You are on page 1of 124

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง

(Brainstorming Method) ที่มีตอ่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ


ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา

โยธิน ใคร่กระโทก

วิจัยในชั้นเรียนเสนอมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
หลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาคณิตศาสตร์
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยพะเยา

วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง


(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา
ผู้วิจัย นายโยธิน ใคร่กระโทก
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา
สถานที่ทำวิจัย โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบ STAD, การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง

บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ด้วยการ
จัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัด
นครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน เป็นห้องเรียนตามสภาพจริง ซึ่งได้มาโดยการเลือก
แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยการ
จัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง จำนวน 6 แผน รวม 6 คาบ และแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ย
ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์
ผลการศึกษาพบว่ามีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จึงสรุปได้ว่า
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มี
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา เล่มนี้ ผู้วิจัยได้รับความกรุณาและสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่ายเป็นอย่างดี ทำให้
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา เล่มนี้ สำเร็จลุล่วงสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์นิเทศ
ผศ.ดร.วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ ที่ให้ความกรุณาสละเวลาอันมีค่าในการให้คำแนะนำต่าง ๆ ในการทำวิจัย ครูพี่เลี้ยง
นายวิฑูรย์ นินาลาด นางสาวสาวิตรี บรรจงรอด และนางสาวเบญจภรณ์ ไพรพฤกษ์ ที่กรุณาให้คำชี้แนะเรื่อง
แผนการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ขอขอบคุณหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นายสุบรรณ ตั้งศรีเสรี ที่คอย
ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ในการทำวิจัย และขอขอบคุณคณะครูกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ทุกท่าน ที่คอยอำนวย
ความสะดวกในการทำวิจัย ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณเพื่อน ๆ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้งร่วมสถาบันและต่างสถาบัน ที่ช่วยให้คำแนะนำในด้าน
การดำเนินวิจัยต่าง ๆ และขอขอบใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ จนทำให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

โยธิน ใคร่กระโทก

สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญรูปภาพ ช
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
สมมติฐานการวิจัย 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตการวิจัย 2
กรอบแนวคิด 3
นิยามศัพท์เฉพาะ 3
บทที่ 2 เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 4
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD 5
ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 6
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 6
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD 7
ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD 8

สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 9
ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 9
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 9
ข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 10
ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 10
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 11
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 13
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 15
กลุ่มเป้าหมาย 15
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 15
การเก็บรวบรวมข้อมูล 18
การวิเคราะห์ข้อมูล 18
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 19
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19
คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 20
คะแนนหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10

สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
บทที่ 5 สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 21
สรุปการวิจัย 21
อภิปรายผล 22
ข้อเสนอแนะ 23
บรรณานุกรม 24
ภาคผนวก 26
ภาคผนวก ก 27
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ฉบับก่อนหาดัชนีความสอดคล้อง 28
(Index of Item – Objective Congruence : IOC)
ตารางแสดงผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) 32
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 34
ภาคผนวก ข 36
คะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง 37
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ภาคผนวก ค 39
แผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง เรื่อง สถิติ 40
ภาคผนวก ง 111
รูปภาพในระหว่างขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ 112
แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ประวัติผู้วิจัย 116

สารบัญตาราง
เรื่อง หน้า
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19
คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ตารางที่ 2 ตารางแสดงการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 20
คะแนนหลังจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) 32
ตารางที่ 4 ตารางแสดงคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ 37
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 2/10

สารบัญรูปภาพ
เรื่อง หน้า
รูปภาพที่ 1 รูปภาพแสดงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ 16
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
รูปภาพในระหว่างขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ 112
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 2/10
1

บทที่ 1
บทนำ
1. ที่มาและความสำคัญ
จากการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบุญวัฒนา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ผู้วิจัยพบปัญหาว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ร้อยละ 74 ของห้อง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตไม่ผ่าน
เกณฑ์ และจากข้อมูลบันทึกหลังแผนส่วนใหญ่บันทึกไว้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ของห้องนี้ มีพฤติกรรมชอบจับกลุ่มคุย
กันในระหว่างที่เรียน บางส่วนมักอยูไ่ ม่นงิ่ โดยจะหันหลังไปคุยกับเพื่อนอยู่เสมอ หรือเล่นโทรศัพท์ในขณะที่ครูสอน
ซึ่งผู้วิจัยได้ประเมินว่าการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมส่งผลให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการ
สอนน้อยมาก และส่วนใหญ่แบบฝึกหัดที่ให้นักเรียนทำจะเป็นการทำงานแบบเดี่ยวซึ่งไม่สอดคล้องกับบริบทของ
ห้องเรียนที่นักเรียนมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม ส่งผลให้นักเรียนไม่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเท่าที่ควร จึงทำให้
นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และหันไปสนใจโทรศัพท์มือถือ นำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ผ่าน
เกณฑ์
การจัดการเรียนรู้แบบ STAD (Student Teams-Achievement Division) เป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนา
มาจากการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิค STAD ได้จัดให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4-5 คน โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วย สมาชิกที่มีความรู้
ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้ ทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
การแบ่งปันวิธีการคิด และการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน อันนำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่ม (วัฒนาพร ระงับทุกข์
2542)
การจัดการเรียนการสอนแบบระดมสมอง (Brainstorming Method) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้
นักเรียนทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้มากที่สุด สามารถออกความคิดได้อย่างเสรี
โดยจดบันทึกความคิดเห็นนั้นไว้ หลังจากนั้นจัดให้มีการอภิปราย ทบทวนความคิดที่บันทึกไว้เพื่อเลือกวิธีการที่
เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหา (จุรีพร คำภักดี 2552)
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจนำการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มาจัดการ
เรียนการสอน เรื่องสถิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อช่วยแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา
2

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
3. สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102)
5. ขอบเขตการวิจัย
5.1 กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัด
นครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน เป็นห้องเรียนตามสภาพจริง ซึ่งได้มาโดยการเลือก
แบบเจาะจง
5.2 เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (ค22102) เรื่องสถิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกเนื้อหาในเรื่องสถิติ เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความ
เพื่ออ่านค่าข้อมูลทางสถิติ จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลาย ๆ ด้าน ในการจัดกระทำข้อมูลที่เหมาะสม
5.3 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง
ระยะเวลาในการทดลอง 6 คาบ คาบละ 50 นาที
3

5.4 ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4
(ค22102) เรื่องสถิติ
6. กรอบแนวคิด

7. นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การจัดการเรียนรู้แบบ STAD หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยคละความสามารถและระดับสติปัญญา ได้แก่ นักเรียนที่มีความสามารถสูง 1 คน
ปานกลาง 2-3 คน และอ่อน 1 คน โดยครูเป็นผู้สอนบทเรียนให้กับนักเรียนทั้งชั้น แล้วให้แต่ละกลุ่มทำงานตามที่
ครูมอบหมาย โดยนักเรียนในแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึง่ การจัด
การเรียนรู้แบบ STAD มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเสนอบทเรียน ขั้นทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ขั้นการทดสอบย่อย
ขั้นการพัฒนาตนเอง และขั้นการได้รับการยกย่อง
2. การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนทุกคนได้แสดงความ
คิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้มากที่สุด สามารถออกความคิดได้อย่างเสรี โดยจดบันทึกความคิดเห็น
นั้นไว้ หลังจากนั้นจัดให้มีการอภิปราย ทบทวนความคิดที่บันทึกไว้เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการ
แก้ปัญหา ซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นระดมสมอง ขั้นอภิปราย ขั้นจัดลำดับความคิด และขั้น
วางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ เรื่องสถิติ ใน
รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 (ค22102) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
4

บทที่ 2
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา ครั้งนี้ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีลำดับตามหัวข้อต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.2 องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.4 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
1.5 ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
2. การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2.2 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2.3 ข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2.4 ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5

1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
1.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Slavin (1995 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า การเรียน
แบบร่วมมือกันเป็นวิธีสอนที่นำไปประยุกต์ใช้ได้หลายวิชาและหลายระดับชั้น โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย
โดยทั่วไปมีสมาชิกในกลุ่ม 4 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน เป็นนักเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และ
นักเรียนอ่อน 1 คน นักเรียนในกลุ่มต้องเรียนและรับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน นักเรียนจะประสบผลสำเร็จก็
ต่อเมื่อเพื่อสมาชิกในกลุ่มทุกคนประสบผลสำเร็จ บรรลุเป้าหมายร่วมกัน จึงทำให้นักเรียนช่วยเหลือจากการพึ่งพา
กันและสมาชิกในกลุ่มจะได้รับรางวัลร่วมกันเมื่อกลุ่มทำคะแนนได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้
ว่า เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
เป็นกลุ่มเล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วย สมาชิกที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่าง
แท้จริงในการจัดการเรียนรู้ ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็น
กำลังใจแก่กันและกัน จนนำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งสะท้อนความสำเร็จของแต่ละบุคคลรวมไว้ด้วยกัน
ไสว ฟักขาว (2544 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า เป็น
การจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน มีการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตน และ
ส่วนรวม เพื่อให้กลุ่มได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2545 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือไว้ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มี
ความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงาน
ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถต่างกัน ได้ร่วมมือกันทำงานกลุ่มด้วยความตั้งใจและ
เต็มใจรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในกลุ่มของตน ทำให้งานของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายของงานได้
สรุป การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ สมาชิกใน
กลุ่มมีความสามารถแตกต่างกันอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือสนับสนุน
ซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม จนนำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งสะท้อน
ความสำเร็จของแต่ละบุคคลรวมไว้ด้วยกัน
6

1.2 องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือไว้ดังนี้
1. มีการพึ่งพาอาศัยกัน (Positive Interdependence) หมายถึง สมาชิกในกลุ่มมีเป้าหมายร่วมกัน
มีส่วนรับความสำเร็จร่วมกัน ใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน มีบทบาทหน้าที่ทุกคนทั่วกัน ทุกคนมีความรู้สึกว่างานจะ
สำเร็จได้ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดในเชิงสร้างสรรค์ (Face to Face Promotive Interaction) หมายถึง
สมาชิกกลุ่มได้ทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด เช่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอธิบายความรู้แก่กัน ถามคำถาม ตอบคำถาม
กันและกัน ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน
3. มีการตรวจสอบความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability) เป็นหน้าที่
ของผู้สอนที่จะต้องตรวจสอบว่า สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่มหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เช่น การสุ่ม
ถามสมาชิกในกลุ่ม สังเกตและบันทึกการทำงานกลุ่ม ให้ผู้เรียนอธิบายสิ่งที่ตนเรียนรู้ให้เพื่อนฟัง ทดสอบรายบุคคล
เป็นต้น
4. มีการฝึกทักษะการช่วยเหลือกันทำงานและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interdependence and
Small Groups Skills) ผู้เรียนควรได้ฝึกทักษะที่จะช่วยให้งานกลุ่มประสบความสำเร็จ เช่น ทักษะการสื่อสาร
การยอมรับและช่วยเหลือกัน การวิจารณ์ความคิดเห็นโดยไม่วิจารณ์บุคคล การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การให้ความ
ช่วยเหลือและการเอาใจใส่ต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน การทำความรู้จักและไว้วางใจผู้อื่น เป็นต้น
5. มีการฝึกกระบวนการกลุ่ม (Group Process) สมาชิกต้องรับผิดชอบต่อการทำงานของกลุ่ม ต้อง
สามารถประเมินการทำงานของกลุ่มได้ว่า ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด ต้องแก้ไขปัญหาที่ใด
และอย่างไร เพื่อให้การทำงานกลุ่มมีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม เป็นการฝึกกระบวนการกลุ่มอย่างเป็นกระบวนการ
1.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
Slavin (1995 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) ได้พัฒนาเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ โดยยึดหลักการ
ที่สำคัญ 3 ประการ คือ รางวัลความสำคัญของแต่ละบุคคล และโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จ
เท่าเทียมกัน รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือของ Slavin ที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้
1. STAD (Student Teams Achievement Division) เป็นการจัดสมาชิกกลุ่มละ 4-5 คน แบบคละ
ความสามารถด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยครูจะทำการเสนอบทเรียนให้นักเรียนทั้งชั้นก่อน แล้วให้แต่ละกลุ่ม
ทำงานตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนเมื่อสมาชิกในกลุ่มช่วยกันทำแบบฝึกหัดและทบทวนบทเรียนที่เรียนจบแล้ว
ครูจะให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบประมาณ 15-20 นาที คะแนนที่ได้จากการทดสอบจะถูกแปลงคะแนนของ
แต่ละกลุ่ม
7

