You are on page 1of 33

เอกสารประกอบการศึกษา

วิชากฎหมายลักษณะนิติกรรม-สัญญา (น.๑๐๑)
กิตติศักดิ์ ปรกติ
ปญหานิติกรรมที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
อุทาหรณ ๑ ก. เปนผูเยาวโดยมี ข. เปนผูแทนโดยชอบธรรม ไดทําสัญญาจะขายที่ดินแปลงหนึ่งของตนใหแก
ค. โดยทําเปนหนังสือสัญญากันเองระบุวาสัญญาจะซื้อขายรายนี้ใหมีผลเมื่อไดรับอนุญาตจากศาลใหจําหนาย
ที่ดินแปลงดังกลาวไดตามมาตรา ๑๕๗๔ ตอมาระหวางที่ยังไมมีการยื่นคํารองตอศาลใหพิจารณาอนุญาตในการ
ขายที่ดินแปลงนี้ ข. แจงให ค. ทราบวาไมประสงคจะผูกพันตามสัญญานี้ตอไป ดังนี้ ก. จะหลุดพนจากความ
ผูกพันตามสัญญาหรือไม

อุทาหรณ ๒ ก. ประสงคจะซื้อรถยนตในหางของ ข. ราคา ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต ก. ขาดเงินมีแตสลากกินแบง


เพียง ๑ ใบจึงนําสลากกินแบงไปแสดงเพื่อขอซื้อรถยนตจาก ข. โดยตกลงทําสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขวา หาก ก. ถูก
รางวัลสลากกินแบงที่ออกรางวัลในวันนั้นและไดรับเงินอยางนอย ๕๐๐,๐๐๐ บาท ก. และ ข. ตกลงซื้อขายรถยนต
คันนั้นกัน ดังนี้หากปรากฏวาสลากของ ก. ถูกรางวัลที่ ๑ ในวันนั้นมีมูลคา ๓ ลานบาท ดังนี้สัญญาซื้อขายระหวาง
ก. กับ ข. มีผลบังคับไดหรือไม เพราะเหตุใด

อุทาหรณ ๓ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา ในเวลาที่ ก. กับ ข. ตกลงทําสัญญากันนั้นสลากกินแบงไดออก


รางวัลไปแลวตั้งแตเมื่อวันกอนที่ทั้งสองจะตกลงกัน ๑ วัน แต ก. ยังไมทันไดตรวจวาสลากของตนถูกรางวัล
หรือไม

อุทาหรณ ๔ กรณีจะเปนอยางไรหากปรากฏวา สลากกินแบงที่ใชในการตกลงกันนั้นเปนของงวดกอนหนานี้ซึ่ง


ไดออกรางวัลไปแลว และ ก. ไมไดรับรางวัลใด ๆ เลย แตคูกรณีทั้งสองฝายเขาใจผิดไปวาเปนสลากงวดที่กําลังจะ
ออกรางวัลในวันนั้น

อุทาหรณ ๕ ก. ประสงคจะซื้อเครื่องรับโทรทัศนเครื่องหนึ่งจาก ข. เปนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท โดยทั้งสองฝายตก


ลงกันใหชําระราคาเปนงวด ๆ งวดละ ๒,๐๐๐ บาท โดย ข. ตกลงสงมอบเครื่องรับโทรทัศนให ก. ไปใชไดไดกอน
แต ข. ตกลงสงวนการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องรับโทรทัศนนี้ไวจนกวา ก. จะชําระราคาครบถวน ดังนี้สัญญาซื้อ
ขายรายนี้สําเร็จเด็ดขาดลงแลว หรือเปนสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไข

อุทาหรณ ๖ ตามกรณีในอุทาหรณ ๕ หาก ก. นําเครื่องโทรทัศนที่ซื้อมาไปตรวจสภาพที่รานของ ข. หลังจาก


ไดผอนชําระไปแลว ๓ งวด ปรากฏวา ข. ไดขายเครื่องรับโทรทัศนเครื่องนั้นตอไปยัง ค. เปนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท
ดังนี้ ก. จะมีสิทธิเรียกคาสินไหมทดแทนจาก ข. หรือเรียกให ค. สงมอบเครื่องรับโทรทัศนเครื่องดังกลาวคืนแก
ตนไดหรือไม เพียงใด

๒๓๒
สวนที่ ๕
นิติกรรมมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
และนิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม
๑. นิติกรรมมีเงือ่ นไขหรือเงือ่ นเวลา

๑.๑ ความหมาย ความสําคัญ และกรณีที่อาจตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได


ก) ขอความคิดวาดวยเงื่อนไข
คําวาเงื่อนไขเปนคําที่มีไดหลายความหมาย ตามความหมายทั่วไปนั้น เงื่อนไขของสิ่งหนึ่ง
สิ่งใดหรือเหตุการณหนึ่งเหตุการณใด หมายถึงพฤติการณซึ่งเปนสาเหตุหรือมีความเกี่ยวพันเชิง
เหตุผลกับสิ่งนั้น หรือเหตุทที่ ําใหเหตุการณนั้นมีขนึ้ หรือมีผลเปนที่ยอมรับได เชนเงื่อนไขในการ
ชําระหนี้มวี า ลูกหนี้ตองชําระเปนเงินสด หรือเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญามีวาตองทําเปนหนังสือ
เงื่อนไขในการสงมอบกําหนดวาจะตองทําในระหวางเวลากลางวัน เปนตน สวนในแงกฎหมายนิติ
กรรมนั้นคําวา “เงื่อนไข” มีความหมายเฉพาะ กลาวคือนิติกรรมที่มีเงื่อนไข หมายถึงนิติกรรมที่มี
ขอกําหนดใหนิติกรรมนั้นเปนผล เมื่อมีเหตุการณอนั ไมแนนอนวาจะเกิดขึ้นหรือไมในอนาคต
เกิดขึ้น (มาตรา ๑๘๒ ปพพ.)
เงื่อนไขในความหมายของมาตรา ๑๘๒ ปพพ. จึงมีความหมาย ๒ นัยคือ นัยประการแรก
หมายถึงขอกําหนดในนิตกิ รรมนั้นเองซึ่งจะทําใหนิติกรรมมีผล สวนนัยประการตอมา เงื่อนไขยัง
หมายถึงเหตุการณในอนาคตอันไมแนนอนวาจะเกิดขึ้นหรือไมอีกดวย
(๑) เงื่อนไขตามทีก่ ฎหมายกําหนดไวนี้ กฎหมายมุงหมายถึงเงื่อนไขของนิติกรรม ซึ่งเปน
เงื่อนไขในแงขอกําหนดแหงนิติกรรมที่ผูทํานิติกรรมกําหนดขึ้นดวยเจตนา ไมใชเงื่อนไขทาง
กฎหมายซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงขอกําหนดที่เปนองคประกอบแหงความมีผลตามกฎหมายในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง เราจึงควรเขาใจโดยแยกแยะวา เงือ่ นไขที่กําหนดขึ้นในนิติกรรมนี้เปนคนละกรณีกันกับ
เงื่อนไขทางกฎหมาย เพราะนิติกรรมที่ทําขึ้นโดยมีเงื่อนไขนั้นยอมเกิดผลเปนนิติกรรมที่ผูกพันกัน
แลวทันทีที่ทํานิติกรรมนั้นสําเร็จลง และคูก รณีทั้งสองฝายยอมมีสิทธิและหนาที่ระหวางกันแลว
(มาตรา ๑๘๔, ๑๘๕ ป.พ.พ.) แมวาเงื่อนไขจะยังไมสําเร็จและนิติกรรมนั้นยังไมเปนผลก็ตาม
ความสําเร็จของเงื่อนไขเพียงแตทําใหนิตกิ รรมที่เกิดขึ้นแลวนั้นเปนผลหรือสิ้นผลไปตามที่ตกลงกัน
เทานั้น สวนเงือ่ นไขทางกฎหมายนัน้ กฎหมายมุงหมายถึงองคประกอบทางกฎหมายที่ทําใหนิติ
กรรมมีผลตามกฎหมายเปนสําคัญ เชนสัญญาใหยอมสมบูรณเมื่อสงมอบ (มาตรา ๕๒๓ ป.พ.พ.)

๒๓๓
การสงมอบจึงเปนเงื่อนไขความสมบูรณหรือเปนองคประกอบของสัญญาให หากองคประกอบทาง
กฎหมายยังไมครบถวนนิติกรรมยอมไมครบองคประกอบและไมเกิดเปนนิติกรรมเลย
ตัวอยางที่เห็นได ไดแกกรณีตามอุทาหรณ ๑ ซึ่งเปนกรณีที่กฎหมายไดกําหนดไวเปนองค
ประกอบทางกฎหมายในมาตรา ๑๕๗๔ ปพพ. วา การจําหนายทีด่ ินของผูเยาวจะจําหนายไดก็
ตอเมื่อไดรับอนุญาตจากศาลแลว ในกรณีเชนนี้เมื่อพิเคราะหดูความมุงหมายของกฎหมายแลวเห็น
ไดวา กฎหมายมุงใหนิติกรรมเกิดขึ้นเมื่อครบองคประกอบตามที่กฎหมายกําหนด คือจะตองไดรับ
อนุญาตจากศาลเสียกอน การไดรับอนุญาตจากศาลจึงนับเปนเงื่อนไขทางกฎหมาย ไมใชเงื่อนไข
แหงนิตกิ รรม ดวยเหตุนี้ไมวา นิติกรรมซื้อขายนั้นจะกําหนดใหการไดรบั อนุญาตจากศาลเปน
เงื่อนไขหรือไมกําหนดเงื่อนไขใด ๆ เลยก็ตาม การไดรับอนุญาตจากศาลก็ยังคงเปนองคประกอบที่
จะทําใหนิตกิ รรมนั้นมีผลหรือไมมีผลอยูด๑ี และโดยทีเ่ ปนองคประกอบแหงนิตกิ รรม คูกรณีจึงไม
อาจตกลงใหซอื้ ขายกันโดยไมตองไดรับอนุญาตจากศาล เพราะหากขืนตกลงกันเชนนั้นก็เปนการ
อันขัดตอกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมยอมตกเปน
โมฆะ
อยางไรก็ตาม คําวาเงื่อนไขที่คูกรณีตกลงกันในนิติกรรมตาง ๆ นั้น ไมจําเปนจะตองเปน
เงื่อนไขอันเปนขอกําหนดเกีย่ วกับความเปนผลหรือสิ้นผลของนิติกรรมที่ข้นึ อยูกับเหตุการณทไี่ ม
แนนอนในอนาคตตามความหมายในมาตรา ๑๘๒ ปพพ. เสมอไป เพราะอาจมีการตกลงเงื่อนไข
อยางอื่น ซึ่งไมใชเปนขอกําหนดเกี่ยวกับความเปนผลของนิติกรรมก็ได เชนเงื่อนไขการปฏิบัติการ
ชําระหนี้ เงื่อนไขสงมอบ หรือรับมอบสินคา เงื่อนไขการชําระเงิน หรือเงื่อนไขการรับสมัครบุคคล
เขาทํางาน เปนตน เงื่อนไขเหลานี้ไมกระทบตอความมีผลแหงนิติกรรม ไมอาจนับวาเปนเงื่อนไข
แหงนิตกิ รรม๒
(๒) เงื่อนไขแหงนิติกรรมในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยนั้นหมายถึง “เหตุการณอัน
ไมแนนอนวาจะเกิดขึ้นหรือไมในอนาคต” ซึ่งหากสําเร็จเมื่อใด คูกรณีตกลงใหนิตกิ รรมเปนผลหรือ
สิ้นผล


โปรดดู ฎีกาที่ ๕๖๐/๒๕๑๐ ๒๕๑๐ ฎ.๘๓๑ สัญญาจะขายที่ดินมีขอความกําหนดวาผูขายจะดําเนินการยื่น
คํารองตอศาลขอขายที่ดินแทนเด็ก ดังนี้เมื่อไดรองตอศาลก็เปนการปฏิบัติตามสัญญาแลว เมื่อศาลไมอนุญาต
ใหขายก็เปนอันไมซื้อไมขาย ไมสําเร็จตามเงื่อนไข อนึ่งกรณีนี้ จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, พิมพ
ครั้งที่ ๕ ๒๕๒๘, หนา ๒๑๗ อธิบายวาเปนสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับกอนวาตองไดรับอนุญาตจากศาล
ใหขายได

โปรดดู ฎีกาที่ ๑๖๙๘/๒๕๑๕ ๒๕๑๕ ฏ. ๑๒๓๑ จําเลยตกลงยอมชดใชเงินแกโจทกเพราะทํางานผิดระเบียบ
โดยโจทกจะใหจําเลยกลับเขาประจําตําแหนงเดิม ขอที่โจทกรับจะทํานี้ไมใชเงื่อนไข ดังนั้นเมื่อโจทกสั่งให
จําเลยประจําตําแหนงเดิมแลว แมจําเลยไปรับตําแหนงไมไดเพราะปวย จําเลยก็ตองใชเงินแกโจทกตาม
สัญญา

๒๓๔
เหตุการณอันไมแนนอนซึ่งเปนสาระสําคัญของเงื่อนไขนี้ จะตองเปนเหตุการณอนั ไมแนวา
จะเกิดขึ้นหรือไม ถาเปนเหตุการณที่รูแนวาจะตองเกิดขึ้นอยางแนนอนในอนาคต เพียงแตไมรูแนวา
จะเกิดขึ้นเมื่อใด ดังนี้เหตุการณนั้นไมใช “เงื่อนไข” ในความหมายนี้ แตแทที่จริงแลวเปน “เงื่อน
เวลา” ซึ่งหมายถึงเหตุการณในอนาคตที่จะตองเกิดขึ้นอยางแนนอน
ตัวอยางเชน ก. สัญญาตอ ข. วาจะชําระเงินชวยคาทําศพ เปนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาทแก ข. หรือ
ทายาทของ ข. หากบิดาของ ข. ถึงแกความตาย ดังนีจ้ ะเห็นไดวา ความตายของบิดาของ ข. ซึ่งดู
เหมือนจะเปนเงื่อนไขในการชําระเงินชวยคาทําศพตามสัญญานี้ แทที่จริงแลวไมอาจนับเปน
เงื่อนไขในความหมายที่เปนเหตุการณในอนาคตที่ไมแนวาจะเกิดขึ้นหรือไม แตความตายของบิดา
ของ ข. นั้นเปนเหตุการณอนั จะตองเกิดขึน้ อยางแนนอน เพียงแตไมรแู นวาจะเกิดขึน้ เมื่อใดเทานัน้
นอกจากเงื่อนไขจะตองเปนเหตุกรณอนั ไมแนวาจะเกิดขึน้ หรือไมแลว เงื่อนไขยังตองเปน
เหตุการณในอนาคตอีกดวย ดังนั้น ถา “เงื่อนไข” ที่ตกลงกันเปนเหตุการณในปจจุบันหรือเปนเหตุ-
การณในอดีตที่ผานพนไปแลว ดังนี้เหตุการณเชนนัน้ ยอมไมอาจนับเปนเงื่อนไขแหงนิติกรรมตาม
ความหมายนี้ แมวาคูกรณีในนิติกรรมจะไดตกลงกันโดยไมรวู าเหตุการณที่ตกลงกันวาเปนเงื่อนไข
นั้นไดเกิดขึน้ แลวในอดีตหรือในปจจุบนั ก็ตาม ในเรื่องนี้มีบัญญัติไวในมาตรา ๑๘๗ ปพพ. ที่วา
ถาเงื่อนไขสําเร็จแลวแตในเวลทํานิติกรรม หากเปนเงื่อนไขบังคับกอนใหถือ
วานิติกรรมนัน้ ไมมีเงื่อนไข หากเปนเงื่อนไขบังคับหลัง ใหถือวานิติกรรมนั้นเปน
โมฆะ
ถาเปนอันแนนอนในเวลาทํานิติกรรมวา เงื่อนไขไมอาจจะสําเร็จได หากเปน
เงื่อนไขบังคับกอน ใหถือวานิติกรรมนั้นเปนโมฆะ หากวาเปนเงื่อนไขบังคับหลัง
ใหถือวานิติกรรมนั้นไมมีเงื่อนไข
หลักตามมาตรา ๑๘๗ ปพพ. นี้เปนหลักธรรมดา ซึ่งตั้งอยูบนหลักการสันนิษฐานเจตนาที่
แทจริงของคูกรณีวา หากรูวาเหตุการณอันเปนเงื่อนไขนัน้ สําเร็จลงแลว หรือรูวาไมอาจสําเร็จได
เปนแนแท คูกรณีก็คงจะตกลงหรือไมตกลงกันเลยตามเหตุตามผล
ในกรณีที่เงื่อนไขสําเร็จแลวในเวลาทํานิตกิ รรม ถาคูกรณีรูวาเงื่อนไขสําเร็จลงแลว ก็คงจะ
ตกลงกันไปโดยไมตั้งเปนเงือ่ นไขบังคับกอน เชน๓ตกลงเชาบานกัน โดยมีเงื่อนไขบังคับกอนวาให
สัญญาเชามีผลบังคับเมื่อผูเชาถูกยายมาประจําในทองที่นนั้ ดังนี้ถาไดรแู ลววาถูกยายมาแลวตั้งแต
เวลาที่ตกลงเชากัน ก็คงจะเชาบานกันโดยไมยกเหตุวาจะถูกยายหรือไมมาเปนเงื่อนไข ซึ่งก็คือ
เปนไปตามเจตนาที่แทจริงของคูกรณีนั่นเอง หรือในทางกลับกัน ถาเปนเงื่อนไขบังคับหลัง เชนตก
ลงเชาบานกันโดยตั้งเงื่อนไขบังคับหลังวาใหสัญญาเลิกกันหากถูกยายไปประจําทองที่อื่น ดังนี้หาก
รูวาถูกยายไปทองถิ่นอื่นแลวตั้งแตเวลาทีท่ ําสัญญากัน ก็คงจะไมไดตกลงเชากันเลย


ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๑๖

๒๓๕
สวนกรณีทเี่ ปนอันแนนอนวาเงื่อนไขไมอาจสําเร็จลงไดกเ็ ชน ตกลงเชาบานกันโดยกําหนด
เงื่อนไขบังคับกอนวาใหมีผลบังคับหากถูกยายมาประจําในทองที่นั้นภายใน ๓ เดือน แตปรากฏวา
ไดถูกยายไปทองที่อื่นและไมมีทางยายมาอยูในทองทีน่ นั้ ตามเงื่อนไขไดแนนอน ดังนี้หากคูก รณีรู
แนวาผูเชาถูกยายไปที่อนื่ แลวก็คงไมไดทาํ สัญญากันเลย หรือในกรณีที่ตกลงเชาบานกันโดยผูใหเชา
ตั้งเปนเงื่อนไขบังคับหลังวาหากครอบครัวบุตรที่อยูตางประเทศยายกลับมาอยูดวยก็ใหสัญญาเชา
เลิกกัน แตปรากฏวาครอบครัวบุตรไดกลับมาแลว แตแยกไปอยูที่อื่น ไมกลับมาอยูดว ย หรือบุตรถึง
แกความตายไปแลวไมมีทางจะกลับมาอยูดว ย ดังนี้เปนกรณีเงื่อนไขบังคับหลังไมอาจสําเร็จลงได
ผลก็คือสัญญาเชายอมสมบูรณโดยปราศจากเงื่อนไข๔
มีขอนาคิดวา หากเงื่อนไขสําเร็จแลว หรือไมมีทางสําเร็จไดในขณะทํานิติกรรมแตคกู รณี
ทั้งสองฝายไมรูถึงขอเท็จจริงนั้น ดังนีจ้ ะปรับใชมาตรา ๑๘๗ ปพพ. อยางไร จะถือวานิติกรรมนั้นมี
ผลโดยไมมีเงือ่ นไข หรือตกเปนโมฆะไปทันที หรือจะนับตั้งแตเวลาที่คูกรณีทั้งสองฝายรูหรือควร
ไดรูถึงความสําเร็จ หรือไมมที างสําเร็จของเงื่อนไขนั้นเสียกอน
โดยที่บทกฎหมายขางตนเปนบทกฎหมายที่กําหนดขึ้นตามหลักสันนิษฐานเจตนาโดย
สุจริตของคูกรณี ดังนัน้ หากคูกรณีตกลงกําหนดใหเหตุการณที่เกิดขึน้ แลวในอดีต หรือเหตุการณใน
ปจจุบันเปนเงือ่ นไขโดยไมรวู าสิ่งนั้นไดสําเร็จลงแลว หรือไมอาจสําเร็จลงไดก็ตองพิจารณาเจตนา
ที่แทจริงของคูกรณีวาหากไดรูวาสิ่งนั้นไดสําเร็จลงแลว หรือไมมีทางสําเร็จได จะไดตกลงกันไว
อยางไร มิใชถอื เครงตามตัวบทโดยไมคํานึงถึงเจตนาทีแ่ ทจริงของคูกรณี เพราะโดยทั่วไปพอจะถือ
ไดวาในหลายกรณีนนั้ การรูถ ึงความสําเร็จของเงื่อนไขซึ่งไดรูในเวลาหลังจากนั้น นับเปน
เหตุการณในอนาคตอยางหนึง่ กรณีเชนนี้ความรูวาเงื่อนไขไดสําเร็จไปแลวหรือไมมที างสําเร็จไดที่
ไดรูขึ้นภายหลังเปนเสมือนเงื่อนไข หรือเปนเสมือนเงื่อนไขนั้นไดสําเร็จหรือไมมที างสําเร็จใน
อนาคตได
เชนแมเหตุการณอันคูกรณีตงั้ เปนเงื่อนไขจะไดเกิดขึ้นแลวในขณะตกลงกัน แตหากตองใช
เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะรูได เชนขาวคําสั่งยายก็ดี หรือการที่บุตรที่อยูตางประเทศถึงแกความตายก็ดี
ยังมาไมถึง ดังนี้ความมีผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไขจะเปนประการใด ตองพิเคราะหตามหลักเจตนา
แทจริงโดยสุจริตของคูกรณี โดยอาศัยหลักการเทียบเคียงบทกฎหมายใกลเคียงอยางยิง่ มาปรับใชใน
กรณีนดี้ วยวาจะเปนกรณีที่อยูใตบังคับของหลักเงื่อนไขธรรมดา หรืออยูในบังคับแหงหลักเงื่อนไข
อันสําเร็จแลวในเวลาทํานิตกิ รรมตามมาตรา ๑๘๗ ปพพ.
ตัวอยางเชน ตกลงเชาบานกันโดยมีเงื่อนไขบังคับกอนใหสัญญาเชามีผลเมื่อผูเชาถูกยายมา
ประจําในทองที่นั้น ในระหวางนั้นใหไปมาใชพักอาศัยไดโดยไมเก็บคาเชา โดยไมรูวาในขณะที่ตก
ลงกันไดมีคําสั่งใหผูเชามาประจําในทองที่นั้นแลว กวาตางฝายจะรูถึงคําสั่งยายเวลาก็ลวงเลยไป


ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๑๖

๒๓๖
แลวถึง ๑ เดือน ดังนีห้ ากจะถือวาเปนสัญญาเชาไมมีเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ปพพ. ผูเชา
ก็ตองชําระคาเชา ๑ เดือนตั้งแตวนั ทําสัญญา แตถาถือวาเงือ่ นไขสําเร็จเมือ่ รูแนวาคําสั่งมีวาอยางไร
ดังนี้ก็ตองถือวาสัญญามีผลเมื่อรูถึงคําสั่งยาย ไมตองชําระคาเชาระหวางที่มีคําสั่งแลวแตคูกรณียังไม
รู คือถือเอาความรูแนวาถูกสัง่ ยายมาประจําในทองที่นั้นเปนเงื่อนไขดังนี้เปนตน
ดวยเหตุนี้ กรณีตามอุทาหรณ ๓ จึงตองตีความการแสดงเจตนาของคูก รณีที่เกีย่ วกับเงื่อนไข
การถูกสลากกินแบงวาหมายถึงรูแนวาสลากถูกรางวัล ดังนั้นจึงตองถือเอาเวลาที่ตรวจรางวัลหรือ
เวลาที่กําหนดแนไดวาไดถูกรางวัลเปนเกณฑ และตราบใดที่ ก. ยังไมรแู นวาตนถูกรางวัลหรือไม ก็
ตองถือวาเงื่อนไขยังไมสําเร็จอยูนั่นเอง
แตถาคูกรณีรูวา เงื่อนไขนั้นสําเร็จไปแลว ยังกําหนดเงื่อนไขเชนนั้นเปนเงื่อนไขบังคับกอน
กฎหมายถือวานิติกรรมนั้นเปนผลโดยไมมีเงื่อนไข (มาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ตอนตน) และถา
กําหนดเปนเงือ่ นไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๗ วรรคแรก ตอนทาย)
เพราะยอมคาดหมายไดวาคงจะไมไดทํานิติกรรมนั้นขึ้นมาแตตนนัน่ เอง เชนตกลงซื้อน้ํามันกันราย
เดือน เดือนละ ๑,๐๐๐ ลิตร โดยมีเงื่อนไขบังคับหลังวา หากน้ํามันราคาขึ้นไปถึงลิตรละ ๓๐ บาท
สัญญาซื้อขายเปนอันสิ้นผลไป ดังนี้ถาขณะตกลงกันน้ํามันราคาลิตรละ ๓๐ บาทอยูแลว ไมวา
ในขณะทํานิตกิ รรมคูกรณีจะรูหรือไมรูวาเงื่อนไขสําเร็จไปแลวหรือไมก็ตาม กรณีเปนที่เห็นไดชดั
วา หากรูวาเงื่อนไขสําเร็จแลว ยังกําหนดเปนเงื่อนไขบังคับหลัง ก็เทากับมุงหมายใหนิติกรรมสิ้นผล
ไปในทันทีเลย หากไมรูกย็ อมสันนิษฐานไดทํานองเดียวกันวา หากไดรูก็คงไมประสงคทํานิติกรรม
นั้นขึ้นเลย ดังนั้นนิตกิ รรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลังเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ

ข) ขอความคิดวาดวยเงื่อนเวลา
นิติกรรมที่มี “เงื่อนเวลา” หมายถึงนิติกรรมที่มีขอกําหนดใหความมีผลหรือสิ้นผลของนิติ
กรรมขึ้นอยูกบั เวลาในอนาคต หรือจะตกลงใหมีผลทันทีแตตองปฏิบัติตามหนาทีใ่ นนิติกรรมเมื่อถึง
เวลากําหนดก็ได ตามเจตนาของคูกรณี เงื่อนเวลาจึงตางจากเงื่อนไขตรงที่เงื่อนเวลาหมายถึง
เหตุการณในอนาคตซึ่งจะตองเกิดขึ้นมีขึ้นอยางแนนอน เงือ่ นเวลาจึงอาจจะเปนขอกําหนดเกีย่ วกับ
เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือวันใดวันหนึ่งโดยเจาะจงตามปฏิทนิ หรือวันทีบ่ คุ คลใดบุคคลหนึ่งถึงแกความ
ตายก็ได ในกรณีแรกทั้งสองกรณีนนั้ เปนวัน เวลา ที่มีกําหนดแนนอน สวนกรณีหลังซึ่งกําหนดวัน
ตายของบุคคลเปนเงื่อนเวลานั้น แมจะเปนเวลาที่ไมอาจกําหนดแนนอนได แตก็เปนเหตุการณณใน
อนาคตที่ตองเกิดขึ้นอยางแนนอนทั้งสิ้น๕ อยางไรก็ดี ถาถือเอากําหนดเวลาในอนาคตทีบ่ ุคคลใด
บุคคลหนึ่งจะถือกําเนิดขึ้นเปนขอกําหนดความเปนผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม ดังนีย้ อมตองนับวา


โปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๒๙, หนา ๒๔๐

๒๓๗
เปน “เงื่อนไข” เพราะยังไมแนวา จะมีการปฏิสนธิ หรือแมมีการปฏิสนธิแลวทารกซึ่งอยูในครรภ
นั้นจะคลอด หรือรอดชีวิตมาจนถึงวันคลอดไดอยางแนนอนหรือไมนนั่ เอง
ตัวอยางเชน ก. ตกลงกับ ข. วา ถาบิดาของ ข. ถึงแกความตาย ก. จะจายเงินใหแก ข. เปนคา
ทําศพ ๕๐,๐๐๐ บาท โดยไมไดระบุรวมไวดวยวา ก. จะจายเงินให ข. หรือทายาทของ ข. ดังนี้จะ
เห็นไดวากรณีดังกลาวมีเงื่อนไขผูกติดอยูก ับเงื่อนเวลาดวย กลาวคือวันที่บิดาของ ข. ถึงแกความตาย
นั้นเปนเงื่อนเวลา สวนปญหาวา ข. จะมีอายุยืนยาวและมีชีวิตอยูจ นถึงวันหลังจากบิดาของ ข. ถึงแก
ความตายหรือไมนั้นเปนเหตุการณในอนาคตอันไมแนนอน จึงถือไดวา ขอกําหนดเกีย่ วกับความมี
ชีวิตของ ข. ในวันที่บดิ าของ ข. ถึงแกความตายเปนเงื่อนไขอยางหนึ่ง แตถา ก. ตกลงกันกับ ข. วา
จะจายเงินให ข. หรือทายาทของ ข. ก็จะเห็นไดวาความมีผลหรือไมมีผลแหงนิติกรรมยอมขึ้นอยูก บั
เงื่อนเวลาคือความตายของบิดา ข. แตประการเดียว

ค) ความหมายและความสําคัญของนิติกรรมมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา
๑) เงื่อนไขนั้นมีขนึ้ ก็เพื่อใหนิตกิ รรมที่คูกรณีไดตกลงผูกพันกันแลว เกิดความยืดหยุน ไม
ตายตัว และกําหนดเผื่อใหอาจเปลี่ยนแปลงหรือสิ้นผลไปไดในภายหลัง หากเกิดเหตุการณอยาง
หนึ่งอยางใดซึง่ ไมแนวาจะเกิดขึ้นหรือไมในอนาคต
ตัวอยางเชน ก. เปนเจามรดก ไดกําหนดไวในพินยั กรรมที่ตนทําขึ้นวา หากตนถึงแกความ
ตายก็ใหทรัพยมรดกทั้งหมดตกเปนของบุตรและของภริยาคนละครึ่งหนึ่ง แตหากภริยามีสามีใหมก็
ใหทรัพยมรดกทั้งหมดตกไดแกบุตรแตผูเดียว หรือ ก. กับ ข. ทําพินัยกรรมฉบับเดียวกันตางยก
ทรัพยสินใหแกกันและกัน โดยมีเงื่อนไขวาหากฝายใดตายกอนใหทรัพยสินของผูที่ถึงแกความตาย
กอนตกเปนสินสวนตัวของผูทําพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยูแตผูเดียว๖ หรือในกรณีที่ ก. กับ ข. ตกลงทํา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดนิ โดย ก. วางเงินมัดจําไว ตอมาทั้งสองฝายตกลงเลิกสัญญากัน แต ข. ยังไมมี
เงินมัดจําจะคืนใหจึงตกลงกันวาเงินมัดจําจะคืนใหเมื่อขายที่ดินแปลงนี้ได๗ ดังนี้เปนตน
ตามอุทาหรณ ๒ เราเห็นไดวา การที่ ก. ตกลงกับ ข. โดยมีเงื่อนไขวา หากสลากกินแบงของ
ก. ถูกรางวัล ก. ตกลงซื้อรถยนตจาก ข. มีผลทําให ก. สามารถผูกมัด ข. ไวกอนแลวชัน้ หนึ่ง เพราะ
หาก ก. รอตอไปจนกวาจะรูแ นวาสลากของตนจะถูกรางวัลหรือไม จะไดรูแนวาจะมีเงินพอซื้อ
รถยนตของ ข. เวลาก็อาจผานไป และ ข. อาจจะเปลีย่ นใจตกลงขายรถยนตคันดังกลาวใหแก
บุคคลภายนอกแลวได แตถา ก. กับ ข. ตกลงผูกมัดกันไวกอน โดยกําหนดใหนติ ิกรรมเปนผลและ
กรรมสิทธิ์โอนกันเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ ดังนีห้ ากเงื่อนไขสําเร็จนิติกรรมยอมมีผลเปนสัญญาซื้อขาย


ตัวอยางจากฎีกาที่ ๑๔๖๖/๒๕๓๗

ตัวอยางจากฎีกาที่ ๖๙๓/๒๕๓๗

๒๓๘
และการโอนกรรมสิทธิ์เปนผลพรอมกันไปเลย ในกรณีเชนนี้ ก. และ ข. ไมจําเปนตองมาตกลงทํา
สัญญาหรือโอนกรรมสิทธิ์กันใหมอกี แตอยางใด
ตัวอยางเชน ตามอุทาหรณ ๕ นั้น ก. ตกลงซื้อเครื่องรับโทรทัศนจาก ข. นับเปนสัญญาซื้อ
ขายที่เสร็จเด็ดขาดแลว เพราะสัญญาซื้อขายสําเร็จเปนผลขึ้นแลว กรณีไมใชเปนสัญญาซื้อขายโดยมี
เงื่อนไข เพราะกรณีทจี่ ะถือไดวาเปนสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขนั้น ตองเปนกรณีที่คูกรณีไม
ประสงคผูกพันกันจนกวาเงือ่ นไขจะสําเร็จ ตราบใดที่เงือ่ นไขไมสําเร็จนิติกรรมคือสัญญาซื้อขายก็
ยังไมเปนผล แตกรณีตามอุทาหรณ ๕ นัน้ เห็นไดชดั วาคูก รณีในสัญญาซื้อขายรายนี้ไดตกลงให
สัญญาซื้อขายเปนผลทันที ดังจะเห็นไดจากการชําระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ทรัพยสินกันแลว
เพียงแตตกลงกันใหกรรมสิทธิ์ยงั ไมโอนไปจนกวาผูซื้อจะไดชําระราคาครบถวนเทานั้น นับเปน
สัญญาซื้อขายที่เปนผลโดยไมมีเงื่อนไข จะมีก็แตมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเปนเงื่อนไขใน
การชําระหนีเ้ ทานั้น โดย ข. ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องรับโทรทัศนเมื่อ ก. ไดชําระราคา
ครบถวนแลว (หรือที่เรียกวาเปนสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีเงื่อนไขหรือมีขอสงวนการโอน
กรรมสิทธิ์) ตราบใดที่ ก. ยังชําระราคาซื้อขายไมครบถวน ตราบนั้นโทรทัศนนั้นยังเปนของ ข. อยู
และ ข. ยอมมีหลักประกันการไดรับชําระหนี้จาก ก. ที่ดี คือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่ซื้อขายกัน
เปนหลักประกัน และหาก ก. ผิดนัดไมชําระราคาทรัพยสินที่ซื้อไป ข. ยอมมีสิทธิเรียกทรัพยคืนได
ตามหลักกรรมสิทธิ์ อยางไรก็ตาม หากปรากฏวาตอมา ก. ไดชําระราคาทรัพยสินทีซ่ ื้อขายกัน
ครบถวนดีแลว เงื่อนไขยอมสําเร็จ และกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่ซื้อขายกันยอมโอนไปยังผูซื้อทันที
โดยไมตองใหคูกรณีมาทําการโอนกันอีกครั้งหนึ่งแตอยางใด
นอกจากนั้นเงือ่ นไขยังเปนทีน่ ิยมใชในการชักจูงใจใหผูไดรับประโยชนกระทําการหรือละ
เวนกระทําการอีกอยางหนึ่งดวย
ตัวอยางเชน ก. ตกลงยกรถยนตของตนซึ่ง ข. ยืมใชอยูใ หแก ข. โดยมีเงือ่ นไขวา การใหจะ
มีผลเมื่อ ข. สอบไลหรือสําเร็จการศึกษา หรือ ตกลงวา ข. จะตองสงรถคืนหาก ข. สอบตก หรือ
กระทําผิดกฎหมาย หรือ ก. เปนกรรมการผูจัดการตกลงลาออกจากตําแหนงเมื่อไดมกี ารรับซื้อ
หุนสวนของ ก. ในบริษัทและไดชําระราคาแลว๘ ผูจะขายที่ดินตกลงจะขายที่ดนิ โดยมีเงื่อนไขวาให
สัญญาเปนผลเมื่อศาลไดมีคําพิพากษาถึงทีส่ ุดวาที่ดินนั้นเปนของตนแตเพียงผูเดียว๙ เปนตน


โปรดดูตัวอยางไดจากฎีกาที่ ๒๖๖๒/๒๕๓๗ ซึ่งผูเปนกรรมการผูจัดการแสดงเจตนาตอคณะกรรมการ
บริษัทวาจะออกจากตําแหนงเมื่อมีการรับซื้อหุนสวนของตน และไดชําระราคาครบถวนแลว ดังนี้เปนการ
แสดงเจตนาลาออกจากตําแหนงโดยมีเงื่อนไข

โปรดดูฎีกาที่ ๓๗๗๗/๒๕๓๓ ตกลงจะขายที่ดินโดยสัญญาจะใหคานายหนาแกผูชี้ชวนใหทําสัญญาซื้อขาย
กัน แตมีเงื่อนไขวา ใหเปนผลเมื่อศาลพิพากษาวาที่ดินเปนของผูจะขายแตเพียงผูเดียว ดังนี้หากตอมาศาล
ตัดสินวาเปนของเจาของรวม และเจาของรวมคนอื่นไมยอมขายทําใหไมสามารถตกลงกันไมได ไมถือวาผู

๒๓๙
๒) สวนเงื่อนเวลานั้น มักจะมีการนํามากําหนดไวในนิตกิ รรมเมื่อตองการใหนิติกรรมนัน้
เปนผลหรือสิ้นผลไปเมื่อถึงเวลาขณะใดขณะหนึ่ง แตในกรณีมีขอสงสัยกฎหมายสันนิษฐานวาใน
กรณีเงื่อนเวลาเริ่มตนนั้น คูกรณียอมตกลงใหนิตกิ รรมมีผลทันที แตใหคูกรณีมีสิทธิทวงถามให
ปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นไดตอ เมื่อถึงเวลาขณะใดขณะหนึง่ ที่กําหนดไว แตทั้งนี้การจะใหมีผลทันที
หรือไมยอมเปนไปตามความประสงคของคูกรณี
ตัวอยางเชน ก. ตกลงเชาบานของ ข. โดยตกลงทําสัญญากันเมื่อ ๑ กุมภาพันธ โดยตก
ลงกันใหสัญญาเชาเริ่มมีผลตั้งแตวนั ที่ ๑ เมษายน ปเดียวกันและสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ มีนาคมป
ถัดไป ดังนี้เปนตน
ตามอุทาหรณขางตน อาจมีขอสงสัยขึ้นไดวา ตั้งแตวนั ที่ ๑ กุมภาพันธ ซึ่งไดทําสัญญา
เชากัน จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม สัญญาเชาระหวาง ก. กับ ข. มีขึ้นแลวหรือยัง คําตอบยอมเปนไปตาม
ขอสันนิษฐานตามมาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ. คือสัญญาเชาเกิดขึ้นแลว เพียงแตหนาที่ตาม
สัญญาคือการชําระคาเชา หรือการใชสอยทรัพยที่เชายังไมอาจทวงถามใหปฏิบัติตามไดจนกวาจะ
ถึงเวลาที่กําหนด แตขอสันนิษฐานตามมาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ. นี้ คูกรณีอาจตกลงกันเปน
อยางอื่น เชนตกลงใหผูเชาชําระคาเชาลวงหนา แตใหเริ่มใชสอยทรัพยเชาไดเมื่อถึงกําหนดเงื่อน
เวลาก็ได

