You are on page 1of 224

หลวงพ่อพระงาม

พระประธานในพระอุโบสถ
2
หลวงพ่อเพชรมีชยั
พระประธานในวิหารหลวง
3
สัมโมทนียกถา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้วา่ “ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย เราไม่
เล็งเห็นเหตุอนื่ แม้อย่างหนึง่ ทีเ่ ป็นไปเพือ่ ประโยชน์ใหญ่ เหมือนความ
เป็นผูม้ มี ติ รดี เมือ่ บุคคลมีมติ รดี กุศลธรรมทีย่ งั ไม่เกิด ย่อมเกิดขึน้
และอกุศลธรรมทีเ่ กิดขึน้ แล้ว ย่อมเสือ่ มไป” พระเดชพระคุณพระราช-
พัชราภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นพระแท้ผรู้ กั ในการฝึกฝน
อบรมตนเอง เพียบพร้อมทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา

และการปกครอง เป็นพุทธบุตรผูร้ กั ในการเทศน์สอนและอบรม ชีท้ าง


สวรรค์นิพพานแก่เหล่าพุทธบริษัท โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
ลำบาก นับเป็นพุทธบุตรผูด้ ำเนินตามรอยบาทพระบรมศาสดาโดยแท้
นอกจากนี้ พระเดชพระคุณนับเป็นพระต้นบุญต้นแบบ ผูเ้ ป็น
ทัง้ มิตรดีและมิตรแท้ ทีท่ มุ่ เทชีวติ จิตใจในการพูดให้จำ ทำให้ดู ทำหน้าที่
ทิศเบื้องบนแก่เหล่าสาธุชนทั้งหลาย โดยไม่ขาดตกบกพร่อง นั่นคือ
พระเดชพระคุณได้อนุเคราะห์พุทธบริษัท ด้วยการห้ามจากความชั่ว
ให้ตงั้ อยูใ่ นความดี ได้ทำการอนุเคราะห์ทงั้ ด้านธรรมทานและวัตถุทาน
ด้วยจิตใจทีง่ ดงาม เทศน์สอนญาติโยมให้ได้ฟงั สิง่ ทีย่ งั ไม่เคยฟัง ทำสิง่ ที่
เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง และบอกทางสวรรค์ให้เหล่าสาธุชน โดยการ
เทศน์สอน แสดงปาฐกถาตามสถานที่ต่างๆ มีการเขียนบทความ
บทกลอนสอนใจมากมาย
ตลอดชีวิตในเพศสมณะของพระเดชพระคุณนั้น ได้ทำหน้าที่
เผยแผ่ความจริงของชีวิต หมั่นเทศน์สอนแนะนำหนทางสวรรค์แก่

พุทธบริษทั เรือ่ ยมา แม้วา่ ในภาวะโลกปัจจุบนั กระแสกิเลสจะลุกท่วมใจ


ของชาวโลก แต่หัวใจของยอดกัลยาณมิตรของพระเดชพระคุณกลับ
4
โชติชว่ งยิง่ กว่า เป็นผูก้ ล้าทีจ่ ะชีถ้ กู ชีผ้ ดิ ด้วยตระหนักว่า พระคือผูน้ ำ
จิตวิญญาณ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบต่อเพือ่ นมนุษยโลก ด้วยการทำหน้าที

ชีท้ างสว่าง ช่วยปิดอบาย นำไปสูส่ วรรค์และนิพพานแก่มนุษยชาติโดยเอา
ชีวติ เป็นเดิมพัน
ดังนั้น การได้รับพระมหากรุณาพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์
เป็นพระราชาคณะชัน้ เทพ ที่ “พระเทพรัตนกวี” จากพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยูห่ วั ในครัง้ นี้ นับว่าเป็นพยานยืนยันการทำความดีและบ่งบอก
ถึ ง ผลงานอั นโดดเด่ น ที่ ท รงเกี ย รติ ที่ สุ ด ที่ น ำความปลื้ ม ปี ติ ใ จมาสู

เหล่าบรรพชิตและคฤหัสถ์ผเู้ ป็นศิษยานุศษิ ย์กนั ถ้วนหน้า
กระผมในนามตัวแทนของคณะสงฆ์วัดพระธรรมกาย และ
มูลนิธิธรรมกาย จึงถือโอกาสขอแสดงมุทิตาสักการะ ด้วยการขอ
อนุญาตจัดพิมพ์หนังสือ “พุทธภาษิตสะกิดใจ เล่ม ๑” เพือ่ เป็นส่วนหนึง่
ในการขยายธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระเดช-
พระคุณได้แสดงเอาไว้ในวาระต่างๆ มาให้สาธุชนได้มีโอกาสอ่านและ
น้อมนำไปปฏิบัติ จะได้เป็นพุทธบริษัทผู้มีสัมมาทิฏฐิครบถ้วนบริบูรณ์
และเกิดศรัทธาเลือ่ มใสในพระรัตนตรัยยิง่ ๆ ขึน้ ไป
ขอกราบมุทติ าสักการะด้วยความปิตยิ นิ ดียงิ่



พระราชภาวนาวิสทุ ธิ์
เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ประธานมูลนิธธิ รรมกาย
5
คำนำ

6
7
สารบัญ
ประวัติ พระเทพรัตนกวี (สุรนิ ทร์ ชุตนิ ธฺ โร ป.ธ.๗)
พุทธภาษิตสะกิดใจ
๑ คนอืน่ ชนะง่ายแต่ใจชนะยาก
๒ คนอืน่ ชอบฝึกฝน แต่ใจตนไม่ชอบฝึก
๓ อบรมดี สังคมจะมีแสงสว่าง
๔ ป่าพึง่ ฝน คนพึง่ หลัก
๕ เกิดเป็นคน ต้องฝนให้ถงึ ดี
๖ รักตัว ต้องกลัวเสีย
๗ คนอยูท่ คี่ า่ ราคาอยูท่ สี่ ำเร็จ
๘ อันความดี จะมีได้ทใี่ จเรา
๙ รักดีตอ้ งหนีชวั่ รักตัวต้องอบรม
๑๐ เห็นแก่ตน เป็นคนสกปรก
๑๑ จะเป็นบัณฑิต ต้องติดฝึกตน
๑๒ ทีพ่ งึ่ สีห่ ลัก ต้องประจักษ์แก่ตน
๑๓ หุน่ เหมือนกาย ใจเหมือนคนเชิด
๑๔ รักตัวให้ผกู รักถูกให้ต ี
๑๕ บริสทุ ธิเ์ ป็นบัณฑิต ผิดเป็นพาล
๑๖ สอนเขา เราต้องทำ
๑๗ ติดกี อ่ ตัว ติชวั่ ทำลาย
๑๘ พิจารณาตน จะไม่เป็นคนถูกหลอก
๑๙ อบายมุขสุขติด จะล่อจิตให้ตกหล่ม
๒๐ คนดีตอ้ งฝึกตน เกิดเป็นคนต้องพยายาม
๒๑ คนชัว่ ร้าย คือตายทัง้ เป็น
๒๒ สติตามคือยามใจ
๒๓ คนดี ต้องไม่มปี ล่อยใจ
๒๔ นักเสียสละ ต้องละชัว่
8
๒๕ ลืมตนลมตาย เห็นอบายเป็นของดี
๒๖ ชัว่ เขาชอบสน ชัว่ ตนไม่สนใจ
๒๗ รักดีตอ้ งแก้ไข ถ้าปล่อยไปจะแก้ตวั
๒๘ ติตวั ได้ จะใช้ตวั เป็น
๒๙ โรคประมาท จะระบาดถึงตาย
๓๐ ความไม่ประมาท เป็นสมบัตเิ ศรษฐี
๓๑ ถ้ามีสตู รวัด จะมัดให้เป็นคนดี
๓๒ คนเมือ่ ตาย จะไปทีช่ อบ
๓๓ อายชัว่ กลัวบาป เป็นเครือ่ งประดับคนดี
๓๔ ดีหรือไม่ดี เป็นวิธแี ก้ปญั หา
๓๕ บัณฑิตปรากฏ ทีป่ ระโยชน์สองทาง
๓๖ ทำดีตามวัย ทำใจตามฝึก
๓๗ คนบาปหนา เทวดาก็ชว่ ยไม่ได้
๓๘ เครือ่ งหมายดี อยูท่ กี่ ลัวบาป
๓๙ หลักทำงาน อยูท่ กี่ ารเอาจริง
๔๐ คนไม่กลัว จะชัว่ ตลอดชาติ
๔๑ ทำยากให้งา่ ย จะสบายทัง้ ชาติ
๔๒ ดีสามประเภท จะสร้างประเทศรุง่ เรือง
๔๓ บาปกลิน่ เหม็น แต่คนเห็นว่าดี
๔๔ ราคาของคน อยูท่ ตี่ นไม่ทำชัว่
๔๕ โกงชาตินี้ จะใช้หนีช้ าติหน้า
๔๖ โต้ตอบชัว่ เป็นตัวศัตรู
๔๗ สุขลวง คือบ่วงอบาย
๔๘ คนดีมรี าคา ชัว่ ช้าราคาตก
๔๙ เป็นให้เป็น จะเห็นประโยชน์
๕๐ สุขไม่มผี ล แก่คนทำชัว่
๕๑ กรรมสร้างทุน คุณสร้างคน
๕๒ กรรมลิขติ เราขีดกันเอง
9
๕๓ สติตวั นำ ตัง้ ใจทำตัวสำเร็จ
๕๔ แผลกรรม ทำคืนไม่ได้
๕๕ คนชัง่ ผลัด จะตัดประโยชน์
๕๖ ทำจริงพึง่ พิงได้
๕๗ เชือ่ ไม่ดี จะมีกรรมเวร
๕๘ ปากไวใจโกรธ จะหมดความดี
๕๙ เร็วช้าถ้าดี ต้องมีสติ
๖๐ ถ้าดีจริง ต้องดีตอบจะขอบยิง่
๖๑ ซือ่ ปัญญา จะพาเจริญ
๖๒ เสือเป็นเหตุ ให้กเิ ลสเข้าบ้าน
๖๓ โรคไม่กลัว จะเกิดชัว่ ร้ายแรง
๖๔ ถ้าปล่อยตามใจ จะอยากได้ไม่รจู้ บ
๖๕ ถ้าเชือ่ สาม ก. จะพอไม่เป็น
๖๖ ความพอดี จะมีตรงกลาง
๖๗ ถ้าหลงกาม จะได้นามว่าหลงกล
๖๘ รูจ้ กั พอ จะก่อสุข
๖๙ มุทติ า จะพาสบาย
๗๐ คนโลภมาก จะอยากไม่หยุด
๗๑ อำนาจเสพติด มีพษิ สารพัด
๗๒ ชัว่ ในใจ คือไฟเผาผลาญ
๗๓ โลภโรคร้าย ทำลายโลก
๗๔ ถ้าไร้นำ้ ใจ จะกลายเป็นเศษคน
๗๕ หลงเหยือ่ ตัณหา จะเหมือนปลาติดเบ็ด
๗๖ หลงกับติด เป็นมิตรกับคนเมา
๗๗ อยากพร่องบุญ คุณพร่องเวร
๗๘ บุญเป็นของเรา ถ้าเว้นเขาทัง้ สี

๗๙ หลงเพราะรู้ น่าอดสูยงิ่ นัก
๘๐ โกรธไวเหมือนไฟชอร์ต
10
๘๑ สนิมใจ เกิดได้จากความโกรธ
๘๒ จุดระเบิด จะเกิดทีโ่ กรธ
๘๓ เศษไฟกิเลส เป็นเหตุหายนะ
๘๔ ยักษ์สามหน้า ผูฆ้ า่ ตัวเรา
๘๕ จะหมดเหตุรา้ ย ด้วยโซ่ใจขันตี
๘๖ ปัญญาพาคนให้พน้ ทุกข์
๘๗ ทะเลาะวิวาท คือประกาศความชัว่
๘๘ ยักษ์ยมิ้ เมือ่ คนยอม
๘๙ รูถ้ กู รูผ้ ดิ แต่ตดิ ทีพ่ ดู ไม่ได้
๙๐ ครอบครัวดีเด่น จะเป็นวิมาน
๙๑ อารมณ์เก็บกด จะมีกำหนดระเบิด
๙๒ โกรธมี ความดีหมด
๙๓ จน ทุกข์ โทษ ลดคนให้หม่นหมอง
๙๔ ทุกข์ดหี มดภัย ทุกข์รา้ ยเสียคน
๙๕ คนใจไวนิสยั เสีย
๙๖ โกรธพาหลง โกงพาโลภ
๙๗ เมาโกรธ ยศพินาศ
๙๘ จนกับโกรธ ระวังโทษจะเกิดมี
๙๙ รูใ้ จเข้าใจ คือสายใยครอบครัว
๑๐๐ กิเลสเข้าสิง ของจริงจะไม่เห็น

11
ประวัติ
พระเทพรัตนกวี (สุรนิ ทร์ ชุตนิ ธฺ โร ป.ธ.๗)
เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์

R

๑. ตำแหน่ง
ชือ่ พระเทพรัตนกวี ฉายา ชุตนิ ธฺ โร อายุ ๗๒ พรรษา ๕๐
วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ธ.๗ วัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ปัจจุบนั ดำรงตำแหน่ง
๑. เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)
๒. เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์
๓. พระอุปชั ฌาย์

๒. สถานะเดิม
๑๕
ชือ่ สุรนิ ทร์ นามสกุล แย้มสุข เกิด ๓ ฯ ๓ ค่ำ ปีฉลู ตรง
กับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๐ บิดา นายนาค แย้มสุข
มารดา นางมณี แย้มสุข บ้านเลขที่ ๓๗ หมูท่ ี่ ๑ ตำบลพยุหะ
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

13
๓. บรรพชา
๑๓
วัน ๒ ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ วันที่ ๑๑ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
วัดเนินเหล็ก ตำบลเนินเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุทยั ธานี
พระอุปชั ฌาย์ พระอุดมธรรมาภาณ (สม สุนทฺ รธมฺโม) วัด
ทับทัน ตำบลทับทัน จังหวัดอุทยั ธานี

๔. อุปสมบท

วันที่ ๑ ฯ ๕ ค่ำ ปีเถาะ วันที่ ๒๗ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒
ณ วัดเนินเหล็ก ตำบลเนินเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัด
อุทยั ธานี
พระอุปชั ฌาย์ พระครูอทุ ยั ธรรมวินจิ (จิว๋ สุขาจาโร ป.ธ.๓)
วัดเนินเหล็ก ตำบลโนนเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุทยั ธานี
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูอกุ กฤตสุตการ (อำนวย ป.ธ.๔)
วัดหนองเต่า จังหวัดอุทยั ธานี
พระอนุสาวนาจารย์ พระสมุหบ์ ญ ุ ธรรม วัดเนินเหล็ก จังหวัด
อุทยั ธานี

๕. วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ. ๒๕๐๘ สำเร็จการศึกษาชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๖

โรงเรียนวินจิ ประสิทธิเวช อำเภอเมือง

จังหวัดอุทยั ธานี

14
(๒) พ.ศ. ๒๔๙๖ สอบไล่ได้ น.ธ.เอก สำเรียนคณะจังหวัด

อุทยั ธานี วัดเนินเหล็ก อำเภอเมือง

จังหวัดอุทยั ธานี
(๓) พ.ศ. ๒๕๑๔ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๗ สำนักเรียนคณะจังหวัด

เพชรบูรณ์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง

จังหวัดเพชรบูรณ์
(๔) พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รบั ปริญญาคุรศุ าสตร์มหาบัณฑิต-

กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ-

เพชรบูรณ์
(๕) พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รบั ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต-

กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-

ราชวิทยาลัย
(๖) การศึกษาพิเศษ สอบได้จฬู อภิธรรมิกตรี
สอบได้วชิ าครูมลู ภาษาไทย

จังหวัดนครสวรรค์
(๗) ความชำนาญการ การแสดงพระธรรมเทศนา

การปาฐกถาธรรม การบรรยายธรรม

และการเขียนบทความธรรมะ

การแต่งบทกลอน
๖. งานปกครอง
(๑) พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดโกรกพระใต้

อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
(๒) พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ

อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

15
(๓) พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
(๔) พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นพระอุปชั ฌาย์
(๕) พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ
(๖) พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์
(๗) พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (วัดราษฎร์)
(๘) พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ (พระอารามหลวง)
(๙) พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์

๗. งานการศึกษา
(๑) พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นครูสอนปริยตั ธิ รรม แผนกบาลี

สำนักศาสนศึกษา วัดโพธาราม

อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นครูสอนปริยตั ธิ รรม แผนกบาลี

สำนักศาสนศึกษา วัดโกรกพระใต้

อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นครูสอนปริยตั ธิ รรม แผนกบาลี

สำนักศาสนศึกษา วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง

จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นผูอ้ ำนวยการสอบธรรมสนามหลวง

อำเภอเมือง โดยคำสัง่ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์


(เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดเพชรบูรณ์)

16
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง

คณะสงฆ์ภาค ๔ โดยพระบัญชาของสมเด็จ

พระสังฆราช
พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดมหาธาตุ

อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เป็นครูใหญ่โรงเรียน

ศึกษาผูใ้ หญ่วดั มหาธาตุ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์


พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นครูใหญ่โรงเรียนปริยตั ธิ รรมแผนก

สามัญศึกษา วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง

จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปริยตั ธิ รรม

แผนกสามัญศึกษา วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง

จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ.๒๕๔๐ - ปัจจุบนั เป็นประธานสนามสอบบาลี

สนามหลวง สำนักเรียนคณะจังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ.๒๕๔๕ - ปัจจุบนั เป็นกรรมการอบรมบาลีกอ่ นสอบ

สนามหลวง คณะสงฆ์ภาค ๔
พ.ศ.๒๕๔๙ - ปัจจุบนั ประธานกรรมการบริหาร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลังกรณราชวิทยาลัย

ห้องเรียนจังหวัดเพชรบูรณ์
เป็นอาจารย์พเิ ศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา-

ลั ง กรณราชวิ ท ยาลั ย ห้ อ งเรี ย นจั ง หวั ด

เพชรบูรณ์
เป็นกรรมการออกข้อสอบธรรมสนามหลวง
17
๘. งานเผยแผ่
(๑) พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นพระธรรมทูต สายที่ ๓

จังหวัดนครสวรรค์
(๒) พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นพระธรรมทูต สายที่ ๓

จังหวัดเพชรบูรณ์
(๓) พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ

อบรมประชาชนประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
(๔) เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตจังหวัดเพชรบูรณ์
(๕) พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นเจ้าสำนักปฏิบตั ธิ รรมประจำ

จังหวัดเพชรบูรณ์
(๖) พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นประธานศูนย์พฒ ั นาคุณธรรม

จังหวัดเพชรบูรณ์
(๗) ดำเนินการจัดงานพิธเี นือ่ งในวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี
(๘) ดำเนินการจัดงานพิธเี นือ่ งในวันวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี
(๙) ดำเนินการจัดงานพิธเี นือ่ งในวันอัฎฐมีบชู าเป็นประจำทุกปี
(๑๐) ดำเนินการจัดงานพิธเี นือ่ งในวันอาสาฬหบูชาเป็นประจำทุกปี
(๑๑) ดำเนินการจัดโครงการ “อุโบสถสัญจร” ในเขตอำเภอ-

เมืองเพชรบูรณ์ ตลอดพรรษา
(๑๒) ดำเนินการจัดโครงการ “ธรรมสัญจร” ในเขตอำเภอเมือง

เพชรบูรณ์ ตลอดพรรษา
(๑๓) ดำเนินการโครงการ “สร้างพระสูโ่ รงเรียน เฉลิมพระเกียรติ”

๖๗ โรงเรียน
18
(๑๔) ดำเนินการโครงการ “สงฆ์อาทร” ร่วมกับคณะสงฆ์

จังหวัดเพชรบูรณ์สร้างบ้านให้ประชาชนผูข้ ดั สน

และช่วยเหลือให้มอี าชีพสุจริต

๙. งานเจ้าคณะ
ได้ดำเนินการในหน้าที่เพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์
และการพระศาสนาตามตำแหน่งทีไ่ ด้รบั มอบหมายด้วยความเรียบร้อย
ทุกประการ โดยเฉพาะงานในหน้าทีห่ ลักของเจ้าคณะปกครอง ๒ ประการ
ดังนี ้
(๑) งานตรวจการคณะสงฆ์ ในเขตปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๑ ได้ออกตรวจการคณะสงฆ์

ปีละ ๓ ครัง้ ดังนี้


ได้ออกตรวจเยีย่ มเจ้าคณะอำเภอในอำเภอต่างๆ

ได้แนะนำชีแ้ จงแก่เจ้าคณะอำเภอทัง้ ๑๑ อำเภอ

จำนวน ๘ เรือ่ ง คือ


๑. การปกครอง
๒. การเผยแผ่
๓. การศึกษา และการศึกษาสงเคราะห์
๔. การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์
๕. ปัญหายาเสพติด และแนวทางแก้ไข
๖. การจัดทำแผนผังวัด
๗. การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของวัด
๘. การพัฒนาวัด และการจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน
19
(๒) งานจัดการประชุมพระสังฆาธิการ ในเขตปกครอง

พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๑ ได้จดั ประชุมพระสังฆาธิการ

ในเขตปกครองทุกปี ปีละ ๒ ครัง้ ดังนี ้


มีหวั ข้อการประชุม ๗ เรือ่ ง ดังนี้
๑. ทบทวนมติทปี่ ระชุมครัง้ ก่อน
๒. ชีแ้ จงอุปสรรคในการปฏิบตั หิ น้าที่
๓. ประกาศผลการสอบธรรมสนามหลวง และบาลีสนามหลวง
๔. ทำความเข้าใจกับพระราชบัญญัตคิ ณะสงฆ์
๕. จริยาพระสังฆาธิการ
๖. หน้าทีข่ องเจ้าอาวาส
๗. การจัดการอบรมไวยาวัจกร

๑๐. งานพิเศษ
(๑) พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รบั แต่งตัง้ เป็นผูร้ กั ษาการแทน-

เจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
(๒) พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นประธานอำนวยการสอบธรรมสนามหลวง

อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตามคำสั่งเจ้าสำนัก

เรียนคณะจังหวัดเพชรบูรณ์
(๓) เป็นกรรมการควบคุมการสอบบาลีสนามหลวง

คณะจังหวัดเพชรบูรณ์
(๔) พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นกรรมการร่วมประชุมเตรียมการรับเสด็จฯ

ทรงเปิดอนุสาวรียส์ มเด็จพระนเรศวรมหาราช

อำเภอวิเชียรบุรี
20
(๕) เป็นกรรมการร่วมประชุมวางศิลาฤกษ์

สร้างอนุสาวรียพ์ อ่ ขุนผาเมือง ทีต่ ำบลน้ำชุน

อำเภอหล่มสัก
(๖) พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รบั พัดวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น

จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
(๗) ได้รบั เข็มเกียรติคณ
ุ นักพัฒนาแผ่นดินธรรม-

แผ่นดินทอง จาก ฯพณฯ พลเอกเปรม

ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
(๘) พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นทีป่ รึกษาเตรียมงานรับเสด็จฯ

พระราชทานพุ ท ธนวราชบพิ ตรแก่จังหวัด

เพชรบูรณ์
(๙) พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นกรรมการทีป่ รึกษาเตรียมการรับเสด็จฯ

เปิดตึกอำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดเพชรบูรณ์
(๑๐) พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นพระสังฆานุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม

จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

และพลังงานแห่งชาติ
(๑๑) พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นกรรมการพิจารณาเรือ่ ง

การขออนุญาตสร้างวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์

เป็นกรรมการพิจารณาขออนุมตั เิ งิน

อุดหนุนบูรณะวัด
เป็นกรรมการทีป่ รึกษายุวพุทธิกสมาคม

จังหวัดเพชรบูรณ์
21
(๑๒) พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นกรรมการควบคุมศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์

ของวัดในจังหวัดเพชรบูรณ์
(๑๓) พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นกรรมการร่วมพิจารณาคุณสมบัต

ผูท้ ำคุณประโยชน์ตอ่ พระศาสนา

เสนอขอรับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร
(๑๔) พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รบั เสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพ-

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รบั โล่ผมู้ ผี ลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม

จังหวัดเพชรบูรณ์ จากรัฐมนตรีวา่

การกระทรวงศึกษาธิการ

๑๑. สมณศักดิ์
(๑) พ.ศ.๒๔๑๗ ได้รบั พระราชทานสมณศักดิเ์ ป็นพระราชาคณะ-

ชัน้ สามัญ (ส.ป.) ในราชทินนามที่

พระศรีพชั โรดม
(๒) พ.ศ.๒๔๔๓ ได้รบั พระราชทานเลือ่ นสมณศักดิเ์ ป็น

พระราชาคณะชัน้ ราชในราชทินนามที่

พระราชพัชราภรณ์
(๓) พ.ศ.๒๔๕๑ ได้รบั พระราชทานเลือ่ นสมณศักดิเ์ ป็น-

พระราชาคณะชัน้ เทพในราชทินนามที่

พระเทพรัตนกวี
R
22
พุทธภาษิตสะกิดใจ
เล่ม ๑
โดย พระศรีพชั โรดม
k

คนอืน่ ชนะง่ายแต่ใจชนะยาก
R
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนเท่านัน้ เป็นการดี

เป็นธรรมดาของคน ย่อมไม่มใี ครอยากจะเป็นผูแ้ พ้ ทุกคนต่าง
ก็มงุ่ หวังจะเป็นผูช้ นะทัง้ นัน้ แม้แต่เด็กทีย่ งั เล็ก ก็ยงั หวังว่า ตอนนีส้ ไู้ ม่
ได้ แต่ถา้ โตขึน้ ไปในอนาคตยังไม่แน่ อาจจะชนะได้
การชนะศัตรูทเี่ อาเปรียบกัน เป็นต้น นับว่าเป็นการชนะทีย่ งั
กลับแพ้ได้ และมีโทษอันมหันต์ เช่นมีการฆ่าล้างแค้น หรือมีการ
ทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ตลอดจนถึงเกิดการอิจฉาริษยา อาฆาตเข่น
ฆ่ากัน เป็นต้น ส่วนหนึง่ จะมาจากการเอาชนะกันนีเ้ อง เป็นเหตุให้เกิด
การวุน่ วายในปัจจุบนั
ธรรมดาของคน ย่อมมีเรือ่ งแปลกอยูอ่ ย่างหนึง่ คือชอบชนะ
คนอืน่ ดังกล่าวแล้ว ทัง้ ๆ ทีก่ ร็ วู้ า่ จะก่อโทษก่อศัตรู เป็นอันตรายทีจ่ ะ
ต้องคอยระมัดระวังอยูเ่ สมอ แต่ไม่คอ่ ยมีใครคิดจะชนะตัวเอง
หรือมีก็น้อย เช่น “ข้าพเจ้าติดสุรามาหลายปีแล้ว ต่อไปนี้
ข้าพเจ้าจะเอาชนะใจตัวเอง จะเลิกอย่างเด็ดขาด” ส่วนใหญ่จะไม่คอ่ ยมี
ใครคิดกัน แต่กลับไปยอมแพ้เขาอย่างเต็มใจ โดยไปคิดเข้าข้างเขาว่า
ถ้าขาดสุราก็จะขาดเพือ่ น เป็นต้น และมีขอ้ อ้างอีกหลายๆ อย่าง การ
อ้างดังกล่าว เป็นเหตุให้ผดิ ศีลข้อ ๕
24
และยังไม่เคยเห็นผู้ใดหรือสถาบันใด เข้าไปทำสถิติดูว่า การ
ตายหมูห่ รือการฆ่ากันตาย เป็นต้น ในเรือ่ งเหล่านัน้ จะมีการผิดศีลข้อ ๕
เข้าไปเกีย่ วข้องด้วยสักกีเ่ ปอร์เซ็นต์ ทีไ่ ม่มกี เี่ ปอร์เซ็นต์ แต่ยงั ดีหน่อยที่
มีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ การสูบหรีอ่ ย่างจะตายก็ตายเพียงคนเดียว
คือคนสูบ แต่วา่ การผิดศีลข้อ ๕ จะเป็นสุรา หรือเมรัย หรือมัชชะมียาบ้า
เป็นต้น อย่างนี้ตายหลายคน เวลานี้ เบียร์หรือสุราก็คือเครื่องดื่ม
ธรรมดา ทัง้ ๆ ทีเ่ มืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา ทีก่ ล่าวนีม้ ไิ ด้มคี วาม
ประสงค์จะติเตียนผูใ้ ด ขอแค่ สะกิดใจ ตามหัวข้อรายการว่าพุทธภาษิต
สะกิดใจเท่านัน้ อย่าได้คดิ เป็นอย่างอืน่
เพราะฉะนัน้ อย่าคิดแต่วา่ จะเอาชนะคนอืน่ อย่างเดียว เพราะ
การชนะนัน้ ยังกลับแพ้ได้ แต่ถา้ หันมาช่วยกันรณรงค์การเอาชนะใจตัวเอง
ดูบา้ ง ก็จะทำให้ระเบียบสังคมดีขนึ้ ขอให้คดิ ว่า
๑. ชนะอืน่ ศัตรูลน้ ชนะตนศัตรูหาย ถ้ารูจ้ กั ชนะ สังคมจะสบาย
๒. ชนะคนอืน่ มากมี แต่ความดีชนะไม่ได้ ถ้าไม่กลับตัว จะชัว่
ไปจนตาย
R





25

คนอืน่ ชอบฝึกฝน แต่ใจตนไม่ชอบฝึก
R
อตฺตา หิ กิร ทุททฺ โม
ได้ยนิ ว่าตนแล ฝึกได้ยาก

การฝึกตน หมายถึงการทำตนให้อยูใ่ นอำนาจ กล่าวคือการทำตน
ให้ดำรงอยูใ่ นแนวทางทีถ่ กู ต้อง ดีงาม เจริญก้าวหน้ายิง่ ๆ ขึน้ ไป จน
สามารถจะละกิเลสได้ การทำอย่างนี้ มิใช่ว่าจะทำได้ง่าย เพราะจิต
ของคนที่ยังมิได้ฝึก จะกลับกลอกไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น และมักจะ
ยินดีในอารมณ์ฝา่ ยต่ำเสมอ เป็นเหตุกอ่ ให้เกิดความทุกข์โทษ เศร้าหมอง
อยูร่ ำ่ ไป ดังนัน้ การฝึกตนเองให้ชนะอารมณ์ดงั กล่าว เพือ่ ดำรงอยูใ่ น
ทางดีอย่างเดียว นับว่าทำได้ยาก แต่กเ็ ป็นหน้าทีข่ องคนทีจ่ ะต้องทำ
ความเป็นจริง การฝึกตนนัน้ ถ้าจะให้ตนฝึกตนเอง จะเป็นการ
ยากมาก แต่ถา้ หากเปลีย่ นเป็นให้คนอืน่ มาฝึก จะทำได้งา่ ยกว่า เช่น

นักกายกรรม หรือนักเล่นกล เป็นต้น อย่างนีก้ เ็ คยฝึกจนได้ผลกันมาแล้ว


น้อยนักทีม่ นุษย์อย่างเราจะทำไม่ได้ ยิง่ ในยุคปัจจุบนั นี้ จะมองเห็นได้ชดั
แต่พอมาถึงการฝึกตนให้ทำความดี แม้ถงึ คนทีไ่ ด้รบั การศึกษา
มาแล้ว จนถึงมีความรูค้ วามสามารถอย่างยอดเยีย่ ม กลับเป็นว่า ทำไม่
ค่อยได้ แม้แต่การกราบพระ ถ้าจะถามว่าทำยากไหม ทุกคนจะตอบว่า
ทำไม่ยาก ถ้าถามต่อไปอีกว่า วันนีก้ ราบพระกีค่ รัง้ กราบพ่อกราบแม่กคี่ รัง้
เป็นต้น บางคนอาจจะตอบว่า วันนีย้ งั ไม่เคยกราบเลย บางคนอาจจะ
26
คิดว่าเป็นเรือ่ งไม่สำคัญ แท้จริงสำคัญทีส่ ดุ
ทีก่ ล่าวมานี้ มิได้มคี วามประสงค์ทจี่ ะตำหนิ เป็นแต่เพียงจะพูดว่า
ทำไมจึงเป็นอย่างนัน้ ช่างเป็นเรือ่ งทีแ่ ปลกเสียเหลือเกิน ธรรมดาว่าคนเรา
ถ้าฝึกอย่างอืน่ หากไม่เหลือวิสยั จะฝึกได้ดี แต่ฝกึ ให้ทำดี ถึงทำง่าย

ก็กลับกลายเป็นของยาก เรือ่ งนีก้ ต็ อ้ งขอสะกิดใจไว้ให้คดิ


แท้ที่จริง การฝึกให้ทำความดี เราจะปล่อยให้เป็นเรื่องของ
ศรัทธา กล่าวคือใครจะทำหรือไม่ทำ ก็ไม่มีใครว่าอะไร ตรงนี้คือจุด
เสือ่ มของศีลธรรม เมือ่ รูถ้ งึ จุดเสือ่ ม ทำไมจึงไม่หาจุดแก้ นีก้ อ็ กี ข้อหนึง่
ทีจ่ ะต้องไปช่วยกันคิดเป็นการบ้าน
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ตนฝึกยากก็เพราะ คน

ไม่อยากฝึก เท่ากับจะตรัสให้รู้ว่า ถ้าใครรักตน คนนั้นจะฝึกไม่ยาก


เมือ่ คิดอย่างนีก้ จ็ ะเข้าใจได้งา่ ย ขอให้คดิ ว่า
๑. สอนคนอืน่ ยังง่าย แต่สอนใจแสนยาก จงสอนตัว อย่าไป
กลัวลำบาก
๒. ตนเองฝึกยาก คนมากฝึกมี คนอืน่ ฝึกได้ลน้ แต่ฝกึ ตนกลับ
หลีกหนี
R





27

อบรมดี สังคมจะมีแสงสว่าง
R
อตฺตา สุทนฺโต ปุรโิ ส โหติ
ตนทีฝ่ กึ ดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรษุ

คำว่า ตน หมายถึง ร่างกายกับจิตใจ การฝึกตน ก็คอื การฝึก
จิตของตัวนัน้ ทำให้มคี วามสงบอันเป็นลำดับแรกเสียก่อน และจากนัน้
จึ ง ดั ดให้ ต รง ให้ ล ะพยศ ต่ อไปก็ ใ ช้ ก ำลั ง สมาธิ วิ ปั ส สนา เข้ าไป

เผาผลาญจนทำให้จติ อ่อน คลายจากความหลงผิดติดอยูใ่ นธรรม เมือ่


เข้าขัน้ นี้ ดวงจิตจะเกิดแสงสว่างคือดวงปัญญา มองเห็นเรือ่ งราวทีต่ น
เคยกระทำมาแล้ว เป็นการหลงทาง เห็นหลุมพลางทีต่ นเคยตกมาแล้ว
จึงเลือกเดินทางได้ถกู ต้องต่อไป
พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบว่า คนทีฝ่ กึ ตนดีแล้ว เหมือนคน
ทีม่ แี สงสว่างในตัว ถ้ามองอีกมุมหนึง่ ทีต่ รงกันข้าม ก็คอื คนทีม่ ไิ ด้ฝกึ ตน
เป็นคนทีม่ แี ต่ ความมืด ลองมาสมมุตกิ นั ว่า มีคนสองคนเดินเข้าไปใน
ถ้ำทีม่ ดื คนละถ้ำ คนหนึง่ มีไฟฉาย อีกคนหนึง่ ไม่มี แน่นอน คนทีไ่ ม่มี
ไฟฉายนั้น จะมีแต่ความมืด มองไม่เห็นอะไร เขาอาจจะหลงทาง

ออกจากถ้ำไม่ได้ หรือไม่กอ็ าจจะถูกสัตว์รา้ ยกัดตายเสียในถ้ำนัน้ ส่วน


คนทีม่ ไี ฟฉาย เขาจะปลอดภัยอย่างแน่นอน
ต่อไปนี้ มาเทียบกับความจริง สมมุตวิ า่ นายดำมิได้ฝกึ อบรมจิต
มาก่อน ชอบทำอะไรไปตามอารมณ์ ไม่พอใจใครก็ชวนทะเลาะวิวาท
28
เขาอาจจะมีเรือ่ งเสียหาย หรืออาจจะตายก็ได้ เพราะค่าทีต่ นหลงผิด
มองไม่เห็นความเป็นจริงนี้ ส่วนนายแดง เป็นคนที่มีการฝึกอบรมจิต
ของตนมาก่อนแล้ว เมือ่ มีคนมาชวนทะเลาะด้วย จะมองเห็นความจริงว่า
การทะเลาะกันเป็นความพินาศทั้งสองฝ่าย จึงหลบหลีกไป ไม่ยอม
ทะเลาะด้วย หมายถึงยอมแพ้ แล้วหนีไปเสีย ไม่เกรงว่าตนเองจะเสีย
ศักดิศ์ รี ถือคติวา่ แพ้เป็นพระ เมือ่ เป็นเช่นนี้ นายแดงก็ยอ่ มจะพ้นภัย
อันตรายได้
เพราะฉะนัน้ เกิดเป็นคน จะต้องทำตนให้เป็นผูม้ แี สงสว่าง ที่
จะส่องทางไปสูค่ วามดี แต่ถา้ ใช้แสงสว่างคือปัญญาส่องทางไปสูท่ จุ ริต
อย่างนีเ้ รียกว่า ปัญญาทราม ไม่ควรมี ขอให้คดิ ว่า
๑. อบรมดีจะมีสว่าง ถ้าปล่อยช่างแสงสว่างไม่มี หมัน่ ใช้ปญ
ั ญา
จะพาไปดี
๒. ตนฝึกดีแล้ว เปรียบด้วยแก้วสว่าง จงใช้ปัญญา มองหา
หนทาง
R







29

ป่าพึง่ ฝน คนพึง่ หลัก
R
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นทีพ่ งึ่ ของตน

ทีพ่ งึ่ หมายถึงสิง่ ทีเ่ ป็นปัจจัย อาศัยให้ดำรงอยูไ่ ด้ตลอดไป ถ้า
ขาดกันเมือ่ ไร ก็จะเกิดการพินาศย่อยยับ เหมือนโลกทีเ่ ราอาศัยอยูใ่ น
ปัจจุบันนี้ จะต้องอาศัยดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ เป็นต้น หรือป่าไม้ใน
เมืองไทย ซึง่ ในขณะนีก้ ำลังลดน้อยถอยลงไป ก็เพราะฝนไม่คอ่ ยตก ป่า
และฝนทัง้ สองอย่างนี้ ได้อาศัยซึง่ กันและกันมานานแล้ว แต่มมี อื ทีส่ าม
คือคน เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า เมือ่ ป่าน้อยฝนก็นอ้ ยไปด้วย เมือ่ ฝนน้อย
การทำการเกษตรก็ฝดื เคือง ทำให้คนยากจนมีมาก จะต้องแก้ดว้ ยการ
ปลูกป่า
คนทุกคนทีเ่ กิดมาในโลก ก็ตอ้ งมีหลักเป็นทีพ่ งึ่ มีดงั นีค้ อื เริม่ ที่
แม่ – แก้ทพี่ อ่ – ต่อทีค่ รู – รูท้ อี่ าจารย์ – งานทีร่ ฐั – ดัดทีต่ น –
พ้นทีใ่ จ เมือ่ แรกเกิด เราอยูใ่ นท้องของแม่ ครัน้ เมือ่ คลอดออกมาแล้ว
จนถึงจำความได้ ก็ยังต้องอยู่ในอกแม่ ท่านคอยเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน
โดยมีพ่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด พอโตขึ้นมา ก็ส่งเข้าเรียน
หนังสือ ครูจะสอนทัง้ ความรูแ้ ละการปฏิบตั ติ น เพือ่ หาหลักวิชาเป็นพืน้ ฐาน
พอจบการศึกษาแล้ว ถ้าเป็นชาย พอมีอายุครบ ๒๐ ปี ก็จะส่งเข้าไป
บวชเรียน เพือ่ อบรมตน สร้างหลักปัญญาให้แก่กล้า ตามข้อทีว่ า่ รูท้ ี่
30
อาจารย์ เมื่อลาสิกขาออกมาแล้ว ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเปลี่ยน
จากเด็กมาเป็นผูใ้ หญ่ พร้อมทีจ่ ะมีครอบครัวได้ เมือ่ มีครอบครัวแล้ว ก็
นำเอาหลักวิชาและหลักปัญญาทัง้ สอง นำไปหาหลักทรัพย์ โดยรัฐบาล
จะเป็นผูห้ างานให้ทำ ตอนนีก้ เ็ ข้าเรือ่ งทีจ่ ะต้องพึง่ ตนเอง ในข้อว่าดัดทีต่ น
หมายความว่า จะดัดให้คดหรือตรง ตนของตนจะต้องดัดเอง หากดัด
ได้ถกู ต้องตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ใจก็จะพ้นจากทุกข์ อย่างหลังนี้
เรียกว่าหลักธรรม หมายความว่าจะต้องมีให้ครบทัง้ ๔ หลัก กล่าวคือ
หลักวิชา – หลักปัญญา – หลักทรัพย์ – และหลักธรรม
เพราะฉะนัน้ เมือ่ แรกเกิดเราพึง่ ผูป้ กครอง เพราะตอนนัน้ ยัง
ทำอะไรไม่ได้ พอโตขึน้ มา มีกำลังปัญญาแก่กล้า ผูท้ เี่ ราพึง่ ก็แก่เฒ่าลง
ไปแล้ว จะต้องอาศัยกำลังปัญญาทีธ่ รรมชาติให้มา เพือ่ แสวงหาหลักวิชา
อันจะนำไปหาหลักทรัพย์ โดยอาศัยหลักธรรมเป็นหลักดำเนินชีวติ ขอ
ให้คดิ ว่า
๑. ป่าพึง่ ฝน คนพึง่ หลัก เกิดเป็นคนต้องหา หลักวิชาไว้ให้มาก
๒. หัดพึง่ ตนได้ จิตใจจะแกล้วกล้า จงใช้อดทน เอาตนนำพา
R





31

เกิดเป็นคน ต้องฝนให้ถงึ ดี
R
อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตนเท่านัน้ เป็นคติของตน

คติ ในทีน่ ี้ หมายถึง ข้อคิดทีไ่ ด้จากประสพการณ์ชวี ติ จาก
ของคนและของคนอืน่ ทัง้ ทีด่ แี ละไม่ดี ทัง้ ทีส่ ำเร็จและล้มเหลว แล้วนำ
มาประกอบเข้าเป็นบทเรียนแห่งชีวติ เพือ่ นำมาดำเนินทางชีวติ ของตน
ทีไ่ หนดีนำมาใช้ ทีไ่ หนไม่ดใี ห้หลบหลีก ซึง่ หมายถึงทัง้ ภพนีแ้ ละภพหน้า
ถ้าในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงทางสองสาย คือสายทุคติ ได้แก่
การทำชัว่ ทีจ่ ะพาตัวไปสูค่ วามเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์
ดิรจั ฉาน ให้หลบหลีกสายนี้ และสายสุคติ ได้แก่ การทำความดีทจี่ ะพา
ตัวไปสูค่ วามเป็นมนุษย์ สวรรค์ พรหม และสุดท้ายคือนิพพาน ให้เดิน
ทางสายนีเ้ ป็นหลัก
มีคำพูดที่เคยพูดกันอยู่เสมอว่า ผิดเป็นครู รู้เป็นวิชา ท่าน
หมายความว่า ประสพการณ์ชีวิตของแต่ละคน ที่เคยผ่านไปแล้วนั้น

มีคุณค่าควรแก่การศึกษาและปฏิบัติ ข้อใดที่เคยผิดพลาดมาแล้ว

ให้ถอื ว่า นัน่ คือบทเรียนทีส่ อนให้รวู้ า่ ต่อไปอย่าทำอย่างนี้ อีก ส่วนข้อใด


ทีไ่ ด้รบั ความสำเร็จมาแล้ว ถึงจะผ่านความเหนือ่ ยยากลำบาก ก็ให้นำ
มาเป็นความรูแ้ ล้วปฏิบตั ติ าม เพราะ ตัวเรานีเ้ ป็นคัมภีรเ์ ล่มใหญ่ ที่
เราเองจะต้องอ่านดูเอาเอง แต่จะต้องอ่านให้ออก เช่นต้องอ่านตัวเอง
32
ให้รวู้ า่ ตัวเรามีจดุ เด่นจุดดีอยูท่ ตี่ รงไหน ให้ปฏิบตั ติ ามนัน้ และมีจดุ เสีย
อยูท่ ตี่ รงไหน แล้วหาทางเลิกละ อย่าอ่านผิดเห็นความชัว่ เป็นดี หรือ
เห็นความดีเป็นชัว่ อย่าเข้าข้างตัวเองในทางทีผ่ ดิ ขอให้มองดูโดยความ
เป็นกลาง อย่างนีจ้ ะเรียกว่า อ่านตัวออก และเมือ่ อ่านตัวออกแล้วก็
ต้อง บอกตัวได้ ซึง่ หมายถึงบอกให้ละชัว่ และให้ทำดี และสุดท้ายก็คอื
ใช้ตวั เป็น คือใช้ไปในทางทีด่ ี จึงจะเข้าสูตรว่า อ่านตัวออก – บอกตัวได้
– ใช้ตวั เป็น ดังทีก่ ล่าวมาแล้วนี้
เพราะฉะนัน้ ท่านกล่าวว่า เกิดเป็นคนต้องฝนให้ถงึ ดี อ่านตัว
ออกเป็นเปลือก บอกตัวได้เป็นกะพี้ และใช้ตนเป็น นัน่ เป็นแก่น แก่นก็
คือความดีสดุ ยอด ทางพระเรียกว่าวิมตุ ติ ถ้าทำได้อย่างนี้ จะเรียกได้
ว่า ตนเองเท่านัน้ จะเป็นคติของตน ขอให้คดิ ว่า
๑. เกิดเป็นคน ต้องฝนให้ถงึ ดี ถ้าฝนไม่มี ความดีจะไม่เกิด
๒. ตัวเรานี้ เหมือนคัมภีรเ์ ล่มใหญ่ จงอ่านตนให้ออก จงบอก
ตนให้ได้
R







33

รักตัว ต้องกลัวเสีย
R
อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย
ตนเท่านัน้ เป็นทีร่ กั อย่างยิง่

กายกับใจ เมือ่ รวมกันเข้าจะเรียกว่า ตน ไม่วา่ จะเป็นตนของ
คนหรือสัตว์ จะมีสัญชาตญาณเข้าไปผูกมัดว่า เป็นตัวของเรา มีเรา
เป็นเจ้าของ และจากนั้นก็จะมีความรักเข้าไปยึด เช่นเดียวกับสมบัติ
ต่างๆ ทีต่ นเองหามาได้ เช่นธนบัตรใบละหนึง่ ร้อยบาท ทีอ่ ตุ สาหะหามา
ได้ในวันนี้ ซึง่ อยูใ่ นกระเป๋าขณะนี้ เราเป็นเจ้าของ หากมีใครมาช่วงชิง
เอาไป ก็จะเกิดการหวงแหน เกิดการเสียดายขึน้ มา แท้ทจี่ ริง ธนบัตร
ใบนัน้ ได้ผา่ นมือใครต่อใครมามากมายหลายคนแล้ว ทุกคนก็คดิ อย่าง
เดียวกันนี้ และในไม่ช้าธนบัตรใบนี้ ก็จะผ่านจากเราไป แล้วไปเข้า
กระเป๋าคนอืน่ ต่อไป
การรักตัวเอง รักเกียรติศกั ดิศ์ รีของตัวเอง รวมทัง้ รักสมบัตทิ ี่
ตนหามาได้ นับว่าเป็นความดี จะทำให้คอยระวัง รักษาสุขภาพอนามัย
รักษาเกียรติยศชือ่ เสียง รักษาทรัพย์สมบัตขิ องเรา แต่จะรักจริงแค่ไหน
นัน้ ขอให้มาดูขอ้ เปรียบเทียบดังนีค้ อื
สมมุตวิ า่ ลูกของท่านมาขอเงิน บอกว่าจะนำไปเล่นการพนัน
หรือนำไปใช้ในทางทีไ่ ม่ดตี า่ งๆ แน่นอน ท่านจะต้องไม่ให้ นอกจากจะไม่
ให้แล้ว ก็อาจจะต้องว่ากล่าวตักเตือนสัง่ สอนเขา ถามว่า เพราะเหตุใด
34
ท่านก็จะต้องตอบว่า เพราะกลัวลูกจะมีนสิ ยั เสีย มีความประพฤติทไี่ ม่ดี
ในทำนองเดียวกันนี้ ลองนึกดูว่า ตัวท่านเองก็อาจจะเคยนำ
เงินไปใช้จา่ ย ในทางทีไ่ ม่ดี มีการเล่นการพนัน เป็นต้น มีบา้ งไหม บาง
คนอาจจะตอบว่ามี เมือ่ เป็นเช่นนี้ ถามว่า ท่านไม่กลัวตัวเองเสียหรือ
แท้ทจี่ ริง ข้อนีม้ ไิ ด้มคี วามประสงค์จะตำหนิตเิ ตียน แต่ตอ้ งการจะให้มา
มองดูถงึ ความแปลกของคนเกือบจะทัว่ ไปว่า ทุกคนรักตัวเองกลับ มอง
ไม่เห็นว่าตนทำผิด แต่ทคี่ นอืน่ ทำความผิด ตนเองจะเห็นได้ดี ว่างๆ
ลองนัง่ คิดดูบา้ ง ก็ดเี หมือนกัน
เพราะฉะนัน้ เรามาใช้ความเป็นธรรม แล้วเข้ามาตรวจดูตวั เอง
โดยไม่เข้าข้างตัว และหากมองเห็นแล้ว มาร่วมใจกันรณรงค์เพือ่ พัฒนา
ตัวเอง อย่างนีจ้ ะเป็นความดีมใิ ช่นอ้ ย ขอให้คดิ ว่า
๑. รักตัวต้องกลัวเสีย รักเมียต้องกลัวมาร อย่าตามใจตัว
อย่ามัว่ คนพาล
๒. ถ้ารักตัว ต้องหลีกความชั่วความผิด จงเลิกละความชั่ว
เพือ่ รักตัวสักนิด
R






35

คนอยูท่ คี่ า่ ราคาอยูท่ สี่ ำเร็จ
R
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
ความรักอืน่ เสมอด้วยตนไม่มี

ในปัจจุบันนี้ ทุกคนต่างก็มีความพยายาม ประกอบอาชีพใน
การทำมาหากิน ดิน้ รนเพือ่ สร้างความสุขสบาย ในทุกวิถที างและทุกรูป
แบบ ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะความรักตนทั้งสิ้น เพื่อความรักคนอื่นก็มี
เหมือนกัน แต่เป็นความรักทีร่ องลงมา หรือหากเกิดภัยอันตรายทีจ่ ะมา
ถึงตน สัญชาตญาณของคน จะต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน นี้แสดงว่า
“ความรักอืน่ เสมอด้วยตนไม่ม”ี
ความรักตนนัน้ ท่านกล่าวว่า ให้รกั คุณค่าของตน หมายถึงจะ
ต้องพยายามสร้างราคา หรือสาระให้เกิดแก่ตน มิใช่วา่ นึกอยากจะทำ
อยากจะพูดอะไร ก็ทำไปตามใจอยาก มิได้คดิ ถึงความเสียหาย อันจะ
เกิดแก่ตนและสังคม จะต้องคิดถึงคุณค่าหรือราคา ทีต่ นจะพึงได้รบั ด้วย
สมัยหนึง่ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปห้ามพระญาติทงั้ สองฝ่าย ซึง่
ได้เกิดการทะเลาะกัน ด้วยเรือ่ งแย่งน้ำ ในแม่นำ้ โรหิณี เพือ่ ให้เข้ามาสู่
นาของตนๆ เนือ่ งจากในปีนนั้ มีนำ้ น้อย ไม่เพียงพอแก่การทำนา เพราะ
สมัยนัน้ กษัตริยท์ งั้ หลายยังทำนากันอยู่ พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับยืน
อยู่บนอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณีนั้น แล้วตรัสถามกษัตริย์เหล่านั้นว่า
“น้ำกับกษัตริย์ อย่างไหนมีราคามากกว่ากัน” พวกพระญาติพากันทูลว่า
36
“น้ำมีราคาน้อย กษัตริยม์ รี าคามาก” พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนสติวา่
“เมื่อรู้ว่ากษัตริย์มีราคามากกว่า เหตุไฉน พวกท่านจึงได้มา
ทะเลาะกันเพราะเหตุแห่งน้ำเล่า” เพียงพระดำรัสเท่านี้ พวกพระญาติ
เหล่านัน้ ต่างก็มคี วามสำนึกว่า พวกตนกำลังจะทำความผิด จึงได้เลิก
ทะเลาะกันตัง้ แต่นนั้ มา
เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ที่ดี เพื่อเตือนให้รู้ว่า
คุณค่าหรือราคาของเรามีมากกว่า
ทำไมจึงต้องนำเอาไปแลกกับสิง่ ทีเ่ สียราคา เพราะการทะเลาะ
กันเป็นการทำตนให้เสียราคา คือขาดทุนนัน่ เอง ถ้านึกได้อย่างนี้ ก็จะ
ไม่พาตนไปเสียหาย ต่างก็จะรักษาคุณค่าหรือราคาของตนไว้ให้ดี หลีกหนี
สิง่ ทีจ่ ะทำให้ขาดทุน ขอให้คดิ ว่า
๑. คนอยู่ที่ค่า ราคาอยู่ที่สำเร็จ อย่าหลงทำชั่ว จงทำตัวให้
เป็นเพชร
๒. ถึงรักลูกรักผัว ก็ต้องรักตัวให้มาก ถ้าเขาชวนทำผิด จะ
ต้องคิดตีจาก
R






37

อันความดี จะมีได้ทใี่ จเรา
R
อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสชุ ฌ
ฺ ติ
ทำดีเอง บริสทุ ธิเ์ อง

