You are on page 1of 166

เห ด

็ ป า

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ในหุบเขาลำพญา

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ ISBN : 978-974-3144-92-4


เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2552
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2552

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ISBN : 978-974-3144-92-4 2552
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
จัดทำและเผยแพร่โดย ศูนย์วจิ ยั ความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษา บรมราชินิีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
เลขที่ 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ : 0-7322-7151 - 60 ต่อ 1028
โทรสาร : 0-7322-7128
E-mail : Bio_yru@hotmail.com
Website : www.yru.ac.th
สงวนลิขสิทธิ์ 2552, ศู น ย์ วิ จั ย ความหลากหลายทางชี ว ภาพ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินนี าถ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา
การอ้างอิง ศูนย์วจิ ยั ความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษา บรมราชิ นี น าถ. (2552). เห็ ด ป่ า ใน
หุบเขาลำพญา. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
156 หน้า.
พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 จำนวน 1,000 เล่ม
ISBN 978-974-3144-92-4
ออกแบบและพิมพ์ บริษัทเอสพริ้นท์ (2004) จำกัด
โทร. 0-7325-5555
ภาพปกหน้า
“...สำหรับการปลูกป่าทดแทนนั้น ควรถือเป็นงานเร่งด่วน
และน่าจะทดลองปลูกต้นไม้ชนิดโตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ
เสียก่อน เพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้น
และแผ่ขยายกว้างออกไปทั้งสองข้างร่องน้ำ
อันจะทำให้ต้นไม้งอกงามขึ้น และจะมีส่วนช่วย
ป้องกันไฟป่าซึ่งจะเกิดขึ้นง่าย หากป่าขาดความชุ่มชื้น
ส่วนต้นไม้ที่จะปลูกจะต้องมีทั้งต้นไม้ที่คลุมแหล่งน้ำ
ต้นไม้ยึดดิน ไม้ผล ต้นไม้ใช้ทำฟืน ต้นไม้ใช้ในการก่อสร้าง
ตลอดจนต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ใช้ประโยชน์
ได้อย่างเอนกประสงค์...”
“...ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้และสัตว์ป่าของไทยมาก ข้าพเจ้าเห็นว่า
เราควรใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างระมัดระวัง
และทำนุบำรุงให้คงอยู่ตลอดไป
มิใช่ให้ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า
ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ถูกทำลายหมดสิ้นไป
ในระยะเวลาอันสั้นแค่ช่วงอายุเรา...”
คำนำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการดำเนินงานของศูนย์วิจัยความหลากหลาย
ทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ ร่วมกับประชาชนชาวลำพะยา
นักวิชาการทั้งในท้องถิ่นและระดับชาติ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดและการนำมาใช้
ประโยชน์ที่พบในพื้นที่หุบเขาลำพญา จัดพิมพ์เป็นหนังสือ “เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา”
โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนชนิดเห็ดและการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบริโภค
เป็นอาหารและยาสมุนไพร เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ทราบกันโดยทั่วไปว่าในหุบเขาลำพญา
มีทรัพยากรอันทรงคุณค่า ซึ่งเนื่องจากเห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นดัชนีเบื้องต้นเพื่อบอก
ความอุดมสมบูรณ์ช่มุ ชื้นของพื้นที่ได้ นอกจากเป็นการรวบรวมความรู้ท่มี ีในท้องถิ่นแล้ว
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
ยังคาดหวังให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้เห็นคุณค่าเกิดความรู้สึกหวงแหน
ทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นกำเนิดอันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ การศึกษาและพัฒนาการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
คณะกรรมการศู น ย์ วิ จั ย ความหลากหลายทางชี ว ภาพ เฉลิ ม พระเกี ย รติ 72
พรรษา บรมราชินีนาถ และบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอน้อมจิตอธิษฐาน
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท้ังหลาย ขอถวายพระพรชัยมงคลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จงทรงพระเจริญด้วย พระพลานามัย
ทรงพระเกษมสำราญ พระชนมายุยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป


(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไกรสร ศรีไตรรัตน์)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำนำ
หนังสือ “เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา” เล่มนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมชนิดเห็ดซึ่ง
สำรวจพบในพื้นที่หุบเขาลำพญา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูงมากแห่งหนึ่งในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย นอกจาก
จะมีความหลากหลายของพรรณไม้และพันธ์ุสัตว์ต่างๆ แล้วยังพบความหลากหลายของ
เห็ดราอีกด้วย ดังนั้นศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงรวบรวมชนิดเห็ดที่พบในหุบเขาลำพญา
รายละเอียดของเนือ้ หาในเล่มประกอบด้วย ข้อมูลทัว่ ไปของเห็ด ชือ่ สามัญ ชือ่ วิทยาศาสตร์
ชื่อวงศ์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะแหล่งที่อยู่และการใช้ประโยชน์ โดยมี
คุณรัตเขตร์ เชยกลิน่ , คุณธิตยิ า บุญประเทือง และคุณพัชราภา ปุยเงิน จากศูนย์พนั ธุวศิ วกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เป็นที่ปรึกษาและตรวจสอบความถูกต้องในการ
จำแนกชนิดเห็ด
คณะผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่า หนังสือ “เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา” เล่มนี้คงเป็น
ประโยชน์แก่ผู้สนใจในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเห็ด เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยและ
พัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากเห็ดอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต รวมทั้งเป็นหนังสือ
สำหรับผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเกิด
จิตสำนึกและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติอันนำไปสู่การอนุรักษ์ให้คงอยู่กับ
ผืนป่าแห่งนี้ตลอดไป

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด
1
โครงสร้างของดอกเห็ด
5
วงจรชีวิตของเห็ด
11
การจัดจำแนกเห็ด
12
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
21
ภาคผนวก
125
บรรณานุกรม
134
ดัชนี
139
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด
เห็ด (Mushrooms) หมายถึง สิง่ มีชวี ติ ชัน้ ต่ำจำพวกเห็ดรา (Fungi) ซึง่ มีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใย
เมื่อถึงระยะที่จะสร้างเซลล์สืบพันธ์ุจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นดอกเห็ด ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะ
ที่แตกต่างกันมากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดนั้นๆ โดยปกติแล้วดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายร่ม แต่อาจ
พบเป็นรูปครึง่ วงกลม รูปกระดุม รูปไมโครโฟน รูปปะการัง รูปแก้วแชมเปญ รูปรังนก รูปไข่ปู รูปฟองน้ำ
สำหรับขนาดของเห็ดนั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าลูกฟุตบอล สีดอก
เห็ด มีทงั้ สีทสี่ วยสะดุดตาและสีทกี่ ลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม เช่น สีแดง สีเหลือง สีสม้ สีชมพู สีขาว
สีดำ สีน้ำตาล สีฟ้า สีเขียว เป็นต้น เห็ดราขนาดใหญ่ถูกจัดไว้ใน 2 phylum คือ Basidiomycota
และ Ascomycota แต่ส่วนใหญ่อยู่ใน phylum Basidiomycota ซึ่งสร้างสปอร์ที่มีชื่อเรียกว่า
basidiospore สปอร์ชนิดนี้เกิดอยู่ภายในโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายกระบองเรียกว่า basidium
นอกจากนี้พบเห็ดราขนาดใหญ่อยู่ใน phylum Ascomycota เช่น scarlet cup (Hygrophorus
coccineal)

ความสำคัญของเห็ดรา
เห็ ด และราเป็ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ จั ด รวมอยู่ ใ นกลุ่ ม เชื้ อ รา นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ไ ด้ จั ด ให้ อ ยู่ ใ น
อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่แยกจากพืช สัตว์ และแบคทีเรีย โดยจัดให้อยู่ใน Kingdom Mycota
หน้าที่สำคัญของกลุ่มเชื้อรา คือ การรักษาสมดุลของชีวิตในการนำสารอินทรีย์ต่างๆ มาใช้ใหม่
หน้าที่เช่นนี้แม้ว่าจะคล้ายกับหน้าที่ของเชื้อแบคทีเรียแต่มีข้อแตกต่างคือ เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะ
เจริญเติบโตจากพื้นผิวภายนอกสู่พื้นที่ภายใน ซึ่งเป็นกระบวนการย่อยสลายที่เกิดได้ช้ามากหากเป็น
วัตถุชิ้นใหญ่ๆ ตรงกันข้ามกับเชื้อราซึ่งเจริญเติบโตในรูปของเส้นใยที่มีลักษณะเป็นสายคล้ายเส้นด้าย
สามารถแทรกเข้าไปในวัตถุแข็งๆ เช่น ไม้ และสามารถย่อยสลายจากภายในออกมาภายนอก สิง่ มีชวี ติ
ทั้งสองกลุ่มนี้ช่วยกันทำให้เกิดการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต ถึงแม้มีเชื้อราจำนวนหนึ่งหลุดรอดจาก
ธรรมชาติจากทีเ่ คยอยูใ่ นดิน มาทำให้เกิดโรคในคน หรือบางครัง้ อาจสร้างปัญหาให้กบั เกษตรกรโดยทำให้
เกิดโรคในพืชหรือสร้างปัญหาให้แก่เราเมือ่ มันเข้าทำลายเครือ่ งหนัง ย่อยสลายไม้ หรือปนเปือ้ นในอาหาร
ในทางกลับกันเรานำเชื้อราอีกหลายชนิดมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น การใช้เชื้อราในการผลิตอาหาร
เครือ่ งดืม่ ยาปฏิชวี นะ และวิตามิน สำหรับเห็ดขนาดใหญ่เรานำมาประกอบอาหารหรือเป็นยาสมุนไพรก็ได้
ในประเทศไทยสามารถพบเห็ดได้ในเขตป่าเขาทีม่ ฝี นตกชุกพอประมาณ จึงพบมากในภาคใต้ ภาคเหนือ
ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีเห็ดประมาณ 450 ชนิด
คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของเห็ดที่มีอยู่บนโลก ซึ่งมีประมาณ 100,000 ชนิดพันธ์ ุ เราสามารถแบ่งความ
สำคัญของเห็ดได้ดังนี้

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 1
1. ด้านสิ่งแวดล้อม
เห็ดมีความสำคัญมากด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์และ
มูลสัตว์ เป็นราเบียนกับต้นไม้หรือเห็ด หรือราด้วยกันเอง การย่อยสลายสิ่งมีชีวิตอื่นของเห็ดเป็น
กระบวนการหนึง่ ทีเ่ ปลีย่ นรูปซากสิง่ มีชวี ติ ให้กลายเป็นธาตุอาหารหลายๆ ชนิด และส่งต่อให้กบั สิง่ มีชวี ติ
อื่นได้ใช้ประโยชน์ต่อไปโดยเฉพาะพืช

2. ด้านอาหาร
ปั จ จุ บั น เห็ ด ราเป็ น อาหารที่ นิ ย มรั บ ประทานกั น หลายชนิ ด ทั้ ง แบบสด แบบกระป๋ อ ง
แบบตากแห้ง เช่น เห็ดหอม เห็ดหูหนู เป็นต้น เห็ดเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง มีธาตุเหล็ก
แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบีรวม และมีกรดอะมิโนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะกรดอะมิโน
กลูตามิคที่ช่วยเพิ่มความอร่อยในการรับประทานอาหาร นอกจากนี้เห็ดยังเป็นอาหารที่ปราศจากไขมัน
มีปริมาณน้ำตาลและเกลือต่ำ
เห็ดที่กินได้ จัดเป็นอาหารมีคุณค่าเทียบเท่ากับกินผัก ดอกเห็ดมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง
ร้อยละ 90 นอกจากนั้นเป็นโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และไวตามิน ซึ่งมีไวตามินบี 1 และ ไวตามินบี 2
ยกเว้นเห็ดสีเหลือง มีไวตามินเอมากกว่าชนิดอืน่ ๆ แต่เห็ดจัดเป็นอาหารทีย่ อ่ ยยาก เนือ่ งจากมีเส้นใยมาก
ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารไม่ควรรับประทานมากเกินไป เห็ดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 เห็ดกินได้ (edible mushroom) เช่น เห็ดหอม (ภาพที่ 1) เห็ดฟาง (ภาพที่ 2)
มีรสหวานและกลิ่นหอมชวนรับประทาน บางชนิดมีกลิ่นเหม็นทำให้เวียนศีรษะ เช่น เห็ดร่างแห
(ภาพที่ 3) บางชนิดมีรสขม เช่น เห็ดเสม็ด (ภาพที่ 4) บางชนิดมีรสเผ็ดชา เช่น เห็ดขิง (ภาพที่ 5)
และเห็ดข่า (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 1 เห็ดหอม ภาพที่ 2 เห็ดฟาง


Lentinus edodes (Berk.) Sing Volvariella volvacea (Bull. ex. Fr.) Sing

2 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ภาพที่ 3 เห็ดร่างแห ภาพที่ 4 เห็ดเสม็ด
Dictyophora indusiata (Pers.) Fisch. Tylopilus subrobrunneus Mazzer & Smith

ในประเทศจีนนำเห็ดร่างแหมาผลิตเป็นการค้า โดยตัดฐานดอกและเยื่อหุ้มดอกออกแล้ว
ตากแห้งใช้เป็นอาหาร เรียกว่า เยื่อไผ่

ภาพที่ 5 เห็ดขิง ภาพที่ 6 เห็ดข่า


Lactarius piperatus (Fr.) S. F. Gray Lactarius flavidulus Imai

2.2 เห็ดมีพษิ (poisonous mushroom หรือ toad stool) มหี ลายชนิด ชนิดทีม่ พี ษิ ร้ายแรงถึงตาย
เช่น เห็ดระโงกหิน (ภาพที่ 7) บางชนิดมีพิษทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เช่น
เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน (ภาพที่ 8) เห็ดแดงน้ำหมาก (ภาพที่ 9) บางชนิดกินเพียงเล็กน้อยทำให้
เกิดจินตนาการเป็นภาพหลอนคล้ายเสพยาเสพติด เรียกเห็ดชนิดนีว้ า่ เห็ดโอสถลวงจิต (hallucinogenic
mushroom) เช่น เห็ดขี้ควาย (ภาพที่ 10 )

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 3
ภาพที่ 7 เห็ดระโงกหิน ภาพที่ 8 เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน
Amanita verna (Bull. ex. fr.) Vitt. Chlorophyllum molybdites
(Meyr. ex. Fr.)

