You are on page 1of 34

รายงาน

เรื่อง รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม

จัดทำโดย
ด.ช.ภูริวัฒน์ นันต๊ะ
เลขที่ 4ก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เสนอ
คุณครู ทวี พิมพ์สิน

รายงานเล่มนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัตศิ าสตร์


ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2564
โรงเรียนสารคามพิทยาคม

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2เพื่อให้ได้ศึกษาหา
ความรู้เกี่ยวกับเมืองมหาสารคามและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้


อยู่หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมาณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ

วันที่ 19 มิถุนายน 2564


สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

คำขวัญของจังหวัดมหาสารคาม 1

ตราสัญลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม 2

ประวัติการก่อตั้งเมืองมหาสารคาม 3-4

ต้นไม้ประจำจังหวัด 4
ดอกไม้ประจำเมืองมหาสารคาม 5
สีประจำจังหวัดมหาสารคาม 6

เครื่องดนตรีประจำจังหวัดมหาสารคาม 7-8

การแบ่งเขตอำเภอ 9
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของมหาสารคาม 10-11
ลำน้ำ สายน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญ 12-13
โบราณสถาน โบราณวัตถุและสถานที่ท่องเที่ยว 14-17
บุญหรือประเพณีสำคัญของมหาสารคาม 18-29
ผ้าไหมลายประจำจังหวัดมหาสารคาม 30
อ้างอิง 31
1

คำขวัญของจังหวัดมหาสารคาม

“ พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม

ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร ”

พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร - พุทธมณฑลอีสาน หมายถึง พระธาตุ


นาดูนที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่โคก
ดงเค็ง ที่ป่าสาธารณะ ตำบลนาดูนและตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และต่อมาคณะรัฐมนตรี
ได้มีมติ ให้เป็นพุทธมณฑลอีสาน เมื่อ พ.ศ.2530 - ถิ่นฐานอารยธรรม หมายถึง เป็นถิ่นฐานที่ตั้งเมืองโบราณ
หลายแห่ง ได้แก่ เมืองนครจำปาศรี เมืองคันธารวิสัย เมืองโบราณที่ค้นพบบริเวณบ้านเชียงเหียนและบ้านแก
ดำ - ผ้าไหมล้ำเลอค่า หมายถึง เป็นเมืองที่มีการทอผ้าพื้นเมืองกันมากทั้งผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าไหมของ
จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัด หนึ่งที่มีคุณภาพดีที่สุดซึ่งสามารถทำรายได้ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้เป็น
จำนวนมากพอสมควรในแต่ละปี - ตักศิลานคร หมายถึง จังหวัดที่มีสถานศึกษามากที่สุดในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มีสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ระดับ อาชีวศึกษา3แห่ง และ
การศึกษาในระบบโรงเรียนอีก 666 แห่ง
2

ตราสัญลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคาม

เป็นรูปต้นไม้ใหญ่และท้องทุ่ง หมายถึง พื้นดินอันอุดมให้ความสุขสมบูรณ์แก่ประชาชน ซึ่งมีการทำนาเป็น


อาชีพหลัก พื้นที่ในจังหวัดนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร

นอกจากการทำนาชาวเมืองยังมีอาชีพอีกหลายอย่าง เช่น ทำเกลือสินเธาว์ ไร่ฝ้าย ยาสูบ และเลี้ยง


ไหม เมืองมหาสารคามแยกออกมาจาก แขวงเมืองร้อยเอ็ดในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
3

ประวัติการก่อตั้งเมืองมหาสารคาม

พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) หรือ ท้าวมหาชัย

มหาสารคามได้รับการแต่งตั้งเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 แต่ก่อนจะตั้งเป็นเมืองมหาสารคามนั้น


บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์มานาน บางยุค บางสมัยก็รุ่งเรือง บางยุคสมัยก็เสื่อมโทรม ตามบันทึกของ
หลวงอภิสิทธิ์สารคาม (บุดดี) ตลอดจนประวัติศาสตร์ภาคอีสานและเมืองมหาสารคาม ของ บุญช่วย อัตถากร
ระบุว่า ท้าวมหาชัย (กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,000 เส้น จึงหยุด
ตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า “วัดข้าวฮ้าว” อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำ
จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองท่ม ซึ่งเป็นที่ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้ว คือ บ้านจาน ประกอบกับ
ห่างออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยตะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งอยู่
ในความดูแลบังคับบัญชาของพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทาน “บ้านลาด กุดยางใหญ่” เป็นเมือง ของท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้า
เมือง
ราชสำนักได้มีสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) ลงวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช
1227 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2408 ดังข้อความตอนหนึ่งว่าจึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่ง
เจ้าพระยาภูธราภัย ฯ พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้อง
แก่บ้าน แก่เมืองใดแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ขนานนามบ้านลาดกุดยางไย เป็นเมืองมหาษาร ตามพระราชทานนาม
4

สัญญาบัติ ประทับพระราชลัญจกอร ตั้งท้าวมหาไชยเป็นที่พระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ทำราชการขึ้นแก่เมือง


ร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาไชย ผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัด มหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้ ต้นพฤกษ์
ชื่อสามัญ Siris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbeck Benth.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ),
กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อน
นา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง
มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะทั่วไป ต้นพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทา
แก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียด
ประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน
โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟาง
ข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย
5
ดอกไม้ประจำเมืองมหาสารคาม

ดอกไม้ประจำจังหวัด มหาสารคาม
ชื่อดอกไม้ ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ชื่อสามัญ Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria ssp.
วงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ลีลาวดี, จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็น
ช่อช่อละ หลายดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอก
ตลอดปี
การขยายพันธุ์ ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
6

สีประจำจังหวัดมหาสารคาม

สีเหลืองและสีน้ำตาล
7

เครื่องดนตรีประจำจังหวัดมหาสารคาม

กลองเป็นเครื่องมือตีทำด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลมกลวงขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนัง หน้าเดียว มี


รูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง ถ้าขึงด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น
เรียกว่า กลองรำมะนา ถ้าขึงหนัง ๒ หน้า ร้อยโยงด้วยสายหนัง เรียกว่ากลองมาลายู ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย
เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ กลองยาวของอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นกลองหน้าเดียว รูปร่าง
ทรงยาว ด้านล่าง กลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมี
หลาย ขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกใน
การเดินตีผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือบางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนานใช้กำปั้นศอกเข่า
ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี

