You are on page 1of 85

รายงานวิจัย

การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามัน
มะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
Developing the Competitiveness of the Cold Pressed
Coconut OilProducts of the Housewives in Nong Chik
District, Pattani Province.

โดย
สัสดี ก้าแพงดี
ชมพูนุท ศรีพงษ์
ปิยะดา มณีนิล

ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณบ้ารุงการศึกษาประจ้าปี 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

หัวข้อวิจัย การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
ของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย สัสดี ก้าแพงดี
ชมพูนุท ศรีพงษ์
ปิยะดา มณีนิล
คณะ วิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา
ปีงบประมาณ 2559

บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น ของกลุ่มแม่บ้าน
อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการจัดการของกลุ่ม
แม่ บ้ านผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูป น้ ามั น มะพร้าวสกัดเย็น อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 2) การเปรียบเที ยบ
ความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี กับธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว
3) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภั ณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานี ใช้กลุ่มแม่บ้านทังหมด จ้านวนทังหมด 15 คน ท้า การสัมภาษณ์รายบุคคลและ
การสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการจัดการ การจัดกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การ
พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มแม่บ้านและท้าการวิเคราะห์พร้อมสรุปผลตามประเด็นค้าถาม
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านสภาพแวดล้อมทางการจัดการกลุ่มแม่บ้าน มีระบบงานโดยขึนตรงกับ
ผู้บังคับบัญชา มีสัดส่วนพืนที่ท้าการผลิตอย่างชัดเจน กลุ่มแม่บ้านมีจุดเด่นในด้านวัตถุดิบที่น้ามาใช้ มีใน
พืนที่ หาได้ง่าย ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือขนาดเล็กในการผลิตและมีจุดอ่อนในเรื่องชองเครื่องหมายจดแจ้ง
สินค้า กระบวนการบริหารจัดการ การตลาดและข้อมูลสารสนเทศที่ใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ 2) การ
เปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขัน ในด้านตัวผลิตภัณฑ์มีคุณภาพใกล้เคียงกับโอทอประดับ 5 ดาว
การบริหารจัดการกลุ่มยังไม่เป็นระบบ มีการเพิ่มความรู้ความช้านาญโดยการอบรม สร้างความแตกต่างของ
ผลิตภัณฑ์โดยเน้นวัตถุดิบที่เป็นจาวมะพร้าว โดยท้าการผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ขาดซึ่งการ
ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักซึ่งผลิตภัณฑ์ โอทอป 5 ดาว เป็ นที่รู้จักของลูกค้าแล้วและขาดช่องทางการจัด
จ้าหน่ายซึ่งกลุ่มโอทอป 5 ดาว มีช่องทางที่หลากหลาย 3) การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ได้น้าเอา
จุดอ่อนมาแก้ไขโดยเร่งพัฒนา ให้กลุ่มแม่บ้าน ยื่นค้าขอต่อส้านักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จัดอบรมให้

ความรู้ด้านแผนการตลาด การเงิน และการผลิ ต เพื่อพัฒ นาความสามารถในการแข่งขัน การขยายสาย


ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเดิมพร้อมทังเพิ่มช่องทางจัดจ้าหน่าย
ค้าส้าคัญ : ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น , การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Research Title Developing the Competitiveness of the Cold Pressed Coconut Oil
Products of the Housewives in Nong Chik District, Pattani Province.
Researcher Sasadee Kamphaengdee
Chompunut Sriphong
Piyada Maninin
Faculty Management Science, YalaRajabhat University
University Yala Rajabhat
Year 2016

Abstract
The Developing the Competitiveness of the Cold Pressed Coconut Oil Products,
processed coconut oil. Nong Chik district of Pattani Province. the objective is 1 ) analyze
the environmental management of the Cold Pressed Coconut Oil Products, processed
coconut oil. Nong Chik district of Pattani Province. 2 ) comparing the competitiveness of
Cold Pressed Coconut Oil Products, processed coconut oil. Nong Chik district of Pattani
Province. 3. Developing the Competitiveness of the Cold Pressed Coconut Oil Products,
processed coconut oil. Nong Chik district of Pattani Province. the housewives of total 15
people. Individual interviews and focus groups. To study environment management.
Operating activities involved. The Developing the Competitiveness and analysis
conclusions on questions.
The results in research are found that as follows : 1) Environmental management
group. The system works by matching to the bosses and local production accounted
explicitly. Housewives 's groups are featured in the rawmaterials used in area, readily and
used Small tools and equipment in production and There are weaknesses in the marking
of the product, Process Management, marketing and information-based advertising. 2)
Comparison of competitiveness in terms of product quality in line with OTOP 5 star and

the management group is not systematically. Extend their knowledge by training, creating
product differentiation and raw materials are embryo bud of a coconut. Production to
meet customer demand, but the lack of publicity as the OTOP 5 Star is known for it
customers and a lack of distribution channels, which OTOP 5 stars with diverse channels.
3) development of competitiveness. Bring to fix weaknesses by accelerating development.
The group Submitted to the Office of the community. knowledge by training to develop
marketing plans, financial and manufacturing competitiveness. The expanded product line
provides diverse. Make a difference and add to its existing distribution channels.

Keywords : Products Processed Coconut Oil, Developing the competitiveness


กิตติกรรมประกาศ

วิจั ยการพั ฒ นาความสามารถในการแข่งขันผลิ ตภั ณ ฑ์ แปรรูป น้ามัน มะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่ ม


แม่บ้ าน อ้าเภอหนองจิ ก จั งหวัด ปั ตตานี ฉบับนี ส้ าเร็จลุ ล่ วงไปได้ด้วยการให้ ความช่ วยเหลื อแนะน้ าจาก
คณาจารย์ และผู้ ทรงคุณวุฒิ ที่ให้ค้าแนะน้าข้อคิดเห็ นตรวจสอบ และแก้ไขร่ างวิจัยมาโดยตลอด ผู้ เขียนจึง
ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนีรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทุกท่านที่
ให้ความสะดวกด้านอ้านวยการ และประสานงาน ในการท้าวิจัย ให้ผู้เขียนตลอดมาตลอดจนค้นคว้าหาข้อมูลใน
การจัดท้างานวิจัยของผู้เขียนครังนีส้าเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ท้ายนีผู้เขียนขอน้อมร้าลึกถึงอ้านาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทังหลายที่อยู่ใน
สากลโลก อั นเป็ นที่พึ่ งให้ ผู้ เขียนมีสติปั ญญาในการจั ดท้ างานวิจัย ให้ ส้ าเร็จลุ ล่ วงไปด้ วยดี ตลอดจนผู้ เขียน
หนังสือ และบทความต่าง ๆ ที่ให้ความรู้แก่ผู้เขียนจนสามารถให้งานวิจัยฉบับนีส้าเร็จได้ด้วยดี

สัสดี ก้าแพงดี

สารบัญ
บทที่ หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค
กิติกรรมประกาศ จ
สารบัญ ฉ
สารบัญตาราง ซ
สารบัญภาพ ฌ
1 บทนา 1
ความส้าคัญและความเป็นมา 1
วัตถุประสงค์ 2
ขอบเขตของการวิจัย 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
นิยามศัพท์ปฏิบัติการ 4
2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7
กลุ่มแม่บ้าน ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น 7
ความสามารถในการแข่งขัน 8
สภาพแวดล้อมทางการจัดการ 9
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 11
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12
กรอบการด้าเนินงาน 19
3 ระเบียบวิธีวิจัย 20
ผู้ให้ข้อมูลและมีส่วนร่วมในการวิจัย 20
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 20
วิธีการสร้างเครื่องมือ 21

การเก็บรวบรวมข้อมูล 21
การวิเคราะห์ข้อมูล 21
สารบัญ (ต่อ)
บทที่ หน้า
4 ผลการวิจัย 23
สภาพแวดล้อมทางการจัดการของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 23
ผลการวิเคราะห์ SWOT 24
ผลการวิเคราะห์การพัฒนารูปแบบการแข่งขัน 25
ดัชนีชีวัดสุขภาพ ด้านการบริหารสภาพคล่อง 28
ดัชนีความสามารถในการท้าธุรกิจ 31
ดัชนีความยั่งยืน 33
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น 35
ผลการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น 36
5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 43
สรุปผลการวิจัย 43
อภิปรายผล 50
ข้อเสนอแนะงานวิจัย 56
บรรณานุกรม 57
ภาคผนวก ก แบบสัมภาษณ์กลุ่ม 59
ภาคผนวก ข แบบวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 66
ภาคผนวก ค ภาพประกอบการปฏิบัติการกลุ่ม 68
ภาคผนวก ง ภาพประกอบการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 70
ภาคผนวก จ ประวัติคณะวิจัย 72

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
4.1 ผลการวิเคราะห์ SWOT พบข้อมูลในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค 24
4.2 ผลการวิเคราะห์ในการพัฒนารูปแบบการแข่งขัน 25
4.3 เปรียบเทียบต้นทุนสินค้าและบริการ 31
5.1 สรุปผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 43
5.2 สรุปผลด้านกลยุทธ์ในการแข่งขัน 45
5.3 สรุปดัชนีความสามารถในการท้าธุรกิจ 46

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
2.1 กรอบการด้าเนินงาน 19
4.1 ใบทะเบียนพาณิชย์ 37
4.2 แบบแจ้งการผลิตเพื่อน้าเข้าหรือขายเครื่องส้าอางควบคุม 38
4.3 กลุ่มแม่บ้านที่ได้รับการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ 39
4.4 การประชาสัมพันธ์และออกบูทจ้าหน่ายสินค้า 41
4.5 ผลิตภัณฑ์จากน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น 42
บทที่ 1
บทนำ

1.1 ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ

ด้ ว ยสภาพเศรษฐกิ จ และสั งคมของประเทศไทยในปั จ จุ บั น เปลี่ ย นแปลงไป ผู้ ห ญิ งมี


บทบาทในชุมชนหรือในสังคมมากขึ้น ทั้งในทางการบริหารและการปกครอง อีกทั้งการยอมรับบทบาท
ของผู้ ห ญิ งก็ขยายวงกว้างออกไป แม้ แต่ในสั งคมชนบทก็ได้ จัดตั้งกลุ่ มสตรีห รือกลุ่ มแม่ บ้านขึ้น เพื่ อ
ช่วยงานพัฒนาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาขั้นพื้นฐานความเป็นอยู่ในครอบครัว สตรีนับว่า มี
บทบาทสาคัญที่สุด (สมภาร คืนดี และธีระพงศ์ โพธิ์มั่น , 2555) แม่บ้านในชุมชนบ้านน้าดา ตาบลบ่อ
ทอง อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ก็เ ช่นกัน แม่บ้านไม่เฉพาะมีบทบาทแค่เป็นเพียงแม่บ้านดูแล
สมาชิกในครอบครัวเหมือนที่ผ่านมาในอดีต แต่ยังต้องมีบทบาทเป็นผู้ห ญิงทางานเพื่อมีอาชีพและมี
รายได้มาช่วยจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง รวมทั้งช่วยกันพัฒ นาชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันผลิตน้ามัน
มะพร้าวสกัดเย็นและผลิตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาทิ น้ามันนวด โลชั่น สบู่ ฯลฯ กลุ่ม
แม่บ้านกลุ่มนี้ป็นเพียงกลุ่มเดียวของอาเภอหนองจิกซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เนื่องจากต้องการ
สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบคือ มะพร้าว ที่มีอยู่ในพื้นที่เป็นจานวนมาก และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นล้วนมี
คุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามอีกด้วย ที่สาคัญกลุ่มแม่บ้านมีความมุ่งหวังเพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตของครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ลดรายจ่ายโดยพยายามเริ่มต้นผลิต
สินค้าเพื่ออุปโภคภายในครัวเรือน นอกจากนี้พยายามเพิ่มรายได้ ด้วยการผลิตสินค้าเพื่ อจาหน่ายในเชิง
พาณิ ชย์ โดยส่วนใหญ่ จะเป็ น ลั กษณะการผลิ ตเพื่อจาหน่ายภายในชุมชน (เบญญาภา ไชยกาญจน์ ,
2558)
การรวมกลุ่มผลิตสินค้าในชุมชนบ้านน้าดา ตาบลบ่อทอง อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ดังกล่ าวข้างต้น จัดได้ว่าเป็ น การดาเนิน งานในลั กษณะของธุรกิจชุมชน เพราะแม่บ้ านของชุมชนซึ่ง
รวมกลุ่มกันได้ร่วมระดมทุนต่าง ๆ ทากิจกรรมร่วมกัน และแบ่งปันผลประโยชน์กัน และใช้ทุนทางสังคม
ที่พอมีความรู้เกี่ยวกับการทาน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น และทุนทางสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่ คือ ผลผลิต
มะพร้ าว จากในหมู่บ้ านและหมู่ บ้ านใกล้ เคียงภายในอ าเภอหนองจิก จังหวัดปั ตตานี ทั้ งนี้ผ ลผลิ ต
มะพร้าวในพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งผลิตสาคัญของจังหวัดปัตตานี (สานักงานสถิติแห่งชาติ , 2557) อีกทั้ง
ยกระดับคุณภาพชีวิตจากการอุปโภคบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ และจากการมีอาชีพ มีรายได้
เสริมเพิ่มเติมของแม่บ้าน ดังที่กล่าวว่ าธุรกิจชุมชนเป็นการประกอบการของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อ
ชุมชน เนื่องจากเกิดจากความร่วมมือกันเพื่อดาเนินการทางธุรกิจของคนในชุมชน ที่ไม่ใช่มุ่งเน้นแต่การ
2

