You are on page 1of 2

ข่าวคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๓ โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๓ E-mail science_seminar@hotmail.com

นาน

ศาสตราจารย์ กนก วงษ์ ต ระหง่ า น ประธานคณะอนุ ก รรมาธิ ก ารการวิ ท ยาศาสตร์


เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประเทศ ในคณะกรรมาธิการ
การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาปัญหาสาคัญของการ
เพิ่มมูลค่าผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและหัตถกรรม
เมื่ อ วั น พุ ธ ที่ ๒๐ พฤศจิ ก ายน ๒๕๖๒ ที่ ป ระชุ ม คณะอนุ ก รรมาธิ ก ารได้ มี ก ารประชุ ม
เพื่อพิจ ารณาศึ ก ษาปั ญหาส าคั ญของการเพิ่ม มูล ค่าผลผลิ ตและผลิ ตภั ณ ฑ์ด้า นการเกษตรและหั ตถกรรม
ณ ห้องประชุม หมายเลข ๔๑๔ ชั้น ๔ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ
โดยที่ประชุมได้กาหนดที่จะเดินทางไปศึกษาดูงานและ
จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในระหว่างวันที่ ๖ – ๗ ธันวาคม
๒๕๖๒ ณ พื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยศึกษาสภาพปัญหา
การประกอบอาชีพของเกษตรกรเพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจ
ฐานรากและประเทศ โดยที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็น
เกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ที่สามารถสร้างรายได้
และสามารถน าไปเป็ น สิ น ค้ า หลั ก ของเกษตรกรที่ ก่ อ
ให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น มีสินค้าที่เกิดมูลค่าสูง มีผลิตภัณฑ์
(Product) ที่ออกแบบทันสมัยเป็นที่นิยม และพบว่าในจังหวัดสกลนครมีผลผลิตทางเศรษฐกิจสาคัญ ๗ ชนิด
ได้แก่ ผ้าย้อมคราม น้าหมัก เม่า สมุนไพร เห็ด เมล็ดบัว ข้าวเม่า ข้าวฮาง ที่สามารถสกัดและนามาแปรรูป
ได้ทุกชิ้นส่วนจากพืชนั้น ๆ อย่างคุ้มค่า ไม่ทาลายสภาพแวดล้อม ดังนั้น แนวทางวิธีการที่จะหาคาตอบให้มีการ
ผลิ ต สิ น ค้ า (Productivity) ที่ เ กิ ด มู ล ค่ า เพิ่ ม (Value) และใช้ อ งค์ ค วามรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี
มาสนั บ สนุ น ได้ อ ย่ า งไรต่ อ ไป ทั้ ง นี้ กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา วิ ท ยาศาสตร์ วิ จั ย และนวั ต กรรม (อว.)
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เป็นกลไกหนึ่งที่สาคัญ หัวใจสาคัญที่จะ
แก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่ม จากพืชหลักและจากพืชเสริม จึงมองเรื่องการลดต้นทุนการผลิต
การเพิ่มผลผลิตอย่างมีคุณภาพ มีการเพาะเลี้ยงที่ถูกวิธี มีการบารุงดิน หลังจากนั้น จึงจะเข้าสู่กระบวนการ
ผลิต ใช้ระบบทางการเกษตร ระบบธุรกิจและการตลาด การกาหนดราคาที่มีอานาจต่อรองได้โดยการศึกษา
จากเหตุปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ที่จะทาให้สินค้าเหล่านี้ได้มีมาตรฐานและลดปัญหาของสินค้าที่เน่า
เสียได้ง่าย นอกจากนั้น ยังส่งเสริมสนับสนุนเครื่องมือในโรงงานให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการสามารถให้การส่งเสริมและสนับสนุนต่อเกษตรกรได้ หากพื้นที่จังหวัดสกลนคร
สามารถสร้างรายได้สร้างอาชีพได้ประสบความสาเร็จ จะดาเนินการในพื้นที่อื่น ๆ เช่น จังหวัดกระบี่ จังหวัด
พัทลุง ในเรื่องของปาล์ม เรื่องของสาหร่ายทะเล และเรื่องยางพาราที่จะแปรรูปเป็นนวัตกรรมใหม่ และการ
เลี้ยงแพะที่มีน้ านมคุณภาพสู ง รวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราจะสร้างเสริมอาชีพและรายได้ด้านสั ตว์น้าที่เ ป็น
กุ้ง ปลา ฯลฯ และจังหวัดจันทบุรีในเรื่องอัญมณี เป็นต้น

PARLIAMENT ๑
ข่าวคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๓ โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๖๐๓ E-mail science_seminar@hotmail.com

นาน

มติ ที่ ป ระชุ ม ที่ ป ระชุ ม ได้ มี ม ติ พิ จ ารณาเรื่ อ งการศึ ก ษาดู ง านและจั ด สั ม มนาในประเทศ
ครั้งที่ ๔ ในวันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม หมายเลข ๔๑๔ ชั้น ๔
อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) เขตดุสิต กรุงเทพฯ

ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการ
การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
ข้อมูล ณ เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา

PARLIAMENT ๒

You might also like