You are on page 1of 25

ปฏิบัติการที่ 10 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์

Analytical Balance

เรียบเรียงโดย ชุติมา ลิ้มมัทวาภิรัติ์

หลักการ
เทคนิคการชั่งสารด้วยเครื่องชั่งประกอบด้วย rolling, tapping และ weighing โดยศึกษาจากการชมวีดี
ทัศน์และการสาธิตของอาจารย์ในห้องปฏิบัติการเครื่องชั่ง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถฝึกหัดเทคนิคการใช้เครื่องชั่งชนิด
ต่างๆ รวมถึงสามารถชั่งสารดัวยเทคนิคการชั่ งแบบผลรวม (weighing by addition) และการชั่งแบบผลต่ า ง
(weighing by difference) ได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1) ทราบถึงหลักการทางานพื้นฐานของเครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
2) ทราบถึงส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องชั่ง
3) ทราบถึงวิธีการใช้และการบารุงรักษาเครื่องชั่งอย่างถูกต้อง
4) ทราบถึงเทคนิคการชั่งสารด้วยเครื่องชั่งที่ใช้ในงานวิเคราะห์
5) มีทักษะที่ถูกต้องในการชั่งสารดัวยเทคนิคการชั่งแบบผลรวมและการชั่งแบบผลต่าง

158 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ขั้นตอนการทาปฏิบัติการ ให้นักศึกษาทุกคน
1) เขียน flow chart และตอบคาถามการเตรียมตัวเข้าปฏิบัติการก่อนเข้าห้องปฏิบัติการ
2) ทาการศึกษาส่วนประกอบของเครือ่ งชั่งวิเคราะห์ และศึกษาเทคนิคต่างๆ ในการชั่งสารตามรายละเอียดดังนี้
3) ชมการสาธิตการใช้เครือ่ งชั่งวิเคราะห์และเทคนิคต่างๆ ในการชั่งสารจากอาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการ
4) เตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ก่อนเข้าห้องเครื่องชั่ง
4.1 ตะกร้าพลาสติกขนาดเล็ก
4.2 ตารางบันทึกผลการชั่ง
4.3 กระดาษสาหรับรองรับเศษผงหรือสารที่หก
4.4 เครื่องคิดเลข (แบบไม่ซับซ้อน อ่านตัวเลขง่าย) ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือแทนเครื่องคิดเลข
4.5 ปากกาหมึกน้าเงินหรือดา ห้ามบันทึกตัวเลขด้วยดินสอ
4.6 ห้ามใช้ยางลบหรือน้ายาลบคาผิดทาการแก้ไขตัวเลขค่าน้าหนัก แต่สามารถขีดเส้นขวาง 1 เส้นทับ
ตัวเลขเก่าแล้วเขียนตัวเลขใหม่ไว้ด้านบน/ด้านข้างของตัวเลขเก่าได้ และต้องเซ็นต์ชื่อนักศึกษากากับการ
แก้ไขไว้ด้านข้างตัวเลขที่แก้ไขเสมอ
4.7 เครื่องแก้วทุกชนิดต่อไปนี้ต้องแห้งสนิท
ขวดชั่ง (weighing bottle) พร้อมฝา 1 ชุด
Petri dish 1 คู่
บีกเกอร์ (100 mL-beaker) 2 ใบ
ฟลาสค์ปากกว้าง (500 mL-erlenmeyer flask) 2 ใบ
กระจกนาฬิกา (watch glass) ขนาดเล็ก 4 อัน
4.8 ช้อนเขาที่สะอาดและแห้งสนิท
4.9 ปากกาสาหรับเขียนหรือ label เครื่องแก้ว (ห้าม label ขวดชั่ง)
หมายเหตุ นักศึกษากรุณาเตรียมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นให้ครบก่อนเข้าห้องเครื่องชั่ง หากไม่ครบจะถูกหัก
คะแนน
5) ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องชั่งวิเคราะห์ ตามลาดับดังนี้
5.1 ทาความสะอาดเครื่องชั่งก่อนและหลังการใช้
5.2 ตรวจสอบระดับระนาบก่อนการใช้เครื่องชั่ง
5.3 ตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่งก่อนการใช้
5.4 ชั่งสารด้วยเครื่องชั่งวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการชั่งแบบผลรวมและแบบผลต่าง ดังต่อไปนี้
5.4.1 จงชั่ง NaCl ประมาณ 0.5 และ 1.0 กรัม ใส่ในฟลาสค์ปากกว้างขนาด 500 มิลลิลิตร
5.4.2 จงชั่ง NaCl อย่างถูกต้อง 1.0000 และ 1.5000 กรัม ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 100 มิลลิลิตร
6) ส่งรายงานคนละ 1 ฉบับ ที่ตู้ไม้หลังห้องปฏิบัติการ

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 159
เครื่องชั่งวิเคราะห์ (Analytical balance)
เครื่องชั่งเป็นเครื่องมือที่สาคัญในงานวิเคราะห์หาปริมาณยา การสังเคราะห์ยา และงานด้านอื่นๆ มากมาย
ทั้งนี้เทคนิคในการชั่ง การบารุงรักษา และข้อควรระวังในการใช้เครื่องชั่งอย่างถูกต้องจะทาให้ผลการวิเคราะห์หรื อ
ตัวเลขจากการคานวณในงานด้านต่างๆ มีความถูกต้องและแม่นยาสูง เครื่องชั่งวิเคราะห์ (analytical balance) มี
หลายชนิด ได้แก่ เครื่องชั่งวิเคราะห์จานเดี่ยว (single pan analytical balance) เครื่องชั่งวิเคราะห์สองจาน (two
pan analytical balance) และเครื่องชั่งไฟฟ้าแบบชั่งด้านบน (electronic top-loading balance) เป็นต้น อย่างไร
ก็ตามสามารถแบ่งเครื่องชั่งตามหลักการทางานออกได้เป็น 2 แบบ คือ เครื่องชั่งแบบกล (mechanical balance) ที่
ต้องอาศัยคานและจุดหมุน เช่น เครื่องชั่งวิเคราะห์สองจาน (รูปที่ 1) และเครื่องชั่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic
balance) ที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น เครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบน (รูปที่ 2)
นอกจากนี้ยังสามารถจาแนกเครื่องชั่งตามความถูกต้องหรือความละเอียดในการชั่งได้เป็น 2 แบบ คือ เครื่องชั่งหยาบ
(balance for approximate weighing) ที่มีความละเอียดในช่วง 0.1 – 0.01 กรัม เหมาะสาหรับการชั่งที่ต้องการค่า
น้ าหนั ก ที่ ไ ม่ ล ะเอี ยดมากนั ก เช่ น เครื่ อ งชั่ งไฟฟ้ า แบบชั่ งด้ านบน และเครื่ อ งชั่ งวิ เ คราะห์ หรื อ เครื่อ งชั่ งละเอียด
(balance for accurate weighing) ที่ มี ค วามละเอี ยดในช่ ว ง 0.001 – 0.00001 กรั ม เหมาะสาหรับ การชั่งสาร
ปริมาณน้อยที่ต้องการความถูกต้องสูง เช่น เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน (substitution balance) (รูป
ที่ 3)

รูปที่ 1 เครื่องชั่งวิเคราะห์สองจาน (two pan analytical balance)


ที่มา http://www.kbescientific.com.sg/physics_apparatus.htm

รูปที่ 2 เครื่องชั่งไฟฟ้าแบบชั่งด้านบน (electronic top-loading balance)

160 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
รูปที่ 3 เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน (substitution balance)

ในปัจจุบันมีเครื่องชั่งหลายชนิดที่นามาใช้ในงานวิเคราะห์ดา้ นต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเครื่องชั่งที่สามารถ