ประวัติความเป็นมา

กลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่า กำลังทำ


สงครามกัน เวลาพักรบ ทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน ชาวไทยได้เห็นก็จำ แบบอย่าง มาเล่น
บ้าง แต่บางประวัติกล่าวว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงาน ที่มีกระบวน
แห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาล สงกรานต์ และเล่น
กันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่อง
8

ดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลอง
ยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่าเรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว กลองยาว มีการตั้งชื่อ
ตามลักษณะของกลอง คือเป็นกลองหน้าเดียวที่มีรูปร่างกลมยาว ตัวกลอง ตอนหน้าใหญ่ใช้ขึง
หนัง ตอนกลางเล็กเรียว และตอนปลายหรือฐานกลองบานคล้ายดอกลำโพง มีสายสะพายสำหรับสะพาย
บ่า กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นได้ในยุคต้น ๆ และพัฒนารูปแบบที่แตกต่าง
กันออกไปอย่างมากมายเชื่อกันว่า กลองยาว ได้แบบอย่างมาจากพม่าในสมัยกรุงธนบุรีช่วงที่ไทยทำ
สงครามกับพม่า เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นกลองยาวกันสนุกสนาน คนไทยจึง ได้นำแบบอย่างมาเล่น
บ้างจนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามหมู่บ้าน และมีการประยุกต์ใช้ลีลา ท่าตี ท่ารำเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
มากขึ้น
9

การแบ่งเขตและอำเภอ

จังหวัดมหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 133 ตำบล 1,804 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

จำนวนองค์การ
ห่างจากจังหวัด ตัง้ พื้นที่ (ตาราง จำนวน จำนวน
อำเภอ ร้อยละ บริหารส่วน
(กิโลเมตร) เมือง (พ.ศ.) กิโลเมตร) เทศบาล หมู่บ้าน
ตำบล
เมืองมหาสารคาม - ๒๔๔๓ ๕๕๖.๖๙๗ ๑๐.๖๕ ๒ ๑๓ ๑๘๕
โกสุมพิสัย ๒๘ ๒๔๔๓ ๘๒๗.๘๗๖ ๑๕.๘๔ ๑ ๑๗ ๒๓๓
วาปีปทุม ๔๐ ๒๔๒๒ ๖๐๕.๗๔๔ ๑๑.๕๙ ๑ ๑๕ ๒๔๑
บรบือ ๒๖ ๒๔๙๐ ๖๘๑.๖๒๒ ๑๓.๐๕ ๑ ๑๕ ๒๐๙
พยัคฆภูมิพิสัย ๘๒ ๒๔๔๐ ๓๔๒.๗๙ ๖.๕๖ ๑ ๑๔ ๒๒๗
กันทรวิชัย ๑๘ ๒๕๐๒ ๓๗๒.๒๒๑ ๗.๑๒ ๓ ๑๐ ๑๘๓
นาเชือก ๕๘ ๒๕๐๖ ๕๒๘.๗๙๘ ๑๐.๑๒ ๑ ๑๐ ๑๔๕
เชียงยืน ๕๕ ๒๕๐๒ ๒๗๗.๖๑๘ ๕.๓๑ ๒ ๘ ๑๑๖
นาดูน ๖๔ ๒๕๑๒ ๒๔๘.๔๔๙ ๔.๗๖ ๒ ๙ ๙๔
แกดำ ๒๘ ๒๕๓๑ ๑๔๙.๕๒๑ ๒.๘๖ ๒ ๕ ๘๘
ยางสีสุราช ๗๕ ๒๕๒๓ ๒๔๒.๕๐๗ ๔.๖๔ - ๗ ๙๑
กุดรัง ๓๗ ๒๕๓๘ ๒๖๗ ๕.๑๑ - ๕ ๘๕
ชื่นชม ๗๕ ๒๕๔๐ ๑๒๘ ๒.๓๘ ๒ ๔ ๔๗
รวม ๕๒๒๘.๘๔ ๑๐๐ ๑๘ ๑๓๓ ๑,๙๔๔
10

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของมหาสารคาม

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน มันแกว ปอ


แก้ว และไม้ผล ในภาคเกษตร ข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม
11
12

ลำน้ำ สายน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญ

แม่น้ำชี ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จากการตรวจสอบ ๓ สถานี ได้แก่ สถานีวัดวารินทราวาส ตำบลท่า


ตูม อำเภอเมืองมหาสารคาม สถานีสะพานบ้านดินดำ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม และสถานีสะพาน
บ้านคุ้มใต้ ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย พบว่า มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ทั้งหมด อำเภอเมือง
มหาสารคามมีลำห้วยสายยาว ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการเกษตรคือ ห้วยคะคาง ห้วยแอ่ง นอกจากนี้ยังมี
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง คืออ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน อ่างเก็บน้ำโคกก่อ และอ่างเก็บน้ำหนองกระทุ่ม ตำบลเข
วา
13

แหล่งน้ำชลประทานในปี 2544 ของจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นโครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน


367 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ 116,940 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.50 ของพื้นที่ถือครอง
ทางการ เกษตรทั้งหมด ที่เหลือเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ จำนวน 1 , 18 และ 152 โครงการตามลำดับ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ประโยชน์ 37,000 ,
65,6800 และ 2,280 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.43 , 2.54 และ 0.90 ของพื้นทีถ่ ือครองทางการเกษตร
ทั้งหมด ตามลำดับ โดยภาพรวม โครงการชลประทาน ของจังหวัดมหาสารคาม ในปี 2544 มีทั้งหมด 538
โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 79.716 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ
221,900 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.58 ของพื้นที่ถือ ครองทางการเกษตรของจังหวัด (2,585,064.40 ไร่)

ห้วยคะคาง ต้นน้ำเริ่มที่บัวค้อ-ดอนหว่านเขตแดนวาปีปทุม ไหลรวมกันที่อ่างเก็บน้ำโคกก่อ แล้วไหลรินต่อไป


