You are on page 1of 8

ศัพท์และความหมายของแพทย์แผนโบราณ

1. กระษัย แปลว่า สิ้นไป เสื่อมไป หรือหมายความว่า โรครึงรัด รัดแน่น คือ เส้นเอ็น เนื้อ หนัง เลือด
รัดแน่นแข็งดุจน้้าฝาดกระชับไว้ท้าให้ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม เครียดตึง รึงรัด
2. กุจฉิสยาวาตา ( กุจฉิ - ท้อง, สยา – อาศัย , วาตะ – ลม ) แปลว่า ลมในท้อง
3. โกฎฐาสยาวาตา ( โกฎฐ – ฉาง , ไส้ , สยา – อาศัย , วาต –ลม ) แปลว่า ลมในล้าไส้หรือใน
กระเพาะ
4. กาเดา แปลว่า ร้อน คือ ร้อนในสมองและศีรษะ
5. กรรมชวาต (กรรม – การกระท้า , ชา – เกิด , วาต – ลม ) ลมเกิดแต่การกระท้า (คือบุญหรือ
บาปที่กระท้าไว้ )
6. กรีสัง แปลว่า คูกหรืออุจจาระ ได้แก่ อาหารเก่า
7. กระทุ้งพิษไข้ คือ กระท้าให้พิษไข้ภายในร่างกายได้ออกมา
8. กระยาบวช เครื่องเส้น เครื่องบวงสรวง
9. กิมิชาติ เชื้อโรค หรือ ตัวหนอน
10. กุฎฐโรค โรคขี้เรื้อนที่ท้าให้มือหรือเท้าด้วนขาดไป
11. กาเนิดของสัตว์มี 4 คือ
- ชลาพุชะ (ชลาพุ – ครรภ์ , น้้า+ชา ถึง ชะ – เกิด ) เกิดในครรภ์หรือในน้้า
- อัณฑชะ (อัณฑ – ไข่ ) เกิดในไข่
- สังเสทชะ (สังเสท – เถ้า , เหงื่อ ,ไคล ) เกิดในเถ้า ไคล้
- อุปปาติก (อุ- ขึ้น , ปท ถึง ปาทิภ – เกิด ) เกิดขึ้นเอง ผุดขึ้น
12. โกมารภัจจ์ (กุมาร – ฆ่าซึ่งความรังเกียจ , เด็ก+ภัจจ์ – เลี้ยง รักษา ) แปลว่า รักษาโรคเด็ก
เป็นชื่อของแพทย์สมัยพุทธกาลซึ่งเป็นบรมครูของแพทย์แผนโบราณ
13. กามโรค (กาม – ความใคร่ , ความยินดี ) โรคเกิดจากความใคร่ ความยินดี พอใจ
14. กาฬโรค ( กาฬ – ร้าย ด้า ) โรคร้ายมีลักษณะเป็นสีด้า คือ แผล ฝี เม็ด ตุ่ม เลือด จะเกิดสี
ด้า หรือ สีเขียว มีพิษร้าย
15. กฎกะ แปลว่า เผ็ดร้อน ตรีกฎก ของเผ็ดร้อน 3 อย่าง ( เม็ดพริกไทย ดอกดีปลี เหง้า
ขิงแห้ง )
16. กาเริบ ริเริ่ม เริ่มแรก คือ อาการของไข้หรือโรค เริ่มจับ เริ่มเป็น
17. กสาวะ แปลว่า ฝาด ผ้ากาสาวพัตร์ ผ้าที่ย้อมด้วยน้้าฝาด
18. ไข้ขันธชวร คือ ไข้ติดตัวมาแต่ก้าเนิด ( กรรมพันธุ์ )
19. ไข้สาปชวร คือ ไข้เรื้อรังเป็นเวลานานมี 5 ประการ
- ไข้เพื่อก้าเดา ( ตาแดง )
- ไข้เพื่อดี ( ตาเขียว )
- ไข้เพื่อลม ( ตาขุ่น )
- ไข้เพื่อโลหติ ( ตาแดง มีน้าตา )
- ไข้เพื่อเสมหะ (ตาเหลือง )
20. ไข้เจรียง ไข้จับวันเว้นวัน ไข้เรื้อรัง ( ไข้มาลาเรีย )
21. ไข้เอกโทษ ไข้ที่เกิดจาก ปิตตะ เสมหะ หรือวาตะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไข้พอประมาณ
