You are on page 1of 7

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.

902/2560

นางขนิษฐา สรวงยานนท์ ผู้ฟ้องคดี

ระหว่าง
อธิบดีกรมบัญชีกลาง ที่ 1
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2
ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ที่ 3 ผู้ถูกฟ้องคดี

กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีหนังสือเรียกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) คืน


จากผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ชําระเงินเท่านั้น ไม่มีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าผู้ออกหนังสือมีเจตนา
ที่จะให้หนังสือดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ.2539 หากผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการดําเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดี
ก็ช อบที่จ ะปฏิเ สธหรือ เพิก เฉยไม่ชํา ระหนี้ดัง กล่า วได้ ผู้ฟ้อ งคดีจึง ไม่ไ ด้รับ ความเดือ ดร้อ นหรือ เสีย หาย
หรืออาจเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีในข้อหานี้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ส่วนหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1
ที่แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เกี่ยวกับการงดจ่ายเงินและเรียกเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.)
และหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เรียกเงินดังกล่าวคืนจากผู้ฟ้องคดี นั้น เป็นเพียงหนังสือ
ภายในของฝ่ายปกครองหาได้ก่อให้เกิดผลระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีโดยตรงไม่
หนังสือดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539 ที่อาจทําให้ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิ ธีพิ จ ารณาคดีป กครอง พ.ศ. 2542 การที่ ผู้ ถู กฟ้อ งคดี ที่ 1 ระงับ การเบิ กจ่ า ยเงินช่ วยค่ าครองชี พ
ผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) ซึ่งเป็นการพิจารณาให้ไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพ
ผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ พ.ศ. 2521 เมื่อปรากฎว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิ
ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) จึงให้ระงับการเบิกจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี
จึงชอบแล้ว ประการต่อมาการที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า คําว่า“ เข้ารับราชการ ”ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
หมายถึงผู้ที่ไม่เคยเข้ารับราชการมาก่อนแต่ต่อมาได้เข้ารับราชการ มิได้หมายถึงผู้ที่เข้ารับราชการอยู่ก่อนแล้ว
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า แม้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะได้บัญญัติให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิรับเบี้ยหวัดหรือบํานาญ
ไม่มีสิทธิได้รับเงิน ช.ค.บ. ตามมาตรา 4 ถ้าเข้ารับราชการก็ตาม แต่ถ้อยคําดังกล่าวนอกจากจะหมายถึงผู้ที่ได้รับ
การบรรจุ เข้ารับราชการแล้ วยังหมายความรวมถึงผู้ที่รับราชการอยู่ เดิ ม ด้วย เนื่องจากพระราชกฤษฎี กา
ดังกล่าวมีเจตนารมณ์หรือความประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับค่าครองชีพ
ของผู้รับเบี้ยหวัดหรือบํานาญรวมถึงผู้รับบํานาญพิเศษในฐานะทายาทที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ
และค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น มิได้มุ่งหวังให้จ่ายค่าครองชีพแก่ผู้ที่รับราชการอยู่ด้วยแล้ว อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี
ฟังไม่ขึ้น
-๒-

คดีนี้ เดิมผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งนายแพทย์ชํานาญการพิเศษ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย


สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเมื่อวันที่ 1
เมษายน 2523 เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับบํานาญพิเศษและเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.)
ของนายภูมิ สรวงยานนท์ ที่ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2537
เป็นต้นมา จนกระทั้งถึงเดือนเมษายน 2554 กรมบัญชีกลางมิได้จ่ายเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
(ช.ค.บ.) ผู้ฟ้อ งคดีจึง ได้มีห นัง สือ ลงวัน ที่ 24 มิถุน ายน 2554 ขอความเป็น ธรรมจากผู้ถูก ฟ้อ งคดีที่ 1
ต่อมากรมบัญชีกลางได้มีหนังสือ ที่ กค 0420.9/21007 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 แจ้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) จึงได้งดจ่ายเงิน ช.ค.บ.
ให้กับผู้ฟ้องคดี และต่อมากรมบัญชีกลางได้มีหนังสือ ที่ กค 0406.5/35168 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554
แจ้งผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) ตามพระราชกฤษฎีกา
เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ พ.ศ. 2521 เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีสถานะเป็นข้าราชการ ซึ่งมีสิทธิ
ได้รับเงินเดือนที่กําหนดให้ตามภาวะเศรษฐกิจแล้ว หลังจากนั้นกรมบัญชีกลางได้มีหนังสือกรมบัญชีกลาง
ที่ กค 0420.9/08789 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2555 แจ้งผู้ถูกฟ้องที่ 2 ถึงจํานวนเงินส่วนที่จ่ายเกินสิทธิไป
และให้เรียกเงินดังกล่าวคืน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงได้มีหนังสือ ที่ สธ 0201.023/3984 ลงวันที่ 17 เมษายน 2555
แจ้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เรียกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) คืนจากผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
จึงได้มีหนังสือ ที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินช่วยค่าครองชีพ
ผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) จํานวนทั้งสิ้น 268,551.13 บาท ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือแจ้งจึงยื่นอุทธรณ์ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 แต่ยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่งดจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพ
ผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) และเรียกเงินดังกล่าวที่จ่ายผู้ฟ้องคดีเกินสิทธิไปนั้น มีผลเป็นการเพิกถอน
คําสั่งจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นคําสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี
จึงเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เมื่อผู้ฟ้องคดี
ได้บรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 ทําให้ขณะเกิดสิทธิรับบํานาญพิเศษดังกล่าวผู้ฟ้องคดี
ได้รับราชการอยู่แล้ว ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ พ.ศ. 2521
มิได้กําหนดไว้ว่าต้องเข้ารับราชการก่อนหรือหลังขณะเกิดสิทธิรับเบี้ยหวัดหรือบํานาญ เพียงแต่กําหนดว่า
ผู้รับเบี้ยหวัดหรือบํานาญไม่มีสิทธิได้รับเงิน ช.ค.บ. หากเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการ การที่ผู้ฟ้องคดี
เข้ารับราชการก่อนเกิดสิทธิรับบํานาญพิเศษก็เป็นเพียงการได้บรรจุเข้ารับราชการก่อนเท่านั้น กรณีย่อมถือได้ว่า
ผู้ฟ้องคดีได้เข้ารับราชการตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัด
บํานาญ พ.ศ. 2521 แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
(ช.ค.บ.) การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญให้แก่ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคําสั่ง
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคําสั่งงดจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
ให้แก่ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ได้มีหนังสือเรียกคืนเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ จากผู้ฟ้องคดี
จํานวน 268,551.13 บาท จึงเป็นการเพิกถอนคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพิกถอน
คําสั่งให้จ่ายเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญโดยให้งดจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคําสั่งที่ชอบ
ด้วยกฎหมายแล้วตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อย่างไรก็ตาม
แม้ฝ่ายปกครองอาจเพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ แต่ในส่วนของการเรียกเงินคืนนั้น
จะต้อ งเป็น ไปตามมาตรา 51 วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญ ญัติวิธีป ฏิบัติร าชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
โดยให้นําบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าวคือ ให้ผู้รับคําสั่งคืนลาภมิควรได้ที่ได้รับไว้
โดยสุจริตเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีรับเงินดังกล่าวไว้โดยสุจริต ผู้ฟ้องคดี
-๓-

