You are on page 1of 2

www.dialogueonwriting.blogspot.

com |1

ปัญหาการเขียนระดับย่อหน้าและคาแนะนา
โดยเมื่อลมแรง…ใบไม้ก็ร่วง
(acm.writing@gmail.com)

ปีก่อนผมเขียนบทความสั้นๆ ไว้ฉบับหนึ่งเรื่อง “ปัญหาการเขียนระดับประโยคและคาแนะนา” มาปีนเี้ ลยจะ


เขียนในหัวข้อทีต
่ ่อกัน (หาอ่านได้จาก blog ครับ เขียนไว้วันที่ Monday, January 05, 2009)

ความเกี่ยวเนื่องและลาดับการนาเสนอข้อมูลนั้นเป็นสิ่งสาคัญลาดับต้นๆ ของการเขียน ถ้าผูเ้ ขียนเรียงลาดับ


การเล่าเรื่องและการนาเสนอข้อมูลได้ดี ผู้อา่ นก็จะอ่านงานเขียนได้งา่ ยและเร็วขึ้น ความง่ายและความเร็วใน
การอ่านนั้นเป็นเรื่องสาคัญและจาเป็นมากโดยเฉพาะในยุคที่ผู้อา่ นต้องอ่านข้อมูลในปริมาณมากๆ ในเวลาที่
จากัด ให้ลองจินตนาการถึงการเดินทาง สมมติวา่ เราตั้งต้นที่กรุงเทพฯ และจุดมุ่งหมายของเราคือเชียงใหม่
ถ้าไกด์สามารถพาเราเดินทางจากกรุงเทพฯ ตรงดิ่งขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ได้ทันที คงเป็นการประหยัดเวลา
ของนักเดินทางได้ไม่นอ ้ ย อีกทั้งในอนาคตถ้านักเดินทางคนนั้นต้องการเดินทางไปเชียงใหม่เองจาก
กรุงเทพฯ ก็สามารถทาได้เช่นเดียวกัน ในทางกลับกันถ้าไกด์คนเดิมพานักท่องเที่ยวลงไปเพชรบุรีแล้วกลับ
เข้ากรุงเทพฯ แล้วไปชลบุรี กลับเข้ากรุงเทพ แล้วไปกาญจบุรี แล้วค่อยเลาะขึ้นไปเชียงใหม่ ไม่เพียงแต่
นักท่องเที่ยวจะสับสนกับเส้นทาง และในอนาคตหากนักท่องเที่ยวคนนั้นต้องการเดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่
ด้วยตนเองคงจะไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นลาดับการนาเสนอข้อมูลจึงสาคัญ

แต่ในการเขียนนั้น การจะนาเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ให้ผู้อา่ นเข้าใจและไม่สบ ั สนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย


เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ผู้เขียนอาจจะไม่แน่ใจว่าตนเองต้องการสือ ่ อะไร หรือในกรณีที่ผู้เขียน
แน่ใจ ผู้เขียนอาจจะหลงไปในโลกความคิดระหว่างเขียนจนลืมจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร นักวิทยาศาสตร์ที่
มีชื่อเสียงมาก ๒ คนซึ่งคือ Linda Flower and John Hayes ได้สร้างแผนภาพกระบวนการเขียนว่าซับซ้อน
และประกอบด้วยกระบวนการหลายขั้นตอน นั่นคือผูเ้ ขียนไม่ใช่แค่คด ิ และเขียนเท่านั้น แต่ยังต้องตัดสินใจใน
เรื่องอื่นๆ อีกมาระหว่างเขียน ดังนั้นการที่ผู้เขียนคนหนึง่ จะบังคับตัวเองให้เขียนไปตามกรอบทีต ่ ั้งไว้คงไม่ใช่
เรื่องง่ายๆ

แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีวิธท
ี างแก้ไข้ บทความนี้ขอเสนอวิธก
ี ารแก้ไข้ที่อาจจะแปลกไปบ้างแต่ว่า
ได้ผล

๑. ต้องค่อนข้างแน่ใจก่อนว่าเราจะเขียนอะไร
นี่คือหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหาความไม่เกี่ยวเนื่องของข้อมูล ก่อนลงมือเขียนผู้เขียนควรจะเข้าใจ
จุดประสงค์ของงานเขียนและงานที่ได้รับมอบหมาย (assignment) ก่อน เปรียบเหมือนกับ
ไกด์นาเที่ยว เขาจะต้องรู้กอ
่ นว่าจุดมุ่งหมายของเขาคือจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะพาลูกไกด์ออก
เดินทาง

๒. วางแผนการเขียน มีหัวใจหลัก (thesis statement) ที่ชัดเจน


หลังจากรู้แล้วว่าต้องการสือ ่ อะไรกับผู้เขียน ให้เขียน thesis statement ตัวใหญ่ๆ แปะไว้หน้าจอคอม
หรือว่าเก็บไว้ข้างๆ ตัว เมื่อไหร่ที่สับสน ให้กลับมาดูที่ thesis statement ว่าจริงๆ แล้วเราต้องการสือ