ง) กรณีที่อาจตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได
๑) การกําหนดเงือ่ นไขและเงื่อนเวลานั้นยอมเปนไปตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา
และการกําหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาอาจกระทําไดทั้งในรูปนิติกรรมกอความผูกพันทางหนี้
(อุทาหรณ ๒) หรือในรูปนิตกิ รรมเปลี่ยนแปลงสิทธิหรือโอนทรัพย (อุทาหรณ ๕)
ควรสังเกตดวยวาหลักเกณฑที่เกี่ยวกับเงือ่ นไขนี้ กฎหมายมุงกําหนดผลใหเปนไปตาม
เจตนาของคูกรณี เชนกรณีตามมาตรา ๑๘๙ ป.พ.พ. กลาวคือ นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับกอน และ
เงื่อนไขนั้นเปนการพนวิสัย นิติกรรมนั้นเปนโมฆะ และวรรคสองที่วานิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับ
หลัง และเงื่อนไขนั้นเปนการพนวิสัย ใหถือวานิติกรรมนัน้ ไมมีเงื่อนไข การที่กฎหมายกําหนดไว
เชนนี้กเ็ พราะคํานึงถึงความประสงคในทางสุจริตของคูกรณีตามหลักในการตีความสัญญาในมาตรา
๓๖๘ ป.พ.พ. นั่นเอง เพราะเงื่อนไขที่เปนการอันพนวิสยั อยูในขณะที่ทาํ นิติกรรมนั้นยอมจัดเปน
เปนเงื่อนไขทีต่ กไปแตตน การที่ทํานิติกรรมโดยกําหนดใหมีผลเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ เมือ่ เงื่อนไขนั้น
ไมมีวันสําเร็จเพราะเปนพนวิสัยอยูแลว จึงเทากับเปนการทํานิติกรรมทีไ่ มมีวันมีผลได ดังนั้น

จะขายผิดสัญญาเพราะเงื่อนไขที่ตั้งไววาใหสัญญามีผลเมื่อศาลพิพากษาวาที่ดินเปนของผูจะขายแตผูเดียวนั้น
ยังไมสําเร็จ

๒๔๐
กฎหมายจึงกําหนดใหนติ ิกรรมนั้นเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๙ วรรคแรก ป.พ.พ.) สวนกรณีที่เปนนิติ
กรรมมีเงื่อนไขบังคับหลังก็ทํานองเดียวกัน กลาวคือการตกลงใหนิตกิ รรมสิ้นผลไปเมื่อเงื่อนไข
สําเร็จ ถาเงื่อนไขนั้นเปนการอันพนวิสยั ก็เทากับเงื่อนไขนั้นไมมวี ันสําเร็จ และนิตกิ รรมไมมีวันสิ้น
ผล กฎหมายจึงกําหนดใหนติ ิกรรมนั้นมีผลโดยไมมเี งื่อนไข (มาตรา ๑๘๙ วรรคสอง ป.พ.พ.)
ตัวอยางทํานองเดียวกันเห็นไดจากมาตรา ๑๙๐ ป.พ.พ. ซึ่งวางหลักวา นิติกรรมใดมี
เงื่อนไขบังคับกอน และเปนเงื่อนไขอันจะสําเร็จหรือไมสุดแลวแตใจของฝายลูกหนี้ นิติกรรมนั้น
เปนโมฆะ ซึ่งยอมเปนที่เขาใจไดวาการทํานิติกรรมโดยกําหนดวาจะเปนผลหรือไม ใหสุดแลวแตใจ
ของลูกหนี้นั้น เทากับยังไมประสงคจะใหลูกหนี้ตองผูกพันอะไรในนิตกิ รรมนั้นเลย หรือเปนแต
เปนเพียงการแสดงเจตนาเลน ๆ นั่นเอง๑๐ ตัวอยางเชนทําคํามั่นใหแกกนั ไว โดยกําหนดเปนเงื่อนไข
บังคับกอนวาคํามั่นจะมีผลเปนคํามั่นขึ้นมาก็ตอเมื่อฝายผูใหคํามั่น (ซึง่ เปนลูกหนี)้ พอใจจะใหเปน
ผล ดังกรณีมีผูทําคํามั่นจะออกทุนการศึกษาแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งเปนเงินจํานวนหนึ่ง โดยมีเงื่อนไข
บังคับกอนวาใหมีผลเมื่อตนพอใจจะผูกพันตามคํามั่นนัน้ ดังนีย้ อมเปนการตกลงใหคํามั่นที่เปลา
ประโยชน เพราะฝายที่เปนลูกหนี้ยังมิไดประสงคจะผูกพันเลย ดังนี้กฎหมายจึงกําหนดใหนิติกรรม
เชนนั้นไมมีผล คือตกเปนโมฆะไป แตถา เปนกรณีที่ทําคํามั่นโดยมีเงือ่ นไขบังคับกอนวาจะเปนผล
เมื่อใดแลวแตเจาหนี้ หรือแลวแตเหตุการณไมแนนอนอยางอื่น ดังนี้นิตกิ รรมนั้นยอมมีผลสมบูรณ
เชนทําคํามั่นจะออกเงินทุนการศึกษาใหคูกรณีอีกฝายหนึง่ จนจบ เมื่อคูก รณีอีกฝายหนึ่งนั้นจะเรียก
เอาเมื่อใด ก็ใหคํามั่นมีผลเมื่อนั้น ดังนีเ้ งื่อนไขบังคับกอนมิไดเปนเรื่องสุดแตใจของลูกหนี้ แตเปน
เรื่องสุดแตใจของฝายเจาหนี๑๑้
อนึ่ง ปญหาวากรณีใดเปนเงือ่ นไขบังคับกอนอันจะสําเร็จไดหรือไมสดุ แลวแตใจ
ลูกหนี้หรือไมนี้ ตองพิเคราะหจากเจตนาผูกพันของคูกรณีเปนสําคัญ เชนอาจเกิดปญหาวากรณีที่มี
ผูทําคํามั่นแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งวาหากตนทําการสมรส หรือหากเดินทางไปตางประเทศจะชําระเงิน
แกองคกรสาธารณประโยชนเปนจํานวนเทานั้นเทานี้ ดังนี้จะเห็นไดวา มิใชกรณีท่ลี กู หนี้ไมประสงค
ผูกพัน และไมใชกรณีทแี่ ลวแตใจลูกหนี้โดยแท เพราะการทําการสมรสมิไดสุดแตใจของลูกหนี้ฝา ย
เดียว แตเปนเหตุการณอนั ไมแนนอนซึ่งตองอาศัยความสมัครใจของผูจะเปนคูสมรสประกอบเขา

๑๐
โปรดดูจิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๐๗, หนา ๒๒๕; เทพวิทุร, พระยา, หนา ๕๔๑
๑๑
โปรดดู คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๖/๒๔๙๐ ๒๔๙๐ ฎ. ๗๖๔ ซึ่งผูใหเชาตกลงใหเชาอสังหาริมทรัพยแกผูเชามี
กําหนด ๒ ป โดยตกลงกันวาเมื่อครบกําหนดสัญญา หากผูเชาปรารถนาจะเชาตอไป ก็ใหเชาตอไปไดอีก ๒
ป โดยผูใหเชาไมมีสิทธิปฏิเสธไมตอสัญญาให และตอจากนั้นหากครบกําหนด ๒ ปแลวหากผูเขาปรารถนา
จะเชาตออีก ๒ ปก็ไดอีก และในระยะที่สามนี้ หากผูเชาจะเชา ผูใหเชาก็ยอมใหเชาโดยไมกําหนดเวลา ดังนี้
ศาลตัดสินวาสัญญาเชามีผลสมบูรณ กรณีไมใชเรื่องเงื่อนไขสําเร็จหรือไมสุดแลวแตใจลูกหนี้ เพราะแมตาม
สัญญาเชา ผูเชาจะเปนลูกหนี้ตองชําระหนี้คาเชา แตในกรณีคํามั่นจะใหเชาในกรณีนี้ผูเชาเปนเจาหนี้ใน
คํามั่น และผูใหเชาเปนลูกหนี้ตามคํามั่น

๒๔๑
ดวย๑๒ หรือกรณีที่วาจะเดินทางไปตางประเทศเมื่อใดจะใหเงินเมื่อนั้น หากเปนกรณีที่แนนอนวา
ผูใหคํามั่นตั้งใจจะผูกพัน และจะตองเดินทางไปตางประเทศในวันใดวันหนึ่งอยางแนนอน ดังนี้ก็
ไมใชกรณีที่เปนเงื่อนไขบังคับกอนแตเปนเงื่อนเวลา ดังนีเ้ ปนตน
๒) แตมีบางกรณีที่เงื่อนไขและเงื่อนเวลาอาจไมชอบดวยกฎหมายได
(๑) เงื่อนไขที่ขัดตอกฎหมายหรือความสงบเรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอาจ
มีไดดังเชนกรณีที่เห็นไดวานิติกรรมบางประเภทเปนนิติกรรมที่ไมอาจกระทําขึ้นโดยกําหนดใหอยู
ใตบังคับเงื่อนไขได ไมวาจะเปนไปโดยสภาพแหงนิติกรรมนั้นเอง หรือเปนเพราะหากทําขึ้นก็จะ
ขัดตอกฎหมาย ตัวอยางที่สําคัญมี เชน สัญญาตามกฎหมายครอบครัว การหมั้น การสมรส ยอมเปน
นิติกรรมที่กฎหมายมุงใหผูกพันกันโดยเปนผลทันทีที่นิติกรรมสําเร็จลง โดยความผูกพันนัน้ ยอม
ปราศจากเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ความมุงหมายเชนนี้ถือเปนประโยชนสําคัญทางกฎหมาย ที่นับได
วาเปนไปเพื่อความสงบเรียบรอยของประชาชนอยางหนึง่ ดังนั้น หากไปขืนตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อน
เวลาใหการสมรสเปนผล เงื่อนไขเชนนัน้ ยอมไมชอบดวยกฎหมาย และไมมีผลบังคับ อนึ่ง การโอน
กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพยกย็ อมไมอาจตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได เพราะจะทําใหทะเบียน
อสังหาริมทรัพยขาดความแนนอน เนื่องจากเนื้อหาแหงสิทธิทางทะเบียนอาจเปลีย่ นแปลงไปเมื่อ
เงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลาสําเร็จ เวนแตเปนกรณีที่มีกฎหมายยกเวนไวโดยเฉพาะเชนในเรื่องขายฝาก
(มาตรา ๔๙๑, ๔๙๒ ป.พ.พ.) อยางไรก็ดี หากจะมีการตกลงกําหนดเงื่อนไขกัน หากเงื่อนไขนั้น
เพียงแตเปนการที่ตางจากบทบัญญัติแหงกฎหมาย โดยมิไดขัดตอขอหามทางกฎหมายหรือความ
สงบเรียบรอยของแผนดิน เชนตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพยไปโดยกําหนดเงื่อนไข
บังคับหลังกันไว ก็ยอมทําไดในสวนที่จะเปนผลทางหนีห้ รือในแงความผูกพันที่จะกระทําการหรือ
งดเวนกระทําการโดยผูกพันเปนสิทธิเรียกรองระหวางคูก รณีเทานัน้ แตในกรณีที่คูกรณีขืนตกลงทํา
การสมรสกันโดยมีเงื่อนเวลา หรือตกลงโอนที่ดินกันโดยมีเงื่อนไข ดังนี้เปนเงื่อนเวลาและเงื่อนไข
ที่ไมชอบดวยกฎหมาย นิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๘๘
ปพพ.)
(๒) การแสดงเจตนาฝายเดียวทีม่ ีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานัน้ หากกระทบถึงสิทธิหนาที่หรือ
ทรัพยสินของผูแสดงเจตนาเพียงฝายเดียว เชนทําพินยั กรรม สละกรรมสิทธิ์ ยอมกระทําไดโดยชอบ
ตามหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา หรือการทําสัญญาโดยตกลงกันใหมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ก็
ยอมมีไดตามหลักเสรีภาพในการทําสัญญา แตในบางกรณีการแสดงเจตนาฝายเดียวโดยมีเงื่อนไข
หรือเงื่อนเวลาของบุคคลหนึ่ง อาจสงผลกระทบตอสิทธิทางทรัพยสินของบุคคลอื่นดวย ดังนี้การ
แสดงเจตนาเชนนั้นอาจตองหามมิใหมเี งื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได ทั้งนี้เพราะในสวนที่เกี่ยวกับการ
แสดงเจตนาฝายเดียวนั้น กฎหมายมุงคุมครองประโยชนไดเสียของผูรับการแสดงเจตนาใหผูรับการ

๑๒
โปรดเทียบ จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ๓๐๒, หนา ๒๒๕

๒๔๒
แสดงเจตนาสามารถรูแนถึงสถานะของนิติสัมพันธไดอยางชัดเจนดวย ตัวอยางเชนในการแสดง
เจตนาหักกลบลบหนี้ (มาตรา ๓๔๑ ปพพ.) ซึ่งเปนการแสดงเจตนาฝายเดียวในลักษณะที่เปนสิทธิ
กอตั้ง กลาวคือฝายผูแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ยอมเปนฝายกําหนดใหหนี้ที่มีอยูระหวางผูแสดง
เจตนากับผูรับการแสดงเจตนาหักกลบลบกันและหนี้เปนอันระงับลง ในกรณีเชนนีก้ ฎหมายกําหนด
หามไว มิใหแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กนั โดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา ๓๔๒
ปพพ.)
เหตุผลสําคัญที่กฎหมายหามมิใหหกั กลบลบหนี้โดยมีเงือ่ นไขหรือเงื่อนเวลาก็เพราะ
กฎหมายมุงคุมครองใหคูกรณีอีกฝายหนึ่งรูแนชัดถึงสถานะแหงหนี้ระหวางคูกรณีนนั่ เอง เพราะใน
หนี้ที่หกั กลบลบกันไดนนั้ คูกรณีทั้งสองฝายตางเปนลูกหนี้อันมีวัตถุแหงหนี้อยางเดียวกันซึ่งถึง
กําหนดชําระแลว ตางฝายตางมีสิทธิหักกลบลบหนี้เหมือนกัน ดังนั้นหากยอมใหฝายหนึ่งแสดงเจต-
นาหักกลบลบหนี้โดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ก็จะผูกมัดใหอีกฝายหนึ่งตองตองผูกอยูก ับความสํา-
เร็จของเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ทั้ง ๆ ที่หากฝายนั้นจะหักกลบลบหนี้ดวยก็ยอมทําไดเชนกัน เชน
การแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้โดยตั้งเงื่อนไขวา หากอีกฝายหนึ่งมีภริยาเมื่อใดก็ใหหนี้เปนอันหัก
กลบลบกัน หรือหากมีภริยาเมื่อใดใหการหักกลบลบหนี้เปนอันสิ้นผลไป ดังนี้ทําไมไดเพราะ
ตองหามตามกฎหมาย การทีก่ ฎหมายหามไวนยี้ อมมีผลใหการแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ที่มี
เงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลาเปนอันไมชอบดวยกฎหมาย การแสดงเจตนาเชนนั้นยอมไมมผี ลเปนการหัก
กลบลบหนี้เลย๑๓ ในทํานองเดียวกันการแสดงเจตนาฝายเดียวเพื่อกําหนดสิทธิของคูกรณี เชนบอก
ลางโมฆียกรรม การบอกเลิกสัญญา หากมิไดตกลงยินยอมกันไวกอน หรือมีกฎหมายรับรองไว
โดยเฉพาะ ก็ตอ งถือวาไมอาจทําโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไดเชนกัน เพราะหากยอมใหบอกลาง
โมฆียกรรม หรือเลิกสัญญาโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาได ก็จะเปนเหตุใหคูกรณีอีกฝายหนึ่งไมอาจ
รูแนถึงสถานะของคูกรณีดว ยเชนกัน
อนึ่ง การที่กฎหมายกําหนดขอหามการตั้งเงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลาในกรณีแสดงเจตนาฝาย
เดียวนี้เปนไปเพื่อคุมครองคูกรณีอีกฝายหนึ่งใหรแู นถึงสถานะแหงสิทธิหนาที่ ดังนัน้ หากเปนกรณี
ที่คูกรณีอีกฝายหนึ่งนั้นเปนผูสละความคุมครองนั้นเสียเอง หรือมีเหตุอยางอื่นใหไมควรไดรับความ

๑๓
เรื่องนี้มีทางคิดไปไดสองทาง คือถือวาไมมีการหักกลบลบหนี้กันเลยทางหนึ่ง กับถือวามีการหักกลบลบหนี้
กันโดยปราศจากเงื่อนไขอีกอยางหนึ่ง แตหากพิเคราะหตามเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้
ก็ยอมเห็นไดวา การที่เขาตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาก็เพราะตองการหนวงผลหรือแปลงผลตามเงื่อนไขหรือ
เงื่อนเวลา หากผูแสดงเจตนารูวาตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไมได และตั้งไปก็จะมีผลเปนการหักกลบลบหนี้
โดยปราศจากเงื่อนไข ดังนี้เห็นไดวาขัดกับเจตนาของเขา และยอมสันนิษฐานไดตอไปดวยวา เขายอมเลือก
ไปในทางไมหักกลบลบหนี้กันเลยยิ่งกวา และโปรดดู เสนีย ปราโมช, นิติกรรมและหนี้ เลม ๒, ฉบับแกไข
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๐๕, หนา ๑๑๕๑

๒๔๓
คุมครองเชนนั้น ดังนี้ขอหามตั้งเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการแสดงเจตนาฝายเดียวกําหนดสิทธิ
หนาที่ของอีกฝายหนึ่งยอมไมนํามาใชบังคับแกกรณีนั้น ๆ
ตัวอยางเชน คูก รณีทั้งสองฝายตกลงกันยกเวนขอหามตั้งเงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลานั้นเสียเอง
หรือในกรณีทคี่ วามสําเร็จแหงเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานัน้ ยอมขึ้นอยูกบั คูกรณีอีกฝายนั้นเอง ดังนีก้ าร
แสดงเจตนาฝายเดียวโดยตั้งเงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลาในกรณีเหลานัน้ ยอมไมตองหาม เพราะในเมื่อ
เงื่อนไขหรือเงือ่ นเวลาตกอยูภ ายใตอํานาจควบคุมของคูกรณีอีกฝายหนึ่งเสียแลว ฝายนั้นยอมรูแน
ไดวาสถานะแหงสิทธิและหนาที่ของคูกรณีในกรณีนั้น ๆ เปนอยางไร และประโยชนที่กฎหมายมุง
คุมครองใหคูกรณีฝายนั้นไดรูถึงสถานะแหงสิทธิตามกฎหมายไดอยางชัดเจนก็ยอมจะสําเร็จขึ้นได
อยูแลว
ตัวอยางเชน ก. เปนผูใหเชา ใชสิทธิบอกกลาวเลิกสัญญาเชาตามสิทธิที่ไดกําหนดไวใน
สัญญา โดยกําหนดเงื่อนไขไวดว ยวา หาก ข. ไมยอมชําระคาเชาเพิ่มขึ้นอีก ๑,๐๐๐ บาทตอเดือน ก็
ใหสัญญาเชานั้นเปนอันเลิกกัน ดังนีจ้ ะเห็นไดวา ฝายผูถูกบอกเลิกสัญญายอมสามารถรูแนชัดวา
สถานะแหงสิทธิหนาที่ในกรณีนี้เปนอยางไร เพราะการที่เงื่อนไขจะสําเร็จไดดว ยการชําระคาเชา
เพิ่มขึ้นอีก ๑,๐๐๐ บาทตอเดือนนั้น เปนเงือ่ นไขที่อยูในอํานาจควบคุมของตนเอง
แตถาเปนนิตกิ รรมที่เกี่ยวกับสถานะบุคคล หรือมีผลกระทบตอบุคคลภายนอก หรือมีผูมี
สวนไดเสียในความแนนอนชัดเจนดวยกันหลายฝาย การที่คูกรณีจะตกลงกันเองโดยมีเงื่อนไข
บังคับกอนหรือบังคับหลังยอมจะมีผลผูกพันระหวางกันเทานั้น ไมอาจมีผลใชยันตอบุคคลภายนอก
ได
ตัวอยางเชน กรณีการสละมรดกกฎหมายบัญญัติหามไวมิใหสละโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อน
เวลา (มาตรา ๑๖๑๓ ปพพ.) การสมรสไมอาจตกลงกันโดยมีเงื่อนไขบังคับกอนหรือบังคับหลังได
การรับเด็กเปนบุตร หรือการรับบุตรบุญธรรม เหลานี้เปนนิติกรรมที่ตอ งการความแนนอนชัดเจน
ดังนั้นจึงไมอาจทําขึ้นโดยมีเงื่อนไขได นอกจากนี้การจดทะเบียนสิทธิในอสังหาริมทรัพยกไ็ มอาจ
จดทะเบียนสิทธิโดยมีเงื่อนไขได เพราะทะเบียนสิทธิในอสังหาริมทรัพยมีขึ้นเพื่อความเชื่อถือของ
สาธารณชนในความถูกตองแนนอนของทะเบียนทรัพยสิทธิ ดังนั้นโดยเหตุผลของเรื่องจึงไมอาจจด
ทะเบียนสิทธิโดยมีเงื่อนไขได เวนแตจะเปนกรณีที่มกี ฎหมายบัญญัตริ ับรองไวโดยเฉพาะ และแม
ในกรณีที่มีการจดทะเบียนจํานองอสังหาริมทรัพยเปนหลักประกันการชําระหนี้อันมีเงื่อนไข การ
จํานองนั้นแมจะเปนหนี้อุปกรณ แตกเ็ ปนหลักฐานแหงทรัพยสิทธิอยางหนึ่ง ซึ่งตองการความแน-
นอน จึงยอมมีผลเมื่อมีการจดทะเบียนจํานอง ไมใชมีผลเมื่อเงื่อนไขสําเร็จและหนี้นั้นเปนผลขึ้น๑๔

