You are on page 1of 10

แผนการบริหารการสอนประจำาบทที่ 10

หัวข้อเนื้ อหาประจำาบท
ปั ญหาเศรษฐกิจและการแก้ไขปั ญหา
1. ปั ญหาการกระจายรายได้
2. ปั ญหาการว่างงาน
3. ปั ญหาการจัดสรรทรัพยากร
4. ปั ญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
5. ปั ญหาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
6. ปั ญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายบทบาทรัฐบาลและการแก้ไขปั ญหาทางเศรษฐกิจได้
2. อธิบายปั ญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจได้
3. อธิบายผลที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงโดยรัฐได้
วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจำาบท
1. อธิบายปั ญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและวิธีการแก้ไขปั ญหาได้
2. ซักถามเกี่ยวกับปั ญหาเศรษฐกิจและวิธีการแก้ไขปั ญหา
3. ให้นักศึกษาทำาแบบฝึ กหัด
สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารและตำาราประกอบการเรียน
2. คอมพิวเตอร์
3. โปรเจกเตอร์
4. แบบฝึ กหัด
การวัดผลและประเมินผล
1. สังเกตจากการซักถาม
2. จากการตรวจแบบฝึ กหัด
บทที่ 10
ปัญหาเศรษฐกิจและการแก้ไขปั ญหา

การบริหารงานของรัฐบาลเพื่อให้ประชาชนภายในประเทศ ได้รับ
สวัสดิการสูงสุดโดยคำา นึ งถึงการใช้ทรัพยากรที่มีจำา กัดเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ แต่รัฐบาลต้องเผชิญกับ
ปั ญหาทางเศรษฐกิจหลายประเภท ซึ่งเครื่องมือที่รัฐบาลนำ ามาใช้แก้ไข
ปั ญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้แก่นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง
และนโยบายอื่ น ๆ ที่ รั ฐ บาลใช้ ใ นการแก้ ไ ขปั ญหา สำา หรั บ ปั ญหา
เศรษฐกิจที่จะศึกษาในบทนี้ ได้แก่ ปั ญหาการกระจายรายได้ ปั ญหา
การว่ า งงาน ปั ญหาการจั ด สรรทรั พ ยากร ปั ญหาเสถี ย รภาพทาง
เศรษฐกิ จ ปั ญหาความเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ให้ ร วดเร็ ว และส่ ง
ผลกระทบต่ อ ภาวะเศรษฐกิ จ น้ อยที่ สุ ด เพื่ อให้ บ รรลุ เ ป้ าหมายทาง
เศรษฐกิจตามนโยบายเศรษฐกิจที่กำาหนดไว้
10.1 ปั ญหาการกระจายรายได้
ปั ญหาการกระจายรายได้ เป็ น ปั ญหาเศรษฐกิ จ ที่ รั ฐ บาลระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิ ยมให้ความสำาคัญมาก ความแตกต่างในรายได้ของ
ประชาชน จะนำ าไปสู่ปัญหาสังคมและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะ
เป็ น ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบีย ้ และกำา ไร เนื่ องจากอำา นาจในการต่อรอง
ของประชาชนไม่เท่ากัน จึงทำาให้เกิดความไม่เป็ นธรรมในการกำาหนด
อัตราค่าตอบแทน ยิ่งระบบเศรษฐกิจพัฒนามากเท่าใด ช่องว่างในราย
ได้ ย่ิ ง ห่ า งมากขึ้ น ทำา ให้ รั ฐ บาลต้ อ งเข้ า มาแก้ ไ ขการทำา งานของกลไก
ตลาดอย่างจริงจัง เพื่อให้การกระจายรายได้ในสังคมเป็ นธรรมมากขึ้น
เครื่องมือที่รัฐบาลนำ ามาใช้แก้ไขปั ญหาการกระจายรายได้ไม่เป็ น
ธรรม
1. มาตรการด้านการคลัง ได้แก่ มาตรการด้านภาษี อากร ภาษี
