You are on page 1of 20

1

แนวทางการปฏิบัติการสืบสวนสอบสวน
คดีความผิดฐานค้ามนุษย์ขน
ั ้ สูง (proactive investigation)
๑๔ ขัน
้ ตอน

-------------------------------------------------------------

ประเทศไทยมีแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดฐานค้ามนุษย์
มาตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ กล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีผลบังคับใช้
เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติที่เป็ นสากลเกี่ยวกับ คำนิยาม “กา
รใช้กำลังประทุษร้าย” “คุมขัง” “ค่าไถ่” และเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “สื่อลามก
อนาจารเด็ก” มีบทบัญญัติโทษ ในภาค ๒ ความผิดลักษณะที่ ๙ ความ
ผิดเกี่ยวกับเพศ, ลักษณะที่ ๑๐ ชีวิตและร่างกาย, ลักษณะที่ ๑๑
เสรีภาพและชื่อเสียง ซึ่งถือว่าประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายลักษณะค้า
มนุษย์ที่เป็ นสากลมาตัง้ แต่ บัดนัน

เป็ นต้นมา และต่อมามีการตราพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญา เพื่อบังคับ
ใช้ร่วมกับประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ได้แก่ พระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙, พระราชบัญญัติมาตรการ
ป้ องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.๒๕๔๐, พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
ฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ เป็ นต้น
ต่อมา ปรากฏว่าบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้น ยังมิได้กำหนด
ลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
จากบุคคลที่มิได้จำกัดแต่เฉพาะหญิงและเด็ก และกระทำด้วยวิธีการที่หลาก
หลายมากขึน
้ เช่น การนำบุคคลเข้ามาค้าประเวณีในหรือส่งไปค้านอกราช
อาณาจักร บังคับใช้แรงงาน บริการ หรือขอทาน บังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่น ตลอดจนเป็ นการกระทำ

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมากขึน
้ ประกอบกับประเทศไทยได้
ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติ
เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตัง้ ในลักษณะองค์กร และพิธีสารเพื่อ
ป้ องกัน ปราบปราม และลงโทษการ
ค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผูห
้ ญิงและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อ
ต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตัง้
ในลักษณะองค์กร จึงมีการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
ค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ โดย
กำหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทำดังกล่าว เพื่อให้การป้ องกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึน
้ สอดคล้องกับพันธกรณี
ของอนุสัญญาและพิธีสาร จัดตัง้ กองทุนเพื่อป้ องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ รวมทัง้ ปรับปรุงการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายให้
เหมาะสม ทัง้ นี ้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย
เนื่องจาก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๑ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสอดคล้องกับ
สภาวะกาลปั จจุบันอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับกฎหมายฉบับดังกล่าว ต้องมี
การบังคับใช้ร่วมกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ และกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
ฉบับอื่นๆ อีกหลายฉบับ และปั จจุบันการ ค้ามนุษย์เป็ นปั ญหาต่อ
เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศไทย และ
ยังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทัง้ ในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอีก
ด้วย ดังนัน
้ เพื่อให้การป้ องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ดำเนินไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และคดีความที่เกี่ยวข้องทัง้ หลายได้รับการพิจารณา พิพากษา
อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเป็ นธรรม จึงมีการตราพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา
คดีค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๙ มาบังคับใช้ ดังนัน
้ การสืบสวนสอบสวนคดี
ความผิดฐานค้ามนุษย์ จึงควรมีดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายต่างๆ

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ข้างต้น จึงกำหนดแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีความผิดฐานค้า
มนุษย์ ๑๔ ขัน
้ ตอน ดังนี ้

ขัน
้ ตอนที่ ๑ : ขัน
้ ตอนการรับแจ้งเหตุ/การรับคำร้องทุกข์ มี ๔ เหตุการณ์
ดังนี ้
๑.๑ กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนเข้า
ช่วยเหลือ หรือพาผู้เสียหายมาร้องทุกข์ หรือมีการปฏิบัติการอำพรางเพื่อ
สืบสวนจับกุมคดีค้ามนุษย์ (ล่อซื้อ) แนวทางการดำเนินการ ๕ ขัน
้ ตอน คือ
๑.๑.๑ เตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติการเข้าไปในสถานที่เกิด
เหตุเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เสียหายและพยานโดยหลักแล้วการจะเจ้า
ตรวจตรวจในสถานที่ใดๆ ต้องอาศัยอำนาจศาล เช่น หมายค้นหรือคำสั่ง
ศาล แต่สำหรับการค้ามนุษย์บางเหตุการณ์ผู้เสียหายรอการช่วยเหลืออย่าง
เร่งด่วน จึงจำเป็ นต้องใช้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป้ องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ฯ ม.๒๗ แต่ก็มีข้อจำกัดเพราะเหตุจะอ้างว่าจำเป็ น
เร่งด่วนที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อาจยังไม่ชัดเจน
แนวทางปฏิบัติคือการใช้อำนาจของหน่วยบูรณาการป้ องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.๑๓๙, พ.ร.ก.การบริหาร
จัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ ม.๙๘, พ.ร.บ.สถานบริการฯ ม.๒๔,
พ.ร.บ.โรงแรมฯ ม.๔๕ เป็ นต้น หากเป็ นเป้ าหมายในทะเล ปั จจุบันทหารเรือ
พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติ โดยการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงานทาง
ทะเลฯ มาตรา ๙๕, ๙๖, ๙๗ ,๙๘
๑.๑.๒ การวางแผนและจัดทีมปฏิบัติการเข้าไปในสถานที่เกิด
เหตุเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้เสียหายและพยาน Team work คือหัวใจของ
การทำงานของหน่วยงานบูรณาการป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ จะ
ต้องจัดให้มีหัวหน้าทีม และชุดปฏิบัติการต่างๆ เช่น มีการจัดชุดสำหรับช่วย
เหลือผู้เสียหาย ชุดเก็บพยานหลักฐาน ชุดปฏิบัติการควบคุมผู้ต้องสงสัย ชุด
คุ้มครองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในสถานที่เกิดเหตุ ชุดประสานงานหน่วยงาน