22. ไข้ทุวัณโทษ ( โทษ2อย่าง ) คือไข้ที่เกิดจาก ปิตตะกับเสมหะ ปิตตะ กับ วาตะ หรือ เสมหะกับ
วาตะ อย่างใดอย่างหนึ่ง
23. ไข้ตรีโทษ ( โทษ 3 อย่าง ) คือไข้ที่เกิดจากปิตตะ เสมหะ และวาตะ ทั้ง3อย่าง มีอาการหนัก
24. ไข้มหาสันนิบาต ไข้มีอาการหนักมาก เป็นอสาธยโรค โรครักษาไม่หาย
25. ไข้อุปทุม ไข้พิการทางปัสสาวะ ปัสสาวะ ไม่ปรกติ เช่น พวกโรคนิ่วต่างๆ
26. ไข้พิษ คือ ไข้ที่มีอาการรุนแรงหรือหนัก มีอาการตัวร้อนอยู่เรื่อยๆ มีอาการชัก เพ้อ คลั่ง
27. ไข้กาฬ คือไข้ที่มีเม็ด ผื่น วง ตุ่ม ขั้นตามตัว มีอาการรุนแรงคล้ายกับไข้พิษ
28. ไข้เหนือ คือ ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย หรือไข้ที่เกิดทางภาคเหนือมาก
29. ไข้โอปักกะมิกาพาธ คืออาพาธหรือไข้ที่เกิดจาก การถูกทุบตี พลัดตกหกล้ม
30. ไข้อภิวาต ได้แก่ ไข้กระทบ กระตุก ชัก เช่นไข้ที่มีความร้อนสูง เช่น ไข้มาลาเรีย ไข้ปอด
บวม ไข้ท้องเสีย
31. ไข้ทรพิษ คือ ไข้ที่มีพิษร้ายหรือหายแล้วมีรอยแผลเป็น ได้แก่ ฝีดาษนั่นเอง
32. ไข้อหิวาตกโรค ( อหิ – งู + วาตก – ลม + โรค – เสียดแทง ) ได้แก่ โรคที่เกิดจากลมมีความ
เจ็บปวดเหมือนกับพิษงู
33. ไข้กาฬนกนางแอ่น เกิดจากเชื้อโรค แบคทีเรีย ปวดศีรษะมาก เพ้อคลั่ง ปวดหลัง เอว คอ
แข็ง
34. ไข้เหลือง เกิดจากเชื้อไวรัส ปวดศีรษะ ปวดหลัง ตัวเหลือง ปัสสาวะมีไข่ขาว อาเจียน
35. ไข้หัดกับไข้เหือด ไข้หัดเป็นตุ่มเล็กมียอดแหลม ไข้เหือดเป็นตุ่มยอดไม่แหลม อาการไอ
เจ็บคอ ปวดเมื่อย คลื่นไส้ เม็ดผื่นขึ้น อาเจียน ชัก
36. ไข้อีสุกอีใส ไข้ที่มีเม็ดเป็นพวก หรือ เป็นกลุ่มข้างในมีน้าเหลืองหรือหนองที่เกิดจากเชื้อไวรัส
37. ไข้ไอกรน มีอาการไอ หอบ ไอกระตุกติดๆ กันเป็นพักๆ เป็นหวัด ปวดหัว ตัวร้อน
อักเสบทางเดินของทางเดินหายใจ
38. ไข้คอตีบ เกิดจากแบคทีเรีย มีเยื่อเป็นแผ่นเป็นเส้นคั่น เป็นเมือกในคอและทางเดินลม
หายใจ ท้าให้แสบคอ ความร้อนสูง
39. ไข้ปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการหนาวสัน เสียวชายโครง หายใจหอบ
เสมหะเหนียว
40. ไข้วัณโรคปอดโรคที่มีแผลหรือเป็นโพรงขั้นที่ปอด อาการไอแห้ง เสมหะเหนียว ไอมากตอน
กลางคืน มีกลิ่นเหม็น ปอดชายโครง มีไข้ซูบผอม น้้าหนักลด เหงื่อออกเวลากลางคืน ท้องขึ้น
ท้องเฟ้อ ท้องร่วง หรือท้องผูก
41. ไข้โรคคางทูม เกิดจากเชื้อไวรัส อักเสบที่ต่อมน้้าลาย ต่อมใต้หู กระท้าให้บวม แล้วลามออกไป