จึ ง ได้ รั บ ความคุ้ ม ครองตามกฎหมายจึ ง ต้ อ งคื น เฉพาะส่ ว นที่ ยั ง มี เ หลื อ อยู่ ใ นขณะที่ ถู ก เรี ย กคื น เท่ า นั้ น
ประกอบกับการที่ผู้ฟ้องคดีได้รับเงินเกินสิทธิไปในระยะเวลาประมาณ 16 ปีแล้ว ซึ่งได้ใช้จ่ายในการเลี้ยงชีพ
ประจําวันและอุปการะบุตร จึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีเงินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้ที่ยังมีอยู่ในขณะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
มีหนังสือเรียกคืนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีหนังสือที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่
10 กรกฎาคม 2555 เรียกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญคืนจากผู้ฟ้องคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนหนังสือของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ที่ กค 0420.9/21007 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ที่แจ้งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
เกี่ยวกับการงดจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) ให้แก่ผู้ฟ้องคดี หนังสือ ที่ กค 0420.9/08789
ลงวันที่ 18 มีนาคม 2555 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีที่ 2 เรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี และหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
ที่ สธ 0201.023/2738 ลงวันที่ 17 เมษายน 2555 ที่แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี
เป็นเพียงหนังสือภายในของฝ่ายปกครอง ซึ่งยังมิได้มีผลโดยตรงต่อผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด
ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ยื่นคําแก้อุทธรณ์
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยประเด็นว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษา
หรือคําสั่งเพิกถอนหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่ สท 0027/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 หรือไม่
เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นทายาทของนายภูมิ สรวงยานนท์ ผู้เสียชีวิต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงได้พิจารณาสั่งจ่ายเงิน
ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี แต่ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ตรวจสอบการจ่ายเงินดังกล่าวจึงพบว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิ
ได้รับเงิน ช.ค.บ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 จึงได้มีหนังสือที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555
แจ้ ง ให้ ผู้ ฟ้ อ งคดี นํ า เงิ น 268,551.13 บาท ที่ ผู้ ฟ้ อ งคดี ไ ด้ รั บ เกิ น สิ ท ธิ ไ ปคื น คลั ง หนั ง สื อ ดั ง กล่ า ว
ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นเพียงการแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิจึงเป็นเพียงหนังสือทวงถาม
ให้ชํ า ระเงิน ไม่ม ีลั ก ษณะที่ แสดงให้ เห็ นว่ าผู้ ออกหนั งสื อมี เจตนาให้ หนั งสื อดั งกล่ าวเป็ นคํ าสั่ งทางปกครอง
ตามมาตรา 5 แห่ งพระราชบั ญญั ติ วิ ธี ป ฏิ บั ติ ร าชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่ งหากผู้ ฟ้ องคดี เห็ นว่ า
การดําเนินการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีก็ชอบที่จะปฏิเสธหรือเพิกเฉย
ไม่ชําระหนี้ดังกล่าวได้ ผู้ฟอ้ งคดีจึงไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย
โดยมิ อ าจหลี ก เลี่ ย งได้ ผู้ ฟ้ อ งคดี จึ ง ไม่ มี สิ ท ธิ ฟ้ อ งคดี ใ นข้ อ หานี้ ต่ อ ศาลได้ ต ามมาตรา 42 วรรคหนึ่ ง
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 การที่ศาลปกครองชั้นต้น
วินิจฉัยว่าหนังสือที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครอง
แล้วรับคําฟ้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีเงินเหลืออยู่จากการที่รับไว้เกินสิทธิแล้ว
มี คํ า พิ พ ากษาให้ เ พิ ก ถอนหนั ง สื อ ของผู้ ถู ก ฟ้ อ งคดี ที่ 3 จึ ง ไม่ ต้ อ งด้ ว ยความเห็ น ของศาลปกครองสู ง สุ ด
ส่ ว นประเด็ น ที่ ผู้ ฟ้ อ งคดี อุ ท ธรณ์ ว่ า หนั ง สื อ ของผู้ ถู ก ฟ้ อ งคดี ที่ 1 ที่ กค 0420.9/21007 ลงวั น ที่
21 กรกฎาคม 2554 แจ้ ง ให้ ผู้ ถู กฟ้ อ งคดี ที่ 2 เกี่ ย วกั บ การงดจ่ า ยเงิ น ช.ค.บ. ให้ แ ก่ ผู้ ฟ้อ งคดี หนั ง สื อ
ที่ กค 0420.9/08789 ลงวั นที่ 18 มีนาคม 2555 แจ้งให้ผู้ถู กฟ้ องคดี ที่ 2 เรียกเงินคื นจากผู้ ฟ้องคดี
และหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ สธ 0201.023/3984 ลงวันที่ 17 เมษายน 2555 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3
เรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดีมีผลกระทบต่อสถานะภาพของสิทธิและหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น
เห็นว่า หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือภายในของฝ่ายปกครองหาได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ
หรื อ หน้ า ที่ ข องผู้ ฟ้ อ งคดี โ ดยตรงไม่ หนั ง สื อ ดั ง กล่ า วจึ ง ไม่ มี ลั ก ษณะคํ า สั่ ง ทางปกครองตามมาตรา 5
แห่งพระราชบัญ ญั ติวิธีปฏิ บัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิท ธิฟ้องให้ เพิกถอนได้
ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
ปัญหาที่ศาลปกครองสู งสุ ดวินิจฉัยในประเด็นต่อมาว่า ผู้ฟ้องคดีมีสิท ธิไ ด้รั บเงิน ช.ค.บ.
หรือ ไม่ เห็น ว่า เมื่อ ขณะที่ก่อ ให้เ กิด สิท ธิใ นการรับ บํา นาญพิเ ศษของผู้ฟ้อ งคดีใ นฐานะทายาทโดยธรรม
ของนายภูมิ สรวงยานนท์ นั้น ผู้ฟ้องคดีได้รับราชการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 จึงต้องด้วยมาตรา 5
-๔-

แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ พ.ศ. 2521 ที่กําหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิ


รับเบี้ยหวัดหรือบํานาญไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ตามาตรา 4 ซึ่งทําให้ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพ
ผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และการที่ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า คําว่า “เข้ารับราชการ”
ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหมายถึงผู้ที่ไม่เคยเข้ารับราชการมาก่อนแต่ต่อมาได้เข้ารับราชการ มิได้หมายถึง
ผู้ ที่ เ ข้ า รั บ ราชการอยู่ ก่ อ นแล้ ว นั้ น กรณี นี้ แ ม้ พ ระราชกฤษฎี ก าเงิ น ช่ ว ยค่ า ครองชี พ ผู้ รั บ เบี้ ย หวั ด บํ า นาญ
พ.ศ. 2521 มาตรา 5 จะได้บัญญัติให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบํานาญไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ.
ตามมาตรา 4 ถ้าเข้ารับราชการ แต่ถ้อยคําดังกล่าวนอกจากจะหมายถึงผู้ที่ได้เข้ารับการบรรจุเข้ารับราชการแล้ว
ยังหมายความรวมถึงผู้ที่รับราชการอยู่เดิมด้วย การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าผู้ฟ้องคดี
เป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงิน ช.ค.บ. ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
พ.ศ. 2521 จึงให้ระงับการเบิกจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงชอบแล้ว
การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคําพิพากษาให้เพิกถอนคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่เรียกเงิน
ช่ ว ยค่ า ครองชี พ ผู้ รั บ เบี้ ย หวั ด บํ า นาญ (ช.ค.บ.) คื น จากผู้ ฟ้ อ งคดี ต ามหนั ง สื อ ของผู้ ถู ก ฟ้ อ งคดี ที่ 3
ที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 ส่วนคําขออื่นนอกจากนี้ให้ยกนั้น ศาลปกครองสูงสุด
ไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษากลับคําพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นให้ยกฟ้องของผู้ฟ้องคดี
บทวิเคราะห์คําพิพากษา
(1) ที่ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่งดจ่ายเงิน ช.ค.บ.
และเรียกเงินคืนมีผลเป็นการเพิกถอนคําสั่งจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี เป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 5
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่ประเด็นดังกล่าวไม่ปรากฏในคําพิพากษา
ของศาลปกครองสูงสุดว่าคําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่งดจ่ายเงิน ช.ค.บ. และเรียกเงินคืน เป็นคําสั่งทางปกครอง
หรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยแต่เพียงว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ระงับการเบิกจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ชอบแล้ว แต่กรณีดังกล่าวได้มีคําวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาล คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่