ภาพที่ 9 เห็ดแดงน้ำหมาก ภาพที่ 10 เห็ดขี้ควาย


Russula emetica Psilocybe cubensis Earle
(Schaeff. ex. Fr.) Pers. Fr. Gray.

3. ด้านสมุนไพร
เห็ดที่ขึ้นชื่อในด้านยารักษาโรคคือ เห็ดหลินจือ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เห็ดพันปี”
เป็นเห็ดสมุนไพรที่หายาก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าเขาของประเทศจีน นอกจากใช้เป็นยาโดยตรงแล้ว
ประเทศญี่ปุ่น ยังนิยมนำเห็ดมาปรุงเป็นน้ำแกงและอาหารบำรุงร่างกาย ซึ่งมีรายงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ด
มากกว่า 30 ปี ที่ยืนยันว่าในเห็ดมีสารบางอย่างที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและ
ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด
4. ด้านเศรษฐกิจ
เห็ดหลายชนิดได้รับการส่งเสริมให้เพาะเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น เห็ดฟาง
เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดกระด้าง เป็นต้น

4 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
โครงสร้างของดอกเห็ด

ดอกเห็ดประกอบด้วยโครงสร้างต่างๆ ดังนี้ หมวกเห็ด ครีบ ก้านดอก ปลอกหุ้มโคน และ


วงแหวน

ภาพที่ 11 โครงสร้างของเห็ด

1. หมวกเห็ด (Cap) คือ ส่วนปลายสุดของดอกเห็ดที่เจริญเติบโตไปในอากาศ เมื่อดอกเห็ด


บานเต็มทีจ่ ะกางออก มีลกั ษณะรูปทรงคล้ายร่มกาง ขอบงุม้ ลง หรือแบนราบ หรือกลางหมวกเว้าเป็นแอ่ง
มีรูปเหมือนกรวยปากกว้าง ดังภาพที่ 12

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 5
ชามคว่ำหรือนูน ระฆัง ถ้วยระฆัง รูปไข่

รูปครึ่งไข่ รูปไข่ยาว แบนราบ ร่ม

นวม กรวยคว่ำ กรวยตื้น กรวยลึก

จานรอง รูปกระบอง รูปครึ่งวงกลม รูปพัด

ภาพที่ 12 ลักษณะของหมวกเห็ด

6 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
2. ครีบ หรือ ริว้ ทีอ่ ยูใ่ ต้หมวกเห็ด (Gill) คือ ส่วนทีอ่ ยูด่ า้ นล่างของหมวก เรียงเป็นรัศมีรอบก้านดอก
การเรียงจะแตกต่างกันตามชนิดของเห็ด บางชนิดไม่มีครีบ แต่จะมีรู (pores) เช่น เห็ดหลินจือ
หรือบางชนิดเป็นฟันเลื่อย เช่น เห็ดหูหนู

ไม่ติดก้าน ติดก้านเล็กน้อย ติดแนบไปกับก้าน

หยักเว้าก่อนติดก้าน โค้งลงไปติดก้านเล็กน้อย เรียวยาวลงไปติดก้าน


ภาพที่ 13 ลักษณะการติดของครีบกับก้าน

ห่างมาก ห่างแบบมีครีบย่อย ใกล้กัน เรียงชิดกัน แยกสองแฉก สานกันเป็นตาข่าย เรียงไม่สม่ำเสมอ


ภาพที่ 14 การเรียงตัวของครีบ

เท่ากัน ไม่เท่ากัน บาง หนา

ภาพที่ 15 ความยาวและความกว้างของครีบ

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 7
เรียบ หยักซี่ฟันเลื่อย หยักแบบรอยกัดเซาะ

หยักมน หยักไม่เท่ากัน คลื่น


ภาพที่ 16 ลักษณะของครีบ
3. ก้านดอก (Stripe) มีขนาดใหญ่และยาวแตกต่างกัน ส่วนมากเป็นรูปทรงกระบอก ด้านบนจะ
ยึดติดกับหมวกหรือครีบด้านใน ผิวก้านมีทงั้ ผิวเรียบ ขรุขระ มีขน หรือบางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มกี า้ น
เช่น เห็ดเผาะ

รูปทรงกระบอก รูปหอก รูปลิ่ม รูปขวดก้นกลม


หรือกระเปาะ
ภาพที่ 17 รูปร่างก้านดอก

เป็นริ้ว ย่น สันนูน ขรุขระ เรียบ


ภาพที่ 18 ลักษณะผิวก้านดอกเห็ด

8 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
4. ปลอกหุ้มโคน (Volva) คือ  ส่วนที่หุ้มตรงโคนก้านหรือส่วนเยื่อชั้นนอกสุดหุ้มดอกเห็ด
ทัง้ ดอกไว้ในระยะทีเ่ ป็นดอกตูม เรียกว่า “outer veil” เช่น เห็ดบัวหรือเห็ดฟาง (Volvariella volvacea)
เห็ดระโงกขาว (Amanita vaginata) เมื่อดอกเห็ดโตขึ้นเปลือกหุ้มตอนบนจะแตกออก เพื่อให้หมวก
เห็ดและก้านดอกยืดตัวชูสูงขึ้นมาในอากาศ ทิ้งให้เปลือกหุ้มอยู่ที่โคนก้านมองดูคล้ายก้านดอกเห็ดตั้ง
อยู่ในถ้วย บางชนิดเยื่อหุ้มไม่เป็นรูปถ้วยแต่เป็นเกล็ดรอบโคนก้าน บางชนิดมีเส้นใยหยาบคล้ายเส้นด้าย
ทำหน้าที่ยึดดอกเห็ดให้ติดกับพื้น

เป็นถุง เกล็ด กำมะหยี่ กระเปาะกลม

ภาพที่ 19 ลักษณะปลอกหุ้มโคน
5. วงแหวน (Ring) หรือม่าน (Vein) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบางๆ สำหรับยึดก้านดอก และขอบ
หมวกของเห็ดให้ติดกันเมื่อเป็นดอกอ่อน เมื่อหมวกดอกกางออกเยื่อนี้จะขาดออกจากขอบหมวก
แต่ยังคงมีเศษส่วนที่ยึดติดกับก้านดอกคล้ายกับมีวงแหวนหรือแผ่นบางๆ สวมอยู่ เรียกว่า เยื่อหมวก
(partial vein) วงแหวนนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้โดยไม่ยึดติดกับก้านดอกวงแหวนบางชนิดจะหลุดเป็น
ปลอกจากโครงสร้างนี้จำแนกเห็ดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
5.1 เห็ดที่มีวงแหวน (Mushrooms with Veils) มีลักษณะคล้ายร่มหรือกรวยใต้หมวกเห็ด
เป็นครีบมีสันเรียบคล้ายใบมีด มีส่วนของเนื้อเยื่อหุ้มทั้งหมดหรือบางส่วนของดอกเห็ด บางครั้งอาจพบ
เศษเนื้ อ เยื่ อ หุ้ ม บริ เ วณริ ม ขอบหมวก หากเนื้ อ เยื่ อ นั้ น หุ้ ม ส่ ว นของดอกเห็ ด ไว้ ทั้ ง หมด จะเรี ย กว่ า
“universal veil” แต่หากคลุมเฉพาะส่วนครีบไว้เท่านั้น จะเรียกว่า “partial veil” ซึ่งจะขาดหรือหลุดออก
เมื่อโตขึ้น เศษเนื้อเยื่อของ universal veil ที่ฉีกขาด มักหลงเหลืออยู่บริเวณส่วนบนของหมวกเห็ดหรือ
ส่วนของก้านที่เป็นวงแหวนล้อมรอบก้าน ซึ่งอาจจะปรากฏอยู่จนกระทั่งโตเต็มที่หรือหลุดขาดหายไป
ทำให้เข้าใจว่าไม่มีวงแหวน เห็ดที่มีวงแหวน ได้แก่ เห็ดระโงก (Amanita hemibapha) เห็ดนกยูง
(Macrolepiota dolichaula) เห็ดขี้ควาย (Psilocybe cubensis)
5.2 เห็ ด ที่ ไ ม่ มี ว งแหวน (Mushrooms without Veils) เป็ น เห็ ด ที่ มี ลั ก ษณะคล้ า ยร่ ม
ไม่มีวงแหวนที่ส่วนก้าน และด้านใต้หมวกเห็ดมีลักษณะเป็นครีบ (gill) ขณะที่ยังเป็นดอกอ่อนจะไม่มี
เนื้อเยื่อมาห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของดอกไว้ เช่น เห็ดฟาง (ฟาน) สีเหลืองทอง หรือ “golden Latarius”
(Lactarius hygrophoroides) เห็ดพุงหมู (Russula foetens) เห็ดจั่นหรือเห็ดตับเต่าขาว (Tricholoma
crassum)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 9
แผ่นห้อยลง วงแหวน เส้นใยบางๆ

ภาพที่ 20 รูปแบบวงแหวน

ตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง

ภาพที่ 21 ตำแหน่งวงแหวน

10 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
วงจรชีวิตของเห็ด

วงจรชีวิตของเห็ดทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกัน คือเมื่อตุ่มดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ขึ้น ผิวดอก


จะปริแตกออกทำให้ “สปอร์” (Spores) จำนวนนับล้านจากครีบ (Gills) ปลิวออกมา เมื่อตกไปอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเป็นเส้นใย (hypha) เจริญต่อไปเป็นกลุ่มเส้นใย (mycelium)
แล้วรวมกันเป็นกลุ่มก้อนเกิดเป็นดอกเห็ด (fruiting body) เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโตขึ้นก็จะสร้าง
สปอร์ เมื่อปลิวหรือหลุดไปงอกเป็นเส้นใย และเจริญต่อไปได้อีกหมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักร
โครงสร้างพื้นฐานของเห็ดราประกอบด้วย “เส้นใย” (hypha) เส้นใยเหล่านี้จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ
เราจะพบเห็นเส้นใยได้ ก็ตอ่ เมือ่ เส้นใยเหล่านีเ้ จริญเติบโตบนพืน้ ผิวในลักษณะเป็น “กลุม่ ก้อนของเส้นใย”
(mycelia) แล้วเท่านั้น

ภาพที่ 22 แสดงวงจรชีวิตของเห็ด

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 11
การจัดจำแนกเห็ด
การจัดจำแนกเห็ดสามารถจำแนกได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ต่างๆ เช่น การเป็นอาหาร
แหล่งที่อยู่ ลักษณะของแหล่งกำเนิดสปอร์หรือลักษณะอับสปอร์
1. จำแนกตามคุณสมบัติการเป็นอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 เห็ดกินได้ (Edible mushroom) มีลักษณะดังนี้
1.1.1 ไม่มีขอบวงหรือวงแหวน
1.1.2 ไม่มีเปลือกหุ้ม (คล้ายถ้วย) ที่โคนก้านดอกเห็ด
1.1.3 จะมีเส้นเป็นแฉกลึกอยู่ใต้ตัวเห็ดหรือไม่มีก็ได้
1.2 เห็ดมีพิษ (poisonous mushroom หรือ toad stool) มีลักษณะดังนี้
1.2.1 มีสีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด
1.2.2 มีแผ่น หรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด
1.2.3 เมื่อดมมีกลิ่นเหม็นแปลกๆ
1.2.4 บริเวณขอบหมวกเห็ดจะมีหยักอยู่รอบๆ
1.2.5 มีขอบวงหรือวงแหวน
1.2.6 มีน้ำเมือก หรือน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด
1.2.7 มีครีบที่อยู่ใต้หมวก
2. จำแนกตามสภาพแหล่งที่อยู่ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
2.1 เห็ดแซบโปรไฟต์ (saprophytic mushroom) คือ เห็ดที่เจริญอยู่บนซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ
ที่กำลังย่อยสลายผุพัง
2.2 เห็ดพาราไซต์ (parasitic mushroom) คือ เห็ดที่เจริญอยู่บนสิ่งมีชีวิต เช่น เห็ดหิ้งที่
เกิดอยู่บริเวณลำต้นของต้นไม้ใหญ่ที่ยังมีชีวิต
2.3 เห็ดไมคอร์ไรซา (mycorrhizal mushroom) คือ เห็ดที่มีเส้นใยเจริญอยู่กับรากของพืช
ชั้นสูงที่มีชีวิตในแบบพึ่งพาอาศัยกัน คือ เห็ดได้รับสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่พืชสังเคราะห์ขึ้น
มาใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆ ที่เส้นใยเห็ดดูดขึ้นมาจากดิน
3. จำแนกตามรูปร่างลักษณะของแหล่งกำเนิดสปอร์ สามารถแบ่งได้ 14 กลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มเห็ดที่มีครีบ ( Agarics or Gilled mushrooms)
ดอกเห็ดมีหมวก อาจจะมีก้านหรือไม่มีก้าน ด้านล่างของหมวกมีลักษณะเป็นครีบและ
เป็นที่เกิดของสปอร์ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน หรือบนท่อนไม้ ใบไม้ผุ หรือบนมูลสัตว์