พบได้ตามห้องปฏิบัติการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เครื่องชั่งแบบคานชั่งยาวเท่ากัน (equal beam balance) หรือเครื่องชั่งวิเคราะห์สองจาน (two
pan analytical balance) (รู ป ที่ 1 และ 4) เป็ น เครื่ อ งชั่ งที่ มี แ ขน 2 ข้ า งยาวเท่ า กั น เมื่อ วั ดระยะจากจุดหมุน
(fulcrum) ซึ่งเป็นคมมีด (knife edge) ในขณะที่แขนของเครื่องชั่งอยู่ในสมดุล เมื่อต้องการหาน้าหนักของวัตถุให้วาง
วัตถุที่ต้องการชั่งลงบนจานชั่งด้านหนึ่งของเครื่องชั่ง ขณะนี้แขนของเครื่องชั่งจะไม่อยู่ในภาวะสมดุลจึงต้องเติมตุ้ ม
น้าหนักเพื่อปรับให้แขนเครื่องชั่งให้อยู่ในสมดุล ดังนั้นน้าหนักของสารที่ชั่งได้จึงเป็นการเปรียบเทียบกับน้าหนักของ
ตุ้มน้าหนักที่เติมลงบนจานชั่งอีกข้างหนึ่ง เรียกการชั่งแบบนี้ว่าการชั่งแบบเปรียบเทียบ (weighing by comparison)
น้าหนักรวมของระบบคานชั่งในการชั่งแต่ละครั้งจะเปลี่ยนแปลงตามน้าหนักของวัตถุที่จะชั่ง สามารถนามาใช้ในการ
ชั่งวัตถุที่ไม่ต้องการความละเอียดของค่าน้าหนักมากนักแต่ต้องการชั่งวัตถุที่มีน้าหนักมาก

รูปที่ 4 เครื่องชั่งแบบคานชั่งยาวเท่ากัน (equal beam balance)


ที่มา http://www.tutorvista.com/content..gauge.php

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 161
วิธีใช้เครื่องชั่งแบบคานชั่งยาวเท่ากัน มีดังนี้
1.จัดให้เครื่องชั่งอยู่ในสมดุลก่อนโดยการปรับสกรูที่ขาตั้งแล้ วปรับตาแหน่งศูนย์ของเครื่องชั่งเมื่อไม่มีวัตถุอยู่บนจาน
ปล่อยที่รองจาน แล้วปรับให้เข็มชี้ที่เลข 0 บนตาแหน่งศูนย์
2. วางขวดชั่งบนจานชั่งทางด้านซ้ายมือและวางตุ้มน้าหนักบนจานชั่งทางขวามือ (รูปที่ 4) โดยใช้ปากคีบ (forcep)
หรือกระดาษคาดรอบขวดชั่งหรือตุ้มน้าหนัก (รูปที่ 5) เพื่อป้องกันเหงื่อจากมือที่จะทาให้น้าหนักผิดพลาดและเกิดสนิม
ที่ ตุ้ ม น้ าหนั ก ทั้ งนี้ ส ามารถเติมน้ าหนัก ให้ จานชั่ งทางขวามือ ด้ว ยการเลื่อ นตุ้ม น้าหนัก ไปตาม graduated scale
ดังรูปที่ 1

รูปที่ 5 การใช้ปากคีบ (forcep) หรือกระดาษคาดรอบขวดชั่งหรือตุม้ น้าหนัก


ที่มา www.atom.rmutphysics.com/charud/...ance.gif

3. ถ้าเข็มชี้มาทางซ้ายของสเกลศูนย์แสดงว่าขวดชั่งหนักกว่าตุ้มน้าหนัก ต้องยกปุ่มควบคุมคานขึ้นเพื่อตรึงแขนเครื่อง
ชั่งแล้วเติมตุ้มน้าหนักเพิ่มอีก แต่ถ้าเข็มชี้มาทางขวาของสเกลศูนย์แสดงว่าขวดชั่งเบากว่าตุ้มน้าหนัก ต้องยกปุ่ม
ควบคุมคานขึ้นเพื่อตรึงแขนเครื่องชั่งแล้วยกตุ้มน้าหนักออก หากตุ้มน้าหนักไม่สามารถทาให้แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ใน
สมดุลได้ ให้เลื่อนไรเดอร์ไปมาเพื่อปรับให้น้าหนักทั้งสองข้างเท่ากัน
หมายเหตุ: กรณีที่คานชั่งอยู่ในแนวระนาบหรือสมดุล น้าหนักของวัตถุ = ค่าทีอ่ ่านได้จากสเกลอ่านค่า
4. บันทึกค่าน้าหนักที่ชั่งได้แล้วนาสารออกจากขวดชั่ง แล้วทาการชั่งน้าหนักของขวดชั่งเปล่า
5. คานวณค่าน้าหนักของสารที่ชั่งได้โดยนาค่าน้าหนักของขวดชั่งเปล่าไปหักลบออกจากค่าน้าหนักของขวดชั่งที่บรรจุ
สาร
6. ยกตุ้มน้าหนักออกจากจานชั่ง ทาความสะอาดจานชั่งและตุ้มน้าหนัก เลื่อนไรเดอร์ให้อยู่ที่ตาแหน่งศูนย์
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องชั่งแบบคานชั่งยาวเท่ากัน มีดังนี้
1. ห้ามชั่งวัตถุที่มีน้าหนักมากกว่าความสามารถของเครื่องชั่ง (capacity) โดยทั่วไปสามารถชั่งได้ในช่วง 100 ถึง 200
กรัม
2. เครื่องชั่งต้องตั้งอยู่ที่บนโต๊ะที่แข็งแรงและไม่กระเทือน เครื่องชั่งต้องอยู่ในแนวระนาบและสมดุล ไม่ควรตั้งเครื่อง
ชั่งให้อยู่ใกล้หน้าต่าง กระแสลม ความร้อนหรือเย็น และอย่าให้แสงแดดส่องถึงเครื่องชั่งโดยตรง
2. ก่อนชั่งสารต้องปรับให้เข็มของเครื่องชั่งอยู่ที่ขีด 0 พอดี และขณะชั่งต้องนั่งตรงกึ่งกลางของเครื่องชั่งเสมอ เพื่อมิ
ให้อ่านค่าน้าหนักผิดพลาด
3. ห้ามวางสารเคมีที่จะชั่งบนจานเครื่องชั่งโดยตรง เพราะสารเคมีอาจกัดกร่อนทาให้จานชั่งชารุดเสียหายได้ ดังนั้น
จึงควรวางสารเคมีบนกระจกนาฬิกาหรือบรรจุสารเคมีใส่ขวดชั่งก่อนวางลงบนจานชั่ง
4. ห้ามนาสารเคมีที่ยังร้อนอยู่ไปชั่ง ดังนั้นสารหรือวัตถุที่จะนามาชั่งจึงต้องมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของห้องชั่ง
2. เครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบน (electronic top-loading balance) (รูปที่ 2) เครื่องชั่งชนิด
นี้เป็นเครื่องชั่งที่ใช้หลักการชั่งน้าหนักแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน โดยคมมีดจะรับน้าหนักคงที่ตลอดเวลาที่น้าหนัก

162 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ของวัตถุที่นามาชั่งเปลี่ยนแปลง เครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบนสามารถชั่งสารหรือวัตถุได้หนักหลายกิโลกรัม
โดยมีความละเอียดของการชั่งน้าหนักอยู่ในช่วง 1 ถึง 0.001 กรัม
ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบน (รูปที่ 6) ได้แก่ จานชั่ง (balance pan)
หน้าปัดแสดงค่าน้าหนัก (mass display) ตัวชี้ระดับ (bubble level หรือ level indicator) ปุ่มปรับศูนย์ (Tare)
และปุ่มเปิดปิด (on/off)

จานชั่ง
(balance pan)

หน้าปัดแสดงค่าน้าหนัก
(mass display)

ตัวชี้ระดับ
(bubble level)
ปุ่มปรับศูนย์ (Tare)

ปุ่มเปิดปิด (on/off)