ระหว่างศาลที่ 102/2557 ลงวันที่ 25 กันยายน 2557 โดยคณะกรรมการเห็นว่า การที่กรมบัญชีกลาง
ตรวจพบว่าคํ าสั่งอนุ มัติสั่ งจ่ายเงิน ช.ค.บ. คลาดเคลื่อนไม่ ถูกต้ องเนื่ องจากจําเลยไม่ มี สิ ทธิได้รั บเงิน ช.ค.บ.
กรมบัญชีกลางจึงมีคําสั่งไม่เบิกเงิน ช.ค.บ. ที่ปรับเพิ่มและมีคําสั่งงดจ่ายเงิน ช.ค.บ. ที่จําเลยเคยได้รับโดยมีหนังสือ
แจ้งให้โจทก์ทราบคําสั่งของกรมบัญชีกลางและให้โจทก์เรียกเงิน ช.ค.บ. ที่จําเลยได้รับส่งคืนคลัง จึงเป็นกรณีที่
กรมบัญชีกลางได้เพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คําสั่งที่งดจ่ายเงิน ช.ค.บ. จึงเป็นคําสั่ง
ทางปกครองมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 1
(2) คดีนี้เมื่อพิจารณาตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
พ.ศ.2521 ซึ่งให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้พิจารณาในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติจ่ายเงิน ช.ค.บ. เมื่อกรมบัญชีกลาง
โดยอธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อนุมัติสั่งจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่ผู้ฟ้องคดี การอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน
ช.ค.บ. เป็นคําสั่งทางปกครอง และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิรับเงิน
ช.ค.บ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงระงับการจ่ายเงิน ช.ค.บ. ที่ผู้ฟ้องคดีเคยได้รับ โดยมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
1
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2557 วินิจฉัยว่า การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ (ช.ค.บ.) ให้แก่จําเลย
สืบเนื่องจากกรมบัญชีกลางอนุมัติสั่งจ่ายเงิน ช.ค.บ. แก่จําเลยตามมาตรา ๔ ตรี แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
พ.ศ. ๒๕๒๑ การอนุมัติเบิกจ่ายเงิน ช.ค.บ. ให้แก่จําเลย จึงเป็นคําสั่งทางปกครอง เมื่อกรมบัญชีกลางตรวจพบว่าคําสั่งอนุมัติสั่งจ่ายเงิน ช.ค.บ.
คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องเนื่องจากจําเลยไม่มีสิทธิได้รับเงิน ช.ค.บ. กรมบัญชีกลางจึงมีคําสั่งไม่เบิกเงิน ช.ค.บ. ที่ปรับเพิ่มและมีคําสั่งงดจ่ายเงิน ช.ค.บ.
ที่จําเลยเคยได้รับ โดยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบคําสั่งของกรมบัญชีกลางและให้โจทก์เรียกเงิน ช.ค.บ. ที่จําเลยได้รับส่งคืนคลัง จึงเป็นกรณีที่
กรมบัญชีกลางได้เพิกถอนคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คําสั่งไม่เบิกเงิน ช.ค.บ. ที่ปรับเพิ่มและคําสั่งงดจ่ายเงิน ช.ค.บ. ที่จําเลย
เคยได้รับจึงเป็นคําสั่งทางปกครอง
-๕-

และผู้ถูกฟ้อ งคดีที่ 3 ทราบคําสั่งและให้ผู้ถูก ฟ้องคดีที่ 2 ผู้ถูก ฟ้องคดีที่ 3 เรียกเงิน ช.ค.บ. ที่ผู้ฟ้องคดี