ในทางพระพุทธศาสนา เรียกการทำความดีทุกประเภทว่า
ทำบุญ คำว่าบุญเป็นชือ่ ของความสุข อันเกิดจากการทีต่ น ไม่ไปโลภ
อยากได้อะไรของใคร ทีผ่ ดิ กฎหมายและศีลธรรม ทีจ่ ะก่อให้เกิดเวรภัย
ไม่ไปโกรธทำร้ายใคร มีจิตเมตตาต่อกันเสมอ ทำให้เป็นคนไม่มีศัตรู
และไม่หลงผิด ปฏิบัติตนอยู่ในธรรมะ ยินดีในการทำความดี ในการ
ทำบุญให้ทาน ในการรักษาศีล และในการอบรมบ่มนิสยั ตนเอง ไม่หวัน่
เกรงที่ใครจะมากล่าวว่า เป็นคนหัวโบราณ ล้าสมัย เมื่อทำใจมิได้ไป
เกีย่ วข้องกับคนอืน่ ในทางเสียหายอย่างนี้ ใจก็จะมีแต่ความสุข ไม่ตอ้ ง
ดิน้ รนกระวนกระวาย
อันธรรมดาสิง่ ของเครือ่ งใช้ตา่ งๆ มีเสือ้ ผ้าเป็นต้น เมือ่ บริโภค
ใช้สอยแล้ว จะมีมลทิน มีเหงือ่ ไคลเป็นต้นแปดเปือ้ น จำเป็นจะต้องมี
การซักล้าง ทำความสะอาดอยูเ่ สมอ ข้อนี้ ถ้าจะเปรียบด้วยใจของคน
เราก็ไม่ผิด เพราะใจก็มีการเปื้อนได้เหมือนกัน กล่าวคือจะแปดเปื้อน
ด้วยมลทินคือกิเลสอยู่เสมอ จำเป็นจะต้องมีการชำระล้างเป็นประจำ
สมมุตวิ า่ มีเสือ้ ผ้าอยูช่ ดุ เคียว ใช้สวมใส่อยูท่ กุ วัน ไม่เคยถอดออกซัก
ทำความสะอาดเลยเป็นเวลาแรม ปี ลองนึกดูวา่ ท่านสวมใส่เสือ้ ผ้าชุดนี้
38
เข้าไปในสังคม จะเป็นอย่างไร เป็นทีแ่ น่นอนว่า จะไม่มใี ครยอมเข้าใกล้
ท่าน เพราะรังเกียจในความสกปรก และกลิน่ เหม็นในเสือ้ ผ้าชุดนัน้
เมือ่ เป็นเช่นนี้ ลองมานึกเปรียบกับคนทีห่ มักหมมไปด้วยกิเลส
ไม่เคยไปทำบุญเลย จิตใจก็จะเปือ้ นไปด้วยความอยาก คืออยากทำชัว่
ด้วยอำนาจของความโลภ ครั้นไม่สมหวังก็จะเกิดความโกรธ พาลหา
เรือ่ งทะเลาะวิวาท ในใจเต็มไปด้วยความหลงผิด แล้วอย่างนี้ ถ้าไปเข้า
สังคมไหนเขาก็รงั เกียจ
เพราะฉะนัน้ ความดีจะอยูท่ ใี่ จ อย่าปล่อยให้ใจสกปรก จนมี
กลิ่นเหม็นไปถึงคนอื่น แต่กลิ่นเหม็นนี้ จะไม่มีใครบอกกับเรา ต้องรู้
ด้วยตนเอง ควรจะต้องใช้ทานมาซักความโลภ ศีลมาซักความโกรธ
และใช้การอบรมใจ มาซักความหลงผิด เมือ่ หมัน่ ซักอยูบ่ อ่ ยๆ ใจก็จะ
สะอาด ขอให้คดิ ว่า
๑. อันเสือ้ ผ้าซักง่าย แต่ใจซักยาก จะลำบากอย่างไร จงซักใจ
ให้มาก
๒. อันความดี จะมีได้ทใี่ จเรา ใครจะทำความชัว่ ก็ตวั เขา จงทำดีไว้
อย่าให้เศร้า
R




39

รักดีตอ้ งหนีชวั่ รักตัวต้องอบรม
R
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกลิ สิ สฺ ติ
ทำชัว่ เอง เศร้าหมองเอง

ความชัว่ ทุกชนิด เรียกว่า บาป ในทางพระพุทธศาสนา อันมี
มูลเหตุมาจาก ความโลภอยากได้ในทางที่ผิด ความโกรธดุร้าย เมื่อ
ความอยากนัน้ ไม่สมหวัง และความหลงว่าผิดเป็นถูก ซึง่ เป็นต้นเหตุให้
เกิด ความโลภและความโกรธนัน้ และบาปดังกล่าวนี้ จะแสดงออกมา
ทางกาย โดยการฆ่า หรือทำร้ายร่างกายกัน การลักขโมยหรือโกงกัน
และการประพฤติผิดทางเพศ และทางวาจา โดยการพูดเท็จ พูดคำ
หยาบ พูดส่อเสียดใส่รา้ ย หลอกลวงกัน และแสดงออกทางใจ โดยการ
โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา และเห็นผิดจากทำนอง
ครองธรรม
ความชัว่ ท่านเปรียบด้วย กลิน่ เหม็น ส่วนความดีทา่ นเปรียบ
ด้วย กลิน่ หอม กลิน่ ตามปรกติจะใช้ลมนำไป แต่กลิน่ ความดีความชัว่
จะอาศัยข่าวเป็นผูน้ ำไป สำหรับกลิน่ แห่งคันธชาติ จะหอมหรือเหม็นไม่
นานก็จะหายไป มีได้ในระยะใกล้และฟุง้ ไปตามลมเท่านัน้
กลิน่ ของความดีและความชัว่ จะฟุง้ กระจายไปได้ไกลมาก ยิง่
ในปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งข่าวสารกว้างไกล สามารถจะไปได้ทั่วโลกใน
เวลาอันไม่นาน กลิน่ เหม็นถ้าเกิดกับบุคคลใด บุคคลนัน้ จะกลายเป็นคน
40
เสียคนไปตลอดชาติ จะเข้าไปในสังคมไหน ก็จะมีแต่คนรังเกียจ คนที่
ทำชัว่ ด้วยวิธกี ารไหน ขบวนการสือ่ สารก็จะตีแผ่ไปทัว่ โลก อย่าไปเชือ่
ตัวเองว่า ไม่เป็นไร ไม่มใี ครรูห้ ลอก หรือเราจำเป็นจะต้องทำ คนอืน่
เขาก็ทำกันทัง้ นัน้ ดังนี้ ต้องทำความเข้าใจว่า หากใครมีขา่ วในทางไม่ดี
จะไปตามแก้กบั คนทัว่ โลกนับเป็นการยาก ทางทีด่ คี วรจะหลบหลีก อย่า
เข้าใกล้สงิ่ ทีช่ วั่ หรือคนชัว่ ได้ จะดีมาก
อีกอย่างหนึง่ การทำความชัว่ นัน้ ถึงแม้จะไม่มใี ครจับได้ ผูท้ ำก็
จะเกิดได้ใจ หาโอกาสทำต่อๆ ไป และก็จะต้องมีสกั ครัง้ หนึง่ ทีเ่ ขาจับได้
เหมือนของเหม็น จะนำไปเก็บซ่อนไว้ตรงไหน กลิน่ เหม็นก็จะต้องออก
มาปรากฏให้คนได้กลิน่ จนได้
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความชัว่ ไม่ทำเสียเลยดีกว่า
ก็เพราะว่าความชั่วมีกลิ่นเหม็น ทุกคนย่อมจะไม่ชอบคนชั่ว และ
นอกจากนัน้ ก็เป็นการสร้างเวรภัยให้แก่ตวั เองด้วย ขอให้คดิ ว่า
๑. รักดีตอ้ งหนีชวั่ รักตัวต้องอบรม จงละความชัว่ อย่าทำตัว
ให้โสมม
๒. สะอาดนอกทำง่าย สะอาดใจทำยาก อยากเป็นคนดี ต้องมี
ลำบาก
R



41
๑๐
เห็นแก่ตน เป็นคนสกปรก
R
อตตตถปญญา อสุจี มนุสสา
คนทีเ่ ห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนสกปรก

การเห็นแก่ประโยชน์ตน หมายถึง ประโยชน์ที่ตนได้รับนั้น
ไปกระทบกับคนอืน่ ทำให้คนอืน่ ได้รบั ความทุกข์รอ้ น ส่วนตนเองได้รบั
ความสุข บางทีเรียกคนประเภทนีว้ า่ หากินบนหลังคน และคนทีเ่ ห็น
แก่ประโยชน์ตนนี้ จะมีนสิ ยั ทีเ่ รียกว่า เสียไม่ใช้ได้เป็นเอา ขาดเมตตาธรรม
เป็นคนใจดำอำมหิต พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคนสกปรก หมายถึงเป็นคน

มีพษิ ร้ายในตน เมือ่ ไปคบค้าสมาคมกับใคร ผูน้ นั้ จะได้รบั ทุกข์โทษ เหมือน


ของสกปรกทีอ่ ยูใ่ นถังขยะ ถ้าเก็บสะสมไว้นาน จะทำให้เกิดเชือ้ โรคร้าย
ไม่ควรให้เกิดแก่ใจของคนเอง
ทุกชีวติ ทีด่ นิ้ รนกันอยูใ่ นปัจจุบนั นีก้ ค็ อื เงิน เพราะเงินเท่านัน้ ที่
จะทำให้คนมีความเป็นอยูใ่ นสังคมได้ คนจะมีเกียรติชอื่ เสียงได้กเ็ พราะเงิน
แต่บางครัง้ เงินดังกล่าวนี้ ก็อาจจะทำให้คนทีเ่ ป็นมิตร กลับกลายเป็น
ศัตรู พีน่ อ้ งทีเ่ กิดมาจากท้องมารดาเดียวกัน กลายเป็นคูอ่ าฆาตกัน คน
ทีต่ ายเพราะเงินทำพิษก็มมี ใิ ช่นอ้ ย ทีย่ กตัวอย่างมานี้ มิใช่วา่ เงินนัน้ จะมี
ความโหดร้าย แต่เป็นเพราะความอยาก คือกิเลสที่มีอยู่ในตัวคน ที่
ออกมาแสดงทำให้คนกลายเป็นคนเห็นแก่ตวั สิง่ ของทีไ่ ด้มาเพราะเห็น
แก่ตวั ท่านเรียกว่า ทุกขลาภ คือเป็นลาภทีม่ คี วามทุกข์ ความเดือดร้อน
42
เป็นต้นทุน ถ้าไม่พบในชาตินี้ ก็ตอ้ งไปพบในชาติหน้า จึงจำเป็นจะต้อง
พยายามแสวงหาเงินในทางทีถ่ กู ต้อง
ส่วนคนทีเ่ ห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวม สังคมจะยกย่องสรรเสริญ
ถึงจะล้มก็ยงั มีทพี่ งึ่ เงินทองเป็นของนอกกาย ใช้ไปหมดไปได้ แต่นำ้ ใจ
ย่อมอยูค่ งทนถาวร ควรจะได้สร้างน้ำใจฝากไว้กบั สังคมจะดีกว่า เพือ่
ความอยูเ่ ป็นสุข และเกียรติยศชือ่ เสียงของตน และของวงศ์ตระกูลต่อไป
ขอให้คดิ ว่า
๑. เสียไม่ใช้ได้เป็นเอา ไม่ควรเข้าคบค้าสมาคม ถ้าใครมีดว้ ย
จะช่วยให้จม
๒. การเห็นแก่ตัว จะเป็นคนชั่วช้า สกปรกโสมม สังคมจะ
ระอา
R










43
๑๑
จะเป็นบัณฑิต ต้องติดฝึกตน
R
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑติ า
บัณฑิต ย่อมฝึกหัดตน

บัณฑิต หมายถึง ผูเ้ ดินไปข้างหน้า หรือผูท้ เี่ ป็นหัวหน้า หรือผู้
เจริญก้าวหน้า ได้แก่ผทู้ รี่ จู้ กั ประโยชน์ในปัจจุบนั และประโยชน์ในภพหน้า
รูเ้ หตุแห่งความเจริญ และเหตุแห่งความเสือ่ ม เมือ่ รูแ้ ล้วก็ดำเนินไปสู่
เส้นทางแห่งความเจริญ หลบหลีกเส้นทางแห่งความเสื่อม ที่เรียกว่า
คนดี คนจะดีหรือชัว่ นัน้ อยูท่ กี่ ารฝึกตน ผูใ้ ดหมัน่ ฝึกฝนจิตของตน ให้
ออกจากความหลงผิด ไม่ตดิ อยูใ่ นความอยากทีผ่ ดิ มีจติ สุขมุ เยือกเย็น
ไม่เป็นทาสแห่งความผลุนผลันโหดร้าย ดังนีเ้ ป็นต้น ผูน้ นั้ ท่านเรียกว่า
บัณฑิต แต่ถา้ ผูใ้ ดมิได้ฝกึ ฝนจิตของตน ปล่อยไปตามใจของตน ตกอยู่
ภายใต้แห่งอำนาจของกิเลส ผูน้ นั้ จะเรียกกลับกันเสียใหม่วา่ คนพาล
การฝึกตนให้ทำความดี เพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบันในการ
ดำเนินชีวติ เป็นหน้าทีข่ องบัณฑิต การกระทำใดๆ ทีต่ นรูว้ า่ เป็นความผิด
สามารถทีจ่ ะห้ามใจของตนได้ ไม่วา่ สิง่ นัน้ จะยากหรือง่าย ก็สามารถจะ
ปรับเปลีย่ นการกระทำ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง อย่างมีกาละเทสะ ไม่ตดิ
อยู่กับค่านิยมที่ผิดๆ หมั่นแก้ไขอยู่เสมอ ไม่หนักไปในทางแก้ตัว เข้า
ทำนองทีว่ า่ บัณฑิตชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตวั ถ้าคนเราไม่หมัน่
ฝึกตนเองอยูบ่ อ่ ยๆ แล้ว กระแสของจิต ย่อมจะถูกชักนำลงสูท่ างต่ำ
44
คือถูกความชัว่ ดึงลง ให้ไปยินดีกบั กิเลส ในทีส่ ดุ ก็จะต้องตกไปเป็นทาส
ของความชัว่ ต่อไป นัน่ มิใช่ทางของบัณฑิต ทีถ่ กู ต้องแท้จริง
เพราะฉะนัน้ ทุกคนมีสทิ ธิท์ จี่ ะเป็นดีหรือคนชัว่ ได้ทงั้ นัน้ ถ้าจะ
เป็นคนดีจะต้องหมัน่ ฝึกฝนจิตของตนให้ชอบและติดอยูใ่ นความดี แม้ถงึ
จะเป็นความยากลำบาก ไม่มคี วามสนุกสนาน ก็ตอ้ งมีความอดทน แต่
ถ้าปล่อยไปตามอารมณ์ที่ยั่วยวนให้ทำชั่ว มีความสนุกสนานเข้ามาล่อ
คนนัน้ ก็จะเป็นคนชัว่ เพราะเหตุทไี่ ม่หมัน่ ฝึกฝนใจตนเอง ขอให้คดิ ว่า
๑. คนดีชอบฝึกฝน คนจนชอบเกียจคร้าน ถ้าทำชั่วมากมี
ความดีจะด้าน
๒. เป็นบัณฑิต ต้องฝึกจิตในความดี ช่วยเหลือเกือ้ กูล สร้าง
คุณให้มี
R










45
๑๒
ทีพ่ งึ่ สีห่ ลัก ต้องประจักษ์แก่ตน
R
อตฺตา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลลฺ ภํ
ผูฝ้ กึ ตนดีแล้ว ย่อมได้ทพี่ งึ่ อันหาได้ยาก

การฝึกตน หมายถึงการอบรมจิต ทีว่ อกแวกกลับกลอกไปตาม
อารมณ์แห่งความอยาก อันแนบสนิทติดอยูใ่ นความหลงผิด ให้ละพยศ
จนเกิดดวงปัญญา มองเห็นความจริง มีกายวาจาใจอันบริสทุ ธิ์ ถ้าฝึก
ถึงขัน้ สูงสุด ก็สามารถจะคลายอุปาทาน คือการยึดมัน่ ถือมัน่ ว่าเราว่า
เขาเสียได้ เข้าถึงมรรคผลนิพพาน เมื่อถึงขั้นนี้ก็จะเรียกว่า ได้ที่พึ่ง

อันหาได้ยาก
อันธรรมดาที่พึ่ง ของคนที่ยังไม่ถึงขั้นนิพพาน ทุกคนที่เป็น
ปุถุชน ต่างก็ดิ้นรนเพื่อความอยู่ดีกินดีด้วยกันทั้งนั้น ที่พึ่งดังกล่าวนี้
หมายถึง ทีพ่ งึ่ สีห่ ลัก คือ ทรัพย์ – วิชา – ปัญญา – บารมี
ในเบือ้ งต้นจะต้องมีหลักทรัพย์กอ่ น แต่หลักทรัพย์ในตอนนี้ จะ
มีมากมีนอ้ ยไม่สำคัญ มีพอให้เป็นค่าเล่าเรียนก็ใช้ได้ หลักทีส่ องคือวิชา
หมายถึงการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเรียนจบแล้ว จะต้องใช้หลักที่สาม

ในการดำเนินชีวติ คือ หลักปัญญา พร้อมกันนี้ การดำเนินชีวติ ของคนเรา


จะต้องเนื่องด้วยบุคคล จำเป็นจะต้องสร้างหลักที่สี่คือ บารมี ได้แก่
การดำรงตนอยูใ่ นความซือ่ สัตย์สจุ ริต จนเป็นทีไ่ ว้วางใจของสังคม โดย
อาศัยหลักสังคหวัตถุธรรมสีป่ ระการ เข้ามาประกอบเป็นข้อปฏิบตั ิ
46
ทีก่ ล่าวมานี้ เป็นบารมีในชาตินี้ สำหรับบารมีในชาติหน้านัน้ ก็
จะต้องสร้างควบคูก่ นั ไปด้วย กล่าวคือ การให้ทาน การรักษาศีล และ
การอบรมจิตใจ เพราะทัง้ สามนีจ้ ะเป็นทีพ่ งึ่ ในชาติหน้า เมือ่ มีและทีพ่ งึ่
ในชาติหน้านี้ เมือ่ เรากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อกี ก็จะมาช่วยเสริมสร้าง
บารมีอกี ต่อไป
เพราะฉะนัน้ ชาตินเี้ ราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ถอื ว่าเป็นบุญลาภ
อันประเสริฐแล้ว จงนึกขอบคุณในบุญบารมีตรงนี้ แล้วตัง้ ใจประพฤติ
ปฏิบัติในคุณความดี อย่าให้ชีวิตในชาติหน้าต้องตกไปในอบายภูมิ จง
หมัน่ ฝึกจิตให้หวนรำลึกนึกถึงแต่บญ ุ อย่าตกเป็นทาสของความชัว่ เลย
เพราะความชัว่ จะพาดวงวิญญาณ ไปเกิดในอบายภูมเิ สียเวลาไปนาน
แสนนาน ขอให้คดิ ว่า
๑. เกิดมาชาติหนึง่ ควรพึง่ บุญบารมี จงฝึกจิตไว้ ให้เป็นจิตใจ
คนดี
๒. ฝึกจิตไว้ดี จะมีทพี่ งึ่ การขยันอดทน จะเป็นคนชัน้ หนึง่
R







47
๑๓
หุน่ เหมือนกาย ใจเหมือนคนเชิด
R
โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขโิ ต ตสฺส พาหิโร
ภายนอกเขารักษาได้ ก็ชอื่ ว่ารักษาตนได้

ตน คือร่างกายและจิตใจ ทัง้ สองอย่างนี้ แบ่งออกเป็นภายนอก
และภายใน ร่างกายอันหมายถึง กายกับวาจา จัดเป็นภายนอก เป็น
สภาพทีเ่ หมือนกับหุน่ หากไม่มใี ครเชิด หุน่ ก็คอื ท่อนไม้ธรรมดานัน่ เอง
ผูเ้ ชิดหุน่ ก็คอื ใจ ซึง่ จัดเป็นประเภทภายใน ผูเ้ ชิดหุน่ ต้องมีความชำนาญ
มาก อันหมายถึงจะต้องรูว้ ธิ เี ชิด รูถ้ งึ เรือ่ งราวทีจ่ ะเชิด เช่นจะเล่นเรือ่ ง
พระอภัยมณี ผูเ้ ชิดจะต้องรูเ้ รือ่ งเสียก่อน จากนัน้ ก็ใช้ศลิ ปะทีไ่ ด้เรียนรู้
มาทำงานในเรือ่ งนี้
ภายนอกคือกายวาจา ท่านวางหลักไว้วา่ จะต้องมีศลี ๕ ผู้
เชิดหุ่นก็ต้องเชิดไปตามนี้ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อ
ภายนอกรักษาได้ หมายถึงรักษาศีล ๕ ได้ ก็ชอื่ ว่า รักษาตนได้
ตามธรรมดาว่าร่างกายกับจิตใจ ทัง้ สองอย่างนี้ จะทำงานร่วม
กัน เหมือนรถยนต์กบั คนขับ ตัวรถนัน้ ถึงจะเป็นรถชัน้ ดี มีราคาแพง
ถ้าคนขับไม่รู้วิธีขับ หรือรู้แต่ขับด้วยความประมาท อาจจะพารถไป
ประสพกับอุบตั เิ หตุ ถึงกับเสียชีวติ ได้
บนเส้นทางชีวติ ของคนเรา ย่อมจะเต็มไปด้วยอันตราย อันมี
อยูม่ ากมาย อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง เป็นต้น
48
หากคนทีไ่ ม่มกี ารอบรมจิตใจ คือปล่อยไปตามอารมณ์แห่งตัณหา
จิตซึ่งเป็นเหมือนคนขับรถ ก็จะพาตัวของตัว ไปสู่หายนะได้
สิ่งสำคัญเบื้องต้นนั้น พระพุทธเจ้าทรงเน้นว่า ให้หมั่นรักษาภายนอก
หมายถึง รักษากายมิให้มกี ารฆ่าหรือทำร้ายกัน เพือ่ เป็นเครือ่ งมือสร้าง
จิตให้เกิดเมตตา มิให้มีการลักขโมยหรือโกงกัน เพื่อให้ใจยึด
หลักการเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ พึง่ พาอาศัยซึง่ กันแลกัน และมิให้ประทุษร้าย
ทางเพศ ซึง่ จะเป็นโทษให้เกิดการบาดหมางใจกัน ส่วนทางวาจา ก็มใิ ห้
กล่าวคำพูด โกหกหลอกลวง ใส่รา้ ยป้ายสี พูดสบประมาทกัน เป็นต้น
อันจะมีโทษทางวาจา
เพราะฉะนัน้ เมือ่ ทุกคนสามารถจะรักษากายกับวาจาทีเ่ รียกว่า
ตนได้แล้ว จะตัง้ ตนอยูใ่ นความไม่ประมาท ด้วยเหตุตรงนี้ ก็จะพาตัว
เองไปสูเ่ ส้นทางแห่งความสุข ทัง้ ภพนีแ้ ละภพหน้า ขอให้คดิ ว่า
๑. หุ่นเหมือนกาย ใจเหมือนคนเชิด จงเชิดให้ดี อย่าได้มี
ละเมิด
๒. ภายนอกรักษาได้ ภายในก็จะพ้น จงรักษานอกเข้าใน เพือ่
ฝึกใจตน
R





49
๑๔
รักตัวให้ผกู รักถูกให้ตี
R
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขติ ํ
เมือ่ รูว้ า่ ตนเป็นทีร่ กั ก็ควรรักษาตนให้ดี

ตามสัญชาติของคนและสัตว์ทงั้ หลาย ย่อมจะมีการรักตัวกลัวตาย
จะเห็นได้จากสัตว์ทกุ ประเภท เมือ่ เห็นคนเดินไปใกล้ พวกเขาจะพากัน
หนีไป เพราะเกรงว่า คนจะไปทำร้ายเขา ทีส่ ตั ว์ทำร้ายคนนัน้ ส่วนใหญ่
เขาทำไปเพือ่ ป้องกันตัว ส่วนคนเรา เมือ่ เกิดการป่วยไข้ ก็จะรีบไปหาหมอ
เพราะว่าตัวเองจะเกิดอันตรายถึงตาย ทัง้ หมดทีย่ กมานี้ เพือ่ จะยืนยัน
ว่า ไม่วา่ คนหรือสัตว์ตา่ งก็รกั ตัวเองมาก คอยป้องกันมิให้อนั ตรายเกิด
ขึน้ แก่ตน
การทีส่ งั คมได้ตราศีล ๕ ข้อที่ ๑ ว่า ห้ามมิให้ฆา่ สัตว์ ก็เพราะ
ทุกคนได้เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ไม่วา่ คนหรือสัตว์ดริ จั ฉาน ย่อมรักชีวติ
หรือรักตนเอง เป็นลำดับทีห่ นึง่ จึงได้บญ ั ญัตศิ ลี ข้อที่ ๑ ไว้ ก็เพือ่ จะมิให้
เกิดการฆ่า หรือทำร้ายกัน อันเป็น ระเบียบสังคม ข้อที่ ๑ นัน่ เอง
มีคำโบราณอยูค่ ำหนึง่ ทีส่ อนพ่อแม่ไว้วา่ รักวัวให้ผกู รักลูก
ให้ตี คำนีจ้ ะนำมาใช้กบั คนได้เป็นอย่างดี ตัวเราเอง ท่านกล่าวว่า อย่า
ตามใจให้มากนัก เพราะบางครั้งก็หลงมัวเมา นำเอาใจไปติดอยู่กับ
ตัณหาคือความอยาก ต้องการโน่น ต้องการนี่ ในสิง่ ทีผ่ ดิ กฎหมายและ
ศีลธรรม บางครัง้ ก็ปล่อยตัวปล่อยใจ ไปเมามายมาอาละวาด เกิดการ
50
ทะเลาะ จนถึงฆ่าหรือทำร้ายร่างกายกัน อันเป็นเหตุให้เสียเงินทอง
เสียเกียรติยศชือ่ เสียง อับอายขายหน้าสังคม และอาจจะต้องเสียหาย
ไปถึงวงศ์ตระกูล มีพอ่ แม่ ปูย่ า ตายาย เป็นต้นด้วย
ทีย่ กมานี้ เพียงยกให้เห็นถึง ระเบียบสังคมข้อทีห่ นึง่ ในห้าข้อ
แท้ทจี่ ริง ระเบียบสังคมนีม้ ชี อื่ เรียกได้วา่ เป็น อมตะ เพราะศีล ๕ นี้
เกิดก่อนพระพุทธเจ้าองค์แรก ซึง่ จะต้องมีแก่พทุ ธมารดาก่อน
เพราะฉะนัน้ เมือ่ มารูว้ า่ เรารักตน ก็ควรจะสร้างตนให้เป็นคนดี
หลีกหนีความชัว่ มีอบายมุข เป็นต้น อย่าปล่อยตนไปตามอำนาจของ
ตัณหากิเลสให้มากจนเกินไป ให้ใช้คำภาษิตว่า รักตัวให้ผกู รักถูกให้ตี
ต้องผูกใจให้อยูใ่ นความดี ถ้าไม่ยอมก็จะต้องทำโทษกันบ้าง ก็จะดีมาก
ขอให้คดิ ว่า
๑. รักตัวให้ผกู รักถูกให้ตี ดีรบี ทำ กรรมรีบหนี
๒. ถ้ารักตัว อย่ามัว่ ความผิด จงสำนึกให้ได้ อย่าไร้ความคิด
R








51
๑๕
บริสทุ ธิเ์ ป็นบัณฑิต ผิดเป็นพาล
R
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตตฺ กฺกเลเสหิ ปณฺฑโิ ต
บัณฑิต พึงทำตนให้ผอ่ งแผ้ว จากเครือ่ งเศร้าหมองใจ

บัณฑิต หมายถึงคนทีม่ คี วามรู้ ความฉลาด ความสามารถ ใน
การทีจ่ ะนำพาตนของตน รวมทัง้ คนอืน่ ให้หลีกพ้นจากอันตรายแห่งชีวติ
คือความชัว่ มีความเป็นอยูโ่ ดยสุจริตธรรม มีจติ ใจอันประกอบด้วยเมตตา
อารีอารอบต่อบุคคลทัว่ ไป มีขนั ติธรรมเป็นเส้นทางนำวิถชี วี ติ มีจติ อัน
บันเทาเสียได้ ซึ่งความโลภ ความโกรธ และความหลง จึงจะชื่อว่า
เป็นผูผ้ อ่ งแผ้ว ใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองจิต ดุจน้ำใสอัน
บริสทุ ธิ์ ปราศจากกลิน่ และสีเจือปน ฉะนัน้
คนที่เคยทำความผิดมาก่อน ภายหลังเมื่อมีอายุมากขึ้น มี
ความสำนึกตัว แล้วกลับมาทำความดีอย่างนี้ เขาย่อมเป็นบัณฑิตได้ มี
เรือ่ งราวดังต่อไปนี้
มีเศรษฐีคนหนึง่ เป็นคนติดสุรา จะต้องดืม่ อยูเ่ ป็นประจำ ต่อ
มาวันหนึง่ ได้บอกคนใช้ให้ไปซือ้ สุรามา คนใช้คนนัน้ เป็นคนซือ่ ครัน้ ซือ้
สุราแล้วก็เกิดความคิดว่า เมื่อเรานำเอาสุราไปให้นาย ท่านก็จะใช้ให้
เราไปซื้อกับแกล้มมาอีก จะเป็นการเดินหลายครั้ง จึงตกลงใจซื้อ
กับแกล้มไปเสียด้วยเลย และมาคิดต่อไปอีกว่า เมือ่ นายเมาสุราแล้วก็
จะเรียกว่าผูห้ ญิง เมือ่ เสพสุขกับหญิงแล้วก็จะเกิดโรค เมือ่ เกิดโรคก็จะ
52
ต้องไปหาหมอ แกก็ตดั สินใจไปหาหญิงบริการทางเพศมาคนหนึง่ พร้อม
กับเชิญหมอไปด้วย
ขณะที่เดินมาผ่านหน้าร้านขายโลงศพ ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ถ้า
หมอรักษาไม่หายก็ต้องตาย จึงเข้าไปซื้อโลงศพ แล้วมอบให้เจ้าของ
ร้านแบกไปให้ดว้ ย พอไปถึงนายก็เล่าสาเหตุแห่งความคิดให้นายฟัง พอ
เศรษฐีฟังคนใช้เล่าจบ ก็มานึกได้ว่าเป็นความจริง จึงตัดสินใจเลิกดื่ม
สุราตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมา
เพราะฉะนัน้ คนทีม่ คี วามผิด อย่าไปมีทฐิ มิ านะ ควรจะค้นหา
ความจริง หรือเตือนสติตนเองถึงแม้ว่าคนสอนจะเป็นคนระดับไหน
ก็ตาม อย่าถือว่าเป็นการเสียเกียรติ ถือความถูกผิดเป็นข้อสำคัญ
เพราะนัน่ เป็นคำสอนทีถ่ กู ต้อง เป็นหลักของพระพุทธศาสนา จะอยูก่ บั
ใครก็ได้ทงั้ นัน้ ขอให้คดิ ว่า
๑. บริสทุ ธิเ์ ป็นบัณฑิต ชอบผิดเป็นพาล จะทำอย่างไร อยูท่ ใี่ จ
ของท่าน
๒. เกิดเป็นคน ต้องสร้างตนให้บริสุทธิ์ จงห่างไกลเลวทราม
สร้างความเป็นมนุษย์
R




53
๑๖
สอนเขา เราต้องทำ
R
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา, ยถญฺมนุสาสติ,
ถ้าสอนเขาอย่างไร ก็ตอ้ งทำตนอย่างนัน้

คนที่มีหน้าที่สอนคน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปกครองแต่ละระดับ
หรือนักสอนศาสนา รองลงมาก็เป็นครูอาจารย์ คนทีส่ อนคนนัน้ คน
โบราณจะเรียกว่า แนะนำพร่ำสอน ซึ่งมิได้หมายถึงสอนอย่างเดียว
จะต้องมี แนะ – นำ – พร่ำ เข้ามาประกอบด้วย
แนะ ได้แก่บอกให้ทำ นำ ได้แก่ทำให้เขาดู เช่น แนะไม่ให้เขา
สูบบุหรี่ คนแนะก็จะต้องไม่สบู ด้วย อย่างนีเ้ ป็นต้น พร่ำ หมายถึง จะ
ต้องคอยตักเตือนอยู่บ่อยๆ ถ้าเขายังไม่ทำตาม หรือเขาทำตามแต่

พลัง้ เผลอไป รวมความว่า ผูท้ จี่ ะสอนคนนัน้ ตนเองจะต้องทำให้เขา


เกิดศรัทธาก่อน กล่าวคือจะสอนเขาในเรือ่ งไหน เรือ่ งนัน้ ตนเองจะต้อง
ทำได้เสียก่อน ทีว่ า่ นีห้ มายถึงสอนให้ทำความดี
การสอนคนนัน้ บางครัง้ มักจะเรียกว่า ตำหนิหรือด่า เช่นพ่อ
เรียกลูกมาสอนว่า อย่าใช้เงินเก่งนัก ลูกบางคนไปพูดกับคนอืน่ ว่า วันนี้
ถูกพ่อเรียกไปด่า หรือถ้านายเรียกลูกน้องไปตักเตือนว่า มาทำงานให้
ตรงเวลาสักหน่อย พอคนอืน่ รูข้ นึ้ ก็จะไปกระซิบกันว่า นายคนนัน้ ถูก
นายเรียกไปด่า หรือเรียกไปตำหนิ บางคนก็กลายเป็นเสียคนไปเลย
ดังนีเ้ ป็นต้น
54
ค่านิยมในการสอนหรือเตือนคน ถูกนำไปใช้ในทางทีผ่ ดิ ด้วย
เหตุตรงนี้ จึงทำให้ผสู้ อน ไม่กล้าสอน ไม่กล้าเตือน ถ้าไปสอนไปเตือน
ใครขึน้ ผูถ้ กู สอนถูกเตือน จะเป็นเหมือนผูต้ อ้ งหาไปทันที ส่วนผูท้ ถี่ กู
สอนถูกเตือนเล่า เมื่อถูกเรียกตัวไป ก็มีความรู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้
ต้องหา ก็จะต้องเตรียมหาคำพูดทีจ่ ะไปแก้ตา่ งหรือแก้ตวั เพราะเกรง
ว่าตัวเองจะมีความผิด พ่อแม่สมัยโบราณ เวลาสอนลูก จะต้องให้ลกู
นัง่ ฟังเฉยๆ ห้ามมีการโต้เถียงในขณะสอน ก็เป็นวิธแี ก้อย่างหนึง่ ของ
คนโบราณ
เพราะฉะนั้น ตราบใดถ้ายังมีการสอนการฟังกันอยู่ เมื่อนั้น
ธรรมะก็จะมีอยูค่ กู่ บั โลก จะยังไม่สญ
ู หายไปไหน ถ้าไม่มคี นสอนไม่มคี นฟัง
ทุกคนก็จะอยูแ่ บบตัวใครตัวมัน จะว่าใครไม่ถงึ ใคร ถ้าจะสอนก็กลัวถูก
ย้อนว่า ตัวเองทำให้ดเี สียก่อนเถอะ จึงมาสอนเขา ขอให้คดิ ว่า
๑. สอนเขาเราต้ อ งทำ ต้ อ งแนะนำและทำให้ดู จงดูที่จิต
เอาผิดมาเป็นครู
๒. สอนเขาอย่างไร ต้องทำได้อย่างนัน้ ถ้าสอนตนไม่ได้ จะมี
นิสยั เป็นพาล
R




55
๑๗
ติดกี อ่ ตัว ติชวั่ ทำลาย
R
อตฺตนา โจทยตฺตานํ
จงเตือนตนด้วยตนเอง

การตักเตือนกัน นัน้ ส่วนใหญ่เรามักจะใช้ในการตักเตือนคนอืน่
การเตือนตนเองมิได้พดู ถึงไว้ แต่ในทางคณะสงฆ์ มีสงั ฆกรรมประเภทหนึง่
เรียกว่า ปวารณา ได้แก่ให้พระภิกษุได้ปวารณาแก่กนั แลกัน หมายถึง
ยอมอนุญาตให้ตกั เตือนกันได้ เมือ่ ใครรู้ เห็น หรือสงสัยว่าอีกฝ่ายหนึง่
ทำความผิ ด มั ว แต่ เ ตือ นแต่ค นอื่น บางคนเลยลืมเตือนตัวเองไป
แท้จริง พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้เตือนตัวเองก่อน แล้วค่อยไปเตือนคนอืน่
มิฉะนัน้ จะคิดไปว่าตัวเองดีกว่าเขา
การเตื อ นตนเอง ได้ แ ก่ ก ารเตื อ นให้ รู้ จั ก บาปบุ ญ คุ ณโทษ
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เพราะธรรมชาติแห่งจิตใจของคน มักจะรู้
กันว่า ชอบจะเข้ากับตนเองเสมอ ไม่วา่ จะผิดหรือถูก ถ้าเป็นคนอืน่
จะรูไ้ ด้ดวี า่ คนไหนดี คนไหนไม่ดี คนไหนมีนสิ ยั อย่างไร ชอบวิจารณ์
คนอืน่ มากกว่าวิจารณ์ตวั เอง
มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีฝรั่งคนหนึ่ง แกไปนอนอยู่ใต้ต้นมะม่วง
มองขึ้นไปบนต้น เห็นผลมะม่วงห้อยอยู่ที่ขั้ว แกคิดตำหนิในใจว่า
พระเจ้าชัง่ ไม่ยตุ ธิ รรมเสียเลย มะม่วงต้นออกใหญ่เบ้อเร่อ แต่สร้างลูก
นิดเดียว ส่วนแตงโมต้นนิดเดียว แถมลำต้นก็ไม่แข็งแรง แต่สร้างลูก
56
เสียใหญ่โต ขณะทีแ่ กนอนตำหนิอยูน่ นั้ บังเอิญผลมะม่วงผลหนึง่ ได้
ร่ ว งลงมาถู ก หั ว แกพอดี แกจึ ง รี บ ลุ ก ขึ้ น มาขอขอบคุ ณ พระเจ้ า ว่ า
พระเจ้าสร้างถูกแล้ว นีถ่ า้ พระเจ้าสร้างผลมะม่วงใหญ่เท่ากับผลแตงโม
ข้าพเจ้าจะต้องแย่ยงิ่ กว่านี้ หรือไม่กอ็ าจจะถึงแก่ความตายเป็นแน่
ทีย่ กตัวอย่างมานี้ เป็นการชีใ้ ห้เห็นว่า การมองคนอืน่ นัน้ ชอบ
จะมองถึงโทษ ถ้านำเอาข้อนีม้ ามองตัวเองดูบา้ งว่า เรามีจดุ เสียทีค่ วร
แก้อยูต่ รงไหน แล้วหาวิธแี ก้ไข และสร้างจุดดีให้เกิดขึน้
เพราะฉะนัน้ ทุกคนเกิดมาแล้วก็ตอ้ งตาย จะต้องหมัน่ ตักเตือน
ตนเองทำความดีไว้ เพื่อทำความดีฝากไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง และเพื่อ
ความสุขของตนในภพหน้า เพราะเรื่องอย่างนี้ ทุกคนจะต้องทำเอง
เมือ่ มองคนอืน่ อย่างไร ก็ให้หนั มามองตนเองอย่างนัน้ จะดีมาก ขอให้
คิดว่า
๑. ติดกี อ่ ตัว ติชวั่ ทำลาย ควรติตนเอง ให้เกรงชัว่ ร้าย
๒. เตือนตนได้ เป็นวิสยั ของบัณฑิต ถ้าปล่อยตามใจ จะไปกับผิด
R







57
๑๘
พิจารณาตน จะไม่เป็นคนถูกหลอก
R
ปฎิมเํ สตมตฺตนา
จงพิจารณาตนด้วยคนเอง

การพิจารณา หมายถึง การใช้สติปญ ั ญาเข้าไปตรวจดู เพือ่ ให้
เกิดความรูช้ ดั ถ้าพิจารณาตน ก็หมายความว่า ยกร่างกายตัวตนของ
ตนขึน้ มาตัง้ แล้วเริม่ พิจารณา สุดแต่จะพิจารณาไปในแง่ไหน
การพิจารณาตนนัน้ จะพิจารณาในแง่ ไม่เทีย่ ง – เป็นทุกข์ –
เป็นอนัตตา ทัง้ นี้ เพือ่ จะค้นหาหลักความจริงจากตัวเราเอง โดยไม่ตอ้ ง
ใช้ครูทไี่ หนมาสอน จะยกตัวอย่างในการพิจารณาดังนีค้ อื
สังขารไม่เทีย่ งทีเ่ รียกว่า อนิจจัง ให้นกึ ย้อนไปในอดีต นับตัง้ แต่
แรกเกิดมา กล่าวคือในสมัยทีย่ งั เป็นเด็กทารก ต่อมาเป็นเด็กโตขึน้ วิง่
เล่นได้แล้ว จากนัน้ ก็เป็นหนุม่ เป็นสาว นับไปจนถึงปัจจุบนั แค่นี้ ท่านก็
เห็นอนิจจังเพียงหยาบๆ แล้ว เมือ่ เห็นความเปลีย่ นแปลงตรงนี้ ก็จะ
คิดได้วา่ ไม่ชา้ เราก็ตอ้ งตายอย่างแน่แท้ ไม่วา่ จะเป็นคนเช่นไร กล่าว
คือ เป็นคนยากจนหรือเป็นเศรษฐี ตายแล้วก็เหลือแต่กระดูก ทำไมใน
เวลาที่มีชีวิตอยู่จึงว่า คนนั้นดีกว่าคนนี้ คนนี้ดีกว่าคนนั้น แท้จริง

บุญบาปหรือความดีความชัว่ ทีแ่ ต่ละคนทำไว้ตา่ งหาก ทีจ่ ะเป็นเครือ่ งวัด


ว่าใครดีกว่าใคร เพราะว่าเมื่อตายไปแล้ว ถ้าคนยากจนได้ทำบุญไว้

ก็จะได้ไปเกิดในสุคติมีสวรรค์เป็นต้น ส่วนเศรษฐีถ้าทำบาปไว้ ก็จะไป


58
เกิดในทุคติมนี รกเป็นต้น ทัง้ ๆ ทีใ่ นปัจจุบนั มีฐานะทีแ่ ตกต่างกัน
ส่วนสังขารเป็นทุกข์ ในคำว่าทุกขัง ตรงนีเ้ ห็นไม่ยาก เช่นใน
เวลาทีป่ ว่ ยไข้ หรือได้รบั บาดเจ็บเป็นต้น ความทุกข์ของเรามีจริง และ
มีมากอยูแ่ ล้ว อย่าได้ดนิ้ รนไปหามาอีกเลย หมายถึงเราอยูข่ องเราให้
สบายๆ ดีกว่า อย่าไปหาเรือ่ งอะไรทีจ่ ะต้องมาคิดให้เป็นทุกข์อกี
สังขารเป็นอนัตตา หมายถึง ทุกสิง่ ทุกอย่างไม่ใช่ของเรา ตาย
แล้วก็นำเอาอะไรไปไม่ได้ ตรงนีจ้ ะมองเห็นชัดอยูแ่ ล้ว ทีจ่ ะนำไปได้กค็ อื
บุญกับบาปทีเ่ ราทำไว้แล้วในขณะทีม่ ชี วี ติ อยูเ่ ท่านัน้
เพราะฉะนั้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในข้อนี้ ก็มีพุทธประสงค์

จะให้เราทัง้ หลาย หมัน่ นึกอยูเ่ สมอ ดังจะเห็นได้ในคำทำวัตร จะมีคำว่า


รูปํ อนิจฺจํ เป็นต้น เรื่องอย่างนี้ เป็นของตัวใครตัวมัน จะต้องทำ
กันเอาเอง อย่าไปอ้างว่าทำไม่ได้ ใครจะทำให้ใครไม่ได้ทงั้ นัน้ ขอให้คดิ ว่า
๑. กิเลสนำ จะทำให้ชวั่ ถ้าหลงตัวจะถูกหลอก ควรตรองตริ
ใช้สติเป็นตัวบอก
๒. สิง่ ใดชัว่ ตัวของตัวจะรูด้ ี ถ้ารูว้ า่ ชัว่ จงทำตัวหลีกหนี
R






59
๑๙
อบายมุขสุขติด จะล่อจิตให้ตกหล่ม
R
ทุคคฺ า อุทธฺ รถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโน ว กุญชฺ โร
จงถอนตนขึน้ จากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มแล้วถอนขึน้ ฉะนัน้

ตามธรรมดาของหล่ม เมือ่ มีสงิ่ ใดเข้าไปติดข้องอยู่ จะถอนขึน้
ได้ยาก เช่น ช้างตกหล่ม ช้างเป็นสัตว์ใหญ่มนี ำ้ หนักมาก เมือ่ ตกหล่มแล้ว
จะถอนตัวขึน้ จากหล่ม ต้องใช้ความพยายามอยูน่ าน จึงสามารถขึน้ จาก
หล่มได้ ถ้าเมือ่ ตกหล่มแล้ว ไม่ยอมถอนตัวขึน้ จากหล่ม มีทางเดียวคือ
ตาย หล่มดังกล่าวมานีเ้ ป็น หล่มภายนอก คนทัว่ ไปเขาจะรูก้ นั ไม่มี
ใครยอมตกลงไปง่ายๆ ยังมีอีกหล่มหนึ่ง เรียกว่าเป็น หล่มภายใน
หล่มนีม้ คี นชอบตกกันมาก และเมือ่ ตกแล้วก็ไม่อยากขึน้ ชอบตกกันนาน
บางคนตกจนถึงตาย ไม่ยอมถอนขึน้ เลย เรียกว่ายอมถวายชีวติ ติดอยู่
ในหล่ม
หล่มบ่อนี้ มีตณ
ั หาเป็นผูน้ ำพาไป หล่มทีม่ ชี อื่ เสียงมากมีอยู่ ๔
หล่ม คือ หล่มสุรา – หล่มนารี – หล่มภาชี – หล่มเสเพล ท่านกล่าว
ถึงโทษของหล่มทัง้ ๔ ไว้วา่ ตกหล่มเพศหมดราคา – ตกหล่มสุราหมด
สำคัญ – ตกหล่มพนันหมดตัว – ตกหล่มมิตรชัว่ หมดดี
หล่มเพศ หมายถึง การผิดประเวณีทางเพศ ยกเว้นภรรยา
หรือสามีของตนเท่านั้น หล่มนี้เป็นที่มาของโรคเอดส์ด้วย เป็นโรคที่
รักษาไม่หาย มีทางเดียวคือ ตาย หรือถ้าเป็นหญิงทีด่ ี แต่พอมามัว่ กับ
60
โรคนี้ ชายทีม่ าจะขอมัน่ ก็ตอ้ งลดราคาลง ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า หมด
ราคา
หล่มสุรา กินความกว้างไปถึง ยาเสพติดทุกประเภทมียาบ้า
เป็นต้น คนตกหล่มนี้ ชอบมีเรือ่ ง บางครัง้ ต้องเป็นผูต้ อ้ งโทษ หรือไม่ก็
เป็นการก่อศัตรู เสียชือ่ เสียง กลายเป็นคน หมดสำคัญ ลงไป
หล่มภาชี หล่มนีห้ มายถึงการเล่นการพนัน พอจะตัง้ ตัวได้สกั
หน่อย พอมามั่วการพนัน ก็จะต้องหมดเงินทองไป มีข้าวของเท่าไร

นำไปขายเล่นการพนันหมด จึงเรียกว่า หมดตัว


เพราะฉะนั้น เชื่อแน่ว่าท่านทั้งหลายจะต้องรู้ได้ดีว่า หล่มสี่
หรือ อบายมุขสี่ ไม่เคยสร้างคนให้ดขี นึ้ มาได้เลยสักคนเดียว หรืออาจ
จะมีบา้ ง ก็มไี ปไม่นาน สักวันหนึง่ ต้องล่มจมจนได้ เพราะคำว่าอบายมุข
แปลว่า หนทางแห่งเสือ่ ม จะเปลีย่ นเป็น หนทางแห่งเจริญไปไม่ได้เลย
ขอให้คดิ ว่า
๑. อบายมุข มีสขุ ล่อจิตให้ตดิ หล่ม คนดีทวั่ ไป จะไม่นยิ ม
๒. หล่มอบายมุข จะมีสขุ เป็นเครือ่ งล่อ ถ้าหลงความสุข จะมี
ทุกข์คอยรอ
R





61
๒๐
คนดีตอ้ งฝึกตน เกิดเป็นคนต้องพยายาม
R
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพพฺ ตา
คนดี ต้องฝึกตน

เป็นที่เข้าใจกันได้ดีว่า ถ้าจะเป็นคนดี จะต้องมีฝึกตน อัน
ธรรมดาคนเราทุกคน จะต้องเริ่มต้นกันที่พ่อแม่ก่อน หมายความว่า
พ่อแม่มหี น้าทีต่ อ้ งฝึกฝนลูก นับตัง้ แต่ลกู จำความได้ สำหรับลูกเองนัน้
ก็จะเริ่มต้นจากความรักพ่อแม่ เมื่อลูกมีความรักต่อพ่อแม่ ก็จะมีการ
เชื่อฟังคำสอนของท่าน ตรงนีเ้ รียกว่า จุดเริ่มต้นของ ความกตัญญู
กตเวที ทีเ่ รียกว่า เป็นเครือ่ งหมายของคนดี
พ่อแม่จะต้องคอยปกครองดูแล จนกว่าลูกจะปกครองตัวเองได้
เมือ่ ลูกโตแล้ว เป็นตัวของตัวเองได้ ก็เป็นหน้าทีข่ องลูก ทีจ่ ะต้องฝึก
ตนเอง โบราณเรียกว่า พ้นปากเหยีย่ วปากกา เพราะขณะทีย่ งั เป็นเด็ก
ความคิดนึกรู้สึกยังอ่อนแอ ยังรับรองตัวเองไม่เป็น เมื่อโตแล้ว ถ้า
ต้องการจะเป็นคนดี ก็จะต้องมีหน้าทีใ่ นการฝึกตนเองต่อไป ตามพุทธภาษิต
ทีย่ กมาอ้างในทีน่ ี้
การทำความดี ท่านเปรียบด้วยการ ปลูกต้นไม้ จึงมีคำพูดว่า
ปลูกฝังความดี การปลูกต้นไม้นนั้ ผูป้ ลูกจะต้องนำผลไปเพาะชำ จน
ต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว จากนัน้ จึงนำไปปลูก ขณะทีป่ ลูกอยูน่ นั้ ก็จะต้อง
คอยดูแล เอาใจใส่ หมัน่ รดน้ำพรวนดิน และใส่ปยุ๋ เป็นต้น รอเวลาที่
62
ต้นไม้จะเติมโต พอจะละมือได้ ตรงนีก้ เ็ หมือนกับพ่อแม่ ทีค่ อยอบรม
ดูแลลูกมาแต่เล็ก จนลูกเติบโตขึ้นมา ค่าที่พ่อแม่อบรมมาดี ก็พอจะ
ละมือได้บา้ ง ต้นไม้เติบโตจนถึงวัยทีจ่ ะมีดอกออกผล ก็จะผลิตผลออก
มามากมายจนนับไม่ถ้วน จากต้นทุนคือผลซึ่งเพาะเพียงผลเดียว ที่
เปรียบด้วยการทำความดี ก็หมายถึงจะต้องใช้ความอดทน และต้องใช้
เวลา คืออดทนทีไ่ ม่ไปตามแรงดึงดูดของความชัว่ และอดทนฝึกฝนจิต
ให้คนุ้ เคย กับการทำความดี จนกว่าจะเกิดความเคยชิน และมีความ
พอใจตามลำดับ
เพราะฉะนั้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เบื้องต้นนี้มีความหมายว่า
ถ้าจะเป็นคนดี จะต้องมีการฝึกอบรมตน คืออบรมกาย วาจา และใจให้
อยูใ่ นกรอบของคนดี อย่าให้กเิ ลสดึงไปเข้าของเขา โดยการห้ามหรือข่ม
ด้วยการมีสติคอยกำกับไว้อยูท่ กุ ขณะ ขอให้คดิ ว่า
๑. เกิดมาทัง้ ทีตอ้ งทำดีให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ ตายเสียแหละดี
๒. คนดี ย่ อ มฝึ ก ตน คนจนต้ อ งพยายาม ถ้ า ปล่ อ ยตามใจ

ภัยจะลุกลาม
R





63
๒๑
คนชัว่ ร้าย คือตายทัง้ เป็น
R
อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ
อย่าฆ่าตนเอง

มีบางคนพูดว่า เกิดมาเพือ่ ใช้กรรม แท้จริงก็ถกู บ้าง แต่ทถี่ กู

ก็คือ เกิดมาใช้กรรมเก่าทั้งดีทั้งชั่วด้วย และสร้างกรรมดีใหม่ด้วย

ต่อเมือ่ ตายไปแล้ว จึงจะเรียกว่า ใช้กรรมตัวจริง กรรมทีไ่ ด้รบั ในภพ


มนุษย์นี้ ส่วนหนึง่ ก็คอื กรรมทีใ่ ช้แล้วนัน่ แหละ ทีย่ งั ตามมาทุกภพทุกชาติ
เหมือนพระมหาโมคคัลลาน์ในอดีตชาติ ทีเ่ คยทำร้ายพ่อแม่ ตายไปตกนรก
นัน่ คือใช้กรรมตัวจริง เมือ่ เกิดมาอีก ก็ถกู เขาทุบตี เป็นอย่างนีท้ กุ ชาติ
นีเ้ ป็น เศษกรรม เช่นเดียวกับคนฆ่าตัวตาย ถ้าไปเกิดอีกในชาติตอ่ ไป
ก็จะต้องฆ่าตัวตายอีก จะเป็นอย่างนีท้ กุ ชาติ ทีย่ กมากล่าวนี้ เป็นส่วน
หนึง่ แห่งกลไกของกรรม
การฆ่าตัวตายมี ๓ ประเภท คือ ฆ่าเอง – ใช้ให้คนอืน่ ฆ่า –
ฆ่าความดี ศัตรูทจี่ ะฆ่าตัวเรามี ๒ ประเภทคือ ศัตรูนอกกับศัตรูใน
ศัตรูนอก หมายถึงคนอืน่ นอกจากตัวเรา ศัตรูในก็คอื ตัวเรานัน่ เอง ศัตรู
นอกพอระวังได้ เพราะอยูห่ า่ งกัน แต่ถงึ อย่างนัน้ ก็จะต้องระวังอยูเ่ สมอ
คือระวังอย่าให้เผลอสติใช้กายหรือวาจาเรา ไปก่อศัตรูไว้กบั คนอืน่ ถ้า
ทำอย่างนัน้ คนอืน่ เขาอาจจะฆ่าเราก็ได้ อย่างนีเ้ รียกว่า ใช้คนอืน่ ให้ฆา่
บางคนไม่เคยคิดถึงเรือ่ งตรงนี้ มักจะแสดงตัวอวดเก่งเสมอ
64
สำหรับศัตรูที่ควรระวังให้มากก็คือ ศัตรูใน ได้แก่ใจของเรา
นีเ่ อง เป็นการระวังทีย่ าก เพราะอยูด่ ว้ ยกัน ไปไหนก็ไปด้วยกัน บาง
คนกลัวคนอืน่ จะมาทำร้าย แต่หารูไ้ ม่วา่ เรานัน่ แหละ ทีค่ อยจะฆ่าตัว
เอง หมายถึงการทีป่ ล่อยกายใจ ไปอยูภ่ ายใต้อำนาจของความชัว่ เช่น
หมกมุน่ มัวเมาไปกับอบายมุขทัง้ ๔ เป็นต้น ถ้าขืนไม่ระวังใจให้ดี ไม่ชา้
ก็อาจจะตายได้ทงั้ สามอย่างดังกล่าวข้างต้น อย่างนีเ้ รียกว่า ฆ่าตัวเอง
และการฆ่าทัง้ สองอย่างทีก่ ล่าวมา รวมเรียกว่า ฆ่าความดี
เพราะฉะนัน้ ขอให้มคี วามสำนึกว่า การดำเนินชีวติ ถ้าไม่มสี ติ
ถือว่าเป็นเรือ่ งทีย่ ากมาก จะต้องคิดถึงเรือ่ งของศัตรูไว้ให้มาก เพราะ
ศัตรูมใิ ช่จะทำร้ายแต่ชาตินเี้ ท่านัน้ จะต้องตามไปเป็นศัตรูกนั อีกไม่รวู้ า่ กี่
ชาติ อย่าไปอวดเก่งว่าไม่กลัวใคร ต้องหัดเป็นคนกลัวกรรมชั่วไว้บ้าง
ขอให้คดิ ว่า
๑. คนชัว่ จะทำตัวฆ่าตัวเอง ถ้าเรือ่ งความชัว่ อย่าอวดตัวว่า
เก่ง
๒. คนหลงตัว เห็นชัว่ เป็นดี คนอย่างนีช้ อื่ ว่าฆ่าตัวเอง
R