อะไร

จากนั้นก็เริ่ม outline การเขียน outline ก่อนนั้นเป็นวิธห


ี นึงที่น่าจะผ่านตากันมาบ้าง; outline นั้นอาจจะ
เป็น outline แบบละเอียดหรือแบบสั้นๆ ก็ได้ เพียงแต่ขอให้มันทาหน้าที่ของมันได้คือ เป็นแผนทีก ่ าร
เรียงลาดับความคิดของผูเ้ ขียน สาหรับผมมีวธ ิ ีการเขียน outline ที่แตกต่างจากชาวบ้านหน่อย (อันนั้น
อาจารย์ท่านหนึ่งยืนยัน เพราะว่าท่านอ่าน outline ของผมไม่รู้เรื่อง แต่นั่นไม่สาคัญครับ ขอให้เรา—
ผู้เขียน—รู้เรื่องก็พอ) วิธีของผมคือ ผมจะเขียน topic sentence ของทุกย่อหน้าไว้ พร้อมกับ
เขียน transitional words (ตัวเชื่อม) หน้า topic sentence ด้วยถ้าจาเป็น (ในตัวอย่าง
ข้างล่างผมจะขีดเส้นใต้ transitional words ไว้) เช่น
www.dialogueonwriting.blogspot.com |2

(ขอยกตัวอย่างเรื่องศาสนานะครับ ไม่ได้มีเจตนาลบลู่แต่อย่างใด)

Introduction: คนไทยไม่เข้าใจศาสนาพุทธอย่างแท้จริงจึงไม่เข้าใจว่าทาไมการทาบุญจึงสาคัญ
(thesis statement)

(ย่อหน้าแรก) เล่าเรื่องวรรณสิงห์(พิธีกร)ถามว่า ทาไมต้องทาบุญ ทาบุญแล้วได้อะไร

(ย่อหน้าสอง) ถ้าเข้าใจพุทธแล้ว จะไม่ถามคาถามนี้ แต่เพราะไม่เข้าใจเลยถาม

(ย่อหน้าสาม) แต่ (But) ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า การทาบุญในพุทธมี ๒ อย่าง (อธิบาย)

(ย่อหน้าสี่) จะเห็นว่า (As you can see) การทาบุญเป็นอย่างแรกเท่านั้น + ทาบุญเพราะว่าบุญช่วยให้


จิตสงบ

(ย่อหน้าห้า) หลังจาก (After that) จิตสงบแล้วก็ขยับเป็นการทาบุญแบบที่ ๒ (การปฎิบัติธรรม) ซึ่ง


เป็นหัวใจของพุทธ

(ย่อหน้าหก) สรุปคือ (In conclusion) การทาบุญแบบที่ ๑ เป็นพื้นฐานให้เกิดจากทาบุญแบบที่ ๒ ซึ่ง


เป็นหัวใจของพุทธ

จะสังเกตว่าย่อหน้าที่ ๖ จะตอบคาถามของย่อหน้าที่ ๑ และทั้งหมดโยงเข้ากับ thesis statement

ประโยค topic sentence พวกนี้ไม่ตายตัว อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบ้างระหว่างเขียนหรือหลังจากเขียน


เสร็จแล้ว แต่โดยรวมๆ ความหมายจะไปเปลี่ยนมากนัก

๓. หลังจากเขียนเสร็จแล้ว กลับไปทา outline อีกรอบ


วิธีการนี้อาจจะดูแปลกประหลาดสะหน่อย แต่ว่าได้ผลดีทีเดียวครับ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว ให้กลับไป
อ่านทีละย่อหน้าแล้วสรุปแต่ละย่อหน้าให้เหลือ ๑ ประโยคแล้วเขียนไว้ขา้ งๆ ย่อหน้า เมื่อทาเสร็จแล้ว
กลับมาอ่านพวก ๑ ประโยคนั้นดูวา่ มันเชื่อมโยงกันไปตามลาดับไหม ถ้าไม่ให้ปรับปรุงแก้ไขโดยการ
สลับตาแหน่งของย่อหน้าว่าอันไหนควรมาก่อนหรือมาหลัง

ข้อควรสังเกต: วิธีนี้อาจจะยุ่งยากสะหน่อยโดยเฉพาะถ้าย่อหน้านั้นเหมือนมีหลาย
ความคิดจนไม่สามารถสรุปได้เป็น ๑ ประโยค ถ้าเกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้น ให้สงสัยไว้
เลยว่าย่อหน้านั้นมีมากกว่า ๑ ความคิดและควรถูกแก้ไข ในการเขียนนั้น ๑ ย่อหน้าควร
จะมี ๑ ความคิดหลักเท่านั้น ถ้ามีมากกว่า ๑ ควรแยกความคิดเหล่านั้นออกมา แล้วดูว่า
ประโยคไหนในย่อหน้านั้นที่แตกต่างไปจากความคิดหลัก (topic sentence) เมื่อเจอ
แล้วให้กล้าที่จะตัดออกไป แต่การตัดออกไปไม่ใช่การทิ้งไปเลย แต่ให้ดูว่าประโยคที่
ผิดแปลกไปนี้เกี่ยวเนื่องกับย่อหน้าอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ก็จับยัดใส่ไปในย่อหน้านั้นๆ ถ้าไม่
เข้าพวกกับย่อหน้าใดเลย ก็ให้ทิ้งออกไปเลย

มาถึงตอนนี้หลายๆ คนอาจจะบ่นว่ามันยุ่งยากมาก สิ่งทีผ


่ มพอจะได้คือ การเขียนไม่ใช่เรื่องง่ายครับ แต่ก็เป็น
ทักษะที่สาคัญทีค
่ วรฝึก

You might also like