You are on page 1of 27

2.

3 สมุนไพร champion product และเบญจอัคคี


Product Champion ที่ต้องได้รับการส่งเสริมไว้จำนวน 12 ชนิด
ได้แก่ กวาวเครือขาว กระชายดำ ขมิ้นชัน บัวบก มะขามป้ อม กระชาย
พริก ฟ้ าทะลายโจร กระเจี๊ยบแดง หญ้าหวาน ว่านหางจระเข้ และไพล
1. กวาวเครือขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pueraria mirifi ca Airy Shaw et Suvatab.
ชื่อวงษ์: Leguminosae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:ไมเถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เถาจะเจริญเติบโต
พันหรือยึดเกาะกับต้นไม้ใหญ่ ใบ เป็ นใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย 3
ใบ ขนาดใหญ่ รูปไขกว้าง 8-15 เซนติเมตรยาว 10-20 เซนติเมตร มีสี
เขียว คล้ายกับใบถั่วคลา ดอก เป็ นดอกเดี่ยว มีขนาดใหญ่คล้ายกับดอก
แค สีน้ำเงินอมม่วง จะออกดอกเมื่อต้นมีอายุมาก ๆ ผล เป็ นฝั กแบนมี 2
ชนิด คือ ชนิดหัวขาวและหัวแดง หัวแดงมีพิษมาก ไมนิยมใช้ทำยา ทั้ง
สองชนิดกินมากจะเป็ นพิษ เกิดตามป่ าดงดิบเขาสูง มีมากในภาคเหนือ
หัวใต้ดิน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-25 เซนติเมตร รูปร่างคล้าย
หัวมันแกว
ส่วนที่ใช้:หัว เปลือกเถา
ส่วนประกอบที่สำคัญ:สารที่ออกฤทธิ์สำคัญที่พบในหัวกวาวเครือขาวเป็ น
สารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอรโมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ไดแก ไมโรเอสตรอล
(miroestrol) และดิออกซี่ไมโรเอสตรอล (deoxymiroestrol) ซึ่งมีฤทธิ์
แรงแต่มีปริมาณน้อย และ มีไฟโตรเอสโตรเจน (phytoestrogens) มี
ฤทธิ์อ่อนแต่มีปริมาณมากกว่า จำพวก ไอโซฟลาโวน (isoflavones) อก
หลายชนิด เชน daidzein, genistein, daidzin, genistin, puerarin,
mirificin และ kwakhurin
ประโยชน์ : ภูมิปั ญญาดั้งเดิม
1. หัว บำรุงกำลังบำรุงเนื้อให้เต่งตึงขึ้น บำรุงสุขภาพให้สม
บูรณบำรุงความกำหนัดเป็ นยาอายุวัฒนะ ทำให้หน้าอกโต ทำให้เส้นผมที่
หงอกกลับดำ และเพิ่มเส้นผม แกโรคตาฟางต้อกระจก ทำให้ความจำดี
ทำให้มีพลังการเคลื่อนไหวเดินเหินคล่องแคล่ว ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยให้กิน
ไดนอนหลับ
2. เปลือกเถา นำมาใช้เป็ นยาแกพิษงู
วิธีการใช้: ใช้กวาวเครือขาวผสมกับน้ำผึ้ง ตรีผลา หรือนมสด ปั้นเป็ นยา
เม็ดขนาดเท่าเม็ดพริกไทย แต่มีข้อห้ามไม่ให้คนหนุ่มสาวรับประทานและ
หากรับประทานในปริมาณสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็ นเวลานานอาจเป็ น
อันตรายได้

2. กระชายดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia parviflora Wall. ex Baker
ชื่อวงษ์: ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในสีม่วงเข้ม มี
กลิ่นหอม
1. ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแทงออกจากใต้ดิน รูปไข่หรือรูปรี ปลาย
ใบแหลม โคนใบเบี้ยวหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเป็ นคลื่น หลังใบ
เรียบ ท้องใบเรียบสีม่วงแดง ก้านใบยาวสีม่วงแดง
2. ดอกออกเป็ นช่อตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว โคนเชื่อมติด
กันมีแต้มสีม่วงเข้มที่ปากดอกด้านล่าง มีกาบใบหุ้มดอก
ส่วนที่ใช้: เหง้า
ส่วนประกอบที่สำคัญ: น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์
(flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น 5,7-dimethoxyflavone,
5,7,4'-trimethoxyflavone, 5,7,3', 4'-tetramethoxyflavone และ
3,5,7,3',4'-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (antho-
cyanins) และสารประกอบฟี นอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ
ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟี นอลิกรวมและ
สารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้า
สีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเข้ม
ประโยชน์: เหง้า รับประทานเป็ นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด
หรือโขลกผสมกับน้ำหรือสุรา เป็ นยาแก้ตานซาง รักษาโรคเด็ก แก้บิด
และแก้ป่ วงทุกชนิด
วิธีการใช้: นำมาทำเป็ นยาลูกกลอน โดยเอาผงแห้งมาผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็ น
ลูกกลอน หรือทำเป็ นยาดองเหล้าและดองน้ำผึ้ง แต่ในปั จจุบันนี้จะ
พบเห็นผลิตภัณฑ์ของกระชายดำวางจำหน่ายในท้องตลาด ในหลากหลาย
รูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาน้ำ ยาเม็ด กาแฟ และไวน์กระชายดำ
ซึ่งเป็ นที่นิยมมาก

3. ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อวงษ์: ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. มีลำต้น
ใต้ดินเรียกว่าเหง้า ประกอบด้วยแง่งที่มีลักษณะต่างๆ กันคือ แง่งแม่หรือ
แง่งหลักจะมีลักษณะกลม ซึ่งจะเป็ นที่แตกของแขนงที่สองและสามต่อไป
แขนงที่แตกออกมานี้ถ้ามีลักษณะกลมจะเรียกว่า หัว และถ้ามีลักษณะ
ยาวคล้ายนิ้วมือจะเรียกว่า นิ้ว ซึ่งเป็ นที่เกิดของรากฝอย เนื้อในหัวมีสี
เหลืองอมส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด และมีกลิ่นหอม ส่วนลำต้นเหนือ
ดินคือกาบก้านใบที่เรียงซ้อนกันเป็ นลำต้นเทียม
1. ใบ เป็ นใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน
ลักษณะใบรูปใบหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-
40 ซม. มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจนทางด้านล่างของใบ ใบเรียงแบบสลับ
และอยู่กันเป็ นกลุ่ม
2. ดอก ออกเป็ นช่อ ช่อดอกจะเกิดบนลำต้นที่มีใบหรือโผล่ขึ้นมา
จากใจกลางของกลุ่มใบ ช่อดอกมีรูปร่างแบบทรงกระบอกหรือรูปกรวย
ใบประดับมีสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ตรงปลายช่อ
ดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียงซ้อนกันอย่างเป็ นระเบียบ กลีบรองกลีบดอก
จะเชื่อมติดกันเป็ นรูปท่อ มีขน กลีบดอกมีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็ น
ท่อยาว บานครั้งละ 3-4 ดอก
3. ผล รูปกลมมี 3 พู
ส่วนที่ใช้: เหง้าสดและแห้ง
ส่วนประกอบที่สำคัญ: น้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin
วิธีการใช้:
1. เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสฝาดหวานเอียน กลิ่นหอม มีฤทธิ์ใน
การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี
และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทา
นอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระขมิ้น
ชันไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง ขมิ้นชัน เพิ่มภูมิคุ้มกัน อิมมูโน
โกลบูลิน ชนิดจี (IgG) และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และเป็ นสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้ แก้ไข้เรื้อรัง แก้
โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับ
ผายลม แก้ผื่นคัน แก้โรคเหงือกบวม แก้บิด, น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผล
ถลอก แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ลดการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง รักษา
แผลในกระเพาะอาหาร
2. น้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด
แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง ในตำรายาจีน
ใช้เป็ นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน
3. ผงขมิ้น เคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด ผสมน้ำทาผิว แก้
เม็ดผดผื่นคัน
4. ขมิ้นสด โขลกกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผล
และแก้เคล็ด ขัด ยอก เผาไฟแล้วโขลกรวมกับน้ำปูนใส รับประทานแก้
ท้องร่วง แก้บิด
5. ใบ รสฝาดเอียน ใช้ผสมกับยานวดเพื่อคลายเส้น ใช้เป็ นส่วนผสม
ทำยาอายุวัฒนะ แก้ปวดมวน ริดสีดวงทวาร รักษาอาการท้องเดิน ปวด
ท้อง
6. เหง้าแห้ง บดเป็ นผงให้ละเอียดเคี่ยวในน้ำมันพืช ทำน้ำมัน
ใส่แผลสด ผสมน้ำใช้ทาผิวกายแก้เม็ดผดผื่นคัน

4. บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban.
ชื่อวงษ์: APIACEAE (UMBELLIFERAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:ไม้ล้มลุก อยู่ในจำพวกผัก ประเภทเลื้อย มี
ลำต้นเลื้อยไปตามดินที่ชื้นแฉะ เรียกว่า ไหล มีรากงอกออกตามข้อของ
ลำต้น
1. ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบงอกเป็ นกระจุกออกจากข้อ ข้อ
ละ 2-10 ใบ ลักษณะใบรูปไต รูปร่างกลม ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน ขอบ
เป็ นคลื่นหยักเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียวมีขนเล็กน้อย ก้านใบสีเขียวยาว
2. ดอก ออกดอกเป็ นช่อแบบช่อซี่ร่มตามซอกใบ มีประมาณ 2-5
ช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อยประมาณ 4 – 5 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี
5 กลีบ สีม่วงเข้มอมแดงสลับกัน ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ
0.5-5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2-3 ใบ เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น
3. ผล เป็ นผลแห้งแตก ลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว
ประมาณ 3-4 มม. เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้: ล ำต้นและใบสด
ส่วนประกอบที่สำคัญ: จำพวกไตรเทอร์ปิ น และไตรเทอร์ปิ นกลัยโคไซด์
ได้แก่ กรดเอซีอาติก (asiatic acid) กรดมาดิคาสซิก (madecassic acid)
เอซิอาติโคไซด์ (asiaticoside) ออกซิเอซิอาติโคไซด์(oxyasiaticoside)
มาดิคาสซอล (madecassol) ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ช่วยเร่งการสร้าง
เนื้อเยื่อและสมานแผล นอกจากนี้ยังพบ
น้ำตาลหลายชนิด เช่น เรซิน วิตามินซี สารแทนนินสารที่มีรสขม ชื่อ
Vellarine อัลคำลอยด์ชื่อไฮโดรคอไทลีน (hydrocotylene)และน้ำมัน
หอยระเหยชื่อ B-Caryophyllene
ประโยชน์:
1. ใบ รสขมเย็น เป็ นยาดับร้อน ลดอาการอักเสบบวม แก้ปวดท้อง
แก้ดีซ่าน แก้บิด ใบสดต้มกับน้ำซาวข้าวดื่มแก้นิ่วในระบบทางเดิน
ปั สสาวะ มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
2. ต้น เป็ นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงู
กัด ปวดศีรษะข้างเดียว ขับปั สสาวะ แก้เจ็บคอ เป็ นยาห้ามเลือด ส่าแผล
สด แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน แก้ช้ำใน
3. เมล็ด รสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ
4. ทั้งต้น รสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน แก้
อ่อนเพลีย ขับปั สสาวะ รักษาบาดแผล แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคปวด
ศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค แก้ตับอักเสบ
วิธีการใช้:
1. โรคปากเปื่ อย ปากเหม็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ใช้บัวบกสด 1 กำมือ (10 – 20 กรัม) ต ำแล้วคั้นเอาแต่น้ำเติมน้ำตาล
ทรายเล็กน้อย ดื่มวันละ 3 ครั้ง
ติดต่อกัน 1 – 2 วัน
2. แก้อาการเจ็บคอ
ใช้บัวบกสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำส้มสายชู 1 –
3 ช้อน จิบบ่อยๆ
3. แก้อาการปวดศรีษะข้างเดียว
รับประทานแบบสดๆ หรือคั้นน้ำรับประทานไม่จำกัดปริมาณ ควรรับ
ประทานติดต่อกัน 5 – 6 วัน
4. แก้อาการช้ำใน ลดความดันโลหิต
ใช้บัวบกสด 2 กำมือ คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทรายเล็กน้อย รับประทาน
ติดต่อกันอย่างน้อย 5 – 7 วัน
5. รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ทำบริเวณแผลบ่อยๆ ใช้
กากพอก
5. มะขามป้ อม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L
ชื่อวงษ์: EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
1. ไม้ต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 8 - 12 เมตร เปลือกค่อนข้าง
เรียบ เกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาลอ่อน ลอกออกเป็ นแผ่นได้ กิ่งก้านแข็ง
เหนียว เนื้อไม้มีสีแดงอมน้ำตาล เรือนยอดเป็ นพุ่มคล้ายร่ม ปลายกิ่งมักลู่
ลง
2. ใบ เป็ นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงชิดกันและติดเรียงสลับ
ตามกิ่งก้านที่เรียวยาว ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูป
ไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบเฉียงและสอบเรียว ขนาดใบเล็ก
แผ่นใบสีเขี้ยวเข้ม บาง ก้านใบสั้นมาก
3. ดอก ออกดอกเป็ นช่อแบบช่อแยกแขนง ออกช่อดอกตามง่ามใบ
ช่อดอกสั้น มีดอกย่อยประมาณ
5 - 6 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาวหรือสีเหลืองนวล กลีบดอก 5 - 6
กลีบ เป็ นดอกสมมาตรตามรัศมี มีกลิ่นหอม
4. ผล ลักษณะผลรูปทรงกลม เกลี้ยง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวอ่อน มีเนื้อหนา รสฝาด เปรี้ยว ขม
และอมหวาน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง มีรอยแยกแบ่งออกเป็ น 6 ซีก
5. เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งสีน้ำตาล มีสันตามยาว 6 สัน ภายในมี
6 เมล็ด
ส่วนที่ใช้: ใบ ดอก ผล เปลือกต้น ราก
ส่วนประกอบที่สำคัญ: วิตามินซีสูง (ในผลมะขามป้ อม 1 ผลมีปริมาณ
วิตามินซีเทียบเท่ากับส้ม 2 ลูก) นอกจากนี้ยังพบ rutin, mucic acid,
gallic acid, phyllemblic acid สารกลุ่มแทนนิน เบนซินอยด์ เทอร์ปี น
ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ คูมาริน เป็ นต้น
ประโยชน์:
1. ใบ รสฝาดขม ใช้ต้มน้ำอาบลดไข้, ต้มดื่มเป็ นยาแก้ตัวบวมน้ำ, ใบ
สดโขลกให้ละเอียดใช้พอกหรือทาบริเวณที่เป็ นแผลผื่นคัน มีน้ำหนองน้ำ
เหลือง และผิวหนังอักเสบ
2. เปลือกต้น รสฝาดขม เปลือกต้นแห้งบดเป็ นผงละเอียดใช้โรย
แก้บาดแผลเลือดออก แผลฟกช้ำ หรือนำมาต้มเอาน้ำดื่มเป็ นยาแก้โรคบิด
สมานแผล
3. ผลหรือลูก รสเปรี้ยวฝาดขม ใช้ร่วมกับผลสมอไทย ผลสมอ
เทศ ผลสมอพิเภก แก้ไข้ แก้ลม แก้โรคตา บำรุงธาตุ
4. ผลอ่อน รสเปรี้ยวหวานฝาดขม บำรุงเนื้อหนังให้สมบูรณ์ กัด
เสมหะในคอ ทำให้เสียงไพเราะ
5. ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาดขม ลดไข้ ขับปั สสาวะ แก้ไอ แก้เสมหะ
ทำให้ชุมคอ ระบายท้อง บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต แก้ลม แก้ลักปิ ดลักเปิ ด
6. ผลแห้ง รสเปรี้ยวฝาดขม ชงน้ำร้อนดื่มแก้กระหายน้ำ แก้ไอ, ใช้
หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ บำรุงหัวใจ ระบายท้อง
7. ดอก รสหอมเย็น เข้าเครื่องยาเป็ นยาเย็น และยาระบาย
8. เมล็ด เมล็ดสดหรือแห้งโขลกเป็ นผงละเอียดชงกับน้ำร้องดื่ม
เป็ นยาแก้ไข้ แก้โรคตาต่างๆ โรคเกี่ยวกับน้ำดี โรคเบาหวาน โรคหลอดลม
อักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน
9. เปลือกต้น เป็ นยาสมานแผล
10. ราก แก้ไข้ เป็ นยาเย็น ฟอกโลหิต
วิธีการใช้: แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้
ดังนี้
1.ใช้เนื้อผลสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย
อม หรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง
2.ผลสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดจิ้มเกลือรับ
ประทาน
3.ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล)
คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ

6. กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
ชื่อวงษ์: ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
1. ไม้ล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า มีรากติดเป็ นกระจุก เป็ นที่
สะสมอาหาร อวบน้ำ รูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม ผิวสีน้ำตาลอ่อน
เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ
2. ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาว กว้าง 4.5 – 10 ซม. ยาว 15 –
30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบ
ยาว 7 – 25 ซม. กาบใบสีชมพู
3. ดอก ออกเป็ นช่อ ออกแทรกระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาว
ประมาณ 5 ซม. มีใบประดับสีม่วงแดงเรียงทแยงกัน กลีบเลี้ยงเชื่อมติด
กันเป็ นหลอด ปลายแยกเป็ น 3 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็ นหลอด
ปลายแยกเป็ น 3 แฉก ดอกที่ปลายช่อจะบานสวย กลีบดอกสีขาว หรือ
ขาวอมชมพู ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็ นถุงแยกเป็ น 2 กลีบ เกสร
ตัวผู้หมันด้านข้าง 2 อัน รูปรี สีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้หมันที่มีลักษณะ
คล้ายกลีบปากขนาดใหญ่ สีชมพู
4. ผล รูปรี เมื่อแก่แตกออกเป็ น 3 ซีก
ส่วนที่ใช้: เหง้า ราก ใบ
ส่วนประกอบที่สำคัญ: ทั้งส่วนรากและส่วนต้น ประกอบด้วยสาร
alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A,
pinostrobin และน้ำมันหอมระเหย และในส่วนรากยังพบ chavicinic
acid อีกด้วย
ประโยชน์:
1. เหง้า (ลำต้นใต้ดิน) มีรสเผ็ดร้นขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้
มุตกิด แก้ลมอันบังเกิดแก่กองหทัยวาต แก้โรคในปากเปื่ อย ปากแตกเป็ น
แผล ปากแห้ง ขับระดูขาว แก้ใจสั่นหวิว บำรุงหัวใจ แก้ไอ แก้ปวดมวลใน
ท้อง ท้องร่วง รักษาอาการแน่น จุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้ อ ขับปั สสาวะ
รักษาโรคบิด แก้บิดมูกเลือด ปวดเบ่ง แก้ลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง ใช้
ภายนอกรักษาโรคกลากเกลื้อน
2. ราก (นมกระชาย) มีรสเผ็ดร้อนขม มีสรรพคุณคล้ายโสม แก้
กามตายด้าน บำรุงความรู้สึกทางเพศ ทำให้กระชุ่มกระชวย โดยใช้นม
กระชายตำและหัวดองสุรา หรือใช้เป็ นยาอายุวัฒนะโดยทำเป็ นยาลูก
กลอน
3. ใบ มีรสร้อนเฝื่ อน แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ ถอนพิษต่างๆ
วิธีการใช้:
1. แก้ท้องร่วงท้องเดิน
ใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้
ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
2. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้ อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง
ใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม)
ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็ นอาหารรับประทาน
3. แก้บิด
ใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม
4. เป็ นยาบำรุงหัวใจ
ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บด
เป็ นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว
5. ยารักษาริดสีดวงทวาร
ใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปี ยก 60
กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว
รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน
ริดสีดวงทวารควรจะหาย

7. พริก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.
ชื่อวงษ์: SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลักษณะเป็ นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ
45-75 ซม. ลักษณะลำต้นเป็ นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันและตรง
ข้าม ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกขนาดเล็กสีขาว ดอก
เดี่ยวออกตามข้อของลำต้น ประมาณ 1-3 ดอก ผลขนาดเล็ก ยาว
ประมาณ 1-1.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25-0.6 นิ้ว ผลอ่อนมีสีเขียว
เมื่อโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็ นสีส้ม แดง หรือ แดงปนน้ำตาล ผิวเป็ นมัน
ขนาดและรูปร่างของผลแตกต่างกันตามพันธุ์ มีรสเผ็ดมากน้อยตามชนิด
พันธุ์
ส่วนที่ใช้: ผล ใบ
ส่วนประกอบที่สำคัญ: สารแคปชายซิน (capsaicin) มีฤทธิ์เป็ น ยารักษา
และป้ องกันโรคสำคัญ ๆ ได้ ๆ พริกแก้หวัด ความเผ็ดร้อนของพริกช่วย
แก้หวัด
ประโยชน์: ผล ช่วยเจริญอาหาร แก้อาเจียน บิด ขับเหงื่อ ขับลม เป็ น
เครื่องเทศ เครื่องแต่งสี กลิ่น รส ที่มีบทบาทสำคัญมากในอาหารไทยแทบ
ทุกชนิด แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว กลาก หิต บรรเทาอาการปวด
เมื่อย ลดอาการไขข้ออักเสบ ปวดบวม แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย
ขับปั สสาวะ ใช้ต้นสุกเป็ นถ่านแช่น้ำดื่ม
ใบ แก้อาการคันจากมดคันไฟ

