You are on page 1of 18

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล

แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น
เวลา 3 ชั่วโมง
1. ผลการเรียนรู้
อธิบายปรากฏการณ์คลื่น ชนิดของคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น การแผ่
ของหน้าคลื่นด้วยหลักการของ
ฮอยเกนส์ และการรวมกันของคลื่นตามหลักการซ้อนทับ พร้อมทั้งคำนวณ
อัตราเร็ว ความถี่ และความยาวคลื่น

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดคลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่นได้ (K)
2. คำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตราเร็วของคลื่นในเส้นเชือก
ได้ (P)
3. มีความใฝ่ เรียนรู้และมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
- การแผ่ของหน้าคลื่นเป็ นไปตาม พิจารณาตามหลักสูตรของสถาน
หลักของฮอยเกนส์ และถ้ามีคลื่น ศึกษา
ตั้งแต่สองขบวนมาพบกันจะรวม
กันตามหลักการซ้อนทับ

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

92
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

คลื่นในเส้นเชือกเป็ นคลื่นตามขวางชนิดหนึ่ง เกิดจากการสั่นของ


อนุภาคของตัวกลางในลักษณะของ
การกวัดแกว่ง ส่วนหลักของฮอยเกนส์ กล่าวถึง การแผ่ของหน้าคลื่นและถ้า
มีคลื่นตั้งแต่สองขบวนมาพบกันจะรวมกันตามหลักการซ้อนทับ

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย รับผิดชอบ
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่ เรียนรู้
1) ทักษะการสังเกต 3. ซื่อสัตย์ สุจริต
2) ทักษะการสื่อสาร 4. มุ่งมั่นในการทำงาน
3) ทักษะการวิเคราะห์
4) ทักษะการทำงานร่วมกัน
3. ความสามารถในการใช้ทักษะ
ชีวิต
6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : แบบสืบเสาะหาความรู้
(5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูนำอุปกรณ์สาธิตการทดลอง เช่น เชือก จากนั้นครูนำเชือกผูก
ตรึงไว้ที่ขาโต๊ะหรือขาเก้าอี้

93
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

แล้วสะบัดให้เกิดคลื่นดลเป็ นจังหวะ ให้นักเรียนแต่ละคนสังเกต


และร่วมกันอภิปรายแสดง
ความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด
2. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “คลื่นที่เกิดขึ้น
เมื่อสะบัดเชือกเป็ นคลื่นชนิดใด
และตัวกลางของคลื่นได้เคลื่อนที่ไปกับคลื่นด้วยหรือไม่”
(แนวตอบ : เป็ นคลื่นตามขวาง ตัวกลางของคลื่น คือ เชือก จะไม่
เคลื่อนที่ไปกับคลื่นแต่จะสั่นขึ้นลง
ในลักษณะของการกวัดแกว่ง)
3. ครูถามคำถาม Prior Knowledge จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่ม
เติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5
เล่ม 1 เพื่อเป็ นการนำเข้าสู่บทเรียนของนักเรียนว่า “อัตราเร็วของ
คลื่นในเส้นเชือกขึ้นอยู่กับสมบัติใด
ของเชือก” จากนั้นครูกล่าวเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน
(แนวตอบ : ความหนาแน่นของเชือก)

ขั้น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore)


1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็ นกลุ่ม ๆ ละ 3 คน ตามความสมัครใจของ
นักเรียน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละ
กลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูล เรื่อง คลื่นในเส้นเชือก จากหนังสือ
เรียน รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น
อินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันสรุปความรู้

94
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

ที่ศึกษาลงในสมุดประจำตัว
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม)
2. ครูสุ่มนักเรียนจำนวน 3 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการศึกษาข้อมูล
หน้าชั้นเรียน ในระหว่างที่นักเรียน
นำเสนอ ครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีความ
เข้าใจที่ถูกต้อง
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำ
เสนอผลงาน)
3. ครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “อัตราเร็วคลื่นใน
เส้นเชือกขึ้นอยู่กับปริมาณใด
และสามารถคำนวณหาได้จากสมการใด” โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
ร่วมกันหาคำตอบ จากนั้นให้
แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเขียนคำตอบที่กระดานหน้าชั้นเรียน
โดยครูไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)
4. ครูตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนบนกระดาน โดยครู
กล่าวชื่นชมกลุ่มที่สามารถตอบ
คำตอบได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด
5. ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน จากนั้นนักเรียนและครูร่วมกัน
สรุป ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่า
“ความเร็วของการรบกวนที่เคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เรียกว่า อัตราเร็ว
คลื่น โดยอัตราเร็วคลื่นใน
เส้นเชือก จะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเชือกและแรงตึงในเส้น
เชือก ซึ่งสามารถคำนวณหาได้

