น แตงโม องุ่น เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 72
ตัวอย่างความผิดปกติท่เี กิดจากการเปลี่ยนแปลงจานวนโครโมโซม

กลุ่มอาการ ลักษณะที่เห็นได้ชดั สาเหตุของความผิดปกติ


ศีรษะเล็กกลม ท้ายทอยแบน ตัวนิ่ม
ดาวน์ซินโดรม - โครโมโซมคู่ท่ี 21 เกินมา 1 โครโมโซม
จมูกแบน ตาชี้ข้ นึ ลิ้นจุกปาก
(DOWN’S SYNDROME) - มีโครโมโซม 47 แท่ง
นิ้วมือสั้นป้ อม ปัญญาอ่อน
ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม เป็ นเพศชาย หน้ าอกโต - มีโครโมโซมเป็ น XXY หรือ XXXY
(KLINEFELTER’S SYNDROME) เป็ นหมัน ปัญญาอ่อน - มีโคโมโซม 47, 48 แท่ง
เป็ นเพศหญิง ตัวเตี้ย
เทอร์เนอร์ซินโดรม - มีโครโมโซมเพศ X เพียงแท่งเดียว
ที่บริเวณคอเป็ นพังผืด
(TURNER’S SYNDROME) - มีโครโมโซม 45 แท่ง
ไม่มีประจาเดือน ปัญญาอ่อน
คริดูชาต์ซินโดรม ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน - แขนของโครโมโซมคู่ท่ี 5 แหว่ง
(CRI-DU-CHAT SYNDROME) ร้ องเสียงแหลมเล็กคล้ ายเสียงแมว - จานวนโครโมโซมยังคงเท่ากับคนปกติ
ปากแหว่งเพดานโหว่ หูหนวก
พาทัวซินโดรม - โครโมโซมคู่ท่ี 13 เกินมา 1 แท่ง
ใบหูต่า นิ้วมักเกิน
(PATAU SYNDROME) - มีโครโมโซม 47 แท่ง
สมองพิการ ปัญญาอ่อน
เอ็ดเวิรด์ ซินโดรม ท้ายทอยโหนก - โครโมโซมคู่ท่ี 18 เกินมา 1 แท่ง
(EDWARDS SYNDROME) ใบหูผิดรูปและอยู่ต่า - มีโครโมโซม 47 แท่ง
เอ็กซ์วายวายซินโดรม เป็ นเพศชาย รูปร่างสูงกว่าปกติ - มีโครโมโซม Y เกินมา 1 แท่ง
(XYY SYNDROME) ไม่เป็ นหมัน ก้ าวร้ าว โมโหง่าย - มีโครโมโซม 47 แท่ง
เป็ นเพศหญิง กล้ ามเนื้ออ่อนแรง
ทริปเปิ้ ลเอ็กซ์ - โครโมโซม X มากเกินมา 1 แท่ง
กว่าปกติ ปัญญาอ่อน
(XXX SYNDROME) - มีโครโมโซม 47 แท่ง
รังไข่ฝ่อ ประจาเดือนมาไม่สม่าเสมอ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 73
บทที่ 5 : การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
5.1 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล

พันธุศาสตร์ (Genetics)

เป็ นวิชาที่กล่ าวถึงลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม


ที่เรียกว่า “Gene” โดยจะถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง

เมนเดล เกิดในปี พ.ศ. 2365 เป็ นชาวออสเตรีย ทดลองผสมพันธุ์ถ่ัวลันเตา สามารถค้ นพบเกณฑ์


ที่สาคัญอย่างยิ่งทางพันธุศาสตร์และสามารถอธิบายพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ของสิ่งมีชีวิต จึงได้ รับการยกย่องให้ เป็ น บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์

เมนเดลเลื อกถั่ ว ลั น เตา (Pisum sativum L.) เป็ นพื ช ทดลอง เพราะมี ลั กษณะที่เ หมาะสมหลาย
ประการ เช่น
- อายุส้นั ปลูกง่าย ให้ ลูกหลานจานวนมาก เจริญเติบโตเร็ว
- มีหลายพันธุ์ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
- เป็ นดอกสมบูรณ์เพศ และมีกลีบดอกปิ ดป้ องกันไม่ให้ เรณูจากดอกอื่นเข้ าผสมกับเซลล์ไข่
ดั ง นั้ น ในธรรมชาติ จึ ง มี การผสมภายในดอกเดี ย วกัน (self-pollination) จะได้ ลู กที่เ ป็ นลั กษณะ
พันธุ์แท้ (pure line) เหมาะสมต่อการควบคุมการทดลองทาให้ เกิดการผสมข้ าม (cross-pollination)
ได้ ง่าย

เมนเดลคัดเลือกลักษณะของถั่วลันเตา 7 ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ความสูงของลาต้ น


รูปร่างของฝัก รูปร่างของเมล็ด สีของเมล็ด ตาแหน่งของดอก สีของดอก และสีของฝัก

ตารางแสดงผลการผสมพันธุถ์ ่วั ลันเตาพันธุแ์ ท้ท่รี ่นุ พ่อแม่มีลักษณะต่างกัน

อัตราส่วนของลักษณะ
ลักษณะ รุ่นพ่อแม่ (P) ลักษณะของรุ่น F1 ลักษณะและจานวนของรุ่น F2
ในแต่ละคู่ในรุ่น F2
ความสูงของลาต้ น สูง เตี้ย สูงทั้งหมด สูง 787 เตี้ย 277 2.84 : 1
รูปร่างของฝัก อวบ แฟบ อวบทั้งหมด อวบ 882 แฟบ 299 2.95 : 1
รูปร่างของเมล็ด กลม ขรุขระ กลมทั้งหมด กลม 5,474 ขรุขระ 1,850 2.96 : 1
สีของเมล็ด เหลือง เขียว เหลืองทั้งหมด เหลือง 6,022 เขียว 2,001 3.01 : 1
ตาแหน่งของดอก ดอกทีก่ ่งิ ดอกที่ยอด ดอกทีก่ ่งิ ทั้งหมด ดอกทีก่ ่งิ 651 ดอกที่ยอด 207 3.14 : 1
สีของดอก ม่วง ขาว ม่วงทั้งหมด ม่วง 705 ขาว 224 3.15 : 1
สีของฝัก เขียว เหลือง เขียวทั้งหมด เขียว 428 เหลือง 152 2.82 : 1

จากตารางจะเห็นได้ ว่าการผสมพันธุใ์ นรุ่นพ่อแม่ท่มี ีลักษณะแตกต่างกันจะมีเพียงลักษณะเดียวที่ปรากฏในรุ่น F1


ลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละคู่ท่ผี สมกันในรุ่นพ่อแม่จะปรากฏให้ เห็นในรุ่น F2 ในอัตราส่วนประมาณ 3 : 1

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 74
จากผลการทดลอง เมนเดลได้ สรุปว่า ลักษณะของถั่วลันเตาจะต้ องมีหน่วยควบคุม เมนเดลเรียกหน่วย
ควบคุมลักษณะเหล่านี้ว่า แฟกเตอร์ (factor) ซึ่งอยู่เป็ นคู่และจะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ต่อมานักวิทยาศาสตร์
ได้ เปลี่ยนคาว่า แฟกเตอร์ มาใช้ คาว่า ยีน (gene) แทน นิยมใช้ อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ แทนยีนเด่นและ
ตัวพิมพ์เล็กแทนยีนด้ อย

จีโนไทป์ (Genotype)

 ยีนที่อยู่ด้วยกันเป็ นคู่จะนิยมเขียนสัญลักษณ์แทนด้ วยตัวอักษร เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) และ


ลักษณะที่ปรากฏออกมาให้ เห็น ซึ่งเป็ นการแสดงออกของยีน เรียกว่า ฟี โนไทป์ (phenotype)

 ฮอมอไซกัสจีโนไทป์ (homozygous genotype) หรือพันธุแ์ ท้ แบ่งออกเป็ น 2 แบบ คือ


- จีโนไทป์ ที่มีอลั ลีลเด่นทั้งหมดเรียกว่า ฮอมอไซกัส โดมิแนนท์ (homozygous dominant)
เช่น GG
- จีโนไทป์ ที่มีอลั ลีลด้ อยทั้งหมดเรียกว่า ฮอมอไซกัส รีเซสสีพ (homozygous recessive)
เช่น gg

 เฮเทอโรไซกัสจีโนไทป์ (heterozygous genotype) เป็ นจีโนไทป์ ที่มียีน 2 อัลลีลต่างกันมา


เข้ าคู่กนั เช่น Gg

 คาศัพท์ท่คี วรทราบในการศึกษาพันธุศาสตร์

1. ยีน (Gene) หมายถึง หน่วยข้ อมูลทางพันธุกรรมที่เก็บไว้ บนดีเอ็นเอ


2. อัลลีล (Allele) หมายถึง ยีนที่อยู่กนั เป็ นคู่กนั เฉพาะลักษณะหนึ่งๆ เป็ นยีนที่อยู่บนตาแหน่งเดียวกันของ
โครโมโซมที่เป็ นคู่กนั
3. จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง การแสดงออกของยีนที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต
4. โฮโมไซกัส หมายถึง จีโนไทป์ ที่มีอลั ลีลเหมือนกันสองอัลลีล เช่น ใน AA, BB
5. เฮเทอโรไซกัส (Heterozygous) หมายถึง จีโนไทป์ ที่มีอลั ลีลต่างกัน เช่น Aa, Bb
6. ฟี โนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะที่ส่งิ มีชีวิตแสดงออกมาให้ เห็น โดยควบคุมด้ วยสารพันธุกรรม
7. ลักษณะเด่น (Dominant Trait) หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกมาเมื่อมีอลั ลีลเด่นอย่างน้ อยเพียงหนึ่งอัลลีล
8. ลักษณะด้ อย (Recessive Trait) หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกมาเมื่อมีอลั ลีลด้ อย 2 อัลลีลอยู่ด้วยกัน
9. เซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) หมายถึง เซลล์ปกติในร่างกายมีการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์แบบ Mitosis
10. เซลล์สบื พันธุ์ (Sex Cell) หมายถึง เซลล์ท่ใี ช้ ในการสืบพันธุ์
11. โครโมโซมร่างกาย (Autosome) หมายถึง โครโมโซมที่บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
12. โครโมโซมเพศ (Sex Chromosome) หมายถึง โครโมโซมที่แสดงเพศชายหรือเพศหญิง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 75
ภาพแสดง allele ที่อยู่บน homologous chromosome
ที่มา ; Reece et al. (2011)

5.2 กฎของความน่าจะเป็ น

 เมนเดลนากฎของความน่าจะเป็ น (probability) มาใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่ออธิบาย


อัตราส่วนของลักษณะเด่นและลักษณะด้ อยในรุ่น F2 ที่เกิดขึ้น กฎของความน่าจะเป็ น มี 2 ข้ อ คือ…

1. กฎการคูณ ใช้ กบั เหตุการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ พร้ อมกัน เหตุการณ์ใดๆ ที่ต่างเป็ นอิสระต่อกัน โอกาส
ที่เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ พร้ อมกันมีค่าเท่ากับผลคูณของโอกาสที่จะเกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์ เช่น
เมล็ดกลมมีโอกาสปรากฏ 3/4 เมล็ดขรุขระมีโอกาสปรากฏ 1/4
เมล็ดสีเหลืองมีโอกาสปรากฏ 3/4 เมล็ดสีเขียวมีโอกาสปรากฏ 1/4
ดั้งนั้นโอกาสที่จะเกิด มีดังนี้
เมล็ดกลม-สีเหลือง = 3/4 x 3/4 = 9/16
เมล็ดกลม-สีเขียว = 3/4 x 1/4 = 3/16
เมล็ดขรุขระ-สีเหลือง = 1/4 x 3/4 = 3/16
เมล็ดขรุขระ-สีเขียว = 1/4 x 1/4 = 1/16

2. กฎการบวก ใช้ กบั เหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พร้ อมกัน ความน่าจะเป็ นของการเกิดเหตุการณ์ใด


เหตุการณ์หนึ่งหรือเหตุการณ์ท่ีสองจะเท่ากับความน่าจะเป็ นของการเกิดเหตุการณ์ท่ีหนึ่งบวกด้ วยความน่าจะเป็ นของ
การเกิดเหตุการณ์ท่ีสอง เช่ น ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ โอกาสที่ จะออกหัวเท่ากับ 1/2 โอกาสที่จะออกก้ อยเท่ากับ
1/2 ดังนั้น โอกาสที่โยนเหรียญครั้งหนึ่งแล้ วออกหัวหรือก้ อยมีค่าเท่ากับ 1/2 + 1/2 = 1

5.3 กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ

กฎของเมนเดล

กฎแห่งการแยก (law of segregation)

กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (law of independent assortment)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 76
5.3.1 กฎแห่งการแยก (law of segregation)

เป็ นกฎข้ อที่ 1 มีใจความว่า ยีนที่อยู่เป็ นคู่จะแยกออกจากกันในระหว่างการสร้ างเซลล์สืบพันธุโ์ ดยเซลล์สืบพันธุ์


แต่ละเซลล์จะได้ รับเพียงอัลลีลใดอัลลีลหนึ่ง ยีนที่เป็ นคู่กันจะแยกจากกันเมื่อมีการแบ่งนิวเคลียสของเซลล์แบบไมโอซิส
และเมื่อมีการปฏิสนธิจะเกิดการรวมกันของเซลล์สบื พันธุ์ ยีนจะกลับมาปรากฏเป็ นคู่กนั อีกครั้ง โดยสามารถศึกษาจากการ
พิจารณาทีละหนึ่งลักษณะ (Monohybrid cross)

ตัวอย่าง ถั่วลันเตาฝักสีเขียวเป็ นลักษณะเด่น (B) ฝักสีเหลืองเป็ นลักษณะด้ อย (b) ในการผสมระหว่างถั่วลันเตาฝัก


สีเขียวฮอมอไซกัส และถั่วลันเตาสีเหลืองฮอมอไซกัส จงหาอัตราส่วนของฟี โนไทป์ ต่างๆ ในรุ่น F1 และ F2
 รุ่นพ่อแม่ : ถั่วลันเตาสีเขียวฮอมอไซกัส เขียนจีโนไทป์ ได้ BB
: ถั่วลันเตาสีเหลืองฮอมอไซกัส เขียนจีโนไทป์ ได้ bb

รุ่น P ถั่วลันเตาสีเขียวฮอมอไซกัส X ถั่วลันเตาสีเหลืองฮอมอไซกัส


จีโนไทป์ BB bb
B B b b
เซลล์สบื พันธุ์

รุ่น F1 Bb : Bb : Bb : Bb
(ถั่วลันเตาฝักสีเขียว)

F1 X F1 Bb X Bb

เซลล์สบื พันธุ์
B b B b

รุ่น F2 BB : Bb : Bb : bb

อัตราส่วนจีโนไทป์ ในรุ่น F2 ; 1 BB : 2 Bb : 1 bb

อัตราส่วนฟี โนไทป์ ในรุ่น F2 ; ฝักเขียว : ฝักเหลือง


3 : 1

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 77
5.3.2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (law of independent assortment)

สรุปใจความว่า ยีนที่เป็ นคู่กนั เมื่อแยกออกจากกันแล้ ว จะจัดกลุ่มอย่างอิสระกับยีนอื่นซึ่งแยกออกจากคู่เช่นกัน


เพื่อเข้ าไปยังเซลล์สืบพันธุ์ จึงทาให้ สามารถทานายอัตราส่วนของเซลล์สืบพันธุ์ท่ีมีกลุ่มของยีนต่างๆ ได้ เช่ น จีโนไทป์
RrYy จะสร้ างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 ชนิด คือ RY Ry rY และ ry ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 : 1 โดยสามารถศึกษาจากการ
พิจารณาทีละสองลักษณะ (Dihybrid cross)

ตัวอย่าง กระต่ายขนสีดาเป็ นลักษณะเด่น (B) ขนสีนา้ ตาลเป็ นลักษณะด้ อย (b) และขนสั้นเป็ นลักษณะเด่น (S)
ขนยาวเป็ นลักษณะด้ อย (s) ในการผสมระหว่างกระต่ายฮอมอไซกัสขนยาวสีดา และฮอมอไซกัสกัสขนสั้น
สีนา้ ตาล จงหาอัตราส่วนของฟี โนไทป์ ต่างๆ ในรุ่น F1 และอัตราส่วนของฟี โนไทป์ ต่างๆ ในรุ่น F2
 รุ่นพ่อแม่เป็ นกระต่ายฮอโมไซกัสขนสีดาและขนยาว ดังนั้นจึงเขียนจีโนไทป์ ได้ เป็ น BBss และ กระต่าย
ฮอมอไซกัสขนสีนา้ ตาลและขนสั้น เขียนจีโนไทป์ ได้ เป็ น bbSS
เมื่อผสมกัน จะได้ ร่นุ F1 และ F2 ดังนี้

รุ่น P ขนสีดาและขนยาว ขนสีนา้ ตาลและขนสั้น


จีโนไทป์ BBss x bbSS
เซลล์สบื พันธุ์
Bs bS
รุ่น F1 BbSs (ขนสีดาและขนสั้น)

F1 x F1 BbSs x BbSs

เซลล์สบื พันธุ์
B Bs bS bs B Bs bS bs
S S
เพศผู้
BS Bs bS bs
เพศเมีย
BS BBSS BBSs BbSS BbSs
Bs BBSs BBss BbSs Bbss
bS BbSS BbSs bbSS bbSs
bs BbSs Bbss bbSs bbss
อัตราส่วนฟี โนไทป์ ในรุ่น F2 ; ขนสีดาและขนสั้น (B_S_) = 9/16
ขนสีดาและขนยาว (B_ss) = 3/16
ขนสีนา้ ตาลและขนสั้น (bbS_) = 3/16
ขนสีนา้ ตาลและขนยาว (bbss) = 1/16
 ขนสีดาและขนสั้น : ขนสีดาและขนยาว : ขนสีนา้ ตาลและขนสั้น : ขนสีนา้ ตาลและขนยาว = 9 : 3 : 3 : 1

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 78
NOTE ; สูตรการหาเซลล์สบื พันธุ์
จานวนเซลล์สบื พันธุ์ = 2n (เมื่อ n คือ จานวน heterozygous gene)
เช่น จากจีโนไทป์ AaBbCCDd สามารถสร้ างเซลล์สบื พันธุไ์ ด้ ก่แี บบ
= 2n = 23 = 8 แบบ

5.4 การผสมเพื่อทดสอบ (Test cross)

เป็ นการนาสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเด่นไปผสมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะด้ อย ถ้ ารุ่นลูก


Test cross มีลักษณะเด่นทั้งหมดแสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเป็ นฮอมอไซกัส แต่ถ้ารุ่นลูกมีลักษณะเด่น :
ลักษณะด้ อย เท่ากับ 1 : 1 แสดงว่าสิ่งมีชีวิตนั้นเป็ นเฮเทอโรไซกัส

กรณีท่ี 1 ; A__ X aa กรณีท่ี 2 ; A__ X aa

Aa Aa : aa
(ลูกที่ได้ ลักษณะเด่นทั้งหมด) (ลูกที่ได้ ลักษณะเด่น : ด้ อย = 1 : 1)
แสดงว่า รุ่นพ่อแม่ท่ตี ้ องการทราบ คือ AA แสดงว่า รุ่นพ่อแม่ท่ตี ้ องการทราบ คือ Aa

5.5 ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็ นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล

5.5.1 ความเด่นไม่สมบูรณ์
: คือ อัลลีลหนึ่งไม่สามารถข่มอีกอัลลีลหนึ่งได้ อย่างสมบูรณ์ ทาให้ ฟีโนไทป์ ที่ได้ อยู่ระหว่างฟี โนไทป์ ของรุ่นพ่อแม่
ที่เป็ นฮอมอไซกัส ลักษณะดังกล่าวนี้เป็ นความเด่นไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance)

 ลักษณะของสีดอกลิ้นมังกร
กาหนดให้ ยีน R ควบคุมลักษณะดอกสีแดง และ
ยีน R’ ควบคุมลักษณะดอกสีขาว
ดังนั้น จีโนไทป์ RR แสดง ลักษณะดอกสีแดง
จีโนไทป์ R’R’ แสดง ลักษณะดอกสีขาว
จี โนไทป์ RR’ แสดง ลักษณะดอกสีชมพู

ตัวอย่าง ดอกลิ้นมังกรสีแดง X ดอกลิ้นมังกรสีขาว


(RR) (R’R’)

ดอกลิ้นมังกรสีชมพู
(RR’)
ภาพแสดงตัวอย่างความเด่นไม่สมบูรณ์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 79
 ลักษณะเส้ นผมในคน
กาหนดให้ ยีน H ควบคุมลักษณะผมหยิก และยีน H’ ควบคุมลักษณะผมเหยียดตรง
ดังนั้น จีโนไทป์ HH แสดง ลักษณะผมหยิก
จีโนไทป์ H’H’ แสดง ลักษณะผมเหยียดตรง
จี โนไทป์ HH’ แสดง ลักษณะผมหยักศก

5.5.2 ความข่มร่วม
: คือยีนควบคุมในสภาพฮอมอไซกัสโดมิแนนท์ท้ังคู่ อัลลีลทั้งสองอัลลีล จะสามารถแสดงลักษณะเด่นได้ เท่าๆ กัน
จึงแสดงออกร่วมกันเรียกว่า ความข่มร่วม (codominance) เช่น หมู่เลือด AB ในระบบหมู่เลือด ABO และหมู่เลือด
ในระบบ MN เป็ นต้ น

ตัวอย่าง หมู่เลือด X หมู่เลือด B


(IAIA) (IBIB)
หมู่เลือด AB
(IAIB)

5.5.3 มัลติเปิ ลอัลลีล


: คือลักษณะที่ถูกควบคุมด้ วยยีนที่มีมากกว่า 2 อัลลีลขึ้นไป เช่น หมู่เลือดระบบ ABO เป็ นลักษณะที่ควบคุมด้ วยยีน
3 อัลลีล คือ IA IB และ i ดังนั้น ยีนที่มีมากกว่า 2 อัลลีลใน 1 โลคัส (ตาแหน่ง) เรียกว่า มัลติเปิ ลอัลลีล (multiple
alleles)

ภาพแสดงจีโนไทป์ และฟี โนไทป์ ของหมู่เลือดระบบ ABO


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 80
5.5.4 พอลียีน (Polygene)
: เป็ นลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมด้ วยยีนมากกว่า 2 คู่ ในหลายตาแหน่ง ยีนเด่นแต่ละคู่แสดงผลต่อลักษณะ
เท่าๆ กัน เช่น เมล็ดข้ าวสาลี สีผิว ความสูง เป็ นต้ น

ภาพแสดง polygene ของลักษณะสีผิว


ที่มา ; Reece et al. (2011)

ตารางเปรียบเทียบลักษณะของ Multiple allele และ Polygene


Multiple allele Polygene
1. ควบคุมด้ วยยีน 1 คู่ ในหนึ่งคน 1. ควบคุมด้ วยยีนหลายคู่ ในหนึ่งคน
2. ควบคุมด้ วยยีนหลายอัลลีลในตาแหน่งเดียวกันบน 2. ควบคุมด้ วยยีนในหลายตาแหน่งของฮอมอโลกัส
ฮอมอโลกัสโครโมโซม โครโมโซมต่างคู่กนั
3. ลักษณะที่แสดงออกเป็ นความแปรผันแบบ 3. ลักษณะที่แสดงออกเป็ นความแปรผันแบบต่อเนื่อง
ไม่ต่อเนื่อง
4. สิ่งแวดล้ อมมีผลต่อการแสดงลักษณะน้ อย 4. สิ่งแวดล้ อมมีผลต่อการแสดงลักษณะ

NOTE ; ความแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation)


1) ความแปรผันแบบต่ อเนื่อง (continuous variation trait) เป็ นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้ วยยีน
หลายคู่ (polygenes) เป็ นลักษณะที่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้ อยและลดหลั่นกันไป ฟี โนไทป์ จึงมีการกระจายอย่าง
ต่อเนื่องหรือกระจายแบบโค้ งปกติ เช่ น ลักษณะสีของเมล็ดข้ าวสาลี ลักษณะความสูง สีผิวของคน การให้ น้านมของวัว
ขนาดของผลไม้ เป็ นต้ น
2) ความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation trait) เช่น ลักษณะฟี โนไทป์ ของหนังตาชั้นเดียวและ
หนังตาสองชั้น หูมีต่ิงและหูไม่มีต่ิง มีลั กยิ้มและไม่มีลักยิ้ม เป็ นลักษณะที่ถูกควบคุมด้ วยยีน 1 ตาแหน่ง จึงทาให้ ท้งั สอง
ลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 81
5.5.5 ยีนบนโครโมโซมเพศ
: การถ่ายทอดยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศเรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sex-linked gene) ลักษณะที่ควบคุมด้ วย
ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศในคนมีมากกว่า 100 ลักษณะ ลักษณะเหล่านี้มีท้ังยีนเด่นและยีนด้ อย ซึ่งส่วนมากที่พบ
มักจะเป็ นยีนด้ อยมากกว่า

 ยีนที่มีตาแหน่งอยู่บนโครโมโซม X  สาหรับยีนบนโครโมโซม Y
เรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับ X (X-linked gene) บาง ส่วนใหญ่ เป็ นยีนที่เกี่ยวข้ องกับการควบคุมลักษณะของ
ยี น อาจก่ อ ให้ เกิ ด โรคหรื อ ลั ก ษณะผิ ด ปกติ เช่ น เพศชาย เนื่ อ งจากโครโมโซม Y มี ข นาดเล็ ก จึ ง มี ยี น
ตาบอดสี ฮี โ มฟี เลี ย กล้ ามเนื้ อแขนขาลี บ และ อยู่ ด้ ว ยจ านวนน้ อ ย การถ่ า ยทอดยี น บนโครโมโซม Y
ภาวะพร่ องเอนไซม์ G–6–PD (ส่วนใหญ่ ผิดปกติ จะถ่ า ยทอดจากพ่ อ ไปยั ง ลู ก ชาย จากลู ก ชายไปยั ง
ที่ยีนด้ อย) หลานชาย และถ่ายทอดต่อๆ ไปยังเพศชายทุกคนที่ได้ รับ
โครโมโซม Y ยี น ที่ อ ยู่ บ นโครโมโซม Y เรี ย กว่ า ยี น ที่
เกี่ยวเนื่องกับ Y (Y-linked gene)

Trick จา : Sex Chromosome ต้ องเอา XX กับ XY มาเขียนด้ วย


โดยเอายีนเขียนเหมือนเลขยกกาลัง
เช่น ฮีโมฟี เลียถูกควบคุมด้ วยยีนด้ อยบน X
เพศชาย : X HY XhY

ชายปกติ ชายเป็ นฮีโมฟี เลีย


H H H h
เพศหญิง : XX XX XhXh
หญิงปกติ หญิงปกติ (พาหะ) หญิงเป็ นฮีโมฯ
 อะไรบ้ างที่เป็ นความผิดปกติของยีนด้ อยบน chromosome X

ตาสี แขนลีบ ฮี แพ้ ถ่วั

ภาพแสดงยีนบนโครโมโซมเพศ ตาบอดสี G-6-PD


ที่มา ; https://geneticsupportfoundation.org กล้ ามเนื้อแขนขาลีบดูเชนน ฮีโมฟี เลีย

NOTE ; ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้ วยยีนที่มีตาแหน่งอยู่บนออโตโซมและโครโมโซมเพศ ซึ่งบางลักษณะทาให้ เกิดความผิดปกติ


ตัวอย่างเช่น
1) ความผิดปกติท่ถี ูกควบคุมด้ วยยีนเด่นบนออโตโซม เช่น คนแคระ มาร์แฟน ฯลฯ
2) ความผิดปกติท่ถี ูกควบคุมด้ วยยีนด้ อยบนออโตโซม เช่น ผิวเผือก ธาลัสซีเมีย Sickle cell ฯลฯ
3) ความผิดปกติท่ถี ูกควบคุมด้ วยยีนด้ อยบนโครโมโซมเพศ (X-linked gene) เช่น ตาบอดสี ฮีโมฟี เลีย กล้ ามเนื้อแขนขาลีบ
ภาวะพร่องเอนไซม์ G–6–PD

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 82
5.5.6 ยีนบนโครโมโซมเดียวกัน
: ในปี พ.ศ. 2446 วอลเตอร์ ชัตตัน (Walter Shutton) ได้ เสนอความเห็นไว้ ว่า โครโมโซมเป็ นแหล่งรวมของยีนใน
โครโมโซมหนึ่งน่าจะมียีนอยู่เป็ นจานวนมาก การที่ยีน 2 โลคัสหรือมากกว่า 2 โลคัส มีการถ่ายทอดไปด้วยกัน
พร้อมๆ กัน ยีนเหล่านั้น เรียกว่า ลิงค์เกจ (linkage)

วิธพี ิจารณา ;

กลุ่มของยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกันที่มีแนวโน้ มจะถ่ายทอดไปพร้ อมๆ กัน มากกว่าที่จะถ่ายทอด


อย่างเป็ นอิสระต่อกันจะเป็ น Linkage gene

ถ้ ายีน 2 โลคัสอยู่ไกลกันมาก ก็จะไม่เป็ น Linkage แม้ จะอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน

ภาพแสดงตาแหน่งของยีนเปรียบเทียบระหว่างยีนที่อยู่ไกลกันและยีนที่อยู่ใกล้ กนั
ที่มา ; http://learn.genetics.utah.edu/content/pigeons/geneticlinkage/

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 83
5.5.7 ลักษณะที่อยู่ภายใต้ อทิ ธิพลของเพศ
 ลักษณะบางลักษณะที่แสดงออกในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงถูกควบคุมด้ วยยีนเด่ นในออโตโซมแต่ ยีนจะแสดงออกใน
แต่ละเพศได้ ไม่เท่ากัน โดยมีฮอร์โมนเพศเป็ นตัวควบคุมตัวอย่างที่พบในคน ได้ แก่ ลักษณะคนศีรษะล้ าน ลักษณะที่
ถูกควบคุมด้ วยยีนที่แสดงลักษณะเด่นในเพศหนึ่งและแสดงลักษณะด้ อยในอีกเพศหนึ่งเรียกว่า ลักษณะที่อยู่ภายใต้
อิทธิพลของเพศ (sex-influenced traits)

เช่น กาหนดให้ B คือ ยีนควบคุมลักษณะศีรษะล้ าน


B’ คือ ยีนควบคุมลักษณะศีรษะไม่ล้าน

จีโนไทป์ ฟี โนไทป์ ของเพศชาย ฟี โนไทป์ ของเพศหญิง


BB ศีรษะล้ าน ศีรษะล้ าน
BB’ ศีรษะล้ าน ศีรษะไม่ล้าน
B’B’ ศีรษะไม่ล้าน ศีรษะไม่ล้าน

5.5.8 พันธุกรรมจากัดเพศ
 ลักษณะพันธุกรรมที่ควบคุมด้ วยยีนบนออโตโซม บางลักษณะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้ อมภายในร่างกายของแต่ละเพศ
เช่น อาจมีฮอร์โมนเพศมาเกี่ยวข้ อง ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกเฉพาะในเพศใดเพศหนึ่งนี้เรียกว่า ลักษณะ
พันธุกรรมจากัดเพศ (sex-limited traits) ตัวอย่างในคน เช่ น ยีนควบคุมการผลิตน้านม จะแสดงออกเฉพาะเพศ
หญิง ส่วนในเพศชายจะไม่มีการผลิตนา้ นมแม้ ว่าจะมียีนนี้กต็ าม ส่วนตัวอย่างที่พบในสัตว์ เช่น การมีเขายาวหรือเขา
สั้นของวัว ปริมาณการผลิตนา้ นมของแม่วัว เป็ นต้ น

ตัวอย่าง ลักษณะขนหางของไก่
กาหนดให้ H คือ ยีนควบคุมลักษณะขนหางสั้น
h คือ ยีนควบคุมลักษณะขนหางยาว

จีโนไทป์ ฟี โนไทป์ ของไก่เพศผู้ ฟี โนไทป์ ของไก่เพศเมีย


HH ขนหางสั้น ขนหางสั้น
Hh ขนหางสั้น ขนหางสั้น
hh ขนหางยาว ขนหางสั้น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 84
บทที่ 6 : เทคโนโลยีทาง DNA
เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)

เป็ นการใช้ เทคโนโลยีเพื่อทาให้ ส่งิ มีชีวิตหรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตมีสมบัติตามต้ องการ

➢ ในอดีตเริ่มมีการใช้ เทคโนโลยีชีวภาพตั้งแต่การที่มนุษย์ใช้ จุลินทรีย์ในการหมักแอลกอฮอล์ การทาปลาร้ า


การทาซีอ๊วิ การทาเต้ าเจี้ยว ตลอดจนการใช้ เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์
ชนิดต่างๆ เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผสมเทียม และการถ่ายฝากตัวอ่อน

➢ ในปั จ จุ บัน มนุ ษ ย์ ส ามารถปรั บ แต่ ง ยี น และเคลื่ อนย้ า ยยี น ข้ า มชนิ ด ของสิ่ง มี ชี วิ ต อย่ า งที่วิ ธี การตาม
ธรรมชาติไม่สามารถทาได้ รวมทั้งการนาไปประยุกต์ใช้ ในด้ านอื่นๆ เช่น ทางด้ านการเกษตรกรรม การแพทย์
ตลอดจนการใช้ ประโยชน์ทางสังคม เช่น ใช้ ในการตรวจสอบหลักฐานอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็ นต้ น

6.1 พันธุวิศวกรรม

➢ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)

เป็ นเทคโนโลยีเพื่อสร้ าง DNA สายผสม (recombinant DNA) และเพิ่มปริมาณ DNA ในหลอดทดลอง

โดยอาศัยเอนไซม์ในแบคทีเรียที่สามารถตัดสาย DNA บริเวณที่มีลาดับเบสจาเพาะซึ่งเรียกว่า เอนไซม์


ตัด จ าเพาะ (restriction enzyme) และเชื่อมสาย DNA ที่ถูกตั ด แล้ ว มาต่ อกันได้ ด้ วย เอนไซม์ DNA
ไลเกส (DNA ligase) ทาให้ ได้ recombinant DNA

6.1.1 เอนไซม์ตดั จาเพาะ

เอนไซม์ตัดจาเพาะ

➢ เอนไซม์ตัดจาเพาะแต่ละชนิดจะจดจาลาดับเบสในสาย DNA อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น เอนไซม์ EcoRI จะจดจา


ลาดับเบสจาเพาะจานวน 6 คู่เบส ซึ่งเรียกบริเวณดังกล่าวว่า ตาแหน่งตัดจาเพาะ (restriction site) ปัจจุบันค้ นพบ
เอนไซม์ตัดจาเพาะมากกว่า 1,200 ชนิด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 85
➢ จุดตัดจาเพาะที่เกิดขึ้นจะได้ สาย DNA หลังจากถูกตัดแล้ วใน 2 รูปแบบ

1) ปลายเหนียว (sticky end) โดยหลังจากการตัดสาย DNA จะทาให้ ได้ ปลายสายเดี่ยวทั้ง


2 ปลาย ที่รอยตัดของสาย DNA ซึ่งมีนิวคลีโอไทด์สายเดี่ยวยื่นออกมา เช่น การตัดด้ วยเอนไซม์
EcoRI จุดตัดจาเพาะจะอยู่ระหว่างเบส G และ A

2) ปลายทู่ (blunt end) เมื่อตัดสาย DNA จะไม่เกิดปลายสาย DNA เป็ นสายนิวคลีโอไทด์สาย


เดี่ยว เนื่องจากจุดตัดของสาย DNA ทั้งสองเส้ นอยู่ตรงกันพอดี เช่น การตัดด้ วยเอนไซม์ HaeIII
จุดตัดจาเพาะอยู่ระหว่างเบส G และ C

ภาพแสดงการใช้ เอนไซม์ตัดจาเพาะได้ จุดตัดที่เป็ นปลายเหนียว


ที่มา ; Reece et al. (2011)

6.1.2 การเชื่อมต่อสาย DNA ด้วยเอนไซม์ DNA ligase

➢ จากการตัดสาย DNA ของสิ่งมีชีวิตต่ างชนิดกัน สามารถนามาเชื่อมต่ อกันได้ ด้วยเอนไซม์ DNA ligase


ซึ่งจะเร่งปฏิกริ ิยาการสร้ างพันธะโควาเลนซ์ระหว่างสองโมเลกุลของ DNA ให้ เชื่อมต่อกันได้

6.1.3 การโคลนยีน

➢ การโคลน DNA (DNA cloning)

เป็ นเทคนิคการเพิ่มจานวนของ DNA ที่เหมือนๆ กัน หาก DNA บริเวณดังกล่าวเป็ นยีนก็อาจจะเรียกว่า โคลนยีน
(gene cloning) ซึ่งสามารถทาให้ recombinant DNA คงอยู่ และเพิ่มจานวนเพื่อใช้ ในการศึกษาว่าสาย DNA เหล่านั้น
มียีนอะไรและควบคุมการสร้ างโปรตีนชนิดใด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 86
การโคลน DNA แบ่งออกได้ เป็ น 2 แบบ

 การโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของแบคทีเรีย
เป็ นการเพิ่มปริมาณของ DNA ที่ต้องการ โดยอาศัย DNA พาหะ หรือเวกเตอร์ (vector) เช่น
พลาสมิด (plasmid) ของแบคทีเรีย

 การโคลนยีนในหลอดทดลองโดยเทคนิคพอลิเมอเรสเซนรีแอกชัน
เป็ นเทคนิคที่ใช้ ในปัจจุบัน โดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องมือเพิ่มปริมาณ DNA อัตโนมัติ
หรือ เทอร์มอลไซเคลอร์ (thermal cycler) ซึ่งเป็ นเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้ ปรับเปลี่ยนได้ อย่าง
รวดเร็ว รวมทั้งกาหนดจานวนรอบและเวลาสาหรับปฏิกริ ิยาในแต่ละขั้นตอนได้ อย่างอั ตโนมัติ

ภาพแสดงการโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของแบคทีเรีย
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 87
การโคลนยีนโดยเทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชัน (polymerase chain reaction ; PCR)

เป็ นเทคนิคที่อาศัยเอมไซม์ DNA polymerase ชนิดพิเศษ ซึ่งสามารถทนอุณหภูมิสงู ได้ เอนไซม์ชนิดนี้แยก


มาจากแบคทีเรียทนร้ อนซึ่งอาศัยอยู่ในนา้ พุร้อน

- การเกิดปฏิกิริยาในหลอดทดลองต้องอาศัยองค์ประกอบต่อไปนี้
1) DNA แม่แบบ ซึ่งเป็ นส่วนของ DNA ที่ต้องการโคลน
2) ไพรเมอร์ (primer) เป็ น DNA สายสั้นๆ ที่จะเกาะกับส่วนของ DNA ที่ต้องการ
เพื่อเป็ นจุดเริ่มต้ นและกาหนดบริเวณของการสร้ างสาย DNA
3) นิวคลีโอไทด์ท้งั 4 ชนิด
4) เอนไซม์ DNA polymerase

สารทั้งหมดนี้จะละลายอยู่ในสารละลายบัฟเฟอร์ การเกิดปฏิกริ ิยาในหลอดทดลองมีดังนี้

เริ่มด้ วยเพิ่มอุณหภูมใิ ห้ สงู จนสาย DNA แม่แบบที่เป็ น DNA สายคู่แยกออกเป็ น DNA สายเดี่ยว

ลดอุณหภูมิลงเพื่อให้ เกิดการจับกันระหว่างไพรเมอร์และสาย DNA แม่แบบในบริเวณที่ต้องการเพิ่มจานวน

ปรับอุณหภูมิให้ เหมาะสมต่อการทางานของเอนไซม์ DNA polymerase
ทาให้ เกิดการจาลองตัวของสาย DNA ในบริเวณที่ต้องการ

ดาเนินกิจกรรมเช่นเดิม ทาเช่นนี้ซา้ หลายๆ รอบ

ได้ โมเลกุลของ DNA ที่ต้องการเป็ นจานวนมาก

เทคนิค PCR นามาประยุกต์ใช้ อย่างกว้ างขวาง เช่น

1) การเพิ่ มปริ มาณของ DNA จากซากของวู ลลีแ มมมอธ (woolly mammoth) ซึ่ ง สูญ พั น ธุ์ไปแล้ ว
แต่ถูกแช่แข็งไว้ ท่ไี ซบีเรียเมื่อสี่หมื่นปี ก่อน ทาให้ มีโอกาสศึกษาเชิงวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตที่สญ
ู พันธุ์

2) การตรวจสอบ DNA ที่ติดอยู่ตามคราบเลือด เนื้อเยื่อ หรือนา้ อสุจิท่พี บในอาชญากรรม

3) การตรวจสอบ DNA จากเซลล์เอ็มบริโอในครรภ์ว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่

4) ตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HIV เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 88
6.2 การวิเคราะห์ DNA และการศึกษาจี โนม

การวิเคราะห์ DNA

อาศัยความรู้พ้ นื ฐานในการแยกโมเลกุลของ DNA ที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกจากกันในสนามไฟฟ้ า


โดยอาศัยหลักการ อิเล็กโทรฟี ริซิส (electrophoresis) ผ่านตัวกลางที่เรียกว่า เจล (gel)

เรียกกระบวนการนี้ว่า เจลอิเล็กโทรโฟริซิส (gel electrophoresis) ซึ่งสามารถใช้ แยกและศึกษาโมเลกุลของ


โปรตีนได้

➢ เทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส มีหลักการโดยสรุป ดังนี้

โมเลกุล DNA ที่มีขนาดต่างกัน

นามาแยกขนาดภายใต้ สนามไฟฟ้ า
โดยให้ DNA ผ่านตัวกลางที่เป็ นแผ่นวุ้น เช่น อะกาโรสเจล (agarose gel)

DNA ซึ่งมีประจุลบจะเคลื่อนทีเ่ ข้ าหาขั้วบวก

โมเลกุล DNA ที่มีขนาดใหญ่จะเคลื่อนที่ช้ากว่าโมเลกุลที่มีขนาดเล็กจึงอยู่ใกล้ กบั


ขั้วลบ ส่วนโมเลกุล DNA ขนาดเล็กเคลื่อนที่เร็วกว่าก็จะอยู่ใกล้ กบั ขั้วบวก

ย้ อมแผ่นวุ้นด้ วยสีอธี เิ ดียมโบรไมด์


เพื่อให้ สามารถมองเห็น DNA ได้ เมื่อได้ รับแสงอัลตราไวโอเลต

การเคลื่อนที่ของโมเลกุล DNA ขนาดต่างๆ


นาไปเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของ DNA ที่ทราบขนาดแล้ ว
จึงทาให้ ทราบขนาดของโมเลกุล DNA

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 89
ภาพแสดงขั้นตอนการทา เจลอิเล็กโทรโฟริซิส (gel electrophoresis)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

การศึกษาจี โนม

➢ จีโนมของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีลาดับนิวคลีโอไทด์แตกต่างกัน ความแตกต่างของรูปแบบของแถบ DNA


ที่เกิดจากปฏิกิริยา PCR และการตัดของเอนไซม์ตัดจาเพาะเหล่ านี้เรียกว่า พีซีอาร์-เรสทริ กชันแฟรกเมนท์เลนจท์
พอลิมอฟิ ซึ ม (PCR-restriction fragment length polymorphism ; PCR-RFLP) ซึ่งสามารถนามาใช้ เป็ น เครื่องหมาย
พันธุกรรม (genetic marker) ได้

➢ การตรวจสอบความแตกต่างกันของจีโนมของสิง่ มีชีวิตชนิดเดียวกันมีวิธกี ารที่สรุปได้ ดังนี้

เพิ่มปริมาณ DNA ในบริเวณที่มีความแตกต่างกันด้ วยวิธี PCR

นาผลผลิต PCR มาตัดด้ วยเอนไซม์ตัดจาเพาะ

แยกขนาดโมเลกุล DNA ที่ได้ ด้วยเทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส

ได้ รูปแบบของแถบ DNA ที่แตกต่างกัน

ความแตกต่างกันของรูปแบบของแถบ DNA เรียกว่า พีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพี (PCR-RFLP)


ซึ่งใช้ เป็ นเครื่องหมายพันธุกรรม เพื่อตรวจสอบความแตกต่างของ DNA
ของจีโนมของสิง่ มีชีวิตนั้นๆ ได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 90
6.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ได้แก่

6.3.1 การประยุกต์ใช้ในเชิงการแพทย์และเภสัชกรรม

- การวินิจฉัยโรค
- การบาบัดด้ วยยีน
- การสร้ างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เช่น การผลิตอินซูลิน

6.3.2 การประยุกต์ใช้ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์

- นิยมใช้ รูปแบบของ DNA ในการตรวจพิสจู น์บุคคล หรือการพิสจู น์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด และ


การตรวจสอบทางนิติเวชศาสตร์เพื่อหาผู้กระทาผิด เป็ นต้ น เมื่อนา DNA ไปตรวจสอบโดยใช้ เทคนิค
ต่างๆ เช่น PCR และ RFLP จะเกิดเป็ นแถบ DNA รูปแบบของแถบ DNA นี้เรียกว่า ลายพิมพ์ DNA
(DNA fingerprint) ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

6.3.3 การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร

- การทาฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพมนุษย์ เช่น แกะที่ได้ รับการถ่ายยีนเพื่อให้ สร้ างโปรตีนยับยั้งเอนไซม์


ที่ทาให้ เกิดการทาลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็ น โรคซิ สติกไฟโบรซิ ส (cystic fibrosis) และโรคระบบ
ทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดอื่นๆ โดยให้ แกะผลิตโปรตีนชนิดนี้ในนา้ นมเพื่อนาไปใช้ ต่อไป
- การสร้ างพืชดัดแปรพันธุกรรม

6.3.4 การใช้พนั ธุศาสตร์เพือ่ ศึกษาค้นคว้าหายีนและหน้าที่ของยีน

เช่น การศึกษาจีโนมของข้ าว และค้ นพบยีนด้ อยที่ทาให้ เกิดลักษณะความหอมของข้ าว

พืชดัดแปรพันธุกรรม

1) พืชดัดแปรพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง โดยการถ่ายยีนที่สร้ างสารทาพิษ


จากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis หรือเรียกย่อว่า BT เมื่อนายีนที่สร้ างสารพิษไปใส่ในเซลล์ของ
พืช เช่ น ฝ้ าย ข้ าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ มะเขือเทศ พืชเหล่ านี้สามารถผลิตสารทาลายตัวหน อนที่มา
กัดกิน ทาให้ ผลผลิตของพืชเหล่านี้เพิ่มขึ้นและลดการใช้ สารเคมี

2) พื ชดัด แปรพัน ธุ ก รรมที่ ต ้า นทานต่ อ โรค เช่ น การทาให้ มะละกอต้ า นทานต่ อโรคใบด่ างจุ ด
วงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยนายีนที่สร้างโปรตีนเปลือกไวรัส (coat virus protein gene)
ถ่ายฝากเข้ าไปในเซลล์มะละกอ แล้ วชักนาให้ เป็ นต้ นมะละกอที่สร้ างโปรตีนดังกล่ าว ทาให้ สามารถ
ต้ านทานต่อเชื้อไวรัสได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 91
พืชดัดแปรพันธุกรรม (ต่อ)

3) พืชดัดแปรพันธุกรรมที่สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช โดยนายีนที่ต้านทานสารปราบวัชพืช
ใส่เข้ าไปในพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้ าวโพด ฝ้ าย ทาให้ สามารถต้ านทานสารปราบวัชพืช

4) พืชดัดแปรพันธุ ก รรมที่มีคุ ณค่ าทางอาหารเพิ่มขึ้ น เช่ น ในกรณีของข้ าวที่เป็ นธัญพืชที่เ ป็ น


อาหารหลั ก ของโลก ได้ มี นั ก วิ ท ยาศาสตร์ น ายี น จากต้น แดฟโฟดิ ล (daffodil) และยี น จาก
แบคทีเรีย Erwinia breteria ถ่ ายฝากให้ ข้าว ทาให้ ข้าวสามารถสร้ างวิตามิน A ในเมล็ดได้ เรียกว่า
ข้าวสีทอง (golden rice)

5) พืชดัดแปรพันธุ กรรมเพื่อยืดอายุของผลผลิตได้ยาวนานขึ้ น โดยนายีนที่มีผลต่ อการยับยั้ง


การสร้ างเอนไซม์ท่ีสังเคราะห์ เอทิลีนใส่เข้ าไปในผลไม้ เช่ น มะเขือเทศ ทาให้ มะเขือเทศสุกช้ าลง
เนื่องจากไม่มีการสร้ างเอทิลีน ลดความเน่าเสียของผลผลิต

สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ท่สี ามารถดัดแปรพันธุกรรมได้ น้ ี

เรียกว่า สิง่ มีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism ; GMOs)

6.4 ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทาง DNA และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม

ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทาง DNA และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม

➢ เทคโนโลยีการสร้ าง DNA recombinant และการสร้ างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม เป็ นเทคโนโลยีท่มี ี


ประสิทธิภ าพและมี ค วามก้ า วหน้ าอย่ า งรวดเร็ว ทาให้ สัง คมเริ่ มตระหนักถึ งผลเสีย ที่อาจเนื่องมาจาก
เทคโนโลยีน้ ี เพราะบทเรียนที่มนุษย์ได้ รับจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่มนุษย์สร้ างสรรค์ข้ นึ มักมีผลกระทบอื่นๆ
ตามมาภายหลัง

➢ ความกังวลต่อความผิดพลาดของการสร้ างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เริ่มจากความกลัวว่า


อาจจะทาให้ เกิดโรคสายพันธุ์ใหม่ท่ดี ้ ือยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยีนต้ านทานยาปฏิชีวนะถูกใช้ เป็ นเครื่องหมาย
ในการคัดเลือกสาหรับการทาพันธุวิศวกรรมทั้งในจุ ลินทรีย์ พืชและสัตว์ในการเกษตร ทาให้ ประชาชน
ในหลายประเทศต่อต้ านการใช้ พืช GMOs

➢ ข้ อตระหนักทางสังคมที่เป็ นผลมาจากเทคโนโลยีทาง DNA คือ จริยธรรมในการใช้ ข้อมูลของจีโนม


โดยเฉพาะจีโนมของมนุษย์ว่า เมื่อค้ นคว้ าจีโนมมนุษย์สาเร็จใครจะสามารถใช้ ข้อมูลเหล่ านั้นได้ และใช้
เพื่อการใดได้ บ้าง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 92
บทที่ 7 : เรื่อง วิวฒ
ั นาการ
7.1 หลักฐานที่บง่ บอกถึงวิวฒ
ั นาการของสิง่ มีชีวิต

หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวฒ
ั นาการของสิง่ มีชีวิต

7.1.1 หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสิง่ มีชีวิต

➢ เช่น โครงกระดูกไดโนเสาร์ รอยเท้าสัตว์ รอยพิมพ์ใบไม้ ไม้กลายเป็ นหิน และซากแมลงในอาพัน

➢ สิ่งมีชีวิตบางชนิดพบตั้งแต่อดีตและยังคงมีชีวิตในปัจจุบัน มีลักษณะใกล้ เคียงกับที่พบในอดีต เช่น แมงดาทะเล


หวายทะนอย อาจเรียกได้ ว่าเป็ น ซากดึกดาบรรพ์ที่ยงั มีชีวิต (living fossil)

7.1.2 หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ

 Homologous structure  เป็ นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะโครงสร้ างเหมือนกัน แต่มีหน้ าที่ต่างกัน


เช่น แขนคน ขาหน้ าม้ า ปี กนก และครีบวาฬ

 Analogous structure  เป็ นสิ่งมีชีวิตที่มีหน้ าที่เหมือนกัน แต่โครงสร้ างต่างกัน


เช่น ปี กนก และปี กผีเสื้อ

7.1.3 หลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบ

➢ จากการเปรียบเทียบการเจริญเติบ โตของเอ็มบริโอของสัต ว์มีก ระดูกสันหลังระยะแรกๆ จะเห็นว่ามีอวั ย วะ


บางอย่างที่คล้ ายคลังกัน เช่น ช่องเหงือก (pharyngeal pouch) และหาง เป็ นต้ น

7.1.4 หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล
➢ หลั ก ฐานทางชี ว วิ ท ยาระดั บ โมเลกุ ล ใช้ บ อกถึง ความสัม พั น ธ์ ท่ีใ กล้ ชิ ด กัน ทางวิ วั ฒ นาการของสิ่ง มี ชี วิ ต ได้
ดังตัวอย่างการเปรียบเทียบจานวนตาแหน่งกรดอะมิโนในสายพอลิเพปไทด์ของฮีโมโกลบินที่แตกต่างกัน ระหว่าง
มนุษย์กบั ลิงรีซัส หนู ไก่ กบ และปลาปากกลม แสดงได้ ดังตาราง
สิ่งมีชีวิต จานวนตาแหน่งกรดอะมิโนในฮีโมโกลบินที่แตกต่างจากมนุษย์
มนุษย์ 0
ลิงรีซัส 8
หนู 27
ไก่ 42
กบ 67
ปลาปากกลม 125
 จะเห็นว่ามนุษย์น่าจะมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่ใกล้ ชดิ กันกับลิงรีซัสมากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น

7.1.5 หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์

➢ เช่น จากการศึกษาการแพร่ กระจายของนกฟิ นช์ (finch) ชนิดต่างๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส พบว่า นกฟิ นช์
ในหมู่ เ กาะกาลาปากอสมี ลั ก ษณะคล้ า ยคลึ ง กั บ นกฟิ นช์ ท่ีอ าศั ย บนทวี ป อเมริ ก าใต้ ม ากกว่ า นกฟิ นช์ ท่ี อ าศั ย
อยู่ ใ นหมู่เ กาะต่ า งๆ อาจเป็ นไปได้ว่า ...บรรพบุ รุ ษของนกฟิ นช์ไ ด้มีก ารอพยพมาจากทวีป อเมริ กาใต้แ ละ
ได้แพร่กระจายดารงชีวิตอยู่บนเกาะต่างๆ จนกระทัง่ มีวิวฒ ั นาการเป็ นนกฟิ นช์หลากหลายสปี ชีส ์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 93
7.2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวฒ
ั นาการของสิง่ มีชีวิต

7.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับวิวฒ
ั นาการของลามาร์ก

ได้ เสนอแนวคิดเพื่ออธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้ างให้ เข้ ากับสภาพแวดล้ อมขณะ


ลามาร์ก
เกิดวิวัฒนาการ

1) กฎการใช้และไม่ใช้ (law of use and disuse)

กล่าวว่า “อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากในการดารงชีวิตจะมีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้ น ขณะที่อวัยวะ


ที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอ และเสือ่ มลงไป”

2) กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้ นมาใหม่
(law of inheritance of acquired characteristic)

กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้ นภายในชัว่ รุ่นนั้น สามารถถ่ายทอดไปยังรุ่น


ลูกได้”

7.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวฒ
ั นาการของดาร์วิน

ดาร์วิน

- ได้ เดินทางสารวจสิ่งมีชีวิตในทวีปอเมริกาใต้ และหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก


- ศึกษาแนวคิดของ ชาลส์ ไลเอลล์ (Charles Lyell) จากหนังสือ The Principles of Geology เพิ่มเติม โดยใน
หนังสือได้ กล่าวว่า โลกเกิดมานานมีอายุหลายพันล้ านปี และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็ นค่อยไป

➢ ดาร์วินได้ เริ่มศึกษาสิ่งมีชีวิตที่ได้ รวบรวมไว้ ท้งั หมดและเริ่มเข้ าใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดวิวัฒนาการของ


สิ่ ง มี ชี วิ ต นั่ น คื อ สิ่ ง มี ชี วิ ต บนโลกนี้ เป็ นรุ่ น ลู ก หลานที่ มี ลั ก ษณะแตกต่ า งจากสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ มี ม าในอดี ต
แต่ลักษณะที่เหมาะสมเท่านั้นจะถูกคัดเลือกให้ สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ในสภาพแวดล้ อมนั้น ลักษณะดังกล่าว
ถือว่ าเป็ นการปรับตัวเชิ งวิวฒ ั นาการ (evolutionary adaptation) ของสิ่งมีชีวิตให้ เข้ ากับสภาพแวดล้ อม
เพื่อเกิดเป็ นสิ่งมีชีวิตสปี ชี ส ์ (species)ใหม่ข้ ึน แนวคิดของดาร์วินดังกล่ าวเรียกว่ า ทฤษฎี การคัดเลือก
โดยธรรมชาติ (theory of natural selection)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 94
➢ ในช่วงเวลาต่อมา อัลเฟรด รัสเซล วอลเลช (Alfred Russel Wallace) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษได้ เสนอผลงาน
ที่มีเนื้อหาตรงกันกับแนวคิดของดาร์วินที่ว่า วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

➢ ในปี พ.ศ. 2401 ไลเอลล์ได้ นาผลงานของดาร์วิน และวอลเลชเผยแพร่ เป็ นครั้งแรกในที่ประชุม ดาร์วินจึงได้


จั ด พิ มพ์ ผ ลงานของตนเองในหนัง สือ “On the Origin of Species by Means of Natural Selection” ซึ่ ง มี การแสดง
ล าดั บความคิ ด เป็ นขั้ น ตอนอย่ า งสมเหตุ ส มผล และมี ห ลั กฐานประกอบหลายอย่ า งตามวิ ธีก ารทางวิ ทยาศาสตร์
โดยสาระสาคัญของหนังสือกล่าวว่า “สิง่ มีชีวิตมีวิวฒั นาการเกิดขึ้ น โดยกลไกที่ก่อให้เกิดวิวฒ
ั นาการคือการคัดเลือก
โดยธรรมชาติ”

➢ เอินส์ เมียร์ (Ernst Mayr) ได้ วิเคราะห์ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทาให้ เกิดข้ อสรุปต่างๆ ดังนี้

ข้อสรุปข้อที่หนึ่ง สิ่งมีชีวิตมีการต่อสู้ด้ ินรนเพื่อการอยู่รอดและให้ ได้ ส่ิงที่จาเป็ นต่อการดารงชีวิตซึ่งมีจานวนจากัด จึ งมี


สมาชิกเพียงส่วนหนึ่งที่อยู่รอดในแต่ละรุ่น

ข้อสรุปข้อที่ สอง การอยู่รอดของสมาชิกในสิ่งแวดล้ อ มไม่ ได้ เกิดขึ้นอย่า งสุ่ม แต่เป็ นผลมาจากลัก ษณะทางพันธุก รรม
ที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้ อมซึ่งมีโอกาสอยู่รอดจะให้ กาเนิดลูกหลานได้ มากกว่า
สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะไม่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้ อม

ข้อสรุปข้อที่สาม การที่ส่ิงมีชีวิตแต่ละตัว มีศักยภาพในการอยู่ รอด และให้ กาเนิดลูกหลานไม่เ ท่ากัน ทาให้ ประชากรมี


การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้ อย และมีลักษณะที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้ อมสะสมเพิ่มขึ้นในแต่ละรุ่น

จากข้อสรุปดังกล่าวของเมียร์ ทาให้สามารถสรุปแนวคิดของดาร์วินได้ ดังนี้


- การคัดเลือกโดยธรรมชาติทาให้ ส่งิ มีชีวิตแต่ละตัวมีความสามารถในการอยู่รอดและมีความสามารถในการให้ กาเนิดลูกหลานแตกต่างกัน
- การคัดเลือกโดยธรรมชาติเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้ อมที่ประชากรอาศัยอยู่กับลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมของ
สมาชิกในประชากร
- ผลจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติทาให้ ประชากรมีการปรับตัวเชิงวิวัฒนาการให้ สามารถดารงชีวิตอยู่ได้ ในสิ่งแวดล้ อมนั้น

ั นาการสังเคราะห์ (synthetic theory of evolution)


ทฤษฎีววิ ฒ

➢ เป็ นแนวคิด วิ วั ฒ นาการยุ คใหม่ รวบรวมความรู้ ท างด้ า นต่ า งๆ เช่ น บรรพชี วิน วิท ยา (paleontology) อนุ กรมวิธ าน
(taxonomy) ชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) รวมถึง พันธุ ศาสตร์ประชากร
(population genetics) เป็ นต้ น

➢ นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ ใช้ แนวคิดดังกล่าวนี้มาประยุกต์ใช้ ในการอธิบายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 95
7.3 พันธุศาสตร์ประชากร

ประชากร

➢ หมายถึง...สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

➢ ในประชากรหนึ่งๆ จะประกอบด้ วยสมาชิกที่มียีนควบคุมลักษณะต่างๆ จานวนมาก

➢ ยีนทั้งหมดที่อยู่ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่งเรียกว่า ยีนพูล (gene pool)

7.3.1 การหาความถีข่ องแอลลีลในประชากร

พันธุศาสตร์ประชากร

➢ เป็ นการศึกษาที่เกี่ยวกับการเปลี่ย นแปลงความถี่ข องยีน (gene frequency) หรื อการเปลี่ยนแปลง


ความถีข่ องอัลลีล (allele frequency) ที่เป็ นองค์ประกอบทางพันธุกรรมของประชากร

➢ ความถีข่ องอัลลีล คือ การหาอัตราส่วนของอัลลีลชนิดหนึ่งต่อจานวนของอัลลีลทั้งหมดในยีนพูล

➢ ความถีข่ องจี โนไทป์ คือ อัตราส่วนของจีโนไทป์ ชนิดใดชนิดหนึ่งต่อจานวนจีโนไทป์ ทั้งหมดในประชากร

ตัวอย่าง ; การมีลักยิ้มในคนถูกควบคุมโดยยีน 2 อัลลีล คือ R ควบคุมลักษณะมีการลักยิ้ม และ r ควบคุมลักษณะไม่มี


ลักยิ้ม ในประชากร 1,000 คน ไม่มีลักยิ้ม 40 คน มีลักยิ้ม 960 คน โดยกาหนดให้ เป็ นบุคคลที่มีลักยิ้ม
จีโนไทป์ RR 640 คน และบุคคลที่มีลักยิ้มจีโนไทป์ Rr 320 คน

ก. ความถีข่ องจี โนไทป์ เป็ นเท่าใด


จานวนจีโนไทป์ 𝑅𝑅
ความถี่จีโนไทป์ RR =
จานวนจีโนไทป์ ทั้งหมด

640
= = 0.64
1000

จานวนจีโนไทป์ 𝑅𝑟
ความถี่จีโนไทป์ Rr =
จานวนจีโนไทป์ ทั้งหมด

320
= = 0.32
1,000

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 96
จานวนจีโนไทป์ 𝑟𝑟
ความถี่จีโนไทป์ rr =
จานวนจีโนไทป์ ทั้งหมด
40
= = 0.04
1,000

ข. ความถีข่ องอัลลีลเป็ นเท่าใด


จานวนอัลลีลทั้งหมด = 1,000 x 2 = 2,000 อัลลีล
จานวนจีโนไทป์ RR 640 คน จะมีอลั ลีล R = 640 x 2 = 1,280 อัลลีล
จานวนจีโนไทป์ Rr 320 คน จะมีอลั ลีล R = 320 อัลลีล และ r = 320 อัลลีล
จานวนจีโนไทป์ rr 40 คน จะมีอลั ลีล r = 40 x 2 = 80 อัลลีล

จานวนอัลลีล 𝑅
ดังนั้น ความถี่อลั ลีล R =
จานวนอัลลีล 𝑅+𝑟

1,280+320
= = 0.8
2,000

จานวนอัลลีล 𝑟
ความถี่อลั ลีล r =
จานวนอัลลีล 𝑅+𝑟

320+80
= = 0.2
2,000

7.3.2 กฏของฮาร์ดี-ไวน์เบิรก์

ก็อดฟรีย์ ฮาโรลด์ ฮาร์ดี (Godfrey Harold Hardy) และ วิลเฮล์ม ไวน์เบิร์ก (Wilhelm Weinberg)

ได้ ศึกษายีนพูลของประชากรและได้ เสนอเป็ นกฎขึ้นมาเรียกว่า


กฎของฮาร์ดี - ไวน์เบิรก์ (Hardy-Weinberg Law)

โดยกล่ า วว่ า ความถี่ข องอัลลีล และความถี่ข องจี โ นไทป์ ในยีน พู ลของประชากรจะมี ค่ าคงที่ใน
ทุกๆ รุ่น ถ้ าไม่ มีปัจจัยบางอย่ างมาเกี่ยวข้ อง เช่ น มิวเทชัน การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การเลือกคู่
ผสมพันธุ์ การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (random genetic drift) และการถ่ายเทเคลื่อนย้ ายยีน
(gene flow)

ประชากรจะอยู่ในภาวะสมดุลของฮาร์ดี - ไวน์เบิร์กได้ จะต้ องมีเงื่อนไขดังนี้


1) กลุ่มประชากรมีขนาดใหญ่
2) ไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ ายยีนระหว่างกลุ่มประชากร
3) ไม่เกิดมิวเทชัน ซึ่งจะทาให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีลในกลุ่มประชากร
4) สมาชิกทุกตัวมีโอกาสผสมพันธุไ์ ด้ เท่ากัน
5) ไม่เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 97
7.3.3 การประยุกต์ใช้กฎของฮาร์ดี - ไวน์เบิรก์

กฎของฮาร์ดี - ไวน์เบิร์ก

➢ นามาใช้ ประโยชน์ในการคาดคะเนความถี่ของอัลลีลที่เกี่ยวข้ องกับโรคทางพันธุกรรมในยีนพูลของ


ประชากร เช่น โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์ เป็ นต้ น

➢ ถ้ าให้ p เป็ นความถี่ของยีนเด่น (A) และ q เป็ นความถี่ของยีนด้ อย (a) ในประชากรแล้ ว


- ความถี่ของยีน  p + q = 1
- ความถี่ของจีโนไทป์  p2 + 2pq + q2 = 1
- ความถี่ของอัลลีล A หรือ a = √ความถี่ของจีโนไทป์ 𝐴𝐴 หรือ 𝑎𝑎

ตัวอย่าง 1 ; ยีนพูลของประชากรรุ่นพ่อแม่มีความถี่อัลลีล R = 0.8 และ r = 0.2 ถ้ าสมาชิกของประชากรมีโอกาส


ผสมพันธุไ์ ด้ เท่าๆ กัน จงคานวณหาความถี่จีโนไทป์ ของประชากรรุ่นต่อไป

ความถี่จีโนไทป์ RR = R2 = 0.82 = 0.64


ความถี่จีโนไทป์ Rr = 2Rr = 2 x 0.8 x 0.2 = 0.32
ความถี่จีโนไทป์ rr = r2 = 0.22 = 0.04
รวมความถี่จีโนไทป์ เท่ากับ = 1.00

ตัวอย่าง 2 ; ประชากรหนูในป่ าแห่งหนึ่งอยู่ในสมดุลของฮาร์ดี - ไวน์เบิร์ก พบว่า 36% ของประชากรหนูมีสเี ทา


ซึ่งเป็ นลักษณะด้ อย (aa) นอกนั้นเป็ นหนูสดี า ซึ่งเป็ นลักษณะเด่น
ก. จานวนประชากรของหนู ที่มีจีโนไทป์ แบบเฮเทอโรไซกัสเป็ นเท่าใด
หนูสเี ทาเป็ นลักษณะด้ อย (aa) มีความความถี่จีโนไทป์ (a2) = 36/100 = 0.36
2
จาก a = 0.36 ดังนั้น a = 0.6
ดังนั้น ความถี่อลั ลีล a ในประชากร = 0.6
ความถี่อลั ลีล A ในประชากร = 1 – a = 0.4
เมื่อ A = 0.4 a = 0.6
ความถี่ของจีโนไทป์ แบบ Aa = 2Aa (; 2pq)
= 2 x 0.4 x 0.6
= 0.48 หรือ 48%
ข. ถ้าประชากรหนู มีจานวน 700 ตัว จะมีหนู ทมี่ ีลกั ษณะขนสีดาทีม่ ีจีโนไทป์ แบบโฮโมไซกัสจานวนเท่าใด
จีโนไทป์ แบบโฮโมไซกัส = A2
= 0.42
= 0.16 หรือ 16%
จาก ในประชากรหนู 100 ตัว จะมีสดี า 16 ตัว
ดังนั้น ในประชากรหนู 700 ตัว จะมีสดี า 112 ตัว

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 98
ตัวอย่าง 3 ; ถ้ าประชากรประเทศหนึ่ง มีหมู่เลือดที่มีแอนติเจนเป็ น Rh+ อยู่ 84% ความถี่ของอัลลีลเด่นของ Rh+
มีค่าเท่าไร (กาหนดให้ Rh+ ควบคุมด้ วยอัลลีล R ซึ่งเป็ น dominant gene)
จากโจทย์ Rh+ ควบคุมด้ วยอัลลีล R (อัลลีลเด่น)
ดังนั้น บุคคลที่มี Rh+ อาจมี genotype เป็ น RR หรือ Rr รวมกัน 84 %
ส่วนบุคคลที่มี Rh- ก็ต้องมี genotype เป็ น rr เหลือ 16 %
โจทย์ให้ หาความถี่ของอัลลีล R
แนวคิด จาก rr = 16 % หรือ 16 / 100 = 0.16 ดังนั้น r = √0.16 = 0.4
จากสมดุลของ ฮาร์ดี – ไวน์เบิรก์ ➢ p+q =1
R+r =1
ดังนั้น R =1–r
= 0.6

7.4 ปั จจัยที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงความถีข่ องอัลลีล

การเปลีย่ นแปลงความถีข่ องอัลลีลทาให้เกิดวิวฒ


ั นาการ

➢ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้ างทางพันธุกรรมของยีนพูลในประชากรทีละเล็กทีละน้ อยนี้เรียกว่า วิวฒ ั นาการ


ระดับจุลภาค (microevolution) ซึ่งถือได้ ว่าเป็ นการเกิดวิวัฒนาการในระดับสปี ชีสข์ องสิ่งมีชีวิต

➢ การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้ เกิดวิวัฒนาการในระดับที่เหนือกว่าสปี ชีส์ และทาให้ เกิดสิ่งมีชีวิตสปี ชีส์ใหม่


เรียกว่า วิวฒ
ั นาการระดับมหาภาค (macroevolution)

ปั จจัยที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงความถีข่ องอัลลีล

เกิดขึ้นในประชากรขนาดเล็ก เช่น เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ


1) การเปลีย่ นความถีย่ ีนอย่างไม่เจาะจง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้ อมอย่างกะทันหัน เป็ นต้ น
อาจทาให้ บางอัลลีลไม่มีโอกาสถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้
ได้ แก่
เกิดจากการย้ ายถิ่นของประชากรขนาดเล็กไม่ก่ตี ัว เช่น มีเพียงเพศเมียที่ผ่าน
การผสมพันธุ์แล้ วเพียงตัวเดียว หรือมีเมล็ดพืชเพียง 1 เมล็ดปลิวไปอยู่ใน
ผลกระทบจากผูก้ ่อตั้ง แหล่งที่อยู่ใหม่ และประสบความสาเร็จในการสืบพันธุ์ทาให้ มีประชากรใหม่
(founder effect) เกิดขึ้นในแหล่งที่อยู่ใหม่ซ่ึงมีโครงสร้ างทางพันธุกรรมแตกต่างจากประชากร
เริ่มต้ น

เกิ ด จากประชากรขนาดใหญ่ ท่ี มี จ านวนประชากรลดลงอย่ า งรวดเร็ ว


อันเนื่อ งมาจากภัย พิบั ติ ท างธรรมชาติ เช่ น แผ่ นดิ นไหว ภูเ ขาไฟระเบิ ด
ปรากฏการณ์คอขวด การขาดแคลนอาหาร หรือ การเกิด โรคระบาด ท าให้ ป ระชากรที่รอดจาก
(bottleneck effect) เหตุการณ์ดังกล่าวมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ ความถี่ของอัลลีลในยี นพูลของ
ประชากรที่มี ชีวิต อยู่ รอด และประสบความสาเร็จ ในการสืบ พันธุ์ ซึ่งจะมี
การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 99
ปั จจัยที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงความถีข่ องอัลลีล (ต่อ)

เป็ นการเคลื่อนย้ ายยีน หรืออัลลีลจากประชากรหนึ่งไปสู่อีกประชากรหนึ่ง


2) การถ่ายเทเคลือ่ นย้ายยีน เช่น การแพร่กระจายของสปอร์ หรือเรณู หรือเมล็ดระหว่างประชากรพืชจาก
พื้นที่หนึ่งแพร่กระจายไปยังพื้นที่อ่นื การอพยพย้ ายถิ่นฐานระหว่างประชากร
เป็ นต้ น

ในธรรมชาติท่วั ไปพบว่าสมาชิกในกลุ่มประชากรมักจะมีการเลือกคู่ผสมพันธุ์
หรือ การผสมพัน ธุ ์ไ ม่เ ป็ นแบบสุ่ ม (non-random mating) ท าให้ สมาชิก
3) การเลือกคู่ผสมพันธุ ์ บางส่วนของประชากรไม่มีโอกาสได้ ผสมพันธุ์ จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ความถี่ของอัลลีลในยีนพูลของประชากรในรุ่นต่อไป

เป็ นการสร้ างอัลลีลใหม่ท่สี ะสมไว้ ในยีนพูล แล้ วทาให้ เกิดความหลากหลาย


4) มิวเทชัน ทางพันธุกรรมของประชากรนั้น โดยธรรมชาติจะเป็ นผู้คัดเลือกอัลลีลใหม่
ที่เหมาะสมไว้ ในประชากร

ทาให้ สมาชิกของประชากรที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้ อมมีจานวน


เพิ่ ม มากขึ้ น ลั ก ษณะที่ไ ม่ เ หมาะสมกับ สภาพแวดล้ อ มจะถู ก คั ด ทิ้ง และ
5) การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
มีจานวนลดลง ด้ วยเหตุน้ ี จึงทาให้ อัลลีลบางแอลลีลในประชากรมีจานวน
เพิ่มมากขึ้น และบางอัลลีลของประชากรมีจานวนลดลง

NOTE : ตารางเปรียบเทียบผลกระทบจากผูก้ ่อตั้งและปรากฏการณ์คอขวด

ผลกระทบจากผูก้ ่อตั้ง ปรากฏการณ์คอขวด


1. ประชากรมีการย้ ายถิ่น 1. เกิดภาวะวิกฤติกบั ประชากรในพื้นทีเ่ ดิม
2. ประชากรที่ย้ายไปมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2. ประชากรเดิมที่มีขนาดใหญ่ลดจานวนลงอย่างรวดเร็ว
ประชากรเดิม
3. ความถี่ของอัลลีลของผู้ก่อตั้งเพิ่มขึ้น 3. ความถี่ของอัลลีลของประชากรที่รอดจากภาวะวิกฤติ
เพิ่มขึ้น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 100
7.5 กาเนิดของสปี ชีส ์

7.5.1 ความหมายของสปี ชีส ์

➢ นักชีววิทยาหลายคนได้ ให้ แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของสปี ชีสไ์ ว้ ดังนี้

 สปี ชีสท์ างด้ านสัณฐานวิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้ างภายนอกเหมือนกันหรือการทางานของโครงสร้ างนั้นคล้ ายกัน

 สปี ชีสท์ างด้ านชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กนั ได้ ในธรรมชาติและให้ กาเนิดลูกที่ไม่เป็ นหมัน

กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ ์ มีผลทาให้ สิ่งมีชีวิตต่างสปี ชีสม์ ีการป้ องกันการผสมพันธุข์ ้ ามสปี ชีสไ์ ด้


แบ่งออกได้ 2 ระดับ

กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ ์ กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุ ์
ก่อนระยะไซโกต หลังระยะไซโกต

; เป็ นกลไกที่ป้องกันไม่ให้ เซลล์สบื พันธุ์


1) กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุก์ ่อนระยะไซโกต จากสิ่งมีชีวิตต่างสปี ชีสก์ นั มาปฏิสนธิกนั

1.1 ถิน่ ที่อยู่อาศัย เช่น กบป่ าอาศัยอยู่ในแอ่งนา้ ซึ่งเป็ นแหล่งนา้ จืดขนาดเล็ก ส่วนกบบูลฟรอกอาศัยอยู่ใน
หนองนา้ หรือบึงขนาดใหญ่ท่มี ีนา้ ตลอดทั้งปี กบทั้ง 2 สปี ชีสน์ ้ อี าศัยและผสมพันธุ์อยู่ในแหล่งนา้ ที่แตกต่างกัน
ทาให้ ไม่มีโอกาสจับคู่ผสมพันธุก์ นั

1.2 พฤติกรรมการผสมพันธุ ์ เช่น พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของนกยูงเพศผู้ ลักษณะการสร้ างรังที่แตกต่าง


กันของนก และการใช้ ฟีโรโมนของแมลง เป็ นต้ น มีผลต่อสัตว์เพศตรงข้ ามในสปี ชีส์เดียวกันเท่านั้นที่จะจับ
คู่ผสมพันธุไ์ ด้

1.3 ช่วงเวลาในการผสมพันธุ ์ เช่น แมลงหวี่ Drosophila pseudoobscura มีช่วงเวลาในการผสมพันธุก์ นั ตอน


บ่าย แต่แหลงหวี่ Drosophila persimilis จะผสมพันธุ์กันในตอนเช้ า ทาให้ แมลงหวี่ท้ัง 2 สปี ชีส์ไม่มีโอกาส
ผสมพันธุก์ นั ได้

1.4 โครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ ์ เช่น โครงสร้ างของดอกไม้ บางชนิด มีลักษณะสอดคล้ องกับลักษณะของ


แมลงหรือสัตว์บางชนิด ทาให้ แมลงหรือสัตว์น้นั ๆ ถ่ายเรณูเฉพาะพืชในสปี ชีสเ์ ดียวเท่านั้น

1.5 สรี รวิทยาของเซลล์สืบพันธุ ์ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่ างสปี ชีส์กัน อาจจะมีโอกาสมาพบกัน


แต่ไม่สามารถปฏิสนธิกนั ได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 101
; เป็ นกลไกป้ องกันไม่ให้ ลูกผสมสามารถ
2) กลไกการแยกกันทางการสืบพันธุห์ ลังระยะไซโกต เจริญเติบโตเป็ นตัวเต็มวัยหรือสืบพันธุ์ต่อไปได้

2.1 ลูกผสมตายก่อนถึงวัยเจริญพันธุ ์ เช่น การผสมพันธุก์ บ (Rana spp.) ต่างสปี ชีสก์ นั พบว่ามีการตายของ


ตัวอ่อนในระยะต่างๆ กัน และไม่สามารถเจริญเติบโตเป็ นตัวเต็มวัยได้

2.2 ลูกผสมเป็ นหมัน เช่ น การผสมระหว่างม้ ากับลา จะได้ ล่อ ซึ่งเป็ นหมัน ไม่สามารถให้ กาเนิดลูกในรุ่น
ต่อไปได้

2.3 ลูกผสมล้มเหลว เช่ น การผสมระหว่างดอกทานตะวัน (Layia spp.) 2 สปี ชีส์ พบว่า ลูกผสมที่เกิดขึ้น
สามารถเติบโตและให้ ลูกผสมในรุ่น F1 ได้ แต่ลูกในรุ่น F2 เริ่มอ่อนแอ และเป็ นหมันประมาณร้ อยละ 80

7.5.2 การเกิดสปี ชีสใ์ หม่

การเกิดสปี ชีสใ์ หม่

เกิดได้ 2 แนวทาง คือ…

1) การเกิดสปี ชีสใ์ หม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ 2) การเกิดสปี ชีสใ์ หม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน


เกิดจากประชากรดั้งเดิมในรุ่นบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ เป็ นการเกิดสปี ชีส์ใหม่ในถิ่นอาศัยเดียวกับบรรพบุ รุษ
ในพื้นที่เดียวกัน เมื่อมีอุปสรรคมาขวางกั้น เช่ น ภูเขา โดยมีกลไกมาป้ องกันทาให้ ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้
แม่น้า ทะเล เป็ นต้ น ทาให้ ประชากรในรุ่นบรรพบุรุษที่ แม้ ว่าจะอยู่ ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม เช่ น การเกิดพอลิ
เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เกิดการแบ่งแยกออกจาก พลอยดี (polyploidy) ของพืชโดยการเพิ่มจานวนชุด
กันเป็ นประชากรย่อยๆ และไม่มีการถ่ายเทเคลื่อนย้ าย ของโครโมโซม อาจเกิ ด จากความผิ ด ปกติ ข อง
ยีนระหว่างกัน กระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ทาให้ เซลล์สืบพันธุ์
มีจานวนโครโมโซม 2 ชุด (2n) เมื่อเซลล์สบื พันธุน์ ้ เี กิด
การปฏิสนธิจะได้ ไซโกตที่มีจานวนโครโมโซมมากกว่า
2 ชุด เช่น มีโครโมโซม 4 ชุด (4n)

ภาพแสดงการเกิด polyploidy จากผลการทดลองของ Karpechengo


ที่มา ; https://lacienciaysusdemonios.com/2009/08/07/

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 102
7.6 วิวฒ
ั นาการของมนุษย์

➢ จากการเปรียบเทียบลาดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี


พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหาง เมื่อประมาณ 5-7 ล้ านปี ที่ผ่านมา

7.6.1 ออสตราโลพิเทคัส

ออสตราโลพิเทคัส

คล้ ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด เรียกซากนั้นว่า ลูซ่ี (Lucy) เป็ นเพศหญิง รู้จักใช้ เครื่องมือ แต่สร้ างเครื่องมือไม่ได้ หรือ
อาจสร้ างได้ แบบหยาบๆ เนื่องจากต้ องล่าสัตว์ และกินเนื้อเป็ นอาหาร

พบซากดึงดาบรรพ์ของ Australopithecus africanus, A. afrarensis, A. boisei, A. robustus


ลักษณะสาคัญ คือ ขากรรไกรใหญ่หน้ าผากสั้น สมองค่อนข้ างเล็ก

นักวิทยาศาสตร์จัด A.afrarensis เป็ นบรรพบุรุษของ Australopithecus

7.6.2 โฮโม

โฮโม

➢ Homo habilis : เป็ นมนุษย์ในจีนัสโฮโมที่เก่าแก่ท่สี ดุ สามารถประดิษฐ์เครื่องมือได้

: ซากดึกดาบรรพ์ H. erectus พบทั้งในแอฟริกาตอนเหนือ และเอเชียตอนใต้


จีน และอินโดนีเซีย พบที่เกาะชวาเรียกว่า มนุ ษย์ชวา พบที่ประเทศจีนเรียกว่า
➢ Homo erectus มนุ ษย์ปักกิ่ง มี รูป ร่ า งก าย าล่ า สันสูงใหญ่ มี ก ารใช้ และประดิ ษฐ์ เ ครื่อ งมือที่
ประณีตและเฉพาะกับงานมากขึ้น รู้จักก่อไฟและควบคุมไฟได้ ขนาดสมองของ
H. erectus มีขนาดเพิ่มขึ้น

➢ Homo sapiens
เป็ นมนุษย์ในสปี ชีส์ H. sapiens neanderthalensis
มีลักษณะสาคัญ คือ กะโหลกด้ านข้ างพองออกมีความจุสมองมากกว่า
มนุษย์นีแอนเดอร์ทลั
มนุ ษย์ ปั จ จุ บั น เริ่ม มี อ ารยธรรม เช่ น ประเพณีฝังศพ บู ช าเทพเจ้ า
(Neanderthal man)
ใช้ เ ครื่ อ งมื อ พวกหอกมี ด้ า ม และพบเครื่ อ งมื อ มี ด ของหิ น ยุ ค เก่ า
ตอนปลายปะปนอยู่ด้วย

เป็ นมนุษย์ในสปี ชีส์ H. sapiens sapiens


มี ลัก ษณะสาคัญ คือ ศีรษะกลม มี ตาแหน่ งที่สูงกว่ านีแอนเดอร์ทัล
มนุษย์โครแมนยัง ขนาดสมองใกล้ เ คี ย งมนุ ษ ย์ ปั จ จุ บั น มาก ช านาญในการล่ า สั ต ว์
(Cromanyon) มีการใช้ เครื่องมือหินที่ก้าวหน้ าขึ้น มีขวานหินที่มีด้าม มีหอกที่ด้ามทา
ด้ วยไม้ จับได้ สะดวก ทาให้ ล่าสัตว์ได้ ดี และวาดรูปโดยใช้ สีสวยงามไว้
ที่ผนังถา้ ในประเทศสเปน และฝรั่งเศส

