You are on page 1of 11

พรรคการเมืองไทย :

ความเป็นมา ปัญหา และการพัฒนา 4


พรรคการเมืองไทย
1. สภาพทั่วไปและปัญหาของพรรคการเมืองไทย

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่จำาเป็น ซึ่งจะขาดไม่ได้เลย ในการที่


จะทำาความเข้าใจถึงกระบวนการทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะในสังคมไทย นับ
ตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เมื่อ พ.ศ.2475 เป็นต้นมา อย่างไร
ก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีวา่ ตลอดเวลาระยะเวลา 59 ปี ของระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้น พรรคการเมืองไทย
มีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพอย่างมาก โดยมีการวิเคราะห์กันว่า พรรคการเมืองไทยมีความเป็นสถาบัน
ทางการเมืองตำ่า (Low Political Institutionalization) ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุและสภาพแวดล้อมต่างๆ หลาย
ประการ
ด้วยเหตุนี้เอง การที่จะแสวงหาตัวแบบของพรรคการเมืองไทยในอุดมคติที่มีความเป็นสถาบันทางการ
เมืองสูงและทำาหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นความต้องการของทุกคน โดยเฉพาะนักวิชาการทาง
รัฐศาสตร์ของไทย อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะได้นำาเสนอกระบวนการพัฒนาพรรคการเมืองไทย ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของ
บทความนี้ จะต้องเริ่มต้นด้วยการทำาความเข้าใจถึงสภาพทั่วไปของพรรคการเมืองไทยในแง่ของจุดกำาเนิด (
ความเป็นมา) และวิวัฒนาการตามลำาดับจากอดีตจนถึงปัจจุบันเสียก่อนพอสังเขป
1.1 สภาพทั่วไปและวิวัฒนาการของพรรคการเมืองไทย
พรรคการเมืองไทย อาจวัดได้ว่าเป็น นวัตกรรมทางการเมือง (Political Innovation) หรือสิ่ง
ใหม่ทางการเมืองที่เพิ่งเข้าสู่สังคมไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง กล่าวคือ รัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทั้งนีส้ ภาพ
การณ์ของสังคมไทยในขณะนั้นได้เริ่มเข้าสู่ “สังคมที่กำาลังเปลี่ยนให้ทันสมัย” (Modernization) โดยกระบวนการ
นี้ เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว อย่างไรก็ตามแนวความคิดเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขและอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกว่า “สถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ”
(Constitutional Monarchy) นั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่เจ้านายและและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ

พรรคการเมืองไทยฯ -1-
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น แม้ทรงเห็นด้วยในหลักการ แต่ทรงต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง
เป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากระบบบริหารราชการส่วนกลางและภูมิภาคก่อน ดังจะเห็นได้จากทรงเปลี่ยนแปลงระบบ
ราชการจากระบบจตุสดมภ์มาเป็นระบบกระทรวง ทบวง กรม ใน พ.ศ.2435 เป็นต้น
ดังนั้น จากสภาพการณ์ข้างต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองตามแบบ
ตะวันตกจึงยังไม่เกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่
หัว รัชกาลที่ 6 โดยที่พระองค์ทรงเคยได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เมืองแม่แบบของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุข พระองค์จึงทรงเห็นด้วยกับหลักการปกครองข้างต้น และทรง
ริเริ่มปูพื้นฐานประชาธิปไตยให้กับสังคมไทย โดยเริ่มการฝึกหัดเจ้านาย และข้าราชการให้คุ้นเคยกับรูปแบบการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยก่อน โดยทรงตั้ง “เมืองดุสิตธานี” ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เป็นเมือง
ประชาธิปไตยจำาลองและในการนี้มีการทดลองจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองดุสิตธานี ได้แก่ พรรค
โบว์นำ้าเงิน ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงเป็นหัวหน้าพรรคและพรรคโบว์แดง ซึ่งมีเจ้าพระยารา
มราฆพเป็นหัวหน้า
สภาพการณ์ในการปกครองเมืองดุสิตธานีได้เป็นไปตามครรลองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ มีการ
เลือกตั้ง “นคราภิบาล” ซึ่งเปรียบเสมือนนายกรัฐมนตรี โดยผู้ที่จะเป็นนคราภิบาลได้ จะต้องได้รับเลือกจากชาว
เมืองให้เป็น “เชษฐบุรุษ” เสียก่อน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง การปกครองดุสิตธานีดัง
กล่าว นอกจากจะมีการเลือกตั้ง พรรคการเมืองแล้วก็ยังมีรัฐธรรมนูญใช้อีกด้วย ซึ่งเรียกว่า “ธรรมนูญการปก
ครองนคราภิบาล พ.ศ.2461” กระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของดุสิตธานีนี้ กล่าวได้ว่ามี
สภาพการณ์เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก เช่น การใช้หลักการเสียงข้างมาก มีการเลือกตั้งตามวาระทุกๆ 1 ปี
สำาหรับตำาแหน่งนคราภิบาล เป็นต้น
อาจสรุปได้ว่า สภาพการณ์ของสังคมไทยที่กำาลังเปลี่ยนให้ทันสมัยทางการเมืองในช่วงรัชกาลที่ 5 และ
6 นี้ ได้กลายเป็นหน่ออ่อนของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงเวลาต่อมาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะจุด
กำาเนิดของพรรคการเมืองไทย
เมื่อย่างเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 กระแสเรียกร้องให้มีการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองได้ขึ้นสูงถึงจุดสุดยอด และได้นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบ
รัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายใต้การนำาของคณะผู้ก่อการ
เปลี่ยนแปลงที่เรียกตนเองว่า “คณะราษฎร” ซึ่งอาจกล่าวได้วา่ เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของไทยอย่างไม่เป็น
ทางการในกระบวนการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว อย่างไรก็ตามภายใต้สภาพการณ์ที่กำาลัง
เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลง คณะราษฎรจึงไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอื่นๆ เข้ามามีบทบาทในช่วง
ต้นๆ ของการเปลี่ยนแปลง (พ.ศ. 2475-2488) แม้วา่ จะมีความพยายามของบุคคลบางกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมือง
ขึ้นมาในช่วงนั้นก็ตาม เช่น ความริเริ่มจัดตั้ง “คณะชาติ” ขึ้นเป็นพรรคการเมือง โดยการนำาของหลวงวิจิตรวาท
การ ใน พ.ศ. 2476
ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ตลอดช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สังคมไทยจึงมี
เพียงคณะราษฎรเท่านั้นที่อาจเรียกได้ว่า เป็นพรรคการเมืองในสังคมไทย และทำาให้เกิดระบบพรรคเดียวใน
การเมืองไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย

พรรคการเมืองไทยฯ -2-
ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สภาพการณ์ทางการเมืองของ
ไทยดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระแสความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยได้กลายเป็นกระแส
สากลไปทั่วโลก ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีการดำาเนินการของนักการเมืองหลายกลุ่มจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น อาทิ
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดตั้งพรรคก้าวหน้าในเดือนธันวาคม 2488 กลุ่มอดีตเสรีไทยจัดตั้งพรรคสหชีพ และกลุ่ม
ผู้สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ (อดีตผู้นำาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) จัดตั้งพรรคแนวรัฐธรรมนูญ
ขึ้น โดยการนำาของหลวงธำารงนาวาสวัสดิ์ อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการทางการเมืองภายใต้การเมืองแบบมีพรรค
(Party Politics) ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทยอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2488-2494 อย่างต่อเนื่อง
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน คือ รัชกาลที่ 9
ตั้งแต่ พ.ศ.2489 เป็นต้นมา ปรากฏว่าสภาพการณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 สำาหรับพรรคการเมืองเป็นไปอย่างไม่สู้ดีนัก
เพราะมีการทำารัฐประหารยกเลิกการมีพรรคการเมืองเป็นช่วงๆ ตลอดมา อาทิ การห้ามมีพรรคการเมืองระหว่าง
พ.ศ. 2494-2497 , พ.ศ. 2501-2511 , พ.ศ. 2520-2523 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ได้ส่งผลให้พรรคการเมืองไทยขาด
ความต่อเนื่องอย่างมากในการจัดตั้งและดำาเนินบทบาททางการเมืองในกระบวนการทางการเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย นับเป็นสภาพการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพรรคการเมืองอย่างมาก
1.2 ปัญหาของพรรคการเมืองไทย
เมื่อพิจารณาเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการของพรรคการเมืองไทยข้างต้นแล้ว
จะพบว่า การขาดความต่อเนื่องของการดำารงอยู่ของพรรคการเมืองเป็น ช่วงๆ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 เป็นต้นมานั้น
เป็นสาเหตุสำาคัญประการหนึ่งของการทำาให้สถาบันพรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันทางการเมืองตำ่า ซึ่งถ้านำา
กรอบความคิดเชิงทฤษฎีของ Huntington และ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ มาวิเคราะห์ความเป็นสถาบันทางการ
เมืองของพรรคการเมืองไทยแล้วจะพบว่า พรรคการเมืองไทยขาดคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติในองค์ประกอบ
ความเป็นสถาบันทางการเมืองหล่านี้น้อย ได้แก่
1. ขาดการปรับตัว (Adaptability)
พรรคการเมืองไทยมีลักษณะสำา คัญประการหนึ่ง ก็คือ เป็นพรรคที่จัดตั้งขึ้นโดยการอาศัย
บทบาทของผู้นำาหรือชนชั้นนำาจำานวนน้อยเป็นหลัก ทั้งนี้โดยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมทางการเมืองดั้งเดิมของ
ไทย คือความสัมพันธ์ภายใต้ระบบเจ้านาย-ลูกน้อง (Patron – Client Relationship) ซึ่งก็คือทำาให้ผู้นำาพรรคหรือ
หัวหน้ากลายเป็นบุคคลที่สำาคัญที่สุดของพรรคไป การเปลี่ยนผู้นำาพรรคการเมืองของไทยในบางครั้ง จะนำาไปสู่
การล่มสลายของพรรคการเมืองเลยทีเดียว แต่โดยภาพรวมแล้วความเข้มแข็งของพรรคการเมืองนัั้นขึ้นอยู่กับ
ภาวะผู้นำาของของผู้นำาพรรคเป็นสำาคัญ การปรับตัวของพรรคการเมือง ไทยในฐานะที่เป็นองค์การหรือสถาบันที่
ต้องอาศัยองค์ประกอบส่วนต่างๆ ร่วมกันจึงมีน้อยมาก ทั้งนี้ในบรรดาสมาชิกพรรคทั่วไปจะทำาตัวเป็นลูกน้องของ
หัวหน้าพรรคหรือผู้นำา พรรค เมื่อเจ้านายจะต้องการอย่างไรก็จะต้องทำา ตาม ไม่มีการโต้แย้ง เช่น เมื่อหัวหน้า
พรรคที่ตนนิยมชมชอบลาออกไปหรือย้ายพรรค บรรดาสมาชิกพรรคเดิมก็จะลาออกตามไปด้วย ไม่ได้ผูกพันกับ
อ ง ค์ ก า ร ข อ ง พ ร ร ค แ ต่ อ ย่ า ง ใ ด แ ส ด ง ถึ ง ก า ร ข า ด ก า ร ป รั บ ตั ว ภ า ย ใ น อ ย่ า ง ม า ก
นอกจากนี้จากลักษณะของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกน้อย และเป็นพรรคของบุคคลชั้นนำา
พรรคการเมืองไทยจึงไม่สามารถปรับตัวกับสภาพภายนอกอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีการทำา รัฐประหารยกเลิก
พรรคการเมืองชั่วคราว บรรดาผู้นำา พรรคและสมาชิกจะละทิ้งชื่อพรรคเดิมและสลายตัวแยกไปในหมู่ผู้นำา เดิม
เพื่อรอไปจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ในโอกาสต่อไปเมื่อสถานการณ์เอื้ออำานวย ลักษณะที่จะมีการดำารงอยู่ต่อไป

