You are on page 1of 203

0

จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

คู่มือการฝึกทักษะเขียนคำฟ้องและคำคู่ความ
ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 54-55
สภาทนายความภาค 2
วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม 2564 เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น.
แบบออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอ.สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
1
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
สารบัญ
หน้า
1.คะแนนสอบ............................................................................................................................ 2
2.การแต่งกาย............................................................................................................................ 2
3.การลงชื่อสอบ......................................................................................................................... 2
4.ปัญหา และอุปสรรคการสอบที่ผ่านมา.................................................................................. 3
5.ข้อกฎหมายและการบอกกล่าว การนับระยะเวลาตามกฎหมาย............................................ 6
6.การบอกกล่าวแจ้งการผิดนัดแก่ผู้ค้ำประกัน........................................................................... 8
7.การบอกกล่าวบังคับจำนอง.................................................................................................... 12
8.หลักการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม............................................................................... 16
9.หลักการเขียนใบแต่งทนายความ…………………………..……………………………………………………. 33
10.หลักการเขียนใบมอบฉันทะ................................................................................................. 36
11.หลักการร่างหนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย........................................................................... 39
12.หลักการเขียนสัญญาต่างๆ................................................................................................... 42
13.หลักการร่างพินัยกรรม หนังสือยินยอมของทายาท บัญชีเครือญาติ.................................... 55
14.หลักการเขียนหนังสือมอบอำนาจ........................................................................................ 61
15.หลักการเขียนสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล......................................................... 64
16.หลักการเขียนคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ.................................................................................. 68
17.หลักการเขียนหนังสือขอตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดิน/อายัดที่ดิน................................... 70
18.คำฟ้องและคำร้องฝ่ายเดียว ตามป.วิ.พ.ม.55...................................................................... 73
19.หลักการบรรยายคำฟ้องคดีแพ่ง.......................................................................................... 76
20.หลักการเขียนคำให้การคดีแพ่ง , คำให้การและฟ้องแย้งคดีแพ่ง......................................... 120
21.หลักการเขียนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก/คำคัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก...... 132
22.หลักการเขียนคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ..................................................... 144
23.คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์…………………… 149
24.หลักการเขียนข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529................. 153
25.หลักการเขียนบัญชีระบุพยาน............................................................................................. 160
26.หลักการบรรยายคำฟ้องคดีอาญา...................................................................................... 163
27.คำให้การจำเลยคดีอาญา................................................................................................... 179
28.หลักการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง................................................................................ 182
29.วิเคราะห์ข้อสอบภาคปฏิบัติ รุ่น 30-53............................................................................. 199
30.สถิติคำฟ้องแพ่ง+อาญา และคำร้องใหญ่ ภาคปฏิบัติ รุ่น 30-53....................................... 201

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
2
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คะแนนการสอบ
• ข้อสอบปรนัย 20 คะแนน
คำบรรยายจาก อ.ผู้สอน
• ข้อสอบอัตนัย 80 คะแนน
คำฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา คำร้อง คำขอ คำแถลง คำคู่ความ , นิติกรรมสัญญา, หนังสือบอกกล่าว ,
คำร้องทุกข์ , หนังสือมอบอำนาจ , พินัยกรรม , บัญชีระบุพยาน , มรรยาททนายความ ฯลฯ

การแต่งกาย

การแต่งกายสุภาพตามระเบียบผิดระเบียบถูกหักคะแนน
ชาย กางเกงขายาว ทรงสุภาพ ดำ/กรม
เสื้อเชิ้ตขาวแขนยาว
เนคไทดำ
รองเท้าดำ/น้ำตาลเข้ม
หญิง กระโปรงดำ/กรม เสื้อขาว รองเท้าหุ้มส้นสีดำ/น้ำตาลเข้ม

การลงชื่อสอบ
• ชื่อนามสกุล เลขประจำตัวสอบ และลายมือชื่อผู้เข้าสอบ ลงได้ที่ปกกระดาษคำตอบเพียงที่เดียวตามที่
กำหนดไว้เท่านั้น
• ห้ามทำเครื่องหมาย สัญลักษณ์ใดๆ ห้ามลงลายมือชื่อ ห้ามเขียนชื่อ หรือนามสกุล ในกระดาษคำตอบ
• ใช้ปากกาหมึกแห้งสีน้ำเงิน เขียนคำตอบเท่านั้น
• ห้ามออกจากห้องสอบก่อน 1 ชั่วโมง
• ห้ามลุกจากที่นั่งสอบก่อนได้รับอนุญาต

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
3
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ปัญหาและอุปสรรคการสอบภาคปฏิบัติที่ผ่านมา
1. เรื่องการแต่งกายต้องสุภาพตามระเบียบของสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ ให้หักไม่เกิน 2 คะแนน
2. ไม่เตรียมปากกาสีน้ำเงิน และดินสอ 2B หรือเข้มกว่า ให้หักไม่เกิน 2 คะแนน
3.ไม่เขีย นเลขข้อคำตอบ หรือเขีย นเลขข้อผิด หรือไม่เขียนเลือกข้อไว้ที่มุมขวาบนของกระดาษ ให้หั ก
ไม่เกิน 2 คะแนน
4. ทำข้อสอบนอกเหนือคำสั่งในข้อสอบ / ต้องดูคำสั่งในข้อสอบให้ดีๆ ก่อนลงมือทำข้อสอบ ข้อสอบบางปี
คำสั่งระบุให้ทำ คำร้องขอออกหมายบังคับคดี ที่ถูกต้องต้องทำเป็น คำขอออกหมายบังบังคดี
5. ห้ามเขียนหรือทำสัญลักษณ์ใดๆในสมุดคำตอบโดยเด็ดขาด ให้หักไม่เกิน 5 คะแนน แต่ถ้าส่อไปในทางทุจริต
ปรับตก และให้ลงชื่อและเลขประจำตัวผู้เข้าสอบในช่องด้านหน้า เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
6 .ไม่อ้างเอกสารท้ายคำฟ้อง ให้หักฉบับละ 1 คะแนน
7. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เอาแบบพิมพ์ 40ก. มาเขียน ให้งดการตรวจในข้อนั้น
8. หนังสือบอกกล่าวทวงถาม เขียนคำว่าเรียน ขึ้นก่อนคำว่าเรื่อง
9. ใบแต่งทนายความ ด้านซ้ายล่าง ลืมเขียนข้อความ “ขอรับรองว่าเป็นลายมือชื่อผู้แต่งทนายความลงนามต่อ
หน้าข้าพเจ้าจริง” และให้ระวังเรื่องอำนาจของทนายความในใบแต่งทนายความ
10. แบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล กับหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ (สัญญาประนีประนอม
ยอมความนอกศาล) หลักการเขียนไม่เหมือนกัน ส่วนมากมักจะสับสน หรือเอาแบบพิมพ์ 40 ก. มาเขียนสัญญา
ประนีประนอมยอมความนอกศาล หรือแบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ถ้าเขียนไม่พอ ห้าม
นำ แบบพิมพ์ 40 ก. มาเขียนต่อ แต่ให้นำแบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลฉบับใหม่ มาเขียน
ต่อเป็นแผ่นที่ 3
11. ในสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล มีข้อตกลงให้จำเลยชำระหรือไม่ชำระค่าทนายความและค่าฤชา
ธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์หรือไม่ หรือให้ตกเป็นพับ ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบและเขียนให้ชัด
12. ในสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล หรือสัญญาต่างๆ มักจะลืมเขียนในกรณีที่มีการผิดสัญญาหรือ
ผิดข้อตกลง จะมีสภาพบังคับกับผู้ที่ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไร
13. หน้าคำฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญามุมซ้ายบน ไม่ต้องไปเขียนว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญา
14. ช่องทุนทรัพย์หน้าคำฟ้องคดีแพ่ง มักจะลืมเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
4
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
15. ในการบรรยายฟ้องแพ่งและอาญา ไปเขียนชื่อบุคคล อันนี้โดนหักคะแนน ผู้ฟ้องคดีให้เขียนว่าโจทก์ไปเลย
ในส่วนของผู้ถูกฟ้อง ก็เขียนจำเลยไปเลย โดยผู้เข้าสอบจะสับสนกับการเขียนหนังสือบอกกล่าว เพราะในการ
เขียนหนังสือบอกกล่าว ต้องเขียนชื่อบุคคล หรือคำว่าท่าน ยังไม่ต้องเขียนคำว่า โจทก์หรือจำเลย
16. ในช่องหน้าคำฟ้องแพ่งหรืออาญา แผ่นแรก ถ้ามีโจทก์หรือจำเลยหลายคน ถ้าที่อยู่เดียวกันใน เขียน
(1),(2),(3) 27 หรือ 1-3) 27 แต่ถ้าที่อยู่คนละที่ เขียน (1)27 ,(2)53 ,(3)51
17. คำฟ้องแพ่งและคำฟ้องอาญา ใต้คำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไม่ต้องลงชื่อทนายความโจทก์ หรือ ไม่
ต้องลงชื่อโจทก์อีก ห้ามเขียนโดยเด็ดขาด
18. คำขอท้ายคำฟ้องแพ่งและคำขอท้ายคำฟ้องอาญา แผ่นด้านหลัง ในช่องผู้เรียง ลืมเติมคำว่า และเขียน มี
2 จุด ที่ต้องระวัง
19. เอาท้ายคำฟ้องแพ่งมาใช้เป็นท้ายคำฟ้องอาญา หรือเอาท้ายคำฟ้องอาญามาใช้เป็นท้ายคำฟ้องแพ่ง
20. การลงชื่อในข้อสอบในจุดต่างๆทั้งหมด ไม่ต้องเขียนคำว่านาย ให้เขียนว่า ชอบ ยุติธรรม แต่ใน ()
ด้านล่างใต้การลงชื่อให้เขียน (นายชอบ ยุติธรรม)
21. ถ้าเขียนคำร้อง อย่าลืมขีด คำแถลง/คำขอ ทั้ง 3 จุด และลงชื่อในช่องผู้ร้องมุมขวาล่าง และเขียน (นาย
ชอบ ยุติธรรม) ด้านล่าง
22. คำร้องใหญ่ คำให้การคดีแพ่ง คำร้อง คำขอ คำแถลง ใต้คำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ต้องมีการลงชื่อ
ทนายความ ผู้เรียงและเขียนด้วย
23. หนังสือมอบอำนาจ ลืมเขียนกรอบสี่เหลี่ยมและเขียนว่าอากรแสตมป์ 30 บาท หรือในการร่างสัญญาต่างๆ
ต้องเขียนกรอบสี่เหลี่ยมและเขียนว่าอากรแสตมป์
24. สัญญาต่างๆในข้อสอบ ให้เขียนชื่อสัญญาต่างๆไว้ด้านบนสุดตรงกลางด้วย
25. ในช่องลงชื่อต่างๆในข้อสอบ ถ้าเป็นนิติบุคคล อย่าลืมเขียนชื่อนิติบุคคล และต้องเขียนกรอบสี่เหลี่ยมและ
เขียนว่า ตราประทับ หรือตราสำคัญบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
26. แบบพิมพ์ศาล อย่าลืมเขียนเลขหน้าด้านบนสุดของหัวกระดาษ โดยเฉพาะหน้าที่ -2- ถ้ามีมากกว่านั้นก็
เขียนเลขหน้าในแบบพิมพ์ 40 ก. ทุกหน้าด้วย -3-
27. ช่องหมายเลขคดีดำ หมายเลขคดีแดง ในแบบพิมพ์ศาลต่างๆ ระวัง ถ้าคดีเพิ่งฟ้อง หรือคดีอยู่ในระหว่าง
การพิจารณา ให้ใส่เฉพาะเลขคดีดำ แต่ถ้าศาลพิพากษาคดีแล้วหรือศาลจำหน่ายคดีไปแล้ว ในแบบพิมพ์ศาล
ต่างๆ ให้ใส่เลขคดีดำและแดง

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
5
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
28. บัญชีพยาน มุมซ้ายบน มักจะลืมเขียนบัญชีพยานโจทก์ หรือจำเลย และในช่อง จำนวนรวมกี่.....อันดับ
อย่าลืมเขียน
29. การเขียนบัญชีระบุพยานลำดับที่ 1 ให้เขียนพยานบุคคลก่อน ดูตัวละครที่ข้อสอบให้มา และค่อยตามด้วย
พยานเอกสารและพยานวัตถุ เรียงตามเอกสารท้ายคำฟ้อง อย่าเขียนข้ามไปข้ามมา
30. ในการบรรยายฟ้องแพ่ง เรื่องการคิดคำนวนดอกเบี้ย ก่อนฟ้อง หรือค่าเสียหายก่อนฟ้องเบี้ย ผู้เข้าสอบ
มักจะลืมเขียน หรือคำนวณไม่ได้ หรือไม่ได้บรรยายในคำฟ้องในส่วนความเสียหายที่โจทก์ได้รับ และต้องนำมา
คำนวณเป็นทุนทรัพย์ในคำฟ้อง
31. เรื่องวัน เวลาต่างๆ สถานที่ทำสัญญา หรือวันที่ออกหนังสือ วันที่ยื่นฟ้อง วันที่ยื่นคำร้อง คำขอ คำแถลง
ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ มักจะจำสับสน
32. ต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าในข้อสอบมีโจทก์ และจำเลยกี่คน ฟ้องใครบ้าง ฟ้องข้อหาอะไร ประเด็นนี้ผู้เข้าสอบ
ต้องวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในข้อสอบให้ดี
33. ฝึ ก เย็ บ สำนวน ควรใช้ ป ากกาเจาะกระดาษก่ อ น หลั ง จากนั ้ น ค่ อ ยใช้ ห มุ ด เจาะ และเรี ย งลำดั บ
กระดาษคำตอบ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
6
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ทดสอบความรอบรู้ในข้อกฎหมายและการบอกกล่าว การนับระยะเวลาตามกฎหมาย
• สัญญาเช่าทรัพย์ ทีไ่ ม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่า
มาตรา 566 ถ้ากำหนดเวลาเช่าไม่ปรากฏในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้ไซร้ ท่านว่า
คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าก็ได้ทุกระยะ แต่
ต้องบอกกล่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อยแต่ ไม่จำต้อง
บอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน
➢ บอกเลิก สัญญาเช่าได้ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ โดยต้องบอกเลิกก่อ น
กำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 2 เดือน

• สัญญาเช่าทรัพย์ ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า
มาตรา 560 ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
แต่ถ้าค่าเช่านั้นจะพึงส่งเป็นรายเดือน หรือส่งเป็นระยะเวลายาวกว่ารายเดือนขึ้นไป ผู้ให้เช่าต้องบอก
กล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าให้ชำระค่าเช่าภายในเวลาใด ซึ่งพึงกำหนดอย่าให้น้อยกว่า 15 วัน
➢ บอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ถ้าค่าเช่าส่งเป็นรายเดือนหรือยาวกว่ารายเดือนขึ้นไป ต้องบอกกล่าวให้ชำระ
ค่าเช่าไม่น้อยกว่า 15 วัน

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวให้ชำระค่าเช่า
ทำที.่ .............................................
วันที่..............................................
เรื่อง ขอให้ชำระค่าเช่า
เรียน นายหนึง่ มกรา
ตามที่ท่านได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่บางส่วนชั้น 10 ของอาคารเลขที่ 31 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล
เขตจตุจ ักร กรุงเทพมหานคร จากบริษัท สมบูรณ์ จำกัด พื้นที่รวมทั้งหมด 100 ตารางเมตร มีกำหนด
ระยะเวลาในการเช่า 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2560 โดยตกลงชำระค่าเช่าใน
อัตราตารางเมตรละ 100 บาท คิดเป็นค่าเช่า เดือนละ 10,000 บาท และค่าบริการเครื่องปรับอากาศและ
รักษาความปลอดภัย เดือนละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 13,000 บาท และท่านต้องชำระค่าเช่าและค่าบริการ
ให้แก่บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ล่วงหน้าภายในวันที่ 1 ของทุกเดือน รายละเอียดปรากฏในสัญญาเช่า ฉบับลงวันที่
5 มกราคม 2558 ซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
7
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ปรากฏว่าท่านได้ประพฤติผิดสัญญาเช่า โดยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่งวดประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 ,
เดือนธันวาคม 2558 , เดือนมกราคม 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นเวลารวม 4 เดือน คิดเป็นเงินค่า
เช่าที่ค้างชำระจำนวนทั้งสิ้น 52,000 บาท การกระทำของท่านทำให้บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ได้รับความเสียหาย
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าในฐานะทนายความ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท สมบูรณ์ จำกัด จึง
ขอบอกกล่าวมายังท่าน ขอให้ท่านจัดการนำเงินค่าเช่าและค่าบริการที่ค้างชำระทั้งหมด จำนวน 52,000 บาท
มาชำระให้แก่บริษัท สมบูรณ์ จำกัด หรือชำระให้แก่ ข้าพเจ้า ณ บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ดังปรากฏที่อยู่ข้างต้น
ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้น ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องบอกเลิกสัญญา
เช่ากับท่านและดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ตัวอย่างหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า เรียกค่าเสียหาย และให้ออกจากตึกแถวที่เช่า


ทำที.่ .............................................
วันที่..............................................

เรื่อง ขอบอกเลิกสัญญาเช่า เรียกค่าเสียหาย และให้ออกจากตึกแถวที่เช่า


เรียน นายหนึ่ง มกรา
ตามที่ท่านได้เช่าตึกแถวเลขที่ 315 ซอยรัชดาภิเษก 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร จากนางสาวสวย ใจดี ผู้ให้เช่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 มีกำหนดเวลา 3 ปี คิดค่าเช่าเดือน
ละ 30,000 บาท ชำระค่าเช่าทุกสิ้นเดือนของทุกเดือน รายละเอียดซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ได้ครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว และผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้ท่านเช่าอีกต่อไป จึงมอบให้ข้าพเจ้า
ในฐานะทนายความดำเนินการในเรื่องนี้กับท่าน
ฉะนั้นโดยหนังสือนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสาวสวย ใจดี จึงขอบอกเลิก
สัญญาเช่ากับ ท่าน และขอให้ท่านขนย้ายทรัพย์ส ินและบริว ารออกไปจากตึกแถวที่เช่า พร้อมกับ ชำระ
ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่า เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะชำระเสร็จ
สิ้น มาชำระให้แก่ น างสาวสวย ใจดี ภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันรับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้นข้า พเจ้า
จำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
8
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

• บอกกล่าวแจ้งการผิดนัดแก่ผู้ค้ำประกัน ปพพ. ม.686


มาตรา 686 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวันนับแต่
วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอก
กล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ
ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจาก
ความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่
เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
➢ การบอกกล่าวแจ้งการผิดนัดของลูกหนี้ให้ผู้ค้ำประกันทราบ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิด
นัด ตามป.พ.พ.มาตรา 686 วรรค 1 ถือเป็น เงื่อนไขสำคัญและเป็น ขั้น ตอนที่เจ้า หนี้จะต้อง
ดำเนินการก่อนฟ้องผู้ค้ำประกัน ถ้าเจ้าหนี้ไม่ได้บอกกล่าวแจ้งการผิดนัดของลูกหนี้ให้ผู้ค้ำประกัน
ทราบก่อนฟ้อง เจ้าหนี้ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
➢ แม้จะพ้น 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ก็ต้ องบอกกล่าวแจ้งการผิดนัดของลูกหนี้ให้ผู้ค้ำ
ประกันทราบก่อนฟ้อง เพื่อให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวก่อนฟ้อง มิฉะนั้นเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
➢ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการพิพากษา ศาลต้องพิพากษาโดยให้ลูกหนี้ชำระ
หนี้ก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ จึงให้ผู้ค้ำประกันชำระแทน
➢ เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวแจ้งการผิดนัดถึงผู้ค้ำฯ ภายใน 60 วัน นับแต่ผิดนัด
➢ ก่อนหนังสือจะไปถึงเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำฯ ชำระหนี้ไม่ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำฯ จะชำระหนี้เมื่อหนี้
ถึงกำหนด
➢ ถ้าไม่บอกกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำฯไม่หลุดพ้นที่จะชำระหนี้ตามสัญญา
แต่หลุดพ้นความรับผิดชอบส่วนดอกเบี้ยและค่า สินไหมทดแทน และภาระติดพันที่เกิดขึ้นหลังพ้น
กำหนดเวลา 60 วันดังกล่าว
➢ *หนังสือบอกกล่าว 3 ฉบับ (ถึงลูกหนี้ กับผู้ค้ำประกัน)
1. บอกกล่าวลูกหนี้ตามปกติ
2. บอกกล่าวว่าให้ผู้ค้ำทราบว่าลูกหนี้ผิดนัด /ไม่ต้องกำหนดระยะเวลา

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
9
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
3. บอกกล่าวเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ หลังจากเจ้าหนี้มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าหนังสือฉบับที่สอง
ไปถึงผู้ค้ำประกันแล้ว
4. หากเจ้าหนี้ยังไม่บอกกล่าวเรียกผู้ค้ำฯชำระหนี้ไม่ได้ จึงฟ้องผู้ค้ำไม่ได้
5. ต้องบอกกล่าวทุกครั้งที่ลูกหนี้ผิดนัด

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้ค้ำประกันทราบ
ทำที่..............................................
วันที่..............................................
เรื่อง แจ้งการผิดนัดชำระหนี้
เรียน นางสาวสวย ใจดี ผู้ค้ำประกันของนายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้
ตามที่นายสมชาย ใจร้าย ได้กู้ยืมเงินไปจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ .........เป็นเงิน
จำนวน 200,000 บาท และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว โดยตกลงจะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร
เป็นรายเดือนทุกๆ เดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 5,000บาท ทั้งนี้ต้องชำระไห้เสร็จสิ้นภายใน....................โดย
ท่านได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วย รายละเอียดซึง่ ท่านทราบอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ หนี้ดังกล่าวครบกำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดคืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด(มหาชน) แล้ว
แต่ปรากฏว่าผู้กู้ได้ผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่.............และ ณ วันที่.............
คงมีภาระหนี้ค้างชำระเป็นต้นเงิน 200,000บาท พร้อมดอกเบี้ย.............บาท
ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอบอก
กล่าวการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ให้ท่านรับทราบ และหากท่านประสงค์จะชำระหนี้ดังกล่าวแทน โปรดติดต่อไป
ยังธนาคารได้
จึงเรียนมาเพื่อทราบ*****
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
10
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้
ทำที่..............................................
วันที่..............................................
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้
เรียน นางสาวสวย ใจดี ผู้ค้ำประกันของนายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้
ตามที่นายสมชาย ใจร้าย ได้กู้ยืมเงินไปจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่..........เป็นเงิน
จำนวน 200,000 บาท และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว โดยตกลงจะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร
เป็นรายเดือนทุกๆ เดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายใน....................โดย
ท่านได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วย รายละเอียดท่านทราบอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ หนี้ดังกล่าวครบกำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดคืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แต่ผู้กู้ได้
ผิดนัดชำระหนี้และธนาคารได้มีหนังสือแจ้งการผิดนัดของลูกหนี้ให้ท่านทราบแล้วนั้น แต่ผู้กู้และท่านยังไม่
ชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาแต่อย่างใด
ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะทนายความได้รับมอบอำนาจจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอแจ้งให้
ท่านจัดการชำระเงินจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ ท่านได้รับ
หนังสือฉบับนี้เป็นต้นไปจนกว่า ท่านจะชำระเสร็จสิ้น มาชำระให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ภายใน
กำหนด 10 วัน นับแต่วันรับหนังสือฉบับนี้ หากครบกำหนดเวลาแล้วท่านยังคงเพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความ
จำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
11
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวให้คู่สมรสของผู้ค้ำประกันชำระหนี้
ทำที่..............................................
วันที่..............................................
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้
เรียน นายสมหวัง ใจดี คู่สมรสของนางสวย ใจดี ผู้ค้ำประกัน
ตามที่นายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินไปจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่........เป็นเงิน
จำนวน 200,000 บาท และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว โดยตกลงจะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร
เป็นรายเดือนทุกๆเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ทั้งนี้ต้องชำระไห้เสร็จสิ้นภายใน....................โดย
นางสวย ใจดี ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว และท่านในฐานะคู่สมรสของนางสวย ใจดี ผู้ค้ำประกันได้ทำ
หนังสือยินยอมให้สัตยาบันการค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วย รายละเอียดซึง่ ท่านทราบอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ หนี้ดังกล่าวครบกำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดคืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แล้ว
ปรากฏว่าผู้กู้และผู้ค้ำประกันผิดนัดไม่ชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาแต่อย่างใด
ดังนั้น ท่านในฐานะคู่สมรสของผู้ค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดชอบหนี้ดังกล่าวด้วย
ดังนั้น หนังสือฉบับ นี้ ข้า พเจ้า ในฐานะทนายความได้รับ มอบอำนาจจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด
(มหาชน) จึงขอแจ้งให้ท่านจัดการชำระหนี้เป็นเงิน จำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15
ต่อปี นับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้เป็นต้นไปจนกว่า ท่านจะชำระเสร็จสิ้น มาชำระให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย
จำกัด (มหาชน) ภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วัน ที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากครบกำหนดเวลาท่านยังคง
เพิกเฉย ข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ
ข้อสังเกตุ
◼ กฎหมาย ค้ำประกัน จำนองใหม่ เริ่มใช้ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ทำสัญญาข้อความต้อง
ใช้ตามกฎหมายใหม่
◼ สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต หรือหนี้ที่มีเงื่อนไข สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุในสัญญา
ได้แก่
1. วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้
2. ลักษณะของมูลหนี้
3. จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน
4. ระยะเวลาในการก่อหนี้รายที่ค้ำประกัน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
12
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
***เพื่อให้ผู้ค้ำประกันทราบว่าตนจะต้องรับผิดมูลหนี้ใดในอนาคต และวงเงินเท่าใด?
***การค้ำประกันหนี้หลายคราว ม.699 ไม่จำต้องระบุข้อ 4***
◼ ข้อตกลงที่แตกต่างจากกฎหมายในสัญญาค้ำประกัน เฉพาะข้อตกลงนั้นตกเป็นโมฆะ
1.สัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต หรือมีเงื่อนไข (ม.681 วรรคสอง) ที่ไม่ระบุวัตถุประสงค์ใน
การก่อหนี้ที่ค้ำประกัน , ลักษณะของมูลหนี้ , จำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกัน และระยะเวลาใน
การก่อหนี้ที่ค้ำประกัน (ยกเว้นการค้ำประกันกิจการต่อเนื่องกันหลายครั้ง ตาม ม.699 จะไม่
ระบุระยะเวลาก็ได้)
2. สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุหนี้ หรือสัญญาที่ค้ำประกันโดยชัดแจ้ง
3. ตกลงยกเว้นกำหนดเวลาการบอกกล่าวความรับผิด ตามป.พ.พ. ม.686
4. ตกลงห้ามผู้ค้ำประกันยกข้อต่อสู้ทั้งหลายของลูกหนี้หรือของตนต่อสู้เจ้าหนี้ ตาม ม.694
5. สัญญาค้ำประกันเพื่อกิจการต่อเนื่องกันหลายครั้ง ตกลงยกเว้นสิทธิการบอกกล่าวเลิ ก
กิจการในอนาคต ตาม ม.699
6. ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือในฐานะลูกหนี้
ร่วม
◼ ข้อห้ามผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่ใช้บังคับ ในกรณี
ผู้ค้ำประกันเป็น นิติบุคคล ตกลงยินยอมรับผิดอย่างในฐานะลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็น
นิติบุคคลนั้นย่อมไม่มีสิทธิเกี่ยงตามมาตรา 688 (ขอเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน) 689 (บังคับ
เอาจากทรัพย์ของลูกหนี้ก่อน) และ 690 (ขอให้บังคับเอาจากหลักประกันของลูกหนี้ก่อน)

• การบอกกล่าวบังคับจำนอง (เป็นเงื่อนไขอำนาจฟ้องบังคับจำนอง ที่จะต้องดำเนินการก่อนฟ้อง


บังคับจำนอง หากไม่บอกกล่าวก่อน หรือบอกกล่าวกำหนดเวลาน้อยกว่า 60 วัน ผู้รับจำนองย่อม
ไม่มีอำนาจฟ้อง)
มาตรา 728 เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้
ภายในเวลาอันสมควรซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวนั้น ถ้าและลูกหนี้ละเลย
เสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้
ขายทอดตลาดก็ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่ อประกันหนี้อันบุคคลอื่น
ต้องชำระ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือ
แจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผู้จำนองเช่นว่านั้นหลุดพ้น
จากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์
แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันดังกล่าว
➢ การบอกกล่าวลูกหนี้ ระยะเวลาต้องไม่น้อยกว่า 60 วัน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
13
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
➢ กรณีบุคคลภายนอกต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่ส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้
➢ ถ้าจะบังคับจำนอง ต้องบอกกล่าวให้ครบถ้วนก่อนฟ้อง ถ้าไม่บอกกล่าวลูกหนี้หรือบอกกล่าว
ลูกหนี้แต่ระยะเวลาน้อยกว่า 60 วัน ไม่มีอำนาจฟ้อง
➢ การบอกกล่าวบังคับจำนอง ต้องทำ 2 ฉบับ กรณีที่ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้
1. บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว
2. บอกกล่าวไปยังผู้จำนอง (ที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือบอกกล่าวตามข้อ
1 ให้แก่ลูกหนี้ ในทางปฏิบัติควรส่งในวันเดียวกัน
➢ ถ้าบอกกล่า วผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สิน ของตนไว้เพื่อประกัน หนี้อัน บุคคลอื่น เกิน 15 วัน
เสียสิทธิบางส่วนตามกฎหมาย (ผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิด เช่น ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน
ค่าภาระติดพัน นับแต่วันที่พ้น 15 วัน)
• การจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่น
มาตรา 727/1 ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อัน
บุคคลอื่นจะต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์
จำนองหลุด
ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำ
ประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก ทั้งนี้
เว้นแต่เป็นกรณีที่นิติบุคคลเป็นลูกหนี้และบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการตามกฎหมายหรือบุคคลที่มีอำนาจ
ควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้นั้นของนิติบุคคลและผู้
จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้เป็นสัญญาต่างหาก

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
14
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง
ทำที่..............................................
วันที่..............................................
เรื่อง แจ้งให้ชำระหนี้ บอกเลิกสัญญา และบอกกล่าวบังคับจำนอง
เรียน นายสมชาย ใจร้าย
ตามที่ท่าน ในฐานะลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน ฉบับลงวันที่.........................กับสหกรณ์ ร่ำรวย จำกัด
โดยมีรายละเอียด..............ซึ่ง ในการทำสัญญาดังกล่าว ปรากฏท่านได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่............
บนโฉนดเลขที่.........................ตำบล.........................อำเภอ.........................จังหวัด...................... ...เนื้อที่...........
มาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าว รายละเอียดซึง่ ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ปรากฏว่าท่านผิดนัดไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และเพียง ณ วันที่................เดือน
.........................พ.ศ..........................ท่านยังคงเป็นหนี้สหกรณ์ร่ำรวย อยู่จำนวน.........................บาท
ฉะนั้นโดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากสหกรณ์ร่ำรวย จำกัด จึงขอ
ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนาบอกกล่าวทวงถามแจ้งบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนอง
มายังท่าน โดยขอให้ท่านนำเงินจำนวน............บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ท่านผิดนัดจนถึงวันที่ท่าน
ชำระเสร็จสิ้น ไปติดต่อชำระเงินให้แก่สหกรณ์ ร่ำรวย จำกัด พร้อมไถ่ถอนจำนอง ภายในระยะเวลา 60 วันนับ
แต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านไม่ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง
ข้าพเจ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมาย และบังคับจำนองเอากับที่ดินพร้อมสิ่งปลูก
สร้างเลขที่............ตามโฉนดที่ดินเลขที่...........ตำบล.........อำเภอ...........จังหวัด......... เนื้อที่..........อันเป็น
หลักประกันการจำนองออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ร่ำรวยต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
15
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง (กรณีที่ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้)
ทำที่..............................................
วันที่..............................................
เรื่อง แจ้งให้ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนอง
เรียน นายโชค ไม่ดี ผู้จำนอง
ตามที่นายสมชาย ใจร้าย ลูกหนี้ ได้ทำสัญญากู้ ยืมเงิน ฉบับลงวันที่.........................กับสหกรณ์ ร่ำรวย
จำกัด โดยมีรายละเอียด..............ซึ่งในการทำสัญญาดังกล่าว ท่านได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่.............
บนโฉนดเลขที่.........................ตำบล.........................อำเภอ.........................จังหวัด.........................เนื้อที่..........
มาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และเพียง ณ วันที่....................
เดือน.........................พ.ศ..........................ลูกหนี้ยังคงเป็นหนี้สหกรณ์ร่ำรวย จำกัด อยู่จำนวน.................บาท
ฉะนั้นโดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากสหกรณ์ร่ำรวย จำกัด จึงขอ
ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็น การบอกกล่าวบังคับจำนองมายังท่าน โดยขอให้ ท่านนำเงินจำนวน............บาท ไป
ติดต่อชำระเงินให้แก่สหกรณ์ร่ำรวย จำกัด พร้อมไถ่ถอนจำนอง ภายในระยะเวลา 60 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับ
หนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านไม่ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง ข้าพเจ้ามีความจำ
เป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินคดี กับท่านตามกฎหมาย และบังคับจำนองเอากับที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่
.............ตามโฉนดที่ดินเลขที่...........ตำบล.........อำเภอ...........จังหวัด.........เนื้อที่...........อันเป็นหลักประกันการ
จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ร่ำรวย จำกัด ต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
16
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนหนังสือบอกกล่าวทวงถาม
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.ทำที่ (เขียนที่มุมขวาบน)(สำนักงานทนายความพร้อมที่อยู่ที่ข้อสอบให้มา)
2.วันที่ (เขียนตรงกลางหน้ากระดาษ)(ข้อสอบจะบอกว่าให้ท่านออกวันที่เท่าไหร่)
3.เรื่อง (ต้องวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในข้อสอบเองว่าให้ท่านออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามในเรื่องอะไร)
➢ ขอให้ชำระหนี้/ขอให้ชำระเงิน (บันทึกรับสภาพหนี้,กู้ยืม,ค้ำประกัน)
➢ ขอให้ชำระค่าเสียหาย/ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (ละเมิด)
➢ ขอให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน และชำระค่าเสียหาย (ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย)
➢ บอกเลิกสัญญา ขอให้ชำระเงินและบอกกล่าวบังคับจำนอง (กู้ยืมเงินและบังคับจำนอง,เช่าซื้อ)
➢ ขอให้คืนเงิน (ฟ้องเรียกเงินคืน)
➢ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมและแบ่งทรัพย์มรดก หรือเรียกทรัพย์คืน (ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมและเรียก
ทรัพย์คืน,ฟ้องแบ่งมรดก)
➢ แจ้งการผิดนัดให้ผู้ค้ำประกันทราบ หรือแจ้งการผิดนัดชำระหนี้ (กู้ยืม,ค้ำประกัน)
➢ แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง (โอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้เงินกู้)

4.เรียน (ลูกหนี้/ข้อเท็จจริงในข้อสอบจะบอกว่าให้ท่านออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามถึงใคร หรือให้ท่านทำ


หนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ที่ต้องรับผิดชอบ)
➢ นายเสือ มั่นคง (บุคคลธรรมดา)
นางดาว มั่นใจ
➢ ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน และนายจน จำใจ (นิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด และบุคคลธรรมดา)
➢ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่ำรวยคอมพิวเตอร์ จำกัด (นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด)
➢ นายหนึ่ง มกรา , นางสอง กุมภา ผู้กู้ (กรณีเรียกให้บุคคลธรรมดา ชำระหนี้ทุกคน + ใส่ฐานะ)
นายสาม มีนา ผู้จำนอง
นายดวง ไม่ดี ผู้ค้ำประกัน

5.อ้างถึง (เอกสารปรากฎตามนิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้) ส่วนมากปรากฎในรูปแบบนิติกรรมสัญญา

➢ หนังสือรับสภาพหนี้ ฉบับลงวันที่..................
➢ สัญญาค้ำประกัน ฉบับลงวันที่..................
➢ สัญญาเช่า ฉบับลงวันที่..................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
17
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
➢ สัญญากู้เงิน ฉบับลงวันที่..................
➢ หนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง ฉบับลงวันที่..................

6.บรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้—(ให้ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบ)
• ผิดสัญญากู้ยืม+จำนอง
ตามที่ท่านได้กู้ยืมเงินไปจากบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เป็น
เงินจำนวน 1,000,000 บาท และท่านได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 5 ต่อปี โดยท่านตกลงจะผ่อนต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เป็นรายเดือน
ทุกๆ เดือนเดือนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท รวม 36 เดือน ภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เริ่มชำระเดือน
แรกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มกราคม 2561 หากท่านผิดนัดชำระ
หนี้ตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ท่านยินยอมให้บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ชำระ
หนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที และในการกู้ยืมเงินดังกล่าวนายดวง ไม่ดี ผู้จำนอง ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินตามโฉนด
ที่ดินเลขที่ 31 เลขที่ดิน 25 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหลักประกันในวงเงิน
จำนวน 1,000,000 บาท โดยตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี รายละเอียดปรากฎตามสัญญากู้ยืม
เงิน และสัญญาจำนองฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
• ผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ตามที่ท่านได้ทำหนังสือรับสภาพยอมรับว่าวันที่ 4 มกราคม 2563 ท่านได้ซื้อรถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น
ฟอร์จูนเนอร์ สีขาว หมายเลขทะเบียน ตก2525 กรุงเทพมหานคร ในราคา 1,000,000 บาท จากบริษัท ร่ำรวย
จำกัด โดยท่านตกลงชำระเงินค่ารถยนต์จำนวน 1,000,000 บาท ให้กับบริษัท ร่ำรวย จำกัด เป็นงวดๆละเดือน
ละ 100,000 บาท ภายในทุกวันที่ 5 ของเดือน โดยนำเงินสดไปชำระให้แก่บริษัท ร่ำรวย จำกัด เริ่มชำระเดือน
แรกวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบถ้วน หากท่านผิดนัดยินยอมให้ฟ้องคดี เรียกเงินที่ค้าง
ชำระพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันผิดนัด รายละเอียดปรากฏตามทีอ่ ้างถึงนั้น
• ผิดสัญญาเช่าซื้อ
ตามที่ท่านตกลงเช่าซื้อรถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ หมายเลขเครื่องยนต์....................
หมายเลขตัวถัง..............จากบริษัท สมบูรณ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้เช่าซื้อ โดยท่านตกลงราคาเช่าซื้อหลังจากหัก
เงินดาวน์พร้อมอุปกรณ์ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ในราคา 1,440,000 บาท และตกลงชำระค่าเช่าซื้อ เป็นงวดงวด
ละ 20,000 บาท รวม 72 งวด เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 11 กันยายน 2558 งวดต่อ ไปชำระทุกวันที่ 11 ของ
ทุกเดือน จนกว่าจะครบ หากท่านผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อยินยอมชำระดอกเบี้ยปรับให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อในอัตราร้อย
ละ 10 ต่อปี รายละเอียดตามสัญญาเช่าซื้อฉบับลงวันที่ ............ซึ่งท่านทราบดีแล้วนั้น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
18
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• ผิดสัญญาเช่า
ตามที่ท่านได้ตกลงเช่าอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น เลขที่ 888 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
จำนวน 1 คูหา ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 321 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จาก
นายหนึ่ง มกรา เพื่อประกอบธุรกิจ มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 1 ปี โดยตกลงชำระค่าเช่าทุกวันที่ 5 ของเดือน
ในอัตราเช่าเดือนละ 80,000 บาท และมีเงื่อนไขว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว ท่าน ต้องขนย้าย
ทรัพสินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าในทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน รายละเอียดปรากฏตามสัญญา
เช่าฉบับลงวันที่...............ซึ่งท่านทราบดีแล้วนั้น

7.บรรยายเหตุแห่งการผิดสัญญา หรือข้อโต้แย้งสิทธิ
• ผิดสัญญากู้ยืม+จำนอง
ต่อมาปรากฏว่าภายหลังจากที่ท่านได้กู้ยืมเงินจากบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แล้ว ท่าน
ไม่ชำระเงินที่กู้ยืมให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาเลย การกระทำของท่านจึงเป็นการ
ผิดนัดผิดสัญญาทำให้บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย และบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย
จำกัด (มหาชน) ไม่ประสงค์จะให้ท่านได้กู้ยืมเงินอีกต่อไป
• ผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ต่อมาปรากฏว่าท่านผิดนัดชำระเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้ตั้งแต่งวดแรก ท่านจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงิน
จำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป
จนกว่าท่านจะชำระเสร็จสิ้น ซึ่งบริษัท ร่ำรวย จำกัด พยายามติดต่อท่านแล้วแต่ติ ดต่อท่านไม่ได้ การกระทำ
ของท่านเป็นเหตุให้บริษัท ร่ำรวย จำกัด ได้รับความเสียหาย
• ผิดสัญญาเช่าซื้อ
ต่อมาปรากฏว่าท่านได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดวันที่ 11 กรกฎาคม 2559
เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวน 5 งวด ทางบริษัท สมบูรณ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้เช่าซื้อได้บอกกล่าวให้
ท่านทราบแล้วแต่ท่านก็ยังคงเพิกเฉย การกระทำดังกล่าวเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาเช่าซื้อ ท่านมีหน้าที่ต้องส่ง
มอบรถยนต์คันเช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีด้วยค่าใช้จ่ายของ ท่านเอง หากไม่ส่ง
มอบรถยนต์คืน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิยึดและเข้าครอบครองรถยนต์ที่ เช่าซื้อได้ทันที โดยท่านต้องชดใช้ค่าติดตาม
ยึดรถยนต์ นอกจากนี้ยังต้องรับผิดชำระค่าใช้ทรัพย์ ค่าขาดประโยชน์ ค่าเสียหาย และค่าเสื่อมราคาแก่ผู้ให้เช่า
ซือ้ ด้วย หรือ
• ผิดสัญญาเช่า
ต่อมาปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญา ท่านไม่ทำการขนย้ายทรัพย์สินและบริวาร
ออกจากอาคารที่เช่าแต่อย่างใด ทั้งที่นายหนึ่ง มกรา ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
19
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2561 เป็นต้นไป จะมีผู้อื่นมาเช่าอาคารที่เช่าดังกล่าวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 120,000 บาท การกระทำของ
ท่านทำให้นายหนึ่ง มกรา ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถนำอาคารที่เช่าออกให้ผู้อื่นเช่าได้

8.บรรยายความต้องการและสภาพบังคับ หรือสิ่งที่ต้องให้ปฏิบัติ
• ผิดสัญญากู้ยืม+จำนอง
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท
ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และบอกกล่าวบังคับจำนองกับท่าน โดยให้ท่าน
นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558
เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะชำระเสร็จสิ้นไปชำระให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ภายในกำหนด 60
วัน นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ พร้อมกับไถ่ถอนจำนอง หากพ้นกำหนดนี้แล้วท่านยังคงเพิกเฉยอยู่
ข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป และบังคับจำนองเอากับที่ดินตามโฉนด
เลขที่ 31 เลขที่ดิน 25 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อันเป็นหลักประกันการจำนองออกขาย
ทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ต่อไป
• ผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท
ร่ำรวย จำกัด จึงขอบอกกล่าวมายังท่าน เพื่อให้ท่านนำเงินจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะชำระเสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่
บริษัท ร่ำรวย จำกัด ภายในกำหนด 7 วันนับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้เป็นต้นไป มิฉะนั้นข้าพเจ้าก็มี
ความจำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป หรือ
• ผิดสัญญเช่าซื้อ
ฉะนั้น หนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท
สมบูรณ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้เช่าซื้ อ จึงขอบอกกล่าวมายังท่าน ให้ท่านชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมด
จำนวน 100,000 บาท และดอกเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อปีนับแต่วันที่ท่านผิดนัด จนถึงวันที่ท่านชำระ
เสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่บริษัทฯผู้ให้เช่าซื้อ ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากท่าน
ไม่ชำระในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือบอกเลิ กสัญญาและให้สัญญาเช่าซื้อ
สิ้นสุดลงทันที และให้ท่านส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ หากไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่า
ซื้อคืนได้ ท่านจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นเงิน 1,240,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ
10,000 บาท ค่าเสียหาย ค่าติ ดตามยึดรถยนต์คืน และค่าเสื่อมราคาให้แก่ผู้เช่าซื้อ มิฉะนั้นข้าพเจ้าจำเป็น
จะต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป หรือ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
20
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• ผิดสัญญาเช่า
ดังนั้น ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายหนึ่ง มกรา จึงขอบอก
กล่าวมายังท่านให้จำการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่า เลขที่ 888 แขวงสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 321 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 120,000
บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะทำการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจาก
อาคารที่เช่าแล้วเสร็จ โดยให้ไปชำระให้แก่นายหนึ่ง มกรา ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย หากท่าน
เพิกเฉยข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฏหมายโดยเด็ดขาดต่อไป

9. เขียนคำว่า “ขอแสดงความนับถือ” ขอแสดงความนับถือ


10. ทนายความลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ตัวอย่างการออกหนังสือบอกเลิกสัญญา ขอให้ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนอง


สำนักกฏหมาย ชอบ ยุติธรรม
เลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
1 มีนาคม 2559
เรื่อง บอกเลิกสัญญา ขอให้ชำระหนี้ และบอกกล่าวบังคับจำนอง
เรียน นายยากจน เหลือทน ผู้กู้
นายดวง ไม่ดี ผู้จำนอง

ตามที่ท่านได้กู้ยืมเงินไปจากบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เป็น


เงินจำนวน 1,000,000 บาท และท่านได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 5 ต่อปี โดยท่านตกลงจะผ่อนต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เป็นรายเดือน
ทุกๆ เดือนเดือนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท รวม 36 เดือน ภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เริ่มชำระเดือน
แรกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มกราคม 2561 หากท่านผิดนัดชำระ
หนี้ตั้งแต่ 3 งวดขึ้นไป ท่านยินยอมให้บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) บอกเลิกสัญญาและเรียกให้ชำระ
หนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที และในการกู้ยืมเงินดังกล่าวนายดวง ไม่ดี ผู้จำนอง ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินตามโฉนด
ที่ดินเลขที่ 31 เลขที่ดิน 25 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นหลักประกันในวงเงิน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
21
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จำนวน 1,000,000 บาท โดยตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี รายละเอียดปรากฎตามสัญญากู้ยืม
เงินและสัญญาจำนองฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
ต่อมาปรากฏว่าภายหลังจากที่ท่านได้กู้ยืมเงินจากบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แล้ว ท่านไม่
ชำระเงินที่กู้ยืมให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ตามสัญญาเลย การกระทำของท่านจึงเป็นการผิด
นัดผิดสัญญาทำให้บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ได้รับความเสียหาย และบริษัท ธนาคาร ร่ำรวย
จำกัด (มหาชน) ไม่ประสงค์จะให้ท่านได้กู้ยืมเงินอีกต่อไป
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท
ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินและบอกกล่าวบังคับจำนองกับท่าน โดยให้ท่าน
นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558
เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะชำระเสร็จสิ้นไปชำระให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ภายในกำหนด 60
วัน นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดนี้แล้วท่านยังคงเพิกเฉยอยู่ ข้าพเจ้ามีความจำเป็นที่
จะต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไปและบังคับจำนองเอากับที่ดินตามโฉนดเลขที่ 31 เลขที่ดิน 25
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อันเป็นหลักประกันการจำนองออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมา
ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รบั มอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
22
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือขอให้มาจดทะเบียนหย่า ตกลงเรื่องอำนาจปกครองบุตร และค่าอุปการะเลี้ยงดู
ทำที่ สำนักงานกฎหมายชอบธรรม
เลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
18 พฤศจิกายน 2562
เรื่อง ขอให้มาจดทะเบียนหย่า ตกลงเรื่องอำนาจปกครองบุตร และค่าอุปการะเลี้ยงดู
เรียน นางสวย ใจดี

ตามที่ท่านและนายจน ใจดี ได้จดทะเบียนสมรสกัน ณ สำนักงานเขตพระโขนง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์


2553 ระหว่างอยู่กินกันมีบุตรสองคนคือ เด็กหญิงหนึ่ง ใจดี อายุ 8 ปี และเด็กชายสอง ใจดี อายุ 6 ปี นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ท่านได้ด่านายจน ใจดี และบุพการีของนายจน ใจดี ว่า”มึงมัน
เลวเหมือนโคตรมึงเลย ชั่วได้ใจจริงๆ ชั่วทั้งโครต” ต่อหน้าเพื่อนบ้าน 8-9 คน เป็นเหตุให้นายจน ใจดี และ
บุพการีเสื่อมเสียชื่อเสียงได้รับความอับอายและเสียหาย นายจน ใจดี จึงประสงค์ที่จะขอหย่าขาดจากท่าน และ
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว พร้อมทั้งขอให้ท่านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ
8,000 บาทจนกว่าบุตรทั้งสองจะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายจน ใจดี จึงแจ้งมายังท่าน
เพื่อให้ท่านไปจดทะเบียนหย่า และไปตกลงเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตรทั้งสอง พร้อมทั้งตกลงค่าอุปการะ
เลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ณ สำนักงานเขตพระโขนง ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนด
ดังกล่าวข้าพเจ้าก็จำต้องดำเนินการตามกฎหมายกับท่านต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
23
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย และชำระค่าเสียหาย
ทำที่ สำนักงานกฎหมายชอบธรรม
เลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
18 เมษายน 2560
เรื่อง ให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย และชำระค่าเสียหาย
เรียน กรรมการ บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ผู้จะซื้อ

ตามที่บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ในฐานะผู้จะซื้อ ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่