ได้รับส่งคืนคลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้เพิกถอนคําสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คําสั่งระงับการจ่ายเงิน
ช.ค.บ.ของผู้ถู กฟ้ อ งคดี ที่ 1 จึ ง เป็ นคํ าสั่ งทางปกครอง (เที ย บคํ า วินิ จฉั ยชี้ ขาดอํ านาจหน้ าที่ ร ะหว่ า งศาล
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 102/2557) ผู้ฟ้องคดีต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าว
ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ตามขั้นตอนและวิธีการตามที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
หมวด 2 คําสั่งทางปกครอง ส่วนที่ 5 การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครอง กําหนดไว้ จึงจะมีสิทธินําคดีมาฟ้อง
ต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
(3) การที่ศาลปกครองชั้นต้นได้รับวินิจฉัยในประเด็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีหนังสือ
ที่ สท 0027.202/2738 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 เรียกเงินค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญคืน
จากผู้ฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยได้พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่เรียกเงิน
ช.ค.บ. คืนจากผู้ฟ้องคดีนั้น เป็นการพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่า
การที่ศาลปกครองชั้นต้นรับฟ้องและวินิจฉัยว่าหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่เรียกเงิน ช.ค.บ. คืนจากผู้ฟ้องคดี
ไม่ชอบด้วยกฎหมายและพิพากษาเพิกถอนหนังสือดังกล่าวนั้น เป็นการพิจารณาและพิพากษาโดยไม่ชอบ
ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย เนื่องจากหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินที่รับไว้โดยไม่มีสิทธิ
เป็นเพียงหนังสือบอกกล่าวทวงถามเท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครอง 2 ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีอํานาจฟ้องคดี
ในประเด็นนี้ โดยได้พิพากษากลับคําพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น อนึ่ง หนังสือแจ้งให้คืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ
หรือเกินสิทธิ ถ้าหากมีคําสั่งยกเลิก เพิกถอน หรือแก้ไขคําสั่งเดิม เช่นนี้ผู้ที่ได้รับหนังสือชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งได้
เฉพาะในส่วนของการแจ้งการเพิกถอนคําสั่งซึ่งเป็นคําสั่งทางปกครอง จึงจะมีสิทธินําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง
ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
(๔) คดีนี้ เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่าหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ที่เรียกเงินคืน
จากผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ชําระเงิน ไม่ใช่เป็นคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ผู้ฟ้องคดีชําระเงิน
จึงไม่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539 ได้ โดยผู้ ถู ก ฟ้ อ งคดี ที่ 3 ต้ อ งไปดํ า เนิ น คดี ฟ้ อ งร้ อ งเอากั บ ผู้ ฟ้ อ งคดี ต ามกฎหมายต่ อ ไป 3
อนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายจําเป็นต้องใช้สิทธิในการติดตามเอาคืนเงินจากบุคคลใดซึ่งไม่มีสิทธิ
รับเงินไว้หน่วยงานของรัฐต้องนําคดีฟ้องต่อศาลยุติธรรมที่มีเขตอํานาจในการพิจารณาคดีนั้นต่อไป 4

