You are on page 1of 41

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 1

Lecture 2
Risk and Risk Management

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 2


ความเสี่ยงภัย (risk)

 ความเสี่ยงภัย คือ โอกาสที่จะเกิดความเสียหาย


 เมื่อใดมีความเสี่ยงภัยเมื่อนั้นก็มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น
 ทาไมจึงต้องมีการประกันชีวิตเพื่อแบ่งเบาความ
เดือดร้อนจากความตายที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน?
 เวลาตายเป็นสิ่งไม่แน่นอน
 ความเสี่ยงภัยจากการตายก่อนกาหนดเป็นมูลเหตุของ
การประกันชีวิต

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 3


ภัย (Perils) กับภาวะภัย (Hazards)

 ภัย (Perils) คือ สาเหตุของความสูญเสีย


 ภัยในการประกันวินาศภัย เช่น การชน ไฟ พายุ
 ภัยในการประกันชีวิต ได้แก่ การตายก่อนกาหนด
 ภาวะภัย (Hazards) คือ ปัจจัยหรือภาวะบางอย่างที่
ส่งผลให้เกิดภัย
 เบรกสะบัด คลัทเสีย เกียร์หลุด ฯลฯ

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 4


ภาวะภัยทางศีลธรรม (Moral hazard)
ในการประกันชีวิต
 การกระทาของมนุษย์ที่ทาให้เกิดภัย แบ่งเป็น
 ความประมาทเลินเล่อ เช่น มีกฎหมายห้ามขับรถเร็ว แต่
ยังมีผู้ฝ่าฝืนโดยขาดความเชื่อถือ
 เจตนา
 เจตนาธรรมดา คือ รู้อยูว่ า่ จะเกิดภัยขึ้น แต่ไม่ทราบว่าจะเป็น
ผลร้ายแก่ผู้อื่นเพียงใดหรือไม่
 เจตนาเพราะความทุจริต เรียกว่า ภาวะภัยทางศีลธรรม (moral
hazard) คือ เจตนากระทาการทุจริตเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่
ตนเองทั้งทางร่างกายและวัตถุ โดยไม่คานึงถึงผลเสียหายแก่
ผู้อื่น

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 5


ภาวะภัยทางศีลธรรม (Moral hazard)
ในการประกันชีวิต
 ภาวะภัยทางศีลธรรมในการประกันชีวิต เช่น ผู้
เอาประกันพยายามหาวิธีทุจริตเพื่อให้ได้
ค่าตอบแทนสูง เป็นต้น
 การประกันชีวิต ได้แก่การเตรียมรับภัยที่เกิดแก่ชีวิต
มนุษย์ ซึ่งมีหลายชนิด บริษัทจึงต้องพิจารณาว่า ภัยนั้น
จะมีมูลที่จะเอาประกันได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
ภาวะภัยทางศีลธรรม และเนื่องจากภัยบางอย่างก็เอา
ประกันไม่ได้ เช่น วาตภัย หรือภัยจากสงคราม

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 6


การจัดการความเสี่ยงในการประกัน
ชีวิต
 ขจัดหรือป้องกันภัยมิให้เกิด (prevention of loss)
 การลดความเสียหายให้น้อยลง
 ประกันตัวเอง (self insurance)
 การออมทรัพย์ (savings)
 การประกันภัย (insurance)

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 7


การขจัดหรือป้องกันภัย

 การดาเนินการป้องกันทรัพย์สินหรือชีวิตของตนมิ
ให้ภัยเกิดขึ้น โดยคิดว่าไม่จาเป็นจะต้องหาความ
คุ้มครองจากการประกันภัยหรือการประกันชีวิต
 เช่น ทาเขื่อนป้องกันน้าท่วม สร้างบ้านด้วยวัตถุทนไฟ
เพื่อป้องกันมิให้เกิดไฟไหม้ หลีกเลี่ยงไม่เข้าร่วมกิจกรรม
ที่อาจทาให้เกิดภัย
 คุ้มที่จะทา ถ้าค่าใช้จ่ายที่เสียเพื่อการป้องกันภัยน้อยกว่า
เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย
 ภัยหลายประเภทมิอาจป้องกันหรือขจัดให้หมดไปได้
เพราะเป็นภัยธรรมชาติ หรือทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 8
การประกันตนเอง