2. TAI (Team Assisted Individualization) เป็นวิธีการสอนที่ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบร่วมมือ


และการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือทำกิจกรรมในการเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถ
ของตนและส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3. TGT (Team Games Tournament) เป็นเทคนิครูปแบบหนึ่งในการสอนแบบร่วมมือและมีลักษณะ
ของกิจกรรมคล้ายกันกับ STAD แต่เพิ่มเกมและการแข่งขันเข้ามาด้วย เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนใน
จุดประสงค์ที่มีคำตอบถูกต้องเพียงคำตอบเดียว องค์ประกอบของ TGT ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสอน
2. การจัดทีม 3. การแข่งขัน และ 4. การยอมรับความสำเร็จของทีม
4. CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition) เป็นรูปแบบการเรียนร่วมมือแบบ
ผสมสานที่มุ่งพัฒนาขึ้น เพื่อการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ
5. Jigsaw ผู้ที่คิดค้นการเรียนแบบ Jigsaw เริ่มแรก คือ Aronson หลังจากนั้น Slavin ได้นำแนวความคิด
ดังกล่าวมาปรับขยายเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือมากยิ่งขึ้น เป็นรูปแบบที่เหมาะกับวิชาที่
เกี่ยวข้องกับการบรรยาย เช่น สังคมศึกษา วรรณคดีบางส่วนของคณิตศาสตร์ รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนา
ความรู้ความเข้าใจมากกว่าพัฒนาทักษะ
1.4 การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การนำเสนอข้อมูล (Class Presentation) ครูเป็นผู้นำเสนอข้อมูลโดยใช้วิธีการสอนตรง อาจเป็นการ
ใช้เอกสารหรือการบรรยาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียน ผู้เรียนจะต้องมีความตั้งใจ เพราะผู้เรียนต้องลงมือ
ปฏิบัติเอง และมีการทดสอบหลังจากจบบทเรียนหนึ่ง ๆ แล้ว
2. การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Teams) ผู้เรียนจะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีสี่ถึงห้าคน ซึ่งมี
ผลสัมฤทธิ์และเพศคละกัน หน้าที่สำคัญของกลุ่ม คือ การช่วยเหลือการเปลี่ยนร่วมกันเตรียมสมาชิกเพื่อการ
ทดสอบหลังจากครูสอนเนื้อหาจบแล้วสมาชิกจะเข้ากลุ่มเรียนรู้และทำงานจากใบงานอภิปรายปัญหาร่วมกันทั้งการ
ตรวจสอบการแก้ไข คำตอบหัวใจสำคัญอยู่ที่สมาชิกแต่ละคนทุกคนจึงต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และเรียนรู้
เพื่อให้กำลังใจและเข้าใจร่วมกัน
3. การทดสอบ (Quizzes) เมื่อครูสอนไปประมาณ 1-2 ครั้ง ผู้เรียนจะเข้าทำการทดสอบในสาระที่เรียน
ต่างคนต่างสอบจะช่วยเหลือกันไม่ได้
4. การปรับปรุงคะแนน (Individual Improvement Score) จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนา
ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ผู้เรียนสามารถปรับปรุงคะแนนของตนเองให้สูงขึ้น
8

5. การตัดสินผลงานของกลุ่ม (Team Recognition) จะพิจารณาผลรวมของการปรับปรุงคะแนนของ


สมาชิกในกลุ่มกำหนดระดับผลความสำเร็จตามคะแนนที่ได้ของกลุ่มอาจเป็นคำชมเชยใบประกาศนียบัตรรางวัล
เป็นต้น
1.5 ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2545 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) ได้นำเสนอข้อดีและข้อจำกัด
ของการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ไว้ดังนี้
1. ข้อดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
1.1 ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเองและกลุ่มร่วมกับเพื่อนสมาชิก
1.2 ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้รว่ มมือกันเรียนรู้
1.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดกันเป็นผู้นำ
1.4 ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคมโดยตรง
1.5 ผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกกับการเรียนรู้
2. ข้อจำกัดของการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD
2.1 ถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบจะส่งผลให้งานกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
2.2 เป็นวิธีที่ผู้สอนจะต้องเตรียมการและดูแลเอาใจใส่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเป็น
จึงจะเป็นผลดี
2.3 ผู้สอนมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น
9

2. การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
2.1 ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
จุรีพร คำภักดี (2552) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองไว้ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่
ให้ผู้เรียนทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาให้มากที่สุด โดยเสนอได้อย่างเสรี ไม่มี
การวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เสนอมา มีการบันทึกความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทั้งหมดไว้
หลังจากนั้นอาจจะจัดให้มีการอภิปราย ทบทวนความคิดทั้งหมดจัดเป็นหมวดหมู่หรือประเภทและตัดสินเลือก
วิธีการที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
มีแนวความคิดที่กว้างขวาง และสามารถนำความคิดเหล่านั้นไปสู่การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาได้ดี
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีดังนี้
1. การแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
2. การจดบันทึกความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทั้งหมด
3. การจัดหมวดหมู่หรือประเภทของความคิด
4. การตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีไปใช้แก้ปัญหา
2.2 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
จุรีพร คำภักดี (2552) กล่าวถึงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ดังนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนอธิบายประเด็นหัวข้อ หรือเรื่องที่ผู้เรียนจะต้องระดมความคิด ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ท้าทายหรือเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ โดยทั่วไปแล้ว ผู้สอนมักจะเริ่มคำถามนำด้วย “เราจะ
สามารแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร” “เราจะทำอย่างไร” ซึ่งข้อความดังกล่าวผู้สอนควรเขียนไว้บนกระดานเพื่อให้ผู้เรียน
เห็นทุกคน
2. ขั้นระดมสมอง เป็นขั้นที่ระดมความคิดจากผู้เรียนทุก ๆ คน ให้มากที่สุด โดยผู้สอนจะเขียนความคิดที่
ผู้เรียนแต่ละคนเสนอมา ทุก ๆ ความคิด ซึ่งขั้นนี้ยงั ไม่มีการอภิปรายว่า ความคิดของผู้เรียนคนใดดีหรือไม่ดี เป็นไป
ได้หรือเป็นไปไม่ได้ ซึง่ เป็นขั้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
3. ขั้นอภิปรายและคัดสรร เป็นขั้นที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้นำเสนอ
ว่า เป็นไปได้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ โดยผู้สอนอาจกำหนดเกณฑ์คร่าว ๆ ไว้ก่อน หลังจากที่กลุ่มได้อภิปรายและ
ประเมินแล้ว ให้กลุ่มเลือกความคิดที่ดีที่สุดมา 2-3 ความคิด
10

4. ขั้นจัดลำดับความคิด เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ร่วมกันลงความเห็นว่าจะนำแนวคิดที่เลือกไว้ข้อใด มาลงมือทำ


เพื่อแก้ไขปัญหา
5. ขั้นวางแผนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำแนวคิดที่เลือกนั้นไปใช้แก้ไขปัญหา
2.3 ข้อเสนอแนะของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
จุรีพร คำภักดี (2552) เสนอเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมความคิดไว้ดังนี้
1. จะต้องให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจว่าในการระดมความคิดนั้นต้องการให้เสนอความคิดให้มากที่สุด โดย
เสนอได้อย่างเสรี ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของคนอื่น การเสนอความคิดที่แปลกเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา
ความคิดที่เสนอมานั้นอาจเป็นการปรับปรุงแนวความคิดของคนอื่น ๆ ก็ได้
2. ในการระดมความคิดจะต้องดำเนินการไม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดของคนอื่นที่เสนอไปแล้ว ไม่
ควรบังคับให้ทุกคนเสนอความคิด
3. ทำการจดบันทึกแนวความคิดทุกอย่างที่ผู้เรียนเสนอมาลงกระดาน เพื่อให้ทุกคนได้มองเห็น และเก็บไว้
เพื่อจัดหมวดหมู่ สรุป และประเมินผลต่อไป
4. ควรจัดที่นั่งแบบครึ่งวงกลม เพื่อสะดวกต่อการระดมสมองและการประเมินผล
5. หลังจากระดมความคิดแล้ว ควรมีการจัดหมวดหมู่อภิปราย ทบทวน ความคิดทั้งหมดนั้นเพื่อตัดสินใจ
ว่ามีวิธีใดบ้างที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
2.4 ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
จุรีพร คำภักดี (2552) ได้กล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองไว้ดังนี้
1. ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
1. สามารถใช้ได้ดีเมื่อผู้สอนต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในประเด็นที่ตั้งไว้
2. เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างเสรี
3. ทำให้ได้ความคิดที่กว้างขวาง แปลกใหม่ และอาจนำไปใช้แก้ปัญหาได้
2. ข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
1. เป็นวิธีการที่อาจใช้เวลามาก
2. ถ้าผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไป อาจทำให้มีการแสดงความคิดไม่ทั่วถึงหรือสมาชิกแต่ละคนอาจจะมี
โอกาสได้แสดงความคิดเห็นน้อยเกินไป และอาจไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นที่แปลก ๆ ในระยะแรก ๆ
11

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ปราณี กองจินดา (2549 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) กล่าวว่า ความสามารถหรือผลสำเร็จที่ได้รับ
จากกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและประสบการณ์เรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย
และทักษะพิสัย และยังได้จำแนกประเภทผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ตามลักษณะของวัตถุประสงค์ของการเรียนการ
สอนที่แตกต่างกัน
วิลสัน (Wilson อ้างถึงใน อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) ได้นำเอาการจำแนกจุดประสงค์ทางการ
ศึกษา ตามแนวคิดของบลูม (Bloom) และคณะ มาแบ่งพฤติกรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ทางด้านพุทธ
พิสัย (Cognitive domain) ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ความรู้ - ความจำเกี่ยวกับการคำนวณ (Computation) หมายถึง ความสามารถในการคิดคำนวณ
ได้แก่ ความรู้ ความจำแบบง่าย ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนผ่านมาแล้ว พฤติกรรมระดับนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
1.1 ความรู้ความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หมายถึง การถามเพื่อจะวัดความรู้ความจำเกี่ยวกับ
เนื้อหาวิชาในรูปหรือแบบเดียวกับที่นักเรียนได้รับจากการเรียนการสอนมาแล้ว นอกจากนี้ยังรวมถึงความรู้พื้นฐาน
ซึ่งนักเรียนต้องนำมาใช้เสมอ
1.2 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม หมายถึง ความสามารถบอกความหมายคำศัพท์ คำนิยามต่าง ๆ
ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยไม่ต้องอาศัยการคิดคำนวณแต่อย่างใด
1.3 ความรู้ความจำเกี่ยวกับการใช้กระบวนการ คิดคำนวณ หมายถึง ความสามารถนำสิ่งที่โจทย์
กำหนดให้มาดำเนินการตามกระบวนการของการคิดคำนวณในแบบที่ได้เคยเรียนมาแล้ว ในขั้นนี้มิได้มุ่งหมายให้
นักเรียนคิดหากระบวนการคิดคำนวณแบบใหม่ด้วยตนเอง
2. ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่รู้แล้วมาสัมพันธ์กับโจทย์
หรือปัญหาใหม่ ตลอดจนสามารถตีความ แปลความ สรุปความ และขยายความได้ ซึ่งการวักพฤติกรรมด้านนี้ แบ่งเป็น
6 ขั้น คือ
2.1 ความรู้เกี่ยวกับมโนคติ หมายถึง ความสามารถในการสรุปความหมายของสิ่งที่ได้เรียนมาตาม
ความเข้าใจของตนเอง รู้จักนำข้อเท็จจริงของเนื้อหาที่เรียนมาสัมพันธ์กัน โดยการนำมาสรุปความหมายของสิ่งนั้นอีก
ครั้งหนึ่งหรืออาจจะกล่าวได้ว่า มโนคติเป็นเซตของสิ่งที่เกี่ยวกับความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
2.2 ความรู้เกี่ยวกับหลักการ กฎ และการทำให้เป็นกรณีทั่วไป เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมโนคติและ
ตัวปัญหา ซึ่งนักเรียนควรจะรู้หลังจากที่เรียนเรื่องนั้นจบไปแล้ว คำถามในระดับนี้บางครั้งอาจะเป็นการวัดพฤติกรรม
ในขั้นการวิเคราะห์ก็ได้
12

