You are on page 1of 6

สรุปพยานในคดีแพง (เพจ: คําพิพากษาฎีกาที่นาสนใจ) 

ภวิศร เชาวลิตถวิล  
ผูพิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี 
 
ในเรื่องการตั้งประเด็นขอพิพาทและกําหนดภาระการพิสูจนในสวนของพยานคดีแพง  ซึ่ง
เปนเรื่องที่สําคัญมาก  ๆ  แมกระทั่งสอบเขาเปนผูชวยผูพิพากษาแลว  ยังตองตั้งประเด็นขอพิพาท
และกําหนดภาระการพิสูจนอยูเสมอ 
ถาออกเรื่องนี้ใหวางหลักในมาตรา  ๘๔/๑  ใหครบถวนกอนวินิจฉัยนะครับ  ถาวินิจฉัยผิดก็
ยังไดคะแนนอยูบางเล็กนอย 
เมื่อมีโจทยคําถามเกี่ยวกับเรื่องการตั้งประเด็นขอพิพาทและภาระการพิสูจน  คําถามมักจะ
ถามวา  หากคูความทั้งสองฝายไมติดใจสืบพยาน  ศาลจะตัดสินอยางไร......  ซึ่งเราตองพิจารณาวา
ประเด็นขอพาทแหงคดีคืออะไรกอน  แลวจึงคอยวินิจฉัยวาประเด็นดังกลาวนั้น  คูความฝายใดมี
ภาระการพิสูจน หากคูความฝายนั้นไมสืบพยาน ยอมตองเปนฝายแพคดี 
(๑)  ในสวนของประเด็นขอพิพาท  ใหเราพิจารณาคําฟองและคําใหการของจําเลยที่คําถาม
ใหมา  ซึ่งคําใหการของจําเลยตองชัดแจงวาจะยอมรับหรือปฏิเสธขออางของโจทกทั้งสิ้นหรือแต
บางสวน รวมทั้งแสดงเหตุแหงการปฏิเสธดวย (มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง)  
-ถอยคําของจําเลยที่ใหการวา  “นอกจากที่จําเลยใหการปฏิเสธดังตอไปนี ้ ขอใหถือวาจําเลยใหการ
ปฏิเสธฟองโจทกทั้งสิ้น”  ถือวาจําเลยมิไดใหการปฏิเสธขออางสวนใดของโจทกโดยชัดแจง ถือไดวา
จําเลยรับในขอเท็จจริงอื่น  ๆ  ที่จําเลยมิไดอางขึ้นปฏิเสธ  (อันนี้ใหระวังไวครับ  ประเด็นใดที่จําเลย
ไมไดกลาวถึง ถือวารับในขอเท็จจริงนั้นตามฟองโจทก) 
(๒)  จําเลยใหการวา  “ไมทราบ  ไมรับรอง”  เปนถอยคําที่มิไดปฏิเสธโดยชัดแจงอีกเชนกัน 
ไมถือเปนประเด็นแหงคดี เชน  
พินัยกรรมจะมีอยูจริงหรือไม  ถูกตองแทจริงหรือไม  จําเลยไมทราบไมรับรอง  ไมถือเปน
ประเด็นขอพิพาทเรื่องความสมบูรณของพินัยกรรม  ถือไดวาจําเลยรับขอเท็จจริงวาพินัยกรรมของ
ผูตายที่โจทกอางถูกตองและสมบูรณ (ฎีกา ๗๒๐/๒๕๓๕) 
นาย  ก. จะมีอํานาจฟองแทนโจทกหรือไดรับมอบอํานาจมาโดยชอบหรือไม จําเลยไมทราบ
และไมรับรอง คดีไมมีประเด็นเรื่องอํานาจฟอง (ฎีกา ๒๓๐๗/๒๕๓๓) 
มีขอยกเวนอยูในคดีขับไล  โจทกฟองขับไลจําเลยผูเขามาอยูในที่ดิน  จําเลยใหการวาโจทก
จะเปนเจาของที่ดินหรือไม จําเลยไมทราบไมรับรอง เนื่องจากจําเลยไดครอบครองที่ดิโดยสงบ เปด
เผย  และเจตนาเปนเจาของแลวเกิน  ๑๐  ป  ไดกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปกษ  คดีมีประเด็น
ขอพิพาทวาจําเลยไดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดวยการครอบครองปรปกษหรือไม  (ฎีกา  ๖๕๐๔/
๒๕๓๙)  คดีนี้จําเลยไมทราบวาโจทกจะเปนเจาของหรือใครเปนเจาของก็ไมสําคัญ  สําคัญแตเพียง
วาจําเลยครอบครองปรปกษแลว จึงเปนการฏิเสธที่ชัดแจงและแสดงเหตุแหงการปฏิเสธครบถวน 
(๓)  จําเลยใหการวา  “ฟองเคลือบคลุม  ไมบรรยายสภาพแหงขอหาใหชีดแจง  ทั้งขอความ
ไมตอเนื่อง  ไมสามารถเขาใจขอความของคําฟองได”  เปนการยกถอยคําในกฎหมายขึ้นอาง  โดย
มิไดบรรยายวาสภาพแหงขอหาในคําฟองของโจทกขอใดที่ไมชัดแจงและไมชัดแจงอยางไร  ไมมี
ประเด็นวาฟองเคลือบคลุมหรือไม (ฎีกา ๔๘/๒๕๓๖) 
(๔)  จําเลยใหการวา  “คดีขาดอายุความ”  ตองบรรยายใหชัดเจนวาขาดอายุความเริ่มนับ
เมื่อใด นับถึงวันใดคดีขาดอายุความแลว คดีไมมีประเด็นเรื่องขาดอายุความ 

