You are on page 1of 216

อายุุวััฒนมงคล

๙๐ ปีี ๖๙ พรรษา
พระครููศาสนกิิจวิิมล (หนููพัันธ์์ อิิสฺฺสโร)
พระวิิปััสสนาจารย์์
เจ้้าอาวาสวััดหนองเชีียงทููน
ต.หนองเชีียงทููน อ.ปรางค์์กู่่� จ.ศรีีสะเกษ
๓ กุุมภาพัันธ์์ ๒๕๖๗
ส�ำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดหนองเชียงทูน กองทุนอุดหนุนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
บ้านหนองเชียงทูน ต.หนองเชียงทูน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)
อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ๓๓๑๗๐ สาขาปรางค์กู่
โทรศัพท์ (๐๔๕) ๖๙๗ – ๑๕๔ ชื่อบัญชี พระครูศาสนกิจวิมล

(๐๘๐) ๑๕๐ – ๐๐๑๙ เลขที่บัญชี ๗๓๙ - ๒ - ๐๗๖๒๔ - ๑

คำ�นำ�

หนังสือ “วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔” เป็นธรรมบรรยายเสริมการปฏิบัติ


โดยหลวงปู่พระครูศาสนกิจวิมล ในขณะให้การดูแลฝึกอบรมแก่โยคีผู้ปฏิบัติใน ๒ โครงการ
คือ
๑. นิสิตปริญญาโท-เอก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ หลักสูตร ๓๐ วัน และ ๔๕ วัน
๒. ข้าราชการทหารเรือ หลักสูตร ๔ คืน ๕ วัน ณ มหาจุฬาอาศรม
ถึงแม้จะเป็นการบรรยายตามพื้นฐานและสภาวธรรมของผู้ปฏิบัติในขณะนั้น ๆ แต่
สารธรรมที่บรรยายก็เป็นประโยชน์ส�ำหรับบุคคลทั่วไปด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ
”วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔„ นี้ จะเป็นมรดกธรรมอันล�้ำค่าส�ำหรับผู้แสวงหา
ทางพ้นทุกข์ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติธรรมสืบต่อไป
ในวาระอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี ๖๙ พรรษา คณะศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ อุบาสก
อุบาสิกา ลูกหลานชาวบ้านหนองเชียงทูน บ้านหนองแวง ขอกราบคารวะบูชาน้อมอุทิศบุญกุศล
ทั้งปวงถวายแด่หลวงปู่พระครูศาสนกิจวิมลด้วยเทอญ.

(พระครูปริยัติเมธาจารย์)
ในนามคณะศิษย์
อายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี
พระครูศาสนกิจวิมล

ด้ ว ยในวั น เสาร์ ที่ ๓ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เป็ น วั น คล้ า ยวั น เกิ ด ของหลวงปู่
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร) ครบ ๙๐ ปี ในฐานะศิษย์กรรมฐานผู้หนึ่ง ขอเล่าถึง
หลวงปู่และการปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นอาจริยบูชา ดังนี้
การปฏิบัติธรรมที่วัดหนองเชียงทูนกับหลวงปู่นั้น มีสภาวธรรมเกิดขึ้นมากมาย
ในครั้งแรกๆ อยากจะบันทึกไว้ แต่หลวงปู่ไม่ให้บันทึก แม้แต่การจำ�สภาวะเพื่อไปส่ง
อารมณ์ หลวงปู่ก็ไม่ให้จำ�  บอกว่า ”ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น„ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการจำ�นั้น
เป็น ”สัญญา„ ที่หลวงปู่พูดว่า ”เป็นอุปาทาน„ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องละ การปฏิบัติจะก้าวหน้า
อิ น ทรี ย์ ๕ คื อ ศรั ท ธา วิ ริ ย ะ สติ สมาธิ ปั ญ ญา ต้ อ งสมดุ ล แต่ ห น้ า ที่ ข องผู้ ป ฏิ บั ติ
คื อ ทำ�ศรั ท ธา วิ ริ ย ะ สติ สมาธิ ใ ห้ มี กำ�ลั ง มากและสมดุ ล ส่ ว นปั ญ ญาจะเกิ ด ขึ้ น เอง
และต้องอาศัยศีลที่บริสุทธิ์
หลวงปู่ พู ด ว่ า ฆราวาสรั ก ษาศี ล ๘ ทำ�ศี ล ๘ ให้ บ ริ สุ ท ธิ์ ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากนั ก
การปฏิบัติก็ง่ายกว่า ก้าวหน้าไปได้เร็วกว่า ส่วนพระนั้นปฏิบัติได้ยากกว่า เพราะศีล
มากกว่า และรักษาให้บริสุทธิ์ได้ยากกว่า นอกจากศีลต้องบริสุทธิ์แล้ว สิ่งไม่ดีทั้งหลาย
ต้องถูกชำ�ระให้หมดไป ดิฉันได้ซาบซึ้งถึงคำ�ว่า ”การไม่ก่อเวร„
กรรมแม้ เ พี ย งเล็ ก น้ อ ยก็ มี ผ ลผู ก พั น กั น ไป แม้ ไ ม่ ไ ด้ ตั้ ง ใจจะผู ก เวร ดั ง นั้ น
จึ ง ประมาทไม่ ไ ด้ เ ลย เรื่ อ งนี้ ก็ สื บ เนื่ อ งมาจากการปฏิ บั ติ นั่ น เองที่ ทำ�ให้ รู้ ไ ด้ ซึ่ ง เป็ น
ความอัศจรรย์ของการปฏิบัติและของจิตอย่างยิ่ง
ยังมีอีก คือ ที่ว่าจิตเป็นที่เก็บทุกสิ่งทุกอย่างแม้ความรู้สึก หรืออาการเล็กอาการ
น้อย จิตก็เก็บไว้หมดทุกอย่าง จึงยิ่งต้องสำ�รวมอินทรีย์ทั้ง ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งใจหรือจิต เพราะจิตนั้นไวมากและจะเก็บทุกอย่างจริง ๆ อีกทั้งเก็บไว้
ได้ยาวนานมาก ๆ เป็น memory storage ที่ไม่มีวันเต็มเลย การสนองตอบหรือวิบาก
ก็ส่งผลไม่มีบิดพลิ้วเลย ดังนั้น จึงยิ่งสนับสนุนว่าต้องคิดดี พูดดี ทำ�ดี อย่างไรก็ตาม
เมื่ อ เรื่ อ งราวเหล่ า นั้ น ปรากฏขึ้ น ในสมาธิ หลวงปู่ ใ ห้ กำ�หนดผ่ า นว่ า เห็ น หนอ ๆ หรื อ
รู้หนอ ๆ แล้วปล่อยไป ไม่ไปตาม ไม่ไปเอาใจใส่ การกำ�หนดผ่านไปจะทำ�ให้ไม่เสียเวลา
ไม่ชักช้าในการปฏิบัติ
หลวงปู่ผู้เป็นกัลยาณมิตรให้ทั้งคำ�แนะนำ�  กำ�ลังใจ คำ�เตือนสติ ในรูปแบบต่าง ๆ
โดยมากหลวงปู่ จ ะเล่ า เรื่ อ งต่ า ง ๆ ให้ ฟั ง และบางที ดู เ หมื อ นพู ด ไปเรื่ อ ย ๆ พู ด เรื่ อ ง
ธรรมดา ๆ พู ด เรื่ อ งที่ บ างที ก็ เ หมื อ นกั บ รู้ อ ยู่ แ ล้ ว แต่ แ ท้ จ ริ ง แล้ ว การพู ด ของหลวงปู่
มีความแตกต่างกันไปตามสภาวะของผู้ปฏิบัติ หรือบางสภาวะหลวงปู่จะพูดเพียงแค่ว่า
”ให้เพียรต่อไป„ หน้าที่ของเราผู้ปฏิบัติก็มีเพียงแค่นั้น คือ เพียรต่อไป ใคร ๆ ที่มักถาม
หลวงปู่ว่าตนเองนั้นได้ญาณนั้นญาณนี้แล้วหรือยัง เมื่อไรจะถึง หลวงปู่จะมิให้ใส่ใจ ดิฉัน
บอกหลวงปู่ ว่ า โชคดี ที่ เ มื่ อ คราวที่ ห ลวงปู่ เ ทศน์ ลำ�ดั บ ญาณนั้ น ดิ ฉั น ง่ ว งนอนมาก
ซึ่ ง ตอนโน้ น เสี ย ดาย แต่ ก ลั บ เป็ น ผลดี ผู้ ป ฏิ บั ติ ไ ด้ รั บ ผลของการปฏิ บั ติ อ ย่ า งไร
หลวงปู่ มิ ใ ห้ ไ ปเที่ ย วพู ด คำ�สอนก่ อ นที่ ดิ ฉั น จะลากลั บ และถื อ ปฏิ บั ติ ม ากระทั่ ง บั ด นี้
คือ ”ให้ปฏิบัติตนโดยที่จะไม่ทำ�ให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาแต่ทำ�ให้เกิดศรัทธาต่อพระพุทธ-
ศาสนาแก่บุคคลอื่น ๆ„

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ เจนวิถีสุข


อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
พระครูศาสนกิจวิมล

พระสงฆ์สาวกศาสดา ปฏิบัติงามตา
ชอบด้วยพระสัทธรรมน�ำผล
พระครูศาสนกิจวิมล  รู้ธรรมน�ำตน
พ้นทุกข์ตามธรรมพระสัมมา
ปฏิบัติชอบด้วยศรัทธา  งามศีลจริยา
สมเป็นดั่งเนื้อนาบุญ
สอนศิษย์ด้วยจิตการุญ เปี่ยมเมตตาคุณ
ศิษย์น้อมอภิวาทอัญชลี
วัดหนองเชียงทูนสง่าศรี  ญาติโยมยินดี
ส�ำนักวิปัสสนากรรมฐาน
ประจ�ำจังหวัดโอฬาร  ศรีสะเกษสืบสาน
งานธรรมะเผยพระสัทธรรม
หลวงปู่มุ่งมั่นแนะน�ำ  วิปัสสนาเลิศล�้ำ
ปฏิบัติได้รู้ได้ด้วยตน
เตรียมกายวาจากมล  รับธรรมมงคล
หลุดพ้นกิเลสด้วยปัญญา
สิริอายุ ๙๐ วรรษา ศิษย์น้อมบูชา
หลวงปู่ผู้เอื้ออารี
แม้บุญกุศลศิษย์มี น้อมเกล้าเกศี
ถวายแด่หลวงปู่ด้วยเทอญ
อุดมพร คัมภิรานนท์
ประพันธ์ในนามคณะศิษย์บัณฑิตวิทยาลัย รุ่นที่ ๑๗
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เก้าสิบปีวัฒนา หกสิบเก้าพรรษา บูชาครู

ศศิธรสาดแสงงามยามรัตติ พระสุริย์สว่างไสวให้ไออุ่น
ศิษย์น้อมนบเคารพครูผู้การุณย์ เทิดพระคุณท่านยิ่งใหญ่หาใดปาน
ฉลองอายุเก้าสิบปีวัฒนา หกสิบเก้าพรรษาพาสุขศานต์
บุตรจันดีผู้มีธรรมนำ�ดวงมาน ครองใจศิษย์จิตชาวบ้านมานานปี
หลวงปู่พระครูศาสนกิจวิมล ท่านรวมใจศิษย์ทุกคนไว้ที่นี่
ด้วยท่านรักท่านเมตตาท่านปรานี ศิษย์น้อยใหญ่ต่างได้ดีเพราะมีครู
หลวงปู่สานงานพระศาสน์วิลาสเลิศ เกียรติคุณอันประเสริฐเทิดเคียงคู่
เสาเสมาธรรมจักรได้เชิดชู พระดีเด่นชนรับรู้คู่ศรีเมือง
หลวงปู่สอนให้คิดดีทำ�ดียิ่ง ทุกทุกสิ่งหมุนเวียนเปลี่ยนราวเรื่อง
รักตนต้องทำ�ใจกายให้ประเทือง หลุดพ้นเครื่องพันธนะผละเวรกรรม
พระนิพพานทางประเสริฐที่เลิศแล้ว พึงยึดแนววิปัสสนาพาดื่มดํ่า
น้อมใจกายใฝ่ศรัทธาหาพระธรรม จะหลุดพ้นผลตอกยํ้ากรรมทำ�มา
คำ�หลวงปู่ศิษย์ทั้งหลายน้อมใส่เกล้า เป็นบุญแล้วที่พวกเราเข้าศึกษา
ได้เป็นศิษย์หลวงปู่ผู้เมตตา น้อมบูชาเนื้อนาบุญอุ่นอำ�ไพ

อุดมพร คัมภิรานนท์
ประพันธ์ในนามคณะศิษย์กรรมฐาน นิสิตปริญญาโท รุ่นที่ ๑๗
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหาปรินิพพานสูตร

”ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะ นี้เป็นคำ�พรํ่าสอนของเราสำ�หรับเธอทั้งหลาย


ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำ�จัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำ�จัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำ�จัด อภิชฌา
และโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำ�จัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุผู้มีสติเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ทำ�ความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำ�ความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำ�ความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำ�ความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำ�ความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำ�ความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำ�ความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นคำ�พรํ่าสอนของเราสำ�หรับเธอ
ทั้งหลาย„
มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. ๑๐/๑๖๐/๑๐๕.
ภัทเทกรัตตสูตร

อตีตํ นานฺวาคเมยฺย ไม่พึงหวนละห้อยถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว


นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ ไม่พึงเพ้อหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยทตีตมฺปหีนนฺตํ สิ่งใดเป็นอดีต สิ่งนั้นก็ล่วงเลยไปแล้ว
อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง
ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ส่วนผู้ใดมองเห็นแจ้งชัด (ตามเป็นจริง)
ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้น ๆ
อสงฺหิรํ อสงฺกุปฺปํ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน
(ไม่หวั่นไหวไปตามอำ�นาจกิเลส)
ตํ วิทฺธา มนุพฺรูหเย ครั้นรู้ชัดแล้ว เขาพึงบำ�เพ็ญสิ่งนั้น
อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ ควรทำ�ความเพียรเสียแต่วันนี้
โก ชญฺา มรณํ สุเว ใครเล่ารู้ได้ว่าจะตายวันพรุ่ง
น หิ โน สงฺครนฺเตน กับพญามัจจุราชแม่ทัพใหญ่นั้น
มหาเสเนน มจฺจุนา ไม่มีการผัดเพี้ยนได้เลย
เอวํ วิหาริมาตาปึ ผู้ที่เป็นอยู่อย่างนี้ มีความเพียร
อโหรตฺตมตนฺทิตํ ไม่ซึมเซาทั้งคืนวัน
ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ พระสันตมุนีทรงเรียกขานว่า
สนฺโต อาจิกฺขเต มุนีติฯ ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
ม.อุ. ๑๔/๒๗๒/๓๑๙-๓๒๐.
สารบัญ

คำ�นำ�........................................................................................................................ ๓
คำ�นิยม..................................................................................................................... ๔
ภาพการปฏิบัติศาสนกิจ. .........................................................................................๑๑
ประวัติพระครูศาสนกิจวิมล.....................................................................................๑๙
หลวงปู่เล่าเรื่อง........................................................................................................๒๕
๑. เสียดาย ก่อนตายไม่ได้ปฏิบัติ.............................................................................๒๙
๒. ปฏิบัติเถิด ประเสริฐแท้......................................................................................๓๙
๓. รู้เอง เห็นเอง แจ้งเอง . .......................................................................................๕๗
๔. เห็นทุกข์ รู้ทุกข์ เห็นธรรม รู้ธรรม........................................................................๗๑
๕. วิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ๔.............................................................๘๙
๖. พายเรือข้ามฟาก พากายใจข้ามวัฏสงสาร............................................................๑๐๑
๗. เห็นไตรลักษณ์ถึงไตรรัตน์............................................................................... ๑๑๓
๘. เหตุแห่งความไม่รู้แจ้ง (ในชาตินี้). ....................................................................๑๒๗
๙. กล่อมลูกให้นอน กำ�หนดใจให้นิ่ง..................................................................... ๑๓๙
๑๐. ปฏิบัติกรรมฐานไป อย่ากลัวใจหมดกิเลส........................................................๑๕๑
๑๑. เห็นทุกข์ รู้ทุกข์ พ้นทุกข์.................................................................................๑๖๕
๑๒. รู้ทันสภาวธรรม.............................................................................................๑๗๗
๑๓. เวลาล่วงไป รออะไรอยู.่ .................................................................................๑๙๑
อนุโมทนาผู้ร่วมบุญ. ............................................................................................ ๒๑๑
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 11

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญรถไฟฟ้าพระราชทาน


ถวายแด่ พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร/ขาวสะอาด) เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน
เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
12 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

รับพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักรผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ๒๗ พ.ค. ๒๕๕๐

รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา
จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ หอประชุมพุทธมณฑล ๔ มิถุนายน ๒๕๔๙
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 13

พระอาจารย์อาสภเถระและคณะศิษย์ ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ผ่านแล้วในปี ๒๕๐๙ ที่วิเวกอาศรม อ.เมือง จ.ชลบุรี


(แถวยืน) ครูสาย อ.จตุรัส จ.ชัยภูมิ, คุณหลวงฉมาพยุหรักษ์, นายช่วย ภารโรงจาก ร.ร.ทุ่งมหาเมฆ กทม.
๑. หลวงพ่อเดือน านุตฺตโร (เนื่องจำ�นงค์) ๕. พระอธิการหนูพันธ์ อิสฺสโร (ขาวสะอาด)
๒. พระหลานหลวงพ่อเดือน ๖. พระหลานหลวงพ่อเดือน
๓. ไม่ทราบชื่อ ๗. พระจำ�ลอง จ.สุราษฎร์ธานี
๔. พระครูใบฎีกาเต็ม วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม ๘. พระจำ�ลอง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
14 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 15
16 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 17
18 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
ประวัติ
พระครูศาสนกิจวิมล

นามเดิม หนูพันธ์ ขาวสะอาด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗


ตรงกั บ วั น แรม ๑๕ ค�่ ำ  เดื อ นยี่ ปี จ อ นามบิ ด า นายจั น ดี ขาวสะอาด นามมารดา
นางกัน ศรีลาพันธ์ ณ บ้านหนองเชียงทูน ต.หนองเชียงทูน อ.ขุขันธ์ (ปัจจุบัน อ.ปรางค์กู่)
จ.ศรีสะเกษ มีพี่น้อง ๗ คน คือ
๑. น.ส. หวัน ขาวสะอาด
๒. น.ส. บุญทัน ขาวสะอาด (เสียชีวิตแล้ว)
๓. นางหลอด บุญจอม (เสียชีวิตแล้ว)
๔. พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร)
๕. นางมาลี หาญบาง
๖. นายวิลัย ขาวสะอาด (เสียชีวิตแล้ว)
๗. นางแฮ ขาวสะอาด (เสียชีวิตแล้ว)

บรรพชา
เมื่ออายุ ๑๖ ปี วันจันทร์ที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค�่ำ
เดื อ น ๔ ปี ข าล ที่ วั ด โพนยาง ต.บุ สู ง อ.เมื อ ง (ปั จ จุ บั น อ.วั ง หิ น ) จ.ศรี ส ะเกษ
พระครูปญ ั ญาสิรวิ ฒ
ั น์ เป็นพระอุปชั ฌาย์

อุปสมบท
เมือ่ อายุ ๒๐ ปี วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ตรงกับวันขึน้ ๑๑ ค�ำ ่ เดือน ๔
ปีมะเมีย ที่วัดกระต�่ำ  ต.กล้วยกว้าง อ.อุทุมพรพิสัย (ปัจจุบัน อ.ห้วยทับทัน) จ.ศรีสะเกษ
พระครูอุทุมพรพัฒโนดม วัดส�ำโรงใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้ฉายาว่า อิสฺสโร
20 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เกียรติคุณที่ได้รับ
๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน
๑ สิิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้้รัับแต่่งตั้้�งเป็็น เจ้้าคณะตำำ�บลหนองเชีียงทููน
๕ ธัันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้้รับั แต่่งตั้้�งเป็็น พระครููสัญ
ั ญาบััตรที่่� พระครููศาสนกิิจวิิมล
๑๓ กุุมภาพัันธ์์ พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้้รัับแต่่งตั้้�งเป็็น พระอุุปััชฌาย์์ ต.หนองเชีียงทููน
๔ มิิถุุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้้ รัั บ ปริิ ญ ญาพุุ ท ธศาสตรบัั ณ ฑิิ ต กิิ ต ติิ ม ศัั ก ดิ์์� สาขา
พระพุุ ท ธศาสนา จากมหาวิิ ท ยาลัั ย มหาจุุ ฬ าลงกรณ-
ราชวิิทยาลััย
๘ พฤศจิิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้้รัับเลืือกเป็็นพระดีีเด่่น ด้้านเผยแผ่่พระพุุทธศาสนา
ในจัังหวััดศรีีสะเกษ
๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานรางวัลเสมาธรรมจักร พร้อมประกาศ
เกียรติคุณผู้ท�ำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขา
เผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ จากสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ ได้้ รัั บ รางวัั ล ประกาศเกีี ย รติิ คุุ ณ ประเภทผู้้�นำำ�พัั ฒ นา
ด้้านพระพุุทธศาสนาดีีเด่่น จากศููนย์์คฤหััสถ์์ วััด ราชการ
อำำ�เภอปรางค์์กู่่� จัังหวััดศรีีสะเกษ
๒๖ กุุมภาพัันธ์์ ๒๕๖๑ ได้้รัับปริิญญาพุุทธศาสตรมหาบััณฑิิตกิิตติิมศัักดิ์์� สาขา
วิิชาวิิปััสสนาภาวนา จากมหาวิิทยาลััยมหาจุุฬาลงกรณ-
ราชวิิทยาลััย
๒๖ ธัันวาคม ๒๕๖๖ ได้้รัับพระราชทานรถไฟฟ้้า จากพระบาทสมเด็็จพระวชิิรเกล้้า
เจ้้าอยู่่�หััว รััชกาลที่่� ๑๐

ลำำ�ดัับการจำำ�พรรษาและเหตุุการณ์์สำำ�คััญของพระครููศาสนกิิจวิิมล
พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๔๙๔ อายุุ ๑๖ ปีี บรรพชาเป็็นสามเณรเรีียนท่่อง ๗ ตำำ�นาน
ดููแลวััด รัับใช้้พระภิิกษุุ เป็็นเวลา ๒ ปีี
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 21

พ.ศ. ๒๔๙๕ เรีียนนัักธรรมชั้้�นตรีี ณ วััดทุ่่�งชััย ต.ทุ่่�งชััย อ.อุุทุมุ พรพิิสัยั


จ.ศรีีสะเกษ และสอบนัักธรรมชั้้�นตรีีได้้ในปีีนี้้�
พ.ศ. ๒๔๙๖ โยมบิดา คือพ่อจันดี ขาวสะอาด ถึงแก่กรรม จึงกลับมา
ร่วมบ�ำเพ็ญกุศล และอยู่ประจ�ำ  ณ วัดหนองเชียงทูน
พ.ศ. ๒๔๙๗ – ๒๕๐๐ อายุ ๒๐ ปี บ ริ บู ร ณ์ อุ ป สมบทเป็ น พระภิ ก ษุ แ ละอยู ่
จ� ำ พรรษาที่ ๑ - ๔ ที่ วั ด หนองเชี ย งทู น พรรษาที่ ๓
ไปเที่ ย วหาส� ำ นั ก เรี ย นและทั ศ นศึ ก ษา จ.ลพบุ รี และ
จ.นครสวรรค์ นั บ เป็ น ครั้ ง แรกที่ เ ดิ น ทางออกนอก
จ.ศรีสะเกษ
พ.ศ. ๒๕๐๑  พรรษาที่ ๕ เรี ย นนั ก ธรรมชั้ น โท และบาลี ไ วยากรณ์
ณ วั ด ราษฎร์ ส ามั ค คี บ้ า นหนองหอย ต.พระกลางทุ ่ ง
อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ได้ศึกษาจารีตธรรมเนียมสงฆ์
จากพระครู พ นมเจตยานุ รั ก ษ์ (จู ม ) เจ้ า คณะอ� ำ เภอ
ธาตุพนม และพระธรรมราชานุวตั ร (แก้ว) เจ้าคณะจังหวัด
นครพนม และสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปีนี้ (จาริกด้วย
เท้าจาก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ไป อ.ธาตุพนม
จ.นครพนม ใช้เวลาหลายวัน พักบิณฑบาต ฉันเป็นระยะ
ในระหว่างเส้นทาง)
พ.ศ. ๒๕๐๒  พรรษาที่่�  ๖ วัั ด กลางขุุ ขัั น ธ์์ ต.ห้้ ว ยเหนืื อ อ.ขุุ ขัั น ธ์์
จ.ศรีีสะเกษ กัับพระครููโสภิิตธรรมขัันธ์์ (เอี้้�ยง) เจ้้าคณะ
อำำ�เภอขุุขัันธ์์ เพื่่�อเรีียนนัักธรรมชั้้�นเอก และภาษาบาลีี
พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๐๔  พรรษาที่่�  ๗ – ๘ ณ วััดหนองเชีียงทููน ได้้รัับแต่่งตั้้�งเป็็น
เจ้้าอาวาส
พ.ศ. ๒๕๐๕ พรรษาที่่� ๙ วััดสระกำำ�แพงใหญ่่ ต.กำำ�แพง อ.อุุทุุมพรพิิสััย
จ.ศรีีสะเกษ ได้้ศึึกษารัับใช้้อยู่่�กัับพระมงคลวุุฒ (หลวงปู่่�
เครื่่�อง สุุภทฺฺโท) เรีียนนัักธรรมชั้้�นเอก และสอบได้้ในปีีนี้้�
22 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้้ รัั บ แต่่ ง ตั้้�งเป็็ น เลขานุุ ก ารเจ้้ า คณะอำำ�เภอปรางค์์ กู่่�
โดย พระครูวิกรมธรรมโสภินท์ (อินทร์ สีลสํวโร ป.ธ.๕)
เจ้าคณะอ�ำเภอปรางค์กู่ ในสมัยนั้น
พ.ศ. ๒๕๐๗ พรรษาที่ ๑๑ วั ด ธรรมนิ มิ ต อ.เมื อ ง จ.ชลบุ รี ศึ ก ษา
วิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ฮั้ว
พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๐๙ พรรษาที่ ๑๒ - ๑๓ ส�ำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อ.เมือง
จ.ชลบุรี ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อภัททันตะ
อาสภมหาเถระเป็นเวลา ๖ เดือน ได้ฟังเทศน์ล�ำดับญาณ
และได้ รั บ ถ่ า ยทอดวิ ช าครู ส อนกรรมฐาน ได้ ท� ำ หน้ า ที่
รับใช้อาจารย์ ช่วยส�ำนัก ดูแลผู้ปฏิบัติ เป็นเวลา ๒ ปี
พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๓๔ พรรษาที่ ๑๔ – ๓๘ วัดหนองเชียงทูน
พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๑ ได้ เ ฝ้ า ดู แ ลอุ ป ั ฏ ฐากหลวงพ่ อ
ภัททันตะ ขณะอาพาธหลายโรงพยาบาล คือ โรงพยาบาล
สงฆ์ โรงพยาบาลยาสูบ โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาล
ศิริราช เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายเดือน
พ.ศ. ๒๕๑๒ เปิ ด สอนนั ก ธรรม และธรรมศึ ก ษา ณ
วัดหนองเชียงทูน
พ.ศ. ๒๕๓๕ พรรษาที่ ๓๙ วัดถ�้ำเขาชะอางค์โอน อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
บ�ำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานภายในถ�้ำเป็นเวลาต่อเนื่องกัน
๔ เดือน
พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๔๒ พรรษาที่ ๔๐ - ๔๖ วัดหนองเชียงทูน
พ.ศ. ๒๕๔๓ พรรษาที่ ๔๗ ศูนย์กลางคณะสงฆ์ภาค ๑๐ อ.ม่วงสามสิบ
จ.อุบลราชธานี
พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๖๗ พรรษาที่ ๔๘ – ๖๙ วัดหนองเชียงทูน
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 23

๏ พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๕๑ ได้ รั บ อาราธนาไปเป็ น


พระวิ ป ั ส สนาจารย์ ดู แ ลฝึ ก อบรมนิ สิ ต มหาวิ ท ยาลั ย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในโครงการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานหลักสูตรปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
๏ พ.ศ. ๒๕๕๔ ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน พระนิสิต
ปริ ญ ญาโท ๗๐ รู ป มหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณ-
ราชวิ ท ยาลั ย วิ ท ยาเขตสุ ริ น ทร์ เป็ น เวลา ๑ เดื อ น ณ
วัดหนองเชียงทูน
๏ พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๖๗ เปิ ด สอนวิ ป ั ส สนากรรมฐาน
ณ วัดหนองเชียงทูน
• คุณลินดาเจน ตรูทัศนวินท์ ซื้อที่ดินถวายเพื่อใช้เป็น
สถานที่ ป ฏิ บั ติ ธ รรม และคุ ณ พ่ อ สงวน-คุ ณ แม่ วิ ไ ลพร
พิทักษ์สิทธิ์ สร้างกุฏิกรรมฐานถวาย ๑๗ หลัง ต่อจากนั้น
คณะผู้มีจิตศรัทธาได้สร้างถวายเพิ่มเป็น ๓๐ หลัง รองรับ
โยคี ผู ้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมทั้ ง บรรพชิ ต และคฤหั ส ถ์ ที่ มี จ� ำ นวน
มากขึ้นตามล�ำดับทั้งในพรรษาและนอกพรรษาตลอดปี
• คุณลินดาเจน ตรูทัศนวินท์ คุณนํ้าทิพย์ ตรูทัศนวินท์
และคุ ณ ดิ เ รก เกศวการุ ณ ย์ ซื้ อ ที่ ดิ น ถวายเพื่ อ ใช้ เ ป็ น
สถานที่ปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม
• คุณพ่อสงวน-คุณแม่วิไลพร พิทักษ์สิทธิ์ ก�ำลังด�ำเนินการ
ก่อสร้างกุฏิ ๒ ชั้น ส�ำหรับเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ
สามเณร
• เป็ น ผู ้ ริ เ ริ่ ม จั ด งานปริ ว าสกรรมและปฏิ บั ติ ธ รรม ณ
วัดหนองเชียงทูนต่อเนื่องกัน คือ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ –
๒๕๑๓, พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๑๘, พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๕
24 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

และอี ก หลายปี ต ่ อ มา พร้ อ มทั้ ง ได้ บ ริ จ าคตั้ ง กองทุ น


หมุ น เวี ย นงานปริ ว าสกรรมของคณะสงฆ์ อ.ปรางค์ กู ่
จ.ศรีสะเกษ จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
• เป็นผู้ริเริ่มตั้งทุนนิธิ ต.หนองเชียงทูน เพื่ออนุเคราะห์
๑. วั ด ในเขต ต.หนองเชี ย งทู น จ� ำ นวน ๑๒ วั ด
สามารถกู ้ ยื ม เป็ น ทุ น ส� ำ รองจ่ า ยในงานของวั ด
นั้น ๆ และน�ำส่งคืนเมื่อเสร็จงานแล้ว
๒. พระภิ ก ษุ ส ามเณรอาพาธ รู ป ละ ๒,๐๐๐ บาท
มรณภาพ รูปละ ๕,๐๐๐ บาท
นอกจากนี้ ยั ง ได้ ด� ำ เนิ น การก่ อ สร้ า งและบู ร ณปฏิ สั ง ขรณ์ ถ าวรวั ต ถุ ภ ายในวั ด
ที่ส�ำคัญ คือ
๑. ศาลาการเปรียญ
๒. พระอุโบสถ
๓. ศาลาโรงฉัน
๔. กุฏิแม่ชี
๕. วิหาร
๖. กุฏิเจ้าอาวาส
๗. กุฏิสงฆ์
๘. กุฏิกรรมฐาน
๙. หอกลอง
๑๐. หอระฆัง
๑๑. ห้องน�้ำ  - ห้องสุขา 
๑๒. พระพุทธรูปยืนปางพุทธลีลา ๑ องค์
หลวงปู่เล่าเรื่อง
การฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

วัันนี้้�  (๒๙ พ.ย. ๒๕๕๑) มานอนอยู่่�ที่่�วััดภััททัันตะอาสภาราม นึึกขึ้้�นมาได้้ว่่า


เรามาอยู่่�ที่่�จัังหวััดชลบุุรีี ครั้้�งแรกสุุด อยู่่�ที่่�วััดธรรมนิิมิิต จำำ�พรรษากัับอาจารย์์ฮั้้�วในปีี
พ.ศ.๒๕๐๗
เมื่่�อออกพรรษาแล้้ ว  สิ้้�นปีี ขึ้้� นสู่่�ปีี ใ หม่่ ประมาณวัั น ที่่�  ๑๔ มกราคม ๒๕๐๘
จึึงได้้ย้้ายไปมอบตััวเป็็นศิิษย์์ของพระอาจารย์์ภััททัันตะอาสภมหาเถระ ณ สำำ�นัักวิิปััสสนา
วิิเวกอาศรม
ชี วิ ต ในวิ เ วกอาศรม ตอนแรกก็ ไ ม่ รู ้ จั ก กั บ ใคร ความคุ ้ น เคยกั บ ใคร ๆ ก็ ไ ม่ มี
อาจารย์ให้ไปส่งอารมณ์กับพระมหาสมศักดิ์ ปญฺาธโร ที่เคยเป็นเจ้าคณะอ�ำเภอค�ำชะอี
จัังหวััดนครพนม ท่่านพููดในทำำ�นองว่่าเรานี้้�ตกอยู่่�ในกองกิิเลสมาก ๆ ท่่านอุุปมาด้้วยไม้้
ที่่�อยู่่�ในน้ำำ��และอุุ ป มา ๔ ข้้ อ นั้้�น เราไม่่ พ อใจ จึึ ง ขอไปสอบอารมณ์์ กัั บ อาจารย์์ อ าสภะ
และต่่ อ จากนั้้�นเราก็็ ส อบอารมณ์์ กัั บ หลวงพ่่ อ อาสภะมาโดยตลอด แต่่ ก ารปฏิิ บัั ติิ
ก็็ยัังไม่่ก้้าวหน้้าเท่่าที่่�ควร
ต่่อมา คุุณโยมธรรมนููญ สิิงห์์คารวานิิช มาบอกให้้ข้้อคิิดว่่า เราปฏิิบััติิไม่่สำำ�รวมพอ
สำำ�รวมน้้อยไป ท่่านจึึงให้้กำำ�หนดถี่่�  ๆ มาก ๆ ขึ้้�น หรืือกำำ�หนดจนเป็็นบ้้ากรรมฐาน คืือ
ให้้กำำ�หนดทุุกอย่่างเท่่าที่่�มีีมา จึึงจะสามารถปฏิิบััติิผ่่านไปได้้
เราก็็มาพิิจารณาดููว่่า เราทำำ�ทุุกอย่่างแล้้ว เขาทำำ�ไมจึึงมาว่่า เราทำำ�น้้อยอยู่่� เรายัังสำำ�รวม
ไม่่ได้้ เราไม่่ค่่อยพอใจ เราจึึงตั้้�งใจใหม่่ แต่่ยิ่่�งทำำ�ก็็ยิ่่�งไม่่ได้้ เราก็็สู้้�อดทนพยายามทำำ�
26 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ความเพีี ย รให้้ ม าก ๆ แต่่ ก็็ ยัั ง มีี ปัั ญ หาอุุ ป สรรคอยู่่� ทั้้�งความเสีี ย ใจ ไม่่ พ อใจ ความ
ฟุ้้�งซ่่านคิิดไปต่่าง ๆ นานา ถึึงกัับบางครั้้�งนั่่�งไม่่ได้้ คิิดมาก ๆ จิิตใจก็็ไม่่ดีี ไม่่มีีใครที่่�จะให้้
กำำ�ลัังใจ
โยมธรรมนูญ สิงห์คารวานิช มาบอกว่า ให้ท�ำความเพียร ก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ
น้อย ๆ และให้ส�ำรวมมาก ๆ ขึ้น ให้อดทน พยายามท�ำให้ได้ เพื่อที่จะน�ำเอาพระธรรม
ค�ำสั่งสอนกรรมฐานนี้ไปเผยแผ่ทางภาคอีสาน เพราะยังไม่มีใครได้มาปฏิบัติผ่านญาณ
๑๖ นี้ไปเผยแผ่ทางภาคอีสานเลย ท่านนี้อายุยังน้อย จะท�ำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไป
ได้มาก ขณะนั้นอายุของเราก็ได้ ๓๑ ปี พรรษา ๑๑ เราก็เพียรท�ำกรรมฐานทั้งกลางวัน
ทั้งกลางคืน ไม่นอน ท�ำได้ประมาณ ๓ วัน ๓ คืน ไม่มีความรู้สึกว่าเหนื่อยเพลีย ท�ำไป
ได้เรื่อย ๆ พอรู้ว่าสว่างก็ออกไปบิณฑบาตกับพวกพระรูปอื่น ๆ วันหนึ่งเราเอาบาตรออก
มาตั้งไว้ แล้วนั่งสมาธิคอยเพื่อน ๆ พระจะตีระฆังแล้วออกไปบิณฑบาต แต่ปรากฏว่า
เราหลับไปนานถึง ๒ โมงเช้า รู้สึกตัวขึ้นมาคว้าบาตรจะไปกับเขา แต่ดูนาฬิกาแล้วมันถึง
๒ โมงเช้าแล้ว เราจึงเดินไปหาแม่ครัวขออาหารเขามาฉัน อยู่มาประมาณ ๒ อาทิตย์ เรา
ท�ำต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ท�ำอยู่ได้ ๗ วัน ๗ คืน ไม่ได้นอน แต่ก็ยังไม่ได้
ผ่านโสฬสญาณ จึงมาพักพิจารณาในการบ�ำเพ็ญเพียรของเรานี้ มันเคร่งไปหรือไม่ จึงมา
ผ่อนท�ำไปเรื่อย ๆ จึงมาผ่านเอาช่วงนี้ หลวงพ่ออาสภะ ท่านให้อธิษฐานดู ก็ได้ผลดี เป็น
ที่พอใจของท่าน รวมเวลาท�ำความเพียรเจริญพระกรรมฐานต่อเนื่องกันถึง ๖ เดือน
หลังจากนัน้ เราออกมาช่วยงานทางวัดได้หลาย ๆ อย่าง เช่น เรือ่ งโยคีมสี ภาวะต่าง ๆ
เรื่องไฟ เรื่องน�้ำ  อ�ำนวยความสะดวกช่วยส�ำนัก ช่วยอาจารย์ ช่วยโยคีตามแต่จะช่วยได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ อาจารย์ได้ถ่ายทอดวิชาครูและให้ฝึกสอน ฝึกอบรม ฝึกแก้
สภาวะอารมณ์พระกรรมฐานแก่โยคีอื่น ๆ พ.ศ. ๒๕๑๐ หลวงพ่ออาสภะอาพาธ ต้องเข้า
โรงพยาบาลหลายแห่งตลอดปี ได้ท�ำหน้าที่เป็นอุปัฏฐากคอยดูแลเฝ้าพยาบาลหลวงพ่อ
อาสภะอย่างเต็มก�ำลังตลอดปี
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงกลับไปจ�ำพรรษาที่บ้านเดิม คือวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
ไม่ได้ท�ำการสอนกรรมฐาน มีแต่ท�ำหน้าที่เจ้าอาวาส
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 27

อยู ่ ม าจนถึ ง ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ทางมหาวิ ท ยาลั ย มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย


มี ห นั ง สื อ นิ ม นต์ ใ ห้ ม าดู แ ลฝึ ก อบรมวิ ป ั ส สนากรรมฐานแก่ นิ สิ ต ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี
ครั้งแรก ณ พุทธมณฑล และครั้งต่อ ๆ มา ปีละ ๑ ครั้ง ทุก ๆ ปี
ต่อมา ได้รับนิมนต์มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ ดูแลฝึกอบรมนิสิตปริญญาโท –
ปริ ญ ญาเอก ทั้ ง บรรพชิ ต และคฤหั ส ถ์ ที่ ม หาจุ ฬ าอาศรม ต.พญาเย็ น อ.ปากช่ อ ง
จ.นครราชสีมา
และครั้งล่าสุด วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ อบรมนิสิตบัณฑิต
วิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาโท – ปริญญาเอก ทั้งบรรพชิตและ
คฤหัสถ์ รวม ๒๖๐ รูป/คน ณ วัดภัททันตะอาสภาราม จ.ชลบุรี และเราก็ได้เทศน์
อบรมเป็นประจ�ำ  ในเวลา ๑๘.๓๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เพื่อให้นิสิตเหล่านั้นได้ตระหนัก
ในการปฏิบัติ และเป็นการปลูกศรัทธาให้เขาอยากจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และ
ให้เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาที่ตนนับถือว่ามีคุณค่าแค่ไหน นิสิตทั้ง ๒๖๐ ต่าง
ก็ นั่ ง ฟั ง ด้ ว ยความสงบ สนใจ ไม่ มี ใ ครพู ด หรื อ คุ ย กั น แม้ แ ต่ ค นเดี ย ว เขาตั้ ง ใจฟั ง
กั น ดี ม าก เมื่ อ เทศน์ จ บลงเขาก็ ไ ปหา ณ กุ ฏิ ที่ พั ก ถามถึ ง ปั ญ หาต่ า ง ๆ ที่ เ ขาปฏิ บั ติ
แล้ ว เขาเห็ น สภาวะแล้ ว แต่ เ ขายั ง ไม่ เ ข้ า ใจ มี ทั้ ง พระภิ ก ษุ แ ละฆราวาสทั้ ง หญิ ง และ
ชาย อยากรู้ อยากเข้าใจว่าตนท�ำไปแล้วนั้นมันถูกหรือผิดอย่างไร เพื่อที่จะได้น�ำไป
แก้ไขในการปฏิบัติของตนต่อไป ถามทดลองความรู้ความสามารถก็มี แต่มีเป็นส่วน
น้อย โดยมากที่ถามนั้นเพื่อจะน�ำไปแก้ไขและปรับปรุงการปฏิบัติของตนให้ดีขึ้น นิสิต
นั ก ศึ ก ษานั้ น มี ทั้ ง ต� ำ รวจ ทหาร ครู ข้ า ราชการ พลเรื อ น ผู ้ ที่ ท� ำ งานห้ า งร้ า นบริ ษั ท
ใหญ่ ๆ เขามาเรียนเอาวุฒิ เพื่อที่จะได้เงินเดือนสูง ๆ ขึ้นไป จึงไม่ค่อยสนใจในการ
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่าที่ควร ท�ำบ้างไม่ท�ำบ้าง ใจไม่อยากท�ำ  แต่ท�ำตามกฎของ
ทางมหาวิทยาลัยเท่านั้น จึงท�ำให้กุศลจิตไม่เกิด ปฏิบัติไปไม่เกิดสมาธิจิต ผู้ปฏิบัติเกิด
เบื่อหน่าย ไม่อยากท�ำ  จะท�ำก็ท�ำแบบจิตเหม่อลอย ไม่ก�ำหนด ต่อมา ตัวถีนมิทธะก็
เข้ามาครอบง�ำจิตใจ ท�ำให้ง่วงซึม หลง ๆ ลืม ๆ นั่งไม่ได้ ก�ำหนดก็ไม่ติดต่อกัน เหม่อ ๆ
ลอย ๆ รวมทั้้�งเกิิดความพอใจ ไม่่พอใจ หงุุดหงิิดรำำ�คาญในการปฏิิบััติิ ในคนรอบข้้าง
28 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ในสิ่่�งแวดล้้อม หรืือแม้้แต่่ตนเอง ทั้้�งนี้้�เป็็นเพราะสภาวธรรมหรืือเห็็นพระไตรลัักษณ์์
มากขึ้้�น แต่่โยคีีมัักไม่่เข้้าใจในสภาวธรรม จึึงเฝ้้าแต่่จะกำำ�หนดพองหนอ ยุุบหนอเท่่านั้้�น
แต่่ถึึงอย่่างไรก็็เป็็นการดีีมากที่่�พวกนิิสิิตได้้เข้้ามาปฏิิบััติิ ได้้รู้้�ได้้เห็็น ได้้สััมผััสในสภาว-
ธรรมที่่�ไม่่ เ คยได้้ สัั งเกต สนใจศึึ ก ษามาก่่ อ น เป็็ น การปลูู ก ศรัั ทธาเบื้้�องต้้ น เมื่่�อเรีี ย น
จบแล้้วหรืือมีีโอกาสเมื่่�อไร ค่่อยขวนขวายหาที่่�ปฏิิบััติิต่่อไป และก็็มีีหลายคนที่่�สนใจ
จะตามไปเยี่่�ยมไปปฏิิบััติิวิิปััสสนากรรมฐานที่่�สำำ�นัักวััดหนองเชีียงทููน

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงสำ�คัญที่ใจ
ใจประเสริฐสุด สำ�เร็จมาจากใจ
ถ้าใจไม่ดี การทำ� การพูด ก็พลอยไม่ดีไปด้วย
เพราะความไม่ดีนั้น เป็นเหตุ
ความทุกข์ก็ติดตามมาเหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค
ขุ.ขุ. ๒๕/๑/๒๓.

ั ิ*
เสียดาย ก่อนตายไม่ได้ปฏิบต

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอกราบคารวะพระเถรานุเถระ
และขอความสุขสวัสดีจงมีแด่พระโยคาวจร ทุกท่าน ขอเจริญพรผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
การปฏิบัติธรรมก็ดำาเนินกันมาหลายวันแล้ว สมาธิก็จะดีขึ้น หรือจะมีธรรมะเกิดขึ้น
และการปฏิบัติก็จะละเอียดมากขึ้นเป็นลำาดับ
บางองค์ พระท่านก็เคยปฏิบัติมาหลายปีแล้ว ศึกษาเล่าเรียนมาก็มาก ส่วนฆราวาส
ญาติโยมก็เช่นเดียวกัน บางคนปฏิบัติมาหลายปี และปฏิบัติมาหลายแบบด้วย ทดลอง
มาหลาย ๆ อาจารย์ เพื่ออยากจะรู้ว่าวิธีไหนเป็นอันถูกต้อง เราควรจะดำาเนินไปใน
แนวทางไหน
แต่ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นองค์เดียว ข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันไปบ้างนั้น
ก็น่าจะมี พุทธศาสนาได้ล่วงเลยมา ๒๕๕๑ ปีแล้ว ความแตกต่างย่อมมีเป็นของธรรมดา
ที่ เ ริ่ ม แรกนั้ น พระพุ ท ธองค์ ก็ ส อนในแนวเดี ย ว แต่ ค นที่ สื บ ต่ อ มานั้ น ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ ป็ น
คน ๆ เดียว สองพันกว่าปีที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีการปฏิบัตินี้ไว้ได้มาจนถึง
พวกเรา ปัจจุบันนี้ก็นับว่าดีพอสมควร ที่ว่าดีเพราะว่าเรารักษากันไว้ได้ ที่รักษากันไว้
ได้นั้น ความแตกต่างก็ย่อมจะมี แตกต่างในความคิดเห็นบ้าง แตกต่างในทางวิธีทำาบ้าง
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร) ที่ปรึกษาพระวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดภัททันตะ อาสภาราม
อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
30 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เพราะท�ำไปแล้วก็เข้าใจว่าอย่างนี้มันดี ก็ยึดถือเอาเป็นแนวทาง แต่ต�ำราเดิม ๆ นั้น


ก็ยังมี วิธีการเดิม ๆ ก็ยังมี เราจะเห็นได้จากประเพณีต่าง ๆ ที่ท�ำกันมาหลาย ๆ อย่าง
เช่ น ประเพณี ใ นการจั ด การงานศพ ถ้ า คนที่ มี ฐ านะดี ห น่ อ ยก็ จั ด การได้ ดี ส่ ว นคนที่
ไม่ มี อั น จะอยู ่ จ ะกิ น ตายลงก็ ท�ำ แต่ ไ ม่ ดี เ หมื อ นคนมี อั น จะอยู ่ จ ะกิ น การจั ด การก็
แตกต่างกันออกไป บางคนก็ไม่รู้จะเอาแบบไหนดี เห็นเขาท�ำก็อยากจะท�ำ นี้อุปมาให้ฟัง
นิด ๆ หน่อยๆ
ในวัดบ้านหนองเชียงทูน มีของใช้ที่จะให้เขาใช้ได้เวลามีงานพิธีต่าง ๆ ก็มายืมเอา
เราเห็นว่าพิธีทางพระพุทธศาสนานั้น ถ้าเราไม่ท�ำให้ดี มันก็จะไม่สวยไม่งาม ถึงประเพณี
จะมีหรือไม่มี ก็ให้มันพอดูได้ เป็นได้ อย่างการหากระดาษมาติดในงานศพเพื่อให้ดู
เหมาะสมกับเจ้าภาพ ท�ำไปแล้ว เราก็ไปติดให้งานคนนั้นบ้างงานคนนี้บ้าง คราวหลังก็มี
มากขึ้น เดี๋ยวนี้เขามีโรงงานพิมพ์มาขายด้วยซ�้ำไป นี้ประเพณีก็แตกต่างกันไป การปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนี้ก็เป็นประเพณีอย่างหนึ่งเหมือนกัน ยกมาพูดเพื่อโยงให้เห็นกัน
การปฏิ บั ติ ข องเรานั้ น ก็ นิ ย มเรื่ อ งการปฏิ บั ติ ส มถกรรมฐานเป็ น ส่ ว นมากเพื่ อ ที่
จะให้มันขลัง มีอิทธิฤทธิ์เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ หรือจะท�ำแล้วมันเกิดขลังขึ้นมาก็เลยคิดว่า
นี้คือ พระพุทธศาสนา
จริง ๆ แล้วพระพุทธศาสนาไม่ได้มุ่งอย่างนั้น แต่พอท�ำ ๆ แล้วมันเกิดขึ้นมาอย่าง
นั้นก็มี คนก็ไปมุ่งเอาท�ำสมถะเพื่อให้มันเกิดเครื่องรางของขลังขึ้น ในส่วนวิปัสสนาที่
พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นเรื่องแห้งแล้ง ไม่ค่อยขลังก็เลยมาถือประเพณีการปฏิบัติ
ในบ้านเราจึงแยกออกเป็นหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ วิธีการ สมัยก่อนก็เพื่อจะป้องกัน
ประเทศ บ้านเราเมืองเราที่เป็นอยู่มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา เราก็ป้องกัน
บ้านเมืองไว้ไม่ให้เป็นเมืองขึ้นของใคร โดยถือเอาว่ามีพระพุทธศาสนาคอยคุ้มครองอยู่
ก็อาศัยพระ เราไม่ได้ทิ้งพระ ไม่ใช่เอาพระมาแขวนคอ แต่ถือตามหลักธรรมค�ำสอนของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าสิ่งใดมันจะเป็นแนวทางพอที่จะรักษาประเทศชาติไว้
ได้ ก็เข้าหาพระช่วย พระท่านก็ไม่ได้ไปรบราฆ่าฟันด้วย แต่ก็ให้ก�ำลังใจกับพวกแม่ทัพ
นายกองทั้งหลายเพื่อไปต่อสู้ เราก็เลยติดที่จะท�ำอย่างนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 31

สมัยนี้เราเลิกจากวิธีการแบบนั้น และประชาชนก็ต้องการก�ำลังทางจิต ท�ำอย่างไร


คนในปัจจุบันมาหันพลิกกลับใหม่ คิดว่า ชีวิตของเรานี่มันไม่นานเท่าไหร่ แต่ก่อนก็คิด
ว่ามันจะยืนยาวนาน แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ยืนยาวนานแล้ว เราเกิดมานี้ได้อะไรเป็นที่พึ่ง ไม่มี
ที่พึ่ง เลยมาเปรียบเทียบดูว่า การที่คนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ก็นับถืออยู่แต่ว่า
ไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ได้ลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องการปฏิบัติ แม้แต่พระเจ้าพระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน
บวชมาก็เพียงแค่อยู่วัดเป็นเจ้าอาวาสพัฒนาวัดไป นี้เป็นแค่ความเห็นนะ ไม่ได้ว่าพระ
ไม่ได้มีการปฏิบัติทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนา แม้แต่การท�ำกิจวัตรยังไม่มีด้วยซ�้ำไป แต่
บางวัดก็ดี วัดใดที่มีพระเถระอุปัชฌาย์ครองวัดอยู่ วัดนั้นก็มีพระสงฆ์องค์เณรเรียบร้อย
มีการศึกษาเล่าเรียน เมื่อก่อนทางภาคอีสานนี้เรียกว่า เป็นหนังสือธรรม เป็นหนังสือ
ตัวลาว ลาวเดิม เดี๋ยวนี้หมดไปแล้ว
พอฉันเช้าเสร็จพระเณรนี่ก็ถือหนังสือใบลานออกมา ก็มากราบอาจารย์นั่งล้อม
อาจารย์สักสี่ห้ารูป ก็มาอ่าน อ่านแล้วอาจารย์ท่านก็จะบอกหนังสือตัวนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ
เพราะว่าหนังสือนั่นมันอ่านยาก ไม่ค่อยเข้าใจ บางคนก็อ่านเป็นนกแก้วนกขุนทองไป
พูดแต่ปากแต่ตัวหนังสือนั้นไม่ค่อยเข้าใจ ก็ปฏิบัติกันมาอย่างนั้น ตื่นเช้ามาก็ท�ำวัตร
บางองค์ก็ขี้เกียจไม่อยากจะท�ำวัตร นอนไม่ตื่น ในฤดูพรรษาก็ตั้งกฎกติกาเอาไว้ มีทุกวัด
ใครตื่นสายไม่มาท�ำวัตรก็ให้ท�ำงานบ้าง ปัดกวาดท�ำความสะอาดบริเวณวัด แล้วแต่
ตกลงกัน บางวัดที่ไม่ค่อยมีครูบาอาจารย์ก็นอนตื่นสาย การครองผ้าห่มผ้า ท�ำจิตใจให้
บริสุทธิ์ก็ไม่ค่อยมี การศึกษาเล่าเรียนก็มีน้อย ฉะนั้นจึงเจริญนิด ๆ ไม่ได้มาก
แต่สมัยนี้ความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีมีมาก วิทยุโทรศัพท์ก็มี แต่พระสงฆ์
ก็ ต ้ อ งตามฆราวาส ถ้ า ไม่ ต ามก็ ไ ม่ ทั น แม้ แ ต่ ก ารศึ ก ษาก็ เ ช่ น เดี ย วกั น การปฏิ บั ติ ก็
เหมือนกัน ต้องมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นที่พึ่งของประชาชน
หลักวิชาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เราก็ค้นหากันมาหลายปี จนมาลงรอยกันว่า
เออ เอาแบบนี้มันดี ส่วนแบบเก่า ๆ ที่เคยท�ำมานั้นก็ดี แต่ว่าไม่เข้าถึงจิตใจของประชาชน
เพราะจะรู้แต่ในเฉพาะพวกพระ พวกท�ำเครื่องรางของขลังก็มีแต่ในเฉพาะพวกพระที่จะ
พาท�ำให้ญาติโยม
32 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

สมัยก่อนหมอไม่ค่อยมี รักษาก็ไม่ค่อยได้ การเสกเป่าจะว่าไม่ดีก็ไม่ถูก จะว่า


ดี ห มดทุ ก อย่ า ง ถ้ า โรคมั น ร้ า ยแรงเป่ า ก็ ไ ม่ ห าย แต่ ก ่ อ นนี้ เ ด็ ก เกิ ด มากระจองอแง
ไปให้พระเสกมนต์เป่าไป ก่อนที่จะเป่าก็จะต้องมีหมากมีพลูมาให้ พระก็เลยติดหมากมา
ของที่เอามาเสกเป่าเป็นอะไรก็ได้ คือ มันเป็นก�ำลังใจให้เขา เมื่อเสกเป่าไปแล้วก็หาย
มั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ ไม่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ไ ม่ รู ้ ล ่ ะ เป่ า ก็ เ ป่ า ไป บางที ก็ ใ ช้ น�้ ำ มนต์ มี อ ะไรก็ ท�ำไป
เป่าไป มันก็หาย นี้ก็เป็นการช่วยชาวบ้านได้อย่างหนึ่ง
แต่บัดนี้ชาวบ้านทั้งหลายก็อยากจะได้วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ ถือว่า
เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ มาคิ ด เอาว่ า สั ง ขารของเรานี้ เ คยคิ ด ว่ า มั น จะยื น ยาวนาน
เดี๋ ย วนี้ มั น ไม่ ยื น ไม่ ย าวไม่ น านเท่ า ไร คุ ณ งามความดี ที่ จ ะได้ ติ ด ตั ว ไปก็ ไ ม่ มี เ ท่ า ไหร่
นอกจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้
อยากจะยกขึ้นมาให้ฟัง ไม่ใช่คนอื่น น้องสาวก็บ้านอยู่ใกล้ ๆ เข้าออกดูแลในวัด
เขาก็เกิดป่วยเป็นโรคมะเร็งขึ้นมา มันก็รู้ว่ามันจะต้องตาย แต่ก่อนนั้นก็เคยชักชวนว่า
ปฏิบัติวิปัสสนานี้ดีนะ ไม่เอาหรือ เขาบอกว่า ยังไม่เอาหรอก มันไม่ตายง่ายหรอก ก็
อยู่มาไม่ถึง ๒ ปีเขาก็เกิดป่วยขึ้นมา รักษายังไงก็ไม่หายแล้ว เขาบอกว่าเขาจะตายแล้ว
หลวงพี่มีอะไรจะให้บ้าง ก็บอกไปว่าแล้วจะเอาไปได้บ่ บอกตั้งแต่มันยังดี ๆ เดินไป
เดินมาได้ก็ไม่เอา บอกว่าไม่ตายง่ายๆ หรอก พอจะตายเข้าจริง ๆ จะเอาไปได้ยังไง
ก็ไม่มีวิธีการใด ๆ จะให้เขาได้
เอา ถ้าอยากจะได้จริง ๆ ก็สมาทานศีล ๕ ดู ตั้งใจดี ๆ นะ รับศีล ๕ ก่อนอย่า
เพิ่งตาย ว่า นโม พูดแต่นโมมันก็ไม่จบ ได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ มันจวนจะตายแน่นอนแล้ว
ตั้งนโมจบก็ให้ศีลเสร็จ ก็ให้ตั้งใจดี ๆ ไม่ต้องไปคิดเรื่องอื่น ตอนที่รับศีล ๕ จบแล้ว
เขาบอกว่า มันจะตายแน่นอนแล้วหลวงพี่ ไม่มีอะไรจะให้หรอก ให้ได้แค่ศีล ๕ นี่แหละ
เขาก็ยกมือไหว้ อยู่อีกไม่ถึง ๑๐ นาทีเขาก็ตาย อันนี้เราจะหาที่พึ่งก็มีในลักษณะอย่างนี้
ถ้าหากว่าเราไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อถึงคราวอย่างนั้นเราก็ไม่มีที่พึ่ง
ปัจจุบันคนทั้งหลายก็มาคิดกันอย่างนี้ ที่ไปโรงพยาบาล หมอก็จะช่วยได้แค่ให้อาหาร
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 33

ให้ยา ตรงนี้จะต้องมาคิดถึงตัวเองว่า จะต้องปฏิบัติจะต้องท�ำ ต้องตั้งใจปฏิบัติ แต่ตอนที่


สนุกสนานอยู่นี่ยังคิดไม่ถึง
การเผยแผ่ในด้านนี้จะมากขึ้น ๆ ส่วนการที่จะอยากไปปฏิบัติแบบสมถกรรมฐาน
ที่จะท�ำให้จิตใจสงบ คือ ผู้ที่ปฏิบัติต้องใช้เวลานานมากจิตใจจึงจะสงบ ต้องหาที่สงบเป็น
ที่ปฏิบัติด้วย
ส่ ว นการปฏิ บั ติ ต ามแนวทางพองหนอ ยุ บ หนอนี่ ท�ำให้ จิ ต ใจสงบได้ ง ่ า ย ถ้ า เรา
ไม่เชื่อว่าการปฏิบัติแนวทางนี้จะท�ำให้จิตเราสงบ เกิดมีศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใส
ขึ้นในพระพุทธศาสนานั้น จะพูดอย่างไรดี ในด้านจิตใจไม่ค่อยจะยอมเชื่อ ว่าจะดีหรือ
ไม่ดี นี้เป็นปัญหาของปุถุชนคนเรา ก็มีอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น จะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งว่า
ผู้ที่ได้มาปฏิบัติในแนวทางนี้จิตใจเป็นสมาธิอยู่บ้างแล้ว
ค�ำว่า เข้าวัดไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปวัดทุกวันทุกเวลา คือ ค�ำว่าเข้าวัดนี่ คือ
เข้ามาหาข้อปฏิบัติ เคยได้ยินได้ฟังก็อยากได้ยินได้ฟัง อยากไปฟังพระเทศน์ก็อยากจะไป
เวลาเราไปปฏิบัติแล้วเราจะมีจิตน้อมไปอย่างนั้น มีจิตที่น้อมไปอยากฟังเทศน์ ไม่ว่าเทศน์
เรื่องอะไรก็อยากจะฟัง นี้คือผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยู่บ้างแล้ว เกิดกับ
ผู้ปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว อยากฟังเทศน์ อยากนั่งสมาธิ ถ้าเป็นพระสงฆ์ก็อยากจะฟังเทศน์
การปฏิ บั ติ แ บบพุ ท โธ ๆ หรื อ สมถะนี่ จิ ต สงบได้ ย าก ใช้ เ วลานาน เมื่ อ มาลอง
ก�ำหนดแบบพองหนอ ยุ บ หนอแล้ ว จิ ต สงบได้ เ ร็ ว และก็ รู ้ แ จ่ ม แจ้ ง ในธรรมนี้ เ ร็ ว ขึ้ น
มากขึ้น ถ้าหากปรารถนาพุทธภูมิ หรือต้องการเป็นคนมีฤทธิ์มีเดชอะไรต่าง ๆ อันนั้น
มั น เลยสมั ย นั้ น มาแล้ ว ไม่ ต ้ อ งไปคิ ด อยากจะมี ฤ ทธิ์ มี เ ดชหรอก ถ้ า อยากจะคิ ด ก็ ไ ด้
ถ้ามีฤทธิ์มีเดชแล้วจะเอามาท�ำอะไร มีฤทธิ์มีเดชนี่ยังไม่ได้พ้นทุกข์ ยังจะต้องตกนรกอยู่
ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารยังไม่รู้ที่สิ้นสุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบอกว่า นี้ไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์ คือมันเป็นทางหาทุกข์
ทางที่จะเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด
ถ้าว่าเกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน เอาใกล้ ๆ นี่ล่ะ ถ้าเกิดมาเป็นไก่ ไก่ตัวหนึ่งอายุ ๗ เดือน
๘ เดือน สมัยนี้ ๓-๔ เดือนเขาก็ขายแล้ว เลี้ยงไก่ให้มันทันใจคนที่จะต้องบริโภค
34 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

หนังสืออีสานเขียนไว้ว่า คนใดถ้าท�ำชั่วจะต้องไปเกิดเป็นไก่ เป็นหมู เป็นหมา


เป็นแร้ง เป็นกา อย่างละ ๕๐๐ ชาติ นี้ถ้าเราเกิดมาเป็นไก่ ๕๐๐ ชาติจะได้ตายดีไหม
ไม่ดี ก่อนที่จะตายเขาก็เอามาเชือดคอ ถ้าเป็นหมูล่ะ เขาก็เอามาฆ่ามาแกง ทรมานไหม
เจ็บไหม คิดเอา ๕๐๐ ชาติ ถ้าเป็นไก่ปีหนึ่งก็จะเกิดถึง ๒ ครั้งน่ะ เพราะว่า ๓-๔ เดือน
เขาก็เอาไปฆ่า ฆ่าแล้วก็ไปเกิดอีกตายอีก ก็โดนปาดคออีก หมูก็เหมือนกัน มันเป็น
อย่างนั้น
พระพุ ท ธองค์ จึ ง ตรั ส ว่ า การเวี ย นว่ า ยตายเกิ ด อยู ่ ใ นวั ฏ สงสารนั้ น มั น เป็ น ทุ ก ข์
จึงหาทางที่จะให้พ้นจากทุกข์คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เพื่อให้หนีจากทุกข์
มีบางคนบอกว่าไม่อยากจะเกิดอีกเพราะกลัวเป็นทุกข์ แต่เวลามาปฏิบัติแล้วขี้เกียจ
ไม่อยากก�ำหนด ไม่อยากท�ำ มันก็ไม่ได้ เพราะการปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานนีม้ นั จะต้องท�ำ
บางคนอยากจะปฏิบัติจริง ๆ แต่ขาดผู้ที่จะแนะน�ำ เป็นแค่เบื้องต้นก็ยังมีน้อยอยู่
พระเถระบางองค์ท่านก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน ถือว่า อริยมรรค
อริยผล ยังไม่มีด้วยซ�้ำไป พระอยู่ตามชนบท หัวเมืองต่าง ๆ ก็มี เพราะเหตุใดที่เป็น
อย่างนั้น จะพูดว่า พระบางรูปก็อยู่เพียงแค่สวด ฉัน การปฏิบัติก็จะมีน้อย และก็ไม่เข้าใจ
ในเรื่องการปฏิบัตินี้เท่าที่ควร อันนี้เท่าที่สังเกตดูมีอยู่ทั่ว ๆ ไป บางองค์บอกว่าไม่เคย
ได้ปฏิบัติเลย ไม่เคยได้นั่งกรรมฐานเลยตั้งแต่บวชมานี้ แต่ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะว่าพระผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะมีเวลา แม้กระทั่งไหว้พระสวดมนต์ท�ำวัตร เดี๋ยวกิจนิมนต์
นั้น เดี๋ยวกิจนิมนต์นี้ บางทีวันหนึ่งก็สองสามแห่ง วันเสาร์วันอาทิตย์นี่จะไม่ว่างเลย เทศน์
งานศพ บรรยายธรรมนี้ไปเรื่อย จนไม่มีเวลาจะท�ำกรรมฐาน
พวกเราที่มาท�ำกรรมฐานอยู่นี้อย่าคิดว่า มันสาย ท�ำไป เพราะว่าเวลานั้นมาแล้วมัน
ไม่ได้ท�ำ อย่างน้อย ๆ ก็ได้ให้นั่งกรรมฐานก่อนนอน ตื่นเช้าขึ้นมาก็ให้ได้นั่งกรรมฐานก่อน
ที่เราจะไปท�ำธุระอย่างอื่น ให้เราได้เป็นปัจจัยเอาไว้ให้เราได้รู้
โบราณอีสานเว้าว่า ตื่นมื้อเซ้ากินอ่อมธรณี แล้วก็คิดไม่ออกว่า มันเป็นภาษาที่เป็น
ปริศนา มาฟังตรงนี้ก็ยังฟังไม่ออก ค�ำว่า กินอ่อมธรณี ตื่นเช้ามาชาวบ้านเราจะไปท�ำอะไร
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 35

ฝนตกเราจะไปขุดตรงนั้นแล้วก็จะปลูกพริกปลูกเขือหรือว่าอะไรดี จะเอามาอยู่มากิน
มาเลี้ยงครอบครัว อยู่อย่างนั้น ก็ไปท�ำเอาไว้ ถ้าคนใดขี้เกียจเห็นเขาปลูกเอาไว้ตัวก็
ไปขโมยเอา ที่นี่ค�ำว่ากินอ่อมธรณี ดูในพื้นที่พื้นนาของเรานี้ ดูเอา ว่าจะปลูกอะไร จะ
ท�ำอะไร เราก็ไปดู ไปท�ำ ส่วนพระสงฆ์ของเราก็ต้องมาภาวนานี่แหละ ตื่นเช้าขึ้นมาถึง
ไม่มีงานอย่างอื่นที่จะต้องไป เราก็ตื่นมาครองผ้าจีวร สังฆาฏิ อธิษฐานผ้าเสร็จแล้วก็
ไหว้พระ จะท�ำย่อ ๆ หรือจะท�ำให้จบคนเดียวก็ได้ ว่าแต่ย่อ ๆ แล้วก็นั่ง ได้เวลาก็ออก
ไปบิณฑบาต การที่จะไปบิณฑบาต ก็มีคาถาปลุกอีก การไปบิณฑบาตก็ต้องท�ำจิตของตน
ให้เป็นสมาธิ ยถาปจฺจยํ ฯลฯ ว่าไปจนตลอดทาง จนกระทั่งกลับมาถึงวัด พระที่ปฏิบัติ
แบบนี้จะมีน้อยนะ สมัยนี้ ญาติโยมก็จะได้ประโยชน์
ผมเคยพบที่เชียงราย พระที่เคยมาเรียนปฏิบัติ ตอนเรียนท่านมาปฏิบัติที่พุทธ
มณฑล แต่ท่านไม่ค่อยได้เอาใจใส่ นั่งก็ท�ำไปอย่างนั้นแหละ พอเขาให้ไปปฏิบัติงานไปอยู่
กับชาวเขาในจังหวัดเชียงราย พระท่านบอกว่าไม่ได้วิธีการปฏิบัติวิธีการมาอบรมเขาสอน
เขา อยากจะเอาไปสอนเขา แต่ท�ำไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเวลาให้ปฏิบัติ สอนให้ก็ไม่
เอาใจใส่ เวลาครูบาอาจารย์สอนให้ก็ไม่เอา มันเป็นอย่างนี้นะ
เราจะไปช่วยเขาแต่เราก็ต้องได้ก่อน อันนี้วิปัสสนากรรมฐานนั้นจึงจ�ำเป็น เราจะต้อง
ตั้งใจ เราจะต้องให้ได้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันตายหรือ ไม่ได้ป้องกันตาย แต่ว่าก่อนที่จะ
ตาย ก็จะได้ท�ำจิตของเราให้เป็นสมาธิก่อน
วิปัสสนากรรมฐานนี้ควรจะมี เพื่อที่จะได้บอกลูกบอกหลาน สอนลูกสอนหลาน
ให้ได้มีการปฏิบัติ แล้วจิตใจของคนก็จะเป็นคนที่ดี เป็นคนมีศีลมีธรรม พูดแล้วก็จริง
ทีว่ า่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านีก้ อ็ ยากจะให้พระพุทธศาสนานีเ้ ข้ามาอยูใ่ นจิตใจของเรา
จะได้เป็นจิตใจที่มีศีลมีธรรม ไม่ใช่มาปฏิบัติเพื่อจะได้เครื่องรางของขลัง จตุคามนี่ รวย
กันไปเมื่อหลายปีก่อน จตุคามนี่เป็นเทพ เทพนั้นจะต้องเคารพพระสงฆ์ เพราะเทพเป็น
ผู้ที่มีเพียงศีล ๕ เทพเมื่ออยู่บนต้นไม้เมื่อเห็นพระเจ้าพระสงฆ์ไป เทพนี้จะต้องรีบลงมา
อยู่ข้างล่าง จะไปอยู่สูงกว่าพระไม่ได้ แต่นี่พระไปปลุกเสกเทพ มันถูกหรือเปล่าท่านเอาไป
36 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

คิดดูเองก็แล้วกัน มีคนมาถาม หลวงพ่อมีไหม จตุคาม ไม่มีหรอก เราไม่เคยได้ท�ำเรื่อง


อย่างนั้น ก็บอกเขาไป
ปลุกเสกให้ญาติโยมได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ดี ให้เขาได้มีจิตใจเป็นสมาธิ
เขาจะได้รู้ธรรมต่าง ๆ
อันนี้ก็มาสังเกตได้หลาย ๆ อย่าง ที่มาปฏิบัติแรก ๆ นี้ ก็ยังไม่มีสภาวะ คือจิตใจ
มันยังเข้าไม่ถึงสภาวะ ยังไม่เข้าใจ และการปฏิบัตินั้นก็ยังรู้บ้างไม่รู้บ้าง พอท�ำ ๆ ไปแล้ว
เกิดสภาวะขึ้นมา จิตใจก็อ่อนน้อมลงมา
ก็มาถาม หลวงปู่มันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องแก้ให้ การเป็นอาจารย์
ฝ่ายวิปัสสนานั้น เราก็จะต้องแก้ไขให้โยคีเขาปฏิบัติได้ถูกต้องไม่ให้หลง
แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามแนวนี้ล่ะ จะเอาพุทโธ หรืออื่น ๆ มันก็ไม่เกิดสภาวะ จิตใจ
ล่ ะ ก็ ไ ม่ อ ่ อ น ความเชื่ อ ถื อ ก็ ไ ม่ มี สภาวธรรมก็ ไ ม่ เ กิ ด ตั ว คนล่ ะ ตั ว ทิ ฏ ฐิ ม านะที่ มั น
มีอยู่เดิม ๆ นั้น มันก็ยังอยู่เดิมอยู่นั่น มันไม่ออก ธรรมะนั้นก็เข้าไปไม่ได้ ธรรมะมันไป
ติดตัวไหน ติดตัวทิฏฐิมานะที่มันไม่ยอมละ ไม่ว่าใครก็ตาม ตัวผมก็เหมือนกัน ไม่ยอม
ครับ มันมีตัวทิฏฐิมานะของมันเอง ไม่ยอมที่จะเชื่อเขา บอกว่า อิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ
ก็ไม่อยากจะก�ำหนด ร�ำคาญ มันร�ำคาญ สภาวะก็ไม่มี เพราะตัวทิฏฐิมานะยังคงเป็น
เจ้าเรือนอยู่ จะต้องพยายามไม่ให้ตัวทิฏฐินี้เป็นเจ้าเรือนจึงจะได้
หลวงพ่ออาสภะ ท่านก็บอกว่า มันยังมีทิฏฐิมานะ ปฏิบัติยังไม่ได้ ตัวทิฏฐิที่มันมีนี้
คือ มันไม่ยอมเชื่อ ถ้าพูดถึงเรื่องอย่างนี้ ในสมัยพุทธกาล พระโปฐิละไปให้ใครสอนให้เขา
ก็ไม่สอนให้ เพราะว่ามันมีทิฏฐิมานะเห็นว่าตัวนี้รู้มาก ไปหาสามเณร สามเณรก็ไม่สอนให้
ใครก็ได้ขอให้บอกกรรมฐานให้ที สามเณรว่า ถ้าจะท�ำจริง ๆ ก็ลงไปหนองน�้ำ ลงไป แล้ว
ขึ้นมา ท�ำอย่างนี้แล้วจึงจะบอกได้สอนได้ อันนี้คือตัวทิฏฐิมานะ มันมีอยู่
เราจะมาวิปัสสนากรรมนี่ ท�ำอย่างนี้นะ พองหนอ ยุบหนอ ไม่เอา ไม่เชื่อ ของเก่า
ของเราดีกว่า จะพุทโธ ๆ พุทโธ ๆ ก็ได้แต่ว่ามันจะไม่เป็นสมาธิง่าย สภาวธรรมต่าง ๆ
ก็ไม่รู้ รู้แล้วมันก็เอามาปรับเข้ากันก็ไม่ได้ ของแต่ละอย่างเอามาปรับเข้ากันมันก็ไม่ได้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 37

เหมือนเครื่องยนต์ของรถญี่ปุ่นกับรถยุโรป ก็ใส่กันไม่ได้ มาแรก ๆ ให้พองหนอยุบหนอ


เราไปติดพุทโธอยู่ มันก็ออกทางพุทโธ บอกว่าให้ละตัวนั้นเสีย ใจมันก็ยังไม่ไป มันไม่เข้า
เข้าไม่ได้ ใส่ไม่ได้
เขาเดินไปถึงระยะสี่ระยะห้า เราก็ยังพุทโธ ๆ อยู่ มันปรับกันไม่เข้า จิตมันยัง
ฟุ้งซ่านอยู่
ที่บรรยายมานี้ ก็พอสมควร ให้เราตั้งใจในการปฏิบัตินี้ไม่มากก็น้อย ถ้าเห็นว่า
สิ่งใดมันไม่ดีไม่เหมาะก็ควรจะปรับให้มันเหมาะสม ฉะนั้นเราจึงจะรักษาพระพุทธศาสนา
เอาไว้ได้ เราก็ได้ด้วย ญาติพี่น้องก็ได้ด้วย ถ้าได้กันทุกคน ๆ ก็แปลว่าจะได้เข้าถึง
พระพุทธศาสนา แต่ถ้ายังปรับกันไม่ได้ ญาติพี่น้องพ่อแม่ก็ยังไม่ได้ มาเห็นพระพุทธ
ศาสนา มารู้พระพุทธศาสนาแต่ว่ายังเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปในจิตใจของเรายังไม่ได้
แล้วคนอื่น พ่อแม่พี่น้องลูกหลาน เราจะไปบอกเขาอย่างไร เขาจึงจะรู้เรื่อง เหมือน
พระที่ไปอยู่ตามภูตามเขาก็อยากจะไปสอนพวกเขา แต่ตัวเองก็ยังไม่ได้ จะเอาอะไรที่ไหน
ไปสอนเขา
เราอยากจะไปบอกพี่น้องลูกหลานให้เขาได้นั่งสมาธิ ให้เขาได้นั่งกรรมฐานเราเอง
ก็ยังไม่เข้าใจ เวลาให้มาท�ำ เราเองก็ยังมาปรับการปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง เราจะไปสอนคนอื่น
ได้อย่างไร
เราจะเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง เป็นที่พึ่งของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เป็นที่พึ่งของลูกของ
หลานได้อย่างไร ถ้าเรายังมีความพะวงสงสัยในหลักธรรมค�ำสั่งสอนอยู่นี้ นี่ก็ฝากให้ไป
คิดพิจารณา
ในท้ายที่สุดนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้เจริญด้วยธรรมค�ำสั่งสอนขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ได้มีดวงตาเห็นธรรม รู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ไม่อยากจะให้ไกลถึงชาติหน้า ให้ได้ในชาตินี้ทุกองค์ทุกท่านทุกคนเทอญ
38 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ปฏิบต
ั เิ ถิด ประเสริฐแท้ *

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอกราบคารวะพระเถรานุเถระ
และขอความสุ ข สวั ส ดี จ งมี แ ด่ ค ณาจารย์ แ ละอุ บ าสกอุ บ าสิ ก าทุ ก ท่ า น ที่ มี จิ ต ศรั ท ธา
มาประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
การปฏิ บั ติ วิ ปั ส สนากรรมฐานเป็ น หลั ก สำ า คั ญ ของพระพุ ท ธศาสนา ถ้ า พระ
พุทธศาสนานี้ไม่มีวิปัสสนากรรมฐานก็ไม่ต่างอะไรจากศาสนาอื่น ๆ ก่อนที่อาตมาจะ
พูดถึงวิปัสสนากรรมฐานก็จะต้องเคลียร์พื้นที่ก่อน
การเคลี ย ร์ พื้ น ที่ คื อ หมายความว่ า อยากให้ ผู้ ป ฏิ บั ติ ทั้ ง หลายได้ เ ข้ า ใจในทาง
พระพุทธศาสนาและหลักธรรมคำาสั่งสอนนี้ก่อน บางทีเราก็เคยได้ยินได้ฟังมาจากคน
อื่นและก็รู้จักวิธีการที่ปฏิบัติดีแล้ว แต่ว่ายังไม่เคยฟังอาตมามาบรรยายให้ฟังก็เป็นได้
คื อ บางคนบางท่ า นก็ อ าจจะเคยได้ ยิ น ได้ ฟั ง เพราะว่ า มาปฏิ บั ติ วิ ปั ส สนากรรมฐานที่ นี่
เป็นประจำาทุกปี อาตมาก็ได้มาให้ข้อธรรมะเพื่อเป็นแนวทางสำาหรับการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน การเคลียร์พื้นที่นี้ก็หมายความว่าเราจะจัดการจัดงานเราก็ต้องเคลียร์พื้นที่ให้
มันเรียบร้อยดีก่อน อะไรที่มันขาดตกบกพร่องก็จะต้องจัดหามาให้มันดี ยิ่งการจะมา
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้มันก็จะยิ่งละเอียดมาก ๆ ขึ้น

*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร) ทีป่ รึกษาพระวิปสั สนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ บรรยาย
แก่ข้าราชการทหารเรือ ณ มหาจุฬาอาศรม ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
40 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แต่ก่อนอาตมาก็ไม่ค่อยได้คิดเรื่องแบบนี้ เพราะสมัยที่อาตมาปฏิบัติก็มุ่งที่แต่จะ
กำ�หนด แต่ว่าพื้นที่ของเรา ๆ ไม่ได้เตรียมตัว
ที่ว่าเราไม่ได้เตรียมตัวนั้นก็คือว่า บางคนมาปฏิบัติเพราะเห็นพวกมาก็จะมากับเขา
หรือมากับเขาแต่ว่า มาด้วยความไม่ได้ตั้งใจ เห็นเขาทำ�ก็ทำ�ไป แต่ว่าความเข้าใจในวิธีการ
ปฏิบัตินั้นยังไม่มี แบบนี้ก็จะยากหน่อย เนื่องจากว่าความศรัทธาเป็นเบื้องต้นของเรานั้น
ยังไม่พร้อม ถ้าศรัทธาของเรามีพร้อม การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นจะต้องพร้อมไป
ด้วยตัวศรัทธานี้
คำ�ว่า ไม่พร้อมนี้ คือความตั้งอกตั้งใจที่จะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ไม่ใช่ของ
ง่าย ๆ พระบางรูปที่ไปปฏิบัติที่วัดหนองเชียงทูนก็ดี ที่วิเวกอาศรมก็ดี บอกว่า ผมนี้
ตั้งอกตั้งใจจริง ๆ ที่จะมาปฏิบัติ ผมจะสู้ จะอยู่ให้ตลอดในการปฏิบัติ อาตมาถามว่า
ท่านบวชมากี่พรรษาแล้ว บางรูปก็บอกว่า สิบพรรษา ห้าพรรษา ท่านพร้อมแล้วหรือที่
จะปฏิบัติ พร้อม ผมยินดีเสมอ ผมหาอาจารย์มานานแล้ว ว่าอย่างนั้น พอไปปฏิบัติได้
สองวัน พอวันที่สามนี้ไปตั้งแต่ยังบ่ทันแจ้งเลย ไปรอรถโน้น คิวรถ ตามถนน ไหนว่าท่าน
มาด้วยศรัทธา อย่างนี้มันศรัทธาหัวเต่า บ่ใช่ศรัทธาที่แท้
ศรัทธา คือความเชื่อเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยนั้นยังมีน้อย เมื่อมาปฏิบัติแล้ว
เพราะเหตุที่ว่า จิตใจของปุถุชนคนเรานั้นมันไปได้ทุกหนทุกแห่ง อยากจะอยู่ อยากจะฉัน
อยากจะกินเวลาไหนก็ได้ อยากจะเที่ยวฟังเพลงอะไรก็หาได้ แต่ไปปฏิบัติมันไม่ได้ จะฟัง
ข่าวฟังเพลงก็ไม่ได้ให้ฟัง จะไปพูดไปคุยกันก็ไม่ได้จะโทรศัพท์คุยกับคนนั้นคนนี้ก็ไม่ได้
นั่งก็เป็นที่เป็นทาง ให้ทำ�อยู่ทั้งวันทั้งคืน ให้ทำ�อยู่ ๒๐ ชั่วโมง ให้นอนแค่ ๔ ชั่วโมง ก็อยู่
ได้วันเดียวเท่านั้นแหละ ไปแล้ว นี้คือศรัทธาของผู้ปฏิบัติ
อันนี้เรามาแล้วเราก็ต้องตั้งใจอย่างนั้น เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้น เราจะเอา
อย่างที่ใจเราคิดมันไม่ใช่ มีทั้งดีมีทั้งไม่ดี ทั้งที่เป็นคนที่ใจแข็ง นึกว่าจะสู้ เมื่อมาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานแล้วอาตมาก็เห็นร้องไห้กันทุกคน พระก็เหมือนกัน ร้องไห้กันทุกรูป
เพราะมั น มี ส ภาวธรรมเป็ น ไปอย่ า งนั้ น เมื่ อ มี ศ รั ท ธาที่ เ ข้ ม แข็ ง ยึ ด เอาคุ ณ พระพุ ท ธ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 41

พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งจริงหรือไม่นั้น ต้องมาปฏิบัติดู ผู้ที่มีศรัทธา


ในคุณพระรัตนตรัยนี้จะไม่ท้อถอยจะไม่ย่อหย่อนแม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะว่ามีอุปสรรค
ต่าง ๆ นานาสารพัด บางทีก็บอกว่านั่งไม่ได้ ฟุ้งซ่านรำ�คาญ อันนี้ก็ต้องตัดปลิโพธ ความ
กั ง วลทางบ้ า นออก กั ง วลทุ ก สิ่ ง อย่ า ง ต้ อ งตั ด ออก เป็ น พระก็ ต้ อ งตั ด เรื่ อ งการศึ ก ษา
เล่าเรียนออกไปก่อน เจ้าอาวาสโดยมากนี้มาปฏิบัติไม่ได้ ห่วงวัด เรื่องก่อสร้าง จิปาถะ
ดังนั้น เจ้าอาวาสนี้จะฟุ้งซ่าน ปฏิบัติได้ยาก กำ�หนดได้ยาก ตัวศรัทธามันควบคุมไม่อยู่
การปฏิบัตินี้ เมื่อไปใหม่ ๆ ก็ให้เดินจงกรม ๓๐ นาที นั่ง ๓๐ นาที ชั่วโมงหนึ่ง
ก็ได้ ๒ ครั้ง เดินครั้งหนึ่ง นั่งครั้งหนึ่ง สี่ทุ่มจึงนอนนี้ อ้าวไม่ไหวแล้ว ถ้าคนที่ไม่มีศรัทธา
ผู้ ป ฏิ บั ติ ก็ ป ฏิ บั ติ ไ ด้ ย าก นี้ ไ ม่ ไ ด้ บั ง คั บ นะ แต่ ว่ า ผู้ ป ฏิ บั ติ ที่ มี ศ รั ท ธาความเชื่ อ เลื่ อ มใส
ในคุณพระรัตนตรัยก็จะตั้งใจ
นี่ พู ด ง่ า ย ๆ ว่ า เลื่ อ มใสในคุ ณ พระรั ต นตรั ย ยึ ด เอาคุ ณ พระพุ ท ธ พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง นี่คำ�พูด แต่เวลามาปฏิบัติจริง ๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย บางคนเคย
ไปพูดล้อเลียนผู้ปฏิบัติ มันจะไปยากอะไร ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ พองหนอ ยุบหนอ
พองหนอ ยุบหนอ นี้ก็เป็นกรรม กรรมวิปัสสนากรรมฐานนี้ติดได้ง่าย ๆ พอไปทำ�แล้ว
กำ�หนดพองยุบ พองยุบก็ไม่มี ท่านเคยไปล้อเลียนใครบ้างไหม ก็อาจจะเคย ท่านก็ต้อง
ไปขออโหสิกรรมต่อพระประธานที่ในโบสถ์ วันหลังมาก็ปฏิบัติได้ นี้คือ เราประมาทใน
คุณพระรัตนตรัยนี้ไม่ได้ เพราะเป็นธรรมชั้นสูงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อเราอยู่เฉย ๆ ยังไม่ได้มาปฏิบัตินี้ เราถือว่า พูดก็ได้ แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติหรือว่า
ไม่ไปว่าคนที่เขาไม่ได้ปฏิบัตินี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าไปพูดกับคนปฏิบัตินี้ เป็นกรรมขึ้นมาทันที
เพราะว่าจิตของผู้ปฏิบัตินั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากกิเลสเครื่องมัวหมอง
มีการสำ�รวมอินทรีย์ทั้ง ๖ อยู่ สำ�รวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำ�หนดอยู่ตลอดเวลา นี้ไป
ประมาทผู้ปฏิบัติอยู่จึงเป็นกรรมได้ง่าย ๆ
ฉะนั้น ศรัทธาที่ผู้ปฏิบัติควรมีต้องเป็นศรัทธาจริง ๆ อาจจะไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์
ก็ต้อง ๗๐ หรือ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ นี่ก็ยังพอได้ แต่ถ้าหย่อนลงมา ๕๐/๕๐ ก็อยู่ได้แค่
42 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

