You are on page 1of 248

คู่มือประจำบ้าน

รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ครบ ๒๕ ปี

๒๕๕๐
๘๐ พรรษา มหามงคล

โคลงสี่สุภาพ

เฉลิมพระชนม์ชื่นน้าว มโนนำ
จงรักษ์ประจักษ์ประจำ เจตน์พร้อม
ปวงไทยถิ่นทวีธรรม จตุรทิศ
กายจิตวจีน้อม กราบซ้องสาธุการ
พนมมาลย์พนมมาศถ้วน ทูนถวาย
แทบฝ่าละอองฦาสาย สรรพแล้ว
อาศิรวาทตังวาย วรพจน์
แปดสิบพรรษาแผ้ว ครบเอื้อเอิกสมัย
เฉลิมไชยไทยทั่วหล้า อัญชลี
ฉลองชาติกัตเวที เทิดไท้
สราญรมย์ร่มบารมี สมานมิ่ง เมืองเฮย
สวัสดิ์สุขดับทุกข์ไร้ แหล่งด้าวดาลเกษม
ปรีดิ์เปรมปราโมทย์แท้ ผองไทย
เกริกกล่าวพระเกียรติไกร ณ เกล้า
พิเศษพิสุทธิ์พิสัย พิสิฐฤกษ์
พระเดชพระคุณคุ้มเผ้า ก่อเกื้อสมานฉันท์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้ามูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ประพันธ์)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสพระราชทานสัมภาษณ์เรื่องโรคหัวใจ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

เมือ่ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพระบรมราชานุญาต



ให้ ดร.เชาวน์ ณศีลวันต์ องคมนตรีกราบบังคมทูลพระกรุณาถามถึงพระอาการประชวร หลังทรงขับ
รถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มายัง
ศาลาดุสิดาลัย เพื่อทรงออกกำลังพระวรกาย ในเวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา ๑๑ นาที
ดร.เชาวน์ ณศีลวันต์ องคมนตรี กราบบังคมทูลถามว่า ในการทรงพระประชวร ประชาชนได้
ทราบแต่แถลงการณ์ของแพทย์อยากจะรู้มากไปกว่านั้นว่า สาเหตุที่ทรงพระประชวรเป็นอย่างไร แล้วเมื่อ

ทรงพระประชวรแล้วมีการรักษาอย่างไร และหลังจากที่รักษาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง พระพุทธเจ้าข้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบว่า แถลงการณ์เขาไม่บอกหรือ
จากนั้น ได้มีพระราชดำรัสถึงพระอาการประชวรทางพระหทัย มีใจความโดยสังเขป ว่า
“ในตอนแรกเขาบอกว่าตอนนี้เดินระยะเวลาเกือบเท่ากับที่ TEST เมื่อวานนี้ (๑๒ เมษายน
๒๕๓๘) เมื่อวานนี้ ๑๒ นาที วันนี้ ๑๑ นาที ๔๘ วินาที ก็ได้ผลพอดี ไม่เคยเดินได้ดีเท่าวันนี้

คือก่อนเข้าโรงพยาบาลไม่เคยเดินได้ดีเท่านี้เป็น ๒ ปีแล้ว ต้นเหตุมันเป็นเรื่องของหัวใจ ประชาชนอาจจะ
ตกใจทำอะไรที่หัวใจ “หนักอยู่”......
เราเองก็ตกใจ แทงเข้าไปที่หัวใจถือว่าสาหัสมาก อันนี้ก็จะขออธิบายว่าเรื่องของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง
หัวใจส่วนหนึ่งที่มันตีบ ทำให้เลือดเข้าไปในส่วนนั้นของหัวใจไม่ค่อยดี เวลาออกกำลังกายมากหน่อยก็ทำให้
หัวใจนั้นขาดเลือด เมื่อขาดเลือดแล้วทำให้ปั่นป่วนหมด ถึงขั้นนั้นถ้ามาเดินอย่างวันนี้ก็เสร็จแล้ว ที่จริง

วันก่อนนี้เดินไม่แรงเท่าวันนี้ก็ปวด เจ็บปวดตรงไปที่หลัง ลงไปที่แขนทั้งสองข้าง
ดร.เชาวน์ กราบบังคมทูลถามต่อว่า
เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอหรือ พระพุทธเจ้าข้าขอรับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งตอบว่า เลี้ยงส่วนนั้นของหัวใจไม่พอ อย่างนี้ต้อง
อธิบายว่าหัวใจเป็นอย่างไร (ทรงเขียนรูปหัวใจที่กระดานไวท์บอร์ด)










(รูป ก) (รูป ข)

หมอทำวิธีเรียกว่า บอลลูนเลือดผ่านได้ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของเลือดที่ควรจะมา เวลาออกกำลังกาย
เลือดมาเลี้ยงไม่พอ มาเลี้ยงสมอง มาเลี้ยงหัวใจไม่พอ










(รูป ค)

หลังจากทุบแล้วจะเหลือแค่นี้
หัวใจจะอยู่ข้างซ้ายนี้ (ทรงเขียนรูป) หัวใจ นี้ซ้าย นี้ขวา (รูป ก) หัวใจนี้ข้างในเป็นปั๊มเครื่องสูบ
สีแดงเป็นส่วนเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนที่รับจากปอดที่ฟอก ฟอกให้มี O2 แล้วอันนี้สำคัญ เส้นที่รับจาก
หัวใจไปที่ข้างบนที่สมองไปส่วนบนของร่างกาย แล้วก็มีส่วนหนึ่งที่ออกมาเลี้ยงส่วนซ้ายของหัวใจแล้วแยก
เป็นสองส่วน อีกส่วนหนึง่ มาเลีย้ งข้างขวาของหัวใจ สองเส้นแล้วก็แยกตรงนัน้ เป็นสองเส้น หัวใจด้านนีไ้ ปเลีย้ ง

และด้านนี้ก็ไปเลี้ยง
ทีส่ บู เพราะอธิบายเลยไม่ลง เพราะใช้ความคิด ใช้ความคิดนีต้ อ้ งใช้เลือดมาก ๆ ขึน้ ไปทีส่ มองก็เลย

ไม่ลง อันนี้ไม่เป็นไร หมอก็หัวเราะ อธิบายต่อ อันที่ออกมานี้มีเส้นเลือดที่แยกออกมา ไปข้างล่างแยกไป
ทางขาซ้าย ขาขวา ร่างกายคน ขาซ้าย - ขวา ตรงนี้ที่มาในส่วนนี้ เส้นเลือดมันตีบตรงนี้ มันตีบตรงที่ม

เหมือนกองทราย (ตามรูป ข) เหมือนเป็นตะกอน ข้างล่างเลือดเดินได้เท่านี้ประมาณ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของ
เลือดที่ควรจะมา มาในส่วนนี้ของหัวใจ ถ้าเวลาพักผ่อนเลือดที่ผ่านเท่านี้ก็พอเพียง เวลาออกกำลังเลือดที ่

จะไปเลี้ยงร่างกายทั้งหลายต้องแบ่งเลือดไป
มาทีนี้ (ดูรูปหัวใจ ก) ขึ้นไปที่สมองน้อยลงเพราะไม่พอเลี้ยงเวลาเราออกกำลัง จึงทำให้ส่วนของ
หัวใจบางส่วนขาดเลือด อันนี้ทำให้เจ็บ คนที่เป็นหัวใจวายนี้จะเจ็บมาก เราก็มีอาการอย่างนั้น ที่เจ็บ

ตรงนี้มันตีบ (ดูรูปหัวใจ ก) เมื่อออกกำลังเลือดจะผ่านตรงนี้ไม่พอ หลังจากนั้นครึ่งชั่วโมงร่างกายจะเย็น
หมด หมอมาจับก็ตกใจ แต่ตอนนี้ยังอุ่นแล้วก็เหงื่อออก แต่นั้นเหงื่อออกเย็นหมด เย็นเยือกทั้งตัวเลย

หน้าก็ซีดจะต้องแก้ไข หมอเขาทำวิธีที่เรียกว่าบอลลูนหรือลูกโป่ง ลูกโป่งนี้ไม่ใช้ลูกโป่งยางที่สูบ มันเป็น
เครื่องมือเล็ก ๆ ที่ขยายตัวต้องสอดเข้ามาทางหนึ่งทางใด ต้องสอดเข้าตรงบริเวณขาหนีบ สอดเส้นลวดเข้า
มาตามเส้นเลือดเข้ามาจนถึงหัวใจเลี้ยวขึ้นไปข้างบนเลี้ยวอีกทีจากส่วนที่ไปข้างขวา และเลี้ยวอีกทีมาส่วนนี้
(ดูรูป) เข้ามาที่นี่ ขั้นตอนมีมากหมอเขาควบคุมจากข้างล่างให้บอลลูนนั้นขยาย เท่ากับทุบกองทรายให้

แบนลง ต้องวัดความดันอีกที ห่างกัน ๑๐ นาที
หมอค่อย ๆ ทุบลงไป ต้องใช้เวลา ต้องเปลี่ยนบอลลูน ต้องสอดบอลลูนเข้ามาหลายครั้ง

ครั้งแรกก็เล็กแล้วเพิ่มให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ต้องเอาออกมาที่เดิมแล้วเอาเข้าใหม่จนกระทั่งถึง ๙ ครั้ง หมอ
ทำงานหนักเหงื่อแตกเหมือนกัน เสี่ยงเวลาสอดเข้ามา รูตรงนี้ก็ตีบลงไปก็เกิดเจ็บ หมอมาถามว่าเจ็บไหม
เราบอกว่าถามได้เจ็บมาก เขาก็เพิ่มยาชาให้รู้สึกน้อยลง แต่เขาทำ ๑ ชั่วโมงที่จะมาทุบกองทรายนี้ให้ลงไป
จนกระทั่งเหลือนิดเดียว ในรูปที่เขาถ่ายก็เห็นเป็นเส้นเลือดเกือบปกติ (ตามรูป ค)
ทีนี้เลือดก็ผ่านได้ดีเกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ถ้าอย่างนี้เขาก็สบายใจแล้วก็ให้มาพักแต่ก็อยู่นิ่งกลัวว่า
เส้นเลือดตรงนีอ้ าจจะช้ำอาจจะน่วมลงไปอาจจะหุบลงไปก็ได้ หมายความว่าอย่างนัน้ หรือตรงนีอ้ าจจะเป็นรู

เลือดไหลออกมา (ดูรปู ค) เส้นเลือดเหล่านีไ้ ม่ได้อยูข่ า้ งในหัวใจ มันอยูด่ า้ นนอกหัวใจ ทีบ่ อกว่าหมอเขาเอา

บอลลูนเอาลูกโป่งเข้ามาที่หัวใจ ชาวบ้านอาจจะเข้าใจว่าแทงเข้าไปที่หัวใจทะลุหัวใจไป มันอยู่ข้างนอกหัวใจ

ด้านบนผิวนอกหัวใจ เส้นเลือดตรงนีก้ ไ็ ปเลีย้ งหัวใจ ถ้าไม่มเี ลือดตรงนัน้ ถ้าไม่เลีย้ งส่วนนีน้ าน ๆ ส่วนนีจ้ ะตาย

แล้วหัวใจจะไม่ทำงานทีจ่ ะสูบเลือดไปเลีย้ งร่างกายได้ อันนีเ้ ป็นอันตรายมาก ฉะนัน้ เขามาทำได้ทนั กาลถ้าไม่ทำ

ตรงบริเวณนี้จะปิดเลย เวลาทำงานนิดหน่อย เวลาออกกำลังนิดหน่อย ตรงนี้จะขาดเลือดบ่อย ๆ มันก็จะ
เสือ่ มลงไปแล้วแก้ไขไม่ได้ เนือ้ ก็ตายจะผ่าตัดเท่าไรก็ไม่ได้ ฉะนัน้ ทีท่ ำได้ทนั กาลนัน้ ถือว่าโชคดีชว่ ยชีวติ แล้วก็

เนื้อหัวใจนี้ไม่เสียเลย เมื่อทำเสร็จทีหลังแล้วมาตรวจสอบสมอง เขากลัวว่าเมื่อทุบไป ๆ อย่างในน้ำเราทุบ
กองทราย ทรายมันฟุ้งอาจจะฟุ้งเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองก็ได้ไปเลี้ยงตับ ไตก็ได้ อันนั้นก็อันตราย
เหมือนกัน ก็เท่ากับสมองจะเสื่อมลงไป ปรากฏว่าไปถ่ายเครื่องที่คล้าย ๆ เอกซเรย์ ใช้แม่เหล็ก เขาก็ดูแล้ว
ว่าสมองนี้ดีมาก เราก็ดีใจ หมอทุกคนก็ดีใจ ไชโยโห่ฮิ้วกัน ตอนนี้ได้พักมาเดือนเต็ม ๆ เมื่อวานนี้ก็ได้

ออกกำลัง เขาเรียก Exercise Test คือการทดสอบการออกกำลังเดินที่เป็นเครื่องเดิน ตอนแรกเดินช้าทีหลัง
ก็เร็วขึ้น แล้วทำให้ขึ้นเหมือนภูเขา ทำให้มีการออกแรงมากขึ้น ๆ เขาทำถึง ๑๒ นาที เหมือนวันนี้เดินเกือบ
๑๒ นาที ใกล้เคียงกัน เมื่อวานนี้ชีพจรขึ้นถึง ๑๑๒ ความดันโลหิตขึ้นถึง ๑๘๐ หมายความว่าแรงกว่านี้
นิดหน่อย ๑๗๐ เท่ากับตอนที่เดินคือ ๑๘๐ ชีพจร ๙๐ ก็เท่า ๆ กับร้อยกว่าเท่า ๆ กับเมื่อวานนี้ไม่รู้สึก
อะไรไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สึกอึดอัด ที่เคยอึดอัด ก่อนนี้เคยอึดอัดแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร วันนี้ก็เลยดีใจ

ที่ว่าลูกสาวก็มาเดิน เวลาเดินถึงรอบที่ ๗ ก็บอกว่า เอะนี้พ่อเพิ่ม ๑ รอบหรือหน้าเขาอาจจะเขียวก็ได้แต่ดูเขา
แข็งแรงดี (ทรงมีพระดำรัสถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์)
จากนั้น ดร.เชาวน์ กราบบังคมทูลถามถึงพระอาการของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ
วลัยลักษณ์ ว่า ประชาชนก็เป็นห่วงเพราะทรงประชวรเหมือนกันไม่ทราบว่าขณะนีเ้ ป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า
ขอรับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความว่า เขาก็มีกำลังดี กำลังใช้ได้
(สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ รับสั่ง ยังมีกำลังดี) ก็เลยเห็นว่าพ่อลูกก็ใช้ได้ ส่วนลูก
อีกคนหนึง่ ใส่เสือ้ พัฒนาเป็นเสือ้ พัฒนาข้างบนเหมือนซาฟารีแต่ใช้มดั หมีข่ า้ งล่างเป็นกระโปรง เขาไปแสดงให้ด

ว่าขาถ่างเท่าไรก็ได้ หมายความว่าดีสำหรับไปพัฒนาก็ได้ มาเดินทีน่ กี้ เ็ หมาะสม มีคนเขาบอกว่าทำไมไม่ไป
เปลีย่ นบอกว่าไม่ตอ้ ง ชุดนีไ้ ด้ทกุ อย่าง ทัง้ ออกกำลังก็ได้เวลาไปงานยกช่อฟ้าอันนีก้ เ็ หมาะสมเรียบร้อย คราวนี

ก็ได้เห็นแปลกๆ (ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
ส่วนการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ หลังทรงพระประชวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่ง
ว่า
อย่างที่เห็นมาอธิบายให้ทราบความดันไม่ลง กำลังยังอยู่ หมายถึงเป็นการต้องออกกำลังสมอง
ร่างกายอยูน่ งิ่ แล้วแต่สมองยังทำงานเลือดต้องขึน้ ไปมาก ๆ สมมุตวิ า่ ไปทีไ่ หนทีม่ คี วามเครียดจะไม่ดี จะทำให้

ต้องใช้กำลังหัวใจมากเกินควร ตอนแรกเขาก็บอกว่าสักสองเดือน สามเดือน สี่เดือนก็ได้แล้ว แต่คุณหมอ

ก็มาตรวจ Exercise Test ก็ดี ไชโยโห่ฮิ้วกันดียิ้มแย้มแจ่มใส
จะรู้สึกไม่ปกติเวลาที่พูดต้องออกกำลัง ตามปกติแล้วเวลาคุยความดันโลหิตก็ขึ้น แต่ไม่มากเท่านี้
หมายความว่าเดี๋ยวนี้ยังต้องออกกำลังเกิน ฉะนั้นจะไปที่ไหนที่ต้องใช้ความคิดมากจะต้องระวัง แต่ทีหลัง
เวลาแข็งแรงขึ้นแต่วันนี้ร้อนด้วย
เมือ่ ก่อนทรงพระประชวรจากการเสด็จพระราชดำเนินทรงงานยาวด้วย หลายงานทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า
ขอรับ ดร.เชาวน์ กราบบังคมทูลถาม
“เป็นต้นเหตุ ต้นเหตุมีว่าเมื่อ ๑๓ ปีก่อน เป็นไข้สูงที่เป็นมัยโคพลาสม่า ก็เซาะกำลังของ
ร่างกายแล้ว ต่อมาเมื่อในระยะ ๓ - ๔ ปีนี้ ก็มีความเครียดและโดยเฉพาะใน ๒ - ๓ เดือนที่ผ่านมาก็
ทำให้ไม่ได้ออกกำลัง ข้อสำคัญความเครียดแล้วก็ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้โรคนี้กำเริบขึ้นมาได้ใน

เดือนหลังนี้ก็ได้ทราบว่าต้องไปงาน ๕ - ๖ ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ออกกำลังของร่างกาย เพียงแต่อาจจะ

ออกกำลังทางสมอง พูดจาอะไรมาก ก็เลยทำให้โรคนี้กำเริบขึ้นมาได้ ไม่ได้ใช้ความคิดหรือออกงาน

ที่เครียดแต่ไม่ได้ออกกำลังกาย อย่างวันนี้ออกกำลังกายก็เป็นของดี หมอถึงบอกว่าต้องพักผ่อนแต่ต้อง


ออกกำลังกายอาจจะดูมันตรงข้ามกัน ต้องพักผ่อนความเครียด แล้วต้องออกกำลังกายโดยที่มีการเดิน
วันนี้นับว่าดีพอสมควรดีกว่าที่เคยมาก่อน เมื่อก่อนนี้เดินอย่างนี้ไม่ได้ นานแล้วเดินอย่างนี้ไม่ได้”
อยู่ที่ประสาทที่เขาควบคุมยังไม่ค่อยชินกับสภาวะนี้ ต้องค่อยๆ
ขณะนี้มีทรงงานหนักไหม พระพุทธเจ้าข้าขอรับ ดร.เชาวน์ กราบบังคมทูลถามต่อ
“ตอนนี้ก็ไม่มีเพราะหมอ แถลงการณ์พระราชวังเขาบอกให้พักผ่อน แล้วก็เชื่อแถลงการณ์ แท้จริง
แถลงการณ์ตอนแรกก็ไม่มีใครเชื่อ มีบัตรสนเท่ห์มาบอกว่าฟังไม่รู้เรื่อง ก็เลยอธิบายมากขึ้น จึงอธิบายและ
เขียนรูปให้ดูตอนนี้ชาวบ้านเขาคงจะเข้าใจดี
อันนี้หมอเขาให้กำลังใจดีมาก คุณหมอมาตรวจตอนที่เรียบร้อยแล้วมาดูกล้ามเนื้อ มาตรวจที่สมอง
แล้วบอกว่าอย่างนี้ไม่ต้องกลัว ที่ผ่านมาก็ผ่านไปแล้ว เขาบอกดูข้างหน้า เขาบอกไม่ต้องดู ๒ - ๓ วัน

ข้างหน้า เขาบอก ๒๐ ปีข้างหน้า หรือ ๓๐ ปีทำงานได้ แต่ตอนนี้ต้องพักผ่อน แต่ว่าต่อไปทำงานซึ่งมี


โครงการที่จะต้องทำ ตั้งแต่ ๑๗ ปีขึ้นไป ๑๗ ปี ๒๐ ปี ๒๕ ปี ที่จะต้องดูเพื่อให้ได้ผล แล้วเมืองไทยก็จะ
เจริญแข็งแรง เป็นประเทศที่น่าเกรงขามในทางความเป็นอยู่ที่สบายทั้งหมด เวลารู้สึกตอนที่ไม่สบาย ก็รู้สึก
ท้อนิดหน่อยเหมือนกันว่าเดี๋ยวเราอ่อนแอ แต่ตอนนี้เราได้รับการบำบัดแล้วแน่นอนว่าจะแข็งแรงได้
ในเวลานั้น ดร.เชาวน์ ได้กราบบังคมทูลถามถึง พระราชภารกิจในการฉลองเสด็จขึ้นครอง

ราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ว่า ในงานฉลอง ๕๐ ปี คงจะมีงานมีพระราชภารกิจพอสมควร พระพุทธเจ้าข้า
ขอรับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส ตอบว่า มีบางแห่งบางอย่างมอบให้ผู้แทนไป
ปฏิบัติ ทำงานมากเกินไป ฟื้นฟูไม่ได้เต็มที่ ก็รู้สึกว่ารับผิดชอบตัวเองเหมือนกัน หมอเขาทำเต็มที่แต่เขา
ใช้วิชาการที่ทันสมัยแล้วก็ทุ่มเทกำลังจิตใจกำลังกายมากในงานนี้ ก็นึกว่าจะต้องสนองตอบด้วยการรักษา
เพื่อรักษาตัวให้ดีด้วยการออกกำลังให้เหมาะสมด้วยการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น
มาได้ สำคัญมากเรื่องอาหารอย่างที่วิทยุ อส. มีป้ายปิดห้ามสูบบุหรี่ทั่วทุกประตูแล้ว ที่ที่เคยสูบบุหรี่ก็เลย
เลิกด้วย เพราะว่าถ้าสูบบุหรี่ต่อไปก็อาจจะทำให้ไม่สบายได้มากๆ เคราะห์ดีที่เราเลิกสูบบุหรี่เด็ดขาดเมื่อ

๘ ปีที่แล้ว หมอบอกว่านี่เป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้รักษาได้สำเร็จดี
ส่วนแอลกอฮอล์ก็เลิกมานานหลายปีแล้ว แอลกอฮอล์นี้ไม่เป็นไร ถ้าไม่ใช่แอลกอฮอล์อย่าง
รุนแรง แอลกอฮอล์อย่างเป็นเหล้าไวน์ ขนาดไม่เป็นอันตรายไม่ให้มากเกินไป อย่างหมอสมองเขาบอก
ว่าหนึ่งเมาทำให้ cell ในสมองทลายไป ๔,๐๐๐ หมายความว่าดื่มแล้วเมา หนึ่งเมา ๔,๐๐๐ หลายเมา

ก็เป็นซื่อบื้อเลยเป็นคนคิดอะไรไม่ออก แอลกอฮอล์รุนแรงไปไม่ดี แต่แอลกอฮอล์พอสมควรเป็นการทำ

ให้ร่างกายดีเหมือนกัน ไม่เป็นพิษ
ตอนนี้ดีเป็นปกติ มีความพอใจ แพทย์มีความพอใจ แพทย์เองจะเป็นอุปสรรคในการทำเพราะ
ว่ า ความรั บ ผิ ด ชอบอย่ า งมากแพทย์ เขาอุ ต สาห์ ท ำอย่ า งนี้ รั บ ผิ ด ชอบอย่ า งมาก ถ้ า ผิ ด พลาดไป

จะทำให้รา่ งกายเสียไปได้กท็ ำอย่างดีแล้วก็ชนื่ ชม ต้องขอบคุณแพทย์ตา่ ง ๆ ทีช่ ว่ ยให้สำเร็จอย่างดี เราต้อง

มีความรับผิดชอบทีจ่ ะต้องรักษาร่างกายของตัวไว้ เพราะว่าแพทย์จะรักษาเราไม่ได้ถา้ เราไม่รกั ตัว คนเรา

ต้องรักษา การบริโภคอาหารที่เหมาะสม ด้วยการออกกำลังอย่างเหมาะสม อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ทำให้


พอเหมาะพอควร เขาก็ไม่ได้บอกว่าต้องทรมานตัว อาหารให้พอประมาณอย่าให้มากเกินไป
คงเล่าให้ฟังแค่นี้
อยากทราบอะไรเขาอาจจะมาถามคุณเชาวน์ ก็ได้ เพราะว่าคุณเชาวน์ก็เป็นองคมนตรี คุณเชาวน์ก็
เป็นวิศวกร มีความรู้ในโครงสร้างของทางวิศวะ แต่ว่าร่างกายคล้าย ๆ วิศวะเหมือนกันก็เลยนึกว่าถ้าใคร
อยากถามก็มาถามคุณเชาวน์ คุณเชาวน์ก็มาถามแพทย์ถ้าตอบไม่ได้
เพือ่ ให้ทราบตามปกติคนไข้ใด ๆ ของหมอ หมอไม่ควรทีจ่ ะบอกว่าเป็นอะไรแค่ไหน แต่อนั นีป้ ระชาชน

ก็อยากทราบ หมอก็ได้แถลงบ้างแต่ว่าที่ขอได้พูดเอง เพราะเป็นเจ้าของของตัวเอง หมอไม่ได้เป็นเจ้าของ
ทำแล้วแต่พูดไม่ได้ตามจรรยาแพทย์ เขาไม่มีสิทธิที่จะพูด เป็นข้อบังคับของแพทย์ ทำอะไรกับร่างกายของ

ผู้อื่น ช่วยชีวิตเขาแล้วไม่มีสิทธิที่จะไปแถลงกับคนอื่นว่าเป็นอย่างไร แม้แต่ญาติก็ต้องให้ผู้ที่เป็นพวกคนไข้
บอก นั้นเป็นจรรยาแพทย์ สมัยนี้จรรยาแพทย์อาจจะหาย ๆ ไป จรรยาของทุกคนก็อาจหายไป แต่

จรรยาแพทย์นี้สำคัญเพื่อความไว้วางใจของคนไข้และความเป็นธรรมสำหรับคนไข้ คนไข้เวลาทำไม่มีทางที่จะ
รู้อะไร ก็เลยให้แพทย์เขารู้แล้วไปแถลงให้คนอื่นทราบหมด ไม่เป็นธรรม แพทย์ชุดนี้ทั้งหมดนี้เขาเป็นธรรม

เขามีจรรยาแพทย์ก็ทำให้เราสบายใจ คนไข้ก็จะสบายใจแทบทุกรายโดยต้องอธิบาย ดีใจที่ได้พบคุณเชาวน์

ได้อธิบายวิชาการ
เมื่อได้เวลาอันสมควร จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชดำรัส

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ


ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องสุขภาพอนามัยนี้เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
ดังคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง”
หากประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
เขาก็จะมีสติปัญญาเล่าเรียน ประกอบสัมมาชีพ
สร้างสรรค์ความเจริญต่างๆ ให้แก่ชาติบ้านเมือง
ดังนั้นถ้าเราจะกล่าวว่า
“พลเมืองที่แข็งแรงย่อมสามารถสร้างชาติที่มั่นคง” ก็คงจะไม่ผิด....


ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต
พระราชนิพนธ์คำนำ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประธานกรรมการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินกิจการมาครบ ๒๕ ปี


ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ ตลอดเวลา ๒๕ ปี มูลนิธิฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคหัวใจ
และการป้องกัน และพัฒนามูลนิธิฯ ให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ปวงประชาชน ทั้ง
โดยตรงและโดยอ้อม โครงการต่างๆ ที่ มู ล นิ ธิ ฯ จั ด ขึ้ น เช่ น โครงการฝึ ก อบรมการช่ ว ยชี วิตขั้นพื้นฐาน
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
โครงการกระโดดเชือก ทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ โครงการอาหารไทยหัวใจดี งานสัปดาห์รกั ษ์หวั ใจไทย

และโครงการหัวใจสัญจร นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการช่วยกันดูแลรักษาสุขภาพของคนไทย
หนังสือคู่มือประจำบ้าน “เพื่อคนไทย หัวใจแข็งแรง” ที่มูลนิธิฯ จัดทำขึ้นนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าจะมี

คุณประโยชน์ ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตน วิธีรักษาสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อมิให้เกิดโรคหัวใจ อันเป็นโรคที่
บั่นทอนทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และเป็นสาเหตุการตายในอัตราสูงที่สุด คนเราหากปฏิบัติตนดี รู้จัก
รักษาสุขภาพให้ปลอดจากโรคภัยทั้งหลายชีวิตก็จะมีความสุขดังคำที่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
ข้ าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มื อ ประจำบ้ า นเล่ ม นี้ จ ะอำนวยประโยชน์ แ ก่ ป ระชาชนสมดังความ
ประสงค์อันสุจริตของมูลนิธิฯ ทุกประการ และขอให้คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้รับผลบุญอันเกิดจากกุศลจิต
ครั้งนี้โดยทั่วกัน
16 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

คู่มือประจำบ้าน
สารบัญ ; รอบรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด
๘๐ พรรษามหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชทานสัมภาษณ์เรื่องโรคหัวใจ
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระราชนิพนธ์คำนำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

จากวันนั้นถึงวันนี้ 19
25 ปี ใต้ร่มพระบารมีหัวใจดีมีสุข 20
ศ.นพ.ปริญญา สากิยลักษณ์
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 22
ศ.นพ.ศุภชัย ไชยธีระพันธ์
ประวัติ ความเป็นมา 22
วัตถุประสงค์/วิสัยทัศน์/พันธกิจ 23
ผลงานและกิจกรรมของมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ 25
รายพระนามและรายนามคณะกรรมการบริหารก่อตั้ง 34
รายพระนามและรายนามคณะกรรมการบริหาร พ.ศ.2548 - 2552 35

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก.. 37
เมื่อหัวใจป่วย
หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พระราชวิทยาคมเถระ 38 นายนิคม ไวยรัชพานิช 54
นายชวน หลีกภัย 40 นายสุทธิพร จิราธิวัฒน์ 59
ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช 46 นายเตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว 65
พล.อ.อ.ปราโมทย์ วีรุตมเสน 50 นายสุวิทย์ เฉยสะอาด 67


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 17

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ.. 69 หลอดเลือดหัวใจตีบ 106


ค้นหาโรค รศ.นพ.ถาวร สุทธิไชยากุล
หัวใจของเรา 70 “บอลลูนหัวใจ” และการรักษาด้วยสายสวน 112
น.อ.นพ.ธราธร รัตนเนนย์ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์
สถานการณ์ “โรคหลอดเลือดหัวใจ” 74 พญ.ปิยนาฏ ปรียานนท์
ในประชากรไทย หัวใจบายพาส 117
ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา ผศ.นพ.สุชาต ไชยโรจน์
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 78 การรักษาโรคลิ้นหัวใจตีบโดยการใช้บอลลูน 122
พ.อ.นพ.นครินทร์ ศันสนยุทธ หรืออุปกรณ์พิเศษ
การตรวจหัวใจโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี 84 นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรคลิ้นหัวใจไมตรัล..ซ่อมได้ 125
และเครื่องเอ็มอาร์ไอ นพ.ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์
นพ.วิทยา ไชยธีระพันธ์ วูบ ใจสั่น หมดสติ...สัญญาณเตือน 129
ตรวจเลือดบอกโรคหัวใจ 89 ผศ.นพ.ภากร จันทนมัฏฐะ
ศ.พญ.นวพรรณ จารุรักษ์ หัวใจเต้นผิดจังหวะ...เป็นโรคหรือไม่? 133
ผศ.นพ.สุรพันธ์ สิทธิสุข
หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง.. 95 ทำไมต้องใส่...เครื่องกระตุ้นหัวใจ 141
รู้โรคหัวใจ ผศ.นพ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัต ิ
โรคหัวใจแต่กำเนิด..มีทางแก้ 96 การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหล 145
ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ และการป้องกัน
โรคหัวใจตั้งแต่เกิด ไม่จำเป็นต้องทรมานจนโต 99 น.อ.นพ.กัมปนาท วีรกุล และคณะ
ศ.นพ.กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฎ์กุล กู้-ฟื้นคืนชีพ 150
ใจใหญ่...ใจโต 103 พล.ต.นพ.ประสาท เหล่าถาวร
ผศ.นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา ยารักษาใจ 156
ผศ.นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
18 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู.. 161 หัวใจดีมสี ขุ ... 215


กั้นปัจจัยเสี่ยง 157 ธรรมะบำบัดและมุง่ ก้าวทันโรค
พิษภัยของบุหรี่และแนวทางการเลิกบุหรี่ 162 “ธรรมะ” ยกใจให้สูงขึ้น 216
ศ.พิเศษ นพ.เศวต นนทกานันท์ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย
ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา วิวัฒนาการการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจ 219
คุมความดันโลหิตอย่าให้สูง 168 ด้วยสายสวน
รศ.นพ.พีระ บูรณะกิจเจริญ นพ.ธาดา ชาคร
กำกับไขมันร้าย...ให้หัวใจห่างไกลโรค 173 พญ.สุดารัตน์ ตันสุภสวัสดิกุล
ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ การริเริ่มผ่าตัดหัวใจในประเทศไทย 224
เป็นเบาหวานไม่ตายแต่ต้องคุม 180 ศ.เกียรติคุณ นพ.กัมพล ประจวบเหมาะ
ศ.นพ.อภิชาติ วิชญาณรัตน์ ศ.เกียรติคุณ พญ.จาดศรี ประจวบเหมาะ
ลดอ้วนลงพุงอย่างไรถึงจะสุข (ไร้โรค) 185
ศ.คลินิก (พิเศษ) นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์ สุดใจด้วยไมตรี 229
กินอย่างไรโรคหัวใจไม่ถามหา 188 อนุทินคู่มือประจำบ้านรอบรู้โรคหัวใจ 230
ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ และหลอดเลือด
ออกกำลังเพิ่มพลังหัวใจ 195 พล.อ.ต.นพ.บรรหาร กออนันตกูล
พล.อ.นพ.ประวิชช์ ตันประเสริฐ ผู้มีอุปการะคุณ
พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์ รายนามผู้นิพนธ์
อารมณ์ การพักผ่อน และโรคหัวใจ 209 รายนามคณะผู้จัดทำ
ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 19

จากวันนั้นถึงวันนี้
20 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

25 ปี
ใต้ร่มพระบารมี หัวใจดีมีสุข
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 21

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระ- ใกล้ชดิ ด้วยวัตถุประสงค์ทคี่ ล้ายคลึงกัน คือ ให้ความรู้


บรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งมาครบ 25 ปี ในปีนี้ โดยมี แก่ประชาชน เพือ่ หลีกเลีย่ งการเป็นโรคหัวใจ ให้ความรู้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องโรคหัวใจ และช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ด้อย
ทรงเป็นองค์ประธานตั้งแต่เริ่มก่อตั้งถึงปัจจุบัน เพื่อ โอกาสให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ให้กจิ กรรมของมูลนิธฯิ ดำเนินไปอย่างราบรืน่ ทัง้ ด้าน
ตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่ ผ่ า นมา สมเด็ จ

วิชาการ และด้านสังคมสงเคราะห์ คณะกรรมการของ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี
มูลนิธิฯ จึงประกอบด้วยแพทย์โรคหัวใจและผู้ที่มิใช่ พระเมตตาและทรงสนพระทัยในการดำเนินงานของ
แพทย์ครึง่ ต่อครึง่ มูลนิธฯิ ดำเนินงานด้วยความร่วมมือ มูลนิธิฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการประชุมใหญ่
อย่างใกล้ชดิ กับสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ประจำปี และพระราชทานพระราชวินจิ ฉัยต่างๆ อย่าง
ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีอดีตนายกของสมาคมฯ ต่อเนือ่ ง เช่น โครงการหัวใจดีมสี ขุ โครงการอาหารไทย
หลายท่านร่วมเป็นกรรมการบริหาร และนายกสมาคมฯ หัวใจดี โครงการกระโดดเชือกทางเลือกเยาวชน พ้น
ในทุกสมัยก็เป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง การ โรคหัวใจ โครงการวันหัวใจโลก เป็นต้น
ประสานงานอย่างแนบแน่นของมูลนิธิ และสมาคม คณะกรรมการบริหารมูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศ
เป็นสิ่งที่นานาชาติเกือบทุกประเทศถือปฏิบัติ แม้แต่ ไทยฯ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะสานต่อเจตนารมณ์
World Heart Federation ( WHF) ก็มีประธานเป็น ของผู้ก่อตั้งโดยเต็มความสามารถ และขอกราบถวาย
ผู้แทนจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจ และมีรองประธาน บังคมมาแทบเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความสำนึกใน
เป็ น ผู้ แ ทนจากมู ล นิ ธิ หั ว ใจหมุ น เวี ย นตามภู มิ ภ าค พระมหากรุณาธิคณ ุ อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ขององค์ประธาน
ได้แก่ อเมริกา เอเซีย-แปซิฟิก และยุโรป ผู้แทนจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประเทศไทยทีไ่ ปเข้าร่วมประชุม General Assembly
ของ WHF ก็ไปจากมูลนิธิหัวใจฯ และสมาคมแพทย์
โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ นอกจากนั้นในระดับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์
ภูมภิ าคคือ Asia-Pacific และ ASEAN Heart Network รองประธานคนที่ 2
ประเทศไทยก็รว่ มเป็นสมาชิกและประสานงานกันอย่าง มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
22
22 คูคู่ม่มือือประจำบ้
ประจำบ้าานน รอบรู
รอบรู้เเ้ รืรื่อ่องโรคหั
งโรคหัววใจ
ใจ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ศ.นพ.ศุภชัย ไชยธีระพันธ์
ความเป็นมา เลขาธิการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ถือกำเนิด
นานาชาติ (International Society and Federation
มาจากความคิดริเริม่ ของสมาชิกสมาคมแพทย์โรคหัวใจ of Cardiology ปัจจุบนั เปลีย่ นชือ่ เป็น World Heart
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้รับการ Federation) ดังนั้นในการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อ
ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 สมาคมฯ ได้กระทำหน้าที่เป็น เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 จึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้
สือ่ กลางให้มกี ารพบปะแลกเปลีย่ นความรูใ้ นหมูส่ มาชิก จัดตั้งมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสมาคม
และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในหมู่แพทย์ มีการ แพทย์โรคหัวใจฯ บริจาคเงิน 200,000 บาท เป็นทุน

ประชุมวิชาการ การส่งเสริมการวิจัยเรื่องโรคหัวใจ เริม่ ต้นในการก่อตัง้ มูลนิธหิ วั ใจฯ ได้รบั การจดทะเบียน
การเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนผ่านสื่อมวลชนแขนง อย่างเป็นทางการเมือ่ วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
ต่ า งๆ รวมถึ ง การติ ด ต่ อ ต่ า งประเทศ สมาชิ ก ของ โดยมีชอื่ เป็นภาษาอังกฤษว่า The Heart Foundation
สมาคมฯ ตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบต่อผู้ป่วย of Thailand และได้รบั การรับรองจากสหพันธ์สมาคม
โรคหัวใจที่ยากจน และเห็นว่าการก่อตั้งมูลนิธิหัวใจ แพทย์โรคหัวใจนานาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2528 ต่อมา
แห่งประเทศไทยจะทำให้สามารถหาทุนได้มากขึน้ และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรด
จะสามารถขยายงานช่วยเหลือผู้ป่วยได้กว้างขวางขึ้น เกล้าฯ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้มูลนิธิ
นอกจากนั้นการก่อตั้งมูลนิธิหัวใจฯ เพื่อส่งเสริมงาน
หัวใจแห่งประเทศไทยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อ
ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจก็เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันในหมู ่
วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2545
ประเทศสมาชิกของสหพันธ์ สมาคมแพทย์โรคหัวใจ

มูมูลลนินิธธิหิหัวัวใจแห่
ใจแห่งงประเทศไทย
ประเทศไทย ในพระบรมราชู
ในพระบรมราชูปปถัถัมมภ์ภ์ 23
23

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ มีดังต่อไปนี้ 5. ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับ
1. ส่งเสริม และปฏิบตั กิ ารเพือ่ ป้องกัน และ สถาบันอื่นทั้งใน และนอกประเทศ เพื่อดำเนินการ
รักษาโรคหัวใจ และโรคอื่นอันจะนำอันตรายหรือ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้ และเพื่อสาธารณะ-

ความพิการมาสู่หัวใจ ประโยชน์อื่นๆ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง
2. ส่งเสริม เผยแพร่ อบรม เพิ่มเติมความรู้
ความสามารถ แก่แพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงาน วิสัยทัศน์
เกี่ยวกับหัวใจ
3. ส่งเสริม และให้ทนุ อุดหนุนการวิจยั เกีย่ ว มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ เป็นองค์กรที่
กับหัวใจ โรคหัวใจ การป้องกัน และรักษาโรคหัวใจ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีปราศจากโรคหัวใจ
4. ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ป่วยโรค เยาวชนไทยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีหัวใจแข็งแรง เป็น
อื่นๆ ซึ่งจะทำให้หัวใจพิการให้ได้รับการรักษาตาม อนาคตของประเทศ ครอบครัวไทยมีสุขภาพหัวใจดี
ความเหมาะสม ถ้วนหน้า
24 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

พันธกิจ (Mission) 2. จั ด โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพหัวใจอาทิ


โครงการกระโดดเชือกทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ

การดำเนินงานต่างๆ เพื่อเป็นไปตามวัตถุ- โครงการอาหารไทย หัวใจดี เดินเพื่อสุขภาพ ฯลฯ


ประสงค์ ได้แก่ 3. โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐาน
1. ให้ ค วามรู้ แ ก่ ป ระชาชนเรื่ อ งโรคหั ว ใจ 4. ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจยากไร้ในชนบท
และแนวทางการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงแก่โรค โดยจัดโครงการหัวใจสัญจร
หัวใจ โดยการจัดงานสัปดาห์รักษ์หัวใจไทยอย่างน้อย 5. ติ ด ต่ อ ประสานงานกั บ มู ล นิ ธิ หั ว ใจใน

ปีละ 1 ครั้ง และให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ ประเทศอื่นๆ และ World Heart Federation
โทรทัศน์ แผ่นพับ 6. จัดหาทุนเพื่อใช้ในโครงการต่างๆ


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 25

ผลงานและกิจกรรมของมูลนิธิหัวใจฯ 3. โครงการหนังสือ “หัวใจดีมีสุข”


เริ่มโครงการปี พ.ศ. 2528 โดยมูลนิธิฯ ได้
ในรอบระยะเวลา 25 ปี มูลนิธิหัวใจฯ ได้ จัดทำเป็นหนังสืออ่านง่าย ให้ข้อมูลที่จำเป็น เน้นใน
ดำเนินงานในโครงการต่างๆ โดยสรุปดังนี้ ส่วนที่เป็นประโยชน์ นำมาประพฤติปฏิบัติได้จริง มี
ภาพประกอบ
1. นิทรรศการโรคหัวใจ หนังสือเล่มแรก เป็นหนังสือแปล ที่ได้รับพระ
มู ล นิ ธิ หั ว ใจฯ ร่ ว มมื อ กั บ สมาคมแพทย์
มหากรุณาธิคุณจาก ประธานกรรมการมูลนิธิหัวใจฯ
โรคหั ว ใจฯ จัดนิทรรศการโรคหัวใจเป็ น ครั้ ง แรกที ่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ 23-25 ธ.ค. พ.ศ. 2525 ที่ ท รงเลื อ กคำว่ า “หั ว ใจพิ บั ติ ” เป็ น คำแปลของ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในการ Heart Attack โครงการนีจ้ ดั ทำเป็นหนังสือขนาดฉบับ
ป้ อ งกั น การรั ก ษาโรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ด เป็ น กระเป๋าจำนวน 10 เรื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2544
กิจกรรมที่จัดต่อเนื่องทุกปีนับถึงปี พ.ศ. 2551 รวม และจั ด ทำเป็ น แผ่ น พั บ ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2532-2550
22 ครัง้ โดยเปลีย่ นชือ่ เป็นงาน “สัปดาห์รกั ษ์หวั ใจไทย”
จำนวน 44 เรื่อง
มาจนถึงปัจจุบัน
4. โครงการจัดพิมพ์หนังสือเนื่องในวโรกาสพิเศษ
2. โครงการหัวใจสัญจร 4.1 “หัวใจของเรา” ในปี พ.ศ.2534 ใน
เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2529 มูลนิธิหัวใจฯ ร่วมกับ วโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-
สโมสรไลออนส์ กรุงเทพ (เอราวัณ) และสมาคมแพทย์ ราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา
โรคหัวใจฯ ออกตรวจผู้ป่วยโรคหัวใจในถิ่นทุรกันดาร 4.2 “หัวใจของเรา กาญจนาภิเษกสมัย”

เป็นโครงการต่อเนื่องระยะยาวจนถึงปัจจุบัน โดย ในวโรกาสที่ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีในรัชกาล


มู ล นิ ธิ หั ว ใจแห่ ง ประเทศไทยฯ ร่ ว มมื อ กั บ สมาคม ปัจจุบัน พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2539 พิมพ์ครั้งที่ 2

แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ ออกตรวจผู้ป่วย ปี พ.ศ. 2541


โรคหัวใจในถิ่นทุรกันดารเป็นประจำทุกปีอย่างน้อย
4.3 หนังสือชุด “อยู่กับโรคหัวใจอย่างไรจึง
ปีละครั้ง และมีผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาและ เป็นสุข” ในวโรกาสที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ผ่าตัดในโครงการแล้วเป็นจำนวนมาก สยามบรมราชกุ ม ารี ทรงเจริ ญ พระชนมายุ ค รบ

26 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

48 พรรษา ในปี พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2541 เพือ่ กระตุน้ เตือนให้ประชาชนมีความตืน่ ตัว
4.4 “อาหารไทย หั ว ใจดี ” ในวโรกาสที่ และหาเวลาออกกำลังเป็นประจำตามสวนสาธารณะ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง ในกรุ ง เทพฯ ขยายผลการออกกำลั ง กายในสวน
เจริญพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2548 สาธารณะออกไปอย่างกว้างขวาง

4.5 “รักษ์หวั ใจ กินให้พอเพียง” ในวโรกาส

6. โครงการ “I Love My Heart” ในวันแห่ง

ที่ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในรัชกาลปัจจุบัน ใน
ความรัก
ปี พ.ศ. 2549
ในปี พ.ศ.2545 มูลนิธิหัวใจฯ ร่วมกับ กทม.
4.6 “จานด่วนชวนอร่อย ไม่ด้อยคุณภาพ”
จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือนให้วัยรุ่นและประชาชน
ในวโรกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษาครบ

ทั่ ว ไปดู แ ลหั ว ใจของตนเองและลดโอกาสการเกิ ด

80 พรรษา พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ในปี



โรคหัวใจ
พ.ศ. 2550
4.7 สารหัวใจ วารสารทุก 4 เดือน เพื่อ
7. การบริจาคอุปกรณ์และเครือ่ งมือทางการแพทย์
เผยแพร่ความรู้และแนวทางการปฏิบัติ (พฤติกรรม) ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2528-2551 มูลนิธฯิ ได้บริจาค

ฉบับแรกเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ลิ้นหัวใจเทียม เครื่องกำกับการเต้นของหัวใจ (Pace
Maker) ให้กับผู้ป่วยเป็นจำนวนนับร้อยราย และได้
5. การประกวดการออกกำลังกายตามจังหวะดนตรี บริจาคเครือ่ งตรวจคลืน่ หัวใจให้แก่โรงพยาบาลในสังกัด
ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน จัดเมือ่ มีนาคม กระทรวงสาธารณสุข
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 27

(พ.ศ. 2543) จนถึงปัจจุบัน


สหพันธ์หวั ใจโลก ได้กำหนดวันอาทิตย์สปั ดาห์
สุดท้ายของเดือนกันยายนของทุกปีเป็น “วันหัวใจโลก”
เพื่อรณรงค์ให้ประชากรโลกตระหนักถึงการป้องกัน
โรคหัวใจ
8. ร่วมมือ ส่งเสริม และประสานงานกับสถาบันอืน่

ทั้งในและนอกประเทศ 9. โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวิตผู้ที่หัวใจหยุด

8.1 ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเนื่องในวันคล้าย เต้นกะทันหัน (โครงการ CPR)


วั น พระราชสมภพ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว โครงการฝึ ก ประชาชนให้ มี ค วามสามารถ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จ ปฏิบตั กิ ารช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐาน ได้เริม่ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2526
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประจำ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยความร่วมมือของสมาคม
ทุกปี แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ และสโมสรไลออนส์
8.2 รองประธานมูลนิธิหัวใจฯ เลขาธิการ กรุงเทพ (เอราวัณ) เป็นการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้น
มูลนิธิหัวใจฯ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนมูลนิธิหัวใจฯ เข้า พืน้ ฐานสามารถทำได้ทนั ที โดยไม่ตอ้ งใช้เครือ่ งมือพิเศษ
ร่วมประชุมกับมูลนิธิหัวใจฯ ในประเทศต่างๆ ทางการแพทย์ หากเราฝึกประชาชนจำนวนมากให้มี
8.3 ร่วมกับสหพันธ์หัวใจโลก จัดงานวัน ความสามารถช่ ว ยชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐานได้ เมื่ อ ประสบ
หัวใจโลก (World Heart Day) โดยมูลนิธิฯ ได้เข้า เหตุการณ์กะทันหัน ณ ที่เกิดเหตุ ผู้ผ่านการฝึกฯ ก็
ร่ ว มจั ด กิ จ กรรม “เดิ น วั น หั ว ใจโลก” ตั้ ง แต่ ปี แรก สามารถปฏิบตั กิ ารช่วยชีวติ ได้ทนั ท่วงที ทำให้ผทู้ หี่ วั ใจ
28 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หยุดเต้นอย่างฉับพลันมีโอกาสรอดชีวิตได้ ชีวติ ผูป้ ว่ ยและผูป้ ระสบภัยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย


ต่ อ มาในปี พ.ศ.2540 ได้ เ ปลี่ ย นมาที่
เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
โรงพยาบาลราชวิถี โดยผู้รับการอบรมเสียค่าใช้จ่าย แบบยั่งยืนโดยอาจารย์ที่ผ่านการฝึกอบรมนำความรู้
ครั้งละ 200 บาท เท่านั้น มีการจัดฝึกอบรมฯ ให้กับ ไปเผยแพร่ต่อนักศึกษารุ่นต่อๆ ไป มีมหาวิทยาลัย
ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ 2-4 ครัง้ /เดือน ราชภัฏเข้าร่วมโครงการครั้งแรกจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
โดยอบรมครั้งละ 15-20 คน ผู้เข้าอบรมฯ จะได้รับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
การฝึกตามมาตรฐานสากล โดยใช้หุ่นจำลองในการ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ฝึกภาคปฏิบัติ ควบคุมโดยวิทยากรที่ได้รับการอบรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
และรับรองโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ ระยะเวลา สุรนิ ทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรรี มั ย์ และมหาวิทยาลัย
ในการฝึกประมาณ 4 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคทฤษฎี
ราชภัฏศรีสะเกษ
1 ชัว่ โมง ภาคปฏิบตั แิ ละทดสอบ 3 ชัว่ โมง ผูท้ ที่ ดสอบ ในปัจจุบันมีอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏที่
ผ่านการฝึกอบรมฯ จะได้รบั ประกาศนียบัตร และบัตร ผ่านการอบรมจาก 7 สถาบันจำนวน 1,037 ราย
ประจำตัวจากมูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศไทยฯ ซึง่ รับรอง แม้ว่าโครงการนี้มีกำหนดระยะเวลา 3 ปี แต่คณะ
ว่ามีความสามารถที่จะปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อนุกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์
ได้ โรคหั ว ใจแห่ ง ประเทศไทยฯ และมู ล นิ ธิ หั ว ใจแห่ ง

ในปี พ.ศ. 2549 เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศล ประเทศไทยฯ ยังคงให้การสนับสนุนต่อเท่าทีส่ ามารถ
ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง จะทำได้
สิ ริ ร าชสมบั ติ ค รบ 60 ปี และเพื่ อ ประโยชน์ ข อง ปี พ.ศ. 2550 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระ-
ประชาชนทัว่ ไปให้ได้รบั ประโยชน์มากขึน้ มูลนิธหิ วั ใจ ชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เพื่ อ เป็ น การเฉลิ ม -

แห่งประเทศไทยฯ ได้ขยายการฝึกอบรมไปยังอาจารย์ พระเกี ย รติ ใ นโอกาสอั น สำคั ญ ยิ่ ง นี้ มู ล นิ ธิ หั ว ใจ

ในมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แห่ ง ประเทศไทยฯ ร่ ว มมื อ กั บ คณะอนุ ก รรมการ
เพื่อให้มีความสามารถในการขยายงานการฝึกอบรม โครงการมาตรฐานการช่วยชีวิต ภายใต้สมาคมแพทย์
ไปยังนักศึกษา และอาจารย์ของสถาบันราชภัฏ ตลอด โรคหั ว ใจแห่ ง ประเทศไทย ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์
จนประชาชนทัว่ ไปให้มคี วามรูค้ วามสามารถในการช่วย จั ด ให้ มี “โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 29

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งใน ต่อหัวใจของตนเองได้ง่าย และเพื่อให้อุตสาหกรรม


โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา อาหารสำเร็จรูปได้เปิดมิติใหม่ในการจำหน่ายสินค้าที่
5 ธันวาคม 2550” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ มีตรารับรองแบบสากล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประโยชน์ของ ตราสั ญ ลั ก ษณ์ “อาหารรั ก ษ์ หั ว ใจ” มี
ประชาชนทัว่ ไป โดยมีเป้าหมายเพือ่ ฝึกอบรมประชาชน ลักษณะเป็นรูปหัวใจ พร้อมเครือ่ งหมายถูก และอักษร

ทั่วไปจำนวน 8,000 คน ให้มีความรู้ ทักษะการช่วย ทีฐ่ านของวงกลม ระบุวา่ มูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศไทย
ชี วิ ต ขั้ น พื้ น ฐานได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งตามมาตรฐานของ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ สามารถ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น 2 แบบ คือ ภาษาไทย และ
ปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วย และผู้ประสบภัยเบื้องต้น อังกฤษ
ได้ทันท่วงที ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ขณะนี้มี

ผู้ได้รับการอบรมแล้วกว่า 10,000 คน

10. โครงการอาหารไทย หัวใจดี (TFGH)
ปี พ.ศ. 2545 เริ่มดำเนินงานด้วย
การให้ความรูก้ บั ผูบ้ ริโภค ผ่านกลุม่ เป้าหมาย
ตั ว อย่ า ง คื อ สมาคมผู้ บ ำเพ็ ญ ประโยชน์
แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ
72 พรรษา ในปี พ.ศ. 2547 มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศ
ไทยฯ ร่วมกับภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุข
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จดั โครงการ “อาหารไทย
หัวใจดี” มีตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” เพื่อ
ช่วยให้ประชาชนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดี
30 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

โครงการกระโดดเชือกผ่าน 5 จังหวัด
จากกรุงเทพฯ อยุธยา สิงห์บุรี สระบุรี และนครราชสีมา

ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หวั ใจ” นีแ้ สดงว่า พระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
อาหารมี ช นิ ด ของกรดไขมั น ในสั ด ส่ ว นที่ เ หมาะสม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเทพรัตน-
เกลือไม่มาก ปริมาณน้ำตาลไม่มาก มีใยอาหารสูง ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เมื่อบริโภคในปริมาณที่ให้พลังงานเหมาะสม จะไม่ เปิดตัว “สัญลักษณ์อาหารรักษ์หวั ใจ” และทรงสาธิต
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การทำ “ยำเกสรชมพู่” ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ

โดยผลิตภัณฑ์อาหารทีม่ คี ณ
ุ สมบัตผิ า่ นเกณฑ์การตรวจ ให้ลงในหนังสือ “จานด่วนชวนอร่อย ไม่ดอ้ ยคุณภาพ”
สอบทางห้องปฏิบตั กิ าร จะได้รบั ใบรับรองและอนุญาต โดยมีเป้าหมายคัดเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ
ให้ใช้ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” เป็นระยะ เหมาะสมอย่างน้อย 80 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ประกอบ
เวลา 2 ปี ตราบเท่าที่คุณภาพคงเดิม การอุตสาหกรรมอาหารทีใ่ ส่ใจในสุขภาพของผูบ้ ริโภค
ปี พ.ศ. 2550 ในวโรกาสมหามงคลเฉลิม-
ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการตรวจสอบและได้
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 31

รับการอนุมตั ใิ ห้ใช้ตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หวั ใจ” สู่การออกกำลังกาย (exercise) ให้เป็นนิสัยถาวร



แล้วจำนวน 24 ผลิตภัณฑ์ ต่อไป
นอกจากนี้โครงการฯ ยังให้ความรู้กับเด็ก การส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมทางกาย (physical
และเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ รู้จักเลือกรับประทาน activity) ในโรงเรียนก็มคี วามสำคัญเช่นกัน ทัง้ นีเ้ พราะ
อาหารที่ไม่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่าง วิธีการนี้จะสามารถสร้างอุปนิสัยการออกกำลังกาย
ต่อเนื่อง ให้กับเด็กๆ อีกทั้งยังป้องกันการเกิดโรคอ้วนซึ่งกำลัง
เป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพของเด็กไทย และลด
11. โครงการ “กระโดดเชื อ กทางเลื อ กเยาวชน
ความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ในอนาคต
พ้นโรคหัวใจ” (JRFH) นอกจากนี้กิจกรรมทางกายยังทำให้เด็กเรียนดีขึ้น มี
การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรง พัฒนาการทางด้านอารมณ์ ความนึกคิดและสุขภาพ
ชีวติ เพือ่ ทำให้รา่ งกายแข็งแรงมีสขุ ภาพดี ความแข็งแรง จิตดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะ
จะคงสภาพอยูไ่ ด้กต็ อ้ งอาศัยการออกกำลังทีส่ ม่ำเสมอ ยาว
การออกกำลังกายสามารถป้องกันและช่วยในการรักษา มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรม-
โรคต่างๆ ได้ ที่สำคัญเป็นส่วนช่วยส่งเสริมการสร้าง ราชูปถัมภ์ได้เลือกการกระโดดเชือกเป็นกิจกรรมที่จะ
กระดูกและการเจริญเติบโตของร่างกายโดยเฉพาะใน ส่งเสริมโดยกำหนดเป้าหมายที่เยาวชนในโรงเรียน
วัยเด็ก การกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายเป็นกิจวัตร วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนในโรงเรียนต่างๆ ได้ออก
ประจำวันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องอาศัย กำลังกายและมีสุขภาพแข็งแรงเพื่อป้องกันการเกิด
ขบวนการและวิธีการต่างๆ รวมทั้งต้องใช้บุคลากรที่ โรคหั ว ใจ มู ล นิ ธิ ฯ ได้ เริ่ ม จั ด กิ จ กรรมตั้ ง แต่ ต้ น ปี

ชำนาญในการให้ความรู้เป็นผู้ฝึกสอน และที่สำคัญ พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อโครงการว่า “โครงการกระโดด


สุดที่จะทำให้การออกกำลังกายได้สำเร็จคือผู้ปฏิบัติที่ เชือกทางเลือกเยาวชนพ้นโรคหัวใจ” สรุปกิจกรรม
จะต้องเป็นผู้ออกกำลังกายเอง ดังนั้นการเริ่มปฏิบัติ ต่างๆ ของโครงการที่ดำเนินมาได้ดังนี้
จำเป็นต้องเริ่มจากสิ่งที่ปฏิบัติได้ง่าย อาจเริ่มจากการ 11.1 เริ่มเปิดตัวโครงการฯ ในงานชุมนุม
ฝึกปฏิบัติให้ร่างกายมีกิจกรรมทางกาย (physical ของเยาวชนตามสวนสาธารณะ พร้อมกับเริ่มงาน
activity) สม่ำเสมอตลอดเวลาเป็นพื้นฐานเพื่อนำไป สาธิตการกระโดดเชือกตามโรงเรียนต่างๆ ใน กทม.
32 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

11.2 เริม่ โครงการกระโดดเชือก 72 ล้านครัง้ 11.4 จัดตัง้ ชมรมกระโดดเชือกตามโรงเรียน


เฉลิ ม ฉลอง 72 พรรษาสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ ต่างๆ ทีไ่ ด้เข้าร่วมกิจกรรมกระโดดเชือกมาก่อน เพือ่

พระบรมราชินนี าถ โดยเปิดโครงการ ณ ลานกีฬาของ จะให้จัดกิจกรรมกระโดดเชือกเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น


การกีฬาแห่งประเทศไทย มูลนิธฯิ ได้เชิญโรงเรียนต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป
มาร่วมเปิดโครงการพร้อมดำเนินการให้มีกากระโดด 11.5 จัดทำโครงการ “ฝึกอบรมผู้ฝึกสอน
นับจำนวนครั้งเก็บสะสมต่อเนื่องให้ได้ 72 ล้านครั้ง กีฬากระโดดเชือกขัน้ พืน้ ฐาน” เพือ่ ให้ผฝู้ กึ สอนทีไ่ ด้รบั
ในวันปิดโครงการ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อ การอบรมนำวิธกี ารกระโดดเชือกทีถ่ กู ต้องได้มาตรฐาน
เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณณวรี ไปเผยแพร่พร้อมกับเป็นการสร้างนักกีฬากระโดดเชือก
(พระอิสริยยศขณะนัน้ ) ได้เสด็จมาเป็นประธาน พร้อม เพื่อการแข่งขันต่อไปในอนาคต
ประทานถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ สรุปการดำเนินการตลอดมานับว่าเกิดผล
พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สำเร็จในระดับหนึ่ง การกระโดดเชือกได้กลายเป็น
สยามบรมราชกุมารี และถ้วยพระราชทานของพระองค์ กิจกรรมที่รู้จักแพร่หลายในหมู่เยาวชนทั่วไป อนึ่ง
เองแก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยได้ชว่ ยสนับสนุน
11.3 โครงการกระโดดเชือกผ่าน 5 จังหวัด เผยแพร่กิจกรรมการกระโดดเชือกโดยสนับสนุนวีซีดี
เป็นความร่วมมือของคณะนักเรียนจากโรงเรียนกีฬา การกระโดดเชือกของมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
กรุงเทพมหานคร กับนักเรียน ข้าราชการ ทหารและ ให้กับสาธารณสุขจังหวัดนำไปเผยแพร่ต่อ เพื่อให้
พลเรือนจากจังหวัดนครราชสีมา สระบุรี สิงห์บุรี กิจกรรมการกระโดดเชือกได้รบั การส่งเสริมอย่างถาวร
อยุธยา และกรุงเทพฯ ตามที่มูลนิธิฯ หวังไว้
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 33

5
1
2 3

6
4

7
1. ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช รองประธานคนที่ 1 เป็นประธานเปิดงานการแข่งขันกระโดดเชือกฯ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550
2. เยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันกระโดดเชือกฯ ร่วมเดินรณรงค์ จากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจมุ่งหน้าเข้าสู่ Central World

เพื่อการแข่งขันรอบที่ 2
3. กองเชียร์กว่า 10 โรงเรียน มาร่วมเชียร์ในการแข่งขันกระโดดเชือกฯ
4. การแสดงการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
5. ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช มอบถ้วยรางวัลและทุนการศึกษาให้กับทีมชนะเลิศประเภทกลุ่ม
6. การแข่งขันประเภทกลุ่มพร้อมเพรียง
7. การแข่งขันประเภทมาราธอน
34
34 คูคู่ม่มือือประจำบ้
ประจำบ้าานน รอบรู
รอบรู้เเ้ รืรื่อ่องโรคหั
งโรคหัววใจ
ใจ

รายพระนามและรายนามคณะกรรมการบริหารก่อตั้งมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
(พ.ศ. 2525)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประธานกรรมการ

นายแพทย์กษาน จาติกวนิช รองประธานคนที่ 1


นายแพทย์กมล สินธวานนท์ รองประธานคนที่ 2
นายแพทย์กัมพล ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ
นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์ เลขานุการ
นายแพทย์พัลลภ โพธิพฤกษ์ เหรัญญิก
นายแพทย์โชติบูรณ์ บุรณเวช กรรมการวิชาการ
คุณหญิงนวลผ่อง เสนาณรงค์ กรรมการจัดหาทุน
นายแพทย์หม่อมราชวงค์กัลยาณกิติ์ กิติยากร กรรมการ
นายแพทย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธ์ กรรมการ
นายบุญสม หุนเจริญ กรรมการ
นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี กรรมการ
มูมูลลนินิธธิหิหัวัวใจแห่
ใจแห่งงประเทศไทย
ประเทศไทย ในพระบรมราชู
ในพระบรมราชูปปถัถัมมภ์ภ์ 35
35

รายพระนามและรายนามคณะกรรมการบริหารมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
(พ.ศ. 2548-2552)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ประธานกรรมการ
นายแพทย์กมล สินธวานนท์ ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์นายแพทย์โชติบูรณ์ บุรณเวช ที่ปรึกษา
ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช รองประธานคนที่ 1
ศาสตราจารย์นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์ รองประธานคนที่ 2
ศาสตราจารย์นายแพทย์ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ เลขาธิการ
นางนางธัญญา สุรัสวดี เหรัญญิก
นายวัลลภ เจียรวนนท์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานฝ่ายหาทุน
แพทย์หญิงคุณสวรรยา เดชอุดม ประธานฝ่ายวิชาการ
นายสุทธิพร จิราธิวัฒน์ กรรมการ
นางนพมาศ ไวยรัชพานิช กรรมการ
นางสุพัฒนา อาทรไผท กรรมการ
พลเอกนายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ กรรมการ
นางรัชดา บุลยเลิศ กรรมการ
นายประชา เหตระกูล กรรมการ
นายแพทย์ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี กรรมการ
พลตรีนายแพทย์ประสาท เหล่าถาวร กรรมการ
พลอากาศตรีนายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล กรรมการ
นางวีรวรรณ เรืองนิวัติศัย กรรมการ
นายมณฑป ผลาสินธุ์ กรรมการ
36 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 37

หัวใจห้อง 1 :
เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย
38 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ซึ่งอาพาธด้วยโรคหัวใจ
ขาดเลือดและได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดต่อเส้นเลือดหัวใจได้ให้สัมภาษณ์ถึงอาการอาพาธและสุขภาพโดย
รวมของท่านไว้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ว่า

บุหรี่เป็นต้นเหตุทำให้เป็นโรคหัวใจ ละได้เป็นการดี เป็นมนุษย์สุดประเสริฐนะลูกหลานเอ้ย!

ไม่สูบบุหรี่ พยายามละเลิกกันเถอะ คนไหนละได้ก็เป็นมนุษย์สุดประเสริฐแล้ว


การจะละ ถ้าละจริงๆ ก็ละได้ รู้ตัวว่าเราเป็นคนจริง ทำอะไรก็ทำจริงๆ ละอะไรก็ละให้มัน
จริงๆ ก็ทำได้ ถ้าไม่สนใจมันก็ทำไม่ได้ กูสูบมานานจนกูแก่ กูยังละได้ การจะละต้องทำใจให้เด็ดเดี่ยว
เข้มแข็ง ละได้เป็นการดี อย่าไปสูบมันเลย จะทำให้เป็นโรคหัวใจ
กูก็ละเป็นตัวอย่างแล้ว กูสูบมาตั้งแต่พวกมึงยังไม่เกิด กูยังละได้เด็ดขาดแล้ว ระยะนี้กูเลิก

เด็ดขาดแล้ว

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 39

นาวาอากาศเอกนายแพทย์ธราธร รัตนเนนย์ พวกเราชอบรับวัฒนธรรมจากฝรั่งกันมาก อาหาร


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจประจำกองบัญชาการ ของฝรั่งมีนม มีเนยเยอะ ทำให้เจริญเติบโตเร็ว ขณะ
ทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม นายแพทย์ผู้ใกล้ชิด เดี ย วกั น ก็ ท ำให้ ไขมั น ในเลื อ ดขึ้ น สู ง ในความเห็ น

กับหลวงพ่อคูณ เล่าให้ฟังว่า ส่วนตัวของผม ผมมองว่าคนไข้ในปัจจุบันนี้โรคหัวใจ
ตอนนี้ สุ ข ภาพท่ า นแข็ ง แรงดี ต ามอั ต ภาพ โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจตีบและความดันโลหิตสูง
ตามอายุของท่าน อาการก็คงที่ดี ถือว่าสำเร็จด้วยดี เร็วขึน้ กว่าปกติ จากสมัยก่อนเคยพบในคนอายุ 40 ปี
ในอดีตท่านก็สูบบุหรี่เหมือนที่เรารู้ๆ กัน ดังนั้นถ้าเรา ตามตำราเมื่อผมเป็นนักศึกษาแพทย์ปี พ.ศ.2527
ควบคุมการสูบบุหรี่ได้ ซึ่งหลวงพ่อคูณท่านเลิกได้ ปัจจุบันเมื่อผมจบบอร์ดมาก็เจอคนไข้อยู่ในกลุ่มอายุ
หลังจากที่ท่านได้รับการผ่าตัดแล้ว ท่านก็พยายาม 35 ปีก็มี ตอนนี้ผมพบคนที่กล้ามเนื้อหัวใจตายมีอายุ
อยากเป็นตัวอย่างที่ดีกับสังคม จากประสบการณ์ ที่ 21 ปีเท่านั้น เห็นไหมครับอายุน้อยมาก
หลวงพ่อเองท่านเป็นห่วงคนทั้งหลายที่อาจเกิดภาวะ เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือด และน้ำตาล
เดียวกับท่าน ซึ่งท่านก็ได้เตือนให้ละเลิกสูบบุหรี่ ในทางปฏิบัติ ผมอยากให้มีการติดฉลากที่ขวดนม

สำหรับ “โรคหัวใจ” นั้น เป็นโรคที่ป้องกัน น้ำหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกชนิดว่า การดื่มสิ่ง
ได้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคก็เป็นของเดิมๆ คือเรื่อง บุหรี่ เหล่านี้จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยาก
ไขมัน อาหารนั่นเอง คนทั่วไปก็ยังละเลยอยู่ ไม่ยอม ควรระวั ง ในการดื่ ม และสิ่ ง ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด คื อ ควร

ปฏิบตั ติ ามเพราะโรคหัวใจถ้าไม่เกิดกับตัวเองก็ไม่ยอม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง การเดิน
ปฏิ บั ติ กั น ต้ อ งรอให้ เ ป็ น ก่ อ นแล้ ว ถึ ง จะยอมปฏิ บั ติ
40 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

มีความสุขกับสิ่งที่ทำและทำให้ดีที่สุดในเส้นทางอาชีพนักการเมือง
ที่พัก (พรรค) หัวใจ

ชวน หลีกภัย
ชายสูงวัยที่มีลักษณะภูมิฐาน น้ำเสียงนุ่มนวล มีวิวาทะที่เฉียบคม เจ้าของฉายา “ใบมีดโกนอาบ

น้ำผึ้ง” คุณชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของประเทศไทย
คนที่เรียกตนเองว่านักการเมืองอาชีพเป็นอีกหนึ่งคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ
“หมอบอกว่าผมเป็นโรคลิน้ หัวใจรัว่ ” น้ำเสียงนุม่ ทุม้ ทีก่ ล่าวถึงตนเองในวัยย้อนไปอายุราว 40 ปี ตอนที่
ตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ตอนนั้นไปตรวจร่างกายตามปกติธรรมดา วันนั้นไปโรงพยาบาลศิริราชมีท่าน

ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้ตรวจให้ จากนั้นอาจารย์ก็ค่อยๆ บอกว่าไม่ต้องตกใจนะตอนนี้ตรวจพบว่ามี
อาการลิน้ หัวใจรัว่ ไม่มอี นั ตรายอะไร อาการไม่ได้รนุ แรง อาจเป็นมาแต่กำเนิดแต่ไม่แสดงอาการทีเ่ พิง่ มาตรวจพบ
เป็นเพราะอายุมากขึ้น แต่ก็บอกไว้เผื่อมีหมอท่านอื่นไปตรวจเจอก็จะได้บอกหมอคนอื่นๆ ว่ามีโรคอะไร

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 41

คุณชวนกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนัน้ ว่าตนเอง ออกกำลังกายสร้างต้นทุนสุขภาพแข็งแรง


รับฟังด้วยความสงบไม่ได้วิตกกังวลใจอะไรในเรื่องนี้ หลังการผ่าตัดคุณชวนก็ปฏิบตั ติ วั ตามตาราง
อาจเป็นเพราะคุณหมอท่านยืนยันว่าไม่เป็นอันตราย ของหมอทุกอย่างโดยไม่มขี อ้ บกพร่อง ช่วยให้รา่ งกาย
อะไร ไม่มีอาการร้ายแรง และโดยส่วนตัวตนเองก็ยัง ฟื้นตัวเร็ว “ผมปฏิบัติตามที่คุณหมอแนะนำทุกอย่าง
ดำรงชีวิตดังเดิม กินได้นอนหลับ ออกกำลังกายได้ ท่านชมว่าผมมีต้นทุนดี หลังผ่าตัดก็ฟื้นได้เร็ว ออก
ตามปกติ แต่ให้เพิ่มความระมัดระวังในเรื่องอาหารที่ กำลังกายตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ให้ขาดตก
จะทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและระวังพวกไขมัน
บกพร่องแม้แต่นิดเดียว ผมรู้ว่าการผ่าหัวใจเป็นเรื่อง
ในเลือดสูงที่ต้องดูแลพิเศษขึ้น ใหญ่ แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆ กลับคืนมา หลังจากการ
นับตัง้ แต่พบว่ามีอาการลิน้ หัวใจรัว่ ก็พบแพทย์ ผ่าตัดการเต้นของหัวใจก็ยังผิดปกติ ยังไม่เข้าที่ พอ
ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี แต่เมื่ออายุมากขึ้น
วันหนึ่งก็กลับคืนเข้าที่เป็นเหมือนเดิม”
ลิน้ หัวใจก็มอี าการรัว่ มากขึน้ หัวใจโตกว่าเดิมคุณหมอ
“ที่คุณหมอชมว่าผมต้นทุนดีเป็นเพราะผมมี
จึงอยากให้ผ่าตัด “ผมค่อนข้างสงสัยอย่างมากในเมื่อ ร่างกายก่อนการผ่าตัดแข็งแรงสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว
ผมยั ง กิ น ได้ น อนหลั บ ออกกำลั ง กายได้ ต ามปกติ แถม! ในวันนั้นผมยังไปเดินป่าที่ดอยอินทนนท์ กลับ
ทำไมต้องผ่าตัดในเมื่อไม่ได้ล้มหมอนนอนเสื่อจนเข้า ลงมาช่วงบ่าย ตอนเย็นก็เข้าห้องผ่าตัด ไม่ได้มีการ

โรงพยาบาลหรือต้องหามเข้าโรงพยาบาล เราก็ยังใช้ เตรียมตัวเตรียมใจอะไรเลย ต้นทุนของผมคือการ


ชีวิตตามปกติแล้วทำไมเราต้องไปเจ็บตัวเข้ารับการ ออกกำลังกายซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะผมออก
ผ่าตัด ก็ถามอาจารย์ท่านว่าไม่ผ่าได้ไหม อาจารย์ก็ กำลังมาตัง้ แต่อายุยงั น้อย และทุกวันนีย้ งั ออกกำลังกาย
พาไปตรวจร่างกายด้วยเครื่องเอ็คโค ให้เห็นถึงการ สม่ำเสมอ ตอนผ่าตัดร่างกายก็แข็งแรง หลังการผ่าตัด
ทำงานของหัวใจ การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย มี ผลพวงจากร่างกายทีแ่ ข็งแรงก็ทำให้การฟืน้ คืนสูส่ ภาพ
เลือดเข้าไปเท่าไรและรัว่ ไปเท่าไร อาจารย์เปรียบเทียบ ปกติเร็วขึน้ โชคดีทไี่ ม่ได้เปลีย่ นลิน้ หัวใจ คุณหมอท่าน
ให้ฟังว่าหัวใจของผมในตอนนั้นก็เหมือนโอ่งน้ำ ที่คน บอกว่าลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ดังนั้นก็แค่ซ่อมลิ้นหัวใจ

ทั่วไปตักน้ำใส่โอ่ง 5 ถังก็เต็มแล้ว แต่ของผมต้อง


ก็พอ ผมก็เลยรอดจากการที่ต้องกินยาสลายเลือด
ตักถึง 6 ถัง ผมยังถามท่านว่าไม่ทำจะเป็นอะไรไหม ตลอดชีวิต”
ท่านบอกว่าไม่ทำก็ไม่เป็นอะไรแต่ถา้ หัวใจโตเต็มทีแ่ ล้ว ทุกวันนี้คุณชวนยังสร้างต้นทุนสุขภาพอย่าง
เกิดหัวใจวายขึ้นมา มันจะช่วยไม่ทัน นั่นคือสาเหตุที่ ต่อเนื่องโดยมิได้ละเลย กิจกรรมการออกกำลังกาย
ทำให้ผมตัดสินใจผ่าตัด” เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และเล่าถึงการออก
42 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

กำลังกายของตนเองว่า “ใครฟังแล้วอย่าตกใจนะ! เครียดจึงตามมา แต่ในกรณีของคุณชวนได้ปฏิเสธใน


ทุกวันนี้อายุ 70 ปีแล้วยังออกกำลังแบบโหนบาร์อยู่ เรื่องนี้ว่าตนเองไม่เครียด ยังกินได้ นอนหลับเป็นสุข
เสมอ ทำตั้งแต่ยังหนุ่มสมัยเป็นนักศึกษาจนถึงวันนี้ ปกติ แต่ความเครียดในความหมายของคุณชวนมัน
ยังโหนบาร์อย่างมีความสุข นอกจากนีย้ งั ออกกำลังแบบ ต้องมีสาเหตุที่มา “สำหรับผมเข้าใจว่าความเครียด
ชกลม เตะซ้ายเตะขวาแบบมวยไทยและวิ่งสายพาน มันจะเกิดจากการที่เราไปทำอะไรไม่ถูกต้อง ผมมอง
ตอนนีเ้ พิม่ การออกกำลังกายแบบห้อยหัวลงพืน้ แต่ผม ว่ามันอยู่ที่สาเหตุมากกว่า ถ้าเราไม่ทำอะไร หรือสั่ง
เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มันทำให้เกิดการยืดตัวของกล้ามเนื้อ
อะไรที่นอกกฎเกณฑ์ ไม่ถูกต้อง อย่างนี้คงเครียด คือ
มันทำให้ไม่เกิดอาการปวดหลัง ผมไม่เคยมีอาการของ ใช้ วิ ธี ก ารที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง หรื อ การใช้ ห น้ า ที่ ไ ม่ ช อบไป
โรคเหล่านี้เลย แต่กลับได้ไปเยี่ยมพรรคพวกที่ป่วย โกงกิน รู้อยู่ว่าคนพวกนี้เขาคงเครียด ยกเว้นพวกโจร
เป็นโรคเหล่านี้ หมอใช้วิธีให้เขาดึงตัว ยังคุยกันเล่นๆ
เขาคงไม่เครียดเพราะลักขโมยจนเป็นเรื่องธรรมดา
เลยว่าทำไมเราไม่ทำเสียก่อน รุ่นพี่คนหนึ่งเขาก็เลย คนที่ทำอะไรที่ผิดทำนองคลองธรรม คนเหล่านี้จะ
หันมาออกกำลังกายแนวนี้ก็ปรากฏว่าเขาไม่มีอาการ เครี ย ด แต่ ถ้ า เราถื อ ว่ า เรายื น อยู่ ใ นสิ่ ง ที่ ถู ก ต้ อ งทำ
ปวดหลังอีกเลย ผมคิดว่าบางโรคป้องกันได้ ฟังคำ อะไรไม่ผิดกฎหมาย ซื่อสัตย์สุจริต ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
แนะนำหมอ แต่โหนบาร์ทา่ นก็ไม่อยากให้ออก เพราะ ทำในสิ่งที่ไม่ผิดกฎเกณฑ์และกฎหมาย อะไรที่มัน
มันทำให้ข้อทำงานหนัก ที่ผมทำได้เพราะผมไม่อ้วน” เกิดขึ้นเราก็พร้อมที่จะรับ ไม่วิตกทุกข์ร้อนเป็นห่วง
และได้กล่าวถึงการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี
เป็นใย ถ้าเราทำอะไรที่ตั้งมั่นและมุ่งมั่นในความดี