รูปที่ 6 ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบน


วิธีใช้เครื่องชั่งไฟฟ้าแบบจานชั่งอยู่ด้านบน มีขั้นตอนตามลาดับดังนี้
1. ทาความสะอาดเครื่องชั่งก่อนใช้งาน (ทาความสะอาดในขณะที่เครื่องชั่งอยู่ในตาแหน่งปิดหรือ off สังเกตที่หน้าปัด
แสดงคาว่า STANDBY) โดยทาความสะอาดจานชั่ง พื้นโต๊ะโดยรอบเครื่องชั่ง และแผ่นพลาสติกสาหรับรองรับวัตถุ
บนจานชั่ง โดยใช้แปรงปัดฝุ่น (รูปที่ 7)
2. ตรวจสอบระนาบของเครื่องชั่งโดยการสังเกตที่ตัวชี้ระดับ (bubble level หรือ level indicator) ให้อยู่ในตาแหน่ง
สมมาตร หากไม่สมมาตรให้ปรับ leveling screw ซึ่งอยู่บริเวณฐานของเครื่องชั่ง สาหรับนักศึกษาซึ่งยังไม่มีความ
ชานาญพอ กรุณาอย่าปรับ leveling screw ด้วยตัวเอง หากพบปัญหาให้แจ้งอาจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ประจา
ห้องเครื่องชั่ง
3. เปิดเครื่องชั่ง โดยการกดปุ่ม on/off เพียงครั้งเดียว ในขณะนี้บนหน้าปัดแสดงคาว่า BUSY ให้รอสักครู่ บน
หน้าปัดจะแสดงตัวเลข 0.00 g
4. ตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่ง (set zero) ในขณะที่ไม่มีวัตถุใดๆ อยู่บนจานชั่ง โดยกดปุ่มปรับศูนย์ (Tare) รอ
สักครู่จะปรากฏตัวเลข 0.00 g บนหน้าปัด (รูปที่ 8)
5. วางแผ่นพลาสติกลงบนจานชั่ง จากนั้นกดปุ่มปรับศูนย์ (Tare) รอสักครู่จะปรากฏตัวเลข 0.00 g บนหน้าปัด

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 163
6. วางวัตถุที่ต้องการชั่งลงบนแผ่นพลาสติกที่มีจานชั่งรองรับอยู่ แล้วรอสักครู่เพื่อให้ตัวเลขค่าน้าหนักหยุดนิ่งและ
ปรากฏอักษร g หลังค่าตัวเลขนั้น เช่น 24.79 g เป็นต้น บันทึกตัวเลขค่าน้าหนัก
7. เมื่อเลิกชั่งแล้ว ให้ปิดเครื่องชั่งทันทีโดยการกดปุ่ม on/off เพียงครั้งเดียว
8. ทาความสะอาดเครื่องชั่งหลังใช้งาน (ทาความสะอาดในขณะที่เครื่องชั่งอยู่ในตาแหน่งปิดหรือ off สังเกตที่หน้าปัด
แสดงคาว่า STANDBY) โดยทาความสะอาดจานชั่ง พื้นโต๊ะโดยรอบเครื่องชั่ง และแผ่นพลาสติกสาหรับรองรับวัตถุ
บนจานชั่งโดยใช้แปรงปัดฝุ่น
9. คลุมเครื่องชั่งด้วยผ้าคลุมเพื่อป้องกันฝุ่นและปลดสวิทช์ไฟฟ้า

รูปที่ 7 ทาความสะอาคเครื่องชั่งในขณะที่หน้าปัดแสดงคาว่า STANDBY

รูปที่ 8 การตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่ง (set zero)

3. เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน (substitution balance) หรือเครื่องชั่งวิเคราะห์จานเดี่ยว


(single pan analytical balance) (รูปที่ 3) ส่วนประกอบภายนอกของเครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน ดัง
รูปที่ 9 ประกอบด้วย จานชั่ง (balance pan) หน้าปัดแสดงค่าน้าหนัก (mass display) ตัวชี้ระดับ (bubble level
หรือ level indicator) ปุ่มปรับศูนย์ (Tare) และปุ่มเปิดปิด (on/off)
เครื่องชั่งชนิดนี้แตกต่างจากเครื่องชั่งวิเคราะห์สองจานที่ปลายข้างหนึ่งของคานชั่งมีตุ้มน้าหนักสาหรับถ่วง
(fixed counterweight) ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งเป็นจานชั่งและชุดตุ้มน้าหนักขนาดต่างๆ กัน ซึ่งแขวนถ่วงอยู่ที่คาน

164 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ชั่งและรองรับไว้ด้วยคมมีด (knife edge) ที่จุดสมดุลโมเมนท์ (moment) ที่เกิดจากตุ้มน้าหนักแขวนถ่วงจะเท่ากับ
โมเมนท์ที่เกิดจากจานชั่งรวมกับชุดตุ้มน้าหนัก เ มื่อทาการชั่งหาน้าหนักวัตถุบนจานชั่ง จึงต้องยกตุ้มน้าหนักขนาด
ต่างๆ กันที่อยู่ในชุดตุ้มน้าหนักออกจากคานชั่ง เพื่อให้ระบบคานชั่งกลับสู่สมดุล เรียกการชั่งแบบนี้ว่า การชั่งแบบ
แทนที่ (weighing by substitution) ซึ่งหลักการของการแทนที่ตุ้มน้าหนักด้วยสารหรือวัตถุที่ต้องการชั่งจะทาให้จุด
หมุนรับน้าหนักคงที่ตลอดเวลา (constant load) วัตถุและตุ้มน้าหนักมาตรฐานจะถูกเปรียบเทียบบนคานชั่งข้าง
เดียวกัน ส่วนคานชั่งอีกข้างจะถูกถ่วงไว้ด้วยมวลถ่วง (Mb) ดังรูปที่ 10 เพื่อเป็นการลดความผิดพลาดอันเนื่องมาจาก
ความยาวที่ไม่เท่ากันของคานชั่งและเป็นการเพิ่มความไว (sensitivity) ของเครื่องชั่งให้มากขึ้นด้วย เครื่องชั่งชนิดนี้
สามารถชั่งน้าหนักได้ละเอียดถึง 0.000001 กรัม
เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐานมีการออกแบบให้มีความสามารถในการแก้ไขความผิดพลาดจากการที่
คมมีดอาจรับน้าหนักไม่คงที่และความยาวของคานชั่งที่อาจยาวไม่เท่ากัน ดังนั้นเครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน
เป็นเครื่องชั่งที่มีความละเอียดและความถูกต้องสูง จึงเหมาะสาหรับการชั่งสารที่มีปริมาณน้อยและต้องการความ
ถูกต้องสูง

จานชั่ง
(balance pan)

ตัวชี้ระดับ
(bubble level)
หน้าปัดแสดงค่าน้าหนัก
ปุ่มปรับศูนย์ (Tare) (mass display)
ปุ่มเปิดปิด (on/off)