2.3 ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการมองเห็น


ส่วนประกอบย่อยของข้อความทางด้านคณิตศาสตร์ตามลักษณะที่มุ่งหวัง ส่วนใหญ่จะเป็นคำถามเกี่ยวกับศัพท์และ
นิยามในคณิตศาสตร์
2.4 ความสามารถในการแปลงส่วนประกอบของปัญหาจากแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง หมายถึง
ความสามารถในการเปลี่ยนข้อความเป็นสัญลักษณ์หรือสมการ ในขั้นนี้มิได้รวมถึงการคิดคำนวณคำตอบจาก
สมการนั้น
2.5 ความสามารถในการดำเนินการตามเหตุผล คณิตศาสตร์ส่วนมากอยู่ในรูปการณ์อนุมาน
ดังนั้น การที่จะเข้าใจบทความหรือผลงานทางคณิตศาสตร์จึงต้องอาศัยความสามารถในการดำเนินตามแนวเหตุผล
ขณะที่อ่าน
2.6 ความสามารถในการอ่านและตีความโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถใน
การอ่าน และตีความจากโจทย์ รวมถึงการแปลความหมายจากกราฟ หรือข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนการแปลสมการ
หรือตัวเลขให้เป็นรูปภาพ
3. การนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วไปแก้ปัญหา
ใหม่ให้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โจทย์ปัญหาที่ใช้วัดในระดับนี้จะต้องไม่ใช่โจทย์ข้อเดิมที่อยู่ในแบบฝึกหัด หรือเคยทำ
มาแล้ว การวัดพฤติกรรมในระดับนี้ แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
3.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาธรรมดา หมายถึง ปัญหาคล้ายกับปัญหาที่เคยเรียนมาแล้วใน
ห้องเรียน โดยที่นักเรียนจะต้องจัดรูปของพฤติกรรมขั้นความเข้าใจและการใช้กระบวนการเพื่อที่จะแก้ปัญหา
3.2 ความสามารถในการเปรียบเทียบ หมายถึง การถามที่คาดหวังให้นักเรียนนึกถึงรายละเอียดที่
เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น มโนมติ กฎ ศัพท์ นิยามของข้อมูล 2 ชุด เพื่อค้นพบความสัมพันธ์เปรียบเทียบและนำมาสรุป
ในการตัดสินใจ
3.3 ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อสอบ หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะจำแนกโจทย์
ออกเป็นส่วนย่อยว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ในการนำไปใช้แก้โจทย์ปัญหา
3.4 ความสามารถในการมองเห็นแบบลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกัน และการสมมาตร หมายถึง
การระลึกถึงข้อมูล แปลงปัญหา การจัดกระทำกับข้อมูล ระลึกถึงความสัมพันธ์ จะเป็นการถามคำถามให้ผู้เรียนหา
สิ่งที่คุ้นเคยกับข้อมูลที่กำหนดให้หรือจากปัญหาที่กำหนดให้
4. การวิเคราะห์ (Analysis) พฤติกรรมในขั้นนี้เป็นพฤติกรรมขั้นสูงสุดของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ในด้านพุทธิพิสัย นักเรียนที่ตอบปัญหาที่วัดพฤติกรรมขั้นนีไ้ ด้ ต้องมีความสามารถในระดับสูง จะเป็นการแก้ปัญหา
ที่แปลกกว่าธรรมดา หรือโจทย์ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยกับที่รู้จักมาก่อน ไม่เคยฝึกทำมาก่อน แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า
โจทย์ปัญหานั้นจะอยู่นอกขอบข่ายเนื้อหาวิชาที่เคยเรียนมา พฤติกรรมในขั้นนี้แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ
13

4.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาที่แปลกกว่าธรรมดา หมายถึง ความสามารถในการถ่ายโยง


ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ที่ได้เรียนมาแล้วไปสู่เนื้อหาใหม่ซึ่งนักเรียนจะต้องแยกปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ สำรวจรู้
อะไรบ้างในแต่ละตอน รวมทั้งการเรียนรู้สัญลักษณ์ใหม่เพื่อการนำไปสู่คำตอบ
4.2 ความสามารถในการค้นหาความสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการค้นพบความสัมพันธ์
ใหม่ หรือนำสัญลักษณ์จากสิ่งที่กำหนดให้มาสร้างสูตรใหม่ด้วยตนเอง หรือเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการหาคำตอบ
4.3 ความสามารถในการพิสูจน์ หมายถึง ความสามารถในการพิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่เหมือนกับ
ความสามารถในการพิสูจน์ขั้นนำไปใช้ โดยผู้ตอบจะต้องอาศัยนิยามหรือทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหา
4.4 ความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ หมายถึง ความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์การพิสูจน์
เป็นการใช้เหตุผลที่ควบคู่กับความสามารถในการเขียนพิสูจน์ แต่เป็นความสามารถที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าการเขียน
การพิสูจน์ เพราะจะต้องใช้เหตุผลว่าการพิสูจน์นั้นถูกต้องหรือไม่
4.5 ความสามารถในการสร้างและแสดงความสมเหตุสมผลของการทำให้เป็นกรณีทั่วไป หมายถึง
ความสามารถในการค้นพบความสัมพันธ์และเขียนการพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่ค้นพบข้อคำถามให้แสดงความ
สมเหตุสมผล
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จุรีพร คำภักดี (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
เลขยกกำลัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstorming Method) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6
โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstorming Method) เรื่องเลขยกกำลัง มีค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อัจฉราพรรณ อาโน (2555, หน้า 64 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงเกณฑ์ของโรงเรียนที่กำหนดร้อยละ 75
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ธิดารัตน์ พลหนองคูณ (2556, หน้า 115 อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การ
พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัลติวิสต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ
STAD เรื่องพื้นผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
วัลยา บุญอากาศ (2556, บทคัดย่อ อ้างถึงใน พิชยาพร ราชคำ 2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการจัดการ
เรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์
14

สำหรับนักเรียนชั้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่ง


น้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 43 คน ผลการวิจัย
พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รบั การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่
ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลัง
ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
มาลีวรรณ แก่นแก้ว (2558 อ้างถึงใน อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการเรียน
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธี STAD ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2537 โรงเรียน
บ้านป่าเสร้า จำนวน 16 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยวิธี STAD กับนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอน
ตามปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรม
นักเรียนที่แสดงออก ขณะที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยวิธี STAD นักเรียนที่เรียนเก่ง ในกลุ่มยอมรับนักเรียนที่เรียน
อ่อนในกลุ่ม นักเรียนที่เรียนอ่อนในกลุ่มกล้าจะถามเพื่อนเมื่อตนเอง ไม่เข้าใจบทเรียน ความคิดเห็นของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปี ที่ 4 ต่อการเรียนคณิตศาสตร์
พิชยาพร ราชคำ (2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด
ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนาม
ดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียน
ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สุพัตรา เกิดทรัพย์ (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบ
สมการเชิงเส้นสองตัวแปรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
โสรยา บรรเลง (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ร่วมกับเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทีไ่ ด้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
15

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสัมฤทธิ์ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ด้วยการ
จัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียน
บุญวัฒนา ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. กลุ่มเป้าหมาย
2. เครื่องมือในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน เป็นห้องเรียนตามสภาพจริง ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการ
เรียนรู้แบบระดมสมอง ผู้วิจัยดำเนินการสร้างและตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้
2.1.1 ศึกษาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.1.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบ STAD และการจัดการเรียนรู้แบบ
ระดมสมอง
2.1.3 ศึกษาสาระการเรียนรู้จากหนังสือแบบเรียน และคู่มือครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วแบ่งเนื้อหาออกเป็นข้อย่อย ๆ วิเคราะห์จุดประสงค์การ
เรียนรู้ เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
2.1.4 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ที่ใช้การจัดการเรียนรู้
แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นเตรียม เป็นการทบทวนเนื้อหาเดิม เพื่อปูพื้นฐานสำหรับการรับความรู้ใหม่ที่จะเรียน
16

2. ขั้นนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นทีค่ รูนำเสนอข้อมูลโดยใช้วิธีการสอนตรง อาจเป็นการใช้เอกสาร


หรือการบรรยาย เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจที่จะเรียน นักเรียนจะต้องมีความตั้งใจ เพราะนักเรียนต้องลงมือ
ปฏิบัติเอง และมีการทดสอบหลังจากจบบทเรียนหนึ่ง ๆ แล้ว
3. ขั้นนำเสนอปัญหา เป็นขั้นทีค่ รูยื่นโจทย์ปัญหาหรือสถานการณ์ที่แปลกใหม่ แต่ยังมีพื้นฐาน
จากเรื่องที่สอน แล้วตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร” “เราจะทำอย่างไร” ซึง่ สมาชิก
ในกลุ่มทุกคนจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาหรือหาผลลัพธ์ให้ได้
4. ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมร่วมกับการระดมสมอง เป็นขั้นที่นักเรียนจะทำงานร่วมกันเป็น
กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีสี่ถึงห้าคน ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์และเพศคละกัน หน้าที่สำคัญของกลุ่ม คือ การช่วยกันเสนอแนวทางการ
แก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี
5. ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ เป็นขั้นทีส่ มาชิกในกลุ่มร่วมกันอภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่ได้นำเสนอว่า เป็นไปได้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ โดยครูอาจกำหนดเกณฑ์คร่าว ๆ ไว้ก่อน หลังจากที่สมาชิกกลุ่ม
ได้อภิปรายและประเมินแล้ว ให้กลุ่มเลือกความคิดที่ดีที่สุดมา 2-3 ความคิด จากนั้นนำแนวคิดที่เลือกไว้ มาลงมือ
ทำเพื่อแก้ไขปัญหา
6. ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม เป็นขั้นที่ครูพิจารณาวิธีการแก้ปัญหาและผลลัพธ์ที่ได้ว่าถูกต้อง
เพียงใด หรือต้องปรับปรุงด้านใด ซึ่งรางวัลสำหรับกลุ่มที่ทำถูกต้องอาจเป็นคำชมเชย หรือใบประกาศนียบัตร
รางวัล เป็นต้น
จากขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ที่กล่าวมา สามารถนำเสนอเป็นรูปภาพได้ดังนี้
รูปภาพที่ 1 รูปภาพแสดงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
17

2.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนอต่อครูพี่เลี้ยงและครูหัวหน้าระดับ เพื่อตรวจสอบและ


เสนอแนะในส่วนที่บกพร่องเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป
2.1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับการตรวจแก้ไขแล้ว เสนอต่อครูพี่เลี้ยงและครูหัวหน้าระดับอีก
ครั้งเพื่อพิจารณาความสอดคล้อง ระหว่างสาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้
และการวัดและประเมินผล
2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีวิธีการสร้างดังนี้
2.2.1 ศึกษาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.2.2 ศึกษาสาระการเรียนรู้จากหนังสือแบบเรียน และคู่มือครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
2.2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัย
แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 42 ข้อ โดยให้ครอบคลุม จุดประสงค์การเรียนรู้ และระดับพฤติกรรมที่วัด
2.2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ที่สร้างขึ้นเสนอ
ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยการ หาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective
Congruence : IOC) ของจุดประสงค์การเรียนรู้กบั ระดับพฤติกรรมที่วัด โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้
ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมที่วัด
ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมที่วัด
ให้คะแนน –1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นไม่วัดตามจุดประสงค์การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมที่วัด
2.2.5 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมิน
ซึ่งได้แก่ ครูพี่เลี้ยง ครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกัน และหัวหน้าสายชั้นในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102)
ไปหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ซึ่งมีเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกข้อคำถาม ดังนี้
ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 ถือว่าใช้ได้
ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง
ข้อคำถามที่มีหมายเหตุจากผู้เชี่ยวชาญ จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้วิจัย
ซึ่งผลจากการประเมิน ผู้วิจัยได้เลือกข้อคำถามจำนวน 18 ข้อ จากจำนวนทั้งหมด 42 ข้อ
2.2.6 นำแบบทดสอบไปใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
18

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
3.1 ทำการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ใช้เวลา 50 นาที
3.2 ดำเนินการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาสอน
ทั้งหมด 6 คาบ คาบละ 50 นาที
3.3 เมื่อสิ้นสุดการทดลองสอนครบทั้ง 6 แผน ได้มีการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกับก่อนเรียน
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้
แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลต่างระหว่าง
ค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
19

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ด้วยการ
จัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียน
บุญวัฒนา ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
2. วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนหลังจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลครบถ้วนตามแผนการวิจัยที่กำหนดไว้แล้ว ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งปรากฏผล
ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ
การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้
แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
N Mean Std. Deviation
43 5.2093 1.85880
จากตารางที่ 1 พบว่า คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.2093 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.85880
20

ตอนที่ 2 วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับ


การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
ตารางที่ 2 ตารางแสดงการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนหลังจัดการเรียนรู้แบบ
STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
คะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน
N Mean Std. Deviation
43 10.6297 3.05523
จากตารางที่ 2 พบว่า คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.6297 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.05523
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ใน
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ มีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียน
21

บทที่ 5
สรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
(Brainstorming Method) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา ผู้วิจัยกล่าวถึงสรุปการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะดังนี้
1. สรุปการวิจัย
1.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.1.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ
STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยการเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
1.2 สมมติฐานการวิจัย
1.2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ที่ผ่านการจัดกิจกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน
1.3 วิธีดำเนินการวิจัย
1.3.1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 โรงเรียนบุญวัฒนา อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 43 คน เป็นห้องเรียนตามสภาพจริง ซึ่งได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง
1.3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ โดย
การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาคณิตศาสตร์
1.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ทำการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ ใช้เวลา 50 นาที
2) ดำเนินการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
ใช้เวลาสอนทั้งหมด 6 คาบ คาบละ 50 นาที
3) เมื่อสิ้นสุดการทดลองสอนครบทั้ง 6 แผน ได้มีการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ฉบับเดียวกับก่อนเรียน
22