ผู้คนส่วนมากมักไม่ชอบอออกกำลังกายแม้จะมีความ แม้ผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่ดีดังใจเราก็ตาม แต่ถือว่า


ตั้งใจสูง แต่ก็มักพ่ายใจตนเอง ขี้เกียจ อยากนอน
เราได้ทำดีที่สุดแล้ว เราทำดีที่สุดถูกต้องที่สุดแล้ว ผม
พักผ่อนมากกว่า ดังนั้นต้องเอาชนะใจตนเอง มุ่งมั่น คิดว่ามันคงไม่ใช่เหตุทจี่ ะทำให้เรากลุม้ จนนอนไม่หลับ
ในการออกกำลังให้เป็นกิจวัตรประจำวัน การออก เช่น หมอผ่าตัดคนตาย แต่ทำดีที่สุดแล้ว ร่างกาย
กำลังกายทำให้ห่างไกลโรค คนไข้ รั บ ไม่ ไ หว หมอคงไม่ เ ครี ย ดถึ ง ขั้ น ผ่ า ตั ด หรื อ
รักษาคนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว มันคล้ายๆ กับที่เราทำ
คิดดีทำดี และทำหน้าที่ให้ดีที่สุด สิ่ ง ที่ ใช้ ค วามสามารถใช้ ค วามรู้ ข องเราเต็ ม ที่ แ ล้ ว
สร้างพลังสกัดความเครียด อาการเครียดก็จะเกิดขึ้นน้อย”
ในฐานะที่เคยขึ้นสู่จุดสูงสุดทางการเมือง ที่ ปัจจัยในเรื่องหน้าที่การงานคงไม่สามารถส่ง
มักมาพร้อมภาระและปัญหาต่างๆ มากมาย ภาวะ ผลกระทบต่อสุขภาพและหัวใจของคุณชวนให้ออ่ นแอ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 43

เพราะได้สร้างพลังสกัดความเครียด โดยการคิดดีทำดี บางอย่าง ต้องปรับตัว “เราต้องมีความสุขกับวิถีชีวิต


และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดไปแล้ว เหล่านี้ ที่จริงต้องทำทุกอย่างด้วยความสุข ถ้ามัน

ฝืนใจอย่าไปทำ ถ้ามันจำเป็นแต่ฝืนใจก็ต้องตัดสินใจ
ดูแลตนเองด้วยความรัก ให้ ดี บางคนเบื่ อ ที่ จ ะไปงานชาวบ้ า นแต่ก็กลัวเสีย
พักผ่อนให้เพียงพอสร้างเกราะป้องกันโรค คะแนนเสียง เราก็ตอ้ งมองว่าเป้าหมายของเราคืออะไร
เมือ่ ชีวติ ก้าวสูว่ ยั สูงอายุ คุณชวนก็หมัน่ ศึกษา เราไม่ใช่คนที่มีอาชีพทั่วๆ ไป แต่เราเป็นนักการเมือง
เพิ่มเติมว่าวัยนี้มักเป็นโรคอะไร พยายามดูจากคนวัย ก็ต้องมีภาระหน้าที่มากกว่าคนอื่นๆ เขา มันต้อง
ใกล้เคียงกันเขาเจ็บป่วยเป็นอะไร จากนั้นก็จะศึกษา ปรับตัวได้ ต้องคิดได้ ไม่ใช่ไปบ่นว่าคนอื่นไม่เห็นเป็น
และหมัน่ สอบถามขอคำแนะนำจากคุณหมอเพือ่ สร้าง เหมื อ นอย่ า งเราเลย คนอื่ น เขาไม่ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งเรา
ภูมิต้านทานก่อนเจ็บป่วย “ผมพยายามดูตัวอย่าง
และตำแหน่งเหล่านี้เขาก็ไม่ได้อ้อนวอนเราให้มาด้วย
คนสูงวัยอื่นๆ ว่าเขามักเป็นโรคอะไร เช่น เป็นต่อม เราสมัครมาเอง เราเลือกแล้วก็ต้องพร้อมที่จะเผชิญ
ลูกหมากโต ก็จะถามหมอเพือ่ จะได้ปอ้ งกันรักษาตนเอง กับสิ่งเหล่านี้”
ไม่ให้เป็นเร็วได้อย่างไร ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่เป็นแต่ การพักผ่อนเป็นปัจจัยสำคัญ คนเราแม้จะรู้
เราป้องกันไว้ก่อนได้ เช่น อาการน้ำตาลในเลือดเริ่ม ทั้งรู้ว่าเรื่องการพักผ่อนนี้สำคัญแค่ไหนก็ตาม แต่บาง
สูงก็หันมาคุมอาหารของหวาน ถึงไม่เป็น แต่พออายุ ครัง้ ภาระความรับผิดชอบมันสำคัญกว่า มันเลยทำให้
มากก็เริ่มรู้ว่าเราจะเป็นอะไรได้ง่ายขึ้น อย่างผิวหนัง มีปัญหา เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องการบริหารเวลา
ที่เป็นภูมิแพ้ก็คันง่าย ก็หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ คือรู้ว่า พักผ่อนให้พอเป็นเรื่องสำคัญควบคู่ไปกับการออก
พออายุมากขึ้น เราก็จะเป็นโน่นเป็นนี่ได้ง่ายขึ้นไวขึ้น กำลังกาย
แต่ผมศึกษาสิ่งเหล่านี้ควบคู่กับการออกกำลังกาย”
ในเรื่องของการพักผ่อนให้เพียงพอ คุณชวน อย่าตามใจปาก
เล่าว่านับตั้งแต่ไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค ภารกิจต่างๆ จงคำนึงถึงสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต
ก็เบาบางมากขึน้ แต่ความเป็นนักการเมืองก็ยงั ต้องทำ เรือ่ งอาหารทีจ่ ะกระทบกับสุขภาพในทางร้าย
หน้าทีพ่ บปะชาวบ้าน รับเชิญไปงานต่างๆ และในฐานะ นั้น คุณชวนปฏิเสธด้วยเสียงหัวเราะ และกล่าวว่า
ประธานที่ปรึกษาพรรคก็ยังต้องติดตามงานการเมือง เรื่องอาหารคงไม่ใช่ศัตรูที่จะทำลายสุขภาพได้ เพราะ
อย่างต่อเนื่อง แต่ต้องบริหารเวลาให้ได้ ต้องมีเวลาให้ ตนเองกิ น ไม่ พ อจนคุ ณ หมอต้ อ งให้ กิ น วิ ต ามิ น เพิ่ ม
ตนเอง พักผ่อนแบ่งเวลาการทำงานและปฏิเสธงาน เพราะทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ นอนดึก ตื่นเช้า แต่
44 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ยังต้องระมัดระวังอาหารจำพวกของหวานและไขมัน จะต้องรู้จังหวะเวลาที่เหลืออยู่ ฉะนั้นทำอะไรอย่าผัด


เพราะโดยนิสัยปกตินั้นชอบทานผลไม้พวกทุเรียน วันประกันพรุ่ง มีหน้าที่ก็ต้องทำ และทำให้ดีที่สุด ทำ
จำปาดะ และข้ า วเหนี ย วมะม่ ว ง พอหมอบอกว่ า แล้วเราก็ไม่เสียใจ”
อาหารเหล่านี้ต้องเลิก ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิก
ทานของพวกนี้ให้ได้ก็รู้สึกว่าชีวิตขาดพวกนี้ไป ส่วน ที่พัก (พรรค) หัวใจ
อาหารหลักที่ทานเป็นประจำก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็น มีความสุขกับสิ่งที่ทำ และทำให้ดีที่สุด
อาหารง่ า ยๆ และเชื่ อ ฟั ง คำสั่ ง ของคุ ณ หมออย่ า ง
เคร่งครัด ต้องระมัดระวังในเรือ่ งการกิน ต้องไม่กนิ ให้อมิ่ นอกเหนือจากการดำรงชีวิตที่เหมาะในการ
มาก ทานผลไม้เป็นของว่าง เป็นคนที่ชอบทานผลไม้ กินอาหารทีไ่ ม่สง่ ผลร้ายกับร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ
มากๆ แต่ผลไม้หวานๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพนั้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจัดเป็นเครื่องราง
ต้องเลิกให้ได้ ต้องทำใจถ้าอยากอยู่อย่างมีคุณภาพ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บอย่างดีพร้อม ส่วนปัจจัยที่ส่งผล
ไม่ใช่การมีอายุยืน แต่การอยู่อย่างมีคุณภาพคือเรา กระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายอีกเรื่อง
ต้องสามารถอยู่แล้วมีความสุข ทำงานได้ ไม่มีโรคภัย คืออารมณ์ความเครียด ทีม่ กั มาพร้อมกับหน้าทีก่ ารงาน
เบียดเบียน ไม่ใช่อยู่แบบหยอดน้ำเกลือ “ในเรื่องนี้ คุณชวนได้กล่าวไปแล้วว่าคิดดีทำดี ดำรงอยู่ในความ
ต้องระวังเพราะมีตัวอย่างจากเพื่อนๆ รุ่นผมก็ทยอย ซือ่ สัตย์สจุ ริต ความเครียดก็ไม่เกิด แต่นอกเหนือจากนี้
เสียชีวิตไปเรื่อยๆ ผมไปเป็นประธานในงานศพบ่อย อาชีพการงานในฐานะนักการเมืองอาชีพอย่างคุณชวน
มองเห็นความเปลีย่ นแปลงของชีวติ มาถึงจุดหนึง่ ทุกคน ย้ำว่าเราต้องมีความรักในอาชีพที่เราทำด้วย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 45

คุณชวนก้าวเข้าสูเ่ ส้นทางการเมืองตัง้ แต่เรียน คนเราเมือ่ ได้ทำในสิง่ ทีร่ กั หัวใจมักเพิม่ พูนด้วย


จบเนติบัณฑิต และวางเป้าหมายในชีวิตจะก้าวเข้าสู่ ความสุขเสมอ นายชวน หลีกภัยเลือกแล้วว่าทุกจังหวะ
การเมืองเมื่ออายุครบสามารถลงสมัคร ส.ส.ได้ จาก การเต้นของหัวใจคือการเมือง..วันนี้จึงทำให้ดีที่สุด
วันนัน้ จนถึงวันนีร้ ะยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี ทีด่ ำรง ประสบการณ์ของคุณชวน หลีกภัย ชี้ให้เห็น
ชีวิตในเส้นทางอาชีพนักการเมืองด้วยความรัก และ ว่า การสร้างเกราะป้องกันก่อนป่วย หรือสร้างต้นทุน
มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าต่อไปในเส้นทางนี้ ที่ดีทางสุขภาพให้กับตนเอง เป็นการสร้างกำไรชีวิต
ในวั ย 70 ปี คุ ณ ชวนมี ที่ พั ก ใจไว้ ที่ พ รรค
และทำให้สามารถทีจ่ ะดำรงชีวติ อยูไ่ ด้อย่างมีคณ ุ ภาพ
การเมืองทีท่ ำงานอยูแ่ ละยังอาสาทำงานทางการเมือง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ท่านยังฝากข้อคิดไว้ว่า
ต่อไป และตัง้ ใจทีจ่ ะรณรงค์สง่ เสริมให้นกั การเมืองไทย รัฐควรต้องให้เวลา งบประมาณและความรู้สำหรับ
ไม่ ซื้ อ สิ ท ธิ์ ข ายเสี ย ง เอาเงิ น ซื้ อ ตำแหน่ ง รั ฐ มนตรี ป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรจาก
ความรู้สึกรับผิดชอบในสิ่งเหล่านี้มันฝังรากลึกอยู่ใน โรคหัวใจทั้งสองกลุ่มอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตัวตนซึง่ คนทัว่ ไปคงเห็นว่ามันเป็นภาระทีเ่ หน็ดเหนือ่ ย โรคหัวใจที่สามารถป้องกันได้เพราะสาเหตุของโรค
เพราะคนทีพ่ ร้อมจะเดินไปด้วยกันนัน้ มีนอ้ ย แม้ความ หลายอย่างนั้นชาวบ้านเขาสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้
หวังยังจะไม่สามารถบรรลุความสำเร็จได้ในช่วงที่ยังมี เช่น การไม่กนิ ของเค็มมากเกินไป หลีกเลีย่ งของหวาน
ชีวิตอยู่ แต่ก็จะทำหน้าที่ต่อไป เพราะถือว่าตนเองได้ ก็ลดโรคความดัน เบาหวาน
ทำแล้ว ต่อไปในภายภาคหน้าอาจมีคนรุ่นหลังๆ มา ฉะนั้นการให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่
สานต่อและสำเร็จได้สักวัน แพทย์ แ ละสาธารณสุ ข ต้ อ งทำอย่ า งต่ อ เนื่ อ งทั้ ง ใน
ห้องเรียน โรงเรียน ไปถึงผู้ปกครอง และ

ต่อเนื่องไปจนถึงกลุ่มคน
ของผู้ สู ง อายุ เชื่ อ ว่ า จะ
ช่วยลดความรุนแรงของคน
ที่จะเป็นโรคลงได้ไม่น้อย

46 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

ดูแลหัวใจด้วยการมองชีวิตให้เป็นบวก
กับ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช
สตรีร่างเล็กแบบบาง ในวัย 78 ปี ยังแข็งแรง กระฉับกระเฉง มีชีวิตที่สนุกกับการทำงานหนัก
ดูแลรับผิดชอบองค์กรต่างๆ กว่า 50 แห่ง โดยไม่รสู้ กึ ว่าตนเองได้รบั การผ่าตัดหัวใจมาแล้ว.....ท่านผูห้ ญิงสุมาลี

จาติกวนิช
ท่านผูห้ ญิงกล่าวว่าก่อนทีจ่ ะรูต้ วั ว่าเป็นโรคหัวใจ เริม่ เหนือ่ ยง่ายขึน้ แม้เดินขึน้ บันไดเพียงไม่กขี่ นั้ ก็รสู้ กึ แย่
ตอนนั้นท่านผู้หญิงคิดว่าเป็นเพราะตนเองมีอายุสูงแล้ว คนแก่มักมีอาการเหนื่อยง่ายและยังต้องทำงานหนัก
อีกมากมาย คุณหมอ (สามีของท่านผู้หญิง นพ.กษาน จาติกวนิช) ให้ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลศิริราช
และพบว่าเส้นเลือดหัวใจตีบ การดูแลรักษาในเบื้องต้นให้รับประทานยาช่วยให้หัวใจทำงานอย่างปกติ อาการ
ก็ดขี นึ้ ความดันโลหิตไม่สงู ชีพจรเต้นปกติทำงานได้ไม่เหนือ่ ย คงทำงานหนักได้เหมือนเดิม “ทำงานได้ไม่เหนือ่ ย

แต่ไม่ได้ไปแบกหามอะไร ชอบวิ่งขึ้นบันได เพราะใจร้อน ชอบรื้อเอกสาร ข้าวของหนักๆ ไปประชุมตั้งแต่


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 47

8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม ปิดสวิตช์อันนี้ เปิดสวิตช์อันโน้น เริ่มการผ่าตัดหัวใจ แต่ท่านผ่าตัดรักษา ยังไม่ได้ทำ


ทำงานมากเกินไป แต่เป็นชีวิตของดิฉันมาตั้งแต่ไหน เรื่องการป้องกัน เวลานั้นการผ่าตัดหัวใจเพิ่งเริ่มขึ้น
แต่ ไรแล้ ว ตั้ ง แต่ ก้ า วเข้ า มาสู่ ง านการกุ ศ ลเมื่ อ ปี
ในเมืองไทย งานของท่านมากมายหลายด้าน เวลา
พ.ศ. 2496 ตอนนั้นโรคโปลิโอกำลังระบาดเป็นครั้ง กลับบ้าน ท่านเห็นดิฉนั จำได้วา่ เป็นภริยาก็ดแี ล้ว ท่าน
แรกในประเทศไทย” กว่า 52 ปี มาแล้วที่ลุยงาน สอนคนไข้ในการทานอาหารเพื่อรักษาดูแลหัวใจ แต่
หนัก ทำงานด้านการกุศลให้กับมูลนิธิต่างๆ เพื่องาน ท่านไม่เคยสอนดิฉันเลย”
สงเคราะห์หลายประเภท
แม้รู้ทั้งรู้ว่าตนเองเป็นโรคหัวใจก็ยังไม่ยอม เริ่มต้นออกกำลังกายเมื่ออายุใกล้ 60 ปี
ดู แ ลสุ ข ภาพอย่ า งที่ ค วรจะเป็ น ยั ง เป็ น คนบ้ า งาน ยังไม่สาย
ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทุกงานใจสมัครรักชอบทั้งนั้น ในเรือ่ งการออกกำลังกาย ท่านผูห้ ญิงบอกว่า
งานเล็กก็สนใจ งานใหญ่ระดับชาติก็ได้ความรู้ใหม่
ตนเองไม่เคยออกกำลังกายเป็นกิจจะลักษณะ อาจเป็น
ไม่คอ่ ยมีเวลาพัก คุณหมอทีร่ กั ษาแนะนำว่าควรจะดูแล เพราะถูกอบรมแบบโบราณ ต้องนัง่ เรียบร้อย เดินช้าๆ
หัวใจให้ดี แนะนำให้ออกกำลังกายและระมัดระวัง
ไม่วิ่ง เมื่อครั้งเรียนในโรงเรียนก็ไม่สนใจวิชาพลศึกษา
ในเรือ่ งของอาหารให้เป็นไปตามแพทย์สงั่ และพักผ่อน คุณหมอสามีได้แนะนำให้ออกกำลังบ้างเพื่อให้หัวใจ
ให้เพียงพอ ได้สูบฉีดเลือดเร็วขึ้น แต่ยังคงไม่สนใจ
ทุก 2-3 เดือนยังไปพบหมอตามปกติ คุณหมอ เมื่อท่านผู้หญิงอายุล่วงใกล้วัย 60 คุณหมอ
ยังไม่ต่อว่าอะไร จึงชะล่าใจ ทำงานหนักเหมือนเดิม สามีพยายามชวนออกกำลังกาย “ท่านบอกว่าเดิน
เรื่องอาหารการกินนั้น ท่านผู้หญิงย้อนคิดดูแล้วว่า
เป็นเพื่อนกัน ท่านอายุมากแล้วเกิดเป็นลมจะไม่มี
มีสว่ นอย่างมากต่อหัวใจ ตัง้ แต่อายุยงั สาวกินของแสลง ใครดูแล จึงเดินเป็นเพื่อนท่าน นั่นแหละคือการเริ่ม
ร้อยแปดทัง้ หวานมัน “เป็นคนทีช่ อบขนมหวาน ชอบ ออกกำลังกายเมื่อตอนใกล้อายุ 60 ปี ได้อานิสงส์

กินขนมเค้กทุกชนิด ทุกหน้า ช็อกโกแลต ก็ชอบมาก อยูบ่ า้ งทีท่ ำให้นำ้ หนักตัวลดลง ท่านยังหลอกล่ออีกว่า


ลูกหลานจึงมักนำมาฝากเสมอ ผลไม้กับผักไม่ได้ทาน กินขนมนมเนยมากอ้วนจะไม่สวยนะ จึงเลิกกิน เดินบ้าง
ตามทีค่ วร ดีหน่อยทีท่ านอาหารรสไม่จดั แต่ชอบหวาน นัง่ คุยกับท่านบ้างหรือนัง่ อ่านหนังสือ ถึงไม่ได้ออกกำลัง
มัน ใส่ครีม หัดทำขนมเอง รับประทานต่อเนือ่ งมานานปี มากๆ แต่ได้พักผ่อนคลายเครียด ยามแก่ก็สบายขึ้น
ไม่ได้นึกว่าจะมีผลต่อหัวใจ จนกระทั่งคุณหมอสามี นั่นคือสภาพในเวลานั้น”
48 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ไม่รู้ตัวว่าจะต้องผ่าตัดหัวใจ หัวใจพร้อมกับหมอท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน ทำให้เรา


คุ้นเคยกับการรักษาหัวใจต่างๆ เมื่อตกลงให้ทำการ
ต้นปี พ.ศ. 2547 รับภารกิจจัดการประชุม ตรวจสวนหัวใจ พยาบาลนำไปเตรียมร่างกายหลาย
ของสตรีในระดับภูมภิ าคเอเชียแปซิฟคิ ซึง่ เป็นงานใหญ่ อย่าง ดิฉันคิดในใจว่าแค่สวนหัวใจทำไมต้องทำอะไร
อีกครั้งนั้น งานทุกขั้นตอนต้องเตรียมอย่างละเอียด มากมาย ต้องสวนอุจจาระด้วยยังกับจะผ่าตัดอย่างนัน้
ก่อนการประชุม 5 วันเหนือ่ ยมาก จึงไปตรวจร่างกาย แหละ... ไม่มใี ครพูดอะไร หมอและคนไข้กแ็ ต่งตัวแบบ
วันนัน้ คุณหมอตรวจแล้วบอกต้องพักงาน ร้องโอดโอย เข้าห้องผ่าตัดนั่นแหละ
เรียนคุณหมอว่าไม่ได้แน่เพราะมีงานมาก อีก 4 วัน ถึง เมื่อพร้อมแล้วหมอถามว่าหากผลการสวน
วันเปิดประชุมแล้ว ตัง้ ใจจะให้คณ ุ หมอช่วยต่อกำลังให้ หัวใจแสดงว่าจำเป็นต้องทำการผ่าตัดท่านผูห้ ญิงยินยอม

จนถึงพิธีเปิด คุณหมอดุว่าไปแล้วไม่ได้กลับเพราะไม่ ไหม..เราถามว่าเช่นอะไร..หมอบอกว่าท่านผู้หญิงเป็น
รู้จักรักษาตนเอง แต่หมอก็ไม่ได้บอกอะไรเพิ่มเติม.. หลอดเลือดตีบมาก ถ้าใส่สเต้นช์ได้จะใส่ให้ แต่ถา้ อาการ
ตรวจเสร็จแล้วคุณหมอก็ยงั ไม่ให้กลับบ้าน ขอ มากกว่านั้นต้องทำบายพาส...หัวใจจะดีขึ้น เลือดก็จะ
ให้รอผลการตรวจก่อน ดิฉันนั่งอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ ไหลดีขึ้น หัวใจจะทำงานตามปกติได้นาน กลายเป็น
พลเอกปรีชา โรจนเสน เดินเข้ามา คุณหมอขอให้ทา่ น
เรื่องใหญ่มากตัดสินใจว่าไม่ได้ไปประชุมแน่นอน ขอ
อยูเ่ ป็นเพือ่ น คุยกันไปมานานมาก เลยเวลาเทีย่ งไปแล้ว เวลาเขียนจดหมายถึงทีมงานเลขานุการให้โทรศัพท์แจ้ง
ประตูเปิดออกดีใจนึกว่าจะกลับบ้านได้ แต่กลับกลาย กรรมการสมาคมว่าจะต้องผ่าตัดขอฝากงานทัง้ หมดด้วย
เป็นกษมาลูกสาวเดินเข้ามา ทำให้นึกว่าลูกไม่สบาย ตารางงานทำไว้ละเอียดเกือบครบถ้วน คณะกรรมการ
มาหาหมอ ลูกกลับบอกว่าได้ขา่ วว่าแม่มาโรงพยาบาล คงสานต่อจนสำเร็จวัตถุประสงค์
จึงตามมาดู เรียนฝากตัวกับคุณหมอช่วยรักษาให้หายดีพอ
ลูกเล่าว่าคุณหมอโทรไปบอกว่าอาการของแม่ จะได้กลับไปทำงานในไม่ชา้ ...แล้วนอนหลับไป............

ครั้งนี้ค่อนข้างซีเรียส ต้องตรวจแบบพิเศษ หากการ ฟื้นขึ้นมาดูร่างกายตนเอง นอนท่าเดิม ในห้องเดิม
ตรวจพบสาเหตุที่จะต้องแก้ไขจะรักษาเลยหรือจะรอ เข้าใจว่าหมอยังไม่ได้ผา่ ตัด เรียกพยาบาลถามว่าเมือ่ ไร
ก่อน แล้วแต่แม่ ถามว่าตรวจอย่างไร ลูกบอกว่า..
จะผ่าละคะนอนรอน้านนานมากแล้ว หนูคนนั้นรีบ
สวนหัวใจ..ตอบว่าจำเป็นก็ทำได้เลย ไม่ได้รสู้ กึ หวาดกลัว ออกไปตามศาสตราจารย์อังกาบมาตรวจ อาจารย์
เพราะคุณหมอกษานสามีเป็นหมอที่ริเริ่มการผ่าตัด หัวเราะใหญ่ ท่านพูดว่าตืน่ ดีเรียบร้อยแล้ว ผ่าตัดเสร็จ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 49

ไป 4 วันแล้ว เราเข้าใจว่าคงนอนหลับตลอด 4 วัน ความสุขเพราะมองทุกอย่างเป็นบวก ถ้ามีปัญหาเกิด


แต่ลูกเล่าภายหลังว่าแม่ตื่นตลอด 4 วัน ทุกครั้งที่มา ขึ้นจะพยายามหาทางแปรวิกฤตินั้นเป็นโอกาส จะมี
เยี่ยม ยังพูดโต้ตอบเล็กน้อยได้ ออกจากโรงพยาบาล ความสุขอยู่กับการใช้สมองคิดงานต่างๆ หากยังนึก
ภายหลังพักฟื้นรวม 15 วัน...ระหว่างนั้นหมอสั่งห้าม หาทางไม่ได้ก็ต้องเครียดเหมือนกัน การทำงานของ
เยีย่ ม แต่ระหว่างทีท่ า่ นกำลังสัง่ อยู่ มีมาแล้วหนึง่ คน...
ท่านผู้หญิงโดยส่วนมากเป็นการขอความร่วมมือจาก
ท่านมองตาขวาง....จากนั้นไม่มีใครได้เข้าเยี่ยมอีกเลย ผูม้ คี วามรูค้ วามสามารถด้านต่างๆ ทัว่ ไทย คนไทยเป็น
จนกลับบ้าน และอยู่เป็นสุขจนทุกวันนี้ คนที่มีน้ำใจ เมื่อทราบเหตุผลจะให้ความร่วมมือเป็น
อย่างดี จนให้สมญาตนเองว่าเป็น“ขอทานระดับชาติ”
มองชีวิตเป็นบวก 95% เพราะขอไปจนทั่วประเทศและเกือบทั่วโลกด้วย
แปรวิกฤติเป็นโอกาส/ทำงานไม่เครียด
แต่ทำงานหนัก
ชีวติ ของท่านผูห้ ญิงเป็นคนชอบทำงานท้าทาย สำหรับท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ดอกไม้
ความสามารถและทำงานเพื่อสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ั หาหรืออุปสรรค

งามดอกนี้ โรคหัวใจทีเ่ กิดขึน้ ไม่ใช่ปญ
ประเภทต่างๆ ท่านมีความสุขกับงานเหล่านั้น ใครมา ในการทำงาน หลังการผ่าตัดท่านยังเดินหน้าทำงานทุก
ชวนทำอะไรยินดีช่วยทั้งนั้น เมื่อผ่าตัดข้อเท้าหักต้อง หน้าที่ที่ท่านรับผิดชอบต่อไปอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

นอนในโรงพยาบาลหลายวัน ผูร้ ว่ มงานหลายองค์กรยัง ทั้งงานส่วนรวมและงานส่วนตัว แนวคิดหรือวิธีคิดที่
จัดประชุมกันหน้าเตียง จนคุณหมอแซวว่าไม่เคยเห็น ทำให้ท่านทำงานและมีชีวิตอย่างมีความสุขคือ การ
ผูม้ าเยีย่ มไข้แบกแฟ้มมาเปิดทำงานกับผูป้ ว่ ยด้วยกันเลย มองโลกในแง่บวก เหมือนการมองทุกอย่างไม่เป็น
“มีงานเดียวที่ต้องปฏิเสธในระยะนั้น ท่าน ปัญหาไม่มีอุปสรรคไม่มีอะไรที่จะรับมือไม่ได้ เมื่อนั้น
หัวหน้าพรรคการเมืองท่านหนึ่งโทรศัพท์มาชวนให้ลง ความเครียดจะไม่ก้าวมาสู่ชีวิต ไม่มาทำร้ายจิตใจ
สมัคร ส.ส.เขตดุสิตชนกับคุณสมัคร สุนทรเวช โอ๊ย! เหมือนโฆษณาชิ้นหนึ่งที่กล่าวว่า “ผู้หญิงคิดบวก
รีบปฏิเสธทันที ไม่เคยแม้เพียงจะคิดค่ะ” แล้วสวย” วันนี้ท่านผู้หญิงยังคงความสวยและความ
ท่ามกลางภารกิจมากมายเหล่านี้ท่านผู้หญิง งามยังเพียบพร้อมตามอายุ
รับว่าสนุกกับงาน แม้งานหนักใจหนักแรงแต่ไม่ยอม
เครียด พยายามมองทุกอย่างเป็นบวกเสีย 95% มี
50 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

“อยู่มาได้อย่างไรตั้ง 17 ปี โดยไม่มีอะไร”
พล.อ.อ.ปราโมทย์ วีรุตมเสน

กลับจากไปพบหมอโรคหัวใจผมก็มานั่งนึกว่านี่ 17 ปี แล้วที่ตัวเราไปผ่าตัดมายังไม่เห็นมีอะไรที่
รุนแรงจนขนาดต้องไปเข้าโรงพยาบาลอีก และก็มานึกอีกว่า 17 ปีนี้ เราใช้ชีวิตหลังจากเกษียณอะไรบ้าง ผม
นึกและทำดังนี้
1. ใช้ชวี ติ ธรรมดา เช่น ปุถชุ นทัว่ ๆ ไป ถอดหัวโขนออก ติดดิน และไม่คดิ ทีจ่ ะไปทำงานแบบไปนัง่ โต๊ะ

รับเงินเดือนอีกเพราะผมได้ทำงานมาตลอดจนเกษียณอายุ ก็เหน็ดเหนือ่ ยพอสมควรครับ ประกอบกับเงินบำนาญ

ที่รัฐบาลจัดสรรให้ก็พอแก่อัตภาพ ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ข้าวของแพง การใช้จ่ายก็ต้องระมัดระวังตัวพอ
สมควร
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 51

2. ออกงานสั ง คมตามปกติ งานกิ น เลี้ ย ง อำนวยครับ โดยเฉพาะการออกไปต่างประเทศ ผม


งานศพ งานแต่งงาน จิปาถะ ผมคิดว่าเรื่องนี้ชักจะ จะไม่ไปไหนเกิน 5 วัน สาเหตุเพราะอายุมาก กำลัง
มากไปหน่อย เพราะออกแทบทุกวัน สาเหตุมาจาก ถดถอยในการแบกหามกระเป๋าเดินทางและสัมภาระ
ผมได้รับการยกย่องให้เป็นนายก เป็นประธานของ ไม่คอ่ ยจะไหวเพราะต้องช่วยตนเอง สมัยก่อนพอมีแรง
สมาคม และชมรมต่างๆ ถึง 5 แห่ง มีสมาชิกและ อำนาจวาสนา มีผคู้ นมาช่วยเดีย๋ วนีแ้ ก่แล้ว หมดอำนาจ
ผู้คนในแวดวงรวมกันร่วมหมื่นคนที่ต้องไปงานก็มิใช่ วาสนา ผู้คนมาช่วยก็น้อยลงหรือไม่มี ประกอบกับที่
ความโก้เก๋แต่อย่างไร แต่เป็นเพราะแต่ละสมาคม ต่างๆ ก็เคยไปมาแล้วแทบทัง้ นัน้ สรุปว่าไป แต่อย่าให้
ชมรม มีกิจกรรม มีข้อตกลงว่า แต่งงาน ตาย จะต้อง นานครับ
จ่ายเงินค่าช่วยเหลือแห่งละเท่าไร พูดง่ายๆ ก็คือเอา 4. ไปพบแพทย์รับคำแนะนำ ปรับยา และ
เงินไปให้ อาจจะมีหลายท่านถามว่าใช้คนอื่นไปแทน กินยาตามที่หมอสั่ง ข้อนี้ผมปฏิบัติโดยเคร่งครัดและ
ได้หรือไม่ ตอบว่าได้ แต่คนที่เราไหว้วานหรือใช้นั้น ไม่ขาดเลยครับ ตลอดเวลา 17 ปี ผมอาจจะโชคดี
เขาไม่ไป ก็มีความจำเป็นและบางครั้งจำใจที่เราต้อง กว่าผู้อื่น เพราะอยู่ใกล้โรงพยาบาลภูมิพล เวลาขับ
ไป ก็อย่างว่าแหละครับถ้าท่านประธาน นายก หรือ รถผ่านหรือไม่ทำกิจกรรมอะไรก็ตามมีเวลาผมมักจะ
หัวหน้า ไปเสียเองทุกอย่างก็จบ ต่ออีกนิดเดียวครับ แวะเข้าไปพูดคุยกับคุณหมอทั้งหลาย เพราะผมรู้จัก
พอไปงานศพพระมาสวดศพ ผมอายุมากแล้ว ก็ได้รับ อยูห่ ลายท่าน แม้กระทัง่ รูส้ กึ ผิดปกติทางร่างกายขึน้ มา
เกียรติให้เป็นประธาน ถ้าไปงานแต่งงาน อายุมาก ผมก็ไปหาไปถามท่าน โดยเฉพาะเกีย่ วกับโรคหัวใจทีผ่ ม
ท่านก็ให้พธิ กี รมาบอกว่ากล่าวอวยพรหน่อย จนบางครัง้ เป็นและผ่าตัดมาแล้ว เวลาทีห่ มอให้ยามารับประทาน
ผมนึกว่า ผมอวยพรแล้วคูบ่ า่ วสาวเขาจะอยูก่ นั ยืดยาว พอหมดยาผมจะไปเจาะเลือดและนำผลเลือดไปพบ
ตามที่เราตั้งใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพระสำนวนโวหารที่ หมอเพือ่ ให้ทา่ นดูผลเลือดและปรับยาให้ เมือ่ ครบ 1 ปี
กล่าวอวยพรก็วนๆ อยู่เดิมๆ นั้นแหละ เดี๋ยวนี้มาใน ผมจะไปตรวจร่างกายทัง้ หมดในส่วนทีเ่ กีย่ วกับโรคหัวใจ
มาดใหม่มาขอให้ผมเป็น “เถ้าแก่” ขอลูกสาว มีการ ผมจะไปวิ่ง “สายพาน” (Stress test) เมื่อปีที่แล้ว
จองตัวข้ามปีครับ แต่บังเอิญโชคดีไปขอลูกสาวใคร ผมไปทดสอบมา คุณหมอท่านบอกผมว่า ผ่านครับ
เขายกให้ทงั้ นัน้ คงจะมีสกั วันทีเ่ ขาไม่ให้ ภารกิจอันนีค้ ง 5. การออกกำลั ง กาย ผมออกกำลั ง กาย
จบเห่ครับ ด้วยการเล่นกีฬาอย่างเดียวครับ คือการเล่นกอล์ฟ
3. ออกไปเที่ ย วเตร่ ห าความสุ ข นอกบ้ า น ผมกำลังคิดว่าจะเล่นมากไปสำหรับผม เพราะบาง
ผมออกไปตามเวลาและสถานภาพของการเงิ น จะ อาทิตย์เล่นถึง 6 วันติดต่อกัน น่าจะลดลงมาเหลือ
52 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

2-3 วัน ในหนึ่งอาทิตย์การเล่นของผมก็ไม่ได้ดิบได้ดี พอเหงือ่ ซึมๆ ครับ เสร็จแล้วกลับมานัง่ พักผ่อน อาบน้ำ


หรือฝีมอื ระดับโปรอะไรหรอกครับ แต่เนือ่ งจากพีน่ อ้ ง อ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ รั บ ประทานอาหารเช้ า แล้ ว ก็

ผองเพือ่ นเชิญไป ผมก็ขดั ไม่ได้ การเล่นก็พนื้ ๆ ส่วนใหญ่ รับประทานยา ซึ่งยาที่ผมรับประทานมีอยู่ 2-3 ชนิด
เนื่องจากอายุมากก็ “กล่าวตอนมอบรางวัล” อยู่แต่ คุณหมอให้รับประทานตอนเช้าทันทีหลังอาหาร ผม
อย่างนั้นแหละครับ การออกกำลังกายผมว่ามีความ จะไม่บอกชื่อยาอะไร บริษัทไหนผลิต เหตุผลก็คือ
จำเป็นมากและต้องทำนะครับ และที่สำคัญก็คือท่าน เผื่อจับพลัดจับผลูเขาเอาเทียบมาเชิญให้ไปเป็นฝ่าย
ต้องทำด้วยตัวของท่านเองจะวานผู้อื่นทำแทนไม่ได้ บริหาร อาจจะถูกสอบสวนว่าเป็นลูกจ้างหรือผู้จัด
ส่วนใครจะออกจะทำด้วยวิธใี ดก็แล้วแต่ ไม่วา่ กันครับ รายการไป จะยุ่งกันใหญ่ จากนั้นผมจะพักผ่อนโดย
แต่ขอเน้นย้ำว่าต้องทำ การอ่านหนังสือบ้าง ดูโทรทัศน์บ้าง จนถึงเวลาเที่ยง
6. การใช้ชวี ติ ประจำวัน รายการนีผ้ มขอรับ ก็จะรับประทานอาหารกลางวัน ก็ต้องบอกว่าผมจะ
เฉพาะคำแนะนำและตำหนิเท่านั้นครับ 05.30 ผม รับประทานอาหารกลางวันมากกว่าอาหารมือ้ อืน่ ๆ ครับ
ตื่น ก็บิดตัวซ้าย-ขวา ถีบเท้าซ้าย-ขวา (อยู่บนเตียง) เสร็จแล้วผมก็จะพักผ่อนเล็กน้อย แล้วผมจะนอนสัก
ประมาณ 5-10 นาที แล้วก็ค่อยๆ ลุกไปเข้าห้องน้ำ 30 นาที แต่ก่อนนอนผมจะเอาผ้าเช็ดหน้ามาชุบน้ำ
ล้างหน้าล้างตาทำธุระส่วนตัว จากนั้นวันไหนมีการ แล้วใส่ไว้ในตู้เย็น เมื่อตื่นนอนแล้วจะนำผ้าเย็นผืนนี้
เล่นกอล์ฟ (ผมส่วนใหญ่จะเล่นตอนเช้า เพราะถ้าเป็น มาปิดไว้ที่ตาสัก 5 นาที ผมรู้สึกว่าสดชื่นดี จากนั้นก็
ตอนเย็นมืดค่ำ ขับรถกลับลำบากครับ อายุมากการ พักผ่อนจนถึงเย็น แต่บางครั้งก็มีกิจกรรมที่ผมชอบ
ตัดสินใจไม่ดีเหมือนหนุ่มๆ) ก็ไปเล่นว่ากันไปทั้งวัน ทำทั้งตอนเช้าและตอนบ่ายๆ คือการรับ-ส่ง หลานปู่
กลั บ บ่ า ยหรื อ เย็ น แต่ ถ้ า ไม่ เ ล่ น กอล์ ฟ ผมจะลงมา
ไปโรงเรียนซึ่งอยู่ห่างจากบ้านไม่มากนัก ผมมีหลานปู่
กวาดบ้าน เพราะบ้านผมต้นไม้และใบไม้ กิ่งไม้ร่วง เล็กๆ 2 คน อายุ 7 ขวบ และ 10 ขวบ มันเป็น
ต้องทำทุกวันประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง เดินไปเดินมา ความสุขทีย่ ากจะบอกได้ แต่ผมเองคิดว่าเป็นความรัก
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 53

และความสุขในการรับ-ส่ง และใกล้ชิดกับหลานแล้ว 5. ไปหาหมอเป็ น ประจำไม่ ข าด และ



ทำให้ผมเบิกบานสดชื่น และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผม รับประทานยาตามหมอสั่งครับ
อายุยืนนาน จากนั้นเป็นเวลาอาหารเย็น ซึ่งมื้อเย็น ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ผมปฏิบัติมา
ผมจะรับประทานน้อยมากครับโดยเฉพาะข้าวผมจะ 17 ปี หลังจากการที่ผมได้ผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ
รับประทานแค่ขอบจานด้านในเท่านัน้ นอกเหนือจาก ท่ า นผู้ อ่ า นจะเห็ น ด้ ว ยไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ผมไม่ ถื อ สรณะ
กับข้าว ผมจะรับประทานผักและผลไม้ เสร็จแล้ว
เพราะผมถือปฏิบตั มิ า 17 ปี แล้ว และก็เหลืออีก 23 ปี
พักผ่อนเล็กน้อยประมาณ 2-3 ทุ่ม ผมจะเข้านอน ผมก็จะมีอายุครบ 100 ปี คงจะเปลี่ยนแปลงอะไร

ผมจะตื่นในตอนกลางคืน 2 ครั้ง เพื่อลุกปัสสาวะ ไม่ได้มาก เห็นมีอยู่อย่างเดียว คือ การปรับ-เปลี่ยน
จากนั้นก็ถึงรุ่งเช้าครับ ยาเท่านั้น และที่สำคัญก็คือคงจะตอบคำถามของคุณ
เล่ามาเสียยืดยาว ในเรือ่ งการปฏิบตั ติ นตลอด หมอที่ถามผมว่า อยู่มาได้อย่างไรตั้ง 17 ปี โดยไม่มี
เวลา 17 ปี ที่หลังจากผมผ่าตัดบายพาสหัวใจ และ อะไร หลั ง จากที่ ผ มทำบายพาสหั ว ใจมาแล้ ว ผมก็
เกษียณอายุพอจะสรุปได้ว่า ศึกษาเกี่ยวกับโรคหัวใจพอสมควร ตอนแรกผมคิดว่า
1. สุขภาพจิตที่ดี ผมไม่มีความเครียด ผมเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ตัน หรือหัวใจวาย
2. เที่ ย วเตร่ พั ก ผ่ อ นและออกงานสั ง คม เฉียบพลัน แต่พออ่านหนังสือและศึกษา ผมพอสรุป
เพื่อจะดูสังคมใหม่ๆ ภายนอกบ้าน ตามโอกาสอัน ตนเองได้ว่า ผมเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตันที่รุนแรง
ควรและกำลังเงินที่มีอยู่ ต้องทำการผ่าตัดทำบายพาสทันทีเมื่อ 17 ปีที่แล้ว
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผมไม่ปิดบังตลอดครับท่านผู้อ่าน ผมเป็นนายทหาร
4. รับประทานอาหารทุกชนิดตามสมควร ค่ อ นข้ า งเก่ า และแก่ แ ล้ ว ผมอายุ 77 ปี และชื่ อ

ถ้าอะไรเป็นอาหารที่จะก่อให้เกิดโรคก็ลดน้อยลง พลอากาศเอก ปราโมทย์ วีรุตมเสน ครับผม
สวัสดีครับ


54 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

ดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยการปฏิเสธปัจจัยเสี่ยง
กับ นิคม ไวยรัชพานิช

“ตอนนั้นผมเจ็บใจมาก เจ็บใจจนอยากตาย...ร้องขอให้หมอฆ่าผมเถอะ” คำบอกเล่าพร้อมเอากำปั้น


ทุบที่หน้าอกซ้ายด้วยใบหน้าที่เปื้อนไปด้วยรอยยิ้มของนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสมาชิกคนที่ 1 และ
ค่อยๆ รำลึกถึงเสี้ยววินาทีแห่งความเป็นความตายในเวลานั้นผ่านมาร่วม 20 ปีแล้ว แต่ยังจดจำรสชาติของ
ความเจ็บปวดใจในเวลานั้นได้อย่างแจ่มชัดไม่มีวันลืมพลางเล่าต่อว่า
“ผมเข้าใจเลยว่าที่คนโบราณบอกว่าเจ็บใจจนอยากตายนั้นมันเป็นอย่างไร อาการเจ็บในเวลานั้นมัน
ทรมานมาก ความเจ็บปวดไม่รู้มาจากไหน ตอนที่หัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงมันเจ็บปวดมาก เจ็บใจมาก

ถึงขั้นมีความรู้สึกว่าต้องตาย..ต้องตายให้ได้เพื่อหนีจากความทรมานนี้ให้ได้”
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 55

คุณนิคม เป็นอีกคนหนึ่งที่เป็นโรคหัวใจตั้ง 5-6 แก้ว และตัง้ แต่พาชีวติ ก้าวเข้าสูก่ ารทำงานก็ขาด


แต่อายุยังไม่มาก ความเจ็บป่วยส่อเค้าเมื่ออายุเริ่ม การออกกำลังกาย ทิ้งการออกกำลังกายไปเลยทั้งๆ
37 ปี สัญญาณเตือนภัยในขณะนั้นคือมักจะเหนื่อย ที่ก่อนหน้านั้นก็เป็นนักกีฬาเก่า เล่นกีฬาทุกประเภท
ง่าย เดินขึ้นที่สูงไม่ค่อยได้ เจ็บหน้าอกจนต้องใช้มือ และภาระในการทำงานมีมากขึ้นก็พลอยทำให้นอน
นวดเมื่อความเจ็บมาเยือน และเริ่มทุบหน้าอกแรงขึ้น น้อยลง ในแต่ละวันนอนไม่เกิน 5-6 ชั่วโมง
เพื่อผ่อนคลายความเจ็บ ในช่วงบ่ายของทุกวันมักมี ชีวิตที่สะสมปัจจัยเสี่ยงในการทำร้ายหัวใจ
อาการแน่นจุกเสียดท้องจนต้องกินยาธาตุน้ำแดงช่วย มายาวนาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงาน
ลดอาการจุกเสียด แต่มันไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย ของหัวใจเมื่ออายุ 39 ปี ก็เกิดอาการของโรคหัวใจ
แม้จะมีอาการเตือนภัยเฉกนี้แต่คุณนิคมก็ เริ่มรุนแรงมากขึ้น กระทั่งเกิดอาการ Heart Attack
ยังมุ่งมั่นโหมทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะในสมัยนั้น จนถึงขั้นเกือบเอาชีวิตไม่รอด “ผมไปถึงโรงพยาบาล
เป็นรองปลัดกรุงเทพมหานคร มีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปรับ ในระยะเวลาไม่เกิน 5 นาทีเมื่อเกิดอาการ คุณหมอก็
การทำงานของกรุงเทพฯ ให้มีความคิดเชิงวิสัยทัศน์ ช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทำให้ผมมีชีวิตที่รอดจากความ
มากขึ้น นำเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ ตายในเวลานั้นมาได้”
เลือกตั้งทุกระดับของประเทศและนำเข้ามาใช้ในการ
บริหารงานของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะงานทะเบียนราษฎร์
ยิ่งหักโหมกับงานนี้เท่าไรก็ยิ่งเครียดมาก เวลาเครียด ชีวิตที่ก้าวข้ามผ่านความตาย
ก็มักจะสูบบุหรี่ เท่ากับไปกระตุ้นให้หัวใจแสดงความ ปฏิเสธทุกปัจจัยเสี่ยงให้ได้
อ่อนแอมากขึ้น หลังจากเกิดอาการ Heart Attack จนรอด
การใช้ชวี ติ แต่เดิมของคุณนิคมทำให้คณ
ุ นิคม มาได้จากการช่วยชีวิตของหมอ ก็ทำใจยอมรับไม่ได้ที่
เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตนเองกลายมาเป็นโรค ตนเองเป็นโรคหัวใจ ย้อนรำลึกถึงความทรงจำทีเ่ จ็บปวด
หัวใจในปัจจุบัน โดยบอกเล่าว่านิสัยส่วนตัวนั้นเป็น ในเวลานั้นที่เจ็บจนอยากให้หมอฆ่าให้ตาย แต่เสี้ยว
คนใจร้อนพูดเร็ว ตัดสินใจเร็ว จึงมักมีความเครียด วินาทีแห่งความเป็นความตายนัน้ ก็แว็บเห็นหน้าลูก ก็
บ่ อ ยครั้ ง และชอบพึ่ ง พาบุ ห รี่ ร ะบายความเครี ย ด บอกกับตนเองว่าลูกยังเล็กนักยังตายไม่ได้ ขณะเดียวกัน
สูบบุหรี่วันละ 1 ซองมาตั้งแต่ยังเรียนมหาวิทยาลัย ความรูส้ กึ ส่วนตัวก็ทอ้ แท้หมดหวัง มีความรูส้ กึ ว่าชีวติ
ชอบดื่มกาแฟดำไม่ใส่น้ำตาลแทนการดื่มน้ำวันละ
หมดสิ้นทุกอย่าง เพราะชีวิตการงานในเวลานั้นก็ถือ

56 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ว่ารุ่งเรืองกำลังไปได้สวย แต่เมื่อต้องเผชิญกับความ ทีท่ ำอยูไ่ ปทำงานทีเ่ กีย่ วข้องใกล้ชดิ กับแพทย์พยาบาล


เจ็บป่วยที่กระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงเช่นนี้ก็เกิด เพือ่ ดูแลพักฟืน้ สุขภาพไปพร้อมด้วย ใช้ระยะเวลาราว

ความท้อแท้ความเศร้าคิดว่าชีวติ หมดสิน้ ทุกสิง่ ทุกอย่าง 5 ปี ร่างกายแข็งแรงฟื้นตัวได้เร็วมาก และเรียนรู้วิธี
ความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็ค่อยๆ หาอะไรให้ตัวเองทำเพื่อ การทำงานแบบผ่อนหนักผ่อนเบา
ลดความฟุ้งซ่าน เช่น การปลูกต้นไม้ เลี้ยงปลา เพื่อ จากประสบการณ์ ที่ ต นเองเคยยื้ อ ยุ ด กั บ
ช่วยให้จิตนิ่ง เป็นการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความตายมาแล้ว ตั้งแต่อายุ 39 ปี ที่เผชิญกับโรค
ในชีวิตประจำวันของตนเอง ใช้เวลาหลายเดือนแต่ไม่ หัวใจ จนล่วงเข้าวัย 61 ปี ประสบการณ์มากมายใน
ถึงปี ก็หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหยุดปัจจัยเสี่ยง ฐานะคนเป็นโรคหัวใจ ไม่เคยปล่อยให้สูญเปล่า ได้นำ
ทั้งหมด โดยเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เลิกเที่ยวเตร่ ไปช่วยเหลือให้คำแนะนำคนเป็นโรคหัวใจมากมาย
เลิกดื่มกาแฟ ไม่นอนดึกและพักผ่อนให้เพียงพอ หัน ได้ชว่ ยเหลือคนทีร่ จู้ กั และไม่รจู้ กั เป็นประสบการณ์ตรง
ไปรับประทานอาหารมังสวิรัติ เลิกเครียด โดยการฝึก ที่เขาเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ต่อชีวิตของตนเองได้
จิตใจตนเองไม่ให้เกิดความเครียด รูจ้ กั ควบคุมอารมณ์ เพียงแต่มีข้อแม้ต้องเอาชนะใจตนเองให้ได้ เลิกและ
ได้ดีขึ้น และหันมาออกกำลังกาย ลุกขึ้นมาวิ่งตั้งแต่ตี
ปฏิเสธสิ่งที่เป็นความชอบทั้งหลายที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
3 จนกระทั่ง 6 โมงเช้า พระออกบิณฑบาตก็ใส่บาตร ให้ได้นั่นเอง “มีหลายคนที่เป็นโรคหัวใจถึงขั้นต้อง
ต่อ สิ่งเหล่านี้กว่าจะทำได้คือต้องเอาชนะใจตนเองให้ ผ่ า ตั ด บายพาสมาแล้ ว แต่ ไ ม่ เ คยปรั บ เปลี่ ย น
ได้จึงจะสำเร็จ พฤติกรรมตัวเอง ไม่ถึง 10 ปีก็ตาย ตราบใดที่คุณไม่
นอกจากนี้ยังปฏิเสธไอทีและเทคโนโลยีทุก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถึงจะทำบอลลูนทำบายพาส
ชนิด ไม่ดูโทรทัศน์อาจมีบ้างแต่เป็นข่าวกีฬาเท่านั้น มาแล้ว แต่ไม่ได้หยุดปัจจัยเสี่ยงกับโรคและชีวิต ก็
ในส่วนของหน้าที่การงานก็ขอย้ายตัวเองจากงานเดิม ไม่มีโอกาสหาย” นี่ก็เป็นอีกมุมหนึ่งของคนที่ไม่อาจ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 57

ปฏิเสธปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่คุณนิคมพบและจบ เป็นโรคหัวใจ แต่ไม่มโี รคเบาหวานหรือความดันโลหิต



ชีวิตเร็วขึ้น สูงแทรก และไม่เคยผ่าตัด เนื่องด้วย ศ.นพ.ศุภชัย
ความรู้ จ ากประสบการณ์ ชี วิ ต ที่ เ ฉี ย ดฉิ ว ไชยธีระพันธ์ หมอที่ทำการรักษาแนะนำให้ลองปรับ
ความตายของคุณนิคมได้นำไปถ่ายทอดและให้ความ เปลีย่ นพฤติกรรม หันมาออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร
ช่วยเหลือผู้ป่วยอาการโรคหัวใจให้รอดตายมาแล้ว แทน
หลายราย บ้ า งก็ พ บเจอประสบการณ์ แ ปลกๆ

คุณนิคมเล่าถึงประสบการณ์ขำๆ ครั้งหนึ่งของตนเอง อาหารเพื่อสุขภาพ
ว่า “วันหนึง่ ออกกำลังกายอยู่ ก็เห็นคนล้มลงข้างหน้า
สำหรับปัจจัยในเรื่องอาหารนั้น คุณนิคมเล่า
ก็รีบเข้าไปช่วยเหลือเพราะนึกว่าเขาเป็นโรคหัวใจ แต่ ถึงเรื่องนี้ว่า “โดยส่วนตัวผมนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่
พอเข้ า ไปพยุงตัว เขาขึ้นมาถึงได้รู้ว่า คนนี้ เขาล้ ม ลง เรียบง่าย ชอบทานอาหารทีเ่ ป็นอาหารไทย ชอบทาน
เพราะเมา” เล่าจบก็หวั เราะเสียงดัง นีค่ อื ประสบการณ์ ผัก เรื่องอาหารจึงไม่มีบทบาทสำคัญหรือเป็นปัจจัย
ที่เรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของผู้ป่วยโรคหัวใจ เสี่ยงต่อสุขภาพของผม สังเกตได้ว่าผมมีน้ำหนักตัว
แม้แต่ตวั คุณนิคมเองก็ยอมรับว่าในระยะเวลา ได้สัดส่วนกับส่วนสูง ไม่เป็นโรคอ้วน ไม่ลงพุง (ใน
ทีผ่ า่ นมานัน้ ก็เผลอใช้ชวี ติ โดยประมาทไปบ้างด้วยคิดว่า ขณะนัน้ ) และเท่าทีต่ รวจเลือดทุกครัง้ ระดับของไขมัน

หายจากโรคหัวใจแล้ว แต่เมื่อย่างเข้าวัย 61 ปี ก็เริ่ม ก็ปกติ ผมไม่คิดว่าอาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเป็น


มีอาการเดิมๆ กลับมาอีกเมือ่ ไปตรวจเช็คร่างกายก็พบ โรคหัวใจของผม มันน่าจะมาจากพฤติกรรมอื่นๆ”
ว่าเส้นเลือดตีบไปแล้ว 3 เส้น ในเวลานีก้ ร็ กั ษาอยู่ และ คุณนิคมมีมุมมองในเรื่องอาหารกับสุขภาพ
เริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายมากขึ้น ว่า “ทุกวันนี้คนหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ
คุณนิคมนับเป็นบุคคลผู้โชคดีคนหนึ่งที่ป่วย มากขึ้น หันมากินผักผลไม้กันมาก แต่ว่าผักทุกวันนี้ก็
58 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ปนเปือ้ นไปด้วยสารเคมี เราก็ตอ้ งหาทางเลีย่ งอาจหันไป ชีวิตการทำงานก็ไม่ยอมไปออกกำลังกายอีก โดยอ้าง


กินผักต้ม แต่ผักต้มรสชาติไม่อร่อย ผมชอบกินผักสด ว่าไม่มีเวลา ต้องทำงานหาเงิน ทำให้ร่างกายอยู่ไม่ได้
ก็ต้องล้างผักให้สะอาด สำหรับทางเลือกของผมคือ แต่ที่ยังอยู่ได้ร่างกายแข็งแรงเพราะอายุยังน้อยอยู่
ปลูกผักใส่กระถาง และลงแปลงในบ้านไว้เก็บกินเลย” พออายุมากขึ้นหน่อยก็จะเกิดโรคมากมายตามมา
3. เรื่องเหล้า บุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
คำเตือนจากประสบการณ์ พฤติกรรมการพักผ่อนหย่อนใจหรือสันทนาการแบบ
ของผู้ป่วยโรคหัวใจ เที่ยวเตร่ นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ และเอาวัฒน-
คุณนิคมมองเห็นตัวเองที่เป็นโรคหัวใจในวัย ธรรมการทานอาหารเช้าแบบฝรั่งมาใช้ คือกินกาแฟ
ทีอ่ ายุยงั ไม่มากนัก และยังได้กล่าวถึงเรือ่ งนีว้ า่ ทุกวันนี้ แทนข้าว การดื่มกาแฟควรดื่มแต่พอดี อย่าดื่มมากไม่
คนเป็นโรคหัวใจนั้นจะอายุน้อยลงเรื่อยๆ อายุราว เช่นนั้นก็เป็นอันตราย
20-30 ปีก็พบว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว หมายความว่ามัน คำบอกเล่ า จากประสบการณ์ ที่ คุ ณ นิ ค ม

มีปัจจัยเสี่ยงหรือพฤติกรรมในเรื่องความเป็นอยู่เป็น ได้ถ่ายทอดออกมานั้น ก็หวังจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วย
สาเหตุให้เกิดหรือเร่งให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้น ปัจจัย โรคหัวใจทั้งหลายได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัว
เสี่ยงเหล่านี้ คือ ทุกท่านเอง เพื่อจะได้มีชีวิตที่ยืนยาวอย่างสงบสุข
1. เรามีพฤติกรรมในการทานอาหารทีเ่ ปลีย่ น
ไป เช่น ไม่เป็นเวลา ทานอาหารทีม่ นั ทานอาหารจัง๊ ค์- ตัวคุณนิคมเองก็ปรารถนาทีจ่ ะดำรงชีวติ เพือ่
ฟู้ดมากขึ้น ทานผักน้อยลง จึงเป็นโรคอ้วนกันมาก ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป วันนี้จึงสนุกกับ
2. สังคมบ้านเราในเรื่องการพัฒนาเยาวชน การทำงานในรัฐสภาในฐานะวุฒิสมาชิก ความผูกพัน
ขาดความใส่ใจ โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการ ในฐานะที่เคยเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ยัง
ออกกำลั ง กาย คนส่ ว นใหญ่ มั ก อ้ า งว่ า ไม่ มี ส ถานที่ อยากช่วยสร้างกรุงเทพฯ ให้มีความสวยงามร่มรื่น
ออกกำลังกาย ไม่มีเวลา เพราะพวกเขาไปมุ่งเน้นใน จึ ง มี ส่ ว นร่ ว มกั บ การพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ข อง
เรื่องการแข่งขัน ในสมัยมัธยมก็ยังออกกำลังกายเล่น กรุงเทพมหานคร สร้างเสาตอม่อให้เป็นสวนแนวตั้ง
กีฬาบ้าง พอโตขึน้ สักหน่อยก็ละทิง้ การออกกำลังกาย สร้างสวนตามป้ายรถเมล์ ทำม่านหมอกน้ำ จนเกือบ
เอาแต่แบกเป้ใบใหญ่ไปเรียนกวดวิชา ทำให้เกิดการ
จะเป็นศิลปินสร้างสวนไปแล้ว
สร้างสมนิสัยที่ไม่ชอบออกกำลังกายขึ้น พอก้าวเข้าสู่
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 59

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

หัวใจมีให้พระพุทธศาสนาของ
สุทธิพร จิราธิวัฒน์
ผู้เฉียดฉิวความตายเพราะเชื่อในอานุภาพแห่งการทำบุญ
“เหมือนตายแล้วเกิดใหม่”

คุณสุทธิพร จิราธิวัฒน์ หนึ่งในเจ้าสัวเครือเซ็นทรัล ผู้ผ่านความยากลำบากในชีวิตด้วยความมานะ


บากบั่น
ชีวิตเฉียดความตายมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่เยาว์วัยและความโลดโผนในวัยคะนอง กระทั่งต้องเผชิญ
กับเพชฌฆาตเงียบอย่างโรคหัวใจจนต้องเข้ารับการผ่าตัดถึง 2 ครั้ง และท้ายสุดรอดชีวิตจากอาการลิ่มเลือด
อุดตันในสมอง ผลพวงจากความเจ็บป่วยในครั้งหลังสุดนี้ทำให้สมองเสียหายบางส่วน ความทรงจำในปัจจุบัน
บางส่วนหายไป แต่ความทรงจำในอดีตกลับแจ่มชัด แม้แต่คนใกล้ชิดยังออกปากว่าจำเรื่องในอดีตได้ดีกว่าเดิม
เสียอีก “ความทรงจำที่สูญหายไปก็พวกการสื่อสารการพูดภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และการเขียนหนังสือ

60 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

คุ ณ หมอแนะนำให้ หั ด เขี ย นหนั ง สื อ เพื่ อ ช่ ว ยฟื้ น ฟู และเครียด พักผ่อนน้อย กระทั่งในปี พ.ศ. 2541 ก็
ความทรงจำ แต่ไม่เอาแล้วอายุมากแล้วไม่หัดดีกว่า ตรวจพบเส้นเลือดหัวใจตีบอีก 4 เส้น ต้องเข้ารับการ
อย่างนี้ก็มีความสุขแล้ว ก็เพียงแต่หัดเขียนชื่อตัวเอง ผ่าตัดอีกครัง้ ในวัย 68 ปี “การผ่าตัดเปลีย่ นเส้นเลือด
ให้ได้เท่านั้นในเวลานี้” ครัง้ นีไ้ ปผ่าตัดทีโ่ รงพยาบาลศิรริ าช ใช้เวลาในการผ่าตัด
ถ้ า กล่ า วถึ ง ปั จ จั ย และสาเหตุ ที่ ท ำให้ เ กิ ด
ราว 4 ชัว่ โมง แต่ความรูส้ กึ ครัง้ นีแ้ ตกต่างจากครัง้ แรก
โรคหั ว ใจ โดยทั่ ว ไปนั้ น มั ก มาจากอาหาร อารมณ์ ไม่ มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า เราไปผ่ า ตั ด เลยเหมื อ นนอนหลั บ
ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการไม่ออก ธรรมดาแล้วตื่นขึ้นมา ต้องยอมรับว่าวิทยาการทาง

กำลังกายซึ่งคุณสุทธิพร ยอมรับว่าปัจจัยทั้งหมดนั้น การแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก ออกจากห้องผ่าตัด


น่าจะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจของเขาทั้งนั้น “โดย พักฟื้นอยู่โรงพยาบาล 5 วันก็กลับบ้านได้”
ส่วนตัวชอบกินอาหารมันๆ สมองหมู ขาหมูมาก ไม่รู้
ว่าการรับประทานอาหารพวกนี้จะกระทบต่อหัวใจได้ ตามใจปากเหตุก่อโรค
ออกกำลังกายก็ไม่ค่อยได้ออก ความเครียดค่อนข้าง หลั ง จากการผ่ า ตั ด หั ว ใจครั้ ง ที่ 2 อยู่ โรง-
เครียดบ่อยเพราะเราอยูก่ บั หน้าทีก่ ารงานทีต่ อ้ งแข่งขัน พยาบาล 5 วันก็กลับบ้านได้ ผิดกลับครั้งแรกที่ต้อง
ทางธุรกิจ และผมเป็นคนเชื่อมั่นในตนเองสูง ใจร้อน นอนพักฟืน้ ยาวนานนับเดือน คุณหมอชมว่าเป็นเพราะ
เข้มงวด จริงจังเด็ดขาดทุกเรื่องทั้งในเรื่องงานและ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทำให้การผ่าตัดได้ผลดี คง
เรื่องส่วนตัว และงานต้องดีที่สุด เป็นคนเครียดง่าย” เป็นเพราะหลังจากการผ่าตัดครั้งแรกก็ออกกำลังกาย
ผมมีอาการโรคหัวใจกำเริบเกิดขึ้นครั้งแรก อย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด ด้วยการเดินช้าๆ แกว่ง
ในปี พ.ศ. 2529 ขณะอายุ 56 ปี ไปผ่าตัดเส้นเลือด แขนเบาๆ ใช้เวลาไม่เกิน วันละ 30 นาที ไม่ให้รา่ งกาย
หัวใจตีบทีอ่ เมริกา “มีญาติเป็นหมอทีอ่ เมริกาก็รกั ษาตัว หักโหมเกินไป
ทีโ่ น้น หมอวางยาสลบผ่าตัดนานถึง 6 ชัว่ โมง จนใกล้ แต่ เ มื่ อ ต้ อ งมาเข้ า รั บ การผ่ า ตั ด ครั้ ง ที่ 2

ครบ 6 ชั่วโมงแล้วผมยังไม่ฟื้นคุณหมอบอกให้ญาติๆ คุณสุทธิพรก็ได้ทบทวนดูว่าเป็นเพราะอะไรตนเองถึง
ทำใจ พี่ชายผมก็โทรศัพท์มาสั่งเตรียมการ แต่ในนาที ได้ ผ่ า ตั ด อี ก ครั้ ง จึ ง พบว่ า สาเหตุ น่ า จะมาจากการ

สุดท้ายนั้นผมก็ฟื้นขึ้นมาท่ามกลางความดีใจของทุก รับประทานอาหารทีต่ ามใจปากมากเกินไป เพราะชอบ
คน” ในการผ่าตัดครั้งแรกต้องพักฟื้นร่างกายอยู่นาน ทานแต่ของทอดๆ มันๆ จนทำให้หลอดเลือดมีอาการ
นับเดือน ดูแลสุขภาพร่างกายตามทีห่ มอสัง่ แต่พอหาย ตีบและตัน และเกิดอาการสโตร๊ค หรือลิม่ เลือดอุดตัน

ก็เริม่ ชะล่าใจใช้ชวี ติ แบบไม่ควบคุมอาหาร ทำงานหนัก ในสมองจนต้องเข้ารับการรักษาและผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 61

อีกครัง้ ทีโ่ รงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมือ่ วันที่ 9 เมษายน ให้สึกเพราะคุณสุทธิพรยังมีภาระหน้าที่และกิจการ


พ.ศ. 2544 ทางโลกที่ต้องดูแลรับผิดชอบอีกมากมาย ที่สุดก็ได้
คุ ณ สุ ท ธิ พ รจึ ง ระมั ด ระวั ง เรื่ อ งอาหารการ

ลาสิกขาบทในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 รวม
กินมากขึ้นในปัจจุบัน อาหารมันๆ ทั้งหลายจะไม่
ระยะเวลาศึกษาพระธรรมได้ 1 พรรษา
รับประทาน และเน้นอาหารพวกผักมากขึ้น ทาน
ตลอดพรรษาที่ ไ ด้ ศึ ก ษาพระธรรม จึ ง
ไข่ขาวไม่ทานไข่แดง เป็นต้น ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องส่งเสริม
หลายครั้งหลายคราที่ชีวิตรอดพ้นจากวิกฤติ พระพุทธศาสนาให้มากขึ้น จากนั้นก็จัดผ้าป่าสามัคคี
หนักๆ เหล่านั้นมาได้เหมือนตายแล้วเกิดใหม่และ
ทอดกฐิ น บริ จ าคเงิ น ช่ ว ยสร้ า งศาสนสถานและ

โชคดีทไี่ ม่เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตหลังการสโตร๊ค ศาสนวัตถุแก่วัดทั่วทุกภาคของประเทศไทยเสมอมิได้
คุณสุทธิพรเชื่อมั่นว่าเกิดจากอานิสงส์ผลบุญที่ตนเอง ขาด
ทำไว้เกื้อหนุนช่วยเหลือ การที่ ไ ด้ เ ป็ น ผู้ ใ ห้ แ ละอุ ป ถั ม ภ์ บ ำรุ ง พุ ท ธ-
ศาสนาสร้ า งความสุ ข ในหั ว ใจแก่ คุ ณ สุ ท ธิ พ ร และ

สะสมบุญช่วยเกื้อหนุนให้รอดชีวิต เชื่อมั่นว่าหลานฝาแฝดทั้ง 3 คนก็เกิดจากอานิสงส์
จากวิกฤติทั้งปวง ผลบุญที่ไปเป็นประธานหล่อพระประธาน 3 องค์ ที่
ชีวิตคุณสุทธิพร เป็นคนที่ทำอะไรแล้วมัก วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร จอมทอง กรุงเทพฯ
จริงจังเด็ดขาดไปทุกเรื่องทั้งชีวิตส่วนตัวและเรื่องงาน ครั้งนั้นได้ตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ลูกชายและสะใภ้

แม้กระทั่งการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาก็ทำ มีหลานไว้สืบสกุล ปรากฏว่าหลังจากนั้นก็ได้หลาน



อย่างจริงจังด้วยเช่นกัน คุณสุทธิพรเล่าว่าโดยส่วนตัวนัน้ ฝาแผด 3 คนเป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน ทุกวันนี้
ทำบุญมานานแล้วตัง้ แต่ยงั หนุม่ โดยเริม่ จากการทำบุญ หลานทั้ ง 3 คนเป็ น กำลั ง ใจอั น สำคั ญ ยิ่ ง สำหรั บ

เล็กๆ น้อยๆ มีน้อยก็ทำน้อย จากนั้นก็ค่อยๆ มากขึ้น คุณสุทธิพร


ตามกำลังทรัพย์ที่หาได้ ด้วยคุณความดีที่อุทิศชีวิตเพื่องานการกุศล
ครั้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2521 ได้ และงานสังคมต่างๆ ทัง้ คุณสุทธิพร และคุณเจียมจิตต์
บวชทดแทนคุณของพ่อเตียงที่วัดสระเกศ และไป ภริยา ตลอดจนคุณณรงค์ฤทธิ์ บุตรชายคนเดียว และ
จำวัดที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ก็เกิด คุณวันทนียผ์ เู้ ป็นสะใภ้ ต่างก็ได้รบั พระราชทานเครือ่ ง
ความศรัทธาอย่างซาบซึ้ง จึงตั้งใจว่าจะบวชไม่สึก แต่ ราชอิสริยาภรณ์ ชัน้ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ อันเป็นมงคล
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่เป็นองค์อุปัชฌาย์ ท่านบอก แก่สกุลสืบไป
62 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ทำอย่างไรให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี ต้องมีกากอาหารที่ต้องขับถ่ายออกมา ถ้าไม่ขับถ่ายก็


จากประสบการณ์ ที่ เ ฉี ย ดฉิ ว ความตายมา เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น ริดสีดวง
หลายครั้งอันเนื่องมาจากการดูแลสุขภาพได้ไม่ดีเท่า ทวาร
ทีค่ วร คุณสุทธิพรได้รวบรวมความรูจ้ ากประสบการณ์ 4. การออกกำลังกาย เป็นเรื่องจำเป็นมาก
ถ่ า ยทอดเป็ น งานเขี ย นในการแนะนำวิ ธี ป ฏิ บั ติ ต น ต่อร่างกาย ช่วยให้เลือดลมเดินได้ดี ทั้งยังเป็นการ
“ทำอย่างไรให้ชีวิตยืนยาวและสุขภาพดี” พบว่าการ ป้องกันโรคต่างๆ ได้ด้วย
มีชีวิตยืนยาวมีองค์ประกอบหลายเรื่อง ได้แก่
1. เรื่องของการกิน ต้องนึกถึงอาหารเป็น ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
สิ่ ง แรก อาหารที่ ม นุ ษ ย์ ค วรบริ โ ภคประกอบด้ ว ย 1. สามารถชะลอความชราได้ ทำให้มีอายุ
อาหารทั้ง 5 หมู่ คือโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ ยืนยาวได้นาน
วิตามิน ไขมัน 2. ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีพลังดีขึ้น มี
2. เรือ่ งการนอน เป็นเรือ่ งจำเป็นต่อร่างกาย ความว่องไว
มนุษย์ที่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอสม่ำเสมอ ช่วยลด 3. การทรงตั ว ดี มี ค วามกระฉั บ กระเฉง
ความตึงเครียดและประสาทได้ดี ช่วยให้ผิวพรรณ เพราะร่างกายมีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ผ่องใส จิตใจเบิกบาน นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และ 4. รูปร่างดีขนึ้ ไม่ทำให้อว้ นให้ผอม สามารถ
ต้องหลับให้สนิทเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนจริงๆ ควบคุมน้ำหนักตนเองได้
3. การขับถ่าย คนเราบริโภคอาหารแล้ว 5. ช่วยให้จิตใจดีขึ้น ไม่ซึมเศร้า เพราะการ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 63

ออกกำลงกายทีพ่ อดีพอสมควรจะทำให้มสี ารเอนโดรฟิน ออกกำลังกายสม่ำเสมอทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็ง


หลั่งออกมา แรง ปราศจากโรคได้
6. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ใน
5.การทำจิ ต เป็ น ความสั ม พั น ธ์ ส่ ว นหนึ่ ง
ผู้สูงอายุได้อย่างดี ทำให้มีกระดูกแข็งแรงกว่าผู้ที่ไม่ ระหว่างร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ที่ไม่สามารถแยก
ออกกำลังกาย จากกันได้ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย จะ
7. ระบบขับถ่ายดีขนึ้ รวมถึงระบบขับเหงือ่ ต้องมีกาย จิต อารมณ์เกี่ยวข้องกันเสมอ เวลาที่เรา
ไม่มีปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายทางกาย จิตเราก็พลอยไม่สบายไปด้วยอารมณ์
8. นอนหลับได้ดี เพราะการออกกำลังช่วย หงุดหงิด แต่ถา้ ร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เจ็บไข้
ให้ผู้ที่นอนหลับยากสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น จิตใจจะผ่องใส สามารถประกอบกิจการต่างๆ ได้อย่าง

9. พลังทางเพศดีขึ้น การออกกำลังกายที่ มีประสิทธิภาพ อารมณ์สุขุมเยือกเย็น มีความสนุก

พอดีช่วยให้มีฮอร์โมนเพศหลั่งออกมามากขึ้นทั้งหญิง สนาน ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส มีชีวิตยืนยาวไปด้วย


และชาย ดังนั้น มนุษย์นอกจากมีร่างกายแข็งแรง มี
10. ช่วยให้หวั ใจ ปอดและหลอดเลือดทำงาน ความเป็นอยูท่ ดี่ ี มีอาหารสมบูรณ์ มีการพักผ่อนเพียง
ได้ดีขึ้น เช่น การเต้นแอโรบิคและช่วยให้อาการโรค พอ ยังต้องมีสุขภาพจิตพร้อมด้วย เพราะสุขภาพจิต
หลายอย่างทุเลาได้ เช่น โรคความดันเลือดสูงหรือต่ำ คือความสามารถของบุคคลที่ปรับตัวเองให้มีความสุข
อาการปวดหลัง ปวดคอ แม้กระทัง่ ไขมันในเลือดลงได้ อยูร่ ว่ มกับสังคมและสิง่ แวดล้อมได้ดี มีสมั พันธภาพกับ

11. ประหยัดค่ารักษาพยาบาล เพราะการ ผู้อื่นได้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่าง


64 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

สุขสบายไม่วา่ จะอยูค่ นเดียวหรืออยูร่ ว่ มกับบุคคลอืน่ มี คุ ณ สุ ท ธิ พ ร ได้ ป ระมวลความรู้ เ หล่ า นี้ ม า


วุฒิทางอารมณ์ที่พร้อมจะสนองตอบเหตุการณ์ต่างๆ จากที่ต่างๆ และจากประสบการณ์ของตนเองในชีวิต
ได้ มนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในสังคมได้อย่าง ที่ผ่านมา ซึ่งได้คัดย่อบางส่วนมาเสนอเป็นวิทยาทาน
น่าพึงพอใจ ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ประกอบด้วยลักษณะ สำหรับการดำรงชีวิตแก่ผู้อื่นต่อไป
สำคัญ 3 อย่าง การเป็นผู้รู้จักให้ รู้จักการเสียสละ เฉกเดียว
1. เป็นผู้รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดี คือไม่ กั บ ที่ คุ ณ สุ ท ธิ พ รให้ ท รั พ ย์ ห รื อ บริ จ าคเพื่ อ อุ ป ถั ม ภ์
ตกเป็นทาสของอารมณ์ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นความกลัว พุทธศาสนานั้น ส่วนหนึ่งมาจากรากฐานการอบรม
ความโกรธ ความรัก ความอิจฉาริษยา หรือความ ของบิดามารดาตั้งแต่วัยเยาว์ สั่งสอนให้รู้จักการ
กังวลใดๆ ก็ตาม ใจกว้างพอที่จะยอมรับและเข้าใจ ทำงานหนักและรู้จักอดออมถนอมทรัพย์ที่หามาได้
ความรู้สึกของคนอื่น ยอมรับความขาดแคลนในสิ่ง ให้มีความรักความสามัคคีในระหว่างญาติพี่น้อง มี
ต่างๆ ของตนเอง มีความพอใจต่อความสุขสบายใน หลักการในการดำเนินชีวิตจากทรัพย์ที่หามาได้ คือ
ชี วิ ต ประจำวั น รู้ จั ก ประมาณความสามารถของ 1. ใช้ในการเลี้ยงชีพและครอบครัว
ตนเอง ยอมรั บความผิดหวังในชีวิตและแก้ ปั ญ หา 2. ใช้ในการประกอบอาชีพ
เหตุการณ์ตนเองได้ 3. ใช้ในการทำบุญกุศล
2. เป็นผู้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นดี คือมีความ 4. เก็บเป็นทุนของครอบครัว
สัมพันธ์กับเพื่อนฝูงดี ให้ความรักแก่ผู้อื่นได้ ยอมรับ 5. ใช้ในการพักผ่อนหย่อนอารมณ์
ความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ มีความรับผิดชอบต่อ
เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนัน้ ทรัพย์สว่ นหนึง่ จึงมักนำไปใช้สนับสนุน
3. เป็นผู้ที่มีความสามารถเผชิญกับความ อุปถัมภ์พุทธศาสนา และบำรุงการศึกษา คุณสุทธิพร
จริงของชีวิตได้ดี คือ มีความรับผิดชอบต่อปัญหา กล่ า วว่ า มี ค วามสุ ข ใจที่ ไ ด้ ท ดแทนคุ ณ แผ่ น ดิ น เกิ ด
หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นกับตนเอง สามารถปรับปรุงสิ่ง รวมถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้ทดแทนบุญคุณ
แวดล้ อ มให้ ดี ขึ้ น เสมอ สามารถปรั บ ตั ว ให้ เข้ า กั บ
ของพ่ อ แม่ ที่ ใ ห้ ก ำเนิ ด และเลี้ ย งดู ม าจนเติ บ ใหญ่

สิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ยอมรับสถานการณ์หรืออุดมคติ อีกทั้งสนับสนุนให้มีความสามารถในการทำงานทำให้
ใหม่ๆ ได้ มีความพยายามต่อกิจการงานและพอใจ มีหลักฐานมั่นคงในชีวิตและครอบครัวถึงทุกวันนี้
ยินดีต่อการกระทำนั้น พร้อมเผชิญปัญหาชีวิตและไม่
อยู่ในความประมาท
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 65

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

คำให้การของผู้ป่วยชายคนหนึ่ง
โดย เตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว

ประวัตผิ ปู้ ว่ ยเพศชาย อายุขณะเข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจบายพาส เนือ่ งจากเส้นเลือดหัวใจตีบ



4 เส้นประมาณ 52 ปี สูง 172 ซม. น้ำหนัก 72 กก. (กรุณาอย่านำเลข 2 ไปแทงหวยวิง่ ) รูต้ วั ว่าเป็นโรคหัวใจ

มาแล้วตั้งแต่เมื่อ 18 ปีก่อน แต่กลัวการถูกผ่าตัดและกลัวหมอยิ่งกว่ากลัวเมีย จึงหนีเตียงผ่าตัดหัวซุกหัวซุน
มาตลอดระยะเวลายาวนานเหล่านั้น
ขณะที่หนีหมอก็ยังรักชีวิตของตนเองอยู่และยังไม่อยากตาย จึงเที่ยวเสาะแสวงหาหมอที่อ้างว่า
สามารถรักษาโรคนี้ให้หายได้ เช่น หมอผี (อัญเชิญคนทรงมาช่วย)
หมอจีน (ต้มยาหม้อจากเมืองซัวเถากินสัปดาห์ละหม้อ หม้อละ 3 พันบาท เดือนละ 1 หมืน่ 2 พันบาท)
หมอแขก (ดื่มสมุนไพรหายากแพงระยับถ้วยเดียว ถ่ายท้องรวดเดียวเช้าจดเย็นไปเจ็ดวันเหมือนกัน
หน้าเขียวหน้าเหลืองต้องนุ่งแพมเพอรส์ติดก้นไว้ตลอดเวลา)
หมอนวด (ใช้มือทุบหน้าอกคนไข้ดังเหมือนคิงคองในหนัง บอกว่าเพื่อช่วยแคะให้เส้นเลือดที่ตีบหลุด
ออกมาจากก้อนหัวใจ) และ ฯลฯ อีกนับไม่ถ้วน เกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ก็ยังไม่หาย หมดเนื้อหมดตัวขนาด
เกือบต้องให้ลูกลาออกจากโรงเรียนมาช่วยหาบเต้าฮวยขาย
ผู้ ป่ ว ยเป็ น นั ก กี ฬ าฝี มื อ ดี เคยเป็ น แชมเปี้ ย นเทนนิ ส เยาวชนแห่ ง ประเทศไทยและเคยเป็ น ผู้ เ ล่ น

ทีมชาติอยูใ่ นทีมเดวิสคัพของไทย ฝึกฝนออกกำลังกายอย่างหนักมาตลอดทั้งที่แอบสูบบุหรี่และกินเหล้าอยู่เป็น


66 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

นิจตามแฟชั่นของชายหนุ่มในยุคที่เอลวิส เพรสลี่ย
์ อาหารไว้ อ ย่ า ให้ อ้ ว นและออกกำลั ง กายสม่ ำ เสมอ
เพิ่งเล่นหนังเป็นเรื่องแรกในชีวิต อย่างน้อยวันละ 45 นาทีทกุ วัน เพราะการดูแลเอาใจใส่
จนเมื่อเริ่มทำงานรับราชการหลังกลับจาก สุขภาพตัวเองเท่านั้นจึงจะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวต่อไป
ศึกษาในต่างประเทศ อายุประมาณ 30 ปีเศษ ก็หยุด ได้ คนอื่นช่วยไม่ได้ จะขอซื้อสุขภาพดีก็ไม่รู้ว่ามีใคร
การออกกำลังกายหนักๆ โดยเปลีย่ นเป็นเล่นกอล์ฟบ้าง ขายอยูท่ ไี่ หนบ้าง ตนต้องเป็นทีพ่ งึ่ แห่งตน โดยเฉพาะ

นานๆ ครั้ง อาการปวดแน่นหน้าอกและรู้สึกเหนื่อย ผูท้ เี่ คยผ่าหัวใจบายพาสมาแล้วเกิน 10 ปีขนึ้ ไปยิง่ ต้อง
แม้ยงั ไม่ได้ทำอะไรหนักหนาสาหัสจึงเกิดขึน้ โดยตลอด ทำตัวเป็นเด็กดีอยู่ในโอวาทหมอให้มากที่สุด
ห่างบ้างถี่บ้างแล้วแต่ว่าจะมีผู้หญิง-เอ๊ย-ใครมาทำให้ เพราะเส้นเลือดดำจากดุ้นขาที่หมอแซะมา
ตื่นเต้นได้มากน้อยแค่ไหน ต่อทำเป็นทางเบี่ยงให้นั้นคุณภาพมันสู้ของแท้ดั้งเดิม
วันหนึ่งขณะที่ไปกินข้าวกลางวันกับเพื่อนๆ ไม่ได้ มีแต่จะตีบตันและเปื่อยยุ่ยลงไปอย่างรวดเร็ว
ช่วงนั้นแค่เคี้ยวข้าวก็เหนื่อยแล้ว พอลุกขึ้นยืนถึงกับ ทุกวัน จึงไม่ควรตัง้ ตนอยูใ่ นความประมาทเป็นอันขาด
เดินไม่ไหวเหน็ดเหนื่อยราวจะขาดใจ เพื่อนจับใส่รถ สรุป ประวัติผู้ป่วยรายนี้นำมาเปิดเผยไว้พอ
ส่งโรงพยาบาลทันที จะห้ามก็ไม่ทันเพราะมัวแต่กุม เป็นสังเขป เพราะไม่งั้นหนังสือที่กำลังอ่านอยู่นี้จะ

หน้าอกนวดเฟ้นตัวเองอยู่เป็นพัลวัน ปิดเล่มไม่ทันเนื่องจากส่งต้นฉบับล่าช้ากว่าผู้เขียน
ถึงโรงพยาบาลคุณหมอหนุ่มรูปหล่อหน้าตา ท่านอื่นทั้งหมด หากประสงค์จะอ่านเพิ่มเติมอย่าง
คล้ายอาจารย์นธิ สิ งั่ แอดมิตด้วยความชำนาญ วันรุง่ ขึน้ ละเอียดพิสดาร ขอให้ไปทีร่ า้ นขายหนังสือแล้วซือ้ หรือ
สวนหัวใจและวันต่อมาจับขึ้นเตียงผ่าตัดบายพาสเป็น เช่าหนังสือชือ่ “คำให้การของคนถูกผ่าหัวใจบายพาส”
กรณีเร่งด่วน หมดปัญญาที่จะหาทางหลบหนีได้ทัน มาอ่านดูเถิด พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง
พักฟืน้ ในโรงพยาบาลหลายสัปดาห์ ระหว่างนัน้
เป็นครั้งที่ 9 เข้าไปแล้วจะบอกให้ อ่านไปหัวเราะไป
มีน้ำท่วมปอดเล็กๆ ถูกเจาะออกพอไม่ให้เหงาก่อน รู้วิธีหลีกเลี่ยงโรคหัวใจแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อที่
กลับบ้านและไปทำงานได้ตามเดิม แต่ทไี่ ม่เหมือนเดิม จะได้ไม่ต้องนอนร้องไห้โฮตีอกชกหัวตัวเองอยู่บนรถ
คือการประกาศเป็นศัตรูกับเหล้า บุหรี่ ข้าวขาหมู ตอนถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัด...
และตือฮวนของโปรดนับแต่บัดนั้นมา
ปัจจุบัน ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดหัวใจมาแล้ว
เป็นเวลาประมาณ 13 ปี แพทย์ที่คอยตามเอาตัวไป
ดูแลด้วยความเมตตาและห่วงใยบอกว่าต้องควบคุม
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 67

หัวใจห้อง 1 : เปิดอก...เมื่อหัวใจป่วย

หลังฟื้นคืนชีพ สุวิทย์ เฉยสะอาด



รู้สึกหรือไม่ในการกู้ชีพฟื้นชีวิต
เหตุเกิดวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 งานวิง่ มินมิ าราธอนกรุงเทพ เป็นวันทีต่ อ้ งพึง่ พาหน่วย

กูช้ พี และเห็นความสำคัญอย่างยิง่ ถ้าไม่มบี คุ ลากรทีเ่ ชีย่ วชาญชำนาญในวันนัน้ ขอขอบคุณหน่วยกูช้ พี และคณะ
ตลอดจนบริการเอื้ออาทร โดยเฉพาะคณะแพทย์โรคหัวใจที่ได้ทำบอลลูนเส้นเลือดหัวใจ 2 เส้น ทำให้หายใจ
สะดวกสบายขึ้นไม่เหนื่อย รู้สึกเหมือนไม่เป็นอะไรเลย กระผมจะไม่มีโอกาสได้รับรู้มาถึงวันนี้ ความรู้สึกเป็น
หนีช้ วี ติ กับทีมงานช่วยชีวติ ทุกๆ คน กระผมเคยพูดเสมอว่าพ่อแม่ให้ชวี ติ ได้สนิ้ สุดไปแล้ว แต่มผี ใู้ จบุญได้ตอ่ ชีวติ

ให้กระผมกลับมาทำประโยชน์ ต่อครอบครัว ต่อสังคม สืบต่อไป ซึง่ ทางครอบครัวต่างก็มคี วามซาบซึง้ ใจอย่างมาก


ที่ได้ผู้นำครอบครัวกลับมาสู่ความอบอุ่นอีกครั้ง โดยมีสภาพสมบูรณ์ทุกประการ เพราะการช่วยกู้ชีวิตอย่างทัน
ท่วงทีแต่ละวินาทีมคี ณ ุ ค่า กระผมได้รบั ข้อมูลในนาทีวกิ ฤตจากคุณหมอ นำมาร้อยเรียงต่อเป็นเรือ่ งราวเหตุการณ์
ผมอยากให้มีหน่วยกู้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพอย่างนี้มากๆ หลายคนต้องจากไปด้วยโรคนี้เพราะไม่ได้โอกาสดีๆ
อย่างที่กระผมได้รับ
68 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

คิดและปฏิบัติตัวอย่างไรในชีวิตเบื้องหน้า แนะนำอย่างนี้ ถ้าเราใส่ใจจริงจัง เชื่อว่าต้องสุขภาพดี


ไม่เจ็บป่วยแน่นอน
กระผมได้คิดทบทวนอยู่นานเหตุใดจึงเกิด
สภาพการณ์เช่นนี้ ทั้งๆ ที่ได้พยายามศึกษาและดูแล อยากจะฝากข้อคิดอะไรบ้าง
สุขภาพอย่างจริงจัง ผมได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมฟื้นฟู ไว้ให้กับชาวไทยโดยทั่วไป
โรคหัวใจที่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ทำให้ได้ทราบการ
ปฏิบัติที่ถูกต้องมากขึ้นและผมก็นำมาปฏิบัติอย่าง คนเราเกิดมาก็เป็นไปตามวัฏจักรของชีวิต
เคร่งครัด ซึ่งได้แก่ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงหลายคนรวมถึงครอบครัวด้วยที่
- การออกกำลังกาย เป็นประจำทุกเช้า หรือ
วัฏจักรข้ามขั้นเจ็บป่วยและเสียชีวิตในช่วงวัยอันควร
3 วันต่อสัปดาห์ ครัง้ ละ 30 นาที เพือ่ เป็นการกระตุน้ ดังนั้นความไม่แน่นอนในชีวิตเกิดขึ้นได้เสมอ อย่า
การไหลเวียนของเลือด เพิม่ ประสิทธิภาพของกล้ามเนือ้ ประมาท สิ่งที่อยากจะฝากให้คิดและปฏิบัติในสิ่งที่

หัวใจ และเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ได้เทคนิค ความรู้ ดี ง าม สร้ า งบุ ญ กุ ศ ล อุ ทิ ศ ตน ด้ ว ยจิ ต สาธารณะ

จากการฟืน้ ฟูโรคหัวใจ ซึง่ มีกจิ กรรมการออกกำลังกาย ตั้งตนทำตัวเป็นคนดีของสังคม อย่างกระผมมีหน้าที่
ร่วมกันของผู้ป่วยโรคหัวใจสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวัน อบรมสั่งสอนลูกศิษย์มีเวลามีโอกาสได้เชิญชวนให้

พฤหัสบดีจนครบโครงการ 6 ครั้ง พร้อมใบประกาศ ลูกศิษย์รว่ มเป็นอาสาสมัครจัดหาบริจาคโลหิตให้กาชาด
เป็นกำลังใจ ทั้งนี้ ขอขอบคุณโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ที่กระผม
- การควบคุมอาหาร การรับประทานอาหาร ทำงานอยู่ได้ให้ความเมตตาเอาใจใส่ห่วงใยผมเสมอ
ให้พอเหมาะสม และหลีกเลี่ยงอาหารไขมันกับสาร มา ทุกวันนี้กระผมตั้งสติคิดอยู่เสมอ ชีวิตที่ได้กลับมา
ปรุงแต่งอาหาร ซึ่งได้ความรู้ทางโภชนาการ ใหม่กับอายุ 54 ปี ได้ตั้งปณิธานเหมือนสัญญาใจของ
- การเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมพิ เ ศษแลกเปลี่ ย น ตนเอง นอกจากการดูแลตนเองให้ดีแล้ว ด้วยความ
ประสบการณ์ โดยคำแนะนำจากทีมสุขภาพโรคหัวใจ ปรารถนาไม่อยากให้ใครเป็นเช่นเดียวกับกระผม มี
- การใช้ยารักษาตามแพทย์สั่ง เวลาให้ กั บ จิ ต อาสาเพื่ อ ทดแทนบุ ญ คุ ณ ของเหล่ า

- การรักษาสุขภาพจิตให้สดชื่นแจ่มใส ไม่ ผู้ใจบุญที่ต่อชีวิตให้ รู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่ามหาศาล จะ
เครียดสะสม ได้อยู่ต่อยาวนานแค่ไหน ก็อยู่ที่การกระทำ และบุญ
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติตัวอย่างที่คุณหมอ กรรมของตนเอง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 69

หัวใจห้อง 2 :
เปิดใจ...ค้นหาโรค
70 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ...ค้นหาโรค

หัวใจของเรา
นาวาอากาศเอกนายแพทย์ธราธร รัตนเนนย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
กระทรวงกลาโหม

มนุษย์เราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและ หัวใจจึงทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
กัน ไม่มีใครอยู่คนเดียวได้ ร่างกายมนุษย์ก็เช่นกัน งานหนักก็ไม่เคยเกียจคร้าน ไม่เคยเกี่ยงว่าต้องทำ
ต้องประกอบด้วยอวัยวะมากมายทีต่ อ้ งทำงานร่วมกัน เพือ่ ส่วนรวม ถ้าหัวใจหยุดเต้น สมองจะขาดออกซิเจน
หัวใจเป็นอวัยวะทีส่ ำคัญเพราะเป็นอวัยวะทีต่ อ้ งทำงาน ทำให้สมองตาย ไตจะขาดออกซิเจนไตก็จะวาย แม้
ก่อนอวั ย วะอื่ น ๆ ในร่างกายเพื่อส่งออกซิ เจนและ เพียงแค่ความดันโลหิตตกก็ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้
อาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ซึ่งจะทำให้อวัยวะที่เหลือ แล้ว หัวใจมีการพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์เรื่อยมา จนถึง
พัฒนาได้เสร็จสมบูรณ์ หัวใจจึงจะต้องเต้นเป็นจังหวะ อายุยี่สิบปีโดยประมาณ หัวใจจึงจะมีรูปร่างลักษณะ
อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุเพียงแค่แปด คงที่ เมื่ อ หั ว ใจโตเต็ ม ที่ จ ะมี ข นาดเท่ า ดอกบั ว ตู ม

สัปดาห์ และหัวใจยังต้องคอยประคับประคองอวัยวะ บัวหลวงครับไม่ใช่บัวธรรมดาอย่างที่เข้าใจ หัวใจเรา
ทุกอย่างในร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติไปตลอดชีวติ อยู่ใต้หน้าอกเบื้องซ้ายด้านล่างระหว่างกลางกระดูก
หัวใจมนุษย์ต้องทำงานหนักเพื่อเราตลอดเวลา ใน กลางหน้าอกและหัวนมซ้าย มีเยือ่ หุม้ หัวใจห่อหุม้ หัวใจ
แต่ละวันหัวใจต้องเต้นถึงกว่า 100,000 ครัง้ เพือ่ สูบฉีด อยู่ ซึ่งภายในมีน้ำหล่อลื่นประมาณ 50 cc. เพื่อลด
เลือด 7,600 ลิตร เราจึงต้องรักษ์หวั ใจของเรา เหตุใด การเสี ย ดสี ร ะหว่ า งเยื่ อ หุ้ ม หั ว ใจกั บ หั ว ใจในเวลาที่
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 71

หัวใจเต้น หัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อพิเศษที่เมื่อถูก เติมออกซิเจนให้เต็ม โดยใช้หลักการการทำงานแบบ


กระตุน้ จะบีบและคลายตัวได้เอง อะไรมากระตุน้ หัวใจ เดียวกันกับส่วนที่หนึ่ง แต่มีทิศทางการไหลของเลือด
หรือครับ คำตอบก็คือภายในกล้ามเนื้อหัวใจส่วนบน ต่างกันโดยไหลกลับเข้าสู่หัวใจและมีแรงผลักดันต่ำ
มีเซลล์พเิ ศษทีผ่ ลิตกระแสไฟฟ้าได้เองนะสิครับ ผลิตใน โดยเฉพาะเส้นเลือดดำจากส่วนล่างของร่างกาย จะ
อัตรา 60-100 ครัง้ ต่อนาทีในขณะพัก ทีพ่ เิ ศษกว่านัน้
ต้องไหลต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ธรรมชาติจึงสร้าง
ก็คือ เซลล์นี้จะให้จังหวะการผลิตไฟฟ้าเร็วขึ้นเมื่อเรา ให้เส้นเลือดดำมีลิ้นกั้นให้เลือดเดินทางเดียวกลับสู่
มีความต้องการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เช่น เวลาวิ่ง มีไข้ หัวใจโดยไม่ยอ้ นกลับ ลิน้ ของเส้นเลือดดำเป็นลักษณะ
สูง ฯลฯ และในทำนองเดียวกัน เซลล์นี้จะให้จังหวะ พิเศษชนิดหนึ่งของร่างกาย
การผลิตไฟฟ้าช้าลงเมือ่ เรามีความต้องการใช้ออกซิเจน นอกจากนี้ภายในหัวใจยังมีอวัยวะสำคัญที่
น้อยลง เช่น ขณะที่หลับ เป็นต้น เพื่อให้การทำงานมี แตกต่างจากอวัยวะอื่นคือ ลิ้นหัวใจซึ่งมีหน้าที่ทำให้
ประสิทธิภาพมากพอทีจ่ ะส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ เลือดที่ไหลไปไม่ไหลย้อนกลับ เสมือนสายน้ำ
หัวใจจึงแบ่งหน้าที่การทำงานเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ลิ้นหัวใจของเรามีลักษณะบางพลิ้วปิด-เปิด
จะต้องส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทิศทางเดียว แต่จะมีสายยึดลิ้นหัวใจซึ่งมีความแข็ง

ของร่างกาย ฉะนัน้ พระเอกของเราคือหัวใจห้องซ้ายล่าง แกร่งมาก เพื่อให้ปฏิบัติการส่งเลือดเป็นไปด้วยความ


ซึง่ จะต้องบึกบึนแข็งแรง บีบเลือดด้วยแรงดันทีแ่ รงถึง เรียบร้อย หัวใจจะต้องอาศัยการปิด-เปิดของลิน้ หัวใจ
120 มม. ปรอท ในแต่ละครั้ง ส่วนที่สองของหัวใจจะ เป็ น จั ง หวะเหมื อ นกั บ การปิ ด -เปิ ด ของประตูเขื่อน

ทำหน้าที่เป็นส่วนที่รับเลือดดำแล้วนำกลับไปรีไซเคิล กั้นน้ำ กั้นให้สายน้ำไหลไปในทิศทางเดียวเสมอใน
72 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

สภาวะปกติ เมื่อเลือดแดงได้รับการฟอกจากปอดจะ เท่ากับรากฝอยที่มีขนาดเล็กที่สุดซึ่งเปรียบเสมือน


ถูกส่งมาทีห่ วั ใจห้องบนซ้ายก่อน โดยขณะนัน้ ลิน้ ไมตรัล เส้นเลือดอาทิริโอลที่เลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในระดับเซลล์
ซึ่งเปรียบเสมือนประตูเขื่อนยังปิดอยู่ ซึ่งเป็นช่วงเวลา ส่วนเส้นเลือดดำซึ่งรับเลือดจากส่วนต่างๆ
เดียวกันกับทีห่ วั ใจกำลังบีบตัวบีบเลือดแดงผ่านลิน้ หัวใจ ของร่ า งกายที่ อ ยู่ ร ะดั บ เซลล์ เ ปรี ย บเสมื อ นสายน้ ำ
ใหญ่เอออติก ซึ่งเปรียบเสมือนวาล์ว หรือเมนท่อน้ำ ขนาดเล็กที่มีมากมายหลายแขนงแล้วมาเทรวมกัน

ใหญ่ที่กำลังเปิดอยู่ เมื่อลิ้นเอออติกปิด ลิ้นไมตรัลซึ่ง เป็นแม่นำ้ ซึง่ เปรียบเสมือนเส้นเลือดดำใหญ่ จนกลาย
เปรียบเสมือนประตูเขื่อนจะเปิดให้เลือดไหลสู่หัวใจ เป็นแม่น้ำสายใหญ่เทเข้าสู่หัวใจห้องขวาบน 2 ทาง
ห้องล่างซ้ายจนเต็ม ลิน้ ไมตรัลจะปิดอีกครัง้ เพือ่ รอหัวใจ ทางหนึง่ รับจากส่วนบนร่างกาย (Superior Vena Cava)

บีบตัว ต่อมาลิ้นเอออติกก็จะเปิดเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยง อีกทางหนึ่งรับจากส่วนล่างของร่างกาย (Inferior


ส่วนต่างๆของร่างกาย ผ่านเส้นเลือดแดงใหญ่ทเี่ รียกว่า Vena Cava) เมื่อแม่น้ำสายใหญ่ทั้งสองเทเข้าสู่หัวใจ
เอออต้า สรุปว่าลิ้นหัวใจทั้งสองจะทำงานตรงข้ามกัน ห้องบนขวาซึง่ เปรียบเสมือนเขือ่ น รอเวลาประตูเขือ่ น

คือ เมื่อลิ้นไมตรัลปิด ลิ้นเอออติกจะเปิด แต่ถ้าลิ้น ซึ่งก็คือลิ้นตรัยคัสปิด-เปิด เลือดจะเทลงสู่หัวใจห้อง
ไมตรัลเปิด ลิน้ เอออติกก็จะปิด เลือดจากเส้นเลือดแดง ล่างขวา รอเวลาลิ้นเพาโมนิกเปิด เลือดดำจะเทเข้า

ใหญ่เอออต้าจะมีทศิ ทางไหลออกจากหัวใจออกไปและ สู่ปอดเพื่อรับเลือดไปฟอกต่อไป การทำงานของลิ้น


จะแตกแขนงเป็นสาขาเหมือนรากต้นไม้ โดยเอออต้า หัวใจเพาโมนิกและตรัยคัสปิดจะทำงานตรงข้ามกัน
เปรียบเสมือนรากแก้วจะแตกสาขาไปเลี้ยงส่วนต่างๆ เหมือนกับลิ้นเอออติกกับลิ้นไมตรัลในหัวใจด้านซ้าย
ทีเ่ ปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆ นัน่ เอง จนรากจะมีขนาด ลิ้นหัวใจไมตรัลและตรัยคัสปิด ทำงานเปิดและปิด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 73

เกือบพร้อมกัน ส่วนลิ้นหัวใจเอออติกและเพาโมนิกก็ 7,600 ลิตร


ทำงานเปิดและปิดเกือบพร้อมกันเช่นเดียวกัน เมื่อ เมื่อความฉลาดของมนุษย์มิได้หยุดอยู่กับที่
ลิ้นหัวใจเปิดจะไม่มีเสียง แต่ลิ้นหัวใจปิดจะเกิดเสียง พวกเราจึงสามารถจับกระแสไฟฟ้าที่หัวใจสร้างขึ้นได้
ลิ้ น หั ว ใจไมตรั ล และตรั ย คั ส ปิ ด จะปิ ด ก่ อ นขณะที่ โดยวัดทิศทางของกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยเครื่องซึ่ง
หัวใจบีบตัว ทำให้เกิดเสียงหัวใจเสียงที่หนึ่ง ส่วนลิ้น จะทำการบันทึกกระแสไฟฟ้าทีว่ งิ่ ผ่านหัวใจทัง้ ห้องซ้าย
หัวใจเอออติกและเพาโมนิกจะปิดขณะที่หัวใจบีบตัว และขวาผ่านทางหน้าอก แขนขาของเรา ซึ่งจะได้
เสร็จเรียบร้อย จึงทำให้เกิดเสียงหัวใจเสียงที่สอง ภาพรวมที่เราเรียกว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG
ขณะทีพ่ วกเรารับการตรวจคุณหมอจะใช้หฟู งั EKG มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจ เช่น
ทีเ่ รียกกันว่าสเต็ทแนบทีห่ วั ใจเพือ่ ฟังเสียงหนึง่ เสียงสอง เมื่อมีอาการแน่นหน้าอกจากเส้นเลือดหัวใจอุดตัน
นัน่ เอง เสียงอืน่ ๆ ทีฟ่ งั ได้เพิม่ เติมจากเสียงปกติ ก็จะ เฉียบพลัน หรือเมื่อมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไฟฟ้า
ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ละเอียดขึ้น หัวใจจะผิดปกติ พืน้ ฐานทีไ่ ด้บรรยายจะเป็นประโยชน์
วงจรทีไ่ ด้บรรยายมาจะดำเนินอยูต่ ลอดเวลา ในการทำความเข้าใจต่อไปเมื่อถึงเรื่องเปิดใจ รู้โรค
ทัง้ สองส่วน ในหนึง่ นาทีหวั ใจจะสูบฉีดโลหิตประมาณ หัวใจ
ห้ า ลิ ต ร ในหนึ่ ง วั น หั ว ใจจะสู บ ฉี ด โลหิ ต ประมาณ
74 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ...ค้นหาโรค

สถานการณ์

“โรคหลอดเลือดหัวใจ”
ในประชากรไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา
รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดี

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสีย หลอดเลือดสมองประมาณ 4:11 ในขณะที่ในเอเชีย


ชีวติ ทีส่ ำคัญทีส่ ดุ อันหนึง่ ในประชากรไทย โรคดังกล่าว
เช่น จีนและญี่ปุ่นอัตราส่วนนี้จะกลับกัน เป็น 1:2
มีสาเหตุสำคัญมาจากการเสือ่ มของผนังหลอดเลือดแดง แทน
ทีเ่ รียกว่าภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โรคหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
จนทำให้หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตัน ที่เรียกว่า โรค ตี บ หรื อ อุ ด ตั น อย่ า งเฉี ย บพลั น ซึ่ ง ทำให้ เ กิ ด ภาวะ
หลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) และ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายเฉียบพลัน (Acute
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ในประเทศทางตะวันตก coronary syndrome) มีอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจมีมากกว่าโรค และเป็นโรคเรื้อรังที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต อีกทั้งยังมี

1 Yipintsoi S, Yipintsoi T. Atheromatous risk factors for selected population in Southern Thailand. Intern Med 1994; 10: 1-8
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 75

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ตัวผูป้ ว่ ย ต่อการเกิดโรค การหยุดสูบบุหรี่ และส่งเสริมให้มกี าร


มักมีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย รวมจนอาจ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักตัว

จำเป็นต้องลดหรืองดปฏิบัติภารกิจประจำ บุคคล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ให้การรักษาอย่างถูกต้องกับผูท้ ี่
รอบข้างก็อาจจำเป็นต้องหยุดจากงานประจำเพื่อมา เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และควบคุมระดับ
คอยดูแลช่วยเหลือพยาบาล ยิ่งโรคทวีความรุนแรง ไขมันในเลือด5 รวมถึงการให้การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ขึ้นมากเท่าใด ผู้ป่วยยิ่งต้องพึ่งบุคคลรอบข้างมากขึ้น มากขึ้น
เท่ า นั้ น สิ่ ง เหล่ า นี้ ย่ อ มส่ ง ผลต่ อ เศรษฐานะ และ อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและ
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งต่อ หลอดเลือดในประเทศไทยกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
หน่วยงานที่บุคคลเหล่านี้สังกัดด้วย หากประชาชน อย่ า งยิ่ ง ภาวะกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจขาดเลื อ ดเฉี ย บพลั น
เป็นโรคนี้กันมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ (Acute coronary syndrome) การศึกษาเพื่อหา
ประเทศชาติอย่างรุนแรง ทั้งในแง่ของผลผลิตของ อุบตั กิ ารณ์ของโรคนีใ้ นชาวไทยทีส่ มั พันธ์กบั ปัจจัยเสีย่ ง
ประเทศทีล่ ดลง ค่าใช้จา่ ยในการรักษาพยาบาลทีส่ งู ขึน้ ที่ทำกับพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย6
รวมทั้งอาจต้องเสียดุลการค้าจากการที่กระบวนการ โดยศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 23 ปี พบว่าโรคความ
ดูแลรักษาผู้ป่วยต้องใช้ยาและเครื่องมือราคาแพงที่ ดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และ
ไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการป่วยและ
ในช่วง 25 ปีทผี่ า่ นมาอัตราตายจากโรคหัวใจ เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในคนไทย ซึ่งข้อมูล
และหลอดเลื อ ดได้ ล ดต่ ำ ลงมากในสหรั ฐ อเมริ ก า ทีไ่ ด้ไม่ตา่ งจากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศมากนัก
แคนาดา2 และสหราชอาณาจักร3 ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผล แต่อบุ ตั กิ ารณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจในประชากรไทย
จากการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบ ยังต่ำกว่าในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยมีอัตรา
ปฐมภูมิ (primary prevention)4 อันเป็นผลจากการ การเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจต่อปีในพนักงาน
ที่รัฐสามารถรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงปัจจัยเสี่ยง การไฟฟ้าฯ ประมาณ 80 ต่อ 100,000 คน

2 Nicholls ES, Jund J, Davies JW. Cardiovascular disease mortality in Canada. Canadian Med Assoc J 1981; 125: 981-92
3 Lopez AD. Assessing the burden of mortality from cardiovascular diseases. Wld Hlth Statist. Quartl., 1993; 46: 91-96
4 Kannel WB. Meaning of the downward trend in cardiovascular mortality. JAMA 1982: 247: 877-80
5 V Tanphaichitr, Global risk assessment of atherosclerosis. Intern Med 1994; 10: 97-104
6 Sritara P, Cheepudomwit S, Neal B et al. Cardiovascular Mortality in Relation to Risk Factors in Urban Thailand: the

Electricity Generating Authority of Thailand Study. J Int Epidemiol. Submitted.
76 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ข้อมูลจากประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐ หลอดเลือดหัวใจเป็นสหปัจจัย ปัจจัยบางข้อปรับเปลีย่ น


ประชาชนจีน7, 8 พบว่าในระยะ 10 ปีทผี่ า่ นมาประชากร ไม่ได้ เช่น ประวัติการเป็นโรคนี้ในครอบครัว (บิดา
มีอตั ราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูงขึน้ มูลเหตุ มารดาและพี่น้องสายตรง) บางข้อปรับเปลี่ยนหรือ
สำคัญเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนจากสังคมกสิกรรมไป ควบคุ ม ได้ เช่ น การสู บ บุ ห รี่ ความดั น โลหิ ต สู ง

เป็นสังคมอุตสาหกรรมคล้ายประเทศทางตะวันตก9 เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนและการไม่


ในปัจจุบันวิถีทางในการดำเนินชีวิตของประชากรได้ ออกกำลังกาย
เปลี่ยนไปสู่สังคมเมืองที่มีความเครียดสูงคล้ายกับใน การมี ปั จ จั ย เสี่ ย งหลายชนิ ด ร่ ว มกั น ก็ จ ะ
ประเทศทางตะวันตก จึงเป็นทีค่ าดเดาได้วา่ อัตราตาย ทำให้ ค วามเสี่ ย งในการเกิ ด โรคเพิ่ ม ขึ้ น เป็ น ทวี คู ณ
และอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจของคนไทยก็ การศึกษาพบว่าในชายอายุระหว่าง 30-60 ปี ที่มี
จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แบบเดียวกันด้วย ระดับไขมันในเลือดสูงจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด
การให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้เข้าใจถึง หั ว ใจมากกว่ า ผู้ ที่ ไ ม่ มี ปั จ จั ย เสี่ ย งประมาณ 2 เท่ า
กลไกการเกิ ด โรคและความสำคั ญ ของปั จ จั ย เสี่ ย ง และชายทีส่ บู บุหรีร่ ว่ มกับมีความดันโลหิตสูงและไขมัน
ต่างๆ จะทำให้ประชาชนเรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันเพื่อ ในเลือดสูงด้วยจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
ที่จะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มากกว่าคนธรรมดาถึง 8.5 เท่า
ต่างๆ เพื่อให้โอกาสในการเกิดโรคน้อยลงน่าจะเป็น ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย
วิธีที่ถูกต้องและประหยัดค่ารักษาพยาบาลมากกว่า ระยะเวลาที่ มี ค วามดั น โลหิ ต สู ง และความรุ น แรง

การปล่ อ ยให้ เ กิ ด โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจขึ้ น แล้ ว จึ ง มี ส่ ว นสั ม พั น ธ์ กั บ การเกิ ด โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจ

ทำการรักษาด้วยยา ทำการขยายหลอดเลือดด้วย การควบคุ ม ความดั น โลหิ ต ด้ ว ยวิ ธี ก ารปรั บ เปลี่ ย น
บอลลูน (percutaneous transluminal coronary พฤติกรรมร่วมกับการใช้ยาจะลดอัตราการเกิดโรค
angioplasty) หรือทำผ่าตัดต่อเส้นเลือด (coronary หลอดเลือดหัวใจและการเกิดอัมพาตได้
artery bypass graft surgery) ในปัจจุบันการศึกษาพบว่าการป่วยด้วยโรค
ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ท ำให้ เ กิ ด การเสื่ อ มของผนั ง เบาหวานเป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ส ำคั ญ ต่ อ การเกิ ด โรค
7 Wu YK, Wu ZS, Yao CH. Epidemiologic studies of cardiovascular diseases in China. Chinese Med J 1983: 96: 201-5
8 Pearson TA, Jamison DT, Trejo G. Cardiovascular disease. In: Jamison DT, Mosely WH, Measham AR, Bobadilla JL. Eds.

Disease control priorities in developing countries. New York, Oxford University Press for the world bank, 1993: 577-94
9 Sindhavananda K, Sakornpant P. Epidemiology of cardiac diseases in Thailand. In: Lochaya S, Pongpanich B,

Sakornpant P, eds. Cardiovascular disease. 2nd ed. Bangkok: Krungthep Vejchasarn, 1994: 9-22
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 77

หลอดเลือดหัวใจจนมีแพทย์บางคนกล่าวว่าการเป็น แดงที่จะทำหน้าที่นำพาออกซิเจน และคาร์บอนได-


โรคเบาหวานก็เสมือนหนึง่ ว่าได้มโี รคหลอดเลือดหัวใจ ออกไซด์ได้นอ้ ยลง จนทำให้กล้ามเนือ้ หัวใจได้ออกซิเจน
ด้วยแล้ว การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าความชุก น้อยลงและไม่เพียงพอ โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะ
ของโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง 45% ในผูป้ ว่ ยเบาหวาน เคลื่อนผ่านตามหลอดเลือดเล็กๆได้ โดยการที่ผนัง
เทียบกับในผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานซึ่งมีความชุกน้อย ของเม็ดเลือดยืดหยุ่นตัว แต่เมื่อเม็ดเลือดแดงได้รับ
กว่า 25%10 การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ยังแสดงให้ คาร์บอนมอนนอกไซด์ มันจะกระด้างและไม่สามารถ
เห็นว่าระดับน้ำตาลในเลือดสามารถใช้ทำนายอัตรา หยุ่นตัว จึงซอกแซกไปตามหลอดเลือดเล็กๆ ไม่ได้
การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้โดยตรงด้วย11 การมี จึงเกิดการครูดกับผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอด
ระดับ HbA1c สูงขึ้น 1% จะเพิ่มความเสี่ยงในการ เลือดเป็นแผล ร่างกายจะมีขบวนการซ่อมแซมจึง
เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 10-20% ทำให้ผนังหลอดเลือดนั้น ๆ ตีบลง ถ้าเป็นกับหลอด
บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอด- เลือดไปเลี้ยงหัวใจก็จะทำให้หัวใจขาดเลือด ปริมาณ
เลือดหัวใจตีบตันเช่นกัน เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษ และระยะเวลาของการสูบบุหรี่จึงมีผลกับความเสี่ยง
หลายอย่างที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ สาร ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะไขมันใน
สำคัญทีม่ ผี ลต่อหัวใจสองชนิดคือ นิโคตินและคาร์บอน- เลือดทีผ่ ดิ ปกติ ไม่วา่ จะเป็นระดับคอเลสเตอรอลหรือ

มอนนอกไซด์ ไตรกลีเซอไรด์สูง รวมถึงการมีระดับเอชดีแอลต่ำเป็น
นิโคตินซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งมีความชุกมากขึ้นใน
เสพติดบุหรี่ และเป็นสารที่มีลักษณะเฉพาะมากที่สุด ประชากรไทยเนื่องจากวัฒนธรรมการกินของคนไทย
ของบุหรี่ อีกทั้งยังเป็นสารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง เปลี่ยนไป การให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญใน
ขึ้น อัตราเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หลอดเลือดที่มาเลี้ยง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา
หัวใจหดเกร็งตัว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ควบคุมระดับไขมันในกรณีที่จำเป็นจึงมีความสำคัญ
และทำให้หัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างมากในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นสารทีส่ ามารถจับ
กับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวรจึงทำให้เหลือเม็ดเลือด
10 Kannel WB, McGee DL. Diabetes and cardiovascular disease. The Framingham study. JAMA 1979; 241: 2035-2038.
11 Continho M, Gerstein HC, Wang Y, Yusuf S. The relationship between glucose and incident cardiovascular events.

Diabetes Care 1999; 22: 233-240.


78 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ...ค้นหาโรค

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(Electrocardiography)
พันเอกนายแพทย์นครินทร์ ศันสนยุทธ
แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจ
คลืน่ ไฟฟ้าทีเ่ กิดขึน้ ในหัวใจ คลืน่ ไฟฟ้าเหล่านีส้ ามารถ

ที่ จ ะดู ไ ด้ จ ากจอแสดงผล หรื อ บั น ทึ ก ลงกระดาษ
กราฟ เพื่อสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น การตรวจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถช่วยในการวินิจฉัยความผิด
ปกติของหัวใจหลายอย่างได้ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิด
จังหวะ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจโตหรือ
หนาตัว เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน น้ำในเยื่อหุ้ม
หัวใจ ระดับเกลือแร่ (โดยเฉพาะโปแตสเซี่ยม) ใน รูปที่ 1 แผ่นกระดาษแสดงผลการตรวจคลื่นไฟฟ้า

เลือดผิดปกติ การได้รับยาเกินขนาดหรือภาวะเป็น หัวใจ


พิษจากยา เป็นต้น โดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้า
อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการ
ตามความผิดปกติของหัวใจชนิดต่างๆ ตรวจที่ ท ำง่ า ย และสะดวกต่ อ ผู้ รั บ การตรวจและ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 79

ผู้ ท ำการตรวจ ใช้ เวลาในการตรวจสั้ น (ประมาณ


ใครที่ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
5 นาที) มีการให้บริการตรวจแพร่หลาย สามารถ
1. ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ มีความเสี่ยง
รั บ การตรวจได้ ทั่ ว ไปในสถานบริ ก ารแทบทุ ก แห่ ง ในการมี ค วามผิ ด ปกติ ข องหั ว ใจสู ง หรื อ ผู้ ที่ แ พทย์
นอกจากนั้นยังมีราคาถูก ผู้รับการตรวจไม่มีความ สงสัยว่ามีความผิดปกติของหัวใจ
เสี่ ย งและไม่ ไ ด้ รั บ ความเจ็ บ ปวดจากการตรวจ 2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
สามารถใช้ตรวจในสตรีมีครรภ์ได้โดยไม่มีอันตราย
3. ใช้เป็นการตรวจพื้นฐาน ในผู้ที่จะได้รับ
ต่อทารกในครรภ์ นอกจากนั้นปัจจุบันเครื่องตรวจ ยาที่มีผลข้างเคียงต่อหัวใจ (เช่น ยาเคมีบำบัดบาง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายไปทำ ชนิด)
ตามสถานที่ต่างๆ ได้ 4. ใช้ติดตามผล เพื่อดูการดำเนินโรค หรือ
วิธกี ารตรวจ ผูร้ บั การตรวจนอนราบบนเตียง ผลของยา และการรักษาในผู้ป่วยโรคหัวใจ
จากนั้นผู้ทำการตรวจจะนำเอาสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาด 5. ใช้ประเมินผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัด
เล็กไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ บริเวณ 6. ใช้ เ ป็ น การตรวจพื้ น ฐานในคนที่ ต้ อ งมี
หน้าอก แขนและขา สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กนี้จะมี ความพร้อมของร่างกายสูงหรือต้องฝึกหรือออกกำลัง
สายต่ อ เข้ า ไปที่ เ ครื่ อ งตรวจคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจ เพื่ อ กายหนั ก เช่ น นั ก กี ฬ า พนั ก งานดั บเพลิง นักบิน
บั น ทึ ก กราฟแสดงคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจลงบนกระดาษ
ทหาร เป็นต้น
ขั้นตอนการตรวจนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที 7. ใช้เป็นการตรวจพื้นฐานในคน

ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของ

คนจำนวนมาก เช่น นักบิน คนขับรถขนส่ง

มวลชน
8. ใช้เป็นการตรวจพื้นฐานในคน

อายุมากกว่า 40 ปี

รูปที่ 2 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
80 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ข้อจำกัดของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) ก็จะช่วยในการ


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความแม่นยำไม่ วินิจฉัยมากขึ้น
ร้อยเปอร์เซ็นต์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถ
บอกความผิดปกติของหัวใจได้ทุกอย่าง คลื่นไฟฟ้า การตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ
หัวใจปกติ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจปกติปราศจาก (Chest x-ray)
โรค ในทำนองกลับกันคนที่หัวใจปกติดีก็อาจพบคลื่น การตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest
ไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจคลื่น x-ray) เป็นการตรวจที่มีแพร่หลายทั่วไปและรู้จักกัน
ไฟฟ้ า หั ว ใจแพทย์ จ ะต้ อ งนำมาแปลผลโดยอาศั ย ดี นอกจากจะใช้วินิจฉัยโรคทางปอดเป็นหลักแล้ว ยัง
ประวัติและการตรวจร่างกายร่วมด้วย มีประโยชน์ช่วยในการวินิจฉัย และติดตามผู้ป่วยโรค
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่มีปัญหา หัวใจได้เช่นกัน
โรคหัวใจบางชนิด อาจไม่พบสิ่งผิดปกติได้ในขณะ
ตรวจ เนื่ อ งจากถ้ า หากหั ว ใจไม่ ไ ด้ ท ำงานหนั ก ขึ้ น
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะยังไม่เกิดขึ้น
เช่ น การตรวจหาภาวะหลอดเลื อ ดหั ว ใจตี บ หรื อ

กล้ามเนือ้ หัวใจขาดเลือด เป็นต้น ดังนัน้ ในกรณีทไี่ ม่พบ
สิ่ ง ผิ ด ปกติ จ ากการตรวจคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจธรรมดา
อาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออก
กำลังกายต่อไป
เช่ น เดี ย วกั บ การตรวจคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจใน

ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะได้ประโยชน์เมื่อตรวจ
ขณะเกิ ด อาการ แต่ ห ลายครั้ ง เมื่ อ ผู้ ป่ ว ยมาถึ ง โรง
พยาบาลเพื่อรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาการดัง รูปที่ 3 ตัวอย่างเอกซเรย์ปอดและหัวใจของผู้ป่วย

กล่าวได้หายไปแล้ว การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจไม่ หัวใจพิการแต่กำเนิด สังเกตเห็นเงาหัวใจมี

พบสิ่ ง ผิ ด ปกติ กรณีนี้ การตรวจบันทึกคลื่ น ไฟฟ้ า ขนาดใหญ่กว่าปกติ


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 81

ข้อดีของการตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ จะอาศัยการส่งคลื่นความถี่สูงลงไปที่บริเวณหัวใจ
เป็นการตรวจทีง่ า่ ย ไม่ยงุ่ ยาก มีตรวจทัว่ ไปแม้ในสถาน เมื่อกระทบส่วนต่างๆ ของหัวใจ ก็จะสะท้อนกลับ
พยาบาลเล็กๆ หรือแม้แต่หน่วยแพทย์เคลือ่ นที่ เครือ่ ง มายังเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะประมวลและ
ตรวจสามารถเคลื่อนย้ายมาทำที่ข้างเตียงผู้ป่วยได้ แสดงผลตามความหนาบางและชนิดของเนื้อเยื่อที่
ราคาถูก มีความปลอดภัยสูง ใช้เวลาในการตรวจสั้น เสียงไปกระทบและส่งกลับมา ทำให้ทราบถึงกายวิภาค
ข้อบ่งชี้ ใช้ในการช่วยวินิจฉัยภาวะหัวใจล้ม และสรีรวิทยาต่างๆ ของหัวใจ ได้แก่รูปร่างของหัวใจ
เหลว (heart failure) ใช้ช่วยบอกภาวะหัวใจโตโดยดู ความหนาและการเคลื่ อ นไหวของผนั ง หั ว ใจ การ
จากขนาดของเงาหัวใจ (แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า ทำงานของลิ้นหัวใจ น้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ลิ่มเลือดใน
การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือจากการ หัวใจ เป็นต้น
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) ใช้ติดตามการดำเนินโรคหรือ ข้อดีของการตรวจการทำงานของหัวใจโดย
ติดตามหลังได้รับยาหรือการรักษา นอกจากนั้นยังใช้ ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการตรวจที่ปลอดภัยมาก
ดูตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเครื่องกระตุ้นหัวใจ ผูร้ บั การตรวจไม่ได้รบั ความเจ็บปวดใดๆ มีความแม่นยำ
(pacemaker) หรือเครือ่ งช็อกไฟฟ้าหัวใจ (internal สูง สามารถทราบผลตรวจในทันที ใช้เวลาตรวจไม่นาน
cardiac defibrillator, ICD) ตำแหน่งของ intra- มาก ปัจจุบนั เครือ่ งตรวจมีขนาดเล็กลงสามารถเคลือ่ น
aortic balloon pump เป็นต้น ย้ายไปตรวจตามที่ต่างๆ ได้
อันตรายจากการตรวจ มีข้อห้ามในสตรีตั้ง วิธีการตรวจ ผู้รับการตรวจนอนตะแคงไป
ครรภ์เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ ทางซ้าย เปิดหน้าอกบริเวณที่จะตรวจ ทำการทาเจล
(ลักษณะเหมือนวุน้ ) ทีบ่ ริเวณจะตรวจ จากนัน้ จะนำเอา
การตรวจการทำงานของหัวใจ หัวอ่านวางบนบริเวณทีต่ รวจ โดยหัวอ่านนีจ้ ะมีสายต่อ
โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ไปยังเครือ่ งประมวลผล (เครือ่ งเอ็คโค) และจะปรากฏ
(Echocardiography) รูปหัวใจของผูร้ บั การตรวจบนจอแสดงผล การตรวจนี้
การตรวจการทำงานของหัวใจโดยใช้คลืน่ เสียง สามารถดูได้จากจอแสดงผล หรือบันทึกเก็บไว้เป็น
ความถี่ สู ง หรื อ การตรวจคลื่ น เสี ย งสะท้ อ นหั ว ใจ
รูปภาพหรือเก็บในรูปแบบแผ่นซีดี หรือดีวีดีได้ โดย
บางคนเรียกการตรวจวิธีนี้ว่า “ตรวจเอ็คโคหัวใจ” ใช้ ทัว่ ไปใช้เวลาตรวจประมาณ 10-40 นาที แล้วแต่ความ
หลักการเหมือนกับการตรวจอัลตราซาวนด์ กล่าวคือ ยากง่ายและชนิดของพยาธิสภาพที่ต้องการตรวจ
82 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

รูปที่ 4 การตรวจการทำงานของหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ 7. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยโรคของ
1. ผูป้ ว่ ยกล้ามเนือ้ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เยื่อหุ้มหัวใจ
2. มีเสียงหัวใจผิดปกติ (significant cardiac 8. วินิจฉัยก้อนเนื้อหรือลิ่มเลือดในหัวใจ
murmur) 9. ประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลาง
3. ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การวิ นิ จ ฉั ย หรื อ สงสั ย ภาวะ ถึงสูง ก่อนทำการผ่าตัด
หัวใจพิการแต่กำเนิด (ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น) 10. ใช้เป็นการตรวจพื้นฐาน ก่อนได้รับยาที่
4. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยภาวะลิ้น มีผลข้างเคียงต่อหัวใจ (เช่น ยาเคมีบำบัดบางชนิด)
หัวใจผิดปกติ (รั่ว ตีบ หรือยื่น เป็นต้น) 11. ใช้ติดตามผล ดูการเปลี่ยนแปลงของ
5. ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การวิ นิ จ ฉั ย หรื อ สงสั ย ภาวะ โรค และติดตามผลหลังได้รับยาหรือการรักษาต่างๆ
หัวใจวาย (heart failure)
6. ดูขนาดและประเมินการทำงานของหัวใจ
แต่ละห้อง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 83

การตรวจการทำงานของหัวใจโดยใช้คลืน่ เสียง
ความถี่สูง ชนิดอื่นๆ ได้แก่
1. การตรวจการทำงานของหัวใจโดยใช้คลืน่
เสียงความถี่สูง ร่วมกับการออกกำลังกาย (Exercise
stress echocardiography) หรือร่วมกับการให้ยา
(Dobutamine stress echocardiography) ส่วน
ใหญ่ใช้ในการประเมินภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
2. การตรวจโดยการใช้หัวตรวจสอดผ่าน

รูปที่ 5 ตัวอย่างภาพผลการตรวจการทำงานของ
ช่ อ งปากเข้ า ไปอยู่ ใ นหลอดอาหาร หรื อ การกลื น
หัวใจ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง กล้องตรวจเอ็คโค (Trans-esophageal echocar-
diography) ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เห็นรายละเอียดไม่ชัด
อั น ตรายจากการตรวจ เป็ น การตรวจที่ หรือยังให้การวินิจฉัยที่แน่นอนไม่ได้ จากการตรวจ
ปลอดภั ย มากไม่ มี อั น ตรายใดๆ ใช้ ต รวจในหญิ ง มี การทำงานของหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงทาง
ครรภ์ได้อย่างปลอดภัย สามารถตรวจซ้ำหลายๆครั้ง ผนังหน้าอก เช่นผนังทรวงอกหนามาก (อ้วน) ต้องการ

ได้ น้ อ ยรายมากที่ อ าจพบปฏิ กิ ริ ย าแพ้ ต่ อ เจลที่ ใช้ ดูภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองหรือฉีกขาด หรือ
โดยเกิดเป็นผื่นคันขึ้นในบริเวณที่ทา ต้องการดูลิ่มเลือดในหัวใจ เป็นต้น
ข้อจำกัด การตรวจการทำงานของหัวใจโดย การตรวจผู้รับการตรวจจะได้รับคำแนะนำ
ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงมีราคาสูงพอสมควร มีตรวจ จากแพทย์ให้งดน้ำงดอาหาร 4 - 6 ชม. ก่อนตรวจ
เฉพาะในสถานพยาบาลที่ มี ข นาดปานกลางขึ้ น ไป ผู้รับการตรวจต้องไม่มีประวัติโรคหลอดอาหาร หาก
ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ในการตรวจและ ผู้รับการตรวจมีฟันปลอม ควรถอดเก็บไว้ก่อน การ
แปลผล มีความแตกต่างกันของผลการตรวจระหว่าง ตรวจอาจมี อั น ตรายต่ อ หลอดอาหารแต่ ก็ พ บน้ อ ย
แพทย์แต่ละคน อาจได้ภาพไม่ชัดเจนในผู้ที่ผอมมาก มาก (<0.5%) และอาจมีความเสี่ยงจากการสำลักได้
หรืออ้วนมาก หรือมีถุงลมโป่งพองเนื่องจากไขมัน (พบน้อย)
และอากาศขัดขวางคลื่นเสียงความถี่สูง
84 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ...ค้นหาโรค

การตรวจหัวใจ โดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี
(Radionuclide myocardial perfusion imaging),
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
และเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI)
นายแพทย์วิทยา ไชยธีระพันธ์
สำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปัจจุบนั โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary หัวใจที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อตรวจหาโรคนี้โดย



artery disease) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็น ไม่ตอ้ งใส่สายสวนเข้าไปในหัวใจ ซึง่ ใช้คำรวมเรียกการ
สาเหตุการตายทีส่ ำคัญทีส่ ดุ ในเกือบทุกประเทศ แพทย์ ตรวจโดยการถ่ายภาพหัวใจด้วยเทคนิคต่างๆ เป็น
จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยโรคให้ได้แต่เนิ่นๆ โดยทั่วไปการ ภาษาอังกฤษว่า คาร์ดแิ อคอิมเมจิง (Cardiac imaging)
ตรวจพื้นฐานอาจมีความไวไม่มากพอที่จะวินิจฉัยโดย วิธีการตรวจที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่

เฉพาะในกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยยังไม่มอี าการหรืออาการไม่รนุ แรง 3 ชนิดหลัก คือ การตรวจหัวใจด้วยสารกัมมันตภาพ-
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจที่แม่นยำที่สุดต้องใช้ รั ง สี (Radionuclide myocardial perfusion
การใส่สายสวนเข้าไปฉีดสารทึบรังสีในเส้นเลือดแล้ว imaging), การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ถ่ายภาพด้วยเครือ่ งเอกซเรย์ (coronary angiography) (CT Scan) และเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ
ซึ่ ง เป็ น หั ต ถการมี ค วามเสี่ ย งในระดั บ หนึ่ ง แม้ จ ะ (MRI)
ปลอดภั ย มากในปั จ จุ บั น แต่ ผู้ ป่ ว ยก็ ต้ อ งเข้ า อยู่ ใ น
การตรวจทั้ง 3 อย่างมีประโยชน์คล้ายคลึง
โรงพยาบาล กัน แต่มีข้อดี-ข้อเสียที่เป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะแยก
ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงพัฒนาเครื่องมือตรวจ กล่าวต่อไปนี้
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 85

1 การตรวจหัวใจโดยใช้สารกัมมันตภาพ
ขั้นตอนการตรวจและแปลผล
รังสี (Radionuclide myocardial
การฉีดสารกัมมันตภาพรังสีเข้าสูห่ ลอดเลือดดำ

perfusion imaging) ทีแ่ ขนจะทำในขณะทีผ่ ปู้ ว่ ยออกกำลังกายใกล้จะเสร็จ
เป็ นการตรวจโดยใช้สารกัมมั น ตภาพรั ง สี สิน้ หรือยากระตุน้ ออกฤทธิเ์ ต็มทีร่ ะหว่างออกกำลังกาย
ต่ำ ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ กล้ามเนื้อหัวใจจะดูดซับ หรือได้รับยากระตุ้นจะมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
สารที่ผ่านมากับกระแสเลือดไว้ เมื่อใช้เครื่องมือที่ (EKG) ของผู้ได้รับการตรวจ เวลาของการตรวจการ
สามารถตรวจจับปริมาณกัมมันตภาพรังสีได้ ก็สามารถ
เก็บภาพหัวใจ 2 ชุดก่อนและหลังการออกกำลังกาย
นำข้อมูลที่ได้มาสร้างภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ การ (หรือยากระตุน้ ทีก่ ล่าวไปแล้ว) การเก็บภาพของหัวใจ
ตรวจแบบนี้เป็นมาตรฐานของการตรวจหาและวัด หลังการฉีดสารกัมมันตภาพรังสี กระทำโดยให้ผู้รับ
ปริ ม าณการขาดเลื อ ดของกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจที่ ใช้ กั น การตรวจนอนนิ่งๆ บนเตียงตรวจและจะใช้อุปกรณ์
อย่างแพร่หลายในประเทศตะวันตก แต่ในประเทศไทย การตรวจรังสีหมุนรอบตัวผู้ป่วยช้าๆ ใช้เวลาแต่ละชุด
การตรวจแบบนีย้ งั มีจำกัด เนือ่ งจากสารกัมมันตภาพ- 20-30 นาที
รังสีมรี าคาสูง หมดอายุเร็ว และต้องมีมาตรการควบคุม ภาพของหัวใจที่ได้จะเป็นลักษณะเป็นภาพ
ความปลอดภัยในการใช้ สารกัมมันตภาพรังสีที่นิยม ตัดขวางคล้ายห่วงกลมซ้อนกันเปรียบกับการเฉือน
ใช้ตรวจหัวใจ ได้แก่ สารแทลเลีย่ ม Thallium (121Tl) ลูกรักบี้เป็นแว่นๆจากปลายแหลมด้านหนึ่งไปอีกด้าน
และเทคนิเชีย่ ม Technetium (99TC) ซึง่ มีคณ ุ สมบัติ หนึ่ง แพทย์จะดูว่าภาพของหัวใจที่เป็นห่วงกลมๆ มี
ดู ด ซึ ม เข้ า สู่ ก ล้ า มเนื้ อ หั ว ใจได้ ม ากกว่ า อวั ย วะ ขอบของห่วงครบวงเท่ากันดีหรือไม่ ถ้าครบวงดีถือว่า
รอบข้าง จึงทำให้เห็นภาพเฉพาะบริเวณ ปกติ หากมีบางส่วนแหว่งไปทำให้ไม่ครบวงถือว่าผิด
ทีเ่ ป็นหัวใจเท่านัน้ การเก็บภาพหัวใจ ปกติ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบภาพทั้ง 2 ชุด (ก่อน-หลัง
ด้ ว ยวิ ธี นี้ มั ก จะทำร่ ว มกั บ การออก ออกกำลังกาย) ถ้าก่อนออกกำลังกายภาพดูปกติ แต่
กำลั ง กายเพื่ อ ทดสอบสมรรถภาพ ผิดปกติในภาพหลังออกกำลังกาย แสดงว่าหัวใจมี
หัวใจ หรือใช้ร่วมกับยาขยายหลอด- ภาวะขาดเลื อ ดขณะออกกำลั ง กายหรื อ ได้ รั บ ยา
เลือดหัวใจ เช่น adenosine หรือยา กระตุ้นบ่งชี้ว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะหลอดเลือดหัวใจ
กระตุ้ น หั ว ใจเช่ น dobutamine ตีบ
ด้วยก็ได้ การตรวจวิธีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความ
86 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

รูปที่ 1 ตัวอย่างภาพจากการตรวจ

ด้วยสารกัมมันตภาพรังสี

แม่นยำสูงในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดจากโรค นอกจากนี้ ร ะดั บ กั ม มั น ตภาพรั ง สี ใ นการ


หลอดเลือดหัวใจตีบ โดยความไวและความถูกต้อง ตรวจแต่ ล ะครั้ ง ยั ง ต่ ำ มากไม่ มี ผ ลเสี ย ต่ อ ร่ า งกาย
จำเพาะของการตรวจอยู่ที่ 90% และ 85% ตาม อย่างไรก็ตามยาที่ใช้บางตัวก็อาจมีปฏิกิริยาแพ้เกิด
ลำดับ ขึ้นได้

ข้อควรระวังและข้อจำกัด 2 การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์

การตรวจนี้มีความปลอดภัยสูงสามารถใช้ คอมพิ ว เตอร์ (Cardiac Com-

กั บ ผู้ ป่ ว ยที่ ช่ ว ยเหลื อ ตนเองไม่ ค่ อ ยได้ เช่ น เป็ น puterized Tomography)


อัมพาตก็ได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีประวัติหืดรุนแรงหรือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
หลอดลมอักเสบเรื้อรังที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลมเป็น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจโรคเกือบทุกระบบของร่างกาย
ประจำ ทัง้ นีเ้ พราะผูป้ ว่ ยเหล่านีไ้ ม่สามารถใช้ยากระตุน้ โดยใช้หลักการของการถ่ายภาพด้วยเครื่องฉายรังสี
หัวใจประเภทขยายหลอดเลือดเช่น adenosine ได้ เอกซเรย์ในลักษณะของถ่ายภาพตัดขวางเป็นแว่นๆ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 87

จากศีรษะไปถึงปลายเท้า ในอดีตหัวใจเป็นอวัยวะที่
ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดจาก CT เนื่องจากมีการ
เคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่เทคโนโลยีของเครื่อง CT มี
การพั ฒ นาอย่ า งรวดเร็ ว และเทคโนโลยี ใ นปั จ จุ บั น
สามารถถ่ายภาพหัวใจที่กำลังเคลื่อนไหวได้อย่างคม
ชัดมีความละเอียดสูงมาก
หลอดเลือดของหัวใจ (coronary arteries)
เป็นหลอดเลือดแขนงของหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta)
ทีน่ ำเลือดไปเลีย้ งหัวใจทัง้ หมด ถือเป็นหลอดเลือดขนาด
ค่อนข้างเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 มม. รูปที่ 2 ตัวอย่างการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครือ่ งเอกซเรย์

เท่านั้น ความก้าวหน้าของ CT Scan ทำให้การตรวจ คอมพิวเตอร์


หลอดเลือดทำได้งา่ ยขึน้ มาก แต่ความละเอียดแม่นยำ
ยังด้อยกว่าการใส่สายสวนหัวใจ แต่กเ็ พียงพอทีจ่ ะทำ
ข้อบ่งชี้ของการตรวจ
ให้วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากการตรวจด้วย เนื่องจาก CT ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ มีข้อ
CT Scan ในปัจจุบันเน้นไปที่การดูหลอดเลือดหัวใจ จำกัดทางเทคนิค และมีข้อมูลจากการศึกษาในด้าน
(Coronary CT angiography) ซึง่ เป็นการตรวจทาง ความแม่นยำและความน่าเชื่อถือน้อยเมื่อเทียบกับ
กายวิ ภ าคเป็ น หลั ก โดยไม่ ไ ด้ ต รวจภาวะการขาด การตรวจชนิดอืน่ วงการแพทย์จงึ ยังคงจำกัดประเภท
เลือดของกล้ามเนือ้ หัวใจ (ischemia) เหมือนการตรวจ ของผู้ป่วยที่จะเข้ารับการตรวจชนิดนี้ เพื่อให้ผลการ
สารกัมมันตภาพรังสี หรือ MRI จึงไม่จำเป็นที่ผู้ป่วย ตรวจมีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ เป็นประโยชน์ต่อผู้รับ
จะต้องออกกำลังกายหรือใช้ยากระตุน้ หัวใจในระหว่าง การตรวจอย่างแท้จริง ข้อบ่งชี้ในปัจจุบันขณะที่เขียน
ตรวจ เครื่อง CT Scan ที่สามารถถ่ายภาพหัวใจและ ต้นฉบับนี้ ยังคงจำกัดในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
หลอดเลือดได้อย่างน่าเชื่อถือต้องเป็นระบบการถ่าย ที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิด
ภาพแบบเกลียว (Helical) ทีม่ ตี วั รับภาพ (Detector) โรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง หรือเพือ่ ตรวจ
ตัง้ แต่ 16 แถว หรือเรียกว่า16-slice ขึน้ ไป รุน่ ทีน่ ยิ ม
เพิ่มเติมกรณีที่ตรวจด้วยวิธีอื่นแล้วไม่สามารถสรุปได้
ใช้ขณะนี้เป็นแบบ 64-slice CT ความไวในการตรวจพบโรคหลอดเลือดจากการตรวจ
88 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

นี้อยู่ในเกณฑ์สูงมาก โดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่อง
ข้อควรระวังและข้อจำกัดในการตรวจ
ตัง้ แต่ 64 Slice ขึน้ ไป โดยค่าความไวของการตรวจอยู
่ - ผูป้ ว่ ยโรคไตส่วนใหญ่ไม่ควรรับการตรวจนี้
ที่ 96% เพราะการได้รับสารทึบรังสีจะทำให้การทำงานของ
การตรวจ CTA ในผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรค ไตแย่ลง จนอาจเกิดไตวายได้ ดังนั้นผู้รับการตรวจ
หลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เคยใส่
ควรตรวจการทำงานของไตก่อน โดยค่าครีอะทินีน
ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจมาก่อนหรือเคยผ่าตัดต่อ (creatinine) ในเลือดไม่ควรเกิน 1.5 mg/dl
หลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) - ผูป้ ว่ ยทีห่ วั ใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือมีชพี จร
นั้น ผลการตรวจยังไม่แน่นอนเท่าที่ควร โดยเฉพาะ เต้นช้ากว่า 65 ครั้ง/นาที ไม่ควรตรวจด้วยวิธีการนี้
เครือ่ ง CT บางรุน่ เพราะหลอดเลือดของผูป้ ว่ ยเหล่านี้ เพราะคุณภาพของภาพจะลดลงชัดเจนซึ่งมีผลต่อ
มักมีแคลเซียมเกาะบนผนังมาก รวมทัง้ ตัวขดลวดเอง
ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค
ก็มีผลต่อการแปลผลมากด้วย แต่ CT รุ่นใหม่ที่กำลัง - ผู้ที่มีประวัติแพ้สารทึบรังสีอย่างรุนแรง
ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอาจจะนำมาใช้ในผู้ป่วยเหล่านี้ มาก่อน รวมทั้งผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลั้นหายใจเกิน

ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ 10 วินาทีได้ก็ไม่ควรตรวจด้วยวิธีการนี้
เนือ่ งจาก CT เป็นการตรวจทีท่ ำค่อนข้างง่าย
ขั้นตอนการตรวจ จึงอาจนำไปสู่การตรวจซ้ำบ่อยๆ แม้ในทางทฤษฎี
หลักการของการตรวจหลอดเลือดด้วยการ การได้รับรังสีเอกซเรย์ระดับนี้สะสมซ้ำๆ อาจเพิ่ม
ใช้เทคโนโลยีรงั สีเอกซเรย์มกี ารใช้สารทึบรังสี (Contrast อุบตั กิ ารณ์ของโรคมะเร็งโดยเฉพาะเต้านม แต่ปจั จุบนั
media) ฉีดเข้ากระแสเลือดขณะที่ถ่ายภาพ ดังนั้น ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้
จึงต้องมีการใส่สายเข้าหลอดเลือดดำที่แขน ผู้รับการ
ตรวจจะนอนหงายบนเตียงที่ติดกับเครื่อง CT และ 3 การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง MRI
เตียงจะเลื่อนผ่านกลางเครื่อง ซึ่งเป็นลักษณะเหมือน MRI (Magnetic Resonance Imaging)
ห่วงขนาดใหญ่ ผู้ตรวจต้องกลั้นหายใจนิ่งเป็นช่วงๆ เป็นการตรวจสภาพและการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ประมาณ 10-20 นาที ระหว่างทีเ่ ครือ่ งกำลังถ่ายภาพ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งอาศัยอุปกรณ์ที่ให้กำเนิด
การตรวจ CT เป็นการตรวจที่ค่อนข้างสะดวกและ สนามแม่เหล็กแรงสูง ที่สูงกว่าสนามแม่เหล็กของโลก
รวดเร็วเมื่อเทียบกับการตรวจหัวใจแบบอื่นๆ น้อยนับล้านเท่า สนามแม่เหล็กแรงสูงนี้จะเหนี่ยวนำ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 89

อะตอมของไฮโดรเจนในร่างกายให้หมุนไปในทางเดียว
เครือ่ งเอกซเรย์และ CT Scan อย่างไรก็ดี เครือ่ ง MRI
กั น จากนั้ น ใช้ ค ลื่ น ความถี่ สู ง และสนามแม่ เ หล็ ก ยังเป็นอุปกรณ์ทมี่ รี าคาสูงและการตรวจใช้เวลาค่อนข้าง
ทิศทางต่างๆ กัน ทำให้อะตอมไฮโดรเจนเกิดการ นาน 30-90 นาที จึงทำให้จำนวนผู้รับการตรวจยังมี
เปลี่ ย นสถานะการหมุ น ตั ว ซึ่ ง เกิ ด ผลพลอยได้ เ ป็ น น้อยเมื่อเทียบกับการตรวจหัวใจชนิดอื่นๆ
สนามแม่เหล็กร้อนๆ ทีส่ ามารถตรวจจับได้ดว้ ยเครือ่ ง
MRI สัญญาณทีเ่ ครือ่ งตรวจจับได้จะถูกนำไปสร้างภาพ ชนิดของการตรวจหัวใจด้วย MRI
ที่มีความละเอียดสูงต่อไป MRI สามารถตรวจหัวใจได้หลายรูปแบบไม่
ในปัจจุบัน MRI เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่าง ว่าจะเป็นการแสดงลักษณะทางกายวิภาคหรือการ
แพร่ ห ลายในทางการแพทย์ โดยเฉพาะการตรวจ ทำงานของหัวใจ รวมถึงหลอดเลือดต่างๆ การตรวจ
ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และข้อรวมทั้งหัวใจด้วย MRI มีความแม่นยำสูงมากในการวัดค่าการบีบตัว
การตรวจหัวใจด้วย MRI เป็นเทคโนโลยีทคี่ อ่ นข้างใหม่ ของหัวใจ (systolic function) และการตรวจหาการ
เริ่มมีใช้ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2543 และค่อยๆ ตายของกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจจากการขาดเลื อ ดรุ น แรง
ได้รบั ความนิยมเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากได้ภาพทีม่ คี ณ
ุ ภาพสูง (Myocardial Scar) ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้หลักในการตรวจ
และผู้รับการตรวจไม่ต้องรับรังสีจากการตรวจเหมือน หัวใจด้วย MRI ในปัจจุบันด้วย

รูปที่ 3 ตัวอย่างของการตรวจ

หัวใจด้วย MRI
90 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น การตรวจ 2. การตรวจหลอดเลื อ ดหั ว ใจด้ ว ย MRI


MRI สามารถใช้ตรวจทั้งปริมาณการขาดเลือดของ (Coronary MRA) สามารถแสดงหลอดเลือดหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial ischemia) และการ เพือ่ ค้นหาการตีบแคบของหลอดเลือดได้ แต่การตรวจ
ตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง (coronary MRA) วิธีนี้ยังมีความแม่นยำน้อยเมื่อเทียบกับ CT Scan
1. การตรวจการขาดเลือดของกล้ามเนื้อ แต่ เ มื่ อ ใช้ ต รวจพร้ อ มกั บ การตรวจภาวะขาดเลื อ ด

หัวใจ (Myocardial perfusion MRI) ใช้ร่วมกับการ ของกล้ามเนือ้ หัวใจจะทำให้ความถูกต้องของการตรวจ
ให้ยาขยายหลอดเลือดเช่น adenosine ที่กระตุ้นให้ สูงขึ้น
เกิ ด การขาดเลื อ ดเหมื อ นกั บ การตรวจโดยใช้ ส าร
กัมมันตภาพรังสี แต่อาศัยการฉีดสาร gadolinium ข้อควรระวังและข้อจำกัด
เข้าไปในหลอดเลือดดำ และถ่ายภาพกล้ามเนื้อหัวใจ - ผูป้ ว่ ยทีม่ อี ปุ กรณ์ทเี่ ป็นโลหะอยูใ่ นร่างกาย
ขณะที่สาร gadolinium ถูกดูดซับไว้ในกล้ามเนื้อ บางชนิด เช่น เครือ่ งกระตุน้ ไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker)
หัวใจจากเลือดทีผ่ า่ นไปเลีย้ ง หากมีบริเวณทีข่ าดเลือด ไม่สามารถตรวจด้วย MRI ได้ ดังนั้นผู้ที่มีโลหะฝังใน
บริเวณนัน้ จะมีสาร gadolinium น้อยกว่าบริเวณปกติ ร่างทุกชนิดควรแจ้งต่อแพทย์ผู้ตรวจก่อนทุกครั้ง
ทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้ ความไวและความ - ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวที่แคบ Claustro-
แม่นยำในการตรวจนี้อยู่ในเกณฑ์สูงใกล้เคียงกับการ phobia มักจะไม่สามารถทนอยู่ในเครื่อง MRI ที่เป็น
ตรวจด้วยสารกัมมันตภาพรังสี (Radionuclide Scan) อุโมงค์แคบๆ ได้

สรุป

การตรวจหัวใจด้วยเทคโนโลยีทั้ง 3 แบบมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน
การเลือกตรวจวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วยและการพิจารณาของแพทย์
โรคหั ว ใจเป็ นหลั ก การตรวจเหล่ านี้ แ ม้ ว่ า จะใช้ เ ทคโนโลยี ขั้ น สู ง แต่ ค วาม

ถูกต้องแม่นยำก็ยังไม่ถึง 100% และบ่อยครั้งต้องใช้วิธีอื่น โดยเฉพาะการใส่
สายสวนหัวใจเพื่อตรวจเพิ่มเติมและรักษาต่อไป

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 91

หัวใจห้อง 2 : เปิดใจ...ค้นหาโรค

ตรวจเลือดบอกโรคหัวใจ
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนวพรรณ จารุรักษ์
แพทย์พยาธิวิทยาคลินิก
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

สารบ่งชี้หัวใจ พยากรณ์โรค เนื่องจากสารบ่งชี้นี้มีหลายตัว แพทย์


หัวใจเองก็เหมือนอวัยวะทั้งหลายในร่างกาย จึงต้องพิจารณาสั่งการตรวจให้ถูกต้องเหมาะสมกับ
ที่เมื่อเจ็บป่วยหรือได้รับอันตรายก็จะเกิดพยาธิสภาพ สภาพของผู้ป่วยหลังจากการซักประวัติตรวจร่างกาย
มีการเปลีย่ นแปลง การเปลีย่ นแปลงอย่างหนึง่ ทีส่ ำคัญ ผู้ป่วยแล้ว สำหรับการแปลผลนั้น ต้องอาศัยข้อมูล
สำหรั บ หั ว ใจคื อ การหลั่ ง สารบ่ ง ชี้ ส ำหรั บ โรคหั ว ใจ จากการซักประวัติรวมทั้งอาการแสดงและสิ่งที่ตรวจ
(cardiac-markers) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “สารบ่งชี้ พบจากการตรวจร่างกายประกอบด้วย นอกจากนี้ใน
หัวใจ” ซึง่ มีอยูห่ ลายตัวและหลัง่ ออกมาสูก่ ระแสเลือด การใช้นั้นอาจมีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ
ในสภาวะต่างๆ กัน แบ่งเป็นสารบ่งชีเ้ มือ่ เนือ้ เยือ่ หัวใจ ประกอบด้วย เช่น การตรวจเลือดเกีย่ วกับการทำงาน
ได้รับอันตราย สารบ่งชี้เกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ ของตับ การทำงานของไต การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
สารบ่งชี้ที่แสดงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และ และยังอาจต้องใช้ร่วมกับการทดสอบที่ใช้เทคโนโลยี
สารบ่งชี้ที่เป็นสารพันธุกรรม สารบ่งชี้เหล่านี้เมื่อนำ อื่นๆ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocar-
มาใช้รว่ มกันเป็นกลุม่ ๆ จะสามารถใช้วนิ จิ ฉัยโรคหัวใจ diogram, ECG), การเอกซเรย์ทรวงอก (chest X-ray),
ชนิดต่างๆ ได้หลายชนิด หรือใช้ติดตามสถานภาพ การตรวจหัวใจด้วยคลืน่ เสียงความถีส่ งู (ultrasound)
ของโรค ติ ด ตามผลการรั ก ษา และแม้ ก ระทั่ ง ใช้ เป็นต้น
92 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

คุณสมบัติของสารบ่งชี้หัวใจ
ตัวอย่างสารบ่งชี้ที่น่าสนใจ ได้แก่

ชื่อ คุณสมบัต ิ

BNP ชื่อเต็ม brain natriuretic peptide
เป็นสายกรดอะมิโนทีม่ ขี นาดสัน้ ๆ สร้างขึน้ โดยหัวใจ พบได้ในผูป้ ว่ ยทีม่ หี วั ใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย

และใช้ในการคัดแยกผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยหัวใจวายออกได้ดี อย่างไรก็ตามค่าทั้งสองนี้มีการ

เปลี่ยนแปลงตามเพศและอายุ การสรุปผลจึงพึงต้องใช้ความระมัดระวัง

NT-proBNP ชื่อเต็ม N-terminal pro BNP
เป็นสายกรดอะมิโนที่มีขนาดยาวกว่า BNP ราวเท่าตัว มีความสำคัญและคุณสมบัติเช่นเดียว

กับ BNP จึงใช้ทดแทนกันได้

cTnT ชื่อเต็ม cardiac Troponin T
เป็นโปรตีน ใช้เป็นสารบ่งชี้มาตรฐานสำหรับกรณีที่หัวใจได้รับบาดเจ็บหรือขาดเลือด

cTnI ชื่อเต็ม cardiac Troponin I
มีความสำคัญและคุณสมบัติเช่นเดียวกับ cTnT จึงใช้ทดแทนกันได้

CK ชื่อเต็ม Creatine kinase
เป็นเอนไซม์ จะพบเพิ่มสูงขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจวายหรืออักเสบหรือได้รับอันตราย

CK MB ชื่อเต็ม Creatine kinase-MB isoenzymes
เป็นชนิดย่อยของ CK พบเพิ่มสูงขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจวายหรืออักเสบหรือได้รับอันตรายเช่น

เดียวกับ CK ต่างกันตรงที่มีความจำเพาะต่อหัวใจมากกว่า

CRP ชื่อเต็ม C-reactive protein
เป็นโปรตีนสร้างขึน้ โดยตับ ปัจจุบนั ใช้เทคนิคทีม่ คี วามไวสูงในการวัดค่า จึงนิยมเรียกว่า “high-

sensitivity CRP” หรือ “hs-CRP” เป็นสารบ่งชีท้ แี่ สดงโอกาสทีจ่ ะเกิดโรคหัวใจอุดตันในอนาคต

แต่เป็นสารบ่งชี้ที่ขาดความจำเพาะ จึงต้องใช้ร่วมกับรายการตรวจอื่นๆ ที่มีความจำเพาะกว่า
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 93

ชื่อ คุณสมบัต ิ

Homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่พบสูงขึ้นในกรณีที่เยื่อบุหลอดเลือดได้รับอันตราย หลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น

สูญเสียความยืดหยุ่นและเกิดการแข็งตัว นอกจากนี้ homocysteine ที่สูงขึ้นนี้ ยังไปกระตุ้น