ป.วิ.พ.  มาตรา  ๑๗๗  วรรคสอง  กําหนดใหจําเลยแสดงโดยชัดแจงในคําใหการวา  จําเลย


ยอมรับหรือปฏิเสธขออางของโจทกทั้งสิ้นหรือแตบางสวน  รวมทั้งเหตุแหงการปฏิเสธนั้นดวย  ดัง
นั้น  นอกจากจําเลยจะตองใหการโดยชัดแจงวาคดีโจทกขาดอายุความแลว  จําเลยตองใหการโดย
แสดงเหตุแหงการขาดอายุความใหปรากฏดวย  กลาวคือ  ตองบรรยายวาคดีโจทกขาดอายุความ
เมื่อใด  นับแตวันใดถึงวันฟองคดีขาดอายุความไปแลว  การที่จําเลยใหการเพียงวามูลหนี้ตาม
คําฟองโจทกขาดอายุความฟองรอง  โดยมิไดกลาวถึงเหตุแหงการขาดอายุความใหปรากฏ  จึงไมมี
ประเด็นเรื่องอายุความ  แมศาลชั้นตนมีคําสั่งรับคําใหการของจําเลย  ก็มิใชเหตุที่ทําใหเกิดประเด็น
ขอพิพาทตามกฎหมาย (ฎีกา ๖๗๘/๒๕๕๐) 
(๕)  จําเลยใหการวา  “สัญญาปลอม”  ตองมีเหตุแหงการปฏิเสธดวยวาปลอมอยางไร  (
บรรยายตามลักษณะของ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๔) 
คําใหการตอสูคดีที่วาสัญญากูเปนเอกสารปลอม  โดยไมอางเหตุแหงการปฏิเสธไววาปลอม
อยางไร  เชน  เปนการปลอมเอกสารทั้งฉบับหรือปลอมเพียงบางสวน  ซึ่งจําเลยตองแสดงใหชัดแจง
ไวในคําใหการไมชอบดวยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง  มาตรา  ๑๗๗  วรรคสองจําเลย
จึงไมมีสิทธินําสืบพยานบุคคลตามขอตอสูนั้น  แมศาลชั้นตนจะไดสืบพยานบุคคลของจําเลยมาแลว
ก็ไมอาจรับฟงได (ฎีกา ๒๙๑๑/๒๕๓๗) 
(๖)  คําใหการปฏิเสธชัดแจง  แตไมไดแสดงเหตุแหงการปฏิเสธ  ถือวาเปนการปฏิเสธฟอง
โจทก  แตจําเลยไมมีสิทธินําพยานเขาสืบ  แมศาลจะใหเขาสืบ  ก็ไมอาจรับฟงไดตามมาตรา  ๘๗  (๑) 
ถือเปนขอเท็จจริงที่มิไดยกขึ้นวากันมาแลวโดยชอบ เชน 
จําเลยรับวาทําสัญญากูจริงตามฟอง  แตสัญญากูไมสมบูรณเปนนิติกรรมอําพราง  โดยมิได
แสดงเหตุแหงการปฏิเสธวาเปนนิติกรรมอําพรางอยางไร  ไมมีประเด็นที่จําเลยจะนําสืบในชั้น