๑๔
โปรดดูกรณีในกฎหมายฝรั่งเศส ซึ่งนักกฎหมายสวนมากก็มีความเห็นทํานองนี้ ใน Maurad Ferid,
Franzoesisches Zivilrecht, Bd.I, Frankfurt2Berlin, 1971, 1E 308

๒๔๔
๑.๒ ชนิดของเงื่อนไขและเงื่อนเวลา
ก) เงื่อนไขบังคับกอนและเงื่อนไขบังคับหลัง
เงื่อนไขบังคับกอน (Suspensive Condition) หมายถึงเหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกิดขึ้น
หรือไมในอนาคตซึ่งผูทํานิติกรรมกําหนดไววา หากเหตุการณดังกลาวเกิดขึ้นหรือเงือ่ นไขนั้นสําเร็จ
นิติกรรมยอมเปนผล (มาตรา ๑๘๓ วรรคแรก ปพพ.) ดังนั้นนิตกิ รรมอันไดกระทําลงแลวนั้น แมจะ
ไดชื่อวาเปนนิติกรรมที่เกิดมีขึ้นแลว แตก็เปนนิติกรรมทีน่ ับไดวาอยูใ นภาวะที่ยังไมแนไมนอน
จนกวาเงื่อนไขจะสําเร็จ นิตกิ รรมที่ไดทําขึน้ นั้นจึงจะเปนผลขึ้น ตัวอยางเชน ก. สงมอบรถยนตคัน
หนึ่งแก ข. ตามสัญญาเชาซื้อ โดยตกลงกันวา หาก ข. ชําระราคาเชาซื้อครบถวนแลว ก. ยอมให
กรรมสิทธิ์ในรถยนตคันนี้ตกเปนของ ข. ดังนี้การชําระเงินครบถวนไมใชเงื่อนไขของสัญญาเชาซื้อ
แตเปนเงื่อนไขบังคับกอนในนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์
เงื่อนไขบังคับหลัง (Resolutive Condition) หมายถึงเหตุการณอันไมแนนอนวาจะเกิดขึ้น
หรือไมในอนาคตซึ่งผูทํานิติกรรมวางเปนขอกําหนดแหงนิติกรรมวาหากเกิดขึน้ ก็ใหนิติกรรมนั้น
สิ้นผลไป (มาตรา ๑๘๓ วรรคสอง ปพพ.) ดังนั้นนิติกรรมที่ไดทําขึ้นนัน้ ยอมเปนผลทันที และผล
นั้นยอมระงับสิ้นไป หากเงือ่ นไขหรือเหตุการณในอนาคนอันไมแนนอนวาจะเกิดขึน้ นั้นไดเกิดขึน้
จริง
ตัวอยางเชน ก. ยืมหรือกูเงินของ ข. โดย ก. โอนรถยนตของตนใหเปนกรรมสิทธิ์ของ ข.
เปนประกันการชําระหนี้เงินกูรายนี้ ทั้งสองฝายตกลงกันวา หาก ข. ชําระหนี้ครบถวนแลวก็ให
กรรมสิทธิ์ในรถนั้นตกกลับมาเปนของ ก. ดังเดิม ดังนี้เปนกรณีที่ ก. โอนกรรมสิทธิ์ในรถยนตแก ข.
โดยกําหนดใหการชําระหนีค้ รบถวนเปนเงื่อนไขบังคับหลัง
ในเรื่องเงื่อนไขบังคับกอนหรือเงื่อนไขบังคับหลังนี้ ในบางกรณีอาจเกิดขอสงสัยไดวา
เงื่อนไขที่กําหนดหรือที่ตกลงกันนั้นเปนเงือ่ นไขบังคับกอนหรือเงื่อนไขบังคับหลังกันแน ในกรณี
เชนนี้จําเปนตองมีการตีความการแสดงเจตนาวาคูกรณีมีความมุงหมายอยางไรเสียกอน ในกรณีที่
คูกรณีมิไดประสงคจะใหนติ ิกรรมเปนผลทันที แตประสงคจะใหนิตสิ ัมพันธเกิดขึน้ ในอนาคตเมือ่
เงื่อนไขสําเร็จ กรณีกย็ อมจะจัดเปนนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับกอน แตถา ไดความวานิติกรรมนั้น
ควรมีผลทันทีที่ตกลงทํานิตกิ รรมขึ้นเลย แตผูทํานิติกรรมประสงคใหสิ้นผลไปภายหลังเมื่อเกิด
เหตุการณอยางหนึ่งซึ่งไมแนวาจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้นิติกรรมนัน้ ยอมเปนนิติกรรมที่มีเงื่อนไข
บังคับหลัง
ตัวอยางเชน ก. ซื้อเครื่องจักรจาก ข. โดย ข. ตั้งเงื่อนไขสงวนการโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่อง-
จักรที่ซื้อขายกันรายนี้มใี จความวา ใหกรรมสิทธิ์โอนไปยังผูซื้อเมื่อผูซื้อไดชําระราคาที่ซื้อขายกัน
ครบถวนแลว ดังนี้เปนกรณีที่คูกรณีตกลงทําสัญญาซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาด คือมีผลใหคูกรณีมีสิทธิ
หนาที่ตอกันตามสัญญาซื้อขายในทันที คือฝายผูขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ และฝายผูซื้อตกลงชําระ

๒๔๕
ราคา สวนการสงวนการโอนกรรมสิทธิ์ของผูขายในกรณีนี้ เปนการตกลงใหการโอนกรรมสิทธิ์ไป
ยังผูซื้อขึ้นอยูก ับการที่ผูซื้อชําระหนี้ครบถวนซึ่งเปนเหตุการณอันไมแนวาจะเกิดขึน้ ในอนาคต
เจตนาโอนกรรมสิทธิ์ของผูขายในกรณีนจี้ ึงนับไดวาตกอยูภายใตเงื่อนไขบังคับกอน ในทางกลับกัน
ถาตกลงกันใหกรรมสิทธิ์โอนไปยังผูซื้อทันที แตมีเงื่อนไขวาใหกรรมสิทธิ์โอนกลับมายังผูขาย หาก
ผูซื้อผิดนัดชําระราคาที่กาํ หนดไวเปนงวด ๆ นานเกินกวา ๑ สัปดาห ดังนี้เปนกรณีโอนกรรมสิทธิ์
โดยมีเงื่อนไขบังคับหลัง
ในบางกรณีเราไมอาจกําหนดแนไดวา คูก รณีมีเจตนาจะใหมีเงื่อนไขบังคับกอน หรือมี
เงื่อนไขบังคับหลัง ในกรณีเหลานี้บางกรณีกฎหมายไดกําหนดขอสันนิษฐานไวเปนการเฉพาะ
ตัวอยางเชน ในการซื้อขายภายใตขอสงวนการโอนกรรมสิทธิ์นั้น หากเปนกรณีมีขอสงสัย
ก็ควรสันนิษฐานไวกอนวา เปนเงื่อนไขบังคับกอน คือตกลงกันใหกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่ซื้อขาย
กันโอนไปเมื่อชําระราคาครบถวน
ในกรณีตกลงซื้อขายเผื่อชอบ (มาตรา ๕๐๕ ปพพ.) ดังนีเ้ ปนกรณีที่คกู รณีตกลงซื้อขายกัน
โดยมีเงื่อนไขบังคับกอน คือสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อผูซอื้ พอใจสินคานั้น

ข) เงื่อนเวลาเริ่มตน และเงื่อนเวลาสิ้นสุด
เงื่อนเวลาเริ่มตน หมายถึงขอความอันบังคับไวใหนิตกิ รรมเปนผลเมื่อเหตุการณอันแนนอน
วาจะเกิดขึ้นในอนาคตไดเกิดขึ้น เชนถึงเวลาที่กําหนดไว หรือบุคคลที่กําหนดถึงแกความตาย เงื่อน
เวลาเริ่มตนจึงมีผลในทํานองเดียวกันกับเงือ่ นไขบังคับกอนซึ่งหากเงื่อนไขสําเร็จยอมมีผลใหนิติ
กรรมเปนผล และโดยเหตุนเี้ ราจึงอาจนําเอาหลักเกณฑเกีย่ วกับนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับกอนมา
ปรับใชกับนิตกิ รรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มตนไดในฐานะเปนบทกฎหมายใกลเคียงอยางยิ่ง อยางไรก็ดี
นิติกรรมที่มีเงือ่ นเวลาเริ่มตนนั้นกฎหมายกําหนดวา หามมิใหทวงถามใหปฏิบัติตามนิติกรรมนั้น
กอนถึงเวลากําหนด (มาตรา ๑๙๑ วรรคแรก ป.พ.พ.) ดังนั้นนิตกิ รรมที่มีเงื่อนเวลาเริม่ ตนจึงอาจมีได
สองนัย คือโดยนัยแรกเปนนิติกรรมที่มีผลทันทีที่ทําขึ้นแตหามมิใหทวงถามจนกวาจะเงื่อนเวลาจะ
ถึงกําหนด หรืออีกนัยหนึ่งเปนนิติกรรมทีย่ ังไมเปนผลทันทีแตรอเปนผลเมื่อถึงกําหนดเงื่อนเวลา
เริ่มตนก็ได แลวแตเจตนาของผูทํานิติกรรมนั้น๑๕ ตัวอยางเชน ตกลงเชาบานกันลวงหนา โดยให
สัญญาเชามีผลหลังจากวันทีต่ กลงกัน ๓ เดือน ดังนี้หากตกลงกันแจงชัดอยางไร ผลยอมเปนไป
ตามนั้น แตถากรณีเปนที่สงสัยวาคูกรณีประสงคจะใหมผี ลทันทีแตยังเรียกใหบังคับกันไมไดจนกวา

๑๕
อยางไรก็ดี จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๓๐, หนา ๒๔๐ ซึ่งอธิบายวานิติกรรมอันเมีเงื่อนเวลา
เริ่มตนนั้น ยอมมีผลกอหนี้ขึ้นตั้งแตเวลาที่ทํานิติกรรมนั้น ๆ แลว แตยังบยังคับกันไมไดจนกวาจะถึงเวลาที่
กําหนด, ความเห็นทํานองเดียวกันโปรดดู ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๑๐๓-๑๐๔.

๒๔๖
จะถึงกําหนดเวลา หรือไมประสงคใหมีผลทันทีแตใหมีผลเมื่อถึงเวลากําหนด ดังนี้กฎหมายให
สันนิษฐานไวกอนวามีผลทันที เพียงแตยังเรียกใหปฏิบัตติ ามนั้นยังไมไดเทานั้น
เงื่อนเวลาสิ้นสุด หมายถึงขอความอันบังคับไวใหนิตกิ รรมสิ้นผลเมื่อถึงเวลากําหนด หรือ
เมื่อเหตุการณอันแนนอนวาจะเกิดขึ้นในอนาคตไดเกิดขึน้ (มาตรา ๑๙๑ วรรคสอง ป.พ.พ.) เชนตก
ลงกันใหสัญญาเชาระงับสิ้นไปเมื่อถึงเวลากําหนด หรือเมื่อผูเชาถึงแกความตาย เปนตน เห็นไดวา
นิติกรรมที่มีเงือ่ นเวลาสิ้นสุดยอมมีผลทํานองเดียวกันกับนิติกรรมที่มีเงือ่ นไขบังคับหลัง และดังนั้น
กฎเกณฑเกี่ยวกับเงื่อนไขบังคับหลังยอมนํามาปรับใชกับนิติกรรมที่มีเงือ่ นเวลาสิ้นสุดไดในฐานะ
บทกฎหมายใกลเคียงอยางยิง่ เชนกัน
สวนปญหาวานิติกรรมที่มีกาํ หนดเงื่อนเวลาไวจะหมายถึงเงื่อนเวลาเริม่ ตนหรือเงื่อนเวลา
สิ้นสุด เปนปญหาที่ตองอาศัยการตีความการแสดงเจตนา สวนผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มตน
และเงื่อนเวลาสิ้นสุดนั้นยอมเปนไปในทํานองเดียวกันกับผลของนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับกอน
หรือมีเงื่อนไขบังคับหลังแลวแตกรณี และในระหวางที่เงือ่ นเวลายังไมถึงกําหนด คูก รณียอมมีสิทธิ
หนาที่ตอกันในทางที่แตละฝายตองไมทําการใหเสื่อมเสียประโยชนอันอาจเกิดจากเงื่อนเวลาถึง
กําหนดแกคกู รณีอีกฝายหนึง่ และคูกรณีแตละฝายอาจจําหนาย รับมรดก หรือจัดการปองกันรักษา
สิทธิตามนิติกรรมที่ยังไมถึงกําหนดเวลาเริม่ ตน หรือยังไมระงับไปเพราะยังไมถึงกําหนดเวลา
สิ้นสุดไดตามหลักในมาตรา ๑๘๔, ๑๘๕ ป.พ.พ. ดวย
ขอสันนิษฐานทางกฎหมายทีส่ ําคัญในกรณีนิติกรรมมีเงื่อนเวลาเริ่มตน หรือเงื่อนเวลา
สิ้นสุดนั้น ก็คอื กฎหมายสันนิษฐานไวกอนวา เงื่อนเวลานั้นยอมกําหนดไวเพื่อประโยชนแกฝาย
ลูกหนี้ (มาตรา ๑๙๒ ป.พ.พ.) แตคูกรณีจะกําหนดเงื่อนเวลาไวเพื่อประโยชนแหงเจาหนี้ หรือเพื่อ
ประโยชนแกคูกรณีทั้งสองฝายก็ได และประโยชนแหงเงื่อนเวลานัน้ ฝายใดจะสละเสียก็ได แตการ
สละประโยชนเชนนัน้ ยอมไมกระทบกระเทือนถึงประโยชนอันคูกรณีอีกฝายหนึ่งจะพึงไดรับแต
เงื่อนเวลานัน้ (มาตรา ๑๙๒ วรรคสอง ป.พ.พ.)
ตัวอยางเชน สัญญาซื้อขายรถยนต โดยมีเงือ่ นเวลาเริ่มตนใหผูซื้อชําระราคาภายใน ๓ เดือน
ดังนี้ยอมสันนิษฐานไดวา เปนสัญญาซื้อขายที่มีผลทันที เพียงแตมเี งื่อนเวลาเริ่มตนที่หนี้ถึงกําหนด
ชําระ และเงื่อนเวลาเชนนั้นยอมเปนไปเพือ่ ประโยชนของผูซื้อซึ่งเปนลูกหนี้ในการชําระราคา
ดังนั้นกอนครบ ๓ เดือนผูขายไมมีสิทธิเรียกใหผูซื้อชําระราคา แตผูซื้อจะเลือกชําระราคาเมื่อใด
ภายในกําหนดเงื่อนเวลาก็ได ดังนี้เปนตน สวนกรณีทมี่ พี ฤติการณแหงกรณีใหเห็นไดวาเงื่อนเวลา
เริ่มตนหรือสิ้นสุดนั้นเปนไปเพื่อประโยชนของเจาหนี้ หรือเพื่อประโยชนแกคูกรณีทั้งสองฝาย ก็
อาจมีเชน ก. ทําสัญญาฝากรถยนตไวกับ ข. มีกําหนด ๓ เดือน ดังนีเ้ ปนกรณีสัญญามีเงื่อนเวลา
บังคับหลัง เมื่อครบ ๓ เดือนแลว สัญญารับฝากยอมถึงกําหนด และผูร ับฝากตองคืนรถที่รับฝากไว
แตจะคืนรถยนตที่ฝากไวกอ นกําหนดไมได เปนกรณีทพี่ ฤติการณแหงกรณีแสดงใหเห็นวานิติกรรม
นั้น ๆ เปนไปเพื่อประโยชนของเจาหนี้ คือผูฝากรถนั่นเอง สวนกรณีทม่ี ีพฤติการณใหเห็นไดวา

๒๔๗
เปนไปเพื่อประโยชนของคูกรณีทุกฝาย เชนสัญญาฝากเงินเปนบัญชีฝากประจําโดยมีกําหนดให
ถอนไดเมื่อครบ ๓ ปแลว ดังนี้ฝายธนาคารยอมไดประโยชนจากการนําเงินนั้นไปลงทุนหรือให
สินเชื่อแกผูอนื่ และฝายผูฝากยอมไดประโยชนคือดอกเบี้ยซึ่งปกติยอมมีอัตราสูงกวาการฝากเงิน
เผื่อเรียก ในกรณีเชนนี้ฝายลูกหนี้คือธนาคารยอมตองรับฝากเงินไวโดยไมสงคืนกอนครบ ๓ ป แต
ขณะเดียวกัน ฝายเจาหนี้คือเจาของเงินฝากก็ไมมีสิทธิเรียกใหธนาคารคืนเงินจนกวาจะครบกําหนด
เชนกัน (แตคกู รณีกย็ ังอาจตกลงกันเปนอยางอื่นเชน หากผูฝากถอนเงินกอน ๓ ปจะไดดอกเบีย้
นอยลง เปนตน)
กรณีที่ลูกหนี้ไมอาจถือเอาประโยชนจากเงือ่ นเวลาเริ่มตน หรือเงื่อนเวลาสิ้นสุด ไดแกกรณี
ตามมาตรา ๑๙๓ ป.พ.พ. กลาวคือ
(๑) ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษทรัพยเด็ดขาดตามกฎหมายวาดวยลมละลาย
(๒) ลูกหนี้ไมใหประกันในเมื่อจําตองให
(๓) ลูกหนี้ไดทําลาย หรือทําใหลดนอยถอยลงซึ่งประกันอันไดใหไว
(๔) ลูกหนี้นําทรัพยสินของบุคคลอื่นมาใหเปนประกันโดยเจาของทรัพยสินนั้นมิได
ยินยอมดวย

๑.๓ ผลของกรณีที่เงื่อนไขสําเร็จ และกรณีที่เงื่อนไขตกไป


๑) เงื่อนไขสําเร็จ
ก) เมื่อเงื่อนไขสําเร็จนิติสัมพันธระหวางคูกรณียอมเปนไปตามเจตนา คือเมื่อเหตุการณ
ในอนาคตอันไมแนอนวาจะเกิดขึ้นไดนนั้ ไดเกิดขึน้ แลว ดังนี้สถานะทางกฎหมาย หรือสิทธิหนาที่
ของคูกรณีแหงนิติกรรมที่มีเงื่อนไขยอมเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขทีก่ ําหนดไว ถาเปนเงื่อนไข
บังคับกอน นิติกรรมนั้นก็เปนผลขึ้น ถาเปนเงื่อนไขบังคับหลังนิติกรรมนั้นยอมสิ้นผลไป ทั้งนี้
เปนไปตามเจตนาที่ไดแสดงไวแลว คูกรณีทั้งสองฝายไมจําเปนตองแสดงเจตนาประการใดใหม
เพิ่มขึ้นอีก

ข) เกิดผลตอไปในอนาคต ไมมผี ลยอนหลัง เวนแตจะตกลงกัน กลาวคือสถานะตาม


กฎหมายของนิติกรรมยอมเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ คือนิติกรรมยอมเปนผลหรือสิ้นผลไป
และมีผลตอไปในอนาคต คือมีผลตอไปขางหนา(ex nunc)ไมไดมีผลยอนหลัง (ex tunc)๑๖ ดังจะ