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 103
นักบรรพชีวินและนักมานุษยวิทยา ได้ ต้งั สมมติฐานของ
➢ กาเนิดของมนุษย์ปัจจุบนั
การกาเนิดมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
แบ่งออกเป็ น 2 แนวทาง
กล่าวว่า…
สมมติฐานแรก มนุษย์ในปัจจุบันที่อาศัยอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของโลก มีวิวัฒนาการมา
จาก H. erectus ที่แพร่กระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการ
แบบขนานมาเป็ นมนุษย์ในยุคปัจจุบัน

กล่าวว่า...
มนุ ษ ย์ ใ นปั จจุ บันมี วิ วัฒนาการครั้ งที่ส อง โดยมี การแพร่ กระจายของ
H. erectus ไปอาศั ย ตามบริ เ วณต่ า งๆ และได้ สูญ พั น ธุ์ไ ปหมด ท าให้
สมมติฐานที่สอง เหลื อ เพีย ง H. erectus ในแถบแอฟริกาเท่ านั้นที่มีวิวัฒนาการไปเป็ น
H. sapiens จากสมมติฐานนี้แสดงว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันมี กาเนิดมาจาก
บรรพบุ รุ ษ เดี ย วกันคื อ H. sapiens ที่ไ ด้ อพยพออกจากแถบแอฟริกา
เมื่อประมาณ 1 แสนปี ที่ผ่านมานั่นเอง

ภาพแสดงวิวฒ
ั นาการของมนุษย์
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 104
บทที่ 8 : การสืบพันธุข์ องพืชดอกและการเจริญเติบโต
8.1 วัฏจักรชีวิต และการสืบพันธุแ์ บบอาศัยเพศของพืชดอก

➢ วัฏจักรชีวิตของพืชทุกกลุ่มเป็ นวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)

ในช่วงชีวิตของพืชต้ นหนึ่งจะมีระยะในช่วงชีวิตที่แตกต่างกันเป็ น 2 ระยะสลับกัน คือ…


1) ระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte)

2) ระยะแกมีโทไฟต์ (gametophyte)

ระยะสปอโรไฟต์ประกอบขึ้นจากเซลล์ท่มี ีจานวนโครโมโซม 2 ชุดหรือ


เซลล์ท่อี ยู่ในสภาพดิพลอยด์ (diploid ; 2n) หน้ าที่ของสปอโรไฟต์ คือ การสร้ างสปอร์

สปอร์ท่พี ืชสร้ างขึ้นมาจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเซลล์กาเนิดสปอร์ หรือ
สปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell)
ดังนั้นสปอร์ท่พี ืชสร้ างขึ้นจึงเป็ นเซลล์ท่อี ยู่ในสภาพแฮพลอยด์ (haploid; n)

จากนั้นสปอร์จะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเจริญและพัฒนาเข้ าสูช่ ่วงชีวิตระยะแกมีโทไฟต์
โดยหน้ าที่ของแกมีโทไฟต์ คือ การสร้ างเซลล์สบื พันธุ์

ต่อมาจะมีการปฏิสนธิ (fertilization) ของเซลล์สบื พันธุเ์ พศผู้และเพศเมียได้ เป็ นไซโกต (zygote)
ซึ่งจะแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อเพิ่มจานวนเซลล์และเจริญพัฒนาไปเป็ นเอ็มบริโอ (embryo)

เอ็มบริโอเจริญเติบโตเป็ นพืชระยะสปอโรไฟต์ต่อไป

ภาพแสดงวงจรชีวิตสลับของพืชดอก
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 105
8.1.1 โครงสร้ างของดอกและการสร้ างสปอร์

โครงสร้ างของดอก

➢ ดอกแต่ละดอก ประกอบด้ วยโครงสร้ างหลักที่สาคัญ 4 ส่วนติดอยู่บนฐานดอก (receptacle) ได้ แก่ …


กลีบเลี้ยง (sepal) กลีบดอก (petal) เกสรเพศผู้ (stamen) และเกสรเพศเมีย (pistil)

➢ เกสรเพศผู้ประกอบด้ วยส่วนสาคัญ 2 ส่วน คือ อับเรณู (anther) และก้ านชูอบั เรณู (filament)

➢ เกสรเพศเมียแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน ส่วนล่ างสุดที่ติดกับฐานดอกมักมีลักษณะโป่ งพองออกมากกว่ า


ส่วนอื่นเรียก รังไข่ (ovary) ต่อจากรังไข่ข้ ึนไปคือก้ านเกสรเพศเมีย (style) และบริเวณปลายสุดคือยอด
เกสรเพศเมีย (stigma) ภายในรังไข่มีโครงสร้ างเป็ นก้ อนกลมหรือรีขนาดเล็กเรียก ออวุล (ovule)

➢ ถ้ าใช้ สว่ นประกอบของดอกไม้ เป็ นเกณฑ์ สามารถแบ่งดอกไม้ ได้ ดังนี้

คือ ดอกที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ชบา พู่ระหง ถั่ว


1) ดอกสมบูรณ์ (complete flower)
พริก พุทธรักษา ข้ าว สับปะรด หอม กระเทียม เป็ นต้ น

คือ ดอกที่ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ตาลึง


2) ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower)
ขนุน มะพร้ าว หน้ าวัว ฟักทอง แตงกวา ข้ าวโพด เป็ นต้ น

คือ ดอกที่มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน เช่น


3) ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) ชบา กุหลาบ พู่ระหง มะเขือ เป็ นต้ น

คือ ดอกที่มี เ กสรเพศผู้ หรือ เกสรเพศเมี ยเพียงอย่า งใดอย่าง


4) ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) หนึ่ง โดยดอกที่มี เ ฉพาะเกสรเพศผู้เ รีย กดอกเพศผู้ ดอกที่มี
เฉพาะเกสรเพศเมี ย เรี ย กดอกเพศเมี ย เช่ น ฟั ก ทอง บวบ
บานเย็น หน้ าวัว เป็ นต้ น

➢ ถ้ าพิจารณาจากตาแหน่งของรังไข่ เมื่อเทียบกั
สามารถแบ่
บตาแหน่งดอกไม้
วงกลีบได้ ดังนี้

1) ดอกประเภทที่มีรังไข่เหนือวงกลีบ เช่น ดอกมะเขือ จาปี ยี่หุบ บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ ส้ม เป็ นต้ น

เช่น ดอกตาลึง ฟักทอง แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กล้ วย พลับพลึง


2) ดอกประเภทที่มีรังไข่ใต้ วงกลีบ เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 106
➢ ถ้ าใช้ จานวนดอกที่อยู่บนก้ านดอกเป็ นเกณฑ์ สามารถแบ่งดอกไม้ ได้ ดังนี้

1) ดอกเดี่ยว (solitary flower) คือ ดอกที่มีดอกเพียง 1 ดอกบนก้านดอก เช่น กุหลาบ บัว เป็ นต้ น

คือ ดอกที่มี ด อกย่อ ยมากกว่ า 1 ดอกติ ด อยู่บ นแกนช่ อดอกซึ่งเป็ น


2) ดอกช่อ (inflorescences) ส่ ว นที่ ต่ อ ออกไปจากก้ า นช่ อ ดอก เช่ น กล้ ว ยไม้ เข็ม ราชพฤกษ์
ทานตะวัน เฟื่ องฟ้ า เป็ นต้ น

NOTE :
➢ ดอกของพืชบางชนิดที่เป็ นดอกช่อ แต่มักมีความเข้ าใจว่าเป็ นดอกเดี่ยว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง ดาวกระจาย บานชื่น เป็ นต้ น เนื่องจาก
ก้านช่อดอกของพืชเหล่านี้จะหดสั้น และขยายแผ่ออกเป็ นวงคล้ ายจานเรียกฐานดอกร่วม (common receptacle)
➢ กลีบเลี้ยงโดยปกติมักมีสเี ขียวทาหน้ าที่ป้องกันส่วนประกอบอื่นๆ ของดอกที่อยู่ด้านในเอาไว้
➢ กลีบดอกมักมีรูปร่างและสีสนั สวยงามเพื่อดึงดูดแมลงหรือสัตว์อ่นื ๆ
➢ อับเรณูของเกสรเพศผู้จะพบช่องลักษณะค่อนข้ างกลม โดยทั่วไปพบ 4 ช่อง เรียก โพรงอับเรณู (pollen sac) ภายในมีไมโครสปอร์
มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) อยู่เป็ นจานวนมาก ที่พร้ อมจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้ างไมโครสปอร์ต่อไป
➢ ออวุลภายในรังไข่ของเกสรเพศเมีย ประกอบด้ วย เนื้อเยื่อที่เรียกว่า นิวเซลลัส (nucellus) ซึ่งถูกหุ้มล้ อมด้ วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ผนังออวุล
(integument) ยกเว้ น บริเวณส่วนปลายที่ผนังออวุ ลหุ้ม ไม่ รอบจึ งเกิดเป็ นช่อ งเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) ภายในนิวเซลลั ส
จะพบเซลล์ขนาดใหญ่กว่าเซลล์อ่นื จานวน 1 เซลล์ทาหน้ าที่เป็ นโครงสร้ างที่เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) ซึ่งจะ
แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้ างเมกะสปอร์จานวน 4 เซลล์

8.1.2 เรณู ถุงเอ็มบริโอ การสร้ างเซลล์สบื พันธุแ์ ละการปฏิสนธิ

ภาพแสดงการสร้ างเซลล์สบื พันธุข์ องพืชดอก


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 107
➢ การสร้างเซลล์สืบพันธุเ์ พศผู ้ (Male gametophyte)

เมื่อ Microspore mother cell แบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ได้ 4 microspore



เมื่อ microspore แต่ละเซลล์ แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจะได้ 2 นิวเคลียส
คือเจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative nucleus) และทิวบ์นวิ เคลียส (tube nucleus)
โครงสร้ างที่เกิดขึ้นหลังการแบ่งนิวเคลียสนี้เรียกว่า เรณู (pollen) หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)

เมื่อเรณูตกบนยอดเกสรเพศเมีย เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะเกิดการแบ่งแบบไมโทซิส
เพื่อสร้ างสเปิ ร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) 2 นิวเคลียสทาหน้ าที่เป็ นเซลล์สบื พันธุเ์ พศผู้

➢ การสร้างเซลล์สืบพันธุเ์ พศเมีย (Female gametophyte)

เมื่อ Megaspore mother cell แบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ได้ 4 megaspore



โดยทั่วไปเมกะสปอร์ 4 เซลล์ ที่เกิดขึ้นภายในออวุลนั้น จะมี 3 เซลล์ท่สี ลายไป
เหลือเพียง 1 เซลล์ท่พี ัฒนาไปเป็ นแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)

เมกะสปอร์ 1 เซลล์ท่เี หลือจะเกิดไมโทซิส 3 ครั้งติดต่อกันกันได้ 8 นิวเคลียส
แยกกันอยู่ท่ขี ้วั ตรงข้ ามกัน ขั้วละ 4 นิวเคลียส

โดย 3 นิวเคลียสของขั้วบนจะเคลื่อนไปอยู่ท่ดี ้ านตรงข้ ามกับไมโครไพล์
และสร้ างเยื่อหุ้มล้ อมรอบแต่ละนิวเคลียสเกิดเป็ นเซลล์เรียก แอนติโพแดล (antipodal)

อีก 3 นิวเคลียสของขั้วล่างจะเคลื่อนไปอยู่ทางด้ านไมโครไพล์
และเปลี่ยนสภาพเป็ นเซลล์เช่นกัน โดย 1 เซลล์ทาหน้ าที่เป็ นเซลล์ไข่ (egg cell) หรือเซลล์สบื พันธุเ์ พศเมีย
ส่วนอีก 2 เซลล์ท่อี ยู่ด้านข้ างของเซลล์ไข่เรียก ซินเนอร์จิด (synergid)

ส่วนอีก 1 นิวเคลียสที่เหลือของแต่ละขั้วจะเคลื่อนมาอยู่ตรงกลางเกิดเป็ นสภาพนิวเคลียสคู่ (n+n)
เรียก 2 นิวเคลียสนี้ว่า โพลาร์นวิ คลีไอ (polar nuclei)

โครงสร้ างที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)
ซึ่งเป็ นระยะแกมีโทไฟต์เพศเมียที่เจริญเต็มที่

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 108
➢ การถ่ายเรณู และการงอกหลอดเรณู

การถ่ายเรณูเกิดขึ้นเมื่อเรณูเคลื่อนย้ ายโดยลม แมลง หรืออื่นๆ จากอับเรณูไปตกบนยอดเกสรเพศเมีย


จากนั้นจะมีการเจริญและงอกหลอดเรณูเพื่อเข้ าไปผสมกับออวุลในรังไข่

หลังการถ่ายเรณู เรณูจะงอกหลอดเรณูผ่านยอดเกสรเพศเมียแล้ วผ่านก้ านเกสรเพศเมียลงไปจนถึงรังไข่

เรณูของพืชบางชนิดอาจงอกหลอดเรณูได้ หลายอัน แต่จะมีเฉพาะหลอดเรณูท่มี ีทวิ บ์นวิ เคลียส
เคลื่อนเข้ าไปเท่านั้นที่จะงอกยาวต่อไปจนถึงออวุลและทั้งสองสเปิ ร์มนิวเคลียสจะเคลื่อนตามทิวบ์นิวเคลียส
เข้ าไปในหลอดเรณูซ่งึ จะผ่านเข้ าไปในออวุลทางไมโครไพล์
แล้ วปล่อยสเปิ ร์มนิวเคลียสเข้ าไปภายในถุงเอ็มบริโอเพื่อเกิดการปฏิสนธิต่อไป

➢ การปฏิสนธิ

- การปฏิสนธิในพืชดอกจะมีลักษณะพิเศษเรียกว่า การปฏิสนธิ คู่ (double fertilization) โดยสเปิ ร์มนิวเคลียส


ตัวที่หนึ่งจะเข้ าปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ ได้ ไซโกต ซึ่งจะเจริญต่ อไปเป็ นเอ็มบริโอ ส่วนสเปิ ร์มนิวเคลียสตัวที่สองจะเข้ าไป
ปฏิสนธิกบั โพลาร์นิวคลีไอได้ เอนโดสเปิ ร์มนิวเคลียส (endosperm nucleus) ซึ่งเจริญต่อไปเป็ นเอนโดสเปิ ร์ม

1) Sperm (n) + egg (n) Zygote (2n) Embryo (2n)


2) Sperm (n) + polar nuclei (2n) Endosperm (3n)

8.1.3 ผลและเมล็ด

➢ ชนิดของผล หลังการปฏิสนธิออวุลเจริญไปเป็ นเมล็ดรังไข่จะเจริญไปเป็ นผลห่อหุ้มเมล็ด โดยผนังรังไข่


จะเปลี่ยนแปลงไปเป็ นผนังผล (pericap) ที่มีลักษณะต่างๆ เช่น
1) ผนังมีเนื้อ เช่น แตงโม มะเขือเทศ เชอรี่
2) ผนังแห้ ง เช่น ลาไย ลิ้นจี่ เป็ นต้ น
3) ผนังมีหนาม เช่น ทุเรียน สละ และก่อ
4) ผนังมีขน เช่น เงาะ และกีว่ี
5) ผนังมีต่อมนา้ มัน เช่น มะกรูด และมะนาว
6) ผนังมีเส้ นใย เช่น มะพร้ าว และตาล

ผลบางชนิดอาจมีโครงสร้ างส่วนอื่นของดอก เช่ น ฐานดอกเจริญร่วมขึ้นมาเป็ นส่วนหนึ่ง


ของผล เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ ล สาลี่ มะม่วงหิมพานต์ เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 109
ผลอาจแบ่งได้ เป็ น 3 ประเภท

1. ผลเดี่ยว เป็ นผลที่ เ กิ ด มาจากดอก 1 ดอกที่ มี เ กสรเพศเมี ย เพี ย ง 1 อั น


(simple fruit) จะเป็ นดอกเดี่ยวหรือดอกช่ อก็ได้ เช่ น ตะขบ ส้ ม ทุเรียน ลิ้นจี่
เงาะ ลาไย องุ่น กระถิน สละ มะพร้ าว ข้ าวโพด ฯลฯ

เป็ นผลที่เกิดมาจากดอก 1 ดอก ที่มีเกสรเพศเมียจานวนมากกว่า


2. ผลกลุ่ม 1 อัน ตั้งอยู่บนฐานดอก รังไข่ของเกสรเพศเมียแต่ละอันจะเจริญ
(aggregate fruit) เป็ นผลย่ อ ย แต่ ล ะผลย่ อ ยติ ด อยู่ บ นฐานดอก เช่ น บั ว หลวง
การเวก กระดังงา จาปี จาปา กุหลาบ สตรอเบอรี่ น้ อยหน่า ฯลฯ

เป็ นผลที่เกิดมาจากดอกช่ อ ลักษณะของช่ อดอกมักมีดอกย่ อย


3. ผลรวม จานวนมากและอยู่เบียดชิดกันและรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอก
(multiple fruit) จะเจริญร่วมกันมีเนื้อเยื่อเชื่อมให้ ผลย่อยที่อยู่เบียดชิดกันบนแกน
ช่ อดอกกลายเป็ นเนื้อเดียวกันจนดูคล้ ายเป็ นผลแค่ 1 ผล เช่ น
สับปะรด สาเก ยอ ขนุน หม่อน มะเดื่อ เป็ นต้ น

➢ การเจริญและพัฒนาภายหลังการปฏิสนธิค่ขู องพืชดอก

- การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในออวุลทาให้ เกิดเอ็มบริโอและเอนโดสเปิ ร์ม ออวุล จะพัฒนาไปเป็ น


เมล็ดอยู่ภายในผลซึ่งพัฒนามาจากรังไข่ บางครั้งเมื่อผ่าผลไม้ แล้ วจะไม่พบเมล็ดอยู่เลย ที่เป็ นเช่ นนั้น
เพราะรังไข่ของพืชบางชนิดอาจพัฒนาขึ้นมาเป็ นผลได้ โดยไม่มีการปฏิสนธิ ผลลักษณะนี้จึงไม่พบเมล็ดอยู่
ภายใน เช่น กล้ วย เป็ นต้ น

- ภายหลังจากการปฏิสนธิคู่ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในรังไข่ของพืชดอก ดังนี้

ส่วนประกอบของดอก เจริญไปเป็ นโครงสร้าง....


รังไข่ ผล
ผนังหุ้มรังไข่ เปลือก , เนื้อของผล
ออวุล เมล็ด
Zygote (ไข่ + สเปิ ร์ม) ต้ นอ่อน (Embryo)
Polar nuclei + Sperm อาหารเลี้ยงต้ นอ่อน (Endosperm)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 110
หลังการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญไปเป็ นเมล็ด โดยผนังออวุลจะเปลี่ยนแปลงไปเป็ น
➢ เมล็ดและเอ็มบริโอ เปลือกเมล็ด (seed coat) ไปหุ้มล้ อมเอ็มบริโอและเอนโดสเปิ ร์ม แต่ส่วนเนื้อเยื่อ
นิวเซลลัสจะหายไป
ประกอบด้ วย

1. เปลือก เป็ นส่วนที่อยู่นอกสุด ทาหน้ าทีป่ ้ องกันอันตรายต่างๆ ให้ แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด


เมล็ด
2. เอ็มบริโอ เจริญมาจากไซโกตประกอบด้ วยส่วนสาคัญ ดังนี้

2.1 รากแรกเกิดหรือเรดิเคิล (Radicle)


เป็ นส่วนปลายสุดของแกนเอ็มบริโอที่อยู่ทางด้ านไมโครไพล์ เมื่อเมล็ดมีการงอกและเจริญต่อไปเป็ นรากอันดับ
แรกของพืช พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ข้ าวโพด ข้ าว ในส่วนของแรดิเคิลมีเนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิดหุ้มเอาไว้
เรียกเนื้อเยื่อหุ้มรากแรกเกิดหรือโคลีโอไรซา

2.2 ลาต้ นใต้ ใบเลี้ยงหรือไฮโพคอทิล (hypocotyls)


เป็ นส่วนแกนของเอ็มบริโอที่อยู่ถัดจากแรดิเคิลขึ้นไป จึงมีลักษณะเหมือนเป็ นลาต้ นสั้นๆ

2.3 ใบเลี้ยง (cotyledon)


อาจมี 1 ใบ ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว หรือ 2 ใบ ในพืชใบเลี้ยงคู่ ใบเลี้ยงของพืชมีลักษณะอวบ หนา มีเนื้อ เพราะมี
การสะสมอาหารไว้ เลี้ยงต้ นกล้ า เช่น ถั่วต่างๆ บัว มะขาม มะม่วง จาก มะพร้ าว เป็ นต้ น บางชนิดทาหน้ าที่
สังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้ างอาหารให้ กบั ต้ นกล้ าในระยะแรก ก่อนที่ใบแท้จะพัฒนาขึ้นมาได้ เต็มที่

2.4 ลาต้ นเหนือใบเลี้ยงหรือเอพิคอทิล (epicotyls)


เป็ นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือใบเลี้ยงเมื่อเมล็ดงอกส่วนนี้จะเจริญยืดยาวไปเป็ นลาต้ น และสร้ างใบแท้ ในพืช
บางชนิด เช่น ข้ าวโพด ข้ าว มีเนื้อเยื่อพิเศษเรียกเนื้อเยื่อหุ้มยอดแรกเกิดหรือโคลีออพไทล์ (coleoptile) เจริญ
คลุมปลายยอดของเอ็มบริโอเอาไว้

เป็ นเนื้ อเยื่ อ ที่ ท าหน้ า ที่ เ ก็บ สะสมอาหารส าหรั บ การเจริ ญ เติ บ โตของเอ็ม บริ โ อ
อาหารที่สะสมอาจจะเป็ นแป้ ง โปรตีน หรือไขมันขึ้นอยู่ กับชนิดของพืช เช่ น ข้ าว
3. เอนโดสเปิ ร์ม ข้ าวโพด ละหุ่ง เป็ นต้ น เมล็ดพืชบางชนิดอาจมีเอนโดสเปิ ร์มเกิดขึ้นเพียงเล็กน้ อย
หรือเอนโดสเปิ ร์มอาจไม่พัฒนา ดังนั้นเมื่อเมล็ดเจริญเต็มที่ไม่พบเอนโดสเปิ ร์ม เช่น
ถั่วต่างๆ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 111
ภาพแสดงโครงสร้ างของเมล็ดพืชแบบต่างๆ (a) เมล็ดถั่ว : พืชใบเลี้ยงคู่ท่มี ีใบเลี้ยงหนา
(b) เมล็ดละหุ่ง : พืชใบเลี้ยงคู่ทม่ี ีใบเลี้ยงลีบบาง (c) เมล็ดข้ าวโพด : พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ที่มา ; Reece et al. (2011)

8.1.4 การงอกของเมล็ด

การงอกของเมล็ดพืช แบ่งออกเป็ น

1) Hypogeal เกิดในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ขณะงอกใบเลี้ยงจะจมอยู่ใต้ ดนิ เช่น ข้ าว ข้ าวโพด มะพร้ าว

2) Epigeal เกิดในพืชใบเลี้ยงคู่ ขณะงอกใบเลี้ยงจะอยู่เหนือพื้นดิน เช่น ถั่ว บัว มะขาม

ภาพแสดงการงอกแบบ epigeal ของต้ นถั่ว ภาพแสดงการงอกแบบ hypogeal ของต้ นข้ าวโพด


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 112
➢ ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด แบ่งเป็ น

1) ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด ได้ แก่ นา้ หรือความชื้น ออกซิเจน อุณหภูมิ แสง

2) ปัจจัยภายในที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
ได้ แก่ สภาพพักตัวของเมล็ด (Dormancy)
- พืชบางชนิดมีสภาพพักตัวสั้นมาก เช่น ขนุน มะละกอ มะขามเทศ เมล็ดงอกได้ ขณะที่ยังอยู่ในผล
- ในขณะที่โกงกางไม่มีสภาพพักตัวของเมล็ดเลย
- พืชบางชนิดอาจมีสภาพพักตัวที่ยาวนาน
เมล็ด พื ช ทั่ ว ไปเมื่ อ ได้ รั บ สิ่ ง แวดล้ อมที่ เ หมาะสม สภาพพั ก ตั ว จะหมดไป ท าให้ เ อ็ม บริ โ อ
เจริญเติบโตต่อไปได้ แต่พืชบางชนิดแม้ ได้ รับสภาพแวดล้ อมที่เหมาะสม เมล็ดยังคงอยู่ในสภาพพักตัว ซึ่ง
เกิดจากปัจจัยภายในบางประการของเมล็ดเอง สภาพพักตัวนี้สามารถแก้ ไขได้ โดยกลไกตามธรรมชาติหรือ
โดยการช่วยเหลือของมนุษย์

สาเหตุบางประการของการพักตัวและการแก้ ไขสภาพพักตัวของเมล็ด

- โดยปกติ เมื่ อเมล็ด ได้ รับ น้า ที่เ พียงพอเปลือ กเมล็ด จะนุ่มลง
1. เปลือกเมล็ด อาจเกิดจาก แต่เมล็ดพืชบางชนิดมีเปลือกเมล็ดที่หนาหรือแข็งมากทาให้ นา้
ไม่สามารถผ่านเข้ าสู่ภายในเมล็ดได้ ในธรรมชาติจะมีการทาลาย
สภาพพักตัวแบบนี้ได้ โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน เช่น
มะม่วง ปาล์ม หรือโดยการที่เมล็ดผ่านเข้ าไปในระบบย่อยอาหาร
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม หรือนก และถ่ายเป็ นมูลออกมา เช่น
เมล็ดโพธิ์ ไทร ตะขบ หรือโดยการทาให้ เปลือกเมล็ดแตกออก
1.1 เปลือกเมล็ดที่หนาและแข็ง ต้ อ งการถู ก ไฟเผา เช่ น เมล็ด พื ช วงศ์ ห ญ้ า วงศ์ ไ ผ่ บ างชนิ ด
ตะเคียน สัก เป็ นต้ น
- มนุ ษย์ สามารถช่ ว ยแก้ สภาพพักตั วของเมล็ด ที่ เ ปลือ กเมล็ด
หนาและแข็งได้ หลายวิธี เช่น โดยการแช่เมล็ดในนา้ ร้ อน หรือแช่
ในสารละลายกรด เพราะจะทาให้ เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม การใช้ วิธี
กลโดยการทาให้ เปลือกเมล็ดแตกออก เช่น การปาด เฉือน หรือ
กะเทาะเปลือกแข็งของเมล็ดมะม่วง หรือนาไปให้ ความร้ อนโดย
การเผา เช่น เมล็ดมะค่าโมง เป็ นต้ น

สารดังกล่าวนี้ ได้ แก่ ไข คิวทิน ลิกนิน ซูเบอริน ซึ่งสะสมบนผนัง


เซลล์ ข องเปลื อ กเมล็ ด น้ า จึ ง ไม่ ส ามารถซึ ม ผ่ า นเข้ า ไปยั ง
1.2 เปลือกเมล็ดมีสารไม่ยอม
ส่ ว นต่ า งๆ ของเมล็ด ได้ โ ดยง่ า ย เมล็ด พวกนี้ ได้ แ ก่ ถั่ ว เขี ย ว
ให้ นา้ ซึมผ่าน
ถั่วเหลือง ถั่วแดง เป็ นต้ น วิธีการแก้ สภาพพักตัวของเมล็ดจาก
สาเหตุน้ อี าจทาได้ โดยการแช่เมล็ดในนา้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 113
สาเหตุบางประการของการพักตัวและการแก้ ไขสภาพพักตัวของเมล็ด (ต่อ)

1.3 เปลือกเมล็ดไม่ยอมให้ พบได้ ในพืชวงศ์หญ้ าบางชนิด วิธีการแก้ พักตัวของเมล็ดโดยใช้


ออกซิเจนแพร่ผ่าน วิธีกล เช่น การทุบทาให้ เปลือกเมล็ดแตก

: เอ็ม บริโ อที่ยั งเจริญ ไม่ เ ต็ม ที่ ท าให้ เ มล็ด ไม่ สามารถจะงอกได้ ต้อ งรอเวลาช่ ว งหนึ่ง เช่น
2. เอ็มบริโอ
มะพร้ าว หมาก ปาล์มนา้ มัน เป็ นต้ น

: เมล็ดพืชบางชนิด เช่น กล้ วยไม้ มีเอนโดสเปิ ร์มน้ อยมาก เมล็ดจึงงอกเองได้ ยากในสภาพ


ธรรมชาติ เพราะไม่มีอาหารเพียงพอสาหรับเลี้ยงเอ็มบริโอระหว่างการงอก วิธีการแก้ สภาพ
พัก ตั ว ในธรรมชาติ พบว่ า มี ไ มคอร์ไ รซาบางชนิด เจริญ ร่ ว มกับ เมล็ด พืช ทั้งนี้ไ มคอร์ไ รซา
3. เอนโดสเปิ ร์ม จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อเป็ นอาหารแก่เมล็ดที่กาลังงอก หรือมนุษย์สามารถแก้ สภาพ
พักตัวได้ โดยนิยมนาเมล็ดกล้ วยไม้ ไปเลี้ย งในกระบะเพาะเลี้ยง และใส่สารกระตุ้นการงอก
ของเมล็ด

: ในพืช บางชนิด มี สารเคมี ท่ียั บ ยั้ งการงอกของเมล็ด เช่ น กรดแอบไซซิก ที่มี สมบั ติ ยั บ ยั้ ง
การทางานของเอนไซม์ท่ีเ กี่ยวข้ องกับการงอกเคลือบอยู่ และพบว่าใบเลี้ยงของพืชบางชนิด
เช่น พีช (peach) มีการสร้ างกรดแอบไซซิกในปริมาณสูง ซึ่งมีผลไปยับยั้งการงอกของเมล็ด
4. สารเคมี ในสภาพธรรมชาติการแก้ สภาพพักตัวของเมล็ดเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เมื่อฝนตกลงมาชะล้ างสาร
ที่เคลือบเมล็ดออกไป ทาให้ เมล็ดงอกได้ ตามปกติ อาจแก้ ไขสภาพพักตัวของเมล็ดพืช โดยใช้
สารเร่งการงอก เช่น จิบเบอเรลลิน (gibberellins ; GA) หรือการตัดใบเลี้ยงของเอ็มบริโอของ
พืชจะช่วยให้ เมล็ดงอกได้ เร็วขึ้น

 นอกจากนี้เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้ เมื่อผ่านฤดูหนาวหรือที่มีอุณหภูมิต่า ซึ่งพบว่าการที่มีอุณหภูมิต่ า


จะทาให้ ปริมาณของกรดแอบไซซิกที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลง ในขณะที่จิบเบอเรลลิน หรือไซโทไคนิน ที่ส่งเสริม
การงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึ้น เช่ น แอปเปิ้ ล เชอรี่ ซึ่ งเป็ นพืชเขตหนาวต้ องมีการปรับสภาพภายในเมล็ด โดยการผ่ าน
ฤดูหนาว เมล็ดจึงจะงอกได้ ดี

➢ การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
- การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ อาศัยหลักการว่าเมล็ดพันธุใ์ ดที่มีความแข็งแรงมากย่อมจะงอกได้ เร็วกว่า
เมล็ดพันธุท์ ่มี ีความแข็งแรงน้ อย

สูตร ดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ = ผลบวกของ จานวนต้ นกล้ าที่งอกในแต่ละวัน


จานวนวันหลังเพาะ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 114
8.2 การสืบพันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุพ์ ืช

➢ การสืบพันธุแ์ บบไม่อาศัยเพศของพืช

➢ ตามธรรมชาติโดยใช้ ส่วนต่างๆ ของพืช


เนื้ อเยือ่ จาก ตัวอย่างพืช
ราก โมก ปี บ
ลาต้ นใต้ ดิน ขิง ข่า กล้ วย ไผ่
ไหล ผักตบชวา บัวบก บัว สตรอเบอรี่
ใบ กุหลาบหิน เศรษฐีหมื่นล้ าน คว่าตายหงายเป็ น
ช่อดอก ป่ านศรนารายณ์ ขิงแดง

➢ปัจจุบัน มีการนาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (plant tissue culture) อย่างแพร่หลาย เพื่อ


ขยายพันธุ์พืชให้ ได้ จานวนมากในคราวเดียวกัน และมีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิม ซึ่งประสบผลสาเร็จในพืชหลายชนิด
โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น กล้ วยไม้ กล้ วย สตรอเบอรี่ รวมทั้งพืชดอกอื่นๆ เป็ นต้ น

ตัวอย่าง : ขั้นตอนการเพาะเลี้ ยงเนื้ อเยือ่ ลาต้นเปล้าน้อย


ก. การตัดแบ่งชิ้นส่วนลาต้ นที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ ว
ข. การย้ ายชิ้นส่วนลาต้ นลงในอาหารวุ้น
ค. การเกิดแคลลัส
ง. การชักนาให้ เกิดต้ น
จ. การชักนาให้ เกิดราก
ฉ. ต้ นที่ย้ายออกไปปลูกในกระถาง ที่มา ; http://www.wegrow.in.th

➢ การทาเมล็ดเทียม (artificial seed)


เพื่อใช้ ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิดที่ปกติขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ ยาก เพราะเอนโดสเปิ ร์มไม่ค่อยเจริญ เช่น กล้ วยไม้
แครอท ยาสูบ การผลิตเมล็ดเทียมพัฒนามาจากหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนากลุ่มเซลล์ของพืชที่เจริญมา
จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนถึงขั้นลัก ษณะที่เ ป็ นเอ็มบริโอเทีย มจะเรียกว่า โซมาติกเอ็มบริโอ (somatic embryo)
แล้ วนามาห่อหุ้มด้ วยสารอาหารที่ทาหน้ าที่แทนเอนโดสเปิ ร์ม และเปลือกเมล็ด

8.3 การวัดการเจริญเติบโตของพืช

การวัดการเจริญเติบโต

➢ วิธีการวัดการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมใช้ มากที่สุด คือ การวัดมวลหรือนา้ หนักพืชโดยอาจวัดเป็ นนา้ หนักสดหรือ


น้าหนักแห้ ง สาหรับการวัดมวลเป็ นน้าหนักสดนั้น ผลที่ได้ อาจไม่บ่งบอกถึงมวลชีวภาพที่แท้ จริงทั้งหมด เพราะมี
นา้ อยู่ด้วย ส่วนการชั่งนา้ หนักแห้ งโดยการนาพื ชทั้งต้ นมาอบให้ นา้ ระเหยไปจนหมดได้ ค่านา้ หนักแห้ งซึ่งเป็ นค่ามวล
ชีวภาพที่แท้จริง

➢ การเจริญ เติ บ โตของพืช ตั้งแต่ งอกออกจากเมล็ด จนโตเต็ม ที่ แล้ ว ออกดอก ออกผล จะมี ลัก ษณะคล้ า ยกับ
สิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไป สามารถเขียนกราฟของการเจริญเติบโตเป็ นรูปตัว S (S-shaped curve)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 115
บทที่ 9 : โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
9.1 เนื้อเยื่อพืช
➢ เนื้อเยื่อพืช (plant tissue) ประกอบด้ วยเซลล์ท่มี ีลักษณะแตกต่างกันไป ลักษณะร่วมที่สาคัญประการหนึ่ง
ของเซลล์พืชคือ การมีผนังเซลล์ (cell wall) ให้ ความแข็งแรงต่อโครงสร้ างเซลล์พืช
ผนังเซลล์ (cell wall)

มีองค์ประกอบสาคัญเป็ นเซลลู โลส (cellulose) ผนังเซลล์ปฐมภูมิข อง


ผนังเซลล์ปฐมภูมิ เซลล์ท่ีอยู่ติดกัน จะถูกโยงยึดไว้ ด้วยมิดเดิลลาเมลลา (middle lamella)
(primary cell wall) ซึ่งเป็ นชั้นที่อยู่ตรงกลางระหว่างเซลล์ท่ีอยู่ติดกัน โดยมีเพกทิน (pectin)
เป็ นองค์ประกอบที่สาคัญ

ผนังเซลล์ทุติยภูมิ แทรกอยู่ในผนังเซลล์ปฐมภูมิ (พบในเซลล์บางชนิด) องค์ประกอบทาง


(secondary cell wall) เคมีท่สี าคัญของผนังเซลล์ทุติยภูมิคือ ลิกนิน (lignin)

NOTE ; Lignin ย้ อมติดสีแดงของสารซาฟรานิน

➢ เนื้อเยื่อ แบ่งได้ เป็ น 2 ประเภท ตามลักษณะการเจริญของเนื้อเยื่อ

เนื้อเยื่อเจริญ (meristem tissue)

เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue)

ภาพแสดงเนื้อเยื่อพืชแต่ละชนิด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 116
9.1.1 เนื้อเยื่อเจริญ

เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)

1) เนื้ อเยือ่ เจริญส่วนปลาย (apical meristem)


- เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายราก (root apical meristem)
- เนื้อเยื้อเจริญส่วนปลายยอด (shoot apical meristem)

2) เนื้ อเยือ่ เจริญเหนือข้อ (intercalary meristem)


- พบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป เช่น หญ้ า ข้ าว ข้ าวโพด อ้ อย ไผ่ เป็ นต้ น

3) เนื้ อเยือ่ เจริญด้านข้าง (lateral meristem)


- พบในพืชใบเลี้ยงคู่ท่วั ไป และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น จันทน์ผา หมากผู้หมากเมีย
- เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้ เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม (cambium)

- ถ้ า อยู่ ร ะหว่ า งเนื้ อเยื่ อท่ อล าเลี ย งน้า และเนื้ อเยื่ อท่ อล าเลี ย งอาหารจะ
เรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) ซึ่งเมื่อแบ่งเซลล์ทาให้
เกิดเนื้อเยื่อท่อลาเลียง (vascular tissue)

- ถ้ าพบอยู่บริเวณเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส (epidermis) หรือพบอยู่ถัดไปจาก


เอพิเดอร์มิส เรียกว่า คอร์กแคมเบียม (cork cambium) ซึ่งเมื่อแบ่งเซลล์ทา
ให้ เกิดเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) และเนื้อเยื่ออื่นๆ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 117
9.1.2 เนื้อเยื่อถาวร

เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue) ➢ เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ

1) เอพิเดอร์มิส เป็ นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกสุดของส่วนต่างๆ ของพืช ป้ องกันเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านใน


ที่สาคัญ ได้ แก่
- เซลล์ผิว (epidermal cell) รูปร่ างแตกต่างกัน มักจะไม่พบคลอโรพลาสต์ มีสารคิวทิน (cutin)
มาเคลือบเพื่อลดการระเหยของนา้
- เซลล์คุม (guard cell) มักมีรูปร่ างคล้ ายเมล็ดถั่วแดงอยู่เป็ นคู่ประกบกัน เกิดเป็ นช่ องเรียกว่า
รูปากใบ (stomatal pore) บริเวณรอบรูปากใบจะหนากว่าบริเวณอื่น เซลล์คุมจะมีคลอโรพลาสต์
รวมเรียกเซลล์คุมและรูปากใบว่า ปากใบ (stoma) นอกจากนี้ยังอาจพบขน (hair) ซึ่งอาจเป็ นเซลล์
เดียวหรือหลายเซลล์กไ็ ด้
- ในราก เอพิเดอร์มิสประกอบด้ วยเซลล์ผิว และเซลล์ขนราก (root hair cell) มักไม่พบเซลล์คุม

2) พาเรงคิมา ประกอบด้ วยเซลล์พาเรงคิมา (parenchyma cell) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่มี ีชีวิต โดยทั่วไปมี


การเรียงตัวที่ทาให้ เกิดช่ องว่ างระหว่ างเซลล์ (intercellular space) เซลล์น้ ีมักพบในอวัยวะหรือ
บริเวณที่แตกต่างกัน และอาจมีส่วนประกอบแตกต่างกันจึงทาให้ มีหน้ าที่ได้ หลากหลาย เช่น หน้ าที่
สังเคราะห์ด้วยแสง สะสมอาหาร เป็ นต้ น

3) คอลเลงคิมา ประกอบด้ วยกลุ่มเซลล์มีชีวิตที่เรียกว่า เซลล์คอลเลงคิมา (collenchyma cell)


เส้ นกลางใบและลาต้ นส่วนที่ยังอ่อนของพืชล้ มลุก หรือไม้ เลื้อยบางชนิด ช่วยให้ เกิดความแข็งแรง
แก่โครงสร้ างพืช

4) สเกลอเรงคิมา ประกอบด้ วยเซลล์สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma cell) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่ไี ม่มีชีวิต


ช่วยพยุงและให้ ความแข็งแรงกับโครงสร้ างของพืช จาแนกเป็ น 2 ชนิด ได้ แก่
- เซลล์เส้ นใย หรือไฟเบอร์ (fiber) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่เี รียวยาว หัวท้ายเซลล์แหลม
- สเกลอรีด (sclereid) ส่วนใหญ่ เป็ นเซลล์ท่ีไม่ยาวนัก มีรูปร่ างหลายแบบ เช่ น รูปหลายเหลี่ยม
รูปดาว เป็ นต้ น มักอยู่ ตามส่วนที่แข็งของเปลือกไม้ ยางพารา เปลือกเมล็ด เช่ น เมล็ดถั่ว หรือ
เนื้อผลไม้ ท่สี ากบางชนิด เช่น ฝรั่ง สาลี่ เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 118
5) ไซเล็ม (xylem) เป็ นเนื้อเยื่อที่ทาหน้ าที่ลาเลียงนา้ และธาตุอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช
เซลล์ท่ที าหน้ าที่ลาเลียงนา้ และแร่ธาตุ มี 2 ชนิด ได้ แก่
- เทรคีด (tracheid) เป็ นเซลล์ท่มี ีรูปร่างยาว ปลายค่อนข้ างแหลม
- เวสเซลเมมเบอร์ (vessel member) มีรูปร่ างสั้นกว่าเทรคีด และมักมีขนาดใหญ่ กว่า และ
ที่ด้านหัวและท้ายของเซลล์มีช่องทะลุถึงกัน
- นอกจากนี้ ไซเล็มประกอบด้ วยเซลล์ชนิดอื่นๆ เช่น ไฟเบอร์ และเซลล์พาเรงคิมา เป็ นต้ น

6) โฟลเอ็ม (phloem) เป็ นเนื้อเยื่อทาหน้ าที่ลาเลียงอาหารที่ใบสังเคราะห์ข้ ึนไปสู่ส่วนต่างๆ


ของพืช ประกอบด้ วย
- เซลล์ท่อลาเลียงอาหาร หรือซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (sieve tube member) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่มี ีชีวิต รูป
ทรงกระบอก แต่เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ท่ีมีอาหารอยู่ มีผนัง
เซลล์ปฐมภูมิบางและมีรูเล็กๆ อยู่เป็ นกลุ่มที่ผนังด้ านหัวท้ายของเซลล์ ทาให้ เซลล์มีลักษณะเป็ น
แผ่นตะแกรงหรือซีฟเพลต (sieve plate)
- เซลล์ประกบ หรือเซลล์คอมพาเนียน (companion cell) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่มี ีชีวิต มีลักษณะเป็ น
เซลล์พาเรงคิมา จะอยู่ ติดกับซีฟทิวบ์ เมมเบอร์เสมอ เพราะมีกาเนิดมาจากเซลล์เจริญเซลล์
เดียวกัน ช่วยส่งเสริมการทาหน้ าที่ของซีฟทิวบ์เมมเบอร์
- นอกจากนี้แล้ ว โฟลเอ็มยังพบไฟเบอร์และเซลล์พาเรงคิมาอีกด้ วย

9.2 อวัยวะและหน้ าที่ของพืช

โครงสร้ างพืชที่กล่าวถึงในบทเรียนนี้

ราก

โครงสร้ างตามยาวและตามขวาง

ลาต้ น
หน้ าที่หลักและหน้ าที่พิเศษ

ใบ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 119
9.2.1 โครงสร้ างและหน้ าที่ของราก

➢ โครงสร้ างและการเจริญเติบโตของราก

ส่วนที่ไปเป็ นรากอันดับแรกของพืชเรียก รากปฐมภูมิ (primary root) หรือรากแก้ ว (tap root) ต่อมาความยาว


ของรากเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ และอาจสังเกตเห็นขนราก (root hair) เกิดขึ้นที่บริเวณถัดจากปลายสุดของราก จากนั้นจะมี
การเพิ่มจานวนและเพิ่มความยาวของรากอย่างเห็นได้ ชัด เป็ นรากแขนง (lateral root หรือ secondary root) สาหรับราก
ข้ า วโพดรากที่ เ พิ่ ม ขึ้ นไม่ เ จริ ญ ออกมาจากรากเดิ ม แต่ เ จริ ญ มาจากบริ เ วณที่ อ ยู่ เ หนื อ ขึ้ นไป เรี ย กว่ า รากพิ เ ศษ
(adventitious root)

 โครงสร้ างของรากตามยาว เรียงลาดับจากปลายสุดของรากขึ้นไป

1. หมวกราก (root cap) สามารถผลิตเมือกขับออกมารอบๆ หมวกราก ทาให้ สะดวกต่อ


การชอนไช และช่วยป้ องกันอันตรายให้ กบั เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ถัดเข้ าไปขณะที่รากชอนไชลงดิน

2. บริ เ วณการแบ่ ง เซลล์ (region of cell division) ส่ ว นนี้ มี ก ารแบ่ ง เซลล์ แ บบไมโทซิ ส
ซึ่ ง เซลล์ ส่ ว นหนึ่ ง จะมี การเปลี่ ย นแปลงไปเป็ นเซลล์ ใ นหมวกราก แต่ เ ซลล์ ส่ ว นใหญ่ จ ะมี
การเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็ นส่วนประกอบต่างๆ ของโครงสร้ างราก
โครงสร้างรากตามยาว

3. บริ เ วณที่ ยืด ตามยาวของเซลล์ (region of cell elongation) โดยทั่ว ไปเซลล์ บริ เ วณนี้
จะยืดตามยาวทาให้ ความยาวของรากเพิ่มขึ้น

4. บริ เ วณที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงสภาพและการเจริ ญ เต็ ม ที่ ข องเซลล์ (region of cell


differentiation and maturation) เป็ นบริเวณที่เซลล์มีการเปลี่ยนสภาพและเจริญเต็มที่ไปเป็ น
เซลล์ชนิดต่างๆ ในโครงสร้ างของรากเพื่อทาหน้ าที่เฉพาะ เช่น มีเซลล์ขนรากอยู่ท่เี อพิเดอร์มิส
ทาหน้ าที่ให้ นา้ และสารอาหารจากดินผ่านเข้ าไป เซลล์น้ ีมีผนังด้ านนอกยื่นยาวออกไปคล้ ายขน
ที่มีความยาวหลายเท่าของความกว้ างของเซลล์ เพื่อทาหน้ าที่เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดนา้ และ
สารอาหาร

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 120
 โครงสร้ างของรากตามขวาง สามารถแยกเป็ นบริเวณหรือชั้นต่างๆ ตามลักษณะเซลล์ท่เี ห็นได้ เป็ น 3 บริเวณ

โครงสร้ าง ลักษณะ
1. เอพิเดอร์มิส - อยู่รอบนอกสุดโดยทั่วไปประกอบด้ วยเซลล์ผิว และเซลล์ขนรากเรียงเป็ นแถวเดียว
- เป็ นบริเวณที่ประกอบด้ วยเซลล์หลายแถวอยู่ระหว่างเอพิเดอร์มิส และบริเวณสตีล
- พบเซลล์พาเรงคิมา ทาหน้ าที่สะสมนา้ และอาหาร
2. คอร์เทกซ์
- ด้ านในสุดของคอร์เทกซ์ มักเห็นเซลล์เรียงเป็ นแถวเรียก เอนโดเดอร์มิส (endodermis) ซึ่งจะ
เห็นชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีแถบ Casparian Strip (สารซูเบอรินสะสมอยู่)
- ประกอบด้ วยเซลล์พาเรงคิมาเรียงเป็ นวงโดยรอบ อาจมีช้ันเดียวหรือ
3.1 เพอริไซเคิล หลายชั้นแล้ วแต่ชนิดพืช สามารถเปลี่ยนสภาพกลับไปเป็ นเนื้อเยื่อเจริญ
แบ่งเซลล์แบบไมโทซิสเพื่อสร้ างเนื้อเยื่อที่เป็ นต้ นกาเนิดของรากแขนง
- เกิดขึ้นในการเติบโตปฐมภูมิ
1) ไซเล็ม ในรากประกอบด้ วยเซลล์หลายชนิด ทาหน้ าที่ลาเลียง
น้าและสารอาหาร ได้ แก่ เวสเซลเมมเบอร์ เทรคีด อาจมีไฟเบอร์ และ
เซลล์พาเรงคิมา นา้ สามารถผ่านเวสเซลเมมเบอร์จากเซลล์หนึ่งไปยังอีก
เซลล์หนึ่งได้ ทางช่องทะลุด้านหัวท้ายของเซลล์ และผ่านผนังเซลล์ด้านข้ าง
3.2 กลุ่มท่อลาเลียง
3. สตีล บริเวณที่ยังบางอยู่ สาหรับเทรคีดนา้ สามารถผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีก
เซลล์หนึ่งได้ ทางผนังด้ านข้ างบริเวณที่ยังบางอยู่
2) โฟลเอ็ม ในรากมั กประกอบด้ ว ยเซลล์ ห ลายชนิ ด ได้ แ ก่
ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ เซลล์คอมพาเนียน อาจมีเซลล์พาเรงคิมาและไฟเบอร์
การลาเลียงอาหารเกิดขึ้นในซีฟทิวบ์เมมเบอร์ โดยอาหารจะถูกลาเลียง
ผ่านรูของซีฟเพลตและบริเวณคล้ ายรูบนผนังเซลล์ด้านข้ าง
- เป็ นบริเวณตรงกลางของรากหรือลาต้ นที่ไม่ใช่ ไซเล็มปฐมภูมิ ในราก
3.3 พิธ พื ช ใบเลี้ ยงเดี่ ย วบางชนิด เช่ น ข้ า วโพด พบว่ า พิ ธประกอบด้ ว ยเซลล์
พาเรงคิมาอยู่เป็ นบริเวณกว้ าง แต่มักไม่พบพิธในรากพืชใบเลี้ยงคู่

ตารางเปรียบเทียบรากของพืชใบเลี้ยงคู่ และรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
รากพืชใบเลี้ ยงคู่ รากพืชใบเลี้ ยงเดี่ยว
1. กลุ่มเซลล์ในไซเล็ม เห็นเรียงเป็ นแฉกมี 4 แฉก 1. ไซเล็มมีจานวนแฉกเกินกว่า 10 แฉก
2. ชั้นเอนโดเดอร์มิสเห็นไม่ชัดเจน 2. ชั้นเอนโดเดอร์มิสเห็นชัดเจน
3. ตรงกลางเป็ นไซเล็ม 3. ตรงกลางเป็ นพิธ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 121
ภาพแสดงโครงสร้ างของรากพืชตัดตามขวาง (a) รากพืชใบเลี้ยงคู่ (b) รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงโครงสร้ างของรากพืช
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 122
 การเติบโตทุติยภูมิของรากพืชใบเลี้ ยงคู่ (สาหรับรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่จะไม่พบการเติบโตทุติยภูมิ)

เป็ นการเจริญเติบโตที่ทาให้ รากมีขนาดใหญ่ข้ นึ เนื่องจากแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้ านข้ าง

1) วาสคิ วลาร์แคมเบียม เปลี่ยนจากเซลล์ระหว่างไซเล็มปฐมภูมิ และโฟลเอ็มปฐมภูมิ


แบ่งตัวสร้ างไซเล็มทุติยภูมิ (secondary xylem) เข้ าไปทางด้ านใน และสร้ างโฟลเอ็มทุติยภูมิ
(secondary phloem) ออกมาทางด้ านนอก

2) คอร์กแคมเบียม เปลี่ยนสภาพมาจากเพอริไซเคิล ทาให้ เกิดการเติบโตทุติยภูมิโดยสร้ าง


คอร์กแทนเนื้อเยื่อผิวเดิม

➢ หน้ าที่และชนิดของราก

 ขณะที่เมล็ดเริ่มงอก ส่วนประกอบของเอ็มบริโอที่เจริญออกมาจากเมล็ดเป็ นอันดับแรก คือ แรดิเคิล (radicle)


ซึ่งเจริญเติบโตต่อไปเป็ นรากแก้ว โดยทั่วไปจะพบว่ามีรากแขนงแตกสาขาลดหลั่นกันไปเป็ นลาดับ

 รากแก้ ว : เจริญมาจาก Radicle ใน Embryo ของเมล็ด


 พืชใบเลี้ยงคู่ : ขนาดใหญ่ ปลายเรียวลึกลงไปในดิน
 พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : จะเจริญในระยะแรก แล้ วสลายไป จะมีรากฝอยมาทาหน้ าที่แทน

 รากแขนง : พบในพืชใบเลี้ยงคู่ เจริญมาจาก pericycle ของรากแก้ ว

 รากพิเศษ (Adventitious root) : เกิดจากใบ กิ่ง หรือข้ อลาต้ น

 หน้ าที่ของราก
1) ช่วยยึดต้ นให้ ติดแน่นกับพื้นดิน
2) ช่วยดูดนา้ และธาตุอาหารจากพื้นดิน และลาเลียงไปยังส่วนต่างๆ
3) เปลี่ยนแปลงไปทาหน้ าที่พิเศษ เช่น
หน้ าที่พิเศษของราก ตัวอย่างพืช
รากคา้ จุนลาต้ น ข้ าวโพด ข้าวฟ่ าง โกงกาง เตย ลาเจียก
รากหายใจ แสม ลาพู ลาแพน
รากยึดเกาะและดูดซับความชื้นในอากาศ กล้ วยไม้ ไทร
รากสะสมอาหาร มันแกว กระชาย แครอท มันเทศ มันสาปะหลัง ต้ อยติ่ง
รากทาหน้ าที่เป็ นทุ่นลอย แพงพวยนา้
รากยึดเกาะ พลูด่าง พริกไทย
รากสังเคราะห์ด้วยแสง กล้ วยไม้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 123
9.2.2 โครงสร้ างและหน้ าที่ของลาต้ น

1. เนื้ อเยื่อเจริญส่วนปลายยอด (shoot apical meristem) มีกลุ่มเซลล์เจริญที่พัฒนาไปเป็ น


ลาต้ น ใบ และตาตามซอก (axillary bud) ที่จะเจริญไปเป็ นกิ่ง
โครงสร้างลาต้นบริเวณส่วนปลายยอด

2. ใบเริ่มเกิด (leaf primordium) จะพัฒนาไปเป็ นใบอ่อน บริเวณตรงกลางของโคนใบเริ่ม


เกิดจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กรูปร่างยาวเรียงตัวเป็ นแนวยาวจากลาต้ นอ่อนขึ้นไปจนเกือบถึงส่วน
ปลาย เซลล์เหล่านี้จะเจริญต่อไปเป็ นเนื้อเยื่อท่อลาเลียงแยกจากลาต้ นสู่ใบ

3. ใบอ่ อน (young leaf) ตรงซอกใบอ่อนมีตาตามซอกเริ่มเกิด (axillary bud primordium)


ซึ่งจะพัฒนาเป็ นตาตามซอกเมื่อใบที่รองรับอยู่น้นั ได้ เจริญเต็มที่

4. ลาต้นอ่ อน (young stem) อยู่ ถัดจากตาแหน่ งใบเริ่มเกิดลงมา เซลล์บางบริเวณ ได้ แก่


เอพิเดอร์มิส อาจพัฒนาไปจนเจริญในระดับหนึ่งแล้ วแต่ บางบริเวณยังแบ่ งเซลล์เพื่อเพิ่ม
จ านวนและขยายขนาดต่ อไปได้ อีก จนกระทั่ง เป็ นล าต้ นระยะที่เ จริ ญเต็มที่ประกอบด้ วย
เนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ที่ทาหน้ าที่เฉพาะได้ อย่ างสมบูรณ์

 โครงสร้ างภายในของลาต้ นเมื่อตัดตามขวาง ประกอบด้ วยเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ ดังนี้

1. เอพิเดอร์มิส
- อยู่ช้นั นอกสุด ประกอบด้ วยเซลล์ผิวเซลล์คุม และอาจมีขนซึ่งมีลักษณะต่างๆ
โครงสร้างลาต้นตามขวาง (Cross Section)

2. คอร์เทกซ์
- ประกอบด้ วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็ นพาเรงคิมา และมักมีคอลเลงคิมาอยู่
ติดเอพิเดอร์มิส และมักอยู่ตามบริเวณสันของลาต้ น ในพืชบางชนิดอาจเห็นไม่ชัดเจน เช่น
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

3. สตีล
- เป็ นบริเวณที่อยู่ถัดชั้นคอร์เทกซ์เข้ าไปประกอบด้ วย …
3.1 กลุ่มท่อลาเลียง อยู่เป็ นกลุ่มๆ หลายกลุ่มเรียงตัวเป็ นวงในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ละกลุ่มมี
เนื้อเยื่อท่อลาเลียงด้ านในเป็ นไซเล็ม และด้ านนอกเป็ นโฟลเอ็มเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกัน
3.2 วาสคิวลาร์เรย์ (vascular ray) เป็ นพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่างกลุ่มท่อลาเลียงพบในพืชใบ
เลี้ยงคู่
3.3 พิธ อยู่ช้ันในสุดที่ใจกลางของลาต้ นถัดจากแนวกลุ่มท่อลาเลียง อาจสะสมแป้ งหรือสาร
ต่างๆ ได้ มาก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 124
 ลาต้ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

กลุ่มท่อลาเลียงกระจายอยู่ท่ัวไปทาให้ ไม่เห็นขอบเขตของพิธ และวาสคิวลาร์เรย์ จึงทาให้ เห็นว่ามีกลุ่มท่อ


ลาเลียงกระจายทั่วไปในเนื้อเยื่อพื้น (ground tissue) ซึ่งมักเป็ นเซลล์พาเรงคิมา

พืชบางชนิดเมื่อลาต้ นแก่ข้ ึนพบว่า บริเวณใจกลางลาต้ นซึ่งอาจรวมทั้งพิธ และเนื้อเยื่ออื่นๆ อาจสลายไป


กลายเป็ นช่องเรียกว่า ช่องพิธ (pith cavity) เช่นที่พบในบริเวณปล้ องของหญ้ าและไผ่

ภาพแสดงโครงสร้ างของลาต้ นพืชตามขวาง (ซ้ าย) ลาต้ นพืชใบเลี้ยงคู่ (ขวา) ลาต้ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ตารางเปรียบเทียบลาต้ นของพืชใบเลี้ยงคู่ และ ลาต้ นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ลาต้ นพืชใบเลี้ยงคู่ ลาต้ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว


1. ข้ อและปล้ องเห็นไม่ชัดเจน 1. มีข้อและปล้ องเห็นได้ ชัดเจน
2. ตาแหน่งที่เกิดใบอยู่ตรงข้ อบริเวณที่มีก้านใบติดอยู่ 2. ก้ านใบเปลี่ยนแปลงไปเป็ นกาบใบหุ้มบริเวณข้ อ
3. ซอกใบมีตาตามซอกซึ่งต่อไปเจริญเป็ นกิ่งหรือดอก 3. ไม่เห็นตาตามซอกโผล่ออกมาและไม่ค่อยมีการแตกกิ่ง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 125
 การเติบโตทุติยภูมิของลาต้ นพืชใบเลี้ยงคู่

- เป็ นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้ านข้ างของลาต้ น โดยมีวาสคิวลาร์แคมเบียมเกิดขึ้นตรงแนว


ระหว่างไซเล็มปฐมภูมิและโฟลเอ็มปฐมภูมิ

- วาสคิวลาร์แคมเบียม จะแบ่งเซลล์เพื่อสร้ างเนื้อเยื่อท่อลาเลียงทุติยภูมิโดยเซลล์ใหม่ท่เี กิดขึ้นทางด้ านใน


จะเปลี่ยนสภาพไปเป็ นเซลล์ในเนื้อเยื่อไซเล็มทุติยภูมิ ส่วนเซลล์ใหม่ด้านนอกจะเปลี่ยนสภาพไปเป็ นเซลล์
ในโฟลเอ็มทุติยภูมิ โดยอัตราการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ในไซเล็มทุติยภูมิจ ะเกิดได้ เร็วกว่าโฟลเอ็มทุติยภูมิ
จึงทาให้ ไซเล็มทุติยภูมิมีปริมาณมากกว่าโฟลเอ็มทุติยภูมิ

การเจริญเติบโตทุติยภูมิ

1) ไซเล็มที่มีอายุมากที่สุดจะอยู่ช้ันในสุดของลาต้ น ถ้ าเป็ นลาต้ นที่มีอายุมากๆ ไซเล็มที่มีอายุมาก


จะหยุดลาเลียงนา้ ทาหน้ าที่ให้ ความแข็งแรงและอาจสะสมสารอินทรีย์ต่างๆ จึงมักมองเห็นไซเล็ม
บริเวณนี้มีสีเข้ ม เรียกไซเล็มบริเวณนี้ว่า แก่นไม้ (heart wood) ซึ่งอาจมีความแข็งแรงมากกว่ า
บริเวณอื่น

2) ไซเล็มที่อยู่รอบนอกซึ่งมีสีจางกว่าชั้ นใน ยังคงทาหน้ าที่ลาเลียงนา้ และสารอาหารต่อไปเรียกว่า


กระพี้ ไม้ (sap wood)

- ทั้งกระพี้ไม้ และแก่นไม้ รวมเรียกว่า เนื้อไม้ (wood) ซึ่งเป็ นไซเล็มทุติยภูมิท้งั หมด

- การสร้ างเนื้อไม้ ของพืชบางชนิดจะมีได้ มากน้ อยต่างกันในแต่ละฤดูของรอบหนึ่งปี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่


กับปริมาณนา้ เป็ นสาคัญ ในสภาวะที่ส่งิ แวดล้ อมมีนา้ อุดมสมบูรณ์ ไซเล็มจะเจริญได้ ดี เซลล์มีขนาด
ใหญ่ทาให้ ไซเล็มกว้ างและเห็นเป็ นแถบสีจางในเนื้อไม้ (Spring wood) ส่วนในสภาวะที่ส่งิ แวดล้ อม
แห้ งแล้ งและขาดนา้ ไซเล็มจะเจริญได้ ไม่ดี เซลล์มีขนาดเล็กทาให้ เห็นเป็ นแถบแคบๆ และมีสีเข้ ม
(Summer wood) ลักษณะดังกล่ าวทาให้ เนื้อไม้ มีสีจางและสีเข้ มสลับกันมองเห็นเป็ นวงเรียกว่า
วงปี (annual ring)

- ในลาต้ นพืชขนาดใหญ่ นอกจากมีเนื้อไม้ แล้ วยังมีเปลือกไม้ (bark) ซึ่งเป็ นส่วนที่อยู่ ถัดจาก


วาสคิวลาร์แคมเบียมออกไปด้ านนอก พบในลาต้ นที่มีอายุมาก ซึ่งเอพิเดอร์มิสหลุดสลายไปนาน
แล้ ว เหลือแต่คอร์กซึ่งเป็ นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้ วย เซลล์คอร์ก (cork cell) โดยจะมีสารซูเบอรินเป็ น
ส่วนประกอบสาคัญของผนังเซลล์และคอร์กแคมเบียม และอาจมีพาเรงคิมาที่เกิดจากการสร้ าง
ขึ้นมาจากคอร์กแคมเบียม รวมทั้งโฟลเอ็มทุติยภูมิท่สี ร้ างขึ้นมาใหม่ซ่งึ ทาหน้ าที่ลาเลียงอาหารแทน
โฟลเอ็มปฐมภูมิท่ถี ูกเบียดสลายไป

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 126
ภาพสรุปการเจริญขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ของพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 127
ภาพแสดงการเจริญขั้นที่ 2 (ทุตยิ ภูมิ) ของลาต้ นพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ หน้ าที่และชนิดของลาต้ น

- ลาต้ นโดยทั่วไป เป็ นแกนหลักของพืชที่อยู่เหนือระดับผิวดิน ทาหน้ าที่ชูก่งิ และใบให้ กางออกเพื่อรับ


แสง ลาเลียงนา้ สารอาหาร และสารต่างๆ ที่พืชสร้ างขึ้นส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ

- พืชบางชนิดมีลาต้ นที่เจริญอยู่ใต้ ระดับผิวดินเรียกลาต้ นใต้ ดิน ลาต้ นใต้ ดินของพืชหลายชนิดอาจทา


หน้ าที่พิเศษในการสะสมอาหาร เช่น ลาต้ นใต้ ดินของมันฝรั่ง เผือก แห้ ว ขิง ข่า เป็ นต้ น

- นอกจากนี้ลาต้ นอาจมีหน้ าที่พิเศษอื่นๆ ดังนี้

หน้ าที่พิเศษของลาต้ น ตัวอย่างพืช


ลาต้ นที่หน้ าทีเ่ ป็ นมือเกาะ ฟักทอง ตาลึง มะระขี้นก บวบ นา้ เต้ า เสาวรส
ลาต้ นทาหน้ าที่เป็ นขอเกี่ยว การเวก กระดังงา
ลาต้ นทาหน้ าที่เป็ นทุ่นลอย ผักกระเฉด
ลาต้ นสังเคราะห์ด้วยแสง พญาไร้ ใบ กระบองเพชร
ลาต้ นมีหนาม มะนาว ส้ ม เฟื่ องฟ้ า
ลาต้ นขยายพันธุด์ ้ วยไหล (stolon) บัว เศรษฐีเรือนนอก เศรษฐีเรือนใน และหญ้ า

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 128
9.2.3 โครงสร้ างและหน้ าที่ของใบ

➢ โครงสร้ างและการเจริญเติบโตของใบ

- ก้ านใบ (petiole)
- ใบของพืชส่วนใหญ่ - แผ่นใบ (blade)
ประกอบด้ วย… - ใบอาจมีหูใบ (stipule) ที่บริเวณโคนก้ านใบ
- ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวใบมักไม่มีก้านใบ แต่จะมีกาบใบ
(leaf sheath)

- โดยทั่วๆ ไป ใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากมีคลอโรฟิ ลล์ซ่ึงเป็ นสารสีท่ีรับพลังงานแสง แต่ใบของ


พืชบางชนิดมีสีแดงหรือสีม่วงเพราะภายในใบมีการสร้ างสารสีอ่ืนๆ เช่ น สารสีแอนโทไซยานิ น
(anthocyanin) หรือมีสารสีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ ามีมากกว่าคลอโรฟิ ลล์จะทาให้ ใบมีส่ีอ่นื
มากกว่าสีเขียว พืชจาพวก มะม่วง พริก

บนก้านใบหนึ่งก้านถ้ ามีแผ่นใบติดอยู่เพียงใบเดียวเรียกว่า ใบเดี่ยว (simple leaf)


ประเภท โดยแผ่นใบจะมีลักษณะต่างกัน
ของใบ
บนก้านใบหนึ่งก้านถ้ ามีแผ่นใบหลายแผ่นหรือใบย่อย (leaflet) ติดอยู่เรียกว่า
ใบประกอบ (compound leaf) เช่น มะขาม มะพร้ าว หนวดปลาหมึก

- ในการสัง เกตว่ า โครงสร้ า งที่เ ห็น คื อ ใบที่ติ ด อยู่ บ นกิ่ง หรื อ เป็ นใบย่ อ ยของใบ
ประกอบ อาจใช้ หลักง่ายๆ โดยดูจากตาตามซอกของใบ ใบประกอบนั้นที่ซอกของใบ
ย่อยจะไม่มีตาตามซอกของใบเกิดขึ้น ใบประกอบที่เจริญเต็มที่แล้ วจะประกอบด้ วย
แผ่นใบย่อยที่มีลักษณะความอ่อนแก่ท่สี ม่าเสมอทั่วกันทั้งใบ

- แผ่นใบมีขนาด ความหนาบาง และลักษณะรูปร่างแตกต่างกัน ตรงกลางแผ่นใบจะมีเส้ นกลางใบ


(midrib) เชื่อมต่อกับปลายของก้ านใบตลอดความยาวของแผ่นใบ เส้ นกลางใบมีขนาดใหญ่ ท่สี ุด
และจะมีเส้ นใบ (vein) และเส้ นใบย่อย (veinlet) ที่มีขนาดใหญ่เล็กลดหลั่นกันไปเป็ นส่วนประกอบ
โครงสร้ างของแผ่นใบ

- พืชใบเลี้ ยงคู่ จะมีเส้ นใบแยกออกมาจากเส้ นกลางใบทั้งสองด้ านคล้ ายขนนก เส้ นใบย่อย


ที่แยกออกไปสานกันแบบร่างแห

- พืชใบเลี้ ยงเดี่ยว จะมีเส้ นใบแยกออกจากเส้ นกลางใบทั้งสองด้ านในลักษณะที่เรียงขนาน


กัน เช่น กล้ วย หรือเส้ นใบแยกออกจากโคนใบในลักษณะที่เรียงขนานกับเส้ นกลางใบ เช่น
อ้อย ข้ าวโพด โดยเส้นใบย่อยทุกระดับเรียงขนานกันเสมอ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 129
➢ โครงสร้ างภายในของใบ

โครงสร้ าง ลักษณะ
- อยู่ช้นั นอกสุดประกอบด้ วยเซลล์ผิว เซลล์คุม และอาจมีขน
- ใบจะมีเอพิเดอร์มิสทั้งด้ านบนและด้ านล่าง
1. เอพิเดอร์มิส - โดยทั่วไปพบปากใบที่ผิวใบด้ านล่างมากกว่าด้ านบน
- พืชบางชนิดมีจานวนปากใบทั้งด้ านบนและด้ านล่างใกล้ เคียงกัน เช่น ข้ าวโพด
- พืชที่ใบลอยปริ่มนา้ เช่น บัวสาย จะมีปากใบอยู่เฉพาะทางด้ านบนของใบเท่านั้น
- พืชที่จมอยู่ใต้ นา้ เช่น สาหร่ายหางกระรอก จะไม่มีปากใบ
- อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้งสองด้ าน ประกอบด้ วยเซลล์พาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์อยู่
เป็ นจานวนมาก จึงมีหน้ าที่สงั เคราะห์ด้วยแสง โดยทั่วไปพบเซลล์ท่มี ีรูปร่างแตกต่างกัน
แบ่งเป็ น 2 แบบ คือ
2. มีโซฟิ ลล์ 2.1 แพลิเซดมีโซฟิ ลล์ (palisade mesophyll) พบอยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสด้ านบน เป็ นเซลล์
(mesophyll) รูปร่างยาว
2.2 สปันจีมีโซฟิ ลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิ ลล์ ลงมาถึงเอพิเดอร์มิส
ด้ านล่าง เซลล์มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างกัน ภายในมีคลอโรพลาสต์น้อย
กว่าแพลิเซดมีโซฟิ ลล์
- อยู่ตรงบริเวณที่เป็ นเส้ นกลางใบ เส้ นใบ และเส้ นใบย่อยจึงมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกัน
3. กลุ่มท่อลาเลียง ประกอบด้ วยไซเล็มและโฟลเอ็ม
- พืชบางชนิดกลุ่มท่อลาเลียงจะล้ อมรอบด้ วยเยื่อหุ้มเรียกว่า บันเดิลชีท (bundle sheath)

ภาพแสดงโครงสร้ างของใบพืช
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 130
➢ หน้ าที่ของใบ

- ใบมีหน้ าที่สาคัญ คือ สร้ างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คายนา้ และแลกเปลี่ยนแก๊ส


- พืชบางชนิดอาจมีใบที่มีหน้ าที่พิเศษต่างไปจากปกติ เช่น

หน้ าที่พิเศษของใบ ตัวอย่างพืช


ใบเป็ นมือเกาะ หรือเลื้อยพัน ถั่วลันเตา พวงแก้วกุด่นั
ใบดักจับสัตว์ขนาดเล็ก หม้ อข้ าวหม้ อแกงลิง กาบหอยแครง
ใบเป็ นทุ่นลอย ผักตบชวา
ใบสะสมอาหารหรือนา้ กระเทียม หอมหัวใหญ่ ว่านหางจระเข้
ใบขยายพันธุ์ คว่าตายหงายเป็ น โคมญี่ปนุ่
ใบใช้ ล่อแมลงให้ มาผสมพันธุ์ (ใบประดับ) เฟื่ องฟ้ า หน้ าวัว คริสต์มาส

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 131
บทที่ 10 : การลาเลียงของพืช
10.1 การลาเลียงนา้ ของพืช

➢ การลาเลียงนา้ ระหว่างเซลล์ในรากอาจเกิดได้ 2 แบบ ดังนี้


1) แบบอโพพลาสต์ (apoplast) เป็ นการลาเลียงนา้ แทรกไปตามช่องว่างระหว่างผนังเซลล์
เป็ นการลาเลียงนา้ ผ่านทางพลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata) จากเซลล์หนึ่งสู่
2) แบบซิมพลาสต์ (symplast)
เซลล์หนึ่ง และเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของสองเซลล์ท่ตี ิดกันได้

โมเลกุลนา้ ที่ลาเลียงแบบอโพพลาสต์ผ่านเซลล์ขนรากและเซลล์ต่างๆ ในชั้นคอร์เทกซ์



จนเมื่อมาถึงเอนโดเดอร์มิส นา้ ไม่สามารถลาเลียงไปตามผนังเซลล์ด้านที่มีแถบแคสพาเรียนได้

นา้ จึงถูกลาเลียงเข้ าไปในเซลล์แบบซิมพลาสต์ผ่านทางผนังด้ านทีไ่ ม่มีแถบแคสพาเรียน
เข้ าสู่เซลล์ช้นั ในจนถึงเซลล์ของไซเล็ม

เมื่อพืชลาเลียงนา้ เข้ าสูไ่ ซเล็มของรากแล้ ว พืชจะอาศัยแรงดึงจากการคายนา้ เพื่อลาเลียงนา้ ขึ้นสู่ด้านบน

การลาเลียงนา้ ในไซเล็มจะเกิดขึ้นได้ ดีกต็ ่อเมื่อนา้ ในไซเล็มต่อกันเป็ นสายไม่ขาดตอน

ดังนั้นจึงจาเป็ นต้ องมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลนา้ ด้ วยกันเองเรียกว่า แรงโคฮีชัน (cohesion)
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างนา้ กับผนังเซลล์ของท่อไซเล็มเรียกว่า แรงแอดฮีชัน (adhesion)

ภาพแสดงการลาเลียงนา้ ระหว่างเซลล์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 132
การลาเลียงนา้ ในพืช

➢ หากแรงดึงจากการคายนา้ มีค่ามากกว่าแรงโคฮี ชัน ทาให้ สายนา้ ไม่ต่อเนื่อง เกิดฟองอากาศขึ้น


ซึ่งจะขัดขวางการลาเลียงนา้

➢ เมื่อพืชหยุ ดการคายน้า เช่ น ในเวลากลางคืน ปากใบปิ ดและน้าในดินมีมากเพียงพอน้าจะ


ยังคงเคลื่อนที่เข้ าสู่ไซเล็มในรากได้ ทาให้ เกิดแรงดันของมวลน้าภายในรากเรียกว่า แรงดันราก
(root pressure) ซึ่งจะดันนา้ ขึ้นไปบีบฟองอากาศที่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงดึงจากการคายนา้ หายไป

➢ ในสภาวะที่ พื ช ไม่ มี ก ารคายน้า เช่ น ปากใบปิ ดในเวลากลางคื น หรื อ ในสภาวะที่ อ ากาศ


มีความชื้นสัมพัทธ์สงู มากพืชบางชนิดเกิด ปรากฏการณ์กตั เตชัน (guttation) ซึ่งเป็ นปรากฏการณ์
ที่มีนา้ ลักษณะเป็ นหยดนา้ ผ่านออกมาทางรูไฮดาโทด (hydathode)

10.2 การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายนา้ ของพืช

การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายนา้ ของพืช

➢ ในการสร้ างอาหาร พืชต้ องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้า เป็ นสารตั้งต้ นในการบวนการ


สั ง เคราะห์ ด้ วยแสง รากพื ช ดู ด น้ า จากดิ น แล้ วล าเลี ย งไปยั ง ส่ ว นต่ า งๆ ทางไซเล็ ม ส่ ว นแก๊ ส
คาร์ บอนไดออกไซด์ น้ั น พื ช จะได้ จ ากกระบวนการแลกเปลี่ ย นแก๊ส โดยแก๊ส คาร์ บอนไดออกไซด์
ในบรรยากาศจะแพร่ผ่านเข้ าไปในพืชทางรูปากใบ

ดังนั้น การเปิ ดหรือปิ ดของปากใบจึงมีบทบาทสาคัญต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สของพืช

➢ การคายน้ า (transpiration) เป็ นการที่พืชเสียนา้ ออกสู่บรรยากาศภายนอกในรูปของไอนา้ ผ่านทาง


รูปากใบ กลไกนี้ทาให้ เกิดแรงดึงจากการคายนา้ (transpiration pull) ซึ่งเป็ นแรงที่ทาให้ เกิดการลาเลียง
นา้ ภายในไซเล็ม

➢ พืชอาจคายนา้ ออกทางช่องอากาศหรือเลนทิเซล (lenticel) ซึ่งเป็ นรอยแตกที่เปลือกของลาต้ นพืชที่


มีการเติบโตทุติยภูมิและมีพืชบางชนิดเท่านั้นที่พบเลนทิเซล ส่วนใหญ่พืชสูญเสียนา้ ทางปากใบประมาณ
ร้ อยละ 90

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 133
➢ ปัจจัยที่มีผลต่อการปิ ดเปิ ดของปากใบและการคายนา้ ของพืช

1) อุณหภูมิ ถ้ าอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศลดลง นา้ จะระเหยออกจากปากใบ


มากขึ้น ถ้ าอุณหภูมิสงู มากเกินไป รูปากใบจะปิ ด เพราะพืชป้ องกันการสูญเสียนา้

2) ความชื้ น ถ้ าความชื้นในอากาศลดลงน้าระเหยออกทางรูปากใบมากขึ้นเกิดการคายน้า
เพิ่มมากขึ้น

3) กระแสลม กระแสลมที่พัดผ่านใบจะทาให้ ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง นา้ บริเวณ


รูปากใบจะระเหยออกสู่อากาศได้ มากขึ้น

4) สภาพน้ าในดิน การเปิ ดปิ ดของรูปากใบมีความสัมพั นธ์กับสภาพของน้าในดินมากกว่า


สภาพของน้าในใบพืช เมื่อดินมีน้าน้ อยลง และพืชขาดน้า พืชจะสังเคราะห์ กรดแอบไซซิก
(abscisic acid ; ABA) มีผลทาให้ รูปากใบปิ ด การคายนา้ จึงลดลง

5) ความเข้มของแสง เมื่อความเข้ มของแสงสูงขึ้น รูปากใบจะเปิ ดมากขึ้น และเมื่อความเข้ ม


ของแสงลดลง รูปากใบจะเปิ ดน้ อยลง ดังนั้นเมื่อความเข้ มของแสงมากขึ้น เป็ นผลทาให้ เกิด
การคายนา้ ในใบได้ มากขึ้น

6) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากกว่าปกติจะทาให้ รูปากใบเปิ ด


ได้ แ คบลง โดยทั่ว ไปรู ปากใบพืช จะเปิ ดในเวลากลางวัน น าคาร์ บอนไดออกไซด์ไปใช้ ใน
การสังเคราะห์ด้วยแสง และปิ ดในเวลากลางคืน แต่พืชอวบนา้ เช่น กระบองเพชร ซึ่งเจริญใน
ที่แห้ งแล้ ง พบว่ารูปากใบจะเปิ ดในเวลากลางคืน และปิ ดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียนา้

10.3 การลาเลียงสารของพืช
➢ กระบวนการลาเลียงสารอาหารในรากมี 2 วิธี คือ...
การลาเลียงแบบไม่ใช้พลังงาน เป็ นการลาเลียงสารอาหารจากบริเวณที่มีความเข้ มข้ นสูงกว่า
(passive transport) ไปยังบริเวณที่มีความเข้ มข้ นต่ากว่า
การลาเลียงแบบใช้พลังงาน เป็ นการลาเลียงสารอาหารจากบริเวณที่มีความเข้ มข้ นต่ากว่า
(active transport) ไปยังบริเวณที่มีความเข้ มข้ นสูงกว่าโดยอาศัยพลังงาน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 134
➢ ธาตุอาหารที่เป็ นโครงสร้ างพืช ประกอบด้ วย...
1) องค์ประกอบหลัก 96% ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
2) สารอาหาร 4% 2.1 สารอาหารหลัก 3.5 % ได้ แก่
- ไนโตรเจน - โพแทสเซียม - แคลเซียม
- ฟอสฟอรัส - แมกนีเซียม - กามะถัน
2.2 สารอาหารรอง 0.5% ได้ แก่
- คลอรีน - เหล็ก - โบรอน
- สังกะสี - แมงกานีส - ทองแดง
- โมลิบดินัม

➢ ธาตุอาหารจาเป็ นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้

1) ธาตุจาเป็ นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีความจาเพาะ ถ้ าขาดธาตุพืชจะไม่สามารถดารงชีวิตอยู่ได้

2) ความต้ องการชนิดของธาตุในการเจริญเติบโตของพืชมีความจาเพาะ จะใช้ ธาตุอ่นื ทดแทนไม่ได้

3) ธาตุจาเป็ นต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมและการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง

➢ ธาตุอาหารที่พชื ต้ องการ แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม ได้ แก่

- เป็ นสารอาหารที่พืชต้ องการในปริมาณมาก


1) สารอาหารหลัก (macronutrients)
- ประกอบด้ วยธาตุ 6 ชนิด ได้ แก่ N P K Ca Mg และ S
- เป็ นสารอาหารที่พืชต้ องการในปริมาณน้ อย
2) สารอาหารรอง (micronutrients)
- ประกอบด้ วยธาตุ 7 ชนิด ได้ แก่ B Fe Cu Zn Mn Mo และ Cl

➢ หน้ าที่ของธาตุต่างๆ ทางสรีรวิทยาและชีวเคมี สามารถแบ่งเป็ น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็ นธาตุท่เี ป็ นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ภายในพืช ได้ แก่ C, H, O, N และ S

เป็ นธาตุท่ีเกี่ยวข้ องกับปฏิกิริยาการถ่ายทอดพลังงาน เช่ น P ในสาร ATP และเป็ น


กลุ่มที่ 2 องค์ประกอบของสารประกอบอินทรีย์ท่ที าหน้ าที่เกี่ยวกับเมตาบอลิซึม เช่น Mg เป็ น
องค์ประกอบคลอโรฟิ ลล์

กลุ่มที่ 3 เป็ นธาตุท่กี ระตุ้นการทางานของเอนไซม์ เช่น Fe, Cu, Zn, Mn และ Cl

กลุ่มที่ 4 เป็ นธาตุท่คี วบคุมแรงดันออสโมติก เช่น K ช่วยรักษาความเต่งของเซลล์คุม

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 135
➢ หน้ าที่ของธาตุบางชนิดและอาการตอบสนองหรืออาการที่พืชแสดงออก

ธาตุ ขาดธาตุ
ไนโตรเจน ใบมีสเี หลืองทั้งใบ จะเริ่มเหลืองที่ใบแก่ก่อน ลาต้ นแคระแกร็น
โพแทสเซียม ใบเหลือง ขอบใบและปลายใบไหม้ เนื้อเยื่อใบตายเป็ นจุดๆ โดยเกิดที่ใบแก่ก่อน
ฟอสฟอรัส การเจริญเติบโตชะงัก ใบแก่มีสเี ขียวเข้ ม ก้ านใบหรือใบอาจมีสแี ดงหรือสีม่วง
แคลเซียม เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดและปลายรากตาย ใบอ่อนหงิกงอ ปลายใบ ขอบใบเหี่ยว
แมกนีเซียม ใบมีสเี หลืองบริเวณระหว่างเส้นใบ เกิดที่ใบแก่ก่อน เกิดจุดสีแดงบนใบ ปลายและขอบใบม้ วน
กามะถัน ใบเหลืองทั้งใบ โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน หรือเกิดใบเหลืองทั้งต้ น
เหล็ก ใบเหลืองระหว่างเส้ นใบ แต่เส้นใบมีสเี ขียว เกิดที่ใบอ่อนก่อน ถ้ าขาดอย่างรุนแรงใบอ่อนซีดขาว