รูปที่ 9 ส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐาน

วิธีใช้เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐานมีขั้นตอนตามลาดับดังนี้
1. ทาความสะอาดเครื่องชั่งก่อนใช้งาน (ทาความสะอาดในขณะที่เครื่องชั่งอยู่ในตาแหน่งปิดหรือ off สังเกตที่หน้าปัด
แสดงคาว่า STANDBY) โดยทาความสะอาดจานชั่ง พื้นตู้ภายในเครื่องชั่ง และพื้นโต๊ะโดยรอบเครื่องชั่ง อย่าลืมทา
ความสะอาดแผ่นพลาสติกสาหรับรองรับวัตถุบนจานชั่ งด้วย ควรใช้แปรงปัดฝุ่นขนาดเล็กทาความสะอาดภายใน
เครื่องชั่ง และใช้แปรงปัดฝุ่นขนาดใหญ่ทาความสะอาดภายนอกเครื่องชั่ง (รูปที่ 11)
2. ตรวจสอบระนาบของเครื่องชั่งโดยการสังเกตที่ตัวชี้ระดับ (bubble level หรือ level indicator) ให้อยู่ในตาแหน่ง
สมมาตร หากไม่สมมาตรให้ปรับ leveling screw ซึ่งอยู่บริเวณฐานของเครื่องชั่ง สาหรับนักศึกษาซึ่งยังไม่มีความ
ชานาญพอ กรุณาอย่าปรับหรือแก้ไขด้วยตัวเองให้แจ้งอาจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ประจาห้องเครื่องชั่ง
3. เปิดเครื่องชั่ง โดยการกดปุ่ม on/off เพียงครั้งเดียว ในขณะนี้ บนหน้า ปัดแสดงคาว่า BUSY ให้รอสักครู่ บน
หน้าปัดจะแสดงตัวเลข 0.0000 g
หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 165
4. ตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่ง (set zero) ในขณะที่ไม่มีวัตถุใดๆ อยู่บนจานชั่งและปิดประตูเครื่องชั่งทุกบานให้
สนิท จากนั้นกดปุ่มปรับศูนย์ (Tare) รอสักครู่จะปรากฏตัวเลข 0.0000 g บนหน้าปัด (รูปที่ 12)
5. วางแผ่นพลาสติกลงบนจานชั่ง ปิดประตูเครื่องชั่งทุกบานให้สนิท จากนั้นกดปุ่มปรับศูนย์ (Tare) รอสักครู่จะ
ปรากฏตัวเลข 0.0000 g บนหน้าปัด
6. วางวัตถุที่ต้องการชั่งลงบนแผ่นพลาสติกที่มีจานชั่งรองรับอยู่ ปิดประตูเครื่องชั่งทุกบานให้สนิท แล้วรอสักครู่
เพื่อให้ตัวเลขค่าน้าหนักหยุดนิ่งและปรากฏอักษร g หลังค่าตัวเลขนั้น เช่น 24.7895 g เป็นต้น บันทึกตัวเลขค่า
น้าหนัก
7. เมื่อเลิกชั่งแล้วให้ปิดเครื่องชั่งทันทีโดยการกดปุ่ม on/off เพียงครั้งเดียว
8. ทาความสะอาดเครื่องชั่งหลังใช้งาน (ทาความสะอาดในขณะที่เครื่องชั่งอยู่ในตาแหน่งปิดหรือ off สังเกตที่หน้าปัด
แสดงคาว่า STANDBY) โดยทาความสะอาดจานชั่ง พื้นตู้ภายในเครื่องชั่ง และพื้นโต๊ะโดยรอบเครื่องชั่ง อย่าลืมทา
ความสะอาดแผ่นพลาสติกสาหรับรองรับวัตถุบนจานชั่งด้วย ควรใช้แปรงปัดฝุ่นขนาดเล็กทาความสะอาดภายใน
เครื่องชั่ง และใช้แปรงปัดฝุ่นขนาดใหญ่ทาความสะอาดภายนอกเครื่องชั่ง
9. คลุมเครื่องชั่งด้วยผ้าคลุมเพื่อป้องกันฝุ่นและปลดสวิทช์ไฟฟ้า

ก. ขณะที่ยังไม่ชั่งวัตถุ ระบบคานอยู่ในสมดุล
Wb = Ws1 + Ws2 + Wp

ข. ขณะที่ชั่งวัตถุ (Mu) ระบบคานไม่อยู่ในสมดุล


Wb < Ws1 + Ws2 + Wp + Wu

166 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ค. ระบบคานรักษาสมดุล ด้วยการยกตุ้มน้าหนักมาตรฐาน (Ms) ออกไป
Wu = Ws1

รูปที่ 10 หลักการแทนที่ตุ้มน้าหนักด้วยสารหรือวัตถุที่ต้องการชั่ง
ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/balances/balance/mass_mass.htm

รูปที่ 11 ทาความสะอาคเครื่องชั่งในขณะที่หน้าปัดแสดงคาว่า STANDBY

รูปที่ 12 การตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่ง (set zero)

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 167
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องชั่งแบบแทนที่น้าหนักมาตรฐานมีดังนี้
1. เครื่องชั่งควรตั้งอยู่บนโต๊ะที่แข็งแรง อยู่ในห้องที่ไม่มีความชื้นสูง ไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง และไม่มีกระแสลม
เข้ามารบกวน
2. ไม่ควรขยับหรือเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งเพราะจะทาให้เครื่องชั่งไม่ได้ระนาบ โดยเฉพาะเมื่อได้ตรวจสอบจุดศูนย์ของ
เครื่องชั่ง (set zero) หรือปรับศูนย์ (Tare) ไว้แล้ว
3. เครื่องแก้วหรือภาชนะบรรจุใดๆ ที่ใช้รองรับสารเคมี เช่น บีกเกอร์ ขวดชั่ง หรือกระจกนาฬิกา จะต้องแห้งสนิท
และวางอยู่บริเวณกลางจานชั่ง (balance pan) เสมอ
4. สารเคมี เครื่องแก้ว หรือภาชนะบรรจุใดๆ ที่จะนามาชั่งในเครื่องชั่ง จะต้องมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของห้อง
เครื่องชั่ง
5. ควรสวมถุงมือหรือใช้ปากคีบ (forcep) ในระหว่างการชั่งสาร เนื่องจากมือมีความชื้นจากเหงื่อ
6. เมื่อทาสารเคมีหกหรือตกบนจานชั่ง ทั้งภายในหรือภายนอกเครื่องชั่ง จะต้องหยุดทาการชั่งและปรับให้เครื่องชั่ง
อยู่ในตาแหน่ง STANDBY แล้วจึงรีบทาความสะอาดทันที
7. ต้องไม่ชั่งวัตถุที่มีน้าหนักเกินความจุของเครื่องชั่ง (capacity)
8. หากมีการชั่งหลายครั้งในงานวิเคราะห์เดียวกัน ควรใช้เครื่องชั่งเครื่องเดียวกันตลอดงานวิเคราะห์นั้นเพื่อลดความ
ผิดพลาดระหว่างเครื่องชั่ง
9. ก่อนอ่านค่าน้าหนักที่แน่นอนจะต้องปิดประตูเครื่องชั่งทุกบานให้สนิท
10. ควรบันทึกตัวเลขค่าน้าหนักลงในสมุดหรือเอกสารด้วยปากกาสีดาหรือสีน้าเงินเท่านั้น ไม่ควรใช้ดินสอ หาก
บันทึกค่าตัวเลขผิดไม่ควรลบทิ้งหรือระบายสีปกปิดค่าตัวเลขเดิม ให้ขีดฆ่าตัวเลขเดิมด้วยเส้นขวางเพียงเส้นเดียวแล้ว
เขียนตัวเลขใหม่ไว้ด้านบนของตัวเลขเดิม ให้เซ็นต์ชื่อกากับไว้ด้านข้างตัวเลขที่แก้ไขด้วย อย่าลืมว่าต้องบันทึกตัวเลข
ค่าน้าหนักให้มีทศนิยมครบทุกตาแหน่งและมีหน่วยน้าหนักเป็นกรัม (g)
11. เมื่อได้ค่าน้าหนักที่แน่นอนแล้วควรยกวัตถุออกจากจานชั่งทันที ไม่ควรปล่อยวัตถุค้างอยู่บนจานชั่งเป็นเวลานาน

เทคนิคการชั่ง (Weighing Technique)


เทคนิคในการชั่งสารมี 2 วิธี คือ
1. การชั่ ง แบบผลต่ า ง (weighing by difference) เป็ น การชั่ ง สารที่ บ รรจุ อ ยู่ ใ นขวดชั่ ง (weighing
bottle) ที่มีการถ่ายสาร (tapping) ลงในภาชนะรองรับด้วยการถ่ายสารออกจากขวดชั่งลงในภาชนะโดยตรง (ไม่ใช้
ช้อนเขา) โดยที่ภาชนะรองรับสารวางอยู่นอกเครื่องชั่ง แต่ขวดชั่งจะวางอยู่บนจานชั่งเสมอ ผลต่างของน้าหนักขวด
ชั่งพร้อมสารก่อนและหลังถ่ายสารจะเป็นน้าหนักของสารที่ชั่งได้ การชั่งแบบผลต่างจะให้ค่า น้าหนักอย่างถูกต้อง
ประมาณ (accurately about) โดยมีช่วงน้าหนัก (range) ที่ยอมรับได้ ± 10 %
2. การชั่งแบบผลรวม (weighing by addition) เป็นการชั่งสารที่บรรจุอยู่ในขวดชั่งที่มีการถ่ายสารลงใน
ภาชนะด้วยการใช้ช้อนเขา ซึ่งภาชนะรองรับจะวางอยู่บนจานชั่ง แต่ขวดชั่งอยู่ภายนอกเครื่องชั่งเสมอ น้าหนักของ
สารที่ชั่งได้ควรมีค่าเท่ากับน้าหนักที่ต้องการ หากชั่งสารได้น้าหนักต่ากว่าน้าหนักที่ต้องการหมายถึงยังชั่งสารไม่เสร็จ
ให้ชั่งต่อไปจนได้น้าหนักที่ต้องการ หากชั่งสารได้เกินกว่าน้าหนักที่ต้องการก็ควรมีค่าไม่เกิน 0.0009 กรัม (ห้ามตัก
สารที่ชั่งเกินออกจากภาชนะรองรับ)