๑๖
โปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๓๔ ซึ่งอธิบายวากฎหมายไทยถือตามหลักกฎหมาย
โรมัน เยอรมัน ญี่ปุนและ กฎหมายลักษณะหนี้ของสวิส ซึ่งแตกตางจากกฎหมายฝรั่งเศส เนื่องจากมาตรา

๒๔๘
เห็นไดจากความในมาตรา๑๘๓ วรรคแรก และวรรคสอง ปพพ. ซึ่งกําหนดวานิตกิ รรมยอมเปนผล
หรือสิ้นผลเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ
อยางไรก็ดี ถาคูกรณีตกลงใหนิติกรรมเปนผลหรือสิ้นผลยอนหลังไปกอนเวลาที่
เงื่อนไขสําเร็จ ก็อาจทําได ดังจะเห็นไดจากการที่กฎหมายรับรองไวมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ปพพ.
การตกลงเชนนั้นยอมผูกพันคูกรณีแหงนิตกิ รรมที่ตกลงกันในฐานะเปนนิติสัมพันธที่กอใหเกิดสิทธิ
เรียกรองระหวางกัน แตอาจทําใหเกิดปญหาขึ้นไดวาการตกลงใหเงื่อนไขมีผลยอนหลังไปนี้จะมีผล
ยันบุคคลอื่นนอกเหนือจากคูก รณีแหงนิตกิ รรมไดเพียงใด
ปญหาขางตนนี้อาจแสดงใหเห็นได เมื่อเราแยกผลผูกพันทางหนี้กับผลผูกพันทาง
ทรัพย หรือนิตกิ รรมกอความผูกพันทางหนีแ้ ละนิตกิ รรมเปลี่ยนแปลงสิทธิเหนือทรัพยออกจากกัน
กลาวคือความตกลงใหมีผลยอนหลังนั้นปกติยอมกอใหเกิดผลทางหนี้ระหวางกันไดตามหลัก
เสรีภาพในการทําสัญญา แตนาคิดวาความตกลงเชนนั้นจะเปลี่ยนแปลงสถานะทางทรัพยสิทธิให
ยอนหลังไดเพียงใด เพราะทรัพยสิทธิเปนสิทธิมีอํานาจเหนือทรัพยสินซึ่งเปนผลตามกฎหมาย ใช
ยันบุคคลทั้งหลายไดเปนการทั่วไป ไมจํากัดเฉพาะคูกรณีที่มีนิติสัมพันธตอกัน เมื่อทรัพยสิทธิเปน
สิทธิที่คนทั่วไปจะตองเคารพยอมรับ สถานะแหงสิทธิจงึ ตองการความแนนอนชัดเจนเปนพิเศษ
เพื่อใหคนทั่วไปรับรูและเคารพสิทธิเชนนั้นได กรณีจึงควรเขาใจวา เมื่อเงื่อนไขสําเร็จ ขอตกลง
ระหวางคูก รณียอมใชไดในระหวางคูกรณี แตไมมีผลยอนหลังไปผูกพันบุคคลภายนอกในลักษณะ
ที่เปนทรัพยสิทธิหรือเปนสิทธิเด็ดขาดได และคูกรณีมหี นี้ที่จะตองทําใหอีกฝายหนึ่งอยูในฐานะ
ตามที่ตกลงกันเทานั้น
ตัวอยางเชน ก. ตกลงซื้อวัวตัวหนึ่งจาก ข. โดยมีเงื่อนไขบังคับกอน ทั้งสองฝายตกลง
กันเมื่อวันที่ ๑ มกราคม วาใหกรรมสิทธิ์ในวัวที่ซื้อขายกันนี้โอนไปยัง ก. ผูซื้อ เมื่อผูซื้อไดชําระ
ราคาวัวครบถวนแลว ปรากฏวา ก. ชําระราคาวัวตัวนี้ครบถวนเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปเดียวกัน ดังนี้
กรรมสิทธิ์ยอมโอนไปเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ คือ ๑ มีนาคม ไมใชมีผลยอนหลังเปนการโอนไปตั้งแต
วันที่ตกลงกันคือ ๑ มกราคม๑๗ ถาในระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จนั้น วัวตัวที่ซื้อขายกันเกิดตกลูก
ออกมา ๑ ตัว ลูกวัวยอมเปนดอกผลของแมทรัพย และตกเปนกรรมสิทธิ์แกเจาของแมทรัพยตาม
หลักเรื่องกรรมสิทธิ์ในดอกผล (มาตรา ๑๓๓๖ ปพพ.) ซึ่งก็คือตกไดแก ข. นั่นเอง และการไดมาซึ่ง

๑๑๗๙ แหงประมวลกฎหมายแพงฝรั่งเศสกําหนดวา เมื่อเงื่อนไขสําเร็จใหนิติกรรมเปนผลยอนหลังไปถึง


เวลาที่ทํานิติกรรมอันมีเงื่อนไขนั้นขึ้น
๑๗
แมในกฎหมายฝรั่งเศสจะมีหลักวาเมื่อเงื่อนไขสําเร็จใหนิติกรรมมีผลยอนหลังไปถึงวันที่ทํานิติกรรมนั้นขึ้น
ก็ตาม หลักดังกลาวนี้ยอมไมใชแกกรณีที่ผูโอนทรัพยไดใชสอยทรัพย หรือไดดอกผลจากทรัพยนั้นใน
ระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จ และถือวาผูโอนทรัพยมีสิทธิใชสอยและไดดอกผลระหวางที่เงื่อนไขไมสําเร็จ
โปรดดู Colin-Capitant, Traité de Droit Civil Français,Paris (1957), II, Nr.1696; Aubry et Rau, Cours de
Droit Civil Français, ed. 6, Paris (1948-58), IV (Bartin), §302 4

๒๔๙
กรรมสิทธิ์ในดอกผลนี้เปนการไดมาโดยกฎหมาย จึงมิไดอยูใ ตบังคับเงื่อนไขใด ๆ ดังนี้หาก ก. กับ
ข. ตกลงกันวาเมื่อเงื่อนไขสําเร็จใหกรรมสิทธิ์โอนโดยมีผลยอนหลังไปถึงวันที่ทําสัญญากันคือ ๑
มกราคม (ซึ่งตกลงกันไดตามมาตรา ๑๘๗ วรรคสาม ปพพ.) ดังนี้ขอตกลงนั้นยอมมีผลระหวางกัน
ไดในสวนที่เกีย่ วกับแมทรัพยคือวัวตัวที่ซอื้ ขายกัน แตการจะตกลงกันใหดอกผลตกเปนสิทธิของผู
ซื้อโดยใหมีผลยอนหลังไปดวยนั้น ยอมมีผลเปนการตกลงกันขัดตอหลักเกณฑในเรื่องดอกผลที่
กฎหมายบังคับไวใหตกเปนสิทธิแกเจาของแมทรัพยตามมาตรา ๑๓๓๖ ป.พ.พ. ดวยเหตุนี้เพื่อใหผล
ในมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ซึ่งเปนไปตามหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา มีผลสอดคลองกับมาตรา
๑๓๓๖ ป.พ.พ. ซึ่งเปนบทบังคับ เราควรเขาใจวา ขอตกลงเชนนี้ไมมีผลทําใหกรรมสิทธิ์ในดอกผล
เปลี่ยนแปลงไปตามขอตกลง เพียงแตคูกรณีมีหนาที่ตามนิติสัมพันธที่มีขึ้นตามขอตกลงเทานั้น
ดังนั้นในกรณีนี้ ข. ซึ่งเปนเจาของแมววั ยอมไดกรรมสิทธิ์ในลูกวัวทันที่ที่ลูกวัวเกิด และมีหนาที่
หรือหนี้ตามสัญญาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในลูกวัวตัวนัน้ แก ก. และผูกพันที่จะรับรองสิทธิของ ก. เพื่อ
ทําให ก. อยูในฐานะเสมือนมีสิทธิเปนเจาของกรรมสิทธิ์ลูกวัวอยูโดยใหมีผลยอนหลังไปถึงเวลาที่
ตกลงกัน๑๘ โดยนัยเชนนี้เมื่อเงือ่ นไขสําเร็จ คือมีการชําระเงินกันครบถวน ก. ยอมอางสิทธิยัน ข. ได
วาตนมีสิทธิในแมววั มาตั้งแตวันที่ตกลงซื้อขายกัน และยอมมีสิทธิเปนเจาของลูกวัวดวย แตถาใน
ระหวางทีเ่ งื่อนไขยังไมสําเร็จ มีบุคคลภายนอกไดรับโอนลูกวัวไปจาก ข. ซึ่งขณะนัน้ มีฐานะเปน
เจาของกรรมสิทธิ์ลูกวัวตัวนั้น ดังนี้ผูรับโอนยอมไดกรรมสิทธิ์ในลูกวัวไป แมตอมาเงื่อนไขสําเร็จ
ลง ก. ก็ไมอาจอางสิทธิของตนขึ้นตอสูบุคคลภายนอกได อยางไรก็ดี ในสวนที่เกีย่ วกับการโอน
ทรัพยอันเปนวัตถุแหงนิติกรรมที่อยูใตบังคับเงื่อนไขนัน้ ใหดูขอ ๑.๔ ตอไป
ในกรณีที่ ก. กับ ข. ตกลงซื้อขายวัวกันโดยมีเงื่อนไขบังคับหลัง คือให ก. ไดกรรม-
สิทธิ์ในวัวไปจนกวาเงื่อนไขจะสําเร็จ ดังนี้ หากวัวตัวนัน้ ออกลูกมาในระหวางที่เงือ่ นไขนั้นยังไม
สําเร็จลูกวัวยอมเปนของ ก. ซึ่งเปนเจาของแมววั อยูใ นขณะนั้น ครั้นตอมาเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ สัญญา
ซื้อขายเปนอันระงับและแมววั โอนกลับไปเปนของ ข. แมคูกรณีอาจตกลงกันใหมีผลยอนหลังกลับ-
ไปถึงวันที่ไดตกลงกัน (ซึ่งตกลงกันไดตามมาตรา ๑๘๓ วรรคสาม ปพพ.) ดังนี้ลูกวัวก็ยังคงเปน
ของ ก. อยู เพียงแต ก. มีหนาที่โอนลูกวัวนั้นแก ข. และยอมรับวา ระหวาง ก. และ ข. นั้น ข. ยอมได
สิทธิยอนหลังไปถึงวันที่ทําสัญญาตามที่ตกลงกันเทานัน้

ค) กรณีที่กฎหมายใหถือวาเงื่อนไขสําเร็จ ไดแกกรณีที่ความสําเร็จแหงเงื่อนไขอาจจะ
เปนทางใหคูกรณีฝายหนึง่ เสียเปรียบ และคูก รณีฝายนัน้ ทําการโดยไมสจุ ริตจนเปนเหตุใหเงื่อนไข

๑๘
แตโปรดดู ศักดิ์ สนองชาติ, นิติกรรมและสัญญา, พ.ศ. ๒๕๓๖, ขอ ๓๑๖, หนา ๓๒๕ ซึ่งอธิบายวาเมื่อ
เงื่อนไขสําเร็จ หากตกลงกันใหความสําเร็จแหงเงื่อนไขมีผลยอนหลังไป กรรมสิทธิ์ยอมโอนยอนหลังไป
และดอกผลยอมตกแกผูซื้อยอนหลังไปดวย

๒๕๐
ไมสําเร็จ ดังนีก้ ฎหมายกําหนดผลโดยใหถือวาเงื่อนไขใดไมสําเร็จเพราะการกระทําที่ฝนความ
สุจริต ถือไดวา เงื่อนไขนั้นสําเร็จลงแลว(มาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ.) หรือกรณีที่ความสําเร็จแหง
เงื่อนไขจะเปนเหตุใหฝายใดไดเปรียบ และฝายนัน้ ทําการโดยไมสุจริตเปนเหตุใหเงื่อนไขสําเร็จ
กฎหมายก็ถือวาเงื่อนไขที่สาํ เร็จขึ้นโดยการกระทําอันไมสุจริตของผูไดเปรียบ ยอมมีคาเสมือนวา
เงื่อนไขไมสําเร็จเลย (มาตรา ๑๘๖ วรรคสอง ปพพ.) กรณีทั้งสองนี้เปนหลักความสุจริตในพฤติ-
การณพิเศษประการหนึ่งซึ่งจัดวาเปนสวนหนึ่งของหลักสุจริตทั่วไปในมาตรา ๕ ปพพ.
ตัวอยางเชน ข. ขายทรัพยให ก. โดยมีเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ในลักษณะเปน
เงื่อนไขบังคับกอน เชนตกลงกันวาใหกรรมสิทธิ์โอนไปยัง ก. เมื่อ ก. ไดชําระราคาครบถวนแลว
ปรากฏวาเมื่อ ก. นําเงินงวดสุดทายมาชําระราคาตามที่ซื้อขายกัน ข. ซึง่ เปนฝายที่จะตองเสียเปรียบ
เพราะจะเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพยที่ซื้อขายกลับปฏิเสธไมรับเงินโดยไมสุจริต คือปราศจากเหตุผลอัน
อาจจะยกขึ้นอางไดโดยชอบ ดังนี้ถือไดวา ข. ทําการอันฝาฝนความสุจริตเพื่อใหเงื่อนไขไมสําเร็จ
และดังนัน้ กฎหมายยอมถือวาเงื่อนไขนั้นสําเร็จลงแลวในทันทีที่ ข. ไดทําการโดยฝาฝนความสุจริต
นั้นเอง ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพยที่ซื้อขายกันยอมโอนไปยัง ก. ทันที หรือตัวอยางเชนตกลงซื้อขาย
กัน โดยมีเงื่อนไขวาใหสัญญาซื้อขายมีผล หากเรือลําที่ตกลงกันมาถึงทาเรือภายใน ๑๕ วัน ดังนี้
หากคูกรณีฝายที่จะเสียประโยชนจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขไปดําเนินการอยางใดอยางหนึ่งโดยฝา
ฝนความสุจริต เพื่อใหเรือลําที่ตกลงกันมาไมถึงภายในกําหนด เชนทําใหเครื่องยนตเสียหาย หรือกอ
เหตุขึ้นบนเรือเพื่อใหเรือมาถึงชา เพื่อใหเงือ่ นไขเปนอันตกไป ดังนี้มาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ.
ใหถือวาเงื่อนไขนั้นนัน้ สําเร็จลงแลวในทันที หรือตัวอยางเชนตกลงชําระคานายหนาเมื่อผูซื้อตกลง
ซื้อที่ดิน แตผขู ายกลับทําการโดยไมสุจริตเปนเหตุใหผูซอื้ เปลี่ยนใจไมซ้อื ที่ดินแปลงนั้น เชนบอกวา
ราคาที่ดินแปลงนั้นสูงเกินจริง ดังนี้แมเงื่อนไขจะไมสําเร็จ แตกฎหมายก็ถือวาเงื่อนไขสําเร็จแลว๑๙
ผูขายจึงตองชําระคานายหนาทั้ง ๆ ที่ไมมีการซื้อที่ดิน
แตถาเปนกรณีที่คูกรณีทั้งสองฝายตกลงกันยอมใหเงื่อนไขสําเร็จหรือไมขึ้นอยูกับ
ความพอใจของคูกรณีฝายหนึ่ง เชนตกลงซื้อขายทรัพยสินกันตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ คือตกลง
สงมอบทรัพยแกผูซื้อ โดยยอมใหทดลองใช หากชอบหรือพอใจจึงจะถือวาสัญญาซื้อขายเกิดขึน้
ดังนี้เทากับตกลงใหเงื่อนไขสําเร็จหรือไมแลวแตใจของฝายผูซื้อ ดังนี้หากฝายผูซื้อไมประสงคให
นิติกรรมเกิดขึน้ หรือสิ้นผลไป ยอมมีสิทธิที่จะไมปลอยใหเงื่อนไขสําเร็จได ดังนี้ไมอาจเรียกไดวา
เปนกรณีที่ความสําเร็จแหงเงือ่ นไขเปนทางใหไดเปรียบหรือเสียเปรียบระหวางกัน และการที่ผูซื้อ
พอใจแตไมตกลงซื้อยอมเปนสิทธิของผูซื้อตามที่ไดตกลงกันไว จึงถือไมไดวาการไมตกลงซื้อทั้ง ๆ
ที่พอใจเปนการทําการโดยฝาฝนความสุจริต

๑๙
ตัวอยางจากฎีกาที่ ๔๔๓/๒๔๖๑ ซึ่งอางโดยจิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๑๙, หนา ๒๓๓

๒๕๑
๒) เงื่อนไขเปนอันตกไป
ก) เมื่อปรากฏวาเหตุการณอนั ไมแนนอนในอนาคตอันตั้งเปนเงื่อนไขนัน้ ไมอาจสําเร็จลง
ได เงื่อนไขนัน้ ยอมเปนอันตกไป ตัวอยางเชน กําหนดเปนเงื่อนไขแหงนิติกรรมวาวาหากลูกหนี้
ชําระเงินภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง ใหนิติกรรมเปนผลหรือสิ้นผล หากตอมา กําหนดเวลานั้น
ไดผานพนไปแลวโดยไมมีการชําระเงิน ยอมเห็นไดวา เงื่อนไข(ที่ตั้งไววาตองมีการชําระเงินภายใน
เวลากําหนด)ยอมไมมีทางสําเร็จลงได เงื่อนไขที่ไมมีทางสําเร็จลงไดนจี้ ึงตองถือวาเปนอันตกไป
หรือกรณีที่มีขอ กําหนดวา หาก ก. ตายกอน ข. ใหนติ ิกรรมเปนผลหรือสิ้นผล การที่ ก. จะตายกอน
ข. หรือไมเปนเหตุการณอันไมแนนอน จึงกําหนดเปนเงื่อนไขแหงนิติกรรมได แตถาปรากฏวา
กอนที่ ก. จะถึงแกความตายนั้น ข. ไดถึงแกความตายกอนเสียแลว ดังนี้เงื่อนไข (การที่ ก. ตายกอน
ข.) ยอมไมมีทางสําเร็จลงได และยอมถือไดวาเงื่อนไขเปนอันตกไป
เมื่อทํานิติกรรมโดยมีเงื่อนไข แลวปรากฏตอมาวาเงื่อนไขแหงนิตกิ รรมนั้นเปนอันตก
ไป ถานิติกรรมนั้นเปนนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับกอน การที่เงื่อนไขตกไปยอมสงผลใหนิติกรรม
นั้นไมมีทางเปนผลขึ้นตอไปอีก นิติกรรมนัน้ ยอมสิ้นผลไป (ถาไดชําระหนี้อะไรกันไว ก็เปนกรณีที่
ไดทรัพยสินไปโดยเหตุซึ่งมิไดมีไดเปนขึน้ และตองคืนกันตามหลักลาภมิควรไดตามมาตรา ๔๐๖
วรรคสองตอนตน ปพพ.) เชนมอบแหวนใหหญิงมีครรภ โดยกําหนดเงื่อนไขวาตกลงใหเปนของ-
ขวัญหากไดบตุ รคนแรกเปนชาย ปรากฏวาบุตรคนแรกที่เกิดมาเปนหญิง ดังนี้เงื่อนไขยอมตกไป
และสัญญาใหยอมไมเปนผล แหวนที่ไดไวก็ตองคืนกัน แตถาเปนเงื่อนไขบังคับหลัง การที่เงื่อนไข
เปนอันตกไปยอมทําใหนิตกิ รรมนั้นไมมที างสิ้นผล หรือยอมเปนผลโดยปราศจากเงือ่ นไข เชนตก
ลงขายสินคากัน โดยมีเงื่อนไขวาหากผูซื้อสามารถซื้อสินคาอยางเดียวกันในราคาถูกกวาไดภายใน
๑ เดือนยอมใหคืนสินคานั้น ดังนี้หากพนเดือนหนึ่งไปแลว เงื่อนไขยอมเปนอันตกไป และสัญญา
ซื้อขายยอมมีผลสมบูรณโดยไมอาจสิ้นไปเพราะเงื่อนไขสําเร็จอีกแลว
ข) กรณีที่กฎหมายถือวาเงื่อนไขตกไป ทั้ง ๆ ที่เงื่อนไขสําเร็จลงแลว ไดแกกรณีที่คกู รณี
ฝายที่ไดเปรียบจากความสําเร็จของเงื่อนไข และไดกระทําการโดยไมสุจริตเพื่อใหเงือ่ นไขนั้นสําเร็จ
ดังนี้กฎหมายถือวาการกระทําโดยไมสุจริตเปนการอันไมชอบ และแมเงื่อนไขจะสําเร็จลงก็สําเร็จ
ลงโดยการกระทําอันมิชอบ ดวยเหตุนี้กฎหมายจึงวางหลักวาเงื่อนไขที่สําเร็จขึ้นโดยการกระทําอัน
ไมสุจริตของผูไดเปรียบ ยอมมีคาเสมือนวาเงื่อนไขไมสําเร็จ หรือเงื่อนไขนั้นเปนอันตกไปเลย
(มาตรา ๑๘๖ วรรคสอง ปพพ.) ตัวอยางเชน ข. ตกลงจะขายบานให ก. ในราคาถูกกวาทองตลาด
เมื่อ ค. ซึ่งเปนผูเชาบานอยูยายออกไป ดังนีห้ าก ก. ขวนขวายใหคนของตนขมขูให ค. ยอมยาย
ออกไปจากบาน ก็เปนกรณีที่ ก. ทําการโดยไมสุจริตเพื่อใหเงื่อนไขสําเร็จ กฎหมายถือวาเงื่อนไข
เชนนั้นไดสําเร็จ หรือเปนอันตกไปเลย
เราจะเห็นไดวา กรณีตามมาตรา ๑๘๖ วรรคแรก ปพพ. นั้น เปนกรณีปองกันไมให
เงื่อนไขสําเร็จโดยไมสุจริต กฎหมายถือวาเงื่อนไขสําเร็จแลว สวนกรณีตามมาตรา ๑๘๖ วรรคสอง