ภาพแสดงอาหารขาดธาตุอาหารแต่ละชนิด
ที่มา https://www.kasetorganic.com

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 136
10.4 การลาเลียงอาหารของพืช

10.4.1 การเคลื่อนย้ ายอาหารในพืช

การศึกษาการเคลื่อนย้ ายอาหารในพืช

➢ พ.ศ. 2229 ได้ ควั่นเปลือกรอบลาต้ นโดยให้ รอยควั่นห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร


มาร์เซลโล มัลพิจิ เมื่อปล่อยให้ พืชเจริญระยะหนึ่งพบว่าเปลือกของลาต้ นเหนือรอยควั่น
(Marcello Malpighi) จะพอง

ได้ ศึกษาการทดลองของมัลพิจิ พบว่าการควั่นเปลือกของลาต้ น ไม่มีผล


➢ พ.ศ. 2471 ต่ อ การคายน้ า ของพื ช เนื่ อ งจากไซเล็ ม ยั ง สามารถล าเลี ย งน้ า ได้
ที จี เมสัน (T.G. Mason) ส่วนเปลือกของลาต้ นที่อยู่เหนือรอยควั่นพองออก เนื่องจากมีสารละลาย
อี เจ มัสเคล (E.J. Maskell) นา้ ตาลที่ไม่สามารถลาเลียงผ่านมายังด้ านล่างของลาต้ นได้

- มี ผ้ ูศึก ษาการลาเลีย งน้า ตาลในพืช โดยใช้ คาร์บ อนไดออกไซด์ ท่ีมี ธาตุ กัม มั นต์ C-14 เป็ นองค์ป ระกอบ โดยเตรีย ม
คาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของสารละลายแล้ วนาไปทาการทดลอง ต่อมาคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปสารละลายจะกลายเป็ น
แก๊ส ซึ่งพืชจะนาไปใช้ ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
- หลังการทดลองให้ พืชได้ รับแสงเป็ นเวลา 35 นาที แล้ วนาเนื้อเยื่อต่างๆ มาทาให้ แ ห้ งโดยการแช่แข็งและตัดเป็ นชิ้นบางๆ
นาไปวางบนแผ่นฟิ ล์มถ่ายรูปในห้ องมืด เพื่อตรวจสอบนา้ ตาลที่มี C-14
-- การทดลองชุดที่ 1 พบนา้ ตาลที่มี C-14 ที่ส่วนล่างของลาต้ น
-- การทดลองชุดที่ 2 พบ C-14 ที่ส่วนยอดของพืช
-- การทดลองชุดที่ 3 พบ C-14 ที่ส่วนบนและส่วนล่างของพืชหรือทุกส่วนของพืช ส่วนใหญ่จะพบ C-14 ในซีฟทิวบ์

สรุปได้ ว่า พืชใช้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่รี ับเข้ ามาทางรูปากใบเพื่อใช้ ในการสร้ างอาหาร อาหารที่พืชสร้ างขึ้นจะลาเลีย ง
ไปยังแหล่งที่สร้ างอาหารได้ น้อย เช่น ยอดหรือแหล่งที่สร้ างอาหารไม่ได้ เช่น ราก การลาเลียงอาหารจะลาเลียงทางโฟลเอ็ม
มีทิศทางขึ้นไปสู่ยอดและลงไปสู่ราก ซึ่งแตกต่างจากการลาเลียงนา้ และสารอาหารที่ลาเลียงทางไซเล็มและมีทิศทางจากราก
ไปสู่ยอดและใบเท่านั้น

➢ พ.ศ. 2496 พบว่า เพลี้ยอ่อนสามารถใช้ งวงแทงเข้ าไปถึงโฟลเอ็มแล้ วดูดของเหลว


เอ็ม เอช ซิมเมอร์แมน จากท่อโฟลเอ็มออกมากิน เมื่อนาของเหลวนี้ไปวิเคราะห์พบว่าส่วนใหญ่
เป็ นน้า ตาลซูโครส และสารอื่นๆ เช่ น กรดอะมิโ น ฮอร์โ มน และธาตุ
(M.H. Zimmerman) อาหาร เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 137
10.4.2 กระบวนการลาเลียงอาหาร

➢ พ.ศ. 2473 อี มึนซ์ (E. Munch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน อธิบายกระบวนการลาเลียงอาหารได้ ว่า

ส่วนหนึ่งของนา้ ตาลที่พืชสร้ างขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงในคลอโรพลาสต์


จะถูกลาเลียงออกมาในไซโทพลาสซึมแล้ วเปลี่ยนเป็ นนา้ ตาลซูโครส

จากนั้นซูโครสจะเคลื่อนย้ ายออกจากเซลล์ท่เี ป็ นแหล่งสร้ างไปยังโฟลเอ็ม
โดยเข้ าสู่ซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม ทาให้ ความเข้ มข้ นของสารละลายในซีฟทิวบ์ต้นทางสูงขึ้น

นา้ จากเซลล์ข้างเคียงออสโมซิสเข้ ามา และเพิ่มแรงดันในซีฟทิวบ์ (pressure flow)
ดันให้ สารละลายนา้ ตาลซูโครสลาเลียงไปตามท่อซีฟทิวบ์จนถึงเนื้อเยื่อต่างๆ
นา้ ตาลซูโครสจะออกจากซีฟทิวบ์เข้ าสู่เซลล์ในเนื้อเยื่อเหล่านั้น
เพื่อใช้ ในกระบวนการต่างๆ หรือเก็บสะสมไว้ ในเซลล์

ทาให้ ซีฟทิวบ์ปลายทางมีความเข้ มข้ นของสารละลายลดลง

นา้ จากซีฟทิวบ์ปลายทางจึงแพร่ออกสู่เซลล์ข้างเคียง
เป็ นผลให้ ซีฟทิวบ์ปลายทางมีแรงดันน้ อยกว่าซีฟทิวบ์ต้นทาง

จึงมีการลาเลียงอาหารอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ใบพืชสังเคราะห์ด้วยแสง
โดยมีแรงผลักดันแตกต่างของแรงดันในซีฟทิวบ์ต้นทางและปลายทาง

ภาพแสดงการลาเลียงอาหารของ E. Munch
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 138
บทที่ 11 : การสังเคราะห์ดว้ ยแสง
11.1 การค้ นคว้ าที่เกี่ยวข้ องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง

➢ ฌอง แบบติสท์ เวน เฮลมองท์ (Jean Baptiste Van Helmont) ปลูกต้ นหลิวหนัก 5 ปอนด์ ในถังใบใหญ่
ที่บรรจุ ดินซึ่งทาให้ แห้ งสนิทหนัก 200 ปอนด์ แล้ วปิ ดฝาถัง ระหว่างทาการทดลองได้ รดน้าต้ นหลิวที่ปลูกไว้ ทุกๆ วัน
เป็ นระยะเวลา 5 ปี ปรากฏว่าต้ นหลิวสูงขึ้น และหนัก 169 ปอนด์ 3 ออนซ์

➢ โจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) ทาการทดลอง ดังนี้


การทดลองที่ 1
- จุดเทียนไว้ ในครอบแก้ ว ปรากฏว่าสักครู่เทียนไขดับ
- ทาการทดลองใหม่โดยใส่หนูไว้ ในครอบแก้ วอีกใบหนึ่ง สักครู่หนูตาย
- เมื่อนาหนูท่มี ีชีวิตไปไว้ ในครอบแก้ วที่เทียนไขดับ ปรากฏว่าหนูตายเกือบทันที
- เมื่อจุดเทียนไขแล้ วนาไปใส่ในครอบแก้ วที่มีหนูตาย ปรากฏว่าเทียนไขดับเกือบทันที
การทดลองที่ 2 พริสต์ลีย์นาพืชสีเขียวที่เคยจุดเทียนไขเอาไว้ ก่อนแล้ วทิ้งไว้ 10 วัน เมื่อจุดเที ยนไขในครอบแก้ ว
นั้นใหม่ ปรากฏว่าเทียนไขลุกไหม้ อยู่ได้ ระยะหนึ่งโดยไม่ดับทันที
พริสต์ลีย์ได้ ทาการทดลองเพิ่มเติม โดยแบ่งอากาศหลังจากที่เทียนไขดับแล้ วออกเป็ น 2 ส่วน
- ส่วนที่หนึ่งนาพืชไปใส่ไว้
- ส่วนที่สองใส่แต่แก้ วที่บรรจุนา้ ไว้
ทิ้ง ไว้ ร ะยะหนึ่งเมื่ อจุ ดเทีย นในอากาศทั้ง 2 ส่ ว น พบว่ า เทีย นไขจะลุกไหม้ ได้ ร ะยะหนึ่งในอากาศส่วนที่มี
พืชอยู่ แต่จะดับทันทีในส่วนที่ไม่มีพืชอยู่ จากการทดลองของพริสต์ลีย์แสดงว่าพืชสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้ กลับมา
เป็ นอากาศดีได้

➢ แจน อินเก็น ฮูซ (Jan Ingen Housz) ได้ ทาการทดลองคล้ ายกับพรีสต์ลีย์ และพิสูจน์ให้ เห็นว่าการทดลอง
ของพรีสต์ลีย์จะเกิดขึ้นได้ ดีกต็ ่อเมื่อพืชได้ รับแสง และค้ นพบว่าพืชเก็บธาตุคาร์บอนไว้ ในรูปของสารอินทรีย์


จากความรู้ทางเคมีซ่งึ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะใกล้ เคียงกับที่พรีสต์ลีย์และฮูซทดลองนั้น พบว่าแก๊สที่เกิด
จากการลุกไหม้ และแก๊สที่เกิดจากการหายใจออกของสัตว์เป็ นแก๊สชนิดเดียวกัน คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนแก๊สที่
ช่ วยในการลุกไหม้ และใช้ ในการหายใจของสัตว์ คือ แก๊สออกซิเจน แสดงให้ เห็นว่ าเมื่อพืชได้ รับแสง พืชจะนาแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์เข้ าไปและปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมา

➢ นิ โ คลาส ธี โ อดอร์ เดอ โซซู ร์ (Nicolas Theodore de Soussure) แสดงให้ เห็ น ว่ า พื ช มี ก ารดู ด แก๊ ส
คาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงสอดคล้ องกับฮูซ และพบว่านา้ หนักของพืชที่เพิ่มขึ้นมากกว่า
นา้ หนักของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่พี ืชได้ รับ นา้ หนักของพืชที่เพิ่มขึ้นบางส่วนเป็ นนา้ หนักของนา้ ที่พืชได้ รับ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 139
➢ จากการทดลองโดยการวิเคราะห์ทางเคมีในเวลาต่อมาพบว่าสารอินทรีย์ท่ีได้ จากการสร้ างอาหารของพืช
คือ สารประเภทคาร์โบไฮเดรต และจากผลการศึกษาค้ นคว้ าทดลองจึงเขียนสรุปกระบวนการสร้ างอาหารของพืชได้
➢ ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ เรียกกระบวนการสร้ างอาหารของพืชที่อาศัยแสงนี้ว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง
(photosynthesis)

➢ แวน นีล (Van Niel) ทดลองเลี้ยงแบคทีเรียที่สังเคราะห์ ด้วยแสงแทนที่จะเกิดแก๊สออกซิเจนกลับเกิด


ซัลเฟอร์ข้ นึ แทน นีลจึงเสนอสมมติฐานที่ว่า ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียน่าจะคล้ ายคลึงกับของพืช

➢ แซม รูเบน (Sam Ruben) และมาร์ติน คาเมน (Martin Kamen) ได้ ทาการทดลองใช้ น้าที่ประกอบด้ วย
ออกซิเจน ดังนี้
1) เมื่อให้ ออกซิเจนในโมเลกุลนา้ เป็ นออกซิเจนหนัก (18O) พบว่าแก๊สออกซิเจนที่ปล่อยออกมาเป็ นออกซิเจนหนัก
2) เมื่อให้ ออกซิเจนในโมเลกุลนา้ เป็ นออกซิเจนปกติ (16O) พบว่าแก๊สออกซิเจนที่ปล่อยออกมาเป็ นออกซิเจนปกติ

➢ โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill) นาคลอโรพลาสต์จากผักโขมมาผสมกับนา้ แล้ วแบ่งการทดลองเป็ น 2 ชุด


- ชุดที่หนึ่ง เติมเกลือเฟอริก
- ชุดที่สอง ไม่เติมเกลือเฟอริก
หลังจากนั้น ให้ แสงทั้ง 2 การทดลอง ผลการทดลองชุดที่ 1 เกิดเกลือเฟอรัสและแก๊สออกซิเจน และชุดที่ 2
ไม่พบว่ามีแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้น ต่อมามีการค้ นพบว่าเกลือเฟอริกเปลี่ยนเป็ นเกลือเฟอรัสได้ เพราะได้ รับอิเล็กตรอนจาก
การแตกตัวของนา้ และปล่อยแก๊สออกซิเจนออกมาในขณะเดียวกัน

➢ แดเนี ย ล อาร์ น อน (Daniel Arnon) ได้ ท าการทดลองต่ อ จากฮิ ล ล์ พบว่ า การสั ง เคราะห์ ด้ ว ยแสง
ประกอบด้ วย 2 ขั้นตอน คือ
- ปฏิกริ ิยาที่ต้องใช้ แสง (Light reaction)
- ปฏิกริ ิยาการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 fixation)

➢ จากการศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้ วยแสงของนักวิทยาศาสตร์ท่ผี ่านมา ทาให้ ทราบว่าพืชจาเป็ นต้ องใช้


แสง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และนา้ ในการสร้ างอาหารในรูปของคาร์โบไฮเดรต ดังสมการ

6CO2 + 12H2O C6H12O6 + 6O2 + 6H2O

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 140
11.2 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

➢ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นที่คลอโรพลาสต์

มี 2 ขั้นตอน คือ
1) ปฏิกริ ิยาแสง (Light reaction)

2) การตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 fixation)

11.2.1 โครงสร้ างของคลอโรพลาสต์

คลอโรพลาสต์
(Chloroplast)

โครงสร้ างประกอบด้ วย

เยื่อหุ้ม 2 ชั้น

ของเหลว เรียกว่า สโตรมา มีเอนไซม์ท่จี าเป็ นสาหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง เอนไซม์บางชนิดใช้


ในปฏิกริ ิยาแสง บางชนิดใช้ ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์
(stroma)
มี ลัก ษณะเป็ นแผ่ นถุง ทับ ซ้ อ นเป็ นชั้ นๆ แต่ ละชั้นเรีย กว่ า กรานุ ม
(granum) และเยื่ อ ส่วนที่ไม่ ทับ ซ้ อนกันอยู่ระหว่างกรานุ ม เรียกว่า
สโตรมาลาเมลลา (stroma lamella) ภายในไทลาคอยด์ มี ลัก ษณะ
ไทลาคอยด์ เป็ นช่องเรียกว่า ลูเมน (lumen) ซึ่งมีของเหลวที่ประกอบด้ วยเอนไซม์
(thylakoid) ต่างๆ อยู่ภายใน สารสีท้งั หมดรวมทั้งคลอโรฟิ ลล์จะอยู่บนเยื่อไทลา
คอยด์ ซึ่งเป็ นบริเวณที่มีการดูดรับพลังงานแสงมาใช้ ในกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง

ภายในคลอโรพลาสต์มี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย ทาให้ คลอโรพลาสต์สามารถจาลองตัวเองได้


และผลิตโปรตีนไว้ ใช้ ในคลอโรพลาสต์ได้ เองคล้ ายกับไมโทคอนเดรีย

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 141
ภาพแสดงโครงสร้ างของ chloroplast
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงขั้นตอนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 142
11.2.2 สารสีในปฏิกริ ิยาแสง

➢ สารสีท่พี บในสิ่งมีชีวิตที่สงั เคราะห์ด้วยแสงได้

ตั ว อย่ า งเช่ น คลอโรฟิ ลล์ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ไฟโคบิ ลิน (phycobilin) และแบคเทอริโ อคลอโรฟิ ลล์
(bacteriochlorophyll) พืช และสาหร่ า ยเป็ นสิ่งมี ชีวิ ต ประเภทยู คาริโ อต จะพบสารสีต่ า งๆ อยู่ ใ นคลอโรพลาสต์
ส่วนสิ่งมีชีวิตประเภทโพรคาริโอตจะพบสารสีต่างๆ อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ หรือองค์ประกอบอื่นที่เปลี่ยนแปลงมาจาก
เยื่อหุ้มเซลล์

ในพืชและสาหร่ายสีเขียว มีคลอโรฟิ ลล์ 2 ชนิด คือ คลอโรฟิ ลล์เอ และคลอโรฟิ ลล์บี นอกจากคลอโรฟิ ลล์แล้ ว ยังมี
แคโรทีนอยด์ซ่งึ พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และพบว่าในสาหร่ายสีแดง และไซยาโนแบคทีเรียมีไฟโคบิลินด้ วย

➢ แคโรทีนอยด์ เป็ นสารประกอบประเภทลิพิดซึ่งประกอบด้ วยสารสี 2 ชนิด คือ …


1) แคโรทีน (carotene) เป็ นสารสีแดงหรือสีส้ม
2) เซนโทฟิ ลล์ (xanthophyll) เป็ นสารสีเหลืองหรือสีนา้ ตาล
แคโรทีนอยด์มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สงั เคราะห์ด้วยแสงได้

➢ ไฟโคบิลินในสาหร่ายสีแดงและไซยาโนแบคทีเรีย ประกอบด้ วยสารสี 2 ชนิด คือ ...


1) ไฟโคอีรีทริน (phycoerythrin) เป็ นสารสีแดงแกมนา้ ตาล
2) ไฟโคไซยานิน (phycocyanin) เป็ นสารสีเขียวแกมนา้ เงิน

กลุ่ม สารสีเ หล่ า นี้ฝังตั ว อยู่ ใ นกลุ่ม ของโปรตี นบนเยื่ อ ไทลาคอยด์ เรีย กว่ า แอนเทนนา (antenna) ท าหน้ า ที่รับ
พลังงานแสงแล้ วส่งต่อไปตามลาดับจนถึงคลอโรฟิ ลล์เอโมเลกุลพิเศษที่เป็ นศูนย์กลางปฏิกิริยา (reaction center)
ของระบบแสง

โครงสร้ างโมเลกุลของสารสี ประกอบด้ วยอะตอมที่มีอเิ ล็กตรอนจานวนหนึ่งที่เคลื่อนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส

ภาพแสดงความยาวคลื่นของสารสีท่ใี ช้ ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 143
เมื่อโมเลกุลของสารสีดูดพลังงานจากแสง

ทาให้ อเิ ล็กตรอนที่อยู่ในสถานะปกติหรือสถานะพื้น (ground state) ถูกกระตุ้นให้ มีพลังงานมากขึ้น

อิเล็กตรอนจะเคลื่อนสู่ระดับที่มพี ลังงานสูงขึ้น
ซึ่งเรียกว่าอิเล็กตรอนอยู่ในสถานะถูกกระตุ้น (excited state) จะมีสภาพไม่คงตัว

อิเล็กตรอนจะถ่ายทอดพลังงานที่ถูกกระตุ้นจากโมเลกุลของสารสีหนึ่งไปยังสารสีโมเลกุลอื่นต่อๆ ไป
จนสู่คลอโรฟิ ลล์เอโมเลกุลพิเศษที่เป็ นศูนย์กลางปฏิกริ ิยา

เมื่อคลอโรฟิ ลล์เอโมเลกุลพิเศษได้ รับพลังงานทีเ่ หมาะสม
จะทาให้ อเิ ล็กตรอนหลุดออกจากโมเลกุล และมีตัวรับอิเล็กตรอนมารับ

แล้ วมีการถ่ายทอดพลังงานโดยอิเล็กตรอนตัวนี้ไปยังตัวรับอิเล็กตรอนอื่นๆ อีกหลายตัว
ซึ่งขั้นตอนนี้เป็ นขั้นตอนการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็ นพลังงานเคมี

➢ แอนเทนนาแต่ ล ะโมเลกุ ล จะรั บพลั งงานแสงแล้ วส่ งต่ อตามล าดับไปยั งคลอโรฟิ ลล์ เอที่เป็ นศูนย์ กลาง
ปฏิกิริยา แอนเทนนา และศูนย์กลางปฏิกิริยาจะฝังตัวอยู่ในกลุ่มของโปรตีนที่เยื่อไทลาคอยด์ ซึ่งจะมีตัวรับอิเล็กตรอนที่
รับอิเล็กตรอนจากศูนย์ปฏิกริ ิยารวมอยู่ด้วย เรียกกลุ่มของโปรตีนสารสีน้ วี ่า ระบบแสง (photosystem ; PS)

ระบบแสง (photosystem ; PS)

เป็ นระบบแสงที่มี คลอโรฟิ ลล์เ อเป็ นศูนย์ ก ลางปฏิกิริย า โดยจะรับ พลังงานแสงได้ ดี ท่ีสุด ที่มี
 ระบบแสง I ความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร เรียกศูนย์กลางปฏิกริ ิยาของระบบแสง I นี้ว่า P700

 ระบบแสง II
เป็ นระบบแสงที่มี คลอโรฟิ ลล์เ อเป็ นศูนย์ ก ลางปฏิกิริย า โดยจะรับ พลังงานแสงได้ ดี ท่ีสุด ที่มี
ความยาวคลื่น 680 นาโนเมตร เรียกศูนย์กลางปฏิกริ ิยาของระบบแสง II นี้ว่า P680

ภาพแสดงโครงสร้ างของระบบแสงบนไทลาลอยด์
ที่มา ; http://legacy.owensboro.kctcs.edu/gcaplan/bio/notes/07_08aPhotosElectronFlow_L.jpg

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 144
11.2.3 ปฏิกริ ิยาแสง

➢ เกิ ด ขึ้ นที่ เ ยื่ อ ไทลาคอยด์ โ ดยจะมี ร ะบบแสง I ระบบแสง II และโปรตี น หลายชนิ ด ที่ ท าหน้ า ที่ รั บ และถ่ า ยทอด
อิเล็กตรอนต่อๆ ไป ตามลาดับ

ภาพแสดงการเกิดปฏิกริ ิยาแสงบริเวณไทลาคอยด์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 145
➢ การถ่ายทอดอิเล็กตรอนดังกล่าวข้ างต้ นเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ…

1) การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็ นวัฏจักร (non-cyclic electron transfer)

เกิ ดกระบวนการ
Photophosphorylation

2) การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็ นวัฏจักร (cyclic electron transfer)

เกิ ดกระบวนการ
Photophosphorylation

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 146
➢ กระบวนการ Photophosphorylation เกิด Chemiosmosis

เป็ นกระบวนการเคลื่อนย้ ายโปรตอนจากสโตรมาเข้ าสู่ลูเมนของไทลาคอยด์ ทาให้ เกิดความแตกต่ างของระดับ


โปรตอนระหว่างสโตรมากับลูเมน โปรตอนในลูเมนซึ่งมีความเข้ มข้ นมากกว่าจะถูกส่งผ่านออกไปยังสโตรมาทาให้
เกิดการสังเคราะห์ ATP ขึ้นในสโตรมา โดยมี ATP synthase ช่วยในการทางาน

ภาพแสดงการเกิด photophosphorylation
ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE ;
- ไดยูรอน เป็ นสารกาจัดวัชพืชทีย่ ับยั้งการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในระบบแสง II จึงยับยั้งการสังเคราะห์ด้วยแสง
- พาราควอต เป็ นสารกาจัดวัชพืชอีกชนิดหนึ่ง มีกลไกการทางานโดยแย่งรับอิเล็กตรอนที่ระบบแสง I จะส่งต่อไปยัง NADP+ แล้ ว
รีดิวซ์ออกซิเจนให้ กลายเป็ น superoxide ซึ่งสามารถทาปฏิกริ ิยากับสารหลายชนิดในคลอโรพลาสต์ จึงมีผลยับยั้งการสังเคราะห์ด้วยแสง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 147
11.2.4 การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์

➢ การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดขึ้นเป็ นวัฏจักร เรียกว่า วัฏจักรเคลวิน

วัฏจักรเคลวิน (Calvin cycle)

ประกอบด้ วยปฏิกริ ิยา 3 ขั้นตอน คือ …


คาร์บอกซิเลชัน (Carboxylation)

รีดกั ชัน (Reduction)

รีเจเนอเรชัน (Regeneration)

1) ปฏิกิริยาขั้นตอนที่ 1 : คาร์บอกซิเลชัน (Carboxylation)


: เป็ นปฏิกริ ิยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้ าสู่วัฏจักรเคลวินเพื่อทาปฏิกริ ิยากับ RuBP
โดยมี เ อนไซม์ ไรบู โ ลส -1,5-บิ ส ฟอสเฟตคาร์ บอกซิ เ ลสออกซี จี เ นส (ribulose-1,5-bisphosphate carboxylase -
oxygenase) เรียกย่อๆ ว่า รูบิสโก (rubisco) เป็ นตัวเร่งปฏิกริ ิยา

เมื่อ RuBP ซึ่งเป็ นสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอม ทาปฏิกริ ิยากับคาร์บอนไดออกไซด์



ได้ สารประกอบใหม่ท่มี ีคาร์บอน 6 อะตอม แต่เป็ นสารที่ไม่เสถียร
สลายเป็ นฟอสโฟกลีเซอเรต (PGA) ซึ่งมีคาร์บอน 3 อะตอม จานวน 2 โมเลกุล
(ต่อการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล)
ซึ่งถือว่าเป็ นสารประกอบคาร์บอนชนิดแรกที่เกิดขึ้นและเสถียรในวัฏจักรเคลวิน

2) ปฏิกิริยาขั้นตอนที่ 2 : รีดกั ชัน (Reduction)


PGA จะรับหมู่ฟอสเฟตจาก ATP กลายเป็ น 1,3-บิสฟอสโฟกลีเซอเรต (1,3-bisphosphoglycerate)

จากนั้นจะถูกรีดิวซ์เป็ นนา้ ตาลทีม่ ีคาร์บอน 3 อะตอม
เรียก กลีเซอรัลดีไฮด์ 3-ฟอสเฟต (glyceraldehyde 3-phosphate) (G3P)
หรือฟอสโฟกลีเซอรัลดีไฮด์ (phosphoglyceraldehyde : PGAL) โดยการรับอิเล็กตรอนจาก NADPH

3) ปฏิกิริยาขั้นตอนที่ 3 : รีเจเนอเรชัน (Regeneration)


เป็ นขั้นตอนที่จะสร้ าง RuBP ขึ้นมาใหม่ เพื่อกลับไปรับคาร์บอนไดออกไซด์อกี ครั้งหนึ่ง ในการสร้ าง RuBP ซึ่งมี
คาร์ บอน 5 อะตอมนั้ น ต้ องอาศั ย G3P ซึ่ ง เป็ นสารที่มีค าร์บอน 3 อะตอม ขั้ น ตอนนี้ต้ องอาศัย พลั งงาน ATP จาก
ปฏิกริ ิยาแสง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 148
➢ การสร้ าง G3P ให้ มากเพียงพอที่จะสามารถไปสร้ าง RuBP ขึ้นมาใหม่น้ันต้ องตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ 3 โมเลกุล
จึงได้ ผลิตภัณฑ์เป็ น G3P รวม 6 โมเลกุล G3P จานวน 5 โมเลกุล จะถูกนากลับไปสร้ างเป็ น RuBP อีกได้ 3 โมเลกุล เพื่อ
รับคาร์บอนไดออกไซด์จนครบ 3 โมเลกุล ส่วน G3P ที่เหลือ 1 โมเลกุล จากวัฏจักรเคลวินถูกนาไปสร้ างเป็ นกลูโคสและ
สารประกอบอินทรีย์อ่นื ๆ

➢ จากการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือวัฏจักรเคลวิน จะพบว่า ได้ สารตัวแรกที่มีคาร์บอน 3 อะตอม (PGA) จึง


เรียกพืชที่ตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แบบนี้ว่า พืช C3 ซึ่งจะเกิดเหตุการณ์น้ ีท่ี Mesophyll ของใบ

➢ แผนผังสรุปการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฏจักรเคลวิน (ของพืช C3) (ถ้ าดุลตามสมการ จะต้ องเกิด 2 รอบ)

11.3 โฟโตเรสไพเรชัน

➢ โฟโตเรสไพเรชัน (photorespiration)

เป็ นกระบวนการใช้ ออกซิเจนทาปฏิกิริยากับ RuBP แล้ วปล่ อยแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา


ซึ่ ง กระบวนการนี้ คล้ ายกั บ กระบวนการหายใจที่ มี ก ารใช้ ออกซิ เ จนสลายอาหารแล้ วปล่ อ ย
คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

โฟโตเรสไพเรชัน จะช่วยป้ องกันความเสียหายให้ แก่ระบบการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ โดยเฉพาะอย่าง


ยิ่ง เมือ่ ใบพืชอยู่ในสภาพที่ได้รบั แสงมากแต่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้ตรึงน้อย

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 149
ภาพแสดงการเกิด Photorespiration

11.4 กลไกการเพิ่มความเข้ มข้ นของคาร์บอนไดออกไซด์ในพืช

11.4.1 โครงสร้ างของใบพืช C3 และใบพืช C4


➢ ใบพืช C3 มีเซลล์ในมีโซฟิ ลล์ 2 ชนิด คือ แพลิเซดมีโซฟิ ลล์ และสปั นจีมีโซฟิ ลล์ จะพบคลอโรพลาสต์ใน
มีโซฟิ ลล์ 2 ชนิดชัดเจนอาจมีหรือไม่มีเดิลชีทก็ได้ แต่จะไม่พบคลอโรพลาสต์ในบันเดิลชีท

➢ ใบพื ช C4 พบว่ า มี โ ซฟิ ลล์ ป ระกอบด้ ว ยเซลล์ ท่ีมีลั กษณะเหมื อนกัน มี ค ลอโรพลาสต์ ใ นมี โ ซฟิ ลล์และ
บันเดิลชีทชัดเจน พืช C4 มักพบในเขตร้ อนหรือกึ่งร้ อนมีประมาณ 1,500 ชนิด เช่น ข้ าวโพด ข้ าวฟ่ าง อ้ อย หญ้ าแพรก
หญ้ าแห้ วหมู ผักโขมจีน และบานไม่ร้ โู รย เป็ นต้ น

ภาพแสดงโครงสร้ างของพืช C4 และการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4


ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE ; - ข้ าวเจ้ า, ข้ าวสาลี, ข้ าวบาร์เลย์ = C3 : ข้ าวโพด, ข้ าวฟ่ าง = C4


- Kranz anatomy : พืชที่มี Bundle sheath (ring cell) = C4

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 150
11.4.2 การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4

➢ พืช C4 มีการตรึงสารประกอบอนินทรีย์ของคาร์บอน 2 ครั้ง

ครั้งแรก ; เกิดขึ้ นที่เซลล์มีโซฟิ ลล์ เรียก “hatch slack pathway”

ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของสารประกอบอนินทรีย์ของไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (HCO-3)
กับฟอสโฟอีนอลไพรูเวต (phosphoenolpyruvate) หรือกรดฟอสโฟอีนอลไพรูวิก (phosphoenolpyruvic acid)
หรือใช้ สญ
ั ลักษณ์ย่อว่า PEP ซึ่งเป็ นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม

ได้ เป็ นออกซาโลแอซิเตต (oxaloacetate) หรือกรดออกซาโลแอซิติก (oxaloacetic acid)
หรือใช้ สญ
ั ลักษณ์ย่อว่า OAA ซึ่งมีคาร์บอน 4 อะตอม สารชนิดนี้เป็ นสารประกอบเสถียรชนิดแรก
ที่ได้ จากการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเรียกพืชที่มีกระบวนการเช่นนี้ว่า พืช C4

จากนั้น OAA จะถูกเปลี่ยนเป็ น มาเลต (malate) หรือกรดมาลิก (malic acid)
แล้ วลาเลียงผ่านพลาสโมเดสมาตาเข้ าสู่เซลล์บันเดิลชีท

ครั้งที่สอง ; เกิดขึ้ นในเซลล์บนั เดิลชีท เรียก “calvin cycle”

มาเลตถูกลาเลียงจากเซลล์มีโซฟิ ลล์เข้ ามาสู่เซลล์บันเดิลชีทจะถูกสลายได้ เป็ นไพรูเวตและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์


ซึ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะเข้ าสู่วัฏจักรเคลวินในคลอโรพลาสต์ของเซลล์บันเดิลชีท

ส่วนไพรูเวตจะถูกส่งผ่านพลาสโมเดสมาตาไปยังเซลล์มีโซฟิ ลล์ตามเดิม
เพื่อเปลี่ยนเป็ น PEP โดยใช้ พลังงานจาก ATP

11.4.3 กลไกการเพิ่มความเข้ มข้ นของคาร์บอนไซด์ของพืช CAM

➢ พืชซีเอเอ็ม (Crassulacean acid metabolism plant ; CAM) เช่น กระบองเพชร กล้ วยไม้ ศรนารายณ์ ลิ้นมังกร ว่าน
หางจระเข้ สับปะรด และพืชวงศ์แครสซูลาซี (Crassulacenae) ได้ แก่ กุหลาบหิน คว่าตายหงายเป็ น เป็ นต้ น จะมีการตรึง
คาร์บอนไดออกไซด์ 2 ครั้ง ในเวลาต่างกัน

ในเวลากลางคืน มีอุณหภูมิต่าลงและความชื้นสูงขึ้น

รูปากใบของพืชกลุ่มนี้จะเปิ ด เพื่อตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่เี ข้ าทางรูปากใบ
ในรูปของไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนในเซลล์มีโซฟิ ลล์โดยสารประกอบ PEP
ซึ่งจะได้ เป็ น OAA ซึ่งต่อไปจะเปลี่ยนเป็ นกรดมาลิกสะสมไว้ ในแวคิวโอล

ในเวลากลางวัน กรดมาลิกจะเปลี่ยนเป็ นกรดไพรูวิกและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และถูกลาเลียงเข้ าสูว่ ัฏจักรเคลวินต่อไป

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 151
ภาพเปรียบเทียบการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C4 และพืช CAM
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ตารางเปรียบเทียบการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชแต่ละชนิด
ข้ อเปรียบเทียบ พืช C3 พืช C4 พืช CAM
1. จานวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 2 ครั้ง
2. เวลาที่เกิดการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์
- กลางวัน กลางคืน
โดยสาร PEP
3. การเกิดวัฏจักรเคลวิน เกิด เกิด เกิด
ครั้งแรก PEP ครั้งแรก PEP
4. สารที่ใช้ ตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ RuBP
ครั้งที่สอง RuBP ครั้งที่สอง RuBP
ทุกเซลล์ ทุกเซลล์
5. แหล่งสร้ าง G3P หรือ PGAL เซลล์บันเดิลชีท
ที่มีคลอโรพลาสต์ ที่มีคลอโรพลาสต์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 152
11.5 ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

11.5.1 แสงและความเข้ มของแสง


➢ ชนิดของแสงที่มีผลทาให้ เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงมากที่สดุ คือ สีแดง นา้ เงิน และม่วงตามลาดับ
➢ พืชดูดกลืนแสงได้ 40% นาไปใช้ ในกระบวนการเมตาบอลิซึม 19% และนาไปใช้ ในกระบวนการสังเคราะห์
ด้ วยแสง 5% สูญเสียความร้ อน 8% และแสงสะท้อน/ส่องผ่าน 8%
➢ พืชแต่ละชนิดต้ องการความเข้ มของแสงในระดับที่เหมาะสม พืชที่ข้ ึนในร่มต้ องการความเข้ มของแสงน้ อย
กว่าพืชที่ข้ นึ กลางแจ้ ง
➢ ไลท์ คอมเพนเซชั่นพอยส์ (light compensation point) คือ ค่าความเข้ มของแสงที่เพิ่มขึ้น จนกระทั่งอัตรา
การปล่อย CO2 จากการหายใจ เท่ากับ อัตราการตรึง CO2 จากการสังเคราะห์ด้วยแสง
➢ จุดอิ่มแสง (light saturation point) คือ จุดที่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงคงที่ ถ้ าเพิ่มความเข้ มของแสงให้
มากกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะไม่เพิ่มขึ้น

ภาพแสดง light compensation point


ที่มา ; https://www.studyblue.com/notes/note/n/lect-5-6/deck/1973518

11.5.2 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
➢ ถ้ าหากความเข้ มข้ นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่ามาก จะทาให้ พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้ น้อย เพราะพืชจะ
ขาดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ เมื่อความเข้ มข้ นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่มขึ้น พืชจะสามารถตรึง
คาร์บอนไดออกไซด์ได้ มากขึ้น
➢ คาร์บอนไดออกไซด์ คอมเพนเซชันพอยท์ (carbondioxide compensation point) คือ ค่าความเข้ มข้ นของ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระดับหนึ่งที่เพิ่มขึ้น ที่ทาให้ อัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ แสง
เท่ากับ อัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการหายใจ
➢ จุ ด อิ่ ม ตั ว ของคาร์ บ อนไดออกไซด์ (carbondioxide saturation point) คื อ จุ ด ที่ ค่ า ความเข้ มข้ นของ
คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่มมากขึ้นถึงจุดหนึ่งจนอัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์สทุ ธิไม่เพิ่มขึ้น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 153
ภาพแสดง CO2 compensation point
ที่มา ; https://my.dek-d.com/hammy100/writer/viewlongc.php?id=948160&chapter=8

11.5.3 อุณหภูมิ
➢ อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ แสงของพืช เนื่องจากอุณหภูมิมีผลต่อการทางานของเอนไซม์ต่ างๆ
ดังนั้นถ้ าอุณหภูมิเหมาะสมต่อการทางานของเอนไซม์ อาจทาให้ พืชมีอตั ราสังเคราะห์แสงสูง
➢ เมื่ออุณหภูมิสงู ขึ้นถึงระดับหนึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้
1) อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง เพราะอัตราการหายใจ และอัตราการเกิดโฟโตเรสไพเรชันเพิ่มขึ้น จึงทาให้
อัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์จึงลดลง
2) เมื่ ออุ ณ หภูมิสูง หรื อต่ า กว่ า อุ ณหภูมิท่ี เ หมาะสมต่ อการสังเคราะห์ ด้ วยแสงมากๆ จะมี ผ ลทาให้ สมบัติ
การเป็ นเยื่ อเลื อกผ่ า นของเยื่ อหุ้ ม ออร์ แ กเนลล์ ต่ า งๆ ที่จ าเป็ นต่ อการทางานของระบบการสัง เคราะห์ แ สงสู ญ เสี ย
ความสามารถไปด้ วย
3) เมื่ออุณหภูมิสงู จะทาให้ เอนไซม์ท่เี กี่ยวข้ องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเสียสภาพ

11.5.4 อายุใบ
➢ ในพืชที่อ่อนหรือแก่เกินไป จะทาให้ พืชมีความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ากว่าใบพืชที่เจริญเติบโต
เต็มที่ เพราะว่าใบที่อ่อนเกินไปการพัฒนาของคลอโรพลาสต์ยังไม่เจริญเต็มที่ ส่วนใบที่แก่เกินไปจะมีการสลายตัวของ
กรานุมและคลอโรฟิ ลล์มีผลทาให้ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลงไปด้ วย

11.5.5 ปริมาณนา้ ที่พืชได้ รับ


➢ เมื่อพืชขาดนา้ อัตราการสังเคราะห์แสงจะลดลง

11.5.6 สารอาหาร
➢ สิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์ด้วยแสงจะต้ องมีสารสีท่ใี ช้ ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเฉพาะคลอโรฟิ ลล์
และยังต้ องมีธาตุอาหารที่จาเป็ นต่อกระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิ ลล์
➢ ธาตุแมกนีเซียมและไนโตรเจนเป็ นธาตุสาคัญในองค์ประกอบของคลอโรฟิ ลล์ การขาดธาตุเหล่านี้ส่งผลให้
พืชเกิดอาการใบเหลืองซีดที่เรียกว่า คลอโรซิส (chlorosis) เนื่องจากใบขาดคลอโรฟิ ลล์
➢ ธาตุเหล็กจาเป็ นต่อกระบวนการสร้ างคลอโรฟิ ลล์ และเป็ นองค์ประกอบของไซโทโครมซึ่งเป็ นตัวถ่ายทอด
อิเล็กตรอน ส่วนธาตุแมงกานีสและคลอรีนจาเป็ นต่อกระบวนการแตกตัวของนา้ ในปฏิกริ ิยาการสังเคราะห์ด้วยแสง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 154
11.6 การปรับตัวของพืชเพื่อรับแสง

การปรับตัวของพืชเพื่อรับแสง

การปรับโครงสร้ างของใบเพื่อรับแสง ➢ ใบพืชมีโครงสร้ างพิเศษ เช่ น ขน และชั้นคิวทิเคิลบริเวณ


ผิวใบช่วยการสะท้อนแสง และลดการดูดซับแสงของใบ

➢ เช่น เวลาเที่ยงวัน จะมีอุณหภูมิค่อนข้ างสูง พบว่า ถั่ว ฝ้ าย


การปรับทิศทางของใบเพื่อรับแสง และพื ช บางชนิ ด สามารถปรั บตาแหน่ ง ของแผ่ น ใบเพื่ อ ลด
การรับแสงที่มากเกินความต้ องการได้ และเป็ นการช่ วยลด
ความร้ อนจากการสัมผัสกับแสงโดยตรงอีกทางหนึ่ง

การปรับตัวโดยการจัดเรียงใบ
➢ เช่น ใบหูกวาง จะมีก่งิ ก้ านสาขามาก มีการปรับตัวโดยจะ
เพื่อแข่งขันในการรับแสงของพืชที่ข้ นึ
จัดเรียงกิ่งโดยรอบลาต้ น เพื่อให้ ใบแต่ละใบรับแสงได้ เต็มที่
ในบริเวณเดียวกัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 155
บทที่ 12 : การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
12.1 สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

 ในปี พ.ศ. 2423 ชาลส์ ดาร์วิน (charles darwin) และฟรานซิส ดาร์วิน (francis darwin) ได้ ทดลองกับ
ต้ นกล้ าของหญ้ า พบว่าปลายยอดหรือโคลีออพไทล์เป็ นส่วนรับแสงทาให้ ต้นกล้ าเอนเข้ าหาแสงได้

 ต่อมามีผ้ ูอธิบายว่า ที่ปลายโคลีออพไทล์พืชโค้ งเข้ าหาแสงได้ เนื่องจากบริเวณยอดแรกเกิดหรือพลูมูล


(plumule) จะสร้ างสารขึ้นมา และแสงจะทาให้ สารนี้แพร่จากด้ านที่มีแสงมากไปยังด้ านที่มีแสงน้ อย ทาให้
เซลล์บริเวณด้ านที่ถูกแสงน้ อยมีปริมาณสารนี้มากและจะไปกระตุ้นให้ เซลล์บริเวณนี้ขยายตัวตามยาว

 ในปี พ.ศ. 2469 ฟริตส์ เวนต์ (frits went) ได้ ตัดปลายของโคลีออพไทล์ของต้ นกล้ าข้ าวโอ๊ต นาไปวาง
บนวุ้นที่ตัดเป็ นแผ่นเล็กๆ ไว้ สักครู่หนึ่ง แล้ วนาชิ้นวุ้นไปวางลงบนต้ นกล้ าอีกต้ นหนึ่งที่เอาโคลีออพไทล์
ออกไปแล้ ว โดยทาการทดลองในที่มืด ทาให้ ทราบว่าปลายโคลีออพไทล์สามารถสร้ างสารบางชนิดที่ทาให้
ปลายของโคลีออพไทล์โค้ งงอได้ และเวนต์เรียกสารนั้นว่า ออกซิน (auxin)

 จากผลงานของเวนต์และนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ในลาดับต่อมา ทาให้ ทราบว่าการเจริญที่ปลายยอด


และปลายรากของพืชนั้นมีสารเคมีเป็ นตัวควบคุม โดยธรรมชาติแล้ วพืชสามารถสร้ างสารเคมีข้ นึ มาได้ หลาย
ชนิ ด โดยสร้ า งได้ ใ นปริ ม าณน้ อ ยและล าเลี ย งไปยั ง เนื้ อเยื่ อ ตามตาแหน่ ง ต่ า งๆ ของพื ช เ พื่ อ ควบคุ ม
การเจริ ญ เติ บโตของพื ช ได้ เ รี ย กสารนี้ว่ า ฮอร์โ มนพื ช (plant hormone) ซึ่ ง จากการศึ กษาต่ อมาพบว่ า
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้ มีอยู่ 5 กลุ่ม คือ ออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน และ
กรดแอบไซซิก

ภาพแสดงการทดลองของ Darwin and Darwin


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 156
สารควบคุมการเจริญของพืช (Plant hormone)

ประกอบด้ วย

ออกซิน (Auxin)

ไซโทไคนิน (Cytokinin)

จิบเบอเรลลิน (Gibberellin)

เอทิลีน (Ethylene)

กรดแอบไซซิก (Abscisic acid)

 ออกซิน (Auxin)

เป็ นฮอร์โมนพืชที่สร้ างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ โดยมีการสร้ างมากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด และใบอ่อน

สารกลุ่มออกซินตามธรรมชาติท่พี บมากที่สดุ ได้ แก่ กรดอินโดลแอซิติก (indoleacetic acid ; IAA)

เมื่ อ สร้ า งแล้ ว จะแพร่ จ ากปลายยอดไปยั ง ส่ ว นอื่น ๆ ที่อ ยู่ ด้ า นล่ า ง โดยจะไปกระตุ้ น ให้ เ ซลล์ บ ริ เ วณที่มี ก ารยื ด ตั ว
(cell elongation) ขยายขนาดขึ้นทาให้ เจริญเติบโตสูงขึ้นขนาดใหญ่ข้ นึ

การทางานของออกซินขึ้นอยู่กบั สิ่งเร้ าต่างๆ เช่น แสงสว่าง แรงโน้ มถ่วงของโลก อุณหภูมิ สิ่งสัมผัสต่างๆ เป็ นต้ น

การโค้ งงอของปลายโคลีออพไทล์เข้ าหาแสง เป็ นการตอบสนองต่อสิ่งเร้ า คือ แสง โดยไปกระตุ้นให้ ออกซินจากปลาย


โคลีอ อพไทล์ด้ า นที่ถูก แสงมากลาเลีย งไปยั งด้ า นที่ถูก แสงน้ อ ยท าให้ เ ซลล์ด้า นที่ถูก แสงน้ อ ยมี ป ริม าณออกซิ น มาก
ออกซินจะกระตุ้นเซลล์ของปลายโคลีออพไทล์ให้ ยืดตัวยาวขึ้นมากกว่าด้ านที่ถูกแสง ดังนั้นปลายโคลีออพไทล์จึงเจริญโค้ง
เข้ าหาแสง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 157
 ไซโทไคนิน (Cytokinin)

เป็ นฮอร์โมนพืชที่มีสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์

แหล่งสร้ างหลักอยู่ท่เี นื้อเยื่อเจริญปลายราก และลาเลียงไปสู่ส่วนอื่นๆ ของพืชทางไซเล็ม

สารกลุ่มไซโทไคนินตามธรรมชาติ พบครั้งแรกในเอนโดสเปิ ร์มของข้ าวโพด เรียกว่า ซิเอทิน (zeatin) ซึ่งพบว่า สามารถ


กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของพืชได้ ปัจจุบันพบว่าในนา้ มะพร้ าวก็มีซิเอทิน จึงนานา้ มะพร้ าวมาใช้ เป็ นส่วนผสมในสูตรอาหาร
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยไปกระตุ้นให้ เกิดหน่อใหม่ ตาใหม่

ได้ มีการนาไซโทไคนินไปใช้ งานเกษตร เช่น ช่วยยืดอายุของไม้ ตัดดอกบางชนิด จึงได้ มีการสังเคราะห์สารเคมีท่มี ีสมบัติ


เหมือนไซไทไคนินขึ้นมาหลายชนิด

 จิบเบอเรลลิน (Gibberellin)

เป็ นฮอร์โมนพืชอีกกลุ่มหนึ่งที่มีสมบัติในการกระตุ้นให้ เซลล์ท่ีลาต้ นมีการยืดตัว และแบ่งเซลล์มากขึ้นทาให้ ต้นไม้ สูง


กระตุ้นการงอกของเมล็ด ช่วยยืดช่อผล และปรับปรุงคุณภาพขององุ่น เป็ นต้ น

แหล่งสร้ างจิบเบอเรลลินมีได้ หลายบริเวณ เช่น เมล็ดขณะกาลังพัฒนาปลายยอด ปลายราก อับเรณู ผล เป็ นต้ น

ถ้ าพืชขาดจิบเบอเรลลินจะทาให้ ลาต้ นเตี้ยแคระ ปัจจุบันจึงมีการสังเคราะห์สารเคมีท่ยี ับยั้งการสร้ างจิบเบอริลลินในพืช


ทาให้ ต้นไม้ เจริญเติบโตช้ าเพื่อนามาใช้ ในกิจการไม้ ประดับ

 เอทิลีน (Ethylene)

มีสมบัติเป็ นแก๊สและเกิดขึ้นมาในกระบวนการเมตาบอลิซึมของพืช โดยเฉพาะในช่วงที่ผลไม้ ใกล้ สุกจะมีแก๊สนี้แพร่


ออกมามาก และพบว่าแก๊สนี้สามารถทาให้ ผลไม้ ท่อี ยู่ใกล้ ๆ สุกได้ เร็วขึ้นด้ วย

เอทิลีนยังมีผลหลายอย่างในพืช เช่น กระตุ้นการร่ วงของใบ กระตุ้นการเกิดรากฝอย กระตุ้นการไหลของน้ายางพารา


การเพิ่มปริมาณนา้ ยางของมะละกอเพื่อผลิตปาเปน (papaein) กระตุ้นการออกดอกของสับปะรด เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 158
 กรดแอบไซซิก (Abscisic acid)

เป็ นฮอร์โมนที่มีแหล่งสร้ างที่หลากหลาย เช่น เมล็ด ใบ ราก เป็ นฮอร์โมนที่มีบทบาทในการยับยั้งและการยืดตัวของเซลล์


ทาให้ มีการพักตัวของตา และเมล็ดเป็ นสารเคมีท่เี ป็ นสัญญาณให้ พืชเข้ าสู่การเสื่อมตามอายุ (senescence)

ในช่วงระยะเวลาที่พืชขาดนา้ จะมีการสร้ างฮอร์โมนชนิดนี้ออกมามาก เพื่อช่วยกระตุ้นให้ ปากใบปิ ดเพื่อลดการคายนา้

 IBA (indolebutyric acid)


 2,4-D (2,4 dichlorophenoxyacetic acid) ออกซินสังเคราะห์
 NAA (naphthaleneacetic acid)
นิยมใช้ ในวงการเกษตร สาหรับใช้ เร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชาช่วยในการเปลี่ยนเพศของดอกบางชนิด ช่วยให้ ผลติดมากขึ้น ป้ องกัน
การร่วงของผล บางชนิดยังใช้ เป็ นยาปราบวัชพืช หรือนามาใช้ ในวงการทหาร เช่น ในสงครามเวียดนาม มีการใช้ สาร 2,4-D โปรยลงไปตาม
ป่ าเขาเพื่อทาให้ ใบไม้ ร่วง เป็ นต้ น
 สาร BA (6-benzylamino acid purine) PBA (tetrahydropyranyl benzyladenine) เป็ นสารสังเคราะห์ท่มี ีสมบัติเหมือนไซโทไคนินนิยม
นามาใช้ กระตุ้นการเจริญของพืช ช่วยรักษาความสดของไม้ ตัดดอกให้ อยู่ได้ นาน
 สารเอทิฟอน (ethephon, 2-chloroethyl phosphonic acid) มีสมบัติเหมือนเอทีลีน นามาใช้ เพิ่มผลผลิตของนา้ ยางพารา
 สารพวก Tria ใช้ สาหรับเร่งการเจริญเติบโตของพืชพวกข้ าว ยาสูบ ส้ม เป็ นต้ น

สรุป สารควบคุมการเจริญของพืช
สารควบคุมการเจริญของพืช แหล่งสร้ าง หน้ าที่
- เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด - กระตุ้นการขยายตัวตามยาวของเซลล์
- ใบอ่อน - กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของราก
ออกซิน
- เอ็มบริโอ - ยับยั้งการเจริญของตาข้ าง
- พัฒนารังไข่เป็ นผลโดยไม่ต้องได้ รับการปฏิสนธิ
- เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อของ - กระตุ้นให้ เซลล์แบ่งตัวและเซลล์ขยายตัวตามยาว
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว - กระตุ้นการงอกของเมล็ด
จิบเบอเรลลิน
- เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด - กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- เอ็มบริโอ - พัฒนารังไข่เป็ นผลโดยไม่ต้องได้ รับการปฏิสนธิ
- เนื้อเยื่อเจริญปลายราก - กระตุ้นการแบ่งเซลล์
ไซโทไคนิน
- ผลอ่อน - กระตุ้นการเกิดตาข้าง
- เนื้อเยื่อผลไม้ ใกล้ สกุ - เร่งการสุกของผลไม้
เอทิลีน - ใบแก่ - กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
- บริเวณข้ อ - กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
- ลาต้ น - ยับยั้งการเจริญเติบโตของตา
- ผลดิบ - การปิ ดเปิ ดของปากใบ
กรดแอบไซซิก
- ราก - กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
- ใบแก่ - ยับยั้งการงอกของเมล็ด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 159
12.2 การตอบสนองของพืชต่อสิง่ แวดล้ อม

การตอบสนองของพืช

การตอบสนองเนื่องจากการเจริญเติบโต : เป็ นอิทธิพลของสารควบคุมภายในพืชที่มีการสร้ างขึ้นเพื่อใช้ ในการเจริญเติบโต


(Growth Movement)

เช่น การหมุนแกว่งของยอดพืชขณะที่มีการเจริญเติบโต บริเวณปลายยอดพืช


การตอบสนองแบบอัตโนมัติ อั น เนื่ อ งมาจากปลายยอดมี ก ารแบ่ ง เซลล์ ส องด้ า นของล าต้ น ไม่ เ ท่ า กัน
(Nutation Movement) ยอดพืชทุกชนิดมีการเคลื่อนไหวแบบนี้ แต่จะเห็นได้ ชัดเจนในพืชที่มีลาต้ น
พันหลัก เช่น ตาลึง

การตอบสนองเนื่องจากสิ่งเร้ า
(Stimulus Movement)
เป็ นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีทิศทางจาเพาะ เช่น การบานของ
1. Nasty หรือ Nastic Movement ดอกกุหลาบ หรือดอกจาปี เนื่องมาจากเซลล์ด้านในเติบโต
มากกว่าด้ านนอก

เป็ นการเคลื่ อ นไหวที่ มี ทิ ศ ทางสั ม พั น ธ์ กั บ ทิ ศ ทางของ


2. Tropism หรือ Tropic Movement สิ่งเร้ า หากเข้ าไปหา (ชอบ) เรียกว่า Positive หากถอยหนี
(ไม่ชอบ) เรียกว่า Negative

 แสง (Phototropism) ปลายยอด เข้ าหาแสง แต่ปลายรากหนีแสง


 แรงดึงดูด (Geotropism) ปลายรากเข้ าหาแรงโน้ มถ่วงโลก ปลายยอดไปทิศตรงข้ าม
 นา้ (Hydrotropism) ปลายรากเข้ าหานา้ ปลายยอดหนีนา้
 สารเคมี (Chemotropism) การงอกละอองเรณูบนยอดเกสรตัวเมียโดยมีสารละลาย
นา้ ตาลเป็ นตัวชักนา
 การสัมผัส (Thigmotropism) ลาต้ นมือเกาะ เช่น ตาลึง

การตอบสนองเนื่องจากแรงดันเต่ง
(Turgor Movement)

 การเปิ ด-ปิ ดของปากใบในกระบวนการสังเคราะห์แสง เซลล์คุมจะสะสมนา้ ตาล และมีการ Pump K+ เข้ าไปทาให้


นา้ จากเซลล์ข้างเคียงเข้ าไปในเซลล์คุม

 การนอนของใบพืชตระกูลถั่ว ที่โคนก้ านใบมี Parenchyma Cell เมื่อความเข้ มของแสงลดลงอุณหภูมิต่าลง ทาให้ นา้


ในเซลล์น้ อี อสโมซิสไปที่เซลล์อ่นื ๆ ใบจึงหุบ

 การหุบของใบไมยราบที่ตอบสนองต่อการสัมผัส ซึ่งการเคลื่อนไหวแบบนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่ง
ภายในเซลล์ เมื่ อ น าโคนก้ า นของไมยราบมาศึ ก ษาพบว่ า ที่โ คนก้ า นใบมี ลั ก ษณะพองออกเป็ นกระเปาะเรี ย กว่ า
พัลไวนัส (pulvinus) มีความไวสูงต่อสิ่งเร้ าที่มากระตุ้น เช่น การสัมผัส มีผลทาให้ แรงดันเต่งเซลล์กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว คือ เซลล์จะสูญเสียนา้ ให้ กบั เซลล์ข้างเคียงใบจึงหุบทันที เมื่อเวลาผ่านนา้ จากเซลล์ข้างเคียงจะแพร่กลับเข้ า
มาในเซลล์อกี ครั้งหนึ่งทาให้ เซลล์เต่งและใบกางออกดังเดิม และพบในพืชกับดักแมลง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 160
บทที่ 13 : ระบบย่อยอาหาร
13.1 การย่อยอาหารของสัตว์

การย่อยอาหาร เป็ นกระบวนการแปรสภาพโมเลกุลของสารอาหารขนาดใหญ่กลายเป็ นโมเลกุลขนาดเล็ก

พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา และเซลล์เม็ดเลือดขาว


การย่อยอาหารภายในเซลล์ รวมถึ ง เซลล์ Choanocyte ของฟองน้า เป็ นต้ น โดยมี การนา
(Intracellular Digestion) อาหารเข้ า สู่ เ ซลล์ ด้ ว ยวิ ธี เ อนโดไซโทซิ ส แล้ ว หลั่ ง เอนไซม์
ออกมาย่อยอาหารภายในเซลล์

พบในสิ่งมีชีวิตที่มีระบบทางเดินอาหาร และพวกผู้ย่อยสลาย
การย่อยอาหารภายนอกเซลล์ อินทรียสาร เช่ น เห็ด โดยเซลล์จะมีการหลั่งเอนไซม์ออกมา
(Extracellular Digestion) ย่ อ ยอาหารภายนอกเซลล์ แ ล้ ว ดู ด ซึ ม อาหารที่ ย่ อ ยแล้ ว เข้ า
สู่เซลล์
➢ การย่อยอาหารของจุลินทรีย์ เช่น รา

❖ หลั่ง Enzyme ออกมาย่อยสารอินทรีย์ สารอาหารถูกดูดซึมเข้ าสู่เซลล์ (จัดเป็ นการย่อยภายนอกเซลล์)

➢ การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

อะมีบา

อาหาร เข้ าสู่ cell โดยอาศัยวิธี Phagocytosis (ของแข็ง) เก็บไว้ ท่ี food vacuole
Pinocytosis (ของเหลว)

lysosome หลั่ง Enzyme


ได้ สารอาหารส่งไปทั่วเซลล์ เข้ าไปใน food vacuole

พารามีเซียม
ใช้ ซิเลียพัดโบกอาหาร ผ่าน oral groove เก็บที่ food vacuole แล้ วมีเอนไซม์
สารอาหารลาเลียงไปใช้ ท่วั เซลล์ จาก lysosome เข้ ามาย่อย

ภาพแสดงการกินอาหารของอะมีบา ภาพแสดง food vacuole ของพารามีเซียม


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 161
➢ การย่อยอาหารของสัตว์ไม่มกี ระดูกสันหลัง มี เ ซลล์คอยดั ก จั บ อาหาร หรือ อินทรีย สารขนาดเล็ก ที่ลอยในน้า
แบ่งเป็ น …
1) Choanocyte (Collar cell ; เซลล์ ป ลอกคอ) มี Flagellum ยื่ น
ไม่มีทางเดินอาหาร ฟองนา้ ออกมาใช้ ย่อยอาหารพวก Bacteria และสารอินทรีย์ขนาดเล็กไม่เกิน
1 ไมโครเมตร
2) Amoebocyte (คล้ ายอะมีบา) ใช้ ย่อยอาหารขนาดใหญ่ประมาณ
5–50 ไมโครเมตร
ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์

มี ช่ อ งว่ า งในล าตั ว (Gastrovascular Cavity) และ Nutritive Cell ช่ ว ยย่ อ ย


ไฮดรา อาหาร (มีการย่อยทั้งภายนอกและภายในเซลล์)

จะมี คอหอย (Pharynx) คล้ า ยงวงยื่ นออกมาดู ดอาหารแล้ ว ลาเลีย งไปตาม


พลานาเรีย ทางเดินอาหารที่แตกแขนงแยกไปสองข้ างลาตัว (Diverticulum)

ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์

มีกนึ๋ (Gizzard) เป็ นกล้ ามเนื้อที่แข็งแรงทาหน้ าที่บดอาหาร ประกอบด้ วย...


ไส้ เดือนดิน ปาก  คอหอย  หลอดอาหาร  กระเพาะพักอาหาร  กึน๋ 
ลาไส้  ทวารหนัก

มีต่อมนา้ ลายและเอนไซม์ในทางเดินอาหารช่วยในการย่อย ประกอบด้ วย...


แมลง ปาก  คอหอย  หลอดอาหาร  กระเพาะพักอาหาร  กึน๋
 กระเพาะอาหาร  ลาไส้เล็ก  ลาไส้ใหญ่  ทวารหนัก

ภาพแสดงโครงสร้ างของฟองนา้
ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE ; Gastrovascular cavity : พบในไฮดรา และพลานาเรีย

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 162
ภาพแสดงโครงสร้ างทางเดินทางอาหารของไฮดรา (ซ้ าย) และพลานาเรีย (ขวา)
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

ภาพแสดงทางเดินอาหารของสัตว์ (ไส้ เดือนดิน แมลง และสัตว์ปีก)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงทางเดินอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 163
➢ การย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

วัว ควาย จะมีกระเพาะอาหาร 4 ส่วน คือ รูเมน เรติควิ ลัม โอมาซัม และอะโบมาซัม

13.2 การย่อยอาหารของมนุษย์

การย่อยอาหารในสัตว์
ชั้นสูง
มี 2 วิธี คือ

การย่อยเชิงกล
เช่น การบดเคี้ยวของฟัน การบีบตัวของทางเดินอาหาร (Peristalsis)
(Mechanical Digestion)

การย่อยทางเคมี เช่น การย่อยอาหารโดยเอนไซม์ชนิดต่างๆ


(Chemical Digestion)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 164
ภาพแสดงทางเดินอาหารของมนุษย์
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ มีส่วนประกอบ ดังนี้

❖ ปาก (Mouth) : ย่อยเชิงกล (บดเคี้ยวของฟัน) และย่อยทางเคมี = ย่อย Carbohydrate ประกอบด้ วย


1. ฟัน (Teeth) ประกอบด้ วย ตัวฟัน คอฟัน และรากฟัน มี 2 ชุด คือ ...
 ฟันนา้ นม 20 ซี่
 ฟันแท้ 32 ซี่ แบ่งเป็ น ตัด : เขี้ยว : กรามหน้ า : กรามหลัง
(I : C : P : M =2 1 2 3 X 4)

ภาพแสดงโครงสร้ างของฟัน
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)
2. ลิ้ น (Tongue) : มีต่อมรับรส 5 รส คือ ขม เปรี้ยว เค็ม หวาน อูมามิ
3. ต่อมน้ าลาย (Salivary Gland) : มีเอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้งให้เป็ นน้ าตาลมอลโทส
มีอยู่ 3 คู่  ใต้ ล้ นิ ข้ างกกหู (ติดเชื้อ : คางทูม) ใต้ ขากรรไกร

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 165
❖ คอหอย (Pharynx) : เป็ นทางผ่านของอาหาร ไม่มีการย่อย

❖ หลอดอาหาร (Esophagus) : ย่อยเชิงกล


- มีการบีบตัวเป็ นช่วงๆ ติดต่อกัน เรียกว่า “เพอริสทัลซิส” (Peristalsis) ทาให้ อาหารเคลื่อนที่ไปสู่
กระเพาะอาหาร

ภาพแสดงการเกิด peristalsis
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

❖ กระเพาะอาหาร (Stomach) : ย่อยเฉพาะโปรตีน


- มีนา้ ย่อยที่หลั่งออกมาเรียกว่า “Gastric Juice” ประกอบด้ วย กรดเกลือ, สารเมือก และเอนไซม์
หลายชนิด คือ… Pepsinogen Prorennin Lipase (มี แต่ทางานไม่ได้)
- มีกลุ่มเซลล์ 3 ชนิด คือ …
1) Mucus cell = สร้ างเมือกเคลือบกระเพาะอาหาร

2) Parietal cell = สร้ าง HCl

3) Chief cell = สร้ าง enzyme แต่ยังทางานไม่ได้ เรียก Inactive enzyme

Pepsinogen , Prorenin

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 166
➢ การย่อยในกระเพาะอาหาร : ย่อยเชิงกล และทางเคมี
มีฮอร์โมน Gastrin กระตุ้นให้ เซลล์ท่ผี นังกระเพาะอาหารหลั่ง HCl

1) Pepsinogen HCl Pepsin

Polypeptide Peptide

2) Prorenin HCl Renin

Casein Paracasein Chyme

ภาพแสดงโครงสร้ างของกระเพาะอาหาร
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

❖ ลาไส้เล็ก (Small Intestine)


- มีความยาวมากที่สดุ ประมาณ 6 เมตร แบ่งออกเป็ น 3 ส่วน คือ …
1. Duodenum สารอาหารเกือบทุกชนิดดูดซึมเข้ าสู่กระแสเลือดที่บริเวณนี้ : ย่อยมากที่สดุ

2. Jejunum มีการดูดซึมอาหารพวกไขมันเป็ นส่วนใหญ่ : ดูดซึมมากที่สดุ

3. Ileum มีการดูดซึมเกลือนา้ ดีและวิตามิน B12

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 167
- ผนังชั้นในของลาไส้ เล็กเป็ นปุ่ มเล็กๆ จานวนมาก เรียกว่า “วิลไล” (Villi) ทาหน้ าที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวใน
การย่อยและดูดซึมสารอาหาร

ภาพแสดงโครงสร้ างของลาไส้เล็ก และวิลไล (Villi)


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ การย่อยในลาไส้เล็ก : ย่อยเชิงกล และทางเคมีโดยมีเอนไซม์จากตับอ่อน และตับเข้าร่วม


❖ สารและเอนไซม์ที่สร้างจากตับอ่อน ได้ แก่
 NaHCO3 เป็ นเบส เปลี่ยน Chyme จากกระเพาะอาหารให้ เป็ นกลาง
 Trypsinogen (Inactive enzyme : ยังทางานไม่ได้ )
 Chymotrypsinogen (Inactive enzyme)
 Procarboxypeptidase (Inactive enzyme)
 Amylase ย่อยแป้ ง และไกลโคเจน  นา้ ตาลมอลโทส
 Lipase ย่อยไขมัน  กรดไขมัน และกลีเซอรอล

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 168
❖ น้ าดีจากตับ
 ตับสร้ างนา้ ดี เก็บไว้ ท่ถี ุงนา้ ดี ย่อยไขมัน  ไขมันแตกตัว
 นา้ ดี ประกอบด้ วย
1) Bile Salt เกลือนา้ ดี ทาให้ ไขมันแตกตัว
2) Bile pigment รงควัตถุน้าดี เกิดจากการสลายตัวของ Hemoglobin เป็ นแหล่ งทาลายและกาจัดออก
จากเซลล์เม็ดเลือดแดง Hemoglobin รวมตัวเป็ น Bile pigment เรียกว่า Bilirubin ทาให้ น้าดีมีสีเหลืองหรือเขียว
อ่อน และเป็ นสีเหลืองแกมนา้ ตาลโดยแบคทีเรียในลาไส้ ใหญ่เกิดเป็ นสีของอุจจาระ
3) Cholesterol ถ้ า มี ม ากเกิ น ไปจะท าให้ เกิ ด นิ่ ว ในถุ ง น้า ดี และอุ ด ตั น ที่ ท่ อ น้า ดี เ กิ ด เป็ นโรคดี ซ่ า น
(Janudice) ทาให้ การย่อยไขมันบกพร่อง

ภาพแสดงโครงสร้ างของตับและตับอ่อน
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

❖ สารและเอนไซม์จากลาไส้เล็ก ได้ แก่


 Enterokinase เปลี่ยน Trypsinogen เป็ นTrypsin เพื่อย่อยโปรตีน  Peptide
 Enzyme ย่อยคาร์โบไฮเดรต ได้ แก่ Amylase Maltase Sucrase และ Lactase
 Peptidase เช่น Aminopeptidase และ Dipeptidase ย่อย Peptide  กรดอะมิโน
 Lipase ย่อยไขมัน  กรดไขมัน และกลีเซอรอล

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 169
 การย่อยโปรตีน กรดอะมิโน
ย่อย Peptide
Procaboxypeptidase Carboxypeptidase
ตับอ่อน สร้ าง Chymotrypsinogen Chymotrypsin
(inactive Enz.) (active Enz.)

Trypsinogen Trypsin ย่อยโปรตีน (Polypeptide)


(inactive Enz.) Enterokinase
เซลล์บุผนังลาไส้เล็ก Peptide

 การย่อยคาร์โบไฮเดรต
ตับอ่อน สร้ าง Amylase ย่อยแป้ ง ไกลโคเจน และเดกซ์ตริน นา้ ตาลมอลโทส
เซลล์ผนังด้านในลาไส้เล็ก สร้ าง Maltase ย่อย Maltose Glucose + Glucose
Sucrase ย่อย Sucrose Glucose + Fructose
Lactase ย่อย Lactose Glucose + Galactose

 การย่อยลิพิด
ตับ สร้ าง นา้ ดี (เก็บที่ถุงนา้ ดี) ไขมันแตกตัว กรดไขมัน + กลีเซอรอล
ลาไส้เล็ก และ ตับอ่อน สร้ าง Lipase

➢ enzyme ทีท่ างานบริเวณลาไส้เล็ก

อวัยวะทีส่ ร้าง Enzyme สารที่ถูกย่อย ผลที่ได้


Lipase Lipid Fatty acid + glycerol
Amylase Amylose Maltose
1) ตับอ่อน Trypsin Protein Peptide
Chymotrypsin Protein Peptide
Carboxypeptidase Peptide Amino acid
Aminopeptidase Peptide Amino acid
Maltase Maltose Glucose + Glucose
2) ผนังลาไส้เล็ก Sucrase Sucrose Glucose + Fructose
Lactase Lactose Glucose + Galactose
Lipase Lipid Fatty acid + glycerol

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 170
❖ ลาไส้ใหญ่ (Large Intestine)
- ทาหน้ าที่ดูดซึม Vitamin เกลือแร่ นา้
- มีความยาว 1.5 m. ประกอบด้ วย
1) Caecum (ซีกมั ) มีไส้ ต่งิ (Vermiform Appendix) อยู่
2) Colon (โคลอน) ยาวมากที่สดุ
3) Rectum (เรคตัม) ยาวประมาณ 12-15 cm.
- ภายในลาไส้ ใหญ่จะมี Bacteria เรียกว่า E. coli (อยู่แบบภาวะพึ่งพา) สังเคราะห์ Vitamin K,
Vitamin B12, กรดโฟลิก, ไบโอติน ทาให้ เกิดแก๊สมีเทน และไฮโดรเจนซัลไฟด์ จากการย่อยสลายอาหาร

❖ ทวารหนัก (Anus)
- มีความยาว 28-35 cm.
- มีกล้ ามเนื้อหูรูด 2 ชั้น ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 171
บทที่ 14 : ระบบหายใจ
14.1 การแลกเปลีย่ นแก๊สของสัตว์

โครงสร้ างที่ใช้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชวี ิตเซลล์เดียวและของสัตว์

อะมีบา พารามีเซียม มีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับสิ่งแวดล้ อมผ่านทางเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง

ฟองนา้ ไฮดรา และ เซลล์แต่ละเซลล์จะแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง


พลานาเรีย

จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยเซลล์ท่อี ยู่บริเวณผิวหนังของลาตัวที่เปี ยกชื้น


ไส้ เดือนดิน แก๊สที่แพร่ผ่านผิวหนังเข้ ามาจะถูกลาเลียงโดยระบบหมุนเวียนเลือดไปสู่
เซลล์ต่างๆ ทั่วร่ างกาย ขณะเดียวกันแก๊สที่เซลล์กาจั ดออกมาก็จ ะถู ก
ลาเลียงโดยระบบหมุนเวียนเลือดและปล่อยออกนอกร่างกายทางผิวหนัง

สัตว์ท่มี ีร่างกายขนาดใหญ่และมีระบบต่างๆ ซับซ้ อนมากขึ้น

โครงสร้ างที่ใช้ ในการแลกเปลี่ยนแก็สไม่ว่าจะเป็ น ผิวหนัง ท่อลม เหงือก และปอด มีลักษณะสาคัญ คือ...


- มีลักษณะบาง
- พื้นที่ผิวมาก
- ต้ องมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา

สัตว์ การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 แมลง มีท่อลม (Trachea) ซึ่งแตกเป็ นท่อลมฝอยขนาดเล็กที่มีผนังบางมาก
แทรกไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และไปสิ้นสุดทีเ่ ซลล์ของเนื้อเยื่อ

อากาศจะผ่านช่องหายใจ ซึ่งเป็ นรูเล็กๆ อยู่ด้านข้ างลาตัวบริเวณส่วนท้องเข้ าสู่ท่อลม
ท่อลมเล็กและมีผนังบางมาก การแลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิดขึ้นระหว่าง
ปลายท่อลมฝอยขนาดเล็กกับเซลล์โดยตรง

นอกจากนี้แมลงที่บินได้ บางชนิดยังมีถุงลม (Air sac) ซึ่งติดต่อกับช่องหายใจ
ที่อยู่ภายในส่วนท้องจานวนมาก เพื่อสารองอากาศไว้ ใช้ ในขณะบิน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 172
ภาพแสดงโครงสร้ างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

สัตว์ การแลกเปลี่ยนแก๊ส
 แมงมุม มีท่อลมซ้ อนเป็ นชั้นพับไปมา มีหลอดเลือดนาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
มาแลกเปลี่ยนที่แผงท่อลมนี้แล้ วรับออกซิเจน

จึงเรียกว่า ปอดแผง (Book lung)
 สัตว์นา้ ได้เปรียบสัตว์บกเพราะบริเวณแลกเปลี่ยนแก๊สมีความชุ่มชื้นเนื่องจากสัมผัสกับนา้ โดยตรง

แต่มีขอ้ เสียเปรียบ คือ ในนา้ มีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่น้อยมาก แพร่ในนา้ ช้ ากว่าในอากาศ
ประมาณ 1,000 เท่า ถ้ าอุณหภูมิของนา้ สูงขึ้นออกซิเจนก็จะละลายในนา้ ได้ น้อยลง

แต่สตั ว์นา้ ก็สามารถรับออกซิเจนได้ เพียงพอต่อความต้ องการ เนื่องจากมีการจัดเรียงเนื้อเยื่อ
อวัยวะทีใ่ ช้ แลกเปลี่ยนแก๊สให้ มพี ้ นื ที่มากสาหรับการแลกเปลี่ยนแก๊ส
เช่น เหงือก (Gill) ของปลา และกุ้งจะมีลักษณะเป็ นซี่ๆ เรียงกันเป็ นแผง
แต่ละซี่จะมีขนาดเล็กมากประกอบด้ วยเซลล์ท่เี รียงตัวเป็ นชั้นบางๆ หุ้มหลอดเลือดฝอย
ทาให้ แก๊สสามารถแพร่ผ่านเข้ าไปได้ ง่าย
 สัตว์สะเทินนา้ ขณะเป็ นลูกอ๊อดหายใจด้ วยเหงือก เรียกว่า external gill เมื่อโตเต็มวัยกบจะหายใจด้ วยปอด
สะเทินบก เช่น กบ (Lung) และผิวหนัง กบมีปอด 1 คู่ ไม่มีกะบังลม ไม่มีซ่โี ครงและกล้ ามเนื้อกระดูกซี่โครง
 สัตว์ปีก จะมีปอดที่เจริญดีทาให้ สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ ดี และนาออกซิเจนทีไ่ ด้ ไปใช้ ในการสลาย
เช่น นก สารอาหารเพื่อให้ ได้ พลังงานสาหรับใช้ ในกิจกรรมต่างๆ ใช้ ในการบิน
ซึ่งเป็ นกิจกรรมที่ต้องใช้ พลังงานมาก

ปอดของนกมีท่อเชื่อมต่อกับถุงลม (Air sac) ซึ่งมีถึง 9 ถุง เพื่อสารองอากาศไว้ ใช้ ขณะบิน

เมื่อหายใจเข้ าครั้งที่ 1 ถุงลมส่วนหลังขยายตัว อากาศภายนอกเข้ าสู่ท่อลมไปยังถุงลมส่วนหลัง
เมื่อหายใจออกครั้งที่ 1 ถุงลมส่วนหลังจะหดตัว อากาศจากถุงลมส่วนหลังจะเคลื่อนเข้ าสูป่ อด

เมื่อหายใจเข้ าครั้งที่ 2 ถุงลมส่วนหน้ าขยายตัว อากาศจากปอดจะเคลื่อนเข้ าสู่ถุงลมส่วนหน้ า
เมื่อหายใจออกครั้งที่ 2 ถุงลมส่วนหน้ าจะหดตัว ขับอากาศออกสู่ภายนอกทางท่อลม

ดังนั้น แต่ละรอบของการหายใจเพื่อให้ อากาศครบวงจร
นกจะมีการหายใจเข้ าและหายใจออก 2 ครั้ง
 สัตว์เลี้ยงลูก มีปอดเป็ นโครงสร้ างที่ใช้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊สอยู่ภายในร่างกาย
ด้ วยนม

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 173
ภาพแสดงโครงสร้ างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา ภาพแสดงโครงสร้ างในการแลกเปลี่ยนแก๊สของนก
ที่มา ; Reece et al. (2011) ที่มา ; Reece et al. (2011)

14.2 อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์

ภาพแสดงโครงสร้ างทางเดินหายใจของมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 174
โครงสร้ างที่ใช้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของคน

อากาศเข้ าสูป่ อด เริ่มที่... รูจมูก  โพรงจมูก  คอหอย  กล่องเสียง  ท่อลม  หลอดลม  ปอด
(ซ้ ายและขวา) ซึ่งจะแตกแขนงเล็กลงเรื่อยๆ เรียกว่า หลอดลมฝอย  ถุงลม

อากาศเข้ าสู่ถุงลมที่หลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่โดยรอบ บริเวณนี้จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นเป็ นตาแหน่งแรก


โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้ าสู่หลอดเลือดฝอย และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยจะ
แพร่เข้ าสู่ถุงลม

การหายใจเข้ าและการหายใจออก เกิ ดจากการเปลี่ยนแปลงความดันของอากาศภายในปอด โดยการทางาน


ร่ วมกันของกล้ ามเนื้อกะบังลม และกล้ ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครง ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหลังที่เรียกว่า
Medulla Oblongata มี 2 ขั้นตอน คือ …
กล้ ามเนื้อ กล้ ามเนื้อ กล้ ามเนื้อ กระดูก ปริมาตร ความดัน
การหายใจ
กะบังลม ยึดซี่โครงแถบนอก ยึดซี่โครงแถบใน ซี่โครง ช่องอก ในช่องอก
การหายใจเข้ า หด หด คลาย ยกขึ้น เพิ่ม ลด
การหายใจออก คลาย คลาย หด ต่าลง ลด เพิ่ม

จากการศึกษาปริมาตรของอากาศในปอดของคนด้ วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ พบว่า ปริมาตรของอากาศที่หายใจ


เข้ าปกติแต่ละครั้งมีประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร การหายใจเข้ าเต็มที่มากสุดจะมีอากาศเข้ าไปยังปอดเพิ่ม
มากขึ้นจนอาจถึง 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ภาพแสดงกราฟที่ได้จากการใช้เครื่องสไปโรมิเตอร์
ที่มา : http://fat.surin.rmuti.ac.th/teacher/songchai/respiratory%20web/respire%20exam.htm

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 175
14.3 การแลกเปลีย่ นแก๊สและการลาเลียงแก๊ส

 การแลกเปลี่ยนแก๊ส

การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
เป็ นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างถุงลมกับหลอดเลือดฝอย ;
โดยแก๊สออกซิเจนจากถุงลมจะแพร่เข้ าสู่หลอดเลือดฝอยรอบๆ ถุงลม และจับกับฮีโมโกลบิน (Hb) ที่ผิวเม็ดเลือดแดง
กลายเป็ นออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ซึ่งมีสแี ดงสด

เลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะเข้ าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

ที่เซลล์ของเนื้อเยื่อ ; ออกซีฮีโมโกลบินจะเปลี่ยนเป็ นแก๊สออกซิเจนและฮีโมโกลบิน
แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้ าสู่เซลล์ทาให้ เซลล์ของเนื้อเยื่อได้ รับออกซิเจน

ขณะที่เซลล์ได้ รับแก๊สออกซิเจนนั้น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่เี กิดขึ้นในเซลล์จะแพร่เข้ าสู่หลอดเลือดฝอย
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทาปฏิกริ ิยากับนา้ ในเซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดเป็ นกรดคาร์บอนิก
ซึ่งจะแตกตัวได้ ไฮโดรเจนไอออน และไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน

แล้ วไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนจะถูกลาเลียงสูน่ า้ เลือดหรือพลาสมาโดยการแพร่แบบฟาซิลิเทต

เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน และไฮโดรเจนไอออนมากไหลเข้ าสู่หัวใจ
เลือดจะถูกสูบฉีดต่อไปยังหลอดเลือดฝอยรอบถุงลม ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน และไฮโดรเจนไอออน
จะรวมตัวกันเป็ นกรดคาร์บอนิกแล้ วจึงสลายเป็ นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

เมื่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดฝอยสูงกว่าในถุงลม จึงเกิดการแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้ าสู่ถุงลม

1. การแลกเปลี่ยนออกซิเจน

Hb + O2 HbO2

2. การแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์

CO2 + H2O H2CO3 H+ + HCO3-

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 176
ภาพแสดงการแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 177
➢ การควบคุมการหายใจ

- เป็ นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้
1. การควบคุมแบบอัตโนมัติ
โดยสมองส่วนพอนส์และเมดัลลาออบลองกาตา
- เป็ นการหายใจที่สามารถบังคับได้
2. การควบคุมภายใต้ อานาจจิตใจ
โดยสมองส่วนเซรีบรัลคอร์เทกซ์ เซรีเบลลัม และไฮโพทาลามัส

 ความผิดปกติท่เี กี่ยวข้ องกับปอดและโรคของระบบทางเดินหายใจ

โรคและความผิดปกติ สาเหตุและอาการ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสเข้ าไปในหลอดลม และเข้ าสู่เนื้อเยื่อปอดทาให้ เกิดการอักเสบ
1. โรคปอดบวม
และทาให้ พ้ นื ที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลง
เกิดจากการสูบอากาศที่เป็ นพิษเป็ นเวลานาน ถุงลมและหลอดลมฝอยส่วนปลาย
ถูกทาลาย ทาให้ ความสามารถในการนาเอาอากาศเข้าปอดและพื้นที่ผิวสาหรับแลกเปลี่ยนแก๊ส
2. โรคถุงลมโป่ งพอง
ลดลง ผู้ป่วยจึงต้ องเพิ่มการหายใจทาให้ เกิดการเหนื่อยหอบ และหัวใจทางานหนักขึ้น
จนอาจมีอาการหัวใจวายได้
เกิดจากการได้ รับสิ่งกระตุ้น เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น ควันบุหรี่ อากาศเปลี่ยนแปลง และสารเคมี เป็ น
3. โรคภูมิแพ้ ต้ น สิ่งเหล่านี้ทาให้ เกิดการหดของกล้ ามเนื้อท่อลม เป็ นเหตุให้ ท่อลมตีบกว่าปกติ จนผู้ป่วยหายใจ
ไม่สะดวก หรือหายใจไม่ทนั เกิดอาการหอบหืด และอาจเสียชีวิตได้ ในที่สดุ

 การวัดอัตราการหายใจ

➢ การหายใจเข้ าและการหายใจออกของคนเกี่ยวข้ องกับ เมแทบอลิซึมของร่างกาย

อัตราการใช้ แก๊สออกซิเจน = πr2d หน่วยปริมาตร/หน่วยนา้ หนัก-หน่วยเวลา


wt
r = รัศมีของรูหลอดแก้ ว d = ระยะทางเฉลี่ยที่หยดนา้ สีเคลื่อนที่ไป
w = นา้ หนักสัตว์ทดลอง t = เวลา

ชนิดของสัตว์ อัตราการหายใจ (การใช้ แก๊สออกซิเจน) (mm3/g/hr)


นกฮัมมิง 3,500
หนู 1,500
หมึก 320
คน 200
กบ 150
ปลาไหล 128
ดอกไม้ ทะเล 13

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 178
บทที่ 15 : ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ าเหลือง
15.1 การลาเลียงสารในร่างกายของสัตว์

 การลาเลียงสารในร่างกายของสัตว์

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และ เซลล์บริเวณผิวจะสัมผัสกับสิ่งแวดล้ อมโดยตรง


สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ท่มี ีเซลล์ การลาเลียงจึงเป็ นการลาเลียงผ่านเซลล์โดยตรง
เริ่มทางานร่วมกันเป็ นเนื้อเยื่อ
เช่น ฟองนา้ ไฮดรา และพลานาเรีย
พวกสัตว์ช้นั สูงมีระบบหมุนเวียนเลือด
ช่วยในการลาเลียงสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิ ด ➢ แมลง
(Open Circulatory System) มีหลอดเลือดใหญ่อยู่ทางด้ านหลังของลาตัว หัวใจ
เลือดไหลออกจากเส้นเลือดเข้ าสู่ช่องว่างในลาตัว ท าหน้ า ที่สูบ ฉีด เลือ ดไปตามหลอดเลือด บางช่ ว ง
และที่ว่างอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย (Hemocoel) เลือดจะออกจากหลอดเลือดแทรกซึมตามช่องว่าง
มีของเหลว เรียกว่า Hemolymph พบในสัตว์ ภายในลาตัว
พวกหอย และอาร์โทรพอด (แมลง)
➢ ไส้เดือนดิน
มี ห ลอดเลื อ ดทอดยาวตลอดล าตั ว ทั้ ง ด้ านบน
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิ ด
และด้ า นล่ า ง หลอดเลื อ ดทางส่ ว นหั ว มี ลั ก ษณะ
(Closed Circulatory System)
เป็ นห่วงหลอดเลือดรอบบริเวณหลอดอาหารติดต่อ
เลือดไหลอยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา จะพบใน
ระหว่างหลอดเลือดด้ านบนและด้ านล่าง ทาหน้ าที่
สัตว์พวกแอนเนลลิด (ไส้เดือนดิน) หมึก และ
สูบ ฉี ด เลื อ ดไปตามหลอดเลื อ ดเหมื อ นกับ หั ว ใจ
ในพวกสัตว์มกี ระดูกสันหลัง
จึงเรียกว่าห่ วงหลอดเลือดบริเวณนี้ว่า หัวใจเทียม
(pseudoheart)

ภาพแสดงระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์ (a) แบบเปิ ด (b) แบบปิ ด


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 179
ภาพแสดงหัวใจของของสัตว์ชนิดต่างๆ
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

15.2 การลาเลียงสารในร่างกายของมนุษย์

 การลาเลียงสารในร่างกายของมนุษย์

➢ คนมีการลาเลียงสารไปสูเ่ ซลล์ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แล้ วนาสารที่ร่างกายไม่ต้องการกาจัดออก

➢ อวัยวะที่เกี่ยวข้ องกับการลาเลียงสารในร่างกายของคนประกอบด้ วย หัวใจ และหลอดเลือด และเลือด

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 180
➢ หัวใจ หัวใจของคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมชนิดต่างๆ มีโครงสร้ างที่คล้ ายกัน คือ...