95
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

จากสมการ
v=
√ T
μ”
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มพิจารณาภาพการเกิดคลื่นในเส้นเชือก
เมื่ออนุภาคถูกรบกวน
จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1
จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมจากภาพ
การเกิดคลื่นในเส้นเชือกเมื่ออนุภาคถูกรบกวนว่า “หากพิจารณา
ว่าเชือกเป็ นระบบอนุภาคที่
ประกอบด้วย อนุภาคเรียงกันเป็ นเส้นตรง เมื่ออนุภาคใด ๆ ใน
ระบบถูกรบกวนให้เคลื่อนที่ออกจาก
แนวสมดุล อนุภาคข้างเคียงจะถูกรบกวนให้เคลื่อนที่ตามไปด้วย ส่ง
ผลให้ทุกอนุภาคเคลื่อนที่เหมือน
อนุภาคแรกที่ถูกรบกวน”
7. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาตัวอย่างที่ 2.2 จากหนังสือเรียน
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์
ม.5 เล่ม 1 จากนั้นครูสุ่มเลขที่นักเรียนจำนวน 2 คน ออกมาแสดง
วิธีการคำนวณหาผลลัพธ์ที่ได้ศึกษา
ครูอาจเสนอแนะ หรืออธิบายเพิ่มเติมในตัวอย่างนั้น ๆ

ชั่วโมงที่ 2

ขั้น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ)


1. ครูขออาสาสมัครนักเรียนจำนวน 2 คู่ ออกมาร่วมกิจกรรมสาธิต
การทดลอง จากนั้นครูแจกอุปกรณ์

96
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

สาธิตการทดลอง เช่น ลวดสปริง ให้นักเรียนแต่ละคู่ โดยให้


นักเรียนแต่ละคู่วางลวดสปริงลงบนพื้น
และถือปลายลวดสปริงคนละด้าน
2. นักเรียนคู่แรกสะบัดลวดสปริงทั้งสองด้านไปทางเดียวกัน และ
นักเรียนคู่ที่สองสะบัดลวดสปริงทั้งสอง
ด้านไปคนละทาง โดยครูให้นักเรียนในชั้นเรียนสังเกต เปรียบเทียบ
คลื่นที่เกิดจากการสะบัดลวด
สปริงทั้งสองแบบ และร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่าง
อิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด
3. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมสาธิตการทดลอง ซึ่งได้ข้อสรุป
ร่วมกันว่า “คลื่นที่เกิดจากการ
สะบัดลวดสปริงทั้งสองแบบแตกต่างกัน โดยคลื่นที่เกิดจากก
สะบัดลวดสปริงทั้งสองด้านไปทาง
เดียวกันจะเคลื่อนที่เข้าหากันโดยจะมีตำแหน่งที่คลื่นเกิดการรวม
กันแล้วคลื่นต่างเคลื่อนที่ไปทิศทาง
เดิม ส่วนคลื่นที่เกิดจากกสะบัดลวดสปริงทั้งสองด้านไปทางตรง
ข้ามจะเคลื่อนที่เข้าหากันโดยจะมี
ตำแหน่งที่คลื่นเกิดการหักล้างกันแล้วคลื่นต่างเคลื่อนที่ไปทิศทาง
เดิม”
4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม (กลุ่มเดิม) จากชั่วโมงที่ผ่านมา จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูล
เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น จากหนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม
วิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1
หรือแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต แล้วร่วมกันสรุป
ความรู้ที่ศึกษาลงในสมุดประจำตัว

97
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

โดยครูคอยสังเกตการณ์และให้คำปรึกษา
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม)

ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)


5. ครูสุ่มนักเรียนจำนวน 3 กลุ่ม ออกมานำเสนอผลการศึกษาข้อมูล
หน้าชั้นเรียน ในระหว่างที่นักเรียน
นำเสนอ ครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีความ
เข้าใจที่ถูกต้อง
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำ
เสนอผลงาน)
6. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซ้อนทับของคลื่นว่า “การซ้อนทับ
ของคลื่น มี 2 ลักษณะ คือ
1) การรวมกันแบบเสริม จะเกิดขึ้นเมื่อการกระจัดของคลื่นมี
ทิศทางเดียวกัน และ 2) การรวมกันแบบ
หักล้างกัน จะเกิดขึ้นเมื่อการกระจัดของคลื่นมีทิศทางตรงข้ามกัน”
7. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง การซ้อนทับ
ของคลื่น โดยครูให้คำปรึกษาเมื่อ
นักเรียนมีข้อสงสัย
8. ครูขออาสาสมัครนักเรียนจำนวน 2 คน ออกมาเฉลยใบงานที่
2.3.1 เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น
โดยให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาว่าคำตอบใดถูกต้อง จากนั้นครู
เฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน

ชั่วโมงที่ 3

98
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

ขั้น

ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore) (ต่อ)


1. ครูนำรูปภาพคริสเตียน ฮอยเกนส์ (Christian Huygens) มาให้
นักเรียนดู จากนั้นครูตั้งประเด็น
คำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนว่า “คริสเตียน ฮอยเกนส์
(Christian Huygens) คือใคร”
โดยครูให้นักเรียนแต่ละคนร่วมกันอภิปรายเเละแสดงความคิดเห็น
อย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่า
ถูกหรือผิด
(แนวตอบ : คริสเตียน ฮอยเกนส์ (Christian Huygens) เป็ นผู้นำ
เสนอวิธีการอธิบายสมบัติของคลื่น
เรียกว่า หลักของฮอยเกนส์)

ภาพคริสเตียน ฮอยเกนส์ (Christian Huygens)


2. นักเรียนแต่ละคนศึกษาค้นคว้าข้อมูล เรื่อง หลักของฮอยเกนส์
โดยศึกษาจากหนังสือเรียน
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หรือแหล่งการ
เรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต
แล้วสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าลงในสมุดประจำตัว เพื่อ
นำส่งครูท้ายชั่วโมง โดยครูคอย

99
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

สังเกตการณ์และให้คำปรึกษา
(หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
รายบุคคล)

ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)


3. ครูสุ่มเลขที่นักเรียนจำนวน 3 คน ออกมานำเสนอผลการศึกษา
หน้าชั้นเรียน ในระหว่างที่นักเรียน
นำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความ
เข้าใจที่ถูกต้อง
4. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
หลักของฮอยเกนส์ ซึ่งได้ข้อสรุป
ร่วมกันว่า “หลักของฮอยเกนส์ มีประโยชน์มากในการอธิบายเกี่ยว
กับการเลี้ยวเบนของคลื่น
การหาหน้าคลื่นใหม่ที่แผ่ออกไปจากแหล่งกำเนิด หาหน้าคลื่น
สะท้อน หน้าคลื่นหักเห
และหน้าคลื่นเลี้ยวเบนผ่านมุม สิ่งของที่กีดขวางหรือช่องแคบ”

ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate)


5. ครูเปิ ดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง คลื่นในเส้นเชือก
การซ้อนทับของคลื่น และหลักของ
ฮอยเกนส์ และให้ความรู้เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน โดยครูใช้
PowerPoint เรื่อง คลื่นใน
เส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น ในการอธิบายเพิ่มเติม
6. นักเรียนทำ Topic Question เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อน
ทับของคลื่น จากหนังสือเรียน

100
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 ลงในสมุดประจำ


ตัว
7. นักเรียนทำ Unit Question 2 เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อน
ทับของคลื่น จากหนังสือเรียน
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 ข้อ 13-15 ลงใน
สมุดประจำตัว แล้วส่งครูท้ายชั่วโมง
8. นักเรียนแต่ละคนทำแบบฝึ กหัด เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการ
ซ้อนทับของคลื่น จากแบบฝึ กหัด
รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 เป็ นการบ้านส่ง
ในชั่วโมงถัดไป

ขั้น
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. ครูตรวจสอบผลการทำใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น
2. ครูตรวจ Topic Question เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับ
ของคลื่น ในสมุดประจำตัว
3. ครูตรวจแบบฝึ กหัดจาก Unit Question 2 เรื่อง คลื่นในเส้นเชือก
และการซ้อนทับของคลื่น
4. ครูตรวจสอบแบบฝึ กหัด เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับ
ของคลื่น จากแบบฝึ กหัด รายวิชา
เพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1
5. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม
พฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
และการทำงานกลุ่ม

101
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคลื่นในเส้นเชือกและการซ้อน
ทับของคลื่นว่า “คลื่นในเส้นเชือก
เป็ นคลื่นตามขวางที่เกิดจากการสั่นของอนุภาคตัวกลาง สำหรับ
อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก จะขึ้นอยู่
กับความหนาแน่นของเชือกและแรงตึงในเส้นเชือก การซ้อนทับ
ของคลื่น มี 2 ลักษณะ คือ
การรวมกันแบบเสริม และการรวมกันแบบหักล้าง”

7. การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ
ประเมิน
7.1 การประเมิน
ระหว่างการ
จัดกิจกรรม - ตรวจใบงานที่ - ใบงานที่ - ร้อยละ 60
1) คลื่นใน 2.3.1 2.3.1 ผ่านเกณฑ์
เส้นเชือก - ตรวจแบบ - แบบฝึ กหัด - ร้อยละ 60
และการ ฝึ กหัด ผ่านเกณฑ์
ซ้อนทับของ
คลื่น
2) การนำ - ประเมินการนำ - แบบประเมิน - ระดับคุณภาพ
เสนอผลงาน เสนอ การนำเสนอผล 2
ผลงาน งาน ผ่านเกณฑ์
3) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับคุณภาพ
พฤติกรรม พฤติกรรม 2
พฤติกรรม การทำงานราย การทำงานราย ผ่านเกณฑ์

102
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
การทำงาน บุคคล บุคคล
รายบุคคล
4) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับคุณภาพ
พฤติกรรม พฤติกรรม 2
พฤติกรรม การทำงานกลุ่ม การทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์
การทำงาน
กลุ่ม
5) - สังเกตความมี - แบบประเมิน - ระดับคุณภาพ
วินัย คุณลักษณะ 2
คุณลักษณะ รับผิดชอบ ใฝ่ อันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์
อันพึง เรียนรู้
ประสงค์ และมุ่งมั่นใน
การทำงาน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หน่วย
การเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
2) แบบฝึ กหัด รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิ สิกส์ ม.5 เล่ม 1 หน่วย
การเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
3) อุปกรณ์สาธิตการทดลอง เช่น เชือก
4) อุปกรณ์สาธิตการทดลอง เช่น ลวดสปริง
103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

5) ใบงานที่ 2.3.1 เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น


6) PowerPoint เรื่อง คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น
7) รูปภาพคริสเตียน ฮอยเกนส์ (Christian Huygens)
8) สมุดประจำตัว
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) อินเทอร์เน็ต

104
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

ใบงานที่ 2.3.1
เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น

คำชี้แจง : พิจารณาภาพการซ้อนทับของคลื่น แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

1. คลื่นในภาพใดเกิดการรวมกันแบบเสริม คลื่นในภาพใดรวมกันแบบหักล้าง
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............

105
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............

2. การกระจัดลัพธ์ของคลื่นรวมที่เกิดจากการซ้อนทับของคลื่นทั้ง 2 ภาพเป็ น
อย่างไร
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............

3. หลังจากที่คลื่นในภาพทั้ง 2 ภาพเกิดการซ้อนทับและเคลื่อนที่ผ่านกันไป
แล้ว ลักษณะของคลื่นจะมี
การเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………............

ใบงานที่ 2.3.1
เฉลย
เรื่อง การซ้อนทับของคลื่น

คำชี้แจง : พิจารณาภาพการซ้อนทับของคลื่น แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

106
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

1. คลื่นในภาพใดเกิดการรวมกันแบบเสริม คลื่นในภาพใดรวมกันแบบหักล้าง
คลื่นในภาพที่ 1 รวมกันแบบหักล้าง และคลื่นในภาพที่ 2 เกิดการรวมกัน
แบบเสริม

2. การกระจัดลัพธ์ของคลื่นรวมที่เกิดจากการซ้อนทับของคลื่นทั้ง 2 ภาพเป็ น
อย่างไร
คลื่นในภาพที่ 1 เกิดการรวมกันแบบหักล้าง ทำให้การกระจัดลัพธ์ของคลื่น
รวมจะมีขนาดน้อยกว่าการกระจัดเดิม
ของแต่ละคลื่น ส่วนคลื่นในภาพที่ 2 เกิดการรวมกันแบบเสริมทำให้การก
ระจัดของคลื่นรวมจะมีขนาดมากกว่า
กระจัดเดิมของแต่ละคลื่น

107
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

3. หลังจากที่คลื่นในภาพทั้ง 2 ภาพเกิดการซ้อนทับและเคลื่อนที่ผ่านกันไป
แล้ว ลักษณะของคลื่นจะมี
การเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
เนื่องจากหลังจากที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านกันไปแล้ว แต่ละคลื่นจะมีลักษณะ
เหมือนเดิมและมีทิศทางการเคลื่อนที่
เหมือนเดิม จึงสรุปได้ว่า ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
.................................
(
................................ )
ตำแหน่ง
.......

10. บันทึกผลหลังการสอน
Ÿ ด้านความรู้

Ÿ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

108
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 คลื่นกล
แผนฯ ที่ 3 คลื่นในเส้นเชือกและการซ้อนทับของคลื่น

Ÿ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Ÿ ด้านความสามารถทางวิทยาศาสตร์

Ÿ ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปั ญหาของนักเรียนเป็ น


รายบุคคล (ถ้ามี))

Ÿ ปั ญหา/อุปสรรค

Ÿ แนวทางการแก้ไข

109

You might also like