สร้างผลกาไร แต่เน้นให้เกิดประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และสามารถแข่งขันด้านคุณภาพใน


การผลิตกับธุรกิจเอกชนได้ (กัญญามน อินหว่าง และคณะ, 2554)
อย่างไรก็ตามจากรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
ของธุรกิจชุมชนดังกล่าว พบว่ายังประสบปัญหาคือไม่สามารถแข่งขันด้านคุณภาพในการผลิตกับธุรกิจ
เอกชน และไม่ ส ามารถขยายตลาดของผลิ ต ภั ณ ฑ์ อย่ า งไรก็ ต ามในการพั ฒ นาประเทศไทยตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กาหนดยุทธศาสตร์การปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลชุด
ปั จ จุ บั น ได้ ด าเนิ น นโยบายที่ มุ่ ง เน้ น การเพิ่ ม ศั ก ยภาพทางเศรษฐกิ จ ของประเทศ และเพิ่ ม ขี ด
ความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ (สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี , 2557) ดังนั้นการวิจัยเพื่อพัฒ นาความสามารถในการ
แข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้า น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ด้วย
การวิเคราะห์ ส ภาพแวดล้ อมทางการจัดการ การเปรียบเที ยบความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ ม
แม่ บ้ าน ฯ กั บ ธุร กิ จ ที่ ได้ รั บ มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ ๕ ดาว การก าหนดแนวทางเพื่ อ การพั ฒ นาเสริ ม
ศักยภาพให้กลุ่มแม่บ้านมีความสามารถผลิตสินค้าได้มาตรฐานและมี ความสามารถในการแข่งขันทาง
การตลาด จึงมีความจาเป็นและมีความสาคัญอย่างยิ่งที่จะนาไปสู่ผลลัพธ์ คือ การมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้
มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับและมีศักยภาพในการแข่งขัน นาไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเกิด
ความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอาชีพและรายได้ของกลุ่มแม่ บ้าน รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวชุมชน
บ้านน้าดา ตาบลบ่อทอง อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ดินแดนชายแดนใต้ของประเทศไทยแห่งนี้
สืบไป

1.2 วัตถุประสงค์กำรวิจัย
1.2.1 เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการจัดการของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามัน
มะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
1.2.2 การเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขัน ของผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามัน มะพร้าว
สกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กับธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด
เย็นที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๕ ดาว จากดัชนีวัดสุขภาพธุ รกิจ ดัชนีความสามารถในการทา
ธุรกิจ และดัชนีความยั่งยืน
1.2.3 เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของ
กลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
3

1.3 ขอบเขตกำรวิจัย
1.3.1 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ
การวิจั ย นี้ มุ่งศึกษาสภาพแวดล้ อ มทางการจัด การของกลุ่ มแม่บ้ านอาเภอหนองจิ ก
จังหวัดปัตตานี ได้แก่
1) สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ซึ่งประกอบด้วย ระบบงาน ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย สิ่งอานวยความสะดวก วัฒนธรรมองค์กร
2) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์ก าร ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมมหภาค
และสภาพแวดล้อมทางตรง
3) การเปรี ย บเที ย บความสามารถในการแข่ ง ขั น ตามองค์ ป ระกอบ 3
ประการ คือ สุขภาพของธุรกิจ ความสามารถในการทาธุรกิจและความยั่งยืนของธุรกิจ
1.3.2 ขอบเขตด้ำนประชำกร
ผู้ให้ข้อมูลและผู้ส่วนร่วมในการวิจัย
สมาชิกกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นและผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าว
สกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จานวน 15 คน ประกอบด้วยประธานกลุ่มจานวน 1 คน และ
สมาชิกกลุ่มที่ปฏิบัติงานจานวน 14 คน
1.3.3 ขอบเขตด้ำนตัวแปรหรือปัจจัยที่ศึกษำ
สภาพแวดล้ อ มทางการจั ด การประกอบไปด้ ว ย สภาพแวดล้ อ มภายในองค์ ก รและ
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
ความสามารถในการแข่งขัน เป็นการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าว
สกัดเย็นที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว

1.4 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ
1.4.1 ทราบถึงสภาพแวดล้อมต่างๆของกลุ่มแม่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนา
1.4.2 กลุ่ม แม่บ ้านผลิตภัณ ฑ์แ ปรรูป น้ามันมะพร้าวสกัด เย็น อาเภอหนองจิก จังหวัด
ปัตตานี มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้มาตรฐาน มีความสามารถในการแข่งขัน และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์
โอทอป
1.4.3 กลุ่ม แม่บ ้านผลิตภัณ ฑ์แ ปรรูป น้ามันมะพร้าวสกัด เย็น อาเภอหนองจิก จังหวัด
ปัตตานี สามารถพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและเกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนใน
อาชีพและรายได้
4

1.5 นิยำมศัพท์ปฏิบัติกำร
สภาพแวดล้ อมทางการจั ดการ หมายถึ ง สภาพแวดล้ อมทั้ งภายในและภายนอกองค์ การที่
เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการประกอบการ ของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานี
สภาพแวดล้อมภายในองค์การ หมายถึง สภาพการณ์ปัจจุบันภายในองค์การของกลุ่มแม่บ้าน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย ระบบงาน ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในองค์กร สิ่งอานวยความสะดวก และวัฒนธรรมองค์กร
- ระบบงาน หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการทางานภายในของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูป
น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น ประกอบด้วย ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบ
การบัญชี ระบบการเงิน และระบบข้อมูล
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร หมายถึง กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ภายในกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูป
น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
- สิ่งอานวยความสะดวก หมายถึง อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนอาคารสถานที่ของ
กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
- วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ แต่สามารถสัมผัสและรับรู้
ได้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัด
ปัตตานี
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ หมายถึง สภาพการณ์ปัจจุบันภายนอกองค์การของกลุ่มแม่บ้าน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมมหภาค และสภาพแวดล้อมทางตรง
- สภาพแวดล้อมมหภาค หมายถึง สภาพแวดล้อมทั่วไปที่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อกลุ่มแม่บ้าน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยสภาพแวดล้อมมหภาค ได้แก่
สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
- สภาพแวดล้ อมทางตรง หมายถึง สภาพแวดล้ อมภายนอก ที่ส่ งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่ม
แม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้
จัดหาปัจจัยการผลิต แรงงาน และหน่วยงานของรัฐ
5

ปั จจั ยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ หมายถึง การวิ เคราะห์ สภาพแวดล้ อมภายในและภายนอก


องค์การ เพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจากัด ของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด
เย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
- จุ ดแข็ง หมายถึง ข้อได้ เปรี ยบจากปั จจั ยภายในของกลุ่ มแม่ บ้ านผลิ ตภั ณฑ์ แปรรูปน้ ามั น
มะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
- จุ ดอ่อน หมายถึง ข้อเสียเปรียบจากปัจจัยภายในของกลุ่มแม่บ้านผลิ ตภัณฑ์แปรรูปน้ามัน
มะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ
- โอกาส หมายถึง ปัจจัยภายนอกองค์กรที่ เอื้ อและเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินงานของกลุ่ ม
แม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
- อุปสรรค หมายถึง ปัจจัยภายนอกองค์กรที่คุกคามการดาเนินงานของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์
แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ความสามารถในการแข่งขัน คือ ขีดความสามารถและผลประกอบการของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์
แปรรู ปน้ ามั นมะพร้ าวสกั ดเย็ น อาเภอหนองจิ ก จั งหวัดปั ตตานี ในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้ อมที่
เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ ทั้งนี้องค์ประกอบซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน มีด้วยกัน 3
ประการ ได้แก่ สุขภาพของธุรกิจ ความสามารถในการทาธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ
- สุขภาพธุรกิจ หมายถึง กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี สามารถบริหารจัดการการเงินได้เป็นอย่างดี โดยดัชนีสุขภาพธุรกิจ ประกอบด้วย การวิเคราะห์
อัตราส่วนทางการเงิน ดังนั้นประเด็นในการประเมิน ได้แก่ การบริหารสภาพคล่อง การบริหารสินทรัพย์ การ
บริหารหนี้สิน ความสามารถในการทากาไร
- ความสามารถในการทาธุรกิจ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ในการประกอบการของกลุ่มแม่บ้าน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยดัชนีชี้วัดความสามารถในการทา
ธุรกิจ ได้แก่ กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขัน การวิเคราะห์แรงกดดันในการแข่งขัน ดังนั้นประเด็นในการ
ประเมิน ได้แก่ ต้นทุนของสินค้าและบริการ คุณภาพของสินค้าและบริการ ความแตกต่างของสินค้าและบริการ
ความสามารถในการตั้งราคาขาย กาไรขั้นต้นที่กิจการได้รับ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ระดับ
ความสามารถของพนักงานและลูกจ้าง ระดับความสัมพันธ์และความผูกพันกับลูกค้า
- ความยั่งยืนของธุรกิจ หมายถึงกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานี สามารถประกอบการได้อย่างมั่นคง โดยดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของธุรกิจ ได้แก่ ความ
กรอบแนวคิดของดัชนีคือ การกากับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การพัฒนาองค์กร ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง ความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นประเด็นการประเมินคือ การประยุกต์ใช้ระบบการกากับดูแลกิจการที่
ดี การกาหนดเป้าหมายและการวางแผนในอนาคต ความเสี่ยงที่รายได้จะหดตัวลงอย่างฉับพลัน ความเสี่ยงที่
6

ปัจจัยการผลิตจะขาดแคลน การพัฒนาบุคลากรและองค์กร การมุ่งเน้นการตลาด และสร้างความผูกพันกับ


ลูกค้า การใช้ระบบไอที การสร้างนวัตกรรม การดาเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
7

บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎีและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด
เย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
2.1 กลุ่มแม่บ้าน ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
2.2 ความสามารถในการแข่งขัน
2.3 สภาพแวดล้อมทางการจัดการ
2.4 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ
2.5 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 กลุ่มแม่บ้ำน ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็น


กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชน พล ร.15 ค่ายพระสุริโยทัย ตาบลบ่อทอง อาเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี ได้ทาการแปรรูปน้ามันมะพร้อมสกัดเย็น ตามโครงการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืนได้มีการส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณ ความรู้ การฝึกอาชีพ และการตลาดให้แก่
กลุ่มแม่บ้าน พล ร 15 หวังให้กลุ่มแม่บ้านได้มีอาชีพและรายได้เลี้ยงครอบครัว โดนทางกลุ่มมั่นใจว่าเป็น
กลุ่มที่มีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดได้แน่นอน
ผลิตภัณฑ์จากน้ามัน มะพร้าวที่ ผ่านกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติ ของกลุ่มวิสาหกิจ
ชุมชนพล ร.15 เป็น ผลิตภัณ ฑ์เพื่อสุขภาพที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี และเป็นแหล่งจาหน่ายสินค้า
ชุมชนพล ร.15 ที่มีส่ วนผสมสารสกัดจาก ธรรมชาติ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพล ร.15 เกิดจากการ
รวมตัวของแม่บ้านทหารบก พล ร.15 ในการแปรรูปสินค้าและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่มีจานวนมากใน
พื้นที่เป็นการสร้างรายได้เสริมให้แก่สมาชิก ต่อมากลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชน พล ร.15ได้ขึ้นทะเบียน
เป็นกลุ่มวิสาหกิจกับสานักงาน เกษตรอาเภอบ่อทอง จังหวัดปัตตานี และได้ส่งผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าว
สกัดเย็นจาหน่ายในพื้นที่
8