65
๒๒
สติตามคือยามใจ
R
อตตานุรกขี ภว มา อฑยฺหิ
จงเป็นผูต้ ามรักษาตน อย่าให้เดือดร้อน

ในร่างกายตัวตนของคนเรานั้น มีสถานที่ซึ่งเป็นเหมือนประตู
ทีค่ อยเปิดรับอารมณ์ คือความดีกบั ความชัว่ อยู่ ๖ แห่ง แบ่งเป็นประตู
นอก ๕ ประตูใน ๑
ประตูนอก ได้แก่ ประตู ตา – หู – จมูก – ลิน้ – กาย ซึง่
สามารถจะเปิดรับ รูป – เสียง – กลิน่ – รส – การถูกต้อง เป็น
คูๆ่ กัน เช่น ตาเปิดรับรูป เป็นต้น ใน ๕ ประตูนี้ หากประตูใดประตู
หนึง่ เปิดรับอารมณ์แล้ว ตรงนีเ้ รียกว่า วิญญาณ คือความรู้ จากนัน้ ก็
จะรายงานไปทีป่ ระตูใน หรือประตูที่ ๕
ได้แก่ ใจ หมายถึงใจจะต้องคอยรับรู้ การตามรักษานัน้ หมาย
ถึงรักษาประตูใจ กล่าวคือใจจะต้องคัดเลือกเอาสิง่ ทีไ่ ม่ดอี อกไป รับไว้
แต่สงิ่ ทีด่ ี ถึงจะถือเอาสิง่ ทีด่ ไี ว้ แต่กไ็ ม่ให้ยดึ มัน่
ใจของคน ท่านเปรียบเหมือน น้ำ โลภะคือความอยากได้
โทสะคือความโกรธ และโมหะคือความหลงผิด ทั้ง ๓ อย่างนี้ท่าน
เปรียบด้วย ไฟ เมือ่ น้ำถูกต้มด้วยไฟ ก็จะเกิดความร้อน กล่าวคือมี
ความร้อนรุม่ กลุม้ ใจ ดิน้ รนกระวนกระวาย นัง่ นอนอยูไ่ ม่สขุ ตัวอย่าง
เช่น คนทีม่ รี าคะ ซึง่ เป็นเครือเดียวกับโลภะครอบงำ เกิดหลงไหลใน
66
เพศตรงข้าม ซึง่ มิใช่เป็นภรรยาของเรา ด้วยอำนาจของโมหะความหลงผิด
เห็นผิดเป็นถูก หากได้มาตามความต้องการก็ดใี จ ถ้าไม่ได้กจ็ ะเกิดการ
ร้อนใจ หากเรือ่ งชัว่ ทีต่ วั ทำนัน้ ถูกตีแผ่แก่สาธารณชน เช่นคนทีไ่ ปเป็น
ชู้กับภรรยาเขา ก็จะเกิดความเสียหาย กล่าวคือเสียเกียรติชื่อเสียง
เสียเงินทอง กลายเป็นคนเสียคน เสียอนาคตไปในทีส่ ดุ เมือ่ ถึงจุดนีแ้ ล้ว
ความเดือดร้อนก็จะมีมากเป็นทวีคณ ู จะอยูท่ ไี่ หนก็ไม่สบายใจ กลัวจะ
ถูกเขาทำร้าย เป็นต้น การตามรักษาใจ จะต้องทำให้ใจมี ความรูส้ กึ
คือมีสติรวู้ า่ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ดี สติจงึ เป็นเหมือน ยามรักษาใจ
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้ตามรักษาตนอยู่ประจำ

อย่าให้ขาดสติ ความผิดหรือความชัว่ ช้า จะเกิดขึน้ ได้งา่ ย ต้องมีสติเป็น


เหมือนยาม คอยตรวจตราดูตามประตูดงั กล่าวมา เหตุการณ์ตา่ งๆ ก็
จะอยูใ่ นสภาพทีป่ รกติ ไม่เกิดความเสียหายใดๆ แก่ตวั เอง ขอให้คดิ ว่า
๑. จิตเหมือนน้ำใส กิเลสเหมือนไฟต้ม ถ้าร้อนเมื่อไร ต้อง
อาศัยการข่ม
๒. ถ้ารักตน อย่าเป็นคนเดือดร้อน อย่าหาเรือ่ งวุน่ วาย จะมี
ภัยไม่หยุดหย่อน
R




67
๒๓
คนดี ต้องไม่มปี ล่อยใจ
R
อตฺตานํ น ทเท โปโส
บุรษุ ไม่พงึ ให้ซงึ่ ตน

คำว่า ไม่พึงให้ซึ่งตน หมายถึง ทุกคน ไม่ควรปล่อยกาย
วาจา และใจ ไปตามอารมณ์ที่ตนต้องการ เพราะธรรมชาติของใจ

มักจะมีความต้องการ ไปในทางที่ไม่ดี จะถูกความชั่วดึงลงที่ต่ำเสมอ


จะต้องคอยรักษาสภาพของใจ ให้อยูใ่ นระดับเดิม หรือสูงขึน้ กว่า คำว่า
ระดับเดิม หมายถึงในเวลาทีใ่ จ ยังไม่ถกู ความชัว่ ครอบงำ สภาพของ
ใจในตอนนี้ ควรจะได้ปลูกฝังความดีลงไว้ ถ้าในขณะที่ถูกความชั่ว
ครอบงำ จิตใจจะมืดมองความดีไม่เห็น เช่น คนทีก่ ำลังเกิดความโกรธ
มีคนบอกว่าให้เจริญเมตตาแก้เสีย ความจริง เมตตาเป็นตัวแก้ความ
โกรธจริง แต่จะต้องฝึกหัดใช้ ในเวลาทีไ่ ม่โกรธก่อน พอถึงเวลาโกรธ
จริงๆ ขณะนัน้ จะมองอะไรไม่เห็น
ว่ากันทีจ่ ริงแล้ว คนเราส่วนใหญ่ เมือ่ มีใครมาขออะไร สิง่ ทีใ่ ห้
ได้มกั จะให้หรือบริจาคให้ เช่นบริจาคสร้างศาลาการเปรียญ สร้างกุฎี
หรือสร้างสิง่ สาธารณประโยชน์ เป็นต้น ตามปรกติเราก็จะมีการบริจาค
กันอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าเป็นตัวเอง จะขอบริจาคให้ตัวเองบ้าง เช่นในวัน
หนึง่ มี ๒๔ ชัว่ โมง จะขอบริจาคเวลาสักครึง่ ชัว่ โมง เพือ่ นำเอาเวลานี้
ไปทำวัตรสวดมนต์นงั่ กรรมฐาน หรือจะขอบริจาคสัก ๒ ชัว่ โมง เพียง
68
๗ วันต่อหนึง่ ครัง้ เพือ่ นำเอาเวลาไปทำบุญในวันพระ บางครัง้ ก็ไม่ยอม
ให้ จะอ้างโน่นอ้างนี่ อ้างว่าไม่มเี วลาว่างบ้าง ไม่มใี ครเฝ้าบ้านบ้าง ไม่มี
ใครเลี้ยงหลานบ้าง หรือถ้าจนแต้มเข้าจริงๆ ก็บอกว่าใจยังไม่พร้อม
หรือยังไม่มศี รัทธา แท้จริง การทำความดีหรือทำบุญ เป็นเรือ่ งส่วนตัว
ของเราเอง ใครทำคนนั้นก็ได้ ใครจะทำให้ใครไม่ได้ แต่เอาเข้าจริง

เรากลายคนเป็นคนไม่มศี รัทธาต่อตนเอง แต่คนอืน่ มีศรัทธาบริจาคให้


เขาได้ เรือ่ งนีก้ ข็ อสะกิดใจไว้ให้คดิ
เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน

ก็หมายถึงไม่ปล่อยให้ตนตกไปในทางทีช่ วั่ ช้า แต่ถา้ เป็นความดีจะไม่หา้ ม


กลับจะได้รับการสรรเสริญเสียอีก เพราะเป็นการนำตนไปในทางที่ดี
แต่การทำความดี จะต้องมีการใช้ความอดทนพยายาม ขอให้คดิ ว่า
๑. ทีคนอืน่ ชอบว่า แต่ตวั ข้าเห็นว่าดี ถ้าสำนึกได้ ภัยจะไม่มี
๒. บุรษุ ทีด่ ี อย่าได้มปี ล่อยใจ ปล่อยชัว่ ไม่วา่ ต้องสร้างคุณค่า
เข้าไว้
R







69
๒๔
นักเสียสละ ต้องละชัว่
R
อตฺตานํ น ปริจจฺ เช
บุรษุ ไม่พงึ ละเสียซึง่ ตน

การละตน หมายความว่า การปล่อยตนให้เป็นไปตามอำนาจ
กิเลส พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ไม่พงึ ละตน ก็คอื จะต้องหมัน่ รักษาดูแล
อย่าปล่อยปละละเลย หากจิตของตน อยากจะทำสิง่ ทีช่ วั่ ช้า ต้องคอย
หักห้ามไว้ อย่าตามใจ ในทำนองเดียวกับคำทีว่ า่ รักวัวให้ผกู รักลูกให้ตี
ผูกใจให้อยูก่ บั ความดี หากใจไม่ยอมก็จะต้องฝืนเอาบ้าง พยายามข่มไว้
ด้วยขันติธรรม ถึงเราไม่สามารถจะเอาชนะกิเลสได้อย่างเด็ดขาด แต่ก็
พยายามมีสติ นึกรูอ้ ยูเ่ สมอ มีขนั ติคอยกดคอยข่มอยู่ เราก็สามารถจะ
เอาชนะได้ ในขณะทีค่ วามชัว่ กำลังจะเกิด ขอเพียงแต่วา่ เราอย่าไปยอมแพ้
เท่านัน้ เอง
อันธรรมดาว่า วัตถุสงิ่ ของทีม่ อี ยูใ่ นโลกนี้ เมือ่ คนโยนขึน้ ไปข้างบน
ย่อมจะต้องตกลงมาสูพ่ นื้ โลกอีก จะเร็วหรือช้าอยูท่ นี่ ำ้ หนักของสิง่ ของนัน้
ด้วยอำนาจความดึงดูดของโลก ฉันใด ใจของคนทีย่ งั เป็นปุถชุ น ก็ยอ่ ม
จะชอบตกลงไปสูช่ นั้ ต่ำ ด้วยอำนาจความดึงดูดของกิเลส ฉันนัน้
เมือ่ รูค้ วามจริงอย่างนีแ้ ล้ว การแก้ไข จะต้องใช้ธรรมะเข้าไป
เป็นตัวบังคับ กล่าวคือเมือ่ รูว้ า่ กิเลสกำลังดึงจิตใจของเราให้ตกต่ำ ก็
ต้องใช้ธรรมะที่มีอยู่ในใจดึงเข้าไว้ อย่าให้ตกไปตาม แต่จะเป็นใน
70
ลักษณะทวนกระแส ถึงธรรมะจะดึงได้ แต่ใจก็ยงั ต้องขึน้ ๆ ลงๆ อาจ
จะลองคิดดูวา่ ทำไมจะดึงใจของเราขึน้ ไม่ได้ ทีกเิ ลสไม่ใช่ของเรา ยัง
สามารถดึงเราลงได้ ตรงนี้ เราจะต้องเป็นนักเสียสละ ทีเ่ รียกว่าจาคะ
เช่น เล่นการพนันเสียเขา ให้เสียสละลงไปเลยว่า ต่อไปนีจ้ ะเลิกเล่น
การพนันอย่างเด็ดขาด ใจของเรา ก็ควรจะเป็นฝ่ายเรา ไม่ควรจะให้สงิ่
ไม่ดเี ข้ามาบังคับ เป็นต้น แต่ไม่คอ่ ยมีใครคิด เพราะตนเอง ตกไปเป็น
ทาสของกิเลสเสียแล้ว ทีก่ ล่าวมานี้ เพือ่ จะสะกิดใจให้ทา่ นลองทำการ
บ้านดู
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงวางหลักให้กับพระผู้นุ่งห่มผ้า
กาสาวะว่า จะต้องมีทมะกับสัจจะ
ควรจะนำมาใช้ดบู า้ งก็ได้ กล่าวคือ เมือ่ กิเลสกำลังจะเกิด ก็ขม่
ไว้ไม่ให้เป็นไปตามอำนาจเขา และมีความจริงใจ ว่าจะต้องทำจริงๆ ไม่
ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด อย่างนีก้ จ็ ะดีมาก ขอให้คดิ ว่า
๑. ละชัว่ คือตัวดี ละดีคอื ตัวทำลาย การฝึกหัดตัดชัว่ ตัวของ
ตัวก็ทำได้
๒. ถ้าปล่อยใจ จะใกล้ความชัว่ จงอดใจลดละ เสียสละให้แก่ตวั
R




71
๒๕
ลืมตนลมตาย เห็นอบายเป็นของดี
R
อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
บุคคล ไม่ควรลืมตน

ลืมตน หมายถึง การลืมด้วยอำนาจของโมหะ คือความ
หลงลืม ไม่รเู้ ท่าทันความเป็นจริง หรือรูเ้ หมือนกัน แต่ทนไม่ไหว เรียกว่า
ลืมเพราะหลง ความจริงมีอยู่ แต่ไม่ได้คดิ
ในสังขารร่างกายของเรา เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ถ้านำเอา
มีดมาผ่าร่างกายดูแล้ว จะเห็นสิ่งภายในร่างกายว่า มีแต่ความน่า
เกลียดน่ากลัว ท่านทีเ่ ป็นหนุม่ เป็นสาว เมือ่ พบเห็นกัน จะมองเห็นว่า
ผูห้ ญิงสวย ผูช้ ายหล่อ มองแล้วจะเกิดความรักใคร่ ติดเนือ้ ต้องใจซึง่
กันแลกัน หรือเกิดความหลงไหลกันขึน้ ในทีส่ ดุ ก็จะทำให้พฤติกรรม
ของคนทัง้ สอง ต้องเปลีย่ นแปลงไปตามกระแสของตัณหา ถ้าไม่ระวัง
ตัว ก็จะทำให้เกิดปัญหาการประทุษร้ายทางเพศ และจะมีความเสียหาย
ตามมา ทีย่ กมากล่าวนี้ เพือ่ ให้มองเห็นว่า ทุกคนจะติดอยูใ่ นของหลอก
มองไม่เห็นของจริง เรียกตรงนีว้ า่ ลืมตน
การลืมมีอยู่ ๒ อย่างคือ ลืมด้วยไม่ตงั้ ใจ กับ ลืมด้วยตัง้ ใจ
ลืมด้วยไม่ตงั้ ใจนัน้ เช่น วางกระเป๋าเงินไว้ตรงนี้ เวลาไปก็ทงิ้ ไว้ตรงนัน้
หรือไปพบกับเพือ่ นเก่าคนหนึง่ นึกไม่ออกว่าเพือ่ นคนนีช้ อื่ อะไรเป็นต้น
การลืมอย่างนีบ้ างครัง้ เสียหาย บางครัง้ ถึงจะเสียหายก็ยงั ให้อภัยกันได้
72
แต่ถา้ เป็นการลืมทีจ่ ะต้องทำให้เสียเงินหรือเสียชือ่ เสียง ก็จะไม่ดี ทางที่
ดีควรจะระวังไม่ให้ลมื ได้เป็นการดี
การลืมด้วยตัง้ ใจ อย่างทีส่ องนี้ ร้ายมาก ไม่นา่ ให้อภัย เช่น
คนที่มีความโกรธ เกิดการทะเลาะวิวาท จนถึงลงมือทำร้ายร่างกาย
หรือถึงกับฆ่ากันตาย ถ้าจะถามว่าการกระทำนัน้ ผิดไหม ก็ตอ้ งตอบว่าผิด
คนทำก็รวู้ า่ ผิด ดังนีเ้ ป็นต้น การลืมอย่างนี้ เรียกว่า ลืมตัว หรือจะ
เรียกว่า ลืมเพราะกิเลสพาไปก็ไม่ผดิ ทัง้ ลืมตนและลืมตัว ทัง้ สองอย่างนี้
จะต้องควรระวังเป็นอย่างยิง่
เพราะฉะนัน้ ชาวโลกทีม่ เี รือ่ งวุน่ วาย เกิดความเดือดร้อนกัน
อยูท่ กุ วันนี้ ก็เพราะอำนาจของโมหะ เข้ามาครอบงำทำให้เห็นผิดเป็นถูก
เห็นถูกเป็นผิด เกิดความลืมตัวลืมตน ถ้าเรามาระวังเข้าไว้บา้ ง ถึงจะ
เกิดมีในบางครัง้ ก็ควรจะมีการยับยัง้ ให้เบาบางลงจะดีมาก ขอให้คดิ ว่า
๑. ลืมตัวลืมตาย เห็นอบายกลายเป็นดี ถ้าแก้ไม่ได้ จะกลาย
เป็นผี
๒. ถ้าหลงชัว่ จะลืมตัวลืมตาย ทางทีด่ ี ควรสร้างดีเข้าไว้
R






73
๒๖
ชัว่ เขาชอบสน ชัว่ ตนไม่สนใจ
R
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน, พหุนาปิ น หาปเย
ไม่พงึ ทำประโยชน์ตนให้เสียหาย เพือ่ ประโยชน์ผอู้ นื่ แม้มาก

ประโยชน์ ในทีน่ ี้ หมายถึงสมบัตทิ จี่ ะพึงได้มา รวมทัง้ ความรู้
ยศศักดิ์ชื่อเสียง มีทั้งประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ในภพหน้า และ
ประโยชน์อย่างสูง ได้แก่พระนิพพาน ประโยชน์ดังกล่าวนี้ แบ่งออก
เป็น ๒ อย่าง คือ ประโยชน์ตนและประโยชน์ผอู้ นื่
ในประโยชน์ทงั้ สองนัน้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำประโยชน์ตน
ก่อน และขณะเดียวกันนัน้ หากเพือ่ นบ้านหรือในสังคม มีกจิ การอะไรที่
พอจะช่วยได้ ก็ให้ชว่ ยเหลือกันไปตามกำลัง ทีจ่ ะช่วยเหลือได้ แต่จะ
ต้องเป็นการช่วยเหลือในทางทีด่ ี และสุจริตด้วย หากการช่วยเหลือนัน้
อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย เช่นไปค้ำประกัน กับคนทีไ่ ม่นา่ ไว้วางใจ
เป็นต้น อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงห้าม
การทำประโยชน์เพือ่ คนอืน่ เป็นความดีและควรทำ แต่จะต้อง
คำนึงดูวา่ เมือ่ ทำแล้ว จะเกิดความเสียหายอะไรไหม ดังกล่าวข้างต้น
ในทีน่ จี้ ะเน้นในเรือ่ งของการทำบุญ มีการทอดกฐินหรือผ้าป่า เป็นต้น
ซึง่ พุทธศาสนิกชนผูใ้ จบุญจะทำกันอยูเ่ สมอ แต่บางครัง้ อาจจะถูกหลอก
เป็นต้นว่า เมือ่ มีคนทีไ่ ม่รจู้ กั มาบอกว่า จะนำกฐิน หรือไม่กผ็ า้ ป่า มาทอด
ที่วัดนี้ จะขอตราวัดไปด้วย เพื่อนำไปประทับที่ซองและใบฎีกาเรี่ยไร
74
พร้อมกับขอชื่อเจ้าอาวาสและพระอื่นๆ รวมทั้งทายกทายิกาในวัดนี้
เพื่ อไปลงพิ ม พ์ ใ นฎี ก าบอกบุ ญ และได้ บ อกวั น เวลาที่ จ ะมาทอดไว้
เรียบร้อย พอถึงวันกำหนดดังกล่าว ปรากฏว่า ไม่มใี ครนำมาทอด นัน่
ก็หมายความว่า เขานำเอาชือ่ วัด ชือ่ เจ้าอาวาสพร้อมทัง้ ทายกทายิกา
ไปหากินทางทุจริต ผู้ที่ทำบุญก็หลงผิด คิดว่าเป็นจริง จึงทำบุญไป
การช่วยเหลืออย่างนี้ เหมือนเป็นการช่วยเหลือโจร ให้ไปปล้นคนอื่น
โดยใช้บญ ุ บังหน้า เรือ่ งนีข้ อให้ชาววัดชาวบ้าน จงช่วยกันแก้ไข
เพราะฉะนัน้ เรือ่ งจริงทีก่ ล่าวมาข้างต้น พระพุทธเจ้าจึงทรง
เน้นว่า อย่าทำประโยชน์ตนให้เสียเพือ่ ประโยชน์ผอู้ นื่ การช่วยเหลือคน
อืน่ ในทางทุจริตก็ดี ร่วมกันทำทุจริตกับคนอืน่ ก็ดี หรือตนทำทุจริตเสีย
เองก็ดี ประโยชน์ที่ได้ในภพนี้ ไม่คุ้มค่าความทุกข์ทรมานในภพหน้า
ขอให้คดิ ว่า
๑. ช่วยคนอื่นสน แต่ช่วยตนไม่เหลียวแล ถ้าช่วยตนได้ จะ
สบายดีแท้
๒. ช่วยคนอืน่ ช่วยได้ แต่อย่าให้เสียตน ถ้าเรือ่ งเสียหาย ต้อง
หลีกไปให้พน้
R




75
๒๗
รักดีตอ้ งแก้ไข ถ้าปล่อยไปจะแก้ตวั
R
อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺา, น นํ ปาเปน สสํยเุ ช
ถ้ารูว้ า่ ตนเป็นทีร่ กั ไม่ควรทำตนให้เป็นคนชัว่

การประพฤติปฏิบตั ติ นของคนเรานัน้ ท่านแบ่งเป็นสีป่ ระเภท คือ
๑. ต้นตรง – ปลายคด คือคนทีป่ ฏิบตั ติ นเป็นคนดี ทัง้ เบือ้ ง
ต้นและเบือ้ งปลายชีวติ
๒. ต้นตรง – ปลายคด คือแต่เดิมเป็นคนดี แต่มาภายหลัง
กลับประพฤติตนเป็นคนชัว่
๓. ต้นคด – ปลายตรง คือแต่เดิมเป็นคนชัว่ แต่มาภายหลัง
กลับตัวมาเป็นคนดี
๔. ต้นคด – ปลายคด คือแต่เดิมก็เป็นคนชัว่ แต่กลับตัวไม่ได้
ตลอดไปจนถึงตาย
ในที่นี้ หมายความว่า คนที่เคยทำดี จงทำความดีตลอดไป
หรือคนทีท่ ำความชัว่ ก็ให้กลับ ตัวเป็นคนดีตลอดไป ดังบุคคลประเภท
ที่ ๑ และ ๓ ส่วนบุคคลประเภทที่ ๒ และ ๔ ไม่ควรนำมาใช้
ธรรมดาว่าพืน้ เดิมแห่งจิตใจของคนทัว่ ไป ต้องการจะเป็นคนดี
ต่างก็รงั เกียจคนชัว่ แต่เอาเข้าจริง พอไปพบกับสิง่ แวดล้อมทีไ่ ม่ดี เช่น
คบกับเพือ่ นทีไ่ ม่ดี เป็นต้น เพือ่ นก็ชกั ชวนไปในทางไม่ดี กลับลืมพืน้ เดิม
76
เสียสิน้ ไปเมามัวกับเขา ถ้าถามว่ายาเสพติดดีไหม ทุกคนต้องตอบว่า
ไม่ดี เมือ่ รูว้ า่ ไม่ดี จะไปเสพทำไม ตรงนี้ มักจะตอบกันว่า เพราะเกิด
ปัญหาครอบครัวบ้าง เพราะถูกเพือ่ นชักชวนบ้าง เพราะความสนุกบ้าง
นัน่ เขาเรียกกันว่า แก้ตวั คนเราถ้ารักดีจริงจะต้อง แก้ไข ไม่ใช่แก้ตวั
ไม่วา่ จะอ้างเหตุลน้ ฟ้าขนาดไหน คนเขาฟังออก ถ้าเอาแต่แก้ตวั ก็จะ
กลายเป็นคน ค้นคด – ปลายคด หรือหากเมือ่ ก่อนเคยเป็นคนชัว่ แต่
หันมาแก้ไขตัวเอง หลีกความชัว่ ทัง้ หลาย กลับมาทำความดี อย่างนี้
ถึงจะต้นคด แต่ปลายตรง สังคมจะยังให้อภัย ก็ยงั จัดเข้าในประเภทคนดี
สังคมไม่รังเกียจ จัดอยู่ในประเภทว่า คนดีชอบแก้ไข คนทั่วไปจะ
ยกย่องสรรเสริญ
เพราะฉะนัน้ คนเราทุกคน ต้องยอมรับว่า ก็ชวั่ บ้างดีบา้ ง จะ
ให้ดอี ย่างเดียวหรือชัว่ อย่างเดียวย่อมจะมีนอ้ ย แต่ถา้ มาคิดว่าดีกผ็ า่ น
มาแล้วชัว่ ก็ผา่ นมาแล้ว พอกันทีตอ่ ไปนีก้ ลับมาทำความดี ทำบุญกุศล
เพื่อช่วยตนของตนทั้งชาตินี้และชาติหน้า และทำอย่างจริงจัง ก็จะดี
มิใช่นอ้ ย ขอให้คดิ ว่า
๑. คนดีจะแก้ไข คนเหลวไหลจะแก้ตวั ถ้ารูอ้ ย่างนี้ จงหลบหนี
ความชัว่
๒. ถ้ารักตัวมี ต้องทำดีให้มาก อย่าหมกมุ่นเมามัว ทำตัวให้
ลำบาก
R



77
๒๘
ติตวั ได้ จะใช้ตวั เป็น
R
ยทตฺตครหี ตทกุพพฺ มาโน
ตำหนิตวั เองอย่างไร ไม่ควรทำอย่างนัน้

การจะตำหนิตวั เองนัน้ ก่อนอืน่ ควรวางตนให้เป็นกลางเสียก่อน
กล่าวคือจะต้องไม่ลำเอียงเข้าข้างตน จากนัน้ จงมาตรวจทีก่ ายก่อน ว่า
กายของเราชอบทำผิดอะไรบ้าง เมือ่ ตรวจพบความผิดทีก่ ายก็ให้จำไว้
ต่อจากนั้นก็ไปตรวจที่วาจาว่าปากที่เราพูดออกไปนั้น มีตรงไหนที่ควร
แก้ไขบ้าง จากนัน้ ก็มาถึงจุดสำคัญคือมาตรวจทีใ่ จ ว่าชอบมีความคิดที่
ไม่ดตี รงไหนบ้าง สำหรับใจนี้ จะมีจดุ ทีน่ า่ คิดอยูม่ าก และเมือ่ เห็นแล้ว
ก็หาวิธแี ก้ โดยจะแก้เป็นอย่างๆ ไปก็ได้ สิง่ ทีน่ ำออกมาดูนี้ ให้ถอื เป็น
ครูของเรา แต่ละอย่างทีแ่ ก้ได้แล้ว ก็เหมือนกับนักเรียนทีไ่ ด้เรียนผ่าน
บทนีไ้ ปแล้ว และก็ไปเรียนบทอืน่ ต่อไป ถ้าใครทดลองทำอย่างนีไ้ ด้ ก็จะ
ดีมใิ ช่นอ้ ย
ตามปรกติคนทุกคน ส่วนใหญ่ มักจะชอบติคนอืน่ แต่ไม่ชอบติ
ตัวเอง ทั้งๆ ที่การตินั้น บางครั้งตัวเองก็ยังทำไม่ได้ ที่กล่าวมานี้
เป็นการติในทางเสีย ถ้าติให้เขาทำดี อย่างนีเ้ รียกว่า ตักเตือน แต่คนเรา
มักจะไม่เข้าใจ นำเอาติเตียนกับตักเตือนไปปนกัน เช่นนายเรียกลูกน้อง
ไปตักเตือน คนก็จะพูดกันว่า นายคนนัน้ ถูกนายเรียกไปตำหนิ เมือ่
เป็นเช่นนี้ ลูกน้องทำผิด นายก็ไม่กล้าตักเตือน เพราะเกรงว่าลูกน้อง
78
จะเสียประวัติ ในทีส่ ดุ ก็กลายเป็นว่า ให้รกู้ นั เอง ตรงนีก้ เ็ ป็นจุดเสียหาย
แต่ในพระพุทธภาษิตนี้ พระพุทธเจ้าทรงเน้นแต่เพียง ติตวั เอง ไม่กว้าง
ออกไปถึงติคนอืน่ ว่า ติตวั เองอย่างไร ไม่ควรทำอย่างนัน้ เช่นติวา่ เรา
เป็นคนใจน้อย หรือเป็นคนใจดำ ซึง่ เรือ่ งนี้ ก็เคยเสียหายมาแล้ว เมือ่
ตัวเองติตวั เองอย่างนี้ ก็จะต้องหาทางแก้ไข อย่าไปคิดว่า เราจะทำเรา
ของอย่างนีห้ รือ เราทำของเราดีแล้ว คนอืน่ อย่ามายุง่ เกีย่ ว แท้จริง
ถึงจะทำดีจริง ก็ตอ้ งฟังเสียงสังคมดูบา้ ง
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าทรงภาษิตข้อนีไ้ ว้ ก็เพือ่ เตือนสติวา่
อย่ามัวไปติคนอื่นเสียจนเพลิน เลยลืมติตัวเองไป การติคนอื่น ถ้า
เป็นการ ติเพือ่ ก่อ ก็เป็นการดี อย่าไปติ เพือ่ ทำลาย อย่างนีเ้ ป็นเรือ่ ง
เสียหาย ทางทีด่ ที สี่ ดุ ก็คอื ให้ตติ วั เองไว้เป็นลำดับหนึง่ ติเพือ่ ก่อเป็น
ลำดับลองลงมา ขอให้คดิ ว่า
๑. ติเขาอย่างไร ต้องทำได้อย่างติ ถ้ารักตัวดี จะไม่มตี ำหนิ
๒. ติตวั อย่างไร ต้องห่างไกลสิง่ นัน้ ถ้าชัว่ ต้องไม่ อย่าทำใจผูกพัน
R







79
๒๙
โรคประมาท จะระบาดถึงตาย
R
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นหนทางแห่งความไม่ตาย

ประมาท หมายถึง ความหลงมัวเมา ในลาภ ยศ สรรเสริญ
สุข และเมาในวัย ในชีวติ เป็นต้น บุคคลประเภทนี้ ตกอยูใ่ นอำนาจ
ของโมหะ คือความหลงผิด ติดอยูใ่ นอารมณ์ทนี่ า่ ใคร่ น่าปรารถนา แต่
ในพระพุทธภาษิตนี้ ระบุถงึ ความไม่ประมาท ก็หมายถึงสิง่ ทีต่ รงกันข้าม
กล่าวคือ ผูไ้ ม่หลงมัวเมา ไม่ตดิ อยูใ่ นอารมณ์ ทีจ่ ะดึงดูดจิตใจให้ใฝ่ตำ่
มีสติในการทำ การพูด และการคิด ใช้ปญ ั ญาเป็นเครือ่ งนำทาง ดังนัน้
คนประเภทนี้ จึงต้องทำแต่ความดีอย่างเดียว ไม่ทำสิง่ ทีใ่ ห้เสียเกียรติยศ
ชือ่ เสียง ทัง้ ตนและวงศ์ตระกูล รวมไปถึงส่วนรวมคือประเทศชาติบา้ น
เมือง เมือ่ มีกนั อย่างนีท้ กุ คน ตนเอง วงศ์ตระกูลและประเทศชาติ ก็จะ
ไม่ตาย กล่าวคือจะมีแต่ความเจริญรุง่ เรืองเท่านัน้
จะย้ อ นกล่ า วถึ ง ความประมาท เพื่ อ จะชี้ ใ ห้ เ ห็ นโทษ จาก
อุบัติเหตุบนท้องถนน อันเนื่องมาจากคนขับรถ มีความประมาท จน
ทำให้เกิดโรค ๓ อย่างคือ
๑. โรคไม่เป็นไร คือ ตัวเองจะคิดว่าไม่เป็นไร เช่นสัง่ ว่า เมา
ไม่ขบั ก็คดิ ว่าไม่เป็นไร เราก็เคยกินมาหลายครัง้ แล้ว ไม่เห็นมีอะไรสักที
หรือขับรถแซงกับคันอืน่ ในระยะกระชัน้ ชิด ก็คดิ ว่าคนอย่างเราเชือ่ มือได้
80
เมือ่ ประมาทอย่างนี้ สักวันหนึง่ ทีค่ ดิ ว่าไม่เป็นไร อาจจะเป็นขึน้ มาได้
๒. โรคช่างปะไร คือ คิดว่าชัง่ ปะไร เช่นเห็นรถข้างหน้าหรือ
ข้างหลังเขาแซงกันมา ในระยะคับขัน แทนทีจ่ ะหลีกทางให้เขา ก็คดิ ว่า
ชัง่ ประไร เราเป็นฝ่ายถูก
๓. โรคเหม่อลอย คือขับรถใจลอย หรือไม่กง็ ว่ งนอน แต่ไม่
ยอมหยุดพัก
เพราะฉะนัน้ ในโรคทัง้ ๓ โรคนี้ เป็นโรคความประมาททัง้ สิน้
โรคนี้ หากไม่รักษา มีหวังตายอย่างเดียว หรือไม่ตายก็อาจจะพิการ
เป็นภาระของครอบครัว ต้องเสียเงินทอง เสียเวลาการทำมาหากิน
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นหนทางแห่งความตาย ถ้าไม่ตาย
จากชีวติ ก็ตายจากคุณความดี กลายเป็นคนเสียไป ขอให้คดิ ว่า
๑. ประมาทเมามัว จะทำตัวให้ถงึ ตาย ไม่ตายจากชีวี ก็ตาย
ความดีจนได้
๒. เมือ่ ได้ความดี อย่าได้มปี ระมาท ความชัว่ ล่อใจ อย่าหลงไป
อย่างเด็ดขาด
R






81
๓๐
ความไม่ประมาท เป็นสมบัตเิ ศรษฐี
R
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺ€ํ ว รกฺขติ
ปราชญ์จะรักษาความไม่ประมาท เหมือนทรัพย์อนั ประเสริฐสุด

นักปราชญ์ คือผูท้ มี่ ปี ญั ญา เฉลียวฉลาดรอบรู้ ในสิง่ อันเป็น
ประโยชน์ และสิง่ ทีเ่ ป็นโทษ ดำรงตนอยูใ่ นความสุจริต ไม่ประพฤติผดิ
ด้วยอำนาจแห่งความหลงมัวเมา ประกอบกิจการของตนอยูด่ ว้ ยความ
ไม่ประมาท บุคคลประเภทนีจ้ ะมองเห็นว่า ความไม่ประมาท เป็นสุด
ยอดของธรรมทัง้ ปวงหมายความว่า ความดีทงั้ หมด จะมารวมลงอยูท่ ี่
ความไม่ประมาททัง้ สิน้ รักษาความไม่ประมาทอย่างเดียว ก็เท่ากับว่า
ได้ปฏิบัติธรรมทั้งหมด ความไม่ประมาท จึงเป็นเหมือนทรัพย์อัน
ประเสริฐ ทัง้ ทรัพย์ภายนอก และทรัพย์ภายใน สำหรับทรัพย์นอกนัน้
คนไม่ประมาทก็ยอ่ มจะขยันทำมาหากิน จนเกิดมีทรัพย์สนิ เงินทอง และ
ไม่ประมาทในการใช้จา่ ย รูจ้ กั เก็บรูจ้ กั ปลูกสร้าง ก็จะกลายเป็นเศรษฐีได้
ทุกคนที่เกิดมาในโลก ล้วนแต่อยากจะเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น
แม้แต่เด็กทีร่ อ้ งไห้อยู่ พอพ่อหรือแม่ปลอบว่า นิง่ เสียคนดี เด็กก็จะนิง่
ทัง้ ๆ ทีเ่ ด็กทีย่ งั ไร้เดียงสาอยู่ สำหรับผูท้ เี่ ป็นนักปราชญ์ ย่อมจะมอง
ออกว่า คนทีย่ ากจน เป็นเพราะความประมาท เนือ่ งจากความประมาท
เป็นหนทางแห่งความเสียเงิน เสียชือ่ เสียง หรือบางครัง้ อาจจะถึงกับ
เสียชีวติ เช่นขับรถด้วยความประมาท เมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุขนึ้ อย่างน้อย
82
ก็จะต้องเสียเงินซ่อม เป็นต้น คนเมาสุรา ประมาท ไปมีเรือ่ งทะเลาะใน
วงสุรา ถึงกับฆ่า หรือทำร้ายกัน ก็ตอ้ งเสียเงิน เสียเกียรติยศชือ่ เสียง
และยังมีอกี หลายอย่าง นีก้ เ็ ป็นเพราะความประมาท คนทีเ่ ข้าไปวุน่ วาย
ในเรื่องอบายมุข ก็มาจากความประมาท มีตัณหาเป็นตัวล่อให้เกิด
ความคึกคะนอง มองเห็นว่า อบายมุขเป็นหนทางให้เกิดความสุข เป็น
หนทางคลายเครียด เป็นต้น เมือ่ เป็นอย่างนี้ ก็ตอ้ งเสียเงินไปเพราะ
อบายมุข ถ้าไม่ยงุ่ เกีย่ วก็จะไม่เสียเงิน สามารถเป็นเศรษฐีได้
เพราะฉะนัน้ ความชัว่ ทัง้ หลาย เป็นตัวท้าทายให้คนเกิดความ
ประมาท มีอบายมุขเป็นต้น ถ้าไม่หลงตน แล้วตั้งตนในคุณความดี
ขยันหา ขยันเก็บ นำเอาตัวไม่ประมาทเป็นเครือ่ งนำทาง ไม่ชา้ ก็อาจจะ
ร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. ขยันรักษาคบหาประหยัด เป็นสมบัติเศรษฐี เกิดเป็นคน
ต้องทำจนให้เป็นมี
๒. เมือ่ มีเงินอย่างัน ต้องป้องกันความประมาท ถ้าทำไม่ดี จะ
เกิดมีพนิ าศ
R





83
๓๑
ถ้ามีสตู รวัด จะมัดให้เป็นคนดี
R
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
บัณฑิต ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท

บัณฑิต หมายถึง ผูร้ อบรูส้ งิ่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ และสิง่ ทีไ่ ม่เป็น
ประโยชน์ แล้วเลือกปฏิบตั ิ แต่สงิ่ ทีจ่ ะทำให้เกิดประโยชน์ฝา่ ยเดียว จะ
ละเลิกสิง่ ทีไ่ ม่เป็นประโยชน์ สร้างตนเองให้เจริญขึน้ โดยอาศัยสิง่ ทีเ่ ป็น
ประโยชน์นนั้ เขาย่อมจะมองเห็นว่า ความประมาทเป็นทางเสือ่ มเสีย
เงินทองข้าวของทีม่ อี ยู่ จะเสือ่ มสูญไปได้ ก็เพราะความประมาทอย่างเดียว
และจะกลายเป็นคนหมดอนาคตไปในทีส่ ดุ ด้วยเหตุนี้ บัณฑิตทัง้ หลาย
จึงสรรเสริญความไม่ประมาท
มีคำพูดทีเ่ ป็นหลักวิชาพิสจู น์คนอยูป่ ระโยคหนึง่ ว่า คนดีทำดีงา่ ย
และ คนชัว่ ทำชัว่ ง่าย นอกจากนีย้ งั มีคำพูดทีต่ รงกันข้ามว่า คนดีทำ
ชัว่ ยาก และ คนชัว่ ทำดียาก ด้วยเหตุนี้ เราสามารถจะพิสจู น์ตนเอง
ได้วา่ เราเป็นคนดีหรือคนชัว่ ตามสูตรทัง้ ๔ ดังกล่าวแล้ว
อันทีจ่ ริง ในตัวเราคนเดียวนี้ อาจจะเป็นได้ถงึ สองคน กล่าว
คือเป็นคนดีกไ็ ด้ ในเมือ่ ตนยังรักษากาย วาจา ใจ ให้ดำรงอยูใ่ นความดี
ปฏิบตั ติ นอยูใ่ นความไม่ประมาท ไม่ปล่อยตัวให้ตกไปอยูใ่ นอำนาจของ
ความอยาก ความฉุนเฉียว ความหลงผิด เป็นต้น แต่ถา้ เวลาใด ท่าน
เผลอหรือจงใจ ไปทำความชัว่ ขึน้ ดำรงตนอยูใ่ นความประมาท ท่านก็
84
จะเปลีย่ นแปลงไปเป็นคนชัว่ ทันที
แบบฝึกหัดเบือ้ งต้น ควรจะใช้สตู รทีว่ า่ คนดีทำดีงา่ ย ทุกคน
อาจจะยอมรับว่า บางครั้งก็ทำง่าย บางครั้งก็ทำยาก ก่อนอื่นควร
ทำความเข้าใจว่า เรือ่ งง่ายหรือยากนัน้ อยูท่ เี่ ราคนเดียว ถ้าตัง้ ใจจะทำ
คงไม่เหลือวิสยั ข้อสำคัญจะต้องนำเอาหลักทีว่ า่ คนดีชอบแก้ไข คน
จัญไรชอบแก้ตวั มาใช้อย่างจริงจังด้วย ควรจะหาวิธแี ก้ไขมาใช้ แล้ว
ฝึกให้เกิดความเคยชิน จะเห็นว่า ความดีทำไม่ยากอย่างคิด
เพราะฉะนัน้ ความชัว่ ทัง้ หลาย จะมาจากความประมาท และ
ตรงกันข้าม กล่าวคือความดีทงั้ หลาย มาจากความไม่ประมาท บัณฑิต
คือคนดี จึงสรรเสริญความไม่ประมาท ใครทีย่ งั เชือ่ ว่า ทำดีได้ดี ทำชัว่
ได้ชวั่ แล้วพยายามปฏิบตั ติ าม คนนัน้ ก็คอื บัณฑิต ขอให้คดิ ว่า
๑. คนดีทำชัว่ ยาก คนชัว่ มากทำดีไม่ไหว เกิดมาทัง้ ที ต้องทำดี
ให้ได้
๒. คนดีตอ้ งป้องกัน คนพาลต้องแนะนำ ถ้าทำอย่างนี้ จะเป็น
คนดีเลิศล้ำ
R






85
๓๒
คนเมือ่ ตาย จะไปทีช่ อบ
R
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
บัณฑิต ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท

ขึน้ ชือ่ ว่า บัณฑิต ย่อมจะเป็นผูไ้ ม่ประมาท มีสติคอยรอบรูอ้ ยู่
ทุกอิรยิ าบถ ตืน่ ตัวอยูเ่ สมอ คอยหมัน่ ตรวจตราใจของตน ถ้าเห็นว่า
กำลังจะเอียงลงต่ำ ก็จะดึงขึน้ สูท่ สี่ งู และจะคอยระวังระดับจิต ให้อยู่
ในระดับนี้ตลอดไป โดยสม่ำเสมอ ไม่เผลอเรอหรือยอมแพ้ต่อกิเลส
โดยจะยึดเอาความไม่ประมาท มาเป็นเครือ่ งตัดสิน จะไม่ปล่อยให้กาล
เวลาล่วงไป โดยปราศจากประโยชน์ สิง่ ใดอันจะเป็นเหตุให้เกิดความ
ทุกข์ ความเดือดร้อนต่อตน ต่อวงศ์ตระกูล ตลอดถึงต่อประเทศชาติ
บ้านเมือง จะไม่เข้าไปแตะต้องสิ่งนั้นอย่างเด็ดขาด ดังนั้น ท่านจึงมี
ความสนุกเพลิดเพลินกับการทำความดี
มีคำทีค่ นชอบถามกันว่า คนเราตายแล้วไปไหน ตอบว่า ไปสู่
ทีช่ อบ หมายความว่า ยังมีชวี ติ อยู่ เขาชอบทำดี หรือชอบทำชัว่ ถ้า
ชอบทำดีกจ็ ะไปเกิดในสุคติ หรือ ถ้าชอบทำชัว่ ก็จะเกิดในทุคติ ข้อนี้
สามารถจะนำมาตรวจสอบกับตัวเราได้เป็นอย่างดี ว่าตัวเราเองตาย
แล้วจะไปเกิดทีไ่ หน
ในปัจจุบนั นี้ มีบคุ คลอยู่ ๓ กลุม่ คือ
กลุ่มที่หนึ่ง ชอบทำบุญ ที่ไหนมีการให้ทาน รักษาศีล และ
86
ปฏิบตั ธิ รรม จะพากันไปทีน่ นั่ โดยไม่เห็นแก่ความเหนือ่ ยยากลำบากใดๆ
ทัง้ สิน้ เรียกกลุม่ นีว้ า่ กลุม่ แสวงบุญ มีความสนุกเพลิดเพลินในการ
ทำบุญ หรือเรียกว่า กลุม่ เสพติดบุญ
กลุ่ ม ที่ ส อง ชอบทำบาป ชอบรวมหั ว กั น ทำความชั่ ว
สนุกสนานเฮฮาไปกับอบายมุข ไม่ชอบทำบุญ เห็นคนทำบุญเป็นคนล้าสมัย
คนหัวโบราณ พวกนีเ้ รียกว่า เสพติดบาป
กลุ่มที่สาม เป็นกลางๆ บุญก็ไปได้ บาปก็ไปได้ แล้วแต่สิ่ง
แวดล้อมจะพาไป
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า บัณฑิตย่อมบันเทิงใน
ความไม่ ป ระมาท คื อ มี ค วามชอบในความไม่ประมาท เป็นบุคคล
ประเภทกลุ่มที่หนึ่ง ส่วนบุคคลประเภทกลุ่มที่เหลือ หากฝึกหัดตนให้
กลับมาเป็นอย่างประเภททีห่ นึง่ ได้ ก็จะได้ชอื่ ว่าบัณฑิตได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. คนพาลชอบปล่อยจิต บัณฑิตชอบรักษา ชัว่ ทำง่าย แต่ภยั
จะตามมา
๒. คนเราตาย จะไปสูท่ ชี่ อบ เมือ่ อยูช่ อบอย่างไร เมือ่ ตายจะมี
คำตอบ
R





87
๓๓
อายชัว่ กลัวบาป เป็นเครือ่ งประดับคนดี
R
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
คนไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย

ประมาท หมายถึง เมาทัว่ กล่าวคือจะมัวเมาในความชัว่ ได้ทกุ
แบบ สิง่ ใดทีท่ ำให้เกิดความเมา ถ้าเสพสิง่ นัน้ บ่อยๆ จะเกิดการ ติด
หากเสพสุราบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นคนติดสุรา สูบบุหรีบ่ อ่ ยๆ ก็จะกลาย
เป็นคนติดบุหรี่ ติดยาบ้า ติดยาอี ติดกัญชา ก็เช่นกัน หรือนอกจากนี้
อย่างคนทีช่ อบผูห้ ญิง ไปหาบ่อยๆ ก็เรียกว่าติดผูห้ ญิง ถ้าเล่นการพนัน
ก็ตดิ การพนัน เป็นต้น คนทุกคน ลงได้มคี วามประมาทอย่างเดียว จะ
ติดได้สารพัด แต่แรกเสพใหม่ๆ ก็มคี วาม ประมาทว่าไม่ตดิ เช่นคนที่
ชอบเทีย่ วผูห้ ญิง ก็ประมาทว่า ครัง้ เดียวคงจะไม่เป็นโรคเอดส์ คนที่
เป็นโรคเอดส์ แต่แรกก็จะคิดอย่างนีแ้ หละ แต่ในทีส่ ดุ ก็ตดิ มาให้เห็น
เสียจนได้ คนประมาทก็เหมือนปลาติดเบ็ด มีแต่จะตายทางเดียว
เท่านัน้
มีคนสงสัยว่า คนไม่ตายก็มดี ว้ ยหรือ ตอบว่า มี ตัวอย่างเช่น
พระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระองค์ เมือ่ นิพพานไปแล้วจะไม่กลับมา
เกิดอีก หากไม่มกี ารเกิด ก็ยอ่ มไม่มกี ารตาย อีกพวกหนึง่ คือพวกที่
รักษาความดีของตนไว้ได้ตลอดชีวติ พวกนีก้ ไ็ ม่ตาย คือ ไม่ตายจาก
ความดี
88
มีคาถาทีเ่ สกคนให้เป็นคนดีอยู่ ๔ คำ คือ อายชัว่ กลัวบาป
รับรองว่า หากใครปฏิบตั ติ ามคาถานี้ คนนัน้ จะต้องเป็นคนดี และจะ
เป็นคนดีตลอดไป เพราะว่า เมือ่ คนอายต่อความชัว่ เสียแล้ว ก็ยอ่ มจะ
ไม่ทำความชัว่ ครัน้ จะทำความชัว่ ก็กลัวว่าจะเดือดร้อน มีเรือ่ งร้ายถึง
ถูกติดคุก และเมือ่ ตายไป ก็กลัวว่าจะไปตกนรก เป็นต้น เมือ่ กลัวบาป
ก็จะไม่ทำบาป บางคนทีเ่ ป็นคนหัวสมัยใหม่ มักจะเข้าใจว่า นรกสวรรค์
ไม่มี เพราะไม่มีหลักพิสูจน์ เมื่อคิดอย่างนี้ก็จะทำความชั่วได้ง่าย
เนือ่ งจากความชัว่ คนจะอยากทำอยูแ่ ล้ว เพราะมีสนุกเป็นเครือ่ งล่อ ถ้า
เป็นเช่นนัน้ คนทำดีจะหายาก ชัว่ ก็จะมีเต็มโลก
เพราะฉะนัน้ คนไม่ประมาท จะมีอายชัว่ กลัวบาปเป็นเส้นทางชีวติ
เมือ่ เดินทางสายนีแ้ ล้ว หากยังไม่ถงึ พระนิพพาน ก็จะเป็นคนทีไ่ ม่ตาย
จากชือ่ เสียงคุณความดี มีแต่คนยกย่องสรรเสริญว่าเป็นคนดี จะทำให้
สังคมมีแต่ความสุขสบาย ท้ายทีส่ ดุ ก็จะถึงนิพพานได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. อายชัว่ กลัวบาป เป็นระดับคนดี ถ้ามีไว้ ความตายจะไม่มี
๒. ถ้าตัดเมาได้ ก็จะหายเรือ่ งยุง่ ถ้าเมาไม่มี จะเป็นคนดีชนั้ สูง
R






89
๓๔
ดีหรือไม่ดี เป็นวิธแี ก้ปญ
ั หา
R
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต, ปปฺโปติ วิปลุ ํ สุขํ
ผูไ้ ม่ประมาท พินจิ อยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์

ตามธรรมดาของคนทีไ่ ม่ประมาท ในเวลาทีจ่ ะประกอบกิจการ
อันใด ย่อมจะต้องใช้ความพินจิ พิจารณา วิเคราะห์หาเหตุผลให้ถว้ นถี่
คำนึงถึงผลได้ผลเสีย อย่างสุขมุ รอบคอบ ชนิดว่าละเอียดทุกขัน้ ตอน
กิจการอันใดก็ตาม หากลงมือทำไปแล้ว เมือ่ เกิดความผิดพลาดขึน้ มา
จะเกิดการสูญเสีย แก้ได้ยาก หรือ ก็ได้เหมือนกัน แต่จะเพิม่ ความเสีย
หายเข้าไปอีก เช่นการก่อสร้างตึกใหญ่ๆ หลายชัน้ ถ้าคำนวณผิดพลาด
หรือคำนวณไม่เป็น เมือ่ สร้างไปแล้ว เกิดการพังลงมา เงินทีล่ งทุนไปนัน้
ก็จะเกิดการสูญเปล่า เสียเวลาทีจ่ ะมาทุบทิง้ อีกด้วย
ในทำนองเดียวกันนี้ ทุกคนทีเ่ กิดมาในโลก ซึง่ จะต้องดำเนินชีวติ
ต่อสูก้ บั วิถที างบนพืน้ โลกมากมายหลายชนิด จึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัว
เพือ่ ต่อสูก้ บั ปัญหาชีวติ ทีแ่ ก้ได้กด็ ไี ป หากแก้ไม่ได้ บางครัง้ อาจจะ
ทำให้เสียอนาคตไปเลยก็มี
ดังนัน้ ก่อนจะทำอะไร หรือจะตัดสินปัญหาอะไร ทางพระพุทธ-
ศาสนาสอนให้มสี ติเสียก่อน หรือจะใช้คาถากำกับลงไป คาถาทีว่ า่ นีม้ ี
อยู่ ๔ คำ คือ ดีหรือไม่ดี เช่นมีคนมายืนด่าเราทีห่ น้าบ้าน ตามปรกติ
ด้วยอำนาจของความโกรธ ก็จะต้องออกไปรับตอบสนองคำท้าทายนัน้
90
ทันทีทไี่ ด้ยนิ เสียง ก่อนจะลงจากบ้าน ให้ตงั้ จิตเป็นสมาธิ แล้วภาวนา
คาถาว่า ดีหรือไม่ดี เมือ่ กล่าวคาถาแล้ว จะเกิดความคิดขึน้ มาว่า เมือ่
เรารับคำท้าเขา เรากับเขาก็จะทะเลาะวิวาทกัน เมือ่ ทะเลาะก็จะต้องมีการ
ชกต่อยทำร้ายร่างกายกัน เรากับเขาก็จะร่วมกันเป็นอาชญากร เสีย
ทรัพย์เสียชือ่ เสียง เมือ่ คิดได้อย่างนี้ จะมีโอกาสให้ได้สติวา่ ควรจะทำ
ด้วยความไม่ประมาท หาวิธกี ารตกลงเป็นอย่างอืน่ ทีไ่ ม่เสียหาย
เพราะฉะนัน้ การทำงานหรือการตัดสินใจ ในทุกอย่าง ย่อมจะ
ต้องอาศัยความไม่ประมาทเป็นพื้นฐานเสียก่อน อย่าเชื่อตัวยุ พินิจ
พิจารณาหาเหตุผล ทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ อย่าให้ เก่งกาย เป็น
เครือ่ งตัดสิน ต้องใช้ เก่งปัญญา ตัดสิน จะไม่เกิดการเสียหาย ขอให้
คิดว่า
๑. ปัญญาแก้ปญ ั หาชีวติ คนทุจริตชีวติ จะเป็นหมัน ถ้าปล่อย
ตามใจ จะแก้ไขไม่ทนั
๒. ดีไม่ดเี รารูอ้ ยูแ่ ก่ใจ แต่ทำไมจึงหลงตัว ถ้าคิดได้อย่างนี้ จะ
เป็นคนดีกนั ทัว่
R





