You are on page 1of 6

เอกสารประกอบการนาเสนอ

การฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมและงานสร้างเสริมสุขภาพในสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
แหล่งฝึกปฏิบตั ิการ ร้านยาเวียงยาเภสัช
วันที่ 18 มิถุนายน – 26 กรกฎาคม 2561 (ผลัด 2)
โดย นสภ.มณีนุช สุขคล้าย รหัส 55211005 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Beta-glucans

โครงสร้างของสารบีตากลูแคน (β-glucan structure)


สาร β -glucan คือ สารประกอบประเภทนาตาลหลายโมเลกุลที่ เรียกว่า polysaccharide ซึ่ง
ประกอบด้วย นาตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ นาตาลกลูโคส (D-glucose) เชื่อมโยงกันด้วยพันธะ β-glycosidic และ
จะมี 1,3-β-glucan เป็นโครงสร้างหลักบริเวณแกนกลาง (backbone) แล้วมีสายกิ่งที่แตกแขนงออกมา
(branch) โดยสายกิ่งอาจเป็นชนิด 1,4-β-glucan หรือ 1,6-β-glucan สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า 1,3/1,4-β-
glucan หรือ 1,3/1,6-β-glucan ตามลาดับ
มีการศึกษาว่า β-glucan จากยีสต์และเห็ดบางชนิด เป็นสารที่เป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โดย
พบว่า 1,3/1,6-β-glucan ไม่ละลายนา มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันมากกว่า 1,3/1,4-β-glucan ซึ่ง
เป็นส่วนที่ละลายนาได้
สาร β-glucan พบได้ทังในแบคทีเรีย รา ยีสต์ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์และเห็ด แต่โครงสร้างที่พบจาก
แหล่งต่างๆจะมีความแตกต่างกัน
 ผนังเซลล์ของยีสต์ ราและเห็ด มีโครงสร้างเป็น 1,3/1,6-β-glucan
 ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์ มีโครงสร้างเป็น 1,3/1,4-β-glucan
 แบคทีเรีย มีโครงสร้างเป็น 1,3-β-glucan เรียงต่อกันเป็นเส้นตรง

งานวิจัยเกี่ยวกับ β-glucan

1. ฤทธิ์เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulating activity)

β -glucan เป็น biological immune modifiers เนื่องจากสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ จาก


การศึกษาการรับประทาน β-glucan จากยีสต์ขนมปัง (Saccharomyces cerevisiae) พบว่า β-glucan จะ
ถูกจับโดยเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า APC (antigen presenting cell; เม็ดเลือดขาวที่ส่งสัญญาณสิ่งแปลกปลอม)
ที่อยู่ในลาไส้ จากนันจะส่งสัญญาณมายังด้านนอกผิวเซลล์ แล้วเคลื่อนที่ไปยังต่อมนาเหลือง จากนันจึงไปพบ
กับเม็ดเลือดขาวชนิด Th0 (T helper) เมื่อพบกันแล้วสัญญาณของสิ่งแปลกปลอมที่อยู่บนผิวเซลล์ของ APC
รวมทังสารเคมมีที่ APC หลั่งออกมา (ได้แก่ IL-12 และ IL-18) จะเปลี่ยนให้ Th0 กลายเป็น Th1 และจะสร้าง
สารจาพวก IL-2, INF- γ และ TNF-α เรียกว่าการเกิดสมดุล Th1 ซึ่งจากการศึกษาพบว่า β-glucan สามารถ
กระตุ้นการสร้าง IL-12 และ IL-8 ซึ่งเป็นสาระสาคัญในการสร้างสมดุล Th1 ให้เพิ่มขึนได้อย่างมีนัยสาคัญ และ
เมื่อเกิดสมดุล Th1 ขึนจะมีการสร้างสาร IL-2, INF- γ และ TNF-α ออกมาเพื่อทางานและยับยังสมดุล Th
อื่นๆให้ลดลง ได้แก่ สมดุล Th2 ที่ทาให้เกิดภูมิแพ้, สมดุล Th17 หรือสมดุล Treg ที่ทาให้เพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคมะเร็งได้ที่ทาให้เกิดโรคภูมิต่อต้านตนเอง ซึ่งพบว่า β-glucan ส่งผลให้เกิดการสร้างสารเหล่านี
เพิ่มขึนด้วย ซึ่ง β-glucan แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการกระตุ้นการสร้างสารเหล่านีได้ไม่เท่ากัน