ผ่านโคกก่อ-หนองปลิง-หนองโน-แวงน่าง รวมกับห้วยปอปิดจากหนองจิก-หนองโก-บ่อใหญ่ ที่อ่างแก่งเลิงจาน
น้ำส่วนเกินจะไหลหล่อเลี้ยงราชภัฎ-มมส.-เทศบาลเมือง -เกิ้ง -เขวา-ลาดพัฒนา-และลงน้ำชีที่ท่าตูม ความยาว
จากต้นน้ำถึงแก่งเลิงจาน ๑๔ ก.ม.จากแก่งเลิงจาน-ประตูน้ำแววพยัคฆัน ๑๐ ก.ม.จากแววพยัคฆัน-ท่าตูม ๑๔
ก.ม. รวมประมาณ ๓๔ ก.ม. ครอบคลุม ๑๕ ตำบลใน ๒ อำเภอ คือ เมืองและบรบือ
14

โบราณสถาน โบราณวัตถุและสถานที่ท่องเที่ยว

วัดป่ากู่แก้ว
วัดป่ากู่แก้ว ฐานโบราณสถานศิลาแลง รูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนบนมีร่องรอยของโบราณสถานอิฐ ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง
วัดป่ากู่แก้ว ทางวัดได้เทปูนทับบนเนินโบราณสถาน และนำพระพุทธรูปประดิษฐานทับบนเนิน

พระธาตุนาดูน
15

เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่บ้านนาดูน มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงว่า บริเวณแห่งนี้เคย


เป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรื่องของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบ ได้นำไป
แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
บรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 สมัยทวาราวดี
นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก

สะพานไม้แกดำ
สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวกว่า 50
ปี ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ แต่ก่อน
สะพานไม้นี่ทรุดโทรมาก ชาวอำเภอแกดำพร้อมด้วยกำลังทหาร ช่วยกันซ่อมแซมสะพานไม้ โดยหวังให้
ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมถึงพัฒนาสะพานไม้เก่าแก่แห่งนี้ ให้เป็น
สถานที่ถ่ายภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
16

วัดป่าวังน้ำเย็น

วัดป่าวังน้ำเย็น (วัดพุทธวนาราม) เกิดจากพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดได้ดำริที่จะสร้างวัด


จึงมีญาติโยมชาวมหาสารคามร่วมกันบริจาคที่ดินกว่าสามสิบไร่ มีพัฒนาที่ดินรกร้างที่เกิดจาคศรัทธาของ
พุทธศาสนิกชนจนวัดกลายเป็นวัดที่มีความสง่างาม เอกลักษณ์ของวัดป่าวังน้ำเย็นคือเป็นวัดที่ก่อสร้างโดยใช้ไม้
เป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้าง เช่นไม้แดง ไม้ประดู่ และไม้สักทอง โดดเด่นด้วยศาลาการเปรียญหลัง
ใหญ่ที่ใช้เสาไม้ถึง 112 ต้น จัดว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้าง
จากทองคำบริสุทธิ์ ถึง 3 องค์ น้ำหนักกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งวัดจะนำออกแห่รอบเมืองในงานทอดกฐินเป็น
ประจำทุกปี เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการบูชา ปัจจุบันอยู่ทางวัดอยู่ระหว่างการก่อสร้างเจดีย์ศรีมหาสารคาม ซึ่ง
จะกลายเป็นพระเจดีย์สำคัญแห่งที่สองของจังหวัดมหาสารคามรองจากพระธาตุนาดูน ปัจจุบันวัดป่าวังน้ำเย็น
มีนักเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมิได้ขาดและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัววัดก็มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยล้วนแต่เป็น
สิ่งสวยงามที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาของเมืองตักศิลานคร
17

วัดหนองหูลิง

พระอุโบสถรูปทรงเรืออนันตนาคราชสีทองอร่าม สร้างและตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรบรรจง ทำให้


วัดหนองหูลิง ต.มิตรภาพ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม กลายเป็นหนึ่งในวัดต้องห้ามพลาดมาเยี่ยมชมของจังหวัด

วัดเล็กๆ แห่งนี้ก่อตั้งเกือบร้อยปีมาแล้ว เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในพื้นที่ ก่อนปี พ.ศ. 2549 พระ


ครูบวรธรรมปคุณ เจ้าอาวาสในเวลาดังกล่าวจะมีความคิดริเริ่มสร้างพระอุโบสถเรืออนันตนาคราช โดยมี
ชาวบ้านมาร่วมมือกันสร้างขึ้น

ทุกจุดของพระอุโบสถล้วนแฝงด้วยคติธรรมและปริศนาธรรม เช่น ทางขึ้นลงอุโบสถมี 4 ทิศ หมายถึง


อริยสัจ 4 ทางเข้าพระอุโบสถเป็นประตูลักษณะเตี้ยๆ ทำให้เราต้องย่อตัวเดินเข้าไปเป็นการแสดงความนอบ
น้อมต่อองค์พระประธาน ส่วนองค์พระนั้นเป็นปางปฐมเทศนาเสมือนให้ผู้เข้ามารับฟังพระธรรมคำสั่งสอนจาก
พระพุทธองค์ด้วยตนเอง เป็นต้น
18

บุญหรือประเพณีสำคัญของมหาสารคาม

งานออนซอนกลองยาวชาววาปีของดีพื้นบ้าน จ.มหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคาม จัดงานประเพณีประจำปีของอำเภอคืองาน ออนซอนกลองยาวชาววาปีของดี


พื้นบ้าน ประจำปี 2541 ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้กำหนดจัดงานขึ้นในระหว่างวันที่ 12-
14 มีนาคม 2541 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอวาปีปทุม จ.มหาสารคาม ในการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่คู่ลูกหลานสืบไป ส่งเสริมอาชีพของราษฏร รวมทั้งส่งเสริม
สนับสนุนปีท่องเที่ยวไทย 2541-2542 (Amazing Thailand Year 1998-1999 โดยมีกิจกรรมภายใน
งานที่น่าสนใจต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น การประกวดกลองยาวพื้นบ้านและกลองยาวประยุกต์ ชิงถ้วย
พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี, การประกวดธิดากลองยาว, การออกร้าน
นิทรรศการของหน่วยงานราชการและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของดีจาก 15 อบต. ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
จากไม้ไผ่ เช่น หวด ตะกร้า และจ่อเลี้ยงไหม เป็นต้น, การสาธิตวิธีผลิตกลองยาว, การแสดงมหรสพ ดนตรี
หมอลำ และที่พลาดไม่ได้คือ การแสดงแสง-เสียง อันยิ่งใหญ่ตระการตาชุด "เบิกฟ้าวาปี" ในพิธีเปิดงาน
วันที่ 12 มีนาคม 2541 เวลาประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้นยังมีขบวนแห่ของคณะกลองยาวที่เข้าร่วม
การประกวดนับสิบคณะ
19

