You are on page 1of 8

24

งานสนามครัง้ ที่ 2 : การรังวัดระยะทางและการทำแผนทีด่ ว้ ยแถบวัดระยะ


(Tape Measurement and Planimetric Mapping)
3.1 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรังวัดระยะทางด้วยแถบวัดระยะกับระยะมาตรฐาน
(2) ฝึกการวัดระยะตามแนวเส้นควบคุมและเก็บรายละเอียดด้วยแถบวัดระยะ
(3) เพื่อทำแผนที่อาณาเขตหรือแผนผังโดยการรังวัดด้วยแถบวัดระยะ

3.2 หลักการ
การรังวัดระยะทางด้วยแถบวัดระยะหรือโซ่ (Linear surveying or chain surveying) เป็นวิธีการ
รังวัดระยะทางบนพื้นที่ระนาบขั้นพื้นฐานที่นิยมกันมาก แบ่งเป็น (1) การรังวัดด้วยแถบวัดระยะธรรมดา
1 1
(Ordinary taping) มีความระเอียด (Precision) ตั้งแต่ ถึง สำหรับใช้ในงานรังวัดทั่วไป งาน
1,000 5,000
ทำแผนผังและงานก่อสร้าง (2) การรังวัดด้วยแถบวัดระยะอย่างระเอียด (Precise Taping) มีความละเอียด
1 1
(Precision) ตั้ง แต่ ถึง สำหรับ ใช้ในงานรัง วัดที่ดินที่ม ีร าคาสูง มาก (Excellent Land
10,000 30,000
Survey) งานการก่อสร้างอย่างละเอียด (Precise Construction Work) และงานรังวัดในเมือง (City survey)
และ (3) งานรัง วัดเส้นฐานด้วยแถบวั ดระยะ (Base line taping) มีความละเอียด (Precision) ) ตั้ง แต่
1 1
ถึง สำหรับใช้ในงานรังวัดขั้นสูงอย่างละเอียด ซึ่งเป็นรังวัดควบคุม ในงานโครงข่าย
100,000 1,000,000
ระดับชาติ และเนื่องจากในปั จจุบันเรามีเครื่องมือวัดระยะสมัยใหม่ ได้แก่ การวัดระยะทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Distance Measurement: EDM) และการรังวัดพิกัดด้วยระบบดาวเทียมนำหนพิภพ (Global
Navigation Satellite System: GNSS) วิธีการรังวัดด้วยแถบวัดระยะแบบที่ (1) แบบที่ (2) และ แบบที่ (3)
จึงถูกใช้แทนด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ดังกล่าว อย่างไรก็ตามแถบวัดระยะแบบที่ (1) ยังคงนิยมใช้งานโดยทั่วไป
ในการปฏิบัติงานนี้ เป็นการรังวัดระยะทางและทำแผนที่อาณาเขตหรือแผนผัง (Planimetric map)
โดย การใช้แถบวัดระยะแบบที่ (1) เท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่แบบที่ (2) และ แบบที่ (3) ข้างต้น

3.3 เครือ่ งมือ


(1) ระยะทางอ้างอิง (Reference Distance) 1 ช่วง
(2) แถบวัดระยะ (Tape) 1-2 ชุด
(3) หลักเล็ง (Pole) 3-4 อัน
(4) เข็มคะแนน (Pin) พร้อมห่วงคล้อง 1 ชุด 11 อัน
(5) หมุดไม้ (Peg) 4-5 อัน
(6) ค้อน (Hammer) 1 อัน