๒ วันก็ไปแล้ว เพราะว่ามันเคยเล่น เคยตลกคะนองอยู่ตามความเคยชิน พอจะมาจับให้


เขาอยู่ในอารมณ์ของสมาธินี้ก็อยู่ไม่ได้ นี้เป็นในลักษณะนี้ ฉะนั้นเวลามาปฏิบัติ เราต้อง
ตั้งศรัทธาของเรานี้ให้มั่นคง แน่นอน เราจึงจะปฏิบัติได้ ถ้าเราไม่ทำ�จิตใจของเราให้หมดจด
สะอาดนะ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ก็ยากหน่อยหนึ่ง เพราะว่ามันมีอันเป็นไป
ส่วนว่าทำ�ไปแล้วเกิดเป็นบุพกรรม ๆ ที่ทำ�ชั่วร้ายมาแต่ก่อนเก่านั้น เมื่อมาปฏิบัติ
นี้จะต้องใช้กรรมอันนั้นจนหมดผู้นั้นจึงจะปฏิบัติได้ ที่เราสวดไปว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้มี
จิตสะอาด ปราศจากเครื่องมัวหมองด้วยประการทั้งปวง เมื่อมาปฏิบัติ จิตของเราก็ต้อง
เป็นไปอย่างนั้น ไม่ใช่ว่า เราจะสุกเอาเผากินไม่ได้ ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์จริง ๆ
ที่ว่า ในการปฏิบัติมีทั้งดีทั้งชั่วนั้น เพราะว่าบุพกรรมของใคร ที่ทำ �ไว้แต่ในชาติ
ไหน ๆ เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่พอมาปฏิบัติแล้วกรรมเหล่านั้นก็จะต้องมาตอบสนอง
ทำ�ไมจึงจะต้องมาตอบสนอง ถ้าไม่มาตอบสนองเราก็จะไม่สามารถรู้ธรรมเห็นธรรม
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ จะรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมของพระองค์นี้ รู้ไม่ได้
อันนี้ก็เป็นธรรมที่ละเอียด ถ้าจะเอาธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้อยู่ ถ้าจะปฏิบัติพอเป็น
ปัจจัยได้อยู่ ถ้าปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสารจริง ๆ อันนี้มันจะต้องบริสุทธิ์จริง ๆ
ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วไปไม่ได้ อันนี้ให้เข้าใจเอาไว้หน่อยนึง
แต่ถ้าเรามาปฏิบัติวันหนึ่ง – สองวัน อันนี้จะไม่เกิดอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
เพราะเราปฏิ บั ติ น้ อ ย ถ้ า จะปฏิ บั ติ เ พื่ อ ให้ พ้ น ทุ ก ข์ ห นี จ ากวั ฏ สงสารตามแนวทางของ
พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ที่ ท่ า นได้ ต รั ส รู้ พ ระอนุ ต รสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณ ได้ สำ � เร็ จ เป็ น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาวางรากศาสนานี้เอาไว้ให้พวกเราได้ปฏิบัตินั้น ถ้าเราไม่มา
ปฏิบัติ เราจะไม่เข้าใจในคำ�สอนของพระองค์เลย เราจะรู้แต่ว่า มันไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งใน
พระธรรมคำ�สั่งสอนนั้น สมกับคำ�ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
ตถาคต อันนี้เป็นความจริงขึ้นมาเมื่อผู้ปฏิบัตินั้นรู้แจ้งเห็นจริงนั้น ก็เห็นจริงตามธรรมที่
พระพุทธองค์ตรัสไว้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 43

ฉะนั้น เมื่อเรามาปฏิบัตินี้เราจึงต้องพยายามทำ�ให้จิตใจของตนนั้นหมดจดสะอาด
ปราศจากเครื่องมัวหมอง ต้องค่อย ๆ ชำ�ระ ถึงจะได้บ้างไม่ได้บ้างก็ช่างมัน ก็ค่อย ๆ
ทำ�ไป ฝึกไป นี้จึงจะได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนา หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้
เป็ น ของดี เป็ น ธรรมะที่ ล ะเอี ย ดอ่ อ น ยากที่ เ ราจะทำ � เล่ น ๆ ให้ เ ข้ า ใจให้ ไ ด้ นั้ น ไม่ ไ ด้
มันเป็นของยากจริง ๆ
อาตมาได้พบกับพระสังฆราช ของประเทศศรีลังกา สอบถามท่านเกี่ยวกับการ
ปฏิ บั ติ ท่ า นอธิ บ ายว่ า ทางศรี ลั ง กา ปฏิ บั ติ แ บบอานาปานสติ ซึ่ ง มี ม าในลั ก ษณะนี้
ตั้งแต่ต้น แต่ของบ้านเรานี้สะเปะสะปะ มีพองยุบบ้าง พุทโธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง รูปนาม
บ้าง อะไรหลาย ๆ อย่าง มาปนกัน พูดไม่ถูกว่าเขาจะยึดอารมณ์อันใดให้มาเป็นหลัก
ที่แท้จริง ก็ยังบอกไม่ถูก ญาติโยมก็ยังสับสนกันอยู่ในเรื่องเหล่านี้ อันนี้ไม่ได้ไปติฉิน
นินทาใครนะ แต่ได้ยินได้ฟังมาอย่างนี้
ที่ศรีลังกานี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า จะต้องสูดลมหายใจเข้ายาว ๆ ก็รู้ว่ามันยาว สูด
ลมหายใจสั้นก็ให้รู้ว่าสั้น แล้วก็ให้ดูที่ (ชี้ให้ดูที่) ช่องจมูก กำ�หนดไปแล้วจะมีอาการโล่ง
หรือบางทีก็จะอึดอัด (ท่านชี้ที่สมอง) ปวดหัว ลมมันอึดอัด ก็ต้องผ่อนลมลง จากนั้น
ท่านพูดถึงเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ให้เราเข้าใจว่า จะเป็นภาษาไหนก็ตาม ภาษาธรรมะนั้น
ยังเป็นอันเดียวกัน รู้มรรคผลก็ยังเป็นอันเดียวกัน วิธีการปฏิบัตินั้นหรือภาษานั้นอาจจะ
แตกต่างกัน แต่สภาวธรรมนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ว่าภาษาของเขาจะรู้ไปอย่างอื่น
มรรคมีองค์แปด ท่านพูดให้ฟัง เราเข้าใจได้เพราะเป็นภาษาบาลี เรื่องต้องใช้สติ
เรื่องที่ท่านพูดหลาย ๆ อย่าง แล้วก็มาลงอย่างที่เราทำ�พองหนอ ยุบหนอนี้ ก็มาลงตัว
เดียวกัน วิธีการปฏิบัตินั้นคนละอย่างแต่อารมณ์หรือสภาวธรรมนั้น เกิดเป็นอันเดียวกัน
กับที่เราทำ�กันอยู่ในขณะนี้
วิปัสสนากรรมฐานนั้น ยึดเอามหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ ที่มากำ�หนดอานาปานสติก็อยู่
ในสติปัฏฐาน ๔ อันเดียวกัน ดังที่สมเด็จพระสังฆราชศรีลังการท่านพูด แต่มายึดเอา
คนละประเด็ น กั น ที่ ท่ า นพู ด ว่ า หายใจเข้ า สั้ น ก็ ใ ห้ รู้ ว่ า หายใจเข้ า สั้ น หายใจออกยาว
44 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ก็ให้รู้ว่าหายใจออกยาว นี้ท่านพูดแล้วก็ทำ�ให้ดู นั่งให้ตัวตรง ดำ�รงสติให้มั่นคงและก็ดู


ลมหายใจอันนี้เป็นอานาปานสติ
ของเราก็ อ านาปานสติ แต่ บ างอาจารย์ ท่ า นก็ จ ะสอนผิ ด สอนไปแนวพองหนอ
ยุบหนอนี้ แต่ให้ไปดูลมหายใจ ว่าหายใจเข้ายาวก็ให้รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้น
ก็ให้รู้ คือให้ไปดูลมหายใจ หายใจเข้าก็ว่า พองหนอ หายใจออกก็ว่ายุบหนอ ตรงนี้ไม่ถูก
ที่ถูกต้องไม่ไปเอาที่ลมหายใจ ถ้าใจไปรู้ที่ลมหายใจก็เอาเพียงแค่กำ�หนดว่า รู้หนอ แค่นั้น
แต่เราเอากายานุปัสสนา คือเราเอาอาการที่ท้องขึ้นมาสัมผัสที่ผ้า หรือเรามีความรู้สึกว่า
พองขึ้นมา ก็กำ�หนดว่า พองหนอ รู้แค่นั้น หรือเวลามันยุบลงไปก็กำ�หนดว่า ยุบหนอ
แค่นั้น เราไม่ได้ไปเอาว่า ลมหายใจเข้า พองหนอ ลมหายใจออก ยุบหนอ ผิด ให้เรา
เข้าใจวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เป็นอย่างนี้นะ
ที่กำ�หนด พองหนอ ยุบหนอนี่ ไม่ได้เอาที่ลมหายใจ ถ้าจะพูดให้แจ้ง ๆ ก็บอกว่า
ลมหายใจเหมือนกันแต่เราเอาปลายลม เราไม่ได้เอาที่ต้นลม อานาปานสตินี่ เขาเอาที่
ต้นลม ท่าน (พระสังฆราชศรีลังกา) ก็ชี้ให้ดูว่า ลมเข้าที่ช่องจมูก ผ่านลำ�คอ
ถ้าคนปฏิบัตินี้ยังไม่เข้าใจก็ให้เข้าใจว่า เราดูที่ปลายของลมหายใจที่สัมผัสออก
มาทางท้อง มันพองขึ้นมาก็ พองหนอ มันยุบลงไปก็ ยุบหนอ อันนี้เป็น กายานุปัสสนา
คื อ ความเคลื่ อ นไหวของร่ า งกาย ถ้ า จะมากำ � หนดเอาที่ ป ลายจมู ก หรื อ ที่ ช่ อ งจมู ก มั น
ก็ไม่มีที่สัมผัส ลมหายใจเมื่อละเอียดเข้าไปแล้วก็จะไม่มีความรู้สึก อาจารย์ทั้งหลาย
จึงให้มาดูตรงนี้ และพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้อย่างนั้น ที่สับสนกันอยู่นิดหน่อย คือ ผู้ที่
กำ�หนดอานาปานสติ กับพองหนอ ยุบหนอ นี้เราเอาปลายลม อาการที่ท้องพอง ซึ่งเป็น
ความเคลื่อนไหวของร่างกาย เราสังเกตดูก็ได้ พอเราเดินจงกรมมาแล้ว เรามานั่ง ขาขวา
ทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นั่งตั้งตัวให้ตรงดำ�รงสติให้มั่นคง หน้าก็ไม่เงยจนเกินไป
ไม่ก้มจนเกินไป ไม่ให้เอียงซ้ายเอียงขวา ทำ�ให้มันตรงแล้วเราค่อยหลับตาลง
พอเราหลับตาลง เราอย่าเพิ่งไปกำ�หนดพองหนอ ยุบหนอ อาการอย่างอื่น เช่น มัน
ร้อนมันเหนื่อย ขี้เกียจ ขี้คร้าน รำ�คาญ อะไรทำ�นองนี้อารมณ์อันใดชัดเจนให้ไปกำ�หนด
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 45

อารมณ์นั้นก่อน ถ้าอย่างอื่นก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี เราจึงเอาสติมารู้อาการพอง ตั้งสติไว้


ที่หน้าท้อง
ตั้งสติไว้ที่หน้าท้องนี่ก็มีปัญหาอีกแหละ มีปัญหาว่า จะเอาไว้ที่ไหน บอกว่าที่หน้า
ท้องที่มันพอนึกได้ ถามมา ก็บอกไปว่า เหนือสะดือสัก ๒ นิ้ว แต่เวลากำ �หนดจริง ๆ
มันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก คือมันมีความสัมผัส มันมีความรู้สึกที่ไหนก็ใช้ได้ พอมันพอง
ขึ้นมาก็กำ�หนดว่า พองหนอ ยุบลงไปก็กำ�หนดว่า ยุบหนอ ไม่ได้จำ�กัดดิ่งลงไปว่า เหนือ
สะดือ ๒ นิ้ว เพราะเวลามันสัมผัสจริง ๆ มันไม่ได้อยู่ที่นั่น มันจะอยู่ที่มันสัมผัสกับผ้า
หรือมีความรู้สึกอย่างไรก็ให้กำ�หนดไปในอารมณ์นั้น ๆ อย่างนั้น
สภาพของจิตนั้น เขาไม่ได้อยู่นาน เขาจะอยู่สักครั้งสองครั้งแล้วอารมณ์อื่นเกิด
ขึ้นก็ย้ายไป เช่น นั่งนานแล้วก็เกิดปวดเข่า ปวดขา ก็กำ�หนดว่า ปวดหนอ ๆ ย้ายไป
ดูอาการปวด แต่ปวดหนอ ๆ นี่ก็มีอาจารย์บางท่านพูดว่า ให้กำ�หนดจนกระทั่งมันหาย
แต่วิปัสสนาไม่ใช่อย่างนั้น เพียงเพื่อให้รู้ รู้นานไหม รู้เพียงแค่ชั่วขณะจิต อย่างที่เรา
ไปกำ � หนดรู้ ปวดหนอ ๆ กลั บ มาดู พ องหนอ ยุ บ หนอ มั น ยั ง ไม่ ห ายกลั บ ไปดู อี ก
ปวดหนอ ๆ ๆ กลับไปกลับมา อย่างนี้จึงเป็นวิปัสสนา คือ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ๆ
อันนี้ก็ให้เราเข้าใจในวิธีการที่ถูกต้อง
พองหนอ ยุบหนอ พอเจ็บปวดมึนชาก็กำ�หนด เดี๋ยวจิตไปแล้ว ไปคิด ใหม่ ๆ นี้
มันจะไปนาน เพราะเรากำ�หนดไม่ทัน เราจะปล่อยไปตามอารมณ์นั้นก็ไม่ได้ ต้องเอากลับ
มา คิดก็กำ�หนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ กำ�หนดนานไหม ไม่นาน แต่เราสังเกตดูก็ได้ เวลาเรา
กำ�หนด พอจิตคิดออกไปแล้ว พอเราจะกำ�หนดเขาก็กลับมาแล้ว จิตมารู้สภาวะอาการ
อย่างอื่นแล้ว เพราะฉะนั้นเราควรกำ�หนดไหม ตอบว่า ควรกำ�หนด ถ้าไม่กำ�หนดปล่อย
ไว้เฉย ๆ ไม่ถูกต้อง ต้องกำ�หนดว่า คิดหนอ ๆ ได้คำ�หรือสองคำ�ก็กลับมาดูพองหนอ
ยุบหนอเป็นหลัก จะว่าพองหนอยุบหนอเป็นหลักก็ไม่ใช่ เรียกว่า กายเรานี้เป็นหลัก อัน
นั้น เราที่มาทำ�วิปัสสนากรรมฐานนั้น เอากายของเรานี้เป็นหลัก เราเป็นมนุษย์นั้น เป็น
ผู้ที่มีโชคดี คือ มีกาย ให้เราได้กำ�หนดทำ�กรรมฐานได้ สติก็ดี อย่างอื่นก็ดี อันนี้เราเป็น
46 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ผู้สมบูรณ์ด้วยรูปกาย เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ไม่มีตัวทำ�กรรมฐานไม่ได้ เพราะ


ไม่มีตัวตน โยมสงสัยไหม ฉะนั้นเราจึงดีกว่าเทวดาเพราะเรามีกายที่จะทำ�ให้เรานี้ได้บรรลุ
มรรคผล ไม่ต้องอยากไปเป็นเทวดา
เรามีกายนี้พร้อมอยู่ เราจึงเอากายของเรานี้มาเป็นอารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน แล้วกายอันนี้ก็จะพาให้เราได้บรรลุอริยมรรคอริยผลก็อยู่ที่นี่ เทวดาทำ�ไม่ได้
แต่เทวดาจะทำ�ได้ก็คือ มาฟังเทศน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะได้บรรลุธรรม
เมื่อไรพระพุทธเจ้าจะได้มาตรัสรู้ นานไหม พระพุทธเจ้านี่ท่านบำ�เพ็ญเพียรมาสี่อสงไขย
กำ�ไรแสนมหากัป จึงได้มาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารูปหนึ่ง แล้วเราจะไปเป็นเทวดา
คอยเอาตรงนั้นน่ะ ได้ไหม เราจะไปคอยให้พระพุทธเจ้ามาเทศน์ให้ฟังหรือ
เราเอากายของเรามาเป็นองค์ภาวนา เพื่อให้รู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ นี่แหละ
มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรารู้อย่างนี้เราจึงว่า ดีกว่าพวกเทวดา และเรายังดีกว่าเทวดา
อยู่หลาย ๆ อย่างนะ
เรื่องเวทนานุปัสสนา เจ็บปวดมึนชา นี่เราก็เอามาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน
ได้
จิตตานุปัสสนา จิตที่คิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ตามสภาวะต่าง ๆ เราก็กำ�หนดได้
นี้เป็นองค์ของวิปัสสนากรรมฐาน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเราอาศัยตรงนี้ การสำ�รวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ตาเห็นรูป
จะกำ�หนดไหม บางคนจะเข้าใจว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ให้สำ�รวมนี่ เรายัง
ไม่เข้าใจว่าสำ�รวมนั้นเราควรทำ�อย่างไร เช่น หู ได้ยินเสียง เราก็กำ�หนดหนอ แล้วเรา
จะเอาอารมณ์ใด ไปจับเอาหูได้ยินเสียง หรือจะไปจับเอาเสียง หรือเราจะไปจับเอาไอ้ตัว
ได้ยินอยู่ที่หู อันนี้ก็ชี้แจงให้ฟังว่า ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง จะไปจับเอาที่เสียงก็ไม่ถูก จะไปจับ
เอาที่หูก็ไม่ถูก ในคำ�บาลี บอกว่า มีคำ�ว่า หูสัมผัสกับเสียง ตาสัมผัสกับรูป เขียนไว้ผิด ๆ
ก็มีนะ ตาเห็นรูป อันนี้เขาไม่เรียกว่าตาเห็นรูป ตามันสัมผัสกับรูป (ตากระทบกับรูป
หูกระทบกับเสียง มันกระทบกันไม่ได้) นี้ตำ�ราเขียนไว้อย่างนั้น แต่ถ้าท่านไม่เขียนไว้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 47

อย่างนั้น จะเขียนไว้อย่างไร ก็เขียนเพียงแค่ว่า สัมผัส ตาก็เพียงแค่สัมผัส หูก็สัมผัสกับ


เสียง จึงจะถูกต้อง
ตอนนี้ เ รายั ง ไม่ ค่ อ ยเข้ า ใจหรอก ต่ อ เมื่ อ เราปฏิ บั ติ แ ล้ ว มี ส ภาวธรรมเกิ ด ขึ้ น เรา
จึงจะรู้ได้ แต่ขณะที่เรามาทำ�น้อย ๆ นี้ เราอาจจะไม่มีสภาวธรรมอื่นเกิดขึ้นให้เราได้รู้
ให้เราได้ปรากฏแก่สภาวธรรมนั้น ถ้าสภาวธรรมนี้ปรากฏ มันจึงจะถูกต้อง แต่ขณะนี้
เราเพิ่งมาทำ� เราก็รู้ได้ยาก สภาวธรรมต่าง ๆ นี้เรารู้ได้ยาก ต่อเมื่อเราปฏิบัติจริงๆ จิตใจ
ของเรานี้ก็จะอ่อนน้อมเข้าไปหาธรรมะ ธรรมะไม่ได้เกิดกับของที่หยาบ ๆ อย่างที่เรา
เข้าใจว่า ทำ�อย่างไหนก็ได้
ถ้าจิตใจนี้ไม่ละเอียดอ่อน ไม่อ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย ยังมีความแข็งกระด้าง
อยู่ ธรรมะนั้นจะไม่เกิด สภาวธรรมต่าง ๆ ก็ไม่เกิดเช่นเดียวกัน สภาวธรรมจะเกิดเมื่อ
จิตใจของผู้ปฏิบัติละเอียดอ่อน เอาแค่ไหนล่ะ พูดยากนะ พูดมาถึงตรงนี้มันพูดยากเข้าไป
เรื่อย ๆ เพราะเหตุใด เพราะว่าจิตใจของเรานี้ก็อ่อนน้อม กิเลสต่าง ๆ ก็ค่อยเบาบางลง
ธรรมะจึงจะเกิดขึ้นมาแก่เรา ทีนี้อาศัยอะไรอีก นี่มีหลายอย่างนะโยมเอ๋ย อาตมาพูดยาก
ยากที่จะพูดจาให้เข้าใจได้ทีเดียว
คือถ้าผู้ปฏิบัตินี้เขาเคยปฏิบัติมาแล้วในชาติปางก่อนในอดีตชาติ เขามาปฏิบัติใน
ชาตินี้เขาก็รู้แจ้งเห็นจริง ได้เร็ว ได้ไว แต่ถ้าเราไม่เคยได้ฟัง ไม่ได้เคยปฏิบัติมาก่อน
เราก็ จ ะมางม ๆ งั ว ๆ อยู่ พองหนอ ยุ บ หนอ พองหนอ ยุ บ หนอ มั น ก็ ง่ ว งบ้ า ง
เหนื่อยบ้าง ขี้เกียจขี้คร้าน รำ�คาญ ตัวง่วงเหงาหาวนอนก็ประดังประเดเข้ามา ไหนจะ
ตั ว บาปตั ว กรรมที่ ส ร้ า งไว้ แ ต่ ใ นอดี ต ชาติ นั้ น ก็ จ ะมารุ ม เร้ า เราจนไม่ ไ หวแล้ ว มั น เป็ น
อย่างนั้น
ฉะนั้ น ผู้ ป ฏิ บั ติ จึ ง ประกอบไปด้ ว ยบุ ญ กุ ศ ลของผู้ ที่ เ คยบำ � เพ็ ญ มาแล้ ว แต่ ใ น
ชาติปางก่อน เมื่อมาปฏิบัติแล้วสภาวธรรมนี้ก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้เร็ว บุญกุศลนั้น
จะมาคอยสนับสนุน ทำ�ให้ผู้ปฏิบัตินั้นบรรลุธรรมได้เร็ว
แต่ถ้าไม่เคยได้ทำ�แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรานั้นเป็นผู้มีบุญมีกรรม เคยชักชวน
หลาย ๆ คน ว่า ทำ�ไมไม่ไปปฏิบัติวิปัสสนากับเขา ไปไม่ได้หรอก บุญไม่มี รู้ได้อย่างไร
48 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ว่าบุญไม่มี ก็ยังไม่ได้มาทำ� จะไปรู้ดีเอาไม่ได้นะ ต้องทำ�ดูก่อนว่า เรามีบุญกุศลหรือไม่


เราจะมีบาปมีกรรมที่ทำ�ไว้แต่ชาติปางก่อน โอย บาปมากบาปหลาย เลี้ยงแต่ควายแต่วัว
จะไปปฏิบัติบ่ได้ดอก มันไม่ถูก เราจะอยู่แค่ไหนก็ได้ แต่ว่าต้องทำ�
เป็ น พุ ท ธมามกะ ญาติ โ ยมต้ อ งปฏิ บั ติ จึ ง จะรู้ คุ ณ ค่ า หรื อ จะรู้ คุ ณ ธรรมของ
พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ว่ า เป็ น ผู้ ที่ รู้ แ จ้ ง เห็ น จริ ง ในธรรมที่ พ ระองค์ เ ห็ น นั้ น จริ ง หรื อ ไม่
เราต้องปฏิบัติก่อนเราจึงจะรู้ ถ้าไม่งั้นก็เห็นพระพุทธศาสนาผิว ๆ เผิน ๆ ไม่ได้เข้าใจ
ในหลักธรรมคำ�สั่งสอน จึงเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนานั้นไม่ค่อยมีคุณค่ากับประชาชน
เรื่องอย่างนี้ อาตมาก็เคยเห็นและเคยพูดกับพระหลาย ๆ วัดว่า พระพุทธศาสนา
ของเรานี้มีอยู่ พระสงฆ์ที่จะแนะนำ�สั่งสอนประชาชนนั้นก็มีอยู่ อาตมาไปมาหลาย ๆ แห่ง
ทางภาคกลาง เช่น เพชรบุรี ก็น่าจะเป็นที่ปฏิบัติ แต่ถามดูแล้ว ไม่มีผู้มาปฏิบัติ จะมีมา
ก็แต่วันเสาร์วันอาทิตย์ พระท่านไม่ได้เรียนรู้ทางนี้ สอนกันก็ไม่ได้ บอกญาติโยมก็ไม่ได้
นี่ ไ ม่ ไ ด้ ว่ า พระหรอกนะ แล้ ว ญาติ โ ยมก็ เ ลยเห็ น พระพุ ท ธศาสนานี้ ไ ปอี ก ทางหนึ่ ง คื อ
ไม่เข้าใจ
น่ า เสี ย ดายว่ า น่ า จะให้ ญ าติ โ ยมในบริ เ วณนั้ น ได้ ทำ � กรรมฐานบ้ า ง เขานั บ ถื อ
พระพุทธศาสนามานานแล้ว เขาก็น่าจะได้ธรรมะนี้เข้าไปในจิตใจของเขาบ้าง ประชาชน
ยั ง ไม่ เ ข้ า ถึ ง หลั ก ธรรมนี้ ก็ แ สดงว่ า พระพุ ท ธศาสนาของเรายั ง ไม่ เ ข้ า ถึ ง ประชาชนดี
เท่าที่ควร อย่างน้อยก็ได้นั่งบ้าง แต่ว่าที่ไปเห็นของพม่า ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น
พระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำ�ที่เจ้าอาวาสจะไปล้างหน้าล้างตาให้ทุกวัน ที่ล้างที่ทำ�นั้น
รู้กันแล้ว แต่ไม่อยากพูดตรงนั้น แต่จะพูดว่า คนที่ไปนั่งตรงนั้น เขาจะไปนั่งสมาธิ ได้
๕ นาที ๑๐ นาที ก็เอา แต่ว่าเขาจะต้องได้ไปนั่ง หรือบริเวณพระธาตุชเวดากอง เวลา
ตอนกลางวั น กลางคื น จะเห็ น คนเข้ า ไปนั่ ง กรรมฐานอยู่ แต่ บ้ า นเราเห็ น แต่ ค นไปวั ด
ทำ�บุญ ได้แต่ปัจจัย อย่างวัดพนัญเชิงนี้ได้วันละแสนสองแสนก็มี แล้วประชาชนได้อะไร
ไม่ได้ด่าเขานะ พูดให้ฟังเฉย ๆ ประชาชนน่าจะได้ไปนั่งกรรมฐานบ้าง ไปวัดก็ขายธูป
ขายเทียน ไปปิดทองหลวงพ่อ ปัจจัยก็ใส่ตู้ไว้ ประชาชนที่ไปนั้นน่าจะได้นั่งสมาธิกันบ้าง
เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดี ๕ นาที ๑๐ นาที ก็ยังได้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 49

ถ้ า ประชาชนยั ง หลงในเครื่ อ งรางของขลั ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ โ จมตี เ ขานะ เว้ า ให้ ฟั ง คื อ


อย่าไปหลงเรื่องเครื่องรางของขลัง ให้หลงเอาในเรื่องการปฏิบัติให้พระพุทธพระธรรม
พระสงฆ์นี้เกิดขึ้นในจิตในใจของเรา บ้านเมืองก็จะได้ไม่วุ่นวาย ไม่ต้องไปตีกัน เพราะ
ว่าด้านจิตใจมันไม่มั่นคง ถ้าเราทำ�จิตใจของเราให้มั่นคง เราทั้งหลายก็จะมีธรรมะ ข้อ
วัตรปฏิบัตินี้ได้กำ�หนดบ้าง ได้ภาวนาบ้าง จะเอาพุทโธ เอาสัมมาอรหัง เอาอานาปานสติ
ก็ไม่ได้ว่าหรอก หรือจะเอาพองหนอ ยุบหนอก็ไม่ได้ว่า แต่ขอให้ประชาชนนี้ได้นั่งสมาธิ
กันบ้าง อันนี้ก็ขอฝากไว้หน่อยหนึ่งนะ
พูดมานานแล้ว ญาติโยมก็อยากจะรู้ว่า อานิสงส์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
มันมีอะไรบ้าง
ในการที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ถ้าผู้ใดก็ดี ได้มาปฏิบัติวิปัสสนานี้ อาตมา
พูดได้ไม่ละเอียดหรอกนะ ธรรมะมันยาว พูดให้เข้าใจเรื่องธรรมละเอียดนี้ ยังไม่ละเอียด
แต่ อ ยากวกไปพู ด ถึ ง อานิ ส งส์ ข องการปฏิ บั ติ ก รรมฐาน หลาย ๆ คนก็ เ คยเข้ า ใจว่ า
สมบั ติ ข องพระเจ้ า แผ่ น ดิ น มี ม ากมาย สมบั ติ ข องพระเจ้ า จั ก รพรรดิ ก็ มี เ ป็ น อั น มาก
มี สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว
ขุนพลแก้ว
สมบัติที่เราได้จากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราได้มากกว่าสมบัติของพระเจ้า
จักรพรรดิ สมบัติที่เราได้นี้มากกว่าเทวดาทั้งหลาย เทวดาทั้ง ๖ ชั้นยังสู้เรามาปฏิบัตินี้
ไม่ได้ เพราะเทวดาไม่มีกาย มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเราไม่ได้ ถ้าเราปฏิบัติ
วิ ปั ส สนากรรมฐานจนได้ ผ่ า นญาณ ๑๖ แล้ ว เราได้ ส มบั ติ ทั้ ง หมดเหล่ า นี้ ม ากกว่ า
พระอินทร์พระพรหมทั้งหลาย
ถ้ า เราปฏิ บั ติ จ นบรรลุ ผ่ า นญาณ ๑๖ เราปิ ด ประตู อ บายภู มิ ทั้ ง ๔ นรก เปรต
อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เทวดาได้รับบุญกุศลไปเกิดเป็นเทวดา จุติจากเทวดาอาจจะดิ่ง
ไปลงนรกอีกก็ได้ อาจจะไปเป็นสัตว์เดรัจฉานอีกก็ได้ เป็นเศรษฐีกระฎุมพีอาจจะตาย
แล้วไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ แต่ถ้าเราปฏิบัตินี้ ปิดประตูอบายภูมิทั้ง ๔ ไม่ไปแล้ว
ยังไงก็ไม่ไป เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น เทศน์ไว้อย่างนั้น
50 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ที่ให้เราปฏิบัติ ได้ไม่ได้ก็ให้เพียรไปเป็นปัจจัยไปในอนาคตข้างหน้า ไม่ได้ในชาติ


นี้ก็เพียรไปเรื่อย ๆ ในชาติหน้า ไม่ได้วันนี้ก็เพียรไปในวันหน้า ไม่ได้เดือนนี้ก็เพียรไป
ในเดือนหน้า วันใดวันหนึ่งเมื่อเรามีโอกาสมีเวลา เราก็ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ อย่าไปทิ้งหลัก
พระธรรมคำ�สั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านไม่ได้เทศน์ไว้เล่น ๆ หรอก หรือ
เทศน์ไว้โก้ ๆ อย่างที่เราเข้าใจ ฉะนั้น หลักพระธรรมคำ�สั่งสอนนี้จึงเป็นเรื่องที่สำ�คัญ
นี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้มี
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ผิด ผิดอะไร เหยียบแผ่นดินผิด พบพระพุทธศาสนาผิด ๆ
อาตมาดีใจมาก พูดแล้วก็ขนหัวพอง เพราะเห็นญาติโยมมาปฏิบัติในกิจพระศาสนา
จะไม่เป็นคนได้ไปตกนรก จะไม่ไปเป็นเปรต จะไม่ได้ไปเป็นอสุรกาย จะไม่ได้ไปเป็น
สัตว์เดรัจฉาน
ก่ อ นที่ อ งค์ พ ระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า จะวางรากศาสนาเอาไว้ นี่ พระองค์ ก็ ท้ อ ใจ
ท้อ อย่ า งไร ท้ อ ว่ า ธรรมะของพระองค์ นี้ ล ะเอี ย ดอ่ อ นมาก ยากที่ ค นจะเข้ า ใจ เพราะ
การสั่ ง สอนอบรมก็ ย าก ญาติ โ ยมก็ จ ะไม่ เ ข้ า ใจ เมื่ อ มาพิ จ ารณาอี ก ในแง่ ห นึ่ ง ก็ ว่ า
เปรียบอุปมาเหมือนดอกอุบล ผู้ที่บำ�เพ็ญได้ปฏิบัติมาแล้วแต่ในชาติปางก่อนโน้น เขา
บำ�เพ็ญเพียรมาแล้ว พอได้ฟังธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะได้บรรลุธรรม
ตัวนี้ก็เป็นตัวมาปิดบัง ปิดบังว่า มันเรื่องของสมัยนั้น ไม่ใช่สมัยนี้ นี่คือมันมาปิดบัง
ตัวอะไรมาปิดบัง มันมีตัวปิดบังอยู่ ๒-๓ ตัว
ตัวปิดบัง หนึ่ง คือ สักกายทิฏฐิ การเห็นผิดจากทำ�นองคลองธรรม ไม่เชื่อตาม
พระธรรมคำ�สั่งสอน เพราะผู้ที่จะมาปฏิบัติต้องละสิ่งเหล่านี้จึงจะมาปฏิบัติได้ ถ้ามัน
มีตัวนี้มาขวางกั้นอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะมาได้ สำ�นักนี้กูไม่ไป สำ�นักนั้นกูไม่ไป กูจะไปเอา
สำ�นักนี้ อันนี้ก็ตัวทิฏฐิมานะ
สองก็ตัว อวิชชา ลุ่มหลงอยู่ ไม่รู้พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ นี้ก็ปิดบังอยู่
เอาแค่นี้ละนะ พอหรือยัง มีข้อสงสัยไหม มีก็ถามเพื่อความกระจ่างในการปฏิบัติ
……
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 51

หลวงปู่เปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ถามปัญหา
ถาม : การปฏิบัติต้องมีขั้นตอนอะไร ปฏิบัตินานไหม
ตอบ : ต้องรู้จักอาจารย์ที่สามารถแก้ไขสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ได้ ในบ้านเมืองเรา
อาจารย์ก็ยังมีอยู่หลาย ๆ คน สำ�คัญที่ตัวเราเอง ศรัทธาพร้อมแล้วหรือยัง ถ้าเราพร้อม
แล้วเราก็จะต้องหาอาจารย์พอที่จะแนะนำ�อบรมสั่งสอนเราได้ ท่านพอที่จะแก้อารมณ์
ของเราได้ไหม ใช้เวลานานเท่าไร แล้วแต่เหตุปัจจัย บางคนก็ ๔๐ วัน ๕๐ วัน เดือนหนึ่ง
สองเดือนก็มี ผู้ที่เร็วกว่านั้นมีไหม ก็มี เป็นผู้ที่ปฏิบัติมาก่อนแล้ว ไปปรับอินทรีย์เข้าก็
ปฏิบัติไปได้ก็มี นานไหม บางองค์ก็เป็นพรรษายังไม่ไปก็มี
ถาม : ขอเรี ย นถาม ๒ ข้ อ เรื่ อ งแรก องค์ ๕ ขององค์ ธ รรม วิ ต กวิ จ ารปี ติ สุ ข
เอกัคคตา
ตอบ : ติดองค์ฌาน อันนี้อาตมาไม่เว้า อาตมาจะว่า ติดในสภาวะ ที่เราปฏิบัตินั้น
มันก็มี ถ้าพูดถึงฌาน กลับไปถึงเรื่องฌานก่อน วิปัสสนากรรมฐานที่ทำ�อยู่นี้ บางคนก็
ถามว่า เป็นสมถะหรือวิปัสสนา ก็แรก มันก็เป็นสมถะ ต่อเมื่อมีสภาวธรรมญาณสูงขึ้น
รูปนามก็รู้ได้ชัดเจน ตรงนั้นละอัตตา ทิฏฐิมานะได้ จึงจะเป็นองค์ฌานและจะขึ้นไปสู่
วิปัสสนาญาณ แต่เบื้องแรกก็เป็นสมถะ พองหนอยุบหนอก็เป็นสมถะ ถ้าเรากำ�หนดว่า
พองหนอยุบหนอ ๆ ๆ หูได้ยินเสียงไม่เอา กำ�หนดแต่พองหนอยุบหนอ ๆ ๆ เจ็บปวด
มึนชาไม่เอา พองหนอยุบหนอ ๆ ๆ อันนี้ก็เป็นสมถะ นี้มันก็ติดอยู่นั่น พอเขาจะถอน
ออกมันเข้าไปอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แล้วมันก็เข้าฌาน และเราก็ไม่รู้ว่าอันไหนเป็น
ตัวฌาน อันไหนเป็นตัวกำ�หนดพองหนอ ยุบหนอ ก็ไปติดในพองหนอยุบหนออยู่ แต่มัน
เข้าไปในองค์ฌานนั้น ก็ติดในฌานนั้น นี่ สภาวะของมันเป็นไปอย่างนั้น ติดในองค์ฌาน
แล้วก็ถอนไม่ขึ้น ออกมาก็นั่งไม่ได้ ไปไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่า ติดในองค์ฌานของวิปัสสนา
กรรมฐาน เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ จะแก้ก็ต้องอยู่กับอาจารย์ หรืออาจารย์จะต้องแนะนำ�
เรื่องปีติ สุข เอกัคคตา ก็อธิบายให้ฟังได้อยู่ แต่ต้องทำ�ก่อน ถ้ามาถามตามหนังสือ
หนั ง สื อ นั้ น ต่ า งกั น มาก ๆ กั บ วิ ธี ที่ เ รามาทำ � เราไม่ เ ข้ า ใจเลยล่ ะ ว่ า สุ ข เอกั ค คตานั้ น
52 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

มันเป็นอย่างไร เมื่อไปเจอตัวที่แท้มันก็ไม่รู้เรื่องอีกเหมือนกัน ส่วนมากโยคีก็จะไม่รู้และ


ก็ ไ ม่ บ อกด้ ว ย อาจารย์ จ ะต้ อ งพยายามแก้ ไ ม่ ใ ห้ ไ ปติ ด ในอารมณ์ อั น นั้ น แต่ โ ยคี รู้ ไ ด้
ก็ ไ ม่ เ ป็ น ประโยชน์ เ พราะไม่ ก ล้ า ที่ จ ะแก้ ไ ข ถ้ า โยคี นั้ น เชื่ อ อาจารย์ ก็ จ ะไม่ ไ ปติ ด ในสุ ข
ในเอกัคคตา กำ�หนดแล้วก็นิมิตมาก็เห็นเลข จัง ๆ เลย อันนี้ก็เป็นกิเลส มันไปไหน
มันแวะออกไปอีกทางหนึ่ง มันเป็นทางของสมถะ ที่จะเข้าสู่อารมณ์ของวิปัสสนานั้นมัน
ไปอีกทางหนึ่ง มันอยู่ใกล้เคียงกันมาก ยากที่จะเข้าใจ ถ้าไม่มีอาจารย์ที่แน่วแน่ในวิธีการ
โยคีก็หลง ปฏิบัติไปไม่ได้ ไปติดองค์ฌานนั้น
ถาม : ถ้าไม่เอาองค์ฌานมาเป็นแนวในการปฏิบัติ เราจะทำ�สมาธิได้อย่างไร
ตอบ : คนละเรื่ อ ง คื อ ที่ พู ด ว่ า ให้ ทำ � ให้ ไ ด้ ติ ด ต่ อ กั น เนื อ ง ๆ คำ � ว่ า ติ ด ต่ อ กั น
เนื อ ง ๆ นี้ คื อ ให้ กำ � หนดติ ด ต่ อ กั น นี้ อารมณ์ ไ ด้ จ ากการเดิ น จงกรม จะพู ด ละเอี ย ด
มาก ๆ ก็ไม่ได้ คือจะรู้หยาบ ๆ ได้อยู่ คือ อารมณ์ที่ได้จากการเดินจงกรม เอากลับ
มานั่ ง อารมณ์ ที่ ไ ด้ จ ากการนั่ ง เอากลั บ มาเดิ น จงกรม ที่ ไ ม่ ใ ห้ กิ เ ลสเข้ า มานั้ น และเรา
ก็ไปนึกถึงพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านอยู่อย่างไร คือท่านก็อยู่ในองค์ฌานเหล่านี้เอง คือมี
สติรู้อยู่ กำ�หนดอยู่ หรือไม่ก็กำ�หนดก็กิเลสไม่เข้าที่เราทำ�อยู่นี้ก็กำ�หนดอยู่ หูได้ยินเสียง
ก็กำ�หนดอยู่ ตาเห็นรูปก็กำ�หนดอยู่ อารมณ์อื่น ๆ ก็เข้ามาไม่ได้ แต่เราไม่ได้ไปเอาว่า
ทำ � อย่ า งนี้ มั น เป็ น องค์ ฌ าน อย่ า งนี้ ทำ � อย่ า งนี้ มั น เป็ น องค์ ฌ านที่ ตั ว นี้ นี้ โ ยคี รู้ ไ ม่ ไ ด้
แต่จะบอกโยคี ๆ ก็ทำ�ไม่ถูก แต่สภาวธรรมมันเป็นอย่างนี้ อาจารย์จะต้องบอก เช่น
เห็นได้ว่ากำ�หนด ปวดหนอ ๆ ๆ ใหม่ ๆ มันก็จะมีปวดอยู่อย่างนี้ พอผู้ปฏิบัติ ๆ ไป
มีสภาวธรรมสูงขึ้นการกำ�หนดปวดหนอ ๆ เขาก็จะหายวับไป หรือนิมิตที่เกิดขึ้น เมื่อ
กำ�หนดเห็นหนอ ๆ แต่ใหม่ ๆ มันยังไม่แจ่มแจ้ง ภาพก็จะเกิดขึ้นมาเหมือนกันฉายหนัง
ฉายวีิดิโอ มันจะเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โยคีที่ไม่กำ�หนดก็จะมัวดูอยู่ ก็เป็นอุปกิเลสแยกออก
ไปอีกทางหนึ่ง ถ้าโยคีกำ�หนดตามสภาวะอารมณ์อันนั้นว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ไม่ไปยึดมั่นถือ
มั่นกับอารมณ์นั้น ช่างมัน
พระอาจารย์นิยม สรุปว่า ที่โยมถามนั้น หลวงปู่อธิบายเป็น ๒ ภาค ภาคทั่วไป
ท่านบอกว่า ปฏิบัติแนวไหนก็ได้ในเบื้องต้นแต่ถ้าหวังผล วิปัสสนากรรมฐานท่านไม่ให้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 53

ยึดแม้แต่องค์ฌาน หมายความว่า กำ�หนดไม่ให้ติดในสภาวะนั้น ในเบื้องต้นนี้ทำ�อย่างไร


ก็ ไ ด้ ข อให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ไ หว้ พ ระสวดมนต์ นั่ ง สมาธิ เป็ น การปู พื้ น ฐานทั่ ว ไป แต่ ถ้ า จะ
ปฏิบัติหวังผลแนววิปัสสนากรรมฐาน แม้แต่องค์ฌานก็ต้องกำ�หนดทิ้ง กำ�หนดรู้เพื่อที่
จะให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้แต่ในองค์ฌาน แม้แต่ฌานก็ไม่เอา ถ้าติดองค์ฌาน
ก็คือ ผู้ที่ได้ฌานมีมาก่อนพระพุทธศาสนา พระโพธิสัตว์ของเราก็เคยบำ�เพ็ญมาก่อน
ต้ อ งกำ � หนด (ทิ้ ง ) เพื่ อ เป็ น บั น ไดขึ้ น สู่ วิ ปั ส สนา ประเด็ น ที่ โ ยมถาม คงจบแบบนี้ น ะ
ไม่ได้ปฏิเสธองค์ฌานแต่ว่าถ้ามี ก็กำ�หนดทิ้งเลย ไม่มีก็ไม่เป็นไร จะเป็นวิปัสสนาสมาธิ
จะเป็นองค์ฌานก็ได้ แต่ต้องเป็นองค์ฌานที่เข้าสู่วิปัสสนา ไม่ให้จมอยู่ในองค์ฌานนั้น
หลวงปู่ เพิ่ ม ว่ า ไม่ รู้ ด อก องค์ ฌ านนั้ น ไม่ รู้ เวลาเกิ ด ขึ้ น จริ ง ๆ ก็ ไ ม่ รู้ เวลา
ปฏิบัตินี้ องค์ฌานก็ไม่รู้ คือจะให้ไปรู้ ก็ติดในอารมณ์นั้น ติดในองค์ฌานนั้น ก็ว่าเราเก่ง
แล้ว เหาะเหินเดินอากาศได้แล้ว นั่งตัวลอยได้แล้ว นี่ก็องค์ฌานอันหนึ่งที่ทำ�ให้ตัวเบา
ตัวลอยสบาย นั่งพองยุบก็สบาย เจ็บปวดมึนชาอะไรก็ไม่มี เราได้ดีแล้ว อันนั้นแหละ
ตัวกิเลสใหญ่ล่ะ เป็นอย่างนั้น คือให้กำ�หนดทิ้งไป
ถาม : เดินลมหายใจไปเรื่อย ๆ เกิดนิมิต เกิดสุข แล้วหากอยากออกจากนิมิต
ผมจะต้องกำ�หนดอย่างไร
ตอบ : อารมณ์ที่ว่านี้ เป็นอารมณ์ของสมถะ ไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา อารมณ์
สมถะ ถ้าติดนิมิต ก็จะไปดูเรื่องของนิมิต และก็ติดอยู่ในอารมณ์นั้น ถอนออกได้ยาก
เพราะทางสมถะเมื่อเขาได้นิมิตแล้ว เขาก็จะไปเพ่งนิมิตนั้น ให้เกิดเป็นวสี คือให้เข้า
ลึกซึ้งให้มาก ๆ ดูไปตามนิมิตนั้น ที่ท่านทำ�อยู่ ธรรมกาย ท่านก็เห็นนิมิตก็เพ่ง จนเห็น
ลูกแก้ว พอเห็นลูกแก้วก็เพ่งลูกแก้ว มันลึก ๆ เข้าไป ลักษณะแบบนี้ไม่ใช่เป็นอารมณ์
ของวิปัสสนา อารมณ์ของวิปัสสนาเมื่อเกิดขึ้นเราก็ไม่ได้ไปยึดมั่นถือมั่นกับอารมณ์นั้น
เอาแค่เห็น แค่ได้ยิน ถ้ามันเกิดขึ้นมามาก ๆ เป็นนิมิตเข้ามามาก ๆ เดินอยู่มันก็เกิด
นิมิต นั่งอยู่มันก็เกิดนิมิต มาเดินจงกรมมันก็เกิดนิมิตอยู่ ลักษณะอย่างนี้ก็ต้องหาวิธี
ที่จะต้องเปลี่ยนอารมณ์ หาวิธีที่จะต้องแก้ไขมัน บางคนบางท่านบอกว่า นั่งหลับตาลง
ไม่ได้ มันมีแต่นิมิต อย่างนี้ ก็ไม่ต้องหลับตา อันนี้มันเป็นอุบายของอาจารย์ที่จะต้องแก้ไข
54 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ให้โยคี ถ้าโยคียังไปติดอยู่ ก็ต้องพยายามแก้ไขจนเขาลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่ให้ไปติดอยู่


ในอารมณ์นั้น อารมณ์ของวิปัสสนานั้นจะต้องแก้ไขกันอยู่ตลอด ฉะนั้นเวลามาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนั้นจึงให้อยู่ใกล้กับครูอาจารย์ที่จะคอยแนะนำ�สั่งสอนอยู่ตลอดเวลา
ถ้ามีความสงสัย ก็ให้ถามอาจารย์ไม่ให้ปล่อยไว้นาน เพื่อมันจะไม่ได้ติดอยู่กับอารมณ์
นั้น ๆ ที่มันเกิดขึ้น เจ็บปวดมึนชาก็เหมือนกัน หรือที่เห็นนิมิตก็เหมือนกัน จึงต้องมี
การมาส่งอารมณ์ เวลามาส่งอารมณ์อาจารย์ก็จะแก้ไข บอกให้ แนะนำ�การปฏิบัติที่ถูกต้อง
ให้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงจะต้องอยู่ใกล้กับอาจารย์
พระอาจารย์นิยม เสริมว่า อยู่ที่นิมิตว่า เป็นอะไร ถ้านิมิตนั้นเป็นภาพก็กำ�หนดว่า
เห็นหนอ ถ้านิมิตเป็นเสียงก็กำ�หนดว่า ยินหนอ แต่ถ้าเห็นแสงสี เป็นภาพ ก็ไม่กำ�หนด
ได้ยินเสียง ก็ไม่กำ�หนด ยินหนอ ผู้ปฏิบัติก็จะติดอยู่ในนิมิตนั้น ต้องกำ�หนดทิ้งไปเลย
ไม่ต้องไปใส่ใจ
ถาม : หากจะก้าวข้ามจากอารมณ์ของสมถะเข้าไปสู่อารมณ์ของวิปัสสนาทำ�อย่างไร
ตอบ : อันนี้โยคีไม่รู้หรอก แต่ว่าสภาวธรรมนั้นพอจะเข้าใจได้อยู่ คือทำ�ไปแล้ว
มันจะละตัวทิฏฐิมานะ ตัวกูของกูพึงรู้เอง เห็นเอง เห็นว่า ตัวกูของกูนี้ จะเกิดความเบื่อ
หน่าย ทั้งในรูปนาม สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มันเห็นเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาก็เกิด
เบื่อหน่าย นั่นแหละจึงจะเข้าไปสู่อารมณ์ของวิปัสสนา มันเป็นอย่างนี้ จึงได้ให้ฝึกไว้ตั้งแต่
ต้น ๆ ว่า หูได้ยินเสียงให้กำ�หนดว่า ยินหนอ ๆ เจ็บปวดมึนชาก็กำ�หนดว่าปวดหนอ ๆ
แล้วกลับมาดูพองหนอ ยุบหนอ ให้เปลี่ยนอารมณ์ ให้มันรู้เท่าทันสภาวะ อารมณ์อะไร
เกิดขึ้นชัดเจนให้กำ�หนดอารมณ์นั้นให้ทัน จึงจะไปต่อสู้กับตัวข้างหน้านั้นได้ ถ้าไม่ฝึก
ตรงนี้ จะไปเล่นเอาแต่พองหนอ ยุบหนอ ๆ ๆ ๆ หรือปวดหนอ ๆ จะเอาให้มันหาย
อันนี้ไม่ใช่เป็นอารมณ์วิปัสสนา อารมณ์ของวิปัสสนานั้น คือ ต้องรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์
ต่าง ๆ ได้ ที่เราทำ�นี้ เวลาเราทำ�แรก ๆ ก็เหนื่อยบ้าง ลำ�บากบ้าง ขี้เกียจฟุ้งซ่านอะไร
หลาย ๆ อย่างจนทำ�ให้เรารู้จักสภาวธรรมนั้น จนทำ�ให้เราก้าวขั้นสู่อารมณ์ของวิปัสสนา
ว่า ท่านปฏิบัติไปได้สามวันท่านก็จะเข้าไปดูวิปัสสนากรรมฐาน ก็แล้วแต่สภาวธรรม
ที่ผู้ปฏิบัตินั้นจะพึงปฏิบัติได้ รู้ได้ เห็นได้ อันนั้นอาจารย์ก็จะดูแลว่า เขาเป็นอย่างไร
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 55

อยู่ในญาณขั้นไหน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็สอบอารมณ์ไม่ได้ โยคีกับอาจารย์นี้จะต้อง


เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะมาโกหกกันว่า ผมนั่งเป็นอย่างนั้นภาวนาแล้วมันเป็นอย่างนี้
เห็นแสงสีอย่างนี้ เดี๋ยวก็จะเป็นบ้า บอกแล้วก็ไม่เชื่อ .. มันเป็นอย่างนั้นแหละ บอกว่า
ให้ถอยก็ต้องถอย บอกว่าให้ทำาต่อก็ทำา ไม่งั้นจิตมันก็ลอยไปตามอารมณ์สิ แล้วมันก็
เพลินไป อันนี้ไม่ได้ ต้องเชื่ออาจารย์ การปฏิบัตินั้นจึงจะได้เห็นผล
สรุ ป ว่ า แนวทางในการปฏิ บั ติ วิ ปั ส สนาจะต้ อ งกำ า หนด เมื่ อ กำ า หนดแล้ ว จะเป็ น
อารมณ์ ข องวิ ปั ส สนากรรมฐานจริ ง ๆ นี่ จ ะต้ อ งเบื่ อ หน่ า ยคลายกำ า หนั ด เกิ ด อนิ จ จั ง
ทุกขัง อนัตตา ด้วยประสบการณ์ของโยคีเอง
ถาม : ทำาอย่างไรจึงจะปิดประตูอบายภูมิได้
ตอบ : ผู้ปฏิบัตินั่นแหละจะรู้เอง กำาหนดอยู่ รู้อยู่ อย่างสมำ่าเสมอ จนเกิดอารมณ์
พระนิพพาน นั่นแหละ จึงจะปิดอบายภูมิได้ ถ้าทำาบ้างไม่ทำาบ้าง ก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เคร่งเกินไปก็ไม่ดี จะเครียด
ปล่อยอารมณ์มากไปก็ไม่ได้ จะฟุ้งซ่าน
ต้องค่อย ๆ ตะล่อม ค่อย ๆ กำาหนด ค่อย ๆ สำารวม
เหมือนกับจับปลาดุก ต้องค่อย ๆ จับ
ค่อย ๆ ตะล่อม ดูหัว ดูตัว ดูหาง
ถ้าระวังไม่ดีเงี่ยงปลาดุกจะปักมือเอา
พระครูศาสนกิจวิมล
56 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

รูเ้ อง เห็นเอง แจ้งเอง *

ขอนอบน้ อ มแด่ อ งค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ขอคารวะพระเถรานุ เ ถระ


ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่พระโยคาวจร ทุกท่าน ขอเจริญพร ญาติโยมทุกคน
สำาหรับการปฏิบัติเบื้องต้นนั้น ต้องเอาใจใส่สำารวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ มี ตา หู จมูก
ลิ้น กายใจ เป็นอายตนะภายใน อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ รวมเป็นอายตนะ ๑๒ นี้ จะต้องเอาใจใส่เขาเป็นพิเศษ เขาจึงจะอยู่ เพราะว่า
จิตใจของเรานั้นไม่ค่อยอยู่เป็นปกติ มันชอบที่จะไปตามอารมณ์ต่าง ๆ พอหูได้ยินเสียง
มันก็ไปแล้ว ตาเห็นรูปมันก็ไปแล้ว จมูกได้กลิ่นมันก็ไปแล้ว มันไม่ค่อยอยู่
ท่านเปรียบอุปมาไว้เหมือนกับเด็ก แต่คนในกรุงเทพไม่ค่อยได้เลี้ยงเด็ก คนตาม
บ้านนอกชนบทนี้ พ่อแม่ก็จะไปทำางาน ลูกก็ยังอ่อน กระจองอแง ไม่ค่อยอยากจะนอน
ชาวอีสานก็จะเอาใส่อู่ คนภาคกลางก็เรียกว่าเอาใส่เปล ไกว เมื่อไกวแล้วมันไม่ค่อยหลับ
ก็หาสิ่งต่าง ๆ มาหลอกเด็ก หาขัน หากะลามะพร้าว มาเคาะเสียงบ้าง เด็กก็ฟัง อีก
อย่างหนึ่ง โบราณอีสานนั้นยังมีเพลงกล่อมให้ลูกหลับด้วย เมื่อหลับแล้วพ่อแม่ก็จะได้
ไปทำางาน คนสมัยก่อนพริกก็ปลูก มะเขือก็ปลูก หม่อน (ตัวไหม) ก็เลี้ยง หลาย ๆ อย่าง
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพนั ธ์ อิสสฺ โร) ทีป่ รึกษาพระวิปสั สนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ บรรยายแก่
นิสติ ปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง
จ.นครราชสีมา เมือ่ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
58 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ข้าวก็เกี่ยว ประกอบการท�ำมาหาเลี้ยงชีพ แต่คนสมัยนี้เขาจะท�ำอะไรเขาเอาอย่างเดียว


หาเงินได้เป็นพอ คนแต่นี้เอาหลาย ๆ อย่าง ทีนี้ลูกไม่ค่อยอยู่ก็จะกล่อมให้ได้หลับเร็ว ๆ
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของเราก็เช่นเดียวกัน แรกเราก็บอกว่า จะก�ำหนดให้
มันอยู่ในอารมณ์เดียว คืออารมณ์พองหนอ ยุบหนอ จะให้มันอยู่อย่างนี้ก็บังคับจะให้
เขาอยู่ในอาการพอง อาการยุบอย่างเดียว อย่างนี้เขาเรียกว่าท�ำไม่ถูก แล้วมันก็ฟุ้งซ่าน
ร�ำคาญ ก�ำหนดไม่ค่อยได้ เพราะอยากจะให้อยู่ในอารมณ์เดียว อยากจะให้อยู่ในอาการ
พองหนอยุบหนอเลยท�ำไม่ได้
ท�ำไม่ได้ก็เลยฟุ้งซ่านร�ำคาญ ไม่รู้มันพองหรือมันยุบ ไม่รู้ต้นพองกลางพองไม่
ค่อยเข้าใจ แล้วก็เลยเป็นการกดดัน บางคนก็มีอาการต่าง ๆ เช่น ท�ำให้ร้อน ท�ำให้หนาว
ท�ำให้วิงเวียน ปวดศีรษะ บางคนก็ถึงกับอาเจียนก็มี แต่ที่จริงนั้นไม่ต้องไปบังคับเพียง
แค่เอาจิตนี่ไปรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์นั้น อารมณ์อะไรมันจะเกิดก็ให้มันเกิด อะไรจะเป็น
ก็ให้มันเป็น ก็ตั้งใจดูมันแล้วก็ก�ำหนดตามอารมณ์นั้น ไม่ต้องไปกดดันมัน
และการปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนี้ เป็ น ของละเอี ย ดอ่ อ น ยากที่ เ ราจะเข้ า ใจ
ก็ท�ำไปเท่าไร มันก็ยิ่งวุ่นวายหนักเข้า ๆ เพราะความไม่เข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแล้ว เราก็
ไม่ต้องไปบังคับเขา ดูอาการของเขา ดูอาการพอง ดูอาการยุบ ดูอาการสภาวะอะไรเกิดขึ้น
ก็พยายามที่จะ ก�ำหนดอารมณ์นั้นให้ชัดเจนขึ้น
ถ้าเราไปก�ำหนดอยู่แต่ในอาการพองหนอ ยุบหนอ อย่างอื่นไม่เอา เป็นการกดดัน
เมื่อเป็นการกดดันแล้วมันไม่ได้เป็นวิปัสสนากรรมฐานมันเป็นสมถกรรมฐาน คือเราจะ
ไปข่มจิต ข่มอารมณ์นี้ไว้ให้มันอยู่ในอารมณ์เดียว อันนั้นเป็นสมถกรรมฐานถึงจะก�ำหนด
ว่าพองยุบก็ตาม ไม่พองยุบก็ตาม ที่มันมีอาการพองหนอยุบหนอ แต่ไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้
รู้เรื่องคือเราจะรู้อาการพอง รู้อาการยุบ สภาวะของอาการพอง สภาวะของอาการยุบ
มันเป็นลักษณะอย่างไร แต่ในอันเดียวกันนั้น สภาวธรรมนั้นก็จะเกิดขึ้นกับเรา แต่เราก็
ย่อมจะไม่เข้าใจ สิ่งที่เรียกว่า สภาวธรรม
สภาวธรรม นี้เรียกว่า เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตาก็ไม่ผิด ความไม่เที่ยงของสังขาร
มีอยู่ ความไม่เที่ยงของอาการพอง ความไม่เที่ยงของอาการยุบนี้ยังมีอยู่ คือบางที เรา
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 59

จะก�ำหนดพองหนอยุบหนอ บางทีพองยุบจะมีอาการช้า ๆ ก็มี บางครั้งบางคราวมันก็


เร็วเกินไป บางทีอาการพองอาการยุบนี้ก็จะแผ่ว ๆ ก็ไม่ค่อยชัดเจน เราก็เลยไปท�ำเอา
คือไปกดดัน ไปกลั้นไว้ กลั้นลมหายใจไว้ให้มันค่อย ๆ ออก หรือให้มันเกิดขึ้น เพราะ
ความไม่ชัดเจน จึงท�ำเอา ลักษณะอย่างนี้เขาเรียกว่าท�ำกรรมฐานที่ผิดทาง
เราไม่ต้องไปท�ำเขา เพราะมันเป็นหลัก ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ความเป็นของ
ไม่เที่ยง ของสังขารนี้มันมีอยู่ เราจะนั่งไปนานบางทีเวทนาก็เกิดขึ้น เวทนาเกิดขึ้น เราก็
ไม่อยากจะให้มันเกิด เราจะเปลี่ยนสภาวะอาการต่าง ๆ เราจะเปลี่ยนอยู่เสมอ การที่เรา
เปลี่ยนอารมณ์เปลี่ยนอาการนั้นท�ำให้เราไม่เห็นทุกข์ เปลี่ยนก็เปลี่ยนได้ แต่เราไม่เห็นทุกข์
เราปฏิบัตินี้เพื่อให้มันเห็นทุกข์ เพื่อให้รู้จักทุกข์ เพื่อให้ออกจากทุกข์
การท�ำวิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น ไม่ ใ ช่ จ ะไปท�ำให้ มั น สุ ข สบาย เราจะไปเข้ า ใจว่ า
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มันจะมีความสุข ไม่ใช่ ผลเท่านั้นที่จะดี คือระหว่าง
การปฏิบัตินี้มันจะรู้สึกล�ำบาก รู้สึกร�ำคาญ แม้ว่าเราจะเห็นสภาวธรรมบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ
เราก็ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ค่อยรู้เรื่อง ว่านี้คืออะไร สภาวะมันเป็นอย่างไร สภาวธรรมที่เขา
เกิดขึ้นนี้ ตามหลักธรรมค�ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พอท�ำไปแล้ว
มันก็จะเกิดผล เห็นผลขึ้นได้เร็วก็มี ช้าก็มี ที่ได้เร็วนั้น เพราะผู้นั้นมีปัญญา ผู้ที่มีปัญญา
เรียกว่าเป็นผู้ที่มีบุญวาสนา พอที่จะรู้หลักธรรมนี้ได้ รู้สภาวธรรมนี้ได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องบุญเรื่องวาสนานั้น ถ้าเราไม่ท�ำ มันก็ไม่ได้ หรือเรียกว่า การ
ที่เราตั้งปณิธานความปรารถนาไว้อย่างสูง ก็อยากจะได้เร็ว ๆ สมความตั้งใจ อย่างนั้น
ก็ยิ่งเป็นมารในการปฏิบัติของเรา ท�ำอะไรไม่ค่อยได้ดั่งใจเราคิด ไม่สมเจตนารมณ์ที่เรา
ตั้งเอาไว้ มักจะเป็นอย่างนั้น
การปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานี้ก็เช่นเดียวกัน เพราะว่าพระธรรม
ค�ำสั่งสอนนั้นเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน ยากที่เราจะเข้าใจ ยากที่เราจะรู้เรื่อง มันจะต้องท�ำ
กาย ท�ำวาจา ท�ำจิตใจของเราให้อ่อนก่อน ธรรมะนั้นจึงจะเกิด เพราะธรรมะนั้นเป็นของ
ละเอียดอ่อนมาก
60 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ถ้าเราไปท�ำอย่างหยาบ ๆ ค�ำว่า ”อย่างหยาบ ๆ„ นี้คือว่า ก�ำหนดบ้างไม่ก�ำหนด


บ้าง ท�ำบ้างไม่ท�ำบ้าง เอาใจใส่บ้างไม่เอาใจใส่บ้าง ลักษณะอย่างนี้ธรรมะนั้นจะไม่ค่อยเกิด
เพราะธรรมะนั้นเป็นของที่ละเอียด ถ้ากายของเรายังไม่อ่อนน้อมดีเท่าที่ควร นี้ก็ ปฏิบัติไป
ก็ยาก คือ กายนี้ก็จะต้องอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ มีความเคารพต่อพระรัตนตรัย
ไม่เป็นคนแข็งกระด้าง เราเคารพในพระธรรม ในค�ำสอนของพระองค์ ท�ำจิตใจของเรานั้น
ให้อ่อนน้อมเข้ามาให้พระรัตนตรัย พระรัตนตรัย นั้นจึงจะเกิด
ถ้ายังไม่อ่อนน้อม จิตใจเรายังแข็งกระด้างอยู่ ยังไม่สามารถที่จะรับเอาธรรมะนี้ได้
เขาเรี ย กว่ า ยั ง มี ทิ ฏ ฐิ ม านะ ความถื อ ตั ว มั น ยั ง มี อ ยู ่ อย่ า งที่ ห ลวงพ่ อ พุ ท ธทาสท่ า น
พูดไว้ว่า ตัวกู ของกู อะไรก็ของกู ของกู นั่นหมายความว่ายังเป็นอัตตาอยู่ ยังเป็นตัวตน
อยู่ ยังนึกว่าเป็นตัวกูของกูอยู่ ถ้ามันยังมีทิฏฐิมานะ ถือเนื้อถือตัว ตัวกูของกูอยู่ ลักษณะ
อย่างนี้ธรรมะนั้นยังไม่เกิดแก่โยคีผู้ปฏิบัตินั้น เรียกว่ายังมีความแข็งกระด้างต่อการปฏิบัติ
อยู่ จึงเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัตินี้ไม่ค่อยรู้ธรรม ไม่ค่อยเห็นธรรม และจะบอกว่า เรามาปฏิบัติ
นี้ไม่ค่อยได้ผล ไม่ค่อยเห็นผลเร็ว ทันตาเห็น ความจริงเห็น ความจริงได้ ความจริงเรา
ก็รู้ เราจะนั่งไป ๕ นาที ๑๐ นาที เราก็จะเห็น เห็นอะไร? เห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
เห็นความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสังขารมีอยู่ทุกเวลา ฉะนั้น บางคนที่มา
ปฏิบัติแล้ว ดูอาการพองหนอยุบหนอด้วยความเอาใจใส่ ก็จะเห็นอาการพอง เห็นอาการ
ยุบ บางทีอาการพองอาการยุบนี่หายไป บางทีอาการพองอาการยุบมันจะมาอยู่ข้าง ๆ
ก็มี บางทีก็อยู่ข้างหน้าข้างหลัง คล้าย ๆ ว่าตัวของเราก็เป็นสองตัวสามตัวอะไรท�ำนองนั้น
นี้ลักษณะนี้เรียกว่า เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เห็นความไม่เที่ยงของสภาวะความ
เกิดดับของสังขารนั้นมีอยู่ มันมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่อย่างนั้น เรียกว่าเห็นทุกขัง
อนิจจัง อนัตตา เห็นรูปเห็นนาม
บางคนก�ำหนดพองหนอยุบหนอนี้ เห็นรูปเห็นนามมันอยู่ด้วยกัน นี้ไม่ใช่ รูปนาม
นี้เมื่อเราปฏิบัติไปแล้วมันก็เป็นรูปเป็นนาม ความรู้ที่มันเกิดขึ้น อันนี้พองขึ้นมานี้เรา
ก็รู้ว่าอาการพอง อาการพองนี้เป็นรูป ความรู้สึกนี้เป็นนาม แต่ไม่ใช่ว่า พูดเอานะ มันเกิด
เป็นสภาวะที่ให้เราเห็นตามความเป็นจริง จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติได้ เกิดขึ้นในดวงจิต
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 61

ดวงใจของเราเอง เห็นมันเกิดมันดับด้วยจิตด้วยใจของเราเอง เห็นความเปลี่ยนแปลงไป


เราเห็นเอง ไม่ใช่คนอื่นจะมาบอกว่าเห็นไหม เป็นอย่างนั้น เห็นไหมเป็นอย่างนี้ คือ
เรารู้เอง เห็นเองด้วยตัวของเราเอง
เห็นการเกิดการดับของสังขารมีอยู่ เห็นการเปลี่ยนแปลงของสังขารมีอยู่ บางที
เราเดิ น จงกรมขวาย่ า งหนอ ซ้ า ยย่ า งหนอ ขณะที่ เ ราเดิ น ๆ อยู ่ นี้ มั น ก็ ค ล้ า ย ๆ ว่ า
มันหายไปข้างหลัง ค่อย ๆ หายไป หายไป เดินไปแล้วมันก็หมดไป หมดไป นี่คือความ
รู้สึกที่มันเกิดขึ้น ความรู้สึกลักษณะอย่างนี้ เขาไม่ได้เกิดอยู่นาน เกิดอยู่นิด ๆ หน่อย ๆ
ประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น ไม่ใช่เกิดอยู่ตลอดบัลลังก์ จะเกิดอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงแค่ให้
เรารู้สภาวะของมันว่า มันเป็นอาการอย่างนั้น ๆ มีสภาวะเป็นอย่างนั้น ๆ อันนี้ รู้แค่นั้น
แต่เมื่อเราภาวนาไป ท�ำไปเรื่อย ๆ มันก็จะเห็นชัดเจนมากขึ้น ๆ เราจึงจะรู้ว่า เออ
ไอ้นี่แหละ รู้รูป รู้นาม รู้สภาวะสังขาร รู้ความเกิด รู้ความดับ รู้ความเปลี่ยนแปลง
ไปของสังขาร สภาวะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกขัง เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เรา
เห็นได้อย่างนี้ ไม่ใช่จะเห็นเป็นอย่างอื่น มันจะเห็นการเกิด การดับเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่เมื่อใดที่สมาธิของเรายังไม่แก่กล้าเราก็เห็นอย่างนี้ คือญาณขั้นต้น ตั้งแต่ญาณที่ ๑
ถึ ง ญาณที่ ๓ นี้ เราจะเห็ น ความเกิ ด ความดั บ ของสั ง ขาร เห็ น ความเปลี่ ย นแปลงไป
ของสังขาร มีอยู่ ท่านอุปมาไว้เหมือนกับว่า ผู้ชายที่มีก�ำลังแข็งแรง ปาก้อนหินขึ้นไป
บนอากาศ พอหมดแรงแล้วมันก็ย่อมกลับลงมา การก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ เราจะเห็น
อาการเป็นอย่างนั้น เห็นอาการเกิดขึ้นของอาการพอง เห็นอาการยุบลงมาของอาการยุบ
รู้รูป รู้นาม รู้สภาวะของสังขารการเปลี่ยนแปลงไป มันมีอยู่อย่างนี้
ถ้าเราไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ได้ดู เราก็จะไม่เห็น เมื่อเราไม่เห็น มันก็เกิดอาการ คือ
พูดง่าย ๆ ว่าเมื่อเราไม่เห็นอย่างหนึ่ง มันก็จะเห็นอีกอย่างหนึ่ง มันมีการเปลี่ยนแปลง
อยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเราไม่ได้เอาใจใส่ ความขี้เกียจขี้คร้าน ความร�ำคาญ ความง่วงเหงา
หาวนอนก็เข้ามาแทรกแซง เรื่องอย่างนั้นก็จะเข้ามาแทรกแซงแล้วก็ท�ำให้เราง่วง ก�ำหนด
ก็ไม่ได้ จะนั่งก�ำหนดสักพัก ๕ นาที ๑๐ นาที ก็ง่วงแล้ว นั่นเพราะอะไร มันเป็นลักษณะ
อย่างนั้นก็เพราะว่า ความอ่อนแอของสภาวะทางด้านจิตใจของเรา ที่ท่านมาปฏิบัติแล้ว
62 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ท่านจะต้องเห็น ไม่มากก็น้อย คือ ไม่มีอาการมาก แต่ว่าจะเห็นเล็ก ๆ น้อยๆ พระธรรม


ค�ำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราจะไม่ค่อยเข้าใจ นอกจากว่าจะมีผู้บอกผู้แนะน�ำ ผู้อบรม
ผู้สั่งสอน จะไปดูตามต�ำรับต�ำราที่นักปราชญ์อาจารย์ทั้งหลายเขาเขียนไว้ เมื่อเรามาปฏิบัติ
แล้วเราก็ย่อมจะไม่เข้าใจ
เห็นอยู่หลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ คน ที่มีภูมิความรู้สูงและเคยศึกษาสูง แต่ว่าเมื่อ
มาปฏิบัติแล้ว เมื่อมาพบสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ค่อยเข้าใจ คือมันเป็นสภาวะที่ละเอียด
ที่เราท�ำมานี้ เราจะเห็นไหม พระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า เห็น แต่ว่า เรายังไม่ค่อย
เข้าใจ ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงไปของสังขาร ไม่เข้าใจความเกิดดับของรูปของนาม
ความเกิดขึ้น มันเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะ
มีบางคนที่เมื่อมาปฏิบัติแล้ว จะเห็นว่า เวลาการก�ำหนดนี้คล้าย ๆ ว่า ท�ำไป ๆ
แล้วก็เกิดสภาวะที่น่ากลัว เห็นสังขารของตัวเองก็มี บางทีนั่งไปเห็นสภาวะสังขารของ
ตัวเองเป็นรูปเป็นนามก็มี เห็นเป็นกองอัฐิ เห็นเป็นกองกระดูกของตัวเองก็มี เห็นไปหลาย
อย่างที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้นั้น บางคนที่เห็นอาการอย่างนั้น เขาก็
เรียกว่า เห็นรูปเห็นนามเห็นสภาวะของสังขาร แต่ไม่ใช่ว่า เป็นญาณขั้นสูง ถ้าญาณสูง ๆ
ขึ้นไป สิ่งเหล่านี้มันไม่เห็น มันไม่มี มันจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่เราปฏิบัติใหม่ ๆ นี้ จะเห็นในญาณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ นี้ เราจะเห็นอาการของมัน
การเปลี่ยนแปลงของสังขาร นั้นมีอยู่ และเขาก็ไม่ค่อยเป็นปกติ คือ เรานี้อยากจะให้เขา
อยู่ในอาการพอง อาการยุบ อยู่ตลอดเวลา มันเป็นไปไม่ได้ คือ เขาไม่ได้อยู่ในอ�ำนาจ
ของเรา ถ้าอยู่ในอ�ำนาจของเรา ๆ ก็บอกว่าเป็นอัตตา ไม่ใช่อนัตตา คือเราจะบังคับเขา
ด้วยวิธีไหนก็ได้ แต่นี้มันไม่ใช่ ผิดธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นอนัตตา
บังคับบัญชาเขาไม่ได้ จะไปบอกให้เขาอยู่อย่างนี้ ๆ ๆ นั่งไปไม่อยากจะให้เขาเจ็บเขาปวด
เขาก็มีอาการเจ็บปวดมึนชา หรือทางด้านจิตใจ ก�ำหนดพองหนอยุบหนอมันก็ไปตาม
อารมณ์ของมัน เดี๋ยวมันไปคิดถึงเรื่องนั้น เดี๋ยวมันไปคิดถึงเรื่องนี้ พอเราจะก�ำหนดมัน
กลับมาแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 63

นี้ ผู้ปฏิบัติจึงมีความยุ่งยาก ยุ่งยากในการที่ว่า อาจารย์ที่สอนก็ให้ก�ำหนดให้ได้


อารมณ์ปัจจุบัน คือ รู้อาการพอง รู้อาการยุบ ให้เห็นอารมณ์ในปัจจุบัน ให้ได้อารมณ์
ปัจจุบัน อันนี้ยิ่งพูดอย่างนี้ โยคีก็ยิ่งบังคับให้มันได้อารมณ์ปัจจุบัน คือ หมายความว่า
ที่จิตไปคิด พอเราจะไปก�ำหนดคิดหนอ ๆ เขาก็กลับมาแล้ว แล้วมันเป็นอดีตไปแล้ว
มั น ล่ ว งไปแล้ ว เราจะก�ำหนดได้ ทั น ไหม ท�ำให้ โ ยคี เ กิ ด ความกั ง วล กระสั บ กระส่ า ย
ท�ำไม่ได้
วิปัสสนากรรมฐานนั้นมันเป็นของที่ละเอียดอ่อน ค�ำว่าละเอียดอ่อนนี้ มันต้องไป
ด้วยกัน ตามกันไป อาจารย์กับลูกศิษย์ ผู้มาปฏิบัติกับอาจารย์ที่สอน
ถ้าอาจารย์ที่สอนไปเคร่งครัด เครียด อันนี้ก็ยิ่งจะไปกันใหญ่ อาจารย์กับศิษย์นั้น
ต้องเข้ากันได้ มีอารมณ์อะไรที่เกิดขึ้นเขาก็เล่าตามความเป็นจริง ส�ำหรับอาจารย์นั้นเป็น
เพียงผู้แนะ ผู้ชี้ทางให้ บอกว่า ถ้าท�ำอย่างนั้นมันไม่ดี จะต้องแก้ไขด้วยวิธีการอย่างนี้
เช่น อย่างที่ว่า นั่งแล้วมันมีอาการง่วง ท�ำอย่างไรจะแก้อาการง่วงนี้ได้ คือ ความขี้เกียจ
ขี้คร้านร�ำคาญมันเกิดมีอยู่ในจิตใจ ความเชื่อมั่นศรัทธามันก็ไม่ค่อยมี ฉะนั้น จึงต้องปลูก
ศรัทธาให้เขาได้เกิดมีศรัทธาเสียก่อน
ศรัทธานั้นให้มันมีพละ ให้มันมีก�ำลังใจมาก ๆ ขึ้น ผู้ปฏิบัตินั้นจึงจะปฏิบัติไปได้
คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๕ อย่างนั้น ต้องให้สม�่ำเสมอกัน ถ้าศรัทธา
ไม่มีก็ไม่อยากท�ำ ว่ามาปฏิบัตินี้ก็เพียงแค่เดือนหนึ่งหรือ ๑๕ วันก็เพียงแค่อดทนเอา
ถ้าคนที่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ค่อยได้ผลอะไร นี้คือไม่มีศรัทธา นั่งแล้วก�ำหนดไหม ก�ำหนดก็มี
ไม่ก�ำหนดก็มี นิด ๆ หน่อย ๆ นี้เรียกว่า ศรัทธาไม่มี วิริยะไม่มี
สติ คือความระลึกได้ สตินี้มากไม่เป็นไร ฉะนั้น ท่านจึงให้ก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ
น้อย ๆ คู้ เหยียด ก้ม เงย ดื่ม เคี้ยว ฉัน จะต้องก�ำหนด อันนี้เป็นข้อที่เพิ่มเติมที่จะ
ท�ำให้ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ นี้ให้มากขึ้น การก�ำหนดนี้ ถ้าไม่เอาใจใส่ก็ไม่เกิด เอาใจ
ใส่มากไปแต่ญาณต้น ญาณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ญาณต้น ๆ นี้ ต้องเอาใจใส่มาก ๆ จึงจะได้
จึงจะไป แต่ญาณที่ ๔ ที่ ๕ ขึ้นไป ไม่อยากได้ ก็ไปอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นของพูดยาก
64 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ท�ำยาก ปฏิบัติยาก ยากเพราะอย่างนี้ ยากเพราะว่า ถ้าไปอยากได้ในญาณขั้นสูง ๆ ขึ้น


ไปนี้ ไปอยากได้ เอาใจใส่เพียรไปมาก ก็ฟุ้งซ่านร�ำคาญ ก็อยากจะหนี กลับบ้าน กลับวัด
เท่านั้นเอง มันเป็นอย่างนั้น ความโลภมันเกิด แต่ญาณต�่ำ ๆ มา เช่น ญาณที่ ๑ ที่ ๒ นี้
เพียรเพียงเพื่อท�ำให้รู้เท่ารู้ทันอาการ ไม่ต้องไปเคร่งเครียด ไม่ต้องไปว่า อยากจะได้
ถ้าไม่อยากได้ ก็ไม่มาท�ำ มันก็มีการถกเถียงอยู่อย่างนี้ พอเมื่อมาท�ำแล้วท�ำไมไม่ให้อยาก
ได้ ? ถ้าอยากได้จนเกินไป ก็ไม่ดี ถ้าไม่อยากได้ ก็ไม่มาท�ำ มันเป็นอย่างนั้น
เอาล่ะ ที่ว่าธรรมะที่เขาจะเกิดขึ้น ธรรมะที่เราผู้ปฏิบัติ จะรู้นั้น เราก็รู้ได้ แต่เราจะ
เข้าใจลึกซึ้งแค่ไหนอย่างไร อันนี้เป็นปัญหา
คื อ อาการที่ เ กิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไป สภาวะที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป มี อ ยู ่ เราจะเห็ น
สภาวธรรมในการเปลี่ยนแปลงของสังขาร เช่นเวลาเดินจงกรมนี้ บางคนจะพูดว่า การ
เดินจงกรมนี้กระเบื้องจะวิ่งไปข้างหน้า บางทีเราก็รู้สึกโคลงเคลงเหมือนเหยียบแคมเรือ
มีอาการคล้ายจะล้ม วิงเวียน จะอาเจียนก็มี นั่นคือ สภาวะของธรรมที่ท�ำให้มันเกิดอาการ
อย่างนั้นในขณะที่เดินอยู่
บางทีกระเบื้องนี้ก็สูง ๆ ต�่ำ ๆ เวลาเรายกเท้ากระเบื้องนี้ก็ติดขึ้นมา เวลาเราเหยียบ
ลงไปมันก็จมลงไป มันเป็นอยู่ในลักษณะอาการอย่างนี้ นั่นเรียกว่า เห็นสภาวะความ
ไม่เที่ยงของสังขารนั้น มันมีลักษณะอาการอย่างนั้น บางทีนั่งก�ำหนดพองหนอยุบหนอ
ไอ้ตัวพองตัวยุบนี่มันก็ไม่เที่ยง มันก็เห็นเป็นว่า พองขึ้นมาอยู่ข้างหลังก็มี พองอยู่ข้าง ๆ
ก็มี ความรู้สึกมันเป็นอย่างนั้น พอเราจะก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ อันนี้มันก็
จะเห็นอาการนั่ง แต่ว่าไม่ใช่เป็นตัวของเรา เป็นคนอื่นที่นั่งอยู่ข้างหน้า หรือนั่งอยู่ข้างหลัง
นี้ลักษณะอาการมันเป็นอย่างนี้ก็มี
ให้เรารู้ว่า นี้คือ สภาวะของมัน ที่เขาเกิดขึ้น ฉะนั้น เพื่อเป็นการปลูกศรัทธาก็ว่า
ที่พระธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราจะพอที่จะปฏิบัติได้ไหม บางท่านก็มักจะ
พูดว่าสมัยนี้พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ ๒ พันห้าร้อยกว่าปีแล้วอริยมรรคอริยผลนั้นคงจะ
ไม่มี มรรคผลนิพพานนี้คงจะไม่มี คงจะกลายเป็นเรื่องอย่างอื่นไป คงพูดกันไปเฉย ๆ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 65

ความเห็นของบางคนจะเป็นอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงพระธรรมค�ำสั่งสอนของพระ
พุทธองค์นั้นไม่ได้สูญหายไปไหน ถ้าเรามีความเพียรมีวิริยะ อุตสาหะพยายามท�ำอยู่
มรรคผลนิพพานนั้นยังมีอยู่ ไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้หายจากโลก ผู้ปฏิบัติจริงท�ำจริงย่อม
เห็นอยู่ ย่อมได้อยู่ เป็นลักษณะอย่างนั้น
คือผู้ที่พูดอย่างนั้น เขาเองก็ไม่เคยได้ปฏิบัติ ไม่เคยรู้พระพุทธศาสนาดีพอควร
หรือจะพูดว่า เขานับถือศาสนาเพียงแค่แต่ในทะเบียนบ้านก็ได้ ถ้าเราไม่เข้าใจก็จะเป็น
อย่างนั้น แต่ถ้าเราเข้าใจ เราก็ไม่เป็นอย่างนั้น
แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นสมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจ เราจะต้อง
ให้รู้ เราจะต้องให้ได้เพราะเหตุที่ว่า พระพุทธศาสนานี้เกิดขึ้นมาไม่ใช่จะเป็นของง่าย ๆ
เรานี้จะได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาและได้มาปฏิบัตินี้ก็เป็นของที่ท�ำได้ยาก เป็นของที่
หาได้ยาก บ้านอื่นเมืองอื่นศาสนาอื่นก็อยากจะได้แต่ว่าไม่รู้วิธี ไม่มีครูอาจารย์ที่จะอบรม
สั่งสอนชี้แนะแนวทางให้ ก็เลยไม่ได้พระพุทธศาสนานี้เข้าไปเป็นข้อวัตรปฏิบัติ
เรื่องการให้ทาน รักษาศีลนี้ ศาสนาอื่นเขาก็มี ถ้าเราเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาของ
เรานั้นดี เราก็ควรที่จะปฏิบัติ และเมื่อเราปฏิบัติแล้วเราจะรู้เอง เราจะเห็นเอง รู้ธรรม
รู้ตามความเป็นจริงที่เขาเกิดขึ้น หรือบางคนที่ไปท�ำบุญท�ำทาน แล้วก็ปรารถนาเอาว่า
ขอให้ข้าพเจ้านี้ได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ขอให้ข้าพเจ้านี้ได้เห็นธรรมของพระศรีอริย
เมตไตรย แล้วพระพุทธศาสนาที่เราถืออยู่นี้ เราไม่เข้าใจหรือที่เราจะต้องไปเอาในชาติหน้า
ทั้งที่ในชาตินี้มันมีอยู่ ข้อวัตรปฏิบัติก็มีอยู่ จ�ำเป็นจะต้องไปปรารถนาเอาในพระศรีอริย
เมตไตรยในภายภาคหน้า นี้ขอฝากเป็นข้อคิด
อีกอย่างหนึ่ง บางคนท�ำแล้วก็ปรารถนาพุทธภูมิ ขอให้ข้าพเจ้านี้ได้เป็นพระพุทธเจ้า
ในอนาคตกาลภายภาคหน้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้มาตรัสรู้นี้ท่านก็ได้บ�ำเพ็ญ
บารมีมา สี่อสงไขยแสนมหากัป จึงได้มาเป็น แล้วเกิด ๆ ตาย ๆ อยู่อย่างนั้นนับไม่ถ้วน
ท่านจึงได้มาตรัสรู้ ท่านแสวงหามาอย่างนั้นแล้วจึงได้ธรรมะนี้มาให้เราแล้ว ท�ำไมเราจึงจะ
ต้องไปเอาอย่างนัน้ อีก ท�ำไมไม่ปฏิบตั ติ ามแนวนี้ ตามค�ำสอนนีใ้ ห้เข้าใจแล้วเราก็จะได้เห็น
66 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

หรือเราจะคิดว่า เอ ศาสนานี้อริยมรรคอริยผลนี้คงจะไม่มีซะแล้ว คงจะไม่ได้


แล้ว ก็เลยคิดน้อยใจ ท้อใจ ไม่ได้เป็นเฉพาะประเทศบ้านเมืองของเราหรอก อย่างพม่า
เขาก็มีแนวความคิดอย่างนี้ ปรารถนาอยากจะพบพระศรีอริยเมตไตรย แล้วธรรมะของ
พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ มีอยู่ ท�ำไมเราไม่เอา ท�ำไมเราไม่ปฏิบัติ แนวทางการปฏิบัติของเรา
ก็มี
อาตมาคิดว่าเป็นโอกาสอันดีแล้วที่ท่านให้มีการปฏิบัตินี้เข้ามาสู่มหาวิทยาลัยของเรา
คนจะได้รู้ต่อไป และไปดูในหลาย ๆ แห่ง พระทางกัมพูชาท่านก็อยากจะได้แนวทางของ
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะว่าในประเทศเขมร กัมพูชา เขาก็มีแต่ว่าเป็นสมถ
กรรมฐานเสียเป็นส่วนมาก ทางเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นี้ เขมร เก่ง แต่ฝ่ายวิปัสสนา
กรรมฐานนี้ ยังไม่ค่อยเข้าใจ เขาก็อยากจะให้พระพุทธศาสนาแนวนี้เผยแผ่ไปยังประเทศ
ของเขา ไปดูประเทศลาว ลาวก็ยังเหลือแต่ประเพณี แต่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ก็ยังไม่เข้าใจ มีแต่สมถกรรมฐาน เขาก็ยังอยากจะได้แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เข้าไปเผยแผ่ในประเทศของตน
วิปัสสนากรรมฐานนี้ พูดก็ยาก ปฏิบัติก็ยาก การปฏิบัติที่ว่ามันยากนั้น เพราะว่า
ครูอาจารย์เป็นผู้แต่งอินทรีย์ให้เขาเท่านั้น ที่ท�ำนั้นเขาท�ำเอง เราเป็นผู้แต่งอารมณ์ให้เขา
เมื่อเขายังไม่เข้าใจ เราจึงต้องพยายามที่จะอบรม บอกชี้ทางให้เขาว่าที่ท่านท�ำนี้ ท่านท�ำ
ไม่ค่อยถูก คือท่านจะไปบังคับเขาให้มันอยู่ในอาการพองหนอยุบหนอ ไม่ให้มันออกไป
ข้างนอก อยากจะให้มันอยู่ในอาการพองหนอยุบหนออยู่ตลอด มันก็เป็นอัตตา มันไม่ได้
เป็นอนัตตา ท่านต้องพยายามก�ำหนดให้รู้มัน ให้รู้เท่าทันสภาวะอารมณ์มัน ไม่ใช่ว่าท่าน
จะไปบังคับบัญชาเขาให้เขาอยู่อย่างนั้นให้เขาเป็นอย่างนั้น มันไม่ใช่ ให้ท่านท�ำใหม่
บอกแล้วบอกอีก สอนแล้วสอนอีก บางทีมันไม่เกิด มันไม่เห็นหรอก คือ ของนี้
เกิดเอง ท�ำเอง ผู้ท�ำผู้ปฏิบัตินั้นจึงจะรู้ ถ้าเขารู้แล้ว เขาก็จะเข้าใจเอง
สมัยที่ผมไปปฏิบัติ ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน อาจารย์ก็ไม่บอก แต่เดี๋ยวนี้ผม
บอก บอกว่าสภาวะแบบนี้มันอยู่ในญาณขั้นนั้น ท่านเป็นอย่างนั้น มันมีอาการเป็นอย่างนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 67