การชั่งสารแบบผลต่าง (Weighing by difference)


โจทย์: จงชั่ง NaCl ประมาณ 0.5 กรัม บรรจุลงในฟลาสค์ (flask)
168 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
วิธีทา
คานวณช่วงน้าหนักของผงยาที่ยอมรับได้ ± 10 % ดังนี้
สมมติให้น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยา ก่อนถ่ายออก = 35.5025 กรัม
น้าหนักผงยาที่ต้องการ = 0.5 กรัม
ช่วงน้าหนัก ± 10 % = ± (0.5 x 10) / 100 = ± 0.05 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาที่ต้องการจึงอยู่ในช่วง = 0.5 ± 0.05 = 0.45 ถึง 0.55 กรัม

น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยา หลังถ่ายออก = 35.5025 – 0.45 กรัม = 35.0525 กรัม


และ 35.5025 – 0.55 กรัม = 34.9525 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออกควรมีน้าหนักในช่วง 34.9525 ถึง 35.0525 กรัม
หากสมมติให้น้าหนักสุดท้ายของน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก คือ 35.0479 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาทีช่ ั่งได้ คือ 35.5025 – 35.0479 = 0.4546 กรัม
ซึ่งน้าหนัก 0.4546 กรัม อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ ± 10 % หรือ 0.45 ถึง 0.55 กรัม

ตารางบันทึกผลการชั่ง NaCl แบบผลต่าง ให้มีน้าหนักอย่างถูกต้องประมาณ 0.5 กรัม


รายการ น้าหนัก (กรัม)
การชั่งแบบผลต่าง (by difference) (34.9525 - 35.0525)
น้าหนักขวดชั่ง + ผง NaCl ก่อนถ่ายออก 35.5025
น้าหนักขวดชั่ง + ผง NaCl หลังถ่ายออก 35.0479
น้าหนัก NaCl 0.4546

โจทย์คานวณการชั่งสารแบบผลต่าง
ข้อที่ 1: ในการชั่ง NaCl ประมาณ 0.6 กรัม โดยมีน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก 35.4250 กรัม
จงคานวณช่วงน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก
วิธีทา
ช่วงน้าหนักของผงยาที่ยอมรับได้ ± 10 % = ± (0.6 x 10) / 100 = ± 0.06 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก = 35.4250 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาทีต่ ้องการจึงอยู่ในช่วง = 0.6 ± 0.06 = 0.54 ถึง 0.66 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก = 35.4250 – 0.54 กรัม = 34.8850 กรัม
และ 35.4250 – 0.66 กรัม = 34.7650 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออกควรมีน้าหนัก 34.7650 ถึง 34.8850 กรัม

ข้อที่ 2:
ในการชั่ง NaCl ประมาณ 1.0 กรัม โดยมีน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก 35.4250 กรัม
จงคานวณช่วงน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก
วิธีทา

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 169
ช่วงน้าหนักของผงยาที่ยอมรับได้ ± 10 % = ± (1.0 x 10) / 100 = ± 0.10 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก = 35.4250 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาที่ต้องการจึงอยู่ในช่วง = 1.0 ± 0.10 = 0.90 ถึง 1.10 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก = 35.4250 – 0.90 กรัม = 34.5250 กรัม
และ 35.4250 – 1.10 กรัม = 34.3250 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออกควรมีน้าหนัก 34.3250 ถึง 34.5250 กรัม

ข้อที่ 3:
ในการชั่ง NaCl ประมาณ 1.2 กรัม โดยมีน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก 35.4250 กรัม
จงคานวณช่วงน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก
วิธีทา
ช่วงน้าหนักของผงยาที่ยอมรับได้ ± 10 % = ± (1.2 x 10) / 100 = ± 0.12 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก = 35.4250 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาที่ต้องการจึงอยู่ในช่วง = 1.2 ± 0.12 = 1.08 ถึง 1.32 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก = 35.4250 – 1.08 กรัม = 34.3450 กรัม
และ 35.4250 – 1.32 กรัม = 34.1050 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออกควรมีน้าหนัก 34.1050 ถึง 34.3450 กรัม

ข้อที่ 4:
ในการชั่ง Na2CO3 อย่างถูกต้องประมาณ 1.8 กรัม โดยมีน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก 36.9854 กรัม จง
คานวณช่วงน้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก
วิธีทา
ช่วงน้าหนักของผงยาที่ยอมรับได้ ± 10 % = ± (1.8 x 10) / 100 = ± 0.18 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยา ก่อนถ่ายออก = 36.9854 กรัม
ดังนั้นน้าหนักผงยาที่ต้องการจึงอยู่ในช่วง = 1.8 ± 0.18 = 1.62 ถึง 1.98 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก = 36.9854 – 1.62 กรัม = 35.3654 กรัม
และ 36.9854 – 1.98 กรัม = 35.0054 กรัม
น้าหนักขวดชั่งพร้อมผงยาหลังถ่ายออกควรมีน้าหนัก 35.0054 ถึง 35.3654 กรัม

วิธีการชั่ง NaCl ประมาณ 0.5 กรัม บรรจุลงในฟลาสค์ ด้วยเทคนิคการชั่งแบบผลต่าง


1. ตักผง NaCl ประมาณ 1.5 กรัม (มากกว่าน้าหนักที่ต้องการเล็กน้อย โดยประมาณ 3-4 ช้อนเขา) ใส่ลงในขวดชั่ง
(weighing bottle) (รูปที่ 13) วางขวดชั่งบน Petri dish ต้องอ่านฉลาก NaCl ที่ข้างขวดสารเคมีทั้งก่อนและหลัง
การตักสารลงในขวดชั่ง ยกขวดชั่งไปที่โต๊ะเครื่องชั่ง ลงชื่อในสมุดบันทึกการใช้เครื่องชั่ง เปิดผ้าคลุมเครื่องชั่ง ทา
ความสะอาดเครื่องชั่งและบริเวณโดยรอบ แล้วจึงกดปุ่มเปิดปิด (on/off) เพียงครั้งเดียว
2. ชั่งน้าหนัก (weighing) ขวดชั่งพร้อมผงยาก่อนถ่ายออก บันทึกค่าตัวเลข (ทศนิยม 4 ตาแหน่ง พร้อมหน่วยกรัม)
อย่าลืมปิดประตูเครื่องชั่งให้สนิท รอสักครู่ให้อักษร g ปรากฏบนหน้าปัดก่อนบันทึกค่าตัวเลขที่ชั่งได้