ขากรรไกรท้าให้คอแข็ง ต่อมทอมซิลก็บวมโต เวลาอ้าปากเจ็บปวดมาก ลิ้นเป็นฝ้า หายใจเหม็น
42. ไข้โรคบิด เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีในน้้าและอาหาร อาการอุจจาระบ่อย ปวดท้อง มือเท้า
เย็น ความร้อนสูง อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ
43. ไข้โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคที่มีสาเหตุจากสัตว์ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ม้า ฯลฯ อาการ
อุจจาระร่วง หนาวสั่น มีโลหิตด้วย
44. โข้โรคพิษสุนัขบ้า (โรคกลัวน้า) มูลเหตุมาจากสัตว์ สุนัขหรือแมว อาการตกใจกลัว ไม่อยาก
อาหาร คอแข็ง น้้าลายไหล เป็นอัมพาตและตาย
45. ไข้โรคเรื้อน (โรคหูหนาตาเร่อ) เป็นตุ่มกลายเป็นแผลลึกและเน่าเปื่อย บางทีแผล เน่าเปื่อยแล้ว
ท้าให้อวัยวะหลุดไป
46. โรคคุดทะราด เป็นตุ่มตามผิวหนังมีตุ่มเดียวหรือหลายตุ่ม มีน้าเหลืองไหลหรือค่อยๆโตขึ้น
ต่อไปก็ขึ้นนูนแดงแล้วตกสะเก็ด บางตุ่มกลายเป็นแผลลึก บวมเป็นปุ่มนูน หายแล้วก็เป็นก้อน
แข็ง บางทีเป็นแผลทะลุ เช่น จมูกโหว่ ขาคด เดินไม่ปรกติ เป็นต้น
47. ไข้โรคกลาก (เด็กเรียกว่า ขันตุ) เป็นวงขึ้นที่ผิวหนังหรือที่รากผม , ตามตัว
48. ไข้โรคหิด เกิดขึ้นจากตัวหิดฝังตัวเข้าในผิวหนังเป็นเม็ดหรือตุ่มเล็กๆมีอาการคันมาก
49. ไข้โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวเกลียว อยูใ่ นต่อมหรือหลอดน้้าเหลือง น้้าเหลืองไหลผ่านไม่ได้
จึงคั่งอยู่ในส่วนล่าง ท้าให้มีลักษณะเท้าโตหรืออัณฑะโต
50. ไข้โรคบาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการท้าให้ปวด กระตุกตามกล้ามเนื้อคอ
ขากรรไกรหลังและล้าตัว
51. ไข้จากอาหารเป็นพิษ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในอาหารหรือในอาหารบูดเน่า อาการตาลาย กลืน
อาหารล้าบาก แขนขาอ่อน ปวดท้อง อาเจียน หูตึง นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
52. ไข้โรคไส้ติ่งอักเสบ เนื่องจากไส้ติ่งตันและเล็ก เกิดการอุดตันจากก้อนอาหารหรือ ไส้ติ่งตัน
เมื่อมีการอุดตันของเศษอาหารไหลไม่สะดวกอาหารที่ย่อยค้างจึงเกิดแบคทีเรีย เจริญเติบโตเข้าใน
เยื่อเมือกไส้ติ่ง จึงมีอาการอักเสบท้าให้เกิดอาการ ปวดท้องรุนแรง บริเวณท้องน้อยซีกขวา กด
เจ็บมากเมือกคลั่ก มักมีอาการอาเจียน
53. ไข้โรคลมพิษ เนื่องจากแพ้ยา แพ้อาหาร แพ้อากาศ แพ้ฝุ่นละออง จึงมีอาการฝุ่นแดง นูนขึ้น
