You are on page 1of 39

รายงานการศึกษา

การเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์ อากาศ

จัดทำาโดย

นายสุระชัย ชูผกา
เลขทะเบียน 5007300030

เสนอ
2

ผศ.ดร. ทัศนี ย์ บุนนาค

รายงานการศึกษานี เ้ ป็ นส่วนหนึ่ งของวิชาระบบสังคมกับทฤษฎี


ทางการสื่อสาร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน
ภาค 1 ปี การศึกษา 2550
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์

การเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์ อากาศ

ความสำาคัญของปั ญหา
ขาวพยากรณ์อากาศนั บว่าเป็ นเรื่องที่มีความสำาคัญของวิถีชีวิต
ของประชาชน เพราะเป็ นข้อมูลข่าวสารเพื่อการเตือนภัยหรือการบอก
ยำ้าให้ประชาชนได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ของสภาพอากาศที่
เปลี่ยนไปในเวลาอันใกล้ที่กำาลังจะมาถึง แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบ
เนื้ อหา และลีลาภาษาในข่าวพยากรณ์อากาศเป็ นทีท
่ ราบกันดีว่ามีความ
เป็ นทางการค่อนข้างสูงซึ่งเป็ นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ความ
ชัดเจน และความเป็ นสากล เป็ นสำาคัญ ซึ่งลักษณะเช่นนั น
้ อาจก่อให้
3

เกิดผลต่อผู้รับสารแตกต่างกันไปทัง้ ในด้านการเปิ ดรับผ่านลีลาภาษา


และความน่ าเชื่อของการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศแบบที่เป็ นอยู่ใน
ปั จจุบัน แต่ในทางตรงกันข้ามการนำ าเสนอในลักษณะที่มีความเป็ น
ทางการสูงอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไกลตัวของประชาชน อีกทัง้ ไม่
เข้าใจในภาษาที่เป็ นทางการหรือภาษาสากลที่มีลักษณะเฉพาะด้าน
ทำาให้การสื่อสารล้มเหลวไม่ประสบความสำาเร็จได้
ปรากฎการณ์การนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่
“รายการสุดสัปดาห์พยากรณ์อากาศ” ของสถานี โทรทัศน์ ไอทีวีในช่วง
สุดสัปดาห์ตัง้ แต่ต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทีผ
่ ่านมา นับว่า
เป็ นการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศที่แตกต่างแหวกแนวไปจาก
ลักษณะการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศของรายการข่าวในสถานี
โทรทัศน์ ช่องอื่นๆ อย่างเด่นชัด ทัง้ ในด้านรูปแบบลีลาการนำ าเสนอ
ภาษาที่ใช้ ตลอดจนบุคคลิกการแต่งตัวของพิธีกรหลักในรายการ โดย
เน้ นใช้รูปแบบการนำ าเสนอที่ไม่เป็ นทางการ และมีความใกล้ชิดเป็ น
กันเองค่อนข้างสูง ตลอดจนเนื้ อหาที่มีลักษณะการนำ าเสนอที่เปลีย
่ นไป
โดยเน้ นในข่าวพยากรณ์อากาศที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในทุก
ภูมิภาค ตลอดจนมีการนำ าเสนอเรื่องราวอื่นๆ สอดแทรกเข้ามา
การนำ าเสนอข่าวพยากรณ์ อากาศของสถานี โทรทัศน์ ไอทีวี
จึงนั บได้ว่า เป็ นการเข้ารหัสในการสื่อสารใหม่ถ่ายทอดไปยัง
ประชาชนผ้้รับสารที่หลากหลายกว้างขวาง กระบวนการสื่อสารที่
ประกอบด้วยการเข้ารหัสและถอดรหัสตัง้ แต่ผู้ส่งสาร ผ่านเนื้ อหาและ
รูปแบบนำ าเสนอไปยังผู้รับสารให้มีการถอดรหัสอย่างต่อเนื่ อง นั บว่า
เป็ นสิ่งที่จะทำาให้เข้าปรากฎการณ์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
4

และยังนำ าไปสู่การหาข้อสรุปในฐานะทางเลือกใหม่ของการนำ าเสนอ


ข่าวสารพยากรณ์อากาศได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อความหมายของลักษณะรูปแบบและ
ลีลาการนำ าเสนอข่าว
พยากรณ์อากาศแนวใหม่ในรายการสุดสัปดห์พยากรณ์อากาศ
สถานี โทรทัศน์ ไอทีวี
2. ค้นหาปั จจัยที่มีอท
ิ ธิพลต่อกำาหนดการนำ าเสนอรายการข่าว
พยากรณ์รายการดังกล่าว
3. เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการนำ าเสนอรายการข่าวพยากรณ์อากาศ
รูปแบบใหม่ดังกล่าว

แนวคิดและงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
จากการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) งานศึกษาวิจัย
ในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารข่าวพยากรณ์อากาศ พบเพียงชิ้น
เดียวคือ งานวิทยานิ พนธ์ของของมาลินี มีลาภสม (2543) ศึกษาเรื่อง
การเปิ ดรับ ความเข้าใจ และความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์
จากข่าวพยากรณ์ อากาศของผ้้ประกอบอาชีพประมง ทีพ
่ บว่า
ประชากรส่วนใหญ่เปิ ดรับข่าวสารพยากรณ์อากาศจากสื่อโทรทัศน์
มากกว่าสื่อวิทยุกระจายเสียง โดยมีความพึงพอใจในการเปิ ดรับระดับ
5

ปานกลางเท่านั น
้ ทัง้ นี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจความ
หมาย คำาศัพท์ และเกณฑ์การพยากรณ์ภาวะฝน ความกดอากาศ
คลื่นความร้อน ฟ้ าหลัว แต่เข้าใจดีเฉพาะเรื่องอุณหภูมิร้อน หนาว และ
เรื่องคลื่นในทะเล
มาลินีได้เสนอแนะว่า โทรทัศน์ ควรสนับสนุนการเผยแพร่ข่าวสาร
ด้านนี้ให้มากเหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคและลักษณะการประกอบอาชีพ
ด้วยรูปแบบที่น่าสนใจสอดคล้องกับเวลาของผู้รับสาร ขณะที่วิทยุ
กระจายเสียงควรให้ความสนใจข่าวพยากรณ์อากาศโดยควรมีการ
รายงานที่บอ
่ ย และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
จากลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารในเรื่องของข่าว
พยากรณ์อากาศผ่านสื่อโทรทัศน์ นัน
้ มีความสำาคัญแต่ทว่ายังมีความ
สลับซับซ้อนในการสื่อความหมายอยู่มาก ทัง้ นี้การนำ าเสนอข่าวสาร
ผ่านโทรทัศน์ นับได้ว่าเป็ นเรื่องของกระบวนการสื่อความหมายผ่าน
ระบบการเข้ารหัสผ่านระบบความหมาย (sign system) ทีผ
่ ู้ส่งสารเอง
สามารถประกอบสร้างความจริงด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์
ขณะที่ผู้รับสารเองก็สามารถที่จะเลือกกำาหนดความหมายของตัวสารที่
สื่อออกมาแตกต่างกันไปตามภูมิหลังและฐานคิดของตน
ดังที่ปรากฎในวิทยานิพนธ์ของ อารยา ถาวรวันชัย (2539) เรื่อง
ภาพลักษณ์ ของวีรบุรุษแบบผ้้ร้ายกลับใจที่ปรากฎในสื่อมวลชน
ที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้ผลิตรายการสามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ ทัง้ ในด้านบท
โทรทัศน์ ลีลาการนำ าเสนอ การจัดองค์ประกอบภาพ การพูดตอกยำ้า
ต่างๆ เพื่อเน้ นยำ้าตัวสารที่มุ่งสื่อให้เห็นถึงความเป็ นวีรบุรุษในตัวผู้เคย
กระทำาผิดแต่ได้กลับใจแล้ว แต่แม้กระนั น
้ ก็ตามผู้ชมที่เป็ นผู้รับสารที่มี
6

พื้นฐานอาชีพที่ต่างกันก็ตีความกำาหดนความหมายจากการเปิ ดรับเรื่อง
นี้ไปในแนวทางที่ไม่เหมือนกันเลย
ลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ากรอบแนวคิดการสื่อสารที่มีรูป
แบบลักษณะทางตรง (linear communication model) เพียงอย่าง
เดียวไม่เพียงพอในการอธิบายกระบวนการระหว่างการเข้ารหัสและ
ถอดรหัสทัง้ ในส่วนของผู้ส่งสาร และผู้รับสารผ่านสื่อโทรทัศน์ ได้อย่าง
รอบด้าน
Stuart Hall (Stuart Hall, 1997, pp.19-21) การสื่อสารเพื่อสื่อ
ความหมายระหว่างกันนั น
้ เป็ นเรื่องการประกอบสร้างระบบรหัส (sign
system)เพื่อการสื่อความหมายผ่านตัวแทนในระบบภาษา สัญลักษณะ
ต่างๆ ทีจ
่ ัดระบบกันเข้าเพื่อเป็ นตัวแทนสื่อความหมายของแนวความ
คิดต่างๆ ที่ต้องอาศัยคนที่อยู่ในระบบวัฒนธรรมเดียวกันจึงจะสามารถ
เข้าใจความหมายระหว่างกันได้
ในภาพรวมแล้ว Stuart Hall ( Jame Procter, 2004,pp59-69)
ชี้ว่า ในระบบการสื่อสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารนั น
้ ไม่ได้เกิดขึ้น
อย่างตรงไปตรงมา เพราะการสื่อความหมายจากตัวสารไม่ใช่เรื่องง่าย
ที่จะกำาหนดและถ่ายทอดอย่างตรงไปตรงมาจากผู้ส่งสารเท่านั น
้ และ
ตัวผู้รับสารเองก็ไม่ใช่เป็ นผู้ที่จะเปิ ดรับความหมายของสารนั น
้ อย่าง
ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ
ทัง้ นี้ในส่วนผู้ส่งสารมีเครื่องมือในการเข้ารหัสหลากหลายด้าน
ทัง้ ในด้านความสามารถในการเลือก (selection) ประเภทและองค์
ประกอบตัวแทนเพื่อการติดตัง้ รหัส การเชื่อมโยง(linking)ภาพและ
7