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
25

3.4 วิธีการ
3.4.1 เปรียบเทียบการรังวัดระยะทางด้วยแถบวัดระยะกับระยะมาตรฐาน
ให้ นำแถบวัดระยะไปรัง วัดและเปรียบเทียบกับระยะมาตรฐานซึ่ง ได้จ ัดทำไว้หน้าตึกปฏิบัติ การ
วิศวกรรมโยธา แล้วให้ศึกษาและวิจารณ์ค่าคลาดเคลื่อนต่าง ๆ
3.4.2 การทำแผนที่อาณาเขตหรือแผนผังโดยใช้แถบวัดวัดระยะ
(1) งานแรกที่นักสำรวจจะต้องปฏิบัติเมื่อไปยังพื้นที่ที่จะทำแผนผัง คือการสำรวจสังเขปบริเวณ
ที่จะทำการสำรวจเพื่อที่จะทำแผนผัง โดยการเดินให้บริเวณและเขียนภาพร่างบริเวณ ในการสำรวจพื้นที่
จะต้องกำหนดหมุดควบคุมทางราบให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวควบคุม (หรือเรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่าแนวสำรวจ) โดยแบ่งพื้นที่ย่อยเป็นรูปสามเหลี่ยมหลาย ๆ รูป แต่ละรูปให้มีมุมไม่เล็กกว่า 30º และไม่
เกินกว่า 120º จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสม (Well-conditioned) โดยแต่ละรูปสามเหลี่ยมที่แต่ละหมุดจะต้อง
มองเห็นอีก 2 หมุดด้วย และให้มีเส้นตรวจสอบ (Checked Line) ด้วยถ้าแบ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมไม่ได้ ให้สร้าง
เส้นตรงค้ำระหว่างแนวเส้นควบคุมเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยมุมระหว่างแนวเส้นควบคุมไม่ควรเล็กกว่า 30º และ
ไม่เกินกว่า 120º ดังแสดงในรูปที่ 3.1 และรูปที่ 3.2 แนวเส้นควบคุมควรอยู่ในแนวที่รังวัดได้สะดวก ไม่เป็นที่
สูงชันหรือเป็นป่ารก จะได้รังวัดได้ง่าย และควรอยู่ใกล้รายละเอียดที่จะเก็บให้มากที่สุดและควรอยู่ห่างเกิ น 1
ช่วงของแถบวัดระยะ ถ้าห่างเกิน 1 ช่วง จะต้องมีอุปกรณ์อย่างเครื่องส่องฉาก (Optical Square) ดังรูปที่ 3.3
อย่างไรก็ตาม การวัดโดยใช้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ผ่านการใช้กฎ 3-4-5 ในการสร้างมุม ฉากของสามเหลี่ยมก็
สามารถนำมาใช้ทดแทนเครื่องมือดังกล่าวในการสร้างมุมฉากผ่านการวัดระยะในสนามได้เช่นกัน

รูปที่ 3.1 ตัวอย่างการวาดภาพแนวสำรวจ เป็นรูปสามเหลี่ยมต่อกัน


EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
26

รูปที่ 3.2 ตัวอย่างการวาดภาพแนวสำรวจ โดยมีเส้นค้ำ


EN112401: SURVEYING LABORATORY
โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
27

(ก) (ข)

รูปที่ 3.3 (ก) เครือ่ งส่องฉาก (Optical Square) ซึ่งจะเรียกว่า Double Pentaprism
โดย (ข) มีไว้สำหรับช่วยเล็งแนวฉาก

(2) รัง วัดหมุดพยานของหมุดควบคุม เพื่อใช้ในการค้นหาหมุดภายหลัง และวาดภาพแสดง


ตำแหน่งของหมุดควบคุมทางราบและแนวเส้นระหว่างหมุดเป็นรูปโครงงาน (Framework)
(3) รังวัดหาทิศทางของแนวควบคุมเส้นใดเส้นหนึ่ง จากทิศเหนือจริง หรือทิศเหนือแม่เหล็ก หรือ
ทิศเหนือสมมติ
(4) รังวัดระยะทางของแต่ละแนวเส้นควบคุม (หรือบางทีเรียกว่าแนวสำรวจ) โดยปกติใช้ความ
ละเอียดในการวัดเท่ากับ 1-2 ซม. และเก็บรายละเอียดไปพร้อม ๆ กัน การเก็บรายละเอียดใช้วิธีการวัดระยะ
ฉาก (Offset) และหรือเส้นโยงยึด (Tie Line) เส้นเล็ง (Range Line) ออกจากแนวควบคุมไปยังรายละเอียด
ต่าง ๆ เช่น อาคาร รั้ว ทางเท้า และทางน้ำ เป็นต้น พร้อมกับวัดขนาดรายละเอียดเหล่านั้นด้วย และควรมีการ
รังวัดเส้นตรวจสอบ (Checked line) ของรายละเอียดด้วย โดยปกติแล้วความละเอียดในการวัดรายละเอียด
1
ต่าง ๆ เท่ากับ 5-10 ซม. ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตราส่วนของแผนที่ เช่น แผนที่มาตราส่วน ขนาดของเส้นเล็กสุด
500
ในแผนที่ เท่ากับ 0.2 mm. ทั้งนี้ขนาดเส้นบนแผนที่ 0.2 mm. นีม้ ีที่มาจากขนาดของปลายดินสอที่แหลมที่สุด
ที่ ได้จ ากการเหลาดินสอด้วยเครื่อ งเหลาไฟฟ้า เมื่อเขียนลงไปบนกระดาษแล้วจะมีขนาดดังกล่าว ดัง นั้น
ระยะทางในการรังวัดมีความละเอียดที่สุดได้เท่าใดนั้นจึงสามารถพิจารณาได้จาก ผลคูณระหว่างขนาดเส้นบน