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ต่างๆ ระหว่างการปฏิบัติการ เช่น ประสานงานล่าม ประสานงานผู้มีหน้าที่
คุ้มครองเด็ก ประสานงานผู้มีหน้าที่รักษาพยาบาล ผู้มีหน้าที่สนับสนุน
อาหารและความต้องการเบื้องต้นของผู้เสียหาย และที่สำคัญคือ การ
ประสานงานเบื้องต้นไปยังสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และ
หน่วยงานการคุ้มครองพยาน รวมทัง้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรณี
พยานซึ่งเป็ นคนต่างด้าวเพราะบุคคลดังกล่าว ยังถือว่าเป็ นประจักษ์พยาน
ของคดีดังกล่าว
๑.๑.๓ การปฏิบัติการเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายในสถานที่เกิดเหตุ
และแนวทางการจัดระเบียบในสถานที่เกิดเหตุ หัวใจหลักขัน
้ ตอนนี ้ คือ การ
ควบคุมสถานที่เกิดเหตุทันทีเมื่อเข้าปฏิบัติการ แล้วเร่งคัดแยกบุคคลที่พบใน
สถานที่เกิดเหตุ เน้นการปฏิบัติการแยกบุคคลตามลักษณะเหตุการณ์ เช่น
เป็ นบุคคลที่มีอาการเจ็บป่ วย, บุคคลที่มีอาการหวาดระแวงเป็ นอันดับแรก
และค้นหาบุคคลน่าจะเป็ นผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์, บุคคลที่น่าจะเป็ น
ประจักษ์พยาน จากนัน
้ ก็แยกบุคคลแต่ลกลุ่มตามสัญชาติ แล้วแยกเด็กออก
จากผู้ใหญ่ แยกเพศหญิงออกจากเพศชาย ทัง้ นี ้ เพื่อประโยชน์สงู สุดในการ
คุ้มครองช่วยเหลือบุคคลในสถานที่เกิดเหตุ กล่าวคือ หากเป็ นผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์ ก็จะได้สง่ บุคคลดังกล่าวไปยังสถานคุ้มครองแต่ละแห่งตาม
ความเหมาะสม หากเป็ นประจักษ์พยานก็จะได้คุ้มครองดูแลเช่นเดียวกับผู้
เสียหาย แต่หากพบบุคคลชัดเจนว่าเป็ นผู้กระทำความผิดเกี่ยวข้องจากการ
ค้ามนุษย์ ก็จะควบคุมเพื่อดำเนินคดี
๑.๑.๔ การตรวจสอบและการรวบรวมพยานบุคคล พยาน
เอกสาร พยานวัตถุ ในความผิดฐานค้ามนุษย์ การเก็บรวบรวมพยานหลัก
ฐานทางคดี ต้องเป็ นพยานหลักฐานที่มี่คุณค่าทางคดี หรือ เป็ นพยานหลัก
ฐานที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๒๒๖ กล่าวคือ ต้องเป็ นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยเป็ นซึ่ง
พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่า จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิด

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


หรือบริสุทธิ ์ ให้อ้างเป็ นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็ นพยานชนิดที่มิได้เกิด
ขึน
้ จากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขูเ่ ข็ญ
หลอกลวงหรือโดยมิชอบด้วยประการใดๆ ซึ่งแนวทางการปฏิบัติโดยหลัก
หากพบเจ้าของหรือผู้ควบคุมดูแลต้องแจ้งและแสดงให้เขาทราบถึงอำนาจ
หน้าที่ของผู้ทำการตรวจค้น และให้เขานำการตรวจค้น พิจารณาคัดเลือก
สิ่งของที่เป็ นหรืออาจเป็ นพยานหลักฐาน โดยการจัดทำบัญชีสิ่งของที่ตรวจ
ยึด
๑.๑.๕ การจัดทำบันทึกการตรวจค้นกรณีการตรวจค้นโดยขอ
อำนาจศาลหรือการใช้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ แนวทางการจัดทำบันทึกมี
๒ แบบคือ การตรวจค้นโดยใช้หมายค้นของศาล และการตรวจค้นตาม
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ไม่มีหมายฯ) ซึง่ เมื่อหลังเสร็จสิน
้ การ
ตรวจค้นจะต้องรายงานผลการตรวจค้นต่อศาลในเขตอำนาจทุกครัง้ หาก
เป็ นการตรวจค้นตามหมายค้นของศาล แนวทางการรายงานเป็ นไปตาม
ป.วิ อาญา หากเป็ นการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็ น
หัวหน้าต้องส่งสำเนารายงานเหตุผล และผลการตรวจค้น พร้อมบัญชีพยาน
หลักฐาน หรือบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตกเป็ นผู้เสียหายค้ามนุษย์ และบัญชี
ทรัพย์ที่ยึดไว้ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง หลังสิน
้ สุดการตรวจ
ค้น
๑.๒ กรณี ผู้เสียหายหลบหนีได้หรือญาติหรือมีผู้พาผู้เสียหายมาร้อง
ทุกข์ พนักงานสอบสวน โดยหลักการปฏิบัติแล้ว กรณีดังกล่าวพนักงาน
สอบสวนไม่จำเป็ นจะต้องจัดให้มี การสัมภาษณ์เบื้องต้นสำหรับการคัดแยกผู้
เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพราะกฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวน
กำหนดให้ผู้เสียหายที่มาร้องทุกข์ ว่าเป็ นผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์ หรือเป็ นผู้
เสียหายคดีอาญาฐานอื่นๆ แต่ถ้าหากเป็ นผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์ พนักงาน
สอบสวนชอบที่จะบันทึกรายละเอียดลงในแบบสัมภาษณ์เบื้องต้นสำหรับ