จากการศึกษาของ Kirmaz C และคณะ (2005) ซึ่งทาการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้มานาน 7-8


ปี โดยให้รับประทาน β-glucan จากยีสต์ขนมปัง 10 mg วันละ 2 ครัง เป็นเวลานาน 3 เดือน พบว่าเซลล์
Th2 ลดลงประมาณ 30% และเซลล์ Th1 เพิ่มขึนในช่วง 25-55% และ eosinophills ลดลง 22% ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่าการรับประทาน β-glucan ทาให้อาการภูมิแพ้ลดลงได้1

2. ฤทธิ์เกี่ยวกับการต่อต้านเซลล์มะเร็ง

จากการศึกษาพบว่าสาร β-glucan สามารถยับยังกระบวนการเกิดเนืองอกได้ เช่น ป้องกัน


กระบวนการเจริญเติบ โตของเนืองอก กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่ว ยมะเร็งที่ได้รับเคมีบาบัด และช่ว ย
ป้องกันการแพร่กระจายของเนืองอก
การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจากสารสกัด β-glucan ที่ได้จากเห็ดชิตาเกะ (Grifola
frondosa) ที่ทาการทดสอบฤทธิ์ในผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่ 2-4 และมีอายุระหว่าง 22 – 57 ปี พบว่าหลัง
รับประทานสาร β-glucan ต่อเนื่องกัน 50 วัน อาการทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึน คิดเป็น 58.3% ในผู้ป่วยมะเร็ง
ตับ, 68.8% ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และ 62.5% ในผู้ป่วยมะเร็งปอด2
เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์; Schizophyllum commune) มีสารที่มีฤทธิ์ทาง
ชีว ภาพที่ ยั บ ยั งการอั ก เสบและมี ผ ลต่ อระบบภู มิ คุ้ มกั น สาร polysaccharides ในเห็ ด แครง มี ชื่ อ ว่ า
schizophyllan ซึ่งเป็น β-glucan ที่มีโมเลกุลใหญ่ (macromolecule) มีโครงสร้างแบบ 1,3/1,6 β-glucan
ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นยาร่วมในการรักษาโรคมะเร็ง (adjuvant therapy) รักษามะเร็งปอดที่รักษาด้วยการ
ผ่าตัดไม่ได้ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งกระเพาะอาหาร
งานวิจัยเห็ดแครงในประเทศไทย พบว่าสารสกัดนาและสารสกัดเอทานอลของเห็ดแครง มีฤทธิ์ต้าน
อักเสบ โดยยับยังที่ metabolism ของโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin E2) นอกจากนียังมีผลต่อระบบ
ภูมิคุ้มกัน โดยยับยังการหลั่ง cytokine ชนิด TNF-α และ IL-6 ตามลาดับ3
3. ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด (Anti-lipidemia activity)
จากการศึกษาของ Bresson และคณะ (2009) ที่ศึกษาการใช้ β-glucan ที่สกัดจากข้าวโอ๊ต ราข้าว
โอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ราข้าวบาร์เลย์ มากกว่า 3 g/วัน ในประชากรวัยผู้ใหญ่ (adults) ที่มีระดับคอเลสเตอรอลใน
เลือดสูงกว่าปกติ (>160 mg/dl) พบว่าสามารถทาให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงมาเป็นปกติได้4
อีกทังยังพบฤทธิ์ของสาร β-glucan ที่สกัดได้จากเห็ดนางรมหลวง (Pleurotus eryngii) เมื่อให้
ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 สัปดาห์ในหนูทดลอง ที่ถูกระตุ้นให้เป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง พบว่าสาร β-
