You are on page 1of 4

การประเมินค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม

SBAS ร่วมกับการรังวัดด้วยระบบดาวเทียม GPS สำหรับการประมวลผล


การรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวในพื้นที่ประเทศไทย POSITION
ACCURACY EVALUATION USING THE CORRECTION OF THE SBAS
COMBINED WITH GPS FOR SINGLE POINT POSITIONING IN
THAILAND

Satellite Based Augmentation System (SBAS) เป็ นระบบ


เสริมดาวเทียมที่ให้บริการค่าแก้สำหรับดาวเทียม GNSS ซึ่งครอบคุมพื้นที่
บริการเป็ นบริเวณกว้างและมีการพัฒนาในประเทศต่างๆทั่วโลกเนื่องจาก
ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในพื้นที่บริการแต่ก็รับสัญญาณจากระบบดาวเทียม SBAS
ได้ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาการประเมินค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดย
การใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS ประมวลผลร่วมกับข้อมูลรังวัดด้วยดาว
เทียมนําหน GPS สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวใน
พื้นที่ประเทศไทยผลการศึกษาพบว่าปั จจุบันประเทศไทยสามารถรับสัญญาณ
ค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS ได้ 3 ระบบคือ SPAN, GAGAN และ BDSBAS
ซึ่งค่าแก้ทั้ง 3 ระบบข้างต้นไม่สามารถเพิ่มค่าความถูกต้องทางตำแหน่งทางราบ
และทางดิ่งได้โดยเฉลี่ย

ในปั จจุบันเทคโนโลยีการรังวัดด้วยดาวเทียมได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรังวัดด้วยระบบดาวเทียม GPS (Global Positioning
System: GPS) เป็ นระบบที่ใช้หาค่าพิกัดตำแหน่งที่พัฒนาโดยกระทรวง
กลาโหมของสหรัฐอเมริกาซึ่งปั จจุบันสัญญาณของระบบดาวเทียม GPS
ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกจึงมีการใช้ประโยชน์จากระบบดาวเทียม GPS
มากมายอาทิเช่นงานทำแผนที่และหมุดควบคุมงานตรวจจับการเคลื่อนตัวของ
เปลือกโลกงานควบคุมเครื่องจักรกลและงานสํารวจรังวัดทางตำแหน่งซึ่งค่าที่
รังวัดได้จากการรับสัญญาณดาวเทียม GPS และนำมาใช้ประโยชน์คํานวณหา
ค่าพิกัดทางตำแหน่งที่สำคัญมี 2 ชนิดคือซูโดเรนจ์ (Pseudorange) และเฟส
ของคลื่นส่ง (Carrier phase) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาตำแหน่งแบบจุดเดี่ยว
ที่เป็ นการหาตำแหน่งสัมบูรณ์โดยวิธีซูโดเรนจ์ (Pseudorange) จะให้ค่าพิกัด
ทางตำแหน่งทันทีซึ่งให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งในระดับ 5-10 เมตร ใน
ปั จจุบันจึงได้มีความพยายามที่จะปรับปรุงค่าความถูกต้องทางตำแหน่งให้ดีขึ้น
จึงได้มีการพัฒนาระบบเสริมดาวเทียมที่เรียกว่า Satellite Based
Augmentation System (SBAS) ซึ่งระบบดาวเทียม SBAS ของแต่ละ
ประเทศจะให้ค่าแก้ที่แตกต่างกันเมื่อนําค่าแก้ดังกล่าวประมวลผลร่วมกับข้อมูล
รังวัดด้วยระบบดาวเทียม GPS จะทำให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งแตกต่าง
กันด้วยและมีการปรับใช้งานจากการให้บริการของดาวเทียม SBAS ในพื้นที่
ประเทศของตนเอง การสำรวจจุดเดียวในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลจากเครื่อง
รับสัญญาณดาวเทียมอ้างอิง (ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การประชุมวิชาการ
ระดับชาติครั้งที่ 26 ว่าด้วยวิศวกรรมโยธา 23-25 มิถุนายน 2564 การประชุม
ออนไลน์ 23-25 มิถุนายน 2564 การประชุมออนไลน์สถานีอ้างอิง SGI-03-2:
CORS) จากกรมแผนที่ทหารและข้อมูลการแก้ไขจากดาวเทียม SBAS ระบบ
ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมนำทาง GPS ประมวลผล
ด้วยวิธีการประมวลผลแบบจุดเดียวความละเอียดสูง (Precise Point
Positioning : PPP) เป็ นพิกัดอ้างอิงสำหรับการใช้งาน เมื่อเทียบกับการ
ประมวลผลพิกัดจากข้อมูลดาวเทียมนำทางด้วย GPS โดยวิธี Single Point
Positioning (SPP) และการประมวลผลพิกัดจากข้อมูลดาวเทียมนำทาง หน้า
GPS โดยใช้การแก้ไขจากระบบดาวเทียม SBAS ด้วยวิธีการกำหนดตำแหน่งจุด
เดียว (SPP)

