You are on page 1of 49

-23-

2.1 ยารักษากลุมอาการของระบบทางเดินอาหาร

(1) ขมิ้นชัน
1. ชื่อสามัญ (ไทย) ขมิ้นชัน
(อังกฤษ) Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร Curcuma longa L.1
Curcuma domestica Valeton (ชื่อพอง)
ชื่อวงศ Zingiberaceae
ชื่อทองถิ่น ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น ตายอ สะยอ หมิ้น
2. องคประกอบ
เหงาขมิ้นชัน ควรมีสารสําคัญ curcuminoids ไมนอยกวา 5% และน้ํามันหอมระเหยไมนอยกวา 6%2
3. ขอบงใช (indication)
บรรเทาอาการแนนจุกเสียด
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ขับลม
ฤทธิ์ขับลมของขมิ้นชันเปนผลของน้ํามันหอมระเหย3
4.1.2 ฤทธิ์ตานการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ขมิ้นชันสามารถตานการเกิดแผลในกระเพาะ4, 5 โดยกระตุนการหลั่ง mucin มาเคลือบ 6,7 และยับยั้ง
การหลั่งน้ํายอยตาง ๆ7 สารสําคัญในการออกฤทธิ์ คือ curcumin การศึกษาพบวา curcumin ในขนาด 50
มิลลิกรัมตอกิโลกรัม สามารถกระตุนการหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ8แตถาใชในขนาดสูงอาจทําให
เกิดแผลในกระเพาะอาหารได 9, 10
4.1.3 ฤทธิ์ตานเชื้อแบคทีเรีย
เปนที่ทราบกันแนชัดแลววา เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter เปนตนเหตุสําคัญของการเกิดแผลใน
กระเพาะอาหาร เนื่องจาก Helicobacter ทําใหเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกยอยทําลายโดยกรดและน้ํายอยไดงาย
ขึ้น สารสกัดจากเหงาขมิ้นชันรวมกับเหงาขิง (1:1) ดวยเมทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pyroli
ความเขมขนของสารต่ําสุดที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งได 50% (MIC50) เทากับ 50 ไมโครกรัมตอมิลลิลิตร11สาร
สกัดจากเหงาขมิ้นชันแหงดวยเมทานอล และ curcumin จากขมิ้นชัน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ H.
pyroli 19 สายพันธุ รวมทั้งสายพันธุ cagA+ 5 สายพันธุ คา MIC อยูระหวาง 6.25 - 50 ไมโครกรัมตอ
มิลลิลิตร12 Foryst-Ludwig และคณะ ศึกษา curcumin จากขมิ้นชันความเขมขน 40 หรือ 80 ไมโครโมล ไม
มีผลยับยั้ง H. pyroli เมื่อทดสอบโดยการนับจํานวน colony ของเชื้อแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู ไมแตกตางจาก
colony ที่ไมไดรับ curcumin แตพบวา curcumin จะยับยั้งการทํางานของ NF-kappa B ซึ่งกอใหเกิดการอักเสบ
-24-
โดยจะยับยั้งการสลายตัวของ IKBa การทํางานของเอนไซม IKB kinases a และ b และ NF-KB DNA-
binding นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่ง Interleukin 8 และการเปลี่ยนแปลงของเซลล (cell scattering)13
4.1.4 ฤทธิ์ลดการอักเสบ
มีผูรายงานผลการทดลองวาพบฤทธิ์ลดการอักเสบของผงขมิ้นชัน น้ําคั้น5 สารสกัดขมิ้นชันดวย
ปโตรเลียมอีเทอร14, 15 สารสกัดขมิ้นชันดวยแอลกอฮอลและน้ํา15 สารสําคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ
curcumin และอนุพันธ ซึ่งลดการอักเสบไดดี 15-23 เมื่อเปรียบเทียบกับ phenylbutazone พบวามีฤทธิ์พอ ๆ กันใน
กรณีการอักเสบเฉียบพลัน สวนกรณีการอักเสบเรื้อรังมีฤทธิ์เพียงครึ่งเดียวเทานั้น แตฤทธิ์ทําใหเกิดแผลนอยกวา
phenylbutazone18 การทดสอบฤทธิ์ของ curcumin และอนุพันธที่สกัดจากขมิ้นชันพบวา desoxycurcumin ออก
ฤทธิ์แรงที่สุด20 ไดมีผูทดลองสังเคราะหอนุพันธตาง ๆ ของ curcumin และนํามาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
พบวา sodium curcuminate และ tetrahydrocurcumin ออกฤทธิ์ดีกวา curcumin19 โดย curcumin จะมีฤทธิ์ลดการ
อักเสบ เปนสัดสวนกับขนาดที่ใชจนถึงขนาด 30 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม เมื่อใหสูงกวานี้ฤทธิ์จะลดลง20 ตอมามี
รายงานวา curcumin ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห leukotriene B4 ซึ่งทําใหเกิดการอักเสบ24 นอกจาก curcumin
แลว น้ํามันหอมระเหยในเหงาขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบอีกดวย25-27 และมีฤทธิ์ตานฮีสตามีนในระยะแรก
ของการอักเสบ โดยผานกระบวนการยับยั้ง trypsin หรือ hyaluronidase จากฤทธิ์ตานการอักเสบของ curcumin
และน้ํามันหอมระเหยดังกลาว ขมิ้นชันจึงมีผลชวยบรรเทาอาการปวดทองเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได
4.1.5 ฤทธิ์ขับน้ําดี
ขมิ้ นชั นมี ฤทธิ์ ขั บน้ํ าดี 28 สารสํ าคั ญในการออกฤทธิ์ นี้ คื อ curcumin29-34 และ p-tolyl-
methylcarbinol35 ซึ่งสามารถขับน้ําดีและกระตุนการสรางน้ําดี เมื่อฉีด sodium curcuminate เขาหลอดเลือดใน
ขนาด 25 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มน้ําดีเกือบ 100% โดยไมมีผลตอความดันโลหิตและการหายใจ32 เมื่อฉีด
sodium curcuminate เขาหลอดเลือดในขนาด 5, 10, 25 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม พบวาเพิ่มปริมาณน้ําดี แตลดปริมาณ
ของแข็ง เพิ่มการขับ bile salt, bilirubin และ cholesterol แตกรดไขมันไมเปลี่ยนแปลง31 นอกจากนี้ cineole ที่พบ
ในน้ํามันหอมระเหย ยังมีฤทธิ์กระตุนการขับน้ําดีดวย36 จึงทําใหการยอยดีขึ้นเปนผลใหอาการจุกเสียดบรรเทาลง
4.1.6 ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลําไส
ในบางรายโดยเฉพาะผูเ ปน โรคแผลในกระเพาะอาหารมักจะมีอาการปวดเกร็ งรวมดว ย
ขมิ้นชันมีฤทธิ์คลายกลามเนื้อเรียบ5, 35, 37 โดยออกฤทธิ์ตาน acetylcholine, barium chloride และ serotonin5
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาอาการแนนจุกเสียด
ไดมีการทดลองในผูปวยโรคทองอืดทองเฟอในโรงพยาบาล 6 แหง จํานวน 116 ราย แบงกลุม
ผูปวยโดยวิธีสุมเปน 3 กลุม ไดแก กลุมที่ไดรับแคปซูลยาหลอก หรือยา flatulence หรือขมิ้นชัน ทุกกลุม
รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง กอนอาหารและกอนนอน นาน 7 วัน พบวากลุมที่ไดรับยาหลอก
อาการดีขึ้นหรือหายไป 53% ขณะที่กลุมที่ไดรับยา flatulence หรือขมิ้นชันอาการดีขึ้นหรือหายไป 83% หรือ
87% ตามลําดับ ซึ่งแตกตางจากกลุมที่ไดรับยาหลอกอยางมีนัยสําคัญ อัตราการเกิดผลแทรกซอนที่เกิดขึ้นไม
แตกตางกันระหวาง 3 กลุม เปนอาการที่ไมรุนแรงและหายเองได38
-25-
4.2.2 การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร
การทดลองในผูปวยที่ปวดทองเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเปนแผล รับประทานครั้งละ 3
แคปซูล วันละ 4 ครั้ง (รวม 4 กรัม) พบวาไดผลดีเชนกัน39ไดมีการทดลองผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ในคน พบวาใหผูปวยรับประทานแคปซูลผงขมิ้นชัน 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง พบวา 5 คน หายใน 4 อาทิตย
และ 7 คน หายใน 4 - 12 อาทิตย40
จากการศึกษาประสิทธิผลในการรักษาโรคแผลในทางเดินอาหารในผูปวย 25 ราย ที่ไดรับ
การสองกลองเพื่อดูตําแหนงและขนาดของแผล (เสนผาศูนยกลาง 0.5 - 1.5 เซนติเมตร) โดยใหผูปวยรับประทาน
ขมิ้นชัน (300 มิลลิกรัมตอแคปซูล) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง ½ - 1 ชั่วโมง กอนรับประทานอาหาร
เมื่อเวลา 16.00 น. และกอนนอน พบวา 4 สัปดาหหลังการรักษา แผลหายในผูปวย 12 ราย (48%) 8 สัปดาห
หลังการรักษา แผลหายในผูปวย 18 ราย (72%) 12 สัปดาหหลังการรักษา แผลหายในผูปวย 19 ราย (76%)41
4.2.3 ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลําไส
มีการทดลองทางคลินิกในคนไข 440 คน อายุเฉลี่ย 48.5 ป ทดลองโดยใหรับประทานขมิ้นชัน
วันละ 162 มิลลิกรัม พบวามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลําไสได42
4.2.4 การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาอาการทองเสีย
รายงานจากอินโดนีเซียพบวา ขมิ้นชันสามารถใชรักษาอาการทองเสียได 43
4.2.5 การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาแผล
ไดมีผูทดลองรักษาแผลหลังผาตัด 40 ราย พบวาใหผลลดการอักเสบไดเหมือน phenylbutazone16
4.2.6 การศึกษาประสิทธิผลในการลด oxidative stress ในผูปวยธาลาสซีเมีย
การศึกษาฤทธิ์ลด oxidative stress ในผูปวยโรค thalassemia/HbE 21 ราย ของ curcumin
500 มิลลิกรัมตอวัน ติดตอกัน 3 เดือน โดยคณะแพทยศาสตร ศิริราชพยาบาล พบวาชวยลด oxidative stress
และเพิ่ม antioxidant enzymes ทั้ง superoxide dismutase และ glutathione peroxidase และเพิ่ม antioxidant
glutathione ในเลือดผูปวยได44
4.2.7 การศึกษาประสิทธิผลในการปองกันยุงของน้ํามันหอมระเหย
มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ปองกันยุงกัดของโลชั่นปองกันยุงตํารับน้ํามันขมิ้นชัน (2.5%) โดย
กรมวิทยาศาสตรการแพทย พบวาปองกันการกัดของยุงลายบานไดนาน 7 ชั่วโมง และปองกันการกัดของ
ยุงลายสวน ยุงกนปลอง และยุงรําคาญไดนาน 8 ชั่วโมง45
4.2.8 การศึกษาประสิทธิผลในการรักษาสิว
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกที่โรงพยาบาลพระยุพราชธาตุพนมถึงประสิทธิผลในการรักษา
สิวของขมิ้นชัน พบวา ผงขมิ้นชันทาหัวสิวจะชวยทําใหสิวยุบเร็วกวาและหายเร็วกวา46
4.2.9 การศึกษาผลตอถุงน้ําดี
จากการศึกษาผลของ curcumin ตอปริมาตรของถุงน้ําดีในคนปกติ โดยใช ultrasound พบวา
curcumin 20 มิลลิกรัม กระตุนการบีบตัวของถุงน้ําดี ทําใหถุงน้ําดีมีปริมาตรเล็กลง 29% ใน 2 ชั่วโมง47 และ
ขนาดของ curcumin ที่ทําใหปริมาตรของถุงน้ําดีลดลง 50% คือประมาณ 40 มิลลิกรัม 48
-26-
4.2.10 การศึกษาประสิทธิผลในผูปวยโรคมะเร็ง
เมื่อใหสารสกัดขมิ้นชันขนาด 440 และ 2200 มิลลิกรัมตอวัน (curcumin 36 และ 180
มิลลิกรัม) นาน 4 เดือน แกผูปวยโรคมะเร็งลําไสใหญ (colorectal cancer) ที่ดื้อตอเคมีบําบัด 15 คน พบวา
ผูปวยทนยาไดดี ไมเกิดความเปนพิษ ตรวจไมพบ curcumin หรือ metabolites ของ curcumin ในเลือดหรือ
ปสสาวะผูปวย แตตรวจพบ curcumin ในอุจจาระ สารสกัดขมิ้นชันขนาด 440 มิลลิกรัม ทําให lymphocytic
glutathione S-transferase activity ลดลง โดยไมมีผลตอการเกิด DNA adduct ในเม็ดเลือดขาว49
เมื่อให curcumin ในผูปวยมะเร็งที่เปนกลุม high risk หรือมี pre-malignant lesion 25 คน
โดยเริ่มตั้งแตขนาด 500 มิลลิกรัมตอวัน แลวเพิ่มขึ้นเปน 1000, 2000, 4000, 8000 และ 12,000 มิลลิกรัมตอวัน
พบวาไมทําใหเกิดพิษในขนาดที่ต่ํากวา 8000 มิลลิกรัมตอวัน เมื่อรับประทาน curcumin ระดับยาในเลือดขึ้น
สูงสุดใน 1-2 ชั่วโมง แตมีระดับต่ํา มีผูปวย 2 ราย ที่กลายเปนมะเร็งเต็มขั้นแมวาจะไดรับ curcumin แตมีผูปวย
7 คนที่ histology ของ precancerous lesion ดีขึ้น50
4.2.11 การศึกษาในผูปวยโรคเอดส
ศึกษาฤทธิ์ตานไวรัส HIV ของ curcumin ในผูติดเชื้อ 40 ราย ไมพบวาชวยลด viral load หรือ
เพิ่ม CD451
4.2.12 การศึกษาประสิทธิผลในผูปวยมานตาและ ciliary body อักเสบเรื้อรัง
ทดลองใช curcumin 375 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห ในผูปวยมานตาและ ciliary
body อักเสบเรื้อรัง (chronic anterior uveitis) 32 ราย โดย 18 รายไดรับ curcumin อยางเดียว สวนอีก 14 รายได
รับยารักษาวัณโรครวมดวย ผูปวยกลุมแรกทุกคนมีอาการดีขึ้น ขณะที่ผูปวยกลุมที่สองมีอัตราการตอบสนองตอ
การรักษา 86% เมื่อติดตามผลการรักษาใน 3 ปตอมา พบอัตราการกลับเปนซ้ําในกลุมแรก 55% และกลุมหลัง
36% ประมาณ 21-22% ของผูปวยทั้ง 2 กลุม ตาบอดจากสาเหตุตาง ๆ กัน พบวาประสิทธิผลของ curcumin และ
อัตราการกลับเปนซ้ําพอ ๆ กับการรักษาดวย corticosteroid แตทําใหเกิดอาการขางเคียงจากยานอยกวา52
4.2.13 การศึกษาเภสัชจลนศาสตร
จากการศึกษา metabolism ของ curcumin ขนาด 450 - 360 มิลลิกรัมตอวัน นาน 1 สัปดาห
กอนผาตัดในผูปวยมะเร็งลําไสใหญที่แพรไปยังตับ 12 ราย พบวาระดับของ curcumin และ curcumin glucuronide
หรือ sulfate conjugates ในกระแสเลือดและใน portal blood อยูในระดับต่ํา ๆ ของ nanomolar เทานั้น และไม
พบ curcumin ในเนื้อเยื่อตับ นอกจากนี้ ระดับของ malondialdehyde-DNA (M(1)G) adduct หลังไดรับ
curcumin ก็ไมลดลง เมื่อเทียบกับระดับกอนไดรับยา53
เนื่องจากเมื่อให curcumin ทางปากจะใหระดับยาในเลือดที่ต่ํามาก จึงมีการศึกษา metabolism ของ
curcumin โดยใช microsome จากลําไสและจากตับของคน และของหนูขาว พบวา curcumin ถูก metabolized อยาง
มาก โดยเกิด conjugation (glucuronide & sulfate) และ reduction (เปน tetrahydrocurcumin & hexahydrocurcumin)
ในทางเดินอาหาร (ลําไสและตับ) และ metabolism ในลําไสของคนจะเกิดมากกวาในลําไสหนูขาว54
4.2.14 การศึกษาความปลอดภัยของน้ํามันขมิ้นชันทางคลินิกระยะที่ 1
จากการศึกษาความปลอดภัยของน้ํามันขมิ้นชัน (turmeric oil) ทางคลินิกระยะที่ 1 ในคนปกติ 9
ราย กอนที่จะนําไปศึกษาประสิทธิผลในการรักษา oral submucous fibrosis ซึ่งเปน precancerous change ของมะเร็ง
-27-
ชองปากในระยะที่ 2 ตอไปนั้น พบวาเมื่อใหน้ํามันขมิ้นชัน 0.6 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา 1 เดือน ตามดวยขนาด 1
มิลลิลิตร แบงใหวันละ 3 ครั้ง 2 เดือน พบวาอาสาสมัคร 1 คนถอนตัว เนื่องจากมีไข ที่เหลืออีก 7 ราย พบวาไมทํา
ใหเกิดพิษทางคลินิกทางโลหิตวิทยาหรือพิษตอตับหรือไตหลังไดรับน้ํามันขมิ้นชันนาน 1 หรือ 3 เดือน55
5. พิษวิทยา (toxicology)
5.1 การศึกษาฤทธิ์กอกลายพันธุ (mutagenicity)
ไมมีฤทธิ์กอกลายพันธุ
ผลการทดสอบไมมีฤทธิ์กอกลายพันธุใน Salmonella typhimurium สายพันธุ TA 98 และ TA 10056-60
ทั้งขมิ้นชันและ curcumin ไมกอกลายพันธุเมื่อผสมในอาหารหนู 0.5 และ 0.015% ตามลําดับ61
5.2 การศึกษาความเปนพิษในสัตวทดลอง
- การทดสอบความเปนพิษในหนูขาว พบวาทั้งขมิ้นชันและ curcumin ในขนาดที่สูงกวาที่ใชในคน
1.25–125 เทาไมมีผลตอการเปลี่ยนแปลงในดานการเจริญเติบโต และระดับสารเคมีในเลือด16
- การทดสอบพิษเฉียบพลันในหนูเมื่อใหขนาดตาง ๆ ไมพบความผิดปกติตอหนู62-64
- เมื่อติดตามคนไขที่ทดลองทางคลินิก 30 ราย เพื่อประเมินประสิทธิผลของขมิ้นชันในการรักษาแผล
ในทางเดินอาหาร ไมพบอาการผิดปกติ40
- เมื่อให sodium curcuminate ในขนาด 500 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ทางปาก ใตผิวหนัง หรือชองทอง ไมพบ
อันตราย แตถาฉีดเขาหลอดเลือดจะเปนพิษทําใหสัตวทดลองตายได สวนการทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลัน ไมพบพิษ64
- การศึกษาพิษเฉียบพลันของเหงาขมิ้นชันในหนูถีบจักร พบวาหนูที่ไดรับผงขมิ้นชันทางปาก ในขนาด
10 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ไมแสดงอาการพิษใด ๆ และเมื่อใหสารสกัดขมิ้นชันดวยเอทานอล 50% โดยวิธีปอน
ทางปาก ฉีดเขาใตผิวหนัง และทางชองทอง ในขนาด 15 กรัมตอกิโลกรัม ไมทําใหเกิดอาการพิษเฉียบพลัน
และหนูถีบจักรไมตาย ดังนั้น ขนาดของสารสกัดที่ทําใหหนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เมื่อใหโดยวิธีดังกลาวจึง
มากกวา 15 กรัมตอกิโลกรัม65
- การศึกษาพิษเรื้อรังของขมิ้นชันในหนูขาวพันธุวิสตารที่แบงออกเปน 4 กลุม คือ กลุมควบคุมที่
ไดรับน้ํา และกลุมทดลองที่ไดรับผงขมิ้นชันทางปากในขนาด 0.039, 2.5 และ 5.0 กรัมตอกิโลกรัมตอวัน ซึ่ง
เทียบเทากับ 1, 83 และ 166 เทาของขนาดที่ใชในคน คือ 1.5 กรัมตอ 50 กิโลกรัมตอวัน เปนเวลานาน 6 เดือน
พบวาหนูเพศผูที่ไดรับขมิ้นชันขนาด 2.5 และ 5.0 กรัมตอกิโลกรัมตอวัน มีน้ําหนักตัวและการกินอาหารนอย
กวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ แตไมพบการเปลี่ยนแปลงนี้ในหนูเพศเมียที่ไดรับยาขนาดเทากัน ขมิ้นชันใน
ขนาดตาง ๆ ที่ใหแกหนูขาวไมทําใหเกิดอาการพิษใด ๆ รวมทั้งไมมีผลตอคาทางโลหิตวิทยาหรือคาเคมีคลินิก
และไมทําใหเกิดพยาธิสภาพตออวัยวะภายในของหนูขาวทั้งสองเพศ65
- การศึกษาพิษเรื้อรังนาน 6 เดือน ของ curcuminoids ในหนูขาวพันธุวิสตารที่แบงออกเปน 6 กลุม ๆ
ละ 15 ตัวตอเพศ แบงเปนกลุมควบคุมที่ไดรับน้ํา กลุมควบคุมที่ไดรับ tragacanth และ กลุมทดลองที่ไดรับน้ํายา
แขวนตะกอน curcuminoids ใน tragacanth ทางปากในขนาด 10, 50 และ 250 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน ซึ่ง
เทียบเทากับ 1, 5 และ 25 เทาของขนาดที่ใชในคนตอวัน สวนหนูทดลองกลุมที่ 4 ไดรับน้ํายาแขวนตะกอน
curcuminoids ขนาด 250 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน นาน 6 เดือน แตหยุดใหยา 2 สัปดาหกอนผาซาก เพื่อดูวา
-28-
หากมีอาการพิษจาก curcuminoid เกิดขึ้นจะกลับมาหายเปนปกติไดหรือไมหลังจากหยุดยา พบวาอัตราการเจริญ
ของหนูเพศผูที่ไดรับ curcuminoid 50 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน สูงกวากลุมที่ไดรับ tragacanth อยางมี
นัยสําคัญ curcuminoid ไมทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงของคาทางโลหิตวิทยาใด ๆ ที่มีความสัมพันธกับขนาดของ
สารที่ใหในหนูเพศผูที่ไดรับ curcuminoid 250 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน พบวาน้ําหนักจริงและน้ําหนัก
สัมพัทธของตับ และระดับ alkaline phosphate สูงกวากลุมควบคุมทั้งสองกลุม แตยังอยูในชวงของคาปกติ
แมวาหนูกลุมนี้ดูเหมือนจะมีอุบัติการณของไขมันสะสมในตับและชั้น cortex ของตอมหมวกไตสูง แต
อุบัติการณดังกลาวไมไดแตกตางจากกลุมควบคุมทั้งสองอยางมีนัยสําคัญ ผลการศึกษาชี้ใหเห็นวาการให
curcuminoids ในขนาดที่ใชในคน 10 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน ติดตอกันเปนเวลานาน ไมทําใหเกิดพิษในหนู
ขาว อยางไรก็ ตาม curcuminoid ในขนาดสู งอาจมี ผลต อการทํ างานและโครงสร างตั บได แตเป นการ
เปลี่ยนแปลงที่กลับเปนปกติใหมไดเมื่อหยุดใช curcuminoids66
6. ขอหามใช (contraindication)
หามใชในผูที่ทอน้ําดีอุดตัน ผูที่ไวตอยานี้ ผูปวยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทยกอนใชยา1, 67
7. ขอควรระวัง (precaution)
ควรระมัดระวังการใชในหญิงมีครรภ ยกเวนภายใตการดูแลของแพทย68
ควรระวังการใชในเด็ก เนื่องจากยังไมมีขอมูลดานประสิทธิผลและความปลอดภัย1
8. อาการไมพึงประสงค (adverse effect)
ผิวหนังอักเสบจากการแพ 69
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ยาแคปซูล ที่มีผงเหงาขมิ้นชันแหง 250 มิลลิกรัม
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
รับประทานครั้งละ 2 - 4 แคปซูล (500 มิลลิกรัม – 1 กรัม) วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและกอนนอน

เอกสารอางอิง
1. World Health Organization. WHO monographs on selected medicinal plants. Geneva.World Health Organization 1999.
2. Department of Medical Sciences. Thai Herbal Pharmacopoeia. Bangkok: Prachachon 1995.
3. Ross MSF, Brain KK. An introduction to phytopharmacy. London: Pithman Medical Publishing 1977.
4. Gujral ML, Chowdhury NK, Saxena PN. Effect of indigenous remedies on the healing of wounds and ulcers. JIMA.
1953;22(7):273-6.
5. Permpiphat U, Kieatyingungsulee N, Anulakanapakorn K, Jirajariyavech W, Kittisiripornkul S, Chuthaputti U.
Pharmacological study of Curcuma longa. Symposium of the Department of Medicinal Science; 1990 Dec3-4; Bangkok
Thailand.1990.
6. Muderji B, Zaidi SH, Singh GB. Spices & Gastric Function: Part 1 – Effect of Curcuma longa on the gastric secretion in
rabbits. J Sci Ind Res. 1981;20:25 - 8.
7. Rafatullah S, Tariq M, Al-Yahya MA, Mossa JS, Ageel AM. Evaluation of turmeric (Curcuma Longa) for gastric and
duodenal antiulcer activity in rats. J Ethnopharmacol. 1999;29:25-34.
-29-
8. Sinha M, Mukherjee BP, Mukherjee B, Sikdar S, Dasgupta SP. Study of the mechanism of action of curcumin: an
antiulcer agent. Ind J Pharm. 1975;7:98-9.
9. Prasad DN, Gupta B, Srivastava RK, Satyavati GV. Studies on ulcerogenic activity of curcumin. Ind J Physiol Pharma.
1976;20(2):92-3.
10. Gupta B, Kulshrestha VK, Srivastava RK, Prasad DN. Mechanisms of curcumin induced gastric ulcer in rats. Ind J Med
Res. 1980;71:806-14.
11. Mahady GB, Pendland SL, Stoia A, Hamill FA. In vitro susceptibility of Helicobacter pyroli to botanicals used
traditionally for the treatment of gastrointestinal disorder. Phytomedicine. 2000;(suppl II):95.
12. Mahady GB, Pendland SL, Yun G, Lu ZZ. Turmeric (Curcuma longa) and curcumin inhibit the growth of Helicobacter
pyroli, a group 1 carcinogen. Anticancer Res. 2002;22(6C):4179-81.
13. Foryst-Ludwig A, Neumann M, Schneider-Brachert W, Naumann M. Curcumin blocks NF-kB and the motogenic
response in Helicobacter pyroli-infected epithelial calls. Biochem Biophy Res Communications. 2004;316(4):1065-72.
14. Arora RB, Basu N, Kapoor V, Jain AP. Anti-inflammatory studies on Curcuma longa (turmeric). Ind J Med Res.
1971;59:1289-95.
15. Yegnanarayan R, Saraf AP, Balwani JH. Comparison of anti-inflammatory activity of various extracts of Curcuma
longa (Linn). Ind J Med Res. 1976;6(4):601-8.
16. Satoskar RR, Shah SJ, Shenoy SG. Evaluation of anti-inflammatory property of curcumin (diferuloyl methane) in
patients with postoperative inflammation. Int J Clin Pharma Ther Toxi. 1986;24(12):651-4.
17. Ghatak N, Basu N. Sodium curcuminate as an effective anti-inflammatory agent. Ind J Exp Biol. 1972;10(3):235-6.
18. Srimal RC, Dhawan BN. Pharmacology of diferuloyl methane (curcumin) a non-steroidal anti-inflammatory analogs in
rats. J Pharm Pharmacol. 1973;25(6):447-52.
19. Mukhopadhyay A, Basu N, Ghatak N. Anti-inflammatory and irritant activities of curcumin analogs in rats. Agents
Actions. 1982;12(4):508-15.
20. Rao TS, Basu N, Siddiqiu HH. Anti-inflammatory activity of curcumin analogs. Ind J Med Res. 1982;75:574-8.
21. Kunchandy E, Rao MNA. Oxygen radical scavenging activity of curcumin. Int J Pharm. 1990;58(3):237-40.
22. Deodhar SD, Sethi R, Srimal RC. Preliminary study on antirheumatic activity of curcumin (diferuloyl methane). Ind J
Med Res. 1980;71:632-4.
23. Chuthaputti A, Permpiphat U. Anti-inflammatory activity of Curcuma longa Linn. Rhizomes. Bull Dept Med Sci.
1994;36(4):197-209.
24. Ammon HP, Dhawan BN, Srimal RC, Anazodo MI, Safayhi H. Curcumin: a potent inhibitor of leukotriene B4
formation in rat peritoneal polymorphonuclear neutrophils (PMNL). Planta Med. 1992;58(2):226.
25. Gupta SS, Chandra D, Mishra N. Anti-inflammatory and antihyaluronidase activity of volatile oil of Curcuma longa
(Haldi). Ind J Physiol Pharma. 1972;16:264.
26. Chandra D, Gupta SS. Anti-inflammatory and antiarthritic activity of volatile oil of Curcuma longa. Ind J Med Res.
1972;60(1):138-42.
27. Tripathi RM, Gupta SS, Chandra D. Anti-trypsin and antihyaluronidase activity of the volatile oil of Curcuma longa
(Haldi). Ind J Pharm. 1973;5:260-1.
-30-
28. Guttenberg A. Chemische and pharmakologische untersuchungen Uber rhizoma Curcuma magna. Z Ges Exptz Med.
1927;54:642.
29. Franquelo E. Active constituents of Curcuma (Temoelavac). Munch Med Wochchr. 1933;80:524-6.
30. Ramaprasad C, Sirsi M. Indian medicinal plants Curcuma longa –Effect of curcumin and the essential oil of C. longa
on bile secretion. J Sci Res. 1956;16C:262-5.
31. Ramaprasad C, Sirsi M. Curcuma longa and bile secretion; quantitative changes in the bile constituents induced by
sodium curcuminate. Ibid. 1957;16C:108-10.
32. Jentzsch K, Gonda T, Holler H. Paper chromatography and pharmacological action of the pigments of Curcuma. Pharm
Acta Helv. 1959;34:195-9.
33. Gorchakova NK, Grinevich NI, Fogel AN. Curcuma longa L. as a source of bile-expelling drugs. Farmatsiya (Moscow). 1984;33(3):12-3.
34. Grabe F. The choleretic activity of Curcuma domestica. Arch Exp Pathol Pharmacol. 1934;176:673-82.
35. Rumpel W. Zur pharmakologie des divanillal cyclohexanon (DVC). Arch pharm. 1954;287:350-2.
36. Bell GD, Clegg RJ, Cohu MR, et al. Terpene therapy for gallstone. Effects of individual terpenes on bile flow, bile
composition and hepatic cholesterogenesis in the rat. Br J Pharmacol. 1981;721:104-6.
37. Goto M, Noguchi T, Watanaba T, Ishikawa I, Komatsu M, Aramaki Y. Studies on uterus contracting ingredients on
plants. Takeda Kenksusho Nempo. 1957;16:21-7.
38. Thamlikitkul V, Dechatiwongse T, Chantrakul C, et al. Randomized double blind study of Curcuma domestica Val. for
dyspepsia. J Med Assoc Thai. 1989;72(11):613-20.
39. Intanonta A, Meteeveeravongs S, Viboonvipa P, Siatragoon P, Chavalita C, Thalnonngiew D. Treament of abdominal pain
with Curcuma longa Linn: Report submitted to Primary health Care Office, The Ministry of Public Health, Thailand; 1986.
40. Prucksunand C, Indrasukhsri B, Leethocahwalit M, Nilvises N, et al. Effect of the long turmeric (Curcuma longa Linn.)
on healing of peptic ulcer: A preliminary report of 10 case study. Thai J Pharmacol. 1986;8(3):139-51.
41. Prucksunand C, Indrasukhsri B, Leethocahwalit M, Hungspreugs K. Phase II clinical trial on effect of the long turmeric
(Curcuma longa Linn) on the healing of peptic ulcer. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2001;32(1):208-15.
42. Deitilhoff P, Petrowicz O, Muller B. Antidyspeptic properties of turmeric root extract (TRE). Phytomedicine. 2000;7(S2):71.
43. Santoso SO. Research of phytotherapy in Indonesia. The First Princess Chulabhon Science Congress, In termational
Congress on Natural Products. Bangkok, Thailand. Dec 10-13, 1987.
44. Kalpravidh RW, Wichit A, Siritanaratkul N, et al. Effect of curcumin as an antioxidant in ß-thalassemia/HbE patients.
งานมอบรางวัลคุณภาพสมุนไพรไทย ประจําป 2544 และการประชุมวิชาการ ขมิ้นชัน กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวง
สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ (รสพ.) 2544. หนา 94-97.
45. อภิวัฏ ธวัชสิน, อุษาวดี ถาวระ, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ขมิ้นชัน ประสิทธิภาพในการปองกันกําจัดยุง. งานมอบรางวัลคุณภาพ
สมุนไพรไทย ประจําป 2544 และการประชุมวิชาการขมิ้นชัน กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข. 2544. หนา 98-106.
46. คณะวิจัยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม. รายงานวิจัย "การศึกษาสรรพคุณขมิ้นชันในการรักษาสิว" นครพนม; 2538.
47. Rasyid A, Leo A. The effect of curcumin and placebo on human gall-bladder function an ultrasound study. Aliment
Pharmacol Ther. 1999;13(2):245-9.
48. Rasyid A, Rahman AR, Jaalam K, Leo A. Effect of different curcumin dosages on human gall bladder. Asia Pac J Clin
Nutr. 2002;11(4):314-8.
-31-
49. Sharma RA, McLelland HR, Hill KA, et al. Pharmacodynamic and pharmacokinetic study of oral Curcuma estract in
patients with colorectal cancer. Clin Cancer Res. 2001;7(7):1894-900.
50. Cheng AL, Hsu CH, Lin JE, et al. Phase I clinical trial of curcumin, a chemopreventive agent, in patients with high-risk
of pre-malignant lesion. Anticancer Res. 2001;21(4B):2895-900.
51. James JS. Curcumin: clinical trial finds no antiviral effect. AIDS Treat News. 1996(242):1-2.
52. Lal B, Kapoor AK, Asthana OP, et al. Efficacy of curcumin in the management of chronic anterior uveitis. Phytother
Res. 1999;13(4):318-22.
53. Garcea G, Jones DJ, Singh R, et al. Detection of curcumin and its metabolites in hepatic tissue and portal blood of
patients following oral administration. Br J Cancer. 2004;90(5):1011-5.
54. Ireson CR, Jones DJ, Orr S, et al. Metabolism of the cancer chemopreventive agent curcumin in human and rat
intestine. Cancer Epidemiol Biomarker Prev. 2002;11(1):105-11.
55. Joshi J, Ghaisas S, Vaidya A, et al. Early human safety study of turmeric oil (Curcuma longa oil) administration orally
in healthy volumteers. J Assoc Physicians India. 2003;51:1055-60.
56. Shashikanth KN, Hosono A. In vitro mutagenicity of tropical spices to streptomycin-dependent strain of Salmonella
typhimurium TA 98. Agric Biol Chem. 1986;50(11):2947-8.
57. Nagabhusham M, Bhide SV. Nomutagenicity of curcumin and its antimutagenic action versus chili and capsicin. Nutr
Cancer. 1986;8(2):201-10.
58. Shah RG, Netrawali MS. Evaluation of mutagenic activity of tumeric extract containing curcumin, before and after
activation with mammalian cecal microbial extract or liver microsomal fraction, in the Ames Salmonella test. Bull Environ
Contam Toxicol. 1988;40(3):350-7.
59. Nagabhushan M, Nair JU, Amonkar AJ, D'Souza AV, Bhide SV. Curcumins as inhibitors of nitrosation in vitro. Mutat
Res. 1988;202(1):163-9.
60. Nakamura H, Yamomoto T. The active part of the (6) – gingerol molecule in mutagenesis. Ibid. 1983;122(2):87-94.
61. Abraham SK, Kesavan PC. Genotoxicity of garlic, turmeric and asafoetida in mice. Ibid. 1984;136(1):85-8.
62. Ramaprasad G, Sirsi M. Observation on the pharmacology of Curcuma longa. Ind J Physiol Pharma. 1957;1:136-43.
63. Shankar TNB, Shantha NV, Ramesh HP, Murthy IAS, Mruthy VS. Toxicity studies on turmerics (Curcuma longa):
acute toxicity studies in rats, guinea pigs and monkeys. Ind J Exp Biol. 1980;18(1):73-5.
64. Bille N, Larsen JC, Hanssen EV, Wurtzen G. Subchronic oral toxicity of turmeric oleroresin in pigs. Food Chem
toxicol. 1985;23(11):967-73.
65. Sittisomwong N, Leelasangluk V, Chivapat S, et al. Acute and subchronic toxicity of turmeric. Bull Dept Med Sci.
1990;32(8):101-11.
66. Chavalittumrong P, Chivapat S, Rattanajarasroj S, et al. Chronic toxicity study of curcuminoids in rats. Songklanakarin
J Sci Technol. 2002;24(2):633-47.
67. German Commission E Monograph, Curcumae longae rhizoma. Bundesanzeiger 1985, 223-30 November.
68. Farnsworth NF, Bunyapraphatsara N. Thai medicinal plants, recommended for a primary health care system. Bangkok:
Prachachon 1992.
69. Seetharam KA, Pasricha JS. Condiments and contact dermatitis of the finger-tips. Indian journal of dermatology,
venereology and leprology. 1987;53:325-8.
-32-
(2) ขิง
1. ชื่อสามัญ (ไทย) ขิง
(อังกฤษ) Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร Zingiber officinale Roscoe
ชื่อวงศ Zingiberaceae
ชื่อทองถิ่น -
2. องคประกอบ
เหงาขิง (dried rhizome) ควรมีน้ํามันหอมระเหย ไมนอยกวา 2% v/w1, 2
3. ขอบงใช (indication)
ปองกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ1,3,4 (prophylaxis and relief of nausea
and vomiting associated with motion sickness)
ปองกันอาการคลื่นไส อาเจียน หลังการผาตัด5 (prevention of postoperative nausea and vomiting)
ตามตําราแพทยแผนไทยใชเพื่อบรรเทาอาการทองอืด จุกเสียด แนนทอง6 (แกลมในกองไฟธาตุให
กระจาย แกจุกเสียด แกลมพรรดึก หมายถึง ชวยขับลมในกรณีทองผูก) (dyspepsia3)
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ตอระบบทางเดินอาหาร
สารสกัดเหงาขิงดวยอะซีโตน มีฤทธิ์ทําใหเพิ่มการหลั่งน้ําดีในลําไสเล็กสวนตนของหนู
หลังจากไดรับสารสกัดเหงาขิง 3 ชั่วโมง โดยสารสกัดเหงาขิงดวยน้ํา ไมมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ําดี พบวาสารที่
ออกฤทธิ์นี้คือ [6]- และ [10]-gingerol7นอกจากนี้การใหสารสกัดเหงาขิง ในขนาดรับประทาน 75 มิลลิกรัมตอ
กิโลกรัม ในหนูสามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะและลําไสได โดยมีฤทธิ์เทากับหรือนอยกวาฤทธิ์ของ
metoclopramide ในขนาด 10 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม และ domperidone เพียงเล็กนอยเทานั้น8
4.1.2 ฤทธิ์ตานเชื้อ Helicobacter pylori
สารสกัดขิงดวยเมทานอล สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Helicobacter pylori 19 สายพันธุ
รวมทั้งสายพันธุ cagA+ ซึ่งมีความสัมพันธกับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและลําไสใหญ9 และสวนสกัดยอย
ของสารสกัดดวยเมทานอล ซึ่งมี gingerols เปนสารสําคัญ สามารถยับยั้งเชื้อดังกลาวไดที่ MIC 0.78-12.5
ไมโครกรัมตอมิลลิลิตร
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 ฤทธิ์ปองกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ
ขิงผงขนาด 940 มิลลิกรัมมีประสิทธิผลดีกวา dimenhydrinate ขนาด 100 มิลลิกรัม ในการ
ปองกันการเกิด motion sickness จากการนั่งเกาอี้หมุน10จากการออกฤทธิ์ผานทางเดินอาหารโดยการเพิ่มการ
เคลื่อนไหวของกระเพาะ10, 11
-33-
จากการศึกษาในนักเรียนนายเรือ พบวาขิงผง 1 กรัม สามารถลดแนวโนมในการเกิดการ
อาเจียน และอาการเหงื่อออกตัวเย็น (cold sweat) จากการเมาเรือไดดีกวายาหลอกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
หลังรับประทานยา 4 ชั่วโมง12
ในการเปรียบเทียบประสิทธิผลในการปองกันการเมาเรือของยา 7 ชนิด ไดแก cinnarizine,
cinnarizine + domperidone, cyclizine, dimenhydrinate + caffeine, ginger root, meclozine + caffeine,
scopolamine TTS ในอาสาสมัคร 1489 ราย แบบ double-blind, randomized controlled trial พบวาขิงมี
ประสิทธิผลไมแตกตางจากยาอื่น13
มีการศึกษาพบวาขิงผงขนาด 1 กรัมตอวัน สามารถปองกันอาการคลื่นไสจากเมารถ เมาเรือได
และการเพิ่มขนาดใชเปน 2 กรัมตอวันไมทําใหประสิทธิผลในการปองกันเพิ่มขึ้น14
4.2.2 ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในหญิงตั้งครรภ
จากการศึกษาในหญิงตั้งครรภ 3 เดือนแรก จํานวน 27 ราย พบวาขิงผงในขนาด 1 กรัมตอ
วัน แบงใหวันละ 4 ครั้ง รับประทานติดตอกัน 4 วันใหผลบรรเทาอาการคลื่นไสไดดีกวายาหลอก15 สวน
การศึกษาในประเทศไทย ในสตรีมีครรภ 70 ราย พบวากลุมที่รับประทานขิงขนาด 1 กรัมตอวัน นาน 4 วัน มี
ความรุนแรงของอาการคลื่นไสและจํานวนครั้งของการอาเจียนนอยกวากลุมที่ไดรับยาหลอก16นอกจากนี้ยังมี
การศึกษาโดยใหหญิงที่ตั้งครรภไมเกิน 20 สัปดาหจํานวน 120 คน รับประทานสารสกัดขิงขนาด 125 มิลลิกรัม
(เทียบเทาขิงแหง 1.5 กรัม) วันละ 4 ครั้ง นาน 4 วัน พบวากลุมที่ไดรับสารสกัดขิงมีอาการคลื่นไสและ retching
(การขยอน) นอยกวากลุมที่ไดรับยาหลอก17 สวนการศึกษาประสิทธิผลของยาน้ําเชื่อมขิง (ginger syrup)
1 ชอนโตะ ผสมในน้ํารอนหรือน้ําเย็น 4-8 ออนซ วันละ 4 ครั้ง พบวา 67% (8 ใน 12 ราย) ของกลุมที่
รับประทานยาน้ําเชื่อมขิงหยุดอาเจียนในวันที่ 6 เทียบกับ 20% (2 ใน 10 ราย) ในกลุมที่ไดรับยาหลอก18
อยางไรก็ตาม มีหลายหนวยงานเชน Commission E, The American Herbal Products
Association (AHPA), Health Canada ไดระบุหามใชเหงาขิง(แหง) ในสตรีมีครรภ
4.2.3 ฤทธิ์ปองกันและบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในผูปวยหลังการผาตัด
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียนของขิงกับยาหลอก และ
metoclopramide ในหญิงที่ไดรับการผาตัดแบบ gynecological surgery 60 ราย พบวาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการ
คลื่นไส อาเจี ยนของขิ งและ metoclopramide ไมตางกั นแตใหประสิทธิผลดี กวายาหลอกอย างมี นั ยสํ าคัญ19
เชนเดียวกับการศึกษาในผูปวยหญิงที่ไดรับการผาตัดแบบ laparoscopic gynecological 120 ราย เปรียบเทียบระหวาง
ขิง, metoclopramide และยาหลอก การเกิดอาการคลื่นไส อาเจียนในผูปวยที่ไดรับขิงกับ metoclopramide ใกลเคียงกัน
และเกิดนอยกวาผูปวยที่ไดรับยาหลอก ความตองการยาแกคลื่นไส อาเจียนในผูปวยที่ไดรับขิงมีนอยกวา และอาการ
ขางเคียง เชน การสงบประสาท (sedation), การเคลื่อนไหวผิดปกติ (abnormal movement), อาการคัน (itch) และการ
รบกวนการเห็น (visual disturbance) ระหวางผูปวยทั้ง 3 กลุมไมแตกตางกัน20นอกจากนี้ การศึกษาในประเทศไทยใน
ผูปวยที่ไดรับการผาตัดแบบ laparoscopic gynecological surgery 80 ราย แบงเปนกลุมที่ไดรับขิง 2 แคปซูล (1 แคปซูล
บรรจุขิงผล 500 มิลลิกรัม) และกลุมที่ไดรับยาหลอก 2 แคปซูล กอนดําเนินการ(กอนผาตัด 1 ชั่วโมง โดยประเมิน
จากคา visual analog nausea score (VANS) และจํานวนครั้งในการเกิด (incidence) อาการอาเจียนที่ 2, 4 และ 24 ชั่วโมง
หลังการผาตัด พบวาคา VANS ในกลุมที่ไดรับขิงนอยกวากลุมที่ไดรับยาหลอกอยางมีนัยสําคัญที่ 2 และ 4 ชั่วโมง
-34-
หลังการผาตัด แตไมแตกตางกันที่ 24 ชั่วโมง สวนการเกิด (incidence) และความถี่ (frequency) ของการอาเจียนใน
กลุมที่ไดรับขิงนอยกวากลุมที่ไดรับยาหลอก แตไมแตกตางอยางมีนัยสําคัญ21
ในชวงแรกแมผลการศึกษาแบบ systematic review พบวา การใชขิงในผูปวยหลังการผาตัด
ไมไดผลและไมมีหลักฐานที่แนชัดในการบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียนหลังการผาตัด22, 23 แตในระยะตอมา
ไดมีการศึกษาแบบ meta-analysis ที่โตแยงผลดังกลาว ซึ่งมีความแตกตางของการศึกษาที่นํามาวิเคราะห
ลดลงโดยเฉพาะขนาดยาและการวัดประสิทธิผล รวมทั้งไดนําผลการศึกษา randomized placebo-controlled
trial ที่เพิ่งวิจัยเสร็จอีก 1 รายงาน เขาไวดวย ผลการศึกษาพบวา ขิงขนาดไมนอยกวา 1 กรัมมีประสิทธิภาพ
มากกวายาหลอกในการปองกันอาการคลื่นไส อาเจียนหลังการผาตัด หรืออาการอาเจียนหลังการผาตัด
4.2.4 ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน ในผูปวยที่ไดรับเคมีบําบัด
การรักษาผูปวยโรคมะเร็งดวยเคมีบําบัดมีผลขางเคียงที่พบบอยที่สุดคือ อาการคลื่นไส อาเจียน
ซึ่งคอนขางรุนแรง จึงไดมีการศึกษาโดยใหผูปวย gynecologic cancer จํานวน 48 คน ที่ไดรับ cisplatin เพื่อการ
รักษามะเร็ง โดยผูปวยจะไดรับยาแกคลื่นไส อาเจียนมาตรฐานในวันแรก (standard antiemetic) กลุมที่ไดรับยาขิง
จะรับประทานขิงผงแคปซูลขนาด 1 กรัมตอวัน นาน 5 วัน เริ่มรับประทานตั้งแตวันแรกที่ไดรับการรักษามะเร็ง
สําหรับกลุมที่ไดรับยาหลอกและ metoclopramide จะไดรับยาหลอกในวันแรกของการรักษามะเร็ง หลังจากนั้น
จึงไดรับ metoclopramide นาน 4 วัน และมีการสลับระหวางกลุมทั้งสองในรอบการรักษาถัดไป (next cycle)
พบวาการควบคุมอาการคลื่นไส อาเจียนไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทั้งใน acute phase และ delay phase
ในขณะที่มีอาการกระสับกระสาย (restlessness) ในกลุมที่ไดรับยาหลอกและ metoclopramide เกิดขึ้นไดมากกวา
ในกลุมที่ไดรับยาขิง ดังนั้นยาขิงใน acute phase ไมสามารถบรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียนได สวนใน delay phase
มีประสิทธิผลไมแตกตางจากการให metoclopramide อยางมีนัยสําคัญ24
4.2.5 ฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบ
ผูปวย Osteoarthritis บริเวณเขาที่มีความปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง 261 ราย ไดรับสารสกัดขิง
หรือยาหลอกวันละ 2 ครั้ง พบวาขิงสามารถบรรเทาอาการปวดดีกวายาหลอกไดอยางมีนัยสําคัญ และมีอาการ
ไมพึงประสงค (adverse effect) บริเวณทางเดินอาหารในกลุมที่ไดรับสารสกัดขิง (51 ราย) มากกวากลุมที่ไดรับ
ยาหลอก (29 ราย) ดังนั้นสารสกัดขิงสามารถบรรเทาอาการปวดไดในระดับปานกลาง มีความปลอดภัยสูงโดยมี
เพียงอาการไมพึงประสงคบริเวณทางเดินอาหารอยางออนเทานั้น25 ในการศึกษาการบรรเทาอาการปวดในผูปวย
osteoarthritis บริเวณเขาและสะโพก โดยดูจากคา visual analogue scale ของอาการปวดเปรียบเทียบกันระหวาง
ยา ibuprofen, สารสกัดขิง และยาหลอก ปรากฏวายา ibuprofen มีฤทธิ์ในการบรรเทาปวดไดดีกวาสารสกัดขิง และ
ยาหลอกตามลําดับ แตในการศึกษาแบบ cross-over ฤทธิ์บรรเทาปวดระหวางสารสกัดขิงกับยาหลอกไมมีความ
แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ26เชนเดียวกับการศึกษาในผูปวยขอเขาอักเสบ (gonarthritis) 29 ราย ที่ไดรับสารสกัดขิง
(เหงาขิง 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง) นาน 6 เดือน สารสกัดขิงมีประสิทธิผลในระยะ 3 เดือนแรก เทากับยาหลอก
แตในระยะ 3 เดือนหลังการ cross-over สารสกัดขิงสามารถบรรเทาปวดไดดีกวายาหลอก อยางมีนัยสําคัญ27
5. พิษวิทยา (toxicology)
การศึกษาแบบ in vitro พบวา gingerol และ shogaol มีฤทธิ์เปนสารกอการกลายพันธุได15, 28 โดย gingerol
จะมีฤทธิ์เปนสารกอการกลายพันธุที่แรงกวา shogaol ในขณะที่ zingerone ซึ่งมีอยูในขิงดวยนั้น ก็มีฤทธิ์เปนสาร
-35-
ตานการกลายพันธุไดเชนกัน15, 29
6. ขอหามใช (contraindication)
ยังไมมีขอมูล
7.ขอควรระวัง (precaution)
ควรระวังในการรับประทานขิงรวมกับยาในกลุม anticoagulant, ผูปวยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทยกอน
รับประทานขิง1, 30และไมแนะนําใหรับประทานในเด็กอายุต่ํากวา 6 ขวบ1
8. อาการไมพึงประสงค (adverse effect)
อาการแสบรอนบริเวณทางเดินอาหาร อาการระคายเคืองบริเวณปากและคอ1, 30
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ยาแคปซูล ที่มีผงเหงาขิง(แหง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม
ยาผง ที่มีเหงาขิง(แหง) ซองละ 1 กรัม
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
ฤทธิ์บรรเทาอาการทองอืด ขับลม จุดเสียด แนนทอง รับประทาน 2 - 4 กรัมตอวัน1, 3
ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส อาเจียน จากการเมารถ เมาเรือ รับประทานวันละ 1 - 2 กรัม4, 31
ฤทธิ์ปองกันอาการคลื่นไส อาเจียน หลังการผาตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม กอนการผาตัด 1 ชั่วโมง5