ระบบการแข็งตัวของเลือด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง

หัวใจ สมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย

Mb ชื่อเต็ม Myoblobin
เป็นโปรตีน ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสารบ่งชี้ที่ตรวจได้เร็วที่สุดหลังจากเกิดอันตรายขึ้นกับ

หัวใจ

สารบ่งชี้ใน ปัจจุบันพบว่ามียีนส์หลายตัว สามารถใช้แสดงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ

ระดับพันธุกรรม ได้แก่ ITIH3, CHF, CRP, KDR, LTA, ALOX5AP, MEF2A เป็นต้น
สารบ่งชี้หัวใจอื่นๆ ยังมีสารบ่งชี้อีกจำนวนมากซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษาวิจัย และมีแนวโน้มว่าจะ

สามารถนำมาใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ใ นอนาคต ได้ แ ก่ sCD40 ligand, myeloperoxidase,

ischemia-modified albumin, choline, placental growth factor, cystatin C, fatty

acid binding protein เป็นต้น

โดยทั่ ว ไปในปั จ จุ บั น การตรวจสารบ่ ง ชี้


ทำได้ โ ดยเร็ ว ที่ ข้ า งเตี ย งผู้ ป่ ว ย แต่ ด้ วยปัญหาเรื่อง

เหล่านี้ เป็นบริการที่ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ทำได้ ค่าใช้จา่ ยทีส่ งู และความจำเป็นอืน่ ๆ ทำให้โรงพยาบาล
ด้วยเครื่องอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามสารบ่งชี้บางตัว บางแห่งอาจมีข้อจำกัดในการนำมาใช้ ในทางปฏิบัติ
อาจทำได้ยากต้องใช้เทคนิคเฉพาะหรือมีค่าใช้จ่ายสูง แพทย์ จ ะประเมิ น ผู้ ป่ ว ยเป็ น รายๆ ไป และเลื อ ก
ก็อาจไม่มีบริการในห้องปฏิบัติการทั่วไป นอกจากนี้ แนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับ
ด้ ว ยเทคโนโลยี ที่ พั ฒ นาขึ้ น มากทำให้ มี ก ารพั ฒ นา ให้เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น สั่ง
เครื่องมือขนาดพกพาหรือมีขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ ตรวจ BNP หรือ NT-BNP เป็นระยะๆ หรือสั่งตรวจ
ง่าย และทำให้การตรวจหาค่าสารบ่งชีบ้ างตัวสามารถ cTnT หรือ cTnI หรือสารบ่งชีห้ วั ใจอืน่ ๆ ตามแต่กรณี
94 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

สรุป



การตรวจเลือดบอกโรคหัวใจ ไม่จำเป็น สุดท้ายนี้ยังมีสารบ่งชี้สำหรับโรคหัวใจ
ต้องรอให้มีอาการเสียก่อนแล้วค่อยตรวจ หากแต่ บางตัวที่ไม่ได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้ นอกจากนี้ยังมีการ
ว่าสารบ่งชี้บางตัวเป็นสารที่สามารถใช้พยากรณ์ พัฒนาทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยีอีกมากที่จะ
โอกาสเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติ ดังนั้นจึงอาจ ทำให้ เ กิ ด สารบ่ ง ชี้ ตั ว ใหม่ ๆ ที่ ดี ก ว่ า เดิ ม ด้ ว ย
ทำการตรวจเช็คได้ในการตรวจสุขภาพประจำปี ความมุ่งหวังที่จะพบกับลาภอันประเสริฐ ซึ่งก็คือ
หรือทั่วไป เช่น การตรวจระดับไขมันในเลือด ค่า “ความไม่มีโรค” นั่นเอง อย่างไรก็ตามแม้การ
hs-CRP เป็นต้น ที่สำคัญเมื่อทราบโอกาสเสี่ยง ตรวจเลือดอาจได้ผลเป็นปกติ และตรวจไม่พบ
แล้ว จะต้องทราบวิธีการปฏิบัติและดูแลตนเอง ปัจจัยเสี่ยงใดๆ เลยก็ตาม โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
เพื่ อ ที่ จ ะลดหรื อ กำจั ด ปั จ จั ย เสี่ ย งเหล่ า นั้ น ให้
ก็ยังอาจจะวนเวียนและรังควานมนุษย์อยู่ได้ต่อ
ลดลงหรือหมดไป การมีชีวิตที่เบิกบาน แจ่มใส ไป หรือในทางการกลับกันแม้สารบ่งชี้บางตัวโดย
ไม่ เ ครี ย ด รั บ ประทานอาหารที่ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ เฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงจะผิด
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมถูกวิธี และการได้ ปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดโรคหัวใจ
พักผ่อนอย่างเพียงพอ ล้วนเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วย เสมอไป ดังนั้นจึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท
ถนอมบำรุงหัวใจของท่านเอาไว้
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 95

หัวใจห้อง 3 :
เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ
96 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

โรคหัวใจแต่กำเนิด...มีทางแก้
ศาสตราจารย์นายแพทย์บุญชอบ พงษ์พาณิชย์
ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ
หน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ในบรรดาความพิการแต่กำเนิด หัวใจ แปดพันคน ในจำนวนนีค้ รึง่ หนึง่ หรือประมาณสีพ่ นั คน


พิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุของการเสียชีวติ เป็นอันดับ ความพิการไม่มาก อาจหายเองหรือไม่ตอ้ งรับการรักษา
แรก เมื่อเปรียบเทียบกับความพิการที่อวัยวะอื่น นอกจากป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ
เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของความพิการแต่กำเนิด บริ เวณที่ มี ค วามพิ ก าร เด็ ก อี ก ประมาณสี่ พั น คน
ซึ่งไม่ทราบแน่ชัด ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะทำการ จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางยาหรือการผ่าตัดหรือ
ป้องกัน สาเหตุสว่ นน้อย (ไม่เกินร้อยละ 5) เช่น การติด ใช้สายสวน
เชื้อหัดเยอรมันของมารดา ในช่วง 3 เดือนแรกของ ในเด็กทีม่ คี วามพิการรุนแรงประมาณร้อยละ
การตัง้ ครรภ์ ยาและโรคของมารดา หรือความเจ็บป่วย 20 อาจเสียชีวิตภายในขวบปีแรก บางรายเสียชีวิต
ของมารดาที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การควบคุ ม เช่ น เบาหวาน โดยไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจ
เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีขีดความสามารถใน
อุบัติการณ์ของหัวใจพิการแต่กำเนิดโดย การรักษาทางยา ผ่าตัดหรือใช้สายสวนในระดับใกล้เคียง
เฉลี่ยประมาณร้อยละหนึ่งของทารกเกิดครบกำหนด กับประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วก็ตาม แต่ยงั คงมีปญ
ั หาในเรือ่ ง
ในประเทศไทยมี ท ารกเกิ ด ใหม่ ปี ล ะประมาณแปด การขาดแคลนทางบุคลากรทั้งแพทย์กุมารเวชศาสตร์
แสนคน จะมีเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดประมาณ โรคหัวใจ หรือศัลยศาสตร์หวั ใจทีส่ ามารถทำการผ่าตัด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 97

เด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กหรือรายทีม่ คี วามพิการซ้ำซ้อน ประเทศไทยสามารถทำการรักษาเด็กเหล่านี้


จึงทำให้ศัลยแพทย์โรคหัวใจต้องทำการผ่าตัดมากถึง โดยเฉพาะการผ่ า ตั ด เป็ น เวลากว่ า 40 ปี ม าแล้ ว
ปีละ 2,500 ราย ถ้ามีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ปัจจุบันนอกจากการรักษาทางยา และการผ่าตัดแล้ว
ร่วมด้วยอาจผ่าถึงปีละ 3,800 ราย บางรายอาจทำการรักษาโดยใช้สายสวน
อาการที่พบในเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่ ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาประเทศไทยมี
กำเนิด คือ อาการเขียวบริเวณเล็บมือเล็บเท้าและ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และมีการขยายศูนย์
เขียวมากขึ้นขณะร้องหรือออกแรง อาการหัวใจวาย การรักษาโรคหัวใจกระจายไปทั่วประเทศ ผู้ปกครอง
คือมีอาการหอบเหนื่อยเวลาดูดนมหรือออกกำลัง มี สามารถนำบุตรหลานไปรับการตรวจรักษาในศูนย์
อาการเลี้ยงไม่โตเนื่องจากเหนื่อยเวลาดูดนม ทำให้ ใกล้บ้านได้ ส่วนในรายที่มีความพิการซ้ำซ้อนหรือ
ได้สารอาหารไม่พอ ตลอดจนมีอาการติดเชื้อในระบบ เด็กเล็ก จำเป็นต้องได้รับการส่งต่อไปยังสถาบันที่มี
ทางเดินหายใจ เช่น เป็นหลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม ความชำนาญก็สามารถทำการรักษาได้เช่นกัน
บ่อย และอาจเสียชีวติ ได้ เด็กทีม่ หี วั ใจพิการแต่กำเนิด ปัจจุบันการตรวจเด็กหัวใจพิการสามารถ
บางรายอาจมีอาการน้อยหรือค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ ทำได้อย่างแม่นยำโดยใช้เครือ่ งคลืน่ เสียงสะท้อนหัวใจ
ไม่มีอาการชัดเจน การตรวจร่างกายสม่ำเสมอในการ โดยไม่ต้องตรวจสวนหัวใจเหมือนเมื่อ 30 ปีก่อน เด็ก
รับวัคซีนหรือตรวจที่โรงเรียนจะสามารถวินิจฉัยได้ ที่ มี หั ว ใจพิ ก ารแต่ ก ำเนิ ด เกิ น ร้ อ ยละ 80 สามารถ
เนื่องจากมีเสียงฟู่บริเวณหัวใจ วินิจฉัยและส่งผ่าตัดได้ทันที
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด บางราย
เป็นความพิการเฉพาะแห่ง เช่น ผนังหัวใจรัว่ ทีห่ อ้ งล่าง
หรือห้องบน ลิน้ หัวใจตีบหรือตัน บางรายมีความพิการ
หลายอย่างในทีเ่ ดียวกัน เช่น ผนังหัวใจรัว่ กับลิน้ หัวใจ
ตีบ เป็นต้น
หั ว ใจพิ ก ารแต่ ก ำเนิ ด ที่ พ บบ่ อ ยที่ สุ ด เกิ น

ร้อยละ 30 ของหัวใจพิการแต่กำเนิดคือผนังกั้นห้อง
ล่างของหัวใจมีรูรั่ว (Ventricular septal defect)
ตำแหน่ ง ที่ รั่ ว อาจอยู่ บ ริ เวณที่ เ ป็ น กล้ า มเนื้ อ ที่ เ ป็ น

98 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

พังผืด หรือใต้ลิ้นเอออร์ติกขนาดรูรั่วมีตั้งแต่เล็กถึง น้ำหนักตัวขึ้นช้า แพทย์จะแนะนำให้รักษาทางยา


ใหญ่ รูรวั่ ทีพ่ บบ่อยทีส่ ดุ คือ บริเวณกล้ามเนือ้ ส่วนใหญ่
เช่น ให้ยาบำรุงหัวใจและหรือร่วมกับยาขับปัสสาวะ
มีขนาดเล็ก (ตั้งแต่ 3 มม. ลงมา) และมักจะตรวจพบ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น น้ำหนักขึ้นช้าหรือเป็นปอด
ตั้งแต่แรกเกิดคือการได้ยินเสียงฟู่บริเวณหัวใจ รูรั่ว บวมบ่อยๆ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันผล
ขนาดเล็กซึ่งสามารถปิดได้เอง ส่วนใหญ่มักปิดเอง การผ่าตัดดีมากในสถาบันที่มีความชำนาญ ถ้าปล่อย
ภายใน 6-12 เดือน หากผนังรั่วบริเวณพังผืดแต่มี ทิง้ ไว้นานจะมีความดันเลือดในปอดสูง และหลอดเลือด
ขนาดเล็กก็สามารถปิดได้เองเช่นกัน แต่ถ้าผนังที่รั่ว ในปอดหนาตัว โดยเฉพาะถ้าเกินอายุ 1 ปี อาจทำ

เกิดขึ้นบริเวณใต้ลิ้นเอออร์ติกถึงแม้มีขนาดไม่ใหญ่
การผ่าตัดไม่ได้ ดังนั้นผู้ปกครองต้องรับการติดตาม
ก็อาจทำให้มีปัญหาได้เมื่ออายุมากขึ้น คืออาจทำให้ อย่างใกล้ชิด
ลิ้นเอออร์ติกหย่อนและลิ้นรั่วได้ จึงจำเป็นต้องรับ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยอีกชนิด
การผ่าตัดรักษาโดยเฉพาะเมื่อมีลิ้นเอออร์ติกรั่วเล็ก หนึ่งที่เรียกว่า Tetralogy of Fallot มีความพิการ
น้อยร่วมด้วย เพื่อป้องกันลิ้นรั่วมากขึ้น ผนังห้องล่าง หลายอย่างร่วมกัน คือมีผนังหัวใจห้องล่างมีรรู วั่ ขนาด
รั่วขนาดใหญ่มักจะตรวจพบเสียงฟู่ได้หลังจากทารก ใหญ่ ร่วมกับมีการตีบของทางออกของห้องล่างขวา
อายุ 3-4 สัปดาห์ และมีอาการหายใจเร็วและเหนื่อย ทำให้มีเลือดดำปนเลือดแดงผ่านรูรั่ว ทำให้มีอาการ
เวลาดูดนม โดยเด็กจะดูดนมได้ครั้งละน้อยๆ ทำให้ เขียวและจะเขียวมากขึ้น เมื่อออกแรงหรือเด็กร้อง
เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวที่พบบ่อยที่สุด
ปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด อาจผ่าตัดต่อ
เส้นเลือดชัว่ คราวถ้าเป็นเด็กเล็ก ทำให้เลือดไปปอดได้
และทำการผ่าตัดปิดรูรวั่ ทีผ่ นังกัน้ เวนตริเคิลและขยาย
ทางออกของเลือดดำที่จะไปปอด ปัจจุบันการผ่าตัด
ได้ผลดี และสามารถทำการผ่าตัดได้ในเด็กเล็ก เช่น
ประมาณอายุ 1 ปี
ส่วนหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดอืน่ ๆ สามารถ
ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ DOCTORDEK.COM

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 99

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

โรคหัวใจตั้งแต่เกิด

ไม่จำเป็นต้องทรมานจนโต
ศาสตราจารย์นายแพทย์กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฎ์กุล
หน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคหัวใจตั้งแต่เกิด
รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
ในประเทศไทยพบเด็กที่เป็นโรคหัวใจตั้งแต่
เกิด คิดเป็นอัตราส่วน 7:1,000 ของทารกแรกเกิด

ผู้ป่วยบางรายที่มีรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจที่มีขนาดเล็ก ก้าวหน้า จึงได้มีการคิดค้นแนวทางใหม่ในการรักษา


อาการอาจดีขึ้นหรือหายได้เอง สำหรับในบางรายที่มี โดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งใช้อุปกรณ์สำหรับปิดรูรั่วระหว่าง
รูขนาดใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายและหัวใจวายได้ ผนั ง กั้ น ห้ อ งหั ว ใจ ที่ เรี ย กว่ า แอมพลาสเซอร์
แต่ เ ดิ ม จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่ อ ปิ ด รู รั่ ว (AmplastzerTM) เป็นอุปกรณ์ double disc ที่มี
ต่างๆ นี้ แต่ในปัจจุบันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ ลักษณะเป็นแผ่นฝาสองข้าง ที่ทำขึ้นจากโลหะผสม
ชนิดพิเศษคล้ายลวดสานกันเป็นตระแกรงรูปฝา ซึ่ง
ง่ายต่อการนำไปใช้โดยสามารถสอดไปในสายสวน
หัวใจที่มีขนาดเล็ก มีอัตราความสำเร็จสูง ปิดรูรั่วได้
ทันทีโดยผลการรักษาระยะสั้นและระยะกลางดีมาก
100 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การอุดรูรั่วที่ผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน เลือกใหม่ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัด เนื่องจาก



ด้วยอุปกรณ์แอมพลาสเซอร์ ไม่ทำให้เกิดแผลผ่าตัดที่หน้าอก ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้
แพทย์จะทำการสอดอุปกรณ์ซึ่งเป็นขดลวด เร็ว ใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน
นิ่มๆ ที่กางขยายออกได้ผ่านทางสายสวน เข้าไปทาง และสามารถทำได้ตงั้ แต่ผปู้ ว่ ยยังอายุนอ้ ยเพียง 1 ขวบ
เส้นเลือดใหญ่ที่ต้นขา เมื่อถึงจุดที่มีรูรั่วจึงขยายลวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเร่งด่วนในการ
ให้กางออกปิดรูรวั่ หัวใจ แล้วจึงดึงสายสวนออก จากนัน้ รั ก ษา รวมถึ ง ชนิ ด และอาการโรคหั ว ใจของผู้ ป่ ว ย
ภายใน 3 เดือน เนือ้ เยือ่ หัวใจจะปกคลุมอุปกรณ์ปดิ รูรวั่ แต่ละราย
ภายในหัวใจอย่างถาวรเป็นผลให้หัวใจทำงานได้เป็น ด้ ว ยเทคโนโลยี ท างการแพทย์ อั น ทั น สมั ย
ปกติ ถึงไม่ผ่าตัดลูกน้อยของคุณ ก็อาจไม่จำเป็นต้องทน
วิธีการดังกล่าวโดยรวม สามารถใช้ได้ราว ทรมานกับอาการโรคหัวใจ
80% ของผู้ป่วยที่มีรูรั่วต่างชนิดกัน นับได้ว่า เป็นทาง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 101

ชนิดของโรคหัวใจตั้งแต่เกิด
1. รูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน
(Atrial Septal Defect : ASD)
2. รูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านล่าง
(Ventricular Septal Defect : VSD)
3. เส้นเลือดแดงที่เกิดผิดปกติระหว่างปอด

และหัวใจ (Patent Duct Ariterious :

PDA)







รู รวั่ ระหว่างผนังกัน้ ห้องหัวใจด้านบน สายสวนหัวใจพร้อมอุปกรณ์อดุ รูรวั่ ด้านบน ตำแหน่งของอุปกรณ์อดุ รูรวั่ หัวใจด้านล่าง

โรคหัวใจทั้ง 3 ชนิด พบได้ถึงร้อยละ 50 ผิดปกติ และอาจเป็นผลทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการตาย
ของโรคหัวใจในเด็กและผู้ใหญ่ อาการของผู้ป่วย เช่น สูงขึน้ ภายหลัง โดยมีการใช้อปุ กรณ์ “แอมพลาสเซอร์”
เหนื่อยง่าย โตช้า หายใจเร็ว ในบางรายอาจมีอาการ (AmplastzerTM) เพือ่ ปิดรูรวั่ ระหว่างผนังกัน้ ห้องหัวใจ
ในช่วงอายุ 20-30 ปี ผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับคำแนะนำ ทางการตรวจสวนหัวใจอย่างถาวรในผู้ป่วยมากกว่า
ให้ทำการปิดรูรั่วที่มีขนาดใหญ่ทันทีเพื่อลดอาการที่ 60,000 รายทั่ ว โลก โดยได้ มี ก ารใช้ อุ ป กรณ์ นี้ ที่

เกิดขึ้นดังกล่าว และป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการที่ โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน
หัวใจทำงานหนักเกินไป ทำให้มขี นาดโตกว่าปกติและ
มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามากกว่า 900 ราย
มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีความดันเลือดในปอดสูง
102 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ข้อดี
- ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว
- ผู้ป่วยไม่มีแผลเป็น
- ผลแทรกซ้อนน้อยกว่าผ่าตัด

ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับ

- หลีกเลี่ยงอัตราเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดเปิดหัวใจ
- ไม่มีรอยแผลผ่าตัดที่หน้าอกและลดความเจ็บปวดที่อาจเกิดจากการผ่าตัด
- ใช้เวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน เมื่อเทียบกับ 7-10 วัน ในการผ่าตัด
- ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องมีผู้ดูแล
- ลดระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านเหลือเพียง 2-3 วันจากเดิม 3-4 สัปดาห์
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 103

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

ใจใหญ่....ใจโต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

“คุณหมอคะ คุณแม่ดิฉันเป็นหัวใจโตค่ะ” หัวใจโต... โตจากอะไร



คำถามเหล่านีไ้ ด้ยนิ กันเสมอในหมูอ่ ายุรแพทย์ ขนาดหั ว ใจที่ โ ตกว่ า ปกติ นั้ น
และแพทย์โรคหัวใจ เป็นความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยๆ อาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โตจาก
เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มี “โรคหัวใจโต” มีแต่ กล้ามเนือ้ ทีห่ นาตัวกว่าปกติ ลองนึกภาพ
“ภาวะหัวใจโต” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ หัวใจก็ คนเล่นกล้าม นักเพาะกาย กล้ามเนื้อ
เป็นอวัยวะเช่นเดียวกันกับอวัยวะอืน่ ๆ เมือ่ ต้องทำงาน ใหญ่ขึ้น เพราะทำงานหนัก กล้ามเนื้อ
หนักมากกว่าปกติ หรือมีปญ ั หาอืน่ ๆ ก็อาจทำให้ขนาด หัวใจก็เช่นเดียวกัน หากต้องทำงานหนัก
หัวใจโตขึ้น ดังนั้น หัวใจที่โตขึ้นจึงไม่ใช่ “โรค” แต่ บีบตัวมากๆ เช่น ในกรณีความดันโลหิต
เป็นผลตามมาเนื่องจากโรคอื่นๆ สูง หรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ทำให้กล้ามเนื้อ
หัวใจหนาขึ้นได้
104 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อี ก ประการหนึ่ ง คื อ ให้ เ ห็ น จากคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจ แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามคลื่ น


ขนาดของหัวใจโตขึ้ น เพราะ ไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่มีความไวต่ำ หมายความ
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มี ว่า แม้คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ก็มิได้หมายความว่าหัวใจ
เลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ไม่โต หรือไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
คล้ า ยลู ก โป่ ง ใส่ น้ ำ ทำให้ อาจบอกว่ า โต แต่ จ ริ ง ๆ แล้ ว ไม่ โ ตก็ ไ ด้ เอกซเรย์

ขนาดโตขึ้น แบบนี้น่าจะเรียก
ว่า “ใจใหญ่” มากกว่า หาก
เอกซเรย์ทรวงอกดู จะเห็นขนาดหัวใจใหญ่คับอกเลย
ทีเดียว มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต ที่พบ
ประจำ คือ ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย เบาหวาน
เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่
หนากว่ า ปกติ โ ดยไม่ ท ราบสาเหตุ โรคหั ว ใจจาก
แอลกอฮอล์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งเช่นกัน

แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าหัวใจโต
ภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติ
ใดๆ หากจะมีอาการก็จะเป็นอาการเนือ่ งจากโรคทีเ่ ป็น

ต้นเหตุ และอาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อย
ง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกายจะ ทรวงอกบอกขนาดหัวใจได้ดพี อสมควร แต่กผ็ ดิ พลาด

บอกได้หากหัวใจมีขนาดโตมาก แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้ง่าย เพราะขึ้นกับเทคนิค ระยะห่างระหว่างหัวใจ
การตรวจร่างกายจะมุ่งหาสาเหตุของหัวใจโต มาก กับฟิล์ม การหายใจ เป็นต้น บ่อยครั้งที่ดูว่าหัวใจโต
กว่าที่จะบอกขนาดของหัวใจ การตรวจที่จำเป็น คือ จากเอกซเรย์ แต่จริงๆ แล้วขนาดหัวใจปกติ ไม่โตเลย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นเงา ในทางกลับกันเอกซเรย์บอกว่าปกติแต่ความจริงมี
ปอดและหัวใจ หากกล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมาก กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติมากก็เป็นได้ ต้องเข้าใจ
หรือเคยมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อน จะแสดง ว่า การตรวจเหล่านี้ล้วนมีข้อจำกัดทั้งสิ้น บ่อยครั้งที่
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 105

แพทย์สั่งตรวจพิเศษเหล่านี้หลายๆ อย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ ผิดปกติ ควรได้รับการตรวจนี้ เพื่อดูความสามารถใน


ได้ข้อมูลมากที่สุด การบีบตัวของกล้ามเนือ้ หัวใจ นอกจากนัน้ ผูท้ เี่ อกซเรย์
พบว่าหัวใจขนาดโตกว่าปกติบางราย ควรดูให้แน่ใจว่า
ตรวจวิธีไหนบอกหัวใจโตได้ดีที่สุด โตจริงไหม ทั้งนี้แล้วแต่แพทย์โรคหัวใจจะพิจารณา
ไม่มีวิธีไหนดีที่สุดโดยไม่มีข้อจำกัดในการ เป็นรายๆ ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด เช่น
ตรวจเลย วิธีดูขนาดหัวใจที่ยอมรับกันว่าดีมากใน เบาหวาน หากพบว่าหัวใจโตจากเอกซเรย์กค็ วรตรวจ
ปัจจุบัน คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ละเอียดเช่นกัน เนื่องจากภาวะหัวใจโตไม่จำเป็นต้อง
หรือคลื่นอัลตราซาวนด์นั่นเอง การตรวจชนิดนี้มีชื่อ มีอาการ
เรียกเฉพาะว่า “เอกโค่คาร์ดิโอกราฟฟี่” (echocar-
diography) หลักการคือ เครื่องมือจะส่งคลื่นเสียง หัวใจโต...รักษาได้
ความถี่สูงทะลุผ่านอวัยวะต่างๆ ที่จะตรวจ เมื่อผ่าน การรักษาภาวะหัวใจโต คือการรักษาตาม
ส่วนต่างๆ คลื่นเสียงเหล่านี้จะสะท้อนกลับ ความ สาเหตุ เช่น รักษาความดันโลหิตสูง ผ่าตัดลิ้นหัวใจ
สามารถในการสะท้อนกลับขึน้ อยูก่ บั ชนิดของเนือ้ เยือ่
หรื อ รั ก ษาภาวะหั ว ใจล้ ม เหลว เป็ น ต้ น แม้ ว่ า การ
ที่มันผ่าน เช่น เลือด กระดูก กล้ามเนื้อ เหล่านี้ให้ รักษาอาจไม่ได้ลดขนาดหัวใจลงให้เห็นได้ชัดเจนจาก
สัญญาณการสะท้อนกลับแตกต่างกัน คอมพิวเตอร์จะ
เอกซเรย์ในบางราย แต่การรักษาจะช่วยป้องกันไม่ให้
บันทึกสัญญาณสะท้อนกลับเหล่านี้ นำมาสร้างภาพ โตขึ้นเรื่อยๆ ได้
ขึ้นเห็นเป็นอวัยวะที่แพทย์กำลังตรวจอยู่ ดังนั้นหาก
ตรวจที่หัวใจ ก็จะเห็นห้องหัวใจ ซึ่งวัดขนาดได้ว่าโต
หรือไม่ เห็นการทำงานของลิน้ หัวใจ เห็นกล้ามเนือ้ หัวใจ
และความสามารถในการบีบตัวว่าเป็นอย่างไร จึงให้
รายละเอียดได้มากกว่าการตรวจอื่นๆ อย่างไรก็ตาม
การตรวจชนิดนี้ไม่เห็นหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และ
เห็นภาพไม่ชดั นักในผูป้ ว่ ยทีอ่ ว้ นหรือมีโรคปอด (ยกเว้น
การตรวจโดยผ่านหลอดอาหาร)
ผูท้ มี่ อี าการของหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด
ความดันโลหิตสูง หรือตรวจร่างกายทางระบบหัวใจ
106 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจตีบ
รองศาสตราจารย์นายแพทย์ถาวร สุทธิไชยากุล
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการ กล่าวได้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง
เสียชีวิตที่พบมากที่สุด องค์การอนามัยโลกประมาณ ชั่วโมงละ 7 คนเลยทีเดียว
ไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ถึง 17.5 ล้านคนในแต่ละปี (หรือ 1 ใน 3 ของผูเ้ สียชีวติ อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ทั้งหมด) มีการพยากรณ์ว่าการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นจากผนังด้านใน
และหลอดเลือด ซึง่ รวมถึงภาวะหัวใจวาย โรคหลอด- ของหลอดเลือดถูกทำลายและมีไขมันสะสม (บางครั้ง
เลือดสมอง และภาวะความดันโลหิตสูงมีถึง 24.2 เรียกว่าคราบไขมัน) กระบวนการนี้ทำให้เกิดภาวะ
ล้านคน หรือร้อยละ 32.5 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดในปี หลอดเลือดแดงแข็ง
ค.ศ. 2030 สาเหตุการตายอันดับหนึง่ ของประเทศไทย คราบไขมันที่มีการก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลายปีทผี่ า่ นมาก็ยงั คงเป็นเรือ่ งของ “โรคหัวใจ” สถิติ ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง เลือดไหลผ่านไปเลีย้ ง
ของกระทรวงสาธารณสุขบ่งว่า อัตราการตายจากโรค กล้ามเนือ้ หัวใจได้นอ้ ยลงจนทำให้กล้ามเนือ้ หัวใจได้รบั
หัวใจเพิ่มขึ้นจาก 49.5 ต่อประชากร 100,000 คน ออกซิเจนไปเลี้ยงน้อยลงตามไปด้วย นอกจากนี้เกล็ด
เมือ่ ปี พ.ศ. 2532 เป็น 58.5 ต่อประชากร 100,000 คน
เลือด (เซลล์ชนิดหนึ่งที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด)
ในปี พ.ศ. 2536 หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 ซึ่งอาจ จะสามารถเกาะกลุ่ ม กั น ได้ ง่ า ยขึ้ น บริ เวณผนั ง ของ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 107

หลอดเลือดที่ขรุขระจึงเป็นสาเหตุให้เกิดการก่อตัว • ความเครียด
ของลิ่มเลือดจนอาจไปอุดกั้นการไหลของเลือดที่ไป หากคุณมีความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอ

เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ รอลในเลือดสูง เบาหวาน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกิน
เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน กล้าม คุ ณ ควรเข้ า รั บ คำปรึ ก ษาและการรั ก ษาจากแพทย์
เนื้อหัวใจจะขาดอาหารและออกซิเจน ภาวะดังกล่าว อย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น
เรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากเลือดยังไม่
สามารถไหลไปเลี้ ย งหั ว ใจได้ เ พี ย งพอภายในระยะ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เวลาหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดความเสียหายจนเกิด • เพศ (โรคหลอดเลือดหัวใจพบในเพศชาย

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ มากกว่าเพศหญิง)
• กรรมพันธุ์ (ความเสีย่ งเพิม่ ขึน้ หากมีประวัต

ใครมีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจของคนในครอบครัว)
โรคหลอดเลือดหัวใจ • อายุ (ความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ชายอายุมาก

ปัจจัยเสี่ยงคือภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการ กว่า 50 ปีและผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี)
เกิดโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้บางอย่างสามารถ
ควบคุ ม ได้ บางอย่ า งไม่ ส ามารถควบคุ ม ได้ ถึ ง แม้ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นอยู่กับ
หัวใจ แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นสาเหตุทั้งหมดของ ลักษณะและขนาดของหลอดเลือดที่มีการอุดตัน อา
โรคหลอดเลือดหัวใจ การอาจมีตั้งแต่อาการเจ็บหน้าอกขณะออกกำลังกาย
จนถึงเกิดอาการหัวใจวายอย่างกะทันหัน
ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ อาการเจ็บหน้าอกเป็นสัญญาณเตือนเบื้อง
• ความดันโลหิตสูง ต้นของโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ :
• ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง • รู้สึกหนักๆ บริเวณหน้าอก
• การสูบบุหรี่ • รูส้ กึ จุกแน่นทีต่ รงกลางหน้าอกหรือยอดอก

• โรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือใต้ลิ้นปี่
• ขาดการออกกำลังกาย • เจ็บหน้าอก หรือเจ็บร้าวที่ไหล่และแขน
• โรคเบาหวาน • มีอาการปวดเค้นคล้ายมีอะไรกดทับ
108 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อาการเหล่านี้มักรู้สึกได้บริเวณลึกลงไปใต้ และการสูบบุหรี่
กระดูกซี่โครงช่วงอก แต่บางครั้งอาจเกิดบริเวณแขน • อาการมั ก บรรเทาลงภายใน 2-3 นาที

คอ หรือกราม อาการเหล่านี้มักทำให้ผู้ป่วยต้องเข้า หลังจากที่ได้พักหรือได้รับยารักษาอาการ

รับการรักษากับแพทย์ เจ็บหน้าอก
อาการหัวใจวายเป็นอาการที่มีความรุนแรง การเจ็บหน้าอกแบบอาการไม่คงที่
มากกว่า มีอาการเจ็บหน้าอกนาน ไม่สามารถบรรเทา เกิดขึน้ เมือ่ คราบไขมันในหลอดเลือดโคโรนารี
หลังจากหยุดพักหรือรับประทานยา ผู้ป่วยบางคน เกิดการปริแตกออก เกล็ดเลือดจะเข้ามาเกาะกลุ่ม
อาจเกิดอาการหัวใจวายโดยไม่เคยเกิดอาการเจ็บ รวมกันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหายคล้ายกับเมื่อเกิด
หน้าอกมาก่อนเลยก็ได้ มีดบาดที่ผิวหนัง เกล็ดเลือดเหล่านี้จะก่อตัวเป็นลิ่ม
อาการเจ็บหน้าอกมี 2 แบบ เลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง การไหลของเลือด
การเจ็บหน้าอกแบบอาการคงที่ ลดลงบางส่วนหรือมีการอุดตันทั้งหมดทำให้เลือดไม่
มีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจบางส่วนมีการ สามารถไหลเวียนได้เลย อาการจะเกิดขึ้นอย่างทันที
ตีบตัน ทันใด อาจเป็นอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงทีเ่ กิดขึน้
• อาการมักเป็นรูปแบบเหมือนๆ เดิม ผูป้ ว่ ย
เป็นครั้งแรก หรือเคยมีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆ มา

จะทราบดีว่าจะเกิดอาการเมื่อใดหลังจาก
ระยะหนึ่งแล้ว และต่อมาอาการเป็นรุนแรงมากขึ้น
ที่เคยเกิดอาการกำเริบหลายครั้งและจาก
อาการดังกล่าวนี้จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทาง

รูปแบบของอาการที่เกิด สามารถทำนาย
การแพทย์อย่างเร่งด่วนและ “การเจ็บหน้าอกแบบ
การเกิดอาการได้จากระดับของกิจกรรม
อาการไม่คงที่” ยังใช้เมื่ออาการที่เกิดขึ้นวินิจฉัยได้ว่า
ทีท่ ำหรือความเครียดทีม่ ากระตุน้ รูปแบบ
เกิดภาวะหัวใจวาย
ของอาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ทัง้ การเจ็บหน้าอกแบบอาการคงทีแ่ ละไม่คงที่
• อาการเจ็บหน้าอกถูก
บ่งชีว้ า่ มีโรคของหลอดเลือดหัวใจทีเ่ กิดขึน้ ผูป้ ว่ ยทีเ่ คย

กระตุ้ น จากอารมณ์
มีอาการเจ็บหน้าอกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิด
เครียด ความเย็นหรือ ภาวะหัวใจวายเมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยมีอาการของ
ความร้ อ นจั ด การ
โรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน แต่อาการเจ็บหน้าอก
รับประทานอาหารอิม่ ไม่ใช่สัญญาณของการเกิดอาการหัวใจวายทั้งหมด
เกินไป แอลกอฮอล์
ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกควรเรียนรู้ถึง

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 109

รูปแบบอาการเจ็บหน้าอกของตนเอง ดังต่อไปนี้ : หัวใจโตสามารถตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้า


• อะไรเป็ น สาเหตุ ใ ห้ ต นเกิ ด อาการเจ็ บ
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน
หน้าอกขึ้น ความถี่สูง (Echocardiogram)
• อาการที่เกิดขึ้นเปรียบได้กับอะไร การตรวจหัวใจด้วยวิธนี ใี้ ช้คลืน่ เสียงเพือ่ ทำให้
• ระยะเวลานานเท่าใดกว่าที่อาการมักจะ
เกิดภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ รูปภาพที่เกิดขึ้นจะให้
หายหรือบรรเทาลง และ รายละเอียดมากกว่าการถ่ายเอกซเรย์และผูป้ ว่ ยไม่ตอ้ ง
• ยาที่รับประทานช่วยให้อาการดังกล่าว
รับรังสี
บรรเทาลงได้หรือไม่ การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ
หากรูปแบบอาการเปลี่ยนแปลงจากที่เคย โดยการออกกำลังกาย
เป็นอย่างมาก หรืออาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการของ (Exercise stress test/EST)
ภาวะหัวใจวาย ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือจาก เป็นการบันทึกการเปลีย่ นแปลงของคลืน่ ไฟฟ้า
แพทย์โดยด่วน หัวใจหากเกิดอาการหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย
เหตุทมี่ กี ารทดสอบแบบนีเ้ พราะโรคหัวใจบางประเภท
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีอาการแสดงเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อหัวใจทำงานหนัก
จากลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกสามารถ เท่านัน้ การทดสอบนีจ้ ะทำการตรวจคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจ
ใช้ช่วยวินิจฉัยได้ ท่านควรจดจำถึงลักษณะอาการ ก่อนออกกำลัง ขณะออกกำลัง และหลังออกกำลังกาย
ระยะเวลาที่เกิดความรุนแรงและอื่นๆ โดยการเดินบนสายพาน มีการวัดอัตราการเต้นของ
หลังจากการซักประวัติอย่างละเอียดและ หัวใจและความดันโลหิตไปพร้อมกันด้วย
ตรวจร่างกาย แพทย์อาจจะทำการตรวจบางอย่าง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจที่ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นการ
เกิดขึ้น ตรวจเพื่อดูบริเวณที่มีความเสียหายในหัวใจ โดยการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ฉีดสารกัมมันตรังสีปริมาณเล็กน้อยเข้าหลอดเลือดดำ
เป็นการตรวจเพื่อดูกระแสไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งมักเป็นที่แขน จากนั้นเครื่องสแกนจะบันทึกสาร
ขณะที่บีบตัวและคลายตัว ช่วยบอกถึงการเต้นของ กัมมันตรังสีที่กล้ามเนื้อหัวใจรับเข้าไป (เป็นบริเวณที่
หัวใจที่ผิดปกติและกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่มีความ ปกติ) และที่ไม่มีการรับเข้าไป (เป็นบริเวณที่มีความ
เสียหาย การไหลของเลือดที่ไม่เพียงพอ และภาวะ เสียหาย)
110 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การตรวจด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ การรักษาประกอบด้วย
(Angiogram) 1. การใช้ยา
เป็นการตรวจดูหลอดเลือดหัวใจโดยใช้สาย 2. การขยายหลอดเลือดหัวใจ
สวนขนาดเล็กสอดเข้าในหลอดเลือดแดงทีแ่ ขนหรือขา 3. การทำผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
ผ่านเข้าไปถึงหลอดเลือดหัวใจ สีหรือของเหลวที่ฉีด
เข้าไปในหลอดเลือดจะปรากฏให้เห็นในภาพเอกซเรย์ 1. การใช้ยานั้นมีหลายชนิดเช่น
มีการบันทึกภาพหลอดเลือดหัวใจ (angiogram) ซึ่ง 1.1 ยาลดคอเลสเตอรอล
จะแสดงให้เห็นความผิดปกติ เช่น มีการอุดตัน หรือ การมีระดับคอเลสเตอรอลสูงทำให้มีไขมัน
ตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจ สะสม (เรียกว่าคราบไขมัน) อยู่ในหลอดเลือดหัวใจ
ซึง่ เป็นปัจจัยเสีย่ งมากทีส่ ดุ อย่างหนึง่ ในการเกิดอาการ
สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างไร เจ็บหน้าอกและภาวะหัวใจวาย
การปรับเปลี่ยนหลายอย่างและรูปแบบการ การรักษาด้วยยาลดคอเลสเตอรอลอาจใช้
ดำเนินชีวิตรวมทั้งการรักษาด้วยยาจะช่วยลดความ ร่วมกับแผนในเรื่องการรับประทานอาหารและการ
เสี่ยงได้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต
รูปแบบการดำเนินชีวิตที่สำคัญที่ควรปรับ ยาลดระดั บ คอเลสเตอรอลจะช่ ว ยลด
เปลี่ยน : ปริมาณของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดและช่วย
• เลิกสูบบุหรี่ ลดปริมาณคราบไขมันที่ก่อตัวอยู่ในหลอดเลือดแดง
• รับประทานอาหารทีม่ ไี ขมันอิม่ ตัวให้นอ้ ยลง
ลง เมื่อคราบไขมันที่ก่อตัวลดลง เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
และควรเพิ่ม : มีการไหลเวียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ช่วยลดการปริแตก
- ผักและผลไม้ ของคราบไขมันในหลอดเลือด ความเสี่ยงในการเกิด
- ธัญพืช ขนมปัง พาสต้า และผลิตภัณฑ์
ภาวะหัวใจวายก็ลดลงด้วย
จากข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
- ปลา
• จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์
• รักษาน้ำหนักให้ได้สัดส่วน
• หมั่นออกกำลังกาย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 111

1.2 ยาควบคุมความดันโลหิตสูง 1.6 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด


ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่อาจทำให้เกิด ยาต้านการแข็งตัวของ
หั ว ใจวาย สมองขาดเลื อ ด หรื อ ไตวายได้ ขณะที่ เลือด บางครั้งเรียกว่า ยาที่ทำ

ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้น ให้เลือดใสขึ้น คุณสมบัติคล้าย
การลดความดันโลหิตเป็นการลดความเสี่ยงในการ กั บ ยาต้ า นเกล็ ด เลื อ ดคื อ ช่ ว ย
เกิดหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ ป้องกันการก่อตัวเป็นลิ่มเลือด
1.3 ยาต้านเกล็ดเลือด จึงมีผลในการลดความเสี่ยงใน
เกล็ดเลือดเป็นเซลล์เล็กๆ ชนิดหนึ่งที่อยู่ใน การเกิดอาการหัวใจวายกำเริบ
กระแสเลือด มีหน้าที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามปกติ
และป้องกันการเสียเลือดเนื่องจากการบาดเจ็บ เมื่อ 2. การขยายหลอดเลือดหัวใจ
ผนังหลอดเลือดถูกทำลายเสียหายหรือมีการปริแตก เป็ น การขยายหลอดเลื อ ดหั ว ใจโดยการ

เกล็ดเลือดจะมาเกาะกลุ่มรวมกันเป็นลิ่มเลือดและ สอดสายสวนที่ มี บ อลลู น ขนาดเล็ ก ที่ ปลายเข้าทาง
มากจนอุดกั้นการไหลของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ยาที่ หลอดเลือดแดงที่แขนหรือต้นขา บอลลูนจะถูกทำให้
สามารถหยุดการก่อตัวเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือด พองขึ้นเล็กน้อยเพื่อขยายหลอดเลือดที่มีการตีบแคบ
เรียกว่ายาต้านเกล็ดเลือด ขดลวดโลหะขนาดเล็กอาจถูกใส่คาไว้บริเวณที่มีการ
1.4 ยาขยายหลอดเลือด อุดตันเพื่อช่วยขยายหลอดเลือดไว้
ยาขยายหลอดเลือด ใช้สำหรับป้องกันและ
รักษาอาการเจ็บหน้าอก และยังช่วยในการรักษาภาวะ 3. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
หัวใจวาย ออกฤทธิโ์ ดยไปขยายหลอดเลือดแดงของหัวใจ ในการทำผ่าตัดเพื่อทำทางเบี่ยงของหลอด
ทำให้เลือดและออกซิเจนไหลไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น เลือดหัวใจ หลอดเลือดที่ใช้มักเป็นหลอดเลือดดำที่
1.5 ยาละลายลิ่มเลือด ขาหรือหลอดเลือดแดงที่หน้าอก โดยจะถูกต่อเข้า
ยาละลายลิ่มเลือดจะช่วยในการละลายลิ่ม กับหลอดเลือดหัวใจที่มีการอุดตัน เพื่อทำทางเบี่ยง
เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดความเสีย จากบริเวณที่มีการอุดตัน หากมีหลอดเลือดมากกว่า
หายที่เกิดขึ้นกับหัวใจ การละลายลิ่มเลือดจะช่วยให้ 1 เส้นที่มีการอุดตัน จะต้องทำทางเบี่ยงของแต่ละ
มีเลือดไหลผ่านไปเลีย้ งกล้ามเนือ้ หัวใจ ลดความรุนแรง เส้น เลือดสามารถไหลอ้อมบริเวณที่มีการอุดตันไป
ของภาวะหัวใจวายได้ เลี้ยงหัวใจได้ ทำให้อาการเจ็บหน้าอกบรรเทาลง
112 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

“บอลลูนหัวใจ”
และการรักษาด้วยสายสวน
ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์
ผู้อำนวยการสถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท
แพทย์หญิงปิยนาฏ ปรียานนท์
สถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามี ในมาตรการการรักษามาตรฐานที่ยอมรับให้ใช้กันทั่ว
หลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ไม่ว่าจะเป็นแบบ โลก ด้วยเหตุผลที่เป็นวิธีการรักษาภาวะหลอดเลือด
เรือ้ รังหรือเฉียบพลัน จะมีหนทางการรักษาหลัก 3 ทาง หัวใจตีบที่ได้ผลดี โดยมีข้อมูลอ้างอิงจากการศึกษา
คือ รักษาด้วยยา การขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ มากมายในผู้ป่วยจริงทั่วโลก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
หรืออุดตันด้วยบอลลูน และการผ่าตัดทำทางเบี่ยง กระบวนการทัง้ หมดของการขยายหลอดเลือด
(ผ่าตัดบายพาส) หลอดเลือดหัวใจ หัวใจด้วยบอลลูนจะเกิดขึน้ ในห้องปราศจากเชือ้ คล้าย
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนได้รบั ห้องผ่าตัด แต่สิ่งที่กระทำจะไม่ใช่การผ่าตัด และจะ
การศึกษาพัฒนาเทคนิคการทำ รวมไปถึงเครื่องมือ ไม่มีการดมยาสลบ ใช้แต่ยาชาเฉพาะที่เท่านั้น ผู้ป่วย
และอุปกรณ์ที่ใช้มาตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีหลัง รูส้ กึ ตัวตลอดเวลา สามารถพูดคุยได้ ผูป้ ว่ ยจะต้องได้รบั
จากที่แพทย์หัวใจชาวเยอรมันได้เริ่มทำบอลลูนขยาย การฉีดสารทึบรังสีสวนหัวใจดูหลอดเลือดหัวใจก่อน
หลอดเลือดหัวใจให้กับผู้ป่วยรายแรกในปี ค.ศ. 1974 เพือ่ ให้ได้การวินจิ ฉัยทีแ่ น่นอนว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ
ปัจจุบนั การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเป็นหนึง่ ที่ตำแหน่งใดของหลอดเลือดเส้นใดบ้าง ตีบมากน้อย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 113

แค่ไหน เพื่อวางแผนการว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อะไร 10 ที่ 6 เดือนกรณีใช้ขดลวดเคลือบยา ขณะเดียวกัน


ต้องทำบอลลูนขยายทีจ่ ดุ ใดบ้าง ต้องใส่ขดลวดหรือไม่ ผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็นเบาหวานมีอตั ราการตีบซ้ำของหลอดเลือด
ฯลฯ สูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานอย่างชัดเจน
หลังจากนั้นจึงเริ่มทำบอลลูน หลักการคือ ขดลวด (stent) ถูกออกแบบมาให้ใส่ไว้เพื่อ
ใส่ท่อพลาสติกขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ค้ำยันไม่ให้ผนังหลอดเลือดที่ถูกขยายหดกลับเข้ามา
2-3 มิลลิเมตรผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ขาหรือที่ และป้องกันไม่ให้คราบหินปูนและไขมันกลับเข้ามา
แขนให้ปลายท่อไปจ่ออยูท่ ที่ างเข้าของหลอดเลือดแดง ทำให้รเู ปิดของหลอดเลือดตีบแคบลงอีก อย่างไรก็ตาม
ของหัวใจ หลังจากนั้นร้อยลวดเส้นเล็กๆ ผ่านเข้าทาง แม้จะทำบอลลูนใส่ขดลวดไว้แล้ว ในตัวขดลวดเองก็
ท่อพลาสติกนั้นเข้าไปในหลอดเลือดแดงจนกระทั่ง เกิดการตีบซ้ำได้ เพราะร่างกายสร้างเนื้อเยื่อเข้ามา

ปลายของลวดดังกล่าวผ่านจุดตีบไป ปกคลุมขดลวดที่อยู่ที่ผนังด้านในของขดลวดเอาไว้

หลังจากนั้นจะร้อยบอลลูนที่มีลักษณะเป็น ดังนั้นจึงมีการพัฒนาขดลวดเคลือบยาขึ้นมา โดยยา
ทรงยาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 มิลลิเมตร จะออกฤทธิ์ชะลอไม่ให้เนื้อเยื่อถูกสร้างเข้ามาปกคลุม
ผ่านเข้าไปโดยมีเส้นลวดเป็นตัวนำ (บอลลูนอยู่ใน ภายในรูเปิดของขดลวดเร็วเกินไปหรือมากเกินไป
ภาวะแฟบ) เมื่ อ บอลลู น ถู ก ดั น ผ่ า นไปถึ ง จุ ด ตี บ ที่ โอกาสที่จะเกิดการตีบซ้ำในขดลวดก็น้อยลง
ต้องการขยาย ก็จะใช้อุปกรณ์เป่าให้บอลลูนขยาย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนทำได้
ออก เบียดให้คราบไขมันและหินปูนที่เกาะอยู่เป็น ในทั้งสถานการณ์ด่วน และไม่ด่วน กรณีที่ต้องทำ

เหตุให้หลอดเลือดตีบแบนราบลง เปิดทางให้รูที่ตีบ โดยด่วนคือในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก
แคบนั้นกว้างขึ้น หลอดเลือดก็จะถูกเปิดขยายออก ที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันจากลิ่มเลือดแบบ
ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นดีขึ้น เฉียบพลัน ที่ต้องรีบเปิดหลอดเลือดหัวใจดังกล่าวให้
ในอดีตเมื่อครั้งยังไม่มีการใส่ขดลวด บริเวณ ได้ภายในเวลาอันรวดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อ
ที่ได้รับการทำบอลลูนขยายแล้วก็ยังมีโอกาสกลับมา หั ว ใจขาดเลื อ ดนานเกิ น ไปจนเกิ ด ภาวะกล้ า มเนื้ อ
ตีบซ้ำได้อีกในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30-40 ที่ หัวใจตาย เป็นเหตุให้หัวใจวายในอนาคต
6 เดือนหลังทำ แต่เมื่อมีการพัฒนาใส่ขดลวดเข้าไปที่ ส่วนการทำแบบไม่เร่งด่วนคือกรณีที่ผู้ป่วย
จุดตีบดังกล่าวหลังจากทำบอลลูนขยายแล้ว อัตรา มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือด
เฉลี่ยของการกลับมาตีบซ้ำลดลงเหลือร้อยละ 20 หัวใจตีบ แต่ไม่ได้อดุ ตันแบบเฉียบพลัน ผูป้ ว่ ยลักษณะ

กรณีใช้ขดลวดแบบธรรมดา และเหลือต่ำกว่าร้อยละ นี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเปิดหลอดเลือด
114 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

รูปที่ 1 แสดงการทำบอลลูน รูปที่ 2 บอลลูน และขดลวด รูปที่ 3 หลอดเลือดหัวใจที่ได้จากการ

ขยายหลอดเลือดหัวใจ ฉีดสารทึบรังสี พบมีรอยตีบของ

หลอดเลือดหัวใจที่อยู่ด้านขวา

(ลูกศรชี้)

หัวใจแบบทันทีทันใด คำถามที่มักจะเกิดขึ้นเสมอคือ วิธีการเปิด


นอกเหนื อ จากวิ วั ฒ นาการของเส้ น ลวด หลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนนี้ มีข้อดีข้อเสียแตกต่าง
บอลลูน และขดลวด ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อ กับการให้ยา (ซึ่งอาจจะมีทั้งยากินและยาฉีด แล้วแต่
เนื่องแล้ว มีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่ถูกคิดค้นขึ้นมา กรณี) แต่เพียงอย่างเดียว หรือกับการผ่าตัดบายพาส

เพื่อให้การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจทำได้ หลอดเลือดหัวใจอย่างไรบ้าง กรณีผู้ป่วยมาด้วยภาวะ
อย่างเหมาะสมถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันดังที่กล่าวข้างต้น
เครือ่ งมือตรวจอัลตราซาวนด์ภายในหลอดเลือดหัวใจ ตามทฤษฎีแล้วมีทางเลือก 2 ทางทีจ่ ะเปิดหลอดเลือด

หัวกรอกากเพชร หรือหัวเลเซอร์ทอี่ อกแบบมาเพือ่ กรอ ที่กำลังอุดตันอยู่ นั่นคือการให้ยาละลายลิ่มเลือดเข้า
หินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังด้านในของหลอดเลือดหัวใจ ทางหลอดเลือดดำเหมือนการให้ยาทั่วไป หรือทำ
แม้กระทัง่ อุปกรณ์วดั ความดันเลือดภายในหลอดเลือด บอลลูนขยายจุดที่อุดตันอยู่ขณะนั้นโดยทำเป็นกรณี
หัวใจเพื่อใช้ตัดสินว่าจุดตีบที่หลอดเลือดจุดนั้น ตีบ เร่งด่วน มีการศึกษามากมายทีย่ นื ยันว่าการทำบอลลูน
มากพอที่จะจำเป็นต้องทำบอลลูนขยายหรือไม่ ฯลฯ สามารถเปิดหลอดเลือดหัวใจทีก่ ำลังอุดตันอยูไ่ ด้สำเร็จ
อุ ป กรณ์ เ หล่ า นี้ แ พทย์ จ ะพิ จ ารณาใช้ กั บ ผู้ ป่ ว ยเป็ น เกินกว่าร้อยละ 90 ในขณะทีก่ ารให้ยาละลายลิม่ เลือด
รายๆ ไป เปิดหลอดเลือดได้ร้อยละ 25-50 เท่านั้น ณ เวลา

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 115

รูปที่ 4 หลอดเลือดหัวใจขณะทำบอลลูนขยาย รูปที่ 5 หลอดเลือดหัวใจหลังทำบอลลูนขยายและใส่

และใส่ขดลวด ขดลวดแล้ว พบตำแหน่งที่เคยเป็นรอยตีบถูก

เปิดขยายออก

90 นาทีหลังได้ยา หลอดเลือดหัวใจตีบแบบไม่เร่งด่วนเท่านั้น เพราะ


โดยทั่วไปอัตราการขยายหลอดเลือดหัวใจที่ หากเป็ น กรณี เร่ ง ด่ ว น การขยายหลอดเลื อ ดหั ว ใจ

ตีบได้สำเร็จในปัจจุบนั อยูท่ รี่ อ้ ยละ 82-98 เปรียบเทียบ ด้ ว ยบอลลู น มี ข้ อ ดี ม ากกว่ า อย่ า งแน่ น อน อย่ า งไร
กับร้อยละ 72-74 ในอดีต เนื่องจากมีการพัฒนา ก็ตาม ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ผู้ป่วยโรค

อุปกรณ์เครื่องมือ การใส่ขดลวด การค้นพบยาใหม่ที่ หลอดเลือดหัวใจทุกราย ไม่วา่ จะได้รบั การทำบอลลูน
มีประโยชน์ ฯลฯ ขณะเดียวกันข้อดีของการขยาย ขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือผ่าตัดบายพาสแล้วก็ตาม
หลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเมื่อเทียบกับการรักษา ก็ ยั ง คงต้ อ งรั บ ประทานยาที่ จ ำเป็ น ไปตลอดชี วิ ต

ด้วยยา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่นเดียวกันกับผู้ที่รักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่
ด้วยบอลลูนจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกน้อยกว่า ใน ว่ า ทำบอลลู น หรื อ บายพาสแล้ ว จะหายจากโรคจน

แง่ของความถี่ ความรุนแรง และสามารถออกแรง ไม่ต้องรับประทานยาอีกต่อไป
หรือออกกำลังกายได้ดีกว่า คุณภาพชีวิตดีกว่า แม้ว่า ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ
ในระยะยาวแล้ว อัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ มากกว่า 2 เส้นขึน้ ไป มักจะได้รบั คำแนะนำหรือเสนอ
ขาดเลือดเฉียบพลันหรืออัตราการตายจากโรคหัวใจ
ทางเลือกสำหรับการรักษา 2 ทาง คือ ขยายหลอดเลือด
จะไม่แตกต่างกันก็ตาม ข้อมูลนีส้ ำหรับกรณีการรักษา หัวใจทุกจุดตีบ (ที่จำเป็นต้องขยาย) ในหลอดเลือด
116 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจทุกเส้นพร้อมกับใส่ขดลวด หรือทำการผ่าตัด หัวใจจะพิจารณาปัจจัยหลายๆ ด้าน พร้อมกับพูดคุย


บายพาสไปเลย ทั้งสองวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้กล้ามเนื้อ ถึงแนวทางในการรักษาเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสม
หัวใจส่วนที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเนื่องจากหลอดเลือด และลงตัวที่สุดระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ
หัวใจตีบ มีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น แต่ด้วยหลักการที่ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนเป็น
ต่างกัน วิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ร่วม
ข้ อ ดี ข องวิ ธี ข ยายหลอดเลื อ ดหั ว ใจด้ ว ย กับการรักษาด้วยยาร่วมกับการออกกำลังกาย และ
บอลลูนคือ ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องอก การควบคุ ม ปั จ จั ย เสี่ ย งอย่ า งเคร่ ง ครั ด เป็ น วิ ธี ก าร
ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะ รักษาที่มีประสิทธิภาพสูง การพัฒนาอุปกรณ์เครื่อง
ถ้า ผู้ ป่ ว ยมี อ ายุ มาก และมีโรคประจำตัวหลายโรค มือที่ใช้อย่างต่อเนื่อง และการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วย
การทำบอลลูนและใส่ขดลวดสามารถทำได้ง่ายกว่า จริงจำนวนมหาศาลตั้งแต่อดีต ทำให้การรักษาโรค
ด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ ผูป้ ว่ ยไม่ตอ้ งนอนโรงพยาบาล หลอดเลือดหัวใจตีบไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ประเด็น
นาน และแทบไม่ตอ้ งใช้เวลาพักฟืน้ เลย อย่างไรก็ตาม
สำคัญคือ ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจค้นตามขั้นตอน
มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ลักษณะของหลอดเลือดหัวใจตีบที่ เพื่อให้ได้ข้อวินิจฉัยที่แน่นอนและได้รับการรักษาจาก
มีความเสีย่ งสูงเกินไปทีจ่ ะทำบอลลูนขยาย หรือไม่คมุ้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ผู้ป่วยและญาติต้องมี
กับค่าใช้จ่ายถ้าจะต้องทำการขยายด้วยบอลลูนตาม ความเข้าใจในภาวะโรคที่เป็นอยู่เป็นอย่างดี และต้อง
ด้วยการใส่ขดลวดจำนวนมาก ผู้ป่วยเหล่านี้ก็มีความ ได้รับการตรวจติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ขณะ
จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดบายพาส ซึ่งแพทย์ เดียวกันก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองตลอดเวลาด้วย

เอกสารอ้างอิง

ACC/AHA/SCAI 2005 Guideline Update for Percuteneous Coronary Intervention. A report of the American College of Cardiology/

American Heart Association Task Force on Practice Guidelines.
William EB, Robert AOR. Optimal medical therapy with or without PCI for stable coronary disease; The COURAGE trial. N Engl

J Med 2007;356:1503-16.
Andrew T.L. Patrick W.S., Complete revascularization; Coronary Artery Bypass Graft Surgery Versus Percutaneous Coronary

Intervention. Circulation 2006;114:249-255.

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 117

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

“หัวใจบายพาส”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาต ไชยโรจน์
หน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

หัวใจบายพาสคืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรง
หั ว ใจบายพาส คื อ การผ่ า ตั ด รั ก ษาโรค หลอดเลื อ ดที่ ไ ปเลี้ ย งหั ว ใจมี ห ลอดเลื อ ด
หลอดเลื อ ดหั ว ใจตี บ ตั น รุ น แรงโดยนำหลอดเลื อ ด
สำคัญ 3 หลอด ได้แก่ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
จากส่ ว นต่ า งๆ ของร่ า งกายซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ มั ก เป็ น
ทางด้านหน้า ด้านข้างและด้านขวา เมื่อมีการตีบตัน
หลอดเลือดแดงหลังกระดูกหน้าอก และหลอดเลือดดำ ของหลอดเลือดเหล่านี้จะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลด
จากบริเวณขามาทำเป็นเส้นทางเบีย่ งโดยมีวตั ถุประสงค์ ลงมี ผ ลให้ ก ล้ า มเนื้ อ หั ว ใจขาดเลื อ ดและเกิ ด ภาวะ
หลักเพือ่ นำเลือดไปเลีย้ งกล้ามเนือ้ หัวใจให้มากขึน้ การ กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผ่าตัดจะทำโดยการนำปลายข้างหนึ่งของหลอดเลือด จะทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก และเมื่อเป็นมาก
ทางเบี่ยงต่อเข้ากับหลอดเลือดแดงหัวใจส่วนที่มีการ ขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายจากภาวะหัวใจวายซึ่งเกิด
ตีบตัน ปลายอีกข้างหนึง่ รับเลือดมาจากหลอดเลือดแดง ขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานลดลง
ใหญ่หรือแขนง การผ่าตัดบายพาสหัวใจในปัจจุบัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรงเป็นโรคที่
เป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง มีผลการผ่าตัดที่ดี มี ก ารตี บ แคบของหลอดเลื อ ด เนื่ อ งจากมี ก าร
และมีอัตราเสี่ยงต่ำ เปลี่ ย นแปลงที่ ผ นั ง ของหลอดเลื อ ด โดยผนั ง ของ
หลอดเลือดมีการหนาตัวขึ้น มีการสะสมของไขมัน
118 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

และหิ น ปู น ทำให้ ข นาดเส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางรู เ ปิ ด ของ 3. การทำผ่าตัดหัวใจบายพาส เป็นการสร้าง


หลอดเลือดตีบแคบ เป็นผลให้ปริมาณเลือดที่เลี้ยง ทางเบี่ยงขึ้นมาใหม่ เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อหัวใจลดลง การผ่าตัดบายพาสเป็นการเพิ่ม หัวใจปลายต่อส่วนที่มีการตีบตันได้โดยตรง มีความ
ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในผู้ป่วยโรค แม่นยำและได้ผลประโยชน์ในระยะยาวดีที่สุด
หลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรงโดยใช้หลอดเลือดจาก โดยทั่วไปแพทย์จะใช้การรักษาทางยาเป็น
ส่วนอื่นของร่างกายมาทำเป็นทางบายพาส ส่วนที่มี หลัก อาจใช้การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่
การตีบตันซึ่งเป็นวิธีที่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงบริเวณ ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด อย่างไรก็ตามเมื่อการ
กล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาทางยาไม่ได้ผลและไม่สามารถใช้บอลลูนและ

ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดได้ การผ่าตัดหัวใจบายพาส
ทำไมต้อง “บายพาส” หัวใจ จึงเป็นทางเลือกทีเ่ หมาะสม และมีความจำเป็นสำหรับ

เมื่ อ มี ห ลอดเลื อ ดหั ว ใจตี บ ตั น รุ น แรง จะ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรง
ทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายและหัวใจ
วายเพิ่ ม มากขึ้ น เรื่ อ ยๆ การรั ก ษาโรคหลอดเลื อ ด ประโยชน์ของการทำผ่าตัดหัวใจบายพาส
หัวใจตีบตันรุนแรง สามารถทำได้ 3 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่ การทำผ่าตัดหัวใจบายพาส เป็นการนำเลือด
1. การรักษาทางยา เป็นการใช้ยาต่างๆ เพือ่ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
เพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจให้มากขึ้น ควบคุม ส่วนทีข่ าดเลือดส่วนหนึง่ สามารถกลับมาทำงานได้เป็น
ความดันเลือด ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด ปกติ ในขณะเดียวกันเป็นการป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อ
เป็นผลให้ลดการสะสมของไขมันและการหนาตัวของ หัวใจส่วนที่ยังดีอยู่สูญเสียมากขึ้น ทั้งนี้กล้ามเนื้อ
ผนังหลอดเลือดหัวใจ หัวใจส่วนที่ตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นระยะ
2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เวลานานมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้
และใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด เป็นการขยาย ดังนั้นการทำผ่าตัดหัวใจบายพาสจะให้ประโยชน์มาก
ส่วนของหลอดเลือดที่มีการตีบตันให้เปิดกว้างขึ้นเพื่อ
กว่าเมื่อตัดสินใจทำผ่าตัดแต่เริ่มแรก
เพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมักมี
การทำผ่าตัดหัวใจบายพาส ทำให้อาการเจ็บ
ข้อจำกัด ถ้าบริเวณส่วนที่ตีบแคบมี
แน่นหน้าอกลดลงหรือหายได้ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ
ลักษณะเปราะบาง แข็ง แตกง่าย ได้รับเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 119

ขาดเลือดลดลง เมือ่ กล้ามเนือ้ หัวใจได้รบั เลือดไปเลีย้ ง เมื่อตัดสินใจทำผ่าตัดหัวใจบายพาส


มากขึ้นทำให้การบีบตัวของหัวใจโดยรวมดีขึ้น มีผล หมอผ่าตัดหัวใจจะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
ให้อาการเหนือ่ ยง่ายจากกล้ามเนือ้ หัวใจขาดเลือดและ การผ่าตัด อัตราเสี่ยงและประโยชน์ของการผ่าตัด
ภาวะหัวใจวายลดลง สามารถทำงานและดำเนินชีวติ
หัวใจบายพาสโดยละเอียด โดยทัว่ ไปจะมีการประเมิน
ได้ตามปกติ โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพร่างกาย ภาวะการทำงานของหัวใจและลักษณะ
ของหลอดเลือดหัวใจ
การทำหัวใจบายพาส เสี่ยงแค่ไหน การประเมิ น สภาพร่ า งกายได้ แ ก่ การซั ก
การทำผ่าตัดหัวใจบายพาส ในปัจจุบนั มีอตั รา ประวัติ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอด การตรวจคลื่น
เสีย่ งประมาณ 2-3% หมายความว่าการผ่าตัดสามารถ ไฟฟ้าหัวใจ การเจาะเลือดตรวจสอบระบบต่างๆ ของ
ให้ผลสำเร็จโดยไม่มีผลแทรกซ้อนมากกว่า 97-98% ร่างกาย เช่น การทำงานของตับ ไต ต่อมไทรอยด์
ผลแทรกซ้อนจากการทำผ่าตัดหัวใจบายพาส เป็นต้น ทำให้ทราบถึงและรักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มี
ตามปกติเกิดขึ้นได้น้อย อย่างไรก็ตามการผ่าตัดหัวใจ ผลต่อหลอดเลือดหัวใจตีบได้แก่ ภาวะความดันเลือด
เป็นการผ่าตัดใหญ่เพราะฉะนัน้ อาจมีการเสียชีวติ จาก สูง เบาหวาน ระดับไขมันในเลือดสูง โรคปอดเรื้อรัง
การผ่าตัดได้ ในระยะหลังผ่าตัดบางครั้งจะมีภาวะ เนื่องมาจากการสูบบุหรี่
เลือดออกหลังผ่าตัด หัวใจเต้นผิดจังหวะ อัมพาต การตรวจการทำงานของกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจ
อัมพฤกษ์ ภาวะแทรกซ้อนทางปอดและระบบทางเดิน โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
หายใจ ภาวะไตวาย ตลอดจนอาจมีการติดเชื้อทั้งใน เป็นดี ไม่ดี และปานกลาง การทำงานของกล้ามเนื้อ
ระยะแรกและระยะหลังการผ่าตัด หั ว ใจที่ ไ ม่ ดี แ ละปานกลางจะมี ผ ลทำให้ อั ต ราเสี่ ย ง
แม้ ว่ า การผ่ า ตั ด หั ว ใจบายพาสจะไม่ ไ ด้ มี ของการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้น
ความปลอดภัยถึง 100% การเตรียมพร้อม การ การประเมินลักษณะของหลอดเลือดหัวใจ
ประเมิ น อั ต ราเสี่ ย งและการวางแผนผ่ า ตั ด อย่ า ง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรงจะมี
รอบคอบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถ ความแตกต่างของลักษณะของหลอดเลือดหัวใจใน
ทำให้โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลงได้มาก และ
ด้านขนาดของหลอดเลือด และความขรุขระตลอด
ให้ประโยชน์สูงสุด ความยาวของหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือด
หัวใจขนาดเล็กและมีความขรุขระมากจะมีผลทำให้
120 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อั ต ราเสี่ ย งของการผ่ า ตั ด เพิ่ ม ขึ้ น และประโยชน์ ใ น เพื่อนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่แขน



ระยะยาวลดลง รวมทั้งหลอดเลือดแดงหลังกระดูกหน้าอกมาใช้ใน
ดั ง นั้ น เมื่ อ ตั ด สิ น ใจเข้ า รั บ การผ่ า ตั ด หั ว ใจ การทำบายพาส ในปัจจุบันการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
บายพาส ควรพูดคุย ซักถามกับหมอผ่าตัดหัวใจให้ ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเป็นวิธีดั้งเดิมคือ มีการหยุดหัวใจ
ชัดเจนเกี่ยวกับการผ่าตัด อัตราเสี่ยง และประโยชน์ ชัว่ คราวเพือ่ ทำผ่าตัดโดยใช้เครือ่ งปอดและหัวใจเทียม
ที่จะได้รับจากการผ่าตัดหัวใจบายพาส อีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีที่ไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม
ในบางครั้ ง อาจเกิ ด ความสั บ สนในวิ ธี ก าร โดยทำผ่าตัดบายพาสหัวใจขณะที่หัวใจยังเต้นอยู่ตาม
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันรุนแรง การรักษา ปกติ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการผ่าตัดหัวใจบายพาส
ทางยามักมีข้อจำกัด ไม่สามารถเพิ่มเลือดไปเลี้ยง แบบออฟปัม๊ การเลือกใช้วธิ ใี ดขึน้ อยูก่ บั ความชำนาญ
กล้ า มเนื้ อ หั ว ใจได้ อ ย่ า งพอเพี ย งที่ จ ะทำให้ ภ าวะ
และความคุ้นเคยของทีมผ่าตัดหัวใจแต่ละทีม
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดดีขึ้น การรักษาโดยการใช้ การผ่าตัดหัวใจบายพาสแบบออฟปั๊มมีข้อดี
บอลลู น ขยายหลอดเลื อ ดและขดลวดถ่ า งขยายไม่ คือ สามารถหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากการใช้เครื่อง
สามารถนำมาใช้ในหลอดเลือดหัวใจที่ตีบตันได้ทุก ปอดและหัวใจเทียม จากหลักฐานทางการแพทย์เมื่อ
ครั้ง การใช้บอลลูนและขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด เปรียบเทียบทั้งสองวิธี พบว่าไม่มีความแตกต่างของ
ในหลอดเลือดที่แข็ง เปราะ มีหินปูนจับมาก อาจเป็น
ผลการผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยอัตราเสี่ยงต่ำ แต่พบว่า

การเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยเอง การผ่าตัดหัวใจบายพาสแบบออฟปั๊มมีประโยชน์มาก
และในกรณีดังกล่าวการทำผ่าตัดบายพาสหัวใจอาจมี กว่าในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงปานกลางและสูง จาก
อัตราเสี่ยงน้อยกว่า การวิจัยเปรียบเทียบการผ่าตัดบายพาสทั้งสองวิธีที่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าการ
การผ่าตัดหัวใจบายพาส ทำได้อย่างไร ผ่าตัดแบบออฟปั๊มมีผลดีกว่าต่อการเกิดภาวะหัวใจ
เมื่อเข้ารับการผ่าตัดหัวใจบายพาส ทีมของ เต้นผิดจังหวะ การเกิดภาวะไตวาย ภาวะการบาดเจ็บ
วิ สั ญ ญี แ พทย์ โรคหั ว ใจจะทำให้ ผู้ ป่ ว ยหลั บ ตลอด
ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนมีการใช้เลือดน้อยกว่า
การผ่าตัด หมอผ่าตัดหัวใจจะเริ่มทำการผ่าตัดโดย การผ่าตัดแบบดั้งเดิม
เข้าหาหัวใจโดยใช้รอยแผลเปิดบริเวณกึ่งกลางกระดูก การผ่าตัดโดยทัว่ ไปใช้เวลาประมาณ 2-5 ชม.
หน้าอก ในขณะเดียวกันจะมีรอยแผลที่แขนและขา ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในแต่ละราย หลังผ่าตัดผู้ป่วย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 121

จะอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อสังเกตอาการโดยใกล้ชิด บริเวณหน้าอกได้บา้ งโดยเฉพาะเวลาไอหรือจาม อาการ


ประมาณ 24-48 ชม. หลังจากนั้นเมื่อออกจากหอ
ขาบวมสามารถแก้ไขได้โดยนอนยกขาสูงกว่าระดับ
ผู้ป่วยวิกฤตจะอยู่ในหอผู้ป่วยปกติจนครบ 5-7 วัน หัวใจ อาการเจ็บระบมและอาการบวมเหล่านี้จะดีขึ้น
ถ้าไม่มีผลแทรกซ้อนใดๆ ก็จะกลับบ้านได้ โดยทั่วไป และหายไปในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ นอกจากนีค้ วร
สามารถฟื้นตัวกลับมาทำงานต่างๆ ได้ตามปกติใน ปฏิบตั ติ ามโปรแกรมออกกำลังกายตามทีท่ มี เวชศาสตร์
ระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ ฟืน้ ฟูโรคหัวใจแนะนำ ตลอดจนหลีกเลีย่ งอาหารไขมัน
สูง ทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ที่สำคัญต้องหยุดสูบบุหรี่
การปฏิบัติตัวหลังทำบายพาสหัวใจ
ในระยะแรกควรทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อ
ควบคุมความดัน ระดับไขมัน และระดับน้ำตาลในเลือด
ตามที่แพทย์จัดให้ อาจมีอาการเจ็บระบมที่รอยแผล

บทสรุป
การผ่าตัดหัวใจบายพาส เป็นวิธีหนึ่งของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สามารถนำเลือด
ไปเลีย้ งกล้ามเนือ้ หัวใจให้ได้มากขึน้ ลดอาการเจ็บแน่นหน้าอกและอาการเหนื่อยจากภาวะหัวใจวายได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันมีอัตราเสี่ยงต่ำและได้ประโยชน์สูง อย่างไรก็ตามการผ่าตัดหัวใจ
บายพาสไม่ใช่การรักษาที่หายขาด เพราะหลอดเลือดบายพาสและหลอดเลือดหัวใจยังมีการเปลีย่ นแปลง
และหนาตัวตามธรรมชาติได้ ดังนั้นเพื่อหลอดเลือดที่ต่อไว้อยู่ได้นานที่สุด จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หมั่นพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพือ่ ตรวจเช็คและ
ควบคุมความดันโลหิตและระดับไขมัน การควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้โดยเคร่งครัดจะทำให้สขุ ภาพ
ดีและได้รบั ประโยชน์สงู สุดจากการทำผ่าตัดหัวใจบายพาส

122 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

การรักษาโรคลิ้นหัวใจตีบ
โดยการใช้บอลลูนหรืออุปกรณ์พิเศษ
นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี
หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ลิ้นหัวใจตีบ...คืออะไร ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve)


ลิ้นหัวใจตีบ...เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งซึ่งมี กั้นระหว่างหัวใจห้องขวาบน (Right atrium) และ
ความผิดปกติเกิดขึ้นที่บริเวณลิ้นหัวใจและโครงสร้าง ห้องขวาล่าง (Right ventricle)
ที่ประกอบเป็นลิ้นหัวใจ มีผลทำให้ขนาดพื้นที่หน้าตัด ลิน้ หัวใจพัลโมนารีย่ ์ (Pulmonary valve)
ของลิ้นหัวใจเล็กลงกว่าปกติทำให้เกิดผิดปกติตามมา กั้นระหว่างห้องหัวใจห้องขวาล่าง (Right ventricle)
อีกหลายอย่าง เช่น ขนาดห้องหัวใจโตขึ้น หัวใจเต้น และหลอดเลือดแดงพัลโมนารีย่ ์ (Palmonary artery)
ผิดจังหวะ ผูป้ ว่ ยเหนือ่ ยมากขึน้ จนถึงขัน้ หัวใจล้มเหลว ลิน้ หัวใจไมตรัล (Mitral valve) กัน้ ระหว่าง
และเสียชีวิตได้ หัวใจห้องซ้ายบน (Left atrium) และห้องซ้ายล่าง
ลิ้ น หั ว ใจของมนุษย์เป็นส่วนที่กั้น ระหว่ า ง (Left ventricle)
ห้องหัวใจ และระหว่างห้องหัวใจกับหลอดเลือดมี ลิ้นหัวใจเอออร์ติค (Aortic valve) กั้น
ทั้งหมด 4 ลิ้น ดังนี้ ระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่าง (Left ventricle) และ
หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Aorta)
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 123

ความผิดปกติของลิ้นหัวใจพิการนอกจาก
หัวใจไมทรัลตีบ (Mitral stenosis) และลิ้นหัวใจ
ลิ้ น หั ว ใจตี บแล้ว ยังมีเรื่องของลิ้นหัว ใจรั่ ว และ
พัลโมนิคตีบ (Pulmonic stenosis)
ลิ้นหัวใจที่ตีบและรั่วที่พบร่วมกัน
ต้องทำการขยายลิ้นหัวใจตีบ
การรักษาโรคลิ้นหัวใจตีบ ในผู้ป่วยทุกรายหรือไม่
การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายมี ปั จ จั ย หลั ก
ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย แต่จะทำในรายที่
3 ประการที่ต้องพิจารณา คือ ลิ้ น หั ว ใจตี บ ปานกลางถึ ง มากและผู้ ป่ ว ยที่ มี อ าการ
อาการของผูป้ ว่ ย ความรุนแรงของโรค สาเหตุ เหนือ่ ย ไม่สามารถปฏิบตั ภิ ารกิจประจำวันและทำงาน

ของโรค ได้ตามปกติ
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยปลีกย่อย ได้แก่ อายุ
อาชีพ การตั้งครรภ์ โรคลิ้นหัวใจพิการที่พบด้วยกัน ในประเทศไทยเรา การรักษาดังกล่าว
หลายลิ้น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจพิการ
สามารถทำได้ที่โรงพยาบาลของรัฐบาล
แต่กำเนิดทีพ่ บร่วมด้วย เช่น ผนังกัน้ หัวใจระหว่างหัวใจ แห่งใดบ้าง
ห้องขวาบนและห้องซ้ายบน (Atrial septal defect
หรือ ASD) โรคอื่นๆ (เช่น ไตวาย มะเร็ง) ค่าใช้จ่าย ส่วนกลาง ได้แก่
ในการรักษา ตลอดจนอัตราเสี่ยงของการรักษา สถาบันโรคทรวงอก
วิธีการรักษาประกอบด้วย การรักษาด้วยยา โรงพยาบาลศิริราช
การรักษาโดยใช้บอลลูนหรืออุปกรณ์พิเศษเพื่อทำ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
การขยายลิน้ หัวใจทีต่ บี และการผ่าตัดเปลีย่ นลิน้ หัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี
หรือซ่อมลิ้นหัวใจที่ตีบ (ในรายที่ซ่อมได้) โรงพยาบาลราชวิถี
การรักษาโดยการใช้บอลลูนหรืออุปกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พิเศษ ทำการขยายลิ้นหัวใจที่ตีบใช้รักษาลิ้นหัวใจ ส่วนภูมิภาค ได้แก่
ที่ตีบได้ทุกลิ้นหรือไม่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ในทางเทคนิคสามารถทำได้ทุกลิ้น แต่ใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ
ทางปฏิบัติ ลิ้นหัวใจตีบที่ขยายแล้วได้ผลดี ได้แก่ ลิ้น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
124 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ข้อดีข้อเสียของการรักษาโดยการใช้บอลลูน ซ้ำได้ถ้าลิ้นหัวใจกลับมาตีบใหม่ ไม่ยุ่งยากเหมือน


