You are on page 1of 20

คำ�นำ�

นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ได้กำ�หนดให้การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเป็น
วาระแห่งชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำ�ดับแรก โดยให้ดำ�เนินการตาม Road map
การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรักษาความ
สงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อกำ�จัดมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำ�จัดในพื้นที่วิกฤต สร้าง
รูปแบบการกำ�จัดขยะและของเสียอันตรายที่เหมาะสม วางระเบียบมาตรการ การ
บริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และสร้างวินัยของคนในชาติ โดยมุ่งเรื่อง
การคัดแยกขยะเพื่อนำ�กลับมาใช้ใหม่ทั้งการรีไซเคิล และการแปรรูปเป็นพลังงาน
ทั้งนี้ กองทุนสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำ�คัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการสนับสนุนเงิน
อุดหนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อดำ�เนินโครงการด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๒๓ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ สำ�หรับ
ช่วงปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบกรอบ
ทิศทางการสนับสนุนเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘ (๑๖ ก.ค. ๕๘)
มีมติอนุมัติกรอบวงเงินอุดหนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำ�นวน ๕๐๐ แห่ง ทั่ว
ประเทศ เพื่อดำ�เนินโครงการ “ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะ
ที่ต้นทาง”
เทศบาลตำ�บลร่องคำ� จึงได้จัดทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ และทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้น
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นแนวทางนำ�ไปสู่การปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ในการร่วมแรงร่วมใจ
กันช่วยลดปริมาณขยะจากครัวเรือน ตลอดจนชุมชนสามารถลดปริมาณขยะได้อย่าง
ยั่งยืน และเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ตลอดไป
เทศบาลตำ�บลร่องคำ�

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
สารบัญ

เรื่อง หน้า
น้ำ�หมักชีวภาพ ทำ�ง่าย ประโยชน์เพียบ
วิธีทำ� น้ำ�หมักชีวภาพ
วิธีทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น
น้ำ�หมักชีวภาพเพื่อการบริโภค
วิธีทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพแบบแห้ง
เลี้ยงไส้เดือน ช่วยกำ�จัดเศษอาหาร สร้างปุ๋ยหมักให้แปลงผัก

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
น้ำ�หมักชีวภาพ ทำ�ง่าย ประโยชน์เพียบ

วิธีทำ� น้ำ�หมักชีวภาพ

น้ำ�หมักชีวภาพ หรือ น้ำ�สกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำ�จุลินทรีย์ ตามแต่
จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสาร
ที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้
สารละลายเข้มข้นสีน้ำ�ตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด
เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น “น้ำ�หมักชีวภาพ” ขึ้นมา เพื่อใช้
ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำ�น้ำ�หมักชีวภาพ มา
ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ
ด้านการเกษตร น้ำ�หมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำ�คัญ ทั้งไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำ�มะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำ�ไปเป็นปุ๋ย เร่ง
คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1
อัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้
ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย
ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำ�จัดกลิ่นเหม็น น้ำ�เสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วย
ป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำ�ให้สัตว์แข็งแรง มี
ความต้านทานโรค ช่วยกำ�จัดแมลงวัน ฯลฯ
ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้�ำ ในบ่อเลีย้ งสัตว์น�้ำ ช่วยแก้ปญ ั หา
โรคพยาธิในน้ำ�  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณ
ขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำ�ไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ
ได้ดี
ด้านสิง่ แวดล้อม น้�ำ หมักชีวภาพ สามารถช่วยบำ�บัดน้�ำ เสียจากการเกษตร
ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป
แถมยังช่วยกำ�จัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม
และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพ
ดีขึ้น
ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำ�น้ำ�หมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้าง
ทำ�ความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำ�ยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่น
ในห้องน้ำ� โถส้วม ท่อระบายน้ำ� ฯลฯ ได้ด้วย
วิธีทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่
ในการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพได้
ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่าง
หอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3
ส่วน, กากน้ำ�ตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำ�ตาลทรายแดง หรือน้ำ�ตาลทรายขาว ผสมน้ำ�
มะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำ�เปล่า 10 ส่วน