เอกสารอางอิง
1. Wolrd Health Organization. WHO monographs on selected medicinal plants. Malta 1999. p. 277-87.
2. ASEAN Countries. Standard of ASEAN Herbal Medicine. Jakarta: Aksara Buana Printing 1993. p. 447-58.
3. American Botanical Council. The Complete German Commission E Monographs Therapeutic Guide to Herbal
Medicines. Austin, Texas: Intregrative Medicine Communications 1998.
4. Pharmacopoeia of the People's Republic of China. Vol. I. (English Edition 2000). p. 234-5.
5. Chaiyakunapruk N, Kitikannakorn N, Nathisuwan S, Leeprakobboon K, Leelasettagool C. The efficacy of
ginger for the prevention of postoperative nausea and vomiting: A meta-analysis. American Journal of Obstetrics
and Gynecology. 2006;194:95-9.
6. ตําราแพทยศาสตรสงเคราะห ฉบับหลวง, กระทรวงสาธารณสุขรวบรวมเปนเลมเดียว จากตนฉบับของหอพระ
สมุดวชิรญาณ พิมพครั้งแรก พ.ศ. 2497. หนา 300, 311.
7. Yamahara J, Miki K, et al. Cholagogic effect of ginger and its active constituents. J Ethnopharmacol. 1985;13(2):217-26.
8. Yamahara J, Huang Q, Li Y, Xu L, Fujimura H. Gastrointestinal motility enhancing effect of ginger and its
active constituents. Chem Pharm Bull. 1990;38:430-1.
9. Mahady GB, Pendland SL, Yun GS, Lu ZZ, Stoia A. Ginger (Zingiber officinale Roscoe) and the gingerols
inhibit the growth of Cag A+ strains of Helicobacter pylori. Anticancer Res. 2003;23(5):3699-702.
10. Mowrey BB, Clayson DE. Motion sickness, ginger, and psychophysics. Lancet. 1982;1:655-7.
11. Holtmann S, Clarke AH, Scherer H, Hohn M. The anti-motion sickness mechnism of ginger. A comparative
study with placebo and dimenhydrinate. Acta otolaryngol. 1989;108(3-4):168-74.
-36-
12. Grontved A, et al. Ginger root against seasickness. A controlled trial on the open sea. Acta otolaryngol.
1988;105:45.-9.
13. Schmid R, et al. Comparison of seven commonly used agents for prophylaxis of seasickness. J Travel
Medicine. 1994;1:203-6.
14. Lien HC, Sun WM, Chen YH, et al. Effects of ginger on motion sickness and gastric slow-wave dysrythmias
induced by circular vection. Am J Physiol Gastrointest Liver Physiol. 2003;284:G481-9.
15. Fischer-Rasmussen W, Kjaer SK, Dahl C, Asping U. Ginger treatment of hyperemesis gravidarum. Eur J
Obstet Gynecol Reprod Biol. 1991 Jan 4;38(1):19-24.
16. Vutyavanich T, Kraisarin T, Ruangsri R. Ginger for nausea and vomiting in pregnancy: randomized, double-
masked, placebo-controlled trial. Obstet Gynecol. 2001;97(4):577-82.
17. Willetts KE, Ekangaki A, Eden JA. Effect of a ginger extract on pregnancy-induced nausea: a randomized
controlled trial. Aust N Z J Obstet Gynaecol. 2003;43(2):139-44.
18. Keating A, Chez RA. Ginger syrup as an antiemetic in early pregnancy. Altern Ther Health Med. 2002;8(5):89-91.
19. Bone ME, Wilkinson DJ, Young JR, McNeil J, Charlton S. Ginger root--a new antiemetic. The effect of ginger root on
postoperative nausea and vomiting after major gynaecological surgery. Anaesthesia. 1990;45:669-71.
20. Phillips S, Hutchinson S, Ruggier R. Zinger officinale (ginger)-An antiemetic for day case surgery. Anaesthesia. 1993;48:715-7.
21. Pongrojpaw D, Chiamchanya C. The efficacy of ginger in prevention of post-operative nausea and vomiting
after outpatient gynecological laparoscopy. J Med Assoc Thai. 2003;86:244-50.
22. Betz O, Kranke P, Geldner G, Wulf H, Eberhart LH. [Is ginger a clinically relevant antiemetic? A systematic
review of randomized controlled trials]. Forsch Komplementarmed Klass Naturheilkd. 2005 Feb;12(1):14-23.
23. Morin AM, Betz O, Kranke P, Geldner G, Wulf H, Eberhart LH. [Is ginger a relevant antiemetic for
postoperative nausea and vomiting?]. Anasthesiol Intensivmed Notfallmed Schmerzther. 2004 May;39(5):281-5.
24. Manusirivithaya S, Sripramote M, Tangjitgamol S, Sheanakul C, et al. Antiemetic effect of ginger in
gynecologic oncology patients receiving cisplatin. Int J Gynecol Cancer. 2004 Nov-Dec;14(6):1063-9.
25. Altman RD, Marcussen KC. Effects of a ginger extract on knee pain in patients with osteoarthritis. Arthritis
Rheum. 2001 Nov;44(11):2531-8.
26. Bliddal H, Rosetzsky A, Schlichting P, Weidner MS, Andersen LA, Ibfelt HH, et al. A randomized, placebo-
controlled, cross-over study of ginger extracts and ibuprofen in osteoarthritis. Osteoarthritis Cartilage. 2000 Jan;8(1):9-12.
27. Wigler I, Grotto I, Caspi D, Yaron M. The effects of Zintona EC (a ginger extract) on symptomatic
gonarthritis. Osteoarthritis Cartilage. 2003 Nov;11(11):783-9.
28. Nagabhushan M, Amonkar AJ, Bhide SV. Mutagenicity of gingerol and shogaol and antimutagenicity of
zingerone in Salmonella/microsome assay. Cancer Lett. 1987 Aug;36(2):221-33.
29. Nakamura H, Yamamoto T. The active part of the [6]-gingerol molecule in mutagenesis. Mutat Res. 1983 Nov;122(2):87-94.
30. Anonymous.Ginger.[cited2005July29];Availablefrom: http://www.umm.edu/altmed/ConsHerbs/Gingerch.html
31. Newall CA, Anderson LA, Phillipson JD. Herbal medicines: a guide for health-care professionals. London:
Pharmaceutical Press 1996. p. 296.
-37-
(3) ชุมเห็ดเทศ
1. ชื่อสามัญ (ไทย) ชุมเห็ดเทศ
(อังกฤษ) Candelabra bush, Candle Bush, Ringworm bush
ชื่อวิทยาศาสตร Senna alata (L.) Roxb.
Cassia alata L. (ชื่อพอง)
ชื่อวงศ Leguminosae
ชื่อทองถิ่น ขี้คาก ชุมเห็ดใหญ ตะสีพอ ลับมืนหลวง หมากกะลิงเทศ
2. องคประกอบ
ใบชุมเห็ดเทศ ควรมีสารสําคัญ hydroxyanthracene derivatives ไมนอยกวา 1.0% w/w (โดยคํานวณ
เปน rhein-8-glucoside)1
3. ขอบงใช (indication)
บรรเทาอาการทองผูก2
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ตอการหดตัวของลําไสเล็กสวนปลายของหนูตะเภา3
สารสกัดชุมเห็ดเทศดวยน้ํา ขนาดเทียบเทาผงชุมเห็ดเทศแหง 5 มิลลิกรัม ใน physiological
solution 1 มิลลิลิตร สามารถทําใหสําไสสวนปลายของหนูตะเภาหดตัวได คิดเปน 25% ของฤทธิ์ของ
histamine 1 ไมโครกรัม ใน physiological solution 1 มิลลิลิตร
4.1.2 ฤทธิ์ในการเปนยาระบายของใบชุมเห็ดเทศในหนูถีบจักร4
เมื่อกรอกสารสกัดชุมเห็ดเทศแหงดวยน้ํา แกหนูถีบจักรเพศผูและเพศเมีย จับเวลาตั้งแตกรอกยา
จนกระทั่งหนูเริ่มถายเหลว (onset time)
สารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยน้ํา ระยะเวลาตั้งแตกรอกยาถึงเริม่ ถาย (นาที)

เทียบเทาผงใบชุมเห็ดเทศแหง(กรัม/กิโลกรัม) เพศผู เพศเมีย


5 202.8 + 20.7 181.2 + 25.3
10 135.7 + 14.2 137.4 + 11.6
20 124.8 + 8.1 132.9 + 8.6
พบวาสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยน้ํา ขนาดที่ทดลองทําใหหนูถายเหลวโดยที่ onset time ไมมีความ
แตกตาง กันระหวางเพศผูและเพศเมีย onset time ในหนูกลุมที่ไดรับชุมเห็ดเทศ 10 และ 20 กรัมตอกิโลกรัม ไม
แตกตางกัน แตชุมเห็ดเทศขนาด 5 กรัมตอกิโลกรัม ทําใหถายเหลวชากวาขนาด 10 และ 20 กรัมตอกิโลกรัม
4.1.3 ฤทธิ์ตอการเคลื่อนไหวของสําไส (GI motility) ของหนูถีบจักร4
กรมวิทยาศาสตรการแพทยไดทําการศึกษาผลของสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยน้ํา ตอการเคลื่อน
ไหวของสําไสหนูถีบจักร โดยการใหสารสกัด 0.3 มิลลิลิตร แลวตามดวย 0.5 มิลลิลิตร 0.4% indian ink ใน
Bacto-agar 1.5% แลวหาอัตราสวนของระยะทางที่ agar เคลื่อนไปในลําไสเล็กตอความยาวของลําไสเล็ก
-38-
(% transit) เปรียบเทียบกับกลุมควบคุมที่ไดรับน้ําแทนสารสกัด จากการทดลองพบวา สารสกัดที่มีขนาด
เทียบเทาผงใบชุมเห็ดเทศแหง 10 กรัมตอกิโลกรัม และ 20 กรัมตอกิโลกรัม มีผลเพิ่มการเคลื่อนไหวของลําไส
โดย % transit ของกลุมทดลองสูงกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 การศึกษาฤทธิ์ในการรักษาอาการทองผูก2
ไดมีการศึกษาประสิทธิภาพของชุมเห็ดเทศ ในการรักษาอาการทองผูกในโรงพยาบาลชุมชน
5 แหง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แหง โดยใชแบบแผนการทดลองทางคลินิกเดียวกัน และผูปวยไมถายอุจจาระ
ติดตอกันนานเกินกวา 72 ชั่วโมง การแบงกลุมผูปวยทําโดยวิธีสุม กลุมยาหลอกไดรับน้ําเติมสีคาราเมล 120
มิลลิลิตร กลุมมิสทแอลบา ไดรับยา 30 มิลลิลิตร และน้ํา 90 มิลลิลิตร กลุมชุมเห็ดเทศไดรับน้ําละลายชุมเห็ด
เทศ ซึ่งไดจากผงใบใบชุมเห็ดเทศ ปริมาณ 3-6 กรัมบรรจุในถุงกระดาษและแชละลายในน้ําเดือด 120 มิลลิลติ ร
นาน 10 นาที ผูปวยทุกรายไดสารดังกลาวกอนนอนประเมินผลจากการถายอุจจาระหรือไมภายใน 24 ชั่วโมง
หลังการใหยา ผลการศึกษาพบวามีผูปวยทั้งหมด 80 ราย 28 รายไดรับยาหลอก, 28 รายไดรับมิสทแอลบา
(Mist Alba) และ 24 รายไดรับชุมเห็ดเทศ ลักษณะตาง ๆ ของผูปวยทั้ง 3 กลุมไมแตกตางกัน รอยละ 18, 86
และ 83 ของผูปวยกลุมท่ําดรับยาหลอก มิสทแอลบา และชุมเห็ดเทศ ดีกวายาหลอกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
และมีความสําคัญทางคลินิก จํานวนผูปวยที่มีอาการขางเคียงจากการรักษาไมแตกตางกันระหวางกลุมทั้งสาม
ยกเวนอาการทองเสีย ซึ่งพบบอยกวาในกลุมที่ไดรับมิสท แอลบา ผูปวยที่ไดรับชุมเห็ดเทศ มีความพึงพอใจตอ
การรักษามากกวาผูปวยที่ไดรับยาหลอก สรุปไดวา ใบชุมเห็ดเทศมีประสิทธิภาพดีในการรักษาอาการทองผูก
4.2.2 การศึกษาในคนไขที่เปนโรคกลากและเกลื้อน
การทดลองฤทธิ์ตานเชื้อราของชุมเห็ดเทศที่เปนรูปแบบครีมเขมขน 20% ในคนไขที่เปนโรค
เกลื้อน 10 ราย และโรคกลาก 30 ราย โดยทําการศึกษาเปรียบเทียบกับการใชขี้ผึ้ง whitfield พบวาไดผลใกลเคียงกัน
แตไมไดผลในผูปวยที่มีรอยโรคที่ผมและเล็บ5
5. พิษวิทยา (toxicology)6
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยแอลกอฮอล 50% พบวาไมปรากฏอาการพิษ
เฉียบพลันใด ๆ ในหนูถีบจักร เมื่อใหทางปากขนาด 15 กรัมตอกิโลกรัม ขนาดของสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวย
แอลกอฮอล50% ที่ทําใหหนูถีบจักรตายรอยละ 50 (LD50) พบวา ขนาดที่ใหทางปากและใตผิวหนังมากกวา 15 กรัม
ตอกิโลกรัม และทางชองทอง 8.03 กรัมตอกิโลกรัม ไมพบพิษของสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยแอลกอฮอล 85% เมื่อ
ฉีดเขาทางชองทองหนูถีบจักรในขนาด 2 กรัมตอกิโลกรัม หรือสารสกัดใบชุมเห็ดเทศดวยแอลกอฮอล 50% เมื่อให
หนูถีบจักรกินหรือฉีดเขาใตผิวหนังขนาด 10 กรัมตอกิโลกรัม ขนาดของสารสกัดจากสวนเหนือดินของชุมเห็ดเทศ
ดวยแอลกอฮอล 50% ที่ทําใหหนูถีบจักรตายเปนจํานวนครึ่งหนึ่ง คือ 1 กรัมตอกิโลกรัม เมื่อฉีดเขาทางชองทอง
การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังของผงใบชุมเห็ดเทศในหนูขาว (พันธุ Wistar) 4 กลุม ๆ ละ 24 ตัว (เพศผู 12, เพศเมีย 12)
ระยะเวลา 6 เดือน ประกอบดวย กลุมควบคุมและกลุมที่ไดรับยาขนาด 0.03, 0.15 และ 0.75 กรัมตอกิโลกรัมตอวัน
ซึ่งเทียบกับ 1, 5 และ 25 เทาของขนาดที่ใชในการรักษาในคน คือ 1.5 กรัมตอวันตอคน (หนัก 50 กิโลกรัม) ผล
ปรากฏวาหนูขาวทั้งเพศผูและเพศเมียทุกกลุมมีการเจริญเติบโตปกติการตรวจสอบทางโลหิตวิทยาและชีวเคมี ไม
ปรากฏความผิดปกติหรือแสดงใหเห็นถึงพยาธิสภาพในระบบตาง ๆ ของรางกายสัตวทดลอง การตรวจสอบอวัยวะ
-39-
ภายในตาง ๆ จากลักษณะภายนอกและน้ําหนักไมพบความผิดปกติ ผลการตรวจสอบทางจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะ
ภายในตาง ๆ ของสัตวทดลองไมพบพยาธิสภาพอันเนื่องจากการไดรับผงใบชุมเห็ดเทศในขนาดตาง ๆ
6. ขอหามใช (contraindication)
ผูปวยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน (gastrointestinal obstruction)
7. ขอควรระวัง (precaution)1
7.1 ระมัดระวังการใชในเด็กอายุต่ํากวา 12 ป หรือในผูปวย inflammatory bowel disease
7.2 การรับประทานยาในขนาดสูงอาจทําใหเกิดไตอักเสบ (nephritis)
7.3 ไมควรใชติดตอกันเปนเวลานาน เพราะจะทําใหทองเสีย ซึ่งสงผลใหมีการสูญเสียน้ําและเกลือแร
มากเกินไป โดยเฉพาะโปแตสเซี่ยม
7.4 เนื่องจากแอนทราควิโนนในใบชุมเห็ดเทศมีฤทธิ์กระตุนใหลําไสใหญมีการบีบตัวเพื่อขับถาย
การใชติดตอกันเปนระยะเวลานานจะทําใหลําไสใหญชินตอยา ถาไมใชจะไมถายเชนเดียวกับยาระบายอื่นที่มี
ฤทธิ์กระตุนลําไสใหญ เชน มะขามแขก7
7.5 ระมัดระวังการใชในหญิงตั้งครรภและใหนมบุตร
8. อาการไมพงึ ประสงค (adverse effect)1
อาจทําใหเกิดอาการปวดมวนทอง เนื่องจากการบีบตัวของลําไสใหญ
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ยาผง ที่มีใบชุมเห็ดเทศแหง ซองละ 3 กรัม8
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)2, 5
รับประทานครั้งละ 1-2 ซอง ( 3-6 กรัม) ชงในน้ําเดือด 120 มิลลิลิตร นาน 10 นาที วันละ 1 ครั้ง กอนนอน