- มีเยื่อหุ้ม (Pericardium) 2 ชั้น ระหว่างเยื่อหุ้มจะมีของเหลวใสช่วยหล่อลื่น และลดแรงเสียดทาน


ขณะหัวใจเต้ น

- มีเส้ นเลือดโคโรนารี (Coronary Artery) นาอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงกล้ ามเนื้อหัวใจ

- มี 4 ห้ อง Atrium (บน) 2 ห้ อง Ventricle (ล่าง) 2 ห้ อง

- ภายในหัวใจจะมีล้ นิ หัวใจทาหน้ าที่ป้องกันไม่ให้ เลือดไหลย้ อนกลับ

1) ลิ้นไบคัสพิด (Bicuspid Valve) กั้นห้ องบนซ้ ายกับล่างซ้ าย


2) ลิ้นไตรคัสพิด (Tricuspid Valve) กั้นห้ องบนขวากับล่างขวา
3) ลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic Semilunar Valve) อยู่ตรงบริเวณโคน Aorta
4) ลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (Pulmonary Semilunar Valve) อยู่บริเวณโคนเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี
นาเลือดไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด

ภาพแสดงโครงสร้ างของหัวใจมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 181
ภาพแสดงการหมุนเวียนเลือดของมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 182
➢ หลอดเลือด

ชนิดของหลอดเลือด ลักษณะ
- เป็ นหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก ผนังบางมาก สานกันเป็ นร่ างแหแทรกอยู่ ตามเนื้อเยื่อทั่ว
หลอดเลือดฝอย ร่างกาย
(Capillary) - เชื่อมระหว่างอาร์เทอรีกบั เวน
- หน้ าที่แลกเปลี่ยนสารภายในหลอดเลือดกับเซลล์
- เป็ นหลอดเลือดขนาดใหญ่มีผนังหนา ยืดหยุ่นได้ ดี มีความดันเลือดสูง
หลอดเลือดอาร์เทอรี
- เป็ นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ
(Artery)
- ส่วนใหญ่จะมี O2 สูง ยกเว้ น Pulmonary Artery จะมี CO2 สูง
- มีผนังบางกว่าอาร์เทอรีจึงมีความยืดหยุ่นน้ อยกว่า ความดันเลือดต่ากว่าอาร์เทอรี
หลอดเลือดเวน
- เป็ นหลอดเลือดที่นาเลือดเข้ าสู่หัวใจ
(Vein)
- ส่วนใหญ่จะมี CO2 สูง ยกเว้ น Pulmonary Vein จะมี O2 สูง

ภาพแสดงโครงสร้ างของหลอดเลือด
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 183
➢ เลือดและส่วนประกอบของเลือด : เลือดถูกแยกออกมาเป็ น 2 ส่วน คือ พลาสมา กับ เซลล์เม็ดเลือดและ
เกล็ดเลือดหรือเพลตเลต ส่วนของพลาสมานั้นมีประมาณร้ อยละ 55
ของปริมาณเลือดทั้งหมด ส่วนทีเ่ หลืออีกร้ อยละ 45 เป็ นเซลล์เม็ดเลือด
และเพลตเลต
- ทาหน้ าที่ลาเลียงสารอาหารที่ย่อยแล้ ว แร่ธาตุ ฮอร์โมน และแอนติบอดีไปให้ เซลล์
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- พลาสมาเป็ นของเหลวค่อนข้ างใส มีสเี หลืองอ่อน ประกอบด้ วยนา้ ร้ อยละ 90-93
พลาสมา และโปรตีนที่สาคัญ คือ ไฟบริโนเจน อัลบูมิน และโกลบูลิน และประกอบด้ วยแร่ธาตุ
(Plasma) หรือไอออนต่างๆ สารอาหารโมเลกุลเล็ก เอนไซม์ ฮอร์โมน และของเสีย ได้ แก่ ยูเรีย
- ถ้ าเจาะเลือดออกมาวางไว้ ให้ แข็งตัวแล้ วปั่นแยกเอาเฉพาะแอนติบอดี เรียกว่า ซีรัม

- ทาหน้ าที่รับส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน
- เมื่อเจริญเต็มที่รูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มไม่มีนิวเคลียส และไม่มีไมโทคอนเดรีย
- การที่เซลล์เม็ดเลือดแดงมีสแี ดง เนื่องจากภายในเซลล์ประกอบด้ วยฮีโมโกลบิน
ซึ่งเป็ นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีธาตุเหล็กเป็ นองค์ประกอบ ทาให้ มีความสามารถในการจับ
กับแก๊สต่างๆ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนมอนอกไซด์
เซลล์เม็ดเลือดแดง - ในระยะเอ็มบริโอ เซลล์เม็ดเลือดแดงเป็ นเซลล์ท่ีมีนิวเคลียส สร้ างจากตับ ม้ าม และ
ไขกระดูก แต่ในทารกระยะใกล้ คลอดจนเติบโตเป็ นผู้ใหญ่จะสร้ างเฉพาะในไขกระดูก
(Erythrocyte)
โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้ างขึ้นใหม่ๆ เป็ นเซลล์ท่มี ีนิวเคลียส มีอายุประมาณ
100 - 150 วัน หลังจากนั้นจะถูกทาลายที่ตับและม้ าม
- เพศชายมีประมาณ 5-5.5 ล้ านเซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนเพศหญิงจะมี
ประมาณ 4.5-5 ล้ านเซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

- ทาหน้ าที่ป้องกันและทาลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เมื่อเจริญเต็มที่จานวน


ประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
- สร้ างและเจริญที่ไขกระดูก แต่บางชนิดจะเจริญในไทมัส เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุ
ประมาณ 2-3 วัน แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มที่มีแกรนูล เรียกว่า แกรนูโลไซต์ (granulocytes) มีนิวเคลียสขนาด
ใหญ่ ค อดเป็ นพู แบ่ ง เป็ น อิโ อซิ โ นฟิ ล (Eosinophil) มี แ กรนู ล สีส้ ม แดง, เบโซฟิ ล
(basophil) มี แกรนู ลสีน้า เงิน ทั้ง 2 ชนิด นี้ท าลายเชื้อ โรคโดยการหลั่งเอนไซม์ ห รื อ
เซลล์เม็ดเลือดขาว สารเคมี ส่วนนิวโทรฟิ ล (neutrophil) มีแกรนูลสีชมพู ทาหน้ าที่ทาลายเชื้อโรคโดยวิธี
(Leucocyte) ฟาโกไซโทซิส
2) กลุ่มที่ไม่มีแกรนูล เรียกว่า อะแกรนูโลไซต์ (agranulocytes) มีนิวเคลียส
ขนาดใหญ่ แบ่งเป็ น 2 ชนิด คือ โมโนไซต์เมื่อแทรกออกจากหลอดเลือดสู่เนื้อเยื่อต่างๆ
จะเจริญเป็ นแมโครฟาจ มีหน้ าที่ทาลายเชื้อโรคโดยวิธีฟาโกไซโทซิสส่วนเซลล์เม็ดเลือด
ขาวลิมโฟไซต์ มี 2 ชนิด ได้ แก่ ลิมโฟไซต์ชนิดบีสร้ างและเจริญในไขกระดูก และลิมโฟ-
ไซต์ชนิดทีสร้ างที่ไขกระดูกแต่ไปเจริญที่ต่อมไทมัส

- เป็ นชิ้นส่วนของไซโทพลาสซึมของเซลล์ในไขกระดูก อาจเรียกว่า เกล็ดเลือด


เพลตเลต - มีรูปร่างไม่แน่นอนขนาดเล็ก 1-2 ไมโครเมตร มีอายุเพียง 10 วัน
(Platelet ;
- มีประมาณ 250,000-500,000 ชิ้นต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
Thrombocyte)
- หน้ าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โดยทางานร่วมกับแคลเซียม และวิตามิน K

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 184
ภาพแสดงองค์ประกอบของเลือด
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงชนิดของเซลล์เม็ดเลือด
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 185
 กลไกการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล

ภาพแสดงกลไกการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ ความดันเลือด ; เกิดจากการบีบตัวของหัวใจ

ความดันซิสโทลิก (Systolic Pressure)


: ความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว (ตัวเลขข้ างหน้ า)
ทาให้ เกิดแรงดันในเส้นเลือด
2 ค่า คือ …
ความดันไดแอสโทลิก (Diastolic Pressure)
: ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว (ตัวเลขข้ างหลัง)

 ความดันเลือดคนปกติมีค่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท

 การวัดความดันเลือดใช้ เครื่องมือ เรียกว่า “Sphygmomanometer”

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 186
 หมู่เลือดและการให้ เลือด

➢ ระบบเลือด ABO
❖ หมู่เลือดตามระบบ ABO จะจาแนกตามชนิดของไกลโคโปรตีน หรือแอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง
❖ โดยจาแนกได้ เป็ นเลือดหมู่ A B AB O ตามลาดับ
* การให้ เลือด มีหลักการ คือ แอนติเจนของผู้ให้ ตอ้ งไม่ตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ
* หมู่เลือด AB รับเลือดได้ ทุกหมู่ (Universal Recipient)
* หมู่เลือด O ให้ เลือดได้ ทุกหมู่ (Universal Donor)

หมู่เลือด Antigen Antibody การให้ เลือด การรับเลือด


A A B A และ AB A และ O
B B A B และ AB B และ O
AB A และ B - AB A B AB และ O
O - A และ B A B AB และ O O

➢ ระบบเลือด Rh
❖ มีแอนติเจนชนิดเดียวคือ แอนติเจน Rh ไม่มีแอนติบอดีซ่งึ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (ยกเว้ นจะได้ รับการกระตุ้น)
❖ คนที่มีแอนติเจน Rh ถือว่ามีหมู่เลือด Rh+
❖ คนที่ไม่มีแอนติเจน Rh ถือว่ามีหมู่เลือด Rh-
❖ หากคนที่มีหมู่เลือด Rh- ได้ รับเลือดจากคนที่มีหมู่เลือด Rh+ พบว่า แอนติเจน Rh จะกระตุ้นให้ คนที่มีหมู่เลือด
Rh- สร้ างแอนติบอดี Rh ขึ้นมาได้ ดังนั้นการให้ เลือดในครั้งต่อๆ ไป เลือดจะตกตะกอนจนถึงแก่ชีวิตได้
❖ แม่ Rh- รับเลือดจากลูกในครรภ์ท่มี ี Rh+ ทาให้ แม่สร้ าง Antibody Rh หากแม่ต้งั ครรภ์ลูกคนที่ 2 ที่มี Rh+
จะทาให้ เกิดอาการแท้ง เรียกว่า  Erythroblastosis fitalis

ที่มา : https://www.britannica.com/science/erythroblastosis-fetalis

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 187
15.3 ระบบน้ าเหลือง

ระบบนา้ เหลือง ➢ ประกอบด้ วย นา้ เหลือง และหลอดนา้ เหลือง ทาหน้ าที่ลาเลียงนา้ เหลือง ในบางช่วง
นา้ เหลืองจะผ่านเข้ าไปในต่อมนา้ เหลือง ซึ่งจะมีหลอดนา้ เหลืองหลายๆ หลอดเข้ ามายัง
ต่อมนา้ เหลือง

นา้ เหลือง (Lymph) เป็ นของเหลวซึ่งซึมผ่านเส้ นเลือดฝอยออกมาหล่ อเลี้ยงอยู่รอบๆ เซลล์


ประกอบด้ วย น้า กลูโคส อัลบูมิน ฮอร์โมน เอนไซม์ แก๊ส เซลล์เม็ด
เลือดขาว

ท่อนา้ เหลือง ลาเลียงน้าเหลืองทั่วร่ างกายเข้ าสู่เส้ นเวนใหญ่ ใกล้ หัวใจปนกับเลือดที่มี


(Lymph Vessel) O2 น้ อย มีล้ ินกั้นคล้ ายเส้ นเวน และมีอัตราการไหลช้ ามากประมาณ 1.5
มิลลิเมตรต่อนาที

อวัยวะนา้ เหลือง (Lymphatic Organ)

ได้ แก่
- พบทั่วร่างกายภายในมีลิมโฟไซต์อยู่เป็ นกระจุก
1. ต่อมนา้ เหลือง (Lymph - ต่อมนา้ เหลืองบริเวณคอ เรียกว่า “ทอนซิล”
Node) (Tonsil) มีหน้ าที่ป้องกันจุลินทรีย์ท่ผี ่านมาใน
อากาศไม่ให้ เข้ าสู่หลอดอาหาร

- เป็ นอวัยวะนา้ เหลืองที่มีขนาดใหญ่ท่สี ดุ


- มีหน้ าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด (เฉพาะในระยะ
2. ม้ าม (Spleen) เอ็มบริโอ) ป้ องกันสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อ
โรคที่เข้ าสู่กระแสเลือด สร้ างแอนติบอดี ทาลาย
เซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่หมดอายุ

- เป็ นเนื้อเยื่อนา้ เหลืองที่เป็ นต่อมไร้ ท่อ


3. ต่อมไทมัส (Thymus - สร้ างลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที เพื่อต่อต้ านเชื้อโรค
Gland) รวมถึงอวัยวะปลูกถ่ายจากผู้อ่นื

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 188
บทที่ 16 : ระบบภูมคิ มุ ้ กัน
16.1 กลไกการต่อต้านหรือทาลายสิง่ แปลกปลอม

➢ การทางานของเซลล์ที (T-cell)

ทาลายเซลล์แปลกปลอม
เช่น มะเร็ง เซลล์ติดเชื้อไวรัส
และ อวัยวะที่ถูกปลูกถ่าย

Cytotoxic T – cell ; CD8+

กระตุ้น
ชิ้นส่วนของ Antigen กระตุ้น
ที่ถูกย่อย Helper T – cell ; CD4+
โดยวิธี Phagocytosis

สร้ างสารไปกระตุ้น B – cell


ให้ B – cell หลั่ง Antibody

➢ การทางานของเซลล์บี (B-cell)
กระตุ้น
Antigen เข้ าสู่ร่างกาย B – cell
แบ่งเซลล์เป็ น

กระตุ้น แบ่งตัวเป็ น Plasma cell


Antigen Memory cell
เข้ าสู่ร่างกายอีกครั้ง มีตัวรับต่อ Antigen สร้ าง Antibody
จะจดจา Antigen ที่จาเพาะกับ Antigen

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 189
NOTE ; การทางานของ Lymphocyte
ลิ ม โฟไซต์ (Lymphocyte) มี ค วามส าคั ญ ในการสร้ างแอนติ บ อดี (Antibody) เพื่ อตอบสนองต่ อ
สิ่งแปลกปลอมอย่างจาเพาะ ลิมโฟไซต์ท่เี จริญบริเวณต่อมไทมัส เรียกว่า “T-Lymphocyte” หรือ “T-cell” มีหน้ าที่
ต่ อต้ านเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม และอวัยวะที่ปลูกถ่ ายจากผู้อ่ืน ส่วนลิมโฟไซต์ท่ีเจริญบริเวณไขกระดูก เรียกว่ า
“B-Lymphocyte” หรือ “B-Cell” มีหน้ าที่สร้ างแอนติบอดี
 T-Cell แบ่งเป็ น…
1) Helper T-Cell หรือ CD4+ : ช่วยการทางานของ B-cell
2) Cytotoxic T-Cell หรือ CD8+: ทาลายเซลล์แปลกปลอม
3) Suppressor T-Cell : กดการทางานของ T-cell และ B-Cell

16.2 การเสริมสร้างภูมิคมุ ้ กัน

➢ ภูมิค้ มุ กันของร่างกายมนุษย์

1. ภูมิค้ มุ กันไม่จาเพาะ (nonspecific defence) เป็ นการป้ องกันแอนติเจนที่จะเข้ าสู่ร่างกาย

- เหงื่อ มีกรดแลกติกป้ องกันเชื้อโรคเข้ าสู่ร่างกายทางผิวหนัง


- หลอดลม โพรงจมูก มีขน ซิเลีย และนา้ เมือกดักจับสิ่งแปลกปลอม
- กระเพาะอาหาร และลาไส้เล็ก มีเอนไซม์
- นา้ ลาย นา้ ตา นา้ มูก มีไลโซไซม์ (Lysozyme) ทาลายจุลินทรียไ์ ด้
- การทางานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่จับกินเชื้อโรค (Phagocyte)

2. ภูมิค้ มุ กันจาเพาะ (Specific defence) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคยได้ รับแอนติเจนแล้ ว

2.1 ภูมิค้ มุ กันก่อเอง (Active Immunization)

2.1.1 เป็ นภูมิค้ มุ กันก่อเองทีเ่ กิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เคยเป็ นโรคนั้น ทาให้ ร่างกาย
สร้ างภูมิค้ มุ กันขึ้นมา

2.1.2 เป็ นภูมิค้ มุ กันที่ทาขึ้นแล้ วนาเข้ าสู่ร่างกาย ให้ ร่างกายสร้ างภูมิค้ มุ กัน
- เกิดจากการนาแอนติเจนหรือ “วัคซีน” (Vaccine) มาฉีด หรือกิน เพื่อกระตุ้น
ให้ ร่างกายสร้ างแอนติบอดีต่อต้ านเชื้อนั้นๆ
- วัคซีนที่เป็ นสารพิษและหมดความเป็ นพิษแล้ วเรียกว่า “ทอกซอยด์” (Toxoid)
สามารถกระตุ้นให้ สร้ างภูมิค้ มุ กันได้ เช่น วัคซีนคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก
- วัคซีนที่ได้ จากจุลินทรีย์ท่ตี ายแล้ ว เช่น โรคไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
- วัคซีนที่ได้ จากจุลินทรีย์ท่ยี ังมีชวี ิต เช่น วัณโรค หัด โปลิโอ คางทูม หัดเยอรมัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 190
2.2 ภูมิค้ มุ กันรับมา (Passive Immunization)

2.2.1 เป็ นภูมิค้ ุมกันที่รับมาตามธรรมชาติ เช่น ได้ รับมาจากรกแม่ หรือการกินนมแม่


(แต่อยู่ได้ ไม่นาน ประมาณ 6 เดือน)

2.2.2 เป็ นภูมิ ค้ ุ ม กัน ชนิ ด ที่รั บ มาที่เ รี ย กว่ า ซี รั ม (Serum) ที่มี แ อนติ บ อดี อ ยู่ แล้ ว
มาฉีดให้ ผ้ ูป่วย ทาให้ ได้ รับภูมิค้ ุมกันโดยตรงต่อต้ านโรคได้ ทันที ใช้ รักษาโรครุนแรง
เฉียบพลัน เช่น คอตีบ บาดทะยัก พิษงู พิษสุนัขบ้ า ฯลฯ
- ซีรัม ผลิตจากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกาลังเข้ าในสัตว์แล้ วนาซีรัมที่มีแอนติบอดี ม า
รักษาโรคในคน
เป็ นภูมิค้ มุ กันรับมารักษาโรคได้ ทนั ที แต่อยู่ได้ ไม่นานและผู้ป่วยอาจแพ้
ซีรัมสัตว์กไ็ ด้

…………………………………………………………………………………………………………………………………….

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 191
บทที่ 17 : ระบบขับถ่าย
17.1 ระบบขับถ่ายของสัตว์

การขับถ่าย (excretion)

เป็ นกระบวนการสาคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยรักษาดุลยภาพของร่างกาย

ภายในเซลล์ของสิง่ มีชีวิตมีปฏิกริ ิยาเคมีต่างๆ หรือ Metabolism เกิดขึ้น ผลที่ได้ คือ ของเสีย (waste)

ของเสีย ได้ แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบไนโตรเจน

➢ การกาจัดของเสียของสิ่งมีชีวิต สามารถแสดงได้ ดังตารางต่อไปนี้


สิง่ มีชีวิต โครงสร้าง ของเสีย
พารามีเซียม อะมีบา Contractile vacuole นา้ ที่มากเกินไป
ฟองนา้ ไฮดรา เยื่อหุ้มเซลล์ แอมโมเนีย
พลานาเรีย เฟลมเซลล์ (Flame cell) แอมโมเนีย
ไส้ เดือนดิน เนฟริเดียม (Nephridium) แอมโมเนีย และยูเรีย
แมลง ท่อมัลพิเกียน (Malpighian Tubule) กรดยูริก

ภาพแสดง Flame cell ของพลานาเรีย ภาพแสดง Malpighian Tubule ของแมลง


ที่มา ; Reece et al. (2011) ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดง Nephridium ของไส้ เดือนดิน


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 192
NOTE ;
 ปลาน้าจืด อาศัยอยู่ ในน้าซึ่งมีความเข้ มข้ นต่ ากว่าสารละลายภายในร่ างกาย ทาให้ น้าแพร่ เข้ าสู่ร่างกาย
ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณเหงือกซึ่งสัมผัสนา้ ตลอดเวลา จึงปรับตัว ดังนี้
- มีเกล็ดหรือผิวหนังหนาเพื่อป้ องกันไม่ให้ นา้ ซึมผ่านได้
- ไตขับปัสสาวะมีความเข้ มข้ นน้ อยหรือเจือจาง และปัสสาวะบ่อย
- บริเวณเหงือกมีเซลล์พเิ ศษดูดแร่ธาตุท่จี าเป็ นกลับสู่ร่างกาย
 ปลานา้ เค็ม อาศัยอยู่ในนา้ ซึ่งมีความเข้ มข้ นสูงกว่าสารละลายภายในร่างกาย จึงต้ องพยายามปรับตัว ดังนี้
- ปลาฉลาม ปลากระเบน มี Rectal Gland กาจัดเกลือที่เกินความต้ องการ
- ปลากระดูกแข็ง เซลล์ท่เี หงือกขับเกลือแร่ (ด้ วยวิธี Active transport) และขับปัสสาวะที่มีความเข้ มข้ นสูง
 นกทะเล จะมีการกาจัดเกลือออกโดยใช้ ต่อมนาซัล (Nasal Gland)

ภาพแสดงการรักษาดุลยภาพของปลานา้ เค็ม (ขวา) และปลานา้ จืด (ซ้ าย)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ การขับของเสียที่มีไนโตรเจนเป็ นองค์ประกอบ

สัตว์นา้ ส่วนใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม และสัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก หอยทาก แมลง นก และ


รวมทั้งปลาหลายชนิด ฉลาม กระเบน และปลากระดูกแข็งบางชนิด สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด

แอมโมเนีย ยูเรีย กรดยูริก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 193
ภาพแสดงการขับของเสียที่มีไนโตรเจนเป็ นองค์ประกอบ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

 การขับถ่ายของคน

คนมีไตเป็ นอวัยวะขับถ่าย ไตของคนมี 1 คู่ ต่อจากไตทั้งสองข้ างมีท่อไต (ureter) ทาหน้ าที่ลาเลียงปัสสาวะจากไตไปเก็บที่


กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ก่อนที่จะขับถ่ายออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตแบ่งออกเป็ น 2 บริเวณ คือ บริเวณส่วนนอกเรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) และบริเวณส่วนในเรียกว่า เมดัลลา (medulla)


ส่วนปลายของเมดัลลาจะยื่นเข้ าไปจรดกับส่วนที่เป็ นโพรงเรียกว่า กรวยไต (pelvis) ต่อกับท่อไต

ไตแต่ละข้ างประกอบด้ วย หน่วยไต (nephron) ประมาณ 1 ล้ านหน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้ วย ;

1) โกลเมอรูลัส (glomerulus)
เป็ นกลุ่มหลอดเลือดฝอย โดยผนังของหลอดเลือดฝอยจะชิดกับผนังด้ านในของโบว์แมนส์แคปซูล

2) โบว์แมนส์แคปซูล (bowman’s capsule)


เป็ นท่อมีปลายข้ างหนึ่งเป็ นรูปถ้ วยล้ อมรอบกลุ่มของหลอดเลือดฝอย

3) ท่อหน่วยไต (Convoluted tubule) แบ่งเป็ น 3 ส่วน คือ ...


 ท่อขดส่วนต้ น (proximal convoluted tubule) ดูดกลับนา้ กลูโคส NaCl กรดอะมิโน
 ห่วงเฮนเล (loop of Henle) (ขาลง) ดูดกลับนา้ (ขาขึ้น) ดูดกลับ NaCl
 ท่อขดส่วนปลาย (distal convoluted tubule) ดูดกลับนา้ NaCl
 ปลายของท่อขดส่วนปลายจากหลายหน่วยไตจะเปิ ดออกที่ ท่อรวม (collecting duct)
แล้ วออกสู่กรวยไต

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 194
ภาพแสดงระบบขับถ่ายและไตของมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงการดูดกลับสารบริเวณท่อหน่วยไต
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 195
 การกรองและดูดกลับสารที่หน่วยไต

เลือดซึ่งรับของเสียจากเมตาบอลิซึมของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายจะเข้ าสู่ไตทางหลอดเลือดรีนัลอาร์เตอรี (renal artery)



เลือดไปตามหลอดเลือดที่แตกเป็ นแขนงเล็กๆ เข้ าสู่โกลเมอรูลัส ซึ่งหุ้มด้ วยโบว์แมนส์แคปซูล
ผนังของโกลเมอรูลัสทาหน้ าที่เป็ นเยื่อกรองให้ พลาสมาผ่านจากโกลเมอรูลัสเข้ าสู่ผนังของโบว์แมนส์แคปซูล
เรียกว่า การกรอง (filtration)

สารที่กรองได้ น้ จี ะมีส่วนประกอบคล้ ายพลาสมาเคลื่อนที่ไปตามท่อหน่วยไตส่วนต่างๆ เพื่อดูดสารที่มีประโยชน์กลับ
และออกจากไตผ่านทางหลอดเลือดรีนัลเวน (renal vein)

ของเสียที่เหลือจากการดูดกลับสารจะเข้ าสู่ท่อรวม กรวยไต ท่อไต และสะสมในกระเพาะปัสสาวะ
เรียกของเหลวนี้ว่า ปัสสาวะ

 ไตกับการรักษาสมดุลของนา้ และสารต่างๆ

สารที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 180 ลิตร ร่ างกายขับถ่ ายปัสสาวะประมาณวันละ 1.5 ลิตร ไตมี


การดูดกลับนา้ และสารต่างๆ ประมาณวันละ 178.5 ลิตร ถ้ าไม่มีการดูดกลับนา้ เราจะต้ องดื่มนา้ ประมาณวันละ 180 ลิตร
และจะสูญเสียสารต่างๆ ที่จาเป็ นต่อร่างกาย

การควบคุมสมดุลของนา้ ภายในร่างกายซึ่งเกี่ยวข้ องกับ แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone ; ADH หรือวา


โซเปรสซิน) ที่ทาหน้ าที่ควบคุมสมดุลของนา้ จะเห็นว่า ADH มีบทบาทไปกระตุ้นให้ ท่อขดส่วนปลายและท่อรวมดูดกลับ
นา้ คืนเข้ าสู่หลอดเลือด ทาให้ ปริมาณของนา้ ในเลือดสมดุล

ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) จากต่อมหมวกไต จะควบคุมสมดุ ลของนา้ และแร่ธาตุ โดยควบคุมสมดุลของ


โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสเฟต กระตุ้นให้ มีการดูดกลับสารต่างๆ เข้ าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด

ไตสามารถช่วยรักษาสมดุลของกรด-เบสในร่ างกาย โดยขับไฮโดรเจนไอออนออก และดูดกลับไฮโดรเจนคาร์บอเนต


ไอออนจากท่อหน่วยไตบริเวณท่อขดส่วนต้ นและส่วนปลาย

การเสียน้า (dehydration) เป็ นภาวะที่ร่างกายเกิดการสูญเสียน้า โดยจะรุนแรงยิ่งขึ้นถ้ าหากร่ างกายไม่ได้ รับน้าเข้ ามา


ทดแทนภายในระยะเวลาอันสั้น

กระเพาะปัสสาวะของคนมีความยืดหยุ่นมาก สามารถเก็บปัสสาวะได้ มากถึง 700-800 cm3 ปกติคนจะเริ่มปวดปัสสาวะ


เมื่อมีปัสสาวะประมาณ 220 cm3

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 196
➢ กลไกการดูดนา้ กลับที่ท่อหน่วยไต สามารถแสดงได้ ดังแผนผัง ดังนี้

เลือดข้ น กระตุ้น กระตุ้น


สมองส่วน
ความดันเลือดต่า ต่อมใต้ สมองส่วนหลัง
Hypothalamus
แรงดันออสโมซิสสูง
หลั่ง
ADH
เกิดการกระหายนา้

ท่อหน่วยไต
ดื่มนา้
เลือดเจือจางลง
ความดันเลือดสูงขึ้นเป็ นปกติ ทาให้
เกิดการดูดนา้ กลับ
แรงดันออสโมซิสลดต่าลงเป็ นปกติ

 การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และความผิดปกติท่เี กี่ยวเนื่องกับไตและโรคของไต

ความผิดปกติ สาเหตุ และอาการ


พบบ่อยในเพศหญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การกลั้นปัสสาวะนานๆ ทาให้ ระคายเคืองต่อ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะปัสสาวะบ่อยและปวดบริเวณหัวเหน่าขณะขับถ่าย หากไม่ได้ รับการรักษา
(cystitis)
เชื้อแบคทีเรียจะผ่านไปทางท่อไตทาให้ ไตอักเสบ (nephritis) และกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)
เกิดจากการที่ตะกอนของแร่ธาตุต่างๆ ในปัสสาวะไม่ละลาย แต่รวมตัวกันเป็ นก้ อน ไปอุดตามทางเดิน
ปัสสาวะ อาจเกิดจากการบริโภคผักใบเขียวประเภทผักโขม ชะพลู ที่มีสารออกซาเลตสูงถ้ าบริโภคใน
ปริมาณมากและต่อเนื่องเป็ นเวลานาน จะทาให้ มีโอกาสเป็ นนิ่วได้ ง่ายขึ้น การรักษาจะขึ้นอยู่กบั การ
โรคนิ่ว วินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้ การผ่าตัด หรือสลายนิ่วโดยการใช้ อลั ตราซาวด์ (ultrasound) แต่สามารถ
ป้ องกันได้ โดยควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ อาหาร
เหล่านี้มีธาตุฟอสฟอรัสซึ่งช่วยไม่ให้ สารออกซาเลตจับตัวเป็ นผลึกกลายเป็ นก้ อนนิ่ว
นอกจากนี้การดื่มนา้ สะอาดวันละมากๆ อาจทาให้ ก้อนนิ่วขนาดเล็กที่มีอยู่ถูกขับถ่ายออกมา
พร้ อมกับปัสสาวะ
เป็ นภาวะที่ไตสูญเสียหน้ าที่การทางาน ทาให้ มีการสะสมของเสีย ทาให้ เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการ
รักษาสมดุลของนา้ แร่ธาตุ และความเป็ นกรด-เบสของสารในร่างกาย สาเหตุจากการติดเชื้อที่รุนแรง
การสูญเสียเลือดหรือของเหลวจานวนมาก หรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเป็ นโรคเบาหวานติดต่อกันเป็ น
โรคไตวาย
เวลานาน หรือมีน่ิวอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเป็ นเวลานาน สาหรับการรักษาโรคไตวายนี้ทาได้
โดยการควบคุมชนิดและปริมาณของอาหาร การดูแลทั่วไปเพื่อป้ องกันการติดเชื้อ การใช้ ยาหรือ
การฟอกเลือดด้ วยเครื่องไตเทียม หรืออาจใช้ วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนไต

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 197
บทที่ 18 : ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัส
18.1 การรับรูแ้ ละการตอบสนอง
สิ่งมีชีวิตจะมีกลไกในการรับรู้และตอบสนอง ดังนี้
เซลล์ประสาท
สิ่งเร้ า หน่วยรับความรู้สกึ รับความรู้สกึ

หน่วยแปลความรู้สกึ

เซลล์ประสาท
การตอบสนอง หน่วยปฏิบัติงาน สั่งการ

การตอบสนอง

เช่น พารามีเซียม จะมีเส้ นใยเชื่อมโยงระหว่างโคนของซิเลีย


สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
เรียกว่า เส้นใยประสานงาน (coordinating fiber)

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ฟองนา้ แต่ละเซลล์รับรู้และการตอบสนองได้ แต่ไม่มีการประสานงานระหว่างเซลล์

ไฮดรา ใช้ ร่างแหประสาท (nerve net)

ใช้ ปมประสาท (nerve ganglion) และ เส้นประสาท (nerve cord)


พลานาเรีย ตามยาว และตามขวางขนานไปตามด้ านข้ างของลาตัวจากหัวจรด
ท้ายลักษณะแบบขั้นบันได (ladder type)

ไส้ เดือนดิน กุ้ง ใช้ ปมประสาท (ganglion)


หอย แมลง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ สมอง (Brain) และ ไขสันหลัง (spinal cord)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 198
ภาพแสดงโครงสร้ างที่ใช้ ในการตอบสนองของสัตว์ชนิดต่างๆ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

18.2 เซลล์ประสาท

เซลล์ประสาท (nerve cell)


หรือ นิวรอน (neuron) ทาหน้ าที่เกี่ยวกับการรับรู้และตอบสนอง

ประกอบด้ วยส่วนที่สาคัญ 2 ส่วน

1) ตัวเซลล์ (cell body) ; ประกอบด้ วยไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส ภายในมีออร์แกเนลล์


คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม และกอลจิคอมเพล็กซ์จานวนมาก

2) เส้นใยประสาท (nerve fiber) ; เป็ นส่วนของเซลล์ท่ีย่ืนออกมาจากตัวเซลล์มีลักษณะ


เป็ นแขนงเล็กๆ

2.1 เส้นใยประสาทที่นากระแสประสาท 2.2 เส้นใยประสาทที่นากระแสประสาท


เข้ าสู่ตัวเซลล์เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ออกจากตัวเซลล์เรียกว่า แอกซอน (axon)

กรณีท่ีเส้ นใยประสาทยาว ซึ่งมักเป็ นเส้ นใยประสาทของแอกซอนจะมี เยื่อไมอี ลิน (myelin sheath)


มาหุ้ ม มี ส ารจ าพวกลิ พิด เป็ นองค์ ประกอบ เยื่ อไมอีลิ นเชื่ อมติ ดต่ อกับ เซลล์ชวัน น์ (Schwann cell)
ซึ่งเป็ นเซลล์ค้าจุ นชนิดหนึ่ง ซึ่งเยื่อไมอีลิน เป็ นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ชวันน์ ส่วนของแอกซอนตรง
บริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็ นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม เรียกว่า โนดออฟแรนเวียร์
(node of ranvier)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 199
ภาพแสดงโครงสร้ างของเซลล์ประสาท
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ เซลล์ประสาทจาแนกตามหน้ าที่

เป็ นเซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกแล้ ว
เซลล์ประสาทรับความรู้สกึ
(sensory neuron) ถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ ตัวเซลล์ประสาท
รับความรู้สกึ อยู่ท่ปี มประสาทรากบนของไขสันหลัง

มักมีแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์อาจยาวถึง 1 เมตร หน้ าที่ส่งกระแส


เซลล์ประสาทสั่งการ
ประสาทออกจากไขสั น หลั ง เพื่ อ น ากระแสประสาทไปยั ง หน่ ว ย
(motor neuron)
ปฏิบัติงาน เช่น กล้ ามเนื้อแขนขาซึ่งอยู่ห่างจากไขสันหลังมาก

เซลล์ประสาทประสานงาน อยู่ ภายในสมองและไขสันหลังจะเชื่อ มต่ อ ระหว่ า งเซลล์ป ระสาท


(interneurons) รับความรู้สกึ กับเซลล์ประสาทสั่งการ

ภาพแสดงประเภทเซลล์ประสาทจาแนกตามหน้ าที่
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 200
➢ เซลล์ประสาทจาแนกโดยใช้ จานวนเส้นใยประสาทต่อหนึ่งเซลล์ประสาท

เซลล์ประสาทขั้วเดียว เป็ นเซลล์ประสาทที่มีเส้ นใยประสาทแยกออกมาจากตัวเซลล์เพียง


(unipolar neuron) 1 เส้ นใย คือ แอกซอน ได้ แก่ เซลล์รับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ใน
ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง

เป็ นเซลล์ ป ระสาทที่ มี เ ส้ น ใยประสาทแยกออกมาจากตั ว เซลล์


เซลล์ประสาทสองขั้ว 2 เส้นใย เช่น เซลล์ประสาทที่บริเวณเรตินา เซลล์รับกลิ่น และเซลล์
(bipolar neuron)
รับเสียง

มี เ ดนไดรต์ แ ยกออกมาจากตั ว เซลล์ จ านวนมากและมี แ อกซอน


เซลล์ประสาทหลายขั้ว
1 เส้ นใย เซลล์ประสาทส่วนใหญ่มักเป็ นเซลล์ประสาทหลายขั้ว เช่น
(multipolar neuron)
เซลล์ประสาทประสานงาน และเซลล์ประสาทสั่งการ

ภาพแสดงประเภทของเซลล์ประสาท

เซลล์ประสาทจะสานต่อกันเป็ นร่างแหเพื่อถ่ายทอดกระแสประสาท ส่วนปลายแอกซอนของเซลล์ประสาทอาจ


แตกออกเป็ นกิ่งก้ านหลายเส้ นใยประสาทแล้ วไปอยู่ชิดกับตัวเซลล์ประสาทหรือส่วนของเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทอื่น
บริเวณที่อยู่ชิดกันนั้นเรียกว่า ไซแนปส์ (synapse)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 201
18.3 การทางานของเซลล์ประสาท

18.3.1 การเกิดกระแสประสาท

เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทเป็ นฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็ น 2 ชั้น มีสมบัติให้ ไอออนผ่านเข้ าออกได้ โดยที่เยื่อหุ้มเซลล์


มีโปรตีนแทรกอยู่ท่ัวไปทาให้ เกิดเป็ นช่ องเพื่อให้ ไอออนบางชนิดผ่านเข้ าออกได้ เช่ น ช่ องโซเดียม ช่ องโพแทสเซียม
เป็ นต้ น ในการส่งกระแสประสาทนั้นจะมีข้นั ตอน ดังนี้

ระยะ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้ น


ในภาวะปกติ เซลล์ประสาทยังไม่ถูกกระตุ้น
- ภายนอกเซลล์จะมี Na+ สูงกว่าภายในเซลล์ ภายในเซลล์จะมี K+ สูงกว่าภายนอกเซลล์
- ความต่างศักย์ไฟฟ้ าระหว่างเยื่อเซลล์ด้านในและด้ านนอกมีค่าประมาณ -70 มิลลิโวลต์
ระยะพัก
ซึ่งเป็ นศักย์เยื่อเซลล์ระยะพัก (resting membrane potential) เซลล์จะรักษาความเข้ มข้ น
(resting stage)
ของไอออนที่ต่างกันนี้ตลอดเวลา โดย Na+ จะถูกส่งออกไปนอกเซลล์ ขณะเดียวกัน K+
จะถูกดึงเข้ ามาสะสมอยู่ ภายในเซลล์ในอัตรา 3 Na+ : 2 K+ เสมอ โดยผ่ านทางโซเดียม
โพแทสเซียมปั๊ ม (sodium potassium pump) ซึ่งอาศัยพลังงานจากการสลาย ATP
เมื่ อมี ส่ิง เร้ ามากระตุ้ นเซลล์ประสาทถึ งระดั บที่ส นองได้ หรื อถึ ง ระดั บที่มีขี ด เริ่มเปลี่ยน
ระยะดีโพลาไรเซชัน เรียกว่ า เทรสโฮลด์ (threshold) ทาให้ ช่องโซเดียมเปิ ดยอมให้ Na+ ผ่ านเข้ าทางช่ องชั่ว
(depolarization) ขณะหนึ่งทาให้ เยื่อเซลล์ด้านในเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็ นประจุบวกมากขึ้น จึงทาให้ ความต่าง
ศักย์ท่เี ยื่อเซลล์เปลี่ยนจาก -70 มิลลิโวลต์ เป็ น +50 มิลลิโวลต์
เมื่อ Na+ ผ่านเข้ าไปได้ สกั ครู่ เยื่อหุ้มเซลล์กจ็ ะไม่ยอมให้ Na+ ผ่านเพิ่มเข้ าไปอีกขณะเดียวกัน
ระยะรีโพลาไรเซชัน ช่ องโพแทสเซียมเปิ ดยอมให้ K+ ผ่ านออกไปนอกเซลล์ทาให้ เกิดเซลล์สูญเสียประจุ บวก
(repolarization) และเยื่อด้ านในจะกลับไปเป็ นประจุ ลบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งความต่ างศักย์จะเปลี่ยนจาก +50
มิลลิโวลต์ เป็ น -70 มิลลิโวลต์ ความต่างศักย์ท่เี ยื่อเซลล์จึงจะกลับสู่สภาพเดิม

➢ เมื่อผ่านระยะรีโพลาไรเซชัน พบว่า ความต่างศักย์จะลดลงต่ากว่าสภาพปกติเรียกว่า ไฮเพอร์โพลาไรเซชัน


(hyperpolarization) ก่อนที่ช่องโพแทสเซียมจะปิ ด และความต่างศักย์ท่ีเยื่อเซลล์กลับเข้ าสู่ระยะพัก การเปลี่ยนแปลง
ความต่างศักย์ดังกล่าวนี้เรียกว่า แอกชันโพเทนเชียล (Action Potential) หรือ กระแสประสาท (nerve impulse)

กราฟแสดง membrane potential


BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 202
ภาพแสดงการเกิดกระแสประสาท
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 203
➢ โซเดียมโพแทสเซียมปั๊ม (Na+-K+ Pump)

ทาหน้ าที่ปรับความเข้ มข้ นของ Na+ และ K+ ในเซลล์ให้ คงที่ โดย Na+ ที่ผ่านเข้ าไปในเซลล์ถูกขับ
ออกไป และดึง K+ กลับเข้ ามาในเซลล์ดังเดิม

Na+ และ K+ สามารถเกิดโซเดียมโพแทสเซียมปั๊มได้ โดยอาศัยวิธีแอกทีฟทรานสปอร์ตที่ใช้ พลังงาน


จากการสลายโมเลกุลของ ATP และพบว่า ถ้ าไม่มีการนา Na+ และ K+ กลับที่เดิม เส้ นใยประสาท
ก็จะไม่สามารถทาหน้ าที่นากระแสประสาทได้ อกี

ภาพแสดงการเกิด Na+ - K+ pump


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

NOTE ;
 ในเซลล์ประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุม้ การนากระแสประสาทจะเกิดต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จากจุ ดกระตุ้นไปตลอดจนถึงปลายแอกซอน
โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงประจุในจุดถัดไป เมื่อผ่านไปแล้ วจุดนั้นก็จะกลับคืนสู่สภาวะปกติ
 กรณีเซลล์ประสาทที่มีเยือ่ ไมอีลินหุม้ เยื่อไมอีลินจะทาหน้ าที่เป็ นฉนวนกั้นประจุไฟฟ้ าที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ดังนั้นแอกซอนตรงบริเวณที่ มี
เยื่อไมอีลินหุ้มจะไม่มีแอกชันโพเทนเชียลเกิดขึ้น แอกชันโพเทนเชียลจะเคลื่อนที่จากบริเวณโนดออฟเรนเวียร์หนึ่งข้ ามไปยังอีกโนดออฟเรน
เวียร์หนึ่งตลอดความยาวของเส้นใยประสาท ดังนั้นการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทในเส้นใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจึงเป็ นเสมือนกระโดด
จากโนดออฟเรนเวียร์หนึ่งไปยังอีกโนดออฟเรนเวียร์หนึ่ง
 ความเร็วของกระแสประสาทในแอกซอนที่ไ ม่มีเ ยื่อไมอีลินหุ้ มอยู่กับขนาดเส้ นผ่านศูนย์ก ลางของเส้ นใยประสาท ถ้ าเส้ นใยประสาท
มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่จะนากระแสประสาทได้ เร็วกว่าขนาดเล็ก แอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มที่มีระยะห่างของโนดออฟเรนเวียร์มากกว่า
จะมีการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทได้ เร็วกว่า

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 204
18.3.2 การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท

➢ ที่ปลายแอกซอนของเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ (presynaptic neuron) จะมีถุงขนาดเล็ก ภายในถุง


เหล่ านี้จะบรรจุ สารสื่อประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึงปลายแอกซอน ถุงเล็กๆ ดังกล่ าว
จะเคลื่อนไปรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ตรงบริเวณไซแนปส์ และปล่อยสารสื่อประสาทออกมาเพื่อกระตุ้นเยื่อ
หุ้ มเซลล์ของ เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ (postsynaptic neuron) ทาให้ เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้น มี
กระแสประสาทเกิดขึ้นและถูกถ่ายทอดต่อไปจนถึงปลายประสาท

➢ สารที่หลั่งออกจากปลายประสาทเรียกว่า สารสือ่ ประสาท (neurotransmitter)

➢ บริเวณปลายแอกซอนมีสารสื่อประสาทปริมาณมาก ทาหน้ าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่ง


ไปยังอีกเซลล์หนึ่ง

➢ สารสื่อประสาทมีหลายชนิด เช่น แอซิ ติลโคลีน (acelycholine) นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และ


เอนดอร์ฟิน (endorphin) เป็ นต้ น

➢ สารสื่อประสาทที่ยังคงเหลืออยู่ในช่ องไซแนปส์จะถูกสลายโดยเอนไซม์ แล้ วสารที่ได้ จากการสลาย


อาจจะน ากลั บเข้ า ไปสร้ างสารสื่อประสาทใหม่ บางส่ ว นกาจั ด ออกทางระบบหมุ น เวีย นเลื อด ดั งนั้น
เดนไดรต์จึงถูกกระตุ้นเฉพาะเวลาที่แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออกมาในช่วงสั้นๆ เท่า นั้น

➢ ยาระงับประสาท ทาให้ สารสื่อประสาทถูกปล่อยออกมาน้ อย กระแสประสาทจึงส่งไปยังสมองน้ อยลง


ทาให้ มีอาการสงบ ไม่วิตกกังวล

➢ สารจาพวกนิโคติน คาเฟอีน และแอมเฟตามีน จะไปกระตุ้นให้ แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออก


มามาก ทาให้ เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้ นเร็ว เป็ นต้ น

➢ สารกาจัดแมลงบางชนิด สามารถยับยั้งการทางานของเอนไซม์ท่จี ะมาสลายสารสื่อประสาทได้

ภาพแสดงการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทบริเวณ synapse
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 205
18.4 ศูนย์ควบคุมระบบประสาท

➢ โครงสร้ างของระบบประสาท

ระบบประสาท

ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอก

สมอง ส่วนรับความรู้สกึ ส่วนที่ส่งั การ

ไขสันหลัง ระบบประสาทโซมาติก ระบบประสาทอัตโนวัติ

ซิมพาเทติก

พาราซิมพาเทติก

ภาพแสดงโครงสร้ างของระบบประสาท
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 206
➢ ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของคน คือ สมอง และไขสันหลัง ซึ่งพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้ างเดียวกัน
คือ นิวรัลทิวบ์ (neural tube)
➢ ส่วนของด้ านหน้ าที่พองออกนี้จะพัฒนาไปเป็ นสมอง 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้ า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง
ทั้งสมองและไขสันหลังจะอยู่ภายในเยื่อหุ้ม ซึ่งเยื่อหุ้มนี้เป็ นเยื่อ 3 ชั้น ได้ แก่
1) ชั้นนอกมีลักษณะหนาเหนียวและแข็งแรง ทาหน้ าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนแก่ส่วนที่เป็ นเนื้อสมองและไขสันหลัง
2) ชั้นกลางเป็ นเยื่อบางๆ
3) ชั้นในแนบสนิทไปตามรอยโค้ งเว้ าของสมองและไขสันหลัง จะมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่มาก เพื่อนาสารอาหารและ
แก๊สออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์ช้นั ในของสมองและไขสันหลัง
➢ ระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในจะมี น้ าเลี้ ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid; CSF)

สมอง (Brain)
➢ สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนนอกเห็นเป็ นเนื้ อสีเทา (gray matter) มีตัวเซลล์ประสาทและแอกซอนไม่มีเยื่อไมอีลิน
แต่ส่วนในของสมองหลายแห่งมีเส้นใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มจึงเห็นเป็ นเนื้ อสีขาว (white matter)
➢ สมองของคนนับว่ามีพัฒนาการสูงที่สดุ เพราะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับนา้ หนักตัวและมีรอยหยักบนสมองมากกว่า สัตว์อ่นื
➢ สมองคนแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน ได้ แก่ สมองส่วนหน้ า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง
1) สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้ วย 4 ส่วน ได้ แก่ ออลแฟกทอรีบลั บ์ (olfactory bulb) เซรีบรัม (cerebrum)
ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) และทาลามัส (thalamus)
2) สมองส่วนกลาง (midbrain) สมองส่วนนี้ประกอบด้ วยบริเวณต่างๆ ที่ประสานเกี่ยวกับรีเฟล็กซ์ของการมองเห็นและ
การได้ ยิน ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สตั ว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม สมองส่วนนี้จะทาหน้ าที่เป็ นศูนย์กลางการมองเห็น
ซึ่งเรียกว่า ออพติกโลบ (optic lobe)
3) สมองส่วนหลัง (hindbrain) ประกอบด้ วย พอนส์ (pons) เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และ
เซรีเบลลัม (cerebellum)

ภาพแสดงโครงสร้ างของศูนย์ควบคุมระบบประสาทของคน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 207
NOTE ; หน้าที่ของสมองแต่ละส่วน
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) ประกอบด้ วย
1.1 เซรีบรัม (Cerebrum) ; ความคิด ความจา การเคลื่อนไหว
1.2 ออลแฟกทอรีบลั บ์ (Olfactory Bulb) ; การดมกลิ่น
1.3 ทาลามัส (Thalamus) ; ศูนย์กลางกระแสประสาท
1.4 ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ; อารมณ์ ความรู้สกึ สมดุลร่างกาย
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain หรือ Mesencephalon) ; การมองเห็น การปิ ด-เปิ ดม่านตา
3. สมองส่วนท้าย (Hind Brain หรือ Rhombencephalon) อยู่ท้ายสุดติดต่อกับไขสันหลัง ประกอบด้ วย
3.1 เซรีเบลลัม (Cerebellum) ; การทรงตัว การเคลื่อนไหว
3.2 พอนส์ (Pons) ; เคลื่อนไหวใบหน้ า
3.3 เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ; การหายใจ

ควบคุมเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
ควบคุมความฉลาดระดับสูง
สมาธิ วางแผน ตัดสินใจ
ความเข้ าใจและการใช้
คาพูด

การได้ ยิน, ดมกลิ่น


การมองเห็น

ภาพแสดงโครงสร้ างของ Cerebral cortex


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 208
ไขสันหลัง (Spinal cord)

➢ ไขสันหลังอยู่ภายในกระดูกสันหลังตั้งแต่กระดูกสันหลังบริเวณคอข้ อแรกถึงกระดูกสันหลังบริเวณเอวข้ อที่ 2


➢ ไขสันหลังประกอบด้ วย 2 บริเวณ คือ บริเวณเนื้อสีเทา มีตัวเซลล์ประสาทอยู่หนาแน่น ซึ่งถูกล้ อมรอบด้ วย
เนื้อสีขาว เป็ นบริเวณที่มีเส้ นใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
➢ เนื้อสีเทามีลักษณะคล้ ายอักษรตัว H หรือปี กผีเสื้อซึ่งมีด้วยกัน 4 ปี ก 2 ปี กบน เรียกว่า ดอร์ซลั ฮอร์น
(dorsal horn) 2 ปี กล่างเรียกว่า เวนทรัลฮอร์น (ventral horn) เส้ นประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลัง
เรียกว่า เส้ นประสาทไขสันหลัง
➢ เส้ นประสาทไขสันหลังส่วนที่อยู่ใกล้ กบั ไขสันหลังจะแยกเป็ น รากบน (dorsal root) ซึ่งมีปมประสาทอยู่ด้วย
ส่วนรากล่าง (ventral root) ไม่มีปมประสาทอยู่ต่อกับเวนทรัลฮอร์น
➢ หน้าที่ของไขสันหลัง
1. เป็ นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างหน่วยรับความรู้สกึ กับสมอง
2. เป็ นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับหน่วยปฏิบัตงิ าน
3. สามารถสั่งการได้ เอง ให้ หน่วยปฏิบัติงานทางานการส่งกระแสประสาทในไขสันหลัง

ภาพแสดงโครงสร้ างของไขสันหลัง
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 209
เส้ นประสาท (Nerve)

แบ่งเป็ น
 เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ ประกอบด้ วย
- บริเวณคอ 8 คู่ - บริเวณอก 12 คู่
- บริเวณเอว 5 คู่ - บริเวณกระเบนเหน็บ 5 คู่
- บริเวณก้ นกบ 1 คู่

 เส้นประสาทสมอง 12 คู่ ประกอบด้ วย


- เส้นประสาทรับความรู้สกึ ได้ แก่ คู่ท่ี 1 2 8 (ดม ; ดู ; ได้ ยนิ )
- เส้นประสาทสั่งการ ได้ แก่ คู่ท่ี 3 4 6 11 12
- เส้นประสาทผสม ได้ แก่ คู่ท่ี 5 7 9 10

ภาพแสดงเส้ นประสาทในร่างกายมนุษย์
ที่มา ; https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Nervous_system_diagram-en.svg

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 210
เส้ นประสาทสมองและการทางาน

เส้ นประสาทคู่ท่ี ชื่อ หน้ าที่


1 Olfactory nerve รับความรู้สกึ เกี่ยวกับกลิ่น
2 Optic nerve รับความรู้สกึ เกี่ยวกับการมองเห็น
สั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ ามเนื้อลูกตา 4 มัด
3 Oculomotor nerve
ทาให้ ลูกตาเคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้
สั่งการไปยังกล้ ามเนื้อลูกตา
4 Trochlear nerve
ทาให้ ลูกตามองลงและมองไปทางหางตา
รับความรู้สกึ จากใบหน้ า ศีรษะ ฟัน และ
5 Trigeminal nerve
สั่งการไปยังใบหน้ า ฟัน ควบคุมการเคี้ยว
6 Abducens nerve สั่งการไปยังกล้ ามเนื้อลูกตาทาให้ เกิดการชาเลือง
รับความรู้สกึ จากต่อมรับรส และ
7 Facial nerve
สั่งการไปยังต่อมนา้ ลาย กล้ ามเนื้อใบหน้ า
เส้ นประสาทรับความรู้สกึ
8 Auditory nerve
จากคอเคลียของหูทาหน้ าที่เกี่ยวกับการได้ ยิน
รับความรู้สกึ จากคอหอย ต่อมรับรส
9 Glossopharyngeal nerve
สั่งการไปยังคอหอย และต่อมนา้ ลาย
รับความรู้สกึ จากลาคอ กล่องเสียง ช่องอก ช่องท้อง
10 Vagus nerve สั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตาไปยังกล้ ามเนื้อลาคอ
กล่องเสียง อวัยวะภายในช่องปาก และช่องท้อง
สั่งการจากเมดัลลาออบลองกาตา และไขสันหลัง
11 Accessory nerve
ไปยังกล้ ามเนื้อคอ ช่วยในการเอียงคอและยกไหล่
12 Hypoglossal nerve สั่งการไปยังกล้ ามเนื้อลิ้น

➢ การทางานของระบบประสาทสั่งการ

❖ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system: SNS)

- เป็ นการทางานตามคาสั่งของสมองส่วนเซรีบรัมและไขสันหลัง เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้

- เป็ นการควบคุมการทางานของกล้ ามเนื้อโครงร่าง

- หน่ วยรับความรู้สึกรับกระแสประสาทเข้ าสู่เส้ นประสาทไขสันหลังแล้ วส่งต่ อไปยังสมอง หรือกระแส


ประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกส่งเข้ าสมองโดยตรง จากนั้นสมองจะส่งกระแสประสาทนาคาสั่งออกมาทาง
เส้ นประสาทสมอง หรือเส้ นประสาทไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็ นกล้ ามเนื้อที่ อยู่ภายในอานาจ
จิตใจ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 211
 กิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) คือ การทางานนอกอานาจจิตใจโดยไม่ต้องผ่านสมอง เพียงแต่นาส่งกระแสประสาทจาก
อวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ ผ่านเข้ าไขสันหลัง และนาคาสั่งออกไปยังอวัยวะหรือกล้ ามเนื้อ เช่น เมื่อถูกเคาะที่หัวเข่าแล้ ว
ขาจะกระตุก

ภาพแสดงตัวอย่างการเกิดกิริยารีเฟล็กซ์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

 Reflex arc ; วงจรการทางานของระบบประสาท ประกอบด้ วยหน่วยย่อย 5 หน่วย


สิ่งเร้ า หน่วยรับความรู้สกึ เซลล์ประสาทรับความรู้สกึ

เซลล์ประสาทประสานงาน
เซลล์ประสาทสั่งการ
(ไขสันหลัง หรือสมอง)

หน่วยปฏิบัติงาน การตอบสนอง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 212
❖ ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system หรือ ANS)

- เกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้
- การควบคุมการทางานโดยระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
- การทางานของระบบประสาททั้งสองจะทางานในสภาวะตรงข้ ามกัน เพื่อควบคุมการทางานของ
อวัยวะภายในของร่างกาย เป็ นระบบประสาทที่ควบคุมการทางานของอวัยวะภายใน โดยควบคุม
กล้ ามเนื้อเรียบ และกล้ ามเนื้อหัวใจ

1. ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system)


จะเพิ่มการใช้พลังงานเพื่อทาให้ ร่างกายตื่นตัว โดยเร่ งการทางานของหัวใจ เพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม
และการทางานของอวัยวะ

2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system)


โดยทั่วไป จะช่ วยเพิ่มพลังงานและเก็บรักษาพลังงานไว้ เช่ น กระตุ้นการย่อยอาหาร และลดการ
ทางานของหัวใจ

การทางานของระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

อวัยวะ ระบบประสาทซิมพาเทติก ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก


รูม่านตา รูม่านตาขยาย รูม่านตาหรี่
ต่อมนา้ ตา กระตุ้นให้ หลั่งนา้ ตามากกว่าปกติ ควบคุมให้ หลั่งนา้ ตาเป็ นปกติ
กล้ ามเนื้อยึดม่านตา หดตัวเมื่อมองภาพในระยะใกล้ คลายตัวเมื่อมองภาพในระยะไกล
ต่อมนา้ ลาย ลดการหลั่งนา้ ลาย ทาให้ นา้ ลายข้ น เพิ่มการหลั่งนา้ ลาย (ให้ เป็ นปกติ)
ยับยั้งการเคลื่อนไหวแบบเพอริสตัลซิสและการ กระตุ้นการเคลื่อนไหวแบบเพอริสตัลซิสและ
กระเพาะอาหารและลาไส้เล็ก
สร้ างเอนไซม์ การสร้ างเอนไซม์
ตับ กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจน -
ถุงนา้ ดี คลายตัวยับยั้งการหลั่งนา้ ดี บีบตัวกระตุ้นการหลั่งนา้ ดี
กระตุ้นการหลั่งกลูคากอนและ
ตับอ่อน กระตุ้นการหลั่งอินซูลินและเอนไซม์
ยับยั้งการหลั่งเอนไซม์
กระตุ้นการขยายตัวของหลอดลมฝอย ทาให้ กระตุ้นการบีบตัวของหลอดลมฝอย
ปอด
หายใจคล่อง ทาให้ หายใจไม่สะดวก
ต่อมเหงื่อ กระตุ้นการขับเหงื่อออกมา -
หัวใจ เพิ่มอัตราการสูบฉีด ลดอัตราการสูบฉีด
กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน
ต่อมหมวกไตส่วนใน -
และนอร์อะดรีนาลีน
อวัยวะสืบพันธุ์ กระตุ้นการหลั่งนา้ อสุจิในเพศชาย กระตุ้นองคชาติให้ แข็งตัวในเพศชาย
ทาให้ กระเพาะปัสสาวะคลายตัว กระตุ้นให้ กระเพาะปัสสาวะบีบตัว
กระเพาะปัสสาวะ
ยับยั้งไม่ให้ ปัสสาวะ และขับปัสสาวะ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 213
ภาพแสดงโครงสร้ างของระบบประสาทอัตโนวัติ (ANS)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

18.6 อวัยวะรับความรูส้ กึ

18.6.1 นัยน์ตากับการมองเห็น
➢ นัยน์ตาของคนมีรูปร่างค่อนข้ างกลมอยู่ภายในเบ้ าตา ผนังลูกตาเรียงจากด้ านนอกเข้ าไปด้ านในตามลาดับ
คือ สเคลอรา (sclera) โครอยด์ (choroid) และเรตินา (retina)

ภาพแสดงโครงสร้ างของตา
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 214
ส่วนประกอบของตา

1) สเคลอรา เป็ นชั้นที่เหนียวแต่ไม่ยืดหยุ่น ตอนหน้ าสุด เรียกว่า กระจกตา (cornea)

- เป็ นชั้นที่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงและมีสารสี
- ด้ านหน้ าของเลนส์ตามี ม่านตา (iris) ยื่นลงมาจากด้ านบนและด้ านล่าง
2) โครอยด์ ของผนังโครอยด์ ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้ าสู่นัยน์ตา
- ช่องกลางมีลักษณะกลมเรียกว่า รูม่านตา (pupil) จะเห็นส่วนที่เป็ นสีดา
ประกอบด้ วยกล้ ามเนื้อวง และกล้ ามเนื้อที่เรียงตัวตามแนวรัศมี

- เป็ นบริเวณที่มีเซลล์รับแสง แบ่งได้ เป็ น 2 ชนิด คือ


➢ เซลล์รูปแท่ง (rod cell) ไวต่อการรับแสงแม้ ในที่มีแสงสว่างน้ อย
➢ เซลล์รูปกรวย (cone cell) เป็ นเซลล์ท่แี ยกความแตกต่างของสีต่างๆ
3) เรตินา - มีเซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ท่ี 2
- เมื่อกระตุ้นเซลล์รับแสงจะเกิดกระแสประสาทและถ่ายทอดสัญญาณไปยัง
เส้นประสาทสมองคู่ท่ี 2 แล้ วส่งไปยังสมองส่วนเซรีบรัมเพื่อแปลเป็ นภาพ
ตามที่ตามองเห็น

ภาพแสดงโครงสร้ างและการทางานของตา
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 215
➢ บริเวณของเรตินาที่เรียกว่า โฟเวีย (fovea) จะมีเซลล์รูปกรวยหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ดังนั้นแสงที่ตกบริเวณนี้
จึงเกิดเป็ นภาพได้ ชัดเจน
➢ บริเวณของเรตินาที่มีแต่แอกซอนออกจากนัยน์ตาเพื่อเข้ าสู่เส้ นประสาทตาจะไม่มีเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอยู่
ดังนั้น แสงที่ตกบริเวณนี้จึงไม่เกิดเป็ นภาพเรียกบริเวณนี้ว่า จุดบอด (blind spot)
➢ เลนส์ตา (lens) เป็ นเลนส์นูนมีของเหลวใสเรียกว่านา้ เลี้ยงลูกตาบรรจุอยู่ ทาให้ ความดันนัยน์ตาเป็ นปกติ นา้ เลี้ยง
ลูกตาที่อยู่ในช่องหน้ าเลนส์ทาหน้ าที่ให้ สารอาหาร และแก๊สออกซิเจนแก่กระจกตา ส่วนนา้ เลี้ยงลูกตาที่อยู่ท่ชี ่องหลัง
เลนส์ช่วยให้ ลูกตาคงรูปอยู่ได้ เลนส์ตาจะถูกยึดด้ วย เอ็นยึดเลนส์ (suspensory ligament) ซึ่งอยู่ติดกับ
กล้ามเนื้ อยึดเลนส์ (ciliary muscle)

➢ กลไกการมองเห็น
เยื่อหุ้มเซลล์รูปแท่งจะมีสารสีม่วงแดงชื่อ โรดอพซิน (rhodopsin) ฝังตัวอยู่
สารชนิดนี้ประกอบด้ วยโปรตีนออพซิน (opsin) รวมกับสารเรตินอล (retinol) ซึ่งไวต่อแสงและจะมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อมีแสงมากระตุ้นเซลล์รูปแท่ง โมเลกุลของเรตินอลจะเปลี่ยนแปลงไปจนเกาะกับโมเลกุลของออพซินไม่ได้

จะเกิดกระแสประสาทเดินทางไปยังเส้นประสาทสมองคู่ท่ี 2 เพื่อส่งไปยังสมองให้ แปลเป็ นภาพ

➢ เรตินอล เป็ นสารที่ร่างกายสังเคราะห์ข้ นึ ได้ จากวิตามิน A ซึ่งถ้ าขาดจะทาให้ เกิดโรคตาฟางในช่วงที่มีแสงสว่างน้ อย

➢ เซลล์รูปกรวยแบ่งตามความไวต่อช่วงความยาวคลื่นแสงได้ 3 ชนิด คือ


- เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีนา้ เงิน
- เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีแดง
- เซลล์รูปกรวยที่ไวต่อแสงสีเขียว

➢ การที่สมองสามารถแยกสีต่างๆ ได้ มากกว่า 3 สี เพราะมีการกระตุ้นเซลล์รูปกรวยแต่ละชนิดพร้ อมๆ กันด้ วย


ความเข้ มของแสงสีต่างกัน จึงเกิดการผสมของสีต่างๆ

NOTE ;
➢ คนสายตาสั้น แก้ ไขได้ โดยการใส่แว่นตาที่ประกอบด้ วยเลนส์เว้ า
➢ คนสายตายาว แก้ ไขได้ โดยการใส่แว่นตาที่ประกอบด้ วยเลนส์นูน
➢ คนสายตาเอียงเกิดจากความโค้ งกระจกตาในแนวต่างๆ ไม่เท่ากันทาให้ เห็นเส้ นในแนวหนึ่งแนวใดไม่ชัดเจน
แก้ ไขได้ โดยใช้ เลนส์ทรงกระบอก (cylindrical lens)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 216
18.6.2 หูกบั การได้ ยนิ

ส่วนประกอบของหู
ประกอบด้ วย ใบหูและช่องหู ตรงรอยต่อระหว่างหูส่วนนอกกับหูส่วนกลาง มีเยื่อ
บางๆ กั้น อยู่เรียกว่า เยื่อแก้วหู (ear drum หรือ tympanic membrane) ซึ่งสามารถ
1) หูสว่ นนอก สั่นได้ เมื่อได้ รับคลื่นเสียง หูส่วนนอกจึงทาหน้ าที่รับคลื่นเสียงและเป็ นช่องให้ คลื่น
เสียงผ่าน

- มีท่อติดต่อกับคอหอยท่อนี้เรียกว่า ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) เพื่อปรับ


ความดัน 2 ด้ านของเยื่อแก้วหูให้ เท่ากัน
- มีกระดูก 3 ชิ้น ได้ แก่ กระดูกค้ อน (malleus) กระดูกทั่ง (incus) และกระดูกโกลน
2) หูสว่ นกลาง (stapes) ยึดกันอยู่ เมื่อมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นที่เยื่อแก้ วหูจะถ่ายทอดมายังกระดูก
ค้ อ นและกระดู ก ทั่งท าให้ ก ระดู กหู 2 ชิ้นนี้เ คลื่อ นและเพิ่ม แรงสั่นสะเทือ นและส่ง
แรงสั่นสะเทือนนี้ต่อไปยังกระดูกโกลนเพื่อเข้ าสู่หูส่วนในต่ อไป คลื่นเสียงที่ผ่านเข้ า
มาถึงหูส่วนในจะขยายแอมพลิจูดของคลื่นเสียงเพิ่มจากหูส่วนนอกประมาณ 22 เท่า

ประกอบด้ วยโครงสร้ างที่ทาหน้ าที่แตกต่างกัน 2 ชุด คือ ชุดที่ใช้ ฟังเสียง และชุดที่ใช้


3) หูสว่ นใน ในการทรงตัว

ชุดที่ใช้ฟังเสียง เป็ นท่อที่ม้วนตัวลักษณะคล้ ายก้ นหอยเรียกว่า คอเคลีย (cochlea)


ภายในมี ข องเหลวบรรจุ อ ยู่ ท าหน้ า ที่เ ปลี่ ย นสัญ ญาณเสีย งเป็ นกระแสประสาท
โดยกระตุ้นเซลล์รับเสียงให้ ให้ ส่งกระแสประสาทไปยังเส้ นประสาทรับเสียง ( auditory
nerve) ซึ่งเป็ นเส้ นประสาทสมองคู่ท่ี 8 เพื่อเข้ าไปสู่สมองส่วนเซรีบรัม

ชุดที่ใช้ในการทรงตัว มีลักษณะเป็ นหลอดครึ่งวงกลมจานวน 3 หลอดวางตั้งฉากกัน


เรียกว่า เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนล (semicircular canal) ทาหน้ าที่รับความรู้สึกซึ่งไวต่อ
การไหลของของเหลวภายในหลอดที่เ ปลี่ย นแปลงตามตาแหน่ งของศีรษะ และทิศ
ทางการทรงตัวของร่ างกาย ขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหวจะกระตุ้นเซลล์ท่ีทาหน้ าที่รับรู้
เกี่ยวกับการทรงตัวให้ ส่งกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทที่ออกจากเซมิเซอร์คิวลาร์
แคแนลไปรวมกับเส้นประสาทของคอเคลียและออกไปรวมกับเส้นประสาทรับเสียงเพื่อ
นากระแสประสาทไปยังสมองส่วนเซรีบรัมต่อไป

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 217
ภาพแสดงโครงสร้ างและหน้ าที่ของหู
ที่มา ; Reece et al. (2011)

18.6.3 จมูกกับการดมกลิ่น

ภายในเยื่อบุจมูก (olfactory membrane) มีเซลล์ประสาทรับกลิ่น (olfactory neuron)


ที่ทาหน้ าที่เกี่ยวกับการรับกลิ่นโดยเฉพาะกลิ่นต่างๆ ที่ผ่านเข้ าไปในรูจมูก หรือระเหยผ่านคอหอยขึ้นมา

เซลล์รับกลิ่นจะทางานส่งกระแสประสาทไปตามเส้ นประสาทรับกลิ่น (olfactory nerve) ซึ่งเป็ นเส้นประสาทคู่ท่ี 1

ส่งไปยังสมองส่วนอัลแฟกทอรีบัลบ์ซ่งึ ส่งต่อไปยังสมองส่วนเซรีบรัม

ภาพแสดงโครงสร้ างของจมูก
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 218
18.6.4 ลิ้นกับการรับรส

➢ ด้ านบนของผิวลิ้นจะมีปมเล็
ุ่ กๆ มากมาย ปุ่ มเหล่านี้คือ พาพิลลา (papilla) มีต่อมรับรส (taste bud) หลายต่อม
ทาหน้ าที่รับรส

ภาพแสดงต่อมรับรสของลิ้น
ที่มา ; Reece et al. (2011)

แต่ละตุ่มรับรสจะมีเซลล์รับรส (taste cell หรือ gustatory cell)



เมื่อเซลล์รับรสได้ รับการกระตุ้นจะเกิดกระแสประสาทส่งไปตามเส้ นประสาทสมองคู่ท่ี 7 และเส้ นประสาทคู่ท่ี 9

ส่งไปยังศูนย์รับรสที่เซรีบรัมเพื่อให้ สมองส่วนนี้แปลผลว่าเป็ นรสอะไร

➢ รสพื้ นฐาน 5 รส คือ รสหวาน รสขม รสเปรี้ยว รสเค็ม และรสอร่ อยหรืออูมามิ (umami) การรับรสทั้ง
5 รส สามารถรับได้ ท่ัวไปตลอดลิ้น เซลล์รับรสแต่ละเซลล์สามารถรับรสได้ เพียงรสเดียว แต่ในต่อมรับรสแต่ละต่ อม
ประกอบด้ วยเซลล์รับรสชนิดต่างๆ ปะปนกัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 219
18.6.5 ผิวหนัง

➢ ในผิวหนังมีหน่วยรับความรู้สกึ ซึ่งไวต่อการกระตุ้นเฉพาะอย่าง เช่น


- หน่วยรับแรงกด มีปลายประสาทเดนไดรต์อยู่ตรงกลาง และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหุ้มปลายประสาทอยู่รอบๆ
- หน่วยรับความรู้สกึ เจ็บปวดจะเป็ นปลายประสาทเดนไดรต์ท่แี ทรกอยู่ในชั้นหนังกาพร้ า (epidermis)

ภาพแสดงโครงสร้ างของผิวหนัง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 220
บทที่ 19 : การเคลือ่ นที่ของสิง่ มีชีวิต
19.1 การเคลือ่ นที่ของสิง่ มีชีวติ เซลล์เดียว

อะมีบา เคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของไซโทพลาสซึม หรือเท้ าเทียม (Pseudopodium) โดยไซโทพลาสซึม


จะไหลได้ น้นั เกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้ วยกัน คือ ....

