You are on page 1of 37

การใช้สิทธิโดยสุจริต

: ศึกษาเฉพาะกรณีผรู้ ับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาเรียกค่าสินไหมทดแทน

นายตรัณ ขมะวรรณ

รายงานการศึกษาส่วนบุคคลนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของการอบรม
หลักสูตร”ผูพ้ พิ ากษาผูบ้ ริหารในศาลชัน้ ต้น” รุน่ ที่ ๑4
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุตธิ รรม สํานักงานศาลยุตธิ รรม
พ.ศ.๒๕๕8
การใช้สิทธิโดยสุจริต
: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาเรียกค่าสินไหมทดแทน

นายตรัณ ขมะวรรณ

สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
ผลงานส่วนบุคคล เรื่อง การใช้สิทธิโดยสุจริต : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้รับประกันภัย
รับช่วงสิทธิมาเรียกค่าสินไหมทดแทน
ชื่อผู้ศึกษา : นายตรัณ ขมะวรรณ

กรรมการที่ปรึกษา : นายอนุวัตร มุทิกากร

อนุมัติให้ผลงานส่วนบุคคลฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรม หลักสูตร “ผู้พิพากษา


ผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ ๑4

_______________________ประธานกรรมการอํานวยการอบรม
(นายชัยยุทธ ศรีจํานงค์ )
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

________________________กรรมการอํานวยการอบรมและกรรมการที่ปรึกษา
(นายอนุวัตร มุทิกากร)
ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์

สารบัญ
หน้า

บทที่ ๑ ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
๑.๑ ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา ๑
๑.๒ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1
๑.๓ ขอบเขตงานวิจัย ๒
๑.๔ วิธีดําเนินการศึกษา 2
๑.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา 2

บทที่ ๒ หลักสุจริตในกฎหมายแพ่ง
๒.๑ ที่มาของแนวคิดสุจริต 3
๒.๒ ลักษณะทั่วไปของหลักสุจริตที่ปรากฏเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย 4
๒.2.๑ เป็นกฎหมายยุติธรรม 4
๒.3 มีลักษณะไม่ชัดแจ้งและบัญญัติเป็นหลักทั่วไป 5
๒.4 ลักษณะการปรับใช้ตามเหตุผลของเรื่อง 5
๒.5 เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมสูง 5
๒.6 เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่เป็นมาตรฐานความเป็นธรรมในสังคม 5

บทที่ ๓ รูปแบบที่สําคัญของหลักสุจริต
๓.๑ หลัก Exceptio doli 6
๓.๑.๑ หลักสุจริตในสัญญาฝ่ายเดียว 6
๓.๑.๒ หลักสุจริตในสัญญาสองฝ่าย 6
๓.๒ หลักกฎหมายปิดปากโดยความประพฤติ 7
๓.๓ หลักความผูกพันย่อมเป็นไปตามพฤติการณ์ 8
๓.๔ หลักความรับผิดก่อนสัญญา 10
๓.๕ รูปแบบการใช้สิทธิในทางไม่ชอบ 10

บทที่ ๔ หลักสุจริตในกฎหมายต่างประเทศที่สําคัญ
๔.๑ หลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน 12
4.1.๑ กรณีที่นําหลักสุจริตมากําหนดหน้าที่เพิ่มเติมแก่คู่สัญญา 12
4.1.๒ กรณีนําหลักสุจริตมาปรับใช้กับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง 12
4.1.๓ การนําหลักสุจริตมากําหนด การใช้สิทธิของบุคคลในกรณีต่างๆ 13
๔.๓ หลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส 15

สารบัญ (ต่อ)
หน้า

บทที่ ๕ ขอบเขตแนวความหมายการใช้สิทธิโดยสุจริต 17
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย

บทที่ 6 ลักษณะแนวทางการปรับใช้หลักสุจริตของศาลไทย 19

บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 24

บรรณานุกรม

ประวัติผู้ศึกษา

บทที่ ๑
ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ในคดี แ พ่ ง ข้ อ หาละเมิ ด การกํ า หนดค่ า เสี ย หายเป็ น ดุ ล ยพิ นิ จ ของศาล ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๘ ในขณะเดียวกันการนําคดีขึ้นสู่ศาล เป็นการใช้สิทธิ
เรียกร้องทางศาลอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕ ซึ่งมีที่มาจาก
หลักสุจริต (good faith) อันเป็นหลักทั่วไปที่ยอมรับกันในนานาประเทศว่า เป็นพื้นฐานของระบบ
กฎหมายแพ่ง มีวัตถุประสงค์ให้ศาลปรับใช้ในการแก้ไขความเคร่งครัดของกฎหมาย และสัญญา
ให้มีความยืดหยุ่นสามารถเข้ากับข้อเท็จจริงที่สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป หลักสุจริตมีแนวคิด
ทางกฎหมายมาตั้ ง แต่ ใ นยุ ค ของระบบกฎหมายโรมั น อั น เป็ น ต้ น แบบของระบบกฎหมาย
Civil Law ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาต่อเนื่องในระบบกฎหมายของประเทศต่างๆที่รับอิทธิพลมา
จากกฎหมายโรมัน ได้แก่ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส
ประเทศไทยได้รับเอาหลักสุจริตผ่านมาทางประมวลกฎหมายแพ่งสวิส มาตรา ๒ โดย
นํา มาบั ญญั ติ ไ ว้ ใ นมาตรา ๕ และมาตรา ๔๒๑ ในส่ ว นของการใช้ต ามประมวลกฎหมายแพ่ ง
มาตรา ๔๒๑ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติเรื่องหลักสุจริตในบททั่วไปในมาตรา ๕ ศาลไทยได้
ปรับใช้มาหลายกรณี แต่ในส่วนของหลักทั่วไปตาม มาตรา ๕ กลับมีการปรับใช้น้อยกว่ามาก
ซึ่งจากประสบการณ์ในการทํางานของผู้วิจัยพบว่ามีหลายกรณีที่โจทก์นําคดีมาสู่ศาลโดยไม่สุจริต
เช่น ในคดีละเมิดที่ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากเจ้าของรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้มาเป็นโจทก์
ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจําเลยผู้ทําละเมิดขับรถชนกับรถที่โจทก์รับประกัน แต่โจทก์เอา
พยานเอกสารบางส่วนที่เป็นเท็จ มาส่งศาลเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเรียกค่าสินไหมทดแทนที่สูง
เกินจริง จึงเกิดประเด็นปัญหาว่าศาลควรวินิจฉัยคดี โดยให้จําเลยชําระค่าเสียหายเฉพาะส่วน
ที่เกิดขึ้นจริง หรือควรจะยกฟ้องโจทก์โดยอ้างหลักสุจริต ผู้วิจัยจึงทํางานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นเพื่อที่จะ
ศึกษาว่ากฎหมายเรื่องหลักสุจริตมีที่มาอย่างไร การใช้หลักสุจริตของศาลในประเทศที่ใช้ระบบ
civil law มีขอบเขตการใช้อย่างไร ศาลไทยได้ใช้หลักสุจริตในมาตรา ๕ ในขอบเขตอย่างไรบ้าง
และ กรณีตามปัญหาเป็นกรณีที่ต้องปรับใช้หลักสุจริตหรือไม่รวมถึงมีข้อขัดข้องในการใช้หลัก
สุจริตอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของหลักสุจริต
2. เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางของกฎหมายต่างประเทศในเรื่องหลักสุจริต
3. เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ของหลักสุจริตตามกฎหมายของไทย และแนวทางการใช้หลัก
สุจริตของศาลฎีกาไทย
4. เพื่อสนับสนุนให้มีการคิดและพัฒนาหลักสุจริตอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมให้มีการใช้
เพื่ออํานวยความยุติธรรมได้อย่างกว้างขวาง

ขอบเขตงานวิจัย
งานวิ จั ยชิ้ นนี้ มุ่ งศึ กษาขอบเขตการใช้ห ลัก สุ จริ ตใน มาตรา ๕ โดยศึก ษาทฤษฎี ค วาม
เป็นมา ลักษณะทั่ว ๆ ไป จากหลักกฎหมายโรมัน และกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อเปรียบเทียบ
กับหลักสุจริตใน มาตรา ๕ ที่ใช้และตีความโดยศาลฎีกา เพื่อทราบของเขตการใช้ของศาลไทยว่า
เหมือนหรือแตกต่างกับของต่างประเทศอย่างไร และขอบเขตการใช้ที่ปรากฏอยู่ สามารถนํามา
ปรับใช้กับกรณีที่โจทก์นําพยานหลักฐานเท็จมาเสนอศาลเพื่อเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนความ
เสียหายที่สูงเกินจริงจากจําเลยได้หรือไม่ หากปรับใช้ได้จะได้ผลทางกฎหมายอย่างไร
วิธีดําเนินการศึกษา
วิธีการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิจัยเอกสาร ซึ่งจะศึกษาจากประมวลกฎหมาย
ตํ า รากฎหมายและคํ า พิ พ ากษาของศาล ส่ ว นการศึ ก ษาใช้ วิ ธี พิ จ ารณาและวิ เ คราะห์ ใ นการ
เปรียบเทียบข้อมูลการใช้ของต่างประเทศกับของศาลฎีกาไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
รายงานวิจัยนี้จะทําให้เข้าใจบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕
ได้กระจ่างชัดขึ้นในที่มา ขอบเขตความหมาย ขอบเขตการใช้ นําไปสู่การทําความเข้าใจร่วมกันถึง
ปัญหาการใช้หลักสุจริต ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ความร่วมมือในการศึกษา เผยแพร่และ
พัฒนาหลักสุจริต ซึ่งจะทําให้การใช้หลักสุจริตโดยตัวของมันเองหรือการใช้กฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ในเรื่องอื่น ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนหลักสุจริต มีความถูกต้องและสามารถอํานวยความยุติธรรม
ได้อย่างแท้จริง

บทที่ ๒
2.1 ที่มาของแนวคิดสุจริต
แนวคิดทางกฎหมายเรื่องสุจริตมีมานานตั้งแต่มีสังคมมนุษย์ จากนั้นได้พัฒนามามีบทบาท
ในระบบกฎหมายโรมัน และพัฒนาต่อมาในระบบกฎหมายของประเทศต่างๆในภาคพื้นยุโรป
โดยในระยะเริ่มแรกของสังคมมนุษย์ มนุษย์ยอมรับว่าต้องมีกฎกฎเกณฑ์เพื่อให้สังคมดํารงอยู่
จุดมุ่งหมายเช่นนี้ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของหลักสุจริต ตามแนวคิดนี้สมาชิกในสังคม
ต่ า งคาดหมายให้ ผู้ อื่ น ปฏิ บั ติ ต่ อ ตนเหมื อ นที่ ต นปฏิ บั ติ ต่ อ ตนเอง หลั ก สุ จ ริ ต ในระยะแรกจึ ง มี
ความหมายเพียง การปฏิบัติตามสัจจะสัญญาที่ตนได้ให้ไว้ แก่ผู้อื่น และหลักสัญญาต้องได้รับการ
ปฏิบัติและเคารพจากคู่สัญญา หลักนี้มีชื่อเรียกว่า “หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา” (pacta sunt servanda)
หลักสัญญาต้องเป็นสัญญานี้ มีลักษณะเป็นความผูกพันทางจริยธรรมของผู้คนในสังคม มากว่าจะ
เป็นกฎเกณฑ์ ทางกฎหมายซึ่งมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นทางการ
ในสมัยโรมัน ซึ่งความสัมพันธ์ของบุคคลเป็นไปตามกฎหมายที่มีลักษณะเคร่งครัดตายตัว
หรือที่เรียกกันในภาษาลาตินว่า Jus strictum นักกฎหมายโรมันก็ได้พัฒนาหลักสุจริตขึ้น เรียกกัน
ในภาษาลาตินว่า bona fides เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเดิมให้มีความยืดหยุ่นและเป็นธรรมขึ้น
เดิมทีเดียวหลักข้อนี้ใช้เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งศาลโรมันเริ่มใช้ราว ๔๕๐ ปีก่อ น
คริสต์ศักราช กล่าวคือ ในกรณีที่โจทก์ฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิในสัญญา ที่ได้ทําตาม
แบบที่กฎหมายกําหนด ซึ่งโดยปกติศาลจะบังคับให้เป็นไปตามสิทธิของโจทก์เสมอ เพราะยึด
รูปแบบของสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก แต่ต่อมาจําเลยได้กล่าวอ้างว่าสัญญาที่ทําขึ้น
นั้นเกิดเพราะถูกฉ้อฉล หรือสําคัญผิด ข้อต่อสู้ของจําเลยนี้ เรียกว่า exceptio doli หรือข้อต่อสู้
เกี่ยวกับการฉ้อโกง Praetor ซึ่งเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ที่ทําหน้าที่บริหารกฎหมายในกรุงโรม เป็นผู้
กําหนดรูปแบบคดีจะทําบทสรุปคําฟ้องให้ผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกวินิจฉัยไปตามรูปคดีที่เรียกว่า
รูปคดีแบบสุจริต bona fide action และหากศาลเห็นว่าการบังคับให้ตามสัญญาจะไม่เป็นธรรมก็
จะใช้หลักสุจริตมาปรับแต่งข้อตกลงนั้นและบังคับให้เท่าที่เห็นเป็นธรรม
หลักข้อนี้ต่อมาได้มีการพัฒนากลายเป็น กฎหมายสารบัญญัติ คือในกรณีที่ไม่มีกฎหมาย
ลายลักษณ์อักษรรับรองสิทธิไว้ ก็สามารถฟ้องคดีได้ เช่นการฟ้องให้ชําระหนี้ที่ก่อขึ้นโดยไม่ได้ทํา
ตามแบบ ตามหลักกฎหมายบ้านเมืองของโรมัน (Jus civil) ที่ตามปกติใช้บังคับกับกรณีทํานองนี้
อย่างเคร่งครัดจะบังคับกันไม่ได้ เพราะเมื่อไม่ทําตามแบบก็อ้างสิทธิไม่ได้ แต่ชาวโรมันเห็นว่ามี
หลักเหตุผล Praetor จึงประกาศรับรองให้มีการฟ้องกันได้ตามหลักสุจริต โดยให้เหตุผลประกอบ
ว่าเป็นหลักกฎหมายที่แพร่หลายให้หมู่นานาชาติ (jus gentum) และประกาศใช้เป็นส่วนหนึ่งของ
กฎหมายโรมัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้เกิดขึ้นในช่วงราว ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยในระยะแรก
สัญญาที่บังคับกันได้ในฐานะข้อยกเว้น คือผูกพันได้แม้ไม่ทําตามแบบ ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญา
เช่า สัญญาจ้างแรงงาน และจ้างทําของ สัญญาเข้ากันเป็นหุ้นส่วน การมอบอํานาจ เป็นต้น

ตัวอย่างการอ้างหลักสุจริตในฐานะเป็นหลักทั่วไป มาเป็นฐานแห่งสิทธิ ปรากฏตามคํา


บอกเล่าของ ซิเซโร นักกฎหมายชาวโรมันว่า ในคดีเรื่องหนึ่งเจ้าพนักงานของรัฐได้สั่งให้เจ้าของ
บ้านรื้อบ้านออกเพื่อประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของเมืองเจ้าของบ้านทราบ
คําสั่งแล้วก็ประกาศขายบ้าน ต่อมามีผู้มาซื้อบ้านหลังดังกล่าว และเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ซื้อรื้อบ้าน
ออกบางส่วน ผู้ซื้อจึงมาฟ้องผู้ขายให้รับผิดชอบในค่าเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ตามกฎหมายสิบสองโต๊ะ
ของโรมัน กําหนดให้ผู้ขายต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิ ต่อเมื่อผู้ขายได้รับ
รองว่าทรัพย์ที่ขายจะไม่มีความชํารุดบกพร่องหรือจะถูกรอนสิทธิ และในคดีนี้ผู้ขายก็ไม่ได้รับรองไว้
ดังนั้นหากบังคับตามกฎหมายบ้านเมืองหรือ jus civil ผู้ซื้อย่อมไม่ได้รับการชดใช้ แต่คดีนี้ผู้ซื้อ
ไม่ได้ต่อสู้โดยอาศัยกฎหมายสิบสองโต๊ะ แต่กลับอ้าง bona fides ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องบอก
ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิในทรัพย์ที่รู้อยู่แล้วให้ทราบ การปกปิดย่อมขัดต่อหลักสุจริต
ซึ่งศาลก็เห็นชอบและตัดสินไปตามนั้นแต่มีคดีอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผู้ซื้ออ้างว่าผู้ขายบ้าน ปกปิดความ
จริง ไม่แ จ้ง ให้ท ราบว่า บ้า นที่ซื้อ ตกอยู่ภ ายใต้ภ าระจํา ยอมซึ่ง ไม่เ ป็น ที่ป ระจัก ษ์ และขอให้
ศาลพิพากษาไปตามหลักสุจริตเช่นคดีก่อน แต่คดีนี้ผู้ขายอ้างว่า บ้านพิพาทเดิมเป็นบ้านของผู้ซื้อ
ซึ่งผู้ขายซื้อมาอยู่อาศัย ขณะเป็นเจ้าของบ้านผู้ซื้อย่อมทราบดีว่าบ้านตกอยู่ภายใต้ภาระจํายอม
การที่ผู้ซื้อกลับมาซื้อบ้านหลังเก่าของตนเอง โดยทราบว่ามีการรอนสิทธิอยู่ก่อน แม้ผู้ขายไม่แจ้ง
ให้ทราบในขณะทําสัญญาก็ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ขายปกปิดข้อเท็จจริงอันจะถือว่า ไม่สุจริต ซึ่งศาลตัดสิน
ให้ผู้ขายชนะคดีด้วยเหตุผลว่า ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชํารุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิอันผู้ซื้อ
รู้อยู่แล้วในขณะทําสัญญาซื้อขายกัน เหตุผลดังกล่าวสืบทอดใช้ต่อๆกันมาในระบบกฎหมายต่างๆ
และทําให้เห็นว่า หลักสุจริตไม่อาจยกขึ้นอ้างเป็นสูตรสําเร็จ หรือทําให้เป็นเกณฑ์ตายตัว แต่หลัก
สุจริตเป็นหลักที่มีเนื้อหากว้างๆ เป็นพื้นที่ให้ศาลสามารถปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันเพื่อให้
เกิดความเป็นธรรมเฉพาะเรื่องได้
หลักสุจริตเป็นที่มาของหลักกฎหมายในเวลาต่อมาอีกจํานวนมาก เช่นหลักกฎหมายปิด
ปาก อันมีที่มาจากสุภาษิตกฎหมายโรมันที่ว่า Venire contra factum proprium หรือหลักห้าม
ทําการโดยไม่สุจริตให้เป็นเหตุเสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณี หรือหลักความผูกพันย่อมเป็นไปตาม
พฤติการณ์ clausula rebus sic stantibusเป็นต้น
2.๒ ลักษณะทั่วไปของหลักสุจริตที่ปรากฏเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย
๒.2.๑ เป็นกฎหมายยุติธรรม
บทบัญญัติในหลักสุจริต เป็นกฎหมายทั่วไปประเภท เป็นบทเพื่อความยุติธรรม เนื่องจาก
พัฒนาการของหลักสุจริตมีขึ้นเพื่อแก้ไขความเคร่งครัดในรูปแบบวิธีและตัวอักษรของกฎหมาย
ในสมัยโรมัน จึงมีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่ให้ผู้พิพากษามีดุลยพินิจบางประการ ที่จะวินิจฉัยให้ผล
ทางกฎหมายอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากบทกฎหมายอื่นที่กําหนดผลทางกฎหมาย
แคบๆ ไว้ทางเดียว