12345 เลขที่ดิน 321 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเลขที่ 9 แขวง
บางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จากนางสวย ใจดี ผู้จะขาย ในราคา 2,400,000 บาท โดยในวันทำ
สั ญ ญาท่ า นได้ ว างเงิ น มั ด จำให้ ไ ว้ แ ก่น างสวย ใจดี แล้ ว เป็ น เงิ น จำนวน 400,000 บาท ส่ ว นที ่ เ หลื ออีก
2,000,000 บาท ท่านตกลงจะไปชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
สาขาพระโขนง ในวันที่ 27 มกราคม 2560 หากผิดนัดท่านตกลงยินยอมให้นางสวย ใจดี ริบเงินมัดจำและ
ฟ้องร้องบังคับตามกฎหมายได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และท่านยินยอมให้ นางสวย ใจดี ผู้จะขาย
คิดค่าปรับได้อีกเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท รายละเอียดตามสัญญาจะซื้อจะขายฉบับลงวันที่ 11 สิงหาคม
2559 รายละเอียดซึ่งท่านทราบดีแล้วนั้น
ปรากฏว่าเมื่อถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 27 มกราคม 2560 ท่านได้ผิดนัดไม่ชำระ
ราคาที่ดินส่วนที่เหลืออีก 2,000,000 บาท และไม่ไปทำการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกำหนดนัด
การกระทำดังกล่าวของท่านจึงเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
ฉะนั้น หนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสวย ใจดี
จึงขอบอกกล่าวมายังท่าน ให้ท่านชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ 2,000,000 บาท และค่าปรับจำนวน 400,000
บาท รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 27
มกราคม 2560 เป็นต้นไปจนกว่าท่านจะชำระเสร็จสิ้น โดยให้นำเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย ทั้งหมดไป
ชำระให้แก่นางสวย ใจดี และทำการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร
สาขาพระโขนง ในวันที่ 30 เมษายน 2560 มิฉะนั้นข้าพเจ้ามีความจำเป็นจะต้องดำเนินคดีกับ ท่านตาม
กฏหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
24
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือบอกกล่าวให้ขนย้ายทรัพสินและบริวารและชำระค่าเสียหาย
สำนักกฏหมาย ชอบ ยุติธรรม
เลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
4 มกราคม 2561
เรื่อง ขอให้ออกจากอาคารที่เช่าและชำระค่าเสียหาย
เรียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน และนายจน เหลือทน หุ้นส่วนผู้จัดการ

ตามที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน ได้ตกลงเช่าอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น เลขที่ 888 แขวงสีลม เขตบางรัก


กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คูหา จากนายหนึ่ง มกรา เพื่อประกอบธุรกิจ มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 1 ปี
โดยตกลงชำระค่าเช่าทุกวันที่ 5 ของเดือน ในอัตราเช่าเดือนละ 80,000 บาท และมีเงื่อนไขว่าเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาการเช่าแล้วห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน ต้องขนย้ายทรัพสินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าในทันที
โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปรากฏตามสัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 4 ตุลาคม 2559 รายละเอียดซึ่งท่านทราบดี
แล้วนั้น
ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน ไม่ทำการขนย้าย
ทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าแต่อย่างใด ทั้งที่นายหนึ่ง มกรา ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่า
ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2561 เป็นต้นไป จะมีผู้อื่นมาเช่าอาคารที่เช่าดังกล่าวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 120,000
บาท การกระทำของห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน ทำให้นายหนึ่ง มกรา ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถนำ
อาคารที่เช่าออกให้ผู้อื่นเช่าได้
ดังนั้น ข้าพเจ้าในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายหนึ่ง มกรา จึงขอบอกกล่าวมายังท่านให้จำ
การขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่า ภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันที่ได้ รับหนังสือฉบับนี้
พร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 120,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่า
ท่านจะทำการขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เ ช่าแล้วเสร็จ โดยให้ไปชำระให้แก่นายหนึ่ง มกรา
ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย หากท่านเพิกเฉยข้าพเจ้ามีความจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตาม
กฏหมายโดยเด็ดขาดต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รบั มอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
25
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือขอให้เพิกถอนนิติกรรมและแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
สำนักกฏหมายชอบ ยุติธรรม
111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
10 กรกฎาคม 2561
เรื่อง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมและแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
เรียน 1.นายใหญ่ อุบอิบ ในฐานะผู้จัดการมรดก
2.นางเล็ก อุบอิบ

ตามที่ศาลแพ่งพระโขนงได้มีคำสั่งให้นายใหญ่ อุบอิบ เป็นผู้จัดการมรดกของนางรวย อุบอิบ ผู้ตาย


ในคดีหมายเลขแดงที่ 777/2561 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 รายละเอียดดังที่ท่านทั้งสองทราบดีอยู่แล้วนั้น
ปรากฏว่า หลังจากศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้จัดการมรดกกลับไม่ทำตามหน้าที่ของ
ผู้จัดการมรดกตามกฏหมาย โดนท่านทั้งสองได้ร่วมกันเบียดบังทรัพย์มรดกเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต
โดยผู้จ ัดการมรดกได้ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 444 เลขที่ดิน 44 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พร้อมอาคารไม้ 2 ชั้น เลขที่ 555 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว และที่ดินโฉนดที่ 666 เลขที่ดิน 66 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
พร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้แก่นางเล็ก อุบอิบ โดยไม่แบ่งทรัพย์สินให้แก่ทายาทตามพินัยกรรม เป็นเหตุให้
นายหนึ่ง อุบอิบ และนายสอง อุบอิบ ทายาทตามพินัยกรรมได้รับความเสียหาย
ดังนั้น ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายหนึ่ง อุบอิบ และ
นายสอง อุบอิบ จึงขอให้ท่านดำเนินการเพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก พร้อมจัดการแบ่ง
ทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมของนางรวย อุบอิบ เจ้ามรดก ซึ่งให้ระบุให้โรงสี ข้าวพร้อมที่ดินโฉนดที่
666 เลขที่ดิน 66 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ และกิจโรงสีข้าว ให้แก่นายหนึ่ง
อุบอิบ และส่งมอบสร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท และเงินสดในธนาคารร่ำรวย จำนวน 900,000 บาทให้แก่
นายสอง อุบ อิบ ภายใน 7 วัน นับ แต่ว ัน ที่ท่านได้รับหนังสือบอกกล่าวฉบับนี้ มิฉะนั้น ข้าพเจ้า มีความ
จำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามกฏหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
26
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือขอให้ชำระเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้
สำนักกฏหมาย ชอบ ยุติธรรม
111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
13 เมษายน พ.ศ.2563
เรื่อง ขอให้ชำระเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้
เรียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน และนายจม ไม่ลง
อ้างถึง หนังสือรับสภาพหนี้ ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2563

ตามที่ท่านทั้งสองได้ทำหนังสือรับสภาพยอมรับว่าเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ท่านทั้งสองได้ซื้อรถยนต์


กระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ 4 ประตู สีดำ หมายเลขทะเบียน กข 5678 กรุงเทพมหานคร ในราคา 900,000
บาท จากบริษัท ยิ่งรวย จำกัด ท่านทั้งสองตกลงชำระเงินค่ารถยนต์จำนวน 900,000- บาท ให้บริษัท ยิ่งรวย
จำกัด เป็นงวดๆ ละเดือนๆ ละ 100,000 บาท ภายในทุกวันที่ 5 ของเดือนโดยนำเงินสดไปชำระให้แก่บริษัท
ยิ่งรวย จำกัด ทุกงวด เริ่มชำระเดือนแรกวันที่ 5 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบถ้วน หากท่านทั้งสอง
ผิดนัดยินยอมให้ฟ้องคดีเงินที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันที่ผิดนัด รายละเอียด
ตามที่อ้างถึงนั้น
ปรากฏว่าท่านทั้งสองผิดนัดชำระเงินตามหนังสือรับสภาพหนี้ตั้งแต่งวดแรก ท่านทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้อง
ชำระเงินจำนวน 900,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2563 เป็นต้น
ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ บริษัท ยิ่งรวย จำกัด พยายามติดต่อท่านทั้งสองแล้วแต่ติดต่อท่านทั้งสองไม่ได้เป็นเหตุ
ทำให้บริษัท ยิ่งรวย จำกัด ได้รับความเสียหาย
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท
ยิ่งรวย จำกัด จึงขอบอกกล่าวมายังท่านทั้งสอง เพื่อให้ท่านทั้งสองนำเงินจำนวน 900,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 เมษายน 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่บริษัท
ยิ่งรวย จำกัด ภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้นข้าพเจ้ามีความจำต้องดำเนินคดี
กับท่านตามที่ได้รับมอบหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
27
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้
ทำที่ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
1 มีนาคม 2550
เรื่อง แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง
เรียน กรรมการ บริษัท ยากจน จำกัด ผู้กู้ และนายจม ไม่ลง ผู้ค้ำประกัน

ตามที่บริษัท ยากจน จำกัด ได้กู้เงินจำนวน 90,000,000 บาทไปจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน)


โดยตกลงเงื่อนไขชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และ ชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ภายในวันที่ 30
มีนาคม และวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี และยังมีข้อตกลงให้ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่ธนาคาร
กำหนดขึ้นลงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดนเริ่มคือเงินกู้ ในปี 2548 งวดแรกภายในวันที่ 30
กันยายน 2548 จำนวน 30,000,000 บาท งวดที่สองภายในวันที่ 30 กันยายน 2549 จำนวน 30,000,000
บาท และงวดสุดท้ายในวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 30,000,000 บาท โดยนายจม ไม่ลง ได้ทำสํญญาค้ำ
ประกันการชำระหนี้ ตามสัญญากู้ดังกล่าวฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2546 ภายในวงเงิน 90,000,000 บาท
รายละเอียดซึ่งท่านทั้งสองทราบดีอยู่แล้วนั้น
ธนาคารร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอแจ้งให้ท่านทั้งสองทราบว่า ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน)
ได้โอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้เงิน กู้ของท่ านตามสัญญาเงินกู้แ ละสัญญาค้ำประกัน ฉบับลงวันที่ 1
กันยายน 2546 ดังกล่าวข้างต้น ให้แก่บริษัท เศรษฐี จำกัด นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียนมายังท่านทั้งสองเพื่อทราบว่ านับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 เป็นต้นไปบริษัท
เศรษฐี จำกัด เป็นเจ้าหนี้ เงินกู้และสัญญาค้ำประกันของท่านทั้งสองดังกล่าวแทนธนาคาร ร่ำรวย จำกัด
(มหาชน) โดยท่านทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่บริษัท เศรษฐี จำกัด ต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
หัวหน้าฝ่ายกฎหมายธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
28
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน
ทำที่ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
1 มีนาคม 2560
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้
เรียน นายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้

ตามที่ท่านได้กู้ยืมเงินไปจากธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นเงิน


จำนวน 400,000 บาท และท่านได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว โดยท่านตกลงจะผ่อนชำระหนี้ให้แก่
ธนาคารเป็นรายเดือนทุกๆ เดือนเดือนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท รวม 24 เดือน ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จสิ้น
ภายในวันที่ 31 มกราคม 2560 หากผิดนัดท่านยอมเสียดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี รายละเอียด
ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
บัดบี้ครบกำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดคืนให้แก่ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แล้ว แต่ปรากฎว่าท่าน
ผิดนัดไม่ชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารตามสัญญาแต่อย่างใด
ฉะนั้น หนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากธนาคาร
ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอแจ้งให้ท่านชำระหนี้ เป็นต้นเงินจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ ท่านผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่า ท่านชำระเสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่
ธนาคาร ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากครบกำหนดเวลาแล้ว
ท่านยังคงเพิกเฉยอยู่ ข้าพเจ้ามีจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
29
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามขอให้ชำระค่าเสียหายตามมูลหนี้ละเมิด
ทำที่ 1 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ
10 มิถุนายน 2563
เรื่อง ขอให้ชำระค่าเสียหาย
เรียน กรรมการบริษัท ร่ำรวย จำกัด

ตามที่เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 02.30 น. นายยากจน เหลือทน ลูกจ้างของบริษัท ร่ำรวย


จำกัด ในตำแหน่งพนักงานขับรถขนส่งของ ได้ขับรถกระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ หมายเลขทะเบียน กก 1234
กรุงเทพมหานคร บรรทุกผู้โดยสารจำนวน 9 คนที่ท้ายกระบะ ขับมาตามถนนสุขุมวิทจากบางนามุ่งหน้าไปพระ
โขนง ด้วยความประมาทปราศจากความระมัด ระวังเนื่องจากเป็นเวลากลางคืนสภาพถนนมืด แต่นายยากจน
เหลือทน ขับขี่ด้วยความเร็วสูงและในขณะที่เมาสุรา เมื่อมาถึงบริเวณที่หน้าสำนักงานเขตพระโขนง ได้หักหลบ
รถบรรทุกที่แล่นอยู่ด้านหน้าอย่างกระทันหันแล้วรถเสียหลักไปทางซ้ายพุ่ งชนฟุตบาท ทำให้รถพลิกคว่ำ เป็น
เหตุให้ผู้โดยสารที่นั่งมาในท้ายกระบะทั้งหมดกระเด็นออกจากท้ายกระบะโดยทุกคนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
ทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนั้นมีนายโชค ไม่ดี บุตรชายของนางสวย ไม่ดี รวมอยู่ด้วย รายละเอียดซึ่งท่านทราบดีอยู่
แล้วนั้น
ต่อมาปรากฏว่า การกระทำละเมิดของนายยากจน เหลือทน ทำให้บุตรชายของนางสวย ไม่ดี เสียชีวิต
และนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัด เป็นเวลา 7 คืนแล้วจึงเผา เสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 200,000 บาท และทำให้นาง
สวย ไม่ดี ต้องขาดไร้ผู้อุปการะเนื่องจากนายโชค ไม่ดี กำลังจะเรียนจบและสามารถทำงานหารายได้เลี้ยงนาง
โชค ไม่ดี เป็นเงินเดือนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท จึงขอคิดค่าเสียหายเป็นค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา
10 ปี เป็นเงิน 2,400,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 ,600,000 บาท ท่านในฐานะนายจ้าง ผู้สั่งให้นายยากจน
เหลือทน ลูกจ้างของท่านขับขี่รถกระบะไปในทางการทีจ่ ้าง ท่านจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวด้วย
ฉะนั้น หนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสวย ไม่ดี
จึงขอแจ้งให้ท่าน นำเงินจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ท่านผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่า ท่านชำระเสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่ นางสวย ไม่ดี ภายใน 15 วันนับแต่
วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากครบกำหนดเวลาแล้วท่านยังคงเพิกเฉยอยู่ ข้าพเจ้ามีจำเป็นต้องดำเนินคดีกับ
ท่านตามกฎหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
30
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• การออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามคู่สมรส
หนี้ที่ส ามีภริย าเป็น ลูกหนี้ร ่ว มกัน นั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีห รือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส
ดังต่อไปนี้ (มาตรา 1490)
(1) หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน/จัดหาสิ่งจำเป็น/การอุปการะเลี้ยงดู/การรักษาพยาบาลบุคคล
ในครอบครัว/การศึกษาบุตรตามอัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) เกิดขึ้นจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้เพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน

ตัวอย่างหนังสือบอกกล่าวทวงถามคู่สมรสของลูกหนี้
ทำที่...................
วันที่..................................
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้
เรียน นางสวย ใจดี คู่สมรสของนายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้

ตามที่น ายสมชาย ใจร้าย ได้กู้ย ืมเงินไปจากสหกรณ์ เก็บออมทรัพย์ จำกัด เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น


100,000 บาทถ้วน (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยท่านในฐานะคู่สมรสของนายสมชาย ใจร้าย ลูกหนี้ ได้ให้สัตยาบัน
โดยลงชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ยินยอม ในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว รายละเอียดซึ่งท่านทราบอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ หนี้จำนวนดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้ว แต่นายสมชาย ใจร้าย กับท่านยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่
สหกรณ์เก็บออมทรัพย์ จำกัด แต่อย่างใด
ดังนั้น หนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากสหกรณ์เก็บ
ออมทรัพย์ จำกัด จึงขอบอกกล่าวให้ท่านนำเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี
ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่า ท่านชำระเสร็จสิ้น ไปชำระแก่สหกรณ์เก็บออมทรัพย์
จำกัด ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ท่านยังคงเพิกเฉยอยู่
ข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
31
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• การออกหนังสือบอกกล่าวทวงทายาท
ความรับผิดในหนี้ของทายาท ทายาทของลูกหนี้ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด
แก่ตน (ปพพ.ม.1601)

ตัวอย่างการออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามทายาทของลูกหนี้
ทำที.่ ........................................
วันที่.......................
เรื่อง ขอให้ชำระหนี้
เรียน นางสวย ใจดี คู่สมรส ของนายสมชาย ใจร้าย ผู้กู้

ตามที่นายสมชาย ใจร้าย ได้กู้ยืมเงินไปจากธนาคารร่ำรวย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่...........เป็นเงิน


จำนวนทั้งสิ้น 200,000 บาทถ้วน และนายสมชาย ใจร้าย ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว โดยตกลง
จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนทุกๆ เดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จ
สิ้นภายในวันที่........................... รายละเอียดท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
บัดนี้ครบกำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดคืนให้แก่ธนาคารร่ำรวย จำกัด (มหาชน) แต่ปรากฏว่า นาย
สมชาย ใจร้าย ผู้กู้ได้ถึงแก่ความตาย และยังไม่ได้ชำระหนี้คืนให้ แก่ธนาคารตามสัญญาแต่อย่างใด ดังนั้นท่าน
ในฐานะทายาทของผู้กู้จึงต้องรับผิดชำระหนี้แทนผู้ตาย
ดังนั้น หนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากธนาคาร
ร่ำรวย จำกัด (มหาชน) จึงขอแจ้งให้ท่านจัดการชำระหนี้เป็นต้นเงินจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่า ท่านจะชำระเสร็จสิ้น ไปชำระ
ให้แก่ธนาคาร ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ท่านยังคง
เพิกเฉยอยู่ ข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป

ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
32
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างการออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระค่าเสียหาย
ทำที่...........................
วันที่..............................................
เรื่อง ขอให้ชำระค่าเสียหาย
เรียน นายโชค ไม่ดี
ตามที่ท่านได้ขับรถกะบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ หมายเลขทะเบียน 9999 กรุงเทพมหานคร ด้วยความ
ประมาท ชนบ้านเลขที่ 31 ถนนเจริญกรุง แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ของนางสวย ใจดี เสียหาย
และทำให้เด็กหญิงจันทร์ ใจดี บุตรของนางสวย ใจดี บาดเจ็บแขนซ้ายหักและตาข้างซ้ายบอด เมื่อวันที่ 10
มกราคม 2553 นางสวย ใจดี ต้องเสียค่าซ่อมแซมบ้านเป็นเงิน 450,000 บาท และเด็กหญิง จันทร์ ใจดี ต้อง
เสียค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 400,000 บาท และต้องพิการเสียบุคลิกภาพและเสียโฉมไปตลอดชีวิตคิดเป็นเงิน
ค่าเสียหาย 600,000 บาท รวมค่าเสียหายของเด็กหญิงจันทร์ ใจดี เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ท่านได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับนางสวย ใจดี ในฐานะ
ส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจันทร์ ใจดี ตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้ให้แก่นางสวย ใจดี
เป็นเงิน 400,000 บาทและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เด็กหญิงจันทร์ ใจดี เป็นเงิน 500,000 บาท โดยจะชำระให้
ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2553 แต่เมื่อถึงกำหนดท่านผิดนัดไม่ชำระค่าเสียหายใดๆ ให้แก่นางสวย ใจดี แต่อย่าง
ใด รายละเอียดซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจของนางสวย ใจดี ในฐานะส่วนตัวและ
ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจันทร์ ใจดี ขอเรียนให้ท่านทราบว่าค่าเสียหายในส่วนของ
เด็กหญิงจันทร์ ใจดี ซึ่งนางสวย ใจดี ได้ตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความกับท่านในฐานะผู้แทนโดยชอบ
ธรรมของเด็กหญิงจันทร์ ใจดี นั้นได้ทำไปโดยที่นางสวย ใจดี ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ค่าเสียหายตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความในส่วนนี้จึงเป็นโมฆะบังคับไม่ได้ตามกฎหมาย
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านนำค่าเสียหายส่วนของนางสวย ใจดี จำนวน 400,000 บาท พร้อม
ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2553 จนถึงวันที่ท่านชำระเสร็จสิ้น และ
ค่าเสียหายส่วนของเด็กหญิงจันทร์ ใจดี จำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
นับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2553 จนถึงวันที่ท่านชำระเสร็จสิ้น ไปชำระให้แก่นางสวย ใจดี ณ ภูมิลำเนาของ
นางสวย ใจดี ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้น ข้าพเจ้าก็มีความจำเป็นต้อง
ดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
33
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนใบแต่งทนายความ
**อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์ใบแต่งทนายความ**
**กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ให้ครบถ้วน**
1. ย่อหน้า1.ตรงช่อง *ข้าพเจ้า..........ระบุชื่อ........ และอย่าลืมเขียน โจทก์หรือจำเลย (ต่อท้าย)
2. ย่อหน้า2.ระบุชื่อทนายความ
3. อำนาจของทนายความของทนายความ***
➢ ถ้าข้อเท็จจริง ให้ท่านมีอำนาจจำหน่ายสิทธิของตัวความ มีอำนาจทุกชั้นศาล มีอำนาจขอให้พิจารณา
คดีใหม่
✓ ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความนั้น เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีก
ฝ่ายเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์
หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
➢ ถ้าข้อเท็จจริง ไม่ให้ท่านมีอำนาจจำหน่ายสิทธิของตัวความ
✓ ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
➢ ถ้าข้อเท็จจริง ให้ท่านมีอำนาจเฉพาะในศาลชั้นต้น และมีอำนาจจำหน่ายสิทธิของตัวความ
✓ ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความนั้น เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่าย
เรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
➢ ถ้าข้อเท็จจริง ให้ท่านมีอำนาจเฉพาะในศาลชั้นต้นและไม่ให้ท่านมีอำนาจจำหน่ายสิทธิใดๆ
✓ ในการขอให้พิจารณาคดีใหม่

4.อย่าลืมเขียน มุมซ้ายล่าง *ขอรับรองว่าผู้แต่งทนายความได้ลงลายมือชื่อ/และประทับตรา/ต่อหน้าข้าพเจ้า


จริง ชอบ ยุติธรรม

(นายชอบ ยุติธรรม)
ทนายความ
5.ในช่องผู้แต่งทนายความ ถ้าเป็นบริษัท/หจก. อย่าลืมเขียนกรอบสี่เหลี่ยมแล้วเขียนว่า ตราสำคัญของบริษัท/
หจก. พร้อมลงชื่อผู้แต่งทนายความ และเขียนชื่อใน () ด้านล่างให้เรียบร้อย
6.แผ่นด้านหลัง ในช่อง ขอเข้ารับเป็นทนายความของ.......ชื่อตัวความ........และอย่าลืมเขียน โจทก์หรือจำเลย
(ต่อท้าย)
7. แผ่นด้านหลัง อย่าลืมให้ทนายความลงชื่อด้านหลัง และเขียนชื่อใน () ด้านล่างให้เรียบร้อย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
34
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างใบแต่งทนายความ

(9)
ใบแต่งทนายความ คดีหมายเลขดำที่........................./25........
คดีหมายเลขแดงที่......................./25........

ศาล........................
วันที่.........เดือน.......พุทธศักราช.......
ความ.....................
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด โจทก์
ระหว่าง
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นายสอง กุมภา ที่ 2 จำเลย
ข้าพเจ้า บริษัท สมบูรณ์ จำกัด _____โจทก์________________________
__________________________________________________________________________________
ขอแต่งให้ นายชอบ ยุติธรรม_____________________________________________________________
เป็นทนายความของข้าพเจ้าในคดีเรื่องนี้ และให้มีอำนาจ ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
__________________________________________________________________________________________________________________

__________________________________________________________________________________________________________________

ข้าพเจ้ายินยอมรับผิดชอบตามที่ นายชอบ ยุติธรรม ตราสาคัญของบริษัท


ทนายความจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามกฎหมาย
ขอรับรองว่าผู้แต่งทนายความลงลายมือขื่อและประทับตราต่อหน้าข้าพเจ้าจริง บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ชอบ ยุตธิ รรม __________หนึ่ง มกรา_______________ผู้แต่งทนายความ

(นายชอบ ยุติธรรม) (นายหนึ่ง มกรา)

ทนายความ
______________________________________________________________________________________________________________________________________________

หมายเหตุ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 62 ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทาง


จำหน่ายสิทธิของคู่ความนั้น เช่นการยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายเรียกร้องการถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละ
สิทธิหรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้าจะมอบให้มีอำนาจดังกล่าวประการใดบ้าง ให้
กรอกลงในช่องว่างไว้ให้ระบุให้ชัดเจน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
35
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างแผ่นด้านหลังใบแต่งทนายความ
คำรับเป็นทนายความ
ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม

ใบอนุญาตให้เป็นทนายความเลขที่ 111/2529 ได้รับอนุญาตว่าความ ทั่วราชอาณาจักร


ที่อยู่ปัจจุบันเลขที่ 111 หมู่ที่ - ถนน ราชดำเนินกลาง
ตรอก/ซอย - ตำบล/แขวง บวรนิเวศ
อำเภอ/เขต พระนคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10200
โทรศัพท์ - โทรสาร -
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกซ์ -
สำนักงานอยู่ที่ 111 หมู่ที่ - ถนน ราชดำเนินกลาง
ตรอก/ซอย - ตำบล/แขวง บวรนิเวศ
อำเภอ/เขต พระนคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10200
โทรศัพท์ - โทรสาร -
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกซ์ -
ขอเข้ารับเป็นทนายความของ บริษัท สมบูรณ์ จำกัด โจทก์
เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปตามหน้าที่ในกฎหมาย
ชอบ ยุตธิ รรม ทนายความ
(นายชอบ ยุติธรรม)
คำสั่ง

......................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

...................................................................ผูพ้ ิพากษา

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
36
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนใบมอบฉันทะ
**อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์ใบมอบฉันทะ**
**กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ให้ครบถ้วน**
1. ย่อหน้า1.ตรงช่อง *ข้าพเจ้า..........ระบุชื่อ(โจทก์/จำเลย/ทนายความผู้มอบฉันทะ)……..โดยเขียน โจทก์หรือ
จำเลยหรือทนายความ (ต่อท้าย) และกรอกเลขประจำตัวประชาชน
2. ย่อหน้า2.ขอมอบฉันทะให้.......ระบุชื่อ(ผู้รับมอบฉันทะ).........โดยเขียน เสมียนทนายความ(ดูข้อเท็จจริงใน
ข้อสอบ) ถ้าไม่มีไม่ต้องเขียน พร้อมกรอกเลขประจำตัวประชาชน และกรอกที่อยู่ของผู้รับมอบฉันทะให้ครบ
3. ย่อหน้า3.ระบุรายละเอียดการมอบฉันทะให้ชัดเจน (ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบว่ามอบฉันทะให้ไปทำอะไร)
*มอบให้ไปเลื่อนคดี 1.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี , แถลงต่อศาล , ฟังคำสั่งศาล , กำหนดวันนัดศาล , ตรวจสำนวน
2.ยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาคดี , คัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณา
คดี , รับรองเอกสาร , เซ็นต์รับทราบคำสั่งศาล , รับเอกสารจากศาล , ชำระค่าธรรม
เนียมศาล

*มอบให้ไปฟังคำพิพากษา 1.ฟังคำพิพากษา , แถลงต่อศาล , ฟังคำสั่งศาล , ตรวจสำนวน


2.ยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายคำพิพากษาและรายงานกระบวนพิจารณาคดี , คัดถ่ายคำ
พิพากษาและรายงานกระบวนพิจารณาคดี , รับรองเอกสาร , เซ็นต์รับทราบ
คำสั่งศาล , รับเอกสารจากศาล , ชำระค่าธรรมเนียมศาล

4.ลงชื่อผู้มอบฉันทะ ผู้รับมอบฉันทะ และพยาน ให้ครบ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
37
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างใบมอบฉันทะ
(๑๐)
ใบมอบฉันทะ

คดีหมายเลขดำที่ ........1234....... /๒๕...62...


คดีหมายเลขแดงที่ ....................... /๒๕........

ศาล ......แพ่ง.....................................................................
วันที่ .....1...... เดือน .......มีนาคม...................พุทธศักราช ๒๕ ...62....
ความ ....แพ่ง.........................

....บริษัท สมบูรณ์ จำกัด……………………..................................................................................... โจทก์


ระหว่าง
....นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นายสอง กุมภา ที่ 2……………………………............................................ จำเลย

ข้าพเจ้า .........นายชอบ ยุติธรรม..........................................ทนายความโจทก์............................


เลขประจำตัวประชาชน ---- กรอกตัวเลขให้ครบ
ขอมอบฉันทะให้ ..........นายโชคดี เหลือหลาย............................................เสมียนทนายความโจทก์..................
เลขประจำตัวประชาชน ----กรอกตัวเลขให้ครบ
อยู่บ้านเลขที่ ..........123/45.......... หมู่ที่ .......-.......... ถนน ........สุขุมวิท............................................................
ตรอก/ซอย .........สุขุมวิท101................... ตำบล/แขวง ........บางจาก................................................................
อำเภอ/ เขต .......พระโขนง........... จังหวัด ......กรุงเทพมหานคร................รหัสไปรษณีย์.....10260...................
โทรศัพท์.....081-2345678...........โทรสาร..........-.....................ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์.........-............................
ทำการแทน โดยข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะของข้าพเจ้าได้ทำการไปนั้นทุกประการ
ในกิจการดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
1.ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี , แถลงต่อศาล , ฟังคำสั่งศาล , กำหนดวันนัดศาล , ตรวจสำนวนคดี……………............

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
38
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2.ยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาคดี , คัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาคดี , รับรองเอกสาร ,
เซ็นต์รับทราบคำสั่งศาล , รับเอกสารจากศาล , ชำระค่าธรรมเนียมศาล.............................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ ..............ชอบ ยุติธรรม............. ผู้มอบฉันทะ

ลงชื่อ ..............โชคดี เหลือหลาย.........ผู้รับมอบฉันทะ

ลงชื่อ ..............ร่ำรวย เงินทอง............ พยาน

ลงชื่อ ..............สวย ใจดี...................... พยาน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
39
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการร่างหนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
ข้อเท็จจริง นายหล่อ ใจบุญ ขายสินค้าให้กับบริษัท สมบูรณ์ จำกัด และได้รับเช็คค่าสินค้ามา ต่อมา
นำเช็คไปขึ้นเงิน แต่ปรากฏว่าถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และมาปรึกษาท่านในฐานะที่เป็นทนายความ
1.ทำที่ (เขียนที่มุมขวาบน)(สำนักงานทนายความพร้อมที่อยู่ที่ข้อสอบให้มา)
2.วันที่ (เขียนตรงกลางหน้ากระดาษ)(ข้อสอบจะบอกว่าให้ท่านร่างวันที่เท่าไหร่)
3.เรื่อง ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย
4.เรียน ผู้ที่มาปรึกษาทนายความ นาย/นางสาว/ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท
5.ย่อหน้าแรก บรรยายข้อเท็จจริงตามที่มีการปรึกษา(นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้)
ตามที่ท่านได้ให้ข้อเท็จจริงกับข้าพเจ้า มีใจความว่า เมื่อวันที่.........ท่านขายสินค้าให้กับบริษัท สมบูรณ์
จำกัด โดยท่านได้รับเช็คธนาคารสยามไทย สาขาประเวศ เป็นค่าขายสินค้าจากบริษัท สมบูรณ์ จำกัด จำนวน
เงิน 1,000,000 บาท ต่อมาท่านก็ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารสยามไทย สาขาประเวศ
ต่อมาเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยธนาคารให้เหตุผลว่า “บัญชีของบริษัท สมบูรณ์
จำกัด ปิดแล้ว” และเมื่อท่านทวงถามเงินค่าสินค้าตามเช็ค บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ก็ยังไม่ยอมจ่ายเงินให้ท่าน
และผัดผ่อนท่านเรื่อยมา (ให้ดูข้อเท็จจริงที่ข้อสอบให้มา)

6. ย่อหน้าสอง ความเห็นทางกฎหมาย
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้าพเจ้าขอให้ความเห็นทางกฎหมายว่า บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ได้มีการกระทำ
ผิดต่อท่านทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ ในทางแพ่งถือว่าบริษัท สมบูรณ์ จำกัด ผิดนัดการชำระหนี้และ
ผิดสัญญาซื้อขายกับท่านแล้ว โดยมีอายุความในการฟ้องร้องทางแพ่ง 2 ปี เว้นแต่ถ้าบริษัท สมบูรณ์ จำกัด ซื้อ
ของไปใช้ในกิจการของบริษัท สมบูรณ์ จำกัด เอง อายุความในการฟ้องร้องทางแพ่งจะเป็น 5 ปี และในทาง
อาญาถือว่าบริษัท สมบูรณ์ จำกัด และนายจบ บริบูรณ์ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทฯ ที่ลงลายมือชื่อในเช็ค
ร่วมกันกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา 4(4) ที่บังอาจร่วมกันออก
เช็คเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทํา คือถอนเงินทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้และ
ปิดบัญชี มีความผิดทางอาญา โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่
ทั้งนี้ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เป็นคดีความผิดที่ยอมความได้ โดยท่านต้อง
ร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีกับบริษัท สมบูรณ์ จำกัด และนายจบ บริบูรณ์ กรรมการบริษัทฯ ภายใน 3 เดือนนับแต่

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
40
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
วันที่ท่านถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ข้าพเจ้าจึงขอแนะนำให้ท่านรีบฟ้องคดีอาญาตามพ.ร.บ. ว่าด้ว ย
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯก่อน เพราะคู่กรณีจะกลัวความผิดทางอาญา แล้วคู่กรณีจะหาทางมาเจรจากับ
ท่านเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้ท่านต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคดีขาดอายุความตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิด
จากการใช้เช็คฯ ท่านก็ยังมีเวลาอีก 2 ปีหรือ 5 ปี สำหรับการฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกให้คู่กรณีชำระหนี้ฐานผิด
สัญญาซื้อขายได้

7.ย่อหน้าสาม คำแจ้งเตือน
ดังนั้น เพื่อให้ได้ชำระหนี้ตามกฎหมาย ท่านควรรีบดำเนินการภายในระยะเวลาที่ให้คำปรึกษานี้ และ
หากมีข้อเท็จจริงอื่นใดเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยพลัน เพราะอาจมีผลให้ความเห็นทางกฎหมายนี้
เปลี่ยนแปลงไป

8. ย่อหน้าสี่ จึงเรียนมาเพื่อทราบ
9. เขียนคำว่า“ขอแสดงความนับถือ” ขอแสดงความนับถือ
10. ทนายความลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)
**ไม่ต้องเขียนคำว่าทนายความผู้รับมอบอำนาจ**

ตัวอย่างหนังสือให้คำปรึกษากฎหมาย
ทำที่ สำนักกฏหมาย ชอบ ยุติธรรม
111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563
เรื่อง ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย
เรียน นายหล่อ ใจบุญ
ตามที่ท่านได้ให้ข้อเท็จจริงกับข้าพเจ้า มีใจความว่า เมื่อวันที่.........ท่านขายสินค้าให้กับบริษัท สมบูรณ์
จำกัด โดยท่านได้รับเช็คธนาคาร.........ค่าขายสินค้าจากบริษัท สมบูรณ์ จำกัด จำนวนเงิน 1,000,000 บาท
ต่อมาท่านก็ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินกับธนาคาร...........ต่อมาเช็คฉบับดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธ
การจ่ายเงินในเวลาต่อมา เพราะบัญชีของบริษั ท สมบูรณ์ จำกัด ปิดแล้ว และเมื่อท่านทวงถามเงินตามเช็ค
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ก็ยังไม่ยอมจ่ายเงินให้ท่านเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,000,000 บาทนั้น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
41
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้าพเจ้าขอให้ความเห็นทางกฎหมายว่า บริษัท สมบูรณ์ จำกัด ได้มีการกระทำ
ผิดกฎหมายต่อท่านทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ ในทางแพ่งถือว่าบริษัท สมบูรณ์ จำกัด ผิดนัดการ
ชำระหนี้และผิดสัญญาซื้อขายกับท่านแล้ว โดยมีอายุความในการฟ้องร้องทางแพ่ง 2 ปี เว้นแต่ถ้าบริษัท
สมบูรณ์ จำกัด ซื้อของไปใช้ในกิจการของบริษัท สมบูรณ์ จำกัด เอง อายุความในการฟ้องร้องทางแพ่งจะเป็น
5 ปี และในทางอาญาถือว่าบริษัท สมบูรณ์ จำกัด และนายจบ บริบูรณ์ กรรมการบริษัทฯ ที่ลงลายมือชื่อใน
เช็ค ร่วมกันกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4(4) ที่บังอาจร่วมกัน
ออกเช็คเพื่อชําระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทํา คือถอนเงินทั้งหมด
หรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
และปิดบัญชี มีความผิดทางอาญา โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ทั้งนี้เป็นคดีความผิดที่ยอมความได้ โดยท่านต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีกับบริษัท สมบูรณ์ จำกัด และนายจบ
บริบูรณ์ กรรมการบริษัทฯ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ท่านถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ข้าพเจ้าจึงขอแนะนำ
ให้ท่านรีบฟ้องคดีอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้ วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯก่อน เพราะคู่กรณีจะกลัวความผิด
ทางอาญาแล้วคู่กรณีจะหาทางมาเจรจากับท่านเพื่อชำระหนี้ให้ท่านต่อไป แต่ถ้าคดีขาดอายุความตามพ.ร.บ.ว่า
ด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ท่านก็ยังมีเวลาอีก 2 ปีหรือ 5 ปี สำหรับการฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกให้
คู่กรณีชำระหนี้ฐานผิดสัญญาซื้อขายได้
ดังนั้น เพื่อให้ได้ชำระหนี้ตามกฎหมายท่านควรรีบดำเนินการภายในระยะเวลาที่ให้คำปรึกษานี้ และ
หากมีข้อเท็จจริงอื่นใดเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยพลัน เพราะอาจมีผลให้ความเห็นทางกฎหมายนี้
เปลี่ยนแปลงไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
ชอบ ยุติธรรม
(นายชอบ ยุติธรรม)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
42
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนสัญญาต่างๆ
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.ระบุชื่อสัญญาตรงกลางหัวกระดาษ เช่น สัญญากู้ยืมเงิน/สัญญาค้ำประกัน/สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อม
สิ่งปลูกสร้าง/สัญญาเช่า/สัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร/สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง/สัญญาประนีประนอมนอกศาล/
หนังสือหรือบันทึกรับสภาพหนี้
2.สถานที่ทำสัญญา---ทำที่(เขียนที่มุมขวาบน) (สำนักงานทนายความ หรือภูมิลำเนาลูกหนี้/เจ้าหนี้ หรือสถานี
ตำรวจนครบาล....ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ)
3.วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา---วันที่ (เขียนตรงกลางหน้ากระดาษ)(ข้อสอบจะบอกว่าให้ท่านเขียนวันที่เท่าไหร่
ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ)
4.ย่อหน้าแรก คู่สัญญาระหว่างใครกับใคร
สัญญา.....ฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างนาย/นาง....อายุ.....อยู่บ้านเลขที่..../ ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท....โดย....
หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้ มีอำนาจ/ผู้รับมอบอำนาจ ตั้งอยู่เลขที่....รายละเอียดปรากฎตามสำเนา........ซึ่ง
ต่อไปในสัญญา/บันทึกฉบับนี้เรียกว่า “ผู้ให้กู้/เจ้าหนี้/ผู้จะขาย/ผู้ให้เช่า/ผู้ว่าจ้าง/ผู้โอน” ฝ่ายหนึ่ง
กับนาย/นาง....อายุ.....อยู่บ้านเลขที่..../ ห้างหุ้นส่วนจำกัด/บริษัท....โดยนาย/นาง....หุ้นส่วนผู้จัดการ/
กรรมการผู้จัดการ/ผู้รับมอบอำนาจ ตั้งอยู่เลขที่....รายละเอียดปรากฎตามสำเนา........ซึ่งต่อไปในสัญญา/
บันทึกฉบับนี้เรียกว่า “ผู้กู้/ลูกหนี้/ผู้จะซือ้ /ผู้เช่า/ผู้รับจ้าง/ผู้รับโอน” อีกฝ่ายหนึ่ง
5.ย่อหน้าสอง ให้เขียนว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญา/บันทึกกันดังมีข้อความต่อไปนี้
6.ย่ อ หน้ า สาม เงื ่ อ นไขระหว่ า งคู่ ส ั ญ ญาตกลงกั น อย่ า งไรบ้ า ง.......... (ให้ด ู เ งื ่ อ นไขสั ญญาในข้ อ สอบ
รายละเอียดในการทำสัญญาต่างๆ , จำนวนเงิน , ดอกเบี้ย , ระยะเวลาในการทำสัญญา , หน้าที่ของคู่สัญญา ,
ข้อตกลงอื่นๆ ค้ำประกัน จำนอง , การผิดสัญญาและสภาพบังคับของสัญญา ) และอย่าลืมเอกสารแนบท้าย
สัญญา
ข้อ1. ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารโรงงานผลิตสินค้า ซึ่งเป็นอาคารขนาด 3 ชั้น กว้าง 40
เมตร ยาว 80 เมตร รายละเอียดปรากฎตามสำเนาแบบก่อสร้างแนบท้ายสัญญาฉบับนี้
ข้อ2. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงค่าก่อสร้างจนแล้วเสร็จในราคา 10,000,000 บาท โดยในวันทำสัญญา
ฉบับนี้ ผู้ว่าจ้างได้ชำระเงินให้แก่ผู้ว่าจ้างแล้วเป็นเงิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้รับจ้างได้รับเงินไว้เรียบร้อยแล้วใน
วันที่ทำสัญญาฉบับนี้ ส่วนที่เหลือทั้งหมดผู้ว่าจ้างจะชำระเมื่ออาคารเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบอาคารให้แก่ผู้ว่า
จ้างเรียบร้อยแล้ว

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
43
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ3. ผู้รับจ้างตกลงเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เป็นวัสดุมาตรฐานดี
เยี่ยมและได้มาตรฐาน ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง รายละเอียดตามที่ระบุในเอกสารแนบท้ายสัญญาฉบับนี้
ข้อ4. ผู้รับจ้างตกลงจะทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา
ฉบับนี้
ข้อ5. ผู้รับจ้างตกลงรับประกันงานก่อสร้างเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยผู้รับจ้างตกลงนำที่ดิน
โฉนดเลขที่...เลขที่ดิน...ตำบล...อำเภอ...จังหวัด...เนื้อที่...ของผู้รับจ้าง จดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นหลักประกัน
ในการที่ผู้รับจ้างจะรับผิดตามสัญญานี้ ตลอดจนการรับประกันตัวอาคารทั้งหมดภายในระยะเวลาดังกล่าว
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสัญญาจำนองเอกสารแนบท้ายสัญญาฉบับนี้
***เรื่องการประพฤติผิดสัญญาและสภาพบังคับของสัญญา***ข้อเท็จจริงในข้อสอบจะไม่ให้มา
ข้อ6. หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ หรือผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ยินยอมให้อีก
ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องบังคับตามกฎหมาย พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตรา...ต่อปีนับแต่วันที่ผิดสัญญาได้ทันทีจนกว่าจะ
ชำระเสร็จสิ้น
หรือ หากลูกหนี้ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง/ผิดนัดงวดในงวดหนึ่ง ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ลูกหนี้ยินยอมให้
เจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาได้ทันทีและลูกหนี้ยินยอมให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ดังกล่าวข้างต้น
พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย/ในอัตราร้อยละ....ปีได้ทันทีตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

7.ย่อหน้าปิดท้าย คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว เพื่อเป็น


หลักฐานคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ
8.การลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและพยาน
*อย่าลืมเขียนกรอบสี่เหลี่ยมแล้วเขียนว่า อากรแสตมป์*
*ถ้าเป็นบริษัท/หจก อย่าลืมเขียนกรอบสี่เหลี่ยมแล้วเขียนว่า ตราสำคัญของบริษัท*
อากรแสตมป์ บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราสำคัญของบริษัท ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ผู้ว่าจ้าง
(นายหนึ่ง มกรา )
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสมประกอบ
ตราสำคัญของหจก. ลงชื่อ สอง กุมภา ผู้รับจ้าง
(นายสอง กุมภา )
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน ลงชื่อ สวย ใจดำ พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม) (นางสวย ใจดำ)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
44
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ทำที่ 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร
11 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้ ทำขึ้นระหว่างบริษัท สมบูรณ์ จำกัด โดยนายรวย
ไม่จริง กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทได้ สำนักงาน
ตั้งอยู่เลขที่ 9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรอง
บริษัท เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า”ผู้จะซื้อ”ฝ่ายหนึ่ง
กับนางสวย ใจดี ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายใหญ่ ใจดี ตามคำสั่งของศาลแพ่งพระโขนง หมายเลข
แดงที ่ 1234/2556 ลงวั น ที ่ 11 มิ ถ ุ น ายนพ.ศ.2556 อยู ่ บ ้ า นเลขที่ 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุ ง เทพมหานคร รายละเอี ย ดปรากฏตามสำเนาบั ต รประชาชนและสำเนาคำสั ่ ง ศาลแพ่ ง พระโขนง
เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า”ผู้จะขาย”อีกฝ่ายหนึ่ง
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันดังมีข้อความต่อไปนี้
ข้อ.1 “ผู้จะขาย” ตกลงจะขายและ”ผู้จะซื้อ”ตกลงจะซื้อที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 321
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร ตามเนื้อที่ดินที่ปรากฏในโฉนดที่ดินพร้อมบ้านในสภาพที่เป็นอยู่ ในราคาทั้งสิ้นจำนวน
2,400,000 บาท (สองล้านสี่แสนบาทถ้วน) รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารแนบท้ายสัญญานี้
ข้อ.2 “ผู้จะซื้อ”ตกลงชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตาม ข้อ 1. ให้แก่”ผู้จะขาย”ในวันนี้เป็นเงิน
จำนวน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) ซึ่ง“ผู้จะขาย” ได้รับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
การชำระราคาค่าที่ดินตามสัญญานี้ด้วย
ส่วนเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) “ผู้จะซื้อ” ตกลงชำระ
ให้แก่”ผู้จะขาย” ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง
ภายในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อ 3. “ผู้จะขาย” ตกลงไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตาม ข้อ 1. ให้แก่
“ผู้จะซื้อ” พร้อมรับชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) จาก ”ผู้จะซื้อ”
ภายในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
45
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 4. ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา
ฉบับนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงออกชำระกัน ฝ่ายละครึ่งเท่าๆกัน ส่วนค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย “ผู้จะขาย”เป็น
ผู้รับผิดชอบด้วยตนเองทั้งสิ้น
ข้อ 5. “ผู้จะขาย” รับรองว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตาม ข้อ 1. ไม่มีภาระผูกพันใดๆและสัญญาว่าจะ
ไม่นำที่ดินไปก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อ 6. “ผู้จะขาย” ตกลงว่าในวันจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์”ผู้จะขาย”ยินยอมให้”ผู้จะซื้อ”ลงชื่อ
บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญานี้ได้
ข้อ 7. หาก”ผู้จะขาย” ผิดนัดผิดสัญญาหรือบิดพลิ้วไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ให้แก่”ผู้จะซื้อ”ตามสัญญา “ผู้จะขาย”ตกลงยินยอมให้”ผู้จะซื้อ”ฟ้องร้องบังคับให้ “ผู้จะขาย”ปฏิบัติตาม
สัญญาได้ทันที
ในกรณีที่”ผู้จะซื้อ”ผิดนัดผิดสัญญาหรือบิดพลิ้วไม่ยอมชำระเงินค่าที่ดินส่วนเหลือและไม่ยินยอมรับ
โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา “ผู้จะซื้อ”ตกลงยินยอมให้”ผู้จะขาย”ฟ้องร้องบังคับให้”ผู้จะซื้อ”ปฏิบัติตาม
สัญญาได้ทุกประการโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน หรือใช้สิทธิริบเงินมัดจำพร้อมค่าปรับเป็นเงินจำนวน 400,000
บาท (สี่แสนบาทถ้วน) ได้ทันที
สัญญาจะซื้อจะขายฉบับนี้ ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ ทั้งสองฝ่ายได้อ่าน
และเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้วจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราสำคัญบริษัท ลงชื่อ รวย ไม่จริง จะซื้อ
(นายรวย ไม่จริง)

อากรแสตมป์ ลงชื่อ สวย ใจดี ผู้จะขาย


(นางสวย ใจดี)
ผู้จัดการมรดกของนายใหญ่ ใจดี

ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน


(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ โชค ไม่ดี พยาน
(นายโชค ไม่ดี)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
46
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างสัญญาค้ำประกัน
ทำที่....................................
วันที่...................................
สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท สมบูรณ์ จำกัด โดยนายหนึ่ง มกรา กรรมการผู้มีอำนาจ
กระทำการแทนบริษัท สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 6789 ถนนพหลโยธิน แขวงดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปสัญญาฉบับนี้เรียกว่า
“เจ้าหนี้” ฝ่ายหนึ่ง
กับนายสาม มีนา อายุ 59 ปี บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1234567654000 อยู่บ้านเลขที่ 369
ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตร
ประชาชน เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ค้ำประกัน” อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1. ตามที่นายสอง กุมภา ซึ่งเป็นลูกหนี้ ตกลงทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับผิดกับ เจ้าหนี้ ฉบับลง
วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมีข้อตกลงว่านายสอง กุมภา ยินยอมรับผิดชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ จำนวน 800,000
บาท (แปดแสนบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ทำบันทึกโดยผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ เป็น
รายเดือน เดือนละ 40,000 บาท ทุกวันสิ้นเดือน เริ่มชำระตั้งแต่งวดแรกในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 โดย
ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี 8 เดือนนับแต่วันทำบันทึก หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด
ยินยอมให้เจ้าหนี้ เรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ทันที และผู้ค้ำประกันตกลงเป็นผู้
ค้ำประกันในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงยินยอมรับผิดชดใช้ฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ของนายสอง
กุมภา
ข้อ 2. ผู้ค้ำประกันตกลงว่าหากนายสอง กุมภา ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกดังกล่าวตามข้อ 1. ผู้ค้ำ
ประกันตกลงยินยอมจะชำระให้แก่เจ้าหนี้ จนครบถ้วนตามสัญญา
ข้อ 3. หากผู้ค้ำประกันไม่ปฎิบัติตามสัญญา ยินยอมให้ เจ้าหนี้ ดำเนินการบังคับชำระหนี้กับผู้ค้ำ
ประกันตามกฎหมายได้ทันที
เพื่อเป็นหลักฐานในการนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ
อากรแสตมป์ ลงชื่อ สาม มีนา ผู้ค้ำประกัน
(นายสาม มีนา)
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราประทับ ลงชื่อ หนึ่ง มกรา เจ้าหนี้
(นายหนึ่ง มกรา)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
47
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ลงชื่อ ร.ต.อ. เสริม ธรรม พยาน
(ร.ต.อ. เสริม ธรรม)
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)