170 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
3. นาขวดชั่งออกมาจากจานชั่ง แล้วจึง rolling ขวดชั่ง จากนั้นจึงค่อยๆ เคาะ (tapping) ผงยาทีละน้อยให้หล่นลง
ในฟลาสค์ที่วางอยู่นอกเครื่องชั่ง ขณะเคาะผงยาต้องให้ตัวขวดชั่งและฝาขวดชั่งอยู่ใกล้กันเสมอเพื่อป้องกันผงยาฟุ้ง
กระจาย และต้องปิดปากฟลาสค์ด้วยกระจกนาฬิกาเสมอหลังจาก tapping เสร็จแล้วในแต่ละครั้ง
4. rolling- tapping- weighing ประมาณ 3 รอบจนได้น้าหนัก NaCl ประมาณ 0.5 กรัม เมื่อได้น้าหนักอยู่ในช่วงที่
ต้องการให้บันทึกตัวเลขน้ าหนั กขวดชั่ งพร้อมผงยาหลังถ่ายออก ทั้งนี้อย่าลืมปิดประตูเครื่องชั่ งให้สนิ ท รอให้
สัญลักษณ์ g ปรากฏบนหน้าจอตัวเลขก่อนบันทึกค่าตัวเลขของน้าหนักที่ชั่งได้ จากนั้นให้รีบนาขวดชั่งออกจากจานชั่ง
ทันที อย่าค้างวัตถุบนจานชั่งนานๆ
5. หากไม่ต้องการชั่งอีกต่อไป ให้กดปุ่มเปิดปิด (on/off) เพียงครั้งเดียว (หน้าปัดแสดงคาว่า STANDBY)
6. ทาความสะอาดเครื่องชั่งและบริเวณโดยรอบเครื่องชั่ง ปิดผ้าคลุมเครื่องชั่งให้เรียบร้อย

รูปที่ 13 ขวดชั่ง (weighing bottle) ชนิดฝาครอบและชนิดฝาจุก

การชั่งสารแบบผลรวม (Weighing by addition)


โจทย์: ให้นักศึกษาชั่งผง NaCl อย่างถูกต้อง 1.5000 กรัม ใส่บีกเกอร์ (beaker)
การชั่งแบบผลรวมไม่ต้องคานวณช่วงน้าหนัก (range) ของผง NaCl ที่จะชั่ง แต่ต้องชั่งผง NaCl ให้ได้น้าหนัก 1.5000
กรัมพอดี หากชั่งไม่ถึง 1.5000 กรัมแสดงว่ายังชั่งสารไม่เสร็จ จึงต้องทาการชั่งต่อไป ทั้งนี้ต้องชั่งไม่เกิน + 0.0009
กรัม หมายความว่าชั่งได้น้าหนักตั้งแต่ 1.5000 ถึง 1.5009 กรัม
ในทีน่ ี้สมมติให้บีกเกอร์มีน้าหนัก 45.3252 กรัม
ต้องการน้าหนักผงยา 1.5000 กรัม
ดังนั้น น้าหนักบีกเกอร์ + ผง NaCl จึงเท่ากับ 45.3252 + 1.5000 กรัม = 46.8252 กรัม
น้าหนักบีกเกอร์ + ผง NaCl ที่ต้องการให้ปรากฏตัวเลขบนหน้าปัดของเครื่องชั่ง คือ 46.8252 กรัม
ในที่นสี้ มมติให้น้าหนักบีกเกอร์ + ผง NaCl ที่ชั่งได้จริง = 46.8255 กรัม

ตารางบันทึกผลการชั่ง NaCl แบบผลรวม ให้มีน้าหนักอย่างถูกต้อง 1.5000 กรัม


รายการ น้าหนัก (กรัม)
การชั่งแบบผลรวม (by addition) (46.8252)
น้าหนักบีกเกอร์ + NaCl 46.8255
น้าหนักบีกเกอร์ 45.3252
น้าหนัก NaCl 1.5003

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 171
วิธีการชั่ง NaCl อย่างถูกต้อง 1.5000 กรัม ใส่บีกเกอร์ ด้วยเทคนิคการชั่งแบบผลรวม
1. ตักผง NaCl ประมาณ 2.0 กรัม (มากกว่าน้าหนักที่ต้องการเล็กน้อย โดยประมาณ 3-4 ช้อนเขา) ใส่ลงในขวดชั่ง
(weighing bottle) ว างขวดชั่งบน Petri dish ต้องอ่านฉลาก NaCl ที่ข้างขวดทั้งก่อนและหลังการตักสารลงในขวด
ชั่ง ยกขวดชั่งไปที่โต๊ะเครื่องชั่ง ลงชื่อในสมุดบันทึกการใช้เครื่องชั่ง เปิดผ้าคลุมเครื่องชั่ง ทาความสะอาดเครื่องชั่ง
และบริเวณโดยรอบ แล้วจึงกดปุ่มเปิดปิด (on/off) เพียงครั้งเดียว
2. ชั่งน้าหนัก (weighing) บีกเกอร์ ทั้งนี้บีกเกอร์ต้องสะอาดและแห้งสนิท บันทึกค่าตัวเลข (ทศนิยม 4 ตาแหน่ง
พร้อมหน่วยกรัม) ของน้าหนักบีกเกอร์เปล่า (45.3252 กรัม) อย่าลืมปิดประตูเครื่องชั่งให้สนิท รอให้อักษร g ปรากฏ
บนหน้าหน้าปัดก่อนบันทึกค่าตัวเลขบีกเกอร์เปล่าที่ชั่งได้
3. ตักผง NaCl ออกจากขวดชั่งด้วยช้อนเขา แล้วค่อยๆ เคาะ (tapping) ผง NaCl ใส่ลงในบีกเกอร์ที่วางอยู่บนจานชั่ง
ขณะที่ตักผง NaCl ออกจากขวดชั่งต้องเปิด-ปิดขวดชั่งด้วยมือเพียงมือเดียว เมื่อน้าหนักผง NaCl เข้าใกล้ค่าน้าหนักที่
ต้องการ (46.8252 กรัม) ให้หยุดเคาะผงยาลงในบีกเกอร์ แล้วปิดประตูเครื่องชั่งเพื่ออ่านค่าน้าหนักที่ได้ ทั้งนี้ควร
พักหรือวางช้อนเขาบน Petri dish ที่ต่างอันกับที่ใช้วางขวดชั่ง
4. ทาการเคาะผง NaCl จากช้อนเขาลงในบีกเกอร์ที่วางอยู่บนจานชั่งเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย เมื่อได้น้าหนักผง NaCl
ตามที่ต้องการ (1.5000 – 1.5009 กรัม) ให้บันทึกตัวเลขค่าน้าหนักบีกเกอร์ + NaCl (46.8255 กรัม) ทั้งนี้ก่อนอ่าน
ค่าตัวเลขดังกล่ าวควรปิดประตูเครื่องชั่งให้สนิท และรอให้อักษร g ปรากฏบนหน้า ปัดเสียก่อน จากนั้นให้รีบนา
บีกเกอร์ออกจากจานชั่งทันที อย่าค้างวัตถุบนจานชั่งนาน ๆ
5. หากไม่ต้องการชั่งอีกต่อไป ให้กดปุ่มเปิดปิด (on/off) เพียงครั้งเดียว (หน้าปัดแสดงคาว่า STANDBY)
6. ทาความสะอาดเครื่องชั่งและบริเวณโดยรอบเครื่องชั่ง ปิดผ้าคลุมเครื่องชั่งให้เรียบร้อย
ข้อควรระวังทั่วไปในการชั่งด้วยเครื่องชั่งวิเคราะห์ (Analytical Balance)
1. เครื่องชั่งควรตั้งอยู่บนโต๊ะที่แข็งแรง (รูปที่ 14) ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีความชื้นสูง ไม่มีกระแสลมเข้ามารบกวน และ
ควรติดตั้งเครื่องชั่งให้ห่างจากบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง เพราะแสงแดดจะทาให้อุณหภูมิของเครื่องชั่งและ
ห้องเครื่องชั่งสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การหมุนเวียนอากาศภายในห้องเครื่องชั่งเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ค่าน้าหนักจากการ
ชั่งคลาดเคลื่อนได้

รูปที่ 14 การติดตั้งเครื่องชั่งบนโต๊ะที่แข็งแรงและห่างจากแสงแดด

2. ควรติดตั้งเครื่องชั่งให้ห่างจากเครื่องปรับอากาศ เพราะเครื่องปรับอากาศจะทาให้มีการไหลเวียนของอากาศอยู่
ตลอดเวลา ส่งผลให้อุณหภูมิบริเวณเครื่องชั่งเปลี่ยนแปลง ทาให้ผลการชั่งไม่แน่นอน

