You are on page 1of 11

รายงานเชิงวิชาการ การอ่านและพิจารณาวรรณคดี

เรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

โดย
มนรดา ธีวันดา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/2 เลขที่ 21
ภานุพงศ์ วิจักษณ์วิชชากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 22
นันท์นภัส ยงประพัฒน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 23

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning) รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
คานา

รายงานเรื่อง การอ่านและพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์


สงเคราะห์ เล่มนี้ จัดทาขึ้นเพื่อ วิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีเรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่ง
พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกรุณรโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวบรวมขึ้น ประกอบด้วย
การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา การใช้ภาษา และคุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน เพื่อเป็นรายงานในวิชา ท1101
ภาษาไทยและวัฒนธรรม 11 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เสนอ อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ประจาภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อที่ผู้ที่สนใจอย่างสูงสุด

คณะผู้จัดทา
28 พฤษภาคม 2561
สารบัญ

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม หน้า 1
- เนื้อเรื่อง หรือ เนื้อเรื่องย่อ
- โครงเรื่อง
- ตัวละคร
- ฉากท้องเรื่อง

การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม หน้า 2
- การสรรคา หน้า 2
- การเรียบเรียงคา หน้า 4
- การใช้โวหาร หน้า 5

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม หน้า 6

บรรณานุกรม หน้า 7
1
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ


คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กล่าวว่าร่างกายเปรียบเหมือนกับเมืองๆหนึ่ง หัวใจคือ
กษัตริ โรคคือข้าศึกที่เข้ามาโจมตีในเมือง และแพทย์คือทหารที่ปกป้องเมือง น้าดีจากตับคือวังหน้าเพราะทา
หน้าที่ย่อยอาหารในร่างกายเหมือนกับส่งเสบียงอาหารไปเรื่อยๆ บางครั้งแพทย์ก็ไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้
เพราะถึงมีความสามารถในการรักษาแต่โรคก็รุนแรงเกินไป โรคในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายดีได้มากกว่า
โรคในระยะหลังๆ ซึ่งเปรียบเหมือนกับไฟไหม้ป่าที่กาลังลุกไหม้ โอกาสที่แพทย์จะเสียชื่อเสียงมีอยู่สามข้อ หนึ่ง
คิดว่าตนเองมีความรู้มาก สองไม่มีความรู้แต่ทาการรักษาคนไข้ และสามไม่มีความรูแ้ ต่ฝืนรักษาคนไข้ เมื่อ
รักษาจนสุดฝีมอื แต่คนไข้ไม่หายก็โทษแรงกรรม บางครั้งรักษาหายเพราะยาก็บอกว่าเป็นความสามารถของตน
ถ้าไม่มีความรู้ในด้านนั้นก็ควรปฏิเสธการรักษาตั้งแต่แรก ควรสุขุมไม่บอกความรู้ไปทั่ว เมื่อควรที่จะบอกจึง
บอก อย่าบอกสิ่งดีๆให้กับคนที่ไม่เห็นค่า คนที่ไม่รักในด้านนี้จะทาให้เกิดความเสียหายและไม่เป็นประโยชน์ ถ้า
เป็นแพทย์แต่ไม่รู้เรื่องไสยาศาสตร์ ไม่ควรไปศึกษาด้วยเพราะจะทาให้เกิดความเข้าใจผิด อย่างที่รู้ว่าคัมภีร์
ฉันทศาสตร์เป็นตาราโบราณ เป็นแนวทางที่นาไปสู่พระนิพพาน อย่าดูถูกตาราที่เรียนมา ใช้กลอุบายบอกคนไข้
ว่าที่ป่วยเป็นเพราะกรรมเพียงเพื่อหวังจะได้รับเงินจากค่ารักษา แพทย์บางคนจาแต่อาการ ตาราบอกทุกอย่าง
แต่ไม่จา อีกอย่างนึงคืออย่าพูดตามใจตนเองว่าโรคนี้เคยรักษาหายด้วยยานี้ แม้จะเป็นโรคเดียวกันแต่บางคน
อาจจะไม่ถูกกับยาตัวเดียวกัน บางทีก็ให้ยาแต่กลับมาอาการรุนแรงขึ้น เพราะแพทย์บางคนก็ต้องการเพียงแค่
เงิน ไม่มีความรู้ที่จะรักษาและพยายามให้ยาแต่ไม่ถูกทาง ควรระวังในการรักษาอาการของโรคอาจจะรุนแรง
มากขึ้นเพราะรักษาผิดโรค บ้างก็รู้จักแต่ยาระบายหรือยากวาด ทาโรคน้อยให้เป็นโรคหนักและก่อกรรมติดตัว
ไป