อากรเป็ นเครื่องมือทางการคลังที่สำา คัญของรัฐบาลเพื่อแก้ไขความไม่
เป็ น ธรรมในสั ง คม เช่ น รั ฐ บาลจั ด เก็ บ ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดาใน
อัตราก้าวหน้ า
2. การกำาหนดค่าจ้างขัน ้ ตำ่า
3. การควบคุมราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
10.2 ปั ญหาการว่างงาน
ปั ญหาการว่างงาน เป็ นปั ญหาที่ร ะบบเศรษฐกิ จต้ องเผชิญ โดย
เฉพาะระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ยม การว่ า งงานจะเกิ ด ขึ้ น ในช่ ว ง
เศรษฐกิจตกตำ่า เพราะผู้ผลิตหยุดกิจการหรือลดการลงทุนลง แต่ใน
ช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต ปั ญหาการว่างงานก็เกิดขึ้นได้ ถ้าหน่ วยธุรกิจใช้
เครื่องจักรมากกว่าแรงงานมนุษย์
แนวทางการแก้ไขปั ญหาการว่างงาน
1. ใช้นโยบายการเงิน นโยบายการเงินเป็ นเครื่องมือที่ธนาคารใช้
ในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น การลดอัตราเงินสดสำา รอง
ตามกฎหมาย การลดอัตราดอกเบีย ้ เป็ นต้น
2. ใช้นโยบายการคลัง โดยรัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุน
ในระบบเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มอุปสงค์รวม และช่วยให้ประชาชนมีงานทำา
เพิ่มขึ้น
3. ใช้ น โยบายด้ า นการศึ ก ษา ถ้ า ประชาชนขาดการศึ ก ษาหรื อ
อั ต ราการรู้ ห นั งสื อ ตำ่ า ก็ ไ ม่ ส ามารถนำ า ความรู้ ไ ปใช้ ใ นการดำา เนิ น
กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ เช่น อบรมคนงานให้มีความร้ด ู ้านการบริหาร
งานบุ ค คล อบรมคนงานเพื่ อ ให้ มี ค วามชำา นาญในการปฏิ บั ติง านใน
โรงงานอุตสาหกรรม เปิ ดโรงเรียนสอนการทำานา หรือขยายการศึกษา
ภาคบังคับจาก 6 ปี เป็ น 12 ปี
10.3 ปั ญหาการจัดสรรทรัพยากร
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี กลไกราคาจะทำาหน้ าที่จัดสรรทรัพยากร
ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้ดีท่ีสุด และทำา ให้สังคมได้
รั บ สวั ส ดิ ก ารสู ง สุ ด เช่ น หน่ ว ยธุ ร กิ จ จะตั ด สิ น ใจผลิ ต สิ น ค้ า ชนิ ด ใด
จำา นวนเท่าใด ราคาสินค้าจะเป็ นตัวบ่งบอก ผู้บริโภคจะบริโ ภคสินค้ า
แต่ล ะชนิ ด จำา นวนเท่า ใด ขึ้ นอยู่กับ ราคาสิ น ค้า ที่ ซ้ื อ ขายในท้ อ งตลาด
อย่างไรก็ตามกลไกราคาอาจทำา งานได้ไม่สมบูรณ์ จนกลายเป็ นปั ญหา
ความล้มเหลวของตลาด กล่าวคือ กลไกราคาทำา งานด้วยตัวมันเองจะ
ไม่ ช่ ว ยให้ ร ะบบเศรษฐกิ จ จั ด สรรทรั พ ยากรได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ทำา ให้ รั ฐบาลต้ อ งแทรกแซงเพื่ อ ให้ ก ารจั ด สรรทรั พยากรของสั งคมมี
ประสิทธิภาพ
ความล้มเหลวของระบบตลาดเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1. ตลาดมีการผูกขาด ตลาดผูกขาดผู้ผลิตสามารถกำา หนดราคา
สินค้าเพื่อให้ได้กำาไรสูงสุด และผู้ผลิตยังสามารถดำาเนิ นการอื่นเพื่อเอา
เปรียบผู้บริโภคได้ เช่น การผลิตสินค้าคุณภาพตำ่าเพื่อประหยัดต้นทุน
การควบคุมปริมาณสินค้าไม่ให้เข้าสู่ตลาดมากเกินไป ทำา ให้ผู้บริโภค
ต้องซื้อสินค้าในราคาแพง ตลาดผูกขาดผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถเข้ามา