พิจารณา  แมจะนําสืบไวก็เปนการนอกคําใหการตามมาตรา  ๘๗  (๑)  ตองหามมิใหศาลรับฟงเปน
พยานหลักฐาน (ฎีกา ๓๓๒๗/๒๕๕๗) 
  (๗)  คําใหการขัดแยงกันเอง  มีคําวินิจฉัยแบงเปนสองแนว  แนวแรก  จะวินิจฉัยวาเมื่อเปน
คําใหการที่ขัดกัน  เชน  ไมไดรับเงินกู  แตถารับเงินกูจริง  ก็ชําระเงินกูแลว  ศาลวินิจฉัยวา  คําใหการ
ขัดแยงกัน  มิไดปฏิเสธฟองโจทกโดยชัดแจง  ไมชอบตามมาตรา  ๑๗๗  วรรคสอง  ถือวาจําเลยรับวา
กูเงินโจทกจริง (ฎีกา ๒๖๓๑/๒๕๓๖) 
แตอีกแนวหนึ่ง  ซึ่งฎีกาใหมมักจะวินิจฉัยแนวนี ้ หากจําเลยใหการขัดกัน  “ถือวาไมมี
ประเด็นตามคําใหการ  แตคําใหการนั้นเปนที่เขาใจไดวาจําเลยใหการปฏิเสธฟองโจทกโดยชัดแจง
แลว  คดีจึงยังคงมีประเด็นตามฟองโจทก”  ใหโจทกนําสืบ แตจําเลยจะสืบพยานของตนไมไดเพราะ
มิไดอางเหตุแหงการปฏิเสธ เชน 
โจทกฟองวาจําเลยทําสัญญาเชาหองแถวพิพาทจากโจทก  ตอมาโจทกไมประสงคจะให
จําเลยเชาหองแถวพิพาทอีกตอไป  จึงบอกเลิกสัญญาและใหจําเลยกับบริวารขนยายทรัพยสินออก
จากหองแถวพิพาท  ตอนแรกจําเลยใหการวาจําเลยซื้อหองแถวพิพาทจาก  ซ.  ในราคา  ๓๘,๐๐๐ 
บาท  จําเลยไดรับมอบการครอบครองมาแลว แตในตอนตอมาจําเลยกลับใหการวาจําเลยทําสัญญา
เชาหองแถวพิพากจาก ส. มารดาโจทก ซึ่งเปนสัญญาตางตอบแทนยิ่งกวาสัญญาเชาธรรมดาจึงเปน
คําใหการที่ขัดแยงกันเองเปนคําใหการที่ยืนยันในขอเท็จจริงหลายทางไมชัดแจงวาขอเท็จจริงที่
ใหการนั้นไปทางหนึ่งทางใด  ไมชอบดวย  ป.วิ.พ.  มาตรา  ๑๗๗  วรรคสอง  แตคําใหการจําเลยเปนที่
เขาใจไดวาจําเลยใหการปฏิเสธฟองโจทกโดยสิ้นเชิง  คดีคงมีประเด็นขอพิพาทวาจําเลยทําสัญญา
เชาหองแถวพิพาทจากโจทกหรือไม  การที่ศาลชั้นตนกําหนดประเด็นขอพิพาทวาหองแถวเปน
กรรมสิทธิ์ของโจทกหรือจําเลยและวินิจฉัยตามนั้น จึงเปนการไมชอบ (ฎีกา ๕๙๐๒/๒๕๕๐) 
 