ท่านจะต้องปฏิบัติอย่างนั้น มันจึงจะถูก ท่านไม่ต้องไปบังคับบัญชาเขา ไม่ต้องจะไปท�ำ


ไปบังคับให้เขาอยู่อย่างนั้น อย่างนั้นไม่ใช่
การที่ท่านเดินจงกรมก็ดี การที่ท่านก�ำหนดก็ดี ท่านต้องให้รู้ทั่วรู้ทัน ให้เป็นอย่าง
นั้น ไม่ใช่ว่าจะไปบังคับ
การปฏิบัติสมัยก่อนท่านให้ท�ำอย่างนี้ มาเรียนกรรมฐานแล้วให้ออกป่าเดินธุดงค์
เข้าป่าไปแล้วเทวดาจะต้องมาบอก มาให้ท่านท�ำอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านจึงจะได้ พระจึงชอบ
เดินธุดงค์ แต่ว่าเดินธุดงค์เดี๋ยวนี้ไม่ไปปักกลดที่ป่าหรอก ไปตลาดสดที่คนเยอะ ๆ นี้มัน
ไม่ถูกทาง
หลักสูตรที่เราท�ำนั้น เรามาปฏิบัตินี้ เราต้องละปลิโพธ ความกังวลต่าง ๆ ยิ่งผู้
ที่เป็นเจ้าอาวาสแล้วที่จะมาปฏิบัติเพื่อจะเอาธรรมะนี้ไปเผยแผ่ในวัดของตน ๆ นี้ก็เป็น
กังวล เดี๋ยวก็งานประชุมนี้ เดี๋ยวก็งานประชุมนั้น ไม่เป็นอันได้ปฏิบัติหรอก ปฏิบัติยาก
ผู้ที่มีภาระการศึกษาเล่าเรียนก็ต้องหมดภาระนั้นก่อนจึงจะปฏิบัติได้ดี ถ้ายังมี
กังวลเรื่องการศึกษาอยู่ การปฏิบัติก็ไม่ค่อยได้ผล ถ้าจะหวังผลจริง ๆ มันเป็นอย่างนั้น
ไม่ค่อยจะได้ ดังนั้นผู้ที่ก�ำลังศึกษาอยู่ก็ท�ำไปเล็ก ๆ น้อย ๆเพื่อให้รู้แนวทางของการ
ปฏิบัติ แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องไปเคร่งครัดมาก แต่ผู้ที่จะมาปฏิบัติเพื่อให้ได้มรรคผล
จริง ๆ นั้น จะต้องอยู่คนเดียวให้ได้สัปปายะ ที่อยู่อาศัยต้องเป็นสัปปายะ การก่อสร้าง
ก็เช่นเดียวกัน มันพูดยาก พูดก็ยาก ท�ำก็ยาก ท�ำไมพูดยาก ก็ที่ ๆ เขาจะอยู่นั้นต้อง
อยู่คนเดียวห้ามไม่ให้ไปพูดไปคุย ไปพูดไปคุยญาณก็ตกสภาวะมันก็ไม่ขึ้น ได้นิด ๆ
หน่อย ๆ ก็อยากจะอวดอยากจะคุย มันไม่ใช่ มันอยู่เฉย ๆ พอตกไปบางญาณบาง
สภาวะนี้ มันรู้หมด มันรู้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง อยากจะพูดอยากจะคุย ต่อไปนี้จะไปเผยแผ่
พระศาสนา อบรมเด็กในโรงเรียน อบรมชาวบ้านอย่างนั้นอย่างนี้ หมดทุกอย่าง นั่นแหละ
เวลามันเกิดสภาวะของมัน ก็นั่งคิดอยู่นั่นแหละ
บางคนเมื่อเกิดสภาวะอาการขึ้นมา อยากจะสร้างกุฏิ สร้างกุฏิแล้วก็จะไปสร้างโบสถ์
สร้างโบสถ์แล้วก็จะสร้างศาลาการเปรียญ ๓ ชั้น ๔ ชั้น เพื่อให้คนเข้ามาอบรม เราจะเป็น
68 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

อาจารย์ นั่น ไปแล้ว เป็นวิปัสสนึก (หัวเราะ) ไม่ใช่เป็นวิปัสสนา มันนึกไปได้ร้อยแปดพัน


ประการ แต่อย่าลืมว่านั่นเขาคงที่จะได้เห็นธรรมอยู่บ้างแล้ว ต้องให้เขาพยายามตัดปลิโพธ
ความกังวลในสิ่งเหล่านั้น ละให้มันเหลือน้อยที่สุด ให้เขาพยายามที่จะก�ำหนดอิริยาบถ
เล็ก ๆ น้อยๆ ต้นจิตก็ต้องให้ก�ำหนด ท�ำอะไรก็ต้องให้ก�ำหนด ต้องพยายามก�ำหนดให้
มันมาก ๆ ขึ้น แล้วเขาก็จะไปได้ นั่นธรรมเขาเกิดแล้ว จะไปปล่อยเขาไว้ไม่ได้ จะต้อง
ดูแลเขา แม้แต่ที่อยู่ที่อาศัยของผู้ปฏิบัติ ห้องน�้ำห้องส้วมจะต้องอยู่ในห้องนั้นเอง มันจะ
มีสภาวะในอาการของการปฏิบัตินั้นมันมีอยู่ ท�ำไป ๆ เดินจงกรมแค่นี้ แค่เสานี้ก็จะปวด
ท้องแล้วอยากเข้าห้องน�้ำ เดี๋ยวเข้าไปแล้วเดินมาไม่เท่าไร เดี๋ยวจะอยากไปอีกแล้ว อันนั้น
เป็นสภาวะของมัน มันมีอาการเป็นอย่างนั้น มีอยู่ แต่โยคีไม่ค่อยเข้าใจ อาจารย์นั้นจะ
ต้องเข้าใจว่าเขาเป็นอย่างนั้น เพราะอ�ำนาจของอะไรที่เขาเป็นอย่างนั้น บางคนอยากไปคุย
ให้หมู่ให้พวกฟังอันนี้ยิ่งเสีย
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เป็นของละเอียดอ่อน ยากที่เราจะเข้าใจ ยากที่เรา
จะรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ต้องอยู่กับครูบาอาจารย์ที่จะคอยอบรมแนะน�ำชี้แจงให้อยู่เสมอ ๆ
บางคนมีบุพกรรมด้วยนะ บุพกรรมนั้น บางคนท�ำชั่วมาตีไก่ ชกมวย กินเหล้าเมาสุรา
มาบ้าง เพราะว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้มันเป็นทางที่จะหนีทุกข์ เป็นทางที่จะ
พ้นทุกข์ตามพระธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น จะให้คนพ้นทุกข์พ้นจากวัฏสงสาร
เกิด แก่ เจ็บตายไป ฉะนั้น คนที่ท�ำกรรมชั่วอยู่จะต้องไปตกนรกหมกไหม้ในอเวจีอยู่นั้น
ถ้ามาปฏิบัติจนผ่านโสฬสญาณไป เขาจะไม่ต้องไป ฉะนั้นกรรมที่เขาท�ำชั่วมาทุกอย่างนี้
เขาจะต้องมาชดใช้ในขณะที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้
ถ้าท�ำเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างที่พวกเราท�ำกันนี้ ก็ท�ำได้อยู่ ไม่ต้องตกใจ ไม่
ต้องสงสัยในเรื่องอย่างนี้ แต่ผู้ที่จะปฏิบัติจะให้ได้มรรคผลจริง ๆ นั้น มันจะต้องเกิดจะ
ต้องมีจะต้องเป็นแน่นอน ในเรื่องอย่างนี้ ใครว่าบุพพกรรมไม่มีบุญกุศลไม่มี ใครบอกว่า
บาปไม่มีบุญไม่มี ก็ลองดูได้ ไปปฏิบัติดู แต่ปฏิบัติจริงๆนะ ถ้าไม่จริงก็ไม่เห็น ถ้าปฏิบัติ
จริง ๆ แล้ว จะต้องเห็นจะต้องเป็นจะต้องผ่านสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ผ่านแสดงว่าปฏิบัติยัง
ไม่ถูกต้องมันจึงยังไม่เห็น มันจึงยังไม่เกิด ปฏิบัติจริงมันจะต้องมี มันจะต้องเกิด
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 69

ฉะนั้น ผู้ที่บอกว่าพระพุทธศาสนานั้นไม่มีอริยมรรคไม่มีอริยผลนั้นก็ต้องไปปฏิบัติ
ดูก่อนจึงจะรู้ ถ้าอยากจะพ้นทุกข์จริง ๆ ก็ไปแบบนี้ แบบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัส
ไว้มีอยู่ ไม่ใช่ท่านพูดเล่น ๆ ไม่ใช่พูดเพื่อเอกลาภ พระธรรมคำาสอนของพระองค์นั้นมีอยู่
เป็นอยู่อย่างนั้น
ที่เรามาทำานี้เพียงแค่เบื้องต้นก็ว่าได้ เมื่อมีโอกาสมีเวลา ถ้าอยากจะพ้นทุกข์ก็
ต้องหาสถานที่ ครูบาอาจารย์ที่จะรู้แนวทางในการปฏิบัตินี้ จะได้อบรมสั่งสอนให้เราได้
เข้าใจในข้อวัตรปฏิบัตินั้น ๆ
ที่ได้บรรยายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้เจริญในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้รู้แจ้ง
เห็นจริงในธรรมของพระองค์ทุกท่านทุกคนเทอญ

สิ่งที่น่ากลัวที่สุด
คือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
เพราะฉะนั้น ทุกข์โทษใด ๆ ก็ไม่น่ากลัวเท่า
พระครูศาสนกิจวิมล
70 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เห็นทุกข์ รู้ทุกข์
เห็นธรรม รู้ธรรม*

ขอนอบน้ อ มแด่ อ งค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ขอคารวะพระเถรานุ เ ถระ


ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่พระโยคาวจร ทุกท่าน ขอเจริญพร ญาติโยมทุกคน
เว้ า ก็ เ ว้ า ว่ า มั น เฒ่ า แก่ จ ะเด็ ด สลายแหล่ ว (ภาษาอี ส าน ฟั ง ไม่ ชั ด ) การปฏิ บั ติ
วิปัสสนากรรมฐานนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล ในพระสูตรที่เคยได้ยินได้ฟังมานั้น
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นจะต้องแสดงธรรม มีการเทศน์เพื่อให้ผู้ฟังได้ตริตรอง
ตามเหตุปัจจัยที่ตนมีศรัทธา เพื่อให้เกิดศรัทธาความเลื่อมใส และได้บรรลุธรรม ได้สำาเร็จ
โสดา สกทาคามีเป็นอันมาก
คำาพูด ที่ว่า ผู้ที่มีความรู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อนจึงจะมาปฏิบัติได้ นี้อันหนึ่ง
กั บ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ที่ ว ่ า ไม่ ต ้ อ งมี ก ารศึ ก ษาก็ ป ฏิ บั ติ ไ ด้ บางคนพู ด ว่ า จะต้ อ งจบหลั ก
อภิธรรมมาก่อนแล้วจึงมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่แท้ที่จริง จะเอาอย่างไหนดี
ถ้าหวนนึกถึงครั้งสมัยพุทธกาล ถ้าจะพูดก็ว่า ที่ศึกษาก็มี ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาก็มี ผู้ที่
ไม่ได้รับการศึกษานั้นเป็นส่วนมาก ฟังไปแล้วก็เข้าใจ และได้บรรลุธรรม ทั้งนี้ ผู้มาปฏิบัติ
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร) ที่ปรึกษาพระวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
72 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

นั้นได้ยินได้ฟังก็คือการศึกษาแล้ว และได้ตริตรองพิจารณาตามกระแสธรรมนั้น ก็ได้


บรรลุธรรมไป
พระอัญญาโกณฑัญญะ ท�ำไมจึงได้ ท่านฟังธรรมเพียงครั้งเดียวแล้วก็บรรลุธรรม
ได้เร็ว พระอัญญาโกณฑัญญะ นั้นเป็นผู้ที่ได้ศึกษาทางพราหมณ์มาก่อนแล้ว วิชาต่าง ๆ
ของพวกพราหมณ์นั้นได้ศึกษามาก่อนแล้วแต่ว่ายังไม่ได้ฟังธรรมก็ยังไม่ได้บรรลุธรรม
ถ้าพูดถึงปุพเพกตปุญญตา ได้สร้างสมบุญไว้ในชาติปางก่อนมา เมื่อได้มาฟังเทศน์
ฟังธรรมจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้บรรลุเร็ว ถ้าพูดอย่างนี้ก็ถูก
ส่ ว นอี ก หลาย ๆ ท่ า น เช่ น วั ป ปะ ภั ท ทิ ย ะ มหานามะ อั ส สชิ ท�ำไมจึ ง ไม่ ไ ด้
บรรลุธรรมเร็ว ก็เพราะทั้ง ๔ คนนั้นยังไม่ได้สนใจ เหตุที่ไม่สนใจก็เพราะว่า คิดว่า
ท่ า นสิ ท ธั ต ถะ หรื อ สมณะโคดมนี้ ผู ้ ที่ จ ะได้ บ รรลุ ธ รรมนั้ น จะต้ อ งเป็ น ผู ้ ท รมานตน
จะต้องเป็นผู้ท�ำความเพียรมาก ๆ จึงจะได้บรรลุธรรม เข้าใจไปอย่างนั้น ก็เลยไม่ตั้งใจฟัง
เมื่อส่งกระแสจิตนี้ไปทางอื่น ไม่ได้ส่งกระแสจิตมาตามพระธรรมของพระองค์ จึงเป็น
เหตุให้ท่านทั้ง ๔ นี้ ไม่ได้บรรลุธรรม
เหตุไฉน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รู้ว่า การท�ำความเพียรด้วยการทรมานตนให้
เหนื่อยเปล่า อดข้าวอดน�้ำ บ�ำเพ็ญตบะ หรือเอาไฟ เอาน�้ำมาบริกรรม ตามคติของทาง
ศาสนาพราหมณ์ จะได้บรรลุธรรมในแนวทางนั้น แต่อย่าไปเข้าใจผิดว่า ตั้งแต่ท่านได้
รับการศึกษามามากแล้ว จบศาสตร์ต่าง ๆ ทั้ง ๑๘ ศาสตร์ เมื่อมาบ�ำเพ็ญแล้วพระองค์
ก็ พิ จ ารณาตามข้ อ ที่ ไ ด้ ศึ ก ษามา ตั้ ง แต่ เ ป็ น ฆราวาสอยู ่ เมื่ อ มาบวชแล้ ว มาปฏิ บั ติ นี้ ก็
เห็นแล้วว่า มันไม่ใช่ทาง จึงได้ละการท�ำอัตตกิลมถานุโยคนั้นมาประกอบความเพียร
ทางจิต เรียกว่า ใช้ปัญญาพิจารณา เอาจิตนี้ให้รู้ธรรม ให้เห็นธรรม
เมื่อมานึกถึงค�ำสอนนั้น เมื่อมาถึงพวกเราในปัจจุบันนี้ เปรียบเทียบดูหลาย ๆ
อย่าง ที่มาก่อนพุทธกาลก็ดี สมัยพุทธกาลก็ดี ที่พระพุทธเจ้าท่านบ�ำเพ็ญมาแล้วก็ดี
พิ จ ารณาดู แ ล้ ว ผู ้ ที่ บ�ำเพ็ ญ เพี ย รมาก่ อ นครั้ ง พุ ท ธกาลก็ มี พ วกศาสนาพราหมณ์ ก็ ถื อ
อย่างนั้น พราหมณ์นั้นบ�ำเพ็ญเพียรแล้วได้ธรรมสูงสุดก็เพียงพรหม คือ ท�ำกิเลสของ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 73

ตนให้สงบ เพียงเท่านั้น แต่ไม่ถึงกับว่ากิเลสนั้นจะหมดไป กิเลสนั้นจะขาดแห้งไป จึงได้


เพียงแค่ชั้นพรหม ศาสนาฮินดูก็เช่นเดียวกัน ได้เพียงเท่านั้น สองศาสนานี้สอนได้เพียง
ชั้นพรหม
พระพุทธองค์ ก็มาพิจารณาในกระแสธรรมนี้ก็ว่า ไม่ได้เป็นทางที่จะท�ำให้พระองค์
ได้บรรลุธรรม พระองค์จึงได้ใช้ปัญญาพิจารณาทบทวนกระแสธรรมต่าง ๆ ที่ยังขาด
เหลืออยู่ ที่ยังไม่เข้าใจ จึงมารู้แจ้งในธรรมนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งในอดีตทั้งในอนาคต มี
ปุพเพนุวาสานุสสติญาณ รู้ทั่ว จนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนศาสนาอื่นไม่รู้แจ้งในธรรมเหล่านี้ จึงแตกต่างกัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นั้นเกิดขึ้นมาท่ามกลางศาสนาเหล่านั้น จึงเป็นการยากต่อการที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ให้กว้างขวางออกไป คิดมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังยากอยู่ ที่จะเข้าใจในธรรมค�ำสั่งสอนของ
พระองค์
ที่ว่ายากนั้นเพราะว่า ยังเข้าใจไม่ได้ตรงเป้าหมายที่พระองค์ออกเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนาในครั้งแรก ๆ นั้น ฉะนั้น พระองค์จึงจ�ำเป็นจะต้องไปปราบเจ้าลัทธิต่าง ๆ เช่น
พวกชฎิลทั้งหลายที่อยู่ในกรุงราชคฤห์
อย่างไรก็ตามที่พวกเราได้มาปฏิบัติกิจพระศาสนา อันนี้อาตมาคิดเอาเองจะถูก
หรือผิดก็ไม่รู้ พระพุทธศาสนานี้จะอยู่ก็พวกเรามาท�ำมาปฏิบัตินี้ ถ้าพวกเราทั้งหลายไม่มา
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ พวกเราทั้งหลายก็จะยิ่งมืดไปบอดไป ไม่เข้าใจในพระธรรม
ค�ำสั่งสอนนั้น และก็คิดเอาเองอีกล่ะว่า พระพุทธศาสนานั้นถ้าเรายังไม่ได้เข้าใจในวิธีการ
ปฏิบัติให้แจ่มแจ้ง คือหมายความว่า เราเองก็ยังไม่เคยได้ปฏิบัติ ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง มันมี
การเผยแผ่มาเรื่อย ๆ ก็เลยไขว้เขวไป ไม่เข้าใจว่าจะเอาที่ตรงไหนดี
เพราะผู้ที่สอนก็มีหลายสาขา หลายวิธีการในบ้านเราเมืองเรานั้น ก็ไม่รู้ว่าใครจะ
เป็นคนรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมนั้น ตัวเราก็ยังมืดมนกันอยู่ มันอยู่ในลักษณะอย่างนั้น
แต่ ว ่ า ถ้ า จะคิ ด ตามหลั ก ธรรมของพระองค์ แ ล้ ว แนวทางที่ เ ราปฏิ บั ติ อ ยู ่ นี้ ก็ เ รี ย กว่ า
มันเป็นทางสายตรงอยู่แล้ว แต่คนที่ไม่เคยท�ำเขาก็บอกว่า ไม่ถูก ไม่ใช่ ไม่ใช่ทางที่
74 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ จะยังไงก็ตาม ความเข้าใจมันก็ยังมืด ๆ อยู่อย่างนี้


ยังไม่สว่างดี แต่เมื่อใดที่มาปฏิบัติแล้ว เราก็ย่อมจะเห็น ถ้าไม่เป็นจริงตามที่พระองค์ทรง
สั่งสอนไว้ เราก็คงไม่รู้ ผู้ปฏิบัติไม่ถูกทางปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็คงจะไม่เห็นอะไร ก็คงจะ
ไม่รู้ พูดง่าย ๆ ก็บอกว่า ถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องธรรมะนี้ก็จะไม่เกิด ถ้าค�ำสอนของพระองค์
ไม่เป็นจริงเราปฏิบัติตามแนวนี้ก็คงจะไม่รู้ คงจะไม่แจ้งคงจะไม่เห็น
ถ้าเราท�ำด้วยความเพียรความวิริยะอุตสาหะตามแนวทางที่ปฏิบัติมานี้มันก็รู้จริง
เห็นจริงอยู่ เห็นด้วยธรรม เห็นด้วยปัญญา ของผู้ปฏิบัตินั้น แต่มันเป็นของที่มืดมนอยู่
ถ้าไม่มีครูอาจารย์ที่คอยแนะน�ำ เทศน์ อบรมสั่งสอนเราก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่
รู้อยู่ก็ไม่เข้าใจ ที่เรามาปฏิบัตินี้เรียกว่าให้ท�ำตามมหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ กายานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา
กายานุ ป ั ส สนา คือพิจารณากายในกายของตน ไม่ได้ไปเอานอกกาย พิจารณา
ร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ อันเป็นของที่เปื่อยเน่าและทรุดโทรมไปอยู่ทุกวัน ๆ แต่เราก็
ยังไม่เข้าใจ ทั้งที่ความจริงมันก็เป็นไปอย่างนั้น นี้เรียกว่าพิจารณาตามธรรมของพระองค์
เราพิจารณากายในลักษณะต่าง ๆ เช่น จะคู้ จะเหยียด จะก้ม จะเงย จะเดิน จะยืน
จะดื่ม จะเคี้ยว จะฉัน อะไร เราก็มีสติพิจารณาอยู่ก�ำหนดอยู่ นี้เป็นกายานุปัสสนา
พองหนอยุบหนอนี่ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรานั่งนิ่ง ๆ ตัวตรง ๆ สิ่งที่มันเคลื่อนไหว
นั้นมันมีอยู่ คือ อาการท้องพองท้องยุบนี้มันยังเคลื่อนไหวอยู่ เราก็ตั้งใจก�ำหนดไปตาม
อาการนั้น อันนี้เป็นกายานุปัสสนา
ส่วนจิตตานุปัสสนานั้น จิตนี้ดิ้นรน ไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งอารมณ์ที่น่าพอใจ
(อิฏฐารมณ์) และอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ (อนิฏฐารมณ์) เขาก็ไปไม่รู้จักจบ พูดตามเดิม ๆ
นี้ ก็ว่า จิตนี้อยู่เฉย ๆ จะคอยรับอารมณ์ต่าง ๆ จิตนี้จึงเกิดอารมณ์มาก ๆ เพราะเหตุ
อย่างนี้ พูดไปลึก ๆ ก็ว่า ท�ำไมจิตจึงต้องไปรับอารมณ์นั้นมา เมื่อผู้มาปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานนี้ เมื่อจิตเป็นสมาธิมากขึ้น จิตสงบลง แล้วจิตนี้จะพุ่งไปในอดีต
ในอดีตตั้งแต่เล็กตั้งแต่น้อยตั้งแต่จ�ำความได้ มาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เราไปนึกไป
รู้ไปคิดเมื่อมีความโลภความโกรธความหลง ความพอใจกับคนนั้น มีความเสียใจกับคนนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 75

มีความชอบพอกับคนนั้น มีความชอบพอกับคนนี้ จิตใจนี้มันจะผุดขึ้นมา เรียกว่า ธรรมะ


อันเก่า ๆ นั้นจะผุดขึ้นมา ท�ำให้ผู้ปฏิบัตินี้ฟุ้งซ่านก�ำหนดไม่ค่อยอยู่ คิดถึงแต่เรื่องเก่า ๆ
ถ้าเคยเป็นเจ้าอาวาส เคยเป็นผู้บริหารมา ก็อยากจะคิดไปต่าง ๆ บางทีก็มาขอหลวงพ่อให้
ผมปฏิบัติให้ได้ผ่าน ผมจะได้ไปสร้างสถานที่ที่จะปฏิบัติธรรม ทางบ้านผมเป็นสัปปายะดี
มีป่าช้า มีหนองน�้ำ เหมาะสมที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ หลวงพ่อให้ผมได้ผ่าน
อย่างนี้ก็มี คือจิตมันฟุ้งซ่านไป หลวงพ่อก็บอกว่า ถ้าท่านอยากได้ท่านก็ปฏิบัติ ไม่ใช่
จะขอเอากับผม ท�ำไปแล้วท่านจะรู้เองท่านจะเห็นเอง
ท่ า นภาวนาไปเพี ย รไป ตามมหาสติ ป ั ฏ ฐานทั้ ง ๔ นี้ ท�ำไป ๆ ไม่ ไ หวหลวงพ่ อ
มันปวดเหลือเกิน นั่งไปแล้วมันเจ็บมันปวด แล้วตอนที่ท่านมาสอบอารมณ์นี้ท่านยังเจ็บ
อยู่หรือ ไม่เจ็บครับ เวลาผมนั่ง ๕ นาที ๑๐ นาทีมันเจ็บมันปวดเหลือเกิน ท�ำไมผมจึง
จะหายเจ็บหายปวด นั่นแหละท่านก็ต้องก�ำหนด ที่มันเจ็บนั้นมันเป็นเพราะอะไร นั่งไป
ไม่นานมันปวดเหมือนกระดูกจะแตก ตามหลังตามเอวนี้ก็ปวดมาก ขาทั้งสองที่เอามา
ทับกันนี้เหมือนเอาขอนไม้ใหญ่ ๆ มาทับ เมื่อท่านเจ็บแล้วท่านเป็นทุกข์ไหม ครับทุกข์
นั่ น แหละพระพุ ท ธเจ้ า ท่ า นให้ เ ห็ น ว่ า สั ง ขารทั้ ง หลายนี้ มั น เป็ น ทุ ก ข์ เจ็ บ เหลื อ เกิ น นี่
มันเป็นทุกข์
คนเราเมื่อไม่เห็นทุกข์ ก็ไม่คิดที่จะออกจากทุกข์ อันนี้แหละมันเป็นทุกข์ เมื่อ
เห็นทุกข์ก็อยากจะออกจากทุกข์นี้ ถ้าไม่เห็นทุกข์ไม่รู้ทุกข์ก็ไม่อยากจะออกจากทุกข์ไม่ใช่
มีทุกข์แต่เพียงแค่นี้นะ ทุกข์ในการเกิดการแก่การเจ็บการตาย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสวงหาเป็นเวลาถึง ๖ ปี จึงได้มาพบทางนี้ว่า ทางนี้มันเป็นทางที่จะพ้นทุกข์ได้ก็
ต้องใช้ความเพียรความพยายามจึงจะพ้นทุกข์ได้ และพวกเราเมื่อมาเจอทุกข์มาเห็นทุกข์
ที่เกิดขึ้นแก่สังขารนี้ ถึงขนาดนั้นเราก็ยังหลงอยู่ หลงอะไร หลงคิดว่า เรานี้ยังเป็นตัว
เป็นตน ตัวกูของกู เราท�ำอะไรก็ยังเป็นตัวกู ของกูอยู่ ไม่ได้ละอัตตาตัวตน ยังยึดมั่น
ถือมั่นอยู่ นี้ก็พูดยาก
คือจะให้รู้ไอ้ตัวนี้ ตัวรู้ว่า ตัวทุกข์นี่ ตัวรู้ว่า ตัวกูของกู นี่ ตัวนี้พูดยาก ปฏิบัติก็ยาก
เข้าใจก็ยาก เพราะมันไปยึดตัวอัตตา ตัวตน ว่า มันเป็นตัวกู ของกู มันยังยึดอยู่ที่ตรงนี้
76 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แต่เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัตินี้เอาใจใส่เข้าจริง ๆ ให้ได้ละจริง ๆ จึงจะแจ้ง จึงจะเกิดธรรมะ


นั้นขึ้น จะได้รู้ว่า ถือตัวถือตนเป็นอย่างนี้ รู้จริง ๆ แม้แต่ว่าอัตตาตัวตนนี้มันก็เป็นทุกข์
เป็นทุกข์ทั้งตัวของเราเอง นี้ถ้าพูดเฉยๆ ก็ยากที่จะเข้าใจ แต่เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นไปพบด้วย
ตนเองไปเห็นด้วยตนเอง รู้ด้วยตนเองจึงจะเข้าใจ ในค�ำพูด ที่ว่า ”เป็นทุกข์„ นี้
ถ้าพูดถึงพระธรรมค�ำสั่งสอนของพระองค์ เป็นจริงหรือไม่ ถ้าไม่เป็นจริง ตัวทุกข์
ตัวนี้ก็ไม่เห็น และสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่เป็นจริง แต่เมื่อผู้ได้บ�ำเพ็ญปฏิบัติ
ไปแล้วเห็นด้วยตนเอง รู้ด้วยตนเอง แจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว จึงจะได้เชื่อว่า พระธรรม
ค�ำสอนของพระองค์นี้เป็นของจริง เป็นความจริงที่เราเห็น ที่เรียกว่า ท�ำไปแล้วมันเกิด
เวทนา หรือบางทีที่เราก�ำหนดพองหนอยุบหนอ
จิตใจมันก็ค่อยละตัวทิฏฐิมานะตัวเองก็เห็นด้วย ไม่ใช่ไม่เห็น เห็นอะไร? เรานั่ง
ก�ำหนดพองหนอยุบหนอนี่ ก็ตั้งใจก�ำหนดอยู่แต่ว่าไอ้พองหนอยุบหนอนี่มันเป็นคนละคน
ที่เราก�ำหนดพองหนอยุบหนอนี่คนหนึ่ง อีกคนมันอยู่ข้าง ๆ บางคนก็บอกว่าอยู่ข้างหน้า
บางคนก็บอกว่าอยู่ข้างหลัง เราก�ำหนดอยู่เราก็รู้อยู่ แต่ว่ามันเป็นสองตัว เป็นสองอย่าง
สามอย่าง ตัวคนนั้น กับตัวเราที่ก�ำหนดพองหนอยุบหนอ นี้ มันเป็นอะไร บางคนตกใจ
ก็ลืมตาขึ้นดู ก็ยังอยู่ดี บางคนก�ำหนดพองหนอยุบหนอ อ้าว ท่อนล่างหายไป ขาหาย
ไม่มีขา มือก็เห็นเพียงแค่วางในตัก ความรู้สึกก็ไม่มี กระดุกกระดิกก็ไม่มี อยู่เฉย ๆ มัน
หายไปข้างหนึ่ง ยังเหลืออยู่แต่ข้างบน
บางทีมันเหลืออยู่แค่ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งมันหายไป มาถามว่ามันเป็นอะไร หรือ
บางคน ท�ำไป ๆ ก�ำหนดไป เห็นร่างกายเห็นหน้าของเรา รู้ทุกอย่างว่า เรานี้เป็นอะไร
เหมือนเอากระจกมาส่องอยู่ เห็นร่างกายสังขารของเรานี้นั่งอยู่ ไป ๆ สังขารนี้ก็แก่ไป ๆ
คร�่ำคราไป แล้วก็ยังเหลือแต่ร่างกระดูกก็มี บางทีร่างกระดูกนี้ก็ค่อยผุพังไป ยังเหลือแต่
ขี้เถ้าสามกอง ลักษณะอย่างนี้ก็มี ถ้าพูดตามหลักธรรมของพระองค์ คือ อันนี้ก็ให้เห็นว่า
อัตตาตัวตน ถ้าเป็นของเรา เราก็จะบอกมันว่า มึงอย่าเป็นอย่างนี้ ๆ ถ้าเป็นตัวของเรา
เราก็ บ อกว่ า อย่ า เป็ น ทุ ก ข์ ไม่ ต ้ อ งเจ็ บ ไม่ ต ้ อ งปวด นั่ ง ได้ เ ฉย ๆ ท�ำกรรมฐานก็ ไ ด้
ก�ำหนดก็ได้ พองยุบนี่ก็จะชัดเจนอยู่ตลอดเวลา อันนี้มันไม่เป็นอัตตา แต่มันเป็นอนัตตา
ความเป็นของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 77

เมื่อเรามาเห็นอย่างนี้ เราก็ไม่เข้าใจ ว่า อันนี้คืออะไร ถูกกันไหมที่พระพุทธองค์


ตรัสไว้ว่า เป็นอนัตตาของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นของไม่เที่ยง เขาก็แสดงให้เห็นแล้วว่า
หายไปท่อนล่าง หายไปท่อนบน บางทีก็เป็นสองคนสามคน อันนั้นไม่ใช่อนัตตาหรือ
พิจารณาตามธรรมของพระองค์แล้ว มันก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวใช่ตน ห้ามเขาไม่ได้
แล้วเมื่อเห็นอย่างนั้น ตัว ”เห็น„ นี่ล่ะ เป็นตัวปัญหาที่เราไม่เข้าใจว่า นี่หรือ ธรรมะ
ของพระองค์ มันจะเป็นอย่างนี้หรือ ถูกแล้ว ธรรมะของพระองค์ก็รู้อย่างนี้ล่ะ เห็นอย่างนี้
ล่ะ เป็นอย่างนี้ล่ะ ที่เห็นธรรม
เมื่ อ เห็ น แล้ ว จิ ต ใจก็ ค ่ อ ย ๆ ตามไป มั น ก็ ค ่ อ ยแจ้ ง สว่ า งขึ้ น มา ท�ำให้ จิ ต ใจมั น
ไม่เหมือนเดิมแล้ว มันเปลี่ยนแปลงไป นี่จึงชื่อว่า ได้เห็นธรรมของพระองค์ แล้วทาง
ด้านจิตใจมันก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะ จิตใจของเราก็ค่อยชุ่มชื่น มีปีติยินดี
ขึ้น เมื่อเราท�ำความเพียรมาก ๆ ขึ้นเรียกว่าเป็นสภาวะญาณแต่ละญาณนั้นจะเกิดขึ้น
ผู้ปฏิบัตินี้ก็จะรู้แจ่มแจ้ง มากขึ้น ๆ มันละเอียดนะ พูดยาก ผมพูดไม่ค่อยถนัดดี ผมรู้
แต่ว่า พูดออกมาให้ฟังนั้นมันพูดยากหน่อย เมื่อผู้มาปฏิบัติ รู้แล้วเห็นแล้วก็ยังไม่เข้าใจ
ว่านั่นล่ะคือธรรมะของพระองค์ที่เป็นอย่างนั้น ผู้ที่เห็นอย่างนั้นเห็นร่างกายสังขารมันมี
ความเปลี่ยนแปลงไปอยู่อย่างนี้ ๆ ก็ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเชื่อ ก็ไม่เป็นไป ไม่เชื่อก็ท�ำต่อไป
ปฏิ บั ติ ต ่ อ ไป คื อ มั น ยั ง ไม่ เ ชื่ อ แน่ ว ่ า นี่ ห รื อ ค�ำสอนของพระองค์ เ ป็ น อย่ า งนี้ ห รื อ นี้
ความเชื่อมันยังไม่เกิด
แต่พระองค์ก็ตรัสว่า ผู้ที่เห็นอาการอย่างนั้น เห็นความเกิดของสังขาร เห็นความ
เปลี่ยนแปลงไปของสังขาร มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันมีอยู่ อย่างนี้ ๆ เมื่อเรา
ปฏิ บั ติ ม าแล้ ว มั น ก็ รู ้ อ ยู ่ อ ย่ า งนี้ มั น เป็ น อยู ่ อ ย่ า งนี้ แต่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ตั ด สิ น ใจว่ า จะเชื่ อ แต่
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่านั่นล่ะ คือผู้ที่เห็นอัตตา เห็นตัวของตน เห็นความเปลี่ยนแปลง
ไปของสังขารเรียกว่า เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของสังขาร เห็น
ความเปลี่ยนแปลงไปอยู่อย่างนี้ เป็นไปอย่างนี้ ในระยะนี้เราก็ยังไม่ค่อยเชื่อ คล้าย ๆ ว่า
ไม่เป็นของจริง
เมื่ อ เราปฏิ บั ติ ไ ปบ�ำเพ็ ญ ตามแนวทางของพระองค์ ที่ ท รงสั่ ง สอนไว้ ต่ อ ไปอี ก
จิตใจของผู้ปฏิบัติก็จะสงบลง ก�ำหนดให้เดินจงกรมขวาย่างหนอซ้ายย่างหนอ ยกหนอ
78 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เหยียบหนอ แล้ว ตอนนี้จิตใจก็จะยิ่งฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คิดไปในเรื่องต่าง ๆ ก็มีเยอะ เป็น


เจ้าอาวาสก็อยากจะไปสร้างกุฏิ ศาลา ที่อบรม อะไรต่ออะไรหลาย ๆ อย่าง จิตมันฟุ้งซ่าน
ไปในอารมณ์ต่าง ๆ อาจารย์ผู้อบรมสั่งสอนก็ต้องเพิ่มบทก�ำหนดให้
พองหนอ ยุบหนอ มันไม่พองมันไม่ยุบ มันไปคิดมาก อ้าว ก็พอ เพิ่มค�ำก�ำหนด
นั่งหนอ ถูกหนอ ไป เริ่มจากนั่งหนอไปก่อน เมื่อค่อยยังชั่ว ก็เพิ่มอารมณ์ขึ้นมาอีก
เดินจงกรมก็เพิ่มเป็น ๔ ระยะ เอายกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ๓ ระยะมันไม่พอ
เพิ่มเป็น ๔ ระยะให้ เพื่อให้จิตของเขานั้นมีงานท�ำมากขึ้น พอเขาขึ้นมาที่ระยะ ๔ เดิน
ก็ให้ถี่เข้า ให้ใส่ต้นจิตเข้าไปถ้ามันจะฟุ้งซ่าน ต้นจิตก็คือให้ก�ำหนดก่อนที่จะเดิน ก็ให้
ก�ำหนดว่า อยากเดินหนอ ๆ แล้วจึงเดิน เวลาจะนั่งก็อยากนั่งหนอ ๆ แล้วจึงค่อยนั่งลง
เป็นระยะ ๆ เพื่อให้จิตนี้ค่อยสงบเบาบางลง เดี๋ยวก็ฟุ้งขึ้นอีก สภาวะอารมณ์อันอื่นก็
เกิดขึ้นมาแก่ผู้ปฏิบัติอีก
ท�ำไป ๆ ผู้ปฏิบัตินี้ก็จะเกิดสภาวะขึ้นมา นั่งไป ๆ มันสงบมากไปท�ำให้นั่งคอตก
น�้ำลายไหลอยู่ ไม่รู้สึกตัว นาน ๆ จึงมารู้สึกตัวได้ ท�ำไมจึงเป็นอย่างนี้ การเจ็บปวดใน
ช่ ว งนี้ ก็ ม ากขึ้ น แทบจะทนไม่ ไ หว โยมจั ง หวั ด พั ง งา เคยมาปฏิ บั ติ ที่ ห นองเชี ย งทู น นี้
เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ เมื่อคืนนี้หนูเจ็บปวดมาก ร้องไห้อยู่คนเดียว แต่ตอนนี้หายแล้ว
เคยมีบุตร ๒ คน คลอดบุตรว่าทรมานแล้วแต่ปฏิบัตินี้มันหลายเท่ากว่าตรงนั้น มัน
เจ็บปวดไปทั้งตัว จะเรียกหลวงปู่ก็ไม่กล้าไป อยู่กุฏิคนเดียวก็เลยทนดูปวด ผลสุดท้าย
จึงค่อย ๆ เบาลง
ผู้ปฏิบัติมาถึงญาณสภาวะอาการอย่างนี้ เมื่อพ้นจากตรงนี้แล้วก็จะค่อย ๆ เบาลง
ไปถึงญาณขั้นต่อ ๆ ไป ที่สูงขึ้นไปเราก็จะสบายมาหน่อยหนึ่ง การเจ็บปวดมันก็น้อยลง
สมาธิก็มากขึ้น การปฏิบัติการก�ำหนดก็ได้ง่ายขึ้น เมื่อมันง่ายก็เลยลืม มันมักจะหลง ก็นั่ง
หลับไปเสียเป็นส่วนมาก ความง่วงก็เกิดขึ้นมาแทน แต่บางคนนี้ง่วงมาก ๆ จะเดินจงกรม
ก็จะหลับ เดินเร็ว ๆ ก็จะหลับ นั่งนี่ไม่ต้องพูดถึง จะหลับท่าเดียว นั่นคือ เห็นอาการของ
มันเป็นไปอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น ทางด้านจิตใจก็จะฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย
ก�ำหนดไม่ได้ อาจารย์ผู้อบรมเมื่อรู้ว่า โยคีเป็นอย่างนั้นก็ต้องเพิ่มบทก�ำหนดให้มากขึ้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 79

เขาจะได้เอาใจใส่มากขึ้น ทุกข์ก็ทุกข์มากขึ้น อะไรก็มีแต่ของมาก ๆ อยู่ในระยะนั้น


ผู้ปฏิบัติก็เลยท้อใจ บางคนอยากจะไปนอนเสีย ท�ำอะไรมันก็เหมือนมีอะไรมาไต่มาตอม
นั่งก็มาไต่หน้า ไต่ตา อะไรต่ออะไร ก�ำหนดก็ไม่ได้ เออ ไต่มาจนเรารู้สึกว่าคัน บางคน
ก็หาแป้งตรางูมาทา มันก็ไม่หายเพราะว่ามันไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย มันอยู่ที่จิตใจ อยู่ที่
สภาวธรรมที่เขาเกิด
ในญาณนี้เขาเรียกว่า เป็นญาณหอบเสื่อ ถ้าปฏิบัติเพื่อที่จะหาทางพ้นทุกข์จริง ๆ
แล้ว พอมาถึงญาณนี้แล้วก็เอาเลย เดี๋ยวก็เอาเสื่อเอาหมอนออกไปตาก ผ้าห่ม ไปตาก
นึกว่ามันมีตัวริ้นตัวไรมาไต่มาตอม ตากแล้วมันก็ไม่หาย ถ้ามันเป็นอย่างนั้นก็ให้ก�ำหนด
ก่อน ที่มันคันก็ก�ำหนด คันหนอ ๆ อยากเกาหนอ ๆ แล้วก็..(หัวเราะ) มันไม่ทันใจ
ก็อยากท�ำเร็ว ๆ ให้มันทันกับความต้องการที่มันคัน มันร�ำคาญนั้น มันก็ไม่ได้สมาธิ เมื่อ
ไม่ได้สมาธิ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้หลายวัน แต่ถ้าเราค่อย ๆ ก�ำหนด เอาใจใส่ ค่อย ๆ รู้
ค่อย ๆ ท�ำ มันก็จะผ่านไปได้
ที่เกิดกับพระ พระรู้ดี ถ้าไปเอาตามนั้น เขาก็เรียกว่า ไปตามอุปกิเลสที่มันเกิดขึ้น
อยากจะท�ำอะไรก็จะให้มันเร็ว ๆ จะท�ำอะไรก็จะให้มันได้ตามใจของตน นั่นล่ะ คือ
ตัวกิเลสที่มันเกิดขึ้น มันอยากเอาอะไร จะท�ำอะไรก็อยากจะให้ได้ตามใจเรา มันเกิดกิเลส
ทางฝ่ายวิปัสสนาต้องพยายามก�ำหนดให้ทันกับอารมณ์ปัจจุบัน ไม่ไปท�ำตามอ�ำนาจ
กิเลสฝ่ายต�่ำที่เขาจะดึงไป ถ้าไปตามอ�ำนาจกิเลส มันคันก็รีบจะท�ำ ท�ำอะไรก็เร็ว ๆ ไม่
ได้พิจารณา ไม่ได้เอาใจใส่ ในการก�ำหนด นี้เรียกว่า ปล่อยมันไปตามอ�ำนาจของกิเลส
ตามธรรมดาถ้าก�ำหนด เพียรเข้าจริง ๆ ก็จะอยู่ตรงนี้เพียงสัก ๒-๓ วันก็จะหายไป แต่
ไปเอาตามอ�ำนาจของกิเลสอยู่เป็นเดือนก็ไม่หาย ตัวง่วงนั้นก็เหมือนกัน อาจารย์ต้อง
เตือนว่า ถ้ามันง่วงก็ลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาท�ำความกระปรี้กระเปร่ามันจึงจะหายก็ยัง
ไม่อยากไป ไม่อยากท�ำ นั่นล่ะ ตกอยู่ในอ�ำนาจของกิเลส
ความง่วงนี้ ไม่ได้มีเฉพาะพวกเราที่มาปฏิบัตินี้ สมัยพระโมคคัลลานะ ท่านง่วงมาก
พระพุทธเจ้าตรัสวิธีแก้ง่วงไว้ถึง ๘ อย่าง ศึกษาเอานะ แก้เท่าไรมันก็ไม่รู้จักหาย ให้
80 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แหงนดูดาวมันก็ไม่หาย ให้ล้างหน้าล้างตา ไม่หาย ก็ให้ลงไปอยู่ในน�้ำ มันเหลืออยู่แค่คอ


มันก็ยังไม่หายง่วง นี้พวกเรายังไม่ได้แก้ถึง ๘ อย่างเลย ที่แก้ไปก็ให้เดินจงกรมเร็ว ๆ
ให้มันได้อารมณ์ปัจจุบัน แล้วก็ให้ล้างหน้าล้างตาท�ำร่างกายให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นก็ไม่ค่อย
อยากจะท�ำ คือไม่ยอมแก้ เมื่อไม่ยอมแก้ก็ตกอยู่ในอ�ำนาจของกิเลส กิเลสมันไม่อยากท�ำ
มันไม่อยากปฏิบัติ มันจะเอาให้ชนะเราอยู่ เราก็ยังหลงกับมันอยู่ ก็เลยไม่อยากจะแก้
ถึงแก้ไปก็ท�ำเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้เอาใจใส่ มันก็ยังไม่หลุด นี้คือ นิสัยที่มันแก้ยาก
เป็นนิสัยของใคร เป็นนิสัยของตัวเราเอง
ถ้าเราพยายามที่จะแก้ไขในสิ่งเหล่านี้ ให้มันลุล่วง ต่อไปมันจึงจะดีขึ้น อ�ำนาจของ
ปีติก็เกิดขึ้น สภาวธรรมต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น ถ้าใครคิดที่จะไปสร้างส�ำนักปฏิบัติ มันมีห้องน�้ำ
ห้องส้วมพร้อมจึงดี
อ�ำนาจของปีตินี้ ผู้ที่ศึกษามาเข้าใจดีแต่เมื่อเวลามาปฏิบัติแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ค�ำว่า
ไม่ ค ่ อ ยเข้ า ใจในปี ติ นั้ น การปฏิ บั ติ เ มื่ อ เกิ ด ปี ติ นี้ หลวงพ่ อ อาสภะ ว่ า มั น ไม่ ใ ช่ มี ๕
เท่านั้นนะ ปีติ ๕ นะ มันมากกว่านั้น มันเป็นอย่างไร อาการของมัน ? บางทีนี่ เข้าห้องน �้ำ
ห้องท่ามาก บางทีก็เข้าไปเบา พอเสร็จแล้วมาเดินจงกรมไม่ได้ ๒ รอบ อ้าว กลับไปเบา
อีกแล้ว นึกว่า เอ เราเป็นโรคอะไรท�ำไมมันเป็นอย่างนั้น นั่นคืออ�ำนาจของปีติ บางทีถ่าย
ด้วย เข้า ๆ ออก ๆ อยู่นั่นแหละ ฉะนั้นเวลาเรามาท�ำกรรมฐาน เวลาเดินจงกรมนี้ อ�ำนาจ
ของปีติมันเกิดขึ้นมา เดี๋ยวคนนั้นเข้าห้องน�้ำ เดี๋ยวคนนี้เข้าห้องน�้ำ จะให้เขาอยู่สงบ ๆ
อันนั้นคนที่ไม่เคยท�ำกรรมฐานก็ไม่รู้
ถ้าคนเคยปฏิบัติก็จะรู้สภาวะของโยคีนั้นว่า ท�ำไมเขาจึงต้องเข้าห้องน�้ำห้องส้วม
บ่ อ ย ๆ อ�ำนาจของปี ติ มั น เป็ น ได้ ห ลาย ๆ อย่ า ง เกิ ด ปี ติ ยิ น ดี บางที ก็ ข นลุ ก ขนชั น
บางทีก็ตัวลอย บางทีก็นึกว่า เรานี่คนดีแล้ว ถ้าเป็นนิมิตก็นิมิตที่แจ้งสว่าง รุ่งโรจน์เหมือน
เรามองเห็นด้วยตาเปล่า ในเวลากลางวัน เราจะรู้หมดต้นไม้มีที่นั่น มันเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้รู้หมด ทั้ง ๆ ที่นั่งหลับตาอยู่ มันก็เป็นได้ทั้งนั้น พอเลิกจากนั้นก็ไปดู อ้าว มัน
ก็เป็นอย่างนั้น เอ เรานี่ ได้บรรลุแล้วนะ (หัวเราะ) เห็นธรรมแล้ว เกิดความปีติยินดีขึ้น
และนั่นคือ อุปกิเลส ล่ะ อย่าไปคิดหลาย เป็นเพียงอุปกิเลสเท่านั้น ท�ำให้ผู้ปฏิบัตินั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 81

ลุ่มหลงอยู่ แต่เพียงอ�ำนาจของปีตินิด ๆ หน่อย ๆ อย่าไปพูดกันเลยว่าคนนั้นเข้าห้องน�้ำ


บ่อย ฯลฯ มันเป็นของเขาเอง ตามสภาวธรรมนี้
ถ้าไม่รู้ว่าเป็นสภาวธรรมนี้ก็จะว่าเขาหาเรื่องที่จะเข้าห้องน�้ำ เดี๋ยวก็ไป ๆ นี้คืออ�ำนาจ
ของการบ�ำเพ็ญกรรมฐานนี้ มันมีอยู่หลาย ๆ อย่าง ยากที่เราจะเข้าใจ ถ้าเราไม่เคยปฏิบัติ
ไม่เคยผ่านมาแล้วเราก็ไม่รู้เรื่องว่ามันเป็นอะไร แต่ผู้ที่เคยปฏิบัติมาแล้วมันรู้ว่ามันเป็น
อะไร มันมีอยู่หลาย ๆ อย่าง ที่จะต้องเป็น ถ้าไม่เป็นล่ะ ถ้าไม่เป็นก็คือปฏิบัติไม่ถูก
ท�ำไม่ถูกทาง ก�ำหนดไม่ตรง เป้าหมาย ไม่ท�ำตามข้อวัตรปฏิบัติ ไม่ท�ำตามค�ำสั่งสอนของ
พระพุทธองค์ที่วางไว้ให้
ฉะนั้น ท�ำไมจึงจะต้องมีอาจารย์มาสอบอารมณ์ มาคอยดูแลให้ ก็กลัวท่านจะเดิน
ผิดทาง กลัวว่าจะไปไม่ถูก กลัวว่าจะเดินไปแล้วเกิดวิปลาสไปได้ง่าย ๆ จึงจ�ำเป็นต้อง
คอยสอบอารมณ์ คอยดูแล คอยถาม เป็นอย่างไรอาการของมันที่เราท�ำมา ดีไหม ถ้ามัน
เป็นปกติอยู่ มันไม่เป็นอะไรก็แล้วไป แต่โดยมากสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติ
จริง ๆ เพื่อได้บรรลุมรรคผลนิพพาน จริง ๆ ก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าปฏิบัติเพียงเพื่อ
รู้เล็ก ๆ น้อย ๆ นี่ ไม่ค่อยรู้หรอก แต่อะไรล่ะ มันเป็นของพูดยาก มันเป็นบุญบารมี
ของเขาที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ในอดีต เขาก็จะมาเกิดขึ้นแก่ตัวเขา ถึงท�ำน้อยท�ำมากก็เกิด
เพราะบารมีของเขาท�ำมา และอาจจะเกิดเป็นหลาย ๆ อย่างก็ได้ เมื่อบารมีของเขามาเกิด
อย่างนั้นถ้าอาจารย์ไม่คอยสอดส่องดูแลให้ บางคนก็เป็นบุพกรรมของเขาเอง ก็จะมาเกิด
อยู่ช่วงระยะแถวนี้ล่ะ
เหมือนกับเป็นผีเข้า ไปหามดหาหมอนึกว่าเป็นผีเข้า พูดถึงเรื่องผีนะ ไม่มาท�ำอะไร
ดอก ถ้าผู้ปฏิบัติอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอันนี้ เพราะมีฐานรองรับอยู่หลายอย่าง ถ้าเป็นพระ
ก็แสดงอาบัติแล้ว ท�ำจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วหมดจดแล้ว มีศีลเป็นเครื่องรองรับ ฆราวาส
ก็มีศีลเป็นเครื่องรองรับอยู่ มีสติมีสัมปชัญญะอยู่ ก�ำหนดอยู่ทุกขณะ อันนี่ ผีก็ไม่กล้า
เข้ามา แต่บุพกรรมเข้ามาได้ ท�ำกรรมชั่วไปต่าง ๆ เขาเข้ามาได้ อันนี้เป็นผีบุพกรรม ๆ นี้
จะเป็นได้หลาย ๆ อย่าง
82 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เล่าความหลังให้ฟัง ผู้ปฏิบัติผู้หญิงคนหนึ่งเขาบอกว่า เหมือนกับว่าเขาเอาเชือกมา


รัดคอเขา เขาจะแลบลิ้นออกมายาว ถามเขาว่าแล้วได้ก�ำหนดไหม ก�ำหนดอยู่ แต่ว่าจะ
หายใจไม่ออก ลิ้นก็ออกมา ก็เลยลืมตาขึ้นดู ก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีอะไร อันนี้เขาว่า
นั่ ง ไป ๆ เขาก็ เ ลยเกิ ด สภาวะขึ้ น มา เขารู ้ เ องว่ า เขาในอดี ต นี้ เ ขาเกิ ด เป็ น ผู ้ ช ายเป็ น
คนขี้เหล้า เมาสุรา แล้วเมียก็ด่า เขาจึงไปเอาผ้าขาวม้านี้ผูกคอแล้วก็รัดคอเมียตาย
บุพกรรมตัวนั้นมันก็เกิดขึ้นมาให้เห็น เป็นอย่างนั้นจริง ๆ บางทีมาในชาตินี้นี่ เคยกินเหล้า
เมาสุราไหม เป็นผู้หญิงก็มีบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ ไอ้นิด ๆ หน่อย ๆ นี่ล่ะ พอมาปฏิบัติ
มันก็เกิดขึ้นมาท�ำให้เขาอาเจียน ก็ นึกว่ามันจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บอย่างอื่น (พูดอีสาน
รากแตกรากแตน? ) จะท�ำอย่างไรได้ละ ก็เพราะมันเป็นกรรมของเขา แต่ว่ามันเป็น
เพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น มันไม่ได้มาก อันนี้มันเกิดอาเจียนขึ้นเพราะโรคกรรม ครูบาใหญ่
ทั้งหลายอย่าไปหาเหตุเด้อ เป็นจังสี เว้าสู่ฟัง
ที่นึกได้นึกดี ก็เอาเทียนนี้มาตั้ง แล้วก็ไปภาวนา ไฟ ไฟ ไฟ ไฟ ภาวนาเรื่องไฟ
ก็นึกว่ามันเป็นของที่ได้ยินได้ฟังมา แต่ว่าไม่เข้าใจ ก็เลยเอาเทียนมาปักแล้วภาวนาไฟ
แล้วพอมาท�ำวิปสั สนากรรมฐานนีท้ า่ นจะร้อนทัง้ ตัว นัง่ เหมือนกับนัง่ บนกองไฟ เหมือนร้อน
ในไฟธาตุของเรานี่ แล้วก็มาบ่นว่า หลวงพ่อ ผมนี้ร้อนเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่คนอื่นเขาหนาว
กันในฤดูหนาวเดือน ๑๒ นี่ จะเอาผ้ามาห่มนี่ไม่ได้เลย เพราะมันร้อน นี่ เป็นอย่างนี้ก็มี
อย่าไปเฮ็ดเล่นเด้อ มันติดมามันแก้ยาก มันร้อนมาก นั่งไม่ได้
บางคนก็บอกว่า จะทนลองดู เอาขันใส่น�้ำมา ภาวนา อาโป ๆ ๆ ให้เป็นนิมิต ลอง
เล่น ๆ นี่ล่ะ พอมาท�ำกรรมฐานตกมาในสภาวธรรมในญาณขั้นนี้นี่จะเห็น เห็นว่ามัน
จะเย็นมาก ฤดูที่เขาร้อน ๆ เราก็เย็น เดือน ๕ นี่ เขาร้อนกันแต่เราเย็น ต้องหาผ้ามาห่ม
เรานี่จะเป็นไข้หรือไง ดีไม่ดีหายาแก้ไข้มากิน ว่าตัวนี้มันหนาวมันผิดปกติ มันเย็น ก็
เลยถามว่า ท่านเคยภาวนา เอาน�้ำมาก�ำหนด เคยท�ำเล่น ๆ ไหม ท่านบอกว่า เคย นี่ล่ะ
มันก็เกิดขึ้น ไฟก็เหมือนกัน ของทุกอย่าง ที่เราท�ำ ๆ มานี้ เมื่อเวลามาปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานนี้ ถึงญาณขั้นนี้นี่ มันจะเกิดมาได้ทุกอย่างที่ท�ำมา เรื่องอดีตก็เหมือนกันที่เคย
ท�ำอะไรมาในอดีตมันก็เป็น มันเป็นไปทุกอย่าง มันเป็นได้ หรือเมื่อมันเป็นได้นี่ จะว่า
พระธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้านี่ไม่เป็นจริงได้หรือไม่ นี่เราพิจารณาดูที่ตรงนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 83

ผู้ที่มาปฏิบัตินี้ จึงจะรู้เห็นว่า อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเอง มันมีมาอย่างนี้ มันจะ


เกิดขึน้ กับผูป้ ฏิบตั ิ ฉะนัน้ พระพุทธองค์จงึ ตรัสไว้วา่ อย่าไปท�ำกรรมชัว่ กรรมชัว่ ต่าง ๆ นัน้
เขาจะเกิดขึ้นมาในขณะที่ปฏิบัตินี้ แต่ไม่มาปฏิบัติ มันไม่ปรากฏหรอก ไม่รู้เรื่องเลย
และก็ ไ ม่ เ ชื่ อ ด้ ว ย เวลาปฏิ บั ติ อาการต่ า ง ๆ ที่ ท�ำมาแล้ ว ในอดี ต ชาติ ก็ ดี ในปั จ จุ บั น
ชาตินี้ก็ดี ก็จะมาปรากฏให้เขาเห็น แล้วเราจะว่าไม่เชื่อ (แล้วเราจะว่า บ้า ขี้ซ้างมาก็ว่าเนาะ
หัวเราะ ขี่มาตั๋ว) มันเป็น ถ้าไม่ปฏิบัติไม่เป็น ไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อได้มาปฏิบัติแล้ว มีปรากฏ
ขึ้นให้เห็นทุกอย่าง เช่น บางคนโดยเฉพาะ ผู้ที่นั่งอยู่นี้ บางคนวาจา ด่าพ่อด่าแม่แล้วเมื่อ
มาปฏิบัตินี่ ไม่ไปนะ ไปไม่ได้นะ มันจะเป็นกรรมอยู่ ใครก็ตามที่ไปจ้วงจวบด่าพ่อด่าแม่
เมื่อเวลามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ ปฏิบัติไปไม่ได้ แล้วให้ท�ำอย่างไร
ถ้าพ่อแม่นั้นตายไปก่อน จะตายไปอยู่ไหนก็ตาม ถ้ารู้ที่ท่านตาย ท่านอยู่ ก็ให้ไป
กราบขอขมาโทษท่านว่าไว้อย่างนั้น ให้ท่านอโหสิกรรมให้ ผู้ปฏิบัตินั้นจึงจะปฏิบัติไปได้
มันเป็นถึงอย่างนั้นนะ ไม่ใช่เป็นของธรรมดา คนที่ประมาทด่าบิดามารดา ของตน ปฏิบัติ
ไปแล้วจะไปสู่ธรรมอันสูงนั้นไปไม่ได้ ไม่ได้ให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ไปไม่ได้
ฉะนั้น กรรมดีต่าง ๆ ที่ได้ท�ำมาสร้างมาอบรมสั่งสมมานั้น เมื่อมาปฏิบัติก็จะมา
เกื้อหนุนส่งเสริม แต่ผู้ที่สร้างอกุศลกรรมมาก็ปฏิบัติไปไม่ได้ จะต้องมาเสวยผลกรรมนั้น
ให้หมดภายในชาตินี้ ในขณะนี้จึงจะไปบรรลุอริยมรรคอริยผล ได้ ไม่ใช่เป็นของธรรมดา
ไม่ใช่พระพุทธเจ้าจะตรัสไว้ลอย ๆ ผู้ปฏิบัติแล้วจึงจะเห็น จึงจะรู้ ถ้าไม่นั้นก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจ
เพราะฉะนั้นกรรมต่าง ๆ ที่ท�ำไว้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วที่ท�ำมานี้ ถ้าผู้ปฏิบัติเพื่อมรรคผล
นิพพานจริงๆ นั้นจะหลุดพ้นได้ในชาตินี้ ไม่ต้องไปเสวยผลกรรมในนรกอีก
คนที่ท�ำชั่ว บุพกรรมอันนี้จะไปปรากฏในขณะที่จวนจะตาย หรือว่าอุคคหนิมิต
มันเป็นนิมิตเกิดขึ้นมา ซึ่งคนที่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ฆ่าวัวฆ่าควายมา เวลาที่เขาจะตายนี่
เขาจะร้องครวญคราง เหมือนกับฆ่าวัวฆ่าควาย แต่ถ้ามาปฏิบัติอยู่ในขณะนี้เขาก็เป็น
เหมือนกัน เขาก็จะต้องมาเสวย อย่างน้อยก็สี่วันห้าวันก็จะเป็นอย่างนั้นแหละ บางคนก็
เกิดอาเจียน เอ้อ หลาย ๆ อย่างบอกไม่ถูกหรอก มันแล้วแต่กรรมของเขา
84 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ผู้ไม่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เวลาเขาจะตายก็ไปรู้เวลาจวนจะตาย ๆ นี้รู้ได้เลยว่า


คนนี้จะไปสู่สุคติหรือไปสู่ทุคติ ถ้าเขาไปดีมาดีไม่มีการเจ็บปวดมึนชา นิมิตอะไรเขา
ก็ไม่เกิด นั้นจิตใจของเราบริสุทธิ์อยู่แล้วเขาก็ไปสู่สุคติ แต่จิตใจกระวนกระวายร้องครวญ
ครางก่อนตาย อันนั้นก็ทุคติเป็นที่ไป นั้น ทางครูบาฮู้ดี จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา รู้ดีนะ ครูพ่อใหญ่ อย่างนั้น เข้าใจดี อันนั้น กรรมดี
กรรมชั่วมันปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ผู้ไม่ปฏิบัติก็ไปพบกรรมชั่วที่ตัวท�ำไว้ ตอนจวน
จะตาย ฉะนั้น จึงไม่ควรท�ำบาปทั้งในที่ลับที่แจ้ง ไม่ควรท�ำ ควรท�ำแต่กรรมที่ดีเอาไว้
ที่พูดมา นึกว่าจะพูดนิด ๆ หน่อย ๆ เว้าไปม่วนไป ผู้ฟังก็รู้สึกจักได๋นี่ แต่ผมคิดว่า
มั น พอเป็ น ประโยชน์ ใ นการปฏิ บั ติ ไ ม่ ม ากก็ น ้ อ ย เพราะว่ า การปฏิ บั ติ นั้ น พระธรรม
ค�ำสอนขององค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า นั้ น เป็ น ธรรมที่ ลึ ก ซึ้ ง ละเอี ย ดอ่ อ น ถ้ า
เราผู้ปฏิบัตินี้ไม่ท�ำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไป ไม่ปฏิบัติตาม
แนวทางของมหาสติ ป ั ฏ ฐาน ๔ นี้ เราก็ จ ะรู ้ ไ ด้ ย าก ก่ อ นที่ ท�ำเราเองก็ ต ้ อ งอ่ อ นน้ อ ม
เฮ็ดข้าวปุ้น เขาเรียกว่า ขนมจีนทางภาคกลาง ภาคอีสานบอกว่าเฮ็ดข้าวปุ้น ข้าวปุ้น
มันสิเป็นข้าวปุ้นนี่ แรกเขาก็เอาข้าวสารนี่หม่า (แช่น�้ำ) หม่าแล้วสิก็ต�ำ ๆ ๆ แล้วก็มา
กรอง กรองแล้วก็เอามานึ่ง มาเฮ็ด หลายตลบ จึงได้เป็นข้าวปุ้น ถ้านวดบ่ดี เฮ็ดบ่ดี
มันก็บ่เป็นเส้นดี ถ้าพูดเป็นภาษากลางเขาก็บอกว่า การท�ำขนมจีนนี้เขาก็ต้องต�ำแล้ว
ต�ำอีก แล้วก็เอามานวดแล้วนวดอีก ถ้าท�ำไม่ดีเขาก็ไม่เป็นเส้น ไม่สวยไม่งาม ฉันใดก็ดี
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ ถ้าไม่นวด ถ้าไม่เอาจนว่า อ่อนน้อมถ่อมตน เข้ามาสู่
พระรัตนตรัยจริง ๆ แล้ว ธรรมะนั้นก็เกิดได้ยาก
จิตใจก็ต้องอ่อน ทั้งร่างกายก็ต้องเหนื่อยเพลียพอสมควรจึงจะรู้เรื่อง ถ้าจะเอาแบบ
ที่ว่า แข็ง ๆ หยาบ ๆ ก�ำหนดบ้างไม่ก�ำหนดบ้าง ก็ไม่เห็น ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ต้องส�ำรวม
อิ น ทรี ย ์ ทั้ ง ๖ ตา หู จมู ก ลิ้ น กาย ใจ ก�ำหนดอายตนะภายใน อายตนะภายนอก
ก�ำหนดส�ำรวมอยู่ตลอด ถ้าเดินก็ไม่ส�ำรวม นั่งก็ไม่อยากจะก�ำหนด นี่ก็ไม่เกิด จะไปโทษ
ว่าพระธรรมค�ำสั่งสอนนั้นไม่เป็นจริง เราก็ท�ำเหมือนกัน หลายอาจารย์มาแล้ว อาจารย์
ดัง ๆ ที่ไหนก็ไปมาหมดแล้ว ไปอยู่ แต่ว่าไม่ได้ท�ำตามค�ำสอนนั้นมันก็ไม่ได้หรอก มัน
ไม่เกิดนี้เป็นลักษณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 85

ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น จิตใจก็อ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ


มีการระวัง มีการก�ำหนดอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน เอาใจใส่อยู่ ธรรมะนั้นจึงจะเกิดแก่
ผู้ปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นเกิดได้ยาก เพราะธรรมะของพระองค์เป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน ยาก
ที่คนไม่ส�ำรวม คนที่โกกกากนี่เข้าถึงได้ยาก เว้นไว้อย่างเดียวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะมาตรัสเอง อันนี้จะเป็นอย่างไรพระองค์ก็เอาบารมีของพระองค์เข้ามาควบคุม มาท�ำให้
ละจากทิฏฐิมานะนั้นได้ เช่น อย่างที่พระองค์ไปโปรดท่านองคุลีมาล พระองค์ท�ำได้ด้วย
บุญบารมีของพระองค์ ท�ำให้องคุลีมาลละทิฏฐิมานะ จนได้บวชและส�ำเร็จพระอรหันต์
อันนี้เป็นได้
สมัยพวกเรานี้ท่านตรัสแต่ค�ำสอนเอาไว้ให้ปฏิบัติตาม อยากได้ก็ปฏิบัติไป นาง
ปฏาจาราก็เสียใจจนเสียสติ พระองค์ก็สามารถเทศน์อบรมสั่งสอนจนนางได้บรรลุธรรม
นี้เป็นบุญบารมีที่ได้เกิดพร้อมพระพุทธเจ้า มีดีอย่างนั้น แต่ที่เรามาท�ำตามพระธรรม
ค�ำสั่งสอนนี้ เราก็ไม่ได้สายเกินไปนะ ยังพอมีทางที่จะได้อยู่ พอมีทางที่จะปฏิบัติตาม
แนวของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะท�ำให้เรานี้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานยังมีอยู่
ที่คนเขาพูดว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไป ๒ พันห้าร้อยกว่าปี อริยมรรคอริยผลนั้นไม่มี
แล้ว หมดไปแล้ว อันนั้นคือคนไม่ท�ำ เขาก็ยังไม่รู้ และก็ไม่เห็นด้วย ยังไปประมาทอยู่
เมื่อพระธรรมค�ำสั่งสอนนี้ยังมีอยู่ ข้อวัตรปฏิบัติยังมีอยู่ ยังมีผู้แนะน�ำสั่งสอนให้อยู่
อริยมรรคอริยผลนั้นยังมีอยู่ ฉะนั้นไม่ต้องไปประมาท เรายังพอมีทางที่จะปฏิบัติไป
ได้อยู่ แต่จิตใจของเรานั้นจะเอาได้ถึงไหนแค่ไหนอย่างใดก็แล้วแต่ที่เราจะท�ำ ถ้าจะโยน
ไปให้ ก็แล้วแต่บุญบารมีที่จะท�ำได้ โยนไปให้ทางนั้นก็ได้ แต่ที่แน่ ๆ ไม่ต้องโยนไป
เรามีความเพียรความพยายามมากน้อยแค่ไหนพอที่จะปฏิบัติไปได้ ยังมีอยู่ ไม่ต้องโยนไป
ให้นั้น ไม่ต้องโยนไปให้นี้ ไม่ต้องโยนไปที่บุญวาสนา
ถ้าเราไม่เป็นผู้ที่มีบุญวาสนาบารมี เราก็ได้เกิดเป็นมนุษย์อยู่ แต่ถ้าไปเกิดอยู่ที่อิรัก
อิหร่านนี่ก็ไม่เห็นธรรม ค�ำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไม่มี นี้เราเกิดเป็นมนุษย์ อวัยวะ
ครบถ้วน ถ้าเป็นพระก็เหมือนกับว่า คัดมาแล้ว หูไม่หนวก ตาไม่บอด บริบูรณ์ดีอยู่
ผู้หญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี อันนี้ก็เรียกว่า มนุษย์สมบัติ
86 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เราได้ เ กิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ แ ล้ ว มาพบพระพุ ท ธศาสนาก็ เ ห็ น แล้ ว รู ้ แ ล้ ว แต่ ว ่ า เอ


ถ้าเกิดเป็นผู้ชายก็ค่อยยังชั่ว นี่เกิดมาเป็นผู้หญิง นี่ก็เข้าใจผิดอีก จะผู้ชายหรือผู้หญิง
จะเป็นอะไรก็ได้ ขอแต่ว่า จะบ�ำเพ็ญให้บรรลุอริยมรรคอริยผลนี้ขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่ใช่
อยู่กับเพศ ไม่ใช่อยู่กับวัย
บางคนบอกว่า ยังหนุ่มอยู่ไม่ปฏิบัติหรอกวิปัสสนากรรมฐาน กลัวจะไม่ได้เมีย
แก่ ๆ จึงจะเอา แก่ ๆ จะไปหาครูบาอาจารย์ที่ไหน ผู้ที่เกิดมาก่อนเราแล้วตายไปก็มาก
ที่ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นี่คือผู้ที่ยังไม่เข้าใจธรรมะดี ถ้าเข้าใจถึงธรรมะดีแล้ว
ละก็อย่าปล่อยโอกาสให้พญามารเลย เราเกิดมาในช่วงที่การปฏิบัติรุ่งเรืองแล้วเราก็ควร
จะเอา ถ้าคอยแก่จึงจะเอา แก่มาแล้วก็ โอย แก่แล้ว ท�ำไม่ได้
ผมก็เหมือนกัน ถ้าท�ำจะมาปฏิบัติตอนแก่นี่ก็เหมือนกัน เดี๋ยวนี้ลุกก็จะไม่ไหวแล้ว
ไป ๆ มา ๆ ก็จะไม่ได้ เพราะอะไร เพราะความแก่ ความแก่นี่ก็เป็นทุกข์ ฉะนั้น ไม่ต้อง
ไปรอแก่หรอก มีโอกาสมีเวลาก็ท�ำไป ปฏิบัติไป นี้เรียกว่าเป็นผู้ที่ไม่ประมาท เกิดมาพบ
พระพุทธศาสนาแล้ว แนวทางที่ปฏิบัติก็พอมี นี้ก็ควรที่จะเอาใจใส่บ�ำเพ็ญไป จะได้น้อย
ได้มากก็แล้วแต่การส�ำรวมการระวัง การตั้งใจของเราก็คงจะได้บรรลุทางไปพระนิพพาน
นั้นยังมีอยู่ มรรคผลนั้นยังมีอยู่ จะขี่รถยนต์ จะไปรถไฟ จะไปเครื่องบิน จะไปนิพพาน
ก็ไปไม่ถึงนอกเสียจากปฏิบัติ จะให้เทวดาพาไป เทวดาก็มีเพียงแค่ศีล ๕ ถ้าอยากจะไป
ก็ต้องมาปฏิบัติเหมือนกัน เป็นเทวดาก็ไม่มีใครจะมาสอนนอกเสียจากไปฟังธรรมจาก
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจะได้บรรลุธรรม
ท้ายที่สุดขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และให้เป็น
ผู้ที่มีดวงตารู้ธรรมเห็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในที่สุดให้ได้บรรลุ
อริยมรรคอริยผลทุกท่านทุกคน เทอญ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 87

เวทนาที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัตินี้
หากเกิดเพราะโรคภัยไข้เจ็บ
เวลาออกจากสมาธิแล้วก็ไม่หาย
แต่เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสภาวธรรม
พอเลิกจากการนั่งสมาธิแล้วจะหาย
ไม่มีการเจ็บปวดมึนชาอะไร
พระครูศาสนกิจวิมล
88 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

วิปสสนากรรมฐาน
ตามแนวสติปฏฐาน ๔*

การที่ เ ราปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น เราทำ า ตามแนวทางของมหาสติ ป ั ฏ ฐาน


ทั้ ง สี่ อย่ า งที่ ท ่ า นทั้ ง หลายได้ ส วดไปแล้ ว เมื่ อ สั ก ครู ่ นี้ มหาสติ ป ั ฏ ฐานทั้ ง สี่ นั้ น ได้ แ ก่
กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา อยู่ในหลักทั้ง ๔ นี้
กายานุปัสสนา พิจารณากายในกาย อันนี้เป็นคำาพูด แต่ว่าเมื่อเราปฏิบัติจริง ๆ
แล้ว เราจะดูในร่างกายของเรานี้ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เราพิจารณา
ในสติ ป ั ฏ ฐาน ๔ นั้ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ส อนไปอื่ น ไกล สอนอยู ่ ใ นร่ า งกายของเรานี้ เ อง คื อ
ให้พิจารณาในร่างกายของเรานี้ ที่ยาววาหนาคืบแล้วก็เต็มไปด้วยธาตุ ๔ ดิน นำ้า ลม ไฟ
ทัง้ สีอ่ ย่างนี้ ให้พจิ ารณาอยูใ่ นสิง่ เหล่านี้ นีเ้ ป็นคำาพูด แต่เมือ่ มาปฏิบตั จิ ริง ๆ แล้ว เราไม่ได้
ไปพิจารณา เราเพียงเอาสติเข้าไปก�าหนดรู้ รูส้ ภาวะอาการ รูค้ วามเคลือ่ นไหวของร่างกาย
รู้การคู้เหยียด ก้ม เงย ดื่ม เคี้ยว ฉัน รู้ที่ตรงนี้ รู้สภาวธรรม ก็คือดูการเปลี่ยนแปลงไป
ของสังขารเรียกว่าเป็นสภาวธรรม
เรารู้อย่างนี้ กายานุปัสสนา พิจารณากายในกาย อันนี้ก็เหมือนกัน ให้พิจารณากาย
ในกาย แต่คา� ทีว่ า่ พิจารณานัน้ เราไปเข้าใจว่า จะต้องคิดจะต้องท�า แต่เวลาเรามาปฏิบัติ
ที่แท้จริงแล้ว ไม่ต้องไปคิด เพียงแต่เราเอาสตินี้ไปรับรู้สภาวะที่เขาเกิดขึ้นหรือเรียกว่า
* พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดภัททันตะ
อาสภาราม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
90 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ความเคลื่อนไหวของร่างกาย ขณะที่เราเดินอยู่ เราก็มีสติรู้ว่าเราเดิน ขวาย่างหนอ ซ้าย


ย่างหนอ เราจะรู้ในอาการเคลื่อนไหวอย่างนี้
แต่ในขณะเดียวกันมีหลายท่านที่มีความสงสัยว่า ในขณะนั้นเราเอาจิตไปไว้ที่ไหน
ความเคลื่อนไหวในกาย ขวาย่างหนอ ก็เอาจิตไปรู้สึกที่เท้าขวาไม่ใช่จะเอาไปไว้นานนะ
นิดหน่อย ให้มีความรู้สึกในอาการเหล่านั้น เรียกว่า เราก็ก�ำหนดว่า ขวาย่างหนอ พอ
สุดขวาย่างหนอ เราก็ย้ายจิตไปรู้อาการที่เท้าข้างซ้าย แล้วเราก็ก�ำหนดว่า ซ้ายย่างหนอ
ทั้งนี้จะก่อนหรือหลังก็ตอบว่า ไปพร้อม ๆ กันกับจิตที่ไปรู้สภาวะอารมณ์อันนั้น เมื่อ
เราเดินไปถึงสถานที่ที่เราก�ำหนดเอาไว้ ท่านให้เดินยาวนานสักแค่ไหน อันนี้ไม่ได้พูดถึง
แต่เรามักจะมาก�ำหนดเอาว่า สถานที่ที่เราจะต้องเดินนั้น ก็เลยมาก�ำหนดเอาว่า อย่าง
น้อย ๆ ให้เดินได้ชั่วระยะประมาณ ๒๐ ก้าว พอเราเดินไปสุดที่ที่เราก�ำหนดไว้ เราก็
ก�ำหนดว่า ยืนหนอ ๆ ๆ ยืนนีม้ สี ติรรู้ ปู ยืน รูอ้ าการของการยืน เราจะก�ำหนดว่า ยืนหนอ ๆ
สติตรงนี้ตั้งอยู่ที่ไหน สติตรงนี้ รู้ทั่วรู้ตั้งแต่ปลายผมจนถึงพื้นเท้า จะก�ำหนดนานมั้ย
ไม่นาน นิดหน่อย แล้วเราก็ก�ำหนดว่า ยืนหนอ ๆ ๆ จะว่ากี่ครั้ง อันนี้ก็ไม่ได้แน่ชัดลง
ไปว่า จะว่า ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ไม่ใช่ ที่ถูกต้องก็คือ เราจะก�ำหนด ยืนหนอ ๆ ๆ หลายครั้ง
ก็ได้ แต่เมื่อมีเสียงอื่นหรือมีอย่างอื่นเข้ามารบกวน เราก็จะก�ำหนดหลายครั้งก็ได้
แต่ ถ ้ า ใจของเรานั้ น เป็ น สมาธิ เราก็ จ ะก�ำหนดเพี ย งแค่ จิ ต ของเราเป็ น สมาธิ อ ยู ่
แค่นั้นก็ใช้ได้ จะหลายครั้ง น้อยครั้งก็แล้วแต่ที่จิตของเรานั้นรู้สภาวะอารมณ์นั้น อันนี้
เมื่ อ ก�ำหนดยื น หนอ ๆ เมื่ อ เวลาเราเห็ น ว่ า จิ ต เรานิ่ ง อยู ่ แ ล้ ว เราก็ จ ะก�ำหนดว่ า กลั บ
หนอ ๆ ๆ ถึงตรงสถานที่ที่เราจะต้องเดินต่อไป เราก็ก�ำหนดว่ายืนหนอ ๆ ๆ แล้วก็เดิน
ต่อไป ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ อันนี้มีปัญหาอยู่ว่า บางท่านจะพูดว่า ขวาย่าง หรือว่า
ซ้ายย่าง ก่อนดี อย่างไหนก็ได้ แล้วแต่สภาวะของเราที่จะท�ำได้ ไม่ได้จ�ำกัดลงไปว่าจะต้อง
ขวาย่างหรือซ้ายย่างก่อน แต่ว่ามีคนถามหลวงพ่ออาสภะว่า จะก�ำหนดอะไรก่อนดี ขวา
กับซ้าย ท่านก็บอกว่า ถ้าเป็นส�ำนักของวิเวกอาศรม หรือเป็นส�ำนักของวัดภัททันตะนี้
ก็จะพูดว่า ขวาย่างหนอ เมื่อเราเดินเสร็จแล้ว เราก็มานั่ง
ขณะที่เรานั่งลงเราจะปูลาดอาสนะเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เวลาเรามาถึงสถานที่ที่เรา
จะนัง่ ก็คอ่ ย ๆ ย่อตัวลง ลงหนอ ๆ ๆ จนกระทัง่ ถึงพืน้ แล้วเราก็นงั่ ลง ก�ำหนดว่า ถูกหนอ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 91

ยกขาซ้ายขาขวาแล้วเราก็ก�ำหนดด้วย จนกระทั่งตั้งจิตเป็นสมาธิได้แล้ว นั่งตั้งตัวให้ตรง


ด�ำรงสติไว้ดีแล้ว แล้วเราก็อย่าเพิ่งไปรีบก�ำหนดว่าพองหนอ ยุบหนอเลยทีเดียว เพราะ
จะท�ำให้ จิ ต นี้ ฟุ ้ ง ซ่ า น มั น ยั ง กระสั บ กระส่ า ยอยู ่ เมื่ อ เรานั่ ง ลงได้ ที่ ขาขวาทั บ ขาซ้ า ย
มือขวาทับมือซ้าย นั่งตั้งตัวให้ตรง ให้กระดูกสันหลังนี้ได้ต่อกันตรงจะได้ไม่ปวดหลัง
ถ้าคนหลังค่อมนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อตั้งตัวให้ตรงแล้ว ทอดตาออกไป ไม่ก้มจนเกินไป
ไม่เงยหน้าเกินไป ให้พอดี ๆ ทอดตาไปประมาณ ๑ ศอกกับ ๒ นิ้ว แล้วเราจึงหลับตา
เมื่อหลับตาลงไปแล้ว ตาเนื้อเราหลับไว้ ปิดไว้ มันยังเหลืออยู่ ตาใน เราก็เอาตาในนี้
ออกตรวจดู ใ นรอบ ๆ ร่ า งกายของเรานี้ มั น มี อ าการอะไรบ้ า ง สมมติ ว ่ า เดิ น มาแล้ ว
มั น เหนื่ อ ย เราก็ ต ้ อ งก�ำหนดว่ า เหนื่ อ ยหนอ ๆ ๆ หรื อ ว่ า เดิ น มาแล้ ว มี อ าการร้ อ น
เราก็ก�ำหนดว่า ร้อนหนอ ๆ ๆ หรือเดินมาแล้วเราจะรู้สึกว่า ไม่พอใจในอารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่ง เราก็จะพูดว่า ไม่พอใจหนอ ๆ ๆ ตามแต่อาการที่เขาเกิดขึ้น ในขณะนั้น
ให้ เ อาสติ รู ้ อ ย่ า งนี้ เรี ย กว่ า รู ้ เ ท่ า ทั น รู ้ อ าการต่ า ง ๆ รอบ ๆ ตั ว เรา ความพอใจ
ความไม่พอใจ ความเสียใจ ความดีใจ อะไรต่าง ๆ ท�ำนองนั้น
เราก็ ต ้ อ งดู ดู ส ภาวะต่ า ง ๆ สิ่ ง ใดที่ มั น เกิ ด ขึ้ น ในขณะนั้ น ก็ เ อามาก�ำหนด เมื่ อ
ก�ำหนดแล้วเราก็จะดูอาการสภาวะต่อไปอีกว่า มีอะไรอีกมั้ย ไม่มีอะไรแล้ว เราจึงเอาสติ
เข้ามาตั้งไว้ที่กลางกาย คือเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว แล้วก็ให้มีความรู้สึกอยู่ที่นั้น
เท่ า กั บ เงิ น เหรี ย ญบาท ท�ำไมจึ ง จะต้ อ งท�ำอย่ า งนั้ น ก็ เ พื่ อ ว่ า ให้ ส ติ ข องเราไปรวมอยู่
ที่ ต รงนั้ น ให้ มั น มี ค วามรู ้ สึ ก อยู ่ ที่ ต รงนั้ น ที่ เ รี ย กว่ า กายานุ ป ั ส สนา เมื่ อ เรานั่ ง สมาธิ
ร่างกายส่วนอื่น ๆ ไม่ได้กระดุกกระดิกแล้ว ลมหายใจ ความเคลื่อนไหวของร่างกายนี้
ยั ง มี อ ยู ่ จึ ง ได้ เ อาความเคลื่ อ นไหวนี้ แ หละมาเป็ น อารมณ์ ข องวิ ป ั ส สนา มาเป็ น
อารมณ์ของกายานุปัสสนา คือ ร่างกายตรงส่วนหน้าท้องเหนือสะดือนี้ยังเคลื่อนไหวอยู่
ฉะนั้น จึงได้ยกเอาความเคลื่อนไหวของร่างกายนี้มาเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน เป็นฐานที่ตั้งของการก�ำหนด แล้วความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ว่า ลมหายใจ
หรือว่า ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ว่า ท�ำไมจึงจะต้องเอาลมหายใจในส่วนกายานุปัสสนานี้เข้ามาเป็น
หลัก เพราะตั้งแต่เราเกิดมาจากท้องของมารดา ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ลมหายใจเข้าลม
หายใจออกนี้มีมาตั้งแต่ครั้งกระโน้น
92 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ถ้าเราไม่มีลมหายใจ เขาก็เอาไปทิ้งแล้ว เขาก็ว่าคนนี้มันตายแล้ว ไม่มีลมหายใจ


แล้ว เราจึงเอาลมหายใจนี้มาเป็นอารมณ์ แต่ที่ว่าท�ำไมไม่เอาลมหายใจเข้าออกมาเป็น
อารมณ์ แต่มาเอาพองหนอ ยุบหนอ มาเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ลมหายใจเข้าออกนี้
ก็มีนักปราชญ์อาจารย์ต่าง ๆ ท่านก็ท�ำกันอยู่ แต่ว่ามันเป็นการยาวนาน ยากที่จะเข้าใจ
เพราะมันเป็นของละเอียด เมื่อก�ำหนด ๆ แล้วมันละเอียดมาก ๆ เข้าก็จะไม่รู้สึก มัน
เป็นอย่างนั้น นั้นหมายความว่า ผู้ปฏิบัติที่เอาลมหายใจเข้ามาเป็นอารมณ์ของกรรมฐานนี้
มี อ ยู ่ พอลมหายใจมั น ละเอี ย ดแล้ ว ก็ ไ ม่ เ ข้ า ใจ ก�ำหนดไม่ ไ ด้ ดั ง นั้ น ท่ า นจึ ง มาเอา
ความเคลื่อนไหวของร่างกาย (กายานุปัสสนา) นี้เข้ามาเป็นหลัก หลักนี้ท่านอุปมาเอาไว้ว่า
ที่เราจะไปสู่พระนิพพานได้ก็อาศัยร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้เป็นหลัก ๆ ที่จะเข้าไป
สู่พระนิพพานได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ทางที่จะเข้าไปสู่พระนิพพาน
ที่เราจะเอากายานี้เข้าไปสู่พระนิพพานก็เพราะอาศัยอารมณ์ร่างกายอันนี้ ท่านอุปมาไว้
เหมือนกับว่าเราจะข้ามฟาก ข้ามทะเล เราก็อาศัยเรือเป็นที่พาไป ฉันใดก็ดี เราจะไปสู่
พระนิพพาน เราก็อาศัยกายานี้เป็นตัวที่จะพาไป ฉะนั้น เราจึงเอาร่างกายนี้มาใช้ให้เป็น
ประโยชน์
ส่วนเวทนานุปัสสนา ร่างกายสังขารนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของเขา พูดอย่างนี้บางคนก็ไม่พอใจ ไม่พอใจว่า
ถ้าไม่เป็นของเราของเขา เขาจะเอาไฟมาจุดหรือจะมาท�ำอย่างใดอย่างหนึ่งได้มั้ย ก็ไม่ได้
อีก เพราะว่าเขาบอกกันในที่คนอย่างนี้ว่า เธอจะเอามาจุดก็เอามาจุดได้ เราก็ห้ามมันไม่ได้
บางทีมันก็จะเตะเอาให้ก็ได้ อย่างนี้เขาเรียกว่า พูดหาเรื่อง แต่ความจริงสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า คนในโลกนี้เป็นส่วนมากก็ยังไม่ได้รู้ในร่างกายของตัวเองว่า เรานี้
มีร่างกายเป็นอย่างไร เราใช้เป็นประโยชน์หรือไม่ เราใช้มันให้เป็นประโยชน์ได้มากน้อย
แค่ไหน คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ แต่เมื่อมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วเราจะรู้ว่าเราได้
เอาร่างกายตัวนี้มาเป็นประโยชน์
พูดมาถึงตรงนี้มันก็ขยายออกไปว่า ร่างกายสังขารทั้งหลายนี้ ถ้าเผื่อว่าเราไม่ได้
เอาใช้ในทางก�ำหนด ในการท�ำวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราก็จะเอาไปใช้ท�ำอย่างอื่นก็ได้
แต่ว่าที่ให้เรานึกถึงว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาแล้ว เราได้ประโยชน์
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 93