ประเพณีบุญบั้งไฟ

เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน
เรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้ง
ไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที
คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงาน
บุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้เทศกาลสำคัญของจังหวัด
มหาสารคาม

เชิญชมประมวลภาพงานประเพณีบุญบั้งไฟ อำเภอเชียงยืน
20
งานนมัสการพระธาตุนาดูน

"พระธาตุนาดูน" หรือ "พุทธมณฑลอีสาน" เป็นสถานที่ที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี


ที่แสดงว่าบริเวณแห่ง นี้เคยเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรื่องของนครจำปาศรี เมืองโบราณในอดีต อีกทั้งได้ขุด
พบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษ
ที่ 13-15 สมัยทวาราวดี จึงได้สร้างพระธาตุตามแบบสถูปที่ได้ค้นพบ และทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการพระ
ธาตุนาดูน อ.นาดูน จัดงานในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชา ของทุกปี โดยจัดที่บริเวณพุทธ
มณฑลอีสาน พระธาตุนาดูนรวม 9 วัน 9 คืน มีการร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนา และกิจกรรมในงาน
ประกอบด้วยขบวนแห่ประเพณี 12 เดือน การทำบุญตักบาตร การเวียนเทียนวันมาฆบูชา การปฏิบัติธรรม
วิปัสสนา การออกนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ การแสดงแสง สี เสียง ประวัติความเป็นมานครจำปาศรี
และการจัดร้านสินค้าชุมชน
21
พระครูโสภณเจติยาภิรักษ์ เจ้าคณะอำเภอนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า พระบรมธาตุนาดูน
พุทธมณฑลอีสาน จ.มหาสารคาม เป็นพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธได้ให้ความเคารพสักการบูชาอย่างสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจังหวัดมหาสารคามยึดถือว่าพระธาตุนาดูนเป็นส่วนหนึ่ง ของวิถีชีวิตที่ผูกพันกันมา
ยาวนาน ในช่วงเดือนมาฆะทุกปีชาวอำเภอนาดูนและจังหวัดมหาสารคามจะมีการจัดงานนมัสการ พระธาตุ
นาดูนขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มาสักการบูชา ทำพิธีบวงสรวงอันศักดิ์สิทธิ์ และร่วมกันปฏิบัติธรรมที่ลานหน้า
องค์พระธาตุนาดูน ถือเป็นงานใหญ่ระดับภาคอีสานและระดับประเทศ จึงมีพุทธศาสนิกชนทั่วสารทิศเดินทาง
มาร่วมงานบุญยิ่งใหญ่แต่ละปีจำนวนมาก
สำหรับปีนี้ได้กำหนดการจัดงานวันนมัสการองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในวันเพ็ญเดือน สาม หรือ วัน
มาฆบูชา ระหว่างวันที่ 12 - 20 กุมภาพันธ์ 2554 ณ พุทธมณฑลอีสานพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
22
งานประเพณีบุญเบิกฟ้า มหาสารคาม

งานบุญเบิกฟ้ากาชาด ได้จัดขึ้นบริเวณศาลากลางจังหวัด ช่วงเวลา วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุก ๆ ปี (อยู่


ระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์) เป็นงานเฉลิมฉลองในช่วงต้นฤดูการทำนาเพื่อฟื้นฟูและ
อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของอีสาน ในงานจัดให้มีขบวนแห่บุญเบิกฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระแม่
โพสพ เรื่องของพานบายศรีสู่ขวัญ ตลอดจนวัฒนธรรม การละเล่น ดนตรีพื้นบ้าน และพิธีกรรมต่าง ๆ

ความสำคัญ
ประเพณี บุญเบิกฟ้า เป็นประเพณีของชาวมหาสารคามที่ประกอบขึ้นตามความเชื่อว่า เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ
เดือน ๓ ของทุกๆ ปี ฟ้าจะเริ่มไขประตูฝน โดยจะมีเสียงฟ้าร้อง และทิศที่ฟ้าร้องเป็นสัญญาณบ่งบอก
ตัวกำหนดปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาหล่อเลี้ยง การเกษตรในปีนั้น ๆ
ตำนานโบราณกล่าวถึงทิศที่ฟ้าร้องว่า
๑. ทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูน้ำ ถ้าฟ้าร้องทิศนี้ฝนจะดี ข้าวกล้าในนาจะอุดม
สมบูรณ์ คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างเต็มที่
๒. ทิศอาคเนย์ มีแมวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูลม ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะน้อย นาแล้ง คนจะอด
อยาก และเกิดโรคระบาด
๓. ทิศทักษิณ มีราชสีห์เป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูทอง ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะมาก น้ำจะท่วมข้าว
กล้าในนาเสียหายถึงสองในห้าส่วน นาลุ่มเสีย นาดอนดี มีปูปลาอุดมสมบูรณ์
๔. ทิศหรดี มีเสือเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูตะกั่วหรือประตูชิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะดี น้ำงาม
พอเหมาะ ผลหมากรากไม้อุดม ปูปลามีมาก ข้าวกล้าบริบูรณ์ ผู้คนมีความสุข
๕. ทิศปัจจิม มีนาคเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเหล็ก ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะแล้ง น้ำน้อย ข้าวกล้าใน
นาแห้งตาย เสียหายหนัก
๖. ทิศพายัพ มีหนูเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูหินถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าได้ผล
กึ่งหนึ่ง เสียหายกึ่งหนึ่ง ปูปลามีน้อย คนจักป่วยไข้
๗. ทิศอุดร มีช้างเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูเงิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี
คนมีสุขทั่วหน้า
23
๘. ทิศอีสาน มีงัวเป็นสัตว์ประจำทิศ เป็นทิศประตูดิน ถ้าฟ้าร้องทางทิศนี้ ฝนจะดีตลอดปี ข้าวกล้าในนาจะ
งอกงามสมบูรณ์ดี คนจะมีความสุขเกษมตลอดปีอย่างถ้วนหน้า
ด้วยความเชื่อตามตำนานดังกล่าว ชาวมหาสารคามจึงมีประเพณีบุญเบิกฟ้า (เดิมเรียกว่าบุญเบิกบ้าน) เพื่อขอ
พรจากแถน (เทพผู้เป็นใหญ่) ให้ไขประตูฟ้าทางทิศที่เป็นมงคล
อนึ่งในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ จะมีปรากฏการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น ๓ อย่างคือ
๑. กบไม่มีปาก คือจะมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดรูกบเป็นอันว่าวันนั้นกบจำศีล ไม่ฆ่าสัตว์อื่น ๆ เป็นอาหาร
๒. นากไม่มีรูทวาร คือมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นปิดทวารหนักของตัวนาก เป็นอันว่านากจะไม่ขับถ่ายในวันนั้น เพราะ
ไม่ได้กินอาหาร
๓. มะขามป้อมจะมีรสหวาน