12 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ภาพที่ 23 กลุ่มเห็ดที่มีครีบ
3.2 กลุ่มเห็ดมันปู (Chanterelles)
ดอกเห็ดมีหมวก และก้านรูปร่างคล้ายแตรหรือแจกันปากบาน ผนังด้านนอกของกรวย
อาจจะเรียบ หรือหยักย่น หรือเป็นร่องตื้นๆ สปอร์เกิดอยู่บนผนังด้านนี้ ดอกเห็ดขึ้นบนดิน

ภาพที่ 24 กลุ่มเห็ดมันปู
3.3 กลุ่มเห็ดตับเต่า (Boletes)
ดอกเห็ดมีหมวกและก้าน มีเนื้ออ่อนนิ่ม ด้านล่างของหมวกมีลักษณะคล้ายฟองน้ำที่มี
รูพรุน ชั้นที่มีรูนี้ถูกดึงแยกออกจากหมวกได้ สปอร์เกิดอยู่ภายในรู ตามปกติดอกเห็ดขึ้นอยู่บนดิน

ภาพที่ 25 กลุ่มเห็ดตับเต่า
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 13
3.4 กลุ่มเห็ดหิ้ง (Polypores and Bracket fungi )
ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายชั้นหรือหิ้ง หรือคล้ายเครื่องหมายวงเล็บ หรือคล้ายพัด ไม่มีก้าน
หรือมีก้านที่อยู่เยื้องไปทางด้านหนึ่งของหมวก หรือติดอยู่ทางด้านข้างของหมวก ส่วนใหญ่เนื้อเหนียว
และแข็งคล้ายเนื้อไม้ ด้านล่างหรือด้านหลังของหมวกมีรูขนาดเล็กเรียงกันแน่น และภายในรูเป็น
ที่เกิดของสปอร์ ชั้นที่เป็นรูไม่สามารถแยกออกมาจากส่วนหมวกได้ ตามปกติขึ้นอยู่บนไม้ แต่อาจ
พบขึ้นบนดินได้

ภาพที่ 26 กลุ่มเห็ดหิ้ง

3.5 กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง ( Leather-bracket fungi )


ดอกเห็ดรูปร่างคล้ายเครื่องหมายวงเล็บหรือคล้ายพัด ไม่มีก้าน มีลักษณะเป็นแผ่น
บางเหนียว มักเรียงซ้อนกันหรือขึ้นอยู่ติดๆ กัน ด้านบนของหมวกมีสีอ่อนแก่สลับกันเป็นวงบนผิว
หมวกอาจมีขนสั้นๆ ด้านตรงข้ามซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์มีลักษณะเรียบ หรือเป็นรอยนูนขึ้นลง
บางชนิดขึ้นบนดิน บางชนิดขึ้นบนไม้

ภาพที่ 27 กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง

14 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
3.6 กลุ่มเห็ดหูหนู (Jelly fungi)
ดอกเห็ดมีรูปร่างหลายแบบ อาจเหมือนใบหู เนื้อบางคล้ายแผ่นยาง นิ่มและเป็นเมือก
สปอร์เกิดอยู่ทางด้านที่มีรอยย่นหรือมีรอยเส้นแตกแขนง ขึ้นบนไม้ผุในที่ชื้น

ภาพที่ 28 กลุ่มเห็ดหูหนู

3.7 กลุ่มเห็ดที่เป็นแผ่นราบไปกับท่อนไม้ (Crust and Parch fungi)


ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งติดบนไม้ หรือมีขอบดอกโค้งงอออกจากท่อนไม้คล้ายหิง้ เนือ้ เหนียว
และไม่เป็นเมือก ด้านทีอ่ ยูต่ รงข้ามกับท่อนไม้ คือทีเ่ กิดของสปอร์ อาจมีลกั ษณะเรียบ ย่น เป็นเส้นคดเคีย้ ว
หรือนูนเป็นปุ่ม

ภาพที่ 29 กลุ่มเห็ดที่เป็นแผ่นราบไปกับท่อนไม้

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 15
3.8 กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย (Tooth fungi)
ดอกเห็ดอาจมีหมวกและก้าน หรือไม่มกี า้ นก็ได้ ด้านล่างของหมวกมีลกั ษณะคล้ายซีเ่ ลือ่ ย
หรือหนามแทงลงพื้นดิน สปอร์เกิดอยู่ที่ซี่เลื่อยหรือหนามนี้ ดอกเห็ดอาจขึ้นจากดินหรือขึ้นบนไม้

ภาพที่ 30 กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย

3.9 กลุ่มเห็ดปะการังและเห็ดกระบอง (Coral and Club fungi)


ดอกเห็ดตัง้ ตรง อาจแตกแขนงเป็นกิง่ ก้านเล็กๆ หรือตัง้ ตรงและพองออกตอนปลายดูคล้าย
กับกระบอง อยู่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม สปอร์เกิดบนผนังด้านนอกของกระบองและตามกิ่งแขนง
ขึ้นบนดินหรือบนไม้

ภาพที่ 31 กลุ่มเห็ดปะการังและเห็ดกระบอง

16 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
3.10 กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ (Gastroid Agarics)
ดอกเห็ดรูปร่างคล้ายร่มหุบ คือมีหมวกและก้านอยู่ตรงกลางหมวก หมวกอยู่ในลักษณะ
หุบงุ้ม ไม่กางออก เนื่องจากขอบหมวกติดอยู่กับก้าน ภายใต้หมวกมีแผ่นเนื้อเยื่อที่แตกเป็นร่องแยก
ออกหลายแขนงมองดูคล้ายครีบที่บิดเบี้ยว เนื้อเยื่อส่วนนี้ คือที่เกิดของสปอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นฝุ่นผง
ทั้งหมด เมื่อดอกเห็ดแก่สปอร์ออกสู่ภายนอกได้ต่อเมื่อหมวกฉีกขาด จากรูปจะเห็นได้ว่าก้านดอกผ่าน
ส่วนที่เป็นที่เกิดของสปอร์จนถึงยอดหมวก มักพบเห็ดชนิดนี้บนดินในที่ร้อนและแห้งในทะเลทราย
และบนภูเขาสูง

ภาพที่ 32 กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ

3.11 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน (Puffballs and Earthstars)


ดอกเห็ดรูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปคล้ายผลสาลี่ บางชนิดเมื่อดอกแก่ผนังชั้นนอก
แตกและบานออกคล้ายกลีบดอกไม้ สปอร์เกิดภายในส่วนที่เป็นทรงกลม เมื่ออ่อนผ่าดูเนื้อข้างในมี
ลักษณะหยุ่นและอ่อนนุ่ม เมื่อแก่มีลักษณะเป็นฝุ่นผง ดอกเห็ดอาจเกิดบนดินหรือบนไม้

ภาพที่ 33 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 17
3.12 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว (Stalked Puffballs)
ดอกเห็ดเป็นรูปทรงกลมคล้ายกับกลุ่มเห็ดลูกฝุ่น แต่มีก้านยาวชัดเจน ปลายก้านสิ้นสุด
ทีฐ่ านของรูปทรงกลม สปอร์มลี กั ษณะเป็นฝุน่ ผงเกิดภายในรูปทรงกลม มักจะพบในทะเลทราย ในทราย
หรือบนดินในที่รกร้าง

ภาพที่ 34 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว
3.13 กลุ่มเห็ดรังนก (Bird’s nest fungi)
ดอกเห็ดมีขนาดเล็ก ปกติมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เซนติเมตร รูปร่างคล้าย
รังนกและมีสิ่งที่มองคล้ายไข่ รูปร่างกลมแบนวางอยู่ภายใน ภายในไข่เต็มไปด้วยสปอร์ ดอกเห็ดนี้เมื่อ
ยังอ่อนด้านบนของรังมีเนื้อเยื่อปิดหุ้ม พบขึ้นบนไม้ผุ

ภาพที่ 35 กลุ่มเห็ดรังนก
3.14 กลุ่มดอกเห็ดเขาเหม็น (Stinkhorns)
ดอกเห็ดเมื่ออ่อนรูปร่างคล้ายไข่ ต่อมาส่วนของก้านค่อยๆ โผล่ดันเปลือกหุ้มจนแตก
ออก เปลือกไข่ส่วนกลางกลายเป็นถุงหรือถ้วยหุ้มโคนดอกด้านบน ส่วนปลายก้านอาจจะมีหมวกหรือ
ไม่มี สปอร์เป็นเมือกสีเข้มฉาบอยู่ ส่วนของก้านมีลักษณะพรุนและนิ่มมาก อาจมีร่างแหปกคลุม
ก้านที่โผล่ออกมาจากเปลือก อาจแตกคล้ายหนวดปลาหมึกหรือพองเป็นช่อโปร่งคล้ายลูกตะกร้อ
ดอกเห็ดมีกลิ่นเหม็นมาก ขึ้นบนดินที่มีซากพืชทับถมหนา

18 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ภาพที่ 36 กลุ่มดอกเห็ดเขาเหม็น
4. จำแนกตามลักษณะอับสปอร์
การจัดจำแนกเห็ดที่สร้างสปอร์ในถุงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
4.1 เห็ดถุง (Sac fungi) จัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes เนื่องจากเห็ดชนิดนี้มีการสร้าง
สปอร์แบบมีเพศอยูใ่ นอวัยวะทีม่ ลี กั ษณะคล้ายถุงเรียกว่า ascus (พหูพจน์ คือ asci) ถุงนีจ้ ะแตกออกเมือ่
มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ (ภาพที่ 37)
4.2 เห็ดกระบอง (Club fungi) ซึง่ จัดอยูใ่ นกลุม่ Basidiomycetes เห็ดชนิดนีม้ กี ารสร้าง
สปอร์บนฐานที่เรียกว่า basidium (พหูพจน์คือ basidia) มีลักษณะคล้ายไม้กระบอง (ภาพที่ 38)
แต่ละฐานจะมีปุ่มคล้ายหนามยื่นออกไป 4 ปุ่มที่เรียกว่า sterigmata แต่ละปุ่มมีสปอร์ติดอยู่ 1 สปอร์
สปอร์ที่เจริญเต็มที่จะถูกยิงออกไปในอากาศ

sterigmata

basidium

ภาพที่ 37 สปอร์ของเห็ดถุง ภาพที่ 38 สปอร์ของเห็ดกระบอง

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 19
เห็ด
ป่า
ที่
พบ
ในหุบเขาลำพญา
ชื่อวงศ์ AGARICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agaricus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนราบ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 มิลลิเมตร สีขาว เมือ่ ดอกแก่จะเปลีย่ นสี
เป็นสีนำ้ ตาลไหม้ ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่ ตรงผิวขอบหมวก
เป็นซี่ฟัน
ครีบ สีนำ้ ตาลเข้มทัว่ ครีบ เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย ครีบไม่ตดิ ก้าน ขอบครีบ
เรียบ ครีบกว้างไม่เสมอกัน ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าไม่เสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 9-14 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
สีขาวทัว่ ก้าน เมือ่ ช้ำเปลีย่ นเป็นสีออกน้ำตาล ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน สีน้ำตาล อยู่ตอนบนของก้าน
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรีหรือรีเบี้ยว ผิวเรียบ ด้านในใส ขอบสปอร์เป็นสีน้ำตาลหรือแดง
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

22 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Agaricus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 23
ชื่อวงศ์ AGARICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agaricus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูประฆังหรือร่ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-15 มิลลิเมตร สีขาว ผิวด้านบน
มีเกล็ดเล็กน้อย ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน ผิวขอบหมวกเรียบ
ครีบ สีเทาทั่วครีบ เรียงใกล้มาก ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 6-13 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเป็นสะเก็ดเล็กน้อย
วงแหวน สีขาว ติดอยู่ด้านบน
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ผิวเรียบ ด้านในสปอร์ใส
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดินใต้ต้นยางพารา เจริญเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