1.3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติ ระหว่าง


ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
1.3.5 สรุปการวิจัย
1) คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ ก่อนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.2093 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.85880
2) คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในวิชา
คณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.6297 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.05523
2. อภิปรายผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ด้วยการจัดการ
เรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง พบว่ามีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์
พื้นฐาน 4 เรื่องสถิติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทัง้ นี้เนื่องจากการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ที่ผู้วิจัยได้ออกแบบขึ้นในแผนการจัดการเรียนรู้ ได้เน้นให้นักเรียนมีสว่ นร่วมในการ
เรียนมากขึ้น มีการรวมกลุ่มกันประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้
ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา ปรึกษาหารือ อภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงที่
ปรึกษาคอยให้คำแนะนำ และชี้แนะข้อบกพร่องของนักเรียน ซึง่ สอดคล้องกับ สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ
(2545 อ้างถึงใน สุพัตรา เกิดทรัพย์ 2564) ที่ได้นำเสนอข้อดีของการจัดเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ไว้ว่า
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้ร่วมมือกันเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดกันเป็น
ผู้นำ และผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกกับการเรียนรู้ จึงทำให้นักเรียนมีการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมี
ความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม จนนำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่ม และยังสอดคล้องกับ จุรีพร คำ
ภักดี (2552) ที่ได้กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง ไว้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถใช้ได้ดี
เมื่อผู้สอนต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้
แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างเสรี ทำให้ได้ความคิดที่กว้างขวาง แปลกใหม่ และอาจนำไปใช้แก้ปัญหา
ได้ ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ จุรีพร คำภักดี (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstorming Method) ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6
ที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstorming Method) เรื่องเลขยกกำลัง มีค่า
ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึง่ ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ
อัจฉราพรรณ อาโน (2555, หน้า 64 พิชยาพร ราชคำ 2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม
23

ร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัย


พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงเกณฑ์ของโรงเรียนที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงงานวิจัยของพิชยาพร ราชคำ (2563) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจกรรม
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พหุนาม
และการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รวมทั้งงานวิจัยของ สุพัตรา เกิดทรัพย์ (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลการใช้
กิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้
เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และงานวิจัยของ โสรยา
บรรเลง (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค
STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอน
สตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค STAD เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะ
3.1 ในระหว่างการทำวิจัย ผู้วิจัยพบตัวแปรแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักเรียน ซึ่งอาจสามารถนำไปต่อยอดเป็นวิจัยในชั้นเรียนหัวข้อใหม่ได้
24

บรรณานุกรม
จุรีพร คำภักดี. (2555). วิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
เรื่องเลขยกกำลัง โดยการจัดการเรียนรู้แบบการระดมสมอง (Brainstorming Method)
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/kMrLY
ธิดารัตน์ พลหนองคูณ. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD เรื่อง พืน้ ที่ผิวและปริมาตร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิชยาพร ราชคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง พหุนามและการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. จาก https://shorturl.asia/wlgBZ
มาลีวรรณ แก่นแก้ว. (2558). ผลการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4
ที่เรียนโดยวิธี STAD. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร:
เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.
วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุพัตรา เกิดทรัพย์. (2564). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. จาก https://shorturl.asia/LWNFo
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพมหานคร:
ภาพพิมพ์.
โสรยา บรรเลง. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิค STAD
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. จาก https://shorturl.asia/K6F82
ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
25

อัจฉราพรรณ อาโน. (2555). การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนา


ทักษะสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Slavin. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice (2nd ed.).
Massachsetts: Simon & Schueter.
26

ภาคผนวก
27

ภาคผนวก ก
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ฉบับก่อนหาดัชนีความสอดคล้อง
(Index of Item – Objective Congruence : IOC)
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้
ตารางแสดงผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC)
แบบทดสอบรายจุดประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติเบื้องต้น (ฉบับก่อนหาค่าดัชนีความสอดคล้อง) 28
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565
แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
คะแนนเต็ม 8 คะแนน เวลา 50 นาที
.............................................................................................................................................................................
คำชี้แจง ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย X ทับข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ

จุดประสงค์ที่ 1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล จงใช้แผนภาพจุดต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 6-8


จากแผนภาพจุดได้ จากการสอบถามอายุของคนกลุ่มหนึ่ง แสดงด้วย
แผนภาพจุดดังนี้
จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1–5
แผนภาพจุดแสดงคะแนนสอบปลายภาคเรียนวิชา
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 ห้องหนึง่ เป็นดังนี้

6. จำนวนคนที่มีอายุเท่ากันมากที่สุดมีจำนวนเท่าใด
1. นักเรียนชั้น ม.2 ห้องนี้ มีจำนวนตรงกับข้อใด ก. 4 คน ข. 5 คน
ก. 48 คน ข. 49 คน ค. 6 คน ง. 8 คน
ค. 50 คน ง. 51 คน 7. พิสัยของอายุของคนกลุ่มนี้ตรงกับข้อใด
2. นักเรียนทำคะแนนเท่ากันมากที่สุดตรงกับข้อใด ก. 6 ปี ข. 7 ปี
ก. 24 คะแนน ข. 26 คะแนน ค. 8 ปี ง. 9 ปี
ค. 28 คะแนน ง. 40 คะแนน 8. คนที่มีอายุตั้งแต่ 23 ปีขึ้นไป คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของคน
3. นักเรียนที่ทำคะแนนได้ 26 คะแนน มีจำนวนตรงกับข้อใด กลุ่มนี้
ก. 3 คน ข. 4 คน ก. 20% ข. 21%
ค. 5 คน ง. 6 คน ค. 24% ง. 25%
4. พิสัยของคะแนนสอบของนักเรียนห้องนี้ตรงกับข้อใด จุดประสงค์ที่ 2 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล
ก. 27 คะแนน ข. 28 คะแนน จากแผนภาพต้น-ใบได้
ค. 29 คะแนน ง. 30 คะแนน จงใช้แผนภาพต้นใบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 9-12
5. ถ้าเกณฑ์ในการสอบผ่านวิชานี้คือ 20 คะแนน จะมี แผนภาพต้นใบแสดงน้ำหนักของคน 30 คน หน่วย
นักเรียนห้องนี้สอบไม่ผ่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นกิโลกรัม
ก. 15 % ข. 18 %
ค. 19 % ง. 20 %
29

9. น้ำหนักของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงใด 15. จำนวนนักเรียนที่ทำคะแนนได้ในช่วง 40-49 คะแนน มี


ก. 40-49 กิโลกรัม ข. 50-59 กิโลกรัม จำนวนตรงกับข้อใด
ค. 60-69 กิโลกรัม ง. 70-79 กิโลกรัม ก. 15 คน ข. 16 คน
ค. 17 คน ง. 18 คน
10. คนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม มีจำนวนเท่าใด
ก. 18 คน ข. 19 คน 16. พิสัยของคะแนนสอบของนักเรียนห้องนี้ตรงกับข้อใด
ค. 20 คน ง. 21 คน ก. 39 คะแนน ข. 40 คะแนน
ค. 41 คะแนน ง. 42 คะแนน
11. พิสัยของน้ำหนักของคนกลุ่มนี้ตรงกับข้อใด
ก. 34 กิโลกรัม ข. 35 กิโลกรัม 17. เมื่อกำหนดเกณฑ์ในการสอบผ่านอยู่ที่ 40 คะแนน มี
ค. 36 กิโลกรัม ง. 37 กิโลกรัม นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์กี่เปอร์เซ็นต์
ก. 16 % ข. 18 %
12. คนที่มีน้ำหนักช่วง 40-49 กิโลกรัม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
ค. 20 % ง. 24 %
ของคนกลุ่มนี้
ก. 12.5% ข. 14.67% จงใช้แผนภาพต้น-ใบต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 18-22
ค. 15.67% ง. 16.67% แผนภาพต้น-ใบ แสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนกลุ่มหนึง่ เป็นดังนี้
จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 13-17
แผนภาพต้น-ใบแสดงคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์
ของนักเรียนห้องหนึ่ง จำนวน 50 คน จากคะแนนเต็ม 60
คะแนน เป็นดังนี้

18. มีนักเรียนเข้าสอบทั้งหมดกี่คน
ก. 12 คน ข. 13 คน
ค. 24 คน ง. 25 คน
13. คะแนนสอบที่นักเรียนได้เท่ากันมากที่สุดตรงกับข้อใด 19. ฐานนิยมของคะแนนสอบของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับข้อ
ก. 28 คะแนน ข. 45 คะแนน ใด
ค. 48 คะแนน ง. 58 คะแนน ก. 55 คะแนน ข. 58 คะแนน
ค. 61 คะแนน ง. 74 คะแนน
14. นักเรียนส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ในช่วงใด
ก. 20-29 คะแนน ข. 30-39 คะแนน 20. คะแนนเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียนทั้งหมดเท่ากับ
ค. 40-49 คะแนน ง. 50-59 คะแนน ข้อใด
ก. 55 คะแนน ข. 58 คะแนน
ค. 59 คะแนน ง. 61 คะแนน
30

21. มัธยฐานของคะแนนสอบของนักเรียนหญิงเท่ากับข้อใด 26. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลเท่ากับข้อใด


ก. 58 คะแนน ข. 59 คะแนน ก. 1.0 ข. 1.5
ค. 61 คะแนน ง. 67 คะแนน ค. 2.0 ง. 2.5
22. มัธยฐานของคะแนนสอบของนักเรียนชายเท่ากับข้อใด จงใช้แผนภาพฮิสโทแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 27-31
ก. 48 คะแนน ข. 55 คะแนน แผนภาพฮิสโทแกรมแสดงคะแนนสอบวิชา
ค. 65 คะแนน ง. 71 คะแนน คณิตศาสตร์ ของนักเรียน 100 คน
จุดประสงค์ที่ 3 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล
จากฮิสโทแกรมได้
จงใช้ฮิสโทแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 23-26
ฮิสโทแกรมแสดงจำนวนผู้อาศัยต่อห้องใน
คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง เป็นดังนี้

27. ช่วงคะแนนใดที่มีนักเรียนสอบได้มากที่สุด
ก. 50-59 ข. 60-69
ค. 70-79 ง. 80-89
28. ช่วงคะแนนใดที่มีนักเรียนสอบได้น้อยที่สุด
ก. 40-49 ข. 70-79
ค. 80-89 ง. 90-99
29. ถ้านักเรียนสอบได้คะแนน 80 คะแนนขึ้นไป ถือว่าได้
เกรด 4 อยากทราบว่ามีนักเรียนได้เกรด 4 กี่คน
23. คอนโดมิเนียมแห่งนี้มีกี่ห้อง ก. 25 ข. 15
ก. 35 ห้อง ข. 45 ห้อง ค. 10 ง. 5
ค. 100 ห้อง ง. 200 ห้อง 30. จากข้อที่ 10 นักเรียนที่ได้เกรด 4 คิดเป็นร้อยละเท่าใด
24. ฐานนิยมของข้อมูลเท่ากับข้อใด ของนักเรียนทั้งหมด
ก. 3 คน ข. 4 คน ก. ร้อยละ 25 ข. ร้อยละ 15
ค. 35 ห้อง ง. 100 ห้อง ค. ร้อยละ 10 ง. ร้อยละ 5

25. มัธยฐานของข้อมูลเท่ากับข้อใด 31. จากข้อมูลต่อไปนี้ 3, 4, 5, 5, 4, 4, 6, 7, 8, 4 ค่าเฉลี่ย


ก. 2 คน ข. 3 คน เลขคณิตคือข้อใด
ค. 50 ห้อง ง. 100 ห้อง ก. 4 ข. 4.5
ค. 4.9 ง. 5
31

จุดประสงค์ที่ 4 นักเรียนสามารถใช้ความรู้ค่าเฉลี่ย 38. นักเรียนคนหนึ่งสอบวิชาคณิตศาสตร์ครั้งที่หนึ่งได้ 40


เลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมแก้โจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง คะแนน ครั้งที่สองได้ 45 คะแนน จะต้องสอบครั้งที่สามให้ได้
กี่คะแนนจึงจะได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเป็น 42
32. จากข้อมูลต่อไปนี้ 3, 4, 5, 5, 4, 4, 6, 7, 8, 4 ค่าเฉลี่ย
คะแนน
เลขคณิตคือข้อใด
ก. 41 คะแนน ข. 42 คะแนน
ก. 4 ข. 4.5
ค. 43 คะแนน ง. 44 คะแนน
ค. 4.9 ง. 5
39. เด็ก 6 คน มีอายุ 11 ปี 12 ปี 12 ปี 13 ปี 15 ปี และ 10
33. มัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้ 2, 3, 5, 2, 0, 6, 4 คือข้อใด
ปี อีก 5 ปีข้างหน้าอายุเฉลี่ยของเด็ก 6 คนนี้เป็นเท่าใด
ก. 2 ข. 3
ก. 15.2 ปี ข. 15.8 ปี
ค. 4 ง. 5
ค. 17.2 ปี ง. 17.8 ปี
34. ข้อใดเป็นฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้
40. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดแรกซึ่งมี 8 จำนวนเท่ากับ
0, 0, 1, 1, 2, 2, 2, 2, 3, 3, 4, 4, 4, 5, 6
3 ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดที่สองซึ่งมี 12 จำนวนเท่ากับ
ก. 1 ข. 2
x เมื่อนำข้อมูลทั้ง 2 ชุดรวมกันเป็นชุดเดียวกัน แล้วได้
ค. 3 ง. 4
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดใหม่เท่ากับ 9 ค่าของ x คือ
35. กำหนดข้อมูล 9, 16, 8, 3, 18, 16, 27 และ 16 จง ข้อใด
พิจารณาว่าข้อใดผิด ก. 11 ข. 12
ก. มัธยฐานเท่ากับ 16 ค. 13 ง. 14
ข. ฐานนิยมเท่ากับ 16
41. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 6 จำนวนคือ 1, 2, 10, 5, m, n ค่าเฉลี่ย
ค. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 14.2
เลขคณิตเท่ากับ 7 มัธยฐานเท่ากับ 6 ค่าของ m-n เท่ากับ
ง. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก
เท่าใด
36. ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดหนึ่งเท่ากับ 24 ถ้าคูณทุกข้อมูลด้วย
2 ก. 17 ข. 10, -10
3 ค. 7 ง. 7, -7
แล้วบวกด้วย 5 ค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดใหม่เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
ก. 8 คะแนน ข. 16 คะแนน 42. ข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งมี 40 จำนวน พบว่ามีค่าเฉลี่ย 20 ต่อมา
ค. 20 คะแนน ง. 21 คะแนน ภายหลังพบว่าอ่านคะแนนผิดไป 2 จำนวนคือ อ่าน 7 เป็น 1
และอ่าน 3 เป็น 5 แล้วค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ถูกต้องมีค่าเท่าใด
37. จะต้องเพิ่มจำนวนใดลงในข้อมูล 1, 18, 15, 9, 11, 18, ก. 20.1 ข. 20.2
15 จึงจะทำให้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเปลี่ยนจาก 11 เป็น 12 ค. 20.3 ง. 20.4
ก. 12 ข. 11
ค. 19 ง. 21
32

ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC)


จุดประสงค์ คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญ
ข้อคำถาม รวม IOC แปลผล หมายเหตุ
การเรียนรู้ 1 2 3
1 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
2 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
3 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
4 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
1
5 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
6 1 1 1 3 1 ใช้ได้
7 1 1 1 3 1 ใช้ได้
8 1 1 1 3 1 ใช้ได้
9 1 1 1 3 1 ใช้ได้
10 1 1 1 3 1 ใช้ได้
11 1 1 1 3 1 ใช้ได้
12 1 1 1 3 1 ใช้ได้
13 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
14 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
15 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
2
16 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
17 1 1 1 3 1 ใช้ได้ จำนวนข้อมูลเยอะเกินไป
18 1 1 1 3 1 ใช้ได้
19 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านแผนภาพก่อน
20 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านแผนภาพก่อน
21 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านแผนภาพก่อน
22 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านแผนภาพก่อน
23 1 1 1 3 1 ใช้ได้
24 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านฮิสโทแกรมก่อน
25 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านฮิสโทแกรมก่อน
26 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นอ่านฮิสโทแกรมก่อน
3 27 1 1 1 3 1 ใช้ได้
28 1 1 1 3 1 ใช้ได้
29 1 1 1 3 1 ใช้ได้
30 1 1 1 3 1 ใช้ได้
31 1 1 1 3 1 ใช้ได้
33

ตารางแสดงผลดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) (ต่อ)


จุดประสงค์ คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญ
ข้อคำถาม รวม IOC แปลผล หมายเหตุ
การเรียนรู้ 1 2 3
32 1 1 1 3 1 ใช้ได้
33 1 1 1 3 1 ใช้ได้
34 1 1 1 3 1 ใช้ได้
35 1 1 1 3 1 ใช้ได้
36 0 1 1 2 0.66 ใช้ได้/ปรับปรุง ควรเน้นหาค่าแบบตรง ๆ ก่อน
4 37 0 0 0 0 0 ตัดทิ้ง ยากเกินไปไม่เหมาะกับเวลา
38 1 1 1 3 1 ใช้ได้
39 1 1 1 3 1 ใช้ได้
40 0 0 0 0 0 ตัดทิ้ง ยากเกินไปไม่เหมาะกับเวลา
41 0 0 0 0 0 ตัดทิ้ง ยากเกินไปไม่เหมาะกับเวลา
42 0 0 0 0 0 ตัดทิ้ง ยากเกินไปไม่เหมาะกับเวลา

รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
1. นางสาวสาวิตรี บรรจงรอด ตำแหน่ง หัวหน้าสายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102)
2. นายวิฑูรย์ นินาลาด ตำแหน่ง ครูพี่เลี้ยง และปฏิบัติการสอนร่วมในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102)
3. นางสาวเบญจภรณ์ ไพรพฤกษ์ ตำแหน่ง ครูปฏิบัติการสอนร่วมในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102)
จากผลการประเมินความตรงตามเนื้อหา พบว่ามีข้อคำถามที่ใช้ได้จำนวน 30 ข้อ ข้อสอบที่ใช้ได้/ปรับปรุง
จำนวน 8 ข้อ และข้อสอบที่ต้องตัดทิ้ง จำนวน 4 ข้อ และผู้วิจัยได้เลือกข้อคำถามจำนวน 18 ข้อ ที่ไม่มีหมายเหตุ
จากผู้เชี่ยวชาญ นำมาจัดทำแบบทดสอบรายจุดประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติเบื้องต้น
แบบทดสอบรายจุดประสงค์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สถิติเบื้องต้น 34
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 รหัสวิชา ค22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565
แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 18 ข้อ
คะแนนเต็ม 8 คะแนน เวลา 50 นาที
.............................................................................................................................................................................
คำชี้แจง ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย X ทับข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ

จงใช้แผนภาพจุดต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 1-3 4. น้ำหนักของคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงใด


ก. 40-49 กิโลกรัม ข. 50-59 กิโลกรัม
จากการสอบถามอายุของคนกลุ่มหนึ่ง แสดงด้วย
ค. 60-69 กิโลกรัม ง. 70-79 กิโลกรัม
แผนภาพจุดดังนี้
5. คนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม มีจำนวนเท่าใด
ก. 18 คน ข. 19 คน
ค. 20 คน ง. 21 คน
6. พิสัยของน้ำหนักของคนกลุ่มนี้ตรงกับข้อใด
1. จำนวนคนที่มีอายุเท่ากันมากที่สุดมีจำนวนเท่าใด ก. 34 กิโลกรัม ข. 35 กิโลกรัม
ก. 4 คน ข. 5 คน ค. 36 กิโลกรัม ง. 37 กิโลกรัม
ค. 6 คน ง. 8 คน 7. คนที่มีน้ำหนักช่วง 40-49 กิโลกรัม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
2. พิสัยของอายุของคนกลุ่มนี้ตรงกับข้อใด ของคนกลุ่มนี้
ก. 6 ปี ข. 7 ปี ก. 12.5% ข. 14.67%
ค. 8 ปี ง. 9 ปี ค. 15.67% ง. 16.67%

3. คนที่มีอายุตั้งแต่ 23 ปีขึ้นไป คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของคน จงใช้แผนภาพฮิสโทแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 8-11


กลุ่มนี้ แผนภาพฮิสโทแกรมแสดงคะแนนสอบวิชา
ก. 20% ข. 21% คณิตศาสตร์ ของนักเรียน 100 คน
ค. 24% ง. 25%

จงใช้แผนภาพต้นใบต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 4-7
แผนภาพต้นใบแสดงน้ำหนักของคน 30 คน หน่วยเป็น
กิโลกรัม

8. ช่วงคะแนนใดที่มีนักเรียนสอบได้มากที่สุด
ก. 50-59 ข. 60-69
ค. 70-79 ง. 80-89
35

9. ช่วงคะแนนใดที่มีนักเรียนสอบได้น้อยที่สุด 16. กำหนดข้อมูล 9, 16, 8, 3, 18, 16, 27 และ 16 จง


ก. 40-49 ข. 70-79 พิจารณาว่าข้อใดผิด
ค. 80-89 ง. 90-99 ก. มัธยฐานเท่ากับ 16
ข. ฐานนิยมเท่ากับ 16
10. ถ้านักเรียนสอบได้คะแนน 80 คะแนนขึ้นไป ถือว่าได้
ค. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 14.2
เกรด 4 อยากทราบว่ามีนักเรียนได้เกรด 4 กี่คน
ง. ข้อ 1 และข้อ 2 ถูก
ก. 25 ข. 15
ค. 10 ง. 5 17. เด็ก 6 คน มีอายุ 11 ปี 12 ปี 12 ปี 13 ปี 15 ปี และ 10
ปี อีก 5 ปีข้างหน้าอายุเฉลี่ยของเด็ก 6 คนนี้เป็นเท่าใด
11. จากข้อที่ 10 นักเรียนที่ได้เกรด 4 คิดเป็นร้อยละเท่าใด
ก. 15.2 ปี ข. 15.8 ปี
ของนักเรียนทั้งหมด
ค. 17.2 ปี ง. 17.8 ปี
ก. ร้อยละ 25 ข. ร้อยละ 15
ค. ร้อยละ 10 ง. ร้อยละ 5 18. ข้อมูลชุดหนึ่งมี 6 จำนวนคือ 1, 3, 5, 10, m, n ค่าเฉลี่ย
เลขคณิตเท่ากับ 5 ฐานนิยมได้ 5 ค่าของ mn เท่ากับเท่าใด
12. จากข้อมูลต่อไปนี้ 3, 4, 5, 5, 4, 4, 6, 7, 8, 4 ค่าเฉลี่ย
ก. 40 ข. 35
เลขคณิตคือข้อใด
ค. 30 ง. 25
ก. 4 ข. 4.5
ค. 4.9 ง. 5
.................................. ขอให้โชคดี .....................................
13. นักเรียนคนหนึ่งสอบวิชาคณิตศาสตร์ครั้งที่หนึ่งได้ 40
คะแนน ครั้งที่สองได้ 45 คะแนน จะต้องสอบครั้งที่สามให้ได้
กี่คะแนนจึงจะได้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบเป็น 42
คะแนน
ก. 41 คะแนน ข. 42 คะแนน
ค. 43 คะแนน ง. 44 คะแนน
14. มัธยฐานของข้อมูลต่อไปนี้ 2, 3, 5, 2, 0, 6, 4 คือข้อใด
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5
15. ข้อใดเป็นฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้
0, 0, 1, 1, 2, 2, 2, 2, 3, 3, 4, 4, 4, 5, 6
ก. 1 ข. 2
ค. 3 ง. 4
36

ภาคผนวก ข
คะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
37

ตารางที่ 4 ตารางแสดงคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้


แบบระดมสมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
เลขที่ ชื่อ - นามสกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน
1 ด.ช.กิตติกวิน เดือนเพ็ง 6.00 14.00
2 ด.ช.คุณานนต์ เปรมโคกสูง - -
3 ด.ช.จักรินทร์ สงนางรอง 4.00 9.00
4 ด.ช.จิตติพัฒน์ ส้มสาย 3.00 8.00
5 ด.ช.เจตนิพัทธ์ บุญพิทักษ์ 3.00 6.00
6 ด.ช.เจนวิทย์ วงษ์ด่านเจริญ 7.00 14.00
7 ด.ช.ณัชชนม์ ตัณฑเศรณีวัฒน์ 1.00 7.00
8 ด.ช.ณัฐวัฒน์ จงพึ่งกลาง 2.00 9.00
9 ด.ช.ธนกร ดอกสันเทียะ 6.00 8.00
10 ด.ช.ธนบดี เฝ้ากระโทก 4.00 7.00
11 ด.ช.ธนวัฒน์ เนียมอ่อน 8.00 18.00
12 ด.ช.ธนาภัทร แผนกระโทก - -
13 ด.ช.ธารวิสุทธิ์ ด้วงกระโทก 3.00 9.00
14 ด.ช.ธาวิน ดีด้วยชาติ 5.00 11.00
15 ด.ช.นทมงคล แสงศุภวรรธน์ 7.00 11.00
16 ด.ช.ปรัชญา กันพวง 4.00 12.00
17 ด.ช.ภาสุ คุ้มทองหลาง 6.00 8.00
18 ด.ช.มงคล พิมพ์แพทย์ 8.00 16.00
19 ด.ช.อภิเชษฐ์ ผันกระโทก - -
20 ด.ช.ธีรหาญ ศรีหาญ 6.00 11.00
21 ด.ญ.กัลยา ดงกระโทก 5.00 15.00
22 ด.ญ.กิตญาดา อองเจียรี 5.00 5.00
23 ด.ญ.ขวัญข้าว เพ็ชรพล 8.00 14.00
24 ด.ญ. จิรัชญา กุลี 6.00 12.00
25 ด.ญ.ชนาภา ดูเรืองรัมย์ 6.00 13.00
26 ด.ญ.ชาลิสา ศรีม่วงกลาง 2.00 7.00
27 ด.ญ.ฐิติชญาพร กลับผินไผ่ 8.00 11.00
28 ด.ญ.ทิพวรรณ วิทยา 4.00 12.00
29 ด.ญ.นภัสสร จารึกกลาง 6.00 9.00
30 ด.ญ.น้ำทิพย์ โพธิ์ปลัด 8.00 11.00
38

ตารางแสดงคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดม


สมอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 (ต่อ)
เลขที่ ชื่อ - นามสกุล คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน
31 ด.ญ.ปรีชญา ยงศักดิ์ 3.00 7.00
32 ด.ญ. ปิ่นพลอย ปั้งกระโทก 5.00 14.00
33 ด.ญ.พรไพลิน ยิ้มนิรัญ 6.00 12.00
34 ด.ญ.พิจิตรา อาจศึก 4.00 9.00
35 ด.ญ.พิมพ์ดาว เสนา 7.00 11.00
36 ด.ญ.ภัชราภา คำพิรานนท์ 4.00 7.00
37 ด.ญ.ภูริชญา ขุนมธุรส 8.00 17.00
38 ด.ญ.ระพีภรณ์ พันธุ์จันทึก 6.00 7.00
39 ด.ญ.วรัญญา แสงอุทัย 5.00 9.00
40 ด.ญ.วริศรา บุญทวี 3.00 10.00
41 ด.ญ.วรุณยุพา นาคใหญ่ 4.00 14.00
42 ด.ญ.สิริรัตน์ ไม้กระโทก 8.00 9.00
43 ด.ญ.สุวรางคณา แป้นสันเทียะ 6.00 9.00
44 ด.ญ.อัญชลิกา จีนแฉ่ง 5.00 11.00
45 ด.ญ.อนันตญา สินทอง 4.00 12.00
46 ด.ญ.ปัทมพร สิทธิเมา 5.00 12.00
หมายเหตุ ด.ช.คุณานนต์ เปรมโคกสูง ด.ช.ธนาภัทร แผนกระโทก และ ด.ช.อภิเชษฐ์ ผันกระโทก
มีพฤติกรรมไม่เข้าเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4 จึงไม่นำมาคำนวณคะแนนในการวิจัยครั้งนี้
39

ภาคผนวก ค
แผนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง เรื่อง สถิติ
40

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง แผนภาพจุด เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
แผนภาพจุด (dot plot) เป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่ทำได้ไม่ยาก โดยจะเขียน
จุดแทนข้อมูลแต่ละตัวไว้เหนือเส้นในแนวนอนที่มีสเกล ให้ตรงกับตำแหน่งที่แสดงค่าของข้อมูลนั้น แผนภาพจุด
ช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูล ได้รวดเร็วกว่าพิจารณาจากข้อมูลโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสนใจจะพิจารณา
ลักษณะของข้อมูลว่ามีการกระจายมากน้อยเพียงใด
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถเขียนแสดงข้อมูลในรูปแผนภาพจุดได้ (P)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 มีวินัย
5.2 มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สาระการเรียนรู้
แผนภาพจุด
7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 โจทย์การวาดแผนภาพจุดจากข้อมูลที่ครูกำหนดให้
41

8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง)


ขั้นเตรียม
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการนำเสนอข้อมูลที่มีจำนวนเยอะมาก ๆ ดังรูป จากนั้นจึงตั้งคำถามกับ
นักเรียนว่ามีวิธีการอย่างไรดี จึงจะสามารถทำให้ข้อมูลเหล่านี้อ่านได้ง่ายขึ้น

2. ครูรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนและพิจารณาความเป็นไปได้
ขั้นนำเสนอข้อมูล
3. หลังจากที่ครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนแล้ว ครูจึงนำเสนอแผนภาพจุดของข้อมูลข้างต้น ดังรูป

4. ครูสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนว่าแผนภาพจุดที่ครูนำเสนอง่ายต่อการอ่านหรือไม่อย่างไร
5. ครูนำเสนอขั้นตอนการวาดแผนภาพจุด ดังนี้
5.1 เขียนเส้นในแนวนอน กำหนดสเกลเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน พร้อมทั้งกำหนดชื่อ เพื่อให้
ทราบว่า ข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสิ่งใด ดังรูป
42

5.2 เขียนจุดแทนคะแนนสอบของแต่ละคนเหนือเส้นในแนวนอน จะได้แผนภาพจุดแสดงข้อมูลที่


ต้องการ ดังรูป

ขั้นนำเสนอปัญหา
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 4-5 คน คละตามความสามารถ) มารับโจทย์ที่ครูทำขึ้นมา โดยแต่ละ
กลุ่มจะได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่และแตกต่างกัน
7. ตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถเขียนแผนภาพจุดจากข้อมูลที่ได้รับนี้อย่างไร” “ซึ่งสมาชิกใน
กลุม่ ทุกคนจะต้องร่วมมือกันวาดแผนภาพจุดนี้ให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
8. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-3 ความคิด ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่ด้านข้าง
ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ
9. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-3 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงมือวาดแผนภาพจุดขึ้นมาให้เสร็จสมบูรณ์
ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
10. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานและวิธีคิดหน้าชั้นเรียนให้กระชับที่สุด (ใช้เวลากลุ่มละ
1 นาที) และตัดสินว่าผลงานนี้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้หลักการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้กำลังใจและชื่นชม)
11. ครูให้นักเรียนทั้งห้องสะท้อนคิด ขั้นตอนของการวาดแผนภาพจุดที่ได้จากการทำกิจกรรม
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
43

10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถเขียนแสดง ตรวจการวาดแผนภาพ โจทย์การวาดแผนภาพ นักเรียนวาดแผนภาพ
ข้อมูลในรูปแผนภาพจุดได้ (P) จุดจากข้อมูลที่ครู จุดจากข้อมูลที่ครู จุดได้ถูกต้อง ถือว่า ผ่าน
กำหนดให้ กำหนดให้
2. ความสามารถในการสื่อสาร สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) นักเรียน ความสามารถในการ ถือว่า ผ่าน
สื่อสาร
3. ความสามารถในการคิด ตรวจการวาดแผนภาพ โจทย์การวาดแผนภาพ นักเรียนวาดแผนภาพ
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) จุดจากข้อมูลที่ครู จุดจากข้อมูลที่ครู จุดได้ถูกต้อง ถือว่า ผ่าน
กำหนดให้ กำหนดให้
4. มีวินัย สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมีวินัย ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน ถือว่า ผ่าน
5. มุ่งมั่นในการทำงาน สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมุ่งมั่น ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน ในการทำงาน ถือว่า ผ่าน
44
45
46
47
48
49
50
51

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่องแผนภาพต้น-ใบ เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
แผนภาพต้น-ใบ (Stem-and-leaf plot) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการ
เรียงลำดับข้อมูลและช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลักการง่าย ๆ ในการนำเสนอข้อมูลด้วย
แผนภาพต้น-ใบ คือ การแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลำต้น และ ส่วนใบ
โดยในที่นี้ส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนต้น เช่น 159 จะมี 9 เป้นส่วนใบ และมี
15 เป็นส่วนลำต้น
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถเขียนแสดงข้อมูลในรูปแผนภาพต้น-ใบได้ (P)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สาระการเรียนรู้
แผนภาพต้น-ใบ
7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 โจทย์การวาดแผนภาพต้น-ใบจากข้อมูลที่ครูกำหนดให้
52

8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง)


ขั้นเตรียม
1. ครูทบทวนขั้นตอนของการวาดแผนภาพจุด ดังนี้
1.1 เขียนเส้นในแนวนอน กำหนดสเกลเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน พร้อมทั้งกำหนดชื่อ เพื่อให้
ทราบว่า ข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสิ่งใด
1.2 เขียนจุดแทนข้อมูลแต่ละข้อมูลเหนือเส้นในแนวนอน จะได้แผนภาพจุดแสดงข้อมูลที่ต้องการ
2. ครูนำเข้าสู่บทเรียน ดังนี้ “เนื่องจากแผนภาพจุดมีข้อบกพร่องในการเขียนจุด ยังมีทางเลือกอีกทางหนึ่ง
คือแผนภาพต้น-ใบ ซึ่งเป็นแผนภาพอีกแบบหนึ่งที่สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่เรียงลำดับข้อมูลได้รวดเร็ว
ยิ่งขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี”้
ขั้นนำเสนอข้อมูล
3. ครูนำเสนอส่วนประกอบของแผนภาพใบ ดังนี้ “แผนภาพต้น-ใบ คือ การแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิง
ปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลำต้น และ ส่วนใบ โดยในที่นี้ส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัว
เลขที่เหลือจะเป็นส่วนต้น เช่น 159 จะมี 9 เป้นส่วนใบ และมี 15 เป็นส่วนลำต้น”
4. ครูนำเสนอขั้นตอนการวาดแผนภาพต้นใบ โดยครูให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลน้ำหนักของนักเรียนชั้น
ม.2 จำนวน 20 คน ดังรูป

และให้นักเรียนพิจารณาว่า จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภาพต้น -ใบ ได้โดยแบ่ง


ข้อมูลแต่ละตัวเป้นส่วนลำต้นและส่วนใบโดยให้ข้อมูลที่มีตัวเลขแสดงส่วนลำต้นเป็นตัวเลขเดียวกันอยู่ในแถว
เดียวกัน แล้วเขียนตัวเลขที่แสดงส่วนใบ พร้อมทั้งกำหนดสัญลักษณ์แทนการอ่านข้อมูล ดังรูป
53

จากนั้นให้นักเรียนเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากในแต่ละแถว จะได้แผนภาพต้นใบ ดังรูป

ขั้นนำเสนอปัญหา
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 4-5 คน คละตามความสามารถ) มารับโจทย์ที่ครูทำขึ้นมา โดยแต่ละ
กลุ่มจะได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่และแตกต่างกัน
6. ตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถเขียนแผนภาพต้น-ใบจากข้อมูลที่ได้รับนี้อย่างไร” “ซึ่งสมาชิก
ในกลุ่มทุกคนจะต้องร่วมมือกันวาดแผนภาพต้น-ใบนี้ให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-3 ความคิด ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่ด้านข้าง
ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ
8. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-3 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงมือวาดแผนภาพต้น-ใบขึ้นมาให้เสร็จสมบูรณ์
ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานและวิธีคิดหน้าชั้นเรียนให้กระชับที่สุด (ใช้เวลากลุ่มละ
1 นาที) ) และตัดสินว่าผลงานนี้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้หลักการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้กำลังใจและชื่นชม)
10. ครูให้นักเรียนทั้งห้องสะท้อนคิด ขั้นตอนของการวาดแผนภาพต้น-ใบที่ได้จากการทำกิจกรรม
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
54

10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถเขียนแสดง ตรวจโจทย์การวาด โจทย์การวาดแผนภาพ นักเรียนวาดแผนภาพ
ข้อมูลในรูปแผนภาพต้นใบได้ (P) แผนภาพต้น-ใบจากข้อมูล ต้น-ใบจากข้อมูลที่ครู ต้น-ใบได้ถูกต้องครบถ้วน
ที่ครูกำหนดให้ กำหนดให้ ถือว่า ผ่าน
2. ความสามารถในการสื่อสาร สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) นักเรียน ความสามารถในการ ถือว่า ผ่าน
สื่อสาร
3. ความสามารถในการคิด ตรวจโจทย์การวาด โจทย์การวาดแผนภาพ นักเรียนวาดแผนภาพ
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) แผนภาพต้น-ใบจากข้อมูล ต้น-ใบจากข้อมูลที่ครู ต้น-ใบได้ถูกต้องครบถ้วน
ที่ครูกำหนดให้ กำหนดให้ ถือว่า ผ่าน
4. มุ่งมั่นในการทำงาน สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมุ่งมั่น ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน ในการทำงาน ถือว่า ผ่าน
55
56
57
58
59
60