2 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
วิธีทำ� นำ�ส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมัก
พลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำ�
ไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้โดย
-ใช้น้ำ�หมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ� 20 ลิตร เพื่อบำ�รุงใบพืชผัก
ผลไม้
-ใช้น้ำ�หมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ� 20 ลิตร เพื่อปรับปรุง
บำ�รุงดิน ให้ดินร่วนซุย
-ใช้น้ำ�หมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ� 1 ส่วน เพื่อกำ�จัดวัชพืช
ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำ�ว่า หากต้องการบำ�รุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบ
ยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำ�รุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำ�ว้าสุก มะละกอ
สุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำ�จัดศัตรูพืข ควรหมัก
สะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำ�มาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้
นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำ�ใส ๆ จากน้ำ�หมักชีวภาพที่หมัก
ได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า “หัวเชื้อน้ำ�หมักชีวภาพ” เมื่อนำ�ไปผสม
อีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำ�หมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหาก
ขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพ
สูงมากขึ้น
วิธีทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง
น้ำ�หมักชีวภาพ สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตร
ให้นำ�ผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำ�ดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน
น้ำ�ตาลทรายแดงหรือน้ำ�ตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ� 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มี
ฝาปิดสนิท
โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่น
เปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3
เดือน ก็จะได้น้ำ�หมักชีวภาพ สำ�หรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมี
ราขึ้น หากนำ�ผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำ�หมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้
คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 3
วิธีทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ
วิธีทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น
สูตรหนึ่งของการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก
ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำ�ตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ� 10 ส่วน  ใส่
รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของ
ขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำ�หมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ� โถส้วม
ท่อระบายน้ำ� กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้ น้ำ�หมักชีวภาพ
1. หากใช้น้ำ�หมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความ
เข้มข้นสูงเกินไป อาจทำ�ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้
2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก
เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที
3. หากใช้น้ำ�ประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน
เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ เพราะ
น้ำ�มันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์
4 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
น้ำ�หมักชีวภาพเพื่อการบริโภค
เราอาจเคยได้ยินข่าวว่า มีคนนำ�น้ำ�หมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำ�
หมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี
เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมัก
ผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำ�ส้ม
สายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำ�หมัก
ชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำ�ไปดื่มกินควร
ผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป
โดยประโยชน์จากน้ำ�หมักชีวภาพนั้นหากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดี
จะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำ�ให้ภูมิต้านทานโรค
ดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำ�หมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตาม
ท้องตลาด มักเป็นน้ำ�หมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกิน
แล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำ�ให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำ�หมัก
ชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำ�หมักชีวภาพแบบ
เข้มข้น
อย่างไรก็ตาม การทำ�น้ำ�หมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูล
จาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำ�หมักชีวภาพที่วางขาย
ตามท้องตลาดมาตรวจสอบ พบว่า น้ำ�หมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อน
ของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์
เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือ
เมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำ�อันตรายต่อร่างกายได้
          ดังนั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับ
การรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของ
ผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ� “น้ำ�หมักชีวภาพ”
คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 5
มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำ�ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและ
ประหยัดที่สุด

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สสส.

วิธีทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพแบบแห้ง
โดยทั่วไปเรามักคุ้นเคยกับการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพไว้ใช้กัน อย่างไรก็ตาม
หากอยากจะให้พืชผักเจริญเติบโตดี ก็แนะนำ�ว่านอกจากการใช้น้ำ�หมักชีวภาพรด
แล้ว ก็ควรหมั่นเติมปุ๋ยหมักชีวภาพแบบแห้งลงไปด้วย เพื่อช่วยทั้งบำ�รุงพืชผัก
และช่วยทำ�ให้ดินร่วนซุย ไม่แข็งจนเกินไป
สำ�หรับวิธีทำ�ก็มีอยู่ด้วยกัน
หลายสูตรหลายวิธี แต่จะขอเลือก
มาแนะนำ�ให้รู้จัก 2 วิธี คือเป็นแบบ
ใช้เวลาไม่มากนัก แต่อาจมีรายละเอียด
มากหน่อย กับแบบที่ใช้เวลามากหน่อย
แต่ทำ�ได้ง่ายๆ หรือที่คุณนคร หรือเจ้าชาย
ผักมักเรียกว่าปุ๋ยหมักคนขี้เกียจนั่นเอง