24 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Agaricus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 25
ชื่อวงศ์ AGARICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepiota sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูประฆังกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-38 มิลลิเมตร สีขาว ผิวด้านบน เป็น
เส้นใยติดแนบไปกับหมวก ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเป็นแบบปลายขอบ
กระดกขึ้นเล็กน้อย ผิวขอบหมวกเป็นรอยหยักแบบไม่เป็นระเบียบ
ครีบ สีครีมอ่อนจนถึงขาว เรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน ขอบเรียบ ขอบครีบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 57-70 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 มิลลิเมตร
สีขาวปนเทาทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบหรือเป็นจุดเล็กน้อย
เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน เป็นวงสั้นล้อมรอบอยู่ทางด้านบนของหมวก
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ไม่มีเยื่อหุ้ม ผิวเรียบ สีขาว
แหล่งที่พบ บนขอนไม้ผุ เป็นกระจุก 2-3 ดอก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

26 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Lepiota sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 27
ชื่อวงศ์ AURICULARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Auricularia sp.
ชื่อสามัญ เห็ดหูลิง
กูละลีงกิ อื รอ (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึง่ วงกลมหรือคล้ายหู เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-56 มิลลิเมตร สีนำ้ ตาลอ่อน
หรือสีนำ้ ตาลออกชมพู ฉ่ำน้ำ ผิวด้านบนลืน่ เป็นสันนูนเล็กน้อย ผิวด้านล่าง
พื้นไม่เรียบ สันนูนคล้ายตาข่าย ขอบหมวกเป็นคลื่น
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน สั้นหรือไม่มีก้าน เหนียว ติดกับขอนไม้
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว รูปแท่งเกือบกลม ผิวเรียบ ขอบบาง
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่มหนาแน่น
การใช้ประโยชน์ กินได้

28 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
เห็ดหูลิง (Auricularia sp.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 29
ชื่อวงศ์ BOLBITIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Conocybe sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-9 มิลลิเมตร สีขาวเทา ผิวด้านบนเรียบ
ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งโค้ง ผิวขอบหมวก เป็นคลื่นเล็กน้อย
ครีบ สีเทาอมน้ำตาลทั่วครีบ ครีบเรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน ขอบเรียบ
ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 7-15 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปรี ใส ด้านในเป็นจุดเล็กๆ คล้ายหยดน้ำ 1-2 หยด สีเขียวอ่อน
ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

30 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Conocybe sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 31
ชื่อวงศ์ BOLETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปนูนถึงเกือบแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 100-150 มิลลิเมตร สีชมพูออ่ นถึงเข้ม
ตรงกลางหมวกสีเข้มกว่า ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง
ผิวขอบหมวกเรียบ
รู ยาว 8-14 มิลลิเมตร สีขาวถึงครีมอ่อน ปากรู กลมเกือบเหลี่ยม
มี 1-2 รูต่อมิลลิเมตร สีเดียวกับรู
ก้าน ทรงกระบอก แห้ง ยาว 80-150 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-25
มิลลิเมตร โคนก้านสีครีม ปลายก้านสีขาว ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
เนื้อในกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปรียาว ผิวเรียบ สีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

32 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Tylopilus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 33
ชื่อวงศ์ CANTHAVELLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cantharellus cibarius Fr.
ชื่อสามัญ มันปูใหญ่

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปทรงเตี้ยเกือบแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 24-42 มิลลิเมตร สีเหลือง
ผิวด้านบนเรียบ กลางหมวกเป็นแอ่ง ขอบเรียบงอลง ขอบหมวกเมื่อมอง
จากด้านบนเรียบ ผิวขอบหมวกเรียบงอลง
ครีบ ยาว 14-26 มิลลิเมตร สีเ หลืองอ่อน เรีย งห่างๆ แบบมี ครีบย่ อย
เรียวยาวลงไปติดก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้า
เสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกโคนโป่งออก ยาว 36-42 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
8-10 มิลลิเมตร สีเหลืองอ่อน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ผิวเรียบบาง สีเหลืองอมส้ม
แหล่งที่พบ ขึ้นบนพื้นดิน เดี่ยวหรือเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ กินได้

34 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
มันปูใหญ่ (Cantharellus cibarius Fr.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 35
ชื่อวงศ์ CLAVARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clavaria sp.
ชื่อสามัญ กูละ-มูบา (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก ไม่มี
ดอก รูปปะการัง สีขาวอมเหลือง เมื่อช้ำเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน
กว้าง 3-6 มิลลิเมตร สูง 7-10 มิลลิเมตร แตกแขนงกันหลวมๆ บิดงอ
ไม่เป็นระเบียบ ปลายแหลม
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน สั้นมากหรือป้อม ขนาดใหญ่ สีขาวอมเหลือง เมื่อช้ำเปลี่ยนเป็นสี
น้ำตาลอ่อน ผิวเรียบ เนื้อแน่น เหนียว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกระบอก ขอบบาง ผิวเรียบ สีน้ำตาล
แหล่งที่พบ บนดินใต้ต้นหลุมพอ เจริญเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ กินได้

36 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
กูละ-มูบา (Clavaria sp.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 37
ชื่อวงศ์ COPRINACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รู ป ชามคว่ ำ หรื อ พาราโบลาร์ เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 6-10 มิ ล ลิ เ มตร
สีเทาอ่อนๆ ตรงกลางหมวกสีน้ำตาลกาแฟ ผิวด้านบนเป็นร่องกลีบจนถึง
กลางหมวก ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง ผิวขอบหมวกเป็นร่อง
ครีบ โคนครีบสีเทา แล้วค่อยๆ จางเป็นสีขาวจนถึงปลายครีบ เรียงแบบห่างๆ
จำนวนครีบ 30-34 ครีบ ครีบไม่ติดก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อ
มองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกบาง ยาว 30-35 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
1 มิลลิเมตร สีขาวเทาเกื อ บทั่ ว ก้ า น ติ ด ตรงกลางหมวก ผิ ว เรี ยบ
เนื้อในกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปรีคล้ายลูกรักบี้ แน่นทึบ สีดำหรือเทา ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

38 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Coprinus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 39
ชื่อวงศ์ COPRINACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำ หรือพาราโบลาร์ยอดแหลมทู่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-15 มิลลิเมตร
สีขาวหรือเทาอ่อน ดอกช้ำง่ายเมือ่ ช้ำเปลีย่ นเป็นสีคล้ำกว่า ตรงกลางหมวก
เป็นสีขาวนวล ผิวด้านบนเป็นร่อง หรือเป็นรอยจีบจากกลางถึงขอบหมวก
ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน ผิวขอบหมวกเห็นเป็นสันร่องมน
ครีบ สีเทาคล้ำทั่วครีบ เรียงห่างๆ จำนวนครีบ 24-26 ครีบ ติดแนบไปกับก้าน
ขอบครีบเสมอกัน ขอบครีบเป็นสีขาว ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้า
เสมอกันทุกครีบ
ก้าน ทรงกระบอกมีทั้งโค้งและตรง ยาว 28-41 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
1-1.5 มิลลิเมตร สีขาวอมเทาทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
มีต่อมขนทั่วก้าน เนื้อในก้านกลวง เปราะหักง่าย
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีเทาคล้ำ ทรงรี ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ตาย มีทั้งเป็นกระจุกและกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

40 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Coprinus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 41
ชื่อวงศ์ COPRINACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coprinus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำหรือพาราโบลาร์สนั้ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-7 มิลลิเมตร ดอกช้ำง่าย
สีขาวเทา ตรงกลางหมวกเป็นสีน้ำตาลหรือส้มอ่อน ผิวด้านบนเป็นร่อง
หรือเป็นรอยจีบจากกลางถึงขอบหมวก มีขนสั้นๆ บนผิวหมวกและ
มีหยดน้ำค้างบนผิว ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน ผิวขอบหมวกเห็น
เป็นสันร่องมน
ครีบ สีเทาน้ำตาลหรือเทาคล้ำทัว่ ครีบ เรียงห่าง จำนวนครีบ 24-28 ครีบ การติด
ของครีบบริเวณก้านติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบเสมอกัน ขอบครีบเมื่อ
มองจากด้านหน้าเสมอกันทุกครีบ
ก้าน ทรงกระบอกมีทั้งโค้งและตรง ยาว 13-22 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 1 มิลลิเมตร สีขาวอมเทาทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
มีต่อมขนทั่วก้าน เนื้อในก้านกลวง เปราะหักง่าย
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีเทาคล้ำ ทรงรี ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากต้นปุด มีทั้งเป็นกระจุกและกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

42 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Coprinus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 43
ชื่อวงศ์ CORIOLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Trametes cingulata Berk.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึง่ วงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 28-122 มิลลิเมตร หนา 1.5-2.5 มิลลิเมตร
สีขาวหม่น ผิวด้านบนขรุขระ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้น ขอบหมวก
เมื่อมองจากด้านบนหยักมนไม่สม่ำเสมอ ผิวขอบหมวกมีรอยขีดบนผิว
รู ยาว 1.5-8 มิลลิเมตร สีขาวอมน้ำตาล ปากรู 1-2 รูต่อมิลลิเมตร
รูปทรงกระบอก สีเดียวกับรู
ก้าน สั้น กว้าง 3.5-10 มิลลิเมตร สีขาว ติดด้านข้างของหมวก ผิวเรียบ
เนื้อในก้านตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีน้ำตาลอมส้ม
แหล่งที่พบ บนขอนไม้ที่ตาย เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

44 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Trametes cingulata Berk.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 45
ชื่อวงศ์ CORTINARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crepidotus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปไตหรือครึง่ วงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-17 มิลลิเมตร สีขาว ขอบหมวก
เมือ่ แก่เปลีย่ นเป็นสีเทาหรือเทาน้ำตาล ผวิ ด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่
เสมอกัน ผิวขอบเป็นร่องสั้นๆ
ครีบ สี เ ทาทั่ ว ครี บ เรี ย งใกล้ กั น มาก ติ ด แนบไปกั บ ก้ า น ขอบครี บ เรี ย บ
ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน สั้นมาก เป็นตุ่มเล็กๆ ติดด้านข้างของหมวก ผิวเรียบ สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ผิวเรียบ ไม่มีสี ด้านในสปอร์ไม่มีเยื่อหุ้ม
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ เจริญเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

46 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Crepidotus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 47
ชื่อวงศ์ ENTOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Entoloma sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก ดอกอ่อนรูปชามคว่ำ ตรงกลางมีตุ่มเล็กน้อย เมื่อดอกแก่จะแบนราบ
เส้นผ่าศูนย์กลาง 22-35 มิลลิเมตร สีชมพูอมส้ม ผิวด้านบนเรียบเป็นมัน
ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน ผิวขอบหมวกดอกอ่อนเสมอกัน เมื่อ
ดอกแก่จะฉีกขาด
ครีบ สีครีมอ่อนทั่วครีบ เรียงแบบห่างมีครีบย่อย มี 26-32 ครีบ ไม่ติดก้าน
ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกหรือแบน ตรงกลางเป็นร่องลึก ยาว 22-34 มิลลิเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร สีขาวหรือขาวนวลทัว่ ก้าน ติดตรงกลาง
หมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี สีขาว ผิวไม่เรียบ หรือมองเป็นหลายเหลี่ยม
แหล่งที่พบ บนดินตื้นๆ หรือบนรากไม้ เจริญเป็นกระจุก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

48 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Entoloma sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 49
ชื่อวงศ์ GANODERMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amauroderma rugosum (Fr.) Tor.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-175 มิลลิเมตร ขอบหนา 0.5-0.8 มิลลิเมตร
สีน้ำตาลแดงเข้มถึงสีเทา ขอบหมวกเมื่อดอกอ่อนเป็นสีขาว ผิวด้านบน
หยาบย่นหรือเป็นร่องรัศมี ขอบเป็นคลืน่ ห่างๆ มีขนอ่อนปกคลุมผิวหมวก
มักมีแถบวงกลมซ้อนกันหลายชั้น มีกลิ่น ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้น
เล็กน้อย ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบนเป็นคลื่น
รู ปากรู 5-8 รูต่อมิลลิเมตร รูปกลม สีขาวนวล เมื่อขูดเปลี่ยนสีเป็นสีแดง
ออกน้ำตาล
ก้าน ทรงกระบอกแคบ ยาว 76-158 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร
สีน้ำตาลเข้ม ติดด้านข้างของหมวก ผิวมีรอยจุดประ เนื้อในก้านกลวง
ก้านแทงลึกลงไปในดิน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว กลมหรือรูปไข่ มีผนังสองชั้น ผนังชั้นนอกผิวเรียบ ผนังชั้นใน
ผิวขรุขระ
แหล่งที่พบ ตามพื้นดิน เจริญเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

