You are on page 1of 10

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณกรรมเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สงเคราะห์

โดย
นางสาว กัลยา เจริญจรัสฤกษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เลขที่ 4
นาย พิชยุตม์ สิมะอารีย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/7 เลขที่18
นางสาว สิริยากร ทองวีระประเสริฐ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 เลขที่ 22

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญากรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำนำ
รายงานเรื่อง การอ่านและพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์
สงเคราะห์ เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อ วิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์ สงเคราะห์ ของ
นักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ห้อง 7 ประกอบด้วยการวิเคราะห์ด้านเนื้อหา การใช้ภาษา และคุณค่าที่ได้รับจาก
การอ่าน เพื่อเป็น รายงานในวิชา ท1101 ภาษาไทยและวัฒนธรรม 11 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เสนอ อ.พนม
ศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอย่างสูงสุด หากมีข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
28 พฤษภาคม 2561
สารบัญ

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม ประกอบด้วย
1.1 เนื้อเรื่อง
1.2 โครงเรื่อง
1.3 แก่นเรื่อง

2.การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม ประกอบด้วย
2.1 การสรรคำ
2.2 การเรียบเรียงคำ
2.3 การใช้โวหาร

3.การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าทางอารมณ์
3.2 คุณค่าทางศีลธรรม
3.3 คุณค่าทางปัญญา

4.รายการอ้างอิงสารสนเทศหรือบรรณานุกรม
หน้า 1
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่องของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สงเคราะห์ เริ่มด้วยบทอุปมา “กายนคร” คือเปรียบ
ร่างกายของเราเป็นเหมือนเมืองๆหนึ่ง มีหัวใจที่เปรียบเสมือนพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมือง มีแพทย์ที่เปรือบ
เสมือนทหาร ที่คอยปกป้องข้าศึก หรือก็คือโรคภัยต่างๆ ที่เข้ามาโจมตีหรือทำร้ายร่างกายเรา นอกจากทหารแล้ว ก็
มีวังหน้าที่เปรียบเสมือนนํ้าดี ที่คอยป้องกันข้าศึกไม่ให้บุกเข้ามาทำร้ายบ้านเมืองได้ และมีอาหารที่เป็นเสบียงไว้
เลี้ยงกองทหาร แพทย์จึงมีหน้าที่รักษาหัวใจ นํ้าดี และอาหารไม่ให้โรคร้ายต่างๆเข้ามาทำร้ายหรือจู่โจมร่างกายเรา
ได้ ดังนั้นความรู้ความชำนาญในการรักษาโรคมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อใดเกิดอาการเจ็บป่วย แพทย์ต้องรักษาโรค
ให้ทันท่วงที และรักษาให้ถูกโรค เนื่องจากอาการเจ็บป่วยอาจลุกลามจนรักษาไม่หายและควรรอบรู้ในการรักษาทั้ง
คัมภีร์พุทธไสย์อย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้ รวมถึงคุณธรรมของแพทย์ที่
ควรมี อย่างจรรยาบรรณในการรักษาคนไข้ ไม่ให้เข้าลักษณะของแพทย์ที่ไม่ดี ที่รักษาโรคด้วยความโลภ ความ
ประมาท ความอวดดี ความเห็นแก่ตัว และความหลงตัวเอง
1.2 โครงเรื่อง
โครงเรื่องของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สงเคราะห์ กล่าวถึงความสำคัญและคุณสมบัติของแพทย์ที่
ควรมีหรือกระทำให้ถูกวิธี ซึ่งเน้นว่านอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว แพทย์ยังต้องมีความรู้ทางธรรมด้วย ต้องมี
จรรยาแพทย์ เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม และมอบความเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์โดยไม่ถือตนเป็นใหญ่
1.3 แก่นเรื่อง
ความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์ควรหรือพึ่งมี จะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ผลมากกว่า
การมีความรู้เรื่องยาอย่างเดียว

2.การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ
2.1.1 การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบุคคล
ในเรื่องเลือกใช้คำที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ให้เข้าใจได้อย่าง ตรงไปตรงมา เช่น
บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ
ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการรักษา
บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา
บ้างกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน
บ้างกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน
หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา
หน้า 2
2.1.2 เลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
การเล่นเสียงสัมผัส พยัญชนะกับพยัญชนะ เช่น
วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน
อย่าเคลือบแคลงอาการกล เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา
2.1.3 การเพิ่มเสียง “ร” เช่น
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย

2.2 การเรียบเรียงคำ
2.2.1 เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ท้ายสุด
มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา
๓๙ ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
๔๐ เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
๔๑ ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
๔๒ ปิตตํ คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา
๔๓ หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที
ใจความสำคัญของบทนี้มีความได้ว่าการที่จะรักษาไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยอะไรต้องทำให้
สามอย่างนี้คงอยู่ ได้แก่ จิตคือกษัตริย์ ปิตตํ คือ วังหน้าปิตตํและ วังหน้าแพทย์เหมือนทหาร ช่วย
ป้องกันข้าศึกคือโรคร้าย
2.2.2 เรียงคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆ กัน เคียงขนานกันไป เช่น
ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
๔๐ เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
หน้า 3
๔๑ ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
๔๒ ปิตตํ คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา
๔๓ หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที
1. เรามีดวงจิตเป็นเหมือนกษัตริย์
2. มีแพทย์เป็นเหมือนทหาร
3. มีข้าศึกเป็นโรคร้าย
4. ทุกอย่างล้วนช่วยเพื่อให้รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยคำเปรียบเปรย
2.2.3 เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับ เช่น
เริ่มด้วยการกล่าวถึงร่างกายคนเรา โดยการเปรียบเทียบกับเมืองๆหนึ่ง มีหัวใจ
เปรียบเสมือนพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมือง มีแพทย์เปรียบเสมือนทหาร ที่คอยปกป้องข้าศึก
(หรือโรคภัยต่างๆ) วังหน้าเปรียบเสมือนน้ำดี ที่คอยปกป้องไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำร้ายบ้านเมือง
และมีอาหารที่เป็นเสมือนเสบียงไว้เลี้ยงทหาร ดังนั้นแพทย์จึงมีหน้าที่รักษาอวัยวะในร่างกาย
ต่างๆ เพื่อไม่ให้โรคร้ายต่างๆเข้ามาสู่ร่างกายมนุษย์
2.2.4 เรียบเรียงถ้อยคำเป็นประโยคเชิงวาทศิลป์ เช่น
ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจาร์ย
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธ์ไสยจึง่ ควรเรียน
ใจความสำคัญของบทนี้มีความได้ว่า คนใดต้องการจะเรียนรู้ ต้องพิจารณาจากคนที่เป็น
ครู ว่ารู้จริง รู้ละเอียด
2.3 การใช้โวหาร
2.3.1 อุปมา เพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกัน เช่น
อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา
ให้ตั้งตนดังพระยา ไกรสรราชเข้าราวี
2.3.2 อุปลักษณ์ เพื่อเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสี่งหนึ่ง เช่น
ดวงจิตคือกษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
2.4 ลักษณะคำประพันธ์
ลักษณะการประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์นั้น ตอนเปิดเรื่องผู้แต่งใช้กาพย์ยานี ๑๑ ตอนที่อธิบาย
ลักษณะของทับ ๘ ประการใช้คำประพันธ์แบบร่าย
หน้า 4
3.การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าทางอารมณ์ : เมื่อได้อ่านแล้ว ทำให้มีความรู้สึกเคารพ ต่อ ความดีความงาม ของบุคคลที่มี
อาชีพเป็น แพทย์ ว่านอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ทางด้านวิชาการอันเป็นเลิศแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตา ต่อเพื่อน
มนุษย์ ด้วยกัน
ได้รับความซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สืบค้นและรวบรวม ตำราแพทย์ของไทย มิให้สูญหาย เนื่องจากทรงเห็นว่า
การแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และต่อมาพระยา
พิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) อาจารย์ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์แผนไทยของราชแพทยาลัยและผู้จัดการ
โรงเรียนเวชสโมสรได้ริเริ่ม จัดพิมพ์ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ราษฎรนำไปคัดลอกไว้
เป็นคู่มือ ในการรักษาเวลาที่ป่วยไข้ และยังประสงค์จะอนุรักษ์ตำราแพทย์แผนไทยไว้ให้คนรุ่นหลังด้วย
3.2 คุณค่าทางศีลธรรม : สามารถนำข้อคิดสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ความไม่ประมาท
ไม่อวดดี ไม่อิจฉา ริษยา ไม่โลภไม่เห็นแก่ตัว ไม่หลงตัวเอง ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร สามารถนำข้อคิดจาก
