You are on page 1of 2

สรุปภำพรวมโครงสร้ำงวิธีพิจำรณำควำมแพ่ง

คดีแพ่ง ตามมาตรา ๕๕ มีอยู่ ๒ แบบ ได้แก่


 คดีมีข้อพิพาท คือ กรณีที่บุคคลถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องเสนอคดีโดย
ต้องทาเป็นคาฟ้อง
 คดี ไ ม่ มี ข้ อ พิ พ าท คื อ กรณี ที่ มี ค วามจ าเป็ น ที่ ต้ อ งใช้ สิ ท ธิ ท างศาลเพื่ อ ขอให้ ศ าลรั บ รอง
หรือคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิ โดยต้องทาเป็นคาร้องขอ
ลำดับขั้นตอนกำรวิธีพิจำรณำคดีในศำลชั้นต้น
 ขั้ น ตอนที่ ๑ คดี มี ข้ อ พิ พ าท โจทก์ จ ะต้ อ งเสนอคดี โ ดยจะต้ อ งท าเป็ น ค าฟ้ อ งยื่ นต่ อ ศาล
ตามมาตรา ๑๗๑ วรรหนึ่ง และมาตรา ๑๗๒ วรรคหนึ่ง และยื่นศาลที่มีเขตอานาจ ตามมาตรา ๔ (๑) มาตรา
๔ ทวิ มาตรา ๕ หรือมาตรา ๗ แล้วแต่กรณี โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามมาตรา ๑๔๙ หากโจทก์
ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้ อน โจทก์ยังมีสิทธิฟ้อง
ต่อศาลได้โดยจะต้องยื่นคาร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตามมาตรา ๑๕๕ สามารถขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้
ทุกชั้นศาล แต่จะต้องยื่นคาร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ที่ศาลชั้นต้นเท่านั้น
หากศาลไม่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลหรืออนุญาตบางส่วน โจทก์มีสิทธิ อุทธรณ์ได้โดย
จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคาสั่ง และคาสั่งของศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุดตามมาตรา
๑๕๖/1 วรรคท้าย
 ขั้ น ตอนที่ ๒ หลั ง จากที่ โ จทก์ ยื่ น ฟ้ อ งคดี ต่ อ ศาลแล้ ว โจทก์ มี ห น้ า ที่ ร้ อ งขอต่ อ พนั ก งาน
เจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกและสาเนาคาฟ้องให้แก่จาเลยเพื่อแก้คดี ตามมาตรา ๑๗๓ วรรคหนึ่ง หากโจทก์
ไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกและสาเนาคาฟ้องถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ตามมาตรา ๑๗๔ (๑)
ศาลจะต้องมีคาสั่งจาหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลได้เพียงบางส่วน ตามมาตรา
๑๕๑ วรรคสาม
หากศาลจ าหน่ ายคดีออกจากสารบบความ เพราะโจทก์ทิ้งฟ้อง แต่สามารถฟ้องใหม่ได้ ภายใน
กาหนดอายุความ มาตรา ๑๗๖
 ขั้นตอนที่ ๓ จาเลยต้องยื่นคาให้การแก้คดี ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับสาเนาคาฟ้อง
โดยจาเลยจะฟ้องแย้งในคาให้การก็ได้ โดยฟ้องแย้งมีสภาพเป็นคาฟ้อง จาเลยในส่วนของฟ้องแย้งมีฐานะ
เป็นโจทก์ และโจทก์ในส่วนของฟ้องแย้งมีฐานะเป็นจาเลย และการฟ้องแย้งเป็นการเสนอคาฟ้องที่เกี่ยวเนื่อง
กับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล ต้องเสนอต่อศาลเดิมที่พิจารณาคดีนั้นอยู่ ตามมาตรา ๗ (๑) ซึง่ ฟ้องแย้งจะต้อง
เกี่ยวกับฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมจะฟ้องแย้งไม่ได้ ตามมาตรา ๑๗๙ วรรคท้าย
หากจาเลยทาคาให้การแล้วเสร็จไม่ทันจะต้องยื่นคาร้องขอขยายระยะเวลายื่นคาให้การ หากจาเลย
ไม่ขอขยายจะถือว่าจาเลยขาดนัดยื่นคาให้การ ตามมาตรา ๑๙๗ หากจาเลยขาดนัดยื่นคาให้การ โจทก์มีหน้าที่
ยื่นคาร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีโดยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ หากโจทก์ไม่ร้องขอ ศาลต้องจาหน่ายคดีออก