เอกสารอางอิง
1. Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia Vol.1. Bangkok: Prachachon 1995. p. 17-23.
2. Thamlikitkul V, Bunyapraphatsara N, Dechatiwongse T, et al. Randomized controlled trial of Cassia alata Linn.
for constipation. J Med Assoc Thai 1990;73:217-22.
3. เสาวรส อิ่มวิทยา, นันทพร นิลวิเศษ, เพลินพิศ ดิษฐประสพ. รายงานเรื่องการใชชุมเห็ดเทศทองพันชั่งและราชดัด รักษา
โรคกลากเกลื้อน เสนอสํานักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน ภายใตความชวยเหลือของยูนิเซฟ 2529. หนา 1-21
4. กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย. คูมือสมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน: Text and
Journal Corporation 2531. หนา 42.
5. นันทวัน บุญยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. สมุนไพรพื้นบาน: บริษัทประชาชน จํากัด 2539. หนา 852-854.
6. Sittisomwong N, Chivapat S, Wangmad A, et al. Toxicity of Cassia alata. Bull Dept Med sci. 1991;33:145-54.
7. ASEAN Countries. Standard of ASEAN Herbal Medicine Vol.1. Jakarta: Aksara Buana Printing 1993. p.126
8. Dechatiwongse T, Chavalittumrong P. Spectification of Cassia alata. In: Phytochemistry Section, Division of
Medicinal Research, Department of Medical Sciences. Quality evaluation of vegetable brugs report of
phytochemical activities under the project Thai-German techical cooperation for health medicinal plants for
primary health care programmes. Bangkok, Thailand. 1988: p. 27-35.
-40-
(4) ฟาทะลายโจร
1. ชื่อสามัญ (ไทย) ฟาทะลายโจร
(อังกฤษ) -
ชื่อวิทยาศาสตร Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees
ชื่อวงศ Acanthaceae
ชื่อทองถิ่น ฟาทะลาย น้ําลายพังพอน
2. องคประกอบ
สวนเหนือดินแหง (dried aerial part) ควรมีสารสําคัญคือ total lactone โดยคํานวณเปน andrographolide
ไมนอยกวา 6%1
3. ขอบงใช (indication)
3.1 บรรเทาอาการทองเสียไมติดเชื้อ2, 3
3.2 บรรเทาอาการเจ็บคอ4-6
3.3 บรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เชน เจ็บคอ ออนเพลีย ปวดเมื่อยกลามเนื้อ น้ํามูกไหล
เปนตน7-10
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ลดการบีบตัวหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 50% และ 85% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลําไส 11, 12
และมีผูพ บสารออกฤทธิ์ คื อ 14-deoxy-11,12-dihydroandrographolide, andrographolide,
neoandrographolide 13-15 และ deoxyandrographolide 14, 15
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอลและสารสําคัญกลุม diterpene lactone ของฟาทะลายโจร
สามารถลดการบีบตัวของลําไสเล็กและกลามเนื้อกระเพาะอาหารของหนูทดลองได 14, 16 ฟาทะลายโจรสามารถ
ลดความแรงในการหดตั ว ของลํ า ไส เ ล็ ก ส ว น ileum ของหนู ต ะเภาที่ ต อบสนองต อ การกระตุ น ด ว ย
acetylcholine, histamine, barium chloride และ dimethyl-4-phenyl-piperazinium ได 17
4.1.2 ฤทธิ์ตานการเกิดอาการทองเสีย
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยบิวธานอล andrographolide และ neoandrograpุhonled สามารถ
ตานฤทธิ์ของ E. coli enterotoxin ที่ทําใหทองเสียได เพราะชวยทําใหการสูญเสียน้ําทางลําไสลดลง8 นอกจากนี้
สารสกัดดวยแอลกอฮอล 85% ยังปองกันการเกิดอาการทองเสียในหนูถีบจักรที่ไดรับน้ํามันละหุงหรือ
magnesium sulfate ได 16
มีการศึกษาผลของใบฟาทะลายโจร และใบฝรั่งตอการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพในการ
ใชอาหารของลูกสุกรทองรวง พบวาในการรักษาโรคทองรวงในลูกสุกรระยะดูดนม กลุมที่ใชเกลือแร ORS 500
มิลลิกรัมตอครั้ง ใบฟาทะลายโจร 500 มิลลิกรัมตอครั้ง และใบฝรั่ง 1000 มิลลิกรัมตอครั้ง ใหผลตอน้ําหนักตัว
เมื่อหายปวยดีกวากลุมที่ไมใชสารทั้ง 3 ชนิดอยางมีนัยสําคัญทางสถิติและสงผลตออัตราการเจริญเติบโตดีกวา
-41-
สําหรับในลูกสุกรระยะหยานม พบวากลุมที่ใช ORS 1 กรัมตอกิโลกรัม รวมกับใบฟาทะลายโจร 1 กรัมตอ
กิโลกรัม และใบฝรั่ง 2 กรัมตอกิโลกรัม ใหผลตออัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใชอาหารดีกวา18
เนื่องจากฟาทะลายโจรมีรสขมมาก ซึ่งเปนอุปสรรคหนึ่งในการนํามาใชรักษาโรคทองเสียในสุกร
จึงมีการแกปญหาโดยการนําฟาทะลายโจรมาทํา microencapsulation โดยใชพอลิเมอรชีวภาพชนิดละลายน้ํา
พบวาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมไมโครแคปซูล คือ อัตราสวนระหวาง gelatin : acacia ที่ 50 : 50 อัตราสวน
ระหวางสารแกนตอสารเคลือบเปน 1:2 เวลาที่ใชในการแข็งตัว 120 นาที และสารชวยในการแข็งตัวเปนสารละลาย
formaldehyde ปริมาณ 5 มิลลิลิตร จะไดไมโครแคปซูลขนาดเฉลี่ย 50 ไมโครเมตร มีลักษณะเปนผงสีเทา และ
สาร andrographolide ในไมโครแคปซูลที่เก็บในสภาวะโดนแสงจะสลายตัวเร็วกวาเก็บในสภาวะที่พนจากแสง19
นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาการเตรียมไมโครแคปซูลของสารสกัดฟาทะลายโจร เพื่อใหออกฤทธิ์นานโดย
ใชเทคนิคการระเหยตัวทําละลายชนิดน้ํามันในน้ํามันดวย20
4.1.3 ฤทธิ์ลดไขและตานการอักเสบ
สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทยศึกษาพบวาสารสกัดฟาทะลายโจรดวยเอทานอล
85% แสดงฤทธิ์ลดไขในกระตาย และสามารถตานการอักเสบในหนูขาวไดเมื่อศึกษาฤทธิ์ในการลดอาการบวม
ของอุงเทาหลังของหนูหลังไดรับสารคาราจีแนน (carrageenan-induced hind paw edema)21
สารสกัดจากสวนเหนือดินของฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล เมื่อใหทางปากในหนูขาวใน
ขนาด 500 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ชวยลดไขเนื่องจากไดรับยีสตได โดยใหผลเทากับแอสไพริน 200 มิลลิกรัม
ตอกิโลกรัม22
ผงใบฟาทะลายโจร สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล และสารสกัดฟาทะลายโจรดวยน้ํา
เมื่อใหทางปากในหนูขาว แสดงฤทธิ์ตานอักเสบเมื่อศึกษาดวยวิธี carragenan-induced hind paw edema และ
มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือดขาว และฤทธิ์ยับยั้งการเกิด granuloma ดวย โดยสารสกัดฟาทะลายโจร
ดวยแอลกอฮอล มีฤทธิ์ตานอักเสบไมแตกตางจากผงใบ สวนสารสกัดดวยน้ํามีฤทธิ์ออนที่สุด23
กลไกการออกฤทธิ์ตานอักเสบของฟาทะลายโจร สวนหนึ่งอาจเนื่องมาจาก
- ฤทธิ์ในการยับยั้งการสราง nitric oxide (NO) จาก inflammatory macrophages ของ
neoandrographolide24
- Andrographolide ยับยั้งการสราง NO โดยลด expression ของ inducible nitric oxide
synthase (iNOS) ใน macrophage25, 26
- ฤทธิ์ยับยั้ง neutrophil adhesion และ transmigration และปองกันการสราง reactive
oxygen species27, 28
4.1.4 ฤทธิ์ฆาเชื้อแบคทีเรีย
มีบางรายงานกลาววา สารสกัดฟาทะลายโจรมีฤทธิ์ตานเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได แตรายงาน
การวิ จัย หลายชิ้ น ในประเทศไทยบ ง ชี้ ว า ฟ า ทะลายโจรหรือ สารสกั ด ฟ า ทะลายโจรหรื อ สารบริ สุท ธิ์ ข อง
ฟาทะลายโจรไมมีฤ ทธิ์ตา นเชื้อ แบคทีเ รีย ที่ทํา ใหทอ งเสีย หรือ ทํา ใหเ กิด โรคติด เชื้อ ของทางเดิน หายใจ
สวนบน หรือถาพบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก็จะเปนฤทธิ์ที่ออนตองใชความเขมขนของสารสกัดสูงเกินกวาที่จะมี
ความสัมพันธกับระดับยาในเลือด หรือในทางเดินอาหารหลังรับประทานฟาทะลายโจร18, 29-33
-42-
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยเอทานอล 70% และ 80% สามารถฆาเชื้อแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของ
อาการทองเสีย ไดแก Escherichia coli และ Vibrio cholerae6, 7 ซึ่งสาระสําคัญในการออกฤทธิ์ คือ androgapholide
และ deoxyandrographolide[8] แตมีรายงานวาไมพบฤทธิ์ฆาเชื้อแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของโรคทองเสีย 9
อยางไรก็ตาม สารสกัดฟาทะลายโจรแสดงฤทธิ์ตานเชื้อ Porphyromonas gingivalis ซึ่งทําให
เกิดโรคปริทันตอักเสบ (periodontitis) ได จึงมีการนําไปพัฒนาเปนเจลสําหรับรักษาโรคดังกลาว34-37
นอกจากนี้สารสกัดหยาบของฟาทะลายโจร สามารถยับยั้งการจับของแบคทีเรีย Streptococcus
mutans (แบคทีเรียในชองปากที่เปลี่ยนน้ําตาลบนเคลือบฟนใหเปนกรด อันเปนสาเหตุของโรคฟนผุ) บนผิว
แกวหรือบน hydroxyapatite ที่เคลือบน้ําลาย โดยมีคา IC50 เทากับ 0.5% w/v38
การพัฒนาสูตรตํารับเจลฟาทะลายโจร จากสารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล ซึ่งเตรียม
เปนเจลโดยใช 50% ของสารสกัดฟาทะลายโจรที่มี glycerol monostearate และ soy bean oil มีฤทธิ์ตานแบคทีเรีย
ชนิด S. aureus และ S. epidermidis ไดดี สามารถเก็บไดนาน 32 วันที่อุณหภูมิ 25oC หากผานสภาวะเรง
อุณหภูมิสูงและต่ําสลับกัน 32 วัน เจลมีการหลอมเหลวเกิดขึ้นไดและฤทธิ์ในการตานแบคทีเรียจะลดลงเล็กนอย
เมื่อเปรียบเทียบกับเจลที่เตรียมใหม39
4.1.5 ฤทธิ์ตอระบบภูมิคุมกัน
จากการศึกษาผลของสารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล และสาร andrographolide ตอระบบ
ภูมิคุมกันของหนูถีบจักร พบวาสามารถกระตุนไดทั้งภูมิคุมกันแบบจําเพาะ คือ antibody response และ
delayed type hypersensitivity reaction รวมทั้งยังสามารถกระตุนภูมิคุมกันแบบไมจําเพาะดวย โดยการกระตุน
การเคลื่อนที่และ phagocytosis ของ macrophage เพิ่มการแบงตัวของ lymphocytes ทั้งนี้ สารสกัดดวยแอลกอฮอล
มีฤทธิ์กระตุนภูมิคุมกันที่แรงกวา andrographolide40
Andrographolide, 14-deoxyandrographolide และ 14-deoxy-11,12-didehydrographolide
ที่พบใน dichloromethane fraction ของสารสกัดฟาทะลายโจรดวยเมทานอล สามารถกระตุนการแบงตัวของ
human peripheral blood lymphocytes (HPBLs) และเหนี่ยวนําให HPBLs สราง interleukin-241
จากการศึกษาผลของ andrographolide เทียบกับยา Kan Jang ซึ่งเปนยาผสมที่ควบคุมปริมาณ
ของสารสกัด SHA-10 ของฟาทะลายโจร และสารสกัด SHE-3 ของ Eleutherococcus senticosus ในหลอด
ทดลองตอการแบงตัวของ peripheral blood lymphocyte (PBL) ของคน พบวา การแบงตัวของ PBL จากการ
กระตุนดวย phytohemagglutinin (PHA) จะเพิ่มขึ้นถาใช andrographolide และ Kan Jang รวมกัน แตสารทั้งสอง
ชนิดนี้จะยับยั้งการแบงตัวโดยปกติของ PBL เมื่อไมใส PHA นอกจากนี้ พบวา andrographolide และ Kan Jang
กระตุนการสราง interferon-gamma, neopterin, beta-2-microglobulin ใน blood cells culture และเพิ่มการสราง
interferon-alpha และ beta-2-miroglobulin ใน whole blood cells ที่เพาะเลี้ยงไว โดยทั่วไปพบวา Kan Jang
มีฤทธิ์มากกวา andrographolide ที่ปริมาณเทากัน42
อยางไรก็ตาม มีรายงานการวิจัยฤทธิ์กดภูมิคุมกันของ andrographolide โดย down-modulate
ทั้งระบบการสราง antibody และระบบภูมิคุมกันผานเซลล43 โดยพบวา andrographolide มีผล
- รบกวน T cell proliferation และการหลั่ง cytokines เพื่อตอบสนองตอ allogenic stimulation
-43-
- ขัดขวางการกระตุน T cell โดย dendritic cells (DCs) โดยสิ้นเชิง เมื่อ incubate DCs กับ
andrographolide ในระยะ antigen pulse
- รบกวน maturation ของ DCs และรบกวนความสามารถของ DCs ในการ present antigen ตอ T cell
- ลด antibody response ตอ thymus-dependent antigen และ delayed-type hypersensitivity
ในหนูถีบจักร
- การให andrographolide มีผลลด experimental autoimmune encephalomyelitis (EAE)
symptoms ในหนูถีบจักร โดยยับยั้ง T cells และ antibody response ตอ myelin antigens (EAE) เปน animal
model ของ human multiple sclerosis
4.1.7 ฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 11, 44 น้ํา11 หรือคลอโรฟอรม44 มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสําคั ญในการออกฤทธิ์คือ androgapholide, deoxyandrographolide, neoandrographolide และ
deoxyandrographolide45
4.2 ผลวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 การทดลองทางคลินิกใชรักษาอาการทองเสีย1, 2
จากการศึกษาประสิทธิผลในการรักษาอุจจาระรวงและบิดแบคทีเรีย โดยใชผงฟาทะลายโจรที่
เตรียมจากสวนเหนือดินเปรียบเทียบกับ tetracycline โดยใหยา 2 ขนาด คือ 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และ 1 กรัม
ทุก 12 ชั่วโมง พบวาฟาทะลายโจรทั้งสองขนาดสามารถลดอุจจาระรวง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และลดจํานวน
น้ําเกลือที่ใหทดแทนไดอยางนาพอใจ แมวาจะไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ฟาทะลายโจร สามารถ
ทําลายเชื้อชิเจลลาที่กอโรคบิดแบคทีเรียไดดีกวาเตตราซัยคลิน แตทําลายเชื้ออหิวาตกโรคไดไมดีเทาเตตราซัยคลิน
อยางไรก็ตาม ฟาทะลายโจรชวยใหผูปวยอหิวาตกโรคถายนอยกวากลุมที่ได tetracycline อยางมีนัยสําคัญ2
กรมวิทยาศาสตรการแพทยไดรวมมือกับโรงพยาบาลชุมชุน 8 แหง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดําเนินการวิจัยมีผลการรักษาโรคทองเสียไมติดเชื้อดวยสมุนไพรฟาทะลายโจรทางคลินิก ตั้งแตป พ.ศ. 2536 -
2538 ไดจัดแบบทดลองแบบ double blind คัดเลือกผูปวยที่มีอาการทองเสีย อุจจาระเหลวโดยไมมีการติดเชื้อ
อายุ 15 - 55 ป ไดรับยาผงฟาทะลายโจรบรรจุแคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม (ยาจริง ขนาด 6 กรัมตอวัน โดยแบง
รับประทาน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 กรัม) ยาหลอก (placebo) และยาเปรียบเทียบ (loperamide ขนาด 2 มิลลิกรัมตอวัน)
พรอมกับ ORS พบวาผูปวยหยุดถาย 24 ชั่วโมงแรก หลังจากไดรับยาฟาทะลายโจรมากกวายาหลอกอยางมี
นัยสําคัญทางสถิติ แตไมแตกตางจาก loperamide3
4.2.2 การทดลองทางคลินิกใชรักษาอาการเจ็บคอ4, 5, 29, 46
วิ ษ ณุ ธรรมลิ ขิ ต กุ ล และคณะ ได ท ดลองเปรี ย บเที ย บผลการรั ก ษาอาการไข แ ละเจ็ บ คอ
เปรียบเทียบกับพาราเซตามอล พบวากลุมที่ไดรับยาขนาด 6 กรัมตอวัน มีอาการไขและการเจ็บคอลดลง ใน
วันที่ 3 ไดดีกวากลุมที่ไดรับฟาทะลายโจร 3 กรัมตอวัน หรือไดรับพาราเซตามอล แตหลัง 7 วัน ผลการรักษา
ไมตางกัน4 สวนผลการฆาเชื้อแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของการเจ็บคอนั้นไมไดผล29, 46
เพ็ญนภา ทรัพยเจริญและคณะ5 ไดทดลองเปรียบเทียบผลการรักษาอาการเจ็บคอเปรียบเทียบ
กับ penicillin V โดยการศึกษาแบบ randomized double-blind controlled clinical trial ชนิด multicenter ใน
-44-
กลุมตัวอยาง 114 ราย ที่มารับบริการตรวจรักษาในโรงพยาบาลรัฐ 4 แหง ระหวางเดือนมกราคม 2536 -
มกราคม 2538 ซึ่งเปนผูที่มีอายุ 8 - 60 ป ที่มีอาการเจ็บคอเวลากลืน กอนเขารับการรักษาครั้งนี้ไมเกิน 72 ชั่วโมง
ไมมีประวัติการรักษาดวยยาปฏิชีวนะมากอน และไมมีประวัติโรคประจําตัวเรื้อรัง รวบรวมขอมูลดวยแนบ
บันทึกผูปวย โดยซักประวัติลักษณะทั่วไป การเจ็บปวยและการใชยาที่เกี่ยวของ ตรวจรางกาย ตรวจเลือดและ
throat swab culture กอนการรักษา หลังการรักษาจะไดรับการตรวจรางกายโดยแพทยทุก 24, 48 และ 72
ชั่วโมง วิเคราะหขอมูลดวย chi-square test เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาหลังการรับยาโดยภาพรวมที่มีอาการ
ไข และสถานภาพในคอ ไมมีความแตกตางกันระหวางกลุมที่ไดรับฟาทะลายโจรและ penicillin V (p>0.05)
โดยพบวามากกวารอยละ 75 หายปวยและมากกวารอยละ 15 มีอาการดีขึ้น
4.2.3 การทดลองทางคลินิกใชบรรเทาอาการหวัด
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกในตางประเทศ โดยทดลองใหสารสกัดฟาทะลายโจรที่ควบคุม
ปริมาณ สารสําคัญ andrographolide 4% ในขนาด 1200 มิลลิกรัมตอวัน แกผูปวยโรคหวัด (common cold) 28 ราย
แลววัดผลในวันที่ 4 หลังไดรับยา พบวาสารสกัดฟาทะลายโจรสามารถลดอาการเจ็บคอ เหนื่อย ออนเพลีย ปวด
เมื่อยกลามเนื้อได เมื่อเทียบกับกลุมควบคุมที่ไดรับยาหลอก 33 ราย โดยไมรายงานอาการขางเคียงจากการใชยา47
ตอมามีการทดลองใหยาเม็ดฟาทะลายโจรซึ่งมีสารสกัดฟาทะลายโจร 100 มิลลิกรัมตอเม็ด
ที่ควบคุมใหมีปริมาณ andrographolide ไมนอยกวา 5 มิลลิกรัมตอเม็ด จํานวนครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ใน
ผูปวยที่เปนไขหวัด 102 ราย เทียบกับกลุมที่ไดรับยาหลอก 106 ราย โดยใหผูปวยระบุความรุนแรงของแตละ
อาการเมื่อเริ่มใหยาและหลังไดรับยา 2 วัน และ 4 วันตามลําดับ โดยทําเครื่องหมายลงบนเสนตรงยาว 10 เซนติเมตร
ที่แบงจาก 0-10 (0 หมายถึงไมมีอาการ และ 10 หมายถึงอาการรุนแรงที่สุด) พบวา วันที่ 2 หลังไดรับยา ความ
รุนแรงของอาการออนเพลีย นอนไมหลับ เจ็บคอ น้ํามูกไหล ในกลุมที่ไดรับเม็ดยาฟาทะลายโจรนอยกวากลุม
ควบคุมอยางมีนัยสําคัญ และในวันที่ 4 หลังไดรับยา ความรุนแรงของทุกอาการไดแก อาการไอ (ทั้งความแรง
และความถี่) เสมหะ น้ํามูกไหล ปวดศีรษะ ออนเพลีย ปวดหู นอนไมหลับ เจ็บคอ ในกลุมที่ไดรบั ยาเม็ดฟาทะลาย
โจร นอยกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ48
สําหรับการวิจัยฤทธิ์ปองกันโรคหวัดนั้น รายงานการวิจัยในตางประเทศที่ทําในเด็กนักเรียน
107 ราย ในฤดูหนาว โดยการใหสารสกัดฟาทะลายโจร ที่ควบคุมปริมาณสารสําคัญ andrographolide 4% ใน
ขนาด 200 มิลลิกรัมตอวัน หรือยาหลอก นาน 3 เดือน พบวาการเกิดโรคหวัดไมแตกตางกันระหวางทั้ง 2 กลุม
ในชวง 2 เดือนแรก แตหลังจาก 3 เดือน พบวาอัตราการเกิดหวัดในกลุมที่ไดรับสารสกัดฟาทะลายโจรนอยกวา
กลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ (30%) เทียบกับ 62% ในกลุมยาหลอก49
การที่ฟาทะลายโจรทําใหอาการของโรคหวัด เชน อาการเจ็บคอ ออนเพลีย ปวดเมื่อยกลามเนื้อ
หรืออาการของไซนัสอักเสบลดลง และหายหวัดเร็วขึ้นไดนั้นไมนาจะมาจากฤทธิ์ตานเชื้อแบคทีเรีย เพราะ
รายงานการศึกษาทางจุลชีววิทยาหลายรายงาน พบวาฟาทะลายโจรหรือสารกลุมแลคโตนในฟาทะลายโจรไมมี
ฤทธิ์หรือมีฤทธิ์ออนมากในการฆาเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดที่กอโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจสวนตน ดังนั้น
สรรพคุณของฟาทะลายโจร ในการบรรเทาอาการของโรคหวัดนาจะมาจากฟาทะลายโจร และสารสําคัญในยา
สมุนไพรนี้มีฤทธิ์ลดไข ตานอักเสบ รวมทั้งฤทธิ์ในการกระตุนภูมิคุมกันมากกวาฤทธิ์ตานเชื้อแบคทีเรีย
-45-
รายงานการทํา systematic review ของขอมูลงานวิจัยทางคลินิกของฟาทะลายโจรในโรค
ติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจสวนตน สรุปไดวาฟาทะลายโจรนาจะมีประสิทธิผลในการนํามาใชในการ
บรรเทาอาการของโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจสวนตนที่ไมมีภาวะแทรกซอนได50, 51
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยยา Kan Jang ซึ่งเปนยาผสมที่ควบคุมปริมาณของสารสกัด
SHA-10 ของฟาทะลายโจรรวมกับสารสกัด SHE-3 ของ Eleutherococcus senticosus ในโรคติดเชื้อของ
ทางเดินหายใจสวนตนแบบเฉียบพลัน รวมทั้งไซนัสอักเสบออกมาอีกหลายรายงาน พบวา ยา Kan Jang ชวย
บรรเทา อาการตาง ๆ เชน อาการปวดศีรษะ อาการของจมูกและลําคอ ความรูสึกไมสบาย และมีไขได52, 53
มีการวิจัยเปรียบเทียบการใชยา Kan Jang กับยา Immunal ซึ่งเปนสารสกัดของ Echinacea
purpurea รวมกับการรักษามาตรฐานในการรักษาโรคหวัดที่ไมมีอาการแทรกซอน (uncomplicated common
cold) ในเด็ก พบวาเมื่อใหยาตั้งแตเริ่มมีอาการใหม ๆ Kan Jang มีประสิทธิผลดีกวา Immunal โดยทําใหอาการ
ตาง ๆ รุนแรงนอยกวา โดยเฉพาะอยางยิ่งการชวยลดปริมาณน้ํามูกและอาการคัดจมูก ชวยเรงใหหายเร็วขึ้น
และใชยาแผนปจจุบันนอยกวา54
4.2.4 การปองกันการติดเชื้อในทางเดินปสสาวะ
มีการทดลองใชสมุนไพรฟาทะลายโจรในการปองกันการติดเชื้อในทางเดินปสสาวะ หลังจาก
การทํา extracorporeal shock wave lithotripsy พบวาหลังไดรับยาไป 1 เดือน ฟาทะลายโจรในขนาด 100
มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ไดผลดีพอ ๆ กับ cotrimoxazole ขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ในการลดหนองเลือด
หรือโปรตีนในปสสาวะ55
4.2.5 ประสิทธิผลในการรักษาโรคปริทันตอักเสบ (Periodontitis)
ฟาทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Porphyromonas gingivalis 35-37 จึงมีการพัฒนาตํารับยาเจล ฟา
ทะลายโจรเพื่อทดสอบประสิทธิผลในการรักษาโรคปริทันตอักเสบ โดยศึกษาเปรียบเทียบผลทางคลินิกและทาง
จุลชีววิทยาของเจลฟาทะลายโจรและขี้ผึ้งยา minocycline ที่ใชใสใตเหงือก เพื่อเสริมการรักษาผูปวยโรค
ปริทันตค อักเสบเริ่มเร็ว (early onset periodontitis) ในระยะเวลา 4 เดือน โดยผูปวยตองมีรากฟนเดียวอยางนอย
2 ซี่ ที่มีรองลึกปริทันตเมื่อเริ่มตนมากกวาหรือเทากับ 5 มิลลิเมตร พบวาเมื่อใชเจลฟาทะลายโจรรวมกับการ
เกลารากฟนจะไดผลใกลเคียงกับการใชขี้ผึ้งยา minocycline เมื่อใชรวมกับการเกลารากฟน56, 57
จากการศึกษาประสิทธิผลของยาอมใตลิ้น (sublingual administration) ของเจลฟาทะลายโจร
ซึ่งใชเปน adjunct ในการรักษาโรค periodontitis เปรียบเทียบกับยา metronidazole gel ในผูปวย 10 ราย ที่มี
periodontitis รวม 60 pockets นาน 49 วัน พบวาเจลฟาทะลายโจรใหผล adjunctive effect ไดเทียบเทากับ
metronidazole และยังไดผลตานจุลินทรียดีกวา minocycline gel เมื่อใชใน root planting 58, 59
4.2.6 การรักษาโรค Familial Mediterranean Fever (FMF)
มี ก ารทดลองใช ย า ImmunoGuard ซึ่ ง ประกอบด ว ยสารสกั ด จากฟ า ทะลายโจร,
Eleutherococcus senticosus, Schzandra chinensis, Glycyrrhiza glabra ที่ควบคุมปริมาณของ andrographolide
(4 มิลลิกรัมตอเม็ด), eleuteroside E, schisandrins และ glycyrrhizin ในผูปวยโรค FMF ครั้งละ 4 เม็ด วันละ
3 ครั้งเปนเวลา 1 เดือน โดยคิดเปนขนาด andrographolide 48 มิลลิกรัมตอวัน พบวาทําใหระยะเวลาความถี่
-46-
และความแรงของอาการ และอาการตาง ๆ เชน อาการที่ทองหรือหนาอก อาการไข ปวดขอ ปวดกลามเนื้อ
จะดีขึ้นในกลุมที่ไดรับยา ImmunoGuard เมื่อเทียบกับกลุมที่ไดรับยาหลอก60
4.2.7 การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ในผูติดเชื้อ HIV และคนปกติ
การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ในผูติดเชื้อ HIV 13 รายและในคนปกติ 5 ราย เพื่อศึกษาความ
ปลอดภัยและผลตอระดับของ plasma virion HIV-1 RNA และ CD4 lymphocyte โดยมีแผนเพิ่มขนาดของ
andrographolide จาก 5 เปน 10 และ 20 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม ในทุก 3 สัปดาห แตการวิจัยตองหยุดลงใน
สัปดาหที่ 6 เมื่อมี anaphylactic reaction เกิดขึ้นในผูปวย 1 ราย ผูปวยที่ไดรับ andrographolide 10 มิลลิกรัมตอ
กิโลกรัม มีระดับ CD4 เพิ่มขึ้น แตระดับ HIV-1 RNA ไมเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญตลอดการทดลอง61
5. พิษวิทยา (toxicology)
5.1 การศึกษาความเปนพิษเฉียบพลัน พิษกึ่งเรื้อรัง และพิษเรื้อรัง
การทดสอบพิษเฉียบพลัน ไมพบพิษจาการใหสารสกัดฟาทะลายโจรซึ่งเตรียมจากใบ 20 กรัม และน้ํา
600 มิลลิลิตร ในหนูและกระตายดวยขนาด 10 มิลลิลิตรตอ 1 กิโลกรัม44ใหหนูกินผง ใบแหงขนาด 2 กรัมตอ
กิโลกรัม สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 2.4 กรัมตอกิโลกรัม หรือผงใบขนาด 3 กรัมตอกิโลกรัม ไม
พบพิษตอหนูทั้งสองเพศ 62 ปอนสารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 50% ในขนาด 15 กรัมตอกิโลกรัมไม
พบพิษ ขนาดที่ทําใหสัตวทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เมื่อใหทางปากและฉีดเขาผิวหนังมีขนาดมากกวา 15
กรัมตอกิโลกรัม และสําหรับการฉีดเขาชองทองมีขนาด 14.98 กรัมตอกิโลกรัม62
สารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 50% ไมทําใหเกิดอาการพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร และมี
ขนาดของ LD50 เมื่อใหทางปากและใตผิวหนังมากกวา 15 กรัมตอกิโลกรัม และเทากับ 14.98 กรัมตอกิโลกรัม
เมื่อใหทางชองทอง63
จากการทดสอบพิษแบบเฉี ยบพลันของเจลฟาทะลายโจร ซึ่ งไดจากสารสกัดฟาทะลายโจรด วย
แอลกอฮอล 95% ผสมกับเจลน้ํามันซึ่งมีสวนประกอบของน้ํามันถั่วเหลือง พบวาไมมีความเปนพิษ LD50 > 2 กรัม
ตอกิโลกรัม35

การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง พบวาเมื่อใหผงใบฟาทะลายโจรในขนาด 200 และ 400 กรัมตอกิโลกรัม


วันเวนวัน เปนเวลา4 สัปดาห ไมพบความแตกตางจากกลุมควบคุม นอกจากนี้การใหหนูกินในขนาดตาง ๆ คือ
50, 100, 150 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม วันเวนวัน เปนเวลา 14 สัปดาห ไมพบพิษเชนกัน หนูที่ไดรับ 150 มิลลิกรัม
ตอกิโลกรัม จะมีอัตราการโตชาลงเล็กนอย5เมื่อฉีดสารสกัดฟาทะลายโจรทั้งตนดวยเมทานอล-น้ํา (1:1) เขา
ชองทองของหนูถีบจักร ขนาดที่ทําใหสัตวทดลองตายครึ่งหนึ่งมีคามากกวา 1 กรัมตอกิโลกรัม64
สวนผลการศึกษาพิษเรื้อรังของผงฟาทะลายโจรในหนูขาวพันธุวิสตาร เมื่อใหทางปากในขนาด 0.12,
1.2 และ 2.4 กรัมตอกิโลกรัมตอวัน ติดตอกันนาน 6 เดือน พบวาไมกอใหเกิดพิษใน หนูขาว63
5.2 การศึกษาความเปนพิษตอระบบสืบพันธุของหนูเพศผูและเพศเมีย
มีรายงานวาเมื่อกรอกผงใบฟาทะลายโจรแกหนูขาวในขนาด 20 มิลลิกรัมตอวัน เปนเวลา 60 วัน มีผล
หยุดการสรางสเปรม ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงใน seminiferous tubule, leydig cells, epididymis, seminal
vesicle, ventral prostate และ coagulating gland เกิดการสะสมของ glycogen และคอเลสเตอรอลในอัณฑะ
-47-
และเพิ่ม activities ของเอนไซม lactate dehydrogenase ในอัณฑะ และเอนไซม alkaline phosphatase ในอัณฑะ
และ ventral prostate65และเมื่อกรอก andrographolide แกหนูเพศผูอายุ 3 เดือนเปนเวลา 48 วัน พบวามีผลลด
จํานวนสเปรม ทําใหสเปรมไมเคลื่อนไหวและบางสวนมีลักษณะผิดปกติ และเกิดความผิดปกติของ seminiferous
tubule66 นอกจากนี้ พบวาสารสกัดฟาทะลายโจรสามารถยับยั้ง voltage-operated calcium channel ใน vas deferens
ของหนูขาว จึงมีผลยับยั้ง calcium influx ได67
อยางไรก็ตาม มีการศึกษาความเปนพิษของสารสกัดฟาทะลายโจรดวยแอลกอฮอล 70% ตอระบบสืบพันธุ
ของหนูเพศผู โดยใหสารสกัดทางปากนาน 60 วัน พบวา ไมกอใหเกิดพิษตออัณฑะ และไมทําใหเกิดการ
เปลี่ยนแปลงของรูปราง หรือหนาที่ของ leydig cells68
ในเพศเมีย พบวา เมื่อเอาผงใบฟาทะลายโจรที่ทําใหแหงดวยการตากแดดมาผสมกับอาหารแลวให
หนูถีบจักรเพศเมียกินในขนาด 2 กรัมตอกิโลกรัมตอวัน นาน 6 สัปดาห พบวาไมมีหนูตัวใดตั้งทองเมื่อผสม
กับหนูเพศผูที่ไมไดรับยา ขณะที่หนูกลุมควบคุมตั้งทอง 95.2%69
มีรายงานการศึกษาวาเมื่อฉีดน้ําตมฟาทะลายโจรเขมขน 50% ทางชองทองแกหนูถีบจักร มีผลทําให
หนูแทงได และถาฉีด progesterone รวมกับฮอรโมน LH-RH พรอมกับใหฟาทะลายโจร จะปองกันการแทง
ในชวงระยะแรกของการตั้งครรภได จึงคิดวาฟาทะลายโจรอาจมีผลตานฤทธิ์ของ progesterone จึงทําใหเกิด
การแทงขึ้น70 แตเมื่อใหสารสกัดใบฟาทะลายโจรที่มี andrographolide 4.6% และ 14-deoxy-andrographolide
2.3% (หรือคิดเปน total andrographolide 6.9%) ทางปากแกหนูขาวในขนาด 200-2000 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม
ในชวง 19 วันแรกของการตั้งครรภ ไมมีผลตอระดับของ progesterone ที่สูงขึ้นในเลือดของหนูที่ตั้งครรภ
ดังนั้น ฟาทะลายโจรจึงไมนาออกฤทธิ์ผานการยับยั้ง progesterone ในการทําใหหนูแทง71
6. ขอหามใช (contraindication)
หามใชในผูที่มีอาการแพฟาทะลายโจร72
สตรีตั้งครรภและใหนมบุตรไมควรใชเนื่องจากอาจทําใหเกิดทารกวิรูปได
ประสิทธิผลในการบรรเทาอาการไขเจ็บคอของฟาทะลายโจร นาจะเกิดจากฤทธิ์ลดไขและฤทธิ์ตาน
การอักเสบมากกวาฤทธิ์ตานเชื้อแบคทีเรีย29-33 ดังนั้น เพื่อปองกันไมใหผูปวยไดรับอันตรายที่เกิดจากการติด
เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus group A ซึ่งอาจทําใหเกิดภาวะแทรกซอนที่รุนแรงตามมา เชน ไขรูหมาติค
โรคหัวใจรูหมาติค และไตอักเสบ จึงมีขอหามใชฟาทะลายโจรสําหรับแกเจ็บคอในกรณีตาง ๆ ตอไปนี้72
- ในผูปวยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
- ในผูปวยที่มีประวัติเปนโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อนี้
- ในผุปวยที่มีประวัติเปนโรคหัวใจรูหมาติค
- ในผูปวยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เชน มีตุมหนองในคอ
มีไขสูง หนาวสั่น
7. ขอควรระวัง (precaution)
ฟาทะลายโจรอาจทําใหเกิดอาการแพ (allergic reaction) ไดตั้งแตอาการผื่นคัน ลมพิษ จนถึงอาการแพ
ขั้นรุนแรงแบบ anaphylactic shock ถาใหโดยการฉีดหรือในขนาดสูง73
หากใชติดตอกันเปนเวลานาน อาจทําใหแขนขามีอาการชาหรือออนแรง74
-48-
หากใชฟาทะลายโจรติดตอกัน 3 วันแลวไมหาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหวางใชยา ควรหยุดใชและ
ไปพบแพทย72
เนื่องจากมีความเปนไปไดที่จะเกิด anaphylactic reaction จากสารสกัดฟาทะลายโจร จึงไมควรใชใน
รูปแบบยาฉีด75 และมีรายงานวาฟาทะลายโจรทําใหเกิดการแทงได ดังนั้นทางองคการอนามัยโลกจึงแนะนําวา
สตรีมีครรภไมควรใชฟาทะลายโจร73
8. อาการไมพึงประสงค (adverse effect)
ในผูปวยบางราย ฟาทะลายโจรอาจทําใหเกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เชน ปวดทอง ทองเดิน
คลื่นไส เบื่ออาหาร หรือมีอาการปวดเอว วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได หากมีอาการดังกลาวควร
หยุดใชฟาทะลายโจรและเปลี่ยนไปใชยาอื่นแทน72, 73, 75, 76
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ยาแคปซูล ยาเม็ด ยาเม็ดลูกกลอน ที่มีผงฟาทะลายโจรแหง 250 มิลลิกรัม, 500 มิลลิกรัม
ควรเก็บยานี้ในภาชนะบรรจุปดสนิท ปองกันแสง และความชื้น75
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)2-5, 75, 77, 78
บรรเทาอาการทองเสียไมติดเชื้อ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร
และกอนนอน
บรรเทาอาการเจ็บคอ รับประทานครั้งละ 3 - 6 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและกอนนอน
บรรเทาอาการหวัด รับประทานครั้งละ 1.5 - 3 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและกอนนอน

เอกสารอางอิง
1. Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia Vol I. Bangkok: Prachachon 1995.
2. ปญจางค ธนังกูล, ชัยโย ชัญชาญทิพยุทธ. การศึกษาทางคลีนิกของสมุนไพรฟาทะลายโจรในโรคอุจจาระรวงและบิด
แบคทีเรีย. รามาธิบดีเวชสาร. 2528;8(2):57-62.
3. สรุปผลการประชุมเรื่อง “การประเมินผลการศึกษายาจากสมุนไพรฟาทะลายโจรทางคลินิก”: กรมวิทยาศาสตรการแพทย;
18 สิงหาคม 2538.
4. Thamlikitkul V, Dechatiwongs T, Theerapong S, et al. Efficacy of Andrographis paniculata Nees. For
Pharyngotonsilities in adults. J Med Assoc Thai. 1991;74(10):537-42.
5. เพ็ญนภา ทรัพยเจริญ, ทวีป กิตยาภรณ, ประฑป สิงหศิวานนท, จรรยา อัศวอาชาชัย, กัญจนา ดีวิเศษ, วิรุฬห พรพัฒนกุล.
รายงานการวิจัยการใชฟาทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอ เปรียบเทียบกับเพ็นนิซิลลินวี. (A comparative study between
Anhydrographolis paniculata and penicillin – V on their bactericidal effect on sorethroat patients). มกราคม 2536–มกราคม 2538. 33 หนา.
6. George M, Pandalai KM. Investigations on plant antibiotics Part IV. Further search for antibiotic substance in Ind
medicinal plants. Ind J Med Res. 1949;56:81-4.
7. Pleumjai T, Sithisomwongse N. Antimicrobial activity of Andrographis paniculata Nees. Symposium on Andrographis
paniculata. National Institute of Health. Nonthaburi Thailand: 1990 Oct 22.
8. Gupta S, Choudhry MA, Yadava JNS, et al. Antidiarrioeal activity of diterpenes of Andrographis paniculata (Kal –
Megh) against Escherichia coli enterotoxin in vivo models. Int J Crude Drug Res. 1990;284:273-83.
-49-
9. Sindermsuk J. The antibacterial activities of the pure extract compounds from Andrographis paniculata on predominate
pathogenic enteric bacilli in Thailand. Bull Dept Med Serv. 1993;18:394-400.
10. ไพลิน เพียรพิจิตร. ฤทธิ์ตานจุลินทรียของกระชาย พญายอ ฟาทะลายโจร มังคุด รงทอง วานดอกดิน และสารสังเคราะห
อนุพันธโพลีเอมีน.วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร; 2536.
11. Sawasdimongkol K, Permpipat U, Kiatyingungsulee N, et al. Pharmacological study of Andrographis paniculata Nee.
Symposium on Andrographis paniculata. National Institite of Health. Bangkok, Thailand; 1990.
12. Thamaree S, Pachotikarn C, Tandeyoon M, Itthipanichpong C. Effects on intestinal motility of thirty herbal medicines
used in treatment of diarrhoea and dysentry. Chula Med J. 1985;29(1):39-51.
13. Dhumma P – Upakorn, Chaichantipyuth C, Pongjunyakul P, Sangalungkarn V, Chaimongkol S. Spasmolytic activity of
some active substances from Andrographis paniculata. J SPS–NRCT Seminar: Pharmacological Active Substance from
Natural Source. Faculty of Pharmaceutical Science. Chulalongkorn University. Bangkok, Thailand; 1992. p. 21.
14. วนิดา แสงอลังการ, ประสาน ธรรมอุปกรณ, อุมา กิติยานี, ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ. ผลของ andrographolide,
neoandrographolide และ 14 – deoxy – 11, 12 – didehydro – andrographolide ตอการหดเกร็งของกลามเนื้อกระเพาะอาหาร
หนูขาวนอกรางกาย. ไทยเภสัชสาร. 2533;15(1):5-7.
15. Garcia LL, Kintanar QL, Fojus FR, Sison FM, Chua NG, Villanueva BA. Pharmacologic studies on the leaves of
Andrographis paniculata Nees plant grown in the Philipines. Acta Med Philipp. 1980;16(2):59-68.
16. กัลยา อนุลักขณาปกรณ, อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน. ฤทธิ์ของฟาทะลายโจรในการลดการบีบตัวของลําไสเล็กและปองกันการ
เกิดทองเสียในสัตวทดลอง. ว กรมวิทย พ. 2540;39(1):23-33.
17. โสภิต ธรรมอารี, จันทิมา ปโชติการ, มณฑิรา ตัณฑเกยูรและคณะ. ฤทธิ์ของยาสมุนไพร 30 ชนิดที่มีสรรพคุณในการ
รักษาโรคทองรวงและบิดตอการบีบตัวของลําไสเล็กหนูตะเภา. จุฬาลงกรณเวชสาร. 2528;29(1):39-51.
18. วิศิษย เกตุปญญาพงศ. ผลของใบฟาทะลายโจรและใบฝรั่งตอการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใชอาหารของลูกสุกร
ทองรวง. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร; 2542.
19. พิมพใจ อมรศิริรัตนกุล. ไมโครเอนแคปซูเลชันของฟาทะลายโจร Andrographis paniculata โดยใชพอลิเมอรชีวภาพชนิด
ละลายน้ํา. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2543.
20. สาโรช ออนละออ. ไมโครเอนแคปซูเลชันของสารสกัดฟาทะลายโจรในรูปออกฤทธิ์นานซึ่งเตรียมโดยเทคนิคระเหยตัว
ทําละลาย. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2543.
21. กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย. คูมือสมุนไพรเพื่อนการสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพ. Text and Journal
Corporation. 2533. หนา 38-9.
22. Vedavathy S, Rao KN. Antipyretic activity of six indigenous medicinal plats of Tirumala Hills, Andhra Pradesh. Ind J
Ethnopharmacol. 1991;33:193-6.
23. เสาวภา ลิมปพานิชกุล. การศึกษาฤทธิ์ตานการอักเสบของสมุนไพรฟาทะลายโจรในหนูขาว. วิทยานิพนธวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเภสัชวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2532. 95 หนา
24. Batkhuu J, Hattori K, Takano F, et al. Suppression of NO production in activated macrophages in vitro and ex vivo by
neoandrographolide isolated from Andrographis paniculata. Biol Pharm Bull. 2002; 25(9):1169-74.
25. Chiou WF, Lin JJ, Chen CF. Andrographolide suppressis the expression of inducible nitric oxide synthase in
macrophage and restores the vasoconstriction in rat aorta treated with lipopolysaccharide. Br J Pharmacol.
1998;125(2):237-34.
-50-
26. Chiou WF, Chen CF, Lin JJ. Mechanism of suppression of inducible nitric oxide synthase (iNOS) expression in RAW
264.7 cells by andrographolide. Br J Pharmacol. 2000;129(8):1553-60.
27. Shen YC, Chen CF, Chioys WF. Suppression of rat neutrophil reactive oxygen species production and adhesion by the
diterpenoid lactone andrographolide. Planta Med. 2000;66(4):314-7.
28. Shen YC, Chen CF, Chioys WF. Andrographolode prevents oxygen radical production by human neutrophil: possible
mechanism(s) involved in its anti-inflammatory effect. Br J Pharmacol. 2002;135(2):399-406.
29. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, สุรภี พฤกษชาติวุฒิ. การศึกษาฤทธิ์ตานแบคทีเรียของสมุนไพรฟาทะลายโจร. สารศิริราช.
2533;42(8):431-4.
30. Leelarasamee A, Trakulsomboon S, Sittissomwong N. Undetectable anti-bacterial activity of Andrographis paniculara
(Burm.) Wall. Ex Neew. J Med Assoc Thai. 1990;73(6):299-304.
31. ธิดารัตน ปลื้มใจ. ฤทธิ์ตานเชื้อจุลินทรียของฟาทะลายโจร. ว กรมวิทย พ. 2535;34(4):9-15.
32. จริยา สินเดิมสุข. ฤทธิ์ในการตานแบคทีเรียของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรฟาทะลายโจร (Andrographis paniculata)
ตอเชื้อโรคทองรวงที่พบมากในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ. 2536;18(8):394-400.
33. นวลตา มวงนอยเจริญ, อัญชลี ตัตตะวะศาสตร, วิชัย ปราสาททอง และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่องความสัมพันธระหวาง
ส ว นประกอบทางเคมีของฟ าทะลายโจรและผลทางการรักษาโรค เสนอตอ สํ านักงานคณะกรรมการวิ จั ย แหงชาติ และ
Deutsche Forchungsgemeinschaft. 2538.
34. Faculty of Pharmacy. Mahidol University: MU researchers develop Andrographis paniculata gel for treating
periodontitis.[cited 2003 Jan 30]; Available from: http://www2.mahidol.ac.th/spectrum/page3_vol9_no1.htm.
35. ธิดารัตน คมวัชระ. การพัฒนาตํารับสารสกัดฟาทะลายโจรเจลเพื่อยับยั้งเชื้อที่ทําใหเกิดโรคปริทันตอักเสบในผูใหญ.
วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.
36. สุภาณี รัศมีมาสเมือง. การใสเจลสารสกัดฟาทะลายโจรในรองลึกปริทันตเพื่อเสริมการรักษาโรคปริทันตอักเสบในผูใหญ.
วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.
37. รติยา คําสรี. การพัฒนายาเตรียมจากสารสกัดฟาทะลายโจรในรูปแบบเจล.วิทยานิพนธมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2538.
38. Limsong J, Benjavongkulchai E, Kuvatanasuchati J. Inhibitory effect of some herbal extracts on adherence of
Streptococcus mutans. J Ethnopharmacol. 2004;92(2-3):281-9.
39. อรนุช ธนเขตไพศาล, บังอร ศรีพานิชกุลชัย, วริษฏา ศิลาออน และคณะ. การพัฒนาสูตรตํารับเจลฟาทะลายโจรที่ออก
ฤทธิ์ตานแบคทีเรีย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแกน. 2545;7(2):65.
40. Puri A, et al. Immunostimulant agents from Andrographis paniculata. J Nat Prod. 1993;56:995-9.
41. Kumar RA, Sredevi K, Kumar NV, et al. Anticancer and immunostimulatory compounds from Andropraphis
paniculata. J Ethnopharmacol. 2004; 92(2-3):291-5.
42. Panossian A, Davtyan T, Gukassyan N, et al. Effect of andrographolide and Kan Jang-fixed combination of extract
SHA-10 and extract SHE-3-on proliferation of human lymphocytetes, production of cytokines and immune activation
markers in the whole blood cells culture. Phytomedicine. 2002;9(7):589-605.
43. Iruretagoyena MI, Tobar JA, Gonzalez PA, et al. Andrographolide interferes with T cell activation and reduces
experimental autoimmune encephalomyelitis in the mouse. J Pharmacol Exp Ther. 2005;312(1):366-72.
44. Chantasutra V, Limpapanichkul S. Acute anti-inflammatory activity of Andrographis paniculata Nees in rats. The eight
Conference. Faculty of Pharmacy,Chulalongkorn University; 1989.
45. Dutta A, Sukul NC. Filaricidal properties of a wild herb, Andrographis paniculata. J Helminthol. 1982;56:81-4.
-51-
46. Sutarjadi M, Santosa H, Bendryman and Dyatmiko W. Immunomodulatory activity of Piper betle, Zingeber aromatica,
Andrographis paniculata, Allium sativum and Oldenlandia corymbosa Grown in Indonesia. Planta Med. 1991;57(Suppl 2):36.
47. Hancke J, et al. A double-blind study with a new monodrug Kan Jang: decrease of symptoms and improvement in the
recovery from common colds. Phytother Res. 1995;9:559-62.
48. Caceres DD, Hancke JL, Burgos RA, Sandberg F, Wikman GK. Use of visual analogue scale measurement (VAS) to
asses the effectiveness of standardized Andrographis paniculata extract SHA-10 in reducing the symptoms of common
cold. A randomized double blind-placebo study. Phytomedicine. 1999;6(4):217-23.
49. Caceres DD, et al. Prevention of common colds with Andrographis paniculata dried extract. A pilot double-blind study.
Phytomedicine. 1997;4:101-4.
50. Coon JT, Ernst E. Andrographis paniculata in the treatment of upper respiratory tract infections: a systematic review of
safety and efficacy. Planta Med. 2000;70(4):293-8.
51. Poolsup N, Suthisisang C, Prathanturarug S, et al. Andrographis paniculata in the symptomatic treatment of
uncomplicated upper respiratory tract infection: systematic review of randomized controlled trials. J Clin Pharm Ther.
2004;29(1):37-45.
52. Melchior J, Spasov AA, Ostrovskij OV, Bulanov AE, Wikman G. Double-blind, placebo-controlled pilot and Phase III
study of activity of standardized Andrographis paniculata Herba Nees extract fixed combination (Kan jang) in the treatment
of uncomplicated upper-respiratory tract infection. Phytomedicine. 2000; 7(5):341-50.
53. Gabrielian ES, Shukarian AK, goukasova GE, et al. A double-blind, placebo-controlled study of Andrographis
paniculata fixed combination Kan Jang in the treatment of acute upper respiratory tract infections including sinusitis.
Phytomedicine. 2002;9(7):589-97.
54. Spasov AA, Ostrovskij OV, Chernikov MV, et al. Comparative controlled study of Andrographis paniculata fixed
combination, Kan Jang and an Echinacea preparation as adjuvant, in the treatment of uncomplicated respiratory disease in
children. Phytother Res. 2004;18(1):47-53.
55. Muangman V, Viseshsindh V, Ratana-Olarn K, Buadilok S. The usage of Andrographis paniculata following
extracorporeal shock wave lithotripsy (ESWL). J Med Assoc Thai. 1995;78(6):310-3.
56. พนิดา บุญชัยพานิชวัฒนา. การเปรียบเทียบผลทางคลินิกและทางจุลชีววิทยาของเจลจากสารสกัดฟาทะลายโจรและขี้ผึ้งยา
มิโนไซคลินเพื่อนเสริมการรักษาโรคปริทันตอักเสบเริ่มเร็ว. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.
57. พิมล อัศวสุวรรณ. การเปรียบเทียบผลทางคลินิกและจุลชีววิทยาหลังการใสเจลสารสกัดจากฟาทะลายโจรและเจลยาเม
โทรไนดาโซลในการเสริมการรักษาโรคปริทันตอักเสบในผูใหญ. วิทยานิพนธมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.
58. Rassameemasmaung S, Sirirat M, Komwatchara T, Rojanapanthu P, et al. Subgingival administration of Andrographis
paniculata gel as an adjunct in the treatment of adult periodontitis. Mahidol J. 1998;5(1):9-15.
59. Atsawasuwan P, Sirirat M, Amornchat C, Yudhasarasitihi S, et at. Subgingival administration of Andrographis
paniculata gel and metronidazole gel as an adjunct in the treatment of adult periodontitis: clinical and microbiological
effects. Mahidol J. 1998;5(2):97-101.
60. Amaryan G, Astvatsatryan V, Gabrielyan E, et al. Double-blind, placebo-controlled, randomized, pilot clinical trial of
ImmunoGuard-a standardized fixed combination of Andrograhis paniculata Nees, with Eleutherococcus senticosus Maxim,
Schizandra chinensis Bail, and Glycyrrhiza glabra L. extracts in patients with Familial Mediterranean Fever.
Phytomedicine. 2003;10(4):271-85.
-52-
61. Calabrese C, Berman SH, Babish JG, et al. A phase I trial of andrographolide in HIV positive patients and normal
volunteer. Phytother res 2000;14(5):333-8.
62. George M, Pandalai KM. Investigations on plant antibiotics part IV. Further search for antibiotic substance in Indian
medicinal plants. Ind J Med Res. 1949;24:49-53.
63. นาถฤดี สิทธิสมวงศ และคณะ. พิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังของฟาทะลายโจร. ว ไทยเภสัชสาร. 2532;14(2):109-18.
64. Sithisomwongse N, Phengchata J, Cheewapatana S, et al. Acute and Chronic toxicity of Andrographis paniculata Nee.
Th J Pharm Sci. 1989;14(2):109-17.
65. Akbarsha MA, Manivannan B, Hamid KS, et al. Antifertility effect of Andrographis paniculata (Nees) in male albino
rats. Ind J Exp biol. 1990;28(5):421-6.
66. Akbarsha MA, Murugaian P. Aspect of the male reproductive toxicity/male antifertility property of andrographolide in albino
rats: effect on the testis and the cauda epididymal spermatozoa. Phytother Res. 2000;14(6):432-5.
67. Burgos RA, Imilan M, Sanchez NS, et al. Andrographis paniculata (Nees) selectively blocks voltage-operated calcium
channels in rat vas deferences. J Ethnopharmacol. 2000;17(1-2):115-21.
68. Burgos RA, Caballero EE, Sanche NS, et al. Testicular toxicity assesment of Andrographis paniculata dried extract in
rats. J Ethnopharmacol. 1997;58:219-24.
69. Zoha MS, Hussain AH, Choudhury SA. Antifertility effect of Andrographis panuculata in mice. Bangladesh Med Res
Counc Bull. 1989;15(1):34-7.
70. Beijing Medical College. Physiology Department: Experimental observation on the termination of pregnancy by the
Andrographis herb (Andrographis paniculata N. ). Acta Physiologica Sinica. 1978;30(1):75-80.
71. Panossian A, Kochkian A, gabrielian E, et al. Effect of Andrographis paniculata extract on progesterone in blood
plasma of pregnant rats. Phytomedicine. 1999;6(3):157-62.
72. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย. มาตรฐานสมุนไพรเลมที่ 1 ฟาทะลายโจร Andrographis paniculata
(Burn f.) Nees. กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก 2542.
73. สํานักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน. กระทรวงสาธารณสุข. ฟาทะลายโจร ใน: สมุนไพรในงานสาธารณสุข
มูลฐาน (ฉบับปรับปรุง). พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก 2542. หนา 118-21.
74. Suttajit M, Immak K, Sukonpradit R, Suttajit S. Antioxidative activity in medicinal herbs for HIV-infected patients.
Proceeding of the 9th Annual Technical Meeting of the Department of Medical Sciences; 1998. p. 53.
75. World Health Organization. WHO monographs on selected medicinal plants. Geneva.World Health Organization 2002.
76. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานการเกิดอาการขางเคียงจากศูนยติดตามอาการไมพึงประสงคจากการใช
ผลิตภัณฑสุขภาพ. กันยายน 2543-ตุลาคม 2546.
77. สํานักงานขอมูลสมุนไพร. คูมือสมุนไพรประจําตูยา. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล, 2531. หนา 83.
78. โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง. ฟาทะลายโจร. ขาวสมุนไพร. 2527;20:19.
-53-