ระบบนําทางด้วยดาวเทียม GNSS ได้ถูกออกแบบใช้งานมาอย่างยาวนาน โดยมี


ประเทศต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาระบบนําทางด้วยดาวเทียมขึ้นมา ซึ่งระบบดาวเทียม
GNSS ถูกนําไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการนําทาง
ทางบก ทางอากาศ หรือการเดินเรือทางทะเลที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งกา
กำหนดตำแหน่งที่มีความถูกต้องในระดับเซนติเมตร เป็ นสิ่งสำคัญอย่างมากใน
การทำงานด้านอุทกศาสตร์ และการเดินเรือประเภทต่าง ๆ เช่น การเดินเรือ
ผ่านช่องแคบ การเดินเรือในสถานที่มีการจราจรทางน้ำหนาแน่น หรือน่านน้ำ
จํากัด ในปั จจุบันองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime
Organization; IMO) ได้ยอมรับการใช้เครื่องรับสัญญาดาวเทียม GNSS ที่มี
ความสามารถในหาตำแหน่งค่าพิกัด การนําทาง แลเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการเดินเรือ โดยให้เป็ นส่วนหนึ่งของระบบวิทยุการเดินเรือทั่ว
โลก WWRNS(World–Wide Radionavigation System) ต้องมีความ
สอดคล้องกับข้อกําหนดของ IMO ตามอนุสัญญา SOLAS (International
Convention for the Safety of Life at Sea)
การหาตำแหน่งแบบจุดเดียวเป็ นการหาตำแหน่งสัมบูรณ์ของเครื่องรับ
โดยใช้เครื่องรับเพียงเครื่องเดียวโดยปกติจะใช้วิธีการวัดซูโดเรนจ์ ซึ่งซูโดเรนจ์ที่
ได้จะมีค่าคลาดเคลื่อนไปจากระยะทางจริงระหว่างดาวเทียมกับเครื่องรับ
สัญญาณ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนหลายชนิด อาทิความคลาดเคลื่อนวง
โคจรดาวเทียม ความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาดาวเทียม และความคลาดเคลื่อน
เมื่อคลื่นเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ เป็ นต้น
การหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์หรือ เทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์
DGNSS เป็ นวิธีที่ใช้สำหรับงานที่ต้องการความถูกต้องสูง และจะต้องทราบ
ตำแหน่งสัมบูรณ์อย่างน้อยหนึ่งจุด เพื่อใช้หาตำแหน่งสัมบูรณ์ของจุดอื่น ๆ
ฉะนั้นจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณอย่างน้อย 2 เครื่องในการทำงาน หลักการทำ
งานนําเครื่องรับสัญญาณเครื่องที่หนึ่งไปวางไว้บนหมุดที่ทราบค่าพิกัดแล้ว ซึ่ง
เรียกกันโดยทั่วไปว่า สถานีฐาน (Base station)ส่วนเครื่องรับเครื่องที่สองจะถู
กนําไปวางรับสัญญาณตามจุดที่ต้องการทราบค่าพิกัด ซึ่งเรียกว่าสถานีจร
(Roving station)การหาค่าพิกัดของตำแหน่งจุดต่าง ๆ ด้วยวิธีนี้ เครื่องรับ
สัญญาณดาวเทียมที่สถานีฐานและสถานีจรจะต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่ม
เดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันและรับสัญญาณอย่างน้อย 4 ดวง

You might also like