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ไปใช้ได้ในทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของชีวิต
คน ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้จริง ตั้งแต่การวินิจฉัยโรคการใช้ยาและความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยให้ปฏิบัติด้วยความรอบคอบ
ไม่ประมาทโดยมีคำสอนในทางพระพุทศาสนาเป็นแนวทางในการชี้นำ
3.3 คุณค่าทางปัญญา :
เมื่อได้อ่านแล้วทำให้ทราบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกจากได้มีการพัฒนา
ประเทศในด้านต่างๆอย่างมากมายแล้วพระองค์ยังให้ความสำคัญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สืบค้นและรวบรวม ตำราแพทย์ของไทย มิให้สูญหาย นับเป็นพระมหา
กรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดไม่ได้ อีกทั้ง ยังใช้การแต่ง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็น ร้อยกรอง กาพย์ยานี 11 เพื่อเพิ่ม
อรรถรส และคุณค่าทาง วรรณกรรม
นอกจากนี้ ยังทำให้ทราบถึง ความสำคัญ และ คุณประโยชน์ นานัปการ ของการแพทย์แผนไทย เพราะ
การแพทย์แผนไทยถือเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งจะถือว่าล้าสมัยไม่ได้เพราะเป็นที่ยอมรับเชื่อถือมาช้านาน
ก่อนที่จะรับเอาวิทยาการแพทย์แผนใหม่จากชาติตะวันตกมาใช้ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางแพทย์
จะกลับมาให้ความสนใจในการรักษาด้วยยาสมุนไพรตามแบบโบราณกันมากขึ้นจนเป็นที่ยอมรับและถือเป็น
ทางเลือกทางหนึ่งในการรักษาโรคเลยทีเดียวอีกทั้งยาสมุนไพรสามารถผลิตได้เองจากสมุนไพรพื้นบ้านมีราคาถูก
กว่ายาแพทย์แผนปัจจุบันอย่างมากเนื่องจากต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและยังทำให้รู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์
แผนโบราณ เช่น “ธาตุพิการ” ธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ)ในร่างกายไม่ปกติ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นตามกองธาตุ
เหล่านั้น หรือ คำว่า “ปวดมวน” หมายถึงการปั่นป่วนในท้อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นตำราที่รวบรวมความรู้หลากหลายจากตำราเรื่องอื่นๆในชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
เอาไว้พอประมาณเนื่องจากเป็นตำราที่มีเนื้อหาเฉพาะด้านเกี่ยวกับความรู้และวิธีการนำเสนอด้วยคำอธิบายเป็น
หน้า 5
ส่วนใหญ่แต่การที่ผู้แต่งใช้บทเปรียบเทียบมากล่าวถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ง่ายและ
ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยเลือกสิ่งที่ผู้อ่านคุ้นเคยอยู่แล้วมาเป็นตัวเปรียบเช่นเรื่องบ้านเมืองและการป้องกันรักษาบ้านเมือง
ให้รอดพ้นจากศัตรเป็นตัวเปรียบของการรักษาร่างกายให้รอดพ้นจากศัตรูทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจ
ความสำคัญของแพทย์ผู้ทำหน้าที่รักษาโรค ได้มากขึ้น อีกทั้งการที่ผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นแพทย์ผู้ทำหน้าที่นั้น ก็เพิ่ม
การตระหนัก ถึงบทบาทและความสำคัญของตน และ ส่งผลให้มีความตั้งใจในการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ การใช้อุปมาเปรียบเทียบ
หน้า 6
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕.
ลาดพร้าว: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา, ๒๕๕๕.
๙ หน้า.
คุณปุ๊ก0624. ถอดคำประพันธ์ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก
https://writer.dek-d.com/pook_khun0624/story/view.php?id=1000052
ครูธีรศักดิ์ จิระตราชู. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม
๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก
http://118.174.133.140/resource_center10/Admin/acrobat/v_4_th_th_654.pdf
ครูอภิชิต สุธาวา. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑.
สืบค้นได้จาก https://sites.google.com/site/aphichitsuthawa/khamphir-chanth-sastr-
phaethysastr-sngkheraah
Honeybare. ตอนที่ 3 : คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม
๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก https://writer.dek-
d.com/naruemol_2540/story/viewlongc.php?id=1287637&chapter=3
Slim Volunteer. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑.
สืบค้นได้จาก http://www.clongklon.com/2009/07/blog-post_2897.html

You might also like