2.2 ควำมสำมำรถในกำรแข่งขัน
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ ขีดความสามารถและผลประกอบการของ
ประเทศในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ ในการประเมินขีด
ความสามารถทางการแข่งขัน จะช่วยให้เข้าใจจุดเด่นและจุดด้อยของประเทศในเชิงเปรีย บเทียบกับ
ประเทศอื่น ๆ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน (ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สานักงานสถิติแห่งชาติ , 2555)
ดังนั้นหากพิจารณาในระดับหน่วยธุรกิจ ก็กล่าวได้ว่า ความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจ คือ
ขีดความสามารถและผลประกอบการของธุรกิจในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้ อมที่เหมาะสมแก่การ
ประกอบกิจการ
การประเมิน ความสามารถในการแข่งขัน ของวิส าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ศูน ย์
พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (2556) ได้สรุปองค์ประกอบซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด วิธีการ
คานวณ และประโยชน์ของการประเมิน ดังรายละเอียด
องค์ป ระกอบซึ่งเป็ นดั ชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม มีด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่ สุขภาพของธุรกิจ ความสามารถในการทาธุรกิจ และความยั่งยืน
ของธุรกิจ โดยในแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังนี้
2.2.1 ดัช นี ชี้วัดสุ ขภาพธุรกิจ กรอบแนวคิดของดัช นีนี้ คือ การวิเคราะห์ อัตราส่ ว นทาง
การเงิน ดังนั้นประเด็นในการประเมิน ได้แก่ การบริหารสภาพคล่อง การบริหารสินทรัพย์ การบริหาร
หนี้สิน ความสามารถในการทากาไร
2.2.2 ดั ช นี ค วามสามารถในการท าธุ ร กิ จ กรอบแนวคิ ด ของดั ช นี นี้ คื อ กลยุ ท ธ์ ค วาม
ได้เปรียบในการแข่งขัน การวิเคราะห์ แรงกดดันในการแข่ งขัน ดังนั้นประเด็นในการประเมิน ได้แก่
ต้ น ทุ น ของสิ น ค้ าและบริ ก าร คุ ณ ภาพของสิ น ค้ าและบริ ก าร ความแตกต่ างของสิ น ค้ าและบริก าร
ความสามารถในการตั้งราคาขาย กาไรขั้นต้นที่กิจการได้รับ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ระดับความสามารถของพนักงานและลูกจ้าง ระดับความสัมพันธ์และความผูกพันกับลูกค้า
2.2.3 ดัชนีความยั่งยืนของธุรกิจ กรอบแนวคิดของดัชนีคือ การกากับดูแลกิจการที่ดี การ
บริ ห ารความเสี่ ย ง การพั ฒ นาองค์ก ร ปรัช ญาเศรษฐกิจ พอเพี ยง ความรับ ผิ ด ชอบต่อ สั งคม ดั งนั้ น
ประเด็นการประเมินคือ การประยุกต์ใช้ระบบการกากับดูแลกิจการที่ดี การกาหนดเป้าหมายและการ
วางแผนในอนาคต ความเสี่ยงที่รายได้จะหดตัวลงอย่างฉับพลัน ความเสี่ยงที่ปัจจัยการผลิตจะขาดแคลน
การพัฒนาบุคลากรและองค์กร การมุ่งเน้นการตลาด และสร้างความผูกพันกับลูกค้า การใช้ระบบไอที
การสร้างนวัตกรรม การดาเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
9

ทั้งนี้ การคานวณค่าดัชนีความสามารถในการแข่งขันจะพิจารณาสัดส่วนของผู้ที่ตอบว่า
“ดี” เปรียบเทียบกับสัดส่วนของผู้ที่ตอบว่า “ไม่ดี” ส่วนผู้ที่ตอบ “ปานกลาง” จะไม่ถูกนาไปคานวณ
โดยสูตรการคานวณคือ ค่าดัชนี = 50+0.5 (%ของผู้ที่ตอบว่าดี – % ของผู้ที่ตอบว่าไม่ดี) โดยค่า ดัชนี
ดังกล่าวนี้จะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และมีค่าต่าสุดเท่ากับ 0 ถ้าหากว่าดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดง
ว่าผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นว่าสถานการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือมี
แนวโน้มดีขึ้น แต่ถ้าดัชนีมีค่าเท่ากับ 50 แสดงว่าผู้ประกอบการธุ รกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นว่า
สถานการณ์ด้านนั้น ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ปานกลางหรือมีแนวโน้มทรงตัว แต่ถ้าดัชนีมีค่าต่ากว่า 50 แสดงว่า
ผู้ป ระกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็ นว่าสถานการณ์ ด้านนั้น ๆ อยู่ในเกณฑ์แย่ห รือมี
แนวโน้มแย่ลงทรงตัว
ข้อมูลการประเมินความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะ
เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ คือ ทาให้ธุรกิจรู้สถานภาพ และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบัน
รวมทั้งทาให้เข้าใจว่าธุรกิจมีความเข้มแข็งในเรื่องใด และยังมีความอ่อนด้อยในเรื่องใด รวมทั้งจะเป็น
ข้อมูลประกอบการออกแบบนโยบายและการปรับปรุงแก้ไขให้ตรงตามจุดอ่อนที่มี
ดังนั้นในงานวิจัยนี้ประเมินความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าว
สกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ตามองค์ประกอบการวิเคราะห์ความสามารถ
ในการแข่งขันทั้ง ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ สุขภาพธุรกิจ ความสามารถในการทาธุรกิจ และความยั่งยืน
ของธุรกิจ ดังรายละเอียดข้างต้น

2.3 สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำร
ผู้ประกอบการมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการ
บริห ารงาน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมเหล่ านั้น และสามารถปรั บ เปลี่ยนรูป แบบการ
บริ ห ารองค์ ก ารให้ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพแวดล้ อ มนั้ น ๆ เพื่ อ ความส าเร็ จ ขององค์ ก รต่ อ ไป ทั้ ง นี้
สภาพแวดล้ อ มของการจั ด การแบ่ งเป็ น สภาพแวดล้ อ มภายใน และสภาพแวดล้ อ มภายนอก ดั ง
รายละเอียด (สาคร สุขศรีวงศ์, 2551)
2.3.1 สภาพแวดล้อมภายในองค์กร ประกอบด้วย
1) ระบบงาน หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการทางานในส่วนต่าง ๆ ของ
องค์กร เช่น ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบการบัญชี ระบบ
การเงิน และระบบข้อมูล
10

2) ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในองค์ ก ร ประกอบด้ ว ยกลุ่ ม บุ ค คลต่ า ง ๆ ภายใน


องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง
3) สิ่งอานวยความสะดวก หมายถึงอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจน
อาคารสถานที่ขององค์กร และ
4) วั ฒ นธรรมองค์ ก ร เป็ น สิ่ งแวดล้ อ มที่ เป็ น นามธรรม จั บ ต้ อ งไม่ ได้ แต่
สามารถสัมผัสและรับรู้ได้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในองค์กร
2.3.2 สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ประกอบด้วย
1) สภาพแวดล้อมมหภาค คือ สภาพแวดล้อมทั่วไปที่ส่งผลกระทบโดยรวม
ต่ อ องค์ ก รทุ ก แห่ ง เช่ น สภาพแวดล้ อ มทางการเมื อ งและกฎหมาย สภาพแวดล้ อ มทางเศรษฐกิ จ
สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
2) สภาพแวดล้อมทางตรง หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อองค์กร ประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ คือ ลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้จัดหาปัจจัยการผลิต แรงงาน
หน่วยงานของรัฐ
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้ อม เป็ นการศึ กษาและท าความเข้าใจถึงสาเหตุ และที่ มาของ
สภาพแวดล้อมประเภทต่าง ๆ ตลอดจนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมประเภทนั้น ๆ ทั้งนี้เทคนิคที่
ใช้กันแพร่หลายในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือ การวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) (สาคร สุขศรี
วงศ์, 2551) การวิเคราะห์สวอท เป็นการค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสาคัญใน
การดาเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต โดยคาว่า SWOT เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมาย
ดังนี้ (เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกาธร, 2555)
Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบจากปัจจัยภายในองค์กรเมื่อเทียบกับองค์กร
อื่นๆ
Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อ เสียเปรียบจากปัจจัยภายในองค์กรเมื่อเทียบกับ
องค์กรอื่นๆ
Opportunities หมายถึ ง โอกาสจากปั จ จั ย ภายนอกองค์ ก รที่ เป็ น ประโยชน์ ต่ อ การ
ดาเนินงาน
Threats หมายถึง อุปสรรค ข้อจากัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดาเนินงานขององค์กรอัน
เนื่องมาจากปัจจัยภายนอกองค์กร
ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
11

1. การประเมิ น สภาพแวดล้ อ มภายในองค์ ก ร จะเกี่ย วกั บ การวิเคราะห์ แ ละพิ จ ารณา


ทรั พ ยากรและความสามารถภายในองค์ก รทุ กๆ ด้าน เพื่ อที่ จะระบุ จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์ก ร
แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่
ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทางาน และ
ทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) ค่านิยมองค์กร รวมถึงการพิจารณาผลการดาเนินงานที่ผ่านมา
ขององค์กร เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์ และผลของวิธีการดาเนินการก่อนหน้านี้ด้วย โดยจุดแข็งของ
องค์กร (S-Strengths) เป็น การวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่า
ปัจจัยใดที่เป็นข้อได้เปรียบหรือเป็นจุดเด่นที่ควรนามาใช้ในการพัฒนาองค์กร และควรดารงไว้เพื่อการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ส่วนจุดอ่อน (W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจาก
มุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นๆ ว่าปัจจัยใดที่เป็นจุดด้อย หรือเป็นข้อเสียเปรียบที่ควรปรับปรุงให้ดี
ขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. การประเมิ น สภาพแวดล้ อมภายนอก โดยพิ จ ารณาโอกาสและอุ ป สรรคที่ จ ะได้รั บ
ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีต่อการดาเนินงานขององค์กร ทั้งนี้โอกาส (O-Opportunities)
เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกว่ามีปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในเชิงที่เป็นประโยชน์ทั้งทางตรง
และทางอ้อมต่อการดาเนิ น การขององค์กร และสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่ านี้ม าเสริมสร้างให้ องค์กร
เข้มแข็งขึ้น ส่วนอุปสรรค (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่ส่งผลในทาง
ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจาต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภ าพให้ มี
ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
การวิเคราะห์ SWOT ดั งกล่ าวข้างต้ น ท าให้ อ งค์ ก รมี ข้อ มู ล ในการก าหนดทิ ศ ทางหรื อ
เป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม
และสามารถกาหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อย
ที่สุด (เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกาธร, 2555)
ในงานวิจัยนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการจัดการของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก
จังหวัดปั ตตานี ซึ่งเป็ น ผู้ ผ ลิ ตผลิ ตภั ณ ฑ์ แปรรูป น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น โดยใช้เทคนิ คการวิเคราะห์
SWOT

2.4 กำรวิจัยเชิงปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)


แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีธรรมชาติของการศึกษาว่า มนุษย์เป็น
ศูนย์กลางของการเรียนรู้ท่ามกลางความสัมพันธ์ของอานาจระหว่างคนกับคน ระหว่างคนกับธรรมชาติ
12

และระหว่ า งคนกั บ สิ่ งเหนื อ ธรรมชาติ ในการด าเนิ น การวิ จั ย ในลั ก ษณะนี้ มุ่ งเสริ ม พลั ง ปรั บ ปรุ ง
เปลี่ยนแปลง พัฒนา มุ่งความเป็นอิสระ คุณค่าของมนุษย์ มุ่งความยุติธรรม เสรีภาพและประชาธิปไตย
ทั้งนี้ความรู้ที่ได้เป็นความรู้ในระดับสานึก จิตวิญญาณ การเข้าถึงความรู้จะผูกกับคุณค่า การขั บเคลื่อน
การเปลี่ยนแปลงดาเนินการด้วยการตั้งคาถาม รวมทั้งวิธีการที่หลากหลายอื่น ๆ อาทิ การสัมภาษณ์
การเล่าเรื่อง การแสดง การร้องเพลง ฯลฯ ทาให้ได้ความรู้ที่มิติขององค์รวม ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่สะท้อนผลการแก้ไขปัญหาโดยตัวผู้ปฏิบัติงาน หรือ
เจ้าของปัญหาเพื่อก้าวไปสู่การปรับปรุงหรือสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า บางครั้งใช้ในการแนะแนวทางในการ
พัฒนาองค์กรหรือสถาบันโดยใช้นักวิจัยมืออาชีพ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ การปฏิบัติ และสร้าง
องค์ความรู้ในวิถีทางของการทางาน (วรรณดี สุทธินรากร, 2554) นักวิชาการได้พัฒนากระบวนการวิจัย
ในลั ก ษณะนี้ ให้ เป็ น วิธี ก ารเรี ย นรู้ จ ากประสบการณ์ ที่ อ าศั ย การมี ส่ ว นร่ว มจากทุ ก ฝ่ ายที่ เกี่ ย วข้ อ ง
นับตั้งแต่ระบุปัญหาการดาเนินการติดตามผลจนถึงขั้นประเมินผล โดยการวิจัยจะประกอบด้วยการ
ปฏิ บั ติการ (action) และการมีส่ วนร่วม (participation) กล่ าวคือ การปฏิ บั ติการ เป็ นการดาเนิ น
กิจกรรมของโครงการและเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนการมีส่วนร่วม
หมายถึง การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ แล้วร่วมกันตัดสินใจ และดาเนินการจนสิ้นสุด
ทั้งนี้ ห ากมองในบริ บ ทชุมชน การวิจัยแบบมีส่ ว นร่ว มนั้น มีที่มาจากการปรับ ยุทธศาสตร์การพั ฒ นา
ท้องถิ่น โดยเน้นชุมชนหรือชาวบ้านผู้ได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการดาเนินการ บนพื้นฐานของ
หลักการซึ่งเชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ว่าสามารถการแก้ไขปัญหา หากรู้และเข้าใจเป้าหมายใน
การพัฒนาตนเองและชุมชน (อัจฉรา มลิวงค์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช, 2554)