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง ฮิสโทแกรม เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
การสร้างฮิสโทแกรม ทำได้ดังนี้
1. แบ่งข้อมูลออกเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน ในกรณีของข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่องที่มีจำนวนไม่มาก ใช้
ข้อมูลแต่ละตัวในการสร้างได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นช่วงก็ได้
2. นับจำนวนข้อมูลแต่ละตัวในแต่ละช่วง จำนวนดังกล่าวจะเป็นความถี่ของข้อมูลช่วงนั้น แล้วสร้างตารางระบุ
ความถี่ของข้อมูลในช่วงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่
3. เขียนแสดงค่าของข้อมูลหรือจุดปลายของช่วงบนแกนนอน แล้วเขียนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากบนตำแหน่งที่แสดงค่า
ของข้อมูล โดยให้ความสูงของแท่งเท่ากับความถี่หรือเปอร์เซ็นต์ของความถี่
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถเขียนแสดงข้อมูลในรูปฮิสโทแกรมได้ (P)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการสื่อสาร
4.2 ความสามารถในการคิด
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 ใฝ่เรียนรู้
5.2 อยู่อย่างพอเพียง
5.3 มีจิตสาธารณะ
61

6. สาระการเรียนรู้
ฮิสโทแกรม
7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 โจทย์การวาดฮิสโทแกรมจากข้อมูลที่ครูกำหนดให้
8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้ (การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง)
ขั้นเตรียม
1. ครูทบทวนเรื่องการวาดแผนภาพต้น-ใบ ดังนี้
แผนภาพต้น-ใบ คือ การแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลำต้น และ
ส่วนใบ โดยในที่นี้ส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนต้น เช่น 159 จะมี 9 เป็นส่วนใบ
และมี 15 เป็นส่วนลำต้น
2. ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการนำเสนอภาพฮิสโทแกรม ที่มักปรากฏในสื่อออนไลน์ ดังรูป

จากนั้นตั้งคำถามกับนักเรียนว่า “นักเรียนเคยเห็นการรายงานข้อมูลในลักษณะนี้หรือไม่ เรียกว่าอย่างไร”


ขั้นนำเสนอข้อมูล
3. ครูนำเสนอว่าการนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบดังกล่าวนี้เรียกว่า ฮิสโทแกรม (histrogram) ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายแผนภูมิแท่ง แต่ใช้แท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดงความถี่ของข้อมูลในแต่ละช่วง
4. ครูนำเสนอวิธีการสร้างฮิสโทแกรม โดยให้นักเรียนพิจารณาผลการทดสอบวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 10
ข้อ ของนักเรียนห้องหนึง่ ซึ่งมีข้อมูลดังรูป
62

จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งข้อมูลออกเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน แล้วนับจำนวนข้อมูลแต่ละตัวในแต่ละช่วง


จำนวนดังกล่าวจะเป็นความถี่ของข้อมูลช่วงนั้น แล้วสร้างตารางระบุความถี่ของข้อมูลในช่วงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า
ตารางแจกแจงความถี่ ดังรูป

จากนั้นเขียนแสดงจำนวนข้อที่นักเรียนตอบถูกบนแกนนอน แล้วเขียนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดงความถี่
ของจำนวนข้อที่นักเรียนตอบถูก ซึ่งจะได้ฮิสโทแกรม ดังรูป

ขั้นนำเสนอปัญหา
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 4-5 คน คละตามความสามารถ) มารับโจทย์ที่ครูทำขึ้นมา โดยแต่ละ
กลุ่มจะได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่และแตกต่างกัน
63

6. ตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถเขียนฮิสโทแกรมจากข้อมูลที่ได้รับนี้อย่างไร” “ซึง่ สมาชิกใน


กลุ่มทุกคนจะต้องร่วมมือกันวาดฮิสโทแกรมนี้ให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-3 ความคิด ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่ด้านข้าง
ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ
8. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-3 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงมือวาดฮิสโทแกรมขึ้นมาให้เสร็จสมบูรณ์
ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานและวิธีคิดหน้าชั้นเรียนให้กระชับที่สุด (ใช้เวลากลุ่มละ
1 นาที) และตัดสินว่าผลงานนี้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้หลักการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้กำลังใจและชื่นชม)
10. ครูให้นักเรียนทั้งห้องสะท้อนคิด ขั้นตอนของการวาดฮิสโทแกรมที่ได้จากการทำกิจกรรม
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
64

10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถเขียนแสดง ตรวจโจทย์การวาดฮิส โจทย์การวาดฮิสโทแกรม นักเรียนสามารถวาด
ข้อมูลในรูปฮิสโทแกรมได้ (P) โทแกรมจากข้อมูลที่ครู จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้ ฮิสโทแกรมได้ถูกต้อง
กำหนดให้ ครบถ้วน ถือว่า ผ่าน
2. ความสามารถในการสื่อสาร สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) นักเรียน ความสามารถในการ ถือว่า ผ่าน
สื่อสาร
3. ความสามารถในการคิด ตรวจโจทย์การวาดฮิส โจทย์การวาดฮิสโทแกรม นักเรียนสามารถวาด
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) โทแกรมจากข้อมูลที่ครู จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้ ฮิสโทแกรมได้ถูกต้อง
กำหนดให้ ครบถ้วน ถือว่า ผ่าน
4. ใฝ่เรียนรู้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความใฝ่ ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน เรียนรู้ ถือว่า ผ่าน
4. อยู่อย่างพอเพียง สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตการอยู่ ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน อย่างพอเพียง ถือว่า ผ่าน
4. มีจิตสาธารณะ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมีจิต ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน สาธารณะ ถือว่า ผ่าน
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพ เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
แผนภาพจุด (dot plot) เป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่ทำได้ไม่ยาก โดยจะเขียน
จุดแทนข้อมูลแต่ละตัวไว้เหนือเส้นในแนวนอนที่มีสเกล ให้ตรงกับตำแหน่งที่แสดงค่าของข้อมูลนั้น แผนภาพจุด
ช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูล ได้รวดเร็วกว่าพิจารณาจากข้อมูลโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสนใจจะพิจารณา
ลักษณะของข้อมูลว่ามีการกระจายมากน้อยเพียงใด
แผนภาพต้น-ใบ (Stem-and-leaf plot) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการ
เรียงลำดับข้อมูลและช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลักการง่าย ๆ ในการนำเสนอข้อมูลด้วย
แผนภาพต้น-ใบ คือ การแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่า ส่วนลำต้น และ ส่วนใบ
โดยในที่นี้ส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนต้น เช่น 159 จะมี 9 เป้นส่วนใบ และมี
15 เป็นส่วนลำต้น
ฮิสโตแกรม (Histogram) เป็นแผนภูมิแท่งที่บอกถึงความถี่ที่เกิดขึ้นในแต่ละอันตรภาคชั้น โดยแต่ละ
แท่งจะวางเรียงติดกัน แกนนอนจะกำกับด้วยค่าขอบบนและขอบล่างของชั้นนั้น หรือใช้ค่ากลาง (Midpoint)
แกนตั้งเป็นค่าความถี่ในอันตรภาคชั้น ดังนั้นความสูงของแต่ละแท่งจะขึ้นอยู่กับความถี่
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและอ่านค่าจากแผนภาพจุดได้ (P)
3.2 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและอ่านค่าจากแผนภาพต้น-ใบได้ (P)
3.3 นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและอ่านค่าจากฮิสโทแกรมได้ (P)
75

4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการคิด
4.2 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
6. สาระการเรียนรู้
แผนภาพจุด แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม
7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 แบบฝึกหัดที่ 1 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 3-5
7.2 แบบฝึกหัดที่ 2 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-3
7.3 แบบฝึกหัดที่ 3 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-2
8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นเตรียม
1. ครูทบทวนการวาดฮิสโทแกรม ดังนี้
การสร้างฮิสโทแกรม ทำได้ดังนี้
1. แบ่งข้อมูลออกเป็นช่วง ช่วงละเท่า ๆ กัน ในกรณีของข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่องที่มี
จำนวนไม่มาก ใช้ข้อมูลแต่ละตัวในการสร้างได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นช่วงก็ได้
2. นับจำนวนข้อมูลแต่ละตัวในแต่ละช่วง จำนวนดังกล่าวจะเป็นความถี่ของข้อมูลช่วงนั้น แล้ว
สร้างตารางระบุความถี่ของข้อมูลในช่วงนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ตารางแจกแจงความถี่
3. เขียนแสดงค่าของข้อมูลหรือจุดปลายของช่วงบนแกนนอน แล้วเขียนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากบน
ตำแหน่งที่แสดงค่าของข้อมูล โดยให้ความสูงของแท่งเท่ากับความถี่หรือเปอร์เซ็นต์ของความถี่
2. ครูนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยการสนทนาดังนี้ “หลังจากที่นักเรียนรู้จักวิธีการสร้างแผนภาพจุด แผนภาพ
ต้น-ใบ และฮิสโทแกรมแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพเหล่านี้ ให้ออกมาเป็นข้อมูลที่เรา
อยากรู้ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ในวันนี”้
ขั้นนำเสนอข้อมูล
3. ครูนำเสนอขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของแผนภาพจุด โดยนำเสนอโจทย์ดังนี้
76

ตัวอย่างที่ 1 ในคาบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ครูให้นักเรียนจับชีพจรของตนเอง เพื่อหาอัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้ง


ต่อนาที) ได้ผลดังแผนภาพจุดต่อไปนี้ ดังรูป

จากนั้นครูพานักเรียนสังเกตลักษณะของแผนภาพจุด และตอบคำถามต่อไปนี้
3.1 ในคาบเรียนนี้มีนักเรียนทั้งหมดกี่คน
3.2 พิสัยของอัตราการเต้นของหัวใจนักเรียนเป็นเท่าใด โดยครูอธิบายว่า พิสัยคือผลต่างระหว่างข้อมูล
สูงสุดและข้อมูลต่ำสุด จากนั้นให้นักเรียนหาข้อมูลสูงสุดและต่ำสุดจากแผนภาพจุดและตอบคำถาม
3.3 นักเรียนส่วนใหญ่มีอัตราการเต้นของหัวใจเป็นเท่าใด
4. ครูนำเสนอขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของแผนภาพต้น-ใบ โดยนำเสนอโจทย์ดังนี้
ตัวอย่างที่ 2 พิจารณาข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจำนวนหนังสือ (เล่ม) ที่นักเรียนในห้องหนึ่งอ่านได้ในระยะเวลา
1 ปี ดังรูป

จากนั้นครูพานักเรียนสังเกตลักษณะของแผนภาพต้น-ใบ และตอบคำถามต่อไปนี้
4.1 กลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งหมดกี่คน
4.2 นักเรียนอ่านหนังสือได้น้อยที่สุดกี่เล่ม และมากที่สุดกี่เล่ม และพิสัยของข้อมูลชุดนี้คือเท่าใด
4.3 จำนวนหนังสือที่นักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้อยู่ในช่วงใด
5. ครูนำเสนอขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลของฮิสโทแกรม โดยนำเสนอโจทย์ดังนี้
77

ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลของร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีข้อมูลที่ระบุเป็นฮิสโทแกรม ดังรูป จงตอบคำถามต่อไปนี้

5.1 นักเรียนคิดว่า เวลาเปิดให้บริการของร้านแห่งนี้คือช่วงเวลาใด


5.2 นักเรียนคิดว่า ในวันเสาร์ช่วงเวลาใดบ้างที่มีผู้มาใช้บริการมากที่สุด
5.3 นักเรียนคิดว่า หากต้องการไปทานอารที่ร้านแห่งนี้โดยคนน้อยสุด ควรเลือกช่วงเวลาใด
ขั้นนำเสนอปัญหา
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 4-5 คน คละตามความสามารถ) เปิดแบบฝึกหัดที่ 1 หน่วยที่ 1 เรื่อง
สถิติ (2) ข้อ 3-5 แบบฝึกหัดที่ 2 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-3 และแบบฝึกหัดที่ 3 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ
1-2
7. ตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถแก้ไขโจทย์ปัญหาแต่ละข้อนี้ได้อย่างไร” “ซึง่ สมาชิกในกลุ่มทุก
คนจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาโจทย์แต่ละข้อให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
8. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-2 ความคิดในแต่ละข้อ ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่
ด้านข้าง
78

ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ


9. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-2 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงมือแก้ปัญหาโจทย์แต่ละข้อให้เสร็จสมบูรณ์ ดังรูป
79

ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
10. ครูสุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอธีคิดและแก้ปัญหาโจทย์ในแต่ละข้อ ที่หน้าชั้นเรียนให้กระชับ
ที่สุด (ใช้เวลากลุ่มละ 1 นาที) และตัดสินว่าผลงานนี้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้หลักการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้
กำลังใจและชื่นชม)
11. ครูให้นักเรียนทั้งห้องสะท้อนคิด ถึงหลักการในการสังเกตแผนภาพจุด แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม ที่
ได้จากการทำแบบฝึกหัด
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
80