พรรคการเมืองไทยฯ -3-
อย่างไม่เป็นทางการต่อไปของพรรคการเมืองในช่วงที่มี การปฏิ วัติหรือรัฐประหารนั้น นับว่ าหายได้ยากมาก
สำา ห รั บ พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ไ ท ย
กล่าวโดยสรุป สำา หรับปัญหาการขาดการปรับตัวของพรรคการเมืองไทย ก็คือ การขาดการ
ปรั บ ตั ว จากสภาพแวดล้ อ มภายในและภายนอนพรรคการเมื อ งนั่ น เอง สาเหตุ ที่ สำา คั ญ ในเรื่ อ งนี้ ก็ คื อ
พรรคการเมืองไทยเป็นพรรคของบุคคลชั้นนำาจำานวนน้อยที่อาศัยความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ (เจ้านาย-ลูกน้อง)
ไ ม่ มี ฐ า น ม ว ล ช น อ ย่ า ง แ ท้ จ ริ ง
2. ข า ด ค ว า ม ส ลั บ ซั บ ซ้ อ น (Complexity)
สภาพของพรรคการเมืองไทยในแง่ของโครงสร้างพรรคแล้ว จะพบว่าไม่มีความสลับซับซ้อน
แต่อย่างใด ซึ่งก็คือองค์การของพรรคมีขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผูน้ ำาพรรคและสมาชิกจำานวนน้อย ไม่มีหน่วยงาน
ย่อยในองค์การของพรรคมากเท่าใดนัก เช่น ฝ่ายวิจัย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฯลฯ นอกจาก
นี้โครงสร้างของพรรคในเขตภูมิภาคก็มีน้อยเช่นกัน เช่น สาขาพรรคในระดับจังหวัดหรืออำาเภอมีอยู่น้อยมากเช่น
กัน สาเหตุที่พรรคการเมืองไทยไม่พยายามสร้างความสลับซับซ้อนให้แก่พรรคนั้น เกิดจากทัศนะที่หวาดเกรงว่า
อาจจะต้องยุบเลิกพรรคไปเมื่อมีการรัฐประหาร ดังนั้นการลงทุนก่อสร้างสำานักงานสาขาพรรคหรือการเช่าก็ตาม
ตลอดจนการมีเจ้าหน้าที่ประจำาฝ่ายต่างๆ จึงเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียอย่างมาก นอกจากนี้ ข้อกำาหนดในทาง
กฎหมายบางอย่าง เช่น ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมืองในบางยุคบางสมัย กำา หนดให้ทรัพย์สินของพรรค
ต้ อ ง ต ก เ ป็ น ข อ ง ส า ธ า ร ณ กุ ศ ล เ มื่ อ มี ก า ร ย ก เ ลิ ก ห รื อ ยุ บ เ ลิ ก พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง เ ป็ น ต้ น
ดังนั้นผู้นำาพรรคการเมืองไทยที่บริหารพรรคจึงไม่พยายามขยายโครงสร้างพรรคการเมืองออก
ไปโดยไม่จำาเป็น ถ้าไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมืองอย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคการเมืองบางพรรค เช่น พรรค
ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ได้ดำาเนินการสร้างสาขาพรรคอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้หวาด
เ ก ร ง ต่ อ ก า ร ป ฏิ วั ติ ห รื อ รั ฐ ป ร ะ ห า ร
ข า ด ค ว า ม ส า มั ค คี ห รื อ เ อ ก ภ า พ (Coherence)
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของพรรคการเมืองไทย จะพบว่า บรรดาผู้นำาพรรคมักจะ
ขัดแย้งกันเสมอภายในพรรค และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลโดย
พรรคการเมืองต่างๆ ในลักษณะรัฐบาลผสมหลายพรรค ด้วยเหตุนี้เองสาเหตุสำาคัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจึง
ได้แก่ การจัดสรรตำาแหน่งทางการเมืองในคณะรัฐบาล โดยเฉพาะตำาแหน่งรัฐมนตรีตามโควต้าของพรรค บรรดา
สมาชิกชั้นนำาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมการบริหาร จึงพยายามผลักดันให้ตนเองได้รับเลือกเข้าไป
เป็นรัฐมนตรีที่ต้องการและบางคนไม่ได้เป็น ซึ่งกรณีหลังนี้เองก็จะทำาให้เกิดปฏิกิริยาไม่พอใจต่อพรรคการเมือง
เดิมของตน และหาทางตอบโต้พรรคด้วยการไม่ปฏิบัติตามมติพรรคในเรื่องต่างๆ เป็นต้น กล่าวได้ว่า สมาชิก
เหล่ า นี้ จ ะเกิ ด ลั ก ษณะที่ เ รี ย กว่ า “ขาดวิ นั ย พรรค” ขึ้ น มานั่ น เอง ส่ ว นความขั ด แย้ ง ภายในพรรคด้ ว ยเรื่ อ ง
อุ ด ม ก า ร ณ์ ห รื อ น โ ย บ า ย พ ร ร ค นั้ น สำา ห รั บ พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ไ ท ย นั บ ว่ า เ รื่ อ ง นี้ มี น้ อ ย ม า ก
ข า ด ค ว า ม อิ ส ร ะ ห รื อ ค ว า ม เ ป็ น ตั ว ข อ ง ตั ว เ อ ง (Autonomy)
พรรคการเมืองไทย โดยสภาพความเป็นจริงแล้วส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากชนชั้นกลางที่เป็นนัก
ธุรกิจการค้าและข้าราชการที่พ้นจากรายการแล้ว ในอดีตบางยุคบางสมัยที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ข้าราชการ
ประจำาเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองได้ ตลอดจนดำารงตำาแหน่งทางการเมืองด้วย พรรคการเมืองก็จะมีลักษณะเป็น
“พรรคข้าราชการ” (Bureaucratic Party) ไปเช่น พรรคเสรีนังคศิลา (พ.ศ. 2498) และพรรคสหประชาชน (พ.ศ.