6 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
เรามาดูวิธีที่ 1 กันก่อน สูตรนี้ได้มาจากสวนเกษตรดาดฟ้า สำ�นักเขต
หลักสี่
มีส่วนผสมคือ
1.เศษผลไม้หรือเศษผัก 2 ส่วน
2.แกลบดิบ 2 ส่วน
3.รำ�ละเอียด 1 ส่วน
4.มูลสัตว์ 1 ส่วน
5.มูลค้างคาว เปลือกไข่ กากที่เหลือจากการหมักน้ำ�หมักชีวภาพ (ถ้ามี)
6.หัวเชื้อจุลินทรีย์ และกากน้ำ�ตาล
วิธีทำ�
1.นำ�ส่วนผสมต่างๆ มาคลุกเค้าให้เข้ากัน
2.ผสมกากน้ำ�ตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ�
10 ลิตร คนให้เข้ากัน
3.นำ�น้ำ�ที่ผสมเข้ากันแล้วในข้อ 2 มารดในกองปุ๋ยให้ทั่ว คลุกเคล้าให้เข้า
กัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆคือถ้ากำ�ปุ๋ยไว้ใน
มือแล้วไม่มีน้ำ�ไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน
อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
4.หากมีที่ก็ให้กองปุ๋ยทิ้งไว้โดย
ให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร
หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้ว
ลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถ
นำ�มาใช้ได้

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 7
วิธีที่ 2 หรือการทำ�ปุ๋ยหมักคนขี้เกียจ
สูตรนี้แบ่งปันมากจากคุณนคร ลิมปคุปตถาวร หรือเจ้าชายผักวิธีทำ�
ง่ายๆคือให้สร้างคอกเล็กๆขึ้น แล้วใส่เศษใบไม้ เศษอาหาร กากน้ำ�หมักชีวภาพ
และปุ๋ยคอก ลงไปเป็นชั้นๆ หากมีรำ�ละเอียดก็สามารถใส่ลงไปด้วยได้ จากนั้น
รดน้ำ�ให้ชุ่ม เหยียบให้แน่น ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน หรืออาจต้องทิ้งไว้นาน
ประมาณ 3-4 เดือน วัสดุต่างๆก็จะค่อยย่อยสลายจากด้านล่าง ให้โกยใต้กองออก
มาใช้เป็นปุ๋ยหมักได้

8 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
สิ่งสำ�คัญ คือการทำ�ปุ๋ยหมักเหล่านี้ คือควรเก็บกองปุ๋ยไว้ในที่ร่ม ไม่โดน
ฝน ไม่โดนแดด และปุ๋ยหมักที่จะนำ�มาใช้ก็ควรจะมีการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์
และไม่เหลือความร้อนอยู่ เพราะหากปุ๋ยยังย่อยไม่สมบูรณ์จุลินทรีย์ก็อาจต้อง
เอาอาหารในดินมาใช้ ซึ่งจะเป็นการแย่อาหารจากพืชไปได้ เรียกว่าแทนที่จะช่วย
ให้พืชเติบโต ก็อาจทำ�ให้พืชชะงักการเจริญเติบโตไปได้
ส่วนวิธีนำ�ไปใช้นอกจากจะสามารถนำ�ไปผสมดินก่อนปลูกแล้ว ก็ควรใส่ปุ๋ยหมัก
แห้งควบคู่กับน้ำ�หมักชีวภาพเพื่อบำ�รุงพืชผักด้วย เรียกว่าแห้งชาม น้ำ�ชาม เวลา
ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแบบแห้งก็จะใช้วิธีโรยไปที่หน้าดิน แล้วก็รดน้ำ�ตาม แนะนำ�ว่า
ให้ใส่ทุก 15 วัน
วิธีการทำ�ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารง่าย สไตล์ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่
ชุมชนนี้ นอกจากจะมีระบบการจัดการขยะทั้งขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป จน
สามารถจัดตั้งเป็นธนาคารขยะ เเบ่งปันสวัสดิการให้กับสมาชิก ทั้งในรูปเเบบ
การปันผล การทำ�ประกันชีวิต
เเละการดูเเลสวัสดิภาพของ
ครอบครัวได้เเล้ว พวกเขายังมี
การจัดการขยะอินทรียพ์ วกเศษ
อาหาร เศษผัก ผลไม้ต่าง ๆ
ในชุมชนด้วย โดยการนำ�มาทำ�
เป็นปุ๋ยหมัก