แข่งขันได้เนื่ องจากต้องใช้เงินทุนจำา นวนมาก เพื่อมีอุปสรรคขัดขวาง
จากผู้ผูกขาดรายเดิม
2. สินค้าสาธารณะหรือสินค้ากึ่งสาธารณะ เป็ นสินค้าที่ไม่มีการ
แข่งขันและไม่สามารถแบ่งแยกการบริโภคได้
สิ น ค้ า สาธารณะเป็ นสิ น ค้ า ที่ รั ฐ บาลเข้ า มาดำา เนิ นการเอง
เนื่ องจากกลไกราคาไม่สามารถทำา งานได้ เพราะเกิดปั ญหาในเรื่อง
การบริ โ ภค ฟรี ทำา ให้ เ กิ ด ความยุ่ ง ยากในการกำา หนดราคาและ
ปั ญหาในด้า นการจัด การ เช่ น การป้ องกั นประเทศ การพยากรณ์
อากาศ การสร้างเขื่อน
สิ น ค้ า กึ่ ง สาธารณะ เป็ นสิ น ค้ า ที่ ก ลไกตลาดทำา งานได้ แ ต่ ไ ม่ มี
ประสิทธิภาพ เนื่ องจากไม่สามารถแบ่งแยกการบริโภคได้ทำาให้รัฐบาล
ต้ อ งเข้ า มาจั ด การโดยตรงหรื อ อาจปล่ อ ยให้ เ อกชนดำา เนิ น การแล้ ว
รั ฐ บาลเข้ า แทรกแซงโดยใช้ ม าตรการควบคุ ม ราคา หรื อ การให้ เ งิ น
อุดหนุน เช่น กิจการโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ
3. สิ น ค้ า ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ภายนอก ในการผลิ ต สิ น ค้ า และ
บริการ หรือการบริโภคสินค้าและบริการบางชนิ ดก่อให้เกิดผลกระทบ
ภายนอกต่อสังคมได้ ซึ่งผลกระบทมีทัง้ ที่เป็ นประโยชน์ต่อสังคม หรือ
เกิดผลเสียต่อบุคคลหรือสังคม
ผลกระทบภายนอกที่ เป็ น ประโยชน์ ต่ อ สั งคม เช่ น การให้ ก าร
ศึกษาแก่ประชาชน นอกจากผู้ศึกษาจะได้รับประโยชน์แล้ว ครอบครัว
และสังคมจะได้รับประโยชน์ด้วย แต่ประโยชน์ท่ีสังคมได้ไม่ได้กลับคืน
มายังผู้ท่ีสำาเร็จการศึกษา
ผลกระทบภายนอกที่ผลเสียต่อบุคคลหรือสังคม เช่น การปล่อย
นำ ้ า เสี ย จากโรงงานอุ ตสาหกรรมลงสู่ แม่ นำ้ า ลำา คลองสร้ า งความเดื อ น
ร้อนและเสียหายต่อสังคมและระบบนิ เวศน์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่ องจากตลาดไม่สามารถนำ า ผลกระทบมา
พิจารณาเป็ นต้นทุน หรือผลประโยชน์ ในรูปตัวเงินได้ทำา ให้เกิดความ
แตกต่างระหว่างต้นทุนเอกชนและต้นทุนทางสังคม เกิดความแตกต่าง
ระหว่างผลประโยชน์ ของเอกชนและผลประโยชน์ของสังคม ทำาให้การ
จั ด สรรทรั พ ยากรไม่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด เป็ นเหตุ ใ ห้ รั ฐ บาลเข้ า มา
แทรกแซงเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. สินค้าหรือบริการมีลก ั ษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ
การผู ก ขาดโดยธรรมชาติ เ กิ ด จากการผลิ ต เป็ นลั ก ษณะการ
ประหยัดจากขนาดกล่าวคือ เมื่อหน่ วยธุรกิจ มีขนาดการผลิตเพิ่ ม ขึ้น
ทำา ให้ ต้ น ทุ น เฉลี่ ย ของการผลิ ต สิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารลดลง สิ น ค้ า หรื อ
บริการที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติได้แก่ ไฟฟ้ า ประปา ทางหลวง
รัฐบาลดำาเนิ นกิจการเอง เพราะถ้าปล่อยให้เอกชนทำาจะเกิดปั ญหาการ
ค้ากำา ไรเกินควร แต่การที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงตลาดทำา ให้สังคมมี
สวัสดิการเลวลงได้ อาจเกิดจากระบบราชการทำางานไม่มีประสิทธิภาพ
เกิดการคอร์รัปชัน ่ ได้
แนวทางการแก้ไขปั ญหาการจัดสรรทรัพยากร