ตามผิวหนัง บางทีทั้งตัวมีอาการคันเหมือนยุงกัด คล้ายประดงมด
54. ไข้โรคความดันโลหิตสูง มักเกิดกับคนอ้วนมาก กิจอาหารจ้าพวกเนื้อจาก มีอาการปวด
ศีรษะหน้าผากหรือท้ายทอย เวียนศีรษะ ใจเต้น เหนื่อยง่าย
55. ไข้โรคดีซ่าน เกิดจากตับและถุงน้้าดี อาการผิวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง อุจจาระสีเทา
ขาว ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ท้องเสีย
56. ไข้โรคเบาหวาน เกิดจากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต (แป้งและน้้าตาล ) ไม่เป็นไปตาม
ปรกติ มักเกิดกับคนอ้วนมาก หรือ จากน้้าตาลในโลหิตมาก แล้วขับออกมาทางปัสสาวะท้าให้
ปัสสาวะหวาน อาการปัสสาวะบ่อยและมาก หิวบ่อย กินอาหารได้แต่น้าหนักลด อ่อนเพลีย คัน
ตามผิวหนัง
57. ไข้โรคเบาจืด เป็นโรคขาดฮอร์โมนของต่อมปิตูอิทารี มีลักษณะคือปัสสาวะมากและใส สาเหตุ
จากโรคซิฟิลิส สมองอักเสบ เชื้อวัณโรคหรือเนื้องอกในสมอง โรคเบาจืดไม่มีน้าตาลในปัสสาวะ
จะมีอาการคล้ายโรคไตกระหายน้้า และอยากน้้าบ่อย
58. ไข้โรคมุตกิตระดูขาว เกิดจากไข้หวัด ท้างานหนักเกินไป ร่วมประเวณีมากเกินไป มดลูก
กระทบกระเทือนมาก หรือ การใช้ผ้าอนามัยไม่สะอาด มีอาการน้้าสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอด
ร่างกายซูบผอม ปวดหลัง ปวดบริเวณมดลูก ปวดคันช่องสังวาส
59. ไข้โรคริดสีดวงพลวก เกิดจากอาหารเก่าพิการ หรือ ล้าไส้พิการด้วยเตโชธาตุ มีลักษณะพิการ
ด้วยเตโชธาตุ มีลักษณะพิการ ปากลิ้นอักเสบ เจ็บเป็นแผล อุจจาระเหลว เป็นน้้ามันสีเทาหรือ
ขาว กลิ่นเหม็นจัด ผอมผิวหนังแห้ง มือเท้าเย็น ท้องขึ้นเฟ้อ กินอาหารไม่อยู่ท้อง
60. ครรภ์ แปลว่า สัตว์ผู้เกิด หรือ ตั้งครรภ์
61. ครรภ์รักษา ลักษณะรักษาครรภ์ ต้าราหรือยารักษาครรภ์
62. ครรภ์วิปลาส ครรภ์ที่ผิดปรกติ ครรภ์ที่มีอันตราย
63. ครรภ์ปริมณฑล คือปริมณฑลของท้อง ตั้งแต่ท้องได้ 3 เดือน ถึง 9 เดือน อันเป็น
ระยะเวลาตั้งครรภ์
64. ครรภ์ประสูติ คือลักษณะหรือการคลอดจากท้อง
65. ครรภ์ปรามาศ คือ การลูบที่ครรภ์หรือเอามือลูบท้องแก่คือการตรวจครรภ์ด้วยการใช้มือคล้าสัมผัส
66. คัณฑมาลา ฝีประค้าร้อย เป็นฝีที่คอ หรือแปลว่าระเบียบที่คอ
67. คุณคน หมอที่ท้าให้ผ็อื่นได้ความทุกข์ด้วยเวทย์มนต์คาถา หรือสิ่งของอันเป็นเดรัจฉาน
วิชา วิชาที่ท้าให้ตนเองเป็นเดรัจฉาน (สัตว์เดียรฉาน)