 การที่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือชีวิตคิดว่าตนสามารถที่
จะเผชิญต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ดว ้ ยตนเอง โดย
การกันเงินไว้สว ่ นหนึง่ การที่จะทาเช่นนี้ได้ผู้เป็น
เจ้าของทรัพย์สินหรือชีวิตจะต้องสามารถคานวณโอกาส
ที่จะเกิดภัยและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ (ใช้หลัก
คณิตศาสตร์ประกันภัยและกฎแห่งจานวนมาก) เพื่อที่จะ
ได้คานวณถึงจานวนเงินที่ต้องกันไว้อย่างเหมาะสม
 เช่น สวัสดิการของลูกจ้างในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีลก
ู จ้างจานวน
มากเพียงพอที่จะพยากรณ์และวัดถึงจานวนความเสี่ยงได้

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 9


การประกันตนเอง

 การประกันตนเองเป็นการลดค่าใช้จา่ ยที่ต้องเสียให้กับ
บริษัทประกันภัย และส่งเสริมให้ผู้เอาประกันตนเองจัด
ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
 การประกันตนเองไม่เหมาะกับบุคคลทัว ่ ไปหรือองค์กร
ขนาดเล็ก เนื่องจากส่วนลดที่จะได้จากการประกัน
ตนเองมักไม่ค่อยคุ้มกับการซื้อประกันกับบริษัท
รับประกันชีวิตมืออาชีพ และกลุ่มเสี่ยงภัยในองค์กร
ขนาดเล็กมักมีจานวนไม่มากพอพอที่จะใช้พยากรณ์
และวัดความเสี่ยงภัยได้

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 10


การออมทรัพย์

 การที่บุคคลผู้ที่เกรงต่อความเดือดร้อนทีค
่ รอบครัว
จะได้รับในกรณีที่ความมรณะเกิดขึ้นแก่ตนเองก่อน
เวลาอันควร ทาการออมทรัพย์ไว้ล่วงหน้าเพื่อที่
ครอบครัวจะได้ใช้เงินออมก้อนนั้นได้ในอนาคต
 ทาได้ยาก เนื่องจากขาดการบังคับ และคนส่วนมาก
มีรายได้ไม่พอแก่ค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว การจะออมเงิน
จานวนมากไว้ใช้ในยามฉุกเฉินจึงไม่สามารถ
กระทาได้
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 11
การประกันภัย

 การที่บุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงภัยเดียวกันเข้า
ร่วมกันเฉลี่ยภัย หมายความว่า แต่ละคนเจียดเงินคนละ
เล็กน้อยตามความมากน้อยของรายได้ของตนไปยัง
กองกลาง และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ใครแล้ว
กองกลางก็จะจ่ายเงินจานวนนั้นให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย
 การประกันภัยแตกต่างจากการออมตรงที่ว่า การประกันภัย
ได้รับความคุ้มครองทันที ส่วนในการออมนั้น จานวนเงินที่
ออมไว้จะเพิ่มทีละเล็กทีละน้อย แต่ภัยนั้นอาจเกิดก่อนที่ผู้
ออมจะสามารถสร้างความคุ้มครองให้แก่ตนเองอย่าง
เพียงพอ
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 12
การวัดความเสี่ยง

 การวัดความเสี่ยงภัยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะทราบว่า
ภัยสามารถที่จะนามาประกันได้หรือไม่ เพราะการ
ประกันภัยเป็นการเปลี่ยนจากความไม่แน่นอนมา
เป็นความแน่นอน โดยการร่วมเสี่ยงภัยของผู้เอา
ประกัน ทาให้สามารถทานายได้ว่าภัยจะเกิดขึ้นกี่
ครั้ง มีขนาดและลักษณะอย่างไร