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
28

แผนที่กับเลขมาตราส่วน ซึ่งในที่นี้จะได้ว่า 0.2 mm. x 500 = 100 mm.หรือเท่ากับ 10 ซม. โดยทั่วไปนิยม


วัดให้ละเอียดมากขึ้นจากที่ต้องการ เนื่องจากอาจมีการทำแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
(5) จากข้อ (4) บันทึกระยะทางของแต่ละแนวเส้นควบคุมลงไปในภาพวาดของหมุดควบคุมลง
ไปในภาพวาดของหมุดควบคุมในข้อ (2) และในแต่ละหน้ากระดาษของสมุดสนามให้ตีเส้นคู่ (Double Line)
ห่างกัน 1.5 ซม. หรือตีเส้นเดี่ยว (Single Line) เป็นแนวเส้นควบคุมแต่ละเส้นพร้อมบันทึกระยะห่างจาก
จุดเริ่มต้นจากล่างสุดของกระดาษขึ้นไปข้างบนกระดาษและบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ทางซ้ายและทางขวาของ
เส้นควบคุมดังตัวอย่างการบันทึกในรูปที่ 3.1, 3.2, 3.4 และ 3.5

3.5 การเขียนแผนที่อาณาเขตหรือแผนผัง
จากข้อมูลแนวเส้นควบคุมแนวเส้นควบคุม (หรือแนวสำรวจ) และข้อมูลบันทึกรายละเอียด ให้เขียน
แผนที่ลงในกระดาษตามมาตราส่วนที่เหมาะสม โดยเขียนแนวเส้นควบคุมทุกเส้นรวมทั้งเส้นตรวจสอบด้วย
และจากแนวเส้นควบคุมแต่ละเส้นให้เขียนรายละเอียดจากข้อมูลบันทึกรายละเอียดโดยเขียนตามลำดับดังเช่น
ที่บันทึกในสมุดสนาม ก็จะได้ต้นร่างแผนที่ (เขียนด้วยดินสอ) ตามที่สำรวจมา และให้ตรวจสอบสนามเพื่อ
ตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ด้วย หลังจากนั้นให้ลงหมึกแสดงรายละเอียดต่าง ๆ แสดงสัญญาลักษณ์แผน
ที่ แสดงทิศเหนือ ให้ลูก ศรขี้ขึ้นด้านบนของกระดาษเขียนแผนที่ แสดงมาตราส่วนแ ผนที่แบบเส้นกราฟ
(Graphical Scale) และแบบอัตราส่วนหรือแบบเศษส่วน และเขียนชื่อแผนที่ ไม่ให้ลงหมึกแสดงแนวเส้นของ
แผนที่ (แนวเส้นควบคุมได้เขียนด้วยดินสอที่ต้นร่างแผนที่แล้ว) ก็จะได้แผนที่ตามต้องการดัง แสดงในตัวอย่าง
แผนที่ในรูปที่ 3.6

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
29

รูปที่ 3.4 การบันทึกข้อมูลแบบเส้นคู่


ข้อสังเกต ระยะทางจะนับจาก 0.00 ด้านล่าง แล้วไล่ขึ้นไปยังระยะต่าง ๆ ด้านบน
โดยการไล่ระยะทางแบบนี้จะเป็นฐานคิดสำคัญในงานรังวัดการทาง (Route Survey)

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
30

รูปที่ 3.5 การบันทึกข้อมูลแบบเดี่ยว


ข้อสังเกต ระยะทางจะนับจาก 0.00 ด้านล่าง แล้วไล่ขึ้นไปยังระยะต่าง ๆ ด้านบน
โดยการไล่ระยะทางแบบนี้จะเป็นฐานคิดสำคัญในงานรังวัดการทาง (Route Survey)

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์
31

รูปที่ 3.6 แสดงตัวอย่างการเขียนแผนที่ ที่ได้จากการเก็บรายละเอียดโดยใช้แถบวัดระยะ

EN112401: SURVEYING LABORATORY


โดย ผศ.ประกอบ มณีเนตร และ รศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์

You might also like