๒๕๒
ปพพ. เปนกรณีทําใหเงื่อนไขสําเร็จโดยไมสุจริต กฎหมายก็ถือวาเงื่อนไขนั้นเปนอันตกไป ทั้งสอง
กรณีลวนแลวแตสะทอนหลักสุจริตดวยกันทั้งสิ้น

๑.๔ การคุมครองประโยชนของผูไ ดสิทธิโดยมีเงื่อนไข


๑) การคุมครองสิทธิของคูกรณี
ระหวางทีน่ ิติกรรมที่มีเงื่อนไขไดเกิดขึน้ แลว แตยังไมเปนผล เพราะเงื่อนไขยังไม
สําเร็จ และนิตกิ รรมจะยังไมเปนผล และยังไมมีหนี้ตามความประสงคของคูกรณีเกิดขึน้ ก็ตาม แตก็
ไมอาจเรียกไดวาคูกรณีไมมสี ิทธิหนาที่ใด ๆ ตอกันเลย เพราะตราบใดที่เงื่อนไขนั้นยังไมตกไป ยังมี
ทางที่เงื่อนไขนั้นอาจสําเร็จไดในอนาคต เรียกไดวายังมีเชื้อแหงสิทธิตามนิติกรรมตามเงื่อนไขรอ
เกิดเปนผลขึ้นอยู คูกรณีทั้งสองฝายยอมควรจะคาดหมายไดวาเงื่อนไขอาจสําเร็จและนิติกรรมอาจ
เปนผลไดในเวลาใดเวลาหนึ่งขางหนา ดวยเหตุนี้คกู รณีทั้งสองฝายยอมมีหนาที่ตามหลักสุจริต
ระหวางกัน ในอันที่จะไมทาํ การหรือกระทําการอยางหนึ่งอยางใดไปในทางที่อาจเสื่อมเสีย
ประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่งจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขนั้น ดังจะเห็นไดจากการที่
กฎหมายบัญญัติคุมครองประโยชนของคูกรณีที่มีสิทธิโดยมีเงื่อนไขไวในมาตรา ๑๘๔ และ มาตรา
๑๘๕ ดังนี้
มาตรา ๑๘๔ ในระหวางที่เงือ่ นไขยังไมสําเร็จ คูกรณีฝายหนึ่งฝายใดแหง
นิติกรรมอันอยูในบังคับเงื่อนไขจะตองงดเวนไมกระทําการอยางหนึ่งอยางใด
ใหเปนทีเ่ สื่อมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่งจะพึงไดจากความสําเร็จ
แหงเงื่อนไขนัน้
มาตรา ๑๘๕ ในระหวางที่เงือ่ นไขยังมิไดสําเร็จนั้น สิทธิและหนาที่ตา ง ๆ
ของคูกรณีมีอยางไร จะจําหนาย จะรับมรดก จะจัดการปองกันรักษา หรือจะ
ทําประกันไวประการใดตามกฎหมายก็ยอ มทําได
ก) คูกรณีตองงดเวนไมทําใหเปนที่เสื่อมเสียประโยชนอันอีกฝายหนึง่ จะพึงไดรบั เมื่อ
เงื่อนไขสําเร็จ (มาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ.)
การที่กฎหมายหามมิใหคกู รณีฝายหนึ่งฝายใดทําการอยางหนึ่งอยางใดใหเปนที่เสื่อม
เสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งนั้น เปนผลมาจากหนาที่ของคูกรณีทั้งสองฝายที่ผูกพันกันตาม
นิติกรรมอันมีเงื่อนไขนั้นเอง ทั้งนี้แมวา นิตกิ รรมนั้นจะยังไมเปนผล หรือสิ้นผล เพราะเงื่อนไขยังไม
สําเร็จ แตทั้งสองฝายตางก็มคี วามผูกพันตอกันตามนิตกิ รรมที่อยูภายใตบังคับเงื่อนไขนั้นแลว จึง
ตองหามมิใหกระทําการใด ๆ ในลักษณะที่เปนการกระทบกระเทือนไปในทางเสื่อมเสียตอ
ประโยชนของคูกรณีอีกฝายหนึ่ง ซึ่งแมขณะที่เงื่อนไขนั้นยังไมสําเร็จ ประโยชนจากความสําเร็จ
แหงเงื่อนไขจะยังไมเปนผล แตคูกรณีก็มีความผูกพันในอันที่จะคุมครองประโยชนอนั จะพึงมีพึงได
ของคูกรณีอีกฝายหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดมีขนึ้ เมือ่ เงื่อนไขสําเร็จ ดังนั้นตราบใดที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จ และ

๒๕๓
เงื่อนไขนั้นยังมิไดเปนอันตกไป คูกรณีทั้งสองฝายตองผูกพันกันในลักษณะที่ตางฝายตางมีหนาที่
ตองงดเวนไมทําการใหอีกฝายหนึ่งอาจตองเสื่อมเสียประโยชนอันพึงไดจากนิติกรรมนั้น
ที่วาเสื่อมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งตามมาตรา ๑๘๔ นี้ อาจเปนการทําแกตัว
ทรัพยอันเปนวัตถุแหงหนีใ้ หเสื่อมเสีย เสือ่ มคาหรือสูญหายไป หรือทําใหเสื่อมแกสิทธิเชนทําให
ทรัพยนั้นตกอยูภายใตบังคับของสิทธิอื่น หรือทําใหสิทธิอันคูกรณีอีกฝายหนึ่งจะพึงไดรับนั้นลด
นอยถอยลงหรือเสื่อมสูญไปก็ได
ตัวอยางเชน ก. ตกลงขายรถยนตแก ข. ภายใตเงื่อนไขบังคับกอนวาหาก ก. ไดรับทุนไป
ศึกษาตอตางประเทศเปนอันขายตามราคาที่ตกลงกันไวลวงหนาแลว ดังนี้ ในระหวางที่ยังไมแนวา
ก. จะไดรับทุนไปศึกษาตอหรือไม แมวา ก. จะยังคงเปนเจาของกรรมสิทธิ์รถยนตคันนี้เต็มภูมิ แต
ภายใตนิตกิ รรมอันมีเงื่อนไขนี้ ก. ยอมมีหนาที่ตองระมัดระวังไมทําการใด ๆ ใหเสื่อมเสียแกตวั
ทรัพย หรือทําใหสิทธิในตัวทรัพยนั้นเสื่อมเสียไป นับตัง้ แตจะตองดูแลรักษารถนั้นดวยความ
ระมัดระวังเชนที่กระทําตามปกติ ไมใชสอยรถนั้นในลักษณะที่เสี่ยงอันตรายอันอาจจะเกิดเสียหาย
แกรถ และไมดัดแปลงรถนัน้ ไปในทางใหเสื่อมคาหรือเสื่อมประโยชนใชสอยแก ข. รวมตลอดไป
ถึงการงดเวนไมนํารถนั้นจํานํา หรือไปจําหนายแกบุคคลภายนอก เพราะจะมีผลใหเกิดเสื่อมสิทธิแก
ข. เปนตน
ในทางกลับกัน หาก ก. ขายรถแก ข. ภายใตเงื่อนไขบังคับหลังวา หาก ข. ไดทุนไปศึกษาตอ
ในตางประเทศ ก็ใหรถนั้นโอนกลับมาเปนของ ก. ดังนี้ ข. ยอมไดกรรมสิทธิ์ในรถที่ซื้อขายกันโดย
มีเงื่อนไขบังคับหลัง และ ข. ตองงดเวนไมทําการใหเสื่อมเสียประโยชนของ ก. ทั้งในการดูแลรักษา
และไมทําการใหเสื่อมสิทธิอันอาจเกิดมีแก ก. เชนไมนํารถนั้นไปจําหนายหรือจํานําไวแก
บุคคลภายนอก
ผลของการที่ฝายใดฝายหนึ่งทําการอันเปนการฝาฝนหนาที่งดเวนไมทําใหเปนทีเ่ สื่อม
ประโยชนอันอีกฝายหนึ่งจะพึงไดรับในเมือ่ เงื่อนไขสําเร็จนี้ ยอมมีคาเทากับการไมชาํ ระหนี้ที่
จะตองงดเวนไมทําการใหเสื่อมประโยชนแกอกี ฝายหนึ่ง ดังนั้นฝายที่ฝาฝนหนาทีด่ ังกลาวยอมตอง
รับผิดชดใชคาสินไหมทดแทนแกอกี ฝายหนึ่งเมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จ
ตัวอยางเชน ก. ตกลงขายรถให ข. ภายใตเงื่อนไขบังคับกอนวาเมื่อ ก. ไดรับการแตงตั้งให
ดํารงตําแหนงราชการในตางประเทศ หากปรากฏวา กอนที่เงื่อนไขจะสําเร็จ ก. ไดใชสอยรถโดย
ประมาทเปนเหตุใหรถนัน้ ประสบอุบัติเหตุจนบุบสลายใชการไมได ดังนี้ถือไดวา ก. กระทําการให
เสื่อมเสียประโยชนอัน ข. จะพึงไดรับเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ ดังนั้น หากตอมา ก. ไดรับแตงตั้งตาม
เงื่อนไข ก. ยอมมีหนาที่ชดใชคาเสียหายแก ข. ซึ่งตองเสื่อมเสียประโยชนจากการใชสอยรถนั้น
เชนรถนั้นมีราคาตามทองตลาด ๕ แสนบาท แตตกลงซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขบังคับกอนในราคา
เพียง ๔ แสนบาท ดังนี้หากกอนที่เงื่อนไขจะสําเร็จ ก. ทําใหรถนั้นบุบสลายใชการไมได ดังนีห้ าก
ตอมาเงื่อนไขเกิดสําเร็จขึ้น ก. มีหนาที่ตองชดใชคาเสียหายแก ข. ในเหตุที่ทรัพยเสื่อมราคา และ

๒๕๔
เสื่อมประโยชนใชสอย ซึ่งหากนิติกรรมเปนผลตามเงื่อนไข ข. ยอมไดกรรมสิทธิ์ในรถที่มีมูลคา ๕
แสนบาท ในราคาเพียง ๔ แสนบาท ดังนัน้ ก. ตองชดใชาคาเสียหายแก ข. เปนเงิน ๑ แสนบาท เปน
ตน (และโปรดดูความในมาตรา ๓๗๑ วรรคสองตอนทาย ป.พ.พ. ประกอบ)
นอกจากความรับผิดตองชดใชคาเสียหายเพราะเหตุที่ไมชาํ ระหนี้ตามนิติกรรมอันมีเงือ่ นไข
นั้นแลว ในกรณีที่เปนสัญญาตางตอบแทนอันมีเงื่อนไขบังคับกอน และทรัพยนั้นสูญหรือเสีย
หายไปในระหวางที่เงื่อนไขไมสําเร็จ กรณีตองอยูใตบังคับมาตรา ๓๗๑ วรรคสอง ป.พ.พ. ซึ่งวาง
หลักวา หากทรัพยสูญหรือเสียหายไปโดยโทษเจาหนี้(คือผูจะไดประโยชนจากความสําเร็จแหง
เงื่อนไข)ไมไดแลว ลูกหนี้ตองเปนฝายตองรับความเสี่ยงภัย หรือบาปเคราะหอันเกิดจากการที่ทรัพย
นั้นสูญหรือเสียหายไป คือตองสูญเสียทรัพยนั้นไปโดยที่แมตอมาหากเงื่อนไขสําเร็จลงลูกหนี้กไ็ มมี
สิทธิเรียกคาตอบแทนจากเจาหนี้ซึ่งเปนคูก รณีอีกฝายหนึ่ง ตัวอยางเชน ในเรื่องขายรถโดยมีเงื่อนไข
บังคับกอน หากในระหวางทีเ่ งื่อนไขยังไมสําเร็จ รถนั้นถูกชนหรือถูกไฟไหมเปนเหตุใหบุบสลาย
ความสูญเสียยอมเปนพับแกฝา ยลูกหนี้ (คือผูขาย) และไมวาในระหวางเงื่อนไขยังไมสําเร็จนั้น
ทรัพยจะสูญหรือเสียหายไปเพราะความผิดของลูกหนี้(ขับรถโดยประมาท) หรือเพราะ
บุคคลภายนอก (ลูกหนี้ไมไดประมาท แตบุคคลภายนอกประมาท) ก็ตาม หากความสูญหรือ
เสียหายนั้นไมอาจโทษเจาหนี้ไดแลว เมื่อเงื่อนไขสําเร็จแลวเจาหนีย้ ังมีสิทธิที่จะเลือกใหลูกหนี้
ปฏิบัติตามสัญญา คือสงมอบทรัพยที่ตกลงซื้อขายกันตามสภาพที่บุบสลาย หรือโอนกรรมสิทธิ์แหง
ทรัพยที่สูญหายไปนัน้ แกเจาหนี้ โดยเจาหนี้มีสิทธิลดราคาลงตามสวน หรือจะเลือกบอกเลิกสัญญา
เสียก็ได (มาตรา ๓๗๑ วรรคสอง ป.พ.พ.)
ความคุมครองในการเรียกคาเสียหาย หรือการใชสิทธิเรียกใหปฏิบัติตามสัญญาแลวลด
ราคาลง หรือใชสิทธิเลิกสัญญาดังที่กลาวขางตน จะเกิดแกคูกรณีอีกฝายหนึ่ง(เจาหนี)้ ไดก็ตอเมื่อ
เงื่อนไขสําเร็จลงแลว เพราะกอนที่เงื่อนไขจะสําเร็จก็ยังไมเปนอันรูแนวาคูกรณีอกี ฝายหนึ่งจะตอง
เสียหายหรือไม จึงทําใหนาคิดวา ระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จนั้น คูก รณีอีกฝายหนึ่งจะมีทางไดรับ
การเยียวยาอยางไร ซึ่งเปนปญหาที่เราจะไดพิจารณาถึงสิทธิหนาที่ของคูกรณีตามมาตรา ๑๘๕ ป.
พ.พ. ในหัวขอตอไป

ข) คูกรณีมีสิทธิจําหนาย รับมรดก จัดการปองกันรักษา หรือทําประกันไวในระหวางที่


เงื่อนไขยังไมสําเร็จ (มาตรา ๑๘๕ ป.พ.พ.)
เปนที่ยอมรับกันวา แมในขณะที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จ และยังไมเปนอันแนนอนวา
เงื่อนไขจะสําเร็จหรือไม กฎหมายก็รับรองใหคูกรณีมีสิทธิหนาที่ตอกันแลว และยังมีสิทธิจัดการ
หรือมีสิทธิทํานิติกรรมในทางจําหนาย รับมรดก จัดการปองกันรักษา หรือทําประกันไวในระหวาง
เงื่อนไขยังไมสําเร็จไดแลว สิทธิหนาที่ที่คูกรณีมีในระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จนี้จึงตองนับวาเปน
สิทธิอันมีราคาและถือเอาได และนับเปนสิทธิทางทรัพยสินอยางหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกวา “สิทธิใน

๒๕๕
ประโยชนอันพึงได” เมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จ ตัวอยางเชนสิทธิตามสัญญาขายฝาก ซึ่งนับเปนสัญญา
ขายทรัพยที่มีเงื่อนไขบังคับหลังอยางหนึ่ง ซึ่งกฎหมายยอมใหผูซื้อฝากซึ่งไดกรรมสิทธิ์ไปนั้นโอน
สิทธิของตน(ซึ่งอยูใตบังคับเงื่อนไขที่ผูขายอาจไถทรัพยนั้นกลับไปได)ตอไปยังบุคคลภายนอกได
และในขณะเดียวกัน ผูขายฝากก็โอนสิทธิในการไถทรัพยที่ขายฝากกันไวตอไปได นอกจากนี้หาก
จะมีการรับมรดกในสิทธิเชนนั้น หรือจะจัดการปองกันรักษา เชนนําคดีขึ้นสูศาลเพื่อปองกันหรือ
รักษาสิทธิตามเงื่อนไขอันจะพึงได เชนฟองเรียกทรัพยคืนจากผูไมมสี ิทธิยึดถือ หรือผูที่เขา
ครอบครองปรปกษทรัพยอนั จะพึงไดแกตนเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ หรือจะเอาประกันภัยในทรัพยสินนัน้
ดวยก็ยอมได ไมเปนการตองหามตามมาตรา ๘๖๓ ป.พ.พ. ซึ่งหามมิใหผูมีสวนไดเสียเอาประกัน๒๐
หรือจะจัดใหมีการค้ําประกัน หรือวางหลักประกันการชําระหนี้อันมีเงือ่ นไข เชนทําจํานํา จํานองไว
ดวยก็ได และหลักทํานองเดียวกันนีก้ ็ควรจะนํามาใชในกรณีนิตกิ รรมมีเงื่อนไขบังคับกอนดวย
ดังนั้นแมเงื่อนไขจะยังไมสําเร็จ แตปรากฏวามีการทําการอยางใดไปในทางที่จะเสื่อม
เสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่งจะพึงไดจากการที่เงื่อนไขนั้นสําเร็จลง คูกรณีฝายที่เสื่อมเสีย
ประโยชนยอมมีสิทธิจัดการในทางปองกันรักษาสิทธิอันมีเงื่อนไขของตนได และดวยเหตุนหี้ ากมี
การโอนทรัพยสินอันเปนวัตถุแหงหนีต้ ามนิติกรรมไปยังบุคคลภายนอกในลักษณะทีจ่ ะทําใหคูกรณี
อีกฝายหนึ่งตองเสียเปรียบ คูกรณีฝายนัน้ ยอมมีสิทธิเพิกถอนการฉอฉลได (มาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ.)
แตหลักการเพิกถอนการฉอฉลนี้ ไมใชแกกรณีที่บุคคลภายนอกไดทรัพยสินไปโดยสุจริตและเสีย
คาตอบแทน
ในการจําหนายสิทธิและหนาที่ของนิติกรรมภายใตบังคับเงื่อนไขนั้น ควรเขาใจวา
สิทธิและหนาที่ของผูโอนยอมโอนไปยังผูรับโอนภายใตบังคับเงื่อนไขนั้นดวย เชน ก. ตกลงขาย
รถยนตแก ข. โดยมีเงื่อนไขบังคับกอนวา ใหสัญญาซื้อขายมีผลและใหกรรมสิทธิ์ในรถโอนไปเมื่อ
ข. สําเร็จการศึกษา ดังนี้ในระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จนี้ หาก ก. โอนรถยนตอันเปนวัตถุแหง
สัญญาอันมีเงื่อนไขนี้แก ค. ยอมมีผลให ค. ผูรับโอนไดสิทธิของ ก. คือไดกรรมสิทธิ์ซึ่งอยูภายใต
บังคับเงื่อนไขไปดวยตามหลักผูรับโอนยอมไมมีสิทธิดีกวาผูโอน ดังนั้นในระหวางที่เงื่อนไขยังไม
สําเร็จ เดิมรถยนตคันนั้นเปนของ ก. อยู เมือ่ โอนให ค. ก็ยอมตกเปนกรรมสิทธิ์ของ ค. ดวย แตการ
ไดกรรมสิทธิ์ของ ค. นี้ก็เปนการไดมาโดยอยูใตบังคับเงื่อนไขตามสัญญาระหวาง ก. กับ ข. หาก
ตอมา ข. ตายหรือเลิกศึกษาตอไปก็เปนอันวาเงื่อนไขแหงนิติกรรมนัน้ ตกไป ดังนี้การโอนระหวาง
ก. กับ ค. ก็ยอมมีผลโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ อีก แตหากปรากฏวาตอมา ข. สําเร็จการศึกษา ก็
เปนกรณีทเี่ งื่อนไขสําเร็จลง รถยนตซึ่งขณะนั้นตกเปนของ ค. อยู ยอมโอนไปเปนของ ข. และสิทธิ
ของ ค. (ซึ่งอยูใตบังคับเงื่อนไข) ก็ยอมระงับไปตามเงื่อนไข และ ค. ยอมมีหนาที่ตองสงมอบ