กฎหมายยุติธรรมนี้มักปรากฏในรูปของกฎหมายที่ยกเว้นกฎหมายทั่วไป การใช้ดุลพินิจ
เป็นอํานาจของผู้พิพากษาที่จะหยิบยกขึ้นปรับใช้ได้เอง การใช้ในฐานะข้อยกเว้นจึงมีเฉพาะกรณี
พิเศษ อันเป็นการใช้อย่างจํากัด และมีลักษณะเป็นการตัดสินตามหลักความเป็นธรรมเป็นเรื่องๆ ไป
๒.3 มีลักษณะไม่ชัดแจ้งและบัญญัติเป็นหลักทั่วไป
เนื้อความของหลักสุจริต เป็นเนื้อความที่เป็นลักษณะทั่วไป อันเป็นมาตรฐานทั่วไป ที่ใช้
เป็นเครื่องวัดความประพฤติของมนุษย์ในสังคมทุกๆ กรณีอันไม่อาจจะอธิบายให้ชัดเจนกระจ่างใน
รายละเอียดได้ทั้งหมด เนื่องจากมีลักษณะเป็นนามธรรมที่นับวันจะมีแต่คลี่คลายต่อไป การที่
หลักการนี้ปรากฏตัวออกมาเป็นหลักปลีกย่อยที่พออธิบายได้อย่างชัดเจนนั้นก็เป็นเพียงบางส่วน
เท่านั้น
๒.4 ลักษณะการปรับใช้ตามเหตุผลของเรื่อง
การปรับใช้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์สภาพแวดล้อมของคดี เป็นหน้าที่ของผู้ใช้กฎหมายต้องใช้
วิจารณญาณและดุลยพินิจในการไตร่ตรองเพื่อให้ได้ความเป็นธรรม การปรับใช้จากกรณีเกิดขึ้น
จริง เป็นการพัฒนาหลักกฎหมายที่เกิดจากคดีจริง ทําให้เกิดบรรทัดฐานในการปรับใช้ต่อไป
แต่การปรับใช้กับเรื่องใดต้องใช้อย่างจํากัด คือ ใช้ในกรณีที่การนํากฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้แล้วจะ
ทําให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือปรับใช้เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่จะนํามาปรับใช้กับ
ข้อเท็จจริงได้ การนําหลักสุจริตมาใช้จึงเป็นการใช้อย่างข้อยกเว้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้พิพากษาใช้
หลักเกณฑ์นอกเหนือจากบทบัญญัติของกฎหมายมากเกินไป
๒.5 เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมสูง
หลักสุจริตเป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจกันในระหว่างคนในสังคม ซึ่งศาลเป็นผู้กําหนด
ขอบเขต ตามเหตุผลของเรื่อง ตามกาละ เทศะ หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลักสุจริตไม่ใช่เรื่อง
ของข้ อ ห้ า มซึ่ ง เป็ น กฎเกณฑ์ ท างศี ล ธรรม จึ ง เป็ น หลั ก ที่ มี ม าตรฐานสู ง กว่ า หลั ก ศี ล ธรรมอั น ดี
เพราะหลักศีลธรรมอันดีเป็นเครื่องกํากับเงื่อนไขความมีผลแห่งนิติกรรม นิติกรรมที่ขัดต่อความ
สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีจึงไม่มีผลบังคับ แต่หลักสุจริตเป็นเครื่องกํากับการใช้สิทธิหรือการ
ชําระหนี้ตามนิติกรรม บางกรณีการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอาจไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีได้ เช่น เจ้า
มรดกทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้คู่สมรส เป็นนิติกรรมที่ไม่ได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดี แต่ต่อมาปรากฏว่าคู่สมรสนั้นปกปิดหลักฐานที่ใช้มัดตัวผู้ฆ่าเจ้ามรดก ดังนี้การใช้
สิทธิตามพินัยกรรมย่อมขัดต่อหลักสุจริตคดีครอบครัว
๒.6 เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่เป็นมาตรฐานความเป็นธรรมในสังคม
เนื่องจากหลักสุจริตเป็นบทบัญญัติที่เป็นประตูแห่งศีลธรรมของระบบกฎหมายแพ่ง หลัก
สุจริตจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนําเอาหลักมาตรฐานศีลธรรมในแต่ละยุคสมัย ของแต่ละสังคม มา
ทําให้ปรากฏในเป็นรูปธรรมโดยคําพิพากษาของศาล

บทที่ ๓
รูปแบบที่สําคัญของหลักสุจริต
๓.๑ หลัก Exceptio doli
หลักการนี้ใช้เป็นข้อต่อสู้พิเศษ ยกเว้นความรับผิดตามสัญญาของจําเลยในระบบกฎหมาย
หนี้ของโรมัน โดยหลักการนี้เป็นการนําเอาแนวความคิดเรื่องความเป็นธรรมหรือ เอควิตี้ (Equity)
ตั้งเป็นข้อยกเว้นผ่อนคลายความเคร่งครัดของตัวบทกฎหมาย โดยเน้นว่าความสุจริตเป็นข้อยกเว้น
ของบทบั ญญัติทั้งปวง โดยตั้งอยู่ บนพื้นฐานแนวคิ ดของอริสโตเติ้น (Aristotle) และซิเซโร (Cicero)
ซึ่งมีแนวความคิดว่า กฎหมายเป็นหลักการทั่วไปใช้ปรับกับกรณีทั้งหลาย แต่อาจมีปัญหาการปรับ
ในกรณีเฉพาะเรื่องได้ แต่ด้วยกฎหมายโดยตัวมันเอง คือเหตุผลอันปราศจากกิเลส คือเหตุผลที่ถูกต้อง
ดังนั้นกฎหมายย่อมเป็นธรรมเสมอเมื่อเกิดความไม่เป็นธรรมในการปรับใช้ ตัวบทกฎหมายย่อม
อนุญาตให้นําหลักความเป็นธรรมเข้ามาปรุงแต่งกฎหมายได้
ในทางปฏิบัติมีการใช้หลักการนี้ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสัญญาใน ๒ รูปแบบ คือ
๓.๑.๑ หลักสุจริตในสัญญาฝ่ายเดียว
ในระบบกฎหมายหนี้โรมัน กําหนดให้สัญญาที่มีการชําระหนี้อยู่ฝ่ายเดียวเป็นหนี้เคร่งครัด
ตามกฎหมาย การบังคับจะเป็นไปตามถ้อยคําข้อตกลงในสัญญาอย่างเคร่งครัด แม้ข้อตกลงจะถูก
ทําขึ้นโดยสําคัญผิด โดยถูกฉ้อฉล หรือข่มขู่ สัญญาฝ่ายเดียวนี้ได้แก่สัญญาให้ยืมเงิน ต่อมาได้มีการ
นําหลักสุจริตมาเยียวยา กรณีที่ลูกหนี้อ้างว่าสัญญาเกิดโดยกลฉ้อฉล หรือโดยคู่สัญญาถูกข่มขู่ หรือ
โดยคู่สัญญาสําคัญผิด praetor จะนําหลัก exception doli บรรจุในบทสรุปคําฟ้อง เรียกว่า
รูปแบบคําฟ้องฉ้อฉล ซึ่งศาลที่ได้รับเลือกมามีอํานาจใช้หลักความเป็นธรรมเข้ามาวินิจฉัยคดีได้
โดยไม่ต้องยึดติดกับตัวอักษรตามสัญญา แต่สามารถพิจารณาหาเจตนาที่แท้จริง หรือความหมาย
ที่แท้จริงแห่งสัญญาได้ด้วย
๓.๑.๒ หลักสุจริตในสัญญาสองฝ่าย
สัญญาสองฝ่ายเป็นสัญญาที่อาศัยความยินยอมของคู่สัญญา เป็นสัญญาที่ไม่ต้องทําตาม
แบบที่เคร่งครัด ในช่วงแรกของการกําเนิดสัญญาที่ไม่เคร่งครัดตามแบบ มีแนวคิดเริ่มที่จะให้
คู่สัญญาไม่จําต้องยึดติดอยู่กับรูปแบบวิธีฟ้องร้องที่เคร่งครัดตามแบบอีก และได้ให้การวินิจฉัยคดี
เป็นไปตามหลักสุจริตเป็นธรรม โดยไม่จําต้องยึดอยู่กับกฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงได้กําหนด
รูปแบบฟ้องร้องคดีแบบสุจริตขึ้น อันเป็นรูปแบบของหลักสุจริตในสัญญาสองฝ่ายโดยให้ใช้กับ
สั ญ ญาสองฝ่ า ยในกฎหมายโรมั น ได้ แ ก่ สั ญ ญาซื้ อ ขาย สั ญ ญาเช่ า ทรั พ ย์ สั ญ ญาห้ า งหุ้ น ส่ ว น
และสัญญาตัวแทน รูปแบบวิธีพิจารณานี้ ศาลมีอํานาจที่จะพิจารณาโดยเพ่งเล็งเจตนาที่แท้จริง
ของคู่สัญญา โดยไม่ยึดติดที่จะพิจารณาแค่ตามตัวอักษรหรือข้อตกลงในสัญญา และศาลจะพิพากษา
ให้ คู่ ค วามปฏิ บั ติ ต่ อ กั น ไปตามหลั ก ความเป็ น ธรรม ที่ ส อดคล้ อ งกั บ มาตรฐานศี ล ธรรมอั น ดี
วัฒนธรรม ประเพณีในสมัยนั้น

ในศตวรรษที่ ๑๖ ประเทศเยอรมันได้รับเอาหลัก exceptio dori ของกฎหมายโรมันมาใช้


โดยยอมให้จําเลยยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตได้เช่นเดียวกับกฎหมายโรมัน ต่อมาเมื่อมีการ
เสนอร่างประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแรก มีการนําหลัก สุจริ ตเข้ามาบั ญญัติ ไว้ในร่างประมวล
กฎหมายใน มาตรา ๓๕๙ ว่า “สัญญาย่อมก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างกันตามที่ตกลงกันและ
ตามผลธรรมดาของสัญญาประเภทนั้นตามบังคับแห่งกฎหมายและปกติประเพณี ทั้งนี้โดยคํานึงถึง
ความสุจริต” ในการปรับปรุงแก้ไขเป็นร่างฉบับที่สอง มีการแยกหลักเกณฑ์นี้ออกเป็นสองตอน
ตอนแรกนําไปบัญญัติในเรื่องตีความสัญญาในมาตรา ๑๕๗ ที่ว่า “สัญญานั้นต้องตีความไปตาม
ความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี และตอนหลังนําไปบัญญัติไว้ในส่วนที่ว่า
ด้ว ยหลั กทั่ ว ไปแห่ ง หนี้ ต ามมาตรา ๒๔๒ ว่ า “ลู ก หนี้ มีห น้ า ที่ ที่จ ะชํ า ระหนี้ โ ดยสุ จ ริ ต และโดย
คํานึงถึงปกติประเพณีด้วย” ในช่วงแรกหลักจากร่างประมวลกฎหมายเสร็จ ศาลเยอรมันยังคงใช้
หลักสุจริตตามมาตรา ๒๔๒ ต่อเมื่อมีข้อต่อสู้ทางคดี ซึ่งเป็นการใช้ตามหลัก exceptio doli และ
ใช้ในกรณีที่พบว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ หรือใช้สิทธิไปในทางที่มีแต่จะเกิดความเสียหายแก่
ผู้อื่น อันเป็นการจํากัดการใช้เท่าที่จําเป็นเท่านั้น แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดภาวะเงิน
เฟ้ออย่างรุนแรง เหรียญทองคํา ๑ มาร์กเยอรมันมีมูลค่าแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรได้มูลค่าห้าแสน
สองหมื่นสองพันล้านมาร์ก ศาลสูงของเยอรมันได้เสนอให้รัฐสภาตรากฎหมายเพื่อปรับมูลค่าเงิน
ที่ใช้ในการชําระหนี้ แต่รัฐสภาเพิกเฉย จนเกิดคดีพิพาทฟ้องเรียกเงินกู้ขึ้น ซึ่งผู้กู้กู้เงินจากผู้ให้กู้
เป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ มาร์ก และนําที่ดินมาจํานองประกันหนี้ ผู้กู้ได้นําเงินจํานวนดังกล่าวมาชําระหนี้
แต่ผู้ให้กู้ไม่รับชําระ โดยอ้างว่ามูลค่าของเงินที่นํามาชําระต่างจากมูลค่าของเงินในขณะที่ให้กู้
หลายล้านเท่า และเรียกร้องให้ลูกหนี้ชําระเงินในจํานวนที่มีมูลค่าเท่ากับมูลค่าในขณะที่ให้กู้ซึ่งเป็น
ช่วงก่อนสงคราม ศาลสูงของเยอรมันพิพากษาว่าลูกหนี้มีหน้าที่ชําระหนี้ให้สอดคล้องกับหลัก
สุจริต โดยกําหนดจํานวนเงินที่ต้องชําระกันใหม่ให้เหมาะสมกับมูลค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
คําพิพากษาฉบับนี้ศาลใช้หลักสุจริต โดยไม่ได้ใช้ในฐานะเป็นข้อยกเว้นความรับผิด ตาม
หลักexceptio doli แต่เป็นการใช้ในลักษณะเป็นหลักอุดมคติเป็น หลักทั่วไปแห่งกฎหมาย ซึ่งถือ
ว่าเป็น การพัฒนาการใช้หลักสุจริตที่มีมาแต่เดิม
๓.๒ หลักกฎหมายปิดปากโดยความประพฤติ
(Estopel by Conduct: Venire contra factum proprium)
หลั ก กฎหมายปิ ด ปากโดยความประพฤติ มี กํ า เนิ ด ในประเทศอั ง กฤษ ซึ่ ง เป็ น ระบบ
กฎหมาย Common Law 1 มีขึ้นเพื่อความเป็นธรรม โดยการลงโทษบุคคลหรือคู่ความฝ่ายหนึ่ง
ในคดีไม่ให้กล่าวอ้างหรือปฏิเสธ ข้อความหรือการกระทําบางเรื่อง อันเป็นผลเนื่องจากการกระทํา
ความผิดของบุคคลนั้น กล่าวคือเมื่อบุคคลใด ซึ่งโดยความประพฤติของเขาได้ก่อให้บุคคลอื่น
เปลี่ยนสถานะไปและเกิดความเสียหาย ทําให้เขาเสียเปรียบ บุคคลนั้นก็จะถูกปิดปาก ในการที่จะ
1
พงษ์อาจ ศรีกิจวัฒนกุล , หลักกฎหมายปิดปาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ๒๕๒๕)
หน้า ๒๑๐