91
๓๕
บัณฑิตปรากฏ ทีป่ ระโยชน์สองทาง
R
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ, อธิคคฺ ณฺหาติ ปณฺฑโิ ต
บัณฑิตผูไ้ ม่ประมาท ย่อมได้ประโยชน์ทงั้ สองทาง

ประโยชน์ หมายถึง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นสิ่ง
สำคัญในการดำเนินชีวติ คนทุกคน ต่างก็ดนิ้ รนแสวงหาไขว่คว้า เมือ่
นำมาเป็นสมบัตขิ องตน บางครัง้ ผลประโยชน์เกิดไปขัดกันขึน้ ก็อาจจะ
ทำให้เกิดการเดือดร้อน วุน่ วายไม่รจู้ กั จบสิน้
แต่ผลประโยชน์ทงั้ ๔ มีลาภเป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงให้ชอื่ ว่า
โลกธรรม หมายความว่า เป็นสมบัติของโลก ที่มาอยู่กับเราได้นั้น
เป็นเพียงสมมุติ กล่าวคือเป็นของทีม่ ไี ด้เสือ่ มได้ ถ้าบุคคลใดทำความดี
รักษาได้ดี ก็จะอยู่กับเราไปนาน แต่ถ้ากระทำความชั่ว ไม่รู้จักรักษา

ก็มอี นั จะต้องเสือ่ มไปได้


เหตุเกิดของสมบัติ หรือประโยชน์ดงั กล่าวมานี้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑. ประโยชน์ในภพนี้ มี ๔ อย่าง ใช้เรียกเป็นอักษรย่อว่า อุ.
อา. ก. ส. มีความหมายสัน้ ๆ ว่า อุ.รูจ้ กั หา – อา.รูจ้ กั เก็บ – ก.รูจ้ กั
เจ็บ – ส.รู้จักจ่าย รู้จักหา หมายถึงจะต้องขยันหมั่นเพียร ไม่
เกียจคร้าน พัฒนาชีวติ ให้เจริญก้าวหน้าในทางทีด่ ี รูจ้ กั เก็บ คือเมือ่ หา
มาได้ ก็จะต้องรูจ้ กั แบ่งเก็บไว้บา้ ง รูจ้ กั เจ็บ คือ การคบเพือ่ นไม่ดี จะถูก
ชักชวนให้ทำความผิด อาจจะเกิดการเจ็บปวด คือให้รจู้ กั คบเพือ่ นทีด่ ี
92
นัน้ เอง รูจ้ กั จ่าย คือ จ่ายในการเลีย้ งชีวติ และอืน่ ๆ ทีส่ มควร ไม่ฟมุ่ เฟือย
หรือฝืดเคือง จนเกินไป
๒. ประโยชน์ในภพหน้า มี ๔ อย่างคือ เชือ่ ในสิง่ ทีค่ วรเชือ่
เช่นเชือ่ ว่าทำดีจะต้องได้ดจี ริง มีระเบียบวินยั หรือศีลทีด่ ี มีการบริจาค
เพื่อผลบุญหรือความดีในชาติหน้า และมีปัญญา ในการทำ การพูด
และการคิด ทีถ่ กู ต้องและมีเหตุผล มีคำย่อว่า เชือ่ ดี – มีวนิ ยั – ให้
ประโยชน์ - กำหนดปัญญา เรียกตามธรรมะว่า ศรัทธา – ศีล –
จาคะ – ปัญญา ประโยชน์ขอ้ นี้ จะใช้ได้ดที งั้ ภพนีแ้ ละภพหน้า
เพราะฉะนัน้ คนทีเ่ ป็นบัณฑิต จะถือความไม่ประมาทเป็นเรือ่ ง
สำคัญ และหมั่นบำเพ็ญประโยชน์ทั้งสองเสมอ เป็นคนสุขุมรอบคอบ
ชอบด้วยเหตุผล มีทงั้ ของตนและช่วยส่งเสริมสังคมให้ปฏิบตั ติ าม ตาม
ทีจ่ ะมีโอกาสในการช่วยได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. คนดีมฉี ลาด คนประมาทพลาดของดี ถ้าฉลาดทางชัว่ จะ
เป็นตัวอัปรีย์
๒. ทัง้ ชาตินชี้ าติหน้า จะมีคา่ แก่คน การข่มชัว่ ทำดี จะต้องมี
แก่ตน
R




93
๓๖
ทำดีตามวัย ทำใจตามฝึก
R
อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
จงยังความไม่ประมาท ให้ถงึ พร้อม

พระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงมีพระมหา-
กรุณาธิคณ ุ ทรงใช้เวลาถึง ๔๕ พระพรรษา ได้ทรงประกาศพระสัจธรรม
คำสอนของพระองค์ ตราบเท่าจนถึงใกล้จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
ทรงมีพทุ ธประสงค์จะสรุปคำสอนทัง้ หมด จึงตรัสเรียกภิกษุทงั้ หลายมา
แล้วได้ทรงตรัสไว้ตอนหนึง่ ว่า พวกเธอทัง้ หลาย จงยังความไม่ประมาท
ให้ถงึ พร้อม เรียกว่าเป็นพระดำรัส ทิง้ ทวน หมายความว่า ต่อไปนี้
พระองค์สอนใครไม่ได้อกี แล้ว เพราะธรรมะทัง้ หมด จะรวมอยูท่ คี่ วาม
ไม่ประมาท ถ้าคนไม่ประมาทอย่างเดียว ความดีทงั้ หลายจะมีอยูแ่ ก่คนนัน้
อย่างครบถ้วนบริบรู ณ์
ถ้ากล่าวกันตามธรรมชาติของคนแล้ว ความยินดี พอใจ จะ
เป็นไปตามวัย กล่าวคือในปฐมวัย จะเรียกว่า วัยปัจจุบนั หมายความว่า
คนในวัยนี้ ส่วนมากจะยินดีสนใจ ในกาลปัจจุบัน กล่าวคือ ยังชอบ
สนุกสนานมากกว่าจะมาสนใจในธรรมะ มัชฌิมวัย เรียกว่า วัยอนาคต
คือคนวัยนี้ จะสนใจแต่เรือ่ งอนาคตว่า ต่อไปจะทำงานอะไรดีจงึ จะรวย
มีเงินใช้ เป็นวัยผจญภัย และวัยทีส่ ามคือปัจฉิมวัย เรียกว่า วัยอดีต
คือคนวัยนี้ ได้ผา่ นร้อนผ่านหนาวมาโชกโชนแล้ว ทำให้ชอบหวนคิดถึง
94
อดีต ประกอบกับร่างกายก็ชราภาพลงแล้ว วัยนีเ้ รียกอีกอย่างหนึง่ ว่า
วัยสงบ หรือ วัยเข้าวัด
แต่พระพุทธศาสนา สอนให้คนทุกวัย ต้องมีสติไม่ประมาท
กล่าวคือ เด็กทีอ่ ยูใ่ นวัยสนุก ก็ตอ้ ง สนุกอย่างมีสติ ไม่ประมาทเกิด
เรือ่ งทะเลาะ จนถึงขัน้ ทำร้ายร่างกายกัน ผูใ้ หญ่ทอี่ ยูใ่ นวัยผจญภัย ก็
จะต้องมีความ สุจริตถูกต้อง เป็นพืน้ ฐาน ส่วนคนแก่ในวัยสงบ ก็จะต้อง
รักษาความสงบเข้าไว้ให้เป็นพืน้ ฐาน ควรจะหันหน้า เข้าวัดปฏิบตั ธิ รรม
เพราะไม่ชา้ ก็จะตายแล้ว
เพราะฉะนัน้ การจะทำอะไรทุกครัง้ จะต้องนึกในใจว่า อย่า
ประมาท เพราะสิ่งแวดล้อมรอบข้างตัวของเรา จะเต็มไปด้วยกิเลส
ซึ่งมีตัณหาเป็นตัวชักนำ อย่าให้ตัณหาจูงจมูกเราไป ตกอยู่ในอำนาจ
ของความหลง ต้องทนให้ไหว อย่าไปยอมแพ้อย่างเด็ดขาด ขอให้คดิ ว่า
๑. ทำดีตามวัย ทำใจตามฝึก จะเป็นคนดี ต้องมีสำนึก
๒. สิง่ ดีตอ้ งพอใจ สิง่ ร้ายต้องออกห่าง จะเป็นวัยไหน ก็ตอ้ งให้
ระวัง
R






95
๓๗
คนบาปหนา เทวดาก็ชว่ ยไม่ได้
R
อปฺปมาทรตา โหถ
จงยินดี ในความไม่ประมาท

พระพุทธเจ้าทรงห่วงใย พุทธบริษทั ว่า ในวาระสุดท้ายภายหลัง
ทีพ่ ระองเสด็จดับขันธ์ปรินพิ พานไปแล้ว ประชาชนรุง่ หลัง จะเกิดการ
ไม่เอาใจใส่ ในการประพฤติปฏิบัติธรรม จึงตรัสย้ำไม่ให้ทิ้งความไม่
ประมาท และจงยินดี สนใจพอใจ อยูเ่ สมอ เพราะว่า เมือ่ ขาดสติ ไป
ตกอยูใ่ นอำนาจของความประมาทแล้ว จะฉุดดึงขึน้ ยาก เพราะความ
ชัว่ ทีเ่ รียกว่า กิเลส มีแรงดึงดูดมากกว่าความดี จึงตรัสให้ ทำความ
ยินดีกบั ความไม่ประมาทเข้าไว้ จะมีทางป้องกันได้
คนโบราณมักจะพูดว่า “อย่าหลงประมาทมัวเมา” ซึง่ หมายความ
ว่า อย่าหลงผิดจนเผลอสติ ทำให้เกิดความ มืดมัว และสุดท้ายก็คอื
เมา หมายถึงจมอยูใ่ นสิง่ ทีห่ ลงผิดนัน้ จนโงหัวไม่ขนึ้ เหมือนคนดืม่ สุรา
เมือ่ แรกดืม่ ก็ยงั มืนๆ พอมืนได้ทแี่ ล้วก็ เมา คือบังคับใจตัวเองให้ทำดี
ไม่ได้ เมาอย่างอืน่ ก็เช่นเดียวกันนี้ ในข้อนี้ มีเรือ่ งต่อไปนีเ้ ป็นตัวอย่าง
มีสหายสองคนรักกันมาก คนหนึง่ ชอบทำความดี ส่วนอีกคน
หนึ่งชอบทำความชั่ว ครั้นอยู่ต่อมา สหายทั้งสองนั้นได้สิ้นชีวิตลง
ปรากฏว่า คนทีช่ อบทำความดี ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยูใ่ นสวรรค์ ส่วน
คนที่ชอบทำความชั่ว ไปเกิดเป็นหนอนอยู่ที่เว็จกุฎี คือสุขาของพระ

96
ในสมัยโบราณ เทพบุตรนั้นเกิดความสงสารเพื่อน วันหนึ่งจึงไปชวน
หนอน เพือ่ ให้กลับมาทำความดี เมือ่ ตายแล้วจะได้มาเป็นเทพบุตรด้วยกัน
หนอนย้อนถามเทพบุตรว่า “เทวดาดีอย่างไร” เทวดาก็ตอบว่า บน
สวรรค์นนั้ มีอาหารทิพย์ อยากจะกินอะไรก็จะมีมาตามทีน่ กึ หนอนตอบ
ปฏิเสธว่า ยังดีสเู้ ราไม่ได้ อาหารของเราไม่ตอ้ งนึก มีอยูร่ อบตัวแล้ว
เราขอเป็นหนอนต่อไป เทพบุตรจึงหมดปัญญาทีจ่ ะช่วยเพือ่ นได้
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า คนประมาทเหมือนคน
ตายแล้ว คือตายจากความดี จะชักชวนอย่างไร เขาจะไม่ยอมฟัง
เหมือนลูกทีไ่ ม่เชือ่ ฟังพ่อแม่ จึงเอาดีไม่ได้ เป็นดุจนิทานเรือ่ งทีก่ ล่าวมา
เป็นตัวอย่าง คนทีม่ คี วามประมาท แม้แต่เทวดาก็ยงั ช่วยไม่ได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. คนไม่เชื่อฟัง จะเป็นดุจดังหนอนกับเทวดา ต้องตายจาก
ความดี หมดราศีคณ ุ ค่า
๒. กรรม ยุตธิ รรมทีส่ ดุ จะแยกแบ่งตัด ให้เป็นสัตว์หรือมนุษย์
R








97
๓๘
เครือ่ งหมายดี อยูท่ กี่ ลัวบาป
R
กมฺมํ สตฺเต วิภชติ, ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย
กรรม ย่อมจำแนกสัตว์ ให้ทรามหรือประณีต

กรรม เป็นคำกลางๆ แปลว่า การกระทำ ถ้าทำดีเรียกว่า
กุศลกรรม และทำชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม มีการทำอยู่สามทางคือ
ทางกายเรียก กายกรรม ทางวาจาเรียก วจีกรรม และทางใจเรียกว่า
มโนกรรม จะเป็นกรรมดีกต็ าม กรรมชัว่ ก็ตาม เมือ่ บุคคลทำแล้ว ย่อม
ได้รับผลตอบแทนทั้งนั้น มิได้หายไปไหน แต่จะได้ผลตอบแทนเป็น

๓ ระยะ คือเมือ่ ทำกรรมแล้ว กรรมนัน้ จะ ให้ผลในปัจจุบนั ให้ผลเมือ่


ตายไปแล้ว และให้ผลในขณะทีก่ ลับมาเกิดอีก ดังนัน้ ใครจะเป็นคน
ดีหรือคนชัว่ ขึน้ อยูก่ บั การทำกรรมของแต่ละบุคคล
มนุษย์และสัตว์ดริ จั ฉาน ในทางพระพุทธศาสนาท่านเรียกว่า สัตว์
เหมือนกันทัง้ หมด หรือบางแห่งเรียกว่า สัตว์โลก ทัง้ สองประเภทนี้ จะ
มีเครือ่ งหมายบอกให้รวู้ า่ ประเภทไหนเป็นมนุษย์ และประเภทไหนเป็น
สัตว์ดริ จั ฉาน มีเครือ่ งหมายดังคือ หิรแิ ละโอตตัปปะได้แก่ อายชัว่ –
กลัวบาป นัน้ เอง ถ้าเป็นสัตว์ดริ จั ฉาน จะไม่อายชัว่ กลัวบาป เช่นสุนขั
เมือ่ เห็นกันครัง้ แรก จะมีการต่อสูก้ นั เพราะเขาไม่รวู้ า่ อะไรถูกอะไรผิด
คนโบราณจะด่าลูกที่ทะเลาะกันว่า ขึ้นต้นด้วยไอ้ ลงท้ายด้วยสัตว์
ดิรจั ฉาน แต่ปจั จุบนั นีถ้ อื ว่าเป็นคำหยาบ แท้ทจี่ ริง คำด่าก็คอื คำสอน
98
นัน่ เอง เพือ่ จะให้ผถู้ กู ด่าได้สำนึกว่า เวลานีเ้ ราไม่ใช่คนแล้ว จะได้กลับ
มามีสมบัตขิ องมนุษย์ คือ อายชัว่ กลัวบาปต่อไป
ส่วนมนุษย์นนั้ ถ้าใครไปทำผิด จนชาวบ้านรูก้ นั ทัว่ ไป ตัวเองไม่
กล้าสูห้ น้าต่อสังคม เพราะเกิดความละอาย ต่อไปจะไม่กล้าไปทำความ
ชัว่ อีก เพราะเกิดความกลัวว่า จะถูกลงโทษ กลัวว่าจะเสียเกียรติยศชือ่
เสียง นีค้ อื เครือ่ งหมายคนดี
เพราะฉะนั้ น ถ้ าใครรู้ ตั ว ว่ า เราเป็ น คน จะต้ อ งเคารพต่ อ
เครือ่ งหมายคนดี คือ อายชัว่ กลับบาป ถ้าเป็นเช่นนีก้ นั ทัง้ หมด สังคม
ก็จะอยูก่ นั ด้วยความสงบสุข ไม่ตอ้ งไปตามแก้เรือ่ งระเบียบสังคมกันให้
ยุง่ ไปหมด จะต้องแก้ทตี่ น้ เหตุ ถ้าไปแก้ทปี่ ลายเหตุ จะเป็นการยากมาก
ขอให้คดิ ว่า
๑. เกียรติของตัว อยูท่ กี่ ลัวความผิด หากหลงตัวเมือ่ ไร จะกลับ
กลายเป็นพิษ
๒. อายชั่ ว กลั ว บาป จะอยู่ กั บ คนดี โลกที่วุ่นวาย เพราะ
เครือ่ งหมายไม่มี
R






99
๓๙
หลักทำงาน อยูท่ กี่ ารเอาจริง
R
ยงฺกญ
ิ จฺ ิ สิถลิ ํ กมฺม,ํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ
การงานทีย่ อ่ หย่อน ย่อมไม่มผี ลมาก

การทำงานทุกประเภท ผูท้ ำจะต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง
ไม่วา่ จะเป็นงานของตัวเอง หรือเป็นลูกจ้างเขา ตัวการทีจ่ ะทำให้งาน
ย่อหย่อนคือ ความเกียจคร้าน ทำไม่จริง ทำเป็นเล่น ทำงานเอา
เปรียบ มีความประมาท ขาดการเอาใจใส่ในงานนัน้ ทำๆ หยุดๆ อย่างนี้
เป็นนิสยั ของคนเลว
คนทีท่ ำงานย่อหย่อนเสียจนเคย หากไปทำงานประเภททีต่ อ้ ง
รับผิดชอบสูง เช่นการสร้างตึกทีม่ นี ำ้ หนักมาก อาจจะทำให้มคี วามเสีย
หายมาก ความเกียจคร้าน เป็นเรือ่ งทีเ่ ปลีย่ นแปลงกันได้ ขอเพียงแต่
อย่ามีความประมาท สร้างนิสยั ให้เสีย กลายเป็นคนมักง่าย ทำพอเป็น
ผักชีโรยหน้า เท่านัน้
พอประมวลได้วา่ บุคคลทีย่ อ่ หย่อนในการทำงานมี ๕ ประเภท
คือ ๑. เกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ชอบทำตัวเป็น
พ่อนกขมิ้น ๒. เลือกงาน ถ้าทำงานชั้นต่ำ เกรงว่าจะเสียศักดิ์ศรี

๓. ขอไปที เป็นคนมักง่าย เช้าชามเย็นชาม ไปทำงานสาย เอาเปรียบ


สังคม ๔. หากิน คือหาได้เท่าไรกินหมด ไม่มกี ารเก็บหอมรอบริบ ไม่
คิดถึงอนาคตของตัวเอง และ ๕. หาเล่น ได้แก่ทา่ นทีเ่ ป็นนักการพนัน
100
ขึน้ สมอง หาได้เท่าไร นำไปเข้าบ่อนหมด บางครัง้ ทางบ้านไม่มจี ะกิน
อันทีจ่ ริง คนทีย่ อ่ หย่อนการงาน ยังมีอกี หลายประเภท ตาม
ปรกติทุกคน อยากจะเป็นคนรวยด้วยกันทั้งนั้น ได้แต่อยากแต่ไม่ทำ
จะรวยได้อย่างไร หรือบางคนมีงานทำเป็นหลักฐานแล้ว แต่กลับทำงาน
ในหน้าที่ของตนให้ย่อหย่อน จนถูกไล่ออกจากงาน อย่างเป็นที่น่า
เสียดาย ยิง่ ในปัจจุบนั นี้ เป็นยุคทีห่ างานทำยาก หรือทีม่ งี านทำแล้วนัน่
แหละ กลับไปทำงานให้ยอ่ หย่อน ๕ อย่างดังกล่าวแล้ว อย่างนี้ ก็นา่
เสียอีกเหมือนกัน ดังนัน้ เกิดเป็นคนจะต้องรูจ้ กั รับผิดชอบในตัวเองให้มาก
เพราะฉะนัน้ การทำงาน ขอให้ถอื หลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ
– วิริยะ – จิตตะ – วิมังสา หรือทำงานตามหลักที่ว่า ขยัน –
ซื่อสัตย์ – ประหยัด – ยุติธรรม จะทำให้งานเจริญก้าวหน้า ใน
หน้าทีก่ ารงานของตนต่อไป ขอให้คดิ ว่า
๑. อดทนเดินงาน เกียจคร้านงานตก อดทนดีเด่น จะไม่เป็น
ยาจก
๒. งานหย่อนยาน เพราะสันดานของคน ถ้าไม่เกียจคร้าน
การงานจะมีผล
R




101
๔๐
คนไม่กลัว จะชัว่ ตลอดชาติ
R
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคคฺ ตึ
กรรมชัว่ ของตน จะนำผลสูท่ คุ ติ

กรรมชัว่ หมายถึง การทำทุจริตทางกาย มีการฆ่าหรือทำร้าย
ร่างกาย การลักขโมย การประพฤติผดิ ประเวณีกนั ทำทุจริตทางวาจา
มีการกล่าวคำเท็จ โกหกหลอกลวง การทะเลาะด่าว่ากันการใส่ร้าย
ป้ายสีกนั การพูดล้อเล่นจนทำให้เกิดเรือ่ งกันขึน้ และทำทุจริตทางใจ มี
การโลภอยากได้ของเขา คิดพยาบาทปองร้ายเขา มีความเห็นผิดจาก
ทำนองครองธรรม กรรมชัว่ เหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึง่ มากหรือน้อย
เมื่อบุคคลทำแล้ว หากยังไม่ตายก็จะทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย
เกิดเวรภัย จะอยูไ่ ม่เป็นสุข และถ้าตายไปแล้ว ก็จะไปสูท่ คุ ติ คือ นรก
– เปรต – อสุรกาย – สัตว์ดริ จั ฉาน
สิง่ ทีค่ นกลัวทีส่ ดุ คือ สิง่ ทีม่ องไม่เห็น เรากลัวตกนรก เพราะ
นรกมองไม่เห็น ถ้าสิง่ ทีเ่ รากลัวนัน้ เกิดไปเห็นเข้าจริงๆ เห็นเสียจนชิน
ก็อาจจะกลายเป็นเรือ่ งไม่กลัวไปได้ เช่น โรคเอดส์ แต่กอ่ นนี้ คนไทย
เรากลัวมาก เพราะในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็นโรคนี้ แต่ในปัจจุบันนี

มีให้เห็นจนดาดดืน่ แทนทีค่ นไทยจะกลัว เลยกลายเป็นเรือ่ งไม่กลัวกันไป
ทำไมจึงเป็นอย่างนัน้ ลองคิดกันดู
ความเป็นจริง เรือ่ งทีค่ นกลัว ก็อยูท่ คี่ นนัน่ แหละ ถ้าใครกลัว
102
เป็นโรคเอดส์ คนนัน้ จะไม่เป็น โรคนีจ้ ะเป็นกับคนไม่กลัว มีปญ ั หาว่า
อะไรทำให้คนไม่กลัว ตัวทีท่ ำให้คนไม่กลัวนัน้ คือ ตัวเสพติด เช่นสุรา
หรือยาเสพติดทุกประเภท โรคเสพติดบางประเภททำให้คนไม่กลัว เมือ่
เสพแล้วจะทำให้เกิดความกล้าขึน้ มา เช่นสุรา เป็นต้น หรือกามราคะ

ก็เช่นเดียวกัน ขณะทีต่ าไปเห็นหญิงบริการทางเพศ แต่เดิมก็กลัวโรค


เอดส์ แต่พอไปเห็นหน้า เกิดกามราคะ ความกลัวก็หายไป เกิดความ
กล้าเข้ามาแทน หรือในขณะได้ดมื่ สุรา หรือเสพยาบ้าเข้าไปด้วย ก็จะ
เป็น กล้ากำลังสอง ต้องยอมแพ้เสียจนได้
เพราะฉะนัน้ ทุกคนควรจะฝึกใจให้กลัวบาปเข้าไว้ จะได้ไม่กล้า
ทำบาป อย่าคิดว่าบาปไม่สำคัญ คนเขาก็ทำกันมากมายไป ถ้าไม่ดงึ ใจไว้
ใจก็จะยินดีในบาป และบาปก็เป็นยาเสพติดเหมือนกัน ถ้าทำบาปบ่อยๆ
ก็จะกลายเป็นคนไม่กลัวบาปไปได้ เมือ่ นัน้ ความชัว่ จะได้ชอ่ ง ขอให้คดิ ว่า
๑. คนไม่กลัว จะเดินทางผิด ถ้าไม่คดิ จะพบทางตัน ถ้ากลัว
ผิดไว้ จะไร้โทษทัณฑ์
๒. กรรมชัว่ ของตน จะไม่พน้ ทุคติ จงสร้างความดี อย่ามีทฐิ ิ
R





103
๔๑
ทำยากให้งา่ ย จะสบายทัง้ ชาติ
R
สุกรํ สาธุนา สาธุ
คนดี ทำดีได้งา่ ย

คนดี ในความหมายนี้ หมายถึงคนทีท่ ำดีได้งา่ ย ซึง่ ตรงข้าม
กับคนชั่ว ที่ทำความชั่วได้ง่าย การทำความดีความชั่ว ท่านเปรียบ
เทียบไว้วา่ “ทำดี เหมือนกลิง้ ครกขึน้ เขา ทำชัว่ เหมือนกลิง้ ครกลง
เขา” ครกในทีน่ ี้ หมายถึงครกตำข้าว ซึง่ ใช้ไม่ซงุ ทัง้ ต้น มาตัดเป็นท่อน
แล้วขุดให้เป็นหลุม ใช้สำหรับตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร คนดี
ประเภทนีเ้ รียกว่า ทำดีได้งา่ ย
การกลิง้ ครกขึน้ เขา ซึง่ ทัง้ สูงและชัน จะต้องใช้ความพยายาม
มาก ท่านเปรียบด้วยการทำความดี จะต้องใช้ความอดทน ได้แก่
อดทนไม่ทำความชัว่ ซึง่ นับว่าเป็นของยาก แต่จะต้องฝึกทำจนเคยชิน
ให้กลายเป็นของง่าย ถ้าฝึกทำได้แล้ว จะเรียกคนนัน้ ว่า คนดี
โดยส่วนลึกแห่งจิตใจของทุกคน มักจะยอมรับกันว่า ความดี
นัน้ ทำได้ยาก ข้อนีเ้ ป็นความจริง เหมือนอย่างคนทีย่ งั พิมพ์ดดี สัมผัสไม่
เป็น จะคิดว่าการพิมพ์ดีดเป็นการยาก ต่อเมื่อตนเองใช้เวลาไปเรียน
พิมพ์ดดี สัมผัสจนสำเร็จแล้ว ก็จะเปลีย่ นความคิดใหม่วา่ พิมพ์ดดี สัมผัส
ทำได้งา่ ย เวลาพิมพ์หนังสือ นิว้ จะทำหน้าทีข่ องเขาเอง โดยไม่ตอ้ งใช้
สายตาดูทมี่ อื ขณะพิมพ์ นีเ้ รียกว่า ทำของยากให้งา่ ย
104
การทำความดี แม้จะเป็นของยาก ถ้าฝึกหัดทำจริงๆ ก็ไม่เหลือ
วิสยั กล่าวคือจะต้องทำความดีให้ตดิ กาย ติดวาจา และติดใจ เหมือน
กับคนที่เรียนพิมพ์ดีดฉะนั้น และเมื่อทำเป็นแล้ว ก็จะต้องคอยรักษา

มิให้มีการเปลี่ยนใจ โดยทำให้เป็นความพอใจ มีสติคอยรั้งใจ มีการ


พิจารณาโดยรอบคอบเป็นตัวปรุงใจ และมีสจั จะตอกไว้กลางใจ ต่อไป
ความดีทวี่ า่ ทำได้ยากนัน้ ก็จะกลับกลายเป็นของง่าย และจะเกิดความ
ภูมใิ จว่า เราเป็นคนดีแล้ว
เพราะฉะนั้น ถ้าบุคคลใดมาทำของที่ยาก ให้เป็นของง่ายได้
คนนั้นมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย เหมือนนักเรียน ต้องใช้เวลาเรียน
หนังสือมาเป็นเวลาหลายปี จนกว่าจะมาเป็นข้าราชการได้ และเมือ่ เป็น
แล้ว ก็จะมีฐานะความเป็นอยูท่ สี่ ขุ สบาย ขอให้คดิ ว่า
๑. ทำของยากให้งา่ ย จะได้ดี ทำของดีให้พรากจะยากจน
๒. จะเป็นคนดี ต้องมีการฝึก ทำดีจะง่าย ถ้ายังใฝ่สำนึก
R








105
๔๒
ดีสามประเภท จะสร้างประเทศรุง่ เรือง
R
สาธุ ปาเปน ทุกกฺ รํ
คนดี ทำความชัว่ ได้ยาก

คนดี คือคนที่มีการอบรมบ่มนิสัยของตน ทำตนให้ออกห่าง
จากความดึงดูดของกิเลส หรือทำให้บนั เทาเบาบางลง สามารถดำรงตน
ออกจากวิถวี งจรของ ความโลภ ความโกรธ และความหลง แต่ทำตน
ให้เข้ากับสังคมได้ทุกประเภท อย่างมีกาละเทสะ ปราศจากทิฐิมานะ
ซึง่ เป็นศัตรูของคนดี กล่าวคือ คนดี จะไม่มองตนเองว่าดีกว่าเขา หรือ
แสดงออกในลักษณะว่า คนละพวกกัน เข้ากันไม่ได้ คนดี จะไม่มกี าร
ถือตัว หยิ่งยโส และจะต้องทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมที่ดีทั่วไป
เมือ่ ทำตนได้อย่างนีแ้ ล้ว คนนัน้ จะเรียกว่าคนดีประเภท ทำชัว่ ได้ยาก
ทีว่ า่ คนดีทำชัว่ ได้ยาก ถ้าจะให้รบั ประกันได้ จะต้องเป็นระดับ
พระอริยะ คือนับตัง้ แต่ผทู้ ไี่ ด้ สำเร็จคุณธรรมตัง้ แต่ขนั้ พระโสดาบันขึน้ ไป
แต่ถา้ ยังเป็นปุถชุ นอย่างเราอยู่ จะต้องมีสติคอยระวัง อยูต่ ลอดไป คือ
ระวังใจอย่าเผลอไปทำความชัว่ นัน่ เอง คนดีในทีน่ ี้ มี ๓ ประเภท คือ
๑. คนดีดว้ ยกลับใจ หมายถึง ในเบือ้ งต้นชีวติ เคยเป็นคนชัว่
มาก่อน เคยเป็นคนทีม่ นี สิ ยั สำมะเลเทเมา สนุกสนานไปตามเรือ่ งของ
คนหนุม่ การงานไม่สนใจ หรือไม่กเ็ ป็นประเภทนักเลง ถูกจับติดคุกไป
ดัดสันดาน พอออกจากคุกแล้วก็กลับตัวกลับใจใหม่ ตัง้ ใจตัง้ ตนเป็นคนดี
106
๒. คนดีดว้ ยระวัง หมายถึง เคยเป็นคนดีมาแต่ตน้ เป็นสุภาพชน
มีความสงบเรียบร้อย บางครัง้ ก็เผลอสติ ไปตามอารมณ์ของกิเลสตัณหา
แต่ไม่ถงึ กับเสียหายมากนัก มีสติคอยระวังอยูเ่ สมอ จนเกิดเป็นความ
เคยชิน หมัน่ ทำแต่ความดีตลอดไป
๓. คนดีแท้ หมายถึง คนดีทไี่ ม่มกี ารตกต่ำอีก ได้แก่พระอริยะ
ทัง้ ๔ นัน่ เอง
เพราะฉะนัน้ ขึน้ ชือ่ ว่า ความชัว่ ทุกคนจะรูด้ วี า่ คืออะไร แต่
ทีต่ อ้ งทำความชัว่ ลงไปนัน้ เพราะตัวเอง ไม่อายชัว่ กลัวบาป ยกเอา
คนอืน่ ทีเ่ ขาทำความชัว่ มาเป็นข้ออ้างว่า เขาก็ทำกันทัง้ โลก ไม่ใช่แต่
เราคนเดียว แต่ถา้ เป็นคนดีจริง จะต้องทำความชัว่ ได้ยาก ขอให้คดิ ว่า
๑. อยาก คนชั่วชอบมี ยาก คนดีชอบทำ จงใช้ยากทางดี
เป็นวิถที างนำ
๒. ถ้าทำชัว่ ยากเย็น เขาจะเป็นคนดี หากความชัว่ ชอบมี จะ
เป็นคนดีไม่เป็น
R







107
๔๓
บาปกลิน่ เหม็น แต่คนเห็นว่าดี
R
อกตํ ทุกกฺ ฎํ เสยฺโย
ความชัว่ ไม่ทำเสียเลยดีกว่า

ความชัว่ หมายถึง การมีความรูส้ กึ หรือการกระทำ เป็นการ
สนองตอบต่อกิเลส โดยมีผลเป็นความเดือดร้อน ดิน้ รนกระวนกระวาย
ซึง่ เริม่ ต้นจากความหลงผิด ด้วยอำนาจของโมหะ เมือ่ หลงแล้วก็จะติด
อยูใ่ นความอยาก คือตัวตัณหา ไม่สามารถจะดิน้ ออกจากข่ายคือตัณหาได้
จึงตอบสนองในความอยากนัน้ จนกลายเป็นความติด เช่น ติดสุรา ติด
ผูห้ ญิง ติดการพนัน เป็นต้น เมือ่ ถึงเวลาแล้วจะอยูไ่ ม่สขุ ต้องดิน้ รนไป
เสพติดเสียให้ได้ ถ้าการเสพติดนัน้ ไม่สมหวัง ก็จะเกิดอารมณ์หงุดหงิด
โกรธง่าย มีอารมณ์ร้อนไม่กลัวใคร จะทำความชั่วได้อย่างง่ายดาย
สุดท้ายก็เกิดความเดือดร้อน
ความดีและความชัว่ ผูใ้ ดทำลงไปแล้ว ผูน้ นั้ จะมีกลิน่ กล่าวคือ
ผูท้ ที่ ำความดี ย่อมจะได้รบั การยกย่องสรรเสริญ เรียกคนนัน้ ว่า มีกลิน่ หอม
ส่วนผูท้ ที่ ำความชัว่ ย่อมได้รบั ความรังเกียจ ถูกเหยียดหยาม เรียกคน
นัน้ ว่า มีกลิน่ เหม็น
การทำความชั่ว ถึงแม้จะไม่มีใครเห็น กลิ่นเหม็นก็เกิดแก่
ตนเองแล้ว ตัวเองจะเหม็นก่อนเขา ในทีส่ ดุ กลิน่ เหม็นนัน้ อาจจะปิดไม่อยู่
สักวันหนึง่ จะต้องถูกเปิดเผย การทำความชัว่ เหมือนเสพยาเสพติด
108
คนทีเ่ สพยาเสพติดในขัน้ แรกๆ พอปกปิดได้อยู่ ครัน้ นานขึน้ ความกลัว
ชักน้อยลง จนเกิดเป็นการชินชา และจะเกิดความกล้าทำมากขึน้ ท้าย
ทีส่ ดุ ก็จะถูกเปิดเผยตัวเองขึน้ มา ว่าเขาเป็นคนเสพยาเสพติด เพราะ
เป็นการติดที่ถาวรเลิกไม่ได้แล้ว ฉันใด คนที่ทำความชั่วก็ในทำนอง
เดียวกันนัน้ แต่แรกๆ ก็ยงั กลัวคนรู้ แต่พอทำนานขึน้ ๆ เกิดการได้ใจ
เพราะเมือ่ ทำไปแล้ว ไม่มใี ครรู้ ก็จะเพิม่ การทำมากขึน้ และจะเกิดเลิก
ละได้ยาก ฉันนัน้
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลย

ดีกว่า เพราะเมื่อทำแล้วจะเกิดการเสพติดความชั่ว ด้วยอำนาจของ


โมหะ ซึง่ มีตณ ั หาเป็นตัวนำ แต่เดิมก็ยงั อาย พอนานขึน้ จะเปลีย่ นจาก
อายเป็นด้าน ทีเ่ รียกว่า คนหน้าด้าน เมือ่ ถึงตอนนี้ ก็จะกลายเป็นคน
ชัว่ อย่างถาวร ขอให้คดิ ว่า
๑. บาปนี้ มีกลิน่ เหม็น คนชัว่ เห็นว่ากลิน่ ดี จะสำนึกไม่ได้ ไป
ตลอดชาตินี้
๒. คนมีความชัว่ จะทำตัวให้เหม็น สังคมทัว่ ไป ไม่มใี ครอยากเห็น
R





109
๔๔
ราคาของคน อยูท่ ตี่ นไม่ทำชัว่
R
ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกกฺ ฎํ
ความชัว่ ย่อมเผาผลาญในภายหลัง

ความชั่ว ในที่นี้ หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง
เดือดร้อน ความชัว่ ทุกประเภท จะขึน้ ต้นด้วยความสดชืน่ สนุกสนาน
เพลิดเพลิน ทำใจให้รา่ เริงเบิกบาน เป็นดุจยาบำรุง ทีบ่ ำรุงให้เกิดกำลังใจ
เหมาะกับบรรยากาศที่จะคลายเครียด ซึ่งคนทั้งหลายจะเห็นว่า เรา
ทำงานเหนือ่ ยมาทัง้ วัน ควรจะได้พกั ผ่อน หาอาหารใจมาชดเชย เป็น
รางวัลแก่ตวั เรา ซึง่ ข้อนี้ ก็ไม่ถอื ว่าเป็นความผิด ทีเ่ ป็นความผิดก็คอื ที่
ถลำลงลึกไปกว่านั้น เช่น ไปหลงอยู่ในความสุขของอบายมุข กลาย
เป็นการติดอยูใ่ นความชัว่ จนเป็นการสะสมความเดือดร้อน เก็บไว้ใน
ภายหลัง
ความชัว่ ในทางพระพุทธศาสนา ท่านเปรียบด้วยไฟ ความโลภ
หรือราคะ เหมือนไฟหน้าหนาว ถึงจะร้อนแต่คนก็ชอบ ความโกรธ
เหมือนไฟไหม้ฟาง เกิดไวดับไว ความหลงเหมือนไฟสุมขอน ติดแล้วดับยาก
ขึ้นชื่อว่าไฟก็ต้องร้อน นอกจากร้อนแล้ว ก็เป็นประเภทที่
ทำลาย แต่ให้ผลเป็นความเดือนร้อน ไฟมีอำนาจในการเปลีย่ นแปลง
สิง่ ทีม่ รี าคาให้เป็นสิง่ ไร้ราคา เช่นนำเอาธนบัตรแต่ใบ ทีม่ รี าคาต่างกัน
มารวมกันทัง้ หมด แล้วนำไปเผาไฟ ธนบัตรเหล่านัน้ เมือ่ ไหม้ไฟแล้ว
110
จะกลายเป็นเถ้าถ่าน หมดราคาไปทันที ไม่วา่ จะเป็นธนบัตรละร้อยหรือ
ใบละพัน
ไฟคือกิเลสก็เช่นเดียวกัน ลงได้เผาผลาญใครแล้ว ไม่วา่ คนนัน้
จะเป็นคนมีหน้ามีตา หรือคนชัว่ ช้า ไม่วา่ จะเป็นเศรษฐีหรือยาจก จะ
เป็นบัณฑิตหรือคนพาล จะมีสภาพเหมือนกันหมดคือ คนเลว สังคม
รังเกียจ แต่คนอืน่ เขาจะไม่แสดงออก ถือว่า วัวของใครก็ให้เข้าคอก
ของคนนัน้
เพราะฉะนัน้ อย่าไปหลงในความชัว่ ทีท่ า่ นเปรียบด้วยรสหวาน
แต่พอคนทานเข้าไปแล้ว จะเกิดการเดือนร้อนในภายหลัง เหมือนคนที่
หลงระเริงในกามราคะ เป็นนักเลงหญิง หลงความสุขในราคะ ต่อมา
ภายหลังกลับไปติดโรคเอดส์ นัน่ แหละคือเดือดร้อนละ ขอให้คดิ ว่า
๑. สุขมาก่อน จะร้อนภายหลัง เพราะสุขกิเลส จะมีเหตุกรรมบัง
๒. ราคาของคน อยูท่ ตี่ นไม่ทำชัว่ ถ้าชัว่ หมองหม่น ตนของตน
ก็หมองมัว
R







111
๔๕
โกงชาตินี้ จะใช้หนีช้ าติหน้า
R
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย
ทำความดีไว้ จะดีกว่า

ความดี จะเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า บุญ ได้แก่ธรรมชาติทขี่ จัดขัดถู
หรือชำระล้าง กิเลสตรงกันข้าม กล่าวคือ ความโลภ ทำให้คนเห็นแก่ได้
เห็นแก่ตวั มิใยว่าคนอืน่ จะเป็นอย่างไร ขอให้ฉนั สบายเป็นใช้ได้ จะต้อง
ชำระด้วย ทาน คือการให้แบ่งปันกัน ช่วยเหลือเจือจุนกัน ความโกรธ
ทำให้คนร้อนรุม่ กลุม้ ใจ จะต้องชำระด้วย ศีล เพราะศีลจะทำให้คนมี
ใจเย็นลง ความหลง ทำให้คนมัวเมา ติดอยูใ่ นอารมณ์ทดี่ งึ ดูด เห็นผิด
เป็นชอบ จะต้องชำระด้วย ภาวนา คือทำดวงปัญญาให้เกิด ด้วยการ
อบรมใจ หรือด้วยการฟังธรรม เพือ่ ตนของตนจะได้เกิดความรูส้ กึ
มีคำถามว่า ทำไมทุกคนในโลกจึงเกิดมาไม่เหมือนกัน ในข้อนี้
คงจะต้องตอบว่า เพราะเมือ่ ชาติกอ่ น เราทำบุญมาไม่เหมือนกัน แม้แต่
ในชาตินี้ คนที่ทำกรรมไม่เหมือนกัน ก็ยังมีความเป็นอยู่ไม่เหมือนกัน
สมมุติว่า มีลูกอยู่สองคน คนหนึ่งขยันเรียนหนังสือดี ขยันทำงาน
เอาใจใส่ในการทำความดี ส่วนอีกคนหนึง่ ตรงกันข้าม กล่าวคือเป็นคน
เกียจคร้าน เรียนหนังสือไปก็เลิกเสียกลางคัน ชอบทำความเสียหาย
ต่างๆ ลูกทัง้ สองคนนี้ ทัง้ ๆ ทีเ่ กิดมาจากท้องมารดาเดียวกัน แต่จะ
ต้องมีอนาคตแตกต่างกันแน่นอน ทีย่ กตัวอย่างมานี้ เพียงชาตินี้ ยัง
112
มิได้กล่าวถึงกรรมในชาติกอ่ น
จริงอยู่ บางคนอาจจะค้านว่า คนโน้นเขาหากินทางทุจริต
ทำไมเขาจึงร่ำรวย ตอบว่า ทีเ่ ขาร่ำรวยนัน้ เพราะบุญเก่าเมือ่ ชาติกอ่ น
ตามมาให้ผล แต่ความชัว่ ทีเ่ ขาทำอยูข่ ณะนี้ ยังมิได้ให้ผล อาจจะตาม
ให้ผลในชาติต่อไป ถ้าชาตินี้กฎหมายยังตามจับเขาไม่ได้ แต่หากเขา
ตายไปแล้ว จะพบกันแน่นอน และเมือ่ กรรมชัว่ เสวยแล้ว กลับมาเกิดอีก
เขาจะเป็นคนชัว่ ตลอดชาติ เพราะชัว่ จะเข้าสนับสนุนให้ชวั่
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ทุกคน ทำความดีไว้ดกี ว่า

จะมีคนยกย่องสรรเสริญ ตายไปแล้วก็จะไปเกิดในสุคติ แต่ถา้ ทำความชัว่


จะตรงกันข้าม และกรรมชัว่ นัน้ ก็จะสนับสนุนให้เป็นคนชัว่ หากมาเกิด
เป็นคน ก็จะเป็นคนชัว่ ตลอดทัง้ ชาติ ใครๆ ก็เตือนเขาไม่ได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. หนีเ้ งินพอโกงได้ หนีก้ รรมอย่าหมายในเรือ่ งโกง จงทำดีเข้าไว้
ให้มใี จมัน่ คง
๒. เกิดทุกข์ชาตินี้ เพราะกรรมไม่ดชี าติกอ่ น จงทำความดี สุข
จะมีแน่นอน
R






113
๔๖
โต้ตอบชัว่ เป็นตัวศัตรู
R
ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ, ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
กรรมใดทำแล้ว ร้อนใจในภายหลัง กรรมนัน้ ทำแล้วไม่ดี

ทุกคนที่เกิดมาในโลก จะต้องทำกรรมกันทั้งนั้น ตามพื้นเดิม
ของดวงวิญญาณ ทีส่ งั่ สมอบรมมา ถ้าทีจ่ ะมาเกิด มีพนื้ เดิมมาทางใน
ทางบุญ จิตวิญญาณทีม่ าเกิดนัน้ ก็จะชอบทำบุญ หากมีพนื้ เดิมมาทางบาป
ก็จะชอบทำบาป ทีเ่ รียกว่า ปุพเพกตปุญญตา ส่วนกรรมทีส่ ร้างใหม่ใน
ปัจจุบนั ทีเ่ รียกว่า อัตตสัมมาปณิธิ ก็จะก่อกรรมใหม่ ซึง่ จะต้องมีผล
กระทบถึงภพหน้าต่อไป ดังนั้น กรรมใหม่ที่จะสร้างในภพปัจจุบัน
จำเป็นจะต้องสร้างแต่ความดี
พืน้ เดิมแห่งวิญญาณของบุคคล ทุกคนล้วนแต่อยากจะเป็นคน
ดีดว้ ยกันทัง้ นัน้ แต่ธรรมชาติของสัตว์โลกทัว่ ไป ยังมีสงิ่ หนึง่ ซ่อนเล้น
อยูเ่ บือ้ งหลัง สิง่ นัน้ คือ ปฏิกริ ยิ าโต้ตอบ ตรงนีอ้ าจจะเกิดจากตัวเอง
หรือสิง่ ภายนอกก็ได้ สมมุตวิ า่ จะถามใครสักคนหนึง่ ว่า ถ้ามีใครมาด่าท่าน
โดยทีท่ า่ นไม่มคี วามผิด ท่านจะทำอย่างไร เขาต้องตอบว่า ก็ตอ้ งด่า
เขาตอบ เพราะเรามิได้ผดิ ในทำนองเดียวกันนี้ ถ้ามีใครมาทำร้าย มา
ลักขโมยสิ่งของ มาเป็นชู้กับภรรยาของตน คนเราจะเกิดปฏิกิริยา
โต้ตอบ โดยถือว่าตนเป็นฝ่ายถูก ปฏิกริ ยิ าตัวนี้ ส่วนใหญ่จะมีอยูแ่ ก่คน
โดยทัว่ ไป
114
ปฏิกริ ยิ าโต้ตอบนี้ คือตัวศัตรู ทำให้คนเราสร้างเวรภัยกันต่อไป
ไม่รจู้ บ ถ้าบุคคลสามารถจะแก้ไขตัวนีไ้ ด้ ศัตรูกจ็ ะไม่มี เวรภัยก็จะไม่
ตามมา ความเดือดร้อนใจก็จะหายาก นี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุที่ทำให้
เกิดความเดือดร้อน วุน่ วายกันอยูใ่ นโลกปัจจุบนั แต่ถา้ จะหลบภัยในข้อนี้
จำเป็นจะต้องคอยมีสติ ควบคุมการกระทำทางกาย วาจา และใจ การทำ
การพูด การคิดคือ ตัวผลิตกรรม ถ้าทำทางดี หลบหนีทางชัว่ ทำตัว
ให้ถกู กาละเทสะ รูจ้ กั หลบหลีกความชัว่ นัน้ คือทางแก้ไข
เพราะฉะนั้น ถ้าบุคคลมาสร้างกรรมประเภทก่อศัตรู สร้าง
ความเสือ่ มเสียให้แก่ตนและสังคม กรรมนัน้ เมือ่ ทำแล้ว จะเกิดผลคือ
ความเดือดร้อนตามมาในภายหลัง ซึง่ เป็นการผลิตกรรมทีไ่ ม่ดี จึงควร
หลีกการผลิตกรรมอย่างนี้เสีย หันมาสร้างกรรมดี ที่ตรงกันข้ามจะดี
กว่า ขอให้คดิ ว่า
๑. โต้ตอบทางชัว่ จะทำตัวมากศัตรู สงบได้ในศึก จะสำนึกใจรู้
๒. ปฏิกริ ยิ าโต้ตอบ ตัวประกอบความโกรธ ถ้าปล่อยออกมา
จะพบพาแต่โทษ
R






115
๔๗
สุขลวง คือบ่วงอบาย
R
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ, ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้ว ไม่รอ้ นใจในภายหลัง กรรมนัน้ ทำแล้วดี

กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม จะมีมลู รากมาจาก ความไม่โลภ
กล่าวคือเป็นผู้มีจิตใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ไม่เห็นแก่ได้

ไม่เห็นแก่ตวั หมายถึง ไม่โลภอยากได้ในทางทีผ่ ดิ ศีลธรรม ความไม่


โกรธ ได้แก่ มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น แจ่มใส มีความคิดรอบคอบ
ละเอียดถีถ่ ว้ น ไม่ใจไวด่วนได้ ไม่เอาแต่อารมณ์ของตัวเป็นใหญ่ และ
ความไม่หลง ได้แก่ ไม่หลงผิดจากทำนองครองธรรม มีสติรอบคอบ
กอบด้วยปัญญา ไม่ติดอยู่ในความอยากที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
ความไม่หลงนี้ เป็นต้นเหตุให้เกิด ความไม่โลภและความไม่โกรธ จึง
เป็นตัวสำคัญทีค่ วรให้มี
ธรรมชาติของคนทุกคน จะต้องเป็นผู้รักสุขและเกลียดทุกข์
กระทำทุกสิง่ ทุกอย่าง เพือ่ เป็นการแสวงหาความสุข และหลีกหนีความ
ทุกข์ เอาเข้าจริง กลับวิง่ ไปหาความทุกข์เข้ามาใส่ตวั เช่น การเล่นการ
พนันก็ดี การเที่ยวกลางคืนก็ดี การเป็นนักเลงสุราก็ดี การคบเพื่อน
เฮฮาไปในทางเสือ่ มก็ดี ล้วนเป็นสาเหตุ นำความทุกข์เดือดร้อนมาให้ทงั้ นัน้
หลงผิดไปว่า ทีต่ นทำไปนัน้ เป็นการแสวงหาความสุข ความจริงเขา
เรียกว่า ความสนุก เป็นเหตุให้เกิด สุขจอมปลอม คือสุขของอบายมุขเขา
116
ถึงกระนัน้ คนเราก็ยงั ไม่เชือ่ ยังยกย่องสุขอบายมุข ว่ามีประโยชน์ใน
การคลายเครียด ทำให้มีอายุยืน ทำให้สร้างสังคม กล่าวคือทำให้มี
เพือ่ นมาก ถึงคราวจำเป็นจะได้มเี พือ่ นคอยช่วยเหลือ
ความสุขทีแ่ ท้จริงนัน้ ได้แก่ การให้ เป็นเหตุกำจัดความเห็นแก่ตวั
การรักษาศีลหรือตั้งอยู่ระเบียบวินัยที่ดี เป็นเหตุกำจัดเวร ๕ อย่าง
เช่น ไปทำร้ายหรือฆ่าเขา เป็นการสร้างเวรตัวที่หนึ่ง เป็นต้น และ
การอบรมจิตใจ เป็นเหตุกำจัดความดิน้ รนทางใจ มีความเห็นถูกต้อง
เพราะฉะนัน้ การให้ทาน รักษาศีล และการอบรมจิตใจ จึง
เป็นการสร้างความสุขทีแ่ ท้จริง
เพราะเมือ่ บุคคลกระทำแล้ว จะไม่มศี ตั รู ห่างจากเวรภัย ไม่
เข้าใกล้ความเดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ ก็จะมีแต่
ความสุขสบาย นีค้ อื สุขตัวจริง ขอให้คดิ ว่า
๑. สนุกคือสุขลวง เป็นสุขบ่วงของอบาย ถ้าใครหลงผิด จะติด
ไปจนตาย
๒. ทำดีเข้าไว้ จะสบายในภายหน้า จงทำดีให้ตน อดทนให้มี
คุณค่า
R





117
๔๘
คนดีมรี าคา ชัว่ ช้าราคาตก
R
สุกรานิ อสาธูน,ิ อตฺตโน อหิตานิ จ
กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้งา่ ย