68. คุณผี ภูตฝี ปีศาจหรือเทวดาแสดงเหตุต่างๆให้คนไข้เห็นเป็นเหตุหวาดกลัว
69. คูณเสมหะ เสมหะในล้าไส้ใหญ่ อุระเสมหะ เสมหะในอก และศอเสมหะ เสมหะในคอ
70. จนนะ (จะ – ละ – นะ ) แปลว่าการสั่น การไหว การสั่นสะเทือน คือไข้เอกโทษ ทวีความรุนแรง
เข้าขั้นทุวัณโทษคือธาตุหย่อน
71. ชาติ แปลว่า เกิด คือธาตุทั้ง 4 อย่างใดอย่างหนึ่งมีอาการเริ่มเกิดขึ้นเป็นเอกโทษ (ธาตุก้าเริบ)
72. ภินนะ ( พิน – นะ ) แปลว่าแตก หรือ พัง หรือ ท้าลาย คือ อาการของไข้ทุวัณโทษทวี ความ
รุนแรงขึ้นท้าให้อย่างใดอย่างหนึ่ง วิปริตไปจนถึงเข้าขั้นตรีโทษ (ธาตุพิการ)
73. ชิรณัคคี (ชิรณ – การชรา + อัคคี – ไฟ ) ไฟที่เผาให้กายแก่ คร่้าคร่าหรือให้ชราลงไป
74. ทุลาวสา แปลว่า เยี่ยว หรือ ปัสสาวะพิการ
75. ธาตุวิภังค์ (ธาตุ – การทรงไว้ + วิภังค์ – แตก ) แปลว่า การจ้าแนกธาตุ เป็นคัมภีร์
76. บัณฑุโรค แปลว่า โรคซูบผอม โรคผอมเหลืองเนื่องจากโลหิตจาง
77. โบราณโรค แปลว่า โรคเก่า โรคเรื้อรัง
78. ปรจุ แปลว่า ถ่าย เช่น ประจุพิษไฟ คือ ถ่ายพิษไข้
79. ปฐมังกัลละ แปลว่า ตอนตั้งครั้งแรก คือ ต่อมโลหิต ในมดลูกสตรี
80. ปัตตฆาต แปลว่า เสียดไปข้างหนึ่ง คือ กระทบหรือ เสียดไปแถบหนึ่ง
81. ปลาป (ปา – ลา – ปะ ) แปลว่า บ่นเพ้อ ละเมอ เพ้อพก
82. ปิตตสมุฎฐาน ไข้มีสาเหตุจากน้้าดี หรือ ไข้เกิดจากน้้าดีพิการ
83. ปฐมวัย วัยเด็กหรือวัยต้น แรกเกิด – 16 ปี
84. มัชณิมวัย วัยกลาง อายุ 16 – 32 ปี
85. ปัจฉิมวัย วัยสุดท้าย อายุ 32 ปีขึ้นไป
86. เปรียวดา ถูกความเย็นมาก
87. ผิดสาแดง คืออาการของโรคหรือไข้ผิดปรกติ
88. ผิดสาแดง (แสลง) คือ อาการหรือสิ่งของที่ท้าให้โรคก้าเริบ หรือ ท้าให้หนักขึ้นหรือเป็น
อันตรายต่อโรค เช่น ดีก้าเริบ (ปิตโตภวะ )
89. พรรดึก แปลว่า อุจจาระแข็งเป็นก้อน เป็นเกลียว ถ่ายไม่ค่อยออก
90. ภัญชนกะ แปลว่า ขัดข้อ ขัดตามล้าข้อ
91. มรณญาณสูตร สูตรที่ก้าหนดรู้ว่าจะตาย รู้อาการก่อนตาย
92. มหัสกวาต แปลว่า ลมกล้า เป็นอาการของลมในล้าไส้ท้าให้หัวใจอ่อนเป็นลม หรืออาการของ
ความดันโลหิตสูง
93. มองคร่อ คือ อาการของเสมหะแห้งในล้าคอ ในหลอดลม หรือในอวัยยวะทางเดินหายใจ
94. มหาสดมภ์ แปลว่า แข็งมาก เป็นชื่อของลมหมดสติ ตัวแข็งทื่อ
95. มุตฆาต โรคปัสสาวะขัด หรือ ปัสสาวะเสีย
96. มุตกิด โรคระดูขาว
97. มหาสันนิบาต แปลว่า ประชุมใหญ่คือไข้ที่เกิดรวมกันหลายอย่าง คือ เสมหะ ดี ลม โลหติ เกิด
ก้าเริบ หย่อน พิการ พร้อมกัน หรือ เป็นไข้เกิน 32 วัน