อาศัยประโยชน์จากความประพฤติเช่นนั้น อันมีความหมายตรงกับหลักในกฎหมายโรมัน venire


contra factum proprium (ไม่มีบุคคลใดถือเอาประโยชน์จากการกระทําที่ขัดแย้งกับการ
ประพฤติของตนที่ได้ทําไว้ในอดีต)
๓.๓ หลักความผูกพันย่อมเป็นไปตามพฤติการณ์ Clausula rebus sic stantibus
หลั ก การนี้ มี แ นวคิ ด ว่ า ความผู ก พั น ตามสั ญ ญาย่ อ มขึ้ น อยู่ กั บ ความมี อ ยู่ ข องเงื่ อ นไข
หรือปัจจัยแวดล้อมขณะทําสัญญา หากมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงทําให้คู่สัญญาไม่สามารถ
ปฏิบัติการชําระหนี้ได้ คู่กรณีตามสัญญาก็ไม่ต้องผูกพันตามสัญญาอีกต่อไป หลักการเช่นนี้ช่วยใน
การแก้ปัญหา หากเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายขึ้น อันมีผลต่อความผูกพันตามสัญญา
ให้สันนิษฐานไว้ว่าหากคู่สัญญาได้คาดการมองเห็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดนั้น คู่สัญญาย่อมจะต้อง
มีการตกลงกันว่าให้ความผูกพันตามสัญญาดังกล่าวสิ้นสุด ประโยชน์ของหลักนี้ช่วยให้คู่สัญญา
ที่ต้องผูกพันกันเป็นสัญญาที่มีระยะเวลายาวต่อเนื่องกัน ให้ได้รับการปรับแก้สัญญาเมื่อพฤติการณ์
แวดล้อมขณะทําสัญญาเปลี่ยนไป หรือ กรณีที่เกิดการชําระหนี้ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีเหตุผล
พิเศษ ศาลก็มีอํานาจปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ตามสัญญาได้
หลัก Clausula rebus sic stantibus นี้มีใช้ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ เช่นใน
ประเทศเยอรมัน ศาลเยอรมันได้รับเอาหลักการดังกล่าว มาใช้และพัฒนา โดยศาสตราจารย์
Windscheid ซึ่งได้อธิบายว่า คู่กรณีในสัญญาย่อมตกลงทําสัญญากันภายใต้เงื่อนไขว่า “ความมี
ผลของนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นควรดํารงอยู่ภายใต้พฤติการณ์ที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง”2 ซึ่งแม้ว่า
ในเวลาตกลงกันนั้น คู่กรณีมักมิได้ตกลงกันให้ถือเอาสภาพการณ์ที่ก่อนิติสัมพันธ์นั้นเป็นเงื่อนไข
แห่งข้อตกลงไปด้วย ผลที่ตามมาคือ เมื่อเงื่อนไขแห่งข้อตกลงนั้นระงับไป การที่จะถือว่าสัญญามี
ผลผูกพันต่อไป ย่อมไม่สอดคล้องกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี ซึ่งแม้จะให้ถือว่าสัญญามีผลต่อไป
ก็คงมีผลต่อไปในทางแบบพิธีเท่านั้น แต่โดยเนื้อหาเนื่องจากความผูกพันไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่ง
เจตนาที่แท้จริง คู่กรณีฝ่ายที่ได้รับผลกระทบย่อมมีสิทธิเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งยอมเลิกสัญญา
ระหว่างกันเสีย โดยถือเสมือนหนึ่งว่าสัญญาที่ทําขึ้นมีการตกลงโดยปริยายให้ถือเอาสภาพแวดล้อม
ในขณะทําสัญญาเป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของสัญญา Windscheid เรียกเงื่อนไขนี้ว่า “เงื่อนไขแฝงแห่งนิติ
กรรม” (UnentwickelteBedingung) 3 แนวความคิดของ Windscheid ว่าด้วยเงื่อนไขแฝงในการทํา
สัญญานี้ในระยะแรกถูกโจมตีว่า เป็นการนําเอามูลเหตุจูงใจ (ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของนิติกรรม)
กับเงื่อนไขซึ่งเป็นข้อตกลงของคู่สัญญา (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิติกรรม) มาปะปนกัน ทําให้การ
แยกแยะข้อแตกต่างไม่ชัดเจน และเปิดช่องให้มูลเหตุจูงใจมีผลล่วงล้ําเข้ามาในแดนของข้อตกลง
ระหว่างคู่กรณี คณะกรรมการร่างกฎหมายของเยอรมันจึงไม่ได้นําหลักการดังกล่าวไปบัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน แต่ต่อมาเมื่อเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑
ในปี ค.ศ. ๑๙๑๔ ทําให้เกิดความผันผวนในค่าเงิน ศาลเยอรมันได้พิพากษาคดีที่คู่กรณีพิพาทกัน
โดยยกเหตุที่พฤติการณ์ที่ตกลงกันได้เปลี่ยนแปลงไปชนิดนอกเหนือความคาดหมายของคู่ความขึ้น
2
กิตติศักดิ์ ปกติ , หลักสุจริต และเหตุเหนือความคาดหมายในการชําระหนี้, หน้า ๑๒๐
3
กิตติศักดิ์ ปกติ อ้างแล้ว

เป็นข้ออ้าง เช่น คดี RGZ 87, 277 (1915) เป็นคดีที่ผู้เช่าตกลงเช่าภัตตาคารแห่งหนึ่งใน


กรุงเบอร์ลิน ในอัตรา ๒๗,๐๐๐ มาร์ก ต่อปีติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี โดยตกลงก่อนเกิดสงคราม
ซึ่งภัตตาคารดังกล่าวมีสถานลีลาศซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นแหล่งรายได้หลักของภัตตาคาร ต่อมา
เยอรมั น ได้ ป ระกาศสงครามกั บ ฝรั่ ง เศส และกรมตํ า รวจเยอรมั น มีคํ า สั่ ง ห้ า ม การเต้ น รํ า ในที่
สาธารณะในเขตกรุ ง เบอร์ลิ น ทํ าให้ ผู้ เ ช่า ขาดรายได้จึ ง ขอลดค่ า เช่า ลง แต่ ผู้ ใ ห้เ ช่ า ไม่ยิ น ยอม
ศาลเยอรมันตัดสินว่าคําสั่งห้ามเต้นรําทําให้ทรัพย์สินที่เช่าขาดคุณสมบัติตามความประสงค์อัน
แท้จริงแห่งการเช่า และพยายามอธิบายว่าเป็นกรณีสถานที่เช่าเกิดความชํารุดบกพร่อง ทําให้
เสื่ อ มประโยชน์ ใช้ ส อยตามความมุ่ง หมายแห่ งสั ญ ญา และยกเอาความรั บ ผิด เพื่ อความชํ า รุ ด
บกพร่องในทรัพย์ที่เช่ากันตามมาตรา ๕๓๗ มาปรับลดค่าเช่าลงเหลือปีละ ๑๐,๐๐๐ มาร์ก ตลอด
ระยะเวลาที่คําสั่งห้ามเต้นรํามีผลใช้บังคับ4 และในหลายๆคดี ศาลเยอรมันได้หาทางออกโดยอาศัย
ข้อความคิดว่าด้วย “การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย” ตามมาตรา ๒๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
เยอรมัน มาเป็นเครื่องช่วย โดยวางหลักว่า เมื่อมีเหตุให้การชําระหนี้ไม่อาจเป็นไปโดยต้องตาม
ความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ กรณีย่อมเทียบได้กับกรณีที่การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย และ
ลูกหนี้จะต้องรับผิดก็เฉพาะกรณีเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ โดยศาลตีความคําว่า
“การชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย” ในความหมายอย่างกว้าง ให้รวมถึง “การพ้นวิสัยทางเศรษฐกิจ”
ซึ่งส่งผลให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายหลุดพ้นจากความผูกพันตามสัญญาและต้องคืนทรัพย์ที่รับไว้แก่กัน
และในกรณีที่การคืนทรัพย์ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ ศาลก็จะใช้อํานาจ
ปรับปรุงหนี้นั้นใหม่ให้เหมาะสม โดยเทียบเคียงเอาจากหลักกฎหมายเรื่องซื้อขาย เมื่อมีการส่ง
มอบทรั พ ย์ บ กพร่ อ งหรื อ ล้ํ า จํ า นวน อย่ า งไรก็ ต ามมี คํ า พิ พ ากษาอี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ ศ าลฎี ก าแห่ ง
จั ก รวรรดิ เ ยอรมั น ได้ พิ พ ากษาให้ ผู้ ข ายหลุ ด พ้ น จากการชํ า ระหนี้ โดยเหตุ “การพ้ น วิ สั ย ทาง
เศรษฐกิจ” หากปรากฏว่าการจัดหาและส่งมอบทรัพย์ตามที่ตกลงกัน ตามวิสัยและพฤติการณ์แห่ง
สัญญาถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เกินควรแก่เหตุหรือเกินควรแก่การอันพึงคาดหมายแห่งคู่กรณี เช่นในคดี
RGZ 57,116.118f (23.2.1904) ศาลพิพากษาให้ผู้ขายซึ่งตกลงขายแป้งชนิดพิเศษซึ่งต้อง
ผลิตโดยใช้สูตรลับของโรงงานผู้ขาย แต่เกิดไฟไหม้โรงสีโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ทําให้ไม่
สามารถผลิตแป้งได้ แม้ว่าการชําระหนี้จะเป็นการชําระหนี้โดยการส่งมอบทรัพย์เป็นประเภท
และผู้ขายอาจขอซื้อแป้งชนิดนี้จากผู้ซื้อที่ซื้อแป้งชนิดนี้เก็บไว้ในต่างประเทศกลับคืนมาเพื่อส่ง
มอบได้ แต่ศาลก็วินิจฉัยว่าเป็นการหาซื้อแป้งจากต่างประเทศเป็นการนอกขอบวัตถุประสงค์แห่ง
สัญญา และตั ดสิ นว่ าเป็ นการชํ าระหนี้กลายเป็ นพ้ นวิสั ย และผู้ขายหลุ ดพ้นการชํ าระหนี้ ในคดี
RG WarnRspr.1917 Nr.161 ปรากฏทรัพย์สินที่ซื้อขายกันถูกเจ้าหน้าที่ยึดไว้ในระหว่างสงคราม
แม้ว่าผู้ขายอาจจะจัดหาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันจากผู้อื่นได้ แต่ก็มีราคาแพงและหายาก และไม่
แน่ว่าจะหาได้อีกด้วย ดังนี้ศาลพิพากษาให้ผู้ขายหลุดพ้นจากการชําระหนี้

4
กิตติศักดิ์ หน้า ๑๒๓
๑๐

๓.๔ หลักความรับผิดก่อนสัญญา
(pre – contractual fault : culpa in contrahendo)
แนวคิ ด ของหลั ก การนี้มี ว่ า ในระหว่ า ง การเจรจาต่ อ รองเพื่ อ ทํ า สั ญ ญา คู่ สั ญ ญาควร
กระทําด้วยความซื่อสัตย์และไว้วางใจซึ่งกันและกันโดยไม่คํานึงว่าสัญญาจะได้มีการทําขึ้นหรือไม่
ดังนั้นหากในช่วงเจรจาต่อรองทําสัญญา และการเจรจาล้มเหลว เนื่องจากการที่คู่เจรจาฝ่ายหนึ่ง
แสดงออกให้คู่เจรจาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่า เขามีความประสงค์ทําสัญญาจริง แต่ความเป็นจริงเขาไม่
มีความประสงค์ เมื่อสัญญาไม่เกิดขึ้น ฝ่ายที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงโดยมุ่งหวังจะทําสัญญา ย่อมได้รับความ
เสียหาย ฝ่ายที่ไม่สุจริตต้องรับผิดชอบ
ความเสี ย หายที่ ต้ อ งชดใช้ ต ามหลั ก ดั ง กล่ า วจํ า กั ด เฉพาะค่ า ใช้ จ่ า ยและการสู ญ เสี ย
ที่เกี่ยวกับ การเจรจาเท่านั้น เช่น ค่าเดินทาง ค่าทําแผนงาน ค่าทนาย เป็นต้น รวมทั้งค่าเสีย
โอกาสที่ดีกว่าที่จะไปทําสัญญากับคู่สัญญาอื่นอีกด้วย ความรับผิดดังกล่าว มีเฉพาะการเจรจาทํา
สัญญาโดยไม่สุจริต ทําให้การเจรจาทําสัญญานั้นไม่ประสบความสําเร็จเท่านั้น
ในปัจจุบันหลักการนี้ได้มีการขยายขอบเขตออกไป ให้รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญต่อ
การตัดสินใจในการทําสัญญาด้วย กล่าวคือหากคู่เจรจาปกปิดข้อมูลดังกล่าว ทําให้คู่สัญญาอีกฝ่าย
หนึ่ ง ไม่ ท ราบข้ อ มู ล สํ า คั ญ อั น มี ผ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจและด้ ว ยความไม่ รู้ ไ ด้ เ ข้ า ทํ า สั ญ ญาขึ้ น เมื่ อ
ภายหลังได้รู้ข้อมูลดังกล่าวและการไม่รู้ข้อมูลที่ถูกปกปิดนั้นทําให้คู่สัญญาที่ไม่รู้ได้รับความเสียหาย
คู่สัญญาฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
๓.๕ รูปแบบการใช้สิทธิในทางไม่ชอบ (Abuse of right ; abus d’un droit)
หลักการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการใช้สิทธิของบุคคลไม่ให้ทําความ
เสียหายแก่บุคคลอื่น อันเป็นแนวคิดสังคมนิยม (The Socialist Conception) เพื่อเป็นการจํากัด
สิทธิของปัจเจกชนโดยการควบคุมการใช้สิทธิของบุคคลนั้นต้องตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม
อันเป็นไปตามแนวคิดของ Louis Josserand ที่กล่าวว่า “การใช้สิทธิของบุคคลต้องถูกควบคุม
โดยเจตนารมณ์ของสังคมตามหลักนิติรัฐ ซึ่งกําหนดสิทธินั้นให้บุคคล กฎหมายนั้นกําหนดสิทธิเพื่อ
ประโยชน์ของสังคม ไม่ใช่กําหนดเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล” ศาลฝรั่งเศสได้พัฒนาหลักกฎหมาย
ที่ทําให้เกิดความเป็นธรรมที่มีลักษณะทั่วไป (จากบทบัญญัติมาตรา 1382 ในเรื่องละเมิด)
อันมีลักษณะเป็นหลักศีลธรรม (Moral basic) ในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมใดเป็นการใช้สิทธิในทาง
มิชอบ ซึ่งจะเป็น การกระทําอันเป็นละเมิดหรือไม่ (committed a fault) ศาลฝรั่งเศสได้ยอมรับ
มาตรฐานที่เป็นธรรมอันสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสังคมเข้ามาวินิจฉัย ตามแต่กรณีๆ ไป ทําให้
เห็นว่าไม่มีความจําเป็นใดๆที่ต้องบัญญัตินิยามของคําว่า fault ให้ชัดเจนในกฎหมายละเมิดว่า
การกระทําใดๆบ้างเป็นความผิดที่ต้องชดใช้ความเสียหาย
หลักเกณฑ์ที่ศาลฝรั่งเศสใช้วินิจฉัย คือการใช้สิทธิโดยมีเจตนาไม่สุจริต (maliclousimtention)
ทําให้บุคคลเสียหาย คือ เป็นการจงใจกลั่นแกล้งทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และศาลฝรั่งเศส
ยังตีความไปถึงกรณีแม้ไม่มุ่งร้าย แต่หากกระทําไปโดยไม่ระวัง ก็ถือว่าเป็นการจงใจต้องรับผิดใน
การกระทําเช่นกัน นอกจากนี้การใช้สิทธิโดยไม่คํานึงถึงบุคคลอื่นในสังคม เช่นการใช้สิทธิที่ตน
๑๑

ไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร แต่กลับทําให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือการใช้สิทธินั้นจะได้รับประโยชน์อยู่
บ้าง แต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม หรือการใช้สิทธิที่ฝ่าฝืนต่อความรู้สึกของคนทั่วไป ล้วน
เป็นการใช้สิทธิโดยไม่คํานึกถึงประโยชน์ส่วนรวม หากก่อให้เกิดความเสียหายย่อมเป็นความผิด
(fault) ซึ่งผู้ใช้สิทธิต้องรับผิดชอบ
๑๒