50 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Amauroderma rugosum (Fr.) Tor.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 51
ชื่อวงศ์ GANODERMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma boninense
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 52-56 มิลลิเมตร ยาว 82-87
มิลลิเมตร หนา 30-34 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเทาดำ ผิวด้านบนเรียบ
นูนแข็ง เรียงเป็นวงกลมซ้อนกัน ผิวขอบหมวกเรียบ สีขาว
รู ยาว 0.4-0.6 มิลลิเมตร สีดำ ปากรู 4-5 รูต่อมิลลิเมตร รูปหกเหลี่ยม
หรือเกือบกลม สีเทาขาว
ก้าน สั้น ติดแนบไปกับไม้
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีน้ำตาล
แหล่งที่พบ บนตอไม้ ขึ้นเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินไม่ได้

52 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Ganoderma boninense

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 53
ชื่อวงศ์ GANODERMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปพัดหรือครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ยาว 35-50 มิลลิเมตร กว้าง
45-75 มิลลิเมตร หนา 5-8 มิลลิเมตร สีดำหรือสีน้ำตาลดำ ผิวด้านบน
เรียบเป็นมัน มีร่องเป็นแถบวงกลม ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบนเรียบ
หรือเป็นหยักห่างๆ
รู ยาว 0.5-1 มิลลิเมตร สีขาวครีมหรือน้ำตาลอมเทา ปากรู 3-5 รูตอ่ มิลลิเมตร
รูปวงกลม สีเทา
ก้าน สั้นมาก ติดด้านข้างของหมวก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีเทา รูปไข่
แหล่งที่พบ บนไม้เนื้อแข็งที่ผุ ขึ้นเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

54 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Ganoderma sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 55
ชื่อวงศ์ GANODERMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma arcularius
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปพัด เส้นผ่าศูนย์กลาง ยาว 56-62 มิลลิเมตร กว้าง 42-50 มิลลิเมตร
หนา 10-36 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเหลือง ผิวด้านบนขรุขระ ขอบหมวก
เมื่อมองจากด้านบนเรียบ ผิวขอบหมวก
รู ยาว 4-10 มิลลิเมตร สีนำ้ ตาลอมเทา ปากรู 2-4 รูตอ่ มิลลิเมตร รูปวงกลม
สีเทา
ก้าน สั้นมาก ติดด้านข้างของหมวก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีเทา
แหล่งที่พบ บนไม้เนื้อแข็งที่ผุ ขึ้นซ้อนกันเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

56 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Ganoderma arcularius

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 57
ชื่อวงศ์ HELOTIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bulgaria javanicum Le Gal.
ชื่อสามัญ เห็ดปากหมู
กูละตาเปาะฆาเยาะ (มลายู-ยะลา)

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปถ้วย เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-60 มิลลิเมตร สูง 2.5-4 มิลลิเมตร ผิวรอบ
นอกเหนียวหยุน่ สีนำ้ ตาลดำจนถึงน้ำตาลอ่อน มีขนละเอียดปกคลุมทัว่ ผิว
ขอบหมวกจักเข้าด้านในเล็กน้อย ผิวด้านในสีน้ำตาลอมส้ม ภายในดอกมี
น้ำคล้ายวุ้น ใส เย็น
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน สั้ น มาก ผิ ว บนปิ ด ทั บ ด้ ว ยชั้ น ของอั บ สปอร์ ซึ่ ง เรี ย งเป็ น แถวเดี่ ย ว มี
สีเหลืองอมน้ำตาล ระหว่างอับสปอร์จะมีเส้นใยแทรกอยู่
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว รูปรี
แหล่งที่พบ บนขอนไม้ผุ เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินได้

58 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
เห็ดปากหมู (Bulgaria javanicum Le Gal.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 59
ชื่อวงศ์ HYMENOGASTRACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Galerina sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนราบ ตรงกลางหมวกเป็นรอยเว้ากว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-17
มิลลิเมตร สีตรงกลางหมวกน้ำตาลกาแฟ แล้วค่อยจางไปถึงขอบหมวก
ผิวด้านบนเป็นร่อง หรือเป็นรอยขีดเล็กน้อย แต่ตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน ผิวขอบหมวกเป็นร่องห่างๆ หรือเป็น
คลื่นเล็กน้อย
ครีบ สีนำ้ ตาลอมส้ม แต่ขอบครีบสีจางกว่าเล็กน้อย เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย
จำนวนครีบ 20-24 ครีบ โค้งไปติดก้านเล็กน้อย ขอบครีบเรียบ ขอบครีบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ฉ่ำน้ำ ยาว 14-20 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-3 มิลลิเมตร
สีน้ำตาลเข้ม เริ่มจากโคนก้านแล้วค่อยๆ จางถึงปลายก้าน ติดตรง
กลางหมวก ผิวเรียบ เนือ้ ในก้านกลวง โคนก้านมีขนแข็งสีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกลม ผิวไม่เรียบหรือเป็นขน
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

60 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Galerina sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 61
ชื่อวงศ์ LENTINACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lentinus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปตรงกลางเว้าบุ๋มกว้างหรือรูปกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-60 มิลลิเมตร
สีครีมเปลือกไข่ ผิวด้านบนมีขนเป็นเส้นใยรวมกันเป็นกระจุก ปลายแหลม
กระดกขึ้น ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้น ปลายโค้งงอ ผิวขอบหมวกมีขน
ครีบ สีครีมเปลือกไข่แต่ออ่ นกว่าผิวหมวกทัว่ ครีบ เรียงใกล้กนั ติดเรียงยาวลงไป
ติดก้านเกือบถึงโคนก้าน ครีบกว้างเสมอกัน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกที่โคนก้านมีลักษณะป้อมสั้น มีขนเป็นเส้นใยประมาณ 1
มิลลิเมตร ก้านยาว 9-13 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร
สีเดียวกับครีบ ติดตรงกลางหมวก ผิวมีขนทั่วก้าน เนื้อในตันสีครีมอ่อน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปรี ไม่มีสี ผิวเรียบ ด้านในสปอร์ใส
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

62 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Lentinus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 63
ชื่อวงศ์ LYCOPERDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Calvatia craniformis
Coker et Couch
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปก้อนกลมหรือรูปผลสาลี่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 28-50 มิลลิเมตร สูง
32-60 มิลลิเมตร สนี ำ้ ตาลอ่อนจนถึงเข้ม ผิวด้านบนมีรอยนูนและมีรเู ล็กๆ
ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ผิวขอบหมวกเกลี้ยงเป็น
มัน มีฐานคล้ายก้านยาวสีขาวแล้วเปลีย่ นเป็นสีครีม ผิวนอกมีสะเก็ดเล็กๆ
สีครีมหลุดไปเมื่อเป็นดอกแก่ ด้านบนมีรูเปิดเล็กๆ แล้วแตกหลุดไปเป็น
ช่ อ งใหญ่ บริ เ วณเนื้ อ เยื่ อ ที่ เ กิ ด สปอร์ สี ข าว เมื่ อ ดอกแก่ เ ปลี่ ย นเป็ น
สีน้ำตาล
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน สั้นหรือไม่มี
สปอร์ กลม มีหนามเล็กน้อย สีเหลืองเขียวถึงน้ำตาลอมเหลือง
แหล่งที่พบ กลางแจ้ง ขึ้นเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินได้เมื่อดอกอ่อน

64 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Calvatia craniformis Coker et Couch

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 65
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Campanella Sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปใบหูหรือไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-12 มิลลิเมตร สีขาวทั่วผิว ผิวด้าน
บนไม่เรียบ มีสะเก็ดหรือผงติดมือ ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่ ตรง ผิวขอบหมวก
เรียบ หมวกเมื่อแก่เต็มที่จะมีสีคล้ำ
ครีบ สีขาวทัว่ ครีบ เรียงเชือ่ มติดกันเหมือนร่างแห ติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบ
ไม่เรียบ
ก้าน สั้นติดกับด้านบนของหมวกกับซากไม้ สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ไม่มีสีหรือใส ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไผ่ เจริญเป็นกลุ่ม .
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

66 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Campanella Sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 67
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius Florideus Berk. & Br.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำเกือบจนถึงแบนราบ ตรงกลางหมวกเว้าบุม๋ ตืน้ เส้นผ่าศูนย์กลาง
2-4 มิลลิเมตร สีส้มอ่อนตรงกลางหมวกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านบน
คล้ายผ้ากำมะหยี่ เป็นร่องห่างๆ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง ขอบหมวก
เป็นร่องห่างๆ
ครีบ สีส้มอ่อนกว่าสีหมวก เรียงห่าง จำนวนครีบ 8-10 ครีบ ครีบไม่ติดก้าน
โคนครีบเชื่อมกันเป็นวงแหวน ขอบครีบเรียบ
ก้าน ทรงเรียวยาวเล็กคล้ายเส้นด้าย ยาว 11-15 มิลลิเมตร ก้านสีดำติดตรง
กลางหมวก ผิวเรียบ
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนเศษใบไม้ เจริญเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

68 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Marasmius Florideus Berk. & Br.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 69
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนราบ บางชนิดตรงกลางมีรอยขีดเว้าเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง
7-18 มิลลิเมตร สีน้ำตาล ตรงกลางหมวกเข้มแล้วค่อยๆ จางลงจนถึง
ขอบหมวก ผิวด้านบนคล้ายผ้ากำมะหยี่แต่ขนสั้นกว่าเป็นร่องหยักมน
ไม่เป็นระเบียบ ตรงกลางหมวกผิวเรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งเสมอกัน
ผิวขอบหมวกเป็นร่อง หรือเป็นรอยหยักมน
ครีบ สีครีมทั่วครีบ เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย ติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบ
เป็นขน ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกเล็กเรียว ยาว 28-40 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5
มิลลิเมตร โคนก้านสีนำ้ ตาลเข้มแล้วค่อยๆ จางลงไปเป็นสีขาวทีป่ ลายก้าน
ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปคล้ายหยดน้ำ ผิวเรียบ ขอบบาง
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากใบไม้แห้ง เป็นกลุ่มหรือกระจุก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

70 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Marasmius sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 71
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Marasmius sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำเกือบถึงแบนราบ ตรงกลางหมวกเว้าบุ๋มตื้น เส้นผ่าศูนย์กลาง
15-25 มิลลิเมตร สีขาวหรือครีมอ่อน ตรงกลางหมวกสีครีม ผิวด้านบนเรียบ
เป็นร่องห่างๆ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรงขอบหมวกเป็นร่องห่างๆ
ครีบ สีขาว เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ 8-10 ครีบ ครีบไม่ตดิ ก้าน
ขอบครีบเรียบ
ก้าน ทรงเรียวยาวเล็กคล้ายเส้นด้าย ยาว 11-15 มิลลิเมตร โคนก้านสีนำ้ ตาลเข้ม
แล้วค่อยๆ จางลงจนถึงปลายก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปกระบองแคบ สีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนเศษใบไม้ เจริญเป็นกลุ่มกว้าง
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

72 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Marasmius sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 73
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetrapyrgos sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 14-37 มิลลิเมตร สีครีมน้ำตาล ผิวด้านบน
เรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งโค้งเล็กน้อย ผิวขอบหมวกเรียบ
ครีบ สีขาวอมครีม เรียงห่างแบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ 34 ครีบ ครีบติดแนบ
ไปกับก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก เปราะหักง่าย ยาว 25-72 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4
มิลลิเมตร โคนครีบสีเหมือนหมวก ตอนปลายครีบสีขาวเมื่อช้ำจะเปลี่ยน
เป็นสีนำ้ ตาลเข้ม ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนือ้ ในก้านกลวง ทีโ่ คนก้าน
มีรากเป็นเส้น
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ผิวเรียบ ใส ด้านในสปอร์เป็นจุดเล็กๆ สีเขียวอ่อน ใส
แหล่งที่พบ เจริญเป็นกลุ่มกระจายบนดิน
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

74 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Tetrapyrgos sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 75
ชื่อวงศ์ MARASMIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tetrapyrgos sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำตรงกลางเว้าบุ๋มเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-21 มิลลิเมตร
ตรงกลางหมวกสีเทาแล้วค่อยๆ จางจนถึงสีขาว บริเวณขอบหมวกผิวเป็น
สันร่อง ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งโค้งโก่ง ผิวขอบเป็นร่องหรือหยักมนห่างๆ
ครีบ สีขาวทั่วครีบ เรียงห่างแบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ 9-11 ครีบ ครีบติด
ก้านเล็กน้อย ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 14-25 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
สีทโี่ คนก้านดำแล้วค่อยๆ จางเป็นสีเทาขาวทีป่ ลายก้าน ติดตรงกลางหมวก
ผิวเรียบ อาจมียางสีดำที่ผิว เนื้อในก้านกลวง เล็กมาก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกลม ขาว ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากใบไม้หรือกิ่งไม้ขนาดเล็ก เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

76 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Tetrapyrgos sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 77
ชื่อวงศ์ NIDULARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyathus striatus
(Huds.) Willd & Pers.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ดอก รูปถ้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.5 มิลลิเมตร ปกคลุมด้วยเยื่อบางขาว
ซึง่ ปริแตกเมือ่ แก่ ผิวด้านนอกมีขนหยาบ สีนำ้ ตาลแดง ด้านในมีรอ่ งในแนว
ตัง้ เป็นมันเงา เรียบ สีเทาหรือน้ำตาลอมเทา ด้านในมีโครงสร้างคล้ายไข่กว้าง
8-20 มิลลิเมตร รูปเลนส์ เทาอ่อน ยึดติดกับถ้วยด้วยเส้นด้ายเล็กๆ
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน ไม่มี
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี ผิวเรียบ ผนังหนา ไม่มีสี
แหล่งที่พบ บนใบไม้ กิ่งไม้ เนื้อไม้ผุในป่า ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