98. มหาโชตรัต แปลว่า เลือดแดงมาก เป็นชื่อคัมภีร์
99. พยาธิ แปลว่า ความป่วยไข้ โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง
100. โรคนิทาน แปลว่า ที่เกิดโรค เป็นชื่อคัมภีร์ว่าด้วยเหตุและสมุฎฐานของโรค
101. ลักษณะลม หรือคาว่าลม คือ อาการที่เกิดขึ้นรวดเร็ว เหมือนลมพัดโดยไม่รู้ตัว หรือ
ลมในกระเพาะ ในล้าไส้ ในท้อง ในร่างกายทั่วไป (ลักษณะอาการของลม กล่าวไว้ในคัมภีร์ชวตา)
102. ป่วง คือ ความเจ็บไข้ที่มีอาการทั้งลง ทั้งราก
103. ไส้เลื่อน คือ ไส้เคลือ่ นลงมาตุงที่อัณฑะ (ไข่) ท้าให้อัณฑะโต
104. ไส้ลาย ผุดเป็นเม็ดข้างใน เปื่อยทั้งข้างนอกข้างใน ลามออกมาทางท้องน้อยแล้ว เป็น
หนองออกทางทวารหนักเบา แป็นทั้งบุรุษและสตรี
105. ไส้ด้วน คือ โณคที่เป็นหนองที่องคชาติ ถ้าองคชาติเน่าทุกวันสุดองคชาติเมื่อไร
ตายเกิดจากเสพเมถุนมาก หรือเสพสตรีลามก
106. สันนิบาตสองคลอง มีอาการ 2 อย่าง ทั้งลงและราก หรืออาการเป็นหรือตายเท่ากัน
107. สันนิบาตหน้าเพลิง เกิดขึ้นเพราะโลหิต น้้าคาวปลาขัดค้างอยู่ในมดลูก กลายเป็น
โลหิตเน่าร้ายท้าพิษหนาว สั่น เพ้อ คลั่ง ไม่มีสติ
108. ลมเพลมพัด มีอาการเจ็บป่วยไม่รู้สาเหตุ
109. ลงแดง ถ่ายอุจจาระลงท้องเป็นโลหิต หรือ ท้องเดินเป็นโลหิต หรือ อาเจียน เป็น
โลหิต
110. รัตตโลหิต แปลว่า โลหิตแดง กาฬโลหิต – โลหิตด้า โอทาตโลหิต – โลหิตขาว
111. ลงฝัก คือ กระษัยลงฝัก เกิดพระเส้นเลื่อนลงสู่อัณฑะ ท้าให้อัณฑะโต
112. อชิณโรค โรครักษาไม่หายหรือรักษายาก
113. อชิณธาตุ ธาตุรักษาไม่หายหรือ รักษายาก (โรคอุจจาระพิการ )
114. อสาธยโรค โรคที่รักษายากหรือโรคที่แก้ไข้ไม่ส้าเร็จ
115. ละอองหรือลาบอง คือ เม็ดตุ่มที่เกิดขึ้นตามผิวเนื้อหรือ พิษอักเสบ
116. ละบองไฟ คือ เม็ดตุ่มที่เกิดแต่หญิงที่อยู่ไฟ
117. ละบองราหู คือ เม็ดตุ่มทรวงขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน
118. เลือดล้างหน้า คือ เลือดระดูมาหลังจากการคลอดบุตร ออกเล็กๆ น้อยๆ หลังคลอดบุตร
แสดงว่าจะตั้งครรถ์อีก
119. สะพั้นหรือตะพั้น โรค เกิดแต่เด็กเล็กเพราะผิดอากาศ
120. สะอึก ลมดันขึ้นกระทบปากและหลอดลมท้าให้ชะงักแลัวระเบิดออกมา
121. สันฑฆาต คือ เส้นหนาทึบคู่กับเส้นปัตตฆาต
122. อติสาร อาการของโรคหนัก นอนขี้ไหล เยี่ยวไหล หรือ หมายถึงท้องร่วง
ท้องเดิน หรือหมายถึงฝีกาฬที่เกิดขึ้นที่ตับ หัวใจ เป็นต้น

You might also like