บทที่ ๔
หลักสุจริตในกฎหมายต่างประเทศที่สําคัญ
ในภาคพื้นยุโรปซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมายล้วนมีรากฐานทางกฎหมายมาจากระบบ
กฎหมายโรมันทั้งสิ้น เมื่อมีการจัดทําประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้ในหลายๆประเทศ ได้มีการนําหลัก
สุ จ ริ ต มาบั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นตั ว บทกฎหมาย และได้ พั ฒ นาการใช้ จ นเป็ น ลั ก ษณะเฉพาะของระบบ
กฎหมายในแต่ละประเทศนั้นๆ
๔.๑ หลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน
บทบัญญัติที่เป็นแม่บทคือ มาตรา ๒๔๒ มีเนื้อความว่า
“the debtor is obliged to perform in such a maner as good faith requires ,
regard being paid to general practice”
“ ลูกหนี้ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามหลักสุจริต ทั้งนี้จะต้องคํานึงถึงปกติประเพณีด้วย”
แม้เนื้อหาของมาตรา ๒๔๒ จะเป็นเพียงการกําหนดให้ลูกหนี้ต้องปฏิบัติชําระหนี้โดยสุจริต
เท่านั้น แต่ในแนวคิดของ ศาลเยอรมัน ได้นําเอาหลักกฎหมายธรรมชาติ และหลักสิทธิมนุษย์ชน
มาใช้ผ่าน การตีความ (judicial interpretation) ตัวบท อันเป็นการปรับใช้หลักสุจริตให้เกิดความ
เป็นธรรมแก่กรณีต่างๆ ได้แก่
4.1.๑ กรณีที่นําหลักสุจริตมากําหนดหน้าที่เพิ่มเติมแก่คู่สัญญา
กรณีแรก โจทก์เป็นผู้เช่าตึกทํากิจการเกี่ยวกับ jewelry จําเลยเป็นผู้ให้เช่า เป็นเจ้าของตึก
๒ ห้อง หลังจากจําเลยให้โจทก์เช่าประกอบการแล้ว จําเลยได้นําตึกอีกหลังให้ผู้ประกอบการ
jewelry เช่า โจทก์ฟ้องให้จําเลยเลิกสัญญาเช่ารายนี้ ศาลเยอรมันตัดสินว่า ผู้ให้เช่ามีสัญญาเช่า
โดยปริยาย (implied promise) ที่จะไม่ให้ผู้อื่นที่ทํากิจการเดียวกับโจทก์มาเช่า แม้ในสัญญาจะ
ไม่ได้กําหนดไว้ก็ตาม
กรณีต่อไปเป็นกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินทําการซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าปกติ เนื่องจากทําเลที่ตั้ง
สามารถชมทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน ต่อมาผู้ขายที่ดินจะทําการก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่บดบัง
ทัศนียภาพของที่ดิน ในกรณีนี้ศาลเยอรมันกําหนดให้เจ้าของที่ดินห้ามทําการก่อสร้างอาคารบดบัง
ทัศนียภาพ ทั้งที่ไม่ได้กําหนดไว้ในสัญญา
กรณี ข้ า งต้ น เป็ น เรื่ อ งที่ ศ าลเยอรมั น ใช้ บ ทบั ญ ญั ติ มาตรา ๒๔๒ อย่ า งอิ ส ระ ค้ น หา
เจตนารมณ์ของสัญญาเพื่อกําหนดสิทธิหน้าที่เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่คู่สัญญาได้ตกลงกันไว้
4.1.๒ กรณีนําหลักสุจริตมาปรับใช้กับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง
ศาลเยอรมันได้นําหลักสุจริตในมาตรา ๒๔๒ มาแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงผลของสัญญา
ซึ่งเป็นการนําแนวคิด Clausula rebus sic stantibus เข้ามาปรับใช้ให้เกิดความเป็นธรรมใน
กรณี ที่ เ กิ ด สถานการณ์ พิ เ ศษนอกเหนื อ ความคาดหมายขณะทํ า สั ญ ญาขึ้ น ซึ่ ง หากบั ง คั บ ตาม
ข้อตกลงเดิมจะทําให้เกิดภาระอันหนักหน่วงแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ศาลจึงเข้ามาแก้ไขสัญญาใหม่
๑๓

ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะที่จะบังคับตามสัญญา เช่น กรณีที่ผู้เข้าทําสัญญาตกลงที่จะ


จัดหาถ่านหินเพื่อผลิตพลังไอน้ํา โดยมีมูลค่าราคาตามที่ระบุไว้ในสัญญา ต่อมาเกิดภาวะสงคราม
ทําให้ราคาถ่านหินเพิ่มขึ้นอย่างมาก ศาลเยอรมันได้เข้ามาแก้ไขสัญญาใหม่ (modify) โดยให้มี
การขึ้นราคาพลังงานความร้อนไอน้ําที่ผลิตจากถ่านหินนั้น จากเดิมที่ตกลงในสัญญา เนื่องจาก
ผู้จัดหาพลังงานไอน้ําไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนในการผลิตได้ และในบางกรณีศาลเยอรมันได้
ตัด สิ น ให้สั ญ ญาระงั บ ไป เนื่ อ งจากมี พ ฤติ ก ารณ์พิ เ ศษเกิ ด ขึ้ น เช่ น กรณี การทํ า สั ญ ญาซื้ อ ขาย
ผลิตภัณฑ์จากโรงงาน หลังจากตกลงทําสัญญาแล้ว โรงงานถูกไฟไหม้ ซึ่งหากบังคับให้ชําระหนี้
ผู้ขายจะต้องไปซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งอื่นๆมาส่งมอบ ซึ่งทําให้ผู้ขายมีภาระมากกว่าปกติตาม
สัญญา (extraordinarily difficult and expensive) กรณีเช่นนี้ ศาลเยอรมัน วินิจฉัยว่า ผู้ขาย
หลุดพ้นจากความผูกพันที่จะส่งมอบทรัพย์สิน
4.1.๓ การนําหลักสุจริตมากําหนด การใช้สิทธิของบุคคลในกรณีต่างๆ
การใช้ ห ลั ก สุ จ ริ ต ควบคุ ม การกํ า หนดเงื่ อ นไขอั น ไม่ เ ป็ น ธรรมในสั ญ ญาทางธุ ร กิ จ
ศาลเยอรมันถือว่าคู่สัญญาต้องตกลงว่าจะปฏิบัติต่อกันโดยสุจริต ฉะนั้นหากในสัญญามีข้อความ
ที่กําหนดเงื่อนไขเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายตน โดยยกเว้นความรับผิดของตน ย่อมขัดต่อหลักสุจริต
เช่น คดีที่เกิดในปี ค.ศ. ๑๙๕๗ เป็นกรณีที่สัญญาทางธุรกิจ กําหนดเงื่อนไข ยกเว้นความรับผิด
ของผู้ขายบ้านพร้อมที่ดินที่จะไม่รับประกันคุณภาพของบ้านที่จะสร้างขึ้น โดยกําหนดให้ผู้ซื้อ
มีสิทธิเรียกร้องเอากับผู้สร้างและผู้เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านรายอื่นๆเอาเอง กรณีนี้ศาลเยอรมัน
ศาลเยอรมันใช้วิธีการตีความสัญญาโดยจํากัด (Restrictive interpretation) วินิจฉัยว่า การที่ผู้ขายมอบ
สิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ซื้อไปเรียกร้องกันเอาเอง เป็นการขัดต่อหลักสุจริต ข้อตกลงดังกล่าวใช้ไม่ได้
และผู้ขายยังคงต้องรับผิดชอบหากมีกรณีชํารุดบกพร่อง
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ เยอรมันได้มี Act to regurate the law of general condition
of business 1976 (ในมาตรา ๗) กําหนดให้ข้อตกลงที่ขัดต่อหลักสุจริตย่อมใช้ไม่ได้ การปรับใช้
หลักสุจริตของศาล เป็นการก่อให้เกิดการพัฒนากฎหมายใหม่ที่เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้นขึ้น
การใช้หลักสุจริตในการปิดปากไม่ให้มีการอ้างการไม่ทําตามแบบของนิติกรรม
ข้อเท็จจริงในกรณีมักเป็นการทํานิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ไม่ทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด
เมื่อผู้รับโอนเข้าครอบครองที่ดิน แต่เจ้ าของที่ดินไม่ ยอมโอนที่ดิน ให้ อ้างว่าสั ญญาเป็นโมฆะ
เพราะไม่ทําตามแบบ เช่น ลูกจ้างของบริษัทได้รับของขวัญในวันคริสมาสจากบริษัทเป็นบ้านและ
ที่ดิน ลูกจ้างพยายามให้บริษัท ทําตามแบบของกฎหมาย แต่บริษัทบ่ายเบี่ยงอ้างว่าการทําสัญญา
เป็นเพียงแบบพิธีไม่ต้องทําตามแบบที่กฎหมายกําหนดก็ได้ ต่อมาลูกจ้างขอให้บริษัทโอนบ้านให้
บริษัทกลับอ้างว่าสัญญาไม่ทําตามแบบและเป็นโมฆะ ศาลวินิจฉัยว่า ข้ออ้างดังกล่าวขัดต่อหลัก
สุจริตไม่สามารถอ้างได้
๑๔

๔.๒ หลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส
หลักสุจริตถูกนํามาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส ในบทบัญญัติทั่วไปในมาตรา ๒
ความว่า “ Every person is bound to exercise his rights and fulfill his obligations
according to the principle of good faith.
The law does not sanction the evident abuse of man’s right.”
“ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชําระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องทําการโดยสุจริต
การใช้สิทธิโดยไม่ชอบโดยชัดแจ้ง ย่อมไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกฎหมาย”
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งเป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยสุจริต อันเป็นแนวทางกว้างๆ ส่วนในวรรค
สอง เป็นกรณีการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กฎหมายห้ามการกระทําเช่นนี้และไม่รับรองบังคับให้ ใน
วรรคนี้ทําหน้าที่ขยายความของการใช้สิทธิโดยสุจริตให้มีความกระจ่างขึ้น ในทางปฏิบัติศาลสวิส
นําบทบัญญัตินี้มาใช้น้อยมาก ศาลจะเน้นว่าจะใช้เฉพาะกรณีมี่บทบัญญัติเฉพาะเรื่องปรับใช้
เท่านั้น คือ นํามาใช้อย่างจํากัดกรณียกเว้น อย่างจําเป็นเท่านั้น เพราะหากนํามาใช้มากเกินไปก็จะ
ทํ า ให้ ผู้ พิ พ ากษามี ค วามรู้ สึ ก ว่ า ได้ วิ นิ จ ฉั ย โดยใช้ ห ลั ก กฎหมายที่ น อกเหนื อ จากบทบั ญ ญั ติ ใ น
กฎหมาย ซึ่งทําให้ระบบกฎหมายขาดความแน่นอนศาลสวิสได้นําหลักสุจริตมาปรับใช้แก่กรณี
ต่างๆหลายกรณี เช่น
- ใช้ในกรณีค้นหาเจตนารมณ์ข องคู่สัญญา เป็นการกําหนดหน้าที่เ พิ่มเติมให้คู่สัญ ญา
ปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสัญญา เช่น คดี PerinoV.Zeuchมีข้อเท็จจริงว่า จําเลย
เป็นผู้ขายกิจการให้แก่โจทก์และตกลงกันว่าจะไม่ประกอบการค้าแข่งในระยะเวลาที่กําหนด
แต่จําเลยกลับไปเข้าร่วมงานกับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งประกอบกิจการเช่นเดียวกับโจทก์ กรณีนี้ศาล
สวิสถือว่า ผู้ขายกิจการกระทําโดยไม่สุจริต หรือ คดี Dr.Weber V.Heymann ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า
โจทก์เป็นแพทย์เข้าทําสัญญากับเจ้าของกิจการโรงพยาบาล โดยตกลงค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน
และค่าตอบแทนอีกส่วนหนึ่งคิดจากค่าธรรมเนียมจํานวนคนไข้ที่เข้ารับบริการ เมื่อโจทก์เข้า
ปฏิบัติงานพบว่าอุปกรณ์การรักษาพยาบาลที่ต้องใช้ ไม่พร้อมให้บริการครบถ้วน จํานวนคนไข้ที่
เข้ า รั บ การรั ก ษาจึ ง น้ อ ย ทํ า ให้ ค่ าตอบแทนที่ คิ ด จากจํ า นวนคนไข้ น้ อ ยลง โจทก์ จึ ง ฟ้ อ งเรี ย ก
ค่าเสียหาย ศาลวินิจฉัยว่า พฤติกรรมของจําเลยที่ปล่อยให้อุปกรณ์การทํางานของโจทก์มีความ
ไม่พร้อม เท่ากับจําเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยสุจริต ให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยศาล
ได้วางหลักไว้ว่า คู่สัญญาต้องไม่ทําการใดๆ ที่ทําให้อีกฝ่ายเสียประโยชน์ในอันที่เขาควรจะได้จาก
การปฏิบัติตามสัญญา
- ใช้ในกรณีระงับหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อ มีพฤติการณ์พิเศษเกิดขึ้น เป็นกรณีที่ศาลใช้
มาตรา ๒ มาปรับใช้ในกรณีที่คู่สัญญาได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์ต่างๆที่
เกิดขึ้น เช่น ในคดี St. JEAN Brewery C.D. V.Hindenberger มีข้อเท็จจริงว่า โจทก์ให้จําเลยเช่า
กิจการทําร้านอาหารเป็นเวลา ๑๐ ปี พร้อมกับเงื่อนไขว่าจําเลยต้องซื้อเบียร์จากโรงงานโจทก์
ตลอดอายุสัญญาเช่า ตามราคาที่ตกลงกัน ต่อมาเกิดภาวะสงคราม ทําให้ราคาเบียร์สูงขึ้นมาก
ในระยะแรกจําเลยไม่คัดค้านการขึ้นราคา แต่ภายหลังคัดค้าน โจทก์จึงงดส่งเบียร์ให้จําเลย แต่ฟ้องให้
จําเลยซื้อเบียร์จากโจทก์ตามสัญญา จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าภายใต้สถานการณ์เช่นนี้จําเลยไม่
๑๕

ต้องผูกพันตามสัญญา จําเลยสามารถซื้อเบียร์จากแหล่งอื่นได้ ศาลวินิจฉัยว่า ในกรณีที่เป็นสัญญา


ที่ทํากันมีระยะเวลายาวนาน และเนื่องจากพฤติการณ์แวดล้อมได้เปลี่ยนไปอย่างสําคัญหากบังคับ
ให้ปฏิบัติตามสัญญา ผลย่อมทําให้อีกฝ่ายเสียหายอย่างร้ายแรง ดังนั้นตามหลักสุจริตจึงให้สัญญา
ระงับลง
- กรณีนํามาใช้เป็ นกฎหมายปิ ดปาก เพื่อ ไม่ใ ห้ผู้ที่ เคยทําให้บุ คคลอื่น หลงเชื่อ อ้างเอา
ประโยชน์ จ ากการล่ อ ลวงของตน เพราะเป็ น ความผิ ด ของผู้ ก ระทํ า นั้ น เองเป็ น การไม่ ใ ห้ เ อา
ประโยชน์จากการประพฤติของตน เช่น คดี Muller V. Hotstetter มีข้อเท็จจริงว่า โจทก์ให้
จําเลยกู้เงิน โดยจําเลยนําทรัพย์มาจํานองเป็นประกัน โดยมีข้อตกลงว่า จําเลยจะต้องชําระ
ดอกเบี้ยตามกําหนดเวลา หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับจํานอง ต่อมาโจทก์ซื้อสินค้าจากจําเลย
ขณะที่จําเลยขาดส่งเงินตามสัญญากู้มา ๒ งวด โจทก์ไม่ว่าอะไร และบอกว่าสินค้าที่ซื้อมีความ
ชํารุดบกพร่อง และนําค่าเสียหายไปหักกับราคาสินค้าที่ต้องจ่าย และนําราคาสินค้าที่เหลือมาหัก
กับต้นเงินกู้ เมื่อถึงกําหนดชําระดอกเบี้ยในคราวต่อไป โจทก์ได้ส่งใบเสร็จแสดงว่าจําเลยได้ชําระ
หนี้ในงวดนั้นแล้ว แต่ทนายความของโจทก์กลับส่งใบแจ้งหนี้อ้างว่าจําเลยไม่ชําระดอกเบี้ยในงวดที่
ผ่านมา และฟ้องบังคับจํานอง ศาลวินิจฉัยว่า เนื่องจากโจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่จําเลย
ทําให้จําเลยหลงเชื่อว่า การชําระหนี้ดอกเบี้ยในงวดที่จะถึงนี้ได้ชําระจนเสร็จสิ้นแล้ว ทําให้จําเลย
เข้าใจว่าตนไม่ใช่ผู้ผิดนัดในการชําระหนี้ การกระทําของโจทก์ขัดต่อหลักสุจริต
๔.๓ หลักสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส
- บทบัญญัติอันเป็นแม่บทในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส คือ มาตรา ๑๑๓๔ วรรค ๓
ที่บัญญัติว่า “Contract must be executed in good faith” สัญญาต้องได้รับการปฏิบัติโดย
สุจริต ในมาตรา ๑๑๓๔ วรรค ๓ นี้ กําหนดให้การปฏิบัติชําระหนี้ตามสัญญาต้องกระทําโดยสุจริต
แม้จะมีเนื้อความสําคัญตรงกับมาตรา ๒๔๒ ของเยอรมัน แต่ลักษณะของการนําไปใช้แก่กรณีมี
ความแตกต่ า งกั น อย่ า งมาก ในศาลเยอรมั น ได้ นํ า เอาหลั ก สุ จ ริ ต ในมาตรา ๒๔๒ ไปใช้ อ ย่ า ง
กว้างขวาง เพื่อปรับใช้ให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่นแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ใช้ควบคุม
ข้อความที่กําหนดความรับผิดในสัญญาทางธุรกิจ อันเป็นกรณีที่การปฏิบัติตามสัญญาที่เคยตกลง
กันไว้จะมีผลทําให้เกิดความไม่เป็นธรรม แต่ในศาลฝรั่งเศสกลับมิได้นํามาตรา ๑๑๓๔ วรรค ๓
อันเป็นแม่บทหลักมาปรับใช้ในกรณีดังกล่าวเลย สาเหตุเนื่องจาก ศาลฝรั่งเศสอาจเกรงที่จะทําให้
เกิดความไม่แน่นอนในกฎหมายสัญญาขึ้น การปรับใช้หลักสุจริตของศาลฝรั่งเศส จะใช้การตีความ
โดยพิจารณาผลที่มุ่งหมาย (Telelogical interpretation) โดยศาลพัฒนาหลักกฎหมายทั่วไป
ผ่านบทกฎหมายเรื่องละเมิดในมาตรา ๑๓๘๒ ซึ่งมีเนื้อความว่า ผู้ใดกระทําต่อบุคคลอื่นให้เขา
เสียหายโดยไม่ชอบ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ทําให้เกิดหลักกฎหมายเช่น หลักความรับ
ผิดในการเจรจาต่อรองทําสัญญา หรือหลัก Culpa in contrahendo ซึ่งกําหนดให้ผู้ที่เข้าทําการเจรจา
ต่อรองทําสัญญา ต้องกระทําโดยสุจริต และหลักการใช้สิทธิในทางไม่ชอบ หรือหลัก abuse of rights
ซึ่ ง กํ า หนดให้ ก ารใช้ สิ ท ธิ ข องบุ ค คลกรณี ใ ดๆ ต้ อ งใช้ สิ ท ธิ ใ นทางที่ ไ ม่ ทํ า ให้ บุ ค คลอื่ น เสี ย หาย
๑๖