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


การคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อประกอบเป็ นหลักฐานการ
คุ้มครองผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์ตามกฎหมาย ต่อไป
๑.๓ กรณี มีการช่วยเหลือคนไทยผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในต่าง
ประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่มักจะทราบเหตุโดยตรงจากผู้เสียหาย
ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยเพื่อแจ้งเหตุ หรือผูเ้ สีย
หายติดต่อกลับมายังญาติในประเทศไทยเพื่อแจ้งเหตุกับเจ้าหน้า หรือเจ้า
หน้าที่ประจำสถานกงสุลหรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศที่เกิดเหตุ
ให้การช่วยเหลือผู้เสียหาย ซึ่งสองกรณีข้างต้น เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งเหตุควรให้
ผู้เสียหายส่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่เกิดเหตุ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลทัง้ เป็ นผู้
เสียหายด้วยกัน และบุคคลทำหน้าที่ควบคุมหรือแสวงหาประโยชน์จากตน
จากนัน
้ ให้ส่งข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้เสียหายดังกล่าว ไปยังกองคุ้มครอง
และดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการ
ต่างประเทศ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ต่อไป
๑.๔ การสัมภาษณ์เบื้องต้นสำหรับการคัดแยกผูเ้ สียหายจากการค้า
มนุษย์ เป็ นการคัดแยกว่าบุคคลใดเป็ นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยหลัก
แล้ว เป็ นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตามกฎหมาย ว่าด้วยการ
ป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ชข
ี ้ าดหรือยืนยันว่าผู้ให้สัมภาษณ์คน
ใด คือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ส่วนทีมสหวิชาชีพมีหน้าที่ช่วยพนักงาน
สอบสวน สัมภาษณ์เพื่อคัดแยกผู้เสียหายเบื้องต้น กรณีผลการสัมภาษณ์
เบื้องต้นมีความเห็นไม่ตรงกัน ให้พนักงานสอบสวนเป็ นผู้ตัดสินชีข
้ าดหรือ
วินิจฉัยเป็ นข้อยุติ จากนัน
้ ก็เข้าสู่การปฏิบัติต่อผู้ถูกสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี ้
๑.๔.๑ กรณีเป็ นบุคคลที่ไม่ใช่เป็ นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ให้
พนักงานสอบสวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทัง้ นี ้ ขึน
้ อยู่กับกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง เช่น การส่งต่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่สงเคราะห์แทนการดำเนินคดี
ส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรณีเป็ นคนต่างด้าว หรือคุ้มครองโดยเด็ด
ขาดกรณีเป็ นเด็กหรือบุคคลอายุไม่เกิน ๑๘ ปี

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


๑.๔.๒ กรณีเป็ นบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็ นผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการ
คุ้มครองชั่วคราวในสถานที่ที่เหมาะสมที่ไม่ใช่ที่คุมขัง ตามพระราชบัญญัติ
ป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๒๙
๑.๔.๓ กรณีเป็ นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ให ้สง่ ตัวผู ้เสย
ี หาย
พร ้อมแบบสม ั ภาษณ์เบือ
้ งต ้นให ้พนักงานสอบสวน เพือ ่ ดำเนินการ รับคำ
ร ้องทุกข์และสอบปากคำแล ้วสง่ ต่อให ้หน่วยงานสงั กัดกระทรวงการพัฒนา
สงั คมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเนินการตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราช
บัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑

๒. ขัน
้ ตอนที่ ๒ : การสอบปากคำผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำแนกได้ ๔
ลักษณะเฉพาะ และ ๒ ลักษณะบังคับ ดังนี ้
๒.๑ การสอบสวนผู้เสียหายที่ตกเป็ นเหยื่อการค้ามนุษย์เหตุเกิดในไทย
แห่งเดียว หลักการคือการถือหลักเจตนาเป็ นสำคัญ วิธีการปฏิบัติการสอบ
ปากคำบุคคลดังกล่าว มีแนวทาง ๓ หลักการ ได้แก่
๒.๒.๑ การสัมภาษณ์ (Interview) : การสอบถามบุคคลสมัครใจ
หรือเต็มใจแท้จริง
๒.๒.๒ การซักถาม (Interrogation) : การสอบถามบุคคลย้ำคิด
ย้ำทำ
๒.๒.๓ การสอบสวน (Inquiry) : การสอบถามบุคคลผู้เห็น
เหตุการณ์สำคัญ หรือมีข้อมูลทางคดีจำนวนมาก
๒.๒.๔ การลำดับเหตุการณ์ (๕W ๑H) : Who, What, When,
How, Where, why + ห้วงเวลา ก่อนเกิดเหตุ, ขณะเกิดเหตุ, หลังเกิดเหตุ
๒.๒ การสอบสวนคนไทยที่ถูกนำพาเดินทางไปตกเป็ นเหยื่อการ
ค้ามนุษย์ในต่างประเทศ (ประเทศไทยเป็ นต้นทาง) แนวทางการสอบสวนใช้
หลักการเดียวกับ การสอบสวนผู้เสียหายในข้อที่ ๒.๑ โดยให้เน้นคำถามใน
สาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี ้ ผู้เสียหายถูกบังคับขู่เข็ญหรือถูกหลอกลวงให้ไป
ยังประเทศใด ด้วยวิธีการใด ช่องทางใด ผู้ใดเป็ นผู้กระทำ เกิดขึน
้ ที่ไหน

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


อย่างไร การเดินทางจากประเทศไทยเพื่อไปยังประเทศนัน
้ ถูกต้องตาม
กฎหมายหรือลักลอบเข้าเมือง ช่องทางใด ผู้เสียหายต้องจ่ายเงินล่วงหน้า
เท่าใด และถูกชักชวนอย่างไร รู้จักหรือติดต่อกับผู้ต้องหาด้วยวิธีการใด และ
ผู้เสียหายสมัครใจตามคำติดต่อชักชวนหรือไม่ อย่างไร อธิบายถึงวิธีการ
ติดต่อ เช่น มีการติดต่อโดยตรง ผ่านการโฆษณาจากสื่อใด มีนายหน้าติดต่อ
หรือใช้อีเมล์ ใช้โทรศัพท์ หากผู้เสียหายให้การว่าถูกบังคับขูเ่ ข็ญและหลอก
ลวงไปทำงาน ขอทราบว่าลักษณะการทำงานเป็ นอย่างไร เป็ นไปตามที่มีการ
ชักชวนไว้หรือไม่ ได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ อย่างไร (ถูกบังคับและหลวงลวง
ให้ไปทำงาน การทำงาน เริ่มทำงานตัง้ แต่เมื่อใด อย่างไร สภาพห้องพักเป็ น
อย่างไร ได้พักวันละกี่ชั่วโมง ได้ค่าตอบแทนในการทำงานเท่าใด จ่ายเงิน
อย่างไร สามารถเดินทางออกไปภายนอกได้สะดวกหรือไม่ ผู้ใดเป็ นผู้เก็บ
รักษาหนังสือเดินทาง) เป็ นต้น
๒.๓ การสอบสวนผู้เสียหายเป็ นคนต่างด้าวถูกพามาเป็ นเหยื่อ
การค้ามนุษย์ในประเทศไทย (ประเทศไทยปลายทาง) แนวทางการสอบสวน
ใช้หลักการเดียวกับ การสอบสวนผู้เสียหายในข้อที่ ๒.๑ โดยให้เน้นคำถาม
ในสาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี ้ ผู้เสียหายเข้ามายังประเทศไทย โดยช่องทางใด
ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร วันเวลาใด (เข้ามาช่องทางด่านตรวจ
คนเข้าเมืองใด ใช้หลักฐานใดเป็ นเอกสารในการผ่านด่าน หรือกรณีไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย เข้ามาทางใด ใช้วิธีการอย่างไร ยานพาหนะ เช่น รถยนต์ เรือ)
เอกสารที่ท่านใช้ในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ท่านได้เอกสารดัง
กล่าวมาอย่างไร (ใครหรือหน่วยงานใดจัดทำเอกสารสำหรับการ
เดินทางในครัง้ นีใ้ ห้กับท่าน ท่านติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง หรือมี
ผู้รับไปดำเนินการหรือพาท่านไปรับบริการจัดทำเอกสารดังกล่าว) การเดิน
ทางเข้ามายังประเทศไทยครัง้ นี ้ มีใครเดินทางมาพร้อมกับท่านบ้าง ใครเป็ นผู้
เก็บเอกสารสำหรับการเดินทางของท่านหรือคนอื่นๆ ไว้ ท่านสามารถใช้
เอกสารดังกล่าวดังสะดวกหรือมีอิสระในการใช้หรือไม่ อย่างไร (เดินทางมา