1. สินค้าสาธารณะหรือสินค้ากึ่งสาธารณะ กลไกตลาดทำางานได้
แต่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลเข้าแทรกแซงโดยใช้มาตรการควบคุมราคา
หรือให้เงินอุดหนุนแก่หน่ วยธุรกิจ
2. สินค้าที่มีผลกระทบต่อภายนอก กรณี ท่ีก่อให้เกิดประโยชน์
ต่อสังคมรัฐบาลใช้มาตรการในรูปของการให้เงินอุดหนุน ส่วนสินค้าที่
เกิดผลเสียหรือเกิดต้นทุนต่อสังคม รัฐบาลควรใช้มาตรการด้านภาษี
หรือมาตรการด้านกฎหมาย
3. สิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารที่ มี ก ารผู ก ขาดโดยธรรมชาติ รั ฐ บาล
แทรกแซงโดยการควบคุมราคาสินค้าหรือ บริการ หรื อออกกฎหมาย
ห้ามการผูกขาด
4. ลดข้อจำากัดหรือขจัดสิ่งกีดขวางกับอุตสาหกรรมบางชนิ ดเพื่อ
ป้ องกันการผูกขาด
ปั ญหาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
ทุกประเทศไม่ว่าจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม จะพบกับ
ความผันผวนทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ บางครัง้ เกิดภาวะเงินเฟ้ อ ราคา
สินค้าและบริการเพิ่มขึ้น สร้างความเดือนร้อนแก่ประชาชน บางครัง้
เกิดภาวะเศรษฐกิจตกตำ่า สินค้าขายไม่ออก การลงทุนลดลงทำาให้เกิด
ปั ญหาการว่างงานตามมา
มาตรการในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
เครื่องมือสำาคัญที่รัฐบาลนำ ามาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา
คือนโยบายการคลัง ได้แก่
1. นโยบายภาษี อ ากร รั ฐ บาลใช้ น โยบายภาษี อากรเพื่ อ รั ก ษา
เสถี ย รภาพทางเศรษฐกิ จ เช่ น ถ้ า ราคาสิ น ค้ า และบริ ก ารในระบบ
เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หรือเกิดภาวะเงินเฟ้ อ รัฐบาลเก็บภาษี อากรเพิ่มขึ้น
เพื่อลดปริมาณการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ถ้าระดับราคา
สินค้าหรือบริการในระบบเศรษฐกิจลดลง มีผลกระทบต่อการลงทุน
รัฐบาล อาจยกเว้นภาษี อากรหรือลดหย่อนภาษี ในระบบเศรษฐกิจ
2. นโยบายรายจ่าย เพื่อแก้ไขปั ญหาเศรษฐกิจของประเทศ เช่น
เมื่อประเทศมีภาวะเงิ น เฟ้ อ รัฐบาลต้อ งลดรายจ่า ยลงเพื่อ ลดอุป สงค์
รวมภายในประเทศ หรือเกิดภาวะเงินฝื ด การผลิตลดลงการว่างงาน
มากขึ้นรัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณรายจ่ายในระบบเศรษฐกิจ
3. นโยบายหนี้ ส าธารณะ โดยรั ฐ บาลกู้ เ งิ น ทั ้ง จากในและต่ า ง
ประเทศเพื่ อ รั ก ษาเสถี ย รภาพทางเศรษฐกิ จ ถ้ า เศรษฐกิ จ เกิ ด ภาวะ
เงิ น เฟ้ อ รั ฐ บาลกู้ เ งิ น จากประชาชนเพื่ อ ลดอำา นาจซื้ อ ของประชาชน
หรือเศรษฐกิจประสบกับภาวะเงินฝื ดเศรษฐกิจตกตำ่า รัฐบาลจะชำา ระ
หนี้ให้กับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
10.5 ปั ญหาความเติบโตทางเศรษฐกิจ
การให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการดำา เนิ นธุรกิจ อาจมีผลกระ
ทบต่ อความอยู่ดีกินดี ของประชาชน เศรษฐกิ จขยายตั วในอั ตราที่ ตำ่า
ทำาให้รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ
มาตรการแทรกแซงของรั ฐ เพื่ อแก้ ปั ญหาความเติ บ โตทาง
เศรษฐกิจ