เมื่อเราไดประเด็นแหงคดีมาแลว  ขั้นตอนตอไปก็ตองมาพิจารณาดูวา คูความฝายใดมีภาระ
การพิสูจน  ในการพิจารณาใหดูกอนเลยวา  มีขอสันนิษฐานของกฎหมายในเรื่องนั้นหรือไม  เชน 
โจทกฟองขับไลจําเลยออกจากที่ดินซึ่งโจทกมีชื่ออยูในเอกสารสิทธิเปนโฉนดที่ดิน  หรือหนังสือ
รับรองการทําประโยชน  (นส  ๓  หรือ  นส  ๓  ก)  จําเลยใหการตอสูวา  จําเลยใหโจทกเปนตัวแทน
มีชื่อในเอกสาร  ความจริงแลว  จําเลยเปนเจาของ  เชนนี้ดูขอสันนิษฐานของกฎหมายกอนซึ่ง  ปพพ. 
มาตรา  ๑๓๗๓  สันนิษฐานไวกอนวาผูมีชื่อในทะเบียนเปนผูมีสิทธิครอบครอง โจทกมีชื่อในโฉนดจึง
ไดรับประโยชนจากขอสันนิษฐาน จําเลยจึงมีภาระการพิสูจน 
ระวังหากเปนที่ดินมีเอกสารเพียงหนังสือแจงการครอบครอง  (สค  ๑)  ผูมีชื่อไมไดรับ
ประโยชนจากขอสันนิษฐาน  เพราะเอกสารดังกลาวรับฟงไดเพียงวาขณะแจงการครอบครองผูแจง
อางวาดินนั้นตนครอบครองเทานั้น  หาใชอสังหาริมทรัพยที่ไดจดทะเบียนที่ดินตามมาตรา  ๑๓๗๓ 
ไม  จําเลยเปนผูครอบครอง  ยอมไดรับประโยชนจากขอสันนิษฐานตามมาตรา  ๑๓๖๙  วาจําเลย
ยึดถือครอบครอง โจทกจึงมีภาระการพิสูจน  
(ในกรณีครอบครองทรัพยอันตรายตาม ปพพ มาตรา ๔๓๗ ก็ออกบอย ฝากดูดวยครับ) 
หลักในเรื่องภาระการพิสูจน 
(๑)  หากจําเลยปฏิเสธฟองโจทก  แตมิไดอางเหตุแหงการปฏิเสธชัดแจงก็ด ี คําใหการขัดกัน
ก็ด ี ถือวาปฏิเสธฟองโจทก  โจทกมีภาระการพิสูจน  (สวนจําเลยไมมีสิทธินําพยานเขาสืบตามที่ได
สรุปไวขางตน) 
โจทกฟองเรียกที่ดินคืนจากจําเลยทั้งสองโดยอางวาโจทกมอบที่ดินใหจําเลยทั้งสองทํากิน
ตางดอกเบี้ย จําเลยทั้งสองใหการตอสูวา โจทกขายที่พิพาทใหจําเลยทั้งสองแลว ถือวาจําเลยทั้ง
สองใหการปฏิเสธโดยมิไดตั้งประเด็นขึ้นมาใหมเพราะขอเท็จจริงที่วาโจทกขายที่พิพาทใหจําเลยทั้ง
สองแลวนั้นเปนเพียงเหตุผลของการปฏิเสธเทานั้น โจทกตองมีหนาที่นําสืบขอเท็จจริงเพื่อ
สนับสนุนขออางตามคําฟองของโจทกที่วา โจทกมอบที่ดินใหจําเลยทั้งสองทํากินตางดอกเบี้ย ไมใช
เปนหนาที่ของจําเลยทั้งสองที่จะตองนําสืบพิสูจนวาลายมือชื่อของผูขายในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
เปนของโจทก (ฎีกา ๕๔๐๐/๒๕๓๗) 
(๒) จําเลยรับขอเท็จจริงตามฟองโจทก แตยกขอเท็จจริงขึ้นใหม จําเลยมีภาระการพิสูจน 
เชนโจทกฟองวาจําเลยกูเงิน จําเลยใหการวาชําระเงินกูแลว เมื่อจําเลยมิไดใหการในสวนของ
สัญญากู ถือวารับขอเท็จจริงแลววาไดทําสัญญากู เมื่อจําเลยยกขอเท็จจริงขึ้นใหมวา ชําระหนี้แลว 
จําเลยมีภาระการพิสูจน 
-ขอควรระวัง ใหพิจารณาคําใหการของจําเลยกอนวา เปนการปฏิเสธฟองโจทกและแสดง
เหตุแหงการกฏิเสธ (โจทกมีภาระการพิสูจน) หรือรับขอเท็จจริงตามฟองโจทก แตยกขอเท็จจริง
ขึ้นอางใหม (จําเลยมีภาระการพิสูจน) 
เชน โจทกฟองวาใหจําเลยอาศัยทําประโยชนในที่พิพาท จําเลยใหการยอมรับวาเขาทํา
ประโยชนไมใชในฐานะผูอาศัย แตในฐานะผูเชาตามสัญญาตางตอบแทนยิ่งกวาการเชาธรรมดาที่
ตกลงใหจําเลยเปนผูปลูกสรางที่พักอาศัยและอาคารเก็บสินคาดวยคาใชจายของจําเลยแลวให
จําเลยทําสัญญาเชาครั้งละ ๓ ป จนครบกําหนด ๑๕ ป เปนการที่จําเลยยกขอเท็จจริงขึ้นตอสูใหม 
ภาระการพิสูจนที่จะนําสืบใหเห็นวาโจทกทําสัญญาเชาที่พิพาทกับจําเลยจริง จึงตกแกจําเลย เมื่อ
จําเลยนําสืบไมได จําเลยจึงไมมีสิทธิอยูในที่ดินพิพาท (ฎีกา ๕๙๕๗/๒๕๕๐) 
คดีฟองขอแบงมรดก หากจําเลยรับวา ทรัพยดังกลาวเปนทรัพยมรดกจริง แตผูตายไดทํา
พินัยกรรมยกใหจําเลยแลว จําเลยยกขอเท็จจริงขึ้นใหม มีภาระการพิสูจน (ฎีกา ๕๖๙/๒๕๓๔) 
หรือจําเลยยกขอเท็จจริงขึ้นใหมวามีการแบงทรัพยมรดกนั้นแลว จําเลยมีภาระการพิสูจน (ฎีกา 
๑๒๒/๒๔๙๐)  
 