หรืออุปกรณ์พิเศษในการรักษาลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ ผ่าตัดใหม่
เมื่อเทียบกับการผ่าตัด
ข้อเสียก็คือ
ข้อดีคือ มีข้อจำกัดในการรักษาโดยการใช้บอลลูน
ผู้ป่วยไม่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน โดย หรืออุปกรณ์พิเศษ ทำการขยายลิ้นหัวใจที่ตีบในราย
ทั่วไปก็ประมาณ 3 วัน ถ้าไม่มีผลแทรกซ้อน ในกรณี ที่ ต รวจพบก้ อ นเลื อ ดในห้ อ งหั ว ใจซ้ า ยบนและลิ้ น
การผ่าตัดต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่าคือประมาณ หัวใจไมตรัลรั่วปานกลางถึงมาก (ในกรณีลิ้นหัวใจ
7-10 วัน ไมตรัลตีบ) ในรายที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจอื่น
ร่วมด้วยหลายลิ้น ในรายที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ผู้ป่วยไม่ต้องดมยาสลบ ร่วมด้วย รวมทั้งในรายที่มีผนังกั้นห้องหัวใจห้องบน
ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดยาวตรงกลางอก หรือเอเทรียมรั่ว (Atrial septal defect) พวกนี้ต้อง
มีเพียงแผล 2 แผลเล็กๆ บริเวณขาหนีบข้างขวา รักษาด้วยการผ่าตัด
หลังหัตถการถ้าไม่มีผลแทรกซ้อนและไม่มี ลิ้นหัวใจเอออร์ติค และลิ้นหัวใจไตรคัสปิด
คลื่นไส้ อาเจียน ก็สามารถรับประทานอาหารได้ ผล ตีบ การรักษาโดยการใช้บอลลูนได้ผลไม่ดี มีโอกาส
การรักษาเทียบเท่าการผ่าตัด คิวไม่ยาว สามารถทำ จะกลับมาตีบใหม่สูง

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 125

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

“โรคลิ้นหัวใจไมตรัล”...ซ่อมได้!
นายแพทย์ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์
หัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์
สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โรคลิ้นหัวใจไมตรัล เป็นสาเหตุที่พบบ่อย คำถาม : ลิ้นหัวใจ คืออะไร สำคัญอย่างไร

ทีส่ ดุ ของโรคหัวใจทีต่ อ้ งได้รบั การผ่าตัดในประเทศไทย อยู่ที่ไหน และมีกี่ลิ้น


ในปัจจุบันการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัล ถือเป็นการ
ผ่าตัดที่ดีกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในปัจจุบัน มี • ลิ้นหัวใจ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ
ความสนใจในเรื่องการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัล ระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์โดยมีหัวใจเป็นแกน
เพื่อที่จะให้เข้าใจได้ง่ายๆ ในจุดสำคัญๆ จึงใคร่ขอนำ กลางขับเคลื่อนของระบบ เสมือนหนึ่งเป็นปั๊มน้ำของ
เสนอในรู ป แบบของปุ จ จาและวิ สั ช นา อั น เป็ น รู ป ระบบ ท่อน้ำประปา ปั๊มนี้จะขับดันให้เลือดไหลไป
แบบที่สำคัญในการทำความเข้าใจในประเด็นหลัก ตามหลอดเลือดเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
ของเรื่องลิ้นหัวใจ สาเหตุการเกิดโรค การรักษา และ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เลือดจะต้องไหลไป
การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัล ทางเดียวโดยไม่ย้อนกลับ ลิ้นหัวใจ คือ ส่วนสำคัญ
ที่สุดที่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในลักษณะ
“ไหลไปข้างหน้า ไม่ย้อนกลับ แต่เป็นวงจร” โดย
ระบบดังกล่าวจะทำให้การทำงานของหัวใจเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
126 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจมี 4 ห้อง คือ 2 ห้องบน (Atria) และ valve) ตามลำดับ และอีก 2 ลิ้น จะอยู่ระหว่างหัวใจ
2 ห้องล่าง (Ventricle) ด้านขวาจะเป็นด้านรับเลือดดำ ห้องล่าง และเส้นเลือดแดง ซ้าย-ขวา ที่เรียกว่า ลิ้น
และด้านซ้ายจะเป็นด้านที่รับเลือดแดง ลิ้นหัวใจจะมี เอออร์ตคิ (Aortic valve) และลิน้ พัลโมนิค (Pulmonic
4 ลิ้น โดยมี 2 ลิ้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและล่าง valve) ตามลำดับ โดยลักษณะดังกล่าวจะบังคับให้
(Atrioventricular valve) ซ้ายและขวา ที่เรียกว่า เลือดไหลด้านขวาไปยังด้านซ้ายจากบนลงล่างไปเลีย้ ง
ลิน้ ไมตรัล (Mitral valve) และลิน้ ไตรคัสปิด (Tricuspid ร่างกาย โดยไม่ย้อนกลับเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

Fig.1 กายวิภาคของหัวใจ,

ลิ้นหัวใจ และการ

ไหลเวียนของโลหิต


คำถาม : โรคลิ้ น หั วใจเกิ ด กั บ ลิ้ นไหนมาก
มักจะไม่มอี าการ ต่อมาเมือ่ หัวใจมีพยาธิสภาพมากขึน้
ที่สุด จากสาเหตุอะไร และมีวิธี
จะเริม่ มีอาการเหนือ่ ยง่าย นอนราบไม่ได้ บางรายอาจ
การรักษาได้กี่วิธี จะเกิดอาการไอเป็นเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ
เกิดภาวะหัวใจวายได้ในที่สุด
• โรคลิ้นหัวใจเกิดมากที่สุดที่ตำแหน่งลิ้น การรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัล เมื่อได้รับการ
ไมตรัล สาเหตุของโรคที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย วินิจฉัยที่แน่นอนแล้วการรักษามักจะเริ่มโดยการให้
คือ โรครูมาติค (Rheumatic heart disease) มัก
ยา หากอาการไม่ดีขึ้น หรือพยาธิสภาพของลิ้นหัวใจ
จะเกิดกับผู้ป่วยที่อายุยังน้อย ทำให้เกิดทั้งภาวะโรค เป็นมาก ก็อาจต้องพิจารณาการรักษาโดยวิธหี ตั ถการ
ลิ้นหัวใจตีบและรั่วหรือทั้งตีบทั้งรั่วได้ ในระยะแรก ตามความเหมาะสม คือ

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 127

ในกรณีที่ลิ้นหัวใจตีบมาก โดยไม่มีการรั่ว ในกรณีที่มีปัญหาของลิ้นหัวใจรั่วหรือพยาธิ


ไม่มีลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนซ้าย แพทย์อาจจะทำ
สภาพของลิ้นหัวใจซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องใช้การ
การขยายลิ้นหัวใจไมตรัลโดยการใช้สายสวนที่ไม่ต้อง รักษาโดยการผ่าตัด ซึง่ มีทางเลือกได้หลายทางดังนีค้ อื
ผ่าตัด (Percutaneous balloon mitral valvulo-
• การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ
plasty) วิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นหัวใจขยายได้ดีขึ้นและลด • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
อาการของผู้ป่วยลงได้

Fig. 2 การซ่อมลิ้นหัวใจ


คำถาม : การผ่ า ตั ด เปลี่ ย นลิ้ น หั วใจ และ
มากไปหรือน้อยไป อันอาจจะก่อให้เกิดการแทรกซ้อน

การซ่อมลิ้นหัวใจต่างกันอย่างไร
ที่สำคัญคือ ภาวะเลือดออกหรือลิ่มเลือดอุดตันได้
มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง • การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัล
คือ การผ่าตัดโดยการแก้ไขส่วนที่เป็นพยาธิ
• การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ สภาพให้ดขี นึ้ โดยเทคนิคการซ่อมต่างๆ เพือ่ ให้ลนิ้ หัวใจ
เป็นการผ่าตัดที่ตัดเอาลิ้นหัวใจออกไป และ ไมตรัลสามารถกลับมาทำงานได้ดีเหมือนเดิมหรือ

ใช้ลิ้นหัวใจเทียมที่อาจทำจากเนื้อเยื่อของสิ่งที่มีชีวิต ใกล้เคียงภาวะปกติมากทีส่ ดุ วิธกี ารรักษานีท้ ำให้ผปู้ ว่ ย
(Bioprosthesis) หรือทำจากโลหะ (Mechanical ยังคงมีลิ้นไมตรัลตามธรรมชาติที่ทำงานได้ตามปกติ
valve) วิธีนี้ลิ้นหัวใจจะทำงานได้ดีตามเทคนิคของ จากผลการติดตามการรักษาเปรียบเทียบ
ลิ้นเทียมที่สร้างขึ้น การรักษาดังกล่าวผู้ป่วยต้องรับ ของการรักษาโดยวิธีเปลี่ยนลิ้นหัวใจกับการซ่อมลิ้น
ยาละลายลิ่ ม เลื อ ด เพื่ อ ป้ อ งกั น ลิ่ ม เลื อ ดอุ ด ตั น ลิ้ น หัวใจ พบว่าการซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลมีข้อดีที่เหนือ
หรือร่างกาย เนื่องจากลิ้นเทียมเป็นของแปลกปลอม กว่าการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจหลายประการ คือ
ผู้ป่วยต้องได้รับการควบคุมยาละลายลิ่มเลือดไม่ให้ 1. อัตราการตายจากการผ่าตัดต่ำกว่า และ
128 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ผลการรักษาในระยะยาวดีกว่า Duran, Cosgrove เป็นต้น นอกจากนั้นตลอดระยะ


2. การทำงานของหั ว ใจดี ก ว่ า เนื่ อ งจาก เวลา 40 กว่าปีมานี้ ได้มีการค้นคว้าและพัฒนาอย่าง
ส่วนประกอบตามธรรมชาติของลิ้นหัวใจไมตรัลยังคง ต่อเนื่องที่ช่วยให้การแพทย์เข้าใจกลไกการเกิดโรค
ดำรงอยู่ และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งทำให้การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจได้
3. อัตราเสีย่ งต่อการเกิดปัญหาของลิม่ เลือด ผลดีขนึ้ และขยายขอบเขตการรักษาได้กว้างขึน้ เป็นการ
อุดตันหรือภาวะเลือดออกต่ำกว่าเพราะไม่ต้องใช้ยา สร้างสายขึงใหม่ (Neochordal Implantation)
ละลายลิ่มเลือดตลอดชีวิต โดยสารสังเคราะห์ Polytetra fluoroethylene
4. อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อของลิ้นหัวใจต่ำ suture หรือการสร้างลิ้นหัวใจขึ้นใหม่โดยการใช้เยื่อ
กว่า เนื่องจากลิ้นธรรมชาติมีความต้านทานต่อการ หุ้มหัวใจของคนไข้เอง หรือการใช้ขอบลิ้นชนิดใหม่ใน
ติดเชื้อได้ดีกว่าลิ้นเทียม การรักษาลิน้ หัวใจรัว่ จากภาวะกล้ามเนือ้ หัวใจผิดปกติ
5. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและการดูแลหลัง เป็นต้น สิง่ ต่างๆ เหล่านีส้ ามารถทำให้ศลั ยแพทย์หวั ใจ
ผ่าตัดต่ำกว่า ทำการซ่อมลิน้ หัวใจได้ แม้วา่ ส่วนประกอบทีส่ ร้างตาม
เพราะฉะนั้นในปัจจุบัน การซ่อมลิ้นหัวใจจึง ธรรมชาติของลิน้ หัวใจ จะถูกทำลายไปแล้วโดยสาเหตุ
เป็นแนวการรักษาที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการเปลี่ยน
ของโรคเช่น การติดเชื้อ เป็นต้น
ลิ้นหัวใจ ในผู้ป่วยโรคลิ้นไมตรัลที่ต้องได้รับการผ่าตัด เพราะฉะนัน้ จึงอาจกล่าวได้วา่ โรคลิน้ หัวใจ
เทคนิคของการซ่อมลิน้ หัวใจได้รบั การวางรากฐานอย่าง ไมตรัลในปัจจุบัน หากต้องได้รับการผ่าตัดศัลยแพทย์
เป็นระบบ จากศัลยแพทย์ผบู้ กุ เบิก เช่น Carpentier, มักจะสามารถซ่อมได้ ดังคำขวัญว่า “หนักเบา เรา
ซ่อมได้”

Fig. 3 ลิ้นหัวใจเทียมชนิดต่างๆ Fig.4 การใช้สายขึงใหม่ Fig.5 ลิ้นหัวใจชนิดในการซ่อมลิ้นหัวใจ

รั่วจากภาวะกล้ามเนื้อผิดปกติ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 129

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

วูบ ใจสั่น หมดสติ



….สัญญาณเตือน?
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ภากร จันทนมัฎฐะ
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

เกือบทุกคนต้องเคยใจสั่น เวลาตื่นเต้น เป็นไฟฟ้าหัวใจ เพือ่ ควบคุมให้หวั ใจห้องบน-ห้องล่าง


เมื่อมีเรื่องต้องลุ้น หรือกำลังไม่สบายใจ หากอาการ รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของหัวใจ ให้ทำงานได้
ใจสั่นมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ มักไม่ใช่ปัญหาทาง อย่างสัมพันธ์กันและทรงประสิทธิภาพสูงสุด

หัวใจ แต่หากนั่งเฉยๆก็ใจสั่น ทั้งที่ไม่ได้ตื่นเต้นตกใจ ไฟฟ้าหัวใจยังควบคุมอัตราการเต้น เพื่อให้
เรื่องใดๆ ก็อาจบ่งถึงโรคหัวใจบางประเภทได้ เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในขณะนั้นๆ
โรคหัวใจเองก็เป็นผลได้จากความผิดปกติ เช่น หากหลับสนิทหัวใจก็จะเต้นช้าลง และเมื่อออก
ของส่วนต่างๆ ของหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด กำลังกายหรือตืน่ เต้น หัวใจก็จะเต้นเร็วขึน้ ซึง่ ทัง้ หมด

หัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น แต่อาการวูบ ใจ นี้อยู่ภายใต้การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ

สั่น หมดสติ มักเป็นความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจ อีกชั้นหนึ่ง
ไฟฟ้าของหัวใจ ก่อกำเนิดจากการไหลของ
หัวใจ กับ ไฟฟ้าหัวใจ ประจุตา่ งๆ เข้า-ออกจากเซลล์ ซึง่ ประตูทคี่ วบคุมการ
หัวใจของมนุษย์ เปรียบเสมือนปั๊มน้ำ คือ ไหลเข้า-ออกของประจุเหล่านี้อยู่บนผิวเซลล์ และ
มีส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งบีบเลือดออกไปฟอก ทำงานได้อย่างแม่นยำมาก ในแต่ละครัง้ ทีห่ วั ใจบีบตัว
ที่ปอด รวมถึงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย และต้องมีส่วนที่ นั้น หากประตูปิดช้าหรือเร็วเกินไปเพียง 0.2 วินาที
130 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

มนุษย์อาจหมดสติ หรือเสียชีวิตภายในไม่กี่วินาที สติ หรือเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน แต่ผู้ป่วยอาจไม่มี


อาการใดๆ เลยก็ได้ ขณะเดียวกันอาการใจสั่น วูบ

หัวใจของมนุษย์เต้นเฉลีย่ วันละ 100,000 ครัง้ หรือหมดสติกอ็ าจมาจากสาเหตุอนื่ ๆ นอกเหนือหัวใจ


ซึ่งหมายถึงปีละประมาณ 30 ล้านครั้ง โดยไม่หยุด ก็ได้ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือมีลมิ่ เลือดไปอุดทีป่ อด
พัก เป็นที่น่าสนใจว่า อัตราชีพจรต่อนาที อาจเป็น (pulmonary embolism) เป็นต้น
ตัวกำหนดอายุขัยของสัตว์ต่างๆ สัตว์ที่ชีพจรเต้น
เร็ว ก็จะมีอายุสั้นกว่าสัตว์ที่ชีพจรเต้นช้า เช่น เต่า
อาการใจสั่น กับ โรคหัวใจ
มีชีพจรที่ช้ามาก และอาจเป็นส่วนหนึ่ง
อาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจ อาจเกิดเพราะ
ที่ทำให้เต่าอายุยืนยาว หัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นผิดจังหวะก็ได้

ซึง่ เรียกโดยรวมๆ ว่า cardiac arrhythmia ใน cardiac


ความสัมพันธ์ของอัตราการเต้นหัวใจกับช่วง arrhythmia เอง ก็ยงั มีโรคต่างๆ มากมาย การวินจิ ฉัย
ชีวิตของสัตว์นี้เป็นเส้นตรง ผลรวมของจำนวนครั้งที่ อาการใจสัน่ ส่วนใหญ่จะได้จากคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจขณะที

หัวใจเต้นตลอดชีวิตของสัตว์ต่างๆ จะใกล้เคียงกัน ผูป้ ว่ ยกำลังมีอาการใจสัน่ พอดี หรือการติดเครือ่ งบันทึก
คือ ประมาณ 800-1,200 ล้านครั้ง แต่พบว่า มนุษย์ การเต้นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วย หากรอจนใจหายสั่นแล้ว
ได้รับสิทธิพิเศษจากพระเจ้า ที่อัตราการเต้นโดยรวม จึงค่อยมาพบแพทย์ มักตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ
ตลอดอายุขัยมากกว่าสัตว์อื่นๆ คือ อาจได้ถึง 2,000- ดังนัน้ จึงควรตรวจคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจขณะกำลังมีอาการ
2,500 ล้านครั้ง ตลอดอายุขัย ปัจจุบนั มีเทคโนโลยีตา่ งๆ มากมายทีช่ ว่ ยในการวินจิ ฉัย
ความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจนัน้ อาจเป็นผล อาการใจสั่น เช่น เครื่องบันทึกไฟฟ้าหัวใจที่ผู้ป่วย
จากสาเหตุต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ความผิดปกติแต่ สามารถแตะที่หน้าอกของตนเอง ขณะรู้สึกใจเต้น
กำเนิดของประตูประจุตา่ งๆ เช่น โรคใหลตาย เป็นต้น แล้วส่งสัญญาณผ่านทางโทรศัพท์มาที่โรงพยาบาลได้
หรืออาจเป็นผลของความไม่สมดุลเกลือแร่ในกระแส หรือผ่าตัดฝังเครื่องที่สามารถบันทึกไฟฟ้าหัวใจได้
เลือด ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือแม้แต่ ตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งจะให้ข้อมูลต่างๆ
ความเสื่อมตามวัยของศูนย์ควบคุมไฟฟ้าหัวใจ ได้มาก
ดังได้กล่าวแล้ว อาการที่เกิดจากความผิด การรักษาใจสัน่ ขึน้ กับว่าเป็นชนิดใด บางกรณี

ปกติของไฟฟ้าหัวใจ มักเป็นเรื่องของใจสั่น วูบ หมด อาจไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เลย หรือให้งดอาหาร
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 131

และเครื่ อ งดื่ ม ที่ มี แ อลกอฮอล์ ห รื อ คาเฟอี น ขณะ รับประทานยาอีกเลย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการจี้


เดียวกันหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทอาจต้องให้ยา ไฟฟ้าหัวใจยังทำได้ในวงจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาล
รักษา แก้ไขต้นเหตุของอาการ เช่น แก้ไขหลอดเลือด บางแห่ง และต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
หัวใจตีบ หรือฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pace maker)
ขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยและโรคที่เป็นต้นเหตุ หมดสติกับโรคหัวใจ
โรคใจสั่นหลายโรคเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรใน อาการวูบๆ แต่ไม่หมดสตินั้น มักไม่ร้ายแรง
หัวใจนั้น ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจแต่ แต่หากมีอาการหมดสติ อาจบ่งชี้ถึงโรคหัวใจได้ สิ่งที่
กำเนิด ทำให้มีสายไฟในหัวใจเกินมา เช่น โรค WPW สำคัญของการหมดสติ คือ ต้องดูก่อนว่า เป็นผลจาก
syndrome หรือเกิดความผิดปกติบางอย่าง ทำให้ พยาธิสภาพของสมอง หัวใจ หรือภาวะอื่นๆ
บางส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจให้กำเนิดไฟฟ้า โดยไม่รอ การหมดสติจากหัวใจนั้น มักเกิดอย่างเฉียบ

ฟังคำสั่งของศูนย์ควบคุมไฟฟ้าหัวใจ (SA node) เช่น พลันโดยไม่มอี าการนำล่วงหน้า ผูป้ ว่ ยอาจล้มลง เรียก
โรค ventricular tachycardia เป็นต้น ในปัจจุบัน ไม่ รู้ สึ ก ตั ว และมั ก ฟื้ น คื น สติ เ องภายใน 2-3 นาที
โรคดั ง กล่ า วสามารถรักษาได้โดยการจี้ ไ ฟฟ้ า หั ว ใจ จำนวนหนึ่งอาจบาดเจ็บจากการล้ม ผู้ป่วยที่เป็นโรค
(RF ablation) ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นการรักษา ลมชัก ก็อาจหมดสติได้ แต่มักจะมีอาการชัก หรือ
มาตรฐาน เนื่ อ งจากสามารถรั ก ษาโรคหั ว ใจเต้ น
เกร็งกระตุก และบางครั้งอาจมีอุจจาระ ปัสสาวะราด
ผิ ด จั ง หวะหลายชนิ ด ให้ ห ายขาดได้ ผู้ ป่ ว ยไม่ ต้ อ ง
ร่วมด้วย ผูท้ เี่ ห็นเหตุการณ์ควรพยายามเล่าเหตุการณ์

ทีเ่ กิดขึน้ อย่างละเอียดให้แก่แพทย์ ซึง่ จะเป็นประโยชน์


อย่างมากต่อผู้ป่วย และในการวินิจฉัยแยกโรคได้
การหมดสติในอายุน้อย หากไม่มีความผิด
ปกติของหัวใจร่วมด้วย มักไม่ร้ายแรง แม้จะมีโอกาส
หมดสติซำ้ ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีทเี่ ป็น
ความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจแต่กำเนิด เช่น โรค long
QTc syndrome หรือโรคใหลตาย อาการหมดสติ
อาจเป็นอาการเตือนล่วงหน้าของการเสียชีวิตอย่าง
เฉียบพลันได้ อย่างไรก็ตาม โรคดังกล่าวพบได้ไม่บ่อย
132 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ผู้ ป่ ว ยอาจมี ป ระวั ติ ข องการเสี ย ชี วิ ต เฉี ย บพลั น ใน ผูส้ งู วัยบางคนอาจหมดสติเวลาลุกเร็วๆ และหลายครัง้


เครือญาติ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มักพบความผิดปกติ ยาบางตัว อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้บ่อยและ
ร่ ว มด้ ว ย การรั ก ษาโรคดั ง กล่ า วมั ก กระทำโดยฝั ง รุนแรงขึ้น
เครื่ อ งกระตุ ก หั ว ใจ (Automatic Implantable ในกรณีที่หมดสติจากหัวใจ ก็ยังอาจเป็นผล
Cardioverter Device, AICD) ซึง่ ในความจริง เครือ่ ง
จากโรคหัวใจได้อกี หลายชนิด เช่น ลิน้ หัวใจตีบ, หัวใจ
ดังกล่าวไม่อาจป้องกันการหมดสติได้ แต่สามารถ เต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง หลอดเลือดหัวใจ หรือ
ป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ แม้แต่เนื้องอกในหัวใจ เป็นต้น การรักษา คือ ต้องหา
อย่างไรก็ตาม หากอาการหมดสติ เกิดใน
ว่า สาเหตุของการหมดสติ และรักษาที่ต้นเหตุ
ผูป้ ว่ ยทีเ่ ดิมมีโรคหัวใจอยูแ่ ล้ว โดยเฉพาะหัวใจล้มเหลว นอกจากการรักษาที่ต้นเหตุแล้ว ผู้ป่วยที่
หัวใจบีบตัวอ่อน หรือหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง การ หมดสติ และมีแนวโน้มว่า มีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ต้อง
หมดสติมักบ่งถึงสัญญาณอันตราย จำเป็นต้องรีบพบ ได้รบั การดูแลและป้องกันการบาดเจ็บจากการล้ม เช่น
แพทย์ และพยายามหาสาเหตุของการหมดสติ ไม่ควรถือของมีคม หรือทำครัว ระวังการล้มในห้องน้ำ
เช่นเดียวกับอาการใจสัน่ การรักษาอาการวูบ และควรนัง่ อาบน้ำ หรือขึน้ ลงบันไดเฉพาะเท่าทีจ่ ำเป็น
หมดสติ ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเป็นผลจากโรคทาง การตรวจสุขภาพ ระมัดระวังอาหารที่เค็ม
หั ว ใจ สมอง หรื อ ภาวะอื่ น ๆ ผู้ ป่ ว ยสู ง วั ย บางคน
หรือมีไขมันสูง รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เมื่อเปลี่ยนท่าจากนอน ลุกมานั่งหรือยืน อาจมีความ และรักษาจิตใจให้ผ่องใส จะสามารถช่วยให้บุคคลมี
ดันโลหิตลดลง จากการที่เลือดจากขาไหลกลับมาที่ สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งก็จะช่วยลดโอกาสเกิด
หัวใจลดลง อันเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงของโลก ดังนัน้
โรคใจสั่นและหมดสติได้ .

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 133

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ
…เป็นโรคหรือไม่?
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การทีห่ วั ใจเต้นผิดไป ยกตัวอย่าง ในคนทีม่ สี ขุ ภาพร่างกายแข็งแรง


จากจังหวะการเต้นที่ได้จากจุดกำเนิดไฟฟ้าของหัวใจ ไม่มีโรคอย่างใดเลย ขณะทำงานตอนกลางวันมีอัตรา
ตามธรรมชาติซึ่งให้จังหวะสม่ำเสมอในอัตรา 60-100 การเต้นหัวใจสม่ำเสมอ 60-100 ครั้ง/นาที เป็นปกติ
ครั้ง/นาที เพราะฉะนั้นคำว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะจึง เมื่อคนๆ นั้นเข้านอนหัวใจเต้นช้าลงเหลือ 50 หรือ
ไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะอย่างหนึ่ง 40 ครั้ง/นาที เมื่อออกกำลังกายคนคนนั้นก็มีอัตรา
ถ้าถามว่าแล้วคำว่าโรคหมายถึงอะไร คำว่า การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเป็น 120 หรือ 150 ครั้ง/
โรคหมายถึ งการเปลี่ยนแปลงทางกายวิ ภ าคตั้ ง แต่ นาที ซึ่งถือเป็นการตอบสนองตามปกติของหัวใจต่อ
ระดับที่มองเห็นด้วยตาเปล่าจนถึงระดับเซลล์ของ การออกกำลังกาย อย่างนีเ้ รียกว่ามีการเต้นผิดจังหวะ
อวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายที่มากพอจน ของหัวใจได้ในบางเวลาแต่ไม่มีโรค และในบรรดา

ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของอวัยวะนัน้ เราจึงเรียก โรคที่เกิดจากหัวใจหรืออวัยวะอื่น อาจจะพบการเต้น
ว่ามีโรคโดยคำตอบของคำถามทีว่ า่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผิดจังหวะร่วมด้วยหรือไม่มีการเต้นผิดจังหวะก็ได้
เป็นโรคหรือไม่ จึงอาจจะตอบได้วา่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะฉะนั้นคำตอบก็สามารถจะตอบได้กว้างๆ ว่า
เป็นสภาวะอย่างหนึง่ ทีอ่ าจจะพบในคนทีม่ โี รคหรือไม่มี หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะพบในคนมีโรคหรือไม่มีโรค
โรคก็ได้ ก็ได้ แต่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจเป็นเพียงสภาวะ
134 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อย่างหนึ่งเท่านั้น ยาบางอย่างก็มสี ว่ นทำให้การเต้นผิดจังหวะเป็นมากขึน้


อันดับต่อไปจะต้องทำความเข้าใจว่าการเต้น นอกจากนี้การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
ผิดจังหวะหัวใจเกิดจากอะไร หรือการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ก็อาจทำให้
ปัจจัยทีท่ ำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจได้ ความผิดปกติของ
มี 3 ชนิด ทุกส่วนของหัวใจ ตัง้ แต่ลนิ้ หัวใจตีบหรือรัว่ กล้ามเนือ้
ประการแรก คือ การมีโรคในหัวใจที่ทำให้ หัวใจผิดปกติ เช่น หนาตัวกว่าปกติหรือบีบตัวอ่อนแรง
วงจรไฟฟ้าภายในหัวใจเดินทางผิดปกติ ลง หรือภาวะหัวใจขาดเลือด หรืออาจจะเกิดจากโรค
ประการที่สอง คือ มีตัวกระตุ้นเช่นอาจจะมี ของเยือ่ หุม้ หัวใจทีม่ กี ารอักเสบก็อาจทำให้เกิดการเต้น
การเต้นผิดจังหวะของหัวใจชนิดทีเ่ รียกว่าหัวใจกระโดด ผิดจังหวะได้ รวมทั้งโรคที่เป็นตั้งแต่กำเนิดหรือโรคที่
มาก่อนกำหนด ก็จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการเต้น ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคใหลตายก็อาจเป็น
ผิดจังหวะที่ร้ายแรงกว่าหรือยาวนานขึ้น และ สาเหตุให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน
ประการที่สาม คือ ปัจจัยเสริม ปัจจัยเสริม ปัจจุบนั แพทย์พบว่าความผิดปกติทางพันธุกรรม
ทีท่ ำให้หวั ใจเต้นผิดจังหวะได้งา่ ยขึน้ รุนแรงขึน้ ได้แก่ และปัจจัยเสริมบางอย่างทีท่ ำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ
ความไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติในร่างกาย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย การได้รบั ประทาน

โรคที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดหลายชนิดก็ทำให้เกิดการ
เต้นผิดจังหวะของหัวใจได้ เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจปิดไม่สนิท ลิ้นหัวใจรั่ว
กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวโดยไม่มีสาเหตุเป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากโรคหัวใจที่
เป็นในภายหลังที่เติบโตแล้ว ได้แก่ ลิ้นหัวใจตีบรูมาติก ลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะ
ความดันโลหิตสูงที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ภาวะหัวใจขาดเลือด
จากการที่มีก้อนไขมันไปอุดตันในเส้นเลือดหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว
อ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้ม
เหลวมักจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ง่าย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 135

นอกจากนั้นยังมีโรคของอวัยวะอื่นที่มีผล หลอดลมในการรั ก ษาโรคหอบหื ด กาแฟซึ่ ง มี ส าร


กระทบทำให้ หั ว ใจเต้ น ผิ ด จั ง หวะ ได้ แ ก่ โรคต่ อ ม
คาเฟอีนเป็นตัวกระตุ้นหัวใจเป็นประจำก็อาจทำให้
ไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานต่ำกว่าปกติ โรคจากปอด หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ง่าย หรือเกลือแร่ในร่างกายไม่
หรือหลอดลมเรื้อรัง โรคไตที่ทำให้เกิดความผิดปกติ สมดุล เช่น ภาวะโปแตสเซียมต่ำหรือสูงเกินไป
ของเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะ ต่อไปนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนการดูว่าหัวใจเต้น
ขาดออกซิเจนในเลือด และยังอาจจะเกิดจากภาวะอืน่
ผิดจังหวะเป็นโรคหรือไม่และต้องดำเนินการอย่างไร
ที่ไม่ใช่โรคได้อีก เช่น ได้รับยาบางอย่างเกินขนาด ในด้านการตรวจรักษา โดยทำเป็นขั้นตอนดังนี้
โดยเฉพาะยาที่ มี ฤ ทธิ์ ก ระตุ้ น หั ว ใจ เช่ น ยาขยาย

ขั้นตอนที่ 1 ดูจากอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การเต้นผิดจังหวะมีทั้งชนิดที่ช้าและชนิดที่เร็ว อาการก็จะแตกต่างกัน
อาการที่เกิดจากชนิดหัวใจเต้นเร็วมักจะเป็นอาการใจสั่น เหนื่อยโดยไม่มี
สาเหตุ นั่งพักเฉยๆ ไม่ได้ออกกำลังแต่อย่างใดก็เกิดอาการเต้นเร็วและก็เหนื่อย
ขึ้นมาทันที หรือมีอาการอ่อนเพลีย ลุกไปไหนไม่ได้ก็จะเหนื่อยมาก นั่งเฉยๆ อาจจะไม่มีอาการอะไร
แต่เวลาออกกำลังก็จะเห็นว่าออกกำลังได้ไม่ดีเหมือนเดิม ถ้าหัวใจเต้นเร็วมากๆ เวลาลุกยืนอาจจะมี
อาการวูบ หรือนำไปสูก่ ารเสียชีวติ กะทันหัน ในกรณีทหี่ วั ใจเต้นช้า อาการส่วนใหญ่กค็ อื ลุกแล้วหน้ามืด
หรือหมดสติชั่วคราวแล้วฟื้นกลับขึ้นมาใหม่ อาจถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหันได้หากไม่ได้รับการกู้ชีวิต
อย่างไรก็ตามการเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปก็มีทั้งที่ไม่มีอาการเลยจนอาการรุนแรงถึง
ขั้นเสียชีวิตได้ทั้งคู่

136 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ


ขั้นตอนที่ 2 ดูจำนวนการเต้นผิดจังหวะ ขัน้ ตอนที่ 3 ดูชนิดของการเต้นผิดจังหวะ
ว่ามีมากน้อยเท่าไร การเต้นผิดจังหวะบางชนิด ทำให้ ชนิดการเต้นผิดจังหวะมีมากมายหลายอย่าง ขึ้นอยู่
เกิดอาการจนเรารู้สึกได้ โดยมีลักษณะใจสั่น หรือ กับพยาธิกำเนิดของการเต้นผิดจังหวะและโรคหัวใจ
รู้สึกได้ว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะปกติ ถ้ามีอาการเรา หรือโรคอื่นว่ามีหรือไม่ และมีความรุนแรงเท่าไร การ
อาจจะอาศัยจากอาการได้ แต่อาจจะไม่แม่นยำเท่า เต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นชนิดร้ายแรงซึ่งเป็นเพียง
การตรวจจับด้วยเครื่องมือพิเศษทีจ่ ะกล่าวถึงต่อไป ถ้า ครั้งเดียวก็ต้องดำเนินการป้องกันรักษาเพื่อป้องกัน
มีการเต้นผิดจังหวะเพียงเล็กน้อย เช่นมีการกระโดด ภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น การ
ของหั ว ใจ หรื อ หั ว ใจเต้ น มาก่ อ นกำหนดไม่ เ กิ น
เต้นผิดจังหวะที่มาจากหัวใจห้องล่างชนิดเร็วต่อเนื่อง
10 ตัว/ชม. ก็อาจจะถือว่ายังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่าต้อง การดูชนิดของการเต้นผิดจังหวะ เป็นสิ่งที่จะต้องมี
ดำเนินการอะไรเพิ่มเติมมากนัก เพราะฉะนั้นการที่ การใช้เครื่องมือตรวจจับหรือการตรวจพิเศษมาช่วย
เราจะรู้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะจำนวนมากน้อยเท่าใด ว่าเป็นชนิดใด นั่นคือการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจซึ่งจะ
หรือมีหรือไม่ เราจึงต้องใช้เครื่องตรวจจับคลื่นไฟฟ้า กล่าวถึงต่อไป
หัวใจในการที่จะบอกว่าการเต้นผิดจังหวะมีจำนวน
เท่าใด

ขั้นตอนที่ 4 ถ้ามีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งในขั้นตอนที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ไม่ว่าจะ


เป็นบ่อยครั้ง คือจำนวนการเต้นผิดจังหวะมีมาก มีอาการเกิดขึ้นแล้วอาการค่อนข้างรุนแรง หรือเคย

ได้รับการตรวจประจำปีพบว่ามีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจชนิดที่ไม่น่าไว้วางใจ ก็จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน
ที่ 4 คื อ ได้ รับการตรวจจากแพทย์โรคหั ว ใจ โดยแพทย์ จ ะซั ก ประวั ติ ตรวจร่ า งกาย ตรวจเลือด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ่ายรังสีเอกซเรย์ปอด อาจจำเป็นต้องทำการตรวจอัลตราซาวนด์ของหัวใจ ถ้า
สงสัยว่าหลอดเลือดหัวใจตีบต้องทำการฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ หรือทำ CT-Scan เท่าที่จำเป็นเพื่อ
ค้นหารอยโรคว่ามีโรคอย่างไรในหัวใจที่เป็นสาเหตุของการเต้นผิดจังหวะ เพราะถ้าทราบชนิดของโรค
เราก็สามารถทำนายได้ว่าการเต้นผิดจังหวะจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 137


ขัน้ ตอนที่ 5 ขั้นตอนการตรวจพิเศษเพิ่ม ตรวจจับการเต้นของหัวใจต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
เติม เพื่อค้นหาจำนวน ชนิด และความรุนแรงของ เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กเท่ากับ
การเต้นผิดจังหวะ ถ้ามีอาการผู้ป่วยก็จะสามารถรู้ได้ โทรศัพท์มือถือหรือเพจเจอร์ นำติดตัวไปเพื่อทำการ
ถึงความรุนแรงหรือจำนวน ส่วนชนิดของการเต้นผิด บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อ
จังหวะว่าเป็นชนิดไหนจะต้องได้รับการวินิจฉัยจาก ครบ 24 ชัว่ โมง แพทย์จะนำไปเข้าเครือ่ งคอมพิวเตอร์
แพทย์ เราสามารถหาจำนวน ชนิด และความรุนแรง ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะทราบได้ว่าใน 24 ชั่วโมง
ของการเต้นผิดจังหวะได้ด้วยเครื่องมือหลายชนิดดัง มีจำนวนของการเต้นผิดจังหวะบ่อยครั้งเท่าไร มีมาก
จะกล่าวถึงดังนี้ น้อยเท่าไรและเป็นชนิดไหน
5.1 เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจ 5.4 Event Recorder เป็นเครื่องที่คนไข้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจกราฟการเต้นของหัวใจ จะนำติดตัวไปไหนๆได้เป็นเวลานานๆ เป็นสัปดาห์
บนแผ่นกระดาษซึ่งทำเพียง 1 นาทีก็เสร็จ เพราะ หรือเป็นเดือนเหมาะสำหรับการเต้นผิดจังหวะของ
ฉะนั้นถ้าทำตอนไม่มีอาการหรือตอนที่ไม่มีการเต้น หัวใจ บางชนิดที่นานๆ เกิดที จำเป็นที่จะต้องให้
ผิดจังหวะก็จะไม่พบอะไร แต่ถ้าทำตอนที่มีอาการ อุปกรณ์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เป็นระบบดิจิตอลแก่
การเต้นผิดจังหวะ เราก็จะสามารถจับตัวการและ คนไข้ไป เมื่อคนไข้เกิดอาการก็สามารถนำเครื่องมา
วินิจฉัยได้ว่าการเต้นผิดจังหวะมีจริงหรือไม่และเป็น แนบที่หน้าอก กดปุ่มเครื่องจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ชนิดไหน บางครั้งอาจจะต้องตรวจคลื่นหัวใจตอนมี ต่อเนื่องนาน 2 นาที และเก็บไว้ในเมมโมรี่ สามารถ
อาการหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้รู้ว่ามีการเต้นผิดจังหวะ ส่งผ่านโทรศัพท์มือถือหรือนำไปให้แพทย์ดูเมื่อไปพบ
เพียงชนิดเดียวหรือมากกว่าหนึ่งชนิด แพทย์ครั้งต่อไป ทำให้แพทย์บอกได้ว่าการเต้นผิด
5.2 การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการ จังหวะชนิดนี้เป็นการเต้นผิดจังหวะที่ทำให้ผู้ป่วยเกิด
เดินสายพาน การเต้นผิดจังหวะบางชนิดจะเกิดขึ้นใน อาการ เป็นการยืนยันได้ชัดเจนว่าขณะมีอาการหัวใจ
ขณะออกกำลั ง แพทย์ จ ะให้ ผู้ ป่ ว ยเดิ น หรื อ วิ่ ง บน เต้นอย่างไร
สายพานจนเหนื่อยแล้วสังเกตว่าขณะเหนื่อยมีการ 5.5 การตรวจโดยการเอียงเตียง (Tilt Table
เต้นผิดจังหวะของหัวใจอย่างใดเกิดขึ้นหรือไม่ Test) ในผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติซึ่งสงสัยว่าจะเกิด
5.3 Holter Monitoring คือ เครื่องมือ จากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไม่สมดุล อาจจะมี
138 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การสั่งตรวจโดยการเอียงเตียงผู้ป่วย 60-80 องศา กรณีที่ตรวจด้วยวิธีอื่นซึ่งเป็นการตรวจง่ายๆ แล้วไม่


เป็นเวลา 30 นาที ก็อาจใช้ทดสอบความผิดปกติของ พบอะไรบางครั้ ง อาจจะต้ อ งอาศั ย การใส่ ส ายสวน
ระบบประสาทอัตโนมัติได้ รายละเอียดของการตรวจ หัวใจเข้าไปทางหลอดเลือดดำเข้าไปสู่ห้องหัวใจแล้ว
ชนิดนี้ไม่สามารถบรรยายได้ครบถ้วนในบทความนี้ ส่งไฟฟ้าปริมาณน้อยๆเข้าไปกระตุ้นดูว่ามีการเต้นผิด
แต่เป็นการตรวจชนิดหนึ่งที่อาจจะบอกข้อมูลเพิ่ม จังหวะชนิดไหนที่กระตุ้นขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย
เติมได้ในผู้ป่วยบางรายที่มาด้วยอาการเป็นลมหมด ที่จะตรวจพิเศษ ใช้ในกรณีที่จำเป็นจะต้องรักษาด้วย
สติ โดยเฉพาะในรายที่ตรวจไม่พบโรคหัวใจร่วมด้วย วิ ธี ก ารจี้ ไ ฟฟ้ า หั ว ใจ หรื อ หาไม่ พ บว่ า การเต้ น ผิ ด
5.6 การตรวจระบบไฟฟ้าภายในหัวใจ ใน จังหวะอย่างไรด้วยวิธีการอื่นทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว

ขั้นตอนที่ 6 การรักษา การเต้นผิดจังหวะทีม่ อี าการน้อยไม่รนุ แรง และเป็นไม่บอ่ ย อาจไม่


จำเป็นต้องรักษา เพราะฉะนั้นขั้นตอนการรักษามีตัวเลือกคือ
6.1 เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของการเต้นผิดจังหวะไปก่อนว่าดีขึ้นหรือไม่จนกว่าจะตัดสินใจ
หรือค้นพบว่าเกิดจากโรคที่มีความรุนแรงจนถึงขั้นที่ต้องดำเนินการรักษาต่อไปหรือไม่
6.2 การรักษาโดยการใช้ยา ยาที่ใช้ในการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะยังมีข้อจำกัดที่ส่วนใหญ่
ยังมีภาวะแทรกซ้อนอันเกิดเนือ่ งจากยาทีอ่ าจมีความรุนแรงมากได้ และมียาทีม่ จี ำหน่ายในประเทศไทย

ในการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่มากนัก แต่ในกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วนที่มีอาการมาก อาจจำเป็น
ต้องให้ยาชนิดเข้าทางเส้นเลือด การรักษาด้วยยาจำเป็นที่จะต้องตรวจติดตามโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
และปรับขนาดตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยารุนแรงไปกว่าการเต้น

ผิดจังหวะที่มีอยู่เดิมเสียอีก
6.3 การรักษาให้หายขาดโดยการจี้วงจรไฟฟ้าผิดปกติภายในหัวใจ (Radiofrequency
Ablation) การเต้นผิดจังหวะของหัวใจบางชนิดสามารถทำให้หายขาดได้โดยไม่ต้องรับประทานยา
ระยะยาว โดยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดไปในห้องหัวใจต่างๆ หาวงจรผิดปกติแล้วปล่อย
พลังงานความร้อนตัดวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติให้ขาดออก ก็จะทำให้ผู้ป่วยหายจากการเต้นผิดจังหวะได้
ตลอดไป การรักษาชนิดนีเ้ ป็นการรักษาทีไ่ ด้ผลดีทสี่ ดุ แต่ไม่สามารถทำกับการเต้นผิดจังหวะได้ทกุ ชนิด

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 139

บางชนิดก็เหมาะสมทีจ่ ะทำการรักษาด้วยวิธนี ี้ บางชนิด


ก็อาจจะไม่เหมาะสมหรือไม่ได้ผลจากการรักษาด้วย ปัจจุบันการผ่าตัดมีการปรับปรุงเทคนิคหลายแบบ
วิธีนี้ การรักษาด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงแต่เป็น
เพื่อให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้นหรืออาจจะ
การจ่ายเพียงครั้งเดียว และสามารถรักษาด้วยวิธีนี้ มีลกั ษณะการเจาะช่องทีห่ น้าอกขนาดเล็ก ทำให้ภาวะ
ตามโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ แทรกซ้อนน้อยลง สำหรับการผ่าตัดในหัวใจห้องล่าง
6.4 การรักษาโดยการฝังอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ เป็นการตัดเอาส่วนของแผลเป็นจากกล้ามเนือ้ หัวใจตาย
ไว้ในร่างกาย ในกรณีที่หัวใจเต้นช้ามากอาจเกิดจาก ออก ก็มกี ารทำบ้างแต่อตั ราเสีย่ งและภาวะแทรกซ้อน
ทางเดินไฟฟ้าติดขัดภายในหัวใจหรือเกิดจากเซลล์ให้ จากการผ่าตัดสูง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดส่วนใหญ่ก็
กำเนิดไฟฟ้าทำงานเสื่อมลง ทำให้หัวใจเต้นช้าจนเกิด จะพิจารณาเป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่หลีกเลี่ยง
อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เช่นอาการหมดสติ ไม่ได้ แพทย์จึงพยายามใช้การรักษาด้วยวิธี 4 ข้อ

เป็นลม อาจจำเป็นต้องฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรไว้ ข้างต้นก่อน


ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกด้านซ้าย และฝังสายต่อจาก 6.7 การติดตามการรักษาในระยะยาว ผูป้ ว่ ย
เครื่องเข้าไปยังห้องหัวใจ ซึ่งถือเป็นการรักษาโดยวิธี หัวใจเต้นผิดจังหวะจำเป็นต้องติดตามการรักษาจาก
การผ่าตัดเล็ก สำหรับกลุม่ ทีม่ อี าการเต้นเร็วผิดจังหวะ แพทย์ ในกรณีที่เป็นการเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง
จนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ก็อาจจำเป็นต้องใช้เครื่อง เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
กระตุกหัวใจอัตโนมัติ ซึง่ สามารถทำการเปลีย่ นจังหวะ 6.7.1 การติ ด ตามผลเพื่ อ ประเมิ น
หัวใจทีเ่ ต้นเร็วมากปรับลงมาเป็นปกติได้โดยการปล่อย ประสิทธิภาพของการรักษาไม่ว่าจะเป็นการรักษา
พลังไฟฟ้าไปช็อกหัวใจ ซึ่งเครื่องดังกล่าวก็มีความ ด้วยวิธีใดก็ตามดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จำเป็นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่อาจเต้นผิดจังหวะ การปรับขนาดของยาจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้
จนถึงแก่ชีวิต เช่นกรณีของโรคใหลตาย ชิดจึงต้องมีการนัดผู้ป่วยกลับมาตรวจติดตามผลเป็น
6.5 การรักษาโดยการผ่าตัด ในปัจจุบันยัง ระยะๆ จนกว่าการเต้นผิดจังหวะชนิดนั้นจะได้รับ
มีทำในกรณีที่เป็นการเต้นผิดจังหวะซึ่งเกิดจากห้อง การเยียวยาจนหายสนิท
หัวใจห้องบน การผ่าตัดอาจจะใช้อุปกรณ์ประกอบ 6.7.2. การติดตามการรักษาเพื่อดูการ
เช่ น เครื่ อ งกำเนิ ด คลื่ น วิ ท ยุ ค วามถี่ สู ง มาร่ ว มด้ ว ย ดำเนิ น โรคว่ า มี ค วามรุ น แรงเพิ่ ม ขึ้ น หรื อ ลดลงหรื อ
140 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หายไปได้เองหรือไม่ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนลักษณะ 6.7.4 การติดตามการรักษาเพื่อประ


ความรุ น แรงของโรคอาจจำเป็ น ต้ อ งเลื อ กวิ ธี ก าร เมินผลการรักษาระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการรักษา
รักษาชนิดอื่นที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ชนิดใด การติดตามการรักษาเป็นสิ่งจำเป็นเพราะ
6.7.3 การติดตามการรักษาเป็นไปเพื่อ การรักษาครั้งเดียวในผู้ป่วยบางคนอาจไม่เพียงพอ
การตรวจจับและหาทางป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ อาจจะต้องมีการให้การดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่อง
อาจเกิดขึ้น เช่นบางรายการเต้นผิดจังหวะจากหัวใจ อิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังในร่างกายต้องดูแลทุก 3-6 เดือน
ห้องบนทำให้มีลิ่มเลือดซึ่งก่อตัวขึ้นในห้องหัวใจหลุด เพื่อดูว่าเครื่องยังทำหน้าที่ได้เป็นปกติหรือไม่ และ
ออกไปอุดในเส้นเลือดสมองหรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง ประเมินผลว่าจะต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมของเครื่อง
อวัยวะอื่นๆ ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็น อย่างไรซึ่งอาจจะมีการกล่าวถึงในเรื่องการใส่เครื่อง
ต้องให้ยาป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือดเพื่อหลีก อิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกายในบทอื่น ซึ่งท่านจะหา
เลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว อ่านได้จากหนังสือเล่มนี้

สรุป
การเต้นผิดจังหวะของหัวใจไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะอย่างหนึ่งที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วยที่ไม่มีโรค
อย่างใดเลยหรืออาจจะมีโรคหัวใจแต่ไม่มีการเต้นผิดจังหวะก็ได้ โรคหัวใจและโรคอื่นๆ ก็มีโอกาสทำให้
หัวใจเต้นผิดจังหวะรวมทั้งยาที่รับประทานหรือกาแฟหรืออาหารบางชนิด
ถ้าพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคงไม่สามารถด่วนสรุปได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ จำเป็นต้องได้รับ
การตรวจจากแพทย์และบางครั้งต้องใช้การตรวจพิเศษเพิ่มเติมหรือการติดตามการดำเนินโรคจึงจะ
สามารถทราบได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ และโรคบางชนิดอาจจะตรวจไม่พบ
ด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น โรคใหลตาย อาจต้องส่งตรวจทางพันธุกรรม
จึงจะพบความผิดปกติ เหตุที่ตรวจไม่พบทั้งๆ ที่มีโรคอยู่เพราะโรค
บางอย่างจะต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือหรือวิธีการตรวจพิเศษมากๆ
จึงจะสามารถพบความผิดปกติได้ โดยเฉพาะถ้าความผิดปกตินั้น
เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจเพียงอย่างเดียว
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 141

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

ทำไมต้องใส่...
เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ครรชิต ลิขิตธนสมบัติ
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของคน นานๆ เปรียบเสมือนแบตเตอรี่รถยนต์ที่เมื่อถึงเวลาก็


เรา หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำสารอาหารและ จะหมดอายุและต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ บทความนี้จะ
ออกซิเจนไปเลีย้ งส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพือ่ ให้อวัยวะ กล่าวถึงการใช้เครือ่ งกระตุน้ หัวใจด้วยไฟฟ้า เพือ่ รักษา

ส่วนอื่นๆ ทำงานได้ตามปกติ โดยทำการบีบตัวและ ผู้ป่วยที่มีปัญหาของไฟฟ้าในหัวใจ
คลายตัวเพื่อปั๊มเลือดออกจากหัวใจตลอดเวลาตั้งแต่
เกิดจนถึงวันที่เราจากโลกนี้ไป โรคจากไฟฟ้าของหัวใจ
การที่หัวใจทำงานได้ตลอดเวลานี้ เนื่องจาก ในความเป็นจริงโรคของหัวใจมีหลายชนิด
ในหัวใจมีเซลล์ชนิดหนึ่งซึ่งสามารถให้กำเนิดไฟฟ้าขึ้น โรคของหัวใจที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
ในหัวใจ จากพลังงานไฟฟ้าที่นำไปสู่การกระตุ้นให้ ขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจากโรคหลอดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจบีบและคลายตัวได้เป็นจังหวะซึ่งอาจ หั ว ใจตี บ หรื อ ตั น โรคของกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจจากโรค
กล่าวได้ว่าหัวใจมีแบตเตอรี่ที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าในหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคของลิ้นหัวใจ เป็นต้น แต่มีโรค
ขึ้นได้เอง และหัวใจก็เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของ ของหัวใจอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้บ่อยปานกลาง คือ
ร่างกายทีม่ กี ารเสือ่ มสภาพเมือ่ ถูกใช้งานเป็นระยะเวลา โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่ง
142 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อาจแบ่งง่ายๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ ความผิดปกติ ทีห่ วั ใจเต้นช้าผิดปกตินนั้ ไม่เหมือนกับการทีห่ วั ใจเต้น


ของไฟฟ้าในหัวใจที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นเร็วเกินไป เร็วผิดปกติ เพราะมักเกิดจากการทีแ่ หล่งกำเนิดไฟฟ้า

เปรียบเสมือนการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ และ ในหัวใจหรืออาจจะเรียกว่าแบตเตอรี่ของหัวใจเสื่อม
ความผิดปกติของการผลิตกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือ สภาพหรือหมดอายุทำให้มกี ารผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง
การนำไฟฟ้าภายในหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าเกินไป หรืออาจเกิดจากการนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ เปรียบ
เสมือนสายไฟในบ้านเสื่อมหมดอายุเช่นกัน ไฟฟ้าที่
อาการที่เกิดจากความผิดปกติ ผลิตขึ้นจากแบตเตอรี่หัวใจจึงไม่สามารถเดินทางไป
ของไฟฟ้าในหัวใจ กระตุ้นส่วนต่างๆ ของหัวใจได้อย่างปกติ
1. ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เมือ่ มีการเกิด ผูป้ ว่ ยกลุม่ นีจ้ ะมาด้วยอาการหน้ามืด เป็นลม
ไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หมดสติ หรือเหนือ่ ยง่ายกว่าปกติ การวินจิ ฉัยก็เช่นเดียว
ในภาวะปกติหัวใจจะเต้นในอัตรา 60-100 ครั้ง/นาที กับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือ นอกจากอาศัยการ
และจะเต้นเร็วขึ้นเฉพาะในภาวะที่ร่างกายต้องการ ซักประวัตแิ ละการตรวจร่างกายแล้ว หลักฐานทีส่ ำคัญ
อาหารและออกซิเจนเพิ่มขึ้น เช่น เวลาออกกำลังกาย คือ คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงถึงอัตราการเต้นของหัวใจ
เจ็บป่วยมีไข้ หรือมีภาวะที่ตกใจตื่นเต้น แต่ผู้ป่วยที่มี ที่ช้าลงมาก อาจช้าถึง 20-30 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการ
การเกิดภาวะไฟฟ้าลัดวงจรในหัวใจนั้น หัวใจจะเต้น เต้นของหัวใจขนาดนี้ไม่เพียงพอต่อการสูบฉีดโลหิต
เร็วผิดปกติแม้ในขณะที่อยู่เฉยๆ และไม่มีสาเหตุใดๆ ไปเลีย้ งร่างกาย โดยเฉพาะสมอง จึงทำให้ผปู้ ว่ ยมีอาการ
ที่ต้องทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมาด้วย หน้ามืด และเป็นลมหมดสติได้
อาการใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ เหนื่อย หน้ามืด หรือ เนื่องจากโรคหัวใจเต้นช้าผิดปกติที่เกิดจาก
เป็นลมหมดสติได้ การวินจิ ฉัย นอกจากการซักประวัติ การเสือ่ มสภาพของแบตเตอรีห่ รือสายไฟในหัวใจ จึงเป็น
ตรวจร่างกายแล้ว หลักฐานทีส่ ำคัญ คือ การตรวจพบ
โรคที่มักพบในผู้สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ว่าหัวใจเต้นเร็วมาก จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(electrocardiogram) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจมีกี่แบบ
วินจิ ฉัยโรคหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะได้ และอาจแยกแยะ และรักษาผู้ป่วยกลุ่มใด
ได้วา่ การลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจนัน้ ๆ มาจากส่วนใด ในยุคแรกๆ เมือ่ หลายสิบปีกอ่ นเครือ่ งกระตุน้
ของหัวใจห้องบนหรือห้องล่าง ไฟฟ้าหัวใจมีเฉพาะไว้ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นช้า
2. ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ สาเหตุของการ ผิดปกติเท่านั้น แต่ในระยะหลังเริ่มมีเครื่องรักษาโรค
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 143

หั ว ใจเต้ น เร็ ว ผิ ด จั ง หวะด้ ว ย ซึ่ ง น่ า จะเรี ย กว่ า เป็ น การผ่าตัดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ


“เครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า” มากกว่า เนื่องจาก มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
เครื่องนี้จะปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อช็อคหัวใจที่เต้นเร็ว อย่างไรบ้าง
มากผิ ด จั ง หวะให้ ก ลั บ มาเต้ น เป็ น ปกติ ต ามเดิ ม เนื่องจากการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
นอกจากนีย้ งั มีเครือ่ งกระตุน้ หัวใจด้วยไฟฟ้าเพือ่ รักษา หัวใจเป็นการผ่าตัดเล็กโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ดังนั้น
โรคหัวใจล้มเหลวด้วย ความเสี่ยงจากการผ่าตัดจึงต่ำกว่าการผ่าตัดอื่นๆ ที่
ใช้ยาสลบดมยา และใช้เครือ่ งช่วยหายใจระหว่างผ่าตัด
การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ อย่างไรก็ดีมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่วงทำการผ่าตัด
ด้วยไฟฟ้า ทำอย่างไร? และหลังผ่าตัด ดังนี้
การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ จะ - ภาวะปอดแตกหรือเลือดออกในปอด
ต้องเป็นการผ่าตัดแต่ถือว่าเป็นการผ่าตัดเล็กด้วยการ - ภาวะเลือดออกในช่องหุม้ หัวใจหรือบริเวณ

ใช้ยาชาเฉพาะที่และมักไม่ต้องดมยาสลบ โดยเป็น
แผลผ่าตัด
การเปิดแผลเล็กๆ ความยาวประมาณ 2 นิว้ ทีบ่ ริเวณ - การติดเชื้อ
หน้าอกด้านซ้ายหรือด้านขวา ตามด้วยการสอดสาย - ถ้ามีความจำเป็นต้องดมยาสลบ ก็อาจ

กระตุน้ หัวใจเข้าไปทางหลอดเลือดดำเข้าไปทีห่ อ้ งหัวใจ เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

ห้องบนหรือห้องล่างหรือทัง้ สองห้อง แล้วต่อปลายสาย
ได้
อีกด้านหนึ่งเข้ากับกล่องแบตเตอรี่ซึ่งเป็นโลหะชนิด

พิเศษขนาดประมาณพอๆ กับเหรียญสิบบาท

ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
2 เหรียญ ซึ่งกล่องแบตเตอรี่นี้จะถูกฝัง

หลังได้รับการผ่าตัด
ใต้บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย ผู้ป่วย

ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
สามารถกลับบ้านได้ภายใน
โดยทัว่ ไปผูป้ ว่ ยจะมีอาการดีขนึ้ มากหลังได้รบั
1-2 วัน โดยสามารถกลับ
การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ คือ ไม่หน้ามืด
ไปพักที่บ้านได้อย่างปกติ หรือเป็นลมอีก เหนื่อยน้อยลง แพทย์จะนัดผู้ป่วยมา
รับการตรวจเครื่องเป็นระยะๆ เพื่อดูแลการทำงาน
ของเครือ่ ง และปรับการทำงานของเครือ่ งให้เหมาะสม
กับสภาพของผูป้ ว่ ย เนือ่ งจากเครือ่ งกระตุน้ ไฟฟ้าหัวใจ

144 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ก็เหมือนกับแบตเตอรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอายุการใช้งาน กระตุ้ น ถ้ า ท่ า นมี ข้ อ สงสั ย ประการใด



ประมาณ 5-8 ปี และเมื่อหมดอายุก็จำเป็นต้องผ่าตัด สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ดูแลได้
เปลี่ยนเครื่องใหม่ - หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนโดยตรง

ผูป้ ว่ ยจึงควรระมัดระวังเพือ่ ป้องกันไม่ให้การ บริเวณหน้าอกที่ฝังเครื่อง
ทำงานของเครือ่ งกระตุน้ ไฟฟ้าหัวใจถูกรบกวนดังต่อไป - ถ้ามีแผลหรือผื่นคันบริเวณผิวหนังที่ฝัง

นี้ เครื่องอยู่ควรรีบไปพบแพทย์
- หลีกเลีย่ งการเข้าใกล้เครือ่ งมือ เครือ่ งไฟฟ้า
- ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

ที่มีสนามแม่เหล็กสูงๆ เช่น เครื่องตรวจ


หัวใจชนิดที่เป็นแบบ “เครื่องช็อคหัวใจ

จับโลหะตามสนามบิน เครือ่ งตรวจร่างกาย
ด้วยไฟฟ้า” เพื่อรักษาโรคหัวใจเต้นเร็ว

แบบ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
ผิ ด ปกติ อาจรู้ สึ ก กระตุ ก ขณะที่ เ ครื่ อ ง

การฝังเข็มชนิดทีม่ กี ารปล่อยกระแสไฟฟ้า
ทำการปล่อยไฟฟ้าเพือ่ ช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า

ผูป้ ว่ ยกลุม่ นีไ้ ม่แนะนำให้ขบั รถด้วยตนเอง


บทสรุป
เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้รักษา

ผู้ป่วยด้วยโรคไฟฟ้าของหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทหัวใจเต้นช้ากว่า
ปกติ และส่วนน้อยเป็นผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หรือโรค
หัวใจล้มเหลวบางชนิด การรักษานี้ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ขึ้นมากและอายุยืนยาวขึ้นด้วย

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 145

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

การเสียชีวิตกะทันหันจาก
โรคใหลและการป้องกัน
นาวาอากาศเอกนายแพทย์กัมปนาท วีรกุล (และคณะ*)

ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

“ใหลตาย” เป็นโรคท้องถิ่นของภาคอีสาน 1 โรคใหลไม่ได้พบเฉพาะแต่ในคนไทย


ซึ่ ง ทำให้ ช ายหนุ่ ม ที่ ดู ป กติ แข็ ง แรงดี เมื่ อ เข้ า นอน การเสียชีวิตในลักษณะเช่นนี้ยังพบในภาค
กลายเป็นศพในตอนเช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ บางครั้ง เหนือ (เรียกว่า หลับรวด) ในประเทศลาว (เรียกว่า
ผู้ตายอาจส่งเสียงครางคล้ายคนละเมอ (ใหล) หรือ ทำมะลา) ในประเทศฟิลปิ ปินส์ (เรียกว่า Bangungut)
หายใจไม่ออก หากญาติมาพบและทำการปั๊มหัวใจ
หรือในญีป่ นุ่ ซึง่ เรียกว่าโรค Pokkuri ความหมายของคำ
ได้ทนั ก็อาจรอดตายได้ เนือ่ งจากการเสียชีวติ ในชนบท เหล่านี้ล้วนบ่งถึงการเสียชีวิตในขณะนอนหลับทั้งสิ้น
มั ก จะไม่ มี ก ารตรวจศพและศึ ก ษาอย่ า งละเอี ย ด ในปี พ.ศ.2527 ได้ มี ร ายงานการตายที่
“ใหล” จึงเป็นโรคลึกลับที่คร่าชีวิตคนไทยมาร่วม คล้ายคลึงกันนีใ้ นผูอ้ พยพเพศชายจากเอเชียตะวันออก
ร้ อ ยปี บทความนี้ เ ป็ น การสรุ ป สาระสำคั ญ ที่ ค วร เฉียงใต้ (ประเทศลาว เวียดนาม และกัมพูชา) ใน
ทราบหลังจากที่ได้ร่วมทำการวิจัยในโรคนี้มาตั้งแต่
สหรัฐอเมริกา เนื่องจากการตรวจศพไม่พบความผิด
ปี พ.ศ. 2537 ปกติใดๆ ที่จะอธิบายสาเหตุการตายได้ Center for
* นายแพทย์วรงค์ ลาภานันต์ นายแพทย์เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร แพทย์หญิงเลิศลักษณ์ เชาวน์ทวี

นายแพทย์ภานุรัตน์ ธัญญะสิริ นายแพทย์กุลวี เนตรมณี และคณะผู้วิจัย โครงการ Pilot, DEBUT


146 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

Disease Control หรื อ CDC จึ ง นิ ย ามโรคนี้ ว่ า 3. การตรวจหั ว ใจไม่ ว่ า จะเป็ น ลิ้ น หั ว ใจ


Sudden Unexplained Death Syndrome (เรียก กล้ามเนื้อและหลอดเลือดอย่างละเอียดจะให้ผลปกติ
ย่ อ ๆ ว่ า SUDS) หรื อ Sudden Unexplained แต่ ก ลั บ พบความผิ ด ปกติ ใ นไฟฟ้ า หั ว ใจ สามารถ
Nocturnal Death (SUND) กระตุ้นการเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัว (ventricular
ในระหว่างปี พ.ศ. 2537-50 ได้มีการวิจัย
fibrillation, VF) ได้โดยง่าย
ในโรคใหลในประเทศอย่างต่อเนื่องสรุปได้ดังนี้ 4. การฝังเครือ่ งกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (Auto-
1. ผู้ ป่ ว ยโรคใหลที่ ร อดชี วิ ต ส่ ว นใหญ่
matic Implantable Cardiovertor Defibrillator,
(ร้อยละ 90) มีคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และมีลกั ษณะ AICD) จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตจาก VF ได้
เฉพาะ คื อ มี ก ารยกตั ว ของคลื่ น ST เหมื อ นกั บ ที่ 5. ร้อยละ 30 ของครอบครัวผู้ป่วยโรคใหล

คนไข้ที่เสียชีวิตกะทันหันในยุโรป (รู้จักกันในชื่อกลุ่ม ในไทยและ Pokkuri ในญี่ปุ่นมีความผิดปกติในหน่วย
อาการ Brugada) (รูปที่ 1) พันธุกรรม (gene) จริง มีผลให้การควบคุมประจุไฟฟ้า
2. คลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจดั ง กล่ า วอาจกลั บ เป็ น โซเดียมในระดับเซลล์ลดลง หรือไม่ทำงาน จึงเกิด
ปกติได้ แต่จะสามารถตรวจพบด้วยการวางตำแหน่ง การเต้นระริกขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเหมือน
ที่สูงขึ้น หรือใช้ยาบางชนิด กับที่มีรายงานในกลุ่มอาการ Brugada

รูปที่ 2 แสดงตลับเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ที่เป็นแหล่งพลังงาน

วิเคราะห์และบันทึกข้อมูล (รูปซ้าย) ทีม่ สี ายต่อเข้าไปวางใน

รูปที่ 1 แสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติใน หัวใจห้องขวา (รูปขวา) เพือ่ กระตุกและกระตุน้ หัวใจให้กลับมา

Brugada’s syndrome ทำงานตามปกติ


มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 147

ก่อนเกิด VF VF AICD shock กลับมาเต้นเป็นปกติ



รูปที่ 3 แสดงการเกิดหัวใจเต้นระริก (VF) ในปีกกาข้างบน ขณะนอนหลับของผู้ป่วยรายหนึ่ง และเครื่อง AICD สามารถ

กระตุกหัวใจให้กลับมาทำงานตามปกติได้

2 เหตุใดคนทีเ่ ป็นใหลจึงตายกะทันหัน? 3 เหตุใดจึงเกิดการเต้นระริก (VF)


การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคใหลเกิดจาก และมีอะไรเป็นปัจจัยเสริม?
การเต้นระริกที่ไม่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่ การศึกษาทางพันธุกรรมทำให้ทราบว่าร้อยละ
เกิดขึน้ เอง (spontaneous ventricular fibrillation, 70 ของผู้ป่วยจะเกิดความผิดปกติในหน่วยควบคุม
VF) ทำให้สมองขาดเลือดและออกซิเจนกะทันหัน พันธุกรรมของร่างกายที่เรียก gene เป็นผลให้การ
เป็นผลให้กล้ามเนือ้ ตามตัว แขนขาเกิดอาการเกร็งและ ควบคุ ม การผ่ า นของประจุ ไ ฟฟ้ า บางตั ว ในเซลล์
หายใจเสียงดังจากมีเสมหะในหลอดลม บางรายจะมี ทำงานลดลงหรือหยุดทำงาน ทำให้ผนังบางส่วนเกิด
อุจจาระ ปัสสาวะราดจากการสูญเสียการควบคุมของ การคลายตัวทางไฟฟ้าที่เร็วกว่ากล้ามเนื้อหัวใจส่วน
ระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะมีใบหน้า ริมฝีปาก อื่นที่ปกติ จึงถูกกระตุ้นซ้ำและเกิด VF ขึ้น
เขียวคล้ำและเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว หากไม่ได้รับ ปั จ จั ย สำคั ญ ที่ ท ำให้ เ สี่ ย งต่ อ การเกิ ด VF
การกู้ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ และใช้ไฟฟ้ากระตุกหัวใจ คือการมีไข้สูง การสูญเสียโปแตสเซียม แมกนีเซียม
ให้กลับมาทำงานเป็นปกติ เพื่อหยุด VF โดยเร็วที่สุด จากร่างกาย (เช่นจากการอาเจียน ท้องร่วง กินยาขับ
ในบางครั้ง VF อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยจะรอดตาย ปัสสาวะ หรือดื่มกาแฟ ชา หรือ alcohol ซึ่งมีฤทธิ์
ได้เช่นกันแต่ก็อาจจะเกิดสมองพิการถาวรหากขาด ขับปัสสาวะเช่นกัน) รวมทั้งการเกิดความเครียดจาก
ออกซิเจนนาน การอดนอน ทำงานหนัก

148 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

4 เมื่อพบคนที่เคยเกิดโรคใหลหมดสติ
5 โรคใหลถ่ า ยทอดทางพั น ธุ ก รรม

ควรช่วยเหลืออย่างไร? หรื อไม่ เหตุ ใ ดจึ ง เป็ นในเพศชาย

1. คุ ม สติ ตะโกนเรี ย กคนช่ ว ย จั บ ผู้ ป่ ว ย มากกว่าหญิง?


นอนราบ โรคนี้ ส ามารถถ่ า ยทอดทางพั น ธุ ก รรมได้
2. ระหว่างรอ ประเมินผู้ป่วยหากไม่หายใจ โดยลูกจะมีโอกาสรับความผิดปกติทางพันธุกรรมที่

ไม่มีชีพจรที่คอ ให้เป่าปากสองครั้งติดกันแล้วทำการ ได้รบั จากพ่อหรือแม่รอ้ ยละ 50 และโอกาสจะเพิม่ ขึน้
นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก จนกว่าจะถึงมือแพทย์ หากพ่อและแม่มคี วามผิดปกติทงั้ คู่ ผลการศึกษาโรคนี้
หรื อ จนกว่ า ผู้ ป่ วยจะรู้ตัว (ดูรายละเอียดจากคู่ มื อ ทั้งในและต่างประเทศพบว่าเพศชายจะเป็นโรคนี้มาก
ปฏิบัติการของสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ) ในผู้ที่ผ่าตัด กว่าเพศหญิงในอัตรา 8 ต่อ 1 แม้สาเหตุจะยังไม่
ฝังเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ควรหลีกเลี่ยงการกด ทราบชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของ
บริ เวณหั ว ไหล่ ไ หปลาร้ า ข้ า งที่ ใ ส่ เ ครื่ อ งเพราะอาจ gene และธรรมชาติทางไฟฟ้าของหัวใจซึ่งอาจจะ
ทำให้สายหัก และระหว่างเครื่องทำการช็อคไม่ควร แตกต่างกันในแต่ละเพศ
สัมผัสตัวผู้ป่วย
3. รีบนำส่งโรงพยาบาลให้ถึงมือแพทย์โดย 6 ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดใหล?
เร็วทีส่ ดุ ระหว่างทาง อย่าหยุดการช่วยชีวติ การรักษา ผู้ที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดใหลตาย
VF ทีด่ ที สี่ ดุ คือรีบนวดหัวใจและใช้เครือ่ ง defibrillator ได้แก่
shock หัวใจให้กลับมาทำงานโดยเร็วที่สุด (การปั๊ม 1. เคยมีอาการใหลแต่รอดตาย หรือมีอาการ
หน้าอกให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองสามารถช่วยผู้ป่วยให้ หมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ ที่ไม่ได้เกิดจากโรคลมชัก
รอดมาแล้ว) หรือสาเหตุทางสมอง และมีคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจทีม่ ลี กั ษณะ
4. ไม่ควรเสียเวลาที่ไม่จำเป็น เช่น งัดปาก เฉพาะตามรูปที่ 1 และผู้ที่รอดชีวิตจะมีโอกาสเกิด
คนไข้ด้วยของแข็งเพราะอาจเกิดอันตราย VF ซ้ำ ราวร้อยละ 20 ต่อปี
5. โปรดระลึกเสมอว่าคนที่เป็นใหลก็อาจมี 2. ผูท้ มี่ คี ลืน่ ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติดงั กล่าว แม้
โรคอื่นของสมอง หรือหัวใจร่วมอยู่ด้วยได้ซึ่งอาจเป็น จะยังไม่มีอาการ แต่มีประวัติการเสียชีวิตกะทันหัน
เหตุให้หมดสติได้เช่นกัน หรือมีโรคใหลตายในครอบครัวสายตรง

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 149

7 การป้ อ งกั น การเสี ย ชี วิ ต กะทั น หั น


8 การฝังเครื่อง AICD ทำอย่างไร
จากโรคใหล ทำได้ที่ใดและราคาเท่าใด?