1. กำา ห นด น โย บ า ย แ ล ะ แผ น ง า น เ ช่ น มี แ ผ น พั ฒ น า แ ล ะ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีแผนแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม จัด
ตัง้ สำานั กงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
2. เพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุน สร้างสาธารณูปโภคขัน ้ พื้นฐาน
10.6 ปั ญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศได้ ส่ ง ผลกระทบต่ อ สั ง คม
มากมาย ผลกระทบต่อสังคมเป็ นภาระหรือต้นทุนของสั งคม ซึ่งไม่มี
ใครรับผิดชอบ เช่นการปล่อยนำ ้ าเสียจากโรงงาน การผลิตสินค้าโดยไม่
คำา นึ ง ถึ ง ความปลอดภั ย ของผู้ บ ริ โ ภค การโฆษณาสิ น ค้ า ที่ บิ ด เบื อ น
ความจริง ต้นทุนเหล่านี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
มาตรการในการแก้ไขปั ญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
1. มีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการให้คำา นึ งถึงผลกระทบของ
การผลิต ที่มีต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เช่น ออกข้อบังคับเรื่องการ
โฆษณา ความปลอดภั ย ของผลิ ตภั ณฑ์ ระเบี ย บอาคารชุ ด มาตรการ
สนั บสนุนการใช้นำ้ามันเบนซินไร้สารตะกัว่
2. จั ด ตั ้ ง สำา นั กงานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค เช่ น มาตรฐาน อย.
มาตรฐาน สมอ.
3. จัดตัง้ กองทุนสิ่งแวดล้อม

สรุป
ปั ญหาเศรษฐกิจที่ประเทศต้องเผชิญ ได้แก่ ปั ญหาการกระจาย
รายได้ ปั ญหาการว่ า งงาน ปั ญหาการจั ด สรรทรั พ ยากร ปั ญหา
เสถี ย รภาพทางเศรษฐกิ จ ปั ญหาความเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ
ปั ญหาคุ ณ ภาพชี วิ ต และสิ่ ง แวดล้ อ ม ปั ญหาเหล่ า นี้ มี ก ารเกิ ด และ
มาตรการในการแก้ไขแตกต่างกัน ส่วนรัฐบาลจะเลือกใช้นโยบายใด
รัฐบาลจะต้องมีความเข้าใจปั ญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากปั จจัยใด เพื่อจะได้
เลือกใช้เครื่องมือในการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบบฝึ กหัดท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายของคำาต่อไปนี้
1.1 สินค้าสาธารณะ
1.2 สินค้ากึ่งสาธารณะ
1.3 ผลกระทบภายนอก
1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.5 นโยบายการเงิน
1.6 นโยบายการคลัง
2. เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้ อ รัฐบาลควรใช้นโยบายการคลังแบบใด
3. ในสภาวะที่ประชาชนว่างงาน และรัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณเพิ่ม
ขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง
4. ในภาวะเศรษฐกิ จ ตกตำ่ า รั ฐ บาลควรใช้ น โยบายการคลั ง แก้ ไ ข
อย่างไร

เฉลยแบบฝึ กหัด
1.1 สินค้าสาธารณะ หมายถึง สินค้าที่รั ฐบาลเข้า มาดำา เนิ น การเอง
เนื่ องจากกลไกราคาไม่สามารถทำางานได้สมบูรณ์ เพราะเกิดปั ญหา
เรื่องการบริโภคฟรี ทำาให้เกิดความยุ่งยากในการกำาหนดราคา และ
การจัดการ
1.2 สิ น ค้ า กึ่ งสาธารณะ เป็ นสิ น ค้ า ที่ ก ลไกราคาทำา งานได้ ไ ม่ มี
ประสิทธิภาพ เนื่ องจากเป็ นสินค้าที่ไม่สามารถแบ่งแยกการบริโภค