2.2 ยารักษากลุมอาการของระบบทางเดินหายใจ

(1) ฟาทะลายโจร
ดูรายละเอียดยารายการที่ (4) ในขอ 2.1 ยารักษากลุมอาการของระบบทางเดินอาหาร

2.3 ยารักษากลุมอาการของระบบผิวหนัง

(1) บัวบก
1. ชื่อสามัญ (ไทย) บัวบก
(อังกฤษ) Asiatic pennywort, Gotu kola
ชื่อวิทยาศาสตร Centella asiatica (L.) Urb.
ชื่อวงศ Umbelliferae
ชื่อทองถิ่น ผักแวน ผักหนอก
2. องคประกอบ ใบบัวบก ควรมีสารสําคัญ triterpenes ไดแก asiatic acid และ madecassic acid และ
อนุพันธของ triterpene ester glycoside ไดแก asiaticoside และ madecassoside
3. ขอบงใช (indication) ใชสมานแผล
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ในการรักษาแผล
ฤทธิ์ในการรักษาแผลของบัวบกมาจากฤทธิ์ของสารกลุม triterpene ทั้งหลาย ไดแก asiaticoside,
asiatic acid และ madecassic acid1 โดยสารเหลานี้กระตุนการสราง human collagen I ซึ่งเปนโปรตีนที่เกี่ยวของ
กับการหายของแผล2 และการศึกษาใน monolayer culture ของ fibroblast พบวาสารสกัดบัวบกกระตุนการ
สราง collagen3นอกจากนี้ พบวาสาร asiaticoside เรงการหายของแผลหลังผาตัด โดยเรงกระบวนการสราง
เนื้อเยื่อใหม เมื่อทา asiaticoside ลงบนผิวหนังของหนูที่เปนแผล จะเรงการหายของแผลและเพิ่ม tensile strength
ของผิวหนังที่สรางใหม4, 5
สารสกัดบัวบกดวยแอลกอฮอล เมื่อใหทางปากหรือโดยการทา ชวยเรงการหายของผิวหนัง
หนูขาว โดยเพิ่มการแบงตัวของเซลลและการสราง collagen, DNA และ protein ใน granulation tissue มีผลเรง
กระบวนการ epithelialization, maturation และ crosslinking ของ collagen6
เมื่อทา asiaticoside 0.2% บนผิวหนูขาวที่เปนแผล พบวามีผลเพิ่มระดับของ enzymatic และ
non-enzymatic antioxidants ของแผล โดยเพิ่ม superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase, vitamin E,
vitamin C ในเนื้อเยื่อที่สรางใหม6
-54-
สารสกัดบัวบก และสาร asiaticoside ยังมีประโยชนในการรักษาแผลเปนและ keloid โดย
พบวา asiaticoside สามารถลดการเกิด fibrosis ของแผล จึงชวยปองกันการเกิดแผลเปนได โดยมีกลไกการ
ออกฤทธิ์ 2 อยาง คือ เพิ่มการสราง collagen และ acidic mucopolysaccharides และ โดยการยับยั้งกระบวนการ
อักเสบของ hypertrophic scars และ keloids7
4.1.2 ฤทธิ์ลดการอักเสบ
บัวบกมีสาร asiaticoside, madecassic acid, madecassoside, asiatic acid ซึ่งมีฤทธิ์ตานการ
อักเสบ จากการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ตานอักเสบของบัวบก โดยศึกษาผลตอการสราง nitric oxide (NO) และ
tumour necrosis factor-alpha (TNF-α) จาก activated macrophage ใน J774.2 mouse macrophage พบวาสารสกัด
ดวยน้ําของบัวบกเพิ่มการสราง NO โดยมีความสัมพันธกับขนาด และเสริมฤทธิ์ของ lipopolysaccharide (LPS)
ในการกระตุนการสราง NO ขณะที่สารสกัดบัวบกดวยเอทานอล ไมมีผลตอการสราง NO แตเมื่อใหรวมกับ
LPS มีผลยับยั้งการสราง NO และ inducible nitric oxide synthase (iNOS) gene expression สวนการหลั่ง
TNF-α จาก macrophage มีความสัมพันธกับการสราง NO8
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 ฤทธิ์รักษาแผลที่ผิวหนัง
รายงานการวิจัยในตางประเทศหลายรายงานพบวา สารสกัดบัวบก ชนิดขี้ผึ้ง 1% หรือผง 2 %
มีประสิทธิผลในการสมานแผลที่ผิวหนัง4, 9 การทดลองทาครีมที่มีสารสกัดบัวบก 1% ในผูปวยที่มีแผลเปอยติดเชื้อ
เรื้อรัง 22 ราย พบวาหลังใชยาเปนเวลา 3 สัปดาหมีผูปวย 17 รายที่แผลหาย และ 5 ราย มีขนาดของแผลลดลง10
สําหรับในประเทศไทยไดมีการทดลองใชครีมบัวบก ทาแผลอักเสบหลังการผาตัดในคนไขที่เปน
โรคในระบบทางเดินปสสาวะ 14 ราย แบงทาวันละ 2 ครั้ง นาน 2 สัปดาห เปนเวลา 2 เดือน พบวาแผลหาย 4
ราย (28.6%) ใน 2 สัปดาห, 4 ราย (28.6%) ใน 2-4 สัปดาห, 5 ราย (35.7%) ใน 4-8 สัปดาห และไมหายหลังใชยา
2 เดือน 1 ราย (7.1%) ซึ่งเกิดจากผลกดทับ และไมพบอาการแทรกซอนอื่น ๆ11
รายงานการใชครีมรักษาแผลในคนไข 22 ราย ซึ่งมีขนาดแผลกวาง 1-12 เซนติเมตร ลึก 0.5-3.7
เซนติเมตร โดยสังเกตผลใน 1, 2 และ 3 สัปดาห พบวาผลการรักษาในสัปดาหที่ 1 ขนาดแผลลดลง 24%
สัปดาหที่ 2 ขนาดแผลลดลง 37% และสัปดาหที่ 3 ขนาดแผลลดลง 47% โดยความลึกของแผลนั้นลดลงไดเร็ว
กวาความกวางและยาว นอกจากนี้ในสัปดาหที่ 3 คนไข 17 ราย มีแผลที่หายสนิท สวน 5 ราย ขนาดแผลลดลง
แตไมหายดี12 นอกจากนั้น ในการศึกษาฤทธิ์สมานแผลของครีมบัวบก ที่มีสารสกัดใบบัวบก 7% ในคนไข 21 ราย
ที่ไดรับการผาตัดใหญทางระบบปสสาวะ และมีแผลยาว 10-23 เซนติเมตร โดยเปรียบเทียบกลุมที่ทาครีม
บัวบกทั้งแผล ทาครีมบัวบกและยาหลอกอยางละครึ่งแผล และทายาหลอกทั้งแผล วันละ 3-4 ครั้ง เปนเวลา 21 วัน
พบวากลุมแรกแผลหายดีที่สุด สวนกลุมที่ใชยาหลอกมีแผลหายไมสูดี การทาหรือไมทายาใหผลเทากัน13
4.2.2 ฤทธิ์รักษาแผลในทางเดินอาหาร
เมื่อให titrated extract ของบัวบกแกผูปวยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลําไส 15 ราย ใน
ขนาด 60 มิลลิกรัมตอคน ประมาณ 93% ของผูปวยมีอาการดีขึ้น และเมื่อสองกลองหรือ x-rays ดูแผล พบวา
73% ของแผลจะหาย4
-55-
4.2.3 ฤทธิ์รักษาความผิดปกติของหลอดเลือดดํา
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกหลายรายงาน แสดงใหเห็นถึงประสิทธิผลของ total triterpenic
fraction ของบัวบก (TTFCA) ขนาด 90-180 มิลลิกรัมตอวัน ในการบรรเทาอาการที่เกิดจากความผิดปกติของ
ระบบหลอดเลือดดํา ไดแก
- venous hypertension ชวยลด capillary filtration rate, อาการบวมของขอเทา, ทําให
microcirculation ที่ขาของผูปวยดีขึ้น, ปริมาตรของขาลดลง, ภาวะ venous microangiopathy ดีขึ้น และชวยลด
capillary permeability ที่เพิ่มขึ้นในผูปวยโรคนี้14-17
- venous insufficiency ชวยลดอาการบวมของขา และความรูสึกหนักที่ขา และลดการขยายตัว
ของหลอดเลือดดํา18
- ชวยลดจํานวนของ circulating endothelial cells ในผูปวย post - phlebitic syndrome19
4.2.4 ฤทธิ์รักษาแผลในปาก
การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาตํารับเจลรักษาแผลในปากจากสารสกัดใบบัวบกสด พบวาตํารับที่ใช
ยาพื้นซึ่งเตรียมจาก C934P มีคุณสมบัติทางกายภาพและมีความคงตัวดี การศึกษาทางคลินิกโดยใชตํารับเจล
ที่มีความเขมขน 0.5, 1.0 และ 2.0% เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑยาแผนปจจุบัน triamcinolone acetonide (TA)
และยาหลอกในผูปวย 87 คน พบวาตํารับเจลของสารสกัดใบบัวบกทั้งสามความเขมขนและตํารับ TA ใหผล
ใกลเคียงกันในอัตราการลดขนาดของแผลและใหผลเร็วกวายาหลอก20
4.2.5 ฤทธิ์รักษาอาการอักเสบ
เมื่อใหผูปวยทีเ่ ปนโรคขออักเสบรับประทานพบวาใชไดผล21
5. พิษวิทยา (toxicology)
5.1 พิษเฉียบพลัน
ไดมีผูทดลองฉีดสารสกัดดวยแอลกอฮอลและน้ํา (1:1) เขาชองทองหนูถีบจักร พบวาหนูถีบจักรทนยา
ไดถึง 250 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม22 จากการศึกษาพิษเฉียบพลันของผงบัวบก พบวาขนาดของผงบัวบกที่ทําให
หนูถีบจักรตายรอยละ 50 (LD50) มีคามากกวา 8 กรัมตอกิโลกรัม และไมพบความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยา
ของเนื้อเยื่ออวัยวะภายในที่เกิดจากบัวบก23
5.2 พิษเรื้อรัง
ผลการศึกษาพิษเรื้อรังในหนูขาวพันธุวิสตารที่แบงออกเปน 6 กลุม ๆ ละ 30 ตัว (เพศละ 15 ตัว) โดย
กลุมที่ 1 เปนกลุมที่ควบคุมดวยน้ํา กลุมที่ 2 ถึง 5 เปนกลุมทดลองที่ไดรับผงบัวบกโดยวิธีการกรอกทางปากใน
ขนาด 20, 200, 600 และ 1,200 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอวัน เปนระยะเวลา 6 เดือน และกลุมที่ 6 เปนกลุมศึกษา
recovery โดยไดรับบัวบก 1,200 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม นาน 6 เดือนเชนกัน แลวหยุดใหบัวบกเปนเวลา 2
สัปดาห กอนเจาะเลือด พบวา หนูที่ไดรับผงบัวบกทุกขนาดมีน้ําหนักตัว การกินอาหาร และสุขภาพไมแตกตาง
จากกลุมควบคุม หนูเพศผูที่ไดรับบัวบกขนาด 600 และ 1,200 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม มีจํานวนเม็ดเลือดขาวต่ํา
กวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ อยางไรก็ตาม จํานวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเมื่อหยุดใหบัวบกขนาดสูง เปนเวลา
2 สัปดาห การตรวจคาเคมีคลินิกของซีรั่มพบวา หนูเพศผูที่ไดรับบัวบกขนาด 600 มิลลิกรัม ตอกิโลกรัม ขึ้นไป
มีระดับโซเดียมและคลอไรดสูงกวากลุมควบคุมอยามีนัยสําคัญ และหนูเพศเมียที่ไดรับผงบัวบก 1,200 มิลลิกรัม
-56-
ตอกิโลกรัม มีระดับโซเดียมสูงกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญเชนกัน แตการเปลี่ยนแปลงเหลานี้ยังคงอยู
ในชวงคาปกติ ผลการตรวจเนื้อเยื่ออวัยวะตาง ๆ ทางจุลพยาธิวิทยาไมพบการเปลี่ยนแปลงที่บงชี้วาเกิดจาก
บัวบก ยกเวนหนูเพศผูที่ไดรับผงบัวบก 200 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมขึ้นไป มีอุบัติการณของการสะสมไขมันที่ตอม
หมวกไตสวนนอกสูงกวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ ซึ่งอาจเปนผลจาก corticosteroid-sparing effect ใน
หนูขาวพันธุวิสตาร ดังนั้น อาจกลาวไดวา ผงบัวบกไมทําใหเกิดความเปนพิษตอสัตวทดลอง24
5.3 ฤทธิ์คุมกําเนิด
พบฤทธิ์คุมกําเนิดในหนูถีบจักร24, 25 จึงควรระวังไมใหหญิงมีครรภกินในขนาดที่สูง ๆ
5.4 ฤทธิ์กระตุนการเกิดเนื้องอก
มีรายงานวาการทา asiaticoside บนผิวหนังของหนูไรขน ทําใหเกิด epidermal tumor ได26 ในเรื่องนี้
ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเปนไปไดในการกอมะเร็งผิวหนังของสารนี้และสารสกัดบัวบก
5.5 ฤทธิ์ในการทําใหเกิดอาการแพ
จากการทดสอบการเปน sensitizer ของสารสกัดหยาบของบัวบกและ triterpenoid compounds ไดแก
asiaticoside, asiatic acid, madecassic acid ในหนูตะเภา พบวาฤทธิ์ในการเปน sensitizer ออนมาก ความเสี่ยง
ในการเกิด contact sensitivity จากสารเหลานี้จึงต่ํา24
6. ขอหามใช (contraindication)
หามใชในผูปวยทีแ่ พสมุนไพรในวงศ Umbelliferae (Apiaceae)1
7. ขอควรระวัง (precaution)
จากรายงานการศึกษาที่พบวาสาร asiaticoside ที่ทาบนผิวหนู ทําใหเกิดเนื้องอกบนผิวหนังได26 และ
ยังไมมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันหรือหักลางฤทธิ์กอมะเร็งผิวหนังของบัวบก จึงควรหลีกเลี่ยงการใชติดตอกัน
เปนเวลานาน
8. อาการไมพงึ ประสงค (adverse effect)
เคยมีรายงานวาการทาสารสกัดใบบัวบกชนิดขี้ผึ้งหรือผงบางชนิดอาจทําใหเกิดผื่นแพสัมผัส (allergic
contact dermatitis) ได27
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ครีม ที่มีสารสกัดจากใบบัวบกสด 7 % w/w
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
ทําความสะอาดแผลดวยยาฆาเชื้อกอนทายา
ใชทาบริเวณทีเ่ ปนแผลวันละ 1-3 ครั้ง หรือตามแพทยสั่ง
หากใชแลวไมดีขึ้นภายใน 2 สัปดาหใหหยุดใช
ควรเก็บยาในที่เย็นอุณหภูมไิ มเกิน 25 องศาเซลเซียส