ตัวอย่างสัญญากู้ยืมเงิน
ทำที่....................................
วันที่...................................
สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท สมบูรณ์ จำกัด โดยนายหนึ่ง มกรา กรรมการผู้มีอำนาจ
กระทำแทนบริษัท สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 6789 ถนนพหลโยธิน แขวงดอนเมือง กรุงเทพมหานคร รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ผู้ให้กู้“ ฝ่ายหนึ่ง
กับนายสอง กุมภา อายุ 49 ปี บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1234567654089 อยู่บ้านเลขที่ 654
ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตร
ประชาชน เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “ผู้กู้” อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้ เงินจำนวน 1,200,000 บาท(หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) และผู้
กู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญาฉบับนี้
ข้อ 2. ผู้กู้สัญญาว่าจะชำระเงิน ตามสัญญาข้อ1. คืนแก่ผู้ให้กู้ โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆ ละ
100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) เป็นระยะเวลา 12 เดือน เริ่มชำระภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน เริ่มชำระ
ตัง้ แต่เดือนสิงหาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
ข้อ 3. นับแต่วันทำสัญญานี้ จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ผู้ให้กู้ตกลงให้เป็นระยะเวลาปลอดหนี้
และจะไม่คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้
ข้อ 4. หากผู้กู้ผิดนัดชำระเงินตามข้อ 2. ให้ถอื ว่าหนี้ทั้งหมดถึงกำหนดชำระโดยทันทีโดยผู้ ให้กู้ไม่ต้อง
บอกกล่าว และผู้กู้จะต้องชำระเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิด
นัดชำระจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นคืนแก่ผู้ให้กู้ครบถ้วน และผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับ
ชำระหนี้ดังกล่าวข้างต้นพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ได้ทันทีตั้งแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว เพื่อเป็นหลั กฐาน
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
48
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราประทับ ลงชื่อ………….…หนึ่ง มกรา……………..ผู้ให้กู้
(นายหนึ่ง มกรา)
อากรแสตมป์ ลงชื่อ………………สอง กุมภา……………..ผู้กู้
(นายสอง กุมภา)
ลงชื่อ……………ชอบ ยุติธรรม……………พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ……………สวย ใจดี…………………..พยาน
(นางสวย ใจดี)

ตัวอย่างสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง
ทำที่........................................
วันที่.................................
สั ญ ญาฉบั บ นี ้ ท ำขึ ้ น ระหว่ า งนายสอง กุ ม ภา อายุ 39 ปี บั ต รประจำตั ว ประชาชนเลขที่
1234567654032 อยู่บ้านเลขที่ 987 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตรประชาชน เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญาจะเรียกว่า ผู้โอน
ฝ่ายหนึ่ง
กับนายหนึ่ง มกรา อายุ 45 ปี บัตรประจำตัวประชาชนเลขที่ 1234567654058 อยู่บ้านเลขที่ 1111
ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตร
ประชาชน เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า ผู้รับโอน อีกฝ่ายหนึ่ง
ข้อ 1. ผู้โอน เป็นเจ้าหนี้เงินกู้นายสาม มีนา เนื่องจากนายสาม มีนา ได้กู้เงินจำนวน 1,000,000 บาท
ไปจากผู้โอน ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เป็นรายเดือนในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนกำหนด
ชำระเงินต้นคืนในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ตามสัญญาเงินกู้ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 โดยจดทะเบียน
จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 11 เลขที่ดิน 22 เนื้อที่ 50 ตารางวา ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว กรุงเทพมหานคร
ของนายสาม มีนา เป็นประกันชำระการหนี้เงินกู้ดังกล่าวไว้ และมีข้อตกลงในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองไว้
หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ นายสาม มีนา จะชำระหนี้ที่ขาดให้จนครบ
ข้อ 2. ผู้โอน เป็นลูกหนี้ผู้รับโอนเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เนื่องจากซื้อรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า
รุ่นอัลพาร์ด รุ่นปี 2553 หมายเลขทะเบียน งง99 กรุงเทพมหานคร จากผู้รับโอนในราคา 1,400,000 บาทเมื่อ
วันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งผู้โอนได้ชำระราคาชำระให้ผู้รับโอนแล้ว 400,000 บาท

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
49
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 3. ผู้โอนตกลงโอนสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ตามสัญญาเงินกู้ตามข้อ 1. ของผู้โอนที่มีต่อนาย
สาม มีนา นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้เป็นต้นไป ให้แก่ผู้รับโอน และผู้รับโอนตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้อง
ดังกล่าวจากผู้โอน แทนการชำระหนี้ราคารถตามข้อ 2.
ข้อ 4. ผู้โอนยอมรับว่าสิทธิของผู้โอนในฐานะเจ้าหนี้ของนายสาม มีนา ตามสัญญาเงินกู้ตามข้อ 1. ตก
เป็นของผู้รับโอนตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้เป็นต้นไป และผู้รับโอนยอมรับว่าได้รับชำระราคารถตามข้ อ 2. จาก
ผู้โอนครบถ้วนเรียบร้อยตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว เพื่อเป็นหลั กฐาน
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานเป็นสำคัญ

อากรแสตมป์ ลงชื่อ สอง กุมภา ผู้โอน


( นายสอง กุมภา )
ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ผู้รับโอน
( นายสอง กุมภา )
ลงชื่อ……ชอบ ยุติธรรม……พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ…….....สวย ใจดี……….พยาน
(นางสวย ใจดี)

ตัวอย่างสัญญาเช่าอาคาร
ทำที่ เลขที่ 999 หมู่ที่ 9 แขวงสีลม
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 ตุลาคม 2559
สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ฉบับนี้ ทำขึ้นระหว่างนายหนึ่ง มกรา อยู่บ้านเลขที่ 987 ถนนรัชดาภิเษก
แขวงสามเสนนอก เขตห้ ว ยขวาง กรุ ง เทพมหานคร รายละเอี ย ดปรากฏตามสำเนาบั ต รประชาชน
เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ให้เช่า” ฝ่ายหนึ่ง
กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่ำรวย โดยนางสวย ใจดี ผู้รับมอบอำนาจ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 6789 ถนน
พหลโยธิน แขวงดอนเมือง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท และหนังสือ
มอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้เช่า”
อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์กันดังมีข้อความต่อไปนี้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
50
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้ อ 1. “ผู ้ ใ ห้ เ ช่ า ” ตกลงให้ เ ช่ า และ “ผู ้ เ ช่ า ” ตกลงเช่ า อาคารพาณิ ช ย์ 9 ชั ้ น 1 คู ห า เลขที่
999 หมู่ที่ 9 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร อันเป็นกรรมสิทธิ์ของ “ผู้ให้เช่า” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ประกอบธุรกิจค้าขาย
ข้อ 2. “ผู้ให้เช่า” ตกลงให้เช่าและ “ผู้เช่า” ตกลงเช่า อาคารพาณิชย์ตามข้อ1. มีกำหนดระยะเวลาการเช่า
2 ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้ นไป จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 โดย “ผู้เช่า” ตกลงชำระค่า
เช่าให้แก่ “ผู้ให้เช่า” ในอัตราเดือนละ 900,000.- บาท (เก้าแสนบาทถ้วน) กำหนดชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายใน
ทุกวันที่ 5 ของเดือน เป็นต้นไปจนกว่าจะครบสัญญาเช่า โดยไม่ผิดนัดแม้แต่เดือนเดียว
ข้อ 3. “ผู้เช่า” ตกลงเป็น ผู้ชำระค่าภาษีโ รงเรือนอันเกิดจากการเช่าอาคารพาณิชย์นี้แทนผู้ให้
เช่าตามอัตราที่ทางราชการเรียกเก็บจากผู้ให้เช่า
ข้อ 4. “ผู้เช่า” ตกลงว่า เมื่อสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ฉบับนี้ครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุ
ใดๆ “ผู้เช่า” ยินยอมขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากอาคารพาณิชย์ที่เช่าทันที โดย “ผู้ให้เช่า” ไม่
จำเป็นต้องบอกกล่าวก่อนแต่ประการใด
ข้อ 5. หาก “ผู้เช่า” ผิดนัดไม่จ่ายค่าเช่า หรือประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด “ผู้ให้เช่า” มีสิทธิบอก
เลิกสัญญาเช่าได้ทันที
สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเห็นข้อความ
ในสัญญานี้ดีแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน
อากรแสตมป์ ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ผู้ให้เช่า
(นายหนึ่ง มกรา)
ลงชื่อ นางสวย ใจดี ผู้เช่า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่ำรวย
โดยนางสวย ใจดี ผู้รับมอบอำนาจ
ลงชื่อ จิตใจ ไม่ดี พยาน ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายจิตใจ ไม่ดี) (นายชอบ ยุติธรรม)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
51
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความ(นอกศาล)
เลขที่ 999 หมู่ที่ 9 แขวงสีลม
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
วันที่ 2 ตุลาคม 2557
สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างนายหนึ่ง มกรา อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 987 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสาม
เสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตรประชาชน เอกสารแนบท้าย
สัญญานี้ ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “ลูกหนี้” ฝ่ายหนึ่ง
กับบริษัท ร่ำรวย จำกัด โดยนายมั่งมี เงินทอง กรรมการผู้มีอำนาจ สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 9
แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารแนบท้าย
สัญญานี้ซึ่งต่อไปในสัญญานี้จะเรียกว่า “เจ้าหนี้” อีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่ เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องลูกหนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ให้ลูกหนี้ขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากพื้นที่ชั้นล่าง
ของอาคาร เนื้อที่ 500 ตารางเมตร และส่งมอบการครอบครองพื้นที่คืนให้แก่เจ้าหนี้ และให้ชดใช้ค่าเช่าและค่าบริการ
รวมทั้งค่าเสียหายเป็นเงิน 2,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป และฟ้องคดีอาญา
ต่อศาลแขวงพระนครใต้ ให้รับผิดในข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งเจ้าหนี้ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 50,000 บาท ทั้งสองฝ่ายจึง
ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ลูกหนี้ตกลงชำระเงินค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน 2,000,000 บาท ให้แก่
เจ้าหนี้ โดยผ่อนชำระเป็นเงิน 2 งวดเท่าๆกัน งวดแรกชำระภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 และงวดที่ 2 ภายใน
วันที่ 1 ของเดือนถัดไป
ข้อ 2. ลูกหนี้ตกลงขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกจากพื้นที่ชั้นล่างของอาคาร ตามสัญญาเช่าฉบับลงวันที่
1 พฤษภาคม 2556 และส่งมอบการครอบครองพื้นที่คืนแก่เจ้าหนี้ ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ด้วยค่าใช้จ่ายของ
ลูกหนี้เองทั้งสิ้น
ข้อ 3. หากลูกหนี้ปฏิบัติผ ิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ถือว่าลูกหนี้ผ ิดสัญญานี้ทั้งหมดและยินยอมให้ เจ้ าหนี้
ดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาดังกล่าวต่อไป แต่เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 1. และข้อ 2. ครบถ้วนแล้ว
เจ้าหนี้ตกลงจะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาข้างต้น ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ปฏิบัติครบถ้วน และ
เจ้าหนี้ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใดจากลูกหนี้อีก
สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนารมณ์
ของตน จึงได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตรา(ถ้ามี) ไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน และต่างเก็บไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ลูกหนี้
(นายหนึง่ มกรา)
ตราสำคัญบริษัท บริษทั ร่ำรวย จำกัด
ลงชื่อ มั่งมี เงินทอง เจ้าหนี้
(นายมั่งมี เงินทอง)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
52
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ สวย ใจดี พยาน
(นางสวย ใจดี)
ตัวอย่างบันทึกรับสภาพหนี้
ทำที่ สถานีตำรวจนครบาลบางนา
วันที่ 1 กรกฎาคม 2558
บันทึกรับสภาพหนี้ฉบับนี้ ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าข้าพเจ้านายชอบ เอาเปรียบ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 987
ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตร
ประชาชน เอกสารแนบท้ายบันทึกฉบับนี้ ซึ่งต่อไปในบันทึกนี้จะเรียกว่า “ลูกหนี้” ฝ่ายหนึ่ง
กับนางสวย ใจดี อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 999 หมู่ที่ 9 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตรประชาชน เอกสารแนบท้ายบันทึก ฉบับนี้ ซึ่งต่อไปในบันทึกนี้จะเรียกว่า
“เจ้าหนี้” อีกฝ่ายหนึ่ง
คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตกลงกันดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ข้อ 1. ลูกหนี้ยอมรับว่าได้ยักยอกทรัพย์เจ้าหนี้ตามที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานี
ตำรวจนครบาลบางนา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 จริง
ข้ อ 2.ลู ก หนี ้ ต กลงยิ น ยอมชดใช้ เ งิ น แก่ เ จ้ า หนี ้ จำนวน 5,000,000 บาท (ห้ า ล้ า นบาทถ้ ว น)
โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ชำระทุกวันที่ 5 ของ
เดือน เริ่มเดือนแรกในวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 และจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 2 ปี
ข้อ 3. ทั้งสองฝ่ายตกลงว่า หากลูกหนี้ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ติดต่อกันครบสิบ งวด เจ้าหนี้ตกลง
ยินยอมถอนคำร้องทุกข์ที่ได้ร้องไว้ ที่สถานีตำรวจนครบาลบางนา ลงวันที่...... โดยไม่ประสงค์จะดำเนิน
คดีอาญากับลูกหนี้อีกต่อไป
ข้อ 4. หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามข้อ 2. ลูกหนี้ยินยอมให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระ
หนี้ดังกล่าวข้างต้นพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายได้ทันที
ทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในบันทึกรับสภาพหนี้ฉบับนี้โดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อต่อ
หน้าพยานไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ สวย ใจดี เจ้าหนี้
(นางสวย ใจดี)
ลงชื่อ ชอบ เอาเปรียบ ลูกหนี้
(นายชอบ เอาเปรียบ)
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
53
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ลงชื่อ จิตใจ ไม่ดี พยาน
(นายจิตใจ ไม่ดี)

ตัวอย่างสัญญาก่อสร้างอาคาร
ทำที่ เลขที่ 999 หมู่ที่ 9 แขวงสีลม
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
สัญญาก่อสร้างฉบับนี้ ทำขึ้นระหว่างบริษัท ร่ำรวย จำกัด โดยนายรวย มั่งคั่ง กรรมการผู้มีอำนาจ
กระทำการแทนบริ ษ ั ท สำนั ก งานตั ้ งอยู่ เ ลขที ่ 987 ถนนรั ช ดาภิ เ ษก แขวงสามเสนนอก เขตห้ ว ยขวาง
กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปนี้ใน
สัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง
กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน โดยนายลำบาก แสนเข็ญ หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนห้าง
หุ้นส่วนจำกัด สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 6789 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัด เอกสารแนบท้ายสัญญานี้ ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญานี้จะเรียกว่า
“ผู้รับจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญาก่อสร้างอาคารกันดังมีข้อความต่อไปนี้
ข้อ 1. ผู้ว่าจ้างตกลงจ้าง และผู้รับจ้างตกลงรับจ้างก่อสร้างอาคารโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งเป็น
อาคาร 2 ชั้น ขนาดกว้าง 80 เมตร ยาว 160 เมตร รายละเอียดปรากฎตามสำเนาแบบก่อสร้างแนบท้ายสัญญา
นี้
ข้อ 2. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 20,000,000 บาท โดยในวันทำ
สัญญานี้ผู้ว่าจ้างได้ชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างแล้ว เป็นเงินจำนวน 10,000,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้ว่าจ้างจะชำระ
ก็ต่อเมือ่ ผู้รับจ้างได้ก่อสร้างอาคารตามข้อ 1. เสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบอาคารให้กับผู้ว่าจ้างเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 3. ผู้รับจ้างตกลงจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาวัสดุในการก่อสร้างอาคารที่เป็นมาตรฐาน และ
คุณภาพสูง รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาพร้อมกับแบบก่อสร้างด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง
ทั้งสิ้น
ข้อ 4. ผู้รับจ้างตกลงจะทำการก่อสร้างอาคารตามข้อ 1. ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปีนับจาก
วันที่มีการลงนามในสัญญาฉบับนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 5. ผู้รับจ้างตกลงรับประกันงานก่อสร้างอาคาร เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และผู้รับจ้างตกลง
จะนำโฉนดที่ดินเลขที่ 123 เลขที่ดิน 321 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ของผู้รับจ้างจดทะเบียน
จำนองเพื่อเป็นหลักประกัน ในการที่ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบตามสัญญาฉบับนี้ ตลอดจนการรับประกันตัว
อาคารทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี
ข้อ 6. ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาฉบับนี้ หรือมีการผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดใน
สัญญาฉบับนี้ ยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องบังคับตามกฏหมายได้ทันที

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
54
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คูท่ ั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยาน
ไว้เป็นสำคัญ
บริษัท ร่ำรวย จำกัด
ตราสำคัญของบริษัท ลงชื่อ รวย มั่งคั่ง ผู้ว่าจ้าง
(นายรวย มั่งคั่ง)
ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน
ตราสำคัญของหจก. ลงชื่อ ลำบาก แสนเข็ญ ผู้รับจ้าง
(นายลำบาก แสนเข็ญ)
อากรแสตมป์ ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ สวย ใจดำ พยาน
(นางสวย ใจดำ)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
55
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการร่างพินัยกรรม
1.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ**
2.พินัยกรรมแบบธรรมดา**
3.พินัยกรรมแบบฝ่ายเมือง
4.พินัยกรรมแบบลับ
5.พินัยกรรมแบบพฤติการณ์พิเศษ

การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
1.ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม
2.ต้องมีชื่อผู้ทำพินัยกรรม-นามสกุล อายุ ที่อยู่
3. ต้องมีชื่อผู้รับพินัยกรรม-นามสกุล
4.ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความด้วยลายมือของตนเองทั้งหมด จะให้ผู้อื่นเขียนแทน หรือพิมพ์แทนการ
เขียนไม่ได้
5.รายละเอียดของทรัพย์สินที่จะยกให้
6.ผู ้ ท ำต้ อ งลงลายมื อ ชื ่ อ ในพิ น ั ย กรรม จะใช้ ต ราประทั บ หรื อ พิ ม พ์ ลายนิ ้ ว มื อ หรื อ ลงแกงได หรื อ
เครื่องหมายอื่นไม่ได้
7.ผู้ทำพินัยกรรมไม่ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
8.การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ผู้ทำจะต้องทำด้วยลายมือของตนเอง และลงลายมือ
ชื่อกำกับไว้

การทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
1.ต้องทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำพินัยกรรม
2.ต้องมีชื่อผู้ทำพินัยกรรม-นามสกุล อายุ ที่อยู่
3.ต้องมีชื่อผู้รับพินัยกรรม-นามสกุล
4.ใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ แต่ต้องแบบเดียวกันทั้งฉบับ ใครจะเป็นผู้ทำพินัยกรรมก็ได้
5.รายละเอียดของทรัพย์สินที่จะยกให้
6.ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน พยานทั้งสองคนต้องลงลายมือ
ชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม และพยานต้องบรรลุนิติภาวะ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือ
บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง
7.ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับมรดกตาม
พินัยกรรมไม่ได้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
56
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
การร่างพินัยกรรมแบบธรรมดา
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.ระบุชื่อ หนังสือพินัยกรรม ตรงกลางหัวกระดาษ
2.สถานที่ทำพิพนัยกรรม ทำที่ เขียนที่มุมขวา (ส่วนมากทำที่บ้านของผู้ทำพินัยกรรม หรือสถานที่อื่นดูใน
ข้อสอบดี)
3.วันที่ทำพินัยกรรม (ดูในข้อสอบดีๆ เช่น เขียนพินัยกรรมในวันที่ไปปรึกษาทนายความ)
4.ย่อหน้าแรก การแสดงเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
ข้าพเจ้านายร่ำรวย เงินทอง อายุ....ที่อยู่........ขอทำพินัยกรรมฉบับนี้ เพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อข้าพเจ้า
ถึงแก่กรรมแล้ว ให้จัดการทรัพย์สินของข้าพเจ้า ดังต่อไปนี้
5.ย่อหน้าสอง รายละเอียดทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรม จะยกให้แก่ใคร
ข้อ1.ที่ดินโฉนดเลขที่... เลขที่ดิน...ตำบล...อำเภอ...จังหวัด...เนื้อที่...พร้อมอาคารเลขที่... ตำบล...
อำเภอ...จังหวัด...ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์/ยกให้แก่/ให้ตกเป็นของนายมั่งมี เงินทอง ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้า แต่
เพียงผู้เดียว

ข้อ2.เงินในบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ธนาคาร... สาขา...เลขที่บัญชี... ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์/ยก


ให้แก่/ให้ตกเป็นของนายมั่งมี เงินทอง และนายเศรษฐี เงินทอง ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้าคนละเท่าๆกัน

ข้อ3.สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท และแหวนเพชรทองคำ 1 วง ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์/ยกให้แก่/ให้ตก


เป็นของนายมั่งคั่ง เงินทอง ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว

ข้อ4. ทรัพย์สินอื่นของข้าพเจ้าที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ และที่จะมีขึ้นในภายหน้า ยกให้เป็น


กรรมสิทธิ์/ยกให้แก่/ให้ตกเป็นของนายมั่งมี เงินทอง , นายเศรษฐี เงินทอง และนายมั่งคั่ง เงินทอง ซึ่งเป็นบุตร
ของข้าพเจ้าคนละเท่าๆกัน

6. ย่อหน้าสาม การตั้งผู้จัดการมรดก
เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย ข้าพเจ้าขอตั้งให้ นายมั่งมี เงินทอง และนายเศรษฐี
เงินทอง เป็นผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการพรัพย์มรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้

7. ย่อหน้าสี่ การยืนยันสติสัมปชัญญะ
ข้ า พเจ้ า นายร่ ำ รวย เงิ น ทอง ขอยื น ยั น ว่ า ในขณะที ่ ข ้ า พเจ้ า ทำพิ น ั ย กรรมฉบั บ นี ้ ข้ า พเจ้ า มี
สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง และข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานทั้ง
สองท้ายพินัยกรรมฉบับนี้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
57
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
8.ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม
ลงชื่อ ร่ำรวย เงินทอง ผู้ทำพินัยกรรม
(นายร่ำรวย เงินทอง)

9.ย่อหน้าสุดท้าย ลงชื่อพยานรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม
ข้ า พเจ้ า นายชอบ ยุ ต ิ ธ รรม อายุ 50 ปี อยู ่ บ ้ า นเลขที่ 999 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุ ง เทพมหานคร และนางสวย ใจดำ อายุ 30 ปี อยู ่ บ ้ า นเลขที่ 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร ขอยืนยันว่าในขณะที่ทำพินัยกรรมฉบับนี้ นายร่ำรวย เงินทอง มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีทุก
ประการ และได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าข้าพเจ้าทั้งสองจริงในวันที่ทำพินัยกรรมฉบับนี้
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน ลงชื่อ สวย ใจดำ พยานและผู้พิมพ์**
(นายชอบ ยุติธรรม) (นางสวย ใจดำ)

ตัวอย่างพินัยกรรมแบบธรรมดา
พินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้น ณ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563
ข้ า พเจ้ า นายร่ ำ รวย เงิ น ทอง อายุ 80 ปี อยู ่ บ ้ า นเลขที ่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร ขอทำพินัยกรรมฉบับนี้ เพื่อแสดงเจตนาว่าเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมแล้ว ให้จัดการทรัพย์สิน
ของข้าพเจ้า ดังต่อไปนี้
ข้อ1.ที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 222 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 10
ไร่ พร้อมอาคารเลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุ งเทพมหานคร ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่นายหนึ่ง
มกรา ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
ข้อ2.เงินในบัญชี เงินฝากประเภทออมทรัพย์ ธนาคารสมบูรณ์ สาขาประเวศ เลขที่บัญชี 123-456-
7891 ยกให้แก่นายหนึ่ง มกรา และนายสอง กุมภา ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้าคนละเท่าๆกัน
ข้อ3. ทรัพย์สินอื่นของข้าพเจ้าที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ และที่จะมีขึ้นในภายหน้า ยกให้ แก่นาย
สาม มีนา ซึ่งเป็นบุตรของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว
เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย ข้าพเจ้าขอตั้งให้นายหนึ่ง มกรา และนายสอง กุมภา เป็น
ผู้จัดการมรดก จัดการพรัพย์มรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
58
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้าพเจ้านายนายร่ำรวย เงิน ทอง ขอยืนยันว่าในขณะที่ข้าพเจ้าทำพินัยกรรมฉบับนี้ ข้าพเจ้ามี
สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง และข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคั ญต่อหน้าพยานทั้ง
สองท้ายพินัยกรรมนี้
ลงชื่อ ร่ำรวย เงินทอง ผู้ทำพินัยกรรม
(นายร่ำรวย เงินทอง)
ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 345 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ และ
นางสวย ใจดำ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 987 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ ขอยืนยันว่านายร่ำรวย
เงินทอง มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีทุกประการ และได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าข้าพเจ้าทั้ งสองจริงในวันที่ทำ
พินัยกรรมบับนี้
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ สวย ใจดำ พยานและผู้พิมพ์
(นางสวย ใจดำ)

ตัวอย่างพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ทำขึ้น ณ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 ตุลาคม 2559
ข้าพเจ้านางสวย ใจดี อายุ 70 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ขอทำพินัยกรรมฉบับนี้ เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตาย ข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สินของข้าพเจ้าให้แก่บุตรของข้าพเจ้า
ดังนี้
1.อาคารไม้ 5 ชั้น เลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พร้อมที่ดินโฉนดที่ 12345
แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 100 ตารางวา ให้ตกเป็นของนายหนึ่ง ใจดี แต่เพียงผู้เดียว
2.สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท เงินสดในธนาคารไทย สาขาประเวศ บัญชีเลขที่ 123-456-7890
จำนวน 900,000 บาท ให้ตกเป็นของนายสอง ใจดี แต่เพียงผู้เดียว
เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย ข้าพเจ้าขอตั้งให้นายหนึ่ง ใจดี และนายสอง ใจดี เป็น
ผู้จัดการมรดก จัดการพรัพย์มรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมฉบับนี้
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าในขณะทำพินัยกรรมฉบับนี้ ข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติดี สุขภาพร่างกาย
แข็งแรง และทำพินัยกรรมฉบับนี้ด้วยความสมัครใจของข้าพเจ้าเอง โดยไม่ถูกบังคับขู่เข็ญจากผู้ใด
ลงชื่อ สวย ใจดี ผู้ทำพินัยกรรม
(นางสวย ใจดี)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
59
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หนังสือยินยอมของทายาท
ทำขึ้น ณ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
25 เมษายน 2559

โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า นายหนึ่ง ใจดี และนางสอง ใจดี ซึ่งเป็นบิดามารดาของนายสาม ใจดี


ผู้ตายเจ้ามรดก และข้าพเจ้านายห้า ใจดี และนายหก ใจดี ซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสาม ใจดี
ผู้ตายเจ้ามรดก โดยทุกคนเป็น ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิได้รับมรดกของนายสาม ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดกตาม
พินัยกรรม ขอทำหนังสือฉบับนี้เพื่อแสดงว่า
ข้อ 1. ข้าพเจ้าผู้รับพินัยกรรมทุกคนตกลงยินยอมให้ นายสี่ ใจดี เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมี
คำสั่งแต่งตั้งให้นายสี่ ใจดี เป็นผู้จัดการมรดกของนายสาม ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก
ข้อ 2. ข้าพเจ้าผู้รับพินัยกรรมทุกคนไม่คัดค้านในการแต่งตั้งให้นายสี่ ใจดี เป็นผู้จัดการมรดก ตาม
พินัยกรรมของนายสาม ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก
จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ลงชื่อ หนึ่ง ใจดี ผู้ให้ความยินยอม
(นายหนึ่ง ใจดี)
ลงชื่อ สอง ใจดี ผู้ให้ความยินยอม
(นางสอง ใจดี)
ลงชื่อ ห้า ใจดี ผู้ให้ความยินยอม
(นายห้า ใจดี)
ลงชื่อ หก ใจดี ผู้ให้ความยินยอม
(นายหก ใจดี)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
60
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
บัญชีเครื อญาติ
นายใหญ่ ใจดี บิดา นางเล็ก ใจดี มารดา
(เสียชีวิตแล้ว) (เสียชีวิตแล้ว)

นางสวย ใจดี นายรวย ใจดี นางน้อย ใจดี ผู้จัดการมรดก


(ภรรยา จดทะเบียนปี 2530) (ผู้ตาย เจ้ามรดก) ผู้ร้อง (ภรรยจดทะเบียนปี 2545)

1.นายหนึ่ง ใจดี 1.นายห้า ใจดี


2.นายสอง ใจดี ผู้คัดค้าน 2.นายหก ใจดี
3.นายสาม ใจดี
4.นายสี่ ใจดี
ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน ขอรับรองว่าถูกต้องตรงกับความจริงทุกประการ
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน
(นายชอบ ยุติธรรม)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
61
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนหนังสือมอบอำนาจ
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.ระบุชื่อ หนังสือมอบอำนาจ ตรงกลางหัวกระดาษ
2.สถานที่ทำหนังสือมอบอำนาจ ทำที่ เขียนที่มุมขวา (สำนักงานทนายความ หรือภูมิลำเนาเจ้าหนี้หรือลูกหนี้
ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ)
3.วันทีท่ ำหนังสือมอบอำนาจ เขียนตรงกลางกระดาษ (ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ)

4.ย่อหน้าแรก ใครมอบอำนาจให้ใคร (ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ)


โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า นาย/นาง....อายุ.....อยู่บ้านเลขที่..../ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท....จำกัด
โดย....หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้มีอำนาจ ตั้งอยู่เลขที่..... รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัตรประชาชน/
หนังสือรับรองบริษัท....ขอมอบอำนาจให้นาย/นาง....อายุ.... อยู่บ้านเลขที่... รายละเอียดปรากฎตามสำเนา
บัตรประชาชน....เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้า และให้มีอำนาจดำเนินการแทนข้าพเจ้าได้ดังต่ อ ไปนี้
**ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจอาจมีหลายคนได้**

5.ย่อหน้าสอง รายละเอียดการมอบอำนาจ มีอย่างไรบ้าง (***ดูข้อเท็จจริงในข้อสอบดีๆ***)


ข้อ1. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีแพ่งกับนาย/นาง....อายุ.....อยู่บ้านเลขที่.... และหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือบริษัท....จำกัด เป็นจำเลย ต่อศาล....ในข้อหา....เรียกค่าเสียหาย จนกว่าคดีจะถึงที่สุดแทนข้าพเจ้าได้
ข้อ2. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีอาญากับ นาย/นาง....อายุ.....อยู่บ้านเลขที่.... และหรือห้างหุ้นส่วน
จำกัดหรือบริษัท....จำกัด เป็นจำเลย ต่อศาล.....ในข้อหา.....จนกว่าคดีจะถึงที่สุดแทนข้าพเจ้าได้
ข้อ3. มีอำนาจแต่งตั้งทนายความคนเดียวหรือหลายคน เพื่อดำเนินคดีตามข้อ1. และข้อ2. แทน
ข้าพเจ้าได้ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของข้าพเจ้าได้ เช่น การยอมรับตามที่
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือการใช้สิท ธิในการ
อุทธรณ์ หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ (ข้อสอบจะบอกแค่ให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความ มอบ
อำนาจช่วง รับเงินหรือเอกสารจากศาล และดำเนินคดีไปในทางจำหน่ายสิทธิของตัวความได้)
ข้อ4. ตลอดจนมีอำนาจรับเงินหรือเอกสารใดๆจากศาลหรือคู่ความหรือบุคคลอื่น รวมทั้งดำเนิน
กระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี และมอบอำนาจช่วงเพื่อดำเนินการแทนข้าพเจ้าได้ด้วย (ต้องดูข้อเท็จจริงใน
ข้อสอบด้วย)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
62
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
6.ย่อหน้าสาม ความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจ
การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามขอบเขตแห่งหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนว่า
ข้าพเจ้าได้กระทำการด้วยตนเอง และยินยอมรับผิ ดชอบทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐานผู้มอบอำนาจและ
ผู้รับมอบอำนาจ จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน

7.ลงชื่อผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ และพยานสองคน


***ถ้าคู่สัญญาเป็นบริษัทอย่าลืมเขียนกรอบสี่เหลี่ยมแล้วเขียนว่า ตราสำคัญของบริษัท***
***วาดกรอบสี่เหลี่ยม เขียนว่า ปิดอากรสแตมป์ 30 บาท***
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราสำคัญของบริษัท ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ผู้มอบอำนาจ
(นายหนึ่ง มกรา )
ปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ลงชื่อ สอง กุมภา ผู้รับมอบอำนาจ
(นายสอง กุมภา)
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ สวย ใจดำ พยาน
(นางสวย ใจดำ)

ตัวอย่างหนังสือมอบอำนาจ
ทำที่ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 มีนาคม 2563
โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้า บริษัท สมบูรณ์ จำกัด โดยนายหนึ่ง มกรา กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการ
แทนบริษัท สำนักงานตั้งอยู่เ ลขที่ 111 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาหนังสือรับรองบริษัท และสำเนาบัตรประชาชน เอกสารแนบท้ายหนังสือมอบอำนาจ ขอมอบอำนาจให้
นายสอง กุมภา อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 567 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาบัตรประชาชน เอกสารแนบท้ายหนังสือมอบอำนาจ เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้า และให้มีอำนาจ
ดำเนินการแทนข้าพเจ้าได้ดังต่อไปนี้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
63
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ1. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีแพ่งกับนายดำ ใจร้าย อายุ 51 ปี บัตรประชาชนเลขที่ 12334-
45678-987 อยู่บ้านเลขที่ 256/8 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ เป็ นจำเลย ต่อศาลแพ่งพระโขนง
ในข้อหาผิดสัญญาซื้อขาย ขอให้ชำระหนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดแทนข้าพเจ้าได้
ข้อ2. เป็นโจทก์ยื่นฟ้องดำเนินคดีอาญากับ นายดำ ใจร้าย อายุ 51 ปี บัตรประชาชนเลขที่ 12334-
45678-987 อยู่บ้านเลขที่ 256/8 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุง เทพ เป็นจำเลย ต่อศาลอาญาพระโขนง
ในข้อหาพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 จนกว่าคดีจะถึงที่สุดแทนข้าพเจ้าได้
ข้อ3.มีอำนาจแต่งตั้งทนายความคนเดียวหรือหลายคน เพื่อดำเนินคดีตามข้อ1. และข้อ2. แทน
ข้าพเจ้าได้ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของข้าพเจ้าได้ เช่น การยอมรับตามที่
คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือการใช้สิทธิในการ
อุทธรณ์ หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
ข้อ4. ตลอดจนมีอำนาจรับเงิน หรือเอกสารใดๆจากศาลหรือคู่ความหรือบุคคลอื่น รวมทั้งดำเนิน
กระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี และมอบอำนาจช่วงเพื่อดำเนินการแทนข้าพเจ้าได้ด้วย
การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามขอบเขตแห่งหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนว่า
ข้าพเจ้าได้กระทำการด้วยตนเอง และยินยอมรับผิ ดชอบทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐานผู้มอบอำนาจและผู้รับ
มอบอำนาจจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด
ตราสำคัญของบริษัท ลงชื่อ หนึ่ง มกรา ผู้มอบอำนาจ
(นายหนึ่ง มกรา)
ปิดอากรสแตมป์ 30 บาท ลงชื่อ สอง กุมภา ผู้รับมอบอำนาจ
(นายสอง กุมภา)
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม พยาน
(นายชอบ ยุติธรรม)
ลงชื่อ สวย ใจดำ พยาน
(นางสวย ใจดำ)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
64
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
**อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล**
**แบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ถ้าเขียนไม่พอ ห้ามนำ แบบพิมพ์ 40 ก. มาเขียนต่อ
แต่ให้นำแบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลฉบับใหม่ มาเขียนต่อเป็นแผ่นที่ 3**

**กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ในแบบพิมพ์สัญญา


ประนีประนอมยอมความในศาลให้ครบถ้วน**

เรื่อง ผิดสัญญา เรียกค่าเสียหาย , ขับไล่ เรียกค่าเสียหาย , ละเมิด เรียกค่าเสียหาย , สัญญาจะซื้อจะขาย


เรียกให้ชำระหนี้ , เช่าซื้อ เรียกค่าเสียหาย , ผิดสัญญา เรียกให้ชำระหนี้ , สัญญาเช่า เรียกค่าเสียหาย , ผิด
สัญญาซื้อขาย เรียกค่าเสียหาย , สัญญากู้ยืมเงิน เรียกให้ชำระหนี้ , เพิกถอนนิติกรรม , ภารจำยอม ละเมิด

ข้าพเจ้า โจทก์-จำเลย หรือ โจทก์และจำเลยทั้งสอง

1.จำเลยยอมรับชำระหนี้ต่อโจทก์ (ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบ)
ข้อ1.จำเลยทั้งสองยินยอมชำระเงินตามคำฟ้องให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้าน
บาทถ้วน) หรือจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามคำฟ้องจำนวน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)

2.รายละเอียดการผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์และการผิดนัดของจำเลย**** (ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบ ส่วน


เรื่องการผิดนัดบางครั้งข้อสอบก็ไม่บอก)
ข้อ2.จำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อ1. ภายในกำหนด 10 เดือน โดยผ่อนชำระเป็น
งวดๆละ เดือนๆละไม่น้อยกว่า 500,000 บาท(ห้าแสนบาทถ้วน) โดยไม่มีดอกเบี้ยในระหว่างผ่อน / ชำระโดย
วิธีใด / เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่...และจะชำระทุกวันที่....ของเดือนถัดไป และจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน
วันที่....และหากจำเลยทั้งสองผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โดยถือว่าหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนด
ชำระทันที และจำเลยทั้งสองตกลงยินยอมให้โจทก์บังคับคดีในเงินส่วนที่ค้างชำระ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อย
ละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัด ได้ทันที และจำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์นำเอาทรัพย์ที่จำนองไว้ ออกขาย
ทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ทันที หากขาดเหลือเท่าใดให้บังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้จนครบถ้วน

3.รายละเอียดอื่นๆในข้อสอบ(ถ้ามีข้อเท็จจริงในข้อสอบ)
ข้อ3.โจทก์ตกลงว่าเมื่อจำเลยทั้งสองชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ตกลงจะถอนฟ้ อง
คดีอาญาของศาล....หมายเลขคดีดำ....ให้แก่จำเลยทั้งสอง หรือโจทก์ตกลงจะไปถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงาน
สอบสวน......... ตามที่ได้ร้องทุกข์เป็นคดีอาญาเมื่อวันที่..........

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
65
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
4.ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ (ต้องดูข้อเท็จจริงในข้อสอบให้ดี)
ข้อ4.ค่า ฤชาธรรมเนี ย มที่ ศาลไม่ส ั ่ง คืน และค่ า ทนายความให้ต กเป็น พั บ (จำเลยขอให้ ไ ม่ ค ิ ด ค่ า
ทนายความและค่าขึ้นศาล) หรือ
จำเลยทั้งสองตกลงชำระค่าทนายความให้แก่โจทก์ จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ส่วนค่า
ฤชาธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืนให้ตกเป็นพับ (โจทก์ขอคิดค่าทนายความ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืนให้
ตกเป็นพับ) หรือ
ค่าฤชาธรรมเนีย มที่ศาลไม่ส ั่งคืน และค่า ทนายความ จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้ว น)
ให้จำเลยทั้งสองตกลงชำระแก่โจทก์ (โจทก์ขอคิดค่าค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ)

6. การตกลงยินยอมและไม่ติดใจเรียกร้อง
ข้อ5. โจทก์-จำเลยทั้งสอง ตกลงยินยอมตามข้อ1.-ข้อ4.ทุกประการ และไม่ติดใจเรียกร้องใดๆต่อกัน
อีก

ตัวอย่างสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
(๒๙)
สัญญาประนี
ประนอม
คดีหมายเลขดำที่....1234...... /๒๕..60...
ยอมความ คดีหมายเลขแดงที่................. /๒๕..........

ศาล ...แพ่งพระโขนง.........................................................
วันที่...15.... เดือน….มีนาคม………พุทธศักราช ๒๕..60.......
ความ....แพ่ง............................

นายหนึ่ง มกรา…………………......................................……………………………………… โจทก์

ระหว่าง
นายดำ ใจร้าย………………………………………………….....................................………… จำเลย

เรื่อง....ละเมิด เรียกค่าเสียหาย............................................................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
66
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ข้าพเจ้า.....โจทก์-จำเลย.....................................................................................

ขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

ข้อ 1. จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามคำฟ้องเป็นเงิน จำนวน 4,000,000 บาท


(สี่ล้านบาถ้วน)……………………………………………………………………………………………………………………………………..

....................................ข้อ 2. จำเลยตกลงชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อ1. ภายในกำหนด 10 เดือน โดยผ่อน


ชำระเป็นงวดๆละ เดือนๆละไม่น้อยกว่า 400,000 บาท(สี่แสนบาทถ้วน) โดยไม่มีดอกเบี้ยในระหว่างผ่อน
ชำระโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของโจทก์ ธนาคารสยามไทย สาขาประเวศ บัญชีเลขที่ 123-456-7890
เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 15 เมษายน 2560 และจะชำระทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และจะชำระให้เสร็จสิ้น
ภายในวันที่ 15 มกราคม 2561 .และหากจำเลยผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โดยถือว่าหนี้ส่วน
ที่เหลือถึงกำหนดชำระทันที และจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์บังคับคดีในเงินส่วนที่ค้างชำระ พร้อมดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงินที่จำเลยผิดนัดทั้งหมดโดยคิดตั้ง แต่วันที่ผิดนัดได้ทันทีจนกว่าจำเลยจะชำระ
ให้แก่โจทก์เสร็จ

(พลิก)

แผ่นด้านหลังสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล

-2-

.............................................ข้อ 3. โจทก์ตกลงว่าเมื่อจำเลยผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ครบสามงวดแล้ว โจทก์


ตกลงจะถอนฟ้องคดีอาญาของศาลอาญาพระโขนง หมายเลขคดีดำ 4321/2560 ให้แก่จำเลย.......................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
67
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
..............................................ข้อ 4. จำเลยตกลงชดใช้ฤชาธรรมเนียมที่ศาลไม่สั่งคืน และชดใช้ค่าทนายความ
ให้แก่โจทก์ เป็นจำนวน 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)................................................................................

..............................................ข้อ 5. โจทก์-จำเลย ตกลงยินยอมตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 ทุกประการ และโจทก์ไม่ติด


ใจเรียกร้องใดๆจากจำเลยอีกเลย.........................................................................................................................

............................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................

ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

..............................ชอบ ยุติธรรม...........................................โจทก์

.............................นายดำ ใจร้าย..........................................จำเลย

คู่ความได้ลงชื่อต่อหน้าข้าพเจ้า

.......................................................................................ผู้พิพากษา

.......................................................................................ผู้พิพากษา

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
68
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.สถานที่ทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ ทำที่ เขียนที่มุมขวา (สำนักงานทนายความพร้อมที่อยู่ที่ข้อสอบให้มา)
2.วันที่ทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ เขียนตรงกลาง (ดูวันที่ในข้อสอบดีๆ)
**ไม่ต้องระบุเรื่อง**
3.เรียน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล........... เขียนมุมซ้ายสุด

4.ย่อหน้าแรก บรรยายชื่อ-สกุล ที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ และร้องทุกข์กล่าวหาใคร


ข้าพเจ้านาย...อายุ...ที่อยู่.../ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัท...จำกัดโดย...หุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการผู้มี
อำนาจกระทำการแทนบริษัท ตั้งอยู่เลขที่... ขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า มีคนร้ายไม่ทราบชื่อ
และรูปพรรณ หรือนายจิตใจ ไม่ดี และนายคิด ไม่ซื่อ อายุ...ที่อยู่... ร่วมกันกระทำความผิดอาญา ข้อหา
..............ต่อข้าพเจ้า หรือร่วมกันกระทำความผิดอาญาต่อข้าพเจ้า ดังนี้

5.ย่อหน้าสอง บรรยายวัน เวลา พฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้น ความเสียหายที่ได้รับ


เมื่อวันที่... เวลา...ข้าพเจ้าซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่นฟอจูนเนอร์ ทะเบียน กก1234
กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เอกสารท้ายคำร้องทุกข์ ได้ให้นาย
ดวง ไม่ดี ยืมรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้ตั้งแต่วันที่...ถึงวันที่...โดยในวันที่.....เวลา.....นายดวง ไม่ดี ได้นำรถยนค์
คันดังกล่าวเข้าจอดในลานจอดรถภายในโรงแรมสุขสบายคลายเครียด โดยนายดวง ไม่ดี ได้ ล็อครถยนต์
เรียบร้อยและพักภายในโรงแรมสุขสบายคลายเครียด ซึง่ ตั้งอยู่เลขที่...ตำบล...อำเภอ...จังหวัด...
ต่อมาเมื่อวันที่...เวลา...ขณะที่นายดวง ไม่ดี พักอยู่ที่โรงแรมสุขสบายคลายเครียด ปรากฎว่ารถยนต์
คันดังกล่าวที่จอดไว้ที่ลานจอดรถของโรงแรมสุขสบายคลายเครียด ได้ถูกคนร้ายไม่ทราบชื่อและรูปพรรณลัก
เอาไป ซึง่ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความเสียหาย
*ข้าพเจ้าเพิ่งทราบการกระทำความผิดเมื่อวันที่.........(สำหรับคดียอมความได้)*

6.ย่อหน้าสุดท้าย ความประสงค์ของผู้ร้องทุกข์
ข้าพเจ้าจึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล.... เพื่อให้ติดตามรถยนต์ของ
ข้าพเจ้าคืน และจับตัวคนร้ายที่ลักเอารถยนต์ของข้าพเจ้าไป มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปจนกว่าคดีจะถึง
ที่สุด / เพื่อให้ติดตามตัวนายจิตใจ ไม่ดี และนายคิด ไม่ซื่อ มาดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

7.ลงชื่อผู้ร้องทุกข์ ลงชื่อ อังคาร กุมภา ผู้ร้องทุกข์


(นายอังคาร กุมภา)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
69
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือร้องทุกข์
ทำที่ 111 แขวงประเวศ
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563

เรียน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง

ข้าพเจ้านายรวย เงินทอง อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร


ขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหานายสอง กุมภา อายุ 38 ปี บัตรประชาชนเลขที่25669-45878-852 อยู่
บ้านเลขที่ 569 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ และนายสาม มีนา อายุ 35 ปี บัตรประชาชนเลขที่ 69885-
14526-357 อยู่บ้านเลขที่ 567 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ว่า ร่วมกันกระทำ
ความผิดอาญาฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ทำให้ข้าพเจ้าเสียหาย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563 ข้าพเจ้าได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายสอง กุมภา เป็นเงิน 2,000,000 บาท
โดยข้ า พเจ้ า ตกลงจำนองที ่ ด ิ น ของข้ า พเจ้ า โฉนดเลขที ่ 123 เลขที ่ ด ิ น 321 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 350 ตารางวา ไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ โดยระบุให้จดทะเบียนจดจำนองที่ดินในวันที่ทำ
สัญญาด้วย และข้าพเจ้าได้มอบโฉนดที่ดินและทำหนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2563 พร้อมกับ
กรอกข้อความครบถ้วนให้นายสอง กุมภา เป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว
แทนข้าพเจ้า รายละเอียดปรากฏตามสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำร้องทุกข์หมายเลข 1
ต่อมาปรากฏว่านายสอง กุมภาและนายสาม มีนา ไม่ได้นำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาจดทะเบียน
จำนองที่ดินตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ แต่ทั้งคนทั้งสองได้ร่วมกันปลอมเอกสารมอบอำนาจขึ้นทั้งฉบับที่บ้านของนาย
สอง โดยปลอมลายมือชื่อของข้าพเจ้าและกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน โดยให้
นายสาม มีนา เป็นผู้รับมอบอำนาจโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวของข้าพเจ้าให้แก่นายสอง กุมภา และได้นำหนังสือ
มอบอำนาจปลอมนั้นไปใช้จดทะเบียนโอนขายที่ดินของข้าพเจ้าให้แก่นายสอง กุมภา เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563
ที่ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดิน ,
สำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาสัญญาซื้อขายที่ดิน เอกสารท้ายคำร้องทุกข์หมายเลข 2 ซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้รับความ
เสียหายอย่างร้ายแรง
การกระทำของนายสอง กุมภา และนายสาม มีนา เป็นความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารและร่วมกันใช้
หรืออ้างเอกสารปลอม ทำให้ข้าพเจ้าเสียหาย ข้าพเจ้าจึงมาร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับนายสอง
กุมภา และนายสาม มีนา ตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงทีส่ ุด
ลงชื่อ………รวย..เงินทอง…………..ผู้ร้องทุกข์
(…………นายรวย..เงินทอง…………)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
70
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนหนังสือขอตรวจสอบการทำนิติกรรม
**เขียนในกระดาษ A4*** อาจจะใช้แบบพิมพ์ 40 ก. รองใต้กระดาษA4 เพื่อให้มีเส้นบรรทัดรางๆ
1.สถานที่ทำหนังสือขอตรวจสอบ ทำที่ เขียนที่มุมขวา (สำนักงานทนายความพร้อมที่อยู่ที่ข้อสอบให้มา)
2.วันที่ ทำหนังสือขอตรวจสอบ เขียนตรงกลาง (ดูวันที่ในข้อสอบดีๆ)
3.เรื่อง ขอตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดิน........... เขียนมุมซ้ายสุด
4.เรียน เจ้าพนักงานที่ดิน........... เขียนมุมซ้ายสุด
5.อ้างถึง โฉนดที่ดินเลขที.่ ..เลขที่ดิน...ตำบล...อำเภอ...จังหวัด... ........... เขียนมุมซ้ายสุด
6.สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาทะเบียนสมรสระหว่าง…..

7.ย่อหน้าแรก บรรยายความเกี่ยวพันกับที่ดินที่จะขอตรวจสอบ และการได้มาซึ่งที่ดิน


ข้าพเจ้านางสวย ใจดี เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหล่อ ใจดี จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ
วันที่ 30 มกราคม 2540 ที่สำนักงานเขตประเวศ ปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ระหว่างอยู่กินด้วยกันเมื่อวันที่ 30
มีนาคม 2555 ข้าพเจ้าและนายหล่อ ใจดี ได้ร่วมกันซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินที่อ้างถึง โดยใส่ชื่อนายหล่อ ใจดี
สามีของข้าพเจ้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ในโฉนดที่ดินที่อ้างถึง เพราะฉะนั้น ที่ดินตามโฉนดที่ดินที่อ้างถึงจึงเป็น
สินสมรสระหว่างข้าพเจ้าและนายหล่อ ใจดี

8.ย่อหน้าสอง บรรยายเหตุที่ต้องมาขอตรวจสอบ
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ข้าพเจ้าค้นหาโฉนดที่ดินที่อ้างถึงไม่พบและมีเหตุน่าเชื่อว่า
นายหล่อ ใจดี สามีข้าพเจ้าจะนำโฉนดที่ดินที่อ้างถึงมาจดทะเบียนสิทธิต่างๆหรือทำนิติกรรมใดๆโดยที่ข้าพเจ้า
ไม่รู้เห็นและไม่ได้ให้ความยินยอม

9.ย่อหน้าสุดท้าย ความประสงค์ของผู้ขอตรวจสอบ
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียนมาเพื่อตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดินโฉนดที่ดินที่อ้างถึงโดยขอตรวจสอบตั้งแต่
ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน

10.เขียน ขอแสดงความนับถือ ขอแสดงความนับถือ


11.ลงชื่อผู้ขอตรวจสอบ สวย ใจดี
(นางสวย ใจดี)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
71
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างหนังสือขอตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดิน
ทำที่ 25 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
20 พฤษภาคม 2560
เรื่อง ขอตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดิน
เรียน เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาประเวศ
อ้างถึง โฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 123 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาทะเบียนสมรสระหว่างนายหล่อ ใจดี และนางสวย ใจดี

ข้าพเจ้านางสวย ใจดี เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหล่อ ใจดี จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ


วันที่ 30 มกราคม 2540 ที่สำนักงานเขตประเวศ ปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ระหว่างอยู่กินด้วยกันเมื่อวันที่ 30
มีนาคม 2555 ข้าพเจ้าและนายหล่อ ใจดี ได้ร่วมกันซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินที่อ้างถึง โดยใส่ชื่อนายหล่อ ใจดี
สามีของข้าพเจ้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ในโฉนดที่ดินที่อ้างถึง เพราะฉะนั้นที่ดินตามโฉนดที่ดินที่อ้างถึงจึงเป็น
สินสมรสระหว่างข้าพเจ้าและนายหล่อ ใจดี
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ข้าพเจ้าค้นหาโฉนดที่ดินที่อ้างถึงไม่พบและมีเหตุน่าเชื่อว่า
นายหล่อ ใจดี สามีข้าพเจ้าจะนำโฉนดที่ดินที่อ้างถึงมาจดทะเบียนสิทธิต่างๆหรือทำนิติกรรมใดๆโดยที่ข้าพเจ้า
ไม่รู้เห็นและไม่ได้ให้ความยินยอม
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียนมาเพื่อตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดินโฉนดที่ดินที่อ้างถึงโดยขอตรวจสอบตั้งแต่
ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน
ขอแสดงความนับถือ
สวย ใจดี
(นางสวย ใจดี)

ตัวอย่างหนังสืออายัดที่ดิน
ทำที่ 25 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
16 เมษายน 2553
เรื่อง ขออายัดที่ดิน
เรียน เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาประเวศ
อ้างถึง โฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 123 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ เนื้อที่ 90 ตารางวา
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. สำเนาสัญญากู้ยืมเงินลงวันที่ 15 มกราคม 2553

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
72
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2. สำเนาหนังสือมอบอำนาจให้จำนองที่ดินอ้างถึงลงวันที่ 15 มกราคม 2553
3. สำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินอ้างถึงลงวันที่ 15 มกราคม 2553
4. สำเนาคำร้องทุกข์และบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจนครบาลประเวศ ลงวันที่ 9 มีนาคม 2553

เนื่องจากเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 ข้าพเจ้านายหล่อ ใจดี เจ้าของที่ดินโฉนดที่อ้างถึง ได้ทำหนังสือ


มอบอำนาจให้นายจิตใจ ไม่ดี เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้า มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแปลงที่อ้างถึง
ตามหนังสือมอบอำนาจสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ให้แก่นายจิตใจ ไม่ดี ตามที่ระบุไว้
ในสัญญากู้ยืมเงินสิ่งที่ส่งมาด้วย 1.
ปรากฏว่านายจิตใจ ไม่ดี และนายจน ใจร้าย ไม่ได้นำหนังสือมอบอำนาจสิ่งที่ส่งมาด้วย 2. มาจด
ทะเบียนจำนองที่ดินตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แต่คนทั้งสองได้ร่วมกันปลอมหนังสือ
มอบอำนาจขึ้นทั้งฉบับหรือปลอมลายมือชื่อของข้าพเจ้า และกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจตามแบบ
ของกรมที่ดินใหม่ทั้งฉบับโดยให้นายจน ใจร้าย เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้ าในการโอนขายที่ดินแปลงที่
อ้างถึงของข้าพเจ้าให้แก่นายจิตใจ ไม่ดี ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3. และคนทั้งสองได้นำหนังสือมอบอำนาจปลอม
นั้นไปใช้จดทะเบียนโอนขายที่ดินของข้าพเจ้าให้แก่ นายจิตใจ ไม่ดี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2553 นิติกรรมการ
โอนขายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และข้าพเจ้าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับ นาย
จิตใจ ไม่ดี และนายจน ใจร้าย ในข้อหาปลอมหนังสือมอบอำนาจและใช้หรืออ้างหนังสือมอบอำนาจปลอมใน
การทำนิติกรรมโอนขายที่ดินของข้าพเจ้าดังกล่าวตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 4. และขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเตรียมการเพื่อ
ดำเนินคดีแพ่งให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวแล้วข้าพเจ้ายังทราบว่า นายจิตใจ ไม่ดี ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ที่ดินแปลงที่อ้างถึงให้แก่บริษัท มหาเศรษฐี จำกัด มีกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 25 เมษายน
2553
ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้มีส่ วนได้เสียในที่ดินดังกล่าวที่จะฟ้องบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้
จึงเรียนมายังเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาประเวศ ขอให้มีคำสั่งอายัดที่ดินแปลงที่อ้างถึง เพื่อมิให้
มีการทำนิติกรรมใดๆในที่ดินแปลงที่อ้างถึงด้วย
ขอแสดงความนับถือ
หล่อ ใจดี
(นายหล่อ ใจดี)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
73
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำฟ้องและคำร้องฝ่ายเดียว ตามป.วิ.พ.ม.55

การดาเนินคดีแพ่ง วิ.แพ่ง ม.55

โต้แย้งสิทธิ (นิติสัมพันธ์) จําเป็นต้องใช้สิทธิ

ผิดสัญญา ละเมิด - ขอตั้ง ผจก.มรดก, คนสาบสูญ, คนไร้


ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ,
ผู้ปกครอง เป็นต้น

การทำคำฟ้องคดีแพ่ง (ปวิพ 172 ว 2)


คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่ง
1. สภาพแห่งข้อหา (นิติสัมพันธ์)
2. ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา (โต้แย้งสิทธิ)
3. คำขอบังคับ (บรรยายฟ้อง คำขอท้ายฟ้อง)
- สถานะโจทก์และจำเลย
โจทก์เป็นใคร
จำเลยเป็นใคร
การมอบอำนาจ
- นิติสัมพันธ์
นิติกรรม / นิติเหตุ
- ข้อโต้แย้งสิทธิ
- ความเสียหายที่ได้รับ
- การบอกกล่าว และการตอบรับทางไปรษณีย์
- คำขอบังคับ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
74
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ฟ้องลูกหนี้ ที่เป็นนิติบุคคล ต้องฟ้องใครบ้าง?
ลูกหนี้เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด
• ฟ้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด
• ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการ หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
• ฟ้องหุน้ ส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ในกรณีใช้ชื่อตนระคนเป็นชื่อห้าง หรือสอดเข้าไป
เกี่ยวข้องกับงานของห้างฯ เป็นต้น

ลูกหนี้เป็นบริษัทจำกัด, บริษัทจำกัด (มหาชน), นิติบุคคลอื่น


• ฟ้องบริษัท จำกัด , บริษัท จำกัด (มหาชน) หรือนิติบุคคลนั้น
• กรรมการผู้จัดการฟ้องไม่ได้ กรรมการไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ถ้ากรรมการผู้จัดการกระทำ
นิติกรรมถูกต้องตามขอบเขตวัตถุประสงค์ของบริษัท เว้นแต่กรรมการผู้จัดการ จะกระทำนิติ
กรรมนอกวัตถุประสงค์ของบริษัท อย่างนี้ กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หรือ
เว้นแต่กรรมการผู้จัดการ จะผูกพันตนเข้าร่วมรับผิดกับนิติบุคคลนั้น ด้วย เช่น ค้ำประกัน,
จำนอง เป็นต้น

ฟ้องลูกหนี้นิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา กรณีร่วมกันทำละเมิด ต้องฟ้องใครบ้าง?


1. ลูกจ้าง นายจ้าง ปพพ. ม.425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้าง
ได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
2. ตัวการ ตัวแทน ปพพ. ม.427 “บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการ
และตัวแทนด้วยโดยอนุโลม” เช่น ใช้ให้ผู้อื่นขับรถไปติดต่อกับบุคคลที่ สาม ผู้ใช้ต้องร่วมรับผิดด้วย หรือใช้ให้
ผู้อื่นจุดพลุ ผู้ใช้เป็นตัวการต้องร่วมรับผิดด้วย
3. ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ปพพ. ม.428 “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิด เพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้
ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้
ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
4. ผู้ไร้ความสามารถ เช่น ผู้เยาว์ วิกลจริต บิดามารดา หรือ ผู้อนุบาล ปพพ. ม.429 “บุคคลใดแม้ไร้
ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
แก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
5. ครู อาจารย์ นายจ้าง ที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ ปพพ. ม.430 “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ
บุค คลอื่น ซึ่งรับดูแ ลบุค คลผู้ไ ร้ค วามสามารถอยู่เ ป็น นิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่ว มกั บ
ผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่า
บุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
75
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
6. ร่วมกันทำละเมิด ยุยงส่งเสริม หรือช่วยเหลือ ในการทำละเมิด ปพพ. ม.432 “ถ้าบุคคลหลายคน
ก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำ
ละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุ ยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิด
ร่วมกันด้วย”
7. สัตว์ เจ้าของหรือคนที่รับเลี้ยง ปพพ. ม.433 “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่า
เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้อง
เสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอัน
สมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์ หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่น หรือพิสูจน์ได้ว่าความ
เสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น”
8. ฟ้องคู่สมรส ปพพ.1490 หนี้ร่วม “หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือ
ภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส ดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึง
การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน”

พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564(ดอกเบี้ย)
• เริ่มใช้บังคับวันที่ 11 เมษายน 2564***
• ป.พ.พ.มาตรา 7 (ดอกเบี้ยปกติตามสัญญา) ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้กำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละ 3 ต่อปี
• ป.พ.พ.มาตรา 224 (ดอกเบี้ยผิดนัดเงินก้อน) หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตรา
ร้อยละ 5 ต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้ว ย
กฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
• ป.พ.พ.มาตรา 224/1 (ดอกเบี้ยผิดนัดเงินผ่อนเป็นงวด) ถ้าลูกหนี้มีหน้าที่ผ่อนชำระหนี้เงินเป็นงวด
และลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใด เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดได้เฉพาะจาก
ต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น
ข้อตกลงใดขัดกับความในวรรคหนึ่ง ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
76
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการบรรยายคำฟ้องคดีแพ่ง
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำฟ้อง และคำขอท้ายคำฟ้องคดีแพ่ง**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ หน้าคำฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญามุมซ้ายบน ไม่ต้องไปเขียนว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญา**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ข้อหา จำนวนทุน
ทรัพย์ ข้อมูลส่วนตัวของโจทก์ และจำเลยให้ครบถ้วน**
➢ ในช่องหน้าคำฟ้องแพ่งหรืออาญา แผ่นแรก ถ้ามีโจทก์หรือจำเลยหลายคน ถ้าที่อยู่เดียวกันใน ให้
เขียน (1),(2),(3) 27 หรือ 1-3) 27 แต่ถ้าที่อยู่คนละที่ ให้เขียน (1)27 , (2)53 , (3)51 **

ในช่อง ระบุชื่อ โจทก์ ระหว่าง จำเลย


• กรณีเป็นโจทก์และจำเลย เป็นบุคคลธรรมดา
นายร่ำรวย เงินทอง โจทก์
นายยากจน เหลือทน จำเลย
นายร่ำรวย เงินทอง ที่ 1 , นายมั่งมี เงินทอง ที่ 2 โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
• กรณีเป็นโจทก์และจำเลย เป็นนิติบุคคล
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
บริษัทร่ำรวยข้าว จำกัด โดยนายโชค มั่งมี กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดวงบุญช่วย ที่ 1, นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
• กรณีเป็นโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายค้ำ ไม่ดี ที่ 2 , นายจำนอง ไม่ดี ที่ 3 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นบุคคลธรรมดา จำเลยเป็นนิติบุคคล
นายดำ ใจดี โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด ที่ 2 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นบุคคลธรรมดา มีการมอบอำนาจ และจำเลยเป็นนิติบุคคล
นายหนึ่ง มกรา โดยนายสอง กุมภา ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดวงบุญช่วย ที่ 1, นายดวง ไม่ดี ที่ 2, นางบุญช่วย ไม่ได้ ที่ 3 จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
77
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

• กรณีโจทก์เป็นนิติบุคคล มีการมอบอำนาจ จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา


สหกรณ์เก็บออมทรัพย์ จำกัด โดยนายประหยัด มั่งมี ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม และโจทก์เป็นผู้เยาว์
นางสวย ใจดี ที1่ , เด็กหญิงดาว ใจดี โดยนางสวย ใจดี ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ที่ 2 โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
• กรณีโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก
นางสาวสวย ใจดี ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายใหญ่ ใจดี โจทก์
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด จำเลย

(๔)
คำฟ้อง

คดีหมายเลขดำที่......1234........ /๒๕..63....

ศาล ....แพ่งพระโขนง.............................
วันที่ ...12... เดือน ......กันยายน......... พุทธศักราช ๒๕ ..63....
ความ .....แพ่ง...................

บริษัท ร่ำรวย จำกัด โดยนายประหยัด มั่งมี ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์


ระหว่าง
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3 จำเลย

ข้อหาหรือฐานความผิด ....กู้ยืม ,ค้ำประกัน , จำนอง , เรียกให้ชำระหนี้....................................................................


จำนวนทุนทรัพย์ ............... -13,000,000-..............................................................บาท .............-..................สตางค์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
78
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้าพเจ้า .........บริษัท ร่ำรวย จำกัด.........................................................................................
เลขประจำตัวประชาชน ---- โจทก์ เชื้อชาติ…… -…………………………
สัญชาติ .....ไทย............อาชีพ ....ค้าขาย......อายุ ....-......ปี อยู่บ้านเลขที่ ......999........หมู่ที่....9...............................
ถนน ........สุขุมวิท......... ตรอก/ซอย ............-..............ตำบล/แขวง ......บางจาก.......อำเภอ/เขต…พระโขนง……..
จังหวัด ..........กรุงเทพมหานคร.................................รหัสไปรษณีย์.......10260.....โทรศัพท์ .......-.............................
โทรสาร ............-................................... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ .........-....................................................................
ขอยื่นฟ้อง .....นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3.........................................................
เลขประจำตัวประชาชน ---- จำเลย เชื้อชาติ ..1-3) ไทย...................
สัญชาติ ...1-3) ไทย....อาชีพ ...1-3) ค้าขาย...อายุ..(1)30 ,(2)35, (3)40..ปี อยู่บ้านเลขที่...(1)12 ,(2)24, (3)36.........
หมู่.. 1-3) -...ถนน..1-3) -.......ตรอก/ซอย.. 1-3) -................ตำบล/แขวง.(1)บางจาก ,(2)หนองบอน ,(3)บางนา......
อำเภอ/เขต.(1)พระโขนง ,(2)ประเวศ ,(3)บางนา..จังหวัด.1-3) กรุงเทพมหานคร..รหัสไปรษณีย์.(1)(3)10260 ,(2)10250…
โทรศัพท์..... 1-3) -.........โทรสาร .... 1-3) -.............. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ .... 1-3) -...................................
มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1. ...บรรยายฐานะโจทก์กับจำเลย....................................................................................
......................................................................................................................... ....................................................

แผ่นด้านหลังคำฟ้อง
-2-
..............................2.บรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลย..................................................................

............................3. บรรยายการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยผิดสัญญาอย่างไร และทำให้


โจทก์ได้รับความเสียหาย...............................................................................................................................

.............................4.บรรยายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับ/ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอย่างไร/รวมต้นเงินและ
ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง เป็นจำนวนเท่าไหร่ /คิดดอกเบี้ยหลังฟ้อง/ค่าเสียหายคิดอย่างไร มีอะไรบ้าง.........................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
79
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
................................5.บรรยายเรื่องการบอกกล่าวทวงถาม/ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ให้ทนายความบอกกล่ าว
ทวงถามแล้ว.................................................................................................................................................

.................................โจทก์ทั้งสองไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสามได้ จึงจำต้องฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อ


ขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับเอากับจำเลยทั้งสามต่อไป.......................................................................................

........................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด......................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

......................................................................................................................... ....................................................

แบบพิมพ์ 40 ก.
สำหรับศาลใช้
(๔๐ ก.) -3-
………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..…………...…………………

…………………………………………………………………………………………………………………………..………………………...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..………………………...……

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
80
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
…………………………………………………………………………………………………………………………..…………….……..…...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..………….………..…...……

1.บรรยายฐานะโจทก์และจำเลย **สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ โจทก์และจำเลย อย่าบรรยายโดยการ


ระบุชอื่ ตัวบุคคลในคำฟ้อง**
• หากโจทก์และจำเลยเป็นนิติบุคคล ต้องบรรยายสถานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และจำเลยด้วย
ข้อ1. โจทก์เ ป็น นิต ิบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงาน
ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการให้เช่าซื้อรถยนต์
โดยมีนางสวย ใจดี กับนายหล่อ ใจบุญ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์
มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงาน
ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการ
ขนส่งสินค้ารถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของ
จำเลยที่ 1 กระทำแทนจำเลยที่ 1 ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองจำเลยที่ 1 เอกสารท้าย
คำฟ้องหมายเลข 2
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่
จำกัดจำนวน

• หากมีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจะต้องบรรยายถึงการมอบอำนาจด้วย
ข้อ1. ในการฟ้องคดีนี้โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายสอง กุมภา เป็นผู้มีอำนาจในการฟ้องและดำเนินคดี
แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

• ในคดีฟ้องขับไล่ โจทก์จะต้องบรรยายถึงสถานะการเป็นเจ้าของที่ดินและอาคาร
ข้อ1. โจทก์เป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 1 คูหา เลขที่ 31 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ
ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 25 เลขที่ดิน 25 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
81
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• ในคดีที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ต้องบรรยายสถานะของผู้แทนโดยชอบธรรม
ข้อ1. โจทก์เป็นผู้เยาว์ มีนายวันชัย ดินทอง เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้แทนโดยชอบ
ธรรมของโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร และใบทะเบียนสมรสของบิดาและมารดาโจทก์
เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 หรือ
ข้อ1. โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เยาว์ มีโจทก์ที่ 1 เป็นมารดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ที่ 2
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

• ในคดีละเมิด ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องบรรยายสถานะความเกี่ยวพันกับผู้ตาย


ข้ อ 1. โจทก์ เ ป็ น มารดาโดยชอบด้ ว ยกฎหมายของนายโชค ไม่ ด ี ผู ้ ต ายซึ ่ ง เป็ น บุ ต รชายโจทก์
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

• ในคดีที่โจทก์เป็นทายาทผู้ตายรับมรดก ฟ้องเรียกเงินกู้ยืม โจทก์ต้องบรรยายสถานะความเป็น


ทายาทเกี่ยวพันกับผู้ตาย
ข้อ1. โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสวย ใจดี รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบสูติ
บัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
นางสวย ใจดี เสียชีวิตด้วยสาเหตุเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ก่อนเสียชีวิต
นางสวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่โจทก์แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ในฐานะ
ทายาทโดยธรรมและทายาทตามพินัยกรรม จึงรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเงินกู้จากนางสวย ใจดี
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตรและพินัยกรรม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 และ 3

• คดีละเมิด ฟ้องนายจ้างกับลูกจ้าง ต้องบรรยายสถานะการเป็นนายจ้างและลูกจ้าง


ข้อ1. จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เป็นพนักงานขับรถ รายละเอียดปรากฎตาม
สัญญาจ้าง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2
• ฟ้องหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ต้องบรรยายสถานะการเข้ามาเกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วน
จำกัดด้วย
ข้อ1. จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 3 ยอมให้ใช้ชื่อของตนเรียกขาน
ระคนปนกับชื่อของจำเลยที่ 1 และสอดเข้ามาจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับ
จำเลยที่ 1 ด้วย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
82
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีฟ้องแบ่งทรัพย์มรดก ต้องบรรยายสถานะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับผู้ตายเจ้ามรดก
ด้วย
ข้อ1. โจทก์ทั้งสองและจำเลย เป็นบุตรของนายรวย มั่งคั่ง ผู้ตายเจ้ามรดก รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาสูติบัตรของโจทก์ทั้งสอง จำเลย และผู้ตาย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 หรือ
ข้อ1. โจทก์ทั้งสองเป็นน้องร่ว มบิดามารดาเดียวกันกับนายรวย มั่งคั่ง ผู้ตายเจ้ามรดก รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของโจทก์ทั้งสองและผู้ตาย เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1-3
จำเลยเป็นภริยาของนายรวย มั่งคั่ง ผู้ตายเจ้ามรดก จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่.......และเป็นผู้จัดการ
มรดกของผู้ตายตามคำสั่งของศาล......เมื่อวันที่.....ในคดีหมายเลขแดงที่ ....... รายละเอียดปรากฏตามสำเนา
ใบสำคัญการสมรสและสำเนาคำสั่งศาล เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และ 5

• คดีฟ้องกรรมการบริษัทเป็นจำเลยให้รับผิดส่วนตัว ต้องบรรยายพฤติการณ์ความรับผิดของจำเลย
ส่วนตัว
ข้อ1. บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีนายหนึ่ง มกรา และจำเลย
เป็นกรรมการ มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตรา มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด ได้
การที่บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด จะทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ได้จะต้องมีการประชุมคณะกรรมการและมี
การประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติให้จำเลยเข้าทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในนามของบริษัท ร่ำรวยเงินทอง
จำกัด ได้ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในนามของบริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โดยที่
ไม่ได้รับการอนุมัติจากกรรมการและผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์ในนาม
ส่วนตัว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในนามส่วนตัว รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท
ร่ำรวยเงินทอง จำกัด เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 2

• คดีฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ต้องบรรยายสถานการณ์จดทะเบียนสมรส และบุตร(ถ้ามี)


ข้อ 1. โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรส ณ ที่สำนักงานเขต
พระโขนง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำ
ฟ้องหมายเลขที่ 1
โจทก์และจำเลยมีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ เด็กชายหนึ่ง โชคดี อายุ 11 ปี เด็กชายสอง โชคดี อายุ 8 ปี
และเด็กชายสาม โชคดี อายุ 6 ปี รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2-4

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
83
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดก ต้องบรรยายสถานการณ์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล
ข้อ 1. โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกขของนายใหญ่ ใจดี ตามคำสั่งของศาลแพ่งพระโขนง ในคดีหมายเลข
ดำที่ 1234/2556 ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โดยมีทรัพย์มรดกคือโฉนดที่ดินเลขที่ 11111 เลขที่ดิน
222 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ พร้อมบ้านเลขที่ 191 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 1

• คดี โ จทก์ เ ป็ น ลู ก จ้ า ง ฟ้ อ งจำเลยซึ ่ ง เป็ น นายจ้ า ง ฐานผิ ด สั ญ ญาจ้ า งแรงงาน ต้ องบรรยาย


สถานะการเป็นลูกจ้างของจำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย โดยเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2554 จนถึงวันที่ 30 เมษายน
2560 ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้จัดการโรงงาน มีหน้าทีบ่ ริหารจัดการวางแผนการผลิตและบริหารการจัดการให้แก่
จำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เดือนละ 200,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน รายละเอียดปรากฎ
ตามสำเนาสัญญาจ้าง เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 1

• คดีผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการบริษัทที่ทำให้บริษัทเสียหายเป็นจำเลย ต้องบรรยายสถานะการเป็นผู้ถือ
หุ้นของบริษัท
ข้อ 1. โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท สมบูรณ์ จำกัด มีหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น เลขที่หุ้น 00001-01000
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้ นและสำเนาใบหุ้น เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
และ 2
บริษัท สมบูรณ์ จำกัด มีกรรมการ 3 คน คือ โจทก์และจำเลยทั้งสอง โดยกรรมการสองในสามลง
ลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาหนังสือรับรองบริษัท สมบูรณ์ จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 3

• คดีที่ฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอม ต้องบรรยายสถานะการเป็นเจ้าของที่ดินของ
โจทก์และของจำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
พร้อมโกดังเก็บสินค้าตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดินของโจทก์ เอกสารท้าย
คำฟ้องหมายเลขที่ 1
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 11112 เลขที่ดิน 124 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดินของจำเลย เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
84
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาฟ้องต้องผู้ทำละเมิด บรรยายรายละเอียดการประกอบธุรกิจ
ประกันภัย และการรับประกันภัย
ข้อ 1. โจทก์ประกอบกิจการรับประกันภัยได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยโดยถูกต้องตาม
กฏหมาย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัท และสำเนาหนังสืออนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
ประกันภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลขที่ 1 และ 2
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยคุ้มครองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ คันหมายเลขทะเบียน กก
6789 กรุงเทพมหานคร กรณีรถสูญหายไว้เป็นวงเงิน 1,500,000 บาทถ้วน มีระยะเวลาคุ้มครองหนึ ่ง ปี
นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ตามกรมธรรม์เลขที่ 123456789 จากนายรวย ใจดี เจ้าของรถซึ่งเป็นผู้เอา
ประกันภัย รายละเอียดปรากฏตามสำเนากรมธรรม์ประกันภัย และสำเนาคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ เอกสาร
ท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 3 และ 4

• คดีฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรส ต้องบรรยายสถานะการเป็นสามีภรรยา และการซื้อ


ทรัพย์สินร่วมกัน
ข้อ 1. โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 โดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 12
มกราคม 2550 ที่สำนักงานเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบสำคัญการ
สมรสเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 1
ระหว่างที่โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 โจทก์และ
จำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ โดยใส่ชื่อ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ในโฉนดที่ดิน ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขาย และสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2
และ 3

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
85
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2.บรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลย
• คดีกู้ยืมเงิน+ค้ำประกัน+จำนอง
ข้อ2. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจได้ทำสัญญากู้ยืม
เงินจากโจทก์ เป็นเงินจำนวน 10,000,000 บาท และตกลงยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15
ต่อปี และตกลงผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็น รายเดือน ชำระทุกวันที่ 11 ของเดือน
เดือนละไม่น้อยกว่า 100,000 บาท เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้ต้องชำระต้นเงินและ
ดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จำนวนดังกล่าว
ไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วในวันที่ทำสัญญา หากผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่สามงวดขึ้นไปให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิก
สัญญาและเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้ งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คืนได้ทันที
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงิน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 3
การทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวในวันเดียวกันนั้น จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้
ของจำเลยที่ 1 ด้วย ในวงเงิน 10 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้าย
ฟ้องหมายเลขที่ 4
และในวันเดียวกัน นั้น จำเลยที่ 3 ยังได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 32100 เลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ ยืมดังกล่าวของจำเลยที่
1 ต่อโจทก์ ในวงเงิน 10 ล้านบาท ตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ด้วย รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาสัญญาจำนอง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 5

• คดีผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ข้ อ 2. เมื ่ อ วั น ที ่ 8 กรกฎาคม 2558 จำเลยทั ้ ง สองได้ ท ำบั น ทึก รั บ สภาพหนี้ ใ ห้แ ก่ โ จทก์ โดยมี
รายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองยอมรับว่าได้ร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ตามที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์ไว้ ต่อพนั กงาน
สอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558 จริง และจำเลยทั้งสองตกลงยิ นยอม
ร่วมกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) โดยตกลงผ่อนชำระเป็นราย
เดือน เดือนละไม่น้อยกว่า 100,000 บาท ชำระทุกวันที่ 15 ของเดือน เริ่มเดือนแรกในวันที่ 15 กรกฎาคม
2558 และจะชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 2 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าหากจำเลยทั้งสองชำระเงินให้แก่โจทก์
ติดต่อกันครบสามงวด โจทก์ตกลงถอนคำร้องทุกข์ โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยทั้งสองอีกต่อไป
แต่หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัดจากต้นเงินที่ค้างชำระได้ทันที และจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในบันทึกรับสภาพ
หนี้ต่อหน้าพยานและพนักงานสอบสวน รายละเอียดปรากฎตามสำเนาบันทึกรับสภาพหนี้ ฉบับลงวันที่ 8
กรกฎาคม 2558 เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
86
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีละเมิด
ข้อ2. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 02.30 น. จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งพนักงาน
ขับรถขนส่งของ ได้ขับรถกระบะ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ หมายเลขทะเบียน กก 1234 กรุงเทพมหานคร บรรทุก
ผู้โดยสารจำนวน 9 คนที่ท้ายกระบะ ขับมาตามถนนสุขุมวิทจากบางนามุ่งหน้าไปพระโขนง ไปในทางการที่จ้าง
หรือใช้ของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยที่ 1 ในภาวะเช่นนั้นจักต้องมี
ตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เนื่องจาก
เป็น เวลากลางคืน สภาพถนนมืด แต่ จ ำเลยที่ 1 ขับขี่ด้ว ยความเร็วสูงและในขณะที่เมาสุรา ซึ่งวัดระดับ
แอลกอฮอล์ได้ถึง 240 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ขับขี่รถยนต์ได้ แต่จำเลย
ที่ 1 กลับขับขี่รถกระบะด้วยความเร็วสูงถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อมาถึงบริเวณที่หน้าสำนักงานเขตพระ
โขนง ได้หักหลบรถบรรทุกที่แล่นอยู่ด้านหน้าอย่างกระทันหันแล้วรถเสียหลักไปทางซ้ายพุ่งชนฟุตบาท ทำให้
รถกระบะพลิกคว่ำ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่นั่งมาในท้ายกระบะทั้งหมดกระเด็นออกจากท้ายกระบะโดยทุกคน
เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนั้นมีนายโชค ไม่ดี บุตรชายของโจทก์รวมอยู่ด้วย รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาใบมรณบัตร , สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี และสำเนารายงานบันทึกการตรวจ
สถานที่เกิดเหตุเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 3-5

• คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ+ค้ำประกัน
ข้อ2. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรผลิตกระป๋องบรรจุ
อาหารประเภทปลากระป๋อง รุ่น 9999 ไปจากโจทก์จำนวน 1 เครื่อง ในราคา 2,500,000 บาท โดยมีข้อตกลง
อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่าซื้อว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินดาวน์จำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา
และผ่อนชำระเงินส่วนที่เหลื อ 2,000,000 บาท เป็นรายเดือน รวม 10 งวด งวดละ 200,000 บาท เริ่มผ่อน
ชำระงวดแรกในวันที่ 1 มีนาคม 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ หากผิดนัดชำระหนี้ 3 งวดติดต่อกัน โจทก์มี
สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ รวมทั้งมีสิทธิริบบรรดาเงินที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระมาแล้วทั้งหมด กับเข้า ครอบครอง
เครื่องจักรที่เช่าซื้อได้ กับมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดชำระ และโจทก์มีสิทธิฟ้องร้องให้
จำเลยที่ 1 ชำระพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ผิดนัดจากต้นเงินที่ค้างชำระได้ทันที
รายละเอียดปรากฎตามสัญญาเช่าซื้อ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 3
ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการ
ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็
จะชำระแทนจำเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 4

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
87
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีผิดสัญญาเช่า
ข้อ2. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าจากโจทก์ โดยตกลงเช่าอาคาร
ตึกแถว 2 ชั้น เลขที่ 777 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เพื่อใช้ประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า
มีกำหนดระยะเวลาเช่า 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 และจำเลยตกลงจะ
ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันที่ 5 ของเดือน เดื อนละ 30,000 บาท เริ่มชำระงวดแรกในวันทำ
สัญญา หากครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้ว ยเหตุใด จำเลยจะต้องขนย้ายทรัพย์ สิน
และบริวารออกไปจากทรัพย์สินที่เช่า และส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนแก่โจทก์ในการสภาพเรียบร้อยใช้งา นได้
ทันที ถ้าจำเลยไม่ปฎิบัติตามสัญญา จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นรายวัน วันละ 1,000 บาท
จนกว่าจำเลยจะได้ ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินที่เช่า เสร็จสิ้น รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาสัญญาเช่า เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2

3. บรรยายการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ การกระทำของจำเลยผิดสัญญาอย่างไร และทำให้โจทก์ ได้รับความ


เสียหาย
• คดีกู้ยืมเงิน+ค้ำประกัน+จำนอง
ข้อ3. ต่อมาปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ตามข้อ 2 แล้ว ปรากฏ
ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินให้แก่
โจทก์ตั้งแต่งวดแรก และไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์อีกเลย โดยโจทก์ได้บอกล่าวแจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ให้
จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้ง
สามก็เพิกเฉย ไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

• คดีผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ข้อ3. ต่อมาปรากฏว่า หลังจากที่จำเลยทั้งสองทำบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยทั้งสองก็
ไม่ได้ชำระเงินตามที่ตกลงให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

• คดีละเมิด
ข้อ3. ต่อมาปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดต่อบุตรของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ไป
ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กระทำละเมิด และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้
กระทำไปในทางการที่จ้างร่วมกัน หรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็เพิ กเฉย ไม่ได้
ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อ
โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
88
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ+ค้ำประกัน
ข้อ3. ต่อมาปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อเครื่องจักรให้กับโจทก์เพียง 2 งวด คือ
งวดเดือนมีนาคม 2556 และเดือนเมษายน 2556 เท่านั้น นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 เป็นต้นมา จำเลยที่
1 ไม่ได้ชำระให้แก่โจทก์อีกเลย อันเป็นการประพฤติผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ถึง 3 งวดติดต่อกัน โจทก์ได้บอก
กล่าวแจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสอง
ชำระหนี้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึง
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

• คดีผิดสัญญาเช่า
ข้อ3. ต่อมาปรากฎว่าหลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า โดยจำเลยค้างชำระค่า
เช่าแก่โจทก์เรื่อยมา และไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์เลย โจทก์จึงไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าทรัพย์สินที่เช่าอีกต่อไป
และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินที่เช่าโดยทันที แต่จำเลยก็เพิกเฉยไม่ขนย้าย
ทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินที่เช่า การกระทำของจำเลยจึงทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

4.บรรยายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับ/ดอกเบี้ยก่อนฟ้องคิดอย่างไร/รวมต้นเงินและดอกเบี้ย ก่อนฟ้อง
เป็นจำนวนเท่าไหร่ /คิดดอกเบี้ยหลังฟ้อง/ค่าเสียหายคิดอย่างไร มีอะไรบ้าง
• สูตรคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้อง 10,000,000 (ต้นเงิน) X 15 (ดอกเบี้ยผิดนัด) 100,000 X 15 =
100
ก็จะได้ดอกเบี้ย 1,500,000 บาทต่อปี ถ้าจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายเดือน 1,500,000 หาร 12 เดือน
= ก็จะได้ดอกเบี้ย 125,000 บาทต่อเดือน ถ้าจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน 125,000 หาร 30 วัน
= ก็จะได้ดอกเบี้ย 4,166.66 บาทต่อวัน

• คดีกู้ยืมเงิน+ค้ำประกัน+จำนอง
ข้อ4. การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการประพฤติผิดสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของจำเลยที่ 2
ในฐานะผู้ค้ำประกัน เป็นการผิดสัญญาค้ำประกัน และการกระทำของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จำนอง เป็นการ
ผิดสัญญาจำนอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน
จำนวน 10,000,000 บาท (สิ บ ล้ า นบาทถ้ ว น) พร้ อ มดอกเบี ้ ย ในอั ต ราร้ อ ยละ 15 ต่ อ ปี จ ากต้ น เงิ น
10,000,000 บาท นับแต่วันที่ผิดนัด คือวันที่...จนถึงวันฟ้อง คือวันที่...เป็นเวลา 2 ปี คิดเป็นเงินดอกเบี้ย
ก่อนฟ้องจำนวน 3,000,000 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 13,000,000 บาท (สิบสามล้าน
บาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาท (สิบสามล้านบาทถ้วน)
ให้แก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน จำนวน 13,000,000 บาท (สิบสามล้านบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ แทน และ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
89
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จำเลยที ่ 1 และที ่ 3 ต้ อ งร่ ว มกั น หรื อ แทนกั น ชำระดอกเบี ้ ย ในอั ต ราร้ อ ยละ 15 ต่ อ ปี จากต้ น เงิ น
10,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จะชำระให้แก่โจทก์ จน
เสร็จสิ้น ถ้าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ไม่ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 10,000,000 บาท
นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
จากต้นเงิน 10,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าให้แก่โจทก์ แทน และหากจำเลยทั้งสามไม่
ชำระหนี้แก่โจทก์ ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 32100 เลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากทรัพย์จำนองขายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระ
หนี้ให้แก่โจทก์ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วน

• คดีผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ข้อ4. การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำผิดบันทึกรับสภาพหนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกัน
หรือแทนกันรับผิดชำระหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ จำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน)
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) นับตั้งแต่วันที่ผิด
นัดคิดถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลา 2 ปี คิดเป็นดอกเบี้ย ก่อนฟ้อง จำนวน 450,000 บาท รวมต้นเงินและ
ดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 3,450,000 บาท (สามล้านสี่แสนห้า หมื่นบาทถ้วน) และจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกัน
หรือแทนกันชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 3,000,000 บาท(สามล้านบาทถ้วน)
นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น

• คดีละเมิด
ข้อ4. การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความ
เสียหาย จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ดังต่อไปนี้
4.1 โจทก์ได้นำศพของนายโชค ไม่ดี ไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัด เป็นเวลา 7 คืน แล้วจึงฌาปนกิจ เสีย
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพไปเป็นเงิน จำนวน 200,000 บาท รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 6
4.2 โจทก์ขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะ เนื่องจากการเสียชีวิตของนายโชค ไม่ดี ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์
ทำให้โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ เนื่องจากนายโชค ไม่ดี กำลังจะจบการศึกษาและสามารถหารายได้เลี้ยงโจทก์
เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท โจทก์จึงขอคิดค่าเสียหายเป็นค่าขาดไร้อุปการะเป็นระยะเวลา 10 ปี
เป็นเงิน 2,400,000 บาท รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบผลการเรียนของบุตรโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลขที่ 7
รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) และขอให้จำเลยทั้งสอง
ร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันทำละเมิด คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
90
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2563 คิดจนถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลา 1 ปี คิดเป็นเงินดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำนวน 195,000 บาท รวมต้น
เงินและดอกเบี้ยก่อนฟ้องเป็นเงินจำนวน 2,795,000 บาท (สองล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
และจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกัน ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้น เงินจำนวน
2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือ
แทนกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น
ข้อ4. การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนต่อโจทก์ดังต่อไปนี้
4.1 ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวน 1,100,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) รายละเอียด
ปรากฎตามใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 4
4.2 ค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องอีก 1 ปี เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่ง
ล้านบาทถ้วน) รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบความเห็นของแพทย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 5
4.3 ค่าความเสียหายของรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอัลทีส หมายเลขทะเบียน 369 กรุงเทพมหานคร
ของโจทก์ เนื่องจากถูกจำเลยชนท้ายจนยุบเข้าไปประมาณหนึ่งเมตรและไฟไหม้เสียหายทั้งคันจนไม่สามารถใช้
งานได้ และรถยนต์ของโจทก์เป็นรถที่เพิ่งซื้อมาใหม่ใช้งานได้เพียง 3 เดือนโดยซื้อมาในราคา 900,000 บาท
(เก้าแสนบาทถ้วน) โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นเงินจำนวน 900,000 บาท (เก้าแสนบาทถ้วน)
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคู่ มือจดทะเบียนรถยนต์ และเอกสารใบเสร็จรับเงิน เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลขที่ 6 และ 7
รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) และขอให้จำเลยชดใช้ดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันทำละเมิด คือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 คิดจนถึงวันฟ้องเป็น
ระยะเวลา 1 เดือน คิดเป็นเงินดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำนวน 18,750 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยก่อนฟ้อง
เป็นเงินจำนวน 3,018,750 บาท (สามล้านหนึ่งหมื่นแปดพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) และจำเลยจะต้อง
ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 3,000,000 บาท(สามล้านบาทถ้วน) นับถัดจาก
วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น

• คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ+ค้ำประกัน
ข้อ 4. การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดค้างชำระ จำนวน 600,000 บาท แก่โจทก์ และ
ยังไม่ส่งมอบเครื่องจักรที่ได้เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชำระหนี้ค่าเช่า
ซื้อที่ค้างชำระ 3 งวด เป็นเงินจำนวน 600,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์
ขอคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันผิดนัด ......จนถึงวันฟ้อง..... เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นเงินดอกเบี้ยก่อนฟ้องจำนวน
90,000 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน จำนวน 690,000 บาท ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระขอให้จำเลยที่ 2
ชำระแทน และจำเลยที่ 1 ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงิน 600,000 บาทนับ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
91
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่
2 ชำระแทน และจำเลยที่ 1 จะต้องส่งมอบเครื่องจักรตามสัญญาเช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย หาก
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนได้ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ
200,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1
ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน

• คดีผิดสัญญาเช่า (คิดค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย)
ข้อ4. การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ จำเลยต้องขนย้ายทรัพย์สินและ
บริวารออกจากทรัพย์สินพิพาท และชำระค่าเช่าที่ค้างชำระให้โจทก์เป็นเงินในอัตราเดือนละ 30,000 บาท โดย
โจทก์ขอคิดค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนถึงวันฟ้อง เป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน
จำนวน 90,000 บาท (เก้าหมื่นบาทถ้วน) และจำเลยต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นเงินในอัตราเท่ากับ
ค่าเช่าที่มีผู้ติดต่อขอเช่าอาคารพิพาทคนใหม่ ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องต่อไปทุกเดือน
จนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากทรัพย์สินพิพาท พร้อมส่งมอบการครอบครองทรัพย์สิน
พิพาทให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยและเสร็จสิ้น

5.บรรยายเรื่องการบอกกล่าวทวงถาม/ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ให้ทนายความบอกกล่าวทวงถามแล้ว
• คดีกู้ยืมเงิน+ค้ำประกัน+จำนอง
ข้อ5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1
และมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว และบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 3
และบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้เงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่โจทก์แล้ว แต่เมื่อจำเลยทั้งสาม
ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วก็เพิกเฉยเสีย ไม่ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ
ความเสีย หาย รายละเอี ย ดปรากฏตามสำเนาหนั ง สือ บอกกล่ า วทวงถาม และใบตอบรั บ ของบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 7-14

• คดีผิดบันทึกรับสภาพหนี้
ข้อ5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสอง
ชดใช้เงินค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเมื่อได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วก็เพิกเฉย
เสีย ไม่ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถาม และใบตอบรับของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 7-10

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
92
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีละเมิด
ข้อ5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งสอง
ร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเมื่อได้รับหนังสือบอก
กล่าวทวงถามแล้วก็เพิกเฉยเสีย ไม่ได้ชำระค่า สินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แต่อย่างใด เป็น เหตุให้โจทก์ได้รับ
ความเสีย หาย รายละเอี ย ดปรากฏตามสำเนาหนั ง สือ บอกกล่ า วทวงถาม และใบตอบรั บ ของบริษัท
ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 8-11

• คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ+ค้ำประกัน
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1
และบอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์จะใช้สิทธิ ริบเงินที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้กับโจทก์ และเรียกร้องให้จำเลยที่ 1
ชำระหนี้ที่ค้างอีก 3 งวดเป็นเงิน จำนวน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์ และ
บอกกล่าวแจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ทราบ และบอกล่าวเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แล้ว แต่
เมื ่ อ จำเลยทั ้ ง สองได้ ร ั บ หนั ง สื อ บอกกล่ า วทวงถามแล้ ว ก็ เ พิ ก เฉยมิ ไ ด้ ช ำระหนี ้ ใ ห้ แ ก่ โ จทก์ แ ต่ อ ย่ า งใด
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถาม และใบตอบรับของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5-8

• คดีผิดสัญญาเช่า
ข้อ5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนัง สือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยขนย้าย
ทรัพย์สินและบริวารออกจากทรัพย์สินพิพาท ภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว
แต่เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วก็ยังคงเพิกเฉย และก็ยังคงอาศัยอยู่ในทรัพย์พิพาทต่อไป ทำ
ให้โจทก์ได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถาม และใบตอบรับของ
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 7 และ 8

6.ท่อนจบในส่วนบรรยายคำฟ้องคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสามได้ จึงจำต้องฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่
พึ่งบังคับเอากับจำเลยทั้งสามต่อไป หรือ
โจทก์ทั้งสองไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงจำเป็นที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนำคดีมาสู่ศาล
เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งเพื่อบังคับเอากับจำเลยต่อไป
*เมื่อบรรยายฟ้องจบแล้ว ให้เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และไม่ต้องไปลงชื่อโจทก์
หรือทนายโจทก์ ผู้เรียงและเขียนอีก**

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
93
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่าง
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสามได้ จึงจำต้องฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่
พึ่งบังคับเอากับจำเลยทั้งสามต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
• คดีกู้ยืมเงิน+ค้ำประกัน+จำนอง
**อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องคดีแพ่ง** อย่าไปหยิบแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา
(๕)
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง

เพราะฉะนั้นขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลย ตามคำขอ


ต่อไปนี้

๑. ให้ จ ำเลยที ่ 1 และจำเลยที ่ 3 ร่ ว มกั น หรื อ แทนกั น ชำระเงิ น จำนวน 13,000,000 บาท
(สิบสามล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงินจำนวน 10,000,000
บาท (สิบล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น ถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3
ไม่ชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาท (สิบสามล้านบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน จำนวน
13,000,000 บาท (สิบสามล้านบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์……………………………………………………………………………….
๒. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จาก
ต้นเงิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะชำระ
ให้ แ ก่ โ จทก์ จ นเสร็ จ สิ้ น ถ้ า จำเลยที่ 1 และที ่ 3 ไม่ ช ำระดอกเบี ้ ยในอัต ราร้อ ยละ 15 ต่ อ ปี จากต้ น เงิน
10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น ให้จำเลยที่ 2 ชำระ
ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้น
ไปจนกว่าให้แก่โจทก์.............................................................................................................................................
๓. หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามข้อ 1. และข้อ2. ให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 32100 เลขที่ดิน
123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
94
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
โจทก์ หากขายแล้วได้เงินไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดนำเงิน
มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วน............................................................................................................................
๔. ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความใน
อัตราอย่างสูงแทนโจทก์ด้วย ถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตรา
อย่างสูงแทนโจทก์ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตราอย่างสูงแทน……………..
ข้ า พเจ้ า ได้ ยื่ น สำเนาคำฟ้ อ งโดยข้ อ ความถู ก ต้ อ งเป็ น อย่ า งเดี ย วกั น มาด้ ว ย
..............สาม.............. ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

……………………ชอบ.ยุติธรรม…………………โจทก์
(นายชอบ ยุติธรรม)

ด้านหลังคำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง

คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ........นายชอบ ยุติธรรม....................................................................