1. เอกโทพลาสซึม (Ectoplasm)
เป็ นไซโทพลาสซึมที่อยู่ด้านนอก เป็ นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล (gel)

2. เอนโดพลาสซึม (Endoplasm)
เป็ นไซโทพลาสซึมที่อยู่ด้านใน ลักษณะค่อนข้ างเหลว เรียกว่า โซล (sol)

3. ไมโครฟิ ลาเมนท์ (ประกอบด้ วยโปรตีนแอกติน)


การหดตั ว ของแอกติ น ท าให้ ไ ซโทพลาสซึ ม ส่ ว นเอนโดพลาสซึ ม ไหลไปข้ า งหน้ า แล้ ว
กลายเป็ นเอกโทพลาสซึม และส่วนเอกโทพลาสซึมที่อยู่ด้านท้ ายจะกลายเป็ นเอนโดพลาสซึม
ไหลสลับกันเกิดเป็ นเท้าเทียม

ยูกลีนา และพารามีเซียม

ยูกลีนา เคลื่อนที่โดยอาศัยการโบกพัดของแฟลกเจลลัม (Flagellum)

พารามีเซียม เคลื่อนที่โดยอาศัยการโบกพัดซิเลีย (Cilia)

โครงสร้างของซิเลีย และแฟลกเจลลัม
พบว่าภายในคา้ จุนด้ วยไมโครทิวบูล เรียงตัวเป็ นวง 9 กลุ่ม กลุ่มละ 2 หลอด ตรงแกนกลางมีอีก 2 หลอด
ไมโครทิว บู ล ที่เ รี ย งอยู่ ต รงกลางจะมี เ ยื่ อ หุ้ ม เซลล์ ล้ อ มรอบ ส่ ว นไมโครทิว บู ล ที่เ รี ย งเป็ นวงอยู่ โ ดยรอบ
จะมี โ ปรตี นไดนีน (Dynein) เป็ นเสมื อ นแขนที่เ กาะกับ ไมโครทิว บู ล เรีย กว่ า ไดนีนอาร์ม (Dynein arm)
ซึ่งโครงร่างคา้ จุนเหล่านี้ช่วยให้ ซิเลีย และแฟลกเจลลัม โค้ งงอและสามารถโบกพัดได้
บริเ วณโคนของแฟลกเจลลัม และซิเ ลีย จะยึ ด ติ ด กับ โครงสร้ า งภายในเซลล์ท่ีเรีย กว่ า Basal body หรือ
Kinetosome ซึ่งเป็ นไมโครทิวบูลเรียงแบบ 9+0 ถ้ าตัดส่วนนี้พบว่า ซิเลียและแฟลกเจลลัมจะเคลื่อนไหวไม่ได้

ภาพแสดงโครงสร้ างของ Cilia และ Flagellum


ที่มา ; https://micro.magnet.fsu.edu/cells/ciliaandflagella/ciliaandflagella.html

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 221
19.2 การเคลือ่ นที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนเกิดจากการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลาตัว
แมงกะพรุน สลับกัน ทาให้ เกิดแรงดันของน้าผลักตัวแมงกะพรุนให้ พุ่งไปในทิศทางตรงข้ ามกับน้าที่พ่น
ออกมา (ไม่ใช่ Antagonism)

มีการเคลื่อนที่เกิดจากการหดตัวของกล้ ามเนื้อบริเวณลาตัวทาให้ นา้ ภายในลาตัวพ่นออกทาง


หมึก ท่อนา้ หรือไซฟอน (siphon)

มีการเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันนา้ เรียก ระบบท่อนา้ (water vascular system) ภายในร่างกาย


ดาวทะเล ช่วยในการเคลื่อนที่ ประกอบด้ วย ;
madreporite  ring canal  radial canal  ampulla  tube feet

ผนังลาตัวของไส้เดือนดิน ประกอบด้ วยกล้ ามเนื้อ 2 ชุด คือ


- กล้ ามเนื้อวงรอบลาตัวเรียกว่า กล้ ามเนื้อวง (circular muscle)
- กล้ ามเนื้อตามแนวยาวขนานกับลาตัวเรียกว่า กล้ ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle)
ไส้ เดือนดิน

การเคลื่อนที่ของไส้ เดือนดินจะเหมือนกับระลอกคลื่น (wave like motion) เมื่อไส้ เดือนดิน


เริ่มเคลื่อนที่จะใช้ เดือย (setae or bristle) ยื่นออกมาจากผนังลาตัวไว้ จิกดิน กล้ ามเนื้อวง และ
กล้ ามเนื้อตามยาวหดตัวและคลายตัวเป็ นจังหวะ เรียกว่า เพอริสตัลซิส (peristalsis)

มีการเคลื่อนไหวของข้ อต่ออาศัยการทางานของกล้ ามเนื้อ เช่น


- การเคลื่อนไหวของขา
เกิดจากการทางานของกล้ ามเนื้อ 2 ชุด ซึ่งทางานในสภาวะตรงกันข้ าม (Antagonism) คือ
กล้ ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) และกล้ ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ (extensor)
แมลง  กล้ ามเนื้อเฟล็กเซอร์หดตัว กล้ ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์จะคลายตัวทาให้ ขางอเข้า
 กล้ ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์หดตัว กล้ ามเนื้อเฟล็กเซอร์จะคลายตัวทาให้ ขาเหยียดออก
- การเคลื่อนไหวของปี ก
มีกล้ ามเนื้อตามยาวและกล้ ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอกทางานตรงกันข้ าม
 ยกปี กขึ้น : กล้ ามเนื้อตามยาวคลายตัว กล้ ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอกหดตัว
 กดปี กลง : กล้ ามเนื้อตามยาวหดตัว กล้ ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มส่วนอกคลายตัว

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 222
ภาพแสดงท่อ Siphon ของหมึก ภาพแสดงระบบท่อนา้ (Water vascular system) ของดาวทะเล

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของปี กแมลง

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ไส้ เดือนดิน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 223
19.3 การเคลือ่ นที่ของสัตว์มกี ระดูกสันหลัง

สัตว์ การเคลือ่ นที่


ปลา เคลื่อนที่เป็ นรูปตัว S เกิดจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลัง
บินได้ โดยอาศัยกล้ ามเนื้อที่ยึดระหว่างกระดูกโคนปี ก (humerus) และกระดูกอก (sternum)
นก
ประกอบด้ วย กล้ ามเนื้อยกปี กและกล้ ามเนื้อกดปี ก ทางานแบบสภาวะตรงกันข้ าม
วิ่งเร็วมากที่สดุ เพราะกระดูกสันหลังโค้ งงอได้ ดี ทาให้ ช่วงก้ าวยาวขึ้น โดยสามารถวิ่งได้ เร็วที่สดุ
เสือชีตาห์ ถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

➢ การเคลือ่ นทีข่ องคน


➢ การเคลื่อนที่ของคน อาศัยการทางานของระบบโครงกระดูก และระบบกล้ ามเนื้อ ดังนี้

 ระบบโครงกระดูก ประกอบด้ วย กระดูกแกน (axial skeleton) และกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)


เมื่อร่างกายของคนเจริญเติบโตเต็มที่ จะประกอบด้ วยกระดูกประมาณ 206 ชิ้นต่อกัน

ภาพแสดงระบบโครงกระดูกของมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 224
กระดูก (Skeleton)

กระดู ก แกน มี จ านวน 80 ชิ้ น ประกอบด้ ว ย กะโหลกศี ร ษะ


กระดูกสันหลัง กระดูกอก และกระดูกซี่โครง

 กะโหลกศีรษะ
เป็ นกระดูกที่เป็ นแผ่ นเชื่อมติดกัน ภายในมีลักษณะเป็ นโพรงสาหรับบรรจุ สมอง
ทาหน้ าที่ป้องกันสมองไม่ให้ ได้ รับอันตราย

 กระดูกซี่โครง
มีท้งั หมด 12 คู่ กระดูกซี่โครงทุกๆ ซี่จะไปต่อกับด้ านข้ างของกระดูกสันหลังบริเวณ
ทรวงอก โดยปลายอีกด้ านหนึ่งเชื่อมกับกระดูกอก ยกเว้ นกระดูกซี่โครงคู่ท่ี 11 และ
12 จะเป็ นซี่ส้นั ๆ ไม่เชื่อมต่อกับกระดูกอกเรียกว่า “ซี่โครงลอย”

 กระดูกสันหลัง
ทาหน้ าที่ช่วยค้าจุนและรองรับน้าหนักของร่ างกายประกอบด้ วยกระดูกที่มีลักษณะ
เป็ นข้ อๆ ต่อกันระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้ อจะมีแผ่นกระดูกอ่อน (cartilage)
หรื อที่เ รี ย กกว่ า หมอนรองกระดู ก (intervertebral disc) ทาหน้ า ที่ร องและเชื่อม
กระดูกสันหลังแต่ละข้ อเพื่อป้ องกันการเสียดสี

กระดู กรยางค์ มีท้งั หมด 126 ชิ้น ได้ แก่ กระดูกแขน กระดูกขา รวมไปถึงกระดูก
สะบัก กระดูกไหปลาร้ า และกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็ นที่ยึดเกาะของแขนและขา

 เอ็นยึดข้ อและข้ อต่อ

เอ็น
 Ligament : ยึดระหว่างกระดูก 2 ท่อน เชื่อมติดกัน

 Tendon : ยึดระหว่างกระดูกกับกล้ ามเนื้อ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 225
ข้ อต่อ (joint) คือ ตาแหน่งที่กระดูก 2 ชิ้นมาต่อกัน

ระหว่างกระดูกบริเวณข้ อต่อมีของเหลว เรียกว่า น้าไขข้ อ (synovial fluid) หล่ อลื่นอยู่


ทาให้ กระดูกไม่เสียดสีกนั

1) ข้ อ ต่ อ แบบบานพั บ ท าให้ ก ารเคลื่ อ นไหวตรงส่ ว นนั้ น จ ากั ด ได้ เ พี ย งทิ ศ ทางเดี ย ว


เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของบานพับประตูหรือหน้ าต่าง เช่น ข้ อต่อบริเวณข้ อศอก

2) ข้ อ ต่ อ แบบลู ก กลมในเบ้ า กระดู ก ท าให้ ร่ า งกายส่ ว นนั้ น เคลื่ อนไหวได้ อ ย่ า งอิส ระ


หลายทิศทาง เช่น ข้ อต่อที่หัวไหล่

3) ข้ อต่อแบบเดือย ทาให้ สามารถก้ ม เงย บิดไปทางซ้ าย-ขวา เช่น ข้ อต่อบริเวณต้ นคอกับ


ฐานกะโหลกศีรษะ

4) ข้ อต่ อแบบเคลื่อนไหวไม่ ได้ เช่ น ข้ อต่ อบริเวณกะโหลกศีรษะ หรือได้ เล็กน้ อย เช่ น


ข้ อต่อที่กระดูกซี่โครง ทาหน้ าที่ยึดกระดูก

 ระบบกล้ ามเนื้อ เป็ นกล้ ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูก เช่น กล้ ามเนื้อแขน และขา จึงทา
หน้ าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนาเซลล์กล้ ามเนื้อ
เหล่านี้มาศึกษาด้ วยกล้ องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็ นแถบสีอ่อนและสีเข้ ม
กล้ ามเนื้อโครงร่าง สลับ กันเป็ นลาย เซลล์ข องกล้ า มเนื้อนี้มี ลักษณะเป็ นทรงกระบอกยาว
(skeletal muscle) แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส ร่างกายสามารถบังคับได้ หรืออาจกล่าวว่า
อยู่ในอานาจจิตใจ

เซลล์มีรูปร่างเป็ นทรงกระบอก แต่ส้นั กว่าเซลล์กล้ ามเนื้อโครงร่าง จะเห็น


เป็ นลายเช่ น เดี ย วกั น แต่ ต อนปลายของเซลล์ มี ก ารแตกแขนงและ
กล้ ามเนื้อหัวใจ เชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง ร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็ น
(cardiac muscle) กล้ ามเนื้อที่อยู่นอกอานาจจิตใจ

ประกอบด้ ว ยเซลล์ ท่ีมี ลั ก ษณะยาว แหลมหั ว แหลมท้ า ย แต่ ล ะเซลล์


กล้ ามเนื้อเรียบ จะมี 1 นิวเคลียส และไม่มีลาย การทางานของกล้ ามเนื้อเรียบถูกควบคุม
(smooth muscle) โดยระบบประสาทอัตโนวัติ มักจะพบอยู่ตามบริเวณอวัยวะภายใน เช่น
ผนังกระเพาะอาหาร ผนังลาไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 226
ภาพแสดงประเภทของกล้ ามเนื้อ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ภาพแสดงโครงสร้ างของกล้ ามเนื้อโครงร่าง (skeleton muscle)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 227
 การทางานของกล้ ามเนื้อโครงร่าง

 กล้ ามเนื้อโครงร่างจะทางานเป็ นคู่ การงอแขนและเหยียดแขน เกิดจากการทางานของกล้ ามเนื้อไบเซพ (bicep) และ


ไตรเซพ (tricep) โดยทางานแบบ Antagonism
Bicep (Flexors) คลายตัว Tricep (Extensors) หดตัว  แขนเหยียดออก
Bicep (Flexors) หดตัว Tricep (Extensors) คลายตัว  แขนงอเข้ า

 โครงสร้ างและการทางานของกล้ ามเนื้อโครงร่าง

 แต่ละมัดประกอบด้ วย เส้นใยกล้ ามเนื้อ (muscle fiber) หรือเซลล์กล้ ามเนื้อ (muscle cell) ภายในเส้น
ใยกล้ ามเนื้อประกอบด้ วย เส้นใยกล้ ามเนื้อเล็ก (myofibril) มีลักษณะเป็ นท่อนยาวเรียงซ้ อนกัน

 เส้นใยกล้ ามเนื้อเล็กประกอบด้ วย ไมโครฟิ ลาเมนท์ 2 ชนิด คือ ชนิดบางซึ่งเป็ นสายโปรตีนแอกทิน และ


ชนิดหนาซึ่งเป็ นโปรตีนไมโอซิน แอกทินและไมโอซินจะเรียงตัวขนานกัน

 เอ็ช อี ฮักซ์ลีย์ และชอง แฮนสัน (H.E. Huxley และ Jean Hanson) ได้ เสนอสมมติฐานการเลื่อนของ
ฟิ ลาเมนท์ (sliding filament hypothesis) ว่า การหดตัวของกล้ามเนื้ อเกิดจากการเลื่อนของแอกทิน เข้า
หากันตรงกลาง การเลื่อนของแอกทินดังกล่าวต้ องอาศัย ATP และแคลเซียมทาให้ เส้นใยกล้ ามเนื้อหดตัว

 การหดตั ว ของกล้ า มเนื้ อ เกิด จากการกระตุ้ นโดยเซลล์ ป ระสาทที่ม ายั ง เซลล์ ก ล้ า มเนื้ อ แล้ ว จึ งเกิด
การกระตุ้นให้ หลั่งแคลเซียมที่สะสมไว้ ในเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมแบบผิวเรียบของเซลล์กล้ ามเนื้อที่เรียกว่า
ซาร์โคพลาสมิกเรติคิวลัม (sarcoplasmic reticulum; SR) ออกมาในไซโทพลาสซึม

ในสภาวะปกติไมโอซินไม่สามารถจับกับแอกทินได้ เนื่องจากมีโปรตีนควบคุมการหดตัวขัดขวางอยู่

เมื่อระดับแคลเซียมที่สงู ขึ้นจนเหมาะสมจะไปจับกับโปรตีนควบคุม
ทาให้ ไมโอซินสามารถจับกับแอกทินได้

เกิดการเลื่อนของแอกทินและเกิดการหดตัวของกล้ ามเนื้อ

จากนั้นแคลเซียมจะถูกดึงกลับสู่ SR โดยแคลเซียมปั๊มซึ่งต้ องใช้ ATP

การลดลงของระดับแคลเซียมนี้ทาให้ โปรตีนควบคุมกลับไปจับกับแอกทินเหมือนเดิม
ไมโอซินจึงไม่สามารถจับกับแอกทินได้

กล้ ามเนื้อจึงคลายตัว

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 228
ภาพแสดงกลไกการหดและคลายตัวของกล้ ามเนื้อโครงร่าง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 229
บทที่ 20 : ระบบต่อมไร้ท่อ
20.1 ต่อมไร้ ท่อ

ฮอร์โมน (hormone)

คือ สารเคมีท่ีลาเลียงสารตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้ าหมายเพื่อทาหน้ าที่ควบคุมการทางานของ


ระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น การทางานของระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย และกระบวนการเมตาบอลิซึม
ของร่างกาย

ส่วนใหญ่เป็ นสารประเภทโปรตีนเอมีน และสเตอรอยด์ท่ผี ลิตจากต่อมไร้ ท่อ (endocrine gland) โดยที่


ต่ อมไร้ ท่ออาจประกอบด้ วยเซลล์เพี ยงเซลล์เ ดียว หรือหลายเซลล์กไ็ ด้ นอกจากฮอร์โมนแล้ ว ยั ง มี
สารเคมีท่สี ร้ างจากเซลล์ประสาท เรียก ฮอร์โมนประสาท และสารสื่อประสาท ไปควบคุมการทางานของ
อวัยวะภายในร่างกาย

ภาพแสดงต่อมไร้ ท่อในมนุษย์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

➢ อาร์โนล เอ เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold) ได้ ทาการทดลองเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลูกไก่เพศผู้เป็ น


ไก่เพศผู้ท่โี ตเต็มวัย โดยจัดการทดลองเป็ น 3 ชุด
1) ชุดแรก ให้ ลูกไก่เจริญตามปกติ
2) ชุดที่ 2 ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก แล้ วเฝ้ าสังเกตลักษณะของลูกไก่จนเจริญเป็ นไก่ท่โี ตเต็มวัย พบว่าเมื่อโตเต็มวัย ไก่ตัวนี้จะมี
ลักษณะคล้ ายไก่เพศเมีย คือ มีหงอนสั้น เหนียงสั้น ขนหางสั้น และมีนิสยั ไม่ค่อยต่อสู้กบั ไก่ตัวอื่นๆ
3) ชุดที่ 3 ตัดอัณฑะของลูกไก่ออก จากนั้นนาอัณฑะของลูกไก่อีกตัวหนึ่งมาปลูกถ่ายลงในบริเวณช่องท้ องตรงตาแหน่งที่ต่ากว่า
ตาแหน่งอัณฑะเดิม พบว่าอัณฑะใหม่ มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงและสามารถทางานได้ เมื่อติดตามสังเกตลักษณะของลูกไก่จนเป็ นไก่ท่โี ตเต็ม
วัยปรากฏว่า ไก่ตัวนี้จะมีลักษณะของไก่เพศผู้ท่โี ตเต็มวัยปกติ คือ มีหงอนยาว เหนียงยาว ขนหางยาว และมีนิสยั รักการต่อสู้ ปราดเปรีย ว
จากการทดลองสามารถสรุปได้ ว่า อัณฑะมีการผลิตสารที่เป็ นฮอร์โมนควบคุมการเกิดลักษณะทางเพศของไก่

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 230
20.2 ฮอร์โมนจากต่อมไร้ ท่อและอวัยวะที่สาคัญ

1. ต่อมไพเนียล
➢ ต่อมไพเนียล (pineal gland) ของสัตว์เลือดเย็น ตัวอย่างเช่น ปลาปากกลม สัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก และ
สัตว์เลื้อยคลานบางชนิดไม่สร้ างฮอร์โมน แต่เป็ นกลุ่มของเซลล์รับแสง (photoreceptor cell) ที่มีลักษณะคล้ ายกับกลุ่ม
เซลล์รับแสงในชั้นเรตินาของนัยน์ตา ต่อมไพเนียลของคนจะอยู่ระหว่างเซรีบรัมซีกซ้ ายและซีกขวา

ฮอร์โมนที่สร้ าง หน้ าที่


Melatonin ท าหน้ า ที่บ อกถึงรอบวั น และยั บ ยั้ งการเจริญ เติ บ โตของอวั ย วะสืบ พันธุ์ไ ม่ ใ ห้ เ จริญ เติ บ โตเร็ว เกินไปในช่ ว งก่ อ นวั ย
เจริญพันธุ์ ถ้ าต่อมนี้ผิดปกติสร้ างฮอร์โมนมากเกินไปจะทาให้ เป็ นหนุ่มสาวช้ ากว่าปกติ จากการทดลองในเด็กผู้ชายที่มี
เนื้องอกที่สมองและมีการทาลายต่อมไพเนียล พบว่าเด็กคนนี้จะเข้ าสู่วัยหนุ่มเร็วกว่าปกติ (แก่เร็ว)

2. ต่อมใต้ สมอง
➢ ต่อมใต้ สมอง (pituitary gland) เป็ นต่อมไร้ ท่อที่ติดอยู่กับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโพทาลามัส แบ่งได้ เป็ น
3 ส่วน คือ ต่อมใต้ สมองส่วนหน้ า ส่วนกลาง และส่วนหลัง

ต่อมใต้ สมองส่วนหน้ า
สร้ างฮอร์โมน

Growth hormone ; GH

มี หน้ า ที่สาคัญ คือ ควบคุม การเจริญเติบ โตทั่วๆ ไปของร่ า งกาย อาจเรีย กอีกชื่อหนึ่งว่ า somatotrophin หรือ
somatotrophic hormone ; STH
- หากมีมากเกินไปในวัยเด็กจะทาให้ ร่างกายสูงผิดปกติหรือสภาพร่างยักษ์ (gigantism)
- หากร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระหรือสภาพแคระ (dwarfism)
- หาก GH สูงภายหลังที่โตเต็มวัย ทาให้ เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้ า นิ้วมือ นิ้วเท้ า เรียก
ลักษณะดังกล่าวนี้ว่า อะโครเมกาลี (acromegaly)
- ผู้ใหญ่ท่ขี าด GH จะมีระดับนา้ ตาลในเลือดต่ากว่าคนปกติ จึงทาให้ ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆ
ทางอารมณ์ได้ ถ้ าเครียดมากๆ อาจทาให้ สมองได้ รับอันตรายได้ ง่าย เพราะได้ รับสารอาหารไม่เพียงพอ

โกนาโดโทรฟิ น (Gonadotrophin ; GN)

1) Follicle stimulating hormone (หญิง) กระตุ้นให้ ฟอลลิเคิลแบ่งเซลล์และสร้ างเอสโตรเจน


; FSH (ชาย) กระตุ้นการเจริญของอัณฑะ และการสร้ างอสุจิ

(หญิง) กระตุ้นการตกไข่
2) Luteinizing hormone ; LH
(ชาย) กระตุ้นอินเตอร์สติเชียลเซลล์ให้ หลั่งเทสโทสเตอโรน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 231
ต่อมใต้ สมองส่วนหน้ า (ต่อ)

Prolactin กระตุ้นต่อมนา้ นมให้ สร้ างนา้ นมเพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด

Adrenocorticotrophine ; ACTH ทาหน้ าที่กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้ หลั่งฮอร์โมนตามปกติ

Thyroid stimulating hormone ; TSH กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ หลั่งฮอร์โมนเป็ นปกติ

เป็ นสารที่ มี ฤ ทธิ์ ค ล้ า ยมอร์ ฟี น ท าหน้ า ที่ ร ะงั บ ความเจ็บ ปวด


Endorphin ทาให้ มีความคิดสร้ างสรรค์ ช่วยเพิ่มความตื่นตัวมี ชีวิตชีวาและ
ความสุข จึงเรียกสารนี้ว่า สารแห่งความสุข

ต่อมใต้ สมองส่วนกลาง
- ทาให้ สตั ว์มีการเปลี่ยนสีผิวเข้ มขึ้นได้ ตามสภาพแวดล้ อม
Melanocyte stimulating hormone ; MSH
(ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งนา้ และสัตว์เลื้อยคลาน)

ต่อมใต้ สมองส่วนหลัง ไม่ได้ สร้ างฮอร์โมน แต่เป็ นแหล่งเก็บ

Vasopressin หรือ ADH ควบคุมการดูดกลับนา้ ของท่อหน่วยไตและกระตุ้นให้ หลอดเลือดอาร์เทอรีหดตัว

ท าให้ ก ล้ า มเนื้ อ เรี ย บที่ ม ดลู ก บี บ ตั ว จึ ง เป็ นฮอร์ โ มนที่ แ พทย์ ฉี ด เพื่ อ ช่ ว ยใน
Oxytocin การคลอดของมารดาที่มีฮอร์โ มนชนิด นี้น้อยกว่า ปกติ กระตุ้นกล้ า มเนื้อรอบๆ
ต่อมนา้ นมให้ หดตัวเพื่อขับนา้ นมออกมาเลี้ยงลูกอ่อน

NOTE :

Neurosecretory cell สร้ าง มาตาม เก็บไว้ ท่ี


ADH และ Oxytocin ต่อมใต้ สมองส่วนหลัง
ใน Hypothalamus Axon

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 232
3. ต่อมหมวกไต
➢ ต่อมหมวกไต (adrenal gland) ประกอบด้ วนเนื้อเยื่อ 2 ชั้น เนื้อเยื่อชั้นนอก เรียกว่า ต่อมหมวกไตส่วนนอก
(adrenal cortex) และเนื้อเยื่อชั้นในเรียกว่า ต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla)

ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทาหน้ าที่หลักในการควบคุมเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างของฮอร์โมนกลุ่มนี้คือ...


- คอร์ติซอล (Cortisol) มีหน้ าที่สาคัญในการเพิ่มระดับนา้ ตาลในเลือด
- การมีกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป ทาให้ เกิดอาการคูชชิง (Cushing’s syndrome) ผู้ป่วยจะ
สร้ าง
มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด และโปรตีน ระดับน้าตาลใน
เลือ ดสูงขึ้น กล้ า มเนื้ออ่อนแรง เนื่อ งจากมี การสลายโปรตีน และลิพิด ตามบริเ วณแขนขา
Glucocorticoids
ขณะที่มี ก ารสะสมลิ พิ ด ที่บ ริ เ วณแกนกลางของล าตั ว เช่ น ใบหน้ า ท าให้ ห น้ า กลมคล้ า ย
ดวงจันทร์ บริเวณต้ นคอมีหนอกยื่นออกมา อาการเช่นนี้อาจพบได้ ในผู้ป่วยที่ได้ รับการรักษา
ด้ วยยาที่มีคอร์ติโคสเตอรอยด์เป็ นส่วนผสม เพื่อป้ องกันอาการแพ้ หรืออักเสบติดต่อกันเป็ น
ระยะเวลานานซึ่งฮอร์โมนนี้มีผลต่อการกดภูมิค้ มุ กันของร่างกาย

มีหน้ าที่หลักในการควบคุมสมดุลของนา้ และแร่ธาตุในร่างกาย ฮอร์โมนที่สาคัญในกลุ่มนี้ คือ


Mineralocorticoids - แอลโดสเทอโรน (Aldosterone) ควบคุมการทางานของไตในการดูดกลับนา้ และโซเดียมเข้า
สู่หลอดเลือดและขับโพแทสเซียมออกจากท่อหน่วยไต

ในภาวะปกติฮอร์โมนเพศที่สร้ างจากต่อมหมวกไตส่วนนอกมีเพียงเล็กน้ อยเท่านั้น เมื่อเปรียบ


Sex hormone
กับฮอร์โมนเพศที่สร้ างจากอวัยวะเพศ

ถ้ าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทาลายจนไม่สามารถสร้ างฮอร์โมนได้ เรียกว่า โรคแอดดิสนั (Addison’ disease)


ผู้ป่วยผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุอาจเป็ นเหตุให้ ผ้ ปู ่ วยตายได้

ต่อมหมวกไตส่วนใน
สร้ าง
มี 2 ชนิด ได้ แก่ …
ฮอร์ โ มนทั้ ง 2 ชนิ ด ออกฤทธิ์ เ หมื อ นกั น มี ผ ลท าให้ น้ า ตาลในเลื อ ดเพิ่ ม มากขึ้ น
- Adrenaline นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ หัวใจเต้ นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง
- Noradrenaline

4. รก

ฮอร์โมนที่สร้ าง หน้ าที่


Human chorionic
กระตุ้นคอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ให้ เจริญต่อไปและสร้ างโพรเจสเทอโรนเพิ่มขึ้น
gonadotrophin ; HCG

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 233
5. ตับอ่อน

Islets of Langerhans ในตับอ่อน

➢ เพาล์ ลังเกอร์ฮันส์ (Paul Langerhans) ได้ สงั เกตเห็นกลุ่มเซลล์ท่แี ตกต่างไปจากเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ของตับอ่อน กลุ่มเซลล์น้ ี


กระจายอยู่เป็ นหย่อมๆ มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงเรียกว่า ไอส์เลต ออฟ ลังเกอร์ฮันส์ (islets of Langerhans) กลุ่มเซลล์น้ ี
ผลิตสารบางอย่างมาทางกระแสเลือดและให้ ช่อื ว่า อินซูลิน (insulin)

➢ ซี เอช เบสต์ (C.H. Best) ได้ พบหลักฐานบางประการที่ทาให้ ทราบว่า ไอส์เลต ออฟ ลังเกอร์ฮันส์ ผลิตสารควบคุมระดับ
นา้ ตาลในเลือด

➢ ไอส์เลต ออฟ ลังเกอร์ฮันส์ สร้ างฮอร์โมนที่สาคัญ 2 ชนิด คือ อินซูลิน (insulin) และกลูคากอน (glucagon)

Insulin (จาก 𝛽 – cell) หน้ าที่สาคัญ คือ ลดระดับนา้ ตาลในเลือดให้ เป็ นปกติ

เมื่อระดับนา้ ตาลในเลือดลดต่าลง กลูคากอนจะไปกระตุ้นการสลายตัวของ


Glucagon (จาก 𝛼 – cell)
ไกลโคเจนจากตับและกล้ ามเนื้อให้ เป็ นนา้ ตาลกลูโคสในเลือดได้

6. ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)

เป็ นต่อมไร้ ท่อที่มีขนาดใหญ่ต่อมหนึ่งอยู่ติดกับบริเวณกล่องเสียงมีลักษณะเป็ นพู 2 พู และมีเนื้อเยื่อของ


ต่อมพาราไทรอยด์ติดอยู่ทางด้ านหลัง ข้ างละ 2 ต่อม

- อี คอกเคอร์ (E. Kocher) ศึกษาการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ของคนไข้ จานวนหนึ่งออก พบว่าคนไข้ มีอาการ


อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เริ่มบวมที่หน้ า มือ และเท้ า ในที่สุดก็บวมทั้งตัว ผิวหนังของคนไข้ แห้ งและแข็ง เป็ น
สะเก็ด สมองเสื่อ ม แต่ ถ้ า ตั ด ต่ อ มไทรอยด์ข องสัต ว์ ท ดลองในวั ยที่ยั งไม่ เ จริญ เต็มที่จ ะทาให้ ลักษณะของ
สัตว์เตี้ยแคระ

- แมกนัส เลวี (Magnus Levy) นาต่อมไทรอยด์ของแกะมาทาให้ แห้ งและบดละเอียดแล้ วให้ คนปกติ กิน
ปรากฏว่าทาให้ อตั ราเมตาบอลิซึมของร่างกายสูงขึ้น

- ซี ซี โบมานท์ (C.Z. Boumann) วิเคราะห์เนื้อเยื่อต่างๆ ของคนพบว่า เซลล์ในต่อมไทรอยด์มีปริม าณ


ไอโอดีนสูงกว่าเซลล์ในส่วนอื่นถึง 100 เท่า

- เดวิด มารีน (David Marine) ทาการทดลองให้ อาหารที่ไม่มีไอโอดีนแก่สตั ว์ พบว่าสัตว์จะเป็ นโรคคอพอก


หลังจากนั้นให้ อาหารที่มีไอโอดีน ปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นก็หายจากการเป็ นโรคคอพอก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 234
ฮอร์โมนที่สร้ างจากต่อมไทรอยด์

- มีไอโอดีนเป็ นองค์ประกอบ
- แหล่งที่สร้ างไทรอกซินในต่อมไทรอยด์คือ กลุ่มเซลล์ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle)
- ควบคุม Metabolism ของร่างกาย

ต่อมไทรอยด์ของคนบางคนสร้ างไทรอกซินได้ น้อยกว่าคนปกติท้ังๆ ที่ร่างกายมีปริมาณไอโอดีน


อยู่มาก และพบว่าการที่ร่างกายผลิตไทรอกซินได้ น้อยจะแสดงออกในผู้ป่วยที่เป็ นเด็กและผู้ใหญ่
แตกต่างกัน คือ
- ถ้ าขาดในวัยเด็ก จะมีผลให้ พัฒนาการทางร่ า งกายและสมองด้ อยลง ทาให้ ร่างกายเตี้ย แคระ
แขน ขาสั้น ผิวหยาบแห้ ง ผมบาง การเจริญเติบ โตช้ ากว่าปกติและปัญญาอ่อน กลุ่มอาการเช่นนี้
Thyroxin เรียกว่า เครทินิซึม (cretinism)
- ถ้ าขาดในผู้ใหญ่ จะทาให้ มีอาการเหนื่อยง่าย นา้ หนักเพิ่มขึ้น ทนความหนาวไม่ได้ กล้ ามเนื้ออ่อน
แรง ผมและผิวหนังแห้ ง หัวใจโต ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย มีอาการซึม เฉื่อยชา และความจา
เสื่อม กลุ่มอาการเช่นนี้เรียกว่า มิกซีดีมา (myxedema)
- ถ้ าขาดธาตุไอโอดีน จะทาให้ เกิดเป็ นโรคคอพอก (simple goiter) ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้ าง
ไทรอกซินได้ จะมีอาการเหมือนมิกซีดีมาแต่มีลักษณะคอโตด้ วย เนื่องจากเมื่อต่อมใต้ สมองส่วน
หน้ าหลั่ง TSH มากระตุ้นต่อมไทรอยด์มากเกินไปจะทาให้ ต่อมไทรอยด์ขยายผิดปกติ
- โรคคอพอกอีก ชนิด หนึ่งคือ โรคคอพอกเป็ นพิษ (toxic goiter) เนื่อ งจากต่ อ มไทรอยด์ ถูก
กระตุ้นให้ สร้ างฮอร์โมนมากเกินไป ผู้ท่ีเป็ นโรคนี้คอจะไม่โตมากแต่บางคนอาจมีอาการตาโปน
สาเหตุเนื่องจากความผิดปกติบางอย่างในร่ างกาย เป็ นเหตุ ให้ ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้ ทางาน
หนักตลอดเวลา

สามารถกระตุ้นเมตามอร์ฟอซิสของสัตว์สะเทินนา้ สะเทินบกได้
(ถ้ าตัดต่อมไทรอยด์ของสัตว์กลุ่มนี้ออก ลูกอ๊อดจะไม่เกิดเมตามอร์ฟอซิสไปเป็ นตัวเต็มวัย)

สร้ างจากกลุ่มเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์ (parafollicular cell) หรือ เซลล์ซี (C-Cell)

Calcitonin
หน้ าที่ : กระตุ้นการสะสมแคลเซียมที่ก ระดูก ลดการดูดกลับแคลเซียมที่ไต และลดการดู ด ซึม
แคลเซียมที่ลาไส้เล็ก

7. ต่อมพาราไทรอยด์

ฮอร์โมนที่สร้ าง หน้ าที่


➢ ควบคุมสมดุลของแคลเซียมในเลือดให้ คงที่ โดยมีผลสาคัญต่ออวัยวะ 3 แห่ง คือ ...
Parathormone - ผลต่อกระดูกช่วยเพิ่มอัตราการสลายแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่กระดูก
หรือ Parathyroid hormone - ผลต่อไตช่วยเพิ่มการดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไต แต่กระตุ้นการขับฟอสเฟตออกทางปัสสาวะ
- ผลต่อทางเดินอาหารช่วยเร่งอัตราการดูดซึมของแคลเซียมเข้ าสู่ลาไส้เล็ก
➢ ถ้ าสร้ างพาราทอร์โมนได้ น้อยกว่าปกติ ทาให้ การดูดกลับแคลเซียมที่ท่อหน่วยไตและการสลายแคลเซียมจากกระดูกน้ อยลง ระดับแคลเซียม
ในเลือดต่า ทาให้ กล้ ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก การบีบตัวของหัวใจอ่อนลง อาจทาให้ เสียชีวิตได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 235
8. อวัยวะเพศ

➢ ต่อมที่อวัยวะเพศ ได้ แก่ อัณฑะ (testis) และรังไข่ (ovary)

เพศชาย
เซลล์เลย์ดิกจะได้ รับการกระตุ้นโดย LH จากต่อมใต้ สมองส่วนหน้ าให้ สร้ างฮอร์โมนเพศ
ชายเรียกว่า แอนโดรเจน (androgens) ประกอบด้ วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สาคัญที่สุด
Testosterone
คื อ เทสโทสเทอโรน มี ห น้ า ที่ ท าให้ เพศชายมี ค วามสามารถในการสื บ พั น ธุ์ แ ละ
มีลักษณะของการแตกเนื้อหนุ่ม เช่น มีลูกกระเดือกเห็นได้ ชัด มีขนตามบริเวณรักแร้
ขา และอวัยวะเพศ ไหล่กว้ าง สะโพกแคบ กล้ ามเนื้อเจริญเติบโตเป็ นมัด เป็ นต้ น

เพศหญิง

มีบทบาทสาคัญในการทาให้ เกิดลักษณะของเพศหญิง เช่น แตกเนื้อสาว คือ มีเสียงเล็ก


Estrogen สะโพกผาย และเต้ านมมีขนาดโตขึ้น มีขนขึ้นตามบริเวณรักแร้ และอวัยวะเพศ เป็ นต้ น

สร้ า งจากคอร์ ปั ส ลู เ ทีย ม เพื่ อ ช่ ว ยกระตุ้ น การเจริ ญ ของเยื่ อ บุ ช้ัน ในของผนั งมดลูก
Progesterone ให้ หนาขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ และมีส่วนกระตุ้นต่อมน้านมให้ เ จริญ
แต่ไม่กระตุ้นการสร้ างนา้ นม

9. ไทมัส
➢ ไทมัส (thymus) เป็ นอวัยวะที่มีลักษณะเป็ นพู มีหน้ าที่สร้ างเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ ลิมโฟไซด์ชนิดที หรือเซลล์ที

ฮอร์โมนที่สร้าง หน้าที่
Thymosin เป็ นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้ องกับการสร้ างภูมิค้ ุมกันของร่ างกาย เกี่ยวข้ องกับการแบ่งเซลล์
และพัฒนาการของลิมโฟไซต์ชนิดที

10. กระเพาะอาหารและลาไส้ เล็ก

ฮอร์โมนที่สร้าง หน้าที่
Gastrin สร้ างจากกระเพาะอาหาร มีหน้ าที่กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริก
Secretin สร้ างจากบริเวณลาไส้ เล็กส่วนดูโอดินัม กระตุ้นตับอ่อนให้ หลั่ง NaHCO3
Cholecystokinin สร้ างจากดูโอดินัม กระตุ้นการบีบตัวของถุงนา้ ดีและตับอ่อนให้ หลั่งเอนไซม์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 236
20.3 การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้ วยฮอร์โมน
➢ ร่างกายมีระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ ท่อ โดยระบบควบคุมอาจเป็ นปริมาณของฮอร์โมนเอง หรือระดับ
สารเคมีอ่นื ๆ ในเลือด การหลั่งฮอร์โมนยังถูกควบคุมโดยวิธกี ารการควบคุมแบบป้ อนกลับ (feedback control)

การการควบคุมแบบป้ อนกลับ (feedback control)

ฮอร์ โ มนที่ ห ลั่ ง ออกมาจะมี ผ ลไปยั บ ยั้ ง อวั ย วะที่ ห ลั่ ง ฮอร์ โ มนนั้ น เช่ น
เมื่อระดับ Ca2+ ในเลือดของร่างกายลดลงกว่าปกติ ต่อมพาราไทรอยด์จะหลั่ง
การควบคุมแบบป้ อนกลับยับยั้ง พาราทอร์โมนเข้ าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ท่เี ซลล์เป้ าหมาย โดย Ca2+ จะถูก
(negative feedback) สลายออกมาจากกระดูกเพิ่มขึ้นจนถึงระดับปกติ เมื่อระดับ Ca2+ อยู่ในเกณฑ์
ปกติ ก็จะไปควบคุมต่อมพาราไทรอยด์ให้ ยับยั้งการหลั่งพาราทอร์โมน เป็ นต้ น

ฮอร์โมนบางชนิดจะไปมีผลกระตุ้นการทางานของต่อมไร้ ท่อ เช่น ขณะคลอด


ศีรษะของทารกจะขยายปากมดลูกให้ ก ว้ า งออก หน่ ว ยรับ ความรู้สึก บริเวณ
ปากมดลูกจะส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้ สมองส่วนหลังให้ หลั่งออกซิโทซิน
กระตุ้นการบีบตัวของกล้ ามเนื้อมดลูกให้ ดันทารกออกมา เพื่อขยายปากมดลูก
การควบคุมแบบป้ อนกลับกระตุ้น
ให้ กว้ างขึ้น ยิ่งปากมดลูกกว้ างขึ้นก็ย่ิงมีผลกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซินมากขึ้น
(positive feedback) จนกระทั่งทารกคลอดออกมาแล้ ว การหลั่งฮอร์โ มนออกซิโ ทซินจะหยุ ด ลง
เป็ นต้ น

20.4 ฟี โรโมน

➢ ฟี โรโมน (pheromone)

หมายถึง สารเคมีท่ผี ลิตจากต่อมมีท่อของสัตว์ท่สี ร้ างออกมาแล้ วไม่มีผลต่อร่างกายของสัตว์เอง แต่สามารถไปมี


ผลต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็ นชนิดเดียวกัน ทาให้ มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระและพฤติกรรมได้

ฟี โรโมนบางชนิด เมื่อสัตว์ได้ รับแล้ วจะกระตุ้นและแสดงพฤติกรรมออกมาทันที เช่น ผีเสื้อกลางคืนเพศเมีย


ปล่อยสารดึงดูดเพศผู้ให้ บินเข้ าหาเพื่อผสมพันธุ์

สัต ว์ เ ลี้ย งลูก ด้ ว ยน้า นมเพศเมี ย ที่อ ยู่ใ นระยะพร้ อ มที่จ ะผสมพันธุ์จ ะปล่ อยฟี โรโมนออกมา เมื่ อ เพศผู้ไ ด้ รับ
ฟี โรโมน ก็จะตามกลิ่นมาเพื่อที่จะผสมพันธุ์

สัตว์บางชนิดมีฟีโรโมนในการบอกอาณาเขตของตน เช่น สุนัข และเสือ จะปล่อยฟี โรโมนออกมาพร้ อมปัสสาวะ

ฟี โรโมนบางชนิด กระตุ้นให้ เกิดการเปลี่ย นแปลงทางสรีระของผู้รับ ในระยะยาว เช่ น ฟี โรโมนของหนู เพศผู้


สามารถกระตุ้นวงจรการสืบพันธุ์ของหนูเพศเมีย แม้ ว่าหนูเพศเมียจะไม่เห็นหรือไม่ได้ ยินเสียงหนูเพศผู้กต็ าม
และยังพบว่าหนูเพศเมียที่กาลังตั้งท้อง หากได้ รับกลิ่นของหนูเพศผู้แปลกหน้ าอาจแท้งได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 237
บทที่ 21 : การสืบพันธุแ์ ละการเจริญเติบโต
21.1 การสืบพันธุข์ องสัตว์

การสืบพันธุ ์ (Reproduction) : เป็ นการเพิ่มจานวนของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ สามารถดารงเผ่าพันธุต์ ่อไปได้

การสืบพันธุข์ องสิ่งมีชวี ิตเซลล์เดียว

แบ่งเป็ น
แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่ ง ตั ว เป็ น 2 ส่ ว น (Binary fission) ได้ ลั ก ษณะเหมื อ นกัน เช่ น
ยูกลีนา พารามีเซียม

โดยใช้ วิธีคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเป็ นการรวมกันของเซลล์สบื พันธุ์ท่มี ี


แบบอาศัยเพศ ลักษณะเหมือนกัน (Isogamete) โดยที่เซลล์สืบพันธุ์น้ันจะมาจับคู่กันและมี
การแลกเปลี่ ย นสารพั น ธุ ก รรมกัน เช่ น พารามี เ ซี ย ม โดยแต่ ล ะตั ว จะมี
นิวเคลียสคือ Micronucleus/Macronucleus

การสืบพันธุข์ องสัตว์

แบ่งเป็ น เช่น - Budding (การแตกหน่อ) >> ไฮดรา ฟองนา้


- Regeneration (การงอกใหม่) >> ดาวทะเล พลานาเรีย
แบบไม่อาศัยเพศ
- Parthenogenesis ไข่ท่ไี ม่ได้ รับการปฏิสนธิแล้ วกลายเป็ นตัวอ่อน
>> ผึ้ง มด ต่อ แตน

 Hermaphrodite
เป็ นการสืบพันธุ์ของสัตว์ท่มี ี 2 เพศอยู่ในตัวเดียวกัน เช่น พลานาเรีย
ไส้เดือนดิน ไฮดรา ต้ องผสมข้ ามตัว เนื่องจากไข่และอสุจิมีการเจริญ
แบบอาศัยเพศ ไม่พร้ อมกัน
 Fertilization
การสืบพันธุ์ของสัตว์แยกเพศโดยอาศัยการปฏิสนธิ
- ปฏิสนธิภายนอก เช่น ปลา กบ
- ปฏิสนธิภายใน  ออกลูกเป็ นตัว เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม
 ออกลูกเป็ นไข่ เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน

ภาพแสดงการปฏิสนธิภายนอกของกบ ภาพแสดงโครงสร้ างอวัยวะสืบพันธุข์ องแมลง


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 238
21.2 การสืบพันธุข์ องมนุษย์

การสืบพันธุข์ องมนุษย์

ชาย หญิง
สร้ าง Sperm (n) + สร้ าง Egg (n)

Zygote (2n)

Embryo (2n)

➢ ระบบสืบพันธุเ์ พศชาย

อวัยวะ หน้าที่
องคชาติ
ใช้ ในการร่วมเพศ เป็ นทางผ่านของอสุจิ
(penis)
ถุงหุ้มอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิของอัณฑะให้ เหมาะแก่การสร้ างอสุจิ
(scrotum sac) ประมาณ 34 องศาเซลเซียส
หลอดสร้ างตัวอสุจิ
ทาหน้ าที่สร้ างอสุจิไปเก็บที่ epididymis
(seminiferous tubule)
อินเตอร์สติเชียลเซลล์
สร้ างฮอร์โมน testosterone
(Interstitial cell หรือ Leydig cell)
หลอดเก็บอสุจิ
ทาหน้ าที่เก็บอสุจิ
(epididymis)
ท่อนาอสุจิ
ทางเดินของอสุจิ
(vas deferens)
ต่อมสร้ างนา้ เลี้ยงอสุจิ สร้ าง seminal fluid ประกอบด้ วยนา้ ตาลฟรักโตส
(seminal vesicle) โปรตีนพวก globulin และวิตามินซี
ต่อมลูกหมาก สร้ างสารมีฤทธิ์เป็ นด่างอ่อนทาลายกรดในปัสสาวะ
(prostate gland) และ สร้ างสารที่ทาให้ อสุจิแข็งแรงและว่องไว
ต่อมคาวเปอร์ อยู่ใต้ ต่อมลูกหมาก ทาหน้ าที่สร้ างสาร
(cowper’s gland) ไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ
เซอร์ทอร์ไล เซลล์ นาสารอาหารจากหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์สบื พันธุ์
(sertoli cell) เป็ นเซลล์คา้ จุนตัวอสุจิในหลอดสร้ างอสุจิ
ท่อปัสสาวะ ทางผ่านของอสุจิ และนา้ ปัสสาวะ
(urethra) (ถือว่าเป็ นอวัยวะทั้งในระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 239
➢ การสร้ างเซลล์สบื พันธุเ์ พศชาย

ภาพแสดงอวัยวะเพศชาย (ด้ านข้ าง)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 240
ภาพแสดงอวัยวะเพศชาย (ด้ านหน้ า) ภาพแสดงโครงสร้ างของอสุจิ
ที่มา ; Reece et al. (2011) ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ ระบบสืบพันธุเ์ พศหญิง

อวัยวะ หน้าที่
คริตอลิส
เป็ นตาแหน่งที่ไวต่อความรู้สกึ เนื่องจากมีปลายประสาทมาก
(clitoris)
แคมใหญ่
ป้ องกันสิง่ แปลกปลอมที่จะเข้ ามาในอวัยวะเพศหญิง
(labia majora)
แคมเล็ก
มีต่อมไขมันจานวนมาก เพื่อเป็ นสารหล่อลื่น
(labia minorra)
รังไข่
สร้ างไข่ และฮอร์โมน
(ovary)
มดลูก
เป็ นที่ฝงั ตัวของตัวอ่อนที่ได้ รับการปฏิสนธิ
(uterus)
ช่องคลอด
เป็ นทางผ่านของอสุจิ
(vagina)
ท่อนาไข่
ทางผ่านของไข่ และเป็ นทีป่ ฏิสนธิ
(oviduct)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 241
ภาพแสดงอวัยวะเพศหญิง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 242
ภาพแสดงรังไข่ของเพศหญิง
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

➢ การสร้ างเซลล์สบื พันธุเ์ พศหญิง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 243
ไข่จะพัฒนาพร้ อม ๆ กับ การเปลี่ยนแปลงของรังไข่ และ Follicle

Follicle เจริญเต็มที่ มีฮอร์โมน FSH จากต่อมใต้ สมอง

จะสร้ างฮอร์โมน Estrogen

ไปกระตุ้นต่อมใต้ สมองส่วนหน้ า

หลั่งฮอร์โมน LH กระตุ้นผนังของ Follicle Follicle


กลายเป็ น
แตกออก Corpus luteum
ทาให้

2 Oocyte ถูกปล่อยเข้ าสู่ท่อนาไข่ กระตุ้นการสร้ างฮอร์โมน
Progesterone
เรียกว่า การตกไข่ (Ovulation)
ผนังมดลูกหนาขึ้น

 การปฏิสนธิ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 244
ขั้นตอนที่อสุจิจะเข้ าไปผสมกับไข่

 การตั้งครรภ์

ผนังมดลูกประกอบด้ วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น


ชั้นในสุดเรียกว่า Endometrium ลักษณะคล้ ายฟองนา้ มีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยง

ระหว่างตั้งครรภ์ : จะพัฒนาร่วมกับเนื้อเยื่อของ Embryo แล้ วเจริญเป็ น “รก”


(รกจะแลกเปลี่ยน Gas และส่งอาหารให้ แก่ Embryo)

หากเซลล์ไข่ไม่ได้ รับการปฏิสนธิ : จะสลายหลุดออกกลายเป็ นประจาเดือน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 245
เมื่อนิวเคลียสของเซลล์ไข่และอสุจิรวมตัวกันที่ท่อนาไข่

Zygote
แบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจานวน
Embryo

ฝังตัวที่มดลูก Corpus luteum สร้ าง Progesterone


เจริญต่อไปเป็ น ทางานร่วมกับ
Fetus Estrogen
เจริญเป็ น
Baby ทาให้ เยื่อบุผนังมดลูกชั้นในหนาขึ้น
มีเส้นเลือดฝอยจานวนมาก

ภาพแสดงการฝังตัวของตัวอ่อนบริเวณมดลูก
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 246
 ประจาเดือน (Menstruation)

เป็ นเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก

มีฮอร์โมนสองชนิด คือ Estrogen และ Progesterone ควบคุมการสร้ างและหลุดลอกของ


เยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กบั การตกไข่จากรังไข่

แต่ ล ะรอบเดื อนจะมี ช่ ว งเวลาประมาณ 26-30 วั น ขึ้ น อยู่ กับแต่ ล ะบุ ค คล จึ ง ทาให้
ประจาเดือนเกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง

 ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้ องกับรอบเดือน

❖ ระดับฮอร์โมน FSH, LH และ Estrogen จะเพิ่มขึ้นจนสูงสุดในวันตกไข่ จากนั้นจึงค่อยๆ ลด


ปริมาณลง

❖ Progesterone จะเพิ่มขึ้นหลังจากมีการตกไข่แล้ ว ระหว่างตั้งครรภ์ Progesterone จะมีระดับสูง


กว่ า Estrogen จนกระทั่งถึงกาหนดคลอดระดับ Progesterone จะลดลง ในขณะที่ Estrogen จะ
ร่ วมกับ Oxytocin จากต่อมใต้ สมองกระตุ้นให้ กล้ ามเนื้อมดลูกหดตัวทาให้ เกิดการคลอดทารก
ออกมา

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 247
ภาพแสดงฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในแต่ละรอบเดือน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 248
21.3 การเจริญเติบโตของสัตว์

การเจริญเติบโตของสัตว์

➢ เกิดจาก ;
❖ การเพิ่มจานวนเซลล์ (Cell Multiplication)
❖ การขยายขนาดเซลล์ (Growth)
❖ การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไปทาหน้ าทีเ่ ฉพาะ (Cell Differentiation)
❖ การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (Morphogenesis)

➢ การวัดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต มีหลายวิธี เช่น


❖ การวัดมวลหรือนา้ หนัก ❖ การวัดนา้ หนักแห้ ง
❖ การวัดความสูง ❖ การนับจานวนเซลล์

➢ กราฟการเจริญเติบโต เป็ นรูปตัวเอส S-shape หรือ S-curve

ภาพแสดงตัวอย่างการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโตของสัตว์
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 249
➢ การเจริญเติบโตของสัตว์ : การเจริญเติบโตในระยะเอ็มบริโอ เริ่มจากอสุจิปฏิสนธิกบั ไข่กลายเป็ นไซโกต
(Zygote) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็ นระยะต่างๆ ดังนี้

ไซโกตแบ่งเซลล์แบบ mitosis ทาให้ เซลล์มีจานวนมาก


ระยะคลีเวจ (Cleavage)
ได้ ตัวอ่อนเรียกว่า Morula

NOTE : ชนิดของคลีเวจ (Cleavage type) แบ่งเป็ น 4 ชนิด


1. Holoblastic & equal พบในกลุ่มไข่แดงน้ อย nucleus มักแบ่งตลอดเซลล์ และได้ ขนาดเซลล์เท่าๆ กัน
(blastomeres) เช่น ไข่เม่นทะเล
2. Holoblastic & unequal พบในพวกไข่แดงปานกลาง เช่น สัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก เซลล์ข้างบนแบ่ง
เร็วกว่าได้ เซลล์ขนาดเล็กเรียก micromeres, เซลล์ข้างล่างแบ่งช้ าได้ เซลล์ใหญ่กว่า เรียก macromeres
หรือ yolk cells เพราะภายในมี yolk อยู่
3. Meroblastic & discoidal พบในกลุ่มสัตว์ท่มี ีไข่แดงมาก เช่น ฉลาม, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ปีก
มีการแบ่งเซลล์เพียงบางส่วนของเอ็มบริโอ เกิดบริเวณเล็กๆ มีลักษณะเป็ นแผ่นเอ็มบริโอ เรียกว่า
“Blastodise”
4. Meroblastic & Superficial พวกที่มีไข่แดงมาก พบใน Invertebrates และพวก insects ที่มี
centrolecithal egg ซึ่ง cytoplasm พอแบ่งได้ บ้าง nucleus แบ่งได้ หมด ผิวเป็ นเซลล์ช้นั เดียวหุ้ม
ไข่แดงไว้

ระยะบลาสทูเลชัน
เซลล์เรียงตัวเป็ นชั้นอยู่รอบนอก ภายในกลวง เรียกว่า Blastocoel
(Blastulation)

ระยะแกสทรูเลชัน เซลล์เคลื่อนทีเ่ ข้ าไปข้ างใน ม้ วนตัวทาให้ เกิดเป็ นเนื้อเยื่อ


(Gastrulation) เช่น Ectoderm Mesoderm และ Endoderm

ระยะออร์แกโนเจเนซิส เนื้อเยื่อมีการจัดเรียงตัวและจับกลุ่มกันเจริญเป็ นอวัยวะต่างๆ และ


(Organogenesis) ประสานงานกันเป็ นรูปร่างที่มีแบบแผนเฉพาะตัวตามชนิดของสิง่ มีชีวิต

 Ectoderm เจริญเป็ น สมองและระบบประสาท ผิวหนังและระบบปกคลุม


ร่างกาย
 Mesoderm เจริญเป็ น ระบบกล้ ามเนื้อ, ระบบสืบพันธุ,์ ระบบขับถ่าย,
ระบบหมุนเวียนเลือด, โครงกระดูก

 Endoderm เจริญเป็ น ระบบย่อยอาหาร, ระบบหายใจ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 250
➢ ชนิดของไข่

Isolecithal มีปริมาณไข่แดงน้ อยหรือไม่มีเลย เช่น ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม


Mesolecithal มีปริมาณไข่แดงปานกลางกระจายไปทั่วเซลล์ มีอยู่หนาแน่นที่ข้วั หนึ่ง อีกขั้วมีน้อย เช่น ไข่กบ
Telolecithal มีปริมาณไข่แดงมาก รวมกันอยู่มากที่ข้วั หนึ่งของเซลล์ เช่น ไข่ปลา ไข่ไก่ ไข่เป็ ด
Centrolecithal มีไข่อยู่ตรงกลางล้ อมรอบด้ วย Cytoplasm และเปลือก เช่น ไข่ของแมลงต่างๆ

➢ การเจริญเติบโตของกบ

Sperm + Egg

Zygote = ไข่กบที่ได้ รับการปฏิสนธิ

มีว้ นุ หุ้ม
ด้ านบน : สีเทา มี embryo มีการแบ่ง cell เรียกด้ าน “Animal pole”
แบ่งเซลล์ → Cleavage → Blastulation → Gastrulation →
Organogenesis → ลูกอ๊อด → Metamorphosis → Adult
ด้ านล่าง : สีเหลือง มีไข่แดง (Yolk) ซึ่งเป็ นอาหาร เรียกด้ าน “Vegital pole”

ภาพแสดงการเจริญเติบโตของกบ
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 251
➢ การเจริญเติบโตของไก่

Sperm + Egg

Zygote = ไข่ไก่ท่ไี ด้ รับการปฏิสนธิ

Embryo
มีปริมาณไข่แดงมาก (Telolecithal egg)
มีเปลือกหุ้ม ป้ องกันอันตราย แก้ปัญหาจากการสูญเสียนา้ ของ Cell ไข่
มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
ชั้นนอก = ถุงคอเรียน (Chorion) : แลกเปลี่ยนแก๊ส
ชั้นใน ถุงนา้ คร่า (Amnion)
(มีนา้ คร่า : ป้ องกันการกระทบกระเทือน ไม่ให้ ตวั อ่อนแห้ ง)
ถุงแอลแลนทอยส์ (Allantois)
(แลกเปลี่ยนแก๊สกับภายนอก เก็บของเสียพวกกรดยูริก)

ภาพแสดงโครงสร้ างของไข่ไก่
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 252
➢ การเจริญเติบโตของคน

Cellไข่ ปฏิสนธิกบั Cell อสุจิ (บริเวณท่อนาไข่ส่วนต้ น)



Zygote แบ่ง Cell ในระยะ Cleavage

ได้ ตัวอ่อน เรียกว่า Morula

พัฒนาเป็ น Blastula แล้ วฝังตัวที่ผนังมดลูกชั้นใน ในวันที่ 7

Embryo จะสร้ างถุง Chorion บางส่วนจะแทรกไปใน endometrium
(เนื้อเยื่อชั้น endometrium ของแม่เชื่อมถุงคอเรียนจากลูก)
กลายเป็ นรก

Embryo สร้ างถุงหุ้มตัวเอง (ถุงนา้ คร่า) = ภายในมีของเหลวเรียก นา้ คร่า (Amniotic fluid)
ป้ องกันการกระทบกระเทือน และ Embryo เคลื่อนตัวอย่างอิสระ

Embryo สร้ างสายสะดือเชื่อมกับรก

อายุ 2 สัปดาห์ มีการเจริญในระยะ Gastrula เกิดเนื้อเยื่อ 3 ชั้น

สัปดาห์ท่ี 3 เริ่มปรากฏร่องรอยของระบบอวัยวะ ได้ แก่ ระบบประสาท และหัวใจ

สัปดาห์ท่ี 4 Embryo จะเริ่มมีอวัยวะต่างๆ ชัดเจน

ครบ 8 สัปดาห์ มีอวัยวะครบ เรียก Fetus

อายุ 8-9 สัปดาห์ มีน้ วิ มือ นิ้วเท้า เจริญเห็นได้ เด่นชัด บอกเพศได้

เดือนที่ 4-6 Fetus เคลื่อนไหวมาก มีผม ขน ฟังเสียงภายนอกได้

เดือนที่ 7-9 Fetus โตมากขึ้น มีระบบประสาทและเจริญดีมาก

หลังจากแม่ต้งั ครรภ์ได้ 280 วัน (กาหนดคลอด)
หัวของทารกออกมาก่อน หลังจากนั้น 1 นาที ทารกเริ่มหายใจและตามด้ วยเสียงร้ อง

ภาพแสดงตัวอ่อนของคน
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 253
❖ หากช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือนแรก ได้ รับสิ่งแปลกปลอมอาจทาให้ ทารกผิดปกติได้ เช่น
ยากล่อมประสาทพวก Thalidomide : ทาให้ แขนและขาไม่เจริญ
แอลกอฮอล์ : ทาให้ อวัยวะผิดปกติและแท้งได้
หัดเยอรมัน : ทาให้ เกิดอันตรายต่อการเจริญของสมอง หัวใจ เลนส์ตา และหูส่วนใน
รังสีเอกซ์ : การเจริญผิดปกติ
❖ รก (Placenta) : มีหน้ าที่แลกเปลี่ยนแก๊สและรับอาหารจากแม่
❖ ถุงนา้ คร่า (Amnion) : เป็ นเยื่อบางใสบรรจุนา้ คร่า (Amniotic Fluid) ช่วยป้ องกันการกระทบกระเทือน
ควบคุมอุณหภูมิให้ คงที่และทาให้ เอ็มบริโอเคลื่อนตัวได้ สะดวก
❖ สายสะดือ (Umbilical Cord) : เชื่อมต่อระหว่างรกกับเอ็มบริโอ
❖ ครบ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจาเดือนครั้งสุดท้าย ฮอร์โมน Oxytocin จะกระตุ้นให้ มดลูกบีบตัวถี่ข้ นึ
จนถุงนา้ คร่าแตก ทารกจะคลอดออกมา จากนั้นจึงมีการหายใจเกิดขึ้นเป็ นครั้งแรกของชีวิต

➢ กระบวนการ Metamorphosis

 เป็ นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง

แบ่งออกเป็ น 4 รูปแบบ คือ…

1. Ametamorphosis
 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโต
 พบในสัตว์ช้นั สูงและแมลงบางชนิด เช่น แมลงสามง่าม, แมลงหางดีด

2. Gradual Metamorphosis
 มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้ อยๆ ในขณะเจริญเติบโต
 ตัวอ่อนมีอวัยวะบางอย่างไม่ครบ เรียกว่า “นิมพ์” (Nymph)
 พบในแมลงพวกตั๊กแตน แมลงสาบ จิ้งหรีด เรือด เหา ไรไก่ ปลวก จักจั่น เพลี้ย

3. Incomplete Metamorphosis
 มีการเปลี่ยนรูปร่างเด่นชัด มีตัวอ่อนในนา้ หายใจโดยเหงือกเรียก “ไนแอด” (Naiad)
 พบในแมลงปอ ชีปะขาว

4. Complete Metamorphosis
 มีการเปลี่ยนรูปร่างครบ 4 ขั้น (egg  lava  pupa  adult)
 พบในแมลงส่วนใหญ่ เช่น ผีเสื้อ ยุง แมลงวัน ด้ วง ผึ้ง ต่อ แตน มด ไหม ฯลฯ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 254
บทที่ 22 : พฤติกรรมสัตว์
22.1 กระบวนการเกิดพฤติกรรม
➢ พฤติกรรมของสัตว์ เป็ นการตอบสนองต่อสิ่งเร้ าทั้งภายในและภายนอกร่างกาย
➢ กลไกการเกิดพฤติกรรม แสดงได้ ดังนี้
สิ่งเร้ า  หน่วยรับความรู้สกึ  ระบบประสาทส่วนกลาง  หน่วยปฏิบัติงาน  พฤติกรรม

22.2 ประเภทของพฤติกรรม
➢ พฤติ กรรมที่มีมาแต่ กาเนิด (Inherited behavior) เป็ นพฤติกรรมแบบง่ ายๆ เพื่อตอบสนองต่ อสิ่งเร้ าอย่ างหนึ่ง
จะปรับปรุงให้ ดีข้ นึ และเหมาะสมขึ้นเมื่อสัตว์ได้ เรียนรู้มากขึ้น

พฤติกรรมที่มีมาแต่กาเนิด
 เป็ นการเคลื่อนที่เข้ าหาหรือหนีส่งิ เร้ า โดยมีทศิ ทางไม่แน่นอน
1. พฤติกรรมแบบไคนีซีส  พบในพวกโพรทิสต์ และสัตว์ท่ยี ังไม่มีระบบประสาทเจริญ
ตัวอย่างเช่น
(Kinesis)
- การเคลื่อนที่เข้ าหาฟองแก๊ส CO2 ของพารามีเซียม
- การเคลื่อนที่หนีแสงสว่างของอะมีบา

 เป็ นการเคลื่อนที่เข้ าหาหรือหนีส่งิ เร้ าโดยมีทิศทางแน่นอน เพราะมีหน่วย


2. พฤติกรรมแบบแทกซิส รับความรู้สกึ เจริญดี พบในโพรทิสต์และสัตว์บางชนิด
(Taxis) ตัวอย่างเช่น
- การเคลื่อนที่เข้ าหาแสงสว่างของยูกลีนา พลานาเรีย แมลงเม่า
- การเคลื่อนที่หนีแสงของหนอนแมลงวันและลูกนา้ ยุงลาย

 เป็ นการตอบสนองทันทีทนั ใดต่อสิ่งเร้ า โดยไม่ต้องรอคาสั่งจากสมอง และ


จะมีแบบแผนการตอบสนองที่แน่นอน
3. พฤติกรรมรีเฟล็กซ์
 พบในสัตว์ท่มี ีระบบประสาทซับซ้ อนขึ้น
(Reflex) ตัวอย่างเช่น
- การชักเท้าหนีเมื่อเหยียบตะปู - การหดมือหนีไฟ
- การกะพริบตาเมื่อมีฝ่ นุ - การไอ / จาม

 เป็ นพฤติ ก รรมที่ไ ม่ ผ่ า นการเรี ย นรู้ มี แ บบแผนที่แ น่ น อนในสิ่ง มี ชี วิ ต


แต่ละชนิด ซึ่งอาจเรียกว่า “สัญชาติญาณ” (Instinctive Behavior)
4. พฤติกรรมรีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง  ส่ว นใหญ่ เ ป็ นพฤติ ก รรมที่เ กี่ย วข้ อ งกับ การสืบ พันธุ์ การเลี้ย งดู ตั ว อ่อน
การสร้ างที่อยู่อาศัย การหาอาหาร การอพยพ
(Chain Of Reflex)
ตัวอย่างเช่น
- การสร้ างรังของนก - การชักใยของแมงมุม
- การฟักไข่และการเลี้ยงลูกอ่อนของไก่ - การดูดนมของเด็กทารก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 255
➢ พฤติกรรมที่ได้จากการเรี ยนรู ้ (Learned behavior) เป็ นพฤติกรรมที่ซับซ้ อน และสัตว์ต้องมีระบบประสาท ถ้ ามี
ระบบประสาทดีกย็ ่งิ มีโอกาสได้ เรียนรู้มากขึ้น ในพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนมจะมีพฤติกรรมแบบนี้ดีท่สี ดุ แบ่งเป็ น …

พฤติกรรมการเรียนรู้
 เป็ นพฤติ ก รรมที่เ กิด จากประสบการณ์ แ รกเกิด โดยมี พั น ธุ ก รรมเป็ น
ตัวกาหนด มีช่วงเวลาจากัด (ระยะวิกฤต) การเรียนรู้ทาให้ เกิดความผูกพัน
1. การฝังใจ
ระหว่างสัตว์และวัตถุ ทาให้ เกิดความฝังใจ
(Imprinting) ตัวอย่างเช่น
- การเดินตามวัตถุท่เี คลื่อนไหวเป็ นสิ่งแรกที่ลูกห่านมองเห็น
- การกลับไปวางไข่บริเวณทีต่ นเองเคยฟักออกจากไข่ของปลาแซลมอน

 เป็ นการเรี ย นรู้ ช นิ ด ง่ า ยที่ สุ ด โดยเป็ นการตอบสนองของสั ต ว์ ท่ีมี ต่ อ


ตัวกระตุ้น ซึ่งไม่มีความหมายต่อการดารงชีวิตของมัน และจะเลิกตอบสนองใน
2. ความเคยชิน ครั้งหลังๆ
(Habituation) ตัวอย่างเช่น
- ลูกนกเลิกกลัวนกตัวอื่นที่บินผ่าน
- นกเลิกกลัวหุ่นไล่กา

 เป็ นการนาสิ่งกระตุ้นชนิด หนึ่งเข้ า ไปแทนสิ่งกระตุ้นเดิ ม และชัก นาให้


3. การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ตอบสนองเหมือนกันขึ้น โดยมีส่งิ กระตุ้นเป็ นสิ่งเร้ าแท้ กับสิ่งเร้ าไม่แท้ ซึ่งสัตว์
สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่แท้เหมือนกับสิ่งเร้าแท้
(Conditioned reflex)
ตัวอย่างเช่น
- การให้ อาหารสุนัขพร้ อมสั่นกระดิ่ง ต่อมาเมื่อสั่นกระดิ่งสุนัขจะนา้ ลายไหล
- การฝึ กสัตว์เพื่อแสดงละคร โดยมีการให้ อาหารพร้ อมกับการใช้ คาสั่ง

 สัตว์ตอบสนองต่อสิ่งเร้ าที่เป็ นประโยชน์อกี ครั้ง และจะไม่ตอบสนองต่อสิ่ง


เร้ าที่ไม่ดี พบว่าในสัตว์ท่มี ีระบบประสาทเจริญดี เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนมจะมี
การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกได้ รวดเร็วกว่าสัตว์ช้นั ต่า
4. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ตัวอย่างเช่น
(Trial and Error) - การฝึ กฝนเล่นตะกร้ อจนเกิดความชานาญ
- การให้ หนูเดินเขาวงกตหลายๆ ครั้ง จนครั้งหลังๆ หนูจะใช้ เวลาเร็วขึ้น

5. การเรียนรู้แบบใช้ เหตุผล  เป็ นพฤติกรรมที่สัตว์ร้ ูจักใช้ เหตุผลโดยมีการตอบโต้ อย่างถูกต้ องในครั้ง


แรกที่พบสถานการณ์น้นั อาจจะเอาประสบการณ์แบบอื่นมาช่วยแก้ไขปัญหาได้
(Insight learning หรือ
ตัวอย่างเช่น
Reasoning) - การใช้ ไม้ เขี่ยอาหารบนเพดานมากินของลิงชิมแปนซี

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 256
ตารางแสดงวิวฒ
ั นาการของพฤติกรรมในสิ่งมีชวี ิตที่สมั พันธ์กบั ระบบประสาท

ชนิดของสิง่ มีชีวิต พฤติกรรมส่วนใหญ่ ระบบประสาท


สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว - แทกซีส - ไม่มีระบบประสาท
- ไคเนซีส
- รีเฟล็กซ์
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง - พฤติกรรมที่มีมาแต่กาเนิด - ไม่มีสมองแท้จริง
- รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง - ระบบประสาทไม่ซับซ้ อน
มีปมประสาท
สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่า - การเรียนรู้แบบง่าย - สมองส่วนหน้ ายังไม่พัฒนา
เมื่อเทียบกับสมองส่วนกลาง
สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม - การเรียนรู้ท่ซี ับซ้ อน - สมองส่วนหน้ าเจริญดี
- การใช้ เหตุผล - สมองส่วนกลางลดขนาดลง
คน - การใช้ เหตุผลที่ซับซ้ อน - สมองส่วนหน้ าเจริญดี

ภาพแสดงระดับของพฤติกรรมที่พบในสัตว์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 257
22.3 การสือ่ สารของสัตว์

การสื่อสารของสัตว์

มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกสปี ชีส์ บอกเพศ ตาแหน่ง ประกาศเขตแดน เตือนภัย


การสื่อสารโดยใช้ เสียง หรือข่มขู่ บอกความรู้สกึ ปลอบประโลม และเกี้ยวพาราสี

คือ ฟี โรโมน (Pheromone) แบ่งตามลักษณะการทางานได้ ดังนี้


1) ฟี โรโมนที่ทาให้ เกิดพฤติกรรมทันที (releaser pheromone) เช่น กลิ่นสาบ
ทางเพศของผีเสื้อไหมเพศเมีย ที่ปล่อยออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจของ
เพศผู้
การสื่อสารด้ วยสารเคมี
2) ฟี โรโมนที่ไม่เกิดพฤติกรรมทันที (primer pheromone) จะไปกระตุ้นให้
ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และเกิดพฤติกรรมในเวลาต่อมา
เช่น กลิ่นสาบทางเพศของหนูตัวผู้ ชักนาให้ หนูตัวเมียเป็ นสัดและพร้ อมที่
จะรับการผสมพันธุ์

เช่น การใช้ “ภาษาเต้ นระบา” โดยผึ้งงานมีท่าเต้ นที่บอกตาแหน่งอาหารและ


การสื่อสารโดยท่าทาง ระยะทางได้

การสื่อสารโดยการสัมผัส เช่น การที่แม่กอดลูก หรือสุนัขเลียปากกัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 258
บทที่ 23 : ความหลากหลายทางชีวภาพ
23.1 ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) แบ่งออกเป็ น

1) ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity)

2) ความหลากหลายของสปี ชีส ์ (species diversity)

3) ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity)

23.2 การศึกษาความหลากหลายของสิง่ มีชีวิต

23.2.1 การจัดหมวดหมู่ของสิง่ มีชีวิต

การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตอาศัยความรู้ท่บี ูรณาการแล้ วมาสร้ างกฎเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ข้ นึ มาที่เรียกว่า


อนุกรมวิธาน (taxonomy หรือ systematics)

การจาแนกประเภท (classification) : เป็ นส่วนหนึ่งของอนุ กรมวิธาน โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์


ที่ใกล้ ชิดกันทางสายวิวัฒนาการและความคล้ ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ซึ่งมีลาดับขั้นการจัดหมวดหมู่
จากหมวดหมู่ใหญ่แล้ วแบ่งเป็ นหมวดหมู่ย่อยๆ อีกหลายระดับ เริ่มจาก...
อาณาจักร (Kingdom)  ไฟลัม (Phylum)  คลาส (Class)  ออร์เดอร์ (Order)
 แฟมิลี (Family)  จี นสั (Genus)  สปี ชีส ์ (Species)

ในแต่ละระดับขั้นอาจมีการแบ่งขั้นย่อยๆ แทรกอยู่ โดยขั้นย่อยที่แทรกอยู่ใช้ คาว่า ซับ (Sub) เติมหน้ าชื่อ


นั้น เช่ น ซับคลาส (Subclass) ซึ่งเป็ นขั้นที่มีระดับต่ากว่าคลาสแต่สูงกว่าออร์เดอร์ หรือใช้ คาว่า ซูเปอร์
(Super) เติมหน้ าชื่อนั้น เช่น ซูเปอร์ออร์เดอร์ (Superorder) ซึ่งมีระดับสูงกว่าออร์เดอร์แต่ต่ากว่าซับคลาส
ของสิ่งมีชีวิต

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 259
23.2.2 ชื่อของสิง่ มีชีวิต

นักชีววิทยาได้ มีการกาหนดเกณฑ์ในการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตเป็ นชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) เพื่อใช้ ใน


การอ้ างอิงให้ เป็ นระบบเดียวกัน โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละสปี ชีสจ์ ะมีช่ อื วิทยาศาสตร์เพียงชื่อเดียว

 คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ ชาวสวีเดน เป็ นผู้ท่ไี ด้ รับการยกย่องว่าเป็ น


บิดาแห่ งอนุ กรมวิธาน และเป็ นผู้จัดระบบการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตระดับสปี ชีส์เป็ นการตั้งชื่อ
แบบทวินาม (binomial nomenclature) การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ระบบนี้จะประกอบด้ วยชื่อสองส่วน คือ
ส่วนแรกเป็ นชื่อสกุลหรือชื่อจีนัส (generic name) และชื่อส่วนที่สองเป็ นชื่อที่ระบุสปี ชีส์ (specific epithet)
ใช้ คาภาษาละตินเสมอ
ตัวอย่าง เช่น
Oryza sativa Linn. (ข้ าว คาว่า Linn. ย่อมาจาก Linnaeus ซึ่งเป็ นผู้ต้งั ชื่อ)
Pangasianodon gigas (ปลาบึก คาว่า gigas หมายถึง ใหญ่ท่สี ดุ )
Michelia alba (ดอกจาปี คาว่า alba หมายถึง สีขาว)

โดยการสร้ างเครื่องมือสาหรับตรวจหาและระบุชนิดหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
23.2.3 การระบุชนิด เครื่องมือหนึ่งที่ใช้ ในการระบุชนิดหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตคือ ไดโคโตมัสคีย ์
(dichotomous key)

ภาพแสดงตัวอย่างการระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตโดยใช้ ไดโคโตมัสคีย์
ที่มา ; https://www.studyblue.com/notes/note/n/ch-10-classification-of-microorganisms-exam-2/deck/13905850

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 260
นักธรณีวิทยา (geologist) และนักบรรพชีวิน (paleontologist) ได้ พยายามสร้ างตารางเวลาเพื่อบันทึกลาดับ
เหตุการณ์กาเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในช่ วงเวลาที่ผ่านมา โดยใช้ หลักฐานของซากดึกดาบรรพ์ (fossil) ที่สามารถ
คานวณอายุได้ ดังแสดงในตารางธรณีกาล (geologic time scale) ดังนี้

มหายุค สมัย เวลา


ยุค (Period) เหตุการณ์สาคัญของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้ น
(Era) (Epoch) (ล้านปี )
ควอเทอนารี ยุคปัจจุบัน 0.01 มนุษย์ปัจจุบัน
(Quaternary) ไพลสโตซีน 1.8 เริ่มปรากฏมนุษย์
(Cenozoic)

พลิโอซีน 5 เริ่มปรากฏบรรพบุรุษของมนุษย์
ซีโนโซอิก

เทอเทียรี ไมโอซีน 23 การแพร่กระจายอย่างต่อเนื่องของสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนมและพืชดอก


(Tertiary) โอลิโกซีน 35 กาเนิดของสัตว์พวกไพรเมตรวมทั้งลิงไม่มีหาง
เอโอซีน 57 พืชดอกมีจานวนเพิ่มมากขึ้นจนเป็ นพืชกลุ่มเด่น
เพเลโอซีน 65 มีการแพร่กระจายของสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม นก และแมลงที่ช่วยถ่ายเรณู
เริ่มพบพืชดอก สิ่งมีชวี ิตหลายชนิด รวมทั้งไดโนเสาร์มีการสูญพันธุ์จานวนมาก
(Mesozoic)

ครีเทเซียส (Cretaceous) 144


มีโซโซอิก

ในช่วงปลายยุคนี้
จูแรสซิก (Jurassic) 206 พบพืชเมล็ดเปลือยและไดโนเสาร์จานวนมากและเป็ นสิ่งมีชีวิตกลุ่มเด่นในยุคนี้
ไทรแอสซิก (Triassic) 245 พบพืชเมล็ดเปลือยและการแพร่กระจายของไดโนเสาร์
มีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งในทะเล และบนพื้นดินจานวนมาก
เพอร์เมียน (Permian) 290 มีการแพร่กระจายของสัตว์เลื้อยคลาน เริ่มพบสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม และ
เริ่มพบแมลงที่มีในยุคปัจจุบัน
พบพืชมีท่อลาเลียงจานวนมาก เริ่มพบพืชมีเมล็ด กาเนิดสัตว์เลื้อยคลานและ
พาลีโอโซอิก
(Paleozoic)

คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) 363


พบสัตว์สะเทินนา้ สะเทินบกจานวนมาก
ดีโวเนียน (Devonian) 409 พบปลากระดูกแข็งจานวนมาก เริ่มพบสัตว์สะเทินนา้ สะเทินบกและแมลง
พบปลาไม่มีขากรรไกรและพืชมีเนื้อเยื่อลาเลียงพวกแรกจานวนมาก เริ่มพบ
ซิลูเรียน (Silurian) 439
ปลามีขากรรไกร
ออร์โดวิเชียน (Ordovician) 510 พบสาหร่ายทะเลจานวนมาก เริ่มพบพืชและอาร์โทรโพดา
แคมเบรียน (Cambrian) 543 มีการแพร่กระจายของสัตว์เกิดใหม่หลังการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจานวนมาก
600 พบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสาหร่ายจานวนมาก
2,200 ซากดึกดาบรรพ์ของเซลล์ยูคาริโอต
(Precambrian)
พรีแคมเบรียน

2,700 ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น
3,500 ซากดึกดาบรรพ์ของเซลล์โพรคาริโอต
3,800 เริ่มพบร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
4,600 ช่วงเวลาโดยประมาณกาเนิดโลก

นักวิทยาศาสตร์ได้ ศึกษาเพิ่มเติมจากข้ อมูลการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุลโดยการเปรียบเทียบลาดับเบส


ลักษณะทางกายวิภาค ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ตลอดจนลักษณะทางนิเวศวิทยาและพฤติกรรม เพื่อหาร่ องรอยของ
วิวัฒนาการชาติพันธุห์ รือสายวิวัฒนาการ (phylogeny)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 261
23.3 กาเนิดของชีวติ

แนวคิดเกี่ยวกับการกาเนิดของสิ่งมีชีวิต

หลุย ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ได้ ทาการวิจัยและพิสจู น์ได้ ว่าสิ่งมีชีวิตกาเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น


นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

ได้ เสนอแนวคิดว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เองในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง


อเล็กซานดร์ อีวาโนวิช โอพาริน
ขั้นตอนเดียว แต่ต้องใช้ เวลานานมากโดยกระบวนการวิวัฒนาการทางเคมี
(Alexsandr Ivanovich Oparin)
อย่างช้ าๆ ซึ่งเป็ นการสังเคราะห์สารอินทรีย์จากโมเลกุลง่ายๆ กลายเป็ น
นักชีวเคมีชาวรัสเซีย
โมเลกุลที่ซับซ้ อนขึ้น

บรรยากาศของโลกในยุคแรกๆ มีการสร้ างแอมโมเนีย (NH3)


นา้ (H2O) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเทน (CH4)
จากแก๊สที่เกิดจากปฏิกริ ิยาของภูเขาไฟระเบิด

ต่อมาเกิดการรวมตัวกันของอนุภาคกลายเป็ นโมเลกุลของกรดอะมิโน
นา้ ตาล กรดไขมัน และกลีเซอรอล เกิดเป็ นโมเลกุลที่ซับซ้ อน
ของพอลิแซ็กคาไรด์ ลิพิด โปรตีน และกรดนิวคลิอกิ

เริ่มปรากฏเซลล์เริ่มแรกของสิ่งมีชีวิตในเวลาต่อมา

จากแนวคิดของโอพาริน :
นั ก วิ ท ยาศาสตร์ สัน นิ ษ ฐานว่ า กรดนิ ว คลิ อิก ชนิ ด แรกที่เ กิด คื อ RNA
เมื่ อ RNA มี วิ วั ฒ นาการขึ้ นมาแล้ ว การสั ง เคราะห์ DNA จึ ง เกิ ด ขึ้ น
ภายหลัง

ทาการทดลองเพือ่ พิสูจน์แนวคิดของโอพาริน :
โดยแสดงให้ เห็นว่าสารประกอบอย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอะมิโน
สแตนเลย์ มิลเลอร์ กรดอินทรีย์ ช นิด อื่นรวมทั้งสารอินทรีย์ เช่ น ยู เ รีย สามารถเกิด ขึ้นได้
(Stanley Miller) ภายในชุดการทดลองที่คาดว่าเป็ นสภาวะของโลกในระยะเวลานั้น คือไม่มี
แก๊สออกซิเจนแต่มีแก๊สมีเทน แอมโมเนีย นา้ และ แก๊สไฮโดรเจน โดยมี
แหล่งพลังงานจากไฟฟ้ า

ซิดนีย์ ฟอกซ์
แสดงให้ เ ห็นว่ า เซลล์เ ริ่ม แรกเกิดจากกรดอะมิ โนได้ รับ ความร้ อนและ
(Sidney Fox)
มีการรวมกลุ่มกัน
นักชีวเคมีชาวอเมริกนั และคณะ

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 262
23.3.1 กาเนิดของเซลล์โพรคาริโอต

นักวิทยาศาสตร์สนั นิษฐานว่าสิง่ มีชีวิตที่มีวิวฒ ั นาการมาจากเซลล์เริ่มแรก



น่าจะเป็ นสิง่ มีชีวิตทีเ่ ป็ นเซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic cell) ซึ่งมีโครงสร้ างอย่างง่าย
มีสารพันธุกรรมแขวนลอยอยู่ในไซโทพลาสซึมและมักไม่มีโครงสร้ างอื่นๆ
เซลล์ลักษณะนี้พบได้ ในแบคทีเรียเนื่องจากบรรยากาศของโลกในยุคนั้นมีแก๊สออกซิเจนเพียงเล็กน้ อย

ดังนั้น สิง่ มีชีวิตที่พบจึงน่าจะดารงชีวิตแบบไม่ใช้ แก๊สออกซิเจน ไม่สามารถสร้ างอาหารเองได้

มีวิวัฒนาการต่อมาเป็ นสิง่ มีชวี ิตที่ดารงชีวิตโดยการสร้ างอาหารเองได้ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี
เช่นเดียวกับอาร์เคียแบคทีเรียในปัจจุบัน

ต่อมาเริ่มมีวิวัฒนาการของแบคทีเรียที่สงั เคราะห์ด้วยแสงจากโมเลกุลของนา้ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
จึงทาให้ ปริมาณของแก๊สออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และ
เป็ นปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดเป็ นสิง่ มีชีวิตกลุ่มเซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic cell)

23.3.2 กาเนิดของเซลล์ยูคาริโอต

เกิดจากการเจริญของเยื่อหุ้มเซลล์เข้ าไปในเซลล์พวกโพรคาริโอตที่ล้อมรอบบริเวณที่มีสารพันธุกรรมอยู่

แล้ วมีการพัฒนาเป็ นนิวเคลียสเกิดขึ้น

ทาให้ ได้ เซลล์ยูคาริโอตและมีเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม

 ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์
เกิดจากเซลล์โพรคาริโอตขนาดเล็กเข้ าไปอาศัยอยู่ภายในเซลล์โพรคาริโอตขนาดใหญ่

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 263
23.4 อาณาจักรของสิง่ มีชีวิต

ระบบโดเมน (domain) : เป็ นการแบ่งสิ่งมีชีวิต โดยสามารถแบ่งออกเป็ น 3 โดเมน (ใช้ DNA จาแนก)

Archea (อาร์เคีย)
: Bacteria ที่ชอบอุณหภูมิสงู , กรดจัด, เค็มจัด และสร้ างมีเทนได้
Bacteria (แบคทีเรีย) ประกอบด้ วย
Microplasma (ไมโครพลาสมา)
Cyanobacteria (ไซยาโนแบคทีเรีย)
Agrobacteria (อะโกรแบคทีเรีย)
Enterobacteria (เอนเทอโรแบคทีเรีย)
Eukarya (ยูคาร์ยา) ประกอบด้ วย
Protist ; Protozoa (โปรทิสต์)
Algae (สาหร่าย)
Fungi (ฟังไจ ได้ แก่ เห็ด รา)
Plant (พืช)
Animal (สัตว์)

ภาพแสดงการจาแนกสิ่งมีชวี ิตในระบบโดเมน (domain)


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 264
23.4.1 อาณาจักรมอเนอรา

 ลักษณะรูปร่างและการดารงชีวิตของแบคทีเรีย

- แบคทีเรียเป็ นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีขนาดเล็กประมาณ 1-5 ไมโครเมตร


- ผนังเซลล์เป็ นสารประกอบเพปทิโดไกลแคน
- ภายในเซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรมและไม่มีโครงสร้ างอื่น เช่น กอลจิบอดี ไมโทคอนเดรีย เป็ นต้ น
- แบคทีเรียที่พบส่วนใหญ่มีเซลล์เดียวหรืออาจอยู่รวมกันเป็ นกลุ่มหรือเป็ นสาย
- มีหลายรูปแบบ เช่น แบคทีเรียทรงกลม หรือค็อกคัส (cocus) แบคทีเรียรูปแท่ง (bacillus) และแบคทีเรีย
รูปเกลียว (spirillum)

 ความหลากหลายของแบคทีเรีย
เป็ นแบคที เ รี ย ที่ ผ นั ง เซลล์ ไ ม่ มี ส ารเพปทิ โ ดไกลแคน
1) ซับคิงดอมอาร์เคียแบคทีเรีย ดารงชีวิ ต ได้ ใ นบริเ วณน้า พุร้อ น ในทะเลที่มี น้า เค็ม จั ด
(Archeabacteria) ในบริเวณที่มีความเป็ นกรดสูง และในบริเวณทะเลลึก

Crenarchaeota : ชอบอุณหภูมิสงู (ร้ อนจัด) ชอบกรดสูง

Euryarchaeota : ชอบเค็มจัด และสร้ างแก๊สมีเทนได้

2) ซับคิงดอมยูแบคทีเรีย
(Eubacteria)

2.1 กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย
(Proteobacteria)

2.2 กลุ่มคลาไมเดีย เป็ นแบคทีเรียแกรมลบ


(Chlamydias) ย้ อมติดสีแดงของ safranin

2.3 กลุ่มสไปโรคีท
(Spirochetes)

2.4 แบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมบวก


(Gram Positive Bact.) ย้ อมติดสีม่วงของ Crystalviolet

2.5 ไซยาโนแบคทีเรีย เรียกว่า


(Cyanobacteria) “สาหร่ายสีเขียวแกมนา้ เงิน”

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 265
ซับคิงดอมยูแบคทีเรีย
(Eubacteria)
- เป็ นยูแบคทีเรียแกรมลบที่พบมากที่สดุ และมีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่หลากหลาย
- บางกลุ่มสามารถสร้ างอาหารเองได้ คล้ ายพืช โดยใช้ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และให้ ซัลเฟอร์
กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย
ในกระบวนการสังเคราะห์สารเคมี เช่น เพอเพิลซัลเฟอร์แบคทีเรีย (purple sulfur bacteria)
(Proteobacteria)
- บางกลุ่มมีบทบาทช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้ างเป็ นสารประกอบไนโตรเจนในดิน
ซึ่งเป็ นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น Rhizobium sp. ในพืชวงศ์ถ่วั เป็ นต้ น

กลุ่มคลาไมเดีย เป็ นยูแบคทีเรียแกรมลบที่เป็ นปรสิตในเซลล์สตั ว์ และทาให้ เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น


(Chlamydias) โรคโกโนเรียหรือหนองใน เป็ นต้ น

กลุ่มสไปโรคีท เป็ นยูแบคทีเรียแกรมลบรูปร่างทรงเกลียว มีความยาวประมาณ 0.25 มิลลิเมตร มีท้ังดารงชีวิต


(Spirochetes) แบบอิสระ และบางสปี ชีสเ์ ป็ นสาเหตุของโรคซิฟิลิส โรคฉี่หนู เป็ นต้ น