กรรมทีไ่ ม่ดดี ว้ ย ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนด้วย ได้แก่ อกุศลกรรม
คือกรรมชัว่ นัน่ เอง ทีว่ า่ ทำง่าย ก็หมายความว่า ในขณะทำความชัว่ นัน้
ใจจะมีแต่ความสุข ความสนุกสนาน หรรษาร่าเริงบันเทิงใจ มีความ
สดชืน่ ใจ แถมยังเป็นการแก้ความเครียด และเป็นการชะลอความแก่ได้
อีกด้วย ซึง่ เป็นธรรมดาของใจ มักจะชอบอาหารอย่างนีอ้ ยูแ่ ล้ว จึงเห็น
ว่าเป็นการทำง่าย อย่าว่าแต่ทำง่ายเลย แถมอยากจะทำเสียอีกด้วย
การกระทำดังกล่าวนี้ ถ้าไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกิเลส และทำแล้วก็มี
ผลในทางดี หรือมีผลไม่เดือดร้อน ไม่มีเวรไม่มีภัย ไม่จัดว่าเป็นการ
ทำความชัว่
สิง่ ของอันใดทีท่ ำง่าย สิง่ ของอันนัน้ มักจะมีราคาถูก การทีจ่ ะ
สร้างสิง่ ของทีด่ ๆี มีราคาแพง จะต้องทำนานๆ เช่น การสร้างสิง่ ของที่
มีลวดลาย ละเอียดละออ มีเอกลักษณ์ของศิลปะ มีการสร้างอุโบสถ
สร้างวิหาร เป็นต้น จะใช้เวลานาน แต่เมือ่ สร้างเสร็จแล้ว จะเป็นของ
มีราคาแพง ฉันใด การทำความดี ก็เป็นเช่นเดียวกันอย่างนัน้ ต้องใช้
เวลานาน จึงต้องมีคำว่า ปลูกฝังความดี
การทำความดีนนั้ นอกจากจะทำนานแล้ว ยังจะต้องมีการทำ
118
บ่อยๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะเกิดความชำนาญ ความเคยชิน
เปรียบเหมือนคนทีเ่ ป็นช่าง คนทีไ่ ม่เป็นช่าง ไปมองดูแล้วจะคิดว่าเป็น
ของยาก แต่นายช่างเขาทำไม่ยาก เพราะเขามีความชำนาญอยูแ่ ล้ว
และการทำความดีดังกล่าว แท้จริงเป็นของทำง่าย เช่นการ
กราบพระไหว้พระ การไปทำบุญที่วัด เป็นต้น ทำแล้วมีคนยกย่อง
สรรเสริญ ทำอย่างสง่าผ่าเผย ไม่เหมือนทำชัว่ จะต้องแอบๆ ซ่อนๆ
ไม่ให้ใครรู้ เมือ่ มีคนรูข้ นึ้ ก็จะเกิดการเสือ่ มเสียเกียรติชอื่ เสียง เหม็นไป
ทัง้ วงศ์ตระกูล
เพราะฉะนัน้ บุคคลควรจะมาเลือกคัดจัดสรร ทำในสิง่ ทีด่ งี าม
เป็นประโยชน์แก่ตนและสังคม เป็นตัวอย่างทีด่ ขี องครอบครัวและสังคม
ตลอดจนถึงประเทศชาติบ้านเมือง เป็นตัวอย่างที่ดีของอนุชนรุ่นหลัง
เมื่อเราทั้งหลายได้ตายไปแล้ว จงฝึกหัดทำให้เป็นของง่าย ให้เคยชิน
ขอให้คดิ ว่า
๑. ความดีมีประโยชน์ ยากกำหนดให้คนทำ จงใช้ยากอดทน
เป็นหนทางนำ
๒. ความดีมีราคา คือค่าของคน ความอดทนมีราคา คือค่า
ของงาน
R



119
๔๙
เป็นให้เป็น จะเห็นประโยชน์
R
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญจฺ , ตํ เว ปรมทุกกฺ รํ
กรรมใดแล เป็นประโยชน์ดว้ ย ดีดว้ ย กรรมนัน้ ทำยากยิง่

การงานทีเ่ ป็นประโยชน์ หมายถึง เป็นประโยชน์ทตี่ นเองจะ
พึง่ ได้ โดยไม่กระทบตนและผูอ้ นื่ และ บางครัง้ อาจจะเป็นประโยชน์แก่
ผูอ้ นื่ ด้วย ขึน้ อยูก่ บั ระดับของงาน กล่าวคือ เป็นงานของตัวเอง เช่น
การทำมาหากิน งานระดับสังคมแต่ละชั้น ตั้งแต่ชั้นต่ำถึงชั้นสูง คือ
ระดับประเทศชาติบ้านเมือง รวมไปถึงเป็นประโยชน์ทั้งภพนี้ และ
ประโยชน์ในภพหน้า งานที่ดี หมายความว่า งานที่กล่าวข้างต้นนั้น
ต้องเป็นงานสุจริต และมิใช่งานทีอ่ าศัยสุจริตบังหน้า แต่เบือ้ งหลังเพือ่
ประโยชน์ของตน นอกจากดีแล้ว ก็จะต้องชอบด้วย หมายถึง จะต้อง
ให้ถกู กาละเทสะ คือถูกต้องด้วย และ ถูกใจด้วย
มีคำพูดอยูป่ ระโยคหนึง่ ว่า “ถ้าจะเป็นต้องเป็นให้เป็น ถ้าเป็น
ไม่เป็นอย่าไปเป็น” หรือ “ถ้าจะเป็นให้เป็น ต้องหัดให้เป็น”
เรือ่ ง เป็น ของคนเรานัน้ มีอยูส่ องเป็น คือ เป็นในหน้าทีก่ บั
เป็นนอกหน้าที่ เป็นในหน้าที่ นัน้ เช่น เป็นข้าราชการ ก็จะต้องปฏิบตั ิ
ในระเบียบวินยั ของข้าราชการ เป็นพระ ก็จะต้องปฏิบตั อิ ยูใ่ นวินยั ของพระ
เป็นต้น เป็นนอกหน้าที่ เช่น ตืน่ เช้าเราถือไม้กวาดไปกวาดบ้าน ตอนนี้
เป็นคนใช้ พอถึงเวลาขับรถออกไปซือ้ กับข้าว ตอนนีเ้ ป็นโชเฟอร์ พอกลับ
120
ถึงบ้าน ก็เข้าครัวทำอาหาร ตอนนีเ้ ป็นพ่อครัว เป็นต้น และยังมีอกี
หลายเป็น ที่ยกมานี้ เพียงตัวอย่างเท่านั้น รวมความว่า ตอนนั้น

เราเป็นอะไร ก็จะต้อง เป็นให้เป็น ถ้ารูต้ วั ว่ายังทำไม่เป็น ก็จะต้องไป


หัดทำเสียให้เป็น เช่น ถูกเชิญไปในงานทำบุญ ถ้าถูกเรียกตัวให้ไปเป็น
ทายกกล่าวคำอาราธนาต่างๆ หรือเป็นพิธีกรในงานต่างๆ ยามว่างๆ

ก็หดั ศึกษาเสียให้เป็น ถ้าเราทำเป็นทำได้ ก็จะกลายเป็นคนเด่น เพราะ


คนอืน่ ๆ เขาทำไม่ได้
เพราะฉะนัน้ การทำความดี การทำสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ จะเป็น
เพื่อตนหรือเพื่อสังคม เป็นหน้าที่ของคนทุกคน สิ่งใดยังทำไม่เป็น

ก็ตอ้ งฝึกหัดทำเข้าไว้ให้ทำเป็น ดีกว่าจะไปแก้ตวั ว่านานๆ ทำสักทีกเ็ ลย


ลืมไปหมดแล้ว ทำเป็นให้ได้หลายอย่าง จะเป็นการดี ขอให้คดิ ว่า
๑. ถ้าจะเป็น ต้องเป็นให้เป็น ถ้าไม่เป็นต้องฝึกให้เป็น
๒. ประโยชน์และดีดว้ ย ทัง้ สองช่วยเป็นคนมี ดีนกั หนา
R








121
๕๐
สุขไม่มผี ล แก่คนทำชัว่
R
น หิตํ สุลภํ โหติ, สุขํ ทุกกฺ ฎการินา
สุขจะไม่มผี ล สำหรับทำความชัว่

ความสุข หมายถึง สภาพที่ทนได้ง่าย หรือความสบายกาย
สบายใจ มี ๒ อย่างคือ สุขชัว่ หมายถึงความสุขทีไ่ ด้รบั นัน้ มีสาเหตุ
มาจากความชั่ว มีความสุขเพราะดื่มสุรา ความสุขเพราะเสพยาบ้า
ความสุขเพราะเที่ยวราตรี เป็นต้น ความสุขอย่างนี้ แท้จริงเรียกว่า
สนุก จะสุขสดชื่นในตอนทำ แต่จะเดือดร้อนในภายหลัง สุขอย่างที่
สองคือ สุขดี หมายถึงความสุข มีสาเหตุจากทีเ่ รา ไม่ได้ไปทำความชัว่
ก็เลยไม่มคี วามเดือดร้อน ไม่ยงุ่ วุน่ วายใจ เพราะมิได้ไปสร้างเวรภัยไว้
กับใคร มีแต่สร้างความดีไว้แก่สงั คม อยูท่ ไี่ หนก็จะมีแต่ความสุขสบาย
ทุกวันนี้ คนต้องการความสุขด้วยกันทั้งนั้น โดยมิได้คำนึงว่า
ความสุขทีต่ นแสวงหานัน้ จะมีความเดือดร้อนในภายหลังหรือไม่ ขอให้
ใจเป็นสุขก็พอแล้ว ในวันปีใหม่กด็ ี วันสงกรานต์กด็ ี คนจะนึกถึงความ
สุขเป็นจุดแรกก่อน วันอย่างนี้ ทีข่ าดไม่ได้เลยก็คอื สุรา เพราะถือว่าสุรา
เป็นตัวให้ความสุขสดชืน่ อย่างนีก้ เ็ ป็นสุขจริง แต่เป็นสุขฝ่ายชัว่ พอดืม่
สุราได้ทแี่ ล้วก็พากันไปเฮฮา ขึน้ รถกันไปเต็มรถ เล่นสาดน้ำสนุกสนาน
ต่อมาความสุขนัน้ ชักออกฤทธิ์ เกิดระเริง ไม่มคี วามกลัว ขับรถอย่าง
ประมาท บางครั้งเสวยสุขกันไปได้ไม่เท่าไร ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ

122
ทีต่ ายก็ตายไป เมือ่ ตายไปแล้วก็ตอ้ งไปเสวยทุกข์ในอบาย ส่วนทีบ่ าดเจ็บ
ก็ตอ้ งไปเสวยทุกข์กนั ทีโ่ รงพยาบาล
บางพวกพอเมาได้ที่แล้ว ยังสุขไม่พอ พากันไปเที่ยวผู้หญิง

คนเมาเป็นคนไม่กลัวตายอยูแ่ ล้ว ก็เลยไม่กลัวโรคเอดส์ ในทีส่ ดุ ก็ไปติด


เอาโรคเอดส์ นำมาฝากแม่บา้ น แม่บา้ นไม่รเู้ รือ่ งกับเขา ก็พลอยเดือด
ร้อนไปด้วย ทีย่ กมาเพือ่ เป็นตัวอย่างนี้ เพือ่ ให้มองเห็น ถึงความสุขทีด่ ี
และความสุขทีไ่ ม่ดี
เพราะฉะนั้น ทุกคนควรแสวงหาสุขที่มีผลดีเท่านั้น ส่วนสุข
อบายมุข ซึง่ เป็นสุขทีไ่ ม่มผี ลดีนนั้ เป็นสุขชัว่ ไม่ควรพาตัวเข้าหมักหมม
ถึงแม้ชาตินจี้ ะยังไม่ทกุ ข์ แต่เมือ่ ตายไปในชาติหน้า จะต้องได้รบั อย่าง
แน่นอน เพราะ สุขอบายมุข ท่านกล่าวว่า เป็นทุกข์ในอบายภูมิ ขอ
ให้คดิ ว่า
๑. สุขดีสขุ ชัว่ ว่ากันมัว่ ไม่รวู้ า่ ชัว่ หรือดี คนชัว่ เห็นอบายมุข
ว่าเป็นสุขศักดิศ์ รี
๒. สุขไม่มผี ล สำหรับคนผูท้ ำชัว่ สุขวันนีผ้ า่ นไป วันหน้าภัยจะ
มีแก่ตวั
R




123
๕๑
กรรมสร้างทุน คุณสร้างคน
R
กลฺยาณการี กลฺยาณํ, ปาปการี จ ปาปกํ
ทำดีได้ดี ทำชัว่ ได้ชวั่

การทำความดีและทำความชัว่ นัน้ ย่อมได้ผลของการทำ ตามที่
คนกระทำ เหมือนการทำนา ก็ยอ่ มได้ขา้ ว ปลูกแตงโม ก็ยอ่ มได้แตงโม
เป็นต้น การกระทำนั้น ใครจะรู้เห็นหรือไม่ แต่ตนจะต้องรู้ก่อนแล้ว
และได้รบั ผลของการกระทำนัน้ จะเป็นเวลาเร็วหรือช้า ก็ตอ้ งได้รบั แน่
ไม่ชาตินกี้ ช็ าติหน้า
เรือ่ งวิบากของกรรมนี้ ถ้ากรรมมีตวั ตน เราจะเห็นว่า กรรมดี
และกรรมชั่วที่จะเข้ามาเสวยนั้น เข้าคิวรอกันยาวเหยียดมิใช่น้อย
บางคนไปทอดกฐินหรือทอดผ้าป่า ซึ่งเป็นการทำความดีแท้ๆ แต่พอ
เวลาขากลับ เกิดอุบตั เิ หตุรถชนกันจนถึงบาดเจ็บ อย่างนี้ เพราะขณะ
ทำบุญนัน้ พอดีกรรมชัว่ ทีเ่ กาะติดหลังอยูใ่ ห้ผลเสียก่อน ส่วนกรรมดีที่
ทำอยูใ่ นวันนี้ ยังไม่ถงึ คิว นีย้ กขึน้ มาเป็นตัวอย่าง
พระมหาโมคคัลลาน์ ในอดีตชาติ เคยทำร้ายมารดาบิดา

ผลกรรมนัน้ ก็คอื เมือ่ ตายไป ได้ไปตกอยูใ่ นนรก เป็นเวลานาน แทนที่


จะหมดกรรมแค่นนั้ เมือ่ พ้นจากนรกแล้ว ไปเกิดในชาติตอ่ ๆ ไปทุกชาติ
จะถูกโจรฆ่าตายอีกถึง ๕๐๐ ชาติ จนถึงชาติทเี่ ป็นพระอรหันต์กย็ งั ไม่เว้น
นัน่ เป็นเพราะพระมหาโมคคัลลาน์ เป็นพระอรหันต์ ได้นพิ พานไม่ตอ้ งไป
124
เกิดอีก แต่ถา้ ไปเกิดอีกก็ไม่เว้นเช่นกัน
ทีย่ กตัวอย่างมานี้ เพือ่ ให้ทกุ คนมองเห็นว่า ทำความชัว่ เพียง
นาทีเดียว แต่กรรมชัว่ จะให้ผลเป็นร้อยชาติพนั ชาติ เหมือนข้าวเปลือก
เพียงเมล็ดเดียว เมือ่ งอกเป็นต้นข้าวขึน้ มาแล้ว ก็สามารถจะผลิตเมล็ด
ข้าวให้อกี เป็นจำนวนมาก ทีก่ ล่าวมานนีเ้ ฉพาะกรรมชัว่ แต่ทเี่ ป็นกรรมดี
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ เมือ่ รูอ้ ย่างนี้ ยังมีใครอยากทำความชัว่ อีก
ไหม ความเป็นจริง ถึงจะมีผลถึงอย่างนี้ แต่คนทีท่ ำความชัว่ ก็ยงั มีอกี
มากมายนัก ถ้าใครมาคิดถึงเรือ่ งกรรม จะเห็นว่า กรรมนัน้ มีจริงแน่
เพราะฉะนัน้ ขอให้ทกุ คนเชือ่ เถิดว่า ผลกรรมนัน้ มีแน่ ไม่ตอ้ ง
สงสัย จงระวังใจของเราไว้ อย่าให้เผลอสติ หรือหลงผิดไปทำความ
กรรมชัว่ อย่าไปเชือ่ ใครว่า การทำความชัว่ ถ้าไม่มใี ครเห็นกรรมจะไม่มี
แท้จริง ในชาตินี้ยังไม่ถึงคิว แต่ในชาติหน้าจะต้องมีอย่างแน่นอน

ขอให้คดิ ว่า
๑. กรรมบังตา ราคามีคณ ุ กรรมสร้างทุน คุณสร้างคน
๒. คนชัว่ ทำตัวต่ำ กรรมเอาแน่ ถึงยามแก่จะนึกได้ เมือ่ ภายหลัง
R






125
๕๒
กรรมลิขติ เราขีดกันเอง
R
กมฺมนุ า วตฺตตี โลโก
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

กงกรรมกงเกวียน คำนีส้ ว่ นใหญ่ คนเราจะรูก้ นั ได้ดี ว่าคนทุกคน
จะต้องวนไปตามกรรม เกวียนที่เทียมด้วยโค หรือรถที่เทียมด้วยม้า

ซึง่ แทนรถยนต์ในสมัยนี้ จะมีลกั ษณะว่า โคจะเดินไปทางไหน ลอยเกวียน


ก็จะหมุนตามลอยเท้าโคไปทางนัน้ คือลอยโคออกหน้า ลอยเกวียนก็จะ
หมุนไปตาม
ข้อนี้ ท่านเปรียบด้วยการสร้างกรรมของคน ผู้สร้างกรรม
เหมือนลอยเท้าโค กรรมทีต่ ามสนองเปรียบด้วยลอยเกวียน หมายความ
ว่า ในขณะทีเ่ กวียนกำลังเดินไปอยู่ ก็เหมือนกับวิถชี วี ติ ของคน ก็ตอ้ งเดิน
ไปโดยไม่หยุด ถ้าหยุดก็หมายถึงตาย เดินไปเคียงคูก่ บั การสร้างกรรม
มีคำพูดทีช่ อบพูดกันอยูค่ ำหนึง่ ว่า กรรมลิขติ ซึง่ แปลว่า รอยขีด
ของกรรม กล่าวคือ กรรมเก่าเป็นผูส้ ร้างเส้นทางเดินให้แก่คน ถ้าถามว่า
กรรมคืออะไร ตอบว่า กรรมคือการกระทำ ถามว่า ใครทำ ก็ตอ้ งตอบ
ว่าเราเป็นผูท้ ำเอง เมือ่ เป็นเช่นนัน้ กรรมลิขติ ก็ตอ้ งแปลว่า เราเอง
ขีดเส้นชีวติ ให้เราเดินเอง พระพุทธศาสนาสอนว่า ทำดีได้ดี ทำชัว่ ได้ชวั่
จะขีดเส้นชีวติ ให้ดหี รือชัว่ ก็อยูท่ ตี่ วั เราเอง
สมมุตวิ า่ คนทีเ่ ป็นข้าราชการครู การทีท่ า่ นจะผ่านตำแหน่งนี้
126
ขึน้ มาได้ ท่านจะต้องเริม่ ขีดเส้นให้แก่ตวั เอง โดยเริม่ ตัง้ แต่เป็นนักเรียน
ชัน้ ประถม จบแล้วเข้าเรียนต่อมัธยม จากนัน้ ก็เข้าเรียนสถาบันราชภัฏ
และเข้าสมัครสอบบรรจุครูได้ ถ้าถามว่า กรรมทีท่ า่ นมาเป็นครูนี้ ใคร
ขีดให้ทา่ น ก็ตอ้ งตอบว่าเราขีดของเราเอง บางคนเรียกว่า พรหมลิขติ
ซึง่ แปลว่า พรหมเป็นผูข้ ดี เส้นให้เดิน นีก้ ต็ อ้ งเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ หมายถึง
มีเหตุผลไปอีกอย่างหนึง่ ของศาสนาพราหมณ์ ถ้าศึกษาให้เข้าใจแล้ว
เรือ่ งก็จะเป็นรอยเดียวกัน แต่ไม่ใช่วา่ จะนัง่ รอให้พระพรหมประทานให้
โดยตนไม่ตอ้ งทำอะไรเลย
เพราะฉะนัน้ ขอให้มาทบทวนในตัวว่า เราเองเป็นผูข้ ดี เส้นให้
เราเดินเอง คนอื่นจะเป็นพระอินทร์หรือพระพรหม มาขีดให้เราไม่ได้
เมือ่ เป็นเช่นนี้ ก็จะต้องขีดให้ดๆี สักหน่อย ไม่ใช่ไปปล่อยให้อบายมุข
ขีดเส้นให้เดินไปสูอ่ บายภูมิ ขอให้คดิ ว่า
๑. รอยโครอยเกวียน หมุนเวียนดุจรอยกรรม จงคิดถึงตัว
อย่าเอาชัว่ มานำ
๒. กรรมลิขติ จะขีดรอยกรรม เราเป็นผูข้ ดี เอง จงหมัน่ เคร่ง
ในทางธรรม
R




127
๕๓
สติตวั นำ ตัง้ ใจทำตัวสำเร็จ
R
นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
ใคร่ครวญก่อน แล้วจึงทำจะดีกว่า

การทำงานทุกอย่าง จะต้องอาศัยความละเอียดถี่ถ้วน มีสติ
ตรวจตราหาเหตุ ผ ล ถ้ า เป็ น งานใหญ่ จะต้ อ งมี ก ารวางแผนงาน

หาข้ อ มู ล ที่ ดี เ สี ย ก่ อ น ยิ่ ง ถ้ า เป็ น งานที่ ต้ อ งเกี่ ย วกั บ การทำสั ญ ญา

จะต้องมีความรอบคอบอย่างยิง่ หากไม่เข้าใจจะต้องศึกษา หรือปรึกษา


ผู้รู้ให้ดีเสียก่อน ถ้าเป็นงานประเภทลงทุน หรือประเภทเสี่ยงอยู่แล้ว
จะต้ อ งปรึ ก ษาจากผู้ ที่ มี ป ระสบการณ์ หรื อไม่ ต นเองจะต้ อ งไปหา
ประสบการณ์เสียก่อน จะต้องใช้ปญ ั ญาคิดนึกตรึกตรองเป็นอย่างดี ที่
ยกมานีเ้ ป็นเพียงตัวอย่าง เมือ่ ลงมือทำงานแล้ว ในทางธรรม ให้ใช้หลัก
อิทธิบาท ๔ เป็นตัวนำ
การทำงานทุ ก ประเภท การตั ด สิ น ใจเป็ น เรื่ อ งสำคั ญ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า ต้องมีความใคร่ครวญ ให้ถกู ต้องเสียก่อน
จึงค่อยทำลงไป โดยเฉพาะถ้าการกระทำนั้น ไปเกี่ยวข้องกับโทสะ

คนโบราณสอน ให้นบั หนึง่ ถึงสิบ เสียก่อน เช่นมีคนมายัว่ โทสะ เพือ่ ให้


งานนัน้ ต้องเสียไป ก่อนทีจ่ ะโต้ตอบเขา อย่าเอาแต่อารมณ์ของตนเป็น
ใหญ่ ควรจะใคร่ครวญเสียก่อน ถ้ามิเช่นนัน้ อาจจะเผลอตัวหยิบอาวุธ
ไปทำร้ายเขา ตรงนีแ้ หละทีค่ นโบราณสอนว่า ให้นบั หนึง่ ถึงสิบเสียก่อน
128
นัน่ ก็หมายถึงให้มสี มาธิเพือ่ เรียกสติมาไว้กบั ตัว เพราะในขณะทีน่ บั อยูน่ นั้
การลืมตัวจะไม่มี จะคิดได้วา่ การทะเลาะวิวาท เป็นเหตุเสียหาย ตรงนี้
เรียกว่า ใคร่ครวญ หากใคร่ครวญดีแล้ว ก็จะไม่เกิดเรือ่ งร้าย
ส่วนการทำงาน ทีม่ อี ารมณ์เป็นกิเลสอย่างอืน่ นอกจากนี้ เข้า
มาเจือปน เช่นความโลภ ก็จะทำให้คิดจะเอาเปรียบในการทำงานนั้น
งานอาจจะถูกล้มเลิกไปก็ได้ ส่วนโมหะ หากมีประกอบอยู่ในงานแล้ว
งานจะล่าช้า อืดอาด เพราะความเกียจคร้าน
เพราะฉะนัน้ การใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุผล ก่อนการทำงาน
จะทำให้งานนัน้ สำเร็จลงเรียบร้อยได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่งานทุกประเภท
มักจะมีกิเลสตัณหาเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ

ชิงไหวชิงพริบกัน ไม่คอ่ ยจะมีซอื่ สัตย์ตอ่ กัน ขอให้คดิ ว่า


๑. สติเป็นตัวนำ อดทนทำเป็นตัวสำเร็จ ถ้าอดทนมีไว้ จะเป็น
คนใจเพชร
๒. ใคร่ครวญก่อนทำ จะนำปลอดภัย ถ้าสุขเอาเผากิน จะไม่
สิน้ อันตราย
R






129
๕๔
แผลกรรม ทำคืนไม่ได้
R
กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ
สิง่ ทีท่ ำแล้ว ทำคืนมิได้เลย

การกระทำอันใด ทีล่ ว่ งเลยไปแล้ว ถือว่าเป็นการจบเกมส์กนั ไป
จะแก้ไขเปลีย่ นแปลงใหม่อกี ไม่ได้เลย เช่น คนทีไ่ ปฆ่าเขาตาย จะขอ
ใหม่เป็นไม่ฆา่ อย่างนีย้ อ่ มเป็นไปไม่ได้ มีแต่จะต้องรอผลกรรม ทีจ่ ะ
ตามมาสนองอย่างเดียวเท่านัน้ ทางทีด่ กี อ่ นจะทำการอะไรลงไป จะต้องมี
สติพจิ ารณาใคร่ครวญให้ดเี สียก่อน จึงค่อยทำลงไป และในขณะทำอยูน่ นั้
ก็จะต้องมีตวั ปัญญากำกับอยูเ่ สมอ เพือ่ มิให้เกิดการผิดพลาด และให้
เกิดการถูกต้องดีงาม อย่าทำอะไรไปตามอารมณ์ที่อยากจะทำ โดย
ปราศจากเหตุผล มิใยทีค่ นอืน่ จะมาเตือน ถือว่าตัวเองทำถูกแล้ว
อันธรรมดาว่า แผลทีม่ ขี นึ้ ในตัวเรา เมือ่ เกิดแล้วจะหายเดีย๋ ว
นัน้ ไม่ได้ จะต้องใช้เวลาในการรักษา หรือถ้ารักษาหายแล้ว ก็ยงั มีรอย
แผลเป็นปรากฏให้เห็น ข้อนีเ้ ป็นฉันใด
ชีวติ การทำงานของคน บางครัง้ ก็ ต้องเสีย่ งในการตัดสินใจ
ถ้าเป็นความดีกแ็ ล้วไป สำหรับทีเ่ ป็นความชัว่ หรือเห็นว่าตนเองกำลัง
จะมีอารมณ์ไม่ดเี กิดขึน้ จะต้องหยุดความคิดสักเล็กน้อย แล้วทำจิตให้
เป็นสมาธิขณะหนึง่ ก่อน คือปลุกให้รตู้ วั ไว้กอ่ น อย่าเผลอทำลงไป อย่า
ปล่อยให้อารมณ์ชวั่ วูบ เข้ามาครองใจเรา อย่าคิดง่ายๆ ว่า “ชัง่ มัน
130
จะเป็นอะไรก็ยอม” อย่าคิดว่า “เรือ่ งนีห้ วั เด็ดตีนขาด เพือ่ ศักดิศ์ รี
จะยอมไม่ได้” ถ้าเชือ่ ความคิดอย่างนี้ หากเผลอทำผิดลงไป จะเป็น
ตราบาป หรือ แผลกรรม ไปตลอดชาติ และตลอดทุกชาติ แผลเป็น
ตนทำ แผลกรรมตนเสวย เป็นธรรมชาติของใจ หากถูกกิเลสครอบงำ
ย่อมจะเป็นไปตามอำนาจกิเลสสัง่ ดังกล่าวข้างต้น นัน่ มิใช่ความคิดของ
เรา แต่เป็นความตามกิเลสสัง่ ข้อนีจ้ ะต้องแยกให้ออก
เพราะฉะนั้น การกระทำกรรมทุกประเภท เมื่อทำแล้วจะทำ
กลับคืนไม่ได้ ก่อนจะทำ พูด คิด ทัง้ สามอย่างนี้ จะต้องใช้ปญ ั ญาสัง่
อย่าให้กเิ ลสสัง่ ควรศึกษาให้รวู้ า่ อย่างไหนปัญญา อย่างไหนกิเลสสัง่
หัดเป็นคนมีใจสุขมุ รอบคอบ อย่าใจไวด่วนได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. ความชัว่ จะติดตัวเป็นแผลกรรม แผลเป็นตนทำ แผลกรรม
ตนเสวย
๒. ทำกรรมดี จะดีตดิ ตัวไป ถ้าทำชัว่ ตัวยืน จะทำคืนไม่ได้
R








131
๕๕
คนชัง่ ผลัด จะตัดประโยชน์
R
ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา, ยํ ชญฺา หิตมตฺตโน
รูว้ า่ กาลใด เป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำกรรมนัน้ ทันที

สิ่งที่เป็นประโยชน์ หมายถึง สิ่งที่บุคคลได้กระทำลงไปแล้ว
ทำให้เกิดความสุข ความเจริญก้าวหน้าในทางสุจริต ไม่กอ่ ให้เกิดความ
ทุกข์เดือดร้อน ไม่กอ่ ให้เกิดเวรภัยในภายหลัง สิง่ นัน้ ได้แก่ ความขยัน
หมั่นเพียร ทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อันจะนำมาซึ่ง ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข สิง่ นีบ้ คุ คลพึงรีบขวนขวาย หาหนทางหรือโอกาสทำโดย
มิชกั ช้า อย่าให้ลว่ งเลยโอกาสไป เช่น ในขณะทีย่ งั เป็นเด็ก มีโอกาสใน
การศึกษาเล่าเรียน จะต้องรีบทำเสีย ถ้าปล่อยให้โตขึน้ มีอายุเกินเกณฑ์
การเรียน หรือเลิกเรียนเสียกลางคัน เพราะความเกเร จะทำให้เสีย
โอกาส และเสียอนาคตไปในทีส่ ดุ
มีเรือ่ งเล่ากันมาว่า มีเด็กสาวคนหนึง่ มีชอื่ ว่า ผลัด ตัง้ บ้าน
เรือนอยู่ข้า งวัดแห่งหนึ่ ง ตามปรกติ เธอจะเดินผ่านวัดอยู่ทุกวัน

วันหนึง่ ท่านสมภาร ได้ออกปากชวนเธอให้เข้าวัด เพือ่ รักษาศีลอุโบสถ


ในวันพระ เพราะเห็นว่าอยูต่ ดิ กับวัดอยูแ่ ล้ว นางสาวผลัดบอกกับท่าน
สมภารว่า “ ตอนนีห้ นูยงั โสด ยังไม่มคี รอบครัว ขอผลัดให้แต่งงานมี
เหย้าเรือนเสียก่อนจึงจะเข้าวัดได้” ต่อมาเธอได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว
ท่านสมภารก็เข้าไปทวงสัญญาอีก เธอก็บอกว่า “เพิ่งแต่งงานใหม่ๆ
132
การงานยังไม่เข้าที่ รอให้มีลูกเสียก่อนจึงจะเข้าวัด” ต่อมาเธอก็มีลูก
ท่านสมภารก็เข้าไปทวงสัญญาอีกเช่นเดิม เธอตอบว่า “ตอนนี้ ทิง้ ลูก
ไปไหนไม่ได้เลย ขอผลัดให้ลูกโตเสียก่อน หมดภาระเลี้ยงลูกเมื่อไร

จึงจะเข้าวัด”
อยูต่ อ่ มาวันหนึง่ ขณะทีท่ า่ นสมภารนัง่ อยูใ่ นวัด เห็นประชาชน
กลุม่ หนึง่ พากันหามศพมาวัด ท่านสมภารจึงเข้าไปถามว่าศพใคร มีคน
หนึง่ ตอบว่า “ ศพนางผลัดครับ” สมภารได้แต่ปลงอนิจจังว่า
“ผลัดเอ๊ย เองผลัดสมชือ่ ตอนนี้ ไม่ตอ้ งผลัดแล้ว เข้ามาเอง”
เพราะฉะนัน้ สิง่ ใดทีเ่ ห็นว่าเป็นประโยชน์ จะต้องรีบทำสิง่ นัน้ ขืนผลัดไป
หากตายเสียก่อนจะเสียโอกาส หนุม่ สาวบางคน มักชอบพูดว่า ตอนนี้
ยังสนุกอยู่ ตอนแก่หมดสนุกจึงจะเข้าวัด บางคนก็ไม่รู้เรื่องเอาเลย
อย่างนีเ้ รียกว่า เสียโอกาส บางคนเสียโอกาสจนตายไปเสียก่อน ขอให้
คิดว่า
๑. ผลัดงานยังพอทำ ผลัดกรรมทำไม่ได้ จงสร้างกรรมดี จะไม่มี
อันตราย
๒. รู้ว่าดีมีประโยชน์ รีบกำหนดปฏิบัติ ถ้ามัวหลงตัว จะถูก
ความชัว่ เข้าตัด
R



133
๕๖
ทำจริงพึง่ พิงได้
R
กยิราเถว กยิรานํ
ถ้าจะทำ ต้องทำให้จริง

การทำงานทุกประเภท จะต้องเป็นคนมีความจริงใจต่องาน
หากลงมือทำแล้ว ต้องทำให้เสร็จ และมีประสิทธิภาพด้วย จึงจะเรียกว่า
คนเอาจริง คนที่ทำอะไรไม่จริงนั้น จะมีประวัติที่ไม่ดีแก่ตัวเอง เช่น
เป็นนักเรียน มัวเกเรเสีย เลยเรียนไม่จบ ต้องอกกจากโรงเรียนเสีย
กลางคัน เว้นไว้แต่ทมี่ เี หตุสดุ วิสยั การเรียนหนังสือไม่จบ โดยปราศ
จากเหตุผล สังคมจะมองเด็กคนนีใ้ นแง่ลบ แปลว่า มีประวัตไิ ม่สดใส
เป็นเด็กทีม่ ปี มด้อย ก็ตอ้ งไปดูตอนเป็นผูใ้ หญ่ มีครอบครัวแล้วอีกครัง้
ครั้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังทำอะไรไม่จริง หรือทำไม่ได้ทำไม่เป็น

ก็เป็นอันว่า ต้องหมดโอกาสไปตลอดชีวติ
คนทุกคน จะมีชวี ติ อยูไ่ ด้ในสังคม เพราะมีอาชีพทีส่ จุ ริต และ
อาชี พ นั้ น จะเป็ น อาชี พ ประเภทไหนก็ ต าม ขอให้ ท ำจริ ง ทำโดย
สม่ำเสมอ และทำอย่างซือ่ สัตย์สจุ ริต ก็สามารถจะยึดเป็นหลักอาชีพได้
มีตวั อย่างทีเ่ คยออกทางโทรทัศน์วา่ แม่คา้ กล้วยปิง้ มีอาชีพเพียงแค่ปงิ้
กล้วยขาย สามารถส่งลูกเรียนถึงจบปริญญาได้ อย่างนีเ้ รียกว่า เอาจริง
ทางกล้วยปิง้ นีย้ กมาเป็นตัวอย่าง
ส่วนคนทีท่ ำไม่จริง ก็มตี วั อย่างเหมือนกัน เล่ากันมาว่า มีคน
134
ทำอาชีพถีบสามล้อรับจ้างคนหนึง่ เกิดโชคดีขนึ้ มา ไปถูกหวยรางวัลที่ ๑
จากนั้นก็เลิกทำอาชีพถีบสามล้อ กลายเป็นเศรษฐีไปทันที ต่อมา

นำเอาเงินทีไ่ ด้นนั้ ไปเล่นการพนัน ปรากฏว่าเล่นครัง้ ละมากๆ อยูม่ าไม่


ถึงปี เงินทีม่ อี ยูก่ ห็ มดไป ถึงอย่างนัน้ ก็ยงั ไม่เลิกเล่น ต้องไปกูห้ นีย้ มื สิน
เขามาเล่นการพนันอีก ในทีส่ ดุ ก็ตอ้ งกลับมาทำอาชีพถีบสามล้อรับจ้าง
อยูอ่ ย่างเดิม แถมยังเป็นหนีเ้ ขาอีก รายได้ประจำวัน ต้องแบ่งให้เจ้าหนีเ้ ขา
คนอย่างนี้ เรียกว่า คนไม่จริง คนเราทุกคน ถ้าเป็นคนไม่จริง ต่อให้
เทวดาลงมาช่วย ก็เอาดีไม่ได้
เพราะฉะนั้น ขอให้ใช้พระพุทธภาษิตที่ยกมาในเบื้องต้น เป็น
อุดมคติว่า ถ้าทำต้องทำให้จริง แต่จะต้องสุจริตด้วย จริงไม่จริง
อย่างไร ตัวของตัวจะรูด้ กี ว่าใคร ขอให้ทกุ คนจงตรวจดูตวั เองว่า เราเป็นคน
ประเภทไหน อยากจะเป็นคนดีมสี ขุ จะต้องทำให้จริงเข้าไว้ ขอให้คดิ ว่า
๑. ทำจริงพึง่ พิงได้ ทำไม่จริงเป็นสิง่ อันตราย จงใช้สจั จะเป็น
เชือ้ ใช้เชือ่ เป็นสหาย
๒. ทำจริงสิง่ ดี จะมีประโยชน์ อย่าเชือ่ คนชัว่ จะทำตัวก่อโทษ
R





135
๕๗
เชือ่ ไม่ดี จะมีกรรมเวร
R
กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ
ควรทำตามคำของผูเ้ อ็นดู

ผูเ้ อ็นดู หมายถึง บุคคลทีม่ คี วามปรารถนาดีตอ่ เรา มีความรัก
มีความสงสาร มีความห่วงใย มีความปรารถนาจะให้เรามีความสุข

มีความเจริญก้าวหน้า โดยมิได้หวังในการตอบแทน บุคคลดังกล่าวนี



มีมารดาบิดา ผูป้ กครองทุกระดับชัน้ เป็นต้น คำพูดของท่าน จะเต็มไป
ด้วยความหวังดี ทุกๆ คำพูดของท่าน แม้จะเป็นคำด่าปริภาส ย่อมเป็น
ของมีคา่ มีราคาทัง้ นัน้ จึงสมควรทีเ่ ราจะต้องเชือ่ ฟัง รับไปปฏิบตั ติ าม
ซึ่งจะผิดกับคำพูดของคนที่ไม่หวังดี แม้เขาจะพูดอ่อนหวาน ยกย่อง
สรรเสริญ บางครัง้ ก็ตอ้ งตกไปเป็นเหยือ่ ของเขา ท่านจึงกล่าวว่า พ่อ
แม่ดา่ ดีกว่าคนอืน่ สรรเสริญ
มีพอ่ อยูค่ นหนึง่ เป็นคนรักลูกมาก วันหนึง่ ทีว่ ดั ใกล้บา้ นนัน้
กำลังมีงานประจำปี คุณพ่อนัน้ ได้สบื ทราบมาก่อนว่า คืนนี้ พวกนักเลง
เขานัดยกพวกตีกัน และในจำนวนนั้นก็มีลูกของคุณพ่ออยู่ด้วยคนหนึง่
จึงเรียกลูกชายมาแล้วขอร้องว่า “คืนนี้ ลูกอย่าไปเทีย่ วในงานเลย พ่อกลัว
ว่าเองจะถูกเขาทำร้ายเอา” ลูกตอบว่า “ผมนัดกับเพือ่ นไว้แล้ว ถ้าผม
เชือ่ พ่อผมก็เสียเพือ่ น” พอพูดจบ เพือ่ นก็นำรถจักรยานยนต์มารับพอดี
ลูกของคุณพ่อก็ซอ้ นท้ายรถเครือ่ งคันนัน้ หายลับไป โดยมิใยว่าพ่อจะคิด
136
อย่างไร คุณพ่อได้แต่แลดูลกู จนลับสายตาไป
คุณพ่อก็ได้แต่คดิ อยูค่ นเดียวว่า “ดูเถิด ลูกมันกลัวเสียเพือ่ น
แต่มนั ไม่กลัวเสียพ่อ” พอรุง่ เช้า มีคนมาแจ้งข่าวกับคุณพ่อว่า ลูกของ
คุณพ่อนัน้ เวลานีอ้ ยูท่ โี่ รงพยาบาล อาการสาหัส จะอยูห่ รือตายเท่ากัน
จะเห็นได้จากอุทาหรณ์นวี้ า่ ลูกเขากลัวเสียเพือ่ น แต่เขาไม่กลัวเสียพ่อ
ขอสะกิดไว้ตรงนีว้ า่ ทีล่ กู ทำลงไปนัน้ ถูกไหม จริงอยู่ เพือ่ นนัน้ เขาก็ดี
แต่กค็ งจะดีไปกว่าพ่อไม่ได้แน่นอน
เพราะฉะนั้น พ่อแม่ ย่อมจะเป็นคนที่หวังดีแต่เราโดยจริงใจ
ลูกควรจะต้องเชื่อฟัง ส่วนเพื่อนนั้น ถึงจะเป็นคนดี หรือรักกันมาก
ขนาดไหน ถ้าเป็นเพื่อนที่ดีจริง เขาจะต้องชักชวนไปในทางที่ดี ถ้า
ชักชวนไปในทางชัว่ ถึงจะเป็นเพือ่ นดี ก็ตอ้ งกลายเป็นเพือ่ นชัว่ ห้ามคบ
ด้วย ขอให้คดิ ว่า
๑. อย่าเห็นเพือ่ นดีกว่าพ่อ อย่าเห็นขอดีกว่าด้าม ถ้าเห็นไม่ดี
จะเป็นคนมีกรรม
๒. เชือ่ ฟังผูห้ วังดี จะมีมงคล หากหลงเชือ่ เพือ่ นชัว่ จะทำตัว
ให้ปปี้ น่
R




137
๕๘
ปากไวใจโกรธ จะหมดความดี
R
กาลานุรปู ํ ว ธุรํ นิยญ
ุ เฺ ช
พึงประกอบธุระ ให้เหมาะกาลเวลาเท่านัน้

กาลเวลาที่เหมาะสม ในที่นี้ ตรงกับหลักของกาลัญญุตา

ซึง่ แปลว่า ความเป็นผูร้ จู้ กั กาลเวลา กล่าวคือควรจะรูว้ า่ พืน้ ชนิดไหน


จะต้องทำการเกษตรอย่างไร เวลานี้ กาลตลาดเป็นอย่างนี้ ควรจะ
ปลูกพืน้ พรรณอะไร เป็นต้น
อีกอย่างหนึง่ การทำ การพูด และการคิด ควรจะต้องรูจ้ กั

กาละเทสะ หมายถึง จะต้องรูว้ า่ เวลาไหนควรพูด เวลาไหนไม่ควรพูด


เรียกว่า กาละ สถานที่ตรงไหนควรพูด สถานที่ตรงไหนไม่ควรพูด
เรียกว่า เทสะ แม้แต่ การทำ การคิด ก็เช่นเดียวกันนี้ การทำควรให้
ถูกเวลาอย่างนี้
คนโบราณมักจะสอนว่า ทำอะไรจะต้องรู้จักกาละเทสะ ซึ่ง
หมายความว่า จะต้องรูจ้ กั กาลเวลาและสถานที่ ดังกล่าวข้างต้น คำว่า
วาจาสัตย์เป็นวาจาไม่ตายนั้น ถ้าพูดไม่รู้จักกาลเวลา ไม่รู้จักสถานที่
อย่างนีไ้ ม่แน่ วาจานัน้ ไม่ตาย คนพูดอาจจะตายก็ได้
การอยูร่ ว่ มกันในครอบครัว เรือ่ งกาละเทสะมีความสำคัญมาก
ก่อนจะพูดอะไรกัน ควรจะตรวจดูอารมณ์ และสถานทีใ่ นตอนนัน้ ด้วย
เคยมีเรือ่ งเล่ามาว่า
138
มีสามีอยูค่ นหนึง่ วันหนึง่ แอบลักเอาเงินหนีภรรยาไปเล่นการพนัน
บังเอิญวันนัน้ เล่นการพนันเสียหมด ไม่มเี งินเหลือติดตัว มีความเสียใจ
มาก เกรงว่าภรรยาจะรู้ จึงไปดืม่ สุรากับเพือ่ นเพือ่ ให้ลมื เรือ่ งการเสีย
การพนัน จนเมาได้ทแี่ ล้วเดินกลับบ้าน พอถึงบ้าน ภรรยารูว้ า่ ไปเสีย
การพนันมา เกิดอารมณ์เสีย จึงด่าซ้ำลงไปอีก ส่วนสามีนนั้ ก็เสียใจมาก
อยูแ่ ล้ว ประกอบกับถูกภรรยาด่า เวลานัน้ ก็เมาสุราอยูด่ ว้ ย เกิดความ
เสียใจมาก จึงเข้าไปในเรือน คว้าเอายาฆ่าแมลงมาดืม่ จนถึงแก่ความตาย
เพราะฉะนัน้ อารมณ์ของคน มีความสำคัญมาก การพูดจากัน
ควรจะต้องรูจ้ กั อารมณ์ของกันแลกัน ถ้าฝ่ายหนึง่ มีอารมณ์เสีย ไม่วา่
เรือ่ งนัน้ จะดีหรือไม่ดี ควรจะต้องพูดปลุกปลอบกันไว้กอ่ น สำหรับเรือ่ ง
ทีไ่ ม่ดี มีเรือ่ งการผิดหวัง เป็นต้น เก็บเอาไว้ตอนหลังค่อยปรับความ
เข้าใจกัน ขอให้คดิ ว่า
๑. กาละเทสะ จะชนะในความดี ถ้าปากไวใจโกรธ จะเกิดโทษ
ทันที
๒. ประกอบกิจการงาน ต้องถูกกาลเวลา ถ้าเชือ่ คนเท็จ ความ
สำเร็จจะไม่มา
R




139
๕๙
เร็วช้าถ้าดี ต้องมีสติ
R
รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ,ํ ลวณํ โลณตํ ยถา
พึงรักษาความดีของตนไว้ เหมือนเกลือรักษาความเค็ม ฉะนัน้

ธรรมดาว่าเกลือ จะต้องเค็ม ไม่มอี ะไรจะมาทำให้เกลือไม่เค็มได้
อยูท่ ไี่ หนก็เค็มทีน่ นั่ แต่บางครัง้ เกลือถูกนำไปใช้กบั คนใจดำ จนเห็นแก่ตวั
ทีเ่ รียกว่า คนเค็ม ก็มี และเกลือก็มคี ณ ุ สมบัตพิ เิ ศษอีกอย่างหนึง่ คือ
ไม่เน่า ไม่บดู เก็บไว้นานๆ ก็ไม่เสียหาย นอกจากไม่เสียหายแล้ว ยัง
สามารถทำของเน่าเสีย ให้เป็นของดีได้ เช่น ปลาร้า น้ำปลา เป็นต้น
การรักษาความดีนนั้ ท่านให้ทำตนเหมือนเกลือ กล่าวคือ จะอยู่
ทีไ่ หนก็ไม่เลิกละความดี ไม่มกี ารเปลีย่ นใจไปเข้ากับคนชัว่ และสามารถ
จูงเอาคนชัว่ ให้กลับมาทำความดีได้อกี ด้วย
การรักษาความดีนั้น นับว่าเป็นงานหลักของคนทั่วไป หาก
เผลอเมือ่ ไร ระวังใจจะตกต่ำ ถ้ากล่าวสำนวนนักเทศน์ ท่านกล่าวว่า
หากเกิดความโกรธ จะต้องระงับด้วย ธรรมะ ๔ น เข้าไว้กอ่ น คือ
นิง่ – นัง่ – นอน – หนี
ตัวอย่างเช่น พ่อบ้านกำลังอารมณ์ไม่ดี พอกลับถึงบ้าน ถูกแม่
บ้านด่าซ้ำเข้าไปอีก ตอนนี้ ถ้าพ่อบ้านจะพูดอะไรออกไป คงจะต้อง
ทะเลาะกันแน่ อย่างนีจ้ ะต้องใช้ น.ที่ ๑ คือ นิง่ ต้องอดทนเอาหน่อย
เพื่อความสงบเรียบร้อย ครั้นนิ่งแล้ว แม่บ้านก็ไม่ยอมหยุด ต้องใช้
140
น.ที่ ๒ คือ นัง่ คือนัง่ ลงเสียก่อน ทำใจให้สงบเข้าไว้ หากไม่นงั่ อาจจะ
เผลอไปตบตีกนั ได้ ถ้านัง่ แล้วยังไม่ยอมหยุดอีก จะต้องใช้ น.ที่ ๓ คือ นอน
เข้าเรือนนอนไปเลย ถ้าหลับได้ยงิ่ ดี หากนอนแล้วก็ยงั ไม่ยอมหยุดอีก
จะต้องใช้ น.ที่ ๔ คือ หนี หมายถึงลงจากเรือนหนีไปเลย ถ้าไม่หนี
อาจจะเกิด น.ที่ ๕ คือ น่วม หมายถึงตีกนั น่วมไปเลย ทัง้ หมดดัง
กล่าวมานี้ เป็นเพียงวิธหี นึง่ บางคนอาจจะมีวธิ ที ดี่ กี ว่านีก้ ไ็ ด้ เสนอไว้
เพือ่ คิด
เพราะฉะนั้น คนทุกคน หากจะเป็นคนดี จะต้องหานโยบาย
ประคับประคองตัวเอง อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ที่ต้องการ ให้นึกถึง
เกลือ ว่าเกลือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จะต้องเค็ม คนดี จะอยู่ในสภาพ
อย่างไร ก็จะต้องรักษาความดีไว้ให้มนั่ คง ไม่หวัน่ ไหว ขอให้คดิ ว่า
๑. เร็วช้าถ้าดี ต้องมีสติ ถ้าปล่อยตามใจ จะเกิดภัยทิฐิ
๒. การรักษาความดี จะต้องมีทุกเมื่อ เหมือนเกลืออยู่ไหน

ไม่ไร้เค็ม
R







141
๖๐
ถ้าดีจริง ต้องดีตอบจะชอบยิง่
R
กิจจฺ านุกพุ พฺ สฺส กเรยฺย กิจจฺ ํ
พึงทำกิจ แก่ผชู้ ว่ ยทำกิจ

ทุกคนที่เกิดมาแล้ว จะอยู่คนเดียวในโลกย่อมเป็นไปไม่ได้
จำเป็นต้องมีการอยูร่ ว่ มกัน เป็นหมูค่ ณะ และการอยูร่ ว่ มกันนัน้ ก็จะ
ต้องมีการช่วยเหลือเกือ้ กูลซึง่ กันแลกัน หรือบางครัง้ ก็จะต้องทำประโย
ชนร่วมกัน คนไหนทีเ่ คยทำประโยชน์ให้แก่เรา จะต้องจดจำไว้ เมือ่ ถึง
คราวเขามีงานอะไร พอที่เราจะช่วยได้ ก็อย่านิ่งดูดาย เข้าไปช่วย
ทำงานนั้น อย่างเต็มใจและเต็มความสามารถ อย่างนี้จึงจะทำให้เกิด
ความรักใคร่ เกิดความเห็นใจต่อกัน การอยู่ร่วมบ้านใกล้เรือนเคียง

ที่มิใช่ญาติก็เป็นเหมือนญาติ มีความทุกข์อะไร ก็จะต้องช่วยเหลือ


เป็นเพือ่ นทีค่ อยปลอบหรือให้กำลังใจ
ในการช่วยทำกิจการให้ผู้อื่นนั้น ถ้าจะน้อมเข้ามาถึงบุคคลใน
ครอบครัว ลูกทัง้ หลายทีเ่ จริญเติบโต มีความสุขความสบาย มาจนถึง
ทุกวันนี้ ก็เพราะอาศัยพ่อแม่ เป็นผูเ้ ลีย้ งดูปปู กมา ลูกบางคนไม่คอ่ ยได้
คิดถึงเรือ่ งนี้ ปล่อยให้พอ่ แม่ผแู้ ก่เฒ่าชรา ผจญภัยชีวติ ด้วยตนเอง ลูก
ไปอยูท่ ไี่ หน ไม่เคยไปเยีย่ มยามถามข่าวท่านเลย อ้างเสียว่าไม่มเี วลา
ต้องยุง่ อยูใ่ นครอบครัว ส่วนลูกของตนกลับเอาใจใส่ดี ทัง้ ๆ ทีพ่ อ่ แม่ก็
เคยเลีย้ งเรามา พ่อแม่บางคน คนอืน่ เขาต้องนำเอาไปเลีย้ ง บางคน
142
ต้องเข้าไปอยู่ในสถานที่เลี้ยงคนแก่ ความรู้สึกของคนแก่ทุกคนจะมี
เหมือนกันคือ เมื่อแก่แล้วต้องการอยู่ใกล้กับลูกเพราะข้อนี้จะเป็น
สัญชาติของคน ถ้าอยูใ่ นแวดวงลูกหลาน จะเกิดความสุขใจอย่างยิง่
ลูกทัง้ หลาย ขอให้ทา่ นภูมใิ จเถิดว่า ท่านได้เลีย้ งพ่อแม่เมือ่ ยาม
แก่เฒ่า ท่านไม่ทอดทิ้งพ่อแม่ ถ้าจะเลี้ยงท่านก็รีบเลี้ยงเสีย ถ้าจะ
ตอบแทนคุณท่าน ก็ตอบแทนเสียเมือ่ ท่านยังมีชวี ติ อยู่ หากท่านตายไปแล้ว
อยากจะเลีย้ งอยากจะตอบแทน ก็ทำไม่ได้ เป็นการทีน่ า่ เสียใจ
เพราะฉะนัน้ ทุกคนควรช่วยทำกิจ แก่คนทีเ่ คยช่วยเรามาแล้ว
มีพอ่ แม่ เป็นต้น พ่อแม่ทา่ นมีบญุ คุณต่อเรามากทีส่ ดุ ร่างกายตัวตน
ของเราได้มาจากท่าน ถ้าลูกคนไหนไม่มกี ารตอบแทน ท่านเรียกลูกคน
นั้นว่า ลูกอกตัญญู เป็นลูกที่เอาเปรียบพ่อแม่ มีแต่จะพบแต่ความ
เสือ่ ม ขอให้คดิ ว่า
๑. คุณต้องตอบแทน แค้นต้องแก้ไข ถ้าแค้นชำระ จะพบปะ
บันลัย
๒. ถ้าดีจริงต้องดีตอบ จะชอบยิง่ หากคนชัว่ หลอกใช้ จงหนี
ไกลอย่าไปจริง
R




143
๖๑
ซือ่ ปัญญา จะพาเจริญ
R
นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ
ไม่พงึ ทำประโยชน์ แก่ผมู้ งุ่ ความพินาศ