และต้องใช้สิทธิในทางที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของสังคม ศาลฝรั่งเศสได้ปรับใช้หลักสุจริต
ในหลายกรณี เช่น
- หลักสุจริตในขั้นตอนการเจรจาตกลงทําสัญญา ศาลฝรั่งเศสได้พัฒนาหลักความรับผิด
ก่อนสัญญา โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา ๑๓๘๒ ซึ่งจะทําให้คู่สัญญาในขึ้นตอนการเจรจาต้อง
ปฏิ บั ติ ด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต แม้ ไ ม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ ใ ดๆ ในประมวลกฎหมายแพ่ ง ฝรั่ ง เศส
ที่กําหนดให้ปฏิบัติตามหลักสุจริตในขึ้นตอนเจรจาทําสัญญาก็ตาม เช่น กรณีจําเลยเป็นผู้แทน
จําหน่ายเครื่องจักรที่ทําในสหรัฐอเมริกาแต่เพียงผู้เดียว โจทก์แสดงความประสงค์จะซื้อเครื่องจักร
จากจํ า เลย ในระหว่ า งการเจรจา โจทก์ แ ละจํ า เลยได้ เ ดิ น ทางไปสหรั ฐ อเมริ ก าดู ช นิ ด ต่ า งๆ
ของเครื่อ งจักร เพื่อ จะได้ นํามาประกอบการตั ดสิน ใจของโจทก์ แต่เมื่อ โจทก์ ตกลงใจซื้ อ และ
ขอข้อมูลเพิ่มเติมเครื่องจักรที่โจทก์จะซื้อจากจําเลย จําเลยกลับไม่ตอบรับคําขอ และได้ระงับสั่ง
เครื่องจักรจากอเมริกา หลังจากนั้นเพียงสองสัปดาห์ จําเลยทําสัญญาที่จะส่งมอบเครื่องจักร
ดั ง กล่ า วให้ แ ก่ อี ก บริ ษั ท หนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น คู่ แ ข่ ง ของโจทก์ โดยมี ข้ อ ตกลงว่ า ห้ า มจํ า เลยจํ า หน่ า ย
เครื่องจักรชนิดนั้นอีก ภายใน ๔๒ เดือน โจทก์จึงมาฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลฝรั่งเศสได้นําหลัก
สุจริตมาปรับใช้และตัดสินว่า การที่จําเลยระงับการส่งสินค้าให้โจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความ
เสียหาย เป็นการทําให้การเจรจานั้นไม่บรรลุผลทั้งที่ใกล้บรรลุข้อตกลงตามสัญญาแล้ว โดยจําเลย
ตระหนักดีว่าโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการเจรจาต่อรองไปแล้วจํานวนมาก การกระทําของจําเลย
เป็ น การกระทํ า ผิ ด ต่ อ หลั ก สุ จ ริ ต ในทางการค้ า และเป็ น ละเมิ ด ต้ อ งชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทน
หลักความรับผิดก่อนสัญญานี้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ เพราะการเจรจา
ต่อรองเป็นการใช้สิทธิอย่างหนึ่ง หากก่อให้เกิดความเสียหาย ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
(Abuse of rights)
- หลักสุจริตในขึ้นตอนการเจรจาทําสัญญา ในขั้นตอนนี้ศาลฝรั่งเศสจะไม่เข้าไปแทรกแซง
จะปล่อยให้คู่สัญญาตกลงกันอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้น ตามหลักสัญญาย่อมเป็นตามสัญญา เว้นแต่
ในการปฏิบัติตามสัญญา ก่อให้เกิดความเสียหาย จะถือเสมือนละเมิด และอนุญาตให้เรียกร้อง
ค่าเสียหายจากการใช้สิทธิตามสัญญาอันเป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๓๒ ศาลฝรั่งเศสใช้หลักการ
ละเมิดตามมาตรา ๑๓๓๒ ในการวินิจฉัยว่าการใช้สิทธิไม่ว่าจะตามกฎหมายหรือสัญญา ไม่ว่าจะ
จงใจหรือประมาท หากเกิดความเสียหายย่อมต้องรับผิดในค่าเสียหายนั้น เช่นกรณีสัญญาซื้อขาย
รถที่มีเงื่อนไขว่าหากผู้ขายไม่ส่งมอบรถ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินมัดจําคืนจากผู้ขาย ต่อมาปรากฏว่า
ราคาการผลิตรถยนต์สูงขึ้นเกินกว่าที่ผู้ขายจะขายได้ ทําให้ผู้ขายขาดทุนจึงขอให้ผู้ซื้อเอาเงินมัดจํา
คืนไป กรณีนี้ศาลฝรั่งเศสถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
- นอกจากหลักการใช้สิ ทธิ โ ดยไม่ช อบจะถูก นํามาใช้ ในการพิ จารณาคดีส่ วนแพ่ งแล้ ว
ศาลฝรั่งเศสยังนํามาปรับใช้กับกฎหมายวิธีพิจารณาความ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า การใช้สิทธิฟ้องร้อง
หรือการใช้สิทธิต่อสู้คดี หรือการใช้สิทธิอุทธรณ์ หรือในการบังคับคดีอาจเป็นการใช้สิทธิโดย
ไม่ชอบได้ หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการกระทําละเมิดตามมาตรา ๑๓๘๒
๑๗

บทที่ ๕
ขอบเขตแนวความหมายการใช้สิทธิโดยสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
บทบัญญัติของหลักสุจริตเป็นกฎหมายยุติธรรม (jus aequum) ที่พัฒนามาตั้งแต่สมัย
โรมันและได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายแพ่งของไทย โดยบัญญัติไว้ในบรรพ ๑ อันเป็น
บรรพทั่วๆไป ซึ่งบัญญัติในเรื่องกรณีการใช้สิทธิของบุคคล ไม่ว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหรือ
ตามสัญญา ล้วนต้องกระทําโดยสุจริต ในการบัญญัติมีต้นแบบมาจากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สวิส มาตรา ๒5 โดยในมาตรา ๒ วรรค ๑ นํามาบัญญัติเป็นบทบัญญัติมาตรา ๕ และมาตรา ๒
วรรค ๒ นํามาบัญญัติเป็นบทบัญญัติ มาตรา ๔๒๑ ซึ่งทั้งสองมาตราถือเป็นแม่บทของหลักสุจริต
ในประมวลกฎหมายแพ่งของไทย
ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปรากฏคําว่า “สุจริต” มีอยู่ในบทบัญญัติกรณีต่างๆ
มากมายหลายที่ เช่ น ในกรณี ก ารคื น ทรั พ ย์ ที่ ไ ด้ ม าโดยลาภมิ ค วรได้ ในส่ ว นที่ เ ป็ น จํ า นวนเงิ น
ในมาตรา ๔๑๒ นั้น กรณีจะต้องคืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าในขณะคืนผู้นั้นได้ทราบข้อเท็จจริงที่ว่าตน
มีสิทธิได้รับหรือไม่ ถ้ารู้ว่าไม่มีสิทธิที่จะรับแล้วยังขืนรับไว้อีกก็เป็นการไม่สุจริต ในกรณีตามมาตรา
๑๓๑๒ สร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่น ความหมายของคําว่า สุจริต ในกรณีนี้ มีคํา
พิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๑ /๒๕๑๗ กล่าวว่า หมายถึงการสร้างโรงเรือนรุกล้ําเข้าไปในที่ของผู้อื่น
โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนหรือของผู้อื่นที่ตนมีสิทธิสร้างได้ กรณีย่อมเป็นการสร้างโรงเรือนรุก
ล้ําเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น โดยสุจริต แต่ถ้าสร้างโดยทราบอยู่แล้วว่าไม่ใช่ที่ดินของตนหรือของผู้อื่น
ที่ตนไม่มีสิทธิปลูกสร้าง กรณีเช่นนี้ก็เป็นการสร้างโรงเรือนลุกล้ําเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นโดยไม่สุจริต
กรณีเหล่านี้จะเป็นเรื่องสุจริตเฉพาะเรื่องซึ่งใช้ในความหมายแคบๆ เฉพาะกรณีที่คู่กรณีที่
เกี่ยวข้องนั้นมีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเรื่องนั้นหรือไม่เท่านั้น หากได้ทราบย่อมเป็นบุคคลผู้ไม่
สุจริตในเรื่องนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของหลักสุจริตเท่านั้น แต่หลักสุจริตตามที่ปรากฏ
ในมาตรา ๕ เป็นหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเป็นรากฐานของกฎหมายแพ่งทั้งระบบ ความมุ่งหมาย
ของการบัญญัติมาตรา ๕ ตามรายงานการประชุมร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กล่าว
ไว้ว่า “เพื่อวางหลักในการที่บุคคลจะได้ปฏิบัติต่อกันให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย ให้ถือเอาความ
สุจริตเป็นหลัก”6 เกี่ยวกับหลักสุจริตในมาตรา ๕ นี้ มีนักกฎหมายให้ความเห็นถึง ความสําคัญ
ความหมาย วัตถุประสงค์การใช้และขอบเขตการใช้ไว้หลายท่านเช่น ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้กล่าว
ว่า “หลักสุจริต” เป็นรากฐานของกฎหมายแพ่งไทยทั้งระบบ จุดหมายหรือเจตนารมณ์เพื่อสร้าง
ความเป็นธรรมให้แก่สังคม โดยนําหลักมาตรฐานศีลธรรมทางสังคมมาเป็นกลไกควบคุมความ
ประพฤติของบุคคลในสังคมทุกๆกรณีที่จะประพฤติปฏิบัติต่อกัน และการใช้สิทธิโดยสุจริตนี้ เป็น
มาตรฐานทั่วไปที่ กฎหมายได้บัญญัติไว้ให้เป็นเครื่องวัดความประพฤติของมนุษย์ในกรณีต่างๆ ว่า
การกระทําเหล่านั้นอยู่ในกรอบที่ระบบกฎหมายนั้นจะสนับสนุนหรือประณามหรือไม่ มาตรฐานที่

5
ปรีดี เกษมทรัพย์, หนังสืออนุสรณ์พระราชทานงานศพ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ , หน้า ๗
6
รายงานการประชุมร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบันทึกประกอบ (มาตรา ๑-๔๓) บทบัณฑิต ๒๐ (ตุลาคม ๒๕๗๕ : ๘๖๗)
๑๘

เป็ น ข้ อ ความทั่ ว ไปเรี ย กว่ า “ข้ อ ความที่ มี เ นื้ อ หาไม่ แ น่ ชั ด (UnbestimmterRechtsbegriff)


เป็นบทบัญญัติที่เรียกว่า เป็นกฎหมายเพื่อความยุติธรรม อันไม่สามารถทําให้ความหมายกระจ่าง
แน่ชัดไว้ล่วงหน้าได้ ต้องรอให้ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน โดยขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แวดล้อมของแต่ละคดี
และท่านยังกล่าวต่อไปว่า “หลักความซื่อสัตย์และไว้วางใจ (หลักสุจริต ในมาตรา ๕) เป็นหลักการ
ทั่วไปที่ไม่อาจจะอธิบายให้ชัดเจน กระจ่างในรายละเอียดได้ทั้งหมด เพราะเป็นหลักการทาง
นามธรรมที่นับวันมีแต่จะคลี่คลายต่อไป7 ส่วนท่านอาจารย์กิติศักดิ์ ปรกติ ได้กล่าวว่า หลักสุจริตมี
ความสําคัญในฐานะเป็นหลักกฎหมายทั่วไป อันเป็น กฎหมายยุติธรรม (Jus aequum) ที่ปรากฏ
ในรูปของกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้นหลักทั่วๆไป (Jus Singuiare) ทําให้ค่าบังคับของหลักสุจริตสูง
หรือเหนือกว่าบทกฎหมายอื่นๆ ดังนั้นสุภาษิตกฎหมายที่ว่ากฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไป
(Specialiageneralibusderogant) จึ ง ใช้ กั บ กรณี บ ทบั ญ ญั ติ ก ารใช้ สิ ท ธิ โ ดยสุ จ ริ ต อั น เป็ น บท
กฎหมายยุติ ธรรมไม่ ได้ ในการปรั บใช้ท่ านอาจารย์ หยุด แสงอุทั ย เห็ นว่ าหลักเกณฑ์ อัน เป็ น
เงื่อนไขการใช้ สอดคล้ องกับแนวทางการปรับใช้ของศาลสูง สวิส คือ ใช้ในกรณียกเว้ นเท่านั้ น
โดยท่านให้เหตุผลว่า “การที่จะนําบทบัญญัติที่มีข้อความทั่วไป (มาตรา ๕) มาปรับใช้แก่คดีนั้น
จะต้องเป็นกรณียกเว้น กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่จะเอาบทบัญญัติเฉพาะเรื่องมาปรับแก่คดีจะ
ไม่ ยุ ติ ธ รรม และกรณี นั้ น สมควรจะได้ รั บ การพิ จ ารณาพิ พ ากษาเป็ น อย่ า งอื่ น เพราะถ้ า นํ า
บทบัญญัติที่มีข้อความทั่วไปมาใช้มากเกินไปบทบัญญัติเฉพาะเรื่องอะไรจะไม่มีประโยชน์ โดยปกติ
ควรจะต้องเป็นกรณีพิเศษที่ผู้ร่างกฎหมาย ในการร่างเฉพาะเรื่องยังคิดไม่ถึง หรือมิฉะนั้นก็จะขัด
กับความรู้สึกในความยุติธรรมอย่างมากมายจนไม่มีทางออกอย่างอื่น ”8 ตามแนวความเห็นของ
ท่านอาจารย์หยุด สรุปเป็นหลักการปรับใช้หลักสุจริตตามมาตรา ๕ ได้ว่า
๑ การปรับใช้ต้องเป็นกรณีที่บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฝ่าฝืน
ความเป็นธรรม หรือการบังคับสิทธิตามสัญญาอย่างเคร่งครัดจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม กรณี
ดังกล่าวถือว่ากฎหมายมีช่องว่าง เป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะเรื่องนั้นๆมาปรับใช้
๒ ต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติเฉพาะเรื่อ งนั้นๆมาปรับใช้ จึงเป็นการนําบทบัญญัติ
ทั่วไปไปอุดช่องว่าง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขว่า จะใช้บทบัญญัติทั่วไปในกรณีที่ไม่มีบทเฉพาะเท่านั้น

7
ปรีดี เกษมทรัพย์ ,หลักสุจริตในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ, หน้า๗-๘
8
หยุด แสงอุทัย , รวมหมายเหตุท้ายฎีกา , หน้า ๔๑
๑๙