เสียง การเน้ นยำ้านำ าเสนอ(mode of address) ผ่านภาษา บทพูด มุม


กล้อง
ขณะที่ผู้รับสารเองก็มีระบบการถอดรหัส ผ่านการเลือกรับ
(selective perception) และเลือกตีความหมายของรหัสสาร
(preferred reading) ซึ่งมี 3 ลักษณะคือ หนึ่ ง) การถอดรหัสได้
สอดคล้องตามความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการ (Dominant hegemonic
position) สอง) การถอดรหัสอย่างผสมผสานความหมายระหว่างผู้รับ
สารและผู้ส่งสาร (Negotiated Position) สาม) การถอดรหัสความ
หมายในทิศทางตรงข้ามกับผู้ส่งสาร (Oppositional Position)
จากที่กล่าวมานั บได้ว่าการศึกษาตามแนวของ Staurt Hall มี
กรอบแนวคิดอันสัมพันธ์กับสัญญะวิทยา (semiology) ที่มีนักคิดคน
สำาคัญคือ Charles Peirce และ Ferdinan de Saussure ที่ได้นำาเสนอ
ระบบการสื่อสารผ่านระบบสัญญะไว้อย่างเป็ นระบบดังนี้ (John Fiske,
1990, pp41-58.) คือ ในกระบวนการผลิตสร้างความหมายนั น
้ จะเป็ น
อย่างไรขึ้นกับกรอบโครงสร้างทางวัฒนธรรมและภาษาในสังคมนั น
้ ๆ
เป็ นตัวกำาหนดสำาคัญ โดยในรหัสของตัวสารนั น
้ เป็ นการประกอบสร้าง
ผ่านระบบสัญลักษณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อสื่อความหมายหรือเป็ น
ตัวแทนที่ไปกระตุ้นความคิดของอีกฝ่ ายหนึ่ งได้
Peirce นำ าเสนอตัวแบบขององค์ประกอบการสื่อสารผ่านสัญญะ
(sign) ซึ่งเป็ นลักษณะทางกายภาพอันอาจได้แก่ Icon คือสัญลักษณ์ที่
มีลักษณะคล้ายกับของจริง หรือเป็ น Index ที่เป็ นตัวบ่งชี้ถึงลักษณะ
ของวัตถุนัน
้ หรืออาจเป็ นตัวสัญญลักษณะ (symbol) อันเป็ นตัวแทน
สิ่งหนึ่ งๆ ทีเ่ ป็ นไปตามข้อตกลงร่วมกันของคนกลุ่มต่างๆ โดยสัญญะ
8

เหล่านั ้ เป็ นตัวทีส


่ ่ ือความหมายให้กับผู้ใช้หรือผู้ตีความ (interpretant)
ที่สามารถถอดความหมายแล้วสัมผัสความจริงของสิ่งที่สัญญะเป็ น
ตัวแทนหรือสื่อถึงนั น
้ เอง
ขณะที่ Sasussure เน้ นว่าการสื่อสารเป็ นเรื่องของข้อตกลงร่วม
กันที่มีต่อสัญญะซึ่งจะสื่อความได้สมาชิกในสังคมต้องผ่านการเรียนรู้
ถึงสัญญะเหล่านั น
้ ร่วมกัน โดยสัญญะ (sign)เองประกอบด้วย ตัว
สัญลักษณ์หรือการกระทำาที่แสดงออกมา (signifier) และตัวให้ความ
หมายหรือความรู้สึกต่อผู้สัมผัสสิ่งนั น
้ สิ่งนั น
้ (signified) ทีเ่ กิดขึ้นจาก
นำ าเอาสัญญะต่างๆ มาประกอบสร้าง (combination) เข้าด้วยกันภาย
ใต้โครงสร้างหรือวิถีการประกอบสัญญะย่อย (syntagm)ขององค์
ประกอบเหล่านั น
้ จนสามารถสื่อความหมายนั ยตรง (denotative
meaning) และ ความหมายโดยนั ย (connotative meaning) ขึ้นกับผู้
สัมผัสจะทำาการถอดความหมายในเชิงการเทียบเคียงสัญญะเข้ากับ
ความหมายสิ่งอื่น (metaphor) หรือรำาลึกนึ กถึงความเป็ นตัวแทนของ
สิ่งนั น
้ (metonymy)

กรอบการวิเคราะห์
เมื่อนำ าแนวคิดข้างต้นมาสังเคราะห์เข้าไปเป็ นกรอบแนวทางใน
การวิเคราะห์ได้ดังนี้
9

Sources Selective
Information perception
Related Related
factors factors
Dominant position
Negotiate position
Opposite position
decoding
decoding

ผู้ส่งสาร ผูร้ ับสาร

ผู้ผลิตรายการ ผูช
้ ม

Encoding
Decoding
syntagmatic
รายการข่าว
denotative/connotative พยากรณ์อากาศ
ร้ปแบบ/เนื้ อหา/ลีลา
นำาเสนอ

ประสบการณ์ ประสบการณ์
ภ้มิหลัง/อาชีพ ภ้มิหลัง/อาชีพ
การศึกษา/ การศึกษา/

Cultural Convention

การศึกษาการเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์อากาศมุ่งศึกษาตัง้ แต่
ขัน
้ ตอนที่ผู้ผลิตรายการถอดรหัสข้อมูลข่าวสารและปั จจัยแวดล้อม
10

ต่างๆ มาเ ป็ นฐานคิดในการเข้ารหัส(encoding) ใหม่ แล้วทำาการ


สื่อสารออกไปยังผู้รับสาร โดยในส่วนของการเข้ารหัสนี้มุ่งพิจารณา
ศึกษากลวิธีการประกอบสร้างผ่านระบบสัญญะ (sign) รหัสต่างๆเพื่อ
ถ่ายทอดเนื้ อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
ขณะเดียวกันการศึกษาลักษณะการถอดรหัส(decoding) รับ
ความหมายของผู้รับสารตลอดจนมุ่งพิจารณาลักษณะการเปิ ด
รับ(selective perception) และปั จจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตีความ
ทำาความเข้าใจรับรู้เนื้ อหาจากผู้ส่งสารผ่านรหัสต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ถึง
ลักษณะของผลลัพธ์จากกระบวนการเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์
อากาศว่าผู้รับสารรับสารในลักษณะใด

คำาถามนำ าวิจัย
1. กระบวนการสื่อสารเพื่อการผลิตรายการข่าวอากาศรูปแบบ
ใหม่มีแนวทางและลักษณะวิธีการประกอบสร้างอย่างไร
2. ผลของการสื่อสารเนื้ อหารายการข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบ
ใหม่ต่อกลุ่มผู้รับสารเป้ าหมายสอดคล้องกับความต้องการของ
ผู้ส่งสารหรือไม่ อย่างไร
11

3. ปั จจัยใดบ้างที่มีอิทธิผลต่อกระบวนการเข้ารหัสและถอดรหัส
ผ่านรายการข่าวพยากรณ์รูปแบบใหม่ระหว่างผู้ส่งสารและ
ผู้รับสารกลุ่มต่างๆ

วิธีการศึกษา
1. วิเคราะห์เนื้ อหา (content analysis) ของเนื้ อหารายการข่าว
พยากรณ์อากาศในสื่อโทรทัศน์ทัว
่ ไป เปรียบเทียบกับเนื้ อหา
รายการข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่
2. สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ผลิตรายการสุด
สัปดาห์พยากรณ์อากาศข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่ของ
สถานี โทรทัศน์ ไอทีวี
3. สนทนากลุ่ม (focus group) กับ 2 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่ม
เกษตรกร และกลุ่มราชการ
4. สังเคราะห์ผลการศึกษาโดยเทียบเคียงกับกรอบวิเคราะห์
และหลักการทฤษฎี
12

การรายงานข่าวพยากรณ์ อากาศในปั จจุบน



กรมอุตนิ ยมวิทยา เป็ นหน่ วยงานหลักในการนำ าเสนอข่าวอากาศ
และการพยากรณ์อากาศซึ่งสื่อมวลชนหยิบมานำ าเสนอเป็ นประจำาทุกวัน
ในรายการข่าวประจำาสถานี ของโทรทัศน์ทุกช่อง โดยมีฐานข้อมูลหลัก
จากเว็ปไซด์ของกรมอุตนิ ยมวิทยาทีw่ ww.tmd.go.th/weather ซึ่งผู้ผลิตรายการ
ข่าวมักเลือกเอาข้อมูลเพียงด้านข่าวอากาศประจำาวันมารายงานเป็ น
สำาคัญ
ขณะทีข
่ ่าวสารพยากรณ์อากาศในฐานข้อมูลเว๊ปไซด์ของกรมอุ
ตนิ ยมวิทยา มีการนำ าเสนอเรื่องต่างๆ ทัง้ การนำ าเสนอสภาพอากาศราย
ภาค รายจังหวัด ข่าวอุตนิยมวิทยาทางภาคการเกษตร ข่าวอากาศต่าง
ประเทศ การพยากรณ์อากาศประจำาวัน ราย 3 วันและราย 7 วันข้าง
หน้ า รวมถึงข้อมูลการพยากรณ์อากาศเพื่อการเดินเรือ การขนส่ง การ
13

พยากรณ์คลื่นทะล ตลอดจนเรื่องของข้อมูลุ่มนำ้ า ข้อมูลภาพถ่าย


ดาวเทียม เรดาร์ตรวจอากาศ การประกาศเตือนภัย เส้นทางเดินพายุ
รายงานแผ่นดินไหว และสัญลักษณ์อากาศ ดังแผนภาพต่อไปนี้

สภาพอากาศ พยากรณ์อากาศประจำา Update !