อันใดจากพระพุทธศาสนาที่ชาวโลกทั้งหลายเขาก็รู้เหมือนกันกับเรานี้ เขาก็มีความรู้สึก
เหมื อ นกั บ เราอยู ่ นี้ แต่ ว ่ า เขาจะได้ พ บพระพุ ท ธศาสนาหรื อ เขาจะได้ น�ำพระธรรม
ค�ำสอนทางพระพุทธศาสนานี้ไปใช้หรือไม่ แต่พวกเรานี้ได้ ได้เพราะการประพฤติปฏิบัติ
นี้เอง แต่ถ้าเราไม่ได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้แล้ว เราก็จะไม่ได้ประโยชน์จาก
พระพุ ท ธศาสนา เราเกิ ด มาเป็ น มนุ ษ ย์ นี้ ถู ก ต้ อ งแล้ ว พบพระพุ ท ธศาสนานั้ น คื อ
บางประเทศบางชาติ ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า ถึ ง ไม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ เห็ น อยู ่ มี อ ยู ่ พระเจ้ า พระสงฆ์ มี อ ยู ่
แต่ว่าไม่ได้ประโยชน์จากพระเจ้าพระสงฆ์ ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
รู้น้อยเห็นน้อย ฉะนั้น ที่เรามาปฏิบัตินี้ เราได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนา อันเป็น
ของที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมาก การปฏิบัตินี้ ผมพูดไปก็ดูเหมือนจะลึก ๆ ไปเรื่อย ๆ
ดูเหมือนจะเข้าใจกันได้ยาก แต่ถ้าจะพูดให้ละเอียดมาก ก็จะต้องใช้เวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
จึงจะฟังเข้าใจได้ละเอียด ดังนั้นผมก็จะพูดเพียงคร่าว ๆ เพื่อให้เข้าใจในหลักการปฏิบัติ
เพราะว่าการปฏิบัตินั้นมีหลายระดับหลายอย่าง มีสภาวะเป็นไปต่าง ๆ ซึ่งผู้มาปฏิบัติ
ก็จะพบเห็นสภาวธรรมต่าง ๆ ที่ผมพูดมาก็เพียงแค่ว่า กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา ก็คือการรู้อาการเจ็บปวดมึนชา ที่มันเกิดขึ้นตามสภาวะอาการ
ต่าง ๆ ที่เราเป็น ที่เราเห็น เป็นเพราะเรานั่งมากใช่มั้ย ไม่ใช่ เป็นเพราะการปฏิบัตินั่นเอง
เมื่อเราท�ำแล้วสภาวธรรมนี้จะเกิดขึ้นมาก ๆ แก่ตัวเรา การเจ็บปวดมึนชาก็จะตามมา
ที่พูดว่าเวทนานุปัสสนานี้ ก็คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เราปฏิบัติ ๆ ไปแล้วก็จะเห็นการ
เจ็ บ ปวดมึนชา การเจ็บปวดมึนชานี้ก็จะมีหลาย ๆ ลักษณะที่ผู้ปฏิบัตินี้จะได้พบเห็น
เวทนาที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ หากเกิ ด เพราะเป็ น โรคภั ย ไข้ เ จ็ บ เวทนานี้ มั น จะเจ็ บ ปวดและ
ก� ำ เริ บ ขึ้ น เวลาออกจากสมาธิ แ ล้ ว ก็ ไ ม่ ห าย แต่ เ วทนาที่ เ กิ ด ขึ้ น เพราะสภาวธรรม
ขณะที่นั่งอยู่นี้มันจะเจ็บจะปวดมาก คิดไปว่าจะต้องเข้าโรงพยาบาลแน่นอน แต่พอเลิก
จากการนั่งสมาธิ เขาก็หายสบาย ไม่มีการเจ็บปวดมึนชาอะไร ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า
เป็นสภาวธรรมในเวทนานุปัสสนา
ส่วนจิตตานุปัสสนา คือจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ คิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ
มันจะเกิดอยู่ในญาณแต่ละญาณ บางญาณก็เกิดน้อย บางญาณก็เกิดมาก บางญาณนี่
เกิดเอามาก ๆ จนที่ว่าถ้าผู้ที่เป็นเจ้าอาวาสมาก่อนนี้ พอมาปฏิบัติแล้ว จิตตานุปัสสนา
94 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เกิดขึ้นนี้จะท�ำกรรมฐานเกือบจะไม่ได้ ก�ำหนดเกือบจะไม่ลง คิดเรื่องนี้แล้วไปต่อเรื่อง


นั้น จากเรื่องนี้คิดเรื่องนั้นต่อไปอีกเยอะแยะ ก�ำหนดไม่ค่อยไหว อันนี้ส�ำหรับผู้ที่เป็น
เจ้าอาวาส จิตตานุปัสสนานี้คือจิตมันคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ เรียกว่า มันฟุ้งซ่านไป
ตามสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ
ส่วนสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัตินี้จะเข้าใจในหลักที่ว่า ธรรมานุปัสสนา
ธรรมานุปัสสนานั้น โดยมากโยคีมักจะไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อเกิดขึ้นเป็นสภาวธรรมนี้มัน
ละเอียดเหมือนกัน เรียกว่าจะละเอียดมาก ๆ และอาจารย์ที่สอบอารมณ์ก็มักจะถาม
ว่า ท่านนั่งไปมีนิมิตมั้ย เห็นนิมิตแสงสี อาการต่าง ๆ ของท่านมีมั้ย ถ้าโยคีปฏิบัติแล้ว
เห็นนิมิตแสงสีนั้นเรียกว่า ธรรมานุปัสสนา แต่ความเป็นจริงมันมีมากกว่านั้น ที่ธรรมา
นุปัสสนานั้นเราพบกันบ่อย ๆ และก็รู้เท่าทันอารมณ์ต่าง ๆ นั้นมีอยู่เสมอ ๆ อันนั้น
เป็นธรรมานุปัสสนา เช่น นั่งคอตก หัวคลอน โยกตัวไปมา นี้ก็เป็นธรรมานุปัสสนา
เป็นสภาวธรรมเหมือนกัน แต่ก็ให้ก�ำหนดไป ท�ำไป แล้วแต่มันจะเกิด แล้วแต่มันจะเป็น
นั่นคือสภาวธรรม เมื่อเรานั่งอยู่แต่ละครั้งแต่ละหนนี้มันจะมีอาการของมัน มีสภาวะ
ของมั น นั่ ง ไปแล้ ว บางที เ ราก็ ก�ำหนดพองหนอ ยุ บ หนอ พองหนอ ยุ บ หนอ แล้ ว จิ ต
ของเรานี้ก็จะลืมไป เรียกว่าถีนมิทธะเข้ามาครอบง�ำ เราก็จะคอตก หรือน�้ำลายหยด
ลงมาก็มี นี้คือลักษณะของธรรมานุปัสสนาของผู้ปฏิบัติโดยทั่ว ๆ ไป หลาย ๆ อย่าง
สภาวธรรมที่เกิดขึ้น บางทีเดินอยู่ก็มี เวลาเราเดินไป ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ พื้นเขาก็
ขั ด หิ น อ่ อ นอย่ า งดี มั น ไม่ มี ที่ ข รุ ข ระแล้ ว สม�่ ำ เสมอดี แต่ ส�ำหรั บ ผู ้ ป ฏิ บั ติ อ าจจะเห็ น
อาการสูง ๆ ต�่ำ ๆ บางทีเวลาเรายกเท้าขึ้นแล้วเหยียบลงไปมันบุ๋มลงไปเลย ลักษณะ
อย่างนี้ก็มี แต่สภาวธรรมที่เขาเกิดขึ้นนี้มีหลายอย่าง ที่เห็นรูปเห็นนาม ที่เราปฏิบัติแล้ว
ก�ำหนดแล้วนั้น เขาจะเกิดขึ้นหลาย ๆ อย่าง รู้รูปรู้นาม อันนี้แน่นอน ผู้ปฏิบัติไปแล้วนั้น
จะรู้รูปรู้นามของตนเอง
รูปนามนั้นเราจะเห็นได้ยังไง ก็ให้ตั้งใจฟังต่อไปว่า ที่เรารู้รูปรู้นามนั้น เราจะสังเกต
ได้อย่างนี้ พอเราก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ ๆ ๆ บางทีเราจะพูดว่า พองหนอ แต่พองเขา
จะขึ้นทีหลัง เราจะบอกว่า ยุบหนอ บางทียุบนี้จะมาทีหลัง อันนี้คือความพร้อมไม่มี
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 95

มันมีอาการเป็นอย่างนั้น พองหนอ ยุบหนอ เราจะรู้ทีหลัง มันพองขึ้นมาแล้ว เราจึงรู้


ยุบหนอ มันยุบลงไปแล้ว เราจึงรู้ หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เขาตีระฆัง..เป๊ง..เราได้ยิน
บางที เ ราก็ ก�ำหนดไม่ ทั น มั น เลยไปแล้ ว เสี ย งนั้ น แต่ เ ราก็ จ ะต้ อ งก�ำหนดตามไปว่ า
ได้ยินหนอ ๆ ที่เราพูดว่า ได้ยินหนอ นี้เราก็จะรู้ว่า เราได้ยินเสียงนั้น เสียงนั้นเป็นอะไร
เป็ น สมมุ ติ เป็ น บั ญ ญั ติ ก็ มี เป็ น สมมุ ติ อ ย่ า งไร เราได้ ยิ น เสี ย งเขาตี ร ะฆั ง เราก็ ไ ด้ ยิ น
เราจะก�ำหนดว่ า ได้ ยิ น หนอ ๆ นี้ เ ป็ น อารมณ์ ข องปรมั ต ถ์ แต่ ถ ้ า เราได้ ยิ น แล้ ว เรา
ก�ำหนดว่า ได้ยินเสียงระฆังหนอ นี้เป็นบัญญัติ จะเป็นเสียงอะไรก็ตามเราจะก�ำหนดว่า
ได้ยินหนอ แค่นี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์
ฉะนั้ น การปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น เราจะเอาอารมณ์ ข องปรมั ต ถ์ ม ากกว่ า
ที่เราจะต้องเอาอารมณ์ของบัญญัติ การที่เรารู้รูปรู้นาม รู้การเกิดการดับของสังขาร การ
เปลี่ยนแปลงไปของสังขารนี้เราก็จะรู้เช่นเดียวกัน นั่งไป ๆ แล้ว พองยุบขาดไปหายไป
บางคนบางท่านก็เข้าใจว่าไม่มีพองไม่มียุบ ก็เลยไปกลั้นลมหายใจ จะให้มันพองจะให้
มันยุบ ท�ำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง คือไม่รู้รูปไม่รู้นาม ไม่รู้ความไม่เที่ยงของสังขาร มันเกิดขึ้น
ตั้งอยู่ดับไป มันไม่เที่ยง ไม่ตรง ไม่เป็นไปตามใจของเรา นี่เรียกว่า ไม่เป็นไปตามบัญญัติ
เขาจะเป็นปรมัตถ์ เขาจะมีอาการไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็มองไม่เห็นไม่รู้ เราก็
จะไปยกมือขึ้นเป็นรูป รู้เป็นนาม เอามือลงเป็นรูป รู้เป็นนาม ลักษณะอย่างนี้เขาเรียกว่า
เป็นสมมุติเป็นบัญญัติ แต่เรามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราเอาอารมณ์ปรมัตถ์เรา
จึงไม่จ�ำเป็นต้องยกมือยกเท้า เราดูอาการดูสภาวะของเราที่มันเกิดขึ้น มันจะรู้สภาวะ
การเปลี่ยนแปลงของมันมีอยู่ บางทีมันก็นึกว่าเรานี้ง่วง ท�ำไป ๆ แล้ว เขาเกิดขึ้นตั้งอยู่
ดับไป มันจะคล้าย ๆ เราหลับ มันจะเคลิ้ม ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง มันมีอาการอย่างนั้น
ถ้าเราตั้งใจดูสภาวะอาการที่เราก�ำหนด ๆ ไปนั้น พองหนอ ยุบหนอ เราตั้งใจอยู่อย่างนั้น
เราก็ดูสภาวะอาการนั้น พองหนอ ยุบหนอ ไม่ใช่ว่าเราจะท่องไปอยู่เฉย ๆ สภาวธรรมนั้น
เขาก็จะเกิดขึ้นอยู่ในการที่เราก�ำหนด ๆ ไปนั้น อันนี้เขาเรียกว่า รู้รูปรู้นาม รู้สภาวะที่เขา
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะเห็นอยู่อย่างนี้ นี่เป็นญาณที่หนึ่ง รู้รูปรู้นาม
ญาณที่สองที่สามขึ้นไป เราก็จะเห็นสภาวะอาการนั้นมากขึ้น ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม
เช่น เราเดินจงกรมไป เราก็จะเห็นว่า เรายกเท้าไป มันก็จะขาดไปหายไป เดินไปข้างหน้า
96 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ข้างหลังมันก็ขาดไปหายไป บางคนก็เกิดกลัวว่า เหมือนคนมาเดินตามหลังเรา มาเดิน


ตามเรา คื อ มั น เกิ ด ไปดั บ ไป เดิ น ไปข้ า งหน้ า มั น ก็ เ กิ ด ไปดั บ ไป คื อ ขณะนี้ เ รานั่ ง
เราก็ รู ้ รู ป นั่ ง พอเราลุกขึ้นยืน เราก็รู้รูปยืน มันก็รู้ไปอีกว่านี้รูปยืน พอเวลาเราเดินไป
มันก็ไปรู้รูปเดินต่อไป นี้มันเป็นลักษณะนี้ นี้สภาวธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงไว้ให้เราได้ประพฤติปฏิบัติตาม ให้เราเห็นเป็นไปอย่างนั้น เพียงแต่เราไม่ให้
ขาดสติ มีสติก�ำหนดอยู่ จะคู้ จะเหยียด จะก้ม จะเงย จะดื่ม จะเคี้ยว จะฉันอะไร
ก็ให้ก�ำหนดอยู่ มีสติส�ำรวมอยู่
อันนี้มีบางคนที่เขาค้านมาว่า ถ้าไปมัวก�ำหนดอยู่จะกินอะไร จะฉันอะไร จะไป
ท�ำมาหากินได้หรือ อันนี้เรามาปฏิบัติ เราไม่ได้มาท�ำมาหากินอะไร เมื่อเรามาท�ำกรรมฐาน
เราก็ ก�ำหนดอยู ่ เรารู ้ อ ยู ่ เราก็ ท�ำหน้ า ที่ นั้ น ไป เราท�ำคนละหน้ า ที่ กั น ก�ำหนดให้ มั น
ติดต่อกัน เราก็จะรู้สภาวะอาการของการปฏิบัตินี้ให้มันตรงตามสภาวะนั้น อันนี้เรียกว่า
เรารู้ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่ถ้าเราไม่ได้เอาใจใส่ ไม่ได้ก�ำหนดรู้ในสภาวธรรม
เหล่ า นี้ มั น ก็ รู ้ ไ ด้ ย าก ฉะนั้ น การปฏิ บั ติ นี้ เ ราต้ อ งอาศั ย ความเพี ย ร ความพยายาม
ความอุตสาหะที่จะท�ำ เมื่อท�ำแล้วมันก็ได้ประโยชน์
การก�ำหนด จะต้องท�ำจิตให้เป็นกลาง ๆ ไม่ต้องไปหยั่งลงลึกว่าจะต้องให้รู้อย่าง
นั้น จะต้องให้รู้อย่างนี้ เช่น มานั่งนี่ ผมเคยพบเจ้าอาวาสหลาย ๆ กลุ่ม เขาเคยเดินธุดงค์
เข้าป่าห้วยขาแข้ง ให้หนามแทงตามป่าตามดง นี่เขาก็ไปกัน แต่ว่าไปแล้วได้อะไร ก็ได้แต่
เครือเขืองข้องขา นั่นแหละ นั่นขาเขา ขาเลือด ขาอะไรไปต่าง ๆ เพราะว่าการปฏิบัตินี้
ไม่ต้องไปหาอย่างนั้นหรอก หาวิธีการที่จะต้องก�ำหนดให้รู้สภาวธรรมนี้ การก�ำหนดก็
ให้เราตั้งอกตั้งใจดู เมื่อมาปฏิบัติกับผมนั้น เขาบอกว่า ผมท�ำมาแล้วนานแล้ว ไม่เห็นได้
สมาธิ ตรงนี้ท่านเข้าใจผิด ท่านไม่รู้ว่า ท่านนี้ได้สมาธิ เมื่อไปนั่งกรรมฐานก็จะเอาพอง
หนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ ให้มันเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้น อันนั้นไม่ได้เป็นวิปัสสนา
วิปัสสนานี้จะต้องรู้เท่าทัน พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ นี้รู้ได้ชั่วขณะ
หนึ่งเท่านั้น เดี๋ยวจิตเขาก็ไปคิดแล้ว จิตที่ไปคิดนี้ ท่านก็ไม่เข้าใจอีกว่า เอ จิตนี้มัน
คิดหรือไม่ได้คิด แต่ที่จริงนั่นเขา คิดว่า เอ พองหนอ ยุบหนอ นี่ บางทีมันก็หายไป บางที
มันก็ชัดเจน บางทีมันก็ไม่ชัดเจน เอ นี่เราก�ำหนดได้หรือเปล่า นี่เราก็ไม่เข้าใจ อันนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 97

มันคิดแล้ว คิดสภาวะที่ว่า เรานี้มันก�ำหนดไม่ได้ เราก็ต้องก�ำหนดซ�้ำลงไปอีกว่า คิด


หนอ ๆ ให้มันรู้สภาวะในอาการคิดนั้น แล้วเราก็จะรู้ว่าสภาวธรรมที่เราก�ำลังก�ำหนด
อยู่นี้มันได้ปัจจุบันหรือยัง หรือว่ามันล่วงไปแล้วเราจึงก�ำหนด มันไม่ทันต่อเหตุการณ์
ท่านก็อย่าไปเสียใจในเรื่องเหล่านั้น เช่น หูได้ยินเสียง ได้ยินหนอ ๆ ๆ มันล่วงไปแล้ว
ก็ช่างมัน ก็ค่อย ๆ ท�ำไป จะคู้เหยียด ก้มเงย ดื่มเคี้ยวฉัน อย่างเช่นจะฉัน เราเห็นอาหาร
แล้ว เราก็จะพิจารณา เห็นหนอ ๆ ๆ หิวหนอ ๆ ๆ เราไม่เคยได้ก�ำหนด ถ้าเราก�ำหนด
เราก็เห็นหนอ ๆ ๆ รู้หนอ ๆ พิจารณาไป พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า พิจารณาซะก่อนแล้ว
จึงฉัน แต่ที่เราไปพูดอยู่ว่า ปฏิสังขาโยนิโส ...(หัวเราะ) อย่างนั้นก็พิจารณาเหมือนกัน
แต่ไม่ได้ดูว่า อาหารใดจะถูกกับเรา ถ้าเราฉันมากไปมันจะมานั่งกรรมฐานนี้แล้วก็จะง่วง
ถ้าเราฉันน้อยไป ร่างกายของเรานี้ก็จะสู้กับการปฏิบัตินี้ไม่ได้ เราต้องพิจารณาอย่างนี้ด้วย
การก�ำหนดก็เหมือนกัน พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ เราต้องดูอาการ
พองหนอ ยุบหนอนี้มันมีอาการอย่างไร ในญาณที่ ๓ ที่ ๔ ไปนี้ เขาจะเห็นอาการเกิดดับ
ของสังขารนี้มาก ๆ บางทีเราก็ถึงกับมีอาการตกใจว่า ท�ำไมเราเป็นอย่างนี้ เพราะว่า การ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนี้ พอเราก�ำหนดไป ๆ แล้วเขาก็จะดับไป ดับให้เราเห็นว่ามันดับปุ๊บ
ลงไป เราก็เข้าใจว่า เอ อันนี้มันเป็นอะไร เอ เราง่วงหรือเปล่า
มันต่างกัน ตัวง่วง กับ ตัวดับในการทีเ่ ราก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ อยูน่ ี้ มันต่างกัน
อยูน่ ดิ ๆ หน่อย ๆ ถ้าก�ำหนดไปพองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ แล้วมีอาการง่วง ๆ
ซึม ๆ แล้วก็มีอาการสัปหงกไป ตัวนี้เป็นความง่วง แต่ที่มันดับด้วยอาการที่ว่าสังขาร
ทั้ ง หลายเป็ น ของไม่ เ ที่ ย ง เกิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไป อั น นี้ เ ราก�ำหนดได้ ดี อ ยู ่ พองหนอ
ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ รู้ได้ชัดเจนอยู่ รู้อาการพอง รู้อาการยุบชัดเจน แต่ว่ามันก็
ดับไป ท�ำให้เราเห็นชัดเจน และก็ไม่มีอาการง่วง ไม่มีอาการซึมใด ๆ อันนี้เป็นสภาวธรรม
เป็นการแสดงให้รู้ว่า สังขารนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ให้เราเข้าใจที่ตรงนี้
เมื่อเราเข้าใจสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันนั้นเราก็จะค่อยละอัตตาตัวตน
ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น ค�ำว่า ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น อันนี้พูดยาก แล้วก็ท�ำได้ยาก มันจะเห็น
ในอาการที่เกิดที่เป็นนั้น มันจะเห็นอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราเห็นสภาวะอาการ
นี้ แล้วเราก็จะละอัตตาตัวตน คืออัตตาตัวตนนี้พูดยาก และก็ยากที่จะพูดให้คนได้เข้าใจ
98 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แต่เวลาเขามาท�ำแล้ว เราก็บอกเขาได้ว่า นี้คืออัตตาตัวตน นี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราไม่ใช่


เขา ผู้ปฏิบัติเขาจะรู้เองตรงนี้ รู้ได้ชัดเจนว่า เวลาเขานั่ง เวลาเขาก�ำหนด แล้วเขาก็จะเห็น
ความไม่เที่ยงของสังขาร แล้วเขาก็เกิดความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายนี้ไม่ใช่จะเบื่อหน่าย
แบบนิครนถนาฏบุตร ที่เขาเบื่อหน่ายในการถือผ้าผ่อนแล้วก็ทิ้ง ไม่ใช่เราเบื่อหน่าย
อย่างนั้น แต่เราจะรู้สึกเบื่อหน่าย อย่างจะยกตัวอย่าง เราจะไปถามเขาว่า ท่านอยู่ที่ไหน
อย่างไร ถามแค่นี้เขาก็ไม่พอใจ อันนี้ความเบื่อหน่ายมันมีอยู่ ไม่ใช่มันจะไม่มี มันมีใน
สภาวธรรมตัวนี้
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ มันอ่อน ๆ อาตมามักจะพูดว่า มันอ่อน ๆ คือว่า
พอท�ำแล้วจิตใจมันก็มักจะอ่อน ๆ มันอ่อนต่ออารมณ์ต่าง ๆ ญาติโยมต้องเข้าใจ บางที
เวลามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกลับไปบ้านแล้วลูกผัวก็พูดไม่ได้ ลูกเมียก็พูดไม่ได้
ผิ ด หู ทั น ที เพราะมาปฏิ บั ติ แ ล้ ว จิ ต ใจมั น อ่ อ น ๆ สภาวธรรมมั น มี อ ยู ่ ใ นการปฏิ บั ติ นี้
ท�ำแล้วมันก็เกิดความไม่พอใจเอาดื้อ ๆ นี่แหละ ที่เป็นพระสงฆ์องค์เณรของเราก็มี
เหมือนกัน ทีม่ นั มีลกั ษณะอาการเป็นอย่างนี้
ดังนั้น ถ้าปฏิบัติแล้วสภาวธรรมต่าง ๆ นี้เกิดขึ้น เราจะต้องระมัดระวังหน่อยหนึ่ง
ในอาการอย่างนี้ คือ ผู้ปฏิบัติเกิดความไม่พอใจ เกิดความเบื่อหน่ายในหมู่คณะ เกิด
ความเบื่ อ หน่ า ยในขณะที่ ก�ำลั ง ท�ำ ที่ ก�ำลั ง ปฏิ บั ติ นี้ นิ ด ๆ หน่ อ ย ๆ ถ้ า มั น รู ้ อ ย่ า งนั้ น
ก็ให้เรารู้ว่ามันเป็นสภาวธรรมที่เขาเกิดขึ้น มันมักจะมีอาการเป็นอย่างนั้น ก็ให้ก�ำหนดว่า
รู ้ ห นอ ๆ ๆ มั น เกิ ด ขึ้ น ก็ ใ ห้ ก�ำหนดไป อย่ า ไปปล่ อ ยให้ มั น หลงไปตามอารมณ์ นั้ น
นี้คือการเกิดดับ เปลี่ยนแปลงในตัวตน ในเราในเขานี้มันมีอยู่ อันนี้หลวงพ่อพุทธทาส
ท่านจึงพูดว่า เมื่อผู้ปฏิบัติแล้วจะรู้ตัวกูของกูในอาการอย่างนี้ ลักษณะสภาวะอาการ
ตั ว กู ข องกู นี้ จ ะเห็ น ได้ ชั ด เจน ในการปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนี้ เ ราจะละตั ว กู ข องกู
ไม่ ไ ด้ ยึ ด มั่ น ในตั ว กู ข องกู มั น จะเกิ ด ความเบื่ อ หน่ า ยขึ้ น มาเองโดยอั ต โนมั ติ และ
คุ ณ ธรรมก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น เองโดยอาศั ย การเจริ ญ สติ ป ั ฏ ฐานทั้ ง ๔ นี้ เ อง และจะท�ำให้
ผู้ปฏิบัตินี้ได้รู้ธรรมเห็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ด้วยวิธีการอย่างนี้
พระองค์จึงได้ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้ชื่อว่า เห็นเราตถาคต คือเห็นสภาวธรรม
นี่แหละ ไม่ได้เห็นอะไรอื่นไกล
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 99

แตถาทานจะไปหยั่งลงลึก อยากจะเห็นอยางนั้น รูอยางนี้ จะเสกนํ้าหมาก ขาก


นํ้ามนตอะไรตออะไร อันนี้วิปสสนานี้ไมมีหรอก วิปสสนานี้มีแตทิ้ง ละ ๆ ๆ เอา ไมใช
ทานจะไปเขาใจวาวิปส สนานีจ้ ะตองเกิดอะไรอยางใดอยางหนึ่งขึ้นมา ไมมี ใหเขาใจอยางนี้
แตอาการของสภาวธรรมตาง ๆ นี้จะมีอยู สภาวธรรมนั้นยอมเกิดยอมมีแกผูปฏิบัติ
ผูใดเอาใจใสผูนั้นจึงจะเห็น ถาทานอยากจะเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจา อยากจะเห็นธรรม
ของพระองค ก็คือการปฏิบัตินี้มันจะเห็นสภาวธรรมมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู ดับไป ทาน
นั่งแลวทานก็พิจารณาไป กําหนดไป ทานก็จะรู ทานก็จะเห็น อันนีแ้ หละทีเ่ รียกวา ผูเ ห็น
ธรรม ถาเรากําหนดไป เราทําไปแลว เราจะเห็นวาพระธรรมคําสั่งสอนนี้มีอยูอยางนี้ ไมใชจะ
มีอยูลึกซึ้งยากที่เราจะเขาใจ อันนั้นเปนคําพูด แตเวลาเราปฏิบัติแลวเราจะเห็นของเราอยู
เรารูอยู สภาวธรรมตาง ๆ ยอมเกิดขึ้นแกเราทุกขณะที่เรามาปฏิบัตินี้
ทายที่สุดนี้ขอใหทานทั้งหลายจงเจริญดวยธรรม เจริญดวยอายุ วรรณะ สุขะ พละ
และขอใหทุกทานที่ไดมาฟงอยูนี้จงไดบรรลุอริยมรรค อริยผลทุกทานทุกคนเทอญ

การกําหนดจะตองทําจิตใหเปนกลาง ๆ
ไมตองไปหยั่งลงลึกวาจะตองใหรูอยางนั้น
จะตองใหรูอยางนี้
พระครูศาสนกิจวิมล
100 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พายเรือข้ามฟาก
พากายใจข้ามวัฏสงสาร*

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอกราบคารวะพระเถรานุเถระ
ขอความสุขสวัสดีแก่พระโยคาวจรทุกท่าน ขอเจริญพรโยคีทุกคน จะนั่งสมาธิไปเลย
ก็ ไ ด้ คื อ เราก็ ฟ ั ง ไปด้ ว ย จะกำ า หนดไปด้ ว ยนั้ น จะดี มี ป ระโยชน์ สำ า หรั บ คำ า บรรยาย
ของกระผม ไม่ ไ ด้ ม าต่ อ เนื่ อ ง เนื่ อ งจากว่ า ทางวั ด มี ธุ ร ะ ปกติ ถ ้ า ผมมาแล้ ว ก็ ไ ม่ ก ลั บ
แต่คราวนี้มันจำาเป็นมีสองเรื่องที่มันติดต่อกัน เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการทอดผ้าป่า เป็น
คนที่คุ้นเคยกันนานแล้วตั้งแต่พ่อแม่ของเขา พอมารุ่นลูกก็อยากมาทำาความสนิทสนม
ให้มันต่อเนื่อง เรื่องที่สองก็คือ เรื่องการเกิดการตายเป็นธรรมดา ในฐานะที่เป็นน้อง
เขาเพิ่งออกป่า ภาษาอีสานเรียกออกป่า พรุ่งนี้เขาก็รวมทำาบุญ แต่ว่าเราอยู่ไม่ได้ ที่เรามานี้
ทุ ก ท่ า นก็ ม าทำ า บุ ญ คื อ การทำ า บุ ญ ด้ ว ยอามิ ส นั่ น อย่ า งหนึ่ ง ที่ เ รามาทำ า บุ ญ ด้ ว ยการ
ปฏิบตั สิ ติปฏั ฐานทัง้ ๔ บุญอันนีจ้ ะได้มากกว่าทีท่ าำ ด้วยอามิส คือการปฏิบตั ไิ ม่ได้ปฏิบตั ไิ ป
เพื่ อ บุ ค คลอื่ น ปฏิ บั ติ ใ ห้ ไ ด้ เ ฉพาะตนเฉพาะตั ว คื อ การมาปฏิ บั ติ นี้ เ อาตั ว ของเรานี้
เป็นเดิมพัน คือเป็นที่ตั้งคือตั้งสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือเอากายานุปัสสนา คือเอาร่างกายนี้เป็น
ที่ตั้ง แล้วก็เอาเวทนานุปัสสนาเป็นที่ตั้ง เอาจิตตานุปัสสนาเป็นที่ตั้ง เอาธรรมานุปัสสนา
เป็นที่ตั้ง
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
102 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

กายานุปัสสนานั้นเอาร่างกายของเรานี้เป็นที่ตั้ง คือที่ท่านให้ก�ำหนดอารมณ์พองหนอ
ยุบหนอนั้น นี้คือร่างกายแต่ทุกคนก็เข้าใจว่า รู้แล้วว่าเอาร่างกายนี้เป็นที่ตั้ง แต่ยังไม่เข้าใจ
ในหลักของธรรมที่แท้จริง คือรู้อยู่ว่ากายานุปัสสนา พิจารณากายในกาย คือท่านให้เอา
กายนี้เป็นที่ตั้ง แล้วก็เอาสตินี้เป็นตัวที่รู้ ถ้าอุปมาก็เปรียบเหมือนว่า เรือนี้เราจะข้ามฟาก
ก็ ต ้ อ งอาศั ย เรื อ นั้ น ไป ตั ว เราที่ เ ป็ น คนพาย อุ ป มาเหมื อ นตั ว สติ ถ้ า เรามี ส ติ ที่ มั่ น คง
เราก็ พ ายเรื อ นั้ น ไปได้ ต รง แต่ ถ ้ า เราพายเรื อ ไม่ ไ ด้ ต รงก็ เ พราะสติ ข องเรานั้ น ยั ง
ฟั่นเฝืออยู่ยังไม่มั่นคง ดังนั้น ท่านจึงให้ก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มเติมเข้ามา
เช่น การคู้ เหยียด ก้ม เงย ดื่ม เคี้ยว ฉัน นี้เป็นอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ และนอกนั้น
เราก็ ใ ช้ อ ายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมู ก ลิ้ น กาย ใจ) อายตนะภายนอก ๖ (รู ป
เสี ย ง กลิ่ น รส โผฏฐั พ พะ ธรรมารมณ์ ) รวมเป็ น ๑๒ นี้ เ ราก็ เ ข้ า ใจกั น ดี อ ยู ่ แต่ ว ่ า
เมื่ อ มาท�ำแล้ ว มั น ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ เ ป็ น ปกติ อ ย่ า งที่ เ รานึ ก มั น มั ก จะไปตามอารมณ์ ต ่ า ง ๆ
อารมณ์เก่าบ้าง อารมณ์ใหม่บ้าง บางทีมันก็เอาไม่อยู่ เพราะสตินั้นไม่มั่นคง เพราะฉะนั้น
จึงให้ก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เพื่อว่าให้สตินั้นมั่นคง
สตินั้นเป็นตัวก�ำกับ ท่านมีอุปมาไว้หลาย ๆ อย่าง เช่นอย่างที่ว่า อุปมาเหมือนกับ
นายสารถีเป็นผู้ขับรถเทียมด้วยม้า ๔ ตัว ม้า ๔ ตัวนั้น ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สมาธิ
ปัญญา ศรัทธา กับ ปัญญา เป็นคู่กัน วิริยะ กับ สมาธิ เป็นคู่กัน ส่วนสตินั้น อุปมา
เหมื อ นกั บ นายสารถี ที่ ถื อ เชื อ ก เวลาเราก�ำหนดไป เชื อ กมั น จะขาดอยู ่ เ รื่ อ ย ๆ ดึ ง
ไม่ ทั น เพราะตั ว สติ นี่ มั น มั ก จะขาด ก�ำหนดไม่ ค ่ อ ยทั น เป็ น อยู ่ ใ นลั ก ษณะอย่ า งนั้ น
แต่ ก็ ยั ง ไม่ อ ยากจะพู ด อย่ า งนั้ น มาก อยากจะท้ า วความเรื่ อ งที่ เ ราปฏิ บั ติ ผ ่ า นมาแล้ ว
ตั้งแต่วันที่ ๖ ถึงวันที่ ๑๑ นี้ก็หลายวันแล้ว เมื่อมาปฏิบัติแล้วบางคนอาจจะสงสัยว่า
ใช่เป็นรูปนามหรือไม่ ตอบโดยตรงว่า เป็น ปฏิบัติแบบนี้เป็นสมมุติ เป็นบัญญัติมั้ย
ตอบได้ว่า เป็น เพราะว่า ที่เราก�ำหนดว่ารูปนามนั้น พอเราก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ
เราก็เห็นรูป เห็นนาม เห็นความไม่เที่ยงของสังขารมีอยู่ เช่น บางคนขณะที่ก�ำหนดเดินอยู่
มันจะเปลี่ยนอยู่เสมอ ๆ จากขวาเป็นซ้าย ซ้ายเป็นขวา ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า รูปนาม
นี้เปลี่ยนแปลงไป แล้วเป็นสมมุติมั้ย เป็นบัญญัติมั้ย เป็น สมมุตินี้ที่เราท�ำพองหนอ
ยุบหนอก็เป็นสมมุติขึ้น เพื่อให้ส�ำรวมจิต ส�ำรวมสมาธิ ถ้าเราไม่ส�ำรวมจะอยู่ในอารมณ์
นั้นหรือไม่ ไม่อยู่
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 103

ที่ ว ่ า สมมุ ติ บั ญ ญั ติ นั้ น มี ม าตั้ ง แต่ เ กิ ด พองหนอ ยุ บ หนอ ก็ ต ามภาษาของเรา


ถ้าเป็นภาษาแขก ภาษาพม่าก็จะพูดไปอีกแบบหนึ่ง ถ้าเป็นภาษาส่วย ภาษาเขมรเขา
ก็พูดไปอีกแบบหนึ่ง ที่ว่าเป็นสมมุตินั้นก็คือ ค�ำพูดของเรานั่นแหละ สมมุติเอาว่าสมมุติ
มันเป็นอย่างนั้น แต่พูดถึงสภาวธรรม เราจะเห็นความเกิดความดับของสังขารนั้นมีอยู่
คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พองขึ้นมานั้นเกิดขึ้น จะมาตั้งอยู่เพียงชั่วขณะนิดหน่อย แล้วก็
ดับไป อุปมาเหมือนบุรุษผู้มีก�ำลังขว้างปาท่อนไม้ขึ้นไปบนอากาศ เมื่อหมดแรงก�ำลังของ
ผู้ที่พาขึ้นไปนั้น มันก็กลับลงมา พองขึ้นมาก็เหมือนกัน พองขึ้นมาเราก็รู้อาการพอง
แล้วก็ยุบไป
ถ้ า เราก�ำหนดไปให้ ติ ด ต่ อ กั น ให้ ไ ด้ อ ารมณ์ ป ั จ จุ บั น เราจะเห็ น อาการเหล่ า นั้ น
มันจะขาดไปเป็นท่อน มีโยคีปฏิบัติอยู่ที่มหาจุฬาอาศรมนี้มาบอกว่ามันพองขึ้นมาเป็น
พัก ๆ คือ พอง ๆ ๆ ๆ ขึน้ เวลายุบมันก็จะยุบ ๆ ๆ ๆ ลง นีเ้ รียกว่า เห็นพระไตรลักษณ์
เห็ น ความเกิ ด ดั บ ของสั ง ขารมี อ ยู ่ อ ย่ า งนี้ ถ้ า เราพิ จ ารณาเราก�ำหนดไปแล้ ว ก็ จ ะเห็ น
ในลั ก ษณะอาการอย่ า งนั้ น เห็ น อย่ า งนั้ น เรี ย กว่ า เห็ น ความเกิ ด ดั บ ของสั ง ขาร เห็ น
ความไม่เที่ยง ค�ำพูดตรงนี้พระเราก็เอาไปใช้เป็นประจ�ำ เมื่อมีคนตายก็มาติกาบังสุกุล
นอกจากนั้นเราก็มาปลงคือไปอนิจจาให้เขา คือมันเกิดขึ้นอยู่ พอมันดับไป ก็เป็นทุกข์
เป็ น ทุ ก ข์ ว ่ า คนนั้ น เป็ น บิ ด า คนนั้ น เป็ น มารดา คนนั้ น เป็ น พี่ คนนั้ น เป็ น น้ อ ง คิ ด ถึ ง
สงสารที่ เ ขาจากไป พิ จ ารณาไปอย่ า งนั้ น แต่ เ มื่ อ เรามาปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐาน
เมื่อเราเห็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแล้วมันไม่ค่อยเห็นว่ามันเป็นทุกข์ที่ตรงไหน เพราะ
จิตเรายังไม่เป็นสมาธิพอ ถ้าจิตมีสมาธิพอมันจะเห็นขึ้นไปเรื่อย ๆ การปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานนั้น ไม่ใช่มันจะอยู่อย่างนี้ ๆ เราเองก็นึกว่ามันจะอยู่อย่างนี้ ๆ แต่เมื่อท�ำไป
จิตเป็นสมาธิแล้วเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารมีอยู่เสมอ ๆ คือมันเกิดขึ้น
มั น ตั้ ง อยู ่ มั น ดั บ ไป คื อ เรี ย กภาษาธรรมะว่ า เห็ น สภาวธรรมเห็ น สภาวะของสั ง ขาร
มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เปลีย่ นแปลงไปอยูเ่ สมอ ๆ
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปเรามานั่งอยู่นี้ ท�ำได้สบาย ๆ อยู่ วันหนึ่ง สองวัน แต่พอ
นาน ๆ เข้า เวทนาเกิดขึ้น เราก็เห็นว่ามันเจ็บมันปวดเพราะการนั่ง เราเข้าใจอย่างนั้น
104 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เข้ า ใจว่ า เรานั่ ง สมาธิ พู ด ตามภาษาของแพทย์ ข องหมอเขาบอกว่ า ร่ า งกายเลื อ ดลม


เดินไม่สะดวก ภาษาของธรรมะท่านเรียกว่า เห็นสภาวะของสังขาร มันเป็นไปอย่างนั้น
มั น ไม่ ใ ช่ ว ่ า อยู ่ เ ฉย ๆ คื อ มั น จะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไป แล้ ว ก็ มี เ วทนาเกิ ด ขึ้ น เวทนา
ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะเกิดขึ้นเฉพาะขณะที่เราก�ำลังนั่งอยู่ก็มี
ขณะที่เราก�ำลังเดินอยู่ก็มี ขณะที่เรานั่งอยู่นี้จะเห็นได้ชัดเจน จะว่าเรานั่งนานเกินไป
ก็ไม่ถูก เพราะจะต้องเกิดอย่างนี้ จะต้องเห็นเป็นไปอย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเฉพาะที่เราเห็น
ขณะนี้ แม้สมัยครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็เห็นอย่างนี้ พระสาวก
ทั้งหลายท่านก็เห็นเช่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่เห็นด้วยการคิดเอา นึกเอา เห็นด้วยการที่เกิด
สภาวธรรม เรี ย กว่ า เห็ น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นความเปลี่ยนแปลงไป มันเป็น
อย่างนี้ ๆ เราจะก�ำหนดให้มนั หายมันก็ไม่หาย เพราะว่าสภาวะของมันเป็นอย่างนี้
ทีนี้การเจ็บการปวดนี้ หรือในอาการที่มันเป็นอย่างนั้น ในหลักธรรมค�ำสอนของ
พระพุทธเจ้า ท่านว่าเราเห็นสภาวะของสังขาร มันเป็นทุกข์ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์
อยู่อย่างนี้ ที่พระพุทธเจ้าท่านแสวงหาทางที่จะพ้นทุกข์ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ เพราะ
รู้ว่ามันเป็นทุกข์ แต่จะหาวิธีออกจากทุกข์ได้อย่างไร ท�ำอย่างไรจึงจะไม่มีการเกิด การแก่
การเจ็บ การตาย เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงบ�ำเพ็ญไป เห็นไป รู้ไป สภาวธรรมก็พึงเกิดขึ้น
และเกิดขึ้นด้วยอะไรบ้าง มันยาวมากนะโยม มันยาวมาก คือมันท�ำไปเท่าไหร่มันก็ยิ่ง
ละเอียดอ่อนเข้าไปเท่านั้น เพียงแค่เรามาปฏิบัติแรก ๆ สองวัน สามวัน มันจะเห็นเพียง
เล็ก ๆ น้อย ๆ แต่บางคนอาจจะเคยปฏิบัติมาแล้วหลาย ๆ แห่ง ก็จะเห็นอาการ เห็น
สภาวะเห็นอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น แต่เราไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าท�ำไมมันเป็นอย่างนั้น
พระธรรมค�ำสั่งสอนนั้นน่าจะเป็นไปดีกว่านี้ นี่ตามความเข้าใจของเรา มันน่าจะ
สวยจะงามมากกว่านี้ มันไม่ใช่เป็นทุกข์ มันน่าจะไปได้ด้วยสบาย ๆ มันมีทั้งทุกข์ทั้งสุข
ทั้งโศกเศร้าพิไรร�ำพัน มีทั้งหมด เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติพึงรู้ได้ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็น
ปั จ จั ต ตั ง อาตมาพู ด อี ก แบบหนึ่ ง ว่ า ท�ำวิ ป ั ส สนากรรมฐานนี้ จ ะมี วิ ป ริ ต มั้ ย ก็ อ าจจะ
เป็ น ได้ ต้ อ งมี ค รู อ าจารย์ ที่ ค อยสอบอารมณ์ คอยตั ก เตื อ น ครู อ าจารย์ ต ้ อ งคอยแก้
อารมณ์ไม่ให้เขาติดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น ถ้าติดในอารมณ์เหล่านั้นก็อาจจะเป็นทุกข์
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 105

อาจจะมีอย่างอื่นเข้ามาแทรก วิปัสสนึกเข้ามาแทรก ก็ไปนั่งนึกนั่งคิดเอา แล้วมันก็จะเกิด


อย่างนัน้ ๆ นี้ถ้าจะพิจารณาเข้าไปให้ลึกซึ้งแล้ว เพราะจิตใจของผู้ปฏิบัติไปนึกเอาอย่างนั้น
มั น ก็ จ ะเป็ น ไปอย่ า งนั้ น ส่ ว นอาตมาคิ ด ว่ า ไม่ เ ป็ น เพราะว่ า พระธรรมค�ำสั่ ง สอนของ
พระพุทธเจ้านั้นจะไม่ท�ำให้คนเป็นบ้า มีแต่ว่าจะแก้คนบ้าให้เป็นคนดี อย่างนางปฏาจารา
เป็นบ้าเสียสติ เพราะความโศกเศร้าพิไรร�ำพันถึงบุตร สามี และบิดามารดา จึงไม่มีสติ
ยับยั้งอยู่ได้ แต่ที่นางหายจากโรคเหล่านั้นได้ ก็เพราะอานุภาพของสมเด็จพระสัมมา
สั ม พุ ท ธเจ้ า พระองค์ มี อ านุ ภ าพที่ จ ะแก้ ไ ขผู ้ ที่ เ ป็ น อย่ า งนั้ น ฉะนั้ น ที่ ห ลาย ๆ คน
ตั้งความหวังว่าอยากจะเกิดทันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือบางคนปรารถนาว่าอยากจะเกิด
ให้ทันพระศรีอริยเมตไตรย แล้วท่านจะได้โปรดเอา นี่คือความนึกคิดที่เราคิด แต่ความ
เป็ น จริ ง ไม่ ใ ช่ อ ย่ า งนั้ น นี้ เ ราก็ เ กิ ด ทั น ศาสนาของพระสมณโคดม ศาสนานั้ น ยั ง มี อ ยู ่
พระธรรมค�ำสั่งสอนนั้นยังมีอยู่พระภิกษุสงฆ์สามเณรนั้นยังมีอยู่ อุบาสกอุบาสิกานั้น
ยังมีอยู่ แต่ที่เราไม่ได้ท�ำ ไม่ได้ปฏิบัติให้ได้ถึงที่สุด เราก็จะไม่เห็น
ถ้าจะพูดว่า พระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี นั้น มีอยู่หรือไม่ ก็พุทธศาสนานั้น
ยั ง มี อ ยู ่ ต ราบใด โลกนี้ ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ ว ่ า งจากพระธรรมค�ำสั่ ง สอน แล้ ว พระโสดาบั น
สกทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ก็ยังมีอยู่ ที่เรายังปฏิบัติอยู่ ยังก�ำหนดอยู่ ยังท�ำอยู่
มีข้อวัตรปฏิบัติอยู่ตามพระธรรมค�ำสั่งสอน พระไตรปิฎกของเราก็ยังมีอยู่ ผู้ปฏิบัติก็
ยังมีอยู่ โลกนี้ก็ยังไม่ได้ว่างจากพระพุทธศาสนา เมื่อโลกนี้ยังไม่ว่างจากพระพุทธศาสนา
พระธรรมค�ำสั่งสอนนั้นก็ยังมีอยู่ แล้วเราจะปฏิบัติให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานนั้นก็
ยั ง มี อ ยู ่ ไม่ ต ้ อ งไปพบเอาในสมั ย ของพระศรี อ ริ ย เมตไตรย หรื อ ปรารถนาให้ ไ ปพบ
พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง นี่เราพบแล้ว หนึ่งเราเกิดมาเป็นมนุษย์ นี่ก็ประเสริฐแล้ว
สองได้ พ บพระพุ ท ธศาสนา แล้ ว เราก็ ไ ด้ ม าปฏิ บั ติ ธ รรมตามพระธรรมค�ำสั่ ง สอนนั้ น
ให้ รู ้ จ ริ ง เห็ น จริ ง ตามสิ่ ง ที่ ค วรรู ้ ค วรเห็ น ธรรมนั้ น ก็ ยั ง จะปรากฏอยู ่ ที่ เ ราปฏิ บั ติ ม า
ที่ท�ำพองหนอ ยุบหนอ ๆ นั้น เราก็เห็นความไม่เที่ยงของสังขารนั้นมีอยู่ การเกิดขึ้น
ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไปของสั ง ขารนั้ น มี อ ยู ่ ความเปลี่ ย นแปลงไปของสั ง ขารนั้ น มี อ ยู ่ แต่ ถ ้ า เรา
เอาใจใส่ น ้ อ ย เราก็ จ ะเห็ น ได้ น ้ อ ย ๆ ถ้ า เราเอาใจใส่ เ ข้ า มาก ๆ เราก็ จ ะเห็ น มาก
ไม่ต้องกลัวว่า มันจะเป็นบ้าใบ้ เสียสติ เป็นไปอย่างนั้น ผู้ที่จะเป็นไปอย่างนั้นมันมีอยู่
106 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แต่ที่จริงตามหลักธรรมค�ำสอนตามมหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นไม่เป็น ที่จะเป็นก็เพราะไป


นึกเอาบ้าง แล้วก็มีมาก ๆ ในบ้านเราเมืองเรา เป็นหลาย ๆ อย่าง แล้วก็บอกไม่ถูก
ว่ามันเป็นไปในท�ำนองใด
อย่ า งที่ เ คยสอบอารมณ์ พระที่ อ ยู ่ ท างจั ง หวั ด สุ ริ น ทร์ เขาจะมี วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ไ ป
คนละอย่างกัน ไม่ใช่อาการพองหนอ ยุบหนอ เขาจะท�ำพุทโธนี่แหละ แล้วมีการก�ำหนด
แหวกแนวไปอีกอย่างหนึ่ง เวลานั่งแล้วมันเจ็บปวดมึนชา เขาก็มีค�ำอธิษฐานของเขา
พิเศษ วิชาตัวนี้มาจากทางเขมร มาจากทางกัมพูชา เผยแผ่เข้ามา พออธิษฐานเข้าไปแล้ว
ก็ไม่เจ็บไม่ปวด เขาจะนั่งชั่วโมงหนึ่งหรือสองชั่วโมงเขาก็ท�ำได้ อันนี้มันก็ผสมผสาน
นอกพระพุ ท ธศาสนา ไม่ ใ ช่ พ ระพุ ท ธศาสนาโดยตรง ที่ ม าจากมหาสติ ป ั ฏ ฐานนั้ น
ไม่มีอาการอย่างนั้น ไม่มีสภาวะอย่างนั้น บางคนก็มาอธิษฐานเอาในการยืน คือ ยืน
เดินนั่งนอนนั้นก็อธิษฐานเอา ยืนเป็นชั่วโมง ๆ แต่ในสติปัฏฐานของเราไม่ได้มีอย่างนี้
แต่คนที่ไปท�ำอุตริอย่างนี้มีอยู่ ผมก็เคยพบมาเห็นมา
นอกจากนั้น ก็มีต�ำราเก่า ๆ มาจากประเทศลาวที่เรียกว่า หนังสือก้อม จะเอาวิชา
ต่าง ๆ บรรจุไว้ในนั้น แต่ไม่ทราบว่ามาจากศาสนาใด อาจจะมีมาก่อนพุทธกาลก็ได้
ได้มาแล้วก็ท่อง แล้วก็เข้าไปอยู่ในป่า บางเล่มที่อาจารย์เขาเขียนเขาบอกว่า มาจากพวก
ฤาษีให้มา เขาก็เอามาบ�ำเพ็ญ ก็มีอิทธิฤทธิ์ได้ เดินบนน�้ำได้ ท�ำพิธีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
อย่างที่หลวงพ่อคงที่อยุธยาท�ำ เข้าใจว่าเป็นต�ำราแบบเดียวกัน จะเสกเป่าให้เป็นแมลงผึ้ง
ก็ มี จะเสกเป่ า ให้ เ ป็ น หมอกเป็ น ควั น คนไม่ เ ห็ น แล้ ว หนี ไ ปให้ ไ กลได้ ก็ มี จะเสกเป่ า
ให้ เ ป็ น นก เป็ น สั ต ว์ บิ น หนี ไ ปเพื่ อ ให้ อ อกจากอั น ตรายก็ มี นี้ เ ป็ น พวกเดรั จ ฉานวิ ช า
ต�ำราเหล่านี้ไม่ได้ท�ำให้พ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา คือ ตายไปแล้วอาจจะไปตกนรก
ก็ได้ ขึ้นสวรรค์ก็ได้ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนั้นยังมีอยู่ แล้วเขาอาจจะไปเกิดเป็น
อย่างนั้นก็ได้ มีอิทธิฤทธิ์หลาย ๆ อย่างแต่ไม่พ้นทุกข์
ในพระพุ ท ธศาสนาของเรานั้ น ท�ำตามสติ ป ั ฏ ฐานนี้ จ ะได้ บ รรลุ ธ รรม ท�ำตาม
ค�ำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติอบรมสั่งสอนไว้ ถ้าเราท�ำตาม
ค�ำสอนนั้น ตามมหาสติปัฏฐานสูตรนี่แหละ ก็จะได้พ้นทุกข์ ๆ ขนาดไหนก็ทุกอย่าง
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 107

ตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางรากฐานพระศาสนาเอาไว้ เมื่อคนทั้งหลาย
ปฏิบัติตามแนวทางที่พระองค์ทรงวางไว้นั้น ก็จะได้บรรลุธรรมเหล่านี้ แล้วท�ำไมจึงจะ
ต้องมีหลาย ๆ อย่างที่ให้พวกเราได้ปฏิบัตินี้ คือท่านเห็นว่า ตามจริตของคน จริตทั้ง ๖
อย่าง แล้วแต่ใครจะมีจริตไปทางไหน ราคะ โทสะ โมหะ มีอยู่ ข้อปฏิบัติตามแนวทาง
กสิณ ๑๐ อสุภ ๑๐ กรรมฐาน ๔๐ นั้นมีอยู่ ท่านก็ทรงบัญญัติไว้ แต่มันเป็นทางที่โค้ง
ไม่ได้บรรลุธรรมได้ง่าย ๆ เว้นไว้แต่ผู้ที่มีบุญบารมีที่เขาท�ำไว้ไปบ�ำเพ็ญเข้า ผลสุดท้าย
ก็วกเข้ามาวิธีที่จะท�ำให้พ้นทุกข์ด้วยการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ส่วนผู้ที่ปฏิบัติ
ตามสติ ป ั ฏ ฐานเลย นี้ เ รี ย กว่ า เป็ น ผู ้ ป ฏิ บั ติ ท างตรงไม่ ไ ด้ อ ้ อ ม ส่ ว นผู ้ ที่ จ ะไปบ�ำเพ็ ญ
ตามกสิณ ตามจริตของตน แล้วเรียกว่า ปฏิบัติตามแนวกรรมฐาน ๔๐ นั้น ก็ท�ำจน
กระทั่งได้ฌาน แล้วจึงจะมาเข้าวิปัสสนาญาณ เมื่อไหร่จะได้อันนี้บอกไม่ถูก ท�ำอยู่นานมั้ย
ก็แล้วแต่บุญบารมีของเขา อาจจะท�ำนานก็ได้ ไม่นานก็ได้ แล้วแต่ที่เขาบ�ำเพ็ญมา ส่วน
พวกเดรัจฉานวิชาที่ไปเรียนมาแล้วได้อิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ เสกเป่าให้เป็นนก
เป็นกระต่ายอะไรก็ได้ อันนั้นไม่ใช่ธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการ
อวดกันเฉย ๆ ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญสิ่งนี้
ท่านทั้งหลายได้เรียนมาแล้ว รู้มาแล้วเปรียญธรรม ๗-๘-๙ ประโยค ท่านเข้าใจในเรื่อง
อย่างนี้ รู้หมดแล้ว แต่ท่านยังไม่รู้สภาวธรรมเท่านั้นเอง เมื่อมาปฏิบัติแล้ว เห็นสภาว
ธรรมที่เกิดขึ้น เราก็เลยไม่ได้เข้าใจในเรื่องเหล่านั้น
ค�ำว่า สภาวธรรมนี้ ผู้ปฏิบัติแล้วเท่านั้นจึงจะรู้เห็น และเข้าใจได้ดีตามสภาวะของ
ตน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา ตัวที่ว่าสภาวธรรม
นี้ พูดยากหน่อย แต่ผู้ปฏิบัตินั้นต้องประสบมา เช่น นั่งอยู่แล้วตัวโยกตัวคลอนแล้วลืม
สติไป หรือนั่ง ๆ แล้ว พอง ยุบ ขาดหายไป บางทีก็ช้า ๆ บางทีก็เร็ว ๆ แล้วสติของเรา
ไม่มั่นคง ก็เลยว่าก�ำหนดไม่ได้ ท�ำไม่ได้ ก็เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ตัวโลภะ โทสะ โมหะ
นี่ครอบง�ำให้เกิดได้ทุกเวลา เช่น ในบัลลังก์นี้ก�ำหนดได้ดี จะรักษาอารมณ์อันนี้ไว้ให้ได้
เรียกว่าท�ำความเพียรมาแล้ว พยายามจะให้ได้อารมณ์อย่างนี้ ๆ อีก นึกอย่างนี้ก็จะท�ำให้
ติดต่อกัน ทีนี้ไอ้ตัวโลภะอยากได้ก็เข้ามาแทรก อยากให้มันได้อารมณ์อย่างนี้ตลอดไป
108 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

อั น นี้ คื อ ความเข้ า ใจของเรา แต่เราไม่เข้าใจว่านี้คือตัวโลภะ เมื่อตัวโลภะเข้ามา โลภ


อยากได้อย่างนี้ ๆ ตลอด ตัวสมาธิก็ตกไป เมื่อตกไปอารมณ์อื่นก็เข้ามาแทรก อารมณ์
ที่พอใจบ้างไม่พอใจบ้างก็เข้ามาแทรก ไม่ได้เกิดเพราะเสียง ไม่ได้เกิดเพราะอย่างอื่น
แต่เกิดเพราะตัวความโลภของเราเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ความโลภนั้นจะแอบเอาของคนนั้น
คนนี้ มันเป็นความโลภที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราเอง นี้เราเห็นแล้วว่า จิตใจของเรามีกิเลส
มากน้อยแค่ไหน ยังกิเลสหนาอยู่ ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้หรอก ก็ดีแล้วที่รู้
ว่ากิเลสของเรายังหนาอยู่ ก็ให้รีบมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้มันเบาบางลง ให้จิตใจ
เป็นสมาธิ ให้มันอยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานนี้ และมีบางคนบอกว่า พูดไปก็นึกข�ำ ๆ
พวกนักศึกษาปริญญาโท เขาบอกว่าไม่อยากปฏิบัติหรอก กลัวจะไม่ได้ผัว กลัวกิเลสมัน
จะหมด (หัวเราะ) ก็เลยนึกข�ำ มันไม่ใช่ของง่าย ถ้าง่ายอย่างที่พูด มันก็ง่าย ผมก็เลย
ตอบว่า อันนั้นคือความเข้าใจผิดของเขา ท�ำไมนางวิสาขานั้นได้ส�ำเร็จพระโสดาบัน ตั้งแต่
อายุ ๗ ขวบ โตเป็นสาวแล้วก็ได้แต่งงาน ท�ำไมเขาจะท�ำไม่ได้ นี้เป็นความเข้าใจผิดเรียน
ธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วไม่เข้าใจธรรมในพระพุทธศาสนา ที่เรามาปฏิบัตินี้จะเป็น
อย่างนี้ก็ได้ แต่เราไม่เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ถ้าเผื่อว่าไม่มีการปฏิบัติธรรมตามพระพุทธศาสนา เช่นประเทศที่เขาไม่รู้จักหลัก
ธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น เขาก็จะไม่ได้อะไรเลย เกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่ได้พบพระพุทธ
ศาสนา ไม่ได้พบพระธรรมค�ำสั่งสอนเลย อันนั้นก็เป็นโชคร้ายของเขา แต่พวกเรานี้หลัก
ธรรมทางพระพุทธศาสนามีอยู่ แล้วเราได้รบั เอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานัน้ ไว้ในตัว
ไว้ในจิตในใจเราแล้วหรือยัง นี้ไม่ได้ว่าใครนะ แล้วเราจะรักษาพระพุทธศาสนานี้ให้มั่นคง
ถาวรไว้ได้อย่างไร นี้คือปัญหา
ที่มหาจุฬาฯ ได้บรรจุหลักวิธีการปฏิบัติเอาไว้ให้พวกเรานี้ ผมนึกว่า เป็นโอกาส
เป็นโชคอันดีที่บรรพบุรุษของเราได้บรรจุเอาไว้ ไม่งั้นแล้วเราจะไม่เข้าใจเลยว่า นี้เราบวช
มาแล้ว จะเข้าใจเอาว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นแต่เพียงพิธีกรรม ไม่มีหลักธรรมค�ำสอน
ทางพระพุ ท ธศาสนาเอาไว้ เ ลย ขออภั ย ที่ จ ะต้ อ งพู ด ผมไปดู ป ระเทศเขมร เขามี แ ต่
พิธีกรรม ไม่ได้เข้าใจในหลักธรรมเลย พระสงฆ์ของเขาก็มีเทศน์เหมือนกัน เทศน์ออกทาง
วิทยุ โทรทัศน์ เหมือนกัน แต่ว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยังไม่มี เหมือนกับพวกเรา
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 109

ทั้งหลายที่มีแต่พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ยิ่งพิธีกรรมวันสารท เซ่นไหว้ บวงสรวง


ท�ำบุญสารท ก็มีเหมือนกัน เหมือนในเมืองไทย นี้เรียกว่า เหลือแต่พิธีกรรม หลักธรรม
ค�ำสั่ ง สอนนั้ น ยั ง ไม่ ไ ด้ แต่ พ ระเขมรมี อ ภิ นิ ห าร มี ฤ ทธิ์ เ ดช แต่ ไ ม่ ไ ด้ น�ำมาเผยแผ่ ใ ห้
ประชาชนเข้าใจ ในป่าดงติดต่อกับประเทศเวียดนามที่รกร้าง พระสงฆ์ก็ยังไปบ�ำเพ็ญอยู่
ประชาชนไม่ได้หลักธรรมค�ำสั่งสอนนี้ไว้ในจิตใจประชาชนมีแต่พิธีกรรม
ประเทศลาวตัง้ แต่หลวงพระบางเองก็เหมือนกัน คนทัง้ หลายก็นบั ถือพระพุทธศาสนา
อ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย แต่เมื่อถามถึงวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ไม่มี ได้แต่
ฟังเทศน์อบรม พิธีกรรม ความเคารพนับถือพระสงฆ์ยังแน่นแฟ้นอยู่ พระสงฆ์เดินมา
เขาจะนั่ ง ลงก่ อ น เราเดิ น ไปแล้ ว เขาจึ ง ลุ ก ขึ้ น แม้ เ ขาเดิ น หาบตะกร้ า มา พอเห็ น พระ
เดินไปเขาก็นั่งลง เราเดินเลยไปแล้วเขาจึงลุกขึ้น แต่ประชาชนยังไม่มีข้อวัตรปฏิบัติ
ที่พวกเราก�ำลังปฏิบัติอยู่นี้ ยังไม่เข้าถึงประชาชน ถามเขา เขาก็ว่า วิปัสสนานี้ยังไม่ถึง
ทั้งสองประเทศที่ไปเห็น วิปัสสนายังไปไม่ถึง ทางเขมรบอกว่า อยากให้หลวงปู่เข้าไปสอน
ในเมืองเขมร บอกว่าไปไม่ได้ เพราะเราไม่ชัดเจนทางภาษา เขาพูดมาเราพอฟังได้เป็น
บางค�ำ แต่ไม่ทั้งหมด แต่เราพูดไปเขามักไม่เข้าใจ แต่ทางภาษาลาวนี้เข้าใจว่าพูดกันได้
ฟังกันได้ แต่มันไปขัดกับจารีตประเพณีของเขาอยู่ พวกคอมมิวนิสต์เขายังมีธงค้อนกับ
เคียวปักทั่วไปในประเทศลาว ปักคู่กันไว้ตามอาคารบ้านเรือน นี้เรายังไปไม่ได้
พระพุทธศาสนาที่เราน�ำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรนี้ ส�ำหรับท่านทั้งหลายผู้มีปัญญาดี
มีความรู้ดี ไปเทศน์สั่งสอนใครก็ได้ให้เขารู้ข้อวัตรปฏิบัตินี้มาก ๆ ขึ้น ส่วนทางญาติโยม
ก็เหมือนกัน ให้ท�ำวิปัสสนากรรมฐานนี้ให้เข้าใจจะได้ไม่หลงทาง ไม่ได้เชื่อเขาโดยงมงาย
เชื่อโดยการปฏิบัติ เชื่อโดยการที่เราได้ท�ำเอง เราได้ปฏิบัติเอง เรียกว่า เชื่อโดยธรรม
ไม่ใช่เชื่อโดยการที่ว่าเขาบอกเล่า เราปฏิบัติแล้ว เรารู้เอง เราเห็นเอง สภาวธรรมต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นนี้ เราจะรู้เอง เราจะเห็นเอง แต่ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติ เราจะเป็นอย่างนี้ เราจะ
เชื่อเขาโดยงมงาย โดยสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวเรา ให้เราสังเกตดูดี ๆ ถึงความ
เปลี่ ย นแปลง มั น มี ก ารเปลี่ ย นแปลงตามสั ง ขารที่ เ ราจะรู ้ จ ะเข้ า ใจ นี้ เ ป็ น ประโยชน์
แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านั้น หรือเราเห็นแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน ก็ต้องค่อย ๆ ท�ำไป
110 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ที่ ผ มพู ด มาแล้ ว เห็ น ว่ า ท่ า นทั้ ง หลายก็ ท�ำกั น มาทั้ ง วั น ท่ า นก็ เ หน็ ด เหนื่ อ ย
พอสมควร แต่ก็อยากจะให้พยายามท�ำไปเรื่อย ๆ แล้วก็ดูไป ดูแล้วไม่ต้องน�ำไปคิด
มันจะกลายเป็นวิปัสสนึก ดูแล้ว เห็นแล้ว รู้แล้ว ก็ก�ำหนดตามสภาวะอารมณ์นั้น บางที
นั่ง ๆ อยู่ ก็โยกไป โยกมา เซซ้าย เซขวา บางทีพื้นปูนนี้เหยียบไปก็ยุบไป นั่นคือเรารู้
สภาวธรรม ไม่ใช่กระเบื้องมันจะเป็นอย่างนั้น ในร่างกายของเรานี้มันก็เป็น เมื่อเรา
ก�ำหนดได้ดี อยู่ ๆ มันก็จะเหน็ดเหนื่อย ขี้คร้านจะก�ำหนด บางทีก็ไปนั่งพิงเสาบ้าง
ท�ำให้เราไม่เห็นสภาวะให้เรานั่งตัวตรง ๆ บางคนบอกว่านั่งไม่ได้ นั่งไป ๆ แล้วหลังมัน
ค่อมลง ๆ หรือนั่ง ๆ อยู่แล้วน�้ำลายไหล นั่นคือเรารู้ เราเห็นสภาวธรรมตามความเป็น
จริง รู้อย่างนั้น เห็นอย่างนั้น ให้ท�ำยังไง ให้ก�ำหนดตามสภาวะที่เขาเกิดขึ้น นี้คือเราเห็น
ตามความเป็นจริงเห็นตามสติปัฏฐาน ๔ ที่มันเป็นอย่างนั้นเพราะปฏิบัติถูกทาง ศรัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อเรามีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ครบทั้ง ๕ อย่างนี้พร้อมกัน สภาวธรรม
ก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้าศรัทธาตก คออ่อนแล้วนี่ ถ้าเรามีความเพียรไม่ดี บางทีก็นั่งไปแล้ว
ก็ง่วงเหงาหาวนอน นั่งไม่ได้ จะหลับอย่างเดียว ให้ลุกขึ้นเดินจงกรมใหม่ จะถึงเวลา
หรื อ ยั ง ไม่ ถึ ง เวลาก็ ต ้ อ งลุ ก ให้ วิ ริ ย ะของเรามั น แข็ ง กล้ า ขึ้ น สมั ย พุ ท ธกาลก็ มี ท่ า น
พระโมคคัลลาน์ ท่านก็ง่วง นั่งไม่ได้จะหลับ เดินจงกรมก็ไม่ได้ จะหลับ พระพุทธเจ้า
ท่านก็ให้แก้ ต�ำรับต�ำราก็เขียนเอาไว้ ท่านไม่ให้ติดในอารมณ์นั้น นี้คือสภาวธรรมที่เรารู้
ไม่ใช่ไปปฏิบัติวิปัสสนา ๑๕ วันนี้ไม่ได้อะไรเลย ที่จริงได้อยู่ แต่เราไม่รู้สภาวะตาม
ความเป็นจริงก็ฝากไว้ให้ท่านพิจารณา
ผมได้บรรยายมาพอสมควรแก่เวลา ขอคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่พึ่งปกปักรักษา
ท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลทุกท่านทุกคนเทอญ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 111

จิตไม่อยู่ในอารมณ์ที่กำาหนด
เรียกว่าไม่อยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน
พระครูศาสนกิจวิมล
112 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เห็นไตรลักษณ์ถึงไตรรัตน์ *

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอคารวะพระเถรานุเถระ ขอ
ความสุขสวัสดีแด่เพื่อนภิกษุสหธรรมิก โยคีทั้งหลาย ขอเจริญพรญาติโยมโยคีผู้ปฏิบัติ
ธรรมทั้งหลาย การบรรยายธรรมะ เป็นครั้งที่ ๓ ที่ได้บรรยายกันติดต่อมา ทั้งนี้ก็เพราะว่า
อยากจะให้เข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติในหลักธรรมการปฏิบัติที่เราปฏิบัติพองหนอ ยุบหนอ
อยากจะให้เข้าใจชัดเจนมากขึ้นตามสภาวธรรม แต่ทางพวกพระท่านอยากจะให้เล่าเรื่อง
ประวัติที่เคยได้ยินได้ฟังกันมาก่อนแล้ว ว่ามีประวัติอะไรที่มันขำา ๆ มันน่าฟัง เป็นการ
ผ่ อ นคลายอารมณ์ ที่ ไ ด้ ทำ า มาแล้ ว เรี ย กว่ า มั น เครี ย ด ๆ อยู ่ ชั ก จะอยากฟั ง สิ่ ง ที่
แปลก ๆ ครับ ก็เอาไว้ตอนท้ายก็แล้วกัน
คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ถ้าเราเข้าใจไม่ลึกซึ้ง นี้เราจะปฏิบัติได้ยาก
คำ า ว่ า ปฏิ บั ติ ด ้ ว ยความลึ ก ซึ้ ง นั้ น คื อ รู ้ ข ้ อ ธรรมที่ เ ราต้ อ งการ ที่ เ ราต้ อ งการนั้ น เพื่ อ
ประโยชน์อันใด ที่เรามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น มันมีประโยชน์อย่างไร เราจึงจำาเป็น
จะต้องปฏิบัติ ถ้าเราไม่ต้องปฏิบัติไม่ได้หรือ นี้เป็นปัญหาที่เราข้องใจกันอยู่ในการปฏิบัติ
และที่ พู ด ถึ ง มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย ที่ ใ ห้ เ ราปฏิ บั ติ นี้ จำ า เป็ น อย่ า งไรหรื อ จึ ง จะ
ต้ อ งบรรจุ เข้าในหลักสูตร ทั้งเหน็บ ทั้งหนาว อยู่ในกลางป่าดงพญาเย็นแห่งนี้ อันนี้
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๐
114 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ถ้ามาคิดในตอนนี้ก็จะบอกได้เลยว่า ถ้าไม่เป็นของดี ก็คงจะไม่ให้เข้ามาอยู่ดงพญาเย็น


เพราะว่ า หลั ก พระพุ ท ธศาสนา หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า หั ว ใจทางพระพุ ท ธศาสนานั้ น มี อ ยู ่
ในแนวทางการปฏิบัติ พระพุทธศาสนานั้น พระองค์ทรงตรัสไว้ทั้ง ๒ อย่าง ทั้งปริยัติ
และปฏิบัติ ปริยัตินี้เราได้ศึกษามาแล้ว แต่เรายังขาดปฏิบัติ แต่ถ้าเราไม่มาปฏิบัติ เอาแต่
ปริยัติอย่างเดียว พระพุทธศาสนานั้นก็ยังไม่มั่นคงดี
ถ้าสาวหาเหตุผลไปตั้งแต่สมัยพุทธกาล เดิม ๆ คงมีแต่การปฏิบัติ ทางปริยัติ
คงจะมี น ้ อ ย ท�ำไมพู ด อย่ า งนั้ น ก็ เ พราะว่ า คนทั้ ง หลายนั้ น ที่ ไ ด้ ม าฟั ง เทศน์ แ ต่ เ รื่ อ ง
การปฏิ บั ติ ให้ เ ขารู ้ จั ก ทาน รู ้ จั ก ศี ล รู ้ จั ก การปฏิ บั ติ เมื่ อ เขามี ศ รั ท ธาแก่ ก ล้ า แล้ ว
ก็ได้ไปปฏิบัติให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลเป็นล�ำดับไป แต่บัดนี้ ถ้าเราล่ะ เรามาพบ
พระพุ ท ธศาสนาถ้ า เรายั ง ไม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ เราเข้ า ใจว่ า เราถึ ง พระรั ต นตรั ย แล้ ว หรื อ ยั ง
นี้เป็นค�ำถามว่า เราถึงพระรัตนตรัยแล้วหรือยัง ไม่ใช่พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง
สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ, ก็ถึงพระรัตนตรัยแล้ว หรือว่า นัตถิ เม สรณัง
อัญญัง, ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ที่พึ่งอย่างอื่น
(นอกจากพระรั ต นตรั ย ) ของข้ า พเจ้ า ไม่ มี พู ด อย่ า งนี้ ก็ จ ะเข้ า ถึ ง พระรั ต นตรั ย แล้ ว
อันนั้นเป็นค�ำพูด แต่มาหลักของการปฏิบัติไม่ใช่เป็นอย่างนั้น การปฏิบัติที่จะเข้าถึง
พระรัตนตรัยนั้น คือ เราเห็นพระไตรลักษณ์ เห็นการเกิดการดับของสังขาร ความเกิด
ความแก่ความเจ็บความตาย ที่เราจะต้องภาวนา จะต้องปฏิบัติ ให้รู้ยิ่ง เห็นจริง ในธรรม
ที่ ค วรรู ้ ค วรเห็ น คื อ ให้ รู ้ แ จ้ ง ในการปฏิ บั ติ เห็ น สภาวะสั ง ขารนี้ มี ก ารเกิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่
ดั บ ไป เช่ น ถ้ า เราเห็ น อาการพองขึ้ น มา เราก็ ก�ำหนด พองหนอ ยุ บ ลงไปก็ ก�ำหนด
ยุ บ หนอ การก�ำหนดค�ำพู ด ตั ว นี้ ป ระกอบไปด้ ว ย ศี ล สมาธิ ปั ญ ญา คื อ ศี ล นั้ น
รักษากาย วาจา ท�ำจิตใจของตนให้หมดจด ท�ำจิตใจของตนนั้น ให้สะอาดแล้วจึงมา
ภาวนา ท�ำจิ ต ให้ ส ะอาดแล้ ว ก็ ม าดู ส ภาวะของร่ า งกาย อาการที่ พ องขึ้ น มา เราก็
ก�ำหนดว่ า พองหนอ แล้ ว มั น ก็ ยุ บ ลงไป เราก็ ก�ำหนดว่ า ยุ บ หนอ อั น นี้ ศี ล สมาธิ
ปัญญาของเราก็เกิดพร้อม มันมีพร้อม มีพร้อมแล้วก็เกิดพร้อม เมื่อเกิดมาพร้อมกัน
ทั้ง ๓ อย่าง ทั้งศีล สมาธิ ทั้งปัญญา เกิดพร้อมทั้งการส�ำรวมกาย วาจา ใจก็เกิดพร้อม
สมาธิคือความตั้งใจมั่นก็เกิดพร้อม ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๕ อย่างนี้
ก็เกิดพร้อม
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 115

แต่ถ้าเรายังไม่พร้อม คือ ศรัทธาความเชื่อนี้ พระพุทธเจ้าเทศน์ไว้มันถูกหรือ


เปล่ า หนอ ท�ำไปแล้ ว มั น จะถึ ง พระรัตนตรัยได้อย่างไรหนอ อันนี้ความเชื่อศรัทธายัง
ไม่พร้อมยังไม่มี ถ้าเชื่อว่าพระพุทธเจ้าท่านเทศน์ไว้นั้นดีแล้ว เราก็มาท�ำตาม อันนี้ศรัทธา
เกิ ด ขึ้ น พอศรั ท ธาเกิ ด ขึ้ น ก็ มี วิ ริ ย ะคื อ ความเพี ย ร คื อ ขณะที่ ตั้ ง ใจก�ำหนดพองหนอ
ยุบหนอ มันก็นั่งสัปหงกไป ง่วงเหงาหาวนอนไป เราก็ลุกขึ้นเดินจงกรม การเดินจงกรม
เราก็ตั้งใจ ขณะที่เท้าขวาเคลื่อนไป เราก็ก�ำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ ขณะที่เท้าซ้ายก้าวไป
มี ค วามรู ้ สึ ก เราก็ ก�ำหนดว่ า ซ้ า ย ย่ า ง หนอ พร้ อ ม ๆ กั น ในขณะนั้ น จิ ต ของเรา
ก็ เ ป็ น สมาธิ ขณะที่ เ ราก�ำลั ง ก้ า วอยู ่ นั้ น ก็ มี วิ ริ ย ะคื อ ความเพี ย ร ศรั ท ธาคื อ ความเชื่ อ
มั น ก็ รู ้ วิ ริ ย ะคื อ ความเพี ย รมั น ก็ เ กิ ด ขึ้ น ถ้ า เราไม่ มี วิ ริ ย ะคื อ ความเพี ย ร ขวาย่ า งหนอ
ซ้ า ยย่ า งหนอ ขวาย่ า งหนอ ซ้ า ยย่ า งหนอ พู ด ไปเฉย ๆ แต่ ป าก ใจยั ง ไม่ พ ร้ อ ม
เมื่ อ ใจยั ง ไม่ พ ร้ อ ม จิ ต มั น ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ รู ้ อ ารมณ์ นั้ น กว่ า ที่ จิ ต จะมารั บ รู ้ อ ารมณ์ นั้ น
เราก็ ท�ำมาตั้ ง หลายวั น เขาก็ ยั ง ไม่ ย อมที่ จ ะมารั บ รู ้ อ ารมณ์ นั้ น อั น นี้ คื อ มั น ขาดสติ
สติมันไม่พร้อม สมาธิคือความตั้งใจมั่นนั้น ก็ยังไม่พร้อมดี คณบดีก็ไม่น่าจะให้เรา
มาอยู่หลายวัน เอาสัก ๓ วันก็พอแล้ว (หัวเราะ) ๓ วัน ก็พอ นี้มันนานไป หนาวหลายวัน
อันนี้คือศรัทธามันตกแล้ว ศรัทธาไม่พร้อมตัวสมาธิความตั้งใจมั่นนี้ก็ไม่มี ปัญญาก็
ไม่ เ กิ ด ก็ ท�ำให้ มั น พร้ อ มทั้ ง ๕ อย่ า งนั้ น แล้ ว มั น ก็ จ ะเกิ ด ปั ญ ญาขึ้ น เมื่ อ ปั ญ ญา
เกิดขึ้นแล้ว โยคีทั้งหลายก็ยังไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง เช่นการเดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
หลวงพ่อนุยที่มาอยู่นี้แหละ ท่านบอกว่าท่านเดินจงกรมแล้วกระเบื้องมันเดินไปข้างหน้า
กระเบื้องมันไปไม่ได้หรอก ก็เขาติดปูนไว้อย่างดี มันไปไม่ได้ นี้คือสภาวะ เห็นสภาวธรรม
ในการเคลื่อนไหวของสังขาร แต่ที่จริงไม่ใช่เป็นกระเบื้องที่มันไหลไป มันเป็นสภาวธรรม
บางทีก็เหยียบไปมันก็ถล่มลง มันจมลง พอเรายกเท้าขึ้นมามันก็ขึ้นมาด้วย เหมือนกับ
เดินบนเลนบนตม เหมือนกับอาการลักษณะอย่างนั้น
ท่ า นโยมคุ ณ หลวงฉมาพยุ ห รั ก ษ์ ท่ า นเดิ น จงกรมที่ วิ เ วกอาศรม กุ ฏิ เ ล็ ก ๆ
ท่านบอกว่าให้หาไม้มาค�้ำให้หน่อย เดินลงไปมันก็จมลงไป มันจะไปถึงดินโน่น แต่ว่า
มันห่างจากดินมาตั้งเมตรหนึ่ง เดินมาข้างนี้ มันก็เป็นอย่างนี้ เดินมาข้างนั้น มันก็เป็น
อย่างนี้ ท่านกลัวจะตก ขณะนั้นท่านอายุ ๘๐ แล้ว ถามหลวงพ่ออาสภะ ท่านบอกว่า
116 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ไม่ใช่หรอก ที่เขาเป็นอย่างนั้น มันเป็นสภาวธรรมที่เขาจะต้องพบ เราก็เลยไม่ได้ท�ำให้


แต่ตัวเราเองเราก็เห็นอยู่เหมือนกันว่ามันเป็นในลักษณะนั้น เดินไปข้างนั้นมันก็เป็น
อย่ า งนั้ น เดิ น มาข้ า งนี้ มั น ก็ เ ป็ น อย่ า งนี้ ตั ว พองตั ว ยุ บ นี่ ก็ เ หมื อ นกั น พองขึ้ น มา
เอ ท�ำไมมั น เป็ น อย่ า งนี้ มั น เป็ น พั ก ๆ เรี ย กว่ า มั น เกิ ด ดั บ ๆ ตามภาษาของธรรมะ
มั น เกิ ด ดั บ ๆ อยู ่ อ ย่ า งนั้ น เวลายุ บ มั น ก็ เ ป็ น อย่ า งนั้ น เวลาพองมั น ก็ เ ป็ น อย่ า งนั้ น
เราก็สงสัย ก็ไปถามหลวงพ่ออาสภะว่า นั่นคือรู้จักพระไตรลักษณ์ คือรู้จักการเกิดการดับ
ของสั ง ขาร รู ้ ค วามเคลื่ อ นไหวของสั ง ขาร เห็ น พระไตรลั ก ษณ์ เ ห็ น อนิ จ จั ง ทุ ก ขั ง
อนัตตา เห็นความเกิดความดับของสังขาร เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ๆ แต่ที่เราไม่ได้
ท�ำกรรมฐาน มันก็มีการเกิดการดับของมันอยู่อย่างนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้
ที่เรามาก�ำหนดนี้ก็เพื่อให้เราเห็นสภาวะของมัน อาการทั้งหลายก็เป็นอยู่อย่างนี้ ๆ
แม้นักวิทยาศาสตร์ก็พูดเช่นเดียวกันกับเราว่า สังขารทั้งหลายที่มีอาการปรุงแต่ง
มันก็มีการเคลื่อนไหวและเกิดดับของมันอยู่ ฉะนั้น มันจึงรู้จักสลาย อย่างก้อนอิฐที่
สร้างนครวัดนครธมก็หินอย่างดี ไปยุคสมัยนี้มันก็ผุพังไปบ้างแล้ว ก�ำลังจะซ่อมอยู่ หรือ
ว่าปราสาทหินพิมายมันก็ผุพังเราก็ซ่อมมาแล้ว เขาพนมรุ้งเขาก็ซ่อมแล้ว ยังเหลือเขา
พระวิหาร เขมรเขาก็จะซ่อมของเขา แต่ว่าเมื่อไหร่ไม่รู้ อันนี้เป็นลักษณะอย่างนั้น มันมี
การเปลี่ยนแปลงไปมีการเสื่อมสลายไปอย่างนี้
เมื่อก่อนนี้เราก็หนุ่มนะ หล่อด้วย ไปที่ไหนสาว ๆ ก็ชอบ ไปที่ลพบุรีเขาเอาผ้ามา
ให้สึก ถามว่าสึกมาท�ำไม ก็สึกมาแต่งงาน (หัวเราะ) เราก็ไม่กล้าสึก ก็เราไม่ได้ไปสึก
เราไปเที่ ย ว ที่ นี้ ค วามเปลี่ ย นแปลงของสั ง ขารมั น เป็ น อย่ า งนั้ น สภาพของสั ง ขารมั น
เป็นอย่างนี้ พอเรามาท�ำกรรมฐานเราจึงรู้ชัดแจ้ง ชัดเจนขึ้นมาว่า พองหนอ ยุบหนอ
นี้ มั น มี อ าการเกิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไป ถ้ า เรามี ส มาธิ ดี เราก็ ยิ่ ง จะรู ้ ชั ด เจนมากขึ้ น ที่ ใ ห้
ท�ำกรรมฐานเพื่อให้พิจารณาร่างกายสังขารนี้เอง มันมีการเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ อย่าง
แล้วเราเองก็จะได้นึกถึงว่า คนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันนี้เขาจะไปไหนไม่ได้ หลังขด
หลังแข็ง เพราะว่าไม่ได้ดูสังขารของเจ้าของ ตามปกติเราก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ สมมติว่า
เราจะไปตลาด เงินก็มีพร้อมแล้ว ตะกร้าก็มีพร้อมแล้ว จะไปซื้ออันนั้นซื้ออย่างนั้น ๆ ๆ
แล้ ว ก็ ร ่ า งกายยั ง เดิ น ไม่ ถึ ง ตลาด แต่ ใ จมั น ไปถึ ง ตลาดแล้ ว ก็ ไ ปซื้ อ ของซื้ อ ได้ แ ล้ ว
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 117

ก็นึกว่าจะไปปรุงอาหารแล้วจะได้รีบไปท�ำงาน นี้จิตใจมันเลยไม่ได้อยู่ในเนื้อในตัว เมื่อ


จิตใจไม่อยู่ในเนื้อตัวมันเลยแก่เร็ว ไม่ได้พิจารณาอยู่ในตัวของเรา
บางทีคนสมัยนี้ก็มีเครื่องฟังอยู่ในหูตลอดเวลา จิตใจมันจะไปอยู่กับอิฏฐารมณ์
อนิฏฐารมณ์ คนนั้นพูดดี คนนี้พูดไม่ดี คนนี้พูดน่าฟัง คนนั้นพูดไม่น่าฟัง ก็เลยไป
คิดแต่เรื่องของเขา เรื่องตัวเรานี้ไม่ได้ดู พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ดูคนอื่น ให้ดูที่ตัวเองว่า
ขณะที่ เ ราปฏิ บั ติ นี่ คู ้ เหยี ย ด ก้ ม เงย ดื่ ม เคี้ ย ว ฉั น เราก�ำหนดได้ ทั น มั้ ย ขณะที่
เราก�ำลั ง ฉั น ข้ า วอยู ่ นี่ เราตั ก ขึ้ น มา มาหนอ ๆ ใส่ ห นอ ๆ ๆ อมไว้ อมหนอ ๆ ๆ
วางหนอ ๆ ๆ เคี้ยวก็ เคี้ยวหนอ ๆ ๆ ละเอียดแล้วจึงกลืน กลืนหนอ ๆ ๆ แล้วเรา
ก็ตักค�ำต่อไป พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าที่เขาท�ำได้อย่างนั้น เพราะเขาพิจารณาแล้วจึงฉัน
ของทางภาคอีสานโบราณยังมีอยู่ ไม่ได้ว่าพระนะ พระองค์ใดเณรองค์ใดที่ฉันข้าวโดย
ไม่ได้พิจารณา ไม่ได้ก�ำหนด เมื่อฉันอาหารของญาติโยมแล้วไม่ได้ก�ำหนด จะตายไป
เป็นวัวเป็นควาย ไปลากคราดลากไถให้เขา จนกว่ากรรมนั้นจะหมดจากคนนั้น อันนี้
มาพิ จ ารณาในมหาสติ ป ั ฏ ฐานนี้ ก็ อั น เดี ย วกั น อาหารที่ เ ราฉั น นี้ เ ราฉั น ด้ ว ยกิ เ ลส
ฉันด้วยตัณหา ด้วยความพอใจในรสอาหารนั้น โดยไม่ได้พิจารณา มันก็จะเป็นบาป
ฉะนั้น ที่เรามาท�ำกรรมฐานนี้ ก�ำหนดอยู่ ก็ท�ำให้จิตของเราเป็นสมาธิไปชั่วขณะ
หนึ่ง ๆ แล้วเวลาที่เราคิดว่า จะรีบฉันให้เสร็จแล้วก็จะได้ไปท�ำกรรมฐานต่อ เพื่อให้มัน
เร็ ว ขึ้ น ตรงนั้ น เป็ น ความเข้ า ใจที่ ผิ ด ที่ คิ ด ว่ า ขณะที่ ก�ำลั ง ฉั น นี้ ไ ม่ ไ ด้ ท�ำกรรมฐาน
ขณะที่ เ รายกข้ า วขึ้ น ใส่ ป าก ขณะที่ เ คี้ ย วอาหาร อาหารที่ ไ ปถู ก ที่ ลิ้ น เผ็ ด เค็ ม เราก็
ก�ำหนดรสหนอ ๆ ๆ เมื่อเราเคี้ยวโดยละเอียดแล้วจะไปอยู่ในกระเพาะอาหารได้นาน
ถ้าเราเพียงเคี้ยวนิด ๆ หน่อย ๆ แค่มันเปียกน�้ำลายแล้วก็กลืนเข้าไป กระเพาะอาหาร
ก็ท�ำงานมากขึ้น อาหารที่เราเคี้ยวไม่ค่อยละเอียด ที่นี้บางคนก็เลยเกิดเป็นโรคกระเพาะ
เพราะเคี้ยวอาหารไม่ได้ละเอียด นี้เป็นวิธีการของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ว่า
เห็นพระไตรลักษณ์รู้การเกิดการดับรู้สภาวะของสังขารที่เกิดขึ้นอยู่นี้ เราต้องพิจารณา
ให้เห็นตามความเป็นจริงจึงจะได้รู้ว่านี้คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเราไม่ได้
เอาใจใส่ ก�ำหนดบ้างไม่ก�ำหนดบ้าง ผลจะไม่ค่อยเกิด อย่างที่พูดไว้ตั้งแต่ต้น ๆ ว่า
เรามีเหตุผลอย่างไรที่เราจะต้องมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และมีประโยชน์อันใดที่เรามา
118 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ ก็มีประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา หนึ่ง เราได้ปฏิบัติตาม