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


พร้อมกับใครบ้าง และมีนาย/นาง เป็ นผู้นำพา และเป็ นผู้จัดการเกี่ยวกับการ
ผ่านด่านเข้ามาในประเทศไทย) ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยกับใคร
สถานที่ที่ท่านพักเป็ นสถานที่แห่งเดียวกับสถานที่ท่านทำงานหรือไม่ สภาพ
แวดล้อมเป็ นอย่างไร (ชื่อผู้เสียหายที่พักอาศัยอยู่ด้วย อธิบายสภาพแวดล้อม
ภายในที่อาศัย ที่ถูกกักขัง ที่พักและที่ทำงาน หากทีพ
่ ักกับที่ทำงานคนละ
แห่ง เหยื่อเดินทางไปทำงานอย่างไร ใครเป็ นผู้ควบคุมการเดินทาง หรือ
ควบคุมระหว่างการทำงาน)ระหว่างที่ท่านทำงาน ผู้เสียหายถูกบังคับให้
ทำงานหรือไม่ มีใครทำงานเช่นเดียวกันกับผู้เสียหายบ้าง และผู้เสียหาย
ทราบว่าผู้เสียหายคนอื่นถูกบังคับให้ทำงานหรือไม่ หรือท่านถูกล่วงละเมิด
ทางเพศหรือไม่ (หากมีคนอื่นร่วมเป็ นเหยื่อด้วย ชื่อ เชื้อชาติ ตำหนิรูปพรรณ
เป็ นอย่างไร พูดคุยกันถึงเรื่องการถูกบังคับให้ทำงาน หรือเคยถูกทำร้าย
ร่างกายอะไรบ้าง ถูกข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายบุคคลในครอบครัวหรือไม่
หากกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศให้ส่งตัวให้แพทย์ตรวจร่างกายเพื่อใช้เป็ น
หลักฐาน ทัง้ นี ้ เพื่อประโยชน์ในการขยายผลช่วยเหลือเหยื่อคนอื่น ) ขณะที่ผู้
เสียหายทำงาน ผู้เสียหายใช้การสื่อสารกับบุคคลอื่นด้วยภาษาใด หรือต้องใช้
ล่าม ท่านใช้บุคคลใดในการสนทนาผ่านไปยังบุคคลอื่น ผู้เสียหายได้รับค่า
ตอบแทนหรือไม่ อย่างไร จ่ายค่าจ้างด้วยวิธีใด ได้รับจากผู้ใด (ค่าตอบแทน
เช่น ต่อวัน ต่อเดือน ปริมาณงาน ถูกหักรายได้หรือต้องจ่ายหนีอ
้ ย่างไร
จำนวนที่ถูกหักไป จ่ายจริงเท่าใด เหยื่อได้รับเงินสดหรือชำระผ่านบัญชีเงิน
ฝากธนาคารใด ชื่อเจ้าของบัญชี เหยื่อได้จัดทำบันทึกไว้หรือไม่ หากมีนำมา
เป็ นหลักฐาน ได้รับเงินจากผู้ใด เช่น นายจ้าง เจ้าของกิจการ หรือ หัวหน้า
คนงาน ) ระหว่างถูกบังคับให้การทำงาน ผู้เสียหายพยายามหลบหนี หรือ
เคยหลบหนีด้วยวิธีใด หลบหนีด้วยตนเองหรือมีคนช่วยเหลือ ผลการหลบ
หนีเป็ นอย่างไร เป็ นต้น
๒.๔ การสอบสวนคนต่างด้าวถูกพาผ่านประเทศไทยเพื่อไปเป็ นเหยื่อ
การค้ามนุษย์ยังต่างประเทศ (ประเทศไทยทางผ่าน) แนวทางการสอบสวนใช้

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


หลักการเดียวกับ การสอบสวนผู้เสียหายในข้อที่ ๒.๑ โดยให้เน้นคำถามใน
สาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี ้ ผู้เสียหายเข้ามายังประเทศไทย โดยช่องทางใด ถูก
ต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร วันเวลาใด (เข้ามาช่องทางด่านตรวจคน
เข้าเมืองใด ใช้หลักฐานใดเป็ นเอกสารในการผ่านด่าน หรือกรณีไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมาย เข้ามาทางใด ใช้วิธีการอย่างไร ยานพาหนะ เช่น รถยนต์ เรือ)
เอกสารที่ผู้เสียหายใช้ในการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ท่านได้เอกสารดัง
กล่าวมาอย่างไร (ใครหรือหน่วยงานใดจัดทำเอกสารสำหรับการเดินทางใน
ครัง้ นีใ้ ห้กับผู้เสียหายติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง หรือมีผู้รับไปดำเนิน
การหรือพาผู้เสียหายไปรับบริการจัดทำเอกสารดังกล่าว) ผู้เสียหายทราบมา
ก่อนหรือไม่ว่าจะต้องเข้ามาพักในประเทศไทยนานเท่าใด และจะออกเดิน
ทางไปประเทศปลายทางเมื่อใด วิธีการใด (ยานพาหนะ) และไปกับใคร การ
เดินทางเข้ามายังประเทศไทยครัง้ นี ้ มีใครเดินทางมาพร้อมกับผู้เสียหายบ้าง
ใครเป็ นผู้เก็บเอกสารสำหรับการเดินทางของท่านหรือคนอื่นๆ ไว้ ระหว่างที่
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้เสียหายพักอยู่สถานที่ใด กับใคร ถูก
กักขังหรือถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่ อย่างไร (หากถูกกักขัง สภาพสถานที่
เป็ นอย่างไร หากถูกทำร้ายร่างกายเพราะสาเหตุใด หรือถูกละเมิดทางเพศ
หรือไม่) เป็ นต้น
๒.๕ การสอบสวนคดีอาญาหลักโดยเน้นความสมบูรณ์ของพยานหลัก
ฐานในคดีอาญาหลัก เพราะคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ มีที่มาจากการกระ
ทำความผิดทางอาญาฐานอื่นก่อนเสมอ เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ความผิดเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ความผิดเกี่ยวกับการนำคนมาขอทาน
เป็ นต้น ทัง้ นี ้ หากมีการรวบรวมพยานหลักฐานของคดีอาญาหลักได้อย่าง
ครบถ้วนสมบูรณ์ จะเป็ นการส่งต่อข้อมูลไปยังคดีค้ามนุษย์ได้อย่าง
ครอบคลุม นัน
้ เอง
๒.๖ การสอบสวนโดยการรวบรวมพยานหลักฐานเชื่อมโยง โดยการ
อาศัยคดีอาญาหลักเป็ นที่ตงั ้ จากนัน
้ ให้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