2.5 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กษมาพร พวงประยงค์และ นพพร จันทรนาชู (2556) เรื่อง แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจ
ชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่
มีผลต่อระดับการพัฒนาและศึกษาแนวทางการพัฒนา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์
จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม จานวน 280 คน
และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสนทนากลุ่มจานวน 8 คน ผลการวิจัยจาก การวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัย
ส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษาแตกต่าง กันมีแนวทางการพัฒ นา
วิส าหกิจชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนั ยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยการสนับสนุน จากภายนอก
ปัจ จัย ภูมิปั ญญาท้องถิ่น และปั จ จัย การบริห ารองค์กร สามารถทานายแนวทางการพัฒ นาวิส าหกิจ
ชุมชนร่ ว มกัน ได้ร้ อยละ 76.70 และจากการวิจัย เชิงคุ ณ ภาพ พบว่า ควรสร้างผลิ ต ภั ณ ฑ์ ให้ มี ความ
13

แตกต่าง สร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนนอกชุมชน แล้วนามาพัฒ นาและ


ประยุกต์ใช้กับ กลุ่มของตน พัฒนาช่องทางข้อมูลข่าวสาร โดยการจัดกิจกรรมเชื่อมโยง เพื่อ แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ข้อมูลระหว่างกลุ่ม
ณภัทร ทิพ ย์ศรี พินิ จ บารุง สิ ริพร กุแสนใจ สุภ าวดีเตชะยอด (2558) เรื่อง ความ
ได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ในยุคเศรษฐกิจแห่งการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ
หนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงราย งานวิจัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการ
จัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ในยุคเศรษฐกิจ แห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของ
ธุรกิจหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัด เชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการ
ธุรกิจหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จานวน 288 ราย เครื่องมือ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ สถิติ
พรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุ และ
สถิติอนุมาน คือการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ ผลการศึกษาพบว่า การจัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ ทั้ง 4
ด้า น ได้ แ ก่ ด้ านผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้านการจั ด จาหน่ าย ด้ านการส่ งเสริม การตลาด และด้ านราคา เรีย ง
ตามลาดับจากมากไปหาน้อย มีผลกระทบทางบวกต่อ ความได้เปรียบทางการแข่งขันในเศรษฐกิจยุค
แห่งการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ใน จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาที่ได้สามารถ
นาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒ นาการจัดการตลาด เชิงกลยุทธ์ในยุคเศรษฐกิจแห่งการ
เปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับธุรกิจต่อไป
เดชวิท ย์ นิ ลวรรณ, ธวัชชัย บุ ญมี , ศุ ภฤกษ์ ธาราพิ ทั กษ์ วงศ์ , สุ วลั กษณ์ อ้วนสอาด, พุ ทธมน
สุวรรณอาสน์ และเติมพันธ์ บุญมาประเสริฐ (2554)การศึกษาการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน
กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตาบลสง่าบ้าน อาเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาสภาพปัญหา
ความต้องการ รูปแบบ และศักยภาพของกลุ่มโดยใช้การจัดการความรู้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ
ชุมชน และการใช้การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานเชิงธุรกิจ โดยพัฒนา 5
ด้ า น ได้ แ ก่ การบริ ห ารจั ด การกลุ่ ม การตลาด การผลิ ต การเงิ น บั ญ ชี และการสื่ อ สารการตลาด
ดาเนินการโดยจัดเวทีชาวบ้าน สัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย การให้ความรู้ การเขียนแผนผังความคิด การ
สารวจผู้บริโภค กิจกรรมกลุ่มสัมพัน ธ์ และการใช้แบบสอบถาม พบว่ากลุ่มธุรกิจชุมชนนี้ยังมีปัญหา
หลายประการ คือ การบริหารงานเชิงธุรกิจไม่ชัดเจน การตลาดไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย การบันทึกรายงาน
การเงินไม่ถูกต้อง แต่เมื่อได้ดาเนินการจัดการความรู้ด้วยการเสริมความรู้ทางการบริหารธุรกิจ และเสริม
ทักษะการจัดการแบบมีส่วนร่วม ทาให้กลุ่มแก้ไขปัญหาที่มี สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ได้สาเร็จ
ซึ่งแสดงถึงศักยภาพกลุ่มได้อย่างชัดเจน
ฉัตรชัย อินทสังข์และปวีณา อาจนาวัง (2555) เรื่อง ต้นแบบกลยุทธ์การตลาดสาหรับพัฒนา
ผลิตภัณ ฑ์วิสาหกิจชุมชนเพื่อการค้าระดับประเทศ สู่ความยั่งยืน (กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มี
14

ระดับ ต่ากว่า 3 ดาว ในเขตอาเภอวังนาเขียว จังหวัดนครราชสีมา) การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ เป็น


การศึ ก ษา เรื่ อ ง ต้ น แบบ กลยุ ท ธ์ ก ารตลาด ส าหรั บ พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน เพื่ อ การค้ า
ระดับประเทศ สู่ความยั่งยืน (กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีระดับต่ากว่า 3 ดาว ในเขตอาเภอวังนา
เขียว จังหวัดนครราชสีมา) มีวัตถุประสงค์( 1) เพื่อศึกษาต้นแบบกลยุทธ์ทางการตลาดสาหรับพัฒ นา
ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน (2) เพื่อหาช่องทางการจัดจาหน่ายและเพิ่มยอดขายให้สมาชิก (3) เพื่อพัฒนา
ผลิ ตภัณ ฑ์ ชุมชนให้ ได้รับ มาตรฐานระดับประเทศ ซึ่งกลุ่ มตัวอย่าง คือ ผู้ ผ ลิตวิส าหกิจชุมชน ที่ผ่ าน
กระบวนการคัดเลื อกโดยวิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึ ก(In-depth Interview)จากคณะกรรมการได้
จานวน 2 กลุ่ม คือ บ้านคลองทรายและบ้านวังไผ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา คือ การฝึกอบรม
กลยุทธ์ด้านการตลาด จากภาคทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบความ
ต้องการของตลาดเป้าหมาย ตั้งราคา ด้านช่องทางจัดจาหน่าย ส่งเสริมการตลาด ออกแบบบรรจุภัณฑ์
และการขอมาตรฐานผลิตภัณ ฑ์ เป็นต้น และข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยและพัฒ นา ทั้งแนวคิด
ทฤษฎี ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ นักวิชาการและผู้มีประสบการณ์จะนามาพัฒนาเป็นต้นแบบกลยุทธ์
ทางการตลาดที่เหมาะสมกับผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชนผลการวิจัยและพัฒนา สรุปได้ดังนี้ ต้นแบบการบริหาร
กลยุ ท ธ์ก ารตลาด ส าหรั บ พั ฒ นาผลิ ตภั ณ ฑ์ วิส าหกิ จชุม ชน เพื่ อการค้าระดั บ ประเทศสู่ ค วามยั่งยื น
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักดังนี้ 1. ผู้นาหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ ศาสตร์วิชาการ
แขนงต่างๆ ลงสู่ชุมชน 2. ผู้นาชุมชนที่มีภาวะผู้นา (Leadership) มุ่งมั่น ตั้งใจ ตระหนักในการเป็น
ผู้ประกอบการ มีการบริหารกิจการอย่างเป็นระบบ 3. ความร่วมมือร่วมใจและการดาเนินงานอย่าง
เข้มแข็งเต็มที่ โดยมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ตรงกันที่มาจากการยอมรับร่วมกัน
อัจฉรา มลิวงค์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช (2554) การศึกษารูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ชุมชมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวดแผนไทยบ้านแม่ทะ อาเภอแม่ทะ จังหวัดลาปาง ด้วยการวิ จัยแบบมี
ส่วนร่วม พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้มีความร่วมมือในการดาเนินงาน มีความเสียสละ มีความมุ่งมั่น
ตั้งใจพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ในการพัฒนาเพื่อเข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว
สมาชิกต้องมีความรู้ความเข้าใจและให้ความสาคัญเกี่ยวกับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และเลือกสรร
ผลิตภัณ ฑ์ที่เหมาะสมแก่การพัฒ นาโดยการมีส่วนร่วมและยอมรับของสมาชิกกลุ่ม ประกอบกับการ
ด าเนิ น การเพื่ อ การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ เกณฑ์ ม าตรฐานโดยตรวจสอบการพั ฒ นา
ผลิตภัณฑ์ทุกขั้นตอน
ธวัชชัย สุจริตวรกุล, สัจจา บรรจงศิริ และ บาเพ็ญ เขียวหวาน (2555) การพัฒนาวิสาหกิจ
ชุม ชนด้ านการผลิ ตล าไย อ าเภอบ้ านแพ้ ว จังหวัด สมุ ท รสาคร ด้ว ยการวิจัยแบบมีส่ ว นร่ว ม พบว่า
กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ มี 8 ขั้นตอนคือ การสารวจพื้นที่ การกาหนดเป้าหมายและ
การจัดทาตัวชี้วัด การเมินก่อนการพัฒ นา การจัดยุท ธศาสตร์การพัฒ นา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การ
15

จัดทาแผนการพัฒนา การติดตามดาเนินงาน และการประเมินวิสาหกิจชุมชนหลังการพัฒนา นอกจากนี้


เมื่อนากระบวนการดังกล่าวไปใช้ พบว่า วิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นเกือบทุกด้าน โดยปัจจัยการ
พั ฒ นากลุ่ ม ประกอบด้ ว ย 1) ปั จ จั ย ทั่ ว ไป ได้ แ ก่ ปั จ จั ย ภายใน มี ดั งนี้ สมาชิ ก กลุ่ ม /ประธานกลุ่ ม /
กรรมการกลุ่ม ระบบการบริหาร การเรียนรู้ของกลุ่ม ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภัยธรรมชาติ ปัจจัยการ
ผลิต ปัจจัยการตลาด และการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ 2) ปัจจัยเฉพาะด้านการผลิตลาไย
ได้แก่ ปัจจัยด้านการเงิน ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และ
ปัจจัยด้านแรงงาน
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์ (2556) เรื่อง แนวทางการพัฒนาการ
ดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ
1) เพื่ อ ศึ กษาสภาวการณ์ ข องวิส าหกิ จ ชุม ชน ในเขตลุ่ ม ทะเลสาบสงขลา 2) เพื่ อศึ ก ษาปั ญ หาและ
อุปสรรคในการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ใน เขตลุ่มทะเลสาบสงขลา และ 3) เพื่อหาแนวทางการ
พัฒนาการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ในเขต ลุ่มทะเลสาบสงขลา โดยผู้วิจัยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ
ด้ว ยการศึก ษาเชิงส ารวจ การสั มภาษณ์ แบบ เจาะลึ กผู้ ป ระกอบการ จ านวน 32 ราย ด้ว ยการสุ่ ม
ตั ว อย่ า งแบบเจาะจง Snowball sampling และ การสนทนากลุ่ ม ด้ ว ยการเชิ ญ ผู้ เ ชี ย วชาญ
ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่รัฐ จานวน 9 ท่าน มาร่วมอภิปรายเพื่อหาแนวทางในการ
พัฒนาการดาเนินงานของวิ สาหกิจชุมชน ในการศึกษาครั้ง นี้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ
PESTLE analysis SWOT analysis การวิเคราะห์บริบท เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย ผล
การศึกษาสภาวการณ์ของวิสาหกิจชุมชนพบว่า ปัจจัยด้านการเมือง ปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจ และ
ปัจจัยทางด้านสังคม เอื้ออานวยต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ส่วนปัจจัยทางด้าน เทคโนโลยี และ
ปัจจัยทางนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดาเนินงาน ในด้านปัญหาและ อุปสรรคในการ
ดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชนมีดังนี้ ปัญหาด้านการตลาด ปัญหาด้านบัญชีและ การเงิน ปัญหาด้านการ
ผลิต ปัญหาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และปัญหาต้นทุนการ
ผลิต โดยแนวทางการพัฒนาการดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานสาคัญ
ของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ทั้งในด้านการให้ความรู้ การพัฒนาทักษะด้านต่างๆ การสนับสนุนด้าน
การตลาด และการกาหนดระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุน วิสาหกิจชุมชน
ศรวณะ แสงสุข บัณฑิต ผังนิรันดร์ และ บุญเชิด ภิญโญอนันตพงศ (2557) เรื่อง กลยุทธ์
การสร้างความแตกต่างเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประเภท
เซรามิกในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพือศึกษา 1) ระดับ
ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าในการสร้างความแตกต่างกับความได้เปรียบในการ
แข่งขันของสินค้า OTOP ประเภทเซรามิก 7) ระดับอิทธิพลของปัจจัยทีเป็นสาเหตุของกลยุทธ์การสร้าง
16