วัน
เรดาร์ตรวจอากาศ
ประจำาวันที่ 29 สิงหาคม 2550
ลักษ ภาพถ่ายดาวเทียม
ณะ ร่องความกดอากาศตำ่ า
อากา กำาลังแรงพาดผ่านภาค แผนที่อากาศ
ศ กลางและภาคตะวันออก
ไทย ทัว
่ ไป ข้อมูลลุ่มนำ้า
เฉียงเหนื อ ประกอบกับ
เมื่อ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ท่ีพัด NWP Model
เวลา ปกคลุมทะเลอันดามัน ภาค
อันดามัน 04:0 ใต้ และอ่าวไทยมีกำาลังปาน GIS
0 น. กลาง ลักษณะเช่นนี้ จะทำาให้
ก ทุกภาคของประเทศมีฝนตก News !
ร ชุกหนาแน่น กับมีฝน
ุ ตกหนักบางแห่งในระยะนี้ เตือนภัย
ขอให้ประชาชนบริเวณ
ง จังหวัดพิษณุโลก เส้นทางเดินพายุ
เ นครสวรรค์ กาญจนบุรี
ท ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว รายงานแผ่นดิน
พ นครนายก นครราชสีมา ไหว
และเพชรบูรณ์ระมัดระวัง
ม อันตรายจากสภาวะนำ้าท่วม
ห ฉับพลันและนำ้าป่ าไหลหลาก
ในระยะ 1-2 วันนี้ ไว้ด้วย



อากาศต่าง สัญ ล
ประเทศ กษณ์อากาศ

อุตุนิยมวิทย
าเกษตร
พยากรณ์อากาศ

ประจำาวัน

7 วันข้างหน้า
เพื่อการเดิน
เรือ
14

เพื่อ
การขนส่ง
คลื่นทะเล

ภาษาในการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์ อากาศโดยทั่วไป


การนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศของสื่อมวลชนทัง้ สื่อวิทยุ
กระจายเสียงและสื่อโทรทัศน์ ล้วนนำ าเอาข้อความของข่าวอากาศและ
การพยากรณ์อากาศจากกรมอุตนิ ยมวิทยามานำ าเสนอทัง้ สิ้น โดยมี
การนำ าเสนอด้วยรูปลักษณ์ และวิธีการนำ าเสนอที่แตกต่างกันเพียงเล็ก
น้ อย ดังพบได้จากการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศในทุกช่วงรายการ
ข่าวของสถานี โทรทัศน์ ทุกช่อง ผู้นำาเสนอหรือผู้ประกาศข่าวมักแต่งตัว
ด้วยชุดสากล และนำ าเสนอพร้อมภาพประกอบกราฟฟิ ค ที่นำามาจาก
กรมอุตนิ ยมวิทยา อีกทัง้ ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวพยากรณ์อากาศ
ก็เป็ นไปตามภาษาที่กรมอุตนิ ยมวิทยาเขียนระบุไว้ซ่ ึงเต็มไปด้วยศัพท์
เทคนิ คเฉพาะทางอยู่มาก ดังที่ประชาชนส่วนใหญ่คุ้นเคย อาทิ

“ลักษณะอากาศทัว
่ ไปเวลา 04.00 น.ร่องความกดอากาศตำ่ากำาลัง
แรงพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนื อ ประกอบ
กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้
และอ่าวไทยมีกำาลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้จะทำาให้ทุกภาคของ
ประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่ น กับมีฝนตกหนั กบางแห่งในระยะนี้
ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัด ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก
นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะนำ้ า
15

ท่วมฉับพลันและนำ้ าป่ าไหลหลากในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย”....


“ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้ าคะนองเกือบทัว
่ ไป ร้อยละ 70
ของพื้นที่ และมีฝนตกหนั กบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา
ภูเก็ต ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำาสุด 24 องศา สูงสุด 32 องศา
ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-
2 เมตร”
ที่มา www.tmd.go.th/weather_report_daily.

เมื่อสื่อโทรทัศน์ นำาไปออกอากาศ รายการจะมีการนำ าเอาภาพ


ประกอบต่างๆ ทีเ่ กี่ยวข้องจากเว๊ปไซด์นี้มาประกอบการรายงานไป
พร้อมๆ กัน โดยมีพิธีกรที่มีการปรับเพิ่มบทนำ าเพียงเล็กน้ อย อาทิ

“สวัสดีค่ะ คุณผู้ชม ช่วงนี้มาดูดินฟ้ าพยากรณ์กันนะค่ะ ตอนนี้ที่


เกิดฝนฟ้ าคะนองไม่ใช่
ลมฝนที่พัดพาจากฝั ่ งอันดามันนะค่ะ แต่เช้านี้เป็ นลมฝนที่พัดมา
จากทะเลจีนใต้ ลมพัดสอบ พัดเบียดเข้ามา ร่องฝนพาดผ่านตอน
บนของภาคอีสาน มาดูภาพถ่ายดาวเทียมกันบ้าง จะเห็นว่ามี
เมฆฝนพาดผ่านทุกภาคของประเทศ กรมอุตนิ ยมวิทยาประกาศ
เตือน 7 จังหวัดให้ระหว่างนำ้ าท่วมเฉียบพลันในภาคอีสาน....ขณะ
ที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันมีคลื่นสูง 1 ถึง 2 เมตร....
ที่มา ข่าวททบ.5 วันที่ 3
ก.ย.50.
16

จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการเข้ารหัสของสื่อมวลชนในการรายงาน
ข่าวพยากรณ์อากาศมุ่งเลือกข้อมูลการพยากรณ์อากาศรายวันตลอด
จนเรื่องลมฝน และ คลื่นลม โดยแจกแจงในภาพรวมอย่างกว้างๆ ไม่
เฉพาะเจาะจงมากนั ก ตลอดจนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงภาษาในการ
รายงานข่าวโดยใช้ภาษาอย่างเป็ นทางการเช่นเดียวกับที่กรมอุตนิ ยม
วิทยาใช้เป็ นหลักสำาคัญ

“สุดสัปดาห์พยากรณ์ ” : การรายงานข่าวพยากรณ์ อากาศในแนว


ใหม่
สุดสัปดาห์พยากรณ์เป็ นการรายงานข่าวพยากรณ์อากาศในช่วง
สุดสัปดาห์ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 20.00 น. อันเป็ นส่วนหนึ่ งของ
ช่วงรายการข่าวประจำาวันของสถานี โทรทัศน์ ไอทีวี เริ่มออกอากาศตัง้
เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่มา โดยมีรูปแบบรายการที่แปลกแหวก
แนวไปจากรูปแบบรายการข่าวพยากรณ์อากาศในสถานี โทรทัศน์ ช่อง
ต่างๆ ทีเ่ คยดำาเนิ นการมา โดยเนื้ อหาของข่าวอากาศเป็ นการนำ าเสนอ
ข่าวอากาศทัว
่ ไปอย่างสัน
้ ๆ กระชับ ไม่มีการอ่าน หรืออธิบายราย
ละเอียด แต่แสดงให้เห็นโดยภาพกราฟฟิ ครายงานอากาศรายภาค และ
ที่สำาคัญเนื้ อหาพยากรณ์อากาศแตกต่างจากการรายงานข่าวอากาศของ
สถานี โทรทัศน์ ทัว
่ ไป เพราะเป็ นการรายงานโดยเน้ นผลกระทบต่อภาค
การเกษตร หรือต่อตัวเกษตรกรในภาคต่างๆ เป็ นสำาคัญ ซึ่งเป็ นการนำ า
เอาข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศที่มีผลกระทบต่อการเกษตรของกรมอุ
ตนิ ยมวิทยามานำ าเสนอ
17

รูปแบบรายการเป็ นลักษณะการนำ าเสนอที่แตกต่างไปโดยในตอน


ต้นเป็ นภาพ Long shot ของพิธีกรที่ใส่แว่นตาขอบดำาขนาดใหญ่ ใส่
เสื้อเหลือง เน็ คไทแดง และสวมเสื้อโค้ดกันหนาวตัวใหญ่สีน้ำ าตาล มี
ลักษณะแปลกตาไปจากการสวมชุดเสื้อผ้าของพิธีกรรายการข่าว
พยากรณ์อากาศอื่นๆ ทัว
่ ไป อีกทัง้ มีลีลาการพูดและการแสดงท่าทางที่
เน้ นยำ้านำ้ าเสียงที่แปลกแตกต่างไปจากการพูดในลักษณะปกติของ
พิธีกรที่ใช้ในการอ่านข่าว และมีการแทรกภาพกราฟฟิ กแสดงภาวะ
อากาศ อุณภูมิสูงสุด ตำ่าสุด อัตราฝนฟ้ าคะนอง ประกอบด้านข้างและ
ด้านล่าง ซึ่งเป็ นภาพลักษณะเดียวกับที่รายการข่าวพยากรณ์อากาศ
ทัว
่ ไปใช้ประกอบ ดังภาพที่นำามาแสดงต่อไปนี้