พรรคการเมืองไทยฯ -4-
2511) เป็นต้น พรรคเหล่านี้จึงไม่เป็นอิสระจากระบบราชการ และอาจกล่าวได้ว่าถูกครอบงำาด้วยระบบราชการ
ไม่ ใช่พ รรคที่เ ป็นตัว แทนของประชาชนอย่ า งแท้ จริ ง อย่า ไรก็ ตาม แม้ ว่ า ในบางสมั ยจะห้ า มข้ า ราชการเล่ น
การเมืองก็ตาม แต่บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ก็แสดงบทบาทที่ไม่อิสระหรือเป็นตัวของตัวเอง โดยการขอความ
อุปถัมภ์คำ้าจุนจากข้าราชการประจำาโดยเฉพาะข้าราชการทหาร โดยเสนอตัวเป็นฐานรองรับผู้นำาทางทหารเมื่อ
พ้นจากราชการแล้ว เพื่อให้ก้าวสู่วงการเมืองได้รวดเร็วขึ้น สภาพดังกล่าวนี้ทำาให้ประชาชนทั่วไปขาดศรัทธาใน
พรรคการเมืองเหล่านี้ เพราะเห็นว่าทำาตัวเป็นลูกน้องของผู้นำาทางทหารมากกว่าที่จะรับใช้ประชาชน ตามหลัก
ก า ร ข อ ง ก า ร เ ป็ น พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง
ข า ด ค ว า ม ช อ บ ธ ร ร ม (Legistimacy)
การขาดความชอบธรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองไทย เกิดจากสาเหตุหลายประการดัง
ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ เป็นผลสืบเนื่องกัน ซึ่งพออธิบายได้ว่าเราจะพบว่า พรรคการเมืองไทยนั้นมี
ความไม่ต่อเนื่อง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์แวดล้อมได้ ประกอบกับขาดฐานโครงสร้างของพรรที่
สลับซับซ้อนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจนมีความขัดแย้งปรากฎต่อสายตาประชาชนอยู่เนืองๆ และไม่
เป็นตัวของตัวเองอีกด้วย ทำาให้ความรู้สึกของประชาชนทั่วไปไม่เห็นความสำาคัญและความจำาเป็นของการเป็น
สมาชิกพรรคการเมือง หรือการมีพรรคการเมืองดำารงอยู่ในสังคมไทย กล่าวโดยสรุปก็คือ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่
ศรั ท ธาและเห็ น ความจำา เป็ น ของการมี พ รรคการเมื อ ง ความชอบธรรมทางการเมื อ งจึ ง ไม่ เ กิ ด ขึ้ น
ข า ด ก า ร ส นั บ ส นุ น (Support)
ปัญหาในเรื่องการขาดการสนับสนุนจากประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองนี้ ความจริงแล้วเป็น
ผลมาจากการขาดความรับผิดชอบธรรมทางเมื องนั่นเอง แต่ผลต่อเนื่องในเชิง รูปธรรมจะปรากฎออกมาใน
ลักษณะของการไม่สนับสนุนพรรคการเมืองของประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น ไม่ชอบสมัครเป็นสมาชิกพรรค ไม่
ต้องการเสียเงินบำา รุงพรรค เปลี่ยนพรรคได้ง่าย และอาจไม่ออกเสียงให้กับพรรคที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ก็ได้ ถ้า
เปลี่ยนผู้นำาพรรคหรือนโยบายพรรคเปลี่ยนแปลงไป กล่าวโดยสรุปก็คือ ประชาชนจะไม่มีความผูกพันกับพรรค
ก า รเ อง ม า ก นั ก ถ้ า ไม่ ไ ด้ รั บ ผ ล ปร ะ โ ย ช น์ ตอ บ แ ท น จ า ก พ ร ร คห รื อศ รั ท ธ า พ รร ค อ ย่ า ง แ ท้ จ ริ ง
2. ตัวแบบของพรรคการเมืองไทยปัจจุบัน
จากลักษณะของพรรคการเมืองไทยที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งมีความเป็นสถาบันการเมืองค่อนข้างตำ่า
โดยพิจารณาจากองค์ประกอบความเป็นสถาบันทางการเมืองทั้ง 6 ประการประกอบนั้น เมื่อนำากรอบความคิด
เชิงทฤษฎีเกี่ยวกับตัวแบบ (model) ของพรรคการเมืองมาวิเคราะห์แล้ว จะพบว่า พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่
ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเข้าข่ายตัวแบบพรรคการเมืองที่เรียกว่า “พรรคบุคคลชั้นนำา” (Cadre / Elite Party) ซึ่ง
นักรัฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคือ Duverger ได้เสนอไว้ โดยอาศัยเกณฑ์การพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติและจำานวน
ของสมาชิ ก พรรคเป็ น สำา คั ญ ลั ก ษณะพรรคบุ ค คลชั้ น นำา ของ Duverger จะมี ลั ก ษณะดั ง ต่ อ ไปนี้
1. ด้านจำานวนสมาชิก (Amount of member) จะมีสมาชิกจำานวนน้อย ประกอบขึ้นด้วยผู้ที่มีสาขา
อาชีพเพียงไม่กี่สาขา พรรคการเมืองในลักษณะนี้ไม่สนใจการขยายจำานวนสมาชิก จะสนใจแต่
เพียงให้ประชาชนทั่วไปจำานวนมากเลื่อมใสศรัทธาและลงคะแนนเสียงเท่านั้น กล่าวคือ ให้ความ
สำาคัญกับการหาผู้ออกเสียงให้มากกว่าหาสมาชิกประจำา ทั้งนี้ เพราะมุ่งหวังผลในการเลือกตั้งจะ
ต้องชนะการเลือกตั้งให้ได้ โดยเน้นการเสนอตัวบุคคลของพรรคให้ประชาชนพิจารณาเป็นสำาคัญ