ความแตกต่างกับความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้า OTOP ประเภทเซรามิกและ 9) ระดับอิทธิพล


ของปัจจัยทีเป็นสาเหตุของการสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ของสินค้า OTOP ประเภทเซรามิก
การวิจัยเป็น แบบผสม (Mix Method) กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพคือผู้จาหน่ายสินค้า OTOP ประเภท
เซรามิกในเขตภาคเหนื อตอนล่ างของประเทศไทย จานวน 6ราย ส่ว นเชิงปริมาณกลุ่ มตัว อย่างเป็ น
ผู้บริโภคสินค้า OTOP ประเภทเซรามิกในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย จานวน 444 ราย สุ่ม
ตัวอย่างแบบตามความสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจาลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1.
ระดับความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าในการสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ ด้าน
บุคคล ด้านภาพลักษณ์ และด้านช่องทางการจัดจาหน่ายต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้า
OTOP ประเภทเซรามิกอยู่ในระดับมากและ ระดับปานกลาง 2. ความได้เปรียบในการแข่งขันได้รับ
อิ ท ธิ พ ลทางตรงจากความแตกต่ างด้ า นบุ ค คล ด้ า นภาพลั ก ษณ์ แ ละด้ า นช่ อ งทางการจั ด จ าหน่ า ย
ตามลาดับ ส่วนความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ไม่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน 3. การสร้าง
ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากความแตกต่างด้านบุคคล และความแตกต่างด้าน
ภาพลักษณ์ตามลาดับ
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ (2556) เรื่อง ปัจจัยสู่ความสาเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ
การคัดสรรสุดยอดสิน ค้าหนึ่ งตาบลหนึ่งผลิ ตภัณ ฑ์ ระดับ 5 ดาว อาเภอสั นทราย จังหวัดเชียงใหม่
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดาเนินงานในแต่ละด้านปัญหา และอุปสรรคในการดาเนินงาน
ของกลุ่ม ผู้ผลิตสินค้าทีÉผ่านการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว และ 4 ดาว (ทีÉ
มีระดับคะแนนใกล้เคียง 5 ดาว) ในเขตอาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และเพื่อเป็นแนวทางในการ
ถ่ายทอดการสร้างแผนธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจานวน
13 ราย ผลของการวิจัยพบว่า ทุกธุรกิจมีการวางแผน ปฏิบัติตาม แผน และทบทวน ปรับปรุงแผนงาน
อย่างสม่าเสมอ มีการคัดเลือกสมาชิกเป็นคนในพื้นและมีประสบการณ์มีการถ่ายทอดความรู้แบบไม่เป็น
ทางการ มีการวางแผนการผลิต มีโรงงานผลิตจัดซื้อวั ตถุดิบเป็นเงินสด และเงินเชื่อ ใช้แหล่ง วัตถุดิบใน
ท้องถิ่นและต่างถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้นงาน ทุกธุรกิจมีการทางบดุล งบกาไรขาดทุน งบกาไร
สะสม และบัญชีครัวเรือน ลูกค้าหลัก คือ นักท่องเที jยวชาวไทยและต่างชาติ ลูกค้ารอง คือ ผู้บริโภคใน
พื้นที่ใช้เกณฑ์ราคาบวกเพิ่ม จากต้นทุน มีช่องทางการจาหน่ายตั้งแต่ 1-10 ช่องทางและทุกธุรกิจใช้การ
ส่งเสริมการตลาดหลากหลายวิธีร่วมกัน
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์ (2559) เรื่อง การพัฒ นาดัชนีชี้วัดและปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จ
อย่างยั่งยืน ของธุรกิจสปาและนวดแผนไทยโดยชุมชนในจังหวัดชลบุรี นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่
3 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒ นาดัชนีชี้วัดระดับสาเร็จ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จและ 3)
แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจสปาและนวดแผนไทยโดยชุมชนทาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
17

แบบสั ม ภาษณ์ จากหั ว หน้ าธุ ร กิ จ ธุ ร กิ จ สปาและนวดแผนไทยโดยชุ ม ชน จ านวน 111 แห่ ง และ
ผู้ใช้บริการแห่งละ 5 คน รวม 555 คน ทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบ ว่าดัชนีชี้วัดความสาเร็จอย่างยังยืนของธุรกิจสปาและนวดแผนไทยโดย
ชุมชนแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่เศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1)ร้อยละรายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน 2)
ร้ อ ยละของรายได้ ต่ อ ต้ น ทุ น มี ค่ า เฉลี่ ย รวมเท่ า กั บ ร้ อ ยละ 12.62 ในระดั บ น้ อ ยมาก ด้ า นสั ง คม
ประกอบด้วย 1)ร้อยละการทางานอยางต่อเนื่องของพนักงาน 2) ร้อยละการเข้ารับการฝึกอบรมของ
พนักงาน 3)ร้อยละการแลกเปลี่ยนหรือร่วมมือของบุคคลากรกับสถานประกอบการอื่น โดยมีค่าเฉลี่ย
รวมเท่ า กั บ ร้ อ ยละ 65.71 อยู่ ในระดั บ มาก ส่ ว นด้ า นสิ่ งแวดล้ อ ม ประกอบด้ ว ย 1)ร้อ ยละการใช้
ทรัพยากรในชุมชน 2) ร้อยละการผลิตทรัพยากรใช้เอง 3) ร้อยละการใช้สมุนไพรแทนสารเคมี และ 4)
ร้อยละของจานวนครั้งที่การบาบัดของเสี ยโดยมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 5.9 ในระดับน้อยที่สุด และ
โดยรวมทั้งหมด 9 ตัวชี้วัดพบว่ามีค่าเฉลี่ย 28.07 อยู่ในระดับน้อย ด้านปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จของ
ธุรกิจปาและนวดแผนไทยโดยชุมชน ได้แก่รายได้การศึกษาเฉลี่ยของสมาชิกสปาชุมชนและนวดแผนไทย
และความเป็นปกแผนของสมาชิ กส่วนแนวทางการพัฒนาการบริหารธุรกิจสปาและนวดแผนไทยโดย
ชุมชนให้ประสบความสาเร็จและมีประสิทธิภาพได้แก่ การมีเครือข่ายระหว่างกลุ่ม การส่งเสริมการปลูก
พื ช สมุน ไพรเพื่ อ ลดต้น ทุ น จั ด ฝึ ก อบรมและให้ ค วามรู้ที่ ถู กต้ องแก่พ นัก งาน การตกแต่งสถานที่ ให้ มี
เอกลักษณ์ในท้องถิ่นของตนเอง พนักงานควรแต่งกายสะอาด และอุปกรณ์ที่ใช้สะอาดและปลอดภัย
สุกัญญา ดวงอุปมา (2557) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชน
ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสาหกิจ
ชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและ
ข้อมูลภาคสนามจากวิสาหกิจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนประสบความสาเร็จและสามารถ
ยืนหยัดต่อไปได้ จาเป็นต้องศึกษาบริบทและสภาวการณ์ของวิสาหกิจชุมชน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส
อุปสรรค ตลอกจนศึกษาสภาพปั ญหาและศักยภาพที่แท้จริง โดยให้ ทุกคนมีส่วนร่วมในการกาหนด
นโยบาย ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง อีกทั้งต้อง
พัฒนาภาวะผู้นาและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สุมาลี รามนั ฎ (2559) เรื่องการศึกษาความมั่งคั่ง ของการประกอบการธุรกิจแบบหนึ่ง
ตาบลหนึ่ งผลิตภัณ ฑ์(OTOP) การวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาความมั่งคั่งให้ กับการประกอบธุรกิจแบบหนึ่ง
ตาบลหนึ่งผลิตภัณ ฑ์ที่กรมพัฒ นาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ดูแลรับผิดชอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาวิธีการสร้างความมั่งคั่งโดยดูความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เจ้าของธุรกิจแบบหนึ่งตาบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์(OTOP) กับระดับการบูรณาการกลยุทธ์น่านน้าสีคราม จานวน 39 ราย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้ได้
จากกลุ่ มผู้ป ระกอบการที่มาออกงานทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินที่มีลั กษณะ
18

เป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่า


ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้
พบว่าผู้ประกอบการโดยรวมมีความเห็นในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอยู่ในระดับ มาก อันดับ 1 ใน
เรื่องการพัฒ นาผลิ ตภั ณ ฑ์ ใหม่ออกสู่ ตลาดเพื่ อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรม
อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์ยังเป็นที่ดึงดูดใจของลูกค้าเมื่อเทียบกับสินค้าใกล้เคียงกับลูกค้าตอบสนองต่อการ
ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 3 การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยเพิ่มเอกลักษณ์
สุมาลี สันติพลวุฒิและรสดา เวษฎาพันธ (2558) เรื่อง การประเมินผลการดาเนินงานของ
วิส าหกิจชุมชน: กรณี ศึกษาการลงทุนพัฒ นาเครื่องผลิ ตแผ่ นข้าวตังของ วิสาหกิจชุมชนโสธรพัฒ นา
จังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนาแผนพัฒนา วิสาหกิจชุมชนมาดาเนินการพัฒนาอย่าง
มีประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาวิสาหกิจให้ก้าวไปสู่การเป็น SMEs ในอนาคตและเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของผู้ประกอบการในวิสาหกิจให้มีความ สามารถในการแข่งขันและสามารถดาเนินธุรกิจได้
อย่างยั่งยืน ในการวิจัยนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งพบว่าการผลิต
แผ่น ข้าวตังโดยใช้เตาที่พัฒ นาขึ้น ใหม่มีความคุ้มค่าในการ ลงทุนเนื่องจากมีค่า NPV, BCR และ IRR
มากกว่า และมีระยะเวลาคืนทุนเร็วกว่ากรณีการใช้เตาผลิต แผ่นข้าวตังแบบเดิม ผลการดาเนินงาน
บรรลุ เป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กาหนดไว้ เนื่องจากการใช้เตา ดังกล่าวทาให้ลดระยะเวลาในการผลิต ลด
จานวน แรงงาน ลดการสูญเสียส่วนเหลือจากการผลิต สามารถสร้างสินค้ารูปแบบใหม่ ทาให้รายได้ของ
วิส าหกิจ เพิ่ม ขึ้น ประมาณร้อยละ 15 ต่อ เดือน พั ฒ นา ช่องทางการจัดจาหน่ายได้ 2 ช่อ งทาง และ
วิสาหกิจมี ความพึงพอใจต่อการดาเนินงานและผลลัพธ์ของการ ดาเนินงานในระดับสูง
19

2.6 กรอบกำรดำเนินงำน
สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำรของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
สภำพแวดล้อมภำยนอกองค์กร
-สภาพแวดล้อมมหภาค
สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย
สภำพแวดล้อมภำยในองค์กำร สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
- ระบบงาน สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี
- สิ่งอานวยความสะดวก สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ
- วัฒนธรรมองค์กร - สภาพแวดล้อมทางตรง
ลูกค้า
คู่แข่งขัน
ผู้จัดหาปัจจัยการผลิต
แรงงาน
หน่วยงานของรัฐ
กำรวิเครำะห์สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำรของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
-จุดแข็ง -จุดอ่อน
-โอกาส -ข้อจากัด

กำรเปรียบเทียบควำมสำมำรถในกำรแข่งขันของผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็นของ
กลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี กับธุรกิจผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็นที่
ได้รับมำตรฐำนผลิตภัณฑ์ชุมชน ๕ ดำว
- สุขภาพของธุรกิจ - ความสามารถในการทาธุรกิจ - ความยั่งยืนของธุรกิจ

กำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็น
ของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี

กำรประเมินผลกำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมัน
มะพร้ำวสกัดเย็น ของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี

ภำพที่ 2.1 กรอบการดาเนินงาน


20

บทที่ 3
ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด
เย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มุ่งวิจัยและพัฒนา (research & development)
โดยมีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
(participatory action research : PAR) โดยในบทนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
3.1 ผู้ให้ข้อมูลและผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
3.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
3.3 วิธีการสร้างเครื่องมือ
3.4 การเก็บรวมรวมข้อมูล
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

3.1 ผู้ให้ข้อมูลและมีส่วนร่วมในกำรวิจัย
สมาชิกกลุ่ มแม่บ้ านผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัด
ปัตตานี จานวน 15 คน ประกอบไปด้วย ประธานกลุ่มแม่บ้านจานวน 1 คนและฝ่ายปฏิบัติงานจานวน
14 คน