เชื่อมโยง เน้นพยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ หลักฐานทางการสื่อสารดิจิทัล
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ และเส้นทางการเงิน เป็ นต้น

๓. ขัน
้ ตอนการรายงานเหตุ : การรายงานเหตุเมื่อมีเหตุการณ์ค้ามนุษย์เกิด
ขึน
้ เป็ นเรื่องสำคัญ เพราะการทำงานเกี่ยวกับการป้ องกันและปราบปราม
การค้ามนุษย์ มีการทำงานแบบบูรณาการสมควรที่ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ
ชัน
้ ทุกหน่วยงานจะต้องรับรู้เหตุการณ์ เพื่อประโยชน์ในการช่วยเหลือ และ
เร่งรัดติดตามผลการดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางการ
ปฏิบัติจึงต้องมีการรายงานโดยเร่งด่วนหรือภายใน ๒๔ ชั่วโมง พร้อมเหตุผล
ความต้องการคุ้มครองชั่วคราวตาม ม.๒๙ (ถ้ามี) ตามระเบียบการตำรวจ
เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ ๑๘ บทที่ ๑ ซึ่งหากมีผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็ นชาว
ต่างชาติให้แจ้งตำรวจกองการต่างประเทศ (ตท.) และ/หรือ สตม. รายงาน
ออนไลน์ ระบบ E-AHT, CRIMES, CMIS, แจ้ง ปปง. ตามความผิดมูลฐาน
ตามกฎหมายฟอกเงิน, การรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวนภายใน ๔๘
ชั่วโมงสำหรับการตัง้ คณะทำงานสืบทรัพย์ผู้ต้องหา เป็ นต้น

๔. ขัน
้ ตอนการดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงิน : คดีความผิดฐานค้ามนุษย์
เป็ นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้ องกันและปราบ
ปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓ (๒) แกไขเพิ่มเติมโดยพระราช
บัญญัติ ปองกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ดัง
นัน
้ เมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์คดีค้ามนุษย์ จะต้องแจ้งข้อมูลให้
ปรากฏข้อเท็จจริงทางคดีไปยัง สำนักงานป้ องกันและปราบปรามการฟอก
เงิน ตามแบบรายงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสาน
งานในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ ๔ หากคดีดังกล่าวปรากฏมีข้าราชการเข้าไป
เกี่ยวข้องด้วย ให้รายงานสำนักงานป้ องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผ่าน
กองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (บก.ป
ปป.) ตามแบบรายงานท้ายระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


แนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้ องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ ๖ จากนัน
้ พนักงานสอบสวน
ต้องรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวน ภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพื่อตัง้ คณะ
ทำงานเจ้าหน้าที่สืบสวนหามูลความผิดฐานฟอกเงิน ต่อไป

๕. ขัน
้ ตอนการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย : ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ถือ
เป็ นพยานหลักฐานสำคัญยิ่งในคดี เพราะผู้เสียหายเป็ นทัง้ ประจักษ์พยาน
และเป็ นผู้เสียหายโดยตรงตามกฎหมาย จึงได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือเพื่อ
ให้การดำเนินกระบวนการสอบสวนเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสียหาย
จากการค้ามนุษย์จึงได้รับสิทธิ ดังนี ้
๕.๑ สิทธิการได้รับยกเว้นจากการถูกดำเนินคดีบางข้อหา เช่น ความ
ผิดฐานเข้ามา ออกไปหรืออยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม
กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง การแจ้งความเท็จจริงต่อเจ้าพนักงาน การ
ปลอมหรือใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิด
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้ องกันและปราบปรามการค้าประเวณีเฉพาะที่
เกี่ยวกับการ ติดต่อ ชักชวน แนะนำตัว ติดตามหรือรบเร้าบุคคลเพื่อค้า
ประเวณี
และการเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณีเพื่อค้าประเวณี ความผิดฐาน
เป็ นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทำงาน
ของคนต่างด้าว เป็ นต้น
๕.๒ สิทธิได้รับการคุ้มครองความปลอดภัย : ซึ่งมีการกำหนดกลุ่มผู้
เสียหายจากการค้ามนุษย์อย่างน้อง
๓ กลุ่ม
๕.๒.๑ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งเป็ นบุคคลอายุไม่เกิน ๑๘
ปี (เป็ นเด็ก) ทุกคน ทุกเชื้อชาติ จะได้ได้รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองใน
สังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


๕.๒.๒ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งเป็ นคนต่างด้าวอายุ ๑๘ ปี ขึน
้ ได้ จะได้
รับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองและฝึ กอาชีพในสังกัด กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๕.๒.๓ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ซึ่งเป็ นคนไทยอายุ ๑๘ ปี ขึน

ได้ หากไม่สมัครใจเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองและฝึ กอาชีพในสังกัด
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาจะได้รับการ
คุ้มครองความปลอดภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพยาน พ.ศ.๒๕๔๘ และระเบียบ
คำสั่งที่เกี่ยวข้อง ทัง้ นี ้ การคุ้มครองพยานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
คดีค้ามนุษย์ มีการใช้วิธีการ และมาตรการตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้

๕.๓ สิทธิได้รับช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมาย : ในห้วงเวลาที่ผู้เสีย


หายถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ย่อมได้รับสิทธิในการช่วยเหลือเยียวยา
ตามกฎหมาย ดังนี ้
๕.๓.๑ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๙
เช่น ความเสียหายต่อชีวิต : ค่ารักษาพยาบาลค่าขาดประโยชน์ ค่าขาด
แรงงาน ค่าปลงศพ ค่าขาดการอุปการะ ค่าขาดการเลีย
้ งดู, ความเสียหาย
ต่อร่างกาย อนามัย : พิการจนติดตัวไม่สามารถประกอบการงานได้, ความ
เสียหายต่อทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป : ผู้เสียหายค้ามนุษย์โดยส่วน
ใหญ่จะถูกหลอกลวงและนาพามาในการเดินทางจึงจาเป็ นต้องไปกู้หนีย
้ ืมสิน
มา ซึง่ หากไม่มีการหลอกลวงก็จะไม่ต้องกู้เงินจานวนนัน
้ มาเป็ นค่าเดินทาง,
ต่อเสรีภาพ : ต้องถูกบังคับให้ทางานไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ขาด
เสรีภาพ, ต่อชื่อเสียง : ถูกดูหมิ่น ถูกนินทา ถูกประจาน จนทำให้ถูก
เกลียดชัง ถูกสังคมรังเกียจ, ค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน : ทุกข์ทรมานจิตใจ
สูญเสียพรหมจรรย์
๕.๓.๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ การดำเนิน
การให้ความช่วยเหลือแก่ลก
ู จ้างผู้ตกเป็ นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้าน

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


แรงงาน ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิในการยื่นคำร้องเพื่อเรียกร้องสิทธิให้ได้รับ
เงินตามกฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็ นต้นการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ผู้เสียหาย
สามารถติดต่อขอคำปรึกษาหรือยื่นคำร้องกับพนักงานตรวจแรงงานของกรม
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสถานคุ้มครองฯประสานงานให้
พนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ ไปรับคำร้องที่สถานคุ้มครองฯ
๕.๔ การประชุมเรียกร้องสินไหมทดแทน : มีแนวทางดำเนินการ ดังนี ้
๕.๔.๑ ทีมสหวิชาชีพในการประชุมเรียกร้องสินไหมทดแทน
อย่างน้อยประกอบด้วย ผู้เสียหาย บุคคลที่ผู้เสียหายเห็นสมควร พนักงาน
อัยการ พนักงานสอบสวน นักสังคมสงเคราะห์ ล่ามแปลภาษา
๕.๔.๒ การดำเนินการเมื่อการประชุมเรียกร้องสินไหมทดแทน
เสร็จสิน
้ ในส่วนกลางหรือกรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์โดย ปลัดกระทรวงฯ แจ้งต่อพนักงาน
อัยการเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมฯ ต่อศาลในคดีค้ามนุษย์ ต่างจังหวัด ผู้ว่า
ราชการจังหวัด ซึ่งเสนอเรื่องโดยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
จังหวัด แจ้งต่อพนักงานอัยการเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมฯ ต่อศาลในเขต
อำนาจ
๕.๔.๓ พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนรวมในคดี
อาญา ก่อนศาลชัน
้ ต้น มีคำพิพากษา เมื่อศาลพิพากษาตามคำร้อง ให้ให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ช่วยเหลือผู้เสียหายในการบังคับคดี
๖. ขัน
้ ตอนการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๐ : เมื่อมีการสอบปากคำผู้เสียหายและตรวจพยานหลักฐานเบื้อง
ต้นแล้วทราบว่า เป็ นคดีค้ามนุษย์ที่เป็ นความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้
กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย หรือมีเหตุการณ์ส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึน
้ ใน

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ราชอาณาจักร ต่อเนื่องไปถึงนอกราชอาณาจักร ให้รีบทำหนังสือแจ้งอัยการ
สูงสุดเพื่อมอบหมายให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี ้
๖.๑ การค้ามนุษย์ข้ามชาติซึ่งมีองค์ประกอบอย่างน้อย คือ มีนาย
หน้าที่ประเทศต้นทาง มีนายหน้าประเทศปลายทางหรือประเทศทางผ่าน มี
ผู้จัดการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง มีผู้นำพาผู้เสียหายเดินทาง มีผู้รับผูเ้ สีย
หายเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบในประเทศปลายทาง ทัง้ หมดนีเ้ รียกกัน
ว่า ขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
๖.๒ เจตนารมณ์ของกฎหมายแห่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบ
ปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๖ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๑ สื่อให้
เห็นว่าการค้ามนุษย์เป็ นการกระทำความผิดกฎหมายสากล แม้จะเป็ น
เหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ นอกราชอาณาจักรไทย หรือมีเหตุการณ์ส่วนหนึ่งส่วนใด
เกิดขึน
้ ในราชอาณาจักร ต่อเนื่องไปถึงนอกราชอาณาจักร กฎหมายฉบับนีม
้ ี
อำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดได้
๖.๓ อำนาจการสอบสวนคดีตามข้อ ๖.๒ คืออำนาจของอัยการสูงสุด
ซึง่ เป็ นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ และนอกเหนือจะทำการสืบสวน
สอบสวนภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ยังสามารถ
ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ
มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ควบคู่กันไปได้อีกด้วย

๗. ขัน
้ ตอนการสืบพยานก่อนฟ้ อง : กรณีที่มีเหตุจำเป็ นเพื่อประโยชน์ในการ
ป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น เป็ นคดีที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล
และมีแนวโน้มว่าผู้เสียหายจะกลับคำให้การ เป็ นต้น พนักงานอัยการโดย
ตนเองหรือโดยได้รับคำร้องขอจากพนักงานสอบสวนจะนำผู้เสียหายหรือ
พยานบุคคลมายื่นคำร้องต่อศาล โดยระบุการกระทำทัง้ หลายที่อ้างว่าได้มี
การกระทำความผิดและเหตุแห่งความจำเป็ นที่จะต้องมีการสืบพยานไว้โดย
พลันก็ได้ ซึ่งก่อนที่จะทำการสืบพยานล่วงหน้า ควรมีการหารือร่วมกันว่า
การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานได้ข้อเท็จจริงสมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


เพียงใด และการสืบพยานล่วงหน้าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินคดีกับ
บุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพียงใด การสืบพยานล่วงหน้าไม่ได้จำกัดว่าผู้เสีย
หายต้องเป็ นชาวต่างชาติเท่านัน
้ แม้ผู้เสียหายเป็ นคนไทยก็สามารถขอให้
ทำการสืบพยานล่วงหน้าได้