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 13


การวัดความเสี่ยง
 ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นในการวัดความเสี่ยงภัย
 ความน่าจะเป็น คือ โอกาสที่เหตุการณ์ที่สนใจจะเกิดขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นได้เป็นเศษส่วน ตัวเศษแสดงถึงจานวน
สมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และตัว
ส่วนแสดงถึงจานวนสมาชิกของเหตุการณ์ทั้งหมดที่อาจ
เกิดขึ้นได้
► ความน่าจะเป็นแสดงเป็นตัวเลขระหว่าง 0 และ 1
 ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งเท่ากับ 0 หมายความ
ว่าเหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
 ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งเท่ากับ 1 หมายความ
ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 14
การวัดความเสี่ยง

 ตัวอย่าง
 จากสถิติในระหว่าง 1 ปี จะมีอัคคีภัย 50 ราย จากบ้าน
10,000 หลัง
 ความน่าจะเป็นที่บ้านจะถูกไฟไหม้ = 50/10000 = .005

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 15


ตัวอย่างความน่าจะเป็นในธุรกิจ
ประกันชีวิต
 คนกลุ่มหนึ่งจานวน 1,000 คน ซึ่งมีอายุ 20 ปี ถ้ามี
คนเสียชีวิตในช่วงระยะเวลา 1 ปีถัดมาจานวน 50
คน
 ความน่าจะเป็นที่คนอายุครบ 20 ปี จะเสียชีวิตก่อนอายุ
ครบ 21 ปี = 50/1,000 = .05
 ความน่าจะเป็นที่คนอายุครบ 20 ปี จะมีชีวิตรอดถึงอายุ
21 ปี = 950/1,000 = .95
 ความน่าจะเป็นที่คนอายุครบ 20 ปี จะเสียชีวิตก่อนอายุ
ครบ 21 ปี + ความน่าจะเป็นที่คนอายุครบ 20 ปี จะมีชีวิต
รอดถึงอายุ 21 ปี = .05 + .95 = 1

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 16


อัตรามรณวิสัย (mortality rates)

 การประมาณจานวนผู้เสียชีวิตในแต่ละปี โดยใช้
ทฤษฎีความน่าจะเป็นจัดทาเป็นรูปของตารางมรณ
วิสัย (mortality table) แสดงความน่าจะเป็นของ
การมีชีวิตรอดหรือการเสียชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง
ตามอายุ
 อัตรามรณวิสัยของคนที่อายุต่างๆ คือ ค่าความ
น่าจะเป็นที่คนๆหนึ่งที่อายุต่างๆ จะเสียชีวิตภายใน
1 ปี ซึ่งคานวณได้จากการจดบันทึกจานวนคนตาย
ณ อายุต่างๆ จากเหตุการณ์ในอดีต

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 17


อัตรามรณวิสัย (mortality rates)

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 18


การอ่านตารางมรณวิสัย

 x แทน อายุ
 lx แทน จานวนคนที่มีชีวิตอยู่ ณ อายุ x จากจานวน
คนเริ่มแรกทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ตอนต้นของตาราง
 dx แทน จานวนคนเสียชีวิต ภายหลังจากมีอายุครบ
x ปี แต่ก่อนมีอายุ x+1 ปี
 dx = lx – lx+1

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 19


การอ่านตารางมรณวิสัย

 px = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ x ปี จะมีชว
ี ิตรอด
จนถึงอายุ x+1 ปี
 px = lx+1 ÷ lx
 qx = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ x ปี จะเสียชีวิตก่อนมี
p