10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ตรวจแบบฝึกหัดที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 1 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
ข้อมูลและอ่านค่าจากแผนภาพ หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 3-5 2 คะแนน ถือว่า ผ่าน
จุดได้ (P) ข้อ 3-5
2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ตรวจแบบฝึกหัดที่ 2 แบบฝึกหัดที่ 2 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
ข้อมูลและอ่านค่าจากแผนภาพ หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-3 1 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ต้น-ใบได้ (P) ข้อ 2-3

3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ตรวจแบบฝึกหัดที่ 3 แบบฝึกหัดที่ 3 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ


ข้อมูลและอ่านค่าจาก หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-2 1 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ฮิสโทแกรมได้ (P) ข้อ 1-2
4. ความสามารถในการคิด ตรวจแบบฝึกหัดที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 1 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 3-5 2 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 3-5
ตรวจแบบฝึกหัดที่ 2 แบบฝึกหัดที่ 2 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-3 1 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 2-3
ตรวจแบบฝึกหัดที่ 3 แบบฝึกหัดที่ 3 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-2 1 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 1-2
5. ความสามารถในการใช้ทักษะ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
ชีวิต นักเรียน ความสามารถในการใช้ ถือว่า ผ่าน
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) ทักษะชีวิต
6. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความรัก ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ถือว่า ผ่าน
81
82
83
84
85
86

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว จำนวนของข้อมูลที่
น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จำนวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถแสดงการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้ (P)
3.2 นักเรียนสามารถแสดงการหาค่ามัธยฐานได้ (P)
3.3 นักเรียนสามารถแสดงการหาค่าฐานนิยมได้ (P)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 มีจิตสาธารณะ
6. สาระการเรียนรู้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม
87

7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 โจทย์การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้
8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นเตรียม
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนดังนี้ “ในหัวข้อที่ผ่านมา นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ทั้งหมดของข้อมูลว่ามีลักษณะอย่างไรมาแล้ว ในหัวข้อที่จะเรียนนี้
นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์หาตัวแทนที่ดีของข้อมูลว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง”
ขั้นนำเสนอข้อมูล
2. ครูนำเสนอสถานการณ์ให้นักเรียนพิจารณาดังต่อไปนี้
“เมื่อต้องการทราบว่า “นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียน มีความสูงประมาณเท่าใด” หลังจาก
การเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จะใช้ข้อมูลใดเป็นตัวแทนที่เหมาะสม ซึ่งมีตัวเลือกดังต่อไปนี้
1. ใช้ความสูงของนักเรียนที่สูงน้อยที่สุด
2. ใช้ความสูงของนักเรียนที่มากที่สุด
3. รวมความสูงของนักเรียนทุกคน แล้วหารด้วยจำนวนทั้งหมด
4. เรียงลำดับความสูงจากน้อยไปมาก แล้วเลือกเอาความสูงที่อยู่ตรงกลสง
5. นักเรียนส่วนใหญ่มีความสูงเท่าใด ก็ใช้ความสูงนั้น”
โดยครูรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนในการแสดงความคิดเห็น
3. ครูอธิบายให้นักเรียนเห็นภาพว่า “หากนักเรียนเลือกตัวแทนข้อมูลข้อที่ 1 และ 2 เราจะได้ตัวแทนที่ไม่
เหมาะสม เพราะเป็นค่าที่น้อยที่สุดและมากที่สุด เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ค่า ในทางปฏิบัติทั่วไปในวิชาสถิติ การ
เลือกตัวแทนที่เหมาะสม จะทำได้โดยวิธีที่ 3 หรือ 4 หรือ 5 ตามความเหมาะสม ซึ่งค่าที่ได้จากวิธีที่ 3 หรือ 4 หรือ
5 เรียกว่า ค่ากลางของข้อมูล”
4. ครูนำเสนอค่ากลางของข้อมูล ซึ่งมี 3 อย่างดังนี้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว จำนวนของข้อมูลที่
น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จำนวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
5. ครูนำเสนอตัวอย่างข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อแสดงถึงวิธีการหาค่ากลางของข้อมูลทั้ง 3 อย่าง
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
88

ตัวอย่างที่ 1 คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 10 คน เป็นดังนี้ 5, 7, 10, 6, 5, 4, 4, 8, 5, และ 6 จงหา


ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบของนักเรียน 10 คนนี้ จะได้วิธีทำดังรูป

มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว จำนวนของข้อมูลที่


น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จำนวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น ซึ่งอธิบายดังรูป
89

ตัวอย่างที่ 2 คะแนนสอบของนักเรียน 20 คน เป็นดังในตาราง

จงหามัธยฐานของข้อมูลชุดนี้

ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ


ตัวอย่างที่ 3 จากการสำรวจเบอร์รองเท้าของคน 200 คน ปรากฏผลดังรูป

จงหาว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้รองเท้าเบอร์ใด

ขั้นนำเสนอปัญหา
6. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 4-5 คน คละตามความสามารถ) มารับโจทย์ที่ครูทำขึ้นมา โดยแต่ละ
กลุ่มจะได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่และแตกต่างกัน
90

7. ตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ของข้อมูลที่ได้รับนี้


อย่างไร” “ซึ่งสมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องร่วมมือกันหาคำตอบนี้ให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
8. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-3 ความคิด ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่ด้านข้าง
ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ
9. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-3 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงมือหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ให้เสร็จสมบูรณ์
ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
10. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานและวิธีคิดหน้าชั้นเรียนให้กระชับที่สุด (ใช้เวลากลุ่มละ
1 นาที) และตัดสินว่าผลงานนี้ถูกต้องหรือไม่ (ใช้หลักการเสริมแรงทางบวก เช่น การให้กำลังใจและชื่นชม)
11. ครูให้นักเรียนทั้งห้องสะท้อนคิด การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ที่ได้จากการทำกิจกรรม
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
91

10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถแสดงการหา ตรวจวิธีการหา โจทย์การหาค่าเฉลี่ยเลข นักเรียนสามารถหา
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้ (P) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต จาก คณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยเลขคณิตจาก
ข้อมูลที่ครูกำหนดให้ จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้ ข้อมูลที่กำหนดให้ได้
ถูกต้อง ถือว่า ผ่าน
2. นักเรียนสามารถแสดงการหา ตรวจวิธีการหา โจทย์การหาค่าเฉลี่ยเลข นักเรียนสามารถหา
ค่ามัธยฐานได้ (P) มัธยฐาน จากข้อมูลที่ครู คณิต มัธยฐาน ฐานนิยม มัธยฐานจากข้อมูลที่
กำหนดให้ จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้ กำหนดให้ได้ถูกต้อง
ถือว่า ผ่าน
3. นักเรียนสามารถแสดงการหา ตรวจโจทย์การหา โจทย์การหาค่าเฉลี่ยเลข นักเรียนสามารถหา
ค่าฐานนิยมได้ (P) ฐานนิยม จากข้อมูลที่ครู คณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ฐานนิยมจากข้อมูลที่
กำหนดให้ จากข้อมูลที่ครูกำหนดให้ กำหนดให้ได้ถูกต้อง
ถือว่า ผ่าน
4. ความสามารถในการใช้ทักษะ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
ชีวิต นักเรียน ความสามารถในการใช้ ถือว่า ผ่าน
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
เทคโนโลยี นักเรียน ความสามารถในการใช้ ถือว่า ผ่าน
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) เทคโนโลยี
6. มีจิตสาธารณะ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมีจิต ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน สาธารณะ ถือว่า ผ่าน
92
93
94
95
96
97
98
99

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ 4 (ค22102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องสถิติ จำนวน 8 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการประยุกต์ เวลา 50 นาที

1. มาตรฐานและตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 3.1 เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
ค 3.1 ม.2/1 เข้าใจและใช้ความรู้ทางสถิติในการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภาพจุด
แผนภาพต้น-ใบ ฮิสโทแกรม และค่ากลางของข้อมูล และแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
2. สาระสำคัญ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว จำนวนของข้อมูลที่
น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จำนวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 นักเรียนสามารถใช้ความรู้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยมแก้โจทย์ปัญหาได้ถูกต้อง (P)
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1 ความสามารถในการคิด
4.2 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1 ใฝ่เรียนรู้
5.2 มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สาระการเรียนรู้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม
7. ภาระงาน / ชิ้นงาน
7.1 แบบฝึกหัดที่ 4 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-5
7.2 แบบฝึกหัดที่ 5 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-6
100

8. กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นเตรียม
1. ครูนำเข้าสู่บทเรียนดังนี้ “ในหัวข้อที่ผ่านมา นักเรียนได้เรียนรู้ค่ากลางของข้อมูลอะไรบ้าง และมีการใช้
งานค่ากลางแต่ละค่าอย่างไร”
2. ครูให้นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นและใช้การเสริมแรงทางบวกกระตุ้น
ขั้นนำเสนอข้อมูล
3. ครูทบทวนความหมายของค่ากลางของข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ดังนี้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนที่ได้จากการหารผลบวกของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูล
มัธยฐาน คือ ค่าค่าหนึ่งซึ่งเมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อยแล้ว จำนวนของข้อมูลที่
น้อยกว่าหรือเท่ากับค่านั้น จะเท่ากับ จำนวนของข้อมูลที่มากกว่าหรือเท่ากับค่านั้น
ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ
ขั้นนำเสนอปัญหา
4. ครูนำเสนอแบบฝึกหัดที่ 4 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-5 และแบบฝึกหัดที่ 5 หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ
(2) ข้อ 2-6 และตั้งคำถามให้ทุกกลุ่มว่า “เราจะสามารถหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน ฐานนิยม ของโจทย์ปัญหาที่
ได้รับนี้อย่างไร” “ซึง่ สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องร่วมมือกันหาคำตอบนี้ให้ได้
ขั้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและระดมภายในกลุ่ม โดยให้สมาชิกภายในกลุ่ม
เลือกความคิดที่ดีที่สุดและน่าจะเป็นไปได้ที่สุดไว้ 1-3 ความคิด ซึ่งครูเป็นผู้ควบคุมและชี้แนะอยู่ด้านข้าง
ขั้นอภิปราย คัดสรร และลงมือปฏิบัติ
6. ครูนักเรียนแต่ละกลุ่มนำความคิดที่เลือกไว้ 1-3 ความคิดนั้น มาอภิปรายและลงความเห็นว่า จะใช้
ความคิดใดในการลงมือแก้ปัญหา หลังจากนั้นลงแก้โจทย์ปัญหาให้เสร็จสมบูรณ์ ดังรูป
101
102
103

ขั้นตัดสินผลงานของกลุ่ม
7. ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัด โดยให้แต่ละกลุ่มสลับกันออกมาพูดวิธีคิด แนวคิดอย่างคร่าว ๆ
หน้าชั้นเรียน เพื่อแสดงแนวคิดที่หลากหลายในการทำ
8. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนการหาค่ากลางของข้อมูลอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ
9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (สสวท.)
9.2 แบบฝึกหัดรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2 (MACeducation)
10. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่ประเมิน วิธีประเมิน เครื่องมือประเมิน เกณฑ์การประเมิน
1. นักเรียนสามารถใช้ความรู้ ตรวจแบบฝึกหัดที่ 4 แบบฝึกหัดที่ 4 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และ หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-5 3 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ฐานนิยมแก้โจทย์ปัญหาได้ ข้อ 1-5
ถูกต้อง (P) ตรวจแบบฝึกหัดที่ 5 แบบฝึกหัดที่ 5 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-6 3 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 2-6
2. ความสามารถในการคิด ตรวจแบบฝึกหัดที่ 4 แบบฝึกหัดที่ 4 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 1-5 3 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 1-5
ตรวจแบบฝึกหัดที่ 5 แบบฝึกหัดที่ 5 หน่วย ได้มากกว่าหรือเท่ากับ
หน่วยที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ที่ 1 เรื่องสถิติ (2) ข้อ 2-6 3 คะแนน ถือว่า ผ่าน
ข้อ 2-6
3. ความสามารถในการใช้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกต ระดับ พอใช้
ทักษะชีวิต นักเรียน ความสามารถในการใช้ ถือว่า ผ่าน
(สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน) ทักษะชีวิต
4. ใฝ่เรียนรู้ สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความใฝ่ ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน เรียนรู้ ถือว่า ผ่าน
5. มุ่งมั่นในการทำงาน สังเกตพฤติกรรม แบบสังเกตความมุ่งมั่น ระดับ พอใช้
(คุณลักษณะอันพึงประสงค์) นักเรียน ในการทำงาน ถือว่า ผ่าน
104
105
106
107
108
109
110
111

ภาคผนวก ง
รูปภาพในระหว่างขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
112
113
114
115
116

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ - สกุล นายโยธิน ใคร่กระโทก


รหัสนิสิต 61203305
วุฒิการศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา
ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา
แขนงวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
ปัจจุบัน นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 แขนงวิชาคณิตศาสตร์
ณ โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา

You might also like