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในกำรเก็บข้อมูล
3.2.1 การสัมภาษณ์กลุ่ม เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการจัดการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์
ในประเด็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
3.2.2 การจัดกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ทางการจัดการ ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯ โดยใช้รูปแบบการสนทนากลุ่มเป็นหลักและมี
แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการ
ประกอบธุรกิจ
3.2.3 การจั ด กิ จ กรรมปฏิ บั ติ ก ารแบบมี ส่ ว นร่ว มในการประเมิ น ความสามารถในการ
แข่งขันระหว่างนักวิจัยและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯ โดยใช้รูปแบบการสนทนากลุ่มเป็นหลักและมีแบบ
สัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย สุขภาพของธุรกิจ ความสามารถในการทาธุรกิจ
และความยั่งยืนของธุรกิจ
21

3.2.4 การจัดกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างนักวิจัยและ


สมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ ร่วมตัดสินใจ กาหนดแนวทางการพัฒนาความสามารถใน
การแข่งขันของกลุ่มแม่บ้านฯ ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการดาเนินกิจกรรม
3.2.5 การจัดกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒ นา ระหว่าง
นักวิจัยและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านฯ โดยใช้วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเดิมให้มีมาตรฐานและใช้การ
ประเมินจากแบบสนทนากลุ่ม

3.3 วิธีกำรสร้ำงเครื่องมือ
ศึกษาทฤษฎีหลักการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากตารา วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อกาหนดขอบเขตของการวิจัยและสร้างเครื่องมือวิจัย ให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อ
เป็นข้อมูลในการสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีการจดทาเครื่องมือดังนี้
3.3.1 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มแม่บ้านและจากตารา วารสารต่างๆ มาทาการสังเคราะห์
ประเด็นที่สาคัญ
3.3.2 สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มตามประเด็นที่ได้คัดเลือกไว้
3.3.3 นาเครื่องมือไปตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ ตรวจ
ตามเนื้อหาที่จะวิเคราะห์จานวน 3 ท่าน
3.3.4 นาไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มประชากรที่จะทาการศึกษา จานวน 30 ชุด
3.3.5 นาแบบสัมภาษณ์ที่นาไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างมาปรับปรุงแก้ไขให้ครอบคลุมเนื้อ
และถูกต้องเพื่อนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่จะทาการศึกษา

3.4 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล
คณะวิจัยทาหนังสือไปยังประธานกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อขออนุเคราะห์ข้อมูลและร่วมกันดาเนินการวิจัยโดยเข้าขอข้อมูลจาก
กลุ่มแม่บ้านจานวน 15 คน มีระยะเวลาในการเข้าเก็บข้อมูล เดือ นละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน
เพื่อให้ได้ข้อมูลในการดาเนินการและการพัฒนาครบถ้วนมากที่สุด

3.5 กำรวิเครำะห์ข้อมูล
3.5.1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการสัมภาษณ์ ด้วยการสรุปตามประเด็นคาถามโดน
แยกตามประเด็น คือ การวิเคราะสภาพแวดล้อมของธุรกิจ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการจัดการ
22

การเปรี ย บเที ย บข้ อ มู ล ทางการแข่ งขั น การพั ฒ นาความสามารถในการแข่ งขั น และการประเมิ น


ความสามารถในการแข่งขัน
3.5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการสรุปข้อมูล
ตามเป้าหมายกิจกรรม โดยสรุปจากกิจกรรมที่ได้ทาการพัฒนา คือ การพัฒนาด้านสภาพแวดล้อม การ
พัฒ นาด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒ นาความสามารถของกลุ่มแม่บ้านและการพัฒ นาความสามารถในการ
แข่งขัน
23

บทที่ 4
ผลกำรวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกั ด
เย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีผลการวิจัย ดังนี้

4.1 สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำรของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี


4.1.1 สภำพแวดล้ อ มภำยในองค์ ก ร กลุ่ ม แม่ บ้ า นมี ร ะบบงานโดยขึ้ น ตรงกั บ
ผู้บังคับบัญชา โดยมีการแบ่งหน้าที่ในการทางานเป็น ฝ่าย ดังนี้ ประธานกลุ่ม ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี
การเงิน ฝ่ายประชาสัมพันธ์และฝ่ายผลิต ซึ่งสมาชิกทุกคนในกลุ่มเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารและ
ปฏิบั ติงานของกลุ่ม มีการแบ่งผลประโยชน์ตามสัดส่วนการทางานที่ชัดเจน มีเปอร์ เซ็นจากการขาย
สินค้า และค่าแรงในการปฏิบัติงาน โดยส่วนใหญ่สมาชิกในกลุ่มจะมีที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน
ทั้งหมด โดยจะใช้เวลาที่ว่างงานตรงกันเพื่อเข้ามารวมตัวกันเพื่อผลิตสินค้า โดยใช้บ้านผู้บังคับบัญชา
เป็นสถานที่ในการผลิตชั่วคราว โดยแยกสัดส่วนพื้นที่ทาการผลิตอย่างชัดเจน เพื่อความสะอาดและถูก
สุขลักษณะ ซึ่งบริเวณที่ทาการผลิตมีสิ่งอานวยความสะดวกค่อนข้างพร้อม สามารถดาเนินการผลิตได้
อย่างต่อเนื่อง
4.1.2 สภำพแวดล้อมภำยนอกองค์กร กลุ่ มแม่บ้ านสามาราปรับตั วให้ เข้ากั บสภาวะ
เศรษฐกิจได้อย่างดี เนื่องจาก วัตถุดิบที่นามาใช้เป็นวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ หาได้ง่าย มี ราคาไม่สูง โดย
การบวนการผลิตสินค้าสามารถใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก อุปกรณ์มีราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย
ตามพื้นที่ และในส่วนของกลุ่มลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นสังคมพหุวัฒ นธรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์สามาราใช้ได้กับ
ลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติหรือศาสนา ส่วนทางด้านคู่แข่ง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยังมีคู่แข่ง
น้อย ส่วนใหญ่จะเป็ นน้ ามัน มะพร้าวสูตรปกติ แต่กลุ่มแม่บ้านเป็นสูตรที่แตกต่างจากคู่แข่งและด้าน
ปัจจัยการผลิต ทางกลุ่มแม่บ้านได้จัดหาวัตถุดิบในพื้นที่ ส่วนตัวบรรจุภัณฑ์ได้มีการสั่งซื้อจากนอกพื้นที่
ในปริมาณที่ตลาดต้องการ
24

4.2 ผลการวิเคราะห์ SWOT


ตารางที่ 4.1 ผลการวิเคราะห์ SWOT พบข้อมูลในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
จุดแข็ง จุดอ่อน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่ม ผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของ
แม่บ้าน มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น โลชั่ น สบู่ กลุ่ มแม่บ้ าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัด ปัต ตานี
ยาสระ ครีมนวดผม ครีมบ้ารุงหน้า การผลิตโดย ผลิ ตภั ณ ฑ์ ยังไม่ได้ การรับ รองมาตรฐาน เรื่อ ง
น้ามันมะพร้าวเปนนวัตุุดิบ หลักและสิ่งที่แตกต่าง เครื่องหมายจดแจ้งสินค้า โรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้
ผู้ ผ ลิ ต รายอื่ น คื อ น้ ามั น มะพร้ าวสกั ด เย็น มี จ้า ว มาตรฐานแผนการตลาดยังไม่มีป ระสิ ทธิภ าพ
มะพร้ าวเปน น ส่ ว นประกอบ ส่ วนประกอบที่ใช้ใน การวางแผนทางด้ านเงิน ลงทุ น ไม่ มี คู่ แ ข่ งขั น
การผลิ ต สามารุหาได้ ใ นชุ ม ชนท้ า ให้ ก ารหา เลียนแบบผลิตภัณฑ์ได้ง่ายการเก็บวัตุุดิบยังไม่
วัตุุดิบเปนนไปได้ง่ายและราคาุูกวัตุุดิบที่ใช้เปนน มี ก ารจั ด การสมาชิ ก ที่ ช่ ว ยงานบ้ า งครั งไม่
น้ามันมะพร้าว ซึ่งไม่มีปัญหาในเรื่องการจัด เก็บ มี สามารุมาท้างานได้เนื่องจากมีอาชีพเสริมอื่น
ความคงทนสู งจึ งสามารุหาซื อมาเก็ บ กั ก ตุ น ได้ ร่วมด้วย การบริหารช่องทางการจ้าหน่ายสินค้า
ในช่ ว งที่ มี ร าคาุู ก แรงงานเปน น สมาชิ ก ในกลุ่ ม มีน้อย ไม่มีความรู้ทางด้านการท้าบัญชีรายรับ
สามารุตกลงเวลาการท้ างานได้ สมาชิ ก กลุ่ ม มี รายจ่าย อย่างเปนนระบบ จึงไม่สามารุน้าเปน น
ความสามัคคี ผู้บั งคับบั ญชาสนับสนุนการด้าเนิน หลั ก ฐานการขอกู้ เงิ น ทุ น เพิ่ ม เติ ม ได้ ข าดการ
ธุรกิจ และ ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นแสดง โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เปนนที่รู้จัก
ุึงการน้าภูมิปัญญาพืนบ้านมาประยุกต์ใช้ใ ห้ทาง
ธุรกิจ
โอกาส อุปสรรค
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่ม ผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของ
แม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีโอกาส กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มี
ในการขยายธุ ร กิ จ หลั ก ได้ เ นื่ อ งจากยั ง เปน น ที่ การเพิ่ ม ขึ นของผู้ ป ระกอบการที่ ท้ า เกี่ ย วกั บ
ต้องการของตลาด การขยายเข้าไปสู่ตลาดในส่วน ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นมากขึน ความ
อื่ น ๆ สามารุท้ าไดุ้้ ามี การพั ฒ นารูป แบบของ ต้องการเปนนเพียงเฉพาะกลุ่ม มีสินค้าทดแทน
การบรรจุภัณฑ์ สามารุสร้างความได้เปรียบด้าน อื่นๆ มีลักษณะเฉพาะตัวจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
ต้นทุนได้เนื่องจากวัตุุดิบหาได้ง่ายในชุมชนและมี ในวงจ้ากัดตลาดผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัด
ราคาุู ก การขยายห รื อ เพิ่ มผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชนิ ด เย็นยังมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นสามารุประยุกต์
25

ให้เปนนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่นโลชัน
โอกาส (ต่อ)
สบู่ ยาสระ ครี มนวดผม ครี มบ้ ารุงหน้ าสามารุ
ขยายไปสู่ ต ลาดต่ า งประเทศได้ ห ากมี ก ารท้ า
แผนการตลาดที่ได้รั บ การส่ งเสริม จากรัฐ บาลใน
เรื่องสิน ค้าหนึ่งต้าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์มีหน่วยงาน
ราชการเข้ามาให้ ความรู้ ความช่ ว ยเหลื อ ในการ
พัฒ นาความรู้ด้านต่าง ๆ มีการสนับสนุนอุปกรณ์
และเงินทุน จากหน่วยงานราชการ และการพัฒนา
อาชีพ

ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)


หลังจากมีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นุึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และข้อจ้ากัดแล้ว ผู้วิจัยน้าข้อมูลทังหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริกซ์ โดยใช้ตาราง
TOWS Matrix เพื่อก้าหนดออกมาเปนนกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเปนนแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมใน
การพัฒนาความสามารุในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานีดังนี

4.3 ผลการวิเคราะห์ในการพัฒนารูปแบบการแข่งขัน
ตารางที่ 4.2 ผลการวิเคราะห์ในการพัฒนารูปแบบการแข่งขัน
กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) กลยุทธ์เชิงแก้ไข
ขยายตลาด โดยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูป (WO Strategy)
น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น สร้างเอกลักษณ์เพื่อเปิด จดทะเบี ย น OTOP และจดทะเบี ย นกลุ่ ม ธุร กิ จ
ตลาดกลุ่มลูกค้าใหม่พัฒ นาผลิ ตภัณ ฑ์ให้มีความ
ชุมชนเข้าเปนนเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่ อ
หลากหลายและรู ป แบบท้ า สมั ย เพิ่ ม ช่ ว งทาง
ขอความช่ว ยเหลื อ ในจุ ดที่ กลุ่ มยั งขาดเช่น ช่อ ง
จ้ าหน่ ายผลิ ตภั ณ ฑ์ ผ่ านช่องทาง E-commerce
ประชาสั ม พั น ธ์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ต่ า ง ๆ ให้ เปน น ที่ รู้ จั ก ทางการจัดจ้าหน่าย เรื่องการท้าบรรจุภัณฑ์ การ
แพร่หลาย ประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วม ความต้องการ
26