1. การป้องกันการเสียชีวิตจาก VF ที่ยังไม่ การฝังเครือ่ ง AICD ทำได้ในศูนย์หวั ใจทัง้ ของ
เกิ ด ขึ้ น ในผู้ ที่ มี ค วามเสี่ ย งสู ง ในข้ อ 6.2 (Primary รัฐและเอกชน โดยแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกทาง
prevention) ผูป้ ว่ ยกลุม่ นีย้ งั ไม่มอี าการ ควรพบแพทย์ หลอดเลือดดำหรือดมยา ก่อนทำการเปิดแผลเล็กราว 4
เพือ่ ประเมินความเสีย่ งโดยละเอียด และควรหลีกเลีย่ ง ซ.ม. ที่ ผิ ว หนั ง ใต้ ก ระดู ก ไหปลาร้ า เพื่ อ สอดสาย

ปั จ จั ย เสี่ ย งคื อ ไม่ ดื่ ม สุ ร า หรื อ สารที่ มี ฤ ทธิ์ ขั บ ซึ่งมีขดลวด ผ่านหลอดเลือดดำที่หัวไหล่ เข้าไปวาง
ปั ส สาวะที่ ท ำให้ เ สี ย เกลื อ แร่ ควรทานอาหารที่ มี
ในหัวใจห้องขวาโดยอาศัย X-rays และฝังตลับเครื่อง
โปแตสเซียม แมกนีเซียม เป็นประจำ (ผลไม้ เช่น AICD (มีขนาดเล็กกว่าหนึง่ ในสามของฝ่ามือ) ใต้ผวิ หนัง
กล้วย ส้ม) และหากเป็นไข้ ควรรีบรักษา ทานยา เช็ดตัว แล้วเย็บปิดแผล (รูปที่ 2) ปัจจุบันเครื่องนี้ราคาถูกลง
เพื่อลดอุณหภูมิกายลง (ผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ไม่เกิน 300,000 บาท และสามารถเบิกคืนจากราชการ
การฝั ง เครื่ อ ง AICD อาจจะไม่ คุ้ ม ค่ า ในผู้ ที่ ยั ง ไม่ มี หรือประกันสังคมได้ (ผู้ป่วยสามารถรับบริการได้ที่
อาการกลุ่มนี้เพราะอัตราตายต่ำและไม่ต่างจากกลุ่ม โรงพยาบาลที่มีศูนย์หัวใจทั้งของรัฐและเอกชน โดย
ที่ไม่ได้ฝังเครื่อง) ใช้เวลานอนไม่เกิน 5 วัน) เครื่องจะมีอายุใช้งานราว
2. การป้องกันการเสียชีวติ ในผูร้ อดตายจาก 5-7 ปีก็ต้องเปลี่ยนตลับ battery ใหม่ (ราคาไม่เกิน
ใหลมาแล้ว (Secondary Prevention) มีความจำเป็น 2-3 แสนบาท)
ต้องใส่เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AICD) เนื่องจาก
จะมีโอกาสตายจาก VF ซ้ำ ราวร้อยละ 20 ต่อปี
และ AICD สามารถป้องกันการตายจาก VF ที่เกิดซ้ำ
ได้แน่นอน
150 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

กู้-ฟื้นคืนชีพ..!
พลตรีนายแพทย์ประสาท เหล่าถาวร
แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หยุดหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จมน้ำ

ระบบไหลเวียนโลหิต มีหัวใจเป็นอวัยวะ สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินลมหายใจ สูดดมควัน


สำคั ญ ซึ่ ง ทำหน้ า ที่ สู บ ฉี ด เลื อ ดที่ มี อ อกซิ เจนและ เข้าไปมากทำให้สำลักควัน ได้รับยาเกินขนาด ไฟฟ้า
อาหารผ่านทางหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ดูด อยู่ในที่ไม่มีอากาศหายใจ บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
ของร่างกาย เช่น สมอง ลำตัว แขนขา แล้วรับของ ฟ้าผ่า และสมองเสียการทำงานจนโคม่าจากสาเหตุ
เสียจากการทำงานของเซลล์ผ่านทางหลอดเลือดดำ ต่างๆ
เพื่อกำจัดออกนอกร่างกาย ในขณะที่ระบบทางเดิน การเสียชีวิตที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
หายใจ มีปอดเป็นอวัยวะสำคัญ ซึ่งทำงานโดยการนำ ทีม่ สี าเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดก็คอื ภาวะ
อากาศที่ ห ายใจเข้ า ไปในปอด เพื่ อ ไปแลกเปลี่ ย น หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) โดย 70-80 % ของ
ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ภาวะนี้จะเกิดนอกโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะเกิดที่บ้าน
ภาวะหัวใจหยุดเต้น เกิดขึ้นจากสาเหตุ ที่ทำงาน หรือในชุมชนก็ได้
หลายอย่าง เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ฉะนั้นการช่วยชีวิตเบื้องต้นอย่างทันท่วงที
จากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือที่เรียกกันว่าหัวใจวาย จึงเป็นการช่วยเหลือจากญาติมิตร คนใกล้ชิด หรือ

หรื อ อาจเกิ ด ขึ้ น ตามหลั ง ภาวะหยุ ด หายใจ ภาวะ
ผู้ร่วมงาน
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 151

บ่อยครั้งที่ผู้ประสบภัยเหล่านี้ต้องเสียชีวิต โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึง


ลงเพราะไม่ได้รบั การช่วยเหลือเบือ้ งต้นทีถ่ กู ต้องและทัน จัดให้มี “โครงการฝึกอบรมการช่วยชีวติ ขัน้ พืน้ ฐาน
ท่วงทีจากผู้พบเห็นเหตุการณ์ก่อนนำส่งโรงพยาบาล เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว
ในกรณีที่ผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้อยู่ใน เนื่ อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระชนมพรรษา
เหตุการณ์ขาดความรู้และทักษะในการช่วยชีวิตก็จะ ครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” เพื่อประโยชน์
ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง การ ของประชาชนทั่วไป และถวายเป็นพระราชกุศล แด่
ปฏิบัติการช่วยชีวิตที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพจะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีที่แล้ว
สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ กระนั้นก็ตามหาก
สามารถสอนประชาชนได้ถึง 11,000 คน
ผู้ป่วยที่หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเกิน
กว่า 4 นาที แม้ว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ ผู้ป่วยก็ยังจะเกิดสภาวะการ สำหรับประชาชนทั่วไป
ตายของสมองอย่างถาวรอยู่ดี ฉะนั้นปฏิบัติการช่วย เมื่ อ เกิ ด ภาวะหั ว ใจหยุ ด เต้ น และภาวะ
ชีวิตที่กระทำอย่างทันที และถูกต้อง จะช่วยให้สมอง หยุดหายใจ ประชาชนผู้ให้การช่วยเหลือสามารถใช้
ไม่ขาดเลือด และสามารถกลับมาฟื้นเป็นปกติได้ หลักการขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน หลักการสั้นๆ
คณะอนุกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ช่วยการจำคือการใช้อักษรย่อ A B C D เป็นแนวทาง
(Thai Resuscitation Council, TRC) ของสมาคม ในการปฏิบัติ คือ
แพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ A. การเปิ ด ทางเดิ น ลมหายใจให้ โ ล่ ง

จึงได้ทำการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ในการช่วย (Airway = ทางเดินหายใจ, A)
ชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานแก่บคุ ลากรทางการแพทย์มาโดยตลอด B. ดูว่าหายใจหรือไม่ (Breathing = การ

ในปี 2550 อั น เป็ น ปี ม หามงคลเฉลิ ม -
หายใจ, B)
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน C. ดูว่าหัวใจเต้นอยู่หรือไม่ (Circulation

วโรกาสเฉลิ ม พระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา = การไหลเวียนของโลหิต, C)
มูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึง่
D. การเรี ย กขอเครื่ อ งช็ อ กไฟฟ้ า หั ว ใจ

มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อัตโนมัติ (Defibrillator = การช็อก

ทรงเป็นองค์ประธาน ร่วมมือกับ คณะอนุกรรมการ ไฟฟ้าหัวใจ, D)
โครงการมาตรฐานการช่วยชีวิต ภายใต้สมาคมแพทย์
152 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

สี่หลักการที่สำคัญนี้ มีขั้นตอนย่อยๆ ที่ เตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน เหตุเกิดที่ไหน หมายเลข


สามารถทำให้การปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือมีประสิทธิภาพ โทรศัพท์ที่กำลังใช้พูดอยู่ เกิดอะไรขึ้น มีคนต้องการ
มากที่สุดโดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ตามหนังสือคู่มือ ความช่วยเหลือกี่คน สภาพของผู้หมดสติเป็นอย่างไร
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของสมาคมแพทย์โรคหัวใจฯ บ้าง ข้อมูลอื่นๆ ที่คิดว่าจำเป็น
แบ่งเป็น สิบขั้นตอน คือ อย่าวางหูโทรศัพท์จนกว่าพนักงานช่วยชีวติ
ที่รับโทรศัพท์จะบอกให้เลิกการติดต่อก่อน
ขั้นที่ 1 เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ถ้าผู้หมดสติเป็นผู้ใหญ่ ให้โทรศัพท์เรียก
ควรมองดูสภาพรอบตัวที่ผู้หมดสตินอน ความช่วยเหลือทันทีก่อนลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต
อยู่ว่าปลอดภัยก่อน แล้วจึงเข้าไปยังข้างตัวผู้หมดสติ เพราะผูใ้ หญ่ทหี่ มดสติมกั เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิว้
ทำการกระตุ้ น โดยการสะกิ ด หรื อ เขย่ า ผู้ ห มดสติ (VF, ventricular fibrillation) ซึ่งมีโอกาสรอดชีวิต
พร้อมกับตะโกนถามว่า “คุณๆ.....เป็นอย่างไรบ้าง?” มากทีส่ ดุ หากได้รบั การช็อกไฟฟ้าจากทีมงานช่วยชีวติ
ขั้นสูงโดยเร็ว ถ้าผู้หมดสติเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี
หมายเหตุ ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บ ให้ลงมือช่วยชีวิตก่อนแล้วค่อยไปโทรศัพท์ภายหลัง
ของศีรษะและคอ ให้พยายามขยับตัวผู้หมดสติ เพราะสาเหตุการหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดิน
ให้น้อยที่สุด เพราะการขยับตัวมากอาจจะทำให้ ลมหายใจถูกอุดกั้น โดยการช่วยหายใจ 2 ครั้ง และ
ผู้หมดสติที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังเป็น กดหน้าอก 30 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที (5 รอบ) แล้ว
อัมพาตได้ จึงละจากผู้ป่วยไปโทรศัพท์ ขอความช่วยเหลือ

ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ ขั้นที่ 3 จัดท่าให้ผู้หมดสตินอนหงาย
หากหมดสติให้ร้องขอความช่วยเหลือจาก ถ้าผูห้ มดสติอยูใ่ นท่านอนคว่ำ ให้พลิกผูห้ มด
ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นและขอให้คนใดคนหนึ่งโทรศัพท์ สติมาอยูใ่ นท่านอนหงายบนพืน้ ราบและแข็ง ถ้ามีวตั ถุ
หมายเลข 1669 ซึ่งสามารถเรียกรถพยาบาลได้ทุก แปลกปลอมอยู่ในปากให้เอาออกก่อน กรณีผู้ป่วย
จังหวัด หรือหมายเลข 191 เรียกตำรวจให้ไปแจ้งรถ อุบตั เิ หตุหรือสงสัยการบาดเจ็บทีค่ อและหลัง การจัดท่า
พยาบาลอีกต่อหนึ่ง หรืออาจเรียกรถพยาบาลหรือ ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด โดยให้ศีรษะ คอ ไหล่ และ
ทีมงานของโรงพยาบาลที่เคยใช้อยู่ประจำก็ได้ ลำตัวตรึงเป็นแนวเดียวกัน ไม่บดิ งอ มิฉะนัน้ ผูห้ มดสติ
ผูท้ ที่ ำหน้าทีโ่ ทรศัพท์เรียกรถพยาบาลต้อง
อาจกลายเป็นอัมพาตเพราะกระดูกสันหลังทีห่ กั อยูแ่ ล้ว
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 153

จะไปกดทับไขสันหลัง ผู้ช่วยชีวิตนั่งคุกเข่าทางขวา ผู้หมดสติว่าขยับขึ้นลงเป็นจังหวะหรือไม่ (ตาดู หูฟัง


ของผู้หมดสติ แก้มรับสัมผัส) โดยมือยังคงเปิดทางเดินลมหายใจอยู่
ใช้เวลาตรวจ 5-10 วินาที
ขั้นที่ 4 เปิดทางเดินลมหายใจ (Airway, A)
ในคนที่ ห มดสติ กล้ า มเนื้ อ จะคลายตั ว ขั้นที่ 6 การเป่าลมเข้าปอด
ทำให้ลิ้นตกลงไปอุดทางเดินลมหายใจ นอกจากนี้
ให้ทำการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง (การเป่า
ในกรณีที่ผู้หมดสติยังหายใจได้ ในจังหวะหายใจเข้า ลมเข้าปอด 1 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 วินาที) เมื่อ
จะเกิดแรงดูดเอาลิ้นลงไปอุดกั้นทางเดินลมหายใจ เห็นว่าผู้หมดสติไม่หายใจ หรือไม่มั่นใจว่าหายใจได้
มากกว่าเดิม ต้องช่วยยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้น เองอย่างเพียงพอ
ลิน้ ซึง่ อยูต่ ดิ กับกระดูกขากรรไกรล่างจะถูกยกขึน้ ทำให้ วิธชี ว่ ยหายใจแบบเป่าปากต่อปากพร้อมกับ
ทางเดินลมหายใจเปิดโล่ง การเปิดทางเดินลมหายใจ ดันหน้าผากและดึงคาง ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้
ทำโดย วิธีดันหน้าผากและดึงคาง โดยการเอาฝ่ามือ ของมือทีด่ นั หน้าผากอยูม่ าบีบทีจ่ มูกผูห้ มดสติให้รจู มูก
ข้างหนึ่งดันหน้าผาก นิ้วชี้และนิ้วกลาง ปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าตามปกติ แล้วครอบปาก
ของมื อ อี ก ข้ า งหนึ่ ง ดึ ง คางขึ้ น
เข้ากับปากของผู้หมดสติ ตามองที่หน้าอกผู้หมดสติ
ใช้ นิ้ ว มื อ ดึ ง เฉพาะกระดู ก ขา พร้อมกับเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผูห้ มดสติขยับขึน้
กรรไกรล่างโดยไม่กดเนื้ออ่อน ทำการเป่านาน 1 วินาทีแล้วถอนปากออก ให้ลมหายใจ
ใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้น ของผูห้ มดสติผา่ นกลับออกมาทางปาก หลังการเป่าลม
จนฟันล่างถูกดึงขึ้นมาจน เข้าปอด 2 ครั้ง ให้เริ่มกดหน้าอกต่อเนื่อง 30 ครั้ง
เกือบชนกับฟันบน ทันที สลับกับการเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง ให้ทำเช่นนี้
จนกระทั่งผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หายใจ หรือมีคน
ขั้นที่ 5 ตรวจดูว่าหายใจ นำเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) มาถึง หรือ
หรือไม่ (Breathing, B) มีบุคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อ
โดยเอียงหูลงไปแนบใกล้ปากและจมูกของ

ผู้หมดสติเพื่อฟังเสียงหายใจ ใช้แก้มเป็นตัวรับสัมผัส ขั้นที่ 7 การหาตำแหน่งวางมือบนหน้าอก
ลมหายใจที่อาจจะออกมาจากจมูกหรื อ ปากของผู้ 7.1 กรณีผู้ใหญ่ ถ้าผู้หมดสติไม่ไอ ไม่
หมดสติ ขณะที่ตาจ้องดูการเคลื่อนไหวหน้าอกของ
หายใจ ไม่ขยับส่วนใดๆ ของร่างกายให้ถือว่าระบบ
154 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน ต้องช่วยกดหน้าอกต่อทันที ขัน้ ที่ 8 การกดหน้าอก 30 ครัง้ (Circulation, C)


ให้หาตำแหน่งการวางมือเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับ การกดหน้ า อก หรื อ การกดนวดหั ว ใจ
การกดหน้าอกที่ ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก เพื่อ เป็นการทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตคงอยู่ได้แม้หัวใจ
วางมือให้พร้อมสำหรับการกดหน้าอกได้เลย โดยใช้ จะหยุดเต้น สามารถทำได้โดย กดหน้าอกแล้วปล่อย
ส้นมือข้างหนึ่งวางบนกระดูกหน้าอกบริเวณกึ่งกลาง กดแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่
ระหว่างแนวหัวนมทัง้ สองข้าง วางทาบหรือประสานมือ ของการกดประมาณ 100 ครั้ง/นาที โดยนับ “หนึ่ง
อีกข้างหนึ่งไปบนมือแรก กรณีหน้าอกมีขนาดใหญ่ และสอง และสาม และสี่ และห้า และหก และเจ็ด
ทำให้แนวหัวนมเลื่อนไป ให้หาตำแหน่งกดหน้าอก และแปด และเก้า และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม
โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางคลำขอบชายโครงด้านใกล้ตัว
สิบสี่ .......สิบเก้า ยี่สิบ ยี่สิบเอ็ด ยี่สิบสอง ยี่สิบ
ผู้ปฏิบัติการ แล้วลากขึ้นไปตามขอบกระดูกชายโครง สาม........ยี่สิบเก้า สามสิบ”
ด้านหน้าจนถึงจุดทีก่ ระดูกชายโครงสองข้างมาพบกัน

ซึ่งเป็นปลายล่างของกระดูกหน้าอกพอดี วางนิ้วมือ เทคนิคในการกดหน้าอก
ทั้งสองถัดจากจุดนั้นขึ้นไปทางกระดูกหน้าอกเพื่อใช้ วางมือหนึง่ ทาบบนอีกมือหนึง่ โดยประสาน
เป็นที่หมาย เตรียมพร้อมที่จะกดหน้าอก นิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันก็ได้ แต่ต้องคอยระวังให้
7.2 กรณีเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี วางส้น น้ำหนักผ่านส้นมือล่างไปบนกระดูกหน้าอก ตรึงข้อศอก
มือของมือหนึ่งไว้บนกระดูกหน้าอกตรงกลางระหว่าง ให้นิ่ง อย่างอแขน แขนเหยียดตรง โน้มตัวให้หัวไหล่
แนวหัวนมทั้งสองข้าง (ใช้มือเดียว หรือใช้สองมือ
อยูเ่ หนือผูห้ มดสติ โดยทิศทางของแรงกดดิง่ ลงสูก่ ระดูก
ขึ้นอยู่กับรูปร่างเด็ก ตัวเล็กหรือตัวโต) ถ้าใช้สองมือ หน้าอก ถ้าแรงกดมีทิศทางเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
ให้เอาอีกมือหนึ่งไปวางทาบหรือประสานกับมือแรก
แรงจะถูกแตกไปเป็นสองส่วนทำให้แรงทีจ่ ะกดหน้าอก
กะประมาณให้แรงกดลงตรงกึง่ กลางระหว่างแนวหัวนม ในแนวดิ่งไม่มีประสิทธิภาพ กรณีผู้ใหญ่ กดหน้าอก
ทั้งสองข้าง ให้ยุบลงไป 1½ ถึง 2 นิ้ว หรือ 4-5 ซม. ถ้ากดลึก

7.3 กรณี เ ด็ ก ทารกอายุ น้ อ ยกว่ า 1 ปี มากกว่านีจ้ ะทำให้มคี วามเสีย่ งทีจ่ ะเกิดภาวะกระดูกหัก


กดหน้าอกด้วยนิ้วมือสองนิ้ว โดยวางนิ้วชี้ นิ้วกลาง ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยตัวใหญ่มาก อาจต้องทำการกด
และนิ้วนางรวมสามนิ้วที่กึ่งกลางหน้าอกเด็ก ให้นิ้วชี้ หน้าอกให้ยบุ ลงมากกว่านี้ กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี
อยู่ระหว่างแนวหัวนมทั้งสองข้าง ยกนิ้วชี้ขึ้น แล้วใช้ กดหน้ า อกให้ ยุ บ ลง 1/3-1/2 ของความหนาของ
นิ้วกลางและนิ้วนางกดหน้าอก ทรวงอก
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 155

ในจังหวะปล่อยต้องผ่อนน้ำหนักคลายมือ ขั้นที่ 10 การจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น


ขึน้ มาให้สดุ เพือ่ ให้หน้าอกยกตัวกลับมาสูต่ ำแหน่งปกติ (recovery position)
ก่อนแล้วจึงทำการกดครั้งต่อไป อย่าคาน้ำหนักไว้ ถ้าผูห้ มดสติรตู้ วั หรือหายใจได้เองแล้ว ควร
เพราะจะทำให้หัวใจคลายตัวได้ไม่เต็มที่ ห้ามคลาย จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าพักฟื้น โดยจัดให้นอนตะแคง
จนมือหลุดจากหน้าอกเพราะจะทำให้ตำแหน่งของ เอามือของแขนด้านบนมารองแก้มไม่ให้หน้าคว่ำมาก
มือเปลี่ยนไป เกินไป เพราะถ้าตะแคงคว่ำมากเกินไปกะบังลมจะ
ขยับได้น้อย ทำให้ปริมาณอากาศที่หายใจเข้า-ออกมี
ขั้นที่ 9 การเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง สลับกับกด
น้อยลง ในกรณีที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บของศีรษะ
หน้าอก 30 ครั้ง หรื อ คอ ไม่ ค วรขยั บ หรื อ จั ด ท่ า ใดๆ เว้ น เสี ย แต่ ว่ า
เมื่อผ่านขั้นตอนการช่วยเหลือมาตั้งแต่ขั้น หากไม่ขยับจะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ที่ 1 ถึงขั้นที่ 8 แล้ว ผู้หมดสติจะได้รับการเป่าลมเข้า
ปอด 2 ครั้ง สลับกับกดหน้าอก 30 ครั้ง (นับเป็น
หมายเหตุ ถ้าผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตไม่ต้องการ
1 รอบ) ให้ทำต่อไปเรือ่ ยๆ จนกว่าผูป้ ว่ ยมีการเคลือ่ นไหว เป่าปากผู้หมดสติ หรือทำไม่ได้ สามารถให้การ
ไอ หรื อ หายใจ หรื อ เครื่ อ ง AED มาถึ ง หรื อ มี ช่ ว ยชี วิ ต ด้ ว ยการเปิ ด ทางเดิ น หายใจ แล้ ว กด
บุคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อไป หน้าอกอย่างเดียวก็ได้ เนื่องจากในการศึกษา
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการช่วยชีวิตท่านอื่น พบว่ า มี ป ระโยชน์ ต่ อ ผู้ ห มดสติ ม ากกว่ า การ

มาช่วยเพิ่มขึ้น ควรสลับหน้าที่ของผู้ที่กดหน้าอกกับ
ไม่ช่วยอะไรเลย
ผู้ที่ทำการช่วยการหายใจ ทุก 2 นาที (5 รอบ)

สำหรับประชาชนที่ปฏิบัติการช่วยชีวิตเพียงลำพัง สามารถ
ใช้อัตราการกดหน้าอกต่อการเป่าลมเข้าปอด เป็น 30:2 ได้ตั้งแต่ผู้
หมดสติที่เป็นเด็กอายุ 1 ปี จนถึงผู้ใหญ่
สำหรับประชาชนที่ต้องการอบรมการปฏิบัติก ารช่ ว ยชี วิ ต
สามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในเวลาราชการ
156 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 3 : เปิดสมอง...รู้โรคหัวใจ

ยารักษาใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

โรคหัวใจ มีความหมายกว้างมาก และมี โรค แต่ จ ะไม่ ล งในรายละเอี ย ดของยาแต่ ล ะชนิ ด


ความสั ม พั น ธ์ กั บ โรคอื่ น ๆ อย่ า งใกล้ ชิ ด ทั้ ง ความ
และเลือกมาเฉพาะกลุ่มยาที่ใช้บ่อยเท่านั้น
ดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ

ผู้ป่วยโรคหัวใจ จึงมักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ
นอกจากนั้น ยาแต่ละชนิด มีคุณสมบัติหลายอย่าง ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ประโยชน์ในการ
สามารถนำไปใช้ รั ก ษาในหลายโรค ด้ ว ยเหตุ ผ ลที่
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย
แตกต่างกัน ซึง่ มักจะทำให้ผปู้ ว่ ยเข้าใจผิด ยกตัวอย่าง เฉียบพลัน มีดังนี้
เช่น ยาขับปัสสาวะ นอกจากใช้เป็นยาขับน้ำและ Aspirin ยาแอสไพริน ขนาด 60-300 มิลลิกรัม
เกลื อ ในผู้ ที่ บ วมแล้ ว ยั ง นำมาใช้ เ ป็ น ยาลดความ
เป็นยาต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด ลดการ
ดั น โลหิ ต อี ก ด้ ว ย ผู้ ป่ ว ยความดั น โลหิ ต สู ง มั ก จะไม่ เกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ซึ่งมักถูกนำมาใช้ในการรักษาโรค
เข้าใจ และถามว่าทำไมต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ หลอดเลือดหัวใจทั้งในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือกำลัง
ทั้งๆ ที่ปัสสาวะปกติไม่ต้องขับแต่อย่างใด บทความนี้ เกิด heart attack อยู่เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิต
จะกล่าวถึงการใช้ยาต่างๆ ในผู้ป่วยโรคหัวใจตามกลุ่ม ผู้ป่วยควรได้รับยากลุ่มนี้ไปตลอดชีวิต โดยเฉพาะ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 157

อย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจร่วม และส่วนมากไม่รุนแรง
กับการใส่ขดลวด (stent) ยกเว้นกรณีที่มีปัญหาจาก Nitrates ไนเตรทเป็ น ยาที่ ใช้ กั น มานาน
การใช้ยา เช่น เลือดออกง่าย มีแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน
และมีเลือดออกในทางเดินอาหาร โดยทีอ่ าการเหล่านี้ ดีในรูปแบบของยาอมใต้ลิ้น หรือในรูปแบบยาเม็ด

อาจพบได้แม้จะใช้ขนาดต่ำก็ตาม รับประทาน ยาไนเตรทช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจได้
Ticlopidine หรือ ชั่วคราว ช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่มิได้
Clopidogrel เป็นยาต้านการ ช่วยป้องกันการเสียชีวิต จึงไม่ใช่ยาวิเศษ อย่างที่คน
เกาะกลุ่มกันของเกล็ ด เลื อ ด ทั่วไปเข้าใจ หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และมียา
อีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ร่วมกับแอสไพริน อมใต้ลิ้นอยู่ ควรอมยา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นต้องมา
หรือใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถ โรงพยาบาลโดยเร็ว ผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีโรค
รับประทานแอสไพรินได้ ผู้ป่วยที่ หลอดเลือดหัวใจหรือไม่ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ เนือ่ งจาก
ได้รบั การขยายหลอดเลือดหัวใจร่วมกับการใส่ขดลวด อาจเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เป็นลม หัวใจเต้น
(stent) จำเป็นต้องได้รับยากลุ่มนี้ร่วมกับแอสไพริน ช้า ในบางราย สำหรับผลแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ
ไประยะหนึง่ การหยุดยานีโ้ ดยไม่จำเป็น อาจก่อให้เกิด ปวดศีรษะ
ปัญหาร้ายแรงถึงชีวิตได้ ต้องปรึกษาแพทย์หัวใจที่ Beta-blockers ไม่เพียงเป็นยาที่ช่วยลด
ดูแลอยู่ก่อนหยุดยาทุกครั้ง ความดั น โลหิ ต แล้ ว ยั ง ช่ ว ยลดการบี บ ตั ว และลด
Statins เป็นยาลดไขมันในเลือด ออกฤทธิ์ อัตราการเต้นของหัวใจด้วยจึงทำให้หัวใจใช้ออกซิเจน
โดยลดการสร้างไขมันคอเลสเตอรอลที่ตับ นอกจาก ลดลง และสามารถช่วยควบคุมอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ลดระดับไขมันแอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดแล้ว ได้ ยานี้ยังช่วยลดอัตราตายในผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อ
ยังช่วยให้ไขมันที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจไม่ หัวใจตายมาก่อนได้ด้วย
แตกปริงา่ ยๆ และไม่สะสมเพิม่ ขึน้ อีกด้วย จึงเป็นยาที

ได้ประโยชน์อย่างมากในการรักษาผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือด ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
หัวใจตีบ แม้ว่าระดับไขมันในเลือดจะไม่สูง ยานี้ควร ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) เกิด
รับประทานไปตลอดชีวิต ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ จากหลายสาเหตุ เช่น โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจ
ปวดกล้ามเนือ้ ตับอักเสบ กล้ามเนือ้ อักเสบ ซึง่ พบน้อย และกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมีอาการสำคัญ คือ หอบ
158 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

เหนื่อยง่าย ตับโต ขาบวม ยาหลักที่ใช้ในการรักษา Beta-blockers บางชนิดสามารถนำมาใช้


คือ ยาขับปัสสาวะ และยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ซึ่งจะ ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้ผลดี แต่ต้อง
ทำให้หัวใจทำงานได้สบายขึ้น อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ยาขับปัสสาวะ เป็นยาขับน้ำและเกลือออก
จากร่างกาย จึงทำให้สารน้ำที่สะสมอยู่ในปอด ตับ
และส่วนอื่นๆ ของร่างกายลดลง และทำให้ผู้ป่วย ยาลดความดันโลหิต
รู้สึกสบายขึ้น เหนื่อยและบวมลดลง แต่การใช้ยาขับ ภาวะความดันโลหิตสูง แม้จะไม่ใช่โรคหัวใจ
ปัสสาวะมากเกินไปก็อาจก่ออันตรายได้ จากความ โดยตรงแต่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโรคหัวใจมาก
ผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย การใช้ยานี้จึงควรอยู่ เนือ่ งจากความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสีย่ งทีส่ ำคัญของ
ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด โรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้น ความดันโลหิตสูง
ยาลดแรงต้านต่อหัวใจ ยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจึงไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่
ยากลุ่ ม นี้ ช่ ว ยให้ หั ว ใจทำงานได้ ส บายขึ้ น มีโรคหัวใจอยูแ่ ล้ว โดยทัว่ ไปยาทีใ่ ช้รกั ษาโรคหลอดเลือด
เนื่องจากแรงต้านต่อการบีบตัวของหัวใจลดลง ได้แก่ หัวใจ และยาลดความดันโลหิต อาจเป็นยาชนิดเดียวกัน
ยากลุ่ ม Angiotensin Converting Enzyme แต่แพทย์ให้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
Inhibitors (ACEI) และ Angiotensin II Receptor ยาขับปัสสาวะ ในขนาดต่ำเป็นยาลดความดัน
Blockers (ARB) นอกจากนั้นยากลุ่มนี้ โลหิตที่ได้ผลดีและมีราคาถูก จึงเหมาะสมอย่างยิ่งใน
ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในระยะ ผู้สูงอายุผู้ที่รับประทานอาหารเค็ม หรือบวม แต่มี

ยาว และลดความจำเป็ น ในการ ข้อเสียที่ควรระวัง คือ ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกลือแร่ใน
เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ร่างกายผิดปกติ กรดยูริคและระดับน้ำตาลในเลือด
เนือ่ งจากภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย สูงขึ้น
จึงเป็นยาที่จำเป็นมาก ผู้ป่วยจึงควรได้ Beta-blockers เป็นยาลดความดันโลหิต
รั บ ยากลุ่ ม นี้ ไ ปตลอด อย่ า งไรก็ ต ามยา
ที่ใช้กนั มานาน สามารถลดความดันโลหิต และลดอัตรา
กลุ่ ม นี้ มี ผ ลแทรกซ้ อ นที่ ส ำคั ญ คื อ
การเต้นของหัวใจได้ ผลแทรกซ้อนจากยานี้ที่พบ
ความดันโลหิตต่ำ ไตเสื่อมในบางราย บ่อย คือ หลอดลมตีบโดยเฉพาะในคนที่เป็นหอบหืด
ไอ (เฉพาะ ACEI) หรือสูบบุหรี่จัด อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หย่อน
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 159

สมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย และทำให้ระดับน้ำตาล Angiotensin Converting Enzyme


ในเลือดสูงขึ้นเล็กน้อย Inhibitors (ACEI) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ราคา

Calcium channel blockers มีหลายชนิด ไม่แพง มีประสิทธิภาพดี แต่มีผลแทรกซ้อนที่สำคัญ
ยาทุกตัวในกลุ่มนี้ล้วนสามารถลดความดันโลหิตได้ดี คือ อาการไอ ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอแห้งๆ คันคอ
ส่วนผลแทรกซ้อนทีพ่ บบ่อยจะแตกต่างกันไปในแต่ละ โดยไม่ มี อ าการหวั ด หรื อ ไอเป็ น ชุ ด คล้ า ยภู มิ แ พ้
ชนิด เช่น ปวดศีรษะ ใจสั่น เท้าบวม เป็นต้น อย่างไร อาการนีพ้ บได้บอ่ ยในคนเอเชีย ทำให้ผปู้ ว่ ยต้องเปลีย่ น
ก็ดี ยากลุ่มนี้มีข้อดีตรงที่ไม่มีผลเสียต่อไต หรือระดับ ไปใช้ยากลุ่มอื่นแทน
น้ำตาลในเลือด Angiotensin II Receptor Blockers
Alpha-blockers เป็นยาลดความดันโลหิต (ARB) เป็นยาลดความดันโลหิตที่ใช้บ่อยมากขึ้นใน
อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่มีผลเสียต่อไต หรือระดับน้ำตาลใน ปัจจุบัน เนื่องจากผลแทรกซ้อนจากยามีน้อยมาก แต่
เลือด และยังนำมาใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะขัด ไม่ควรใช้ในกรณีที่ไตเสื่อมอย่างมาก (ยกเว้นได้รับ
เนื่องจากต่อมลูกหมากโตอีกด้วย การฟอกไต) ข้อเสียที่สำคัญคือราคาแพง

จะเห็นว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจมีมากมายหลายชนิด อีกทั้งยาบางชนิดใช้ในหลายโรค และ



ผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย มักจะได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ผู้ป่วยควรจะต้องทราบว่า

รับประทานยาอะไรอยู่บ้าง ขนาดยาเป็นอย่างไร โดยอาจจดชื่อยาและวิธีรับประทาน หรือนำยาที่รับประทาน


อยู่ให้แพทย์ดูทุกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับยาซ้ำซ้อน และปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกัน ซึ่งบางครั้งรุนแรง
มาก

160 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 161

หัวใจห้อง 4 :
ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง
162 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

พิษภัยของบุหรี่
และ แนวทางการเลิกบุหรี่
ศาสตราจารย์พิเศษนายแพทย์เศวต นนทกานันท์
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา
อายุรแพทย์โรคทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต
โรงพยาบาลพระรามเก้า

สถานการณ์การเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ จำนวนมากถึ ง ปี ล ะ 40,000 ราย หรื อ ชั่ ว โมงละ


รายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุดระบุ ประมาณ 5 คน
ว่าผู้เสียชีวิตด้วยโรคอันเนื่องมาจากบุหรี่ทั่วโลกมีมาก จากการสำรวจครั้งล่าสุดของศูนย์วิจัยและ
ถึงปีละ 5 ล้านคน หรือเกือบ 14,000 คนต่อวัน โดย จัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) พบว่าใน
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และในอีก 25 ปีข้างหน้าคาด ปัจจุบนั คนไทยสูบบุหรีเ่ ป็นประจำอยูร่ าว 9.5 ล้านคน
ว่าจำนวนผูเ้ สียชีวติ จากการสูบบุหรีจ่ ะเพิม่ ขึน้ เป็นปีละ ลดลงจากเดิ ม เล็ ก น้ อ ย แต่ จ ำนวนผู้ ที่ สู บ บุ ห รี่ เ ป็ น

10 ล้านคน หรือคิดเป็นนาทีละ 20 คน ซึ่งนับเป็น ครั้งคราวกลับเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะใน
อัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ กลุม่ เยาวชนหรือวัยรุน่ พบว่ามีอตั ราการสูบบุหรีเ่ พิม่ ขึน้
วัณโรค อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตาย และการเสียชีวิต กว่าในอดีตถึงเกือบ 3 เท่า แม้ว่าจะได้มีการรณรงค์
ระหว่างคลอดรวมกันทั้งหมดเสียอีก สำหรับคนไทย ลด ละ เลิกบุหรี่กันอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาหลายปีที่
นั้น ผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการสูบบุหรี่มี ผ่านมาแล้วก็ตาม การประเมินของธนาคารโลกเมื่อปี
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 163

พ.ศ. 2549 ระบุวา่ คนไทยเสียชีวติ ก่อนวัยอันควรจาก ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารพิษจำนวนมากมาย (มาก


โรคทีเ่ กิดจากการสูบบุหรีร่ าว 2.3 ล้านคน หรือคิดเป็น กว่า 4,000 ชนิด) ในจำนวนนี้มีสารก่อมะเร็งปะปน
1 ใน 4 ของผูท้ สี่ บู บุหรีท่ งั้ หมด ดังนัน้ หากประเทศไทย อยูด่ ว้ ยมากถึงเกือบ 60 ชนิด หลายๆ ชนิดก็ลว้ นแต่เป็น
ไม่ดำเนินการใดๆ ในการช่วยเหลือผูต้ ดิ บุหรีใ่ ห้เลิกบุหรี่ สารเคมีที่เราคุ้นชื่อกันดี ไม่ว่าจะเป็นสารฟอร์มาลีนที่
ได้เด็ดขาดมากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ ประเทศไทยจะประสบกับ ใช้เป็นน้ำยาดองศพ แคดเมียมในแบตเตอรี่ ยูเรียทีพ่ บ
ปัญหาทางสาธารณสุขครั้งยิ่งใหญ่ในอนาคตอันใกล้ ในปัสสาวะ ไนโตรซามีนซึง่ เป็นส่วนผสมของสารกันบูด
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสารทีใ่ ช้ปรุงรสอาหาร และเป็นทีท่ ราบกันดีวา่
การที่ จ ำนวนผู้ เ สี ย ชี วิ ต ด้ ว ยโรคที่ เ กิ ด จาก เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อตับได้ ฟีนอลที่พบในน้ำยาล้าง
บุหรี่มากมายขนาดนี้จึงทำให้มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ห้องน้ำ สารหนูที่ผสมอยู่ในยาเบื่อหนู ก๊าซคาร์บอน-
เปรียบเทียบการสูบบุหรี่ไว้ว่ามีพิษภัยร้ายแรงกว่า มอนอกไซด์ในควันไอเสียรถยนต์ เป็นต้น สารเหล่านี้
การถูกยิงด้วยกระสุนปืนเสียอีก ทั้งนี้กระสุนปืนทำได้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำลายเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

แค่เพียงทำลายเฉพาะอวัยวะที่กระสุนตัดผ่านเท่านั้น ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในทุกระบบตั้งแต่ศีรษะจดเท้า
หากกระสุนผ่านอวัยวะสำคัญก็อาจเกิดอันตรายถึง ระบบประสาทและสมอง: บุหรี่เพิ่มความ
ชี วิ ต ได้ แต่ ผ ลทั้ ง หมดก็ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เฉพาะผู้ ที่ ถู ก ยิ ง เสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกจน
เท่านัน้ แต่สำหรับบุหรีน่ นั้ พิษภัยมิได้จำกัดอยูแ่ ค่เพียง
เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาต ได้ถึง 3 เท่าของคนที่ไม่
ผูส้ บู โดยตรงเท่านัน้ แต่ควันบุหรีท่ ลี่ อ่ งลอยออกมานัน้ สูบบุหรี่
ยังไปมีผลเสียต่อบุคคลรอบข้างทัง้ หมดด้วย นอกจากนี้ ศีรษะ ตา และช่องปาก: บุหรี่เพิ่มความ
บุหรีย่ งั มิได้มผี ลกระทบต่อเฉพาะกับปอดทีร่ บั ควันเข้าสู่ เสี่ยงในการเกิดต้อกระจก และตาบอดได้มากขึ้น ผู้ที่
ร่างกายเท่านั้นแต่ยังมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย สูบบุหรี่จะมีศีรษะล้านได้มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ บุหรี่
และก่อให้เกิดโรคได้มากกว่า 25-30 โรคด้วย ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ (ปริทณฑ์)
และฟันผุได้บ่อย ควันบุหรี่จะทำลายต่อมรับรสที่ลิ้น
พิษภัยจากการสูบบุหรี่ ทำให้การรับรู้รสชาติอาหารผิดปกติหรือสูญเสียไป
หลายท่านอาจสงสัยว่าเหตุใด ไม่เจริญอาหาร หลายรายมีปัญหาด้านการดมกลิ่น

บุหรี่จึงก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อของหูชั้น
มากมายขนาดนั้น เหตุผลก็คือ กลางได้มากขึ้นด้วย
164 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ผิวหนัง: ผู้สูบบุหรี่จะมีผิวหนังเหี่ยวย่น มี ปอดมากถึง 40 เท่า ในขณะเดียวกัน บุหรี่ก็สามารถ


ตีนกาเกิดขึ้นก่อนวัยอันควรและมากกว่าปกติ และ ก่อให้เกิดมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น
ยังมีกลิ่นตัวเหม็น มะเร็งช่องปาก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งหลอดอาหาร
ระบบทางเดินหายใจ: บุหรีท่ ำให้สมรรถภาพ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ และมะเร็ง
ปอดของผู้สูบเสื่อมเร็วกว่าคนที่ไม่สูบถึง 4 เท่าจนใน กระเพาะปัสสาวะ
ที่สุดเกิดโรคถุงลมปอดโป่งพองขึ้นจึงมีอาการหอบ นอกจากนี้ควันบุหรี่ยังมีผลต่อคนข้างเคียงที่
เหนื่อยง่าย จนอาจต้องสูดดมออกซิเจนตลอดเวลา ต้องทนสูดเอาควันบุหรี่จากคนรอบข้างเข้าสู่ร่างกาย
และรอวันตายอย่างทุกข์ทรมาน นอกจากนีผ้ ทู้ สี่ บู บุหรี่ ของตน ทั้งๆ ที่ตนไม่ได้สูบบุหรี่เองเลย ที่เรียกกันใน
ยังสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อของปอด เช่น ปอด ปัจจุบนั ว่า การสูบบุหรีม่ อื สอง หรือการได้รบั ควันบุหรี่
อักเสบติดเชื้อจากแบคทีเรีย วัณโรค ได้มากกว่าผู้ที่ จากสิ่งแวดล้อม
ไม่สูบบุหรี่ด้วย ผลของการสูบบุหรี่มือสอง: การได้รับควัน
ระบบหลอดเลือดและหัวใจ: ผู้ที่สูบบุหรี่จะ บุหรีม่ อื สองมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ทัว่ ร่างกายเช่นเดียวกับ
มีหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต การสูบบุหรี่โดยตรง
ตีบตันเร็วกว่าคนที่ไม่สูบถึง 10-15 ปี และเพิ่มความ หรื อ มากกว่ า จาก
เสี่ ย งในการเกิ ด โรคหั ว ใจขาดเลื อ ดและหั ว ใจวาย การศึกษาวิจัยพบว่า
เฉียบพลันมากกว่าคนทั่วไปถึง 10 เท่า นอกจากนี้
ควั น บุ ห รี่ มื อ สองมี
ผู้ที่สูบบุหรี่และเกิดโรคหัวใจขาดเลือดจะมีโอกาสเสีย ปริมาณความเข้มข้น
ชีวติ ภายใน 1 ชัว่ โมงแรกได้มากกว่าผูท้ ไี่ ม่สบู บุหรีด่ ว้ ย ของสารก่ อ มะเร็ ง
ระบบสืบพันธุ์: บุหรี่ทำให้หลอดเลือดที่ไป หลายๆ ชนิดสูงกว่า
เลี้ยงอวัยวะเพศตีบตันลงอย่างรวดเร็วทำให้ผู้สูบมี ทีพ่ บในควันบุหรีม่ อื หนึง่ เช่น สารไนโตรซามีนมีมากขึน้
อาการเสือ่ มสมรรถภาพทางเพศลง มีการสร้างเชือ้ อสุจิ ถึงกว่า 50 เท่า ก๊าซคาร์บอน-ไดออกไซด์มีมากขึ้นถึง

ได้ลดลงกว่าปกติ อีกทั้งยังเกิดภาวะเป็นหมันได้ทั้งใน 8 เท่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีมากขึ้น 2.5 เท่า


เพศหญิงและชาย เป็นต้น สารต่างๆ เหล่านีท้ ำให้เกิดพิษภัยมากมาย เช่น
มะเร็ง: บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็ง เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็ง
ปอด การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง กล่องเสียง มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับได้ อีกทั้ง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 165

ยังมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืดหอบ ดังนัน้ การจะเลิกบุหรีใ่ ห้สำเร็จได้นนั้ ต้องแก้ไขทีป่ จั จัย

หลอดเลือดสมองตีบตันจนกลายเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ ทั้งสามประการดังกล่าวไปพร้อมๆ กัน


ส่วนของทารกในครรภ์ทมี่ มี ารดาหรือบิดาสูบบุหรีก่ อ็ าจ โดยทั่วไป การจะเลิกบุหรี่สำเร็จหรือไม่นั้น
ทำให้ทารกในครรภ์มนี ำ้ หนักตัวน้อย ตายในครรภ์ หรือ เริ่มต้นที่ใจ โดยต้องมีใจตั้งมั่นที่จะเลิกบุหรี่เสียก่อน
เมื่อคลอดออกมาก็มักจะเป็นหวัดบ่อยๆ มีพัฒนาการ หากมีใจแน่วแน่แล้ว โอกาสเลิกได้สำเร็จก็มีสูงทีเดียว
ทางสมองและปอดช้ากว่าเด็กทัว่ ไปหรือเกิดโรคใหลตาย ดังที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ได้ให้ข้อคิดในประเด็นนี้
ได้มากกว่าเด็กทารกทั่วไปถึง 5 เท่า ไว้ดังนี้
พิษภัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นเพียง
เศษเสี้ ย วหนึ่ ง เท่ า นั้ น ของหลั ก ฐานทางการแพทย์ “จะเลิกบุหรี่ต้องอยู่ที่ใจ เป็นคนใจไม่จริงก็
ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ละไม่ได้ ต้องเป็นคนใจเด็ดขาด พูดคำไหนเป็นคำนั้น
ถึงจะละได้ทำได้
แนวทางการเลิกบุหรี่ วิธีละง่ายๆ ก็อย่าสูบ วางเลยทิ้งเลย
การเสพติดบุหรีน่ นั้ เกิดจากปัจจัย 3 ประการ ไม่ต้องสูบทั้งต่อหน้าและลับหลัง กูละแล้ว
ร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสังคม กูไม่สูบแล้ว”
และการเสพติดทางกาย หลักฐานทางการแพทย์ใน
ปัจจุบันทำให้เราทราบว่าสารนิโคตินในควันบุหรี่นั้น ผู้สูบบุหรี่ควรใช้สติปัญญาของตนใคร่ครวญ
ก่อให้เกิดการเสพติดได้จริงไม่แตกต่างไปจากยาเสพ ถึงข้อดีข้อเสียของการสูบบุหรี่ที่ตนได้ทำมา พร้อม
ติดอื่นๆ เช่น ยาบ้าหรือเฮโรอีนเลย เมื่อควันบุหรี่เข้า เขียนลงบนแผ่นกระดาษสักแผ่นหนึ่ง จากนั้นลอง
สู่ ห ลอดลมและปอด สารนิ โ คติ น จะถู ก ดู ด ซึ ม ผ่ า น พิจารณาว่าหากตนเลิกบุหรี่แล้วจะได้ประโยชน์หรือ
หลอดเลือดฝอยที่เยื่อบุทางเดินหายใจเข้าสู่กระแส เกิดโทษอะไรบ้าง พร้อมเหตุผลที่ทำให้ตนอยากเลิก
เลือด และเดินทางไปยังสมอง ก่อให้เกิดการหลั่งสาร บุหรี่ เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้เก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้กับ
ก่อสุข เช่น เอ็นดอร์ฟีน จึงทำให้ผู้เสพรู้สึกมีความสุข ตัวตลอดเวลา พร้อมกันนั้นควรขอคำปรึกษาในการ
อยากสูบมวนต่อๆ ไป นอกจากนี้พฤติกรรมในทาง เลิกบุหรี่จากแพทย์ประจำตัวของตน คนรู้จักที่เลิก
สังคมและสภาพทางจิตใจก็มีส่วนอย่างมากในการ บุหรี่ได้สำเร็จแล้ว หรือแม้กระทั่งสายด่วนฮอทไลน์
ช่วยเสริมความรุนแรงในการเสพติดบุหรี่ให้มากขึ้น โทร. 1600 ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
166 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ


ขั้นตอนต่อไปในการเลิกบุหรี่ก็คือการลงมือ ให้ ดื่ ม น้ ำ สะอาด 8-10 แก้ ว ต่ อ วั น ออกกำลั ง กาย
ปฏิ บั ติ จ ริ ง โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ ก ำหนดวั น เลิ ก บุ ห รี่ โ ดย
อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ นอกจากนี้การรับประทาน
เด็ ด ขาด (ไม่ สู บ เลยแม้ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย) ควรเลื อ ก
อาหารที่มีรสเปรี้ยวๆ เช่น มะม่วงดอง ก็อาจช่วยได้

วันเลิกบุหรี่ภายใน 2 สัปดาห์นับจากวันที่ตนได้รับ
พร้ อ มกั น นั้ น ให้ ก ำจั ด อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นการสู บ บุ ห รี่
คำปรึกษา แต่หากต้องการได้ผลดีที่สุดควรลงมือเลิก ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ ซองบุหรี่ ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ
บุหรี่ทันที จากนั้นให้แจ้งคนใกล้ชิด ญาติสนิท เพื่อน ที่เขี่ยบุหรี่
สนิททุกๆ คนให้รบั ทราบถึงความตัง้ ใจในการเลิกบุหรี่ สำหรั บ รายที่ สู บ บุ ห รี่ ตั้ ง แต่ 1 ซองขึ้ น ไป

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะเลิกบุหรี่มีความมั่นใจและได้ ต่ อ วั น หรื อ สู บ บุ ห รี่ ม วนแรกของแต่ ล ะวั น ภายใน

รับกำลังใจมากขึ้น ขั้นตอนถัดไปควรแนะนำให้ผู้ที่
1 ชัว่ โมงแรกหลังตืน่ นอน หรือมีอาการอยากบุหรีม่ าก
สูบบุหรี่คาดการณ์และคิดวิธีรับมือกับอาการอยาก ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่
บุหรีไ่ ว้ลว่ งหน้า ซึง่ ประกอบด้วยอาการหงุดหงิด โกรธ และอาจต้องพิจารณาใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ ในปัจจุบัน
ง่ า ย ขาดสมาธิ นอนไม่ ห ลั บ ท้ อ งเฟ้ อ วิ ต กกั ง วล ยาเหล่านี้มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพ

เจริญอาหาร เป็นต้น โดยทัว่ ไปอาการเหล่านีจ้ ะคงอยู่ ในการช่วยลดอาการอยากบุหรี่และช่วยเพิ่มโอกาส
ราว 2-3 สัปดาห์แรกเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดอาการขึ้น ในการเลิกบุหรี่ให้มากขึ้นได้ โดยทั่วไปแพทย์จะเป็น

ควรเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนกิจกรรมที่ทำเพื่อไม่ให้ ผู้พิจารณาถึงชนิดและขนาดของยาที่เหมาะสมกับ

หมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับความอยากบุหรี่ และเบี่ยงเบน ผู้ ป่ ว ยแต่ ล ะราย นอกจากนี้ ก ารเข้ า กลุ่ ม กิ จ กรรม


ความคิดของตนไปคิดเรื่องอื่นๆ แทน บำบัดต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลง
อาจสู ด หายใจเข้ า ออกลึ ก ๆ พฤติกรรมและความเคยชิน
2-3 ครัง้ และหวนระลึกถึง ในการสู บ บุ ห รี่ ก็ เ ป็ น อี ก
เหตุผลทีท่ ำให้ตนต้องการ วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ จ ะช่ ว ย
เลิกบุหรีแ่ ละตอกย้ำความ ให้ ก ารอดบุ ห รี่สำเร็จลง
ตั้ ง ใจ ที่ มุ่ ง มั่ น ข อ ง ต น
ได้
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 167

อย่างไรก็ตามผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จส่วนใหญ่มักต้องผ่านความล้มเหลว

ในการเลิกบุหรี่มาหลายครั้งก่อนที่จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นหากผู้ที่เคย
พยายามเลิกบุหรี่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ก็ไม่ควรท้อแท้ แต่ควรขอคำปรึกษาจาก
ผู้รู้หรือแพทย์แล้วพยายามเลิกบุหรี่ใหม่อีกครั้ง

บทสรุป
บุหรี่เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์บั่นทอนสุขภาพอย่างแท้จริง การเลิกบุหรี่ไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ต้องอาศัยความตั้งใจที่แน่วแน่ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปพร้อมๆ กัน หากไม่ท้อแท้และ
ไม่อ่อนแอ ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ก็อยู่แค่เอื้อมเท่านั้น.

การหยุดบุหรี่ได้ มีผลดีต่อหัวใจอย่างไร ?
เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบโดยเฉพาะ

ในผู้ที่ยังมีอายุน้อยก็มีโอกาสเป็นได้ ทั้งๆ ที่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ดังกล่าวไม่มี หรือยังไม่ปรากฏชัด
การเลิกบุหรี่ตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมส่งผลดีต่อหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดการฟื้นฟูสภาพความเสื่อม
ของหลอดเลือดหัวใจให้กลับดีขึ้น การวิจัยบ่งว่าหากเลิกบุหรี่ได้ จะสามารถลดโอกาส
ในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้ถึง 2.8 เท่า และยังทำให้ลดโอกาสในการเป็น
โรคอื่นๆ ที่อาจเกิดจากบุหรี่ได้อีกมาก ถือว่า “ได้กำไรทั้งโดยตรงและโดยอ้อม”
ดังนั้น ผู้สูบบุหรี่จึงไม่ควรรีรอให้มัจจุราชบ่อนทำลายหัวใจ และสุขภาพ
ของท่านโดยรวม รวมทั้งบุคคลข้างเคียงซึ่งก็คือผู้ที่สูบบุหรี่มือสอง
ให้ได้รับความเสียหายอีกต่อไป
168 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

คุม ความดันโลหิต
อย่าให้สูง
รองศาสตราจารย์นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ
หัวหน้าหน่วยความดันโลหิตสูง
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดใน (ขณะหัวใจคลายตัว) ความดันโลหิตที่ถือว่าปกติตาม
หลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวและคลายตัว มาตรฐานของอเมริกาจะต้องต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท

ของหัวใจ ความดันโลหิตจะมี 2 ค่า คือ ความดันโลหิต (ดูในตารางที่ 1)
ค่าบน (ขณะหัวใจบีบตัว) และความดันโลหิตค่าล่าง
ตารางที่ 1 การจำแนกประชากรตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปตามระดับความดันโลหิต

ชนิดของ ความดันโลหิตค่าบน ความดันโลหิตค่าล่าง


ความดันโลหิต (มม.ปรอท) (มม.ปรอท)
ปกติ ต่ำกว่า 120 และ ต่ำกว่า 80
ค่อนไปทางสูง 120-139 และ/หรือ 80-89
สูง ตั้งแต่ 140 ขึ้นไป และ/หรือ ตั้งแต่ 90 ขึ้นไป
ระดับที่ 1 140-159 และ/หรือ 90-99
ระดับที่ 2 ตั้งแต่ 160 ขึ้นไป และ/หรือ ตั้งแต่ 100 ขึ้นไป

หมายเหตุ หากมีระดับความดันโลหิตค่าบนและค่าล่างอยู่ต่างระดับกัน ให้ถือระดับที่รุนแรงกว่า
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 169

ผู้สูงอายุมักมีระดับความดันโลหิตค่าบนสูง ต้องทำงานหนัก ทำให้ตอ้ งการเลือดมาเลีย้ งกล้ามเนือ้


ขณะทีค่ า่ ล่างปกติ เช่น ผูป้ ว่ ย 70 ปี พบความดันโลหิต หัวใจเพิม่ ขึน้ หลอดเลือดแดงก็เช่นเดียวกัน หลอดเลือด-
200/80 มม.ปรอท เป็นต้น ทั้งนี้เกิดจากหลอดเลือด- แดงใหญ่ทอี่ อกจากหัวใจก็จะแข็งตัว ความยืดหยุน่ ลดลง
แดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจแข็งตัว เช่น มีหินปูนไปเกาะ ขณะที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายจะมีผนังหนาตัวขึ้น
ในผูป้ ว่ ยสูงอายุ ไม่วา่ จะสูงวัยขนาดไหนก็จำแนกระดับ ทำให้รขู องหลอดเลือดทีต่ อ้ งส่งเลือดไปเลีย้ งส่วนปลาย
ความดันโลหิตตามตารางที่ 1 ที่เคยกล่าวกันว่าความ เล็กลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดไปเลีย้ งอวัยวะส่วนปลาย
ดันโลหิตสูงทีพ่ บในผูส้ งู อายุเป็นปกติตามวัย คิดระดับ ลดลง ขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นและต้องการ
ความดันโลหิตค่าบนโดยเอา 100 บวกอายุผู้ป่วย เลือดมาเลีย้ งมากขึน้ แต่ขณะเดียวกันหลอดเลือดแดง
หากไม่เกินนีถ้ อื ว่าปกติ ดังในผูป้ ว่ ยทีย่ กตัวอย่างข้างต้น ส่งเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ทำให้เกิดภาวะ
หากความดันโลหิตค่าบนไม่เกิน 170 มม.ปรอท จะคิด หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งอาจทำให้เป็นอันตราย
ว่าเป็นความดันโลหิตปกติในวัยนี้ซึ่งเป็นความคิด
ถึงแก่ชีวิตได้ สมองก็เช่นกันอาจขาดเลือด
ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดอัมพาต/อัมพฤกษ์ ไตก็อาจ
ขาดเลือดและลดการขับของเสีย
หากไม่ควบคุมความดันโลหิตสูง ออกทางปัสสาวะทำให้เกิดภาวะ
จะเกิดผลแทรกซ้อนอะไรบ้าง ไตเสือ่ มสมรรถภาพ การขาดเลือด
ความดันโลหิตที่สูงจะทำให้เกิดพยาธิสภาพ ของจอตาทำให้ตามัว และการขาด
ทั่ ว ร่ า งกาย เริ่ ม ต้ น ที่ หั ว ใจและหลอดเลื อ ดแดงซึ่ ง
เลือดที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้กล้ามเนื้อแขนขา
ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจจะทำงานหนัก ทำงานไม่ได้มากจะล้าเร็วต้องพักจึงจะทำงานต่อได้
เพราะต้องบีบตัวภายใต้แรงดันเลือดที่สูง หัวใจตาม ภาวะแทรกซ้อนจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นกับระดับความ
ปกติที่มี 4 ห้อง คือ ขวาบน ขวาล่าง (หัวใจซีกขวา ดันโลหิต หากระดับความดันโลหิตสูงขึ้นทีละน้อย
รับเลือดดำจากร่างกายไปฟอกที่ปอด มีแรงดันเลือด อย่างช้าๆ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปจึงจะ
ต่ำกว่า) และซ้ายบน ซ้ายล่าง (หัวใจซีกซ้ายรับเลือดแดง เกิดภาวะแทรกซ้อนให้เห็น แต่หากความดันโลหิตสูง
จากปอดทีฟ่ อกแล้วสูบฉีดไปเลีย้ งทัว่ ร่างกาย มีแรงดัน อย่างรุนแรงและเกิดในระยะเวลาอันสัน้ ก็จะเกิดภาวะ
สูงกว่า) หัวใจห้องซ้ายล่างซึ่งเป็นตัวสูบฉีดเลือดแดง แทรกซ้อนเร็ว
ไปทั่วร่างกายจะมีกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นจากที่
170 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อาการที่บ่งชี้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ตระหนักในโรคความดันโลหิตสูงเพียงร้อยละ 21.4


ผู้ ที่ เ ป็ นความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ จ ะไม่ มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่
อาการเพราะความดันโลหิตค่อยๆ สูงขึ้นทีละน้อย 35 ปีขึ้นไปจึงควรไปวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล
ทำให้ผู้นั้นไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใด แม้จะวัดความ หรือสถานีอนามัยใกล้บ้านอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อจะ
ดันโลหิตได้สูงมาก หากไม่เคยไปตรวจเช็คร่างกายจะ ได้รบั การรักษาแต่เนิน่ ๆ ก่อนทีจ่ ะเกิดภาวะแทรกซ้อน
ไม่ทราบ จนกว่าจะเกิดผลแทรกซ้อนทางหัวใจ สมอง
และไต ก็สายไปเสียแล้ว โรคความดันโลหิตสูงจึงได้ชอื่ สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ว่า “ฆาตกรเงียบ” ต่างจากผูป้ ว่ ยหญิงทีค่ รรภ์เป็นพิษ ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ซึ่งก่อนตั้งครรภ์และเมื่อครรภ์อ่อนๆ ความดันโลหิต จะไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่
ยังปกติ เมื่อเกิดครรภ์เป็นพิษในไม่กี่เดือนต่อมาความ พบสาเหตุ เช่น โรคไต หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไต
ดันโลหิตจะสูงมาก ทำให้ผู้นั้นปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ หรือ

ได้ เพราะความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะ เนื้องอกต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งหากแก้ที่สาเหตุได้

เวลาอันสั้น ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากขั้นรุนแรง ก็จะหายจากโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ทไี่ ม่ทราบ


อาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย ดังนั้นการจะ สาเหตุ ก็ เชื่ อ ว่ า เกิ ด จากกรรมพั น ธุ์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม

รอให้ มี อ าการก่ อ นไปพบแพทย์ จึ ง อาจสายเกิ น ไป มีหลักฐานเชื่อว่ากรรมพันธุ์มีส่วนทำให้เกิดโรคความ
ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือประชากรมีความตระหนัก ดันโลหิตสูง เช่น คนที่มีบิดา หรือมารดา หรือทั้งคู่
ในโรคความดันโลหิตสูงยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ข้อมูลจาก เป็นความดันโลหิตสูง บุตรก็มีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ที่
การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย บิดามารดาไม่เป็น หรือคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
โดยการตรวจร่ า งกายครั้ ง ที่ 3 ปี เมื่ อ คนหนึ่ ง เป็ น อี ก คนหนึ่ ง ก็ จ ะเป็ น ด้ ว ย เป็ น ต้ น

ค.ศ. 2003-2004 มี ผู้ที่เป็น


สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนอย่างมาก เช่น ภาวะเครียด การ
โรคความดั น โลหิ ต สู ง แต่
สูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานเค็ม
ไม่เคยได้รับการวินิจฉัย ภาวะอ้วน เป็นต้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ
พบถึ ง ร้ อ ยละ 78.6 จึงต้องดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงไปตลอดชีวิต
กล่ า วคื อ มี ค วาม
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 171

การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง ปกติทสี่ ดุ ผูป้ ว่ ยความดันโลหิตสูงทีม่ ปี จั จัยเสีย่ งเหล่านี้


ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง มากเท่ า ใด ผู้ นั้ น จะเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด โรคหั ว ใจและ
ในอีกหลายๆ อย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หลอดเลือดมากขึ้นเท่านั้น
โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงเป็นต้น ซึ่งมี 2. การใช้ยาลดความดันโลหิต
ผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นจึงต้อง การพิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิต

กำจัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้ผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่รักษาแต่ จะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เมื่อต้อง

โรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว รับประทานยาลดความดันโลหิตจะต้องรับประทาน
1. การปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ยาให้ครบตามสั่งและสม่ำเสมอ ทั้งนี้ทำได้โดยปรับ
ให้ มี ก ารปรั บ พฤติ ก รรมเพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ การรับประทานยาให้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น
เกิดโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็น เช่น รับประทานยาหลังอาหารเช้า ก็อาจไว้ยาตรงทีว่ างน้ำดืม่
การงดรับประทานอาหารเค็มจัด หลังรับประทานข้าว การแบ่งยาไปไว้ที่ทำงาน กรณี
ฝึกนั่งสมาธิกำจัดความเครียด ลืมกินยาจากบ้านจะได้มียากินไม่ขาดยาหรือไว้ยาที่
แม้ในรายที่เป็นความดันโลหิต โต๊ ะ หั ว เตี ย ง กรณี กิ น ยาก่ อ นนอน เป็ น ต้ น หากมี
สูงก็ต้องปฏิบัติเช่นกัน เพื่อให้ อาการผิดปกติใดๆ จากการกินยาให้แจ้งแพทย์ทราบ
ควบคุมความดันโลหิตได้งา่ ยขึน้ เพื่อจะได้พิจารณาเปลี่ยนยา ไม่ควรลดหรือหยุดยา
และอาจทำให้ลดปริมาณยาลด เอง เพราะจะสร้างปัญหาให้กับแพทย์ผู้รักษาในการ
ความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยโรคความ ปรับขนาดยา ซึง่ แพทย์จะต้องควบคุมความดันโลหิตให้
ดันโลหิตสูงจะต้องปรับพฤติกรรมอื่นๆ ด้วยเพื่อลด ถึงเป้าหมาย
ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น งดการ ผู้ ป่ ว ยจะต้ อ งตระหนั ก ว่ า
ดืม่ สุราและงดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เป้ า หมายในการรั ก ษาโรคความ

เกือบทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ
ดันโลหิตสูงคือการป้องกันไม่ให้
30 นาที ลดความอ้วน รับประทานอาหารประเภทผัก เกิ ด ภาวะแทรกซ้ อ นทาง
ผลไม้ให้มากขึ้น ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง โดย หลอดเลื อ ดและหั ว ใจ
เฉพาะพวกไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม หากเกิดผลแทรกซ้อน
หากเป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงก็ตอ้ งรักษา ดังกล่าวแล้ว การรักษา
ให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดเป็นปกติหรือใกล้เคียง ภาวะแทรกซ้อน เป็น

172 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การรักษาทางปลายทางมีค่าใช้จ่ายสูงและไม่คุ้มค่า สูงหรือสูงมาก เช่น ผู้ที่เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์, หัวใจ


โดยเฉพาะการหาคนดูแลในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยตัวเอง ขาดเลือด, ไตเสือ่ มสมรรถภาพ หรือมีโปรตีนรัว่ เข้ามา

ไม่ได้ โดยทัว่ ไปผูป้ ว่ ยมีโอกาสหยุดการรักษาด้วยตนเอง ในปัสสาวะจะต้องควบคุมให้ตำ่ กว่า 130/80 มม.ปรอท
มาก เนือ่ งจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรือ้ รังต้อง องค์การความดันโลหิตสูงโลกมีการรณรงค์ “คุมความ
รักษาไปตลอดชีวติ ทำให้ตอ้ งเสียเวลามารักษา เสียเงิน ดันโลหิตให้ถงึ เป้า” ในปี ค.ศ. 2006 ในอนาคตอันใกล้
และบางครัง้ เกิดผลแทรกซ้อนจากยาลดความดันโลหิต ระดับความดันโลหิตเป้าหมายจะต่ำลงไปอีก คาดว่า
ซึ่งเดิมอาจไม่เคยมีอาการใดๆ มาก่อน หากผู้ป่วยมี อาจต้องให้ต่ำกว่า 120/80 มม.ปรอท เนื่องจากการ
ความตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษา โดยเฉพาะ
ติดตามในระยะยาว คนที่มีความดันโลหิตค่อนไปทาง
ผู้ที่มีญาติที่เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว เช่น อัมพาต/ สูง (120-139/80-89 มม.ปรอท) ซึ่งยังไม่เป็นความ
อัมพฤกษ์ โรคไต โรคหัวใจ จะไม่หยุดการรักษาเอง ดันโลหิตสูง ก็พบว่ามีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและ
เพราะเห็นความยุ่งยากที่เกิดขึ้นแล้ว หลอดเลือดมากกว่าคนทีม่ คี วามดันโลหิตปกติ (<120/
80 มม.ปรอท) ดังนั้นผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงควร
ระดับความดันโลหิตเป้าหมาย สอบถามแพทย์ถงึ ระดับความดันโลหิตเป้าหมายของตน
ความดันโลหิตเป้าหมายในผูป้ ว่ ยแต่ละรายอาจ เพื่อจะได้ใส่ใจและให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการ
ไม่เท่ากัน โดยทัว่ ไปควรให้ตำ่ กว่า 140/90 มม.ปรอท ติดตามการรักษาอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ให้ได้ประโยชน์สงู สุด
อาจควบคุ ม ให้ ต่ ำ กว่ า นี้ หากผู้ ป่ ว ยทนได้ โ ดยไม่ มี ของการรักษา
อาการผิดปกติใดๆ สำหรับในผูป้ ว่ ยเบาหวานและผูท้ มี่ ี
ความเสีย่ งในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับ

บทสรุป
กล่าวโดยสรุปประชากรควรตระหนักถึงอันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับพฤติกรรม
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความดันโลหิตสูงสำหรับในรายที่ยังไม่เป็นและหากเป็นโรคดังกล่าวแล้วจะได้ทราบ

แต่เนิ่นๆ ขณะที่ยังไม่มีการทำลายของอวัยวะต่างๆ สำหรับผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงต้องปรับพฤติกรรม
และรับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เน้นการควบคุมความดันโลหิตให้ถงึ เป้าหมาย
เพื่อลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองรวมทั้งภาวะไตวายให้ได้มากที่สุด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 173

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

กำกับไขมันร้าย... ให้หัวใจห่างไกลโรค
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์
หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ไขมันในเลือดคืออะไร
ไขมันในเลือดคือไขมันทีล่ อ่ งลอยไปในกระแส
ไขมันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ เลือด โดยรวมตัวกับโปรตีนจำเพาะเกิดเป็นอณูเรียก
ทุ ก คน ไขมั น มี ห ลายชนิ ด ได้ แ ก่ คอเลสเตอรอล
“ไลโปโปรตีน” มีหน้าทีข่ นถ่ายไขมันไปและกลับระหว่าง
ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิด และอื่นๆ ไขมันเหล่านี้ “ตับ” กับ “เซลล์หรืออวัยวะ” ต่างๆ ทัว่ ร่างกาย ดังนัน้
เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และเซลล์ทั่วร่างกาย ทุกคนจะมีไขมันในเลือดปริมาณหนึง่ ซึง่ จะรูไ้ ด้โดยการ
และพบล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด นอกจากนี้ไขมัน เจาะเลือดและนำไปวัดปริมาณไขมันเรียกง่ายๆ ว่าตรวจ
ยังมีหน้าทีอ่ นื่ เช่น ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันทีใ่ ห้พลังงาน วัดระดับไขมันในเลือด โดยวัดระดับคอเลสเตอรอล
และเป็นพลังงานสำรองเก็บไว้ในเซลล์ไขมันในที่ต่างๆ และไตรกลีเซอไรด์เป็นหลัก
ของร่างกาย คอเลสเตอรอลเป็นต้นกำเนิดของกรดน้ำดี แอลดีแอลคอเลสเตอรอล เป็นคอเลสเตอร
สำหรับย่อยอาหาร ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนกลุม่ สเตียรอยด์ ที่จะถูกนำไปสูเ่ ซลล์หรืออวัยวะต่างๆ เพือ่ ใช้ประโยชน์ที่
และวิตามินดี แหล่งที่มาของไขมันคือจากอาหารที่
กล่าวข้างต้น แต่ถา้ มีมากเกินไปจะมีผลเสีย ทำให้เหลือ
รับประทานและร่างกายสร้างเพิ่มเติมขึ้น ค้างในกระแสเลือด และถูกนำเข้าสู่ผนังหลอดเลือด
ผลคือเกิดหลอดเลือดแดงตีบตัน จึงได้สมญานามว่า
“ไขมันร้าย”
174 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

เอชดีแอล คอเลสเตอรอล เป็นคอเลสเตอรอล


มากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ที่ถูกนำออกจากเซลล์หรืออวัยวะต่างๆ เพื่อส่งกลับสู่ สำหรับผู้หญิง
ตับสำหรับใช้ประโยชน์ต่อไป นั่นคือเป็นการขนย้าย • ไตรกลีเซอไรด์
คอเลสเตอรอลออกจากที่ที่สะสมอยู่ ถ้ามีมากถือว่าดี น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
จึงมีสมญานามว่า “ไขมันดี”
ไตรกลีเซอไรด์ เมื่อสลายตัวจะให้กรดไขมัน สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงไม่มากที่จะเกิดโรค
อิสระซึ่งเซลล์กล้ามเนื้อนำไปใช้ได้ และตับสามารถ หัวใจและหลอดเลือด ระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอล
นำกรดไขมันอิสระไปเปลีย่ นเป็นกลูโคสเพือ่ ให้พลังงาน
ควรน้อยกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลติ ร ผูท้ มี่ คี วามเสีย่ ง
หรือนำไปสร้างไขมันขึ้นใหม่ หรือเก็บเป็นไขมันสะสม มาก ต้องควบคุมระดับคอเลสเตอรอลเข้มงวดขึ้นคือ
อยู่ในเซลล์ไขมันเพื่อเป็นพลังงานสำรอง คอเลสเตอรอลรวม น้อยกว่า 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ดังนัน้ เมือ่ พูดถึงระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
และแอลดีแอล คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/
จึงต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นคอเลสเตอรอลรวม หรือ
เดซิลติ ร ผูท้ มี่ โี รคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว โดยเฉพาะ
แอลดีแอล คอเลสเตอรอล หรือเอชดีแอล คอเลสเตอรอล อย่างยิง่ โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีตอ้ งควบคุมระดับ
คอเลสเตอรอลเข้มงวดที่สุดคือคอเลสเตอรอลรวม
ระดับไขมันในเลือดควรเป็นเท่าใด น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และแอลดีแอล

ระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสมคือระดับที่ คอเลสเตอรอล น้อยกว่า
ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงตีบตัน 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้อย ระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ไม่มี
โรคหรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ คือ ไขมันในเลือดกับการเกิดโรคหัวใจ
• คอเลสเตอรอลรวม จากหลอดเลือดแดงตีบตัน
น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แอลดีแอล คอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
• แอลดีแอล คอเลสเตอรอล เมื่อมีมากเกินจะถูกนำเข้าสู่ผนังหลอดเลือดแดง โดย

น้อยกว่า 160 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เม็ดเลือดขาวจำเพาะในผนังหลอดเลือดแดงจะเก็บไว้
• เอชดี แ อล คอเลสเตอรอล มากกว่ า
ภายใน กลายเป็นคอเลสเตอรอลสะสมที่พอกพูนขึ้น
40 มิลลิกรัม/เดซิลติ รสำหรับผูช้ าย และ
ช้าๆ ทีละน้อย ตามระยะเวลา ประกอบกับมีปฏิกริ ยิ า
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 175

ตอบสนองเฉพาะที่ ทำให้มคี อเลสเตอรอลเข้ามาสะสม


ขนาดอณูของ แอลดีแอล ด้วย สิง่ บ่งชีว้ า่ อณู แอลดีแอล
ในผนังหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนือ่ ง และมีการกระตุน้ มีขนาดเล็กคือ พบระดับ อะโปโปรตีน บี ในเลือดสูง
ให้เซลล์หลายอย่างในผนังหลอดเลือดแดงเพิม่ จำนวน หรือสูงมาก แต่ระดับ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล
ขึ้น เริ่มแรกรอยโรคเห็นเป็นแนวไขมันบางๆ ต่อมา ปกติหรือสูงไม่มาก หรือการพบระดับไตรกลีเซอไรด์
ค่ อ ยๆ หนาตั ว ขึ้ น กลายเป็ น ปื้ น และขยายตั ว เข้ า
ในเลือดสูงร่วมกับมี เอชดีแอล คอเลสเตอรอลต่ำ
ด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้ช่องทางภายในของ คอเลสเตอรอลในอณู เอชดีแอล ที่มีสมญา
หลอดเลือดแดงตีบแคบลง บางครั้งตีบแคบจนอุดกั้น นามว่า “ไขมันดี” เพราะช่วยชะลอการเกิดหลอดเลือด
ช่องทางภายในทั้งหมด หรือบางครั้งตีบแคบไม่มาก แดงตีบตันได้ หากระดับ เอชดีแอลคอเลสเตอรอลใน
แต่มกี ารฉีกขาดของผิวทีบ่ ภุ ายในผนังหลอดเลือดแดง เลือดต่ำกว่าทีค่ วร แสดงว่าการขนย้ายคอเลสเตอรอล

ตรงบริเวณทีม่ ไี ขมันสะสมมาก ทำให้มลี มิ่ เลือดเกิดขึน้ ออกจากเซลล์มนี อ้ ย หรือ เอชดีแอล มีไม่มากพอทีจ่ ะ
ตรงที่ฉีกขาด ลิ่มเลือดอาจใหญ่มากจนอุดกั้นช่องทาง รับคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์ ทำให้คอเลสเตอรอล

ภายใน ทำให้เลือดไม่สามารถผ่านไปได้ ผลคือเซลล์ เหลือค้างอยู่ในผนังหลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดง
ปลายทางขาดเลือดไปเลี้ยงและตายในเวลาต่อมา จึงตีบตันเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อร่วมกับระดับ
เมื่อเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจจนมีการอุดตัน แอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือมี แอลดีแอล
จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดกล้ามเนื้อหัวใจ อณูขนาดเล็กจำนวนมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้ามี เอช-

ตายเฉียบพลัน และอาจเกิดหัวใจวายในที่สุด ดีแอล คอเลสเตอรอล มากจะช่วยชะลอหรือลดการ
อณู แอลดีแอล มีขนาดใหญ่เล็กต่างกัน ทำ
เกิ ด หลอดเลื อ ดแดงตี บ ตั น หากเปรี ย บแอลดี แ อล

ให้ระดับ แอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดทีป่ ริมาณ คอเลสเตอรอลในผนังหลอดเลือดแดง เหมือนขยะที่


เท่ากัน แต่จำนวนอณู แอลดีแอล อาจแตกต่างกันได้ ถูกทิ้งอยู่ริมทาง ถ้ามีแต่คนนำมาทิ้งเพิ่มจะทับถมสูง
โดยคนที่มีแอลดีแอล อณูขนาดเล็กจะมีจำนวนอณู เป็นกองใหญ่ขึ้น เอชดีแอล คอเลสเตอรอลเปรียบ
แอลดีแอล มากกว่า และเกิดหลอดเลือดแดงตีบตัน เหมือนขยะที่ถูกนำขึ้นรถขนขยะเพื่อขนย้ายให้ไปอยู่
เร็ ว ขึ้ น เนื่ องจาก แอลดี แ อล อณู ข นาดเล็ ก จะถู ก ในที่ที่เหมาะสม เมื่อขยะที่ขนย้ายออกไม่ทันขยะที่
เปลีย่ นแปลงและเก็บสะสมพอกพูนในผนังหลอดเลือด ทิ้งเพิ่ม ขยะก็จะสะสมมากขึ้นจนเกิดปัญหา
แดงได้งา่ ยและรวดเร็ว ดังนัน้ นอกจากปริมาณ แอลดี-

แอล คอเลสเตอรอลแล้ว จะต้องคำนึงถึง จำนวนและ
176 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

กำกับไขมันร้ายเพื่อให้หัวใจห่างไกลโรค หลัก ออกกำลังกายระดับหนักอย่างต่อเนือ่ ง ถ้าระดับ

จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้าต้องการ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงต้องลดลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่


ชะลอหรือลดการเกิดหลอดเลือดแดงตีบตันจะต้อง กำหนด ไม่มียาสำหรับเพิ่มระดับ เอชดีแอล คอเลส-

กำกับไขมันร้ายให้อยูใ่ นขอบเขตทีเ่ หมาะสม คือกำกับ
เตอรอล ในเลือดโดยตรง
ไม่ให้มี แอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดสูง หรือ

ไม่ให้มอี ณู แอลดีแอล ขนาดเล็กจำนวนมากเกินไป และ การควบคุมอาหาร
พยายามทำให้ เอชดีแอล คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น อาหารทีร่ บั ประทานในแต่ละวันต้องให้ปริมาณ
การทำให้มรี ะดับ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล พอดีกับความต้องการของร่างกาย ปริมาณอาหารที่

ในเลือดอยู่ในกำกับ ต้องอาศัยการควบคุมปริมาณ รับประทานขึ้นกับน้ำหนักตัวและกิจกรรมที่ทำ การ

อาหาร ปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัว และปริมาณคอเลส- รับประทานปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้น้ำหนักตัว
เตอรอลทีร่ บั ประทานในแต่ละวัน ออกกำลังกายอย่าง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควรรับประทานอาหารวันละ
เหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐาน 3 มื้อ และให้ครบทุกหมู่คือ ข้าวแป้ง โปรตีน ไขมัน
และหากยังควบคุมไม่ถึงเป้าหมายจำเป็นต้องใช้ยา ผัก และผลไม้ ที่หลากหลายชนิด หมุนเวียนกันไป
ลดระดับคอเลสเตอรอล ยาที่ใช้แพร่หลายคือยากลุ่ม รวมทัง้ ดืม่ น้ำนมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว (250 มิลลิลติ ร)
สะแตติน ทุกวัน และน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว ควรละเว้น
การควบคุมไม่ให้มอี ณู แอลดีแอล ขนาดเล็ก เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ผู้ที่ดื่มหรือ
จำนวนมากเกินไป ต้องควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ จะเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ควรปรึกษาแพทย์
ในเลือดให้น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดย
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน จำกัดปริมาณ ข้าวแป้ง ควรเป็นธัญพืชที่ขัดสีน้อย

อาหาร ปริมาณข้าวแป้ง น้ำตาล และแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานยาตามที่ อาหารประเภทข้าวแป้งอื่นๆ ได้แก่ ข้าวโพด เผือก
แพทย์เห็นเหมาะสม มัน และแป้งทีท่ ำเป็นอาหารชนิดต่างๆ เช่น ก๋วยเตีย๋ ว
การทำให้มีระดับ เอชดีแอล คอเลสเตอรอล เส้นหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ สำหรับน้ำตาลจัด
ในเลือดเพิม่ ขึน้ โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน เป็นอาหารประเภทข้าวแป้งเช่นกัน ควรจำกัดไม่ให้
งดสูบบุหรี่ จำกัดปริมาณอาหาร ปริมาณข้าวแป้ง เกินวันละ 6 ช้อนชา
น้ำตาล และแอลกอฮอล์ รับประทานปลาเป็นโปรตีน โปรตีน คือเนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ และไข่
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 177

ควรรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติด ไขมัน ใช้ในปริมาณเท่าทีก่ ำหนด โดยเน้นการ


หนั ง และไขมั น เน้ น ปลาเป็ น ใช้นำ้ มันพืชทีท่ ำจากถัว่ เหลือง ข้าวโพด เม็ดทานตะวัน
หลัก อาหารทะเลอื่นและเนื้อ รำข้าว ถัว่ ลิสง มะกอก หลีกเลีย่ งเนย มาการีน น้ำมัน
สัตว์สีแดงรับประทานแต่น้อย จากสัตว์
รับประทานไข่สปั ดาห์ละ 3-4 ฟอง หลีกเลีย่ งการปรุง ผั ก ที่ เ ป็ น ใบเขี ย วรั บ ประทาน
โดยทอดน้ ำ มั น หลี ก เลี่ ย งเครื่ อ งในสั ต ว์ เนื้ อ สั ต ว์
ทุกมื้อ ทุกวันไม่จำกัดจำนวน ส่วนผลไม้
ปรุงแต่ง เช่น แฮม ไส้กรอก รับประทานแต่พอเหมาะ ควรจำกัดผลไม้
กุนเชียง แหนม รสหวานจัด หลีกเลี่ยงผลไม้กระป๋อง ผล
ไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง รวมทั้ง