๘. ขัน
้ ตอนการสอบสวนผู้ต้องหา : สิทธิสำหรับผู้ต้องหา เป็ นสิทธิตามหลัก
สากล และมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย การปฏิบัติต่อผู้
ต้องหาในคดีค้ามนุษย์ควรดำเนินการ ดังนัน
้ การแจ้งสิทธิให้แก่ผู้ต้องหา
ทราบก่อนเริ่มสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๗/๑, ๑๓๔, ๑๓๔/๑, ๑๓๔/๓, ๑๓๔/๔ ถือว่าเป็ นการสร้างความ
เชื่อมั่นให้กับผู้ต้องหา ในการดำเนินการสอบสวนอย่างโปร่งใสและยุติธรรม
หากผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตัง้ แต่เริ่มต้น ควรให้แจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหา
ทราบตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๙
มาตรา ๒๕ สาระสำคัญว่า “ในชัน
้ พิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตาม
ฟ้ อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้” ทัง้ นีเ้ ว้นแต่ตาม
จำเลยรับสารภาพนัน
้ กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตลอดชีวิต
หรือโทษสถานที่หนักกว่านัน
้ เพราะศาลอาจต้องฟั งพยานหลักฐานโจทก์
จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดนัน
้ จริง

๙. ขัน
้ ตอนการจัดให้มีการชีต
้ ัวผู้ต้องหา : โดยหลักแล้ว การจัดให้มีการชีต
้ ัว
ผู้ต้องหานัน
้ เป็ นเรื่องจำเป็ นเพราะเป็ นหลักประกันว่า ผู้ถูกจับกุมคือผู้
ต้องหาตัวจริงและเป็ นไปตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๘
บทที่ ๘ ทัง้ นีผ
้ ู้ต้องหาจะต้องยินยอมทุกครัง้ หากผู้ต้องหาไม่ยินยอม ก็จะ
ไม่มีการจัดให้ผู้กล่าวหาหรือพยานชีต
้ ัวผู้ต้องหา แต่อาจจะจัดให้มีการชี ้
ภาพถ่ายผู้ต้องหาแทน ซึง่ การจัดให้มีการชีต
้ ัวผู้ต้องหา เริ่มต้นจากการจัดทำ
บันทึกการรับทราบการดำเนินการจัดการให้มีการชีต
้ ัวผู้ต้องหา ซึ่งเปรียบ
เสมือนการยินยอมของผู้ต้องหา ต่อด้วยการจัดทำบันทึกผลการชีต
้ ัวผู้ต้องหา
ส่วนการจัดให้มีการชีภ
้ าพผู้ต้องหา ไม่จำเป็ นต้องรับความยินยอมจากผู้

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ต้องหา เพราะเป็ นอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓๑ และให้จัดทำบันทึกผลการชีภ
้ าพถ่ายผู้ต้องหานัน
้ ไว้

๑๐. ขัน
้ ตอนดำเนินการหลังการสอบสวนผู้ต้องหา : ผู้กระทำความผิดฐาน
ค้ามนุษย์ อาจมีผู้ร่วมขบวนการหลายคน มีทงั ้ เด็กหรือผู้ใหญ่ มีทงั ้ ผู้ถูกศาล
ออกหมายจับและยังไม่มีหมายจับ แนวทางการปฏิบัติกับผู้ต้องหาควรมี
ดังนี ้
๑๐.๑ กรณี ผู้ต้องหาเป็ นบุคคลอายุตงั ้ แต่ ๑๐ ปี แต่ไม่เกิน ๑๘ ปี
เป็ นผู้ต้องหา ขัน
้ ตอนการปฏิบัติแตกต่างจากผู้ใหญ่เป็ นผู้ต้องหา เพราะต้อง
เป็ นการดำเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัวฯ ซึง่ มีการดำเนินการโดย
ละเอียดตามกฎหมายกำหนด เริ่มตัง้ แต่เริ่มตรวจสอบการจับกุมเป็ นต้นไป
๑๐.๒ กรณี บุคคลอายุ ๑๘ ปี ขึน
้ ไปเป็ นผู้ต้องหา ขัน
้ ตอนการปฏิบัติ
เป็ นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบหรือคำสัง่
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ พนักงาน
สอบสวนจะต้องคัดค้านการประกันตัวในระหว่างการฝากขังผู้ต้องหาต่อศาล
ทุกครัง้
๑๐.๓ กรณี เมื่อมีการแจ้งข้อหาแต่ผู้ต้องหาที่ไม่ใช่ผู้ถก
ู จับ อายุ ๑๘ ปี
ขึน
้ ไปและยังไม่มีการออกหมายจับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา ๑๓๔ แต่มีเหตุที่ออกหมายขังได้ตามกฎหมายดังกล่าว มาตรา
๗๑ พนักงานสอบสวนต้องสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง
ทันที

๑๑. ขัน
้ ตอนดำเนินการกับผู้ต้องหาชาวต่างชาติ : กรณี มีชาวต่างชาติตก
เป็ นผู้เสียหายในคดีการค้ามนุษย์ ต้องแจ้งเหตุดงั กล่าวไปยัง ตำรวจกองการ
ต่างประเทศ (ตท.) เพื่อการประสานงานกับสถานกงสุลหรือสถานทูตสัญชาติ
ของผู้ต้องหา และแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เมื่อพิจารณา
ดำเนินการเตรียมยกเลิกให้อยู่ในราชราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
พ.ศ.๒๕๒๒ ทัง้ นี ้ ให้แนบเอกสารหลักฐานประจำตัวของผู้ต้องหา เช่น

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (ถ้ามี) ส่งไปพร้อมหนังสือ
ข้างต้นด้วย

๑๒. ขัน
้ ตอนการกันผู้ต้องหาไว้เป็ นพยาน : บางคดีผู้ต้องหาที่สมคบคิดกับ
ตัวการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ไม่ใช่ตัวการสำคัญและสมควรที่จะเป็ น
พยานเพื่อประโยชน์ต่อการขยายผลจับกุมตัวการสำคัญ หรือเพื่อการยึด
ทรัพย์ผู้ต้องหาตามกฎหมายฟอกเงิน ดังนัน
้ การกันผู้ต้องหาเป็ นพยานให้
เป็ นไปตามระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๘ บทที่ ๗ : หากมีผู้
เข้าข่ายร่วมกระทำความผิดเป็ นเด็ก อาจจะไม่แจ้งข้อกล่าวหาตัง้ แต่เริ่มการ
สอบสวนซึง่ ต้องมีการพิจารณาตามความเหมาะตามรูปคดี และพระราช
บัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ เป็ นสำคัญ