พระธรรมค�ำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อที่เรามาปฏิบัติแล้วเราได้
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาล ยากที่จะมีในที่อื่น ๆ จะมีในพระพุทธศาสนาของเราเท่านั้น
มีทั้งในปัจจุบันชาตินี้ ทั้งในชาติหน้าที่เราได้
ถ้ า เจริ ญ วิ ป ั ส สนากรรมฐานให้ ไ ด้ อ ริ ย มรรคอริ ย ผลจริ ง ๆ ได้ ผ ่ า นโสฬสญาณ
ญาณทั้ง ๑๖ ที่เราปฏิบัติอยู่นี้ เราท�ำไปเรื่อย ๆ มันก็จะไปผ่านญาณ ๑๖ เมื่อเราผ่าน
ญาณ ๑๖ นี้ก็ปิดประตูอบายภูมิทั้ง ๔ เราจะไม่ไปเกิดในอบายเหล่านี้ แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติ
ไม่ได้ท�ำกรรมฐาน ก็ไม่แน่ว่า ขออภัยพระทั้งหลาย ไม่ว่าจะบวชมากี่พรรษาก็ตาม แต่
ว่าไม่ได้ท�ำกรรมฐาน ปฏิบัตินี้มีหวังลงนรกได้เหมือนกัน นี้ไม่ได้พูดให้ท่านเป็นกันเอง
ที่ ว ่ า นั้ น รั บ รองได้ ว ่ า เป็ น อย่ า งนั้ น คื อ อย่ า งฤาษี ชี ไ พร ปฏิ บั ติ ไ ด้ ป ฐมฌาน ทุ ติ ย ฌาน
นั้ น เป็ น ฌานโลกี ย ์ เหาะเหิ น เดิ น อากาศได้ จะไปไหนมาไหนก็ ไ ด้ เมื่ อ ตายแล้ ว ก็ ไ ป
เกิดเป็นพรหม ถึงรูปพรหม อรูปพรหมก็ได้ อย่างเช่นอาจารย์ผู้ที่สอนให้พระพุทธเจ้า
ตอนแรก ๆ ที่บ�ำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้ก็นึกถึงอาจารย์ทั้งสอง แต่อาจารย์
ทั้งสองก็ได้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหม ไม่มีตัวมีตน ก็ไม่สามารถไปเทศน์อบรม
สั่งสอนได้ จึงได้หันมาหาปัญจวัคคีย์ นี้ก็เป็นที่เข้าใจกันดี ที่ว่าเขาไปเกิดเป็นพรหมนั้น
แต่กรรมชั่วที่เขาได้ท�ำไว้ในหลาย ๆ ชาติ กลับมาจากพรหมโลกแล้วอาจจะลงนรกเลย
ก็ได้ อาจจะกลับไปเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ อาจจะไปเป็นเปรตเป็นอสุรกายก็ได้ แล้วแต่
บุพกรรมที่ เ ขาได้ สั่ ง สมมาก่ อ น อย่ า งนี้ ถ ้ า เป็ น พระสงฆ์ อ งค์ เ ณรของเรา เราเข้ า ใจว่ า
เราปฏิบัติได้ดีหรือยัง ไม่ได้ว่าพระนะ อย่าไปเข้าใจผิดว่าเราบวชมาแล้ว เราได้ปฏิบัติ
ท�ำจิตใจของเราให้หมดจดสะอาดหรือยัง ถ้าเรายังไม่ท�ำจิตใจของเราให้หมดจด นี้ผม
ไม่อยากพูดไปมาก มันกระเทือนกัน ให้นึกถึงตรงนี้ว่าเราท�ำจิตใจให้หมดจดสะอาด
หรือยัง
ทีนี้มาพูดถึงว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนานี้มีอยู่ เป็นของง่ายมั้ย จะว่าง่าย
ก็ง่าย จะว่าเป็นของยากก็ถูกต้อง แต่ก่อนนี้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ ความเข้าใจ
ของประชาชนคนทั้ ง หลายว่ า เป็ น ฆราวาสจะมาปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานได้ ห รื อ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 119

นี้ก็อันหนึ่ง นี้มาถึงผู้หญิงว่า ผู้หญิงจะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้มั้ย แม้แต่ทาง


พระเองก็พูด ท่านไปสอนกรรมฐานผู้หญิงได้อย่างไร อันนี้คือค�ำถามของเรา ไม่ใช่เป็น
พระหนุ่มเณรน้อยนะ พระขนาดเจ้าคณะจังหวัด เคยถามผมประจ�ำ ที่ว่ายังไม่เข้าใจ
ผมสอนได้ ท�ำไมผมสอนไม่ได้ ผมให้ธรรมะเขา ให้ข้อวัตรปฏิบัติเขา ไม่ได้ไปจับต้องเขา
ไม่ ไ ด้ ไ ปจั บ มื อ จั บ เท้ า เขา เพี ย งแต่ แ นะน�ำให้ ท�ำ ที่ นี้ ม าถึ ง ว่ า ครั้ ง สมั ย พุ ท ธกาล
พระพุทธเจ้าทรงสอนนางวิสาขา พระนางปชาบดีโคตมี ผู้เป็นแม่เลี้ยงและอีกหลาย ๆ คน
ก็สอนจนเขาได้บรรลุพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี จนส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์กัน
มาเยอะแยะ ก็ภิกษุณีไม่ใช่ผู้หญิงเหรอ นางภิกษุณีก็เป็นผู้หญิง พระพุทธเจ้าก็สอนได้
อย่างที่พระองค์เห็นนางปฏาจาราก็บอกว่า น้องหญิงเข้ามาได้ นั้นคือพระองค์เพ่งให้
นางนั้นได้สติแล้ว อานุภาพของพระพุทธเจ้านั้นท่านท�ำได้ อย่างองคุลิมาลนี้พระพุทธเจ้า
ท่านท�ำได้ คนอื่นจะไปโปรดเอาไม่ได้ พระพุทธเจ้านั้นจะไปโปรดเอาใคร พวกยักษ์
พวกมารบางตัว ก็ ไปโปรดเอาไม่ได้ พระองค์จะไปโปรด ไปเทศนานั้ น ไม่ ได้ไปด้ ว ย
ความราบรื่นตลอดอย่างที่เราเข้าใจกัน บางครั้งจะไปขอพัก เขาก็ไม่ให้พัก เขาจะไปให้
พักในที่ไม่เหมาะสม แต่พระองค์ก็ไป ไปเพื่อมีความหวังว่าจะได้ไปโปรดเขา เพื่อให้
เขาได้รู้หลักธรรมะนั้น เขาจะท�ำอะไรก็ให้เขาท�ำ แต่อานุภาพของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีใคร
ที่ จ ะท�ำพระองค์ ไ ด้ แม้ แ ต่ พ ญามารก็ ไ ม่ ส ามารถที่ จ ะท�ำร้ า ย นี้ เ ป็ น อานุ ภ าพของ
พระพุทธเจ้า
ทีนี้มาถึงพวกเรา เรามาปฏิบัตินี้เราได้พิจารณารู้แจ่มแจ้งหรือยัง เรามาขัดข้อง
อยู่ที่ตรงไหน จิตใจของเรารู้เท่าทันอารมณ์นี้หรือยัง หรือว่ายังรู้ไม่ได้ชัดเจนก็ให้กลับมา
ดู อ าการเคลื่ อ นไหวต่ า ง ๆ ของเรา ให้ รู ้ เ ท่ า ทั น กั บ สภาวะอารมณ์ ท่ า นจึ ง ให้ ก�ำหนด
อิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ คู้ เหยียด ก้ม เงย กิน ดื่ม เคี้ยว ฉัน ก็ก�ำหนดตามอารมณ์
นั้ น ให้ พิ จ ารณาอยู ่ อ ย่ า งนี้ สภาวธรรมนั้ น ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น แก่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ แล้ ว มี อ ะไรบ้ า ง
ที่ อ ยู ่ ที่ นั่ น มี ศี ล มี ส มาธิ มี ป ั ญ ญา แล้ ว ความเฉลี ย วฉลาดก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น แก่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ
ไม่ใช่ว่าท�ำแล้วไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเกิด มันมีสภาวธรรมเกิดขึ้น แต่เราไม่เข้าใจ แต่พอไป
เล่า ไปสอบอารมณ์นั้นคือ ไปเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์นั้นก็พิจารณาว่าเขามีอาการอย่างนี้
สภาวธรรมนี้ก็จะอยู่ในญาณขั้นนี้ สภาวะเป็นไปอย่างนั้น
120 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เมื่อพูดถึงสภาวะก็มานึกถึงว่า สมัยพุทธกาลโน้นเพียงแค่ฟังเทศน์ไม่นานเท่าไรก็ได้
บรรลุเป็นพระอรหันต์ โสดา สกทาคามี มันเป็นได้สองอย่าง คือ อานุภาพของสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นอันที่หนึ่ง ที่จะท�ำให้ผู้ฟังธรรมนั้นบรรลุธรรมได้เร็ว อันที่ ๒
ก็คือ บุญกุศลของผู้ที่ปฏิบัติเอง เคยปฏิบัติมาแล้วแต่ว่าไม่ได้ท�ำติดต่อกัน ก็เลยยังไม่ได้
บรรลุ ไม่ได้เห็นธรรม ที่เราท�ำอยู่ในขณะนี้ จะหายไปมั้ย จะหมดไปไหม ไม่ได้หาย ไม่ได้
หมดไป
อุ ป มาสมั ย นี้ เ ขามี เ ครื่ อ งคอม พองหนอ ยุ บ หนอ บุ ญ กุ ศ ลนั้ น ก็ ถู ก บั น ทึ ก ไว้
บันทึกไว้จนกระทั่งถึง นิพพาน เมื่อใดที่มีโอกาสก็จะได้บรรลุธรรม เอาของเก่า เอา
บุ ญ กุ ศ ลเก่ า นี้ อ อกมา เป็ น จริ ง หรื อ ไม่ เ ป็ น จริ ง นี้ มี ค�ำค้ า นมา เป็ น จริ ง ถ้ า ไม่ เ ป็ น จริ ง
องค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ก็ ม านึ ก ถึ ง ผลทานของตนเองตอนที่ อ ยู ่ ที่ บั ล ลั ง ก์
ใต้ต้นโพธิ์นั้น พญามารมาถามว่า อะไรใครเป็นพยานให้เธอมานั่งอยู่นี้ พระพุทธเจ้าก็ชี้
ที่แม่พระธรณีนี้เป็นพยาน แล้วก็เกิดเป็นน�้ำท่วมเป็นบุคลาธิษฐาน อันนี้บุญกุศลที่เรา
มาท�ำอยู่ในขณะนี้ ก็เป็นการบันทึกเอาไว้ พองขึ้นมาเราก็ก�ำหนดพองหนอ ยุบลงไปเรา
ก็ก�ำหนดยุบหนอ นี้เป็นเครื่องคอมที่จะบันทึกเอาไว้ แต่เครื่องของท่านอย่าได้ไปใส่อันที่
ไม่ดีไปด้วย จิตอย่าให้ขุ่นมัว ต้องให้เป็นจิตที่เลื่อมใสศรัทธาอยากจะได้อยากจะรู้ พองขึน้
มาก็ก�ำหนด พองหนอ พองหนอ นี้ ศีล สมาธิ ปัญญาของเราก็มพี ร้อม สติของเราก็พร้อม
ปัญญาของเราก็มี รู้สภาวะอาการของท้องพอง รู้สภาวะอาการก่อนที่มันจะดับ มันเกิดขึ้น
มันตั้งอยู่ มันดับไป เราก็รู้ อันนี้เป็นเครื่องคอมที่เราจะบันทึกของเราเอาไว้
เคยถามหลวงพ่ออาสภะว่า ที่ก�ำหนดนี้เราได้อานิสงส์มากน้อยแค่ไหน ท่านบอก
ว่า เราได้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้มานับไม่ถ้วนแล้ว แต่ที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์
พบพระพุทธศาสนา ได้มาบวช ได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ บุญอันยิ่งใหญ่แล้ว ที่เรา
ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้มาปฏิบัตินี้เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ แต่ว่าที่เราก�ำหนด
พองขึ้นมา นี้ตัดไปครั้งละ ๑๐ ชาติ ยุบหนอก็ตัดชาติไปอีกทีละน้อย ๆ ไป แล้วเราก็จะ
ได้พบสุข คือพระนิพพานในที่สุด อันนี้เมื่อเราปฏิบัติ อานิสงส์ที่เราได้นี้ก็เป็นของ ๆ เรา
ถ้าเราไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้เราก็ไม่อยากจะปฏิบัติ ถ้าเราเข้าใจเกิดความอยากได้ขึ้นมา
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 121

ก็อยากจะปฏิบัติว่ามันมีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น อริยมรรค อริยผลนี้มีอยู่ แล้ว


เราเจริญไปท�ำไปเรื่อย มรรคผลนิพพานก็จะเกิดมีแก่เรา ไม่ได้ช้า ไม่ได้นาน มรรคผล
นิพพานนั้นยังมีอยู่ ตามรอยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้วางรากฐานพระ
พุทธศาสนานี้เอาไว้
แต่ที่เราไม่เข้าใจนั้น เพราะว่าอะไร ไม่ได้มีพื้นฐาน ไม่ได้ยินได้ฟังมา ก็เลยไม่ค่อย
เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ ถึงฟังก็ยังเชื่อไม่ได้ ฟังแล้วยังเชื่อไม่ได้ เราจะต้องลงมือปฏิบัติเอง
เราจึงจะเชื่อตัวเราได้ อันนี้มันถูกหรือมันผิด จะต้องไต่ถามกัน ถามกับอาจารย์ อันนี้
มันถูกหรือมันผิด มันมีอาการสภาวะอย่างนี้ ๆ นี้มันถูกหรือมันผิดก็ให้เรารู้ แต่คนที่ไม่รู้
ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนา ไม่เคยได้ปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานจะมาพูดว่า พระพุทธศาสนา
นั้นไม่ดี เราอย่าไปเถียงเขา เพราะเขาไม่รู้จริง เขายังมืดบอดอยู่ คือเขาไม่เข้าใจว่า
พระพุทธศาสนาของเรานั้นดีอย่างไร ดีที่การปฏิบัติ ที่เราท�ำนั้น เราไม่ได้ไปนึกเอา ไม่ได้
ไปคิดเอา เราปฏิบัติเอาเราจะรู้เองเห็นเอง
สภาวธรรมที่เกิดขึ้นแก่เราเวลานั่งแล้วท�ำไมปวดมาก เวลาลุกไปแล้วท�ำไมมัน
ไม่ ป วด นั่ ง ๕ นาที ๑๐ นาที ขาทั้ ง สองข้ า งที่ มั น ทั บ กั น นี้ ค ล้ า ยกั บ ท่ อ นไม้ ม าทั บ กั น
นี้คือสภาวะทุกข์ เห็นทุกข์ในสังขารนี้ เป็นอย่างนี้ แต่ผู้ที่เขาไม่ได้มาปฏิบัติ เห็นทุกข์ไหม
เขาก็ ไ ม่ รู ้ เขารู ้ ทุ ก ข์ ไ หม เขาก็ ไ ม่ รู ้ เขารู ้ อ ย่ า งอื่ น ไหม เขาก็ ไ ม่ รู ้ เขาก็ เ ห็ น แต่ ว ่ า พระ
นุ่งเหลืองห่มเหลืองนั่นก็คือพระ พระไม่ได้ฉันข้าวเย็น ท�ำไมพระอยู่ได้ ผมอยู่ไม่ได้หรอก
พวกฝรั่งว่าอย่างนั้น นี่คนไทยเราก็มีเหมือนกัน นี่เพราะเรามีธรรมะ ถ้าเราไม่มีธรรมะ
เราก็อยู่ไม่ได้ แต่ที่เรายังไม่ได้เห็นธรรมะมาก ๆ ขึ้นนั้น เพราะเรายังไม่ได้ปฏิบัติ
ฉะนั้ น ถ้ า ใครมาพู ด ว่ า พระพุ ท ธศาสนานั้ น ไม่ ดี พ อ ถามว่ า งั้ น เธอเคยปฏิ บั ติ
วิปัสสนากรรมฐานไหม เคยเอาใจใส่ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไหม รู้ข้อวัตรปฏิบัติ
ในพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง เราต้องไปทางโน้น มาถามกันหลายคน ผมบอกว่าผมไม่รู้
ถ้าท่านอยากได้ท่านต้องมาลองปฏิบัติดู ถ้าท่านมาถามผม ผมไม่รู้หรอก แต่ถ้าท่านปฏิบัติ
มาผมจึงจะรู้ ถ้าท่านไม่มาปฏิบัติ ผมก็ไม่รู้ว่าท่านจะปฏิบัติได้จริง มีศรัทธาความเชื่อ
เลื่อมใสแล้วมันดียังไง วิปัสสนากรรมฐาน ผมไม่ได้ดีอะไรหรอก เลขผมก็ไม่รู้ ถ้าผมรู้
122 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ผมก็บอก วันที่ ๑๖ ก็ถูกกันทุกคน แม้แต่ว่าแมลงป่องมันต่อยผมก็เป่าไม่หาย แม้คนอื่น


เขาเป่าแล้วหายก็มี เขาไม่ได้เรียนกรรมฐาน อันนี้ที่เราจะต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจ
ส�ำหรั บ คนที่ จ ะมาโจมตี พ ระพุ ท ธศาสนาก็ ใ ห้ เ ขามาปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานดู
ถ้าเขาไม่มาปฏิบัติก็ช่างเขา ว่าไงก็ช่างเขา เพราะเขาไม่ได้ปฏิบัติ นี้ทางไสยศาสตร์ เช่น
อย่างทางภาคอีสานนี้มีสมเด็จลุน ทางอยุธยาก็มีหลวงพ่อคง อะไรนี้หลาย ๆ อย่าง
ทางปากเซ ทางประเทศลาว ก็มี ในลักษณะอาการอย่างนัน้ เรียกว่ามีของดี มีการแสดงฤทธิ์
ได้หลาย ๆ อย่าง อย่างนี้พวกเราติด แต่นั้นไม่ใช่หลักทางพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
อันนั้นเป็นโลกียะ ทางโลกที่มีมาคู่ ๆ กัน นี้เกิดด้วยต�ำราที่เขาเรียนเอาสืบ ๆ ต่อกันมา
เขาเรี ย กว่ า ต�ำราของพระอรหั น ต์ อ ยู ่ ที่ ป ระเทศลาว แต่ อ ยากได้ ต ้ อ งปฏิ บั ติ ต ามนี้
ต้องเข้าไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๓ ปี แล้วออกมาอยู่ในที่แจ้ง อีก ๓ ปี หมั่นบ�ำเพ็ญเพียร
ก็จะได้อันนี้ขึ้นมา
ใกล้ ๆ ผมก็มีอยู่ ๒ รูป รูปแรก คือ หลวงปู่วัดบ้านแข คนอื่นพูดว่าจะรู้อย่างนั้น
อย่างนี้ ท่านว่า มึงมาท�ำไม มึงว่ากูอย่างโน้นอย่างนี้ ท่านพูดอย่างนั้น ผมถามว่า ตา
ถ้าเราอยากได้นี้ เราจะปฏิบัติอย่างไรให้มันศักดิ์สิทธิ์ ท่านบอกว่าให้เข้าไปอยู่ในภูในเขา
๓ ปี แล้วก็ออกมาอยู่ที่โล่งแจ้งอีก ๓ ปี แล้วก็จะได้หลักธรรมะนี้เกิดขึ้น รูปที่สองคือ
หลวงพ่อสรวง จะว่าเป็นพระก็ได้ ไม่เป็นพระก็ได้ บางคนบอกว่าท่านถือครองฤาษี เขาว่า
ท่านอยากจะไปไหนก็ไปได้ อันนี้ผมก็เคยเห็น ผมเคยไปมาหาสู่กันเป็นประจ�ำว่าอยาก
จะรู้อะไรกับท่าน ครั้งหนึ่ง ผมบอกว่าผมไม่มีเงินเติมน�้ำมัน ไม่มีค่ารถ เดี๋ยวจะไปหา
หลวงพ่อสรวง ไปขอหลวงพ่อสรวงให้ พอไป ก็ไปเจอท่าน พอเจอท่าน ท่านก็นั่งอยู่
สักพักหนึ่ง โยมก็ถือของนี้มาให้ มีเสื่อ หมอน ผ้าสบง จีวร มุ้ง จะเอาก็เอา ท่านไม่เอา
ผมก็เลยรับไว้ แล้วมีปัจจัยด้วย ๓ พันบาท โยมเอามาให้ บอกว่าเป็นปัจจัยของท่านเอง
เราจะหยิบมันก็ไม่ดี ท่านก็บอกว่าเอามานี่ ท่านก็หยิบไป แต่เรามอง เราก็ไม่เห็นปัจจัยนี้
ไม่รู้มันไปไหน เสื่อหมอนมันก็วางอยู่นั้น นี้หลาย ๆ ครั้งที่เราเห็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
หลาย ๆ อย่าง บางครัง้ ทีไ่ ปหาท่าน ก็นกึ ในใจว่า ให้พบกับหลวงปูส่ รวงบ้าง ตามถนนก็ไป
ก็ได้เจออยู่ บางคนเล่าให้ฟงั ว่าเขาไปล่าเนือ้ ในป่า เอาข้าวมาหุง ท่านก็มาหาเขา แต่มนั ไม่มนี ำ�้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 123

จากจุดที่อยู่จะไปหาน�้ำนั้นก็ประมาณ ๑๐ กิโล ไปไม่นานท่านก็กลับมา ได้น�้ำมาหุงข้าว


ท่ า นก็ ถ ามว่ า มึ ง ได้ อ ะไรมา เนื้ อ ก็ ไ ม่ ไ ด้ หานกก็ ไ ม่ ไ ด้ ท่ า นก็ บ อกว่ า งั้ น มึ ง อยู ่ นี่
เดี๋ยวกูไปหาปลาร้ามาให้ ท่านก็ไปเอาปลาร้ามา ปลาแดกเหนียวลาว ก็ไปเอามากินข้าวกัน
ข้ า วในหม้ อ นั้ น ก็ กิ น กั น ๕ คน กิ น กั น จนอิ่ ม แล้ ว ข้ า วก็ ยั ง เหลื อ อยู ่ ไ ม่ ห มด นี้ ท ่ า น
ก็ท�ำให้เห็นอยู่ บางทีท่านก็มานอนที่กุฏิผม เขาเอาอะไรให้ฉัน ท่านก็ไม่ฉัน เวลาท่านหิว
ท่านก็มานั่งฉัน แต่ผมก็ไม่ได้อะไรสักอย่างหนึ่งจากท่าน
ส่ ว นสมเด็ จ ลุ น นั้ น บวชด้ ว ยเลื่ อ มใสในพระพุ ท ธศาสนา บวชแล้ ว เขาบอกว่ า
อาจารย์อีกองค์หนึ่ง สมเด็จยาคูขี้หอม ท่านตายแล้วก็เก็บศพไว้หลายวันเขาจึงเอาไปเผา
ท่ า นห่ ม ผ้ า เฉวี ย งบ่ า อย่ า งดี แ ล้ ว ท่ า นก็ ต าย ท่ า นก็ สั่ ง ไว้ ว ่ า ใครก็ อ ย่ า ไปแตะต้ อ ง
ก็ อ ย่ า ไปท�ำ อยากจะเผาก็ เ ผา อยากจะท�ำอะไรก็ ท�ำ แต่ อ ย่ า ไปรื้ อ ผ้ า จี ว รนี้ อ อก
คนทั้ ง หลายก่ อ นที่ จ ะเผาก็ ไ ปล้ า งหน้ า ล้ า งตา สามเณรลุ น ก็ ขึ้ น ไปดู ไปแล้ ว ก็ เ ห็ น
หนั ง สื อ ก้ อ มที่ เ หน็ บ อยู ่ ใ นรั ก แร้ นี้ ก็ ส มเด็ จ ยาคู ขี้ ห อมนี้ ใ ห้ เ อา คนอื่ น ก็ ไ ม่ รู ้ ก็ ไ ด้
ต�ำราตัวนี้มาศึกษามาเรียนต่อจนได้อภิญญา หายตัวได้ บางทีก็ไปบิณฑบาตที่เวียงจันทน์
พนมเปญ กรุ ง เทพ มี อ ภิ นิ ห ารหลาย ๆ อย่ า งที่ ค นเขี ย นเขาเขี ย นไว้ แต่ สิ่ ง เหล่ า นี้
เป็ น เพี ย งโลกี ย ะเฉพาะทางโลก ได้ แ ล้ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ บ รรลุ ม รรคผลไม่ พ ้ น เมื อ งนรก แต่
วิปัสสนาที่เราท�ำอยู่นี้ ผู้ใดที่ประพฤติได้ ได้แล้วก็จะท�ำให้พ้นทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค
อริยผลนั้นยังมีอยู่ พระพุทธศาสนายังมีอยู่
ฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เราอย่าเพิ่งไปประมาทว่าไม่เป็นของจริง
หรือว่าเป็นของจริงแต่ว่าเอาไม่ได้ไปโทษบุญ โทษวาสนา โทษบารมีก็ยังไม่ถูก ท�ำไม
ไปโทษว่าบารมีไม่มี ถ้าบารมีไม่มี เราไม่ได้มาเกิดอยู่แถวนี้หรอก โลกนี้มันกว้างอยู่
เราก็ อ าจจะไปเกิ ด ที่ ไ ม่ มี พ ระพุ ท ธศาสนาก็ ไ ด้ นี้ เ ราได้ เ กิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ แ ล้ ว ได้ พ บ
พระพุ ท ธศาสนาแล้ ว ได้ บ วชแล้ ว ถ้ า เป็ น ญาติ โ ยมก็ ไ ด้ เ กิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ แ ล้ ว ได้ พ บ
พระพุทธศาสนาแล้วเราก็ได้มาปฏิบัติ แต่เราจะจริงแค่ไหน ถ้าเราเอาจริงรู้จริงเห็นจริง
ก็ต้องปฏิบัติสืบต่อไป แต่ในขณะนี้เอาแค่ ๑๕ วัน ก่อน ถ้ามีโอกาสมีศรัทธาก็ท�ำต่อไป
ท�ำเพื่ออะไร ท�ำเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาไว้ ถ้าเราไม่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ แล้วจะให้
124 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ใครมาท�ำ แล้วลูกหลานที่เกิดมาทีหลังจะเอาอะไรให้มัน จะไม่หมดไปหรือ ถ้าคิดสั้น ๆ ก็


เอาแค่ตัวเราได้ก็ดี แต่ผู้ที่อยู่ทางประเทศลาว ประเทศเขมรก็อยากจะให้ แต่ไม่รู้ว่าจะให้
เขาได้อย่างไร ถ้าให้เขาได้รู้ได้นั่งสมาธิ ได้รู้ในแนวทาง เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ให้กว้าง ๆ ขึ้น
ที่ ไ ด้ บ รรยายมา ตอนนี้ อ ยากจะให้ พ วกท่ า นได้ รู ้ แ นวทางการปฏิ บั ติ ใ ห้ ม าก ๆ
พอสมควรเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติบ้านเมือง ถ้าเราได้ปฏิบัติกัน
ทุก ๆ ครอบครัว เราจะอยู่เย็นเป็นสุขกันกว่านี้ ผู้ปฏิบัติย่อมจะได้ผลดีแก่ตัวเอง และ
แก่ครอบครัว แก่บ้านแก่เมือง ผู้ที่เขาปฏิบัติแล้วรู้แล้ว จะเป็นที่สงบ ไม่กระตือรือร้น
เกินควร ฝากให้ท่านทั้งหลายได้ไปคิด ไปพิจารณาเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ถาวรสืบไป ท่านทั้งหลายอาจจะได้ไปเป็นเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอ�ำเภอก็ได้ หรือจะได้
เป็นใหญ่เป็นโตในภายภาคหน้าก็ขออย่าได้ทิ้งกรรมฐาน ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกท่าน
ทุกคน และจงเป็นผู้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ให้ได้ดวงตาบรรลุธรรมเห็นธรรม
ทุกท่านทุกคนเทอญ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 125

อ่านหนังสือไม่ออก
ขอให้ฟังภาษาออกสื่อสารกันได้
ก็สามารถปฏิบัติได้
พระครูศาสนกิจวิมล
126 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เหตุแห่งความไม่รแ
ู้ จ้ง (ในชาติน)ี้ *

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอคารวะพระเถรานุเถระ ขอ
ความสุขสวัสดีแก่พระโยคาวจรทุกท่าน ขอเจริญพรโยคีที่เป็นคฤหัสถ์ทุกท่าน นั่งสมาธิ
ฟังไปด้วยก็ได้ ไม่ต้องเครียดไม่ต้องเคร่ง ทำาใจให้สบาย ๆ ฟังไปด้วย กำาหนดพองหนอ
ยุบหนอไปด้วย บางทีเราอาจจะเครียดทีว่ า่ ฟังแต่องค์เก่า ๆ อาจารย์องค์เก่า ๆ มาพูดให้ฟงั
มาเทศน์มาแสดงให้ฟัง แต่ความเป็นจริงแล้วธรรมะที่เราปฏิบัติมานี้ไม่ได้อยู่อย่างเดิม
แรก ๆ ที่เราปฏิบัตินั้นจะกำาหนดได้เพียงแค่พองหนอ ยุบหนอ บางทีก็ไม่ได้ มักจะ
หลง ๆ ลืม ๆ บางทีก็จะต้องมีความเพียรความพยายามมากขึ้นจึงจะอยู่ในอารมณ์นั้น
อยู่ในอารมณ์พองหนอ ยุบหนอ บางทีที่เรากำาหนดพองหนอ ยุบหนอ แต่ว่ามีเสียงเข้ามา
รบกวน เราก็คิดว่ารำาคาญในเรื่องเสียง บางทีจิตของเราที่ให้อยู่ในอารมณ์พองหนอ
ยุบหนอนี้ก็ไม่ค่อยอยู่ จะฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ อันนี้ในการปฏิบัติในเบื้องต้นนี้
มักจะเป็นอาการอย่างนี้ แต่ว่าเมื่อเราทำาไป กำาหนดไปแล้ว เราจะรู้ว่าจิตของเรานี้กำาหนด
ไม่ค่อยทันกับอาการพอง อาการยุบ
บางท่านก็เคยกำาหนดพุทโธมาก่อน ทีนี้มากำาหนดพองหนอ ยุบหนอ จิตก็ไม่ค่อย
อยู่กับพองหนอ ยุบหนอ มันจะไปรู้อารมณ์เก่า ๆ คือ อารมณ์พุทโธ อารมณ์พุทโธ
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
128 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ก็ไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าเรารู้ว่าพุทโธมี ลมหายใจเข้าออกมันมี เราก็ก�ำหนดว่ารู้หนอ ๆ ก็


ใช้ได้แต่ตัวพองยุบนั้นจะอยู่คนละที่ จิตมักจะไม่ได้ไปรับอารมณ์นั้น คือจิตไม่ได้ไปรับ
อารมณ์นั้นก็เลยท�ำให้เราฟุ้งซ่านร�ำคาญ มันจะออกไปอยู่เสมอ ๆ เราก�ำหนดไม่ค่อยทัน
ท่านอุปมาไว้ว่า ที่จะให้จิตมั่นคงนั้นก็ต้องอาศัยสติ สติอุปมาเหมือนกับเชือกที่คอยผูกไว้
วั ว แม่ ลู ก อ่ อ น ถ้ า เราผู ก แม่ มั น ไว้ เอาลู ก มั น ไปไว้ ที่ อื่ น มั น ก็ จ ะคิ ด ถึ ง ลู ก มั น มั น ก็
ทั้งร้องทั้งเดินวนกลับไปกลับมา เมื่อมันเดินวนกลับไปกลับมา เชือกก็จะพันม้วนเข้าไป
เรื่อย ๆ ผลสุดท้ายมันก็ไปไหนไม่ได้ต้องอยู่ในที่ที่เขาผูกไว้
จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าสาวไปหาต้นเหตุวา่ ทีเ่ ราเกิดมานี้ เราได้รบั อารมณ์มากมัย้
คือจิตที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้เป็นจิตที่บริสุทธิ์สะอาด พอใหญ่โตมาก็ไปรับอารมณ์หลาย ๆ
อย่าง ๆ เข้ามา อารมณ์ที่เรารับมานั้น มีทั้งอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ คือทั้งอารมณ์ที่ดี
และอารมณ์ ที่ ไ ม่ ดี เ ราก็ รั บ เอามา เมื่ อ รั บ เอามาแล้ ว เราพยายามที่ จ ะก�ำจั ด อารมณ์ ที่
ไม่ดีออก แต่ว่าอารมณ์ที่ดีนั้นเราจะเอาไว้ เราคิดอย่างนัน้ แล้วเราก็ก�ำหนด พอเราก�ำหนด
ไปแล้ว จิตเราก็ยงิ่ กระสับกระส่ายไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คิดถึงอารมณ์เก่า ๆ เพราะฉะนั้น
บางคนบางท่ า นที่ ม าปฏิ บั ติ แ ล้ ว จิ ต เริ่ ม เป็ น สมาธิ แ ล้ ว ถึ ง อุ ท ยั พ พยญาณอย่ า งอ่ อ น
อุทยัพพยญาณอย่างอ่อนนี้ จะเกิดอารมณ์อย่างนี้ขึ้น นึกถึงอารมณ์เก่า ๆ บางทีก็นึกได้
ตัง้ แต่เป็นเด็กมา แตกฉานในวิธกี ารอะไรต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะพวกทีเ่ ป็นพระ
ยิ่งเป็นเจ้าอาวาส ยิ่งคิดเรื่องที่จะไปสร้างกุฏิ สร้างโบสถ์ สร้างวิหารใหญ่โต เขาเรียกว่า
สร้ า งวิ ม านในอากาศ บางองค์ บ างท่ า นที่ ผ มเคยประสบมา พู ด ว่ า หลวงพ่ อ ให้ ผ ม
ปฏิบัติให้ได้ผ่าน ผมจะไปตั้งส�ำนักสอน จะไปสร้างวัด จะไปสร้างกุฏิ จะไปสร้างโบสถ์
อันนี้ก็มาท�ำ มาขอให้เขาได้ปฏิบัติให้ผ่าน ผมก็บอกว่าผมให้ไม่ได้ ท่านอยากได้ก็ต้อง
พยายามท�ำความเพียรเอง ปฏิบัติเองท่านก็จะได้ ท่านต้องมีความเพียรความพยายาม
เอาเอง การปฏิบัตินี้ก็เช่นเดียวกัน ถึงอาจารย์นั้นจะดีสักแค่ไหน แต่เรานั้นยังไม่ค่อย
ส�ำรวม เรายังก�ำหนดไม่ได้ เราก็ยังไม่มีสมาธิ
การที่เรามีสมาธิในการปฏิบัตินั้น ส่วนของวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่ที่จะให้จิตนั้น
นิ่ง ๆ อยู่ในอารมณ์อันดียวไปโดยตลอด ไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
นั้ น จะเป็ น จิ ต ที่ รู ้ เ ท่ า ทั น สภาวะอารมณ์ ต ่ า ง ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น พองขึ้ น มาก็ ก�ำหนดทั น รู ้ ว ่ า
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 129

อาการพอง แล้วอาการพองนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติมีสภาวธรรม เรียกว่า ญาณขั้นสูงขึ้นไปแล้ว จะ


เห็นว่าการก�ำหนดพองหนอยุบหนอนี้ไม่เหมือนกับที่ท�ำแต่แรก ๆ คือจิตนั้นจะรู้อารมณ์
ได้ไวขึ้นเร็วขึ้น มีอะไรเกิดขึ้นก็รู้เท่าทันอารมณ์ แต่ถ้าเราไปเผลอ ไปลืม คิดว่ามันเป็น
ของง่าย ๆ เราไม่อยากจะก�ำหนด อันนี้อารมณ์นั้นจะเผลอไป ลืมไป ลืมได้ง่าย ๆ เพราะ
อุปกิเลสตัวอื่น ๆ เข้ามาแทรกหลาย ๆ อย่าง ตัวกิเลสที่เข้าไปแทรกแซงนั้น ตัวโลภ
ะ โทสะ โมหะนี่ส�ำคัญ คล้าย ๆ กับว่าเขาจะมานั่งมองอยู่ พอเราเผลอเขาก็เข้ามาแทนที่
ยิ่งท�ำละเอียด ก�ำหนดได้ละเอียดเท่าไหร่ ตัวโลภะ โทสะก็ยิ่งละเอียดตามไป
ที แ รก ตั ว โลภะ โทสะ โมหะ ตั ว โลภะ คือความโลภ เราก็ได้ศึกษา ได้อ่านมา
พอสมควรว่ า ความโลภในการที่ ป ฏิ บั ติ กั บ ความโลภที่ เ รามองเห็ น ด้ ว ยตาเปล่ า
คนละเรื่อง ความโลภที่เราเห็นด้วยตาเปล่านั้น เช่น ไปบังสุกุลทีว่ ดั อืน่ ๆ นัน้ เห็นของเราดี
เขาก็สบั เปลีย่ นเอาของเราไป เราก็วา่ พระองค์นนั้ โลภ เอาของ ๆ เราไป เห็นเป็นอย่างนั้นไป
แต่ความโลภในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพียงแต่นิด ๆ หน่อย ๆ ก็เป็นความโลภ
เช่น ในบัลลังก์นี้ก�ำหนดได้ดี ตั้งใจพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ เอาใจใส่ก�ำหนด
ได้ดี จิตของเราก็ไม่ฟุ้งซ่าน ก�ำหนดได้ดี เราก็ระมัดระวังเอาไม่ให้เคลื่อนที่ไม่ให้ตกไป
ในอารมณ์อื่น ๆ คอยประคับประคองไว้ แล้วก็ค่อย ๆ ลุกขึ้นไปเดินจงกรม พอไปเดิน
จงกรมได้เพียง ๒-๓ ก้าว เกิดไม่ได้แล้ว ฟุ้งซ่านร�ำคาญกระสับกระส่ายไม่อยากจะเดิน
ไม่อยากจะท�ำ บางคนก็บอกอาจารย์ เมื่อกี้นี้ผมก�ำหนดได้ดี แต่ตอนนี้ก�ำหนดไม่ได้
เลย ไม่รู้มันเป็นยังไง นี้คือลักษณะของความโลภที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โลภอยาก
ได้ อยากได้อะไร อยากได้อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น อยากจะให้มันเป็นอยู่อย่างนั้น ๆ ตัวนี้
มันผิด ผิดที่อยากได้ อ้าวถ้าไม่โลภไม่อยากได้ก็ไม่มาท�ำ ที่มาท�ำนี่ก็มาท�ำเพียงเล็ก ๆ
น้อย ๆ แล้วก็บอกว่ามีความโลภเกิดขึ้น เพราะมันเกิดขึ้นในจิตใจในสันดานของเรามันมี
พอมันมีขึ้นมาแล้วจิตมันไม่ยอมรับ มันก็เลยฟุ้งซ่าน คล้าย ๆ ว่าไปบังคับเขามากเกินไป
เมื่ อ มั น เป็ น อย่ า งนั้ น เกิ ด ขึ้ น ความหลงก็ ต ามมา แล้ ว เมื่ อ หลงตามมา ความ
ไม่พอใจก็ตามมา ๓ ตัวนี้เขาจะอยู่ด้วยกัน ทั้งโลภทั้งโกรธทั้งหลง ทีนี้ก็นั่งไม่ได้แล้ว
จะก�ำหนดก็ไม่ได้ ลุกขึ้นเดินใหม่ท�ำใหม่ก็ท�ำไม่ได้ บางคนจะติดอยู่วันสองวันก็มี นี้คือ
ความโลภในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่เหมือนความโลภอย่างอื่น
130 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

การปฏิบัตินั้นเราจึงจ�ำเป็นจะต้องส�ำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ อิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ


คู ้ เงย ดื่ ม เคี้ ย ว ฉั น นี้ เราจะต้ อ งเก็ บ ให้ ห มด ถ้ า จะท�ำบ้ า งไม่ ท�ำบ้ า ง ก�ำหนดบ้ า ง
ไม่ก�ำหนดบ้าง ผู้ปฏิบัตินั้นไม่ได้ผ่านญาณ ๑๖ นี้ เพราะว่าเป็นธรรมขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้น แล้วก็ท่านเห็นมาอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติ
จะต้องน้อมเข้าไปหาพระรัตนตรัย ท�ำจิตใจอ่อนน้อม ทุกอย่างมันจึงจะเกิด จนกระทั่งว่า
การส�ำรวมอิ ริ ย าบถต่ า ง ๆ จะแลซ้ า ยแลขวาก็ ต ้ อ งส�ำรวมทั้ ง หมด ไม่ ใ ห้ มี ผิ ด เพี้ ย น
แม้ แ ต่ น ้ อ ย ผู ้ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งนี้ จึ ง จะได้ ผ ่ า นโสฬสญาณนี้ เพราะที่ ว ่ า โสฬสญาณ หรื อ
การที่ผ่านญาณ ๑๖ นั้น เป็นทั้งที่ดีและเป็นทั้งที่ไม่ดี อารมณ์นั้นไม่ใช่จะเป็นอย่างที่
เราเข้าใจ ยิ่งท�ำละเอียดสภาวธรรมก็จะละเอียดไปตาม ยิ่งเราก�ำหนดไปแล้วอย่างที่เราท�ำ
เบื้องต้น ๆ ที่เรามองเห็นได้ง่าย ๆ ก็คือ การเดินจงกรม เดินจงกรมนี้บางทีเราก็บอกว่า
เดิ น ยาก มั น ส�ำรวมไม่ ค ่ อ ยได้ ขวาเป็ น ซ้ า ย ซ้ า ยเป็ น ขวา ที่ จ ริ ง มั น ไม่ ไ ด้ ย ากอะไร
แต่พอเรามาท�ำจริง ๆ แล้วมันมักจะผิด
คุ ณ นายบรรจงที่ อ ยู ่ ก รุ ง เทพ เขาก็ เ คยไปเล่ น ไต่ ร างรถไฟแถวบางซื่ อ ก็ เ ดิ น
ไม่ ไ ด้ ไ กลมั น ก็ ต ก จะไต่ ไ ปไม่ ไ ด้ ส องสามวามั น ก็ ต ก เขาพู ด ว่ า จะต้ อ งกลั บ บ้ า น
ตอนนั้ น เขาไปปฏิ บั ติ ที่ วิ เ วกอาศรม ตอนนั้ น ท่ า นแก่ แ ล้ ว อายุ ๗๕ ปี แ ล้ ว ที นี้ ท ่ า น
ก็ เ ลยจะกลั บ มาฝึ ก ใหม่ ค่ อ ย ๆ ท�ำ ช้ า ๆ ถ้ า ท�ำอยู ่ นั้ น มั น ก็ จ ะอายคน ก็ เ ลยกลั บ
มาบ้ า น มาบ้ า นก็ ม าเดิ น ช้ า ๆ หลานก็ ถ ามว่ า คุ ณ ยาย ๆ ท�ำไมคุ ณ ยายจึ ง เดิ น ช้ า ๆ
คุ ณ ยายหาอะไรรึ เ ปล่ า คุ ณ ยายเดิ น จงกรม เดิ น จงกรมท�ำอย่ า งนี้ เ หรอคุ ณ ยาย
ท�ำอย่างนี้ ท�ำช้า ๆ หลานก็เลยฝึกเดินด้วย ทีนี้การฝึกอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่าน
ไปเอาก้ อ นหิ น มาหยิ บ หนอ ยกหนอ วางหนอ คอยก�ำหนดอยู ่ นั้ น หลานก็ ม าถามว่ า
คุ ณ ยายเอาหิ น มาท�ำอะไร เอาหิ น มาก�ำหนดท�ำกรรมฐาน ท�ำกรรมฐานเขาท�ำอย่ า งนี้
หรื อ คุ ณ ยาย เขาท�ำอย่ า งนี้ แ หละ แกก็ ม าฝึ ก ท�ำอิ ริ ย าบถเล็ ก ๆ น้ อ ย ๆ ที่ บ ้ า น
ฉะนั้น เวลาเรามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราก็มีอาการส�ำรวม ส�ำรวมอยู่ทุกอย่าง
จะเคลื่อนจะย้ายเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่จะต้องท�ำ ถ้าใครยังไม่ได้ท�ำ หรือท�ำไม่ได้ละเอียด
อย่างนี้ก็ปฏิบัติไม่ได้ผ่าน ใครเป็นผู้ไม่ให้ผ่าน ไม่ใช่อาจารย์ เป็นตัวของโยคีเอง คือ
การส�ำรวมของตัวเราเองนั้นยังไม่พอ อาจารย์นั้นเป็นเพียงผู้ที่ชี้แนะแนวให้ตามหลักธรรม
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 131

ค�ำสั่ ง สอนขององค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า อาจารย์ ทั้ ง หลายนั้ น ไม่ ไ ด้ ไ ปรู ้ เ อง
ไม่ได้ไปเห็นเอง เป็นธรรมค�ำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าอาจารย์นั้นเคยท�ำมา
ธรรมค�ำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อน ตลอดทั้งด้านจิตใจ
ของผู้ปฏิบัติก็ต้องอ่อนไปตาม เรียกว่าความโลภความโกรธความหลงนั้นก็จะอ่อนไปตาม
เรียกว่า ท�ำอะไรต่าง ๆ ก็จะละเอียดมากขึ้น อันนี้ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น
เป็นธรรมที่ละเอียดยากที่เราจะเข้าใจได้
ดั ง นั้ น ที่ ใ ห้ มี ก ารสอบอารมณ์ ทุ ก วั น ๆ นั้ น ก็ เ พราะจิ ต ใจของเรานั้ น กลั ว ที่ จ ะ
หลงทาง จะไปไม่ ถู ก ตามสติ ป ั ฏ ฐานทั้ ง ๔ มรรคมี อ งค์ ๘ ความเห็ น ผิ ด จากท�ำนอง
คลองธรรมก็อาจจะมี อาจารย์นี้สอนผิดแล้วมั้ง ไม่ถูกทาง เรานี้ว่าเราท�ำถูกอยู่ สัมมาทิฏฐิ
คือ ส�ำรวมในความคิดเห็นต่าง ๆ สัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะ การงานที่ชอบ การ
งานที่ชอบนี้คือเราก�ำหนดอยู่ ส�ำรวมอยู่ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องที่มาเกื้อหนุน
ให้รู้สภาวะอาการอย่างนั้น อย่างที่คนเคยปฏิบัติอย่างอื่นมาก็ดี หรือคนที่เคยท�ำความ
ชั่ ว มา เมื่ อ มาท�ำแล้ ว จิ ต ใจก็ ไ ม่ ค ่ อ ยบริ สุ ท ธิ์ พอท�ำไปแล้ ว จิ ต ใจก็ มั ก จะฟุ ้ ง ซ่ า นไปหา
อารมณ์นั้น
ยิ่ ง เป็ น พระนี้ มั น มี ทั้ ง สองอย่ า ง มี ท างด้ า นกฎหมาย ทางด้ า นพระวิ นั ย ๆ นี้
ก็ให้เต็มมั้ย ให้เต็มร้อยมั้ย ถ้าไม่เต็มร้อยก็ไม่เป็นไป แต่ใน ๒ ข้อ คือ ปาราชิก ๔
สังฆาทิเสส ๑๓ นั้น ให้อยู่บริบูรณ์แต่นอกนั้นก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ ไม่ได้เป็นอาบัติหนัก
แต่อาบัติหนักนั้น พอท�ำเข้าไปแล้ว มันจะนึกถึงอยู่เสมอ เช่น คนเป็นปาราชิก ตั้งแต่
ปฐมปาราชิกที่พระสุทินท�ำมา อันนี้เราก็เข้าใจในเรื่องอย่างนั้น ฉะนั้น ผู้ที่มีศีลไม่บริสุทธิ์นี้
จิตก็จะไปข้องในอารมณ์นั้นแล้วก็ปฏิบัติไปไม่ได้ส�ำเร็จ อันนี้ธรรมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นไปอย่างนั้น แต่ถ้าเรามีการส�ำรวมระวังมันก็ฟุ้งซ่าน อันนี้ส�ำหรับพวกที่เป็นฆราวาส
ญาติโยมที่มาปฏิบัติตามที่เคยเห็นมานี้ พวกญาติโยมจะปฏิบัติได้ง่ายกว่าพระ อาจจะเป็น
เพราะเรื่องศีลก็ได้ โยมก็มีเพียงศีล ๕ ศีล ๘ มาสมาทานเอา ผู้ปฏิบัตินี้ก็จะต้องอยู่
ในศีล ๘ เป็นประจ�ำ การส�ำรวมของฆราวาสจะน้อยกว่าพระ
แต่ส�ำหรับพวกฆราวาสปฏิบัติแล้วมีสภาวธรรมรู้ได้ไวกว่าพระ ผมก็มาสังเกตว่า
ฆราวาสท่านมีศลี น้อยและส�ำรวมได้ดี แต่มนั มีอกี อย่างหนึง่ ว่า ฆราวาสไปผิดศีลข้อที่ ๑ มา
132 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ก็ปฏิบัติได้ยาก จะมีใครรู้หรือไม่รู้ก็ปฏิบัติได้ยาก พวกโยมผู้ชายไม่ค่อยผิดศีลข้อที่ ๑


สักเท่าไหร่ แต่พวกโยมผู้หญิงจะผิดศีลข้อที่ ๑ มากกว่า โดยเฉพาะเรื่องมนุษย์ ผู้หญิง
จะมี ก ารท�ำปาณาติ บ าตนี้ ม ากกว่ า กั น พวกพระนี้ ไ ม่ ต ้ อ งพู ด ถึ ง แต่ ว ่ า ผู ้ ที่ ม าปฏิ บั ติ นี้
เขาจะส�ำรวมในสิ่งเหล่านี้แล้วก็เลยเกิดเป็นกรรม อันนี้โยมอย่าเพิ่งไปเสียใจว่า เรานี้
มีกรรมมาก เช่น คนที่เคยท�ำกรรมมาก่อน กินเหล้าเมาสุรามาก็ดี หรือเคยท�ำอะไรมา
ต่าง ๆ นานา เขาก็ต้องมาชดใช้กรรมนี้ทั้งหมด ถ้าไม่มาชดใช้กรรมทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้
เพราะต้องไปตกนรกอยู่ ฉะนั้น ทางพุทธศาสนานี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านตรัส
ไว้ว่า ถ้าผู้ใดเอาใจใส่ในการปฏิบัติทางฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานนี้ ส�ำรวมอยู่ ปฏิบัติอยู่
ก�ำหนดอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ก็จะมีทางปิดประตูอบายภูมิได้อยู่ คนที่เขาเคยท�ำ
ความชั่วมาก่อน เช่นอย่างโยมคนที่อยู่ที่ชลบุรี วิเวกอาศรมก็เปิดใหม่ ๆ คนที่เคยชกมวย
ตีไก่ จะเอามือของตนนั้นตีกัน แล้วก็กระโดดเหมือนกับไก่ โยมนั้นเป็นผู้หญิง โยมนั้น
จะต้องนุ่งโจงกระเบนไว้ กลัวผ้าจะหลุด อันนี้คือบุพกรรมที่เคยท�ำมาก็ต้องมาเสวย
ผลกรรมนั้นทั้งหมดจึงจะได้ผ่านญาณ ๑๖ นี้ไปได้ ถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรนี้ท่านส�ำรวม
อยู่แล้วไม่ค่อยมีอาการอย่างนั้น
ส�ำหรับพระภิกษุที่ติดเหล้าเมาสุราอย่างอื่น ๆ มาแล้วเพิ่งเข้ามาบวช อยากมา
ปฏิบัตินี้ อันนี้ก็ไปไม่ค่อยได้ เพราะมาแล้วก็จะเมา เมาอาเจียน ถ้าคนที่ไม่รู้ หรืออาจารย์
ที่ไม่เข้าใจ นึกว่าเป็นโรคอะไร ก็จะเอาส่งโรงพยาบาล ที่ผมปฏิบัติอยู่วิเวกอาศรมนี้
โรงพยาบาลนี้เขารู้จักชื่อ เพราะผมไปส่งพระบ่อย พอเห็นหน้าก็ว่า อ้าวพระหนูพันธ์
มาแล้ ว เป็ น ประจ�ำเดื อ นหนึ่ ง หลายครั้ ง หลายหนที่ พ ระพวกประเภทมาบวชเมื่ อ แก่
แล้วก็อยากมาปฏิบัติ ติดเหล้ามาก่อนมาปฏิบัติแล้วจะเกิดอาการอย่างนั้น เมื่อพรรษา
ที่ก่อนหน้านี้ มีผู้หญิงมาปฏิบัติเขาก็เมาเหมือนกัน แล้วก็อาเจียน ถามดูว่าเป็นเวลาไหน
อย่างไร ก็เป็นบุพกรรมของเขา เขาเล่าว่าเขานั่งไปแล้วคล้ายคนเอาเชือกผูก เอาผ้ามา
ผู ก คอเขาไว้ แ ล้ ว ก็ ดึ ง บางที เ ขานั่ ง กรรมฐานไปนี้ ปรากฏว่ า แลบลิ้ น ออกมาตั้ ง ยาว
เขาคิดว่าเป็นอย่างนั้น พอเขาลืมตาขึ้นมามันก็ไม่มี อันนี้เขาก็เลยว่าแต่ก่อนนี้เขาคง
จะฆ่าคนมา เขาคงจะขี้เหล้าเมาสุรา ตามนิมิตของเขา เขาเล่ามาว่า เมื่อก่อนเขาเป็น
ผู้ชายแล้วฆ่าลูกฆ่าเมียของตัวเอง ด้วยการเอาเชือกผูกดึงคอจนกระทั่งตาย เมื่อมา
ปฏิบัติแล้วก็จะมีอาการอย่างนั้น บางทีก็มีอาการหายใจไม่ออก ก็ให้ก�ำหนดไปเรื่อย ๆ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 133

เขาก็เห็นอาการเป็นไปอย่างนั้น อันนี้กรรมเก่าที่เขาท�ำมา ถ้าเป็นอดีตชาติก็เห็นเป็น


ไปอย่างนั้น ถ้าเป็นในชาติปัจจุบันก็เห็นแล้ว เราก็กรวดน�้ำอุทิศให้เขาไปมันก็แล้ว เรื่องเป็น
พระก็เหมือนกัน เป็นพระนี่ง่ายกว่าโยม บุพกรรมแบบนี้ไม่ค่อยมี จะมีก็แต่มาบวชเมื่อแก่
แต่ส่วนฆราวาสที่มาปฏิบัตินี้ โดยทั่ว ๆ ไปก็มักจะพบกับบุพกรรมเหล่านั้น มีทั้งผู้หญิง
มีทั้งผู้ชาย
ฉะนั้ น หลั ก ธรรมค�ำสอนขององค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า นั้ น ถ้ า ใครจะ
พูดว่าไม่เป็นของจริง พระพุทธศาสนานี้เป็นแต่เพียงพูด ๆ กัน นี้ก็ให้เขามาปฏิบัติดูก่อน
ว่ามันจะเป็นอย่างไร ธรรมของพระพุทธองค์นั้นจริงหรือไม่จริง อยู่ที่ข้อวัตรปฏิบัตินี้
แต่ถ้าพูดกันเฉย ๆ ไม่ได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้จะไม่เข้าใจ จะไม่รู้เรื่อง
มีคนหนึ่งถามหลวงพ่ออาสภะว่า ที่พระคุณเจ้าให้คนมาปฏิบัตินี้ ตามหลักธรรม
ค�ำสั่ ง สอนของพระพุ ท ธองค์ ห รื อ เปล่ า ท่ า นตอบว่ า มี ทุ ก อย่ า ง ตรงตามที่ พ ระธรรม
ค�ำสั่งสอนนั้น ผู้ปฏิบัตินี้เมื่อปฏิบัติแล้วผู้ปฏิบัติเองย่อมเห็นเอง ย่อมรู้เอง แต่มันมีปัญหา
อยู่ว่า ผู้ที่ปฏิบัติเมื่อปฏิบัติอยู่เห็นสภาวะนั้นอยู่ รู้อยู่ แต่ไม่เข้าใจว่าสภาวะนี้คืออะไร
ถ้ า จะอุ ป มาก็ เ หมื อ นกั บ ต้ น ไม้ เ ขี ย ว ๆ ในป่ า ดงนี่ เ ขี ย วไปหมด แต่ ไ ม่ รู ้ ชื่ อ ต้ น อะไร
แต่ถ้าคนที่รู้ เมื่อเขาเข้าไปแล้ว เขาก็จะรู้ว่าต้นเล็กมันชื่ออย่างนั้น ต้นใหญ่มันชื่ออย่างนี้
ฉะนั้น อาจารย์ก็จะเป็นผู้ที่รู้สภาวธรรม ไม่ได้พูดเอาเฉย ๆ ไม่ได้อ่านต�ำราเอามาสอน
แล้วก็เอามาบอกเล่ากัน ผู้ที่เอาต�ำรามาเล่ากันนี้ ก็เป็นเพียงฝ่ายปริยัติ ไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติ
แล้วพวกที่ไม่รู้หนังสือ อ่าน ก ข ก กา ก็ไม่ได้ เขาจะปฏิบัติได้มั้ย ครั้งสมัยพุทธกาลก็มี
ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติได้ยังไง อ่านหนังสือไม่ออก ไม่รู้ภาษาก็ปฏิบัติได้ บอกว่าปฏิบัติได้
คื อ ให้ ฟ ั ง ภาษาสื่ อ สารกั น ได้ ฟั ง แล้ ว ก็ ท�ำตามกั น ไป คื อ ขณะที่ เ ทศน์ อ ยู ่ นี้ อ บรมอยู ่
ในขณะนี้ นี่ คื อ ค�ำสั่ ง สอนท่ า นพู ด อย่ า งนั้ น แล้ ว ก็ ต อนสอบอารมณ์ คื อ การสอนอยู ่
บอกอยู่แนะน�ำอยู่ไม่ต้องไปเอาตามหนังสือที่เขียนไว้ คือสื่อสารกันในทางนี้ ปฏิบัติ
ถูกหรือปฏิบัติผิดก็บอกกันทางนี้
ฉะนั้น ผู้ที่มาศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น บางคนเคยมาถาม พวกนักศึกษา
ปริ ญ ญาโทนั่ น แหละมาถามว่ า ต้ อ งเรี ย นอภิ ธ รรมจบแล้ ว ค่ อ ยมาปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนา
กรรมฐานรึเปล่า ตอบไปว่า ไม่ต้องไปศึกษาก่อนก็ปฏิบัติได้ คนสมัยโบราณนั้นก็ไม่ได้
134 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ไปเรียนอภิธรรมที่ไหนมาก็มาปฏิบัติได้ แต่จะคิดว่าสมัยครั้งพุทธกาลนั้นมีอาจารย์สัญชัย
มีอาจารย์หลาย ๆ ลัทธิในประเทศอินเดีย ที่จะมาต่อสู้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต่อสู้
ด้วยการถามปัญหากัน เพื่อให้เข้าใจแล้วก็จะได้น�ำไปปฏิบัติ แล้วผลสุดท้ายก็ไม่ต้อง
ศึกษาก็ได้ ผู้ปฏิบัติก็เห็นปฏิบัติกันได้โดยทั่วไป
พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ไปบอกอาจารย์สัญชัย อาจารย์ก็ไม่มา ท่านก็โปรด
ลู ก ศิ ษ ย์ เ อาหมดเหลื อ แต่ อ าจารย์ สั ญ ชั ย ซึ่ ง เป็ น เจ้ า ลั ท ธิ ท�ำไมไปโปรดเอาลู ก ศิ ษ ย์
อาจารย์สัญชัยมาได้หมด เพราะพวกเขามีบุญบารมีมาอยู่ก่อนแล้ว เขาสามารถที่จะรู้ธรรม
ของพระองค์ แต่เขาก็พากันแสวงหาอาจารย์ มีอาจารย์อะไรก็ไปหาเอาก่อน พอได้ฟงั เทศน์
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าก็ได้ ส่วนอาจารย์สัญชัยนั้นก็ไม่ได้ละทิฏฐิมานะลง
ในการปฏิบัตินี้ ถ้าจะปฏิบัติจริง ๆ เพื่อที่จะให้ได้ผ่านโสฬสญาณนี้ ก็จะต้องละ
ทิฏฐิมานะความไม่ถือเนื้อถือตัว อาจารย์ให้เดินจงกรม ๕ นาที ก็ต้องเดิน ๕ นาทีให้
เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง ก็ต้องเดิน ๑ ชั่วโมง ไม่ให้เดินเลยหนึ่งชั่วโมงไป นี้เราก็ต้องเชื่อ
คือมีศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระรัตนตรัยหรือในครูบาอาจารย์ พอที่จะรู้จะเข้าใจได้
อันนี้ความเชื่อนี้จึงจะปฏิบัติไปได้ ถ้าไม่มีความเชื่อ อบรมไป บอกไปก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง
แนะน�ำอบรมสั่งสอนนั้นก็ปฏิบัติไปได้ยาก นี้คือตัวทิฏฐิ แต่เมื่อปฏิบัติได้แล้ว ทิฏฐิมานะ
ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัตินั้นก็จะลดน้อยถอยลง คือไม่ค่อยจะมี แต่อย่าไปเข้าใจว่า อาจารย์
ผู้ปฏิบัตินั้นไม่เห็นว่าจะมีการส�ำรวมอะไรมาก เราปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ เราส�ำรวมได้มากกว่า
อาจารย์ นั้ น ถ้าเราไปคิดอย่างนี้ เราก็เข้าใจผิด เพราะว่า เวลานี้อาจารย์ไม่ได้ปฏิบัติ
เลิกจากการปฏิบตั มิ าแล้ว อาจารย์ก็อาจจะไม่ส�ำรวม เราก็ไปดูอาจารย์นั้นว่า ท�ำไมอาจารย์
ไม่ส�ำรวม แต่มาบอกให้เราเป็นคนส�ำรวม ในลักษณะนีเ้ ราก็ปฏิบตั ไิ ปไม่ได้
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเรามองโดยผิวเผินจะว่าง่ายก็ถูกจะว่ายากก็ถูก
ฉะนั้น การท�ำกรรมฐานนี้ ถ้าเราอยู่ในอาการเปิดเผย คนสัญจรไปมาก็จะว่า ท�ำไมพระนี้
จึ ง เดิ น ย่ อ ง ๆ ไม่ เ ดิ น ธรรมดา ๆ พระโดยทั่ ว ไปเขาก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ดิ น อย่ า งนี้ ฉะนั้ น การ
ปฏิ บั ติ นี้ จึ ง มี ที่ ใ ห้ ท�ำโดยเฉพาะ เพราะกลั ว คนที่ จ ะมาเห็ น แล้ ว ก็ จ ะน�ำไปติ ฉิ น นิ น ทา
แล้วก็ไปเป็นบาปแก่เขา แล้วเวลาเขาปฏิบัติไปแล้ว เขาก็ปฏิบัติไปไม่ได้ ติดอยู่อย่างนั้น
ดังจูฬปันถก ท�ำไมท่องคาถาเดียวก็ไม่ได้ มันก็เป็นกรรมมา เป็นลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 135

เวลาเราปฏิบตั อิ ยูเ่ ราจึงต้องส�ำรวม จึงต้องบอกเอาไว้ให้รเู้ ป็นข้อคิด ทีเ่ รามาปฏิบตั วิ ปิ สั สนา


กรรมฐานนี้เป็นค�ำสอนของพระพุทธเจ้าพระสมณโคดม
แต่บางคนไปทอดกฐินผ้าป่าไปท�ำบุญท�ำทานที่อื่นมา เห็นเขาพูดก็พูดบ้างว่า ข้าพเจ้า
ไปท�ำบุญกฐินผ้าป่ามาแล้ว ปรารถนาขอให้ข้าพเจ้าได้ถึงพระศรีอริยเมตไตรย ขอให้ได้
บรรลุ ธ รรมของพระศรี อ ริ ย เมตไตรย ผู ้ ที่ อ ธิ ษ ฐานเช่ น นี้ ก็ ป ฏิ บั ติ ไ ปไม่ ไ ด้ เพราะว่ า
นี้เราอยู่ในศาสนาของพระสมณโคดม แต่ไปปรารถนาเอาศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย
เราก็ปฏิบัติธรรมตามค�ำสั่งสอนอันนี้ไม่ได้ ไม่ได้ผ่านญาณ ๑๖ แล้วอีกอย่าง ถ้าเรา
ท�ำบุญท�ำทาน แล้วปรารถนาได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในภายภาคหน้า ตรงนี้
ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
ธรรมของพระพุ ท ธองค์ มี อ ยู ่ นี้ แต่ เ ราจะไปเวี ย นว่ า ยตายเกิ ด อยู ่ ใ นวั ฏ สงสาร
ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ พระศรีอริยเมตไตรยเมื่อไหร่จะมาตรัสรู้ ถ้ามาสักปีหน้า ก็ค่อยยังชั่ว
เรายังไม่ตาย เราก็อาจจะได้เห็น นี่ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน นี้เราปรารถนาไป พูดไปโดย
ที่เรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ คือพอปฏิบัติไปแล้วมันมาติดอยู่ตรงนี้ พระธรรมค�ำสั่งสอนนี้
มีอยู่แล้ว เห็นอยู่แล้ว ปฏิบัติอยู่แล้ว ท�ำไมเราจะต้องไปปรารถนาเอาข้างหน้าโน้น ซึ่งเรา
มองไม่เห็นเลย ไม่รู้เลย จะได้หรือไม่ได้
ที่ปรารถนาพุทธภูมิ ก็เช่นเดียวกัน บางคนก็ท�ำไปด้วยความไม่เข้าใจ เห็นเขาพูด
ก็พูดไปตามเขา เห็นเขาว่าก็ว่าไปตามเขา แต่ที่ปรารถนานั้นท่านทั้งหลายรู้ดี คือมัน
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ พูดไปแล้วมันก็ติดอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ว่าพูดไปแล้ววันนี้จะหายไป
ใจบันทึกไว้แล้ว แต่มีวิธีแก้อยู่ ก็บอกกันไว้เสียเลยว่า ถ้าเราปฏิบัติอยู่ จนญาณของเรา
ขึ้นสูงแต่ว่าไม่สามารถที่จะได้ผ่านญาณ ๑๖ ได้ ขึ้นไปแล้วจะรู้เอง ใครเป็นคนรู้ โยคีรู้
เอง อาจารย์ที่สอนก็จะรู้ว่า ปฏิบัติไปแล้วมันเป็นอย่างนั้น ๆ อาการเป็นอย่างนั้นแต่ว่า
ไม่ได้ผ่าน ญาณ ๑๖ มันไปได้ยาก ท่านอาจจะวกมาถึงเรื่องเหล่านี้ว่า ท่านเคยปรารถนา
พุทธภูมิรึเปล่า ท่านปรารถนาไปเกิดในยุคพระศรีอริยเมตไตรยหรือเปล่า ถ้ามีลักษณะ
อาการอย่ า งนี้ ก็ ใ ห้ ข อคื น ไม่ เ อา จะเอาในศาสนาของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า นี้ จะเอา
ในพระศาสนาของพระองค์นี้ ก็ปฏิบัติแบบพองหนอยุบหนอ พุทโธ หรือสัมมาอรหัง
ก็ตาม
136 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

มี โ ยมถามว่ า ท�ำไมพระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ไม่ บั ญ ญั ติ แ ต่ เ ฉพาะสติ ป ั ฏ ฐาน ๔ ท�ำไม


จะต้องเอา อสุภ ๑๐ กรรมฐาน ๔๐ ตอบง่าย ๆ เขาว่าไว้ให้คนโง่เขาท�ำ แต่ไม่ใช่หรอก
คือคนเราตามจริตของคน บางคนเขาก็ไม่ชอบ หาว่าไปเอาของพม่ามา หาว่าท�ำไปเพื่อ
เอกลาภท�ำไปเพื่ออยากเป็นอาจารย์ใหญ่ เป็นเกจิอาจารย์ แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็น
อย่างนั้นท�ำไปหวังเพื่อช่วยพระศาสนา ไม่ได้คิด ไม่ได้หวังว่าจะได้ร�่ำรวย ไม่ได้คิดว่า
จะเป็นเกจิอาจารย์มีชื่อเสียงโด่งดัง ไม่ได้ท�ำเพื่อหารายได้สร้างกุฏิ วิหารใหญ่โต เขาท�ำได้
เราก็ไม่ได้ว่าเขา
ที่ ม าอบรมในแนวทางนี้ ที่ ม หาจุ ฬ าลงกรณเอาพวกเรามาสอนนี้ ก็ เ พื่ อ ให้ เ ป็ น
แนวทาง ให้ได้รู้พระธรรมค�ำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้รู้ว่า นี้พระธรรม
ค�ำสั่ ง สอนของพระพุ ท ธองค์ ด�ำเนิ น ไปในแนวนี้ ข้ อ วั ต รปฏิ บั ติ นี้ ด�ำเนิ น ไปแนวนี้ แต่
ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติไปให้ถึงที่สุดนี้ จะยังไม่ได้มีคุณค่า ผมพูดอย่างนั้น คือยังไม่มีคุณค่าว่า
จะได้ดีหรือจะไม่ได้ดี ท�ำแล้วมันจะเห็นหรือไม่เห็น ตรงนี้มันจะยังมืดมนอนธกาลอยู่
แต่ถ้าท่านมีความขยันหมั่นเพียรไป ท่านจะเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก เป็นประโยชน์
ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ประโยชน์ในชาตินี้ถ้าท่านปฏิบัติไปแล้ว ท่านจะเห็นว่าในจิตใจของท่านนั้นจะมี
ความชุ่มชื่น เยือกเย็น ไม่ต้องไปนั่งในโรงหนัง นั่งสมาธินี่มันสบายกว่าไปนั่งในโรงลิเก
โรงละคร มีโยมที่มาปฏิบัติอยู่นี้เมื่อก่อนเขาชอบเข้าไปนั่งในโรงหนังโรงละคร เดี๋ยวนี้
เขาไม่ไปแล้วเขาบอกว่าเขานั่งกรรมฐานสบายกว่า นี้คือความสุขในชาตินี้ ที่มากกว่านี้
ผมไม่สามารถจะน�ำมาเล่าสู่กันได้ และที่ส�ำคัญคือเราปิดประตูอบายภูมิได้ หลวงพ่อ
หลวงตาที่ท่านบวชมานาน ๆ ที่เรียกว่า จะไม่ได้ไปตกนรก นี่ไม่รับรอง แต่ที่ปฏิบัติ
ผ่านแล้วจะมีผู้รับรอง พระพุทธเจ้าท่านรับรองไว้ แต่ผู้ที่ยังไม่ได้นี้ ยังไม่ได้รับรอง
อันนี้ทางญาติโยมก็เหมือนกัน ยังไม่ได้มีใครรับรอง แต่ใครไปรับรอง ผมไม่ได้รับรอง
ท่านรับรองท่านเอง รับรองท่านเองก็คือ ท่านจะจิตใจเยือกเย็นสบาย ไปที่ไหนท่านก็จะ
ไม่ เ ดื อ ดร้ อ น และท่ า นก็ จ ะท�ำจิ ต ใจของตนนี้ ใ ห้ บ ริ สุ ท ธิ์ ห มดจดสะอาดอยู ่ เ สมอ ๆ
อั น นี้ คื อ อานิ ส งส์ ที่ ไ ด้ รั บ ส�ำหรั บ เป็ น พระ อานิ ส งส์ ที่ เ ราได้ รั บ เป็ น อย่ า งนี้ คื อ
จะเข้าในที่ชุมชนไหนก็ตาม ไม่ค่อยเดือดร้อน ไม่ใช่ว่า ท่านนี้เป็นเจ้าคุณไม่อยากเข้าไป
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 137

ใกล้เขา เข้าสังคมไหนก็ไม่ต้องกลัวเขาจะติฉินนินทา เรื่องอย่างนี้จะไม่มีแก่เรา แต่เรา


ไม่ไปเกรงกลัว ไม่ยั่นใจ เราจะสบาย ๆ จะเข้าสังคมไหนก็ได้ อันนี้ได้ในชาตินี้ ถ้าเป็น
ฆราวาสญาติโยมก็ไปได้ ไม่ได้ไปคิดว่าคนนั้นเขาไม่ดีอย่างนั้น คนนี้เขาไม่ดีอย่างนี้
ไม่ ไ ด้ คิ ด ก็ จ ะแสวงหาแต่ ค วามร่ ม เย็ น เป็ น สุ ข แก่ ตั ว เรา ตลอดถึ ง ครอบครั ว เราก็ จ ะ
แสวงหาในทางที่สงบ ถ้าเป็นพระก็ไม่ใช่ว่าเราจะแบกกลดเข้าป่า แต่ว่าเราอยู่ที่ไหนก็จะ
เป็นสุข เราท�ำได้ ท�ำใจของเราให้หมดจด
และในชาติหน้าก็อย่างที่เล่าแล้วว่าเราจะไม่ไปสู่อบายภูมิ เราก็จะเวียนว่ายตายเกิด
อยู่ในวัฏสงสาร ภายในประมาณสัก ๗ ชาติ บางทีก็อาจจะบ�ำเพ็ญไปเรื่อย ๆ บารมี
ก็จะเกิดขึ้นแก่เรา อาจจะไม่ถึง ๗ ชาติก็ได้ ผมเล่าตามต�ำนาน ไม่ได้เล่าตามความคิด
ถ้ า เล่ า ตามความคิ ด ก็ ว ่ า มี จิ ต ใจที่ เ ยื อ กเย็ น สบาย ๆ ไปไหนก็ ไ ม่ เ ดื อ ดร้ อ น คนนั้ น
เขาจะว่างั้น คนนี้เขาจะว่างี้ เราก็ท�ำใจได้ อันนี้คืออานิสงส์ที่ผู้ปฏิบัติแล้วจะได้รับเป็น
อย่างนั้น
ฉะนั้น ที่มหาจุฬาฯ เอามาบรรจุนี้ก็เพื่อว่าให้ได้ปฏิบัติแล้วจะได้น�ำออกเผยแผ่
ผมมาคิดว่า ถ้าพวกเรามหาจุฬาฯ นี้ไม่สืบต่อการปฏิบัตินี้แล้วจะไปหาให้ใครมาช่วย
ศาสนาอื่น ๆ เขาช่วยกัน เขามีพลังที่จะเผยแผ่ แต่ว่าพุทธศาสนาของเรา ผู้ที่ออกไปเผยแผ่
เช่น มีผู้ที่เรียนมหาจุฬานี้แล้วไปอยู่ที่เชียงราย ไปอยู่กับชาวเขาแล้วก็ไปบ่นว่า หลวงพ่อ
ผมอยากได้วิปัสสนากรรมฐานนี้ไปสอนพวกชาวเขา ตอนที่เขาให้ปฏิบัตินี้ท�ำไมไม่เอา
ไปจนถึงเขาแล้วจะมาบอกว่าอยากได้วิปัสสนาไปสอนชาวเขา (หัวเราะ) ผมไปเจอมาแล้ว
ไปพบมาที่เชียงราย หลาย ๆ แห่งก็เป็นอย่างนั้น เขาไม่เอา ให้มาท�ำก็มาท�ำเล่น ๆ เวลา
ไปแล้ ว ก็ จ ะเกิ ด มาอยากได้ ที่ ไ ปนอกก็เหมือนกัน ไปนอกก็โทรมาบอก ท่านไปแล้ว
ท่านสอนอะไร ผมไม่ได้สอนหรอก วิปัสสนา ผมสอนไม่ ไ ด้ พระพุ ท ธศาสนาของเรา
ก็เป็นอย่างนี้แหละ อยากได้ เวลาเขาให้แล้วก็ไม่เอา ก็ขอฝากท่านทั้งหลาย ทั้งฝ่ายพระ
และฝ่ายฆราวาสให้พากันช่วยรักษาพระพุทธศาสนาด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ได้ผลดีทั้งเราและทั้งเขา อย่างที่ผมได้บรรยายมาก็พอสมควรแก่เวลา ฉะนั้น ขอให้ท่าน
ทั้งหลายจงตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมให้เห็นธรรม ให้ได้บรรลุอริยมรรค อริยผลทุกองค์
ทุกท่านเทอญ
138 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

กล่อมลูกให้นอน
ก�าหนดใจให้นิ่ง *

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอคารวะพระเถรานุเถระ ขอ
ความสุ ข สวั ส ดี แ ก่ ท ่ า นพระโยคาวจรทุ ก ท่ า น ขอเจริ ญ พรญาติ โ ยมทุ ก คน ผมคิ ด ว่ า
ที่ฟังไปนี้ บางคนอาจจะเบื่อ ไม่อยากฟัง แต่ยังไงถึงเบื่อก็ฟังก็แล้วกัน เพราะบางทีมัน
ก็เป็นธรรมะที่ผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติยังไม่ถึง ฟังมันก็ไม่มีรสมีชาด แต่คนที่เคยปฏิบัติมาแล้ว
จากที่อื่น หรือเคยทำามาแล้ว พอมาฟังแล้วก็จะเข้าใจในสภาวธรรมนั้น เพราะที่ผมจะ
บรรยายตามสภาวะตามความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้น ที่มันมีอยู่ ที่ผู้ปฏิบัตินั้นจะต้องพบ
เห็นว่ามันจะเป็นอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติที่ยังไม่เข้าใจว่ากำาหนดแค่อาการพองหนอ ยุบหนอ
ก็ยังกำาหนดไม่ถูก ลักษณะอย่างนั้น ผู้ฟังนั้นก็ยังฟังไม่ถูก เรียกว่ายังไม่เข้าใจ ที่จะต้อง
พู ด กั น ซำ้ า ๆ ซาก ๆ หลายหน เรื่ อ งการกำ า หนดพองหนอยุ บ หนอ ที่ จ ริ ง การกำ า หนด
พองหนอยุบหนอนั้นไม่ได้เป็นของยาก แต่เมื่อปฏิบัติเข้าจริง ๆ แล้ว จะเป็นของยากที่สุด
เพราะว่า ใจของเราไม่ได้อยู่ในอารมณ์นั้น มันมักจะกระสับกระส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ
เลยทำาให้การกำาหนดนี้เราจะจับเขาไม่ค่อยอยู่
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๐
140 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

โบราณทางภาคอี ส าน เขามี แ นวทางที่ จ ะกล่ อ มลู ก ให้ ห ลั บ เพื่ อ พ่ อ แม่ นี้ จ ะได้
ไปท�ำงาน ไม่มีพี่เลี้ยง ไม่มีใครที่จะเลี้ยงให้ ต้องเลี้ยงลูกด้วยตนเอง เอาลูกเข้าไปใส่
ในอู่แล้ว ลูกจะร้อง พ่อแม่ก็หาของมาให้เล่น หาขันหาอะไรมาท�ำให้กระทบกันกลบ
เสี ย งร้ อ ง บางที พ ่ อ แม่ ก็ จ ะกล่ อ มด้ ว ยเสี ย งเพลงต่ า ง ๆ นั้ น ก็ ห มายความว่ า ให้ จิ ต
เขานี่อยู่ในอารมณ์นั้น พอเด็กหันมาฟังสิ่งที่แม่เขากล่อม มันก็จะหลับได้เร็ว นี้ก็มาเทียบ
กับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ใจของเราจะไม่อยู่ในอารมณ์พองหนอ ยุบหนอ
ที่ว่าไม่อยู่ในอารมณ์พองหนอ เพราะว่าจิตนี้มันจะร่อนเร่ไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิด
เคยมีเคยพบเคยเห็นมาแล้ว ตั้งแต่เกิดมามันก็ใฝ่ไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่เคยจับมันมา
ให้มันอยู่กับเนื้อกับตัว เช่นอย่างว่าจะไปตลาดไปซื้อของมาท�ำอาหารเช้า เท้ายังเดินอยู่
ยังไม่ถึงตลาด ใจมันไปถึงก่อนแล้วว่าจะต้องซื้ออันนั้น ๆ แล้วจะรีบกลับมาให้มันทันเวลา
ลั ก ษณะอย่ า งนี้ อั น นั้ น คื อ จิ ต ใจนั้ น ไม่ ค ่ อ ยอยู ่ กั บ เนื้ อ กั บ ตั ว จิ ต ใจนั้ น มั น จะไปก่ อ น
รู ้ ไ ปหมด จะซื้ อ สิ่ ง นั้ น เท่ า นั้ น จะซื้ อ สิ่ ง นี้ เ ท่ า นี้ ซื้ อ ให้ เ สร็ จ ขากลั บ มาจะรี บ ไปท�ำงาน
กิจการของแม่บ้านมีอยู่ในลักษณะอาการอย่างนี้
ยกมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า จิตใจของเรานั้นไม่ค่อยอยู่ในอารมณ์นั้น ไม่ค่อยอยู่
ในอารมณ์ที่เราจะก�ำหนดนั้น พอนั่งลงแล้ว เราจะรีบไปก�ำหนดอาการพองหนอยุบหนอ
เลยทีเดียวนั้นจิตมันมักจะฟุ้งซ่านร�ำคาญไปในอารมณ์ต่าง ๆ
อุปมาการที่เราจะจับจิตไปให้อยู่ในอารมณ์นั้น ท่านบอกว่าเหมือนกับว่าเราไปจับ
ปลาดุกอยู่ในแหที่เราทอดไป คนที่จับปลาไม่เป็น มันก็จะปักมือเอา ฉะนั้น เราต้อง
มีวิธีการค่อย ๆ ลูบ ๆ คล�ำ ๆ ให้มันหมอบลงก่อนแล้วจึงจะจับ แล้วอีกอย่างเราก็ต้องรู้
ด้วยว่า ตัวไหนมันอยู่ทางทิศไหน หัวมันอยู่ทางไหน หางมันอยู่ข้างไหน ถ้าเราจับปลาดุก
เราต้องจับทางหัวมัน ถ้าเราจับทางหาง มันก็จะดิ้นปักมือเอา นี้ในลักษณะนี้ อารมณ์ของ
กรรมฐานถ้าเรามาพยายามที่จะท�ำ พอนั่งลงแล้ว จิตเราก็ไปจับในอารมณ์ว่า พองหนอ
ยุบหนอ คล้าย ๆ ว่าไปควบคุมมันเลย ลักษณะนี้จะท�ำให้ผู้ปฏิบัตินั้นมีอาการฟุ้งซ่าน
ร�ำคาญ หรื อ มิ ฉ ะนั้ น ก็ จ ะเหมื อ นไปควบคุ ม มั น มาก อารมณ์ นี้ ก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น อารมณ์
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 141

ก็จะเกิดขึ้นทางหัวบ้าง จะท�ำให้ปวดเศียรเวียนเกล้า บางคนถึงกับอาเจียน ลักษณะ


อาการเป็นอย่างนั้น บางทีก็จะมีอาการเจ็บปวดด้านใดด้านหนึ่ง ด้านซ้าย หรือด้านขวา
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเราไปควบคุมอารมณ์นี้มากเกินไป ก็ท�ำให้มีอาการอย่างนั้น
อย่ า งผู ้ ที่ เ คยก�ำหนดพุ ท โธมาก่ อ น เมื่ อ มาปฏิ บั ติ พ องหนอ ยุ บ หนอนี้ มั น จะมี
อาการปวดหัว ปวดตามตัว บางทีก็ปวดไปตามขา อะไรท�ำนองนั้น คือหมายความว่า
ผู้ปฏิบัตินั้นมุ่งที่จะให้มาอยู่ในอารมณ์พองหนอยุบหนอเลยทีเดียว แต่ก่อนมันก็อยู่ใน
อารมณ์พุทโธหรืออยู่ในอารมณ์ของลมอัสสาสะปัสสาสะ หรือลมหายใจเข้าลมหายใจออก
แต่มาวันนี้คล้าย ๆ กับเราจะไปกลั้นมันไม่ให้ไปสู่อารมณ์นั้น จะให้มันมาสู่อารมณ์นี้
เรียกว่าไปหักโหมมันจนเกินไป ก็เลยท�ำให้มันเป็นอย่างนั้น
อี ก อย่ า งหนึ่ ง การที่ เ ราก�ำหนดพองหนอยุบหนอแล้วลมหายใจก็รู้ทางช่องจมูก
ทางล�ำคอ บางทีเราก็รู้ว่าลมหายใจมันลงไปเราก็ตามลมลงไป แล้วไปก�ำหนดว่า พองหนอ
ยุบหนอ ลักษณะที่เราไปตามลมอย่างนั้นก็ท�ำให้อารมณ์ของเราไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียว
มั น จะเป็ น สองอารมณ์ จะก�ำหนดพองหนอยุ บ หนอก็ ไ ม่ ถู ก จะก�ำหนดลมหายใจก็
ไม่ถกู นีเ้ ป็นสองอารมณ์ ทีก่ �ำหนดเป็นสองอารมณ์นสี้ ภาวะไม่คอ่ ยเกิดได้งา่ ย ๆ
แต่ถ้าเราดูอาการพองอาการยุบเพียงอารมณ์เดียว ส่วนลมหายใจที่มันรู้ก็ให้ก�ำหนด
รู้หนอ ๆ แล้วก็ไม่ต้องไปใส่ใจมันว่า มันจะหายใจเข้าหรือหายใจออก นี้นาน ๆ เข้ามัน
ก็จะรู้เท่าทันอารมณ์นั้น และไม่นานก็จะเกิดสภาวธรรมต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น เกิดนิมิต
แสงสีบ้าง หรือเกิดสภาวะรู้รูปรู้นาม เกิดสภาวะรู้การเกิดการดับของรูปนาม บางทีเรา
ไม่เข้าใจเราก็รู้ว่ารูปนามนี้คืออะไร มันเป็นอย่างไร ตัวที่เขาบอกว่าก�ำหนดรู้รูปรู้นาม
บางทีก็รูปเกิดขึ้นก่อน นามเกิดทีหลัง คือหมายความว่า พองเกิดขึ้นมาแล้ว จิตเรานี้
จึ ง ไปจั บ อารมณ์ นั้ น รู ้ ที ห ลั ง แล้ ว เราจึ ง ก�ำหนดว่ า พองหนอ ตั ว พองนี้ เ กิ ด ขึ้ น ที ห ลั ง
นีเ้ ขาเรียกว่ารูปเกิดก่อนนามเกิดทีหลัง บางทีนามเกิดก่อนรูปเกิดทีหลัง
ที่เราก�ำหนดพองหนอ ทีนี้พองยังไม่ขึ้น เราก�ำหนดว่า พองหนอ แล้วพองนี้จะ
ตามมาทีหลัง นี้เรียกว่า นามเกิดก่อนรูปเกิดทีหลัง ในลักษณะอาการอย่างนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติ
ไม่ติดในอานาปานสติ คือ ลมหายใจเข้าหายใจออก ก็จะมารู้อาการเหล่านี้ได้ชัดเจน
142 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

มากขึ้น คืออาการที่รู้รูปรู้นามนี้ คือบางทีเราก�ำหนดไป ๆ เราก็จะรู้ว่ามันไม่เที่ยง ไม่อยู่


