You are on page 1of 3

1

ข้อเสนอบางประการเพื่อการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน

เนื่ องจากสื่อวิทยุชุมชนในประเทศไทยได้เริ่มมีการดำาเนิ นการมา


ตัง้ แต่ปลายปี พ.ศ. 2544 โดยกลุ่มคนในระดับท้องถิ่นและชุมชนต่างๆ
จนมีการขยายตัวกว้างขวางในปี พ.ศ. 2547 และเรื่อยมาจนถึงใน
ปั จจุบันเริ่มตัง้ แต่เป็ นวิทยุกระจายเสียงกำาลังตำ่า ที่ไม่มีโฆษณา จนมา
เป็ นวิทยุกระจายเสียงที่หาข้อกำาหนดที่ชัดเจนไม่ได้กระจายตัวทัว่
ภูมิภาค
แม้ว่ารัฐบาลในอดีตได้มีการประกาศกฎเกณฑ์ผ่อนผันชัว่ คราว
ให้มก ี ารดำาเนิ นการสถานี วิทยุชุมชนโดยให้ยด ึ กำาลังส่ง 30 วัตต์ เสา
อากาศสูงไม่เกิน 30 เมตร เพื่อเป็ นการเตรียมความพร้อมให้ภาค
ประชาชนได้มีโอกาสก้าวเข้ามาเป็ นเจ้าของคลื่นความถี่ด้วยตนเองเพื่อ
การส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้วยการสื่อสารของ
คนในชุมชน
อย่างไรก็ตาม สภาพการณ์ในปั จจุบันเป็ นที่ประจักษ์กันดีวา่ การ
ดำาเนิ นการในนามวิทยุชุมชนมีหลายฝ่ ายเข้ามาสวมสิทธิดำาเนิ นการ ทัง้
ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนกลุ่มนั กการ
เมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ จนเกิดการก
ระจายเสียงที่สร้างความวุ่นวายในการกระจายเสียง เกิดความสับสนต่อ
นิ ยามวิทยุชุมชน ตลอดจนการซ้อนทับคลื่นความถี่ และยังมีปัญหา
อื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
ในระหว่างที่ยังมีความไม่ชัดเจนในข้อกฎหมายที่บังคับใช้ตาม
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกเนิ นนานมาก รัฐบาลปั จจุบัน
พึงสร้างความชัดเจนขจัดความสับสนเกี่ยวกับปั ญหาเรื่องวิทยุชุมชน
เพื่อเตรียมความพร้อมให้ทัง้ กับภาครัฐที่จะวางแนวทางในการกำาหนด
มาตรการต่างๆ เพื่อการสนั บสนุนการพัฒนาวิทยุชุมชน และสร้าง
ความเข้าใจอันดีต่อภาคประชาชน รัฐบาลจึงพึงประกาศกฎเกณฑ์
ชัว่ คราวในการดำาเนิ นการจัดตัง้ สถานี วิทยุชุมชนให้ชัดเจนลงไป
ดังนั ้นรัฐบาลต้องประกาศยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องเพื่อยุติการดำาเนิ นการของสถานี วิทยุชุมชนในปั จจุบัน โดยพึง
ประกาศให้กลุ่มประชาชนที่มีความต้องการดำาเนิ นการวิทยุชุมชนยื่น
คำาร้องขอจัดตัง้ โดยมีข้อกำาหนดเพื่อการพัฒนาและสนั บสนุนดังนี้
2

1. ประชาชนผู้ต้องการดำาเนิ นการสถานี วิทยุชมชนต้องมีการ


รวมตัวของคนในชุมชนที่ชัดเจน โดยต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม
และสร้างความเข้มแข็งในชุมชนผ่านระบบการสื่อสารในชุมชนเป็ น
สำาคัญ
2. ประชาชนผู้ประสงค์ดำาเนิ นการวิทยุชมชนต้องไม่มี
วัตถุประสงค์ในการดำาเนิ นการเพื่อการแสวงหากำาไร แต่สามารถ
ดำาเนิ นการหารายได้เพื่อสนั บสนุนการดำาเนิ นการของสถานี ได้ใน
ลักษณะ Non profit organization โดยสนั บสนุนให้มีการจัดทำาแผน
รายได้ รายจ่ายที่สะท้อนการดำาเนิ นการที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์
หรือเป้ าหมายของการจัดตัง้ สถานี
3. ประชาชนผู้ประสงค์ดำาเนิ นการวิทยุชุมชนต้องมีแผนการ
ดำาเนิ นงานทัง้ ในด้านผังรายการ กลุ่มผู้จด
ั รายการ แผนงานด้าน
บุคลากร แผนงานการดำาเนิ นงานทางเทคนิ ค ชนิ ดประเภทเครื่องส่ง
ความถี่ท่ีต้องการ ขนาดเสาส่งกระจายเสียง โดยระบุเหตุผลของการ
แสดงแผนงานและความต้องการเหล่านั ้นชัดเจน โดยให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์หรือเป้ าหมายดำาเนิ นการ
4. ประชาชนผู้ประสงค์ดำาเนิ นการวิทยุชุมชน ต้องมีโครงสร้างที่
แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่ครอบคลุมพื้นที่ส่ง
กระจายเสียง โดยต้องมีคณะกรรมการดำาเนิ นงานจากประชาชนใน
พื้นที่ ไม่มีองค์กรทางธุรกิจและการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องมี
คณะกรรมการที่ปรึกษาที่มาจากตัวแทนองค์กรต่างๆ ของชุมชน อาทิ
หน่ วยราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรการกุศล กลุ่ม
องค์กรอาชีพ หรือองค์กรชุม ตลอดจนสถาบันศาสนาในชุมชนไม่ตำ่า
กว่า 3 องค์กร
5. รัฐบาลพึงกำาหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาคำาร้องของกลุ่ม
ประชาชนผู้มีความประสงค์ โดยมีกรมประชาสัมพันธ์ทำาหน้ าที่เป็ น
เลขานุการร่วมกับหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนที่ไม่ใช่
หน่ วยราชการ และองค์กรมหาชนอิสระที่เกี่ยวข้องร่วมอยู่ด้วย เพื่อ
พิจารณาคำาร้อง ตลอดจนชัดตัง้ ฝ่ ายฝึ กอบรมเทคนิ ค การพัฒนา
รายการ การบริหารจัดการทางด้านบุคคลกรและการเงินชุมชนเพื่อ
สนั บสนุนให้กับผู้ท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับการอนุญาต อันจะ
ทำาให้เกิดร่วมกันผลักดันให้เกิดวิทยุชุมชนต้นแบบในหลายพื้นที่ตาม
มา
3

Surachai
Chupaka
Phd program of Mass
Communication
Thammasat
University

You might also like