นอกจากนั น
้ แล้วยังมีการใช้ภาพเหตุการณ์จริงมาแทรกประกอบ
ในลักษณะ Medium shot ตามลักษณะเนื้ อหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะ
อากาศรายภาค อาทิ ภาพต้นลำาใย เมื่อกล่าวถึงภาวะฝนฟ้ าในภาค
เหนื อที่จะกระทบต่อการปลูกลำาใย ภาพนำ้ าท่วมในภาคตะวันออกเฉียง
เหนื อ เมื่อกล่าวถึงภาวะฝนตกหนั กและให้ระวังนำ้ าท่วมฉับพลันในภาค
ดังกล่าว
18

ยิ่งไปกว่านั น
้ ในบทปิ ด พิธีกรมักมีมุขตลกสอดแทรกประกอบภา
พกราฟฟิ ค หรือเอ็ฟเฟ็ คเชิงเหนื อจริงเข้ามาโดยเชื่อมโยงจากเนื้ อหา
ข่าวอากาศที่ได้กล่าวมา อาทิ ช่วงฝนตก นำ้ าท่วม ให้ระวังจระเข้ ก็จะมี
รูปภาพขยายของจระเข้หลุดออกมาไล่งับพิธีกร หรือต้องระวังฟ้ าผ่า ก็
เป็ นภาพพิธีกรถูกฟ้ าฝ่ า แสดงเป็ นภาพกราฟฟิ ค โครงกระดูกเต้นขณะ
ถูกสายฟ้ าฟาดลงมา เป็ นต้น
ภาษาที่ใช้ใน สุดสัปดาห์พยากรณ์
นอกจากภาษาท่าทาง และภาษาภาพประกอบที่มีลักษณะการจัด
วางในตำาแหน่ งที่แตกต่างแล้ว ภาษาพูดทีพ
่ ิธีกรใช้ในการรายงานข่าว
สุดสัปดาห์พยากรณ์ยังเป็ นไปในลักษณะไม่เป็ นทางการ เป็ นภาษาที่มี
ลักษณะภาษาพูดคุยกับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวอย่างสุภาพแต่มีอา
รมรณ์ขัน ซึ่งสอดคล้องกับบทที่วางไว้ให้มีลักษณะเป็ นกันเอง เป็ น
ลักษณะของรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ไม่เป็ นทางการ มากกว่า
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผ่านสื่อมวลชน หรือในการรายงานข่าง
พยากรณ์อากาศทัว
่ ไป ตลอดจนมีเสียงประกอบทัง้ เสียงดนตรีประกอบ
เหตุการณ์ที่มาเล่าแทรก และเสียงฝนฟ้ าคะนองแทรกประกอบให้
สอดคล้องกับช่วงของบทที่นำาเสนอ อาทิ
“สวัสดี ลูกๆ ทุกคนของคนแม่ทุกคน ก่อนจะพยากรณ์อากาศวัน
นี้ พวกเราชาวไอทีวีอยู่กับท่า
มา 10 กว่าปี แล้วเหมือนคนในครอบครัวของท่าน ถอนตัวไม่ข้ ึน
คุณแม่ของท่าเราก็เคารพเหมือนคุณแม่ของเรา วันนี้วันแม่ พวก
เราชาวทีไอทีวีก็ของกราบเท้าคุณแม่ทุกท่านที่อยู่ทางบ้านทัว

ประเทศ........(เพลง ค่านำ้ านม/ภาพ long shot พิธีกรอย่างเดียว)
19

ยิ่งไปกว่านั น
้ ในการนำ าเสนอยังใช้ภาษาที่ไม่เป็ นทางการเช่น
เดียวกันนี้นำาเสนอข่าวพยากรณ์อากาศที่ปกติการรายงานข่าวในช่อง
อื่นจะนำ าเสนอด้วยภาษาเช่นเดียวกับกรมอุตนิ ยมวิทยา แต่สำาหรับสุด
สัปดาห์พยากรณ์นอกจากใช้ภาษาไม่เป็ นทางการ ยังใช้ภาษาที่มี
ลักษณะใกล้ชิดเป็ นกันเองอย่างต่อเนื่ องในการเปรียบเปรยการรายงาน
ข่าวพยากรณ์อากาศ อาทิ ในภาษาจากแหล่งข้อมูลของกรมอุตนิ ยม
วิทยาเตือนให้เกษตรกรภาคเหนื อควรระวังเรื่องผลผลิต และชาว
ประมงควรระวังเรื่องการออกเรือ รายงานนี้เลือกแปลงมาเป็ นภาษา
ชาวบ้านที่ใกล้ชิด อาทิ เช่น
“… มาคุยกับคุณแม่เรื่องเกี่ยวกับดินฟ้ าอากาศกันก่อนดีกว่าครับ
ฝนตกกระจายทัว
่ ทุกภาคช่วง
นี้ ทำาให้คุณแม่ที่อย่ท
ู างภาคเหนื อ และทำาสวนลำาใยระยะกำาลัง
เก็บเกี่ยวเสียด้วย อาจกลุ้มใจ
เกี่ยวกับโรคผลเน่ าสีน้ำ าตาลอยู่แล้ว...”(medium shot พิธีกรและ
ภาพลำาใย เสียงฝนตกฟ้ าร้อง)
“...วันพรุ่งนี้คุณแม่ช่วยเตือนคุณพ่อที่จะออกเรือไปจับปลากุเลา
ว่า คลื่นอาจจะสูงถึง 2 เมตร
อย่าไปเล้ย มานอนร้องคาราโอเกะกับแม่ดีกว่านา อย่างนั น
้ นะ
คุณแม่ภาคใต้ที่ปลูกกาแฟ...”

จากลักษณะดังกล่าว ในการออกเสียงของพิธีกรมีลักษณะแสดง
อารมณ์อย่างเด่นชัดมากไปตามเนื้ อหาที่นำาเสนอด้วย อาทิ คำาว่า คลื่น
20

สูง พิธีกรจะออกเสียงที่สูงมากกว่าปกติ พร้อมมีภาษาท่าทางแสดง


ประกอบให้สอดคล้องกับเนื้ อหาโดยตลอด และในบทจบทุกครัง้ พิธีกร
จะใช้การแสดงออกทัง้ ภาษาพูดและภาษาท่าทางทีอ
่ อกแนวตลกขบขัน
อยู่เสมอทุกครัง้ อาทิ เช่น “.พูดแล้วคิดถึงแม่ซะแล้วซิ วันนี้วันแม่
ด้วยเดียวต้องไปกอดแม่ซะหน่อยแม่ผมขี้หนาวด้วยครับ แม๊ะๆๆๆๆๆ”
หากเทียบกับการนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศในรายการทัว
่ ไป
นั บได้การนำ าเสนอในข่าวสุดสัปดาห์พยากรณ์ มีความแตกต่างกันอย่าง
มากทัง้ ในด้านภาษาพูดที่ไม่เป็ นทางการ การไม่ใช่ศัพท์เทคนิ คใน
การนำ าเสนอ เนื้ อหาที่เน้ นการเกษตร การมีมุขตลกสอดแทรก พร้อมมี
เรื่องราวข้างเคียงที่ไม่ใช่ข่าวพยากรณ์อากาศประกอบ อีกทัง้ ภาษา
ภาพก็มีลักษณะทางสมจริงและเกินจริงประกอบตลอดจนช่วงเวลา
ที่มาของการเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์ อากาศทีไอทีวี

จุดเริ่มต้นของรายการสุดสัปดาห์พยากรณ์เริ่มจาก การที่พธ
ิ ีกร
ข่าวพยากรณ์อากาศในช่วงข่าวภาคคำ่าสุดสัปดาห์ของทีไอทีวีได้ลาออก
ไป ผู้อำานวยการสถานี ฯ จึงได้มอบหมายให้ทีมข่าวเช้านี้สุดสัปดาห์มี
ดิลก ตามใจเพื่อน โปรดิวเซอร์หลัก ทีร่ ับผิดชอบรายการข่าวเช้าวัน
หยุดอยู่แล้วมาพัฒนารายการพยากรณ์อากาศมาแทนที่รายการเดิม
โดยให้อิสระอย่างเต็มที่เนื่ องจากเป็ นช่วงที่สถานการณ์ทางสถานี มีการ
เปลี่ยนแปลงสูง ผู้บริหารต้องการใช้บุคคลากรและทรัพยกรที่มีอยู่
อย่างเต็มที่
จากจุดนั น
้ ทำาให้ดิลกพยายามคิดหาแนวทางใหม่ในการสร้างรูป
แบบรายการข่าวพยากรณ์อากาศ เพราะเขาคิดว่า รายงานข่าว

สัมภาษณ์ ดิลก ตามใจเพื่อน โปรดิวเซอร์ ฝ่ ายข่าวทีไอทีวี 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550.