พิธีกรรม
พิธีกรรมบุญเบิกฟ้า มี ๔ อย่างคือ
๑. จัดพิธีสู่ขวัญข้าว ชาวอีสานเรียกว่าทำบุญตุ้มปากเล้า
๒. หาบปุ๋ยคอก (ชาวอีสานเรียกว่าฝุ่น)ไปใส่ผืนนา
๓. ทำบุญเฮือน (ทำร่วมกับทำบุญปากเล้า)
๔. นำข้าวเปลือกเต็มกระบุงไปถวายวัด
มีลำดับขั้นตอนการทำพิธีต่าง ๆ ดังนี้
๑.พิธีสู่ขวัญข้าว เพื่อแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อความสบายใจในการซื้อขายข้าว และ
เพื่อให้การแบ่งปันข้าวแก่ญาติมิตรผู้มาร่วมพิธี เครื่องบูชาหรือเครื่องคายในพิธีสู่ขวัญข้าว
- ใบคูน ๙ ใบ
- ใบยอ ๙ ใบ
- ขันหมากเบ็ง (พานบายศรี)ห้าชั้น ๒ ขัน
- กระทงใหญ่เก้าห้อง ใส่เครื่องบัดพลีต่าง ๆ มีหมากพลู บุหรี่ ข้าวตอก ดอกสามปีบ่เหี่ยว (บานไม่รู้โรย)
ดอกรัก ถั่วงา อาหารคาวหวาน หมากไม้ เหล้าไห ไก่ตัว ไข่ไก่ ข้าวต้มมัด เผือกมัน มันแข็ง มันอ่อน มันนก
ข้าวต้มใส่น้ำอ้อย
- ต้นกล้วย
- ต้นอ้อย
- ขัน ๕ ขัน ๘ (พานใส่ดอกไม้และเทียนจำนวนอย่างละ ๕ คู่และ ๘ คู่ ตามลำดับ)
- เทียนกิ่ง
- ธูป
- ประทีป
- แป้งหอม
- น้ำหอม
- พานใส่แหวน หวี กระจก
- เครื่องนอน มีสาดอ่อน (เสื่อ) หมอนลาย หมอนพิง แป้งน้ำ
- ฟักแฟง ฟักทอง กล้วยตานี กล้วยอีออง (กล้วยน้ำว้า)
- เงินคาย ๑ บาทกับ ๑ เฟื้อง
24
การดำเนินพิธีกรรม
๑. จัดเครื่องบูชาวางไว้บนกองข้าว ในยุ้งฉางข้าวมีผ้าขาวปูรองรับ โยงด้ายสายสิญจน์ จากเครื่องบูชานั้น
โยงไปรอบยุ้งและไปยังเรือนเจ้าของยุ้ง
๒. หมอสูตรหรือเจ้าพิธีจะนุ่งขาวห่มขาวแบบพราหมณ์ ถือหนังสือใบลานก้อมเรื่องคำสูตรขวัญข้าวขึ้นไปที่
ยุ้ง นั่งลงตรงหน้าเครื่องบูชา หันหน้าไปทางทิศที่เป็นมงคลประจำวัน ไหว้พระรัตนตรัย ป่าวสัคเคชุมนุมเทวดา
แล้วอ่านคำสูตรขวัญข้าวจากหนังสือก้อม
๓. ในขณะที่หมอสูตรกำลังร่ายคำอยู่นั้น จะมีคน ๒ คน ยืนระวังอยู่ ๒ ข้างประตูยุ้งฉาง คอยส่งเสียงร้อง
เรียกขวัญข้าวเป็นระยะ ๆ สอดคล้องกับคำสูตรของหมอสูตร
๔. เมื่อหมอสูตรว่าคำสูตรจบลงเป็นอันเสร็จพิธี แต่เครื่องบูชาทั้งหลายให้วางไว้ที่เดิมอีก ๗ วัน เว้นแต่มีสิ่ง
ใดที่เน่าบูดก็เก็บออกได้
๕. ห้ามทำการตักข้าวออกจากยุ้งฉางก่อนจะครบ ๗ วัน หลังจากทำพิธีสู่ขวัญข้าวแล้ว

พิธีหาบฝุ่น(ปุ๋ยคอก)ใส่ผืนนาเพื่อบำรุงดิน
ในตอนเช้ามืดของวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ชาวนาจะต้องหาบปุ๋ยคอกจากกองมูลวัว มูลควาย ซึ่งมักอยู่ใต้
ถุนเรือนของตน ทยอยออกไปใส่ผืนนา จนกระทั่งถึงเที่ยงวัน จึงหยุด เป็นการเริ่มต้นเอาฝุ่น (ปุ๋ยคอก) ใส่นาใน
ปีนั้น

พิธีทำบุญเฮือนเพื่อนำสิริมงคลจากพระรัตนตรัยมาสู่ที่อยู่อาศัย
ตอนเย็นนิมนต์พระภิกษุจำนวน ๕ หรือ ๙ รูป มาสวดมนต์เย็นที่บ้าน ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นนิมนต์
พระสงฆ์ชุดเดิมมาสวดมนต์เช้าที่บ้านแล้วทำบุญ ตักบาตรและถวายจังหันเช้า