ท้างานร่วมกัน พัฒนาความรู้สึกการเปนนเจ้าของ
กลุ่ ม ของสมาชิ ก ประสานขอความร่ ว มมื อ กั บ
องค์กรทางด้านเงินทุ น เช่น ธนาคาร เพื่อ เสริม
การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งสามารุด้าเนินธุรกิจได้
อย่างยั่งยืน เพื่อหาช่องทางการจัดจ้าหน่าย ศูนย์
จ้าหน่าย OTOP ของจังหวัดปัตตานี
กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
(ST Strategy) เร่งเสริมสร้างให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากขึนโดย
การเสริ ม การต่ อ ยอดทางความรู้ ใช้ ช่ อ งทาง เข้าร่วมเปนนกลุ่มธุรกิจชุมชนพัฒนาความรู้สึกการ
เปนนเจ้าของกลุ่มของสมาชิกเพื่อพัฒนาระบบงาน
การตลาดที่ มี ค วามเหมาะสมเสริ ม ช่ อ งทาง
ให้เปนน มาตรฐานสร้างตลาดในท้องุิ่นให้ มั่นคง
การตลาดสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันท้าการตลาด
โดยการสร้างเครือข่ ายระหว่างท้ องุิ่ น เช่ น การ
ในการจัดหาวัตุุดิบเสริมความรู้ให้กลุ่มเพื่อเพิ่ม ประชาสั ม พั น ธ์ สิ น ค้ า ให้ เ ปน น ที่ รู้ จั ก ร้ า นค้ า
ประสิทธิภาพในการผลิต การบริหารจัดการกลุ่ม จ้าหน่ายผลิตภัณฑ์ ตามแหล่งท่องเที่ยว หรือร้าน
และลดต้ น ทุ น การผลิ ต ขอรั บ การสนั บสนุน จาก ขายของขวั ญ ของที่ ร ะลึ ก ในจั งหวั ด ปั ต ตานี ข อ
ภาครัฐในการประกอบธุรกิจ ความช่วยเหลื อจากหน่วยงานภาครัฐ เช่นสร้าง
มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ (มผช)ให้ ค วามร่ว มมื อ กั บ
หน่วยงานภาครัฐบาลในการจัดแสดงสิ นค้าตาม
หน่วยงานราชการหรือการจัดงานต่างๆเพื่อเปนน
การประชาสัมพันธ์สินค้าของกลุ่มเพื่อสร้างตัวตน
ในตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
ของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)

4.3.1 กลยุ ท ธ์ ก ารก าหนดตลาดเป้ า หมาย (Marketing Targeting) การพั ฒ นา


ความสามารุในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี การด้าเนินธุรกิจนันทางกลุ่มไม่สามารุตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เนื่องจาก
ลู กค้ ามีค วามต้ องการในสิ น ค้ าและบริก ารที่ ห ลากหลาย ไม่เหมือ นกัน การแข่งขั น กัน ในตลาดเพื่ อ
27

เอาชนะคู่แข่งและครองใจผู้บริโภค ท้าให้ธุรกิจจ้าเปนนต้องท้าใช้กลยุทธ์เพื่อตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการแบ่งส่วนตลาดหลักๆเพื่อก้าหนดเปนนกลุ่มเป้าหมายโดยมีการก้าหนด
กลุ่ มเป้ าหมายเพื่ อสามารุพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แปรรูป น้ ามั น มะพร้าวสกั ด เย็ น และโปรแกรมส่ งเสริม
การตลาดได้อย่างเหมาะสมการวิเคราะห์การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) การแบ่งส่วน
ตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นออกเปนนส่วนย่อย โดยเปนนการจัดกลุ่มของลูกค้าที่มีความ
ต้องการคล้าย ๆ กันเพื่อสามารุตอบสนองความต้องการโดยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่การเลือก
ตลาดเป้ า หมาย (Target Marketing)ใช้ ก ลยุ ท ธ์ ต ลาดมุ่ ง เฉพาะส่ ว น (Concentration Market
Strategy) หรือกลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว (Single Segment Strategy)เปนนทางเลือกหนึ่งที่ธุรกิจ
พิจารณาเลือกตลาดเป้าหมายของตนเอง โดยการเลือกตลาดเป้าหมายตลาดเดียว (Single Segment )
จากตลาดรวม (Total Market) ที่ มี ก ารแบ่ งส่ ว นตลาดโดยพิ จ ารณาที่ ค วามช้ า นาญด้ า นการผลิ ต
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น มุ่งน้าเสนอสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความสวยความ
งาม ราคาไม่แพง ผลิตภัณฑ์ทันสมัย เนื่องจากตลาดในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมสินค้าุูกและดี สามารุท้า
ให้ลูกค้าที่ยังลังเลไม่ตัดสินใจซือสินค้าให้เลือกซือสินค้าและกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าเมื่อต้องการ
สินค้าการวางต้าแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)ต้าแหน่งของผลิตภัณฑ์ตามการรับรู้ที่ใช้ คือ เปนนวัตุุดิบ
การผลิตที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
4.3.2 กลยุทธ์สร้างการยอมรับในผลิตภัณฑ์และตราสินค้า การวางต้าแหน่งผลิตภัณฑ์แต่
ละรายการ ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะ และใช้ชื่อตราผลิตภัณฑ์ร่วมกัน บรรจุภัณฑ์แบบเดียวกัน ทัง
ชุด ตลอดจนการสร้างเครื่องหมายการค้า และ โลโก้ (Logo) ให้ลูกค้าจ้าได้ง่าย ด้วยการเน้นความเปนน
ธรรมชาติและกลุ่ มแม่บ้ านทหาร เปน น จุดขายหลั ก (Unique Selling point) นอกจากนั นควรมี การ
พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง อาศัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความ
ทันสมัยทังตัวผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์
4.3.3 กลยุทธ์ทางด้ านราคา และกาหนดราคาเพื่อการแข่งขัน มีการตังราคาสินค้ามี
บทบาทส้าคัญ ส้ าหรับ การอยู่ รอดของกลุ่มแม่บ้านหากการวางแผนส่ วนประสมทางการตลาดมีการ
วางแผนผลิตภัณฑ์ที่ดี มีการวางแผนการส่งเสริมการตลาดที่ครอบคลุม แต่มีการตังราคาที่ผิดพลาด ก็จะ
ท้าให้ เกิด ความล้ มเหลวที่ ผ ลิ ตได้ในการตังราคาให้ เปนน ที่ ยอมรับ ของผู้ ซื อมีปั จจัยที่ เกี่ยวข้องในการ
28

พิจารณามากมาย ซึ่งสามารุแบ่งเปนนปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ต้นทุนผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์เปนน


ต้น
4.3.4 กลยุท ธ์ พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิจ ผลิ ตภั ณ ฑ์ แ ปรรูปน้ ามัน มะพร้าวสกั ดเย็น ของกลุ่ ม
แม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี การหาพันธมิตรทางการค้าในรูปแบบสินค้าที่ใกล้เคียงกัน หรือ
อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เหมือนกันอาจเปนนการเพิ่มช่องทางการจัดจ้าหน่ายตลาดสินค้าวิสาหกิจชุมชน เปนน
ตลาดสิ น ค้าขนาดเล็ กสามารุการปรับเปลี่ ยนกลยุท ธ์ต่ างๆๆได้ ทั นเวลาของการเปลี่ ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจ ุ้ามรการเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจก็จะเปนนการเพิ่มความสามารุทางการตลาด
เพิ่มยอดขาย ได้อีกทางหนึ่ง

4.4 ดัชนีชี้วัดสุขภำพธุรกิจ ด้ำนกำรบริหำรสภำพคล่อง


การบริหารเงินสด กลุ่มแม่บ้าน มีการบริหารเงินสดอยู่ในระดับที่ดีและเพียงพอ โดยแบ่ง
การส้ ารองเงินดังกล่าวตามวัตุุป ระสงค์ ซึ่งกลุ่มแม่บ้านแบ่งเงินสดเปนน 2 ส่ วน คือ ส่วนแรกคิดเปน น
สัดส่วน ร้อยละ 70 เปนนเงินหมุนเวียนในก้าเดินเนินธุรกิจ และส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ใช้เปนนผลตอบแทน
ของสมาชิ กกลุ่ ม แม่ บ้ าน กล่ าวคือ ส้ าหรับ เงิน สดที่ ก ลุ่ ม แม่ บ้ าน จ้าเปน น ต้ องใช้ ในการด้ าเนิ นธุรกิ จ
ประจ้าวันนัน แม้ว่าปริมาณการส้ารองเงินสดที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามปริมาณการผลิต แต่กลุ่ม
แม่บ้านได้ท้าการการประเมินปริมาณเงินสดส้ารองที่ เหมาะสมด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การน้าข้อมูลการ
จ่ายเงินสดในแต่ละครังย้อนหลัง มาค้านวณเปนนค่าเฉลี่ยต่อวัน จากนันจึงน้าไปใช้ในการประเมินระดับ
เงินสดส้ารองเปนนรายสัปดาห์ โดยมีการวิเคราะสภาพคล่องทางการเงินของกลุ่มแม่บ้านเปรียบเทียบเปนน
อัตราส่วนได้ดังนี

สินทรัพย์หมุนเวียน / หนีสินหมุนเวียน
30,000/13,000
= 2.3 เท่า
จากอัตราส่วนการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน ด้านความสามารุในการช้าระหนีระยะสันและอัตรา
ของสินทรัพย์ที่กลุ่มแม่บ้านน้ามาใช้งาน พบว่า การบริหารเงินสดของกลุ่มแม่บ้านมีความคล่องตัว
ค่อนข้างมากเนื่องจากมีความสามารุในการช้าระหนีสินจากการซือวัตุุดิบต่างๆได้รวดเร็ว และมีเงินสด
ส้ารองในกลุ่มค่อนข้างมาก ท้าให้การด้าเนินงานเปนนไปอย่างคล่องตัว ในส่วนของสินค้าคงเหลือ ทาง
กลุ่มแม่บ้านจะส้ารองสินค้าคงเหลือในปริมาณที่น้อย และมีเพียงพอส้าหรับลูกค้า ท้าให้ไม่มีปัญหาด้าน
สินค้าคงเหลือและแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านมีการบริหารการขายสินค้าได้รวดเร็วขึนกว่าเดิม
29

การบริหารลูกหนี้ ทางกลุ่มแม่บ้านได้มีการบริหารจัดการลูกหนี โดยการขายสินค้าเปนนเงิน


สดอย่างเดียว ท้าให้ไม่มีลูกหนีเกิดขึนในระบบ รวมุึงการตามเก็บหนีด้วย จึงท้าให้กลุ่มแม่บ้านมีเงินสด
เพียงพอต่อการบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงท้าให้ไม่มีอัตราการเรียกเก็บหนีด้วย โดยคิด
จากอัตราส่วนทางการเงินดังน
ยอดขายรวมต่อรอบ / ลูกหนีุัวเฉลี่ย
30,000 / 0
= 0 เท่า
365 วัน / อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี
365 / 0
= 0 เท่า

การบริหารเจ้าหนี้การค้า กลุ่มแม่บ้านได้มีการบริหารเงินสดที่มีประสิทธิภาพ และได้รับ


เงินสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยไม่มีอัตราดอกเบีย ท้าให้กลุ่มแม่บ้านไม่ต้องส้ารองเงินเพื่อใช้
จ่ายเปนนเงินเชื่อในการซือสินค้าหรือวัตุุดิบในการผลิต กลุ่มแม่บ้านจะใช้เงินที่ได้รับการสนับสนุนจาก
ผู้บังคับบัญชาซือวัตุุดิบเปนนเงินสดเท่านัน ดังนันจึงสามารวิเคราะเปนนอัตราส่วนทางการเงินด้านการ
บริหารเจ้าหนีการค้าได้ดังนี

เจ้าหนีการค้า / ยอดซือสินค้าต่อรอบ
0 / 13,936
= 0 เท่า

วัตุุดิบในการผลิตแม่บ้านรับมาจากผู้ค้ารายเดียว ซึ่งมีความเสี่ยงสูงุ้าเกิดเหตุการณ์วัตุุดิบขาดแคลน
ในท้องตลาด ซึ่งวัตุุดิบรับมาจากปัตตานีเพียงที่เดียว ส่วนบรรจุภัณฑ์ต่างๆสั่งซือจากกรุงเทพและ
สงขลาเปนนส่วนใหญ่ โดยใช้เงินนสดในการบริหารจัดการในการจัดซือ โดยไม่มีการซือเงินเชื่อ ท้าให้ไม่มี
เจ้าหนีการค้าในส่วนนี

การบริหารสินค้าคงคลัง กลุ่มแม่บ้านท้าการผลิตสินค้าแต่ละชนิดตามความต้องการของ
ตลาดและตามความต้องการของลูกค้า โดยจะเน้นผลิตสินค้าที่มีความต้องการในท้องตลาดมากเปนน
30

อันดับแรกและจะผลิตสินค้าคงคลังไว้ในปริมาณที่น้อย เพื่อป้องกันเงินทุนจม และไม่สามารุหมุนเวียน