ได้ ทำา ให้รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงโดยการควบคุมราคาหรือการให้
เงินอุดหนุน
1.3 ผลกระทบภายนอก เป็ นผลกระทบที่ เ กิ ด จากกิ จ กรรมหรื อ
ธุรกรรมที่กระทำาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม แต่ได้ก่อให้เกิด
ผลกระทบยั งบุ คคลนอกกลุ่ ม ที่ ไ ม่ไ ด้ มี ส่ ว นได้ เสี ย ในกิ จกรรมนั ้ น
ผลกระทบภายนอกมีทัง้ ด้านบวกและด้านลบ
1.4 เสถี ย ร ภา พทางเศรษ ฐกิ จ ห ม า ย ถึ ง ร ะบ บ เศร ษ ฐกิ จ ที่ มี
เสถียรภาพระดับราคาสินค้าค่อนข้างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนั ก
และระดับการจ้างงานสูง
1.5 นโยบายการเงิน เป็ นเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้ในการควบคุม
ปริ มาณเงิ น ของประเทศให้ เหมาะสมกั บ ความต้ อ งการและความ
จำาเป็ นของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา
1.6 นโยบายการคลั ง เป็ นนโยบายเกี่ ย วกั บ รายรั บ รายจ่ า ย หนี้
สาธารณะของรั ฐ บาลเพื่ อ ให้ ร ะบบเศรษฐกิ จ บรรลุ เ ป้ าหมายทาง
เศรษฐกิจที่กำาหนดขึ้นจากงบประมาณที่ตัง้ ไว้
2 นโยบายการคลั ง ที่ รั ฐ บาลนาใช้ ใ นการแก้ ไ ขปั ญหาเงิ น เฟ้ อ คื อ
นโยบายงบประมาณเกินดุล เช่น เพิ่มอัตราภาษี หรือลดรายจ่ายของ
รัฐบาล
3 ถ้ารัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณในขณะที่มีการว่างงานเกิดขึ้น
ประชาชนที่ ว่ า งงานมี ง านทำา เพิ่ ม ขึ้ น รายได้ ป ระชาชาติ เ พิ่ ม ขึ้ น
ประชาชนมีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทำาให้การลงทุน
ขยายตัวเพิ่มขึ้น
4 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกตำ่า หรือ เกิดภาวะเงินฝื ด นโยบายการคลัง
ที่รัฐบาลนำ ามาแก้ไขปั ญหาคือ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบผ่อน
คลายคื อ ใช้ จ่ า ยงบประมาณในระบบเศรษฐกิ จ ให้ ม ากขึ้ น เพื่ อ
กระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้ นตัว

เอกสารอ้างอิง
กาญจนา สงวนวงศ์วาน และถวิลนิ ลใบ . เศรษฐศาสต์ธุรกิจ . ป.ป.ป.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำาแหง
จ ริ น ท ร์ เ ท ศ ว า นิ ช .(2550). เ ศ ร ษ ฐ ศ า ส ต ร์ ก า ร จั ด ก า ร .
กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชัน
่ .
ชูศรี มณี พฤกษ์ และคณะ . (2551) . เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น .
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูศรี มณี พฤกษ์ . (2548) . เศรษฐศาสตร์การจัดการ . (พิมพ์ครัง้ ที่
2) . นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รัตนา สายคณิ ต และชลลดา จามรกุล . (2549) . เศรษฐศาสตร์เบื้อง
ต้น . (พิมพ์ครัง้ ที่ 4 ) . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันทนี ย์ ภูมิภัทราคม และคณะ (2549) . เศรษฐศาสตร์ทัว่ ไป . (พิมพ์
ครัง้ ที่ 8) . กรุงเทพมหานคร : ธรรมสารการพิมพ์
เอกฉั ตร สิ ริ ส รรคานั นต์ . (2547) . หลั ก เศรษฐศาสตร์ ม หภาค .
สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิ ณ

You might also like