พิธีนำข้าวเปลือกเต็มกระบุงมาถวายวัด
เพื่อแสดงความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ เนื่องจากคนอีสานโบราณนั้นมีศรัทธาแรงกล้าต่อพุทธศาสนา
เมื่อได้สิ่งที่ดี ๆ ต้องนำไปถวายพระก่อน สมัยก่อนในวัดทุกวัดจะมียุ้งฉางข้าว (เล้าข้าว) ปลูกไว้ด้วย เมื่อญาติ
โยมบริจาคข้าวเปลือกก็นำมาเก็บไว้ในยุ้งฉาง เอาไว้แจกทานต่อผู้ยากไร้ในโอกาสต่อไป
พิธีการ เมื่อถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี จะตรงกับช่วงที่ชาวนานำข้าวเปลือกมาสู่เล้าหรือยุ้งฉางเสร็จ
ใหม่ ๆ ชาวอีสานมีข้อคะลำหรือขะลำ (ข้อควรระวังหรือข้อห้าม) เกี่ยวกับข้าวว่า
๑. ถ้ายังไม่ทำพิธีสู่ขวัญข้าวห้ามตักข้าวออกจากยุ้งฉาง ถ้าจำเป็นต้องใช้บริโภคต้องกันจำนวนหนึ่งไว้
ต่างหาก
๒. ห้ามตักข้าวในยุ้งฉางในวันศีลน้อยใหญ่ (วัน ๗-๘ ค่ำ และวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ ทั้งขึ้นและแรม)
๓. ก่อนตักข้าวทุกครั้ง ต้องนั่งลงยกมือขึ้นพนมแล้วกล่าวคาถาว่า "บุญข้าว บุญน้ำเอย กินอย่าให้บก จก
อย่าให้ลง" แล้วจึงตักได้
ดัง นั้น ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี จึงมีพิธีสู่ขวัญข้าว พิธีต้มปากเล้า พิธีเอาบุญเฮือน และตอนบ่าย
ๆ ของวันนั้นจะนำข้าวเปลือกเต็มกระบุงไปถวายวัด แล้วจึงใช้ข้าวในยุ้งฉางเป็นประโยชน์ได้ตามอัธยาศัยมี
ประโยชน์ต่อวิถีชีวิตและจิตใจของเกษตรกรคือ
25
๑. เป็นการเตรียมพร้อมที่จะลงมือทำการเกษตรได้ทันฤดูกาล เพราะเมื่อถึงเทศกาลบุญเบิกฟ้า พวกเขาย่อมได้
ทำบุญให้เกิดขวัญและกำลังใจ ได้หาบปุ๋ยคอกบำรุงดิน แล้วเตรียมกาย เตรียมใจและเครื่องมือให้พร้อมที่จะทำ
นา
๒. เป็นผู้มีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อพุทธศาสนา เพราะได้ทำบุญเป็นประจำทุกปี ทำให้รู้จักเสียสละไม่ตระหนี่
ถี่เหนียว
๓. เป็นผู้มีความกตัญญูต่อผืนนา สิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ ตลอดจนเทพต่าง ๆ ที่เชื่อว่าเป็นผู้บันดาลฝน
และธัญญาหารเช่น พญาแถน และพระแม่โพสพ เป็นต้น
๔. เป็นผู้รู้จักประหยัดเช่น รู้จักเก็บข้าวไว้ในยุ้งฉางอย่างมีระเบียบ แม้แต่จะ ตักออกก็ยังมีพิธีกรรมอัน
ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยเตือนสติไม่ให้ใช้ข้าวอย่างสุรุ่ยสุร่าย ดังคำสอนของสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าที่ว่า "นตฺถิ ธญฺญสม
ธน" แปลว่า "ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี"