เลขประจำตัวประชาชน ---- (ใส่ ตัวเลขให้ ครบ)
ทนายความใบอนุญาตที่...111/2525..... อยู่บ้านเลขที่...222...หมู่ที่..2... ถนน…-……………………………..…………..
ตรอก/ซอย...-....................................... ตำบล/แขวง....หนองบอน......................................................................
อำเภอ/เขต…ประเวศ……….….… จังหวัด...กรุงเทพมหานคร............................รหัสไปรษณีย์....10250…………....
โทรศัพท์.....-....................... โทรสาร....-...............................ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์...........................................
เป็นผู้เรียง และเขียน*****
..................................ชอย ยุติธรรม..........................ผู้เรียง และเขียน***
(นายชอบ ยุติธรรม)
คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า.............................................................................................................
อยู่บ้านเลขที่ ...................... หมู่ที่ ................……ถนน……………………ตรอก/ซอย ...............................................
ตำบล/แขวง ...................................................อำเภอ/เขต…………………..………..…จังหวัด....................................
รหัสไปรษณีย์.......................................................................โทรศัพท์...................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
95
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
เป็นผู้เขียนหรือพิมพ์
....................................................................................... ผู้เขียนหรือพิมพ์

• คดีผิดบันทึกรับสภาพหนี้
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 3,450,000 บาท (สามล้านสี่
แสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน
จำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
3. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย

• คดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน จำนวน 2,795,000 บาท (สองล้านเจ็ดแสนเก้าหมื่น
ห้าพันบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์
2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน
จำนวน 2,600,000 บาท (สองล้านหกแสนบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์
เสร็จสิ้น
3. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย

• คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ+ค้ำประกัน
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อ จำนวน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ หากจำเลย
ที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินค่าเช่าซื้อ จำนวน 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์แทน
2. ให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 600,000 บาท
(หกแสนบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ
ให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 600,000 บาท (หกแสน
บาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นแทน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
96
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
3. ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องจักรหมายเลขรุ่น 99999 แก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งคืนแก่โจทก์ได้ ให้
จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) นับตั้งแต่วันฟ้องเป็น
ต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะส่งมอบเครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย หากจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้
ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) นับตั้งแต่วันฟ้อง
เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะส่งมอบเครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยแทน
4. ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ
ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทน

• คดีผิดสัญญาเช่า
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ และ
อาคารเลขที่ 895 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ พร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและอาคาร
ดังกล่าว และส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี
2. ให้จำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ จำนวน 90,000 บาท (เก้าแสนบาทถ้วน)
3. ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
จนกว่าจำเลยจะปฏิบัติตามข้อ 1. จนเสร็จสิ้น
4. ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตราอย่างสูงแทนโจทก์

• คดีผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 2,760,000 บาท (สองล้านเจ็ดแสนหกหมื่นบาทถ้วน)
2. ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 2,400,000 บาท (สองล้านสี่
แสนบาทถ้วน)นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
3. เมื่อจำเลยชำระเงินตามข้อ 1. และข้อ 2. เรียบร้อยแล้ว ให้จำเลยรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 12345
เลขที่ดิน 123 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมบ้านเลขที่ 31 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพมหานคร จากโจทก์
4. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตราอย่างสูงแทนโจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
97
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีเช่าซื้อ เรียกค่าเสียหาย
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยส่งมอบรถยนต์โตโยต้า รุ่นคัมรี่ หมายเลขทะเบียน กข 5678 กรุงเทพมหานคร คืนโจทก์
ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคารถยนต์เป็นเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท
ถ้วน) พร้อมเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระ
เสร็จสิ้น
2. ให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถตามข้อ 1. จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
และให้ชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า
จะส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์หรือใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์
3. ให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ จำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์
4. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตราอย่างสูงแทนโจทก์

• คดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยชำระเงินชดเชย เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค่าจ้างที่ได้หัก ลดไว้แล้ว รวม
เป็นเงินจำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน
ดังกล่าวนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
2. ให้จำเลยชำระเงิน ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นเงินจำนวน 15,000,000 บาท
(สิบห้าล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้ อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
จนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
3. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในอัตราอย่างสูงแทนโจทก์

• คดีฟ้องเพิกถอนนิติกรรม(สินสมรส)
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออก
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (หรือ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนเพิกถอนการขายฝากที่ ดินโฉนดเลขที่
96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม
ขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย
2. ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
98
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีฟ้องเพิกถอนนิติกรรม ละเมิด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 ระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายทั้งหมด และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขต
พระโขนง กรุงเทพ คืนให้แก่โจทก์ (หรือ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนเพิกถอนการขายฝาก
ที่ดินโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 หากจำเลยทั้งสอง
ไม่ปฏิบัติตามขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน
ออกค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบาง
จาก เขตพระโขนง กรุงเทพ คืนให้แก่โจทก์
2. ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 4,000,000 บาท (สี่ล้านบาทถ้วน) ให้แก่
โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้ง
สองจะร่วมกันหรือแทนกันชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
2. ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

• คดีฟ้องจดทะเบียนภารจำยอม ละเมิด เรียกค่าเสียหาย


คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอนกำแพงคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 56789 เลขที่ดิน
456 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 ตรงแนวเขตที่ดินด้านทิศใต้ติดกับถนน
เฉลิมพระเกียรติ จากริมแนวเขตด้านตะวันออกเข้ามาทางตะวันตก ยาว 8 เมตร หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติ
ตามขอให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย
2. ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 456 แขวงหนองบอน
เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 กว้าง 8 เมตร ริมแนวเขตด้านตะวันออกเข้ามาทางตะวันตกและ
ยาว 60 เมตร ตลอดแนวเขตที่ดินจากทิศเหนือจดที่ใต้ เนื้อที่ 80 ตารางวา เป็นทางเข้าออกสู่ถนนของเฉลิม
พระเกีย รติ ของที่ดิน โฉนดเลขที่ 56790 เลขที่ดิน 457 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1
เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ข้อ 3 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวน 100,000 บาทและชดใช้เงิน
ให้แก่โจทก์อีกวันละ 10,000 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทน
กันรื้อถอนกำแพงตาม ข้อ 1 เสร็จเรียบร้อย
ข้อ 4 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนโจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
99
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คดีฟ้องแบ่งมรดก
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยจดทะเบียนและแบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 678 แขวงหนองบอน เขต
ประเวศ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 9 ไร่ ให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับมรดกคนละ...ส่วน หากตกลงแบ่งกันไม่ได้ขอให้
นำที่ดินออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ขายได้มาแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ...ส่วน และหากจำเลยไม่ปฏิบตั ิ
ตามขอถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยด้วย
2. หากจำเลยปฏิบัติตามข้อ 1. ไม่ได้เพราะสภาพแห่ง หนี้ไม่เปิดช่องไม่ว่าด้วยเหตุใดๆก็ตาม ขอให้
จำเลยชดใช้ราคาที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองแทนคนละ 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
4,000,000 บาท (สี่ล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า
จำเลยจะชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น
3. ขอให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองด้วย

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญากู้ยืม และบังคับจำนอง
สหกรณ์ทรัพย์จาง จำกัด โดยนายชอบ ยุติธรรม ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2, นายสาม มีนา ที่ 3 จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชสหกรณ์ พ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้และรับจำนองซึ่ง
ทรัพย์สินแก่สมาชิก รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแสดงการจดทะเบียนสหกรณ์ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 1
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ นายชอบ ยุติธรรม เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนสหกรณ์ได้ตามกฎหมาย มี
อำนาจในการทำนิ ต ิ กรรมเกี ่ ยวกั บบุ คคลภายนอกและการฟ้ องร้ องดำเนิ นคดี ท ั ้ งทางแพ่ ง และทางอาญา
รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขที่ 2
ข้อ 2. จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกของโจทก์เมื่อวันที่ 1 มิ ถุนายน 2557 จำเลยที่ 1
และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันกู้ยืมเงินไปจากโจทก์ จำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) และได้รับเงิน
จำนวนดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
และสัญญาว่าจะส่งต้นเงินรวมดอกเบี้ยเป็นงวด งวดละไม่น้อยกว่า 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) รวม 36
งวด ชำระภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนเริ่มชำระงวดแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 เป็นต้นไปและงวด
สุดท้ายจะชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดให้แก่โจทก์ หากผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่สามงวดขึ้นไป ให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและ
เรียกให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ทั้งหมดคืนได้ทันที รายละเอียดปรากฏตามสัญญายืมเงิน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข
ที่ 3
ในการกู้ยืมเงินดังกล่าวนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จำเลยที่ 3 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่
98765 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
100
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ต่อโจทก์ ในวงเงินจำนอง 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) ตกลงให้ติดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี
รายละเอียดปรากฏตามสัญญาจำนอง เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4
ข้อ 3. นับจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์แล้ว ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และจำเลย
ที่ 2 ผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระเงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยผิดนัดไม่ชำระเงินตั้งแต่งวดแรก ทำให้โจทก์ได้รับ
ความเสียหาย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นการปฏิบัติผิดสัญญากู้ยืม และการกระทำของจำเลย
ที่ 3 เป็นการปฏิบัติผิดสัญญาจำนอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องร่วมกันหรือแทน
กันรับผิดชำระเงินจำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีนับแต่
วันกู้ยืมเงินจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 ปี คิดเป็นเงินดอกเบี้ยจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) รวม
ต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 11,000,000 บาท (สิบเอ็ดล้านบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสาม
ร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท
ถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินให้แก่โจทก์ครบถ้วน
หากจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 98765 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพ ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากทรัพย์จำนองขายได้ไม่เพียงพอที่จะ
ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบถ้วน
ข้อ 5.ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1
และจำเลยที่ 2 และบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 3 ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินกู้ยืม
พร้อมดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์แล้ว รายละเอียดปรากฏตามหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2557 พร้อม
ใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือแล้วเพิกเฉย ตามเอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 5 ถึง 10
โจทก์ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสามได้ จึงต้องดำเนินคดีขึ้นสู่ศาล เพื่ออาศัยบารมี
ศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับเอากับจำเลยทั้งสามต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้องแพ่ง
ข้อ 1. ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 11,000,000 บาท (สิบเอ็ดล้านบาทถ้วน)
ให้แก่โจทก์ทันที พร้อมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้าน
บาทถ้วน) ให้แก่โจทก์นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินให้แก่โจทก์ครบถ้วน
ข้อ 2. หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามข้อ 1. ให้ยึดที่ดิ นโฉนดเลขที่ 98765 แขวงบางจาก เขตพระ
โขนง กรุงเทพ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้จนครบถ้วน
ข้อ 3. ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
101
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำฟ้องคดีขับไล่ ผิดสัญญาเช่า เรียกค่าเสียหาย
นายหนึ่ง มกรา โดยนายสอง กุมภา ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่ำรวยเงินทอง ที่ 1, นายโชค ไม่ดี ที่ 2, นางร่ำรวย เงินทอง ที่ 3 จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น 1 คูหา ตั้งอยู่เลขที่ 987 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 1
ในการฟ้องและดำเนินคดีนี้ โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายสอง กุมภา เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทน
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 2
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ที่กรม
พัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้ จัดการ มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1
ได้ มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าขายทุกชนิด รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1 เอกสาร
ท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 3
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 3 ยอมให้ใช้ชื่อของตนเรียกขานระคน
ปนกับชื่อของจำเลยที่ 1 และสอดเข้ามาจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่
1 ด้วย
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ที่เป็น
หุ้นส่วนผู้จำกัดความรับผิด ให้เป็นผู้รับมอบอำนาจให้มาทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ที่พิพาทกับโจทก์ เพื่อใช้
ในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1 ตกลงค่าเช่าเดือนละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ชำระค่าเช่าทุกๆวันที่
1 ของทุกๆ เดือนติดต่อกันไป มีกำหนดระยะเวลาเช่า 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อครบกำหนด ให้จำเลยที่
1 ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าว ค่าภาษีโรงเรือนจำเลยที่ 1 เป็น
ผู้ชำระเองทั้งสิ้น รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่า เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลขที่ 4
ข้อ 3. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญาเช่าในคำฟ้องข้อ 2. แล้ว โจทก์ได้มอบให้ ทนายความ
ไปพบกับจำเลยทั้งสามเพื่อแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากสถานที่เช่าทันที ปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้น
จำเลยที่ 3 ได้นำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ยังไม่ สามารถหาที่เช่า
ใหม่ได้และจะขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไปทันทีเมื่อได้ที่เช่าใหม่ ซึ่งโจทก์ได้รับค่าเช่าไว้แล้ว จึงถือว่าเป็น
การเช่าที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้นำเงินค่าเช่ามาชำระให้แก่โจทก์ในเดือนถัดมา โจทก์ได้รับ
ค่าเช่าไว้ และได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบว่ามีผู้มาติดต่อขอเช่าอาคารที่พิพาทในอัตราเดือนละ 1,000,000 บาท
(หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยจะเริ่มเข้าอยู่ในอาคารพิพาทในวันที่ 1 มกราคม 2560 ปรากฏว่า ในวันดังกล่าวจำเลย
ทั้งสามยังคงอาศัยอยู่ในอาคารพิพาท ยังไม่ยอมมออกไปจากสถานที่เช่า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสามทำให้โจทก์เสียหาย กล่าวคือ จำเลยต้องขนย้ายทรัพย์สินและ
บริวารออกจากทรัพย์สินพิพาท นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว แต่จำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม
สัญญา

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
102
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ดังนั้น โจทก์จ ึงขอศาลได้โปรดพิพากษาให้จำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์ส ิน และบริวารออกไปจาก
ทรัพย์สินพิพาท และชำระค่าเสียหายให้โจทก์เป็นอัตราเดือนละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ซึ่งเป็น
เงินในอัตราเท่ากับค่าเช่าที่มีผู้ติดต่อขอเช่าอาคารพาณิชย์คนใหม่ โดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันที่ 1 มกราคม
2560 เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสามจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาท พร้อมส่งมอบ
การครอบครองทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย คำนวณถึง วันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนรวมเป็นเงิน
ค่าเสียหาย 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายให้
โจทก์เป็นอัตราเดือนละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะ
ส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไปถึงจำเลยทั้งสามให้ขน
ทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินที่พิพาทภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว ซึ่งจำเลย
ทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2560 เมื่อครบกำหนดแล้ ว จำเลยทั้งสามก็ยังคงอาศัยอยู่
ในทรัพย์สินพิพาท ไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่าแต่อย่างใด รายละเอียดปรากกฎตามสำเนาหนังสือบอกกล่าว
และใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5 ถึง 10
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยทั้งสามได้ จึงมาขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับเอากับจำเลยทั้ง
สามต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสามขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากทรัพย์สินที่พิพาทอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น
1 คูหา ตั้งอยู่เลขที่ 987 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ พร้อมส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ในสภาพที่
เรียบร้อย
2. ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย จำนวน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน)
และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลย
ทั้งสามจะส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย
3. ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมศาล และค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย
นางสวย ใจดี โจทก์
นายโชค ไม่ดี ที่ 1 , บริษัท ร่ำรวย จำกัด ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหนึ่ง มกรา รายละเอียดปรากฏตามสูติบัตร
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งพนักงานขับรถ รายละเอียดปรากฏตามสัญญาจ้าง
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
103
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณ สำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดปทุมธานี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการขายสินค้าทั่วไป มีนายรวย มั่งคั่ง เป็น
กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 2 ได้รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองบริษัทจำเลยที่ 2 เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 เวลาประมาณ 02.30 น.จำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์กระบะ
ปิกอัพ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นรีโว่ หมายเลขทะเบียน กก999 ปทุมธานี บรรทุกผู้โดยสารจำนวน 9 คน ที่กระบะท้าย
มาตามถนน รังสิต-นครนายก จากคลอง 9 มุ่งหน้าตลาดรังสิตไปในทางการที่จ้างหรือใช้ของจำเลยที่ 2 ด้วย
ความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยที่ 1 ในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และ
สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่กล่าวคือ ขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน สภาพถนนมืด
เนื่องจากไฟฟ้าส่องสว่างดับ จำเลยที่ 1 ขับขี่รถยนต์ด้วยความเร็วสูงในขณะมึนเมาสุรา ซึ่งวัดระดับ แอลกอฮอล์
ได้ถึง 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ขับขี่รถยนต์ได้ แต่จำเลยที่ 1 กลับขับขี่
รถยนต์ด้วยความเร็วถึง 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อมาถึงบริเวณหน้าศาลจังหวัด ธัญบุรี ตำบลรังสิต อำเภอ
ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ได้หักหลบรถอย่างกะทันหัน แล้วเสียหลักไปทางซ้ายพุ่งชนร่องถนน ทำให้พลิกตะแคง
และหมุนกลิ้งไปตามถนนเป็นเหตุให้ผู้โดยสารที่นั่งในกระบะท้ายทั้งหมดกระเด็นออกจากกระบะท้ายไปคนละทิศคน
ละทางและเสียชีว ิตในที่เกิดเหตุทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนั้นมีนายหนึ่ง มกรา บุตรชายของโจทก์เสียชีว ิตด้วย
รายละเอียดปรากฏตามสำเนามรณบัตร สำเนาประจำวันเกี่ยวกับคดี และรายงานบันทึกการตรวจสถานที่เกิด
เหตุ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4 ถึง 6
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจกท์ได้รับความเสี ยหาย โจทก์ได้นำศพนายหนึ่ง มกรา ไปตั้ง
บำเพ็ญกุศลที่วัดเป็นเวลา 5 คืน แล้วจึงฌาปณกิจ เสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 200,000 บาท และจากการเสียชีวิต
ของนายหนึ ่ ง มกรา ทำให้ โ จทก์ ต ้ องขาดไร้ ผ ู ้ อ ุ ปการะเนื ่ องจากนายหนึ ่ ง มกรา กำลั งจะจบการศึ กษา
และสามารถหารายได้เลี้ยงโจทก์เป็นเงินไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท โจทก์จึงขอคิดค่าเสียหายเป็นค่าขาดไร้
อุ ป การะเป็ น เวลา 10 ปี เป็ น เงิ น 2,400,000 บาท รวมเป็ น เงิ น ทั ้ ง สิ ้ น 2,600,000 บาท รายละเอี ย ด
ปรากฏตามสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายในการปลงศพ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 7
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กระทำอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างซึ่งจำเลยที่ 1
ได้กระทำไปในทางการที่จ้างซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้ง
สองต้องรับผิดร่วมกันหรือแทนกัน ชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 2,600,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
อัตราในตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันเกิดเหตุ คือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 จนถึงวันฟ้อง
เป็นเวลา 6 เดือน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 97,500 บาท รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
จนถึงวันฟ้องเป็นเงินทั้งสิ้น 2,697,500 บาท และจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 2,600,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสอง
จะร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนเสร็จสิ้น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
104
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยทั้งสอง ซึ่งจำเลย
ทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว แต่ก็ยังคงเพิกเฉยอยู่ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือบอก
กล่าวทวงถาม และใบตอบรับเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 8 ถึง 11
โจทก์ไม่มีทางใดจะบังคับกับจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับเอา
กับจำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 2,697,500 บาท ให้แก่โจทก์
2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 2,600,000
บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือแทนกันชำระให้เสร็จสิ้นแก่โจทก์
3. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญาก่อสร้าง เรียกค่าเสียหาย
บริษัท แสนดี จำกัด โดยนายหนึ่ง มกรา กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด มั่งคงปลอดภัย ที่ 1, นายชัดเจน แน่นอน ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1.โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวง
พาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการค้าขายทุกประเภท มีนายหนึ่ง มกรา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและ
ประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียน ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวง
พาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างก่อสร้างอาคารทุกประเภท มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจลง
ลายมือชื่อและประทับตราสำคัญกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือ
รับรองนิติบุคคล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ให้ทำการก่อสร้างอาคาร ซึ่งเป็น
อาคาร 2 ชั้นครึ่ง ขนาดกว้าง 84 เมตร ยาว 160 เมตร โดยตกลงค่าก่อสร้างจนแล้วเสร็จในราคา 20,000,000 บาท
โดยในวันทำสัญญาจ้างโจทก์ได้ชำระค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 4,000,000 บาท ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะชำระ
ให้ครบถ้วนเมื่ออาคารเสร็จสมบูรณ์และส่งมอบอาคารแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นผู้ รับผิดชอบจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ในการก่อสร้างเป็นวัสดุมาตรฐานดีเยี่ยมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 1 เอง มีกำหนดเวลาก่อสร้างให้แล้ว
เสร็จภายในเวลา 11 เดือน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญาและผู้รับจ้างต้องรับประกันงานก่อสร้างเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
5 ปี รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายสัญญาจ้างก่อสร้าง เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข 3
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 จำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 98765 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กรุงเทพ ของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการที่จำเลยที่ 1 จะรับผิดตาม

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
105
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
สัญญาก่อสร้างตลอดจนการรับประกันตัวอาคารทั้งหมด ภายในระยะเวลาตามสัญญาจ้าง โดยมีวงเงินจำนอง
20,000,000 บาท กำหนดระยะเวลาก่อหนี้ 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่าย
สัญญาจำนอง เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4
ข้อ 3. หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาพร้อมได้ส่งมอบและรับชำระ
ค่าจ้างจากโจทก์ไปครบถ้วนแล้ว ในวันที่ 29 สิงหาคม 2558 ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2558 ปรากฏว่าอาคารที่
ก่อสร้างถล่มลงมาเสียหายหมดทั้งหลัง เนื่องจากความบกพร่องในการก่อสร้างอาคารและมีการใช้วัสดุเหล็กเส้นซึ่ง
เป็นโครงสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐาน โจทก์เสียหายเป็นเงินจำนวน 20,000,000 บาท โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่
1 รับ ผิดชดใช้ค่าเสีย หายทั้ งหมดเต็มตามราคาก่อสร้าง จำนวน 20,000,000 บาท ให้แก่โ จทก์แล้ว แต่
จำเลยที่ 1 กลับเพิกเฉยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ข้อ 4. จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ผิดสัญญาจ้างก่อสร้างและผู้จำนอง และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ
ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างไม่จำกัดจำนวน ต้องร่วมกันหรือแทน
กันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 20,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยจากวันผิดนัดถึงวันฟ้อง รวม 3
เดือน ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 375,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายจำนวน 20,375,000
บาท นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังต้องร่วมกันหรือแทนกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน
จำนวน 20,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือแทนกันชำระแก่โจทก์
เสร็จสิ้น
ข้อ 5.ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่
1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวไว้แล้วแต่ยังคงเพิกเฉย หลังจากนั้นโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมี
หนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้งสอง และเมื่อครบกำหนดเวลาตามหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองยังคง
เพิกเฉย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองพร้อมใบตอบรับทางไปรษณี ย์ เอกสาร
ท้ายฟ้องหมายเลข 5 และ 8 ตามลำดับ
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อ
บังคับเอากับจำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องคดีแพ่ง
ข้อ 1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 20,375,000
บาท
ข้อ 2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้น
เงิน 20,000,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
ข้อ 3. หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามข้อ 1. และข้อ 2. ขอให้ศาลพิพากษาให้ยึดทรัพย์ที่จำนอง คือ
ที่ดินตามที่ดินโฉนดเลขที่ 98765 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้
ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และหากเงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่
โจทก์จนครบถ้วน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
106
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 4. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกัน เรียกค่าเสียหาย


บริษัท ปลาแสนดี จำกัด โดยนายหนึ่ง มกรา กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
บริษัท ปลาใจร้าย จำกัด ที่ 1, นายโชค ใจร้าย ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายต่อกรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า กระทรวงพาณิชย์ มีนายหนึ่ง มกรา เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยลงลายมือชื่อและ
ประทับตราสำคัญของโจทก์ รายละเอีย ดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรอง เอกสารท้ายคำฟ้ อง
หมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ โดยลงลายมือชื่อและประทับตรา
สำคัญของจำเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรอง เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2555 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรผลิตกระป๋องบรรจุ
อาหาร รุ่น ABCD ไปจากโจทก์ จำนวน 1 เครื่อง ในราคา 5,000,000 บาท โดยมีข้อตกลงอันเป็น สาระสำคัญ
ของสัญญาเช่าซื้อว่า จำเลยต้องชำระเงินดาวน์จำนวน 1,000,000 บาทในวันทำสัญญา และผ่อนชำระเงินส่วนที่
เหลือ 4,000,000 บาท เป็นรายเดื อน รวม 10 งวดๆ ละ 400,000 บาท เริ่มผ่อนชำระงวดแรกในวั นที่ 11
กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบ หากผิดนัดชำระหนี้ 3 งวดติดต่อกัน โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
รวมทั้งมีสิทธิริบบรรดาเงินที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระมาแล้วทั้งหมด กับเข้าครอบครองเครื่องจักรที่เช่าซื้อได้ กับมี
สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระพร้อมดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 15 ต่อปี รายละเอียดของสัญญาเช่าซื้อปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายสัญญาเช่าซื้อ เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 3
ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ซึ่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกัน การ
ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ จะ
ชำระแทนทั้งสิ้น รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4
ข้อ 3. ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อเครื่องจักรให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด คืองวดเดือนกรกฎาคม
และสิงหาคม 2555 เท่านั้น นับแต่เดือนกันยายน 2555 เป็นต้นมา จำเลยที่ 1 มิได้ชำระให้แก่โจทก์อีกเลย อันเป็น
การผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ถึง 3 งวดติดต่อกัน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ข้อ 4. การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวด เป็นเงิน จำนวน
1,200,000 บาทแก่โจทก์ และยังไม่ส่งมอบเครื่องจักรที่ได้เช่าซื้อไปคืนแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ 3 งวด เป็นเงินจำนวน 1,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์ขอคิดตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้
จำเลยที่ 2 ชำระแทน และจำเลยที่ 1 จะต้องส่งมอบคืนเครื่องจักรตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย หาก

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
107
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถคืนได้ ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยโจทก์ขอคิดค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 400,000 บาท
นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยที่ 1 จะส่งมอบเครื่องจักรคืนแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2
ชำระแทน
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยที่ 1 และ
บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ใช้สิทธิริบบรรดาเงินที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้แก่โจทก์ กับเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่
ค้างอีก 3 งวด เป็นเงินจำนวน 1,200,000 บาท บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์ และบอกกล่าว
แจ้งการผิดนัดของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว หลังจากนั้นก็ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์
ซึง่ จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้วเพิกเฉย ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่ประการใด รายละเอียดปรากฏ
หนังสือบอกกล่าวทวงถามพร้อมใบตอบรับ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5 ถึง 10
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องฟ้องเป็นคดีนี้เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งเพื่อบังคับเอา
กับจำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้องแพ่ง
1 .ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเงินจำนวน 1,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระ
แทน
2. ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องจักร หมายเลขรุ่น ABCD แก่โจทก์ หากไม่สามารถส่งคืนแก่โจทก์ได้ ให้
จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงินเดือนละ 400,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยที่ 1 จะส่ง
มอบเครื่องจักรดังกล่าวแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน
3. ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2
ชำระแทน

ตัวอย่างคำฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรม
นางสวย ใจดี โจทก์
นายหนึ่ง ใจดี ที่ 1 , นายสอง ไม่สุจริต ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1.โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 20 มกราคม
2534 ที่สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพ รายละเอียดปรากฎตาสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลขที่ 1
ระหว่างที่โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินด้วยกันฉันท์สามี ภรรยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2544 โจทก์และ
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันซื้อโฉนดที่ดินเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เนื้อที่ 300 ตารางวา
โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ในโฉนดที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ระหว่างโจทก์และจำเลย
ที่ 1

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
108
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินสินสมรสดังกล่าวในข้อ 1. ไปจดทะเบียน
ขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2 ในราคา 20,000,000 บาท มีกำหนดไถ่ถอน 1 ปี โดยโจทก์ไม่ได้รับรู้และไม่ได้ให้
ความยินยอม กล่าวคือในการจดทะเบียนขายฝากดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การเท็จต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินว่าจำเลย
ที่ 1 เป็นโสด ไม่มีภรรยา ไม่เคยจดทะเบียนสมรส ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาพระโขนง ได้บันทึก
ถ้อยคำดังกล่าวไว้ในบันทึกถ้อยคำในการจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดิน รายละเอียดปรากฏตามสำเนา
โฉนดที่ดิน สำเนาบันทึกถ้อยคำ และสำเนาสัญญาขายฝาก เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลย 2 ถึง 4 และจำเลยที่
2 รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวไว้โดยไม่สุจริต โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์ เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 และ
ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ใน
การนำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 แต่อย่างใด
ข้อ 3. โจทก์เพิ่งทราบการกระทำดังกล่าวข้างต้นของจำเลยทั้ งสองเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 และ
การกระทำของจำเลยทั้งสอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียหาย ขอศาลได้โปรดพิพากษาให้เพิกถอนนิ ติกรรม
ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่าง
จำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด (หรือจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ตาม
กฎหมายต้องร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนเพิกถอนการขายฝากที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 96325 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากจำเลย
ทั้งสองไม่ปฎิบัติตามขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน
หรือแทนกันออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองแล้ว แต่
จำเลยทั้งสองเมื่อ ได้ร ับ หนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว เพิกเฉย ไม่ดำเนินการให้แก่โ จทก์แต่ประการใด
รายละเอียดปรากฏหนังสือบอกกล่าวทวงถามพร้อมใบตอบรับ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5 ถึง 8
โจทก์ไม่มีทางบังคับจำเลยทั้ งสองได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยทั้ง
สองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
ข้อ 1. ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง
กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออก
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด (หรือ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน หรือแทนกันจดทะเบียนเพิกถอนการขายฝากที่ดิน โฉนดเลขที่
96325 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
109
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองร่ว มกัน หรือแทนกัน ออก
ค่าใช้จ่าย
ข้อ 2. ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญาหนังสือรับสภาพหนี้
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน ที่ 1 , นายลำบาก แสนเข็ญ ที่ 2 จำเลย
ข้อ1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนายเศรษฐี มั่งมี
เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำแทนโจทก์ได้ โจทก์ประกอบ
กิจการขายรถยนต์แล้ว รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย มีจำเลยที่ 2 เป็น
หุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่
จำกัดจำนวน จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของ
สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำ
ฟ้องหมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้มอบให้แก่โจทก์ยอมรับว่า
จำเลยที่ 1 เป็ น หนี ้ ค ่ า ซื ้ อ รถยนต์ ก ระบะยี ่ ห ้ อ โตโยต้ า รุ ่ น รี โ ว่ 4 ประตู สี ข าว เลขทะเบี ย น ยจ111
กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนเงิน 800,000 บาท จำเลยที่ 1 ตกลงชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นราย
เดือนในอัตราเดือนละ 100,000 บาท ภายในทุกวันที่ 10 ของเดือน เริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 10 มีนาคม
2562 และทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไปจนกว่าจะครบถ้วน โดยโจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผ่อนชำระ หาก
จำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด จำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
ทันทีพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ รายละเอียดปรากฎ
ตามสำเนาหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3
ข้อ 3. ครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดแรกในวันที่ 10 มีนาคม 2562 จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงิน
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ติดตามทวงถามจำเลยทั้งสองแล้วแต่ติดต่อไม่ได้ การกระทำของ
จำเลยทั้งสอง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสอง เป็นการประพฤติผิดสัญญารับสภาพหนี้ทำให้โจทก์ได้รับความ
เสียหาย จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
110
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
โดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน จำนวน 800,000 บาท
พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด คือวันที่ 10 มีนาคม 2562
คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 เดือน คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 10,000 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยทั้ง
สองต้องร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสิ้น จำนวน 810,000 บาท และจำเลยทั้งสองยังต้องร่วมกัน
หรือแทนกันรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 800,000 บาทนับถัดจากวันฟ้อง
เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือแทนกันชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น
ข้อ 5. โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 ทวงถามจำเลยทั้ง
สองให้ชำระเงินให้แก่โจทก์ จำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแล้วเมื่อวั นที่ 15 มีนาคม
2562 แต่เพิกเฉยเสียไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือทวงถามและ
ใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4-7
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้ จึงจำต้องฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่
พึ่งบังคับเอากับจำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 810,000 บาท (แปดแสน
หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน
จำนวน 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
3. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย

ตัวอย่างคำฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมและแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
นายสอง มั่งมี ที่ 1, นายสาม มั่งมี ที่ 2 โจทก์
นายหนึ่ง มั่งมี ที่ 1 , นางแสบทรวง มั่งมี ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1. โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 เป็นบุตรของนางสวย มั่งมี ผู้ตายเจ้ามรดก กับนายหล่อ มั่งมี
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
ส่ว นจำเลยที่ 2 เป็น ภริย าโดยชอบด้ว ยกฎหมายของจำเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามสำเนา
ใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
111
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 นางสวย มั่งมี ผู้ตายเจ้ามรดก ได้ทำพินัยกรรมโดยการเขียนด้วย
ลายมือของตนเองพร้อมลงลายมือชื่อไว้ในพินัยกรรมระบุว่า เมื่อนางสวย มั่งมี ถึงแก่ความตาย ขอยกทรัพย์สิน
ของตนให้แก่บุตรดังนี้
2.1 บ้านเดี่ยว 2 ชั้น เลขที่ 9 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่
บนโฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 123 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ เนื้อที่ 1 ไร่ ให้ตกเป็นของ
จำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว
2.2 โรงงานแบตเตอรี่รถยนต์ พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 6789 เลขที่ดิน 321 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบาง
พลีจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 10 ไร่ และกิจการโรงงานผลิต แบตเตอรี่รถยนต์ ให้ตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แต่
เพียงผู้เดียว
2.3 สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท แหวนทองคำ 1 วง เงินสดในธนาคารสยามไทย จำนวน 900,000
บาท ให้ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาพินัยกรรม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3
ข้อ 3. ต่อมาปรากฎว่าเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 นางสวย มั่งมี ได้ถึงแก่ความตาย รายละเอียด
ปรากฎตามสำเนาใบมรณบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4
โดยเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 ศาลแพ่งพระโขนง ได้มีคำสั่งให้ตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกนาง
สวย มั่งมี ผู้ตายเจ้ามรดก เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 191/2562 รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำสั่งตั้งผู้จัดการ
มรดก เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5
ข้อ 4. นับแต่จำเลยที่ 1 ได้รับการตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้จัดการมรดก
ให้เป็นไปตามพินัยกรรม โดยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ได้ทำการจด
ทะเบีย นโอนกรรมสิ ทธิ์ ที ่ดิ น โฉนดเลขที ่ 6789 เลขที่ดิน 321 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวั ด
สมุทรปราการ เนื้อที่ 10 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ณ สำนักงานที่ดิน
จังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และมิได้ส่งมอบ
สร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท แหวนทองคำ 1 วง และเงินสดในธนาคารสยามไทย จำนวน 900,000 บาท
ให้แก่โจทก์ที่ 2 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 6
โจทก์ทั้งสองได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ปฏิบัติตามพินัยกรรมแล้ว แต่
จำเลยที่ 1 ก็เพิกเฉยเสีย การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับของเสียหาย จำเลยทั้งสอง
มีหน้าที่ต้องร่วมกันหรือแทนกันทำการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ 6789 เลขที่ดิน
321 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 10 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่โจทก์ที่ 1
และส่งมอบสร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท แหวนทองคำ 1 วง และเงินสดในธนาคารสยามไทย จำนวน
900,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
112
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งสองจึงมอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้ งสอง
ซึ่งจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่า วแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังคงเพิกเฉย รายละเอียดปรากฎตามสำเนา
หนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับทางไปรษณีย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 7-10
โจทก์ทั้งสองไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องนำคดีนี้มาฟ้องร้องต่อศาล เพื่อ
ขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับเอากับจำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกัน เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 6789
เลขที่ดิน 321 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 10 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยให้
จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมด
2. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6789 เลขที่ดิน
321 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 10 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แก่โจทก์ที่ 1
หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ถ้าสภาพแห่งหนี้
ไม่เปิดช่องไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนชดใช้ค่าราคาที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน
เงิน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงิน
จำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกันหรือ
แทนกันชำระให้แก่โจทก์ที่ 1 เสร็จสิ้น
3. ให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบสร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท แหวนทองคำ 1 วง และเงินสดในธนาคาร
สยามไทย จำนวน 900,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่2
4. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสอง

ตัวอย่างคำฟ้องคดีหย่า อำนาจปกครองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู


นายหล่อ ใจดี โจทก์
นางสวย ใจดี จำเลย
ข้อ 1. โจทก์และจำเลยเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรส ณ สำนักงานเขต
ประเวศ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบสำคัญการสมรส
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
โจทก์และจำเลยมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กหญิง หนึ่ง ใจดี อายุ 8 ปีและเด็กชายสอง ใจดี อายุ 6 ปี
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 และ 3

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
113
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 2. ระหว่างที่โจทก์และจำเลยอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยา จำเลยได้กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์
ต่อการเป็นสามีภรรยาโดย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลาประมาณ 19.00 น. ขณะที่โจทก์เดินทาง
กลับมาจากที่ทำงานถึงบ้านที่พักเลขที่ 31 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้เกิดการโต้เถียง
กันกับจำเลย จำเลยด่าโจทก์ว่า”เลวทั้งโครต มึงมันเลวเหมือนโคตรมึง” ต่อหน้าเพื่อนบ้าน 6-7 คน อันเป็นการ
ดูถูกเหยียดหยามโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง จนทำให้โจทก์ไม่สามารถอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับ
จำเลยอย่างปกติสุขได้อีกต่อไป
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์และบุพการีได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่ประสงค์
จะอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับจำเลยอีกต่อไป นอกจากนี้จำเลยยังเป็นผู้ที่หูเบา งีเ่ ง่า อารมณ์คุ้มดีคุ้มร้ายและอาจ
ทำร้ายจิตใจของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง จนเป็นผลร้ายต่ออนาคตของบุตรได้ ประกอบกับโจทก์เป็น ผู้จัดการโรงงาน
ของบริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด มีรายได้สูงและมั่นคงและเป็นผู้นำครอบครัว มีความสามารถดูแลบุตรทั้งสอง
ได้ดีกว่าจำเลย สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียว
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยเป็นเหตุหย่าตามกฏหมายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ จึง
ประสงค์ขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับจำเลย และขอศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรทั้ งสองของ
จำเลย โดยให้โจทก์มีอำนาจปกครองบุตร คือ เด็กหญิงหนึ่ง ใจดี และเด็กชายสอง ใจดี แต่เพียงผู้เดียว ทั้งยังให้
จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นเงินเดือนละ 10,000 บาท จนกว่าบุตรทั้งสองจะอายุครบ
20 ปีบริบูรณ์
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยมาจดทะเบียน
หย่าและขอใช้อำนาจปกครอง รวมถึงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง จำเลยได้รับหนังสือ บอกกล่าวของทนาย
โจทก์แล้ว ครั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยก็ยังเพิกเฉยอยู่ไม่ได้สนใจแต่อย่างใด รายละเอียด
ปรากฎตามสำเนาหนังสือบอกกล่าวและใบตอบรับไปรษณีย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4 และ 5
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีนี้มาฟ้องศาล เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่ พึ่ง
บังคับเอากับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากเป็นสามีภรรยากัน
2. ให้เพิกถอนอำนาจปกครองเด็กหญิง หนึ่ง ใจดี และเด็กชายสอง ใจดี ของจำเลยเสีย และให้โจทก์
เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว
3. ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงหนึ่ง ใจดี และเด็กชายสอง ใจดี เป็นเงินเดือนละ 10,000
บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยนำมาวางศาลในวันที่ 1 ของทุกเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้น
ไปจนกว่าเด็กหญิงหนึ่ง ใจดี และเด็กชายสอง ใจดี จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
114
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
4. ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีภารจำยอม ละเมิด
นายโชคดี มั่งมี โจทก์
นายดวง ไม่ดี ที่ 1 , นายจน เหลือทน ที่ 2 จำเลย
ข้ อ 1. โจทก์ เ ป็ น เจ้ า ของที ่ ด ิน โฉนดเลขที ่ 22222 เลขที ่ ด ิ น 22 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ พร้อมโกดังเก็บสินค้าบนที่ดินดังกล่าวรายละเอียดปรากฎตามสำเนาโฉนดที่ดิน
ของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยที ่ 1 เป็ น เจ้ า ของที ่ ด ิ น โฉนดเลขที ่ 11111 เลขที ่ ด ิ น 11 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 8 ไร่ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 2
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการ มีหน้าทีด่ ูแลที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยที่ 1
ข้อ 2. โจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวในข้อ 1. มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 เมื่อซื้อมาที่ ดินของโจทก์ไม่มี
ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ แนวเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศใต้ยาวตลอดแนวติดกับแนวเขตที่ดินด้านทิศเหนือ
ของจำเลยที่ 1 และที่ดินของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกติดลำรางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยที่ 1 มี
แนวเขตด้านทิศใต้ติดถนนเฉลิมพระเกียรติตลอดแนว
ตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินมา โจทก์ได้ทำทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ โดยทำเป็น
ถนนดินบนที่ดินของจำเลยที่ 1 ตลอดริมแนวเขตที่ดินด้านทิศตะวันออกกว้าง 8 เมตรและยาว 60 เมตรตลอด
แนวทิศเหนือจดทิศใต้เนื้อที่ 80 ตารางวา ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2530 โจทก์สร้างโกดังเก็บสินค้าบนที่ดินของโจทก์
โจทก์จึงได้ปรับปรุงทางเข้าออกบนที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นถนนคอนกรีต
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 โจทก์ได้ใช้ถนนดังกล่าวข้างต้นบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นทางสำหรับผ่านเข้าออก
ที่ดินของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติอย่างเปิดเผยตลอดมา โดยไม่มีผู้ใดมาโต้แย้งขัดขวาง หรือรบกวนการ
ใช้ถนนเป็นเวลา 50 ปีเศษ แนวถนนดังกล่าวบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นภาระจำยอมสำหรับเป็นทางผ่าน
เข้าออกของที่ดินของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติตามกฏหมาย รายละเอียดปรากฎตามแผนผังแสดงแนว
เขตที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 1 และแนวถนน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3
ข้อ 3. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการดูแลที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยความ
เห็นชอบของจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างคนงานมาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตบนที่ดินของจำเลยที่ 1 ปิดกั้นถนน
ทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวข้างต้น ทางด้านทิศใต้ติดถนนเฉลิมพระเกียรติ
ตลอดแนวความกว้างของถนนทางเข้าออก ทั้งๆที่จำเลยทั้งสองทราบดีว่าโจทก์จำเป็นต้องใช้ถนนบนที่ดินของ
จำเลยที่ 1 เป็นทางผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ตลอดมา

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
115
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ต่อมาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าโจทก์เป็นผู้ทำถนนบนที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว และใช้
มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 แล้ว และจำเป็นต้องใช้เป็นทางเข้าออกและขนส่งสินค้าจากโกดังบนที่ดินของโจทก์ออก
ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ จึงขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทาง แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมเปิดทางกลับก่อสร้างกำแพง
คอนกรีตปิดกั้นถนนจนเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียหาย ไม่สามารถขนส่งสินค้าเข้าออกจากโกดังบน
ที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันหรือแทนกันรับผิดต่อโจทก์ดังนี้
4.1 จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสร้างปิดกั้น
ถนนเข้ า ออกจากที ่ ด ิ น ของโจทก์ ส ู ่ ถ นนเฉลิ ม พระเกี ย รติ หากจำเลยทั ้ ง สองไม่ ป ฏิ บ ั ต ิต ามให้โ จทก์ เป็น
ผู้ดำเนินการรื้อถอนแทน โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด
4.2 โจทก์เป็นผู้ทำถนนนี้และใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 อย่างเปิดเผยตลอดมาโดยไม่เคยมีผู้ใดมาโต้แย้ง
ขัดขวาง หรือรบกวนการใช้ถนนเป็นเวลา 50 ปี แนวถนนดังกล่าวบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นภาระจำ
ยอมสำหรับเป็นทางผ่านเข้าออกของที่ดินของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติตามกฏหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้อง
จดทะเบี ย นสิ ท ธิ ภ าระจำยอมให้ ท ี ่ ด ิ น โฉนดเลขที ่ 11111 เลขที ่ ดิ น 11 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 กว้าง 8 เมตร ตลอดริมแนวเขตที่ดินด้านทิศตะวันออก ยาว 60 เมตร เนื้อที่
80 ตารางวา เป็น ทางเข้าออกของที่ดิน โฉนดเลขที่ 22222 เลขที่ดิน 22 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ไปสู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใน
การจดทะเบียน หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
ที่ 1 ด้วย
4.3 การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ต้องไปเช่าโกดังที่อื่นเก็บสินค้าแทน เสียค่าเช่าและ
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมและเสียหายเพราะธุรกิจหยุดชะงักขนส่งสินค้าในโกดัง ไปส่งให้ลูกค้าไม่ได้ คิดเป็น
ค่าเสียหายวันละ 20,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นมาคิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 20 วันเป็น
เงินจำนวน 400,000 บาท จำเลยทั้งสองต้อ งร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์
และร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายวันละ 20,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะร่วมกัน
หรือแทนกันปฏิบัติตามข้อ 4.1 จนเสร็จเรียบร้อย
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองแล้ว ซึ่งจำเลย
ทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังคงเพิกเฉย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือบอก
กล่าวและใบตอบรับทางไปรษณีย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4-7
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยทั้งสองได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง บังคับ
จำเลยทั้งสองต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
116
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำขอท้ายฟ้องแพ่ง
ข้อ 1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันรื้อถอนกำแพงคอนกรีตบนที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่
ดิน 11 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 ตรงแนวเขตที่ดินด้านทิศใต้ติดกับถนน
เฉลิมพระเกียรติ จากริมแนวเขตด้านตะวันออกเข้ามาทางตะวันตก ยาว 8 เมตร หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติ
ตามขอให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันออกค่าใช้จ่าย
ข้อ 2. ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 11 แขวงหนอง
บอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ของจำเลยที่ 1 กว้าง 8 เมตร ริมแนวเขตด้านตะวันออกเข้ามาทาง
ตะวันตก และยาว 60 เมตร ตลอดแนวเขตที่ดินจากทิศเหนือจดที่ใต้ เนื้อที่ 80 ตารางวา เป็นทางเข้าออกสู่
ถนนเฉลิมพระเกียรติ ของที่ดินโฉนดเลขที่ 22222 เลขที่ดิน 22 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่
1 เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
ข้อ 3. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวน 400,000 บาท(สี่แสนบาท
ถ้วน) และชดใช้เงินให้แก่โจทก์อีกวันละ 20,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองร่วมกัน
หรือแทนกันรื้อถอนกำแพงตาม ข้อ 1. จนเสร็จเรียบร้อย
ข้อ 4. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เรียกค่าเสียหาย
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
บริษัท ยากจนเหลือทน จำกัด จำเลย

ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีนายรวย เงินทอง เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือ


ชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองการ
จดทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีนายจน เหลือทน เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ
และประทับตราสำคัญของจำเลยกระทำการแทนจำเลยได้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองการจด
ทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวัน ที่ 1 มีน าคม 2556 จำเลยได้ซื้อวัส ดุก่อสร้างคือปูนซีเมนต์จำนวน 2,000 ถุง เสา
คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดหน้าตัด 30 เซนติเมตร และยาว 25 เมตร จำนวน 300 ต้น และเหล็กเส้นขนาด 8

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
117
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หุนยาว 15 เมตร จำนวน 30 ตัน ไปจากโจทก์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 8,000,000 บาท เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้าง
อาคารชุดของบริษัท มหาเศรษฐี จำกัด และจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ 10 มีนาคม
2556
ในการซื้อขายสินค้าดังกล่าว จำเลยได้ชำระเงินมัดจำให้แก่โจทก์ เป็นเงิน 1,000,000 บาท ค่าสินค้า
ส่วนที่เหลือจำนวนเงิน 7,000,000 บาท จำเลยตกลงชำระให้แก่โจทก์ภายใน 60 วันนับแต่วันรับมอบสินค้า
หากผิดนัดชำระโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
15 ต่อปี ได้ทันที รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขาย และใบรับสินค้า เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข
3 และ 4 ตามลำดับ
ข้อ 3. ต่อมาเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าดังกล่าว โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนเงิน
7,000,000 บาท แต่จำเลยขอผัดผ่อนอ้างว่าผู้ว่าจ้างยังไม่ชำระค่าจ้างก่อสร้างให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็น
การผิดนัดผิดสัญญาซื้อขายสินค้าและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ก็ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้
ให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แต่อย่างใด
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงขอให้
จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้า เป็นเงินจำนวน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด คือ วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นไปจนถึงวันฟ้อง เป็นเวลา 5 เดือน คิดเป็น
ดอกเบี้ย 437,500 บาท (สี่แสนสามหมื่น เจ็ดพัน ห้าร้ อยบาทถ้ว น) รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ย ทั ้ ง สิ้ น
7,437,500 บาท (เจ็ดล้านสี่แสนสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
15 ต่อปีจากต้นเงิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า จำเลยจะชำระ
เสร็จให้แก่โจทก์
ข้อ 5. ก่อนฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2556 โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอก
กล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าจำนวนเงิน 7,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปแล้ว แต่
จำเลยเพิกเฉยไม่จัดการชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อย่างใด รายละเอียดปรากฎตามหนังสือบอกกล่าวทวง
ถาม และใบตอบรับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5 และ 6
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับเอากับจำเลยได้จึงนำคดีนี้มาสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับ
เอากับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
118
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำขอท้ายฟ้องแพ่ง
ข้อ 1. ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวน 7,437,500 บาท (เจ็ดล้านสี่แสนสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากต้นเงิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องเป็น
ต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
ข้อ 2. ขอให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์

ตัวอย่างคำฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงาน , เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายหล่อ ใจดี โจทก์
บริษัท ร่ำรวย จำกัด จำเลย

ข้อ 1. จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจนำเข้าและ


ส่งออกสินค้า มีนายรวย ใจร้าย เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย กระทำ
การแทนจำเลยได้ รายละเอีย ดปรากฎตามสำเนาหนังสื อรับ รองของสำนัก งานทะเบี ยนหุ ้นส่ว นบริ ษั ท
กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยโดยเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2558
ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้จัดการโรงงาน มีหน้าที่จัดทำแผนการบริหารจัดการโรงงานให้แก่จำเลย ได้รับค่าจ้างเป็น
เงินรวมทั้งสิ้น 350,000 บาท คือเงินเดือนจำนวน 300,000 บาท และเงินค่าพาหนะ จำนวน 50,000 บาท
กำหนดจ่ายค่าจ้างให้ทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาจ้าง เอกสารท้ายฟ้อง
หมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557 จำเลยขอปรับลดเงินเดือนของโจทก์เหลือ 200,000 บาท เป็น
ระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อ้างว่าจำเลยขาดทุนเป็นจำนวน
มากขอปรับลดค่าใช้จ่ายของจำเลย หากฐานะของจำเลยดีขึ้นก็จะปรับเงินเดือนให้เหมือนเดิม แล้วจะคืน
เงินเดือนที่ปรับลดนั้นย้อนหลังให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ สำหรับลูกจ้างระดับบริหารที่มีเงินเดือนเกิน 200,000 บาท
ข้อ 3. ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 โจทก์ได้ทราบจากรายงานของผู้สอบบัญชีว่าฐานะการเงิน
ของจำเลยดีขึ้นมาก และมีกำไรสูงสุดในรอบ 5 ปี โจทก์จึงไปพบนายรวย ใจร้าย กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย
และเจ้าของบริษัทจำเลย ขอให้จำเลยขึ้นเงินเดือนกลับมาให้เหมือนเดิม และขอให้คืนเงินที่ถูกหักลดไปอีก
เดือนละ 100,000 บาท รวม 16 เดือนด้วย แต่จำเลยปฏิเสธ และวันรุ่งขึ้นก็มีหนังสือบอกเลิกจ้างโจทก์โดยให้
มีผลในวันที่ 30 เมษายน 2558 นั้นเอง และจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่โจทก์ 6 เดือน โดยคิดจากฐานเงินเดือน
200,000 บาท เป็นจำนวน 1,200,000 บาท และจ่ายเงินสินจ้างแทนบอกกล่ าวล่วงหน้าอีก 1 เดือน ให้แก่
โจทก์ เป็นเงิน 200,000 บาทเท่านั้น โจทก์ได้รับเงินจำนวน ดังกล่าวไปแล้ว แต่เห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฏหมาย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
119
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
เพราะจำเลยจะต้องขึ้นเงินเดือนของโจทกลับมาให้เท่าเดิมคือเดือนละ 300,000 บาท และในการคำนวณ
ค่าจ้างจะต้องนำเงินค่าน้ำมันรถยนต์เดือนละ 50,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ดังนั้น ฐานค่าจ้างในการ
คำนวณเงินชดเชย จึงต้องเป็นเงินเดือนละ 350,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยแก่โจทก์ 6 เดือน
เป็นเงิน 2,100,000 บาท จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์รับไปแล้ว 1,200,000 บาท จึงขาดอยู่อีก 900,000 บาท
ส่วนเงินค่าจ้าง 1 เดือนที่จำเลยจ่ายเป็นสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายแก่โจทก์
350,000 บาท จำเลยได้จ่ายมาเพียง 200,000 บาท จึงยังขาดอยู่อีก 150,000 บาท นอกจากนี้จำเลยยังมี
หน้าที่จะต้องคืนเงินที่หักลดไปจากเงินเดือนของโจทก์ตลอดมา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนเมษายน
2558 เป็นระยะเวลา 16 เดือน เป็นเงินเดือนละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,600,000 บาทให้แก่โจทก์ รวม
เป็นเงิน 3 รายการที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ในส่วนนี้ เป็นเงินทั้งสิ้น 2,650,000 บาท
ข้อ 4. การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์โดยกะทันหัน และไม่มีเหตุอันสมควร หรือที่โจทก์มิได้กระทำผิด
ใดๆ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และน่าจะเกิดจากเหตุที่โจทก์ได้ทวงถามให้คืนเงินที่หักลดไปเพราะฐานะ
การเงินของจำเลยดีขึ้นมากแล้ว การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ตกงาน และยากที่จะหางานใหม่ทำได้แล้ว
โจทก์มีอายุถึง 50 ปีแล้ว การกระทำของจำเลยที่เลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์
เสียหาย โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ โดยคิดจากเงินค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 350,000 บาท เป็น
ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 1 ใน 3 ของระยะเวลาที่โจทก์สามารถจะทำงานต่อไปจนเกษียณอายุ
เป็นเงินค่าเสียหาย 12,600,000 บาท
รวมเป็นเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องข้อ 2.และข้อ 3. เป็นทั้งสิ้นจำนวน 15,250,000
บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเสร็จแก่โจทก์
ข้อ 5. โจทก์ได้มีห นังสือบอกกล่าวทวงถามฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน 2558 ขอให้จำเลยจ่า ยเงิน
ค่าชดเชย เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และคืนเงินที่หักไป 16 เดือน พร้อมด้วยค่าเสียหายฐานเลิก
จ้างไม่เป็นธรรม โดยให้ชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์แล้ว
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558 แต่เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วก็เพิกเฉย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือ
บอกกล่าวทวงถาม และใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 และ 4
โจทก์ไม่มีหนทางอื่นใดที่จะบังคับเอาจากจำเลยได้ จึงต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง
เพื่อบังคับเอากับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยชำระเงินค่าชดเชย เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินค่าจ้างที่ได้หักลดไว้
รวมเป็นเงินจำนวน 2,650,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง
เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
120
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
2. ให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นเงินจำนวน 12,600,000 บาท พร้อม
ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
3. ขอให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนโจทก์

หลักการเขียนคำให้การคดีแพ่ง
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำให้การจำเลย**
➢ ไม่มีคำขอท้ายคำให้การ**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ข้อมูลส่วนตัวของ
จำเลย ให้ครบถ้วน**
➢ คำให้การ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้ง ว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่
บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตามป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรค 2
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ โจทก์ และ จำเลย อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลใน
คำให้การจำเลย**

สำหรับศาลใช้
(๑๑)
คำให้การจำเลย
คดีหมายเลขดำที่ ........15678........ /๒๕..49....