หากเปนเรื่องที่เกิดประเด็นขอพาทดังตอไปนี้ เปนสูตรลับ (แตตองวินิจฉัยวาเกิดประเด็น
ขอพิพาทมากอนนะครับ) 
(๑) เรื่องอายุความ ภาระการพิสูจนตกโจทก (ฎีกา ๓๐๔๒/๒๕๔๘) ระวังระยะเวลาฟองคดี ๑ ป 
ตาม ปพพ มาตรา ๑๓๗๕ มิใชอายุความ จําเลยกลาวอางวาแยงการครอบครองเกิน ๑ ป เปนการ
กลาวอางขอเท็จจริงขึ้นใหม จําเลยมีภาระการพิสูจน 
(๒) คาเสียหาย โจทกมีภาระการพิสูจน แมจําเลยจะไมโตแยงเกี่ยวกับจํานวนเงินคาเสียหายก็ตาม 
และถาโจทกไมสืบพยาน ศาลกําหนดใหไดตามควรแหงความเสียหาย   
(๓) เอกสารปลอม โจทกมีภาระการพิสูจน 
 
อันนี้เปนหลักที่ผมรวบรวมไว  ซึ่งมีฎีกาอีกมากมาย  เราสามารถใชหลักเหลานี้ประยุกตใชไดครับ 
สําคัญที่วา  เราตองกําหนดประเด็นใหไดกอนเปนสําคัญ  แลวจึงวินิจฉัยตอไปวาฝายใดมีภาระการ
พิสูจน หวังวาจะเปนประโยชนบางครับ 
 

You might also like