You are on page 1of 3

สรุปภาพรวมโครงสร้างวิธีพิจารณาความอาญา

(ถอดจากคลิปบรรยายของติวเตอร์ ใหม่ โดยแอดมินเพจหางานกฎหมาย)

๑. การเริ่มต้นคดีอาญา
 คดีอาญาแผ่นดิน (ความผิดยอมความไม่ได้) เกิดขึ้นได้โดย
๑) พนักงานสอบสวนพบการกระทาความผิดเอง หรือ
๒) บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา ๒ (๘)
 คดีอาญาต่อส่วนตัว (ความผิดยอมความได้) หากจะให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ผู้เสียหาย
จะต้องดาเนินการร้องทุกข์
๒. การร้องทุกข์ มาตรา ๒ (๗)
 ใครมีอานาจร้องทุกข์ : ผู้อานาจร้องทุกข์ ได้แก่
๑) ผู้เสียหายโดยตรง คือ บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทาความผิดอาญา ตาม ป.วิ.อ.
มาตรา ๒ (๔) และ
๒) ผู้มีอานาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔ , ๕ และ ๖ แล้วแต่กรณี
 ร้องทุกข์ต่อใคร : จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตารวจก็ได้
ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๓ และ ๑๒๔
 ร้องทุกข์อย่างไร : การร้องทุกข์ที่จะเป็นคาร้องทุกข์ตามระเบียบ จะต้องเป็นการร้องทุกข์ที่มี
เจตนาเพื่อให้ผู้กระทาความผิด ได้รับโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒ (๗) (หากเพียงแต่แจ้งไว้เป็นหลักฐานในการ
ดาเนิ น คดี หรื อแจ้ ง แต่เพีย งว่าหากผู้ กระทาความผิ ด ย้อนกลั บมาจึงจะเอาความ เช่นนี้ไม่ใช่การร้องทุกข์
ตามระเบียบ เพราะผู้เสียหายไม่มีเจตนาให้ผู้กระทาความผิดได้รับโทษในทางอาญา)
 ร้องทุกข์เมื่อใด : ต้องร้องทุกข์ภายในกาหนดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๙๖ กล่าวคือ ร้อง
ทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องหรือรู้ตัวผู้กระทาความผิด มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ

การร้องทุกข์ เป็นเงื่อนไขแห่งอานาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัว หากไม่


มีการร้องทุกข์มาก่อน พนักงานสอบสวนจะไม่มีอานาจสอบสวน ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง

๓. ข้อแตกต่างของการสอบสวนกับการสืบสวน
 การสืบสวน : สามารถที่จะสืบสวนก่อนหรือหลังการกระทาผิดก็ได้
 การสอบสวน : จะต้องเป็นการสอบสวนภายหลังที่การกระทาผิดนั้นได้เกิดขึ้น
๔. การสอบสวน
จะต้องพิจารณาว่า พนักงานสอบสวนมีอานาจหน้าที่หรือไม่ และเป็นการสอบสวนที่อยู่ในเขตอานาจ
หรือไม่ หากทาไม่ถูกต้อง ส่ งผลไปถึงการสอบสวนและอานาจฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งในเรื่องเขตอานาจ
การสอบสวน มีมาตราสาคัญ ได้แก่
 การกระทาความผิดในราชอาณาจักร
- เกิดขึ้นในท้องที่เดียว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๘
- เกิดขึ้นในหลายท้องที่เกี่ยวพันกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙
 การกระทาความผิดนอกราชอาณาจักร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๐
เมื่อเป็นพนักงานสอบสวนที่มีเขตอานาจการสอบสวนจะทาการสอบสวน ในกระบวนการสอบสวนจะต้อง
พิจารณาว่า พนักงานสอบสวนได้ดาเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนดหรือไม่ อาทิ เช่น การสอบคาให้การ
การแจ้งสิทธิ เป็นต้น หากไม่ดาเนินการหรือดาเนินการไม่ถูกต้อง ถ้อยคาหรือพยานหลักฐานใดๆ จะรับฟังเป็น
พยานหลักฐานไม่ได้
๕. การสรุปสานวน
การสรุปสานวนเพื่อส่งไปยังพนักงานอัยการ ผู้มีหน้าที่ในการสรุปสานวนได้ต้องเป็นพนักงานสอบสวน
ผู้รับผิดชอบ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
 การสรุปสานวนและการทาความเห็น กรณีไม่รู้ตัวผู้กระทาความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๔๐
 การสรุปสานวนและการทาความเห็น กรณีรู้ตัวผู้กระทาความผิดแต่ผู้กระทาความผิดหลบหนี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๔๑
 การสรุปสานวนและทาความเห็น กรณี รู้ตัวผู้กระทาความผิด แต่ผู้กระทาความผิดถูกควบคุม
หรือขังอยู่ หรือปล่อยชั่วคราว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๔๒
๖. การสั่งคดีของพนักงานอัยการ
 คาสั่งไม่ฟ้องคดี จะต้องมีการตรวจสอบคาสั่งไม่ฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๔๕ มาตรา ๑๔๕/๑
แล้วแต่กรณี
 คาสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม เป็นอานาจของพนักงานอัยการที่จะสั่งสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นใด
ก็ได้ หรือจะเรียกผู้ใดมาสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๔๓ วรรคสอง
 คาสั่งฟ้องคดี พนักงานอัยการจะต้องบรรยายฟ้อง เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ โดยเฉพาะ
สองส่วนสาคัญที่ขาดไม่ได้ ซึง่ ได้แก่
- ส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เป็นการกระทาทั้งหลายที่จาเลยได้กระทาความผิด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
เนื่องจากเป็นองค์ประกอบของการกระทาความผิด
- ส่วนที่เป็นคาขอท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๖)

การบรรยายฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ เชื่อมโยงกับป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ ได้ เนื่องจากหากมิได้บรรยายมาใน


]]]]อบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด ศาลจะต้องพิจารณาพิพากษาไปเกินกว่าคาฟ้องไม่ได้ และศาล
ฟ้องหรื
จะสั่งให้แก้ไขไม่ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๑ หรือโจทก์จะขอให้แก้ไขคาฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๓ หรือ ๑๖๔ ไม่ได้
จะต้ อ งยกฟ้ อ ง และหากศาลยกฟ้ อ งแล้ ว จะฟ้ อ งใหม่ อี ก ไม่ ไ ด้ เพราะถื อ ว่ า ศาลได้ วิ นิ จ ฉั ย เสร็ จ เด็ ด ขาดในคดี
ซึ่งได้ฟ้องแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ (๔)