21

พยากรณ์ที่นำาเสนอผ่านสื่อมวลชนในปั จจุบันไม่น่าสนใจ และไม่ได้ให้


ประโยชน์ มากนั ก ประกอบกับตัวเองมาจากครอบครัวที่เป็ นเกษตรกร
และยังคงต้องกลับบ้านทุกเสาร์อาทิตย์ทุกวันจึงคิดว่าน่ าจะทำาข่าว
พยากรณ์อากาศสำาหรับเกษตรกรซึ่งเป็ นคนส่วนใหญ่ของประเทศน่ าจะ
เป็ นประโยชน์ มากกว่า โดยมุ่งผสมผสานกับสิ่งที่ทีมงานมีอยู่เป็ น
สำาคัญ
“ผมคิดว่าคนไทยไม่ด้ข่าวพยากรณ์ อากาศ เพราะอากาศบ้าน
เรามันไม่หวืดหวา มันไม่มีผลต่อคนทัว
่ ไปๆ สักเท่าไร พวก
ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ในข่าวพยากรณ์อากาศก็ฟังกันไปอย่างนัน

แหละไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรหรอก ก็เลยคิดว่าน่าจะสร้างสรรค์
รายการให้น่าสนใจให้คนหันมาดู แต่ดูง่ายๆ สนุกๆ เพราะมันวัน
หยุดก็เล่นได้ แต่ก็สนุกมากไม่ได้เพราะอยู่ในช่วงข่าวค่่า ก็
จริงจังด้วย ประมาณว่าเนื้อหาจริงจังถูกต้อง 70 สนุกเล่นมุข 30
ผสมกัน” ดิลก อธิบายที่มา

การพัฒนาแนวคิดเข้าสู่รายการของดิลก จึงเริ่มจากการนำ าเอาตัว


พิธีกรคือ ตุลชัย พิธีกรในรายการไกลปื นเทีย
่ งซึ่งเป็ นรายการสนุกๆ
ยามเช้าวันหยุดที่เขาผลิตอยู่แล้ว มาเป็ นพิธีกรข่าวพยากรณ์อากาศซึ่ง
ตัวพิธีกรมีภาพลักษณ์ของความสนุกสนาน ตลกอยู่แล้ว จึงกำาหนดให้
เป็ นตัวแสดงหลักเน้ นแต่งตัวให้เป็ นทางการอย่างเพื่อให้เกียรติคนดู
แต่เนื้ อหามุ่งเน้ นให้เป็ นเรื่องเกี่ยวข้องกับพยากรณ์อากาศสำาหรับ
เกษตรกรเป็ นสำาคัญ ซึ่งเป็ นสิ่งกำาหดนภาษาพูดว่าต้องเป็ นภาษาที่ไม่
เป็ นทางการ แต่สำาหรับคนเมืองที่เป็ นคนดูส่วนสำาคัญอีกส่วนหนึ่ งของ
22

รายการข่าวทีไอทีวี จึงกำาหนดให้มีการแสดงภาพกราฟฟิ คพยากรณ์


อากาศเข้าไป
“มันเป็ นการผสมผสานกัน ผมต้องการเชื่อมโยงเรื่องของคน
บ้านนอก เกษตรกร ให้คนในเมืองได้รับรู้ผ่านข่าวพยากรณ์
อากาศ ขณะเดียวกันก็ต้องการเป็ นค่้มือให้ความรู้เตือนภัยให้
เกษตรกรด้วย มันจึงออกมาลักษณะผสมกัน แต่ที่ส่าคัญต้องวาง
พล๊อตเรื่องให้สนุกทุกช่วงเวลา การพูด การเปลี่ยนช็อดต้องท่า
รวดเร็ว มีสีสัน มีมุขตลก ไม่งัน
้ เขาเปลี่ยนหนีกันหมด” ดิลก
กล่าว

ฐานคิดดังกล่าวจึงเป็ นที่มาของรูปลักษณ์รายการโดยดิลกเลือกหยิก
ข้อมูลจากกรมอุตนิ ยมวิทยาในส่วนข่าวพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ
เกษตรกรมาใช้และดัดแปลงภาษาเป็ นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย
นั น
่ เอง โดยผลิตและออกอากาศโดยไม่ผ่านผู้บริหารอีกเลยซึ่งได้รับ
การยอมรับในเวลาต่อมาหลังออกอากาศ
การถอดรหัสของผู้รับสาร

ตามที่รายการสุดสัปดาห์พยากรณ์ได้กำาหนดกลุ่มเป้ าหมายเป็ น
ทุกกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มคนเมือง ผู้ศึกษาจึงได้ทำาการจัดสนทนา
กลุ่มขึ้นใน 2 กลุ่มประชากรได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในเขตรอบนอก
จังหวัดราชบุรี 4 คน และกลุ่มข้าราชการสาธารณสุขโรงพยาบาลแม่
และเด็ก จังหวัดราชบุรี โดยให้แต่ละกลุ่มตัวอย่างได้รับชมรายการสุด


จัด focus group กล่่มประชากรในจังหวัดราชบ่ร ี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย กล่่ม

ข้าราชการสาธารณส่ขโรงพยาบาลแม่และเด็ก จำานวน 4 คน และกล่่มเกษตรกรจำานวน 4 คน


23

สัปดาห์พยากรณ์ 1 รายการตัง้ แต่ต้นจนจบ ซึ่งเป็ นรายการที่ออก


อากาศในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่มีทัง้ การพูดเรื่องเกี่ยวกับแม่
หรือวันแม่ และข่าวพยากรณ์อากาศที่ใช้บทการรายงานข่าวพยากรณ์
อากาศเหมือนกับกำาลังสนทนากับคุณแม่ในภาคต่างๆ
หลังจากนั น
้ จึงเริ่มสนทนาในประเด็น การรับรู้เนื้ อหา ทัศนคติ
ความชอบ และความคิดเห็นในด้านประโยชน์ ของรายการ มีราย
ละเอียดดังนี้

ตารางแสดงผลสรุปโดยอย่างคร่าวๆ จาก 2 กลุ่มสนทนา


24

ประ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มข้าราชการ


ชากร สาธารณสุข
หัวข้อ
สนทนา
การรับรู้ จดจำาเนื้ อหาด้าน จดจำาเนื้ อหาราย
เนื ้ อหา การบอกให้ดูแล ละเอียดเรื่องวัน
รายการ พืชไร่ได้ แต่จำา แม่ได้ แต่จดจำา
เนื้ อหาข่าวอากาศ เนื้ อหาอื่นๆ ไม่
ไม่ได้นัก ชัดเจน
ทัศนคติ ชอบความตลก ไม่ค่อยชอบพิธีกร
ต่อรายการ ของตัวพิธีกร มากนั ก ชอบ
และภาษาในการ บทเพลงประกอบ
อธิบายข่าวอากาศ และภาพเด็กๆ ใน
ท้ายรายการ
ความคิด ช่วยเตือนให้ ช่วยคลายเครียด
เห็นต่อ คิดถึงไร่นาตาม สบายอารมณ์
ประโยชน์ ช่วงภาวะอากาศ
รายการ
25

จากตารางดังกล่าวเป็ นการสรุปความคิดเห็นโดยรวมของแต่ละ
กลุ่มสนทนา พบว่ามีความแตกต่างกันทัง้ ในด้านการรับรู้เนื้ อหา
รายการ ทัศนคติต่อรายการ และความคิดเห็นต่อประโยชน์ ของ
รายการค่อนข้างชัดเจน แม้ว่าทัง้ สองกลุ่มเห็นว่าเป็ นรายการที่มี
ลักษณะน่ าสนใจซึ่งทำาให้ทุกคนจดจ่อดูตัง้ แต่ต้นจนจบ โดยที่ทัง้ สอง
กลุ่มไม่เข้าใจในช่วงแรกว่ารายการนี้ เป็ นรายการข่าวพยากรณ์อากาศ
คิดว่าเป็ นการประเภท talk หรือเชิญชวนเรื่องหนึ่ งเรื่องใด จนเมื่อได้
เห็นภาพกราฟฟิ กและพิธีกรเริ่มพูดเข้าสู่บทข่าวอากาศจึงรับรู้ได้

แต่อย่างไรก็ตามเนื่ องจากเนื้ อหาการนำ าเสนอมี 2 ลักษณะดังที่


กล่าวมาแล้ว ทำาให้การรับรู้ ทัศนคติและความคิดเห็นแตกต่างกันมาก
อาทิ

กลุ่มเกษตรกรมักเลือกรับรู้ในข่าวเตือนด้านเกษตรเป็ นหลัก อาทิ


26

“รู้สึกว่าจัดรายการได้ประสมประสานดีมากเลยในเรื่องรายงาน
อากาศแต่ละภาค และยังค่าเตือน

เรื่องนี้ให้ดูแลพืชไร่และพืชสวนด้วย”

“ไม่ชอบที่ตอนย่้าเรื่องคุณแม่มากเกินไป เหมือนเป็ นเรื่องเล่นๆ”

“ชอบเข้าถึงดี น่าติดตาม ดูไปก็เออของเราก็จะโดนเหมือนอย่า


งงัน
้ มัง้ หรือปล่าว”

กลุ่มข้าราชการฯ มีคำาติติงที่ตัวพิธีกร

“ก็สนุกดีดูแล้วเพลิน แต่พิธีกรถึงว่าจะท่าท่าทางน่าสนใจ แต่พูด


มาก พูดฟ่ ุมเฟื อยไป”

“ลักษณะบุคคลิกพิธีกรขี้เหร่ไปหน่อย ไม่จูงใจ แต่ก็โอเคที่ท่าให้


เห็นถึงความส่าคัญของวันแม่”

“รู้สึกชอบเขาตรงที่พูดภาษพื้นๆ ดี ชาวบ้านเข้าใจได้ แต่ไม่ชอบ


ตรงที่พูดเร็วไป”