อายุครบ x+1 ปี
 qx = dx ÷ lx = (lx - lx+1) ÷ lx
 px + q x = 1

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 20


การอ่านตารางมรณวิสัย

 npx = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ x ปี จะมีชีวิตรอด


จนถึงอายุ x+n ปี
 n x p = lx+n ÷ lx
 nqx = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ x ปี จะเสียชีวิตก่อน
มีอายุครบ x+n ปี
 n x q = (lx - lx+n) ÷ lx
 n|qx = dx+n ÷ lx = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ x ปี จะ
เสียชีวิตในปีที่ n ถัดจากปีหน้า

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 21


การอ่านตารางมรณวิสัย

 พิจารณาตารางมรณวิสัยต่อไปนี้

x lx dx
30 12 2
31 10 3
32 7 3
33 4 2
34 2

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 22


การอ่านตารางมรณวิสัย
 p30 = l31/l30 = 10/12 = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ 30 ปี
จะรอดถึงปีหน้า
 2p30 = l32/l30 = 7/12 = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ 30 ปี
จะรอดอยูถ ่ ึงสองปีข้างหน้า
 q30 = d30/l30 = (l30 – l31)/l30 = 2/12 = ความน่าจะเป็น
ที่คนอายุ 30 ปี จะตายภายในปีหน้า
 2q30 = (l30 – l32)/l30 = 5/12 = ความน่าจะเป็นที่คนอายุ
30 ปี จะตายภายในสองปี
 1|q30 = d31/l30 = (l31 – l32)/l30 = 3/12 = ความน่าจะ
เป็นที่คนอายุ 30 ปี จะตายในปีถัดจากปีหน้า
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 23
กฎว่าด้วยจานวนมากกับอัตรามรณะ

 กฎแห่งจานวนมาก (law of large number) กล่าว


ว่า ความแม่นยาของสถิติที่ได้ย่อมมีมากยิ่งขึ้นเมื่อ
ข้อมูลที่นามาทดลองมีปริมาณมากขึ้น
 พิจารณาการโยนเหรียญ 10 ครั้ง กับการโยนเหรียญ
100 ครั้ง แล้วคานวณความน่าจะเป็นที่เหรียญจะออกหัว
จากการทดลอง หลังจากนั้นให้เปรียบเทียบว่า
สถานการณ์ใดค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทดลองจะ
เข้าใกล้ 0.5 ซึ่งเป็นค่าความน่าจะเป็นทางทฤษฎีของการ
ที่เหรียญจะออกหัวในแต่ละครั้ง

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 24


กฎว่าด้วยจานวนมากกับอัตรามรณะ

 ในการประกันชีวิต บุคคลแต่ละคนที่กาลังเสี่ยงภัยที่
ไม่ทราบว่าภัยจะเกิดขึ้นเมื่อใด มาเสี่ยงภัยร่วมกัน
เพื่อจะได้ทราบว่าจะมีความมรณะในหมูส ่ มาชิก
เท่าใดในระยะเวลาหนึ่งๆ จานวนมรณะที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ความแม่นยา
ของจานวนมรณะที่คาดการณ์ไว้จะเพิ่มขึ้นถ้า
จานวนข้อมูลที่ใช้ในการคานวณเพิ่มขึ้น การ
กาหนดเบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะสมขึ้นอยูก ่ ับความ
แม่นยาของการประมาณการณ์อัตรามรณะ