ในอ�ำนาจที่เราจะต้องบังคับเขา แต่เขาก็จะรู้อาการพอง อาการยุบ บางทีอาการพอง
อาการยุบเขาก็ไม่ปรากฏให้เห็น ให้มี เขาก็อยู่เฉย ๆ ไม่รู้จะไปก�ำหนดอะไร รูปก็ไม่เห็น
นามก็ไม่เห็น มันรู้สึกเฉย ๆ บางทีรูปนามนี้เขาก็มาให้เห็นเป็นครั้ง ๆ คราว ๆ ทีนี้โยคี
ก็อยากจะได้ตามใจตัวเอง คืออยากจะให้มันพองอยากจะให้มันยุบ อยากจะให้มันไปตาม
อารมณ์ นั้ น บางคนก็ ถึ ง กั บ ว่ า จะต้ อ งไปกลั้ น ลมหายใจ ลั ก ษณะท�ำนองนี้ เ รี ย กว่ า ไป
ปรุงแต่งเอา ไปปรุงแต่งเอาแล้วก็เกิดอาการเหนื่อย ท�ำไมท�ำแล้วมันเหนื่อย มันเหนื่อย
คื อ อาการพองอาการยุ บ นี่ มั น ไม่ ต ามใจเรา แล้ ว เราก็ อ ดกลั้ น ไว้ หรื อ ท�ำเพราะอยาก
จะให้มันตรงกัน อันนี้คือโยคีนั้นยังไม่เข้าใจ
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นไม่ต้องไปบังคับเขา แต่เราจะต้องไปรู้สภาวะ
อาการที่ เ ขาเกิ ด ขึ้ น เรี ย กว่ า เกิ ด ขึ้ น ตั้ ง อยู ่ ดั บ ไป พอเราก�ำหนดไป ๆ แล้ ว เราจะ
เห็ น อาการเกิ ด อาการดั บ ของสั ง ขารไม่ เ ที่ ย ง รู ้ รู ป รู ้ น ามแล้ ว ก็ ยั ง ไม่ พ อ ก็ ไ ปเห็ น
ตั ว ทุ ก ขั ง อนิ จ จั ง อนั ต ตา ไม่ ใ ช่ ตั ว ไม่ ใ ช่ ต น จะไปบั ง คั บ เขาก็ ไ ม่ ไ ด้ จะไปกลั้ น
ลมหายใจก็ไม่ได้ ปล่อยไป จิตใจก็ยิ่งฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ อันนั้นเราจึงจะ
ต้องรู้สภาวธรรมต่าง ๆ นั้น ท�ำไป ๆ บางทีมันก็จะเห็นว่า อาการพอง อาการยุบ หรือ
จะเห็ น ไปถึ ง ว่ า ไม่ มี อ ะไรในตั ว เรานี้ ก็ จ ะมี แ ต่ รู ป กั บ นาม ท�ำไป ๆ รู ป ก็ ห าย นาม
ก็หาย ไม่รู้จะไปจับอารมณ์อันใด ในลักษณะอาการอย่างนี้ ก็เคยมี คือท�ำไป ๆ พอง
ก็ ไ ม่ เ ห็ น ยุ บ ก็ ไ ม่ เ ห็ น บางครั้ ง ก�ำหนดไป ๆ ตั ว เองก็ ห ายไป พองก็ ไ ม่ มี ยุ บ ก็ ไ ม่ มี
มาดู ตั ว ตนก็ ไ ม่ มี อ้ า วมั น หายไปได้ ยั ง ไง บางที ก็ ห ายข้ า งบน จากบั้ น เอวขึ้ น มา เอ
เรานี้มันไม่มีตัว ก็มาลองกระดิก ๆ นิ้วดู เอ ยังอยู่รึเปล่า ด้วยการเอาใจใส่ก�ำหนดแล้ว
รู้ว่าเรายังอยู่ บางทีท่อนบนนี้เรารู้อยู่ แต่แขนเราก็ไม่มี ขาเราก็ไม่มี แต่ว่าเรารู้ว่าตัว
ของเรามี เราก็ค่อย ๆ ลืมตาดู ขาของเราก็ยังอยู่ แขนของเราก็ยังอยู่ ลักษณะอาการ
อย่างนั้น การเจ็บปวดมึนชามันก็ไม่มี เพราะอารมณ์นั้นมันถี่เขา มันละเอียดเข้า เมื่อ
มันละเอียดก็จะเห็นสภาวธรรมอันนั้นจะไม่มี เพราะอารมณ์นั้นมันละเอียดขึ้น มันถี่ขึ้น
มันก็จะเห็นสภาวธรรมอันนั้นเกิดขึ้นแก่โยคี ถ้าเป็นพระก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ ถ้าเป็นโยคี
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 143

ผู้หญิงก็วิ่งมาหาหลวงปู่แล้ว หลวงพ่อไม่รู้แขนหาย ขาหาย ไม่รู้มันหายไปไหน ก็เลย


ตกใจกลัวความหายนั้น นึกว่ามันเป็นอย่างนี้
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องเข้าใจในสภาวธรรมนั้นเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เที่ยงตรง
พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า มันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มันเป็นของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เราจะบังคับบัญชาเขาไม่ได้ เราจะบอกให้เขาอยู่อย่างนี้ ๆ เขาก็อยู่ไม่ได้ มันจะมีการ
เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ๆ ถ้าโยคีเป็นคนเฒ่าคนแก่
หน่อย ไม่ได้ ๆ ๆ ท�ำไม่ได้ ก�ำหนดไม่ได้ คนแก่ก็ร้องไห้ เราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ก็ไม่ได้ มันไม่เห็น ท�ำไป ๆ ก็ไม่เห็นมันมีพองมียุบเลย อาการต่าง ๆ ไม่รู้จะก�ำหนดอะไร
จิตใจก็ฟุ้งซ่านร�ำคาญ เหนื่อยก็เหนื่อย บางทีจิตใจมันเป็นอย่างนั้น แล้วการเดินจงกรมก็
เหมือนกัน การเดินจงกรมที่มันอยู่ในระยะรูปนามนี้ เดินไปก็คล้าย ๆ ว่ามันหมดไป ๆ ๆ
บางทีอุปมาเหมือนความรู้สึกของโยคีที่เดินจงกรมนั้น มีน�้ำอยู่เพียงครึ่งแข้ง แล้วเราก็
เดินอยู่ใ นน�้ ำ นั้ น พอเราเดิ น ถกขาขึ้ น แล้ ว มั น ก็ จะดั งที ห ลั ง มั น ดั งจ๋ อ ม ๆ ๆ แล้ ว เรา
ก็ไปเรื่อย ๆ มันเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น คือ รู้แต่ข้างหน้า ข้างหลังมันขาดหายไป
หมดไป ๆ แล้วก็เลยเกิดความกลัว ความตกใจ เอ นี่เราเป็นอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้
อันนี้โยคีผู้ปฏิบัตินั้นจะต้องรู้ไว้ว่า นี้มันคือสภาวะ หรือว่าเป็นญาณอันหนึ่งที่มาปรากฏ
ให้เราเห็น เราไม่ต้องไปตกใจ ไม่ต้องไปกลัวมัน เรื่องอย่างนั้น ขอย�้ำการเดินจงกรมนี้
อย่างหนึ่งว่า ผู้ที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ได้ผลจริง ๆ นั้น พอญาณมันสูงขึ้นไป
แล้ว จะต้องหาที่ราบเรียบ ไม่ใช่เดินเหมือนกับผู้ที่เดินจงกรมแบบพุทโธ หรือสัมมาอรหัง
ที่เดินกับพื้นดินจนกระทั่งทางเป็นร่อง ไม่ใช่อย่างนั้น
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ยิ่งได้พื้นที่ราบเรียบดีเท่าไหร่ ผู้ที่ปฏิบัติก็จะ
ก�ำหนดได้ดีเท่านั้น เพราะว่าเวลาการก�ำหนดของเรานั้นระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ พอก�ำหนด
ได้ แต่พอระยะที่ ๓ นี้มันจะยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าพื้นมันไม่สม�่ำเสมอมัน
จะท�ำไม่ถูก ฉะนั้น ไม่ควรจะไปเดินในป่าหญ้า หรือที่ไม่ราบเรียบ ต้องเดินในสถานที่
ราบเรียบสม�่ำเสมอจึงจะเป็นการดี บางทีบางคนก็จะเอาเสื่อมาปูแล้วเดินก็ได้ แต่ว่า
เพียงแค่พื้นปูนนี่ก็ได้แล้ว แต่ต้องไม่มีหินมีกรวด เพราะจะท�ำให้ผู้เดินไม่ได้สมาธิดี
144 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เท่าที่ควร นี้คือวิธีการเดินจงกรม ยิ่งเดินไปถึงระยะที่ ๔ ระยะที่ ๕ ระยะที่ ๖ นี้ มันก็ยิ่ง


ได้สมาธิสม�่ำเสมอดี บางองค์ก็บอกว่า เวลาเดินแล้วจะเซช้ายเซขวาเหมือนคนเมาเหล้า
มันเป็นไปได้ สภาวะมันเป็นไปได้หลาย ๆ อย่าง แต่ไม่ต้องไปตกใจว่ามันจะเป็นอะไร
ก็ช่างมัน ให้ก�ำหนดไปเรื่อย ๆ ตามอาการตามสภาวะของมัน
การปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น ไม่ ใ ช่ ว ่ า มั น จะสม�่ ำ เสมอเรื่ อ ย ๆ ไป ไม่ ใ ช่
ไม่ ถู ก ต้ อ ง การปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น มั น จะเห็ น มั น จะเป็ น ไปต่ า ง ๆ นานา
ตลอดทั้งการเดินก็ดี การนั่งก็ดี ตลอดมาจนถึงด้านจิตใจก็เหมือนกัน จิตใจของโยคี
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นจะเป็นคนใจน้อย ใจอ่อนแอ เหตุที่ใจน้อยใจอ่อนแอนั้น
เพราะอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน เมื่อมาอยู่ในอารมณ์กรรมฐานมาก ๆ ขึ้น มีใครจะมาพูด
เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็กระทบกระเทือน บางคนก็รอ้ งไห้วา่ มันกระทบกระเทือน มันมากเกินไป
เขาเรียกว่า ถ้าคนขี้โง่หน่อย ก็มักจะมีอาการร้องไห้ ถ้าไปกระทบเพื่อนฝูงจะพูดอย่างนั้น
พูดอย่างนี้ หรือแม้ว่ามีใครมองเห็นว่า คนนั้นเขามาพูดอย่างนั้น คนนี้เขามาพูดอย่างนี้
ก็เกิดความไม่พอใจ นี้ผู้ที่เป็นพ่อบ้านกลับบ้านระวังหน่อยจะไปกระทบกระเทือนกับ
แม่บ้าน ส่วนพระเรานี้ก็ไม่เท่าไหร่หรอก พอรู้กันได้
ส่วนฆราวาสทั้งผู้หญิงผู้ชายที่มาปฏิบัติ จะมีอาการอย่างนี้แหละ จะไปกระทบ
กระเทือนกับแม่บ้าน จะพูดอะไรมันผิดไปหมด เพราะเหตุที่ว่าอารมณ์มันเบาบาง กิเลส
มันเบาบางลงแล้ว มีใครมาพูดอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เกิดการกระทบจิตใจเหมือนกับว่า
ร้องห่มร้องไห้ก็มี มันเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติแล้วย่อมเห็นย่อมเป็น ฉะนั้น
ผู้ปฏิบัติรวมกันหลาย ๆ คนนี้ ยิ่งต้องระวังในเรื่องนี้ อาจารย์ทั้งหลายก็จะรู้ดี จะมีคน
มาว่า คนนั้นเขาท�ำอย่างนี้ คนนี้เขาท�ำอย่างนั้น ไม่มีความสงบเลย แม้กระทั่งไก่ขัน
ก็ไปโกรธมัน แหม ไก่นี่มันขันบ่อยเหลือเกิน ขี้เกียจจะก�ำหนด ก�ำหนดไม่ทัน ที่ปฏิบัติ
แล้วมันเป็นไปในลักษณะอย่างนี้คือ จิตมันอ่อน ก�ำหนดอารมณ์เหล่านั้นไม่ทัน แต่ถ้าเรา
ก�ำหนดทัน ได้ยิน เราก็ก�ำหนดได้ยินหนอ ๆ ๆ ถ้าก�ำหนดว่าได้ยินเสียงหนอ ๆ ๆ อันนี้
ผิดนะ ไม่เอา เอาเพียงแค่ว่าได้ยินหนอ ๆ ให้เราเข้าใจด้วย นี้คือการไปก�ำหนดอารมณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 145

ถ้าเราปฏิบัติไปนาน ๆ เข้า เราก็จะเห็นว่าจิตใจของเรามันอ่อนไหวได้ง่าย ไม่เข้มแข็ง


มีอะไรกระทบกระเทือนเข้านิด ๆ หน่อย ๆ ก็เกิดความไม่พอใจ อันนี้โยคีทุกคนก็ให้
เข้าใจในเรื่องนี้ เพียงแค่ไปสอบอารมณ์กับอาจารย์องค์นั้น วันนี้ แล้วไปสอบอารมณ์กับ
อาจารย์องค์อื่นถ้าพูดอะไรรุนแรงนิด ๆ หน่อย ๆ ก็เอาแล้ว เกิดความไม่พอใจ นี้คือ
สภาวธรรมของมัน ที่มันท�ำให้เรารู้เท่าทันสภาวะอารมณ์นั้นไม่ต้องไปโกรธ ถ้าเราโกรธ
เราก็โกรธหนอ ๆ ๆ ไม่พอใจหนอ ๆ ๆ ดีใจ ดีใจหนอ ๆ ๆ เสียใจ เสียใจหนอ ๆ ๆ เรา
ต้องก�ำหนดอยู่ทุกขณะ ทุกครั้งที่มันมีอะไรเกิดขึ้นเราก็ต้องรีบก�ำหนด ได้น้อยได้มาก
ไม่เป็นไร ตัวที่เราจะต้องรักษาหรือก�ำหนดได้ยากที่สุดนี้คือ ทางด้านจิตใจ
จิ ต ใจนี้ ถ้ า ปฏิ บั ติ ผ ่ า นจากญาณที่ ว ่ า มานี้ แ ล้ ว มั น จะขึ้ น ไปอี ก ญาณหนึ่ ง ญาณ
ตัวนี้มันจะฟุ้งซ่านมากในเรื่องทางด้านจิตใจ ทางด้านจิตใจนี้มันจะก�ำหนดเขาไม่อยู่
จะก�ำหนดคิดหนอ ๆ ถ้าเรารูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ เขาก็จะไปคิด เอ.. เมือ่ กีเ้ ราคิดเรือ่ งอะไรหนอ
ไปอีกทีหลังนี่มันยาวกว่าเดิม มันคิดไปยาวกว่าที่เราจะรู้เรื่องว่าเราคิด เราก็ไม่ได้ก�ำหนด
ฉะนัน้ ในระยะอย่างนี้ ท่านจึงให้ก�ำหนดต้นจิตเอาไว้ เพือ่ ให้สติมนั รูเ้ ท่าทันสภาวะอารมณ์นนั้
มาก ๆ ขึ้น ก็สติมันรู้เท่าทันอารมณ์นั้นเราก็จะได้ก�ำหนดให้รู้เท่าทัน เพราะจิตนี้มันไว
ยิ่งกว่าลิง มันเร็วยิ่งกว่าลิง พอบางทีเราคิดไปนานพอเราจะก�ำหนดว่าคิดหนอ ๆ ๆ เขา
มาแล้ว เราก�ำหนดไม่ทนั ทุกครัง้ ทีเ่ ราจะไปก�ำหนดเขามาแล้ว ไม่ตอ้ งไปบอกว่า เอากลับมา
ไม่ต้องดึงหรอก มันมาเร็ว มาไว ญาณขั้นสูงนี้ พอก�ำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ เขาจะวิ่งมา
อย่างเร็ว ท�ำให้เราตกอกตกใจ ได้ยินเสียงอะไรกระทบกระเทือนนิด ๆ หน่อย ๆ จิตนี้
จะสะเทือน สะดุ้งตกใจ กลัว เสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ได้ อย่างทีส่ มัยนีเ้ สียงทีเ่ ขาเผาศพ
ก่อนทีเ่ ขาจะเผาศพ มีเสียงประทัด เสียงอะไรต่าง ๆ นี่ล�ำบากต่อโยคีผู้ปฏิบัติมาก เสียงมัน
ดังมาก โยคีก็ตกใจก�ำหนดไม่ทัน แต่ถ้าโยคีรู้เรื่องก่อนว่าจะมีเรื่องอย่างนี้ ๆ ก็จะก�ำหนด
ได้ทัน
ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในช่วงนี้จะท�ำให้ฟุ้งซ่านร�ำคาญ เรื่องคิดนี่เป็นส่วนมาก เรื่องอะไร
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่เล็ก ๆ จ�ำความได้ก็น�ำมาคิด อย่างคนที่จากบ้านเมืองมาอยู่ที่อื่น
146 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ยิ่งคิดใหญ่ บางทีก็คิดว่าตัวนั่งอยู่บ้าน ที่กุฏิของตัว บางทีนั่งไป ๆ ก็ว่ามีญาติเข้ามาเรียก


แม่ ๆ ๆ ลืมตาขึ้นมาก็ไม่เห็นมีใคร บางทีก็มาเรียก หลวงพี่ ๆ ๆ นั่นคือสภาวะของมัน
ไม่ตอ้ งไปตกใจว่าเป็นผี หรืออะไร เป็นผีตวั เราเองนีแ่ หละ เป็นสภาวะที่มันจะเป็นอย่างนั้น
อาการของมัน ลักษณะของมันเป็นอย่างนั้น ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ฟุ้งซ่านมาก ๆ ให้ก�ำหนด
อิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น ตลอดถึงการฉัน ตักข้าว ตักหนอ ๆ ๆ อ้าปาก
อ้าหนอ ๆ ๆ รับข้าว รับหนอ ๆ ๆ เอามือลง วางหนอ ๆ ๆ เคี้ยว ก็ เคี้ยวหนอ ๆ ๆ
กลื น ก็ ก ลื น หนอ ๆ ๆ ยิ่ ง ท�ำได้ ล ะเอี ย ด สภาวธรรมเขาก็ ยิ่ งจะไปได้ เ ร็ ว บางคนมั ก
จะถามว่ า ถ้ า ปฏิ บั ติ จ ริ ง ๆ เอาอย่ า งเคร่ ง ครั ด จะได้ มั้ ย ถ้ า ไม่ ส�ำรวมแล้ ว ถึ ง สามปี
มันก็ไม่ได้ ถ้ามีอาการส�ำรวมระวัง เอาใจใส่ก�ำหนดอยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง ก�ำหนดอยู่ประมาณ
สัก ๑ เดือนก็ได้ ถ้ามันไม่ฟุ้งซ่านร�ำคาญ อารมณ์มันไม่ตก ไม่ได้พูด ไม่ได้คุย ปฏิบัติ
ด้วยการส�ำรวมเอาใจใส่อยู่จริง ๆ ก็จะได้เร็ว เร็วแค่ไหน ไม่รู้ แต่ว่ามันจะมีอารมณ์ได้เร็ว
แล้วก็เมื่อการปฏิบัตินั้นเราเอาใจใส่ในการก�ำหนด เอาใจใส่ในการปฏิบัติอยู่ไม่ให้อารมณ์
นั้นตก ไม่ให้สภาวะนี้ตก จะเป็นไปเรื่อย ๆ ก็จะได้เร็ว แต่ถ้าเรามัวแวะข้างทางอยู่เรื่อย ๆ
มันก็จะไม่ถึงง่าย
สมัยนี้มีโทรศัพท์มาถามเรื่อย นี้มันเสียหายแก่ผู้ปฏิบัติ มันจะได้ผลช้า ถ้าจะเอา
จริง ๆ โทรศัพท์นี้จะต้องเก็บไม่ต้องใช้ ปฏิบัติอย่างเดียวอย่างนี้ได้ผลไว ได้ผลเร็ว เรื่อง
การคบหาสมาคมกับคนอื่นก็ไม่เอา แต่ว่ามันท�ำได้ยาก ตรงนี้มันอยาก อยากจะคุยกับ
คนนั้น อยากจะคุยกับคนนี้ มันได้อารมณ์อะไรก็อยากจะไปอวดเขา ว่าเราปฏิบัติได้ดี
ก�ำหนดได้ดี สภาวะเราดีเหลือเกิน นี่เราส�ำเร็จพระอรหันต์หรือยังหนอ อาจารย์ไม่ให้
เรามั้ง คิดไป มันเป็นอย่างนั้น เพราะอารมณ์มันละเอียดมาก ละมุนละไม มันรู้เท่าทัน
สภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ฉะนั้น อาจารย์ต้องระมัดระวัง เขาจะเผลอ จะลืม การสอบอารมณ์
ก็ดี อะไรต่าง ๆ ก็ต้องระมัดระวังให้เขาปฏิบัติให้ได้ดี
ถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า ผู้ปฏิบัติได้เร็ว ได้ไว ก็เพราะว่า จะเป็นบุญเป็นบารมี
ของผู้นั้นก็ได้ แต่ไม่เกินวิสัย จะว่าเราเป็นคนไม่มีบุญไม่มีบารมี นี้ก็ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 147

ก็คอื มันมีวริ ยิ ะ อุตสาหะ ท�ำความเพียรอยูท่ งั้ กลางวันกลางคืน เลิกการติดต่อ เลิกการพูด


การคุย ท�ำกรรมฐานอย่างเดียว เรียกว่าปิดตัว ท�ำเหมือนกับคนป่วย อารมณ์ตา่ ง ๆ คอย
ก�ำหนดอยู่ จะคู้จะเหยียดก็คอยก�ำหนดอยู่ ไม่มีอารมณ์อื่น ๆ จะผ่านได้เลย ผู้ปฏิบัติ
อย่างนีจ้ ะได้ไว ไม่ตอ้ งไปพูดถึงบุญบารมี ต้องใช้ความเพียรมาก ๆ เท่าทีเ่ ราจะก�ำหนดได้
ผู้ที่มีความเพียรเอาใจใส่ให้ติดต่อกัน ให้ได้อารมณ์ ให้ได้ปัจจุบัน เราก็จะปฏิบัติ
ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าเป็นพระเป็นฆราวาสก็อยู่ในลักษณะอาการอย่างนี้
จึงปฏิบัติได้ไว ถ้าคุยกันบ้าง เดินจงกรมก็ไปกับหมู่กับพวก เหมือนที่เรามาปฏิบัตินี้
แต่ถ้าเราปฏิบัติแบบได้มรรคได้ผลจริง ๆ นั้น เราต้องอยู่คนเดียว แล้วก็ท�ำด้วยอาการ
ส�ำรวมระมัดระวัง ท�ำอยูท่ งั้ กลางวันกลางคืน เอาใจใส่อยู่ ไม่ใช่ว่าท�ำชั่วโมงสองชั่วโมงแล้ว
ก็พัก ไปคุยกันก่อนแล้วก็กลับมาท�ำอีก อย่างนี้ไม่ได้ จะปฏิบัติแบบนี้ก็ราว ๆ ๑๕ ปี
หรือ ๑๐ ปี หรือ ๒๐ ปี จึงจะได้ เพราะว่าอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานนี้เป็นอารมณ์
ที่ละเอียดอ่อน เป็นอารมณ์ที่ท�ำได้ยาก ผู้ปฏิบัติจะต้องเอาใจใส่ นี้มาสรุปได้ว่า พระธรรม
ค�ำสัง่ สอนของพระองค์นนั้ ไม่ใช่เป็นธรรมทีห่ ยาบ เป็นธรรมทีล่ ะเอียด จิตใจก็ตอ้ งละเอียด
ต้องอ่อนไปตามนั้น ที่จะท�ำอะไรก็ต้องให้มันนิ่มนวลเสียจริง ๆ จึงจะไปได้ ถ้าปฏิบัติ
แบบขรุขระ ๆ ก็จะไม่เห็นธรรมของพระองค์ มันเป็นของปฏิบัติได้ยาก ท�ำได้ยาก แต่
ก็ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ก็ต้องมีความเพียร ความพยายาม เอาใจใส่อยู่ อุตสาหะอยู่
ก็ย่อมได้ ไม่ใช่ว่าเป็นการเกินวิสัย
แต่ที่เราไม่ได้ปฏิบัตินี้มีอยู่หลายสาเหตุ คือ หนึ่ง เราไม่เข้าใจวิธีการ แล้วเรา
ก็ไม่รู้ว่าเราจะปฏิบัติอย่างไรเราจึงจะได้ เราไม่เคยได้ยินได้ฟัง แต่ถ้าจะไปถามอาจารย์
ว่ามันจะได้อย่างนั้น อย่าเพิ่งไปคิดเลย ท�ำอย่างเดียว ปฏิบัติอย่างเดียว เอาใจใส่ ท�ำ
ความเพียรอยู่ เราจะได้ผ่านโสฬสญาณ นี้ตัวที่ละเอียดอ่อน สภาวะอื่น ๆ ยังมีอยู่มาก
แต่ ผ มจะยั ง ไม่ เ อามาพู ด ในตอนนี้ ผมพู ด นี้ ยั ง ไม่ ถึ ง หนึ่ ง เสี้ ย วของการปฏิ บั ติ ที่ ท ่ า น
ทั้งหลายปฏิบัติไปแล้วจะได้เห็นในสภาวธรรมนั้น เพราะว่ามันเป็นของละเอียดอ่อนมาก
ยากที่จะเข้าใจ
148 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

อยู่กันหลาย ๆ คนนี้ อยากจะเตือนอยู่หน่อยหนึ่ง ก็คือ เรื่องอารมณ์ของกรรมฐาน


อารมณ์ของผู้ปฏิบัตินี้มันจะโกรธได้ง่าย ท่านอุปมาไว้ว่าเหมือนกับงูเห่า เป็นอสรพิษ
ถ้ามันนอนรอที่จะจับอาหาร พอมันตกใจแล้วมันก็สู้ขึ้นมา นี่อุปมาหนึ่ง กระทบกระเทือน
กับหมู่พวกแล้วมันจะขึ้นมา อุปมาอีกอันหนึ่งเหมือนกับที่ว่า จังหวัดบุรีรัมย์นี้อดน�้ำมาก
ต้องไปตักน�้ำบ่อขึ้นมาใส่ดินให้มันนอนก้น แล้วจึงไปตักน�้ำนั้นมากิน อารมณ์กรรมฐาน
ก็เช่นเดียวกัน กิเลสมันนอนเนื่องอยู่นี้ พอมีอะไรตกลงมา ฝุ่นนั้นมันก็จะฟุ้งขึ้นมา ไอ้ที่
ไปกระทบกระเทือนอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วมันจะพุ่งขึ้นมา ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้
จะอยู่ในอารมณ์ประเภทเหล่านี้ อันนั้นจึงว่าให้ระมัดระวังการพูดการคุยกันหยอกเย้า
กัน มันก็อาจจะฟุ้งขึ้นมาเสียอารมณ์กรรมฐาน ผู้ปฏิบัติกรรมฐานนี้อารมณ์รักษายาก
แม้ ก ารอยู ่ ก ารฉั น ก็ เ หมื อ นกั น จะกระทบกระเทื อ นนิ ด ๆ หน่ อ ย ๆ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ห รอก
รักษายาก อารมณ์ของกรรมฐานนี้น่ะ เป็นคนขี้โง่ มันโง่ ๆ มากกว่าใจมันอ่อน (โยเย
ขี้น้อยใจ)
ท้ายที่สุดนี้ขอท่านทั้งหลายจงได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ทุกองค์ทุกท่านตลอด
ทั้งฆราวาสด้วย จงเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 149

ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆำ สนฺตสฺส โยชนำ


ทีโฆ พาลาน สำสาโร สทฺธมฺมำ อวิชานตำ
กลางคืน ยาวนาน สำาหรับคนนอนไม่หลับ
หนทาง ยาวไกล สำาหรับคนเมื่อยล้า สังสารวัฏ
ยาวนาน สำาหรับผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
(ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๕/๖๐)
150 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑๐
ปฏิบัติกรรมฐานไป
อย่ากลัวใจหมดกิเลส *

ขอกราบพระเถรานุเถระ พระโยคาวจร ขอเจริญพรญาติโยมทั้งหลาย ดูเหมือน


จะไม่ต้องพูดถึงข้อปฏิบัติมาก เพราะหลาย ๆ วันมานี่ก็เคยได้ยินได้ฟังมา ไม่ใช่ว่า
คำ า พู ด นั้ น จะหมด เพราะการปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนั้ น ยิ่ ง ปฏิ บั ติ ไ ปก็ ยิ่ ง มี ค วาม
แตกฉานและก็ยิ่งละเอียดมากขึ้น ผมก็เลยอยากจะมาพูดเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะว่า
มันอยู่แต่ผู้เดียว ย่านฮู้เบื่อ คือพูดแต่เฉพาะผมองค์เดียว องค์อื่น ๆ ก็ไม่ค่อยได้มาพูด
การที่มาปฏิบัตินี้ จะว่ามาเอาแต่หลักธรรมะก็ถูก เพราะท่านทั้งหลายก็เคยได้ยิน
ได้ฟังมามากแล้ว แต่ถ้าจะเอาแต่หลักธรรมะก็จะเบื่อได้ง่าย เพราะธรรมะนั้น ถ้าจิตใจ
ของผู้ปฏิบัตินี้ยังไม่เกิดศรัทธา อันนี้จะฟังธรรมะล้วน ๆ มันไม่ดี เพราะธรรมะล้วน ๆ นี้
ผู้ปฏิบัติ ๆ ไปแล้วมันจะเกิดสภาวธรรมตามไปเรื่อย ๆ แต่สำาหรับผู้ที่เอาใจใส่น้อย คือ
ปฏิบัติด้วยแนวทางอย่างอื่น ๆ มาก่อน แต่เมื่อมาปฏิบัติในแนวนี้ จิตใจจะค่อยละเอียด
อ่อนขึ้นเรื่อย ๆ และผู้ที่จิตใจที่จะตามมานี้มันตามไปไม่ทัน เมื่อตามไปไม่ทันก็ทำาให้
ผู้ปฏิบัติเกิดเบื่อหน่าย เพราะเราเข้าใจว่า วิปัสสนากรรมฐานนี้สภาวะมันจะดีไปตลอด
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
152 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เมื่อปฏิบัติแล้วจะเห็นสภาวธรรม แล้วจะมีปีติสุขไปเรื่อย ๆ คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น


แต่ความเป็นจริง หลักของธรรมะนี้เมื่อปฏิบัติไปแล้วมีทั้งดีมีทั้งเสีย
ถ้าเราไม่เข้าใจในวิธีการที่จะปล่อยวางบางสิ่งบางอย่างนี้จะท�ำให้อึดอัด อึดอัดใน
ด้านจิตใจที่ว่าไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์นั้นมากเกินไป เมื่อยึดมั่นถือมั่นอยากจะให้เป็น
อย่างนั้น คล้าย ๆ เป็นการบังคับ อยากจะให้เขาเป็นอย่างนั้น ผู้ที่ปฏิบัติแบบนี้จะอึดอัด
บางทีกป็ วดศีรษะ ปวดหัว บางทีกป็ วดในเนือ้ ในตัวเพราะไปบังคับเขา แต่ถา้ รูจ้ กั ปล่อยวาง
อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อเกิดทุกขเวทนาขึ้นหรือแค่เพียงอาการพองอาการยุบนี้
ผู ้ ที่ เ คยปฏิ บั ติ พุ ท โธมา หรื อ อารมณ์ อ ย่ า งอื่ น ๆ มา เมื่ อ มาท�ำแบบนี้ ลมหายใจเข้ า
ลมหายใจออก เรียกว่า อานาปานสติ ก็อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น เมื่อหายใจเข้าก็
อยากจะให้ มั น พอง อยากจะให้ มั น ทั น กั น แท้ ที่ จ ริ ง มั น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น อั น เดี ย วกั น มั น
คนละเรื่อง มันคนละอย่าง พองกับหายใจเข้านั้นมันอยู่ห่างกัน แต่ก็มาท�ำแล้วก็มีการ
อดกลั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้มันพองขึ้นอยู่ พอเราจะหายใจออกมันก็ยุบแล้ว ก็เลยไม่ได้
มันก็อึดอัดในด้านจิตใจ เมื่อท�ำไม่ได้ก็ไปบังคับเขา ก็เป็นผลเสีย
ความไม่พอใจในอารมณ์นั้นก็เหมือนกัน อารมณ์บางสิ่งบางอย่างนี้เราก�ำหนด
ไม่ค่อยทันกับอารมณ์นั้น เช่น พอหูได้ยินเสียง เรารู้แล้วจะก�ำหนดได้ยินหนอ ๆ ๆ
ก็ว่ามันเป็นอดีตไป เมื่อมันเป็นอดีตไปแล้วเราก็คิดว่ามันเป็นอดีตไปแล้วไม่ได้เป็น
อารมณ์ปัจจุบัน เมื่อมันไม่ได้อารมณ์ปัจจุบันก็พยายามให้มันทัน มีความอดกลั้นในบาง
สิ่งบางประการ แล้วก็ท�ำให้จิตใจนี้ฟุ้งซ่าน ลักษณะเช่นนี้จะท�ำให้ฟุ้งซ่าน มันเป็นอย่างนี้
บางบัลลังก์เราจะก�ำหนดได้ดี พองยุบก็ชัด เจน เราก็ไปพอใจในอารมณ์นี้ว่าดี
ก็รักษาอารมณ์นี้ไว้ ค่อย ๆ ลุกขึ้น จะลุกจะคู้เหยียด ก็ก�ำหนดให้มันติดต่อกัน ให้มัน
ได้อารมณ์ ก็คอยรักษาอารมณ์ไม่ให้มนั เผลอ แล้วก็คอ่ ย ๆ ไปเดินจงกรม พอไปเดินจงกรม
ได้พักหนึ่งแล้ว จิตตานุปัสสนา จิตก็ค่อย ๆ แลบเข้ามา ก็ค่อย ๆ ก�ำหนดให้มันทัน
มันก็ทันอีก พอกลับมานั่งในบัลลังก์ต่อไป มันก็เกิดฟุ้งซ่านก�ำหนดไม่ได้ อันนี้มันเกิด
อะไรขึ้น ก็เลยไม่รู้มันเป็นอะไร เมื่อตอนนั่งก็ก�ำหนดได้ดี ตอนเดินจงกรมก็ก�ำหนดได้ดี
เอ นี่เราเป็นอะไรไป ตั้งใจที่จะมานั่งในโอกาสต่อไปกลับฟุ้งซ่าน เราก็คิดว่า เรานี้ส�ำรวม
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 153

อยู่ทุกอย่างท�ำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ที่มันเป็นอย่างนั้นเพราะมันเกิดความโลภอยากได้
ให้มันเป็นอย่างนั้น ๆ เมื่อความโลภอยากได้เกิดขึ้นมาก็เกิดความไม่พอใจตามมา
ความโลภ โกรธ หลง ทั้ง ๓ ตัวนี้เขาไม่ได้ทิ้งห่างกันเลย เขาจะอยู่ด้วยกัน แล้ว
เราก็ก�ำหนดไม่ทัน เราไม่ค่อยเข้าใจในวิธีการก็เลยเกิดความไม่พอใจในอารมณ์ของ
เราเองที่ เ กิ ด ขึ้ น นั่ น แหละ พองยุ บ ก็ ไ ม่ ไ ด้ นั่ ง ก็ ไ ม่ ไ ด้ ก็ ไ ม่ รู ้ จ ะท�ำอะไร นั่ ง ต่ อ ไป
อารมณ์ อื่ น ก็ เ ข้ า มาแทรก ง่ ว งเข้ า มาแทรก เข้ า มาเรื่ อ ย ๆ นี้ คื อ ทุ ก ขั ง อนิ จ จั ง อนั ต ตา
มันเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ตัวที่เราได้มาบัลลังก์ก่อน
นั้นมันเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อมันเปลี่ยนไปแล้วเราก็เกิดความไม่พอใจในอารมณ์นั้น อันนี้
ก็เลยกลายเป็นโลภะโทสะโมหะเข้ามาครอบง�ำ นี่คือไม่รู้จักหลักทุกขังอนิจจังอนัตตา
นี่มันอยู่ลึกก็เลยก�ำหนดไม่ได้ เมื่อก�ำหนดไม่ได้ก็เลยไม่เข้าใจ มันเป็นของละเอียดยาก
ที่เราจะเข้าใจ
ถ้าเราเข้าใจในวิธีการที่จะต้องแก้ไข เราก็ เออ มันเป็นอย่างนี้ เราก็เปลี่ยนอารมณ์
ใหม่ คือ เมื่อมันนั่งไม่ได้ก็ลุกขึ้นเดินจงกรมใหม่ บัดนี้จะก�ำหนดหรือไม่ก�ำหนด หรือ
ว่าจะท�ำแบบห่าง ๆ ก็แล้วแต่ แล้วแต่จิตเขาจะอยู่ เขาจะอยู่วิธีไหน เขาจะเอาวิธีไหน
ก็เราไปดูตัวของเราเอง ดูจิตของเราเอง เราเกิดมั้ย โลภะโทสะโมหะมันเกิดมั้ย ความ
ไม่เที่ยงของสังขารมันเกิดมั้ย มันมีอยู่อย่างนี้ ๆ ๆ มันมีมั้ย ทางด้านจิตใจของเรานี้
โลภะ โทสะ โมหะ มันมีมั้ย เราพิจารณาอย่างนี้แล้วเราก็เดิน ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
เดินเร็ว ๆ ก็ได้ เพื่อเป็นการแก้อารมณ์ แล้วก็ตั้งใจเอาใหม่ สมมุติว่าเราเดินระยะที่ ๔
เราก็กลับไปเดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ออกก�ำลังเพื่อให้มันสลายไอ้ตัวที่เกิดขึ้นนั้น
สักพักหนึ่งเราก็กลับมาดูอาการ เดินระยะ ๔ ต่อไป อันนี้จะส�ำรวมได้ดี
เวลาปฏิบัติ บางองค์อยากให้เล่าประวัติ ผมว่ามันไม่ดี แต่อย่าเอาตัวอย่างก็แล้วกัน
มันไม่ดี จะเล่าให้ฟังนิด ๆ หน่อย ๆ ก็แล้วกัน ประวัติความเป็นมาของผมนี้ ผมนี้ก็ว่าได้
ไปเกือบทุกภาคของประเทศไทย บวชมาก็หลายพรรษา ไปหลายแห่ง ไปอยู่หลายบ่อน
หลายสถานที่ ก็ คื อ ความตั้ ง ใจที่ บ วชมานั้ น ไม่ รู ้ ว ่ า จะบวชด้ ว ยศรั ท ธาหรื อ ไม่ ศ รั ท ธา
ก็ ยั ง ไม่ รู ้ เพราะเดิ ม ที ที่ วั ด บ้ า นผมนี่ มั น ล้ ม ลุ ก คลุ ก คลาน พระสงฆ์ อ งค์ เ ณรอยู ่ วั ด
154 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ไม่ค่อยติด เจ้าอาวาสไม่ค่อยมี ผู้ที่จะมาบ�ำรุงพระพุทธศาสนาก็ไม่ค่อยมี หมายถึง


ชาวบ้ า นก็ ไ ม่ เ ข้ า ใจพระพุ ท ธศาสนา แล้ ว ก็ พ ระเจ้ า อาวาสนี่ จ ะอยู ่ ไ ม่ ถึ ง ๕ พรรษา
สักรูป ๒ - ๓ พรรษาก็ไป ผมเกิดมาก็เห็นอย่างนั้น ผมเกิดมาพ่อก็อยากจะให้ไปอยู่วัด
ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อยู่ เรียกว่าพ่อเอาไปปลูกฝังไว้ให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บางที
ก็ไปกลางวัน พอกลางคืนก็กลับมานอนอยู่บ้าน พอโตขึ้นมาก็มีความรู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่า
พ่อจะเอาไปไว้ที่วัด เมื่อจะออกไปช่วยพ่อแม่ท�ำนาก็รู้สึกว่า คิดถึงแต่พระ คิดอยาก
อุปถัมภ์อุปฐากแต่พระ อยากจะไปเทกระโถน ไปล้างบาตร บางทีไม่ได้อยู่วัด พอเห็น
พระมาบิ ณ ฑบาตก็ ไ ปอุ ้ ม บาตรให้ พ ระ พอไปถึ ง วั ด ก็ เ อาไปวางไว้ ไม่ ไ ด้ ถ วายหรอก
แล้วก็วิ่งกลับมา คิดถึงพระ มันจะเป็นอย่างนั้นความเป็นมาเป็นอย่างนี้
อยู่มาอายุพอได้เข้าโรงเรียน สมัยนั้นโรงเรียนอยู่ที่วัด ก็เรียนอยู่ที่วัดไม่ค่อยได้
หนีจากวัดเพราะติดอยู่กับวัด มีเพื่อนฝูงหลายคน พอออกจากโรงเรียนแล้ว หลวงปู่
ที่อยู่ที่วัดก็เลยมาขอให้บวชเป็นสามเณร พ่อแม่ก็ถามว่าจะไปมั้ย บอกว่า ไป เมื่อบวชเป็น
สามเณรแล้วก็อาศัยอยู่ที่วัดนั่นแหละ แต่ว่าที่บวชเป็นสามเณรนั่นน่ะ ก็เพราะคิดถึงวัด
นี่แหละ ว่าจะสึกไปตามที่พวกเขาสึกก็คิดอยากสึกกับพวกเขาแต่ว่าไม่ถึงกับได้สึก ก็อยู่
องค์เดียวในวัดนั้น เป็นสามเณรองค์เดียวก็เคย แล้วพอบวชมาเป็นพระก็คิดอยากสึก
อย่างที่หมู่พวกเขาพากันสึก แต่ไม่เคยได้ตัดกางเกงเลยยังไม่ได้สึก เหตุที่ไม่อยากสึก
ก็เคยได้ยินเขาพูดว่าหญิงสามผัวชายสามโบสถ์ ท�ำนองนั้นก็เลยมาคิดว่า เอ เราจะสึกไปนี่
เขาจะมาหาว่าเราบวช ๆ สึก ๆ แล้วฉายาที่อุปัชฌาย์ท่านตั้งให้ สึกแล้วก็จะเปลี่ยนไป
อันนี้ก็ตัวหนึ่งเป็นเหตุไม่ให้อยากสึก แล้วอยู่มาการศึกษาเล่าเรียนก็ไม่มี การศึกษา
ทางปริยัติครูบาอาจารย์ก็ไม่มี
บวชได้สองสามพรรษาก็มาคิดถึงพระรูปหนึ่งที่เขามีบ้านอยู่ทางลพบุรี ตอนนั้น
ยังเด็กอยู่ พระรูปนั้นเขามาที่นี่เวลาเขาจะกลับก็คิดอยากจะตามเขากลับไป แต่พ่อแม่
เห็นยังเด็กอยู่ก็ไม่ให้ไป อันนี้พอบวชแล้วก็มาที่ลพบุรีไปอยู่กับเขาหลายเดือน ไปอยู่แล้ว
ก็มีลูกศิษย์ลูกหามาอยู่ด้วย ก็ไปเจอสามเณรที่เคยบวชอยู่ด้วยกันแถวบ้านกล�่ำ ก็เคย
ไปท�ำบุ ญ แล้ ว พบกั น นี้ พ อไปอยู ่ ล พบุ รี ก็ อ ยู ่ ไ ปเรื่ อ ย ๆ มี ค นมาบอกว่ า สาว ๆ คนนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 155

ชอบหลวงพี่ มีอยู่สองสามคน เออ เราไม่ชอบหรอก เขาชอบก็ชอบไป มีบ่อน�้ำอยู่ข้างกุฏิ


เขาก็ชอบมาตักน�้ำให้ทุกวัน ๆ มีของหวานที่คนไทยเขาชอบท�ำ เขาก็เอามาให้ เด็กก็
บอกว่าคนนั้นคนนี้เขาชอบหลวงพี่ ทางลพบุรี เขาจะมีเด็กหาบกระเช้าออกหน้าเวลา
พระบิณฑบาต มีปิ่นโต ภาษาโบราณเขาเรียกขันไข่นกเอี้ยงใส่ในนั้น พอไปถึงเด็กก็
บอกว่าพระมาแล้ว เขาก็ลงมาใส่บาตร เขาก็มีแกง ที่เขาชอบที่สุดคือแกงส้ม มาใส่บาตร
อาหารเขาก็เอาใส่ในกระเช้า ข้าวเขาก็ใส่ในบาตร ไปแรก ๆ ก็ยังไม่ค่อยได้อาหารหรอก
อยู่ไป ๆ ก็เต็มบาตรทุกวันแหละ สาว ๆ เขามาใส่บาตรให้ (หัวเราะ) อยู่ไปประมาณ
๒ - ๓ เดือน ผู้หญิงเขาก็ชอบ แต่สัญชาตญาณของผมนี่ ผมดูใครไม่เห็นว่าใครสวยใคร
ไม่สวยหรอกดูไปก็ธรรมดา ๆ เขาบอกว่าคนนั้นสวยคนนี้สวย ผมดู ผมก็ว่าธรรมดา
คนนั้ น คนนี้ ส วย ก็ ส วยกว่ า กั น เล็ ก ๆ น้ อ ย ๆ คิ ด อย่ า งนั้ น และก็ ต อนเย็ น มาเขา
จะพาเข้ า ไปที่ บ ้ า น มี พ ระอยู ่ ที่ นั่ น เขาพาไปเที่ ย วที่ บ ้ า นเขา แต่ ค นนี้ ไ ม่ ไ ด้ มี วี่ แ ววว่ า
เขาจะรักเราหรือชอบเรา เราก็ไม่รู้ เราไปบ้านเขาแล้ว เขาไปพูดกับแม่เขา ว่าจะเอา
กางเกงนี้ให้พระสึก เขาจะให้แม่เขาเอามา แม่เขาก็บอกว่ามึงเอาไปให้เองสิ แล้วเขาก็
เอากางเกงกับเสื้อมาให้ผม ผมก็รับแล้วถามว่า เอามาท�ำไม ก็เอามาให้หลวงพี่สึก ไป
แต่งงานกับเขา เราก็ เอ เดี๋ยวพิจารณาก่อน เก็บไว้ก่อนวันหลังจะมาเอา พอผมไปแล้วอยู่
ที่นั่น ๒ - ๓ วัน ผมก็หนีแล้ว ขึ้นไปแถวนครสวรรค์นู้น ไปเยี่ยมญาติแถวนครสวรรค์
ญาติเขาเขียนหนังสือบอกไว้ ก็ไปคนเดียว มีย่ามใบเดียวก็ไปเรื่อย ๆ พอไปถึงคนที่จะ
ไปเยี่ ย มนั้ น เขาไปแล้ ว กลั บ ไปแล้ ว เราก็ ค ้ า งคื น หนึ่ ง แล้ ว ก็ จ ะกลั บ พอจะกลั บ มา
ผู้หญิงบ้านนั้นเขาจะตามผมมา เรายังไม่รู้หน้าเขาเลย มีเด็กนั่งอยู่เราก็ไปถามทางที่จะ
ไปบ้านนั้นไปยังไง ถ้าเข้ากอไผ่ไปก็ไปโผล่หมู่บ้านหนึ่ง พอเข้าไปในหมู่บ้านนั้นเขาก็ถามว่า
หลวงพี่มาแล้วเหรอ เอ เขาทักผิดรึเปล่า เรายังไม่รู้จักเลย แต่เราก็เออ..มาแล้ว ผู้หญิง
อีกคนนึงก็บอกว่าเราชอบหลวงพี่ เราจะไปกับหลวงพี่...อ้าวไปยังไงเราจะไปอีสานโน่น
มันเป็นอย่างนั้น พูดถึงเรื่องอย่างนี้ ไปไหนมันมักจะพบ แต่ผมไม่ได้ไปสนใจในเรื่อง
อย่างนั้น นับตั้งแต่บวชมานี่จะเป็นอาบัติสังฆาทิเสสด้วยการจับต้องนี้ไม่มี มีแต่การ
พูดคุยธรรมดา ไม่ได้ไปเกี้ยวพาราสี คิดว่ายังบริสุทธิ์อยู่
นึกอยากจะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี่ พวกก็มาอยู่ที่วัดไทยเดิม อยู่ปากช่อง
นี่เอง เขาบอกว่ามีการปฏิบัติอยู่ที่นั่น ๆ ก็เลยมาเยี่ยมเขา แต่หลวงพ่อวัดสระก�ำแพง
156 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

(พระมงคลวุฒ : หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท) บอกผมว่าให้ไปปฏิบัติแบบสมถะกับอาจารย์


ใหญ่ สู ง เนิ น ที่ วั ด ใหญ่ สู ง เนิ น ผมยั ง ไม่ เ ห็ น เขาลู ก นั้ น อยู ่ ใ นถ�้ ำ อาจารย์ ใ หญ่ สู ง เนิ น
ผมก็มาถึงปากช่องแล้ว ผมก็ เอ ถึงปากช่องแล้วก็เลยแวะเข้าไปถามพระที่นั่น อยาก
จะหาที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อวัดสระก�ำแพงก็มาแถวนี้แหละ ไข้ป่าก็เยอะ
ท่านก็เป็นอัมพาต แต่ท่านก็ยังอยู่ได้นะ เดี๋ยวนี้หลวงปู่เครื่องอายุ ๙๘ แล้ว
ผมมาถึงปากช่อง พวกก็บอกว่ามีอาจารย์อาสภะที่วัดมหาธาตุ เดี๋ยวนี้มาอยู่ที่ชลบุรี
ผมก็เคยรู้จักกับพระที่อยู่กรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อก่อนเคยอยู่ด้วยกันที่วัดสระก�ำแพง ผมก็เลย
ไปหาพระองค์นี้ให้ส่งเราไปที่ชลบุรี มาขึ้นรถที่ปากช่อง นี่จะเข้ากรุงเทพ มีของเป็นบาตร
เป็นผ้าห่ม ก็เอาใส่กล่องกระดาษ คนรถเขาก็เอาใส่รถ ผมก็มองเห็นอยู่ เวลาลงจากรถ
ผมไปหาของผมไม่เห็น กล่องมันเหมือนกันคนที่ลงรถในระหว่างทางอาจจะเอาของผมไป
เปลี่ยนกัน (หัวเราะ) ผมก็หาของผมไม่เจอ เห็นแต่เครื่องอะไรของผู้หญิง บาตรก็เลยหาย
ไป เข้ากรุงเทพก็ไปหาบาตรใหม่กับหมู่พวกที่วัดสะพานแถวอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ก็ไปได้
จากที่นั่น เมื่อเจอหมู่พวกแล้วก็ให้เขาส่งไปที่ชลบุรี
พอถึงชลบุรีแล้วก็มีพวกอีกคนหนึ่งอยู่ชลบุรี ที่ตั้งใจไว้นั้นอยากไปหาท่านอาสภะ
แต่เขาบอกว่า วัดธรรมนิมิตนี่แหละปฏิบัติดี เราก็เลยไปไม่ถูกวัด ก็อดทนสู้อยู่ตลอด
พรรษา ปฏิ บั ติ ก็ ไ ม่ ค ่ อ ยรู ้ เ รื่ อ งหรอก แต่ มั น เป็ น อานิ ส งส์ อั น หนึ่ ง ที่ ป ฏิ บั ติ ไ ม่ ถู ก น่ ะ
เพราะว่ า ไม่ รู ้ เ รื่ อ งอะไรทั้ ง นั้ น ท่ า นให้ ป ฏิ บั ติ พ องหนอยุ บ หนอก็ ไ ปรู ้ ที่ ล มหายใจ
จะแก้ก็ไม่รู้วิธี ก็ท�ำอยู่ทั้งพรรษา ไปอยู่นั่นก็มีแม่ชีอีกแหละ ชลบุรีนี่เขาตื่นตี ๕ ก็ไป
บิณฑบาตตั้งแต่ยังไม่สว่างเลยนั่นแหละ ผมก็ไม่รู้เรื่อง อาจารย์ที่อยู่นั่นเขาก็ไม่ได้บอกว่า
ให้ ไ ปบิ ณ ฑบาตเวลานั้ น ๆ ผมออกไปผมก็ ไ ด้ ส ้ ม ลู ก นึ ง ข้ า วช้ อ นหนึ่ ง ในวั น นั้ น ได้
แค่ นั้ น แหละ ก็ ไ ม่ รู ้ จ ะไปที่ ไ หน ก็ เ ลยกลั บ มา วั น หลั ง ก็ เ ดิ น ไป ก็ มี แ ม่ ชี นี่ เ ดิ น หน้ า
เขาก็รู้จุด ก็ท�ำใบ้บอกเรา ให้เราไปรับที่ตรงนั้น ๆ ก็เลยรู้ทางที่จะไปบิณฑบาต ต่อมาก็
บิณฑบาตได้
เมื่อก่อนค่ายทหารที่วัดธรรมนิมิตนี่ยังไม่มี เพิ่งจะมาสร้าง เวลาไปบิณฑบาตเรา
ก็ไม่ได้ถือปิ่นโตอะไร พวกทหารที่มาใส่บาตร เห็นพระมาบิณฑบาตเขามีอะไรก็เทลงไป
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 157

ทั้งข้าวทั้งแกง ที่นี่ คือความเป็นมาที่มีอุปสรรคในการปฏิบัติ แม่ชีนั้นก็เคยไปอุปฐาก


อุปถัมภ์ แล้วเราก็พยายามที่จะไปวิเวกอาศรม พวกแม่ชีนี่ก็ตามไปสองสามคน เดี๋ยวคนนั้น
ไป เดี๋ยวคนนี้ไป ก็เอาสบู่ยาสีฟันไปให้บ้าง บางคนก็เอาปัจจัยไปให้บ้าง คราวละ ๑๐ บาท
๒๐ บาท เพราะว่าไปอยู่วิเวกอาศรมไม่มีการไปสวดมนต์ ไม่มีรายได้อะไร ก็อยู่ปฏิบัติ
อย่างเดียว ก็มีพวกแม่ชีนี่แหละ ผมว่ามันเป็นกรรมอันหนึ่ง กรรมกับผู้หญิงนี่แหละ
เขาก็ไปหาอยู่หลายเดือน แล้วก็บอกว่าเขาอยากจะสึก หลวงพี่สึกมั้ย เออ ไม่สึกหรอก
ตอนหลังเขามาบอกว่า เขาจะสึก เขาบอกว่าชาติหน้าพบกันใหม่ (หัวเราะ) ไม่รู้จะพบกัน
รึเปล่า เขาก็สึกไปแต่งงาน นี้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ แล้วก็มีลูกคนจีนที่อยู่แปดริ้ว
เขาก็ว่าเขาสวยนั่นแหละ แล้วอาจารย์สมศักดิ์ที่เขาอยู่สกลนคร เขาก็ว่าผมไปติดกับ
ผู้หญิง ไม่ใช่ผมไปติดกับผู้หญิง ผู้หญิงเขามาติดผมนั่นแหละ ก็ไปมาหาสู่ ตอนหลัง ๆ
มานี่อาจารย์ไม่ให้พบ ตอนหลังอาจารย์อาสภะไม่ให้พบ บอกว่าคนชื่ออย่างนั้น ๆ ไม่มี
ไม่ให้พบ นี่คืออุปสรรคของการปฏิบัติ
หลั ง จากนั้ น มาผมได้ ป ฏิ บั ติ แ ล้ ว มี โ ยมชื่ อ ธรรมนู ญ สิ ง ห์ ค ารวานิ ช มาบอกว่ า
ให้ท่านสู้ปฏิบัติให้ได้ เพื่อจะได้เอาไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทางภาคอีสานนี้ยังไม่มีใคร
ที่จะได้มาปฏิบัติ เราก็คิดว่าปฏิบัติให้ผ่านญาณ ๑๖ ผมก็ไม่รู้ว่าญาณ ๑๖ มันเป็นยังไง
ด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจ มันก็เลยปฏิบัติยาก แต่ความจริงการปฏิบัตินี้ถ้าเรา
เข้าใจหลักวิธีการที่จะแก้ไขให้ผู้ปฏิบัตินี้ก็ไม่นานหรอก ไม่นานเกินไปอย่างที่เราคิด ก็ว่า
เออ ๔ เดือน ๕ เดือนอะไรไม่ใช่ ถ้าเขาปฏิบัติดีจริง ๆ ญาณเขาไม่ตก ก็ประคับประคอง
เขาให้ ไ ด้ เขาก็ จ ะไปได้ เขาก็ จ ะปฏิ บั ติ ไ ปได้ ไ วอยู ่ เห็ น โยมคุ ณ หลวงฉมาพยุ ห รั ก ษ์
มาปฏิบัติอยู่เพียงแค่ ๔๕ วัน ถามอาจารย์ใหญ่ว่าเขาปฏิบัตินานมั้ย ปฏิบัติอยู่ ๔๕ วัน
คื อ คนแก่ แ ล้ ว อายุ ๘๐ แล้ ว แกก็ ยั ง แข็ ง แรง พอมาปฏิ บั ติ ไ ด้ ก็ ท�ำได้ คนอื่ น ๆ ก็
เหมือนกัน แต่ญาณเขาไม่ตก ปฏิบัติแล้วญาณไม่ตก มันก็ไปได้เร็ว ที่เรามาปฏิบัติแล้วไป
ช้า ๆ เพราะญาณมันตกบ่อย ๆ ไอ้ตัวที่ส�ำคัญที่สุด ก็คือ ปฏิบัติแล้วไปคุยกัน ตัวนี้ห้าม
เด็ดขาด
ถ้าผู้ปฏิบัติต่างคนต่างท�ำ ส�ำรวมเขา ส�ำรวมเรา ก�ำหนดอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
นี่ได้ ประมาณสักว่า ๔๐ กว่าวัน ยิ่งผู้ปฏิบัติมาแล้วรู้ทางสักหน่อยนึง ก็จะปฏิบัติไป
158 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ได้ง่าย แต่ถ้าผู้ที่ไม่คุ้นเคยก็ง่ายเหมือนกัน อย่างพวกผู้หญิงทั้งหลายนี่ ทีแรกผมคิดว่า


วิปัสสนากรรมฐานนี่มันจะราบรื่น ปฏิบัติไปแล้วจะสบาย ๆ ยิ่งท�ำจะยิ่งได้สมาธิ นึกว่า
มันจะเป็นไปอย่างนั้น แต่ความจริงมันไม่ถูกหรอก ไม่ถูกต้อง มันจะมีอาการมีสภาวะ
อยู่หลาย ๆ อย่าง บางญาณบางสภาวะนี้มันจะหงุดหงิด ท�ำไม่ได้ ที่ท�ำไม่ได้ มันหงุดหงิด
มั น ฟุ ้ ง ซ่ า น ถ้ า ไม่ มี อ าจารย์ ค อยควบคุ ม ในอุ ท ยั พ พยญาณอย่ า งแก่ นี่ โ ยคี จ ะฟุ ้ ง ซ่ า น
เป็นอุปกิเลส มันเกิดขึ้น เกิดปีติเกิดอะไรขึ้นก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งเหม่อลอยไปทั่ว ๆ ตอนนั้น
อาจารย์จะต้องเทศน์ให้ฟังเป็นชั่วโมง ๆ ผู้นั้นจึงจะเข้าใจ ถ้าไม่เทศน์ไม่อบรมจิตจริง
ผู้นั้นก็จะปฏิบัติไปได้ยาก
ต้องอบรมให้เขาเกิดศรัทธา ที่เราปฏิบัตินี้เราเพิ่งญาณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นี้
มันยังไม่เกิดศรัทธา ๆ แล้วไม่อยากปฏิบัติ ก็มีหลายรูปที่ไปฏิบัติกับผม มันยังไม่เกิด
ศรัทธา มันยังไม่อยากได้ เขาก็บอกว่า ผมมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผมบวช
ตั้งแต่เป็นเณร จะบวชแค่ไหนก็ตามศรัทธามันยังไม่เกิด ตัวที่ศรัทธามันเกิดนี่มันอยาก
ได้อยากปฏิบัติ ก�ำหนดเอาใจใส่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืนมันเป็นอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติแต่ถ้ายัง
ไม่ เ กิ ด ศรั ท ธานี่ ไ ม่ อ ยากปฏิ บั ติ ก�ำหนดพองหนอยุ บ หนอนี่ มั น จื ด ชื ด มั น ไม่ เ ข้ ม ข้ น
ท�ำอะไรก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่มันไม่อยากท�ำ พอมันเกิดศรัทธาขึ้นมาบอกให้
ก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ ในญาณขั้นที่เดินจงกรมระยะ ๔ ระยะ ๕ นี่ ต้นจิตต้อง
ก�ำหนดให้หมด อันนี้อย่าไปขืน ถ้าไปขืนก็ช้า ท่านอาจารย์ท่านบอกอย่างไรต้องท�ำอย่าง
นั้น ตัวที่เคยมีอะไรต่าง ๆ นี่ก็ให้วางไว้ ไม่ให้เอาไป
หลวงพ่ออาสภะเคยพูดให้ผมฟังว่า เมื่อท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก)
มาปฏิบตั นิ นั้ ท่านได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค บอกว่าท่านเจ้าคุณ เปรียญธรรม ๙ ประโยค
นั้นเอาวางไว้ก่อน อย่าเพิ่งเอามาใช้ ตอนนี้จะต้องเชื่อท่าน ต้องท�ำตามที่ท่านบอก ทุกสิ่ง
ทุกอย่างต้องท�ำตามที่ท่านบอก ที่เราทิ้งไม่ได้คือหลักนักธรรมชั้นตรีเท่านั้น คือ การ
ส�ำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ อายตนะ ๑๒ อันนี้ทิ้งไม่ได้ ส่วนความรู้วิปัสสนาญาณ หรือที่เรียน
มาในอภิธรรม มหาสติปัฏฐาน ๔ ในหลักเปรียญธรรม ๗ ประโยค ๘ ประโยคนั้นให้วาง
ไว้ก่อนอย่าเพิ่งน�ำมาใช้ ให้เก็บเข้าตู้ไว้ไม่ต้องเอาออกมา ต้องเชื่อกับอาจารย์นี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 159

นี้รูปที่สอง พระพรหมโมลี (วิลาส) ที่วัดยานนาวานี่ แต่ก่อนท่านอยู่วัดดอน ตอน


มาปฏิบัติอยู่ที่วัดดอน ก็เปรียญธรรม ๙ ประโยคเหมือนกัน มาปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อ
ก็พูดเหมือนกัน บอกว่า ให้ปล่อยวางไว้ก่อนมหาเปรียญ ๙ ประโยค ความรู้ตรงนั้นให้
ปล่อยวางไว้ก่อน แล้วก็มาก�ำหนดที่ตรงนี้ การส�ำรวมที่ตรงนี้ เอาใจใส่ที่ตรงนี้ อันนั้น
ทั้งสองรูปนี้ก็ได้ เอามาเป็นก�ำลังพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนานี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะให้ได้หมดทุกรูปทุกคน แต่ว่าพระพุทธศาสนา
จะยั่งยืนมั่นคงถาวรก็เพราะพระสงฆ์นี้เอาใจใส่ในการนี้และรู้หลักวิธีการปฏิบัตินี้ให้มาก ๆ
และพระพุทธศาสนานี้ก็จะมั่นคง ไม่ต้องไปพูดถึงตัวการบ้านการเมืองของเขา ถ้าเรามา
มั่นใจในวิธีการปฏิบัตินี้ ผมเองมาคิดถึงตรงนี้ ตรงที่ว่า พระพุทธศาสนานั้นมันจะเสื่อม
ก็ด้วยวิธีการนี้ แต่ถ้าพระสงฆ์เรานี้เอาใจใส่ ท่านที่มีความรู้สูง ๆ นี้ มาปฏิบัติแล้วก็น�ำไป
เผยแผ่ให้เขาได้เข้าใจ ทั้งหมดทุกรูปนี้ขอให้ไปเรียนแล้วก็ให้ได้ข้อวัตรปฏิบัติให้ได้องค์ละ
๓ องค์ องค์หนึ่งไปสอนลูกศิษย์ให้ได้ ๓ รูป อันนี้พระพุทธศาสนาก็จะมั่นคง แต่มันจะ
เป็นไปได้หรือว่าไม่ได้ นี้ผมก็พูด อันนั้น คือ ถ้าเราช่วยกัน มานึกถึงหลักพระพุทธศาสนา
ตรงนี้ มันเป็นของที่ท�ำได้ยาก มันยากที่จะเข้าใจในหลักธรรมนี้ แต่ที่ยังไม่ได้ท�ำ หรือที่ท�ำ
แบบผิว ๆ เผิน ๆ ก็เข้าใจว่าได้ แต่ว่ามันเสื่อมได้เร็ว เฉพาะที่เรายังไม่ได้ปฏิบัตินี้ มันก็
เสื่อมได้เร็ว
แต่ผู้ที่ปฏิบัติแล้ว ผู้หญิงก็มี พระสงฆ์องค์เณรก็มี ปฏิบัติแล้วกลัวกิเลสจะหมด
ผู้หญิงเขาบอกว่า กลัวจะไม่ได้ผัว ไม่ได้แต่งงาน นางวิสาขาก็แต่ง หลาย ๆ คน ก็แต่ง
อย่าไปกลัวในเรื่องเหล่านั้น มันยังไม่หมด เออ ยังไม่หมดกิเลสราคะ แล้วผมก็เลยมา
นึกถึงตรงนี้ พูดเรื่องนี้ก็เลยมานึกถึงตรงนี้ บางคนก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ ว่า ปฏิบัติแล้ว
กิเลสหมดแล้ว น�้ำเชื้อหมดรึยัง ตอบได้เลยว่า ยัง ถึงจะส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ว่า
ถ้าองค์ก�ำเนิดนี้มันยังเกิดอยู่ ก็อาจมีลูกได้ ถ้าใครไปท�ำก็เป็นบาปตกนรก ไม่มีใครเขา
ท�ำ ทั้ง ๆ ที่ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วแต่ว่าเชื้อนั้นมันยังอยู่ ถ้าไปท�ำให้คนประกอบกัน
ก็อาจจะมีท้องขึ้นมาได้ เช่น นางอุบลวรรณาเถรีที่มีผู้ชายเข้าไปลักลอบท�ำอนาจาร เขาก็
160 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ไปตกนรกตามเหตุการณ์ของเขา แต่ว่าเชื้อนั้นมันก็มีผู้หญิงก็อาจมีลูกได้ พระนั้นถึงเป็น


พระอรหันต์ก็มีได้ นี้ก็พูดให้ฟังพอเป็นความรู้ได้อย่างหนึ่ง
แต่ว่าพระอรหันต์นั้นความเข้าใจของคนทั่วไป นึกว่าพระอรหันต์นี้จะอยู่อย่างไร
มีวิธีการอย่างไร ก็เหมือนพวกเราธรรมดาสามัญทั่วไป ที่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่ว่าผมอ่าน
ตามพระไตรปิ ฎ กหรอก แต่ ผ มไปสั ง เกตเรื่ อ งราวของความเป็ น มา ที่ ก รุ ง สาวั ต ถี นี่
กว้างขวางพอสมควร สามารถบรรจุพระได้เยอะ พระก็จะอยู่เป็นแถว ๆ แนว ๆ พระ
อยู่นั้นก็อยู่เหมือนกับบ้านเรา ก็มีการก่อสร้างอยู่ อย่างพระโมคคัลลาน์ก็เป็นช่าง พระ
สารีบตุ รก็ดูแลพระสงฆ์ที่บวชมา ก็อบรมสั่งสอน นี้ก็อยู่เหมือนที่บ้านเราอยู่ แต่ว่าพระนั้น
ก็จะไม่ดื้อเท่านั้นเอง พระอรหันต์นั้นจะไม่ดื้อ แต่ว่าบางองค์ก็ดื้ออยู่นะ เช่น เวลานั้น
มีเกวียนผ่านไป ท่านก็นั่งท่องหนังสืออยู่ พอมีโยมเอาเกวียนผ่านมา ก็ถามว่า ไอ้ถ่อย
ขนอะไร โยมก็ ชั ก จะไม่ พ อใจ ก็ ว ่ า ขี้ ห นู ๆ นี่ ก็ พ ระดื้ อ มารยาทต่ า ง ๆ บางที
มั น ก็ ห ลุ ด ออกไปตามนิ สั ย ของพระอรหั น ต์ นิ สั ย เดิ ม บางอย่ า งก็ ยั ง มี อ ยู ่ บางสิ่ ง
บางอย่ า งละได้ อ ยู ่ แต่ นิ สั ย บางอย่ า งมั น ยั ง มี อ ยู ่ ความดื้ อ ความซน ที่ พู ด มานี้ พู ด
ให้ เ ห็ น ว่ า พระอรหั น ต์ ก็ อ ยู ่ อ ย่ า งที่ เ ราอยู ่ นี่ แ หละ ไม่ ใ ช่ ฉั น แล้ ว ก็ น อน อั น นี้ กิ จ วั ต ร
ยั ง มี ถ้ า กิ จ วั ต รไม่ มี พระพุ ท ธเจ้ า ก็ จ ะไม่ ต รั ส ถึ ง กิ จ วั ต ร ๔ อย่ า ง ก็ ยั ง มี อ ยู ่ ไม่ ไ ด้
เปลี่ ย นแปลง ที่ ก ่ อ สร้ า งปลู ก บ้ า นปลู ก เรื อ น ที่ จ ริ ง พระก็ ท�ำได้ อ ยู ่ ที่ ห ลวงพ่ อ ชานี้
วัดอยู่ในป่า ต้นไม้ที่ถูกลมพัดหัก พระฝรั่งก็ไปเลื่อยมาสร้างกุฏิ นึกไปถึงสมัยพุทธกาล
ในส่วนที่ญาติโยมอุปัฏฐากอุปถัมภ์มาท�ำให้ก็มี อย่างอนาถบิณฑิกสร้างให้ก็มี แต่ที่อื่น ๆ
ที่สร้างเองก็มี ที่ผมพูดมาก็หลายเรื่อง หลายรส ก็น�ำมาคุยสู่ฟัง แต่อันไหนไม่ดีก็อย่า
เอาไปเป็นตัวอย่าง ทิ้งไป อันไหนที่ดีก็เอา
จะเล่าให้ฟังว่า ที่ประเทศพม่านี้ ในวัดแต่ละแห่ง เขามักจะมีตู้บริจาคไว้ ๔ -๕ แห่ง
ใครไปท�ำบุ ญ ก็ ไ ปใส่ ตู ้ นี้ ไ ว้ คณะกรรมการก็ ไ ปเปิ ด ตู ้ เ อาเงิ น เข้ า มู ล นิ ธิ ไ ว้ แล้ ว เวลา
จะก่อสร้างคณะกรรมการก็จะไปสร้าง ส่วนพระเจ้าพระสงฆ์ก็เล่าเรียนพระธรรมวินัย
ฉะนั้น จะเห็นว่าในพม่านั้นพระบางรูปเรียนพระไตรปิฎกเก่ง ได้รับเป็นมหาบัณฑิต
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 161

พระจะไปสายการศึกษาก็ต่างหาก ส่วนพระตามบ้านนอก ก็เหมือนกับทางภาคอีสาน


นี่แหละชาวบ้านเขาก็ช่วยสร้าง ในเรื่องการศึกษาของเขา เขาบอกว่ามีพระ ๑,๔๐๐ รูป
อย่ า งมหาวิ ท ยาลั ย อยู ่ ที่ เ มื อ งมั ณ ฑเลย์ ก็ มี พ ระที่ เ รี ย นอยู ่ ที่ นั่ น เยอะ ท่ า นอาสภะก็
เคยไปสอนที่นั่น พระโดยมากจะมีการศึกษาเป็นส่วนมาก เรื่องการปฏิบัติของญาติโยม
เขาจะเข้าวัด บ้านเรานี่เรามีวัดแต่คนไม่ค่อยเข้า บ้านเขาไม่ได้มาวัดเฉพาะวันพระเท่านั้น
แต่เมื่อเขาเดินผ่านวัด ผ่านพระเจดีย์ ก็จะเข้ามาไหว้ทุกวันที่ผ่านไปผ่านมา เป็นการปลูก
ศรัทธาให้ลูกหลาน เจดีย์ชเวดากองจะมีคนมาปัดกวาดท�ำความสะอาดโดยไม่ต้องจ้าง
คนเกิดวันจันทร์เขาก็มาท�ำความสะอาดในวันจันทร์ เขาก็ท�ำความสะอาด รักษาของเขาอยู่
ไปกวาด ไปไหว้ คนเกิดวันอาทิตย์เขาก็ไปท�ำความสะอาดในวันอาทิตย์ ในหงสาวดียังมี
คนลาวอยู่ ยังพูดภาษาอีสานนี่ล่ะ อันนี้น่าเลื่อมใส ที่ว่าเขายังมีศรัทธา
ส่วนเขมรเขายังอนุรักษ์จารีตประเพณีต่าง ๆ เขาไว้อยู่ได้ แต่ยังขาดเรื่องการปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนี้ ยังไม่มี แต่เดิมทางเขมรก็มีทางด้านสมถะ อยู่ยงคงกระพัน หายตัว
ได้ ยังมีพระที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่เยอะ ยังมีอยู่ตามป่าตามเขา ก็ไปเห็นที่เขาฆ่าล้างเผ่า เห็น
ศาลาสูง ๓ ชั้น เขาก็จับคนไปขังไว้ เอาตรวนใส่ขาขึงไว้ ไม่ให้ได้กินข้าวกินน�้ำ ทรมาน
มาก บางคนที่ยิงไม่เข้า ฟันไม่เข้า เขาก็ท�ำสามขามา เอาคนมาผูกไขว้หลัง แล้วชักดึง
ขึ้นดึงลง แล้วก็กดลงใส่โอ่งน�้ำ คนที่ท�ำอย่างไรไม่ตายก็เอามาท�ำอย่างนั้น นี้คล้าย ๆ
ว่าไม่มีพระพุทธศาสนา ที่เขาท�ำอย่างนั้นท�ำได้อย่างไร ก็สงคราม .. ท�ำไมพม่านับถือ
พระพุทธศาสนา แต่มาเผาอยุธยา ก็พูดได้ว่า สงคราม สงครามนี่ท�ำได้ทุกอย่าง แต่
ด้านพุทธศาสนานี้ ถามพระ บอกว่า วัดแต่ก่อนมีอยู่ ๕ พันวัด เดี๋ยวนี้มีอยู่ ๒ พัน
ถูกทหารคอมมิวนิสต์ท�ำลายหมด ส่วนของดี ๆ ลาวก็ยังสู้เขมรไม่ได้ พม่าก็ยังสู้เขมร
ไม่ได้ พระพุทธรูปดี ๆ สวย ๆ แต่ก่อนเป็นทองค�ำไปหมด พระท่านเล่าให้ฟัง แต่ตอนนี้
หมดแล้ว หายไปหมดแล้ว แกวเข้ามาปกครอง
(มีเรื่องเล่าอื่น ๆ อีก...)
162 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ที่เล่ามาก็มาก จริง ๆ แล้ววิปัสสนานี่ จะเครียดเกินไปก็ไม่ดี มันจะฟุ้ง จะปล่อย


อารมณ์มากเกินไปมันก็ไม่ดีอีก ฟุ้งอีก ต้องค่อย ๆ ตะล่อม ๆ ค่อย ๆ จับ เหมือนกับ
จับปลาดุกเหมือนที่เคยเล่า ต้องค่อย ๆ ลูบ ๆ คล�ำ ๆ จับให้มันถูกที่ มีพระที่ไปปฏิบัติ
กับผม จะรีบขอกรรมฐาน จะรีบปฏิบัติ บอกว่า ผมมีศรัทธามาแล้ว อยากจะเอาเอง
รีบ ๆ อ้าว บอกให้ท่านพักก่อน ค่อยเป็นค่อยไป ท่านก็ไม่ยอม ศรัทธาผมมาก เอ้า
เอาก็ เ อาห้ า โมงถื อ ขั น ดอกไม้ ม าแล้ ว วั น รุ ่ ง ขึ้ น ไม่ ถึ ง สว่ า งดี ไปตั้ ง แต่ ตี ๕ โน่ น แน่ ะ
(หัวเราะ) องค์นั้นไปตั้งแต่ตี ๕ ไปแล้ว มันอยากได้จนเกินไป มันไม่ได้ บางองค์พอไปถึง
ถืออดแล้วข้าวไม่ฉัน ๗ วันจะฉันครั้งหนึ่ง นี้ก็ไม่ได้หรอก มันก็ไปไม่ได้ ผมไม่ถือเคร่ง
เอาอย่ า งนั้ น อย่ า ไปฝื น ธรรมค�ำสอนของสมเด็ จพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า พระพุ ท ธเจ้ า
ท�ำมาแล้ว ที่เคร่ง ๆ พระองค์ท�ำมาแล้ว เราค่อยเป็นค่อยไปค่อยท�ำแล้วจะเป็นประโยชน์
ท้ายที่สุดนี้ ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่เจริญด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลด้วยกันทุกท่านทุกคน เทอญ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 163

เยเนว ยนฺติ นิพฺพานำ พุทฺธา เตสฺจ สาวกา เอกายเนน


มคฺเคน สติป�ฐานสฺญินา
พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก ย่อมดำาเนินไปสู่
พระนิพพานด้วยทางสายใด ทางสายนั้นเป็นทางสายเอก
อันนักปราชญ์ต่างรู้ทั่วถึงกันแล้วว่า ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
164 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑๑
เห็นทุกข์ รู้ทุกข์ พ้นทุกข์ *

ขอนอบน้ อ มแด่ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ขอกราบคารวะพระเถรานุ เ ถระ


ขอสวัสดีแก่พระโยคีทุกท่าน และขอเจริญพรญาติโยมโยคีทุกท่าน
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ดำาเนินมาก็หลายวันแล้ว ก็เข้าใจว่าทุกท่านที่ปฏิบัติ
มาก็จะมีความเข้าใจในหลักการและวิธีการปฏิบัติ ก็คงมีบางส่วนที่เราอาจพบเห็นแล้ว
ยังไม่เข้าใจในการปฏิบัตินั้นคือ หมายความว่า ยังไม่เข้าถึงทั้งหมด ยังจะสงสัยอยู่ใน
ข้อปฏิบัตินั้น เมื่อสงสัยแล้วการปฏิบัตินั้นก็จะยังไม่พร้อม การปฏิบัตินั้นยังไม่ดีพอ
พูดตามความจริงแล้วว่า การปฏิบัตินั้นถ้าไม่ถึงที่สุด เรียกว่า ยังไม่ผ่านโสฬสญาณนี้
ผู้ปฏิบัตินั้นก็ยังอยู่ในอาการต่าง ๆ อยู่ คือมันจะพบจะเห็น แล้วก็จะขาดความที่เรา
จะเข้าใจอยู่เป็นส่วนมาก ยิ่งทำาก็ยิ่งเกิดสภาวธรรมต่าง ๆ มากขึ้น เมื่อเกิดสภาวธรรม
ต่าง ๆ ที่ทำาให้เราพบเราเห็น ก็ทำาให้เรานึกไปว่า อันนี้มันใช่ข้อปฏิบัตินั้นหรือเปล่า หรือ
ว่ามันเป็นสภาวธรรมที่เป็นของลึกซึ้งยากที่เราจะเข้าใจด้วยการนึกเอาคิดเอา ถ้าของที่จริง
นั้น ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ของที่เรานึกเอาคิดเอา เป็นสภาวธรรมที่เราทำาแล้วเกิดขึ้นมาตาม
หลักของการปฏิบัติมหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วสิ่งที่ประกอบ
ซึ่งทำาให้เราได้สำารวมระวังตามหลักธรรมวินัย
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐
166 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ฉะนัน้ ทีเ่ ราปฏิบตั นิ จี้ งึ ประกอบไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ศีลนัน้ ก็คอื พระธรรมวินยั
ที่ว่าเราปฏิบัติหรือเราบวชมาแล้ว เราประกอบด้วยศีล ๒๒๗ ข้อ เราบวชมาแล้วเราก็
มารักษา แต่ศีลนั้นจะมั่นคงอยู่ได้ก็อาศัยสมาธิ สมาธิคือความตั้งใจมั่น แต่เรามีศีล
กับสมาธิ ไม่มีปัญญา ก็จะรักษาไว้ไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงประกอบกัน
คื อ ต้ อ งประกอบด้ ว ยศี ล สมาธิ และปั ญ ญาทั้ ง ๓ อย่ า ง เมื่ อ เรามาตั้ ง ใจก�ำหนด
พองหนอ ยุบหนอ ด้วยความตั้งใจนั้นท�ำให้เรารู้ว่า อาการที่พองนั้นเราก็รู้ รู้ต้นพอง
กลางพอง ปลายพอง รู้ด้วยความส�ำรวมของเรา ถ้าเราไม่มีความส�ำรวมเราก็จะรู้ครึ่ง ๆ
กลาง ๆ ไม่ทั้งหมด ถ้าเราส�ำรวมอยู่ท�ำอยู่ก�ำหนดอยู่ก็ประกอบไปด้วยธรรม คือมีฉันทะ
ความพอใจที่จะท�ำนั้น แล้วก็มีวิริยะ อุตสาหะ ให้รู้ชัดเจน จิตตะ คือใจฝักใฝ่ในสิ่งที่
เขาเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้น คือ รู้อาการพอง รู้อาการยุบ บางทีจิตใจของเราอาจสับสน
บางสิง่ บางอย่างทีว่ า่ สับสน คือ จิตใจเราจะไปนึกว่าท�ำแล้วถูกหรือผิด เช่น ที่เราก�ำหนดว่า
พองหนอ ยุบหนอ นี่พระพุทธองค์ทรงก�ำหนดไว้หรือไม่ หรือสับสนอีกอย่างหนึ่งคือ
เราเคยท�ำอานาปานสติ ม าก่ อ น คื อ การก�ำหนดลมหายใจเข้ า หายใจออก พุ ท โธ
หรื อ หายใจเข้ า พุ ท หายใจออกโธ ในลั ก ษณะเช่ น นี้ เ รี ย กว่ า จิ ต ใจมั น สั บ สน ความ
เอาใจใส่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ทั้ง ๔ อย่างนี้ เราก็เผลอไป เราไม่ได้เข้าใจว่า
เรามีหลักธรรมะข้อปฏิบัตินี้ถูกต้องหรือไม่ หรือเราอาจจะมีจิตใจไขว้เขวไป ไปนึกถึง
อารมณ์ต่าง ๆ แล้วเราก็เลยก�ำหนดพองหนอยุบหนอนี้ไม่ได้ชัดเจน เมื่อไม่ได้ชัดเจน
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี้ก็ไม่พร้อม ไม่พร้อมก็เลยไม่เกิดสภาวะ จะท�ำอยู่
สักกี่วัน กี่เดือน กี่ปีก็ได้ แต่ว่าความพร้อมเพรียงไม่มี
อี ก อย่ า งหนึ่ ง ก็ ก ารส�ำรวม ส�ำรวมอิ น ทรี ย ์ ทั้ ง ๖ คื อ ตา หู จมู ก ลิ้ น กาย ใจ
อายตนะภายนอก รู ป เสี ย ง กลิ่ น รส โผฏฐั พ พะ ธรรมารมณ์ อั น นี้ ก็ เ ป็ น เครื่ อ ง
ประกอบที่จะท�ำให้เรานี้ปฏิบัติได้ดี ฉะนั้น ที่เราก�ำหนดไม่ได้ทัน หรือว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์
ท�ำแล้วจะไม่ได้ใส่ใจ เมื่อไม่ได้ใส่ใจจิตใจก็เรียกว่ามันเกิดพญามารขึ้นมา คอยชักจูง
โลมเล้ า ไม่ ใ ห้ เ ชื่ อ เรี ย กว่ า เป็ น ตั ว กิ เ ลสเข้ า มาไม่ ใ ห้ เ ชื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ชื่ อ ก็ มี เ หตุ ผ ลต่ า ง ๆ
ที่มันเกิดขึ้นมา พวกพญามารก็จะมารุมเร้าให้ออกให้คิดไปในทางไม่ถูกต้อง เมื่อคิดไป
ในทางที่ไม่ถูกต้อง และบางทีคนพูดว่า จะไปเชื่อท�ำไมของพม่า พม่ามาเผาเมืองไทย
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 167

ก็ คิ ด ไป ก็ เ กิ ด ชะตาตกต�่ ำ ไม่ ค ่ อ ยอยากเอาใจใส่ ถื อ ว่ า เป็ น ของคนนั้ น คนนี้ แต่


ความเป็ น จริ ง นั้ น ไม่ ใ ช่ เป็ น ของสมเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ที่ อุ ต สาหะพยายามท�ำ
ความเพียร ปฏิบัติหาวิธีการที่จะให้ได้ตรัสรู้ ที่จะให้ได้ส�ำเร็จมรรคผลนิพพาน ท�ำอยู่ตั้ง
๕ – ๖ ปี ด้วยการแสวงหา ทั้งที่ท�ำอัตตกิลมถานุโยค ประกอบความเพียร ถึงจะเหนื่อย
ยากล�ำบากก็สู้ทน เพื่อที่จะแสวงหาแนวทางที่ถูกต้อง แต่ว่าให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล
ค้ น คว้ า แสวงหาความเพี ย รอย่ า งอุ ก ฤษฏ์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด อิ ท ธิ ฤ ทธิ์ อภิ นิ ห ารต่ า ง ๆ ก็ มี
แต่พระพุทธองค์ก็ตรัสว่าไม่ใช่ทางที่จะให้บรรลุมรรคผลนิพพาน
ขนาดอาจารย์ เ ก่ า ๆ ที่ มี อ ยู ่ ที่ เ ข้ า ใจว่ า แสดงอภิ นิ ห ารอิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ไ ด้ ต ่ า ง ๆ เช่ น
คนหนุ่ม ท�ำให้เป็นคนแก่ก็ได้ คนเดียวท�ำเป็นหลายคนก็ได้ ท�ำเป็นนก เป็นกาก็ได้
หายตั ว ได้ บั ง ฟั น ฟั น ไม่ เ ข้ า ยิ ง ไม่ อ อก เขาก็ มี วิ ธี ก าร และนึ ก ว่ า เป็ น ทางที่ จ ะท�ำให้
ส�ำเร็ จ บรรลุ เ ป็ น พระอรหั น ต์ ความจริ ง ยั ง ไม่ ถึ ง โลกุ ต ตระ ยั ง เป็ น โลกี ย ะอยู ่ วิ ธี ก าร
แบบนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ทรงรู้มาแล้วท�ำมาแล้ว แต่ไม่ได้เป็นทางที่ท�ำให้
บรรลุมรรคผล เมื่อเป็นอย่างนั้นพระพุทธองค์ก็ท�ำความเพียรต่อไป พระพุทธองค์รู้ว่า
นี้ไม่ใช่ทางที่จะให้หมดกิเลส ยังเป็นคาถามาร คาถายักษ์ เป็นการอวดฤทธิ์ อวดเดชอยู่
พระองค์ จึ ง มาปฏิ บั ติ ใ หม่ เมื่ อ จะบรรลุ ธ รรมจริ ง ๆ ก็ เ กิ ด อุ ป กิ เ ลสเหล่ า นี้ ขึ้ น มา
พระองค์ก็รู้ เหตุที่พระพุทธองค์จะรู้นั้นก็เพราะว่า เคยท�ำมา เคยรู้มา เคยศึกษามากับ
อาจารย์ทั้ง ๒ คืออาฬารดาบส อุททกดาบส ที่บอกแนวทางนั้นไว้ แนวทางที่ปฏิบัติแล้ว
มั น ได้ ฤ ทธิ์ ไ ด้ เ ดชอย่ า งนั้ น บางที ห ายตั ว ได้ แ ต่ ไ ม่ ไ ด้ ท�ำให้ บ รรลุ สั ม มาสั ม โพธิ ญ าณ
จึงได้มาแสวงหาแนวทางใหม่ แต่ก่อนนี้นึกว่ามันจะเป็นฤทธิ์เป็นเดชอย่างนั้น มันจะมี
ข้อปิดบังลี้ลับอยู่ พระองค์ปฏิบัติมาแล้วแต่ก็ยังไม่บรรลุธรรม ได้ถามอาจารย์ว่า ปฏิบัติ
ได้แค่นนั้ หรือ อาจารย์ตอบว่าได้แค่นั้น พระองค์จึงได้แสวงหาต่อไป แสวงหาได้แล้วจึงได้
บรรลุธรรม ก่อนที่จะได้บรรลุก็ได้ประสบกับพญามารอะไรหลายอย่าง มารที่มันเกิดใน
จิตใจของเรา มารนั้นคือความไม่เชื่อ
อย่างพวกเราเมื่อมาปฏิบัติก็อาจจะเกิดอุปกิเลสขึ้นมาว่า เอ๊ะ ทางนี้ไม่ใช่ทางที่
จะปฏิบัติ มาก�ำหนดพองหนอยุบหนอจะให้บรรลุธรรมชั้นสูงได้อย่างไร ถ้ามาเอาแต่
168 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