ศาล......แพ่งกรุงเทพใต้..................................................
วันที่....14.....เดือน......ธันวาคม.........พุทธศักราช ๒๕...49.....
ความ.....แพ่ง................................................................

นางรวย มั่งมี โจทก์


ระหว่าง
นางสอง ใจดี จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
121
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้าพเจ้า.....นางสอง ใจดี............................................................................................................จำเลย
เลขประจำตัวประชาชน ---- (กรอกให้ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย....สัญชาติ.....ไทย........อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่......-.......เดือน......-.....พ.ศ............-........
อายุ....32...ปี อยู่บ้านเลขที่........25..........หมู่ที่......-.........ถนน.......สวนพลู...................ตรอก/ซอย........-..........
ตำบล/แขวง...........ทุ่งมหาเมฆ.........อำเภอ/เขต........ยานนาวา..............จังหวัด.........กรุงเทพมหานคร.............
รหัสไปรษณีย์.......10120.......โทรศัพท์.............-........โทรสาร.........-.........ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........-............
ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ขอให้การตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1. จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์บางประเด็น หรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น
หรือไม่อย่างไร.......................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

...................ชอบ ยุติธรรม............... จำเลย


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำให้การจำเลย
-2-
............................ข้อ2. หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องนั้น มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่อย่างไร/ จำเลยได้
ชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์แล้วหรือไม่ / การคิดดอกเบี้ยในคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (เขียน

ข้อเท็จจริงโดยละเอียด) รายละเอียดปรากฏตาม....เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 1.....................................

............................ข้อ3. ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ (เขียนข้อเท็จจริงโดยละเอี ยด) รายละเอียด


ปรากฏตาม....เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2..................................................................................................

............................ข้อ4. โจทก์บอกกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
122
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
............................ข้อ5. ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน หรือไม่ (ดูข้อเท็จจริงตามข้อสอบ).........................

.............................ด้วยเหตุผลดังที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น ขอศาลได้โปรดพิจารณาและ
พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย........................

.......................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………………………..
......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย...................................

.........................คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน..............


.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน........................................

หลักการเขียนคำให้การ
ข้อ1. จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์บางประเด็น หรือปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น หรือไม่
อย่างไร
ข้อ1. จำเลยยอมรับว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทผู้ได้รับมรดกเพียงผู้เดียวของนาง
สวย ใจดี ผู้ตาย และนางสวย ใจดี ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 ตามคำฟ้องของโจทก์จริง และ
จำเลยยอมรับว่านางสวย ใจดี ก่อนเสียชีวิตได้เคยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์จริง

ข้อ2. หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องนั้น มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่อย่างไร/ จำเลยได้ชำระหนี้ตาม


ฟ้องให้โจทก์แล้วหรือไม่ / การคิดดอกเบี้ยในคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (เขียนข้อเท็จจริง
โดยละเอียด) รายละเอียดปรากฏตาม..........เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข...
ข้อ2. สัญญาเงินกู้เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยนั้น เป็นเอกสารปลอม
เพราะเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 นางสวย ใจดี ผู้ตาย ได้เคยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์เป็นเงินจำนวน
เพียง 50,000 บาท ไม่ใช่จำนวนเงิน 950,000 บาท ตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้อง แต่โจทก์ได้นำสัญ ญาเงินกู้
ดังกล่าวมาแก้ไขโดยเติมหมายเลข 9 ลงไปหน้าจำนวนเงินในสัญญาเงินกู้นั้น เพื่อแก้ไขจำนวนเงินกู้จากจำนวน
50,000 บาทให้เป็น 950,000 บาท และนำสัญญากู้ที่โจทก์ปลอมนั้นมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของนางสวย
ใจดี ผู้ตาย เพื่อให้จำเลยรับผิด อ้างสัญญากู้เงินปลอมมาในเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 ในคดีนี้ สัญญากู้
ตามเอกสารท้ายคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะนำสัญญาเงินกู้
ปลอมมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้ รายละเอียดปรากฏตามสัญญากู้เงิน เอกสารท้ายคำให้การหมายเลขที่ 1

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
123
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ3. ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ (เขียนข้อเท็จจริงโดยละเอียด)
ข้อ3. ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว เนื่องจากโจทก์เป็นน้องชายของนางสวย ใจดี ผู้ตาย และ
ระหว่างวันที่ 10 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 ในการประกอบพิธีทางศาสนาตามประเพณีในงานศพของนาง
สวย ใจดี ผู้ตาย โจทก์ก็ได้ไปร่วมการทำพิธีในงานศพของนางสวย ใจดี ผู้ตายด้วย โจทก์จึงทราบในขณะนั้น
แล้วว่านางสวย ใจดี ได้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 เพราะฉะนั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อ
วันที่ 14 ธันวาคม 2549 จึงเกิน 1 ปีนับจากวันที่โจทก์รู้ถึงการตายของนางสวย ใจดี และเกิน 10 ปี นับตั้งแต่
วันที่นางสวย ใจดี เสียชีวิต แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่วันที่หนี้เงินกู้ถึงกำหนดที่ทำให้โจทก์เริ่มบังคับสิทธิ
เรียกร้องได้ตามสัญญาเงินกู้เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 คือวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 จนถึงวันที่โจทก์นำ
คดีมาฟ้องคือวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ก็เกิน 10 ปีแล้ว นับแต่วันที่วันที่หนี้เงินกู้ถึงกำหนดที่ทำให้โจทก์เริ่ม ใช้
สิทธิบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามสัญญาเงินกู้เอกสารท้ายคำฟ้อง หมดสิทธิ
ที่จะฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับมรดก หรือฟ้องกองมรดกของนางสวย ใจดี ได้ รายละเอียดปรากฏตาม
ภาพถ่ายของจำเลยในการไปร่วมงานประกอบพิธีทางศาสนาตามประเพณีในงานศพของนางสวย ใจดี เอกสาร
ท้ายคำให้การหมายเลขที่ 2

ข้อ4. โจทก์บอกกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ข้อ4. ตั้งแต่นางสวย ใจดี ถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่เคยบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามที่โจทก์
กล่าวอ้างมาในฟ้องแต่อย่างใด และจำเลยก็ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์เลย

ข้อ5. ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน หรือไม่ (ดูข้อเท็จจริงตามข้อสอบ)

ข้อ6.ท่อนจบในส่วนบรรยายคำให้การคดีแพ่ง
ด้วยเหตุผลดังที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น ขอศาลได้โปรดพิจารณาและพิพากษายก
ฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย

7.*ลงท้ายให้เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อทนายความ ผู้เรียงและเขียน


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย
คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
124
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำให้การจำเลย
นายหนึ่ง ใจดี โจทก์
นางสาวฟ้า ใจดี จำเลย
ข้อ 1. จำเลยยอมรับว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทผู้ได้รับมรดกเพียงผู้เดียวของ
นางสวย ใจดี และนางสวย ใจดี ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 ตามคำฟ้องของโจทก์จริง และ
จำเลยยอมรับว่านางสวย ใจดี ก่อนเสียชีวิตได้เคยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์จริง
ข้อ 2. สัญญาเงินกู้เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยนั้นเป็นเอกสารปลอม
เพราะเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2538 นางสวย ใจดี ได้เคยทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์เป็นเงินจำนวนเพียง
50,000 บาทไม่ใช่จำนวนเงิน 950,000 บาท ตามที่โจทก์อ้างมาในคำฟ้อง แต่โจทก์ได้นำสัญญาเงินกู้ดังกล่าว
มาแก้ไขโดยเติมหมายเลข 9 ลงไปหน้าจำนวนเงินในสัญญาเงินกู้นั้น เพื่อแก้ไขจำนวนเงินกู้จากจำนวน 50,000
บาทให้เป็น 950,000 บาท และนำสัญญากู้ที่โจทก์ปลอมนั้นมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทเพื่อให้จำเลยรับผิด
และอ้างสัญญากุ้เงินปลอมมาในเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 ในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะนำ
สัญญาเงินกู้ปลอมมาฟ้องให้จำเลยรับผิดได้ รายละเอียดปรากฏตามสัญญากู้เงิน เอกสารท้ายคำให้ก าร
หมายเลขที่ 1
ข้อ 3. ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว เนื่องจากโจทก์เป็นน้องชายของนางสวย ใจดี และระหว่าง
วันที่ 10 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 ในการประกอบพิธีทางศาสนาตามประเพณีในงานศพของนางสวย
ใจดี โจทก์ก็ได้ไปร่วมการทำพิธีในงานศพของนางสวย ใจดี ด้วย โจทก์จึงทราบในขณะนั้นแล้วว่านางสวย ใจดี
ได้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 10 พฤสจิกายน 2539 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 จึงเกิน 1 ปี
นับจากวันที่โจทก์รู้ถึงการตายของนางสวย ใจดี และเกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่นางสวย ใจดี เสียชีวิต แต่อย่างไร
ก็ตามนับตั้งแต่วันที่หนี้เงินกู้ถึงกำหนดที่ทำให้โจทก์เริ่มบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญ ญาเงินกู้เอกสารท้ายคำ
ฟ้องหมายเลข 3 คือวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องคือวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ก็
เกิน 10 ปีแล้วนับแต่วันที่วันที่หนี้เงินกู้ถึงกำหนดที่ทำให้โจทก์เริ่มใช้สิทธิบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้นคดีของ
โจทก์จึงขาดอายุความตามสัญญาเงินกู้เอกสารท้ายคำฟ้อง หมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้รับมรดก
หรือฟ้องกองมรดกของนางสวย ใจดี ได้ รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายของจำเลยในการไปร่วมงานประกอบ
พิธีทางศาสนาตามประเพณีในงานศพของนางสวย ใจดี เอกสารท้ายคำให้การหมายเลขที่ 2
ข้อ 4.ตั้งแต่นางสวย ใจดี ถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่เคยบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามที่โจทก์
กล่าวอ้างมาในฟ้องแต่อย่างใด และจำเลยก็ไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามจากโจทก์เลย
ด้วยเหตุผลที่จำเลยไประทานกราบเรียนมาข้างต้น ขอศาลได้โปรดพิจารณาและพิพากษายกฟ้องของ
โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลยด้วย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
125
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม จำเลย
คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

หลักการเขียนคำให้การจำเลยและฟ้องแย้งคดีแพ่ง
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำให้การจำเลย** ห้ามไปหยิบคำฟ้อง
➢ ไม่มีคำขอท้ายคำให้การฟ้องแย้ง**
➢ เขียนคำว่า และฟ้องแย้ง ที่มุมซ้ายบน ต่อจากคำว่า คำให้การจำเลย**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ข้อมูลส่วนตัวของ
จำเลย ให้ครบถ้วน**
➢ จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้
ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก ตามป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรค 3
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ โจทก์ และ จำเลย อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลใน
คำให้การจำเลยและฟ้องแย้ง**

สำหรับศาลใช้
(๑๑)
คำให้การจำเลย และฟ้องแย้ง
คดีหมายเลขดำที่ ........321........ /๒๕..55....

ศาล......แพ่งกรุงเทพใต้..................................................
วันที่....14.....เดือน.....มีนาคม.........พุทธศักราช ๒๕...55.....
ความ.....แพ่ง................................................................

นายรวย ใจดำ โจทก์


ระหว่าง
นายหล่อ ใจดี จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
126
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้าพเจ้า.....นายหล่อ ใจดี............................................................................................................จำเลย
เลขประจำตัวประชาชน ---- (กรอกให้ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย....สัญชาติ.....ไทย........อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่......-.......เดือน......-.....พ.ศ............-........
อายุ....40...ปี อยู่บ้านเลขที่........31..........หมู่ที่......-.........ถนน.......จันทร์......................ตรอก/ซอย........-..........
ตำบล/แขวง...........ทุง่ วัดดอน.........อำเภอ/เขต........สาทร..............จังหวัด.........กรุงเทพมหานคร.............
รหัสไปรษณีย์.......10120.......โทรศัพท์.............-........โทรสาร.........-.........ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........-............
ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ขอให้การตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1. เขียนคำให้การจำเลยให้ครบถ้วนก่อน (บรรยายตามหลักการเขียนคำให้การ) หลังจาก
ที่เขียนคำให้การจำเลยเสร็จแล้วให้ขึ้นข้อใหม่ ดังนี้……………………………………………………………………………………
..............................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

...................ชอบ ยุติธรรม............... จำเลย


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำให้การจำเลยและฟ้องแย้ง
-2-
............................ข้อ2. จำเลยขอเอาคำให้การฉบับนี้เป็นฟ้องแย้งโจทก์ดังต่อไปนี้ (และบรรยายนิติสัมพันธ์
ระหว่างจำเลยกับโจทก์)................................................................................................................................

............................ข้อ3 .บรรยายการโต้แย้งสิทธิจำเลย และการกระทำของโจทก์ผิดสัญญาอย่างไร และทำให้


จำเลยเสียหายอย่างไร...........................................................................................................................................

............................ข้อ4 บรรยายถึงความเสียหายที่จำเลยได้รับ/ดอกเบี้ย หรือค่าเสียหายก่อนฟ้องแย้งคิด


อย่างไร/รวมต้นเงินและดอกเบี้ยก่อนฟ้องแย้ง เป็นจำนวนเท่าไหร่ /คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายหลังนับถัดจาก
วันฟ้องแย้งคิดอย่างไร มีอะไรบ้าง.........................................................................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
127
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
..............................ด้วยเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจด
ทะเบียนโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถและส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงขอ
ศาลได้โปรดพิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ และพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถคืนจำเลย หากคืนไม่ได้ให้ใช้
ราคา และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทน

จำเลยด้วย....................................................................................................................................

.......................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………………………..
......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย...................................

.....................คำให้การและฟ้องแย้งฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน


.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน........................................

หลักการเขียนคำให้การจำเลยและฟ้องแย้งคดีแพ่ง

ข้อ1.เขียนคำให้การจำเลยให้ครบถ้วนก่อน (บรรยายตามหลักการเขียนคำให้การ) หลังจากที่เ ขี ยน


คำให้การจำเลยเสร็จแล้วให้ขึ้นข้อใหม่ ดังนี้
ข้อ 1. จำเลยยอมรับตามคำฟ้องข้อ 1. ของโจทก์ ว่าจำเลยกับโจทก์มีการซื้อขายรถยนต์กันจริง
แต่จำเลยขอต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาซื้อขายรถตามคำฟ้องข้อ 2. ของโจทก์ เพราะโจทก์ยอมรับใน
คำฟ้องข้อ 1. แล้วว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลย มีเงื่อนไขคือโจทก์จะต้องชำระเงินค่ารถยนต์ส่วนที่
เหลืออีก 1,000,000 บาท ให้แก่จำเลยภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะจดทะเบียนโอนชื่อ
ในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาโจทก์ไม่ได้ชำระค่ารถยนต์ส่วน
ที่เหลือให้แก่จำเลย เพราะฉะนั้น โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโอนชื่อในสมุดคู่มือ
การจดทะเบียนรถยนต์ และส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง และจำเลยได้มีหนังสือ
บอกเลิกสัญญา ฉบับลงวันที่ 20 มีนาคม 2554 ไปถึงโจทก์ โดยริบเงินที่โจทก์จ่ายจำเลยมาแล้ว และให้โจทก์
ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่จำเลย พร้อมชดใช้ค่าเสียหาย แต่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วก็เพิกเฉยเสีย
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ และส่งมอบสมุดคู่มือการ
จดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขอให้ศาลได้โปรดมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
128
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ2. จำเลยขอเอาคำให้การฉบับนี้เป็นฟ้องแย้งโจทก์ดังต่อไปนี้ และบรรยายนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับ
โจทก์ เช่น
ข้อ2. จำเลยขอเอาคำให้การฉบับนี้เป็นฟ้องแย้งโจทก์ดังต่อไปนี้คือ
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 จำเลยได้ขายรถยนต์ยี่ห้ อบีเอ็มดับบิว รุ่นซีรี่ 5 หมายเลขทะเบียน กก
1234 กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ในราคา 3,000,000 บาท จำเลยได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์และโจทก์ได้
ชำระราคารถยนต์ให้แก่จำเลย เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท ในวันที่มีการตกลงซื้อขายกัน แต่มีข้อตกลงใน
การซื้อขายว่าโจทก์จะต้องชำระเงินค่ารถยนต์ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 2,000,000 บาท ให้แก่จำเลยภายในสิ้น
เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ เพราะฉะนั้น
การซื้อขายรถพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย มีเงื่อนไขชัดเจนว่าโจทก์จะต้องชำระราคารถส่วนที่ขาดให้แก่
จำเลยจนครบถ้วนก่อน จำเลยจึงจะโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ การซื้อขายรถยนต์
ระหว่างจำเลย และโจทก์จึงเป็นการซื้อขายแบบมีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในรถพิพาทจึงยังคงเป็นของ
จำเลย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายรถยนต์ ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และสำเนาสเตท
เม้นส์ของจำเลย เอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลขที่ 1 และ 2

ข้อ3. บรรยายการโต้แย้งสิทธิ จำเลย และการกระทำของโจทก์ผิดสัญญาอย่างไร และทำให้จำเลยเสียหาย


อย่างไร
ข้อ3. จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายรถตามฟ้องข้อที่ 2. ของโจทก์ ซึ่งโจทก์ยอมรับในฟ้องข้อ
1. แล้ว ว่าการซื ้ อ ขายรถระหว่ า งโจทก์ และจำเลยมีเ งื ่ อนไข คือโจทก์ จ ะต้ องชำระค่า รถส่ ว นที ่เ หลื อ อี ก
2,000,000 บาท ให้แก่จำเลยภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะจดทะเบียนโอนชื่อในสมุด
คูม่ ือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาปรากฎว่าโจทก์ไม่ชำระค่ารถส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย
โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถและส่งมอบสมุด
คู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ตามฟ้อง และที่สำคัญจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับลงวันที่ 20
เมษายน 2553 ไปถึงโจทก์ ริบเงินที่โจทก์จ่ายมาแล้วทั้งหมด และให้โจทก์ส่งมอบรถคืนให้แก่จำเลยพร้อมชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วแต่เพิกเฉย รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาและใบตอบรับของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง
หมายเลข 3 และ 4

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
129
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ4. บรรยายถึงความเสียหายที่จำเลยได้รับ/ดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายก่อนฟ้องแย้งคิดอย่างไร/รวมต้นเงิน
และดอกเบี้ยก่อนฟ้องแย้ง เป็นจำนวนเท่าไหร่ /คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายหลังนับถัดจากวันฟ้องแย้งคิด
อย่างไร มีอะไรบ้าง
ข้อ4. เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาด้วยเหตุผลดังกล่าวในข้อ 1. จำเลยจึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา
ตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลข 3 ให้โจทก์ส่งมอบรถพิพากคืนแก่จำเลย ภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งโจทก์ได้รับ หนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ตามเอกสาร
ท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลข 4 โจทก์จงึ มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบิว รุ่นซีรี่ 5 หมายเลข
ทะเบียน กก 1234 กรุงเทพมหานคร คืนให้แก่จำเลยในสภาพเรียบร้อย หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาเท่ากับราคา
รถยนต์ในปัจจุบัน คิดเป็นเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็น
ต้นไปจนกว่าโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยครบถ้วน และการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายไม่ได้ครอบครอง
และใช้ประโยชน์รถพิพาท จำเลยขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
2554 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ผิดนัดส่งมอบรถคืนให้แก่จำเลยตามหนังสือบอกเลิกสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งค่าเสียหาย
คิดถึงวันฟ้องแย้งเป็นเวลา 1 ปี คิดเป็นเงิน 600,000 บาท และโจทก์ต้องชำระค่าเสียหาย เดือนละ 50,000
บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะส่งมอบรถคืนให้แก่จำเลยจนเสร็จสิ้น

ข้อ5.ท่อนจบในส่วนบรรยายคำให้การและฟ้องแย้งคดีแพ่ง
ด้วยเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจดทะเบียน
โอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถและส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึง ขอศาลได้
โปรดพิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ และพิพากษาให้โจทก์ ส่งมอบรถคืนจำเลย หากคืน ไม่ได้ให้ใช้ราคา
และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนจำเลย
ด้วย

ข้อ6.*ลงท้ายให้เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อทนายความ ผู้เรียงและเขียน


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย
คำให้การและฟ้องแย้งฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
130
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำให้การจำเลยและฟ้องแย้ง
นายรวย ใจดำ โจทก์
นายหล่อ ใจดี จำเลย
ข้อ 1. จำเลยยอมรับตามคำฟ้องข้อ 1. ของโจทก์ ว่าจำเลยกับโจทก์มีการซื้อขายรถยนต์กันจริง
แต่จำเลยขอต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาซื้อขายรถตามคำฟ้องข้อ 2. ของโจทก์ เพราะโจทก์ยอมรับใน
คำฟ้องข้อ 1. แล้วว่าการซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลย มีเงื่อนไขคือโจทก์จะต้องชำระเงินค่ารถยนต์ส่วนที่
เหลืออีก 1,000,000 บาท ให้ แก่จำเลยภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะจดทะเบียนโอนชื่อ
ในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาโจทก์ไม่ได้ชำระค่ารถยนต์ส่วน
ที่เหลือให้แก่จำเลย เพราะฉะนั้น โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโอนชื่อในสมุดคู่มือ
การจดทะเบียนรถยนต์ และส่งมอบสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง และจำเลยได้มีหนังสือ
บอกเลิกสัญญา ฉบับลงวันที่ 20 มีนาคม 2554 ไปถึงโจทก์ โดยริบเงินที่โจทก์จ่ายจำเลยมาแล้ว และให้โจทก์
ส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่จำเลย พร้อมชดใช้ค่าเสียหาย แต่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วก็เพิกเฉยเสีย
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ และส่งมอบสมุดคู่มือการ
จดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขอให้ศาลได้โปรดมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 จำเลยได้ขายรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบิว รุ่นซีรี่ 5 หมายเลขทะเบียน
กก1234 กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ในราคา 3,000,000 บาท จำเลยได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์และโจทก์
ได้ชำระราคารถยนต์ให้แก่จำเลย เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท ในวันที่มีการตกลงซื้อขายกัน แต่มีข้อตกลง
ในการซื้อขายว่าโจทก์จะต้องชำระเงินค่ารถยนต์ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 2,000,000 บาท ให้แก่จำเลยภายในสิ้น
เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ เพราะฉะนั้น
การซื้อขายรถพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย มีเงื่อนไขชัด เจนว่าโจทก์จะต้องชำระราคารถส่วนที่ขาดให้แก่
จำเลยจนครบถ้วนก่อน จำเลยจึงจะโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ การซื้อขายรถยนต์
ระหว่างจำเลย และโจทก์จึงเป็นการซื้อขายแบบมีเงื่อนไข เพราะฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในรถพิพาทจึงยังคงเป็นของ
จำเลย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายรถยนต์ ฉบับลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และสำเนาสเตท
เม้นส์ของจำเลย เอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลขที่ 1 และ 2
ข้อ 3. จำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายรถตามฟ้องข้อที่ 2. ของโจทก์ ซึ่งโจทก์ยอมรับในฟ้องข้อ
1. แล้ว ว่าการซื ้ อ ขายรถระหว่ า งโจทก์ และจำเลยมีเ งื ่ อนไข คือโจทก์ จ ะต้ องชำระค่า รถส่ ว นที ่เ หลื อ อี ก
2,000,000 บาท ให้แก่จำเลยภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ก่อน จำเลยจึงจะจดทะเบียนโอนชื่อในสมุด
คู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาปรากฎว่าโจทก์ไม่ชำระค่ารถส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย
โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถและส่งมอบสมุด
คู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ตามฟ้อง และที่สำคัญจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับลงวันที่ 20

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
131
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
เมษายน 2553 ไปถึงโจทก์ ริบเงินที่โจทก์จ่ายมาแล้วทั้งหมด และให้โจทก์ส่งมอบรถคืนให้แก่จำเลยพร้อมชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วแต่เพิกเฉย รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาและใบตอบรับของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง
หมายเลข 3 และ 4
ข้อ4. เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาด้วยเหตุผลดังกล่าวในข้อ 1. จำเลยจึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญา
ตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลข 3 ให้โจทก์ส่งมอบรถพิพากคืนแก่จำเลย ภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสื อ ซึ่งโจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 ตามเอกสาร
ท้ายคำให้การและฟ้องแย้งหมายเลข 4 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบิว รุ่นซีรี่ 5 หมายเลข
ทะเบียน กก 1234 กรุงเทพมหานคร คืนให้แก่จำเลยในสภาพเรียบร้อย หากคืนไม่ได้ให้ ใช้ราคาเท่ากับราคา
รถยนต์ในปัจจุบัน คิดเป็นเงิน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็น
ต้นไปจนกว่าโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยครบถ้วน และการกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายไม่ได้ครอบครอง
และใช้ประโยชน์รถพิพาท จำเลยขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
2554 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ผิดนัดส่งมอบรถคืนให้แก่ จำเลยตามหนังสือบอกเลิกสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งค่าเสียหาย
คิดถึงวันฟ้องแย้งเป็นเวลา 1 ปี คิดเป็นเงิน 600,000 บาท และโจทก์ต้องชำระค่าเสียหาย เดือนละ 50,000
บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะส่งมอบรถคืนให้แก่จำเลยจนเสร็จสิ้น
ด้วยเหตุผลที่จำเลยได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น โจทก์จึงไม่ มีสิทธิฟ้องให้จำเลยจดทะเบียน
โอนชื่อในสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถและส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงขอศาลได้
โปรดพิจารณาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ และพิพากษาให้โจทก์ส่งมอบรถคืนจำเลย หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา
และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย และให้โจทก์ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอย่างสูงแทนจำเลย
ด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย
คำให้การและฟ้องแย้งฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
132
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำร้อง**
➢ เขียนคำว่า ขอตั้งผู้จัดการมรดก ที่มุมซ้ายบน ต่อจากคำว่า คำร้อง
➢ คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ห้ามใส่เลขคดีแดงด้วย**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ อย่าลืมอ้างเอกสารท้ายคำร้อง**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อ ผู้ร้อง ข้อมูลส่วนตัวของผู้ร้อง ให้
ครบถ้วน ลงชื่อผู้ร้อง หรือทนายผู้ร้องมุมขวาล่าง**
➢ อย่าลืมขีด คำแถลง และคำขอ ทั้ง 3 จุด บน กลาง ล่าง ด้านหน้าคำร้อง**
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ ผู้ร้อง อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลในคำร้อง**

(๗)
คำร้อง / คำแถลง / คำขอ
คดีหมายเลขดำที่ .....1234... /๒๕...60....
ขอตั้งผู้จัดการมรดก
คดีหมายเลขแดง................... /๒๕............
ศาล ........แพ่ง......................................................
วันที่...1...เดือน.......ตุลาคม........... พุทธศักราช ๒๕...60...
ความ .....แพ่ง...............

โจทก์
นายพุธ วันดี ร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก (ไม่มีพินัยกรรม) ของนายจันทร์ วันดี
ระหว่าง ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ผู้ร้อง
จำเลย

ข้าพเจ้า.......นายพุธ วันดี.................................................................................ผู้ร้อง.....
เลขประจำตัวประชาชน ---- (ใส่ เลขให้ ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย......สัญชาติ....ไทย.....อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่…-...…เดือน……-…….......พ.ศ.…-……...
อายุ.....35.......ปี อยู่บ้านเลขที่.......666..................หมู่ที่.....-..........ถนน....ประชาราษฎร์สาย 2...................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
133
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตรอก/ซอย......-..................ตำบล/แขวง..............บางซื่อ................อำเภอ/เขต..........บางซื่อ.........................
จังหวัด......กรุงเทพมหานคร.................รหัสไปรษณีย์....10800..........โทรศัพท์.......-......................................
โทรสาร…………-…….………….................…... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์…........-.........................................……….
ขอยื่นคำร้อง / คำแถลง / คำขอ มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

โทรศัพท์ ข้อ ๑. บรรยายสถานะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวระหว่างผู้ตาย (เจ้ามรดก) กับผู้ร้อง


(รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่...)……………………………………………………………..
………………………ข้อ 2. บรรยายว่าผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่เท่าใด ด้วยสาเหตุอะไร และ
ในขณะที่ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้าย
คำร้องหมายเลขที่...)………………………………………………………………………………………..…………………………………...
...................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

.......ชอบ ยุติธรรม......ผูร้ ้อง / ผู้แถลง / ผู้ขอ


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำร้อง
-2-
………………………ข้อ 3. บรรยายว่าผู้ตาย (เจ้ามรดก) ขณะที่ถึงความตาย มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก อะไรบ้าง
(รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่...)………………………………………………………..……
………………………ข้อ 4 .บรรยายว่าผู้ร้องมีเหตุขัดข้องในการที่ไม่สามารถจัดการมรดกรายนี้ได้อย่างไร................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
134
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
………………………ข้อ 5. บรรยายว่า ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ โดยทายาทคนอื่นๆให้
ค ว า ม ย ิ น ย อ ม แ ล ้ ว ห ร ื อ ไ ม่ (ร า ย ล ะ เ อ ี ย ด ป ร า ก ฏ ต า ม ส ำ เ น า . . . เ อ ก ส า ร ท ้ า ย ค ำ ร ้ อ ง ห ม า ย
เลขที่...)……………………………………………………………………………………………………..…………………………………..……
………………………ข้อ 6. บรรยายว่าผู้ร้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ และเป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่ง
ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลายหรือไม่ (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสาร
ท้ายคำร้องหมายเลขที่...)…………………………………………………………………………………..……………………………..……

........................อาศัยเหตุและผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงขอให้ศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งแต่งตั้งผู้
ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป..........................................................

................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………..……………………..
.......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง......................................................

.........................คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน


.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน........................................

ตัวอย่างคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก(แบบไม่มีพินัยกรรม)
นายพุธ วันดี ร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก(ไม่มีพินัยกรรม) ของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ผู้ร้อง

ข้อ1. บรรยายสถานะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวระหว่างผู้ตาย (เจ้ามรดก) กับผู้ร้อง และครอบครัว


ข้อ1. ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) กับนางอังคาร วันดี โดย
นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) กับนางอังคาร วันดี ได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2510 มีบุตร
3 คนคือ ผู้ร้อง นายพฤหัส วันดี และนางสาวศุกร์ วันดี ส่วนบิดา มารดาของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก)
คือนายตะวัน วันดี และนางเดือน วันดี ยังคงมีชีวิตอยู่ ส่วนนางอังคาร วันดี ภริยาผู้ตายเจ้ามรดก ก็ได้ถึงแก่
กรรมไปก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรส , สำเนาสูติบัตร ,
บัญชีเครือญาติ , และใบมรณะบัตรของนางอังคาร วันดี เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1-4

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
135
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ2. บรรยายว่าผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่เท่าใด ด้วยสาเหตุอะไร ในขณะที่ผู้ตาย (เจ้า
มรดก) ถึงแก่ความตาย มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด
ข้อ 2. นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบมรณะบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 5
นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ก่อนถึงแก่กรรม มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 666 ถนนประชาราษฎร์
สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารท้ายคำ
ร้องหมายเลข 6

ข้อ3. บรรยายว่าผู้ตาย (เจ้ามรดก) ขณะที่ถึงความตาย มีทรัพย์สินอันเป็นมรดก อะไรบ้าง


ข้อ3. ในขณะที่นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่กรรมมีทรัพย์มรดกคือ
3.1 ที่ดิน 4 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3341, 3342, 3343 และ 3344 เลขที่ดิน 120, 121,
122 และ 123 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวบนที่ดินดังกล่าว เลขที่ 111/1 ,
111/2, 111/3 และ 111/4 ตามลำดับ
3.2 เงินฝากในธนาคารสยามไทย จำกัด สาขาประชาราษฎร์ จำนวน 2 บัญชี
- บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 111000-555-66 มีเงินในบัญชี ณ วันที่ 5 มกราคม 2557 จำนวน
500,000 บาท
- บัญชีเงินฝากประจำ เลขที่ 112200-666-66 มีเงินในบัญชี ณ วันที่ 5 มกราคม 2557
จำนวน 10,000,000 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีทรัพย์ เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 7

ข้อ4. บรรยายว่า ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องในการที่ไม่สามารถจัดการมรดกรายนี้ได้อย่างไร


ข้อ4. หลังจากนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี ได้ไป
ติดต่อเพื่อขอรับโอนทรัพย์สินในข้อ 3. แต่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าไม่สามารถ
โอนให้ได้ แต่ต้องมีคำสั่งศาลมาแสดงจึงจะสามารถดำเนินการให้ได้

ข้อ5. บรรยายว่า ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ โดยทายาทคนอื่นๆให้ความยินยอม


แล้วหรือไม่
ข้อ5. ทายาททุกคนของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ตกลงและยินยอมให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อ
ศาล เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งให้ผู้ ร้อง เป็นผู้จัดการมรดกของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) และไม่คัดค้าน
การเป็นผู้จัดการมรดก รายละเอียดปรากฏตามหนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก เอกสารท้ายคำร้อง
หมายเลข 8

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
136
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ6. บรรยายว่า ผู้ร้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ และเป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้
เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลายหรือไม่
ข้อ6. ผู้ร้องเป็นผู้ทบี่ รรลุนิติภาวะแล้ว มิได้เป็นบุคคลวิกลจริต มิได้เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือน
ไร้ความสามารถ และมิได้เป็นบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ผู้ร้องมีความสามารถตามกฎหมายที่จะ
เป็นผู้จัดการมรดกได้

ข้อ7.ท่อนจบในการบรรยายคำร้องขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดก
อาศัยเหตุและผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงขอให้ศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็น
ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

ข้อ8. เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อผู้ร้อง ผู้เรียงและเขียน


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก(แบบมีพินัยกรรม)
นายพุธ วันดี ร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก (มีพินัยกรรม) ของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ผู้ร้อง
ข้อ 1. ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) กับนางอังคาร วันดี
โดยนายจันทร์ วันดี กับนางอังคาร วันดี ได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม 2510 รายละเอียดปรากฏ
ตามสำเนาทะเบียนสมรส เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1 มีบุตร 3 คนคือ ผู้ร้อง นายพฤหัส วันดี และ นางสาว
ศุกร์ วันดี ส่วนบิดา มารดาของนายจันทร์ วันดี ผู้ต าย (เจ้ามรดก) คือ นายตะวัน วันดี และนางเดือน วันดี
ยังคงมีชีวิตอยู่ ส่วนนางอังคาร วันดี ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550 รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาสูติบัตร , บัญชีเครือญาติ , และใบมรณะบัตรของนางอังคาร วันดี เอกสารท้ายคำร้อง
หมายเลข 2-4
ข้อ 2.นายจันทร์ วันดี ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคเส้น
เลือดหัวใจตีบ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบมรณะบัตร เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 5
นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ก่อนถึงแก่กรรม มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 666 ถนนประชาราษฎร
สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ปรากฏตามสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารท้ายคำร้อง
หมายเลข 6

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
137
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 3. ในขณะที่นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่กรรมมีทรัพย์มรดกคือ
4.1. ที่ดิน 4 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3341, 3342, 3343 และ 3344 เลขที่ดิน 120, 121,
122 และ 123 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวบนที่ดินดังกล่าว เลขที่ 111/1 ,
111/2, 111/3 และ 111/4 ตามลำดับ
4.2. เงินฝากในธนาคารสยามไทย จำกัด สาขาประชาราษฎร์ จำนวน 2 บัญชี
- บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 111000-555-66 มีเงินในบัญชี ณ วันที่ 5 มกราคม 2557 จำนวน
500,000 บาท
- บัญชีเงินฝากประจำ เลขที่ 112200-666-66 มีเงินในบัญชี ณ วันที่ 5 มกราคม 2557
จำนวน 10,000,000 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีทรัพย์ เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 7
โดยทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น นายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินและอาคาร
ให้แก่ผู้ร้อง นายพฤหัส วันดี และนางสาวศุกร์ วันดี คนละหนึ่งห้อง และให้แก่บิดา มารดาของนายจันทร์ วันดี
ผู้ตาย (เจ้ามรดก) อีกหนึ่งห้อง ส่วนเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่ธนาคารสยามไทยจำกัด ยกให้แก่ผู้ร้อง นายพฤหัส
วันดี และนางสาวศุกร์ วันดี คนละเท่าๆกัน และเงินฝากประจำที่ธนาคารสยามไทยจำกัด ยกให้แก่บิดา มารดา
คนละ 1,000,000 บาท ที่เหลือยกให้แก่ผู้ร้อง นายพฤหัส วันดี และนางสาวศุกร์ วันดี คนละส่วน เท่าๆกัน
และกำหนดให้ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน รายละเอียดปรากฏตามสำเนาพินัยกรรม
เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 8
ข้อ 4. หลังจากนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่กรรมแล้ว ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี ได้ไป
ติดต่อเพื่อขอรับโอนทรัพย์สินในข้อ 3. ตามพินัยกรรม แต่เจ้าพนักงานที่ดินและเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าไม่
สามารถโอนให้ได้ต้องมีคำสั่งศาลจึงจะสามารถดำเนินการให้ได้
ข้อ 5. ทายาททุกคนของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้ามรดก) จึงตกลงให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อ
ขอให้ศาลแต่งตั้งให้ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายจันทร์ วันดี ผู้ตาย (เจ้า
มรดก) และไม่คัดค้านการเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ร้อง และนางสาวศุกร์ วันดี รายละเอียดปรากฏตาม
หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 9
ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว มิได้เป็นบุคคลวิกลจริต มิได้เป็นบุคคลซึ่ง
ศาลสั่งให้เป็น ผู้เ สมื อนไร้ ความสามารถ หรือมิได้เป็ นบุค คลซึ่ ง ศาลมี คำสั่ งให้เ ป็น คนล้ม ละลาย และมี
ความสามารถตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกได้
อาศัยเหตุและผลดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องนี้ เพื่อขอให้ศาลทำการไต่ สวนและมีคำสั่งแต่งตั้ง
ให้ผู้ร้องและนางสาวศุกร์ วันดี เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายจันทร์ ผู้ตาย ตามพินัยกรรมต่อไป

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
138
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

หลักการเขียนคำคัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำร้อง**
➢ เขียนคำว่า คัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรด ที่มุมซ้ายบน ต่อจากคำว่า คำร้อง
➢ คำร้องคัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก อย่าลืมใส่เลขคดีแดงด้วย**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ อย่าลืมอ้างเอกสารท้ายคำร้องคัดค้าน**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อ ผู้คัดค้าน และผู้ร้อง ข้อมูลส่วนตัว
ของผู้คัดค้าน ให้ครบถ้วน และลงชื่อผูค้ ัดค้าน หรือทนายผู้คัดค้านมุมขวาล่าง**
➢ อย่าลืมขีด คำแถลง และคำขอ ทั้ง 3 จุด บน กลาง ล่าง ด้านหน้าคำร้อง**
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ ผู้ คัดค้าน กับผู้ร้อง อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลในคำ
ร้อง**

(๗)
คำร้อง / คำแถลง / คำขอ
คดีหมายเลขดำที่ ..12345.......... /๒๕...60....
คัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จดั การมรดก
คดีหมายเลขแดง..11111........... /๒๕..60.....
ศาล ........แพ่ง......................................................
วันที่...1...เดือน.......ตุลาคม........... พุทธศักราช ๒๕...60...
ความ .....แพ่ง...............

นางสวย ใจดี ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดกโจทก์ ผู้ร้อง

ระหว่าง
นายหนึ่ง ใจดี ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก จำเลย ผู้คัดค้าน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
139
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ข้าพเจ้า.......นายหนึ่ง ใจดี.................................................................................ผู้คัดค้าน.....
เลขประจำตัวประชาชน ---- (ใส่ เลขให้ ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย......สัญชาติ....ไทย.....อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่…-...…เดือน……-…….......พ.ศ.…-……...
อายุ.....40.......ปี อยู่บ้านเลขที่.......666..................หมู่ที่.....-..........ถนน....ประชาราษฎร์สาย 2...................
ตรอก/ซอย......-..................ตำบล/แขวง..............บางซื่อ................อำเภอ/เขต..........บางซื่อ.........................
จังหวัด......กรุงเทพมหานคร.................รหัสไปรษณีย์....10800..........โทรศัพท์.......-......................................
โทรสาร…………-…….………….................…... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์…........-.........................................……….
ขอยื่นคำร้อง / คำแถลง / คำขอ มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

โทรศัพท์ ข้อ ๑. บรรยายคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…


เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)………………………………………………………………………………….……………
………………………ข้อ 2. บรรยายความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างผู้คัดค้าน ผู้ตายเจ้ามรดก และผู้ร้อง
(รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)…………………………………………………
...................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

......ชอบ ยุติธรรม......ผู้ร้อง / ผู้แถลง / ผู้ขอ ผู้คัดค้าน


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำร้องคัดค้าน
-2-
………………………ข้อ 3. บรรยายว่าก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีภูมิลำเนาที่ใด (รายละเอียดปรากฏตาม
สำเนา…เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)………………………………………………………..……

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
140
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
………………………ข้อ 4 .บรรยายว่าก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง (รายละเอียดปรากฏ
ตามสำเนา...เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)..........................................................................................
………………………ข้อ 5. บรรยายเหตุในการถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก (รายละเอียดปรากฏ
ตามสำเนา...เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)…………………………………………………………….…………………
………………………ข้อ 6. บรรยายว่าผู้คัดค้านมีความประสงค์ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ โดยทายาทคนอื่นๆให้
ความยินยอมแล้วหรือไม่ (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา...เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)………………
...........................ข้อ 7. บรรยายว่าผู้คัดค้านเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ และเป็นบุคคลวิกลจริต หรือ
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลายหรือไม่ (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…
เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลขที่...)……………………………………………………………….………………………..………

............................ผู้คัดค้านจึงขอประทานศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน และมีคำสั่งให้ถอด
ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ ตายเจ้ามรดก และมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้
คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก เพื่อจัดการมรดกตามกฏหมายต่อไป
................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………..……………………..
.......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้คัดค้าน................................................

.........................คำคัดค้านฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน เป็นผู้เรียงและเขียน………..

.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน.......................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
141
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำคัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ข้อ 1. บรรยายคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
ข้อ 1. คดีนี้ศาลมีคำสั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 แต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี
ผู้ตายเจ้ามรดก รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำสั่งศาล เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 1
ข้อ 2. บรรยายความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างผู้คัดค้าน ผู้ตายเจ้ามรดก และผู้ร้อง
ข้อ 2. ผู้คัดค้านเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก กับนางดาว ใจดี
มารดา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของผู้คัดค้าน เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 2
นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก แต่งงานอยู่กินฉันสามีภรรยากับนางดาว ใจดี มารดาของผู้คัดค้านตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2525 โดยจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรส เอกสาร
ท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 3
ในระหว่างทีน่ ายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก สมรสกับมารดาของผู้คัดค้านนั้น มีบุตรด้วยกัน 4 คนคือ
1 นายหนึ่ง ใจดี อายุ 40 ปี (ผู้คัดค้าน)
2 นายสอง ใจดี อายุ 38 ปี
3 นายสาม ใจดี อายุ 36 ปี
4 นายสี่ ใจดี อายุ 34 ปี
นอกจากนี้ นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ยังได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้อง เมื่อปีพ.ศ. 2540 และ
นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก มีบุตรกับผู้ร้องจำนวน 2 คน คือ
1 นายห้า ใจดี อายุ 27 ปี
2 นายหก ใจดี อายุ 25 ปี
ส่วนนายใหญ่ ใจดี และนางเล็ก ใจดี บิดามารดาของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ได้ถึงแก่ความตาย
ไปก่อนหน้านายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดกแล้ว รายละเอียดปรากฎตามบัญชีเครือญาติของนายรวย ใจดี ผู้ตาย
เจ้ามรดก เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 4
ข้อ 3. บรรยายว่าก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีภูมิลำเนาที่ใด
ข้อ 3. นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก พักอาศัยอยู่กับมารดาของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านและพี่น้องทั้ง 3 คน
ที่บ้านเลขที่ 666 ถนนประชาราษฎร์สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร รายละเอียดปรากฎ
ตามสำเนาทะเบียนบ้านของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 5

ข้อ 4. บรรยายว่าก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง


ข้อ 4. ขณะนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก มีทรัพย์สินที่
ทำมาหาได้ร่วมกันกับมารดาของผู้คัดค้าน และผู้ร้อง ดังนี้คือ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
142
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
1.ที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 11 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 100
ตารางวา พร้ อ มสิ ่ ง ปลู ก สร้ า งเป็ น หอพั ก เลขที ่ 1 ถนนประชาราษฎร์ ส าย 2 แขวงบางซื ่ อ เขตบางซื่ อ
กรุงเทพมหานคร
2.ที่ดินโฉนดเลขที่ 22222 เลขที่ดิน 22 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 200
ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็น บ้านเลขที่ 2/22 ถนนประชาราษฎร์ส าย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
กรุงเทพมหานคร
3. ที่ดินโฉนดเลขที่ 33333 เลขที่ดิน 33 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 300
ตารางวา พร้อมสิ่งปลู กสร้า ง เป็น บ้านเลขที่ 333 ถนนประชาราษฎร์ส าย 2 แขวงบางซื่ อ เขตบางซื่ อ
กรุงเทพมหานคร
4. เงินฝากในบัญชีสะสมทรัพย์ธนาคารสยามไทย จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก เลขที่บัญชี
1234567890 จำนวน 75,000,000บาท (เจ็ดสิบ ห้าล้านบาทถ้ว น) รายละเอียดปรากฎตามบัญชีท รั พ ย์
เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 6

ข้อ 5. บรรยายเหตุในการถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ข้อ 5 ผู้คัดค้านขอคัดค้านว่าผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติและไม่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของ
นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก กล่าวคือ ผู้ร้องเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจดทะเบียนสมรสกับ
นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก เมื่อปีพ.ศ.2540 ภายหลังจากที่นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก จดทะเบียนสมรส
กับมารดาผู้คัดค้านแล้ว จึงเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนและตกเป็นโมฆะ นอกจากนี้ผู้ร้องยังมีพฤติการณ์ไม่
สุจริต มาศาลโดยไม่สุจริตแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ตลอดจนเบิกความเท็จต่อศาลว่า นายรวย
ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก มีผู้ร้องเป็นภรรยาและมีบุตร จำนวน 2 คน ทั้งๆที่ผู้ร้องทราบดีว่านายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้า
มรดก มี นางดาว ใจดี มารดาของผู้คัดค้าน เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผู้คัดค้าน กับพี่น้องอีก 3
คน เป็นทายาทโดยธรรม แต่ผู้ร้องกลับ จงใจปกปิดข้อความจริงต่อศาล และนำบัญชีเครือญาติอันเป็นเท็จมา
แสดงต่อศาล พร้อมเบิกความจนทำให้ศาลหลงเชื่อว่าผู้ร้องและบุตรทั้ง 2 เป็นทายาทโดยธรรมของนายรวย
ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดกเท่านั้น เป็นเหตุทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
ในฐานะที่ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก และมีสิทธิที่จะได้รับมรดก
ของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ผู้คัดค้านจึงขอประทานศาลได้โปรดกรุณามีคำสั่งให้ถอดถอนผู้ร้องออกจาก
การเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก เนื่องจากมีพฤติการณ์ปกปิดข้อความจริงเกี่ยวกับ
ทายาทโดยธรรม แสดงบัญชีเครือญาติอันเป็นเท็จต่อศาล เบิกความเท็จต่อศาล ทั้งยังมีพฤติการณ์ขายทรัพย์
มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 11 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 100 ตารางวา
พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหอพักเลขที่ 1 ถนนประชาราษฎร์สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
ด้วยเจตนาจะทำให้ผู้คัดค้าน มารดาของผู้คัดค้าน ตลอดจนทายาทโดยธรรมอื่นๆ ได้รับความเสียหาย อันเป็น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
143
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
พฤติการณ์ที่ไม่สุจริต และไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก ผู้คัดค้านจึงขอ
ประทานศาลได้โปรดมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก
เสีย

ข้อ 6. บรรยายว่าผู้คัดค้านมีความประสงค์ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ โดยทายาทคนอื่นๆให้ความ


ยินยอมแล้วหรือไม่
ข้อ 6. ในการยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก
และขอให้ศาลแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดกนั้น มารดาของผู้คัดค้าน
ตลอดจนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของผู้คัดค้าน ได้ตกลงยินยอมให้ผู้คัดค้ านเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว
รายละเอียดปรากฏตามหนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก เอกสารท้ายคำร้องคัดค้านหมายเลข 7

ข้อ 7. บรรยายว่าผู้คัดค้านเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ และเป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้


เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลายหรือไม่
ข้อ 7. ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรม เป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เป็น
บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ข้อ 8. ท่อนจบในการบรรยายคำร้องคำคัดค้านขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านจึงขอประทานศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน และมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้ร้องออกจาก
การเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก และมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ
นายรวย ใจดี ผู้ตายเจ้ามรดก เพื่อจัดการมรดกตามกฎหมายต่อไป

ข้อ 9. เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อผู้คัดค้าน ผู้เรียงและเขียน


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้คัดค้าน
คำคัดค้านฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
144
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำร้อง**
➢ เขียนคำว่า ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ที่มุมซ้ายบน ต่อจากคำว่า คำร้อง
➢ คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ห้ามใส่เลขคดีแดง**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ อย่าลืมอ้างเอกสารท้ายคำร้อง**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อ ผู้ร้อง ข้อมูลส่วนตัวของผู้ร้อง ให้
ครบถ้วน ลงชื่อผู้ร้อง หรือทนายผู้ร้องมุมขวาล่าง**
➢ อย่าลืมขีด คำแถลง และคำขอ ทั้ง 3 จุด บน กลาง ล่าง ด้านหน้าคำร้อง**
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ ผู้ร้อง อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลในคำร้อง**

(๗)
คำร้อง / คำแถลง / คำขอ
คดีหมายเลขดำที่ .....1234... /๒๕...62....
ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
คดีหมายเลขแดง................... /๒๕............
ศาล ........แพ่ง......................................................
วันที่...1...เดือน.......กุมภาพันธ์........... พุทธศักราช ๒๕...62...
ความ .....แพ่ง...............