1.2 โครงเรื่อง
การกล่าวความสาคัญหรือข้อดีและข้อเสียส่วนบุคคลของอาชีพหนึ่ง และสั่งสอนในสิ่งควรทาหรือไม่
ควรทาในอาชีพนั้น

1.3 ตัวละคร
ไม่มีตัวละคร

1.4 ฉากท้องเรื่อง
ไม่มีฉากท้องเรือ่ ง

1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน
ไม่มีบทเจรจา

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กล่าวถึงข้อดีของแพทยซึ่งเป็นผู้รักษาผู้ป่วยแต่ใน
ขณะเดียวกันก็กล่าวถึงข้อเสียของแพทย์บางคนที่มุ่งหวังแต่ค่ารักษาและไม่สนใจผู้ป่วย
ผู้แต่งต้องการสั่งสอนถึงจรรยาบรรณของการเป็นแพทย์
2
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

2.1 การสรรคา
การสรรคาที่พบในคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีทั้งหมด 3รูปแบบ ประกอบด้วยใช้คาให้
ถูกต้องตรงตามความหมายทีต่ ้องการ เลือกใช้คาให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคาประพันธ์ และ เลือกใช้คาโดย
คานึงถึงเสียง

เรียนรู้คัมภีร์ไสย สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย
ควรกล่าวจึ่งขยาย อย่ายื่นแก้วแก่วานร

ในวรรคสุดท้ายที่กล่าวว่าอย่ายื่นแก้วแก่วานร เป็นสานวนที่มีความหมายว่าอย่าเอาสิ่งมีค่ามอบให้แก่คนที่ไม่รู้
คุณค่า สิ่งมีค่าในที่นี้คือความรู้หรือสิ่งดีๆ เหตุที่กล่าวได้ว่าเป็นการใช้คาได้อย่างถูกต้องเนื่องจากว่า หากเปลี่ยน
ชนิดสัตว์หรือสิ่งของ อาจทาให้ไม่ได้ใจความที่ต้องการสื่อ เช่น อย่ายื่นแก้วแก่สิงขร หรือ อย่ายื่นกล้วยแก่วานร
อีกหนึ่งตัวอย่างคือ

ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

ในวรรคที่สาม ต่างเนื้อก็ต่างยามีความหมายเช่นเดียวกับลางเนื้อชอบลางยา คือยาชนิดเดียวกันใช้รักษาคน


หนึ่งหายแต่ใช้กับอีกคนอาจจะไม่หายก็ได้ หากเปลี่ยนคาอาจทาให้ไม่สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง
เช่นเดียวกับที่ได้ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ อยู่ในรูปแบบของกาพย์ยานี๑๑ ซึ่งมีการเลือกใช้คาให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคาประพันธ์


เช่นการใช้คาสร้อย และ ศัพท์ที่ใช้ได้เฉพาะในร้อยกรอง ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า

บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย
ตน บ รู้ทิฏฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทา

คาว่า บ ในวรรคที่สามมีความหมายว่าไม่ ส่วนใหญ่ถูกใช้ในกาพย์กลอนเท่านั้น

จะหนีหนีแต่ไกล ต่อจวนใกล้จะมรณา
จึ่งหนีแพทย์นนั้ หนา ว่ามิรู้ในท่าทาง

คาว่าหนาในวรรคที่สามไม่ได้เป็นคาวิเศษณ์ ทีมีความหมายว่ามีความกว้างมาก แต่ทาหน้าที่เป็นคาสร้อยถูกใช้


ในร้อยกรองเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน
3
อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าคัมภีร์ฉันทศาสตร์จัดอยู่ในเชิงวิชาการ ความสละสลวยของภาษาจึงไม่ชัดเจนนัก โดยใน
เนื้อเรื่องมีการเลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียงสามรูปแบบ คือคาที่เล่นเสียงสัมผัส คาพ้องเสียง และคาซ้า
ยกตัวอย่างเช่นสี่บทเหล่านี้ (ไม่ได้เป็นบทที่ต่อเนื่องกัน)

จะหนีหนีแต่ไกล ต่อจวนใกล้จะมรณา
จึ่งหนีแพทย์นนั้ หนา ว่ามิรู้ในท่าทาง

ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดผู ู้อาจารย์


เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธไสยจึ่งควรเรียน

บางทีก็ยาชอบ แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวน
หายคลายแล้วทบทวน จะโทษยาก็ผิดที

โรคนั้นคือโทโส จะภิยโยเร่งวัฒนา
แพทย์เร่งกระหน่ายา ก็ยิ่งยับระยาเยิน

คาที่ถูกขีดเส้นใต้ คือคาซ้า และคาซ้อน นอกจากนี้ยังมีการเล่นสัมผัสในแต่ละวรรคอีกด้วย