“มันก็ดีนะน่ารักดี แต่รู้สึกว่าพิธีกรเป็ นกันเองกับผู้ชมมากเกินไป


หรือปล่าว”
27

ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นค่อนข้างชัดเจนว่า กลุ่มข้าราชการ
กับกลุ่มเกษตรกรนั น
้ มีทัศนคติความคิดเห็นต่อรายการแตกต่างกันพอ
สมควร แม้ทัง้ สองกลุ่มชื่นชอบกับลักษณะการนำ าเสนอโดยภาพรวมที่
มีความตลกขบขันประกอบ แต่ในส่วนเนื้ อหาข่าวพยากรณ์อากาศนั น

ไม่พบว่ามีผู้ใดจดจำาเนื้ อหาที่แสดงผ่านกราฟฟิ คได้ แต่หลายคน
สามารถจดจำาเกี่ยวกับลักษณะภาษาพูดยกตัวอย่างประกอบอื่นๆ ได้
อาทิ ภาคใต้อาจมีคลื่นสูง คุณพ่อควรอยู่ร้องคาราโอเกะกับแม่ แต่ราย
ละเอียดภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพืชนั น
้ กลุ่มข้าราชการไม่มี
ใครจดจำาได้ แต่เกษตรกรสามารถจดจำาและบอกได้อย่างถูกต้อง

บทวิเคราะห์ว่าด้วยการเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์ อากาศ
จากการศึกษาการเข้ารหัสใหม่ในข่าวพยากรณ์อากาศกรณีของ
รายการสุดสัปดาห์พยากรณ์ทางสถานี โทรทัศน์ ไอทีวี เมื่อสังเคราะห์
โดยแนวคิดและทฤษฎีทางการศึกษาแล้วทำาให้ได้ข้อค้นพบดังนี้
การเข้ารหัสด้วยชุดสัญญะที่เหมาะสมนำ าไปส่้การสื่อสาร
ข่าวอากาศที่มีประสิทธิภาพ
การศึกษาพบว่าโดยภาพรวมดูเหมือนไม่ค่อยมีผู้คนสนใจข่าว
พยากรณ์อากาศมากนั ก เพราะภาวะอากาศของประเทศไม่ได้มีความ
28

ผันผวนขนาดใหญ่เช่นภูมิอากาศในหลายประเทศ แต่เมื่อศึกษาลึกลง
ไปแล้วกลับพบว่า ขณะทีข
่ ่าวอากาศและการพยากรณ์มีความสำาคัญ
น้ อยกับวิถีชีวิตคนที่ทำางานประจำาในภาคทันสมัยเช่นอาชีพรับราชการ
แต่กลับมีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อวิถีของเกษตรกรซึ่งเป็ นคนส่วนใหญ่
ของประเทศทีย
่ ังคงต้องพึ่งพาดินฟ้ าอากาศในการดำารงวิถีการผลิต
อย่างไรก็ตาม การนำ าเสนอข่าวพยากรณ์อากาศที่ผ่านให้
ประโยชน์ ต่อเกษตรกรไม่มากนั กและไม่สามารถสร้างความตระหนั ก
ในทิศทางของภาวะอากาศที่มีวิถีชีวิตของเกษตรกรได้ เพียงเพราะ
การเลือกข้อมูลมาเข้ารหัสด้วยชุดภาษาที่เป็ นทางการ (Technical
code) เป็ นสำาคัญ มิได้มีการปรับแปลงสัญญาณให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของกลุ่มผู้ต้องการข่าวสารด้านอากาศโดยตรงเช่นกลุ่มเกษตกร
ลักษณะดังกล่าวสอคล้องกับงานวิจัยของ มาลินี มีลาภสม
(2543) ทีศ
่ ึกษาเรื่อง การเปิ ดรับ ความเข้าใจ และความพึงพอใจ และ
การใช้ประโยชน์ จากข่าวพยากรณ์อากาศของผู้ประกอบอาชีพประมง ที่
พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เปิ ดรับข่าวสารพยากรณ์อากาศจากสื่อ
โทรทัศน์ มากกว่าสื่ออื่น แต่กลับมีความพึงพอใจในการเปิ ดรับเพียง
ระดับปานกลางเท่านั น
้ ทัง้ นี้เพราะประชาชนจำานวนมากที่เป็ นชาวบ้าน
ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมาย คำาศัพท์ด้านการพยากรณ์อากาศ
ซึ่งโทรทัศน์ ควรสนั บสนุนการเผยแพร่ข่าวสารด้านนี้ให้มากเหมาะสม
กับแต่ละภูมิภาคและลักษณะการประกอบอาชีพด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ
สอดคล้องกับเวลาของผู้รับสาร
แต่เมื่อวิเคราะห์จากรูปแบบการนำ าเสนอข่าวสุดสัปดาห์พยากรณ์
ที่มีการเข้ารหัสใหม่ โดยเลือก(selection) ถอดรหัสจากฐานข้อมูลด้าน
29

ที่มีผลต่อภาคการเกษตรของกรมอุตนิ ยมวิทยาที่มีข้อมูลข่าวอากาศ
และการพยากรณ์อย่างหลากหลาย แล้วจึงนำ ามาเข้ารหัสใหม่ด้วยการ
แทนค่าเลือกชุดสัญญะ (set of sign) ต่างๆ ทีเ่ หมาะสมเข้าใจง่าย
สำาหรับเกษตรกรที่มีพ้ ืนความรู้จากการศึกษาในระบบไม่มากนั ก ดังที่
ปรากฎในด้านการเลือกใช้ภาพแสดงคล้ายเหตุการณ์จริง (Icon)
ประกอบการอธิบายคำาพยากรณ์ต่างๆ อาทิ ภาพต้นลำาใย ภาพนำ้ าท่วม
ประกอบคำาอธิบายด้วยภาษาพูดทัว
่ ไป ทำาให้สามารถสื่อสารบอกถึง
ความหมายของเหตุการณ์ได้อย่างตรงไปตรงมา (Denotative
meaning) เข้าใจง่ายสำาหรับเกษตกรต่างจากการใช้ตัวบ่งชี้ (Index)
เช่นกราฟฟิ ครูปหยดนำ้ า หรือภาพการ์ตูนก้อนเมฆเมื่อแสดงภาวะฝน
หรือแม้แต่สัญญลักษณ์(symbol) ตัวเลขแสดงอุณภูมิเป็ นองศาเซลเซี
ยล
ยิ่งไปกว่านั น
้ ผู้ผลิตรายการยังได้เข้ารหัสส่งผ่านตัวพิธีกรที่จงใจ
แต่งตัวด้วยสัญญะต่างๆ อาทิ การใส่เสื้อได้แก่การใส่เสื้อเหลือง เน็ คไท
แดงขนาดใหญ่ ใส่แว่นตาขอบดำาขนาดใหญ่ ที่สามารถสื่อสารแบบเป็ น
ตัวแทน (Metonymy) ของคนเมืองที่มีความรู้แต่ทว่าไม่ค่อยรู้เรื่องรู้
ราวนั ก อันสื่อความหมายนั ยแฝง (Connotative meaning)ของความ
ความเชย ตลก แปลกตาแต่ทว่าใกล้ชิดกับการรับรู้ของชาวบ้าน โดย
ถูกยำ้าด้วยท่วงทำานองการพูดที่เน้ นหนั กเกินจริง ทำาให้เกษตกรรับรู้
และตระหนั กได้อย่างดี
การเข้ารหัสในข่าวพยากรณ์ อากาศตกอย่้ภายใต้ข้อจำากัด
ของความเป็ นสื่อมวลชน
30

จากการศึกษาพบว่า แม้ข่าวพยากรณ์รูปแบบใหม่ต้องการนำ า
เสนอในแนวทางที่แปลกแตกต่างไปจากเดิมโดยเน้ นข่าวอากาศที่เป็ น
ประโยชน์ ต่อชาวบ้านในภาคเกษตรที่เป็ นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่
ทว่าการเข้ารหัส (encoding) ยังไม่สามารถเลือกใช้ระบบสัญญะต่างๆ
หรือตัวส่งสัญญาณ (signifier) ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ของเกษตรกรได้หมด เนื่ องจากรายการข่าวพยากรณ์อากาศแนวใหม่นี้
ยังคงต้องนำ าเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ ที่มีลักษณะฟรีทีวี ซึ่งเป็ นสื่อมวลชน
ที่นำาเสนอไปยังคนหลากหลายกลุ่มอย่างกว้างขวาง ไม่สามารถจำากัด
กลุ่มผู้ชมได้ ผู้ผลิตเองต้องคำานึ งถึงกลุ่มผู้ชมที่เป็ นคนเมืองด้วย ดัง
นั น
้ การเข้ารหัสจึงมีข้อจำากัดจากสภาวะของความเป็ นสื่อมวลชน
(Mass media) มิใช่เป็ นสื่อชุมชนเฉพาะกลุ่ม (community media)
ยิ่งไปกว่านั น
้ รายการข่าวการพยากรณ์อากาศโดยตัวโครงสร้าง
ของรายการได้ถูกกำาหนดให้เป็ นส่วนหนึ่ งของรายการ “ข่าว” ที่มีช่วง
เวลาหนึ่ งเท่านั น
้ ทำาให้รายการข่าวพยากรณ์อากาศเองตกอยู่ในรูป
แบบและข้อกำาหนดอันกลายเป็ นแนวปฏิบัต(ิ Norm) ทีผ
่ ู้ส่งสารและ
ผู้รับสารยอมรับกันดีว่า ต้องเป็ นเรื่องของความน่ าเชื่อ มีบทรายงาน
เหตุการณ์จริงเป็ นสิ่งสำาคัญอย่างยิ่ง
จากข้อจำากัดดังกล่าว ทำาให้แม้ผู้ผลิตรายการต้องการทำาการเข้า
รหัสด้วยวิถีทางใหม่อย่างไรก็ยังคงตกอยู่ในระบบการเข้ารหัส
(syntagm) ทีม
่ ีรูปแบบของข่าวที่มุ่งสื่อสารไปยังคนกลุ่มใหญ่ ทำาให้
รหัสของรายการต้องเลือกจากฐานของระบบข่าว การแทรกรหัสอื่นๆ
เพื่อความบันเทิง หรือการสื่อสารเพื่อให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ งเข้าใจเป็ นการ
เฉพาะ หรือด้วยการอธิบายที่ชัดเจนมากจึงทำาได้อย่างจำากัด
31