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 9
สำ�หรับวิธีการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารของชุมชนนี้ก็เเสนง่าย เพียงหา
โบกปูนมาสัก 1 อัน จากนั้นก็เทเศษอาหารใส่ลงไป ผสมกับเเกลบดิบ เเล้วรด
ด้วยน้ำ�หมักชีวภาพ หาผ้าใบมาปิดไว้กันเเมลงรบกวน จากนั้นอีก 15 วันก็กลับ
กองเสียหน่อย เเล้วก็นำ�น้ำ�หมักชีวภาพมารดอีกที ทำ�ซ้ำ�ๆ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทิ้งไว้
ประมาณ 3 เดือนก็สามารถนำ�ปุ๋ยหมักนี้ไปใช้ได้
มีข้อเเนะนำ�ว่าเวลานำ�ไปใช้ ก็นำ�ไปผสมกับดินได้เลย หรือถ้าจะให้ได้ผลดี
ถ้าเราทำ�เเปลงปลูกผัก เวลาขุดดินลงไปเเล้ว ก็ให้นำ�ปุ๋ยหมักนี้ไปโรยทิ้งไว้สัก 1
อาทิตย์ จากนั้นก็กลับกองนำ�ดินเเละปุ๋ยที่อยู่ด้านบนลงไปด้านล่าง นำ�ดินเเละปุ๋ย
ด้านล่างขึ้นมาข้างบน ทิ้งไว้อีก 1 อาทิตย์ เเล้วกลับอีกครั้ง จากนั้นก็สามารถปลูก
ผักได้เลย 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซด์สวนผักคนเมือง

เลี้ยงไส้เดือน ช่วยกำ�จัดเศษอาหาร สร้างปุ๋ยหมักให้แปลงผัก

10 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
หลายคนพอเริ่มลงมือปลูกผักบ้างแล้ว ก็เริ่มสนใจที่จะขยับขยายหาวิธี
ทำ�ให้ดินของตัวเองอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็อาจเริ่มจากการทำ�น้ำ�หมัก
ชีวภาพ ทำ�ปุ๋ยหมัก ทำ�ดินหมักไว้ใช้เองมากขึ้น และเชื่อว่าหลายคนก็คงจะสนใจ
เรื่องการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อช่วยผลิตปุ๋ย แถมยังช่วยกำ�จัดเศษผัก ผลไม้ ที่เหลือ
ทิ้งไปอย่างน่าเสียดายได้อย่างดีด้วย

สายพันธุ์ไส้เดือนที่ทางธรรมชาติฟาร์มเลือกคือแอฟริกัน ไนท์ครอเซอร์
หรือ AF เป็นพันธุ์ที่นำ�เข้ามาเลี้ยงในบ้านเรานานแล้ว ผ่านการทดลอง แล้วว่า
เหมาะสม ทั้งเรื่องการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ที่รวดเร็ว และคุณภาพของ
ปุ๋ยที่เกิดจากการหมัก และย่อยสลายจากจุลินทรีย์ภายในตัวไส้เดือน จึงเป็นสาย
พันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันแพร่หลาย