172 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
3. ไม่ควรติดตั้งเครื่องชั่งในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือน เช่น บริเวณที่อยู่ใกล้กับเครื่องมือขนาดใหญ่ หรือบริเวณที่มีคน
เดินผ่านไปมาอยู่ตลอดเวลา เ พราะการสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลถึงค่าน้าหนักจากการชั่งได้ และจะ
ทาให้ผลการชั่งไม่แน่นอน
4. หากโต๊ะที่ตั้งเครื่องชั่งไม่เรียบหรือเอียง ควรปรับระดับให้ฐานของเครื่องชั่งเป็นแนวระนาบเดียวกันกับพื้นดิน โดย
สังเกตจากตัวชี้ระดับ (bubble level) ภายในเครื่องชั่ง ทั้งนี้ควรปรับระดับเครื่องชั่งด้วย leveling screw
5. ก่อนใช้เครื่องชั่งไฟฟ้าควรจะอุ่น (warm) เครื่องชั่งก่อนใช้งานประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับความ
ละเอียดและชนิดของเครื่องชั่ง ซึ่งเวลาที่ใช้ในการอุ่นเครื่องชั่งนี้ก็เพื่อให้เครื่องชั่งมีความเสถียร เครื่องชั่งปรับตัวและ
มีอุณหภูมิเท่ากับสิ่งแวดล้อม
6. ควรบันทึกชื่อ นามสกุล รหัสประจาตัว และเวลาที่ทาการชั่งลงในสมุดใช้งานเครื่องชั่ง (log book)
7. ทาความสะอาดเครื่องชั่งทั้งก่อนและหลังใช้งาน ต้องทาความสะอาดเครื่องชั่งในขณะที่เครื่องชั่งอยู่ในตาแหน่ง
STANDBY
8. การตรวจสอบจุดศูนย์ของเครื่องชั่ง (set zero) ต้องไม่มีวัตถุใดๆ วางอยู่บนจานชั่ง
9. อย่าวางช้อนเขารวมกับขวดชั่งหรือบีกเกอร์บน Petri dish อันเดียวกัน เพราะอาจทาให้ผงยาหรือสารเคมีเปื้อน
ผนังด้านนอกของขวดชั่งหรือบีกเกอร์และบนจานชั่ง ซึ่งจะส่งผลให้น้าหนักที่ชั่งได้ผิดพลาดและจานชั่งถูกกัดกร่อน
10. เลือกเทคนิคในการชั่ง (การชั่งแบบผลรวมหรือแบบผลต่าง) ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ทั้งนี้การชั่งแบบ
ผลรวมควรใช้ชั่งสารที่มีความคงตัวดี ไม่ดูดความชื้น หรือเสียน้าผลึก
11. ไม่เขียนหรือ label ขวดชั่ง แต่ต้องเขียนหรือ label เครื่องแก้วที่จะใช้บรรจุสาร
12. ปิดปากฟลาสค์หรือบีกเกอร์ด้วยกระจกนาฬิกาเสมอเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและการฟุ้งกระจายของสาร
13. อย่านาวัตถุใดๆ วางบนจานชั่งโดยปราศจากแผ่นพลาสติกรองรับ
14. ห้ามชั่งวัตถุหรือสารเกินความจุ (capacity) ของเครื่องชั่ง
15. ปิด-เปิดขวดชั่งด้วยมือเพียงมือเดียว (รูปที่ 15)

รูปที่ 15 การปิด-เปิดขวดชั่ง ด้วยมือเพียงมือเดียว

16. การจับช้อนเขา (รูปที่ 16) ให้ถูกวิธี โดยคว่ามือจับด้ามช้อน ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือประคองช้อน

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 173
รูปที่ 16 การจับช้อนเขา

17. การหมุนกลิ้ง (rolling) ขวดชั่งให้ถูกวิธี (รูปที่ 17) โดยใช้ปลายนิ้วของมือทั้งสองข้างจับตัวขวดชั่งและฝาขวดชั่ง


เอียงขวด 45 องศา แล้วหมุนกลิ้งขวดชั่งไปสัก 3-4 รอบเพื่อให้ผงสารกระจายตัวและไหลได้ดี ระวังอย่าให้ผงสารไหล
หกไปที่ฝาขวดชั่ง

รูปที่ 17 การหมุนกลิ้ง (rolling) ขวดชั่ง

18. การเคาะ (tapping) ผงสารออกจากขวดชั่งหรือช้อนเขาให้ถูกวิธี (รูปที่ 18)

รูปที่ 18 การเคาะ (tapping) ผงสารออกจากขวดชั่งหรือช้อนเขา

สาหรับการเคาะผงสารออกจากขวดชั่งให้เอียงตัวขวดชั่งเล็กน้อยและใช้นิ้วชี้เคาะเบาๆ ที่ตัวขวดชั่ง (ห้าม


เคาะที่บริเวณแก้วขุ่นหรือ ground glass) เพื่อให้ผงสารไหลตกลงไปในฟลาสค์ ในขณะเคาะจะต้องให้ตัวขวดชั่งและ
ฝาขวดชั่งอยู่ใกล้กันเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของผงสาร ให้ทาการเคาะไปเรื่อยๆ และคาดคะเนผงสารที่อยู่ใน
ฟลาสค์ให้ใกล้เคียงกับปริมาณที่ต้องการ แล้วจึงกระดกตัวขวดชั่งให้ตั้งตรงและเคาะเบาๆ ที่ด้านข้างขวดชั่งเพื่อให้ผง
ยาที่ปากขวดชั่งไหลกลับคืนสู่ก้นขวดชั่ง แล้วจึงปิดฝาขวดชั่ง

174 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
สาหรับการเคาะผงสารให้หล่นจากช้อนเขาและตกลงไปในบีกเกอร์ที่รองรั บนั้น ให้ใช้ปลายนิ้วชี้เคาะเบาๆ
ที่ด้ามช้อนเขาพร้อมกับเอียงตัวช้อนเล็กน้อย
19. ควรปิดประตูเครื่องชั่งทุกบานให้สนิทก่อนอ่านค่าน้าหนักที่แน่นอน
20. ไม่ควรวางวัตถุใดๆ ค้างอยู่บนจานชั่งนานๆ
21. เมื่อเลิกชั่งแล้ว ให้ปิดเครื่องชั่งหรือ STANDBY

บรรณานุกรม
1. Analytical Balance. Available online at
https://www.mt.com/au/en/home/products/Laboratory_Weighing_Solutions/Analytical.html,
accessed on November 15, 2017.
2. Encyclopedia Britannica. Analytical balance. Available online at
http://www.britannica.com/EBchecked/topic/22617/analytical-balance, accessed on
November 16, 2017.
3. Trustees of Dartmouth College. Analytical Balance. Available online at
http://www.dartmouth.edu/~chemlab/techniques/a_balance.html, accessed on November
15, 2017.
4. National Conference on Weights and Measures, NIST Handbook 44, Specifications, Tolerances,
And Other Technical Requirements for Weighing and Measuring Devices, 2003

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 175
การเตรียมตัวเข้าปฏิบัติการ (5 คะแนน)
เรื่อง เครื่องชั่งวิเคราะห์
ชื่อ…………...………………..………….…..นามสกุล……………………………………………..…..…รหัส………………………………….……

จากข้อมูลต่อไปนี้ ใช้ตอบคาถามข้อ 1-5


ในการเทียบมาตรฐานสารละลาย 0.5 N H2SO4 จะใช้สารมาตรฐานปฐมภูมิ Na2CO3 จานวน 1.5 กรัม ทา
ปฏิกิริยาโดยตรงกับ 0.5 N H2SO4 โดยใช้ methyl red TS เป็นอินดิเคเตอร์
1. ควรชั่ง Na2CO3 จานวน 1.5 กรัมด้วยเทคนิคการชั่งแบบใดที่สะดวกที่สุดและลดโอกาสที่สารจะหกลงบนจานชั่ง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. หากต้องการชั่ง Na2CO3 ด้วยเทคนิคการชั่งแบบผลต่าง จงแสดงวิธีคานวณช่วงน้าหนักที่ถูกต้อง