๒๐
ตัวอยางจาก จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, หนา ๒๒๘-๒๒๙

๒๕๖
รถยนตนั้นแก ข. ทั้งนี้ เวนแตวาจะเปนกรณีที่ ค. ซึ่งเปนบุคคลภายนอกไดรับโอนทรัพยนั้นไปโดย
สุจริตและเสียคาตอบแทน คือไมรูวาทรัพยสินนั้นตกอยูภายใตบังคับนิตกิ รรมอันมีเงื่อนไข
อยางไรก็ดี ผูโอนซึ่งมีสิทธิภายใตบังคับเงื่อนไขมีหนาที่ตามมาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ. คือไมทํา
การใหเสื่อมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งอันจะพึงไดจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขนั้น เพราะ
ถาบุคคลภายนอกไดรับโอนไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน บุคคลภายนอกนั้นอาจไดรับการ
คุมครองสิทธิใหเปนผูมีสิทธิดีกวา เชนกรณีที่มีผูไดสังหาริมทรัพยโดยไดครอบครองแลวโดยสุจริต
และเสียคาตอบแทน ตามมาตรา ๑๓๐๓ ป.พ.พ. ดังนัน้ เพื่อไมใหเสื่อมเสียประโยชนแกคูกรณี ผู
โอนสิทธิอันมีเงื่อนไขยอมมีหนาที่ตองแจงแกผูรับโอนวาสิทธิที่โอนจําหนายใหนั้นเปนสิทธิที่อยู
ใตบังคับเงื่อนไข ซึ่งจะมีผลตอไปวา เมื่อเงื่อนไขสําเร็จสําเร็จลง สิทธิของผูรับโอนยอมระงับสิ้นไป
และสิทธินั้นยอมตกแกคกู รณีของผูโอนจําหนายสิทธินนั้
หลักทํานองเดียวกันนี้เห็นไดจากกฎหมายลักษณะขายฝาก (มาตรา ๔๙๑ – ๕๐๒ ป.
พ.พ.) ซึ่งเปนนิติกรรมซื้อขายโดยมีเงื่อนไขบังคับหลัง กลาวคือคูกรณีตกลงใหกรรมสิทธิ์โอน
กลับมาเปนของผูขายฝากโดยอาศัยการไถทรัพยที่ขายฝากเปนเงื่อนไขบังคับหลัง ในระหวางที่ขาย
ฝากกัน และเงือ่ นไขยังไมสําเร็จ คือยังไมมกี ารไถทรัพยทขี่ ายฝากกันนัน้ ผูขายฝากอาจจะโอนสิทธิ
ของตนไปยังบุคคลภายนอกได และผูรับโอนสิทธิของผูขายนั้นยอมไดสิทธิของผูขายฝากอันเปน
สิทธิที่มีเงื่อนไขบังคับหลังไปดวย ดังจะเห็นไดวา มาตรา ๔๙๗ ป.พ.พ. ยอมใหผูรับโอนสิทธิของ
ผูขายฝากมีสิทธิไถทรัพยนั้น และกรรมสิทธิ์ยอมตกกลับมาเปนของผูไถ (มาตรา ๕๐๒ ป.พ.พ.)
และในทํานองเดียวกันผูซื้อฝากจัดวาเปนผูไ ดกรรมสิทธิ์ในทรัพยที่ขายฝากไปภายใตบังคับเงื่อนไข
วาผูขายหรือผูร ับโอนสิทธิของผูขายอาจไถทรัพยนั้นได และเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ คือมีการไถทรัพย
เมื่อใด กรรมสิทธิ์ในทรัพยนนั้ ยอมโอนกลับไปเปนของผูไถ หากผูซื้อฝากนําทรัพยทตี่ นซื้อฝากไว
ไปจําหนายตอไปยังบุคคลภายนอก ก็เปนกรณีโอนกรรมสิทธิ์อันตกอยูใ นบังคับนิตกิ รรมอันมี
เงื่อนไขบังคับหลัง ผลก็คือ ผูไถอาจไถทรัพยกับผูรับโอนสิทธิของผูซื้อฝากได (มาตรา ๔๙๘ (๒) ป.
พ.พ.) เปนอันวาเงื่อนไขสําเร็จ และผลก็คือทรัพยนั้นยอมโอนกลับไปเปนของผูไถ (มาตรา ๕๐๒ ป.
พ.พ.) อยางไรก็ดี ผูรับโอนสิทธิของผูซื้อฝากจะไดสิทธิไปโดยมีเงื่อนไขก็เฉพาะกรณีที่ผูรับโอน
รูอยูแลววาสิทธิที่รับโอนมานั้นอยูใ ตบังคับแหงสิทธิไถคืน หรืออยูใตบังคับแหงเงื่อนไขบังคับหลัง
ซึ่งตกติดมากับทรัพยสินที่ตนรับโอนมา (มาตรา ๔๙๘ (๒) ป.พ.พ.)

๒) การคุมครองสิทธิของบุคคลภายนอก
ปญหาการคุมครองสิทธิของบุคคลภายนอกมักจะเกิดขึ้นเมื่อคูกรณีฝายหนึ่งโอน
ทรัพยสินอันเปนวัตถุแหงนิติกรรมที่อยูใตบังคับแหงเงื่อนไขบังคับกอนไปยังบุคคลภายนอกกอนที่
เงื่อนไขจะสําเร็จ ในกรณีเชนนี้ผูโอนยังมีสิทธิเหนือทรัพยสินที่โอน และผูรับโอนยังไมมีสิทธิใน
ทรัพยสินนั้นจนกวาเงื่อนไขจะสําเร็จ ดังนัน้ ในระหวางทีเ่ งื่อนไขยังไมสําเร็จนี้ หากผูโ อนโอน

๒๕๗
ทรัพยสินแกบคุ คลภายนอก การโอนนั้นยอมมีผลตามกฎหมาย ถาตอมาเงื่อนไขนั้นตกไป คือ
เงื่อนไขนั้นเปนอันไมมีทางสําเร็จลงไดอีกตอไป ปญหาก็หมดไป และผูรับโอนยอมไดสิทธิใน
ทรัพยสินไปอยางสมบูรณ แตปญหายุงยากที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อผูโอนไดโอนทรัพยสินซึง่ ตกอยู
ภายใตบังคับเงื่อนไขนั้นไปยังบุคคลภายนอกแลว ปรากฏตอมาวาเงื่อนไขเกิดสําเร็จลง ดังนี้สิทธิ
ของคูกรณีซึ่งไดรับโอนไปโดยมีเงื่อนไขรายแรก กับสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งไดรับโอนไปราย
หลังจะเปนอยางไร
ปญหาดังกลาวนี้มีมาตั้งแตสมัยโรมัน ซึ่งถือเปนหลักวาการโอนทรัพยสินที่อยูภายใตบังคับ
เงื่อนไขไปยังบุคคลภายนอกในระหวางทีเ่ งื่อนไขยังไมสําเร็จนั้นมีผลก็จริง แตผลนัน้ ยังไมบริบูรณ
เพราะยังอยูใตบังคับเงื่อนไข หากเงื่อนไขตกไปการโอนจึงจะมีผลบริบูรณ แตหากเงื่อนไขสําเร็จ
เมื่อใด การโอนแกบุคคลภายนอกยอมสิ้นผลไป๒๑
ในกฎหมายไทยมีหลักที่จะนํามาปรับใชกบั เรื่องนี้ไดคือหลักในมาตรา ๑๘๔ และ ๑๘๕ ป.
พ.พ. ซึ่งรับรองใหคูกรณีโอนสิทธิและหนาที่ที่ตนมีอยู คือสิทธิและหนาที่อันมีเงื่อนไขของตน
ตอไป หรือจะจัดการระวังปองกันรักษา หรือเอาประกันในสิทธิหนาทีอ่ ันมีเงื่อนไขของตนก็ได ใน
ระหวางทีเ่ งื่อนไขยังไมสําเร็จ (มาตรา ๑๘๕ ป.พ.พ.) แตก็จํากัดไวดวยวา ในระหวางที่เงื่อนไขไม
สําเร็จนี้ คูกรณีทั้งสองฝายตองงดเวนไมทําการใหเปนที่เสื่อมเสียประโยชนแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่ง
จะพึงไดจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขนั้น (มาตรา ๑๘๔ ป.พ.พ.) การทีก่ ฎหมายรับรองสิทธิอันพึง
ได และกําหนดใหคกู รณีตองงดเวนไมทําการใหเปนที่เสื่อมเสียประโยชนอันพึงไดจากความสําเร็จ
แหงเงื่อนไขนี้ อาจแปลความวากฎหมายจํากัดอํานาจในการโอนของคูกรณีไวเพื่อคุมครอง

๒๑
Gaius, Digesta Iustiniani, 30, 69, 1; Aelius Marcianus, Diesta Iustiniani, 20,1, 13,1 นอกจากนี้ยังมีผูอธิบาย
วาที่เปนเชนนี้ก็เพราะเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ ความสําเร็จแหงเงื่อนไขนั้นยอมมีผลยอนหลังกลับไปถึงจุดเวลาที่
นิติกรรมนั้นไดทําขึ้น (Pomponius D. 46, 3, 16) แมความคิดนี้ไมไดรับการยอมรับในการตราประมวล
กฎหมายของพระเจาจุสติเนียน แตก็เปนที่ยอมรับกันในระบบกฎหมายตาง ๆ เชนฝรั่งเศส อิตาลี และ
กฎหมายในสกุลโรมานิก ในกฎหมายฝรั่งเศสนั้นถือวาเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ นิติกรรมมีผลยอนหลังไปแตตน
(มาตรา ๑๑๗๙ ป.แพงฝรั่งเศส และโปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, ขอ ๓๒๑, หนา๒๓๔)
ดังนั้นหากโอนไปยังบุคคลภายนอกในระหวางนั้นการโอนนั้นไมมีผลเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ โดยไมไดมี
กฎหมายกําหนดไวโดยเฉพาะ แตถือตามหลักทั่วไปวาเมื่อเงื่อนไขสําเร็จและมีผลยอนหลังไปเปนเหตุใหผู
โอนไมมีอํานาจโอน การโอนยอมไมมีผล แตในกฎหมายเยอรมันและสวิส มิไดรับแนวคิดวาเมื่อเงื่อนไข
สําเร็จ นิติกรรมยอมมีผลยอนหลังไปถึงวันที่ทํานิติกรรมแบบฝรั่งเศส เพียงแตถือวาการจําหนายทรัพยสินไป
ในระหวางที่เงื่อนไขไมสําเร็จนั้น ยอมไมมีผลเฉพาะในสวนที่เกี่ยวกับเงื่อนไข ดังนั้นหากเงื่อนไขนั้นสําเร็จ
ลงในภายหลัง การโอนที่เกิดขึ้นระหวางนั้นนั้นยอมไมมีผล หรือยอมเสียผลยอนหลังไปถึงเวลาที่โอนกัน
(มาตรา ๑๖๑ ประมวลกฎหมายแพงเยอรมัน และมาตรา ๑๕๒ วรรคสาม ประมวลกฎหมายลักษณะหนี้ของ
สวิตเซอรแลนด)

๒๕๘
ประโยชนอันพึงไดของอีกฝายหนึ่งเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ และสิทธิในประโยชนอันพึงไดนี้เปนสิทธิที่
กฎหมายคุมครอง มิไดเปนแตเพียงความผูกพันทางหนี้ระหวางคูกรณีเทานั้น แตเปนสิทธิตาม
กฎหมายที่อาจยกขึ้นตอสูบุคคลภายนอกเพือ่ ปองกันรักษาสิทธิอันพึงไดนี้ไดเสมอ จึงอาจนับเปน
สิทธิเหนือทรัพยสินอยางหนึ่งที่กฎหมายรับรอง ดวยเหตุนี้การโอนทรัพยสินไปยังบุคคลภายนอก
ในระหวางที่เงือ่ นไขยังไมสําเร็จ จึงเปนการโอนที่ถูกจํากัดโดยกฎหมายใหมีผลไดเพียงเทาที่ไม
กระทบในทางเสื่อมเสียตอประโยชนอันพึงไดจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขเทานั้น๒๒
ตามอุทาหรณที่ ๖ การที่ ก. ซื้อเครื่องรับโทรทัศนจาก ข. โดยมีเงื่อนไขวาใหกรรมสิทธิ์โอน
มายัง ก. เมื่อชําระเงินครบถวน ดังนั้นระหวางที่ยังชําระเงินไมครบ เครื่องรับโทรทัศนยยังเปนของ
ข. อยู ดังนั้นเมื่อ ข. ขายเครื่องรับโทรทัศนนั้นแก ค. การขายนั้นยอมมีผล แตโดยทีส่ ิทธิของ ข. เปน
สิทธิโดยมีเงื่อนไข ดังนัน้ ค. ยอมไดรับโอนสิทธิอันอยูใตบังคับเงื่อนไขของ ข. ไปดวย หากตอมา
เงื่อนไขนั้นตกไป ค. ยอมไดสิทธิไปโดยบริบูรณ แตถาเงือ่ นไขนั้นสําเร็จสิทธิของ ค. ซึ่งไดมาโดย
อยูใตบังคับเงือ่ นไขยอมระงับสิ้นไป และทรัพยสินนั้นยอมตกไปเปนกรรมสิทธิ์ของ ก. ตามเงื่อนไข
เมื่อเงื่อนไขสําเร็จแลว ก. ยอมมีสิทธิเรียกให ค. สงทรัพยคืนใหแกตน สวน ค. ก็มีสทิ ธิไปเรียกรอง
ตอ ข. ใหตองรับผิดเพื่อการรอนสิทธิในทรัพยสินที่ขาย (มาตรา ๔๗๕ ป.พ.พ.)
อยางไรก็ดี กฎหมายก็คํานึงถึงประโยชนอนั พึงไดของบุคคลภายนอกผูไดรับโอนทรัพยสิน
โดยสุจริตและเสียคาตอบแทนเอาไวดวย ดังจะเห็นไดจากการใหสิทธิเจาหนี้เพิกถอนนิติกรรมอันมี
วัตถุแหงสิทธิเปนทรัพยสินซึ่งไดทําขึ้นโดยฉอฉลและเปนทางใหเจาหนี้เสียเปรียบตามมาตรา
๒๓๗ ป.พ.พ. แตถาบุคคลภายนอกผูไดประโยชนไปนั้นเปนผูสุจริตและเสียคาตอบแทน เจาหนี้
ยอมไมมีสิทธิเพิกถอนการฉอฉล และในสวนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพยก็มีหลักคุมครองบุคคลภาย-
นอกผูไดทรัพยสินไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทนปรากฏอยูในมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง และ
มาตรา ๑๓๐๐ ป.พ.พ. ซึ่งมีหลักเกณฑวา การไดมาซึ่งอสังหาริมทรัพยโดยผลของกฎหมาย ไมอาจ
ยกเปนขอตอสูการไดมาซึ่งอสังหาริมทรัพยโดยการโอนทางทะเบียน โดยสุจริต และเสีย
คาตอบแทนได และการไดมาโดยทางทะเบียน โดยสุจริต และเสียคาตอบแทนนีย้ อมไมถูกเพิกถอน
แมจะมีผูอยูในฐานะอันจะใหจดทะเบียนสิทธิของตนไดอยูกอนก็ตาม ดังนั้นบุคคลภายนอกผูได
สิทธิในอสังหาริมทรัพยไปโดยทางทะเบียน โดยสุจริตและเสียคาตอบแทนยอมมีสิทธิดีที่สุด สวน
ในเรื่องสังหาริมทรัพยนั้นก็มมี าตรา ๑๓๐๓ บัญญัติรับรองสิทธิของผูรับโอนโดยสุจริต เสีย
คาตอบแทน และไดครอบครองทรัพยแลวโดยสุจริตเอาไวเชนเดียวกัน คือ ในกรณีที่มบี ุคคลหลาย

๒๒
แตโปรดดู เสนีย ปราโมช, นิติกรรมและหนี้, เลม ๑, (แกไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๐๕), หนา ๒๒๔ ซึ่งอธิบายวา
การโอนทรัพยซึ่งตกอยูใตบังคับเงื่อนไขไปยังบุคคลภายนอกในระหวางที่เงื่อนไขยังไมสําเร็จนั้น แมตอมา
เงื่อนไขสําเร็จก็ไมกระทบตอสิทธิของบุคคลภายนอก ผูที่ตองขาดประโยชนจากความสําเร็จแหงเงื่อนไขได
แตเรียกคาสินไหมทดแทนจากคูกรณีฝายที่โอนทรัพยไปยังบุคคลภายนอกเทานั้น

๒๕๙
คนอางกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพยเดียวกัน ผูรับโอนทรัพยนั้นมาโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน
และไดครอบครองทรัพยนนั้ แลวโดยสุจริตยอมมีสิทธิดีที่สุด นอกจากนี้หากบุคคลภายนอกเปนผู
ซื้อทรัพยโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคําสั่งศาล หรือคําสั่งเจาพนักงานพิทักษทรัพยในคดี
ลมละลายยังไดรับการคุมครองตามมาตรา ๑๓๓๐ ป.พ.พ. โดยกฎหมายรับรองไววาสิทธินั้นยอม
ไมเสียไปหากปรากฏภายหลังวาทรัพยนั้นไมใชทรัพยของจําเลย ลูกหนี้ตามคําพิพากษา หรือคน
ลมละลาย
ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ ๖ ถาปรากฏวา ค. ซึ่งไดรับโอนจาก ข. รูดีอยูแ ลว หรือมีเหตุควร
สงสัยวา ข. เปนเจาของเครื่องรับโทรทัศนซึ่งมีสิทธิภายใตบังคับเงื่อนไขอยางหนึ่งอยางใด เชนใน
กรณีนี้คือเงื่อนไขวา หาก ก. ชําระเงินครบถวนเครื่องรับโทรทัศนน้นั ยอมตกเปนของ ก. ดังนี้ หาก
ค. รับโอนเครื่องรับโทรทัศนนั้นมา แมขณะโอน ข. จะยังเปนเจาของกรรมสิทธิ์และยอมมีสิทธิโอน
มายัง ค. ไดก็ตาม แตสิทธิที่ ค. ไดรับยอมตกอยูใตบังคับเงื่อนไขเดียวกันดวย ดังนั้นหากตอมา ก.
ชําระเงินแก ข. ครบถวน เงื่อนไขก็สําเร็จและเครื่องรับโทรทัศนนั้นยอมตกเปนของ ก. ตามเงื่อนไข
และ ค. ยอมเสียกรรมสิทธิ์ไปตามเงื่อนไขที่ตนไดรับโอนสิทธินั้นมา
ในกรณีที่ ค. สุจริต แตไมไดเสียคาตอบแทน เชนไดมาโดยการใหโดยเสนหา ดังนี้ ค. ก็
ไมไดรับการคุม ครองเชนกัน หรือแมกรณีที่ ค. สุจริต เสียคาตอบแทน แตยังไมไดครอบครองทรัพย
ดังนี้สิทธิของ ค. ก็ยังไมดกี วาสิทธิของ ก. เพราะตองถือวาสิทธิของ ค. เปนสิทธิที่ไดรับโอนมาโดย
อยูในบังคับเงือ่ นไขตามหลักผูรับโอนไมมีสิทธิดีกวาผูโ อน และ ก. ยอมไดกรรมสิทธิ์ในเครื่องรับ
โทรทัศนนั้นตามเงื่อนไข
แตถาปรากฏวา ค. ไดรับโอนจาก ข. มาโดยสุจริต คือเชื่อวา ข. เปนเจาของโทรทัศนนั้น
โดยไมตกอยูใตบังคับของสิทธิของผูใด และไดมาโดยเสียคาตอบแทน และไดเขาครอบครอง
เครื่องรับโทรทัศนนั้นแลว ดังนี้ ค. ยอมไดรับความคุมครองใหเปนผูม ีสิทธิดีที่สุดเหนือ
สังหาริมทรัพยคือเครื่องรับโทรทัศนนั้น
อนึ่ง หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลภายนอกที่กลาวมานี้ยอมใชไดแกกรณีที่มกี ารโอน
ทรัพยสินที่ตกอยูภายใตบังคับเงื่อนไขบังคับหลังไปยังบุคคลภายนอกในระหวางที่เงือ่ นไขนั้นยังไม
สําเร็จเชนกัน ตัวอยางเชน ก. ขายฝากรถไวกับ ข. โดยตกลงกันวาให ก. มีสิทธิไถรถคืนไปได
ภายใน ๓ เดือน ปรากฏวาระหวางนั้น ข. ไดโอนขายรถใหแก ค. ดังนีห้ าก ค. รูหรือควรไดรูวาสิทธิ
ของ ข. อยูใตบังคับเงื่อนไข แลวยังรับซื้อไป ดังนี้หากเงือ่ นไขสําเร็จ ก. ยอมเรียกรถคืนจาก ค. ได
ตามหลักผูรับโอนยอมไมมสี ิทธิดีกวาผูโอนในมาตรา ๑๘๔ และ ๑๘๕ ป.พ.พ. แตถาเปนกรณีที่ ค.
ไดรับโอนไปโดยสุจริตและเสียคาตอบแทน คือเขาซื้อทรัพยโดยไมรูวา สิทธิของ ข. เปนสิทธิที่ตก
อยูใตบังคับเงือ่ นไข ทั้งยังไดครอบครองรถนั้นแลวโดยสุจริต ดังนี้ ค. ยอมไดรับการคุมครองใหมี
สิทธิเหนือรถนั้นดีที่สุดตามมาตรา ๑๓๐๓ ป.พ.พ.