ดังเห็นได้จากการนำ าเสนอในข่าวสุดสัปดาห์พยากรณ์เช่นรูปด้าน
ล่างนี้

จากรูปดังกล่าว สังเกตได้ว่าแม้รายการมุ่งสื่อสารเตือนภัยในข่าว
อากาศที่มีผลต่อเกษตรผ่านตัวพิธีกรที่มีความเชย พูดจาภาษาชาวบ้าน
สนุกสนาน สอดคล้องกับวิถีชาวบ้าน แต่ทว่าการนำ าเสนอข่าวสารยัง
ต้องผสมใส่รหัสตัวสื่อ (signifiers)ที่เป็ นทีท
่ างการที่บ่งชี้ (Index)ได้แก่
แผนที่ประเทศไทยที่ใส่สีเข้มไปตามแต่ละภาค และรหัสที่เป็ น
เทคนิ ค(technical code) ได้แก่ตัวเลขสัญญลักษณ์แสดงอุณภูมิไว้โดย
แบ่งสัดส่วนกันอย่างละครึ่งหนึ่ งของหน้ าจอทีเดียว เมื่อเริ่มในการ
รายการสาระข่าวอากาศ อันเป็ นการสะท้อน (signified) ถึงข้อจำากัดที่
ผู้ผลิตต้องพยายามเข้ารหัสเพื่อสื่อไปยังกลุ่มคนที่ไม่ใช่เกษตรกร และ
ยังต้องคงความน่ าเชื่อถือของรูปแบบข่าวพยากรณ์อากาศอันเป็ นการ
ผลิตจากระบบการรายงานข่าว

การถอดรหัสข่าวสารอย่้บนพืน
้ ฐานความตัง้ ใจเปิ ดรับที่ยึดโยง
กับสถานภาพทางสังคม
32

จากการศึกษาพบว่าเกิดกระบวนการถอดรหัส(decoding)ในสอง
จังหวะซึ่งล้วนมีลักษณะการเลือกถอดรหัสแบบประนี ประนอม
(Negotiated Position) ได้แก่ การถอดรหัสของผู้รับสารที่เป็ นผู้ผลิต
รายการ และการถอดรหัสรายการของผู้ชมรายการ กล่าวคือ
1. การถอดรหัสจังหวะแรกเป็ นการถอดรหัสของผู้ผลิตรายการ
โดยเลือกถอดรหัสสารจากฐานข้อมูลของกรมอุตนิ ยมวิทยาที่มีอยู่
หลากหลาย โดยแทนที่จะเลือกถอดรหัสตามแนวทางหลักที่กรมอุตนิ
ยมวิทยานำ าเสนอหลักไว้เช่นเดียวกับผู้ผลิตรายการข่าวพยากรณ์
อากาศอื่น(Dominant Hegemonic Position) แต่ด้วยภูมิหลังของ
ความใกล้ชิดกับภาคการเกษตร ตลอดจนประสบการณ์ผลิตรายการใน
ด้านที่เกี่ยวข้อง เป็ นแรงผลักดันอันสำาคัญให้ผู้ผลิตรายการปฏิเสธที่จะ
เลือกถอดรหัสตามแนวทางเดิม แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธ(Oppositional
Position)ข้อมูลจากกรมอุตนิ ยมวิทยาได้ เพราะเป็ นฐานข้อมูลหลักที่มี
ความน่ าเชื่อและเป็ นที่ยอมรับอีกทัง้ สะดวกต่อการค้นหา
ยิ่งไปกว่านั น
้ การที่ผู้ผลิตรายการมีโอกาสในการถอดรหัสใหม่ได้
ก้เพราะปั จจัยทางองค์กรที่มีความเปลี่ยนแปลงผันผวน และมีการลา
ออกของผู้ผลิตรายการเดิมอย่างกระทันหันทำาให้ผู้ผลิตรายการมีอิสระ
และมีโอกาสในการเลือกถอดรหัสข่าวสารมาใช้ในการผลิตรายการโดย
ไม่ผ่านการควบคุมในเชิงนโยบายจากทางสถานี หรือจากทางผู้อุปถัมน์
รายการดังที่เห็นเป็ นการทัว
่ ไป เพราะสถานี โทรทัศน์ ไอทีวีช่วงนี้ขาด
โฆษณาเนื่ องจากอยู่ในช่วงที่จะหมดสัญญาเปลี่ยนไปเป็ นสถานี
โทรทัศน์ สาธารณะ
33

2. การถอดรหัสจังหวะที่สองเป็ นการถอดรหัสของผู้รับสารหรือ
ผู้รับชมรายการ ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายในภูมิหลัง สภาพ
แวดล้อมและพื้นฐานอาชีพ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้รับสารที่มี
พื้นฐานอาชีพแตกต่างกันมีการเลือกเปิ ดรับและถอดรหัสในตัวสารแตก
ต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อรายการ และมี
ทัศนคติในเชิงบวกต่อตัวพิธีกร และต่อเนื้ อหาข่าวพยากรณ์อากาศที่
เตือนภัยถึงโรคพืชที่มากับความเปลี่ยนแปลงของภาวะอากาศ เพราะ
ถอดรหัสได้ถึงความใกล้ชิด ทีส
่ ่งผ่านมากับรหัสภาษาในการสื่อสาร
เข้าใจได้ง่าย จนทำาให้สามารถจดจำาและคิดตามได้ตรงความต้องการ
ของผู้ส่งสาร แต่กลุ่มนี้ก็เลือกที่จะรับรู้หรือตระหนั กในเรื่องที่ไม่
เกี่ยวข้องอื่นในระดับที่น้อยกว่า
ลักษณะดังกล่าวตรงกันข้ามกับ การถอดรหัสของกลุ่มข้าราชการ
ที่ให้การรับรู้และตระหนั กในการนำ าเสนอเรื่องวันแม่ (เพราะเป็ น
ข้าราชการโรงพยาบาลแม่และเด็ก) แต่ไม่พยายามถอดรหัสในเนื้ อหา
ข่าวอากาศที่เน้ นไปในเรื่องใกล้ตัวเกษตรกรแต่ไกลตัวข้าราชการที่มี
วิถีชิวตอยู่ในเมือง แม้ว่ามีการสื่อสารข่าวอากาศผ่านตัวแสดง หรือตัว
บ่งชี้ที่อยู่ในรหัสกระแสหลัก (conventional code) แต่เนื่ องเพราะ
กลุ่มผู้รับสารค่อนข้างถอดรหัสกับการลีลาและการใช้ภาษาในนำ าเสนอ
ของพิธีกรรายการไปในทางที่ไม่พึงพอใจ ทำาให้เปิ ดรับข่าวอากาศซึ่ง
เป็ นเนื้ อหาหลักของรายการอย่างจำากัด
ผลการศึกษาในลักษณะเช่นนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของอารยา
ถาวรวันชัย ทีศ
่ ึกษาในเรื่องภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายกลับใจที่
ปรากฎในสื่อมวลชน ทีผ
่ ู้ส่งสารไม่สามารถสื่อสารครอบงำาความคิดให้
34

ผู้รับสารคล้อยตามได้ในกลุ่มผู้รับสารที่มีอาชีพแตกต่างอยู่ขัว
้ ตรงข้าม
กับลักษณะความเป็ นผู้ร้าย การถอดรหัสข่าวสารซึ่งรวมถึงข่าว
พยากรณ์อากาศซึ่งมีความใกล้ชิดมากกว่าจึงยังคงอยู่ภายใต้อท
ิ ธิพล
ของสถานภาพทางสังคมของผู้รับสารที่ยึดโยงให้เลือกกำาหนดการ
ถอดรหัสสารแตกต่างกัน
บทสรุป
ผลการวิจัยได้นำาไปสู่คำาตอบต่อคำาถามนำ าวจัยอันเป็ นข้อสรุปได้
ดังต่อไปนี้
1. กระบวนการสื่อสารเพื่อการผลิตรายการข่าวอากาศรูป
แบบใหม่มีลก
ั ษณะการ
เข้ารหัสอย่างผสมผสานข้ามกรอบแนวปฏิบัติท่ัวไป ซึ่งมักไม่ค่อย
พบได้นักเนื่ องจากการเข้ารหัสในข่าวพยากรณ์อากาศนอกจากติดอยู่
ในกรอบความเป็ นข่าวที่เน้ นความน่ าเชื่อถือแล้วยังคงต้องยึดกับภาษา
และลีลาการนำ าเสนอตามแนวทางของกรมอุตนิ ยมวิทยาเพื่อความถูก
ต้อง แต่สำาหรับการรายงานข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่นี้ ผู้ผลิต
รายการเลือกถอดรหัสจากฐานข้อมูลด้านข่าวอากาศที่มีผลต่อด้าน
การเกษตรของกรมอุตนิ ยมวิทยาในส่วนที่ไม่เคยมีส่ ือมวลชนอื่น
หยิบยกมานำ าเสนอในข่าวพยากรณ์อากาศมาก่อนมาเป็ นแกนหลักของ
เนื้ อหาในการพยากรณ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกับเกษตรกรซึ่งเป็ นคน
ส่วนใหญ่ของประเทศ พร้อมกับสร้างความน่ าสนใจให้กับรายการด้วย
การเข้ารหัสเพิ่มในด้านเนื้ อหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์แวดล้อม
ทัว
่ ไปในช่วงเวลานั น
้ อันเป็ นการสร้างความสนใจร่วมของผู้ชมได้ใน
กลุ่มที่กว้างขวางมากขึ้น พร้อมใส่รหัสต่างๆ เพื่อสะท้อนแนวคิดหลาย
35