บทที่๖
ลักษณะแนวทางการปรับใช้หลักสุจริตของศาลไทย
บทบัญญัติการใช้สิทธิโดยสุจริตในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย อันได้แก่
มาตรา ๕ ซึ่ ง เป็ น แม่ บ ทอยู่ ใ นบรรพทั่ ว ไป และมาตรา ๔๒๑ เป็ น บทสื บ ต่ อ จากมาตรา ๕
จากการศึกษาคําพิพากษาศาลฎีกา พบแนวการปรับใช้สอดคล้องกับวิธีการบัญญัติข้างต้น คือ
ศาลฎี ก าไทยยอมรั บ ว่ า หลั ก เกณฑ์ ทั่ ว ไปคื อ การใช้ สิ ท ธิ ห รื อ อ้ า งสิ ท ธิ ต ามที่ ก ฎหมายรั บ รอง
ตามปกติเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต เว้นแต่มีพฤติการณ์เจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งทําให้บุคคลอื่น
เสียหาย (ตามมาตรา ๔๒๑) อย่างไรก็ตามศาลฎีกาได้ยอมรับหลักกฎหมายทั่วไป เรื่องกฎหมาย
ปิดปากโดยความประพฤติ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการปรับใช้หลักสุจริตมาใช้ในการพิพากษาคดีด้วย
จากการศึกษาพอจะสรุปแนวทางโดยรวมในการปรับใช้หลักสุจริตของศาลฎีกาได้หลาย
กรณี ดังต่อไปนี้
กรณี แ รก ใช้ เ ป็ น กฎหมายปิ ด ปาก เพื่ อ ป้ อ งกั น พฤติ ก รรมที่ มี ก ารอ้ า งกฎหมายเพื่ อ
ประโยชน์ตนเอง แนวทางดังกล่าวมีแนวคิดพื้นฐานมาจากหลัก Estoppel by conduct หรือหลัก
กฎหมายปิดปากโดยความประพฤติ ตามกลักกฎหมายโรมันที่ว่า “ บุคคลย่อ มต้องห้ามไม่ให้
กระทําการใดๆอันขัดต่อการกระทําครั้งก่อนของตน ” เช่น คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๔๘/๒๕๓๓
มีข้อเท็จจริงว่า โจทก์ฟ้องว่าในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ จําเลยตกลงขายรถยนต์ให้โจทก์และรับ
เงินไปครบถ้วนแล้ว วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๗ จําเลยส่งมอบรถให้โจทก์ และรับว่าจะมอบให้โจทก์
ไปดําเนินการโอนทางทะเบียนเอง โดยจะนําทะเบียนรถมามอบให้ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๗
แต่จําเลยปฏิเสธ ขอให้บังคับจําเลยโอนทะเบียนรถให้จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การและขาดนัด
พิจารณา แต่มีผู้ร้องสอดร้องสอดว่า ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์จําเลยได้ขายรถยนต์ให้ผู้ร้องสอด
จําเลยได้รับเงินไปครบถ้วนพร้อมมอบทะเบียนรถให้ผู้ร้องสอดไปดําเนินการโอน โดยรับว่าจะนํา
รถมาให้ในภายหลัง โจทก์ทราบการซื้อขายระหว่างผู้ร้องสอดและจําเลยมาตลอด เมื่อผู้ร้องสอด
ไปยื่นคําร้องขอเปลี่ยนแปลงชื่อในทะเบียนรถโจทก์ไปยื่นคําร้องคัดค้าน ผู้ร้องสอดขอให้โจทก์ถอน
คําคัดค้านและส่งมอบรถแก่ผู้ร้องสอดคดีมีประเด็นว่า ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ใครมีสิทธิใน
รถดีกว่ากัน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ผู้ร้องนําเงินค่ารถมาชําระแก่จําเลย โจทก์อยู่ด้วย
และรับเงินค่ารถดังกล่าวไปจากจําเลย การที่โจทก์รู้แต่ต้นว่าจําเลยจะต้องโอนรถคันพิพาทให้แก่ผู้
ร้องสอด แต่กลับรับรถพิพาทไว้ก่อนจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองรถพิพาทโดยสุจริต ส่วนขอที่
โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้ซื้อรถจากจําเลยเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถโอนมาเป็นของโจทก์แล้ว
จําเลยไม่มีสิทธินํารถของโจทก์ออกขาย ศาลฎีกาตัดสินว่า การที่โจทก์ไม่แจ้งเรื่องนี้ให้แก่ผู้ร้อง
สอดทราบตั้งแต่เวลาที่ผู้ร้องสอดทําสัญญาซื้อขายรถและชําระราคาแก่จําเลย ทําให้ผู้ร้องสอด
สําคัญผิดว่า จําเลยมีกรรมสิทธิ์สามารถขายรถได้ การที่โจทก์มาอ้างว่ารถตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ
โจทก์ก่อน จําเลยไม่มีสิทธิโอนรถให้แก่ผู้ร้องสอด เป็นเรื่องไม่ชอบตามธรรนองคลองธรรม เป็นการ
ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องสอดมีสิทธิในรถดีกว่าโจทก์ จากคําพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถมาก่อนผู้ร้องสอดจริงตามข้ออ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา
๒๐

๑๓๓๖ แต่การที่ศาลบังคับให้เป็นไปตามหลักกรรมสิทธิ์ย่อมจะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น อันเป็น


การสนับสนุนให้มีการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเอารัดเอาเปรียบกัน ศาลฎีกาจึงได้นําหลัก กฎหมาย
ปิดปากโดยความประพฤติ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้หลักสุจริตมาปรับใช้
คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๒/๒๕๓๓ ที่ดินและเรือนเป็ นของภริยาก่อนสมรสและได้ทํ า
สัญญาก่อนสมรสว่า สามีจะไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของภริยาก็ตาม แต่เมื่อภริยาปล่อยให้สามีลงชื่อ
ในใบไต่สวนเพื่อขอออกโฉนดว่าเป็นที่ของสามี แล้วสามีเอาไปจํานองผู้อื่นและเอาเงินนั้นมา
ซื้อรถยนต์ใช้รับส่งคนโดยสารอันเป็นอาชีพของสามีภริยา เป็นเหตุให้ผู้รับจํานองเชื่อโดยสุจริตว่า
เป็นที่ของสามีและผูกพันภริยา ดังนี้ การจํานองนั้นสมบูรณ์ใช้บังคับได้
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๒๕ /๒๔๙๔ แม้ในคําขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัด ได้ระบุไว้
ว่ากรรมการหนึ่งนายมีอํานาจลงนามแทนบริษัทได้ แต่ต้องประทับตราของบริษัทก็ดี เมื่อปรากฏ
ว่ากรรมการ ซึ่งเป็นผู้จัดการของบริษัทยืมปูนซิเมนต์ของผู้อื่นมาใช้ในกิจการของบริษัทแล้ว บริษัท
จะไม่ยอมรับผิดโดยโต้เถียงว่าใบส่งของที่ยืมปูนซิเมนต์มามีแต่กรรมการผู้จัดการลงนามไม่มีตรา
ของบริษัทประทับด้วยนั้นไม่ได้
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๖/๒๕๒๔ กองสวัสดิการ กรมตํารวจ ด้วยการรู้เห็นยินยอม
ของกรมตํารวจเคยจัดสรรที่ดินให้ประชาชนโดยทั่วๆ ไปเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชําระราคาครบถ้วน
แล้วก็ทําการโอนกรรมสิทธิ์ให้ สําหรับที่ดินรายพิพาทนี้ ก่อนที่จะนําออกจัดสรรได้ประกาศโฆษณา
ให้ประชาชนได้ทราบโดยเปิดเผย โจทก์เชื่อโดยสุจริตว่ากองสวัสดิการมีอํานาจหน้าที่ในการจัดสรร
ที่ดิน ให้เช่าซื้อได้ จึงได้ทําสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับกองสวัสดิการ และได้ชําระเงินโดยครบถ้วน
แต่ทางกองสวัสดิการ ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้เพราะ เจ้าหน้าที่ทุจริต กรมตํารวจจึงได้
มีคําสั่งให้รีบดําเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์และผู้เช่าซื้อที่ชําระราคาที่ดินครบถ้วน ดังนี้
ต่ อ มากรมตํ า รวจจะปฏิ เ สธความรั บ ผิ ด ตามสั ญ ญาเช่ า ซื้ อ โดยอ้ า งว่ า ไม่ รู้ แ ละยิ น ยอมให้ ก อง
สวัสดิการเชิดตัวเองออกแทนกรมตํารวจในการทําสัญญาเช่าซื้อหาได้ไม่
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๓/๒๔๙๙ นางสายทําพินัยกรรมยกห้องแถวพร้อมที่ดินให้
โจทก์ 1 ห้องครึ่ง ให้จําเลยที่ 2 สองห้อง อีกห้องหนึ่งไม่ได้ยกให้แก่ใครซึ่งนายซิวหยูเช่าอยู่โจทก์
กับจําเลยที่ 2 มีส่วนอยู่คนละครึ่ง ปัญหาคงมีว่าเมื่อจําเลยที่ 2 โอนขายให้แก่จําเลยที่ 1 ไปหมด
ทั้ง 3 ห้อง เท่ากับโอนขายส่วนของโจทก์ครึ่งห้องให้แก่จําเลยที่ 1 ไปด้วยนั้นจะใช้ได้เพียงไร เมื่อ
คดีได้ความว่าเมื่อจําเลยที่ 2 ขายห้องพิพาทให้แก่ จําเลยที่ 1 โจทก์ก็ได้ลงนามรับรองในสัญญา
ซื้อขายนั้น จนกระทั่งจําเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นายหยูและได้ห้องแถวกลับคืนมาในครอบครอง โจทก์
ก็มิได้คัดค้านโจทก์ก็ปล่อยปละละเลยในจําเลยที่ 1 แสดงตนเป็นเจ้าของห้องพิพาทมาตั้งแต่ต้น
กระทําให้จําเลยที่ 1 หลงผิดว่าห้องพิพาทเป็นของจําเลยที่ 2 ซึ่งจําเลยที่ 2 มิได้แสดงกรรมสิทธิ์
ร่วมแต่ประการใด ณ บัดนี้ โจทก์จะถือโอกาสแห่งความเป็นผู้เยาว์มาขอแบ่งจึงไม่ชอบด้วยทํานอง
คลองธรรม เรื่องนี้มีหมายเหตุท้ายฎีกาของอาจารย์ ยล ธีรกุลว่า คําวินิจฉัยนี้ไม่ได้แสดงเหตุที่
ผู้เยาว์ฟ้องขอเพิกถอนสัญญาไม่ได้เพราะอาศัยกฎหมายมาตราใด เป็นแต่อ้างว่าโจทก์จงใจรับรู้ให้
ผู้ขายแสดงตนเป็นเจ้าของ ทําให้ผู้ซื้อหลงผิดโจทก์จะถือโอกาสแห่งความเป็นผู้เยาว์มาขอแบ่งจึง
๒๑

ไม่ชอบด้วยทํานองคลองธรรม จึงเป็นทํานองว่าเมื่อโจทก์กระทําโดยจงใจให้ผู้ซื้อหลงผิดดังกล่าว
ย่อมเข้าหลัก กฎหมายปิดปาก เพราะเป็นเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
กรณีที่สอง ใช้เป็นหลักกฎหมายทั่วไปวินิจฉัยพฤติกรรมอันไม่ชอบหรือฉ้อฉลของคนใน
สังคม กรณีดังกล่าวมีแนวคิดพื้นฐานมาจากหลักที่ว่า “ไม่มีผู้ใดอาจถือเอาประโยชน์จากการ
กระทําผิดหรือมิชอบของตนได้” (Nullus CommodumCaperepotest de injuriasuapropria)
มีจุดมุ่งหมายมิให้ผู้กระทําผิดได้รับประโยชน์จากการกระทําผิดของตนเอง ซึ่งหากปล่อยให้ผู้กระทํา
มิชอบได้รับประโยชน์จากการกระทํานั้น ย่อมเป็นเสมือนการส่งเสริมให้คนทําการฉ้อฉลคดโกงกัน
แนวคิดดังกล่าวนี้สอดคล้องกับหลักกฎหมายปิดปาก และศาลฎีกาได้นํามาเป็นหลักวินิจฉัยใน
กรณีต่างๆ ได้แก่
คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๓๘/๒๕๐๘ โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จําเลยออกจากเรือนซึ่งโจทก์รับ
ซื้อฝากจากจําเลยและพ้นกําหนดไถ่ถอนแล้ว จําเลยต่อสู้ว่าได้ติดต่อขอไถ่คืนภายในกําหนดแล้ว
แต่โจทก์เบี่ยงบ่ายจนพ้นกําหนดอายุขายฝากทั้งเมื่อพ้นกําหนดแล้วจําเลยขอไถ่ โจทก์ก็ยินยอม
และรับเงินสินไถ่บางส่วนไปแล้ว ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ดังข้อต่อสู้ของจําเลย กรรมสิทธิ์ในเรือน
พิพาทก็จะต้องกลับคืนไปเป็นของจําเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492
โจทก์ไม่มีอํานาจฟ้องขับไล่ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจําเลยต่อไป จะงดสืบพยาน
เสียมิชอบ
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๘๕/๒๕๓๐ รถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ที่สามีจําเลยเช่าซื้อจาก
ผู้ร้องเมื่อจํ าเลยนําไปใช้ ในการกระทําผิ ดต่อ พระราชบัญ ญัติป่ าไม้ค รั้งแรกผู้ร้ อ งได้ร้องขอคื น
รถยนต์มาแล้วก็นํามาให้จําเลยและสามีจําเลยครอบครองต่อไปแทนที่จะเลิกสัญญาพฤติการณ์
ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องประสงค์เพียงค่าเช่าซื้อเท่านั้น จําเลยและสามีจําเลยจะนํารถยนต์ไปใช้
อย่างไรก็ได้จําเลยนํารถยนต์ของกลางไปใช้งานในการกระทําผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้อีก จึงเข้า
ลักษณะผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําผิดของจําเลย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของ
กลางการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจะนํามาใช้
ยันแก่บริษัทไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสามนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอน
โอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยกฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน
ผู้ถือหุ้น
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๓๑/๒๕๓๘ ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มี
อํานาจกระทําการแทนบริษัทจําเลย แม้ ส.จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจําเลย
ร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจําเลยจึงมีหน้าที่ต้องดําเนินการจดแจ้งการโอน
ลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จําต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดําเนินการอีก การที่
บริษัทจําเลยไม่ดําเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจําเลย
เอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจําเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น
แต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่ จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็น
ข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5
๒๒

อีกด้วย บริษัทจําเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชําระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชําระโดยอ้างเหตุว่าการ
โอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๗๔/๒๕๓๒ การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของบัญชีกระแสรายวันเป็น
ผู้จัดหรือรู้เห็นในการจัดให้มีการทําปลอมเช็คพิพาท โดยใช้วิธีการลอกทาบแบบลายมือชื่อโจทก์
แล้วให้ผู้อื่นนําเช็คพิพาทมาเบิกเงินในบัญชีกระแสรายวันของโจทก์จากธนาคารจําเลยนั้น ถือได้ว่า
โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการนําเช็คพิพาทปลอมมาเรียกร้องให้จําเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คโดย
อ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงไม่มีอํานาจฟ้อง
กรณีที่สาม ใช้เป็นหลักกฎหมายทั่วไปในการป้องกันพฤติกรรมการเข้าถือประโยชน์ทั้งๆที่
รู้อยู่แล้วว่า ตนเองไม่มีสิทธิ์ กรณีนี้ศาลได้นําความหมายของคําว่า “สุจริต ” ตามแนวฎีกาของไทย
มาเป็ น หลั ก ในการวิ นิ จ ฉั ย ดั ง นั้ น การใช้ สิ ท ธิ ทั้ ง ที่ ต นได้ ท ราบว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง เป็ น อย่ า งไรแล้ ว
กรณีดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๑/๒๕๓๔ ขณะรับโอนเช็คพิพาทโจทก์รู้ข้อตกลงระหว่างจําเลย
ที่ 1 กับที่ 2 อยู่แล้วว่าจําเลยทั้งสองได้ตกลงกันให้เช็คพิพาทเป็นเพียงเช็คค้ําประกันเงินกู้ มิให้นํา
เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินและไม่ให้โอนไปยังผู้อื่น การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้จากจําเลยที่ 2
ทั้ง ๆ ที่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวเช่นนี้ จึงเท่ากับโจทก์กระทําโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าโจทก์รับโอน
เช็คไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลกับจําเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
โจทก์จึงไม่มีอํานาจนําเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกเก็บเงินจากจําเลยที่ 1 จําเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับ
ผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์.
คํ า พิ พ ากษาศาลฎี ก าที่ ๒๘๔๔/๒๕๑๖ โจทก์ จ ดทะเบี ย นเครื่ อ งหมายการค้ า คํ า ว่ า
TELLME อยู่ภายในวงรีสําหรับสินค้าจําพวก 48 ทั้งจําพวก ได้แก่ เครื่องหอม เครื่องสําอางโดย
โจทก์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้กับสินค้าของโจทก์ไว้ก่อน ต่อมาจําเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคํา
ว่า TELLME สําหรับสินค้าจําพวก 38 ทั้งจําพวก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเครื่องหมาย
การค้าของโจทก์จําเลยเป็นคําประดิษฐ์ใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นอักษรโรมันคําเดียวกัน ต่างกันแต่
เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวเขียน ของจําเลยเป็นตัวพิมพ์ แม้ของโจทก์จะอยู่ในวงกลมรูปรีของจําเลย
ไม่มีเส้นกรอบ ก็หาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดอย่างใด ไม่สําเนียงที่เรียกขานไม่ว่าจะเป็น
ตัวพิมพ์หรือตัวเขียนก็อ่านว่า “เทล”มีอย่างเดียวกัน และปรากฏว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของ
โจทก์เป็นที่แพร่หลาย โจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์และ
กระจายเสียงทางวิทยุซึ่งจําเลยมิได้ทําเลย ดังนี้ถือว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือน
หรือคล้ายกันอันอาจทําให้ประชาชนหลงผิด แม้จําเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของ
จําเลยในสินค้าต่างจําพวกกับสินค้าของโจทก์ ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทําให้
โจทก์เสียหายเพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจําเลยเป็นสินค้าของโจทก์ผลิตขึ้น
การกระทําของจําเลยจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจําเลยใช้เครื่องหมายการค้า
ดังกล่าวต่อไปได้
กรณีที่สี่ ใช้เป็นหลักการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ (Abuse of right) เพื่อป้องกันพฤติการณ์
การใช้สิทธิที่ทําให้บุคคลเสียหาย กรณีดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีแนวทางเดียวกับหลักการใช้
๒๓

สิทธิโดยไม่ชอบของฝรั่งเศส (กรณีนี้ย่อมเป็นกรณีบทบัญญัติมาตรา ๔๒๑ ซึ่งเป็นบทขยายความ