เป็ นยูแบคทีเรียที่พบแพร่กระจายทั่วไปในดิน อากาศ


- บางสปี ชีสส์ ามารถผลิตกรดแลกติกได้ เช่น Lactobacillus sp. จึงนามาใช้ ในอุตสาหกรรม
อาหารหลายชนิด เช่น การทาเนย ผักดอง โยเกิร์ต เป็ นต้ น
- บางสปี ชีส์ เช่น Streptomyces sp. ทายาปฏิชีวนะ เช่น สเตร็ปโตมัยชิน เตตราไซคลิน
แบคทีเรียแกรมบวก - บางสปี ชีส์ เช่น Bacillus sp. มีการสร้ างเอนโดสปอร์ (endospore) เพื่อให้ ทนสภาพแวดล้ อมที่
(Gram Positive Bact.) ไม่เหมาะสมได้ ดี และบางชนิดเป็ นสาเหตุทาให้ เกิดโรคแอนแทรกซ์ เป็ นต้ น
- ไมโคพลาสมา (mycoplasma) เป็ นกลุ่มที่ไม่มีผนังเซลล์ มีเพียงเยื่อหุ้มเซลล์ท่ปี ระกอบด้ วย
ชั้นของไขมัน เป็ นเซลล์ท่ีมีขนาดเล็กสุดประมาณ 0.2-0.3 ไมโครเมตร สามารถเจริญและ
เพิ่มจานวนได้ นอกเซลล์โฮสต์ ส่วนใหญ่ไม่ก่ อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่บางสปี ชีส์
เป็ นสาเหตุให้ เกิดโรคปอดบวมทั้งในคนและในวัว

เป็ นยูแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ เนื่องจากมีสารสี เช่น คลอโรฟิ ลล์เอ แคโรทีนอยด์ และ


ไฟโคบิลินอยู่ภายในถุงแบนๆ ที่เยื่อหุ้มเซลล์
 จากหลักฐานซากดึกดาบรรพ์ทาให้ นักวิทยาศาสตร์คาดคะเนได้ ว่า ไซยาโนแบคทีเรียทาให้
ออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นในโลกยุคนั้น และก่อให้ เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หายใจ
ไซยาโนแบคทีเรีย โดยใช้ ออกซิเจนในปัจจุบัน
(Cyanobacteria)  ไซยาโนแบคทีเรียเป็ นผู้ผลิตที่สาคัญในระบบนิเวศ และบางชนิดสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจน
ในอากาศให้ เป็ นสารประกอบไนเตรตได้ ตัวอย่างเช่น แอนาบีนา (Anabaena sp.) นอสตอก
(Nostoc sp.) ออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria sp.) เป็ นต้ น

ภาพแสดง Cyanobacteria
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 266
23.4.2 อาณาจักรโพรทิสตา

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista) เป็ นสิง่ มีชีวติ ที่มีความหลากหลายมากที่สดุ

 ลักษณะรูปร่างและการดารงชีวิตของโพรทิสต์
- โพรทิสต์เป็ นยูคาริโอตกลุ่มแรกที่มีวิวัฒนาการมาจากเซลล์โพรคาริโอตเมื่อประมาณ 2 พันล้ านปี ท่ผี ่านมา
- โพรทิสต์พบได้ ท่วั ไปในบริเวณที่ช้ นื แฉะ แหล่งนา้ จืด และในมหาสมุทร
- มีการใช้ ออกซิเจนในกระบวนการเมตาบอลิซึม ยกเว้ นบางกลุ่มที่อยู่ในสภาพแวดล้ อมที่ไม่มีแก๊สออกซิเจน
- กระบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ ของโพรทิสต์ จะเกิดขึ้นภายในโครงสร้ างที่มีเยื่อหุ้ม
- โพรทิสต์บางชนิดมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
- การดารงชีวิตมีท้งั แบบอิสระหรืออาจอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (mutualism) หรืออาจดารงชีวิตแบบ
ภาวะปรสิต (parasitism) ซึ่งพวกที่ดารงชีวิตแบบภาวะปรสิตบางชนิดทาให้ เกิดโรคที่สาคัญ เช่น
โรคมาลาเรีย

ความหลากหลายของโพรทิสต์

1) ไดโพลโมนาดิดา (Diplomonadida) และพาราบาซาลา (Parabasala)

2) ยูกลีโนซัว (Euglenozoa) 3.1 ไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellate)

3.2 แอพิคอมเพลซา (Apicomplexa)


3) แอลวีโอลาตา (Alveolata)
3.3 ซิลิแอด (Ciliates)

สาหร่ายสีนา้ ตาล (Brown algae)


4) สตรามีโนไพลส์ (Stramenopiles)

ไดอะตอม (Diatoms)
5) สาหร่ายสีแดง (Rhodophyta)

6) สาหร่ายสีเขียว (Chlorophyta)

7) ไมซีโทซัว (Mycetozoa)

8) กลุ่มไรโซโพดา (Rhizopoda)
ภาพแสดงตัวอย่างโปรทิสต์ในกลุ่มยูกลีนา
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 267
Protista เป็ นเซลล์ยูคาริโอตที่มีแต่นิวเคลียสและไรโบโซม ยังไม่มีออร์แกเนลล์
อื่น ๆ เช่ น ไม่ มี ไ มโทคอนเดรี ย ร่ า งแหเอนโดพลาสมิ ก เรติ คิ ว ลั ม
กอลจิคอมเพล็กซ์ และเซนทริโอล
- ไดโพลโมแนด (diplomonads) มีแฟลเจลลาหลายเส้ น มีนิวเคลียส
ไดโพลโมนาดิดา (Diplomonadida) และ 2 อัน เช่น เกียร์เดีย (Giardia lambia) เป็ นปรสิตในลาไส้ของคน
พาราบาซาลา (Parabasala) - พาราบาซาลิ ด (pharabasalids) มี แ ฟลเจลลาเป็ นคู่ และผิ ว เยื่ อ
หุ้ มเซลล์ มี ลั ก ษณะเป็ นรอยหยั ก คล้ ายคลื่ น เช่ น ไตรโคนิ ม ฟา
(Trichonympha sp.) อาศัย อยู่ในลาไส้ ป ลวกจะดารงชีวิต แบบภาวะ
พึ่งพาโดยสร้ า งเอนไซม์ ย่ อ ยสลายเซลลูโ ลสในไม้ ใ ห้ กับ ปลวก และ
ไตรโคโมแนส (Trichomonas vaginalis) ซึ่งเป็ นโพรทิสต์ท่ีทาให้ เกิด
อาการติดเชื้อในช่องคลอด เป็ นต้ น

เป็ นโพรทิสต์กลุ่มที่เคลื่อนที่โดยใช้ แฟลเจลลัม เช่น


- ยูกลีนา (Euglena sp.) จัดเป็ นโพรทิสต์ลักษณะเซลล์เดียวที่มีสารสี
ยูกลีโนซัว คลอโรฟิ ลล์ และแคโรทีนอยด์จึงสามารถดารงชีวิตเป็ นผู้ผลิต เมื่อมี
(Euglenozoa) แสงและเมื่ อ ไม่ มี แ สงด ารงชี วิ ต เป็ นผู้ บ ริ โ ภค และมี อ ายสปอต
(eye spot) ในการตอบสนองต่อแสง
- ทริปพาโนโซมา (Trypanosoma sp.) เป็ นโพรทิสต์ท่ดี ารงชีวิตเป็ น
ปรสิตในเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลังทาให้ เกิดโรคเหงาหลับ

แอลวีโอลาตา
มีช่องว่างเล็กๆ ใต้ เยื่อหุ้มเซลล์ท่เี รียกว่า แอลวีโอไล (alveoli)
(Alveolata)

ไดโนแฟลเจลเลต (Dinoflagellate)

เป็ นโพรทิสต์เซลล์เดียวที่มีสารสีคลอโรฟิ ลล์และแคโรทีนอยด์ มีบทบาทเป็ นผู้ผลิตที่สาคัญในระบบนิเวศ เคลื่อนที่


โดยใช้ แฟลเจลลา 2 เส้ นในแนวขวางและแนวดิ่ง พบเป็ นจานวนมากบริเวณใกล้ ผิวน้า บางชนิดมีแผ่นเซลลูโลส
หลายๆ แผ่นประกอบกันคล้ ายเกราะ มีลวดลายสวยงาม
 โพรทิสต์กลุ่มนี้บางชนิดสะสมสารพิษในตัว เมื่ออยู่ในนา้ ทะเลมีสารอินทรีย์จากมลภาวะซึ่งเป็ นแหล่งอาหารของ
ไดโนแฟลเจลเลต ไดโนแฟลเจลเลตจึ งมีการเพิ่มจานวนอย่า งรวดเร็ว ทาให้ น้าทะเลมี สีแดง เกิดปรากฏการณ์
ขี้ปลาวาฬ (red tide) ทาให้ เพิ่มปริมาณสารพิษของโซ่อาหารในทะเล เป็ นอันตรายต่อสัตว์นา้ เป็ นจานวนมาก

แอพิคอมเพลซา (Apicomplexa)

เป็ นโพรทิสต์ท่ีมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดารงชีวิตเป็ นปรสิต มีโครงสร้ างสาหรับแทงผ่านเซลล์โฮสต์ ไม่มีโครงสร้ าง


ในการเคลื่อนที่ ยกเว้ นในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ตัวอย่าง พลาสโมเดียม (Plasmodium sp.) ทาให้ เกิดโรคมาลาเรีย
ในคนและสัตว์อ่นื ๆ โดยมียุงก้นปล่องเป็ นพาหะ

ซิลิแอด (Ciliates)
เป็ นโพรทิสต์ท่ใี ช้ ซิเลียในการเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้ อมที่มีนา้ หรือมีความชื้นสูง มีความหลากหลายสปี ชีส์
มากที่สดุ เช่น พารามีเซียม (Paramecium sp.) วอร์ติเซลลา (Vorticella sp.)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 268
เป็ นโพรทิสต์ท่ีมีก ระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจึ งเรียกโพรทิสต์
สตรามีโนไพลส์
กลุ่ ม นี้ ว่ า สาหร่ า ย (algae) มี ลั ก ษณะร่ ว มกั น คื อ เซลล์ สื บ พั น ธุ์
(Stramenopiles)
มีแฟลเจลลา 2 เส้น คือ เส้นที่มีขนและเส้นที่ไม่มีขน

สาหร่ายสีนา้ ตาล (Brown algae)


มี ส ารสีน้า ตาลที่เ รี ย กว่ า ฟิ วโคแซนทิน มากกว่ า คลอโรฟิ ลล์ แ ละแคโรที น อยด์ เช่ น สาหร่ า ยเคลป์ ( kelp)
อาจพบยาวถึง 60 เมตร สาหร่ า ยทุ่ นหรือ ซาร์กัสซัม (Sargassum sp.) ลามิ นาเรีย (Laminaria sp.) พาดิ นา
(Padina sp.) และฟิ วกัส (Fucus sp.) เป็ นต้ น

ไดอะตอม (Diatoms)
เป็ นสาหร่ายที่มีสารสีชนิดเดียวกับที่พบในสาหร่ายสีนา้ ตาล ทาให้ มีสเี หลือง หรือสีนา้ ตาลแกมเหลือง มีผนังเซลล์
ประกอบด้ วยซิลิกา ไดอะตอมพบมากทั้งในแหล่งน้าจืด และน้าเค็ม เป็ นแหล่งอาหารที่สาคัญของสิ่งมีชีวิตใน
ระบบนิเวศในนา้ มีการสะสมอาหารไว้ ในรูปของนา้ มัน ซากของไดอะตอมที่ตายทับถมกันนานๆ จะกลายเป็ นส่วน
ของพื้นดิ นใต้ แหล่ งน้า (Diatomaceous Earth) เป็ นแหล่ งรวมของแร่ ธาตุ และน้ามั น ซึ่งนามาใช้ ป ระโยชน์ใน
การทาไส้กรองและยาขัดต่างๆ

สาหร่ายสีแดง (Red algae) ; Rhodophyta

มี ส ารสีไ ฟโคอีรี ท ริ น (phycoerythrin) คลอโรฟิ ลล์ แ ละแคโรที น อยด์ แตกต่ า งจากสาหร่ า ยกลุ่ ม อื่น คื อ ไม่ มี ร ะยะที่ มี
แฟลเจลลา ส่วนใหญ่พบในทะเลหรือในแหล่งนา้ จืด ที่ร้ จู ักกันดีกค็ ือ จีฉ่ายหรือพอร์ไฟรา (Porphyra sp.) นามาทาเป็ นอาหาร
สาหร่ายผมนางหรือกราซิลาเรีย (Gracilaria sp.) ใช้ ผลิตวุ้น

สาหร่ายสีเขียว (Green algae) ; Chlorophyta

มี ลั ก ษณะคล้ า ยพื ช ทั้ง ในแง่ โ ครงสร้ า ง มี ผ นั ง เซลล์ แ ละส่ ว นประกอบของสารสีคื อ คลอโรฟิ ลล์ เ อ คลอโรฟิ ลล์ บี และ
แคโรทีนอยด์ เรียกกลุ่มนี้ว่า คลอโรไฟต์ (chlorophyte) ที่สาคัญได้ แก่ คลอเรลลา (Chlorella sp.) เป็ นสาหร่ายสีเขียวเซลล์
เดียวที่มีโปรตีนสูงจึงนิยมนามาผลิตเป็ นอาหารเสริม เทานา้ หรือสไปโรไจรา (Spirogyra sp.) อยู่รวมกันเป็ นกลุ่มพบบริเวณ
ผิว น้า ของแหล่ งน้า สะอาดที่ไ หลช้ า หรือ น้า นิ่ ง มี คลอโรพลาสต์ เ ป็ นแผ่ น แบนบิ ด เป็ นเกลีย วอยู่ ใ นเซลล์ สาหร่ า ยสีเ ขี ย ว
อีกกลุ่มหนึ่ง ได้ แก่ คาโรไฟต์ (charophyte) เชื่อว่ามีความสัมพันธ์ท่ใี กล้ ชิดกันทางวิวัฒนาการกับพืชในด้ านชีววิทยาของเซลล์
เช่น สาหร่ายไฟ (Chara sp.)

ไมซีโทซัว (Mycetozoa)

กลุ่มของราเมือก มี 2 กลุ่ม คือ ราเมือกชนิดพลาสโมเดียม (plasmodial slime molds) ซึ่งเป็ นเซลล์ท่มี ีหลายนิวเคลียส และ
ราเมือกชนิดเซลลูลาร์ (Cellular slime molds) เป็ นเซลล์ท่ีมีหนึ่งนิวเคลียสและอยู่ได้ อิสระ ราเมือกมีบทบาทเป็ นผู้สลาย
สารอินทรีย์ท่ีสาคัญในระบบนิเวศ ตัวอย่างได้ แก่ สเตโมนิทิส (Stemonitis sp.) ช่วยย่อยสลายขอนไม้ และใบไม้ ไฟซารัม
(Physarum sp.) ทาให้ เกิดโรคยืนต้ นตายในพืชหรือที่เรียกว่า โรคไฟซารัม เป็ นต้ น

กลุ่มไรโซโพดา (Rhizopoda) **(อาจจัดเป็ นอีก 1 ไฟลัม)

คาว่าไรโซโพดา หมายถึงคล้ ายเท้ า จึงจัดอะมีบาไว้ ในกลุ่มโพรทิสต์ท่ีมีการเคลื่อนที่หรือกินอาหารโดยการสร้ างเท้ าเทียม


อะมีบาอาศัยอยู่ได้ ท้ังในดิน แหล่งน้าจืดและแหล่งน้าเค็ม ส่วนใหญ่ดารงชีวิตแบบอิสระ แต่บางสปี ชีส์เป็ นปรสิตที่สาคัญ
เช่น เอนทามีบา (Entamoeba histolytica) เป็ นสาเหตุของการเกิดโรคบิดในคน เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 269
23.4.3 อาณาจักรพืช

จากหลั กฐานทางวิวั ฒนาการและการศึกษาเปรี ย บเทีย บล าดั บเบสของ DNA จากคลอโรพลาสต์ แ ละ


นิวเคลียสแล้ วพบว่า พืชและคาโรไฟต์มีความสัมพันธ์ใกล้ ชิดกันทางวิวัฒนาการในด้ านชีววิทยาของเซลล์
และทางด้ านสรีรวิทยาของการสังเคราะห์ด้วยแสง

การปรับตัวของพืชเพื่อดารงชีวิตบนพื้นดิน โดยมีวิธกี าร ดังนี้

- การปรับตัวด้านโครงสร้าง โดยมีโครงสร้ างของรากที่ทาหน้ าที่ยึดลาต้ นให้ ติดอยู่บนพื้นดินและสารอาหาร


ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช ลาต้ นทาหน้ าที่ชูก่งิ ก้านใบ และใบทาหน้ าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสง เป็ นต้ น

- การปรับตัวด้า นองค์ประกอบทางเคมี โดยพืช สามารถสังเคราะห์สารพวกลิก นิน คิว ทิน เพื่อ ให้ พืช มี
ความแข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้ อม และสารพวกคิวทินที่ปกคลุมผิว ของลาต้ นและใบเพื่อป้ องกัน
การสูญเสียน้า เป็ นต้ น นอกจากนี้ยังมีการสร้ างสารสปอโรพอลเลนิน (sporopollenin) เคลือบผิวสปอร์ เพื่อ
ป้ องกันการสูญเสียนา้ จึงทาให้ สปอร์ของพืชสามารถกระจายพันธุ์บนบกและอยู่รอดได้ มากขึ้น

- การปรับตัวด้า นการสื บพัน ธุ ์ พืช จะมี โ ครงสร้ า งที่ใ ช้ สร้ า งเซลล์สืบ พันธุ์ (gametangium) ประกอบด้ ว ย
เซลล์สบื พันธุ์ (gamete) และเนื้อเยื่อที่เป็ นหมัน (sterile jacket cells) ล้ อมรอบเซลล์สบื พันธุ์ เนื้อเยื่อนี้สามารถ
ป้ องกันอันตรายให้ แก่เซลล์ภายในและป้ องกันการสูญเสียนา้ ได้ และเซลล์สืบพันธุ์ยังมีการปรับตัวให้ ใช้ นา้ น้ อย
หรือไม่อาศัยนา้ เป็ นตัวกลางในการผสมพันธุ์

ลัก ษณะของพื ช พื ช จะมี ว งจรชี วิ ต แบบสลั บ (alternation of generation) นั่ น คื อ มี ร ะยะแกมี โ ทไฟต์
(gametophyte) ที่มีการสร้ างเซลล์สบื พันธุ์ สลับกับระยะสปอโรไฟต์ (sporophyte) ซึ่งมีการสร้ างสปอร์

ภาพแสดงวงจรชีวิตแบบสลับของพืช
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 270
ความหลากหลายของพืช

พืชไม่มีท่อลาเลียง พืชมีท่อลาเลียง

Hepatophyta พืชไร้ เมล็ด พืชมีเมล็ด

Anthocerophyta Lycophyta
Gymnosperm Angiosperm

Bryophyta Pterophyta
Anthophyta

Cycadophyta

Gnetophyta

Ginkgophyta

Coniferophyta

ภาพแสดงความหลากหลายของพืช
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 271
1) กลุ่มพืชไม่ มีท่อลำเลียง (nonvascular plant)

 เป็ นพืช บกพวกแรกที่ มีวิวฒ ั นาการเกิ ด ขึ้ น ในยุค ออร์ โดวิ เ ชี ยน เมื่ อประมาณ 475 ล้านปี ที่ ผ่านมา พื ช กลุ่ มนี้ มี ช่ วงระยะ
แกมีโทไฟต์ยาว แต่ช่วงระยะสปอโรไฟต์ส้ ันเจริ ญอยู่บนต้นแกมีโทไฟต์ ปั จจุบนั พืชที่ไม่มีท่อลาเลียงแบ่งออกได้เป็ น 3 ไฟลัม
โดยใช้โครงสร้างและรู ปร่ างเป็ นเกณฑ์

 พืช กลุ่ม นี้ ไม่มีท่อล าเลียง จะยึ ดเกาะกับ ดิ น ดู ด น้ าและสารอาหารโดยโครงสร้ างคล้า ยรากที่ เ รี ยกว่ า ไรซอยด์ (rhizoid)
มีก ารล าเลียงน้ าและสารอาหารด้วยการแพร่ ส่ วนที่ เ ป็ นแผ่นคล้ายใบมีช้ ันคิวทิ เคิลบางมาปกคลุม การปฏิ ส นธิ ต้องอาศัยน้ า
เป็ นตัวกลางให้สเปิ ร์มเคลื่อนที่ไปผสมกับเซลล์ไข่ภายในโครงสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของแกมีโทไฟต์ จากนั้นไซโกตจะเจริ ญ
เป็ นเอ็มบริ โอและสปอโรต์ต่อไป

 ประโยชน์ของกลุ่มพืชที่ไม่มีท่อลาเลียง เช่น ข้าวตอกฤๅษี หรื อสแฟกนัมมอส (Sphagnum sp.) เป็ นพืชที่ทนต่อการสู ญเสี ยน้ า
ได้ดีและเกษตรกรนิยมนามาใช้เป็ นวัสดุคลุมหน้าดินเพื่อรักษาสภาพความชื้นในดินและนามาใช้ในการเพาะปลูกพืช

ไฟลัม ลักษณะ
แกมี โ ทไฟต์ มีท้ัง ที่เ ป็ นต้ นที่มีส่ วนคล้ ายใบ และที่เ ป็ นแผ่ น บางๆ ซึ่ ง ภายในเซลล์จะมี
ไฟลัมเฮปาโทไฟตา
หยดน้ามันอยู่ด้วย ส่วนสปอโรไฟต์มีก้านชู อับสปอร์ท่ียาว อับสปอร์เมื่อแก่จะแตกออก
(Phylum Hepatophyta)
เพื่อปล่อยสปอร์กระจายพันธุ์ ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ ได้ แก่ ลิเวอร์เวิร์ท
แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็ นแผ่นมีรอยหยักที่ขอบ มักมีคลอโรพลาสต์เพียง 1 อันต่อเซลล์
ไฟลัมแอนโทซีโรไฟตา
และสปอโรไฟต์มีอับสปอร์ลักษณะเรียวยาว เมื่อแก่ปลายจะแตกออกเป็ น 2 แฉก เช่ น
(Phylum Anthocerophyta)
ฮอร์นเวิร์ท
แกมี โ ทไฟต์ มี ส่ ว นคล้ า ยต้ น และใบที่ เ รี ย งวนรอบแกนกลาง ส่ ว นสปอโรไฟต์ มีก้า นชู
ไฟลัมไบรโอไฟตา
อับสปอร์ อับสปอร์มีโครงสร้ างช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิ ดเพื่อกระจายสปอร์
(Phylum Bryophyta)
เช่น มอส

ภาพแสดงกลุ่มพืชที่ไม่มีท่อลาเลียง
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 272
2) กลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียง

แบ่งเป็ น Phylum Lycophyta


2.1 กลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียง
ที่ไร้เมล็ด Phylum Pterophyta

Gymnosperm
2.2 กลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียง
และมีเมล็ด
angiosperm

2.1 กลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียงที่ไร้เมล็ด

จากหลักฐานซากดึกดาบรรพ์ของพืช คือ คุกโซเนีย (Cooksonia sp.) มีอายุประมาณ 400 ล้ านปี ในช่วงต้ นยุคซิลูเรียน
สันนิษฐานว่าเป็ นกลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียงกลุ่มแรก และมีวิวัฒนาการกลายเป็ นกลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียงอื่นๆ

กลุ่มพืชที่มีท่อลาเลียงที่ไร้ เมล็ดประกอบด้ วย เฟิ นแท้ และกลุ่มใกล้ เคียงเฟิ น พืชกลุ่มนี้มีราก ลาต้ น และใบที่แท้ จริง
แกมีโทไฟต์และสปอโรไฟต์เจริญแยกกันหรืออยู่รวมกันในช่วงเวลาสั้นๆ โดยแกมีโทไฟต์จะมีช่วงชีวิตสั้นกว่าสปอโรไฟต์

 ประโยชน์ของกลุ่มพืชมีท่อลาเลียงที่ไร้เมล็ด
- นิยมนามาใช้ เป็ นอาหาร เช่น ผักแว่น กูดนา้ กูดแดง กูดเกี๊ยะ
- เฟิ นบางชนิดนามาเป็ นสมุนไพร เช่น ว่านลูกไก่ทอง : ใช้ ในการดูดซับห้ ามเลือด, กูดแดง : ใช้ เป็ นยาแก้โรคผิวหนัง
- นามาใช้ ทาเครื่องจักสาน เช่น ย่านลิเภา
- แหนแดงในนาข้ าวเพื่อเพิ่มปริมาณปุ๋ ยไนโตรเจนให้ กบั ต้ นข้ าว
- เฟิ นหลายชนิด ที่นิย มนามาปลูกเป็ นไม้ ป ระดั บ ไม้ ตั ด ใบ เช่ น เฟิ นใบมะขาม เฟิ นนาคราช ข้ า หลวงหลังลาย และ
ชายผ้ าสีดา เป็ นต้ น
- กูดเกี๊ยะนามาใช้ ประโยชน์ได้ มากมาย โดยใบแห้ งใช้ มุงหลังคาและทาฟื น เถ้ าจากใบยังเป็ นแหล่งโพแทสเซียมใช้ ใน
อุตสาหกรรมแก้ วและสบู่ เหง้ านามาใช้ ฟอกหนังและย้ อมผ้ าขนสัตว์ให้ เป็ นสีเหลือง นอกจากนี้ยังมีศักยภาพเป็ นแหล่ง
สกัดสารฆ่าแมลงและพลังงานชีวภาพ ช่วยเพิ่มสารอาหารให้ กบั ดิน โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสเฟต และโพแทสเซียม

ภาพแสดงตัวอย่างพืช lycophyta ภาพแสดงตัวอย่างพืชในกลุ่ม Pterophyta


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 273
พืชมีท่อลาเลียงที่ไร้ เมล็ดที่พบในปัจจุบัน แบ่งออกเป็ น 2 ไฟลัม ดังนี้

ไฟลัม ลักษณะ
เป็ นพืชที่มีลาต้ น และใบที่แท้จริง ใบมีขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง ที่ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของ
ใบทาหน้ าที่สร้ างอับสปอร์ โดยอับสปอร์เจริญที่โคนใบ พืชกลุ่มนี้ ได้ แก่
- ไลโคโพเดียม (Lycopodium) เช่น สามร้ อยยอด หางสิงห์
ไฟลัมไลโคไฟตา
- ซีแลกจิเนลลา (Selagenella) เช่น ตีนตุก๊ แก
(Phylum Lycophyta) - ไอโซอีเทส (Isoetes) เช่น กระเทียมนา้
 สามร้ อยยอด และหางสิงห์มีการสร้ างสปอร์ชนิดเดียว
 ตีนตุก๊ แก และกระเทียมนา้ มีการสร้ างสปอร์ 2 ชนิดที่มีขนาดแตกต่างกัน
- หวายทะนอยหรือไซโลตัม (Psilotum sp.) เป็ นพืชที่ไม่มีรากและใบ มีเพียงลาต้ นที่อยู่เหนือดินและ
ใต้ ดิ น ที่เ รี ย กว่ า ไรโซม (rhizome) ล าต้ น เหนื อ ดิ นขนาดเล็ก สูง ประมาณ 30 เซนติ เ มตร มี ล าต้ น
เป็ นเหลี่ยมและแตกกิ่งขนาดเท่ากันเป็ นคู่ๆ ที่ลาต้ นมีส่วนยื่นออกไปเป็ นเส้ นหรือเป็ นแผ่นขนาดเล็ก
ซึ่งไม่ใช่ใบ มีอบั สปอร์ลักษณะเป็ นพู 3-5 พู อยู่ท่กี ่งิ สั้นๆ ทางด้ านข้ าง มีไรซอยด์ทาหน้ าที่คล้ ายราก
- หญ้าถอดปล้อง หรืออีควิเซตัม (Equisetum sp.) ซึ่งเป็ นกลุ่มพื ชที่มีราก ลาต้ น และใบที่แท้ จ ริง
ที่ลาต้ นมีข้อปล้ องชัดเจน มีท้ังลาต้ นตั้งตรงบนดินและลาต้ นใต้ ดิน ลักษณะลาต้ นมีสัน มีร่อง ใบเป็ น
เกล็ดที่เชื่อมต่อกันเป็ นวงรอบข้ อ แต่ละใบมีเส้ นใบ 1 เส้ น อับสปอร์เกิดเป็ นกระจุ กที่ปลายกิ่งสั้นๆ
ไฟลัมเทอโรไฟตา เรีย กว่ า สปอร์แรงจิ โ อฟอร์ (sporangiophore) ซึ่งอยู่ รอบแกนกลางร่ ว มกันเป็ นโครงสร้ า ง เรีย กว่า
(Phylum Pterophyta) สโตรบิลัส (strobilus) และสร้ างสปอร์ชนิดเดียว
- เฟิ น (Fern) พบประมาณ 12,000 สปี ชีส์ เริ่มมีการแพร่ กระจายตั้งแต่ยุคดีโวเนียนจนถึงปัจจุบัน
พืช กลุ่ม นี้มี ราก ลาต้ น และใบที่แท้ จ ริง ลัก ษณะที่พ บทั่ว ไปคือ ใบอ่อ นม้ ว นจากปลายใบสู่โ คนใบ
ใบของเฟิ นมีหลายแบบ อาจเป็ นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ โดยมีเส้ นใบที่แตกแขนง เฟิ นจะสร้ างอับ
สปอร์รวมกันเป็ นกลุ่มอยู่ทางด้ านล่างของแผ่นใบ เรียกว่า ซอรัส (sorus) ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันและ
สามารถใช้ ในการจาแนกชนิดของเฟิ นได้ เฟิ นส่วนใหญ่สร้ างสปอร์ชนิดเดียว ยกเว้ นเฟิ นน้าบางจีนัส
สร้ า งสปอร์ ส องชนิ ด ได้ แ ก่ เฟิ นใบมะขาม เฟิ นก้ า นด า ข้ า หลวงหลั ง ลาย ชายผ้ า สีด า ย่ า นลิ เ ภา
แหนแดง จอกหูหนู ผักแว่น กูดเกี๊ยะ

2.2 กลุ่มพืชมีท่อลาเลียงที่มีเมล็ด

พบแพร่กระจายมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัส มีโครงสร้ างที่ใช้ ในการสืบพันธุ์ท่แี ตกต่างจากพืชกลุ่มที่กล่าวมาแล้ ว โดยการสร้ าง


ออวุ ล ซึ่ ง เชื่อ ว่ า น่ า จะมี วิ วั ฒ นาการมาจากอับ สปอร์ ท่ีส ร้ า งสปอร์ ข นาดใหญ่ มี เ นื้ อ เยื่ อ พิเ ศษมาหุ้ ม เป็ นผนัง ออวุ ล หรื อ
อินทิกิวเมนต์ (integument) ซึ่งอาจมี 1 หรือ 2 ชั้น โดยหุ้มไม่มิดเกิดเป็ นช่องเรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) สปอร์ขนาด
ใหญ่ น้ ี เ จริ ญ เป็ นแกมี โ ทไฟต์ เ พศเมี ย อยู่ ภ ายในออวุ ล ซึ่ ง ต่ อ ไปจะสร้ า งเซลล์ ไ ข่ (egg cell) สปอร์ ข นาดเล็ก เจริ ญ เป็ น
แกมีโทไฟต์เพศผู้เรียกว่า เรณู (pollen) อยู่ภายในหลอดเรณู (pollen tube) จะเห็นได้ ว่ามีกลุ่มพืชมีท่อลาเลียงที่มีเมล็ด
ยังมีการปรับตัวในการสืบพันธุ์ท่ไี ม่ต้องอาศัยนา้ โดยการถ่ายเรณูอาศัยลม หรือสัตว์เป็ นตัวกลาง เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้ ว
ออวุลจะเจริญไปเป็ นเมล็ด

กลุ่มพืชมีท่อลาเลียงที่มีเมล็ด มีระยะสปอโรไฟต์ท่เี ด่นชัดและยาวนาน แต่ระยะแกมีโทไฟต์จะมีขนาดเล็กลงมากเมื่อเทียบกับ


มอสและเฟิ น ปั จจุ บันแบ่งพืชกลุ่มนี้ออกเป็ นพืชเมล็ดเปลือยหรือจิมโนสเปิ ร์ม (gymnosperm) และพืชดอกหรือแองจิโอ
สเปิ ร์ม (angiosperm)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 274
2.2.1 Gymnosperm

มีลักษณะร่วมกัน คือ ออวุลจะติดบนกิ่งหรือแผ่นใบ เมื่อมีการปฏิสนธิ ออวุลจะเจริญเป็ นเมล็ดติดอยู่บนกิ่งหรือแผ่นใบ


พืชกลุ่มเมล็ดเปลือยบางชนิด กิ่งหรือแผ่นใบที่สร้ างออวุลมีลักษณะเป็ นแผ่นแข็งสีนา้ ตาล ซึ่งอาจเรียงซ้ อนกันแน่นเป็ น
สโตรบิลสั ที่มีรูปร่างเหมือนกรวย เรียกว่า โคน (cone)

พืชเมล็ดเปลือยในปัจจุบันแบ่งออกเป็ น 4 ไฟลัม ดังนี้

ไฟลัมไซแคโดไฟตา (Phylum Cycadophyta)

ไฟลัมกิงโกไฟตา (Phylum Ginkgophyta)

ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา (Phylum Coniferophyta)

ไฟลัมนีโทไฟตา (Phylum Gnetophyta)

ไฟลัม ลักษณะ
เป็ นพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณที่แห้ งแล้ งได้ ดี ประเทศไทยพบเพียง 10 สปี ชีส์ อยู่ในจีนัสไซแคส
(Cycas) เช่น ปรง ปรงป่ า ปรงเขา เป็ นต้ น มีลักษณะใบที่มีขนาดใหญ่เป็ นใบประกอบแบบขนนกชั้น
ไฟลัมไซแคโดไฟตา
เดียว แผ่นใบย่อยเมื่อเป็ นใบอ่อนมีการม้ วนจากปลายใบไปสู่โคนใบ มีการสร้ างโคนเพศผู้และโคนเพศ
(Phylum Cycadophyta) เมียแยกต้ นกัน โดยโคนเพศเมียมีออวุลหลายออวุลติดอยู่บนแผ่นใบ ซึ่งเรียงซ้ อนกันแน่น แต่มักไม่
เป็ นสโตรบิลัส
เป็ นไม้ ต้นขนาดใหญ่ และผลัดใบ มีต้นแยกเพศกัน ต้ นเพศผู้สร้ างโคนเพศผู้เป็ นกลุ่ม แบบหลวมๆ
บนปลายกิ่งสั้น และต้ น เพศเมี ย จะมี ก ารสร้ า งโคนเพศเมี ย ซึ่ ง มี อ อวุ ล ติ ด อยู่ บ นก้ า นชูอ อวุ ลบนกิ่ง
ไฟลัมกิงโกไฟตา ก้ านละ 2 ออวุล แต่จะมีเพียง 1 ออวุลเท่านั้นที่เจริ ญไปเป็ นเมล็ด ปั จจุ บันมีเหลือเพียงสปี ชีส์เดีย ว
(Phylum Ginkgophyta) คื อ Ginkgo biloba Linn. มี ช่ ื อ สามั ญ ว่ า แปะก๊ว ย มี ใ บสีเ ขี ย วเข้ ม ที่แ ผ่ ค ล้ า ยพั ด โดยปลายใบเว้ า
ตรงกลางทาให้ เห็นเป็ น 2 ลอน จัดเป็ นซากดึกดาบรรพ์ท่มี ีชีวิตเพราะเหลือเพียงชนิดเดียวในโลกที่มี
ลักษณะใกล้ เคียงกับพืชที่สญ ู พันธุ์ไปแล้ ว
เป็ นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในพืชกลุ่มเมล็ดเปลือย ทั้งในด้ านลักษณะของต้ นและโครงสร้ าง
ของอวัยวะสืบพันธุ์ท่รี ้ จู ักกันทั่วไป คือ สน (pine) เป็ นไม้ ต้นขนาดใหญ่ท่ไี ม่ผลัดใบ สร้ างโคนเพศผู้และ
ไฟลัมโคนิเฟอโรไฟตา
โคนเพศเมียบนต้ นเดียวกัน โคนเพศผู้ประกอบด้ วยแผ่นใบขนาดเล็กที่มีลักษณะแข็ง สร้ างอับสปอร์
(Phylum Coniferophyta) แผ่ นละ 2 อับ สปอร์ ในประเทศไทยที่พ บ คือ สนสองใบ และ สนสามใบ หรือ เรีย กกันว่า สนเกี๊ยะ
สนสามพันปี และพญาไม้
พบเวสเซลในท่อลาเลียงนา้ และมีลักษณะคล้ ายพืชดอกมาก คือ มีสโตรบิลัสแยกเพศ สโตรบิลัสเพศเมีย
แต่ ละอันจะสร้ า งกิ่ง สั้น ๆ เรีย งรอบข้ อ เป็ นชั้นๆ เรีย งรอบข้ อ เป็ นชั้นๆ แต่ ละกิ่งสั้นจะสร้ า งออวุ ล
ไฟลัมนีโทไฟตา 2 ออวุล สโตรบิลัสเพศผู้แต่ละอันจะมีก่งิ สั้นเรียงรอบข้ อเช่นเดียวกัน แต่ละกิ่งสั้นสร้ างอับสปอร์คล้ าย
(Phylum Gnetophyta) เกสรเพศผู้ของไม้ ดอก 2 อับสปอร์ พืชในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็ นไม้ พ่มุ หรือไม้ เถาเนื้อแข็งที่ข้อและก้ านใบ
พองบวมเห็น ชัด เจน ปั จ จุ บั น พบในประเทศไทยมี เ พีย งจี นั ส เดี ย ว คื อ จี นั ส นี ตั ม (Gnetum) เช่ น
มะเมื่อย และผักเหลียง เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 275
 ประโยชน์ของพืชเมล็ดเปลือย

- ปรง นิยมนามาจัดสวน

- สนนาเนื้อไม้ มาใช้ ประโยชน์ในการก่อสร้ างและอุตสาหกรรมอื่น เช่น ทาเยื่อกระดาษ

- แปะก๊ว ยสามารถน าเมล็ด มารั บ ประทาน นอกจากนี้ ส ารสกัด จากใบแปะก๊ว ยเชื่ อ ว่ า จะช่ ว ยป้ องกัน และรั ก ษา
ความสมบูรณ์ของผนังหลอดเลือดฝอย และปรับระบบหมุนเวียนเลือด ต่อต้ านการอั กเสบ การบวมได้ และเนื่องจาก
สารสกัดจากใบแปะก๊วยมีความเป็ นพิษต่ามาก จึงนิยมใช้ ในผู้ป่วยที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอหรือมีผนังหลอด
เลือดแดงทางานผิดปกติ เพื่อป้ องกันการเกิดอัมพาตและใช้ กบั โรคที่เกี่ยวกับความชรา เป็ นต้ น

ภาพแสดงวงจรชีวิตของ gymnosperm
ที่มา ; Reece et al. (2011)

2.2.2 angiosperm ไฟลัมแอนโทไฟตา (Phylum Anthophyta)

เป็ นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในอาณาจักรพืช ปัจจุบันพืชดอกจัดอยู่ในไฟลัมแอนโทไฟตา ที่ค้นพบแล้ ว


มีประมาณ 250,000 สปี ชีส์ และสามารถดารงชีวิตอยู่ในบริเวณต่างๆ ทั่วโลก

จากการศึก ษาด้ า นบรรพชีวินวิ ทยามี การค้ นพบหลักฐานซากดึ กดาบรรพ์ท่ีเชื่อว่ าเป็ นพืชดอกที่อยู่ ในตอนต้ นของ
ยุคครีเทเชียส คือ แฟมิลีอาคีฟรักเทซี (Archaefructaceae)

ตัวอย่างเช่น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ แอมโบเรลลา บัว โบ๊ยกั๊ก จาปี จาปา

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 276
23.4.4 อาณาจักรฟังไจ

กาเนิดฟั งไจ ; มีการค้ นพบหลักฐานซากดึกดาบรรพ์ของฟั งไจที่มีอายุมากที่สุดประมาณ 460 ล้ านปี ซึ่งเป็ นช่วงเวลา


เดียวกับที่พืชเริ่มมีวิวัฒนาการมาดารงชีวิตบนบก อีกทั้งซากดึกดาบรรพ์ของกลุ่มพืชมีท่อลาเลียงในช่วงปลายยุคซิลูเรียน
นั้นพบว่ามีไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) ดังนั้น อาจเป็ นไปได้ ว่าพืชได้ ถือกาเนิดมาบนพื้นดินในระยะเวลาใกล้ เคียงกับฟังไจ

ลักษณะรูปร่างและการดารงชีวิตของฟังไจ

- สิ่งมีชีวิตในกลุ่มฟังไจมีลักษณะร่วมกัน คือ ผนังเซลล์มีสารไคทินเป็ นองค์ประกอบ มีการดารงชีวิตแบบภาวะ


ย่อยสลาย และบางชนิดเป็ นปรสิตในสิ่งมีชีวิตอื่น

- ฟั งไจส่วนใหญ่มีลักษณะเป็ นเส้ นใยเรียกว่า ไฮฟา (hypha) เส้ นใยอาจมีเยื่อกั้นทาให้ เป็ นเซลล์หรือ ไม่ มี
เยื่อกั้น กลุ่มของเส้ นใยไฮฟาเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) ทาหน้ าที่ยึดเกาะอาหารและส่งเอนไซม์ไปสลาย
อาหารภายนอกเซลล์และดูดซับสารอาหารที่ย่อยแล้ วกลับเข้ าสู่เซลล์

- ไมซีเลียมในฟังไจบางชนิดจะพัฒนาเป็ นโครงสร้ างเรียกว่า ฟรุตติงบอดี (fruiting body) ทาหน้ าที่สร้ างสปอร์


ที่ไ ด้ จ ากการสืบ พันธุ์แบบอาศัย เพศ และฟั งไจบางชนิด ที่ดารงชีวิ ต เป็ นปรสิต เส้ นใยจะเปลี่ย นแปลงเป็ น
โครงสร้ างที่สามารถดูดซับสารอาหารจากเซลล์ของโฮสต์ได้

- ฟังไจมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศโดยการสร้ างสปอร์ การจัดจาแนกฟังไจออกเป็ นไฟลัม


ต่างๆ จะใช้ ลักษณะการสร้ างสปอร์ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็ นเกณฑ์

บทบาทของฟังไจ

- ดารงชีวิตเป็ นผู้สลายสารอินทรีย์ทาให้ เกิดการหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ

- มีการเพาะและนาเห็ดหลายชนิดมาประกอบอาหาร เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้ า เห็ดหอม เห็ดเป๋ าฮื้อ

- ทางด้ านอุตสาหกรรมได้ นายีสต์ (Saccharomyces spp.) มาใช้ ทาขนมปัง ผลิตแอลกอฮอล์หลายชนิด เช่น


เบียร์และไวน์ รวมทั้งการผลิตอาหารเสริมเพื่อเพิ่มวิตามิน B12 ราแดง (Monascus spp.) ใช้ ในการผลิตข้ าวแดง
และเต้ าหู้ย้ ี ราแอสเพอจิลลัส (Aspergillus niger) ใช้ ผลิตกรดซิตริก

- ราแพนิซิลเลียม (Penicillium sp.) นามาใช้ ในทางการแพทย์โดยนามาผลิตยาปฏิชีวนะเพนิซิลลินเพื่อใช้ ใน


การรักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย

- ฟังไจไม่น้อยกว่าร้ อยละ 30 ที่เป็ นปรสิต ก่อให้ เกิดโรคต่างๆ ในพืช เช่น ราเขม่าดา (Ustilago coicis) ทาให้
เกิด โรคราเขม่ า ดาในเมล็ด เดื อ ย ราน้า ค้ า ง (Plasmopara viticola) ท าให้ เ กิด โรคราน้า ค้ า งในองุ่น ราสนิม
(Puccinia graministritici) ทาให้ เกิดโรคราสนิมในใบพืช

- ราบางชนิด ท าให้ เ กิด โรคในคน เช่ น ราแอสเพอจิ ลลัส (Aspergillus avus) ที่พ บในเมล็ด ถั่ว และธัญ พืช
จะสร้ า งสารพิ ษอะฟลาทอกซิ น (aflatoxin) ซึ่ ง เป็ นสารก่ อ มะเร็ง ถ้ า สะสมไว้ ใ นร่ า งกายมากๆ ท าให้ เ กิด
โรคมะเร็งในตับได้ และฟังไจบางชนิดสามารถนาสารพิษมาผลิตทอกซอยด์ (toxoid) เพื่อใช้ ในการรักษาโรค
ความดันโลหิตสูง

- มีฟังไจประมาณ 50 สปี ชีส์เท่านั้น ที่เป็ นปรสิตและทาให้ เกิดโรคในคนและสัตว์ แต่พบว่ามีขอบเขตและ


ความรุนแรงของโรคที่ก ว้ า ง เช่ น โรคเชื้อ ราที่เ ท้ า โรคเชื้อ ราที่ป อด หรือ เชื้อ ราที่เ ข้ าไปเจริญ ในสมองซึ่งมี
ความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 277
 ความหลากหลายของฟังไจ ; นักอนุกรมวิธานได้ จาแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจออกเป็ น 4 ไฟลัม ดังนี้

ไฟลัม ลักษณะ
- มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้ างเซลล์สบื พันธุ์ท่มี ีแฟลเจลลาที่ใช้ ในการเคลื่อนที่
- เรียกกันทั่วไปว่า ไคทริด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนา้ จืดและในดิน
- บางสปี ชีสเ์ ป็ นผู้สลายสารอินทรีย์ บางสปี ชีสเ์ ป็ นปรสิตในโพรทิสต์ ในฟังไจ พืชและสัตว์
ไฟลัมไคทริดิโอไมโคตา
- ไคทริดเป็ นกลุ่มฟังไจที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบภาวะพึ่งพากัน โดยไคทริดที่ดารงชีวิตแบบภาวะ
(Phylum Chytridiomycota)
ไม่ใช้ ออกซิเจนหรือเป็ นแอนแอโรบิก จะอาศัยอยู่ในทางเดิ นอาหารของสัตว์จาพวกแกะและวัว โดย
ช่วยย่อยสลายสารที่เป็ นองค์ประกอบในพืชที่ตกค้ างอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้ ทาให้ สัตว์
ได้ รับสารอาหารและใช้ ในการเจริญเติบโตได้ เป็ นต้ น
เป็ นฟั ง ไจที่ ด ารงชี วิ ต บนพื้ นดิ น ฟั ง ไจกลุ่ ม นี้ ไฮฟาไม่ มี เ ยื่ อ กั้ น ปกติ จ ะสร้ า งสปอร์ ใ นอั บ สปอร์
ไฟลัมไซโกไมโคตา เพื่อขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ แต่ในสภาพแวดล้ อมที่ไม่เหมาะสมจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
(Phylum Zygomycota) โดยการสร้ างไซโกสปอร์ (zygospore) ตัวอย่างของฟังไจกลุ่มนี้ เช่น ราขนมปัง (Rhizopus sp.) และรา
ดา (Mucor sp.) เป็ นต้ น
เป็ นฟั งไจที่มีจานวนมากที่สุด พบทั้งในทะเล แหล่งน้าจืด และบนพื้นดิน มีรู ปร่ างทั้งเซลล์เดียว เช่น
ยีสต์ และหลายเซลล์ เช่น โมเรล ทรัฟเฟิ ล และราแดง เป็ นต้ น ฟังไจกลุ่มนี้มีไฮฟาที่มีเยื่อกั้น แต่มีช่อง
ไฟลัมแอสโคไมโคตา ระหว่างเซลล์ท่ตี ิดกันเพื่อลาเลียงสารอาหารระหว่างเซลล์ได้ มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยสร้ าง
(Phylum Ascomycota) สปอร์ บางชนิด สร้ างสปอร์ใ นอับ สปอร์ และบางชนิด สร้ างสปอร์ท่ีไม่ อยู่ในอับสปอร์ มี ก ารสืบพันธุ์
แบบอาศัยเพศโดยการสร้ างแอสโคสปอร์ (ascospore) ในถุงเรียกว่า แอสคัส (ascus) ซึ่งอยู่เป็ นกลุ่ม
ในโครงสร้ างที่เกิดจากเส้นใยทาให้ เกิดเป็ นฟรุตติงบอดีรูปถ้ วย หรือรูปกลม
ฟังไจกลุ่มนี้มีไฮฟาที่มีเนื้อเยื่อกั้นอย่างสมบูรณ์ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้ างเบสิดิโอสปอร์
(Basidiospore) บนปลายเส้ นใยที่มีลักษณะโป่ งพองเหมือนกระบอง อยู่ทางด้ านล่างของฟรุตติ งบอดี
ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ขนาดใหญ่ เรียก เบสิเดียม (basidium) รากลุ่มนี้สามารถย่ อยสลายสารพอลิเมอร์แบบต่างๆ ได้ เช่น
(Phylum Basidiomycota) ลิกนิน เป็ นต้ น ตัวอย่างได้ แก่ ราสนิม ราเขม่าดา เห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ด
เป๋ าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดหอม และตัวอย่างที่เป็ นไมคอร์ไรซา เช่น เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ พบในป่ าเต็งรัง
ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพแสดงลักษณะของ Phylum Basidiomycota


ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 278
23.4.5 อาณาจักรสัตว์

กาเนิดของสัตว์ ; สัตว์มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 1,000 ถึง 580 ล้ านปี ที่ผ่านมา แต่พบ


หลักฐานจากซากดึกดาบรรพ์ของสัตว์น้อยมาก อาจเป็ นไปได้ ว่าสัตว์ท่เี กิดขึ้นในยุคแรกๆ น่าจะมีร่างกาย
อ่อนนุ่ม ไม่มีโครงร่างแข็ง จึงไม่ปรากฏร่องรอยในซากดึกดาบรรพ์ แต่จะพบซากดึกดาบรรพ์จานวนมาก
ในช่วงเวลาประมาณ 540 ล้ านปี ระหว่างปลายมหายุ คพรีแคมเบรียนและตอนต้ นของยุคแคมเบรียน

ลักษณะของสัตว์ ; เป็ นสิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตที่มีหลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็ น


เนื้อเยื่อ เป็ นพวกเฮเทอโรโทรป (heterotroph) ที่ไม่ สามารถสร้ างอาหารเองได้ ต้ องอาศัยอาหารจาก
สิ่งมีชีวิตอื่น มีการเรียนรู้และตอบสนองต่ อสิ่งเร้ า รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวโดยการทางานของเนื้ อเยื่อ
ประสาทและกล้ ามเนื้อ

การจาแนกสัตว์ออกเป็ นกลุ่มต่างๆ โดยพิจารณาลักษณะต่างๆ ของสัตว์ ซึ่งสอดคล้ องกับข้ อมูลของสาร


ชีวโมเลกุล ดังนี้

1) เนื้ อเยื่อ : แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้ จริง ได้ แก่ ฟองนา้
และกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริงซึ่งเป็ นลักษณะของสัตว์ส่วนใหญ่

2) ลักษณะสมมาตร : แบ่งออกเป็ น สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) และ


สมมาตรด้ านข้ าง (bilateral symmetry) ซึ่งพบในสัตว์ส่วนใหญ่ โดยมีร่างกายแบ่ ง
ออกเป็ นสองซีกตามระนาบแนวยาวที่เหมือนกันทุกประการ

3) การเปลี่ยนแปลงของบลาสโทพอร์ : จะพบเฉพาะในสัตว์ท่มี ีสมมาตรด้ านข้ าง


มี 2 แบบ คือ แบบโพรโทสโทเมีย (protostomia) คือพวกที่บลาสโทพอร์เปลี่ยนเป็ น
ช่ องปาก และแบบดิ ว เทอโรสโทเมี ย (deuterostomia) คื อพวกที่ บลาสโทพอร์
เปลี่ยนเป็ นทวารหนัก

4) การเจริญในระยะตัวอ่อน : จะพบในสัตว์กลุ่มที่มีช่องปากแบบโพรโทสโทเมีย
ซึ่งแบ่ งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ (trochophore)
พบในสัตว์พวกหนอนตัวแบน ไส้ เดือนดิน ปลิง หอย หมึก เป็ นต้ น และแบบเอคได
โซซัว (ecdysozoa) เป็ นกลุ่มที่มีการลอกคราบขณะเจริญเติบโต ซึ่งพบในหนอนตัว
กลมและอาร์โทรพอด

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 279
ความหลากหลายของสัตว์

ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง มีเนื้อเยื่อแท้จริง

Porifera สมมาตรแบบรัศมี

Cnidaria

สมมาตรแบบด้ านข้ าง (ครึ่งซีก)

Protostomia Deuterostomia

trochophore ecdysozoa Echinodermata

Platyhelminthes Nematoda Chordata

Mollusca Arthropoda

Annelida

ภาพแสดงความหลากหลายของสัตว์
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 280
 กลุ่มที่ไม่มีเนื้ อเยือ่ ที่แท้จริง

ไฟลัม ลักษณะ
มีโครงสร้ างร่างกายไม่ซับซ้ อน ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้ จริง ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้ แก่
ไฟลัมพอริเฟอรา
ฟองน้าแก้ ว ฟองน้า หิ นปูน ฟองน้า ถูตั ว ซึ่ ง โครงสร้ างค้าจุ นที่แ ทรกอยู่ ในตัวฟองน้า
(Phylum Porifera)
เรียกว่า สปิ คุล (spicule) ใช้ จาแนกชนิดของฟองนา้

ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Porifera
ที่มา ; http://www.tutorvista.com/content/biology/

 กลุ่มที่มีเนื้ อเยือ่ ที่แท้จริง ; แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม ตามลักษณะสมมาตร

 กลุ่มที่มีสมมาตรตามรัศมี

ไฟลัม ลักษณะ
มี เ นื้ อเยื่ อ 2 ชั้ น ส่ ว นใหญ่ อ าศั ย อยู่ ใ นน้า เค็ม เช่ น ซี แ อนี โ มนี ปะการั ง กั ล ปั ง หา
แมงกะพรุน บางชนิดอาศัยอยู่ในนา้ จืด เช่น ไฮดรา แมงกะพรุน เป็ นต้ น สัตว์ในไฟลัมนี้
มีรูปร่าง 2 แบบ คือ แบบโพลิบ (polyp) เป็ นรูปร่างคล้ ายทรงกระบอก และแบบเมดูซา
ไฟลัมไนดาเรีย
(medusa) มีลักษณะคล้ ายร่มหรือระฆัง มีช่องเปิ ดออกจากลาตัวช่องเดียว มีการล่าเหยื่อ
(Phylum Cnidaria)
โดยใช้ เทนตาเคิ ล (tentacle) ที่ เ รี ย งอยู่ ร อบช่ อ งปาก ที่ เ ทนตาเคิ ล มี ไ นโดไซต์
(cnidocyte) เมื่อมีเหยื่อมาสัมผัสไนโดไซต์จะปล่ อยเข็มพิษ (nematocyst) ใช้ จับเหยื่อ
หรือป้ องกันตัว

ภาพแสดงสิง่ มีชีวิตในกลุ่ม Cnidaria


ที่มา ; http://www.mesa.edu.au/cnidaria/default.asp

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 281
; กลุ่มที่มีสมมาตรด้ านข้ าง แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ คือ...
 กลุ่มที่มีสมมาตรด้านข้าง
กลุ่มโพรโทสโทเมีย และ กลุ่มดิวเทอโรสโทเมีย

กลุ่มโพรโทสโทเมีย แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มย่อยๆ คือ...

1) กลุ่มที่มีตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ ประกอบด้ วย

ไฟลัม ลักษณะ
มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ และไม่มีโพรงลาตัว (noncoelom) สัตว์ในไฟลัมนี้
ไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส
บางชนิดดารงชีวิตเป็ นอิสระ เช่น พลานาเรีย แต่ส่วนใหญ่ดารงชีวิตเป็ นปรสิต เช่น พยาธิใบไม้ และ
(Phylum Platyhelminthes)
พยาธิตัวตืด เป็ นต้ น
ได้ แก่ หอยทาก ทากเปลือย หอยนางรม หอยกาบ หอยงวงช้ าง หมึกยักษ์ หมึกกระดอง และหมึกกล้ วย
ไฟลัมมอลลัสคา
ซึ่งเป็ นสัตว์ท่ีมีลาตัวนิ่ม แต่สามารถสร้ างเปลือกแข็งที่มีสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตหุ้ม ลาตั ว
(Phylum Mollusca)
หมึกกล้ วย และหมึกยักษ์ไม่มีเปลือกแข็ง เนื่องจากเปลือกแข็งได้ หายไปในระหว่างการเกิดวิวัฒนาการ
ไฟลัมแอนเนลิดา เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนดิน ปลิงนา้ จืด ทากดูดเลือด เป็ นต้ น สัตว์ในไฟลัมนี้ลักษณะลาตัวแบ่งออกเป็ น
(Phylum Annelida) ปล้ องเห็นได้ ชัดเจน ภายในมีเยื่อกั้น

ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Platyhelminthes ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Annelida

ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Mollusca

ที่มา ; http://www.tutorvista.com/content/biology/

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 282
2) กลุ่มที่ตัวอ่อนมีการลอกคราบ สัตว์ส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มีหลายไฟลัม เช่น

ไฟลัม ลักษณะ
เช่น ไส้ เดือนฝอย พยาธิไส้ เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้ นด้ าย เป็ นต้ น เป็ นสัตว์ท่ีมีลาตัวรูปทรงกระบอก
ไฟลัมนีมาโทดา ไม่มีปล้ องบริเวณลาตัว จึงเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า หนอนตัวกลม (round worm) มีการลอกคราบในระหว่ า ง
(Phylum Nematoda) การเจริญ เติ บ โต ลาเลีย งสารอาหารโดยของเหลวภายในโพรงลาตั วเทียม (pseudocoelom) พบเฉพาะ
กล้ ามเนื้อตามยาว
มีระยางค์เป็ นข้ อๆ ต่อกัน ระยางค์เป็ นลักษณะพิเศษที่ปรับเปลี่ยนให้ ทาหน้ าที่ได้ หลายอย่าง เช่น ใช้ เดิน
จับอาหาร รับความรู้สึก ผสมพันธุ์ และป้ องกันอันตราย มีโครงร่างภายนอกเป็ นเปลือกแข็งที่ประกอบด้ วย
ไคทิน ในการเจริญเติบโตจะมีการลอกคราบจากระยะตัวอ่อนเป็ นตัวเต็มวัย ซึ่งสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา
ที่พบในปัจจุบันมีดังนี้
1) คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata) ได้ แก่ แมงดาทะเล พบอยู่ตามบริเวณนา้ ตื้น ในป่ า
ชายเลน มีลาตัวแบ่งออกเป็ น 2 ส่วน คือ ส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน และส่วนท้อง มีขาเดิน 5 คู่
ในประเทศไทยมีแมงดาทะเล 2 สปี ชีส์ คือ แมงดาทะเลหางเหลี่ยมหรือแมงดาจาน และแมงดา
ทะเลหางกลมหรือแมงดาถ้ วยหรือเหรา
2) คลาสอะแรคนิดา (Class Arachnida) ส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน มีรยางค์ 6 คู่ โดยรยางค์ค่ทู ่ี 1
และคู่ท่ี 2 ใช้ จั บ อาหารและรับ ความรู้สึก และมี ข าเดิ น อีก 4 คู่ สัต ว์ ใ นคลาสนี้ ตั ว อย่ า งเช่ น
แมงมุม แมงป่ อง เห็บ ไร เป็ นต้ น
3) คลาสไดโพลโพดา (Class Diplopoda) ลาตัวมีปล้ องจานวนมาก มีรยางค์ปล้ องละ 2 คู่ บริเวณ
ไฟลัมอาร์โทรโพดา หัวมีหนวด 1 คู่ สัตว์ในคลาสนี้ เช่น กิ้งกือ ตะเข็บ เป็ นต้ น
(Phylum Arthropoda) 4) คลาสชิโลโพดา (Class Chilopoda) ลาตัวแบน มี รยางค์ปล้ องละ 1 คู่ บริเวณหัวมีหนวด 1 คู่
ปล้ อ งแรกของล าตั ว มี เ ขี้ ย วพิ ษ 1 คู่ แนบกับ ส่ ว นหั ว จะปล่ อ ยพิ ษ ท าให้ เ หยื่ อ เป็ นอัม พาต
สัตว์ในคลาสนี้ เช่น ตะขาบ เป็ นต้ น
5) คลาสอินเซ็คตา (Class Insecta) เป็ นสัตว์ท่มี ีจานวนสปี ชีสม์ ากที่สุด ได้ แก่ พวกแมลงชนิดต่างๆ
แมลงแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้ อง มีหนวด 1 คู่ มีขา 3 คู่ อยู่บริเวณ
ส่วนอก บางชนิดอาจมีปีก 1-2 คู่ แมลงมีความเกี่ยวข้ องกับมนุษย์มาก เป็ นพาหะนาโรค เช่น
ยุงลาย ยุงก้ นปล่อง เป็ นปรสิตของคน เช่น เรือด เหา และเป็ นปรสิตของสัตว์เลี้ยง เช่น ไรไก่
หมัด เหลือบ เป็ นต้ น
6) คลาสครัสเทเซีย (Class Crustacea) มีรยางค์จานวนมาก ทาหน้ าที่พิเศษหลายอย่าง เช่น ใช้ เดิน
ว่ายนา้ หรือเปลี่ยนแปลงเป็ นหนวดและส่วนประกอบของปากมีหนวด 2 คู่ มีรยางค์ ที่ส่วนอกทา
หน้ าที่เป็ นขาเดิน และมีรยางค์ท่สี ่วนท้ องสาหรับว่ายนา้ หรือปรับเปลี่ยนไปทาหน้ าที่เฉพาะ เช่น
แลกเปลี่ยนแก๊ส เป็ นที่เกาะของไข่ เป็ นต้ น สัตว์ในคลาสนี้ได้ แก่ กุ้ง กั้ง ปู ไรนา้ ส่วนใหญ่ยังคง
อาศัยอยู่ในทะเลหรือแหล่งนา้ จืด เป็ นต้ น

NOTE ;
➢ ตัวเบียน (parasite) หมายถึง แมลงที่เบียดเบียนเหยื่อ หรือเกาะกินอยู่กับเหยื่อจนกระทั่งเหยื่อตาย และการเป็ น
ตัวเบียนนั้นจะเป็ นเฉพาะในช่วงที่เป็ นตัวอ่อนเท่านั้น เช่น แตนเบียนไข่ หนอนกระทู้ผัก เป็ นต้ น
➢ ตัวห้ า (predator) หมายถึง แมลงที่กนิ แมลงชนิดอื่นๆ เป็ นอาหาร สามารถทาลายเหยื่อได้ ทุกระยะในวัฏจักรชีวิต เช่น
ตั๊กแตนตาข้ าว มวนเพชฌฆาต เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 283
ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Nematoda

ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Arthropoda

ที่มา ; http://www.tutorvista.com/content/biology/

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 284
กลุ่มดิวเทอโรสโทเมีย ประกอบด้ วย

ภาพแสดงสัตว์ในกลุ่ม Echinodermata
ที่มา ; http://www.tutorvista.com/content/biology/

ไฟลัม ลักษณะ
พบดารงชีวิตอยู่ในทะเลทั้งหมด เป็ นสัตว์ท่มี ีโครงร่างแข็ง ผิวชั้นนอกบางเป็ นชั้นคิวทิน ผิวชั้นในถัดมา
ไฟลัมแอไคโนเดอร์มาตา
เป็ นผนั ง หนาที่ป ระกอบด้ ว ยแผ่ น แคลเซี ย มคาร์ บ อเนตหุ้ ม โครงร่ า งแข็ง สิ่ง มี ชี วิ ต ในกลุ่ ม นี้ เช่ น
(Phylum Echinodermata)
ปลิงทะเล ดาวทะเล พลับพลึงทะเล ดาวขนนก ดาวมงกุฎหนาม
มีลักษณะสาคัญที่พบในวัฏจักรชีวิตในระยะเอ็มบริโอ ดังนี้
1) มีโนโทคอร์ด (notochord) ลักษณะเป็ นแท่งยาวตลอดความยาวของลาตัว ยืดหยุ่นตัวดีอยู่ระหว่าง
ท่อทางเดินอาหารและท่อประสาท
2) มีท่อประสาทกลวงที่ด้านหลัง ซึ่งเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นเอ็ก โทเดิร์ม พบบริเวณด้ านหลังเหนือ
ไฟลัมคอร์ดาตา
โนโทคอร์ดในระยะเอ็มบริโอ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็ นสมองและไขสันหลังในระยะตัวเต็มวัย
(Phylum Chordata)
3) มีช่องเหงือกอยู่บริเวณคอหอย ทาหน้ าที่กรองอาหารในนา้ ที่ไหลผ่านเข้ ามา พบในระยะตัวอ่อน
ของสัตว์กลุ่มนี้ทุกชนิด และมีการปรับเปลี่ยนไปทาหน้ าที่ อ่นื ๆ ในระยะตัวเต็มวัยต่อไป เช่น เป็ นท่อ
ยูสเตเชียน ต่อมทอนซิล ต่อมไทรอยด์ และพาราไทรอยด์ในคน เป็ นต้ น
4) มีหาง เป็ นส่วนที่อยู่ถัดจากทวารหนักบริเวณท้ายลาตัว พบในสัตว์ส่วนใหญ่ในไฟลัมนี้

สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่ม คือ


1) สัตว์ท่ไี ม่มีกระดูกสันหลัง
2) สัตว์ท่มี ีกระดูกสันหลัง
สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ; สัตว์ในกลุ่มนี้ยังไม่มีโครงร่างแข็งคา้ จุนภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น
➢ ยูโรคอร์เดต (Urochordate) มีถุงหุ้มตัว ประกอบด้ วยสารคล้ ายเซลลูโลส ตัวเต็มวัยไม่มีโนโทคอร์ด ไม่มีเส้ นประสาทขนาดใหญ่
บริเวณหลัง และหางจะหดหายไปในระยะตัวเต็มวัย ตัวอย่างเช่น เพรียงหัวหอม เป็ นต้ น
➢ เซฟาโลคอร์เดต (Cephalochordate) ตัวเต็มวัยมีท่อประสาทขนาดใหญ่ท่ีบริเวณหลัง มีโนโทคอร์ดยาวตลอดลาตัว และมีตลอด
ชีวิต มีช่องเหงือกที่คอหอยและมีหาง ตัวอย่างของสัตว์กลุ่มนี้ได้ แก่ แอมฟิ ออกซัส
สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาที่มีกระดู กสันหลัง ; สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) แบ่งออกเป็ น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มี
ขากรรไกร และสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร
 สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร
สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกรเป็ นสัตว์น้า ได้ แก่ ปลาไม่มีขากรรไกร ส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์ไปแล้ ว ปลาไม่มีขากรรไกรที่พบ
ในปั จจุ บัน คือ ปลาปากกลม ได้ แก่ แฮกฟิ ช (hagfish) เป็ นปรสิตภายนอกของปลาหลายชนิด และแลมเพรย์ (lamprey) ซึ่งมีรูปร่ างคล้ าย
ปลาไหล มีโครงร่างเป็ นกระดูกอ่อนและไม่มีครีบคู่เหมือนปลาทั่วไป

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 285
 สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร
 คลาสคอนดริคไทอิส (Class Chondrichthyes) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า ปลากระดูกอ่อ น มีขากรรไกรและครีบคู่ท่เี จริญดี เช่น กระเบน
และฉลาม มีการปฏิสนธิภายในและออกลูกเป็ นตัว

 คลาสออสติอิคไทอิส (Class Osteicthyes) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า ปลากระดูกแข็ง มีครีบ 2 คู่ คือ ครีบอกและครีบสะโพก หายใจโดยใช้
เหงือก มีแผ่นปิ ดเหงือก (operculum) มีถุงลม (air bladder) ช่วยควบคุมการลอยตัวในนา้ ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอก ปลากระดูกแข็ง
ส่วนใหญ่ท่พี บในปัจจุบันดารงชีวิตในนา้ โดยอาศัยแก๊สออกซิเจนที่ละลายในนา้ หายใจ แต่มีการกระดูกแข็ง 2 กลุ่ม คือ ปลาที่มีครีบเนื้อ และ
ปลาปอดที่สามารถหายใจจากอากาศได้ ในช่วงเวลาสั้นๆ

 คลาสแอมฟิ เบีย (Class Amphibia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก (amphibian) แบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มกบ
กลุ่มงูดิน และกลุ่มซาลามานเดอร์

 คลาสเรปทิ เ ลี ย (Class Reptilia) เรี ย กสัต ว์ ใ นคลาสนี้ ว่ า สัต ว์ เ ลื้ อยคลาน (reptile) ซึ่ ง จั ด เป็ นสัต ว์ มี ก ระดู ก สัน หลั ง กลุ่ ม แรกที่มี
การดารงชีวิตบนบกอย่างแท้ จริง สัตว์เลื้อยคลานในอดีตที่ร้ ูจักกันดี คือ ไดโนเสาร์ (dinosaurs) สัตว์เลื้อยคลานจะมีผิวหนังปกคลุมด้ วยสาร
เคราทิน (keratin) เพื่อป้ องกันการสูญเสียนา้ ออกจากร่างกาย มีการหายใจโดยใช้ ปอด มีการปฏิสนธิภายในร่างกายเพศเมีย และสร้ างเปลือก
มาห่อหุ้มและวางไข่นอกร่างกายเพศเมีย สัตว์เลื้อยคลานที่พบในปัจจุบัน เช่น เต่า ตะพาบนา้ จิ้งจก ตุก๊ แก จิ้งเหลน และจระเข้

 คลาสเอวีส (Class Aves) สัตว์ในคลาสนี้ คือ สัตว์ปีก จากหลักฐานพบซากดึกดาบรรพ์ของ อาร์คีออพเทริ กซ์ (Archaeopteryx) ที่มี
ลักษณะเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน คือ มีเกล็ดที่ขา กรงเล็บ ฟัน และหางยาว เป็ นต้ น แต่มีขนเหมือนขนนก

 คลาสแมมมาเลีย (Class Mammalia) เรียกสัตว์ในคลาสนี้ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม (mammal) ได้ มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน


สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมในเพศเมียทุกชนิดมีต่อมนา้ นม ทาหน้ าที่ผลิตนา้ นมสาหรับเลี้ยงลูกอ่อนและมีขนปกคลุมลาตัว ซึ่งในปัจจุบันแบ่ง สัตว์
เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมเป็ น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1) กลุ่มมอโนทรีม (Monotremes) เป็ นสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมที่มีลักษณะโบราณ คือ ออกลูกเป็ นไข่ แต่มีขนและต่อมนา้ นม ได้ แก่
ตุ่นปากเป็ ด และตัวกินมดมีหนาม เป็ นสัตว์ท่พี บเฉพาะในประเทศออสเตรเลียและนิวกินีเท่านั้น
2) กลุ่มมาร์ซูเพียล (Marsupials) สัตว์กลุ่มนี้จะตั้งท้องในระยะเวลาที่ส้นั มาก ทาให้ ลูกอ่อนที่คลอดออกมามีขนาดเล็กและจะคลาน
เข้ าไปอยู่ในถุงหน้ าท้องของแม่ ซึ่งภายในจะมีต่อมนา้ นม เช่น โอพอสซัม จิงโจ้ และโคอาลา
3) กลุ่มยูเทเรียน (Eutherians) เป็ นสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมที่มีรก มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นในยุคครีเทเชียส มีระยะเวลาในการตั้งท้อง
นานกว่ามาร์ซูเพียล ได้ แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมส่วนใหญ่ รวมทั้งสัตว์กลุ่มไพรเมต

NOTE ; เปรียบเทียบสัตว์สะเทินน้ าสะเทินบก และสัตว์เลื้ อยคลาน ดังนี้

สัตว์สะเทินน้ าสะเทินบก สัตว์เลื้ อยคลาน


ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ปฏิสนธิภายในร่างกาย
วางไข่ในนา้ วางไข่บนบก
ไข่มีว้ นุ หุ้ม ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม
ผิวหนังเปี ยกชื้น ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 286
ไพรเมต (primate)

เป็ นสัตว์ท่ีอาศัยอยู่บนต้ นไม้ เป็ นส่วนใหญ่ ได้ แก่ ลิงลม กระแต ลิง ชะนี อุรังอุตัง ชิมแปนซี และมนุษย์
สัตว์กลุ่มนี้มีมือและเท้ าสาหรับการยึดเกาะ นิ้วหัวแม่มือพับขวางได้ มีสมองขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้น
ทาให้ ใบหน้ าแบน มีตาที่ใช้ มองไปข้ างหน้ า มีเล็บแบนทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า มีพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกอ่อน
และพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้ อนขึ้นกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นมกลุ่มอื่น

แบ่งออกเป็ น 2 สาย คือ โพรซิเมียน (Prosimian) และ แอนโทรพอยด์ (Anthropoid)

เป็ นสัตว์กลุ่มไพรเมตระยะแรกเริ่มที่อาศัยอยู่บ นต้ นไม้ ลาตัวมีขนาดเล็ก ตากลมโต มีน้ ิว 4 นิ้ว และออกหากิน


โพรซิเมียน
ในเวลากลางคืน สัตว์กลุ่มนี้ ได้ แก่ ลิงลมหรือนางอาย และลิงทาร์ซิเออร์ พบอยู่ในเขตร้ อนแถบแอฟริกาและเอเชียใต้
เป็ นสัต ว์ ก ลุ่ม ไพรเมต มี น้ ิว มื อ 5 นิ้ว มองเห็นได้ ดี ใ นเวลากลางวั น สมองเริ่ม มี ข นาดใหญ่ และหน้ า ผากแบน
สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้ แก่ ลิงมีหาง ลิงไม่มีหาง และมนุษย์
มีการแพร่กระจายอยู่ในสภาพแวดล้ อมที่แตกต่างกัน โดยลิงโลกใหม่ทุกชนิดยังอาศัยอยู่บนต้ นไม้
มีแขนขายาวเพื่อใช้ ประโยชน์ในการปี นป่ ายและห้ อยโหน อยู่ตามธรรมชาติเฉพาะทวีปอเมริกากลาง
และอเมริกาใต้ ส่วนลิงโลกเก่าเริ่มอาศัยอยู่บนพื้นดิน พบในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ลิงโลกเก่า
มีก้นเป็ นแผ่น หนังหนา เกลี้ยง ลิงทั้ งสองกลุ่มต่างก็เป็ นสัตว์ท่ีหากินในเวลากลางวัน อยู่ร่วมกัน
แอนโทรพอยด์ ลิงมีหาง เป็ นฝูง มีการควบคุมกันโดยใช้ พฤติกรรมทางสังคม
- ลิงโลกใหม่ เป็ นลิงที่มีหางสามารถใช้ หางยึดเกาะหรือพันต้ นไม้ เพื่อห้ อยโหนได้
เช่น ลิงสไปเดอร์ ลิงมาโมเซท ลิงฮาวเลอร์ (พบแถบอเมริกา) เป็ นต้ น
- ลิงโลกเก่า ไม่สามารถใช้ หางยึดหรือพันต้ นไม้ เพื่อห้ อยโหนได้
เช่น ลิงแสม ลิงบาบูน (พบแถบเอเชีย และแอฟริกา) เป็ นต้ น
เรีย กว่ า เอพ (ape) ประกอบด้ ว ย ชะนี อุรังอุตั ง กอริลลา และชิม แปนซี สืบ วิ วั ฒ นาการจาก
ลิงไม่มีหาง
บรรพบุรุษซึ่งเป็ นลิงโลกเก่า มีแขนยาวแต่ขาสั้น ไม่มีหาง สามารถห้ อยโหนไปมาได้

NOTE ;
 จอกหูหนู แหนแดง จัดเป็ น เฟิ น (Pterophyta)
จอก แหน สาหร่ายหางกระรอก จัดเป็ น พืชดอก (Anthophyta)
 แม่เพรียง จัดเป็ น Annelida
เพรียงคอห่าน เพรียงหิน จัดเป็ น Arthropoda
เพรียงหัวหอม จัดเป็ น Chordata
 ซาลามานเดอร์ (จิ้งจกนา้ ; กระท่าง) งูดิน จัดเป็ น สัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก (Amphibian)

➢ โรคทีเ่ กิดจากสิง่ มีชีวิตประเภทต่างๆ

แบคทีเรีย ปอดบวม วัณโรค โรคเรื้อน บาดทะยัก อหิวาตกโรค คอตีบ ไอกรน ไทฟอยด์ บิด ซิฟิลิส แอนแทรกซ์
โปรโตซัว ไข้ มาลาเรีย บิดมีตัว
รา กลาก เกลื้อน ชันตุ
ไวรัส ไข้ เลือดออก ไข้ เหลือง เริม อีสกุ อีใส ไข้ หวัดใหญ่ คางทูม หวัด ฝี ดาษ โปลิโอ พิษสุนัขบ้ า หัดเยอรมัน เอดส์

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 287
23.5 ความหลากหลายทางชีวภิ าพในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจานวนมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถแสดงได้ ดังตารางต่อไปนี้

จานวนสปี ชีส์
ประเภทของสิง่ มีชีวิต
โลก ประเทศไทย ร้ อยละ
เฟิ น 10,000 591 5.9
สน 529 25 4.7
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 50,000 1,690 3.4
พืชใบเลี่ยงคู่ 170,000 7,750 4.6
ปลา 19,056 2,401 12.6
สัตว์สะเทินนา้ สะเทินบก 4,187 123 2.9
สัตว์เลื้อยคลาน 3,600 318 5.0
นก 9,040 962 10.6
สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนา้ นม 4,000 292 7.3

23.6 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ตัวอย่างการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย เช่น

การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็ นที่อยู่อาศัยของทรัพยากรทางชีวภาพทั้ง พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น

การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ โดยพบว่าป่ าไม้ ถูกทาลายลงไปมากจนเหลือพื้นที่ป่าธรรมชาติประมาณร้ อยละ 25


ของพื้นที่ประเทศ

ประชากรช้ างป่ าในปัจจุบันเหลืออยู่ในประเทศไทยประมาณ 1,975-2,300 ตัว

กูปรีและละมั่งไม่มีผ้ พู บเห็นในป่ าธรรมชาติของประเทศไทยมานานหลายปี

พืชป่ าหลายชนิดจัดอยู่ในสภาวะหายากและใกล้ สญ
ู พันธุ์ โดยเฉพาะกล้ วยไม้ ป่าต่างๆ เช่น รองเท้านารี

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 288
บทที่ 24 : ระบบนิเวศและประชากร
➢ คานิยามศัพท์เกี่ยวกับระบบนิเวศ
1. ประชากร (Population) คือ สิง่ มีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
2. กลุ่มของสิ่งมีชีวิต (Community) คือ สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มาอาศัยอยู่ร่วมกัน
3. ระบบนิเวศ (Ecosystem) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชวี ิตกับแหล่งที่อยู่
4. โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere) คือ ระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ท่สี ดุ “โลกของเรา”

24.1 ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศในนา้ ระบบนิเวศบนบก

แหล่งนา้ จืด แหล่งนา้ กร่อย แหล่งนา้ เค็ม ป่ าไม้

แหล่งนา้ นิ่ง หาดทราย ป่ าผลัดใบ ป่ าไม่ผลัดใบ

แหล่งนา้ ไหล หาดหิน ป่ าเบญจพรรณ ป่ าดิบชื้น

แนวปะการัง ป่ าเต็งรัง ป่ าดิบแล้ ง

ป่ าดิบเขา

ป่ าสนเขา

ป่ าชายเลน

ป่ าพรุ

ระบบนิเวศในน้ า
มีเกลือน้ อยกว่าร้ อยละ 0.1 แบ่งเป็ น 3 บริเวณ คือ
1) บริเวณชายฝั่ง (littoral zone) พบพืชนา้ ที่รากหยั่งลึกในดิน และพืชที่ลอยนา้
แหล่งนา้ จืด 2) บริเวณผิวนา้ (limnetic zone) ถัดมาจากชายฝั่ง ยังได้ รับแสงส่องผ่านลงมา
3) บริเวณน้าชั้นล่าง (profundal zone) อยู่ต่ากว่าระดับผิวน้าถึงพื้นท้ องน้า (benthic zone)
แสงส่องผ่านไปไม่ถึง

มีเกลือเฉลี่ยประมาณร้ อยละ 3.5 แบ่งเป็ น 2 บริเวณ คือ


แหล่งนา้ เค็ม 1) บริเวณชายฝั่งทะเล (coastal zone) ค่อนข้ างอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหาร
2) บริเวณทะเลเปิ ด (open sea zone) แบ่งเป็ น 3 เขต คือ เขตที่แสงส่องถึง
เขตที่แสงน้ อย และเขตที่ไม่มีแสง

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 289
ระบบนิเวศบนบก

มีฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก พบไม้ ยาง ตะเคียน ตีนเป็ ดแดง


ป่ าดิบชื้น จิกเขา ปาล์ม หวาย เถาวัลย์ เป็ นต้ น

พบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบยางแดง มะค่าโมง เคี่ยม


ป่ าดิบแล้ ง
กะบาก พลอง กระเบาเล็ก เป็ นต้ น

พบในพื้นที่สูงทางภาคเหนือ พบไม้ ว งศ์ก่อ นางพญาเสือโคร่ ง อบเชย


ป่ าดิบเขา กายาน สนเขา กุหลาบป่ า ผักกูด และมอส เป็ นต้ น

พบตามภูเขาสูง พบสนสองใบ สนสามใบ ส่วนใหญ่ดินเป็ นกรด ขาดธาตุ


ป่ าสน
อาหาร

พบตามแนวชายฝั่งทะเล และปากแม่น้า พบโกงกาง แสม ลาพู ตะบูน


ป่ าชายเลน เป็ นแหล่งอนุบาลสัตว์อ่อน

เป็ นป่ าที่มี น้า ขั งตลอดปี เป็ นดิ นอินทรีย์ มี ความเป็ นกรดสูง พบหวาย
ป่ าพรุ หมากแดง หลุมพี พบทางภาคใต้ เช่น พรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส

จัดเป็ นป่ าผลัดใบ มักพบไม้ หลัก 5 ชนิด ได้ แก่ สัก มะค่า แดง ประดู่
ป่ าเบญจพรรณ
และชิงชัน

ป่ าเต็งรัง หรือป่ าแดง ป่ าแพะ เป็ นป่ าผลัดใบ พบในที่แห้ งแล้ ง พบไม้ เต็ง ไม้ รัง ไผ่
เหียง มะขามป้ อม พะยอม ประดู่แดง พลวง เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 290
ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

ปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางชีวภาพ

อุณหภูมิ ภาวะการได้ ประโยชน์ร่วมกัน

ความชื้น ภาวะพึ่งพา

แสงสว่าง ภาวะอิงอาศัย

แก๊ส ภาวะการล่าเหยื่อ

ดิน แร่ธาตุ ภาวะปรสิต

ความเป็ นกรดเบสของดินและนา้ ภาวะการแก่งแย่งแข่งขัน

ความพันธ์ระหว่างสิง่ มีชีวิต

1) แบบพึง่ พาอาศัยกัน (Symbiosis)


เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ทาให้ ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ ายได้ ประโยชน์โดยไม่มีฝ่ายใดเสียประโยชน์ ได้ แก่
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดโดยต่างก็ได้ รับประโยชน์ซ่งึ กันและกัน เมื่อแยกกันอยู่จะไม่
สามารถดารงชีวิตต่อไปได้ เช่น
1.1 ภาวะพึง่ พา
- ไลเคน : ราอยู่ร่วมกับสาหร่าย
(Mutualism : +, +)
- โพรโทซัวในลาไส้ปลวก
- แบคทีเรียในลาไส้ใหญ่ของคน
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยได้ รับประโยชน์ร่วมกัน สามารถแยกกันอยู่ได้ เช่น
1.2 ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน
- แมลงกับดอกไม้
(Protocooperation : +,+)
- ปูเสฉวนกับดอกไม้ ทะเล (sea anemone)
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ ายหนึ่งได้ ประโยชน์ อีกฝ่ ายหนึ่งไม่ได้ และไม่เสีย
ประโยชน์ เช่น
1.3 ภาวะอิงอาศัย
- ฉลามกับเหาฉลาม
(Commensalism : +, 0)
- พืชอิงอาศัย (epiphyte) บนต้ นไม้
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทารังบนต้ นไม้

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 291
2) แบบปฏิปักษ์ต่อกัน (Antagonism)
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่ทาให้ ฝ่ายหนึ่งฝ่ ายใดเสียประโยชน์หรือเสียประโยชน์ท้งั สองฝ่ าย ได้ แก่
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ ายหนึ่งจับอีกฝ่ ายหนึ่งเป็ นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator)
2.1 ภาวะล่าเหยือ่ ส่วนฝ่ ายที่ถูกจับเป็ นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ (prey) เช่น
(Predation : +, -) - กบกับแมลง
- เหยี่ยวกับหนู
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ ายหนึ่งได้ ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) อีก
2.2 ภาวะปรสิต ฝ่ ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (host) เช่น
(Parasitism : +, -) - เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์
- พยาธิ : จัดเป็ นปรสิตภายใน (endoparasite)
2.3 ภาวะแข่งขัน เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแก่งแย่งปัจจัยในการดารงชีพเหมือนกัน ทาให้ เสียประโยชน์
(Competition : -, -) ทั้งสองฝ่ าย เช่น พืชหลายชนิดที่อยู่ในบริเวณเดียวกันแข่งขันเจริญขึ้นหาแสง เป็ นต้ น
เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายใดฝ่ ายหนึ่งหลั่งสารมายับยั้งการเจริญของอีกฝ่ ายหนึ่ง เช่น
2.4 ภาวะหลังสารยั
่ บยั้งการเจริญ
สาหร่ายสีเขียวแกมนา้ เงินบางชนิดหลั่งสารพิษ เรียกว่า hydroxylamine ทาให้ สัตว์นา้ ในบริเวณนั้น
(Antibiosis : 0, -)
ได้ รับอันตราย

3) แบบเป็ นกลางต่อกัน (Neutralism : 0, 0)


เป็ นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่เป็ นอิสระต่อกัน จึงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ ายใดได้ หรือเสียประโยชน์ เช่น แมงมุมกับกระต่ายที่อาศัยอยู่ ใน
สนามหญ้ า กบกับไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในนาข้ าว

การถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ

องค์ประกอบของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ
กลุ่มสิ่งไม่มชี ีวิต กลุ่มสิ่งมีชีวิต
ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
ผู้บริโภคพืช
ผู้บริโภคสัตว์
ผู้บริโภคพืชและสัตว์
ผู้บริโภคซากพืชและสัตว์

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 292
บทบาทของสิง่ มีชีวิต

1) ผู้ผลิต (Producer) เป็ นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้ างอาหารเองได้ (Autotrophic Organism) ด้ วยกระบวนการสังเคราะห์


ด้ วยแสง และสามารถเปลี่ยนสารอนินทรีย์ให้ กลายเป็ นสารอินทรีย์ได้ เช่น พืช และสาหร่าย เป็ นต้ น

2) ผู้บริโภค (Consumer) เป็ นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้ างอาหารเองได้ (Heterotrophic Organism) จะต้ องได้ รับจาก
ผู้ผลิตด้ วยการบริโภคเพื่อให้ ได้ พลังงาน ตัวอย่างเช่น สัตว์ โดยสามารถแบ่งได้ เป็ น 4 ประเภท คือ
2.1 ผู้บริโภคพืช (Herbivore) ได้ แก่ ช้ าง ม้ า วัว ควาย
2.2 ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) ได้ แก่ เสือ สิงโต
2.3 ผู้บริโภคพืชและสัตว์ (Omnivore) ได้ แก่ คน นก เป็ ด ไก่
2.4 ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (Dentritivore) ได้ แก่ แร้ ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (Decomposer) เป็ นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้ กลายเป็ นสารอนินทรีย์ได้


โดยทาให้ เกิดการหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่น เห็ด รา แบคทีเรีย เป็ นต้ น

การถ่ายทอดพลังงานในสิง่ มีชีวิต

ความสัมพันธ์เชิงอาหารที่มีการถ่ายทอดพลังงานเคมี โดยการกิน
กันเป็ นทอดๆ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค และจากผู้บริโภคไปยัง
โซ่อาหาร ผู้บริโภคลาดับถัดไป
(Food Chain) เช่น ผักกาด  หนอน  นก  คน
ห่ วงโซ่ อาหาร แบ่ งเป็ น 3 ประเภท คือ แบบจับกิน แบบปรสิต
และแบบดีไทรทัส (การย่อยสลาย)

สายใยอาหาร ความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหาร ตั้งแต่ 2 โซ่อาหารขึ้นไป ทาให้ มี


(Food Web) โอกาสถ่ายทอดพลังงานได้ หลายทิศทาง

ภาพแสดงห่วงโซ่อาหาร (food Chain)


ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 293
ภาพแสดงสายใยอาหาร (food web)
ที่มา ; Reece et al. (2011)

NOTE :
 กฏ 10% ผู้บริโภคได้ รับพลังงานจากการกินผู้ผลิต โดยพลังงานส่วนหนึ่งจะใช้ ไปในการประกอบกิจกรรม บางส่วนกลายเป็ น
กากอาหารขับถ่ายทิ้งไป แต่ส่วนใหญ่จะกลายเป็ นพลังงานความร้ อนในกระบวนการหายใจ พลังงานที่ผ้ บู ริโภคสามารถนาไป
สร้ างเนื้อเยื่อของตนเองจึงเหลือเพียง 10% ของพลังงานศักย์ท้งั หมดในสิ่งมีชีวิตที่เป็ นอาหารของตน
 พีระมิดแสดงพลังงาน จะเป็ นพีระมิดหัวตั้งเสมอ (ฐานกว้ างยอดแหลม เพราะเป็ นไปตามกฏ 10%)
 ในห่วงโซ่อาหาร พลังงานจะลดลงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคตามกฏ 10% ดังนั้นผู้บริโภคลาดับหลังๆ จะได้ รับพลังงานน้ อยลง
 ในห่วงโซ่อาหาร หากมีการสะสมสารพิษ จะมีการสะสมสารพิษมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคลาดับ
สุดท้ายจะได้ รับสารพิษมากที่สดุ

พีระมิดนิเวศวิทยา เป็ นการแสดงความสัมพันธ์ลาดับชั้นของโซ่อาหารในรูปแบบของพีระมิด

1) พีระมิดแสดงจานวน

2) พีระมิดแสดงมวลชีวภาพ

3) พีระมิดแสดงพลังงาน

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 294
ภาพแสดงพีระมิดนิเวศวิทยา
ที่มา ; https://biologydictionary.net/ecological-pyramid/

การหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ

แบ่งเป็ น
วัฏจักรแบบสมบูรณ์ (ผ่านดิน นา้ อากาศ) เช่น นา้ ไนโตรเจน คาร์บอน กามะถัน

วัฏจักรแบบไม่สมบูรณ์ (ไม่ผ่านอากาศ) เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม

1) วัฏจักรน้ า : แบ่งเป็ นวัฏจักรย่อย 2 วัฏจักร คือ (1) ผ่านสิ่งมีชวี ิต กับ (2) ไม่ผ่านสิง่ มีชีวิต ดังนี้

นา้ จากแหล่งนา้ ต่างๆ จะถูกสิ่งมีชีวิตนามาใช้ ในกิจกรรมต่างๆ และซึม


กรณีผ่านสิ่งมีชวี ิต ;
ผ่านดิน และลงไปในแหล่งนา้ ต่างๆ อีกครั้ง

น้าจากแหล่งนา้ ต่างๆ จะเกิดการระเหยกลายเป็ นไอนา้ และควบแน่น


กรณีไม่ผ่านสิ่งมีชวี ิต ;
กลายเป็ นเมฆ หลังจากนั้นจะกลั่นตัวกลายเป็ นฝนตกลงตามแหล่งนา้

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 295
ภาพแสดงวัฏจักรนา้
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

2) วัฏจักรคาร์บอน : มีกระบวนการที่เกี่ยวข้ องคือ .... (1) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง


(2) กระบวนการเผาไหม้
(3) กระบวนการหายใจ

เริ่มจากสารประกอบคาร์บอนในบรรยากาศ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์


ถูกพืชนามาใช้ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กลายเป็ นสารประกอบคาร์บอนในพืช
เมื่อสัตว์กนิ พืชก็จะได้ รับสารประกอบคาร์บอนในรูปของสารอินทรีย์

เมื่อพืชและสัตว์ตายทับถมกันเป็ นเวลานานกลายเป็ นปิ โตรเลียม
ถูกนามาใช้ เป็ นเชื้อเพลิงเกิดการเผาไหม้
ทาให้ เกิดเป็ นสารประกอบคาร์บอนในบรรยากาศอีกครั้ง

ในขณะเดียวกันเมื่อพืชและสัตว์หายใจ จะได้ สารประกอบคาร์บอน
ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่บรรยากาศอีกด้ วย

ภาพแสดงวัฏจักรคาร์บอน
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 296
3) วัฏจักรไนโตรเจน : แบ่งเป็ น 4 ขั้นตอน คือ ...