พรรคการเมืองไทยฯ -5-
2. ด้านคุณสมบัติของสมาชิก (Quality of member) จะต้องการสมาชิกที่มีคุณสมบัติสูง ในด้านชื่อ
เสียงที่มีคุณสมบัติสูง ในด้านชื่อเสียง อาชีพ วัยวุฒิ และการศึกษา ดังนั้นสมาชิกจะประกอบด้วย
บุคคลชั้นนำาในสาชาอาชีพต่างๆ ที่มีเกียรติในสังคม เช่น นักธุรกิจชั้นนำา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำา ผู้
พิ พ า ก ษ า ที่ พ้ น ร า ช ก า ร แ ล้ ว ต ล อ ด จ น เ จ้ า น า ย ห รื อ เ ชื้ อ พ ร ะ ว ง ศ์ ชั้ น สู ง เ ป็ น ต้ น
เมื่อนำาลักษณะของพรรคการเมืองไทยมาเปรียบเทียบกับตัวแบบพรรคบุคคลชั้นนำาข้างต้นก็
จะพบว่า ในด้านจำา นวนสมาชิกพรรคการเมืองไทยมีจำา นวนสมาชิกน้อยมาก กล่าวคือ นอกจากจะมีจำา นวน
สมาชิ ก น้ อ ยแล้ ว พรรคการเมื อ งยั ง ไม่ นิ ย มหาสมาชิ ก เพิ่ ม อี ก ด้ ว ย ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากการที่ พ ระราชบั ญ ญั ติ
พรรคการเมือง ฉบับ พ.ศ. 2524 ได้กำาหนดให้แต่ละพรรคต้องมีสมาชิกประจำาไม่ตำ่ากว่า 5,000 คน เป็นต้น ทัง้ นี้
เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ จะมีสมาชิกพรรคตำ่ากว่านี้แทบทั้งสิ้น ยกเว้นพรรคการเมือง
ข น า ด ใ ห ญ่ ที่ เก่ า แ ก่ ท่ า นั้ น ก ฎ ห ม า ย จึ ง อ อก ม า เพื่ อบั ง คั บ ใ ห้ ห า ส ม า ชิ ก ไ ว้ ใ ห้ ม า ก พ อ ส ม ค ว ร
ส่วนในด้านคุณสมบัติของสมาชิกพรรคก็เช่นกัน พรรคการเมืองไทยจะมีสมาชิก ส่วนใหญ่
เป็นบุคคลชั้นนำาในวงสังคม เช่น นักธุรกิจชั้นนำา อดีตข้าราชการประจำา ชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น โดยเฉพาะในระดับ
แกนนำาของพรรค เช่น หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค เป็นต้น จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของ
นักการเมืองไทย ที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆ ค้นพบว่า ผู้นำาพรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองส่วนใหญ่
เป็นบุคคลชั้นนำา โดยเฉพาะอาชีพนักธุรกิจ ทนายความ และข้าราชการบำานาญ เป็นต้น ซึ่งใกล้เคียงกับสภาพ
ค ว า ม เ ป็ น จ ริ ง ที่ ดำา ร ง อ ยู่ ข อ ง พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ไ ท ย
3. ตัวแบบของพรรคการเมืองไทยในอุตมคติ
จากกรอบแนวความคิดเชิงทฤษฎีของ Duverger อีกเช่นกัน เขาได้เสนอตัวแบบพรรคการเมืองอีกรูป
แบบหนึ่งที่มีลักษณะค่อนข้างตรงข้ามกับตัวแบบแรกที่เขาเสนอไว้ ตัวแบบพรรคการเมืองที่เขาเสนอไว้เป็นรูป
แบบที่สองนี้ เรียกว่า “พรรคมวลชน” (Mass Party) โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องคุณสมบัติและ
จำา นวนของสมาชิ ก พรรคเป็ น สำา คั ญ เช่ น กั น ลั ก ษณะพรรคมวลชนของ Duverger จะมี ลั กษณะดั ง ต่ อ ไปนี้
ด้านจำานวนสมาชิก พรรคมวลชนจะมีจำานวนสมาชิกมากและอาจสูงเป็นจำานวนล้านๆ คน
ก็ได้ ทั้งนี้พรรคการเมืองในลักษณะนี้จะให้ความสำาคัญกับสมาชิกมาก โดยถือเป็นฐานรองรับความเข้มแข็งของ
พรรคและชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยมีสมมติฐานว่า สมาชิกพรรคจะมีระเบียบวินัยและจงรักภักดีต่อพรรค ยึด
มั่นในอุดมการณ์และนโยบายของ พรรคมากกว่าตัวบุคคลที่เป็นแกนนำา ของพรรค ดังนั้น เมื่อมีการออกเสียง
เลือกตั้งสมาชิกพรรคจำานวนมากเหล่านี้ต้องออกเสียงให้พรรคอย่างแน่นอน นอกจากนี้ พรรคสามารถเรียกเก็บ
เงินบำา รุง จากสมาชิกได้อีกด้วย ทำา ให้พรรคเข้มแข็ งและมีเงินทุนหมุ นเวียนใช้ในการบริหารพรรค ตลอดจน
ส นั บ ส นุ น ก า ร ร ณ ร ง ค์ ห า เ สี ย ง เ ลื อ ก ตั้ ง ข อ ง พ ร ร ค
ด้านคุณสมบัติของสมาชิกพรรค ตัวแบบพรรคมวลชนจะไม่เน้นคุณสมบัติของสมาชิกพรรค
เท่าใดนัก โดยเฉพาะสมาชิกทั่วไปที่ไม่ใช่แกนนำาของพรรค ดังนั้นบรรดาอาชีพต่างๆ จะปรากฏในพรรคมวลชน
เป็นจำานวนมาก โดยเฉพาะอาชีพของคนจำานวนมาก เช่น ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และอาชีพให้บริการต่างๆ นอก
เหนือจากอาชีพชั้นนำาอื่นๆ แล้ว โดยที่พรรคมวลชนต้องการสมาชิกพรรคจำานวนมากและไม่จำากัดคุณสมบัตินี่เอง
ทำาให้วิธีการรับสมัครสมาชิกพรรคทำา ได้ง่าย โดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกโดยอ้อมก็ได้ เช่น เข้าสังกัดกลุ่มผล
ประโยชน์ อาทิ สหภาพแรงงาน สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ และสมาคมวิชาชีพที่สนับสนุนพรรคการเมืองดังกล่าว โดย

พรรคการเมืองไทยฯ -6-
กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้จะแสดงตัวว่าสนับสนุนพรรคใด ดังนั้นถ้าใครมาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์ดัง
ก ล่ า ว ก็ จ ะ ก ล า ย เ ป็ น ส ม า ชิ ก ข อ ง พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง นั้ น ไ ป โ ด ย อั ต โ น มั ติ ทั น ที
เมื่อนำาตัวแบบพรรคมวลชนมาวิเคราะห์เข้ากับสังคมไทยแล้ว จะพบว่ายังไม่มีพรรคการเมือง
ไทยพรรคใดเลยในระยะเวลา 64 ปี ที่ผ่านมาของระบอบประชาธิปไตยของไทยที่มีลักษณะเข้าข่ายพรรคมวลชน
ดังกล่าวมาข้างต้น แต่เราจะพบว่าบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของไทย พยายามประกาศว่าจะพัฒนาไปสู่ตัว
แบบดังกล่าวแทบทั้งสิ้น ดังจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองไทยบางพรรคต้องการสร้างภาพพจน์ว่าเป็นพรรคมวลชน
โ ด ย ก า ร ตั้ ง ชื่ อ พ ร ร ค ว่ า “ พ ร ร ค ม ว ล ช น ” ทั้ ง ๆ ที่ จำา น ว น ส ม า ชิ ก ไ ม่ ม า ก นั ก