แค่พองแค่ยุบมันก็ไม่ได้ แต่มันต้องประกอบกันด้วยการส�ำรวมระวัง ประกอบไปด้วย


ศีล สมาธิ และปัญญา แล้วก็มรรคมีองค์ ๘ โพชฌงค์ ๗ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ นี้เรา
ก็ได้ท�ำได้ประกอบให้ถูกต้องจึงจะไปได้ ฉะนั้น เมื่อประกอบไปด้วยธรรมเหล่านี้ ส�ำรวม
อยู่นี้สภาวธรรมนั้นก็จะเกิดขึ้นแก่โยคีผู้ปฏิบัติ เมื่อเกิดขึ้นนั้นมีทั้งดีทั้งชั่วมีทั้งทางที่
ถูกต้องไม่ถูกต้อง ฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้จึงเป็นเหตุที่จะให้ระมัดระวังที่
มันจะไขว้เขวไปในทางที่เสีย คือ เสื่อมทางธรรมนั่นเอง
ผู้ปฏิบัติก็จะปฏิบัติไปได้ยาก ช้า จึงมีครูอาจารย์ผู้ที่รู้ให้เข้ามาดูแล มาช่วยสอบ
อารมณ์ มาช่ ว ยถาม โยคี ผู ้ ป ฏิ บั ติ นั้ น ก็ จ ะต้ อ งพู ด ตามความเป็ น จริ ง จึ ง จะแก้ ไ ขได้
ถ้าไม่พูดตามความเป็นจริง โกหกเอา ลักษณะอย่างนี้การปฏิบัติก็จะปฏิบัติไปไม่ได้
คือมันไปปิดบังตัวปัญญา ไม่ให้ปัญญานี้เกิด ท�ำให้ไม่ได้ปัญญา ท�ำให้ผู้ปฏิบัตินี้บางที
เราติดอยู่ในอารมณ์โงกง่วง ก�ำหนดไม่ได้ ท�ำไม่ได้ ด้วยอาการที่ง่วง การง่วงนั้น มันขาด
สิ่งใดในหลักธรรม ขาดฉันทะ ขาดความเอาใจใส่ ขาดความตั้งใจ เมื่อฉันทะมันขาด
จะท�ำยังไงมันจะไม่ง่วง ก็เอาความเพียรเข้ามาใส่ ความเพียรที่เราจะเอาเข้ามาใส่นั้น
มาด้วยวิธีใด เมื่อมันง่วง ก็ลุกขึ้นเดินจงกรม ท�ำความเพียรใหม่ ประกอบมาใหม่ ส�ำรวม
ใหม่ ให้มันดีขึ้น
อุปมาเหมือนกับมีดที่เราฟันไม้ ถากไม้ เมื่อมันท�ำไปถากไปมันก็ไม่คม เมื่อมัน
ไม่คม เราก็ลับมีดใหม่ให้มันคมดี แล้วก็มาฟันใหม่ถากใหม่ ให้มันละเอียดให้มันได้
ฉันใด การปฏิบัติของเราก็ฉันนั้น ถ้ามันมีอาการโงกง่วง ไม่ชัดเจนเราก็ต้องตั้งใจใหม่
ท�ำใหม่ บางทีมันก็เกิดมาทางกิเลส ด้วยการไม่ค่อยอยากเอาใจใส่ ท�ำแล้วก็เกิดความ
ขี้เกียจขี้คร้านร�ำคาญ เรานึกว่ามันจะไม่มี แต่ความเป็นจริงนั้นมันมีอยู่ สิ่งเหล่านี้มัน
จะต้องเกิด มันจะต้องมี และเกิดได้ด้วย เกิดทุกคนด้วย ไม่ใช่จะเกิดเฉพาะคน แต่ถ้า
เราไม่เอาใจใส่ ไม่ก�ำหนด ไม่ส�ำรวม สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นท�ำให้ขาดสติ พอเราขาดสติ
อันนั้นท่านให้ก�ำหนดว่าสติของเราไม่ค่อยมั่นคง
ท�ำอย่างไรจะให้สติของเรามั่นคง ก็ต้องมาก�ำหนดอิริยาบถเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น
จะคู้เหยียดก้มเงยดื่มเคี้ยวฉัน อยากฉันน�้ำ อยากฉันหนอ ๆ ๆ มือเอื้อมไป ไปหนอ ๆ ๆ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 169

อยากจับ จับหนอ ๆ ๆ ยกมา ยกมาหนอ เอ้าถึงปาก ถึงหนอ ๆ ๆ ถูกหนอ ยกแก้ว


ขึ้นดื่ม ก็ดื่มหนอ ๆ ๆ นี้เป็นการส�ำรวม ถ้าก�ำหนดได้ถี่เท่าไหร่ก็ยิ่งดี อันนี้ผู้ปฏิบัติ
จะท�ำบ้าง ไม่ท�ำบ้าง ก�ำหนดบ้าง ไม่ก�ำหนดบ้าง เอาใจใส่บ้างไม่เอาใจใส่บ้าง ท�ำเล่น ๆ
ลอย ๆ พระพุทธองค์ว่า ไม่ได้ ท�ำแบบเล่น ๆ ลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องเอาใจใส่ ท�ำความ
เพียรอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืนไม่ให้ขาดสติ ไม่ให้มีสติที่ขาดเลื่อนลอยอยู่ คอยก�ำหนด
อยู่ให้เป็นปกติ เอาใจใส่คอยก�ำหนดคอยท�ำ
ในพวกที่ปฏิบัติทั้งหลายเขามักจะพูดกันว่า ท�ำเป็นแบบว่า เป็นบ้ากรรมฐาน ไม่ใช่
ว่าจะบ้าเสียจริตผิดมนุษย์ แต่คือ เห็นอะไรก็ต้องก�ำหนดอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ให้ขาด คือ
เล็ก ๆ น้อย ๆ จะคู้เหยียดก้มเงยดื่มพูดฉัน ก็ต้องท�ำ และตักอาหารเข้ามาถูกปากแล้ว
มาถูกลิ้นที่มีหน้าที่ที่จะต้องรู้ในรสอาหาร เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องก�ำหนด มันเปรี้ยว มันเค็ม
มันเผ็ดก็ต้องก�ำหนด ถ้าไม่ก�ำหนดไม่ได้นะ มันไม่ครบ ไม่ครบอาการของมันต้องให้รู้
ทุกอย่างตั้งแต่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส มี ต้องให้ครบ ไม่ครบ
อย่างใดอย่างหนึ่งมันไปไม่ได้ ปฏิบัติไปไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เราจะต้องส�ำรวมตามหลัก
พระธรรมวินยั นัน้ พวกเราต้องปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินยั นัน้ ทุกอย่างอยูใ่ นหลักธรรมวินยั
ที่เราก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ พร้อมอยู่นั้นเพราะว่าเราเอาใจใส่อยู่ นั่งหนอ เรา
ก็รู้ภาพของเราที่นั่งอยู่นั้น เราไม่ได้ยืน ถูกหนอ เราก็ถูกอยู่ตามที่เราก�ำหนดนั้น อันนั้น
บางทีที่เราก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ มันถูกอยู่กับพื้น ทีนี้เราท�ำไป ๆ ๆ
จนมันพร้อม พร้อมแล้วสภาวธรรมก็เกิดขึ้นมา เอ ไอ้เรานี่นั่งหนอ ถูกหนอ คือเราไม่ถูก
กับพื้น ตัวเรานี้มันลอยอยู่ มันไม่ถูก มันไม่ติดกับพื้น อันนั้นความรู้สึกของเรา เราก็
ก�ำหนดว่ารู้หนอ ๆ ๆ รู้อะไร รู้สภาวะความเป็นจริงของมันที่มันเกิดขึ้น พอมันเกิดขึ้น
แล้วเราก็ก�ำหนดตาม อันนี้เราส�ำรวมอยู่ ถ้าเรามาปฏิบัตินี้จึงว่า เป็นผู้ที่มีจิตใจอันบริสุทธิ์
หมดจด สะอาดปราศจากกิเลสเครื่องมัวหมองด้วยประการทั้งปวง นี้จะว่า ผู้มาปฏิบัติแล้ว
เรารู้สึกตัวว่าเราได้เป็นพระโดยสมบูรณ์เพราะเรามีการส�ำรวมกาย ส�ำรวมวาจา ส�ำรวม
ทั้งจิตใจของเราที่จะคิดไป เราก็ไม่ให้ไป เราไม่ใช่ว่าเราจะดึงเอากลับมาเฉย ๆ เราต้อง
ก�ำหนด เราก็ก�ำหนดคิดหนอ ๆ ๆ ถึงจะเป็นอดีตไปเล็ก ๆ น้อย ๆ เราก็ต้องก�ำหนด
170 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เพื่อความส�ำรวม ที่คิดไปเราก็ก�ำหนดคิดหนอ ๆ ในอารมณ์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เขาก็จะ


เกิดขึ้น
บางญาณบางสภาวะยิ่งก�ำหนดคิดหนอ ๆ เขาก็กลับมา มาแล้วเราไม่ได้ผูกไว้
เรามาปล่อยไว้ เขาก็ไปอีก ที่ว่าผูกไว้ก็คือเรากลับมาดูอาการพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ
ถูกหนอ ถ้าเราไม่เอาใจใส่ในสิ่งเหล่านี้มันก็กลับไปอีก เราก็ไปเอามาอีก เอามาโดยที่ว่า
นึกมาเฉย ๆ ไม่ได้ก�ำหนด เมื่อไม่ได้ก�ำหนดคือไม่ได้ผูก เอาเขามาแล้วก็ต้องเอามาผูกไว้
ผู ก ไว้ ใ นอาการพอง อาการยุ บ ในการเคลื่ อ นไหวต่ า ง ๆ ต้ อ งรู ้ เ ท่ า ทั น อารมณ์ นั้ น
อันนี้คือการไปผูกจิตผูกใจไว้ แต่ถึงกระนั้นในบางญาณบางสภาวะเขาก็ไป เดินจงกรม
ขวาย่ า งหนอ ซ้ า ยย่ า งหนอ หรื อ ยกหนอ ย่ า งหนอ เหยี ย บหนอ เขาก็ ไ ม่ ค ่ อ ยอยู ่
เดินอยู่เขาก็ไป ถ้าเขาจะไปจริง ๆ เราก็เดินเข้าเร็ว ๆ ให้มันทันกับอารมณ์ตัวกิเลส
ที่มันเกิดขึ้นนั้น ถ้าเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์มันก็ไขว้เขวไปท�ำให้เราก�ำหนดไม่ได้ บางทีก็ว่า
เออ บัลลังก์นที้ �ำไม่ได้ นัง่ ก็ไม่ได้ ก�ำหนดก็ไม่ถกู อะไรมันก็วนุ่ วายไปหมด นัง่ ก็ก�ำหนดไม่ได้
ให้ ลุ ก ขึ้ น เดิ น จงกรมมั น ก็ ขี้ เ กี ย จ อั น นี้ มั น ญาณนั้ น มั น เป็ น อย่ า งนั้ น บางสภาวะผู ้ ที่
มาปฏิบัตินี้ก็จะเข้าใจว่า จะให้จิตนี้มันอยู่ในอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่ให้มันไปไหน
ท�ำอย่างนั้นมันเป็นการเข้าใจผิด และก็ท�ำได้ยาก เพราะความตั้งใจนั้นมันอยากให้อยู่ใน
อารมณ์ เ ดี ย ว อยากให้ มั น อยู ่ อ ย่ า งนี้ ๆ แต่ พ อมาท�ำแล้ ว มั น ไม่ ค ่ อ ยอยู ่ ฉะนั้ น มั น
ไม่ค่อยอยู่มันเป็นอะไร ถามหาเหตุหาผลว่าท�ำไมมันจึงไม่อยู่ ท�ำอย่างไงมันจึงจะได้ต่อไป
ก็คือหาวิธีการที่จะให้มันอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง
แต่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่เขาจะอยู่นั้นเขาก็อยู่ไม่นาน จะอยู่นิดหนึ่ง ๆ เป็น
ขณิกสมาธิ ไม่ใช่อุปจารสมาธิ ๆ นั้น เราอยากได้ คือจะให้มันอยู่นาน ก็เป็นอัปปนาสมาธิ
ไป อยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น แต่วิปัสสนากรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นี้อยู่ในขณิกสมาธิ
จะอารมณ์อะไรก็ตามที่ปรากฏขึ้นมาให้ก�ำหนดอารมณ์นั้นได้นิดหนึ่ง อย่างที่ว่าพองหนอ
ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ เขาจะอยู่ไม่ได้นานแล้วก็จะมีอาการจิตที่คิดไปอีกแบบหนึ่ง
จิตคิดไปนี่ก็ต้องรู้เท่าทันที่เขาคิด คิดไปก็ก�ำหนดคิดหนอ ๆ ๆ ตัวนั้นก็ยังไม่พอ ตัวที่มา
เจ็บปวดเวทนาที่เกิดขึ้นบางทีมันก็เอาให้มาก ๆ คือมันจะเจ็บมากปวดมาก ก�ำหนดก็
ไม่ค่อยได้ ยิ่งก�ำหนดก็ยิ่งปวดมาก ปวดนี่ให้มันเห็นทุกข์ ให้มันรู้ทุกข์ ถ้าไม่เห็นทุกข์
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 171

ก็ ไ ม่ อ ยากจะออกจากวั ฏ สงสาร ตรงนี้ เ กิ ด กั บ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า หรื อ ไม่ เกิ ด อยู ่
เหมือนกันคือพระพุทธเจ้าเห็นทุกข์ในการปฏิบัติ เช่น ตอนที่ท่านท�ำอัตตกิลมถานุโยค
ประกอบความเพี ย รจนร่ า งกายซู บ ผอม นี่ ก็ เ รี ย กว่ า เห็ น ทุ ก ข์ อั น นั้ น มั น ตั ว จริ ง แล้ ว
ก็ตัวใหญ่มันท�ำให้รู้ ท�ำให้เห็น
แต่ว่าเวลามาบ�ำเพ็ญเพียรทางใจ ท�ำสมาธิอยู่ทางใจนี้ก็ยิ่งเห็นทุกข์ในการครอง
สังขารต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น เดินไปนาน ๆ ก็เป็นทุกข์ นั่งไปนาน ๆ ก็เป็นทุกข์ นอนไป
นาน ๆ ก็เป็นทุกข์ ยืนไปนาน ๆ ก็เป็นทุกข์ นี่ให้เห็นตัวทุกข์ให้รู้ทุกข์ แล้วพระพุทธองค์
ก็ ห าทางที่ จ ะไปให้ พ ้ น จากทุ ก ข์ เ หล่ า นี้ จึ ง ได้ แ สวงหาบ�ำเพ็ ญ สื บ ต่ อ ไป นี้ พ วกเรา
ก็ เ หมื อ นกั น ที่ ม าก�ำหนดพองหนอยุ บ หนอ แล้ ว ก็ เ จ็ บ ปวดมึ น ชาขึ้ น มาเราก็ ก�ำหนด
ปวดหนอ ๆ ๆ ปวดหนอเท่าไหร่เขาก็ยิ่งปวดมากขึ้น ๆ ๆ แทบจะทนไม่ไหว เขาก็ให้เรา
เห็นทุกข์ ทุกข์นี้จะมีเพียงแค่นี้หรือไม่หนอ ตอบว่า ไม่ใช่จะมีเฉพาะในครั้งนี้ และจะมี
ครั้งต่อไปอีก ในภายภาคหน้าก็จะมีอีก เพราะฉะนั้นเราจะท�ำอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้ ก็คือ
เราต้องก�ำหนด พอก�ำหนดไป ๆ มันประกอบไปด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ความเพียร
ของเรามาก ญาณนี้ ก็ ขึ้ น ไป ในญาณหนึ่ ง นี้ จ ะสบาย เมื่ อ สบายแล้ ว ก�ำหนดแล้ ว จิ ต
เป็นสมาธิดีตรงนี้ก็อาจจะหลง ก็ไม่ให้หลง ก�ำหนดไปเรื่อย ๆ
ทีนี้มานึกถึงตัวทุกข์ ไอ้ที่มันเจ็บปวดเราก็ได้ก�ำหนด ได้ท�ำ ไม่มีความทุกข์นี่มัน
สบายมาก เลยหาอารมณ์ที่จะก�ำหนดไม่ได้อย่างนั้นก็มี ที่มันเกิดขึ้นกับจิตใจของเรา
ที่เราก�ำลังปฏิบัติอยู่ อันที่เราปฏิบัติอยู่นี้มันก็เกิดขึ้น มันเกิดสภาวะสบายขึ้น ตรงนี้
อาจารย์ผู้ให้กรรมฐานจะต้องรู้อารมณ์ของโยคีผู้ปฏิบัติ ต้องให้เขาเพิ่มวิธีการก�ำหนดนี้
ให้มาก ๆ ขึ้น เช่น เดินก็ต้องให้เดินระยะที่ ๕ ที่ ๖ ให้มันชัดเจน ก�ำหนดแล้วเขาจะรู้สึก
เฉย ๆ ไม่อยากก�ำหนด นั่งสมาธิ ก็ให้เพิ่มการก�ำหนด เป็นพองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ
ถูกหนอ เพิ่มเข้าไป เพิ่มให้เขามีงานท�ำมากขึ้น แล้วเขาก็จะไม่ว้าเหว่ แล้วเขาก็จะได้เอา
ใจใส่มากขึ้น
เมื่อเราปฏิบัติไปถึงบางญาณบางสภาวะนี้ เมื่อมันตกอารมณ์ที่เฉยมาก ถ้าเราเอาใจ
ใส่สภาวธรรมนั้นก็จะดีขึ้น แต่เรานั้นมักจะไม่เข้าใจจะไปติดอยู่ในอารมณ์สุข เฉย ๆ จะ
172 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ท�ำอะไรก็ไม่อยากท�ำ มันเฉย ๆ เฉื่อย ๆ ช้า ๆ เขาจะเกิดตัวเวทนาขึ้นมาแรงยิ่งกว่าเดิม


ถ้าเจ็บยิ่งกว่าเดิม ถ้าคิดก็คิดยิ่งกว่าเดิม ถ้าฟุ้งซ่านก็ฟุ้งซ่านยิ่งกว่าเดิม เดิมทีนั้นไม่ค่อย
เท่าไหร่ มาเลยจากตัวที่สงบมาแล้วจะยิ่งหนักกว่าเดิมบางคนถึงกับเกิดความสังเวช เห็น
อะไรก็ร้องไห้ โดยเฉพาะพวกผู้หญิง นิด ๆ หน่อย ๆ ก็นั่งร้องไห้ พระเรานี่ก็มี เกือบจะ
ได้ร้องไห้กัน ตามที่ผมเคยเห็นปฏิบัติมานี่ พระก็เป็นเกือบทุกรูป ท�ำไป ๆ แล้วก็เกิดสังเวช
นั่งร้องไห้อยู่ แต่ร้องอยู่คนเดียวไม่ให้มีใครรู้ มันเกิดสังเวชสลดจิตสลดใจ ถ้าท�ำถูกต้อง
ตามระเบียบพระธรรมวินัย ท�ำถูกต้องตามแบบอย่างนั้นก็จะพบ แต่ถ้าท�ำแบบอย่างอื่นนั้น
ก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะมีอย่างนี้หรือไม่ เพราะว่าการปฏิบัติแบบออกไปดูแบบของที่เขาท�ำ
ของอาจารย์เก่า ๆ เขามีมาไว้ ออกไปดูตัวนั้นหน่อยนึงว่า ที่เขาท�ำอานาปานสติ หรือว่า
พุทโธนั้น เขาจะท�ำแต่ว่ายังไม่เห็นอาจารย์ ยังไม่ปรากฏที่พากันพูดขึ้นมาหรือท�ำจริงจัง
นั้น อันนี้ยังไม่เห็น หรือองค์อื่นอาจจะเห็นก็ได้ แต่ส�ำหรับผมยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน
ทั้งไม่เห็น และยังไม่ได้ยิน ว่าเขาปฏิบัติกันแบบนั้นมันได้มันมีวิธีการอย่างไร อาการ
ของมัน แต่ที่ปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนาที่ว่ามานี้เรามีแนวทางมีสภาวะให้ปรากฏ
แต่ตัวที่ท�ำอานาปานสติที่เขาบอกว่าได้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิแล้วก็ขึ้นไปสู่ฌาน
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อันนี้ตัวของฌานที่เขาได้นั้นมันมีอาการเป็น
อย่างไร นี้เราก็ไม่เข้าใจ แต่คนผู้ที่ชอบท�ำว่ามันดีมันสงบ ตัวที่ว่าได้ฌานนั้นก็คิดว่า ยังจะ
ไม่เข้าใจ เมื่อไม่เข้าใจก็ว่าได้ฌานอย่างนี้ ๆ แล้วก็จะขึ้นไป แต่ที่บอกว่า พวกที่ท�ำให้เกิด
ฤทธิ์อะไรต่าง ๆ นี้ก็จะต้องเดินตามทางสายนี้ เดินตามทางสายนี้ อุปจารสมาธิ อัปปนา
สมาธิแล้วก็ขึ้นไปสู่ฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน มาฌานนี้แล้วก็ท�ำ
ให้เกิดสมาธิ พอสมาธิมาก ๆ จึงท�ำให้เกิดมีจิตเป็นสมาธิแล้วจึงท�ำต่อไป เรียกว่า จะหา
วิธีให้เกิดฤทธิ์เกิดเดชก็ต้องท�ำกันอย่างนั้น แต่ที่ผมพูดว่าไม่เข้าใจนั้น คือยังไม่เห็นองค์ใด
ที่ท�ำนั้น วิธีการนั้นไม่รู้ มันยังไม่เคยเห็น
ส่วนการปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมฐานนั้น ไม่ได้เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้ รู้มาตั้งแต่ครั้งสมัย
พุทธกาล พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบเห็นแล้ว รู้แล้วจึงได้บัญญัติอบรมสั่งสอน เรียกว่า
วางรากฐานพระศาสนาเอาไว้เพื่อให้พวกเราได้ประพฤติปฏิบัติมาได้สองพันห้าร้อยกว่าปี
มาแล้วจึงเรียกได้ว่า เราปฏิบัตินั้นไม่ผิดทาง เป็นทางที่ถูก แต่ถ้าแวะออกจากวิธีการนี้ไป
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 173

ท�ำอย่างอื่นประกอบ มันก็ไม่เกิด แล้วจะไปติว่าไม่เป็นของจริง คือ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจก็ต้อง


ศึกษาให้เข้าใจและก็ปฏิบัติ ไม่ใช่ไปนั่งนึกเอาคิดเอา ที่จะท�ำให้มันเกิดสภาวะอย่างนั้น
จะต้องท�ำจะต้องปฏิบตั ิ ไม่ตอ้ งไปคิด เรียกว่า ปฏิปทา
เดินสายกลาง ๆ จะไปนัง่ คิด นัง่ ตรึกตรองเอาก็ไม่ถกู จะไม่ท�ำ ไม่ปฏิบตั ิ ไม่ก�ำหนด
ก็ไม่ถูก นี้เรียกว่า ท�ำไปตามสายกลาง ๆ ท�ำไปแล้ว เกิดดีใจพอใจในอารมณ์ที่ตนได้
ก็ไม่ถูก มันเป็นของที่ยากอยู่อย่างนี้ แล้วจะท�ำอย่างไง ก็ท�ำเป็นกลาง ๆ ท�ำแล้วอารมณ์
ที่ได้จากการนั่งสมาธิ ก็รักษาสมาธิของตนนี้ไว้ โดยเฉพาะที่ว่าที่รักษาไว้ไม่ได้ เป็นเพราะ
ได้อารมณ์แล้วชอบอยากไปคุยกับหมู่กับพวก นี่ไม่ได้ ญาณมันจะตก ที่เหตุที่มันจะตก
ก็เพราะว่า ไปคุยแล้วมันขาดสมาธิ ขาดสติ ไม่ได้ต่อเนื่อง คือ ท�ำไม่ได้ต่อเนื่อง ไปพูดไป
คุยอยู่ญาณนี้ก็ตกไป เมื่อตกไปก็ท�ำให้ว้าเหว่ ก�ำหนดไม่ได้ บัลลังก์ที่แล้วนี้มันดี บัลลังก์
ต่อมาจะให้มันดีกว่าเดิมก็ไม่ได้ จิตมันตก ๆ นี่เพราะอะไร ถามหาเหตุหาผล เพราะ
ความโลภ โลภอยากได้อย่างนั้น ท�ำอย่างนั้น เอาใจใส่อย่างนั้นก็เพียงรักษาด้วยความโลภ
อันนัน้ ความโลภเกิดขึน้ ในจิตสันดานเราก็เลยท�ำไม่ได้ แต่เราไม่รหู้ รอก ไม่รเู้ รือ่ ง ว่าเราท�ำ
แล้วเอาใจใส่ดแี ล้ว ท�ำไมเขาจึงไม่เกิด อันนัน้ เพราะมันมีความโลภ คือมีความโลภอยากได้
ให้มนั เป็นอย่างนัน้ ๆ
ที่นี้ถอนออกมา ท�ำใจเป็นกลางๆ ไม่ต้องไปอยากได้ คือ อยากได้ก็เกิดความโลภ
ขึ้นมา เมื่อความโลภเกิดขึ้น ความโกรธก็ตามมา แล้วความหลงก็ตามมา ใน ๓ อย่างนี้
เขาไม่ค่อยทิ้งกัน เขาเป็นเพื่อนสนิทกันเขาไม่ค่อยทิ้งกัน ถ้าตัว ๑ เกิด ตัว ๒ ตัว ๓
ก็เกิด แล้วหลง ๆ นี้ เราท�ำไม่ได้ เพราะมันหลงในอารมณ์ เมื่อหลงแล้วก็เกิดโทสะ
ไม่อยากท�ำ ผลสุดท้ายก็คือไม่ได้อะไรเลย มันวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไอ้ตัวเวทนาก็เหมือนกัน
เป็นตัวที่ส�ำคัญอยู่พอสมควร
ตัวเวทนานี้ถ้าเราไม่เอาใจใส่ ไม่ก�ำหนดให้ถูกต้อง ไม่มีความเพียร ไม่มีความ
พยายาม เวทนานี้เขาก็จะเกิด แล้วก็จะเกิดมาก ๆ ดังนั้น ทางที่ถูกต้องนั้น เวทนาจะ
เกิดอยู่ ๒ - ๓ วัน เขาก็จะผ่านไป ถ้าเราไม่เอาใจใส่ก็จะอยู่นานเป็นอาทิตย์ก็ได้ ที่
เวทนาเกิดขึ้นที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้นั้น พอให้ผู้ปฏิบัตินี้ได้เห็นทุกข์
174 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พอเห็นทุกข์ก็อยากจะหนีออกจากทุกข์ ทุกข์นี้มันไม่ได้มีอยู่เฉพาะในชาตินี้ ชาติไหน ๆ


มันก็จะเป็นทุกข์อยู่อย่างนี้ มันก็จะเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ไอ้ตัวทุกข์นี้ ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
ถ้าเราไม่เอาใจใส่ไม่ปฏิบัติแล้วก็จะไม่สามารถพ้นไปจากความทุกข์นี้ได้
ดังนั้น พระองค์จึงแสวงหาทางที่จะพ้นไปจากทุกข์ ก็มันเป็นอยู่อย่างนี้ แล้วอีก
อย่างหนึ่ง บุพกรรมของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่ของผู้ปฏิบัติอย่างเดียว ทั้งหมดนั่นแหละ เราจะ
ต้องเสวยผลกรรมที่อยู่นี้ ที่เราเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาอยู่นี้ก็เพราะผลกรรมที่ท�ำ
มา แต่เราก็จะเอาผลกรรมตัวนี้แหละใช้ให้เป็นประโยชน์ คือเอามาบ�ำเพ็ญ เอามาปฏิบัติ
แต่ ถ ้ า เราไม่ เ อาผลกรรมตั ว นี้ ม าท�ำ กรรมที่ ไ ด้ ท�ำมาแล้ ว แต่ ใ นชาติ ป างก่ อ น ๆ นี้
อาจจะมาปรากฏขึ้นมาก ๆ ก็ได้ในชาตินี้ ในชาตินี้บางองค์บางท่านก็เห็นได้ชัดเจนว่า
มาปฏิบัติแล้วจะท�ำให้มันเกิดสภาวะอาการอะไรต่าง ๆ เกิดขึ้น เราปฏิบัติได้ยากเหลือ
เกิน ท�ำได้ยากเหลือเกิน เพราะกรรมของเราท�ำมามากเหลือเกิน อาจจะไม่ได้บ�ำเพ็ญมา
แต่ชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงปฏิบัติได้ยาก หรืออีกอย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัตินั้นไม่เคยได้ท�ำมา
นี้ ก็ท�ำได้ยาก จะนั่งเพียงแค่ ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ท�ำไม่ได้ อันนี้บุพกรรมมันท�ำได้น้อย ๆ
ฉะนั้น จึงควรที่จะบ�ำเพ็ญไว้ ได้มากได้น้อยก็ควรที่จะท�ำ ควรที่จะปฏิบัติ มัน
เป็นการที่จะท�ำให้การพ้นทุกข์ย่อมเกิดย่อมมีแก่โยคีผู้ปฏิบัติ และกรรมต่างๆ ที่เขา
เห็นนั้น ในชาตินี้ก็มี ที่บางคนเรื่องอะไรที่เคยท�ำมาตั้งแต่เล็กตั้งแต่น้อย ตั้งแต่ ๓-๔ ปี
มันนึกถึงไปได้หมด ถ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็นึกได้เป็นร้อย ๆ ชาติ ถ้าชาติ
นั้นเคยเกิดเป็นอย่างนั้น ๆ ไปท�ำกรรมอย่างนั้น ๆ ไปปฏิบัติอย่างนั้น ๆ แต่เราก็รู้ได้
เพียงในชาตินี้ ที่ปฏิบัติไปแล้วมันจะนึกเห็นสภาพต่าง ๆ ที่มันเคยเป็น แต่อย่าไปตามมัน
เห็นก็ก�ำหนดไปถ้าไปตามมันก็เสียเวลา อันนั้นในการปฏิบัติที่ท�ำแล้วให้พ้นทุกข์ ท�ำแล้ว
ให้เห็นทุกข์นี้พระพุทธองค์ท่านเห็นแล้ว พระพุทธองค์ท่านรู้แล้วจึงได้มาวางแนวเอาไว้ให้
เราปฏิบัติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ตรงนี้แหละ
ธรรมที่ว่าเราปฏิบัติอยู่ในขณะนี้เรารู้อย่างไร เราเห็นอย่างไร เรามีอาการเป็นอย่างไร
อย่างนี้แหละ ครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็รู้อย่างนี้ แก้ไขอย่างไร แก้ไขอย่างนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 175

ต้ อ งทำ า อย่ า งนั้ น นี้ ท ่ า นก็ ว างไว้ อ ย่ า งนั้ น พวกเรามาทำ า แล้ ว เห็ น อาการเป็ น อย่ า งนั้ น
ก็ต้องแก้ไขอย่างนั้น แล้วก็ทำาอย่างนั้นจึงจะได้มรรคผลนิพพาน ถ้าเราทำาตามนั้น เรียกว่า
มี ฉั น ทะ มี วิ ริ ย ะ มี อุ ต สาหะ มี อ าการฝั ก ใฝ่ ใ นการที่ ทำ า อยู ่ ทั้ ง กลางวั น ทั้ ง กลางคื น
ไม่ลดละไม่ท้อถอย นี้ก็เป็นเหตุเป็นผลให้บรรลุได้ในชาตินี้ รู้ธรรมได้ รู้ได้เห็นได้ ถ้าตั้งใจ
แต่ถ้าไปคิดถึงว่าบุญกรรมวาสนาไม่ดี ทำาไม่ได้ ไปโทษบุญโทษกรรมอยู่ ไม่ปฏิบัติไม่ทำา
นีก้ ไ็ ม่ได้
เท่าที่ผมได้บรรยายมาก็เห็นว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้ประพฤติปฏิบัติไม่มาก
ก็น้อย ฉะนั้น ผมขออ้างเอาคุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จงมาเป็นที่พึ่งปกปักรักษาท่านทั้งหลาย ให้มีดวงจิตดวงใจให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล
ทุกองค์ ทุกคน ทุกท่านเทอญ

พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา


ทำาสักการะบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็น
อามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคต
ด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ ผู้ใดปฏิบัติตามธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง
ปฏิบัติธรรมให้เหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วย
การบูชาอันยอดเยี่ยม
วศิน อินทสระ
พระพุทธโอวาทกอนปรินิพพาน
176 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑๒
รู้ทันสภาวธรรม *

ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่พระโยคาวจรทุกท่าน ขอเจริญพรท่านโยคาวจรทุกคน
การบรรยายที่ได้บรรยายมาเป็นลำาดับทุกวัน บรรยายมาเรื่อย ๆ ก็เข้าใจว่า ทุกท่าน
คงจะเก็บเอาไปเป็นข้อปฏิบัติ หรือจะไปเป็นข้อพิจารณาในวิธีการที่จะปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน เพราะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องอาศัยการเทศน์ การอบรม การ
สั่งสอน ไม่ใช่ว่าผู้มาปฏิบัตินี้จะไปรู้ด้วยตนเองทุกอย่าง จะต้องอาศัยการได้ยินได้ฟัง
และการปฏิบัติ ปฏิบัติไปด้วย ฟังไปด้วย หรือฟังไปแล้วนำาไปปฏิบัติในแต่ละครั้งแต่
ละครา แต่ละญาณ อย่างที่เมื่อคืนนี้ก็ได้ฟังเทปจากพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก)
ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
ถ้าจะให้ผมพูด ผมก็พูดว่าเป็นนักปราชญ์อาจารย์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ของเมืองไทย เรียกว่าเป็นคนแรกที่ได้นำาข้อวัตรปฏิบัติแบบนี้เข้าในเมืองไทย แล้วก็
มาขยายผลต่อ ๆ เพื่อให้พวกเราท่านทั้งหลายนี้ได้ประพฤติปฏิบัติตามและก็จะได้รู้ผล
ได้ผลตามสมควรแก่ผู้ที่ปฏิบัติคือผู้ปฏิบัตินั้นจะให้เข้าใจไปทุกอย่างนั้นเข้าใจได้ยาก
ต้องอาศัยการได้ยินได้ฟัง อาศัยครูบาอาจารย์มาแนะนำา มาสั่งสอนเป็นประจำา จึงจะ
ปฏิบัติไปได้ คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นอาศัยการได้ยินได้ฟังแล้วนำาไปปฏิบัติ
*
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่นิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาจุฬาอาศรม
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
178 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ไม่ใช่ได้ยินได้ฟังแล้วไม่อยากจะเอาไม่อยากจะฟังหรือฟังไปแล้วก็เรียกว่าเข้าหูขวา
ออกหูซ้ายอะไรท�ำนองนั้น คือ ไม่ได้ยึดเอาไปปฏิบัติเพราะกรรมฐานนี้เวลาปฏิบัติแล้วมัน
จะมีสภาวะมีอาการซึ่งท�ำให้ผู้ปฏิบัตินี้เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราจะได้รู้ว่า
มันเป็นอย่างนั้น
อาจารย์ผู้ที่ให้การอบรมก็จะรู้ว่า ผู้ที่ปฏิบัตินั้นมีอาการเป็นอย่างไร เรียกว่า รู้ว่า
มีสภาวธรรมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ เมื่อสภาวธรรมแต่ละญาณ แต่ละสภาวะอย่างที่ท่าน
ทั้งหลายได้ฟังเมื่อคืนนี้ว่าแต่ละญาณแต่ละสภาวะนั้นไม่เหมือนกันและก็ไ ม่ อ ยู ่ ค งที่
เพราะแต่ละญาณนั้นมันจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ อย่างปั จ จยปริ ค คหญาณ
ที่เราปฏิบัติมาอยู่นี้ คือจะเห็นการเกิดการดับของสังขาร เรียกว่า เห็นรูปเห็นนามที่ว่า
เห็ น รู ป เห็ น นามนั้ น ถ้ า เราไม่ ท�ำความเข้ า ใจ ในเวลาเราปฏิ บั ติ นั้ น เราจะไม่ รู ้ เ รื่ อ งว่ า
นั้นคืออะไร สภาวะอย่างนี้ เรานึกว่าจะมีเป็นตัวเป็นตนออกมาให้เราได้เห็นหรือว่าจะเป็น
แบบนิมิตออกมาให้รู้ได้ชัดเจน คือ มันเป็นสภาวธรรมเท่านั้น ตัวที่ว่าเป็นสภาวธรรม
ไอ้ ตั ว นี้ มั น เป็ น ของที่ เ ราเข้ า ใจได้ ย าก แต่ เ มื่ อ เป็ น สภาวธรรมที่ เ ราท�ำไปแล้ ว เราเห็ น
สภาวธรรมนั้น แรก ๆ เราเข้าใจว่ามันไม่เป็นอย่างนั้น มันไม่ใช่อย่างนั้น เรารู้มันไม่เป็น
อย่างที่เราเห็น มันไม่เป็นอย่างที่เราเข้าใจ เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเราไม่ได้ไปพิจารณามัน
ท่านไม่ให้ไปพิจารณามัน หรือท่านจะพิจารณามัน เราก็ไม่เข้าใจ แต่ถ้ามีผู้ที่มาบอกมา
สอนมาเทศน์ให้ฟังแล้วเราฟังไป เราดูแล้ว เราจึงรู้ว่า เอ อันนี้เราก็เกิด เราก็มี มันเกิด
อย่ า งนี้ มั น มี อ ย่ า งนี้ อั น นี้ คื อ สภาวธรรม เราเห็ น ถ้ า ไม่ มี ใ ครบอก ไม่ มี ใ ครรู ้ เ รื่ อ งก็
ไม่เข้าใจ อย่างที่โบราณมีการปฏิบัติกรรมฐานเหมือนกัน ปฏิบัติกรรมฐานนั้นเรียกว่า
มาปฏิบัติแล้วไม่ค่อยเข้าใจ จะมาเรียนพุทโธ ๆ ก็ได้ เมื่อศึกษาเอากับอาจารย์ เมื่อบวช
เข้ามาแล้วจะปฏิบัติกรรมฐานถามอาจารย์ว่าท�ำอย่างไรเราจะเข้าใจ อาจารย์นั้นก็บอกว่า
เมื่อเรียนกรรมฐานแล้วจะต้องไปอยู่ในที่สงบอยู่ในที่เงียบ ๆ หรือไม่งั้นก็เดินธุดงค์
การเดิ น ธุ ด งค์ ข องคนสมั ย โบราณนั้ น เดิ น เพื่ อ อะไร เพื่ อ ความแข็ ง แรงทาง
ด้านจิตใจ เมื่อจิตใจไม่เข้มแข็งพอก็ไม่กล้าไป กลัว ความกลัวตัวนั้น กลัวอยู่หลาย ๆ
อย่าง แรก ๆ ก็กลัวผี ที่คนไม่กลัวผีก็ไปได้ นอกจากกลัวผีแล้วก็กลัวสัตว์ร้าย สมัยก่อน
สัตว์ร้ายมีหลายอย่าง เช่น เสือ เสือแม่ลูกอ่อนจะดุร้าย ถ้าเราไปแล้วไม่มีความเมตตา
หรือว่าจิตใจไม่เข้มแข็งพอ หรือว่าไม่มีคาถาที่จะป้องกันสัตว์ร้ายเหล่านั้น สัตว์ร้าย
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 179

เหล่ า นั้ น ก็ จ ะมาท�ำร้ า ยเรา นอกจากพวกเสื อ ก็ พ วกช้ า ง เมื่ อ ไปพบไปเห็ น เข้ า ก็ จ ะมา
ท�ำร้าย แต่ช้างที่เป็นพระโพธิสัตว์ หรือช้างที่รู้เรื่อง โบราณกล่าวไว้ว่าช้างมักจะไม่ท�ำร้าย
พระธุ ด งค์ เขาก็ รู ้ เ หมื อ นกั น ว่ า เป็ น พระโพธิ สั ต ว์ ที่ ม าบ�ำเพ็ ญ นั้ น โบราณที่ เ ดิ น ธุ ด งค์
หรือไปกรรมฐานอยู่ในป่า มักจะใช้กลดที่เป็นสีขาวจะท�ำให้พวกช้างมองเห็นได้ชัดเจน
เมื่อมันมองเห็นได้ชัดเจนแล้วมันไม่ไปท�ำลาย
อีกพวกหนึ่งก็คือพวกงู ถ้าเป็นงูประเภทที่มีพิษภัย ถ้าไปเหยียบมัน ๆ ก็อาจจะ
กัดเอา ถ้าเป็นงูหลาม งูเหลือมมันก็จะรัดเอา พระเราก็ตายไปเพราะพวกเหล่านี้ ฉะนั้น
เวลาไปเดิ น ธุ ด งค์ นั้ น ก็ ต ้ อ งมี ค าถาป้ อ งกั น มี ค วามระมั ด ระวั ง นี้ อ าศั ย ความเข้ ม แข็ ง
ทางด้ า นจิ ต ใจที่ ไ ปเดิ น ธุ ด งค์ เ ข้ า ป่ า เข้ า เขาไปนั้ น แล้ ว เมื่ อ เข้ า ไปปฏิ บั ติ ใ นป่ า นั้ น ถ้ า
เทวดาเห็นความเพียรของผู้ปฏิบัตินั้นก็จะมาบอกคาถาให้ หรือว่าจะไปพบพวกฤาษี
พวกเหล่านั้นก็จะมาให้คาถาอะไรต่าง ๆ นี้คือความหมายของการที่เดินธุดงค์เข้าป่า
แต่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้เป็นอย่างนั้น กรรมฐานนี้ที่เผยแผ่ออกมา
ใหม่ ๆ เราจะเข้าใจว่าฆราวาสญาติโยมนี้จะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้ จะท�ำได้
เฉพาะพระเท่านั้น โดยเฉพาะผู้หญิงนี้จะไม่ได้ท�ำเลย อันนี้คือความเข้าใจของเราตั้งแต่
เก่า ๆ มา ผู้หญิงไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่ความเป็นจริง การปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นที่พึ่งทางจิตใจมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ไม่ใช่ว่าเรามาคิดเอาเอง
ในสมัยนี้ เมื่อเห็นผู้หญิงมาปฏิบัติแบบพองหนอ ยุบหนอนี้ จึงมีผู้หญิงเข้ามาปฏิบัติ
เพราะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเหมือนกันกับพระสงฆ์ ท�ำไมจึงพูดว่า มีมาปฏิบัติ แล้ว
มันขาดหายไปไหน เพราะการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นไปแบบช้า ๆ ไม่ได้ไปรวดเร็ว
ไปตามผู้ที่มีศรัทธา ผู้ใดที่เกิดศรัทธาจึงจะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ได้ จึงเป็นเหตุ
ให้การเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ค่อยเป็นค่อยไป
ที่ว่าผู้หญิงที่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล อย่างนาง
วิสาขาก็มาได้ส�ำเร็จโสดาบันตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ จนกระทั่งอายุได้ ๑๖ ปี ก็แต่งงานมีลูก
มี เ ต้ า ตั้ ง เยอะแยะ นี่ ก็ เ ป็ น พระโสดาบั น แล้ ว และก็ ห ลาย ๆ คนที่ เ ป็ น ภิ ก ษุ ณี ก็ เ ยอะ
อันนี้จึงรู้ว่าพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่มานี้ ไม่ได้ให้เฉพาะพระสงฆ์ มีทั้งฆราวาสญาติโยม
ใครก็ ท�ำได้ การปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานนี้ มาก�ำหนด พองหนอ ยุบหนอ หลักวิช า
180 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ที่ก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอนี้จึงรู้ว่าท�ำกันได้ อันนั้นที่ท�ำกรรมฐานนี้ เรียกว่า เป็นหลัก


เบื้องต้น ที่เข้าใจว่าการปฏิบัตินั้นมีอย่างนั้น
การที่เรามาปฏิบัติเราจะนึกว่ามันเป็นตัวเป็นตน จะคอยเทวดามาประสิทธิ์ประสาท
ให้ ในการท�ำความเพียรนั้น อันนั้นคือความเข้าใจเบื้องต้น แต่ความเป็นจริงการปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนั้นมันขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ไม่ใช่อยู่กับเทวดา อยู่ที่ตัวของเรานั้น
ว่าเรามีศรัทธาไหม ที่เรามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น เรามีศรัทธาเกิดขึ้นในจิตใจ
ของเราหรือไม่ ถ้าเราเกิดศรัทธา ศรัทธาคือความเชื่อความเลื่อมใสที่มันเกิดขึ้นในจิตในใจ
ของเรานั้นไม่ใช่อื่นไกล มันขึ้นอยู่ที่จิตใจของเรา พอเราเกิดศรัทธาและมีความเลื่อมใส
ว่าการที่เรามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้แล้วจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราพ้นจากทุกข์ได้
ตัวอย่างนี้ ค�ำพู ด อย่ า งนี้ ก็ จ ะปิ ด บั ง ตั ว ปั ญ ญาของเราไม่ ใ ห้ เ รานี้ ไ ด้ แ จ่ ม แจ้ ง ในเรื่ อ ง
เหล่านี้ว่า มันเป็นไปได้หรือ นี่ คิดอย่างนี้ก็มี มันจะเป็นไปได้หรือ พระพุทธศาสนา
ก็พระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้วตั้งสองพันกว่าปี ท�ำไมเราจะมาท�ำกรรมฐานนี้อยู่
วิปัสสนากรรมฐานที่เกิดขึ้นมาในบ้านเราเมืองเรา ใหม่ ๆ เราก็มักคิดไปอย่างนี้ เพราะว่า
ไอ้ ตั ว ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี่ ก็ เ รี ย กว่ า ตั ว ศรั ท ธา เรามี ศ รั ท ธาพอที่ จ ะท�ำได้ มั้ ย ก็ มี ห ลาย ๆ คน
หลาย ๆ รูป ทั้งพระทั้งฆราวาสก็มีมา มีศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสจริง ๆ ที่จะมา
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เรามีศรัทธาจริงอยู่ แต่ตัวกิเลสที่มันยังยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์
เดิม ๆ นั้นมันยังมีอยู่ มันยังไม่ลดละ มันยังปิดบังตัวปัญญานี้ไม่ให้เกิด ก็เลยท�ำไม่ค่อยได้
เรียกว่าตัวเองนี้มีศรัทธาเต็มที่ที่มาปฏิบัติ แต่เวลามาปฏิบัติจริง ๆ ศรัทธาตัวนั้นมันจะ
ถดถอยลง คือท�ำไป ๆ แล้วมันตก
เมื่อศรัทธามันตกไป การปฏิบัติมันก็มีอาการคล้าย ๆ ว่าเราจะไม่พอใจในการ
ปฏิบัติคือ มันถอย การก�ำหนดพองหนอยุบหนอก็ไม่ค่อยชัดเจน ไม่รู้ชัดเจน ไม่รู้พอง
รู ้ ยุ บ ท�ำไป ๆ ก็ ค อตก ท�ำไปท�ำมาก็ เ กิ ด อาการง่ ว ง นี้ คื อ ตั ว ศรั ท ธาที่ มั น ถดถอยลง
ไปสอบอารมณ์อาจารย์ก็ให้เดินจงกรม ให้ท�ำใหม่ ให้แก้ไข เพราะว่าศรัทธามันตก พอพูด
ออกมาอาจารย์ท่านก็เข้าใจแล้วว่า โยคีคนนี้ศรัทธามันตก มันถอย ท่านก็จะต้องเทศน์
ให้ ฟ ั ง แต่ เ ทศน์ ใ ห้ ฟ ั ง แล้ ว ก็ จ ะไม่ ค ่ อ ยเชื่ อ ไม่ ค ่ อ ยจะเชื่ อ ค�ำนั้ น ว่ า มั น จะเป็ น จริ ง
หรื อ มั น จะไม่ เ ป็ น จริ ง นี้ คื อ ไม่ เ ข้ า ใจ ใหม่ ๆ อาจารย์ พู ด ก็ ไ ม่ ค ่ อ ยจะเชื่ อ ท�ำไมโยคี
จึ ง ยั ง ไม่ เ ชื่ อ นี้ ก็ เ ป็ น ของแน่ น อนว่ า โยคี ยั ง ไม่ เ ชื่ อ โยคี ป ฏิ บั ติ แ ล้ ว โยคี ยั ง ไม่ เ ห็ น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 181

สภาวธรรม เมื่ อ ไม่ เ ชื่ อ ไม่ ป ฏิ บั ติ ต าม สภาวธรรมนั้ น ก็ ไ ม่ เ กิ ด ฉะนั้ น การสอนของ


พระพุทธเจ้าจะว่าไม่ศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่ใช่ เพราะไอ้ตัวนี้เอง ตัวศรัทธาที่มันเกิดตัวแรก ๆ นี่
เมื่อไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อตามอาจารย์ที่บอกไป อบรมสั่งสอนไปมันก็ไม่เกิด นี่ก็มีมาตั้งแต่
ครั้ ง พุ ท ธกาล มี ห ลาย ๆ คนที่ ยังไม่เชื่อ เมื่อพบพระพุทธเจ้า เพราะไปพบแต่รูปกาย
อันนี้ก็จะไม่เชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่างปริพาชกที่ไปพบพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ
ที่ไปโปรดปัญจวัคคีย์ พระองค์จะไปด้วยฤทธิ์ก็ไปได้ แต่พระองค์ก็เดินเอา เผื่อว่าพบใคร
ก็ จ ะได้ โ ปรดอบรมสั่ ง สอนเขา ปริ พ าชกที่ เ ดิ น มาพบ เห็นแสงเห็นสีก็รู้อยู่แต่ก็นึกว่า
เป็นเทวดา ปริพาชกก็ถามว่าท่านเป็นใครเราเป็นสยมภู เป็นผู้รู้เอง ตรัสรู้ชอบได้ด้วย
พระองค์เอง ท่านก็ไม่ได้เชื่อ นี้เรียกว่าเห็นแต่รูปกาย ไม่ได้เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม
ผูน้ นั้ ชือ่ ว่าเห็นเรา ตถาคต อันนีถ้ กู นีพ้ วกเรานีก่ เ็ หมือนกัน ทีม่ าปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานนี้
เมื่อมาเห็นธรรม เห็นข้อวัตรปฏิบัติที่มันเกิดขึ้นตามสภาวธรรมต่าง ๆ เราก็ไม่ใช่ว่าจะเห็น
คนเดียว
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เห็นอะไร ก็เห็นความเกิด
ความดับของสังขาร เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารมีอยู่ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่
พูดเอาเฉย ๆ มันเป็นไปอยู่ในทุกขณะที่เราปฏิบัติ ก�ำหนดแล้ว อาการต่าง ๆ ที่มันเห็น
มันปรากฏขึ้นนี้ มันก็มีอยู่ เราก�ำหนดไปแล้ว เห็นสภาวะเหล่านั้น เห็นการเกิด เห็น
การดั บ การเปลี่ ย นแปลง พองขึ้ น มาก็ ก�ำหนดพองหนอ ยุ บ ลงไปก็ ก�ำหนดยุ บ หนอ
สั ก สองสามครั้ ง แล้ ว จิ ต ตานุ ป ั ส สนา จิ ต ก็ ไ ปคิ ด ในเรื่ อ งอื่ น ๆ นึ ก ได้ ก็ ก�ำหนด
คิ ด หนอ ๆ ๆ พอก�ำหนดได้ ว ่ า คิ ด หนอ ๆ แล้ ว ก็ ม าก�ำหนดใหม่ พองหนอ ยุ บ หนอ
นั่ ง ไปนาน ๆ เวทนาก็ เ กิ ด ขึ้ น มา เวทนานี้ จ ะเห็ น ทุ ก ขั ง อนิ จ จั ง อนั ต ตา ทั้ งสามตั ว นี้
ได้อย่างชัดเจน แต่เราไม่ชอบ เห็นความเจ็บความปวดนี้เกิดขึ้น ถ้าเราทน ๆ มันสักหน่อย
หนึ่งว่ามันเป็นอย่างไร ไอ้ความปวดนี่ ท�ำไมมันปวดจริงหรือไม่ ถ้ามันปวดจริงมันก็คงจะ
อยูอ่ ย่างนี้
ถ้าเราพิจารณาไปแล้วจะเห็นว่า มันไม่ได้ปวดจริง มันเป็นสภาวะ ถ้ามันไม่เป็น
สภาวะมันก็คงจะปวดอยู่อย่างนั้นมาโดยตลอด อันนี้มันก็ไม่ได้ปวดจริง พอเราคลายออก
จากสมาธิมันก็หายเป็นปกติ ไม่มีการเจ็บการปวดสมที่มันเป็น มันเจ็บมันปวดนั้นมัน
จะต้องเข้าโรงนวดโรงหมออะไรนั้นจึงจะหาย นี้ไม่ใช่ พอเราเลิกจากการปฏิบัติ พ้นจาก
182 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

สมาธิแล้วก็เป็นปกติ อันนี้จึงเห็นว่า นี้เป็นตัวทุกข์ ที่ท�ำแล้วมันจึงเกิดขึ้น เรารู้ตัวทุกข์ที่


มันเกิด แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้พิจารณา เออ ไม่ได้ให้พิจารณา แต่ให้ก�ำหนด ก�ำหนด
เพื่อให้รู้มันรู้สภาวะของมัน อาการของมัน นี่เรียกว่า เห็นตัวทุกข์ รู้ทุกข์ รู้ทุกข์แล้วเป็น
ยังไงอีก ก็รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ห้ามปรามมันไม่ได้ ยิ่งก�ำหนด
เท่าใดมันก็ยิ่งปวดไปเท่านั้น ท�ำไปเท่าใดมันก็ปวดไปเท่านั้น นี่เรียกว่า เห็นอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นความเกิดความดับของสังขาร เห็นความเปลี่ยนแปลง
ไปของสังขาร มันมีอยู่อย่างนี้ทุกขณะ ฉะนั้น เมื่อมันเห็นเป็นไปอย่างนั้น พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้ว่า นี่คือเห็นสภาวทุกข์ เห็นรูปเห็นนาม เมื่อพิจารณาไปทั้งรูปทั้งนาม ยกมือขึ้นนี้
เป็นรูป รูก้ เ็ ป็นนาม นี้มันก็เป็นทั้งรูปทั้งนาม อะไรท�ำนองนั้น แต่ไอ้รูปนามที่มันเกิดขึ้นนั้น
มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันมีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ บางทีก็เห็นพองยุบนี่ ช้า ๆ
บางทีก็เห็นเร็ว ๆ บางทีก็เห็นมันขาดไปเป็นท่อน ๆ ท�ำไป ๆ ก็เรียกว่าเห็นแต่รูปกับนาม
ในตัวของเรานี่ท�ำไป ๆ ไม่มีอะไรเลย มีแต่รูปกับนาม เกิดอาการเป็นอยู่อย่างนี้ เดี๋ยว
มั น ก็ เ กิ ด ขึ้ น เดี๋ ย วมั น ก็ ตั้ ง อยู ่ เดี๋ยวมันก็ดับไป นั้นก็เลยรู้แล้วว่า รู้รูป รู้นาม รู้ตาม
ความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าอย่างพระหนุ่ม ๆ นั่น สาว ๆ เดินมา อ้าว รูปนั่นสวย เป็นความ
พอใจ ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น
แต่ในสภาวธรรมของสังขารของการที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราไม่ใช่ไปรู้
ของคนอื่น รู้ในตัวของเรานี้ ในสังขารของเราอันยาววาหนาคืบนี้ ให้ปฏิบัติอยู่นี้ ท�ำอยู่นี้
พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ไปที่อื่น สอนให้ พิ จ ารณาดู ใ นตั ว นี้ และก็ ก ารที่ ล ะกิ เ ลสนั้ น
จะไปละที่ ไ หน ก็ ล ะที่ ตั ว เรานี้ ละที่ มั น เกิ ด อยู ่ ละโลภะ โทสะ โมหะ ก็ อ ยู ่ ที่ นี่ อยู ่ ที่
ในร่ า งกายอยู ่ ใ นจิ ต ในใจของเรานี่ เราก็ ต ้ อ งไปละในสิ่ ง เหล่ า นี้ ไม่ ใ ช่ ไ ปละที่ ค นนั้ น
ไปละที่คนนี้ พอไม่พอใจกับคนนั้น ไม่พอใจกับคนนี้ คนนี้ท�ำไม่ดี คนนั้นท�ำดี คนนั้น
ท�ำไม่ดี เดินจงกรมก็เดินมาตัดหน้า เกิดความไม่พอใจขึ้น เห็นเขาเดินเห็นเขานั่ง อะไร
มันก็เกิดขึ้นมา อันนี้เราไม่ได้พิจารณาไปอย่างนี้ พิจารณานอกตัว ถ้าเราพิจารณาในตัว
ของเราเอง เราก็ จ ะรู ้ ว ่ า เออ สภาวะมั น เป็ น อย่ า งนี้ อาการมั น เป็ น อย่ า งนี้ ความโลภ
ความโกรธ ความหลง เออ มันเป็นอย่างนี้ อันนี้เมื่อญาณมันแก่กล้าขึ้นไป เราท�ำด้วย
ความเพี ย ร ความอุ ต สาหะ ตั ว ศรั ท ธานี้ เ ป็ น ตั ว ที่ ส�ำคั ญ ที่ สุ ด ถ้ า บางที ศ รั ท ธามั น ยั ง
ไม่เกิดก็ท�ำไปด้วยความขี้เกียจคือความไม่อยากเอาใจใส่ มันไม่มีฉันทะ ตัวประกอบ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 183

ก็มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาที่จะต้องพิจารณาเหตุผลนั้น เราท�ำไปนี่มันถูกหรือไม่ถูก


มันเป็นสภาวะหรือว่าอะไร เราก็ไม่รู้ นี่เรียกว่าไม่ได้พิจารณา ไม่มีศรัทธา ไม่มีความพอใจ
ที่อาจารย์เขาพูดแนะน�ำอบรมสั่งสอนให้ ก็ไม่พอใจ พูดง่าย ๆ ก็คือยังไม่เห็นตัวเห็นตน
ก็เลยนึกว่ามันยังไม่ใช่ ที่ว่าการเกิดฉันทะความพอใจนั้น ก็อยู่ในญาณชั้นสูงขึ้นไปกว่า
ที่ ว ่ า เห็ น รู ป เห็ น นามนี้ เห็ น ใหม่ ๆ นี้ เ ราไม่ เ ข้ า ใจ ต่ อ เมื่ อ เราได้ บ�ำเพ็ ญ ไปปฏิ บั ติ ไ ป
สิ่งเหล่านั้นจึงจะเกิดขึ้นแล้วพอมันเกิดขึ้นก็มีศรัทธาเกิดขึ้น
ศรั ท ธาที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ ไม่ ใ ช่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ง่ า ย ๆ มั น ต้ อ งอาศั ย การได้ ยิ น ได้ ฟ ั ง
การเทศน์ การอบรม การสั่งสอน หลาย ๆ องค์ หลาย ๆ รูป มาพูดให้ฟัง หรือว่าถ้าอยู่
ในส�ำนักปฏิบัติเอง อาจารย์ท่านก็รู้ เมื่ออาจารย์ท่านรู้แล้ว อาจารย์ท่านก็จะต้องเทศน์
ให้ฟัง อบรมให้เขาได้เข้าใจ เมื่ออบรมให้เขาได้เข้าใจ โอ้ นี่เรายังไม่มีศรัทธา ความ
เอาใจใส่ ก็ ยั ง ไม่ มี ฉั น ทะความพอใจฝั ก ใฝ่ ใ นการที่ จ ะปฏิ บั ติ ก็ ยั ง ไม่ มี เดิ น จงกรม
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน นี้มันก็ยังไม่เกิด ท�ำก็สักแต่ว่าท�ำ ตาก็เหม่อลอยไปโน้น .. เออ
นกบินมาที่ในอากาศ เราก็รู้หมดว่ามีนกกี่ตัว บินไปที่ไหน หากินที่ไหน เราก็รู้ นั่นคือ
ความไม่ได้ส�ำรวม ความไม่พอใจในการปฏิบัติไม่เอาใจใส่ มันก็ไปอย่างนั้น นี่มันยังไม่มี
ฉันทะ เพื่อนฝูงของตัวศรัทธาก็มีเยอะแยะ ที่จะต้องประกอบให้เราท�ำ
เมื่อเราท�ำไปแล้วเราเห็นไปตามความเป็นจริง เห็นความเกิดความดับของสังขาร
เห็นความเปลี่ยนแปลงไป รู้พระไตรลักษณ์ รู้การเกิดการดับจากครูบาอาจารย์ที่อบรม
สั่งสอนให้เราจึงจะเข้าใจ เมื่อเราเข้าใจแล้วเราจึงได้เอาใจใส่ตั้งใจปฏิบัติต่อไป เมื่อตั้งใจ
ปฏิบัติจนญาณนี้ขึ้นไปสู่สัมมสนญาณ ขึ้นไปอุทยัพพยญาณ ญาณที่ ๔ อย่างอ่อน ๆ นี้
เราจึงจะเกิดศรัทธาเห็นอะไรมันก็เป็นทุกข์ ท�ำอะไรมันก็เป็นทุกข์ เห็นแล้วมีแต่ทุกข์ ๆ
เป็ น ทุ ก ข์ บางคนก็ เ กิ ด ความเห็ น ทุ ก ข์ ขึ้ น มาก็ นั่ ง ร้ อ งไห้ เห็ น คนหนึ่ ง ที่ เ ป็ น พี่ ช าย
ของอาจารย์ พ ระวิ ท ยานี้ ค นอยุ ธ ยาที่ ไ ปปฏิ บั ติ อ ยู ่ นั้ น ไปปฏิ บั ติ อ ยู ่ ไ ด้ ๒-๓ วั น เกิ ด
ความเห็นทุกข์เห็นทุกข์แม้กระทั่งว่าเห็นท่อนไม้ก็นึกว่ามันเป็นทุกข์ ท่อนไม้นี้เขาก็เอามา
เผาไฟ เขาจะเอามาท�ำเป็นฟืน เอ เรานี้ก็จะต้องถูกเขาเผาไฟเหมือนกัน ตายแล้วก็ต้อง
ถูกเขาเอาไปเผา ก็เลยเห็นความทุกข์นั้น เมื่อเห็นความทุกข์นั้นก็เกิดความสังเวชสลดใจ
เห็ น แล้ ว ก็ ว ้ า เหว่ ไ ม่ พ อใจ เรี ย กว่ า มั น เป็ น ทุ ก ข์ เมื่ อ เห็ น ทุ ก ข์ เห็ น อาการอย่ า งนั้ น
184 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

จึ ง รู ้ ว ่ า เออ เราก็ น ่ า จะมาปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐานให้ มั น ดี ๆ ขึ้ น น่ า จะส�ำรวมให้


มันดี ๆ ขึ้น อันนี้มันจึงจะเกิด เมื่อท�ำไปแล้วมันเห็นอาการต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง อันนี้
ขณะที่เราท�ำนี้ เราไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ค่อยรู้เรื่องว่ามันเป็นอะไร แต่อาจารย์นั้นเขารู้ว่า
วิ ธี ก ารที่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ นั้ น เอาใจใส่ ม าอย่ า งนี้ ท�ำมาอย่ า งนี้ เขาก็ จ ะรู ้ เ รื่ อ ง แต่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ เ อง
เมื่อให้ท�ำก็ยังไม่มีศรัทธามาก ต่อเมื่อเห็นทุกข์ เห็นความว้าเหว่ เห็นความเกิดขึ้นของ
สังขาร เห็นอะไรมันก็เป็นทุกข์ ว้าเหว่ มันแห้งแล้งไปทุกสิ่งทุกอย่างตรงนี้เราก็มานึกถึง
เออ เราก็จะเป็นทุกข์อยู่อย่างนี้ร�่ำไป ไม่ใช่ว่าจะมาทุกข์อยู่เฉพาะแต่ในชาตินี้ ชาติก่อน ๆ
นี้เราก็เป็นทุกข์มาแล้ว เราก็เห็นทุกข์มาแล้ว แล้วเราจะท�ำต่อไปนี้เราก็จะเป็นทุกข์ใน
โอกาสต่อไป ถ้าเราไม่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ เราก็จะอยู่กับทุกข์นี้ร�่ำไป ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงหาวิถีทางที่จะหนีทุกข์นี้ จะออกจาก
ทุ ก ข์ นี้ ก็ เ ลยได้ บ�ำเพ็ ญ มา เราก็ เ หมื อ นกั น เราก็ คิ ด ว่ า นึ ก ว่ า เรานี้ จ ะไม่ มี ค วามทุ ก ข์
แม้ ว ่ า คนไม่ ว ่ า จะร�่ ำ รวยถึ ง ขนาดไหนก็ ต าม ถ้ า ไม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐาน ไม่ มี
ธรรมะในจิตใจ จิตใจนั้นก็จะเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น ทุกข์ในการครองชีพ ทุกข์ในการเป็น
คนร�่ำคนรวย คนร�่ำคนรวยกับคนธรรมดาที่หาเช้ากินค�่ำ ใครจะเป็นสุขกว่ากัน ถ้าคิดตาม
หลักธรรมะก็ทุกข์พอ ๆ กัน มีความทุกข์พอ ๆ กัน คือผู้ที่ร�่ำรวยก็ทุกข์ในการที่จะไป
เก็บหนี้เก็บสิน เพื่อความยั่งยืนมั่นคงแห่งทรัพย์สมบัตินั้นจึงจะอยู่ได้ แต่ทุกข์ของคนที่
ไม่มีอันจะอยู่จะกิน ก็ขอแต่ว่าให้ได้อยู่ได้กินไปวัน ๆ หนึ่ง เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะพอนี่
ทุกข์ทางโลกมันเป็นไปอย่างนี้
แต่ทุกข์ทางธรรมนะ ความทุกข์ทางธรรมนี้ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่ได้เอาใจใส่ จิตใจนี้
ยังไม่ได้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ธรรมะยังไม่เกิดนี่ ก็ยังไม่เข้าใจว่า เรานี้มีธรรมะหรือยัง
หรือจิตใจของเรานี้มีธรรมะพอที่จะคุ้มครองปกป้องรักษาได้หรือยัง อันนี้คือ ข้อธรรมะ
ที่เราจะต้องรู้ต้องเป็น จะต้องแสวงหาจะต้องท�ำ แต่ถ้าเราเข้าใจว่า เรานี้ไม่ต้องปฏิบัติ
ก็ได้ ไม่ต้องท�ำกรรมฐานก็ได้ อันนั้นคิดไปหลายแง่หลายมุม คิดไปว่า ถ้าบวชเข้ามาแล้ว
ส�ำหรับผู้ที่บวชเข้ามาแล้วก็มีสุขอยู่แล้ว บิณฑบาตก็พอได้อยู่ได้ฉันอยู่แล้ว อยู่ไปแล้ว
ก็พอได้อยู่ได้ฉัน ก็เลยไม่ได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่เข้าใจเลย ลักษณะอย่างนัน้
ก็เรียกว่า บวชแล้วไม่ได้มาปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐาน ก็ไม่เข้าใจในหลักธรรมค�ำสั่งสอนนั้น
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 185

ส่วนพวกที่เป็นฆราวาสญาติโยม เออ ไม่ได้ปฏิบัติก็นึกว่าเรานี้ก็มีอันจะอยู่จะกิน


แล้ว มีงานท�ำ ก็พอมีพอกินพอใจ แต่ว่าธรรมะที่จะเกิดขึ้นกับเรานั้น เราเป็นชาวพุทธ
นับถือพระพุทธศาสนา ธรรมที่เราจะได้เข้ามาสู่ในจิตใจของเรานั้น เรามีมากน้อยแค่ไหน
อย่างไร แม้บางคนศีล ๕ ก็ยังไม่ได้รักษา แล้วเราจะได้ธรรมะมาจากที่ไหน ธรรมะนี้
เป็นอย่างไร นี่เราก็ยังไม่เข้าใจ ผู้ที่จะรู้ธรรมะนี้ก็จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติจึงจะรู้ได้ ผู้ที่ท�ำบุญ
แล้วตั้งปรารถนาว่า นิพพานปัจจโย โหตุ ขอให้ข้าพเจ้าได้ถึงซึ่งพระนิพพาน นี้จะนั่ง
ปรารถนาสักเท่าใดก็ตามจะไม่ได้ถ้าไม่มาลงมือปฏิบัติ ทั้งพระทั้งฆราวาสนั่นแหละ แต่โดย
มาก เว้าภาษาลาวก็ว่ามันแปนไปนะ แปน ถ้าพูดให้มันเข้าใจ บางคนที่เป็นพระ ถ้าถูกใคร
ก็อย่าว่านะ เป็นพระมานี่ไม่เคยได้ท�ำบุญก็มี นึกว่าตัวนี้เป็นตัวบุญ ก็เลยไม่ท�ำ คือ
ท�ำกฐินหรือผ้าป่าร่วมกับเขาก็ไม่เคยบริจาค ผ้าไตรสักไตรหนึ่งก็ไม่เคยบริจาค เงิน
สิบบาทห้าบาทก็ไม่เคยได้บริจาค ก็นึกว่าตัวนี้มีแล้ว นี้คือความเข้าใจผิด เราก็ต้องท�ำ
เราก็ ต ้ อ งบ�ำเพ็ ญ ท�ำไมจะต้ อ งท�ำ พระพุ ท ธเจ้ า ก็ ต ้ อ งท�ำเหมื อ นกั น เช่ น อย่ า งที่ ไ ป
แสดงธรรม พระสารีบุตรแสดงธรรม พระพุทธเจ้าก็ฟัง ท�ำไมจะต้องฟัง เรียกว่า ฟังให้
เป็นประเพณี ให้รู้ว่าแม้แต่เป็นพระพุทธเจ้าเองก็ยังต้องฟัง จะได้บุญได้กุศล เพื่อจะ
ให้คนรุ่นหลังได้ดูเป็นตัวอย่าง
นี่เราเป็นพระแล้วจะต้องท�ำบุญมั้ย ก็จะต้องท�ำ แต่แล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ท�ำบุญ
แล้วมันได้อะไร ก็ศึกษาเอาเองก็แล้วกัน แต่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้เราจะได้บุญ
ทุกขณะทุกลมหายใจ คือจะคู้เหยียดก้มเงยดื่มเคี้ยวฉันอะไรก็ได้บุญ นั้นคือคอยช�ำระ
กิเลสที่มันเกิดขึ้นนั้นมีอยู่ จะคู้ เราก็ก�ำหนดว่า คู้หนอ ๆ ๆ จะเหยียด ก็เหยียดหนอ ๆ
นี่คือมันละ ละอะไร ละตัวโลภะ โทสะ โมหะออก ละความโลภ ความโกรธ ความหลง
ที่มันมีนอนเนื่องอยู่ในสันดานนี้ เราจะต้องท�ำความอ่อนน้อมให้มันมาก ๆ ก�ำหนดเข้า
จึงจะเกิดสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา ถ้าเราไม่ท�ำ ไม่ก�ำหนด มันก็ไม่เกิดปัญญา ที่ว่าท�ำ
กรรมฐานนี้ได้บุญมาก ได้บุญมากก็เพราะการที่เราส�ำรวม แต่ถ้าเราไม่ส�ำรวมนี้เราก็ไม่ได้
นี้ ก ารปฏิ บั ติ ที่ มั น ยาก ๆ อยู ่ ก็ เ พราะการส�ำรวมของเรานี้ แ หละ เรายั ง ส�ำรวมไม่ พ อ
ไม่ใช่เฉพาะพระนะ โยมก็ท�ำได้ ค่อยช�ำระทางด้านจิตใจไปเรื่อย ๆ จิตใจก็จะสบาย
ผู้ที่เป็นญาติโยมเมื่อมาปฏิบัติแล้วจิตใจก็จะอ่อนน้อมไปในธรรมะ เมื่ออ่อนน้อมไปแล้ว
ความโกรธนี่มันก็ง่าย กลับบ้านก็อย่าไปทะเลาะกับแม่บ้าน (หัวเราะ) เพราะใจมันอ่อน
186 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

โกรธง่าย มันโกรธได้ง่าย ๆ มีอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ที่มันมากระทบกระทั่งก็ให้ท�ำใจ


เอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งไปโกรธง่าย มันก็ยากเหมือนกัน ถ้าอยู่ในเรื่องของการที่จะต้อง
ปกครองดูแล การจะดูแลคนส่วนมาก
พระสงฆ์ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นเจ้าอาวาส ถ้าอ่อนแอไปเขาก็จะว่า เอ้ เจ้าอาวาส
ไม่ ไ ด้ ท ่ า ไม่ เ ข้ า ท่ า ไม่ ดู แ ลลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หาพระลู ก วั ด ท�ำความสะอาดดู แ ลบริ เ วณวั ด
ก็ไม่เคยบอกไม่เคยสอน ไม่เคยอบรม นี่ก็ยากส�ำหรับเป็นพระ เป็นเจ้าอาวาสขึ้นไปก็ยาก
ถ้าเป็นฆราวาส จะไปสมถะอยู่ มีอะไรก็ไม่ได้บอกไม่ได้กล่าว นี่ก็จะเสียหายเหมือนกัน
ฉะนั้น เมื่อมาท�ำกรรมฐานมันจะไปประสบกับเรื่องเหล่านั้น ก็ให้ท�ำใจไว้ก่อน คือสิ่งใด
บางทีมันก็มีความไม่พอใจเข้ามา เป็นเหตุให้เสียหายก็มี แต่การปฏิบัตินั้นต้องท�ำไป
เรื่อย ๆ ไม่ใช่มาปฏิบัติที่นี่ครบตามจ�ำนวนแล้วพอกลับไปก็เอาทิ้งไว้ที่มหาจุฬาอาศรมนี้
ไม่ได้เอาไปด้วย เพราะมานี่ มาศึกษามาเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติแล้ว ก็จะต้องน�ำไปด้วย
เรารู ้ แ ล้ ว เราได้ แ ล้ ว เราก็ ต ้ อ งน�ำไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ ส่ ว นญาณขั้ น สู ง ขึ้ น ไปตั้ ง แต่
อุทยัพพยญาณ ญาณที่ ๔ ที่ ๕ จนถึงญาณที่ ๑๑ นี้ มันแยกกันไม่ค่อยจะออก เพราะ
มันมีติด ๆ ต่อ ๆ กันอยู่นั้น บางทีมันก็เกิดสภาวะอารมณ์ว้าเหว่ แห้งแล้ง บางทีมัน
ก็จะเกิดสภาวธรรม ปีติ ขนลุก ซาบซ่านไปทั้งตัว บางทีก็ท�ำให้ตัวลอยตัวเบา เอ นึก
ว่าเรานี้ได้ส�ำเร็จแล้ว รู้แล้วก็เลยขาดสติไม่ได้ก�ำหนด อย่างนี้ก็มี บางทีมันก็นั่งยิ้มอยู่
คนเดียว มันเกิดสภาวะขึ้นมา มีเรื่องอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ว่าเรานี้สุขสบาย นั่งยิ้ม
หัวเราะอยู่คนเดียวไม่กล้าจะพูดให้คนอื่นเขาได้ยิน ก็หัวเราะอยู่คนเดียว มันมี นี่คือ
สภาวะของมัน อ�ำนาจของปีติ ๆ ไม่ใช่มีเฉพาะปีติ ๕ อย่างที่เราเรียนศึกษากันมา บางที
มันก็เป็นอย่างนี้ก็มีนะ พอมันเกิดปีติขึ้นมานี้ เดินจงกรมมาแล้วก็เข้าห้องน�้ำ เดี๋ยวก็เข้า
ห้องน�้ำเป็นประจ�ำ ก็เลยนึกว่าเรานี้จะเป็นโรคแล้วมั้ง โรคอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่คือ
อ�ำนาจของปีติ เดินจงกรมแล้วก็จะมานัง่ อ้าวจะนัง่ แล้วก็อยากจะเข้าห้องนำ�้ เข้าส้วมอีกแล้ว
ฉะนั้น ห้องกรรมฐานนี้บางครั้งก็จะสร้างผิด สร้างห้องน�้ำห่างเกินไป กว่าที่จะ
ไปห้องน�้ำห้องส้วมได้ ไม่ดี จะต้องมีที่โดยเฉพาะ ที่ผมสร้างไว้ที่วัดก็เหมือนกัน สร้างผิด
สร้างห้องน�ำ้ ห่างไป เออ ลืมไม่ได้นึกถึงวิธีการปฏิบัตินั้น มันจะต้องมีห้องน�้ำห้องส้วมอยู่ใน
ที่แห่งเดียวกัน เมื่อมันเกิดสภาวะอาการอย่างนี้มันมีอยู่ ถ้าไม่ระมัดระวังเราจะไม่ค่อย
รู้เรื่อง ว่าเราเป็นอะไรแต่อาจารย์จะต้องคอยบอกเตือนให้เขาได้รู้เรื่อง เขาก็จะได้เข้าใจ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 187

เกิดปีติแล้ว บางทีก็กระวนกระวาย บางทีก็เป็นหนาว ๆ ร้อน ๆ บางรูปบอกว่าผมนั่งแล้ว


มันร้อนมาก เหมือนนั่งในกองไฟ แต่พอเลิก ออกจากสมาธิแล้วก็ไม่ร้อนแล้ว หายแล้ว
บางคนก็หนาว ทั้ง ๆ ที่คนอื่นเขาร้อน เราก็หนาว จะต้องหาเสื้อผ้ามาใส่ เอ มันหนาว
เย็น อย่างนี้ก็มี อย่างนี้มันเกิดขึ้นเฉพาะในการปฏิบัติมันเป็นอย่างนั้น เราไม่ต้องไป
ตกใจว่ า เราเป็ น ไข้ เป็ น หวั ด อะไร มั น เป็ น อย่ า งนี้ บางคนตั ว แข็ ง นี้ มั น ถู ก ตาม
หลักธรรมหรือ ถูก ไม่ใช่ไม่ถูก ตัวนี้แข็งทื่ออันนี้จะยกจะย่างจะเหยียบ จะนั่งจะนอน
มือเท้าก็จะแข็ง เดินจงกรมจะก้าวขาก็ไม่อยากจะออก บางทีบางครั้งบางคราวมันก็จะ
นุ่มไปหมด แขนนี่พอจะพับได้หมด ทุกอย่างอ่อนนุ่มสลวยไปทั้งตัว มันมีสภาวธรรม
ไปอย่างนั้น
นี่พูดให้ฟังว่า ผู้ปฏิบัติจะมีสภาวธรรมไปต่าง ๆ อย่าเพิ่งไปตกใจว่ามันจะเป็น
อย่างนั้น ๆ แต่ถ้าไม่มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แล้วพบอย่างนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องนี้ แต่ถ้า
มาปฏิบัติแล้วพบอาการอย่างนี้ เห็นอาการอย่างนี้ก็อย่าไปเข้าใจผิด บางทีพองหนอ
ยุ บ หนอก็ จ ะเร็ ว เร็ ว มาก จะเอาลมหายใจก็ ค งจะไม่ ถู ก ถ้ า เป็ น ลมหายใจก็ เ รี ย กว่ า
หายใจจวนตายนั่นแหละ นี้มันเร็วมาก ก�ำหนดแทบจะไม่ทัน ไอ้ตัวหายใจมันหายใจ
หรือไม่หายใจไม่รู้ แต่ตวั พองยุบมันเร็ว เร็วมาก ๆ นีก่ ใ็ ห้รู้ นีค่ อื เร็ว ๆ ไป ก็หยุดไปเฉย ๆ
นี่ตายไปรึยัง ไม่เห็นมีพองมียุบเลย เวลาช้า เขาก็ช้า เวลาเขาอยากจะหยุด เขาก็จะหยุด
นี่คืออะไร นี่คือเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เห็นเป็นไปอยู่
อย่างนี้ อันนั้นการท�ำกรรมฐานนั้น ไม่ใช่เป็นของที่มันจะเป็นของที่จะราบรื่นสม�่ำเสมอ
อย่างที่เราเข้าใจ
พระธรรมค�ำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้สอนมาแล้วเรามาท�ำตามแล้วเรา
ก็เห็น เมื่อเราเห็นแล้ว เราก็เอ...ธรรมะนี้ มันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่จะเป็นอย่างที่เราเข้าใจ
เอามันเกิดขึ้นมาเองถ้าเราท�ำถูกต้อง ถ้าเราท�ำไม่ถูกต้องสภาวธรรมเหล่านี้เราก็ไม่เห็น
ไม่ปรากฏไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ ก็คือต้องถามท่านผู้รู้ มันเกิดอะไรขึ้นมาต้องถาม
อาจารย์ ปรึกษาอาจารย์ โยคีที่มาปฏิบัตินั้นต้องพูดความจริงให้อาจารย์ฟัง เขาก็จะ
ได้แก้ไขให้ ไม่ใช่ไปถามแล้วก็ไม่อยากจะบอกเน้อ อ�้ำ ๆ อึ้ง ๆ กลัวอาจารย์จะจับผิด
อันนัน้ ไม่ได้ความรู้ เขาเรียกว่า อายครูไม่รู้ปัญญา ไม่มีปัญญา อันนี้การปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานนั้น อาจารย์กับศิษย์นี้ไม่ได้อยู่ห่างไกลกันต้องใกล้กัน ไม่ใช่ว่าถามแล้วอาจารย์
188 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

จะมาทดลองความรู้หรือไม่ใช่ ให้เขานั้นได้เข้าใจ จิตใจมันจะข้องเกี่ยวอยู่กับอารมณ์


เหล่านี้ ข้องเกี่ยวไม่ได้ มันจะต้องแก้ไขอยู่ตลอด แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในวิธีการในการปฏิบัติ
ก็เสียทั้งสองอย่างคือทั้งอาจารย์ก็ไม่เข้าใจว่ามันเป็นอะไร ลูกศิษย์ก็ไม่อยากจะบอก
อาจารย์ อาจารย์ก็ไม่รู้วิธีแก้ไข อันนี้ปฏิบัติยาก ยากทั้งสองฝ่าย ทั้งอาจารย์ก็ไม่เข้าใจ
ลูกศิษย์ก็ไม่บอกความจริง กลัวอาจารย์จะดุเอา หาว่าเราขี้เกียจ ทั้ง ๆ ที่มันขี้เกียจ
เอ ท่านนี่ ท�ำไมท่านจะมาขี้เกียจอยู่ ท่านมาปฏิบัติ ก็เลยไม่อยากจะบอก ก็บอกมัน
ไปจริ ง ๆ ว่ า มั น ขี้ เ กี ย จ ผมไม่ อ ยากท�ำ ก�ำหนดผมก็ ไ ม่ อ ยากจะก�ำหนด เดิ น ผม
ก็ไม่อยากจะเดิน มันมี สภาวะของมันมีอย่างนั้น มันมีของมันอยู่ มันเกิดความขี้เกียจ
ขี้ ค ร้ า นร�ำคาญ ก็ มั น ขี้ เ กี ย จจริ ง ๆ จะเดิ น มั น ก็ เ ดิ น ไม่ ไ ด้ ไม่ อ ยากจะเดิ น มั น มี ใ น
สภาวะญาณสูง ๆ ตั้งแต่ญาณที่ ๑๑ – ๑๒ นี้มันมี มันเป็นสภาวะที่ท�ำให้เราขี้เกียจขี้คร้าน
ร�ำคาญ เดินก็ไม่อยากเดิน นั่งก็ไม่อยากนั่ง นี่นอนมันซะเลย..ท�ำไม่ได้ก็นอนเลย นอน
ก็นอนไม่หลับ ลุกขึ้นมาท�ำใหม่
อันนี้เราต้องรู้ว่าสภาวะมันเป็นอย่างนี้ อาการของมัน มันมีหลาย ๆ อย่าง ท�ำให้
ผู้ปฏิบัตินี้ท้อถอย อาจารย์รู้แล้วก็บอกว่า ต้องแก้ไข เดินจงกรมก็ไม่ได้ เดินก็ไม่อยาก
จะเดิน นั่งก็ไม่อยากจะนั่ง แต่ว่าลงไปนอนซะเลย มันก็ไม่ยอมนอนอีก นี่คือสภาวธรรม
ที่ผู้ปฏิบัติเข้าใจปฏิบัติแล้วมันจะราบรื่นสม�่ำเสมอสุขสบายตลอดไป ปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานไม่ใช่อย่างนั้น คนโบราณเข้าไปในถ�้ำในป่าในเขาจะให้มันสงบ ถ้าจิตมันไม่สงบ
แล้วจะไปอยู่ที่ไหนมันก็ไม่สงบ อยู่ในถ�้ำผมก็เคยอยู่ ผมอยู่ในถ�้ำสี่เดือน เข้าไปอยู่ในถ�้ำ
ที่หลวงปู่ถ�้ำเขาอยู่นั่นแหละ เข้าไปในเขาชะอางค์โอน อ.บ่อทอง ไปปฏิบัติอยู่นั้น แต่ที่จริง
ผมปฏิบัติอยู่แล้วล่ะ แต่ว่าท่านให้เข้าไปบ�ำเพ็ญดู ทดลองดู เราก็เอา ลองก็ลอง เพราะ
เรารู้ทางอยู่แล้ว จะเป็นอะไรก็เป็น ไม่ได้ออกมา กลางวันก็ไม่ได้ออกมา ๔ เดือนนี้ผม
ไม่ได้ออกมา จะรู้ว่ามืดมันค�่ำก็เห็นค้างคาวมันบินหมุนเวียนอยู่ในถ�้ำ แต่อยู่ในนั้นต้อง
จุดเทียนไว้ตลอด มีเทียนเป็นแสงสว่างอยูน่ นั่ แต่ถา้ มันดึก ๆ มาก ประมาณ ตี ๓ – ตี ๔
ค้างคาวมันจะบินกลับเข้ามา มันจวนแจ้งแล้ว แต่เสียงข้างนอกมันไม่ได้ยินหรอก ข้าวเขา
ก็เอาเข้าไปให้เราฉันในถ�้ำนั้น นี้ เราก็รู้ว่ามันสว่างแล้ว เขาเอามาให้ฉัน มองไม่ค่อยเห็น
มันมืด ๆ แล้วห้องน�้ำห้องส้วมก็พอตกกลางคืนก็ออกมาอาบน�้ำสรงน�้ำ แต่ว่ากลางวัน
ไม่ได้ออก ผมก็ท�ำอยู่อย่างนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 189

ถ�้ำมันจะมืดแค่ไหน มันจะลึกแค่ไหน จะเอาจิตใจให้มันอยู่ มันไม่ได้อยู่หรอกในถ�้ำ


ใจมันไม่ได้อยู่หรอกในถ�้ำ ใจมันก็ออกไปอยู่ข้างนอก มันก็ไปได้ของมันจะให้มันอยู่ในถ�้ำ
ก็อยู่ได้แต่ตัวคนนั่นแหละ ตัวสังขาร ตัวจิตใจก็ไม่ค่อยได้อยู่ในถ�้ำหรอก เราก็นั่งบ�ำเพ็ญ
ไปบ้าง ท�ำกรรมฐานไปบ้าง ที่นี่อยู่ในถ�้ำก็อย่าไปเข้าใจว่ามันจะได้อะไรขึ้นมา ถ้าใจมัน
ไม่เอา มันไม่อยู่ อันนั้นที่ปฏิบัติมันดีแล้ว มันเป็นทางเข้าสู่พระนิพพาน ที่เรามาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานนี้ เราจะได้รู้ธรรมเห็นธรรมตรงความเป็นจริง เป็นค�ำสั่งสอนขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านท�ำมา ปฏิบัติมา วางรากฐานพระศาสนาให้เราประพฤติ
ปฏิบัติตาม
ดังนั้น ถ้าเราไม่ได้สืบสานพระพุทธศาสนาเอาไว้ พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปและ
ก็จะสูญไปในที่สุด ประชาชนที่จะได้ก็ไม่มี แต่ถ้าพระสงฆ์เรานี้เอาใจใส่ในการปฏิบัติเพื่อ
ที่จะได้รู้ธรรมค�ำสั่งสอนนี้เอาไปอบรมแก่ประชาชน ก็จะเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ช่วยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ท่านจะปรินิพพานไปนานแล้ว แต่ธรรมค�ำสั่งสอน
ของท่านก็ยังอยู่ เมื่อเรามาปฏิบัติเราก็มาสืบสาน สานต่อค�ำสั่งสอนของพระองค์ให้ยั่งยืน
ถาวรสืบต่อไป เราเองก็เป็นบุญเป็นกุศล จะเป็นพระสงฆ์ ฆราวาสญาติโยมก็ช่วยกัน
เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนานี้เอาไว้ได้
เมื่ อ พู ด ถึ ง เรื่ อ งอย่ า งนี้ ก็ ม าคิ ด ถึ ง บางคนเข้ า ใจว่ า พระสงฆ์ คื อ ผู ้ ที่ จ ะรั ก ษา
พระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมั่นคงถาวร แล้วโยมไปที่ไหนล่ะ แล้วอุบาสกอุบาสิกาไปที่ไหนล่ะ
ไม่ช่วยกัน จึงจะมาโจมตีเฉพาะพระ แล้วโยมล่ะ อยู่ท�ำไม ท�ำไมไม่ท�ำ (หัวเราะ) ไปที่ไหน
ก็ นี้ ก็ ม าโทษว่ า พระองค์ นั้ น ไม่ ดี พระองค์ นี้ ไ ม่ ดี แล้ ว โยมล่ ะ ท�ำได้ แ ค่ ไ หนอย่ า งไร
เขียนหนังสือพิมพ์ดา่ กัน เดีย๋ วจะมาหาว่าพูดเรือ่ งการเมือง ไม่ใช่การเมือง แต่วา่ พูดความจริง
มาว่าแต่พระ โยมอยู่ซื่อ ๆ (เฉย ๆ)
ผมก็ได้บรรยายมาพอสมควรแก่เวลา ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรม
ขอท่านทัง้ หลายจงเป็นผูม้ ดี วงตาเห็นธรรม ได้บรรลุอริยมรรค อริยผลทุกท่านทุกคนเทอญ
190 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
๑๓
เวลาล่วงไป รออะไรกันอยู่ *

ขอนอบน้ อ มองค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ขอคารวะพระเถรานุ เ ถระ ขอ