เกิดกระบวนการตรึงแก๊สไนโตรเจน (Nitrogen fixation)


โดยมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้ อง เช่น ไรโซเบียม สามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนจากบรรยากาศ
เปลี่ยนให้ เป็ นสารประกอบไนโตรเจนในดิน และถูกพืชนามาใช้ ในการเจริญเติบโต

เมื่อสัตว์กนิ พืช ไนโตรเจนจึงเปลี่ยนเป็ นองค์ประกอบในรูปของสารชีวโมเลกุลประเภทโปรตีน
และเมื่อสัตว์ขับถ่ายของเสียก็จะมีไนโตรเจนเป็ นองค์ประกอบเรียกว่า แอมโมเนีย
เกิดกระบวนการสร้างแอมโมเนีย (Ammonification) โดยมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้ อง
เรียก “Ammonifying bacteria” เช่น Psudomonas

หลังจากนั้น แอมโมเนียจะถูกเปลี่ยนเป็ นไนไตรต์ และเปลี่ยนเป็ นไนเตรต
เรียกว่า กระบวนการสร้างไนเตรต (Nitrification) โดยมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้ อง
เรียก “Nitrifying bacteria” เช่น Nitrobacter

ไนเตรตที่ได้ จะถูกเปลี่ยนเป็ นไนโตรเจนกลับคืนสู่บรรยากาศอีกครั้ง
เรียกว่า กระบวนการสร้างไนโตรเจน (Denitrification) โดยมีแบคทีเรียที่เกี่ยวข้ อง
เรียก “Denitrifying bacteria” เช่น Thiobacillus

ภาพแสดงวัฏจักรไนโตรเจน
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 297
4) วัฏจักรฟอสฟอรัส : เป็ นธาตุท่จี าเป็ นสาหรับเซลล์ เนื่องจากเป็ นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอกิ เช่น
DNA RNA และเป็ นส่วนประกอบของสารให้ พลังงานสูง เช่น ATP โดยฟอสฟอรัส
นั้นจะไม่ผ่านบรรยากาศ จึงเป็ นวัฏจักรที่ไม่สมบูรณ์

ภาพแสดงวัฏจักรฟอสฟอรัส
ที่มา ; Solomon, Berg, Martin (2011)

5) วัฏจักรกามะถัน : เป็ นธาตุท่เี ป็ นองค์ประกอบที่สาคัญของโปรตีนในพืชและสัตว์ โดยเฉพาะกรดอะมิโน


จาเป็ น เช่น เมไทโอนีนและซีสเทอีน เป็ นต้ น

ภาพแสดงวัฏจักรกามะถัน
ที่มา ; http://clinicalgate.com/microorganisms-in-the-environment-and-environmental-safety/

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 298
24.2 ไบโอม

ไบโอม หรือ ชีวนิเวศ

เป็ นระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางชีวภาพที่คล้ ายกัน กระจายไปใน


ภูมิศาสตร์ท่ตี ่างกัน

 ไบโอมในน้ า แบ่งเป็ น ไบโอมนา้ จืด ไบโอมนา้ เค็ม ไบโอมนา้ กร่อย

ประกอบด้ วย

 ไบโอมบนบก

ไบโอมบนบก ใช้ปริมาณน้ าฝนและอุณหภูมิเป็ นเกณฑ์

ชนิดของไบโอม ลักษณะสาคัญ
พบบริเวณเส้นศูนย์สตู ร ปริมาณนา้ ฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี
ป่ าดิบชื้น
มีฝนตกตลอดปี มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก
มีปริมาณนา้ ฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี อากาศค่อนข้ างเย็น
ป่ าผลัดใบในเขตอบอุ่น
พบในเขตละติจูดกลาง ป่ าผลัดใบก่อนฤดูหนาว และผลิใบหลังพ้ นฤดูหนาว
เขียวชะอุ่มตลอดปี พบในแคนาดา อเมริกา และเขตละติจูด 45-67 องศาเหนือ
ป่ าสน
มีพืชเด่น คือ ไพน์ เฟอ สพรูซ เฮมลอค
มีนา้ ฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตรต่อปี รู้จักกันดี เช่น ทุ่งหญ้ าแพรี่ (อเมริกาเหนือ)
ทุง่ หญ้ าเขตอบอุ่น และทุ่งหญ้ าสเตปส์ (รัสเซีย) เหมาะต่อการกสิกรรมและปศุสตั ว์
เพราะดินอุดมสมบูรณ์
พบได้ ในแอฟริกา อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สะวันนา
อากาศร้ อน พืชส่วนใหญ่เป็ นหญ้ า ฤดูร้อนเกิดไฟป่ าอยู่เสมอ
มีนา้ ฝนเฉลี่ยน้ อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี บางแห่งร้ อนมาก อุณหภูมิเหนือพื้นดิน
ทะเลทราย สูงถึง 60 องศาเซลเซียส ใบพืชจะลดรูปเป็ นหนาม ลาต้ นอวบนา้ รู้จักกันดี เช่น
ทะเลทรายโกบี (จีน) ซาฮารา (แอฟริกา) โมฮาวี (อเมริกา)
มีฤดูหนาวยาวนาน ลักษณะเด่น คือ ชั้นดินด้ านล่างจะจับตัวเป็ นนา้ แข็งอย่างถาวร
ทุนดรา
พบทางตอนเหนือของอเมริกา ยุโรป เอเชีย มักพบไม้ ดอก ไม้ พ่มุ และไลเคน

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 299
24.3 การเปลีย่ นแปลงแทนที่

 การเปลีย่ นแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ (ecological succession)

1. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของ


กลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มต้ นจากสถานที่ท่ไี ม่มีส่งิ มีชีวิตใดอาศัยอยู่ก่อน เช่น บริเวณที่เกิดภูเขาไฟระเบิด

2. การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (Secondary Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของ


กลุ่มสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่เคยมีส่งิ มีชีวิตอาศัยอยู่ก่อน แต่ถูกทาลายด้ วยปัจจัยบางอย่าง ตัวอย่าง เช่น
นา้ ท่วม ไฟไหม้ ป่า ฯลฯ

Climax Community (กลุ่มสิ่งมีชีวิตขั้นสุด) หมายถึง สภาพกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่ ร่วมกันในภาวะที่


ค่อนข้ างสมดุล ใช้ ระยะเวลาอันยาวนาน หากเกิดการเสียสมดุล เช่น ไฟไหม้ ป่า ฯลฯ ก็จะทาให้ เกิด
การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ

ภาพแสดงตัวอย่างการเกิด Primary Succession

ภาพแสดงตัวอย่างการเกิด Secondary Succession


ที่มา ; http://visityellowstonenationalparkyall.weebly.com/succession.html

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 300
24.4 ประชากร

ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของประชากร

หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ประชากร ในช่วงเวลาหนึ่ง
(population) (องค์ประกอบต้ องครบ 3 ส่วน คือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน + แหล่งที่อยู่ + ช่วงเวลา)

ความหนาแน่นของประชากร (population density)

สามารถประเมินหาความหนาแน่นได้ 2 วิธี คือ


1) การหาค่าความหนาแน่นอย่างหยาบ (crude density) เป็ นการหาจานวนประชากรต่อพื้นที่
ทั้งหมดที่ศึกษา (total space)

2) การหาค่าความหนาแน่นเชิงนิเวศ (ecological density) เป็ นการหาจานวนหรือมวลของ


ประชากรต่อหน่วยพื้นที่ท่ปี ระชากรนั้นอยู่อาศัยจริง (habitat space)

วิธีการประมาณค่าความหนาแน่นของประชากร สามารถทาได้ ดังนี้

เป็ นวิธีการประมาณจานวนประชากรโดยการวางแปลงสุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิต
1) สุ่มตัวอย่างแบบวางแปลง บางส่ว นในบริเ วณที่ศึก ษา แล้ ว นามาคิด คานวณเทีย บกับ พื้นที่ท้ัง หมด
(quadrat sampling method) เพื่อหาความหนาแน่น ซึ่งเหมาะสาหรับ สิ่งมีชีวิตที่ค่อนข้ างอยู่กับที่ เช่น
พืช เพรียงทะเล เป็ นต้ น

เป็ นวิธีการประมาณจานวนประชากรโดยการทาเครื่องหมายสัตว์ท่จี ับ แล้ ว


ปล่อย เมื่อจับใหม่จะได้ ท้ังตัวที่มีเครื่อ งหมายและตัวที่ไ ม่มีเ ครื่องหมาย
ข้ อ ควรค านึ ง ก็คื อ ว่ า ในขณะที่ใ ช้ วิ ธีน้ ี สัต ว์ ต้ อ งไม่ มี ก ารอพยพเข้ า และ
อพยพออก หรือไม่มีการเกิดและการตาย จึงจะได้ จานวนที่ใกล้ เคียงจริง
สามารถคานวณได้ จากสูตร
P = T2 M 1
2) ทาเครื่องหมายและจับซ้ า
M2
(mark and recapture method)
เมื่อ P = ประชากรที่ต้องการทราบ
T2 = จานวนสัตว์ท้งั หมดที่จับได้ ครั้งหลังทั้งที่มีเครื่องหมาย
และไม่มีเครื่องหมาย
M1 = จานวนสัตว์ท่จี ับได้ ครั้งแรกและทาเครื่องหมายทั้งหมด
แล้ วปล่อย
M2 = จานวนสัตว์ท่มี ีเครื่องหมายที่จับได้ ครั้งหลัง

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 301
การแพร่กระจายของประชากร

 ปัจจัยจากัดที่มีผลต่อการแพร่กระจายของประชากร
; ในแต่ละพื้นที่ท่มี ีส่งิ มีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันอาศัยอยู่ร่วมกันในปริมาณที่แตกต่างกันนี้ เนื่องจาก
มีปัจจัยจากัด (limiting factor) บางประการที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่ไม่เหมือนกัน และเป็ นสาเหตุ
ที่ทาให้ เกิดการแพร่กระจายของประชากรเกิดขึ้นซึ่งปัจจัยดังกล่าวนั้น ได้ แก่

1) ปั จ จั ย ทางกายภาพ เช่ น ความสู ง จากระดั บ น้า ทะเล อุ ณ หภู มิ แสง ความชื้ น


ความเป็ นกรด-เบส ฯลฯ พบว่ ามีผลต่ อการแพร่ กระจายของประชากรของสิ่งมีชีวิต
บางชนิด

2) ปั จจัยทางชีวภาพ เป็ นปั จจัยจากัดต่อสิ่งมีชีวิตอื่นได้ เช่ น กรณีของเสือหรือสิงโต


เป็ นผู้ล่า กวางเป็ นเหยื่อ กรณีดังกล่าวนี้พบว่าเสือหรือสิงโตจัดเป็ นปัจจัยจากัดต่อการมี
ชีวิตอยู่รอดของกวาง หรือกรณีของการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดในสังคมของสัตว์ชนิด
เดี ย วกัน พบว่ า สัต ว์ ท่ีแ ข็ง แรงกว่ า จะมี โ อกาสเจริ ญ เติ บโตและอยู่ ร อดมากกว่ า สั ต ว์
ที่อ่อนแอกว่า
➢ ในต่ า งประเทศ เช่ น ในทวี ป แอฟริ กาพบว่ า ในพื้ นที่ ห ลายแห่ ง มีแ มลงเซทซิ
(tsetse fly) อาศัยจานวนมาก ซึ่งแมลงชนิดนี้ เป็ นพาหะของโรคเหงาหลับ (African
sleeping sickness) จึ งทาให้แทบจะไม่มีผูค้ นอาศัยอยู่เลย

3) ปั จจัยอื่นๆ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ เป็ นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการแพร่กระจาย


ของประชากร เช่ น การที่สภาพทางภูมิศาสตร์เป็ นทะเล ทะเลทราย และเทือกเขาสูง
สิ่งเหล่านี้จะเป็ นกาแพงขวางกั้นหรือกีดขวางที่ทาให้ ส่งิ มีชีวิตไม่สามารถว่ายนา้ ปี นป่ าย
บิน หรือลอยข้ ามกาแพงกีดขวางไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้

 รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร

มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

การแพร่กระจายแบบสุ่ม
(random distribution)

การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม
(clumped distribution)

การแพร่กระจายแบบสมา่ เสมอ ภาพแสดงตัวอย่างการกระจายตัวของประชากร


(uniform distribution) ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 302
ขยายความ : รูปแบบการแพร่กระจายของประชากร

พบมากในกลุ่มของประชากรที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะ
ประชากรที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันและไม่ค่อย
การแพร่กระจายแบบสุ่ม เปลีย่ นแปลง จึงไม่มีการแก่งแย่งแข่งขันระหว่างสมาชิกและไม่มี
(random distribution) การรวมกลุ่มของสมาชิก เช่ น การแพร่ กระจายของพืชที่มีเมล็ด
ปลิวไปกับลม หรือสัตว์ท่ีกินผลไม้ และขับถ่ายอุจจาระทิ้งไว้ ตาม
ที่ต่างๆ และในอุจจาระนั้นมีเมล็ดพืชปะปนอยู่ จึงงอกกระจาย
ทั่วๆ ไป

เป็ นรูปแบบการแพร่ กระจายของประชากรที่ พบในธรรมชาติ


มากที่สุด ส่วนใหญ่ มักพบอยู่รวมกันด้ วยเหตุผลหลายประการ
เช่ น สภาพแวดล้ อมของดิ น อุ ณ หภูมิ และความชื้ น มี ค วาม
การแพร่กระจายแบบรวมกลุ่ม แตกต่างกัน ทาให้ เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยรูปแบบต่างๆ เป็ นสาเหตุ
(clumped distribution) ให้ ส่งิ มีชีวิตมาอยู่รวมกันเป็ นกลุ่ม เช่น ไส้ เดือนดินจะพบในดินที่
ร่ วนซุยและมีความชื้นสูง มีอินทรียวัตถุมาก หรือการสืบพั น ธุ์
ที่ทาให้ สมาชิกในประชากรมาอยู่ร่วมกันโดยเฉพาะตัวอ่อนที่ยัง
อาศัยการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ เช่น สัตว์ท่อี ยู่เป็ นกลุ่มครอบครัว เช่น
ชะนี หรือรูปแบบของพฤติกรรมที่อยู่เป็ นกลุ่ม เช่น ฝูงนก ฝูงวัว
ควาย ฝูงปลา และโขลงช้ าง เป็ นต้ น

มักพบในบริ เวณที่มีปัจจัยทางกายภาพบางประการจากัดใน
การเจริญเติบโต ได้ แก่ ความชื้น อุณหภูมิ และลักษณะของดิน
เป็ นต้ น เช่ น การแย่งน้าเพื่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชร
การแพร่กระจายแบบสมา่ เสมอ ยั ก ษ์ (saguaro) ที่ ข้ ึ นในทะเลทรายของรั ฐ อริ โ ซนา ประเทศ
(uniform distribution) สหรั ฐ อเมริ ก า การปลิ ว ของเมล็ ด ยางไปตกห่ า งจากต้ น แม่
โดยเว้ น ระยะห่ างของพื้ นที่ในการเจริ ญเติ บโต เพื่ อหลี กเลี่ยง
การแก่งแย่ งความชื้นและแสง หรือการที่ต้นไม้ บางชนิดมี ร าก
ที่ผ ลิ ต สารพิ ษ ซึ่ ง สามารถป้ องกัน การงอกของต้ น กล้ า ให้ เป็ น
บริเวณห่างรอบๆ ลาต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 303
ขนาดของประชากร

การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร

เกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกเข้ ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรนั้นๆ เช่น มีการเกิดหรือการอพยพเข้ า หรือ


มีการตายและการอพยพออกเกิดขึ้น เป็ นต้ น

การอพยพ มีผลทาให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ทั้งนี้เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ ายของ


สิ่งมีชีวิตจากแหล่ งหนึ่งไปยังอีกแหล่ งหนึ่ง ทาให้ จานวนสมาชิกของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่ม
จ านวนขึ้ นหรื อ ลดจ านวนลงได้ ซึ่ ง การอพยพดั ง กล่ า ว มี 2 ลั ก ษณะ คื อ การอพยพเข้ า
(immigration) และการอพยพออก (emigration)

รูปแบบการเพิม่ ของประชากร

ประชากรของสิง่ มีชีวิต

 มีรูปแบบการสืบพันธุเ์ พื่อเพิ่มปริมาณประชากรอยู่ 2 รูปแบบ

1) การเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีการสืบพันธุเ์ พียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต
(single reproduction)

สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์กจ็ ะออกลูกออกหลานจากนั้นก็จะตาย พบได้ ในแมลง เช่น แมลง


ชีปะขาว ผีเสื้อ และตัวไหม เป็ นต้ น พืชบางชนิด เช่น คะน้ า กวางตุ้ง ข้ าว ถั่วเขียว ลาน ไผ่

2) การเพิ่มประชากรโดยที่สมาชิกของประชากรนั้นมีการสืบพันธุไ์ ด้ หลายครั้งในช่วงชีวิต
(multiple reproduction)
สิ่งมีชีวิตเหล่ านี้ ได้ แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่ น สุนัข แมว มนุษย์ ไม้ พุ่ม เช่ น ชบา แก้ ว เข็ม และ
ไม้ ยืนต้ น เช่น มะม่วง ขนุน ส้ ม ลาไย เป็ นต้ น

 แบบแผนการเพิ่มของประชากรมี 2 รูปแบบ ดังนี้

1) การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (exponential growth)

2) การเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก (logistic growth)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 304
1) การเพิม่ ของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (exponential growth)

หรือแบบทวีคูณ พบได้ ในสิ่งมีชีวิตที่มีอัตราการเติบโตของประชากรสูงมาก มีการเพิ่มของประชากรอย่าง


รวดเร็ว เช่น การเพิ่มจานวนประชากรพวกแมลงต่างๆ อย่างรวดเร็วในตอนต้ นฤดูฝน หรือการเพิ่มของ
ประชากรมนุษย์หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็ นต้ น

 การเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล เมื่อเขียนกราฟจะเป็ นรูปตัวเจ (J shape)


มีระยะของการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็ น 2 ระยะ คือ
- ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างช้ าๆ (lag phase)
เป็ นระยะที่ประชากรมีการเพิ่มจานวนค่อนข้ างช้ า เนื่องจากประชากรยังมีจานวนน้ อย
- ระยะที่มีการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว (exponential growth phase)
เป็ นระยะที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก

 เป็ นภาวะเหตุการณ์ทางอุดมคติ (idealized circumstances) ซึ่งในธรรมชาติน้ันจะมีตัวต้ านทานใน


สิ่งแวดล้ อม (environmental resistance) ได้ แก่ อาหาร ที่อยู่ และความสัมพันธ์ ในรูปแบบต่างๆ ของ
สิ่งมีชีวิตที่มายับยั้งไม่ให้ การเพิ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขีดจากัด ซึ่งสอดคล้ องกับแนวคิดของ ทอมัส
มัลทัส (Thomas Malthus) โดยกราฟที่เขียนจะคล้ ายรูปตัวเจในระยะแรก และเมื่อถึงระยะหนึ่งการเพิ่ม
ของประชากรก็จ ะลดลงอย่ า งรวดเร็ว และมี การเพิ่ มขึ้ น และลดลงของประชากรสลั บกัน (irruptive
growth)

 ทอมัส มัลทัส เป็ นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ เสนอแนวความคิดของการเพิ่มประชากรมนุษย์ว่า


ประชากรมนุษย์มีแนวโน้ มการเพิ่ม แบบเรขาคณิต แต่การเพิ่มของอาหารสาหรับมนุษย์เป็ น แบบเลข
คณิต

ภาพแสดงกราฟการเพิ่มประชากรแบบ Exponential
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 305
2) การเพิม่ ของประชากรแบบลอจิ สติก (logistic growth)

ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้ อม หรือมีตัวต้ านทานในสิ่งแวดล้ อมเข้ ามาเกี่ยวข้ อง เช่น การเพิ่มจานวนเซลล์ยีสต์


ที่เพาะเลี้ยงในห้ องปฏิบัติการ

 การเพิ่มประชากรแบบลอจิ สติกสามารถเขียนกราฟได้ เป็ นรูปตัวเอส (S-shape) หรือกราฟแบบ


ซิกมอยด์ (sigmoidal curve) ซึ่งแบ่งระยะต่างๆ ออกเป็ น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : ชั่วโมงที่ 2-6 พบว่า อัตราการเพิ่มประชากรเป็ นไปอย่างช้ าๆ เนื่องจากประชากร
เริ่มต้ นยังมีจานวนน้ อย
ระยะที่ 2 : ชั่วโมงที่ 6-10 พบว่า อัตราการเพิ่มประชากรเป็ นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชากร
เริ่มต้ นมีจานวนมาก (ก่อนการแบ่งเซลล์ เจริญเติบโต และ
แพร่พันธุ)์
ระยะที่ 3 : ชั่วโมงที่ 10-14 พบว่า อัตราการเพิ่มประชากรช้ าลง เนื่องจากมีตัวต้ านทานใน
สิ่งแวดล้ อมเข้ ามามีบทบาทมากขึ้น
ระยะที่ 4 : ชั่วโมงที่ 14-18 พบว่า มีอตั ราการเพิ่มประชากรค่อนข้ างคงที่ เนื่องจากประชากร
สามารถปรับตัวต่อตัวต้ านทานในสิ่งแวดล้ อมได้ จึงมีอตั รา
การเกิดเท่ากับอัตราการตาย

 ในการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกนี้ ตัวต่อต้ านทานในสิ่งแวดล้ อมมีผลมากขึ้นต่อการเพิ่มประชากร


ในระยะที่ 3 และ 4 จึงทาให้ มีขีดจากัดที่ทาให้ สภาพแวดล้ อมนั้นสามารถเลี้ยงดูประชากรได้ ระดับที่
สภาพแวดล้อมสามารถเลี้ ยงดูประชากรได้มากที่สดุ เรียกว่า “แครีอิงคาพาซิตี” (carrying capacity)

ภาพแสดงกราฟการเพิ่มประชากรแบบ Logistic
ที่มา ; Reece et al. (2011)

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 306
การรอดชีวิตของประชากร

การรอดชีวิตของประชากร

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนการรอดชีวิตของประชากรขึ้นอยู่กบั ช่วงอายุขัย (life span)

กราฟการรอดชีวิตของประชากรจะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ …

รูปแบบที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตสูงในวัยแรกเกิด และจะคงที่เมื่อโตขึ้น จากนั้น


อัตราการรอดชีวิตจะต่าเมื่อสูงวัยขึ้น สิ่งมีชีวิตดังกล่าว เช่น คน ช้ าง ม้ า สุนัข เป็ นต้ น

รูปแบบที่ 2 สิ่งมีชวี ิตมีอตั ราการรอดชีวิตที่เท่ากันในทุกวัย เช่น ไฮดรา นก เต่า เป็ นต้ น

รูปแบบที่ 3 สิ่งมีชีวิตมีอตั ราการรอดชีวิตต่าในระยะแรกของช่วงชีวิต หลังจากนั้นเมื่ออายุ


มากขึ้น อัตราการรอดชีวิตจะสูง เช่น ปลา หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่

ภาพแสดงกราฟการรอดชีวิตของประชากร
ที่มา ; Reece et al. (2011)

ประชากรมนุษย์

ประชากรมนุษย์

 ประชากรมนุ ษย์ ใ นโลกมี แนวโน้ ม เพิ่ม ขึ้นเรื่อ ยๆ ลัก ษณะการเพิ่ม ของประชากรมนุ ษย์ มี แบบแผนการเพิ่ม
เป็ นแบบเอ็กโพเนนเชียล โดยมีกราฟการเพิ่มของประชากรเป็ นรูปตัวเจ

 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรของมนุษย์ ; ในการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิต
ขึ้นอยู่กับอัตราการเกิด อัตราการตาย และอัตราการอพยพ ในประชากรมนุษย์กเ็ ช่นเดียวกันพบว่าในการศึกษา
เรื่ อ งประชากรมนุ ษ ย์ (demography) นั ก ประชากรศาสตร์ จ ะใช้ อัต ราการเกิด หรื อ อัต ราการเกิด เชิ ง ประเมิ น
(crude birth rate) และอัตราการตายหรืออัตราการตายเชิงประเมิน (crude death rate) ในการนาเสนอข้ อมูลใน
ภาพรวมอย่างคร่าวๆ

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 307
 อัตราการเกิดเชิงประเมิน

หมายถึง จานวนสิ่งมีชีวิตที่เกิดต่อจานวนสิ่งมีชีวิต 1,000 หน่วยในประชากรนั้นในรอบปี


เขียนแทนสูตรได้ เป็ น
จานวนสิ่งมีชีวิตที่เกิด
อัตราการเกิดเชิงประเมิน = X 1,000
จานวนประชากรทั้งหมด

 อัตราการตายเชิงประเมิน

หมายถึง จานวนสิ่งมีชีวิตที่ตายต่อจานวนสิ่งมีชีวิต 1,000 หน่วยในประชากรนั้นในรอบปี


เขียนแทนสูตรได้ เป็ น
จานวนสิ่งมีชีวิตที่ตาย
อัตราการตายเชิงประเมิน = X 1,000
จานวนประชากรทั้งหมด

 โครงสร้ างอายุประชากรมนุษย์

; สามารถแบ่งช่วงอายุของประชากรมนุษย์ออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ…

1) วัยก่อนเจริญพันธุ์ (pre-reproductive age) ช่วงอายุต้งั แต่แรกเกิด-14 ปี

2) วัยเจริญพันธุ์ (reproductive age) ช่วงอายุต้งั แต่ 15-44 ปี

3) วัยหลังเจริญพันธุ์ (post-reproductive age) ช่วงอายุต้งั แต่ 45 ปี ขึ้นไป

ประชากรที่มีช่วงอายุ ท่ีแตกต่ างกันนี้ เมื่อนามาประกอบเป็ นแผนภาพโครงสร้ างอายุ ของประชากร


(age structure diagram) สามารถแสดงได้ ในรูปแบบของพีระมิด

ภาพแสดงพีระมิดโครงสร้ างอายุประชากรมนุษย์
ที่มา ; https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:DTM_Pyramids.svg

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 308
จากภาพพีระมิดโครงสร้ างอายุประชากรมนุษย์

ทาให้ สามารถคาดคะเนแนวโน้ มของประชากรในประเทศนั้นๆ ได้ เช่น

โครงสร้ างประชากรเพิ่มขึ้นอย่ างรวดเร็ว มักพบโครงสร้ าง


แบบ ก.
อายุประชากรแบบนี้ได้ ในประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบีย
พีระมิดฐานกว้ างยอดแหลม
และประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยา และไนจีเรีย เป็ นต้ น

แบบ ข. โครงสร้ างประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่ างช้ าๆ พบโครงสร้ างอายุ


พีระมิดรูปกรวยปากแคบ ประชากรแบบนี้ได้ ในประเทศสหรัฐ อเมริ กา ออสเตรเลี ย
แคนาดา และไทย (กาลังสู่ระฆังคว่า) เป็ นต้ น

แบบ ค. โครงสร้ างประชากรที่ มี ข นาดคงที่ พบโครงสร้ างอายุ


พีระมิดรูประฆังคว่า ประชากรแบบนี้ได้ ในประเทศสเปน เดนมาร์ก ออสเตรี ย
และอิตาลี เป็ นต้ น

แบบ ง. โครงสร้ า งประชากรลดลง จะพบโครงสร้ า งอายุ ประชากร


พีระมิดรูปดอกบัวตูม แบบนี้ได้ ในประเทศเยอรมนี ฮังการี บัลกาเรีย สวีเดน และ
สิงคโปร์ เป็ นต้ น

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 309
BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 310
บทที่ 25 : มนุษย์กบั ความยังยื
่ นของสิง่ แวดล้อม
25.1 ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ ปั ญหา และการจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources)

สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติและมนุษย์นามาใช้ ประโยชน์

ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งตามลักษณะของการนามาใช้ ประโยชน์มอี ยู่ 3 ประเภท ได้ แก่

- ทรัพยากรธรรมชาติท่ใี ช้ ไม่หมดสิ้น เช่น แสง นา้ อากาศ

- ทรัพยากรธรรมชาติท่ใี ช้ แล้ วเกิดทดแทนได้ เช่น ป่ าไม้ สัตว์ป่า

- ทรัพยากรธรรมชาติท่ใี ช้ แล้ วหมดสิ้นไป เช่น ถ่านหิน ปิ โตรเลียม

25.1.1 ทรัพยากรน้ า

 น้ามีอยู่ประมาณ 3 ใน 4 ส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็ นนา้ ในมหาสมุทรถึงร้ อยละ 97.41 ที่เหลือประมาณ


ร้ อยละ 2.59 จะเป็ นน้าจืด แต่น้าจืดที่มนุษย์สามารถนามาใช้ ประโยชน์ได้ อย่างแท้ จริงนั้นมีเพียงร้ อยละ
0.014 เท่านั้น เนื่องจากเป็ นนา้ แข็งและภูเขานา้ แข็งร้ อยละ 1.984 และอีกร้ อยละ 0.592 เป็ นนา้ ใต้ ดิน

 นา้ ที่มนุษย์นามาใช้ ประโยชน์มาจากแหล่งใหญ่ๆ 3 แหล่ง คือ


1) หยาดนา้ ฟ้ า (precipitation) เป็ นนา้ ที่ได้ จากบรรยากาศ เช่น นา้ ฝน นา้ ค้ าง หิมะ ลูกเห็บ เมฆ หมอก ไอนา้
2) นา้ ผิวดิน (surface water) เป็ นนา้ ที่ได้ มาจากนา้ ในแม่นา้ ลาคลอง ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร
3) นา้ ใต้ ดิน (ground water) เป็ นนา้ ที่อยู่ใต้ ระดับผิวดินที่มนุษย์ขุดและสูบขึ้นมาใช้ เช่น นา้ บ่อ และนา้ บาดาล

 มลพิษทางนา้ (water pollution) หมายถึง ภาวะของนา้ ที่มีสารมลพิษ (pollutant) ปนเปื้ อนในระดับที่


ทาให้ คุณภาพของนา้ เปลี่ยนไปจนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตไม่สามารถใช้ ประโยชน์จากนา้ ได้

 แหล่งที่มาของนา้ เสีย
1) จากธรรมชาติ 2) จากแหล่งชุมชน
3) จากโรงงานอุตสาหกรรม 4) จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์
5) จากการทาเหมืองแร่

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 311
การตรวจสอบมลพิษทางนา้

มีดัชนีบ่งชี้การเกิดมลพิษ ได้ แก่ อุณหภูมิ ความเป็ นกรด-เบส ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายในนา้ หรือ


ค่าดีโอ ค่าบีโอดี ปริมาณโลหะหนัก สารฆ่าแมลง ตลอดจนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มหรือฟี คอลโคลิฟอร์ม

 ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่ละลายน้ า หรือ ดีโอ (dissolved oxygen ; DO)


โดยปกติแก๊สออกซิเจนที่ละลายในนา้ ได้ มาจากบรรยากาศและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชนา้ ปริมาณ
แก๊สออกซิเจนที่ละลายในนา้ จะแปรผกผันกับอุณ หภูมิและความเข้ มข้ นของแร่ธาตุท่ีละลายในนา้ ถ้ าหาก
อุณหภูมิของนา้ และความเข้ มข้ นของแร่ธาตุในนา้ สูงจะทาให้ แก๊สออกซิเจนละลายในนา้ ได้ น้อยลง การหาค่า
ดีโอ อาจทาได้ โดยวิธกี ารไทเทรต (titration) และโดยการใช้ ดีโอมิเตอร์ (DO meter)
 โดยปกติจะมีค่าดีโอประมาณ 5-7 มิลลิกรัม/ลิตร ถ้ าค่าดีโอต่ากว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร เป็ นนา้ เสีย

 บีโอดี (Biochemical oxygen demand ; BOD)


หมายถึง ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่จุลินทรีย์ในนา้ ใช้ ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในนา้ ตามมาตรฐานสากล
จะวัดค่าบีโอดีภายในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จึงเรียกว่า BOD5 ในแหล่ งน้าใดถ้ ามีค่า
บีโอดีสงู แสดงว่านา้ นั้นเน่าเสียและสกปรกมาก

ตารางแสดงค่า BOD5 ที่เป็ นดัชนีบ่งชี้ คุณภาพน้ า


คุณภาพน้ า ค่า BOD5 (มิลลิกรัม/ลิตร)
นา้ บริสทุ ธิ์ 0
นา้ สะอาดมาก 1
นา้ สะอาด 2
นา้ สะอาดพอประมาณ 3
นา้ ไม่สะอาด 5
นา้ สกปรก 10

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 312
การจัดการทรัพยากรนา้

; หมายถึง การป้ องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับนา้ และการนานา้ มาใช้ ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดในการดารงชีพ


ของมนุษย์ ดังนั้น จึงควรมีการจัดการทรัพยากรนา้ ที่เหมาะสมและถูกวิธี ดังนี้
1) การปลูกจิตสานึกในการใช้ นา้ อย่างมีคุณค่า
2) การวางแผนการใช้ นา้ เพื่อให้ มีนา้ ใช้ ตลอดฤดูกาล
3) การนานา้ ทีใ่ ช้ แล้ วกลับมาใช้ ใหม่
4) การแก้ ไขปัญหามลพิษของนา้

 การบาบัดน้ าเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา เป็ นการใช้ จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ท่ปี นอยู่


ในนา้ เสีย โดยเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ แก๊สออกซิเจนโดยทาควบคู่กับการเติมแก๊สออกซิเจนลงในนา้ ด้ วย
เช่น การใช้ พืชนา้ ในการบาบัดนา้ เสีย ได้ แก่ ผักตบชวา ผักกระเฉด กกสามเหลี่ยม ธูปฤๅษี หญ้ าแฝก และ
บัว เป็ นต้ น

 การบาบัดน้ าเสียด้วยวิธีการทางเคมี โดยการเติมสารเคมีเพื่อให้ เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ หรือทาให้


ตกตะกอน รวมทั้งการฆ่าเชื้อโรคโดยการเติมคลอรีน เป็ นต้ น

25.1.2 ทรัพยากรดิน

 เนื้อดิน (soil texture) เกิดจากการผสมกันของอนุภาคดิน (soil particle) 3 ขนาด ได้ แก่


1) อนุภาคดินเหนียว (clay) มีขนาดอนุภาคเล็กมาก (< 0.002 มิลลิเมตร)
2) อนุภาคดินทรายแป้ ง (silt) มีขนาดอนุภาคค่อนข้ างใหญ่ (0.002-0.02 มิลลิเมตร)
3) อนุภาคดินทราย (sand) (0.02-2 มิลลิเมตร)
อนุภาคดินทัน้ง :3ดิชนิ
 องค์ประกอบของดิ นมีดอนีงค์้ ผสมกั นในสั่สดาคัส่ญ
ประกอบที วนต่4 าส่งๆ
วน ได้คือเป็อากาศ
น 3 กลุน่มา้ คืแร่อธกลุ
าตุ่มและอิ
เนื้ อดินนทรีละเอี
ยวัตยถุดหรือ
ดินเหนียว กลุ่มดินเนื้อปานกลางหรือดินร่วน และกลุ่มเนื้อดินหยาบหรือดินทราย

 มลพิษทางดินและปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน เกิดได้ จากหลายสาเหตุ เช่น


1) การทิ้งสิ่งของต่างๆ ลงในดิน
2) การใช้ สารเคมีทางการเกษตร
3) สารกัมมันตรังสี

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 313
25.1.2 ทรัพยากรดิน (ต่อ)

 ปัญหาที่เกี่ยวกับดินที่ทาให้ ดนิ เกิดความเสื่อมโทรมและทาให้ สมบัติของดินเปลี่ยนไป ได้ แก่


1) การพังทลายของดิน (soil erosion)
2) ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
3) ดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช
4) การจัดการในการแก้ ปัญหามลพิษทางดินและปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน

 การอนุรักษ์ดิน (soil conservation) ทาได้ โดย ...


1) การป้ องกันการพังทลายของหน้ าดิน
2) การปลูกพืชแบบขั้นบันได
3) การปลูกพืชคลุมดิน เช่น หญ้ าแฝก
4) การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
5) การปรับปรุงสมบัติของดิน
6) การปรับปรุงบารุงดินที่มีปัญหาเพื่อนามาใช้ ประโยชน์ใหม่
7) การเลือกใช้ ประโยชน์จากที่ดินให้ เหมาะสมกับลักษณะของดิน

25.1.3 ทรัพยากรอากาศ

 จัดเป็ นทรัพยากรธรรมชาติท่ไี ม่มีวันหมดสิ้น และเป็ นทรัพยากรที่มีความจาเป็ นต่อการดารงชีวิตของ


สิ่งมีชีวิตทุกชนิด

 องค์ประกอบของอากาศ
: พบว่าร้ อยละ 78 เป็ นแก๊สไนโตรเจน ร้ อยละ 21 เป็ นแก๊สออกซิเจน และที่เหลืออีกร้ อยละ 1 เป็ นแก๊ส
อื่นๆ เช่น แก๊สอาร์กอน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็ นต้ น

 มลพิษทางอากาศ (air pollution) หมายถึง การที่อากาศมีสารเคมีหรือสารมลพิษที่ปนเปื้ อนอยู่ใน


บรรยากาศในปริมาณที่ก่อให้ เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและมนุษย์

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 314
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางอากาศ

เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ เช่น การย่อยสลายของจุลินทรีย์


ทาให้ เกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ส่งผลให้ เกิดกลิ่นเน่าเหม็น และ
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ พบว่าการที่น้าท่วมขังไร่ นาเป็ นเวลานานๆ ทาให้ เกิดแก๊สมีเทน (CH4)
ซึ่งเป็ นแก๊สที่สาคัญในปรากฏการณ์เรือนกระจกด้ วย หรือการเกิดไฟไหม้
ป่ าทาให้ เกิดกลุ่มควันและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งการเกิดพายุ
ทาให้ มีฝนละอองฟุ้
ุ่ งกระจายในบรรยากาศ เป็ นต้ น

เกิดจากการคมนาคมต่างๆ ที่มีการใช้ น้ามันเชื้อเพลิงแล้ วปล่อยแก๊สพิษ


เกิดจากมนุษย์ ออกมา เช่ น คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ออกไซด์
ของไนโตรเจน (NOx) และออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SOx) เป็ นต้ น

 สารมลพิษที่ปนเปื้ อนในอากาศ

อนุภาคแขวนลอยในอากาศ เป็ นสาเหตุทาให้ เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ และโรคปอด


เกิดจากการเผาไหม้ แบบไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน โดยจะไปรวม
กับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทาให้ เซลล์เม็ดเลือดแดงลาเลียงแก๊ส
คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกซิเจนได้ น้อยลง อาจทาให้ ร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนได้ ถ้ าเป็ นเช่นนี้นานๆ
สายตาจะพร่ามัว ความจาเสื่อม หายใจเร็ว เจ็บหน้ าอก ถ้ าได้ รับในปริมาณมาก
ทาให้ หมดสติ และเสียชีวิตได้
เป็ นสารพิษที่ไม่สลายตัว เมื่อสูดดมเข้ าไปจะสะสมอยู่ในปอดและกระแสเลือด
ทาลายระบบประสาท มี พิ ษ ต่ อระบบทางเดิน อาหาร ท าให้ การย่ อยอาหาร
ตะกั่ว ผิดปกติ เบื่ออาหาร ปวดท้ องรุนแรง ทาลายการทางานของไขกระดูก ทาให้
เซลล์เม็ดเลือดแดงอายุส้ัน เป็ นโรคโลหิตจาง นอกจากนี้ยังเป็ นสาเหตุทาให้
เกิดมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคหอบหืดอีกด้ วย
เมื่อเข้ าไปพร้ อมกับลมหายใจ จะเกิด อาการหนาวสั่น แน่ นหน้ าอก ถ้ าเป็ น
สารประกอบของปรอทที่ปะปนเข้ าไปกับอาหารจะสะสมอยู่ในร่ างกาย ทาให้
ปรอท
ปวดท้ อง อาเจียน ปวดกล้ ามเนื้อ มีผลต่อระบบประสาท ทาลายสมองและตา
ซึ่งเป็ นอาการของโรคมินามาตะ
เมื่อเข้ าสู่ร่างกายจะสะสมอยู่ในไต ทาลายเซลล์ของหน่วยไต และมีการสะสม
แคดเมียม ในกระดูก ทาให้ กระดูกผุกร่ อน หักง่าย เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง เรียกว่า
โรคอิไตอิไต
เมื่ อสูด ดมแก๊ส คาร์ บอนไดออกไซด์ เ ข้ า ไป จะเกิด อาการมึ น งง ปวดศีรษะ
คาร์บอนไดออกไซด์
คลื่นไส้ ตาลาย
ทาให้ พืชมีใบสีเหลือง ไม่ สามารถสังเคราะห์ ด้วยแสงได้ ในสัตว์จะมีอาการ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ระคายเคืองผิวหนัง นัยน์ตา เป็ นมะเร็งปอด

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 315
1) ผลกระทบทางด้ านเศรษฐกิจ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น 2) ผลกระทบด้ านสุขภาพอนามัย
จากมลพิษทางอากาศ 3) ผลกระทบต่อพืช

1) กาหนดนโยบายและวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ
2) ให้ การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
การจัดการและแนวทาง
3) ปรับปรุงสภาพการจราจร
ในการแก้ ไขมลพิษทางอากาศ
4) ปรับปรุงคุณภาพนา้ มันเชื้อเพลิง
5) จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและบารุงรักษายานพาหนะ
6) พัฒนาเทคโนโลยีท่ใี ช้ พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ก่อให้ เกิดมลพิษ

25.1.4 ทรัพยากรป่ าไม้


เช่ น การลั ก ลอบตั ด ไม้ ท าลายป่ า เพื่ อ น าไม้ แ ละของป่ ามาใช้
ประโยชน์ การบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อการครอบครองที่ดินในการอยู่
สาเหตุของการลดลง อาศัย การทาเหมืองแร่ การสร้ างโรงแรมและรีสอร์ท สนามกอล์ฟ
ของพื้นที่ป่าไม้ ใน การเพิ่มขึ้นของจานวนประชากรทาให้ ความต้ องการปัจจัยสี่เพื่อ
ประเทศไทย การดารงชีวิตเพิ่มขึ้น จึงต้ องการพื้นที่เพื่อการทาเกษตรกรรมและ
อุ ต สาหกรรมมากขึ้ น การเกิ ด ไฟไหม้ ป่ าทั้ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ นเองตาม
ธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์เป็ นผู้กระทา เป็ นต้ น

1) การทาลายป่ าทาให้ คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น


ผลกระทบ
2) การเกิดอุทกภัย
จากการทาลายป่ า
3) สัตว์ป่าและพืชพรรณธรรมชาติลดจานวนลงหรือสูญพันธุ์

1) การปฏิบัติตามนโยบายแห่งชาติ
2) การให้ ความรู้แก่ประชาชน
การจัดการ
3) การส่งเสริมการปลูกป่ าและการป้ องกันการบุกรุกป่ า
ทรัพยากรป่ าไม้
4) การใช้ ไม้ อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
5) การกาหนดพื้นทีป่ ่ าอนุรักษ์

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 316
 ป่ าอนุรักษ์ในประเทศไทยที่สาคัญ

ชนิดของป่ า ลักษณะที่สาคัญ
เป็ นพื้นที่ธรรมชาติท่ียัง มีความอุด มสมบูร ณ์แ ละความหลากหลายทางธรรมชาติ
ต้ องมีพ้ ืนที่ไม่น้อยกว่า 10 ตารางกิโลเมตรหรือ 6,250 ไร่ ในปัจจุบันประเทศไทยมี
อุทยานแห่งชาติ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ร วม 119 แห่ ง มี พ้ ื นที่ 38,200,000 ไร่ ซึ่ ง อุ ท ยานแห่ ง ชาติ
(national park) แห่งแรกของไทย คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา อุทยานแห่งชาติ
อื่นๆ เช่น อุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติเขาสก และ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็ นต้ น
วนอุทยาน เป็ นพื้นที่ขนาดเล็กที่อยู่ ไม่ ห่างไกลจากชุ มชนมากนัก ส่วนใหญ่ อยู่ในเขตป่ าสงวน
(forest park) แห่งชาติ วนอุทยานแห่งแรกของไทย คือ วนอุทยานนา้ ตกกะเปาะ จังหวัดชุมพร
สวนพฤกษศาสตร์ เป็ นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไม้ นานาชนิดทั้งในและนอกประเทศ สวนพฤกษศาสตร์
(botanical garden) แห่งแรกของไทย คือ สวนพฤกษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี
เป็ นสวนที่ มี พ้ ื นที่ น้ อ ยกว่ า สวนพฤกษศาสตร์ เป็ นแหล่ ง รวบรวมพั น ธุ์ ไ ม้ ด อก
สวนรุกขชาติ
ท้ องถิ่นและต้ นไม้ ท่ีมีค่าทางเศรษฐกิจ เช่ น สวนรุกขชาติห้วยแก้ ว จังหวัดเชียงใหม่
(arboretum)
สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ป่า เป็ นพื้ นที่ ท่ี ก าหนดขึ้ นเพื่ อ การคุ้ มครองสั ต ว์ ป่ าให้ เป็ นที่ อ ยู่ อ าศั ย ของสั ต ว์ ป่ า
(wildlife sanctuary) อย่างปลอดภัย เช่น เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก เป็ นต้ น
พื้ นที่อนุรกั ษ์ธรรมชาติ เป็ นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น เกาะ แก่ง ภูเขา ทะเลสาบ ซากดึกดาบรรพ์ท่คี วรอนุรักษ์ไว้
(natural conservation area) เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม
เป็ นพื้นที่ท่ีกาหนดขึ้นเพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์
พื้ นที่สงวนชีวาลัย
เพื่อเป็ นแหล่ งศึกษาวิจัยทางด้ านวิทยาศาสตร์ เช่ น ป่ าสะแกราช อาเภอปั กธงชัย
(biosphere reserve)
จังหวัดนครราชสีมา เป็ นต้ น
เป็ นพื้ นที่ท่ีมีทรั พ ยากรธรรมชาติ ท่ีมีค วามเด่ น ระดั บโลก โดยได้ รั บการประกาศ
จากยู เนสโก (UNESCO) ประเทศไทยมีพ้ ืนที่มรดกโลก 5 แห่ ง โดย 3 แห่ งแรก
พื้ นที่มรดกโลก เป็ นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ได้ แก่ เมืองประวัติศาสตร์สโุ ขทัยและเมืองบริวาร
(world heritage) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุ ธยาและเมืองบริวาร แหล่ งโบราณคดีบ้านเชียง
และอีก 2 แห่ ง เป็ นมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้ แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่
นเรศวรและห้ วยขาแข้ ง จังหวัดอุทยั ธานี และผืนป่ าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ป่ าชายเลนอนุรกั ษ์ เป็ นป่ าชายเลนที่สงวนไว้ เพื่อสภาพแวดล้ อมและระบบนิเวศ เป็ นแหล่งเพาะพันธุพ์ ืช
(conservation mangrove forest) และสัตว์นา้ เศรษฐกิจ

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 317
25.1.5 ทรัพยากรสัตว์ป่า
หมายถึ ง สัต ว์ ป่ าหายาก มี ท้ัง หมด 15 ชนิ ด คื อ แรด กระซู่ กู ป รี หรือ
โคไพร ควายป่ า ละองหรือละมั่ง สมัน กวางผา เลียงผา นกเจ้ าฟ้ าหญิง
สิ ริ น ธร สมเสร็ จ นกแต้ ว แร้ ว ท้ อ งด า นกกระเรี ย น แมวลายหิ น อ่ อ น
 สัตว์ป่าสงวน เก้ ง หม้ อ พะยู น หรื อหมู น้า สัต ว์ ป่ าทั้ง 15 ชนิ ด นี้ ห้ า มล่ า โดยเด็ด ขาด
เว้ นแต่จะทาเพื่อการศึกษาหรือเพื่อกิจการของสวนสัตว์สาธารณะโดยต้ อง
ขออนุญาตจากกรมป่ าไม้ ซากของสัตว์ป่าเหล่ านี้จึงห้ ามมีไว้ ครอบครอง
ยกเว้ นจะได้ รับอนุญาตจากทางราชการ

 สัตว์ป่าคุ้มครอง

สงวนไว้ เ พื่อ ประดั บ ความงามตามธรรมชาติ หรื อ สงวนไว้


ไม่ ใ ห้ จ านวนลดลง สัต ว์ ป ระเภทนี้ห้ า มล่ า เว้ นแต่ จ ะได้ รั บ
สัตว์ป่าคุม้ ครอง อนุญาตจากกรมป่ าไม้ ก่อน มีท้ังสิ้น 166 รายการ เช่น ช้ าง
ประเภทที่ 1 ชะมด กระรอก ลิง ชะนี ค่าง เม่น นาก แมวป่ า เสือปลา อีเห็น
หนูหริ่ง และหมาไม้ นอกนั้นเป็ นนกอีก 130 ชนิด เช่น นก
กวัก นกกาบบัว นกขุนทอง นกเงือก นกเขาไฟ เป็ นต้ น

มีท้งั หมด 29 ชนิด เช่น กระทิง กวาง กระจง วัวแดง เสือโคร่ง


เสือดาว หมีคน หมีควาย และนกอื่นๆ อีก 19 ชนิด เช่น นก
สัตว์ป่าคุม้ ครอง กระสา นกแขวก นกอีโ ก้ ง ไก่ป่ า เป็ นต้ น สัต ว์ ป่ าคุ้ม ครอง
ประเภทที่ 2 ก่อนล่าต้ องได้ รับอนุญาตจากทางราชการและ
ประเภทที่ 2
ต้ องปฏิบัติอย่างเคร่ งครัดเกี่ยวกับวิธีการ อาวุธที่ใช้ สถานที่
และระยะเวลาที่ทาการล่า

1) การทาลายแหล่งที่อยู่อาศัย
2) การล่าสัตว์
 สาเหตุท่ที าให้ สตั ว์ป่าลดจานวนลง
3) การลักลอบค้ าสัตว์ป่า
4) ภัยธรรมชาติ

1) การกาหนดพื้นที่อนุรักษ์
2) การจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุส์ ตั ว์ป่า
 แนวทางการอนุรักษ์สตั ว์ป่า
3) การจัดตั้งศูนย์การศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า
4) การจัดตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่า

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 318
25.2 หลักการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

1) การเก็บกัก (storage)

การใช้ แบบยั่งยืน 2) การรักษาซ่อมแซม (repair)


(sustainable utilization)
3) การฟื้ นฟู (rehabilitation)

4) การป้ องกัน (prevention)


25.3 ชนิดพันธุต์ ่างถิน่ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

ชนิดพันธุต์ ่างถิ่น หรือที่เรียกว่า เอเลียนสปี ชีส์


(alien species)

หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในที่ท่แี ตกต่างจากพื้นที่การแพร่กระจายตามธรรมชาติ

1) ชนิดพันธุต์ ่างถิ่นที่ไม่รุกราน (non-invasive alien species ; NIAS)


จัดเป็ นชนิดพันธุต์ ่างถิ่นที่ไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้ อมโดยตรง

2) ชนิดพันธุต์ ่างถิ่นที่รุกราน (invasive alien species ; IAS)


เป็ นชนิดที่แพร่พันธุไ์ ด้ เร็ว และมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้ อม

 พื ช หลายชนิ ด ที่มีต้ น กาเนิ ด มาจากต่ า งประเทศ แบ่ ง เป็ นกลุ่ มพื ช อาหาร เช่ น ข้ า วโพด
ข้ าวฟ่ าง กลุ่มพืชเส้ นใย เช่น ฝ้ าย ปอสา ปอฝ้ าย กลุ่มพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น มันสาปะหลัง อ้ อย
ถั่วลิสง ยางพารา ตลอดจนกลุ่มผลไม้ ต่างๆ เช่น สาลี่ แอปเปิ้ ล บ๊วย ท้อ พลับ และพลัม

 แนวทางในการดาเนินการแก้ ไข มีดังนี้
1) การระมัดระวัง
2) แนวทางบั น ไดสามชั้ น ได้ แ ก่ การป้ องกัน ไม่ ใ ห้ น าเข้ า ของชนิ ด พั น ธุ์ ต่ า งถิ่ น
การสื บ พบ เป็ นองค์ ป ระกอบที่ส าคั ญ ในการป้ องกัน ในระยะต้ น เพื่ อน าไปสู่
การกาจัด ซึ่งเป็ นขั้นสุดท้ายในการป้ องกันการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ ามา
ในประเทศ
3) แนวทางเชิงระบบนิเวศ
4) ความรับผิดชอบของคนในสังคม
5) การวิจัยและติดตาม
6) การให้ การศึกษาและเสริมสร้ างความตระหนักแก่สาธารณชน

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 319
ตารางแสดงชนิดพันธุต์ ่างถิน่ ทีน่ าเข้าประเทศไทย

สิง่ มีชีวิต ที่มา วัตถุประสงค์ ผลกระทบ


อีกวั นา ทวีปอเมริกาใต้ เลี้ยงไว้ ดเู ล่น ถ้ ามากเกินไปอาจคุกคามสัตว์ท้องถิ่น
ปลาดุกรัสเซีย ประเทศแอฟริกาใต้ เลี้ยงไว้ ดเู ล่น ทาลายความหลากหลายของสัตว์นา้
หอยเชอรี่ ทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเลี้ยงประดับตู้ปลา กัดกินต้ นข้ าว ทาให้ นาข้ าวเสียหาย
ไมยราบยักษ์ ทวีปอเมริกาใต้ เพื่อใช้ เป็ นปุ๋ ยพืชสด สร้ างปัญหาแก่การชลประทาน
หญ้ าขจรจบ อินเดีย พืชอาหารสัตว์ เป็ นวัชพืชไปแย่งสารอาหารของพืชชนิดอื่น
เป็ นวัชพืชไปแย่งสารอาหาร
ผกากรอง เม็กซิโก ไม้ ประดับ
ทาให้ พืชชนิดอื่นไม่เจริญเติบโต
เพื่อเป็ นไม้ ประดับ แหล่งนา้ ตื้นเขิน
ผักตบชวา อินโดนีเซีย
ในสระนา้ เป็ นอุปสรรคต่อการจราจรทางนา้

BIOLOGY By Kru’Nhong
PAGE 320
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 1
พื้นฐานทางชีววิทยา
ธรรมชาติของสิง่ มีชีวิตและการศึกษาชีววิทยา
1) คุณสมบัติข้อใดของสิ่งมีชีวิตไม่ถกู ต้ อง
1. พารามีเซียมมีคอนแทร็กไทล์แวคิวโอลไว้ เพื่อรักษาสมดุลของนา้ ในเซลล์
2. แบคทีเรียสร้ างสปอร์ไว้ เพื่อขยายพันธุ์
3. หนอนไหมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้ าง ขนาด และรูปร่างขณะเจริญเติบโต
4. พืชไร่มีอายุเพียงหนึ่งฤดูกาลเพาะปลูก
2) ข้ อใดไม่ใช่เกณฑ์ท่นี ักชีววิทยาใช้ ในการกาหนดคุณสมบัติของสิง่ มีชีวิต
1. มีลักษณะที่จาเพาะ 2. มีววิ ัฒนาการ
3. มีการจัดระบบ 4. มีการสืบพันธุ์
3) จากการทดลองฉีดพ่นต้ นกล้ าถั่วลันเตาด้ วยฮอร์โมนจิบเบอเรลลินความเข้ มข้ น 10 ppm เปรียบเทียบกับฉีดพ่น
นา้ กลั่น พบว่าความยาวของต้ นถั่วลันเตาไม่มีความแตกต่างกัน การทดลองนี้สรุปผลได้ อย่างไร
1. ความเข้ มข้ นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินที่ใช้ ไม่เหมาะสม
2. ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินไม่มีผลต่อการยืดยาวของลาต้ นถั่วลันเตา
3. การทดลองไม่เหมาะสมเพราะไม่มีชุดควบคุมเชิงบวก
4. การทดลองผิดพลาดเนื่องจากฮอร์โมนเสื่อมสภาพ
4) ข้ อใดเป็ นการตั้งสมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ท่ดี ีท่สี ดุ
1. ถ้ าหอยเป็ นผู้ท่กี นิ ตะกอนของซากอินทรีย์ดังนั้นในแหล่งนา้ ที่มีหอยอาศัยอยู่มากย่อมมีความสะอาด
มากกว่า
2. ถ้ าความชื้นในดินมีผลต่อการเจริญของพืชดังนั้นพืชที่ได้ รับความชื้นเพียงพอย่อมเจริญเติบโตได้ ดกี ว่าพืช
ที่อาศัยในดินที่แห้ ง
3. ถ้ าการมีพืชปกคลุมดินมีผลต่อปริมาณแมลงในดินดังนั้นดินที่มีพชื ปกคลุมจะพบความหนาแน่นประชากร
ของแมลงมากกว่าดินทีไ่ ม่มีอะไรปกคลุม
4. ถ้ าการให้ วิตามินเสริมมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาดังนั้นหนูทดลองที่ได้ รับวิตามินเสริมอย่างต่อเนื่องจะมี
ความฉลาดมากกว่าหนูท่ไี ม่ได้ รับวิตามินเสริม

เคมีที่เป็ นพื้ นฐานของสิง่ มีชีวิต


5) ข้ อใดสัมพันธ์กนั
1. ไคตินและเซลลูโลสเป็ นโพลีเมอร์ของกลูโคส
2. ลิพิดและไกลโคเจนเป็ นโพลีเมอร์ของกรดไขมัน
3. ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเป็ นโพลีเมอร์ของกรดนิวคลีอกิ
4. ฮีโมโกลบินและคอลลาเจนเป็ นโพลีเมอร์ของกรดอะมิโน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 321
6) หมู่ฟังก์ชันกลุ่มใดที่พบในโปรตีน
ก. ไฮดรอกซิล ข. คาร์บอกซิล
ค. ซัลล์ไฮดริล ง. อะมิโน
จ. คีโตน
1. ก, ข, ค
2. ข, ค, ง
3. ค, ง, จ
4. ข, ง, จ
7) การทดลองใช้ เอนไซม์อะไมเลสทีเ่ ตรียมจากแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติทาง pH เป็ นกลาง ย่อยแป้ งในเวลา 10 นาที
จานวน 6 หลอด โดยแต่ละหลอดมีความเข้ มข้ นของกรดมากไปหาน้ อย (10, 10-1, 10-2, 10-3, 10-4, 10-5
ตามลาดับ) หลังจากนั้นแบ่งสารละลายออกเป็ นสองส่วน นาไปทดสอบแป้ งที่เหลือ โดยการหยดนา้ ยาไอโอดีน และ
ทดสอบนา้ ตาลที่เกิดขึ้นโดยการเติมสารละลายเบเนดิกซ์แล้ วนาไปต้ ม จะพบผลการทดลองเป็ นอย่างไร
1. หลอดที่มีความเข้ มข้ นของกรดมากที่สดุ มีสขี องสารละลายเป็ นสีอฐิ หรือสีส้ม
2. หลอดที่มีความเข้ มข้ นของกรดน้ อยที่สดุ มีสขี องสารละลายเป็ นสีนา้ เงิน
3. หลอดที่มีความเข้ มข้ นของกรดน้ อยที่สดุ มีสขี องสารละลายเป็ นสีอฐิ หรือสีส้ม
4. ไม่มีหลอดใดเกิดการเปลี่ยนแปลง
8) ข้ อใดกล่าวไม่ถูกต้ องเกี่ยวกับกรดนิวคลีอกิ
1. เป็ นสารที่ให้ พลังงาน
2. ทาหน้ าที่เก็บข้ อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
3. ทาหน้ าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่างๆ ของสิง่ มีชีวิต
4. มีนา้ ตาลคาร์บอน 6 อะตอม เป็ นส่วนประกอบ
9) จากตัวเลือกที่กาหนดให้ ข้ อใดมีความสัมพันธ์กบั มอลโทสมากที่สดุ
ก. ไกลโคเจน
ข. เดกซ์ทริน
ค. ฟรักโทส
ง. มอลเทส
1. ก, ข 2. ข, ค
3. ค, ง 4. ก, ค
10) ข้ อใดกล่าวถึงปริมาณสารที่พบในร่างกายมนุษย์ได้ ถูกต้ อง
1. นา้ คือสารอินทรีย์ท่มี ีปริมาณมากที่สดุ
2. แร่ธาตุคือสารอนินทรีย์ท่มี ีปริมาณมากที่สดุ
3. ไขมันคือสารชีวโมเลกุลที่มีปริมาณน้ อยที่สดุ
4. โปรตีนคือสารชีวโมเลกุลที่มีปริมาณมากที่สดุ
11) ข้ อใดจับคู่กบั หมู่ฟังก์ชันกับสารชีวโมเลกุล ไม่ถูกต้ อง
1. ไฮดรอกซิล - นา้ ตาล
2. คาร์บอกซิล - กรดนิวคลีอกิ
3. แอลดีไฮด์ - นา้ ตาล
4. ซัลฟ์ ไฮดริล - โปรตีน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 322
12) จากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดปฏิกริ ิยากับความเข้ มข้ นของสารตั้งต้ นเหตุใดเส้นกราฟช่วงท้ายจึงคงที่

1. มีสารยับยั้งเกิดขึ้นในปฏิกริ ิยา
2. มีการใช้ พลังงานกระตุ้นคงที่
3. บริเวณเร่งของเอนไซม์อ่มิ ตัวด้ วยสารตั้งต้ น
4. สารตั้งต้ นถูกเปลี่ยนเป็ นผลิตภัณฑ์หมดแล้ ว
13) เมื่อทดลองใช้ เอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้ งในสภาพแวดล้ อมที่เป็ นกรดต่างๆ กันปรากฏผลดังนี้

หลอดที่ ค่า pH เวลาทีใ่ ช้ ย่อย


1 3 15 นาที
2 6 6 นาที
3 7.5 3 นาที
4 10 ไม่เปลี่ยนแปลง

การทดลองนี้สรุปผลอย่างไร
1. เอนไซม์ย่อยสารได้ ช้าที่สดุ ที่ค่าพีเอช 3
2. เอนไซม์ย่อยสารได้ ช้าที่สดุ ค่าพีเอชประมาณ 10
3. เอนไซม์ถูกทาลายและสลายตัวหากค่าพีเอชเกิน 7.5
4. เอนไซม์ทางานได้ ดีท่สี ดุ ค่าพีเอชประมาณ 7.5

เซลล์ของสิง่ มีชีวิต
14) ออร์แกเนลล์ใดที่มีลักษณะเยื่อหุ้มของโครงสร้ างแบบเดียวกัน
1. ไรโบโซม และเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
2. คลอโรพลาสต์ และไลโซโซม
3. กอลจิคอมเพลกซ์ และเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
4. ไมโทคอนเดรีย และไรโบโซม
15) ออร์แกเนลล์ใดที่ไม่มีเยื่อหุ้มและไม่พบในเซลล์พืช
1. ไรโบโซม
2. เซนทริโอล
3. ไลโซโซม
4. กอลจิบอดี

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 323
16) ข้ อใดไม่ถูกต้ อง

1. ภาพ ก พบในเซลล์ของแบคทีเรีย พารามีเซียม และสัตว์


2. ภาพ ข พบในราก ลาต้ น และใบพืชดอก
3. ภาพ ค สะสมและลาเลียงสารประกอบพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
4. ภาพ ง มีองค์ประกอบทางเคมีเป็ นสารประกอบของพวกโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
17) ออร์แกเนลล์ใดที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
A คลอโรพลาสต์
B ไมโทคอนเดรีย
C ไลโซโซม
D แอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
E กอลจิคอมเพล็กซ์
1. A, B 2. B, C
3. A, D 4. B, E
18) ข้ อใดกล่าวถึงนิวคลีโอลัสถูกต้ อง
1. เห็นได้ ชัดขณะที่มีการแบ่งเซลล์
2. เห็นได้ ชัดเจนขณะที่เซลล์มีการสังเคราะห์โปรตีน
3. เป็ นโครงสร้ างที่มีเยื่อหุ้ม 1 ชั้นเหมือนกับไรโบโซม
4. เป็ นโครงสร้ างที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้นเหมือนกับไมโทคอนเดรีย
19) ข้ อใดเรียงลาดับขนาดของไซโตสเกเลตันจากมากไปหาน้ อยได้ ถูกต้ อง
1. ไมโครฟิ ลาเมนท์ อินเทอร์มีเดียทฟิ ลาเมนต์ ไมโครทิวบูล
2. ไมโครทิวบูล อินเทอร์มีเดียทฟิ ลาเมนต์ ไมโครฟิ ลาเมนท์
3. ไมโครฟิ ลาเมนท์ ไมโครทิวบูล อินเทอร์มีเดียทฟิ ลาเมนต์
4. ไมโครทิวบูล ไมโครฟิ ลาเมนท์ อินเทอร์มีเดียทฟิ ลาเมนต์
20) ข้ อใดเป็ นสารพันธุกรรมที่พบในบริเวณไซโทพลาสซึมของยูคาริโอติกเซลล์
1. กรดไขมัน
2. กรดอะมิโน
3. กรดไรโบนิวคลีอกิ
4. กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอกิ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 324
21) เมื่อนาตัวอักษร ข ไปส่องดูด้วยกล้ องจุลทรรศน์ และเลื่อนสไลด์ไปทางด้ านซ้ าย ลักษณะของภาพที่เห็นและ
ทิศทางการเคลื่อนที่ของอักษร ข ข้ อใดถูกต้ อง

1. 2.

3. 4.