4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาพรรคการเมืองไทย
ในการกำาหนดยุทธศาสตร์หรือวิธีการในการพัฒนาพรรคการเมืองไทยให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มี
ความเป็นสถาบันทางการเมืองสูงขึ้นให้ได้นั้น ก่อนอื่นจะต้องวางแผน เพื่อพัฒนามาใช้กับพรรคการเมืองไทย ซึ่ง
พอสรุปขั้นตอนในการวางแผนหรือโครงการ ได้ดังต่อไปนี้
1. การกำาหนดเป้าหมายของการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ ประกอบ
2. กำาหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ข้างต้น ซึ่งจะปรากฎในรูปแผนงาน
และโครงการย่อยต่างๆ
3. กำาหนดมาตรการเสริมเพื่อให้การพัฒนาบรรลุผลสำาเร็จ
4. กำาหนดวิธีการประเมินผลและติดตามผลการปฏิบัติ
จากขั้นตอนในการวางแผนทั้ง 4 ขัน้ ตอนข้างต้น พรรคการเมืองต่างๆ สามารถลองนำามาสร้างแผนพัฒนาหรือ
โครงการพัฒนาพรรคการเมืองของตนได้ ดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายของการพัฒนาพรรค
พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีความสำาคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองเป็น
สถาบันที่จะรองรับการมีสว่ นร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นช่อง
ทางในการเข้าไปมีอำานาจในการปกครอง ตลอดจนสะท้อนความต้องการของประชาชนในเรื่องต่างๆ ดังนั้น
พรรคการเมืองจึงมีความจำาเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีฐานมวลชนรองรับอย่างกว้างขวางและเพิ่ม
ประสิทธิภาพ การทำางานของพรรคการเมืองให้มีมากขึ้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการพัฒนาพรรค จึงมีดังต่อไปนี้
สร้างฐานมวลชนที่เป็นสมาชิกพรรคให้มีขอบเขตกว้างขวางในทุกส่วนของประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและท้อง
ถิ่นขยายโครงสร้างของพรรคออกไปเพื่อรองรับฐานมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน
ขององค์การพรรค ทั้งในระดับชาติ และระดับรองลงไป
2. วิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตงั้ ไว้
การสร้างฐานมวลชน วิธีการปฏิบัติมีดังนี้
-ขยายสมาชิกในระดับกว้างให้ครอบคลุมประชาชนทุกสาขาอาชีพ และกลุ่มประชาชนต่างๆ
ที่อยู่ในรูปของกลุ่มผลประโยชน์ โดยอาศัยบทบาทของสื่อมวลชนและการสื่อสารทางการเมืองโดยตรงระหว่าง
พรรคกับประชาชนทั่วไป
-ขยายสมาชิกในระดับลึก ตามระดับหน่วยการปกครอง ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำาเภอ ตำาบล
และหมู่บ้าน ทั้งนี้โดยอาศัยสมาชิกพรรคที่มีอยู่เดิมในระดับนั้น หรืออยู่ใกล้เคียงเป็นสื่อบุคคลในการชักชวน
ประชาชนให้เลื่อมใสศรัทธาในพรรค โดยมีโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพรรคให้กับประชาชนในระดับต่างๆ

พรรคการเมืองไทยฯ -7-
เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสกับพรรคใกล้ชิดมากขึ้น โครงการนี้จะอาศัยผู้นำาพรรคและแกนนำาของพรรค ออก
รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพรรคให้ประชาชนได้รับทราบเป็นสำาคัญ
-ขยายโครงสร้างของพรรคออกไปเพื่อรองรับฐานมวลชน วิธีการปฏิบัติมีดังนี้
-ดำา เนินการจัดตั้งสาขาพรรค โดยเน้นกลุ่มอาชีพเป็นหลัก เช่น สาขาพรรคสำา หรับอาชีพครู
สาขาพรรคสำาหรับอาชีพข้าราชการ สาขาพรรคสำาหรับอาชีพกรรมกร เป็นต้น ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของพื้นที่
ที่จะดำา เนินการจัดตั้ง เช่น บริเวณแหล่งราชการ บริเวณสถาบันการศึกษา และบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม
-ดำาเนินการจัดตั้งสาขาพรรค โดยเน้นระดับตามหน่วยการปกครองเป็นหลัก เช่น สาขาพรรค
ระดับจังหวัด อำาเภอ ตำาบล และหมู่บ้าน การกำาหนดพื้นที่ให้ดำาเนินการโดยสมาชิกพรรคในพื้นที่เป็นหลักในการ
กำา หนดโครงสร้างจัดตั้งสาขาพรรคในระดับต่างๆ ทั้งนี้พรรคจะช่วยสนับสนุนให้ด้านงบประมาณและวิชาการ
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารขององค์การของพรรค วิธีการปฏิบัติมีดังนี้
-ปรับปรุงด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคให้มากขึ้น โดยการจัดประชุมคณะกรรมการ
พรรคทุกระดับอย่างสมำ่าเสมอ
-รวบรวมปัญหา และความต้องการของสมาชิกพรรคเข้าสู่องค์การส่วนกลางของพรรคอย่าง
สมำ่าเสมอ
-ปรับปรุงการสื่อสารทางการเมืองภายในพรรค โดยเพิ่มสื่อกลางในการติดต่อระหว่างพรรค
กั บ ส ม า ชิ ก ใ ห้ ม า ก ขึ้ น ใ น รู ป ข อ ง จ ด ห ม า ย ข่ า ว พ ร ร ค แ ล ะ ว า ร ส า ร ข อ ง พ ร ร ค
-จัดประชุมสมัชชาพรรคเป็นประจำาทุกปี โดยการจัดส่งตัวแทนสาขาพรรคทุกระดับเข้ามาร่วม
ประชุม ทั้งนี้พรรคจะออกค่าใช้จ่า ยบางส่วนในการเดินทางมาประชุม ของตัวแทนสาขา
พรรคเหล่านี้
-ใช้ที่ประชุมสมัชชาพรรคในการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ตลอดจนให้สาขาพรรคเสนอ
แนะตัวบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคสำา หรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้ที่
ประชุ ม สมั ช ชาพรรครั บ รองการแก้ ไ ขนโยบายของพรรค และข้ อ บั ง คั บ ของพรรคในด้ า นต่ า งๆ อี ก ด้ ว ย
-ดำาเนินการจัดเก็บค่าบำารุงพรรคจากสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำา นึงถึงความพร้อม
ของสมาชิกในแง่ของอาชีพและรายได้ประจำา
-ดำา เนินการจัดตั้ง มูล นิธิเพื่ อพั ฒนาพรรค โดยการรับบริ จาคเงิ นทุนและวัส ดุอุ ปกรณ์จาก
สมาชิกพรรค โดยการรับบริจาคแบบถาวรและชั่วคราว (กรณีชั่วคราว หมายถึง อาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
เป็นสำาคัญ) พร้อมกันนี้จะให้สิทธิพิเศษแก่ผู้บริจาคเงินทุนและวัสดุอุปกรณ์ให้แก่พรรคด้วยการยกเว้นการเก็บค่า
บำารุงสมาชิกตามความเหมาะสม
3. การกำาหนดมาตรการเสริมเพื่อให้การพัฒนาพรรคบรรลุผลสำาเร็จ
ดำา เนิ น การเรี ย กร้ อ งให้ ท างราชการเปิ ด โอกาสให้ จั ด ตั้ ง สาขาพรรคในรู ป ของสาขาพรรคตาม
อาชีพได้ดำาเนินการเรียกร้องให้ทางราชการยกเลิกข้อบังคับตามพระราชบัญญัติการเมืองที่ว่า เมื่อพรรคยุบเลิก
ข้อบังคับตามพระราชบัญญัติพรรคการเมืองทีว่ ่า เมื่อพรรคยุบเลิกให้ทรัพย์สินตกเป็นของสาธารณกุศล แต่ขอ
แก้ไขให้ตกเป็นของมูลนิธิ เพื่อการพัฒนาพรรคแทน
ดำา เนิ นการขอยกเว้ นภาษี เ งิ น ได้สำา หรับ เงิ น บริ จ าคที่ ส มาชิ ก บริ จ าคให้ แ ก่ พ รรค ทั้ ง นี้ ข อให้ นำา
ยอดเงินดังกล่าวไปหักในการคำานวณภาษีเงินได้สว่ นบุคคลได้