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 11
รูปแบบการเลี้ยงไส้เดือนก็ทำ�ได้หลายรูปแบบ เช่นการเลี้ยงในกะละมัง
การเลี้ยงในวงปูน การเลี้ยงในบ่อพลาสติกสีดำ� การเลี้ยงในลิ้นชัก หรือการเลี้ยง
ในอ่างปูนสี่เหลี่ยม ซึ่งการสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของตัวเอง เช่น
ก่อนอื่นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าเราจะเลี้ยงไส้เดือน เพื่ออะไร คือ เลี้ยงเพื่อทำ�
ปุ๋ยหมัก สำ�หรับใช้เอง หรือ เลี้ยงเพื่อต้องการผลิตปุ๋ย และผลิตตัวไส้เดือน เพื่อ
ขายเป็นการค้า

12 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
สำ�หรับที่ธรรมชาติฟาร์มใช้การเลี้ยงไส้เดือนในอ่างปูนสี่เหลี่ยม ซึ่งเดิม
เคยเป็นที่เลี้ยงปลามาก่อน แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรแล้ว ก่อนที่จะปล่อย
ไส้เดือนลงไปในอ่าง ก็ต้องหมักปุ๋ยหมักเพื่อเป็นอาหารหลัก ในการเลี้ยงไส้เดือน
เพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนวิธีการทำ�ก็คือ
1.ให้นำ�ปุ๋ยคอก ซึ่งที่ธรรมชาติฟาร์มจะใช้ขี้ม้าแห้งซึ่งหาได้ในท้องถิ่น มา
ใส่ลงในอ่างปูนให้สูงพอสมควร รดน้ำ�ให้เปียกชุ่มจนทั่ว แล้วใช้น้ำ�หมักชีวภาพ
ที่หมักจากพืชผักสีเขียวรดให้ทั่ว เพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายปุ๋ยหมัก ให้
สลายตัวเร็วยิ่งขึ้น โดยปกติก็จะใช้เวลาในการหมักประมาณ 7-10 วัน ในระหว่างนี้
ต้องช่วยคลุกเคล้า กองปุ๋ยไปมา 2-3 วันครั้ง เนื่องจากกระบวนการหมักจะทำ�ให้
เกิดความร้อนในกองปุ๋ย  วิธีดูว่าปุ๋ยหมักนี้ได้ทีพร้อมจะนำ�ไปเลี้ยงไส้เดือนหรือยัง
ก็คือดูว่าความร้อนหมดไปหรือยังนั่นเอง

2.ปล่อยไส้เดือนลงไป ให้ไส้เดือนคุ้นเคยกับปุ๋ยหมักซึ่งเป็นอาหารหลัก
สักระยะหนึ่ง จากนั้นก็สามารถเริ่มให้อาหารเสริมได้ ไม่ว่าจะเป็นเศษผัก เศษผลไม้
สุก เช่นพวกกล้วย มะละกอ โดยวิธีให้ก็คือให้ฝังลงไปในปุ๋ยเป็นจุดๆ แนะนำ�ว่าให้
ให้ครั้งละไม่ต้องมากนัก เมื่อหมดแล้วจึงค่อยให้ใหม่ การให้อาหารเสริมนี้จะช่วย
เร่งการเจริญเติบโต การเจริญพันธุ์ การขยายพันธุ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และจะได้
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่มีคุณภาพดีกว่าใช้ปุ๋ยคอกเป็นอาหารหลักอย่างเดียว
คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 13
3.หลังจากเลี้ยงไส้เดือนไปประมาณ 1 เดือนครึ่ง เราก็จะเริ่มเห็น
ลูกหลานตัวเล็กๆ ซึ่งถ้าเรามีการวางแผนการจัดการที่ดี เราก็จะสามารถผลิตปุ๋ย
และตัวไส้เดือน ได้จำ�นวนมากในเวลาไม่นาน แนะนำ�ว่า ถ้าเราเริ่มต้นการไส้เดือน 1
อ่าง (พ.ท.1*1 ม.) ใช้ปริมาณไส้เดือนจำ�นวน 1/2 ก.ก. เมื่อระยะเวลาเลี้ยงผ่านไป
ประมาณ 1 เดือน เราต้องเตรียมอ่างเพิ่มใหม่อีก 1 ใบ แล้วหมักมูลสัตว์เตรียม
พร้อมเอาไว้ พอได้เวลาประมาณ เดือนครึ่ง ลองสังเกต พลิกปุ๋ยที่เลี้ยงดูว่าเริ่ม
มีตัวอ่อนในบ่อเลี้ยงแล้วหรือยัง ถ้ามีตัวเล็กๆเยอะ มองดูแล้วหนาแน่น  เราก็ทำ�
การแยกคัดตัวพ่อแม่พันธุ์ไส้เดือนออก คือย้ายพ่อแม่พันธุ์จากบ่อเก่าไปยังบ่อใหม่
ที่มีปุ๋ยหมักเตรียมพร้อมไว้แล้ว   เพื่อให้พ่อแม่พันธุ์ได้กินอาหารใหม่ ทำ�การผลิต
ปุ๋ยและขยายพันธุ์ ต่อไป