๗. กระบวนพิจารณาของศาล
 ผู้มีอานาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๘ ได้แก่
๑) พนักงานอัยการ คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจาเลยเป็นคดีอาญา ต้องมี การสอบสวน
ก่อนเสมอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๒๐ และจะต้องเป็นการสอบสวนทีช่ อบด้วยกฎหมาย
๒) ผู้เสียหาย คดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจาเลยเป็นคดีอาญาไม่จาต้องมีการสอบสวนมาก่อน
กฎหมายจึงกาหนดให้มีการไต่สวนมูลฟ้อง (แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจาเลยในข้อหาเดียวกันแล้ว ไม่
จาเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง ตามป.วิ.อ.มาตรา ๒ (๑๒) ประกอบมาตรา ๑๖๒ (๑)
การสอบสวนที่ ชอบด้ วยกฎหมาย หมายถึ ง การสอบสวนที่ ไม่ มี ข้ อผิ ดพลาดและไม่ บกพร่ อง
ในสิ่งซึ่งเป็นสาระสาคัญแห่งการสอบสวน ได้แก่
๑.๑) ต้องเป็นการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีอานาจหน้าที่
๑.๒) ต้องเป็นการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่มีเขตอานาจ
๑.๓) ต้องสรุปสานวนการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
๑.๔) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว จะต้องมีคาร้องทุกข์ตามระเบียบ
๑.๕) จะต้องมีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแล้วโดยชอบ
หากมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ไม่ถูกต้องถือเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้พนักงาน
อัยการไม่มีอานาจฟ้อง
 การตรวจฟ้อง
หลังขั้นตอนการตรวจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๑ ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ หากปรากฏต่อศาล
หรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาแล้วพบว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อกลั่นแกล้ ง
หรือเอาเปรียบ ให้ศาลยกฟ้อง เมื่อศาลยกฟ้องแล้ว ห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอีก (เป็นการห้ามเฉพาะ
โจทก์ที่ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต แต่ไม่ห้ามพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายคนอื่นยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกัน
 การไต่สวนมูลฟ้อง
- เงื่อนไขในการไต่สวนมูลฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๒
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ จะต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องเสมอ แต่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์จะไต่
สวนมูลฟ้องก็ได้ หากศาลเห็นว่า คดีมีมูล ศาลก็จะประทับรั บฟ้ องไว้พิจารณา แต่หากศาลเห็นว่าคดีไม่มีมู ล
ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ซึ่งคาพิพากษาของศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องสามารถอุทธรณ์ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับ
บทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ดังนั้น หากโจทก์อุทธรณ์และศาลยกฟ้องอีก กรณีจึงต้องห้ามฎีกา
ตามมาตรา ๒๒๐
- วิธีการหรือขั้นตอนในการไต่สวนมูลฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๕
- ผลของการไต่สวนมูลฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๖๗ และมาตรา ๑๗๐
 การสอบคาให้การจาเลย
เมื่อจาเลยมาปรากฏตัวต่อหน้าศาล ให้ศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จาเลยฟัง และแจ้งต่อจาเลย
ว่าจะมีสิทธิให้การหรือไม่ก็ได้ คาให้การของจาเลยให้จดไว้ ถ้าจาเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และ
ดาเนินการพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๒
 การตั้งทนายความในชั้นศาล
หากเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือในคดีที่จาเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปี ก่อนเริ่มพิจารณา
ให้ศาลถามจาเลย หากจาเลยไม่มีให้ศาลตั้งทนายความให้ โดยไม่คานึงว่าจาเลยต้องการหรือไม่ แต่หากเป็นคดีที่มี
อัตราโทษจาคุก หากจาเลยไม่มีและจาเลยต้องการทนายความ ให้ศาลตั้งทนายความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๓
 การพิจารณาพิพากษา
กรณีจาเลยรับสารภาพ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๖ หากเป็นคารับสารภาพที่ชัดแจ้ง ศาลอาจ
พิพากษาไปโดยไม่สื บพยานก็ได้ แต่หากเป็ นคดีที่มีอัตราโทษขั้นต่าให้จาคุกตั้งแต่ห้ าปีขึ้นไปหรื อโทษสถานที่
หนักกว่านั้น ศาลจะต้องสืบพยานประกอบจนเป็นที่พอใจว่าจาเลยกระทาความผิดจริง จะพิพากษาคดีไปโดยไม่
สืบพยานประกอบไม่ได้
กรณีจาเลยให้การปฏิเสธ จะพิพากษาทันทีไม่ได้ อาจมีการนัดตรวจพยานหลักฐานหรือการนัด
สืบพยาน (การนัดตรวจพยานหลักฐานจะเกิดขึ้นในคดีจาเลยไม่ให้การหรือจาเลยปฏิเสธ อาจเป็นกรณีที่ศาลเห็นเอง
หรือคู่ความร้องขอ หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม)
 การพิพากษาเกินคาขอ
หากไม่ได้กล่าวมาในฟ้องหรือไม่ได้ขอให้ศาลลงโทษ ห้ามมิให้ศาลมีคาพิพากษาเกินคาฟ้องหรือ
คาขอ ตามป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ แต่มีข้อยกเว้น เช่น ฟ้องความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าเป็น
ความผิดฐานยักยอก ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด หากจาเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลจะพิพากษาตามที่พิจารณา
ได้ความก็ได้

You might also like