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 25


ลักษณะการเสี่ยงภัยที่เอาประกันได้ใน
ธุรกิจประกันชีวิต
 เป็นความเสี่ยงภัยแท้จริง
 ภัยที่จะรับประกันต้องมีจานวนมากพอสมควร
 ไม่เป็นมหันตภัย
 ภัยที่รับประกันต้องมีความสาคัญมากพอ
 ค่าต้นทุนของการประกันชีวิตต้องไม่สูงไป
 ภัยนั้นต้องไม่เป็นการส่งเสริมให้มีการกระทาผิด
ศีลธรรม
 ผู้ทาประกันมีส่วนได้เสีย (insurable interest)ใน
ความเสี่ยงภัยนั้น
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 26
เป็นความเสี่ยงภัยแท้จริง
 มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความสูญเสียหรือไม่
สูญเสียแต่ไม่มีโอกาสที่จะได้กาไร เช่น การเสี่ยง
ภัยจากไฟไหม้ ส่วนในธุรกิจประกันชีวิต จะต้อง
เป็นภัยที่คุกคามต่อชีวิตและร่างกายของมนุษย์ ทา
ให้ขาดรายได้มาเลี้ยงครอบครัวโดยไม่อาจทาลาย
ล้างเพราะเป็นภัยธรรมชาติเนื่องจากการที่มนุษย์ได้
อยู่ร่วมกันเป็นสังคม หรือภัยทางเศรษฐกิจเป็นต้น
 ความเสี่ยงภัยเก็งกาไร คือ มีโอกาสที่จะกาไร หรือ
ขาดทุน หรือเท่าทุน เช่น การพนัน ความเสี่ยงภัย
ประเภทนี้ไม่สามารถเอาประกันได้
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 27
ต้องมีจานวนมากพอสมควร

 เพื่อให้บริษัทเก็บเบี้ยประกันจากผู้เอาประกันได้
พอเพียงกับความรับผิดชอบที่บริษัทจะต้องจ่ายแก่ผู้
เอาประกันที่เคราะห์ร้ายในปีนั้นๆ
 เพื่อให้บริษัททานายล่วงหน้าอย่างแม่นยาว่า ใน
ระยะเวลาข้างหน้าจะมีความวินาศเกิดขึ้นเป็นเงิน
ได้สักเท่าใด จะได้นามาเฉลี่ยให้ผู้เอาประกันชาระ
ล่วงหน้ามาเป็นรูปของเบี้ยประกัน การที่จะทานาย
ได้อย่างแม่นยานั้น ภัยที่รับประกันจะต้องมีสถิติ
ความเสียหายในอดีตเป็นเวลานานและบ่อยครั้ง
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 28
ไม่เป็นมหันตภัย
 มหันตภัย เป็นภัยที่เกิดขึ้นครั้งใดก็สร้างความเสียหาย
แก่ชวี ิตมนุษย์และทรัพย์สินอย่างมหาศาล จนไม่อาจ
ทานายล่วงหน้าว่าภัยชนิดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด และหาก
เกิดขึ้นแล้วจะทาความเสียหายขนาดใด เช่น โรค
ระบาด น้าท่วม แผ่นดินไหว สงคราม ไฟป่า เป็นต้น
 มหันตภัยทาให้กฎว่าด้วยจานวนมากไม่สามารถทางาน
ได้ ดังนั้นการรับประกันภัยชนิดนี้อาจกระทบกระเทือน
ต่อฐานะการเงินของบริษัทได้ เพราะความเสียหายที่
เกิดขึ้นครั้งหนึ่งจะผิดจากที่คาดหมายไว้ และบางครั้ง
อาจเกินกว่าที่คาดหมายไว้อย่างมหาศาล

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 29


ภัยที่รับประกันต้องมีความสาคัญ
มากพอ
 ภัยที่รับประกันได้ต้องเป็นภัยที่เกิดขึ้นครั้งใดแล้วจะ
ทาความเสียหายได้จริงๆ จนทาให้ผู้เอาประกันรู้สึก
หวาดกลัวและยอมที่จะจ่ายเงินก้อนหนึ่งเป็นเบี้ย
ประกันชีวิต เพื่อสร้างความคุ้มครองล่วงหน้า
 ภัยที่ยังความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ความ
บาดเจ็บจากมดกัด บริษัทจะไม่รับประกัน เนื่องจาก
ค่าใช้จ่ายในการรับประกันไม่คุ้มกับเบี้ยประกันที่
ได้รับ และหากเพิ่มเบี้ยประกันขึ้นไป ผู้เอาประกันก็
ไม่ประสงค์จะประกันภัยประเภทนี้