8. ฟ้ าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex
Nees.
ชื่อวงษ์: ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
1. ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร ส่วน
ตรงปลายกิ่งเป็ นเหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากลักษณะเป็ นพุ่ม
กิ่งก้านมีสีเขียว
2. ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะใบรูปไข่รียาว แคบ
โคนใบ และปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียว
3. ดอก ออกดอกเป็ นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก
สีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็ นหลอด
ปลายแยกเป็ น 2 ทาง กลีบล่างมี 2 อัน อับเกสรสีม่วงแดง และมีขนยาวๆ
4. ผล คล้ายฝั กต้อยติ่งแต่ผอมและมีขนาดเล็ก เมื่อฝั กแก่จะแตก
ออกเป็ น 2 ซีกอยู่บนต้น ซึ่งทำให้มองเห็นเมล็ดวางอยู่ในผลได้ชัด ปลาย
แหลม เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้:ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
ส่วนประกอบที่สำคัญ: สารกลุ่ม Lactone คือสารแอดโดรกราโฟไลด์
(andrographolide)
สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide)14-ดีอ๊อกซี่แอนโด
รกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
ประโยชน์:
1. ใบ รสขม บดผสมน้ำมันพืชทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้, ใช้ปนกับ
เพลี้ยใส่ลาบเพื่อเพิ่มความขม ใบสดนำมาเคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่มแก้อาการ
คออักเสบ เจ็บคอ เป็ นยาขมเจริญอาหาร ในใบจะมีสารประกอบที่มีรส
ขมละลายน้ำได้อยู่ ซึ่งชาวอินเดียจะนำใบมาคั้นเอาน้ำผสมกับเครื่องเทศ
เช่น พวกกระวาน อบเชย กานพลู ฯลฯ แล้วนำมาปั้นเป็ นเมล็ดกลม ๆ
เป็ นยารักษาโรคที่มีอาการผิดปกติทางเดินอาหารในเด็ก เป็ นยาดองเหล้า
(Tincture) และยาชง (Infusion)
2. ต้น นำมาตากแห้ง ใช้เป็ นยาแก้ธาตุไม่ปกติ บำบัดโรคที่
เกี่ยวกับทางเดินอาหารและมาลาเรีย ยาขมบำรุงกำลัง และเป็ นยาขับน้ำ
เหลือง สิ่งสกัดของพืชชนิดนี้จะมีขายอยู่ในประเทศอินเดีย และ
สาธารณรัฐประชาชนจีน
3. ส่วนเหนือดิน บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติด
เชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็ นมูกหรือมีเลือดปน
4. ทั้งต้น รสขม รับประทานแก้ไข้ แก้หวัด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ปอดอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง ช่วยเจริญ
อาหาร
วิธีการใช้:
1.ยาชงมีวิธีทำดังนี้
- เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
- เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
- ปิ ดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาด
รับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
2.ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
- เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก
ใบจะได้แห้งเร็ว
- บดเป็ นผงให้ละเอียด
- ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็ นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250
มิลลิกรัม)แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปี ยกอยู่จะ
ขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร,
ก่อนนอน
3.แคปซูล มีวิธีทำคือ
แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็ นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแคปซูล เพื่อช่วยกลบ
รสขมของยา แคปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับ
ประทานครั้งละ 3-5 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
4.ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง 40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่
รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็ก
น้อย ปิ ดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่
น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิ ดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รส
ขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
5.ยาผงใช้สูดดม
คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิ ดฝาเขย่าแล้วเปิ ดฝา
ออก ผงยาจะเป็ นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอ
ทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดี
กว่านี้คือวิธีเป่ าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขม
น้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะ
ได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูกอาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อ
ที่จมูกด้วย

9. กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อวงษ์: MALVACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
1. ไม้ล้มลุก ลักษณะลำต้นเป็ นทรงพุ่ม อายุปี เดียว สูงประมาณ 1 –
2 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ
1 - 2 ซม. แตกกิ่งก้านมากมายตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ ต้นอ่อนมีสี
เขียว เมื่อแก่ลำต้นและกิ่งก้านสีแดงเข้มหรือสีแดงอมม่วง เปลือกลำต้น
บางเรียบ สามารถลอกเป็ นเส้นได้
2. ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามความสูงของกิ่ง ลักษณะใบรูป
สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ยาวประมาณ 7 - 13 ซม. มีขนปกคลุมทั้งด้านบน
ด้านล่าง ขอบใบเป็ นแฉกคล้ายนิ้วมือ 3 นิ้ว หรือเป็ น 5 แฉก ระยะห่าง
ระหว่างแฉก 0.5 - 3 ซม. ลึกประมาณ 3 - 8 ซม. มีหูใบเป็ นเส้นเรียวยาว
0.8 - 1.5 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมน
แต่ละแฉกมีรูปใบหอก ขอบใบเป็ นจักฟั นเลื่อย มีเส้นใบ 3 – 7 เส้น สีแดง
ใบด้านล่างนูนเด่น โคนเส้นกลางใบด้านท้องใบมีต่อม 1 ต่อม แผ่นใบสี
เขียวเกลี้ยง ก้านใบยาว 4 – 15 ซม. มีขนรูปดาวปกคลุม ใบที่มีอายุน้อย
และใบใกล้ดอกจะมีขนาดเล็กรูปไข่
3. ดอกเป็ นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกตามซอกใบตั้งแต่โคนกิ่งถึง
ปลายกิ่ง ดอกมีก้านดอกสั้น สีแดงม่วง ดอกมีกลีบเลี้ยง ประมาณ 5 กลีบ
หุ้มดอกบนสุด มีขนาดใหญ่ มีลักษณะอวบหนา มีสีแดงเข้มหุ้มดอก และ
กลีบรองดอก ที่เป็ นกลีบด้านล่างสุด มีขนาดเล็ก 8 - 12 กลีบ มีสีแดงเข้ม
กลีบทั้ง 2 ชนิดนี้ จะติดอยู่กับดอกจนถึงติดผล และผลแก่ ไม่มีร่วง ดอก
เมื่อบานจะมีกลีบดอกสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อนหรือสีขาวแกมชมพู บริเวณ
กลางดอกมีสีเข้ม ส่วนของดอกมีสีจางลง เมื่อดอกแก่กลีบดอกจะร่วง
ทำให้กลีบรองดอก และกลีบเลี้ยงเจริญขึ้นมาหุ้ม เกสรเพศผู้จำนวนมาก
4. ผล เจริญจากดอก เป็ นผลแห้งแตกได้ ลักษณะรูปรีปลายแหลม
หรือรูปไข่ ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีจงอยสั้นๆ มีจีบตามยาว และถูกหุ้ม
ด้วยกลีบเลี้ยงสีแดงเข้ม ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ มีขนหยาบๆ
สีเหลืองปกคลุม
5. เมล็ด ส่วนในของเมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเกลี้ยงจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้: ใบ ดอก ผล
ส่วนประกอบที่สำคัญ: ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin,
hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
ประโยชน์:
1. ดอก ขับปั สสาวะ แก้ขัดเบา
2. ใบ รสเปรี้ยว ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ทำให้โลหิตไหลเวียนดี
ขับปั สสาวะ ขับเมือกในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
3. ยอดและใบ รสเปรี้ยว เป็ นยาบำรุงธาตุ ยาระบาย ละลาย
เสมหะ ขับปั สสาวะ ช่วยย่อยอาหาร หรือต้มชะล้างบาดแผล หรือนำใบ
มาโขลกให้ละเอียดใบประคบฝี
4. กลีบเลี้ยง รสเปรี้ยว ขับนิ่วในไต ขับนิ่วในกระเพาะปั สสาวะ
ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะ ขับปั สสาวะ ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว
แก้กระหายน้ำ ละลายไขมันในเส้นเลือด ชงกับน้ำรับประทานเพื่อลด
ความดัน ลดไขมันในเลือด ทำแยม
5. ผล รสจืด ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาแผลในกระเพาะ แก้
กระหายน้ำ บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และแก้อ่อนเพลีย
6. เมล็ด รสเมา ยาแก้อ่อนเเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดี
พิการ แก้โรคทางเดินปั สสาวะอักเสบ ขับปั สสาวะ ขับน้ำดี ลดไขมันใน
เส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็ นยาระบาย และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
7. ทั้งต้น เป็ นยาฆ่าตัวจี๊ด นำมาใส่หม้อต้ม น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้
งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งครึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือ
รับประทานน้ำยาเปล่าๆ จนหมดน้ำยา
วิธีการใช้: โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้ง
และบดเป็ นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย
(250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน
จนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป

10. หญ้าหวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni
ชื่อวงษ์: ASTERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: เป็ นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ลักษณะ
เป็ นพุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นแข็งและกลม
ลักษณะทั่วไปคล้ายต้นโหระพา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้
กิ่งชำปลูก ใบหญ้าหวาน ใบเป็ นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหัว
กลับ ขอบใบหยักคล้ายฟั นเลื่อย มีรสหวานมาก ใช้แทนน้ำตาลได้ ดอก
หญ้าหวาน ออกดอกเป็ นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ดอกเล็ก กลีบเป็ นรูป
ไข่สีขาวเล็กมาก มีเกสรตัวผู้เป็ นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาเล็กน้อย
ส่วนที่ใช้:ใบ
ส่วนประกอบที่สำคัญ: สารสกัดบริสุทธิ์จากใบหญ้าหวาน เป็ น
สารประกอบไกลโคไซด์ของสารกลุ่มไดเทอพีน ที่เรียกว่า สติวิออลไกลโค
ไซด์ มีลักษณะเป็ นผงสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน มีความคงตัวสูงในตัวทำ
ละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน และทนความร้อน
ประโยชน์: ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ผงหญ้าหวานช่วยป้ องกัน และ
รักษาโรคเบาหวาน ผงหญ้าหวานให้พลังงาน และมีไขมันน้อย ทำให้ช่วย
ลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดความอ้วนได้ ผงหญ้าหวานช่วยลดความ
เสี่ยงการเกิดโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือด
วิธีการใช้: หญ้าหวานอบแห้ง ในน้ำเดือด 3-5 ใบ จะเท่ากับ น้ำตาล
ทราย 3 ช้อนชา สามารถชงน้ำร้อนเป็ นชาดื่ม นำหญ้าหวานอบแห้ง ไปใช้
แทนน้ำตาลในการประกอบอาหาร หรือผสมเครื่องดื่มได้ จะช้อนตักใบ
ออก หรือไม่ก็ได้ หญ้าหวานอบแห้งสามารถกินได้ 0 แคลอรี่หวานแต่ไม่
อ้วน ใช้แทนน้ำตาลทรายได้ดีที่สุด