ประกอบของการใช้สิทธิโดยสุจริต)
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๓๗/๒๕๓๗ รั้วที่กั้นเขตบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจําเลย
เดิมเมื่อจําเลยยังมิได้ต่อเติมอาคารโดยใช้กําแพงรั้วดังกล่าวเป็นฝาห้อง น้ําฝนก็จะสาดและไหล
เป็ น ปกติ ทั้ ง สองด้ า นไม่ มี ผู้ ใ ดเดื อ ดร้ อ น ครั้ น จํ า เลยต่ อ เติ ม อาคารขึ้ น น้ํ า ฝนไม่ ส าดเข้ า ไปโดน
ทรัพย์สินของจําเลยและไหลไปในที่ดินของโจทก์มากกว่าปกติ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อน
รําคาญเกินที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติเป็นหน้าที่ของจําเลยที่จะต้อง
ป้องกันหรือแก้ไข เมื่อโจทก์แจ้งให้จําเลยทราบจําเลยมิได้จัดการแก้ไขเพื่อบรรเทาผลร้ายของฝ่าย
ของฝ่ ายโจทก์ การกระทํ าของจํ าเลยที่ ต่อ เติมอาคาร จึ งเป็ นการใช้สิ ทธิ อัน มี แต่ จ ะเกิด ความ
เสียหายแก่ผู้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421 และโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังให้ความเสียหาย
หรือความเดือดร้อนรําคาญนั้นสิ้นไปได้ตามมาตรา 1337
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๒๒/๒๕๓๘การใช้สิทธิทางศาล หากกระทําโดยไม่สุจริต จงใจ
แต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกําบัง ก็เป็นการกระทําละเมิดได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจําเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิ
ในทางภาระจํายอมอีกแล้ว กลับมายื่นคําร้องและนําสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคําร้องโดยจงใจ
กลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจําเลยใช้
สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทําของจําเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้าม
โจทก์โอนขาย จําหน่ายที่ดิน หากมีคําสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริง
ที่จําเลยนําสืบ ย่อมเป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยาน
โจทก์จําเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน การสั่งงดสืบพยานโจทก์จําเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เป็นการไม่ชอบ
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๖/๒๔๘๐ การที่จําเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลนั้นตามปกติย่อมถือว่า
เป็นการกระทําโดยชอบเพราะเป็นการใช้สิทธิของตนทางศาลอันเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาตการใช้สิทธิ
เช่นนี้ไม่เป็นการผิดกฎหมายอย่างใด เว้นแต่จะปรากฏว่าจําเลยทําไปโดยไม่สุจริตมิได้หวังผลอันเป็น
ธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล หากแต่จงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องกําบัง
ฉะเพราะคดีนี้ก็มิปรากฏว่าจําเลยรู้แล้วว่าคําเบิกความของโจทก์ไม่ใช่ข้อสําคัญในคดีแล้วยังฟ้องโจทก์
ฐานเบิกความเท็ จการที่จํ าเลยฟ้องโจทก์ในคดีก่ อนเป็ นการใช้ สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นผิ ด
กฎหมายไม่เข้าประมวลแพ่ง ฯ มาตรา ๔๒๐ จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๓/๒๕๑๖ การฟ้องคดีต่อศาลนั้นตามปกติย่อมเป็นการกระทําโดย
ชอบเพราะเป็นการที่จําเลยใช้สิทธิของตนทางศาลอันเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาตการใช้สิทธิเช่นนี้ไม่
เป็นการผิดกฎหมายแต่อย่างใด เว้นไว้แต่จะปรากฏว่าจําเลยกระทําไปโดยไม่สุจริต มิได้หวังผลอันเป็น
ธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล หากแต่จงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องกําบัง
๒๔

บทที่ ๗
บทสรุปและข้อเสนอแนะ

บทสรุป
นักนิติศาสตร์โรมันเป็นผู้เริ่มศึกษาและพัฒนาแนวคิดสุจริต เนื่องจากการพิจารณาคดีที่ยึด
ติดกับกฎหมายที่เคร่งครัดกับรูปแบบพิธี ทําให้เกิดช่องว่าง ในกรณีที่คู่สัญญาถูกฉ้อฉล ข่มขู่ให้ทํา
สัญญา นักกฎหมายโรมันได้สังเคราะห์แนวคิดนามธรรมเรื่องความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความ
ซื่อสัตย์ ความไว้วางใจ ผสมกับแนวคิดประเพณีของชาวโรมัน จนเกิดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเรื่องหลัก
สุจริต และนําเข้าแก้ไขปัญหา โดยกํากําหนดเป็นรูปแบบคําฟ้องฉ้อฉลเพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถใช้
หลักสุจริตเข้าคลี่คลายความเคร่งครัดของตัวบทกฎหมายและสัญญาฝ่ายเดียวได้ และยังเปิด
โอกาสให้จําเลยอ้างว่าถูกฉ้อฉล หรือข่มขู่ให้เข้าทําสัญญาสามารถยกเรื่องดังกล่าวขึ้นปฏิเสธความ
รับผิดตามสัญญาสองฝ่ายได้ โดยกําหนดเป็นรูปแบบคําฟ้องสุจริต เพื่อให้ผู้พิพากษาต้องพิจารณา
ข้อกล่าวอ้างของจําเลย หลักสุจริตจึงเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการ
กระทําที่ คดโกง ฉ้อฉล ทุจริต หรือการกระทําที่ไม่ชอบต่างๆ ในสังคมโรมัน จากลักษณะดังกล่าว
ทําให้หลักสุจริตถือเป็นกฎหมายที่เป็นรากฐานของระบบกฎหมายแพ่งทั้งระบบ ทั้งยังมีนัยเป็น
การประกาศเจตนารมณ์ แ ก่ สั ง คมว่ า บุ ค คลในสั ง คมต้ อ งปฏิ บั ติ ต่ อ กั น ด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ แ ละ
ไว้วางใจต่อกั น จึงจะได้รั บการคุ้มครองทางกฎหมาย หลักสุจริตจึ งเป็น เป็นกฎแห่งศีลธรรม
จัดเป็นกฎหมายยุติธรรม มีเนื้อหาที่กว้างขวาง เป็นอุดมคติ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาสามารถ
นํ า เอาหลั ก ความเป็ น ธรรมและจารี ต ประเพณี เข้ า แก้ ไ ขปั ญ หาข้ อ ขั ด ข้ อ งในการใช้ ก ฎหมาย
ได้ตลอดเวลา หลักสุจริตจึงมีฐานะที่สูงกว่าบทกฎหมายเฉพาะเรื่อง หากการใช้บทกฎหมายเฉพาะ
เรื่องทําให้ไม่เกิดความเป็นธรรม ผู้พิพากษาย่อมสามารถใช้หลักสุจริตเข้าปรับแก้กฎหมาย เพื่อให้
การปรับใช้ตัวบทกฎหมายสามารถอํานวยความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง การปรับใช้หลักสุจริต
เข้ากับข้อเท็จจริงต่างๆทําให้เกิดรูปแบบการใช้หลักสุจริต จนเกิดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปขึ้น ๕ กรณี
๑ หลัก Exceptio doli ในกฎหมายแพ่งโรมัน เป็นข้อต่อสู้ของจําเลยในกรณีที่เจ้าหนี้
คดีแพ่งฟ้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้ตามสัญญาฝ่ายเดียว มีผลให้ลูกหนี้อาจไม่ต้องรับผิดตามสัญญา
หากพบว่าเจ้าหนี้ใช้กลฉ้อฉล หรือหลอกให้ลูกหนี้เข้าทําสัญญา ข้อต่อสู้ดังกล่าวอยู่ในรูปแบบ
คําฟ้องคดีฉ้อฉล เป็นการป้องกันการใช้สิทธิที่ฝ่าฝืนหลักสุจริตในกฎหมายหนี้โรมัน โดยถือหลัก
ความเป็นธรรมเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติกฎหมายทั้งปวง
๒ หลักกฎหมายปิดปากโดยความประพฤติ (Estopel by Conduct) หมายถึง การที่คู่สัญญา
ไม่อาจใช้สิทธิซึ่งตนมีอยู่ได้ ถ้าหากพฤติกรรมในปัจจุบันเป็นพฤติกรรมที่ขัดแย้งในอดีต แล้วต่อมา
จะยกอ้างเอาความประพฤตินั้นเป็นข้อแก้ตัว เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์นั้นย่อมไม่เป็นธรรม
เป็นการปิดปากผู้ที่ได้กระทําการที่ขัดแย้งกับพฤติกรรมในอดีตของตนไม่ให้ถือเอาประโยชน์จาก
ข้ออ้างนั้นได้
๒๕

๓ หลัก Clausala rebus sic stantibus หลักนี้มีแนวคิดพื้นฐานว่า ความผูกพันตาม


สัญญาย่อมขึ้นอยู่กับความมีอยู่ของปัจจัยแวดล้อมขณะทําสัญญา หากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนไปถึง
ขนาดที่การปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจะทําให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระหนักเกินปกติที่จะรับได้
ศาลมีอํานาจใช้หลักดังกล่าวเข้าแก้ไขข้อตกลง ในลักษณะเพิ่ม หรือตัดทอนข้อตกลงบางประการ
หรือแม้กระทั่งให้สัญญานั้นระงับไป
๔ หลักความรับผิดก่อนสัญญา ( pre-contractual fault:culpa in contrahendo)
มี แ นวคิ ด ว่ า ในการเจรจาต่ อ รองเพื่ อ ทํ า สั ญ ญา คู่ สั ญ ญาควรทํ า สั ญ ญาด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ แ ละ
ไว้วางใจต่อกัน โดยไม่สนใจว่าในอนาคตสัญญาจะมีการทําขึ้นหรือไม่ ดังนั้นหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่
สุจริตใจทําให้การเจรจาล้มเหลวไป โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ฝ่ายที่เสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้อง
ค่าเสียหาย แม้จะไม่ได้มีสัญญาผูกพันต่อกันก็ตาม
๕ การใช้สิทธิโดยไม่ชอบ (Abuse of right :abus’ un droit ) มีแนวคิดของศาลฝรั่งเศส
ว่าการใช้สิทธิต้องไม่ทําให้บุคคลอื่นเดือดร้อนและไม่ขัดต่อความมุ่งหมายของสังคม ดังนั้นการใช้
สิ ท ธิ โ ดยไม่ ไ ด้ ป ระโยชน์ เ ท่ า ที่ ค วร แต่ ก ลั บ ทํ า ให้ ผู้ อื่ น เดื อ ดร้ อ น หรื อ การใช้ สิ ท ธิ นั้ น จะได้ รั บ
ประโยชน์อยู่บ้าง แต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม หรือการใช้สิทธิของตนเองโดยการกระทํา
ที่ฝ่าฝืนความรู้สึกของคนทั่วไป ไม่ว่าจะกระทําโดยเจตนาหรือกระทําลงไปด้วยความประมาท
ก็ล้วนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ และเป็นการกระทําละเมิด
ในประเทศเยอรมันได้รับรองหลักสุจริตไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในประมวลกฎหมายแพ่ง
เยอรมัน มาตรา ๒๔๒ โดยถือว่าเป็นหลักกฎหมายทางศีลธรรมอันเป็นพื้นฐานของกฎหมายแพ่ง
ทั้งระบบ ในการปรับใช้ศาลเยอรมันได้นําหลักสุจริตทั่วไปไปปรับใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิด
หลักกฎหมายปลีกย่อยหลายกรณี หลักสุจริตจึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนากฎหมายของเยอรมัน
ให้ทันสมัย สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมได้เป็นอย่างดี
ในประมวลกฎหมายแพ่งสวิส ได้บัญญัติรับรองหลักสุจริตในกฎหมายทั่วไปในมาตรา ๒
โดยถือว่า บทบัญญัตินี้เป็นเจตนารมณ์ของข้อตกลง เป็นการประกาศให้สังคมสวิสรับรู้ว่าในการ
ปฏิบัติต่อกันในสังคมต้องปฏิบัติตามหลักสุจริต ในกรณีการปรับใช้ศาลสวิสมีอํานาจเต็มที่ในการใช้
ดุลยพินิจ แต่ในทางปฏิบัติศาลสวิสจะระมัดระวังและจะใช้บทบัญญัติดังกล่าวในกรณียกเว้น
จําเป็น เท่านั้น
ในประมวลกฎหมายแพ่ ง ฝรั่ ง เศส หลั ก สุ จ ริ ต ถู ก บั ญ ญั ติ เ ป็ น แม่ บ ทในมาตรา ๑๓๓๔
วรรค ๓ แต่ในการปรับข้อเท็จจริง ศาลฝรั่งเศสมักไม่นํามาปรับใช้ แต่กลับพัฒนาหลักกฎหมาย
ทั่วไปที่เป็นธรรม จากบทบัญญัติความรับผิดทั่วไปในทางละเมิด คือหลัก Abuse of right
โดยหลักกฎหมายทั่วไปที่พัฒนานั้นได้นําหลักความเป็นธรรมของสังคมมาเป็นมาตรฐานวัดการใช้
สิทธิของบุคคลว่าเป็นไปตามแนวทางที่สังคมยอมรับหรือไม่ ดังนั้นจึงมีนักนิติศาสตร์บางคนกล่าวว่า
หลักสุจริตของฝรั่งเศส ปรากฏอยู่ในกฎหมายละเมิดแทนที่จะปรากฏอยู่ในบทกฎหมายทั่วไป
เหมือนเช่นประเทศอื่นๆ
๒๖

ในประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ ข องไทย หลั ก สุ จ ริ ต ทั่ ว ไปปรากฏในบทบั ญ ญั ติ


มาตรา ๕ และมาตรา ๔๒๑ ซึ่งตามมาตรา ๔๒๑ เป็นกรณีใช้สิทธิโดยไม่ชอบ เป็นบทขยายความ
ของการใช้สิทธิโดยสุจริตในมาตรา ๕ ถือเป็นหลักปลีกย่อยหลักหนึ่งของหลักสุจริต หลักสุจริตของ
ไทยมีต้นแบบมาจากประมวลกฎหมายแพ่งสวิสมาตรา ๒ นักนิติศาสตร์ไทยมีความเห็นสอดคล้อง
กับประเทศในภาคพื้นยุโรป เกี่ยวกับบทบัญญัติดังกล่าวว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่สามารถใช้ใน
กฎหมายเอกชนได้ทุกเรื่อง และเป็นพื้นฐานของกฎหมายแพ่งทั้งระบบ แต่แนวทางการปรับใช้ตาม
ความเป็นของนักนิติศาสตร์บางท่าน เห็นว่าควรปรับใช้ในกรณียกเว้นเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวทาง
การปรับใช้เช่นเดียวกับศาลสูงสวิส
ตามแนวคําพิพากษาของศาลฎีกาไทยในการปรับใช้หลักสุจริต มีแนวคิดสรุปได้ว่า การใช้สิทธิ
ตามที่ ก ฎหมายรั บ รอง ตามปกติ แ ล้ ว ย่ อ มสามารถอ้ า งได้ เ ป็ น การใช้ สิ ท ธิ โ ดยสุ จ ริ ต เว้ น แต่
พฤติการณ์ของผู้ใช้สิทธิมีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งทําให้บุคคลอื่นเสียหาย ย่อมไม่ใช่การใช้สิทธิ
โดยสุจริต และเป็นการกระทําอันเป็นละเมิด ตามมาตรา ๔๒๑ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลัก
สุ จ ริ ต อั น เป็ น บททั่ ว ไปในมาตรา ๕ นอกจากนี้ ยั ง พบหลั ก เกณฑ์ จ ากคํ า พิ พ ากษาศาลฎี ก า
ที่พิเคราะห์ตีความ หลักสุจริตในมาตรา ๕ ได้แก่ หลักวินิจฉัยที่แปลความคําว่า “สุจริต” หมายถึง
รู้หรือไม่รู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆ , หลักกฎหมายปิดปากโดยความประพฤติ (Estoppel by conduct)
ซึ่งมีความหมายตรงกับหลักกฎหมายโรมันว่า บุคคลย่อมต้องห้ามมิให้ทําการใดๆ อันขัดต่อการ
กระทําครั้งก่อนของตนที่ทําไว้ในอดีต และหลักไม่มีผู้ใดถือเอาประโยชน์จากการกระทําผิดหรือ
กระทํามิชอบของตนเอง ทั้งสามหลักประกอบกันเป็นเนื้อหาของหลักสุจริต ตามมาตรา ๕
ปัญหาและข้อเสนอแนะ
จากประสบการณ์ของผู้วิจัยขณะทํางานที่ศาลแขวงนครปฐม ผู้วิจัยได้พิจารณาคดี ละเมิด
ประกันภัย รับช่วงสิทธิ คดีหนึ่งซึ่งผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากเจ้าของรถยนต์กระบะผู้เอา
ประกันภัยมาฟ้องจําเลยที่ ๑ ในฐานะผู้ขับรถจักรยานยนต์ ชนรถที่ผู้รับประกันภัยได้รับประกันภัย
ไว้ และฟ้องจําเลยที่ ๒ ให้รับผิดร่วมกับจําเลยที่ ๑ ในฐานะเจ้าของ ผู้ครอง นายจ้าง ตัวการ
ที่ ใ ช้ ใ ห้ จํ า เลยที่ ๑ ขั บ รถจั ก รยานยนต์ ที่ ก่ อ เหตุ ไปในทางการที่ จ้ า ง หรื อ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย
โดยเรียกค่าเสียหายเป็นค่าแรงและค่าอะไหล่จํานวน ๒๗,๘๒๖.๖๑ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับจากวันที่ผู้รับประกันภัยได้ชําระเงินไปจนกว่าจะชําระเสร็จ
จําเลยที่ ๑ ให้การรับว่าเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เกิดความ
เสี ย หายที่ด้ า นหน้ า ข้า งซ้า ยของรถเพี ยงเล็ กน้ อ ย ส่ ว นความเสีย หายที่ แ ชซซี รถ พวงมาลั ย รถ
เป็นความเสียหายที่เกินกว่าความเป็นจริง ส่วนจําเลยที่ ๒ ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวการหรือนายจ้าง
ของจําเลยที่ ๑ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจําเลยที่ ๒ ในชั้นสืบพยานโจทก์อ้างช่างที่ทําการซ่อมรถเป็นพยาน
โดยช่ า งเบิ ก ความว่ า รถยนต์ ก ระบะที่ โ จทก์ รั บ ประกั น ภั ย ไว้ ถู ก รถจั ก รยานยนต์ ที่ จํ า เลยที่ ๑
ขับเฉี่ยวชนที่กันชนด้านหน้าข้างซ้าย เป็นรอยครูด และมีความเสียหาย เป็นค่าอะไหล่ ๒๗,๘๒๖ บาท
ตามใบสั่ งซื้ ออะไหล่ รถยนต์ ซ่อม เอกสารหมาย จ.๔ ซึ่ งปรากฏอะไหล่ ที่สั่ งซื้อบางส่ วนคือ ชั ชซี
หน้ากล่องยางคันชักคันส่ง ล้อแม๊กซ์อลูมิเนียม ลูกปืนล้อด้านใน กระปุกพวงมาลัยทั้งชุดเพาเวอร์
๒๗