โจทก์
นางสวย ใจดี ร้องขอให้ศาลคำสั่งว่านายดวง ใจดี เป็นคนสาบสูญ ผู้ร้อง
ระหว่าง
จำเลย

ข้าพเจ้า.......นางสวย ใจดี.................................................................................ผู้ร้อง.....
เลขประจำตัวประชาชน ---- (ใส่ เลขให้ ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย......สัญชาติ....ไทย.....อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่…-...…เดือน……-…….......พ.ศ.…-……...
อายุ.....55.......ปี อยู่บ้านเลขที่.......66....................หมู่ที่.....-..........ถนน....ประชาราษฎร์สาย 2...................
ตรอก/ซอย......-..................ตำบล/แขวง..............บางซื่อ................อำเภอ/เขต..........บางซื่อ.........................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
145
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จังหวัด......กรุงเทพมหานคร.................รหัสไปรษณีย์....10800..........โทรศัพท์.......-......................................
โทรสาร…………-…….………….................…... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์…........-.........................................……….
ขอยื่นคำร้อง / คำแถลง / คำขอ มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

โทรศัพท์
........................ข้ อ ๑. บรรยายสถานะความสัมพันธ์ระหว่างคนสาบสูญกับผู้ร้อง และภูมิลำเนาของคนสาบสูญ
(รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่...)……………………………………………………………..
………………………ข้อ 2. บรรยายทรัพย์สินของคนสาบสูญ ว่ามีอะไรบ้าง (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…
เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่...)………………………………………………….………………………………………………………..
...................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

.......ชอบ ยุติธรรม......ผูร้ ้อง / ผู้แถลง / ผู้ขอ


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำร้อง
-2-
………………………ข้อ 3. บรรยายเกี่ยวกับเหตุในการสาบสูญ (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำ
ร้องหมายเลขที่...)………………………………………………………………………………………………….………………………..……
………………………ข้อ 4 .บรรยายว่า ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องหรือปัญหาที่ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินของคนสาบสูญ
อย่างไร..................................................................................................................................................... .............
………………………ข้อ 5. ท่อนจบ บรรยายขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ........................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
146
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
........................ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะจัดการขาย... เนื่องจากจะเป็นประโยชน์
ดีกว่าปล่อยให้ ทรัพย์สิน ...ดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมและทำให้มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าว
ด้วย…………………………………………………………………………………………………………………………………………….………
........................ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องแล้วได้โปรดมีคำสั่งให้นายดวง ไม่ดี เป็นคนสาบสูญ เพื่อ

ผู้ร้องจะได้ใช้สิทธิในฐานะทายาทตามกฎหมายต่อไป......................................................................................

................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………..……………………..
.......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง......................................................

.........................คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน


.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน........................................

หลักการเขียนคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

นางสวย ใจดี ร้องขอให้ศาลคำสั่งว่านายดวง ใจดี เป็นคนสาบสูญ ผู้ร้อง

ข้อ1. บรรยายสถานะความสัมพันธ์ระหว่างคนสาบสูญกับผู้ร้อง และภูมิลำเนาของคนสาบสูญ


ข้อ1. ผู้ร้องเป็นมารดาของนายดวง ใจดี อายุ 37 ปี ซึ่งเกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2525 โดยนายดวง
ใจดี พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ที่บ้านเลขที่ 66 ถนนประชาราษฎร์สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1 และ 2

ข้อ2.บรรยายทรัพย์สินของคนสาบสูญ ว่ามีอะไรบ้าง
ข้อ2. นายดวง ใจดี มีทรัพย์สินคือ รถยนต์บรรทุกสิบล้อ เลขทะเบียน 11-1111 กรุงเทพ และที่ดิน
โฉนดเลขที่ 2222 เลขที่ดิน 33 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ และสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารคำร้องหมายเลข 3 และ 4

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
147
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ3.บรรยายเกี่ยวกับเหตุในการสาบสูญ**
ข้อ3. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 นายดวง ใจดี ได้ออกจากบ้านไปทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งในท้องที่
แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร แล้วหายไปไม่กลับมาบ้านอีกเลย และไม่มีบุคคลใดเคยพบเห็น
นายดวง ใจดี มาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ทั้งไม่มีใครทราบข่าวคราว หรือความเป็นมาร้ายดีเกี่ยวกับนายดวง
ใจดี แต่อย่างใด จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่ผู้ใดทราบแน่ชัดว่านายดวง ใจดี ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

ข้อ4. บรรยายว่า ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องหรือปัญหาที่ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินของคนสาบสูญอย่างไร


ข้อ4. เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวของนายดวง ใจดี มีสภาพชำรุดมากเนื่องจาก
ไม่มีบุคคลใดนำออกไปใช้หาประโยชน์ หากเก็บรักษาไว้ต่อไปอีกก็จะมีความชำรุดทรุดโทรมขึ้นเนื่องจากไม่มี
การดูแลรักษา และที่ดินแปลงดังกล่าวหญ้าขึ้นรกเป็นจำนวนมาก มีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ ไม่มีผู้ดูแลรักษา ซึ่ง
ปัจจุบันมีบุคคลอื่นมาติดต่อขอซื้อรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวในราคา 500,000 บาทและมีบุคคลอื่นมาขอเช่า
ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปีซึ่งต้องจดทะเบียนเช่าและจะได้รับค่าเช่าปีละ 900,000 บาท ซึ่งผู้ร้องได้ไป
ติดต่อส่วนราชการแล้วแต่ส่วนราชการแจ้งว่าต้องมีคำสั่งศาลมาแสดงก่อน

ข้อ5.ท่อนจบบรรยายขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะจัดการขายรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวและให้
บุคคลอื่นเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นแทนนายดวง ใจดี เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ดีกว่าปล่อยให้รถยนต์
บรรทุกคันดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมและทำให้มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าวด้วย
ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องแล้วได้โปรดมีคำสั่งให้นายดวง ใจดี เป็นคนสาบสูญ เพื่อผู้ร้องจะ
ได้ใช้สิทธิในฐานะทายาทตามกฎหมายต่อไป

ข้อ6.เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อผู้ร้อง ผู้เรียงและเขียน


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
148
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

นางสวย ใจดี ร้องขอให้ศาลคำสั่งว่านายดวง ใจดี เป็นคนสาบสูญ ผู้ร้อง

ข้อ1. ผู้ร้องเป็นมารดาของนายดวง ใจดี อายุ 37 ปี ซึ่งเกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2525 โดยนายดวง ใจ


ดี พักอาศัยอยู่กับผู้ร้อง ที่บ้านเลขที่ 66 ถนนประชาราษฎร์สาย 2 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 1 และ 2
ข้อ 2. นายดวง ใจดี มีทรัพย์สินคือ รถยนต์บรรทุกสิบล้อ เลขทะเบียน 11-1111 กรุงเทพ และที่ดิน
โฉนดเลขที่ 2222 เลขที่ดิน 33 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ และสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารคำร้องหมายเลข 3 และ 4
ข้อ3. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 นายดวง ใจดี ได้ออกจากบ้านไปทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งในท้องที่
แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร แล้วหายไปไม่กลับมาบ้านอีกเลย และไม่มีบุคคลใดเคยพบเห็น
นายดวง ใจดี มาเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ทั้งไม่มีใครทราบข่าวคราว หรือความเป็นมาร้ายดีเกี่ยวกับนายดวง
ใจดี แต่อย่างใด จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่ผู้ใดทราบแน่ชัดว่านายดวง ใจดี ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ข้อ4. เนื่องจากปัจจุบันรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันดังกล่าวของนายดวง ใจดี มีสภาพชำรุดมากเนื่องจาก
ไม่มีบุคคลใดนำออกไปใช้หาประโยชน์ หากเก็บรักษาไว้ต่อไปอีกก็จะมีความชำรุดทรุดโทรมขึ้นเนื่ องจากไม่มี
การดูแลรักษา และที่ดินแปลงดังกล่าวหญ้าขึ้นรกเป็นจำนวนมาก มีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ ไม่มีผู้ดูแลรักษา ซึ่ง
ปัจจุบันมีบุคคลอื่นมาติดต่อขอซื้อรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวในราคา 500,000 บาทและมีบุคคลอื่นมาขอเช่า
ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปีซึ่งต้องจดทะเบียนเช่าและจะได้รับค่าเช่าปีละ 900,000 บาท ซึ่งผู้ร้องได้ไป
ติดต่อส่วนราชการแล้วแต่ส่วนราชการแจ้งว่าต้องมีคำสั่งศาลมาแสดงก่อน
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะจัดการขายรถยนต์บรรทุกสิบล้ อ คัน
ดังกล่าวและให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นแทนนายดวง ใจดี เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ดีกว่า
ปล่อยให้รถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมและทำให้มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินแปลงดังกล่าวด้วย
ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องแล้วได้โปรดมีคำสั่งให้นายดวง ใจดี เป็นคนสาบสูญ เพื่อผู้ร้องจะได้ใช้สิทธิ
ในฐานะทายาทตามกฎหมายต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
149
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำร้อง**
➢ เขียนคำว่า ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่มุมซ้ายบน ต่อ
จากคำว่า คำร้อง
➢ คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ห้ามใส่เลขคดีแดง**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ อย่าลืมอ้างเอกสารท้ายคำร้อง**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อ ผู้ร้อง ข้อมูลส่วนตัวของผู้ร้อง ให้
ครบถ้วน ลงชื่อผู้ร้อง หรือทนายผู้ร้องมุมขวาล่าง**
➢ อย่าลืมขีด คำแถลง และคำขอ ทั้ง 3 จุด บน กลาง ล่าง ด้านหน้าคำร้อง**
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ ผู้ร้อง อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลในคำร้อง**

(๗)
คำร้อง / คำแถลง / คำขอ
ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน คดีหมายเลขดำที่ .....12345... /๒๕...61....
โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีหมายเลขแดง................... /๒๕............
ศาล ........แพ่ง......................................................
วันที่...1...เดือน.......มีนาคม........... พุทธศักราช ๒๕...61...
ความ .....แพ่ง...............

โจทก์
นายเผลอ ไม่ได้ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้อง
ระหว่าง ของนายโชค ไม่ดี
จำเลย

ข้าพเจ้า.......นายเผลอ ไม่ได้.................................................................................ผู้ร้อง.....
เลขประจำตัวประชาชน ---- (ใส่ เลขให้ ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย......สัญชาติ....ไทย.....อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่…-...…เดือน……-…….......พ.ศ.…-……...
อายุ.....45.......ปี อยู่บ้านเลขที่.......11....................หมู่ที่.....-..........ถนน....ประชาราษฎร์สาย 2...................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
150
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตรอก/ซอย......-..................ตำบล/แขวง..............บางซื่อ................อำเภอ/เขต..........บางซื่อ.........................
จังหวัด......กรุงเทพมหานคร.................รหัสไปรษณีย์....10800..........โทรศัพท์.......-......................................
โทรสาร…………-…….………….................…... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์…........-.........................................……….
ขอยื่นคำร้อง / คำแถลง / คำขอ มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

โทรศัพท์
........................ข้ อ ๑. บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะร้องครอบครองปรปักษ์ (รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนา…เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่...)…………………………..…………………………………………………..
………………………ข้อ 2. บรรยายเหตุในการเข้าครอบครองปรปักษ์ (รายละเอียดปรากฏตามสำเนา…เอกสาร
ท้ายคำร้องหมายเลขที่...)…………………………………………………………………………………………. …………………………..
...................................................................................................................................................................
หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

.......ชอบ ยุติธรรม......ผูร้ ้อง / ผู้แถลง / ผู้ขอ


(นายชอบ ยุติธรรม)

แผ่นด้านหลังคำร้อง
-2-
………………………ข้อ 3. บรรยายเหตุขัดข้องของผู้ร้อง ………………………………………………………….……………………
………………………ข้อ 4 .บรรยายความประสงค์ของผู้ร้องครอบครองปรปักษ์........................................................

........................ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้มี
กรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 34 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม 1 ไร่
โดยการครอบครองปรปักษ์...................................................................................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
151
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด…………………………………..……………………..
.......................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง......................................................

.........................คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน


.....................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน........................................

การเขียนคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

นายเผลอ ไม่ได้ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิในที่ดนิ โดยการครอบครองปรปักษ์ของนายโชค ไม่ดี ผู้ร้อง

ข้อ 1. บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่จะร้องครอบครองปรปักษ์
ข้อ 1. เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 34 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม
1 ไร่ มีชื่อนายโชค ไม่ดี เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำร้อง
หมายเลขที่ 1

ข้อ 2. บรรยายเหตุในการเข้าครอบครองปรปักษ์
ข้อ 2. เมื่อปลายปี 2540 ผู้ร้องได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามข้อ 1 โดยทำสวนปลูก
ผัก ผลไม้ และสร้างบ้านในที่ดิน ดังกล่าวเพื่ออยู่อาศัยอันเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็น
เจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว รายละเอียด
ปรากฎตามสำเนาภาพถ่าย เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่ 2

ข้อ 3. บรรยายเหตุขัดข้องของผู้ร้อง
ข้อ 3. ผู้ร้องประสงค์จะเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามข้อ 1. มาเป็นชื่อผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้
ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร เพื่อขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ต้องมีคำสั่งศาลมาก่อน

ข้อ 4. บรรยายความประสงค์ของผู้ร้องครอบครองปรปักษ์
ข้อ 4.ผู้ร้องเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลง นับตั้งแต่ปลายปี 2540
ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานเกินกว่า 10
ปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยการครอบครองปรปักษ์และโดยชอบด้วยกฎหมาย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
152
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 5. ท่อนจบ ขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิครอบครองปรปักษ์
ด้ว ยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ร ้องจึงขอศาลได้ โปรดไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้มี
กรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 34 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม 1 ไร่
โดยการครอบครองปรปักษ์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

นายเผลอ ไม่ได้ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิในที่ดนิ โดยการครอบครองปรปักษ์ของนายโชค ไม่ดี ผู้ร้อง

ข้อ 1. เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 34 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม


1 ไร่ มีชื่อนายโชค ไม่ดี เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำร้อง
หมายเลขที่ 1
ข้อ 2. เมื่อปลายปี 2540 ผู้ร้องได้เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามข้อ 1 โดยทำสวนปลูก
ผัก ผลไม้ และสร้างบ้านในที่ดิน ดังกล่าวเพื่ออยู่อาศัยอันเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็น
เจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว รายละเอียด
ปรากฎตามสำเนาภาพถ่าย เอกสารท้ายคำร้องหมายเลขที่ 2
ข้อ 3. ผู้ร้องประสงค์จะเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามข้อ 1. มาเป็นชื่อผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้
ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร เพื่อขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร แจ้งว่าไม่สามารถดำเนินการให้ได้ต้องมีคำสั่งศาลมาก่อน
ข้อ 4.ผู้ร้องเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลง นับตั้งแต่ปลายปี 2540
ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานเกินกว่า 10
ปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยการครอบครองปรปักษ์และโดยชอบด้วยกฎหมาย
ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้ มี
กรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินเลขที่ 56789 เลขที่ดิน 34 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม 1 ไร่
โดยการครอบครองปรปักษ์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
153
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

หลักการเขียนข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529


หมวด 2 มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ 5 ไม่รับหน้าที่ทนายความขอแรง
ข้อ 6 ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา
ข้อ 7 ทำเอกสารเท็จ หรือใช้กลอุบาย
ข้อ 8 เสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือปกปิดอำพรางหลักฐาน
หมวด 3 มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 9 ยุยงส่งสริมให้ฟ้องกัน
ข้อ 10 ใช้อุบาย หลอกลวง อ้วดอ้าง
ข้อ 11 เปิดเผยความลับ
ข้อ 12 ขาดนัด ทิ้งคดี ละเว้นหน้าที่ ปิดบัง
ข้อ 13 ปรปักษ์
ข้อ 14 ใช้อุบายเพื่อให้ได้รับประโยชน์นอกเหนือ
ข้อ 15 ฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ
หมวด 4 มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่น ๆ
ข้อ 16 แย่ง หรือประมูลงาน
ข้อ 17 ประกาศโฆษณา ยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณา
ข้อ 18 ประพฤติตนฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณ
ข้อ 19 ให้ค่านายหน้า หรือให้บำเหน็จรางวัลใด ๆ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
154
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529
หมวด 1 บททั่วไป
ข้อ 4 ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่า
ทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

หมวด 2 มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ 5 ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญา เว้นแต่จะมีข้อแก้ตัว
โดยสมควร
ข้อ 6 ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาลหรือ
นอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา*(53)
ข้อ 7 กล่าวความ หรือทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใด
เพื่อทราบคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย**(49,47)
ข้อ 8 สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทำพยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิก
ความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญาจะให้สินบน
แก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน *(47)

หมวด 3 มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 9 กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
ข้อ 10 ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง
*(52)
(1) หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
(2) อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความคนอื่น
(3) อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะ
ทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใด
ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้ *(51)
ข้อ 11 เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก
ลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
155
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 12 กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
**(52,49)
(1) จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
(2) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบัง
ข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
ข้อ 13 ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่งแล้ว
ภายหลังไปรับเป็นทนายความ หรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณี
เดียวกัน
ข้อ 14 ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
เพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
ข้อ 15 กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วง
เหนี่ยว เงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความ
ยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร*(49)

หมวด 4 มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่น ๆ


ข้อ 16 แย่ง หรือทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่นว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วมาว่า หรือรับ
หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่
(1) ได้รับความยินยอมจากทนายความที่ว่าความอยู่ในเรื่องนั้นแล้ว
(2) มีเหตุผลอันควรเชื่อว่าตัวความได้ถอนทนายความคนก่อนจากการเป็นทนายความของเขาแล้ว
หรือ
(3) ทนายความผู้ว่าความในเรื่องนั้นปฏิเสธ หรือแสดงความไม่สมัครใจที่จะว่าความในคดีนั้น
ต่อไปแล้ว
ข้อ 17 ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใด ๆ ดังต่อไปนี้
(1) อัตราค่าจ้างว่าความ หรือแจ้งว่าไม่เรียกร้องค่าจ้างว่าความ เว้นแต่การประกาศโฆษณาของ
ทนายความเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายซึ่งดำเนินการโดยสภาทนายความเองหรือโดยสถาบัน
สมาคม องค์การ หรือส่วนราชการใดที่เกี่ยวข้อง หรือ
(2) ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน อันเป็นไปในทางโอ้อวดเป็นเชิงชักชวนให้ผู้มีอรรถคดี
มาหาเพื่อเป็นทนายความว่าต่าง หรือแก้ต่างให้ เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ หรืออื่น ๆดังกล่าวตามสมควรโดย
สุภาพ
ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการ
เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ*****(51,49,47)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
156
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 19 ยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบำเหน็จรางวัลใด ๆ ด้วยทรัพย์สิน
หรือประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงานดำเนินการจัดหาคดี
ความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่าส่วนลดของค่าจ้างให้ หรือให้เงินเดือน หรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวนใด
หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะ
ดังกล่าวจะเป็นเสมียนหรือลูกจ้างประจำสำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม

วิธีตอบข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529


ส่วนที่ 1 วางหลักกฎหมาย ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529
ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529
หมวด 3 มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 10 ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง
(1) หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
(2) อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความอื่น
(3) อวดอ้างว่าเกี่ยวมีสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถ
จะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทาง
ใดๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นแล้วจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้
หมวด 4 มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่นๆ
ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการ
เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ

ส่วนที่ 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงปรับกับข้อบังคับฯ
การที่นายนิติ ปราศยุติธรรม ซึ่งเป็นทนายความ ได้ให้คำแนะนำให้ต่อสู้คดีพร้อมทั้งพูดกับนายหนึ่ง
มกรา ว่า “ไม่ต้องกลัวคดีนี้ชนะแน่นอน 1000% ผมรู้จักผู้พิพากษา อัยการผู้ใหญ่หลายคนช่วยพลิกคดีได้ เอา
เงินมาให้ผม 2 ล้าน เดี๋ยวจัดให้ตามขอ” แสดงให้เห็นว่า นายนิติ ปราศยุติธรรม ต้องการที่จะให้นายหนึ่ง มกรา
เข้าใจว่าตนเองมีผู้พิพากษา และอัยการผู้ใหญ่หลายคนที่เป็นสมัครพรรคพวก หรือคุ้นเคยสามารถจะช่วยเหลือ
ให้นายหนึ่ง มกรา ให้สามารถชนะคดีได้ ทั้ งนี้ เพื่อให้นายหนึ่ง มกรา มอบคดีนี้ให้ตนเองเป็นทนายความ อัน
เป็นการอวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะทำให้เขา
ได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใดๆ ได้ อั น
เป็นการผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาทสภาทนายความ พ.ศ. 2529
หมวด 3 ข้อ 10 (3)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
157
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
อีกทั้งการกระทำดังกล่าวของนายนิติ ปราศยุติธรรม ยังเป็นการประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือ
ประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ
อันเป็นความผิดตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 4 ข้อ 18 อีกด้วย

ส่วนที่ 3 สรุป
สรุป การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม จึงประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามข้อบังคับสภา
ทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 10 (3) และหมวด 4 ข้อ 18

ตัวอย่างวิธีตอบข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529


ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529
หมวด 2 มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ 7 กล่าวหรือทำเอกสาร หรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายให้ศาลหลง
หมวด 3 มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 12 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้น อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
(2) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบัง
ข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
ข้อ 15 การกระทำใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วง
เหนี่ยวเงิน หรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่ อั นเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับ
ความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร
หมวด 4 มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่นๆ
ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการ
เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ

ตามข้อเท็จจริงนายนิติ ปราศยุติธรรม เป็นทนายความ เลขที่อนุญาตให้เป็นทนายความ 1234/2525


ได้ปลอมลายมือชื่อของนางสาวสวย ใจดี ในคำร้องขอสละสิทธิ์ไม่บังคับคดี และยื่นต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
ว่านางสาวสวย ใจดี และบุตรสาวขอสละสิทธิ์ไม่บังคับคดีกับจำเลยทั้งสอง เนื่องจากสามารถเจรจาตกลงกับ
จำเลยได้แล้ว การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม จึงเป็นการทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบาย
ล่อลวงให้ศาลหลง และเป็น การจงใจปิดบังข้ อความที่ควรแจ้งให้ล ูกความทราบ อันอาจทำให้เสื่อมเสีย
ประโยชน์ของลูกความ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
158
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
การที่นายนิติ ปราศยุติธรรม ได้ยื่นคำร้องขอสละสิทธิ์ ไม่บังคับคดีกับจำเลยทั้งสองแสดงว่านายนิติ
ปราศยุติธรรม ได้รับเงินจำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน) ตามข้อตกลงจากบริษัท ร่ำรวยเงินทอง
จำกัด แล้ว แต่ไม่คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่นางสาวสวย ใจดี และบุตรสาว จึงเป็นการกระทำการใดอันเป็น
การฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยวเงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่
ตนได้มาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ และโดยที่ไม่มีเหตุอัน
สมควร
การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม ยังเป็นการประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือ
เป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรี และเกียรติคุณของทนายความ
สรุป การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม ทนายความ เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ
ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 2 ข้อ 7 หมวด 3 ข้อ 12(2), ข้อ
15 และหมวด 4 ข้อ 18

ตัวอย่างวิธีตอบข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529


ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529
หมวด 1 บททั่วไป
ข้อ 4 ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่า
ทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ
หมวด 3 มรรยาทต่อตัวความ
ข้อ 12 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้น อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
(1) จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
(2) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบัง
ข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
หมวด 4 มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่นๆ
ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการ
เสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ

ตามข้อเท็จจริงนายนิติ ปราศยุติธรรม เป็นทนายความ เลขที่อนุญาตให้เป็นทนายความ 1234/2525


ช่วยประวิงคดีให้แก่นายจิตใจ ไม่ดี ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้าม ทั้งที่ นายนิติ ปราศยุติธรรม รู้อยู่แล้วว่านาย
จิตใจ ไม่ดี กำลังหาทางขายทรัพย์สินเพื่อหลบหนี เจ้าหนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายร่ำรวย เงินทอง
ซึ่งเป็นลูกความของตนเอง การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม จึงเป็นการกระทำที่จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควร

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
159
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
กระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน เพื่อรักษาประโยชน์ ให้แก่นายร่ำรวย เงินทอง ซึ่งเป็น
ลูกความของตน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิด มรรยาทต่อตัวความ ตามข้อ 4 ประกอบข้อ 12 (2) ของ
ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529
นอกจากนี้การที่นายนิติ ปราศยุติธรรม ซึ่งเป็นทนายความได้รับเงินจำนวน 50,000 บาท จากนาย
จิตใจ ไม่ดี ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวได้มาจากการที่ช่วยประวิงคดีให้แก่นายจิตใจ ไม่ดี อันเป็นเงินค่าตอบแทนที่
ได้มาจากการกระทำผิดมารยาททนายความ การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม จึงเป็นการประกอบอาชีพ
ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติ
คุณของทนายความ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิ ดมรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถ
คดี และอื่นๆ ตามข้อ 4 ประกอบข้อ 18 ของข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529
อีกด้วย
สรุป การกระทำของนายนิติ ปราศยุติธรรม ทนายความ เป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ
ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 หมวด 1 ข้อ 4 หมวด 3 ข้อ 12(2) และ
หมวด 4 ข้อ 18

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
160
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนบัญชีระบุพยาน
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์บัญชีพยาน**
➢ เขียนคำว่า โจทก์ หรือ จำเลย หรือผู้ร้อง ที่มุมซ้ายบน ต่อจากคำว่า บัญชีพยาน ให้ดูว่าคำสั่งให้
ท่านเขียนบัญชีพยานของโจทก์ หรือ จำเลย หรือผู้ร้อง
➢ บัญชีพยานถ้าศาลยังไม่มพี ิพากษาหรือคำสั่งหรือจำหน่ายคดี ยังไม่ต้องใส่เลขคดีแดง**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แ บบพิมพ์ บัญชีฉบับใหม่ ห้ามใช้ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้า บนหั ว
กระดาษบัญชีพยาน เช่น -3- หรือ -4-**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อ ผู้ยื่นบัญชีพยาน ระบุฝ่ายที่ยื่นมุม
ขวาสุด(โจทก์ หรือจำเลย หรือผู้ร้อง) และลงชื่อผู้ระบุมุมขวาล่าง**
➢ อย่าลืมระบุจำนวนพยาน รวม.......ฉบับ*
➢ ด้านหลังบัญชีพยาน แผ่นที่ 2 อย่าลืมลงชื่อผู้ระบุมุมขวาล่าง**
➢ ให้ดูดีๆว่าเป็นบัญชีระบุพยานของโจทก์ หรือบัญชีระบุพยานของจำเลย หรือบัญชีระบุพยานของ
ผู้ร้อง*
➢ อ้างพยานบุคคลก่อน แล้วค่อยอ้างพยานเอกสารและพยานวัตถุ เรียงตามเอกสารท้ายคำฟ้องหรือ
เอกสารท้ายคำให้การ หรือเอกสารท้ายคำร้อง
➢ อ้างพยานบุคคล อย่าลืมระบุที่อยู่ของพยานบุคคล
➢ อย่าลืมใส่ นำ หรือ หมาย หรือ นำ/หมาย ช่องขวาสุด

(๑๕)
บัญชีพยาน โจทก์

คดีหมายเลขดำที่ ........1234.........../๒๕..63......
คดีหมายเลขแดงที่.........................../๒๕..............

ศาล....แพ่งพระโขนง......................................................................
วันที่....15...เดือน........มกราคม............พุทธศักราช ๒๕..63.........
ความ.....แพ่ง....................

นางรวย มั่งมี โจทก์


ระหว่าง
นายดวง ไม่ดี ที่ 1 , บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด ที่ 2 จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
161
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้าพเจ้า .....นางรวย มั่งมี.................................................................................................โจทก์...
ขอระบุพยานของข้าพเจ้ารวม ........11.......... อันดับ ตามบัญชีตารางข้างล่างนี้

บ้านเลขที่ หมู่ที่ ถนน ซอย


อันดับ ชื่อและสกุลพยาน หมายเหตุ
ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
1 โจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน นำ
2 นางสาวสวย ใจดี 33 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร นำ/หมาย
พนั ก งานสอบสวนสถานี ต ำรวจนคร 300 สถานีตำรวจนครบาลประเวศ แขวงประเวศ
3 หมาย
บาลประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
4 ต้นฉบับ/สำเนาสูติบัตรนายสอง ใจดี นำ

5 ต้นฉบับ/สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด นำ


6 ต้นฉบับ/สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยว กับคดี ข้อ 99 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2562 นำ/หมาย

7 ต้นฉบับ/สำเนาแผนที่ที่เกิดเหตุ นำ/หมาย

.....................ชอบ ยุติธรรม....................ผู้ระบุ
(นายชอบ ยุติธรรม) (พลิก)

หมายเหตุ กรณีเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ให้ระบุดว้ ย เพื่อประสานงานในการสืบพยานเด็ก

ด้านหลังบัญชีระบุพยาน
-2-
บ้านเลขที่ หมู่ที่ ถนน ซอย
อันดับ ชื่อและสกุลพยาน หมายเหตุ
ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
8 ต้นฉบับ/สำเนารายงานตรวจที่เกิดเหตุ นำ/หมาย

9 ต้นฉบับ/สำเนามรณบัตร นายสอง มกรา นำ

10 ต้นฉบับ/สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายใน การปลงศพ นำ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
162
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
11 ต้นฉบับ/สำเนาหนังสือบอกกล่าวทวงถาม ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 นำ

....................ชอบ ยุติธรรม.................. ผู้ระบุ


(นายชอบ ยุติธรรม)

ตัวอย่างบัญชีระบุพยาน(ตั้งผู้จัดการมรดก)
1. ผู้ร้องอ้างตนเองเป็นพยาน นำ
2. นายหนึ่ง มั่งคั่ง อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ นำ
3. นายสอง มั่งคั่ง อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ นำ
4. นายสาม มั่งคั่ง อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ นำ
5. นายใหญ่ มั่งคั่ง อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ นำ
6. นางเล็ก มั่งคั่ง อยู่บ้านเลขที่ 9 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ นำ
7. ต้นฉบับ/สำเนารายการทะเบียนราษฎรของทายาททุกคน นำ
8. ต้นฉบับ/สำเนาใบจดทะเบียนสมรสระหว่างนายหล่อ มั่งคั่งกับนางสวย มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง) นำ
9. ต้นฉบับ/สำเนาใบมรณะบัตรของนายหล่อ มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง) นำ
10. ต้นฉบับ/สำเนาทะเบียนบ้านของนายหล่อ มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง) นำ
11. ต้นฉบับ/สำเนาพินัยกรรมของนายหล่อ มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง) นำ
12. ต้นฉบับ/สำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 321 แขวงบางจาก เขตพระโขนง นำ
กรุงเทพฯ เนื้อที่ 100 ตารางวา(อยู่ที่ผู้ร้อง)
13. ต้นฉบับ/สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารสยามไทย สาขาบางจาก ประเภทออมทรัพย์ นำ
เลขที่ 123-456-7899 ของนายหล่อ มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง)
14. ต้นฉบับ/สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารสยามไทย สาขาบางจาก ประเภทออมทรัพย์ นำ
เลขที่ 987-654-3211 ของนายหล่อ มั่งคั่ง(อยู่ที่ผู้ร้อง)
15. ต้นฉบับ/สำเนาหนังสือให้ความยินยอมของทายาทในการยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก
ฉบับลงวันที่ 1 เมษายน 2559 (อยู่ที่ผู้ร้อง) นำ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
163
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำฟ้องคดีอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี
(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี
(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด
(3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ
(4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย
(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่ง
เกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี
ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้ กล่าวไว้โดย
บริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง
(6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

หลักการบรรยายคำฟ้องคดีอาญา
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำฟ้อง และคำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา**
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-**
➢ หน้าคำฟ้อง ไม่ต้องไปเขียนว่าคดีอาญา**
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความอาญา ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ข้อหาหรือฐานความผิด
ข้อมูลส่วนตัวของโจทก์ และจำเลยให้ครบถ้วน**
➢ ในช่องหน้าคำฟ้องแพ่งหรืออาญา แผ่นแรก ถ้ามีโจทก์หรือจำเลยหลายคน ถ้าที่อยู่เดียวกันใน ให้
เขียน (1),(2),(3) 27 หรือ 1-3) 27 แต่ถ้าที่อยู่คนละที่ ให้เขียน (1)27 , (2)53 , (3)51 **

ในช่อง ระบุชื่อ โจทก์ ระหว่าง จำเลย


• กรณีเป็นโจทก์และจำเลย เป็นบุคคลธรรมดา
นายร่ำรวย เงินทอง โจทก์
นายยากจน เหลือทน จำเลย
นายร่ำรวย เงินทอง ที่ 1 , นายมั่งมี เงินทอง ที่ 2 โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
• กรณีเป็นโจทก์และจำเลย เป็นนิติบุคคล
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดยากจน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
164
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
บริษัทร่ำรวยข้าว จำกัด โดยนายโชค มั่งมี กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดวงบุญช่วย ที่ 1, นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย
• กรณีเป็นโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายค้ำ ไม่ดี ที่ 2 , นายจำนอง ไม่ดี ที่ 3 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นบุคคลธรรมดา จำเลยเป็นนิติบุคคล
นายดำ ใจดี โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด ที่ 2 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นบุคคลธรรมดา มีการมอบอำนาจ และจำเลยเป็นนิติบุคคล
นายหนึ่ง มกรา โดยนายสอง กุมภา ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดวงบุญช่วย ที่ 1, นายดวง ไม่ดี ที่ 2, นางบุญช่วย ไม่ได้ ที่ 3 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นนิติบุคคล มีการมอบอำนาจ จำเลยเป็นบุคคลธรรมดา
สหกรณ์เก็บออมทรัพย์ จำกัด โดยนายประหยัด มั่งมี ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3 จำเลย
• กรณีโจทก์เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม และโจทก์เป็นผู้เยาว์
นางสวย ใจดี ที่1, เด็กหญิงดาว ใจดี โดยนางสวย ใจดี ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม ที่ 2 โจทก์
นายยากจน เหลือทน ที่ 1 , นายดวง ไม่ดี ที่ 2 จำเลย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
165
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

(๔)
คำฟ้อง

คดีหมายเลขดำที่......อ.123........ /๒๕..63....

ศาล ....แขวงพระนครเหนือ.............................
วันที่ ...12... เดือน ......กันยายน......... พุทธศักราช ๒๕ ..63....
ความ .....อาญา...................

บริษัท ร่ำรวย จำกัด โดยนายประหยัด มั่งมี ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์


ระหว่าง
นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3 จำเลย

ข้อหาหรือฐานความผิด ....ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์.....................................................................................................
จำนวนทุนทรัพย์ ..............................-.....................................................................บาท .............-.................สตางค์
ข้าพเจ้า .........บริษัท ร่ำรวย จำกัด.........................................................................................
เลขประจำตัวประชาชน ---- โจทก์ เชื้อชาติ…… -…………………………
สัญชาติ .....ไทย............อาชีพ ....ค้าขาย......อายุ ....-......ปี อยู่บ้านเลขที่ ......999........หมู่ที่....9...............................
ถนน ........สุขุมวิท......... ตรอก/ซอย ............-..............ตำบล/แขวง ......บางจาก.......อำเภอ/เขต…พระโขนง……..
จังหวัด ..........กรุงเทพมหานคร.................................รหัสไปรษณีย์.......10260.....โทรศัพท์ .......-.............................
โทรสาร ............-................................... ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ .........-....................................................................
ขอยื่นฟ้อง .....นายหนึ่ง มกรา ที่ 1 , นางสอง กุมภา ที่ 2 , นายสาม มีนา ที่ 3.........................................................
เลขประจำตัวประชาชน ---- จำเลย เชื้อชาติ ..1-3) ไทย...................
สัญชาติ ...1-3) ไทย....อาชีพ ...1-3) ค้าขาย...อายุ..(1)30 ,(2)35, (3)40..ปี อยู่บ้านเลขที่...(1)12 ,(2)24, (3)36.........
หมู่.. 1-3) -...ถนน..1-3) -.......ตรอก/ซอย.. 1-3) -................ตำบล/แขวง.(1)บางจาก ,(2)หนองบอน ,(3)บางนา......
อำเภอ/เขต.(1)พระโขนง ,(2)ประเวศ ,(3)บางนา..จังหวัด.1-3) กรุงเทพมหานคร..รหัสไปรษณีย์.(1)(3)10260 ,(2)10250…

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
166
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
โทรศัพท์..... 1-3) -.........โทรสาร .... 1-3) -.............. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ .... 1-3) -...................................
มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1. ...บรรยายฐานะโจทก์กับจำเลย....................................................................................
......................................................................................................................... ....................................................

แผ่นด้านหลังคำฟ้อง
-2-
..............................2.บรรยายวัน เวลา เกิดเหตุที่จำเลยกระทำความผิด ที่ไหน อย่างไร และบรรยายว่าจำเลย
ได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายอย่างไร พฤติการณ์การกระทำความผิด (การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่า

จำเลยได้กระทำความผิด โดยยึดข้อเท็จจริงในข้อสอบ)...................................................................................

............................3. บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดข้อหาอะไร บรรยายเหตุฉกรรจ์ และทำ


ให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร (บรรยายองค์ประกอบของความผิดปรับเข้ากับข้อเท็จจริง ) และถ้าเป็น

ความผิดยอมความได้ ต้องบรรยายว่าโจทก์ทราบเหตุและรู้ตัวเมื่อวันที่เท่าใด...................................................

.............................4.บรรยายสถานที่เกิดเหตุ.................................................................................................

.............................5.บรรยายเรื่องการร้องทุกข์..............................................................................................

........................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด......................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
167
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
...................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................................

แบบพิมพ์ 40 ก.
สำหรับศาลใช้
(๔๐ ก.) -3-
………………………………………………………………………………………………………………………………………..…………...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..…………...…………………

…………………………………………………………………………………………………………………………..………………………...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..………………………...……

…………………………………………………………………………………………………………………………..…………….……..…...……

1.บรรยายฐานะโจทก์และจำเลย **สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ โจทก์ และ จำเลย อย่าบรรยายโดย


การระบุชอื่ ตัวบุคคลในคำฟ้อง**
• หากโจทก์และจำเลยเป็นนิติบุคคล ต้องบรรยายสถานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และจำเลยด้วย
ข้อ1. โจทก์เ ป็น นิต ิบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงาน
ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการให้เช่าซื้อรถยนต์
โดยมีนางสวย ใจดี กับนายหล่อ ใจบุญ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์
มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้อง
หมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงาน
ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักในการประกอบกิจการ
ขนส่งสินค้ารถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
168
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จำเลยที่ 1 กระทำแทนจำเลยที่ 1 ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองจำเลยที่ 1 เอกสารท้าย
คำฟ้องหมายเลข 2
• ในคดีบุกรุก โจทก์จะต้องบรรยายถึงสถานะการเป็นเจ้าของที่ดินและอาคาร
ข้อ1. โจทก์เป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 1 คูหา เลขที่ 31 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพ
ตั้งอยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่ 25 เลขที่ดิน 25 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ เนื้อที่ 50 ตารางวา หรือ
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 12345 เลขที่ดิน 321 ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เนื้อที่รวม 40 ไร่ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

• ในคดีผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์มรดก ต้องบรรยายสถานะการเป็นทายาทด้วย
ข้อ1. โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกของนายร่ำรวย เงินทอง ผู้ตายตามพินัยกรรม
จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของนายร่ำรวย เงินทอง ผู้ตายตามพินัยกรรม รายละเอียด
ปรากฏตามสำเนาพินัยกรรม เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

• หากมีการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจะต้องบรรยายถึงการมอบอำนาจด้วย
ข้อ1. ในการฟ้องคดีนี้โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายสอง กุมภา เป็นผู้มีอำนาจในการฟ้องและดำเนินคดี
แทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

2.บรรยายวัน เวลา เกิดเหตุที่จำเลยกระทำความผิด ที่ไหน อย่างไร และบรรยายว่าจำเลยได้บังอาจกระทำ


ความผิดต่อกฎหมายอย่างไร พฤติการณ์การกระทำความผิด (การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำ
ความผิด โดยยึดข้อเท็จจริงในข้อสอบ)

• คดียักยอกทรัพย์
ข้อ2. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ
จำเลยผู้ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยได้ครอบครองเงินของโจทก์ที่ลูกค้าชำระ
ให้แก่โจทก์ จำนวน 900,000 บาทและกระทำผิดต่อหน้าที่ของจำเลยโดยไม่นำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ตามที่
ได้รับมอบหมาย ได้บังอาจเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

• คดีหมิ่นประมาท
ข้อ 2. เมื่อระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด(กรณี
ไม่ทราบวัน เวลาแน่นอน) หรือเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 เวลากลางวัน(กรณีทราบวัน เวลาแน่นอน) จำเลยได้
บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ จำเลยได้พูดจาใส่ความต่อว่าโจทก์ โดยพูดกับนายหล่อ ใจบุญ ซึ่ง
เป็นบุคคลที่สาม ว่า “โจทก์เป็นโสเภณีไม่มีงานเป็นหลักเป็นแหล่ง” ทำให้นายหล่อ ใจบุญ ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม
ได้ยินแล้วต้องเข้าใจว่าโจทก์เป็นหญิงขายบริการ และไม่มีงานเป็นหลักเป็นแหล่งทำ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อความ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
169
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
จริง ซึ่งความจริงโจทก์ไม่ได้เป็นดังที่จำเลยอ้าง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูก
เกลียดชัง

• คดีบุกรุก
ข้อ 2. เมื่อระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เวลากลางวันและกลางคืน
ต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ จำเลยได้บุกรุกเข้า
มาในที่ดินของโจทก์ตามคำฟ้องข้อ 1. เพื่อยึดถือการครอบครองที่ดิน ของโจทก์นั้นทั้งหมด โดยทำสวนปลูกผัก
และผลไม้ และปลูกสร้างบ้านในที่ดินเพื่ออยู่อาศัย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นการรบกวนการ
ครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุข และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

• คดีโกงเจ้าหนี้
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ
2.1 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งพระโขนงแล้ว เมื่อ
วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1234/2560 เพื่อให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินที่จำเลยทั้งสอง
ได้กู้ยืมไปจากโจทก์
2.2 จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริต เพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้ตามข้อ 2.1 โดยจำเลยทั้งสองได้นำ
รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ หมายเลขทะเบียน กข1234 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่เพียงรายการเดียว
ไปขายให้เต็น ท์ร ถยนต์ แถวถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ในราคา
700,000 บาท และจำเลยทั้งสองไม่ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งทำให้โจทก์ได้รับ
ความเสียหาย

• คดีทำให้เสียทรัพย์
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ จำเลยได้นำน้ำกรดมาสาดใส่ห้องทำงานของนายหนึ่ง มกรา กรรมการของโจทก์ ซึ่งห้องทำงาน
ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยโจทก์ต้องไปจ้างช่างมาซ่อมแซมห้อง
ทำงานใหม่ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท

• คดีลักทรัพย์หรือรับของโจร
ข้อ 2. เมื่อระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลากลางวันและกลางคืน
ต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย ต่างกรรมต่างวาระกัน
กล่าวคือ ได้มีคนร้ายเจตนาเอารถยนต์ ยี่ห้อบีเอ็มดับบิว 320I ทะเบียน กข 9876 กรุงเทพมหานคร ของโจทก์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
170
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ไป ซึ่งมีราคา 1,000,000 บาท ของโจทก์ไปโดยทุจริต และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนครบาล
ประเวศไว้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562
ข้อ 3. ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลากลางวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อม
รถยนต์ของโจทก์ที่ถูกลักไปตามข้อ2. ซึ่งจำเลยซ่อนไว้ที่บ้านของจำเลย
ทั้งนี้ ตามวันเวลาเกิดเหตุตามข้อ2. ถึงวันที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ตามข้อ3.วันเวลาใดไม่
ปรากฏชัด จำเลยเจตนาช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการอื่นใด ซึ่งรถยนต์
คันดังกล่าวของโจทก์ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

3.บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดข้อหาอะไร บรรยายเหตุฉกรรจ์ และทำให้โจทก์ได้รับ


ความเสียหายอย่างไร (บรรยายองค์ประกอบของความผิดปรับเข้ากับข้อเท็จจริง ) และถ้าเป็นความผิด
ยอมความได้ ต้องบรรยายว่าโจทก์ทราบเหตุและรู้ตัวเมื่อวันที่เท่าใด

• คดียักยอกทรัพย์
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการครอบครองทรัพย์ของโจทก์ เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าว
เป็นของตนโดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คดีนี้โจทก์ทราบเหตุเมื่อวันที่..........

• คดีหมิ่นประมาท
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ทราบเหตุเมื่อวันที่..........

• คดีบุกรุก
ข้อ 3. การกระทำของจำเลย เป็นการกระทำความผิดฐานบุกรุก ด้วยการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของ
ผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์
อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุข และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คดีนี้โจทก์ทราบเหตุเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2562

• คดีโกงเจ้าหนี้
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยทั้งสอง เป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ โดยกระทำเพื่อ
ไม่ให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย
ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่น และจำเลยทั้งสองไม่ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
171
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คดีนี้โจทก์ทราบเหตุเมื่อวันที่..........

• คดีทำให้เสียทรัพย์
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยเจตนาทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้
ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของโจทก์ อันเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
คดีนี้โจทก์ทราบเหตุเมื่อวันที่..........

• คดีลักทรัพย์หรือรับของโจร
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต หรือจำเลยมีเจตนาช่วยซ่อนเร้น
ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการอื่นใด ซึ่งรถยนต์คันดังกล่าวของโจทก์ โดย
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

4. บรรยายสถานที่เกิดเหตุ
เหตุเกิดที่ แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร
เหตุเกิดที่ ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
เหตุเกิดที่ ตำบลด่านช้าง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
เหตุลักทรัพย์ตามฟ้องข้อ 2. เกิดที่แขวงสีลม เขตสีลม กรุงเทพฯ เหตุรับของโจรตามข้อ 3. เกิดที่แขวง
สีลม เขตสีลม กรุงเทพฯ และแขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน
เหตุตามฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 เกิดที่ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ส่วนเหตุตามข้อ 2.3 เกิดขึ้น
ทีแ่ ขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันและต่อเนื่องกัน

5. บรรยายเรื่องการร้องทุกข์
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้ เพราะประสงค์จะดำเนินกับจำเลยทั้งสอง
ด้วยตนเอง หรือ
ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้แจ้งความร้องทุ กข์ต่อเพนักงานสอบสวนไว้แล้วตามบันทึกประจำวันข้อ4. ลง
วันที่ 1 เมษายน 2562 แต่โจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีเอง

6.*เมื่อบรรยายฟ้องจบแล้ว ให้เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง **ไม่ต้องไปลงชื่อโจทก์


ผู้เรียงและเขียนอีก**
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ตัวอย่าง
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้ เพราะโจทก์ประสงค์จะดำเนินกับจำเลยทั้ง
สองด้วยตนเอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
172
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนคำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา
➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์ คำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา** อย่าไปหยิบแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องคดี
แพ่ง
➢ คำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา ในช่องย่อหน้าแรกให้เขียน
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 , 365(3)
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 และมาตรา 83
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
เช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 , 335 และมาตรา 357
➢ ถ้าร่วมกันกระทำความผิด อย่าลืมใส่มาตรา 83 , ถ้าบรรยายความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมาย
หลายบท อย่าลืมใส่มาตรา 90 , ถ้าบรรยายความผิดหลายกรรมต่างกัน อย่าลืมใส่มาตรา 91
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และมาตรา 83
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มาตรา 268 และมาตรา 91
เช่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และประมวล
กฎหมายอาญามาตรา 83
➢ ย่อหน้าที่สอง ให้เขียนว่า นัด ไต่สวนมูลฟ้องและ
➢ ในช่องยื่นสำเนาคำฟ้องฯมาด้วย ให้เขียนตามจำนวนจำเลยที่โจทก์ฟ้อง.........ฉบับ
➢ ในช่องลงชื่อโจทก์ ต้องให้โจทก์ หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เท่านั้นที่มีสิทธิลงชื่อได้ ทนายความไม่
มีอำนาจลงชื่อโจทก์ และถ้าโจทก์เป็นนิติบุคคลอย่าลืม เขียนกรอบสี่เหลี่ยมและเขียนว่า ตรา
ประทับ
➢ ด้านหลังคำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา ให้กรอกข้อมูลทนายความให้ครบ พร้อมกับลงชื่อทนายความ

(๖)
คำขอท้ายคำฟ้องอาญา

การที่จำเลยได้กระทำตามข้อความที่กล่าวมาในคำฟ้องนั้น ข้าพเจ้าถือว่าเป็นความผิดต่อ
กฎหมาย และบทมาตราดังนี้ คือ .......ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และมาตรา 83..................