บุ ค คลผู้ มุ่ ง ความพิ น าศ หมายถึ ง คนที่ ไ ม่ ห วั ง ดี ต่ อ เรา

หรือเขาเห็นว่าเรา อาจจะทำประโยชน์ให้แก่เขาได้ ในงานบางอย่าง


เขาประสงค์จะอาศัยเราเป็นสะพาน ก้าวข้ามไม่สคู่ วามสำเร็จ โดยทีเ่ ขา
ไม่ตอ้ งทำอะไรเลย แต่ได้รบั ความสำเร็จ เราทำงานให้เขาดีกเ็ สมอตัว
ถ้าชั่วเขาถีบส่ง คนอย่างนี้ เรียกว่า คนเห็นแก่ตัว พระพุทธเจ้า

ทรงตรัสว่า ไม่ควรทำประโยชน์ให้เขา ควรหลีกเลีย่ งอย่าได้รว่ มงานกัน


ได้เป็นดี เพราะคนเห็นแก่ตวั จะมองไม่เห็นความดีของคนอืน่ เขาจะ
มองเพียงว่า ใครคนไหนจะทำประโยชน์อะไร ให้เราได้บา้ งเท่านัน้ เอง
แต่กอ่ นนี้ เคยได้ยนิ คนโบราณพูดว่า ซือ่ กินไม่หมด คดกินไม่
นาน ปัจจุบนั นีช้ กั หายไป ไม่คอ่ ยมีใครพูดถึงกัน หรืออาจจะมีใครสักคน
หนึง่ แอบไปเปลีย่ นเสียใหม่วา่ ซือ่ อด คดรวย
สมมุตวิ า่ มีคนทีม่ ชี อบหลอกลวง มาออกปากยืมเงิน คนซือ่

ก็จะให้ยืมทันที คนคดหลอกอะไร คนซื่อเชื่อหมด ตัวอย่างที่ยกมานี้


เขาไม่เรียกว่าคนซือ่ อย่างเดียว แต่เรียกว่า ซือ่ เซ่อ เพราะถ้าใครซือ่ เป็น
จะต้อง ซือ่ ด้วยปัญญา คือ ซือ่ จริงแต่ตอ้ งคิดดูกอ่ น อย่างนีเ้ รียกว่า
ซือ่ สัตย์ ทีถ่ กู ต้อง
144
การที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ไม่ให้ทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งพินาศ

ก็เพือ่ มิให้คน เกิดความหลงผิด ด้วยอำนาจโมหะ ตกไปเป็นเครือ่ งมือ


ของคนชัว่ ถ้ามีคนมาบอกว่า หากท่านเสียเงินเพียงเล็กน้อย แล้วจะได้
เงินมากมหาศาล เรือ่ งอย่างนี้ ขอให้ทา่ นได้พจิ ารณาให้ถว้ นถีเ่ สียก่อน
อย่าเอาความโลภมาเป็นทีต่ งั้ ท่านอาจจะถูกหลอกก็ได้ อย่าเชือ่ คนง่าย
เพราะถ้าเสียรูค้ นหลอก นอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังจะต้องเสียเกียรติยศ
ชือ่ เสียงอีกด้วย เสียงเงินไม่เท่าไร แต่เสียใจนัน่ ใหญ่หลวง
เพราะฉะนั้ น ว่ า กั น ตามจริ ง แล้ ว คนไหนดี คนไหนไม่ ดี
อย่างไร เราเองก็มกั จะดูออก คนช่วยเหลือคนไม่ดี ถ้ายากไร้จริงๆ ก็
พอช่วยกันได้ แต่ถ้าช่วยคนหลอกลวง นำเอาเงินของเราไปใช้ในทาง
ทุจริต หรือไม่ทจุ ริตก็ตามที เขาจะนึกดูถกู เราได้วา่ คนอะไร พูดแค่นกี้ ็
เชือ่ แล้ว ขอให้คดิ ว่า
๑. ซื่อเซ่ออย่านำพา ซื่อปัญญาจะพาดี อย่าเชื่อคนชั่ว จง
ทำตัวหลีกหนี
๒. เซ่อซือ่ เป็นเครือ่ งมือของซือ่ แสบ จงเชือ่ ปัญญา แล้วหา
ทางแอบ
R




145
๖๒
เสือเป็นเหตุ ให้กเิ ลสเข้าบ้าน
R
มา จ สาวชฺชมาคมา
อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย

คนส่วนใหญ่แทบจะทุกคน เวลามีความสุขสบาย ไม่ค่อยได้
นึกถึงอะไร พอเกิดเคราะห์รา้ ยได้ทกุ ข์ ก็จะยกมือท่วมหัว เรียกพ่อแก้ว
แม่แก้ว เจ้าป่าเจ้าเขา หลวงพ่อศักดิส์ ทิ ธิ์ มาช่วยปัดเคราะห์ปดั โศก
บางทีบญ ุ กุศลก็ไม่คอ่ ยได้ทำ แต่พอถึงคราวเกิดเหตุตรงนีข้ นึ้ มา ก็เรียก
หากันใหญ่
ด้วยเหตุนี้ ทุกคนควรจะปฏิบตั ดิ แู ลพ่อแม่ให้ดี เพือ่ จะได้รบั ผล
บุญตรงนี้ และหมัน่ ทำความดี ไหว้พระสวดมนต์เจริญพระกรรมฐานอยู่
ประจำ ถึงวันพระก็หาโอกาสไปทำบุญบ้าง อย่างนีจ้ ะเป็นการสร้างทีพ่ งึ่
เราจะเรียกให้คณ ุ พระมาช่วย แต่เราไม่เคยทำอะไรกับพระเลย นับว่า
เอาเปรียบยิง่
คนทีใ่ ช้มดี ถากไม้ เอาทางคมมีดถากเข้าหาตัว คนโบราณเรียกว่า
เสือเข้าบ้าน เป็นข้อห้ามอย่างหนึง่ ของคนสมัยก่อน ทีจ่ ริงก็คอื มีดนัน้
จะฟันเอาตัวเองนัน่ เอง
ในทำนองเดียวกันนี้ การทีค่ นเราเทีย่ วไปหาเรือ่ ง ทะเลาะกับ
คนนอกบ้าน ทำให้เกิดความเดือดร้อนมาสูค่ รอบครัว อย่างนีจ้ ะเรียกว่า
เสือเข้าบ้านข้างก็คงไม่ผดิ เพราะความเดือดร้อนนัน้ บางครัง้ จะต้อง
146
เสียเงิน ขึ้นโรงศาล ตกเป็นอาชญากร เมื่อคนในบ้านเป็นอย่างนี

ถ้าเป็นลูก พ่อแม่กจ็ ะต้องเป็นฝ่ายเสียเงิน ในครอบครัวนีก้ จ็ ะเสือ่ มเสีย
ชือ่ เสียง สมมุตวิ า่ ปีหนึง่ ๆ คนในครอบครัว ไปหาเรือ่ งดังกล่าว คนละ ๑
เรือ่ ง ถ้ามี ๕ คน ก็รวมเป็น ๕ เรือ่ ง นัน่ หมายถึง ครอบครัวนี้ นำ
เสือเข้าบ้านปีละ ๕ ตัว จะเกิดเดือดร้อนยุง่ เหยิงขนาดไหน แต่ละ
เรือ่ งส่วนใหญ่กจ็ ะเป็นการเสียเงิน เช่นไปทำร้ายร่างกายเขา แล้วถูก
เขาทำร้ายตอบ ต้องเสียเงินเข้าโรงพยาบาล จะต้องเสียเงินในการเดิน
เรื่อง ซึ่งจะเสียมากเสียน้อย ขึ้นอยู่กับเรื่องนั้นๆ หรือเสือตัวนั้น
นอกจากเสียเงินแล้ว ก็ยงั จะต้องเสียชือ่ เสียงด้วย
เพราะฉะนัน้ ความเดือดร้อน อันเกิดจากเวรภัย ทีบ่ คุ คลไปก่อขึน้
แต่ละปีมใี ช่นอ้ ย เงินทีจ่ ะต้องเสียไปเพราะเรือ่ งนี้ ถ้ารวมกันแล้วก็จะมี
มากมหาศาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ก็เพือ่ มิให้ทกุ คน ต้องไปเรียกเสือ
เข้าบ้าน เรือ่ งของโทษต้องไม่ดแี น่ เชือ่ พระพุทธเจ้าเถิด ขอให้คดิ ว่า
๑. เสือเป็นเหตุ ให้กเิ ลสเข้าบ้าน ถ้าเป็นเสือความโกรธ จะมี
โทษมหาศาล
๒. จงเดินตามทาง ที่เขาวางไว้ดี ถ้าโทษอย่าลอง เดินตาม
คลองวิถี
R



147
๖๓
โรคไม่กลัว จะเกิดชัว่ ร้ายแรง
R
สงฺกปฺปราโค ปุรสิ สฺส กาโม
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน

เป็นธรรมดาของสัตว์โลกทัว่ ไป เมือ่ เกิดมาแล้ว จะมีกามราคะ
ติดมาแต่กำเนิด เรียกว่าเป็นกิเลสขัน้ อนุสยั ทีน่ อนเนือ่ งมากับสันดาน
สำหรับคนจะแตกต่างกับสัตว์ดิรัจฉาน ตรงที่มีศีลเป็นขอบเขต มีหิร

โอตตัปปะ คืออายชั่วกลัวบาป เป็นเครื่องหมายขีดเส้นแดน ชาย

และหญิงทีอ่ ยูใ่ นขัน้ เจริญพันธุ์ เมือ่ พบกันและสบโอกาส อาจจะร่วมกัน


สร้างความผิด ด้วยอำนาจของราคะ อย่างนีเ้ รียกว่ามิได้อยูใ่ นเขตแดน
ของมนุษย์ นัน่ เป็นเขตแดนของสัตว์ดริ จั ฉาน สำหรับมนุษย์ จะทำได้
เฉพาะสามีภรรยากันเท่านัน้ และในขอบเขตอืน่ ๆ ก็เช่นเดียวกัน
ธรรมชาติของบุคคลทีย่ งั เป็นปุถชุ น ย่อมจะมีความอยากหรือ
ตัณหาเป็นพื้นฐาน ความอยากตัวที่มีกำลังสูง ได้แก่ความใคร่ในเพศ
ตรงข้าม เอดส์เป็นโรคทีม่ มี ากับความใคร่ เมือ่ เป็นแล้วมีทางเดียวคือตาย
พอได้ยนิ คำว่าเอดส์ คนก็เกิดความกลัวแล้ว แต่ทำไม่คนจึงเป็นโรคนีก้ นั
ได้ ในข้อนีม้ สี าเหตุมาจากมนุษย์ ไม่ตงั้ อยูใ่ นขอบเขตของตน ล้ำเส้น
ไปอยูใ่ นขอบของสัตว์ดริ จั ฉาน
หลักของความจริงมีอยู่ว่า คนกลัวจะไม่เป็นโรคเอดส์ คนไม่
กลัวอาจจะเป็นได้ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ จะต้องมีสงิ่ หนึง่ ทีท่ ำให้ไม่กลัว สิง่ นัน้
148
คือ สุรา เพราะสุรา แปลว่า กล้า เมือ่ คนดืม่ สุราเข้าไปแล้ว ความกลัว
จะลดลง ประกอบกับกามราคะ ที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล หากถูก
กระตุน้ ด้วยสุราแล้ว จะเพิม่ ความรุนแรงมากขึน้ และความกล้าทีจ่ ะทำ
ผิดก็มมี ากขึน้ จนทำให้เกิดการ ลืมตัวกลัวตาย สุราจึงเป็นส่วนหนึง่

ทีท่ ำให้มคี วามกล้าทีจ่ ะทำผิด แต่ทำไมสุราอันเป็นความผิดมนุษยธรรม


ในข้อที่ ๕ ยังมีเกียรติ เข้าสังคมได้อย่างสง่าผ่าเผย ทัง้ ๆ ทีค่ นไทยเรา
ก็เป็นชาวพุทธ น่าจะวิเคราะห์ดู
เพราะฉะนัน้ บุคคลควรจะมีสติอยูเ่ สมอ อย่าทำตัวให้ตกไปใน
อำนาจของความใคร่ จนเกินขอบเขต หากขาดสติเมือ่ ไร จะเห็นความ
ผิดความชัว่ เป็นของดี โดยเฉพาะการดืม่ สุราหรือเสพยาเสพติด ทีท่ ำให้
คนเป็นโรคไม่กลัว เพราะโรคไม่กลัว เป็นเหตุให้ทำความชั่วได้มาก
ขอให้คดิ ว่า
๑. ไม่กลัวคือตัวมาร พาสันดานเข้าสูด่ ง ถ้าเชือ่ สุรา จะพาไปหลง
๒. คิดถึงความใคร่ จะพาใจผาสุก ถ้าผิดประเวณี กลับจะมีแต่ทกุ ข์
R







149
๖๔
ถ้าปล่อยตามใจ จะอยากได้ไม่รจู้ บ
R
น สนฺตกิ ามา มนุเชสุ นิจจฺ า
กามทัง้ หลายทีเ่ ทีย่ ง ไม่มใี นมนุษย์

กาม แปลว่า ความใคร่ หรือความอยาก ความต้องการ
ความปรารถนา ความอยากที่เป็นไปในภายใน ด้วยอำนาจของกิเลส
อันมี ตัณหาเป็นตัวชักใย เช่นอยากได้สงิ่ ของๆ คนอืน่ ด้วยการลักขโมย
เป็นต้น เรียกว่า กิเลสกาม ความอยากอันเป็นไปในภายนอก เช่นตามอง
เห็นหญิงสาว เกิดกามราคะ เป็นต้น เรียกว่า วัตถุกาม เมือ่ อยากได้
สิ่ งใด และได้ สิ่ ง นั้ น มา ทุ ก สิ่ ง ที่ เ ราได้ ม า เป็ น ของไม่ เ ที่ ย งทั้ ง นั้ น
หมายความว่าไม่อยูค่ งเดิม มิชา้ มินานสิง่ ของนัน้ จะต้องพลัดพรากจากกัน
ไม่เราจากเขาก็เขาจากเรา แต่สดุ ท้ายเราก็ตายจากเขา พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า ไม่เทีย่ ง
โดยข้อเปรียบเทียบแล้ว คนทุกคน จะมีลกู กันคนละ ๖ คนคือ
ลูกตา ลูกหู ลูกจมูก ลูกลิน้ ลูกกาย และลูกใจ ทุกวันนี้ เราดิน้ รน
ทำมาหากินก็เพราะลูกทัง้ ๖ ทำงานได้เงินมา ก็ไม่คอ่ ยพอใช้ เช่น ลูกตา
อยากได้โทรทัศน์ เงินก็ไม่คอ่ ยจะมี จึงไปซือ้ โทรทัศน์ขาว – ดำ มาให้
ต่อมาเขาก็ออ้ นว่า อยากได้โทรทัศน์สี ก็ไม่เปลีย่ นเป็นโทรทัศน์สใี ห้แก่เขา
อย่างนีเ้ ป็นต้น
พอลูกตาขอได้ ลูกหูกอ็ ยากจะได้วทิ ยุ อยากได้สเตริโอ เอาไว้
150
ฟังบ้าง และลูกยังเหลืออีก ๔ คนก็จะอ้อนในทำเดียวกันนี้ นีย้ กมาพอ
เป็นตัวอย่าง แท้จริงยังมีอกี มากมาย
ด้วยเหตุตรงนี้ พ่อค้าผูช้ าญฉลาด เขาจะหานโยบายหากินกับ
ลูกทั้ง ๖ นี้แหละ จะเห็นได้จากร้านอาหารในปัจจุบัน ซึ่งจะมีส่วน
ประกอบหลายอย่าง เป็นต้นว่า มีนกั ร้องพร้อมทัง้ ดนตรี เพือ่ ให้ตาดูหฟู งั
มีอาหารเลิศรสให้กับลิ้น จัดบรรยากาศในห้องให้เย็นสบายด้วยแอร์
เพือ่ ให้กบั กายเขา และมีสรุ า ให้กบั ใจเขา ถ้าเป็นผูห้ ญิงก็ให้ออ่ นลงมา
หน่อย คือเป็นเบียร์
เพราะฉะนั้น ทางที่ดีทุกคน ควรจะต้องมีความสำรวมใน
ความอยาก ถ้ารู้ว่า จะทำให้เราตกไปอยู่ในเงื้อมมือของกิเลสตัณหา
จะต้องรีบถอนออกทันที จึงจะปลอดภัย ถ้าปล่อยตามใจอยาก ตาม
ความต้องการของลูกทัง้ ๖ มีลกู ตา เป็นต้น ก็จะทำให้เกิดการเดือด
ร้อนไม่รจู้ บ ขอให้คดิ ว่า
๑. หลงลูกทัง้ หก จะตกนรกทัง้ เป็น ระวังอินทรียไ์ ว้ได้ จะกลาย
เป็นคนดีเด่น
๒. ถ้าปล่อยตามใจ จะอยากได้ไม่รจู้ บ ถ้าหักห้ามเสียบ้าง จะพบ
ทางสงบ
R



151
๖๕
ถ้าเชือ่ สาม ก. จะพอไม่เป็น
R
กาเมสุ โลกมฺหิ น อตฺถิ กิตตฺ ิ
ความอิม่ ด้วยกามทัง้ หลาย ไม่มใี นโลก

ความอยากทีเ่ รียกว่ากามนัน้ เป็นสิง่ ทีต่ ดิ ตัวเรามาตัง้ แต่แรกเกิด
ทีเ่ รียกว่าคน ทุกคนเกิดอยูใ่ นท่ามกลางของความอยาก ซ้ำร้ายไปกว่านัน้
บางคนมีอย่างนีแ้ ล้ว พอมีอยูไ่ ม่นานก็เกิดเบือ่ อยากจะมีอย่างอืน่ อีก
ต่อไป และเป็นอยูอ่ ย่างนีเ้ สมอมา ไม่รจู้ กั จบสิน้
พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ตรั ส ว่ า ความอิ่ ม ในกามไม่ มี แต่ นั่ น เป็ น
ธรรมชาติของใจ หมายความว่า ถ้าใครปล่อยใจไปตามความอยาก
ความอยากก็จะพาไปอย่างนัน้ เรียกว่าอยูภ่ ายใต้อำนาจของกิเลส ถ้าคน
มีสติคอยเตือน ให้เกิดความรูส้ กึ ว่าอะไรดีอะไรชัว่ และมีปญ ั ญาพิจารณา
ให้เห็น จะบันเทาได้บา้ ง
อันที่จริง คนที่ยุ่งกันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เพราะ ยักษ์สาม ก.
กล่าวคือ ก.กิน ก.กาม ก.เกียรติ
ก.กิน ตามปรกติก็จะกินกันอยู่ในครอบครัว ซึ่งจะมีความสิ้น
เปลืองน้อย ต่อมาก็เห็นว่ากินไม่อร่อย ต้องไปกินในภัตตาคาร ทีม่ อี าหาร
แพงๆ ได้บรรยากาศดี ทำให้เสียเงินมากโดยไม่จำเป็น
ก.กาม ปรกติก็มีอยู่แล้วในครอบครัว คือสามีหรือภรรยา

152
ก็เช่นเดียวกันนัน้ แหละ ชอบออกไปหากามนอกบ้าน จนเป็นเหตุให้เกิด
การแตกร้าวในครอบครัว หรือไม่กอ็ าจจะไปติดโรคเอดส์มาได้
ก.เกียรติ ตรงนีก้ ส็ ำคัญ เศรษฐีมอี ะไร คนจนก็มไี ด้ ถึงจะไม่มเี งิน
ก็ใช้วธิ ผี อ่ นส่งเอาก่อน เมือ่ บุคคลไม่รจู้ กั อิม่ ในสาม ก. หาเงินไม่พอใช้
ก็จะต้องหาในทางทุจริต อาจจะมี ก.โกงเข้ามาร่วมด้วย
ด้วยเหตุตรงนี้ จึงเรียกสาม ก.นีว้ า่ ยักษ์ คนรูจ้ กั ยักษ์ในข้อทีว่ า่
ชอบจับคนกินเป็นอาหาร ในทำนองเดียวกันนี้ ยักษ์สาม ก. นี้ ก็ชอบ
ควักเงินในกระเป๋าของคนกินเป็นอาหาร หรือไม่กจ็ บั คนทีห่ ลงผิด ให้
ตกอยูใ่ นอำนาจยองตน ทำให้ตายจากความดี ทีเ่ รียกว่า ตายทัง้ เป็น
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า ความอิม่ ด้วยกามไม่มี
นี้กล่าวโดยธรรมชาติ ถ้าบุคคลมาพิจารณาให้เห็นความจริงของความ
อยากแล้ว พึงกำหนดจิตให้รจู้ กั สำรวมในกาม ในการบริโภคและอุปโภค
จิตก็จะบันเทาความอยากลงได้บา้ ง จนมองเห็นความจริง ขอให้คดิ ว่า
๑. เชือ่ สาม ก. ความพอจะไม่มี เกียรติ กาม กิน ทำให้สนิ้
ความดี
๒. กามตัวนี้ จะไม่มกี ารพอ ถ้าปล่อยตามใจ ไม่มอี ะไรเหลือหลอ
R





153
๖๖
ความพอดี จะมีตรงกลาง
R
น กหาปนวสฺเสน, ติตตฺ ิ กาเมสุ วิชชฺ ติ,
ความอิม่ ในกามย่อมไม่มี เพราะฝนคือกหาปนะ

คนเราทุกวันนี้ จะต้องดิน้ รนในการประกอบอาชีพทำมาหากิน
เพราะสิง่ ทีจ่ ะต้องเสียไปทุกวัน คือการใช้จา่ ย ในการบริโภคและอุปโภค
เพือ่ หารายได้มาชดเชยสิง่ ทีเ่ สียไป บางคนทำงานเท่าไร ก็ไม่ยอมมีเงิน
เก็บสักที กลับต้องไปกูห้ นีย้ มื สินเขามา ตกเป็นทาสของดอกเบีย้ ไม่รจู้ บ
นี้เรียกว่า กินไม่รู้จักอิ่ม บางทีทำงานวันหนึ่ง ก็ได้เงินเพียงพอที่จะ
เหลือเก็บ แทนที่จะเก็บไว้บ้าง กลับนำเอาไปใช้จ่าย ในสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ เช่น นำเอาไปเล่นการพนันบ้าง นำเอาไปซื้อสุราบ้าง
เป็นต้น คนอย่างนี้ จะมีเงินมากขนาดไหน ก็จะไม่มเี งินเหลือ
บุคคลทั่วไป จะเป็นโรคประเภทหนึ่ง คือโรค ไม่พอ ได้แก่
หากินไม่พอใช้ หาได้ไม่พอเสีย ก็เพราะความไม่รจู้ กั พอของตัวเอง จึง
หากินไม่พอใช้ พอหาเงินมาได้ แทนทีจ่ ะแบ่งเก็บไว้บา้ ง กลับไปนึกเสียว่า
เราจะนำเงินไปใช้อะไรดี พ่อค้าผูฉ้ ลาด เขาพยายามหาสินค้า ทีล่ อ่ ตา
ล่อใจหลายชนิด วางไว้ในร้าน และมีรสไสบริการ คนซื้อจะไสรถไป
อยากได้อะไรก็หยิบใส่รถไส เห็นอะไรก็อยากได้ไปเสียหมด แล้วนำมาให้
ทางร้านคิดราคา พอคิดราคาแล้ว จะต้องจ่ายเงินมิใช่นอ้ ยเลย พอกลับ
ถึงบ้าน ตอนแรกๆ ก็ยงั พอใจยินดี ในสิง่ ของทีซ่ อื้ มาใหม่นนั้ แต่พอ
154
หลายวันต่อมา ชักจะหายอยากเกิดเบือ่ ขึน้ มา และอยากจะได้ของใหม่
อีกต่อไป ก็ไปหาซือ้ เหมือนอย่างเดิมอีก บางคนเฉพาะเสือ้ ผ้าอย่างเดียว
มีออกเต็มตู้ จนไม่รจู้ ะใส่เสือ้ ตัวไหน อย่างนีเ้ รียกว่า เกินพอดี ท่าน
กล่าวว่า ดีอยูต่ รงกลาง หมายความว่า ให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา หรือ
พอดี เช่นพูดว่า หญิงคนนีส้ วย ถ้าจะถามว่าสวยทีต่ รงไหน ก็ตอ้ งตอบว่า
สวยทีพ่ อดี กล่าวคือสูงต่ำพอดี สีผวิ พรรณพอดี ดวงตาใหญ่หรือเล็ก
พอดี เป็นต้น
เพราะฉะนัน้ ขอให้เข้าใจว่า ดีอยูท่ คี่ วามพอดี ถ้าหย่อนดีหรือ
เกินดี นัน่ คือไม่ดี เมือ่ เข้าใจอย่างนี้ ก็นำมาใช้กบั การดำเนินชีวติ เช่น
การใช้จา่ ยก็ให้พอดี กล่าวคือ ไม่ฟมุ่ เฟือยเกินไป และไม่ฝดื เคืองเกินไป
ทำอย่างไรคือพอดี คนเราจะรูอ้ ยูแ่ ก่ใจ ไม่จำเป็นต้องอธิบาย ขอให้คดิ ว่า
๑. ถ้าดีพอ ต้องพอดี ถ้าพอไม่มี ดีไม่มา ความพอดีอยูท่ คี่ วาม
พอใจ ถ้าพอไม่ได้กไ็ ร้คณ ุ ค่า
๒. ประหยัดสันโดษ เป็นข้อกำหนดของคนดี ถ้าไม่มีข้อนี้
สมบัตมิ กี จ็ ะหมด
R






155
๖๗
ถ้าหลงกาม จะได้นามว่าหลงกล
R
นตฺถิ กามา ปรํ ทุกขฺ ํ
ทุกอืน่ ยิง่ กว่ากาม ไม่มี

ความอยาก เป็นตัวบังคับให้บคุ คล ต้องดิน้ รนไปหามา เพือ่
ตอบสนองความต้องการของใจ การดิน้ รนไปหามานัน้ ก็เป็นทุกข์อยูแ่ ล้ว
เมือ่ หามาได้ตามความปรารถนาก็ดไี ป ถ้าไม่ได้สมดังปรารถนา ก็เป็น
ทุกข์อกี หรือเมือ่ ได้มาแล้ว ภายหลังเกิดพลัดพรากจากกัน ก็เป็นทุกข์
ในการปกปักรักษา สิง่ ทีห่ ามาได้นนั้ ก็เป็นทุกข์ ดังนัน้ ขึน้ ชือ่ ว่ากามแล้ว
จะต้องเป็นทีม่ าของความทุกข์ตลอดไป ควรจะได้ใช้ปญ ั ญาพิจารณา ให้
เห็นโดยถ่องแท้ แล้วบันเทาความอยากลง อย่าไปติดแน่นอยู่ในกาม
จิตจะสงบไม่ดิ้นรน แต่การทำอย่างนี้ จะต้องอาศัยการศึกษาฝึกหัด
ปฏิบตั ดิ ว้ ย
ความเป็ น อยู่ ใ นปั จ จุ บั น นี้ คนเราจะตกอยู่ ใ นความเครี ย ด
เพราะการดำเนินชีวติ ของทุกคน จะต้องทำงานแข่งกับเวลา เมือ่ เกิด
ความเครียดเกิดขึน้ มา ก็มกั จะไปหาวิธคี ลายความเครียด วิธดี งั กล่าวนี้
ก็หนีไม่พน้ ไปจาก สุรา นารี เพราะทัง้ สองอย่างนี้ คนจะคิดว่าเป็นการ
สร้างบรรยากาศ ทีจ่ ะทำให้เกิดความสุขสุดยอด ซึง่ ธรรมชาติหยิบยืน่ มาให้
แต่แท้ทจี่ ริง สุรา นารี เป็นเพียงความสนุก เมือ่ หันไปพึง่ สุรา นารี

จนได้ทแี่ ล้ว ความกล้าทีจ่ ะทำความผิด ย่อมมีมากขึน้


156
ถึงจุดตรงนี้แล้ว มักจะมีการทะเลาะวิวาทกัน หรือไม่ก็ไปติด
เอาโรคเอดส์มา โรคนีเ้ มือ่ เป็นแล้วจะรักษาไม่หาย มีทางเดียวคือตาย
แต่เขาก็ไม่กลัว ถึงบุตรภรรยาทีอ่ ยูท่ างบ้านจะคิดกันอย่างไร เขาก็ไม่กลัว
เมือ่ ความไม่กลัวมีขนึ้ ก็จะทำความผิดติดต่อกันไป จนเกิดเป็นโรคเอดส์
คือความทุกข์อย่างสูง ทีก่ ล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะชีใ้ ห้เห็นว่า เรือ่ ง
ของกามย่อมจะนำทุกข์มาให้ แต่เป็นกามนอกบ้าน ส่วนกามในบ้านนัน้
ถึงจะเป็นทุกข์ ก็ในเรือ่ งของการทำมาหากินเลีย้ งครอบครัวเท่านัน้
เพราะฉะนัน้ กามราคะเป็นอำนาจของตัณหา ถ้าผิดตัวผิดฝา
จะมีทุกข์ไม่รู้จบ ท่านจึงกล่าวว่า ถ้าหลงกาม จะได้นามว่าหลงกล
เพราะตัณหาจะล่อลวงให้คนติดบ่วง ถึงจะมีสามีหรือภรรยาแล้ว แต่ก็
ไม่วาย ทีจ่ ะชักใจให้ไปเป็นชู้ หรือไปหาหญิงบริการทางเพศ ซึง่ เป็นเหตุ
แห่งทุกข์ทงั้ นัน้ ขอให้คดิ ว่า
๑. ไม่กลัวเขา เราเป็นทุกข์ กลัวทางถูกสุขจะมี ถ้ารูจ้ กั กลัว
จะทำตัวให้ดี
๒. ถ้าหลงกาม จะได้นามว่าหลงกล จะหลงว่าสุข ทีแ่ ท้กท็ กุ ข์
สับสน
R




157
๖๘
รูจ้ กั พอ จะก่อสุข
R
นตฺถิ ตณฺหาสมา นที
แม่นำ้ เสมอด้วยตัณหาไม่มี

ตัณหา แปลว่า ความอยาก เป็นตัวทีเ่ ป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
มี ๓ อย่าง ได้แก่ กามตัณหา คือ ความอยากในอารมณ์ทนี่ า่ ใคร่

น่าปรารถนา แล้วดิ้นรนไขว่คว้าเพื่อหามา ตอบสนองความอยากนั้น


ภวตัณหา คือความอยากเป็นโน่น อยากเป็นนี่ เช่น อยากเป็นกำนัน
อยากเป็นผูใ้ หญ่บา้ น เป็นต้น ถ้าเป็นโดยเขาตัง้ หรือเขาลงคะแนนให้
อย่างนีไ้ ม่ผดิ หากได้มาโดยทางทุจริต อย่างนีใ้ ช้ไม่ได้ และ วิภวตัณหา
คือความไม่อยากเป็นโน่น ไม่อยากเป็นนี่ ตัณหาที่ ๓ อย่างนี้ ล้วนเป็น
สิง่ ทีท่ ำให้คน มีความต้องการกันไม่รจู้ กั จบสิน้
ธรรมดาว่า ภาชนะที่มีฝาปิด เมื่อนำเอาสิ่งอะไรใส่ไว้ข้างใน
หากสิ่งของนั้นไม่เต็ม เมื่อภาชนะนั้นเคลื่อนไหวไปมา จะทำให้มีเสียง
และสิง่ ของภายใน อาจจะแตกหัก เกิดความเสียหายได้ ข้อนีม้ อี ปุ มา
ฉันใด
คนเราก็เช่นเดียวกัน หากเป็นคนรูจ้ กั พอดี รูจ้ กั เสียสละในทาง
ทีส่ มควรและเหมาะสม ไม่เห็นแก่ประโยชน์สว่ นตัวจนเกินพอดี ไม่เบียดเบียน
คนอืน่ เพือ่ ความสุขส่วนตัว รูจ้ กั ปล่อยวางในบางกรณี ก็จะเป็นเหมือน
ภาชนะฝาปิดทีเ่ ต็มแล้ว ฉันนัน้
158
หากตรงกันข้ามกับที่กล่าวมานี้ คือยังไม่รู้จักพอ ยังเห็นแก่
ประโยชน์สว่ นตัว ยังชอบในการมีเรือ่ งทะเลาะวิวาทบาดหมางกับคนอืน่
เป็นต้น ก็เหมือนภาชนะมีฝาปิดทีย่ งั ไม่เต็ม ย่อมจะมีแต่ความเดือดร้อน
ยังสงบไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสันโดษ คือยินดีแต่ของๆ ตน
ยินดีเท่าทีม่ ี ยินดีเท่าทีจ่ ำเป็น ไม่มอื ใหญ่ใจเติบ รูจ้ กั สร้างเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างนีก้ จ็ ะมีความสุข ไม่ตอ้ งเดือดร้อน
เพราะฉะนัน้ บุคคลควรจะฝึกหัดจิตของตน ให้ยนิ ดีกบั ความ
พอดี แม่นำ้ ยังรูจ้ กั เต็ม หรือภาชนะทีใ่ ส่นำ้ ก็ยงั รูจ้ กั เต็ม และเมือ่ เต็ม
แล้วหากนำเอาน้ำไปใส่อกี ก็จะล้นออกไป แต่คนทีม่ ตี ณ ั หา จะไม่ยอม
เต็ม ดิน้ รนกระเสือกกระสนวุน่ วาย มีเท่านีอ้ ยากได้เท่านัน้ จึงเป็นทุกข์
ขอให้คดิ ว่า
๑. พอเสียบ้าง จะนั่งสบาย ถ้าพอใจในดีจะมีคุณ หากขาด
พอใจ จะไร้บญ ุ
๒. เพราะความไม่พอ จึงต้อฮ่อไปตามอยาก ตัณหาพาชัว่ จึง
เห็นแก่ตวั กันมาก
R





159
๖๙
มุทติ า จะพาสบาย
R
อิจฉฺ า โลกสฺมิ ทุชชฺ หา
ความอยาก ละได้ยากในโลก

ความอยากในทางทีช่ วั่ เป็นตัวตัณหา บุคคลจะละได้อย่างยากยิง่
เพราะว่า ตัณหาเป็นธรรมชาติที่ติดอยู่กับใจของคนเรามาแต่กำเนิด
นับตัง้ แต่ในอดีตชาติทลี่ ว่ งมาแล้ว นับเป็นร้อยชาติพนั ชาติ จะตามเรา
ไปทุกๆ ชาติ ไม่วา่ จะไปอยูท่ ไี่ หน หรือไปเกิดเป็นอะไร
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ละได้ยาก หมายความว่า ละได้
เหมือนกัน แต่จะต้องใช้เวลานาน โดยเริม่ จากทำจิตมิให้ไปยึดมัน่ เห็น
ใครเขาได้ดีอะไร ก็ทำใจให้ยินดีไปกับเขา อย่าได้มีการอิจฉาริษยา
ทำใจเป็นนักเสียสละ บันเทาความอยากลง และหาโอกาสฝึกหัดจิตให้มี
ความสงบ
โดยธรรมชาติของความอิจฉา ซึ่งหมายถึงความอยากนั่นเอง
แต่ความอยากในทีน่ ี้ หมายถึง ความอยาก ทีจ่ ะให้คนนัน้ คนนี้ ด้อย
หรือต่ำกว่าตน ในเมือ่ เขาผูน้ นั้ กำลังจะเกินหน้าตน ในกรณีทมี่ คี วาม
เป็นอยูเ่ ท่าเทียมกัน
ความอิจฉานี้ ตามปรกติของปุถุชน ย่อมจะมีได้เป็นเรื่อง
ธรรมดา แต่ถา้ ผูใ้ ดได้ฝกึ จิตให้รจู้ กั ยินดี ในเมือ่ คนอืน่ เขาได้ดี ผูน้ นั้ ก็จะ
มีจติ ใจสงบ ไม่มคี วามอิจฉาริษยาเขาได้ คนโบราณได้เคยปฏิบตั กิ นั มาว่า
160
เมือ่ รูห้ รือเห็นคนอืน่ ได้ดี ให้ยกมือขึน้ ประนมแล้วเปล่งคำว่า สาธุ แล้ว
พู ด ต่ อไปว่ า ขอให้ จ ำเริ ญ จำเริ ญ เถิ ด นี้ เ รี ย กตามภาษาพระว่ า
อนุโมทนาด้วย
การกระทำดังกล่าวมานี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า แผ่มทุ ติ า
หากว่าบุคคลใดยังทำไม่ได้ กล่าวคือ ใจของตนยังคอยอิจฉาริษยาเข้าอยู่
ให้เก็บไว้ในใจก่อน อย่าแสดงออกมาภายนอกให้เขารู้ เข้าทำนองว่า
น้ำขุน่ ไว้ใน น้ำใสไว้นอก และต่อไปก็จงพยายามทำน้ำขุน่ นัน้ ให้คอ่ ยๆ
ใสลง
เพราะฉะนั้น ธรรมชาติของปุถุชน ย่อมจะมีความอยากเป็น
ของธรรมดา ถ้าบุคคลมาเริม่ ฝึกหัดใจของตน ให้บนั เทาความอยากลงบ้าง
ก็ยอ่ มจะทำได้ไม่เหลือวิสยั คิดเสียว่า จะอยากหรือโลภโมโทสันกันไปถึง
ไหน ไม่ชา้ เราก็ตอ้ งตาย สมบัตนิ นั้ ก็นำไปไม่ได้เลยสักอย่าง ขอให้คดิ ว่า
๑. อิจฉาพาใจร้าย แต่มทุ ติ าพาสบาย ถ้าอ่อนน้อมสงบ จะพบ
สุขใจ
๒. ความอยากละได้ยากในโลก จงรูเ้ ข้าไว้ อย่าทำใจให้สกปรก
R






161
๗๐
คนโลภมาก จะอยากไม่หยุด
R
อิจฉฺ า หิ อนนฺตโคจรา
ความอยาก มีอารมณ์หาทีส่ ดุ มิได้

ธรรมดาของคน นับตัง้ แต่ตนื่ นอนในตอนเช้า จนถึงเข้านอนใน
ตอนกลางคืน ระหว่างเวลาดังกล่าวนี้ คนส่วนใหญ่ จะมีความอยาก
มากกว่าอย่างอืน่ เมือ่ ตืน่ นอนแล้ว อยากล้างหน้าแปลงฟัน อยากแต่งตัว
อยากถ่ายอุจจาระปัสสาวะ อยากรับประทานอาหาร ฯลฯ จนถึงอยากนอน
อยากหลับ
แต่อยากบางอย่างไม่เกิดความเสียหาย กล่าวคือไม่มโี ทษ เช่น
อยากอาบน้ำ อยากรับประทานอาหาร เป็นต้น ควรระวังแต่อยากทีม่ โี ทษ
เช่นอยากเล่นการพนัน อยากดืม่ สุรา เป็นต้น อยากอย่างนี้ จงห้ามไว้
ก่อน อย่าทำตาม ความอยากมีมากอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มี
อารมณ์หาทีส่ ดุ มิได้
ธรรมดาของความอยาก ย่อมจะเกิดจากใจของแต่ละคน และ
ใจนั้นก็ย่อมจะท่องเที่ยวไปได้ทุกหนทุกแห่ง โดยไม่มีขอบเขต เพราะ
เหตุนี้ ความอยากจึงไม่มที สี่ นิ้ สุดอย่างไร้ขอบเขต เนือ่ งจากความอยาก
นีไ้ ปกับใจ แต่ถา้ ใจทีท่ อ่ งเทีย่ วไปนัน้ ไม่พกเอาความอยากไปด้วย ความ
อยากนัน้ ก็จะไม่มี สำหรับการฝึกนัน้ ควรจะต้องมีสติตามไปกับความ
อยากด้วย จึงจะแก้กนั ได้บา้ ง
162
ความอยากดังกล่าวนี้ หมายถึงความอยากในทางไม่ดี เช่นแต่
เดิมมีภรรยาอยูแ่ ล้ว ทนความอยากไม่ไหว ไปพาเอาหญิงอืน่ มาเป็น
ภรรยาอีกหนึง่ คน เป็นต้น เมือ่ รูว้ า่ ความอยากไม่ดี กำลังเกิดขึน้ กับใจตน
ก็จงบอกกับตัวเองว่า หยุด
ครั้ ง หนึ่ ง สมเด็ จ พระพุ ฒ าจารย์ (โต) เข้ าไปเทศน์ ใ นวั ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ ทรงรับสัง่ ว่า “ขรัวโต วันนี้
เทศน์สนั้ ๆ หน่อย กำลังมีราชกิจอยู”่ สมเด็จฯ พอขึน้ ธรรมาสน์ ตัง้
นโมจบแล้ว ก็เทศน์เพียงคำเดียวว่า หยุด แล้วต่อด้วย เอวังก็มดี ว้ ย
ประการฉะนี้
เพราะฉะนัน้ หยุด คำเดียวเท่านัน้ เป็นคำทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เราเคย
สั่งคนอื่นให้หยุดได้ ทดลองสั่งตัวเองบ้างก็ดีเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า
อยากคือยุ่ง หยุดอยากก็หยุดยุ่ง ความจริงก็เป็นอย่างนั้น ความ
อยากหากมีพอดี และเป็นไปในทางดีดว้ ย ก็ควรอยาก เช่นอยากทำบุญ
เป็นต้น ขอให้คดิ ว่า
๑. ถ้าหยุดจะหมดอยาก ถ้าโลภมากอยากไม่พอ ถ้าอยากทางดี
จะดีจริงหนอ
๒. อิจฉาพาใจให้รมุ่ ร้อน จงทำใจให้สขุ ความทุกข์จะลดหย่อน
R



163
๗๑
อำนาจเสพติด มีพษิ สารพัด
R
อิจฉฺ า นรํ ปริกสฺสติ
ความอยาก ย่อมเสือกใสนรชน

ความอยาก ในที่นี้ หมายถึง ความปรารถนา หรือความ
ต้องการของจิต อันเป็นไปในทางทุจริต ได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต และความอยากนี้ เมื่อเกิดขึ้นแก่บุคคลใดแล้ว หาก
บุคคลนั้นไม่ระงับยับยั้งไว้ ก็จะถูกเขาสั่งให้ไปทำตาม ในสิ่งที่เขา
ต้องการนัน้
ตามปรกติ คนส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนหุน่ ให้ตณ ั หาเขาเชิด เขา
จะชักนำไปอย่างไร ก็ตอ้ งทำตามเขาหมด เช่น เกิดไม่พอใจใครขึน้ มา
ใจอยากจะไปด่าหรือทำร้ายเขาผูน้ นั้ ก็ตอ้ งไปด่าหรือทำร้ายเขา ตามที่
ตัณหาสั่งนั้น แต่ด่าหรือทำร้ายเขาแล้ว เราเองเป็นผู้เดือดร้อน
ตัณหาเขาไม่รบั รูด้ ว้ ย
ในบรรดาความอยากทั้งหลาย ยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นสุรา
กัญหา ยาบ้า นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอย่างมหันต์ เมือ่ ถึงเวลาอยากเสพ
หากไม่ ไ ด้ ส มความอยาก เขาจะเปลี่ ย นแปลงจากคน เข้าไปสวม
วิญญาณของสั ต ว์ ดุ ร้ า ย จะฆ่ าได้ แ ม้ แ ต่ ผู้ มี พ ระคุณ มีบิดามารดา
เป็นต้น ดังทีม่ ขี า่ วทางโทรทัศน์วา่ ลูกชายติดยาบ้า วันนัน้ ยังไม่ได้เสพ
เกิดอาการอยากขึน้ มา จึงไปขอเงินจากพ่อ แต่บงั เอิญพ่อไม่มเี งิน จึง
164
ตอบปฏิเสธ พร้อมกับด่าว่าสัง่ สอนไปในตอนนัน้ ด้วยอำนาจของความ
อยากเสพ ลูกคว้าไม้ตพี อ่ จนถึงแก่ความตาย พ่อผูม้ พี ระคุณยามปรกติ
คนเราจะฆ่าไม่ได้ แต่คนติดยาบ้าจะฆ่าได้
อีกเรือ่ งหนึง่ พ่อเมาสุรา เกิดตัณหาหน้ามืด ไปข่มขืนลูกในไส้
ของคน ซึง่ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ ละอายมากทีส่ ดุ ยามปรกติพอ่ จะข่มขืนลูก
ไม่ได้ แต่คนเมาสุราทำได้
ทัง้ สองเรือ่ ง ซึง่ เป็นเรือ่ งมีจริงทีเ่ ป็นข่าวมาแล้วนี้ ท่านจะเชือ่
หรือยังว่า สิง่ เสพติดสามารถเปลีย่ นจากคน ให้เป็นดุจสัตว์ดริ จั ฉานได้
เมือ่ เป็นเช่นนี้ ท่านจะให้เกียรติเสพติดต่อไปอีกหรือ
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเน้นให้เห็นว่า ความอยากจะ
เสือกไสบุคคล ให้เป็นไปตามอำนาจของเขา ใช้ให้ลกู ไปฆ่าพ่อก็ได้ ใช้ให้
พ่อไปข่มขืนลูกก็ได้ เมือ่ เป็นอย่างนี้ ทำไมคนไทยเราเกือบจะร้อยเปอร
เซ็น เป็นชาวพุทธแต่ยงั ผิดศีลข้อ ๕ กัน เป็นว่าเล่น จะต้องช่วยกัน
แก้ไข ขอให้คดิ ว่า
๑. สิง่ เสพติด ทำชีวติ ให้สลาย ถ้าเสพไม่หยุด สิน้ สุดก็คอื ตาย
๒. อยากทัง้ หลาย จะเสือกไสนรชน ถ้าไม่แก้ไข ประเทศไทย
จะปีป้ น่
R



165
๗๒
ชัว่ ในใจ คือไฟเผาผลาญ
R
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
ไฟ เสมอด้วยราคะ ไม่มี

ขึ้ น ชื่ อ ว่ า ไฟ จะอยู่ ที่ ไ หนก็ ร้ อ นที่ นั่ น และความร้ อ นนั้ น
สามารถจะเผาผลาญสิง่ อืน่ ให้มอดไหม้พนิ าศไป สิง่ ทีม่ รี าคา หรือสิง่ ที่
สวยงามขนาดไหน เมื่อถูกไฟไหม้แล้ว ก็จะกลายเป็นเถ้าถ่าน หมด
ราคาหมดความสวยงามลงทันที
ไฟดังกล่าวนี้ ถึงจะมีโทษมาก เมือ่ ไฟเผาวอดวายไปแล้วก็ดบั ไป
ไม่เหลือเชือ้ ไว้อกี แต่ไฟคือราคะ มีโทษมากกว่าไฟธรรมดา กล่าวคือ
เผาเรามาแล้วไม่รวู้ า่ กีช่ าติ ขณะนีก้ ย็ งั เผาเราอยู่ และก็จะเผาต่อไป ใน
ชาติหน้าชาติโน้นอีก ไม่รู้ว่านานสักเท่าไรจึงจะดับ ซึ่งไม่มีไฟใดจะ
เปรียบได้
ตามธรรมดาของคนทั่วไป เมื่อเวลาเป็นเด็ก ไฟราคะยังไม่มี
ยังติดพ่อติดแม่อยู่ จะห่างจากพ่อแม่ยงั มิได้ พ่อแม่จะสอนอย่างไร ก็
เชือ่ ฟังและปฏิบตั ติ ามไม่ขดั ขืน แต่พอเติบโตขึน้ มาเป็นวัยรุน่ ไฟราคะ
เริม่ จะมี และรุนแรงขึน้ ตามวัย ความรักพ่อรักแม่ชกั จะเปลีย่ นแปลงไป
เปลีย่ นเป็นรักเพศตรงข้าม และจะเชือ่ ฟังกันดีมาก ถ้าทัง้ คูส่ มหวัง ก็จะ
ไปด้วยกันได้ดี หากเกิดการไม่สมหวังขึน้ มา ก็จะถูกไฟราคะเผาผลาญ
ถึงตอนนี้ ใครจะมาสอนหรือเตือนสติ เขาจะไม่เชือ่ ฟัง บางคนทีใ่ จอ่อน
166
อาจะตัดสินชีวติ ด้วยการฆ่าตัวตายบูชาความรัก
มีบางคนพูดว่า โจรปล้นร้อยครัง้ ยังไม่เท่าไฟไหม้หนึง่ ครัง้ ไฟ
ธรรมดาไหม้หนึง่ ครัง้ ยังไม่เท่าไฟกิเลสไหม้หนึง่ ครัง้ ไฟกิเลสมีสามกอง
คือ ไฟราคะ ไฟโทสะ และ ไฟโมหะ ไฟนัน้ ร้อนจริง แต่ถา้ ใครไม่ไปถูก
ต้อง ก็จะไม่รอ้ น ไฟกิเลส เขาก็อยูข่ องเขาธรรมดา แต่คนเราไปนำเอา
มาเอง จึงทำให้คนต้องร้อน ถ้าใช้ปญ ั ญาพิจารณาให้เห็นความจริง ไฟ
เขาก็ไม่ทำอะไรใคร
เพราะฉะนัน้ ถ้ากลัวไฟว่าร้อน ก็อย่าไปแตะต้องไฟ เท่านัน้ ก็
หมดเรื่องกัน แต่ที่ยังไม่หมดเรื่องก็เพราะ คนชอบไปนำเอาไฟทั้ง ๓
กอง เข้ามาใส่ไว้ในใจ ในการอยูร่ ว่ มกัน ถ้าทุกคนต่างก็มไี ฟ ไม่มใี คร
ยอมใคร ก็จะเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ต่างคนต่างนำเอาไฟมาใส่กัน
ขอให้คดิ ว่า
๑. กิเลสในใจ คือไฟเผาผลาญ ถ้าปล่อยไว้ จะมีภยั อยูน่ าน
๒. ราคะกิเลส เป็นเหตุเร่าร้อน จงหมัน่ บันเทา ความมัวเมาจะผ่อน
R







167
๗๓
โลภโรคร้าย ทำลายโลก
R
โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ
ความโลภ เป็นอันตรายแก่ธรรมทัง้ หลาย

ทุกคนที่เกิดมาในโลก ส่วนใหญ่จะมีความโลภด้วยกันทั้งนั้น
ยกเว้นพระอรหันต์ประเภทเดียว สุดแต่วา่ ใครจะระงับยับยัง้ ไว้ ได้มาก
น้อยแค่ไหน หรือใครจะปล่อยให้ความโลภนัน้ พาไป ถ้าทีส่ ดุ ของกิเลส
ตั ว นี้ก็ คื อ การลั ก ขโมย โกงกั น ลั ก ทรั พ ย์ ปล้น แย่ งชิงวิ่ งราว
ช้อราษฎร์บงั หลวง ค้าขายของเถือ่ น เป็นต้น ทัง้ หมดนี้ มีสาเหตุมา
จากความโลภทัง้ สิน้
เมือ่ ตนมีความผิด ก็จะต้องคอยหลบซ่อน บางครัง้ ก็ถกู จับได้
จะเสียงเงินทอง เสียชือ่ เสียง หรือไม่กจ็ ะต้องถึงกับเสียชีวติ ท่านจึง
กล่าวว่าความโลภเป็นอันตรายทัง้ ตนเอง และคนอืน่ ด้วย
ยุคนี้ เรียกว่า ยุคโลกาภิวัฒน์ คือเป็นยุคที่ชาวโลกตื่นตัว
ประชาชนทุกคน จะต้องปรับปรุงให้ทันโลก มิฉะนั้นจะเป็นคนล้าหลัง
คือวิ่งไม่ทันเขา มีหลายคนเป็นห่วงว่า ธรรมะจะวิ่งตามไม่ทันโลก
เพราะว่าคนจะสนใจแต่โลก มองเห็นธรรมเป็นของล้าสมัย มีประโยชน์นอ้ ย
สำหรับในข้อนี้ อาจจะพูดได้วา่ ถ้าไทยยังคงเป็นไทยอยูต่ ราบใด
ธรรมะจะวิง่ ตามทันโลกแน่ แต่ถา้ เมือ่ ใด ไทยตกไปเป็นทาสของโลก
เมือ่ นัน้ โลกจะทำลายธรรม และธรรมก็จะวิง่ ไม่ทนั โลก ในทีส่ ดุ ธรรมก็จะ
168
ถูกโลกเขีย่ ตกเวทีไป หมายความว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ บรรพบุรษุ ไทย
สืบเชือ้ สายมาจากพระพุทธศาสนา ถ้าคนไทยคิดว่า มัวเป็นชาวพุทธอยู่
ก็อดตาย หมายถึงชาวพุทธโกงใครไม่ได้ มัวซือ่ อยูก่ จ็ ะไม่ทนั สมัย เมือ่
ชาวโลกไม่ซอื่ เราก็ตอ้ งไม่ซอื่ ด้วย ความคิดดังกล่าวนี้ คือตัวโลภ ที่
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอันตราย เมื่อชาวไทยคิดอย่างนี้ ย่อมเป็นที่
แน่นอนว่า ความเป็นไทยอาจจะกลายเป็นอย่างอืน่ ไป แต่มนั่ ใจว่าทุกวันนี้
ชาวไทยเรายังยึดมัน่ ในพระพุทธศาสนาอยู่ คงไม่มภี ยั แน่
เพราะฉะนัน้ จงทำความเข้าใจว่า โลภเป็นอันตรายของโลก
ถ้าคนมักมากไปด้วยความโลภ สังคมก็จะเป็นสังคมทีเ่ ห็นแก่ตวั เห็นแก่ได้
มีความเป็นอยูแ่ บบตัวใครตัวมัน เมือ่ คนเช่นนีม้ มี ากขึน้ ธรรมะทัง้ หลาย
ก็จะค่อยๆ เสือ่ มสลายลง นัน่ คือ โลภเป็นอันตรายแก่ธรรมทัง้ หลาย
ขอให้คดิ ว่า
๑. โลภมากลากประชา โลกาจะมืดมัว ชิงดีชงิ ได้ เป็นอันตราย
แก่ตวั
๒. โลภทัง้ หลาย จะทำลายยุตธิ รรม ใช้สนั โดษแก้ไข จะสบาย
เลิศล้ำ
R