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3. หากน้าหนักขวดชั่งพร้อม Na2CO3 ก่อนถ่ายสาร = 37.9852 กรัม จงแสดงวิธีคานวณหาน้าหนักขวดชั่งพร้อม


Na2CO3 หลังถ่ายสาร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

176 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
4. สมมติให้น้าหนักภาชนะ = 25.8698 กรัม หากต้องการชั่ง Na2CO3 ด้วยเทคนิคการชั่งแบบผลรวม จงแสดงวิธี
คานวณหาน้าหนักภาชนะพร้อม Na2CO3
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ควรชั่ง Na2CO3 ในข้อที่ 4 ใส่ลงในเครื่องแก้วชนิดใด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

6. ในการเตรียมสารละลาย NaOH ที่มีความเข้มข้น 0.1005 N ควรชั่งเกล็ด NaOH ด้วยเครื่องชั่งชนิดใดที่ให้ค่า


น้าหนักถูกต้อง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

7. ในการวิเคราะห์ acid consuming capacity ของยาลดกรดที่ประกอบด้วย Al(OH)3, Mg(OH)2, simethicone


และ volatile oil หากต้องการชั่งยาลดกรดดังกล่าว ควรใช้เครื่องชั่งชนิดใดและทาอย่างไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

8. ในการเตรียมสารละลายไอโอดีน จะต้องเติม KI ซึ่งเป็นของแข็งลงไปในสารละลายไอโอดีนให้มากเกินพอเพื่อช่วย


ละลายไอโอดีน ควรใช้เครื่องชั่งชนิดใดในการชั่ง KI และชั่งใส่ภาชนะชนิดใด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 177
ผลการทดลอง (5 คะแนน)

จงชั่ง NaCl ประมาณ 0.5 และ 1.0 กรัม ใส่ในฟลาสค์ปากกว้างขนาด 500 มิลลิลิตร
ชื่อสารเคมี........................................................... ลักษณะสารเคมี..................................................................
Lot No…………….………….……………. ว/ด/ป ที่ผลิต/หมดอายุ ........................................................................
ชื่อผู้ผลิต..................... .............. ชื่อผู้ชั่งสาร............................................. ว/ด/ป ที่ชั่งสาร............................

ตารางบันทึกผลการชั่ง NaCl (ชั่งแบบผลต่าง)


ฟลาสค์ A ฟลาสค์ B
รายการ
(NaCl 0.5 กรัม) (NaCl 1.0 กรัม)
การชั่งแบบผลต่าง (by difference) (………………………….…) (………………………….…)
น้าหนักขวดชั่ง + ผง NaCl ก่อนถ่ายออก
น้าหนักขวดชั่ง + ผง NaCl หลังถ่ายออก
น้าหนัก NaCl

การคานวณ
ฟลาสค์ A (NaCl 0.5 กรัม) ฟลาสค์ B (NaCl 1.0 กรัม)

178 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
จงชั่ง NaCl อย่างถูกต้อง 1.0000 และ 1.5000 กรัม ใส่ในบีกเกอร์ขนาด 100 มิลลิลิตร
ชื่อสารเคมี........................................................... ลักษณะสารเคมี..................................................................
Lot No…………….………….……………. ว/ด/ป ที่ผลิต/หมดอายุ ........................................................................
ชื่อผู้ผลิต..................... .............. ชื่อผู้ชั่งสาร............................................. ว/ด/ป ที่ชั่งสาร............................

ตารางบันทึกผลการชั่ง NaCl (ชั่งแบบผลรวม)


บีกเกอร์ A บีกเกอร์ B
รายการ
(NaCl 1.0000 กรัม) (NaCl 1.5000 กรัม)
การชั่งแบบผลรวม (by addition) (………………………….…) (………………………….…)
น้าหนักบีกเกอร์ + NaCl
น้าหนักบีกเกอร์
น้าหนัก NaCl

การคานวณ
บีกเกอร์ A (NaCl 1.0000 กรัม) บีกเกอร์ B (NaCl 1.5000 กรัม)

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 179
เกณฑ์การประเมินสาหรับการตรวจปฏิบัติการเทคนิคการใช้เครื่องชัง่ วิเคราะห์

ความผิด คะแนนที่หัก
ไม่ลงชื่อในสมุดใช้งานเครื่องชั่ง 1

ไม่ทาความสะอาดเครื่องชั่งก่อนใช้งาน 1

ทาความสะอาดเครื่องชั่งโดยไม่ STANDBY สอบตก (0 คะแนน)

ไม่ตรวจสอบระดับระนาบ (bubble level) 1

มีวัตถุอยู่บนจานชั่งในขณะตรวจสอบจุดศูนย์ (set zero) 1

วางช้อนเขารวมกับขวดชั่งหรือบีกเกอร์บน Petri dish อันเดียวกัน 1

วางขวดชั่ง ช้อนเขา หรือบีกเกอร์ โดยปราศจาก petri dish รองรับ 1

เลือกเทคนิคการชั่งผิด (ชั่งแบบผลรวมหรือแบบผลต่าง) 2 และให้ชั่งใหม่

ไม่ label เครื่องแก้วที่ใช้ (ห้าม label ขวดชั่ง) 1

ไม่ปิดปากฟลาสค์หรือบีกเกอร์ด้วยกระจกนาฬิกา 1

นาเครื่องแก้ววางบนจานชั่งโดยปราศจากแผ่นพลาสติกรองรับ 1

ชั่งวัตถุหรือสารเกินความจุ (capacity) ของเครื่องชั่ง สอบตก (0 คะแนน)

ไม่ตักสารที่จะชั่งใส่ขวดชั่ง 1

คานวณ range ของน้าหนักที่จะชั่งโดยวิธีชั่งแบบผลต่างผิดไปจาก ± 10% 1

ถือขวดชั่ง เปิด-ปิด ผิดวิธี 1

Rolling ขวดชั่งผิดวิธี 1

จับช้อนเขาผิดวิธี 1

Tapping สารออกจากช้อนเขาหรือขวดชั่งผิดวิธี หรือไม่ปิดฝาขวดชั่งขณะ tapping ด้วยช้อน 1


เขา หรือ tapping สารออกจากขวดชั่งแล้วไปกระทบบนปากบีกเกอร์ หรือ tapping โดยที่
ฝาและตัวขวดชั่งห่างกันมากเกินไป

180 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์
ความผิด คะแนนที่หัก
Tapping สารหกบนจานชั่ง สอบตก (0 คะแนน)

วางกระจกนาฬิกาผิดวิธี 1

ไม่ปิดประตูเครื่องชั่งขณะอ่านค่าน้าหนักที่แน่นอน 1

ทิ้งสารหรือเครื่องแก้วบนจานชั่งนาน ๆ 1

ชั่งไม่ได้น้าหนักตามต้องการ 1

ไม่เขียนหน่วยของน้าหนักที่ชั่งได้ 1

ชั่งเกินเวลาที่กาหนด 1

บันทึกผลไม่ถูกต้อง บันทึกผิดตารางหรือผิดตาแหน่ง 1

เมื่อเลิกชั่งไม่ปิดเครื่องหรือ STANDBY 1

ทาความสะอาดเครื่องชั่งหลังใช้งานเสร็จโดยไม่ STANDBY สอบตก (0 คะแนน)

คลุมผ้าเครื่องชั่งไม่เรียบร้อย 1

หนังสือปฏิบัติการเภสัชเคมี 181
รายงานปฏิบัติการเภสัชเคมี

ปฏิบัติการเรื่อง ……………………………………………………………………………………………..………
วันที่ ………………………………………………………………………………………………………………….
ผู้ทาปฏิบัติการ

ชื่อ…………......………………….….. นามสกุล…………………..........………..… รหัส…………...........…………… ตู…้ ……..

สรุปผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

วิจารณ์ผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

182 เครื่องชั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์

You might also like