ลูกปืนล้อหน้าด้านใน ปีกนกหน้าบน ลูกหมากปีกนกหน้าบน เป็นต้น ศาลแขวงนครปฐมวินิจฉัย


คดีว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เกิดความเสียหายที่ด้านหน้าข้างซ้ายเท่านั้น โดยกันชน
ดังกล่าวมีรอยยุบลงไปเล็กน้อย และกันชนหลุดออกมาจากตําแหน่งเดิม ส่วนรถจักรยานยนต์ของ
จําเลย ตามภาพถ่าย คงปรากฏความเสียหายล้อหน้าบิดงอ แต่บังโคลนล้อไม่ได้รับความเสียหาย
อันแสดงให้เห็นว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดในลักษณะของการเฉี่ยวกันระหว่างรถทั้งสอง ไม่ได้เป็น
การชนกันโดยตรงด้วยความรุนแรง ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ทางด้านหน้าของรถ ที่พยาน
โจทก์อ้างว่าเกิดความเสียหายที่ล้อแม๊กซ์ด้านข้าง ลูกปืนล้อด้านในและลูกปืนล้อด้านนอกจึงเป็น
ที่น่าสงสัย เนื่องจากการเฉี่ยวชนดังกล่าวไม่ได้กระทบไปถึงบริเวณดังกล่าว และล้อแม็กซ์ยังอยู่ใน
สภาพปกติ ลูกปืนล้อซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่อยู่ภายในล้อแม็กซ์จึงไม่น่าจะเกิดความกระทบกระเทือนได้
โดยเฉพาะความเสียหายที่ชัชซี ซึ่งพยานโจกท์อ้างว่าเป็นชิ้นส่วนที่ทําจากเหล็ก มีหน้าที่รับน้ําหนัก
ของเครื่องยนต์ พยานอ้างว่าชัชซีเกิดการชนจนบิดตัว ต้องใช้ไฟเป่าและใช้โซ่ดึงให้กลับมาอยู่ใน
สภาพเดิม ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะร่องรอยการชนเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย สําหรับความเสียหาย
รายการอื่น เช่นรายการที่ ๘ คันส่งตัวกลาง รายการที่ ๑๐ กล่อ งคันชักคันส่ง รายการที่ ๑๖
กระปุกพวงมาลัยทั้งชุดเพาเวอร์ ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับรถ ซึ่งติดตั้งอยู่ภายใน
ห้องเครื่องด้านใน ไม่น่าเชื่อว่าจะถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการเฉี่ยวชนได้ เชื่อว่า
พยานโจทก์ จั ด ทํ า เอกสารเท็ จ โจทก์ เ ป็ น ผู้ รั บ ประกั น ภั ย ย่ อ มมี ค วามเชี่ ย วชาญในการตรวจ
ค่าเสียหาย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นภาระตามสัญญา การที่โจทก์
นําใบเสนอราคาความเสียหายเท็จแสดงต่อศาล ทําให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเอาเปรียบทางคดี
แก่จําเลย และฟังว่าการฟ้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา ๕ พิพากษายกฟ้อง9 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ วินิจฉัยว่า เมื่อจําเลยที่ ๑
เป็นผู้ทําละเมิดให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้จัดการซ่อม
เรียบร้อยแล้ว เสียค่าใช้จ่ายในการนั้นไปเท่าใดย่อมเข้ารับช่วงสิทธิในค่าเสียหายดังกล่าว จําเลยที่ ๑
ผู้ทําละเมิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นให้โจทก์ แต่จํานวนค่าเสียหาย เป็นไปตาม
พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด .ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายการอะไหล่ในเอกสารใบเสนอราคา
หมาย จ.๒ จ.๔ และ จ.๕ แล้ ว บางรายการเช่ น ล้ อ แม็ ก ซ์ ยางรถยนต์ สายไปเตื อ นเบรก
ตามเอกสารหมาย จ. ๕ แผ่นที่ ๒ และที่ ๓ ระบุว่าต้องเปลี่ยนใหม่ แต่เมื่อพิจารณาจากภาพถ่าย
ร่องรอยการชนที่รถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ตามเอกสารหมาย จ.๑ และ จ.๓ แล้ว เห็นว่าไม่น่าจะ
ได้ รั บ ความเสี ย หายจากการที่ ร ถเฉี่ ย วชนกั น จึ ง เห็ น ควรกํ า หนดค่ า เสี ย หายให้ โ จทก์ จํ า นวน
๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินไป10 จากการ
เปรียบเทียบพบว่าศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิพากษาว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเฉี่ยวชน และ
ความเสียหายบางส่วนตามเอกสารใบตกลงค่าสินไหมค่าแรงจัดซ่อมทรัพย์สิน เอกหมาย จ.๕
แผ่นที่ ๓ ซึ่งมีรายการชัชซีหน้า คันส่งตัวกลาง ล้อแม็กซ์หน้า ลูกปืนล้อหน้าด้านใน โดยศาลอุทธรณ์

9
คําพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม คดีหมายเลขแดงที่ ๒๖๓๗/๒๕๕๑
10
คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๖๑๔/๒๕๕๓
๒๘

ภาค ๗ เห็นว่า เป็นอุปกรณ์ที่ไม่น่าจะได้รับความเสียหายจากการเฉี่ยวชน และปรับลดค่าสินไหม


ทดแทนลงเหลือเพียง ๑๕,๐๐๐ บาทแสดงว่าศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ไม่เชื่อว่ามีความเสียหายในส่วนนี้
เช่นเดียวกับศาลชั้นต้นวินิจฉัย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ เห็นว่าสามารถแบ่งแยกความเสียหายที่ไม่มี
อยู่จริงออกไปและกําหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงได้ ซึ่งด้วยความ
เคารพต่ อ คํ า พิ พ ากษาของศาลอุ ท ธรณ์ ภ าค ๗ ผู้ วิ จั ย เห็ น ว่ า กรณี ที่ ป รากฏว่ า โจทก์ นํ า เอา
พยานหลักฐานเท็จ มาแสดงต่อศาล เป็นกรณีที่เป็นไปตามหลักกฎหมายโรมันที่ว่า “ ไม่มีผู้ใด
ถือเอาประโยชน์จากการกระทําอันไม่ชอบของตนได้ ” ซึ่งเป็นแนวคิดของหลักสุจริต ตามหลัก
abuse of right ของศาลฝรั่งเศส ซึ่งศาลฎีกาของไทยได้นํามาใช้โดยเห็นได้ชัดจาก คําพิพากษา
ศาลฎีกาที่ ๓๓๗๔/๒๕๓๒ ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นเจ้าของบัญชีกระแสรายวัน รู้เห็นให้มีการปลอม
รายมื อ ชื่ อ ของตน แล้ ว ให้ ผู้ อื่ น นํ า เช็ ค มาขึ้ น เงิ น จากนั้ น นํ า เช็ ค ปลอมดั ง กล่ า วมาเรี ย กร้ อ งให้
ธนาคารรับผิด ศาลฎีกาได้ตัดสินยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
ปัญหาที่น่าพิจารณาต่อไปคือ การที่ศาลตรวจพบการใช้สิทธิไม่สุจริต จากการอ้างพยานหลักฐาน
เท็จในประเด็นสําคัญแห่งคดีเช่นนี้ ศาลควรพิจารณายกฟ้อง หรือควรพิจาณาแยกส่วนที่สุจริตออก
จากส่วนที่ไม่สุจริต ในประเด็นนี้ผู้วิจัยเห็นว่า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แตกต่างจากนิติกรรมที่เป็น
โมฆะ ซึ่งสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ แต่ต้องปรากฏว่าคู่สัญญามีเจตนา
จะยังคงส่วนที่สมบูรณ์นั้นไว้เพื่อปฏิบัติต่อไป11 แต่กรณีการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามข้อเท็จจริงที่
ปรากฏนี้ เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิของผู้เสียหายในมูลละเมิดมาฟ้องไล่เบี้ยเอาจาก
ผู้ ทํ า ละเมิ ด ไม่ ใ ช่ เ ป็ น เรื่ อ งของนิ ติ ก รรมที่ เ ป็ น โมฆะกรรม ทั้ ง การจะนํ า หลั ก ในมาตรา ๑๗๓
มาเทียบเคียงเพื่อแยกส่วนที่เป็นเท็จออกจากส่วนที่ไม่เป็นเท็จ ย่อมเป็นการละเลยต่อพฤติการณ์
การสืบพยานเอกสารเท็จ ซึ่งเป็นการกระทําละมิดของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการส่งเสริมใน
ทางอ้อมให้โจทก์เอาเปรียบจําเลย เพราะแม้ศาลตรวจพบก็เพียงแต่ตัดสิทธิโจทก์ในบางส่วนที่
บกพร่องเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักสุจริต ที่มุ่งให้ประชาชนทุกภาค
ส่วนของสังคมปฏิบัติด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมาต่อกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาผู้วิจัยเห็นว่ากรณี
ตามปัญหาที่ยกขึ้นนี้ ควรต้องปรับบทกฎหมายด้วยหลักสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา ๕ โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งหมด เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ร่วมกันในสังคมถึง
หลักการเป็นอยู่ร่วมกันด้วยความจริงใจและ ตรงไปตรงมาต่อกัน

11
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๓ ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้น
แต่จะพึงสันนิษฐานได้ตามพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้น แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้
๒๙

ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากหลักสุจริต เป็นกฎหมายยุติธรรม (Jus aeguum)ซึ่งธรรมชาติของบทบัญญัติเป็น
นามธรรม มีลักษณะเป็นอุดมคติการใช้กฎหมาย และการประพฤติปฏิบัติต่อกันของบุคคลในสังคม
มีแตกต่างจากบทบัญญัติทั่วไป (jus strictum) ซึ่งเป็นบทบัญญัติกฎที่มีความชัดเจน บัญญัติถึง
เงื่อนไขของการปฏิบัติต่อกันและผลของการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกําหนด การปรับใช้หลัก
สุจริตจึงมีความแตกต่างจากการปรับใช้บทกฎหมายในบททั่วไปอื่นๆ และด้วยเหตุที่บทบัญญัติ
ของหลักสุจริตมีเนื้อหากว้างๆ เป็นเสมือนประตูให้ผู้พิพากษาไปค้นหาความยุติธรรม เพื่อนํามา
ปรับใช้กับกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่ปรากฏไม่สามารถให้คําตอบที่เป็นธรรมหรือการบังคับ
ตามบทบัญญัติของกฎหมายจะก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน การนําหลักสุจริตมาปรับใช้จึง
ต้องมีมุมมองการใช้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรม เพื่อสถาปนาความเป็นอยู่ร่วมกันของบุคคลใน
สังคมให้ปฏิบัติต่อกันอย่างจริงใจ และตรงไปตรงมาต่อกัน มากกว่าจะใช้กฎหมายเพื่อตอบปัญหา
ประเด็นตามคําคู่ความที่ปรากฏเฉพาะหน้า ซึ่งการปรับใช้หลักสุจริตของศาลฎีกาไทย ได้ปรับใช้ไป
ในขอบวัตถุประสงค์ของหลักสุจริตและมีแนวทางของการปรับใช้เช่นเดียวกับที่ปรากฏในประเทศ
ภาคพื้นยุโรป ผู้วิจัยเห็นว่าสังคมไทยมีความซับซ้อนมากขึ้น บุคคลอาศัยความไม่รู้กฎหมายและ
ความไม่ เ ท่า เที ยมกั นทางเศรษฐกิ จ ของบุ ค คลอื่ น มาเป็น ช่ องทางในการเอารั ด เอาเปรีย บกั น
ศาลซึ่งเป็นองค์กรที่มีห น้าที่ใช้กฎหมายเพื่อสร้ างสมดุลของสังคม จึงควรที่จะส่งเสริมความรู้
ส่งเสริมการใช้เรื่องหลักสุจริต โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
๑ .การส่งเสริมความรู้เรื่องหลักสุจริต ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการจัดสัมมนาให้ความรู้เรื่อง
หลักสุจริต ให้ผู้พิพากษาเข้าใจบทบาทของตนกับ หลักสุจริตในฐานะที่เป็นกฎหมายทั่วไป ซึ่งผู้ร่าง
กฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้ผู้พิพากษาเท่านั้นที่มีอํานาจใช้และชี้ขาดถึงขอบเขตของกฎหมายเรื่องนี้
ในการให้ ก ารศึ ก ษาพึ ง ให้ ค วามรู้ ถึ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข องหลั ก สุ จ ริ ต แนวทางการใช้ ข องศาล
ต่างประเทศ เปรียบเทียบกับศาลฎีกาของไทย
๒. ส่งเสริมให้มีการนําหลักสุจริตไปใช้ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อควบคุมพฤติกรรม
ของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบของการปฏิบัติต่อกันอย่างตรงไปตรงมาและจริงใจต่อกัน
โดยให้สํานักงานอธิบดีภาคต่างๆ ออกระเบียบขอตรวจร่างที่ผู้พิพากษาตัดสินคดีด้วยหลักสุจริต
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๕ และ ให้สํานักงานอธิบดีภาค ในแต่ละภาคเป็น
หน่วยในการรวบรวมคําพิพากษาที่ตัดสินดังกล่าว และเผยแพร่ให้ผู้พิพากษาในทุกภาคทราบถึง
แนวทางการใช้หลักสุจริต ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทําให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เห็นแนวทางการนํา
หลักสุจริตมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงในแง่มุมต่างๆกัน ทําให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และเกิดการ
เรียนรู้ร่วมกัน อันนํามาซึ่งการพัฒนาการปรับใช้หลักสุจริตอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เพราะการ
รอการปรับใช้จากคําพิพากษาศาลฎีกาเพียงอย่างเดียว อาจไม่ครอบคลุมสถานการณ์ความไม่เป็น
ธรรมที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายได้
๓. ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่หลักสุจริตต่อสังคม โดยให้สํานักงานศาลยุติธรรมรวบรวม
แนวทางการปรั บใช้ หลั กสุจริต และนํ าออกเผยแพร่ แก่ สั งคม ทั้ งในภาคของราชการและภาคเอกชน
๓๐

เพื่อให้ตระหนักรู้ร่วมกันถึงผลร้ายที่เกิดจากการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อหลักสุจริต โดยมีเป้าประสงค์ให้
บุคคลในสังคมมีความระมัดระวังในการปฏิบัติต่อกันด้วยความไว้วางใจอย่างตรงไปตรงมา อันจะ
เป็นผลให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายของการใช้กฎหมายอย่างแท้จริง
บรรณานุกรม

กิตติศักดิ์ ปกติ . คําบรรยายวิชากฎหมายแพ่งและหลักทั่วไป (Lecture note). คณะนิติศาสตร์


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ๒๕๓๙
พงษ์อาจ ศรีกิจวัฒนกุล . หลักกฎหมายปิดปาก
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ๒๕๒๕
ปรีดี เกษมทรัพย์, หนังสืออนุสรณ์พระราชทานงานศพ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ กรุงเทพมหานคร
: ( ม.ป.ท.) , ๒๕๒๖
รายงานการประชุมร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และบันทึกประกอบ (มาตรา ๑-๔๓)
บทบัณฑิต ๒๐ (ตุลาคม ๒๕๗๕ : ๘๖๗)
ปรีดี เกษมทรัพย์ ,หลักสุจริตในแง่กฎหมายเปรียบเทียบ . เอกสารสัมมนากฎหมายประกันภัย ณ.
โรงแรมแมนดาริน ๒๒-๒๓ มกราคม ๒๕๒๖
หยุด แสงอุทัย , รวมหมายเหตุท้ายฎีกาของ ศ.ดร. หยุดแสงอุทัย . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๓๐
คําพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม คดีหมายเลขแดงที่ ๒๖๓๗/๒๕๕๑
คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๖๑๔/๒๕๕๓
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประวัติผู้ศึกษา

ชื่อ - นามสกุล นายตรัณ ขมะวรรณ

ตําแหน่งปัจจุบัน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลจังหวัดตลิ่งชัน

คุณวุฒิการศึกษา ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ทํางาน ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสิงห์บุรี
ผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
ผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐม
ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนครปฐม
ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตลิ่งชัน

You might also like