78 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Cyathus striatus (Huds.) Willd & Pers.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 79
ชื่อวงศ์ PAXILLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gyrodon sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก เป็นแผ่นบาน บางชนิดแผ่นหมวกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ขนาด 25-60
มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ผิวเรียบ ขอบหมวกเป็นรอยลอนเว้า
คล้ายไตหรือถั่ว กว้าง 5-20 มิลลิเมตร สีขาวค่อนไปทางน้ำตาลอ่อน
ผิวด้านบนเป็นปมนูนเล็กๆ หรือคล้ายตาข่ายนูน ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่ง
ปลายขอบหมวกโค้งงอลงเล็กน้อย ผิวขอบหมวกเรียบ
รู รูปกึ่งรูกึ่งครีบ คล้ายตาข่าย เรียวลงก้านเล็กน้อย รูยาว 3-10 มิลลิเมตร
สีเหลือง ปากรู กว้างประมาณ 1.3 มิลลิเมตร สีเหลือง
ก้าน สั้น ติดด้านข้างของหมวก เส้นผ่าศูนย์กลาง 30-65 มิลลิเมตร
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีน้ำตาล ทรงรี
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

80 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Gyrodon sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 81
ชื่อวงศ์ PLUTEACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita mira Cor. & Bas.
ชื่อสามัญ ดอกส้าน

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก ดอกอ่อนรูปชามคว่ำ เมือ่ บานเต็มทีร่ ปู แบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 35-70 มลิ ลิเมตร
สีตรงกลางหมวกสีเหลืองเข้ม แล้วค่อยๆ จางจนถึงขอบ ผิวมีสะเก็ดหรือ
เม็ดสีเหลืองอ่อน หลุดร่วงได้ง่าย ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรงหรือกระดก
ขึ้นเล็กน้อย ผิวขอบหมวกเป็นร่องตื้นละเอียดจากขอบหมวกเข้ามากลาง
หมวก
ครีบ สีขาวนวล เรียงใกล้กันหรือถี่ ไม่ติดก้าน ขอบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจาก
ด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกตรง ยาว 50-120 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-15 มิลลิเมตร
สีขาว เนื้อในก้านกลวง ที่โคนก้านมีสะเก็ดเล็กๆ สีเหลือง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน เรียงเป็นวงกลม 2-4 ชั้น
สปอร์ เกือบกลม ผิวเรียบบาง ด้านในใสคล้ายมีหยดน้ำสีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนพื้นดิน เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

82 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ดอกส้าน Amanita mira Cor. & Bas.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 83
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Microporus vernicipes Berk. Ktz.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึ่งวงกลมถึงรูปพัด ขนาด 18-32 x 25-48 มิลลิเมตร สีแดงเหลือง
ถึ ง ส้ ม อมเหลื อ ง และมี รั ศ มี สี เ ขี ย วอ่ อ น ผิ ว ด้ า นบนเรี ย บ มี รู เ ล็ ก ๆ
บริ เ วณขอบหมวก ขอบหมวกเมื่ อ ผ่ า ครึ่ ง ตรงและยกขึ้ น เล็ ก น้ อ ย
ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านข้างเรียบ ผิวขอบหมวกเกลี้ยงเป็นมัน
รู ขนาดปากรู 0.5-1.0 มิลลิเมตร ปากรูสีขาว รูปกลม รูสีน้ำตาล 7-8 รู
ต่อมิลลิเมตร
ก้าน ทรงกระบอกสัน้ หรือมีกา้ นเล็กน้อย ยาว 2-4 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
3-4 มิลลิเมตร สีปกติสีเขียว สีเมื่อช้ำสีเข้มกว่าเล็กน้อย ติดด้านข้าง
ของหมวก ผิวมีรอยจุดประ และขนอ่อนปกคลุม เนื้อในตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ค่อนข้างรี ผิวเรียบ สีขาว
แหล่งที่พบ บนซากตอไม้หรือขอนไม้ เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มซ้อนกัน
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

84 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Microporus vernicipes Berk. Ktz.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 85
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus sp.
ชื่อสามัญ ร่มพม่า

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนตรงกลางเว้าบุม๋ เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-22 มิลลิเมตร สีนำ้ ตาลปนเขียว
ผิวด้านบนคล้ายผ้ากำมะหยี่สั้น ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้นปลายโค้งงอ
เล็กน้อย ผิวขอบหมวกเป็นขนสั้นๆ
รู มี 1-2 รูต่อมิลลิเมตร รูปรีเป็นเหลี่ยมๆ สีขาวถึงเหลืองอ่อน ปากรูขนาด
0.5-1 มิลลิเมตร สีเดียวกับรู
ก้าน ทรงกระบอกตรง ยาว 10-22 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
สีนำ้ ตาล ติดตรงกลางหมวก ผิวมีขนคล้ายผ้ากำมะหยี่ เนือ้ ในก้านตัน สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกระบอก ผิวเรียบ ขอบบาง
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่มแน่น
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

86 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ร่มพม่า (Polyporus sp.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 87
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnoporus sanguineus Fr. Murr.
ชื่อสามัญ ขอนแดง

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึ่งวงกลมถึงรูปพัด คล้ายแผ่นหนัง เป็นมันวาวเล็กน้อย ขนาด
40-80 x 10-35 มิลลิเมตร สีแดงถึงแดงอมส้ม ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง
และยกขึ้นเล็กน้อย ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านข้างเป็นคลื่นเล็กน้อย
ผิวขอบหมวกเป็นคลื่น มีร่องตื้นเป็นรัศมีที่ขอบหมวก
รู รูปกลม สีน้ำตาลส้ม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ขนาด
5-10 รูต่อมิลลิเมตร ปากรูสีเดียวกับรู
ก้าน สั้นหรือป้อมๆ ติดด้านข้างของหมวกแนบไปกับขอนไม้ สีเดียวกับหมวก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกระบอก โค้งเล็กน้อย ผิวเรียบ สีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากตอไม้หรือขอนไม้ เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มซ้อนกัน
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

88 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ขอนแดง (Pycnoporus sanguineus Fr. Murr.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 89
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stereum hirsutum
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปครึ่งวงกลมถึงรูปพัด ขนาด 20-48 x 32-65 มิลลิเมตร สีเหลืองอมส้ม
ผิวด้านบนเรียบมีรอยขีดบนผิว ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้นด้านเดียว
ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบนเรียบ
รู ยาว 1-3 มิ ล ลิ เ มตร สี น้ ำ ตาลเหลื อ ง 3-4 รู ต่ อ มิ ล ลิ เ มตร ปากรู
รูปกลมหรือหกเหลี่ยม สีเหลืองเข้ม
ก้าน สั้นมาก ติดด้านข้างของหมวก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีเหลืองอมน้ำตาล
แหล่งที่พบ เจริญบนตอไม้หรือท่อนไม้ ขึ้นเดี่ยวๆ หรือกลุ่มซ้อนกัน
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

90 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Stereum hirsutum
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 91
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus retirugis (Bres.) Rw.
ชื่อสามัญ เห็ดรังผึ้ง

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปคล้ายไตหรือถั่ว กว้าง 5-20 มิลลิเมตร สีขาวค่อนไปทางน้ำตาลอ่อน
ผิวด้านบนเป็นปมนูนเล็กๆ หรือคล้ายตาข่ายนูน ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่ง
ปลายขอบหมวกโค้งงอลงเล็กน้อย ผิวขอบหมวกเรียบ
รู รูปหกเหลี่ยม หรือคล้ายรูปรังผึ้ง ขนาด 1-2 มิลลิเมตร มี 12-18 รู
สีเหลืองหรือค่อนข้างน้ำตาลอ่อน ปากรู 1-2 รูต่อมิลลิเมตร
ก้าน สั้นมากเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ติดด้านข้างของหมวก หรือแนบไปกับไม้
สีเดียวกับหมวก
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว ทรงรี ผนังบาง
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

92 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
เห็ดรังผึ้ง
(Polyporus retirugis (Bres.) Rw.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 93
ชื่อวงศ์ POLYPORACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polyporus arcularius Batsch. Fr
ชื่อสามัญ ทองกรวยตะกู

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปกรวยกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-10 มิลลิเมตร มีรวิ้ เป็นรัศมี ผิวย่นเล็กน้อย
เป็นวาวมัน มีแถบเป็นวงกลมสีเหลืองอมน้ำตาลไปจนถึงน้ำตาลเข้ม
ขอบหมวกหยักหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
รู ปากรูสีขาว ยาว 0.5-1.5 มิลลิเมตร รูสีขาวเทา ยาว 0.5-1.0 มิลลิเมตร
ก้าน ทรงกระบอกตรง ยาว 13-18 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร
ติดตรงกลางหมวก แข็ง ขอบเรียบ ก้านส่วนที่ติดกับหมวกใหญ่กว่า
ด้านโคนสีน้ำตาล โคนก้านเป็นแผ่นวงกลมเล็กๆ เนื้อในก้านตัน สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงยาวรี ผิวเรียบ ขอบบาง
แหล่งที่พบ บนซากไม้ผุ เจริญเป็นกลุ่มแน่น
การใช้ประโยชน์ กินไม่ได้

94 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ทองกรวยตะกู
(Polyporus arcularius Batsch. Fr)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 95
ชื่อวงศ์ RUSSULARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lactarius sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปกลมนูนกลางหมวกเป็นแอ่งเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 18-62 มิลลิเมตร
สีแดงอมม่วง ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่ โค้ง ขอบหมวกเมือ่ มอง
จากด้านบนเรียบ ผิวขอบหมวกเรียบ เมือ่ ผ่าครึง่ จะมียางไหลออกมาจาก
หมวกและครีบ
ครีบ ยาว 16-24 มิลลิเมตร สีปกติสีน้ำตาลอมส้ม สีเมื่อช้ำสีน้ำตาลส้มเข้ม
ครีบติดโค้งลงไปติดก้านเล็กน้อย ขอบครีบเป็นคลื่นเรียงชิดกัน ขอบครีบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเป็นคลื่น
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 26-38 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 มิลลิเมตร
สีปกติสีน้ำตาลเทา เมื่อช้ำสีแดงมะกอก โคนก้านมีขนสั้นๆ ปกคลุมทั่ว
โคนสีขาว ติดตรงกลางหมวก ผิวก้านเป็นร่องเส้นตามยาว เนื้อใน
ก้านตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี แน่นทึบสีเทา มีปุ่มเล็กๆ สีขาว
แหล่งที่พบ บนพื้นดิน เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มใกล้กัน
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

96 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Lactarius sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 97
ชื่อวงศ์ RUSSULARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก ดอกอ่อนรูปชามคว่ำ เมื่อดอกแก่รูปแบนแล้วกระดกขึ้น เส้นผ่าศูนย์กลาง
70-90 มิลลิเมตร มีทั้งสีขาว เขียว จนถึงแดงส้ม มีเกล็ดหรือแผ่นสะเก็ด
เคลือบเป็นสีครีมหรือสีเขียวประปราย เนื้อในหมวกสีขาว ขอบหมวกเมื่อ
ผ่าครึง่ ยกขึน้ เมือ่ ดอกอ่อนจะงอ ผิวขอบหมวกเป็นคลืน่ แบบไม่เป็นระเบียบ
เมื่อดอกบานมีกลิ่นเหม็น
ครีบ สีขาวนวล เรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อ
มองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน มีทั้งเรียวจากปลายถึงโคนและทรงกระบอก ยาว 10-20 มิลลิเมตร สีขาว
ทัว่ ก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเป็นร่องตืน้ เรียงตามยาวของก้าน เนือ้ ในตัน
สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ สีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินไม่ได้

98 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Russula sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 99
ชื่อวงศ์ RUSSULARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Russula sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก ดอกอ่อนรูปชามคว่ำ เมื่อดอกแก่รูปแบนแล้วกระดกขึ้น เส้นผ่าศูนย์กลาง
70-90 มิลลิเมตร ผิวเรียบ สีแดงหรือแดงอมชมพูเข้ม เนื้อในหมวกสีขาว
ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้น เมื่อดอกอ่อนจะงอ ผิวขอบหมวกเรียบ เมื่อ
ดอกบานจะมีกลิ่น
ครีบ สีขาวนวล เรียงใกล้กัน ไม่ติดก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจาก
ด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน มีทั้งเรียวจากปลายถึงโคนและทรงกระบอก ยาว 10-20 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเป็นร่องตื้นเรียงตามยาวของก้าน
เนื้อในตัน สีขาว
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปไข่ สีขาว
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินไม่ได้