ผักดอง
ตารางปริมาณอาหารโดยประมาณในแต่ละวัน (แบ่งเป็น 3 มื้อ) สำหรับผู้ที่มีกิจกรรมระดับปานกลาง
วันละ 20-30 นาที (พลังงาน ≈ 2100 ± 200 กิโลแคลอรี/วัน, รวมน้ำนมจืดพร่องมันเนย 1 แก้ว/วัน)
ตัวอย่างอาหาร:
น้ำหนักตัว 60-70 กิโลกรัม* จำนวนที่เพิ่มหรือลดทุกน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม

ปริมาณ ข้าวแป้ง โปรตีน ไขมัน ผักสุก ผลไม้สด ข้าวแป้ง โปรตีน ไขมัน ผักสุก ผลไม้สด
ปัญหาหลัก (ทัพพี) (ชค.) (ชช.) (ทัพพี) (คำ) (ทัพพี) (ชค.) (ชช.) (ทัพพี) (คำ)
ไม่มี (คนปกติ) 8-10 16-20 4-6 4-6 24-40 1 2 1 - 6-8

แอลดีแอล 10-12 12-16 4-6 4-6 24-40 1 2 1 - 6-8
คอเลสเตอรอลสูง เน้นธัญพืช ใช้เต้าหู้ ครึ่งหนึ่ง ที่เป็น
ขัดสีน้อย แทน เป็นน้ำมัน เนื้อสัตว์
และถั่ว 6-8 ชค. รำข้าว

อณู แอลดีแอล 6-8 20-24 6-8 4-6 18-24 1 2 1 - 6-8
ขนาดเล็ก ลดหรืองด ใช้เต้าหู้ ครึ่งหนึ่ง
จำนวนมากเกิน น้ำตาล แทน เป็นน้ำมัน
8-10 ชค. รำข้าว

* ใช้น้ำหนักตัวมาตรฐาน, ชค.หมายถึงช้อนคาว, ชช.หมายถึงช้อนชา, ไข่ไก่ขนาดกลางต้มสุกหนึ่งฟอง=โปรตีน 2 ช้อนคาว


178 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การแบ่งกลุม่ อาหารเพือ่ สามารถเลือกรับประทานได้อย่างเหมาะสม ควรเลือกอาหารในโซนสีเขียวเป็นหลัก


หลีกเลี่ยงอาหารในโซนสีแดง (ปริมาณที่กำหนดในตารางนี้สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก)

จากคู่มือ “ปฏิบัติการฝ่าวิกฤต พิชิตอ้วน พิชิตพุง” ของเครือข่ายคนไทยไร้พุง

ซุปมักกะโรนีไก่ (พลังงาน 330 กิโลแคลอรี) มีส่วนประกอบคือ ตัวอย่างผลไม้ 8-12 คำ (พลังงาน 60 กิโลแคลอรี)


- เส้นมักกะโรนี 2 ทัพพี
ส้ม ชมพู่
- ผักตามชอบ เช่น แครอท ฟักเขียว หอมหัวใหญ่
- เนื้ออกไก่ 4 ช้อนคาว
- น้ำมันกระเทียมเจียว 1 ช้อนชา สับปะรด องุ่นใบเล็ก
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 179

การออกกำลังกาย การออกกำลังกายระดับหนัก คือการวิง่ เหยาะ


การออกกำลังกายระดับปานกลาง แนะนำให้ หรือจ๊อกกิ้ง (อัตราวิ่ง 9-12 กิโลเมตร/ชั่วโมง) การ
ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นหลัก โดยเดินเร็วและ ว่ายน้ำ นาน 30-45 นาที ให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาที
ต่อเนื่องนาน 30-45 นาที (อัตราเดิน 5-6 กิโลเมตร/ การออกกำลังกายต้องเริม่ ทีละน้อย เช่นเริม่ ต้น
ชั่วโมง) บริหารร่างกายท่าต่างๆ แบบแอโรบิค ให้ได้ 5-10 นาที จากเบาและหนักขึน้ เช่น เดิน เดินสลับวิง่
สัปดาห์ละ 150 นาที การทำงานที่ออกแรงเช่น ขัด แล้วจึงวิ่งต่อเนื่อง ก่อนออกกำลังกายควรยืดเส้นสาย
ล้างรถ เช็ดถูพื้น ดายหญ้าขุดดิน การเดินขึ้นบันได ด้วยการขยับเคลื่อนไหวข้อต่อต่างๆ ของคอ แขน ขา
ครัง้ ละ 45-60 ขัน้ วันละหลายครัง้ ๆ (มากกว่า 6 ครัง้ ) ทุกส่วน และผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย
จัดเป็นการออกกำลังกายเช่นกัน ควรออกกำลังทุกวันหรือวันเว้นวัน ไม่ควรเว้นเกิน 2 วัน
ตัวอย่างการออกกำลังระดับปานกลางที่เผาผลาญพลังงานประมาณ 150 กิโลแคลอรี
งานทั่วไป กิจกรรมกีฬา
ล้างขัดรถ นาน 40-60 นาที เล่นวอลเลย์บอล 45-60 นาที ออกกำลังกายน้อย
ล้างหน้าต่าง พื้นบ้าน 45-60 นาที เล่นฟุตบอล 45 นาที ใช้เวลานาน
ทำสวน นาน 45-60 นาที เดิน 2.8 กิโลเมตร 35 นาที
ปั่นจักรยาน เก้าอี้วิลแชร์ 30-40 นาที บาสเกตบอล (ชู้ตบาส) 30 นาที
เดินเข็นรถ 2.4 กิโลเมตร นาน 30 นาที ขี่จักรยานยนต์ 8 กิโลเมตร 30 นาที
กวาดใบไม้ นาน 30 นาที เต้นรำเร็วๆ 30 นาที
เดิน 3.2 กิโลเมตร นาน 30 นาที ว่ายน้ำ 20 นาที
ตักน้ำ นาน 15 นาที บาสเกตบอล (เล่นเกม) 15-20 นาที ออกกำลังกายมาก
เดินขึ้นบันได นาน 15 นาที กระโดดเชือก 15 นาที ใช้เวลาน้อย
วิ่ง 2.4 กิโลเมตร 15 นาที
จากคู่มือ “ปฏิบัติการฝ่าวิกฤต พิชิตอ้วน พิชิตพุง” ของเครือข่ายคนไทยไร้พุง
บทสรุป
การดำรงชีวิตประจำวันที่เหมาะสม ร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การออก
กำลังกายหรือทำกิจกรรมออกแรงเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดสูบบุหรี่ เป็น
วิถีตามธรรมชาติที่สามารถกำกับไขมันร้ายเพื่อให้หัวใจห่างไกลโรคได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพ และไม่มี
ภาระค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้ยาจำเป็นสำหรับบางคนและผู้ที่เป็นโรคแล้วเท่านั้น
180 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

เป็นเบาหวานไม่ตาย
แต่ต้องคุม
ศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ วิชญาณรัตน์
หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำกล่าวที่ว่า “เป็นเบาหวานไม่ตายแต่ เหล่านี้จำเป็นต้องรักษาและควบคุมไปพร้อมๆ กัน


ต้องคุม” คงจะไม่ได้หมายความว่า เป็นโรคเบาหวาน หากควบคุมได้ไม่ดี จะทำให้มโี อกาสเกิดโรคแทรกซ้อน
แล้วจะไม่ตาย ความหมายที่ต้องการสื่อให้เข้าใจคือ ของเบาหวานได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกับการควบคุมระดับ
เบาหวานไม่ใช่โรคที่จะทำให้ตายในเวลาอันสั้นอย่าง น้ำตาล สิ่งที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องทราบก็คือ การควบคุม
รวดเร็ว แต่เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รักษาไม่หายขาด โรคที่พบร่วมกับเบาหวานเหล่านี้ ต้องควบคุมให้ดี

จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงให้อยู่ใน ยิ่งไปกว่าคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน เช่น ถ้ามีความ

เกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด ผู้ป่วยก็จะมี ดันโลหิตสูง ในคนทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ควร
ชีวิตที่เป็นปกติ โอกาสจะเกิดแทรกซ้อนต่างๆ จาก ควบคุมให้ความดันโลหิตต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท
โรคเบาหวานจะน้อยหรือเกิดช้ามากที่สุด และโอกาส แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีความดันโลหิตสูงด้วย ต้อง
ที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรก็จะน้อยลง ปัจจุบันการ ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท
ศึกษาส่วนใหญ่พบว่าเบาหวานมักจะไม่คอ่ ยมาเดีย่ วๆ หรือการควบคุมภาวะไขมันในเลือดสูง ในคนทั่วไปที่
แต่มกั จะมาร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ไม่เป็นเบาหวาน ควรคุมให้ระดับแอลดีแอลคอเลส-

สูง น้ำหนักมากเกินจนถึงขั้นอ้วน ภาวะหรือโรคต่างๆ เตอรอล (LDL cholesterol) ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัม
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 181

เปอร์เซนต์ (mg%) แต่ถ้ามีโรคเบาหวานด้วย ควร เป็นเบาหวานจำเป็นต้องมีอาการหรือไม่


ควบคุมให้ต่ำกว่า 100 mg% ตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ
เป็นผลจากการวิจัยที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ทางสถิติ เพี ย งส่ ว นน้ อ ยเท่ า นั้ น ที่ จ ะมี อ าการน้ ำ หนั ก ลดโดย

รับประทานอาหารได้ปกติ อาจมีปัสสาวะบ่อยและ
โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร ครัง้ ละมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ต้องลุกขึน้ มาปัสสาวะ
ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุที่ ในตอนกลางคืนหลายๆ ครัง้ คนปกติจะลุกถ่ายปัสสาวะ
ต้องควบคุมเบาหวาน จำเป็นต้อง เพียงคืนละครั้งหรืออาจไม่ต้องลุกมาถ่ายปัสสาวะเลย
มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค นอกจากนัน้ ผูป้ ว่ ยอาจมีอาการคอแห้ง และกระหายน้ำ
เพราะมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถแก้ไข อาการเหล่านีจ้ ะพบเมือ่ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงค่อนข้าง
เพือ่ ป้องกันเบาหวานได้ หากผูป้ ว่ ยป้องกันการเกิดโรค มาก คือมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ ปัจจุบัน
ได้ก็ไม่ต้องมาควบคุมรักษา โรคเบาหวานแบ่งเป็น
เนือ่ งจากคนส่วนใหญ่มคี วามรูเ้ กีย่ วกับโรคนีแ้ ล้ว จึงมี
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ในที่นี้ การตรวจเลือดวัดระดับกลูโคสในเลือดในการตรวจ
จะกล่าวถึงเฉพาะชนิดที่ 2 ซึ่งพบถึงร้อยละ 95 ของ ประจำปีโดยยังไม่ทันมีอาการ ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยทั้งหมด เบาหวานชนิดนี้เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ ส่วนใหญ่จงึ มักไม่มอี าการ ผูป้ ว่ ยบางรายทีอ่ าจมีอาการ
คือ เหตุทางพันธุกรรมและจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุ ในตอนแรกเมื่อเริ่มวินิจฉัยโรค แต่เมื่อได้รับการรักษา
ทางพันธุกรรม เราไม่สามารถป้องกันได้ แต่สาเหตุ แล้วก็มักไม่ค่อยมีอาการ ยกเว้นกรณีที่ควบคุมระดับ
ทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้แก่ ภาวะอ้วน การรับประทาน น้ำตาลไม่ได้เลย
อาหารที่มีรสหวานหรือมีไขมันมาก การรับประทาน
อาหารปริมาณมากเกิน การขาดการออกกำลังกาย ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงให้ การวิ นิ จ ฉั ย
ดีขึ้นได้ ถ้าผู้ใดมีบิดา มารดา ปู่ย่าตายาย หรือพี่น้อง โรคเบาหวานจำเป็ น
เป็นเบาหวาน จำเป็นต้องควบคุมปริมาณอาหารที ่
ต้ อ งตรวจเลื อ ดเพื่ อ วั ด
รับประทานเพื่อไม่ให้อ้วน และต้องออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลในเลือด ในราย
อย่างสม่ำเสมอ โอกาสที่จะเกิดเบาหวานจะมีช้าลง ที่ไม่มีอาการ ต้องตรวจเลือด
และน้อยลง แล้วพบว่าผิดปกติ 2 ครั้ง คือ
182 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ระดับสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg% ในตอนเช้า แต่ยงั คงต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี



ก่อนอาหาร หรือวัดในเวลาใดก็ได้และมีระดับน้ำตาล ผู้ป่วยเบาหวานต้องเลือกรับประทานอาหารคาร์โบ-
ในเลือดสูงมากกว่า 200 mg% ในกรณีที่มีอาการ ไฮเดรท (ประเภทแป้ง) ชนิดที่ดูดซึมช้า มีใยอาหาร
ของเบาหวานชั ด เจน เช่ น น้ ำ หนั ก ตั ว ลดลงมาก มาก ไม่ ห วานจั ด ควรรั บ ประทานผั ก ให้ ม ากและ

ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ การตรวจพบว่าระดับ รับประทานผลไม้พอประมาณ เลือกชนิดที่ไม่หวาน
น้ ำ ตาลในตอนเช้ า ก่ อ นอาหารสู ง กว่ า 126 mg% มากนัก หลีกเลีย่ งน้ำผลไม้ทคี่ นั้ เอากากหรือใยออกไป
หรื อ วั ด เวลาใดก็ ไ ด้ พ บว่ า สู ง มากกว่ า 200 mg% แล้ว รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล เพราะจะดูดซึม
เพียงครั้งเดียว ก็อาจบอกได้แล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน เร็ว ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้เร็ว น้ำผลไม้ควร

รับประทานเฉพาะเวลาที่มีระดับน้ำตาลในเลือด

เบาหวานควบคุมและรักษาอย่างไร ต่ำเท่านั้นเพราะจะช่วยปรับให้ระดับน้ำตาล

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น สูงขึน้ ได้เร็ว การรับประทานอาหารประเภท

เบาหวาน จำเป็นต้องควบคุมอาหาร ถ้าผู้ป่วย แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง ควร
น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือขั้นเรียก รับประทานแค่พอประมาณ แล้วแต่น้ำหนักตัวของ

ว่าอ้วน หากสามารถลดน้ำหนักลงได้ ระดับน้ำตาล ผู้ป่วยว่าปกติหรือน้ำหนักมากเกินไปแล้ว ในคนที่
ในเลือดก็จะลดลงตามไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับ ทำงานชนิดต้องออกแรงมาก หรือออกกำลังกายมาก
น้ ำ ตาลสู ง ไม่ ม าก การลดน้ ำ หนั ก โดยลดปริ ม าณ อาจรับประทานในปริมาณสูงได้ ส่วนการรับประทาน
อาหารและเพิ่มการออกกำลังกาย อาจทำให้ระดับ อาหารประเภทไขมันควรรับประทานพอประมาณ
น้ ำ ตาลต่ ำ ลงจนอยู่ ใ นเกณฑ์ ป กติ ไ ด้ ในระยะยาว
เช่นเดียวกับประเภทแป้ง คือ ปริมาณทีไ่ ม่ทำให้นำ้ หนัก
ผูป้ ว่ ยส่วนใหญ่ยงั คงมีระดับน้ำตาลทีส่ งู เพิม่ กว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ตอ้ งเน้นประเภทของไขมัน
กว่าเกณฑ์ปกติ ควรได้รับ คือ ควรใช้นำ้ มันทีไ่ ด้จากพืช ยกเว้นมะพร้าวหรือปาล์ม
ยาลดระดั บ น้ ำ ตาลร่ ว ม น้ำมันพืชทีใ่ ช้ปรุงอาหารได้ดไี ด้แก่
ด้วย ในผูป้ ว่ ยทีน่ ำ้ หนักตัว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจาก
ไม่สูงมากกว่าเกณฑ์ ซึ่ง เม็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว
พบได้น้อยอาจไม่ต้อง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก
จำกัดปริมาณอาหาร น้ำมันเหล่านี้จะมีไขมันชนิด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 183

ทีไ่ ม่อมิ่ ตัวมากกว่าจึง ไม่ เบาหวานรักษาให้หายขาดได้หรือไม่


ทำให้ระดับคอเลสเตอรอล
บางคนยังเข้าใจผิดว่า เบาหวานสามารถรักษา
ในเลือดสูงขึน้ ควรหลีกเลีย่ ง ให้หายขาดได้ มักจะบอกว่ามีเพือ่ นบางคนเล่าว่าผูป้ ว่ ย
ไขมันจากสัตว์เพราะมีไขมัน บางคนไม่ตอ้ งกินยาแล้ว หรือมียาไทย ยาจีน บางชนิด
ชนิดอิ่มตัว และมีคอเลสเตอรอล
กินแล้วน้ำตาลในเลือดลด มีทั้งชนิดที่ขายราคาแพง
มาก ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น เช่น หรือบอกเพราะหวังดี ความจริงคือโรคนี้รักษาไม่หาย

หนังไก่ หนังเป็ด น้ำมันหมู มันไก่ เครื่องในทุกชนิด ขาด นอกจากนีเ้ มือ่ เวลาผ่านไปหลายๆ ปี การควบคุม
การที่ผู้ป่วยต้องควบคุมชนิดของไขมันเพราะอาหาร จะยิ่งลำบากขึ้นเพราะเซลล์ตับอ่อนที่สร้างอินสุลิน

เหล่านี้ทำให้แอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่ง จะยิ่งเสื่อมลง แต่เมื่อเบาหวานเป็นนานขึ้นจนมีโรค


เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้หลอดเลือดตีบหรือตัน แทรกซ้อนทางไตแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับ
ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่หัวใจและ ลดลง อาจเป็นเพราะเบือ่ อาหารจากผลของโรคไตเสือ่ ม
สมอง การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนหรือ ผู้ป่วยบางรายเมื่อเริ่มแรกระดับน้ำตาลอาจสูงไม่มาก
เนื้อสัตว์ ควรรับประทานพอประมาณเช่นเดียวกัน การลดน้ำหนักตัวลง และการควบคุมอาหารอย่างดี
แต่เน้นให้รบั ประทานอาหารประเภทปลาให้มาก เพราะ อาจทำให้ไม่จำเป็นต้องกินยาไประยะหนึง่ แต่ถา้ ติดตาม
ปลาไม่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ต่อไป หรือเวลาที่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ติดเชื้อ
นอกจากการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก เป็นไข้ รับการผ่าตัด โรคเบาหวานจะกำเริบขึ้น และ
ตัว และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว ผูป้ ว่ ยมักต้อง พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาอีก
รับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด ทำไมจึงต้องควบคุมเบาหวาน
สิ่งที่ยากลำบากสำหรับผู้ป่วยคือ ต้องควบคุมทั้งวัน การที่ผู้ป่วยต้องควบคุมเบาหวาน
ทุกวัน และตลอดไปเพื่อจะให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียง
ำตาลในเลือดที่สูงอยู่นานๆ จะทำให้
เพราะน้
กับคนปกติมากที่สุด หลอดเลือดต่างๆ ทั่วร่างกายทั้งชนิดเล็กและใหญ่
เสื่อมลง การเสื่อมของหลอดเลือดขนาดเล็กจะทำให้
เกิดโรคแทรกซ้อนที่ตา ไต และระบบประสาท ส่งผล
ให้ตาบอด ไตวายจนถึงขั้นต้องล้างไต การทำงานของ
184 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ระบบประสาทอัตโนมัติและเส้นประสาทปลายทาง แล้ว เป็นที่น่าเสียดายว่าโรคแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้


เสื่อมลง อาการทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยคือ สามารถรักษาได้หากป้องกันเสียแต่เนิน่ ๆ การป้องกัน
การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การถ่ายปัสสาวะเอง โรคแทรกซ้อนของเบาหวานทีด่ ที สี่ ดุ ก็คอื การควบคุม
ไม่ได้เพราะกระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว ต้องคาสาย ระดับน้ำตาลในเลือดให้ดตี งั้ แต่ตน้ และตลอดไป ผูป้ ว่ ย
สวนปัสสาวะตลอดไป ชาหรือปวดแสบร้อนที่เท้า จำนวนหนึ่งมักเข้าใจผิดว่า การกินยานานๆ จะทำให้
บางรายมี อ าการชามากจนเป็ น แผลรุ น แรงแล้ ว ยั ง
ไตเสื่อม จึงไม่ค่อยยอมกินยาอย่างสม่ำเสมอซึ่งใน
ไม่รู้สึก อาจถึงขั้นต้องตัดขา ความเป็ น จริ ง แล้ ว การที่ ค วบคุ ม น้ ำ ตาลไม่ ดี ห รื อ

การเสื่ อ มของหลอดเลื อ ดขนาดใหญ่ จ าก


การไม่กินยาตามแพทย์สั่งต่างหากที่ทำให้ไตเสื่อม
เบาหวาน มักเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกันคือ
นอกจากระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงแล้ว ยังเป็นผล สาเหตุการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวาน
จากไขมันชนิดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อี ก เหตุ ผ ลหนึ่ ง ที่ ท ำให้ เ กิ ด คำพู ด ว่ า เป็ น

และความดันโลหิตสูงด้วย รวมทั้งการสูบบุหรี่ ผู้ป่วย เบาหวานแต่ ไ ม่ ต ายคื อ ผู้ ป่ ว ยโรคเบาหวานมั ก จะ

จึงต้องได้รับรักษาทุกปัจจัยไปพร้อมกัน หลอดเลือด ไม่ตายจากเบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดสูงโดยตรง
ขนาดใหญ่จะมีผนังหนาและแข็งขึ้น ต่อมาจะตีบและ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 50-70 จะเสียชีวิตจากโรค
ตัน ถ้าเป็นที่หลอดเลือดหัวใจจะทำให้หัวใจขาดเลือด หัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิง่ โรคหลอดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจตายไม่ทำงาน จนทำให้เสียชีวิตได้ ถ้า หัวใจอุดตัน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตทันทีทันใด หรือถ้า
เป็นที่หลอดเลือดสมอง จะทำให้หลอดเลือดสมองตีบ ไม่เสียชีวิตทันที อาจเกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว
เกิดอัมพาต แขนขาอ่อนแรงไปซีกหนึ่ง ปากเบี้ยว พูด และเสียชีวิตในระยะเวลาต่อมา บางคนก็จะเสียชีวิต
ไม่ชัด กลืนไม่ได้ ถ้าเป็นหลอดเลือดใหญ่ที่ขา จะทำ จากโรคหลอดเลื อ ดสมองตี บ หรื อ แตก ปั จ จุ บั น
ให้ขามีผิวคล้ำดำ ปวด และเกิดการเน่าจนถึงขั้นต้อง เนื่องจากทางการแพทย์มีวิธีการรักษาโรคไตวายโดย
ตัดขา การล้างไตซึง่ ทำได้ในโรงพยาบาลทัว่ ไป ผูป้ ว่ ยเบาหวาน
แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระยะแรกๆ จึงไม่ค่อยเสียชีวิตจากโรคไตวาย ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่
จะไม่ค่อยมีอันตรายมาก อาการก็ไม่มาก จึงมักทำให้ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเสียชีวิตได้บ่อยก็พบได้เช่นเดียว
ผู้ป่วยไม่ค่อยใส่ใจกับการควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ป่วย กับคนทีไ่ ม่เป็นโรคเบาหวาน เช่น มะเร็งในอวัยะต่างๆ
ส่วนใหญ่จงึ มักสนใจกับโรคเมือ่ มีอาการมากแล้ว ซึง่ เป็น อุบัติเหตุ โรคติดเชื้อ
ระยะที่มีโรคแทรกซ้อนในอวัยวะต่างๆ เกิดขึ้นมาก
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 185

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

ลดอ้วนลงพุงอย่างไร
ถึงจะสุข (ไร้โรค)
ศาสตราจารย์คลินิก (พิเศษ) นายแพทย์ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์
หน่วยโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ กลุ่มงานอายุรกรรม
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

โรคอ้วนคือภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมใน บริเวณพุงมีการสลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระได้ง่าย
ร่างกายมากกว่าปกติ ไขมันที่สะสมในร่างกายแบ่งได้ ในขณะทีไ่ ขมันบริเวณสะโพกจะมีการสลายตัวได้นอ้ ย
เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ไขมันที่สะสมใต้ผิวหนัง กว่า นอกจากนี้กรดไขมันอิสระที่สลายจากไขมันใน
บริเวณแขนขาสะโพก และไขมันที่สะสมในอวัยวะ ช่องท้องจะเข้าสู่ตับโดยตรงทำให้เกิดผลเสียตามมา
ช่องท้องหรือทีเ่ รียกว่าพุงนัน่ เอง โรคอ้วนจึงแบ่งได้เป็น ได้มากกว่ากรดไขมันอิสระที่สลายจากไขมันที่สะโพก
สองชนิดใหญ่ๆ คืออ้วนบริเวณสะโพกและอ้วนลงพุง และแขนขาซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือดตามแขนขาก่อนที่
อ้วนบริเวณสะโพกส่วนใหญ่พบในผู้หญิง ในขณะที่ จะเข้าสู่อวัยวะภายในร่างกาย
อ้วนลงพุงมักจะพบในผู้ชาย ไขมันบริเวณสะโพกและ ผลเสียของกรดไขมันอิสระที่สลายจากเซลล์
แขนขาก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายได้น้อยกว่าไขมันที่ ไขมันจะก่อให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลินเป็นผลให้เกิด
สะสมในช่องท้องหรือพุง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนอ้วน ผลเสียต่างๆ ทางเมตะบอลิสมของร่างกายมากมาย
สองคนที่มีน้ำหนักตัวหรือมีไขมันในร่างกายเท่ากัน ได้แก่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
คนอ้วนทีม่ ไี ขมันทีพ่ งุ มากจะเกิดโรคทางกายได้มากกว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดสูง ระดับไขมันเอ
คนอ้วนที่สะโพก เหตุผลที่ไขมันบริเวณพุงก่อให้เกิด ชดี แ อล โคเสลเตอรอลหรื อ ไขมั น ดี มี ค่ า ลดลง

ผลเสียมากกว่าไขมันบริเวณสะโพกเนื่องจากไขมัน นอกจากนีย้ งั เป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน



186 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคอ้วนลงพุงหรือกลุ่มโรคทาง
เมตะบอลิก (metabolic syndrome) จำเป็นอย่างยิง่

ทีจ่ ะต้องลดพุงของตัวเองเพือ่ ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ


ดังกล่าวข้างต้น
การลดพุงหรือลดไขมันในช่องท้องที่ดีที่สุด
การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การลด
ปริมาณไขมันในอาหารร่วมกับการจำกัดปริมาณอาหาร
จะทำให้ ไขมั น บริ เวณพุ ง ลดลง การออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องก็จะช่วยให้ไขมันบริเวณ
พุงลดลงเช่นกัน การผ่าตัดดูดไขมันบริเวณพุงไม่จดั
เป็นการรักษาที่เหมาะสมเนื่องจากถ้าหลังผ่าตัดไม่ม

และหลอดเลือดสมองตีบตันด้วย ดังนั้นกลุ่มโรคอ้วน
การควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ลงพุงหรือกลุม่ โรคเมตะบอลิก (metabolic syndrome) ไขมันก็จะกลับมาสะสมที่พุงได้เหมือนกับก่อนผ่าตัด
จึงเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการที่ไขมันในช่องท้องมีมาก นอกจากนี้การผ่าตัดดังกล่าวก็ยังอาจเสี่ยงต่อการเกิด
เกินไปและก่อให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความ โรคแทรกซ้อนของการผ่าตัดได้เช่นกัน
ดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดผิดปกติตามมา การลดพุงอย่างถูกวิธแี ละถาวรจำเป็นจะต้อง
โดยทั่ ว ไปเส้ น รอบวงเอวหรื อ เส้ น รอบพุ ง ได้รบั ความร่วมมือจากผูท้ จี่ ะลดน้ำหนักอย่างมากเริม่ ต้น
เป็ น ตั ว ที่ บ่ ง บอกไขมันที่สะสมบริเวณช่องท้ อ งได้ ดี ผูท้ จี่ ะลดพุงต้องมีความตัง้ ใจจริงและจะต้องยอมเปลีย่ น
มาก ในคนเอเชียพบว่าเส้นรอบวงเอวในผู้ชายตั้งแต่ วิถีการดำรงชีวิตของตนเองบ้างกล่าวคือ ในเรื่องของ
36 นิ้วหรือ 90 ซม.และเส้นรอบวงเอวในผู้หญิงตั้งแต่
32 นิ้วหรือ 80 ซม.ขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด
ผิดปกติ ตลอดจนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ดังนั้น
ผู้ชายไทยที่มีรอบเอวตั้งแต่ 36 นิ้วหรือผู้หญิงไทยที่มี
รอบเอวตั้งแต่ 32 นิ้ว ถือว่ามีพุงใหญ่แล้ว มีความ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 187

หวานจัดในปริมาณที่พอเหมาะได้
นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็น
สิ่งที่สำคัญอย่างมากและจะต้อง
ออกกำลั ง กายให้ ไ ด้ อ ย่ า งน้ อ ย

วันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน การออก
กำลั ง กายมี ค วามสำคั ญ มาก
เพราะการออกกำลังกาย จะทำ

ให้ร่างกายเผาผลาญอาหารและ
น้ำตาลได้ดขี นึ้ นอกจากนีย้ งั ทำให้
หัวใจทำงานได้ดขี นึ้ ทำให้รา่ งกาย
ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินสุลินดี
ขึ้น (ฮอร์โมนอินสุลินเป็นฮอร์โมน
จากตับอ่อน ทำหน้าที่ลดระดับ
อาหารและเครือ่ งดืม่ ทีร่ บั ประทานจะต้องจำกัดปริมาณ น้ำตาลในเลือด) การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องไป
และชนิดของอาหารบางประเภท ได้แก่อาหารที่มี ทำในสถานที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬากลางแจ้ง
ปริมาณไขมันสูงและน้ำตาล ต้องไม่รับประทานจุกจิก การทำงานบ้านทีใ่ ช้แรงงานมากๆ เช่น ทำสวน ขุดดิน
และไม่ควรงดอาหารมือ้ ใดมือ้ หนึง่ เพราะจะทำให้เกิด เช็ดบ้าน ขัดห้องน้ำ ล้างรถหรือการเดินเร็วๆ ก็ถือว่า
อาการหิวจัดเป็นผลให้ไม่สามารถจำกัดปริมาณอาหาร เป็นการออกกำลังกายเหมือนกัน และถ้าไม่มีปัญหา
ในมื้อต่อไปได้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ เรื่องข้อเข่าการขึ้นลงบันได 5-6 ชั้น อย่างน้อยวันละ
แต่รับประทานครั้งละไม่มากเช่น ข้าวมื้อละไม่เกิน
3-4 รอบก็ใช้ได้เหมือนกัน การออกกำลังกายยังทำให้
2 ทัพพี กับข้าวไม่ควรรับประทานอาหารมันๆ เช่น กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงอีกด้วย สำหรับคนที่พุง
ของทอด หนังสัตว์ กะทิ เป็นต้น ควรรับประทาน
ยังไม่ใหญ่เกินเกณฑ์ ก็อย่านิ่งนอนใจ กันไว้ดีกว่าแก้
ผักใบเขียวให้มากๆ เนื่องจากอาหารประเภทผักสด การรับประทานอาหารอย่างมีสติและออกกำลังกาย
จะไม่เพิม่ พลังงานทีเ่ ข้าไปในร่างกาย ไม่ควรรับประทาน อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านห่างไกลจากภาวะอ้วน
ของหวาน แต่ ส ามารถรั บ ประทานผลไม้ ที่ มี ร สไม่ ลงพุงได้
188 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

กินอย่างไร
โรคหัวใจไม่ถามหา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี จงสุวัฒน์
ประธานหลักสูตร วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์)
สาขาโภชนวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล

การมีสุขภาพดี ไม่มีโรคหัวใจ ควรยึดหลักคล้ายคลึงกัน



สุขอนามัยพื้นฐาน สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ “อาหาร” • อาหารหมู่เดียวกัน จะเป็นแหล่งของสาร
อาหารของคนไทย คือ อาหารหลัก 5 หมู่ ได้ แ ก่ อาหารประเภทเดียวกัน แต่จะมีปริมาณมากน้อยต่าง
เนื้อสัตว์ ข้าว-แป้ง ผัก ผลไม้ และไขมัน คนไทยมี กัน
หมู่ ไขมั น เป็ น อาหารหลั ก ในอดี ต ประเทศไทย • ไม่มีอาหารหมู่หนึ่งหมู่ใด หรือชนิดหนึ่ง
ประสบปัญหาทางด้านโภชนาการ คือ ขาดโภชนาการ ชนิดใดให้สารอาหารครบทุกชนิด

จึงได้มกี ารเน้นการเพิม่ พลังงาน และสารอาหารประเภท • สารอาหารแต่ ล ะชนิ ด ให้ ป ระโยชน์ แ ก่
ไขมัน ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่างกายแตกต่างกัน
อาหารหลักมี 4 หมู่ ได้แก่ ข้าวแป้ง เนื้อสัตว์ นม • สารอาหารบางชนิดต้องทำหน้าที่ร่วมกัน
ผัก ผลไม้ จึงจะสามารถให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ถั่วเมล็ด
ทำไมต้องอาหารหลัก 5 หมู่ แห้ง นม อาหารหมู่นี้เป็นแหล่งที่ดี โปรตีน วิตามิน
นักวิชาการด้านโภชนาการแบ่งอาหารเป็น และแร่ธาตุ หลายชนิด เช่น วิตามินบีหก วิตามินบี
5 หมู่โดย สิบสอง ไนอาซิน เหล็ก สังกะสี
• จำแนกออกเป็นหมู่ต่างๆ ตามลักษณะที ่
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง หัวมัน หัวเผือก
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 189

น้ำตาล อาหารหมูน่ เี้ ป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ครีมในนม กะทิ น้ำมันจากถั่ว มะพร้าว รำข้าว งา


ที่ ใ ห้ พ ลั ง งานกั บ ร่ า งกาย ทำให้ ร่ า งกายสามารถ ข้าวโพด
ทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกชนิด
คนไทยควรจะได้รับพลังงานจากอาหารหมู่นี้ ร้อยละ ทุกคนจึงควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน โดย
55 ของพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน มีหมู่ต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้คนไทย
อาหารหมูท่ ี่ 3 ได้แก่ ผักต่างๆ อาหารหมูน่ ี้ กินอาหารได้ครบถ้วน และเหมาะสม กองโภชนาการ
เป็นแหล่งที่ให้ วิตามิน แร่ธาตุหลายชนิด และสาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ระดมความคิด
ต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนส์ จากนักวิชาการ จัดทำ “ธงโภชนาการ” โดยแนะนำ
อาหารหมู่ที่ 4 ได้ แ ก่ ผ ลไม้ ต่ า งๆ อาหาร พลังงานและสัดส่วนของอาหารหมูต่ า่ งๆ ให้เหมาะสม
หมู่นี้มีคุณค่าทางอาหารคล้ายกับหมู่ที่ 3 คือมีวิตามิน กับเพศ วัย ดังนี้
และแร่ ธ าตุ ต่ า งๆ ตลอดจนใยอาหาร เพื่ อ ช่ ว ยให้ • กลุ่มเด็กอายุ 6-13 ปี ผู้หญิง ผู้สูงอายุ
ร่างกายแข็งแรง และทำให้ระบบขับถ่ายของลำไส้ ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี
เป็นปกติ • กลุ่มวัยรุ่น ชาย หญิง ผู้ชายวัยทำงาน
อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ ไขมันและน้ำมันทั้ง ควรได้รับพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี
จากสัตว์และจากพืช และสัตว์ ได้แก่ น้ำมันหมู เนย • กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร นักกีฬา ควร
และไขมัน ที่แทรกอยู่ในอาหารหรือเนื้อสัตว์ติดมัน ได้รับพลังงานประมาณ 2,400 กิโลแคลอรี

คาร์โบ โปรตี ไขมัน ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม น้ำมัน น้ำตาล
ไฮเดรต (ทัพพี) ช้อนกินข้าว (ทัพพี) (ส่วน)1 ไขมันต่ำ (ช้อนชา)1 (ช้อนชา)1
พลังงาน % % %
(กิโลแคลอรี) กรัม กรัม กรัม

1600 63 13 24 8 6 4 3 1 4 4
252 52 43
2000 63 12 25 10 9 5 4 1 7 5
315 63 55
2400 63 12 25 12 12 6 5 1 8 5
378 72 67
190 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ดังนัน้ เพือ่ ลดปัจจัยเสีย่ งของการเกิดโรคหัวใจ เช่น กระเทียม หัวหอม มีอัลลิซีน (Allicin) ซึ่งช่วย
และหลอดเลือด และมะเร็ง ทุกคนจึงควรกินอาหาร ป้องกันความดันโลหิตสูง ลดระดับคอเลสเตอรอล
ให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายในแต่ละวัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ เมล็ดงามีสาร

นอกจากนีใ้ นปัจจุบนั ทางการแพทย์มกี ารพูดถึง แอนติ- เซซามินซึง่ มีฤทธิต์ า้ นอนุมลู อิสระ เพิม่ ปริมาณวิตามินอี
ออกซิแดนส์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระกันมาก สารนี้ ในร่างกาย งานวิจัยยังพบว่าสารนี้สามารถลดไขมัน
ไม่ได้เป็นสารอาหาร แต่เป็นพฤกษเคมี ซึ่งมีบทบาท ในกระแสเลือด และคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย
ในการลดการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ จากการเกิด ตัวอย่างผักสีขาว
ออกซิเดชั่นที่สะสมเป็นตระกรันเกาะที่หลอดเลือด ดอกกะหล่ำ กระเทียม
อีกทัง้ ยังมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งโดยการป้องกัน ต้นกระเทียม ขิง ข่า ขึ้นฉ่าย เห็ดฟาง
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกาย แอนติออก-
เห็ดเข็มทอง หอมหัวใหญ่ ต้นหอม มันฝรั่ง หัวไชเท้า
ซิแดนส์นี้พบมากในพืชผัก ผลไม้ กินผักให้ครบ โดย ดอกแคขาว ผักกาดขาว หางหงส์ ขมิ้นขาว หัวปลี
ใช้สีของผักเป็นตัวช่วย เพราะผักแต่ละชนิด แต่ละ ถั่วงอก กุยช่ายขาว หน่อไม้สด ยอดมะพร้าว งาขาว
สีมีสารแอนติออกซิแดนส์ต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อ ลูกเดือย จมูกข้าวสาลี
ร่างกาย ส่วนผลไม้ที่มีสีขาว เช่น แอปเปิ้ล

สาลี่ มันแกว ฝรั่ง เนื้อมังคุด แก้วมังกร

สีขาว เงาะ พุทรา


สีขาวแม้จะไม่ได้เป็น 1
ใน 7 ของสีรุ้ง แต่เป็นการรวม 7 สี สีน้ำเงิน สีม่วง
ของสีรุ้งเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นสีขาว ผักผลไม้ทมี่ สี ขี าว ผักผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน หรือ สีม่วง เป็นกลุ่ม
สีชา และสีนำ้ ตาล เกิดจากสารให้สใี นกลุม่ ของ ฟลาโว- ผักที่มีไม่มากนักในเมืองไทย สีที่เห็นเป็นสีม่วง หรือ
นอยด์ (Flavonoid) เช่น แอนโธแซนทีน (เหลืองนวล) สีน้ำเงินนั้น เกิดจากสารให้สี (Pigment) ชนิดหนึ่ง
แทนนิน (ไม่มีสี) ซึ่งฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูล
คือ แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) สารกลุ่มนี้มี
อิ ส ระ ลดการแบ่ ง ตั ว ของเซลล์ ม ะเร็ ง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระไป
นอกจากนั้นผักกลุ่มนี้ยังมีสารประกอบ
ทำลายเซลล์ และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์
หลายชนิดที่นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจ ช่ ว ยลดอั ต ราเสี่ ย งการเกิ ด โรคหั ว ใจและ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 191

เส้นเลือดอุดตันในสมอง โดยมันจะไปช่วยยับยั้งไม่ให้ ตัวอย่างผักสีส้ม และสีเหลือง


เลือดจับตัวเป็นก้อน นอกจากนี้สารแอนโธไซยานิน แครอท ฟั ก ทอง มั น เทศ

ยังช่วยยับยั้งเชื้ออีโคไล (E. coli) ในระบบทางเดิน ข้าวโพดอ่อน พริกเหลือง
อาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็น เนื่องจากผักสีส้มหรือสีเหลือง

พิษด้วย มีน้อยอาจทดแทนได้ด้วยผลไม้ เช่น
ตัวอย่างผักสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วง มะละกอ แตงโมเหลือง ข้าวโพดหวาน
กะหล่ำปลีม่วง มันสีม่วง ถั่วแดง หอมแดง
แคนตาลูป มะเฟืองสุก
ดอกอั ญ ชั น เผื อ ก หอมหั ว ใหญ่ สี ม่ ว ง

มะเขือม่วง สีเขียว
ชมพู่มะเหมี่ยว ลูกหว้า คงจะเป็นสีแรกที่เรานึกถึงเมื่อเรานึกถึงผัก
องุ่นม่วง ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด สีเขียวที่เห็นนั้นเกิดจาก สารให้สี (pigment) ที่ชื่อว่า
บลูเบอรี่ เชอรี่ แบล็กเบอรี่ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ผักสีเขียวที่เรามองเห็น
อันทีจ่ ริงแล้วประกอบไปด้วยสารให้สอี นื่ ๆ อีกมากมาย
สีส้ม และสีเหลือง เช่น เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์ ไธโฮไซยาเนต และ

ผักผลไม้ที่มีสีส้ม หรือสีเหลือง เพราะมีสาร
ฟลาโวนอยด์ แต่ทเี่ รามองไม่เห็นสีอนื่ เพราะถูกสีเขียว
ให้ สี (Pigment) ชนิ ด หนึ่ ง ที่ เรี ย กว่ า
ของคลอโรฟิลล์กลบไว้ สารให้สีเหล่านี้มีประโยชน์
แคโรทีนอยด์ (carotenoids) หรือ
มากมาย เช่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้
เบต้าแคโรทีน (beta-carotene)

อนุมูลอิสระไปทำลายเซลล์ สารลูทีนและซีแซนทีน

ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น เป็นสารต้าน ของแคโรทีนอยด์ ช่วยในการมองเห็นและช่วยป้องกัน


อนุมูลอิสระ (antioxidant) ป้องกันเซลล์ในร่างกาย การเกิดโรคจอตาเสือ่ มในผูส้ งู อายุ วิทยาการทีก่ า้ วหน้า
ไม่ให้ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ทำให้สามารถพิสจู น์และสนับสนุน
ของการเกิ ด โรคมะเร็ ง และโรคหั ว ใจ นอกจากนั้ น คำโบราณทีก่ ล่าวไว้วา่ “กินผักบุง้
เบต้าแคโรทีนยังสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ช่วย แล้วจะตาหวาน” นอกจากนี้
บำรุงสายตาและช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผักสีเขียวเข้มยังเป็นแหล่ง
ให้ทำงานได้ดีอีกด้วย ของโฟเลท เหล็ ก และ
192 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

วิตามินบีซึ่งช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและยัง
ร่างกายจะดูดซึมไลโคปีนได้ดี เมื่ออาหารที่
มีใยอาหารที่ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงาน
มีไลโคปีนนั้นได้ผ่านความร้อนในขณะปรุงอาหาร
เป็นปกติอีกด้วย แอนโธไซยานิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
อีกตัวที่มีอยู่ใน ผัก ผลไม้ที่มีสีแดง ประโยชน์ของการ
ตัวอย่างผักสีเขียว บริโภคแอนโธไซยานิน คือ ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดกับ
ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี เซลล์บุผนังหลอดเลือด ควบคุมความดันโลหิตและ
กะหล่ำปม ผักโขม ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ป้องกัน หรือชะลอการอุดตันและแข็งตัวของหลอดเลือด
ถัว่ แขก แตงกวา แตงร้าน แตงโมอ่อน น้ำเต้า บวบเหลีย่ ม โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ
มะรุม ต้นหอม ขึน้ ฉ่าย ใบกระเทียม บรอคโคลี่ ซูกนิ ี่ ตัวอย่างผักสีแดง
หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ บีทรูท พริกแดง
มะละกอ แตงโม ผลไม้กลุ่มเบอรี่
สีแดง สตรอเบอรี่ เชอรี่ ทับทิม
สีแดง เป็นสีแถบสุดท้ายบน
รุ้งกินน้ำ สีแดงเป็นสีที่เร่าร้อน ผักผลไม้ที่มีสารสีแดง ผักผลไม้นอกจากจะให้สารต้านอนุมูลอิสระ
อยู่ จึงเหมือนตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร แล้วยังให้ใยอาหาร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
สารที่พบในผัก ผลไม้ ที่มีสีแดงมีหลายชนิดด้วยกัน คือ ชนิดทีล่ ะลายน้ำ และชนิดทีไ่ ม่ละลายน้ำ ใยอาหาร
สารทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันดี เช่น ไลโคปีน (Lycopene) แอน- มีบทบาทในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
โธไซยานิน (Anthocyanins) โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดละลายน้ำโดยลดการดูดซึม
ไลโคปีน เป็นแคโรทีนอยด์ทใี่ ห้สแี ดง ไลโคปีน ของไขมัน จากอาหารส่งผลทำให้ไขมันในเลือดไม่สูง
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งลดอัตราเสี่ยงในการเกิด ขึ้นได้ ใยอาหารนอกจากจะมีในผักผลไม้แล้ว ข้าวที่
มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะ ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ หรือ
อาหาร สารนี้ยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ทั้งเมล็ด เช่น โฮลวีท ข้าวโอ๊ต ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วแดง
ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผวิ หนังและช่วยลดปริมาณ
ถัว่ เขียว ข้าวโอ๊ต ก็มปี ริมาณของใยอาหารชนิดละลาย
ไขมันตัวร้ายในเลือด ทีเ่ รียกว่า “แอลดีแอล
น้ำที่ชื่อว่า เบต้ากูแคนสูง องค์การอนามัยแนะนำว่า
คอเลสเตอรอล” ถ้าร่างกายได้รับเบต้ากูแคนวันละ 3 กรัม จะช่วยลด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 193

ปั จ จั ย เสี่ ย งของการเกิ ด โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ด


เห็นถึงสุขภาพของแต่ละคน การบริโภคอาหารครบ
ใยอาหารยังช่วยในการขับถ่ายของเสีย ซึ่งเท่ากับช่วย ทุกหมู่ หลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยใน
ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปด้วย การป้องกันโรค หรือควบคุมโรคที่เป็นอยู่
การรับประทานอาหารของคุณในปัจจุบัน
การกินอาหารในชีวิตประจำวันของคุณ ส่งผลดีหรือผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร? หาคำตอบให้
ถูกหลักโภชนาการหรือไม่ กับตัวเองโดยการตอบคำถามต่อไปนี้ คำตอบ “ใช่”
โภชนาการดีส่งผลต่อการมีสุขภาพอนามัยที่ ให้คะแนนข้อละ 1 ถ้า “ไม่ใช่” ให้คะแนนข้อละ 0
สมบูรณ์แข็งแรง นิสัยการบริโภคสามารถสะท้อนให้

1 คุณกินข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ธัญพืช หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวที่ขัดสีน้อยทุกวัน


2 คุณกินผลไม้ 2-3 ผล (เช่น ส้ม กล้วย แอปเปิ้ล)
3 คุณกินผักสุกหรือผักสดวันละ 4-6 ทัพพี
4 คุณดื่มนมพร่องไขมันหรือนมขาดไขมัน หรือกินผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมัน
หรือนมขาดไขมัน นมถั่วเหลือง หรือปลาเล็กปลาน้อย หรือผักใบเขียวทุกวัน
5 เวลาที่คุณกินเนื้อสัตว์ คุณเลาะไขมันที่ปรากฏออก
6 คุณกินเนื้อสัตว์ทุกวัน โดยมีปริมาณเทียบเท่าขนาดกลักไม้ขีดขนาดเล็ก
7 คุณกินอาหารทอดน้อยมากหรืออาหารที่ผัดมันน้อย
8 คุณกินไขมัน (เนย มาการีน มายองเนส whipped cream น้ำสลัด) น้อยมาก หรือไม่กินอาหารที ่

ผัดใส่น้ำมันมากๆ
9 คุณกินขนมหวานหรือขนมขบเคี้ยวน้อยมากหรือแทบจะไม่รับประทานเลย
10 คุณไม่เติมน้ำตาลในเครื่องดื่มทุกชนิด หรือคุณเลือกเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือมีน้อย
11 คุณไม่เติมซีอิ้ว น้ำปลา หรือเกลือ ในอาหารที่รับประทาน หรือไม่จิ้มพริกน้ำปลาขณะกินอาหาร
12 คุณไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มไม่เกินวันละ 1-2 ดริ้ง (1 ดริ้ง = เบียร์ 1 กระป๋อง หรือ

ไวน์ 120 ซี.ซี. หรือวิสกี้ 45 ซี.ซี)


194 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ


รวมจำนวนข้อที่คุณตอบว่า “ใช่” แล้วเปรียบเทียบกับคะแนนรวมต่อไปนี้

คะแนน
9-12 ยินดีด้วยที่คุณเลือกกินอาหารอย่างฉลาด ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพดีเยี่ยมและอย่าลืม

พยายามออกกำลังกายทุกวันเพื่อเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
5-8 คุณกำลังมีแนวการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกทาง พยายามต่อไปด้วยการเปลี่ยนแปลง

ทีละเล็กละน้อย แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการมีสุขภาพดี
0-4 เพื่อสุขภาพที่ดีคุณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายในการเริ่มต้น แต่การ

เริ่มต้นเท่ากับว่าสำเร็จไปครึ่งทาง พยายามเข้าไว้ คุณต้องทำได้

เอกสารอ้างอิง
1. เรวดี จงสุวัฒน์. เอกสารประกอบการสอนวิชา สศภว 430 โภชนาการสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
2. มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. เอกสารข้อมูลโครงการผัก 7 สี กินดีทุกวัน.
3. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คู่มือธงโภชนาการ ชนิดาร ปโชติการ,
ศัลยา คงสมบูรณ์, อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ อาหารกับสุขภาพ : Functional for Health สิงหาคม 2550.
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 195

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

ออกกำลังเพิ่มพลังหัวใจ
พลเอกนายแพทย์ประวิชช์ ตันประเสริฐ
ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจพระราม 9 โรงพยาบาลพระราม 9
แพทย์หญิงปิยะนุช รักพาณิชย์
หน่วยฟื้นฟูหัวใจ สถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

พวกเรานักกีฬาใจกล้าหาญ เชีย่ วชาญชิงชัย เล่นรวมกำลังกันทั้งพวก เอาชัยสะดวกมิใช่


ไม่ย่นย่อ คราวชนะรุกใหญ่ไม่รีรอ คราวแพ้ก็ไม่ท้อ ชั่ ว ไม่ ว่ า งานหรื อ เล่ น เป็ น ไม่ ก ลั ว ร่ ว มมื อ กั น ทั่ ว ก็
กัดฟันทน ไชโยฯ
(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ... เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ประพันธ์เพลง
ฮ้าไฮ้ ฮ้าไฮ้ แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน ผลของ
กราวกีฬาเมือ่ พ.ศ. 2467 ทุกคนคงเคยได้ยนิ หรือเคย
การฝึกตน เล่นกีฬาสากล ตะละล้า ร้องเพลงนี้เมื่อเป็นเด็กนักเรียน เมื่อเชียร์กีฬาต่างๆ
ร่างกายกำยำล้ำเลิศ กล้ามเนื้อก่อเกิดทุก
ต้องได้ยินเพลงนี้เป็นประจำ เกือบจะเรียกได้ว่าเป็น
แห่งหน แข็งแรงทรหดอดทน ว่องไวไม่ย่นระย่อใคร เพลงกีฬาประจำชาติ เนื้อร้องนี้มีความหมายและเป็น
(สร้อย) อึมอึม.......... ความจริงอย่างมาก เพราะในปัจจุบันงานวิจัยและ
ใจคอมั่ น คงทรงศั ก ดิ์ รู้ จั ก ที่ ห นี ที่ ไ ล่ รู้ แ พ้
หลักฐานทางการแพทย์พบว่าการออกกำลังกายหรือ
รู้ชนะรู้อภัย ไว้ใจได้ทั่วทั้งรักชัง (สร้อย) อึมอึม.......... การเล่นกีฬาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดและเป็น
ไม่ชอบเอาเปรียบเทียบแข่งขัน สู้กันซึ่งหน้า ยาวิเศษจริงขนานเดียวทีจ่ ะทำให้รา่ งกายแข็งแรง ไม่มี
อย่าลับหลัง มัวส่วนตัวเบื่อเหลือกำลัง เกลียดชังการ หลักฐานใดๆ ที่แสดงได้เลยว่าจะมียาวิเศษชนิดใดที่
เล่นเห็นแก่ตัว (สร้อย) อึมอึม.......... จะทำให้ร่างกายแข็งแรงได้เท่ากับการออกกำลังกาย
196 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อาหารเสริมและยาบำรุงต่างๆ นั้นคงเป็นได้เพียงแค่ ทุกอย่างโดยไม่ต้องเดิน นั่งหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์


ส่วนประกอบเท่านัน้ “ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึก เป็นประจำ และบริโภคแต่อาหารที่มีความหวานและ
ตน” ในเนือ้ เพลงนัน้ มีความหมายทีด่ เี พราะการเล่นกีฬา มันมากขึ้นรวมทั้งแคลอรี่ที่มากขึ้นจากการแจกแถม
หรือการออกกำลังกายนัน้ สามารถทำให้รา่ งกายแข็งแรง ในการโปรโมตการขาย ดังนัน้ ร่างกายจึงได้รบั พลังงาน
อยูเ่ สมอ อีกทัง้ ยังเป็นกิจกรรมทีจ่ ะคงสภาพความหนุม่ มากเกินพอ แถมการใช้พลังงานโดยการออกกำลังกาย
ความสาวได้ดที สี่ ดุ และยังทำให้สมรรถนะของร่างกาย
หรือการเคลื่อนไหวร่างกายยังน้อยลงด้วย ร่างกายจึง
ดีตลอดต่อเนือ่ งทัง้ ๆ ทีอ่ ายุเพิม่ ขึน้ นอกจากสมรรถนะ เก็บพลังงานส่วนที่เกินไว้ในรูปของไขมันสะสมไว้ตาม
ของร่างกายแล้ว การออกกำลังยังช่วยฝึกความมั่นคง ส่วนต่างๆ ส่วนแรกที่จะสะสมคือบริเวณพุง นำไปสู่
ของจิตใจ ฝึกความอดทน ฝึกความตั้งใจอุตสาหะอีก ภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วนยังนำไปสูก่ ารเกิดโรคต่างๆ
ด้วย เนือ้ เพลงกราวกีฬานีย้ งั ชีใ้ ห้เห็นว่าในสมัยโบราณ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ส่งผล
ตั้งแต่ 80 ปีเศษมาแล้ว ความรู้ในเรื่องประโยชน์ของ ให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต
การออกกำลังกายนั้นน่าจะเป็นที่ทราบกันมาก่อน โรคไต เส้นเลือดตีบบริเวณปลายขา
นานแล้ว ก่อนที่ท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์จะได้แต่ง
เพลง ปัจจุบันเราได้ยินเพลงนี้น้อยลง พร้อมๆ กับ ออกกำลังกายได้ประโยชน์อะไร?
การที่เราเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต มีกิจกรรม ในอดีตไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับ
ทางกายหรือการเคลือ่ นไหวร่างกายน้อยลง เดินน้อยลง การออกกำลังกายมากนัก ปัจจุบันตั้งแต่
ขี่จักรยานน้อยลง เดินขึ้นบันไดน้อยลง ใช้รถมากขึ้น ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมางานวิจัยเกี่ยวกับ
ขี่มอเตอร์ไซค์ ขึ้นลิฟท์ใช้บันไดเลื่อน ใช้รีโมทกดปุ่ม การออกกำลังกายมีมากขึ้น ทำให้ทราบถึง
ประโยชน์ต่างๆ ของการออกกำลังกาย และ
การเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เกิดจาก
การออกกำลังกายชนิดต่างๆ ปัจจุบันหลักฐานทาง

การแพทย์สรุปประโยชน์ของการออกกำลังกายไว้
ดังนี้
1. ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด
2. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 197

3. ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต หลักสำคัญสุดของการออกกำลังกายนัน้ คือ ควรเลือก


4. ช่วยลดและควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบุคลนั้น ชอบ ทำได้
5. ช่วยการสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูก โดยไม่เกิดอันตราย สะดวก สามารถปฏิบัติได้เป็น
แข็งแรงขึ้น ประจำ มีความสบายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกาย
6. ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุด
และระบบหัวใจและหลอดเลือด
7. ช่วยลดความเครียด ทำให้หลับพักผ่อน
ได้ดีขึ้น
8. ช่วยเพิ่ม stem cell (EPC cell) ซึ่งจะ
เป็นเซลล์ที่ร่างกายจะใช้เพื่อซ่อมแซม ซ่อมสร้างส่วน
ที่สึกหรอ ชนิดของการออกกำลังกาย
1. การออกกำลั ง กายชนิ ด แอโรบิ ก (ใช้
ควรออกกำลังกายอย่างไรดี ออกซิเจน) เป็นการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหว
การออกกำลังทีก่ ายทำให้มกี ารเคลือ่ นไหวส่วน
ทุ ก ส่ ว นของร่ า งกาย ไม่ ไ ด้ เจาะจงว่ า เป็ น การเต้ น

ต่างๆ ของร่างกายให้มากสุดนัน้ เป็นการออกกำลังกาย


แอโรบิกเท่านัน้ ได้แก่ วิง่ เดินเร็ว ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิก
ที่ ดี ที่ สุ ด เช่ น การขี่ จั ก รยาน เดิ น วิ่ ง วิ่ ง เหยาะๆ
กระโดดเชือก
ว่ายน้ำ กระโดดเชือก ทัง้ หมดนีเ้ ป็นการออกกำลังกาย
2. การออกกำลังกายที่มีแรงต้านทาน เช่น
ทีม่ กี ารเคลือ่ นไหวทุกๆ ส่วนของร่างกายเป็นระยะเวลา การยกน้ำหนัก มักจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม
นานต่อเนือ่ ง ซึง่ จะทำให้เกิดประโยชน์กบั ทุกส่วนของ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละส่วน
ร่างกายและระบบหัวใจ และหลอดเลือด 3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น

ของกล้ามเนื้อและข้อ เช่น การฝึกโยคะ ไทเก๊ก จี้กง
การรำไม้พลอง
4. การออกกำลั ง กายเพื่ อ การทรงตั ว มี
ประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุซึ่งมีการทรงตัวไม่ดี
ได้แก่ การฝึกไทเก๊ก จี้กง การเต้นรำ
198 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน สำหรับคนที่ออก


ขณะออกกำลังกาย กำลังกายมากอาจทำวันเว้นวันสลับกับการออกกำลัง-
ในขณะทีก่ ำลังออกกำลังกายนัน้ ร่างกายจะมี กายเบา การออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรน้อยกว่า
การเปลีย่ นแปลงคือ ชีพจรจะเต้นเร็วขึน้ ความดันโลหิต 15 นาที การออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีจะให้
ตัวบนจะสูงขึ้น ความดันโลหิตตัวล่างมีค่าเท่าเดิม ประโยชน์มากที่สุด
หรือลดลง การเปลี่ยนแปลงนี้ยังขึ้นกับชนิดของการ ปัญหาสำคัญที่ทำให้คนไม่ออกกำลังกายคือ
ออกกำลังกายด้วย ถ้าออกกำลังกายแบบแอโรบิกนั้น
การไม่ เ ห็ น หรื อ ไม่ ท ราบ หรื อ พยายามไม่ทราบถึง
อัตราการเต้นของชีพจรจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมาก ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกาย ไม่จัดเวลา
ความดันโลหิตเปลีย่ นแปลงน้อยกว่า แต่ถา้ ออกกำลังกาย หรือให้เวลาสำหรับออกกำลังกายโดยมักบอกว่าไม่มี
แบบมีแรงต้าน ความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่า เวลา ดังนั้นการฝึกฝนเบื้องต้นด้วยการปรับเปลี่ยน
ชีพจร การออกกำลังกายแบบโยคะ จี้กง ไทเก๊ก นั้น พฤติกรรมของชีวิตโดยทำตัวให้มีกิจกรรมทางกาย
จะมีการเปลีย่ นแปลงของทัง้ ชีพจรและความดันโลหิต
หรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อยขึ้นตลอดทั้งวัน
ไม่มาก เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน
ดู โ ทรทั ศ น์ ต้ อ งไม่ ใช้ รี โ มท ลุ ก ขึ้ น เดิ น หรื อ กระโดด

ควรออกกำลังกายบ่อยเท่าไหร่? โลดเต้นทุกช่วงของการโฆษณาขณะดูโทรทัศน์ อย่า
นานเท่าไหร่? หนักเท่าไหร่? นั่งตลอดเวลาที่นั่งทำคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือ
คำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือ ออกกำลังกายให้ จอดรถให้ไกลจากตัวตึกเพื่อจะได้มีโอกาสเดินมาก
บ่อย นาน หนักพอดี แต่ปริมาณทีพ่ อดีของแต่ละคนนัน้
ขึ้น หากปฏิบัติเช่นนี้ได้อย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้น
ไม่เท่ากัน คนทีอ่ ายุเท่ากัน น้ำหนักตัวเท่ากัน ไม่จำเป็น ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต ก่อนที่
ว่ า ความสามารถจะต้ อ งเท่ า กั น ขึ้ น กั บ การฝึ ก ฝน จะมีความพร้อมในการเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ
ตลอดจนพันธุกรรมของคนๆ นั้นด้วย โดยทั่วไปควร ความหนักหรือความแรงในการออกกำลังกาย
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 199

นั้นจะต้องให้รู้สึกเหนื่อยแต่สามารถทนได้ หรือในคน กับสภาพร่างกาย อาจได้รบั ประโยชน์ไม่คมุ้ กับอันตราย


ที่สามารถวัดชีพจรได้ด้วยตนเอง ก็สามารถออกกำลัง หรืออาจเกิดผลเสียตามมาได้
กายจนความเร็วของชีพจรอยู่ที่ประมาณ 75% ของ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือท่านจะต้องรู้สึก
อัตราการเต้นชีพจรสูงสุด เช่นอายุ 50 ปี อัตราการเต้น สบายหลังการออกกำลังกาย หากท่านมีความรู้สึก
ของชีพจรสูงสุด เท่ากับ 220-50 = 170 ครั้งต่อนาที อ่อนเพลีย คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ
75% ของ 170 = 127 ดังนั้นควรออกกำลังได้จน หลังการออกกำลังกาย แสดงว่าการออกกำลังกายนัน้

อัตราการเต้นของชีพจรเร็วถึง 127 ครั้งต่อนาที ไม่เหมาะสมสำหรับท่าน อาจมากไป หนักไป ก่อนการ
ออกกำลังกายจะต้องมีการเตรียมร่างกายให้พร้อม
ก่อนเริ่มออกกำลังกาย (ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “warm up” ซึ่งเรามัก
ต้องพบแพทย์ก่อนหรือไม่? จะแปลตามตัวว่าทำความอบอุ่นให้ร่างกายซึ่งไม่น่า
ไม่จำเป็นเสมอไปในกรณีทไี่ ม่มโี รคประจำตัว จะถูกต้อง) โดยการบริหารร่างกายหรือเหยียดแขน

อายุไม่มาก ไม่อ้วน สามารถเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ขางอข้อต่างๆ หรือเดินช้าๆ เพือ่ ปรับให้กล้ามเนือ้ และ
เช่ น การเดิ น โดยไม่ มี อั น ตราย แต่ ใ นกรณี ที่ มี โรค ส่วนต่างๆ ของร่างกายพร้อมทีจ่ ะต้องทำงานหนักขณะ
ประจำตัว อ้วน โรคข้อต่างๆ หรืออายุมาก ควรต้อง ออกกำลังกาย ระยะนีอ้ าจใช้เวลา 5-10 นาที จากนัน้

พบแพทย์เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายก่อนเริ่ม จึงเริ่มออกกำลังกายเต็มที่ให้ได้ นาน 20-30 นาที
ออกกำลังกาย แพทย์จะสามารถช่วยกำหนด ชนิด ก่อนหยุดออกกำลังกายควรจะต้องเริ่มลดความหนัก
ความหนัก (แรง) ของการออกกำลังกายที่เหมาะสม (แรง) เปลี่ยนเป็นเดินช้าๆหรือบริหารร่างกายเบาๆ
กับสภาพร่างกายของท่าน ในความจริงแล้วทุกคนไม่ เพื่ อ ผ่ อ นคลายกล้ า มเนื้ อ และร่ า งกายเป็ น เวลาอี ก

จำกั ด เพศ อายุ หรื อ สภาพร่ า งกาย สามารถออก 5-10 นาที


กำลังกายได้ แต่ต้องเลือกชนิดของการออกกำลังกาย
ที่เหมาะสม เนื่องจากถ้าออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม
200 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ข้อเสียหรือโทษของ การออกกำลังกายคนทัว่ ไปมักรูส้ กึ ตึง หรือเจ็บกล้ามเนือ้


การออกกำลังกาย ส่วนที่ออกกำลังกายและอาการมักจะทุเลาและหาย
ในความจริงเป็น ไปหลังจากพักผ่อน ไม่ควรจะงดการออกกำลังกาย
อย่างนั้นทุกอย่างมีข้อดีก็ เนื่องจากอาการนี้ ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
จะมีข้อเสียร่วมด้วยเสมอ จนกล้ามเนือ้ เกิดความเคยชินและอาการจะหายไปเอง
ข่ า วการเสี ย ชี วิ ต หรื อ เกิ ด แต่ถ้างดออกกำลังกายไปนานเมื่อเริ่มกลับมาออก
อั น ตรายขณะวิ่ ง ออกกำลั ง กาย ขณะเล่ น กอล์ ฟ
กำลังกายอีกก็จะเกิดอาการเช่นเดิมอีก
ตีเทนนิส หรือเกิดอาการอักเสบปวดข้อ ข้ออักเสบ
มักจะเป็นข้ออ้างหรือเป็นเหตุผลในการที่จะทำให้คน ประสิทธิภาพของร่างกาย
ไม่ออกกำลังกาย แท้ที่จริงแล้วส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมี กับการออกกำลังกาย
ปัญหา คนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาต่างๆ เป็น ความแข็งแรงและสมรรถนะของร่างกายจะ
ประจำส่วนใหญ่มักจะไม่เกิดปัญหา อาจเป็นได้ว่าผู้ที่ ดีขึ้นหลังจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็น
มีปญั หาเกิดขึน้ นัน้ ไม่ได้ดแู ลรักษาตัวเอง ออกกำลังกาย ระยะเวลาอย่างน้อยหนึง่ สัปดาห์ขนึ้ ไป สมรรถนะทีด่ นี ี้
มากเกินไป นักกีฬาทีแ่ ข็งแรงมากๆ เช่นนักวิง่ มาราธอน จะคงอยู่ต่อเนื่องตราบที่คนคนนั้นยังออกกำลังกาย
เวลาที่จะเข้าเส้นชัยบ่อยครั้งยังเป็นลมต้องนอนรับ ต่ อ เนื่ อ งเป็ น กิ จ วั ต ร ถ้ า ไม่ ไ ด้ มี ก ารออกกำลั ง กาย

การปฐมพยาบาลสักครู่ก่อนที่จะลุกขึ้นมาเดินได้ตาม ต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งอาทิตย์ไปแล้ว ประสิทธิภาพ
ปกติ อย่ างไรก็ดีการออกกำลังกายสามารถที่ จะมี หรือความแข็งแรงนัน้ จะค่อยสูญเสียไปเป็นลำดับ ดังนัน้
อันตรายได้เช่น หากผู้ใดต้องการรักษาสมรรถภาพของร่างกายไว้ มี
1. เจ็บปวดข้อ ซึ่งมักจะเกิดในกลุ่มคนที่มี ความจำเป็นที่จะต้องดำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องในการ
น้ำหนักมาก หรือผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้ควรเลือกการ ออกกำลังกายให้เป็นอุปนิสยั ติดตัว คนทีอ่ อกกำลังกาย
ออกกำลั ง กายชนิดที่ไม่ลงน้ำหนักที่ข้อมากเกิ น ไป ประจำจนเป็นอุปนิสัยแล้วมักมีสารที่หลั่งออกมาเป็น
ควรละเว้นการวิ่ง ใช้การเดิน ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ประจำคือ เอนดอร์ฟีน ทำให้มีความรู้สึกสบายสดชื่น
2. ปวดศีรษะ วิงเวียน นอนไม่หลับ คลืน่ ไส้ กระปรี้กระเปร่า ทำให้รู้สึกอยากออกกำลังกายเป็น
อาจพบได้ในรายที่ออกกำลังกายมากหรือหนักเกินไป ประจำอยู่เสมอ
3. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นเรื่องปกติหลัง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 201

เป็นโรคหัวใจออกกำลังกายได้หรือไม่........ หรื
อเกือบไม่มี) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และยังช่วย
อะไรคือพอดี? ควบคุมโรคทีเ่ ป็นความเสีย่ งของการเกิดโรคหัวใจ เช่น
เป็นโรคหัวใจแล้วจะทำอะไรได้บา้ ง ขึน้ บันได เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ
ได้ไหม ออกกำลังกายได้หรือเปล่า และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะการออกกำลังกาย
อยากได้คำตอบจากคุณหมอไม่นอ้ ยไปกว่าคำถามทีว่ า่ ว่าทำได้หรือไม่ ควรเริ่มอย่างไร และแค่ไหนถึงจะ
ถ้าเป็นโรคหัวใจแล้วจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวติ พอดี....
หรือไม่ จะมีโอกาสหายหรือเปล่า ทำได้หรือไม่? โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคหัวใจที่
แท้ที่จริงแล้ว การต้องรับประทานยาเป็น ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย มักจะได้ประโยชน์
ประจำหรือการหายจากโรคอาจไม่สำคัญเท่ากับว่า จากการออกกำลังกายทั้งสิ้น ที่จริงข้อห้ามมีมากมาย
เมื่อเป็นโรคหัวใจแล้วยังสามารถมีชีวิตประจำวันได้ แต่ โ ดยสรุ ป ก็ คื อ การมี ค วามผิ ด ปกติ ข องหั ว ใจ/

อย่างเดิม (หรือดีกว่าเดิม) คุณภาพชีวิตจะดีเหมือน โรคอื่นๆ ที่ยังควบคุมรักษาไม่ได้เต็มที่ แพทย์ผู้ดูแล
เดิม (หรือดีกว่าเดิม) หรือไม่ รักษาจะเป็นผู้ที่บอกได้ดีที่สุดว่าจะเริ่มออกกำลังกาย
การทีเ่ ป็นโรคหัวใจแล้วสามารถกลับไปมีชวี ติ ได้หรือไม่ วิธีง่ายๆ คือ โดยการสังเกตดูตัวเองว่ามี
ประจำวันได้อย่างเดิม หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้นั้น อาการผิดปกติหรือไม่ ไม่สบายขณะเดินช้าๆ หรือไม่
คนไข้ควรจะได้รับการฟื้นฟูหัวใจ ถ้ า ไม่ มี อ าการหรื อ สบายดี ข ณะเดิ น ส่วนใหญ่ก็จะ
การฟื้นฟูหัวใจ.....คือกรรมวิธีหลายอย่างที่ สามารถออกกำลังกายได้ เช่นทำกายบริหารหรือเดิน

คนไข้โรคหัวใจต้องปฏิบัติตามเพื่อให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ช้าๆ ในบ้าน แต่ถ้าอยู่เฉยๆ ก็ยังมี

กรรมวิธีที่ว่านี้ประกอบด้วย การรับประทานอาหารที่ อาการเหนื่อยคงต้องพบแพทย์

เหมาะสม (ทัง้ ในปริมาณและคุณภาพ) การออกกำลัง- ก่อนการออกกำลังกาย
กายอย่างถูกวิธีและการทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด...
การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการ
ฟื้นฟูหัวใจจะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจลดลง
ได้ประมาณร้อยละ 25 (ประมาณเทียบเท่ากับหรือดี
กว่าการรับประทานยาโรคหัวใจ แถมผลข้างเคียงน้อย

202 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ควรเริม่ อย่างไร? ต้องเข้าใจก่อนว่า การออก ทำแค่ไหนถึงจะดี? อาจจะตอบได้คร่าวๆ ว่า


กำลังกายเพื่อสุขภาพนั้น ไม่ได้หมายถึงการวิ่งออก ทำแบบทางสายกลางคือ...ไม่เข้มข้นเกินไป และไม่ตึง
กำลังกายเพียงอย่างเดียว ในบางคนการเดิน 5 นาที เกินไป เพราะ....ถ้าหย่อนเกินไป...ผลดีที่ได้ก็จะลดลง
วันละ 3 รอบ ก็อาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ได้ ในขณะที่ตึงหรือมากจนเกินไป อันตรายและความ

ประโยชน์แล้ว หรือในผูป้ ว่ ยทีม่ ภี าวะหัวใจล้มเหลว การ เครียดก็จะตามมา เช่นเดียวกันการออกกำลังกายที่
ฝึกการหายใจทีถ่ กู ต้องก็จะได้ประโยชน์เพิม่ ขึน้ เช่นกัน เหมาะสมจะทำให้หัวใจแข็งแรง....แต่ถ้าไม่เหมาะสม
ดังนั้นการออกกำลังกายจึงไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ใครๆ หรือมากเกินไป....ก็จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ และถ้า
ทุกคนก็ทำได้เหมือนกันหมด ในที่นี้จะกล่าวถึงหลัก น้อยเกินไปก็จะทำให้ประโยชน์ที่ควรจะได้ลดลงเช่น
การออกกำลังกายเบื้องต้นที่ส่วนใหญ่ทุกคนจะทำได้ กัน

กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและอยากออกกำลังกาย
ควรเริ่มต้นจากการถามแพทย์ผู้ดูแลเรื่องโรคหัวใจ ว่าตนเองสามารถ
ออกกำลังกายได้หรือไม่ โดยทัว่ ไปแล้วคนไข้โรคหัวใจทีไ่ ม่ได้เจ็บป่วยหนัก

ถึงต้องนอนโรงพยาบาลมักจะไม่มขี อ้ ห้ามทีจ่ ะเริม่ ออกกำลังกาย แต่ความยาก



คือจะออกกำลังกายแค่ไหนจึงจะพอดีและเหมาะสม วิธที ดี่ ที สี่ ดุ ก็คอื ....ปรึกษาแพทย์

ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านฟืน้ ฟูสมรรถภาพหัวใจ เพือ่ จัดโปรแกรมการออกกำลังกายแต่ละรายเฉพาะ
บุคคล สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจแล้วควรที่จะเริ่มออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์หรือ
บุคลากรทางการแพทย์ อาจต้องมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่ออกกำลังกายด้วย กรณีที่ไม่
สามารถพบแพทย์ได้อาจจะเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยตนเองตามหลักการดังนี้
ก. ออกให้ ถู ก หลั ก การออกกำลั ง กายที่ หลักการออกกำลังกายที่ถูกหลักมีดังนี้
เหมาะสมต้องเป็นการออกกำลังกายที่ถูกหลัก ทั้งนี้ 1. การเตรียมพร้อมร่างกาย (Warm up)
เพราะการออกกำลังกายที่ถูกหลักจะลดอันตรายที่ ประกอบด้วยการเหยียดยืด เอ็น กล้ามเนื้อ และข้อ
อาจเกิดขึ้นกับร่างกายและหัวใจของเราได้ ต่างๆ ตามด้วยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ
โดยใช้เวลาประมาณ 5–10 นาที เช่นการเดินช้าๆ
ก่อนเดินเร็ว
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 203

ประโยชน์ของการเตรียมพร้อมร่างกาย ข. ออกกำลังกายให้ถูกวิธี ต้องพิจารณา



• ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
ตัง้ แต่เริม่ ต้นเลยว่า เราจะต้องทำอย่างไร วิธงี า่ ยๆ ก็คอื
ต่างๆ 1. เลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสม
• ค่อยๆ กระตุ้นระบบหลอดเลือดหัวใจ
กับตนเอง โดยพิจารณาจากปัญหาสุขภาพของตนเอง
และปอดให้พร้อมทีจ่ ะทำงาน เพือ่ ป้องกัน
ที่มีอยู่เช่น หากมีข้อเข่าเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการวิ่ง
ปัญหาเลือดไปเลีย้ งกล้ามเนือ้ หัวใจไม่พอ
หรือกระโดด ควรรำมวยจีน หรือเดินในน้ำ เป็นต้น
จากการเริ่มออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การออกกำลังกายควรประกอบด้วย 3 ประเภท
2. ระยะของการออกกำลังกายอย่างต่อเนือ่ ง (เพิ่มเติมการออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัวในผู้สูง
(Work Out) ให้เพิ่มความแรงของการออกกำลังกาย อายุ) คือ
จนถึงระดับที่เหมาะสม พยายามทำให้ต่อเนื่อง 20- • การออกกำลั ง กายแบบแอโรบิ ก เช่ น

60 นาที (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย) การเดิน วิ่งเหยาะ รำมวยจีน จักรยาน

3. การชะลอการออกกำลังกาย (Cool down) ว่ายน้ำ
หลังจากออกกำลังกายต่อเนื่องกันนาน 20–60 นาที • การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เพื่อ

ให้ค่อยๆ ลดความแรงของการออกกำลังกายลงช้าๆ เพิ่ ม ความแข็ ง แรงของกล้ า มเนื้ อ เช่ น



ก่อนหยุดอีก 5-10 นาที ตามด้วยการเหยียดยืด เอ็น ยกน้ำหนัก
กล้ามเนื้อ และข้อต่างๆ เหมือนกับช่วงเตรียมพร้อม • การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด เพื่อ

ร่างกาย (Warm-up) เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ


2. เตรียมอุปกรณ์ทจี่ ำเป็นในการออกกำลัง-
ประโยชน์ของการชะลอ (Cool down) กาย เช่น ใส่รองเท้าสำหรับเล่นกีฬา ใส่ถงุ เท้าทีร่ ะบาย
• ป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม ความ
อากาศได้ดี ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
ดันโลหิตต่ำ เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
และกีฬาแต่ละประเภท
หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากการ
3. ออกกำลังกายเมือ่ ร่างกายปกติดี หากรูส้ กึ
คั่งของเลือดบริเวณกล้ามเนื้อ ไม่สบายเช่น มีไข้หรือเป็นหวัด ควรรอให้หายก่อน
• ลดปัญหาปวดเมื่อย หรือบาดเจ็บ จาก
อย่างน้อย 2 วัน ก่อนเริ่มออกกำลังกายใหม่
การออกกำลังกาย 4. ไม่ออกกำลังกายทันทีหลังอิ่มใหม่ๆ การ
204 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารอาจทำให้เกิด • ใจสั่น
อาการจุกเสียด อาเจียน และอาจมีผลต่อหัวใจได้ • มึนศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้

ควรรออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงจึงค่อยไปออกกำลังกาย อาเจียน
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะถ้าร่างกายขาด • เหนื่อยมาก หอบ ขณะออกกำลังกาย
น้ำ หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้น ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว • รู้สึกผิดปกติ เช่น เจ็บ ปวด ตึง ตาม

ประมาณ ½-1 ชั่ ว โมงทั้ ง ก่ อ นและหลั ง การ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ขณะที่ออกกำลัง