169
๗๔
ถ้าไร้นำ้ ใจ จะกลายเป็นเศษคน
R
อติโลโภ หิ ปาปโก
ความละโมภ เป็นบาปแท้

ความละโมภ หมายถึง ความอยากความต้องการ ทีม่ อี านุภาพ
สูงกว่าความโลภ ทีว่ า่ สูงกว่า ได้แก่ มีความโลภทีเ่ ป็นนิสยั สันดาน แก้ยาก
เหมือนนักโทษทีม่ คี วามผิดฐานลักทรัพย์ เมือ่ ติดและพ้นโทษออกมาจาก
คุก อยูม่ าไม่กวี่ นั ก็ถกู จับเข้าไปใหม่อกี ในคดีเดียวกันนัน้ แหละ เรียกว่า
ประเภทเข้าๆ ออกๆ คุกอยูเ่ ป็นประจำ จนกว่าจะตายเสียเมือ่ ไร
คนทีม่ คี วามละโมภนี้ ก็ตา่ ยเต้ามาจากความโลภนัน่ แหละ เมือ่
มีความอยาก ก็ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่มกี ารระงับยับยัง้ ก้มหน้าก้มตา
แต่จะโลภอย่างเดียว จนเข้าขัน้ แก้ไม่หาย
ความละโมภ เป็นชื่อของนิสัยคนประเภทหนึ่ง จะเรียกคน
ประเภทนี้ ว่ า เสี ยไม่ ใ ห้ ได้ ต้ อ งเอา เป็ น บุ ค คลที่ สั ง คมรั ง เกี ย จ
เป็นการสร้างเกียรติค่านิยมให้ตกต่ำลง คนที่จะคบหาสมาคมด้วย ก็
เกิดความไม่เชือ่ มัน่ ขาดบุคคลทีจ่ ะเข้ามาอุปถัมภ์คำ้ ชู เป็นคนเสือ่ มเสีย
จนกลายเป็น เศษคน หมายถึง ไม่มใี ครเหลียวแล จะเข้าไปสังคมไหน
เขาก็ใช้วธิ คี ดั ออก โดยไม่ยอมให้รว่ มงานด้วย
คนละโมภนัน้ เมือ่ ถึงคราวเกิดความจำเป็น ทีจ่ ะต้องยืมเงินใคร
สักคนหนึง่ ถ้าคนนัน้ รูป้ ระวัติ เขาอาจจะไม่ให้ยมื หรือหากเขาให้ยมื
170
เมือ่ ยืมแล้วก็ไม่คอ่ ยใช้หนี้ หรือใช้เหมือนกัน แต่ไม่ตรงเวลาทีพ่ ดู ไว้ เมือ่
เป็นเช่นนีส้ กั รายสองราย คนก็จะพูดกันต่อไปว่า คนนี้ เป็นคนหวงหนี้
กล่าวคือเป็นหนีแ้ ล้ว ไม่คอ่ ยใช้ หากถึงคราวจำเป็น ทีจ่ ะต้องขอความ
ช่วยเหลือจากคนอืน่ จะไม่มใี ครให้ความช่วยเหลือ จึงกลายเป็นคนหมด
ทีพ่ งึ่ ในสังคม การอยูใ่ นสังคม เราใช้นำ้ ใจ เป็นเครือ่ งวัด ถ้ายังมีนำ้ ใจ
ต่อกัน ไม่เอาเปรียบกัน ไม่เห็นแก่ได้ อย่างนีก้ จ็ ะไว้ใจกันได้ ถ้าขาด
น้ำใจ จะกลายเป็นเศษคน
เพราะฉะนัน้ จงมองให้เห็นว่า การเอาเปรียบคน การเห็นแก่ได้
ถ้าไปพบคนประเภทนี้ เราจะคบค้าสมาคมกับเขาไหม ก็ตอ้ งตอบว่าไม่
ต้องการ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ ถ้าเราเป็นเสียเอง คนอืน่ อยากจะคบกับเราไหม
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความละโมภเป็นบาปแท้ ขอให้คดิ ว่า
๑. เห็นแก่ตวั จะลืมตาย เห็นแก่ได้จะลืมตน เห็นแก่คนจะลืมคุณ
๒. คนชัว่ ทำตัวเป็นเศษคน เกิดมาทัง้ ที จงทำดีให้เกิดผล
R








171
๗๕
หลงเหยือ่ ตัณหา จะเหมือนปลาติดเบ็ด
R
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
ข่าย เสมอด้วยโมหะ ไม่มี

ข่าย เป็นเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นร่างแห ขึง
ล้อมรอบบริเวณ สัตว์มปี ลา เป็นต้น เมือ่ หลงเข้าไปในข่าย จะหมด
อิสรภาพทันที จะหนีไปไหนก็ไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น คนดักข่ายนั้น

ก็จะจับเอาไปขาย หรือเอาไปกินเองก็แล้วแต่เขา ทีแ่ น่นอนก็คอื จะต้อง


ถูกฆ่าตายทัง้ หมด ถ้าเกิดมีสตั ว์ตวั ใด หนีรอดออกมาได้ สัตว์ตวั นัน้ เป็น
เหมือนตายแล้วเกิดใหม่
สำหรับข่ายโมหะนัน้ มิได้มไี ว้สำหรับดักสัตว์ แต่ มีไว้สำหรับ
ดักใจคน คนทีม่ ใี จติดข่ายโมหะ จะมีความหลงผิดเป็นชอบ ใครเตือน

ก็ไม่ฟงั ถูกตัณหาชักนำให้เป็นไปตามอำนาจของเขา
หากจะมองไปรอบๆ ตัว แล้วพิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่า ทุกคน
ถูกโมหะความหลง ดักข่ายไว้รอบตัว สัตว์ทงั้ หลายทีต่ กไปอยูใ่ นเครือ่ งดัก
เขาเรียกว่า ติด เช่น ปลาติดแห นกติดข่าย เป็นต้น
สาเหตุทจี่ ะมีการติดเกิดขึน้ สิง่ สำคัญคือ เหยือ่ เราเคยคิดใน
ใจว่า “ปลามันโง่ ไม่มีสมอง ไม่มีความคิดเหมือนคน มันจึงติดเบ็ด

ถ้าเป็นอย่างเรา จะต้องไม่ไปหลงกินเหยื่อ เพราะความโง่นั่นเอง

ปลาจึงต้องติดเบ็ด ถ้านำเอาเบ็ดมาดักคนบ้าง ต่อให้เหยือ่ ดีขนาดไหน


172
ก็ไม่มใี ครจะกินเด็ดขาด”
ลองกลับมามองดูคนเราบ้าง คนทุกคน โมหะเขาวางเหยือ่ ล่อ
ไว้หลายอย่าง เช่นยาเสพติดทุกประเภท อบายมุข ๔ คือความนักเลงหญิง
เป็นนักเลงพนัน เป็นนักเลงสุรา และคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นต้น

และยังมีอีกหลายอย่าง จะเห็นได้ว่า คนที่อวดตัวว่าเป็นผู้มีปัญญา


ยังไม่หลงติดอยู่ เราเข้าใจเสียว่าปลามันโง่ จึงไปติดเบ็ด เอาเข้าจริง
ว่าแต่เขา บางทีเรากับเขาก็พอๆ กัน จึงมีคำพูดว่า คนติดยากับปลา
ติดเบ็ด คนกับปลาใครโง่กว่ากัน ลองนึกตอบเอง
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ธรรมะ
ของพระพุทธเจ้ามีความจำเป็นต่อเรามาก ถ้าใครเห็นว่า อบายมุขเป็น
ของดี ดังทีม่ คี นหลายประเภทไปมัว่ สุมกระทำกัน คนนัน้ จะถือว่า ดูถกู
ธรรมะ เป็นคนทีช่ อื่ ว่าติดข่ายโมหะ แล้วจะเรียกตัวเองว่า ปัญญาชน
จะได้หรือ ขอให้คดิ ว่า
๑. ปลาโง่ตดิ เหยือ่ ฉันใด คนโง่ตดิ อบายก็ฉนั นัน้ คนกับปลาเลย
มีคา่ เท่ากัน
๒. ความหลงทัง้ หลาย เป็นข่ายดักคน จงรูเ้ ข้าไว้ แล้วทำใจให้
เกิดผล
R



173
๗๖
หลงกับติด เป็นมิตรกับคนเมา
R
ภิยโฺ ย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
ผูบ้ ริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิง่ ๆ ขึน้ ไป

ผูบ้ ริโภคกาม หมายถึง ผูท้ มี่ จี ติ ตกอยูใ่ นอำนาจของความอยาก
ประเภททีเ่ รียกว่า หลง – ติด เหมือนคนทีเ่ สพยาเสพติด เสพจนติดแล้ว
หากถึงเวลามิได้เสพ จะเกิดอาการทุรนทุราย ดิน้ รนกระวนกระวาย ถ้าปล่อย
ไปอาจจะตายได้
แต่เมือ่ เสพเข้าไปแล้ว อาการดังกล่าวจะหายเป็นปรกติ และมี
อารมณ์ที่สดชื่นขึ้นมา ร่างกายก็กระปรี้กระเปร่าขึ้น อาการเช่นนี้

จะเป็นทุกครั้งเมื่อถึงเวลา จึงจำเป็นจะต้องเสพอยู่เป็นประจำ ตามที่


พระพุทธเจ้าตรัสว่า ย่อมจะปรารถนายิง่ ๆ ขึน้ ไป
มีคำพูดอยูค่ ำหนึง่ ว่า “หลงตัวลืมตาย หลงกายลืมแก่ หลงเมีย
ลืมแม่ หลงเหล้ากระแช่ลมื ทุกประการ” ดังนี้ ความอยากของคนเรา
ถ้าปล่อยให้กอ่ ตัวมากขึน้ จะกลายเป็น หลง และเมือ่ หลงอยูส่ กั ระยะ
หนึง่ จะเปลีย่ นเป็น ลืม คือลืมตัว เมือ่ ถึงขัน้ นี้ ก็จะเริม่ ติด ทีเ่ รียกว่า
หลงมัวเมา ดังนัน้ หลงจึงถือว่าขัน้ ทีห่ นึง่ ถ้าจะแก้ ต้องแก้ทตี่ วั นี้ ถ้า
ไม่รบี แก้กจ็ ะเลือ่ นขัน้ ไปจนถึงติด
มีตวั อย่างในเรือ่ งนี้ เช่นคนทีอ่ ยูใ่ นวัยรุน่ หลงตัวในความกล้า
หาญ เท่านัน้ ยังไม่พอ ไปดืม่ สุราเข้าไปอีกเป็น กล้ากำลังสอง เมือ่ กล้า
174
ก็ไม่กลัวตาย ขับรถด้วยความประมาท ลงท้ายก็มกั จะประสพอุบตั เิ หตุ
เกิดการบาดเจ็บ หรือไม่กต็ ายไปเลย อย่างนีก้ ม็ มี ใิ ช่นอ้ ย นีค่ อื หลงตัว
ลืมตาย บางคนมีอายุมากแล้ว ถือว่ายังมีไฟอยู่ ยังไม่ยอมเลิกละ
อบายมุข นีค้ อื หลงกายลืมแก่ ส่วนหลงเมียลืมแม่ ก็มใี ห้เห็นอยูม่ ใิ ช่
น้อย หลงเหล้ากระแช่ นี่ก็มีอยู่ทุกหย่อมหญ้า บางทีลูกขอเงินไป
โรงเรียน บอกว่าไม่มี แต่เงินกินเหล้ามี หลงที่สี่นี้ จะลืมทั้งหมด
ครอบครัวจะเป็นอย่างไรก็ชา่ ง ขอให้ตวั เองเมาเป็นใช้ได้
เพราะฉะนัน้ ผูบ้ ริโภคกาม จะเป็นกามประเภทไหนก็ตาม ถ้า
ไม่มปี ญ
ั ญาพิจารณาให้ถถี่ ว้ น จะหลงติด เมือ่ หลงติดแล้ว มีเท่าไรก็ไม่พอ
เช่นคนติดการพนัน ถ้าเล่นได้เท่านีจ้ ะเอาเท่านัน้ ถ้าเล่นเสียก็ตอ้ งเล่น
ให้ได้ จึงเห็นว่า ไม่มกี ารพอ มีแต่จะต้องการยิง่ ๆ ขึน้ ไป ขอให้คดิ ว่า
๑. หลงตัวลืมตาย หลงกายลืมแก่ หลงเมียลืมแม่ หลงเหล้า
กระแช่ลมื ทุกสิง่ ทุกประการ
๒. คนมากกามา จะปรารถนาไม่หยุด ถ้าหยุดเสียบ้าง จะพบ
ทางบริสทุ ธิ์
R





175
๗๗
อยากพร่องบุญ คุณพร่องเวร
R
อูนา ว หุตวฺ า ชหนฺติ เทหํ
ผูบ้ ริโภคกาม ละร่างกายไป จะเป็นผูพ้ ร่อง

กาม แปลว่า ความใคร่ ความปรารถนา หรือความต้องการ
คือต้องการในตัณหา หรือต้องการในความอยาก เช่นอยากยาเสพติด
อยากในเพศตรงข้าม อยากเล่นการพนัน เป็นต้น ความอยากดังกล่าว
มานี้ มีทงั้ ความอยากประเภทธรรมดา และความอยากประเภท หลงติด
ผูบ้ ริโภคกาม หมายถึง ผูเ้ สวยความอยากนัน้ ถ้าเป็นความ
อยากธรรมดา ก็ไม่สเู้ สียหายมากนักแต่ถา้ อยากประเภทหลงติด เช่น
ดืม่ สุรา เสพยาบ้า เคล้านารี เล่นการพนัน เป็นต้น ผูท้ บี่ ริโภคกามเช่นนี้
เมือ่ ตายไปแล้ว จะเป็นผูพ้ ร่องในบุญกุศล มีทางเดียวคือไปเกิดในนรก
เปรต อสุรกาย เป็นต้น
มีคำถามว่า ทำไมคนเราเกิดมาจึงไม่เหมือนกัน หมายถึง รูป
ร่าง นิสยั ใจคอ ฐานะ และอืน่ ๆ จะแตกต่างกัน ตอบว่า เพราะคนที่
เกิดมามีบุญติดมาไม่เหมือนกัน หมายถึงบุญเมื่อชาติก่อน คนที่เคย
ทำบุญมามาก บุญนัน้ จะติดมากับจิตวิญญาณ เมือ่ มาเกิดในชาตินี้ จึง
อยูใ่ นสถานะทีด่ ี ส่วนคนไหนทีท่ ำบุญมาน้อย ก็มาเกิดสมฐานะของบุญ
ถ้ากรรมชัว่ ติดตามมาด้วย ชีวติ ก็จะมีแต่ความเดือดร้อน
และในทำนองเดียวกันนี้ บุญหรือความดี ที่เราทำในชาตินี้

176
ก็จะส่งผลไปถึงชาติหน้า ดังนัน้ พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า ผูบ้ ริโภคกาม

ซึง่ หมายถึงผูท้ ตี่ กอยูใ่ นอำนาจของความอยาก จะเป็นผูพ้ ร่อง คือจะมีบญ



ติดไปน้อย หรือตรงกันข้าม อาจจะมีบาปติดไปมากกว่าบุญ เพราะค่าที่
ตนมีแต่ความหลงมัวเมา จนละเว้นการทำบุญไปบ้าง ทางที่ดีควรจะ
หมั่นทำบุญจะได้ไม่พร่องบุญ และหมั่นรักษาศีล เพราะศีล ๕ เป็น
คุณสมบัติของมนุษย์ เมื่อกลับมาเกิดใหม่ก็จะมาเกิดเป็นมนุษย์เป็น
อย่างต่ำ และเมือ่ มีศลี แล้ว ก็จะไม่เวร เนือ่ งจากผิดศีล ๕ แต่ละข้อ
เป็นการสร้างเวรแต่ละอย่าง
เพราะฉะนัน้ ขอให้มองถึงความจริงว่า เราจะต้องตายและไป
เกิดใหม่อกี ถ้ายังหลงมัวเมาอยูใ่ นกาม ก็จะเกิดการพร่องบุญ จะมีแต่
บาปกรรม และการรักษาศีลถือว่าเป็นการสร้างบุญด้วยสร้างคุณด้วย
จะเป็นคนไม่มเี วรทัง้ ชาตินแี้ ละชาติหน้า และในชาติตอ่ ๆ ไปด้วย ขอให้
คิดว่า
๑. อยากพร่องบุญ คุณพร่องเวร พร่องอย่าให้มี จงสร้างดีให้เด่น
๒. เกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะบุญท่านแบ่งไว้ จงทำบุญไว้เถิด
จะไปเกิดทีส่ บาย
R




177
๗๘
บุญเป็นของเรา ถ้าเว้นเมาทัง้ สี่
R
โภคตณฺหาย ทุมเฺ มโธ, หนฺติ อญฺเว อตฺตานํ
ผูม้ ปี ญ
ั ญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผูอ้ นื่ เพราะอยากได้โภคะ

ผูม้ ปี ญ
ั ญาทราม หมายถึง ผูโ้ ง่เขลา หรือมิใช่ผโู้ ง่เขลา คนผูม้ ี
ปัญญานัน่ แหละ แต่ใช้ปญ ั ญาไปในทางทีเ่ ลวทราม ทัง้ สองความหมายนี้
รวมแล้วก็มีนิสัยเหมือนกัน กล่าวคือ ชอบทำแต่ความชั่ว ปล่อยตัว
หมกมุน่ มัวเมา เงินทองข้าวของทีม่ อี ยูก่ ผ็ ลาญหมด เอาแต่ เทีย่ ว –
กิน – เล่น บ้านมีนอนก็ไม่นอน ไปเทีย่ วไม่กลับบ้าน หรือ ๒ – ๓ วัน
จะกลับมาสักที เมือ่ เงินหมดก็ตอ้ งพึง่ มิจฉาชีพ ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้
เงินมาก็ใช้ได้ นีค้ อื คนที่ ฆ่าตัวเอง ชาตินจี้ ะไม่มโี อกาสโง่ขนึ้ ได้อกี แล้ว
ทีย่ กมานีเ้ ป็นเพียงตัวอย่าง อาจจะทำอย่างอืน่ ทีเ่ ป็นความชัว่ นอกจากนี้
ทีจ่ ะทำให้ตนกลายเป็น คนตายทัง้ เป็น
การฆ่าคนอืน่ กับการฆ่าตนเอง ทัง้ สองอย่างนี้ การฆ่าตนเอง
ง่ายกว่า เพราะการฆ่าคนอืน่ นัน้ ใครเขาก็ไม่ยอมให้ฆา่ หรือถ้าฆ่าแล้ว
ตัวเองก็จะต้องตกเป็นอาชญากร ผิดกฎหมายและศีลธรรม ส่วนการฆ่า
ตัวเอง บางอย่างก็ไม่ผิดกฎหมาย เราพอใจและเราก็เป็นคนทำเอง
หมายถึงทำความชัว่
ตัวอย่างเช่น คนทีเ่ คยเป็นคนดี มีเกียรติยศชือ่ เสียง เคยมีคน
ยกย่องสรรเสริญ แต่พอถูกความเมา ๔ ครอบงำ หมายถึง เมาเพศ
178
หมดราคา – เมาสุราหมดสำคัญ – เมาพนันหมดตัว – เมามิตรชัว่
หมดดี ความดีทมี่ อี ยูก่ ห็ มดไป ทีย่ กมากล่าวเพือ่ ให้มองเห็นถึง การฆ่า
ตนเอง คือความดีนนั้ เอง
แต่ในพระพุทธภาษิตนี้ พระพุทธเจ้าตรัสถึง การฆ่าเพราะ
อยากได้โภคะ ซึง่ หมายถึง ความโลภอยากได้ในทรัพย์ จนถึงกับต้อง
ทำความชั่ว เช่นที่มีข่าวว่า เด็กหญิงวัยรุ่น อยากได้โทรศัพท์มือถือ
เพื่ อ นเขามี กั น ทั้ ง นั้ น แต่ ต นเป็ น คนยากจน ไม่ มี เ งิ น จะซื้ อ กั บ เขา

จึงออกขายตัวกับผู้ชาย พอได้เงินมาก็นำมาซื้อ ตัวเองต้องฆ่าตัวเอง


เพือ่ แลกกับสิง่ ทีต่ อ้ งการ อย่างนีก้ เ็ ป็น ฆ่าตัวเอง
เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าความอยาก ย่อมจะมีแก่ทุกคนที่ยัง
เป็นปุถชุ น แต่จะต้องให้อยูใ่ นขอบเขต อย่าให้ผดิ กฎหมาย ศีลธรรม
และจารีตประเพณี เพราะถ้าปล่อยให้ความอยากอยูน่ อกขอบเขต กลับ
เข้ามาทำลายตัวเอง จนถึงกับเสียคน อย่างนีเ้ ท่ากับเป็นการฆ่าตนเอง
ขอให้คดิ ว่า
๑. เมาเพศหมดราคา เมาสุราหมดสำคัญ เมาพนันหมดตัว
เมามิตรชัว่ หมดดี
๒. คนชอบชัว่ จะทำตัวเหมือนเพชฌฆาต ต้องทำสิง่ อดสู ดูๆ
ก็นา่ อนาถ
R


179
๗๙
หลงเพราะรู้ น่าอดสูยงิ่ นัก
R
อวิชชฺ านิวตุ า โปสา
คนทัง้ หลาย ถูกอวิชชาหุม้ ห่อไว้

อวิชชา คือ ไม่รู้ – รูไ้ ม่ทำ – ทำไม่เป็น หมายความว่า

คนทุกคนทีเ่ กิดมาในโลกนี้ ยกเว้นพระอรหันต์ นอกนัน้ จะถูกหุม้ ห่อด้วย


อวิชชา กล่าวคือ ไม่รู้ ได้แก่ไม่รวู้ า่ จะทำอย่างไร จึงจะให้กเิ ลสทีม่ อี ยู่
ในตัวเรา หมดสิ้นไปได้ ดังที่บุคคลส่วนใหญ่เป็นกันอยู่ขณะนี้ อีก
ประเภทหนึง่ คือ รูว้ า่ การทีจ่ ะทำลายกิเลส จะต้องศึกษาปฏิบตั อิ ยูใ่ นศีล
สมาธิและปัญญา ด้วยการเจริญพระกรรมฐาน รู้แต่ไม่ยอมทำสักที
ส่วนประเภททีส่ าม ก็ปฏิบตั อิ ยูเ่ หมือนกันแต่ ทำไม่ได้ ข้อสำคัญ อยูท่ ี่
ตัวของเราเป็นส่วนใหญ่ เบื้องต้นขอให้ หมั่นให้ทาน หมั่นรักษาศีล

ทัง้ สองอย่างจะทำให้เกิดปัญญา ตัวทีจ่ ะนำไปสูก้ บั อวิชชา


ถ้าจะเปรียบตัวเรา เหมือนกับเมืองๆ หนึง่ ให้ชอื่ ว่า กายนคร
เมืองนี้ เป็นเมืองทีไ่ ม่คอ่ ยจะสงบนัก ภายนอกกำแพงเมืองนัน้ เต็มไป
ด้วยข้าศึกศัตรู มีความโลภ ความโกรธ ความหลง อิจฉา ริษยา
พยาบาท เป็นต้น รวมเรียกว่า กิเลส เมืองนีม้ ปี ระตูเมืองอยู่ ๕ แห่ง
คือ ตา – หู – จมูก – ลิน้ – กาย หมายถึงศัตรูจะเข้าเมืองได้ โดย
ประตูทงั้ ๕ ประตูใดประตูหนึง่
ตามปรกติประตูเมือง จะต้องมีทหารเป็นยามเฝ้าประตู สมมุตวิ า่
180
เสียงทีม่ คี นด่าเรา เข้ามาทางประตูหู เมือ่ เข้าไปแล้ว ก็จะมุง่ ไปสูก่ อง
บัญชาการคือใจ ซึง่ ใจเป็นประตูภายใน คือประตูกองบัญชาการนัน่ เอง
ใจ หมายถึงพระราชาผู้ครองนคร เมื่อเสียงด่าเข้าถึงใจ ใจก็จะเกิด
ความโกรธ นั่ น หมายความว่ า ข้ า ศึ ก คื อ ความโกรธเข้ า ยึ ดใจคื อ

พระราชาได้แล้ว ความโกรธก็สั่งใจคือพระราชา ให้ไปทำตามอำนาจ


ของเขา อาจจะสัง่ ให้ไปทำร้ายคนด่า หรือไปฆ่าคนด่า ใจคือพระราชาก็
จะต้องทำตามเขาสัง่ ทีย่ กมานี้ จะให้มองเห็นว่า การทีค่ นต้องทะเลาะกัน
ก็เพราะเปิดประตูให้ศตั รูเข้าอย่างเสรี
เพราะฉะนัน้ คนทีเ่ ขาแปลกันว่ายุง่ ก็เพราะตัวอวิชชาเข้ามา
สัง่ งาน ทางทีถ่ กู ควรจะต้องมีสติ คือรูว้ า่ อะไรดีอะไรไม่ดี ทีไ่ หนไม่ดกี ็
อย่าทำ เลือกทำแต่สงิ่ ทีด่ ๆี ใช้ปญ
ั ญาพิจารณาให้เห็นของจริง อย่าเอาแต่
ใจตัวเอง โดยไม่คิดถึงเรื่องธรรมะ ควรจะต้องสนใจในเรื่องธรรมะให้
มากๆ ขอให้คดิ ว่า
๑. กายนครถูกทำลาย เพราะใจเป็นพาล การระวัง เป็นหนทาง
อภิบาล
๒. หลงเพราะรู้ น่าอดสูยงิ่ นัก ถ้าสำนึกข้อนี้ ความดีจะประจักษ์
R




181
๘๐
โกรธไวเหมือนไฟชอร์ต
R
น หิ สาธุ โกโธ
ความโกรธ ไม่ดแี น่

ความโกรธ หมายถึง การทีม่ อี ารมณ์อนั ไม่พอใจ มากระทบใจ
ทำให้ใจเกิดความรุม่ ร้อน หงุดหงิด กระวนกระวาย เกิดอารมณ์ขนุ่ เคือง
เกรีย้ วกราด ย่อมจะทำความพินาศให้เกิดขึน้ ได้ ทัง้ แก่ตน และคนอืน่
เหมือนไฟ ถ้าอยูก่ บั ตัวเรา เราก็รอ้ น ถ้านำไปใส่คนอืน่ คนอืน่ ก็รอ้ น
ฉะนัน้
ความโกรธนัน้ ถ้าปล่อยให้เกิดถึงทีส่ ดุ อาจจะฆ่าได้แม้แต่ผมู้ ี
พระคุณ เพราะตอนโกรธนัน้ จะเกิดการลืมตัว ลักษณะของความโกรธ
จะแสดงออกมาด้วยความเกรีย้ วกราด ดุดนั โหดร้าย และขณะทีถ่ กู
ความโกรธครอบงำนัน้ จะไม่รจู้ กั บาปบุญคุณโทษ ความโกรธจึงจัดว่า
ไม่ดแี น่
มี ค ำพู ด อยู่ ป ระโยคหนึ่ ง ว่ า “โกรธไว้ เ หมื อ นไฟชอร์ ต ”
ธรรมดาว่ากระแสไฟฟ้าทีล่ ดั วงจร ทำให้เกิดการชอร์ตนัน้ ถ้าชอร์ตใส่
คน จะทำให้คนตาย ถ้าชอร์ตใส่บา้ น ทำให้เกิดไฟไหม้บา้ นฉันใด ความ
โกรธก็เช่นเดียวกันฉันนัน้ ถ้าโกรธใส่คนอาจจะทำให้คนตายได้ ถ้าโกรธ
ใส่สงิ่ ของ ทำให้สงิ่ ของถูกทำลายได้ เช่นคนทีเ่ ดินไปเตะประตู เกิดโทสะ
ตรงไปถีบประตูเสียพังไปเลย ก็ยงั เคยมี
182
บางคน ถูกคนอืน่ ทำร้ายร่างกาย เกิดความโกรธแค้น คว้าเอา
ปืนไปยิงเขาตาย พอหายโกรธจึงนึกขึ้นได้ แต่ก็สายเสียแล้ว เพราะ
สิง่ ทีท่ ำแล้ว ทำคืนไม่ได้ คนดีกต็ อ้ งกลายเป็นเสียไป ชัว่ พริบตาเดียว
บางคนอุ ต ส่ า ห์ ส ร้ า งความดี ม าเป็ น สิ บ ๆ ปี พอโมโหพริ บ ตาเดี ย ว

ต้องกลายเป็นคนเสียไป
คนเรายามปรกติทยี่ งั ไม่มคี วามโกรธ จะฆ่าหรือทำร้ายใครไม่ได้
แต่พอเกิดความโกรธถึงสุดยอด จะลืมตัวดังกล่าวข้างต้น ดังนัน้ ทุกคน
ย่อมจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร ควรจะได้หัดบังคับตัวเอง ในขณะก่อนที่จะ
เกิดความโกรธ เพราะถ้าปล่อยไปตามอารมณ์ ก็จะเกิดเหตุดงั กล่าวมา
ข้างต้นได้
เพราะฉะนัน้ ความโกรธท่านเปรียบเหมือนไฟไหม้ฟาง คือเกิด
ไวดับไว คำว่าไวตรงนี้ ทีท่ ำให้คนตัง้ ตัวไม่ทนั หรือตัง้ สติไม่ทนั พอรูต้ วั
ต่อเมื่อทำไปเสียแล้ว เรื่องของไว จะต้องแก้ด้วยช้า หมายถึงมีสติ

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอย่าด่วนตกใจ รีบตั้งสติแล้วทำช้าๆ คือค่อยๆ

คิดให้ดี ขอให้คดิ ว่า


๑. โกรธไวเหมือนไฟชอร์ต จะตาบอดมืดมัวไม่กลัวภัย ต้อง
หมัน่ ตรองตริ ตัง้ สติเข้าไว้
๒. คนเมาโกรธ จะมีโทษกว่าเมาเหล้า จงมีสติกอ่ นโกรธ โทษ
จะบางเบา
R

183
๘๑
สนิมใจ เกิดได้จากความโกรธ
R
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธ เป็นดังสนิมศัสตราในโลก

ความโกรธ เป็นธรรมชาติทเี่ กิดกับจิต และเมือ่ เกิดแล้วก็ทำให้จติ
ดิน้ รนกระวนกระวาย อยูไ่ ม่เป็นสุข เหมือนกับน้ำทีเ่ ดือดพล่าน สิง่ ใดที่
อยูใ่ นน้ำอันเดือดนัน้ จะไม่อยูก่ บั ที่ กล่าวคือจะพรุง่ ขึน้ พรุง่ ลง บางครัง้
ก็ขนึ้ มาเหนือน้ำ เมือ่ ขึน้ มาแล้วก็จมลงไปอีก เป็นอยูอ่ ย่างนีต้ ลอดไป
หากบุคคลใดปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นบ่อยๆ จะทำให้จิต
มืดมน บังดวงปัญญา เหมือนสนิมซึง่ ติดทีอ่ งค์พระปฏิมา จะทำให้องค์
พระไม่สวยงาม และถ้าปล่อยไว้นานๆ ก็จะเกิดเป็นสนิมขุม ลึกลงไป
เกาะกินเนือ้ โลหะให้ผพุ งั ไปในทีส่ ดุ
ธรรมดาว่าสนิม ถ้าเริม่ เกาะครัง้ แรกๆ จะต้องรีบขัดถูออกเสีย
ก่อนทีจ่ ะทำให้เสียของ แต่ถา้ ปล่อยไว้นานๆ จนถึงกับลงราก ทีเ่ รียกว่า
สนิมขุมดังกล่าวมา ก็จะกำจัดยาก สิ่งใดก็ตามถ้าแต่เดิมมองดูแล้ว
สวยงาม หากมีมลทินไปแปดเปื้อน เช่นผ้าขาว เป็นต้น ก็จะทำให้
กลายเป็นของไม่นา่ ดูไป
อันความโกรธ ซึ่งเป็นสนิมของใจ ก็มีนัยกันกับที่กล่าวมา
กล่าวคือ ถ้าบุคคลใด ปล่อยให้ความโกรธเข้ามาเป็นเจ้าเรือน จะมีนสิ ยั
หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท บาดหมาง เก็บ
184
อารมณ์ไม่อยู่ ดุรา้ ยโหดเหีย้ ม ไม่มใี ครอยากคบค้าสมาคมด้วย
ถ้าบุคคลสะสมความโกรธนีไ้ วนานๆ ก็เหมือนสนิมทีเ่ กาะโลหะ
นานๆ ไม่เคยเคาะขัดถูเลย ความโกรธก็จะมีมากขึ้นๆ ในที่สุดก็จะ
กลายเป็นบุคคลหมดสภาพ คือเสียคนไปตลอดชาติ และตายไปแล้ว

ก็จะมีนรกเป็นที่ไปอย่างแน่นอน ท่านกล่าวว่า ก่อนตาย หากใครมี


อารมณ์สดุ ท้ายเจือด้วยความโกรธ คนนัน้ ตายไปแล้ว จะต้องไปเกิดใน
นรก ดังนี้
เพราะฉะนัน้ ทุกคน ควรจะต้องหมัน่ ทำบุญไว้ ทำบ่อยๆ เพือ่
เป็นการปรับเปลีย่ นสภาพจิตใจ การรักษาศีล จะทำให้จติ ใจเยือกเย็น
อันจะเป็นสิง่ แก้ความโกรธให้บนั เทาลงได้ การทำบุญมีรกั ษาศีลเป็นต้น
จะเป็นการเคาะสนิมใจ ทำบุญบ่อยๆ ก็เหมือนมีการเคาะสนิมบ่อยๆ
ฉะนัน้ ขอให้คดิ ว่า
๑. สนิมเหล็กกำจัดได้ สนิมใจกำจัดยาก จงฝึกหัด หมัน่ กำจัด
ให้มาก
๒. เก็บโกรธไว้ ใจจะพิรธุ ถ้าโกรธเมือ่ ไร จะสิน้ ลายมนุษย์
R






185
๘๒
จุดระเบิด จะเกิดทีโ่ กรธ
R
อนตฺถชนโน โกโธ
ความโกรธ ก่อความพินาศ

ความโกรธ เป็ น ธรรมชาติ ที่ ก่ อให้ เ กิ ด ความไม่ ส บายใจ

วุน่ วายใจ ร้อนใจ เหมือนกับไฟ ฉะนัน้ ธรรมชาติของไฟ จะอยูท่ ตี่ รงไหน


ก็ตอ้ งมีความร้อน ถ้ารวมกันอยูใ่ นเตาไฟ จะไม่มโี ทษ นอกเสียจากสิง่
อันใดจะตกลงไปใส่เขาเอง สิง่ สำคัญทีก่ ลัวก็คอื ไฟทีอ่ อกนอกเตา หาก
กระเด็นไปถูกสิ่งใด ก็จะเผาผลาญสิ่งนั้น ดังที่เราเคยเห็นไฟไหม้บ้าน
ฉะนัน้
ความโกรธก็เช่นเดียวกัน ถ้าโกรธอยู่ในใจ ก็ไม่สู้จะเป็นอะไร
มากนัก แต่ถา้ กระเด็นไปถูกครอบครัวตน ก็จะเผาผลาญครอบครัวของ
ตนนัน้ คือเกิดการทะเลาะกัน บางครัง้ แตกแยกจากกัน
การอยู่ร่วมกันในสังคม การระวังอารมณ์ของแต่ละคน เป็น
เรือ่ งสำคัญ เพราะอารมณ์ของคนบางครัง้ ดี บางครัง้ ร้าย ยิง่ เป็นใน
สมัยปัจจุบนั นี้ ซึง่ เป็นยุคแห่งความรวดเร็ว ทำให้คนเป็นคนใจร้อนยิง่ ๆ
ขึน้ ถ้ามัวเชือ่ งช้า จะหากินไม่ทนั จ่าย
การทำอะไรด้วยใจร้อน จะเป็นจุดระเบิดของโทสะได้ง่าย
เพราะแต่ละคนต่างก็มีไฟด้วยกันทั้งนั้น ถ้าคนนั้น เป็นคนเห็นแก่
ประโยชน์สว่ นตัว มีทฐิ มิ านะ ไม่ยอมลงใคร ไฟนัน้ จะดับยาก เพราะ
186
เป็นคนไม่ยอมคนอยูแ่ ล้ว
ถ้ามีคนอยูส่ องคน ต่างก็มไี ฟดังกล่าวเหมือนกัน โคจรมาพบกัน
แปลว่า คนทัง้ สองต่างก็พกระเบิดมากันคนละลูก พอมาพบกัน และจุด
ชนวนใส่กนั หมายถึง มีการพูดจากระทบกระทัง่ กัน หรือพูดดูถกู ดูหมิน่ กัน
เมือ่ ถึงจุดสุดยอด คนทัง้ สองก็จะลงมีชกต่อยกัน นัน่ หมายถึง ระเบิด

ก็จะแสดงออกมา ลงท้ายทั้งสองคนไม่มีใครชนะ ผู้ที่ชนะคือตำรวจ


ได้แก่ถกู จับไปขังหรือไปปรับตามระเบียบ
เพราะฉะนัน้ การทีท่ กุ คนจะทำอะไร ควรจะฝึกหัดใจให้เยือกเย็น
สุขมุ รอบคอบ ลดทิฐมิ านะ ลดความใจร้อนลง ให้ถอื ว่าควรชนะกันด้วย
กำลังปัญญา ไม่ใช่ชนะกันด้วย กำลังกาย การแสดงออกหรือการ
พูดจา ก็ให้เลือกใช้ในสิง่ ทีเ่ ป็นมิตร มิใช่เป็นการชิงดีชงิ เด่นกัน ขอให้คดิ ว่า
๑. โกรธเมื่อเกิด เป็นจุดระเบิดของสังคม คนไหนมักโกรธ

จะหมดคนนิยม
๒. โกรธไม่ดี จะมีแต่กอ่ พินาศ จงหาทางลดโทษ อย่าให้โกรธ
ระบาด
R






187
๘๓
เศษไฟกิเลส เป็นเหตุหายนะ
R
โกโธ จิตตฺ ปฺปโกปโน
ความโกรธ ทำให้จติ กำเริบขึน้

จิตกำเริบ หมายความว่า อาการทีจ่ ติ เกิดความกล้าหาญ ไม่
เกรงกลัวใคร ถ้าเป็นการทะเลาะกัน จะเห็นว่าคนทัง้ คู่ ต่างคนต่างก็มี
ความโกรธ อย่างเช่นสามีภรรยา ยามปรกติกร็ กั กันมาก เหมือนทีเ่ ขา
เปรียบว่า ปานจะกลืนกิน พอเวลาเกิดความโกรธขึน้ มา ความรักหวาน
ชืน่ หายไปหมด ต่างคนต่างด่า ปราศจากความเคารพยำเกรง ฝ่ายหญิง
ถึงแม้จะมีกำลังน้อยกว่า พอโกรธขึน้ มาก็ไม่กลัว สูไ้ ด้ทงั้ นัน้ เพราะใน
ขณะทีท่ ะเลาะกันนัน้ ความโกรธของแต่ละฝ่าย จะค่อยกำเริบขึน้ ๆ พอ
ถึงจุดสุดยอด ก็เข้าห้ำหัน่ กัน บางครัง้ ถึงกับฆ่ากันตายก็มี
มีคำทีค่ นโบราณกล่าวว่า เศษไฟกับเศษบาป แม้จะเป็นเพียง
เศษ ก็ไม่ควรไว้ใจ ไม่ควรให้มี ไฟทีก่ น้ บุหรีก่ ด็ ี ไฟทีจ่ ดุ ธูปบูชาพระก็ดี
เคยเผาผลาญบ้านเรือน ก่อความพินาศมาแล้วมิใช่นอ้ ย ก็เพราะความ
ประมาทว่า เป็นเพียงเศษไฟนิดหน่อยเท่านัน้
ความกลุม้ ใจ ความไม่สบายใจ ใจคอหงุดหงิด เหล่านีค้ อื เศษ
ของความโกรธ ถ้าปล่อยไว้ ไม่แก้ไข จะค่อยๆ ก่อตัว รุกลามขึน้ เป็น
ลำดับ การแก้ในจุดนี้ คนเรามักจะหันไปพึง่ สุรา หรือยาเสพติด เพราะ
เชือ่ ว่า สิง่ เหล่านี้ สามารถจะปรับเปลีย่ น บรรยากาศแห่งจิตใจ ให้หาย
188
คลายจากความทุกข์ได้ แท้ที่จริง เมื่อเมาแล้ว อาจจะไปก่อขยาย
เรือ่ งเดิม ให้ขยายกลายเป็นหายนะได้
ความจริง สุราหรือยาเสพติด เป็นตัวโมหะ คือเป็นไฟแบบ
เดียวกับโทสะ การแก้ดว้ ยสุราหรือยาเสพติด ก็เท่ากับว่า เอาไฟไปดับไฟ
เท่ากับไปเพิ่มให้เป็น ความร้อนกำลังสอง ที่ถูกควรจะทำใจให้สงบ
หรือไม่กห็ นีไปทีไ่ หน ยอมได้กย็ อมไปก่อน เมือ่ หายโกรธแล้วค่อยปรับ
ความเข้าใจกัน
เพราะฉะนัน้ เศษโกรธก็คอื เศษไฟ ลมปากของคนทีท่ ะเลาะกัน
เท่ากับเป็นลมทีพ่ ดั กระพือเศษไฟเพียงน้อยนิดนัน้ ให้ตดิ เชือ้ กลายเป็น
เหตุเผาผลาญ เศษโกรธไม่ควรจะให้มใี นจิตใจ จะต้องฝึกให้มี การละ
การปรงได้กจ็ ะเป็นการดี นำเอาความใจเย็น มาดับไฟโกรธบ้าง จึงจะถูก
ขอให้คดิ ว่า
๑. เศษไฟเศษกิเลส คือต้นเหตุหายนะ ถ้าจะกำจัด ต้องฝึก
การละ
๒. โกรธไม่กลัว จะทำตัวให้ถึงตาย เมื่อโกรธทุกที อย่าให้มี
ท้าทาย
R





189
๘๔
ยักษ์สามหน้า ผูฆ้ า่ ตัวเรา
R
อนฺธตมํ ตทา โหติ, ยํ โกโธ สหเต นรํ
ความโกรธครอบงำคนเมือ่ ใด ความมืดมนย่อมมีเมือ่ นัน้

สภาพแห่งจิตของคนเรา ถ้าจะเปรียบก็เหมือน น้ำใสทีม่ ตี ะกอน
อยู่ข้างล่าง ความใสของน้ำนั้น ทำให้เรามองเห็นตะกอนที่นอนก้นได้
อย่างชัดเจน เปรียบได้กบั จิตของเรา ในยามทีไ่ ม่มกี เิ ลส มีความโกรธ
เป็นต้น มาบดบัง ทำให้มองเห็นอรรถเห็นธรรม รูจ้ กั บาปบุญคุณโทษ
มองเห็นว่าอย่างไรผิด อย่างไรถูก ได้เป็นอย่างดี แต่พอถูกความโกรธ
ครอบงำ ก็เหมือนกับนำเอาสิ่งของ ไปคนน้ำที่ใสนั้น น้ำที่เคยใส

ครั้นเมื่อถูกคนก็จะกลายเป็นน้ำขุ่นทันที ทำให้มืดมน มองไม่เห็นบาป


บุญคุณโทษ รูแ้ ต่วา่ จะต้องแก้แค้น ด้วยความโหดเหีย้ มดุรา้ ย อาจจะถึง
กับลืมตัวฆ่ากันได้
คนโบราณสอนว่า ให้ระวัง ยักษ์สามหน้า ซึง่ หมายถึง ความ
โกรธจะเปลีย่ นหน้าคนให้เป็นหน้ายักษ์ และมี ๓ หน้าอย่างนีค้ อื
หน้าที่ ๑ โกรธเกรีย้ วกราด ได้แก่ คนทีม่ อี ารมณ์ไม่ดี พอพบ
หน้าใคร ก็จะด่ากราดไปหมด ถ้าขณะนั้น ดื่มสุราเข้าไปด้วย ยิ่ง
ผสมโรงกันใหญ่ ทีเ่ รียกว่า เมาอาละวาด
หน้าที่ ๒ โกรธไม่กลัว ได้แก่ คนทีเ่ กิดความโกรธ จะไปฆ่า
หรือทำร้ายเขาให้ได้ ไม่กลัวว่าเขาจะใหญ่ขนาดไหน ไม่กลัวเสียชือ่ เสียง
190
เกียรติยศ ไม่กลัวติดคุก ไม่กลัวเสียเงินเสียทอง เป็นต้น
หน้าที่ ๓ โกรธกลับกลาย ได้แก่ พอเกิดความโกรธขึ้นมา
เป็นเหมือนคนเสียสติ เอะอะโวยวาย ทำอะไรปราศจากความอาย บางคน
เมื่อตอนไม่เมา มีนิสัยเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ แต่พอเมาแล้วกลับ
เปลีย่ นแปลงไปแบบตรงกันข้าม ทีย่ กมานี้ เพียงสามหน้า แต่ความจริง
คนโกรธนั้นจะมีหน้ามากกว่า นี้ คนโกรธก็คือคนเมา คือเมาโกรธ

ถ้าขณะนัน้ ไปดืม่ สุราด้วย ก็กลายเป็นเมากำลังสอง


เพราะฉะนัน้ ทุกคนจะต้องเคยเห็นคนโกรธ ว่ามีลกั ษณะเป็น
อย่างไร ตลอดจนถึงมีโทษร้ายแรงขนาดไหน ควรต้องมีสติรไู้ ว้ หาก
เกิดความโกรธขึน้ มาครัง้ ใด ก็ให้คดิ ว่า เรากำลังจะเปลีย่ นจากคนเป็น
ยักษ์แล้ว เราจะเรียกคนทีโ่ หดร้ายว่ายักษ์ ขอให้มสี ติแล้วกลับมาเป็น
คนอย่างเดิม ขอให้คดิ ว่า
๑. โกรธสามหน้ า ท่ า สามแหล่ ง ถ้ า มี ใ นตน จะเป็ น คน
เปลีย่ นแปลง
๒. โกรธเมือ่ ไร จะทำใจให้มดื บอด ถ้าโกรธยังมี จะทำดีไม่ตลอด
R






191
๘๕
จะหมดเหตุรา้ ย ด้วยโซ่ใจขันตี
R
อปฺโป หุตวฺ า พหุ โหติ, วฑฺฒเต โส อขนฺตโิ ช
ความโกรธน้อยแล้วมาก เกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขนึ้

ความโกรธ เป็นธรรมชาติที่ทำให้ร้อนใจ ดุจถูกไฟเผาผลาญ
จะเกิดขึน้ จากน้อยไปหามาก ไฟทีก่ น้ บุหรี่ หรือไฟทีธ่ ปู บูชาพระ แม้จะ
เป็นไฟทีม่ ปี ริมาณน้อยนิด เคยเผาผลาญป่าหรือเผาบ้านเรือนมามากต่อ
มากแล้ว ตามทีเ่ คยเห็นกันมา
ไฟคือความโกรธ บางครั้งก็เกิดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และ
ขยายตัวขึน้ ๆ เป็นเรือ่ งใหญ่โตมหาศาล ดังมีตวั อย่างสามีภรรยาคูห่ นึง่
แต่เดิมก็หยอกล้อเล่นกันธรรมดา ในฐานะข้าวใหม่ปลามัน การหยอกล้อนัน้
ได้แรงขึน้ จนถึงขัน้ ทะเลาะกัน เมือ่ ทะเลาะก็เกิดทำร้ายกัน ภรรยาสูไ้ ม่ไหว
จึงวิง่ ไปคว้าเอาปืนมายิงสามี จนถึงแก่ความตาย เพราะค่าทีไ่ ม่รจู้ กั ใช้
ความอดทน
อันธรรมดาว่าสัตว์ทดี่ รุ า้ ยมีสนุ ขั เป็นต้น เจ้าของจะใช้โซ่ลา่ มไว้
หรือไม่กท็ ำกรงให้อยู่ เพือ่ ป้องกันมิให้ออกไปกัดคนอืน่ สำหรับคนทีเ่ กิด
ความโกรธ ก็จะเกิดการดุรา้ ยได้เหมือนกัน
พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะให้ ใช้โซ่คอื ขันติ คอยล่ามใจคนดุรา้ ยไว้
คนเราที่เกิดการทะเลาะวิวาทกัน จนถึงมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล
เสียเงินเสียทอง เสือ่ มยศหมดราคา ในปัจจุบนั นีก้ ม็ ไี ม่นอ้ ย ทีเ่ ป็นเช่นนี้
192
ก็เพราะไม่ได้ล่ามโซ่ใจ คือความอดทนไว้ ปล่อยไปตามอารมณ์ของ
ความโกรธ
ความโกรธนั้น เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับเมตตา ความโกรธ
เปรียบด้วยไฟ เมตตาเปรียบด้วยน้ำ เมื่อไฟเกิดขึ้นก็จะต้องใช้น้ำดับ
แต่ถ้าน้ำน้อยก็ต้องแพ้ไฟ หมายความว่า จะต้องเตรียมน้ำเข้าไว้ให้
มากๆ ก่อน คือฝึกหัดให้มจี ติ เมตตาอยูเ่ สมอ ด้วยการทำวัตรสวดมนต์
แผ่เมตตาอยู่ทุกวัน พร้อมกันนี้ ก็จะต้องมีขันติคือความอดทน ใช้
สำหรับเป็นตัวสร้างเมตตา เมือ่ เป็นเช่นนี้ ความโกรธก็จะเบาบาง
เพราะฉะนัน้ ความโกรธเป็นไฟ ทีเ่ รียกว่า โทสัคคิ แปลว่าไฟ
คือโทสะ จะเกิดจากน้อยไปหามาก เหมือนไฟทีไ่ หม้ปา่ เป็นต้น แต่แรก
อาจจะเกิดจากไฟทีก่ น้ บุหรี่ แล้วรุกลามมากขึน้ จนดับไม่ไหว ควรจะตัดไฟ
เสียต้นลม ได้แก่การสร้างจิตเมตตาและขันติอยูเ่ สมอ จะมีทางบันเทาได้
ขอให้คดิ ว่า
๑. จะหมดเหตุรา้ ย เพราะโซ่ใจขันตี หากล่ามไว้ได้ อันตรายจะ
ไม่มี
๒. ความโกรธมีมาก เพราะเกิดจากไม่อดทน จงข่มใจไว้ อย่า
ห่างไกลฝึกฝน
R



193
๘๖
ปัญญาพาคนให้พน้ ทุกข์
R
โกโธ ทุมเฺ มธโคจโร
ความโกรธ เป็นอารมณ์ของคนมีปญ ั ญาทราม

คนปัญญาทราม หมายถึง คนทีม่ ปี ญ ั ญานัน่ แหละ แต่นำไปใช้
ในทางที่เลวทราม แท้จริง คนมีปัญญามิใช่คนโง่ จะต้องได้ผ่านการ
ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้ว อย่างนักเรียนทีก่ ำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่
ก็เรียกว่าปัญญาชนได้แล้ว
ความโกรธย่อมจะมีแก่คนทุกชั้น เมื่อยามปรกติ จะเป็นคนดี
คนที่ชอบสร้างความเจริญให้เกิดขึ้น แก่ครอบครัววงศ์ตระกูล ตลอด
จนถึงประเทศชาติบา้ นเมือง ใช้สติปญ ั ญามองเห็นคุณและโทษ แต่เวลา
ทีถ่ กู ความโกรธครอบงำ ความดีหายไปหมด ปัญญาทีม่ อี ยูถ่ กู นำมาใช้
ในทางเลวทราม นักเรียนบางพวก ถึงกับยกพวกตีกนั นัน่ เป็นเพราะถูก
ความโกรธพาไป จึงใช้ปญ ั ญาไปในทางทีผ่ ดิ
บรรพบุรษุ แต่ครัง้ โบราณ มักจะพูดกันว่า จงมีปญั ญาพาตนให้
พ้นทุกข์ แสดงให้เห็นว่า ปัญญาเป็นคุณสมบัติของนักปราชญ์ แต่
ปัญญาทีน่ ำมาใช้ในปัจจุบนั นี้ จะมีความหมายเป็น ๒ อย่างคือ
ปัญญาแท้ ได้แก่ ความคิดนึก ความรูส้ กึ ทีน่ ำมาใช้ในกิจการใด
กิจการนั้นสำเร็จลง อย่างสุจริตยุติธรรม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความทุกข์
ความเดือนร้อน ทัง้ แก่ตนและคนอืน่ จัดเป็นปัญญาแท้
194
ปัญญาทราม ได้ความคิดนึก ความรูส้ กึ ทีม่ ลี กั ษณะเดียวกัน
แต่นำไปใช้ในทางทีเ่ สือ่ มเสีย ในการทำลาย ก่อให้เกิดความทุกข์เดือดร้อน
เป็นการทุจริตผิดศีลธรรม อย่างนีจ้ ดั เป็นปัญญาทราม
ปัญญาทัง้ สองนัน้ อาจจะมีได้ในคนๆ เดียวกัน กล่าวคือ ยาม
ปรกติคนเราทุกคนจะมีปัญญาแท้ แต่พอถูกกิเลสมีความโกรธเป็นต้น
ครอบงำ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ ถ้าคนที่สามารถจะข่มโทสะได้ หรือไม่
แสดงออกมาเป็นความชัว่ จะเป็นคนดีอย่างเดิม หากไม่รจู้ กั ข่ม ก็เป็น
คนปัญญาทรามไป
เพราะฉะนัน้ คนทีม่ ปี ญ ั ญาทราม จะเป็นคนทีเ่ อาแต่ใจตนเอง
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เมื่อไม่ได้ตามที่ปรารถนา ก็จะมีความโกรธ
หรือไม่ก็มีความพยาบาทต่อบุคคลที่เป็นต้นเรื่องนั้น และใช้ปัญญาใน
ทางทีแ่ ก้แค้น นับว่าเป็นการก่อความทุกข์ ถ้าเป็นคนมีปญ ั ญาแท้จะมี
แต่ความสุข ขอให้คดิ ว่า
๑. ปัญญาพาตนให้พน้ ทุกข์ ถ้ามีสขุ ก่อนปัญญา จะพาเขว
๒. โกรธเมือ่ ไร จะทำให้ปญ ั ญาทราม จงข่มความโกรธ อย่าให้
มีโทษรุกลาม
R





195
๘๗
ทะเลาะวิวาท คือประกาศความชัว่
R
โทโส โกธสมุฎ€ฺ าโน
โทสะ มีความโกรธเป็นสมุฏฐาน