ตำนานบุญเบิกฟ้า
บุญเบิกฟ้า เป็นชื่องานประเพณีที่จังหวัดมหาสารคาม จัดเป็นประจำทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 2531 แล้วมี
ความเป็นมาของงาน ดังนี้
คำว่า บุญเบิกฟ้า เป็นชื่องานประเพณีที่สืบเนื่องมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอีสาน ที่ชาวอีสานจัด
ขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าพื้นดินมีพระคุณต่อมนุษย์ เพราะ นอกจากพื้นดินจะให้ที่อยู่อาศัยแก่มนุษย์แล้ว ดินยังมี
บุญคุณต่อคนที่ให้อาหารเลี้ยงดูมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น คนอีสานจึงจัดงานเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดินโดยมี
สำนึกที่ว่าเมื่อดินเป็น ผู้ให้อาหารหรือผลิตผลอาหารแก่มนุษย์ มนุษย์จึงต้องรู้จักทดแทนบุญคุณ โดยจัดการ
บำรุงดินด้วยการให้อาหารแก่ดินเป็นการตอบแทน อาหารของดิน คือ ปุ๋ย คนอีสานเห็นว่า ปุ๋ยคอกหรือขี้วัว
ขี้ควาย นั้นมีแร่ธาตุ ที่ดินต้องการเพื่อจะให้ความเจริญแก่พืชที่เกิดจากดิน ดังนั้น คนอีสาน จึงจัดให้มีวันเติม
ปุ๋ยให้แก่ดินขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี
“ ทำไมคนอีสานจึงถือเอา วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันที่จะให้อาหารแก่ดิน”
ทั้งนี้ เพราะชาวอีสานแต่อดีตเห็นว่าเดือน 3 เป็นเดือนที่ชาวอีสานจะเสร็จสิ้นจากการเพราะปลูกพืช
พันธุ์ธัญญาหาร ชาวอีสานจะเก็บเกี่ยวผลิตผลต่างๆเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือน 3
“เดือน 3” จึงเป็นเดือนที่คนอีสานเห็นว่าเป็นเดือนที่ “มหัศจรรย์” หลายอย่าง นอกจากเป็นเดือนที่
อุดมสมบูรณ์ในรอบปีแล้วยังยังเป็นเดือนที่ “ฟ้าร้อง” เป็นครั้งแรกของปีที่ฟ้าร้องครั้งแรกของปีนั้น คนอีสาน
จะสังเกตปฏิกิริยาว่าฟ้าจะร้องทางทิศใด การร้องของฟ้าในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 นี้จะเป็นสัญญาที่บอกความ
อุดมสมบูรณ์ของฝนในปีนั้นๆ ด้วย จากการวิจัยของคนโบราณนั้น ได้พิสูจน์ความแม่นยำในการทำนายสถิติ
ของฝนมาแล้ว และชาวอีสานได้บันทึกคำทำนายเป็นกลอน “โสลกฝน”
ซึ่งหมายความว่าในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 มีความอิ่มเต็มโดยอัตโนมัติ ซึ่งแม้แต่กบไม่ได้กินอะไรเลย
ก็จะอิ่มทิพย์อิ่มเองโดยไม่ต้องกินถ้าจะจับกบมาดูในวันนั้น (วันขึ้นสามค่ำ เดือนสาม) จะเห็นว่า ที่ ปากของกบ
จะมีเยื่อบาง ๆ สีขาวปิดปากอยู่แสดงว่ากบนั้นไม่ต้องกินอะไรเลยก็อิ่มเองและหากใครเอามะขาม ป้อมมาเคี้ยว
กินในวันนั้น มะขามป้อมซึ่งมีรสเปรี้ยว ก็จะมีรสหวานได้อย่างน่าอัศจรรย์ นอกจากนั้นในวันขึ้น 3 ค่ำ
เดือน 3 ชาวอีสานจะต้องขนปุ๋ยคอก คือขี้วัวขี้ควายไปใส่แปลงนาทุกคนทุกเรือน และในวันดังกล่าวฟ้าจะร้อง
เป็นครั้งแรกในรอบปีอีกด้วยที่มาของบุญเบิกฟ้า เมื่อปี พ.ศ. 2528 นายสาย โสรธร เกษตรอำเภอเชียงยืน ได้
ชักชวนชาวบ้านแบก ตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน ฟื้นฟูประเพณีหาบฝุ่นปุ๋ยคอกไปใส่แปลงนาทุกครัวเรือน
เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเพณีบำรุงดินแบบอีสานและปรากฏว่า ชาวบ้านแบกได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และ
26
ผลปรากฏว่าผลิตผลข้าวปีนั้นเพิ่มจำนวนขึ้น 50 % ทำให้ชาวบ้านพอใจมาก ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2529 เกษตร
อำเภอเชียงยืนได้ย้ายแหล่งรณรงค์เพิ่มผลผลิตแบบอีสาน ไปจัดที่บ้านหนองซอน อำเภอเชียงยืน ในปีนี้นาย
นิคม มากดี เกษตรจังหวัดได้เชิญสื่อมวลชนไปทำข่าว เผยแพร่ด้วย ปีนั้นนอกจากจะปลุกชาวบ้านให้ช่วยหาบ
ปุ๋ยคอกไปใส่แปลงนาแล้วยังทำพิธีบูชาเทพแม่ธรณีด้วย เครื่องสังเวยต่างๆ
มี เหล้า ไห ไก่ต้มทั้งตัว และของหวานกล้วยอ้อยพร้อมมูลตามแบบพิธีดั้งเดิมที่คนอีสานเคยทำกันมา
แต่เลิก ร้างการจัดไปหลายปีแล้วแต่ฟื้นขึ้นมาทำใหม่ งานนี้ถือเป็นการจัดประเพณีที่สมบูรณ์แบบของชาว
อีสาน คณะสื่อมวลชนจังหวัดมหาสารคาม นำโดย นายประสาสน์ รัตนะปัญญา ประธานชมรมฯ เห็นว่าเป็น
ประเพณีที่ดีและน่าจะนำมาเป็นงานประจำปีของจังหวัดมหาสารคามด้วย จึงได้ทำโครงการ “งานบุญเบิก
ฟ้า” เสนอต่อนายไสว พราหมมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้น เพื่อให้จัดร่วมกับงานกาชาดประจำปีจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประจำประจำเดือนของจังหวัด โดยได้นิมนต์ พระอริยานุวัติ เจ้า
อาวาสวัดมหาชัย ซึ่งเป็นปราชญ์ที่ชาวอีสานยกย่องให้มาให้คำแนะนำและให้ความคิดเห็นด้วย ที่ประชุมได้
อภิปรายในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ที่สุดก็มีความเห็นสมควรที่จะจัดเป็นงานประจำปีควบกับงานกาชาด แต่ใน
ปี 2530 นั้น นายไสว พราหมณี ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเสียก่อน
เลยไม่มีการจัดงานบุญเบิกฟ้าในปีนั้น เมื่อ ดร.จินต์ วิภาตะกลัต ได้มารับตำแหน่งผู้ว่าราชการคนใหม่ นาย
ประสาสน์ รัตนะปัญญา ได้นำเรื่องนี้เสนอผู้ว่าคนใหม่ ซึ่ง ดร. จินต์ ก็เห็นด้วยที่จะจัดงานนี้ให้เป็นงานประเพณี
ประจำปีของจังหวัดมหาสารคาม โดยการร่วมกับงานกาชาดในปี 2531 เป็นปีแรก และจังหวัดมหาสารคาม
ได้กำหนดจัดงานบุญเบิกฟ้าและงานกาชาดประจำปี 2531 รวม 7 วัน 7 คืน โดยเริ่มงานในวันขึ้น 3 ค่ำ
เดือน 3 เป็นต้นมา งานบุญเบิกฟ้าจึงเริ่มตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป

วัตถุประสงค์หลักของการจัดงานบุญเบิกฟ้าฯ

1. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาอีสานเกี่ยวกับการบำรุงดินให้คงไว้
2. เพื่อกระตุ้นเตือนให้เกษตรกรรู้คุณค่าของการบำรุงดิน
3. เพื่อให้ความรู้ด้านการเกษตรไร้สารเคมีเป็นพิษแก่ผู้บริโภค
4. เพื่อแสดงถึงวิทยาการก้าวหน้าของการผลิตเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชประสงค์
5. เพื่อหารายได้ส่งเสริมกิจการการเกษตรแลละกาชาด
27

ดังนั้น การจัดงานบุญเบิกฟ้าและกาชาดของจังหวัดมหาสารคามจึงมีคุณค่าต่อการอยู่ดีกิน ดีของ


ประชาชน ที่ควรค่าแก่การสืบทอด ซึ่งสมควรจัดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของงานให้มาก
ที่

งานประเพณีบุญออกพรรษา แข่งขันเรือยาว ลอยกระทงและไหลเรือไฟ

เทศบาลตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม - ขอเชิญร่วมงานประเพณีบุญออก


พรรษา มหาสารคามในเดือนตุลาคมเป็นช่วงการจัดงานประเพณีบุญออกพรรษาของไทยพุทธและในจังหวัด
รับผิดชอบได้มีการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ และน่าสนใจ ของจังหวัด
มหาสารคาม
28