๑๓. ขัน
้ ตอนการแจ้งความคืบหน้าทางคดี : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็ น
องค์กรต้นทางของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ จึงต้องมี
การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแจ้งผลความคืบหน้าการสอบสวนคดีอาญา
แก่ผู้แจ้งความร้องทุกข์ ทัง้ นี ้ คดีค้ามนุษย์ มักจะเป็ นคดีที่คนสนใจ จึงมีผู้อ้าง
ว่าเป็ นองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ โทรศัพท์หรือติดต่อสอบถามเหตุการณ์
หรือถามความคืบหน้าทางคดี การให้ผู้ติดต่อไปสอบถามผู้ร้องทุกข์เอง เว้น
แต่บค
ุ คลผู้สอบถามได้รับมอบหมายจากผู้เสียหาย ซึง่ จะเป็ นวิธีที่เหมาะสม
ตามกฎหมายกำหนด

๑๔. ขัน
้ ตอนการสรุปสำนวนการสอบสวน : เนื่องจากการพิจารณาคดีค้า
มนุษย์ เป็ นระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความคดีค้ามนุษย์
พ.ศ.๒๕๕๙ ซึ่งศาลได้ยึดถือสาระสำคัญตามรายงานการสอบสวนของ
พนักงานสอบสวนเป็ นสำคัญ ดังนัน
้ การจัดทำแตกต่างจากการสรุปสำนวน
การสอบสวนคดีอาญาทั่วไป ดังนี ้ ๑๔.๑ รายงานการสอบสวนตอนท้าย
เรื่อง หลักฐานทางคดีและความเห็นของพนักงานสอบสวน จะมีรูปแบบ
เป็ นการระบุสาระสำคัญเป็ นขัน
้ ตอน ดังนี ้
รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์
๑) ขัน
้ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยสรุป
เหตุการณ์ย่อ ๓ ห้วงเวลา ก่อน ขณะ หลังเกิดเหตุ และชีใ้ ห้เห็น เจตนาพิเศษ
เพื่อจะแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตัง้ แต่ก่อนลงมือกระทำ

๒) ขัน
้ ตอนที่ ๒ อ้างหลักกฎหมายสากลหรือมาตรการ แผนหรือ
ยุทธศาสตร์ : เนื่องจาก พ.ร.บ.ป้ องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๑ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีที่มาจากกฎหมายระหว่างประเทศ เน้นผู้
เสียหาย
๓) ขัน
้ ตอนที่ ๓ ปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมาย : บรรยายสรุป
เหตุการณ์ในคดี ๓ ห้วงเวลา ก่อน ขณะ หลังเกิดเหตุ บวกห้วงเวลาย่อยและ
ช่วง แล้วปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย เน้นกฎหมายสำคัญ
๔) ขัน
้ ตอนที่ ๔ อธิบายพฤติการณ์และความเชื่อมโยงของผู้กระทำ
ความผิด : ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตงั ้ แต่ ๒ คน ขึน
้ ไปทุกคนผิดฐาน
สมคบเป็ นหนึง่ กระทง จึงต้องอธิบายให้เห็นการรู้วัตถุประสงค์ซงึ่ กันและกัน
๕) ขัน
้ ตอนที่ ๕ ยกข้อกฎหมายประกอบและมีความเห็นทางคดี : การ
ค้ามนุษย์เป็ นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้อ้างตัวบท
กฎหมายให้ครบถ้วน พร้อมมีความเห็นทางคดี
๑๔.๒ การเรียงเอกสารในสำนวนการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ ซึ่งมีวิธีการ
และแนวทางที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ตร.ที่ ๔๑๙/๒๕๕๖ เรื่อง การอำนวย
ความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการ
ควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา มีกำหนด ๒ แบบ ดังนี ้
๑) แบบแยกส่วน เป็ นการจัดกลุ่มพยานเป็ นหมวดหมู่ ง่ายต่อการ
พิจารณาทัง้ ในชัน
้ สั่งคดีของผู้บังคับบัญชา การพิจารณาคดีในชัน
้ อัยการ
และชัน
้ ศาล อันสอดคล้องกับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.
๒๕๕๙
๒) แบบรวมส่วน เป็ นการเรียงสำนวนการสอบสวน กรณี เป็ นคดีไม่มี
ความสลับซับซ้อนมากนัก เช่น คดีปฏิบัติการอำพรางเพื่อสืบสวนจับกุม (ล่อ

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์


ซื้อ) การค้าประเวณีเด็ก หรือคดีนำพาเด็กมาขอทาน การเรียงสำนวนการ
สอบสวนรูปแบบนี ้ จะประหยัดเวลาและประหยัดวัสดุอุปกรณ์ของการ
ทำงาน
๑๔.๓ การส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ ปั จจุบัน
พนักงานอัยการมีคู่มือพนักงานอัยการสำหรับการตรวจรับสำนวนการ
สอบสวนคดีค้ามนุษย์ ทัง้ นี ้ เพื่อเป็ นการตรวจสอบความครบถ้วนของพยาน
หลักฐานตัง้ แต่ต้น ซึ่งโดยหลักแล้ว การสอบสวนคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ใน
ชัน
้ พนักงานสอบสวนต้องเสร็จสิน
้ อย่างน้อยไม่เกินกำหนดฝากขังผู้ต้องหา
ครัง้ ที่ ๖ เพราะจะต้องให้พนักงานอัยการ มีเวลาพิจารณาสำนวนการ
สอบสวน หากจะต้องสัง่ ให้สอบสวนเพิ่มเติม จะได้ดำเนินการได้ครบถ้วน
และทำให้สำนวนการสอบสวนสมบูรณ์สูงสุดในการฟ้ องคดี แต่บางคดีมี
ความจำเป็ นต้อง รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มจำนวนมาก อาจจะมีการส่ง
สำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ พิจารณาไม่ทันก่อนครบกำหนดฝาก
ขังก่อนครัง้ สุดท้าย (ฝากขังครัง้ ที่ ๖) ได้ทัน จึงมีแนวทางการประสานงาน
ทางคดีกับพนักงานอัยการ โดยหลักแล้ว ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนหรือ
พนักงานสอบสวนรีบไปประสานงานกับพนักงานอัยการให้ทราบถึงเหตุผล
และความจำเป็ นที่ไม่อาจส่งสำนวนการสอบสวนในเวลาก่อนครบกำหนด
ฝากขังผู้ต้องหาก่อนครัง้ สุดท้ายได้ และให้จัดทำสำเนาเอกสารสำนวนการ
สอบสวนมอบให้พนักงานอัยการในคราวเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดีพนักงาน
สอบสวนจะต้องทำการสอบสวนให้เสร็จสิน
้ และส่งสำนวนการสอบสวนให้
พนักงานอัยการก่อนครบอำนาจฝากขังครัง้ สุดท้าย ๓

รวบรวมโดย พ.ต.อ.ชูศักดิ ์ อภัยภักดิ ์

You might also like