เจริญพรญาติโยมทุกคน การบรรยายที่อาตมามานี้ ก็รู้สึกว่ามีความดีอกดีใจที่ได้มาพบ
พวกท่านทั้งหลาย ที่ได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
แล้ ว ก็ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ ลู ก หลาน เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ค รอบครั ว และเป็ น ประโยชน์
แก่ประเทศชาติบ้านเมืองด้วย ที่ดีใจมากก็คือ ท่านทั้งหลายเป็นทหารผู้ที่ปกปักรักษา
ประเทศชาติบ้านเมืองถ้าเผื่อว่าไม่มีธรรมะ ไม่มีข้อปฏิบัติ ไม่ได้ปฏิบัติจะเอาธรรมะนี้
ไปแจกจ่ า ยให้ ค นอื่ น นั้ น จะได้ ด ้ ว ยวิ ธี ใ ด อั น นี้ มั น มั ก จะเป็ น ปั ญ หาอยู ่ อ ย่ า งนี้ แล้ ว ก็
ถ้าได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ก็จะทำาให้ประเทศชาติบ้านเมืองนั้นได้อยู่เย็นเป็นสุข
แต่จะถึงจุดที่เราจะต้องได้นั้นมันเป็นการยาก ยากทั้งผู้ปฏิบัติ และยากทั้งผู้เทศน์ เพราะ
คนเรานั้ น จะว่ า มี ห ลายระดั บ หลายอย่ า งที่ ม าด้ ว ยความตั้ ง อกตั้ ง ใจก็ มี แต่ บ างคน
ก็เผื่อที่ว่า อยากจะมารู้ มาเห็นก็มี ก็เรียกว่ามันยาก ยากที่จะต้องเทศน์ให้ผู้ที่ปฏิบัตินี้
ได้เข้าใจ มันยากอย่างนี้ เพราะระดับของคนที่ว่าต่างกันนั้น ถ้าอย่างนั้นก็อยากจะพูดว่า
พวกที่มีอายุยังอ่อนเยาว์ พวกนี้โดยส่วนมากจะไม่อยากปฏิบัติ แต่เขาไม่ค่อยจะเข้าใจว่า
การปฏิ บั ติ เ มื่ อ อายุ ที่ ยั ง อ่ อ นเยาว์ อ ยู ่ นั้ น หมายถึ ง ว่ า คนอายุ ป ระมาณ ๑๗-๑๘ ปี
ขึ้นไปนี้จะยังไม่อยากปฏิบัติ แต่นั้นคือไม่เข้าใจในหลักธรรมคำาสั่งสอน ยังไม่เข้าใจ
* พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร ) ที่ปรึกษาวิปัสสนาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ
บรรยายแก่ข้าราชการทหารเรือ ณ มหาจุฬาอาศรม ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๑๐
กรกฎาคม ๒๕๕๑
192 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ในหลักปฏิบัติ พวกเหล่านี้หากเขาได้ประพฤติ ได้ปฏิบัติ หมายถึงทางการท�ำกรรมฐาน


ท�ำวิปัสสนานี้ ถ้าเขาได้เข้าใจตั้งแต่อายุยังเยาว์วัยเขาจะไปท�ำกิจการงานอะไรก็ดี จะได้
ไม่วู่วาม หรือด่วนท�ำด่วนตัดสินใจ เขาจะมีสติปัญญาดี แล้วตัวเขาเองก็จะราบรื่นดี
ในการครองชี วิ ต ถ้ า คนอายุ ๓๐-๔๐ ปี ขึ้ น ไปแล้ ว อั น นี้ ห มายถึ ง คนที่ มี ค รอบครั ว
จะต้องประคับประคองครอบครัวของตนให้ดีนั้นได้อย่างไร ถ้าเรามาปฏิบัติ เราจะวางแผน
ครอบครัวของเรานั้นถูกต้อง แล้วก็จะได้อบรมสั่งสอนลูกหลานของตนให้เป็นคนดีของ
ชาติบ้านเมืองต่อไป
เมื่ อ พู ด ถึ ง ตอนนี้ ก็ ม านึ ก ถึ ง ว่ า ประเทศชาติ บ ้ า นเมื อ งของเราที่ อ ยู ่ เ ป็ น สุ ข มาก็
เพราะอาศัยพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนานั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่จะท�ำให้บ้านเมือง
เราอยู่เย็นเป็นสุข แต่ผู้ที่ไม่รู้เรื่อง คือหมายความว่าผู้ที่ไม่ได้ศึกษา ไม่เคยได้ปฏิบัติ
ไม่เคยได้เข้าวัดเข้าวา ผู้นั้นจะปฏิบัติในกิจของตนนั้นไม่ค่อยดี ก็เลยเห็นแต่ทางโลก
ทางธรรมไม่ เ ห็ น และการสั่ ง สอนอบรมลู ก หลานของตนก็ มั ก จะไขว้ เ ขว ไม่ ร าบรื่ น
หรื อ บางที ก็ อ าจจะไม่ ไ ด้ อ บรมเอาเลยก็ มี ในลั ก ษณะอย่ า งนี้ แต่ ผู ้ ที่ อ ายุ ๕๐-๖๐ ปี
ขึ้นไป พวกเหล่านี้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเตรียมตัวตาย ไม่อยากพูดค�ำนี้นะ
เพราะว่าถือว่าเราแก่แล้ว จะต้องเตรียม เขาเรียกว่า ”เตรียมห่อข้าว„ เตรียมเสบียงไว้ไป
ในภายภาคหน้า ไปในชาติหน้า แต่ถ้าไม่ได้มาปฏิบัติก็เป็นคนตายเปล่า ไม่ได้ประโยชน์
อะไรเลย ก็มีเป็นส่วนมาก แต่คนอายุ ๗๐-๘๐ แล้วไม่ต้องปฏิบัติ กีดกั้นกันหรือเปล่า
ไม่ ไ ด้ กี ด กั้ น เน้ อ ะ แต่ ว ่ า ท�ำไม่ ไ ด้ เพราะว่ า เป็ น ของท�ำได้ ย าก พระธรรมค�ำสอนของ
พระพุทธเจ้านั้นเป็นของลึกซึ้ง ยากที่เราจะเข้าใจ ยากที่เราจะรู้เท่าของเหตุการณ์ รู้เท่า
ถึงสภาวะ
มีคนหนึง่ ทีร่ จู้ กั กัน เป็นเสมือนญาติ เหมือนพีน่ อ้ ง เขาถือว่าเขาเป็นน้องสาว เขาถือว่า
หลวงปู่นี้เป็นพี่ชายของเขา แต่ก่อนก็เคยชักชวนกัน เขาบอกว่า ให้เกษียณอายุราชการ
ก่อนจึงจะมาปฏิบัติ แต่ดูร่างกายของเขาแล้วเดี๋ยวนี้ไม่ไหวแล้ว (หัวเราะ) เวลานั่งเวลา
ลุกนี่ก็ต้องประคองขึ้น ท�ำกรรมฐานจะได้มั้ย ไม่ได้ เดินจงกรมก็จะไม่ได้ อันนี้ก็มัน
จะเสียโอกาส เพราะฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการปฏิบัติได้ยาก ไม่ต้อง
พูดถึงคนอื่นไกล พระมหานิยมนี้ตุปัดตุเป๋ ตายแหล่ไม่ตายแหล่ มันยาก เดินจงกรมก็จะ
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 193

ไม่ไหว ก็หลาย ๆ คนที่อยู่ในห้องนี้ก็เหมือนกัน บางคนก็นั่งร้องไห้ มันว้าเหว่ มันท�ำไม่ได้


มันมีสภาวะ อันนี้มันเป็นอย่างนี้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ว่านี้ ถ้าไม่รู้…(ถามว่า
เทศน์ ๒ ชั่ ว โมงนะ) ก็ เ คยมี พ ระวิ ป ั ส สนาไปฝึ ก กั น มาเป็ น เดื อ น ๆ มี แ ต่ เ จ้ า คณะ
รองเจ้ า คณะบอกว่ า ให้ เ ทศน์ ๒ ชั่ ว โมง ก็ เ ทศน์ ไ ด้ ๒ ชั่ ว โมง แต่ ค นฟั ง ชั ก จะแย่
มันเหนื่อย แต่การฟังไปด้วยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปด้วยนั้นไม่ยาก เราก็นั่งสมาธิ
ไปด้วย ฟังไปด้วย ก็จะเป็นการดี เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ มีทั้งนิสิตปริญญาโท
ปริญญาเอก ก็มามากพอ ๆ กันนี้แหละ แล้วเขาก็ฟังไปด้วย ก�ำหนดไปด้วย ดูเหมือน
ว่าเขาจะมีสภาวธรรมเกิดขึ้น นี้ก็ยังไม่ได้เข้าเรื่องการปฏิบัติเลย ยังออกนอก ๆ อยู่
แต่ว่าบางคนก็ถามว่าท�ำไมสมัยก่อนนี้ ฟังเทศน์กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะได้บรรลุ
โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็เป็นส่วนมาก อันนี้ก็พูดได้ พูด
ได้หลาย ๆ แง่เหมือนกัน พูดในอย่างหนึ่งก็ว่าที่ท่านฟังแล้วได้บรรลุธรรมนั้นก็เพราะ
บุญบารมีของเขาที่สั่งสมอบรมมา เมื่อฟังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็จะได้ส�ำเร็จ
บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะบุญบารมีมีอยู่แล้ว อุปมาเหมือนกับดอกอุบลมี ๔ เหล่า
แล้วคนที่เขียน คนที่จ�ำ ถ้าหากว่าเป็นได้อย่างนั้น ส�ำเร็จเป็นส่วนมาก แล้วคนที่ไม่ได้ก็มี
แต่อยากจะพูดว่าคนที่เขามีบารมีที่ได้สร้างสม อบรมมาแล้วนั้น พอเขามาปฏิบัติแล้วก็ได้
สมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นครั้งแรกนั้นก็ไปเทศน์ให้ปัญจวัคคีย์ฟัง เพียง
แค่ ๕ คนเท่านัน้ แทนทีจ่ ะได้บรรลุทงั้ ๕ คน แต่ได้องค์เดียว คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
เท่านั้น นอกนั้นยังไม่ได้ นี้ถ้าเรามองในจุดนี้ก็จะได้ว่าบุญบารมีของเขาเป็นอย่างนั้น
แล้วมาปฏิบัติต่อ ๆ มา จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ฉะนั้น การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้น
แล้วก็ฟังเทศน์แบบเอาบุญ รู้ไม่รู้ก็ว่าเอาบุญ อันนี้ก็จ�ำของหลวงพ่อพระธรรมธีรราช
มหามุนี (โชดก) หรือมีมาในชาดกว่า คนที่ฟังไม่รู้เรื่องอย่างค้างคาวที่ฟังพระสวดอภิธรรม
พอพระสวดอภิธรรมจบก็ตกลงมาตาย ได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร อันนั้นเรียกว่า ฟังเอาบุญ
ก็ได้บุญ แต่ฟังแล้วที่ว่าฟังเทศน์มาก ๆ จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ที่ไม่ได้ก็มี อย่าง
พระอานนท์ พระอานนท์นี้ พระพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ไหนก็ต้องกลับมาเทศน์ให้พระอานนท์
ฟังว่าเทศน์เรื่องนั้นสูตรนี้อยู่ที่ตรงนั้น พระอานนท์ก็ต้องจ�ำเอา แล้วไปเทศน์ที่ไหนก็ต้อง
มาเทศน์ให้พระอานนท์ฟัง ฉะนั้น พระอานนท์ก็ต้องได้ฟังเทศน์มากกว่าเขา แต่ไม่ได้
บรรลุพระอรหันต์ ต่อเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ก็มีส่วนจะเข้าไปท�ำสังคายนา
194 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ซึ่งคัดเลือกเอาเฉพาะพระอรหันต์ทั้งนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็น


พระอรหันต์ก็ไม่ได้เข้าไปในพิธีนั้น พระอานนท์ก็ยังไม่ได้ส�ำเร็จพระอรหันต์ พรุ่งนี้เช้า
จะสังคายนา พระอานนท์ก็มาปฏิบัติทั้งวันทั้งคืน จนจวนจะสว่างแล้วถึงได้บรรลุธรรม
นี่ก็คนฟังเทศน์มากแต่ว่าไม่ได้บรรลุ แต่ที่ฟังแล้วพิจารณาไปตามกระแสพระธรรรม
เทศนานั้นก็รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น ควรได้ก็ได้บรรลุไป
และส่วนที่มาพูดถึงการปฏิบัติในปัจจุบันนี้ อาตมาคิดว่าเป็นบุญลาภของพวกเรา
เป็นบุญมาก ๆ ที่บ้านเมืองเรานี้ได้รับเอาพระธรรมค�ำสั่งสอน ได้รับเอาพระพุทธศาสนา
เข้ามาไว้ ได้รับเอาข้อวัตรปฏิบัตินี้เข้ามาไว้ ถึงคนอื่นบางคนจะไม่ได้เข้าใจในเรื่องอย่างนี้
จะยังคัดค้านการประพฤติปฏิบัติอยู่ ยังคัดค้านข้อที่เราท�ำ นี้ก็ไม่ได้ว่ากัน ไม่ได้ว่าว่า
เขาไม่เชื่อ เขาจะเชื่อ อันนี้ก็ไม่ได้ว่า แต่มาคิดว่าถ้าคนที่เชื่อตามหลักธรรมค�ำสั่งสอนที่
พวกเราปฏิบัติอยู่นี้ก็เป็นบุญลาภของเรา แต่เรายังไม่เชื่อก็เพราะเรามีทิฏฐิมานะ บุญกุศล
เรายังไม่พอ ค่อยเอาชาติหน้าก็แล้วกัน มันเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะไปดูหลาย ๆ
แห่งมาแล้ว เขามีมั้ย ทั้งพระเจ้าพระสงฆ์มีมั้ย ทั้งในประเทศของเรานี้ก็เหมือนกัน ยังเลย
ยังไม่ทั่วถึง โดยมากธรรมะที่เราท�ำนี้ก็มีอยู่ในส่วนกลาง ส่วนขอบเขตออกไปภายนอกนี้
ยังไม่ค่อยทั่วถึง แม้จะพยายามอย่างไรก็ยังอยู่อย่างนั้นเอง ภาคใต้ ภาคเหนือก็เหมือนกัน
ภาคอีสานก็เหมือนกันไม่ได้ท�ำสม�่ำเสมอ อันนี้เป็นข้อที่เราควรคิดให้เข้าใจ
ถ้าพูดว่าในต่างประเทศ ประเทศลาว ประเทศเขมรใกล้ ๆ กันนี้ มีพระพุทธศาสนา
เหมือน ๆ กัน มีพระเจ้าพระสงฆ์เหมือนกัน มีเถรวาทเหมือนกัน มีศีล ๒๒๗ เหมือนกัน
ทั้งพระลาว พระไทย พระเขมร แต่พระรู้หรือยัง ประเทศนี้รู้สมถะแต่วิปัสสนายังไม่เข้าใจ
ยังไม่มี ประเทศเขมรมีสมถะ ปฏิบัติได้ดีกว่าไทยด้วยซ�้ำไป เพราะตั้งใจปฏิบัติ เครื่องราง
ของขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ก็มีอยู่ นี้คือสมถะ ไม่ใช่เป็นวิปัสสนา เป็นพระเป็นสงฆ์ที่อยู่
ตามหุ บ เขาต่ า ง ๆ เป็ น พระที่ มี ค วามศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ม าก มี อ ยู ่ แ ต่ ไ ม่ ไ ด้ ช ่ ว ยประเทศชาติ
บ้ า นเมื อ ง ไม่ ไ ด้ มี ส ่ ว นมาเกี่ ย วข้ อ ง ส่ ว นประเทศไทยของเรานี้ เกี่ ย วข้ อ งกั บ พระมา
โดยตลอด ไม่ว่าเรื่องอะไรต้องถึงพระ ยาเสพติด ก็หลวงพ่อช่วยหน่อย เพราะอาตมาเป็น
พระอยู่ตามชนบท ก็ให้หลวงพ่อช่วยอบรมสั่งสอนไม่ให้ลูกหลานติดยาเสพติด โรคเอดส์
ก็เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องของพระ ไม่ใช่เรื่องของตัวเองนะ แต่ก็มาถึงวัด ให้พระอบรม
สั่งสอนให้ นี่มันเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอดอย่างนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 195

ฉะนั้น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เรามาท�ำนี้ อย่าได้ไปประมาท เมื่อมีโอกาส


มีเวลาแล้วให้รีบท�ำเข้า อย่างที่พูดไว้แล้วแต่ข้างต้นว่า แก่ก่อนจึงจะท�ำ อันนี้ประมาท
เพราะการปฏิบัตินี้มันปฏิบัติได้ยาก ท�ำได้ยาก ถ้าว่ามันยากแค่ไหน อย่างไร ก็ถามท่าน
มหานิยมก็ได้ มันยากไหม หรือมันไม่ยาก มันหนักหนาสาหัสสากรรจ์ขนาดไหน ท่านก็ไป
ทดลองมาแล้ว ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง จะเอาตัวไม่รอด ก็เพราะอย่างนี้ เพราะมันยาก เพราะ
ฉะนัน้ ญาณทีเ่ ราปฏิบตั นิ ี้ ครัง้ แรกจิตใจของเราจะไม่อยูเ่ ป็นปกติ คือ มันจะกระสับกระส่าย
ไปตามอารมณ์บ่อย ๆ เนื่องจากว่าเรายังไม่เคยที่จะก�ำหนด พูดว่า ก�ำหนดจะถูกต้องนะ
ถ้ า พู ด ว่ า อย่ า งอื่ น ก็ ค งจะไม่ ถู ก ต้ อ ง เพราะจิ ต ใจของคนเรานั้ น มั น จะไปตามกระแส
อารมณ์ต่าง ๆ มันไปทั่ว ๆ อย่างบางคนไม่เคยขาดการฟัง โดยเฉพาะพวกหนุ่ม ๆ
เครื่องฟังทางหูจะใส่ไว้ฟังอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเพลงหรือว่าอะไร ทางสถานีเขาส่งมาก็ฟัง
พอมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้จะดึงออกจากสิ่งเหล่านี้ มันก็ไม่มา มันไม่มา มันไม่ไป
จะก�ำหนด พองหนอ ยุบหนอ มันร�ำคาญ หงุดหงิด นั่งก�ำหนดก็ไม่ได้นาน เพียงแค่
๑๐ นาที ๕ นาที ก็นั่งไม่ได้ มันหงุดหงิดร�ำคาญ จะเดินจงกรมเพียงแค่ขวาย่างหนอ
ซ้ายย่างหนอ ก็เดินไม่ถึงวา มันไปแล้ว จิตมันออกไปข้างนอก มันไม่ได้อยู่ในอารมณ์
พอท�ำไป ๆ ๆ ก็มานึกถึงโบราณ ภาคกลางมีรึเปล่าไม่ทราบ เด็กนี่มันมีเปลมีอู่ เด็กนี่
จะไม่ค่อยนอน คือ แต่ก่อนพ่อแม่ต้องท�ำมาหาเลี้ยงชีพไม่เหมือนสมัยนี้เด็ก ๓ - ๔ ปี
ก็ไปโรงเรียนอนุบาลแล้ว มีคนเลี้ยง แต่ทางภาคอีสานสมัยก่อนนัน้ เด็กเวลาเอาใส่เปลไกว
มันนอนไม่หลับ ร้องไห้ พ่อแม่ก็จะหากะลามะพร้าวบ้าง ขันบ้าง มาเคาะให้ดังกลบเสียง
เด็กร้อง แล้วเด็กก็ฟังเสียงนั้น แล้วมันก็หลับเร็ว แต่ก่อนไม่เข้าใจว่าพ่อแม่เขาเอามาท�ำ
อย่างนัน้ ท�ำไม ก็สอบถามเขาว่ามันเป็นอะไร พอน้องไม่นอน ถามแม่ว่า แม่ ๆ ท�ำไมเอาขัน
มาท�ำให้มันดัง แม่บอกว่า ให้มันกลบเสียงน้อง มันจะได้ฟังเสียงนี้ แล้วมันจะได้หลับเร็ว
เพื่อว่าพ่อแม่จะได้ไปท�ำงาน
สมัยก่อนคนอีสานล�ำบากมาก แต่ว่ามันเป็นนิสัยแล้วก็ไม่ค่อยล�ำบาก แล้วเดี๋ยวนี้
ตะวันแค่นี้ แล้วก็ไปถอนกล้า ลูกก็ไม่นอนก็ต้องเอาลูกนี้ให้นอนเสียก่อนแล้วพ่อแม่
ก็ ไ ปถอนกล้ า พอไปถอนกล้ า เสร็ จ ก็ ต ้ อ งไปต�ำข้ า ว หุ ง ข้ า ว กว่ า จะเสร็ จ ก็ มื ด ก็ เ ลย
มีปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ใช่เฉพาะที่จะถอนกล้า ต�ำข้าว หุงข้าว พริก
196 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

มะเขืออยู่ที่ไหนก็ไปหามาให้ได้ บางท้องถิ่นก็ปลูกถั่วฝักยาวเอาไว้ ก็ไปหาพวกเหล่านั้น


แล้วน�ำมาท�ำเป็นอาหาร ลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าความล�ำบาก ที่พูดถึงเรื่องเด็กถึงตัวเราว่า
ท�ำไมก�ำหนดมันถึงไม่ค่อยได้ มันจะฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายไปตามอารมณ์ ขวาย่างหนอ
ซ้ายย่างหนอ บางทีมันก็เป็นซ้ายย่าง ขวาย่าง กว่าจะรู้สึกตัวได้ก็ไปหลายก้าวแล้ว นี้ใน
ลักษณะอย่างนี้ แล้วเวลานั่ง เราก็ก�ำหนด พองหนอ ยุบหนอ บางคนเคยท�ำพุทโธ หรือ
สัมมาอรหัง พอจะมาก�ำหนดพองหนอยุบหนอ มันไม่ไป มันจะมาอยู่แต่ลมหายใจ พุทโธ
ในลักษณะอย่างนี้ ถ้าเราไม่ได้เข้าใจ มันก็ยากที่จะเอาให้ลงตัว ฉะนั้น ทางที่ถูกต้องหลัง
จากการเดินจงกรม แล้วก็มานั่งขัดสมาธิ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ ได้ทั้ง ๒ อย่าง นั่งแล้ว
ทอดตาลงห่างตัวเราประมาณ ๑ ศอก ไม่ให้ก้มเกินไป ไม่ให้เงยเกินไป
โบราณท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องนั่งให้กระดูกสันหลังมันต่อกันตรง แล้วก็ทอดตาไป
แล้วจึงหลับตา นี้หลับตานอกนะ คนเรามีทั้งตานอก มีทั้งตาใน พอปิดตานอกไปแล้ว
เราก็จะดูตาใน มีอาการอะไรบ้างที่มันเกิด มันเป็นอยู่ในที่นี้ ร้อนมั้ย ถ้าร้อนเราก็ก�ำหนด
ร้อนหนอ ๆ ๆ เหนื่อยมั้ย ถ้าเหนื่อยเราก็ก�ำหนดเหนื่อยหนอ ๆ ๆ อ้าวหูได้ยินเสียง
ได้ยินหนอ ๆ ๆ ดูทุกอย่าง มันไม่มีอาการอื่นก็หันเข้ามาจับดูที่หน้าท้องเหนือสะดือ
ประมาณ ๒ นิ้ว เอาจิตไปรู้ที่นั่น แต่ถ้าจิตมันไม่ลงตามนั้น ก็ขอแต่ว่าให้มันรู้เพียง
อาการสัมผัสที่ท้องสัมผัสกับผ้า ก็ให้ท่านก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอไป ก็ก�ำหนดพองหนอ
ยุบหนอตามอาการตามสภาวะ ไม่ใช่ท่องเอา อาตมาให้แม่ท�ำกรรมฐาน ลองดู แกก็ไปท่อง
พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ คือไปท่องเอา ไม่ใช่ของจริง
นาน ๆ เข้าจึงบอกว่า ให้ดูอาการมัน แม่ก็จึงเข้าใจวิธีการท�ำ นี้ลักษณะอย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้นพองหนอ ยุบหนอนี่ จิตใจนั้นจะไม่ค่อยอยู่ในอาการเหล่านี้ มันจะคิดไป เดี๋ยวก็
จะคิดถึงเรื่องอดีต อนาคตหลาย ๆ อย่าง ฉะนั้น ไม่ต้องบังคับเขา บังคับที่ท้องพองนี้
ท�ำเอาหรื อ ตะเบ็ ง เอา หรื อ จะท�ำให้ มั น พองไม่ ใ ช่ อั น นั้ น ผิ ด ดู ต ามอาการ ดู ต าม
สภาวะของเขา เขาจะเกิดขึ้นยังไงก็ดูตามสภาวะอาการนั้น แล้วก็เอาจิตนี้ไปดูพองหนอ
พร้อมกับอาการนั้น ยุบหนอ แต่ใหม่ ๆ นี้จิตจะไม่ค่อยอยู่ในอารมณ์นี้ มันมักจะคิดไป
พอคิดไปก็ก�ำหนดคิดหนอ ๆ แล้วก็กลับมาดูอาการพองหนอ ยุบหนอ แล้วก็จะแว้บไป
อีกก็ก�ำหนดไปอีกคิดหนอ ๆ แล้วกลับมาดูอาการพองหนอ ยุบหนอ ดูกลับไปกลับมาอยู่
อย่างนี้ ไม่ให้ขาด พิจารณาอยู่อย่างนี้ ก�ำหนดอยู่อย่างนี้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 197

นอกจากนั้ น เวลาเวทนาเกิ ด ขึ้ น เจ็ บ ปวดมึ น ชา เราก็ หั น ไปดู อ าการปวด


ปวดหนอ ๆ ๆ มันยิ่งท�ำไปมันก็ยิ่งละเอียดมากขึ้น มากขึ้น เป็นอย่างนั้น พอมันละเอียด
มากขึ้น เราก็ดูต่อไป ดูอาการของมัน มันเป็นยังไง เห็นแล้วเราก็ก�ำหนดตามสภาวะ
อาการที่เขาเกิดขึ้น อันนี้คือการฝึกเบื้องต้น ไม่ค่อยอยู่ แล้วต่อไปเราจะเห็นว่าพองหนอ
ยุบหนอนี้ บางทีก็ขาดไป หายไป พองยุบไม่มี ไม่มีก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปเดือดร้อน
มั น ไม่ มี ก็ ไ ม่ ต ้ อ งก�ำหนด อารมณ์ อื่ น ก็ ยั ง มี เจ็ บ ปวดมึ น ชาตามแข้ ง ขา หู ไ ด้ ยิ น เสี ย ง
ได้ ยิ น หนอ ๆ ๆ เจ็ บ ปวด ปวดหนอ ๆ ๆ พองยุ บ เขาไม่ เ ห็ น ก็ แ ล้ ว ไป อย่ า ไปกั ง วล
ให้มันมาก เราจะไม่ให้เขาเจ็บก็เป็นไปไม่ได้ มันปวดขึ้นมาเราก็รู้ รู้ ๓ อย่าง รู้ทุกขัง
ความปวดนี่เป็นทุกข์ รู้อนิจจังคือของไม่เที่ยง มันจะอยู่นานสักแค่ไหน ถ้าเราลุกไปแล้ว
มันก็หายไป นี่คือมันไม่เที่ยง รู้อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จะบังคับเขาไม่ให้
เขาปวดก็ไม่ได้ นี่เรารู้แล้วรู้อะไร รู้ธรรมะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าไปซ่อนอยู่ลึก ๆ
อย่างนี้ ท�ำให้เรารู้แต่ถ้าเราไม่ท�ำ ไม่ปฏิบัติ ไม่เคยมาปฏิบัติ ไม่เคยรู้เรื่อง จะเอาอะไร
ให้เข้าใจ ที่นี้หลักธรรมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ แต่เราไม่ได้น�ำมาประพฤติ
ปฏิบัติ เราเองก็ไม่เคยได้ท�ำอะไรเลยแล้วจะเชื่อว่าเรารักพระพุทธศาสนา นับถือพระ
พุทธศาสนาได้อย่างไร ฉะนั้น เราก็นับถือพระพุทธศาสนาแต่เปลือก เราไม่ได้เห็นธรรมะ
เราไม่ได้ธรรมะ
ดูที่ตัวเรานี้ให้มันเห็นทุกข์ ให้มันรู้ทุกข์ แล้วก็ท�ำไปเรื่อย ๆ ก�ำหนดไปเรื่อย ๆ มัน
ก็จะเกิดขึ้นเอง ไปเดินตั้งแต่โน่นพัทลุงถึงเชียงใหม่ เดินหาธรรมะ มีอย่างนั้นก็มี ไม่ใช่
โบราณนะ เดี๋ยวนี้ยังมี มีพระที่ปรางค์กู่นี่แหละ ไปจ�ำพรรษาอยู่ที่อุดร ออกพรรษาแล้ว
ไปอยูส่ รุ าษฎร์ ไปเดินธุดงค์ถงึ อุดร ได้อะไร ได้ความเหนือ่ ย แต่ของทีม่ อี ยูใ่ นตัวเรา ไม่เอา
ดีแล้วที่เรามานี่ ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน แสวงหาที่ตัวเราแก้ไขที่ตัวเรา เจ็บปวดมึนชา
อยู ่ ที่ ตั ว เรา ทุ ก ข์ ก็ อ ยู ่ ที่ เ รานี้ สุ ข ก็ อ ยู ่ ที่ เ รานี้ นี่ บางคนที่ ม าอยู ่ ที่ นี่ ก็ บ อกว่ า มั น สุ ข
สุขนี้เป็นอุปกิเลสก็มี ไม่ใช่สุขที่แท้จริง สุขที่แท้จริงก็คือ จะต้องปฏิบัติจนมันพ้นทุกข์
อยู ่ ใ นระหว่ า งนี้ เ ป็ น เพี ย งแค่ ทุ ก ข์ ล ดลง สุ ข ที่ ป ะปนมากั บ อุ เ บกขา สุ ข ทุ ก ข์ นั้ น มี อ ยู ่
เราไม่หลง ตอนนี้จะเห็นอย่างนี้ ต่อไปเราจะเห็นว่ารูปนามสังขารของเรานี่มันหายไป
ท�ำไปแล้วมันหาย โดยมากหัวไม่หาย จะหายท่อนล่าง ขาไม่มี แขนไม่มี แต่รู้อาการ
198 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

พองยุบอยู่ นี้เป็นอ�ำนาจของสมาธิที่เกิดขึ้น บางคนบอกว่าตัวเบา ตัวลอย นึกว่าไม่มี


ตัวมีตน พองหนอยุบหนอนี่ก็เหมือนกัน พอก�ำหนดพองหนอ ยุบหนอ เขาก็พองออก
ไปยาว ๆ แต่ไม่รู้จะก�ำหนดอะไร บางทีก�ำหนดยุบหนอ เขาก็ยุบไปมาก ๆ หลาย ๆ
ครั้ง พอง ๆ ๆ ออกไป เราไม่ต้องไปก�ำหนดมัน ให้เราก�ำหนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ รู้อะไร
รู้สภาวธรรม รู้อาการของเขาที่เกิดขึ้น บางทีก็ขาเราหายไป เราก็ก�ำหนด รู้หนอ ๆ ๆ
ถ้ า ขาของเราหายจริ ง เราก็ เ ดิ น ไม่ ไ ด้ บางคนแอบลื ม ตาดู เ ล็ ก น้ อ ย ขายั ง อยู ่ รึ เ ปล่ า
นั่นคือสภาวธรรม ไม่ใช่มันหายจริง พองยุบเขาจะหายหรือไม่หาย ก็ รู้หนอ ๆ ๆ ให้
เราดึงเข้ามาสู่ธรรมะ รู้ความไม่เที่ยง ในความที่ว่าเห็นความไม่เที่ยงของสังขารนี้ ไม่ใช่
เราพูดเอา เราเห็นจริง ๆ มันจะเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นมาให้เราเห็น นี้เราเห็นธรรมะ
ใครท�ำก็ เ ห็ น ผู ้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ท�ำก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ห็ น นี่ คื อ เห็ น ธรรม ไม่ ไ ด้ เ ห็ น อย่ า งอื่ น เห็ น
สภาวธรรมที่มันเกิดอยู่อย่างนี้ นี่เรียกว่า เราเห็นธรรม เรารู้ธรรม เห็นของใคร เห็น
ของเรา รู้ของเรา จะให้คนนั้นรู้มาให้คนนี้ก็ไม่ได้ จะให้คนนี้รู้ไปให้คนนั้นก็ไม่ได้ จะไป
บอกไปสอนกันก็ไม่ได้ เพราะเขาไม่เป็น เราท�ำเราก็เป็นคนเดียว รู้คนเดียว เป็นปัจจัตตัง
รู้ได้เฉพาะตน อย่างนี้แหละ
ผู ้ ที่ เ ห็ น นิ มิ ต แสงสี เห็ น ญาติ พี่ น ้ อ ง เห็ น อะไรที่ ป รากฏมาให้ เ ห็ น ในลั ก ษณะนี้
เรียกว่าเห็นนิมิตที่เกิดขึ้น บางทีก็เห็นเป็นแสงไฟสว่าง ทางด้านจิตใจก็สงบเป็นสุข นิมิต
ก็เกิด พระพุทธเจ้าตรัสว่านิมิตไม่ใช่เป็นของดี เป็นเพียงอุปกิเลส ยังอยู่ ธรรมที่ต้องได้
ยังอยู่ไกล ยังไม่ถึง ผู้ที่เห็นอย่างนั้น เขาจะแยกออกทางอิทธิฤทธิ์ ทางเครื่องรางของขลัง
แยกออกไปทางท�ำน�้ำมนต์ ถ้ามาตกญาณนี้ก็แยกออกไปได้ เขาจะมีวิธีการที่จะแยก
ออกไป คือไปเพ่งในอารมณ์นั้น เมื่อธันวาคมที่ผ่านมานี่ พระเขามาเล่าให้ฟังว่า มีอะไร
ที่เขาท�ำ เขาจะมาแยกที่ตรงนี้ จะเป็นนิมิต จะเอาดวงแก้ว เอาพระพุทธรูปก็ได้มาเพ่ง
แล้ ว ก็ เ พ่ ง ไปได้ ห ลาย ๆ อย่ า ง ตามที่ เ ขาต้ อ งการ จะไปดู ส วรรค์ นรก จะเห็ น พระ
ธาตุเกศแก้วจุฬามณี เขาก็ไปได้มาแยกที่ตรงนี้ แต่ถ้าการปฏิบัตินี้ไม่ได้อยู่ในอาจารย์
ที่ควบคุม เขาจะออกที่ตรงนี้ ในญาณที่ ๓ นี้ เห็นรูปนามชัดเจน สภาวธรรมก็ชัดเจน
เดิ น นี่ ข าดเป็ น ท่ อ น ๆ เกิ ด นิ มิ ต เกิ ด เป็ น อิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ขึ้ น นึ ก ว่ า เราได้ บ รรลุ ธ รรม
แท้ ที่ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ เป็ น เพี ย งอุ ป กิ เ ลสเท่ า นั้ น ไม่ ใ ช่ เ ป็ น หลั ก ธรรมที่ แ ท้ จ ริ ง จะเอาทาง
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 199

เครื่องรางของขลัง ปลุกเสกก็ได้ แต่ไม่ใช่ทางที่จะบรรลุมรรคผล ตรงนี้เรายังไม่เข้าใจ


เรายังจะหาเครื่องรางของขลังต่าง ๆ สมมติว่าพวกที่ได้เครื่องรางของขลัง ยิงไม่ออก
ฟันก็ไม่เข้า แทงก็ไม่เข้า พวกนี้ไปเป็นนักเลงอันธพาลไปปล้นไปฆ่าเขา เขาก็สู้ไม่ได้
มันออกไปทางนั้น แล้วสุดท้ายก็ไปนรก เป็นบาปเป็นกรรมสร้างอกุศลกรรมไม่ดี ถ้า
ไม่อยากเป็นทุกข์ ไม่อยากจะตกนรกเป็นเปรตอสุรกายก็ต้องปฏิบัติต่อไป เป็นการปิด
ประตูอบายภูมิทั้ง ๔ ปฏิบัติตามแนวนี้จึงจะได้ ถ้ายังคิดว่าอยากจะมีเครื่องรางของขลัง
มีฤทธิ์มีเดช สมัยพุทธกาลก็มีพวกฤาษีชีไพรทั้งหลายก็ได้อาจารย์สัญชัย อาจารย์ที่สอน
สมัยพุทธกาลก็สอนอยู่แต่ไม่ได้พ้นทุกข์ มันยังติดอยู่ในวัฏสงสาร พระพุทธเจ้าหาวิธี
ที่จะพ้นทุกข์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติออกมาได้ ๓ วัน ฤาษีมาเยี่ยมท�ำนายว่า ท่านจะ
เป็นคนที่มีบุญมาก จะได้เป็นพระพุทธเจ้า เสียดายที่เราแก่แล้ว ไม่มีโอกาสที่จะได้
ฟั ง เทศน์ ฟ ั ง ธรรม นึ ก ไปนึ ก มาแล้ ว ก็ เ ลยร้ อ งไห้ มั น เสี ย โอกาสของเรา ที่ เ ราบ�ำเพ็ ญ
อยู่ก็ได้เป็นสมถกรรมฐาน ได้ฌาน ถ้าเราตายแล้วไปเกิดเป็นพรหม จะกลับมาดู มาฟัง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ไม่ได้ จะมาเอาพระธรรมค�ำสั่งสอนนี้ไม่ได้ เพราะไปเกิดเป็น
พรหมไม่มีโอกาส ก็เลยนึกเสียใจร้องไห้ พูดมาถึงพวกเรา ยังมีโอกาส ค�ำสอนยังมี นี่คือ
โอกาส
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าพเจ้าจะนั่งลงที่นี่ ถ้ายังไม่ได้บรรลุสัมโพธิญาณจะไม่ลุกขึ้น
บ�ำเพ็ ญ เพี ย รทางจิ ต ก�ำหนดรู ้ รู ป รู ้ น าม รู ้ สั ง ขารของเจ้ า ของนี้ แ หละ พิ จ ารณาอยู ่
ท่านเรียนมาแล้วจากอาจารย์ทั้ง ๒ คือ อุทกดาบสและอาฬารดาบส เรียนวิธีนั้นมาแล้ว
แต่ไม่ใช่ทางบรรลุ จึงมาบ�ำเพ็ญเพียรทางจิต คือท�ำจิตให้ผุดผ่องปราศจากกิเลสเครื่อง
มัวหมอง ถึงขนาดนั้นก็ยังเกิดขึ้นมาว่า จะเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือจะเอาพระเจ้า
จักรพรรดิ คิดไปคิดมา พระเจ้าจักรพรรดิที่มีช้างแก้ว ม้าแก้ว หญิงแก้ว เป็นบริวาร
ไปไหนมาไหนสะดวก พม่าก็เขียนต�ำรานี้ไว้ อินเดียก็เขียนไว้ เขาต้องการอะไรก็ได้
พระพุทธเจ้าไม่ต้องการ เพราะไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้อีก จึงหันมา
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้
ที่เรามาปฏิบัตินี้ ก็ขอให้ไม่ประมาท คือไม่ให้คิดไปว่า ปฏิบัติเวลาใดก็ได้ ที่ไหน
ก็ได้ มีอยู่ในเมืองไทยเรานี้เยอะแยะ นี่คือยังประมาทอยู่ มีนิสิตปริญญาโทคนหนึ่ง
200 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เขาบอกว่ า ยั ง ไม่ อ ยากปฏิ บั ติ ยั ง ไม่ อ ยากบรรลุ เพราะเกิ ด อี ก ๗ ชาติ นี้ มั น น้ อ ยไป


เขาอยากอยู ่ โ ปรดคนอื่ น ให้ ม าก ๆ นี่ คื อ ประมาท ถ้ า เผื่ อ ว่ า ไม่ ไ ด้ ม าเกิ ด เป็ น คนล่ ะ
เป็นสัตว์เดรัจฉานจะรู้เรื่องอะไร ๕๐๐ ชาติ มาเกิดเป็นไก่ ก็ถูกเขาเชือดคอทุกชาติ
มันจะเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้ามองเห็นอย่างนี้จึงไม่อยากเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อสู้กัน
จนจะสว่ า งจึ ง ได้ บ รรลุ ตรั ส รู ้ เ ป็ น พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ฉะนั้ น ศาสนานี้ จึ ง ไม่ ใ ช่
ศาสนาที่ว่า ไม่มีปัญญา ผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ผู้ไม่มีปัญญา
ก็ยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติผู้ปฏิบัติ ต้องเชื่อครูบาอาจารย์ ถ้าไม่เชื่อก็ติด ติดอยู่อย่างนี้
เชื่ออยู่แต่ไม่หยั่งลงลึกในข้อธรรมะ มีอุปกิเลสมาก ๆ ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะรู้ ต้องท�ำ
ความเพียรทั้งกลางวันทั้งกลางคืนให้ได้ติดต่อกัน
ที่เรามากันนี้ วันนี้กลับไปแล้วเราก็ท�ำไปให้เป็นวสี ให้มันติดเนื้อติดตัวเอาไว้ เรา
จะได้นึกถึงที่เราท�ำนี้ เรามาปฏิบัตินี้ถึงญาณแค่ไหน อย่างใด บางคนเล่าไม่ละเอียดก็ไม่รู้
ที่ตัวเรานี้ได้อยู่ ได้ทั้งในชาตินี้ ชาติหน้าก็อยู่อย่างนั้น เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรา
บันทึกไว้ นานแค่ไหนมากดดู มันก็ยังอยู่
มีค�ำถามว่า ท�ำไมบางคนเพียงแค่มาฟังเทศน์ไม่กี่ค�ำก็ได้บรรลุ อันนั้นของเขา ที่เขา
บ�ำเพ็ญมาแล้วแต่ในชาติปางก่อนโน้นของเราก็อย่าไปประมาทว่าเราได้น้อย มันก็บันทึก
เอาไว้อยู่ คุณงามความดีที่เราท�ำที่เราบ�ำเพ็ญที่เราปฏิบัตินี้ มันยังอยู่ ไม่ได้หายไปไหน
ไฟก็ไม่ไหม้ น�้ำก็ไม่ท่วม ใครมาแย่งมาปล้นสดมภ์ของเราไปไม่ได้ มันเป็นของเราเองที่เรา
จะต้องได้ มีอยู่ เราต้องท�ำความเพียรเอา ถ้าเราอยากจะได้มากเราก็ต้องส�ำรวมให้ได้
มาก ๆ ส�ำรวมอะไร ส�ำรวมตาหู หู ไ ด้ ยิ น เสี ย ง ก็ ได้ ยิ น หนอ ๆ ๆ จมู ก ได้ ก ลิ่ น ก็
กลิ่นหนอ ๆ ๆ ลิ้นลิ้มรสก็ รสหนอ ๆ ๆ อันนี้ผิดก็มีนะ ไอ้ข้อผิดก็มี ได้ยินเสียงไก่
เสียงไก่หนอ ๆ ๆ ไอ้นี่เป็นสมมุติบัญญัติ แต่เราไม่ได้เอาอย่างนั้น เราจะเอาอารมณ์
ปรมัตถ์ เราก็ได้ยินหนอ ๆ ๆ จะเป็นเสียงอะไรก็ตาม อยากบอกว่า อารมณ์ปรมัตถ์
กับอารมณ์บัญญัติมันต่างกัน คือ ถ้าเราไปใส่บัญญัติเข้าไปมันก็เป็นบัญญัติ อย่างไฟนี้
มันร้อน ไฟนี้เป็นชื่อภาษาของเรา ภาษาไทยเราถ้าเป็นภาษาเขมร ภาษาส่วยก็พูดไปอีก
อย่างหนึ่ง ภาษาเจ๊ก ภาษาจีนก็พูดไปอีกอย่างหนึ่ง ไฟนี้อารมณ์ปรมัตถ์ของมันมีอยู่
คืออะไร ปรมัตถ์ของมันคือความร้อน ใครไปจับมันก็ร้อน ร้อนทั้งนั้น เจ๊กไปจับก็ร้อน
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 201

ไทยไปจับก็ร้อน ถ้าเราใส่สมมุติบัญญัติเข้าไป คนไทยก็บอกว่า ไฟร้อน เขมรจะพูด


อย่ า งไรก็ อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ฉะนั้ น ที่ เ ราก�ำหนดนี้ จึ ง เอาอารมณ์ ป รมั ต ถ์ ตาได้ เ ห็ น รู ป
หูได้ยินเสียง แม้แต่พองยุบที่อยู่ในร่างกายเรานี้ ท้องพองหนอ ท้องยุบหนอ หูได้ยิน
เสียงหนอ เป็นบัญญัติ อารมณ์ปรมัตถ์คืออารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่บัญญัติ เราลอง
นั่งพิจารณาดูก็ได้ว่านี่อารมณ์ปรมัตถ์ นี่อารมณ์บัญญัติ พองหนอ ยุบหนอ นี่เป็นอารมณ์
บั ญ ญั ติ รึ สมมุ ติ เ อา คิ ด เอารึ มั น ไม่ ใ ช่ มั น มาตั้ ง แต่ ก ่ อ นที่ เ ราท�ำกรรมฐาน มั น มา
ตั้ ง แต่ อ อกจากท้ อ งแม่ ม า เป็ น อารมณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เอง เราท�ำวิ ป ั ส สนาแรก ๆ มั น จะ
เป็นอารมณ์บัญญัติ แต่มันจะเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ขึ้นมาต่อเมื่อเราเข้าใจแล้ว ฉะนั้น
สิ่งต่าง ๆ ที่เราก�ำหนด เราท�ำนี้ บางทีเราก็เอาสมมุติ บางทีเราก็บัญญัติ บางทีเราก็ไม่ได้
เอา มันจะลบล้างไปเองเมื่อญาณสภาวะขึ้นสูงแล้ว แต่ในเบื้องแรกก็จะเอาสมมุติบัญญัติ
อยู่บางอย่าง ไม่ใช่ทั้งหมด ที่จะรู้ธรรมเห็นธรรมนั้นจะเป็นอารมณ์ของปรมัตถ์ไม่ใช่
อารมณ์บัญญัติ
คือแรก ๆ จะอย่างนี้ จะให้พูดเข้าใจเลยทีเดียวมันพูดยาก อย่างที่เราเดินแรก ๆ
เราก็จะเป็นอารมณ์บัญญัติ แต่อยู่ไป ๆ เขาจะรู้ไปเอง เขาจะท�ำไปเองของเขา จะก�ำหนด
หรือไม่ก�ำหนด ก็จะรู้เท่าทันอารมณ์สภาวะนี้อยู่ จะพูดให้เข้าใจอย่างที่พระพุทธเจ้าเทศน์
เขาได้บรรลุธรรม อันนี้มันละเอียด พูดยากพูดไม่ค่อยเข้าใจ ต้องท�ำเอง ต้องค่อย ๆ
ท�ำไป มันจะเห็นเอง รูเ้ อง ไม่ใช่วา่ ฟังแล้วจะเข้าใจได้เลย แต่เป็นข้อทีว่ า่ ควรจะเข้าใจเอาไว้
ควรเข้าใจเอาไว้ว่า เรานี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์หรือเป็นอารมณ์บัญญัติ หรือว่าเป็นสมมุติ
หรื อ ว่ า เป็ น บั ญ ญั ติ อั น นี้ เ มื่ อ ท�ำไปแล้ ว เราจะรู ้ เ อง เราจะเห็ น เอง อย่ า งที่ ว ่ า ผู ้ ที่
เดินจงกรมแรก ๆ ก็ให้เดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มันฟุ้งซ่านก็ขึ้นไประยะที่ ๒
ยกหนอ เหยี ย บหนอมั น ยั ง ฟุ ้ ง ซ่ า น อ้ า วระยะที่ ๓ ยกหนอ ย่ า งหนอ เหยี ย บหนอ
มั น ยั ง ฟุ ้ ง ซ่ า นก็ ขึ้ น ไประยะที่ ๔ ยกส้ น หนอ ยกหนอ ย่ า งหนอ เหยี ย บหนอ มั น ยั ง
ฟุ้งซ่านให้ขึ้นไปอีกเป็นระยะที่ ๕ ฉะนั้น นั่งก็เหมือนกัน ตอนแรกก็พองหนอ ยุบหนอ
นี่ มั น ยั ง เป็ น อารมณ์ บั ญ ญั ติ อ ยู ่ อ้ า วมั น ไม่ ไ ด้ (ฟุ ้ ง ซ่ า นอยู ่ ) ก็ ใ ส่ นั่ ง หนอ เข้ า ไป
นั่ ง ก็ ใ ห้ มั น เห็ น รู ป นั่ ง พองหนอก็ รู ้ ยุ บ หนอก็ รู ้ นั่ ง หนอก็ เ อาจิ ต มารู ้ มั น ไม่ รู ้ ง ่ า ย
ก็ ใ ห้ มั น รู ้ เ ฉพาะใบหน้ า นิ ด หน่ อ ยก็ ไ ด้ แต่ ถ ้ า มั น ไม่ ไ ป นาน ๆ เข้ า ก็ รู ้ ใ บหน้ า บางที
202 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ก็เห็นลงมาเพียงเท่านี้ อยู่ต่อมา ๆ ก็เห็นถึงท่อนล่าง แล้วก็เห็นรูปนั่ง ที่เราก�ำหนด


พองหนอ ยุ บ หนอ นั่ ง หนอ ก็ เ ห็ น อาการอย่ า งนี้ ไม่ ใ ช่ ท ่ อ งพองหนอ ยุ บ หนอ
นั่งหนอ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ อย่างนี้ไม่ถูก อยู่ต่อ
ไปจิตของเรานี้ยังกระสับกระส่ายอยู่ ท่านก็ให้ใส่ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ
ถูกที่ไหน ถูกที่ก้นย้อยข้างขวา อ้าว พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ถูกที่ก้นย้อย
ข้างซ้าย ย้ายไปถูกที่ตาตุ่ม ให้จิตมันไปรับรู้อารมณ์นั้น
พอถูกแล้วจิตของเราไปรู้ในอารมณ์ที่มันถูก ไม่ใช่ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ
ถู ก หนอ ถู ก หนอ ถู ก หนอ ถู ก ที่ นั่ น ถู ก ที่ นี่ ถู ก ทั้ ง หมด นั่ น ไม่ ใ ช่ แต่ ล ะครั้ ง เท่ า นั้ น
พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ ถูกที่ตรงนี้ พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ
ถู ก ที่ ต รงนี้ ย้ า ยไป อั น นี้ เ ขายั ง ไม่ เ ข้ า เป็ น อารมณ์ ป รมั ต ถ์ ต่ อ ไปจะปฏิ บั ติ ใ ห้ มี ญ าณ
ขั้นสูงขึ้นไปนี่ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
ไม่ ไ ปแล้ ว จิ ต เขาไม่ ไ ป ตรงนี้ จิ ต เป็ น อารมณ์ ป รมั ต ถ์ ย้ า ยไม่ ไ ปแล้ ว จะพู ด เท่ า ไร
ก็พูดไป แต่จิตไม่ไปแล้ว ถามว่า ไปมั้ย ไม่ไป เดินก็ได้แต่ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
เดินก็ได้แค่นี้ นี่คือจิตเป็นอารมณ์ของปรมัตถ์ มันจะมาอยู่แค่นี้ ถามองค์ที่ท่านเคยผ่าน
มานี่ ว ่ า จิ ต มั น ไปมั้ ย มั น ไม่ ไ ป ที นี้ นั่ ง ก�ำหนด พองหนอ ยุ บ หนอ นั่ ง หนอ ถู ก หนอนี้
ไม่เห็นเลย พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ นั่งหนอก็ไม่ได้ เลยมาได้แค่ พองหนอ ยุบหนอ
นั่นคือจิตเข้าสู่อารมณ์ของปรมัตถ์แล้ว มันเป็นอย่างนั้น ถ้าอยากได้ก็นั่งเข้าเรื่อย ๆ
เด้อ ท�ำเข้าให้มันถี่ ๆ ก็จะได้รู้ ได้เห็นสภาวธรรมนั้น ที่ท�ำนี้มันไม่ได้ง่าย เขาบอกว่า
กลิง้ ครกขึน้ ภูเขามันยังจะง่ายกว่า มาท�ำนี้ ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็ง ไม่เข้าใจแล้ว มันจะไม่คอ่ ยไป
ตอนนี้มันจะต้องส�ำรวมทุกสิ่ง อย่างคู้ เหยียด ก้ม เงย ดื่ม เคี้ยว ฉัน การฉันก็เกือบ
เป็นชั่วโมง เคี้ยวอาหารกว่าจะแหลก กว่าจะกลืนกินต้องช้า ๆ ถ้าไปตามอ�ำนาจของกิเลส
อยู่ก็ไม่มีทางที่จะได้เลย ต้องส�ำรวมระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ อยู่ตลอด ไม่ได้ไปไหน มาไหน
รู้ทุกอย่าง อย่างนี้จึงจะได้
มีสงสัยอะไรบ้างมั้ย เชิญญาติโยมถามได้..เทศน์จนได้บรรลุธรรมแล้วมั้ง (หัวเราะ)
ไม่มีท่านใดถาม เพราะฉะนั้นเราต้องเพียรไป ท�ำไป ไม่ใช่จะมาเอาเฉพาะในเวลานี้หรอก
ถ้าเรากลับไปบ้าน เราจะซักผ้า ซักผ่อน ถูบ้านก็ก�ำหนดได้ เราท�ำได้ทุกอย่าง แต่ให้มี
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 203

สติรู้เท่าทันสภาวะอารมณ์นั้นอยู่ก็ใช้ได้ คุณนายบรรจง ท่านคงจะตายไปนานแล้วล่ะ


ท่านไปท�ำกรรมฐานอยู่ที่วิเวกอาศรม เวลากลับไปบ้าน ท่านบอกว่าจะไปฝึกกรรมฐานใหม่
ก็ เ ลยไปเอาก้ อ นหิ น มา ๔-๕ ก้ อ น หยิ บ หนอ ยกหนอ วางหนอ หยิ บ หนอ ยกหนอ
วางหนอ หลานก็ถามว่า คุณยาย ๆ ท�ำอะไร คุณยายก็ว่า ท�ำกรรมฐาน แต่ท�ำไมมาหยิบ
ก้อนหินเล่น (หัวเราะ) นี้คือวิธีการฝึกกรรมฐานที่เรายังไม่ค่อยเข้าใจ เราต้องพยายาม
ที่จะฝึกไว้ เราต้องหัดท�ำไว้ ไม่ให้จิตเราไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ถ้าเผื่อว่าประเทศชาติ
บ้านเมืองของเรานี้ได้มีสมกับที่ว่า เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์
บางคนบอกว่า บุญบารมีไม่ให้ หรือไม่มีบุญ ไม่มีบารมีพอที่จะได้ปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐาน ตรงนี้ก็เข้าใจผิด เราได้เกิดเป็นมนุษย์ ร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง ก็เป็นโอกาส
อันดีของเราแล้วหนึ่ง สองเราได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เป็นของประเสริฐแล้ว แต่เรา
ไม่เอา อันนี้เราก็ไม่ได้ สามเราได้มาเข้าปฏิบัติ นี้เป็นยอดแล้ว แต่เราจะเพียรพยายาม
ได้แค่ไหนเท่านั้นเอง ได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้เอาหลักธรรม
ค�ำสอนนี้เข้าไปไว้ในจิตใจเราเลย เราก็เกิดมาเสียเปล่า หรือเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พบ
พระพุทธศาสนาแล้ว มีแต่การท�ำบุญท�ำทาน การท�ำบุญท�ำทานนี้ มันได้ส่วนน้อย ไม่ได้มาก
แต่ปฏิบัตินี้จะได้มากกว่า ๒ เท่า ๓ เท่า เพราะเราท�ำจิตใจของเราให้หมดจด นี้คือ เราได้
แต่ถ้าเราไม่ได้อย่างนั้น มาถึงพระพุทธศาสนาของสมณโคดมนี้แล้วแต่เรายังไปปรารถนา
อย่ า งอื่ น ... ถวายสั ง ฆทานนี้ ขอให้ ไ ด้ พ บพระศรี อ ริ ย เมตไตรย ให้ ไ ด้ ฟ ั ง ธรรมของ
พระศรีอริยเมตไตรย นี้ผิดหรือถูก ผิดใช่มั้ย นี้เราพบพระพุทธศาสนาอยู่นี้ พระธรรม
ค�ำสั่งสอนก็มีอยู่นี่ ท�ำไมไม่เอา จะไปเอาโน่นจากพระศรีอริยเมตไตรย นี้มีอยู่ไม่เอา
ที่เรามาปฏิบัตินี้ก็เป็นเพียงเรามาสร้างสมอบรมเอาไว้ ได้น้อยได้มากก็แล้วแต่สติปัญญา
ของเราที่จะได้ เมื่อเราล่วงลับไปแล้วของนี่มันก็ยังอยู่ ไม่เสียหายไปไหน มันเป็นเครื่อง
คอมพิวเตอร์ติดอยู่ พอไปในชาติหน้า เราก็เพิ่มเติมเอาใหม่ ถ้าปรารถนาอยากไปพบ
พระศรีอริยเมตไตรย หรือหลาย ๆ องค์ปรารถนาพุทธภูมิ เราเกิดมาพบของท่านแล้ว
พบพระธรรมค�ำสอนของท่าน แต่เรากลับไปจะไปเป็นพระพุทธเจ้าเอง พูดง่าย ๆ เมื่อ
ไหร่ล่ะ ก็พระพุทธเจ้าบอกว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้มันแสนจะยาก
แสนที่จะล�ำบาก นี้เราจะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเอง ทั้ง ๆ ที่พระธรรมค�ำสั่งสอน
204 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

ก็หามาให้แล้ว มีอยู่แล้ว กลับไม่เอา จะไปคิดที่จะสร้างเอาเอง มรดกของพ่อตา แม่ยาย


มีก็ไม่เอาจะไปสร้างเอาใหม่ ไปถางป่าถางดงเอง ก็เสร็จเท่านั้นเอง ไม่ได้ง่ายหรอก ว่าไง
อยากจะเอากรรมฐานไปนอนด้วยก็ได้ คือก�ำหนด พองหนอ ยุบหนอ อันนั้นชัดเจนกว่า
ตายขณะที่ ท�ำกรรมฐานนี่ ดี ก่ อ นที่ จ ะตาย ก็ ใ ห้ ก�ำหนดพองหนอ ยุ บ หนอ พองหนอ
ยุบหนอเป็นอะไร เป็นกายานุปัสสนา พองหนอ ยุบหนอ เป็นสติรู้ทั่วในร่างกายของเรา
ถึ ง จะตายก็ ไ ม่ ต กนรก หลั บ ไปก็ เ หมื อ นกั น พองหนอ ยุ บ หนอ หลั บ ไปก็ ไ ม่ เ ป็ น การ
ฝันร้าย จิตใจก็บริสุทธิ์ดี ถึงจะนอนไม่ตื่นเลย มันไปซะเลย แล้วไป ไม่ได้ไปสู่อบายภูมิ
ท่านว่าอย่างนั้นนะ มีคนมาบอกว่า ผมปฏิบัติได้ดี พอนอนแล้วมาบอกว่า เมื่อคืนนี้
ฝันอย่างนั้นอย่างนี้ นี้เอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานไม่ได้ จิตเข้าสู่ภวังค์แล้ว หลับไปแล้ว
จะเอาอารมณ์อันนั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐานไม่ได้ อารมณ์กรรมฐานจะต้องประกอบ
ด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวอยู่เสมอ ๆ คู้ เหยียด ก้ม เงย กิน ดื่ม เคี้ยว ฉัน พองหนอ
ยุบหนอ จะต้องก�ำหนด ต้องรู้ทั่ว จะเอาความฝันมาเป็นอารมณ์กรรมฐานไม่ได้ อันนี้
เข้าใจนะ
แล้ ว ที่ ป รารถนาอยากพบพระศรี อ ริ ย เมตไตรยก็ เ หมื อ นกั น ตราบใดที่ ยั ง มี
ผู้ปฏิบัติอยู่ก็ถือว่ายังรักษาพระพุทธศาสนาได้อยู่ รักษาพระธรรมค�ำสั่งสอนเอาไว้ได้อยู่
แต่ถ้าพวกเราไม่ได้มาปฏิบัติก็ชื่อว่าพวกเราไม่ได้รักษาพระธรรมค�ำสั่งสอนนี้เอาไว้ โอกาส
ภายภาคหน้าลูกหลานเขาจะรู้หรือ พระสงฆ์ก็เหมือนกันถ้าไม่ปฏิบัติน�ำเอามาเผยแผ่
แก่ ป ระชาชนก็ ชื่ อ ว่ า ไม่ ไ ด้ รั ก ษาพระพุ ท ธศาสนา ไม่ ไ ด้ รั ก ษาพระธรรมค�ำสั่ ง สอนนี้
เอาไว้ให้มั่นคง อยู่ที่เรามาท�ำนี่เราได้ทั้งบุญได้ทั้งกุศล คือ เราได้รักษาพระพุทธศาสนา
เอาไว้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นี่เรารักษาพระธรรมค�ำสั่งสอนเอาไว้ แต่ถ้า
พวกเราเมิ น เฉย ไม่ ท�ำ ไม่ ป ฏิ บั ติ มั น ก็ ห าย อาตมาไปเขมร เขาจะมาห้ อ มล้ อ ม เขา
อยากจะท�ำกรรมฐาน เขาอยากจะได้วิปัสสนากรรมฐาน ที่เขาก�ำหนดอยู่ก็มีแต่พุทโธ
ประเทศลาวก็เหมือนกันได้อยู่แต่พุทโธ เราก็ได้มาจากพม่า ก็เป็นอย่างนั้น ที่ได้มาจาก
เขมรก็มี แต่เป็นเพียงสมถกรรมฐาน ที่เราได้มาปฏิบัตินั้นเป็นโอกาส เป็นโชคมหาศาล
อย่างหาที่เปรียบไม่ได้ที่ เ ราได้ เ ป็ น มนุ ษ ย์ พบพระพุ ท ธศาสนา ได้ รั ก ษาพระธรรมค�ำ
สั่งสอนนี้ไว้ ได้รักษาข้อวัตรปฏิบัติทุกอย่างเอาไว้ นี้เป็นโอกาส เป็นโชคของพวกเราที่ได้
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 205

ที่ท�ำ ที่เราจะอยากอวดฤทธิ์อวดเดชนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน แม้แต่จะพูดพระองค์


ก็ไม่สรรเสริญ
มีค�ำถาม...(ไม่ได้ยิน) อาตมาไม่ได้เป็นพระอรหันต์กับเขาก็ไม่รู้ พูดตรง ๆ เป็น
อะไร เอาอย่างนี้ผู้ที่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็รู้ในพวกของตนที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาด้วยกัน
ผู้ที่เป็นโสดาบันก็จะรู้ในอาการของผู้ที่เป็นพระโสดาบันด้วยกัน ผู้ที่ได้บรรลุสกทาคามี
ก็รู้ได้เฉพาะผู้ที่บรรลุสกทาคามีด้วยกัน ผู้ส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็รู้ได้ในผู้ที่ได้อรหันต์
ด้ ว ยกั น ท�ำไมเป็ น พระโสดาบั น ก็ รู ้ เ ฉพาะพระโสดาบั น ด้ ว ยกั น เป็ น พระอรหั น ต์ ก็ รู ้
ได้เฉพาะผู้ที่เป็นพระอรหันต์ด้วยกัน นี้คือข้อวัตรปฏิบัติ เขาจะรู้ได้ส�ำหรับผู้ที่บรรลุธรรม
นัน้ ถ้าเขายังไม่ได้บรรลุธรรมนัน้ เรามองไม่รู้ ทีอ่ ยูด่ ว้ ยกัน ทายกจะไปถวายทาน ตอนนัน้
พระพุ ท ธเจ้ า ยั ง มี พ ระโมคคั ล ลานะ พระสารี บุ ต รครบอยู ่ ทายกอยากท�ำสั ง ฆทาน
จะเข้าไปนิมนต์ พระอรหันต์แต่โยมไม่รู้ ยังไม่เข้าใจพระอรหันต์ เพราะโยมยังไม่ใช่
พระอรหันต์พระอรหันต์เต็มวัดพระเชตวันอยู่นั่น จะไปหาองค์ใดที่เป็นพระอรหันต์ก็ไม่รู้
แท้ที่จริงมีแต่พระอรหันต์ แต่ไม่ได้เข้าใจ เพราะไม่ได้เป็นกับเขา เพราะฉะนั้นจึงรู้ไม่ได้ว่า
องค์ไหนเป็นพระอรหันต์
ถามว่ า พระพุ ท ธเจ้ า เคยนอนมั้ ย พระอรหั น ต์ ทั้ ง หลายจะไม่ มี อุ ป กิ เ ลสเข้ า มา
มัวหมอง การง่วงเหงาหาวนอนไม่มี แต่การพักผ่อนนั้นมีอยู่ หมายถึง เวลาที่มันเคย
พักผ่อน ก็พักผ่อน พระอรหันต์ท�ำไมยังต้องฉันข้าวอยู่ ยังต้องบิณฑบาตอยู่ เพราะท่าน
ยังต้องบ�ำรุงเลี้ยงสังขารตัวนี้อยู่จนกว่ามันจะดับไป จนกว่ามันจะหมดไป พระพุทธเจ้า
ก็ไปบิณฑบาต พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไปบิณฑบาต เอามาบ�ำรุงเลี้ยงสังขารร่างกายนี้
แต่ที่จริงกิเลสมันไม่มีอยู่ ยังมีความหิวอยู่ ท่านบ�ำรุงร่างกายเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
มีแค่นี้แหละ ไม่ต้องพูดมาก เข้าใจนะ ให้รู้อย่างนี้
อาตมาบรรยายมาพอสมควร ท้ายที่สุดนี้ อาตมาขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงมาเป็นที่พึ่งปกปักรักษาท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลาย
จงเป็นผู้เจริญด้วยธรรม ให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผลไม่ช้าไม่นานนี้เถิด ทุกท่านทุกคน
เทอญ.
206 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 207
208 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 209
210 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

เหง่งหง่างระฆังขาน กังสดาลเพราะจับใจ
ชุ่มชื่นรื่นหทัย แว่วส�ำเนียงเสียงพระธรรม
สุขทุกข์ประมวลมี ท่านน�ำชี้ทางเลิศล�้ำ
กายใจให้น้อมน�ำ ละเว้นชั่วทุกตัวคน
สาวกพระศาสดา สืบศาสน์มาชั่วสากล
พระครูศาสนกิจวิมล สั่งสอนศิษย์จิตอารี
๙๐ วรรษาถึึง ศิิษย์์ตราตรึึงซึ้้�งฤดีี
หลวงปู่ผู้มากมี เมตตาธรรมน�ำจิตใจ
ผิดถูกปลูกส�ำนึก มั่นเพียรฝึกตรึกตรองไป
ปฏิบัติธรรมอันอ�ำไพ จะน�ำสุขทุกครัวเรือน
ส�ำนักวิปัสสนา ตั้งนานมาหลายปีเดือน
สุขใจหาใดเหมือน ผู้ใหญ่เห็นเป็นส�ำคัญ
เป็นที่ปฏิบัติ ประจ�ำจังหวัดศรีสะเกษนั้น
หทัยตั้งใจมั่น ส่งผลยิ่งมิ่งมงคล
วัดหนองเชียงทูนสวย ญาติโยมช่วยอ�ำนวยผล
หลวงปู่ท่านแยบยล สอนให้รู้ดูให้เป็น
ผองศิษย์อัญชลี คุณความดีเคยบ�ำเพ็ญ
กายใจได้ละเว้น ไม่ท�ำชั่วสิ่งมัวเมา
น้อมถวายแด่หลวงปู่ พระคุณครูตรึงใจเรา
สอนให้ไม่โง่เขลา ศิษย์ทั้งผองซ้องบูชา

อุดมพร คัมภิรานนท์
ครูช�ำนาญการ
โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 211

เจ้้าภาพผู้้�ร่่วมบุุญพิิมพ์์หนัังสืือ
อายุุวััฒนมงคล ๙๐ ปีี ๖๙ พรรษา
หลวงปู่่�พระครููศาสนกิิจวิิมล (หนููพัันธ์์ อิิสฺฺสโร)

๑. พระครููปริิยััติิเมธาจารย์์ ๑๙,๙๙๙ บาท


๒. พระปลััดปรีีชา คนฺฺธโก ดร. ๘,๘๘๘ บาท
๓. พระมหาสมศัักดิ์์� สุุขุุมาโล (ปธ.๙ ) ๕,๒๐๐ บาท
๔. พระวิิเชีียร ปญฺฺาวโร (ชลชาติิภิิญโญ) ๓,๙๐๐ บาท
๕. พระมหาอำำ�นาจ ชยวุุฑฺฺโฒ ๓,๐๐๐ บาท
๖. พระครููศรีีนิิคมพิิทัักษ์์ วิิ. ๒,๐๐๐ บาท
๗. พระมหาธีีรยุุทธ์์ ขนฺฺติิโก ๒,๐๐๐ บาท
๘. พระมหาสง่่า เตชธมฺฺโม ๒,๐๐๐ บาท
๙. พระเสถีียร ฐานิิสฺฺสโร ๑,๓๐๐ บาท
๑๐. พระเกีียรติิโสภณ โสภณจิิตฺฺโต ๑,๐๐๐ บาท
๑๑. พระครููสัังฆรัักษ์์ไพบููล ปญฺฺานนฺฺโท ๑,๐๐๐ บาท
๑๒. พระนเรศ มะลิิวััลย์์ ๑,๐๐๐ บาท
๑๓. พระปริิพััฒน์์ ปริิปุุณฺฺโณ ๙๗๕ บาท
๑๔. พระธนิิสร วิิมลพโล (วงษ์์พิิมล) ๖๕๐ บาท
๑๕. พระครููปลััดพิิเชษฐ์์ วิิชฺฺชาธโร (ไทยปราณีีต) ๖๕๐ บาท
๑๖. พระมหาสมเดช านวิิโล (หาญกุุดตุ้้�ม) ๖๕๐ บาท
๑๗. พระสุุบิิน กมโล ๖๐๐ บาท
๑๘. พระเตีียง ติิกฺฺขวีีโร ๖๐๐ บาท
๑๙. พระครููอรรถจริิยานุุวััตร ๕๐๐ บาท
๒๐. พระวาทิิต ภทฺฺทปญฺฺโญ ๕๐๐ บาท
๒๑. พระสมุุห์์จัักรพงษ์์ อริินฺฺทโม ๕๐๐ บาท
๒๒. พระฉััตรชััย สมนาโค, พ่่อทองบ่่อ-แม่่ลอย ไชยสัันต์์, นางนิิตยาพร้้อมครอบครััว ๕๐๐ บาท
๒๓. พระสมุุห์์กััมปนาท สุุขวฑฺฺฒโน ๕๐๐ บาท
๒๔. พระวีีรวิิชญ์์ จิิตฺฺตปญฺฺโ ๓๐๐ บาท
๒๕. พระคมสััน ตปสีีโล ๒๐๐ บาท
212 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

๒๖. พระรุ่่�งโรจน์์ มงฺฺคโล ๒๐๐ บาท


๒๗. เณรป้้อง-เณรเก้้า ๒๐๐ บาท
๒๘. พระคำำ�ระวีี สุุธมฺฺโม ๑๒๐ บาท
๒๙. พระคำำ�พัันธ์์ สีีลเตโช ๑๐๐ บาท
๓๐. พระสมยศ านปญฺฺโ ๑๐๐ บาท
๓๑. พระพชร อนุุตฺฺตโร ๑๐๐ บาท
๓๒. คุุณพ่่อสงวน คุุณแม่่วิิไลพร พิิทัักษ์์สิิทธิ์์�
พร้้อมบุุตร ธิิดา เขย สะใภ้้ และหลาน ๆ ๑๓,๓๐๐ บาท
๓๓. คุุณพรทิิพย์์ แสงเถกิิง ๑๓,๐๐๐ บาท
๓๔. หลวงพ่่อธรรม, คุุณเปมิิกา, คุุณกัันยรัันทร์์,
คุุณกนิิษฐริินทร์์ รุุจิิพรชลิิตกุุล, คุุณแม่่สุุดา เชื่่�อมด่่านกลาง ๑๐,๐๐๐ บาท
๓๕. บริิษััท แสงรุ่่�งกรุ๊๊�ป จำำ�กััด ๑๐,๐๐๐ บาท
๓๖. ครอบครััวฉััตรเลขวนิิช ๑๐,๐๐๐ บาท
๓๗. คุุณธนกฤช ฉััตรเลขวนิิช ๑๐,๐๐๐ บาท
๓๘. คุุณนงกนก ฟื้้�นชมภูู และครอบครััว ๖,๕๐๐ บาท
๓๙. คุุณกานต์์สิินีี จัันทร์์วิิภาดิิลก ๕,๐๐๐ บาท
๔๐. คุุณดารััตน์์ ตรููทััศนวิินท์์ พร้้อมครอบครััว ๔,๐๐๐ บาท
๔๑. คุุณแม่่ ผ่่องศรีี ชื่่�นสััมพัันธ์์, คุุณแม่่ นิิตยา ศุุภรััตน์์วานิิชย์์, อััยการ ชลธิิชา
ศุุภรััตน์์วานิิชย์์ ชื่่�นสััมพัันธ์์, นาวาเอก (พิิเศษ) ศรััณย์์ ชื่่�นสััมพัันธ์์ ร.น. ๓,๒๕๐ บาท
๔๒. คุุณชลทิิชา ชื่่�นจิิตร ๓,๐๐๐ บาท
๔๓. ผศ.ดร.ทััศนีีย์์ เจนวิิถีีสุุข ๓,๐๐๐ บาท
๔๔. คุุณสิิริิพร ไชยนอก พร้้อมครอบครััว ๓,๐๐๐ บาท
๔๕. คุุณบุุญทิิน-คุุณณััฐสุุดา คิิดไร ๒,๐๐๐ บาท
๔๖. คุุณพิิสิิทธิ์์� คุุณวัันเพ็็ญ ลีีลาสถาพรกิิจ และครอบครััว ๒,๐๐๐ บาท
๔๗. คุุณแม่่วิิจิิตร คุุณสุุภาภรณ์์ กลิ่่�นขจร และครอบครััว ๒,๐๐๐ บาท
๔๘. คุุณหนููกััน วงษ์์สุุวรรณ์์ และครอบครััว ๑,๙๕๐ บาท
๔๙. คุุณสุุวดีี วงษ์์สุุวรรณ ์์ ๑,๙๕๐ บาท
๕๐. คุุณธรรศพงศ์์ ธนวััฒนสถิิตย์์ ๑,๙๕๐ บาท
๕๑. ด.ญ.ปฏิิจจพร ศรีีสุุวรรณ์์และครอบครััว ๑,๙๕๐ บาท
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 213

๕๒. พนัักงาน บริิษััท ธนาภััทร์์ ฟู้้�ด จำำ�กััด ประกอบด้้วย คุุณรััตน์์วดีี ภู่่�สวััสดิ์์�,


คุุณแตน กายขุุนทด, คุุณสุุธาสิินีี หอกขุุนทด, คุุณวิิไล วงศ์์สาลีี, คุุณวรากร ศุุภกิิจ
คุุณปััทมา มีีคุุณ, คุุณชญาดา พิิมสอน, คุุณนุุชรีีย์์ บานแย้้ม, คุุณภััทรพร..เดชสิิงห์์,
คุุณสุุนิิศา ยอดวิิญญููวงศ์์, คุุณธนารีีย์์ แพรสาหร่่าย, น.สแก้้วตา..บััวเทศ,
คุุณศิิโรรััตน์์ ทองกลาง, คุุณมาริิสา วรรณกููล, คุุณอารีีรััตน์์ พงษ์์พรรณ, คุุณกััลยา
เสารางทอย, POLIN THAING, คุุณอวยพร มหาเกตุุ, คุุณยุุพา โกธาตุุ, PHY SO
PHON, SAMOEURN CHORG, POLY THANG, คุุณสุุวิิมล หาญนา ๑,๖๒๕ บาท
๕๓. คุุณแม่่อารีีย์์ พรมหนูู, น้้าจำำ�เนีียร พรมหนูู พร้้อมลููกหลานญาติิมิิตร ๑,๕๐๐ บาท
๕๔. คุุณวิิชิิต คุุณเพ็็ญศรีี วููวงศ์์ พร้้อมครอบครััว,
คุุณประเทืือง คุุณวลััยพร ปััญญา พร้้อมครอบครััว ๑,๓๐๐ บาท
๕๕. คุุณศิิลากร ก้้านแก้้ว และครอบครััว ๑,๓๐๐ บาท
๕๖. คุุณนิิคม และคุุณไพเราะ มงคลธง ๑,๓๐๐ บาท
๕๗. คุุณอุุดมพร คััมภิิรานนท์์ ๑,๐๐๐ บาท
๕๘. คุุณรุุจน์์ ทรงแสงธรรม และครอบครััว ๑,๐๐๐ บาท
๕๙. ครููศุุภลัักษณ์์ - ครููวรพจน์์ ชมโพธิ์์� ๑,๐๐๐ บาท
๖๐. คุุณอััญชลีี โชคสกุุลนิิมิิตร และครอบครััว ๑,๐๐๐ บาท
๖๑. อุุทิิศให้้นายวิิเชีียร - นางกนกพร - น.ส. อำำ�ไพ - นายมานิิตย์์ ปทุุมเจริิญผล ๑,๐๐๐ บาท
๖๒. คุุณอมรรััตน์์- คุุณสมชััย ปทุุมเจริิญผล ๑,๐๐๐ บาท
๖๓. คุุณถวิิล-คุุณภััควรััท มุ่่�งมีี และครอบครััว ๑,๐๐๐ บาท
๖๔. คุุณ อััญชส ชื่่�นจิิตร ๑,๐๐๐ บาท
๖๕. คุุณทิิพวรรณ เสริิมคุุณ ๑,๐๐๐ บาท
๖๖. น.ท.หญิิงวััชราภรณ์์ มหาวิิเศษศิิลป์์ และครอบครััว ๑,๐๐๐ บาท
๖๗. คุุณนรีีวััลคุ์์� ธรรมนิิมิิตโชค และครอบครััว ๑,๐๐๐ บาท
๖๘. คุุณลืือชััย วงค์์คลััง ๑,๐๐๐ บาท
๖๙. ครููหรรษา ครููหฤทััย กลีีบกมล ๑,๐๐๐ บาท
๗๐. คุุณธิิระพงษ์์ นิิพััทธ์์สััจก์์ ๑,๐๐๐ บาท
๗๑. คุุณวา หุุตุุปะพิิน และครอบครััว ๗๐๐ บาท
๗๒. ณััฐ&บอย ราชารถบ้้านพัังงา ๖๕๐ บาท
๗๓. คุุณวรรณลพ-คุุณหยาด เปีียชาติิ ๖๕๐ บาท
๗๔. คุุณปพัันรััชน์์ นิิธิิญาวีีฤทธิ์์� ๖๕๐ บาท
214 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

๗๕. คุุณจิิรวรรณ ตรีีวิิมลโอภาส และ ครอบครััว ๖๕๐ บาท


๗๖. คุุณละม่่อม นามใหญ่่ (ชลบุุรีี) ๖๕๐ บาท
๗๗. คุุณสีีชมภูู บุุตรสิินธุ์์� และครอบครััว ๖๕๐ บาท
๗๘. คุุณสุุภััทรา ศรีีสมบััติิ และครอบครััว ๖๕๐ บาท
๗๙. คุุณไพริินทร์์ คงมั่่�น และคุุณลลิิตาพร คงมั่่�น ๖๕๐ บาท
๘๐. คุุณนิิษฐ์์ณััฎฐา เลี่่�ยมมณีี, คุุณพลอยชนก รัักจรััสวงศ์์ ๖๕๐ บาท
๘๑. แม่่ชีีธีีรดา โนภิิชััย ๕๘๗ บาท
๘๒. คุุณนคพััชร์์ คำำ�จร ๕๘๕ บาท
๘๓. คุุณอารยา พลีีเพื่่�อชาติิ และครอบครััว ๕๘๕ บาท
๘๔. คุุณประหยััด-คุุณบุุญเรืือน สัันฐาน และครอบครััว ๕๐๐ บาท
๘๕. คุุณสมนึึก แก้้วเรืือง ๕๐๐ บาท
๘๖. คุุณลััดดาวััลย์์ ตวงสิิทธิิสมบััติิ ๕๐๐ บาท
๘๗. คุุณฐิิติิรััตน์์ สุุวรรณประเสริิฐ ๕๐๐ บาท
๘๘. คุุณแพรวพรรณ ทิิพย์์อาภร์์ ๕๐๐ บาท
๘๙. คุุณวรรษมณ บุุญโญปกรณ์์ และ Ms.Kim Sang Hee ๕๐๐ บาท
๙๐. คุุณสนธยา ชููวงศ์์เลิิศสกุุล คุุณธนิิสา อััศวรุุจานนท์์ ๕๐๐ บาท
๙๑. คุุณสมศัักดิ์์� - คุุณสมใจ - คุุณสุุกััญญา งามภัักดีีพานิิช ๕๐๐ บาท
๙๒. คุุณเดืือน รณทีี ๕๐๐ บาท
๙๓. คุุณพััชรีี รณทีี ๕๐๐ บาท
๙๔. คุุณประทุุม ทองบำำ�รุุง และครอบครััว ๕๐๐ บาท
๙๕. คุุณสุุภาพ ผลจัันทร์์ และครอบครััว ๕๐๐ บาท
๙๖. อาม่่าลุ้้�ย แซ่่ลิ้้�ม และครอบครััว ๕๐๐ บาท
๙๗. คุุณกรชนก ขาวประเสริิฐ และครอบครััว ๕๐๐ บาท
๙๘. jeniewan & her cats ๕๐๐ บาท
๙๙. คุุณพ่่อสุุวิิทย์์ คุุณแม่่ปรางค์์ ไวยสุุณีีย์์ แม่่ชีี ยุุพา กองชััยชนะ ๕๐๐ บาท
๑๐๐. ครอบครััวพลบุุตร ๕๐๐ บาท
๑๐๑. คุุณยุุวรีี ศรีีพลอย ๕๐๐ บาท
๑๐๒. คุุณพจนีีย์์ พััลลััพโพธิ์์� พร้้อมครอบครััว ๕๐๐ บาท
๑๐๓. คุุณสมศรีี ยงยุุทธ ๕๐๐ บาท
๑๐๔. คุุณศุุภกฤต เขีียวพิิลาป, คุุณชาณิิภา เตีียงจัันทร์์ ๕๐๐ บาท
พระครูศาสนกิจวิมล วัดหนองเชียงทูน จ.ศรีสะเกษ 215

๑๐๕. คุุณอััชฌา รััตนวงศ์์นรา และครอบครััว ๔๐๐ บาท


๑๐๖. แม่่ชีีสมจิิตร ธรรมโชติิ ๓๒๕ บาท
๑๐๗. คุุณปาริิญ เถื่่�อนถนอม ๓๒๕ บาท
๑๐๘. คุุณวรรณภา พลภาณุุมาศ ๓๒๕ บาท
๑๐๙. คุุณรวีีพร ใจวรรณ ๓๐๐ บาท
๑๑๐. คุุณธริิตตริิยา บุุญพััดส่่ง ๓๐๐ บาท
๑๑๑. คุุณธงชััย ถนอมสุุขไพบููลย์์ และครอบครััว ๓๐๐ บาท
๑๑๒. นพ.วิิสุุทธิ์์� -จุุลสุุดา มฆวััตสกุุลและครอบครััว ๓๐๐ บาท
๑๑๓. คุุณยายพวง พลจัันทึึก พร้้อมลููกหลาน ๒๖๐ บาท
๑๑๔. นาวาเอกสมพงษ์์ สัันติิสุุขวัันต์์ ๒๐๐ บาท
๑๑๕. คุุณวััลริิยา เด่่นสกุุล ๒๐๐ บาท
๑๑๖. คุุณสุุรััตน์์ กิิจเจริิญ ฮููตััน ๒๐๐ บาท
๑๑๗. คุุณปริิยากร จัันทสููตร ๒๐๐ บาท
๑๑๘. คุุณสุุวิิมล แซ่่ตั้้�ง ยอด ๒๐๐ บาท
๑๑๙. คุุณรััชนีีบููน โชตะวััน ๒๐๐ บาท
๑๒๐. คุุณวิิภาวรรณ์์ พลเส ๒๐๐ บาท
๑๒๑. คุุณชนิิดาภรณ์์ สงวนเหม ๒๐๐ บาท
๑๒๒. คุุณสมศรีี เจริิญสุุข ๒๐๐ บาท
๑๒๓. คุุณสิิมาเรีียม ภิิรมย์์ภู่่� ๒๐๐ บาท
๑๒๔. คุุณฐานิิตา แซ่่ชื้้�อ ๒๐๐ บาท
๑๒๕. คุุณไพลิิน กาญจนอุุบล ๒๐๐ บาท
๑๒๖. คุุณจริิยา สมรรคเสวีี ๒๐๐ บาท
๑๒๗. คุุณปััทมา พิิพััฒน์์วรากุุล ๒๐๐ บาท
๑๒๘. คุุณกนกพร จารุุสัันติิสวััสดิ์์� ๒๐๐ บาท
๑๒๙. แม่่ชีีกนกพรรณ นวลวััง ๒๐๐ บาท
๑๓๐. คุุณแม่่นวล คุุณพ่่อประยงค์์เชื้้�อทอง ๒๐๐ บาท
๑๓๑. คุุณทวีี คณทา ๒๐๐ บาท
๑๓๒. คุุณพ่่อสมาน คุุณแม่่นงลัักษณ์์ มณีีวรรณ ๒๐๐ บาท
๑๓๓. คุุณเฉลย คัันศร ๑๙๙ บาท
๑๓๔. คุุณอนุุสรณ์์ มณฑาทิิพย์์ ๑๓๐ บาท
216 วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

๑๓๕. คุุณวริินทร ศรีีษะเกตุุ ๑๐๐ บาท


๑๓๖. คุุณส้้มทิิพย์์ - คุุณสำำ�รวย บััลลัังก์์โพธิ์์� ๑๐๐ บาท
๑๓๗. คุุณอารีีย์์ แสงหล้้า พร้้อมครอบครััว ๑๐๐ บาท
๑๓๘. คุุณมยุุรีี ชนะชาญ พร้้อมครอบครััว ๑๐๐ บาท
๑๓๙. คุุณอุุษา คงเรืือง ๑๐๐ บาท
๑๔๐. คุุณแม่่ฐานิิตา ผลััดธุุระ ๑๐๐ บาท
๑๔๑. คุุณยงยุุทธ เขีียวมรกต ๑๐๐ บาท
๑๔๒. คุุณเจ๊๊นีี บางมด และครอบครััว ๑๐๐ บาท
๑๔๓. คุุณนิิตยา การามหิิโต ๑๐๐ บาท
๑๔๔. คุุณกนกพร จารุุสัันติิสวััสดิ์์� ๑๐๐ บาท
๑๔๕. คุุณวััชราภรณ์์ โหมเพ็็ง ๑๐๐ บาท
๑๔๖. คุุณรสสุุคนธ์์ ยมกนิิษฐ์์ ๑๐๐ บาท
๑๔๗. คุุณเกี๊๊�ยบ ไชยสัันต์์ ๑๐๐ บาท
๑๔๘. คุุณนัันทวััฒน์์ พารหาร ๑๐๐ บาท
๑๔๙. คุุณชวนัันท์์ ขอจิิตต์์เมตต์์ ๖๕ บาท
หากมีีรายชื่่�อตกหล่่นหรืือผิิดพลาดประการใด
ทางคณะผู้้�จััดทำำ�ขออภััยมา ณ ที่่�นี้้�ด้้วย.

วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔
พระครูศาสนกิจวิมล (หนูพันธ์ อิสฺสโร)
พิมพ์ครั้งที่ ๒ : กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ จำ�นวน : ๓,๐๐๐ เล่ม
บรรณาธิการ : พระครูปริยัติเมธาจารย์ ถอดเทปคำ�บรรยาย : คุณนรีวัลคุ์ ธรรมนิมิตโชค พิสูจน์อักษร :
คุณสุวรรณี เลื่องยศลือชากุล, คุณจิตตกานต์  มณีนารถ  ขอขอบคุณ : ดร.พระมหาสุเทพ สุวณฺโณ,
พระมหาไพโรจน์  กนโก, คุ ณ วิ จิ ต ร บุ ญจ อม, คุ ณ กานต์ สิ นี  จั น ทร์ วิ ภ าดิ ล ก, คุ ณ เรขา วั น สกุ ล ,
คุณทิพวัลย์ เสริมคุณ ,คุณพิมพ์ใจ พึ่งพานิช แบบปก/รูปเล่ม : พิชญาพรรณ ฐิตายะวงศ์, สุปราณี
อภัยแสน ดำ�เนินการ : สุวรรณ เคลือบสุวรรณ์ ๐๘-๑๓๓๘-๐๐๗๗ พิมพ์ที่ : บริษัท สามลดา จำ�กัด
เลขที่ ๖๑๐ ซอยสะแกงาม ๓๕/๓ แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ โทร. ๐-๒๔๖๒-๐๓๐๓

You might also like