You are on page 1of 2

แถลงการณ์เนื่องในวันกรรมกรสากล

1 พฤษภาคม 2553
โดย
เครือข่ายปฏิบัติการเพือ่ แรงงานข้ามชาติ (Action Network for Migrants-ANM)
และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group-MWG)

เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล ซึ่งเป็นวันที่กรรมกรทั้งหลายได้ลุกขึ้นมา


เรียกร้องทวงถามสิทธิความเป็นมนุษย์ของตน เรียกร้องให้รัฐและนายจ้างปฏิบัติต่อแรงงานในฐานะที่เป็น
มนุษย์คนหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญในการสร้างเศรษฐกิจและสังคม เป็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้การทํางานที่มี
ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์มิใช่ถูกใช้แรงงานเยี่ยงเครื่องจักร โดยเรียกร้องให้แรงงานจะต้องได้รับชั่วโมงการ
ทํางาน การพักผ่อน และการศึกษาหาความรู้อย่างละแปดชั่วโมงต่อวัน จนกระทั่งระบบนี้กลายเป็นมาตรฐาน
ด้านสิทธิแรงงานที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามแม้จะผ่านการต่อสู้เรียกร้องของกรรมกรทั่วโลกมา
เนิ่นนาน แต่กระนั้นก็ตามการละเมิดสิทธิแรงงาน สิทธิของผู้ใช้แรงงานก็ยังถูกละเมิดซ้ําแล้วซ้ําเล่า แรงงาน
กลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่ยังเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิแรงงานก็คือ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ทั้งนี้เพราะเนื่องจาก
แรงงานข้ามชาติไม่สามารถที่จะเข้าถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิที่มีอยู่ได้เนื่องมาจากปัจจัยสําคัญ คือ
แรงงานข้ามชาติจํานวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงนโยบายการจดทะเบียนเพื่อขออนุญาตทํางานได้
เนื่องจากระบบการจดทะเบียนในปัจจุบันยังเป็นระบบที่ปิด ยากต่อการเข้าถึง โดยจํากัดให้แรงงานที่เคยอยู่ใน
ระบบเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าสู่ระบบได้ ทําให้การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติจึงมีจํานวนแรงงานที่มาจด
ทะเบียนลดลงทุกปี ขณะเดียวกันกลไกการพิสูจน์สัญชาติที่ดูเหมือนจะเป็นกลไกเดียวที่รัฐบาลปักใจเชื่อว่าจะ
แก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานข้ามชาติได้ กับไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หรือความต้องการของแรงงานข้าม
ชาติเลย
ประการต่อมา แรงงานข้ามชาติจาํ นวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงช่องทางการคุ้มครองสิทธิได้เนื่องจาก
กลไกการช่วยเหลือในเรื่องการสื่อภาษา การรับรู้ข้อมูลยังไม่เกิดขึ้นจริง ควบคู่ไปกับความซับซ้อน ความ
ยุ่งยาก และอคติของผู้บังคับใช้กฎหมายต่อพวกเขาเหล่านั้น ขณะเดียวกันก็มีข้อกฎหมายจํานวนหนึ่งที่ยังกีด
กันไม่ให้พวกเขาได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายกําหนด ขณะเดียวกันสิ่งที่จะคอยปกป้องคุมครองสิทธิ
แรงงานของตัวแรงงานข้ามชาติเอง ซึ่งได้แก่ การรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ก็ยังถูกจํากัดการเป็นผู้ก่อตั้ง
และเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตาม พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
การเข้าไม่ถึงการมีสถานภาพตามกฎหมาย การไม่สามารถเข้าถึงและรับรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ
แรงงาน และการไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง ได้ทําให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิ
แรงงาน จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซ้ําแล้วซ้ําเล่า
ในฐานะกลุ่มแรงงานข้ามชาติ องค์กรด้านแรงงาน และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทํางานใกล้ชิด
กับแรงงานข้ามชาติ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยตระหนักถึงบทบาทสําคัญของแรงงานข้ามชาติที่มีส่วนสําคัญใน
การพัฒนาประเทศในช่วงยุคสมัยใหม่ และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เราเรียกร้อง
ให้รัฐบาลดําเนินการดังนี้คือ
1. สิทธิในการรวมตัว ต่อรองของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยต้องได้รับการเคารพ ส่งเสริมและ
ตระหนักถึงหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน ในเรื่องเสรีภาพในการรวมตัวและสมาคม โดยต้อง
ดําเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้แรงงานข้ามชาติสามารถเป็นผู้
ก่อตั้ง เป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ ทั้งนี้ขอให้มีการแก้ไขโดยตัดคําว่า สัญชาติไทยออก
เพื่อให้มีความเป็นสากลมากขึ้น โดยไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติ และเป็นการส่งเสริม
สิทธิในการรวมตัวและต่อรองของแรงงานทุกคนในประเทศไทย และรัฐบาลต้องลงนามรับรอง
อนุสัญญาฉบับที่ 87 และ98 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งรับรองสิทธิในการรวมกลุ่ม
การจัดตั้งสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรอง
2. รัฐบาลต้องลงนามรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและสมาชิกใน
ครอบครัว ค.ศ. 1990 (International Convention on the Protection of the Rights of All
Migrant Workers and Member of their Families 1990) เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการจัดการ
และให้การปกป้องคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย และแรงงานไทยที่
เดินทางไปทํางานต่างประเทศ
3. กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานต้องอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานข้ามชาติทําหน้าที่เป็น
“ผู้ช่วยส่งเสริมสุขภาพแรงงานข้ามชาติ” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. กระทรวงแรงงานต้องจัดตั้งกลไกการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม ซึ่งกลไก
ดังกล่าวจะต้องเป็นกลไกที่แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นมิตร
รวมทั้งมีการทํางานเชิงรุกในการให้ความรู้สิทธิและความรับผิดชอบต่อแรงงานข้ามชาติใน
ประเทศไทยด้วย
5. การได้รับยาต้านไวรัส และการได้รับการบริการด้านสุขภาพกรณีของโรคเอดส์เป็นความจําเป็น
และเป็นสิ่งที่สําคัญในการดูแลรักษาชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง ดังนั้นรัฐควรจะให้แรงงานข้ามชาติที่มี
บัตรประกันสุขภาพได้รับยาต้านไวรัส และระบบการบริการด้านสุขภาพแบบเดียวกับแรงงานกลุ่ม
อื่นๆ รวมถึงต้องมีมาตรการระยะยาวในการดูแล รักษาและคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติที่ติด
เชื้อเอชไอวี มากกว่าที่จะรองบประมาณจากกองทุนโลก (GF)
6. กระทรวงแรงงานจะต้องออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานที่ทํางานรับใช้ในบ้าน ให้ได้รับสิทธิ
แรงงานในฐานะผู้ใช้แรงงานคนหนึ่งที่พึงได้รับตามสิทธิแรงงาน ทั้งในเรื่องค่าแรง วันหยุด เงิน
ชดเชย สัญญาจ้างงาน และสิทธิอื่นๆ

-----------------------------------------------------

You might also like