งานประเพณีบุญออกพรรษา แข่งขันเรือยาว ลอยกระทงและไหลเรือไฟ เทศบาลตำบลหัว


ขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จัดงานออกพรรษายิ่งใหญ่ รักษาประเพณีอันดีงาม ของชาว
อำเภอโกสุมพิสัย ชมขบวนแห่เรือยาวอันสวยงาม และส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัด โดยจัดขึ้นใน
วันที่ 5 ตุลาคม 2552 ณ บริเวณบึงบอน อำเภอโกสุมพิสัย เพื่อสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำชี
รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาวอำเภอโกสุมพิสัย สร้างความสามัคคีระหว่างข้าราชการ
พ่อค้า ประชาชน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ฝึกฝนให้คนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัยและสนับสนุนให้มีการ
ออกกำลังกายให้ทุกฝ่ายแสดงออกร่วมกัน เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นการผ่อนคลายความเคร่งเครียด
จากการตรากตรำทำ งานหนัก ที่สำคัญเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งอำเภอโกสุมพิสัย
โดยมีกิจกรรมประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งเรือยาว การลอยกระทงและไหลเรือ
ไฟ พิธีการบวงสรวงแม่น้ำ การปล่อยโคมไฟและการจุดพลุสวยงาม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ที่ เทศบาลตำบลหัวขวาง โทรศัพท์ 043 – 761010 ต่อ 108
การไหลเรือไฟและแข่งขันเรือยาวออกพรรษามหาสารคาม

ชาวตำบลท่าขอนยางจัดงานประเพณีไหลเรือไฟญ้อ เนื่องในวันออกพรรษาและแข่งขันเรือพายที่
อำเภอโกสุมพิสัยที่ศาลากลางบ้านท่าขอนยาง ชาวบ้านท่าขอนยางร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัด
ประเพณีไหลเรือไฟ ออกพรรษาชาวไทญ้อทั้ง 15 หมู่บ้าน เพื่อสืบสานประเพณีนายทอง ทวีพิม์เสน ผู้ว่า
ราชการจังหวัดมหาสารคามเป็นประธานเปิดงานประเพณีไหลเรือไฟญ้อเนื่องในวันออกพรรษา โดยมี
ประชาชนชาวตำบลท่าขอนยางเข้าร่วมงานกว่า 1000 คน นายศุภชัย บุตราช นายกเทศบาลตำบลท่าขอน
29
ยาง กล่าวว่า สำหรับการจัดงานประเพณีไหลเรือไฟญ้อเนื่องในวันออกพรรษาในครั้งนี้ได้จัดสืบ ทอดกันมาเป็น
ประจำทุกปี สำหรับการไหลเรือไฟญ้อนั้นเนื่องจากชาวชุมชนท่าขอนยางเดิมที่เป็นชาวญ้อที่ ย้ายถิ่นฐานมาตั้ง
บ้านอาศัยอยู่ที่บริเวณดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่าบ้านท่าขอนยาง ปัจจุบันมีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ดั้งนั้นเพื่อเป็นการ
อนุรักษ์ประเพณีออกพรรษาของไทย ชาวตำบลท่าขอนยางจึงร่วมกันจัดประเพณีดังกล่าวขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนา และ
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในบทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และเผยแพร่ประเพณีอันดีงาม
ของท้องถิ่นให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้อย่างกว้าง ขวางต่อไป สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย การ
แห่ขบวนตำนานงานประเพณีออกพรรษา การแสดงวิถีชาวญ้อที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าขอนยาง การไหลเรือไฟ
และที่อำเภอโกสุมพิสัยก็ได้จัดประเพณีการแข่งเรือพายในเทศกาลออกพรรษาเพื่อ สร้างความสามัคคีและเป็น
การขอขมาแม่น้ำชีมหาสารคาม
30

ผ้าไหมลายประจำจังหวัดมหาสารคาม

ผ้าไหมมัดหมี่ ลายสร้อยดอกหมาก กลุ่มทอผ้าไหมบ้านกุดรัง


เอกลักษณ์ความโดดเด่นของผ้าทำให้มีคุณสมบัติพิเศษเป็นจุดเด่น คือ เป็นลายเล็กที่มีความละเอียดอย่างยิ่ง
เมื่อนำมาประยุกต์สีสันลงไปในการมัดย้อมแต่ละครั้งจะทำให้มองดูสวยงามระยิบระยับจับตามีคุณค่ามากขึ้น

การทอผ้าไหมลายสร้อยดอกหมาก เส้นไหมที่ใช้จะต้องเส้นเล็ก มีความสม่ำเสมอ การทอผ้าไหมลายสร้อย


ดอกหมาก ใช้เวลาในการทอมากและขึ้นอยู่กับความละเอียดของลาย เฉพาะการมัดหมี่ก็ใช้ระยะเวลานาน 4-
5 วัน ยิ่งลายละเอียดก็ต้องขยายลำหมี่ให้มากขึ้นเป็น 49 ลำ หรือเป็น 73 ลำ ดอกก็จะมีขนาดเล็กลงไป ส่วน
ขั้นตอนการทอก็ใช้เวลาพอสมควร
ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก เป็นลวดลายผ้าโบราณลายดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสาน เป็นลายเก่าแก่ของ
บรรพบุรุษซึ่งชาวบ้านในแถบภาคอีสานโดยเฉพาะ จ. มหาสารคาม มีการทอใช้กันมาก ต่อมา จ. มหาสารคาม
จึงได้กำหนดให้ “ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมาก” ให้เป็น “ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด”

แต่เดิมชาวบ้านแถบ จ. มหาสารคาม ทอผ้าลายโบราณตามแบบบรรพบุรุษอยู่หลายลายด้วยกัน แต่ภายหลัง


ลายเก่าแก่เหล่านี้ก็เริ่มสูญหายไปจากชีวิตการทอผ้าของชาวบ้าน เนื่องจากความยากในการทอ ลายสร้อย
ดอกหมากก็เป็นลายผ้าโบราณลายหนึ่งที่เกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ด้วยความที่ลายผ้ามีความละเอียดมาก
ผู้ทอต้องมีความรู้ในเรื่องของลายและมีฝีมือทั้งในการมัดและการทอ ถ้าไม่มีความชำนาญ การย้อมสีอาจไม่
สม่ำเสมอ ทำให้ลายผ้าผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงเป็นสาเหตุให้ชาวบ้านไม่นิยม
ทอผ้าลาย “สร้อยดอกหมาก”
31

อ้างอิง

https://travel.trueid.net/detail/O8AEq3NAArv

https://www.panmai.com/PvFlower/fl_33.shtml

http://motto108.blogspot.com/2015/11/mahasarakham-motto.html

http://www.mahasarakham.go.th/mkweb/new-data/509

You might also like