14 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ
4. ส่วนลูกตัวเล็กๆในบ่อเก่า ก็ใช้เวลาเลี้ยงต่อไปอีกจน ครบ 3 เดือน เรา
ก็จะได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่สมบูรณ์ สามารถนำ�ไปใช้ได้ พร้อมกับรุ่นลูก ที่โตพอที่
จะคัดไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้อีก

เห็นมั้ยครับว่าปริมาณที่ได้จะเริ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพียงแต่เราต้องเต
รียมความพร้อม คือต้องเตรียมบ่อเลี้ยงให้เพียงพอ เตรียมหมักปุ๋ย ให้ต่อเนื่อง
จากการเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือน ที่ 1/2 ก.ก. จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น อย่างมาก ใน
เวลาไม่กี่เดือน   ที่สำ�คัญหลังจากปล่อยไส้เดือนลงไปในบ่อแล้ว ก็ควรจะหาแผ่น
ตาข่ายปิด เพื่อช่วยป้องกันศัตรูอย่างพวกหนู กระรอก นก แมวมาทำ�ร้ายด้วย
แล้วก็อย่าลืมให้อาหาร และดูแลความชื้นให้เหมาะสมอยู่เสมอ
www.thaicityfarm.com

คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ 15
รายชื่อคณะกรรมการดำ�เนินโครงการ
“ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง”

1. ดร.พูลสวัสดิ์ นาทองคำ� นายกเทศมนตรีตำ�บลร่องคำ�


2. นายบุญตา ชมภูวิเศษ รองนายกเทศมนตรีฯ
3. นายเทวินทร์ กมลสาร รองนายกเทศมนตรีฯ
4. นายปรีดา สุวรรณพรม ปลัดเทศบาลตำ�บลร่องคำ�
5. นายอำ�พันธุ์ อุดมพร กำ�นันตำ�บลร่องคำ�
6. นายอดิศักดิ์ ระดาศักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓
7. นายประมูล กมลสินธุ์ ประธานชุมชนหมู่ ๓
8. นางจันทร์หอม ศิริกิจ ประธานชุมชนหมู่ ๙
9. นายสง่า บุรีรัตน์ สมาชิกสภาเทศบาลฯ
10. นายเสถียร โพธิกุดสัย กรรมการชุมชนหมู่ ๓
11. นางอภินญา เยาวนิจ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๙
12. นายทองสา ลมชิต ผู้ทรงคุณวุฒิ
13. นางจรรยารัตน์ แสนวงศ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓
14. นางกิญจนา แรมไพร รองประธานชุมชนหมู่ ๓
15. นายสนิท คำ�ภักดี กรรมการชุมชนหมู่ ๓
16. นางมลัย โพธิกุดสัย กรรมการชุมชนหมู่ ๙
17. นายอัศรายุทธ บุรีรัตน์ ครูชำ�นาญการพิเศษ
18. นายเสถียร ทิพย์สนเท่ห์ ผอก.สาธารณสุขฯ
19. นายปรีดา มั่นจิตร นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
20. นายสุรวุฒิ ยังสุข สารวัตรกำ�นัน
21. นายสุรศักดิ์ ระดาสัย ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน
22. นางเสาวนีย์ ภาระโท จพง.สาธารณสุขชุมชนฯ
23. นางสาวธารทิพย์ จงผสม พนักงานจ้างเหมา

16 คู่มือการทำ�น้ำ�หมักชีวภาพและทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ

You might also like