2
คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.262/2552 วินิจฉัยว่า หนังสือเรียกให้คืนเงินเดือน เงินค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางไปราชการที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี มิใช่เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคําสั่ง
ทางปกครอง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่เป็นการใช้สิทธิเรียกเงินที่ได้รับเกินสิทธิ
หนังสือดังกล่าวจึงเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ชําระเงินเท่านั้น
3
คําสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 352/2550 วินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระสํา คัญของหนังสือที่ผู้ฟ้องคดีเรียกเงิน
ประจําตําแหน่งคืน เป็นเพียงหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ถูกฟ้องคดีนําเงินประจําตําแหน่งมาคืนเท่านั้น ไม่มีการกําหนดระยะเวลาให้ใช้เงินคืน
ภายในระยะเวลาเมื่อใด จึงมิใช่คําสั่งทางปกครองซึ่งกําหนดให้ผู้ใดชําระเงินแก่ผู้ฟ้องคดีอาจใช้มาตรการทางปกครองได้ตามมาตรา 57
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
4
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2559 วินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินบํานาญ
เงินบําเหน็จ เงินบําเหน็จดํารงชีพ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับเกินสิทธิแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่รัฐฟ้องคดีโดยใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่อดีตข้าราชการ
ของตนในฐานะเอกชนคนหนึ่งซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ของคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อตามคําฟ้องของโจทก์
ไม่เข้าลักษณะคดีพิพาทอันอยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจําเลยต่อศาลยุติธรรม
ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลอื่น
-๖-

(5) ศาลปกครองชั้ น ต้ น และศาลปกครองสู ง สุ ด ได้ วิ นิ จ ฉั ย ไปในแนวทางเดี ย วกั น ว่ า


หนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เกี่ยวกับการงดจ่ายเงินและเรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี
และหนังสือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี เป็นเพียงหนังสือภายใน
ของฝ่ายปกครองเท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครอง เนื่องจากไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสถานภาพ
ของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีโดยตรง หากจะมีผลก่อนิติสัมพันธ์ข้ึนก็เป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่าง
ผู้ถูกฟ้องคดีด้วยกันเท่านั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือดังกล่าวได้ ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
(6) คําว่า “เข้ารับราชการ” ตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญ
พ.ศ. 2521 หมายความว่า ผู้ที่ได้เข้ารับการบรรจุเข้ารับราชการแล้ว และศาลปกครองสูงสุดยังได้วางหลักไว้
เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไปด้วยว่า ให้หมายความรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการอยู่เดิมด้วย
หมายเหตุ ปัญหาที่จะต้องนํามาพิจารณาต่อไป กรณีการเรียกให้คืนเงินที่รับไว้โดยไม่มีสิทธิจะต้องดําเนินการ
ใช้ สิ ท ธิ ติ ด ตามเอาคื น ตามมาตรา 1336 หรื อ การใช้ สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งฐานลาภมิ ค วรได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เนื่องจากการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 5 เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์
หรือเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองทรัพย์สินนั้น
เพราะเป็นเจ้าของทรัพยสิทธิย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น ส่วนการใช้สิทธิเอาทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้
ตามมาตรา 406 6 นั้น เป็นกรณีที่บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทําเพื่อชําระหนี้
หรือได้มาโดยประการอื่นโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ
บุคคลที่รับทรัพย์ไปจําต้องคืนทรัพย์นั้นแก่เจ้าของทรัพย์ เป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ต้องใช้สิทธิติดตามเอาคืน
ทรัพย์ในฐานะบุคคลสิทธิจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือครอบครอง ซึ่งทั้งสองกรณีล้วนแล้วแต่เป็นการใช้สิทธิติดตาม
เอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือครอบครอง แต่กรณีดังกล่าวก็มีข้อแตกต่างระหว่างการใช้สิทธิติดตาม
เอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 และการใช้สิทธิเอาคืนซึ่งลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 เช่น วิธีการติดตาม
เอาทรัพย์คืน ระยะเวลาในการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน สิทธิในการเรียกดอกเบี้ย เป็นต้น
ในกรณีดังกล่าวนี้ได้มีนักกฎหมาย 7 ให้ข้อสังเกตไว้ว่า การที่จําเลยเบิกเงินค่าเช่าบ้านจากโจทก์
โดยจําเลยไม่มีสิทธิเบิกได้เลย ต่างกับกรณีที่จําเลยรับเงินจากโจทก์ไว้โดยโจทก์เข้าใจผิดว่าจําเลยมีสิทธิจะได้รับ
แต่ค วามจริ งจํา เลยไม่ มี สิ ท ธิได้ รั บเงิ น โดยได้นํ า คําพิพากษาศาลฎีกา 2 เรื่อง มาเปรีย บเทียบว่ ากรณีใ ด
เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา 1336 และกรณีใดเป็นการใช้สิทธิเอาทรัพย์คืนซึ่งลาภมิควรได้
ตามมาตรา 406 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิช ย์ คือ คํา พิพ ากษาศาลฎีก าที่ 2040/2551
และคํา พิพากษาศาลฎีกาที่ 4905 - 4927/2545 โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในคําพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 2040/2551 ว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยคืนหรือใช้เงินค่าเช่าบ้านที่จําเลยเบิกไปโดยไม่มีสิทธิเบิกได้
5
มาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย
และจําหน่วยทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิ
จะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6
มาตรา 406 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่ง
กระทําเพื่อชําระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้
ท่านว่าบุคคลนั้นจําต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทําเพื่อชําระหนี้ด้วย
วรรคสอง บัญญัติว่า บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น
หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
7
สมชัย ฑีฆาอุตมากร , ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ทรัพย์สิน , (พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) , 2555) ,
น. 225-226
-๗-

จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินที่จําเลยได้เบิกไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะเจ้าของ
ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกําหนดอายุความ กรณีไม่ใช่ฟ้องเรียกให้คืนทรัพย์
ตามลักษณะลาภมิควรได้ จึงนําอายุความตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งต่างกับคําพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 4905 - 4927/2545 ที่พิพากษาว่า การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จําเลยโดยเข้าใจว่าจําเลยมีสิทธิ
ได้รับตามข้อบังคับการบินพลเรือนว่าด้วยสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่าชดเชยของพนักงาน พ.ศ. 2539 ทั้งที่แท้จริงแล้ว
จํ า เลยไม่ มี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ค่ า ชดเชยเพราะข้ อ บั ง คั บ ดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ รั บ ความเห็ น ชอบจากกระทรวงการคลั ง
และขั ด ต่ อ พระราชกฤษฎีก าจัด ตั ้ง สถาบัน การบิน พลเรือ น พ.ศ. 2535 มาตรา 38 ไม่ม ีผ ลใช้บ ัง คับ
จึง เป็น การได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่โจทก์กระทําเพื่อชําระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
และเป็นทางทําให้โจทก์เสียหาย โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จําเลยคืนค่าชดเชยที่รับมาให้แก่โจทก์
ฐานลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 กรณีดังกล่าวมิใช่จําเลยเอาทรัพย์ของโจทก์มายึดถือไว้โดยโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนได้ตามมาตรา 1336 เมื่อพิจารณาจากคําพิพากษาศาลฎีกา
ทั้งสองฉบับนี้ ศาลฎีกาได้วางแนวทางในการวินิจฉัยเท่านั้น 8 ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างการติดตามเอาทรัพย์คืน
ตามมาตรา 1336 และการเรียกเอาทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ใกล้เคียงกันมากในการให้เหตุผล
ที่ปรากฏในคําพิพากษา แต่ผลของคําพิพากษาย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของระยะเวลาการใช้สิทธิติดตามเอาคืน

โดย นายชัยวัฒน์ ปิมแปง ผู้วิเคราะห์ข้อมูล

8
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2551 วินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จําเลยเบิกไปโดยจําเลยไม่มีสิทธิเบิก
จากทางราชการตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 7 (1) อันเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายให้จําเลยและจําเลยก็ไม่มีสิทธิ
รับเงินดังกล่าว แต่จําเลยรับไปโดยสุจริตเข้าใจว่า ตนมีสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามกฎหมาย การที่จําเลยรับเงินไปจากโจทก์จึงเป็นการได้มา
โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกทรัพย์คืนในฐานลาภมิควรได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงอยู่ในบังคับกําหนดอายุความตามมาตรา 419 ที่โจทก์ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกคืน
จากจําเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน

You might also like