glucan มีฤทธิ์ลดระดับ total cholesterol triglyceride และเพิ่มระดับ high density lipoprotein (HDL)-
cholesterol อย่างมีนัยสาคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม5
และพบว่าสารสกัด β-glucan จากเห็ดชิตากะ (Lentinus edodes) เมื่อทาการทดลองในประชากร
เพศหญิงอายุ 25 -60 ปี ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าระดับ cholesterol ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ6
4. ฤทธิ์ลดระดับนาตาลในเลือด (Anti-diabetes activity)
จากการศึกษาพบว่า การใช้สารสกัด β-glucan จากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) ในผู้ป่วยที่
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 of diabetes) จานวน 71 ราย หลังจากได้รับสาร β-
glucan ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบระดับนาตาลกลูโคสในกระแสเลือดภายหลังรับประทานอาหาร
(Post-prandial glucose) ลดลงเฉลี่ย 11.8 mmol7
5. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammation activity)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของ β-glucan ที่สกัดได้จากเห็ดดาวดินกลม (Geastrum
saccatum) ในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ พบว่าสาร β-glucan มีฤทธิ์ยับยังกระบวนการอักเสบ
โดยผ่านกลไกยับยัง nitric oxide และ cyclooxygenase (COX) อีกด้วย8
6. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (Anti-bacterial activity)
สาร β-glucan ที่สกัดได้จากเห็ดกระดุมบราซิล (Agaricus blazei) พบว่ามีฤทธิ์ยับยังกระบวนการ
สร้าง biofilm จากเชือ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งเป็นเชือก่อโรคที่พบบ่อยในสถานพยาบาล อีกทังยัง
พบว่าฤทธิ์ของสารสกัด β-glucan ที่สกัดได้จากเห็ดหูหนู (Auricularia auricular-judae) สามารถยับยังการ
เจริญเติบโตของเชือ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus เมื่อพิจารณาจาก Inhibition zone
ของเชือทังสองชนิด9
จากการศึกษาพบว่าสาร β-glucan ที่สกัดได้จากเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatu) เมื่อให้ต่อเนื่องเป็น
เวลา 3 เดือน ในอาสาสมัครที่ เป็นนักกีฬาเพศชาย จานวน 50 ราย ผลการทดสอบพบว่า อุบัติการณ์การติด
เชือในระบบทางเดินหายใจ (upper respiratory tract infection) และอุบัติการณ์จากการติดเชือ
Staphylococcus aureus ของอาสาสมัครลดลงอย่างมีนัยสาคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม10
ขนาดการใช้ β-glucan
ปริมาณ β-glucan ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจะอยู่ในช่วง 32-48 mg/kg ซึ่งประสิทธิภาพจะเพิ่มขึนตาม
ปริมาณ β-glucan ที่เพิ่มขึน จนถึงปริมาณ 48 mg/kg การเพิ่มปริมาณ β-glucan มากกว่านีไม่พบว่าทาให้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มขึน
การดูดซึมของ β-glucan