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
173
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
…………………………………………………………………………………………………………………………….…………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………..………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………..……….
ไต่สวนมูลฟ้องและ
ขอให้ศาลออกหมาย ...........….นัด............................. จำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษ
ตามกฎหมาย และขอให้ศาลสั่งและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
๑. ...................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

๒. .......................................................................................................................... .........

..............................................................................................................................................................

๓. .......................................................................................................................... .........

..............................................................................................................................................................

๔. ........................................................................................................................ ...........

..............................................................................................................................................................

..............................................................................................................................................................

ข้ า พเจ้ า ได้ ยื่ น สำเนาคำฟ้ อ งโดยข้ อ ความถู ก ต้ อ งเป็ น อย่ า งเดี ย วกั น มาด้ ว ย ...สาม... ฉบับ
และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว บริ ษั ท ร่ ำ รวย จำกั ด
ตราประทับ ..........รวย มั่งมี.......................... โจทก์
(นายรวย มั่งมี) (พลิก)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
174
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ด้านหลังคำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา
คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า .....นายชอบ ยุติธรรม...................................................................................

ทนายความใบอนุญาตที่.....1234/2550..... อยู่บ้านเลขที่......456..... หมู่ที่....-..... ถนน.....-.....................


ตรอก/ซอย........-.................................................. ตำบล/แขวง........หนองบอน........................................
อำเภอ/เขต.......ประเวศ.............. จังหวัด...กรุงเทพมหานคร............รหัสไปรษณีย์....10250....................
โทรศัพท์...........-..........................................................โทรสาร............-.....................................................
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์..........................................................เป็นผู้เรียง และพิมพ์

..................ชอบ ยุติธรรม................ผู้เรียง และพิมพ์


(นายชอบ ยุติธรรม)

คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า ......................................................................................................
อยู่บ้านเลขที่...................................... หมู่ที่................... ถนน.............................ตรอก/ซอย............................
ตำบล/แขวง..........................................อำเภอ/เขต................................... จังหวัด.......................................
รหัสไปรษณีย์......................โทรศัพท์................................................................... เป็นผู้เขียนหรือพิมพ์

............................................................................ ผู้เขียนหรือพิมพ์

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
175
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำฟ้องคดีอาญา(พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค)
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด โดยนายร่ำรวย มั่งคั่ง กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจนเหลือทน ที่ 1, นายลำบาก เหลือทน ที่ 2 จำเลย
ข้อ 1.โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ กรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการค้าขายทุกประเภท มีนายร่ำรวย มั่งคั่ง เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่าย
หนังสือรับรองนิติบุคคล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กรมพัฒนาธุรกิจ
การค้ากระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างทุกชนิด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีอำนาจ
กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 กระทำการแทนจำเลยที่
1 ได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองนิติบุคคล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คของธนาคารกรุงเทพไทย สาขาประเวศ เลขที่ 12345678 ลงวั นที่ 4
มกราคม 2560 สั่งจ่ายเงินจำนวน 20,000,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายพร้อม
ประทับ ตราของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าเสียหายทั้งหมดตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง
หมายเลขคดีดำที่ 9876/2559 ของศาลแพ่งพระโขนง ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้ ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ต าม
กฎหมาย โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย รายละเอียดดังปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายสัญญา
ประนีประนอมยอมความ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3
ข้อ 3. เมื่อเช็คตามฟ้องข้อ 2. ถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ที่ธนาคาร
สยามไทย สาขาบางจาก เพื่อเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ตามวิธีการของธนาคาร ปรากฏว่าในธนาคาร
ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น โดยให้เหตุผลว่า “ปิดบัญชีแล้ว” เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 พร้อมส่ง
มอบเช็คและใบคืนเช็คให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะยังไม่ได้
รับเงินตามเช็ค รายละเอียดดังปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและใบคืนเช็ค เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 4-5
ตามลำดับ
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม
กฎหมาย โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น หรือในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้
ใช้เงินได้ หรือให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ได้ในขณะออกเช็คนั้น หรือถอน
เงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงิน
ตามเช็คนั้นได้ หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย
เหตุคดีนี้เกิดที่ ธนาคารกรุงเทพไทย สาขาประเวศ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
176
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จำดำเนินคดีเอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้อง
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 83

ตัวอย่างคำฟ้องคดีอาญา(ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม)
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด (มหาชน) โดยนายร่ำรวย มั่งคั่ง กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
นายลำบาก เหลือทน จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีนายร่ำรวย เงินทอง เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญ ของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ได้ โจทก์ประกอบกิจการให้กู้ยื มเงิน
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
ข้อ 2. จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย ต่างกรรมต่างวาระกัน กล่าวคือ ระหว่างวันที่
2 สิงหาคม 2545 จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2545 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อ
กฎหมาย ดังนี้
2.1 จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ บริษัท ยากจนเหลือทน จำกัด ได้เจตนาทำรายงานการประชุม
คณะกรรมการ บริ ษ ั ท ยากจนเหลื อ ทน จำกั ด อั น เป็ น เท็ จ เพื ่ อ ขอกู ้ ย ื ม เงิ น จากโจทก์ เป็ น เงิ น จำนวน
90,000,000 บาท (เก้าสิบล้านบาทถ้วน) โดยเสนอโครงการขยายกิจการเพื่อ ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเสนอต่อโจทก์
โดยความจริงแล้วคณะกรรมการของบริษัท ยากจนเหลือทน จำกัด ไม่ได้มีการประชุมกันจริงดังเช่นที่จำเลย
อ้างการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
2.2 จำเลยได้จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ว่าผู้ถือหุ้นบริษัท
ยากจนเหลือทน จำกัด ได้ประชุมและอนุมัติให้ กรรมการของบริษัท ยากจนเหลือทน จำกัด เข้าทำสัญญากู้เงิน
จำนวน 90,000,000 บาท (เก้าสิบล้านบาทถ้วน) จากโจทก์ ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ถือหุ้นของ บริษัท ยากจน
เหลือทน จำกัด ไม่ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 ดังเช่นที่จำเลยอ้าง การกระทำของ
จำเลยทำให้ได้รับความเสียหาย
2.3 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2545 จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ จำเลยได้นำเอา
รายงานการประชุมคณะกรรมการ ฉบับลงวันที่ 2 สิงหาคม 2545 และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ฉบับลง
วันที่ 20 สิงหาคม 2545 ที่จำเลยทำปลอมขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ขอกู้ยืมเงินจากโจทก์ ทำให้โจทก์หลงเชื่อและ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
177
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
อนุมัติให้ บริษัท ยากจนเหลือทน จำกัด กู้ยืมเงินไปจำนวน 90,000,000 บาท (เก้าสิบล้านบาทถ้วน) การ
กระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
การกระทำของจำเลยเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่
ผู้อื่นหรือประชาชน และทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และจำเลยได้ใช้หรืออ้างเอกสารปลอมต่อ
โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เหตุตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 เกิดขึ้นที่แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ส่วนเหตุตามข้อ
2.3 เกิดขึ้นที่แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันและต่อเนื่องกัน
โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพราะประสงค์ที่จะดำเนินคดีเอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้องคดีอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 มาตรา 268 และมาตรา 91

ตัวอย่างคำฟ้องคดีอาญา(ฉ้อโกง)
บริษัท ร่ำรวยเงินทอง จำกัด(มหาชน) โดยนายร่ำรวย มั่งคั่ง กรรมการผู้มีอำนาจ โจทก์
นายลำบาก เหลือทน จำเลย
ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีนายร่ำรวย มั่งคั่ง
เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญ ของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ได้ โจทก์ประกอบ
กิ จ การค้ า ขาย รายละเอี ย ดปรากฏตามสำเนาหนั ง สื อ รั บ รองของสำนั ก งานทะเบี ย นหุ ้ น ส่ ว นบริ ษั ท
กรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
ข้อ 2. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 เวลากลางวัน จำเลยนี้ได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย
กล่าวคือ จำเลยบังอาจหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้
แจ้ง โดยจำเลยได้นำเช็คธนาคารสยามไทย จำกัด (มหาชน) สาขาประเวศ เลขที่ 87654321 ลงวันที่ 19
กุมภาพันธ์ 2562 สั่งจ่ายเงินจำนวน 900,000.- บาท ลงลายมือชื่อของจำเลยต่อหน้านายร่ำรวย มั่งคั่ง
กรรมการโจทก์ โดยหลอกลวงโจทก์ว่าเป็ นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ยากจน มีเงินในบัญชีแน่นอนตามเช็ค
และมอบชำระเป็นค่าซื้อรถยนต์ ยี่ห้อบีเอ็มดับบิว รุ่น 320I 4 ประตู สีขาว หมายเลขทะเบียน กข 2525
กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นเช็คที่แท้จริงของจำเลย โจทก์ได้มอบรถยนต์และ
โอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่จำเลย เรียบร้อยแล้ว
ครั้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 โจทก์ได้นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคาร กรุงเทพไทย จำกัด
(มหาชน) สาขาประเวศ เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ปรากฏว่าธนาคารได้คืนเช็คให้แก่โจทก์โดยแจ้งว่า “ลายมือ
ชื่อของผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของเจ้าของบัญชี” เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์สอบถามธนาคารทราบ

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
178
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ว่า เช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คของนายโชค ไม่ดี ซึ่งได้ทำสมุดเช็คหายไป ความละเอียดปรากฏตามเช็ค , ใบคืน
เช็ค และคำขอเปิดบัญชีของนายโชค ไม่ดี เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ถึง 4
ข้อ 3. การกระทำของจำเลยเป็นการเจตนาหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอั นเป็นเท็จและ
ปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งรถยนต์ของโจทก์ อันเป็นการกระทำที่ผิดต่อ
กฎหมายและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เหตุเกิดที่ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยด้วยตนเอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้องคดีอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
179
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
คำให้การจำเลยในคดีอาญา
1 ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
2 รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา
3 รับสารภาพบางข้อหา และปฏิเสธบางข้อหา

ตัวอย่างคำให้การจำเลยในคดีอาญา

สำหรับศาลใช้
(๑๑)
คำให้การจำเลย
คดีหมายเลขดำที่ ........3456........ /๒๕..62....

ศาล......อาญากรุงเทพใต้...............................................
วันที่....14.....เดือน......ธันวาคม.........พุทธศักราช ๒๕...62.....
ความ.....อาญา................................................................

นางรวย มั่งมี โจทก์


ระหว่าง
นางสอง ใจร้าย จำเลย

ข้าพเจ้า.....นางสอง ใจร้าย...........................................................................................................จำเลย
เลขประจำตัวประชาชน ---- (กรอกให้ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย....สัญชาติ.....ไทย........อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่......-.......เดือน......-.....พ.ศ............-........
อายุ....32...ปี อยู่บ้านเลขที่........25..........หมู่ที่......-.........ถนน.......สวนพลู...................ตรอก/ซอย........-..........
ตำบล/แขวง...........ทุ่งมหาเมฆ.........อำเภอ/เขต........ยานนาวา..............จังหวัด.........กรุงเทพมหานคร.............
รหัสไปรษณีย์.......10120.......โทรศัพท์.............-........โทรสาร.........-.........ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........-............
ได้ทราบคำฟ้องตลอดแล้ว ขอให้การตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
180
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 1. .คดีนี้ จำเลยทราบคำฟ้องของโจทก์แล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลได้โปรดพิจารณาและพิพากษายกฟ้องและปล่อยตัว
จำเลยให้พ้นข้อหาด้วย ขอศาลได้โปรดอนุญาต...................................................................................................

..................................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด...................................................

.......................................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย.............................

.........................................คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน..........

........................................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน...............................

หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

...................ชอบ ยุติธรรม............... จำเลย


(นายชอบ ยุติธรรม)

ตัวอย่างคำให้การจำเลยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ข้อ 1. คดีนี้ จำเลยทราบคำฟ้องของโจทก์แล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เนื่องจาก
จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลได้โปรดพิพากษายกฟ้องและปล่อยตัวจำเลยให้พ้นข้อหาด้วย
ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ จำเลย
คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายไม่ชอบ ยุติธรรม ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
181
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำให้การจำเลยรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา
ข้อ 1. จำเลยขอให้การรับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลย
สถานเบา จักเป็นพระคุณต่อจำเลยและครอบครัวอย่างหาที่สุดมิได้ ขอศาลได้โปรดอนุญาต
หรือ ข้อ 1.จำเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น
อนึ่ง จำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ที่โจทก์ขอให้บวก/เพิ่มโทษ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่
111/2562 ของศาลนี้ ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยสถานเบา จักเป็นพระคุณต่อจำเลยและครอบครัวอย่างหา
ที่สุดมิได้ ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ จำเลย
คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายไม่ชอบ ยุติธรรม ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำให้การจำเลยรับสารภาพบางข้อหา และปฏิเสธบางข้อหา
ข้อ 1. จำเลยขอให้การรับสารในข้อหาความผิดฐาน......ส่วนข้ อหาความผิดฐาน......จำเลยขอให้การ
ปฏิเสธ เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องในข้อหานี้ ขอให้ศาลได้โปรดพิพากษายกฟ้องและปล่อย
ตัวจำเลยให้พ้นข้อหาด้วย ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ จำเลย
คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายไม่ชอบ ยุติธรรม ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
182
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
หลักการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง
คำร้อง คือ คำคู่ความซึ่งได้ยื่นเสนอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีคำสั่งแต่งตั้ง หรือขอให้
คุ้มครองสิทธิ หรือเพื่อให้รับรองสิทธิใดๆ และกฎหมายบัญญัติให้คำเป็นคำร้องเป็นการตั้งประเด็นระหว่าง
คู่ความ(ต่างกับคำร้องฝ่ายเดียว)(เป็นการกระทบอีกฝ่ายเพื่อโต้แย้งได้ จะต้องมีสำเนาคำร้องให้คู่ความอีกฝ่าย )
คำขอ คือ คำเสนอต่อศาลที่กฎหมายบัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ยื่นต่อศาล เป็นการขอเพื่อให้ศาลสั่ง
อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ขอ ซึ่งไม่เกี่ยวกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง (ไม่ต้องมีสำเนาให้คู่ความอีก
ฝ่าย)
คำแถลง คือ คำแถลงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้แถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลทราบ หรือเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง
อนุญาต เป็นการบอกกล่าวให้ศาลทราบเกี่ยวกับคดี ซึ่งไม่เกี่ยวกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง (ไม่ต้องมีสำเนาให้
คู่ความอีกฝ่าย)

หลักการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง


➢ อย่าลืมหยิบแบบพิมพ์คำร้อง
➢ เขียนเรื่องที่ต้องการ...... ต่อจากคำว่า คำร้อง/คำแถลง/คำขอ ที่มุมซ้ายบนของแบบพิมพ์คำร้อง
และอย่าลืมขีด ทั้ง 3 จุด บน กลาง ล่าง ด้านหน้าคำร้อง
➢ คำร้อง/คำแถลง/คำขอ ถ้าศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งหรือจำหน่ายคดี ยังไม่ต้องใส่เลข
คดีแดง
➢ ถ้าเขียนไม่พอให้ใช้แบบพิมพ์ 40ก. และอย่าลืมเขียนเลขหน้าบนหัวกระดาษ เช่น -3- หรือ -4-
➢ กรอกเลขคดี ชื่อศาล วัน เดือน ปี ความแพ่งหรืออาญา ชื่อคู่ความ ข้อมูลส่วนตัวของโจทก์หรือ
จำเลย ให้ครบถ้วน ลงชื่อผู้ร้อง ผู้ขอ ผู้แถลง หรือทนายผู้ร้อง ผู้ขอ ผู้แถลง มุมขวาล่าง
➢ สรรพนามที่ใช้แทนคู่ความ ได้แก่ ผู้ร้อง ผู้ขอ ผู้แถลง อย่าบรรยายโดยการระบุชื่อตัวบุคคลในคำ
ร้อง
➢ อย่าลืมอ้างเอกสารท้ายคำร้องคำแถลง/คำขอ
➢ ท่อนจบ ให้เขียน ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด และลงชื่อทนายความโจทก์หรือทนายความจำเลย
พร้อมกับเขียนผู้เรียงและเขียน และลงชื่อเรียงและเขียนให้เรียบร้อย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
183
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

(๗)
คำร้อง / คำแถลง / คำขอ
คดีหมายเลขดำที่ .....1234... /๒๕...60....
ขอออกหมายบังคับคดี
คดีหมายเลขแดง................... /๒๕............
ศาล ........แพ่ง......................................................
วันที่...1...เดือน.......ตุลาคม........... พุทธศักราช ๒๕...60...
ความ .....แพ่ง...............

นางรวย มั่งมี โจทก์


ระหว่าง
นางสอง ใจร้าย จำเลย

ข้าพเจ้า.....นางรวย มัง่ มี.........................................................................................โจทก์........................


เลขประจำตัวประชาชน ---- (กรอกให้ครบถ้วน)
เชื้อชาติ.....ไทย....สัญชาติ.....ไทย........อาชีพ.......รับจ้าง..........เกิดวันที่......-.......เดือน......-.....พ.ศ............-........
อายุ....55...ปี อยู่บ้านเลขที่........25..........หมู่ที่......-.........ถนน.......สวนพลู...................ตรอก/ซอย........-..........
ตำบล/แขวง...........ทุ่งมหาเมฆ.........อำเภอ/เขต........ยานนาวา..............จังหวัด.........กรุงเทพมหานคร.............
รหัสไปรษณีย์.......10120.......โทรศัพท์.............-........โทรสาร.........-.........ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........-............
ขอยื่นคำร้อง ขอ / คำแถลง / คำขอ มีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
ข้อ 1. คดีอยู่ระหว่างอะไร (ขณะที่ยื่น)....................................................................................
............................ข้อ 2.เหตุแห่งการยื่น หรือข้ออ้างที่ต้องยื่น............................................................................
............................ข้อ 3.ขออนุญาตอะไร หรือ ต้องการให้ศาลสั่งอะไร...............................................................

หมายเหตุ ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว

...................ชอบ ยุติธรรม...............ผูร้ ้อง / ผู้แถลง / ผู้ขอ


(นายชอบ ยุติธรรม)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
184
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ด้านหลังคำร้อง

-2-

...................................................................................ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด...................................................

.......................................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์.............................

..............................................คำขอฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน..........


........................................................................ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน...............................

.............................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................................

1.คดีอยู่ระหว่างอะไร (ขณะที่ยื่น)
ข้อ 1. คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันนี้ รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 1. คดีนี้ ศาลได้โปรดนัดสืบพยานโจทก์ และจำเลยในวันที่ 1 มีนาคม 2560 ดังความที่แจ้งอยู่ใน
สำนวนคดีแล้วนั้น
ข้อ 1. คดีนศี้ าลได้โปรดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 โดยพิพากษาว่า............... รายละเอียด
ดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น

2.เหตุแห่งการยื่นหรือข้ออ้างที่ต้องยื่น
• คำแถลงขอปิดหมาย
ข้อ 2. โจทก์ขอกราบเรียนยืนยันต่อศาลว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ตามคำฟ้องของโจทก์จริง
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนราษฎร เอกสารท้ายคำร้อง
• คำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณา
ข้อ 2. เนื่องจากโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามสามารถตกลงกันได้ โดยได้ทำสัญญาประนีประนอม
ยอมความต่อกัน รายละเอียดปรากฎตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ยื่นมาพร้อมคำแถลงนี้ และคู่ความ
ได้มาพร้อมกันที่ศาลในวันนี้แล้ว

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
185
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
• คำขอออกหมายบังคับคดี
ข้อ 2. จำเลยได้ทราบคำบังคับของศาลแล้ว บัดนี้ครบกำหนดระยะเวลาตามคำบังคับแล้ว แต่จำเลยยัง
ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด
• คำร้องขอเลื่อนคดี
ข้อ 2. เนื่องจากทนายความโจทก์ มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง และอ่อนเพลีย แพทย์ลงความเห็นว่า
กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ รายละเอียดปรากฏตามใบรับรองแพทย์ เอกสารท้ายคำร้องฉบับนี้

3.ขออนุญาตอะไร หรือ ต้องการให้ศาลสั่งอะไร


• คำแถลงขอปิดหมาย
ฉะนั้น ในการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น หากส่งไม่ได้เพราะเหตุไม่พบ
ตัว หรือพบแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรับ หรือไม่มีบุคคลใดยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้แทนโดยชอบ
หรือไม่ว่าด้วยกรณีใดๆก็ตาม ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานนำส่งหมายปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
ไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามคำฟ้องของโจทก์ด้วย โดยโจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมไว้เรียบร้อยแล้ว ขอ
ศาลได้โปรดอนุญาต
• คำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณา
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสาม จึงกราบเรียนต่อศาลที่เคารพได้โปรดออกนั่งพิจารณาและมี คำ
พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในวันนี้ด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรด
อนุญาต
• คำขอออกหมายบังคับคดี
โจทก์จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการยึดและ
อายัดทรัพย์ส ิน ของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แ ก่โ จทก์ตามคำพิ พากษาต่อ ไป เพื่อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
• คำร้องขอเลื่อนคดี
ดังนั้น ทนายความโจทก์จึงไม่สามารถมาศาลเพื่อทำหน้าที่ได้ จึงมีความประสงค์ขอศาลได้โปรดเลื่อน
การพิจารณาคดีนี้ออกไปสักนัดหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ท่อนจบ ให้เขียนคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ไว้ตรงกลาง และลงชื่อทนายความโจทก์หรือทนายความ


จำเลย พร้อมกับเขียนผู้เรียงและเขียน และลงชื่อเรียงและเขียนให้เรียบร้อย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
186
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่าง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำ........ฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำขอออกหมายบังคับคดี
ข้ อ 1. คดี น ี ้ ศ าลได้ โ ปรดมี ค ำพิ พ ากษาเมื ่ อ วั น ที่ 17 มี น าคม 2562 โดยพิ พ ากษาว่ า ...............
รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. จำเลยได้ทราบคำบังคับของศาลแล้ว บัดนี้ครบกำหนดระยะเวลาตามคำบังคับแล้ว แต่จำเลยยัง
ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด
ดังนั้น โจทก์จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการ
ยึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาต่อไป เพื่อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำขอฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำแถลงขอปิดหมายและส่งหมายข้ามเขต
ข้อ1. คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันนี้ รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. โจทก์ขอกราบเรียนยืนยันต่อศาลว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ตามคำฟ้องของโจทก์จริง
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนราษฎร เอกสารท้ายคำร้อง
ฉะนั้น ในการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น หากส่งไม่ได้เพราะเหตุไม่พบ
ตัว หรือพบแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรับ หรือไม่มีบุคคลใดยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้แทนโดยชอบ
หรือไม่ว่าด้วยกรณีใดๆก็ตาม ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานนำส่งหมายปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของ
จำเลยทั้งสองตามคำฟ้องของโจทก์ด้วย
อนึ่ง เนื่องจากจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรี ฉะนั้น ขอศาลได้โปรดมี
หนังสือถึงศาลจังหวัดชลบุรี เพื่อให้ศาลจังหวัดชลบุรี สลักหลังหมายแล้วจัดส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แทนด้วย พร้อม
กันนีโ้ จทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
187
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์
ข้อ 1. คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลในวันนี้ รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. เนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาเป็นที่แน่นอนตรงตามคำฟ้องของโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามตาม
สำเนาทะเบียนราษฎร์ของจำเลย เอกสารแนบท้ายคำแถลง
ดังนั้น โจทก์จึงกราบเรียนต่อศาลที่เคารพ ได้โปรดมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่
จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แทนการส่งหมายด้วยวิธีธรรมดา เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำแถลงขออ้างสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแทนการส่งเอกสาร
ข้อ1. คดีนี้ศาลได้โปรดนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน ในวันที่....... รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ใน
สำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. โจทก์แนบเอกสารที่ประสงค์จะสืบพยานไว้ตามเอกสารท้ายคำฟ้องแล้ว เนื่องจากโจทก์จะต้อง
ส่งสำเนาเอกสารตามคำฟ้องของโจทก์ต่อศาลและให้แก่จำเลยตรวจสอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งมาตรา 90
ดังนั้น โจทก์จึงขอความกรุณาต่อศาลที่เคารพ ขอถือเอาสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องทั้ง หมดของโจทก์
เป็นสำเนาเอกสารที่โจทก์ได้ส่งต่อศาลและให้แก่จำเลยตรวจสอบแล้วตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
188
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างคำร้องขอเลื่อนคดี
ข้อ 1. คดีนี้ศาลได้โปรดนัดสืบพยานโจทก์ในวันนี้ รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. เนื่องจากทนายความโจทก์ มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง และอ่อนเพลีย แพทย์ลงความเห็นว่า
กระเปาะลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ รายละเอียดปรากฏตามใบรับรองแพทย์ เอกสารท้ายคำร้องฉบับนี้
ดังนั้น ทนายความโจทก์จึงไม่สามารถมาศาลเพื่อทำหน้าที่ได้ จึงมีความประสงค์ขอศาลได้โปรดเลื่อนการ
พิจารณาคดีนี้ออกไปสักนัดหนึ่ง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำแถลงขอให้วางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่ม
ข้อ 1. คดีนี้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 รายละเอียดดังที่ปรากฎในสำนวน
แล้วนั้น
ข้อ 2. เนื่องจากคดีนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โฉนดเลขที่ 99999 เลขที่ดิน 999 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่รวม 50 ตารางวา โดย
การครอบครองปรปักษ์ และผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องคัดค้าน จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งต้องคำนวณราคาที่ดินใน
ปัจจุบันซึ่งมีราคา 5 ล้านบาท โดยถือเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาท
ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้ผู้ ร้องวางเงินค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามระเบียบ
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
189
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างคำแถลงขอประกาศหนังสือพิมพ์
ข้อ 1. คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ในที่ดินต่อศาลในวันนี้
ข้อ 2. แต่เนื่องจากผู้ร้องได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบที่อยู่ของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินจาก
สำนักงานทะเบียนราษฎร์ ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถจะยืนยันภูมิลำเนาของผู้มีชื่อในโฉนดได้ ผู้ร้องจึงไม่สามารถส่ง
หมายแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้องให้แก่ผู้มีชื่อในโฉนดได้
ดังนั้น ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดไต่สวนคำร้องทางหนังสือพิมพ์แทนการส่ง
หมายให้แก่นายโชค ไม่ดี ด้วย โดยผู้ร้องยินดีเสียค่าประกาศหนังสือพิมพ์ตามระเบียบ เพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณา
ข้อ 1. คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 ตุลาคม 2562 ดังความที่ปรากฎในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. เนื่องจากโจทก์และจำเลยทั้งสามสามารถตกลงกันได้ โดยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ต่อกัน รายละเอียดปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ยื่นมาพร้อมคำแถลงนี้ และคู่ความได้มาพร้อม
กันที่ศาลในวันนี้แล้ว
ดังนั้น โจทก์และจำเลยทั้งสาม จึงกราบเรียนต่อศาลที่เคารพ ได้โปรดออกนั่งพิจารณาและมี คำ
พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในวันนี้ด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรด
อนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำแถลงฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
190
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
ข้อ 1. คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันนี้ ดังความที่ปรากฎในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. โจทก์ขอประทานกราบเรียนต่อศาลว่า โจทก์เป็นคนยากจนและไม่มีรายได้เพียงพอที่จะเสีย
ค่าธรรมเนียมศาลได้ เนื่องจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส พิการเดินไม่ได้
และคนในครอบครัวก็เสียชีวิตหมดจากอุบัติเหตุดังกล่าว ปัจจุบันโจทก์ประกอบอาชีพขายพวงมาลัย มีรายได้
หลังจากหักต้นทุนเดือนละ 3,000 บาท ไม่เพียงพอแก่การใช้จ่าย รายได้ส่วนใหญ่ใช้เป็นค่าอาหาร ค่าเช่า
หอพัก ไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาชำระค่าธรรมเนียมศาล อีกทั้งไม่อาจหยิบยืมจากญาติและบุคคลอื่นได้ หาก
ไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล โจทก์ก็จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร
ดังนั้น อาศัยเหตุผลดังที่โจทก์ได้ประทานกราบเรียนศาลมาข้างต้น ขอศาลที่เคารพได้โปรดพิจารณา
และมีคำสั่งให้โจทก์ฟ้องคดีโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาลทั้งหมดด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา
ข้อ 1. คดีนี้ อยู่ระหว่างการส่งหมายและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย ดังความที่ปรากฎในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยสามารถตกลงกันได้ โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลย
ต่อไป
ดังนั้น โจทก์จึงขอความกรุณาต่อศาล ขอถอนฟ้องคดีนี้ออกจากสารบบความ เพื่อประโยชน์แห่งความ
ยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
191
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีอาญา
ข้อ 1. คดีนี้ศาลนัดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 กันยายน 2562 ดังความที่ปรากฎในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ 2. ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายเนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพย์ในดีนี้
ดังนั้น ผู้ร้องประสงค์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ และขอถือเอาคำฟ้อง และ
พยานหลักฐานทั้งปวงของโจทก์ในคดีนี้เป็นของผู้ร้องด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรด
อนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด
ข้อ1. คดีนี้ศาลได้โปรดนัดชี้สองสถาน ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ใน
สำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. โจทก์นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมาย เมื่อ
วันที่......ครบกำหนดระยะเวลาที่จำเลยต้องยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่.......แต่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อศาล
ภายในกำหนด จึงถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
ดังนั้น โจทก์จึงขอศาลได้โปรดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดด้วย
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
192
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย
ข้อ1. คดีนี้ศาลได้โปรดนัดชี้สองสถาน ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 รายละเอียดดังที่ปรากฎอยู่ใน
สำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. จากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย จึงมีประเด็นข้อพิพาทในคดีว่า คดีโจทก์ขาดอายุ
ความหรือไม่ และมีข้อเท็จจริงซึ่งรับกันและฟังได้เป็นยุติว่า..............ข้อเท็จจริงที่รับกันดังกล่าวเพียงพอที่จะ
วินิจฉัยในประเด็นคดีว่าฟ้องคดีของโจทก์ขาดอายุความตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย
และเป็นประเด็นสำคัญในคดี ซึ่งหากศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องของโจทก์ขาด
อายุความและพิพากษายกฟ้องโจทก์จะเป็นคุณแก่จำเลย และจะทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องพิจารณา
คดีนี้อีกต่อไป
ดังนั้น จำเลยจึงกราบเรียนต่อศาล เพื่อขอศาลได้ โปรดมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ
กฎหมายดังกล่าว ก่อนดำเนินการพิจารณาคดีนี้ด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความจำเลย เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
ข้อ1. คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในวันนี้ ในข้อหา...........(อธิบายคำฟ้องโดยละเอียด) รายละเอียดดังที่
ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย............ซึ่งหากปล่อยให้จำเลยกระทำละเมิด
โดยการ............จะทำให้ธุรกิจของโจทก์ได้รับความเสียหายทุกวัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำซ้ำ
หรือกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อไป ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้โจทก์ต้องเสียหายเพิ่มขึ้นจนยากแก่การเยียวยาแก้ไข
ดังนั้น โจทก์จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน.......หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้โจทก์เป็นผู้
รื้อถอน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย เพื่อคุ้มครองสิทธิและบรรเทาความเสียหายแก่โจทก์เป็นการชั่วคราว
จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ทั้งนี้ โจทก์ขอยืนยันว่าคดีของโจทก์มีมูลและมีพยานหลักฐานเพียงพอตามคำฟ้องที่จะชนะคดีและ
ขอให้ศาลได้โปรดมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
193
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
ข้อ1. คดีนี้ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และ
ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนในวันนี้ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาคำร้องขอถอด
ถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ข้อ2. เนื่องจากผู้คัดค้านสืบทราบมาว่าในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ผู้ร้องได้นัดทำสัญญาซือ้ ขายที่ดิน
พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 123 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นโฉนดทีด่ ินเลขที่ 11111
เลขที่ดิน 22 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกกับบุคคลภายนอก ที่สำนักงาน
ที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร โดยที่ผู้ร้องทราบดีว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
ตามกฏหมาย
การกระทำของผู้ร้องดังกล่าวนี้ ผู้ร้องตั้งใจที่จะทำการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์มรดกอื่น
ทั้งหมด ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านและทายาทโดยธรรมอย่างร้ายแรง
ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงขอประทานกราบเรียนต่อศาลที่เคารพ ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดิน
กรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร ระงับการทำนิติกรรมและการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนวน
2 แปลงดังต่อไปนี้ คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 11111 เลขที่ดิน 22 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 123 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และโฉนดที่ดินเลขที่ 22222 เลขที่
ดิน 33 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และระงับการทำธุรกรรมทางการเงิน บัญชีออมทรัพย์
ธนาคารสยามไทย สาขารัชดาภิเษก เลขที่บัญชี 1234567890 ของนายรวย มั่งมี ผู้ตายเจ้ามรดก ไว้ชั่วคราว
จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ คัดค้านและเพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน เพื่อ
ประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้คัดค้าน เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
194
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ตัวอย่างคำร้องขอในเหตุฉุกเฉิน
ข้อ1. คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งห้าม จำหน่าย จ่าย โอน ที่ดิน
โฉนดเลขที่.........พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่........และห้ามเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวตามคำร้องที่ยื่นต่อศาล รายละเอียดดังที่
ปรากฎอยู่ในสำนวนแล้วนั้น
ข้อ2. เนื่องจากปรากฏว่ าจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อ 1. กับ
บุคคลภายนอกและกำหนดนัดจะไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันในวันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับวันที่......
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย เอกสารที่แนบมาท้ายคำร้อง ซึ่งหากจำเลยจดทะเบียนโอน
ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จะได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เนื่องจาก
หากโจทก์ชนะคดี จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับคดีได้อีก
ดังนั้น โจทก์จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งไต่สวนโดยฉุกเฉิน เพื่อมีคำสั่งตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของ
โจทก์เป็นการด่วนต่อไป เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอรวมคดี
ข้อ 1. คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลในวันนี้
ข้อ 2. เนื่องจากคดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามกรณีละเมิดทำให้รถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับบริษัท
ประกันภัยโชคดี จำกัด (มหาชน) สูญหาย โดยเรียกให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระราคารถยนต์ใน
ส่วนที่ขาดจากค่าสินไหมทดแทนซึ่งโจทก์ได้รับจากบริษัทประกันภัยดังกล่าวไว้แล้ว
และเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2562 บริษัท ประกันภัยโชคดี จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่โ จทก์ และเข้ารับ ช่ว งสิทธิของโจทก์มายื่นฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลนี้ เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่
12345/2562 ในกรณีที่ละเมิดครั้งเดียวกันกับในคดีนี้ เรียกให้ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่ าสินไหมทดแทนที่
ชำระให้แก่โจทก์ดังกล่าวคืนให้แก่ บริษัท ประกันภัยโชคดี จำกัด (มหาชน)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
195
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ข้อ 3. เนื่องจากมูลเหตุในคดีนี้และคดีดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสามในครั้ง
เดียวกัน มีจำเลยทั้งสามในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นจำเลยคนเดียวกัน ประกอบกับพยานในคดีนี้และคดี
หมายเลขดำที่ 12345/2562 เป็นพยานชุดเดียวกันเกือบทั้งหมด ซึ่งหากได้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้า
ด้วยกันแล้วจะเป็นการสะดวก
ดังนั้น โจทก์จึงกราบเรียนต่อศาลที่เคารพ ได้โปรดมีคำสั่งให้นำสำนวนคดีนี้ไปรวมพิจารณากับสำนวน
คดีหมายเลขดำที่ 12345/2562 ด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ข้อ 1. คดีนี้ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนด
นัด
ข้อ 2. โจทก์ขอกราบเรียนต่อศาลที่เคารพว่าในคืนวันที่ 30 กันยายน 2562 ทนายความโจทก์ซึ่งเป็น
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ประสบอุบัติเหตุรถชน จนสลบได้รับอันตรายสาหัสต้องเข้ารับการผ่าตัดขาเป็นการด่วน
เป็นเหตุให้ทนายความโจทก์ไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดได้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบรั บรองแพทย์
แนบท้ายคำร้องฉบับนี้ ซึ่งเป็นกรณีมีเหตุอันจำเป็นและสมควรที่โจทก์ไม่อาจมาศาลได้
ดังนั้น อาศัยเหตุดังกล่าวข้างต้น ขอศาลที่เคารพได้โปรดพิจารณาและยกคดีนี้ขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
196
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ตัวอย่างคำร้องขอคืนของกลาง
ข้อ 1. คดีจำเลยได้ขับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 กก9999 กรุงเทพมหานครของผู้ร้อง ขับแข่งกับ
วัยรุ่นบนถนนสายบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และศาลมีคำพิพากษา
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 ให้ริบรถยนต์คันดังกล่าวไว้นั้น
ผู้ร้องเป็นนิติบุคลตามกฎหมาย ประเภทบริษัทมหาชนจำกัดให้ชื่อว่า “บริษัท ร่ำรวย จำกัด” มีนาย
หนึ่ง มกรา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของผู้ร้อง กระทำการแทนผู้ร้อง
ได้ ผู้ร ้องมีวัตถุที่ประสงค์ประกอบธุรกิจให้เช่า ซื้อรถยนต์ ความละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองของ
สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำ
ร้องหมายเลข 1
ในการร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องได้มอบอำนาจให้นายสุดหล่อ พ่อรวย เป็นผู้รับมอบอำนาจในการร้องขอคดีนี้
และให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องจนกว่าคดีจะถึงที่สุดได้ ความละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ
เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 2
ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นฟอร์จูนเนอร์ หมายเลขเครื่องยนต์ 987654321
หมายเลขตัวถัง KKKK หมายเลขทะเบียน 9 กก9999 กรุงเทพมหานคร ความละเอียดปรากฏตามสำเนาคู่มือ
การจดทะเบียนรถ เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 3
ผู้ร้องได้นำรถยนต์คันดังกล่าวให้นางสาวสวย ใจดี เช่าซื้อเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2558 กำหนดชำระค่า
เช่า 84 งวด โดยมีเงื่อนไข ห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อรถยนต์หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้รถยนต์ในลักษณะที่ไ ม่เหมาะสม
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น และนำรถยนต์ไปให้บุคคลอื่นใช้ในการกระทำความผิดอาญา ความ
ละเอียดปรากฏตามสัญญาเช่าซื้อ ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2558 เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 4
นางสาวสวย ใจดี ผิดสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 11 ผู้ร้องจึงได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อวันที่ 3
กันยายน 2559 และได้ฟ้องนางสาวสวย ใจดี ต่อศาลแพ่งพระโขนง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 3210/2560 ซึ่ง
นางสาวสวย ใจดี ยื่นคำให้การยอมรับว่าตนเองได้ประพฤติผิดสัญญาเช่าซื้อ นำรถยนต์เช่าซื้อไปให้จำเลย ซึ่ง
เป็นน้องชายของตนเองขับรถยนต์คันดังกล่าวที่เคยเช่าซื้อไปแข่งกับวัยรุ่นบนทางหลวงแผ่นดินจนถูกฟ้องเป็น
คดี ความละเอียดปรากฏตามสำเนาคำให้การจำเลย เอกสารท้ายคำร้องหมายเลข 5
ข้อ 2. ผู้ร้องขอประทานกราบเรียนกับศาลว่า ผู้ร้องขอเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันหมายเลข
ทะเบียน 9 กก9999 กรุงเทพมหานคร ผู้ร้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ เพิ่งทราบว่ารถยนต์ของ
กลางถูกศาลริบ เมื่อฟ้องร้องผู้เช่าซื้อเพื่อเรียกรถยนต์ของกลางคืน และผู้เช่าซื้อยื่นคำให้การดังกล่าว ประกอบ
กับผู้ร้องก็มีข้อสัญญาห้ามนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็น

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
197
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ใจในการกระทำความผิดของจำเลยแต่ประการใด ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอให้ศาลได้ โปรดเมตตากรุณามี
คำสั่งให้คืนรถยนต์ของกลางหมายเลขทะเบียน 9 กก9999 กรุงเทพมหานคร แก่ผู้ร้องด้วย เพื่อประโยชน์แห่ง
ความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องสละสิทธิไม่บังคับคดี
ข้อ 1. คดีนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ทั้งสองโดยนายผู้รับมอบฉันทะได้ยื่นคำร้องขอสละ
สิทธิ์ไม่บังคับคดีกับจำเลยทั้งสองนั้น
ข้อ 2. แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองสามารถตกลงกับจำเลยทั้งสองได้แล้ว และจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระ
เงินให้แก่โจทก์ทั้งสอง เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และโจทก์ทั้ งสองได้รับเงิน ไว้
เรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงประทานกับเรียนต่อศาลว่า โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะบังคับคดีกับจำเลยทั้ง
สองอีกต่อไป จึงขอสละสิทธิ์ในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสอง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรด
อนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ สวย ใจดี โจทก์ทั้งสอง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านางสวย ใจดี โจทก์ที่ 1 และในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์ที่ 2 เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ สวย ใจดี ผู้เรียงและเขียน

ตัวอย่างคำร้องขอเพิกถอนการสละสิทธิบังคับคดี
ข้อ 1. คดีนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 โจทก์ทั้งสองโดยนายปราศ ยุติธรรม ผู้รับมอบฉันทะ ได้
ยื่นคำร้องขอสละสิทธิ์ไม่บังคับคดีกับจำเลยทั้งสองนั้น
ข้อ 2. โจทก์ทั้งสองมีความประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนคำร้องด้วยเหตุผลดังนี้....................................
โจทก์ทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะสละสิทธิ์ในการบังคับคดีกับจำเลยทั้งสอง และไม่ได้มอบนาจให้นายปราศ
ยุติธรรม มายื่นคำร้องต่อศาลแต่ประการใด การกระทำของนายปราศ ยุติธรรม ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง
ตามกฏหมาย

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
198
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีความประสงค์ที่จะขอให้ศาลได้โปรดไต่สวนคำร้องของโจทก์ทั้งสอง และมี
คำสั่งเพิกถอนคำร้องขอสละสิทธิ์ไม่บังคับคดีกับจำเลยทั้งสอง เพื่อโจทก์ทั้งสองจะได้ดำเนินการบังคับคดีกับ
จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลต่อไป เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ทั้งสอง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้านายชอบ ยุติธรรม ทนายความโจทก์ทั้งสอง เป็นผู้เรียงและเขียน
ลงชื่อ ชอบ ยุติธรรม ผู้เรียงและเขียน

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
199
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
วิเคราะห์ข้อสอบภาคปฏิบัติ รุ่น 30-53
กลุ่ม 5-12 คะแนน
หนังสือบอกกล่าวทวงถาม 12 ครั้ง (52,51,50,48,46,45,43,42,34,32,31,30)
ใบแต่งทนายความคดีแพ่ง 9 ครั้ง (53,44,41,40,39,36,35,33,30)
หนังสือมอบอำนาจ 3 ครั้ง (53,43,37)
คำร้องทุกข์เป็นหนังสือ 4 ครั้ง (38,35,33,31)
สัญญาจะซื้อจะขาย 1 ครั้ง (48)
หนังสือขอตรวจสอบการทำนิติกรรมที่ดิน 1 ครั้ง (37)
สัญญาค้ำประกัน 1 ครั้ง (45)
หนังสือบอกเลิกสัญญา 1 ครั้ง (35)
สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล 3 ครั้ง (44,43,39)
หนังสือขออายัดที่ดิน 1 ครั้ง (33)
บันทึกข้อตกลง 1 ครั้ง (52)
ใบมอบฉันทะ 1 ครั้ง (53)

กลุ่ม 15-35 คะแนน


คำฟ้องคดีแพ่ง 20 ครั้ง (53,52,51,50,49,48,46,45,44,43,41,39,38,37,36,34,33,32,31,30)
คำฟ้องอาญา 19 ครั้ง (53,52,51,50,49,48,47,45,44,43,42,41,40,39,37,36,34,32,30)
คำร้องขอถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก 1 ครั้ง (47)
คำให้การและฟ้องแย้ง 1 ครั้ง (35)
คำให้การคดีแพ่ง 1 ครั้ง (40)
คำให้การจำเลยในคดีอาญา 1 ครั้ง (50)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
200
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
กลุ่ม 6-12 คะแนน (วิเคราะห์มรรยาททนายความ , คำร้อง คำขอ คำแถลง ออกทุกปี)
คำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล 2 ครั้ง (53,48)
คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว 5 ครั้ง (47,36,33,32,30)
คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน 2 ครั้ง (47,30)
คำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา 1 ครั้ง (46)
คำร้องขอศาลยกคดีขึ้นไต่สวนมูลฟ้องใหม่ 1 ครั้ง (45)
คำร้องเข้าแทนที่คู่ความมรณะในคดีแพ่ง 2 ครั้ง (51,44)
คำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 1 ครั้ง (42)
คำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด 1 ครั้ง (41)
คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย 3 ครั้ง (40,38,35)
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง 1 ครั้ง (40)
คำร้องขอเพิกถอนการสละสิทธิบังคับคดี 1 ครั้ง (49)
คำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี 5 ครั้ง (49,41,38,34,31)
คำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ 1 ครั้ง (31)
คำร้องขอให้เพิ่มโทษจำเลย 1 ครั้ง (32)
คำแถลงขอส่งหมายข้ามเขตและปิดหมาย 2 ครั้ง (46,40)
คำแถลงขอให้ปิดหมาย 5 ครั้ง (51,43,41,38,32)
คำแถลงขออ้างสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแทนการส่งเอกสาร 1 ครั้ง (46)
คำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณา 1 ครั้ง (44)
คำแถลงสละสิทธิไม่บังคับคดี 1 ครั้ง (49)
คำแถลงขอส่งหมายทางไปรษณีย์ 1 ครั้ง (31)
บัญชีพยาน 9 ครั้ง (52,46,45,42,39,37,36,34,33)
วิเคราะห์มรรยาททนายความ 7 ครั้ง (53,52,51,50,49,48,47)
บัญชีเครือญาติ 1 ครั้ง (47)

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
201
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล
สถิติคำฟ้องแพ่ง+อาญา และคำร้องใหญ่ ภาคปฏิบัติรุ่น 30-53
รุ่น 53 ฟ้องเพิกถอนการให้(ผู้รับประพฤติเนรคุณ) , ฟ้องอาญาข้อหาทำร้ายผู้อื่นสาหัส
รุ่น 52 ฟ้องแพ่งผิดบันทึกข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงาน เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาทำให้เสียทรัพย์
รุ่น 51 ฟ้องแพ่งขับไล่ เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาทำร้ายร่างกาย
รุ่น 50 ฟ้องแพ่งหย่า อำนาจปกครองบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู , คำฟ้องอาญาทำร้ายร่างกาย , คำให้การจำเลย
คดีอาญา
รุ่น 49 ฟ้องแพ่งละเมิด เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม
รุ่น 48 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาจะซื้อจะขาย , ฟ้องอาญาหมิ่นประมาท
รุ่น 47 คำร้องคัดค้านขอถอนและตั้งผู้จัดการมรดก , ฟ้องอาญาเบิกความเท็จ+นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐาน
เท็จ
รุ่น 46 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ + เรียกค่าเสียหาย , --
รุ่น 45 ฟ้องแพ่งผิดสัญญา(บันทึกข้อตกลง) , ฟ้องอาญายักยอก
รุ่น 44 ฟ้องแพ่งละเมิด + เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
รุ่น 43 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาเช่า + เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาทำให้เสียทรัพย์
รุ่น 42 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาจ้างแรงงาน + เลิกจ้างไม่เป็นธรรม , ฟ้องอาญาหมิ่นประมาท
รุ่น 41 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาซื้อขาย + เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาโกงเจ้าหนี้
รุ่น 40 คำให้การจำเลยคดีแพ่ง , ฟ้องอาญาปลอมเอกสาร/ใช้เอกสารปลอม และยักยอกทรัพย์
รุ่น 39 ฟ้องแพ่งละเมิด กรรมการทำให้บริษัทเสียหาย , ฟ้องอาญาโกงเจ้าหนี้
รุ่น 38 ฟ้องแพ่งรับช่วงสิทธิ ประกันภัย เจ้าสำนักโรงแรม ละเมิด + เรียกค่าเสียหาย , ---
รุ่น 37 ฟ้องแพ่งเพิกถอนนิติกรรม , ฟ้องอาญาแจ้งความเท็จ และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ
รุ่น 36 ฟ้องแพ่งจดทะเบียนภารจำยอม + ละเมิด , ฟ้องอาญาลักทรัพย์ และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่น
รุ่น 35 คำให้การจำเลยและฟ้องแย้ง , --
รุ่น 34 ฟ้องแพ่งผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ + ละเมิด , ฟ้องอาญาประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
รุ่น 33 ฟ้องแพ่งเพิกถอนนิติกรรม + ละเมิด , ---
รุ่น 32 ฟ้องแพ่งเรียกทรัพย์ตามสัญญาเช่าซื้อ ละเมิด เรียกค่าเสียหาย , ฟ้องอาญาทำให้เสียทรัพย์ และบุกรุก
รุ่น 31 ฟ้องแพ่งฉ้อฉล สัญญา โมฆียกรรม + ละเมิด (ซื้อขาย) , --
รุ่น 30 ฟ้องแพ่งเช่าทรัพย์ จดทะเบียนการเช่า, ฟ้องอาญาทำให้เสียทรัพย์ และบุกรุก

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี
202
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2 และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

คู่มือการฝึกทักษะเขียนคำฟ้องและคำคู่ความ
ภาคปฏิบัติ รุ่นที่ 54-55
24 ตุลาคม 2564
จัดทำโดย สภาทนายความภาค 2
และอาจารย์สมเกียรติ์ สาธิตพิฐกุล

ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆกรณี

You might also like