พรรคการเมืองไทยฯ -8-
ดำาเนินการขอความช่วยเหลือจากรัฐในด้านเงินอุดหนุนพรรคการเมือง ตลอดจนการอำานวยความ
สะดวกในเรื่องการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ของรัฐ อาทิ การใช้สถานีวิทยุและโทรทัศน์การ
โ ฆ ษ ณ า
ประชาสัมพันธ์ของพรรคโดยเฉพาะในช่วงมีการเลือกตั้งขอความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยในการจัดส่งผู้
เชี่ยวชาญด้านพรรคการเมืองมาอบรมให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกพรรค เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทางการ
เ มื อ ง ใ น ร ะ บ อ บ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย
จัดประชุมแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเป็นประจำาในเรื่องราวทางการเมืองที่ทางพรรคได้ดำาเนินการไป
เ พื่ อ เ ผ ย แ พ ร่ ไ ป สู่ ส ม า ชิ ก พ ร ร ค ใ น ว ง ก ว้ า ง
จัดหาสมาชิกรรคที่มีความสนใจสถานการณ์ของบ้านเมืองเข้าร่วมฟังการอภิปรายของสมาชิกสภา
ผู้ แ ท น ร า ษ ฎ ร ข อ ง พ ร ร ค ใ น ก า ร ป ร ะ ชุ ม ส ภ า ผู้ แ ท น ร า ษ ฎ ร
ขอความร่วมมือจากพรรคการเมืองในต่างประเทศ ในการจัดส่งวิทยากรมาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยว
กั บ ก า ร บ ริ ห า ร พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ต ล อ ด จ น ก า ร พั ฒ น า พ ร ร ค
ปรับ ปรุง ข้ อบัง คั บพรรคให้เ หมาะสมและสอดคล้ อ งกั บสถานการณ์ ตลอดจนมี ค วามเป็น ประ
ช า ธิ ป ไ ต ย ภ า ย ใ น พ ร ร ค ใ ห้ ม า ก ที่ สุ ด
ตรวจสอบสมาชิกภาพของสมาชิกทุกๆ 1 ปี เพื่อป้องกันการย้ายพรรค โดยไม่มีการแจ้งให้ทางพรรค
ท ร า บ แ ล ะ ทำา ใ ห้ ท ร า บ จำา น ว น ส ม า ชิ ก พ ร ร ค ที่ แ น่ น อ น อี ก ด้ ว ย
4. ก า ร กำา ห น ด วิ ธี ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล แ ล ะ ติ ด ต า ม ผ ล
-จั ด ตั้ ง ห น่ ว ย ง า น วิ จั ย แ ล ะ ป ร ะ เ มิ น ผ ล ภ า ย ใ น พ ร ร ค
-ทำา ก า ร สำา ร ว จ ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ส ม า ชิ ก พ ร ร ค ทุ ก ๆ 6 เ ดื อ น
-ทำา ก า ร ป ร ะ เ มิ น ผ ล โ ค ร ง ก า ร ต่ า ง ๆ เ ป็ น ร ะ ย ะ ๆ ต า ม ค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม
ก า ร ติ ด ต า ม ผ ล วิ ธี ก า ร ป ฏิ บั ติ มี ดั ง นี้
-แ ต่ ง ตั้ ง ผู้ ต ร ว จ ก า ร พ ร ร ค เ พื่ อ ดู แ ล แ ล ะ ติ ด ต า ม ผ ล
-จั ด ประชุ ม สั ม มนาทุ ก 6 เดื อ น เพื่ อ รายงานความก้ า วหน้ า ของโครงการต่ า งๆ
-กรรมการบริหารพรรคทำาหน้าที่ในการแก้ไขปรับปรุงโครงการต่างๆ เมื่อพบว่ามีข้อบกพร่อง
5. ส รุ ป แ ล ะ ข้ อ เ ส น อ แ น ะ
สถาบั นพรรคการเมื อ งเป็ นสถาบั นทางการเมื องที่สำา คั ญ ในกระบวนการทางการเมื อ งในระบอบ
ประชาธิปไตย สำาหรับสังคมไทย พรรคการเมืองนับเป็นสิ่งใหม่ทางการเมืองที่เข้ามาสู่สังคมไทย เมื่อประมาณ 60
ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ตามกระแสการเปลี่ยนให้ทันสมัยทางการเมืองที่เริ่มเข้ามาสู่สังคมไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์
ตอนกลาง อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองไทยได้ตกอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมืองที่มีความผันแปรมาก
ทำาให้ไม่มีความต่อเนื่องในการดำา เนินบทบาทที่สมควรจะเป็น ประกอบกับวัฒนธรรมทางการเมืองดั้งเดิมของ
ไทยเรายังไม่สอดคล้องต่อการเมืองในระบบพรรคอีกด้วย ด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ ทำาให้พรรคการเมืองไทยมี
ความเป็นสถาบันทางการเมืองตำ่า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปรับตัว ความสลับซับซ้อน ความสามัคคีหรือ
เ อก ภ า พ ค ว า ม เ ป็ น อิ ส ร ะ ห รื อ ค ว า ม เ ป็ น ตั ว ข อ ง ตั ว เ อ ง ค ว า ม ช อ บ ธ ร ร ม แ ล ะ ก า ร ส นั บ ส นุ น
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะพรรคการเมืองไทยกับกรอบความคิดเชิงทฤษฎีของนักวิชาการการ
ตะวันตกแล้ว จะพบว่าพรรคการเมืองไทยจะมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวแบบที่เรียกว่า “พรรคบุคคลชั้นนำา” ซึ่งจะมี

