You are on page 1of 4

หน่วยการเรียนรูท้ ี่ ๒ เอกสารสรุปชุดวิชาไทยศึกษา ๑๐๑๕๑ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ ประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

ตอนที่ ๒.๑ ข้อพินิจเบื้องต้น


ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

• ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์
• ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
• ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล

สภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย

สภาพภูมิศาสตร์มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไทย ดังนี้
• ประชากรหลายเผ่าพันธุ์อพยพมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย เพราะ
ดินแดนประเทศไทยมีภูมิศาสตร์เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่
• สังคมไทยเปิดรับวัฒนธรรมจากภายนอก เพราะเป็นดินแดนเปิดที่ตั้งอยู่บน
เส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ
• มีศักยภาพในการปรับประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นดินแดนเปิด

ภาพรวมของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

• เริ่มจากการตั้งถิ่นฐาน คิดภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เกิดระบบความเชื่อ ประเพณี


และพิธีกรรมต่าง ๆ
• เมื่อมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงเริ่มคิดค้นเทคโนโลยี การจัดระเบียบการ
ปกครอง ระเบียบทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางสังคม ระบบศาสนา ภาษาเขียน
และศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ ๒ เอกสารสรุปชุดวิชาไทยศึกษา ๑๐๑๕๑ 2

ตอนที่ ๒.๒ จากยุคหินถึงการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์


ยุคหินในดินแดนประเทศไทย

ยุคหินเก่า
• พบร่องรอยบริเวณเขตที่สูงใกล้ภูเขาและแถบลำน้ำ เช่น บริเวณแม่น้ำแควน้อย
ตำบลบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณริมแม่น้ำโขง แถวสบคำ จังหวัด
เชียงราย

ยุคหินกลาง
• เริ่มรู้จักการขัดหินให้เรียบและคมขึ้น รู้จักการนำเปลือยหอยมาทำเครื่องมือ รู้จัก
การทำเครื่องปั้นดินเผา รู้จักการฟั่นเชือก เริ่มปรากฏพิธีกรรมฝังศพ
• พบร่องรอยบริเวณถ้ำพระ จังหวัดกาญจนบุรี และถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ยุคหินใหม่
• เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง
• พบร่องรอยบริเวณแม่น้ำแควน้อย ตำบลบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โคกพนมดี
จังหวัดชลบุรี และบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ยุคโลหะในดินแดนประเทศไทย

• เริ่มรู้จักการถลุงโลหะมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน รู้จักการเดินเรือในทะเล
และรู้จักการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม (กลองมโหระทึก)
• วัฒนธรรมสำริดที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนประเทศไทย สันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านเชียง
• พบร่องรอยบริเวณบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัด
กาญจนบุรี และโคกพลับ จังหวัดราชบุรี

การเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์

• อาจารย์ชิน อยู่ดี ใช้จารึกที่พบที่เพนียด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่ทำขึ้นเมื่อ


ประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐ เป็ น เส้ น กำหนดระยะสิ ้ น สุ ด สมั ย ก่ อ นประวั ต ิ ศ าสตร์
ในดินแดนประเทศไทย
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ ๒ เอกสารสรุปชุดวิชาไทยศึกษา ๑๐๑๕๑ 3

ตอนที่ ๒.๓ แคว้นโบราณในประเทศไทย


แคว้นในภาคกลาง

ที่สำคัญ คือ
• แคว้นทวารวดี (นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท)
• แคว้นละโว้ (สัมพันธ์ใกล้ชิดกับกัมพูชา)
• แคว้นอโยธยา (มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี)
• แคว้นสุพรรณภูมิ (มีความเข้มแข็งทางการทหาร)

แคว้นในภาคเหนือ

ที่สำคัญ คือ
• แคว้นหริภุญไชย (สืบทอดวัฒนธรรมทวารวดี)
• แคว้นล้านนา (รวบรวมดินแดนในภาคเหนือในเป็นปึกแผ่น)
• แคว้นสุโขทัย (ต้นกำเนิดลายสือไทย)

แคว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่สำคัญ คือ
• แคว้นโคตรบูรณ์ (พระธาตุพนม)
• กลุ่มเมืองอื่น ๆ (พิมาย/พนมรุ้ง)

แคว้นในภาคตะวันออก

• ที่สำคัญ เช่น เมืองพระรถ เมืองศรีมโหสถ และเมืองดงละคร


• ในสมัยอยุธยาและธนบุรี มีความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขาย
• ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความสำคัญในฐานะเมืองยุทธศาสตร์

แคว้นในภาคใต้

ที่สำคัญ คือ
• แคว้นนครศรีธรรมราช (ต้นทางของศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์)
• แหล่งโบราณคดีสมัยศรีวิชัย (พระบรมธาตุไชยา/พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)
หน่วยการเรียนรูท้ ี่ ๒ เอกสารสรุปชุดวิชาไทยศึกษา ๑๐๑๕๑ 4

ตอนที่ ๒.๔ อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์

สมัยอยุธยา

• เกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นละโว้กับแคว้นสุพรรณภูมิผ่านการแต่งงาน
• มีพื้นฐานที่ดี ทำให้เจริญรุ่งเรืองรวดเร็วและกว้างขวาง
• มอบมรดกทางวัฒนธรรมทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
ให้แก่สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยธนบุรี

• สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีความชอบธรรมในการปกครองธนบุรี เพราะ
สามารถไล่ข้าศึกออกไปได้ จึงได้รับการสนับสนุนจากเหล่าขุนนาง
• เป็นสมัยของการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สมัยรัตนโกสินทร์

• สมัยรัชกาลที่ ๑-๓ เป็นสมัยแห่งการฟื้นฟูวางรากฐานอาณาจักรให้มั่นคง


ในทุก ๆ ด้าน
• สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา เป็นสมัยของการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย

You might also like