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 30


ค่าต้นทุนของประกันชีวิตต้องไม่สูง
เกินไป
 ค่าต้นทุนของประกันชีวิตต้องไม่สงู เกินไปจนผู้เอา
ประกันไม่อาจชาระเบี้ยประกันได้ หรือการเสี่ยงภัย
มีน้อยจนผู้เอาประกันไม่ปรารถนาที่จะชาระเบี้ย
ประกันมากขึ้น แต่บริษัทต้องเสียค่าใช้จา่ ยมากกว่า
จานวนเบี้ยประกันที่ได้รับ
 ภัยจากโรคในเมืองร้อนย่อมไม่เกิดขึ้นแก่คนที่อยู่ใน
ประเทศหนาว
 คนที่เจ็บป่วยใกล้จะตาย

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 31


ภัยนั้นจะต้องไม่เป็นการส่งเสริมให้มี
การกระทาผิดศีลธรรม
 ภัยที่เกิดขึ้นจากการกระทาที่ผิดศีลธรรมหรือสิ่งที่
เอาประกันนั้นได้มาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่
สามารถเอาประกันได้ เช่น รับประกันการสูญเสีย
ทรัพย์สินจากการขายยาบ้า การจ้างทาร้ายหรือ
ฆาตกรรมบุคคลอื่น

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 32


ผู้เอาประกันต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่
เอาประกัน
 เหตุการณ์หรือความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
(contingency) ต้องทาความสูญเสียทางการเงิน
ให้กับผู้เอาประกันภัย
 ในการประกันชีวิตนั้น ผู้เอาประกันจะต้องมีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับผู้ถูกเอาประกัน เช่น สามีภรรยา บิดามารดา
และบุตร เจ้าหนี้ลูกหนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อ
ป้องกันมิให้ผู้เอาประกันกระทาการฆาตกรรมเจ้าของ
ชีวิตที่ถูกเอาประกันไว้เพื่อหวังเงินประกัน และผู้เอา
ประกันมีส่วนได้หากผู้ถูกเอาประกันมีชีวิตต่อไป มิฉะนั้น
การประกันชีวิตจะไม่แตกต่างจากการพนัน

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 33


หลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกัน
ชีวิต
 หลักของการทาสัญญา กล่าวว่า คู่สัญญาจะต้องล่วงรู้
ถึงข้อเท็จจริงอันเป็นสาคัญของสัญญา เพื่อว่าคู่สัญญา
ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน
การที่ฝ่ายหนึ่งปิดบังข้อเท็จจริงหรือหลอกลวงคู่สัญญา
อีกฝ่ายหนึ่งให้เสียเปรียบ จะทาให้สัญญาไม่มีผลบังคับ
 ผู้เอาประกันเป็นบุคคลผู้เดียวที่ล่วงรู้ข้อเท็จจริงอันเป็น
สาระสาคัญของสัญญา นอกจากนี้ความวินาศที่จะเกิดขึ้นใน
อนาคตก็ยังอยู่ที่การกระทาของผู้เอาประกันเป็นส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับการพิสูจน์ถึงสิทธิการเรียกร้องว่ามีจริงหรือไม่
ดังนั้นสัญญาประกันชีวิตจึงต้องใช้ความสุจริตอย่างยิ่งของผู้
เอาประกันเป็นหลักสาคัญ
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 34
หลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกัน
ชีวิต
 ผู้เอาประกันควรปฏิบต ั ิหน้าที่ด้วยความสุจริตอย่างยิ่ง
ต่อบริษัท เพื่อป้องกันมิให้บริษัทเสียเปรียบ และเพื่อให้
สัญญาประกันชีวิตมีผลบังคับและสามารถเรียกร้องให้
บริษัทจ่ายเงินที่เอาประกันได้ หน้าทีข ่ องผู้เอาประกัน
ชีวิตมีอยู่ทั้งขณะเข้าทาสัญญา ในขณะที่สัญญามีผล
บังคับ จนกระทั่งถึงเวลาที่เรียกร้องให้บริษท ั จ่ายเงินค่า
สินไหมทดแทน

