You are on page 1of 14

The Solar System

ระบบสุริยะ
สื่อการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
สารบัญ
ระบบสุริยะคืออะไร? ดาวเคราะห์หิน

01 ทำความรู้จักกับความหมายของ
ระบบสุริยะ ประวัติโดยย่อ และส่วน
03 ทำความรู้จักกับดาวเคราะห์ขนาดเล็ก
มีความหนาแน่นสูง หรือดาวเคราะห์
ประกอบของระบบสุริยะ หิน (Terrestrial planets)

ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แก๊ซ

02 ทำความรู้จักกับดวงอาทิตย์ หรือ
ดาวฤกษ์ดวงแม่ที่เป็นหัวใจของ
04 ทำความรู้จักกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
ทั้งสี่ดวงมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์
ระบบสุริยะ ชั้นใน หรือดาวเคราะห์หิน
วัตถุประสงค์
การเรียนรู้
เพื่อให้นักเรียนสามารถระบุความแตก
01 ต่างระหว่างดาวเคราะห์หินและดาว
เคราะห์แก๊ซได้

เพื่อให้นักเรียนรู้จักและสามารถเปรียบ
02 เทียบดาวเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ
สุริยะได้

เพือให้นักเรียนมีความรู้และมีความ
03 เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของดาว
เคราะห์อีก 7 ดวงที่มีต่อโลกได้
ระบบสุริยะ
ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจาก
แรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว
166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์ บริวารที่ค้นพบแล้ว 4
ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึงดาวเคราะห์น้อย
วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวง


อาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุ ธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาว
พฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดาวเคราะ์หิน

ดาวเคราะห์แก๊ซ
ดวงอาทิตย์
คือดาวฤกษ์ดวงแม่ที่เป็นหัวใจของระบบ เชื่อว่าตำแหน่งของดวงอาทิตย์
สุริยะ มีขนาดประมาณ 332,830 เท่าของ บนแถบลำดับหลักนั้นจัดได้ว่าอยู่ใน
มวลของโลก เพราะมีมวลมหาศาลทำให้ดวง "ช่วงรุ่งโรจน์ของยุค" ของอายุดาวฤกษ์
อาทิตย์มีความหนาแน่นภายในสูงมากพอจะ มันยังมีไฮโดรเจนมาก เพียงพอที่จะสร้าง
ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันอย่างต่อ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันไปอีกนาน
เนื่อง และปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา และกำลังเพิ่มพู นความสว่างมากขึ้น ในอดีต
ส่วนมากเป็นพลังงานที่แผ่ออกไปในลักษณะ ดวงอาทิตย์เคยมีความสว่างเพียงแค่ 70%
ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น แสง ของความสว่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ดาวพุ ธ
ดาวพุ ธ (0.4 AU) คือดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่มี
ขนาดเล็กที่สุด (0.055 เท่าของมวลโลก) ดาวพุ ธไม่มีดาวบริวารของตัวเอง สภาพพื้น
ผิวที่มีนอกเหนือจากหลุมบ่อจากการปะทะ มีความเป็นสันเขาสูงชัน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นใน
ช่วงยุคการก่อตัวในช่วงเริ่มแรกของประวัติศาสตร์

ชั้นบรรยากาศของดาวพุ ธเบาบางมากจนแทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีบรรยากาศ ประกอบด้วยอะตอมที่ถูกลม


สุริยะพัดพาขับไล่ไปจนเกือบหมด แกนกลางของดาวเป็นเหล็กที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ต่อมาเป็นชั้น
เปลือกบางๆ ที่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน ทฤษฎีเกี่ยวกับชั้นเปลือกของดาวจำนวนหนึ่ง
อธิบายถึงชั้นผิวรอบนอกที่ถูกฉีกออกด้วยการปะทะครั้งใหญ่ บ้างก็ว่ามันถูกกีดกันจากการพอกรวม
ของชั้นผิวเนื่องจากพลังงานมหาศาลของดวงอาทิตย์อันเยาว์

เนื่องจากดาวพุ ธไม่มีชั้นบรรยากาศเหมือนโลก จึงได้รับการขนานนามว่า “เตาไฟแช่แข็ง” เนื่องจากเวลา


กลางวัน ด้านที่รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ จะร้อนจัด มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 430 องศาเซลเซียส แตก
ต่างอย่างชัดเจนกับเวลากลางคืน ซึ่งหนาวจัด โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ -180 องศาเซลเซียส
ดาวศุกร์
ดาวศุกร์ (0.7 AU) มีขนาดใกล้เคียงกับโลก (0.815 เท่าของมวลโลก) และมีลักษณะคล้าย
โลกมาก มีชั้นเปลือกซิลิเกตอย่างหนาปกคลุมรอบแกนกลางของดาวซึ่งเป็นเหล็ก มีชั้น
บรรยากาศและมีหลักฐานแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายในของดาว
แต่ดาวศุกร์แห้งแล้งกว่าโลกมาก ชั้นบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลกถึงกว่า 90 เท่า

ดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารของตัวเอง จึงกล่าวได้ว่าดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด
ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 400 °C ซึ่งเป็นผลจากปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่มีอยู่
เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศในปัจจุบันไม่มีการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทาง
ธรณีวิทยาใหม่ๆบนดาวศุกร์อีกแล้ว แต่ดาวศุกร์ไม่มีสนามแม่เหล็กของตัวเองที่จะ
ช่วยป้องกันการสูญเสียชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการที่ดาวศุกร์ยังรักษาชั้นบรรยากาศ
ของตัวเองไว้ได้จึงคาดว่าน่าจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ

เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้และมีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด
จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “ฝาแฝด” ของโลก
Earth
โลก (1 AU) เป็นดาวเคราะห์ที่ค่อนข้างใหญ่และมีความหนา
แน่นมากที่สุดในกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์
เพียงดวงเดียวที่พบว่ายังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
อยู่ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวเท่าที่ทราบว่ามีสิ่ง
มีชีวิต โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำมาก เป็นเอกลักษณ์ที่แตก
ต่างจากกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลกทั้งหมด และยังเป็นดาว
เคราะห์เพียงดวงเดียวที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือก
โลกอยู่

ชั้นบรรยากาศของโลกค่อนข้างจะแตกต่างกับดาวเคราะห์
ดวงอื่น เนื่องจากการที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในบรรยากาศ
จึงมีออกซิเจนอิสระอยู่ถึง 21% โลกมีดาวเคราะห์บริวาร
หนึ่งดวง คือ ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์บริวารขนาด
ใหญ่เพียงดวงเดียวในเขตระบบสุริยะชั้นใน
ดาวอังคาร
ดาวอังคาร (1.5 AU) มีขนาดเล็กกว่าโลกและดาวศุกร์ (0.107 เท่าของ
มวลโลก) มีชั้นบรรยากาศเจือจางที่เต็มไปด้วยคาร์บอน ไดออกไซด์ พื้น
ผิวของดาวอังคารระเกะระกะด้วยภูเขาไฟจำนวนมาก เช่น Olympus
Mons และหุบเขาลึกชันมากมาย เช่น Valles Marineris แสดงให้เห็นถึง
การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้

สีของดาวอังคารที่เราเห็นเป็นสีแดง เป็นเพราะ สนิม ที่มีอยู่ในพื้นดินอัน


เต็มไปด้วยเหล็ก ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารขนาดเล็กสองดวง (คือ
ไดมอส กับ โฟบอส) ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่บังเอิญถูก
แรงดึงดูดของดาวอังคารจับตัวเอาไว้
ดาวพฤหัสบดี
มีมวลประมาณ 318 เท่าของมวลโลก นับเป็นมวลมหาศาลถึง
2.5 เท่าของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์ที่เหลือรวมกัน
ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมจำนวนมาก ดาวพฤหัสบดี
มีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้วทั้งสิ้น 63 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุด 4
ดวงคือ แกนิมีด คัลลิสโต ไอโอ และยูโรปา ซึ่งแกนิมีดเป็นดาว
บริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุ ธเสียอีก

ดาวเสาร์
เป็นดาวเคราะห์ที่โดดเด่นเนื่องจากระบบวงแหวนขนาดใหญ่ที่เห็น
ได้ชัด ลักษณะของดาวรวมถึงสภาพบรรยากาศคล้ายคลึงกับ
ดาวพฤหัสบดี โดยมีมวลโดยประมาณ 95 เท่าของมวลโลก ดาว
เสาร์มีดวงจันทร์ บริวารที่รู้จักแล้ว 60 ดวง ในจำนวนดวงจันทร์
ทั้งหมดมีอยู่ 2 ดวงคือ ไททันและเอนเซลาดัส ดวงจันทร์ไททันเป็น
ดวงจันทร์บริวาร เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ
ดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัส (19.6 AU) มีขนาดประมาณ 14 เท่าของมวลโลก เป็นดาวเคราะห์มวลน้อยที่สุดในระบบสุริยะชั้นนอก
ลักษณะการโคจรของดาวยูเรนัสไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่น มันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบตะแคงข้าง โดยมี
ความเอียงของแกนมากกว่า 90 องศาเมื่อเทียบกับระนาบสุริยวิถี แกนกลางของดาวค่อนข้างเย็นกว่าดาวแก๊ส
ยักษ์ดวงอื่นๆ และแผ่ความร้อนออกมาสู่อวกาศภายนอกเพียงน้อยนิด ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้ว
27 ดวง กลุ่มของดวงจันทร์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ไททาเนีย โอบิรอน อัมเบรียล เอเรียล และมิรันดา
ดาวเนปจูน
ดาวเนปจูน (30 AU) แม้จะมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัส แต่มีมวลมากกว่า คือประมาณ 17 เท่าของมวลโลก
ดังนั้นมันจึงเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมาก ดาวเนปจูนแผ่รังสีความร้อนจากแกนกลางออกมามาก แต่ก็ยัง
น้อยกว่าดาวพฤหัสบดีหรือดาวเสาร์ เนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้ว 13 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ไทร
ทัน มีสภาพการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอยู่ เช่นมีน้ำพุ ร้อน ไนโตรเจนเหลว และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่
เพียงดวงเดียวที่มีวงโคจรย้อนถอยหลัง ดาวเนปจูนยังส่งดาวเคราะห์เล็กๆ จำนวนหนึ่งหรือเนปจูนโทรจัน
เข้าไปในวงโคจรของดวงจันทร์ไทรทันด้วย โดยมีการสั่นพ้องของวงโคจรแบบ 1:1 กับดวงจันทร์
แหล่งอ้างอิง
N. (2019, July 22). ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ (Planets of
Solar System). National Geographic Thailand.
https://ngthai.com/science/23134/planets/

ระบบสุริยะจักรวาล. (n.d.).
http://www.digitalschool.club/digitalschool/social2_1_1/
m6_1/content/lesson4/4_11.php

T. (2022, January 11). รู้จัก “ระบบสุริยะ” คืออะไร


ประกอบด้วยอะไรบ้าง. www.thairath.co.th.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2285230

You might also like