11. ว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อวงษ์: ASPHODELACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 0.5 – 1
เมตร ลำต้นเป็ นข้อปล้องสั้น เนื้ออ่อน อวบน้ำ ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออก
เรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและรูปร่างยาว โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ริม
ใบหยักและมีหนาม ขอบใบเป็ นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบสีเขียวใสและ
มีรอยกระสีขาว ใบจะอุ้มน้ำได้ดี ภายในมีวุ้นและเมือกใสสีเขียวอ่อนๆ
ดอก ออกดอกเป็ นช่อกระจายที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวมากชูตั้งตรง
ดอกเป็ นหลอดปลายแยกสีส้มแดงอมเหลืองเล็กน้อย บานจากข้างล่างขื้
นข้างบน คล้ายดอกซ่อนกลิ่นตูมๆ โคนเชื่อมติดกันเป็ นหลอด ปลายแยก
เป็ น 6 แฉก เรียงเป็ น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็ นผลแห้ง รูปกระสวย
ส่วนที่ใช้: ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า
ส่วนประกอบที่สำคัญ: สารสำคัญที่ช่วยออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ คือ
aloctin A, veracylglucanB และ C และ bradykininase สารสำคัญใน
การออกฤทธิ์สมานแผล คือ aloctin A และ aloctin B สารสำคัญออก
ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร คือ traumatic acid สารสำคัญออก
ฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการท้องผูก คือ สารกลุ่ม
anthraquinones
ประโยชน์:
1. ใบ รสเย็น โขลกผสมสุราพอกฝี วุ้นจากใบล้างด้วยน้ำสะอาดทา
หรือฝานบางๆ ปิ ดหรือทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดับพิษร้อน ทาผิว
ป้ องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด วุ้นรับประทานแก้โรคกระเพาะ
บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ดูดพิษร้อนภายในร่างกาย
2. ทั้งต้น รสเย็นเอียน ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
3. ราก รสขมขื่น รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด ช้ำรั่ว
4. ยางในใบ เป็ นยาระบาย
5. น้ำวุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสด
ภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็ นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิว
ป้ องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้ า และขจัดรอย
แผลเป็ น
6. เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
7. เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด
วิธีการใช้:
ใช้เป็ นยาภายใน
1. เป็ นยาถ่าย
ทำยาดำตัดใบว่านหางจระเข้ที่โคนใบให้เป็ นรูปสามเหลี่ยม (ต้องเป็ นพันธุ์
เฉพาะ ซึ่งจะมีขนาดใบใหญ่ และอวบน้ำมาก จะให้น้ำยางสีเหลืองมาก)
ต้นที่เหมาะจะตัด ควรมีอายุ 9 เดือนขึ้นไป จะให้น้ำยางมากไปจนถึงปี ที่
3 และจะให้ไปเรื่อยๆ จนถึงปี ที่ 10 ตัดใบว่านหางจระเข้ตรงโคนใบ และ
ปล่อยให้น้ำยางไหลลงในภาชนะ นำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ ทิ้งไว้จะ
แข็งเป็ นก้อน ยาดำ มีลักษณะสีแดงน้ำตาล จนถึงดำ เป็ นของแข็ง เปราะ
ผิวมัน กลิ่นและรสขม คลื่นไส้ อาเจียน สารสำคัญในยาดำเป็ น G-
glycoside ที่มีชื่อว่า barbaloin (Aloe-emodin anthrone C-10
glycoside)ขนาดที่ใช้เป็ นยาถ่าย - 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม
ประมาณ 1-2 เม็ดถั่วเขียว บางคนรับประทานแล้วไซ้ท้อง
2. แก้กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2
เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. แก้อาการปวดตามข้อ
โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบ
ออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับ
ประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคน
บอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที
แต่หลายๆ คนบอกว่า อาการจะดีขึ้นหลังจากรับประทานติดต่อกันสอง
เดือนขึ้นไป สำหรับใช้รักษาอาการนี้ ยังไม่ได้ทำการวิจัย
ใช้สำหรับเป็ นยาภายนอก
ใช้ส่วนวุ้น ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
1. รักษาแผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก
ใช้วุ้นในใบสดทา หรือแปะที่แผลให้เปี ยกอยู่ตลอดเวลา 2 วันแรก แผลจะ
หายเร็วมาก จะบรรเทาปวดแสบ ปวดร้อน หรืออาการปวดจะไม่เกิดขึ้น
แผลอาจไม่มีแผลเป็ น (ระวังความสะอาด)
2. ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา และแก้แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
- ป้ องกันการถูกแดดเผา ใช้ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การ
ใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาด
สมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจ
จะเตรียมเป็ นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น
- รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง โดยการทา
ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทา
นานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่ จะทำให้เปี ยกชุ่ม
อยู่เสมอ
3. แผลจากของมีคม แก้ฝี แก้ตะมอย และแผลที่ริมฝี ปาก
เป็ นการรักษาแบบพื้นบ้าน ล้างใบว่านหางจระเข้ให้สะอาด บาดแผลก็
ต้องทำความสะอาดเช่นกัน นำวุ้นจากใบแปะตรงแผลให้มิด ใช้ผ้าปิ ด
หยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้เปี ยกอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็ นขี้ผึ้งก็ได้
4. แผลจากการถูกครูด หรือถลอก
แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก ใช้ใบว่านหางจระเข้ล้างให้สะอาด ผ่าเป็ นซีก
ใช้ด้านที่เป็ นวุ้นทาแผลเบาๆ ในวันแรกควรทาบ่อยๆ จะทำให้แผลไม่ค่อย
เจ็บ และแผลหายเร็วขึ้น
5. รักษาริดสีดวงทวาร
นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย
โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการ
อุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอก
ของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก
ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย
ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
6. แก้ปวดศีรษะ
ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ ? เซนติเมตร ทาปูนแดงด้าน
หนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิ ดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

12. ไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingibermontanum (Koenig ) Link ex Dietr.
ชื่อวงษ์: ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
1. ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินลักษณะเป็ น
เหง้ามีขนาดใหญ่ และเป็ นข้อ เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในหัวสี
เหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็ นกอ โดยจะประกอบไป
ด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อน
ซ่า มีกลิ่นหอมเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย
2. ใบ เป็ นใบเดี่ยว ออกใบเรียงสลับระนาบเดียว กว้างประมาณ
3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร ลักษณะใบรูปใบ
หอกแกมรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน แผ่น
ใบบาง เนื้อในละเอียดสีเขียว โคนก้านใบแผ่ออกมีหูใบ
3. ดอก ออกดอกเป็ นช่อแบบช่อเชิงลด แทงช่อดอกออกจากเหง้า
ใต้ดิน รูปเห็ดหรือรูปกระบองโบราณ มีใบประดับสีม่วงซ้อนกันแน่น รูป
โค้งห่อรองรับเป็ นกาบปิ ดแน่น และจะขยายเปิ ดอ้าออกให้เห็นดอกในภาย
หลัง กลีบดอกมีสีนวล ออกดอกระหว่างกลีบของใบประดับ
4. ผล เป็ นผลแห้งแตก รูปทรงกลม มีเมล็ดกลมแข็งขนาดเล็กอยู่
ภายใน เปลือกเมล็ดสีน้ำตาลแกมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็ นท่อนพันธุ์ในการ
เพาะปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี
สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว
ส่วนที่ใช้: ใบ เหง้าสด ต้น ดอก
ส่วนประกอบที่สำคัญ: น้ำมันระเหยง่าย มีสารสำคัญที่เป็ นองค์ประกอบ
ได้แก่ terpinen-4-ol, sabinene, caryophyllene, cineol, alpha-
pinene, beta-pinene, myrcene, terpinene, limonene, p-
cymene, terpinolene, eugenol, farneraol, alflabene, 3,4
dimethoxy benzaldehyde
สารสีเหลือง curcumin, cassumunarins A, B, C
สารกลุ่มฟี นิลบิวทานอยด์ หลายชนิด เช่น (E)-1-(3,4-
dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และ
สารอื่นๆ ได้แก่ 4-(4-hydroxyl-1-butenyl)-veratrole,
naphthoquinone derivative, vanillin, vanillic acid, veratric
acid, β-sitosterol
ประโยชน์:
1. เหง้า เป็ นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้ อ ขับลม แก้บิด ท้องเดิน
ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน เป็ นยารักษาหืด เป็ นยากัน
เล็บถอด ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด
2. น้ำคั้นจากเหง้า รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำ
เมื่อย
3. หัว ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดู
ขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟั น
4. ดอก รสขื่น ขับระดู ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย แก้ชำใน
5. ต้น แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ
6. ใบ รสขื่นเอียน แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย
7. ลำต้นเหนือดิน รสฝาดขื่นเอียน แก้ธาตุพิการ แก้อุจจาระ
พิการ
8. เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน รสฝาดขื่นเอียน เป็ นยาแก้ท้องอืด
ท้องเฟ้ อ มีฤทธิ์เป็ นยาระบายอ่อนๆ สมานลำไส้ แก้สารพิษในท้อง แก้โรค
หืด ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเดิน ใช้เป็ นยาช่วยขับระดูประจำเดือนสตรี
หลังคลอดบุตร ลดอาการอักเสบและบวม แก้ท้องเสีย แก้ปวดฟั น แก้
อาเจียนเป็ นโลหิต แก้เด็กเป็ นไข้สูงตัวสั่นตาเหลือก ขับเลือดร้าย แก้บิด,
ใช้เหง้าสดที่แก่จัดเป็ นยาใช้ภายนอก ฝนทาแก้เหน็บชา เมื่อยขบ แก้เคล็ด
ขัดยอก ฟกบวม, ใช้ขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล ทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือใช้
น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ทากันยุง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผล
ป้ องกันการติดเชื้อ ดูดหนอง สมานแผล
9. ราก รสขื่นเอียน แก้อาเจียนเป็ นโลหิต แก้เลือดกำเดาออก
ทางปากทางจมูก
วิธีการใช้: รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก หรือใช้เหง้าไพล
ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้
ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อย คลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็ นลูกประคบ อังไอ
น้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อย และบวมฟกช้ำ เช้า-เย็นจนกว่า
จะหาย หรือทำเป็ นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพลหนัก 2 กิโลกรัม ทอด
ในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่ผง
กานพลูประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆประมาณ 10 นาที
กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใสการบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ในภาชนะปิ ดฝา
มิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูร ให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ
2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็ นของนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม
อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ครีมที่มีน้ำมันไพล 14% ใช้ทาและถูเบาๆบริเวณที่มีอาการบวม
ฟกช้ำ เคล็ดยอก วันละ 2-3 ครั้ง
รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน เหง้าบดทำเป็ นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด
ล้างให้สะอาด ฝนน้ำทา

อ้างอิง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (มปป.)ขมิ้นชัน. สืบค้นเมื่อ
5 มกราคม 2560, จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?
action=viewpage&pid=34
โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. หน้า 53, 81, 273.
โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. หน้า 244.
โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. หน้า 34.
โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. หน้า 142, 265, 304.
โชติอนันต์ และคณะ. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุข
มูลฐาน. หน้า 202.
บัวบก. (มปป.)สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2560,
จาก http://www.samunpri.com/%E0%B8%9A%E0%B
8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%81
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.
(2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 33.
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.
(2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 28.

You might also like