๒๖๐
๒. นิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม
๒.๑ ความสําคัญของการใหความยินยอมในการทํานิติกรรม
ตามปกตินิตกิ รรมที่บุคคลทําขึ้นโดยความสมัครใจนั้นยอมมีผลสมบูรณ แตบางกรณี
กฎหมายก็จํากัดความสามารถหรืออํานาจของผูทํานิติกรรมไว โดยกําหนดใหนิติกรรมจะมีผลไดก็
ตอเมื่อไดรับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากบุคคลอื่น ทั้งนี้ก็ดว ยเหตุผลสําคัญ ๒ ประการ
ใหญ ๆ กลาวคือ
ก) บุคคลผูทํานิติกรรมนั้นควรไดรับความคุมครอง ดังนั้นนิติกรรมที่บุคคลเหลานั้นได
กระทําลงไปจะมีผลสมบูรณไดก็ตอเมื่อผูแทนโดยชอบธรรมหรือผูที่มีอํานาจหนาที่ในการปกครอง
ดูแลบุคคลนั้นไดใหความยินยอมดวยแลว อันเปนการใหความยินยอมเพื่อรักษาประโยชนของผูทํา
นิติกรรม
ตัวอยางเชน นิติกรรมที่ผูเยาวไดกระทําลงโดยไมไดรับความยินยอมของผูแทนโดย
ชอบธรรมยอมตกเปนโมฆียะ (มาตรา ๒๑ ป.พ.พ.) ดังนั้นหากผูเยาวตกลงซื้อทรัพยสินอยางหนึ่ง
อยางใด นิติกรรมซื้อขายรายนั้นจะมีผลสมบูรณก็ตอเมื่อไดรับความยินยอมจากผูแทนโดยชอบ
ธรรมแลว หรือการจัดการทรัพยสินของผูเยาวในกรณีทํานิติกรรมสําคัญตามมาตรา ๑๕๗๔ ป.พ.พ.
ผูแทนโดยชอบธรรมไมมีอํานาจทําการแทนผูเยาว แตตองขออนุญาตจากศาลกอน เปนตน
ข) บุคคลภายนอกควรไดรับความคุมครอง ทั้งนี้เนื่องจากนิติกรรมนั้น ๆ สงผลกระทบตอ
สิทธิหนาที่ของบุคคลภายนอกนั้น ในกรณีเชนนี้นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณไดก็ตอ เมื่อไดรับความ
ยินยอมจากบุคคลซึ่งเกี่ยวของเสียกอน นับวาเปนการใหความยินยอมเพื่อรักษาประโยชนของผูให
ความยินยอมเอง
ตัวอยางเชน กรณีที่ไดมีการโอนทรัพยสินโดยมีเงื่อนไขบังคับกอนแลว ตอมากอนที่
เงื่อนไขนั้นจะสําเร็จ มีเหตุใหผูโอนประสงคจะโอนทรัพยสินนัน้ ไปยังบุคคลอื่น ดังนี้หากผูโอน
ประสงคจะใหการโอนนั้นมีผลสมบูรณ ไมถูกกระทบกระเทือนภายหลังเมื่อเงื่อนไขนั้นสําเร็จ ผู
โอนตองขอความยินยอมจากผูรับโอนที่มีเงื่อนไขเสียกอน ซึ่งจะมีผลใหการโอนทรัพยสินนัน้ ไมถูก
เพิกถอนเกิดขอโตแยงหรือเสียผลไปหากเงื่อนไขสําเร็จในภายหลัง หรือในกรณีที่เจามรดกทํา
พินัยกรรมโดยกําหนดเงื่อนไขใหมรดกตกทอดจากผูรบั ประโยชนรายหนึ่ง ไปยังผูร ับประโยชนราย
อื่นเมื่อเงื่อนไขสําเร็จ ตามมาตรา ๑๖๗๔ ป.พ.พ. หรือกําหนดหามมิใหผูรับประโยชนโอน
ทรัพยสิน โดยกําหนดใหบุคคลอื่นเปนผูไดรับทรัพยสินนั้นหากมีการละเมิดขอกําหนดหามโอน
ตามมาตรา ๑๗๐๐ ป.พ.พ. ดังนี้หากผูรับประโยชนรายกอนประสงคจะโอนทรัพยมรดกที่ตนไดไว
ภายใตบังคับเงื่อนไขบางตนใหมีผลสมบูรณ ผูรับประโยชนที่ประสงคจะโอนทรัพยสินไปนั้นยอม
จําเปนจะตองไดรับความยินยอมจากผูจะไดรับประโยชนตามเงื่อนไขแหงพินยั กรรมเสียกอน การ
โอนทรัพยสินนั้นจึงจะมีผลสมบูรณ

๒๖๑
๒.๒ ความหมายของความยินยอม
นิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอมนัน้ หมายถึงนิติกรรมซึ่งจะมีผลสมบูรณตามกฎหมายได
ก็ตอเมื่อไดรับความยินยอมจากบุคคลภายนอกซึ่งมิใชคูกรณีแหงนิติกรรมนั้น กลาวคือตองเปนกรณี
ที่การใหความยินยอมเปนเงือ่ นไขแหงความมีผลตามกฎหมายของนิตกิ รรมนั้น
ตัวอยางเชน การจําหนายตัวทรัพยซึ่งเปนกรรมสิทธิ์รวมนั้น หากเปนการจัดการทรัพยใน
ลักษณะเปนการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค เชนเปนทรัพยสินที่มีไวเพื่อใชรวมกัน หากจะนํา
ออกจําหนายยอมตองไดรับความเห็นชอบจากเจาของรวมทุกคน (มาตรา ๒๓๕๘ วรรคสี่ ป.พ.พ.)
หรือคูสมรส หากจะจัดการสินสมรสตามกรณีที่กฎหมายกําหนดในมาตรา ๑๔๗๖ ป.พ.พ. (๑) – (๘)
เชนขายหรือ ใหเชาอสังหาริมทรัพยเกินสามป ฯลฯ ตองจัดการสินสมรสนั้นรวมกัน หรือไดรับ
ความยินยอมจากอีกฝายหนึ่งเสียกอน
แตถาเปนกรณีที่คูกรณีตกลงกันใหนิติกรรมเปนผลเมื่อไดรับความยินยอมจาก
บุคคลภายนอก ดังนี้นติ ิกรรมนั้นมิใชเปนนิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม แตเปนการกําหนดเอา
ความยินยอมของบุคคลภายนอกเปนเงื่อนไขบังคับกอน
นอกจากนี้ผูใหความยินยอมนั้นตองเปนบุคคลเอกชน หรือเปนพนักงานเจาหนาทีท่ ี่ทํา
หนาที่เพื่อรักษาประโยชนของเอกชน ไมใชพนักงานเจาหนาที่ที่ทําการตามอํานาจหนาที่ในการ
รักษาประโยชนสาธารณะหรือประโยชนมหาชนตามทีก่ ฎหมายกําหนด
ตัวอยางเชน การที่ผูแทนโดยชอบธรรมใชอํานาจจัดการทรัพยสินของผูเยาวตามมาตรา
๑๕๗๔ ป.พ.พ. ตองไดรับอนุญาตจากศาลเสียกอน เปนนิติกรรมที่ตองไดรับความยินยอม แตการ
ตกลงทําสัญญากอสรางบานโดยกําหนดใหตองไดรับความเห็นชอบจากเจาพนักงานโยธาเสียกอน
ดังนี้เปนเงื่อนไข ไมใชเปนสัญญาที่ตองไดรับความยินยอม
ที่สําคัญกรณีตองเปนการใหความยินยอมจากบุคคลผูมิใชเปนคูกรณีในนิติกรรมนัน้ เอง
และเมื่อไดรับความยินยอมแลวนิติกรรมนัน้ จึงจะมีผลสมบูรณตามกฎหมาย

๒.๓ การใหความยินยอม
ก) หลักทั่วไปเกี่ยวกับความยินยอม
การใหความยินยอมอาจมีไดสองชนิดคือ การใหความยินยอมหรืออนุญาตไวลวงหนา
ใหกระทํานิตกิ รรมอยางใดอยางหนึ่งกอนที่จะมีการทํานิติกรรมนั้นขึ้น สวนการใหความยินยอมอีก
ชนิดหนึ่งไดแกการใหสัตยาบันหรือการใหความเห็นชอบแกนิตกิ รรมที่ไดกระทําไปแลวใน
ภายหลัง
การใหความยินยอมจัดเปนการแสดงเจตนาอยางหนึ่งซึ่งตองมีผูรับการแสดงเจตนา
ดังนั้นหากผูมอี ํานาจใหความยินยอม มิไดแสดงเจตนาทีม่ ีผลสมบูรณออกไป ตัวอยางเชนผูใหความ

๒๖๒
ยินยอมเปนคนไรความสามารถเสียตั้งแตกอนใหความยินยอม และเมือ่ การใหความยินยอมนั้นเปน
โมฆียะ ก็ไดมกี ารบอกลางความยินยอมนัน้ แลว
ปญหามีตอไปวาการใหความยินยอมนั้นผูม ีอํานาจใหความยินยอมจะตองแสดงตอ
คูกรณีฝายใด กรณีนี้ไมมกี ฎหมายกําหนดไวโดยเฉพาะ จึงเปนที่เขาใจวาผูมีอํานาจใหความยินยอม
จะแสดงเจตนาใหความยินยอมแกคูกรณีฝายที่ทํานิติกรรมนั้น หรือจะใหความยินอยมแกคูกรณีอกี
ฝายหนึ่งก็ยอมได
ตัวอยางเชน ผูเยาวทํานิติกรรมซื้อกลองถายรูปโดยไมไดรบั ความยินยอมจากผูแทน
โดยชอบธรรม ดังนี้ผูแทนโดยชอบธรรมอาจแสดงเจตนาใหความยินยอมหรือที่เรียกกันวาให
สัตยาบันโดยแสดงเจตนานีต้ อผูเยาวเอง หรือตอคูกรณีของผูเยาว คือผูขายกลองถายรูปนั้นก็ได
การใหความยินยอมนัน้ มิไดมีกฎหมายกําหนดแบบไวโดยเฉพาะ ดังนัน้ ตามปกติการ
ใหความยินยอมจึงไมตองตกอยูใตบังคับแหงแบบใด ๆ ทั้งนี้เพราะการใหความยินยอมมิไดเปน
สวนหนึ่งของนิติกรรม แตเปนขอเท็จจริงอันกฎหมายกําหนดใหเปนเงื่อนไขแหงความมีผลแนนอน
แหงนิตกิ รรม
ตัวอยางเชน การที่ผูเยาวทํานิติกรรมโดยมีผแู ทนโดยชอบธรรมเปนพยาน หรืออยูรวม
ดวยในขณะทํานิติกรรม ยอมถือไดวาไดรับความยินยอมเพราะมีการรับรูโดยไมทักทวง
นิติกรรมที่ไดรับความยินยอมแลวยอมมีผลสมบูรณ แตนิติกรรมที่ไมไดรับความ
ยินยอมยอมมีผลเปนนิติกรรมแตไมมีผลตามความประสงคอยางบริบูรณ เพราะอาจถูกบอกลาง
หรือมีผลเพียงบางสวน หรือไมมีผลเลย แตโดยทั่วไปก็ไมอาจนับวาถึงกับทําใหนิติกรรมนั้นตกเปน
โมฆะไปเสียเลยทั้งนี้เพราะการใหความยินยอม ใหสัตยาบันหรืออนุญาตอาจกระทํายอนหลังก็ได
โดยที่ความยินยอมเปนการแสดงเจตนาอยางหนึ่ง จึงมีขอ นาคิดวา เมื่อไดแสดง
ออกไปแลวจะเพิกถอนเสียไดหรือไม เรื่องนี้อาจตอบไดวา ความยินยอมที่ไดใหไวลว งหนายอมเพิก
ถอนไดเสมอตราบเทาที่ยังมิไดมีการทํานิตกิ รรมที่ใหความยินยอมนั้นไวแลว เชนผูแทนโดยชอบ
ธรรมใหความยินยอมผูเยาวในการซื้อรถมอเตอรไซค ดังนั้นกอนที่ผูเยาวจะตกลงทําสัญญาซื้อขาย
ตามที่ไดรับความยินยอมสําเร็จ ผูแทนโดยชอบธรรมยอมถอนความยินยอมนัน้ ไดเสมอ เวนแตจะ
เปนกรณีทีมกี ฎหมายหามไวไมใหถอนความยินยอมเชนนั้น หรือไดมกี ารใหคํามั่นไวแกคกู รณีอกี
ฝายหนึ่งแลววาจะไมถอนความยินยอมนั้น แตถาเปนความยินยอมทีก่ อผลผูกพันเด็ดขาดไปแลว
ผูใหความยินยอมเชนนั้นยอมไมอาจเพิกถอนไดอีกตอไป แตถาเปนการเพิกถอนโดยศาล เชนกรณี
เพิกถอนความยินยอมทีเ่ ปนการฉอฉล (มาตรา ๒๓๗ ป.พ.พ.) เปนตน
ข) ลักษณะพิเศษในกรณีการใหสัตยาบัน
การใหสัตยาบันนั้นเปนการใหความยินยอมภายหลังจากที่ไดมีการทํานิติกรรมที่ตอง
ไดรับความยินยอมไปแลว และเมื่อผูมีอํานาจใหสัตยาบันไดใหสัตยาบันไปแลวนิติกรรมนั้นยอม
เปนอันสมบูรณมาแตเริ่มแรก (มาตรา ๑๗๗ ป.พ.พ.) หรือที่เรียกวามีผลยอนหลังไปแตเริ่มแรก (ex

๒๖๓
tunc) ดังนั้นแมผูเยาวซึ่งทํานิติกรรมซื้อขายซึ่งตองไดรบั ความยินยอมจากผูแทนโดยชอบธรรม หรือ
คูสมรสฝายใดฝายหนึ่งที่เขาจัดการสินสมรสซึ่งตองไดรับความยินยอมจากคูสมรสอีกฝายหนึ่งตาม
มาตรา ๑๔๗๖ (๑) – (๘) ป.พ.พ. จะกลายเปนคนไรความสามารถไปภายหลังจากทีไ่ ดทํานิติกรรม
นั้นแลว ผูแ ทนโดยชอบธรรมหรือคูสมรสอีกฝายหนึ่งก็ยังใหสัตยาบันตอนิติกรรมดังกลาวก็ยังอาจ
ใหสัตยาบันในนิติกรรมนัน้ ๆ ได และยอมมีผลทําใหนติ ิกรรมนั้นสมบูรณมาตั้งแตเริ่มแรก แม
ตอมาผูเยาว หรือคูสมรสที่ไดทํานิติกรรมไวจะกลายเปนคนวิกลจริต กลายเปนคนไรความสามารถ
หรือถึงแกความตายในภายหลัง ก็ไมกระทบตอความสมบูรณของนิติกรรมที่ไดรับการใหสัตยาบัน
และมีผลสมบูรณมาแตเริ่มแรกแลวอีก
อยางไรก็ดี หลักที่วาการใหสัตยาบันยอมมีผลยอนหลังทําใหนิตกิ รรมนั้นสมบูรณมา
แตเริ่มแรก ตามมาตรา ๑๗๗ ป.พ.พ. นั้นอาจไมใชบังคับในบางกรณี โดยเฉพาะอยางยิง่ หากผล
ยอนหลังจะมีผลทําใหฝายทีก่ ฎหมายมุงคุมครองตองเสียประโยชนจากความคุมครองที่พึงไดรับไป
อาทิเชนในการนับอายุความซึ่งอาจทําใหผเู ยาวตองเสียสิทธิอันพึงไดไป เปนตน
นอกจากนี้ความมีผลยอนหลังของการใหสตั ยาบันยอมไมมีผลทําใหการโอนทรัพย
หรือการทํานิตกิ รรมเปลี่ยนแปลงสิทธิของผูมีอํานาจใหสตั ยาบันที่ไดทาํ ไวกอนการใหสัตยาบันนั้น
เสียผลไป
ตัวอยางเชน ก. เอาทรัพยของ ข. ไปขายให ค. โดยสําคัญผิดวาเปนทรัพยของตนเอง
ตอมาผานไป ๓ ป ก. หรือ ค. ทราบวาทรัพยนั้นแทจริงเปนของ ข. จึงขอให ข. ใหสตั ยาบันในการ
โอนทรัพยของ ก. ดังนีห้ าก ข. ใหสัตยาบันในการขายทรัพยโดยไมมสี ิทธิของ ก. ตามปกติยอมมีผล
ทําใหการขายทรัพยของ ก. นั้นสมบูรณมาแตเริ่มแรก แตถาระหวางที่ ข. ยังไมไดใหสตั ยาบันแก
การกระทําของ ก. นี้ หาก ก. ไดโอนสิทธิเรียกทรัพยคนื หรือขายกรรมสิทธิ์ในทรัพยนั้นใหแก ง.
ไปกอนแลว ดังนี้จะเห็นไดวา การใหสัตยาบันของ ข. ยอมไมมีผลยอนหลังไปกระทบตอสิทธิของ
ง. ได เพราะเมือ่ ข. ไดโอนทรัพยไปยัง ง. แลว ก็ไมอาจมีสิทธิเหลืออยูที่จะใหสัตยาบันแก ก. ไดเลย

๒๖๔

You might also like