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 35


การเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งปวงที่ผู้เอา
ประกันทราบในขณะทาสัญญา
 ต้องไม่มีการปิดบังอาพราง ซึ่งหากบริษท ั ได้ทราบ
ข้อเท็จจริงแล้วจะไม่ยอมรับประกัน หรือหากรับก็จะ
เรียกเก็บเบี้ยประกันที่สูงขึ้น เช่นนี้หากบริษัท
หลงเชื่อและยอมรับประกัน สัญญาจะเป็นโมฆียะ

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 36


การเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งปวงที่ผู้เอา
ประกันทราบในขณะทาสัญญา
 ตามกฎหมายแล้วบริษัทมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญา
เมื่อใดก็ได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันทาสัญญา ไม่ว่า
ขณะที่บอกเลิกสัญญานั้นผู้เอาประกันจะมีชีวิตอยู่
หรือไม่ก็ตาม
 เว้นแต่บริษัทได้รู้อยู่แล้วในขณะทาสัญญาว่า ผู้เอาประกัน
ได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือควรจะได้รู้หากใช้ความ
ระมัดระวังตามสมควรในฐานะบริษัทรับประกันชีวิต
 ถ้าตัวแทนบริษัทรู้อยู่แล้วว่า ผู้เอาประกันกรอกข้อความใน
คาขอเป็นเท็จก็เท่ากับบริษัทได้รู้ด้วย บริษัทจะมาบอกล้าง
สัญญาภายหลังมิได้
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 37
การปฏิบัติตนในขณะที่สัญญามีผล
บังคับ
 เพื่อมิให้ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงภัยใดที่จะทาให้
เกิดความมรณะ หรือบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพแก่
ร่างกายเร็วขึ้นกว่าที่ควร ซึ่งหากผู้เอาประกันฝ่าฝืน
ก็จะมีผลทาให้สัญญาสิ้นผลบังคับลงชั่วคราว หรือ
หากความวินาศเกิดขึ้นระหว่างนั้น บริษัทก็อาจ
ปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เช่น เงื่อนไขที่ห้ามมิให้
ผู้เอาประกันเปลี่ยนอาชีพที่มีการเสี่ยงภัยมากขึ้น
โดยการเดินทางทางอากาศ

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 38


ต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นภายในเวลาอันสมควร
 การเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินที่เอาประกันภัยไว้ต้องทา
ภายในเวลาอันสมควร และรวบรวมเอกสาร หลักฐาน
ประกอบการพิจารณาของบริษัท เพื่อพิสูจน์ในเหตุของ
ภัยที่เกิดขึ้นว่ามีแท้จริงเพียงใด บริษัทควรจะ
รับผิดชอบหรือไม่ หรือผู้เอาประกันมีสว ่ นในการกระทา
อันมิชอบหรือไม่ อย่างไร
 เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องเงินจากบริษัทโดย
มิได้มีภัยเกิดขึ้นจริง หรือเกิดขึ้นโดยการกระทาของผู้เอาประ
กันเอง
 เพื่อป้องกันมิให้ความวินาศนั้นขยายตัวมากขึ้นกว่าที่ควร ทา
ให้บริษัทต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 39
4/6/2011 Natt Koowattanatianchai 40
11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 40
 Email:
 fbusnwk@ku.ac.th
 Homepage:
 http://fin.bus.ku.ac.th/nattawoot.htm
 Phone:
 02-9428777 Ext. 1221
 Mobile:
 087- 5393525
 Office:
 ชั้น 9 ตึกใหม่คณะบริหารธุรกิจ

11/26/2012 Nattawoot Koowattanatianchai 41

You might also like