เอกสารอางอิง
1. Kartnig T. Clinical applications of Centella asiatica (L.) Urb. In Herbs, Spices, and Medicinal Plants: Recent
Advances in Botany, Horticulture, and Pharmacology Vol.3. Phoenix, AZ: Oryx Press 1988. p.145-73.
-57-
2. Bonte F, et al. Influence of Asiatic acid, madecassic acid, and asiaticoside on human collagen I synthesis. Planta
medica. 1994;60:133-5.
3. Maquart FX, et al. Stimulation of collagen synthesis in fibroblast cultures by triterpene extracted from Centella
asiatica. Connective Tissue Research. 1990;24:107-20.
4. Morisset R, et al. Evaluation of the healing activity of Hydrocotyle tincture in the treatment of wounds. Phytother
Res. 1987;1:117.
5. Suguna L, Sivakumar P, Chandrakasan G. Effects of Centella asiatica on dermal wound healing in rats. Ind J
Exp Biol. 1996;34(12):1208-11.
6. Shukla A, Rasid AM, Dhawan BN. Asiaticoside-induced elevation of antioxidant levels in healing wound.
Phytother Res. 1999;13(1):50-4.
7. Rosen H, Blumenthal A, McCallum J. Effect of asiaticoside on wound healing in the rat. Proceedings of the
Society of Experimental Biology and Medicine; 1972. p. 279.
8. Puntureea K, Christopher PW, Vinitketkumneuna U. Thai medicinal plants modulate nitric oxide and tumor
necrosis factor-α in J774.2 mouse macrophages. J Ethnopharmaco. 2004;95(2-3):183-9.
9. Kiesewetter H. Erfahrungsbericht uber die Behandlung von Wunden mit Asiaticosid (Madecassol). Wiener
medizinische Wochenschrift. 1964;114:124-6.
10. Boiteau P, Ratsimamanga AR. Asiaticoside extracted from Centella asiatica, its therapeutic uses in healing of
experimental or refractory wounds, leprosy, skin tuberculosis, and lupus. Therapie. 1956;11:125-49.
11. วีระสิงห เมืองมั่น, กฤษฎา รัตนโอฬาร. การใชครีมใบบัวบกรักษาแผลอักเสบโดยการทาภายนอก. หนังสือ
รวบรวมผลการวิจัยโครงการพัฒนาการใชสมุนไพรและยาไทยทางคลินิก, มหาวิทยาลัยมหิดล. 2525:36.
12. Kosalwatna S, Shaipanich C, Bhanganada K. The effect of one percent Centella asiatica on chronic ulcers.
Siriraj Hops Gaz. 1988;40(6):455-61.
13. วีระสิงห เมืองมั่น, พจนี รอดจินดา, อํานวย ถิฐาพันธ. รายงานผลการศึกษาฤทธิ์สมานแผลและปองกันแผลเปน
ของครีมบัวบกทางคลินิก; 2541.
14. Belcaro GV, Grimaldi R, Guidi G. Improvement of capillary permeability in patient with venous hypertension
after treatment with TTFCA. Angiology. 1990 Jul;41(7):533-40.
15. Cesarone MR, Belcaro G, De Sanctis MT, Incandela L, et al. Effects of the total triterpenic fraction of Centella
asiatica in venous hypertensive microangiopathy: a prospective, placebo-controlled, randomized trial. Angiology.
2001;52(2):15-8.
16. Cesarone MR, Belcaro G, Rulo A, Griffin M, et al. Microcirculatory effects of total triterpenic fraction of
Centella asiatica in chronic venous hypertension: measurement by laser Doppler, TcPO2-CO2, leg volumetry.
Angiology. 2001;52(2):45-8.
17. De Sanctis MT, Belcaro G, Incandela L, Cesarone MR. Treatment of edema and increased capillary filtration in
venous hypertension with total triterpenic fraction of Centella asiatica: a clinical, prospective, placebo-controlled,
randomized, dose-ranging trial. Angiology. 2001;52(2):55-9.
-58-
18. Pointel JP, Boccalon H, Cloarec M, Ledevehat C, et al. Titrated extract of Centella asiatica (TECA) in the
treatment of venous insufficiency of the lower limbs. Angiology. 1987;38(1):46-50.
19. Montecchio GP, Samaden A, Carbone S, Vigotti M, et al. Centella asiatica triterpenic fraction (CATTF)
reduces the number of circulating endothelial cells in subjects with post phlebitic syndrome. Haematologica.
1991;76(3):256-9.
20. http://www.medplant.mahicol.ac.th/active/shownews.asp?id=14 ยอยขาวงานวิจัย จาก Thai J Pharm Sci.
1998;22(3):16.
21. Dabral PK, Sharma RK. Evaluation to the role of Rumalaya and Geriforte in chronic arthritis, a preliminary
study. Probe. 1983;22(2):120-7.
22. Adesina SK. Studies on some plants used as anticonvulsants in American and African traditional medicine.
Fitoterapia. 1982;53:147-62.
23. ทรงพล ชีวะพัฒน, ปราณี ชวลิตธํารง, เอมมนัส อัตตวิชญ และคณะ. การศึกษาความเปนพิษของสมุนไพรบัวบก.
วารสารการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก.2(3):3-17.
24. Hausen BM. Centella asiatica (Indian pennywort), an effective therapeutic but a weak sensitizer. Contact
Dermatitis. 1993;29(4):175-9.
25. Matsu ADS, Hoskin S, Kashiwagi M, et al. A survey of natural products from Hawaii and other areas of the
Pacific for an antifertility effect in mice. Int S Klin Pharmakol Ther Toxikol. 1971;5:65.
26. Laerum OD, Iversen OH. Reticuloses and epidermal tumors in hairless mice after topical skin applications of
cantharidin and asiaticoside. Cancer Res.32(7):1463-9.
27. Eun HC, Lee AY. Contact dermatitis due to madecassol. Contact Dermatitis. 1985;13(5):310-3.
-59-
(2) พญายอ
1. ชื่อสามัญ (ไทย) พญายอ
(อังกฤษ) -
ชื่อวิทยาศาสตร Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau
ชื่อวงศ Acanthaceae
ชื่อทองถิ่น พญาปลองทอง เสลดพังพอนตัวเมีย
2. องคประกอบ1
ใบพญายอ ควรมีสารสําคัญ belutin, lupeol, β-sitosterol, stigmasterol และสารสําคัญในกลุม flavonoids
3. ขอบงใช (indication)
3.1 ครีม บรรเทาอาการของ เริมและงูสวัด
3.2 ยาปายปาก รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer)
3.3 โลชั่น บรรเทาอาการ ผดผื่นคัน ลมพิษ ตุมคัน
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ตานการอักเสบ (anti-inflammatory activity)
มีรายงานวา ใบพญายอสามารถลดอาการอักเสบของหนูขาวที่ทําใหเกิดการอักเสบ โดยฉีดสาร
carrageeninไดดี โดยเฉพาะในสวนที่สกัดดวย butanol2 และมีผูทําการศึกษา พบวา สารสําคัญตัวหนึ่งเปนพวก
flavonoid3
กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาฤทธิ์ตาน
การอักเสบของพญายอ พบวา สารสกัดใบพญายอแหงดวยน้ํา ขนาด 15 กรัมตอกิโลกรัม มีฤทธิ์ตานการอักเสบ
อยางมีนัยสําคัญ
4.1.2 ฤทธิ์ตานเชื้อไวรัส (antiviral activity)
เมื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบพญายอ ตอเชื้อไวรัสที่กอใหเกิดโรคเริม (Herpes simplex
virus Type-2; HSV-2) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน (acyclovir) โดยวิธี plaque reduction assay พบวา สารสกัด
จากใบพญายอสามารถฆาเชื้อ HSV-2 ใน viro cell ซึ่งเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยทําลายไวรัส HSV-2
ภายนอกเซลลโดยตรง ทําใหไวรัสตาย ไมสามารถเขาไปเจริญเติบโตในเซลลได แตไมมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV-2
ไมใหเขาเซลล และไมสามารถยับยั้งการแบงตัวเพิ่มจํานวนของเชื้อไวรัสในเซลลได4, 5
มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบพญายอ ตอเชื้อไวรัส Varicella zoster ซึ่งเปนไวรัส
ที่กอใหเกิดโรคอีสุกอีใสและงูสวัด พบวา สารสกัดใบพญายอยังมีฤทธิ์ฆาเชื้อไวรัส Varicellla zoster โดยตรง6
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 ฤทธิ์ตานเชื้อไวรัส Herpes simplex
มีผูศึกษาฤทธิ์ของยาเตรียมสารสกัดใบพญายอ ในการรักษาผูปวยโรคเริมชนิด Herpes simplex
virus type-2 (HSV-2) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน (acyclovir) และยาหลอกพบวายาเตรียมสารสกัดใบพญายอ
-60-
มีประสิทธิภาพในการรักษาไดดีเทากับยามาตรฐาน คือ acyclovir และดีกวายาหลอกอยางเห็นไดชัด นอกจากนี้
ยาเตรียมสารสกัดใบพญายอจะไมทําใหผูใชมีอาการแสบและระคายเคืองขณะที่ใชยา 7
จากรายงานการวิจัยเรื่อง “การรักษาผูปวยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุชนิดเปนซ้ําดวยยาจาก
สารสกัดใบพญายอ” โดยเทียบกับยามาตรฐาน acyclovir ไมมีความแตกตางกันในระยะเวลาการตกสะเก็ดของ
แผล (วันที่ 3) และระยะเวลาการหาย (วันที่ 7) แตผูปวยที่ใชยาจากสารสกัดใบพญายอจะไมมีอาการแสบ 8
นอกจากนี้ยังมีการนําพญายอมาประยุกตใชทางคลินิก ในการรักษาอาการของโรคที่เกิดจาก
การติดเชื้อ herpes ทั้งในปากและตามผิวหนังรวมทั้งแผลในปากพวก aphthous ulcer พบวา ยาเตรียมจากพญายอ
สามารถรักษาอาการของโรคกลุมนี้ไดผลดี 9
กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข ศึกษาผลทาง
คลินิกของยาจากสารสกัดของพญายอ ในการรักษาผูปวยโรคเริมชนิด Herpes simplex virus type 2 (HSV-2)
จํานวนทั้งสิ้น 72 ราย เปนชาย 49 ราย และหญิง 23 ราย ซึ่งแบงเปน 3 กลุม คือ กลุมที่ไดรับยาทาของสารสกัด
ของใบพญายอ กลุมที่ไดรับยามาตรฐาน acyclovir และกลุมที่ไดรับยาหลอก (placebo) และติดตามระยะเวลา
การหายของแผลเริม (healing time) ภายหลังการทายา พบวา ยาจากสมุนไพรพญายอมีประสิทธิภาพใกลเคียง
กับยา acyclovir และไมแสบขณะทา รวมทั้งไมกอความรําคาญเนื่องจากความหนืดของยา สวนผลทาง
หองปฏิบัติการพบวา ผูปวยรอยละ 63 มี neutralizing antibody ตอ HSV-2, รอยละ 20 ตรวจพบ antigen ตอ
HSV-2 และรอยละ 20 มี antibody seroconversion ตอ HSV-2 และผลการนับเม็ดเลือดในชวงแรกของโรค
พบวาคาของเม็ดเลือดขาวชนิดตาง ๆ ยังมีจํานวนใกลเคียงกับคาปกติ
4.2.2 ฤทธิ์ตานเชื้อ Varicellla zoster virus
มีผูวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผูปวยโรคงูสวัดดวยยาจากสารสกัดจากใบพญายอ เปรียบเทียบกับยา
หลอก โดยศึกษาในผูปวย 51 ราย พบวา จํานวนผูปวยที่รักษาดวยยาจากสารสกัดของใบพญายอ มีการตกสะเก็ด
ของแผลภายใน 3 วัน มากกวากลุมผูปวยที่รักษาดวยยาหลอกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) สวนผลของยา
ตอการหายของแผล พบวา จํานวนผูปวยที่รักษาดวยยาจากสารสกัดของใบพญายอ มีการหายของแผลภายใน 7
และ 10 วัน มากกวากลุมผูปวยที่ไดรับยาหลอกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.01) นอกจากนี้ กลุมผูปวยที่
รักษาดวยยาหลอก มีระดับความเจ็บปวดลงลดเร็วกวากลุมผูปวยที่ไดรับยาหลอก และไมพบผลขางเคียงใด ๆ
จากการใชยาดังกลาวทั้ง 2 กลุม 4
5. พิษวิทยา (toxicology)
จากการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบพญายอดวยเอทานอล ในหนูถีบจักร พบวา สารสกัดใบ
พญายอ ขนาด 1.3 กรัมตอน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อใหทางปาก ฉีดเขาใตผิวหนังและทางชองทอง ไมทําให
เกิดอาการพิษใด ๆ และจากการศึกษาพิษกึ่งเรื้อรังของสารสกัดในหนูขาว พบวา น้ําหนักของหนูเพศผูที่ไดรับ
สารสกัด 1.0 กรัมตอกิโลกรัม มีคาต่ํากวากลุมควบคุมอยางมีนัยสําคัญ (p < 0.05) การตรวจสอบทางโลหิตวิทยา
และทางชีวเคมีพบวาเกล็ดเลือดของหนูขาวทั้งสองเพศที่ไดรับสารสกัดมีคา creatinine ต่ํากวากลุมควบคุม อยางมี
นัยสําคัญ (p < 0.05) สวนการตรวจสอบดานจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะภายในตาง ๆ และพยาธิสภาพภายนอก
ไมพบความผิดปกติที่เกิดจากการไดรับสารสกัดใบพญายอ 5
-61-
6. ขอหามใช (contraindication)
ยังไมมีขอมูล
7. ขอควรระวัง (precaution)
ยังไมมีขอมูล
8. อาการไมพงึ ประสงค (adverse effect)
ยังไมมีรายงาน
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ครีม ที่มีสารสกัดพญายอ 4 - 5 %
สารละลาย (สําหรับปายปาก) ที่มีสารสกัดพญายอในกลีเซอรีน 2.5 - 4 %
โลชั่น ที่มีสารสกัดพญายอ 1.25 %
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
ทาบริเวณที่มอี าการ วันละ 5 ครั้ง

เอกสารอางอิง
1. พเยาว เหมือนวงษญาติ. สมุนไพรกาวใหม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพเมดิคัล มีเดีย 2537. หนา 5.
2. Kittisiripornkul S. The antiinflammatory action and toxicological studies of extracts from Clincanthhus nutans:
M.S. thesis: Mahidol University; 1984.
3. Chuakul W. Chemical study of the antiinflammatory agents from the leaves of Phayaa Plong Thong,
Clinacanthus nutans (Burm. f.) Lindau. M.S. thesis: Mahidol University; 1986.
4. Sangkitporn S, Balachandra K, Bunjob M, Chaiwat S, Dechatiwongse Na-Aydhaya T, Jayavasu C. Treatment of
Herpes Zoster with Clinacanthus nutans (Bi Phaya Yaw) extract. J Med Assoc Thai. 1995;78(11):624-7.
5. ปราณี ชวลิตธํารง, เอมมนัส อัตตวิชญ, พัช รักษามั่น, ปราณี จันทเพ็ชร. การศึกษาพิษของสารสกัดจากใบพญายอ.
ว กรมวิทย พ. 2538;37(4):323-38.
6. Thawaranantha D, Balachandra K, Jongtrakulsiri S, Chavalittumrong P, Bhumiswasdi J, Jayavasu C. In vitro
antiviral activity of Clinacanthus nutans on Varicella-Zoster Virus. Siriraj Hosp Gaz. 1992;44(4):285-91.
7. ชื่นฤดี ไชวสุ, สมชาย แสงกิจพร, เครือวัลย พลจันทร, อภิชัย มหารุงเรืองรัตน, ปราณี ธวัชสุภา, มาลี บรรจบ, และคณะ.
รายงานการวิจัย การรักษาผูปวยโรคเริมชนิด Herpes Simplex Virus type 2 ดวยยาจากสารสกัดของใบพญายอ; 2535.
8. สมชาย แสงกิจพร, เครือวัลย พลจันทร, ปราณี ธวัชสุภา, มาลี บรรจบ, ปราณี ชวลิตธํารง, และคณะ. รายงานการ
วิจัยเรื่องการรักษาผูปวยโรคเริมที่อวัยวะสืบพันธุชนิดเปนซ้ําดวยยาจากสารสกัดใบพญายอ. วารสารกรมการแพทย.
2536;18(5):226-31.
9. สุภาภรณ ปติพร, อุไรวรรณ โชติเกียรติ. รายงานการวิจัยเรื่องการรักษาผูปวยโรคเริม งูสวัด และแผลอักเสบในปาก
ดวยยาเสลดพังพอนตัวเมีย (พญายอ). คลินิก. 2532;5(4):310-2.
-62-

2.4 ยาใชภายนอกสําหรับบรรเทาอาการปวดและอักเสบ

(1) พริก
1. ชื่อสามัญ (ไทย) พริก
(อังกฤษ) Capsicum, Chilli
ชื่อวิทยาศาสตร Capsicum annuum L.
Capsicum frutescens L.
ชื่อวงศ Solanaceae
ชื่อทองถิ่น พริกขี้หนู พริกขี้นก พริกชีฟ้ า
2. องคประกอบ
ผลพริกแหง ควรมี capsaicin ไมนอยกวา 0.5%1
3. ขอบงใช (indication)
บรรเทาอาการปวดขอ ปวดกลามเนื้อ (musculoskeletal pain)2-7
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ลดการอักเสบ
capsaicin หรือ capsaicinoid ละลายไดในแอลกอฮอลและน้ํามันพืช มีฤทธิ์กระตุน vanilloid
receptor หรือ TRPV1 ที่ปลายประสาทรับความรูสึกปวด การใชตอนแรกจะกระตุน TRPV1 เปด calcium channel
ทําใหรูสึกแสบรอน แตเมื่อใชติดตอกันนานจะทําใหเกิด down regulation ของ TRPV1 ทําใหหายปวด
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 ฤทธิ์ลดการอักเสบของขอ
การใช capsaicin ที่ ได รั บการยอมรั บคื อ เป นยาใช ภายนอกโดยทํ าให เกิ ดการร อนแดง
(rubefacient) ระคายเคืองเฉพาะที่ (counter-irritant) และลดอาการเจ็บปวด (analgesic) สําหรับโรคขออักเสบ
(arthritis)6 การประเมินผลการทดลองทางคลินิกแบบ randomized double-blind placebo controlled trial ใน
ผูปวยโรคขออักเสบ ประเภท osteoarthritis จํานวน 70 ราย และ rheumatoid arthritis จํานวน 31 ราย เปนเวลา
4 สัปดาห โดยทา 0.025% capsaicin ครีม วันละ 4 ครั้ง บริเวณปวดเขา พบวาสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดลง
ไดรอยละ 57 และ 33 ตามลําดับ โดยแสดงความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก
ผูปวย 80% มีอาการปวดลดลงหลังจากทายา 2 สัปดาห 4
4.2.2 ฤทธิ์ลดอาการปวดปลายประสาท
การทดสอบฤทธิ์ในการลดปวดในผูปวย neuropathic pain แบบเรื้อรัง จํานวน 200 ราย ของ
0.025% capsaicin เปรียบเทียบกับ 3.3% doxepin แบบ randomized controlled trial ผลปรากฏวา capsaicin
สามารถลดอาการปวดไดอยางมีนัยสําคัญ และมีฤทธิ์ลดปวดไมแตกตางจาก doxepin โดยการใชรวมกันระหวาง
capsaicin กับ doxepin จะสามารถออกฤทธิ์ไดเร็วกวา 8 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของ 0.075% capsaicin ในผูปวย
-63-
postsurgical neuropathic pain 99 รายปรากฏวาเมื่อทา 0.075% capsaicin บริเวณที่ปวดวันละ 4 ครั้ง สามารถลด
ปวดไดดี แมจะมีผลทําใหผิวหนังไหม แดง และอาการไอ 9 เชนเดียวกับการศึกษาในผูปวย postherpetic
neuropathy 143 ราย โดยทา 0.075% capsaicin พบวาสามารถบรรเทาอาการปวดในผูปวย postherpetic neuralgia ได
อยางมีประสิทธิภาพและปลอดภัยดวย โดยมีอาการขางเคียงคือ ผิวหนังไหมหรือแสบ (burning or stinging)
บริเวณที่ทายา 10
4.2.3 ฤทธิ์ลดอาการปวดปลายประสาทที่เกี่ยวกับเบาหวาน
การศึกษาระยะเวลา 8 สัปดาหแบบ double-blind, vehicle controlled ของ 0.075% capsaicin
ชนิดทาภายนอก ในผูปวย diabetic neuropathy ที่มีความปวดระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรง 90% ของ
ผูปวย มีอาการปวดลดลง 7 เชนเดียวกับการทา 0.075% capsaicin วันละ 4 ครั้ง บริเวณที่ปวด ในผูปวย diabetic
neuropathy 277 ราย สามารถลดอาการปวดไดดีและยังชวยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผูปวย diabetic neuropathy
ไดดวย 11 นอกจากนี้การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการลดปวดของ capsaicin ชนิดทาภายนอกกับ amitriptyline
ชนิดรับประทาน สําหรับอาการปวดในผูปวย diabetic neuropathy 235 ราย นาน 8 สัปดาห พบวา capsaicin
และ amitriptyline มีฤทธิ์ในการลดปวดไมแตกตางกัน แต capsaicin ชนิดทาภายนอกมีความปลอดภัยมากกวา
โดยไมพบ systemic side effect 12
4.2.4 ฤทธิ์ลดอาการผิวหนังอักเสบ
capsaicin ซึ่งมีฤทธิ์เปนตัวยับยั้ง cutaneous vasodilatation ในรูปแบบยาทาภายนอกไดนํามาใช
ในผูปวยโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ระดับปานกลางถึงรุนแรง 44 ราย พบวาขนาดผิวหนังที่มีลักษณะ scaling
และแดง (erythema) ลดลง ซึ่งสามารถกลาวไดวาสะเก็ดเงินมีลักษณะดีขึ้น แมจะมีรอยแดง ไหม คันบริเวณที่ทา
แตก็สามารถหายไดเองเมื่อใชอยางตอเนื่อง 13 ตอมาไดมีการศึกษาการทา 0.025% capsaicin ครีม วันละ 4 ครั้ง
นาน 6 สัปดาห เพื่อรักษาสะเก็ดเงินในผูปวย 197 ราย พบวา 0.025% capsaicin ครีม มีประสิทธิผลในการ
รักษา pruritic psoriasis ไดจากผลการลด substance P ในอาการผิดปกตินี้ 14
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผูปวย psoriasis 22 ราย โดยการฉีด 1% capsaicin แบบ
epicutaneous ผลการรักษา psoriasis เกิดจากการที่ capsaicin-sensitive nerves อาจเหนี่ยวนําใหหลั่ง histamine
ทําให unmyelinated nerve fibres เขามาบริเวณที่มีอาการ ทําใหมีการไหลเวียนเลือดสูงได 15
4.2.4 ฤทธิ์ตอระบบทางเดินอาหาร
มีการศึกษาการลดอาการอาหารไมยอยโดยใช capsaicin ในผงพริกแดง กับผูปวยอาหารไม
ยอยที่ไมมีอาการ gastro-oesophageal reflux และ irritable bowel syndrome 30 ราย ในขนาด 2.5 กรัมตอวัน
นาน 5 สัปดาห พบวา ผงพริกแดงมีประสิทธิภาพในการลดอาการอาหารไมยอยไดดีกวายาหลอก เนื่องจาก
capsaicin ไป desensitized ตอ C-fibres ที่รับความรูสึกเจ็บ (nociceptive C-fibres) 16
5. พิษวิทยา (toxicology)17
การใช capsaicin ขนาดต่ํา ไมมีรายงานความเปนพิษ
6. ขอหามใช (contraindication)
หามใชในผูปวยทีแ่ พ capsaicin 2
-64-
หามสัมผัสบริเวณตา ระวังอยาทาเจลบริเวณผิวที่บอบบางหรือบริเวณผิวหนังที่แตก เนื่องจากทําให
เกิดอาการระคายเคือง 5, 6
7. ขอควรระวัง (precaution)
การใชรวมกับยารักษาโรคหัวใจ จําพวก angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE inhibitor)
อาจทําใหเกิดอาการไอเพิ่มขึ้น นอกจากนี้อาจเพิ่มการดูดซึมของยาโรคหอบหืด คือ theophylline ชนิดออกฤทธิ์
เนิ่นนาน 5 และ ควรระวังเมื่อใชเจลพริกรวมกับยากลุมตอไปนี้ 2
- Angiotensin converting enzyme inhibitors
- Anticoagulants
- Antiplatelet agents
- Barbiturates
- Low molecular weight heparins
- Theophylline
- Thrombolytic agents
8. อาการไมพงึ ประสงค (adverse effect)
ผิวหนังแดง ปวด แสบรอน3
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
เจล ที่มีสารสกัดจากผลพริก โดยมีปริมาณ capsaicin 0.025% 2, 3
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
ทาบริเวณที่ปวด 3 - 4 ครั้งตอวัน 2, 3