ควรรับประทาน β-glucan ในเวลาที่ท้องว่างจะดีที่สุด เซลล์ที่ผนังลาไส้ (enterocytes) จะขับเคลื่อน


β -glucan ผ่านผนังเซลล์ของลาไส้ไปยังส่วนที่เป็นนาเหลือง (lymph) ซึ่ง β-glucan ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึม
ภายในต่อมนาเหลือง ที่กระจายอยู่ในระบบทางเดินอาหารที่เรียกว่า Gut Associated Lymphoid Tissues
(GALT) ซึ่งมีความสามารถในการดูดซึมสารโมเลกุลใหญ่ ดังนันจึงสามารถดูดซึม β-glucan ซึ่งเป็นสารโมเลกุล
เล็กได้ ทังแบบชนิดละลายนาและชนิดที่ไม่ละลายนา และจากการศึกษาพบว่าการให้ β-glucan โดยวิธี
รับประทานได้ผลเทียบเท่ากับการฉีดเข้าร่างกาย11
อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effect)

พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับผลจากการรับประทาน β-glucan ที่สกัดได้จากข้าวบาร์เลย์ พบว่า


หลังจากให้ β-glucan ต่อเนื่องกัน 12 สัปดาห์ ในอาสาสมัครสุขภาพดีและผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น
เบาหวาน (diabetes mellitus) ส่วนใหญ่จะพบอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องเสีย
(diarrhea) ท้องอืด (bloating) และ ท้องเฟ้อ (flatulence) เป็นต้น12
การศึกษาสารสกัด β-glucan จากยีสต์ ซึ่งพบว่าหลังจากให้ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน
(obesity) และมีภาวะไขมันในเลือดสูง (hypercholesterolemia) เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 8 สัปดาห์ พบอาการ
ท้องเสีย (diarrhea) ท้องอืด (bloating) และคลื่นไส้ (nausea) ซึง่ จัดเป็นอาการที่ไม่รุนแรง13
β -glucan ในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี β-glucan ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น (Ministry of health, Labour


and Welfare) ให้ใช้ร่วมกับเคมีและรังสีบาบัด ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ในประเทศญี่ปุ่นตังแต่ปีค.ศ.
1985 เกาหลีใต้และจีนได้อนุญาตให้ใช้ในปีค.ศ. 2000 และ 2011 ตามลาดับ องค์การอาหารและยาของ
สหรัฐอเมริกา (FDA) ให้ใช้ใส่ลงในอาหารได้

เอกสารอ้างอิง

1. Kirmaz C, Bayrak P, Yilmaz O, Yuksel H. Effects of glucan treatment on the Th1/Th2


balance in patients with allergic rhinitis: a double-blind placebo-controlled study. Eur
Cytokine Netw. 2005 Jun;16(2):128-34.
2. Kodama N, Komuta K, Nanba H. Can maitake MD-fraction aid cancer patients?. Altern Med
Rev, 2002;7:236-39.
3.วีณา จิรัจฉริยากูล. เบต้ากลูแคนจากเห็ดแครง. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
2016.
4. EFSA Panel on Dietetic Products, Nutrition and Allergies (NDA). Scientific Opinion on the
substantiation of health claims related to beta glucans and maintenance of normal blood
cholesterol concentrations (ID 754, 755, 757, 801, 1465, 2934) and maintenance or
achievement of a normal body weight (ID 820, 823) pursuant to Article 13 (1) of Regulation
(EC) No 1924/2006. EFSA Journal. 2009;7(10): 1254.
5. Alam N, et al. Dietary effect of Pleurotus eryngii on biochemical function and histology in
hypercholesterolemic rats. Saudi J Biol Sci. 2011;18(4): 403–9.
6. Tokita , Shibukawa N, Yasumoto T, Kaneda T. Isolation and chemical structureof the
plasmacholesterol reducing substance from Shiitake mushroom. Mushroom Sci. 1972;8:783-8
7. Gao Y, Lan J, Dai X, Ye J, Zhou S. A phase I/II study of ling zhi mushroom Ganoderma
lucidum extract in patients with type II diabetes mellitus. Int J Med Mushrooms. 2004;6:33-9.
8. Guerra DC, Azevedo T, Souza M, et al. Antiinflammatory, antioxidant and cytotoxic actions
of betaglucan-rich extract from Geastrum saccatum mushroom. Int Immunopharmacol.
2007;7(9):1160-9.
9. Cai M, Lin Y, Luo YL., Liang HH, Sun PL. Extraction, antimicrobial, and antioxidant
activities of crude polysaccharides from the Wood Ear medicinal mushroom Auricularia
auricula-judae (higher Basidiomycetes). Int J Med Mushrooms. 2015;17:591-600
10. Bergendiova K, Tibenska E, Majtan J. Pleuran (β-glucan from Pleurotus ostreatus)
supplementation, cellular immune response and respiratory tract infections in athletes. Eur J
Appl Physiol. 2011;111:2033-40.
11. Vetvicka V, Vetvickova J. A Comparison of Injected and Orally Administered β-glucans.
JANA. 2008; 11(1):1-7.
12. Bays H, Frestedt JL, Bell M, Williams C, Kolberg L, Schmelzer W, Anderson JW. Reduced
viscosity Barley 13-Glucan versus placebo: a randomized controlled trial of the effects on
insulin sensitivity for individuals at risk for diabetes mellitus. Nutr Metab (Lond). 2011;
8(58):1-8.
13. Nicolosi R, Bell SJ, Bistrian BR, Greenberg I, Forse RA, Blackburn GL. Plasma lipid changes
after supplementation with beta-glucan fiber from yeast. AmJ Clin Nutr. 1999; 70:208-12.

You might also like