100 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Russula sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 101
ชื่อวงศ์ SARCOACYPHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cookeina tricholoma Kuntze.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปถ้วยหรือกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-25 มิลลิเมตร ลึก 10-18 มิลลิเมตร
สีแดงถึงแดงอ่อน ด้านในจะเข้มกว่าด้านนอกแล้วค่อยๆ จางลงจนถึง
ปลายก้าน ผิวด้านบนเรียบ หมวกมีขนแข็งสีขาวหรือน้ำตาล ยาว 1.5-2.5
มิลลิเมตร สะท้อนแสง
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 10-30 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวก้านเรียบ มีขนทั่วก้าน
แอสคัส ทรงกระบอก ด้านล่างเรียวยาวแหลม มีหางตรงโคน
แอสโคสปอร์ ทรงรี ภายในมีหยดน้ำมันใหญ่ 2 หยด และหยดน้ำมันเล็กๆ หลายหยด
มีสันยาวขนาดเล็กเชื่อมติดกัน บางแห่งไม่มีสี
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

102 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Cookeina tricholoma Kuntze.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 103
ชื่อวงศ์ SARCOACYPHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cookeina sulcipes Kuntze.
ชื่อสามัญ ถ้วยแชมเปญ

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปถ้วยหรือกรวย เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-35 มิลลิเมตร ลึก 10-20 มิลลิเมตร
สีแดงถึงส้ม ด้านในสีเข้มกว่าด้านนอก แล้วค่อยๆ จางลงจนถึงปลายก้าน
ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกมีขนสัน้ ล้อมรอบประมาณ 2-3 แถว
ครีบ ไม่มี
รู ไม่มี
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 15-38 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวมีขนทั่วก้าน
แอสคัส ทรงกระบอก ฐานกลมมีก้านคล้ายหาง
แอสโคสปอร์ ทรงรี มีหยดน้ำมันใหญ่ 2 หยดและหยดน้ำมันเล็กๆ หลายหยด มีสัน
ยาวเล็กๆ เชื่อมติดกัน บางแห่งไม่มีสี
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

104 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ถ้วยแชมเปญ Cookeina sulcipes Kuntze.
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 105
ชื่อวงศ์ SCHIZOPHYLLACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Schizophyllum sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รู ป พั ด หรื อ คล้ า ยเปลื อ กหอย เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง 12-18 มิ ล ลิ เ มตร
สีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งยกขึ้น
เมื่อมองจากด้านบนหยักมนสม่ำเสมอ ผิวขอบหมวกงอขึ้นเป็นลอนและ
มักฉีกขาดง่าย
ครีบ ยาว 6-22 มิลลิเมตร สีขาวอมน้ำตาล เรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน
ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าหยักมนหรือไม่เสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอกสั้น ยาว 1-2 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 มิลลิเมตร
สีขาวอมน้ำตาล ติดด้านข้างของหมวก ผิวมีรอยจุดประ เนื้อในก้านตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ วงรี มีปุ่มยื่นออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีขาว
แหล่งที่พบ บนซากไม้ ขึ้นเป็นกระจุก
การใช้ประโยชน์ กินได้

106 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Schizophyllum sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 107
ชื่อวงศ์ STOPHARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanotus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปคล้ายรูปไต เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-12 มิลลิเมตร สีขาวอมเทา ผิวด้านบน
เรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่ง ผิวขอบเรียบ
ครีบ สี น้ ำ ตาลเทาทั่ ว ครี บ เรี ย งใกล้ ม าก ติ ด แนบไปกั บ ก้ า น ขอบเรี ย บ
ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าไม่เสมอกัน
ก้าน สั้นมาก เป็นตุ่มเล็กๆ โค้งงอ ติดด้านข้างของหมวก ผิวไม่เรียบ
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี หรือเกือบกลม ใส ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มห่างๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

108 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Melanotus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 109
ชื่อวงศ์ STROPHARIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psilocybe sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปชามคว่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 22-28 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเป็นชั้นๆ
ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง ผิวขอบหมวกเป็นรอยขีดตื้นๆ
ครีบ สีเดียวกับหมวก เรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบเรียบ ขอบครีบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 60-65 มิลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร
สีขาว ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี สีน้ำตาลใส ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ซากกิ่งไม้ขนาดเล็ก เจริญเดี่ยวหรือกระจุก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

110 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Psilocybe sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 111
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitocybe sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบบราบ ตรงกลางเว้าลึกกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 55-63 มิลลิเมตร
สีขาว ตรงกลางมีสีครีมเล็กน้อย ผิวด้านบนเรียบเป็นมัน ขอบหมวกเมื่อ
ผ่าครึ่งหยักเล็กน้อย ผิวขอบหมวกมีรอยฉีกขาดเล็กน้อยห่างๆ
ครีบ สีขาวออกครีมเล็กน้อย เรียงใกล้กัน ติดแนบไปกับก้าน ขอบครีบเรียบ
เมื่อมองจากด้านหน้าเท่ากัน
ก้าน ทรงเรียวจากด้านบนลงมาถึงโคน ยาว 40-50 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง
9-14 มิลลิเมตร สีขาวทัว่ ก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเป็นร่องตามยาว เนือ้ ใน
ตันแต่ไม่แน่น
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกลมหรื อ รู ป รี เ ล็ ก น้ อ ย ผิ ว ไม่ เ รี ย บ ไม่ มี สี ด้ า นในสปอร์ ค ล้ า ย
มีหยดน้ำ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

112 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Clitocybe sp.
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 113
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Collybia sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปคล้ายกระจกนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-18 มิลลิเมตร สีน้ำตาลโอวัลติน
ตรงกลางหมวกเข้มกว่า ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่ ค่อนข้างงอ
ผิวขอบหมวกหยักมนห่างๆ
ครีบ สีขาวนวล เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ 18-20 ครีบ ครีบติด
ก้านเล็กน้อย ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าไม่ค่อย
เสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 19-34 มิลเิ มตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
สีโคนก้านเป็นสีนำ้ ตาลเข้มแล้วค่อยจางขึน้ เป็นสีขาวนวล ติดตรงกลางหมวก
ผิวเรียบ เนื้อในตัน โคนก้านมีขนเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวฟู
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกลม ใส ผิวเรียบ
แหล่งที่พบ ขึ้นบนซากไม้ผุ เจริญเป็นกระจุก
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

114 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Collybia sp.
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 115
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrocybe conica
Kum. Scop. ex Fr.
ชื่อสามัญ ปากนกแก้ว หมวกแม่มด

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก เส้นผ่าศูนย์กลาง 48-64 มิลลิเมตร ยอดเป็นตุ่มหรือกรวยมียอดแหลม
หนืดมือเมือ่ เปียกชืน้ หมวกเป็นลอนไม่สม่ำเสมอ สีแดงถึงส้ม ผิวด้านบนเรียบ
คล้ายเส้นไหม เมื่อช้ำค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งตรง
ขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบนแตกเป็นแฉก ผิวขอบหมวกเรียบเป็นลอน
ไม่สม่ำเสมอ
ครีบ ยาว 24-32 มิลลิเมตร สีปกติสเี หลืองอ่อน สีเมือ่ ช้ำค่อยๆ เปลีย่ นเป็นสีดำ
เรียงห่างแบบมีครีบย่อย ครีบไม่ติดก้าน ขอบครีบเรียบ ครีบกว้าง 6-9
มิลลิเมตร ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 76-83 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 มิลลิเมตร
สีเหลือง ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงรี สีขาวอมเหลือง
แหล่งที่พบ บนดิน ขึ้นเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ กินได้

116 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ปากนกแก้ว หมวกแม่มด (Hygrocybe conica Kum. Scop. ex Fr.)

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 117
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrophorus sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนราบหรือคล้ายเลนส์นูนเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-8 มิลลิเมตร
สีน้ำตาลม่วง ผิวด้านบนเรียบ ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งปลายครีบโค้งงอ
ผิวขอบหมวกเรียบ สีอ่อนกว่าผิวหมวก
ครีบ สีเหลืองอมน้ำตาลทั่วครีบ เรียงห่างๆ แบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ
34-36 ครีบ ครีบติดโค้งไปติดก้านเล็กน้อย ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อ
มองจากด้านหน้าเรียงไม่เสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก มีทั้งตรงและเบี้ยวเล็กน้อย ยาว 15-23 มิลลิเมตร เส้น
ผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร โคนหมวกสีขาวอมเหลือง ตอนปลายเปลีย่ น
เป็นสีเดียวกับสีหมวก ติดตรงกลางหมวก ผิวแตกเป็นร่อง เนื้อในตัน
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ รูปรี ไม่มีสีหรือใส ด้านในสปอร์ มีผนังกั้น 2 ชั้น ผิวเรียบ ปลายสปอร์มี
จงอยยื่นออกมาเล็กน้อย
แหล่งที่พบ ขึ้นบนดิน เจริญเดี่ยวๆ
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

118 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Hygrophorus sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 119
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xeromphalina sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปแบนตรงกลางเว้าบุม๋ เล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 มิลลิเมตร สีขาว
ตรงกลางหมวกสีนวลอมเหลือง ผิวเรียบหรือเป็นร่องห่างๆ ขอบหมวก
เมือ่ ผ่าครึง่ ตรงขอบหมวกฉีกขาดห่างๆ ผิวขอบหมวกเป็นรอยขีดในสันร่อง
ครีบ สีขาวทั่วครีบ เรียงห่างแบบมีครีบย่อย จำนวนครีบ 19-22 ครีบ ติดโค้ง
ไปกับก้านเล็กน้อย ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมือ่ มองจากด้านหน้าเสมอกัน
ก้าน ทรงกระบอก ยาว 32-44 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร สีขาว
ทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ไม่มี
สปอร์ ทรงกลม ไม่มีสีหรือใส ผิวไม่เรียบ หรือคล้ายวุ้นล้อมรอบ ด้านในสปอร์
ใสหรือเป็นรอยขีดเล็กๆ
แหล่งที่พบ บนซากไม้ผุ เจริญเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

120 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Xeromphalina sp.

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 121
ชื่อวงศ์ TRICHOLOMATACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xeromphalina sp.
ชื่อสามัญ -

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
หมวก รูปกรวยลึก บาง โปร่งแสงเล็กน้อย มีริ้วเรียงเป็นรัศมี เส้นผ่าศูนย์กลาง
14-28 มิลลิเมตร สีเทาอ่อนอมม่วงถึงสีนำ้ ตาลอ่อนปนชมพู ผิวด้านบนเรียบ
ขอบหมวกเมือ่ ผ่าครึง่ โค้ง ขอบหมวกเมือ่ มองจากด้านข้างเรียบ ผิวขอบหมวก
เรียบเป็นมัน หรือเกลี้ยงเป็นมัน
ครีบ ยาว 7-15 มิลลิเมตร สีเทาอ่อนอมม่วง โค้งเรียวลงไปติดก้านเล็กน้อย
ขอบครีบเรียบ ขอบครีบเมื่อมองจากด้านหน้าเรียบ สีเดียวกับหมวก
ก้าน ทรงกระบอก เรียบ ยาว 16-20 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-4 มิลลิเมตร
สีขาวทั่วก้าน ติดตรงกลางหมวก ผิวก้านบางเรียบ เนื้อในก้านกลวง
วงแหวน ไม่มี
กระเปาะหุ้มโคน ม่มี
สปอร์ ทรงรี บางอันมีหนามแหลมยืดออกมาหนึ่งอันหรืออาจไม่มี ผิวเรียบ
ผนังบางสีขาว
แหล่งที่พบ บนกิ่งไม้และขอนไม้ในป่า เจริญเป็นกลุ่ม
การใช้ประโยชน์ ไม่มีข้อมูล

122 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
Xeromphalina sp.
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 123
ภาคผนวก
การศึกษาลักษณะภายนอกของเห็ด
การศึกษาลักษณะภายนอกของเห็ด มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขนาด สี น้ำยาง
รูปร่างของดอกเห็ด ลักษณะผิวหมวก ครีบ ก้าน วงแหวน เยื่อหุ้มโคน สปอร์พริ้น
นิสัยการเจริญ และแหล่งที่พบ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ขนาดของดอกเห็ดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งที่เห็ดเจริญ
อยู่จะทำให้ดอกเห็ดมีขนาดที่แตกต่างกัน
สีของดอกเห็ดจะพบหลากหลายสี เช่น ขาว ชมพู แดง เหลือง เขียว น้ำตาลปนแดง
น้ำตาล ฯลฯ การเรียกชื่อ หรืออธิบายสีของเห็ดควรมีการเทียบสีแบบมาตรฐาน หรือควรมี
ตัวแม่แบบวัดสี เพราะการเรียกชื่อสีของแต่ละคนอาจเรียกไม่เหมือนกัน ผิดเพี้ยนได้ง่าย
สีดอกเห็ดบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงตามอายุ และสภาพแวดล้อม จึงควรมีการบันทึกสีดอก
ทั้งดอกอ่อนและดอกแก่ บางชนิดสีดอกอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อดอกเห็ดช้ำอีกด้วย
น้ำยาง (latex) เห็ดบางชนิดอาจมีน้ำยางด้วย เมื่อดอกเห็ดฉีกขาดจะมีของเหลว
หรือน้ำยาง หรืออาจไม่มีก็ได้ ควรจดบันทึกด้วยเช่นกัน
รูปร่างของหมวก (cap) หมวกเห็ดมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