บทที่ ๒ คาว่าดูกับผู้ในวรรคที่สองมีความคล้องจองกัน
บทที่ ๓ คาว่าเคราะห์กับครอบ และ หายคลายมีความคล้องจองกัน
บทที่ ๔ โทโสเป็นคาเดียวแต่ให้สัมผัสใน และวรรคที่สี่ “ก็ยิ่งยับระยาเยิน” เป็นการเล่นเสียงโดย
ใช้เสียง “ย” เป็นหลัก
4
2.2 การเรียบเรียงคา
การเรียบเรียงคาในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นคาสอนที่ยกตัวอย่าง
ผลลัพธ์จากการกระทานั้นๆ อย่างไรก็ตามการเรียงคา วลี หรือประโยคที่มีความสาคัญเท่าๆ กัน เคียงขนานกัน
ไปเป็นรูปแบบที่เห็นได้ชัดที่สุด จาก ๕ บทเหล่านี้

ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา

เปรียบแพทย์คอื ทหาร อันชานาญรู้ลาเนา


ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

ให้ดารงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย

ปิตต คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย


อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา

หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที

ใน ๕ บทนี้มีนาหนั
้ กเท่าๆกัน เป็นการอธิบายเปรียบเทียบส่วนต่างๆของร่างกาย และมีเนื้อหาไปในแนวทาง
เดียวกัน

อนึ่งเล่ามีคาโจทก์ กล่าวยกโทษแพทย์อันมี
ปรีชารู้คัมภีร์ เหตุฉันใดแก้มฟิ ัง

กาพย์ยานีบทข้างต้นเป็นการยกตัวอย่างของการเรียบเรียงถ้อยคาให้เป็นคาถามเชิงวาทศิลป์ โดยการสร้าง
คาถามเพื่อให้ผู้อ่านคิดตาม หลังจากนั้นก็จะเป็นการตอบคาถามข้างต้น

บ้างจาแต่เพศไข้ สิ่งเดียวได้สังเกตมา
กองเลือดว่าเสมหา กองวาตาว่ากาเดา

คัมภีร์กล่าวไว้หมด ไยมิจดมิจาเอา
ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา

รู้น้อยอย่าบังอาจ หมิ่นประมาทในโรคา
แรงโรคว่าแรงยา มิควรถือว่าแรงกรรม
5
ใน ๓ บทนี้ มีความหมายว่า แพทย์บางคนจาแค่อาการ วิเคราะห์โรคได้ไม่ถูกต้อง ในตาราก็มีบอกไว้ทุกเรื่อง
แต่ไม่จดจา สักแต่คิดเอาเองโดยไม่มีเหตุผล เพื่อให้คนอื่นนับถือว่ามีความชานาญไม่ต้องพึ่งหนังสือแล้ว สุดท้าย
จึงสรุปว่าถ้ามีความรู้น้อยจงอย่าประมาทในโรค ความรุนแรงของโรคอย่าเดาว่าเป็นฤทธิ์ยา หรือแรงกรรมเก่า
ของคนไข้ จึงเป็นตัวอย่างของการเรียงข้อความที่บรรจุสารสาคัญไว้ท้ายสุด

2.3 การใช้โวหาร
คัมภีร์ฉันท์ศาสตร์เป็นวรรณคดีที่ให้ความรูใ้ นเชิงวิชาการแก่เหล่าแพทย์และคนทั่วไป ดังนั้นการ
ประพันธ์จะเน้นให้เกิดความเข้าใจ โดยไม่จาเป็นต้องทาให้เนื้อหามีความสละสลวยมากนัก จากการวิเคราะห์
ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์มีการใช้โวหารเพียงสองชนิด คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึง่ เป็นอีกสิ่งหนึ่ง และการ
เปรียบเทียบสิ่งหนึ่งให้เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง

การใช้โวหารในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ที่สามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่ง
หนึ่งเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น ดังเช่นได้กล่าวไว้ในกลอนบทที่สองว่า

ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา

ในกลอนบทนี้ เปรียบให้ดวงจิตเป็นกษัตริย์ คือเป็นใหญ่ในร่างกาย และสามารถควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย


ได้ ส่วนโรคร้ายนั้นคือฆ่าศึกที่จะมาทาลายเมืองซึ่งก็คือร่างกายของมนุษย์ ซึ่งในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ยังมีการ
เปรียบเทียบส่วนอื่นๆด้วย ได้แก่ แพทย์เปรียบได้กับทหารซึ่งคอยป้องกันโรค น้าดีเปรียบได้กับวังหน้าซึ่งเป็น
ภูมิต้านทานโรค และอาหารเปรียบได้กับเสบียง
นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งให้เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยในบทที่เก้าได้ระบุไว้ว่า

เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากนักหนา
ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

ในบาทแรก คาว่าอ่อนและแก่นั้นหมายถึงช่วงวัยของมนุษย์ ที่ตอนเด็กมักจะรักษาง่ายกว่าตอนที่เริ่มมีอายุเยอะ


แล้ว ส่วนบาทที่สองก็มีการเปรียบเปรยว่าอาการเจ็บไข้สามารถลุกลามได้รวดเร็วเหมือนกับเพลิงป่า
6
3.การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
คุณค่าของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นบทที่กล่าวถึงความสาคัญของแพทย์ และ
คุณค่าของคาภีร์นี้ ประกอบไปด้วยคุณค่าทัง้ 3 แบบ

คุณค่าทางปัญญา
คาภีร์ฉันทศาสตร์เป็นหนังสือที่จัดเป็นตาราที่มีเนื้อหาเฉพาะด้านเกี่ยวกับความรู้ทางแพทย์ที่มีการ
นาเสนอด้วยคาอธิบายส่วนใหญ่ ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านที่ไม่มีความรู้ทางแพทย์จึงเลือกที่ใช้การอุปมาสิ่งต่างๆ
โดยการที่เกี่ยวกับการแพทย์มาเปรียบกับสิ่งต่างๆทั่วไปเพื่อที่ทาให้ผู้อ่านนั้นคิดภาพตามเพื่อที่จะทาให้เข้าใจ
ง่ายขึ้น เช่น
ปิตต คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา

การที่เปรียบเทียบ น้าดีจากตับกับวังหน้า เพื่อที่จะอธิบายว่า น้าดีเป็นภูมิต้านทานโรคดั่งวังหน้าคอยกันข้าศึก


ไม่ให้เข้าเมืองได้ อีกทั้งยัง เปรียบเทียบอาหารในร่างกายเรากับเสบียงที่ใช้สาหรับการเลี้ยงชีพเมืองต่างๆ อีก
ทั้งยังมีการบอกถึงคาคัญของแพทย์ด้วยในวรรคอื่นๆ

คุณค่าทางภาษา
คาภีร์ฉันทศาสตร์เขียนขึ้นมาโดยการใช้โครงสร้างกาพย์ยานี ๑๑ ในการแต่ง โดยมีการสอนสิ่งต่างๆ
เกี่ยวกับการแพทย์ในรูปแบบร้อยกรองได้อย่างงดงามและเลือกใช้คาศัพท์ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก ทั้งยัง
ใช้การอุปมาเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆอีกด้วย

คุณค่าทางสังคม
แม้คัมภีรฉ์ ันทศาสตร์จะเป็นหนังสือการแพทย์ แต่ผู้เขียนนั้นก็พูดถึงเกี่ยวกับความเชื่อของสังคมไทย
เข้าไปอีกด้วย เช่น

ผู้ได้จะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธไสยจังควรเรียน
แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จาเนียร
ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนาตนให้หลงทาง

แสดงให้เห็นได้ว่าสังคมไทยสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์และศาสนาพุทธ ถึงขนาดที่แพทย์ที่ไม่มี
ความรู้เกี่ยวกับไสยศาสตร์นั้นไม่ควรที่ตะไปศึกษาเล่าเรียนด้วย เพราะจะทาให้เสียเวลาและเข้าใจผิด
อีกทั้งยังสะท้อนข้อคิดเพื่อนาไปใช้ในการดาเนินชีวิต ซึ่งสามารถนาไปปรับใช้ได้กับทุกวิชาชีพ เช่น

อย่าหมิ่นว่ารู้ง่าย ตารับรายอยู่ถมไป
รีบด่วนประมาทใจ ดังนั้นแท้มิเป็นการ

จะเห็นได้ว่าผู้เขียนกล่าวไว้ว่าอย่าดูหมิ่นตารา และคิดว่าเป็นเรื่องง่าย คนคิดอย่างนีน้ ับว่าเป็นคนประมาท


7
บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. พิมพ์ครั้ง


ที่ 5.
สกสค. ลาดพร้าว, 2555. 131 หน้า

บุญกว้าง ศรีสุทโธ. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม


๒๕๖๑. สืบค้นได้จาก https://sites.google.com/a/htp.ac.th/khamphir-chanth-sastr-phaethysastr-
sngkheraah/4-neux-reuxng

อภิชิต สุธาวา. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑.


สืบค้นได้จาก
https://sites.google.com/site/aphichitsuthawa/khamphir-chanth-sastr-phaethysastr-
sngkheraah

You might also like