จากสารบบความ
 ขั้นตอนที่ ๔ หลังจากได้รับคาฟ้องและคาให้การแล้ว ศาลจะทาการชี้สองสถาน ซึ่งการชี้สองสถาน
จะทาอยู่ ๓ เรื่อง ได้แก่
 กาหนดประเด็นข้อพิพาท
 กาหนดภาระการพิสูจน์
 กาหนดหน้าที่นาสืบก่อนหลัง
ทั้งนี้ ไม่ใช่คดีแพ่งทุกคดีที่จะมีการชี้สองสถาน
 ขั้นตอนที่ ๕ หลั งชี้สองสถาน ศาลจะกาหนดวันสื บพยาน ตามมาตรา ๑๘๔ และสืบพยำน
ตามประเด็นข้อพิพาท ตามมาตรา ๑๘๕
 ขั้นตอนที่ ๖ หลังสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลจะต้องพิพากษาคดี ตามมาตรา ๑๓๑ (๒)
โดยศาลไม่จาต้องพิพากษาในวันสืบพยานเสร็จสิ้น จะเลื่อนไปพิพากษาวันอื่นก็ได้ ตามมาตรา ๑๓๓
 ขั้นตอนที่ ๗ หลังศาลมีคาพิพากษา ศาลจะการออกคาบังคับ โดยการที่ศาลจะออกคาบังคับ
ในคดี ใ ดได้ ก็ ต่ อ เมื่ อ เป็ น กรณี ที่ ศ าลมี ค าพิ พ ากษาหรื อ ค าสั่ ง อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง อั น จะต้ อ งบั ง คั บ แก่ ลู ก หนี้
ตามคาพิพากษา และการออกคาบังคับจะออกในวันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคาพิพากษา และถือว่าได้ทราบ
คาบังคับด้วยแล้วตามมาตรา ๒๗๒ และมาตรา ๒๗๓
 ขั้นตอนที่ ๘ การขอให้บังคับคดี จะต้องยื่นต่อศาลที่มีอานาจบังคับคดี คือ ศาลที่มีพิจารณา
ชี้ขาดคดีในชั้นต้น และจะต้องเป็นกรณีที่ระยะเวลาที่ศาลกาหนดไว้ เพื่อให้ปฏิบัติตามคาบังคับต้องล่วงพ้นไป
แล้ ว จึ ง จะขอออกหมายบั ง คั บ คดี ไ ด้ ซึ่ ง การขอออกหมายบั ง คั บ คดี คื อ การขอตั้ ง เจ้ าพนั กงานบั งคั บคดี
เพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคาพิพากษามาชาระหนี้ และจะต้องแถลงให้ชัดว่าจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินใด
ของลูกหนี้
โดยเจ้าหนี้จะต้องร้องขอให้มีการบังคับคดีภายในกาหนดเวลา ๑๐ ปีนับแต่วันที่มีคาพิพากษาหรือ
คาสั่งในชั้นที่สุด ตามมาตรา ๒๗๔ หมายถึง วันที่อ่านคาพิพากษาศาลสุดท้าย (ฎ.๑๐๗๓๑/๒๕๕๘ ป.)
 ขั้นตอนที่ ๙ ภายหลังมีการบังคับคดี อาจมีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องได้ เช่น
- หากทรัพย์สินที่บังคับคดีติดจานอง เจ้าหนี้จานองถือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิอาจยื่นขอรับชาระ
หนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้ โดยต้องยื่นคาร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ตามตรา ๓๒๔ (๑)
- หากมีผู้อ้างว่า เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึด ทรัพย์สินที่ยึดไม่ใช่ของลูกหนี้อาจยื่นคาร้อง
ขัดทรัพย์ ตามมาตรา ๒๒๓
- หากลู ก หนี้ เ ป็ น หนี้ เ จ้ า หนี้ ห ลายราย เจ้ า หนี้ ต ามค าพิ พ ากษารายอื่ น หากเจ้ า หนี้ ต าม
คาพิพากษารายใดได้ยึดหรืออายัดทรัพย์นั้นแล้ว จะยึดหรือายัดทรัพย์เดียวกันซ้าไม่ได้ แต่สามารถยื่นคาร้อง
ขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ ตามมาตรา ๓๒๖
 ขั้นตอนที่ ๑๐ หากการบังคับคดีมีความบกพร่อง ผิดพลาด หรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายสามารถ
ยื่นคาร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีได้ ตามมาตรา ๒๙๕ และมาตรา ๓๓๑
โดยจะยื่นต่อศาลที่มีอานาจบังคับคดี หรือศาลที่มีอานาจบังคับคดีแทนก็ได้ ตามมาตรา ๒๗๑
และจะต้องยื่นก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ตามมาตรา ๒๗๑ วรรคท้าย

You might also like