ชามคว่ำ เจดีย์ยอดเรียว ระฆัง พาราโบลอยด์ยอดมน รูปไข่


(กว้างมากกว่าสูง) (กว้างน้อยกว่าสูง) (ขอบหมวกบานออก) (กว้างน้อยกว่าสูง)

แบน กรวย ยอดเป็นตุ่ม ยอดนูนป้าน

ตรงกลางบุ๋ม ตรงกลางบุ๋มลึก รูปพัด รูปครึ่งวงกลม รูปกระบอกหรือไม้พาย

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 127
ลักษณะผิวหมวก

คล้ายเส้นไหม เส้นใยรวมกันเป็นกระจุก เส้นใยรวมกันเป็นกระจุก


ปลายแหลมและกระดกขึ้น ปลายแหลมแบนราบไปกับผิว

เกลี้ยงเป็นมัน รอยนูนขรุขระ แผ่นสะเก็ด

ลักษณะผิวขอบหมวก

รอยขีดบนผิว รอยขีดในร่อง รอยขีดบนสันและในร่อง

ขอบหมวกเมื่อผ่าครึ่งหมวกเห็ดแล้วมองทางด้านข้าง มีรูปร่างที่แตกต่างกันดังนี้

ตรง ม้วน งอ โค้ง ยกขึ้น

128 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ผิวขอบหมวกเมื่อมองจากด้านบน มีรูปร่างดังนี้

เรียบ หยักมนสม่ำเสมอ หยักมนละเอียด

หยักแบบถูกกัดเซาะ แตกเป็นแฉก ห้อยรุ่งริ้ง

ลักษณะของครีบ
1. การติดของครีบกับก้าน

ไม่ติดก้าน ติดก้านเล็กน้อย ติดแนบไปกับก้าน

หยักเว้าก่อนติดก้าน โค้งลงไปติดก้านเล็กน้อย เรียวยาวลงไปติดก้าน

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 129
2. ขอบครีบ

เรียบ คลื่น หยักมน ฟันเลื่อย

3. การเรียงของขอบครีบ

ห่างมาก แบบมีครีบย่อย ใกล้กัน เรียงชิดกัน แยกสองแฉก สานกันเป็นตาข่าย

ลักษณะก้าน
1. การติดของก้านกับหมวก

ติดตรงกลาง ติดเยื้องทางด้านหนึ่ง ติดด้านข้าง

130 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
2. รูปร่างของก้าน

ทรงกระบอก เรียวจากปลาย กระบอกแคบ กระบอกกว้าง ทรงกระบอก เรียวยาว


ถึงโคน โคนโป่งออก คล้ายราก

3. ผิวของก้าน

รอยจุดประ เป็นหนาม เส้นใยรวมเป็นกระจุก


ปลายแหลมแบนราบไปกับผิว

เส้นตามยาว เป็นร่อง สานกันเป็นร่างแห

4. เนื้อในก้าน

ตัน กลวง
เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 131
ลักษณะของวงแหวน

แบบกระโปรง แบบถุงเท้า วงแหวน 2 ชั้น

ตำแหน่งของวงแหวน

วงแหวนตอนล่าง วงแหวนตอนกลาง วงแหวนตอนบน

ลักษณะของเยื่อหุ้มโคนก้าน

ก้านติดที่ก้นถ้วย ถ้วยหุ้มก้านแน่น แผ่นสะเก็ต สันนูนรอบ ถ้วยหุ้มโคนก้าน


หลวมๆ กระเปาะ แน่นปลายบานออก

132 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ลักษณะการขึ้นและการติดของดอกเห็ดบนท่อนไม้

ขึ้นเดี่ยวๆ ขึ้นเป็นกระจุก ขึ้นเป็นกลุ่ม

แบบราบไปกับท่อนไม้ แบบราบไปกับท่อนไม้ มีก้านด้านข้าง


ปลายกระดกขึ้น

มีก้านตรงกลาง ไม่มีก้านขึ้นซ้อนกัน ไม่มีก้าน ไม่มีก้าน

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 133
บรรณานุกรม
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ( 2551). ความรูเ้ กีย่ วกับเห็ดมีพษิ . นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
นองนิจ เหลื่อมล่ำ และ ชริดา ปุกหุต. (2546). ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดป่าใน
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอง. กรุงเทพ : สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่ง
ประเทศไทย.
ปรเมตต์ รักษวงศ์. (2544). เห็ดและราในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
มรกต ตันติเจริญ. (2544). เห็ดและราในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). เห็ดกินได้และเห็ดมีพษิ . กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ .
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. ( 2535). เห็ดเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช .
อนงค์ จันทร์ศรีกุล และคณะ. ( 2551). ความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ใน
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

134 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ที่มาของภาพเห็ด
ภาพที่ 1 เห็ดหอม ทีม่ า : http : //www.changsiam.comimagesspice Mushroom.jpg
ภาพที่ 2 เห็ดฟาง ที่มา : http : // www.morelmushroomhunting.com
ภาพที่ 3 เห็ดร่างแห ที่มา : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotec)
ภาพที่ 4 เห็ดเสม็ด ที่มา : http : // www.moac-info.netmodulesnewsimages81_
ภาพที่ 5 เห็ดขิง ที่มา : http : // www.mtsn.tn.itbresadolaphotoslactarius_piperatus.jpg
ภาพที่ 6 เห็ดข่า ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ภาพที่ 7 เห็ดระโงกหิน ที่มา : http://images.google.co.th/imgres?imgurl=
ภาพที่ 8 เห็ดหัวกรวดครีบเขียวอ่อน ที่มา : http:// web.sut.ac.thgradbiostupresent2550.
ภาพที่ 9 เห็ดแดงน้ำหมาก
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 10 เห็ดขี้ควาย ที่มา : http:// www.fda.moph.go.
ภาพที่ 11 โครงสร้างของเห็ด
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 12 ลักษณะของหมวกเห็ด
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 13 ลักษณะการติดของครีบกับก้าน
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 14 การเรียงตัวของครีบ
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 135
ภาพที่ 15 ความยาวและความกว้างของครีบ
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 16 ลักษณะขอบครีบ
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 17 รูปร่างก้านดอก
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 18 ลักษณะผิวก้านดอกเห็ด
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 19 ลักษณะปลอกหุ้มโคน
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 20 รูปแบบวงแหวน
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 21 ตำแหน่งวงแหวน
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 22 วงจรชีวิตของเห็ด
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 23 กลุ่มเห็ดที่มีครีบ
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

136 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ภาพที่ 24 กลุ่มเห็ดมันปู
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 25 กลุ่มเห็ดตับเต่า
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 26 กลุ่มเห็ดหิ้ง
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 27 กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 28 กลุ่มเห็ดหูหนู
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 29 กลุม่ เห็ดทีเ่ ป็นแผ่นราบไปกับท่อนไม้
ทีม่ า : ศูนย์วจิ ยั ความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 30 กลุ่มเห็ดฟันเลื่อย ที่มา : www.uoguelph.ca~gbarr
ภาพที่ 31 กลุ่มเห็ดปะการังและเห็ดกระบอง
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 32 กลุ่มเห็ดรูปร่มหุบ
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 137
ภาพที่ 33 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นและเห็ดดาวดิน
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 34 กลุ่มเห็ดลูกฝุ่นก้านยาว
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 35 กลุ่มเห็ดรังนก
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 36 กลุม่ ดอกเห็ดเขาเหม็น ทีม่ า : ศูนย์พนั ธุวศิ วกรรมและเทคโนโลยีชวี ภาพ (Biotec)
ภาพที่ 37 สปอร์ของเห็ดถุง
ที่มา : ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ภาพที่ 38 สปอร์ของเห็ดกระบอง ที่มา : http://images.google.co.th/imgres

138 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ดัชนี INDEX
ชื่อวงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ หน้า

AGARICACEAE Agaricus sp. 22


AGARICACEAE Agaricus sp. 24
AGARICACEAE Lepiota sp. 26
AURICULARIACEAE Auricularia sp. เห็ดหูลิง 28
BOLBITIACEAE Conocybe sp. 30
BOLETACEAE Tylopilus sp. 32
CANTHAVELLACEAE Cantharellus มันปูใหญ่ 34
cibarius Fr.
CLAVARIACEAE Clavaria sp. กูละ-มูบา 36
(มลายู-ยะลา)
COPRINACEAE Coprinus sp. 38
COPRINACEAE Coprinus sp. 40
COPRINACEAE Coprinus sp. 42
CORIOLACEAE Trametes cingulata 44
Berk.
CORTINARIACEAE Crepidotus sp. 46
ENTOLOMATACEAE Entoloma sp 48
GANODERMATACEAE Amauroderma 50
rugosum (Fr.) Tor.
GANODERMATACEAE Ganoderma boninense 52
GANODERMATACEAE Ganoderma sp. 54
GANODERMATACEAE Genoderma arcularius 56

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 139
ดัชนี INDEX
ชื่อวงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ หน้า
HELOTIACEAE Bulgaria javanicum เห็ดปากหมู 58
(Rehm) Le Gal.
HYMENOGASTRACEAE Galerina sp. 60
LENTINACEAE Lentinus sp. 62
LYCOPERDACEAE Calvatia craniformis 64
Coker et Couch
MARASMIACEAE Campanella sp. 66
MARASMIACEAE Marasmius florideus 68
Berk. & Br.
MARASMIACEAE Marasmius sp. 70
MARASMIACEAE Marasmius sp. 72
MARASMIACEAE Tetrapyrgos sp. 74
MARASMIACEAE Tetrapyrgos sp. 76
NIDULARIACEAE Cyathus striatus 78
(Huds.) Willd & Pers
PAXILLACEAE Gyrodon sp. 80
PLUTEACEAE Amanita mira ดอกส้าน 82
Cor. & Bas.
POLYPORACEAE Microporus vernicipes 84
(Berk.) Ktz
POLYPORACEAE Polyporus sp. ร่มพม่า 86
POLYPORACEAE Stereum hirsutum

140 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ดัชนี INDEX
ชื่อวงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ หน้า
POLYPORACEAE Pycnoporus sanguineus ขอนแดง 88
(Fr.) Murr.
POLYPORACEAE Polyporus retirugis เห็ดรังผึ้ง 92
(Bres.) Rw.
POLYPORACEAE Polyporus arcularius ทองกรวยตะกู 94
Batsch. Fr.
RUSSULARIACEAE Lactarius sp. 96
RUSSULARIACEAE Russula sp. 98
RUSSULARIACEAE Russula sp. 100
SARCOACYPHACEAE Cookeina tricholoma 102
Kuntze.
SARCOACYPHACEAE Cookeina sulcipes ถ้วยแชมเปญ 104
Kuntze.
SCHIZOPHYLLACEAE Schizophyllum sp. 106
STOPHARIACEAE Melanotus sp. 108
STROPHARIACEAE Psilocybe sp. 110
TRICHOLOMATACEAE Clitocybe sp. 112
TRICHOLOMATACEAE Collybia sp. 114
TRICHOLOMATACEAE Hygrocybe conica Kum. ปากนกแก้ว 116
(Scop.ex Fr.) หมวกแม่มด
TRICHOLOMATACEAE Hygrophorus sp. 118
TRICHOLOMATACEAE Xeromphalina sp. 120
TRICHOLOMATACEAE Xeromphalina sp. 122

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 141
คณะกรรมการที่ปรึกษา
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา
นายกสภาประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
นายอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดยะลา
ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดยะลา
นายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดยะลา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้

ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ
นายรัตเขตร์ เชยกลิ่น
นางสาวธิติยา บุญประเทือง
นางสาวพัชราภา ปุยเงิน

142 เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
คณะผู้จัดทำหนังสือ
“เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา”

คณะผู้จัดทำ
รศ.เฉลิมยศ อุทยารัตน์
ผศ.ประยูร ดำรงรักษ์
นางฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย
นายมูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี
นายกามัล กอและ
นางสาวโรสณา แยนา
นายดอเลาะ สาและ

ผู้ถ่ายภาพ
นายมูฮำหมัดตายุดิน บาฮะคีรี
นายกามัล กอและ

พิมพ์ที่
บริษัท เอสพริ้นท์ (2009) จำกัด
โทรศัพท์ 0-7325-5555

สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามลอกเลียนแบบ ไม่ว่าส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้


หากเป็นการนำไปใช้เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการค้า

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา 143
หน้าสุดท้ายของเนื้อใน
ติดกาวไปกับปกหลังด้านใน
หน้าสุดท้ายของเนื้อในชุดที่ 2
ติดกาวไปกับปกหลังด้านใน
เห ด
็ ป า

เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ในหุบเขาลำพญา

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ ISBN : 978-974-3144-92-4


เห็ดป่าในหุบเขาลำพญา
ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2552
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
2552

ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ISBN : 978-974-3144-92-4 2552

You might also like