พรรคการเมืองไทยฯ -9-
สมาชิกพรรคจำานวนน้อยที่มีคุณสมบัติสูงในแง่ของสถานภาพในสังคม ลักษณะดังกล่าวของพรรคการเมืองจึงไม่
สอดคล้ อ งต่ อ หลั ก การส่ ง เสริ ม ให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว มทางการเมื อ งโดยผ่ า นพรรคการเมื อ งแต่ อ ย่ า งใด
ด้วยเหตุนี้เอง ตัวแบบของพรรคการเมืองไทยที่ควรจะเป็นจึงน่าจะพิจารณาตัวแบบการพรรคการเมือง
ซึ่งนักวิชาการตะวันตกคนเดียวกัน เรียกว่า “พรรคมวลชน” ซึ่งมีลักษณะของพรรคการเมืองที่เน้นการมีสมาชิก
พรรคจำานวนมากและไม่ได้เน้นในเรื่องคุณสมบัติของสมาชิกพรรคเท่าใดนัก เพราะต้องการให้ประชาชนจำานวน
มากที่ สุ ด ได้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการเป็ น สมาชิ ก พรรคและสร้ า งพรรคให้ เ ข้ ม แข็ ง โดยการสนั บ สนุ น พรรค
ดังนั้นในกระบวนการพัฒนาพรรคการเมืองไทย เป้าหมายที่ทุกพรรคควรกำาหนดไว้ในขั้นตอนแรกของ
การพัฒนาก็คือ เป้าหมายของการเป็นพรรคมวลชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะต้องมีวัตถุประสงค์หลักในการขยายฐาน
สมาชิกให้กว้างขวางออกไป พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การพรรค นอกจากนี้ในการพัฒนาพรรคไปสู่ตัว
แบบดั ง กล่ า วจำา เป็ นที่ จ ะต้ องมี การกำา หนดวิ ธี การในการปฏิ บั ติ ห รือ ดำา เนิน การเพื่ อ ให้ บ รรลุ เ ป้ า หมายและ
วัตถุประสงค์ขา้ งต้น พร้อมกันนั้นจะต้องมีมาตรการเพื่อให้วิธีการปฏิบัติดังกล่าวมีโอกาส ประสบความสำาเร็จอีก
ด้ ว ย
ข้อเสนอแนะที่ฝ่ายราชการหรือผู้ใช้อำานาจรัฐ ควรจะปฏิบัติเพื่อให้กระบวนการพัฒนาพรรคการเมือง
ไ ท ย บ ร ร ลุ ค ว า ม สำา เ ร็ จ ก็ คื อ
1. ฝ่ายราชการ โดยเฉพาะกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะต้องแก้ไขปรับปรุงพระราช
บั ญ ญั ติ พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง ใ ห้ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ แ ผ น ก า ร พั ฒ น า พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง
2. ฝ่ายราชการข้างต้น จะต้องให้การสนับสนุนพรรคการเมืองให้มากขึ้น โดยอำานวยความสะดวก
ต่ า ง ๆ ใ น ก า ร ดำา เ นิ น กิ จ ก ร ร ม ท า ง ก า ร เ มื อ ง
3. จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมที่ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยจะ
ต้ อ งยกเว้ น กรณี ที่ ส มาคมนั้ น ให้ ก ารสนั บ สนุ น พรรคการเมื อ งใดพรรคการเมื อ งหนึ่ ง
4. จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติพรรคการเมือง โดยยินยอมให้พรรคการเมืองจัดตั้งมูลนิธิของ
ตนเองได้และการยุบเลิกพรรคการเมือง ให้ทรัพย์สินของพรรคตกเป็นของมูลนิธิดังกล่าว ทั้งนี้
เพื่อประกันความต่อเนื่องของพรรคการเมือง เมื่อมีการทำา รัฐประหาร ยุบเลิกพรรคการเมือง
เ ป็ น ก า ร ชั่ ว ค ร า ว
5. กระทรวงมหาดไทย จะต้องดำาเนินการแก้ไขแบบฟอร์มทะเบียนราษฎร เพื่อให้มีการระบุข้อมูล
ไว้ด้วยว่า ประชาชนที่มีประสิทธิภาพในการเลือกตั้งนั้น สังกัดพรรคการเมืองพรรคใด หรือไม่
สัง กัดพรรคใดในลั กษณะของการเป็นสมาชิ ก ทั้ง นี้เ พื่ อ ให้ การตรวจสอบสมาชิ กภาพของ
พรรคการเมื อ งต่ า งๆ มี ค วามถู ก ต้ อ งไม่ ใ ห้ เ กิ ด ซำ้า ซ้ อ นกั น ระหว่ า งพรรคการเมื อ งต่ า งๆ
จากข้องเสนอแนะที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น น่าที่จะได้มีการนำา ไปสู่การปฏิบัติบ้างไม่มาก็น้อย ทั้งนี้
ด้วยวัตถุประสงค์สำาคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นของบทความนี้ว่า เพื่อให้พรรคการเมืองไทยมีความเป็น
สถาบันทางการเมื องสู งขึ้ น และมี ลั กษณะใกล้ เ คียงกับตัว แบบพรรคมวลชน ซึ่ง สอดคล้ องกับกระบวนการ
ท า ง ก า ร เ มื อ ง ใ น ร ะ บ อ บ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ม า ก ที่ สุ ด

พรรคการเมืองไทยฯ - 10
-
บรรณานุกรม

ภ า ษ า ไ ท ย
กนก วงษ์ตระหง่าน การเมืองในระบอบประชาธิปไตย กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ การเลือกตั้งพรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล กรุงเทพฯ :
มาสเตอร์เพรส, 2531
ชัยอนันต์ สมุทวณิช ปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2530.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช และพีรศักย์ จันทรวรินทร์ ข้อมูลพื้นฐานกึ่งศตวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง
การปกครองไทย กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 2)
ประณต นันทิยะกุล “พรรคการเมือง” ใน การเมืองและสังคม รวบรวมโดย ประณต นันทิยะกุล
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 : น. 571-578.
ธีรยุทธ บุญมี “ทางสองแพร่งของประชาธิปไตยไทยในทัศนะสังคมวิทยาการเมือง” วารสารสังคมศาสตร์
ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (เมษายน 2530) : น. 6-24
ณรงค์ พ่วงพิศ ประวัติศาสตร์การปกครองและการเมืองไทย กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2527.
มนุชญ วัฒนโกเมร ข้อมูลพื้นฐานพรรคการเมืองไทยปัจจุบันและพรรคการเมืองกับการเลือกตั้ง
ปี 2522-2529 กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2529.
สุจิต บุญบงการ การพัฒนาทางการเมืองของไทย : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารสถาบันทางการเมือง
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2534. (พิมพ์ครั้งที่ 2)

ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ
Duverger, Maurice. Political Parties. Londdon : Methen Co. Ltd., 1969.
Girling, John L.S. Thailand : Society and Politics. Ithaca : Cornell University Press, 1981.

พรรคการเมืองไทยฯ - 11
-

You might also like