เอกสารอางอิง
1. Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia Vol I. Bangkok: Prachachon 1987. p. 56-7.
2. Thomson Healthcare. CAPSAICIN. Micromedex Healthcare Series. Vol 129. 2006.
3. British Medical Association and Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. BNF 49 (March 2005) British
National Formulary. 49 ed. London: Pharmaceutical Press 2005.
4. Deal CL, Schnitzer TJ, Lipstein E, Seibold JR, Stevens RM, Levy MD, et al. Treatment of arthritis with topical
capsaicin: a bouble-blind trial. Clin Therapeutics. 1991;13(3):383-95.
5. นริศา คําแกน. ปฏิกิริยาระหวางยาและสมุนไพร. SWU J Pharm Sci. 2004;9(1):93-104.
6. Towheed ET, Hochberg CM. A systematic review of randomized controlled trialsof pharmacological therapy in
osteoarthritis of the knee, with an emphasis on trial methodology. Seminars in Arthritis and Rheumatism.
1997;26(5):755-70.
7. American Botanical Council. The Complete German Commission E Monographs Therapeutic Guide to Herbal
Medicines. Austin, Texas: Intregrative Medicine Communications 1998. p. 178.
-65-
8. McCleane G. Topical application of doxepin hydrochloride, capsaicin and a combination of both produces
analgesia in human neuropathic pain: a randomized, double-blind, placebo-controlled study. Br J Clin Pharmacol.
2000 Jun;49(6):574-9.
9. Ellison N, Loprinzi CL, Kugler J, Hatfield AK, Miser A, Aloan JA, et al. Phase III placebo-controlled trial of
capsaicin cream in the management of surgical neuropathic pain in cancer patients. J Clin Oncol. 1997;15(8):2974-80.
10. Scheffler NM, Sheitel PL, Lipton MN. Treatment of painful diabetic neuropathy with capsaicin 0.075%. J Am
Podiatr Med Assoc. 1991;81(6):288-93.
11. Watson CP, Tyler KL, Bickers DR, Millikan LE, Smith S, Coleman E. A randomized vehicle-controlled trial of
topical capsaicin in the treatment of postherpetic neuralgia. Clin Ther. 1993;15(3):510-26.
12. Biesbroeck R, Bril V, Hollander P, Kabadi U, Schwartz S, Singh SP, et al. A double-blind comparison of
topical capsaicin and oral amitriptyline in painful diabetic neuropathy. Adv Ther. 1995;12(2):111-20.
13. Dailey GEI, Muchmore DP, Springer JW, Donofrio PD, Walker FO, Hunt VP, et al. Effect of treatment with
capsaicin on daily activities of patients with painful diabetic neuropathy. Capsaicin Study Group. Diabetes Care.
1992;15(2):159-65.
14. Bernstein JE, Parish LC, Rapaport M, Rosenbaum MM, Roenigk HHJr. Effects of topically applied capsaicin
on moderate and severe psoriasis. J Am Acad Dermtol. 1986 Sep;15(3):504-7.
15. Ellis CN, Berberian B, Sulica VI, Dodd WA, Jarratt MT, Katz HI, et al. A double-blind evaluation of topical
capsaicin in pruritic psoriasis. J Am Acad Dermatol. 1993 Sep;29(3):438-42.
16. Krogstad AL, Lonnroth P, Larson G, Wallin BG. Capsaicin treatment induces histamine release and perfusion
changes in psoriatic skin. Br J Dermatol. 1999 Jul;141(1):87-93.
17. Anonymous. CAPSAICIN: AN OVERVIEW. [cited 2005 Aug 18]; Available from:
http://sulcus.berkeley.edu/mcb/165_001/papers/manuscripts/_209.html
-66-
(2) ไพล
1. ชื่อสามัญ (ไทย) ไพล
(อังกฤษ) -
ชื่อวิทยาศาสตร Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.
Zingiber cassumunar Roxb. (ชื่อพอง)
ชื่อวงศ Zingiberaceae
ชื่อทองถิ่น ปูลอย ปูเลย มิน้ สะลาง วานไฟ
2. องคประกอบ 1-4
เหงาไพล ประกอบดวยน้ํามันหอมระเหย ซึ่งมีสารสําคัญ เชน α-pinene , sabinene, α-terpinene,
γ-terpinene และ terpinen-4-ol และเหงาไพลยังมีสารสีเหลือง curcumin, β-sitosterol และสาร acyclohexene
derivatives, naphtoquinones derivatives, butanoids derivatives ที่สําคัญ คือสาร D หรือ (E)-4-(3,4-
dimethoxyphenyl) but-3-en-l-ol และ (E)-l-(3, 4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD)
3. ขอบงใช (indication)
รักษาอาการบวม ฟกช้ํา เคล็ดยอก 5
4. เภสัชวิทยา (pharmacology)
4.1 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (experimental pharmacology)
4.1.1 ฤทธิ์ตานการอักเสบ (anti-inflammatory)
Ozaki Y และคณะ 6 ไดทําการศึกษาฤทธิ์ตานการอักเสบของไพล โดยใชสารสกัดเหงาไพลดวย
เมทานอล, อีเทอร, เฮกเซน และน้ํา ทําการทดลองกับ carrageenan-induced paw edema ในหนูขาว และ acetic
acid - induced vescular permeability และ writhing symtoms ในหนูถีบจักร พบวา methanol extract มีฤทธิ์ทั้ง
ฤทธิ์ตานอักเสบ และ แกปวด และเมื่อนําสารสกัดนี้ไปสกัด ตอดวย ether และ n-hexane จะไดสาร (E1-1-(3,
4-dimethoxyphenyl) but-1- ene ซึ่งผูวิจัยสรุปวาสารนี้ออกฤทธิ์ตานอักเสบและแกปวด
Panthony A และคณะ 7 ไดทําการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ตานการอักเสบของ สารสกัดไพลดวย
hexane 7 ชนิด ในขนาด 300 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมน้ําหนักตัว พบวายับยั้งการบวมของอุงเทาหนูจากการฉีดคา
ราจิแนนได 24.2 - 83.9% โดยสาร D หรือ (E) - 4 (3,4-dimethoxyphenyl) but-3-en-l-ol ใหฤทธิ์ยับยั้งสูงสุด
และมีฤทธิ์ในการแกไข แกปวดดวย และผูวิจัยใหขอเสนอแนะวา กลไกการออกฤทธิ์คลาย NSAID
ปทมา สุนทรศารทูล และคณะ ไดศึกษาผลการลดการอักเสบของผลิตภัณฑครีมไพจีซาล ซึ่ง
ประกอบดวย น้ํามันไพล 14% ในครีมเบส เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑยาทาแกอักเสบที่ใชในวงการแพทย 2 ชนิด
คือ 5% phenylbutazone cream และ 1% diclofenac diethylammonium gel ตรวจการลดอาการบวมจากการฉีดคา
ราจีแนนเขาอุงเทาหนู พบวา ผลการลดอาการอักเสบของผลิตภัณฑครีมไพจีซาล ใกลเคียงกับ 5% phenylbutazone
cream มีผลนอยกวา 1% diclofenac diethylammonium gel เล็กนอยในชวง 9 ชั่วโมงแรก และมีผลเทากับผล
ของ 1% diclofenac diethylammonium gel ในชั่วโมงที่ 10 และ 11 8
-67-
4.1.2 ฤทธิ์ในการเปนยาชาเฉพาะที่ (local anesthetic)
น้ําคั้นไพลออกฤทธิ์ตอ nerve action potential ของเสนประสาท sciatic ในคางคก คลายกับ
การออกฤทธิ์ของยาชา lidocaine 9
4.2 ผลการวิจัยทางคลินิก (clinical pharmacology)
4.2.1 การรักษาอาการอักเสบ ปวด บวม ฟกช้ํา
วิรุฬห เหลาภัทรเกษม และคณะ ไดทําการทดลองประสิทธิภาพของครีมไพลจีซาล ในนักกีฬา
ที่บาดเจ็บขอเทาแพลง 21 ราย โดยแบงกลุมที่ไดรับยาไพลจีซาล 10 ราย ยาหลอก 11 ราย พบวา นักกีฬากลุมที่
ไดรับยาไพลจีซาล มีการบวมเพิ่มขึ้นของขอเทานอยกวากลุมที่ไดรับยาหลอกอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ
โดยเฉพาะในชวง 2-3 วันแรกของการรักษา ชวยลดอาการปวด โดยผูปวยรับประทานยาเม็ดแกปวด paracetamol
นอยกวา ผูปวยที่ไดรับยาหลอก และชวยใหการเคลื่อนไหวของขอเทาดีขึ้นโดยขยับขอเทาลงไดดีกวา 5
4.2.2 ฤทธิ์แกหืด (antiasthmatic activity)
กณิกา ภิรมยรัตน และคณะ ไดศึกษาฤทธิ์ตานฮีสตามีนของไพล โดยการทดสอบดวยการฉีด
ฮีสตามีนเขาในผิวหนังเปรียบเทียบกับคลอเฟนิรามีนในขนาดมาตรฐาน โดยศึกษาในเด็กที่เปนหืดจํานวน 24 ราย
พบวา ไพลในขนาด 11-25 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอครั้ง มีฤทธิ์ตานฮีสตามีน โดยสามารถลดขนาดของตุมนูน
จากการฉีดดวยน้ํายาฮีสตามีนไดอยางมีนัยสําคัญ (p<0.005) แตความสามารถในการตานฤทธิ์ฮีสตามีนนั้น
คลอเฟนิรามีนในขนาด 0.1 มิลลิกรัมตอกิโลกรัมตอครั้ง มีฤทธิ์มากกวาไพล (p<0.05) จากการศึกษานี้ไมพบ
การเปลี่ยนแปลงชีพจร ความดันโลหิต หรือพิษใด ๆ จากยาทั้งสอง 10
4.2.3 การใชไพลรักษาโรคหอบหืด
มนตรี ตูจินดา และคณะ11 ไดทําการศึกษาฤทธิ์ของไพล ในผูปวยเด็กที่เปนหืด โดยแบง
การศึกษาเปน 2 ชวง
ชวงแรก เพื่อดูผลของไพลในขณะผูปวยมีการหอบ ไดศึกษาในผูปวยเด็ก 8 ราย มีอาการหอบ
ในขณะทําการศึกษาและไมไดรับยาชนิดใดมากอน ไดใหผูปวยรับประทานไพลหนัก 250 มิลลิกรัม พบวา
คาเฉลี่ย ของผูป วยหลั งการใหไ พลมีอาการหอบลดลง หนาที่ปอดดี ขึ้น ชีพจรและความดัน เลือ ดไม
เปลี่ยนแปลง ผูปวยรายที่ไมไดผลเปนผูปวยที่มีอาการหอบรุนแรง
ชวงที่สอง ไดศึกษาเพื่อดูผลของไพลในการรักษาโรคหืดระยะยาว โดยการศึกษาในผูปวย 12 ราย
ใหผูปวยกินไพลประจําครั้งละ 1 แคปซูล (มีไพล 130 มิลลิกรัม) หลังอาหารเชาและเย็น เปนเวลา 3 เดือน
การศึกษาพบวาระหวางใชไพลผูปวยมีอาการหอบนอยลง
ประพาฬ ยงใจยุทธ และคณะ 12 ไดทําการศึกษาเพื่อทดสอบฤทธิ์ของไพลในการปองกันอาการ
หอบหืดในผูปวยโรคหืดเรื้อรังที่มีอาการของโรคในขนาดปานกลางจํานวน 22 ราย โดยใชยาในขนาด 500,
750 และ 1,000 มิลลิกรัมตอวัน กับผูปวยที่มีน้ําหนักตัวระหวาง 35 - 50, 50 - 55 และตั้งแต 55 กิโลกรัม ขึ้นไป
ใหยาโดยแบงใหกินวันละ 2 ครั้ง ผลการศึกษา พบวา ไพลทําใหผูปวยมีอาการดีขึ้น ตั้งแตนอยถึงมากเปน
จํานวน 19 ราย และไมไดผล 3 ราย อาการแทรกซอนเนื่องจากยามีนอยมาก สวนใหญทําใหผูปวยมีจํานวนครั้ง
อุจจาระเพิ่มขึ้นแตไมรุนแรง
-68-
4.2.4 ฤทธิ์ในการไลแมลง (insect repellent)
ประคอง พันธอุไร และคณะ ไดทดลองนําน้ํามันไพลทําเปนขี้ผึ้งความเขมขน 30% สามารถ
ปองกันยุงลาย (Aedes aegypti) และยุงรําคาญ (Culex P. Fatigans) ไดนานประมาณ 3 ชั่วโมง เมื่อทดสอบ
ภาคสนามเทียบกับคนที่ไมทายาไพล สามารถลดการกัดของยุงรําคาญได 92.8% ใน 3 ชั่วโมง และการทดสอบ
ยาที่เตรียมขึ้นกับผิวหนังกระตายพบวาไมทําใหเกิดการะคายเคือง 13
5. พิษวิทยา (toxicology)
5.1 การศึกษาฤทธิ์กอกลายพันธุ (mutagenicity)
เมื่อใชสารสกัดเหงาไพลดวยน้ํารอนในขนาด 0.5 ซีซีตอ disc พบวาไมมีผลตอ Bacillus subtilis H-17
(Rec+) และ M-45 (Red-) 14
น้ํามันหอมระเหย และ terpinen-4-ol ไมมีฤทธิ์กอกลายพันธุกับ Salmonella typhimurium สายพันธุ
TA98, TA100 15, 16
5.2 ฤทธิ์ตานการฝงตัวของตัวออนในมดลูก (anti-implantation activity)
เมื่อฉีดสารสกัดเหงาไพลดวยน้ํารอนในขนาด 0.2 ซีซี เขาใตผิวหนังหนูถีบจักร พบวา ไมมีผลตานการ
ฝงตัวของตัวออนในมดลูก
5.3 การทดสอบความเปนพิษเฉียบพลันและพิษระยะยาวในสัตวทดลอง
การทดสอบความเปนพิษเฉียบพลันไมพบอาการเปนพิษ แมจะใหสารสกัดไพลดวยแอลกอฮอล 50%
ในขนาดเทากับไพล 10 กรัมตอกิโลกรัม ทั้งกรอกทางปากและฉีดเขาใตผิวหนังหนูถีบจักร แตเมื่อใชเกลือ
โซเดียมของสาร D ที่ละลายในน้ําฉีดเขาชองทองในขนาด 450 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม จะทําใหหนูมีอาการหายใจ
ลึกและถี่ เคลื่อนไหวนอย และขาหลังมีอาการออนเพลียกวาปกติ แตหนูทั้งหมดยังมีชีวิตรอดหลังการทดลอง
ศักดิ์ชัย อัษญคุณ และวัลภา อนันตศานต 17 ไดทําการศึกษาพิษเฉียบพลันของน้ําสกัดเหงาไพลใน
ขนาดความเขมขน 100% w/v ฉีดเขาหลอดเลือดดําที่หางหนูถีบจักรขนาด 2, 3, 4, 5, และ 6 กรัมตอกิโลกรัม
ของน้ําหนักตัว สังเกตผลภายในเวลา 72 ชั่วโมง พบวา ภายหลังไดรับ น้ําสกัดเหงาไพล 20 นาที มีอาการตัวสั่น
ขนลุก เดินโซเซ กระวนกระวาย สวนหนูถีบจักรที่ไดรับน้ําจากเหงาไพลขนาดสูง มีอาการชักทัง้ แบบเกร็งและชัก
กระตุก ตอมาหยุดหายใจแลวตายในที่สุด มีคา LD50 เทากับ 4 กรัมตอกิโลกรัม การใชยารักษาภาวะหัวใจเตน
ผิดปกติ 2 ขนานรวมกันคือ quinidine และ propanolol จะชวยลดอัตราการตายของสัตวทดลองได โดยคา LD50
เพิ่มขึ้นเปน 6 กรัมตอกิโลกรัม ผูวิจัยสรุปวาการตายของสัตวทดลองจากน้ําสกัดเหงาไพล อาจเนื่องจากผลการ
บีบตัวของกลามเนื้อหัวใจ เมื่อไดรับในขนาดสูง ๆ
รังสรรค ปญญาชัญญะ และคณะ 18 ไดศึกษาความเปนพิษของไพลในหนูทั้งชนิดพิษเฉียบพลัน และ
พิษเรื้อรัง ผลปรากฏวา
การศึกษาพิษเฉียบพลันไพลที่สกัดดวยแอลกอฮอลและเฮกเซนมีคา LD50 เทากับ 20 กรัม และ 80 กรัม
ตอน้ําหนักหนู1 กิโลกรัม ตามลําดับ (ในขณะที่ขนาดรักษาในรายเปน 10 - 20 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม)
การศึกษาพิษเรื้อรัง (6 เดือน) ใชหนูทั้งหมด 112 ตัว โดยมี 28 ตัวใชสําหรับเปรียบเทียบ และหนูที่
เหลือแบงเปน 3 กลุม โดยใหอาหารที่ผสมกับไพลทุกวันในขนาดรอยละ 0.5, 3 และ 18 ของน้ําหนักอาหาร ซึ่ง
จะเปนขนาด 25, 150 และ 900 เทาของขนาดของยาที่ใชรักษาในคน ถาใหไพลในขนาดรอยละ 18 หนูจะมี
-69-
น้ําหนักนอยกวาปกติอยางเห็นไดชัด กลุมอื่นอยูในเกณฑปกติ ไดทําการตรวจปสสาวะเลือดชีวเคมีของเลือด
และการตรวจทางพยาธิวิทยาของสัตวที่ทดลองทั้งหมดไมพบสิ่งผิดปกติที่มีความสําคัญ ผูวิจัยสรุปวาขนาดที่ใช
รักษาปกตินั้น ไมปรากฏความเปนพิษ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
นาถฤดี สิทธิสมวงศ และคณะ 19 ไดทําการศึกษาพิษทั้งระยะสั้นของเหงาไพลในหนูถีบจักร ศึกษาพิษ
ระยะยาวในหนูขาว และศึกษาพิษระยะยาวในลิงแสมปรากฏผลดังนี้
การศึกษาพิษระยะสั้นของไพลในหนูถีบจักร พบวา ไมปรากฏอาการพิษใด ๆ เมื่อใหไพลทางปากขนาด
10 กรัมตอกิโลกรัม ขนาดของสารสกัดไพลดวยแอลกอฮอล 50% ที่ทําใหหนูถีบจักรตายรอยละ 50 เมื่อใหทาง
ปากหรือฉีดเขาใตผิวหนังมากกวา 20 กรัมตอกิโลกรัม หรือเมื่อฉีดเขาทางชองทองเทากับ 14.8 กรัมตอ
กิโลกรัม
การศึกษาพิษระยะยาวในหนูขาว 192 ตัว ระยะเวลา 1 ป พบวาไพลเปนพิษตอตับ ทําใหเกิดตับแข็ง
และเกิดการกอมะเร็งที่ตับหนูขาว ซึ่งพบความรุนแรงได 3 ระดับ จํานวนตับหนูขาวผิดปกติจะเพิ่มขึ้นตามขนาด
ของยาไพลที่ไดรับและพบมะเร็งที่ตับ (hepatocellular carcinoma) ของหนูขาวที่กรอกยาไพลขนาดต่ํา 1 ตัว
การทดลองนี้ไดผลสอดคลองกันทั้งการเจริญเติบโตและสุขภาพของหนูขาว ผลการตรวจสอบซีรั่มทางชีวเคมี
การชันสูตรซากและการตรวจสอบทางจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะภายใน
การศึกษาพิษระยะยาวของไพลในลิงแสมจํานวน 16 ตัว ระยะเวลา 2 ป พบวา ลิงแสมที่ไดรับไพลขนาดต่ํา
มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีจํานวนเม็ดเลือดแดงอัดแนนสูงกวากลุมอื่น แตที่ไดรับไพลขนาดสูงเกิดอาการเปน
พิษตอตับอยางเฉียบพลันและเติบโตชา สุขภาพไมแข็งแรง ตับเสียสมดุลในการสรางโปรตีน แตรางกายมีการ
ปรับสภาพเปนระยะ ๆ เซลลของตับสามารถซอมแซมหรือฟนฟูใหมได เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 2 ป จึงไมพบ
ความผิดปกติจากการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
จากผลการศึกษาขางตนผูวิจัยสรุปวา ผงไพลนาจะมีสารที่เปนพิษตอตับทั้งนี้มิไดเกิดจากการปนเปอน
คงเนื่องจากสารในธรรมชาติของเหงาไพล และใหขอเสนอแนะวา ยังไมมีความปลอดภัยที่จะนําเหงาไพลมา
ใชเปนยารับประทานติดตอกัน นอกเสียจากจะทําการขจัดสารที่เปนพิษตอตับออกจากผงไพลเสียกอน
5.4 การศึกษาฤทธิ์กอมะเร็ง
รายงานการศึกษาฤทธิ์กอมะเร็งของสารสกัดและสารบริสุทธิ์จากไพล 20 ไดแก สารสกัดดวยเฮกเซน, steam
distillate, สาร D acetate, สาร D palmitate และอื่น ๆ ดวยวิธีทดสองแบบตาง เทียบกับ known carcinogen พบวา
- สารสกัดดวยเฮกเซน, steam distillate มีคุณสมบัติกอกลายพันธุ (mutagenic effect) ชัดเจน ขณะที่
สาร D, สาร D acetate มีคุณสมบัติในการกอกลายพันธุอยางออนมากโดยแปรกับสัดสวนขนาดที่ใชใน
Salmonella TA-100 นอกจากนี้ พบวา เปน indirect mutagen ดวย คือ ตองอาศัย metabolic activation จาก S-9
fraction จึงจะกอกลายพันธุได
- จากการศึกษา cell transformation ใน 3T3 cell line พบวาสารสกัดเฮกเซน และสาร D acetate สามารถ
transform cell ไดในลักษณะแปรเปนสัดสวนกับขนาดที่ใช โดยที่สารสกัดเฮกเซนมีฤทธิ์สูงกวา
- เมื่อศึกษาฤทธิ์ในการทําใหเกิด altered hepatic foci ในตับหนูขาวซึ่งจัดเปน medium-term assay
พบวาสารทั้ง 4 ไมชักนําใหเกิด altered hepatic foci หรือ hyperplastic nodules เลย แมวาหนูจะไดรับ sub-lethal
dose ถึง 2 ครั้งหางกัน 1 สัปดาห แลวตามดวยการตัดตับบางสวน (partial hepatectomy) 1 สัปดาหตอมาก็ตาม
-70-

5.5 ฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนังและกอใหเกิดอาการแพที่ผิวหนัง (skin irritation & sensitization)


จากการศึกษาความปลอดภัยของไพลเจล (10% w/v) ดวยวิธีที่แนะนําโดย OECD พบวา ไพลเจลอาจ
กอใหเกิดอาการระคายเคืองไดเล็กนอย แตเมื่อทดสอบการระคายเคืองโดยวิธี mouse ear irritation test พบวา
ไพลเจลแทบจะไมกอใหเกิดการระคายเคืองในหนูถีบจักร และไมกอใหเกิดการแพเมื่อทดสอบดวยวิธี Buehler
test ในหนูตะเภา 21
6. ขอหามใช (contraindication)
หามทาบริเวณขอบตาและเนือ้ เยื่อออน
หามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปด
7. ขอควรระวัง (precaution)
ไมแนะนําใหใชกับสตรีมีครรภ หรือระหวางใหนมบุตรและกับเด็กเล็ก
8. อาการไมพงึ ประสงค (adverse effect)
ยังไมมีรายงาน
9. รูปแบบและความแรง (dosage form and strength)
ครีม ที่มีน้ํามันไพล 14%
10. ขนาดและวิธีใช (dose and mode of administration)
ทาและถูเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2 - 3 ครั้ง

เอกสารอางอิง
1. Pongprayoon U, Soontornsaratune P, Jarikasem S, Sematong T, Wasuwat S, Claeson P. Topical
antiinflammatory activity of the major lipophilic constituents of the rhizome of Zingiber cassumuna. Part l: The
essential oil. Phytomedicine. 1996;3(4):319-22.
2. Dechatiwongse T, Yoshihira K. Chemical Studies on the Rhizome of Plai ( Zingiber cassumunar Roxb.). Bull
Dept Med Sci. 1973;15(4):1-15.
3. Dechatiwongse T, Yoshihira K. Isolation of Constituents from the Rhizome of Plai ( Zingiber cassumunar
Roxb.). Bull Dept Med Sci. 1976;18(3):75-9.
4. Department of Medical Sciences. Thai Herbal Pharmacopoeia Vol.1. Bangkok: Prachachon 1995. p. 51-56.
5. วิรุฬห เหลาภัทรเกษม, และคณะ. ความสัมฤทธิ์ผลของครีมสมุนไพรไพล(ไพลจีซาล) ในการรักษาขอเทาแพลงใน
นักกีฬา. ศรีนครินทรเวชวาร. 2536;8(3).
6. Ozaki Y, Kawahara N, Harada M. Anti-inflammatory effect of Zingiber cassumunar Roxb. and its active
principles. Chem Pharm Bull (Tokyo). 1991 Sep;39(9):2353-6.
7. Panthong A, Kanjanapothi D, Niwatomanum V, Tuntiwachwuttikul T, Reutrakul V. Anti-inflammatory activity
of compounds isolated from Zingiber cassumunar. Planta Med. 1990;56:655.
8. Soontornsaratune P, Wasuwat S, Sematong T. The Anti-inflammatory effects of a topical preparation of phlai
oil/plygesal on carrageenan induced footpad swelling in rats. TISTR 1990; Res. Proj. No.30 – 22/Rep-no.3:1- 7.
-71-
9. Anantasan V, Asayakun S. Study on the local anesthetic effect of squeezed Zingeber cassumuna Robx.
Chiangmai Med Bull. 1971;10(1):10-23.
10. กณิกา ภิรมยรัตน, มนตรี ตูจินดา, ศิริกุล เกตุสมนึก, เรณู โกยสุโข, มาลี บรรจบ. ฤทธิ์ตานฮีสตามีนของ “ไพล” ใน
ผูปวยเด็กโรคหืด. สารศิริราช. 2529;38(4):251-4.
11. มนตรี ตูจินดา, นวลอนงค ศรีมารุต, สุปรีดา หัพนานนท และคณะ. การใชไพลรักษาโรคหืดในวัยเด็ก หนังสือ
รวบรวมผลงานการวิจัยโครงการพัฒนาการใชสมุนไพรและยาไทยทางคลีนิก ป 2525 – 2536.
12. ประพาฬ ยงใจยุทธ, ประเวศ วะสี, ทัศนียา สุธรรมสมัย. ผลการรักษาผูปวยโรคหอบหืดดวยไพล หนังสือรวบรวม
ผลงานวิจัยโครงการใชสมุนไพรและยาทางคลีนิกของมหาวิทยาลัยมหิดล ป 2525 - 2536. หนา 131-139.
13. ประคอง พันธอุไร, ทวีผล เดชาติวงศ ณ อยุธยา, สุวรรณา จารุนุช. การศึกษาสารสกัดจากไพลใชทาผิวหนังกันยุง
กัด. ว กรมวิทย พ. 2521;20(2):81-9.
14. Ungsurungsie M, Suthienkul O, Paovalo C. Mutagenicity screening of popular Thai spices. Food Cosmet
Toxicol. 1982;20:527-30.
15. Wasuwat S, Nandhasri P, Suntorntanasat T, et al. Anti-inflammatory action of Plai oil, Zingiber cassumunar
Roxb. The First Princess Chulabhorn Science Congress; Dec 10-13; Bangkok, Thailand; 1987.
16. Wasuwat S, Soonthorn saratoon P, Rojanapothi W, et al. Spermicidal activity of medicinal plants. Science and
Technology. 1990;6(1):4-17.
17. ศักดิ์ชัย อัษูคุณ, วัลภา อนันตศานต. การศึกษาพิษโดยเฉียบพลันของน้ําสกัดไพล. ไทยเภสัชสาร.3(1):14-21.
18. รังสรรค ปญญาธัญญะ, วันทนา งามวัฒน, ปราณี ชวลิตธํารงค, และคณะ. การศึกษาความเปนพิษของไพลในหนู.
สารศิริราช. 2529;38(6):413-6.
19. นาถฤดี สิทธิสมวงศ, และคณะ. รายงานการวิจัยความเปนพิษของไพล (Toxicity Evaluation of Plai). รายงานการ
วิจัยเสนอตอสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ; 2533. 63 หนา.
20. เรณู โกยสุโข, ไชยยศ บุญญากิจ, พิทยา ตันติเวชวุฒิกุล และคณะ. การศึกษาฤทธิ์กอมะเร็งของสารสกัดและสาร
บริสุทธิ์จากไพล. งานการวิจัยเสนอตอสํานักงานคระกรรมการวิจัยแหงชาติ; 2533. 40 หนา.
21. วารุ ณี หาญพิ ทั ก ษ พ งศ . การศึ ก ษาประสิ ท ธิ ภ าพและความปลอดภั ย ของไพลเจล.วิ ท ยานิ พ นธ ม หาบั ณ ฑิ ต
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.

You might also like