ประการผ่านการนำ าเสนอของตัวพิธีกรทัง้ ด้านภาษาพูดและภาษา


ท่าทางด้วย
2. ผลของการสื่อสารเนื้ อหารายการข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบ
ใหม่ต่อกลุ่มผู้รับสารเป้ าหมายนั บได้ว่าผลลัพธ์มีลักษณะของการ
ประนี ประนอมเลือกรับเนื ้ อหา (Negotiate Position)ความ
สอดคล้องกับของผู้ส่งสารระดับหนึ่ งในกลุ่มเป้ าหมายที่แตกต่างกัน
กล่าวคือรายการข่าวพยากรณ์อากาศรูปแบบใหม่นี้สามารถสื่อสารกับ
เกษตรกรได้ในด้านสร้างความตระหนั กเตือนภัยและตื่นตัวในเรื่องข่าว
อากาศด้วยภาษาพูดของพิธีกร และภาพประกอบเสมือนจริงจากพื้นที่
ไร่นา แต่ไม่สามารถทำาให้เกษตรกรรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับข่าวอากาศใน
ช่วงเวลานั น
้ ๆได้อย่างชัดเจน เพราะการนำ าเสนอข้อมูลข่าวอากาศที่
ชัดเจนนั น
้ รายการได้นำาเสนอผ่านการเข้ารหัสที่มีลักษณะเทคนิ ค
ตัวเลข อย่างรวดเร็ว ยากต่อการติดตามจดจำา แต่ขณะเดียวกัน
รายการยังไม่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารด้านการพยากรณ์อากาศให้กับ
กลุ่มคนเมืองหรือผู้มีอาชีพประจำาได้ เนื่ องจากข้อมูลหลักของรายการ
ไม่ได้เน้ นความสำาคัญของข่าวอากาศต่อกลุ่มคนเมืองแต่เป็ นด้าน
การเกษตร เป้ าหมายที่ผู้ส่งสารต้องการเชื่อมโยงให้คนเมืองรับรู้ก็ไม่
ปรากฎว่าสามารถกระทำาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามผู้รับสาร
กลุ่มนี้กลับมีความขับข้องใจ หรือไม่พึงพอใจกับบุคคลิกของพิธีกรที่
ขาดความน่ าเชื่อถือไม่ตรงกับเจตนาผู้ส่งสาร
3. ปั จจัยที่มีอิทธิผลต่อกระบวนการเข้ารหัสและถอดรหัสผ่าน
รายการข่าวพยากรณ์รูปแบบใหม่ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารกลุ่ม
ต่างๆ การศึกษาพบว่า มีปัจจัยสำาคัญในด้านการเข้ารหัสใหม่ในส่วนผู้
36

ส่งสารคือ ภูมิหลังของผู้ผลิตรายการหรือผู้ส่งสารเป็ นปั จจัยสำาคัญที่


หนุนให้เกิดแรงบันดาลใจในการถอดรหัสเก่าของข้อมูลกรมอุตนิ ยม
วิทยามาเข้ารหัสใหม่เพื่อเกษตรกรดังที่ตนเองใกล้ชิด ขณะเดียวกัน
ปั จจัยเงื่อนไขขององค์กรสื่อมวลชนเองนั บว่ามีความสำาคัญดังที่
สถานี โทรทัศน์ ไอทีวอ
ี ยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและมีการเปลี่ยนแปลง
รายการจึงเปิ ดโอกาสให้ทีมข่าวสามารถสร้างสรรค์รหัสใหม่ใสเข้าไปได้
ขณะเดียวกันพืน
้ ฐานอาชีพของกลุ่มผู้รับสารทีโ่ ยงใยกับกรอบการ
รับรู้และความต้องการในเรื่องข่าวพยากรณ์อากาศนั บว่าเป็ นปั จจัย
สำาคัญในการกำาหนดกรอบการถอดรหัสเพื่อเข้าถึงเนื้ อหารายการได้ไป
ในทิศทางที่สอดคล้องหรือตรงข้ามกับความต้องการของผู้ส่งสารเป็ น
สำาคัญ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา

1. สื่อมวลชนทัง้ โทรทัศน์ และวิทยุอ่ ืนๆ ควรมีการปรับ


ประยุกต์การเข้ารหัสเพื่อการสื่อสารข่าวอากาศใหม่ โดยผสม
ผสานทัง้ รหัสภาษาเพื่อความน่ าเชื่อถือ เข้ากับรหัสภาษาที่สอดคล้อง
กับวิถีชีวิตของคนทัว
่ ไป โดยสามารถเลือกอธิบายความหมายเพิ่มเติม
ในการรายงานข่าวอากาศ ประกอบการยกตัวอย่างเหตุการณ์จริง หรือ
การเตือนภัยประกอบควบคู่กันไป มิควรใช้รหัสภาษาที่มีเป็ นเทคนิ ค
แม้ทำาให้มีความน่ าเชื่อถือแต่ก็หาประโยชน์ ต่อประชาชนได้น้อย

2. โทรทัศน์ สาธารณะที่กำาลังจัดตัง้ กันอย่้ขณะนี ้ พึงพัฒนา


รายการต่างๆ โดยใช้บทเรียนจากการสร้างสรรค์รายการข่าว
37

พยากรณ์ อากาศแนวใหม่ทส
ี่ ามารถสร้างความตระหนั กเตือนภัยให้
เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็ นแนวทางในการเข้ารหัสใหม่ใน
การผลิตรายการประเภทต่างๆ เพื่อกลุ่มผู้ชมอื่นๆ อาทิต รายการเพื่อ
เกษตรกร เพื่อกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือกลุ่มผู้มีอำานาจซื้อน้ อยอื่นๆ ซึ่ง
โทรทัศน์ อ่ ืนๆ กระทำาได้ยากเพราะมักตกอยู่ภายใต้ขอ
้ จำากัดของ
โฆษณา หรือผู้อป
ุ ถัมน์ รายการที่ต้องนำ าเสนอสินค้าต่อผู้ชมที่มีกำาลังซื้อ
อันมีอิทธิพลต่อการกำาหนดทิศทางของรายการ

3. สื่อท้องถิ่นและสื่อชุมชนสามารถใช้บทเรียนจากการ
ศึกษานี เ้ ป็ นแนวทางในการพัฒนารายการข่าวพยากรณ์ อากาศ
สำาหรับชุมชน โดยสามารถเลือกถอดรหัสสรรข่าวอากาศรายจังหวัด
รายพื้นที่ หรือเฉพาะประเด็น จากฐานข้อมูลของกรมอุตนิ ยมวิทยา ที่
มีความเหมาะสมกับท้องถิ่นชุมชนของตนซึ่งยังไม่มีการนำ าเสนอสู่วง
กว้างมาก่อนเลย โดยสามารถทำาการเข้ารหัสด้วยภาษาท้องถิ่นและนำ า
เสนอในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่จะทำาให้
ประชาชนสามารถได้รับประโยชน์ อย่างสูงจากข่าวอากาศมากกว่าที่
เป็ นอยู่ในปั จจุบัน
38

หนั งสืออ้างอิง

มาลินี มีลาภสม. การเปิ ดรับ ความเข้าใจ ความพึงพอใจ และการใช้


ประโยชน์ จากข่าวพยากรณ์
อากาศของผู้ประกอบอาชีพประมงในชุมชนบ้านแหลมหิน และ
ชุมชนบ้านสลักเพชร จ.
ตราด. วิทยานิ พนธ์วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.
2543.
อารยา ถาวรวันชัย, รตท.ญ. ภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายกลับใจ
ที่ปรากฎในสื่อมวลชน.
วิทยานิพนธ์ ภาควิชาประชาสัมพันธ์ นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พ.ศ.
2539.
Procter, Jame. Stuart Hall. 2004. NewYork. Rontledge.
39

Fiske, John. Introduction to Communication Studies. 2 editon


nd

1990. NewYork.
Routledge.
Hall, Stuart. The Work of Representation Representation:
Cultural Representation
and Signifying Practices,edited by Stuart Hall.1997.
London. SAGEPublication.
www.tmd.go.th/weather

สัมภาษณ์
ดิลก ตามใจเพื่อน โปรดิวเซอร์ ฝ่ ายข่าว สถานี โทรทัศน์ ทีไอทีวี
14 สิงหาคม พ.ศ. 2550
กลุ่มสนทนา
กลุ่มข้าราชการ กลุ่มเกษตรกร
อนุชิต นิติธรรมยง หงษ์ เอีย
่ มทราย
ผาณิตา ชาติทอง สาโรจน์ มูลพวก
มานิตา สุพรรณเภษัช ประจวบ คงทน
วรรณิตา ทองเสริม ทวี พลอยชุม

You might also like