22) ข้ อใดถูกต้ อง
1. กล้ องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนมีกาลังขยายสูงสุดถึง 50,000 เท่า
2. ภาพที่เกิดขึ้นกับกล้ องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนแบบส่องกราดต้ องผ่านการเคลือบด้ วยทองคา
3. ตัวอย่างที่ต้องการนามาส่องด้ วยกล้ องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนแบบส่องกราดต้ องผ่านการเคลือบด้ วยทองคา
4. เอิร์น รุสกา และคณะ เป็ นนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรกที่สร้ างกล้ องจุลทรรศน์อเิ ล็กตรอนแบบส่งกราด
23) ข้ อใดเป็ นการใช้ กล้ องจุลทรรศน์แบบใช้ แสงที่ไม่ถูกต้ อง
1. การปรับไดอะแฟรมช่วยทาให้ เห็นภาพวัตถุได้ ชัดเจนขึ้น
2. การเปลี่ยนเลนส์ใกล้ วัตถุ ควรหมุนที่แป้ นยึดเลนส์ใกล้ วัตถุ
3. การเปลี่ยนกาลังขยาย 10X เป็ น 40X จะต้ องเลื่อนแท่นวางวัตถุลงก่อน
4. การใช้ เลนส์วัตถุกาลังขยาย 100X ต้ องหยดนา้ มันลงบนแผ่นกระจกปิ ดสไลด์
24) กล้ องจุลทรรศน์ท่ใี ช้ มีกาลังขยายเป็ น 40 เท่า 100 เท่า และ 400 เท่า เมื่อใช้ ไม้ บรรทัดใสวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง
กาลังต่าได้ 2.5 มิลลิเมตร เมื่อนาไดอะตอมไปตรวจด้ วยกล้ องจุลทรรศน์น้ ที ่กี าลังขยาย 400 เท่า พบว่าไดอะตอม
มีความยาวประมาณ 1/5 ของเส้นผ่านศูนย์กลาง ไดอะตอมเซลล์น้ มี ีความยาวกี่มิลลิเมตร
1. 0.05
2. 0.25
3. 0.50
4. 2.50
25) ต้ องการวาดภาพขนาดขยาย 400 เท่า ของพารามีเซียม ซึ่งมีความยาว 250 ไมโครเมตร ภาพทีว่ าดนี้จะมี
ความยาวกี่ cm
1. 6.25 2. 10.00
3. 16.00 4. 20.00
26) กระบวนการลาเลียงสารแบบใดที่ลาไส้ เล็กใช้ ในการดูดซึมสารเข้ าสู่ร่างกาย
1. กรดไขมันใช้ วิธกี ารแพร่ กรดอะมิโนและกลูโคสใช้ วิธกี ารลาเลียงแบบแอคทีฟทรานสปอร์ต
2. กรดไขมันใช้ วิธกี ารแพร่ กรดอะมิโนและกลูโคสใช้ วิธกี ารแพร่แบบฟาซิลิเทต
3. กรดไขมันและกรดอะมิโนใช้ วิธกี ารแพร่แบบฟาซิลิเทต กลูโคสใช้ วิธกี ารลาเลียงแบบแอคทีฟทรานสปอร์ต
4. กรดไขมัน กรดอะมิโน และกลูโคสใช้ การแพร่แบบฟาซิลิเทต
27) คาศัพท์ใดไม่เกี่ยวข้ องกับกระบวนการนาอาหารเข้ าสูเ่ ซลล์และหรือการย่อยอาหาร
1. พิโนไซโตซิส 2. ฟาโกไซโตซิส
3. เอกโซไซโตซิส 4. ไฮโดรไลซิส

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 325
28) เมื่อนาชิ้นมันฝรั่งลงในสารละลายนา้ ตาลความเข้ มข้ นต่างๆ เป็ นเวลานาน 2 ชั่วโมง แล้ วนาไปชั่งหานา้ หนักของ
ชิ้นมันฝรั่ง กราฟข้ อใดแสดงความสัมพันธ์ความเข้ มข้ นของสารละลายกับนา้ หนักมันฝรั่งหลังแช่

29) ระยะใดของการแบ่งนิวเคลียสทีม่ ีการเพิ่มจานวนโครโมโซมจาก 2n เป็ น 4n


1. โพรเฟส
2. เมทาเฟส
3. แอนาเฟส
4. เทโลเฟส
30) การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในเม็ดเลือดขาวของคน จานวนโครมาทิดทั้งหมดในระยะเมทาเฟสจะมีจานวนเท่าใด
1. 23
2. 44
3. 46
4. 92
31) ในวัฎจักรของการแบ่งเซลล์ ระยะใดที่มีการสังเคราะห์ดเี อ็นเอ
1. M 2. G1
3. S 4. G2
32) จากแผนภาพข้ างล่าง ข้ อใดคือลาดับการแบ่งเซลล์เพื่อสร้ างเซลล์สบื พันธุเ์ พศเมีย (egg)

1. 1  5  6  9  10 2. 9  5  11  3  2
3. 8  5  3  7  2 4. 1  9  4  6  10

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 326
33) เซลล์ท่อี ยู่ในระยะใด ที่ 1 โครโมโซมมี 1 โครมาติด
ก. เมทาเฟส ข. แอนาเฟส
ค. เทโลเฟส ง. G1 อินเตอร์เฟส
จ. G2 อินเตอร์เฟส
1. ก และ ค 2. ข และ จ
3. ข ค และ ง 4. ก ง และ จ
34) เซลล์ในข้ อใดที่สามารถเจริญเข้ าสู่วัฎจักรของเซลล์ได้ อย่างต่อเนื่อง
ก. เซลล์ไข่ (ovum) ข. เซลล์ประสาท
ค. เซลล์ผิวหนัง ง. เซลล์ไขกระดูก
1. ก 2. ข
3. ก และ ข 4. ค และ ง

---------------------------------

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 327
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 2
ชีวิตและกระบวนการดารงชีวิตของสัตว์
การย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์
1) ข้ อใดกล่าวถูกต้ องเกี่ยวกับซีครีตนิ
ก. กระตุ้นการหดตัวของท่อนา้ ดี ข. กระตุ้นให้ ตับอ่อนหลั่งอินซูลนิ
ค. สร้ างมาจากลาไส้ ส่วนดูโอดีนัม ง. กระตุ้นให้ กระเพาะอาหารหลั่งแกสตริน
1. ก และ ข 2. ก และ ค
3. ข และ ค 4. ข ค และ ง
2) หากต้ องการจาลองสภาวะการย่อยในกระเพาะอาหารของคนมาไว้ ในหลอดทดลอง ข้ อใดจะเกิดการย่อยได้ ดีท่สี ดุ
1. ใส่ pepsinogen + หมูบด ในหลอดทดลอง
2. ใส่ pepsinogen + HCl + หมูบด ในหลอดทดลอง
3. ใส่ pepsinogen + gastrin + NaHCO3 + หมูบด ในหลอดทดลอง
4. ใส่ pepsinogen + gastrin + HCl + ในหลอดทดลอง นาไปต้ มนา้ เดือดแล้ วเติมหมูบด
3) ข้ อใดเป็ นจริงเกี่ยวกับการทางานของแบคทีเรียในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ก. ย่อยสลายเซลลูโลสได้ แอมโมเนียและกลูโคส
ข. สังเคราะห์กรดอะมิโนจากแอมโมเนีย
ค. สร้ างวิตามินเคและบี 12
1. ก , ข 2. ข , ค
3. ก , ค 4. ก , ข , ค
4) ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะมีผลกระทบต่อระบบใดบ้ าง
ก. การย่อยนา้ ตาลแลคโตส
ข. การควบคุมระดับนา้ ตาล
ค. การย่อยอาหารพวกโปรตีน
1. ก , ข 2. ข , ค
3. ก , ค 4. ก , ข , ค
5) เอนไซม์อะไมเลสจะพบได้ ท่ที างเดินอาหารส่วนใดของร่างกาย
1. ช่องปาก
2. ช่องปากและกระเพาะอาหาร
3. ช่องปากและลาไส้เล็ก
4. ช่องปาก กระเพาะอาหารและลาไส้ เล็ก
6) เอนไซม์อะไมเลสย่อยอะไมโลสได้ แต่ไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ เพราะสาเหตุใด
1. เซลลูโลสประกอบด้ วยกลูโคสที่ต่อกันด้ วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ  1-4
2. เซลลูโลสประกอบด้ วยกลูโคสที่ต่อกันด้ วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ  1-4
3. อะไมโลสประกอบด้ วยกลูโคสที่ต่อกันด้ วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ  1-4
4. อะไมโลสประกอบด้ วยกลูโคสที่ต่อกันด้ วยพันธะไกลโคซิดิกแบบ  1-4

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 328
7) โรคหัวใจขาดเลือดอาจมีผลจากการรับประทานอาหารข้ อใดมากเกินไป
1. นา้ มันจากปาล์ม
2. นา้ มันจากข้ าวโพด
3. นา้ มันจากถั่วเหลือง
4. นา้ มันจากเมล็ดทานตะวัน
8) การสลายโมเลกุลกรดไพรูวิกให้ กลายเป็ นคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นที่ส่วนใดของเซลล์ กระบวนการนี้เรียกว่า
อย่างไร และในกระบวนการนี้จะได้ พลังงานรวมทั้งหมดเท่าใด
1. ไมโทคอนเดรีย, วัฎจักรเครบส์, NADH 6 โมเลกุล FADH2 2 โมเลกุล ATP 2 โมเลกุล
2. ไซโทซอลและไมโทคอนเดรีย, ไกลโคไลซิสและวัฎจักรเครบส์, NADH 8 โมเลกุล FADH2 2 โมเลกุล
ATP 2 โมเลกุล
3. ไมโทคอนเดรีย, โคเอนไซม์ เอ และวัฎจักรเครบส์, NADH 8 โมเลกุล FADH2 2 โมเลกุล ATP 2
โมเลกุล
4. ไมโทคอนเดรีย, ไกลโคไลซิส, FADH2 2 โมเลกุล ATP 4 โมเลกุล
9) ข้ อใดคือตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในกระบวนการหมักของแบคทีเรีย
1. NAD+ 2. กรดไพรูวิก
3. แอซิตัลดีไฮด์ 4. ข้ อ 1 และ 2
10) เมื่อสิ้นสุดกระบวนการไกลโคไลซิส คาร์บอนจากนา้ ตาลกลูโคสจะอยู่ท่ใี ด
1. รวมตัวกับ O2 เกิดเป็ น CO2 2. รวมตัวกับ ADP แล้ วเกิดเป็ น ATP
3. ถูกปลดปล่อยในรูปของ CO2 4. ถูกเปลี่ยนไปอยู่ในโมเลกุลของ pyruvate
11) เมื่อนายีสต์ท่เี คยเลี้ยงในสภาพ aerobic มาเลี้ยงในสภาพ anaerobic ยีสต์ต้องมีอตั ราการใช้ กลูโคสเปลี่ยนไปอย่างไร
เพื่อที่จะให้ สามารถผลิต ATP ได้ เท่าเดิมเหมือนในสภาพ aerobic
1. เพิ่มขึ้น 2 เท่า 2. ลดลง 2 เท่า
3. เพิ่มขึ้น 19 เท่า 4. ลดลง 19 เท่า
12) ข้ อใดถูกต้ องเกี่ยวกับการสลายโมเลกุลสารอาหาร
1. ผลลัพธ์ของไกลโคลิซิสคือ 4ATP + 2NADH + 2 pyruvic acid
2. กลีเซอรอลและกรดไขมันถูกเปลี่ยนเป็ นสารตัวกลางในวัฎจักรเครบส์
3. ATP ถูกใช้ กระบวนการไกลโคไลซิสเท่านั้น
4. กรดอะมิโนทุกชนิดถูกเปลี่ยนเป็ นกรดไพรูวิกเพื่อเข้ าสูไ่ กลโคไลซิส
13) ในคนทีไ่ ด้ รับสารไซยาไนด์ การสลายมอลโทส 1 โมเลกุลโดยเซลล์ตับจะได้ พลังงานที่อยู่ในรูป ATP ทั้งหมด
กี่โมเลกุล
1. 4 2. 8
3. 38 4. 76

การสืบพันธุแ์ ละการเจริญเติบโตของสัตว์
14) โครงสร้ างใดทาหน้ าทีใ่ นทั้งระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุเ์ พศชาย
1. Urethra
2. Ureter
3. Seminiferous tubule
4. Vas deferens

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 329
15) จากรูป เป็ นแผนภาพการแบ่งเซลล์สบื พันธุใ์ นรังไข่ของผู้หญิงก่อนวัยเจริญพันธุจ์ ะพบในเซลล์ใด
1. 1
2. 2
3. 3
4. 4

16) การเป็ นมะเร็งต่อมลูกหมากมีผลต่อสเปิ ร์มในแง่ใด


1. หน้ าที่ 2. รูปร่าง
3. การเคลื่อนที่ 4. จานวน
17) โครงสร้ างข้ อใดทาหน้ าที่น้อยที่สดุ ในตัวอ่อนของคน
1. รก 2. สายสะดือ
3. ถุงนา้ คร่า 4. ถุงแอลแลนทอยส์
18) ภาวะใดไม่จัดเป็ นภาวะการมีบุตรยาก
1. ในนา้ อสุจิขาดนา้ ตาลฟรักโตส
2. ช่องคลอดหรือท่อนาไข่ตีบตัน
3. การขาดฮอร์โมนโดยเฉพาะโปรเจสเตอโรน
4. จานวนอสุจิมีมากกว่า 30 ล้ านเซลล์ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
19) กระบวนการเจริญของตัวอ่อนที่เซลล์มีการเคลื่อนที่ และจัดเรียงตัวเป็ นเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ มีช่ อื เรียกว่าอะไร
1. Blastulation
2. Cleavage
3. Gastrulation
4. Organogenesis
20) ข้ อใดไม่ถูกต้ องเกี่ยวกับเซลล์สบื พันธุแ์ ละระยะเวลาของการสร้ างในมนุษย์วัยเจริญพันธุ์
1. อสุจิสร้ างได้ ตลอดเวลา
2. เซลล์ไข่ (ovum) สร้ างขึ้นทุกเดือน
3. โพลาร์บอดีระยะที่หนึ่งสร้ างขึ้นทุกเดือน
4. โอโอไซต์ระยะที่สองสร้ างขึ้นทุกเดือน
21) ในรังไข่ของเด็กแรกเกิด จะตรวจพบเซลล์ไข่เจริญอยู่ในระยะใด
1. Oogonium
2. Primary oocyte
3. Secondary oocyte
4. Primordial germ cell
22) ข้ อใดไม่ใช่การปรับตัวของเอมบริโอของสัตว์ท่ขี ้ นึ มาอาศัยอยู่บนบก
1. มีถุงคอเรียนทาหน้ าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส
2. มีถุงแอลแลนทอยส์เพื่อเก็บสะสมกรดยูริก
3. มีถุงนา้ คร่าเพื่อป้ องกันการกระทบกระเทือน
4. เซลล์ไข่มปี ริมาณไข่แดงสะสมอยู่ปริมาณมาก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 330
23) ข้ อใดกล่าวไม่ถูกต้ องเกี่ยวกับการสืบพันธุข์ องสัตว์
1. สัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิดมีการปฏิสนธินอกตัว
2. สัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่มอี วัยวะเพศแยกกันอยู่คนละตัว
3. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดมีอวัยวะเพศทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน
4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังไม่มีชนิดการสอดใส่อวัยวะเพศผู้เข้ าสู่อวัยวะเพศเมีย

ดุลยภาพของสิง่ มีชีวิต
24) การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์ในข้ อใดไม่ต้องอาศัยถุงลม (alveolus)
1. กิ้งก่า งูดิน วาฬ
2. ปลาดุก นกเอี้ยง ดาวทะเล
3. ลูกอ๊อดกบ ม้ านา้ คางคก
4. งูดิน ค้ างคาว นกกระจอก
25) ปฏิกริ ิยา CO2 + H2O  H2CO3 พบได้ ทใ่ี ด
1. พลาสมาในเส้นเลือดฝอยรอบถุงลมปอด
2. พลาสมาในเส้นเลือดฝอยรอบเซลล์ร่างกาย
3. เม็ดเลือดแดงในเส้ นเลือดฝอยรอบถุงลมปอด
4. เม็ดเลือดแดงในเส้ นเลือดฝอยรอบเซลล์ร่างกาย
26) เมื่อเลือดมีฤทธิ์เป็ นกรด ข้ อความใดมีผลสอดคล้ องกันมากที่สดุ
1. จะกระตุ้นสมองส่วนพอนส์และเมดัลลาให้ ส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ ามเนื้อที่เกี่ยวข้ องกับ
การหายใจให้ หายใจเร็วขึ้น
2. จะกระตุ้นสมองส่วนพอนส์และเมดัลลาให้ ส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ ามเนื้อที่เ กี่ยวข้ องกับ
การหายใจให้ หายใจช้ าลง
3. จะกระตุ้นสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ ไฮโปทัลลามัสและซีรีเบลลัมให้ ส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้น
กล้ ามเนื้อที่เกี่ยวข้ องกับการหายใจให้ หายใจเร็วขึ้น
4. จะกระตุ้นสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ ไฮโปทัลลามัสและซีรีเบลลัมให้ ส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้น
กล้ ามเนื้อที่เกี่ยวข้ องกับการหายใจให้ หายใจช้ าลง
27) สิ่งที่กาหนดให้ ข้ อใดที่มีความจาเป็ นต่อการแลกเปลี่ยนแก๊สในสัตว์
ก. การแพร่ ข. ผนังบาง และมีผิวเปี ยกขึ้น
ค. เซลล์เม็ดเลือดแดง ง. ฮีโมโกลบิน
1. ก และ ข
2. ค และ ง
3. ก ข และ ค
4. ข ค และ ง
28) สัตว์ในข้ อใดมีการกาจัดของเสียที่เป็ นสารประกอบไนโตรเจนชนิดเดียวกัน
1. วาฬ ฉลาม คางคก
2. กบ จิ้งจก ไส้ เดือนดิน
3. ฟองนา้ หอยทาก พลานาเรีย
4. ปลานิล จิ้งหรีด ไส้ เดือนดิน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 331
29) ข้ อใดถูกเกี่ยวกับการขับถ่ายที่ไตของคน
ก. ยูเรียจะถูกขับออกมาในปัสสาวะทั้งหมด
ข. การกรองที่โกลเมอรูลัสลดลงในเวลากลางคืน
ค. HCO3 จะถูกดูดกลับที่ท่อขดส่วนต้ นและที่ท่อรวม
ง. การดูดกลับของ Na และ H2O เกิดได้ ทุกส่วนของท่อหน่วยไต
1. ก และ ข 2. ก และ ค
3. ข และ ง 4. ข ค และ ง
30) อวัยวะหรือออร์แกเนลล์ชนิดใดที่ไม่ได้ ใช้ ขับของเสียพวกสารประกอบไนโตรเจนจากร่างกาย
1. เฟลมเซลล์ 2. เนฟริเดียม
3. ท่อมัลพิเกียน 4. คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล
31) เมื่อเราเข้ าห้ องอบไอนา้ นานๆ จะไม่มีปรากฎการณ์ใดเกิดขึ้น
1. ขนลุก 2. เหงื่อออก
3. ตัวร้ อนกว่าปกติ 4. หน้ าแดง ตัวแดง
32) คนที่รับประทานยาลดความดันทีม่ ีคุณสมบัติเป็ นกรดไดยูเรติก ควรได้ รับการแนะนาให้ รับประทานผักและผลไม้
ที่กาหนดในข้ อใด
ก. กล้ วย ข. แตงโม
ค. ผักโขม ง. ใบชะพลู
1. ก และ ข
2. ค และ ง
3. ก และ ค
4. ข ค และ ง
33) สารที่กาหนดให้ ข้ อใดพบในของเหลวที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสของสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม
ก. เกลือแร่ ข. ยูเรีย
ค. กลูโคส ง. กรดอะมิโน
จ. โปรตีนในนา้ เลือด
1. ค และ จ 2. ก ง และ จ
3. ก ข ค และ ง 4. ก ข ค และ จ
34) ข้ อใดไม่ใช่การปรับตัวสู่สภาวะเดิมของร่างกาย เมื่อ pH ของเลือดลดลง
1. อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น
2. การขับ H+ ออกทางไตเพิ่มขึ้น
3. ความดัน CO2 ของเลือดเพิ่มขึ้น
4. ตัวรับสารเคมีของเลือดแดงถูกกระตุ้น
35) สารใดไม่จาเป็ นต่อการแข็งตัวของเลือดในร่างกายของคน
1. แคลเซียม 2. วิตามิน เค
3. ไฟบริโนเจน 4. โปแตสเซียม
36) อวัยวะใดที่ไม่เกี่ยวข้ องกับระบบหมุนเวียนเลือด ระบบนา้ เหลืองและระบบภูมิค้ มุ กัน
1. ต่อมทอนซิล 2. ต่อมไทมัส
3. ต่อมไทรอยด์ 4. ไขกระดูก

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 332
37) สัตว์ในข้ อใดมีระบบเลือดแบบเดียวกัน
ก. ไส้ เดือน ข. แมลงสาบ
ค. กุ้ง ง. ปลา
จ. กบ
1. ก, ข, ค 2. ก, ง, จ
3. ข, ค, จ 4. ค, ง, จ
38) การตรวจเลือดในผู้ป่วยเอดส์จะพบเม็ดเลือดขาวชนิดใดน้ อยที่สดุ
1. eosinophil
2. basophil
3. neutrophil
4. lymphocyte
39) ข้ อใดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของระดับแคลเซียมในร่างกายมนุษย์
1. วิตามินดี 2. วิตามินอี
3. วิตามินซี 4. วิตามินเอ
40) สารในข้ อใดมีความจาเป็ นต่อสารแข็งตัวของเลือด
1. แคลเซียม เฮปาริน โปรทอมบิน
2. เฮปาริน โปรทอมบิน วิตามินเค
3. แคลเซียม โปรทอมบิน วิตามินเค
4. แคลเซียม เฮปาริน โปรทอมบิน วิตามินเค
41) เพราะเหตุใดจึงต้ องนาเอาทารกที่คลอดก่อนกาหนดไปเลี้ยงต่อในตู้อบระยะหนึ่งก่อน
ก. ระบบหายใจยังไม่ทางาน
ข. ระบบขับถ่ายยังไม่ทางาน
ค. ระบบหมุนเวียนโลหิตยังไม่ทางาน
ง. ระบบควบคุมอุณหภูมิยังไม่ทางาน
1. ก และ ค 2. ข และ ค
3. ก และ ง 4. ข ค และ ง
42) สตรีท่กี าลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการได้ รับวัคซีนในข้ อใด
ก. คางทูม ข. ไทฟอยด์
ค. โปลิโอ ง. หัดเยอรมัน
จ. อหิวาตกโรค
1. ก ข และ ค 2. ก ค และ ง
3. ข ง และ จ 4. ค ง และ จ
43) การฉีดวัคซีนและการฉีดเซรุ่มเข้ าสู่ร่างกายมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
1. เหมือนกัน เพราะต่างก็เป็ นการฉีดแอนติบอดีเข้ าสู่ร่างกายเพื่อต้ านเชื้อโรค
2. เหมือนกัน เพราะต่างก็เป็ นการกระตุ้นให้ ร่างกายสร้ างภูมิค้ มุ กันขึ้นมาเพื่อต้ านเชื้อโรค
3. ต่างกัน เพราะวัคซีนเป็ นการฉีดแอนติเจน ส่วนซีรัมเป็ นการฉีดแอนติบอดีเข้ าสู่ร่างกาย
4. ต่างกัน เพราะวัคซีนเป็ นการฉีดแอนติบอดี ส่วนซีรัมเป็ นการฉีดแอนติเจนเข้ าสู่ร่างกาย

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 333
การเคลือ่ นที่ของสิง่ มีชีวิต
44) สัตว์ในข้ อใดที่อาศัยระบบการเคลื่อนที่แบบเดียวกัน
1. ไส้ เดือนดิน วาฬ หมึก
2. หมึก ดาวทะเล หอยกาบ
3. ไฮดรา ดอกไม้ ทะเล แมลงดานา
4. หนอนตัวกลม พลานาเรีย แมงกะพรุน
45) การทางานของกล้ ามเนื้อแบบแอนตาโกนิซึม พบในสัตว์ชนิดใดบ้ าง
1. ไส้ เดือนดิน ตั๊กแตน ไฮดรา
2. ตั๊กแตน ไฮดรา ดอกไม้ ทะเล
3. ไส้ เดือนดิน ตั๊กแตน พลานาเรีย
4. ไส้ เดือนดิน ดอกไม้ ทะเล พลานาเรีย
46) ข้ อต่อระหว่างกระดูกข้ อนิ้วมือเป็ นการต่อแบบใด
1. แบบเดือย 2. แบบอานม้ า
3. แบบสไลด์ 4. แบบบานพับ
47) ข้ อใดเรียงลาดับขนาดได้ ถูกต้ อง
1. muscle fiber > myofibril > myosin
2. muscle cell > muscle fiber > myosin
3. myofibril > muscle fiber > myosin
4. myofibril > muscle cell > myosin
48) ข้ อต่อกระดูกที่ใดที่เคลื่อนไหวไม่ได้
1. ซี่โครง
2. กะโหลกศีรษะ
3. กระดูกสันหลัง
4. กระดูกปลายแขนต่อกับมือ
49) ข้ อความข้ อใดผิด
1. เมื่อกล้ ามเนื้อไบเซพหดตัวและไตรเซพคลายตัวทาให้ แขนเหยียดออก
2. การหดตัวของกล้ ามเนื้อเกิดจากการเคลื่อนตัวของแอกตินเข้ าหากันตรงกลาง
3. เซลล์ของกล้ ามเนื้อหัวใจจะมีรูปร่างทรงกระบอก มีลาย แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงและ
เชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง
4. เมื่อกล้ ามเนื้อหดตัวจะเกิดแรงดึงให้ กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้ เพราะระหว่างกล้ ามเนื้อกับกระดูกมีเอ็น
ยึดกระดูกยึดอยู่ด้วยกัน

ระบบประสาทและการตอบสนองของสิง่ มีชีวิต
50) การดื่มเหล้ าแล้ วเสียการทรงตัว เนื่องจากการควบคุมของสมองส่วนใด
1. cerebrum
2. cerebellum
3. medulla oblongata
4. brain stem

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 334
51) คนที่ฉลาดแก้ ไขปัญหาเก่ง จะมีเซลล์ประสาทในข้ อใดมาก

52) สัตว์มีกระดูกสันหลังประเภทใดที่มีสมองส่วนซีรีบรัมเจริญมากทีส่ ดุ
1. นก 2. ปลา
3. สัตว์เลื้อยคลาน 4. สัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม
53) สารใดไม่จัดเป็ น neurotransmitter
1. Acetylene 2. Acetylcholine
3. Endorphin 4. Norepinephrine
54) CN VII และ CN IX จะทาหน้ าที่ร่วมกันรับความรู้สกึ ที่อวัยวะใด
1. หู 2. จมูก
3. ผิวหนัง 4. ลิ้น
55) ข้ อใดถูกต้ อง
ก. ขนาดของกระแสประสาทขึ้นอยู่กบั ความแรงของการกระตุ้น
ข. ความเร็วของกระแสประสาทจะเพิ่มขึ้นเมื่อความแรงของการกระตุ้นเพิ่มขึ้น
ค. จานวนของเส้นใยประสาทที่ถูกกระตุ้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อความแรงของการกระตุ้นเพิ่มขึ้น
ง. ความเร็วของการส่งกระแสประสาทขึ้นอยู่กบั ขนาดเส้ นผ่านศูนย์กลางของแอกซอน
1. ก และ ข 2. ค และ ง
3. ก ข และ ค 4. ก ข ค และ ง
56) ข้ อใดเป็ นเหตุการณ์ทเ่ี กิดกับเซลล์ประสาทที่มีศักย์ไฟฟ้ า = +50 มิลลิโวลต์
1. เกิดรีโพราไรเซซั่น (repolarization) และมี Na+ ภายในเซลล์มากกว่านอกเซลล์
2. เกิดรีโพราไรเซซั่น (repolarization) และมี Na+ ภายนอกเซลล์มากกว่าในเซลล์
3. เกิดดีโพราไรเซซั่น (depolarization) และมี Na+ ภายในเซลล์มากกว่านอกเซลล์
4. เกิดดีโพราไรเซซั่น (depolarization) และมี Na+ ภายนอกเซลล์มากกว่าในเซลล์
57) “การยกมือขึ้นไปปัดมดที่ไต่บนใบหน้ า” มีลาดับเหตุการณ์เกิดขึ้นตรงกับข้ อใด
ก. ผิวหนัง ข. กล้ ามเนื้อแขน
ค. ไขสันหลัง ง. สมอง
จ. กล้ ามเนื้อมือ
1. ก  ค  ข  จ 2. ก  ง  ค  จ
3. ก  ข  ค  ง  จ 4. ก  ง  ค  ข  จ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 335
58) ข้ อใดเป็ นสาเหตุให้ คนที่รับประทานยาบ้ า หรือ แอมเฟตามีน มีอาการตื่นตัวและหัวใจเต้ นเร็ว
1. แอมเฟตามีนเข้ าไปแย่งจับกับตัวรับได้ ดีกว่าสารสื่อประสาท
2. แอมเฟตามีนทาให้ มีการสร้ างตัวรับที่จะจับกับสารสื่อประสาทมากขึ้น
3. แอมเฟตามีนไปยับยั้งการทางานของเอนไซม์ท่จี ะสลายสารสื่อประสาท
4. แอมเฟตามีนไปกระตุ้นให้ แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออกมามากยิ่งขึ้น

ระบบต่อมไร้ท่อ
59) ต่อมไร้ ท่อในข้ อใดที่ไม่ได้ รับอิทธิพลจากต่อมใต้ สมอง
1. ไทมัส รังไข่ ตับอ่อน 2. ไพเนียล ตับอ่อน พาราไทรอยด์
3. รังไข่ ไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นนอก 4. ไพเนียล ไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นใน
60) ฮอร์โมนใดที่ไม่เกี่ยวข้ องกับการรักษาระดับนา้ ตาล
1. Calcitonin 2. Epinephrine
3. Glucagons 4. Insulin
61) ข้ อใดไม่ใช่ความผิดปกติท่เี กิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์
1. Simple goiter 2. Myxedema
3. Cushing’s syndrome 4. Cretinism
62) หญิงคนหนึ่งมีประจาเดือนครั้งสุดท้ายวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน ถ้ าตรวจระดับฮอร์โมน LH ของหญิงคนนี้
จะพบปริมาณสูงสุดในวันทีเ่ ท่าไร
1. 1 - 13 ธันวาคม 2. 6 - 8 ธันวาคม
3. 11 - 12 ธันวาคม 4. 21 - 23 ธันวาคม
63) ฮอร์โมนชนิดใดที่ไม่ได้ ผลิตจากต่อมใต้ สมอง
1. Growth hormone 2. Gonadotrophin
3. Melatonin 4. Prolactin
64) ขณะที่หญิงสาวมีการตกไข่ ระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศของหญิงในข้ อใดถูกต้ องที่สดุ
1. ระดับฮอร์โมนของ FSH, LH, เอสโตรเจน โพรเจสเทอโรสต่าทีส่ ดุ
2. ระดับฮอร์โมนของ FSH, LH, เอสโตรเจน โพรเจสเทอโรสสูงทีส่ ดุ
3. ระดับฮอร์โมนของ FSH, LH, เอสโตรเจนต่าที่สดุ โพเจสเทอโรสเริ่มสูง
4. ระดับฮอร์โมนของ FSH, LH, เอสโตรเจนสูงที่สดุ โพรเจสเทอโรนเริ่มลดต่าลง
65) แพทย์ฉีดฮอร์โมนชนิดใดเพิ่มให้ แก่หญิงมีครรภ์ท่มี ีปัญหาขณะคลอด
1. prolactin
2. progesterone
3. vasopressin
4. oxytocin
66) แมลงสาบตัวเมียสามารถปล่อยฟี โรโมนเพื่อดึงดูดตัวผู้ให้ มาผสมพันธุไ์ ด้ แมลงสาบตัวผู้รับพีโรโมนนี้ผ่านทางใด
1. การกิน
2. การได้ ยิน
3. การดูดซึม
4. การดมกลิ่น

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 336
พฤติกรรมของสัตว์
67) พฤติกรรมใดเป็ นการตอบสนองต่อสิ่งเร้ าภายใน
1. สมชายถึงกับกลืนนา้ ลาย เมื่อนึกถึงข้ าวหมูแดง
2. กลิ่นเน่าของซากหมู ทาให้ สมชายรู้สกึ คลื่นไส้
3. สมหญิงรีบเดินไปซื้ออาหาร หลังจากทนหิวในห้ องประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง
4. สมศรีหน้ าซีด เมื่อพยาบาลแจ้ งว่าระดับนา้ ตาลในเลือดของเธอสูงกว่าปกติ
68) บ้ านหลังหนึ่งตั้งอยู่บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เจ้ าของบ้ านเลี้ยงสุนัขไว้ หนึ่งตัว ทุกครั้งที่เครื่องบินผ่านบ้ าน
สุนัขตัวนี้จะวิ่งเข้ าไปอยู่ใต้ โต๊ะ เมื่อเวลา 3 เดือนผ่านไป สุนัขตัวนี้กไ็ ม่ว่งิ หนีอกี ต่อไป เป็ นพฤติกรรมแบบใด
1. habituation 2. imprinting
3. reasoning 4. trial and error
69) ถ้ านาลูกสุนัขตัวผู้มาเลี้ยงไว้ ในห้ องทดลองตัวเดียว โดยไม่เคยพบสุนัขตัวอื่นเลยตั้งแต่อายุ 3 เดือน จนอายุ 10 ปี
จึงนาสุนัขตัวเมียที่พร้ อมจะผสมพันธุม์ าอยู่ด้วยกัน สุนัขตัวผู้มีพฤติกรรมแบบใด
1. สามารถผสมพันธุส์ าเร็จ เนื่องจากเป็ นสัญชาตญาณ
2. สามารถผสมพันธุส์ าเร็จ เนื่องจากเรียนรู้ได้ เร็ว
3. ไม่สามารถผสมพันธุไ์ ด้ เนื่องจากไม่สามารถเรียนรู้ได้ (ไม่เคยเห็นตัวอย่างมาก่อน)
4. ไม่สามารถผสมพันธุไ์ ด้ เนื่องจากไม่สามารถเรียนรู้ได้ (อายุมากเกินกว่าระยะการฝังใจ)
70) พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ต่อเนื่องไม่พบในสัตว์ท่กี าหนดให้ ข้อใด
ก. นก ข. โปรติสต์
ค. หนอนตัวแบน ง. กระต่าย
1. ก 2. ข
3. ข และ ค 4. ก และ ง
71) ปลาว่ายนา้ ในลักษณะที่หลังตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ และคางคกไม่ยอมกินแมลงที่มีรูปร่างคล้ ายผึ้งคือพฤติกรรม
ข้ อใด ตามลาดับ
1. orientation , habituation
2. orientation , trial and error
3. conditioning , learning behavior
4. learning behavior , trial and error
72) ข้ อใดไม่ใช่พฤติกรรมที่มีมาแต่กาเนิด
1. คางคกเลือกกินเฉพาะแมลงที่ไม่มีพิษ
2. ปลาแซลมอนว่ายทวนนา้ กลับไปวางไข่ในแม่นา้
3. นกเขาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันสร้ างรังก่อนที่ตวั เมียจะวางไข่
4. ปลากัดตัวผู้แสดงพฤติกรรมการต่อสู้ได้ ดีกว่าปลากัดตัวเมีย
73) การสื่อสารระหว่างสัตว์มีก่รี ูปแบบ ได้ แก่อะไรบ้ าง
1. 4 รูปแบบ ได้ แก่ การสื่อสารด้ วยเสียง กระแสไฟฟ้ าหรือแม่เหล็กโลก การสัมผัส และสารเคมี
2. 4 รูปแบบ ได้ แก่ การสื่อสารด้ วยเสียง ภาพหรือท่าทาง สารเคมี และการสัมผัส
3. 5 รูปแบบ ได้ แก่ การสื่อสารด้ วยเสียง กลิ่น กระแสไฟฟ้ าหรือแม่เหล็กโลก การสัมผัส และสารเคมี
4. 5 รูปแบบ ได้ แก่ การสื่อสารด้ วยเสียง กลิ่น ภาพหรือท่าทาง การสัมผัส และสารเคมี

---------------------------------

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 337
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 3
ชีวิตและกระบวนการดารงชีวิตของพืช
โครงสร้างของพืชดอก
1) เนื้อเยื่อชนิดใดของต้ นสักที่นามาเป็ นไม้ กระดานและเสาบ้ าน
1. คอร์ก 2. คอร์เทกซ์
3. ไซเล็ม 4. โฟลเอ็ม
2) ข้ อใดเป็ นจริงกับเนื้อเยื่อผิวใบ
1. ผิวใบด้ านบนของบัวไม่มีปากใบ
2. เฉพาะเซลล์คุมเท่านั้น ที่มีคลอโรพลาสต์
3. เซลล์ทุกเซลล์ของเนื้อเยื่อผิวใบ มีคลอโรพลาสต์
4. ผิวใบด้ านบนของชบามีจานวนปากใบมากกว่าด้ านล่าง
จากลักษณะของพืชต่อไปนี้ จงตอบคาถามข้อ 3 และข้อ 4
A = มีเอนโดเดอมิส B = ไม่มีเอนโดเดอมิส
C = จานวนแฉกของไซเล็ม ไม่เกิน 5 D = มีจานวนแฉกของไซเล็ม เกิน 10
E = มัดท่อลาเลียงมี 1 มัด อยู่ตรงกลาง F = มัดท่อลาเลียงมีหลายมัดเรียงเป็ น 1 วง
G = มัดท่อลาเลียงมีหลายมัดเรียงกระจัดกระจาย H = มีเพริไซเคิล
I = ไม่มีเพริไซเคิล J = มีวาสคิวลาร์แคมเบียม
K = ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียม
3) รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะตรงกับข้ อใด
1. A, C, G, I 2. B, D, E, H
3. C, G, I, J 4. D, E, H, K
4) ลาต้ นพืชใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะตรงกับข้ อใด
1. A, F, I, J 2. D, E, H, K
3. B, F, I, J 4. C, F, I, K
5) เนื้อเยื่อใดที่ใช้ ย้อมซาฟรานีนแล้ วติดสีแดง
1. ไซเล็มขั้นแรก พิธ โฟลเอ็มขั้นแรก
2. ไซเล็มขั้นแรก โฟลเอ็มขั้นที่สอง คอร์กแคมเบียม
3. ไซเล็มขั้นแรกและขั้นที่สอง โฟลเอ็มขั้นแรก สเคอเรงคิมา
4. ไซเล็มขั้นแรกและขั้นที่สอง โฟลเอ็มขั้นแรกและขั้นที่สอง ไฟเบอร์
6) โครงสร้ างในภาพ พบที่ส่วนใดของพืช

1. ใบของพืชใบเลี้ยงคู่
2. ลาต้ นของพืชใบเลี้ยงคู่
3. ใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
4. ลาต้ นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 338
7) เมื่อสิบปี ที่แล้ ว ได้ ตอกตะปูลงบนต้ นลาไยขนาดใหญ่ต้นหนึ่งที่ระดับสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ในปัจจุบันตะปูน้ัน
อยู่ตาแหน่งใด และต้ นไม้ มีลักษณะเป็ นอย่างไร
1. ตาแหน่งเดิม ต้ นไม้ สงู ขึ้น และลาต้ นกว้ างขึ้น
2. ตาแหน่งเดิม ต้ นไม้ สงู ขึ้น แต่ลาต้ นกว้ างเท่าเดิม
3. ตาแหน่งสูงกว่าเดิม ต้ นไม้ สงู ขึ้น และลาต้ นกว้ างขึ้น
4. ตาแหน่งสูงกว่าเดิม ต้ นไม้ สงู ขึ้น แต่ลาต้ นกว้ างเท่าเดิม
8) ข้ อใดถูกต้ องที่สดุ
1. รากแขนงเกิดจากผิวด้ านนอกของเซลล์ท่ยี ืดยาวออกมา
2. ส่วนที่อยู่ปลายสุดของรากพืชที่เป็ นเนื้อเยื่อเจริญ
3. เทรคีดจัดเป็ นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อไซเล็ม
4. ขนรากเจริญมาจากเพอริไซเคิล
9) ข้ อใดไม่ใช่รากที่สะสมอาหาร
1. มันฝรั่ง
2. มันสาปะหลัง
3. หัวไชเท้า
4. กระชาย
10) ธาตุอาหารทุกตัวในข้ อใดเป็ นธาตุอาหารที่พืชต้ องการในปริมาณมาก (macronutrients)
1. C, H, O, Zn
2. N, P, K, Mn
3. Mg, K, S, Ca
4. P, Ca, Mg, Cl
11) ธาตุอาหารชนิดใดมีบทบาทสาคัญในการรักษาสมดุลของไอออนภายในเซลล์
1. N 2. P
3. K 4. Na
12) ข้ อใดไม่ถูกต้ องในเรื่องการลาเลียงในพืช
1. ขนาดของท่อไซเล็มใหญ่กว่าท่อโฟลเอ็ม
2. ไม่มีท่อโฟลเอ็มและท่อไซเล็มในขนรากที่ดูดนา้
3. พืชลาเลียงนา้ ทางท่อไซเล็ม และลาเลียงซูโครสทางท่อโฟลเอ็ม
4. พืชลาเลียงแป้ งที่สร้ างจากใบไปสะสมที่ราก และลาเลียงนา้ ตาลไปใช้ ท่ยี อดทางท่อโฟลเอ็ม
13) การจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อชนิดใดในใบที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
1. พาลิเสดเซลล์และปากใบ
2. สปันจีเซลล์และปากใบ
3. เนื้อเยื่อลาเลียงและพาลิเสดเซลล์
4. พาลิเสดเซลล์และสปันจีเซลล์
14) เมื่อทดลองปลูกต้ นมะเขือเทศในสารละลายเป็ นเวลานาน 3 เดือน พบว่าใบอ่อนหงิกงอ ต้ นผลมีรอยบุ๋มและมีสดี า
ต้ นมะเขือเทศนี้ขาดธาตุอาหารชนิดใด
1. คลอรีน 2. แคลเซียม
3. ฟอสฟอรัส 4. โพแทสเซียม

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 339
15) นา้ ที่พืชดูดขึ้นไปจากดินนั้น ส่วนใหญ่แล้ วพืชนาไปใช้ ในกระบวนการอะไร
1. การลาเลียงอาหาร และ การสังเคราะห์ด้วยแสง
2. การลาเลียงอาหาร และ การลดอุณหภูมิของใบ
3. การลดอุณหภูมิของใบ และ การคายนา้
4. การคายนา้ และ การสังเคราะห์ด้วยแสง
16) ข้ อใดอธิบายเกี่ยวกับการลาเลียงของพืชได้ ถูกต้ อง
1. ในพืชพบธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณชนิดละมากกว่า 1%
2. การเคลื่อนที่ของนา้ ผ่านทางช่องว่างระหว่างผนังเซลล์เรียกซิมพลาส
3. การลาเลียงสารอาหารเกิดขึ้นโดยผ่านทางโฟลเอ็ม ซึ่งมีทศิ ทางการลาเลียงจากรากขึ้นสู่ยอด
4. ถ้ าตัดต้ นมะม่วงบริเวณปลายยอด ของเหลวที่ค่อยๆ ซึมออกมาจากรอยตัดเกิดขึ้น เนื่องจากแรงดันราก

การสังเคราะห์ดว้ ยแสง
17) สิ่งใดต่อไปนี้พบได้ ในคลอโรพลาสต์
ก. สโตรมา ข. ไทลาคอยด์
ค. DNA ง. ไรโบโซม
จ. ไมโทคอนเดรีย
1. ก, ข
2. ก, ข, ค
3. ก, ข, ค, ง
4. ก, ข, ค, ง, จ
18) ปัจจุบันมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ท่เี พิ่มขึ้นจากการใช้ เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน
ถ้ าหากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็ นสองเท่าของปัจจุบนั เรื่องใดที่ได้ รับผลกระทบน้ อยที่สดุ
1. อัตราการสร้ าง ATP และ NADPH
2. อัตราการสังเคราะห์ oxaloacetate ของพืช C4
3. อัตราการสังเคราะห์ phosphoglycerate ของพืช C3
4. อัตราการเกิดโฟโตเรสไพเรชันของพืช C3
19) สารคู่ใดเป็ นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม
1. phosphoglycerate ribulose bisphosphate
2. glyceraldehydes-3-phosphate, pyruvic acid
3. oxaloacetic acid, phosphoglycerate
4. pyruvic acid, malic acid
20) ข้ อใดไม่ถูกต้ อง
1. กล้ วยไม้ และว่านหางจระเข้ เป็ นพืชแบบ CAM
2. ใบด้ านบนของข้ าวโพดมีสเี ข้ ม เนื่องจากเป็ นที่อยู่ของชั้นพาลิเซดมีโซฟิ ลล์
3. ในวัฎจักรคาร์บอนของพืช C4 ขั้นตอนการเปลี่ยนกรดไพรูวิกเป็ น PEP จะต้ องใช้ พลังงานจาก ATP
4. สับปะรดสามารถสังเคราะห์แสงโดยใช้ วัฎจักรคัลวินเพียงอย่างเดียวหรือสามารถสังเคราะห์แสง
แบบพืช CAM ได้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 340
21) จากแผนภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงของข้ าวโพด สาร ก และ ค คือสารใดตามลาดับ

1. กรดมาลิก, PGA 2. กรดแอซิติก PEP


3. กรดไพรูวิก, OAA 4. กรดออกซาลิก, CO2
22) ขบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนของปฏิกริ ิยาแสงในพืช ตัวที่รับอิเล็กตรอนและตัวที่ให้ อเิ ล็กตรอนคืออะไร
ตามลาดับ
1. H2O, NADPH 2. NADP+, H2O
3. ATP, plastoquinone 4. ไซโทโครมคอมเพล็กซ์, NADP+
23) แก๊สในบรรยากาศชนิดใดที่มีอทิ ธิพลสูงสุดต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ภายใต้ สภาวะของความเข้ มแสงที่เหมาะสม
ที่สดุ
1. ไฮโดรเจน
2. ไนโตรเจน
3. ออกซิเจน
4. คาร์บอนไดออกไซด์
24) ข้ อใดกล่าวถึงการสังเคราะห์แสงในช่วง light reaction ได้ ถูกต้ อง
1. สารสีท่อี ยู่ในสโตรมาทาหน้ าที่ดูดกลืนพลังงานแสง
2. มีการใช้ ATP ในการแยกสลายโมเลกุลของนา้ เป็ นออกซิเจนและโปรตอน
3. ที่เยื่อไทลาคอยด์มีคลอโรฟิ ลล์เอเพียงชนิดเดียวที่ทาหน้ าที่ดูดพลังงานแสง
4. นา้ เป็ นตัวให้ อเิ ล็กตรอน และ NADP+ เป็ นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย
25) ข้ อใดกล่าวถึงการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ถูกต้ อง
1. CO2 เข้ าสูว่ ัฎจักรคัลวินโดยทาปฏิกริ ิยากับ RuBP
2. นา้ ตาลกลูโคสถูกสร้ างในช่วง light reaction
3. ปฏิกริ ิยาในวัฎคัลวินเป็ นปฏิกริ ิยาที่ไม่ใช้ แสง
4. ปฏิกริ ิยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นที่บริเวณสโตรมาของคลอโรพลาสต์

การสืบพันธุข์ องพืชดอก
26) ในพืชชนิดหนึ่งมี megaspore mother cells และ microspore mother cells จานวน 6 เซลล์เท่าๆ กัน เมื่อสิ้นสุด
กระบวนการสร้ างเซลล์สบื พันธุใ์ น embryo จะมีก่ี nuclei จะได้ pollen กี่อนั
1. 24 , 12 2. 12 , 12
3. 48 , 24 4. 48 , 48

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 341
27) เซลล์ในระยะใดเรียกได้ เป็ น แกมีโตไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)
1. ระยะไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์
2. ระยะไมโครสปอร์ (2n)
3. ระยะไมโครสปอร์ (1n)
4. ระยะเป็ น generative nucleus และ tube nucleus
28) ข้ อใดคือ male gametophyte
1. anther 2. pollen grain
3. microspore 4. microspore mother cell
29) จากภาพไดอะแกรมนี้ จานวนชุดโครโมโซมข้ อใดถูกต้ อง

1. หมายเลข 5 = n หมายเลข 2 = 3n
2. หมายเลข 4 = 2n หมายเลข 3 = 2n
3. หมายเลข 3 = n หมายเลข 5 = 2n
4. หมายเลข 1 = 2n หมายเลข 2 = n
30) การปฏิสนธิซ้อนของพืชดอกหมายถึงข้ อใด
1. microspore อันหนึ่งผสมกับเซลล์ไข่ และอีกอันหนึ่งผสมกับเซลล์โพลาร์นิวคลีไอ
2. สเปิ ร์มนิวเคลียส อันหนึ่งผสมกับเซลล์ไข่ และอีกอันหนึ่งผสมกับเซลล์โพลาร์นิวคลีไอ
3. ทิวป์ นิวเคลียสผสมกับเซลล์ไข่ และสเปิ ร์มนิวเคลียสผสมกับเซลล์โพลาร์นวิ คลีไอ
4. สเปิ ร์มนิวเคลียสผสมกับเซลล์ไข่ และทิวป์ นิวเคลียสผสมกับเซลล์โพลาร์นวิ คลีไอ
31) เมล็ดพืชในข้ อใดที่จัดเป็ นผล (fruit) ทั้งหมด
1. เมล็ดข้ าวเจ้ า เมล็ดข้ าวโพด เมล็ดถั่วเหลือง
2. เมล็ดข้ าวโพด เมล็ดงา เมล็ดถั่วเขียว
3. เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดข้ าวเจ้ า เมล็ดงา
4. เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดข้ าวเจ้ า เมล็ดข้ าวโพด
32) ข้ อใดถูกต้ อง
1. ข้ าวแต่ละเม็ด คือ 1 ผล (fruit)
2. ข้ าวแต่ละเม็ด คือ 1 เมล็ด (seed)
3. แกลบ คือ เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
4. แกลบ คือ ส่วนทีเ่ จริญมาจากผนังรังไข่ (ovary)
33) พืชในข้ อใดที่ดอกแต่ละดอกมีหลายรังไข่ (ovary)
1. ฟักทอง กล้ วย ขนุน 2. ยอ สับปะรด หม่อน
3. การเวก ทุเรียน บัวหลวง 4. จาปา กระดังงา สตรอเบอรี

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 342
34) ข้ อใดเรียงลาดับ ผลเดี่ยว ผลกลุ่ม ผลรวม ได้ ถูกต้ องทั้งหมด
1. ทุเรียน น้ อยหน่า ขนุน 2. ลาไย สับปะรด สตรอเบอรี่
3. สตรอเบอรี่ ลิ้นจี่ ขนุน 4. เงาะ ขนุน สับปะรด
35) เมล็ดถั่วเขียวและเมล็ดละหุ่งมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
1. เหมือนกัน เพราะมีใบเลี้ยงทาหน้ าที่สะสมอาหาร
2. เหมือนกัน เพราะมีเอนโดสเปิ ร์มทาหน้ าที่สะสมอาหาร
3. ต่างกัน ถั่วเขียวสะสมอาหารในเอนโดสเปิ ร์ม ละหุ่งสะสมอาหารในใบเลี้ยง
4. ต่างกัน ถั่วเขียวสะสมอาหารในใบเลี้ยง ละหุ่งสะสมอาหารในเอนโดสเปิ ร์ม
36) ขณะที่เมล็ดถั่วเขียวเริ่มงอกเป็ นต้ น โครงสร้ างส่วนใดที่โผล่พ้นดินขึ้นมาเป็ นอับดับแรก
1. ใบเลี้ยง 2. เอพิคอทิล
3. ไฮโพคอทิล 4. ยอดแรกเกิด

การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
37) มีฮอร์โมนพืชชนิดใดบ้ างที่เกี่ยวกับการควบคุมการงอกของเมล็ดข้ าว
1. ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโทโคนิน 2. จิบเบอเรลลิน ไซโทไคนิน กรดแอบไซซิก
3. ไซโทไคนิน กรดแอบไซซิก เอทิลีน 4. กรดแอบไซซิก ออกซิน จิบเบอเรลลิน
38) สารเคมีชนิดใดที่พชื สังเคราะห์ข้ นึ มาเพื่อทาให้ ปากใบปิ ด
1. ออกซิน 2. ไซโทไคนิน
3. จิบเบอเรลลิน 4. กรดแอบไซซิก
39) ข้ อใดเป็ นหน้ าที่ของจิบเบอเรลลิน
ก. ยับยั้งการเจริญของตาข้ าง
ข. กระตุ้นการงอกของเมล็ด
ค. กระตุ้นการเกิดของตาข้ าง
ง. กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด
จ. พัฒนารังไข่ไปเป็ นผลโดยไม่ต้องปฏิสนธิ
1. ก, ข, ง 2. ข, ง, จ
3. ข, ง, ค 4. ค, ง, จ
40) ข้ อใดไม่ใช่การเคลื่อนไหวของพืชที่เป็ นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเต่งภายในพืช
1. การพันหลักของต้ นพลูด่าง
2. การหุบและกางใบของไมยราบ และการปิ ด-เปิ ดของปากใบ
3. การแตกของผลต้ อยติ่งเมื่อถูกฝน และการนอนของใบพืชตระกูลถั่ว
4. การบานของดอกกุหลาบ และการหุบของใบกาบหอยแครง
41) ข้ อใดไม่ใช่ทรอปิ กมูฟเมนต์
1. ดอกมะลิบานรับแสงตอนเช้ า
2. รากของต้ นถั่วเขียวงอกเข้ าหาดินที่มีความชื้นสูง
3. การงอกของหลอดละอองเรณูเข้ าหารังไข่
4. มือเกาะของต้ นตาลึงพันกับรั้วลวดหนาม

-----------------------------------------------

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 343
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 4
พันธุศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
1) สัตว์ชนิดหนึ่งมีจีโนไทป์ เป็ น Aabb จีโนไทป์ ของสเปอร์มาโทโกเนียมของสัตว์ตวั นี้คือข้ อใด
1. Aabb 2. AAbb
3. Ab และ ab 4. Aa และ bb
2) ในการผสมพันธุห์ นูระหว่างตัวผู้ท่มี ีจีโนไทป์ AaBbCcDD กับตัวเมียที่มีจีโนไทป์ AabbCcDd และยีนแต่ละคู่ต้งั บน
โครโมโซมคนละแท่ง โอกาสที่จะได้ ลูกที่มีจีโนไทป์ เป็ น AaBbCcDd มีก่ตี วั ถ้ าลูกที่เกิดจากการผสมพันธุม์ ีท้งั หมด
2,560 ตัว
1. 10 2. 80
3. 160 4. 640
3) หมู่เลือดระบบ ABO ในคนควบคุมด้ วยยีนบนออโตโซม โรคตาบอดสีควบคุมด้ วยยีนด้ อยบนโครโมโซมเพศ
พ่อและแม่มีหมู่เลือด A และตาปกติท้งั คู่ มีลูกชายคนหนึ่งมีหมู่เลือด O และตาบอดสี จงหาอัตราส่วนของ
ฟี โนไทป์ ที่จะได้ ลูกสาวของพ่อแม่ค่นู ้ มี ีหมู่เลือด O และตาปกติ
1. 1/4
2. 3/4
3. 1/2
4. 1/8
4) หมู่เลือดในคนควบคุมด้ วยยีนบนออโตโซม โรคตาบอดสีควบคุมด้ วยยีนด้ อยบนโครโมโซมเพศ พ่อและแม่มี
หมู่เลือด B และตาปกติท้งั คู่ มีลูกชายคนหนึ่งมีหมู่เลือด O และตาบอดสี จงหาอัตราส่วนของฟี โนไทป์ ที่จะได้
ลูกชายที่มีหมู่เลือด B และตาปกติ
1. 1/10
2. 3/16
3. 1/8
4. 3/8
5) หญิงคนหนึ่งตาปกติ มีพ่อเป็ นโรคตาบอดสี แต่งงานกับชายตาบอดสี มีลูกชายหนึ่งคนและลูกสาวหนึ่งคนจงหา
ร้ อยละของลูกชายและลูกสาวทั้งสองคนนี้ท่ตี าบอดสี ตามลาดับ
1. 25 และ 25
2. 25 และ 50
3. 50 และ 25
4. 50 และ 50
6) ผู้ชายหมู่เลือดเอ ตาสีฟ้า แต่งงานกับผู้หญิงหมู่เลือดบี ตาสีนา้ ตาล ซึ่งมีพ่อตาสีฟ้า โอกาสที่สามีภรรยาคู่น้ จี ะมีลูก
ที่มีหมู่เลือดโอ และตาสีฟ้าเป็ นร้ อยละเท่าไร
1. 1.0 2. 6.25
3. 12.5 4. 4.25

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 344
7) ถ้ านามะเขือเทศที่มีลักษณะผลสีเหลือง ไปผสมกับมะเขือเทศที่มีลักษณะผลสีแดงต้ นที่หนึ่ง และมะเขือเทศที่มี
ลักษณะผลสีแดงต้ นที่สอง พบว่าลูก F1 ของมะเขือเทศต้ นที่หนึ่ง มีลักษณะผลสีแดงและผลสีเหลืองในอัตราส่วน
เท่าๆ กัน ส่วนลูก F1 ของมะเขือเทศต้ นที่สอง มีลักษณะผลสีแดงทั้งหมด ข้ อใดไม่ถูกต้ อง
1. ยีนลักษณะสีผลของมะเขือเทศต้ นที่หนึ่งเป็ นเฮเทอโรไซกัส
2. ลักษณะผลสีแดงของมะเขือเทศเป็ นยีนเด่น
3. ลักษณะผลสีเหลืองเป็ นฮอโมไซกัส
4. มะเขือเทศที่มีลักษณะผลสีแดงต้ นที่หนึ่งและต้ นที่สองมีจีโนไทป์ เหมือนกัน
8) ข้ อใดกล่าวไม่ถูกต้ อง
1. ลูกสาวหัวล้ านต้ องมีพ่อหัวล้ าน
2. แม่หัวล้ านจะมีลูกชายหัวล้ านเสมอ
3. แม่ปกติอาจจะมีลูกชายหัวล้ าน
4. แม่ปกติจะมีลูกชายปกติเสมอ
9) หญิงศีรษะไม่ล้านแต่งงานกับชายศีรษะล้ าน ได้ ลูกสาวศีรษะล้ าน โอกาสที่ลูกสาวและลูกชายจะมีศีรษะล้ านเป็ น
อย่างไร
1. โอกาสที่ลูกชายและลูกสาวจะมีศรี ษะล้ านได้ เท่าๆ กัน
2. โอกาสที่ลูกชายมีศีรษะล้ าน 50% ส่วนลูกสาวมีโอกาส 25%
3. โอกาสที่ลูกชายมีศีรษะล้ าน 75% ส่วนลูกสาวมีโอกาส 25%
4. โอกาสที่ลูกชายมีศีรษะล้ าน 100% ส่วนลูกสาวมีโอกาส 25%

10)
P สุนัขพันธุพ์ ุดเดิ้ลสีดา (พันธุแ์ ท้) x สุนัขพันธุพ์ ุดเดิ้ลสีขาว (พันธุแ์ ท้)

F1 สุนัขพันธุพ์ ุดเดิ้ลสี________

F2 (นา F1 ผสมกันเอง)

จากข้ อมูลข้ างบน ข้ อใดกล่าวถูกต้ อง


1.F2 F1 จะเป็ นสีเทา ถ้ าลักษณะนี(น้ ถากู ควบคุ มแบบนcodominance
F1 ผสมกั เอง)
2. F1 จะเป็ นสีขาวสลับดา ถ้ าลักษณะนี้ถูกควบคุมแบบ incomplete dominance
3. F2 จะเป็ นสีดา : สีขาว = 1 : 1 ถ้ าลักษณะนี้ถูกควบคุมแบบ complete dominance
4. F2 จะเป็ นสีดา : สีเทา : สีขาว = 2 : 4 : 2 ถ้ าลักษณะนี้ถูกควบคุมแบบ incomplete dominance
11) จากการผสมแมลงหวี่ตัวสีนา้ ตาลปี กตรง (AaBb) x แมลงหวี่สดี าปี กกุด (aabb) ถ้ าการถ่ายทอดยีนที่ควบคุม
เป็ นแบบลิงค์ยีน จะมีสดั ส่วนของรุ่น F1 ออกมาเป็ นเท่าไร
1. ตัวสีนา้ ตาลปี กตรง : สีดาปี กกุด : = 2 : 1
2. ตัวสีนา้ ตาลปี กตรง : สีดาปี กกุด : = 1 : 1
3. ตัวสีนา้ ตาลปี กตรง : สีดาปี กตรง : ตัวสีนา้ ตาลปี กกุด : สีดาปี กกุด = 9 : 3 : 2 : 1
4. ตัวสีนา้ ตาลปี กตรง : สีดาปี กตรง : ตัวสีนา้ ตาลปี กกุด : สีดาปี กกุด = 1 : 2 : 2 : 1

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 345
ยีนและโครโมโซม
12) ข้ อใดกล่าวถูกต้ องเกี่ยวกับองค์ประกอบของดีเอ็นเอ
1. ไนโตรจีนัสเบสเชื่อมกับนา้ ตาลที่คาร์บอนตาแหน่งที่ 1
2. มีหมู่ฟอสเฟสเชื่อมกับนา้ ตาลที่คาร์บอนตาแหน่งที่ 3
3. นิวคลีโอไทด์ประกอบด้ วยนา้ ตาลเพนโตสคือนา้ ตาลไรโบส
4. มีไนโตรจีนัสเบสพิวรีน ได้ แก่ อะดีนนี ไทมีน และไพริมิดีน ได้ แก่ กวานีน ไซโทซีน
13) ดีเอ็นเอโมเลกุลหนึ่งพบปริมาณของ G C เป็ นร้ อยละ 52 และจากลาดับเบสของยีนบนดีเอ็นเอโมเลกุลนี้พบว่า
มีสดั ส่วนระหว่าง A กับ T เป็ น 1 : 3 mRNA ที่ถอดรหัสจากยีนบนดีเอ็นเอโมเลกุลนี้จะมี U อยู่ร้อยละเท่าไร
1. 12
2. 16
3. 24
4. 36
14) โมเลกุลของ DNA ของสัตว์ X และสัตว์ Y ประกอบด้ วย 1,500 นิวคลีโอไทด์เท่ากัน และมีอตั ราส่วนของ
เบส A เท่ากับ 28% และ 32% ตามลาดับ ข้ อใดถูกต้ อง
ก. โมเลกุล DNA ของสัตว์ X มีจานวนของเบส G มากกว่าสัตว์ Y
ข. โมเลกุล DNA ของสัตว์ X มีจานวนของเบส G น้ อยกว่าสัตว์ Y
ค. โมเลกุล DNA ของสัตว์ X มีอุณหภูมิการหลอมเหลวสูงกว่าสัตว์ Y
ง. โมเลกุล DNA ของสัตว์ X มีอุณหภูมิการหลอมเหลวต่ากว่าสัตว์ Y
1. ก และ ค 2. ก และ ง
3. ข และ ค 4. ข และ ง
15) กระบวนการข้ อใดไม่มีดีเอ็นเอเกี่ยวข้ อง
1. ทราบสคริบชันในยูคาริโอต 2. ทรานสเลชันในยูคาริโอต
3. ทรานสคริบชันในโปรคาริโอต 4. ทรานสเลชันในโปรคาริโอต
16) รหัสพันธุกรรมคืออะไร
1. ลาดับเบสของยีน
2. ยีนทั้งหมดที่อยู่บนโครโมโซม
3. การแสดงออกทางพันธุกรรมหรือการทางานของยีน
4. กฎที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลาดับนิวคลีโอไทด์กบั กรดอะมิโน
17) กาหนดให้ สายดีเอ็นเอเป็ นดังนี้ 5’ ACGTCAG 3’ เมื่อถอดรหัสเป็ น mRNA จะมีลาดับเป็ นอย่างไร
1. 3’ CTGUCGT 5’ 2. 3’ CUGACGU 5’
3. 5’ CTGUCGT 3’ 4. 5’ CUGACGU 3’
18) ถ้ าเกิด non-disjunction ที่เซลล์สบื พันธุข์ องแม่ จะมีโอกาสเกิดลูกที่ผิดปกติแบบใดบ้ าง
ก. XO ข. OY
ค. XXX ง. XXY
1. ก, ข 2. ข, ค
3. ค, ง 4. ก, ข, ค, ง
19) Down syndrome เกิดมาจากสาเหตุใด
1. จานวนโครโมโซมคู่ท่ี 21 เกิน 1 แท่ง 2. จานวนโครโมโซมคู่ท่ี 21 ขาด 1 แท่ง
3. จานวนโครโมโซมคู่ท่ี 22 เกิน 1 แท่ง 4. จานวนโครโมโซมคู่ท่ี 22 ขาด 1 แท่ง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 346
20) คนป่ วยที่แสดงอาการคริดูชาร์ต (Cri du chat) มีจานวนชุดโครโมโซมแบบใด
1. 44 + XO 2. 44 + OY
3. 44 + XY 4. 45 + XX

เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์และดีเอ็นเอ
21) เทคนิคพอลิเมอเรสเชนรีแอกชันเป็ นเทคนิคทีเ่ ลียนแบบกระบวนการใดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
1. เรพลิเคชัน
2. ทรานสคริบชัน
3. ทรานสเลชัน
4. ไลเกชัน
22) ผลผลิตดีเอ็นเอที่ได้ หลังจากการทาปฏิกริ ิยาพีซีอาร์น้นั ตรงกับกราฟข้ อใดมากที่สดุ โดยให้ แกนตั้งเป็ นปริมาณ
ดีเอ็นเอที่ได้ ในปฏิกริ ิยา ส่วนแกนนอนเป็ นจานวนรอบของการใช้ อุณหภูมิในปฏิกริ ิยา

1. 2.

3. 4.

23) ข้ อใดเป็ นการสร้ างสิ่งมีชวี ิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)


ก. การโคลนนิ่งแกะดอลลี่
ข. การผลิตข้ าวที่มีวิตามินเอ (golden rice)
ค. การผลิตฝ้ ายบีทตี ้ านทานหนอนเจาะสมอฝ้ าย
1. ก และ ข 2. ข และ ค
3. ก และ ค 4. ก ข และ ค
24) ข้ อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการ Cloning ของสัตว์
1. ดอลลี่เป็ นแกะที่มีพันธุกรรมเหมือนตัวแม่ท่คี ลอดมันออกมา
2. ดอลลี่เป็ นแกะที่สร้ างจากเนื้อเยื่อเต้ านมของแกะเพศเมียตัวหนึ่ง
3. ดอลลี่เป็ นแกะที่สร้ างจากเซลล์ต้งั ต้ นที่มีโครโมโซมเป็ น 2n
4. ดอลลี่เป็ นแกะที่สร้ างโดยใช้ วิธี ICSI เข้ าช่วย
25) ลายพิมพ์ดีเอ็นเอเหมาะที่จะนาไปใช้ ในกรณีใด
1. ยีนบาบัด
2. สร้ างยีสต์ท่ผี ลิตอินซูลิน
3. พิสจู น์บุคคลนิรนาม
4. ตรวจหายีนที่กลายพันธุ์

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 347
วิวฒ
ั นาการ
26) ในประชากรจานวนหนึ่งพบว่าลักษณะห่อลิ้นได้ เป็ นลักษณะเด่น และมีคนห่อลิ้นได้ ร้อยละ 91 แอลลีลเด่นและ
แอลลีลด้ อย มีความถี่เป็ นร้ อยละเท่าใดในประชากรกลุ่มนี้
1. 70 , 30 2. 30 , 70
3. 91 , 9 4. 9 , 91
27) สารวจการมีต่งิ หูในประชากรภาคเหนือ พบว่าในทุกๆ 100 คน จะมีต่งิ อยู่ 64 คน ในจานวนนี้จะมี heterozygous
กี่คน
1. 16 2. 32
3. 42 4. 48
28) ประชากรมนุษย์ในสมดุลฮาร์ดี - ไวน์เบิร์ก เป็ นคนเผือกซึ่งเป็ นลักษณะด้ อย 1% นอกนั้นเป็ นคนปกติซ่งึ มี
ลักษณะเด่น จงหาว่าประชากร 1,000 คน จะเป็ น heterozygous กี่คน
1. 90 2. 180
3. 400 4. 810
29) การศึกษาสาขาใดที่ทาให้ ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีวิวฒ ั นาการสังเคราะห์ได้ ดีท่สี ดุ
1. ชีวภูมิศาสตร์ 2. อนุกรมวิธาน
3. บรรพชีวินวิทยา 4. พันธุศาสตร์ประชากร
30) ปรากฎการณ์คอขวดมีความสาคัญอย่างไร
1. ได้ ลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีย่งิ ขึ้นในประชากรรุ่นใหม่
2. ทาให้ ประชากรที่ย้ายไปที่อยู่ใหม่มีความถี่ของอัลลีลเปลี่ยนไป
3. ส่งผลต่อการถ่ายเทเคลื่อนย้ ายยีนระหว่างประชากรต่างกลุ่มในทีต่ ่างๆ
4. ทาให้ โครงสร้ างพันธุกรรมประชากรเปลี่ยนไปเพราะประชากรมีขนาดเล็กลง
31) ผู้ป่วยรายหนึ่งกินยาปฏิชวี นะติดต่อกันเป็ นเวลานาน จนเกิดการดื้อยาทาให้ ต้องเปลี่ยนยาให้ แรงขึ้นไปเรื่อยๆ
เหตุการณ์น้ เี กิดขึ้นเนื่องจากปรากฎการณ์ใด
ก. Adaptation ข. Mutation
ค. Natural selection ง. Convolution
1. ก, ข 2. ข, ค
3. ค, ง 4. ก, ข, ค
32) ข้ อใดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทาให้ ความถี่ของอัลลีลเปลี่ยนแปลง
1. ประชากรลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแผ่นดินไหว
2. การอพยพย้ ายถิ่นระหว่างฐานประชากร
3. สัตว์เพศเมียเลือกเพศผู้ท่มี ีสสี ดใส
4. ลูกผสมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างสปี ชีสก์ นั
33) การสารวจนกแซวสวรรค์ในประเทศไทย พบว่า มีท้งั ชนิดสีขาวและสีนา้ ตาล โดยเฉพาะชนิดสีขาวอยู่ทางภาคใต้
มากกว่าภาคเหนือ ถ้ านักเรียนเป็ นนักสารวจจะสรุปว่านกแซวสวรรค์ท้งั สองสีท่พี บในภาคใต้ และภาคเหนือเป็ น
นกชนิดเดียวกัน จะต้ องพิจารณาจากข้ อใด
1. กินแมลงชนิดเดียวกัน
2. อยู่ในป่ าแบบชื้นเหมือนกัน
3. สามารถผสมพันธุก์ นั และออกลูกได้
4. มีลักษณะของตัวอ่อนในไข่เหมือนกัน

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 348
34) ในการเกิดสปี ชีสใ์ หม่ปัจจัยข้ อใดที่มีผลน้ อยที่สดุ
1. สภาพภูมิศาสตร์ 2. จานวนโครโมโซม
3. พฤติกรรมการผสมพันธุ์ 4. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
35) มนุษย์กลุ่มใดที่เริ่มทาให้ เริ่มเกิดการสูญเสียความหลายทางชีวภาพ
1. มนุษย์ปักกิ่ง 2. มนุษย์ปัจจุบนั
3. มนุษย์โครแมนยัง 4. มนุษย์นีแอลเดอร์ทลั

ความหลากหลายทางชีวภาพ
36) โลกของเราเริ่มมีมนุษย์ปรากฎขึ้นมาในยุคใด
1. มหายุคมีโซโซอิก ยุคไทรแอสซิก
2. มหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียส
3. มหายุคซิโนโซอิก ยุคควอเทอนารี
4. มหายุคซีโนโซอิก ยุคเทอเทียรี
37) ชื่อวิทยาศาสตร์ในข้ อใดเขียนได้ ถูกต้ องที่สดุ
1. Craseonycteris Tonglongyai Hill
2. Momordica charantia Linn.
3. Dugong dugon Muller
4. Tapirus inducus Desmarest, 1819
38) ลาดับขั้นการจัดหมวดหมู่ของสิง่ มีชีวิตข้ อใดผิด
1. phylum > class > family > species
2. division > family > order > genus
3. phylum > class > genus > species
4. division > class > order > species
39) ข้ อใดถูกต้ องเมื่อกล่าวถึงโดเมนในการจัดหมวดหมู่ส่งิ มีชวี ิต
1. โดเมนสร้ างจากข้ อมูลกายวิภาคที่ได้ จากซากฟอสซิล
2. ไมโครสปอริเดียและดิโพลโมแนดอยู่ในโดเมนเดียวกัน
3. ประกอบด้ วยโดเมนหลักและโดเมนย่อยอีกหลายโดเมน
4. เอนเทอโรแบคทีเรียจัดอยู่ในโดเมนกลุ่มที่สร้ างมีเทน
40) สิ่งมีชีวิตกลุ่มใดที่สามารถสร้ างอาหารเองได้ คล้ ายพืช
1. โพรทีโอแบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรีย
2. คลาไมเดียและสไปโรคีท
3. โพรทีโอแบคทีเรียและสไปโรคีท
4. คลาไมเดียและไซยาโนแบคทีเรีย
41) ปรากฎการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” เกิดขึ้นจากสาเหตุในข้ อใด
1. แบคทีเรียแกรมบวกย่อยสลายของเสียจากสิง่ มีชีวิตในแหล่งนา้
2. ยูกลีโนซัวเพิ่มจานวนอย่างรวดเร็วเนื่องจากปรากฎการณ์โลกร้ อน
3. ไดโนแฟลคเจลเลตเพิ่มจานวนอย่างรวดเร็วเนื่องจากในนา้ มีสารอาหารสูง
4. สาหร่ายสีเขียวเพิ่มจานวนอย่างรวดเร็วเมื่อมีแสงแดดเพียงพอ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 349
42) ข้ อใดไม่ถูกต้ อง
1. ระยะแกมีโทไฟต์ของไซแคโดไฟตาสั้นกว่าแอนโทซีโรไฟตา
2. ฟังไจมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่ใกล้ ชิดพืชมากกว่าสัตว์
3. สัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดามีการกระจายตัวอยู่แทบทุกแห่งบนโลกเนื่องจากปรับตัวได้ ดี
4. สัตว์ในคลาสออสติดไทอิสส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอกและมีความสาคัญทางเศรษฐกิจ
43) ข้ อใดคือลักษณะของยูกลีนา
ก. สังเคราะห์ด้วยแสงได้ คล้ ายสาหร่าย
ข. ดูดซับสารอินทรีย์จากสิ่งแวดล้ อมได้ คล้ ายรา
ค. เคลื่อนที่ได้ และประกอบด้ วยหลายเซลล์คล้ ายสัตว์
1. ก และ ข 2. ข และ ค
3. ก และ ค 4. ก ข และ ค
44) ข้ อใดคือลักษณะที่พบทั้งในมอสและปรง
ก. มีเนื้อเยื่อลาเลียง
ข. มีต้นแกมีโทไฟต์และสปอโรไฟต์
ค. สเปิ ร์มใช้ แฟลคเจลลัมในการเคลื่อนที่และอาศัยนา้ ในการปฏิสนธิ
1. ก และ ข 2. ข และ ค
3. ก และ ค 4. ก ข และ ค
45) ลาดับขั้นการจัดหมวดหมู่ของสิง่ มีชีวิตข้ อใดถูกต้ อง
1. มอส > ปรง > ตีนตุก๊ แก > บัว
2. ตีนตุก๊ แก > มอส > ปรง > บัว
3. ตีนตุก๊ แก > ปรง > มอส > บัว
4. มอส > ตีนตุก๊ แก > ปรง > บัว
46) ข้ อใดเป็ นลักษณะร่วมของฟังไจ
1. สร้ างไฮฟา 2. สร้ างสปอร์ท่มี ีแฟลกเจลลา
3. สร้ างฟรุตติง บอดี 4. ผนังเซลล์มีไคทิน
47) สัตว์ในกลุ่มใดที่สมมาตรแตกต่างกัน
1. มอลลัสกา อาร์โทรโพดา แอนเนลิดา 2. นีมาโทดา แอเนลิดา คอร์ดาตา
3. อาร์โทรโพดา คอร์ดาตา มอลลัสกา 4. นีมาโทดา ไนดาเรีย อาร์โทรโพดา
48) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรืออยู่รวมกันเป็ นโคโลนี ไม่มเี ยื่อหุ้มนิวเคลียส อาจมีหรือไม่มีคลอโรฟิ ลล์จัดอยู่ใน
Kingdom ใด
1. Animalia 2. Fungi
3. Monera 4. Protista
49) สิ่งมีชีวิตมีลักษณะลาตัวเรียวยาว แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีปล้ องที่แท้ จริง มีช่องว่างในลาตัวแบบเทียม
(pseudocoelom) จัดอยู่ใน phylum ใด
1. Annelida 2. Coelenterata
3. Echinodermata 4. Nematode
50) สิ่งมีชีวิตชนิดใดที่คาดว่าทาให้ บรรยากาศของโลกในอดีต มีปริมาณออกซิเจนมากขึ้น
1. ไซยาโนแบคทีเรีย 2. ไดอะตอม
3. สาหร่ายสีเขียว 4. พืชไม่มีท่อลาเลียง

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 350
51) สิ่งมีชีวิตในไฟลัมใดที่สามารถย่อยสลายลิกนินในซากพืชได้ ดี
1. ไคทริดิโอไมโคตา 2. เบสิดิโอไมโคตา
3. แอสโคไมโคตา 4. ไซโกไมโคตา
52) ข้ อใดเป็ นลักษณะของฟองนา้ ถูตวั
1. สมมาตรแบบด้ านข้ าง
2. โครงร่างเป็ นเส้นใยโปรตีน
3. ตัวอ่อนมีรูปร่างแบบเมดูซาว่ายนา้ เป็ นอิสระ
4. มีช่องตรงกลางลาตัวเป็ นช่องนา้ เข้ าขนาดใหญ่
53) “.....ชายหนุ่มถูกหมัดกัดก่อนพบตะขาบฝอยที่อาศัยอยู่ใต้ กระถางต้ นไม้ ...” จากคากล่าวนี้มีสตั ว์ในคลาสใดบ้ าง
1. อินเซ็คตา แมมมาเลีย ชิโลโพดา
2. ชิโลโพดา อะแรคนิดา แมมมาเลีย
3. แมมมาเลีย ไดโพลโพดา อะแรคนิดา
4. อะแรคนิดา ไดโพลโพดา อินเช็คตา
54) โรคเอดส์หรือโรคที่มีอาการของภูมิค้ มุ กันบกพร่อง อันเกิดจากเชื้อไวรัสชนิด HIV มีสารพันธุกรรมเป็ นแบบใด
ซึ่งเมื่อเข้ าสู่เซลล์จะสร้ างสารพันธุกรรมในรูปใด และแทรกเข้ าไปอยู่ในส่วนใดของเซลล์ตามลาดับ
1. DNA RNA และ RNA
2. RNA DNA และ DNA
3. RNA RNA และ DNA
4. RNA DNA และ RNA
55) ข้ อใดเป็ นลักษณะสาคัญของสิง่ มีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
1. สามารถดารงชีวิตในสภาพแวดล้ อมที่มีชีวิตอื่นไม่สามารถทนได้
2. มีผนังเซลล์เป็ นสารประกอบเพปทิโดไกลแคน
3. มีรูปร่างเป็ นทรงกลม ทรงท่อน และทรงเกลียว
4. สารพันธุกรรมในเซลล์ไม่มีเยื่อหุ้ม
56) ข้ อใดไม่ใช่สง่ิ มีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา
1. สาหร่ายผมนาง 2. สาหร่ายหางกระรอก
3. สาหร่ายไฟ 4. สาหร่ายสีนา้ ตาล
57) ข้ อใดเป็ นพืชที่มีเมล็ด
1. หญ้ าถอดปล้ อง 2. หญ้ าคา
3. ย่านลิเภา 4. ผักแว่น
58) ข้ อใดเป็ นสัตว์เลือดอุ่น
1. จระเข้ 2. ตุ่นปากเป็ ด
3. ซาลามานเดอร์ 4. จิ้งเหลน

-------------------------------------------------

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 351
แบบทดสอบทบทวนความรู้ 5
ชีวิตและสิ่งแวดล้ อม
ระบบนิเวศ
1) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชวี ิตในข้ อใดที่เป็ นการแก่งแย่งแข่งขัน
1. ต้ นไทรที่เจริญอยู่บนต้ นสัก 2. ต้ นกกและปลานิลในสระนา้
3. ดอกไม้ ทะเลที่เกาะอยู่บนหลังของปูเสฉวน 4. กาฝากบนต้ นมะม่วง
2) นกกาเหว่ามักจะวางไข่ของตัวเองในรังนกกา นกทั้งสองชนิดมีความสัมพันธ์กนั ในลักษณะใด
1. ภาวะปรสิต 2. ภาวะอิงอาศัย
3. ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน 4. การแก่งแย่งแข่งขัน
3) การแบ่งไบโอม (Biome) บนบกใช้ เกณฑ์ใดเป็ นตัวกาหนด
1. ปริมาณนา้ ฝนและความชื้นสัมพัทธ์
2. ปริมาณนา้ ฝนและอุณหภูมิ
3. อุณหภูมิและความสูงจากระดับนา้ ทะเล
4. อุณหภูมิและปริมาณความชื้น
4) ไบโอมทุนดรามีลักษณะพิเศษทีต่ ่างจากไบโอมอื่นอย่างไร
1. พบพรุในบางบริเวณ 2. มีปริมาณนา้ ฝนตลอดทั้งปี
3. อุณหภูมิต่าในช่วงหน้ าร้ อน 4. พบชั้นของดินเป็ นนา้ แข็งอย่างถาวร
5) ป่ าดิบชื้นพบมากในบริเวณใดของประเทศไทย
1. ภาคเหนือ 2. ภาคตะวันตก
3. ภาคตะวันออก 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6) เหตุใดจึงพบปะการังเฉพาะบริเวณนา้ ตื้น
1. มีออกซิเจนสูงเหมาะแก่การดารงชีวิต
2. มีแสงเพียงพอต่อการสร้ างสารอาหาร
3. มีแพลงตอนสัตว์ทเ่ี ป็ นอาหารของปะการังจานวนมาก
4. มีอุณหภูมิอบอุ่นเหมาะต่อการสร้ างโครงสร้ างหินปูน
7) พีระมิดทางนิเวศวิทยา (ecological pyramid) ของระบบนิเวศแบบใดที่บางครั้งกลับหัวโดยมียอดแหลมอยู่ด้านล่าง
1. พีระมิดพลังงาน
2. พีระมิดจานวน
3. พีระมิดมวลชีวภาพของระบบนิเวศป่ า
4. พีระมิดมวลชีวภาพของระบบนิเวศนา้
8) วัฎจักรสารในข้ อใด ที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการรักษาสมดุลของวัฎจักรมากที่สดุ
1. คาร์บอน 2. ไนโตรเจน
3. ฟอสฟอรัส 4. นา้

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 352
9) ข้ อใดเกิดการแทนที่แบบทุติยภูมิ (secondary succession)
1. พื้นที่หลังการระเบิดของภูเขาไฟ
2. การเจริญของกลุ่มจุลินทรียใ์ นนา้ ต้ มฟางข้ าว
3. พื้นที่หลังการละลายของธารนา้ แข็ง
4. บริเวณไร่เลื่อนลอย

ประชากร
10) การจัดตั้งพื้นทีเ่ พื่อการอนุรักษ์สง่ิ มีชีวิตที่ประสบผลสาเร็จมากที่สดุ ควรเป็ นแบบใด
1. มีความหลากหลายของถิ่นอาศัยสูง
2. มีขนาดเล็ก กระจายอยู่บริเวณต่างๆ
3. มีรูปทรงเป็ นสี่เหลี่ยมผืนผ้ า
4. มีถนนตัดผ่านเพื่อความสะดวกในการดูแล
11) การสารวจจานวนประชากรโดยวิธกี ารจับซา้ (capture and recapture method) มีข้อแม้ อย่างไร
1. ประชากรต้ องมีจานวนมากและเป็ นกลุ่มใหญ่
2. ประชากรต้ องมีการอพยพเข้ าและอพยพออก
3. ประชากรแต่ละตัวมีโอกาสตายและถูกจับเท่ากัน
4. ประชากรต้ องมีอตั ราการเกิดสูง
12) ในการสารวจประชากรต้ นหญ้ าคาในพื้นที่ขนาด 100 ตารางเมตร โดยใช้ กรอบนับประชากรขนาดกว้ าง 2 เมตร
ยาว 2 เมตร สุ่มนับต้ นหญ้ าคาได้ ดังนี้

สุ่มครั้งที่ จานวนต้ นหญ้ า


1 10
2 6
3 13
4 5
5 3
6 11

ในพื้นที่แห่งนี้มีจานวนประชากรต้ นหญ้ าโดยเฉลี่ยเท่ากับกี่ต้น


1. 200
2. 400
3. 800
4. 1,200
13) การกระจายตัวของสิง่ มีชีวิตในรูปแบบการจับกลุ่ม (clumped distribution) พบเมื่อใด
1. สภาพแวดล้ อมมีความแตกต่างกัน
2. สภาพแวดล้ อมไม่มีความแตกต่างกัน
3. สภาพแวดล้ อมไม่มีผลต่อการดารงชีวิต
4. ถูกทุกข้ อ

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 353
14) ข้ อใดถูกต้ องที่สดุ
1. การทาปิ รามิดอายุประชากรของแมลง ประชากรที่มีอายุมากที่สดุ อยู่ท่ฐี านของปิ รามิด
2. หากปิ รามิดอายุของประชากรแมลงเป็ นรูปโกศ แสดงว่าประชากรมีอตั ราการเกิดสูง
3. ระยะวัยหลังการเจริญพันธุข์ องแมลง เป็ นระยะที่สาคัญในการทาปิ รามิดอายุ
4. แมลงส่วนใหญ่มีระยะวัยก่อนเจริญพันธุย์ าวนานกว่าระยะอื่น
15) ในปัจจุบันแผนภาพโครงสร้ างอายุของประชากร (Age structure diagram) ซึ่งแสดงในรูปพีระมิดของประเทศไทย
เป็ นแบบใด และถ้ าในอีก 20 ปี ข้ างหน้ าอัตราการเกิดลดลงอย่างมากและมีกลุ่มผู้สงู อายุเพิ่มมากขึ้น รูปพีระมิดจะ
เปลี่ยนเป็ นแบบใด
1. ฐานกว้ างยอดแหลม เปลี่ยนเป็ นรูประฆังคว่า
2. รูประฆังคว่า เปลี่ยนเป็ นรูปกรวยปากแคบ
3. รูปกรวยปากแคบ เปลี่ยนเป็ นรูปดอกบัวตูม
4. รูปกรวยปากแคบ เปลี่ยนเป็ นรูประฆังคว่า

มนุษย์กบั ความยังยื
่ นของสิง่ แวดล้อม
16) แนวทางบันไดสามขั้นเพื่อป้ องกันการแพร่ระบาดของชนิดพันธุต์ ่างถิ่นที่มีผลต่อระบบนิเวศและสิง่ แวดล้ อมคือข้ อใด
1. การป้ องกัน การระมัดระวัง และการกาจัด
2. การป้ องกัน การสืบพบ และการกาจัด
3. การระมัดระวัง การสืบพบ และการกาจัด
4. การระมัดระวัง การป้ องกัน และการวิจัย
17) ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวในปัจจุบันเกิดมาจากสารชนิดใดทีป่ นเปื้ อนในนา้ ทะเล
1. ครีมกันแดด 2. ผงซักฟอก
3. สารกาจัดศัตรูพืชและแมลง 4. นา้ มันและคราบนา้ มัน
18) ข้ อใดเป็ นปัญหาที่น่าเป็ นห่วงมากที่สดุ ของพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งของเอเชียและแปซิฟิก
1. การคุกคามพื้นที่ปะการัง
2. การเพาะเลี้ยงสัตว์นา้ ขยายตัวมากขึ้น
3. การปล่อยของเสียลงไปในชายฝั่งและทะเล
4. การจับปลาในนา้ เกินกาลังการทดแทนตามธรรมชาติ
19) หากโลกยังมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น นา้ แข็งที่ข้วั โลกจะละลายมากยิ่งขึ้น ผลกระทบร้ ายแรงที่จะเกิดขึ้นคือข้ อใด
1. ปริมาณนา้ ทะเลจะเพิ่มขึ้น
2. ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
3. ระบบนิเวศชายฝั่งและปะการังถูกทาลาย
4. ก๊าซ CH4 จะถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้นและจะทาให้ โลกร้ อนยิ่งขึ้น
20) วัฎจักรข้ อใดได้ รับผลกระทบมากที่สดุ จากปรากฎการณ์โลกร้ อน
ก. ไนโตรเจน ข. นา้
ค. คาร์บอน ง. ซัลเฟอร์
1. ก และ ข 2. ข และ ค
3. ค และ ง 4. ก และ ง

-------------------------------------------

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 354
เฉลยแบบทดสอบทบทวนความรู ้

เฉลยแบบฝึ กหัดทบทวนความรู ้ 1 พื้ นฐานทางชีววิทยา

ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ


(1) 2 (8) 4 (15) 2 (22) 3 (29) 3
(2) 2 (9) 1 (16) 1 (23) 3 (30) 4
(3) 3 (10) 4 (17) 1 (24) 1 (31) 3
(4) 3 (11) 2 (18) 2 (25) 2 (32) 3
(5) 4 (12) 3 (19) 2 (26) 1 (33) 3
(6) 2 (13) 4 (20) 3 (27) 3 (34) 4
(7) 3 (14) 3 (21) 4 (28) 2

เฉลยแบบฝึ กหัดทบทวนความรู ้ 2 ชีวิตและกระบวนการดารงชีวิตของสัตว์

ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ


(1) 3 (16) 3 (31) 1 (46) 4 (61) 3
(2) 2 (17) 4 (32) 1 (47) 1 (62) 2
(3) 2 (18) 4 (33) 3 (48) 2 (63) 3
(4) 2 (19) 3 (34) 3 (49) 1 (64) 3
(5) 3 (20) 2 (35) 4 (50) 2 (65) 4
(6) 2 (21) 2 (36) 3 (51) 3 (66) 3
(7) 1 (22) 4 (37) 2 (52) 4 (67) 3
(8) 3 (23) 4 (38) 4 (53) 1 (68) 1
(9) 2 (24) 2 (39) 1 (54) 4 (69) 1
(10) 4 (25) 4 (40) 3 (55) 2 (70) 2
(11) 3 (26) 1 (41) 3 (56) 3 (71) 2
(12) 3 (27) 1 (42) 2 (57) 4 (72) 1
(13) 2 (28) 1 (43) 3 (58) 4 (73) 2
(14) 1 (29) 3 (44) 2 (59) 2
(15) 1 (30) 4 (45) 3 (60) 1

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 355
เฉลยแบบฝึ กหัดทบทวนความรู ้ 3 ชีวิตและกระบวนการดารงชีวิตของพืช

ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ


(1) 3 (10) 3 (19) 2 (28) 2 (37) 1
(2) 2 (11) 3 (20) 2 (29) 4 (38) 4
(3) 4 (12) 4 (21) 1 (30) 2 (39) 2
(4) 3 (13) 4 (22) 2 (31) 4 (40) 1
(5) 3 (14) 2 (23) 4 (32) 1 (41) 1
(6) 4 (15) 4 (24) 4 (33) 4
(7) 1 (16) 1 (25) 2 (34) 1
(8) 3 (17) 3 (26) 3 (35) 4
(9) 1 (18) 1 (27) 4 (36) 3

เฉลยแบบฝึ กหัดทบทวนความรู ้ 4 พันธุศาสตร์และความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ


(1) 1 (13) 1 (25) 3 (37) 2 (49) 4
(2) 3 (14) 1 (26) 1 (38) 2 (50) 1
(3) 4 (15) 2 (27) 4 (39) 2 (51) 2
(4) 2 (16) 1 (28) 2 (40) 1 (52) 2
(5) 4 (17) 4 (29) 4 (41) 3 (53) 1
(6) 3 (18) 4 (30) 4 (42) 2 (54) 2
(7) 4 (19) 1 (31) 4 (43) 1 (55) 4
(8) 4 (20) 3 (32) 4 (44) 2 (56) 2
(9) 3 (21) 1 (33) 3 (45) 4 (57) 2
(10) 4 (22) 4 (34) 4 (46) 4 (58) 2
(11) 2 (23) 2 (35) 2 (47) 4
(12) 1 (24) 1 (36) 3 (48) 3

เฉลยแบบฝึ กหัดทบทวนความรู ้ 5 ชีวิตและสิง่ แวดล้อม

ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ


(1) 2 (5) 3 (9) 4 (13) 1 (17) 1
(2) 1 (6) 2 (10) 1 (14) 4 (18) 4
(3) 2 (7) 2 (11) 3 (15) 3 (19) 1
(4) 4 (8) 2 (12) 1 (16) 2 (20) 2

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 356
บรรณานุกรม
โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา 1. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด. 2552.
โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด. 2552.
โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา สัตววิทยา 1. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด. 2552.
โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา สัตววิทยา 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด. 2552.
โครงการตาราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน. ชีววิทยา สัตววิทยา 3. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด. 2552.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาพื้ นฐานชีววิทยา สาหรับนักเรียน
ที่เน้นวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2553.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา เล่ม 1.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2553.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา เล่ม 2.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา เล่ม 3.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา เล่ม 4.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือครู รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา เล่ม 5.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2555.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้ นฐาน ชีววิทยา
สาหรับนักเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2553.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา
เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2553.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา
เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา
เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา
เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติม ชีววิทยา
เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้ าว. 2554.
Reece, Jane B., et al. Campbell biology. Boston: Pearson, 2011.
Solomon, Eldra P., Linda R. Berg, and Diana W. Martin. "Biology (9th edn)." Brooks/Cole,
Cengage Learning: USA, 2011.

BIOLOGY By Kru’Nicknhong
PAGE 352

You might also like