คนทุกคน ก่อนทีจ่ ะบันดาลโทสะ บางครัง้ ก็มสี าเหตุมาจากเรือ่ ง
อารมณ์ไม่ดี ไม่คอ่ ยสบายใจ
พอสะสมอารมณ์อย่างนีเ้ ข้าไว้โดยไม่ยอมแก้ไข ก็จะขยายออก
ไปเป็นความกลัดกลุม้ ใจ ต่อจากกลัดกลุม้ ก็หงุดหงิดใจ
ถ้าถึงตอนนี้ ยังไม่ยอมแก้อกี จะเริม่ ออกมาทางวาจาก่อน คำพูด
อาจจะเป็นคำทีพ่ าลหาเรือ่ ง หากไม่ชอบใจใคร ก็จะพาลหาเรือ่ งคนนัน้
ถ้าคนนัน้ ยืน่ เรือ่ งมาให้ ก็จะเกิดบันดาลโทสะ เมือ่ มารูว้ า่ โทสะมีขนั้ ตอน
อย่างนี้ ควรจะหาเรือ่ งเปลีย่ นอารมณ์เสียแต่เมือ่ ยังอ่อน ถ้ารอให้แก่จะ
แก้ไม่ไหว
ความเป็นจริง ความโกรธกับโทสะ ก็เป็นพวกเดียวกัน อยูใ่ น
กองทัพเดียวกันนัน่ แหละ แต่ความโกรธเป็นทัพหน้า โทสะเป็นทัพหลวง
ถ้าเปรียบความโกรธเป็นไม้ขดี โทสะก็เป็นไฟ ถ้าเปรียบความโกรธเป็น
ไฟฟ้าทีร่ ดั วงจร โทสะก็คอื ไฟทีไ่ หม้เผาผลาญ บ้านเรือนเป็นต้น ก่อให้
เกิดความเดือดร้อนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้เห็นว่า ความโกรธ
เป็นต้นเหตุของโทสะ

196
อีกอย่างหนึง่ ความโกรธเกิดจาก ความไว ความรีบร้อน ที่
ขาดสติยบั ยัง้ ขาดปัญญาพิจารณาให้พบความจริง บางคนทำลงไปด้วย
ความลืมตัว แต่พอหายโกรธจึงนึกได้ มักจะบ่นกับตัวเองว่า เราไม่นา่
ทำเลย ถึงคิดได้กส็ ายไปแล้ว เสียหายไปแล้ว เพราะสิง่ ทีท่ ำแล้ว จะทำคืน
ไม่ได้
แท้ทจี่ ริง ความโกรธก็อยูใ่ นตัวเรา และเรานัน่ แหละย่อมจะรูด้ ี
กว่าใครๆ ว่าจะแก้อย่างไร จะแก้ทตี่ รงไหน ถ้าท่านทีก่ ำลังแก้อยู่ ก็จง
ใช้ความอดทนทำต่อไป ท่านทีย่ งั มิได้แก้ ก็ควรจะเริม่ ต้นได้แล้ว แก้ได้
มากน้อยแค่ไหน ก็ยงั ดีกว่าไม่ทำเลย อย่าปล่อยความโกรธครองใจเรา
อยูต่ ลอดไปเลย
เพราะฉะนัน้ ทุกคนย่อมจะรูจ้ กั อุปนิสยั ของตนเองได้ดี ถ้าใคร
คิดว่าทีเ่ ราทำอยูน่ กี้ ด็ แี ล้ว ถ้าดีจริงก็ไม่เป็นไร แต่หากไม่ดี ต้องยอมรับ
ว่าไม่ดี อย่าเข้าข้างตัวเอง อย่างความโกรธทีท่ ำให้มกี ารทะเลาะวิวาท
กันนัน้ ถ้าคิดให้ดจี ะรูว้ า่ ทะเลาะวิวาทคือการประกาศความชัว่ ของตัว
ขอให้คดิ ว่า
๑. แก้โกรธหมดทุกข์ แก้ทกุ ข์หมดภัย มีคนไม่นอ้ ย ชอบปล่อย
ไปตามใจ
๒. ทะเลาะวิวาท เพราะอำนาจความโกรธ ถ้าบันเทาตรงนี้
ความดีจะปรากฏ
R

197
๘๘
ยักษ์ยมิ้ เมือ่ คนยอม
R
นตฺถิ โทสสโม คโห
ผูจ้ บั เสมอด้วยโทสะไม่มี

ตำรวจ มีหน้าทีใ่ นการพิทกั ษ์รกั ษา ความสงบสุขของประชาชน
มีหน้าทีจ่ บั ผูท้ ำความผิดส่งฟ้องศาล ศาลมีหน้าทีพ่ จิ ารณาลงโทษ ให้เข้าไป
อยูใ่ นเรือนจำ นีเ้ ป็นหน้าทีข่ องตำรวจ
โทสะ เป็นตัวสร้างความทุกข์เดือดร้อน ให้แก่ประชาชนผูห้ ลงผิด
มีหน้าที่ จับคนดี บังคับให้เป็นคนชั่ว คอยจับส่งให้ตำรวจอีกทีหนึ่ง
และตำรวจก็จะทำหน้าทีด่ งั กล่าว
ทั้งสองคดีนี้ นักโทษในคุก ยังมีกำหนดวันพ้นโทษ แต่คนที่มี
โทสะ และชอบบันดาลโทสะ ไม่มีกำหนด จะมีโทษคือเสียชื่อเสียง
เสียคนไปตลอดชาติ และเมือ่ ตายไปแล้ว ก็จะต้องไปตกนรก
ในสมัยโบราณ ผูใ้ หญ่มกั จะหลอกเด็กว่า อย่าไปไหนคนเดียว
ประเดี๋ยวจะถูกยักษ์จับกิน บางแห่งก็ปั้นเป็นรูปยักษ์ ตัวใหญ่กว่าคน
ธรรมดา มีเขีย้ วโง้ง มีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว เด็กเห็นแล้วไม่กล้าเข้า
ใกล้ กลัวจะถูกยักษ์จบั กิน
มาถึงปัจจุบนั นี้ ก็ยงั ไม่ได้ขา่ ว หรือหนังสือพิมพ์ลงข่าว ว่ามีคน
ถูกยักษ์จบั กินทีน่ นั่ ทีน่ ี่ แสดงว่า ยักษ์นี้ ถ้ามีจริง มันคงจะชอบกินคน

198
เป็นอาหาร พอไม่มขี า่ วอย่างนี้ เด็กก็เลยไม่กลัวยักษ์ ลงท้ายก็เชือ่ ว่า
ยักษ์ไม่มจี ริง เขาสร้างสถานการณ์เพือ่ หลอกเด็ก
ยักษ์มนั ก็เลยดีใจ กระหยิม่ ยิม้ ย่อง เพราะคนคิดว่ายักษ์ไม่มี ก็
ไม่ตอ้ งระวังตัว มันจึงไล่จบั คนกินเป็นว่าเล่น จนท้องของมันคือเรือน
จำไม่พอจะใส่ บางจังหวัดต้องมีเรือนจำถึงสองแห่ง และทีน่ อกเรือนจำ
ก็มอี กี มิใช่นอ้ ย แท้ทจี่ ริง ยักษ์กค็ อื ความโกรธนัน้ เอง เพราะส่วนใหญ่
คนจะไม่ค่อยระวังกัน พอมีความโกรธจากคนดี ก็กลายเป็นคนดุร้าย
คือจะเปลีย่ นจากคนมาเป็นยักษ์
เพราะฉะนัน้ ทุกครัง้ ทีเ่ กิดความโกรธ เราจะรูไ้ ด้ดวี า่ มีอาการ
เป็นอย่างไร ความโกรธเปรียบได้เหมือนกับยักษ์ที่คอยจับคนกินเป็น
อาหาร และก็มีสิทธิ์ที่จะจับได้ทุกคนเว้นพระอรหันต์เท่านั้น เพราะ
แต่ละคน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยระวังตัวในความโกรธ ทางที่ดีควรจะ
ระวังไว้บา้ ง ขอให้คดิ ว่า
๑. โกรธเหมือนยักษ์ รักเหมือนไฟ ถ้ามีอยูก่ บั ตัว จะเมามัววุน่ วาย
๒. คนเกือบหมด จะถูกโกรธจับกิน จงมีสติเข้าไว้ จะห่างไกล
มลทิน
R




199
๘๙
รูถ้ กู รูผ้ ดิ แต่ตดิ ทีพ่ ดู ไม่ได้
R
นตฺถิ โทสสโม กลิ
ความผิด เสมอด้วยโทสะไม่มี

ความชั่วความผิดต่างๆ รวมแล้วมี ๓ พวก คือ พวกของ
ความโลภ พวกของโกรธ และพวกของความหลง พวกของความโกรธ
นับว่าร้ายแรง เกิดบ่อยกว่าเขา ถ้าเป็นคดีกเ็ หมือนคดีอาญา โทสะนี้
เกิดง่ายและไว แต่ดบั ง่าย แต่กว่าจะดับ คนโกรธก็เสียคนไปแล้ว
ความโลภกับความหลงนัน้ ก่อนเกิดจะรูต้ วั ก่อน แต่ตอ้ งหมาย
ถึงเรามีสติ เวลาดับก็ดบั ยาก โดยเฉพาะความหลง ท่านเปรียบด้วยไฟ
สุมขอน คือดับยาก จนกว่าขอนจะถูกไหม้หมดเมือ่ ไร เมือ่ เป็นเช่นนัน้
ก็ควรจะระวังไว้วา่ โทสะเกิดง่ายดับง่าย ถ้าไม่มคี วามอดทน ขาดสติ
จะกลายเป็นคนเสียคนโดยมิได้ตงั้ ใจ เป็นเรือ่ งทีน่ า่ เสียดายอย่างยิง่
ความผิดของคนเรามีอยู่ ๒ อย่าง คือความผิดทีไ่ ร้หลักฐาน
กับความผิดทีม่ หี ลักฐาน ซึง่ ความผิดทัง้ สองอย่าง จะมีอยูใ่ นสังคมทัว่ ไป
อย่างมากมาย
ความผิดไร้หลักฐาน คือความผิดที่รู้กันด้วยใจ ถามใครก็รู้
แต่ไม่มหี ลักฐาน คดีนดี้ บั ยาก บางทีเรียกว่า คดีไม่มใี บเสร็จ ซึง่ สร้าง
ความสับสนวุน่ วาย ให้เกิดกับเจ้าหน้าทีพ่ นักงานสอบสวนมิใช้นอ้ ย บางคน
เราก็เห็นว่าเขาเป็นคนดี รูปร่าง ท่าทาง มิได้บง่ บอกว่าจะเป็นคนเสีย
200
หายตรงไหน แต่ภายในเขามีความผิด โดยทีเ่ ขาปกปิดหลักฐานไว้ ไม่มี
ใครรู้
ความผิดมีหลักฐาน ความผิดนี้ จะเป็นความโกรธเสียส่วนใหญ่
เป็นความผิดเปิดเผย ปิดไม่มดิ เพราะเรือ่ งของโทสะ เป็นเรือ่ งทีจ่ ะต้อง
แสดงท่าทาง แสดงกิรยิ าวาจา ถ้าเขาเป็นคนอดทนสักหน่อยก็จะไม่มี
หลักฐานเหมือนกัน
เพราะฉะนัน้ ความโกรธ จะมีได้แก่คนทุกชัน้ และทุกวัย เมือ่
เกิดความผิด น้อยนักทีค่ วามโกรธไม่เข้าผสมโรง เหมือนคนทีท่ ะเลาะกัน
จะต้องมีสุราเข้าไปผสมด้วยเป็นส่วนมาก แต่คนไหนชั่ว คนไหนผิด

คนเขาจะไม่พดู กัน เพราะไม่มหี ลักฐาน ถ้าพูดไปเกรงภัยมืด ขอให้คดิ ว่า


๑. รูถ้ กู รูผ้ ดิ แต่ตดิ ทีพ่ ดู ไม่ได้ ลูบหน้าปะจมูก จึงเกิดทุกข์วนุ่ วาย
๒. ความโกรธ จะปิดโทษไม่มดิ เมือ่ เกิดความโกรธ จะเผยโทษ
ความผิด
R








201
๙๐
ครอบครัวดีเด่น จะเป็นวิมาน
R
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยูเ่ ป็นสุข

การฆ่ากัน ถือว่าเป็นบาปอย่างร้ายแรง แต่ถ้าฆ่าความชั่วมี
ความโกรธเป็นต้น กลับถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศลมหาศาล ผูท้ จี่ ะฆ่า
ความโกรธให้ตายได้นนั้ จะต้องเป็นพระอรหันต์เท่านัน้ หมายความว่า
พระอรหันต์นนั้ เลิกระวังความโกรธได้แล้ว
แต่ถา้ เป็นปุถชุ นอย่างเรา ต้องใช้วธิ รี ะวังคือ พยายามรักษา
เหตุการณ์ ในอารมณ์ปจั จุบนั อย่าให้เข้าใกล้ความโกรธ หรือถ้าระวัง
ไม่อยู่ มีการเผลอเกิดขึ้นในระยะแรก ให้ใช้ขันติความอดทนข่มไว้

อย่าให้ออกมาทางกายและวาจา ต่อจากนั้นจึงใช้ปัญญา พิจารณาให้


เห็นความจริงว่าโกรธไม่ดีจะมีเรื่อง จะเสียคนและเสียชื่อเสียง
เป็นการประกาศบอกให้รถู้ งึ ธาตุแท้ของคน
บ้านทีอ่ ยูอ่ าศัย จะถือว่าเป็นวิมานของเรา ต้องจัดหาสิง่ อำนวย
ความสุขไว้พร้อมสรรพ เมื่อออกไปนอกบ้านนานๆ ก็จะคิดถึงบ้าน
อยากกลับบ้าน อยากอยูใ่ กล้กบั บุตรภรรยา อยากทานอาหารกันพร้อมหน้า
ฝ่ายบุตรภรรยา ก็มคี วามห่วงใย เอาอกเอาใจเชือ่ ฟัง ไม่นอกรีดนอกรอย
สร้างความสุขให้เกิดขึน้ เหมือนอยูใ่ นสรวงสวรรค์
แต่ความสุขจะมีได้ ก็เพราะคนทัง้ หมดบนบ้านหลังนัน้ มีเมตตา
202
รักใคร่ปรองดองกัน มีความเคารพเชือ่ ฟังต่อกัน มีความอดทน อดกลัน้
อดออม มีความสุขมุ รอบคอบ รูบ้ าปบุญคุณโทษ
ถ้าคนใดในครอบครัวนี้ เอาแต่อารมณ์ มีความโกรธจนถึง
บันดาลโทสะออกมา เกิดการทะเลาะแตกแยก วิมานก็ตอ้ งกลายเป็น
ขุมนรก เพียงชั่วความโกรธวูบเดียว ความโกรธมีโทษถึงเปลี่ยนจาก
สวรรค์มาเป็นนรก พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้คนฆ่าความโกรธ เพือ่ ความ
อยูส่ ขุ สบายในวิมาน
เพราะฉะนั้น ความโกรธมีโทษมหันต์ สามารถจะเปลี่ยน
สวรรค์เป็นนรก ในเวลาชั่วพริบตาเดียว จึงควรจะต้องหาหนทาง
ป้องกัน หมัน่ หักห้ามความหุนหัน เมือ่ รูว้ า่ กำลังจะโกรธ จะต้องมีสติ
ทำช้าๆ เพราะ ความโกรธจะมากับความไว ถ้าสูโ้ กรธไม่ไหวจะต้องรีบ
หนีเสียก่อน ขอให้คดิ ว่า
๑. ครอบครัวดีเด่น จะเป็นเหมือนวิมาน ครอบครัวร้าวฉาน
จะเป็นฐานนรก
๒. บ้านคือวิมานของครอบครัว ถ้าโกรธเมือ่ ไร จะวุน่ วายกันทัว่
R






203
๙๑
อารมณ์เก็บกด จะมีกำหนดระเบิด
R
โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
ฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ความโกรธ ถือว่าเป็นตัวกระตุ้นจิตของคน ให้เกิดการต่อสู

ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมกลัว ถึงแม้จะสู้ไม่ได้ ก็ยังไม่ยอมแพ้อยู่นั่นเอง

จะเห็นได้จากทีส่ ามีภรรยาทะเลาะกัน สามีใช้กำลังเข้าทำร้าย ฝ่ายภรรยาสู้


ไม่ไหว แต่กก็ ดั ฟันสู้ ถึงสูไ้ ม่ไหว ใช้ปากด่าเอาก็ยงั ได้
บางคน ไปเกิดเรือ่ งทะเลาะกับคนอืน่ สูเ้ ขาไม่ไหว ก็เก็บความ
แค้นไว้ เรียกว่า ผูกพยาบาท คิดว่าสักวันหนึง่ จะต้องไปคิดบัญชีให้ได้
ถ้าเก็บความแค้นไว้ ๕ ปี ก็จะต้องเป็นทุกข์อยู่ ๕ ปี จิตใจไม่คอ่ ยจะสบาย
เมือ่ นึกถึงเรือ่ งเก่าก็เกิดความแค้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ฆ่าโกรธได้
จะไม่เศร้าโศก
ในปัจจุบันนี้ เรามีเครื่องอำนวยความสะดวก ความสบาย
มากมายหลายอย่าง ผิดกับในสมัยโบราณ เช่น โทรทัศน์ วีดโิ อ สเตริโอ
เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นเครือ่ งปลุกใจ ให้เกิดความบันเทิงเริงรมย์ บันเทา
ความทุกข์ ความเศร้าโศกลงได้
ถึงอย่างนั้น ก็ยังแก้อารมณ์โกรธ ให้หายไปไม่ได้ สิ่งต่างๆ
เหล่านั้น เป็นเครื่องล่อให้เกิดความอยาก ถ้าได้มาสมอยาก ก็ดีใจ
สบายใจ ถ้าไม่ได้มาตามที่ปรารถนาก็เกิดความทุกข์ใจ หงุดหงิดใจ

204
หรือถ้าได้มาโดยผ่อนส่ง คือเป็นหนีเ้ ขา โดยวิธสี ง่ ดอกเบีย้ ก็เป็นทุกข์
อีกเช่นกัน
ทีย่ กมาเป็นตัวอย่างนี้ เรียกว่า ทุกข์สะสม ทุกข์เป็นทีม่ าของโทสะ
ถ้าเก็บไว้นานขึ้น เขาจะเรียกว่า อารมณ์เก็บกด จะออกมาในรูป

ไม่สบายใจ หงุดหงิดใจ มีอารมณ์ฟงุ้ ซ่าน ถ้าลืมเรือ่ งนีไ้ ป กลับไปคิดใน


เรื่องอื่นก็ไม่เป็นไร แต่พอหลับมาคิดถึงเรื่องอยากเรื่องหนี้ ก็เกิด
อารมณ์ไม่ดอี กี ถูกสะสมอยูอ่ ย่างนีม้ ากขึน้ อารมณ์เก็บกดนี้ เหมือนกับ
ระเบิด คือรอเวลาทีจ่ ะระเบิดออกมา
เพราะฉะนัน้ ความโกรธ เป็นทีม่ าของความเศร้าโศก ถ้าสะสม
ไว้มากอย่าง และมากวันเวลา ก็นบั ว่า เป็นการปลูกโกรธไว้ในใจตัวเอง
ถ้าไม่รบี แก้ไข ก็จะเติบโตใหญ่ขนึ้ เหมือนต้นไม้ฉะนัน้ ยิง่ สะสมไว้มาก
ก็ยงิ่ เป็นการสร้างความทุกข์โศกไว้มาก อาจจะเสียคนได้เพียงวูบเดียว
ขอให้คดิ ว่า
๑. มีทกุ ข์สะสม จะเป็นอารมณ์เก็บกด เมือ่ อดทนหมด เหมือน
กดระเบิดทำลาย
๒. เมตตาสุขใจ จะสบายทัง้ โลก ถ้าโกรธเมือ่ ไร จะกลับกลาย
เป็นโศก
R



205
๙๒
โกรธมี ความดีหมด
R
โกธาภิภโู ต กุสลํ ชหาติ
ผูถ้ กู ความโกรธครอบงำ ย่อมจะละความดีเสีย

ผูถ้ กู ความโกรธครอบงำนัน้ จะมีใจเหีย้ มโหด ดุรา้ ย เกรีย้ วกราด
แต่ยังไม่ได้แสดงออกมา คงจะมีแต่อารมณ์ไม่ดี ไม่สบายใจ ใจคอ
หงุดหงิด ใครพูดขวางหูไม่ได้ รอการบันดาลโทสะ ขณะนัน้ ถ้าคนที่
ทำให้โกรธ เข้ามาพูดในลักษณะกวนโทสะ ก็จะบันดาลโทสะออกมาทันที
ในตอนทีเ่ กิดโทสะนัน้ จะไม่นกึ ถึงบาปบุญคุณโทษอะไร เพราะโกรธ
บังใจทำให้ไกลความคิด นึกแต่เพียงว่า จะต้องเอาชนะไห้ได้ ด้วยเหตุนี้
จึงไม่สามารถจะรักษาความดีไว้ได้ นอกเสียจาก คนทีไ่ ด้เคยอบรมจิต
มาแล้ว เขาจะใช้ความอดทนคอยข่มไว้ ไม่ให้แสดงออกมา
ทุกคน จะต้องเคยเห็นคนทะเลาะกัน คนทัง้ คูท่ ที่ ะเลาะกันนัน้
คือคนทีถ่ กู ความโกรธครอบงำ จึงเกิดการทะเลาะกัน และทะเลาะกันนัน้
ก็มอี ยู่ ๒ ประเภท คือ
ทะเลาะเงียบ หมายถึง คนที่มีผลประโยชน์ขัดกัน ต่อหน้า
อาจจะดีต่อกัน หรืออาจจะพูดกันในเชิงเหลี่ยม แต่ความรู้สึกภายใน
บ่งบอกว่ามีการขัดกัน อย่างนีเ้ รียกว่า คนไม่ถกู กัน
ทะเลาะเปิดเผย หมายถึง เกิดอารมณ์โกรธ พูดกระทบ

206
กระเทียบ พูดเสียดสี หรือด่ากัน เป็นคูว่ วิ าทกัน อาจจะทะเลาะด้วยปาก
หรือด้วยกำลังกาย โดยทัง้ สองฝ่าย ก็คดิ ว่าตนเป็นฝ่ายถูก
ก่อนทีจ่ ะทะเลาะกัน ยังเป็นคนดีกนั อยู่ แต่ในขณะทีท่ ะเลาะกันนัน้
ใครมีความดีอย่างไร จะไม่ยกมาพูด จะเลือกคัดจัดสรรมาพูดแต่ความ
ไม่ดขี องแต่ละฝ่าย จริงบ้างไม่จริงบ้าง คนทีไ่ ม่เคยด่าใครก็ดา่ เป็น คนที่
ไม่คอ่ ยชัง่ พูด ก็พดู เก่ง คนทีไ่ ม่เคยทำร้ายหรือฆ่าใคร ก็ทำร้ายเป็นฆ่าได้
พอหายโกรธก็นกึ เสียใจตัวเอง ทีไ่ ม่นา่ จะไปแสดงตัวเองในทางเลวร้าย
คนบันดาลโทสะเป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อมารู้อย่างนี้ ก็ควรใช้ความอดทน
ฝึกหัดเอาชนะความโกรธให้ได้ จะได้สกั เท่าไรก็ยงั ดี ดีกว่าตกไปเป็นทาส
ของโทสะ โดยไม่ตงั้ ใจ หลีกเลีย่ งการทะเลาะหรือการไม่ถกู กันเสียบ้าง

ก็จะมีความสบายใจดี ส่วนคนอืน่ เขาจะไม่ชอบใจเรา ก็อย่าไปสนใจเขา


ขอให้คดิ ว่า
๑. ทะเลาะเก็บใน ร้ายกว่าทะเลาะเปิดเผย ทางทีเ่ หมาะ ไม่ควร
ทะเลาะเสียเลย
๒. ถ้าโกรธมี ความดีจะหมด คนชอบละเมิด จึงได้เกิดความโกรธ
R




207
๙๓
จน ทุกข์ โทษ ลดคนให้หม่นหมอง
R
โกธโน ทุพพฺ ณฺโณ โหติ
คนมักโกรธ ย่อมมีผวิ พรรณเศร้าหมอง

คนมักโกรธ ได้แก่ คนชอบโกรธ มีนิสัยเป็นคนเจ้าอารมณ์

ทำอะไรจะเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ชอบให้มใี ครมาขัดใจ หากมีใครมาขัดใจขึน้


ก็จะเถียงไม่ลดละ พูดจาชอบหาเรือ่ งคนอืน่ ในใจชอบผูกพยาบาทคน
พูดจาไม่คอ่ ยไพเราะ หรือพูดไพเราะ แต่ชอบถากถางคน
ลักษณะเช่นนี้ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่มกี ารแก้ไข เป็นคนชอบเก็บมี
อารมณ์เก็บกด จะทำให้มผี วิ พรรณหม่นหมอง แก่เกินวัย เพราะมีโทสะ
เป็นไฟอยูภ่ ายในจิตใจ สังเกตดูคนทีก่ ำลังโกรธ ร่างกายจะเกิดการเกร็งตัว
ขณะโกรธจะมีกำลังมาก คือใช้กำลังใจออกไปมาก จะเห็นว่าคนที่มี
ความโกรธความกลัว จะมีกำลังมาก ของหนักๆ ก็สามารถจะยกไหว
พอหายโกรธแล้ว จะอ่อนกำลังลง
มีคำพูดอยูป่ ระโยคหนึง่ ว่า จนทุกข์โทษ ลดคนให้หม่นหมอง
ซึง่ หมายความว่า สภาวะ ๓ ประการคือ ความจน – ความทุกข์ –
ความโกรธ หากมีกบั ผูใ้ ด จะทำให้ผนู้ นั้ ต้องลดตนให้ตำ่ ลง เพราะทัง้
๓ อย่างนี้ เป็นพวกเดียวกัน กล่าวคือ
ความโกรธ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความทุกข์ซงึ่ หมายความ
ทุกข์ใจ เป็นเหตุให้เกิดความจน และใน ๓ อย่างนี้ เพียงในใจของคนมี
208
ความโกรธอย่างเดียว หากสัง่ สมไว้นานๆ หรือปล่อยให้เกิดจนเป็นนิสยั
จะกลายเป็นคนหงุดหงิด เจ้าอารมณ์ โกรธง่าย ไร้เหตุผล กลายเป็น
คนเจ้าทุกข์
คนมักโกรธ จะสังเกตดูได้ว่า คนประเภทนี้ ผิวพรรณจะ
หม่นหมองหมดราศรี กล่าวคือผิวพรรณจะซูบซีด เศร้าหมอง บางครัง้
กลายเป็นคนโรคประสาทไปได้ ความโกรธ ถึงแม้จะมีได้แก่คนทุกคน
แต่ตอ้ งเข้าใจว่า เขามีหน้าทีเ่ กิด เรามีหน้าทีข่ ม่ มิใช่จะปล่อยไปตาม
โกรธสัง่
เพราะฉะนั้น ความโกรธเป็นกิเลสตัวทำลาย นอกจะทำลาย
จิตใจแล้ว ก็ยงั มีการทำลายร่างกาย ทำลายผิวพรรณ เรียกว่าทำลาย
ทั้งนอกและภายใน จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้อง ฝึกหัดในการข่ม ฝึกให้
เป็นคนใจเย็น ฝึกให้มศี ลี ๕ อันจะทำให้หา่ งไกลจากเวรภัย ไร้ความ
ทุกข์กงั วล ขอให้คดิ ว่า
๑. จนทุกข์โทษ ลดคนให้หม่นหมอง สิง่ สามนี้ อย่าได้มหี มายปอง
๒. โกรธกิเลส เป็นเหตุเศร้าหมอง จะแก่เกินไว ความตาย

จะเข้าจอง
R




209
๙๔
ทุกข์ดหี มดภัย ทุกข์รา้ ยเสียคน
R
ทุกขฺ ํ สยติ โกธโน
คนมักโกรธ ย่อมอยูเ่ ป็นทุกข์

คนมักโกรธ เป็นคนที่ชอบสะสมอารมณ์เสีย หมายความว่า
ชอบเก็บเอาเรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ มาคิด บางทีเรือ่ งไม่เป็นเรือ่ ง ก็มาเก็บ
ให้เป็นเรือ่ ง บางที คนเขาพูด หรือตำหนิคนอืน่ ก็เก็บมาคิดว่าเขาพูด
เปรียบปรอยเรา ดังนี้
คนทีช่ อบเก็บเรือ่ งต่างๆ มาเป็นทุกข์ จะเป็นคนทีช่ อบระแวง
เป็นคนคิดมาก ในวันหนึง่ ๆ จะมีแต่ความไม่สบายใจ ตรงนีจ้ ะต้องแก้ไข
ด้วยการละการวาง หัดแผ่เมตตา ทำใจให้สบาย ไม่ยนิ ดีในเรือ่ งร้าย
ไม่เก็บเรือ่ งของใครมาคิด ในเรือ่ งการนินทาสรรเสริญ ให้ถอื เป็นเรือ่ ง
ธรรมดาของโลก
ธรรมดาของคนทั่วไป ย่อมจะรักสุขเกลียดทุกข์ จะเรียกว่า
ทุกข์ไม่ดเี สียเลยก็ใช่ที่ ความทุกข์ทดี่ กี ม็ เี หมือนกัน และทุกข์ชนิดนี้ เป็น
ทุกข์ทเี่ ป็นบันใดแห่งความสำเร็จ กล่าวคือทุกข์ทมี่ สี มุฏฐานเป็นความดี
เช่น ทุกข์เกิดจากความอดทน อดกลัน้ อดออม หรือทุกข์ทเี่ กิดจาก
ความเหนื่อยยาก ลำบากในการเรียนหนังสือ ลำบากในการทำงาน
เป็นต้น แต่พอถึงขั้นความสำเร็จมาถึง ก็จะได้รับความสุข เป็นผล
ตอบแทน ทุกข์อย่างนี้ เป็นทุกข์ดี ควรให้มใี นสันดาน
210
สำหรับความทุกข์ ที่มีสมุฏฐานมาจากความชั่ว มีความโกรธ
เป็นต้น ทุกข์ชนิดนี้ให้ผลเป็นความเดือดร้อน ถึงจะเป็นคนร่ำรวยมา
ฐานะดี มีตำแหน่งหน้าทีก่ ารงานดี มีคนนับหน้าถือตา ก็จะหาความสุข
มิได้เลย ทุกข์อย่างนีไ้ ม่ดี ไม่ควรจะให้มใี นสันดาน
อีกอย่างหนึ่ง ความจนก็เป็นตัวการที่จะทำให้เกิดความทุกข์
เมื่อถูกทุกข์คือไม่มีเงินใช้เข้าครอบงำ ก็จะตัดสินใจหากินในทางทุจริต
ท้ายสุดก็จะได้รบั โทษคือติดคุก ทุกข์นกี้ ต็ อ้ งควรระวัง
เพราะฉะนัน้ ความสุขทีแ่ ท้จริง เป็นสิง่ ทีท่ กุ คนจะค้นคว้าหามา
ให้ได้ จงพยายามออกห่างความโกรธ หมัน่ เจริญเมตตาอยูเ่ สมอ เพราะ
ความโกรธเป็นต้นเหตุของความทุกข์ แต่เมตตาเป็นต้นเหตุของความสุข
แต่จะสุขอย่างไรนัน้ ต้องฝึกหัดกระทำ แล้วจะรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง ขอให้คดิ ว่า
๑. ทุกข์ร้ายเสียคน ทุกข์อดทนเสียคร้าน ทุกข์เพราะขันตี
ควรให้มใี นสันดาน
๒. โกรธเมือ่ ไร จะเร่งใจให้เป็นทุกข์ จะแก่ไวตายไว จิตใจจะไม่สขุ
R







211
๙๕
คนใจไวนิสยั เสีย
R
อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน, อนตฺถํ ปฎิปชฺชติ,
คนมักโกรธ ถือเอาประโยชน์แล้ว กลับปฏิบตั ไิ ม่เป็นประโยชน์

คนมักโกรธ เป็นคนประเภทโทสจริต กล่าวคือ เป็นคนใจไว
ทำอะไรชอบมักง่าย ทำอะไรเอาเสร็จเข้าว่า จะดีหรือไม่ดกี แ็ ล้วแต่ ไม่
ชอบงานละเอียด ขาดความสุขุมรอบคอบ เมื่อได้สิ่งที่เป็นประโยชน์
หมายถึง ได้ลาภ ยศศักดิช์ อื่ เสียง คำสรรเสริญ ความสุข ก็ไม่ปฏิบตั ิ
รักษาให้ดี
สิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ ทีต่ นได้มานัน้ แทนทีจ่ ะนำไปใช้ ในทางที่
เป็นประโยชน์ แก่ตนหรือแก่สงั คม แต่กลับนำไปใช้ในทางทีผ่ ดิ หรือ
รักษาไว้ไม่คงทน เพราะค่าทีต่ นมีใจประกอบด้วยโทสะ ลุอำนาจแห่งโทสะ
ทำให้เงินทองสิง่ ของ รวมทัง้ ชือ่ เสียง ต้องสูญหายไป
คนโบราณมักจะสอนลูกหลานว่า ค่อยคิดค่อยทำ บางครั้ง

ก็สอนว่า จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนจึงทำ คนในสมัยนี้ อาจจะคิด


ว่า ใช้ไม่ได้ เพราะในยุคนี้ คนเรามีงานรัดตัว จะต้องรีบทำ มิฉะนัน้
จะหากินไม่ทนั เขา
ทีค่ นโบราณสอนอย่างนี้ ก็เนือ่ งมาจากว่า คนทีท่ ำอะไรไวๆ นัน้
จะกลายเป็นคนใจร้อน เมื่อเป็นคนใจร้อนแล้ว ก็จะกลายเป็นคนเจ้า
โทสะ นิสยั ของคนเจ้าโทสะ เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว ไม่พอใจอย่างนี้
212
จะเปลีย่ นแปลงเป็นอย่างโน้น พอมีคนมาพูดยัว่ ยวนกวนโทสะเข้าสักหน่อย
ก็จะทำไปโดยไร้ความคิด ให้ถอื หลักว่า อ่อนแอถูกข่มเหง นักเลงถูก
ทำร้าย แต่ตอ้ งหลีกเลีย่ งโทสะ
คนโบราณยังบอกอีกว่า ถ้าเป็นคนเจ้าโทสะ จะรักษาของไว้ไม่อยู่
สิง่ ทีไ่ ด้มานัน้ ไม่ชา้ ก็จะหายสูญไป คนสมัยก่อน จะเรียกคนประเภทนีว้ า่
คนมือห่างตีนห่าง นำเอาสิง่ อะไรออกไปใช้ ถึงเวลาเสร็จงานแล้ว ก็ไม่
นำไปเก็บทีเ่ ดิม ในทีส่ ดุ สิง่ ของก็จะหายไปทีอย่างสองอย่าง
เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า คนเจ้าโทสะ ได้ของทีเ่ ป็น
ประโยชน์มาแล้ว กลับปฏิบตั ติ อ่ ของนัน้ ไม่เป็นประโยชน์ เช่นได้เงินมา
แล้ว กลับนำเอาไปเล่นการพนัน เป็นต้น อย่างนีเ้ รียกว่านำไปใช้ในทาง
ทีไ่ ม่เป็นประโยชน์ ขอให้คดิ ว่า
๑. อ่อนแอถูกข่มเหง นักเลงถูกทำร้าย อ่อนเข็งทีด่ ี ต้องมีวธิ ี
การใช้
๒. คนโกรธ จะทำประโยชน์ไม่ได้ งานทีต่ งั้ จะพังทะลาย
R







213
๙๖
โกรธพาหลง โกงพาโลภ
R
โกธาภิภโู ต ปุรโิ ส, ธนชานึ นิคจฺฉติ
ผูถ้ กู ความโลภครอบงำ ย่อมถึงความเสือ่ มทรัพย์

ความโกรธที่ครอบงำคน ย่อมมีอำนาจสามารถบังคับบุคคล

ให้เป็นไปตามความต้องการของเขา ลักษณะจิตใจในตอนนั้น คนที่มี


ปัญญา ก็กลายเป็นคนมีปญ ั ญาทราม กล่าวคือใช้ปญ ั ญา หรือความคิด
ไปในทางทีเ่ ลวทราม เช่น คนทีม่ ที รัพย์ กลับนำเอาทรัพย์ไปเล่นการ
พนัน เป็นต้น
ครั้นเมื่อเสียการพนัน ก็เกิดความโกรธยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุด
ทรัพย์นนั้ อาจจะหมดไป หรือไม่ก็ คนโกรธจะมีอารมณ์ทขี่ นุ่ เคืองอยูแ่ ล้ว
บางครั้ง อาจจะไปก่อเรื่องวิวาท ทำให้เสียเงินทอง ย่อมถึงซึ่งความ
เสือ่ มทรัพย์ จึงเห็นว่า ความโกรธ จะมีแต่ความเสือ่ มอย่างเดียว
มีคำพูดทีช่ วนให้คดิ อยูค่ ำหนึง่ คือ เวลาทีค่ นโกรธ จะเรียกว่า
โมโห หรือมะโห เช่นคำว่า “ตาคนนี้ ชอบพูดกวนโมโห” หรือบางครัง้

ก็พดู รวมกันว่า โมโหโกรธา หรือ โมโหโทโส ซึง่ คำเหล่านี้ จะได้ยนิ อยู่


เสมอ แทนจะเรียกคนมีความโกรธว่า โกรธา
แท้จริง โมโห ก็คือโมหะ ซึ่งเป็นกิเลสคนละกองกันกับโทสะ
โมหะคือความหลงผิด ทีถ่ กู นัน้ แต่เดิมน่าจะเรียกว่า โมโหโทโส แต่คน
ไทยชอบพูดคำสั้นๆ คำไหนยาวก็จะตัดออก พูดแล้วเป็นอันรู้กัน จึง
214
เรียกสัน้ ๆ ว่า โมโห
ที่เรียกว่า โมโหโทโส ก็หมายถึง ความโกรธมีสาเหตุมาจาก
ความหลงผิด ได้แก่ความหลงผิด จึงทำให้โกรธ ถ้าถามว่าความโกรธดีไหม
ก็จะตอบว่าไม่ดี และถามต่อไปว่า เมือ่ รูว้ า่ ไม่ดแี ล้วจะโกรธทำไม ก็ตอ้ ง
ตอบว่า เพราะความหลงผิดจึงโมโห ทำให้มองเห็นถึงศิลปะในการพูด
ของคนโบราณ ซึ่งเป็นคำพูดที่แฝงไว้ด้วยธรรมะ เพื่อให้คนไปคิด

เมือ่ คิดแล้วจะได้แก้ตน้ ตอให้ถกู


เพราะฉะนัน้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า คนทีถ่ กู ความโกรธครอบงำ
ถึงมีสมบัตกิ เ็ ก็บไม่อยู่ เพราะตนเองเป็นคนเจ้าอารมณ์ มีความหลงผิด
ติดอยูใ่ นความโกรธ เมือ่ โกรธบวกกับความหลง ก็พาตนไปในทางทุจริต
ใช้อทิ ธิพลข่มขูม่ าในแนวของความโลภอีกก็ได้ ดังนี้ ขอให้คดิ ว่า
๑. โกรธเพราะหลง โกงเพราะโลภ ถ้ายังมีอยู่ ก็ไม่รจู้ กั จบ
๒. โกรธเมือ่ ไร จะทำให้เสียทรัพย์ เกิดทะเลาะวิวาท ทำอำนาจ
ให้ยอ่ ยยับ
R







215
๙๗
เมาโกรธ ยศพินาศ
R
โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺขํ นิคจฺฉติ
ผูเ้ มาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความพินาศ

คนเมาโกรธ หมายความว่า คนที่ถูกความโกรธครอบงำ

จนทำให้หลงมึนเมา เป็นลักษณะเหมือนคนเมาเหล้า แต่เมาโกรธนั้น


ชอบอาละวาดหาเรือ่ งคนอืน่ เพราะลักษณะจิตในตอนนัน้ เต็มไปด้วย
ความรุม่ ร้อน กระวนกระวาย ใครกระทบกระทัง่ นิดหน่อยไม่ได้
คนทีเ่ มาโกรธ ในขณะเมาโกรธ กิจการงานทีท่ ำจะไม่ประสพผล
สำเร็จ ถึงจะมีปญ ั ญา ก็ถกู ความโกรธเข้าไปย้อมใจ ทำให้มองไม่เห็น
บาปบุญคุณโทษ รังแต่จะทำความพินาศ ให้เกิดแก่ตนและผูอ้ นื่ ทำให้
เสือ่ มยศศักดิช์ อื่ เสียง ถ้าเป็นข้าราชการ อาจจะถูกถอดยศลดตำแหน่ง
เมือ่ พูดถึงความเมา เราจะนึกถึงเพียงเมาสุรา เมากัญชา เมา
ยาบ้า เป็นต้น แท้ทจี่ ริง การเมาสิง่ เสพติด เป็นการเมาชัน้ ที่ ๒
เมาชัน้ ที่ ๑ นัน้ คือ เมากิเลส หรือเมาความชัว่ หมายความว่า
เอากิเลสเข้าไปติดกับอะไร ก็เรียกชือ่ เมาอย่างนัน้ เอากิเลสเข้าติด
กับยศ ก็เรียกว่าเมายศ เอากิเลสเข้าไปติดกับราคะ ก็เรียกว่าเมาเพศ
เป็นต้น เมาหากมีมากขึน้ ก็จะเกิดการติด เช่นคนทีช่ อบไปเทีย่ วอบาย
มุขบ่อยๆ ก็จะติดอบายมุข

216
ตามธรรมดาของปุถุชน ก็มักจะเมากิเลสอยู่แล้ว ถ้าดื่มสุรา
เข้าไป ก็จะเกิดเมาสุราอีก เป็นการซ้ำสอง จึงเรียกตรงนี้ เมากำลังสอง
สมมุตวิ า่ คนทีผ่ ดิ หวังในความรัก นีเ้ รียกว่ากำลังเมารัก เสียใจมากเลย
ไปดืม่ สุรา เพือ่ จะหักห้ามใจมิให้คดิ ถึงคนรัก นีค้ อื เมาสุรา เมาสุราจะ
เข้าไปกระตุน้ เมารัก เมือ่ เกิดขึน้ มาถึงสองเมา อาจจะไปฆ่าคนรักเสีย
ก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะไปฆ่าคนที่มาแย่งรักไปจากตนก็ได้ หรือแม้แต่

จะตัดสินใจฆ่าตัวเองก็ได้ คือจะเป็นได้หลายอย่าง นี้แหละที่เรียกว่า


เมากำลังสอง
เพราะฉะนัน้ คนเราลงได้เป็นคนมักโกรธแล้ว จะมีแต่ทางเสือ่ ม
อย่างเดียว สักวันหนึ่งอาจจะไปสร้างความเสื่อมเสีย หรือตกเป็น
อาชญากร เพราะเมือ่ โกรธแล้วไปทำร้ายคนอืน่ ขึน้ ยศศักดิช์ อื่ เสียงที่
เคยมีอยู่ ก็จะกลับกลายเป็นชือ่ เสีย ถูกสังคมดูหมิน่ หรือถูกถอดยศลด
อำนาจไปในทีส่ ดุ ขอให้คดิ ว่า
๑. เมากิเลสแล้วเมาเหล้า ทำให้เมากำลังสอง จะเสียคน ถ้า
ทำตนคะนอง
๒. จะเสื่อมยศ เมื่อโกรธเกิด จะเสียทรัพย์ชื่อเสียง ควรจะ
เลีย่ งเสียเถิด
R



217
๙๘
จนกับโกรธ ระวังโทษจะเกิดมี
R
าติมติ ตฺ า สุหชฺชา จ, ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมติ รและสหาย ย่อมจะหลีกเลีย่ ง คนมักโกรธ

เป็นธรรมดาของคนและสัตว์ เมื่ออยู่ในวงศ์ญาติมิตรสหาย
ย่อมจะเกิดความอบอุน่ เพราะกระแสแห่งความรักใคร่เยือ่ ใย ทีไ่ ด้มตี อ่ กัน
เมือ่ เกิดความทุกข์รอ้ น ก็จะเข้าไปอาศัย ขอความช่วยเหลือซึง่ กันแลกัน
แต่ถา้ เวลาใด ทีฝ่ า่ ยใดฝ่ายหนึง่ เกิดบันดาลโทสะขึน้ มา ความรัก
ความห่วงใย ในบุคคลผู้โกรธจะไม่มีเลย คนโกรธจะเอาแต่ใจตนเอง
ใครห้ามก็ไม่เชื่อฟัง ควบคุมความดีไว้ไม่อยู่ ชอบแต่จะชวนวิวาท
ท้าทายต่างๆ นาๆ ในทีส่ ดุ ก็จะเกิดการแตกญาติขาดมิตร มีแต่คนกลัว
คนโกรธ ถ้ายิง่ คนโกรธนัน้ เมาสุราด้วย ทุกคนจะรีบออกห่าง เพราะเกรง
จะถูกทำร้าย
โรคทีส่ งั คมชัน้ กรรมกร จะพึงประสพอยูเ่ สมอ ในทุกยุคทุกสมัย
คือโรคความจน เมือ่ โรคนีเ้ กิดขึน้ ในครอบครัวใด บุคคลในครอบครัวนัน้
จะเกิดความทุกข์ เมือ่ มีความทุกข์ จิตใจก็จะมีแต่ความหงุดหงิด กลาย
เป็นคนโกรธง่าย พูดไม่เพราะ ก่อให้เกิดการทะเลาะกันในครอบครัว
บ้างครัง้ เมือ่ ความจนครบงำเข้ามากขึน้ ก็ถงึ กับหากินทางทุจริต เพียง
เพือ่ ความอยูร่ อดไปวันๆ
บางครอบครัวก็มีการหย่าร้าง สร้างปัญหาให้แก่ลูกที่เกิดมา
218
ภายหลัง เมือ่ คนจนมีนสิ ยั เป็นอย่างนีแ้ ล้ว จะหันไปพึง่ ญาติมติ รทีไ่ หน
ก็มีแต่เขาจะออกห่าง ไม่มีคนที่จะให้การช่วยเหลือ เมื่อเป็นเช่นนี

ก็ทำให้ความกลัดกลุม้ ทีเ่ คยมีอยูแ่ ล้ว มีปริมาณสูงขึน้ ๆ
ข้อทีค่ วรแก้กค็ อื จะต้องรักษาอารมณ์ อย่าให้เกิดอารมณ์เสีย
หรือถ้าจะเกิดบ้างก็ให้คดิ เสียว่า ทุกคนย่อมเป็นไปตามกรรม หากเรามี
ความพยายาม สักวันหนึง่ จะต้องพบความสำเร็จ
เพราะฉะนั้น เมื่อบุคคลมาเห็นโทษของความโกรธ ที่จะเป็น
ทางเสือ่ มจากญาติมติ รสหาย ก็จะต้องหัดบันเทาความมักโกรธลงเสียบ้าง
โดยคิดถึงอกเขาอกเรา ตัวเราเองก็ไม่ชอบคนมักโกรธฉันใด คนอืน่ เขา
ไม่ชอบเช่นเดียวกัน ควรจะมาผูกมิตร อย่าเอาแต่อารมณ์ตัวเองเป็น
ใหญ่ ขอให้คดิ ว่า
๑. พูดไม่เพราะ เป็นนิสยั ทำลายมิตร ทางทีด่ ี ควรจะมีการฝึกจิต
๒. คนโกรธเป็นนิสยั จะทำลายมิตรภาพ ผูค้ นหลีกหนี จะมีแต่
อาภัพ
R







219
๙๙
รูใ้ จเข้าใจ คือสายใยครอบครัว
R
กุทโฺ ธ อตฺถํ น ชานาติ
คนโกรธ ย่อมไม่รอู้ รรถ

ในยามปรกติของคน เมือ่ ยังไม่มคี วามโกรธ จะรูว้ า่ ทำอย่างไร
ดีทำอย่างไรไม่ดี ทุกคนจะเห็นคนทีเ่ ขาทะเลาะกัน และบางครัง้ เราอาจ
จะเคยไปห้ามคนเขาทะเลาะกัน เคยชี้แจงให้เขาฟังว่า การทะเลาะ
เป็นการไม่ดี อับอายขายหน้าเขา ขอให้ใจเย็นๆ ค่อยพูดค่อยจากันก็ได้
อย่าเอาแต่อารมณ์ววู่ าม จะเป็นศัตรูคพู่ ยาบาทกัน นัน้ คือคำทีเ่ ราเคย
ห้ามเขา
ที่ต้องมีการห้ามคนทะเลาะก็เพราะว่า ความโกรธนั้นเมื่อ
ครอบงำใครแล้ว จะถูกบดบังปัญญา มองไม่เห็นอรรถ คือมองไม่เห็น
บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ กล่าวคือมองไม่เห็นผลที่
จะเกิดว่าตนเองจะมีความเสียอย่างไร จึงจำเป็นจะต้องให้คนอืน่ มองให้
ธรรมดาของการอยู่ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะต้องมีหัวใจ
๔ ต่อกัน จึงจะอยู่ด้วยกันยืด หัวใจ ๔ นั้นคือ รู้ใจ – เอาใจ –
พร้อมใจ – เข้าใจ
การอยูร่ ว่ มกัน จำเป็นจะต้องอ่านใจเขาให้ออกเสียก่อน เมือ่
อ่านออกแล้ว ก็จะได้ปฏิบตั ติ อ่ กันได้ถกู การปฏิบตั ติ อ่ กันนัน้ สิง่ ไหนดีก็
เอาอกเอาใจกัน ให้กำลังใจกัน การเอาใจนัน้ มิใช่มายกยอเสียเกินพอดี
220
เพียงไม่ขดั ใจกัน ในเมือ่ เห็นว่าจะไม่เป็นการเสียหาย ในทำนองว่าเห็นใจ
ก่อนจะทำอะไรควรจะถาม หรือปรึกษาหารือกัน ในเชิงให้ความสำคัญ
แก่เขา และข้อสำคัญสุดท้ายคือ จะต้องเข้าใจกัน การเข้าใจกันนัน้ จะ
เป็นความรูส้ กึ ส่วนทีอ่ อกมาจากใจของเรา
หัวใจ ๔ ดังกล่าวนี้ ถ้าใครเป็นคนมักโกรธ จะไม่เห็นประโยชน์
ในเรื่องนี้เลย เพราะคนมักโกรธชอบแต่จะเอาใจตัวเอง ถ้าถูกก็ดีไป

แต่ถา้ ผิดก็ตอ้ งฟังคนอืน่ เขาบ้าง


เพราะฉะนัน้ สามีภรรยาคูใ่ ด ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ หรือทัง้ สอง
ฝ่าย เป็นคนมักโกรธ จะอยูด่ ว้ ยกันไม่ยดื เพราะไม่มหี วั ใจ ๔ ต่อกัน
หรือถ้าอยู่ยึด ก็ต้องอยู่ด้วยทุกข์ทรมาน ด้วยการทะเลาะตบตีกัน
หาความสุขมิได้เลย ทางทีด่ คี วรจะหาทางเอาใจและเข้าใจกันบ้าง ขอให้
คิดว่า
๑. รูใ้ จเข้าใจ คือสายใยของครอบครัว ศัตรูทรี่ า้ ย คือเอาแต่ใจตัว
๒. โกรธมา ปัญญาหนี ปราศจากเหตุผล ให้ตนชนะเป็นดี
R







221
๑๐๐
กิเลสเข้าสิง ของจริงจะไม่เห็น
R
กุทโฺ ธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
ผูโ้ กรธ ย่อมไม่เห็นธรรม

ธรรมะ ในที่นี้ หมายถึง ตัวเหตุที่จะก่อให้เกิดความดีหรือ
ความชัว่ ธรรมะทีเ่ ป็นคูป่ รับความความโกรธ ได้แก่ เมตตาธรรม โกรธ
เป็นของร้อนที่เปรียบด้วยไฟ แต่เมตตาเป็นของเย็นที่เปรียบด้วยน้ำ
เวลาไฟติดจะต้องใช้น้ำดับ แต่ถ้าน้ำมีน้อยก็จะสู้ไฟไม่ได้ ที่เรียกว่า

น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ฉะนัน้
โลหะเป็นของแข็ง หากบุคคลมีความประสงค์จะทำให้เป็นรูปต่างๆ
เช่นการหล่อพระพุทธรูป เป็นต้น จะต้องทำของแข็งนัน้ ให้ออ่ นเสียก่อน
แล้วจึงไปเทใส่เบ้า ทีท่ ำเป็นรูปจำลองไว้นนั้ แล้วรอให้โลหะเย็นลง ก็จะ
ได้รปู ตามทีต่ อ้ งการ ความโกรธเป็นของแข็ง จะต้องใช้เมตตาทำให้ออ่ น
เสียก่อน แล้วจากนัน้ จึงทำความดีตอ่ ไป แต่เมตตานัน้ จะต้องหมัน่
สะสมอยูเ่ สมอ จึงจะเกิดผลประโยชน์
มีกระทาชายนายหนึง่ ได้ไปเรียนศิลปวิทยา ทีม่ หาวิทยาลัยตักศิลา
เมื่ อ เรี ย นจบแล้ ว จึ ง เข้ าไปลาอาจารย์ เพื่ อ จะกลั บ สู่ บ้ า นของตน
อาจารย์ได้ให้โอวาทตอนหนึง่ ว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น
ไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าทำให้ในใจ” จากนัน้ เขาได้ลาอาจารย์ไป
ในระหว่างทางได้พบกับเพื่อนเก่าคนหนึ่ง เพื่อนได้บอกว่า
222
“ภรรยาของท่านมีชใู้ หม่แล้ว” เขาจึงเกิดความโกรธขึน้ มา คิดในใจว่า
“จะต้องฆ่าชายชู้และเมียให้ตายทั้งคู่” พอเดินไปถึงบ้านก็เป็นเวลาดึก
มากคนเขานอนหลับกันแล้ว มองเห็นจากแสงไฟก็รวู้ า่ ในมุง้ ของภรรยา
มีคนนอนอยู่ ๒ คน
ในขณะทีจ่ ะลงมือฆ่า จึงคิดถึงคำสอนของอาจารย์วา่ สิบตาเห็น
ไม่เท่ามือคลำ จึงเอามือคลำเข้าไปในมุ้ง ก็รู้ได้ว่า คนสองคนนั้นคือ
ภรรยากับบุตรของตนเองนัน่ เอง จากเรือ่ งตรงนี้ ทำให้เห็นว่า ถ้าชาย
คนนัน้ เชือ่ ความโกรธ ก็จะต้องฆ่าภรรยาและลูกของตนไปแล้ว
เพราะฉะนัน้ บุคคลควรจะมาฝึกหัดบันเทาความโกรธ อย่าถือ
ความโกรธว่าจำเป็นต้องทำ หรือลุอำนาจความโกรธ จะต้องรู้ว่า

เมือ่ โกรธจะหมดปัญญา หรือ โกรธบดบังตา จะต้องใช้ปญ ั ญานำเอา


เมตตาเข้าไปแก้ แต่กอ่ นจะแก้ได้ ก็จะต้องสัง่ สมเมตตาไว้มากๆ จึงจะสู้
กันได้ ขอให้คดิ ว่า
๑. โกรธเมื่อเข้าสิง ของจริงจะมองไม่เห็น จะทำชั่วมากมี

แต่ทำดีไม่เป็น
๒. ธรรมะทัง้ หลาย ต้องห่างไกลความโกรธ จงทำให้ดี จะไม่มี
ทางโทษ
R

223
224

You might also like