ออกกำลังกาย และชดเชยน้ำทุกๆ 30 นาที สามารถ กายหรือหลังออกกำลังกาย


ดูได้ง่ายๆว่า ตนเองชดเชยน้ำเพียงพอในขณะที่ออก ง. ไม่ออกมากเกินไป อาการ/อาการแสดง
กำลังกายหรือไม่ โดยดูสขี องน้ำปัสสาวะหลังออกกำลัง ของการออกกำลังกายมากเกินไป
กาย ถ้าสีของปัสสาวะเข้มแสดงว่าขณะออกกำลังกาย 1. ไม่สามารถพูดคุยได้ขณะออกกำลังกาย
ร่างกายได้รับน้ำไม่พอ เนื่องจากเหนื่อยหรือหายใจไม่ทัน
6. ระวังเรือ่ งอากาศร้อน ไม่ควรออกกำลังกาย 2. นอนไม่หลับ แม้จะเหนือ่ ยหลังออกกำลัง
ในทีๆ่ มีอากาศร้อนจนเกินไป หลีกเลีย่ งการออกกำลัง กาย
กายกลางแดด ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรืออึดอัดจนเกินไป 3. คลื่ น ไส้ จ ะอาเจี ย นหรื อ จะเป็ น ลมหลั ง
และควรระบายอากาศได้ดี ออกกำลั ง กาย ควรลดปริ ม าณการออกกำลั ง กาย
ค. รูจ้ กั หยุดและปรึกษาแพทย์ หากมีอาการ และเพิ่มช่วงชะลอ (cool down) ให้เพียงพอ
ต่อไปนีค้ วรหยุดการออกกำลังกายทันทีและรีบปรึกษา 4. ปวด เจ็ บ กล้ า มเนื้ อ กระดู ก หรื อ ข้ อ

แพทย์ หรือถ้ามีอาการเหล่านี้ก็ไม่ควรออกกำลังกาย ควรประเมินถึงเทคนิคการออกกำลังกาย ความหนัก


จนกว่าจะได้พบแพทย์ก่อน warm up และ cool down ให้เพียงพอ
• รูส้ กึ อึดอัดหรือไม่ปกติบริเวณส่วนบนของ 5. ความรู้สึกเหนื่อยควรจะลดลงจนเกือบ
ร่างกายเช่น ทรวงอก คอ คาง แขน ลิ้นปี่ อาการอาจ ปกติหลังออกกำลังกายไม่เกิน 5 นาที หากรูส้ กึ เหนือ่ ย
จะเป็นอาการ แน่น ปวด เจ็บ ตึง หรือร้าวก็ได้ หรือเพลียทั้งวัน ควรลดปริมาณการออกกำลังกายลง

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 205

ออกกำลังกายแค่ไหนที่เรียกว่าพอดี ตัวอย่างการจับชีพจร
(ช่วง Work Out) จับชีพจรขณะพักได้ 80 ครั้งต่อนาที ดังนั้น
ระดั บ ความหนั ก ของการออกกำลั ง กายที่ ชีพจรขณะออกกำลังกายตอนเหนื่อยสุด ต้องไม่เกิน
เหมาะสมคื อ ระดั บ เบาถึ ง ปานกลางในระยะแรก 110 ครั้งต่อนาที (80+30 ครั้งต่อนาที)
สามารถวั ด ได้ โ ดยการจั บ ชี พ จร หรื อ ใช้ ค วามรู้ สึ ก ….หากไม่สามารถจับชีพจรได้ ให้ใช้ความรูส้ กึ
เหนื่อยเป็นตัวกำหนดคือ เหนือ่ ยในขณะออกกำลังกาย เป็นตัวบอกระดับความ
….การใช้ชีพจรเป็นตัวกำหนดในภาวะแรก หนักของการออกกำลังกาย โดยความหนักทีเ่ หมาะสม
ของการออกกำลังกายแบบเบา (ในระยะแรกควร คือให้ออกกำลังกายจน รู้สึกเหนื่อยพอสมควร ยัง
ออกกำลังกายในระดับนี้ เมื่อทำได้ดีแล้ว จึงค่อยๆ พอพูดคุยได้ อย่าให้เหนื่อยจนพูดไม่ออก
เพิ่มความหนักของการออกกำลังกายได้ตามความ ในระยะแรกไม่ควรออกกำลังกายอย่างหนัก
เหมาะสม) โดยการกำหนดให้ชีพจรขณะออกกำลัง เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นไปตามเป้าหมาย
กายตอนเหนื่อยสุดมากกว่าขณะพักไม่เกิน 30 ครั้ง ควรเริ่ ม ทำเบาๆ ก่ อ นให้ รู้ สึ ก เหนื่ อ ยพอสมควร
ต่อนาที สัปดาห์แรกทำต่อเนื่อง 10-15 นาที ในสัปดาห์ต่อไป
ค่ อ ยๆ เพิ่ ม ระยะเวลา จนสามารถออกกำลั ง กาย

ต่อเนื่องได้ 20-60 นาที จึงค่อยๆ เพิ่มความหนัก
จนถึงระดับที่ต้องการ เช่นเดินช้าๆ ต่อเนื่องจนได้

20 นาทีก่อนจึงปรับให้เดินเร็วขึ้น การออกกำลังกาย
ระดับเบาถึงปานกลางเช่นนี้ควรทำอย่างน้อย 3 วัน


ต่อสัปดาห์หรือวันเว้นวัน หรือจะทำทุกวันก็ได้ การออก
ภาพที่ 1 การจับชีพจร หงายข้อมือขึ้น ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง
กำลังกายตามคำแนะนำนี้เป็นเพียงการออกกำลังกาย
วางที่ ใ ต้ ต่ อ ข้ อ มื อ ด้ า นนิ้ ว หั ว แม่ มื อ ดั ง รู ป และ
เบื้องต้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องการ
ออกแรงกดเบาๆ จะรูส้ กึ มีแรงกระแทกของการไหล
ออกกำลังกายมากกว่านี้ เช่น วิง่ ....ก็สามารถทำได้ (เป็น
ของเลือดมากระทบปลายนิ้ว นับจำนวนครั้งที่
รายบุคคล) แต่ทางที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
กระทบปลายนิ้วในหนึ่งนาที (หรือนับจำนวนครั้ง
แพทย์อาจจะทำการตรวจสมรรถภาพการทำงานของ
ภายใน 15 วินาที และคูณด้วย 4) หัวใจโดยใช้ลวู่ งิ่ เพือ่ จะทำให้ทราบได้วา่ คนไข้สามารถวิง่
206 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ออกกำลังกายได้หรือไม่ และถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เข้า กล้ามเนื้อขา ข้อควรจำก็คือ การออกกำลังกายแบบ


ร่วมการฟืน้ ฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยฝึกการออกกำลังกาย มี แรงต้ า นนี้ ค วรทำเป็ น ส่ ว นประกอบของการออก
แบบที่มีการติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย กำลังกายแบบแอโรบิกเสมอ ผูป้ ว่ ยโรคหัวใจไม่ควรออก
ติดตามจังหวะการทำงานของหัวใจ (ECG monitoring) กำลังกายแบบมีแรงต้านเพียงอย่างเดียว
จนกระทัง่ สามารถออกกำลังกายทีห่ นักขึน้ กว่าการเดิน
ได้ เช่น วิ่ง ตีเทนนิสได้อย่างปลอดภัย
หลักการทีก่ ล่าวข้างต้นเป็นการออกกำลังกาย
แบบแอโรบิ ก หมายถึ ง การออกกำลั ง กายที่ มี ก าร
เคลือ่ นไหวของกล้ามเนือ้ มัดใหญ่ๆ อย่างต่อเนือ่ ง เช่น
เดิน วิ่ง ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ยังมีการออก
กำลังกายอย่างอืน่ ทีค่ วรทำเช่นกัน เช่นการออกกำลัง-
กายเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Resistance
training) ได้แก่ การยกน้ำหนัก การวิดพื้น การทำ
ภาพที่ 2 การออกกำลั ง กายกล้ า มเนื้ อ ต้ น แขน ขณะงอ

ซิทอัพ เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงขึ้น หัวใจ ข้อศอกเพื่อยกน้ำหนักให้หายใจออก และเมื่อ

ก็จะทำงานลดลง และมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น
เหยียดข้อศอกเพื่อเอาน้ำหนักลงให้หายใจเข้า
แต่การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านนั้นไม่สามารถ
กระทำได้ในผูป้ ว่ ยโรคหัวใจทุกคน ดังนัน้ จึงควรปรึกษา การ warm up และ cool down คือ การ
แพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายก่อนการออก
หลักการที่สำคัญคือ ต้องไม่กลั้นหายใจในขณะที่ออก กำลังกายนัน้ เป็นสิง่ ทีค่ วรจะกระทำเป็นประจำทุกครัง้
กำลังกาย ถ้าฝึกได้ควรหายใจออกในขณะทีก่ ล้ามเนือ้ ก่อนการออกกำลังกาย นอกจากจะดีต่อการป้องกัน
ออกกำลัง (หดตัว) และหายใจเข้าในขณะที่กล้ามเนื้อ การบาดเจ็บจากการออกกำลังกายแล้ว การยืดคลาย
ผ่อนคลาย ทั้งนี้ควรเลือกน้ำหนักที่เริ่มออกกำลังกาย กล้ามเนื้อยังจะช่วยลดปัญหาเรื่องปวดเช่น ปวดหลัง
จากเบาๆ ก่อน โดยน้ำหนักทีเ่ ริม่ ควรเป็นน้ำหนักทีเ่ รา ปวดคอ เป็นต้น
ยกได้ 10 ครั้ง ต่อเนื่องอย่างสบายๆ ได้ 2 เซ็ท โดย สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจนอกจากการ
ไม่เมื่อยหรือเหนื่อยเกินไป สำหรับการออกกำลังกาย ออกกำลังกายตามหลักดังกล่าวแล้ว ควรออกกำลัง-
แบบนี้ ค วรทำหลายๆ ท่ า ทั้ ง กล้ า มเนื้ อ แขนและ
กายเพื่อฝึกการทรงตัวเพิ่มเติม เพราะการทรงตัวที่ดี
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 207

จะช่วยป้องกันผู้สูงอายุจากการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุ ศีรษะตั้งตรงไม่ก้มหน้า เพราะจะทำให้



สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตและคุณภาพชีวิตลดลง เกิดอาการมึนงงได้
จากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามต่อเนื่องมา เช่น • เคลือ่ นไหวช้าๆ ไม่กระชากหรือกระแทก
หกล้มกระดูกสะโพกหัก เป็นต้น • เมือ่ ฝึกท่าเหล่านีร้ ะยะหนึง่ จนการทรงตัว

กรณีผสู้ งู อายุทไี่ ม่ได้มโี รคทางสมองทีม่ ปี ญ
ั หา ดีขึ้นแล้ว ให้เริ่มฝึกท่าที่ยากขึ้น โดยใช้

การทรงตัวมาก สามารถฝึกการออกกำลังกายเพื่อ มือข้างเดียวจับราวหรือเก้าอี้แทนใช้มือ

การทรงตัวเพิ่มเองที่บ้านได้ ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ 2 ข้าง ถ้าดีขนึ้ อีกให้เพียงใช้ปลายนิว้ แตะ

• ในขณะทำการบริหารทัง้ 4 ท่านีใ้ ห้ลมื ตา
และปล่อยมือในที่สุด

รูปประกอบ
การทรงตัวท่ายืน ท่าที่ 1
1. ยืนเอามือจับราวหรือวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ เก้าอี้หนักๆ
2. ยืนกางขากว้างประมาณระดับสะโพก
3. ยกขาข้างขวาขึ้นด้านหน้าจนต้นขาอยู่ในแนวตั้งฉากกับลำตัว (ดังรูป)

แล้ววางขาลง (ในกรณีที่ไม่สามารถยกขาได้สูง เช่น มีอาการปวดเข่า

ให้ทำเท่าที่ทำได้)
4. เปลี่ยนเป็นขาข้างซ้าย โดยทำเหมือนกัน
5. ทำสลับกันเริม่ จาก 5 ครัง้ 2 รอบ แล้วค่อยๆ เพิม่ เป็น 10-20 ครัง้ 2 รอบ

ท่าที่ 2
1. ยืนเอามือจับราวหรือวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ, เก้าอี้หนักๆ
2. ยืนกางขากว้างประมาณระดับสะโพก
3. ยกเท้าขวาขึ้นโดยงอเข่าขวาไปด้านหลัง จนปลายขาตั้งฉากกับต้นขา

(ดังรูป) (อย่างอเข่ามากเกินไปจะทำให้ปวดเข่าได้)
4. เปลี่ยนเป็นขาข้างซ้าย โดยทำเหมือนเดิม
5. ทำสลับกันเริม่ จาก 5 ครัง้ 2 รอบแล้วค่อย ๆ เพิม่ เป็น 10-20 ครัง้ 2 รอบ
208 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ


รูปประกอบ
ท่าที่ 3
1. ยืนเอามือจับราวหรือวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ เก้าอี้หนัก ๆ
2. ยืนกางขากว้างประมาณระดับสะโพก
3. ยกขาข้ า งขวาไปทางด้ า นหลั ง ช้ า ๆ ในระดั บ ความสู ง พอประมาณ

ลำตัวตั้งตรงไม่โน้มไปด้านหน้า และไม่แกว่งขาโดยแรงจนหลังแอ่น

เพราะจะทำให้เกิดอาการเจ็บหลังได้ แล้ววางขาลง (ดังรูป)


4. ทำเหมือนกัน เปลี่ยนเป็นขาข้างซ้าย
5. ทำสลับกันเริม่ จาก 5 ครัง้ 2 รอบ แล้วค่อยๆ เพิม่ เป็น 10-20 ครัง้ 2 รอบ

ท่าที่ 4
1. ยืนเอามือจับราวหรือวัตถุที่มั่นคง เช่น โต๊ะ เก้าอี้หนักๆ
2. ยืนกางขากว้างประมาณระดับสะโพก
3. ยกขาข้างขวาไปทางด้านข้างช้าๆ ลำตัวตั้งตรงไม่เอียงไปด้านข้างและ

ไม่แกว่ง โดยแรงในระดับความสูงพอประมาณแล้ววางขาลง (ดังรูป)


4. ทำเหมือนกัน เปลี่ยนเป็นขาข้างซ้าย
5. ทำสลับกันเริม่ จาก 5 ครัง้ 2 รอบ แล้วค่อยๆ เพิม่ เป็น 10-20 ครัง้ 2 รอบ

การออกกำลังกายเพือ่ หัวใจแข็งแรงนัน้ ....เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคนสามารถทำได้..และควร


ปฏิบัติให้เป็นนิสัยสม่ำเสมอ
การรับประทานยา บอลลูน หรือผ่าตัด......เป็นการแก้ทปี่ ลายเหตุเท่านัน้ .....การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
ซ้ำแล้วซ้ำอีก จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนิสัยหรือพฤติกรรมการดำรงชีวิต ได้แก่ รับประทานแค่พอเหมาะ
พอดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลจิตใจไม่ให้เครียด พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยง
ของเสพติดมึนเมาต่างๆ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 209

หัวใจห้อง 4 : ปิดประตู...กั้นปัจจัยเสี่ยง

อารมณ์ การพักผ่อน
และโรคหัวใจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรคที่ทำให้ประชาชนทั่วโลกเสียชีวิตก่อน อารมณ์เครียดหรือความเครียดคืออะไร
วัยอันควร คือ โรคหัวใจ และโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุ ความเครียด คือ ภาวะที่มีสิ่งเร้า ตัวกระตุก
การเสียชีวิตมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะกระตุ้นมากระทบกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ
กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจของเรา ทำให้รู้สึกถูก

ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ เ พิ่ ม โอกาสเกิ ด โรคดั ง กล่ า ว บีบคั้น ขัดแย้ง กดดัน ไม่สบาย อยู่เฉยไม่ได้ จะต้องมี
นอกจากปัจจัยทางกายภาพ คือ เบาหวาน ความ
การตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง (ทางกาย วาจา ใจ)
ดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ การสูบบุหรี่ อารมณ์ เ ครี ย ดที่ มี ผ ลต่ อ โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจตี บ
อ้วนลงพุง ปัจจัยทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ ก็มีส่วน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือขาดเลือด ที่สำคัญได้แก่
สำคัญยิง่ ทีท่ ำให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนทีต่ ามมา ภาวะซึมเศร้า: เมื่อไม่ได้สมใจหวัง ดั่งใจ
จนถึงขัน้ เสียชีวติ นอกจากนีห้ ากผูป้ ว่ ยมีอารมณ์เครียด อยาก ไม่ถูกใจเรา ในเรื่องตัวเรา ของเรา ก็เลยเซ็ง
มาก ผลการรักษาก็จะดีสู้ผู้ที่มีความเครียดน้อยไม่ได้ เซ็งนานๆ เข้าก็ซึม ซึมเรื้อรังก็จะเศร้า ไม่เห็นคุณค่า
ด้วย ของชีวิต หมดอาลัยตายอยาก บางคนถึงกับจะฆ่าตัว
ตายก็มี
210 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ความมุ่งมั่นมากเกิน: ต้องแข่งขัน แข่งกับ ความโลภ ความโกรธ ความหลง (ยึดติดใน


เวลา รอไม่ ไ ด้ ชะลอไม่ เ ป็ น อยากได้ อยากเป็ น ตัวเรา ของเรา) เกินไปทำให้เกิดความเครียดในทีท่ ำงาน
อยากเอา อยากชนะ ที่ บ้ า น ยิ่ ง ถ้ า อยู่ ค นเดี ย วและขาดการสนั บ สนุ น ให้
ความโกรธ และการมุ่งร้าย: ความหงุดหงิด กำลังใจจากสังคมรอบข้าง ผู้คนรอบกาย ก็ยิ่งทำให้
โมโห โกรธเกลียดและการเก็บกดความโกรธ พยาบาท ความเครียดเพิ่มมากขึ้นอีก
มาดร้าย

ผลของความเครียดต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด
1. ความเครียดเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น เวลาเครียด อยากกิน

อะไรอร่อยๆ (“หวาน มัน เกลือ เนื้อสัตว์ รสจัด” เกินไป) อยากอยูส่ บายๆ นัง่ ๆ นอนๆ

ยิง่ เครียด ยิง่ กิน ยิง่ นอนก็จะยิ่งอ้วน หรืออยากสูบบุหรี่คลายเครียด
2. ความเครียดทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดโดยตรง เช่ น หงุ ด หงิ ด โมโห

ฉุนเฉียวทำให้ระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูงขึ้น

เส้นเลือดหดตัว ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ ตัน จนกล้ามเนื้อหัวใจตาย



ขาดเลือด (Psycho NeruoImmuno Endocrino Cardiology)

ความเครียดที่เกิดจาก ค่ารักษาพยาบาล 3) ทางสังคม เช่น เจ้านายจะ



โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด ไล่ออกหรือเปลี่ยนงาน 4) ทางจิตวิญญาณ เช่น

เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยมัก ไม่รวู้ า่ ไปทำเวรทำกรรมอะไรไว้ ทำไมต้องเป็นเราด้วย


จะมีความเครียดซ้ำเติมทั้ง 1) ทางกาย เช่น ต้อง หรือโทษคนอืน่ ทีท่ ำให้เราเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องเป็นเรา
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยชิน สิ่งที่ชอบทำ ตาม
ทำดี ทำบุญไว้เยอะแยะ ทำไมไม่ได้ดี ไม่ได้บุญ ดันมา
คำแนะนำ (คำสั่ง) ของแพทย์ 2) ทางใจ เช่น กลัว เจ็บป่วยอีก
ตาย กลัวทำงานไม่ได้ ห่วงครอบครัวจะลำบาก กังวล
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 211

จาก “ทำไมเครียด” สู่ “เครียดทำไม” ได้ว่า เป็นโอกาสที่เราจะรู้จักตัวเอง เข้าใจและพัฒนา


คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าทำไมจึงเครียด เพราะไม่ ตัวเราได้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น มีความสุขได้ง่ายขึ้น
เคยสังเกตหรือคุยกับตัวเอง เฝ้าดูใจตัวเองอย่างตรง การทำงานอะไรก็ขอให้ทำดีที่สุดเท่าที่ทำ

ไปตรงมาตามที่เป็นจริง เมื่อมีสิ่งมากระตุ้นประสาท ได้แล้วในปัจจุบัน ไม่ต้องกลัว ห่วง หวัง กังวลว่า

สัมผัสทั้ง 5 หรือคิดอะไรขึ้นในใจ ถ้าเป็นสิ่งที่ (ตา หู จะต้องให้ได้สมใจหวัง ดั่งใจนึก เพราะผลที่ได้ไม่ได้


จมูก) เราชอบ อร่อย (ลิ้น) สนุก (ใจ) สบาย (กาย) ขึ้นกับตัวเราคนเดียว มีสาเหตุ มีปัจจัยเสริม ปัจจัย
เรามักจะไม่เครียด โดยเฉพาะเป็นสิง่ ของเราทีส่ มอยาก สนับสนุนอีกนับไม่ถ้วน ทั้งที่เรารู้ และไม่รู้ ที่ทำให้
(ตัณหา) สมหวังหรือรอมานาน แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้ (แม้ ผลออกมาอย่างที่เป็น เราคิดแค่ไหน เครียดอย่างไร
จะเป็นสิ่งที่เคยชอบ) ทำให้ไม่ชอบไม่ถูกใจ ไม่ได้ดั่งใจ ก็คงไม่ช่วยให้ดีขึ้นกว่านี้ได้ เพราะเราทำปัจจุบันให้ดี
หรือสิ่งนั้นมาดูถูก มาทำให้ตัวเรารู้สึกด้อยค่า (มานะ) ที่สุดแล้ว ใจก็ปล่อยได้ วางลงได้ ให้อนาคตมันเกิด
มากระทบ ขัดแย้งกับความคิดเห็นของตัวเรา (ทิฐิ) ตามเหตุ ตามปัจจัย
เป็นต้น ก็จะเริม่ หงุดหงิด เครียด บางคนก็ออกอาการ เมื่อเข้าใจแล้ว เราก็จะบอกกับตัวเองได้ว่า
ฉุนเฉียว โมโห เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ “เครียดทำไมกัน เครียดไปก็เท่านั้นแหละ......”
จึงเกิดอาการไม่สบาย เช่น ปวดเมื่อยต้นคอ ศีรษะ
หนักหัว มึนงง นอนไม่หลับ เป็นต้น เมื่อไม่ได้ดั่งใจ อยู่กับความเครียดอย่างสุขกายสบายใจ
เรา ของเรา จึงเกิดอาการเซ็ง ถ้าหาวิธแี ก้เซ็งไม่ได้ นานๆ ความเครียดแต่พอควร เป็นแรงผลักดันให้
เข้าก็กลายเป็นซึมเศร้าไปเลย สรุปว่าความเครียดเกิด เราทำงาน มีพฤติกรรมต่างๆ ได้พอเหมาะ แต่ถ้าเรา
จากการหลง (เข้าใจผิด) อยากและหลงยึด (ในตัวเรา กลัว ห่วง หวัง กังวล มากเกินไป เมือ่ ผิดหวัง ไม่ได้ดงั่ ใจ
ของเรา) ก็จะเกิดความเครียดเกินได้ แม้ว่าในปัจจุบันโลกจะมี
เรารูส้ กึ เครียดมากน้อยเท่าใด เริม่ จาก “ใจ” ยาคลายเครียดอยู่แล้วหลายขนาน แต่ก็ยังไม่มียา

เราเองว่า มีมมุ มอง ท่าทีตอ่ สิง่ ทีเ่ ราเห็น ได้ยนิ ได้กลิน่ คลายเครียดใดเลย ที่จะทำให้โรคหัวใจขาดเลือดดีขึ้น
ได้รส ได้สัมผัส นั้นอย่างไร ถ้าเราคิดเสียว่า สิ่งใด ได้ ดังนั้นการพึ่งตนเองที่จะอยู่กับความเครียดได้จึง
ก็ตามที่เกิดขึ้นกับเรา ย่อมดี ย่อมได้ประโยชน์เสมอ เป็นวิธีที่ง่ายและปฏิบัติได้เองที่ดีที่สุด
เพราะได้เรียน ได้รู้ทั้งสิ่งที่ดี และไม่ดีเสมอ (ฉันทะ) วิธกี ารอยูก่ บั ความเครียดมี 2 วิธี คือ จัดการ
แม้แต่สงิ่ ทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ ในชีวติ เกิดขึน้ กับเรา ก็มองให้ดี ความเครียด และดูแลความเครียด
212 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อยากเป็น อยากเอาที่มากเกินไป (สติรู้ทัน ปัญญารู้


เท่า) ความเครียดมีไว้ให้สติ “ดู” เหตุแห่งเครียดมี

ไว้ ใ ห้ ใจ “ละ” ความยึ ด ติ ด ถื อ มั่ น

ใน “ตัวเรา ของเรา” ก็จะน้อยลงๆ
(ไม่ว่าจะโดยวิธี ลืมตัวตน ลดตัวเรา

ละของเรา หรือ เลิกยึดติด) ตัวเราก็จะ
เล็กลงๆ ใจเราก็จะสูงขึน้ ๆ มีความสุข
ได้งา่ ยขึน้ เพราะความโล่งโปร่งสบาย
ของการ ลืม ลด ละ เลิก “ตัวเรา
ของเรา” ทำให้เกิดความสงบเย็น (ปัสสัทธิ) ซึ่งตรง
ข้ามกับความเครียด
การที่จะเจริญสติได้ทัน มีปัญญาพิจารณา
เอาชนะความอยาก และ ลืม ลด ตัวเราของเราได้นั้น
จัดการความเครียด (หลบ กลบ กด คลาย ต้องมีภูมิหลัง และพื้นฐานของการให้ทาน รักษาศีล
ความเครียด) ได้แก่ การคลายเครียดด้วยวิธีต่างๆ
ห้ า เจริ ญ สติ สมาธิ มาก่ อ น มากพอที่ จ ะเกิ ด สติ
เมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้ว เช่น พักผ่อนหย่อนใจ
ปัญญารู้เท่าทันความเครียด ดูแลความเครียดได้มาก
ดูหนัง ฟังเพลง หัวเราะ ตั้งวงกินเหล้า เป็นต้น แม้แต่ บ้างน้อยบ้าง ตามบารมีที่ทำมาแต่เดิม และสิ่งที่คิด
การคิดแง่บวก ให้อภัย ใจก็หายเครียด หรือการฝึก พูด ทำ ในปัจจุบันขณะ ดังนั้นผู้ที่มี ทาน ศีล สติ
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ กายผ่อนคลาย ใจปล่อยวาง สมาธิ ปัญญา ได้ครบ ก็จะลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ
ด้วยเทคนิกโยคะ ฤษีดัดตน จี้กง ไทเก๊ก นวด กดจุด ขาดเลือดจากความเครียดได้ทางหนึ่ง
ฝังเข็ม การเจริญสมาธิ เป็นต้น การเจริญสมาธิซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติวิธีหนึ่งใน
ส่วนวิธีดูแลความเครียด คือวิธีที่ระงับหรือ การเข้าสู่ความสงบทางจิตวิญญาณไม่เพียงเป็นวิธี
ป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดขึ้น เมื่อเกิดความเครียด คลายความเครียดที่มีอยู่เท่านั้น ยังเป็นอีกหนทาง
ขึ้นแล้วก็อย่าเครียดมากเกินไป การตั้งสติเผชิญกับ
หนึ่งในการป้องกัน และทำให้เกิดเข้าใจสาเหตุและ
สิ่งต่างๆ ที่ทำให้เครียด แล้วปล่อยวาง ความอยากได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดในชีวิตประจำวันของ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 213

เราได้ด้วย วิธีเจริญสมาธิที่นิยมมากคือ อาณาปานสติ 4. ถ้ามีความรู้สึก หรืออาการบางอย่างเกิด


โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตตั้งมั่นสงบ
ขึน้ ในร่างกาย เช่น ร้อน ชา น้ำมูกน้ำตาไหล ขนลุก วูบ
นิ่ง อิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 ของคนเราก็เจริญสมาธิได้ หมุน เป็นต้น (ปีติ) ให้เฝ้าดูอาการนั้นไปเรื่อยๆ โดย
เช่น นั่งสมาธิแบบพุทธหรือแบบชี่กง นอนท่าศพแบบ ให้ใจยังกำหนดอยู่ที่เสียงเพลง จนรู้สึกความสงบเย็น
โยคะ ยืนอรหันต์แบบจี้กง หรือ เดินจงกรมแบบพุทธ สุขในใจ (ปัสสัทธิ สุข)
ก็สามารถเข้าสมาธิจนใจสงบนิ่งและใช้ใจที่มีสมาธิ 5. รูส้ กึ กายผ่อนคลาย ใจโปร่งเบา ปล่อยวาง
พิจารณาความเครียดของตนให้เข้าใจถึงเหตุปัจจัยที่ จากความเครียดต่า งๆ ถ้า ใช้ส มาธิ จิตขณะนั้น มา
เกี่ยวข้องตามความเป็นจริงได้ (ปัญญา) พิจารณาเหตุปัจจัยในการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดจะ
ตัวอย่างวิธกี ารเจริญสมาธิ โดยการนัง่ ฟังเพลง ทำให้เราเข้าใจความเป็นจริงของการใช้ชีวิต (ของเรา)
1. เวลาที่นั่งสมาธิควรเป็นเวลาที่ไม่หิว ไม่ ได้อย่างชัดแจ้งขึ้น ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็มักจะได้
อิ่มเกินไป ไม่กลั้นอุจจาระ/ ปัสสาวะ นั่งบนเก้าอี้ที่ คำตอบ และผ่านพ้นไปได้ (วิปสั สนา) พฤติกรรมสุขภาพ
ไม่มีพนักพิงหรือไม่พิงพนักในท่าที่สบาย ยืดตัวตรง ก็จะตามมาได้ หมั่นเจริญสมาธิวิปัสสนาเป็นประจำ
มือทั้งสองวางบนหน้าตัก ผ่อนคลายทั้งตัวตั้งแต่หัว จะมีสุข ห่างไกลจากโรคภัยตลอดไป
จดเท้า หลับตา 2 ข้างเบาๆ แต่ถ้ารู้สึกง่วงนอน หรือ หมายเหตุ สิ่งที่ใจไม่ควรไปยึดติด ขณะฝึก
จะหลับ ก็ลืมตาได้เพื่อไม่ให้หลับ (ท่าทาง) สมาธิ ได้แก่ ไม่หลุด ไม่เร่ง ไม่เพ่ง ไม่เผลอ กล่าวคือ
2. กำหนดใจให้สนใจแต่เฉพาะเสียงเพลง “ไม่หลุด” ไปคิดเรื่องนี้ เรื่องโน้น ถ้าหลุด ก็ค่อยๆ
สวดหรือเพลงบรรเลงอย่างเดียว หายใจเข้าออก น้อมนำใจกลับมาสู่เสียงดนตรีที่ใจ ไม่ต้องไปโมโห

ช้าๆ เบาๆ ยาวๆ ลึกๆ และรู้สึกสบาย ไม่กลั้น ตัวเอง หรือหงุดหงิด “ไม่เร่ง” อยากเข้าสมาธิเร็วๆ
หายใจและไม่รู้สึกหายใจติดขัด (วิตก) อยากเร่งให้มีความสุขจากสมาธิ ทำให้ใจ “ไม่เพ่ง”
3. ถ้าใจคิดถึงเรือ่ งอืน่ ๆ นอกจาก พยายามเพ่งไปทีเ่ สียงดนตรี เพือ่ ให้เกิดปีตสิ ขุ จากสมาธิ
เสียงเพลง ให้กำหนดใจกลับมา ให้ได้ “ไม่เผลอ” เวลาเกิดปีติ สุข อย่าเผลอไปยึดว่า เรา
ทีเ่ สียงเพลงทุกครัง้ ประคองใจ บรรลุเป็นผูว้ เิ ศษแล้ว หลงยึดปรากฏการณ์ทเี่ กิดในใจ

ไว้ให้อยู่กับเสียงเพลงตลอด ว่าเป็นปาฏิหาริย์ บางคนหลุดโลก เสียสติไปเลยก็มี
เวลา ทุ ก ลมหายใจเข้ า ออก ถ้าไม่มีเสียงดนตรีหรือเพลงสวด ให้กำหนด
(วิจาร) ใจที่ลมหายใจเข้าออก ร่วมกับการภาวนาในใจ ว่า
214 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

“ผ่อน” เวลาหายใจเข้า “คลาย” เวลาหายใจออก สรุป อารมณ์เครียด เกี่ยวข้องกับการเกิด


หรือ “ปล่อย” เวลาหายใจเข้า “วาง” เวลาหายใจ โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจตี บ ตั น กล้ า มเนื้ อ หั ว ใจตาย

ออก ความสุขสงบจะค่อยๆ เกิดในใจเรา หรือขาดเลือด แถมยังมีผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน


หายใจช้า: ลดความดันโลหิต พาจิตผ่อน และการรักษา ภาวะซึมเศร้า การมุ่งมั่นมากเกินไป
คลาย สลายความเครียด การพยาบาทมุ่งร้าย เก็บกดความโกรธ ทำให้เกิด
การหายใจให้ช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที ฝึกวัน ความเครียดที่บ้าน ที่ทำงาน ซึ่งเป็นผลจากการที่หลง
ละ อย่างน้อย 15 นาที เป็นเวลา 2 เดือนขึ้นไป จะ อยากได้ อยากเป็น อยากเอา หลงยึดตัวเรา ของเรา
สามารถลดความดันโลหิตตัวบนในผู้ป่วยความดัน มากจนเกิ น ไป ถ้ า รู้ จั ก วิ ธี ผ่ อ นคลาย ความเครี ย ด
โลหิตสูงได้ ประมาณเท่ากับกินยาลดความดันโลหิต และปล่อยวาง การหลง ยึดติดถือมั่นดังกล่าวลงได้ ก็
หนึ่งตัว นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้ร่างกายเข้าสู่ระบบ จะช่วยบรรเทา และบำบัดความเครียด ลดโอกาสใน
“พัก” ผ่อนคลาย กายใจ คลายเครียดได้อีกด้วย การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และทำให้ผลการรักษา
สำหรับผู้ที่เครียดเวลาทำงาน ต้องทำงาน ได้ผลดีขึ้น
แข่งขัน แข่งกับเวลา หรือ ใช้สมองใช้สายตามาก ๆ
ควรพักใช้สมอง สายตา ชั่วโมงละ 10 ถึง 15 นาที
โดยนั่งพักสบายๆ หลับตา 2 ข้าง เบาๆ หายใจเข้า
ออก ช้าๆ เบาๆ ยาวๆ ลึกๆ ให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย
หรือจะถอนหายใจยาวๆ ก็ช่วยได้เหมือนกัน หายใจ
เข้า และออกให้นานกว่า 6 วินาที เช่น หายใจเข้า
นับ 1 2 3 หายใจออกนับ 4 5 6 7 (นับแต่ละครั้ง
ห่างกันประมาณ 1 วินาที)
ส่วนผู้ที่ขี้หงุดหงิด โกรธง่าย หรือเก็บความ
โกรธไว้ในใจ มักจะหายใจเร็ว ถ้ามีสติรทู้ นั ว่า หายใจเร็ว
เครียดแล้วนะ ก็บอกตัวเองให้หายใจช้าลง ช้า เบา ยาว รูปที่ 1 ความเครียดทางอารมณ์ ปัจจัยทางจิตใจ และสังคม
ลึก..สบาย อารมณ์ดังกล่าวจะค่อยๆ จางหายไปได้ ที่มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 215

หัวใจดีมีสุข...
ธรรมะบำบัดและมุ่งก้าวทันโรค
216 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจดีมีสุข...ธรรมะบำบัดและมุ่งก้าวทันโรค

“ธรรมะ” ยกใจให้สูงขึ้น
ศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์

ใจเป็นใหญ่ การข่มใจ (ทมะ) นี้สำคัญเหลือเกิน ขอให้


เพราะใจเป็นผู้กำหนดความคิด ควบคุมการ พวกเราช่วยกันศึกษาวิจัยหาวิธีการข่มใจที่เหมาะสม
พูด และควบคุมการกระทำ สำหรับคนทุกวัย ทุกหมู่คณะ
จิต (มาจากภาษาบาลีว่า จิตตะ) หรือใจ ทำอย่างไรจึงจะทำให้เด็กและเยาวชนรู้จัก
(ภาษาไทย) หรือจิตใจ (จับคู่คำภาษาบาลีและภาษา ข่มใจ ไม่เป็นทาสของกิเลสและอบายมุขทั้งปวง
ไทย) ของคนนั้นมักใฝ่ต่ำ ท่านเปรียบเหมือนหยดน้ำ ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ใหญ่และผู้สูงวัยมีวิธี
บนใบบัว ซึ่งโดยธรรมชาติจะไหลลงสู่ที่ต่ำ อันได้แก่ การข่มใจ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ใจหลงอยู่ในกิเลสตัณหา
กิเลสและตัณหาทั้งปวง ทั้งหลาย
กิ เ ลสที่ ส ำคั ญ คื อ ความโลภ ความโกรธ ผู้ข่มใจได้ย่อมไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
และความหลง แน่นอน อยู่ในภาวะจิตตวิสุทธิคือหมดจดจากกิเลส
บุ ค คลจึ ง ต้ อ งมี ห น้ า ที่ อ บรมจิ ต ใจของตน ข. การยกใจให้สูงขึ้น
(จิตตภาวนา) โดยมุ่งที่สองมิติ ได้แก่ มนะ แปลว่าจิต
ก. การข่มใจ (ทมะ) ไม่ให้ใฝ่ต่ำ ในกิเลส อุษยะ แปลว่าสูง
และอบายมุขทั้งหลาย มนุษย์ หมายถึง ผู้มีจิตใจสูง หรือผู้ซึ่งได้รับ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 217

การยกใจพัฒนาจิตใจไปสูร่ ะดับชัน้ ของความดี ความจริง 1. ศาสนธรรม (หรือศีลธรรม)


และความงาม ศาสนาทีก่ รมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การข่มใจ เป็นวิธีการ ได้รบั รองเป็นทางการมี 5 ศาสนา ได้แก่ พุทธ อิสลาม
ชำระใจให้บริสุทธิ์จากความชั่ว ความเท็จ และความ คริสต์ ซิกส์ พราหมณ์-ฮินดู
อัปลักษณ์ทั้งหลาย มิติที่แตกต่างกันของศาสนาทั้งหลายคือ
ส่วนการยกใจหรือพัฒนาจิตใจ จะยกระดับคน ก. อุดมการณ์สงู สุดไม่เหมือนกัน บางศาสนา
ให้เข้าสูค่ วามดี ความจริง และความงาม ทำให้เขาเป็น ไม่พูดถึงพระเจ้า บางศาสนามีพระเจ้า บางศาสนามี
คนมีคุณธรรมนั่นเอง พระเจ้าสูงสุดองค์เดียว บางศาสนาพูดถึงพระเจ้าหรือ
เป็ น ความดี ที่ ป ระกอบด้ ว ยความจริ ง และ เทพหลายพระองค์
ความงาม แต่สงิ่ หนึง่ ทีน่ บั ว่าเหมือนกันคือ หลักศีลธรรม
เป็ น ความจริ ง ที่ ป ระกอบด้ ว ยความดี แ ละ หรือศาสนธรรมของทุกศาสนา ซึ่งให้คนละชั่ว และ
ความงาม ส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมความดี โดยมี ห ลั ก การคล้ า ยกั น

เป็ น ความงามที่ ป ระกอบด้ ว ยความดี แ ละ 3 ประการ คือ
ความจริง ก. ทุ ก ศาสนาสอนให้ ยึ ด มั่ น ในความสั ต ย์

ความจริง
คุณธรรมค้ำจุนชีวิตและสังคม ข. ทุกศาสนาสอนให้เห็นคุณค่าของความ

คุณธรรมคือ สิ่งกำกับจิตใจให้ความคิด-คำ เป็นคน
พูดและการกระทำที่ตัดสินใจได้ว่าเป็นความดี ความ ค. ทุกศาสนาสอนให้มีความรักความเมตตา

จริง และความงาม ต่อกันและกัน
สั ง คมมนุ ษ ย์ ไ ด้ ส ร้ า งกำหนดเครื่ อ งตั ด สิ น
2. จริยธรรม
คุณธรรมหลายชุดด้วยกัน เช่น เป็นเครื่องกำหนดความประพฤติที่ฆราวาส
218 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ


หรือสมาคมวิชาชีพตราขึ้น เพื่อให้สมาชิกของสังคม เห็นคุณค่า ถือปฏิบตั สิ บื ทอดกันมา แล้วนำมาสัง่ สอน
หรือของวิชาชีพได้ยึดถือปฏิบัติ โดยมุ่งหวังให้เกิด อบรมถ่ายทอดแก่ลูกหลาน
ความสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขและมีศักดิ์ศรี
จริยธรรมมี 2 ระดับ คือ ยกใจให้สูงเพื่อความสุขและหลุดพ้น
ก. จริยธรรมทั่วไป อามิส แปลว่า วัตถุ
ข. จริยธรรมเฉพาะวิชาชีพ (หรือจรรยาบรรณ
เราอาจแบ่งความสุขได้เป็น 2 ประเภท คือ
วิชาชีพ) ก. สามิสสุข เป็นความสุขที่ต้องอาศัยอามิส
3. นิติธรรม (กฎหมาย, ข้อบังคับ, ฯลฯ) หรือวัตถุมาบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วจึงจะ
เป็นข้อกำหนดทีม่ ผี ลบังคับใช้สำหรับพลเมือง เกิดความสุข เป็นความสุขชั่วคราว เกิดอาการพึ่งพา
หรือสมาชิกขององค์การ เพื่อให้การบริหารบ้านเมือง วัตถุ ครั้งต่อไปต้องการวัตถุที่มากขึ้น แพงกว่า อร่อย
เกิดความเที่ยงธรรม ปราศจากการเอารัดเอาเปรียบ กว่า หอมกว่า มาบำเรอจึงจะเกิดความสุขได้
และเพื่อให้เกิดสันติสุขในที่สุด เรี ย กว่ า ความสุ ข เกิ ด จากการเสพติ ด วั ต ถุ
4. ธรรมาภิบาล หรือวัตถุนิยมนั่นเอง
เป็นเครือ่ งกำหนดข้อปฏิบตั สิ ำหรับสมาชิกใน ความสุขชนิดนี้ทำให้เกิดความอยากเพิ่มขึ้น
องค์การ ทัง้ ระดับเจ้าของ ระดับคณะกรรมการนโยบาย เรื่ อ ยๆ สุ ด ท้ า ยเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าโดยไม่ สิ้ น สุ ด ก็ ถึ ง กั บ
ระดับผูบ้ ริหาร และระดับผูป้ ฏิบตั ิ เพือ่ ให้องค์การเกิด เบียดเบียนกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม และคนรอบ
ประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้หลักการ ข้าง
ของความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นความสุขที่ในที่สุดแล้วนำความทุกข์มา
ให้และถูกพันธนาการมากขึ้น กลายเป็นทาส
5. กฎเกณฑ์สังคม
ข. นิรามิสสุข เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัย
(ขนบธรรมเนียม ประเพณี มารยาท)
วัตถุ แต่เกิดจากจิตที่สะอาด (จากกิเลส) สว่าง (มี
เป็นข้อปฏิบตั ทิ ยี่ อมรับทัว่ ๆ ไปสำหรับสมาชิก
ปัญญา) และสงบ (จากใจที่บริสุทธิ์แล้ว)
ในสังคมนัน้ ๆ แสดงความเป็นหมูค่ ณะ เป็นความสมดุล
อาจเรียกความสุขชนิดนี้ว่า จิตนิยม
และความอยู่รอดปลอดภัย
เป็นความสุขที่ยืนยง นำสันติสุขมาสู่ตนเอง
6. คุณธรรมประจำครอบครัว และคนรอบข้าง หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา
เป็นหลักคุณธรรมที่สมาชิกแต่ละครอบครัว เป็นอิสระที่แท้จริง
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 219

หัวใจดีมีสุข...ธรรมะบำบัดและมุ่งก้าวทันโรค

วิวัฒนาการการวินิจฉัย
และรักษาโรคหัวใจด้วยสายสวน
นายแพทย์ธาดา ชาคร ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก
แพทย์ห ญิงสุดารัตน์ ตันสุภสวัสดิกุล หัวหน้าห้องสวนหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

ในระยะแรกๆ การสวนหัวใจทำกันในเฉพาะ ทีเ่ มือง Ebersward ท่านใช้วธิ ผี า่ ตัดเปิดหลอดเลือดดำ



สั ต ว์ ท ดลอง ต่ อ มากลุ่ ม แพทย์ ผู้ ส นใจศึ ก ษาหน้ า ที่ ที่แขนซ้ายของตนเองและสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่
และการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ในภาวะ ปราศจากเชื้อเข้าไปจนถึงหัวใจด้านบนขวา และถ่าย
ต่างๆ ในขณะที่ร่างกายยังมีชีวิตอยู่ ได้ใช้วิธีการเจาะ ภาพเอกซเรย์ทรวงอกทีห่ น่วยเอกซเรย์ของโรงพยาบาล
เส้นเลือดและใส่สายสวนหัวใจเพือ่ วัดการเปลีย่ นแปลง ไว้เป็นหลักฐาน
ทางสรีรวิทยาต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ปริมาณเลือดที่ หลังจากที่ท่านได้ทำการทดลองสวนหัวใจ
ไหลผ่านหัวใจในระยะเวลาหนึ่งๆ ให้ยากระตุ้นหัวใจ อีกหลายครั้งกับตนเอง จนแน่ใจว่าไม่มีอันตรายแล้ว
โดยตรงทางสายสวนในกรณีทหี่ วั ใจหยุดเต้นกะทันหัน จึงได้ทดลองฉีดสารทึบแสงเอกซเรย์ ผ่านสายสวน
ผูท้ รี่ เิ ริม่ ใช้การสวนหัวใจกับมนุษย์ทยี่ งั มีชวี ติ เข้าไปในหัวใจช่องขวาบน เพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ
อยูเ่ ป็นคนแรก (หลังจากได้ทดลองกับศพมาเป็นระยะ ของตนเองด้วย
เวลานานพอสมควร) คือ Dr.Werner Forssman ใน จากนั้นมาได้มีผู้ใช้วิธีเดียวกันนี้ฉีดสารทึบ
ขณะนัน้ ท่านเป็นศัลยแพทย์ฝกึ หัดชาวเยอรมัน ทำงาน
แสงเอกซเรย์เข้าไปในหลอดเลือดอืน่ ๆ เพือ่ ดูหลอดเลือด
220 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

แดงใหญ่ในท้องและปอด อย่างไรก็ดีการตรวจชนิดนี้ Dr.Werner Forssman ได้รับรางวัลโนเบิล สาขา


ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเพราะแพทย์ยังคงเกรงว่าการ การแพทย์ในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)
ตรวจเช่นนี้อาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้ จากนั้นมาวิวัฒนาการที่สำคัญอีกมากมาย
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ก็ ต ามมา ทั้ ง ในด้ า นเทคนิ ค วิ ธี ก ารสวนหั ว ใจและ
Dr.Andre Cournand และทีมงานแห่งโรงพยาบาล เครื่องมือสำหรับอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ในปี
Bellveue เมืองนิวยอร์ค รวมทั้ง Dr.Dickenson พ.ศ. 2490 ( ค.ศ.1947 ) Dr.Zimmerman ได้เสนอ
Richards แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิธีนี้อย่าง วิธกี ารตรวจสวนหัวใจทัง้ ด้านขวาและด้านซ้ายพร้อมกัน
เป็นระบบ ทั้งกับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่เป็นโรค ซึ่งทำให้การตรวจหัวใจสมบูรณ์แบบมากขึ้น
หัวใจ และพบว่าการใส่สายสวนเข้าไปในหัวใจจาก ในระยะต้ น ๆ วิ ธี ก ารตรวจกายวิภาคของ
ข้างขวา สามารถผ่านเข้าไปในรูรั่วระหว่างผนังกั้น หลอดเลือดหัวใจโคโรนารี ทำได้เพียงแค่ฉดี สารทึบรังสี
หัวใจทั้งด้านบนและด้านล่างที่พิการมาแต่กำเนิดได้ เอกซเรย์เหนือลิ้นหัวใจ เอออร์ติก ใกล้ปากทางเข้า
ที ม งานจึ ง ได้ อ อกแบบสายสวนให้ มี คุ ณ ลั ก ษณะ
หลอดเลือดซึง่ ทำให้เห็นส่วนต้นของหลอดเลือดเท่านัน้
พอเหมาะสำหรับการสวน แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) Dr.Mason
หั ว ใจ (สายสวนคู ร์ น าน) Zones แห่ง Cleaveland Clinic สหรัฐอเมริกาพบ
และออกแบบเข็มที่ใช้เจาะ โดยบังเอิญว่าการฉีดสารทึบรังสีผา่ นสายสวนเข้าหลอด-
เส้ น เลื อ ดแทนการผ่ า ตั ด เลือดโคโรนารีโ่ ดยตรงไม่มอี นั ตรายและทำให้เห็นภาพ
นอกจากนี้ยังได้ประดิษฐ์ ของหลอดเลื อ ดโคโรนารี่ ไ ด้ อ ย่ า งชั ด เจน เขาจึงได้
เครือ่ งบันทึกความดันโลหิต ออกแบบ สายสวนพิเศษเพื่อใส่ตรงเข้าหลอดเลือด
ผ่านสายสวนและคลืน่ ไฟฟ้า โคโรนารี่โดยตรงด้วย จึงทำให้การตรวจหลอดเลือด
หัวใจ (EKG) พร้อมๆ กันด้วย ทำให้วธิ กี ารสวนหัวใจ โคโรนารีแ่ พร่หลายมากขึน้ ต่อมาการสวนหลอดเลือดนี้
แพร่หลายมากขึน้ จนกลายเป็นมาตรฐานในการตรวจ สะดวกขึ้นอีกเพราะมีผู้ผลิตสายสวนโคโรนารี่แยก
หัวใจมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับเส้นซ้ายและขวา (สายสวน Judkin) ขึ้น
จากผลงานดั ง กล่ า วนี้ ท ำให้ Dr.Andre นอกจากการรักษาเส้นเลือดโคโรนารี่ตีบตัน
Cournand, Dr.Dickenson Richards และ จะใช้วิธีการผ่าตัดบายพาสแล้ว
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 221

Dr.Andreas Gruntzig แห่งประเทศสวิส- การตรวจสวนหัวใจที่ทำในเมืองไทย


เซอร์แลนด์ยังได้คิดค้นวิธีการรักษาโดยใช้สายสวนซึ่ง
มีบอลลูนติดทีป่ ลายสาย ขยายหลอดเลือดส่วนทีต่ บี ตัน ในระยะแรกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจ
ได้ผลสำเร็จเป็นรายแรกของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2520 วินิจฉัยหัวใจผ่านสายสวนนั้นยังไม่ทันสมัยเต็มที่และ
(ค.ศ. 1977) ต่อมาเทคนิคชนิดนีไ้ ด้แพร่หลายไปอย่าง มีราคาสูง แพทย์ท่านแรกที่ทำการตรวจสวนหัวใจ

รวดเร็วและมีการพัฒนาอุปกรณ์ทชี่ ว่ ยให้การทำง่ายและ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีรายงานไว้ใน
สะดวกขึ้น เช่น ลวดนำทาง ขดลวดค้ำยัน (Stent) ปี พ.ศ. 2498 คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์สมาน

เป็นต้น มันตราภรณ์
ในปัจจุบันการสวนหัวใจและหลอดเลือดยัง ผูเ้ ขียน (ธาดา ชาคร) ได้เคยเข้าไปดูการสวน
ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจ หัวใจ ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 ยังจำได้ว่า
พิการ เส้นโลหิตแดงทีไ่ ปเลีย้ งสมอง หรือเส้นเลือดแดง
ห้องทีใ่ ช้ในการทำ Fluoroscopy ค่อนข้างมืด การวัด
ที่เลี้ยงตามบริเวณแขนขาที่ตีบตันได้อีกด้วย ความดันโลหิตก็ใช้ท่อน้ำเกลือเล็กๆ ต่อระดับขึ้นไป
สูงหรือต่ำตามความต้องการ เช่น อาจใช้คนยืน ถ้าวัด
ความดันโลหิตของหลอดเลือดแดง การหาปริมาตร
ของออกซิเจนในเลือดใช้วธิ ี Van Slyke ซึง่ ทำค่อนข้าง
ยากและใช้เวลานาน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ศ.นพ.สมาน ก็
สามารถสอดใส่สายสวนหัวใจผ่านเข้าไปในห้องหัวใจ
ต่างๆ ทั้งปกติและผิดปกติ บางครั้งก็มีการฉีดสารทึบ
แสงเอกซเรย์เข้าไปในหัวใจและถ่ายฟิล์มเอกซเรย์
แผ่นใหญ่ แล้วใช้มือเลื่อนฟิล์มเร็ว ซึ่งก็พอบอกกาย
วิภาคต่างๆได้ เท่าที่จำเป็น
ในปี พ.ศ. 2498 นพ.สมาน ได้รายงานผูป้ ว่ ย
25 ราย ที่ได้รับการตรวจสวนหัวใจโดยไม่มีอันตราย
แทรกซ้อนแต่อย่างใด
222 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 อ.นพ.กมล สินธวานนท์ ดันโลหิตโดยใช้ pressure และ Transducer และ
หัวหน้าหน่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลหญิง (โรงพยาบาล ระบบอิเล็กทรอนิกส์ Amplification มีเครื่องหา
ราชวิถี ขณะนี้) กรมการแพทย์ ซึ่งได้รับการฝึกฝน ออกซิเจนในเลือดโดยอัตโนมัติ เครื่องเปลี่ยนฟิล์ม
ทางด้านนี้จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มตั้งหน่วย ใหญ่ 6 แผ่นต่อวินาที แพทย์ไทยจากหน่วยโรคหัวใจ
สวนหัวใจเป็นแห่งที่ 2 แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ หลายโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ซึ่งยังมีราคาสูงอยู่แต่มีระบบเปลี่ยนฟิล์มเอกซเรย์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงมาร่วม
อย่างรวดเร็ว และระบบวัดความดันโลหิตผ่านสาย ใช้ห้องตรวจสวนหัวใจนี้ด้วย
สวนที่ทันสมัยขึ้น ต่อมาในราวปลายปี พ.ศ. 2509 (ค.ศ.1966)
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ.1964) นายแพทย์ธาดา ชาคร ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าหน่วย

SEATO ซึ่งมีหน่วยวิจัยทางแพทย์อยู่ที่โรงพยาบาล โรคหัวใจ โรงพยาบาลโรคปอด กรมอนามัย (สถาบัน
พระมงกุฎเกล้า ได้ตั้งหน่วยสวนหัวใจที่ทันสมัยที่สุด โรคทรวงอก กรมการแพทย์ขณะนี)้ ได้รบั งบประมาณ
ในขณะนั้ น ขึ้ น เป็ น ห้ อ งปรั บ อากาศ มี เ ครื่ อ งปรั บ ให้กอ่ ตัง้ หน่วยสวนหัวใจทีม่ อี ปุ กรณ์ทที่ นั สมัย ค่อนข้าง
ความเข้มของภาพเอกซเรย์ (Image Intensifier) ครบกว่าเดิมพอสมควร นัน่ คือ มีเครือ่ งถ่ายภาพยนตร์
เป็นเครื่องแรกในประเทศไทย มีระบบการวัดความ จากภาพเอกซเรย์ เป็นขนาด 16 มิลลิเมตร Image

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 223

Intensifier กล้องโทรทัศน์ และมีจอภาพโทรทัศน์ จึ ง ทำให้ ห้ อ งสวนหั ว ใจและหลอดเลื อ ดในปั จ จุ บั น


ประกอบด้วยเครื่องมือที่ราคาแพงหลายชนิด
ทำให้เห็นภาพได้ชดั เจนยิง่ ขึน้ มีเครือ่ งบันทึกสัญญาณ
ทางสรีรวิทยาแบบหลายช่อง อายุรแพทย์หัวใจจาก ปัจจุบันนี้ห้องสวนหัวใจประกอบด้วย
หน่วยต่างๆ จึงมาร่วมใช้ดว้ ย เช่น พญ.พรรณี เสถียร- 1. เครื่องกำเนิดเอกซเรย์ชนิดสองระนาบ
โชค จากวชิรพยาบาล ซึง่ ได้ฝกึ ฝนการสวนหลอดเลือด 2. คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บ
โคโรนารี่กับ Dr. Mason Zone แห่ง Cleveland บันทึกภาพตามมาตรฐานสากล (Dicom) และบันทึก
Clinic ไว้ในแผ่นซีดีตามต้องการ
3. จอภาพ 2-4 จอไว้แสดงสรีรวิทยาของ
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ หัวใจ เช่น ความดัน, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งวัดมาจาก
และหลอดเลือดในปัจจุบัน เครื่องวัดทางอิเล็กทรอนิกส์
4. เครือ่ งมือทีจ่ ำเป็นต่างๆ เช่น เครือ่ งกระตุก
ใน 40 ปีที่ผ่านมานี้ วิวัฒนาการของการ หัวใจ เครื่องฉีดสารทึบรังสีโดยอัตโนมัติ เครื่องกู้ชีพ
ตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน เครือ่ งดมยา (ในกรณีทจี่ ำเป็น) และในบางกรณีหอ้ งนี้
ไม่ว่าจะเป็นทางเทคนิคหรือเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ จะใช้เป็นห้องผ่าตัดด้วย (Hybrid Suite)

ภาพห้อง Cath-Lab เก่า


224 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

หัวใจดีมีสุข...ธรรมะบำบัดและมุ่งก้าวทันโรค

การริเริ่มผ่าตัดหัวใจในประเทศไทย
ศาสตราจารย์
เกียรติคุณ นายแพทย์กัมพล ประจวบเหมาะ
ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
ศาสตราจารย์
เกียรติคุณ แพทย์หญิงจาดศรี ประจวบเหมาะ
หัวหน้าห้องสวนหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
วิ วั ฒ นาการ ด้ า นการผ่ า ตั ด หั ว ใจเริ่ ม ขึ้ น ให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่อ รวมทั้งได้ส่งแพทย์ผู้ชำนาญ
ภายหลังการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมี งานและบุคลากรทางการแพทย์มาสอนและช่วยงาน
การศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ในทุกด้าน ทำให้เกิด ด้านการวินิจฉัยโรค และการวิสัญญีวิทยาสมัยใหม่
ความก้าวหน้าในด้านเทคนิคการดมยาสลบ การให้ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2494
เลือดแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ยาฆ่าเชื้อโรค และอื่นๆ การริเริ่มการผ่าตัดหัวใจในประเทศไทยนั้น
เป็นผลให้การผ่าตัดเปิดช่องทรวงอกทำได้ด้วยความ เริม่ ต้นขึน้ ในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ปลอดภัย วิทยาการต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่าน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาล
ศัลยแพทย์ชาวไทยที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ศิรริ าช โดยศาสตราจารย์นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์
ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยความช่วยเหลือ ได้ ท ำการผ่ า ตั ด ผู ก หลอดเลื อ ด patent ductus
จากต่ า งประเทศ เช่ น รั ฐ บาลสหรั ฐ อเมริ ก าและ arteriosus สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งให้การสนับสนุนโดย เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2496 และได้จดั ตัง้ หน่วยปอด-
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 225

หัวใจ แยกออกมาจากศัลยกรรมทั่วไป พร้อมทั้งจัด ต่างประเทศทยอยกลับมาทำงานในประเทศไทย ส่งผล


ตั้งห้องตรวจสวนหัวใจ (cardiac cath. Lab) ขึ้นเป็น ให้คุณภาพในการตรวจวินิจฉัย ตลอดจนการรักษา
แห่ ง แรกที่ โรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ ในปี ถั ด มา โรคหัวใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ศาสตราจารย์ น ายแพทย์ ส มานก็ ไ ด้ ท ำการผ่ า ตั ด
ยิ่งขึ้น เนื่องจากคณะแพทย์เหล่านี้ได้ร่วมกันทำงาน
ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศ
ในลักษณะทีมเวิร์ก
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2497 ในปี พ.ศ. 2502 เป็นปีที่มีความก้าวหน้า
ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน Dr. B.J. Benatt ทางการผ่าตัดหัวใจที่สำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ

อายุรแพทย์ผู้ชำนาญโรคทรวงอก ได้ถูก WHO ส่งตัว ผู้ เขี ย นได้ ใช้ เ ทคนิ ค การแช่ เ ย็ น ผู้ ป่ ว ยและหยุ ด การ

ให้มาประจำอยูท่ โี่ รงพยาบาลโรคปอด นนทบุรี (ปัจจุบนั ไหลเวียนของโลหิตชัว่ ขณะ (ระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที)
คือสถาบันโรคทรวงอก นนทบุรี) ได้ตรวจพบผู้ป่วยที่ ในการเย็บปิดรูรวั่ ของผนังหัวใจห้องบน (artrial septal
มีอาการโรคหัวใจ จึงได้ส่งตัวมาให้ศาสตราจารย์นาย defect : ASD) สำเร็จเป็นครัง้ แรกในประเทศไทย เมือ่
แพทย์กษาณ จาติกวนิช ซึ่งเป็นศัลยแพทย์พิจารณา วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ณ โรงพยาบาลศิรริ าช
ทำการผ่าตัด เมื่อทำการตรวจและวินิจฉัยแล้วพบว่า และศาสตราจารย์นายแพทย์สมาน มันตาภรณ์ ได้
เป็นโรคลิน้ หัวใจไมตรัลตีบ จึงได้ตดั สินใจทำการผ่าตัด ทำการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยใช้เครื่องปอดและ
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ที่โรงพยาบาล หัวใจเทียม (heart-lung machine) ในผู้ป่วยโรค

ศิริราช และในปีนั้นเอง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะ ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด (pulmonary valvular
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็ได้จัดตั้งหน่วยโรค stenosis) สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย เมื่อ
หัวใจและทรวงอกขึ้นอีกหน่วยหนึ่ง วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2502
การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ยังดำเนิน การใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมนี้ช่วยให้
ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2500 เมื่ อ แพทย์
ศัลยแพทย์สามารถใช้เวลาในการผ่าตัดได้นานเท่าที่
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจทั้ง ต้องการ จึงทำให้การผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจที่มีความ
สาขากุ ม ารเวชศาสตร์ ซับซ้อนทำได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลศิริราชได้นำ
อายุรศาสตร์ และ เครือ่ งปอดและหัวใจเทียมมาใช้ในการผ่าตัดหัวใจแบบ
ศัลยศาสตร์ ที่ เปิดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
ไปศึกษาต่อยัง โดยศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ได้
226 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ทำการผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ ASD การผ่าตัดต่อหลอดเลือดดำเป็นทางเบี่ยงให้เลือดดีไป


อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเครื่องปอดและหัวใจ เลีย้ งกล้ามเนือ้ หัวใจ (aortocoronary bypass graft)
เที ย มมาช่ ว ยในการผ่ า ตั ด แล้ ว แต่ ก็ ยั ง ไม่ ส ามารถ
ก็ได้ทำสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยศาสตรา-
ช่วยเหลือผูป้ ว่ ยโรคลิน้ หัวใจบางประเภทได้ จนกระทัง่ จารย์นายแพทย์ปริญญา สากิยลักษณ์ ที่โรงพยาบาล
ได้มีการผลิตลิ้นหัวใจเทียมขึ้น โดยผู้เขียนได้ทำการ ศิริราช เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517
ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมชนิด Starr-Edwards ให้ ถัดจากนั้นอีก 3 ปี (พ.ศ. 2520) ผู้เขียนได้
กับผูป้ ว่ ยเด็กทีม่ ปี ญ
ั หาลิน้ หัวใจรัว่ ชนิดรุนแรง (mitral นำเทคนิค cardioplegia solution และ tropical
regurgitation) สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย myocardial cooling มาใช้ในการผ่าตัดทีโ่ รงพยาบาล
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2506 ศิริราช ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากการ
ตลอดระยะเวลาที่การผ่าตัดหัวใจมี ค วาม
ผ่ า ตั ด หั ว ใจลดลงจากร้ อ ยละ 9-13 ในช่ ว งก่ อ นปี
รุดหน้าอย่างรวดเร็วนี้ ประเทศไทยได้รบั ความช่วยเหลือ พ.ศ. 2520 เหลือเพียงร้อยละ 2-3
จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจที่มีชื่อเสียงระดับ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่ง
โลกหลายท่าน เช่น Sir Brian G. Baratte Boyes, ถึงปี พ.ศ. 2522 ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกของ
Dr.Donald D. Ross, Dr.Dwight D. Mcgoon และ ประเทศไทยจำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่อและรับ
Dr.Patrick A. Ongley แพทย์เหล่านีไ้ ด้เดินทางมาสอน การฝึกอบรมในต่างประเทศทั้งสิ้น ทำให้จำนวนของ
แนะนำให้ความรู้ทางโรคหัวใจ ตลอดจนสาธิตเทคนิค ศัลยแพทย์หัวใจในประเทศไทยเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
การผ่าตัดใหม่ๆ เช่น การผ่าตัดเปลีย่ นลิน้ หัวใจ aortic ในขณะที่ปริมาณผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องการได้รับการ
ด้วย aortic homograft และการฝังเครือ่ งกระตุน้ หัวใจ ผ่าตัดมีจำนวนมากขึ้น ในที่สุดด้วยการผลักดันของ

ชนิดถาวรให้กับศัลยแพทย์ไทย ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย แพทยสภาจึงได้อนุมัติให้เปิด
ส่วนการผ่าตัดที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง ซึ่ง หลักสูตรการฝึกอบรมศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอก
เป็นที่รู้จักและทำกันเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน คือ ขึ้นในปี พ.ศ. 2523 จึงทำให้จำนวนของศัลยแพทย์

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 227

ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ผลสำเร็จ ในอีก 2 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532


ที่เกิดขึ้นนั้นไม่เพียงแต่จะบรรเทาปัญหาที่ประสบอยู่ นายแพทย์พันธุ์พิษณุ์ สาครพันธุ์ ก็ได้ทำการผ่าตัด
แต่ได้ทำให้เกิดการกระจายตัวของศัลยแพทย์หัวใจ เปลีย่ นหัวใจและปอดได้สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศ
และทรวงอกไปในสถาบันการแพทย์ในเขตภูมิภาค ที่โรงพยาบาลราชวิถี
อีกด้วย วิวฒั นาการด้านการผ่าตัดหัวใจยังคงก้าวหน้า
ในยุคถัดมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าทาง ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง
เทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูง ร่วมกับการพัฒนาความรู้ ยังคงได้รบั การค้นพบและนำมาใช้เพือ่ ช่วยรักษาผูป้ ว่ ย
ความเข้าใจในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และ โรคหัวใจหลายชนิด เช่น การปลูกฝัง stem cell ลงใน
พยาธิวิทยาของโรคหัวใจชนิดต่างๆ ทำให้ศัลยแพทย์ หัวใจ รวมทั้งการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการผ่าตัด
หั ว ใจและทรวงอกสามารถก้ า วข้ า มขี ด จำกั ด เดิ ม เป็นต้น วิทยาการเหล่านี้จะได้รับการศึกษาค้นคว้า
ด้ ว ยการริ เริ่ ม การผ่ า ตั ด เปลี่ ย นหั ว ใจให้ กั บ ผู้ ป่ ว ย พัฒนาและปรับปรุงต่อไป เพื่อก่อให้เกิดวิธีการรักษา
ศาสตราจารย์ น ายแพทย์ ช วลิ ต อ่ อ งจริ ต แห่ ง
ใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือให้ผู้ป่วยโรคหัวใจให้มีโอกาส
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ มี อ ายุ ที่ ยื น ยาวและมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น ต่ อ ไปใน
สำเร็ จ เป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทยและในเอเชี ย
อนาคต
ตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2530
228 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 229

สุดใจด้วยไมตรี
230 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

อนุทินคู่มือประจำบ้าน
รอบรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด
พลอากาศตรีนายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล
บรรณาธิการ

พันธกิจในการจัดตัง้ มูลนิธหิ วั ใจแห่งประเทศ สิ่งแวดล้อม และจากพฤติกรรมของตัวเอง หรือการ


ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามนโยบายที่กำหนดให้ ปฏิบัติตัว ทั้งนี้ การที่จะมีหัวใจดีมีสุขก็จะต้องเข้าใจ
“ประชากรชาวไทยหัวใจดีมสี ขุ ” โดยคำนึงถึงการเกิด ถึงองค์ความรู้ของโรคหัวใจและหลอดเลือดเริ่มจาก
โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ด้วยองค์ประกอบของ 3 สาเหตุ การเกิดโรคฯ การป้องกันโรคฯ และการเข้าถึงขบวนการ
หลัก คือ โรคทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงทางพันธุกรรม รั ก ษาโรคฯ การฟื้ น ฟู สุ ข ภาพหลั ง การรั ก ษา คู่ มื อ
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 231

ประจำบ้านรอบรู้โรคหัวใจ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการ ตัวเอง หรือการปฏิบตั ติ วั ในชีวติ ประจำวัน ทีไ่ ม่ถกู ต้อง


เผยแพร่องค์ความรู้ดังที่กล่าวมาแล้วอย่างครบวงจร เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออก
สาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดขึ้นโดยกำเนิด กำลังกาย ความเครียด และการหักโหมในการทำงาน
(กรรมพันธุ์) รวมทั้ง เพศ และอายุนั้น ถึงแม้ว่าใน โดยขาดการพักผ่อนที่พอเพียง ทั้งนี้ ทำให้สัดส่วน
ปัจจุบันนี้ ได้มีความก้าวหน้าในการศึกษาวิจัยในด้าน ของการใช้ในเวลาเพื่อปฏิบัติตัวในวันหนึ่งวันหนึ่งไม่
วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และตลอดจนทางเทคนิค สมดุล ฉะนัน้ พฤติกรรมหลักของมนุษย์ใน 24 ชัว่ โมง

แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไข ป้องกัน และรักษาให้เป็น ที่แบ่งออกเป็น 4 ระบบ คือ ระบบการรับประทาน
มาตรฐานสากลได้ อาหารและขับถ่าย ระบบและวิถกี ารทำงาน ระบบการ
สาเหตุของการเกิดโรคทีเ่ กิดขึน้ โดยสิง่ แวดล้อม ออกกำลังกาย และระบบการใช้ชวี ติ ส่วนตัวและให้กบั
ในภาพรวม หมายถึงเกิดมลพิษและมลภาวะ หรือผล ครอบครัวมีความสำคัญที่จะต้องบริหารจัดการให้เกิด
กระทบที่เกิดจากมวลมนุษย์ที่มุ่งหาผลประโยชน์จาก ความสมดุล ด้วยการใช้ทฤษฎีพอเพียง
ทรัพยากรธรรมชาติทเี่ กินกว่าธรรมชาติจะรับได้ กลาย ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงการจุดประกาย
เป็นการทำลายระบบนิเวศน์ทที่ ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลง
เท่านั้น เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะเข้าถึงคู่มือ
วิถีธรรมชาติทั้งระบบ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เรียกว่า ประจำบ้านรอบรู้โรคหัวใจ ส่วนในรายละเอียดขยาย
“ภาวะเรือนกระจก หรือ ภาวะโลกร้อน” ความแออัด ความทั้งหมด ทางมูลนิธิหัวใจฯ ได้รับเกียรติจากท่าน
ของประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ การเปลีย่ นแปลงวิถกี ารทำงาน วิทยากรผูท้ รงคุณวุฒิ ผูม้ ปี ระสบการณ์ และผูท้ มี่ คี วาม
ทีท่ ำให้การเคลือ่ นไหวของร่างกายลดน้อยลง ขาดการ ตัง้ ใจดีได้กรุณานิพนธ์บทความและองค์ความรูท้ งั้ หมดนี้
ออกกำลังกายทีถ่ กู ต้อง ร่วมกับการเปลีย่ นแปลงในการ ให้เป็นวิทยาทานแก่ชาวไทยทุกคนที่สามารถนำไป
บริโภคทางโภชนาการทีเ่ กินกว่าความต้องการทำให้มวล ปฏิบตั ไิ ด้ เพือ่ ทีจ่ ะลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
มนุษย์ มีน้ำหนักเกิน และเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้น เป็นตัว ในโอกาสนี้ในนามของมูลนิธิหัวใจฯ ขอขอบคุณใน
กระตุ้นให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรคหัวใจ ความกรุณาของท่านวิทยากรและผูท้ รงคุณวุฒทิ กุ ท่าน
และหลอดเลื อ ด เช่ น ทำให้ เ กิ ด ความดั น โลหิ ต สู ง
จำนวนทั้งสิ้น 34 ท่าน
เบาหวาน และไขมันผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ในวาระครบรอบ 25 ปี มู ลนิธิหัวใจแห่ง
ของโรคหัวใจและหลอดเลือด ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 27
สาเหตุของการเกิดโรคโดยพฤติกรรมของ
พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะกรรมการมูลนิธิหัวใจฯ
232 คู่มือประจำบ้าน รอบรู้เรื่องโรคหัวใจ

ได้เล็งเห็นความสำคัญในด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ หลอดเลือด ในการนี้จะสำเร็จได้ก็ด้วยการสนับสนุน


สู่ประชาชน ด้วยความหวังที่ว่า ชาวไทยจะได้เห็นถึง จากผู้ มี อุ ป การะคุ ณ ทั้ ง หลาย ขอขอบคุ ณ ท่ า นผู้ มี
ภั ย อั น ตรายของโรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ด อี ก ทั้ ง
อุปการะคุณทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย
รู้ถึงแนวทางการป้องกันโรคฯ และเมื่อเป็นโรคแล้ว การสื่อเอกลักษณ์ของการจัดทำคู่มือประจำ
ควรจะปฏิ บั ติ ตั ว อย่ า งไรให้ มี สุ ข หรื อ ควรจะฟื้ น ฟู บ้าน รอบรูโ้ รคหัวใจ “ใต้รม่ พระบารมี ชาวไทยหัวใจดี

อย่างไรให้เหมาะสมกับวิชาชีพ ด้วยการเน้นคุณภาพ มีสุข”


ของชีวิตและการลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและ

80 พรรษามหามงคล 2550 8.0” x 8.0” ขนาดกล่องหนังสือ


75 พรรษามหามงคล 2550 7.5” x 7.5” ขนาดหนังสือคู่มือประจำบ้าน
52 พรรษามหามงคล 2550 52 คน คณะผู้นิพนธ์ และคณะผู้จัดทำ (ซ้ำ 1)
ใต้ร่มพระบารมี ตราลักษณ์และ ปก และสี
พระบรมฉายาลักษณ์
ครบรอบ 25 ปี 250 หน้า รวมหน้าใน ปกหน้าและหลัง
มูลนิธิหัวใจฯ 2550

ท้ายนี้ ด้วยไมตรีที่ปรารถนาดีให้ชาวไทยหัวใจดีมีสุข ใต้ร่มพระบารมี


ได้ประสบความสำเร็จในการใช้คู่มือประจำบ้านรอบรู้โรคหัวใจ ด้วยการนำไป
ปฏิบัติตนเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสม ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน
ทั้งในด้านองค์ความรู้ วิชาการ และแนวทางปฏิบัติลดปัจจัยเสี่ยง ที่ผ่านการ
ศึกษาวิจัยมาแล้วอย่างจริงจัง แล้วท่านก็จะห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือด
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 233

รายนามผู้มีอุปการะคุณ
รายนามผู้นิพนธ์
และคณะจัดทำ
รายนามผู้นิพนธ์

ศ.นพ.กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฎ์กุล ศ.เกียรติคุณ พญ.จาดศรี ประจวบเหมาะ


หน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ หน่วยกุมารแพทย์โรคหัวใจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

น.อ.นพ.กัมปนาท วีรกุล ศ.คลินิก (พิเศษ) นพ.ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์
ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจันทรุเบกษา หน่วยโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ศ.เกียรติคุณ นพ.กัมพล ประจวบเหมาะ
ที่ปรึกษาอาวุโส โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ รศ.นพ.ถาวร สุทธิไชยากุล
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีศักดิ์ โชติวัฒนพงษ์
หัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์ สถาบันโรคทรวงอก
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
องคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์
น.อ.นพ.ธราธร รัตนเนนย์
ผศ.นพ.ครรชิต ลิขิตธนสมบัต ิ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ
หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กระทรวงกลาโหม


รายนามผู้นิพนธ์

นพ.ธาดา ชาคร พล.ต.นพ.ประสาท เหล่าถาวร


ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
พ.อ.นพ.นครินทร์ ศันสนยุทธ
แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด กองอายุรกรรม พญ.ปิยนาฏ ปรียานนท์
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

ศ.พญ.นวพรรณ จารุรักษ์ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา
แพทย์พยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รองหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ผูอ้ ำนวยการศูนย์โรคหัวใจหลอดเลือดและเมแทบอลิซมึ
ผู้อำนวยการสถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรงพยาบาลปิยะเวท
พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์
ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ หน่วยฟื้นฟูหัวใจ สถาบันเพอร์เฟคฮาร์ท
ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ โรงพยาบาลปิยะเวท
หน่วยโรคหัวใจเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รศ.นพ.พีระ บูรณะกิจเจริญ
หัวหน้าหน่วยความดันโลหิตสูง
พล.อ.นพ.ประวิชช์ ตันประเสริฐ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจพระราม 9 ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลพระราม 9
รายนามผู้นิพนธ์

ผศ.นพ.ภากร จันทนมัฏฐะ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์


หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผศ.นพ.สุชาต ไชยโรจน์
ผศ.นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา หน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์
หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ พญ.สุดารัตน์ ตันสุภสวัสดิกุล
ประธานหลักสูตร วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) หัวหน้าห้องสวนหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
สาขาโภชนวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาสถาบันโรคทรวงอก

ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ ผศ.นพ.สุรพันธ์ สิทธิสุข
หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

นพ.วิทยา ไชยธีระพันธ์ ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา
สำนักงานศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ อายุรแพทย์โรคทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลพระรามเก้า

ศ.พิเศษ นพ.เศวต นนทกานันท์ ศ.นพ.อภิชาติ วิชญาณรัตน์
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลไทยนครินทร์ หน่วยต่อมไร้ท่อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คณะกรรมการผู้จัดทำ

คณะที่ปรึกษา คณะสนับสนุนการจัดพิมพ์ คณะอำนวยการ


ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช คุณสนั่น อังอุบลกุล พญ.คุณสวรรยา เดชอุดม
ศ.นพ.ปริญญา สากิยลักษณ์ คุณวัลลภ เจียรวนนท์ คุณธัญญา สุรัสวดี
ศ.นพ.ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ คุณสุทธิพร จิราธิวัฒน์ คุณวีรวรรณ เรืองนิวัติศัย
พล.อ.นพ.ประวิชช์ ตันประเสริฐ

ฝ่ายธุรการ ฝ่ายศิลป์
คุณมลฤดี แสงกลิ่น คุณวันวิสาข์ ชูชน คุณวิเชียร วงศ์ศุภลักษณ์
คุณวิทยา ใจดี คุณวัชรีพร คงวิลาศ คุณณฐศศิร์ ประถมสิทธิ์


คณะดำเนินงาน
บรรณาธิการ พล.อ.ต.นพ.บรรหาร กออนันตกูล
บรรณาธิการร่วมฝ่ายวิชาการ ผศ.นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา พญ.นภาพร ลิมปิยากร
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ครบ ๒๕ ปี

You might also like