ไปซือวัตุุดิบในรอบต่อๆไปได้ จากการวิเคราะอัตราส่วนทางการเงินด้านการบริหารสินค้าคงคลัง มีดังนี
ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
13,936/958
= 14.5 เท่า
จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า การบริหารสินค้าคงคลังของกลุ่มแม่บ้านมีประสิทธิภาพสูงขึน
แสดงว่าสินค้าที่ผลิตเก็บไว้เพื่อขาย มีการหมุนเวียนที่ดีขึน และเปนนผลท้าให้เงินสดในกิจการมีสภาพ
คล่องที่ดีขึนตามไปด้วย โดยกลุ่มแม่บ้าน มีการวางแผนการสั่งซือวัตุุดิ บประมาณ 3-4 ครังต่อเดือน
ขึนอยู่กับ ปริมาณความต้องการ จึงท้าให้ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และส่วนใหญ่จะสั่งซือบรรจุ
ภัณฑ์จากกรุงเทพ และน้ามันมะพร้าวจะสั่งซือจากปัตตานี โดยกลุ่มแม่บ้านสั่งซือผ่านตัวแทนบ้างและ
เดินทางไปสั่งซือเองบ้าง ุ้าสั่งซือโดยมีการส่งทางไปรษณีย์จะมีค่าใช้จ่ายต่อรอบ เท่ากับ 500 บาท และ
มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปซือด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายต่อรอบ เท่ากับ 300 บาท ซึ่งในส่วนการบริหาร
เงินทุน มาจากผู้บังคับบัญชาทังหมดและน้ามาหมุนเวีรยนในกระบวนการผลิต ซึ่งตัวกลุ่มแม่บ้านมีก้าไร
อย่างสม่้าเสมอ ท้าให้ได้ตังเงินทุนส้ารองไว้เพื่อด้าเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และไม่มีการระดมทุนจาก
สมาชิกในกลุ่มแม่บ้าน
การบริหารรายได้ กลุ่ มแม่บ้านมีการบริห ารรายได้ โดยมีกลุ่มลูกค้าประจ้าอยู่แล้ว ซึ่ง
โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่กลุ่มแม่บ้านผลิต มีคุณสมบัติที่ ดีอยู่แล้ว จึงท้าให้ลูกค้าราย
เก่าไม่เปลี่ยนใจไปซือผลิตภัณฑ์ที่อื่น จึงท้าให้กลุ่มแม่บ้านยังมีฐานลูกค้าเดิมอยู่ซึ่งส่วนใหญ่ เปนนคนวัย
ท้างาน และอีกส่วนหนึ่ง ก็มีการจัดจ้าหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มอื่นๆที่มีความสนใจในตัวผลิตภัณฑืน้ามัน
มะพร้าวสกัดเย็น โดยชูจุดเด่นของน้ามันมะพร้าวที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน คือ การท้าน้ามันมะพร้าวที่มา
จากจาวมะพร้าว จึงท้าให้ เปน นจุ ดสนใจของลูกค้ากลุ่ มใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง โดยตอนนี กลุ่มแม่บ้านมี
ผลิ ตภั ณ ฑ์ ที่ จ้ าหน่ ายที่ อ อกใหม่ 2 ผลิ ตภั ณ ฑ์ ประกอบด้ ว ย สบู่ ขัด ผิ ว และ สคลั บ ซึ่งยังอยู่ในสาย
ผลิตภัณฑ์เดิม โดยการต่อยอดจากน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นมาสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เวชส้าอางค์ ซึ่งใน
อนาคต ทางกลุ่มแม่บ้านมีการวางแผนเพิ่มฐานลูกค้าไปทั่วประเทศ
การบริหารสินทรัพย์ สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกลุ่มแม่บ้านเปนนอุปกรณ์ขนาดเล็ก ซึ่งยังใช้
ก้าลังในการผลิตไม่มากนัก ซึ่งเพียงพอต่อการจัดจ้าหน่าย โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจาก
ผู้บังคับบัญชา โดยซือเปนนเงินสดทังหมด โดยใช้เงินลงทุนเริ่มแรกในการซืออุปกรณ์ เปนนเงิน 30,000
บาท จึงท้าให้กลุ่มแม่บ้านไม่มีเจ้าหนีทางการเงิน ท้าให้การบริหารหนีสินเปนนไปด้วยความสะดวก
31

ควำมสำมำรถในกำรทำกำไร ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านมีผลิตภัณฑ์ที่จัดจ้าหน่าย จ้านวน 10


รายการ ประกอบไปด้วย โลชัน่ บ้ารุงผิว น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น สูตรจาวมะพร้าว เซรั่มคอลาเจน ครีม
บ้ารุงผิวคอลาเจน แชมพูทะกรูด น้ามันมะพร้าวผสมรกจันทร์ ครีมอาบน้าข้าวกล้องงอกผสมผงทองค้า
สบู่นมแพะ สบูุ่่านไม้ไผ่และสบู่กรีเซอลีน พบว่าจากรอบการขายสินค้าทางกลุ่มแม่บ้านได้ก้าไร
โดยประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อรอบการผลิตดังอัตราส่วนทางการเงินที่แสดงอัตราก้าไรขันต้น
ดังต่อไปนี
(ก้าไรขันต้น x 100) / ยอดขายสุทธิ
(30,000 x 100) / 65,000
= 45 %

(ก้าไรสุทธิหลังภาษี x 100) / ยอดขายสุทธิ


(27,900 x 100) / 65,000
= 43 %
จากการหาอัตราก้าไรขันต้น พบว่า กลุ่มแม่บ้านมีอัตราก้าไรขัยต้นเพิ่มขึน จากยอดขายที่
เพิ่มมากขึนและกลุ่มลูกค้าที่ยังคงเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มแม่บ้าน จึงส่งผลให้อัตราก้าไรสุทธิ
สูงขึนตามไป เปนนผลท้าให้การหมุนเวียนเงินในกลุ่ม ยังมีความคล่องตัวสูง
(ก้าไรสุทธิหลังภาษี x 100) / สินทรัพย์รวม
(27,900 x 100) / 40,000
= 69.7 %
จากการหาอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม พบว่า กิจการไม่ได้เพิ่มเครื่องจักรหรือ
อุปกรณ์ใหม่ แต่ก้าไรสุทธิหลังหักภาษีมีปริมาณที่เพิ่มมากขึน แสดงว่า กลุ่มแม่บ้านมีการใช้ประโยชน์
จากเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตได้คุ้มค่ากับการลงทุน ท้าให้เกิดก้าไรเพิ่มขึน

4.5 ดัชนีความสามารถในการทาธุรกิจ
เปนนการเปรียบเทียบธุรกิจของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กับสินค้าโอ
ทอป 5 ดาว ในจังหวัดปัตตานี
ตารางที่ 4.3 เปรียบเทียบต้นทุนสินค้าและบริการ
การเปรียบเทียบ ธุรกิจของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก สินค้าโอทอป OTOP (5 ดาว)
จังหวัดปัตตานี
32

ต้นทุนของสินค้าและ น้ ามั น มะพร้ าวสกั ด เย็ น 1 ขวด ขนาด น้ามัน มะพร้าวสกัดเย็น 1 ขวด ขนาด
บริการ 100 กรัม 80 บาท 100 กรัม 60 บาท
เซรั่มบ้ารุงผิว 1 ขวด ขนาด 10 กรัม เซรั่มบ้ารุงผิว 1 ขวด ขนาด 10 กรัม
83 บาท 65 บาท
ครีมหน้าเด้ง 1 กระปุก ขนาด 10 กรัม ครีมหน้าเด้ง 1 กระปุก ขนาด 10 กรัม
ราคา 55 บาท ราคา 50 บาท
โลชั่นบ้ารุงผิว 1 ขวด ขนาด 100 กรัม โลชั่นบ้ารุงผิว 1 ขวด ขนาด 100 กรัม
ราคา 62 บาท ราคา 48 บาท
แชมพูสระผม 1 ขวด 100 กรัม ราคา แชมพู ส ระผม 1 ขวด 100 กรั ม
56 บาท ราคา 50 บาท
สบู่ เหลวน้ านมข้าวกลิ งงอกผสมทองค้า สบู่เหลวน้านมข้าวกลิงงอกผสมทองค้า
1 ขวด 100 กรัมราคา 58 บาท 1 ขวด 100 กรัมราคา 55 บาท
สบู่ก้อนนมแพะ 1 ก้อน 50 กรัม ราคา สบู่ก้อนนมแพะ 1 ก้อน 50 กรัม ราคา
27 บาท 25 บาท
สบู่ ก้ อ นผงุ่ า นไม้ ไผ่ 1 ก้ อ น 50 กรั ม สบู่ ก้อนผงุ่านไม้ไผ่ 1 ก้อน 50 กรัม
ราคา 24 บาท ราคา 22 บาท
คุณภาพสินค้าและ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ า มั น มะพร้ า วสกั ด เย็ น ไม่ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ า มั น มะพร้ า วสกั ด เย็ น มี
บริการ เหม็นหืนและมีไม่เยื่อโปรตีนตกตะกอนที่ เล ข ที่ ใบ จ ด แ จ้ งสิ น ค้ า ป ร ะ เภ ท
ก้นขวดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ มีคุณภาพดี เครื่ อ งส้ า อางและตราเครื่ อ งหมาย
แต่ ก ลุ่ ม แม่ บ้ านยั ง ขาดเลขที่ ใบจดแจ้ ง สิ น ค้ า OTOP แ ล ะ จ ด ท ะ เบี ย น
สิ น ค้ า ป ร ะ เ ภ ท เ ค รื่ อ ง ส้ า อ า ง วิสาหกิจชุมชน
เครื่องหมายสินค้า OTOP และไม่มีการ รู ป แบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ค วาม
จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ทันสมัย ขนาดบรรจุภัณ ฑ์เหมาะสม
รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความทั นสมัย มี ม าตรฐานการผลิ ต การตั งราคา
ขนาดบรรจุ ภั ณ ฑ์ เ หมาะสม ยั ง ขาด สามารุตังได้ต่้ากว่า เนื่องจากมีต้นทุน
มาตรฐานการผลิต การตังราคาบางชนิด สินค้าต่้า มีความเหมาะสมกับต้นทุน มี
มี ค วามเหมาะสมกั บ ต้ น ทุ น ไม่ บ าง ช่ อ งทางการจั ด จ้ า หน่ า ย ผลิ ต ภั ณ ฑ์
ผลิตภัณฑ์ ยังไม่เหมาะสมกับต้นทุน และ หลายช่องทาง เช่น การออกร้าน ช่อง
ขาดช่ อ งท างการจั ด จ้ า ห น่ า ย กลุ่ ม ทางการขายทางเว็บไซต์ ต่างๆ หรือมี
33

แม่ บ้ า นด้ าเนิ น การจ้ า หน่ ายสิ น ค้ าด้ ว ย ห น่ วย งาน ภ าค รั ฐ สนั บ ส นุ น การ
ตัวเอง จ้าหน่าย

ก้าไรขันต้น กลุ่มแม่บ้านท้าก้าไรจากการขาย กลุ่มโอทอปส่วนใหญ่ที่อยู่ในระดับ 5


ผลิตภัณฑ์ได้ก้าไรขันต้นประมาณ ดาว มีไรขันต้นประมาณ 60,000-
30,000 บาท 100,000 บาท
ความแตกต่างของ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านมีความ ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวส่วนใหญ่ไม่มี
สินค้าและบริการ ทันสมัย แต่มีความแตกต่างตรงที่ ส่วน ส่วนประสมของจาวมะพร้าว
ใหญ่ เปนนน้ามะพร้าว ที่ไม่ใช้จาวมะพร้าว
แต่กลุ่มแม่บ้านใช้ จ้าวมะพร้าวมาเปนน
ส่วนประกอบด้วย
และตราสินค้าที่เปนนเอกลักษณะเฉพาะที่
บ่งบอกุึง กองทัพ
ความสามารุในการ กลุ่มแม่บ้านยังไมมีแหล่งเงินที่ทุนที่จะ มีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนและ
เข้าุึงแหล่งเงินทุน สนับสนุน นอกจาก หน่วยงานต้นสังกัด เงินทุนของผู้ประกอบการ OTOP

ความสามารุของ กลุ่มแม่บ้านยังขาดความรู้ความเข้าใจใน ผู้ประกอบการ OTOP มีความพร้อม


พนักงานและลูกจ้าง เรื่องของการประกอบธุรกิจ และการ ภาครัฐให้การสนับสนุนอบรมความรู้
ผลิตยังไม่สามารุด้าเนินได้ทุกคน ให้กับพนักงาน หรือสมาชิกในกลุ่ม
เนื่องจากยังขาดความช้านาญ เพื่อให้เกิดความช้านาญในอาชีพ
ความสัมพันธ์และ กลุ่มแม่บ้านมีความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า ผู้ประกอบการ OTOP มีกลุ่มลูกค้าที่
ความผูกพันกับลูกค้า เนื่องจากส่วนใหญ่ลูกค้าจะเปนนคนที่รู้จัก หลากหลาย โอกาสได้พบลูกค้าหลาย
หรือ เปนนลูกค้าที่ใช้สินค้าอย่างต่อเนื่อง กลุ่ม สร้างความสัมพันธ์
ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)

4.6 ดัชนีความยั่งยืน
4.6.1 แนวคิดการบริหาร
34

กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ใช้หลักในการท้าธุรกิจแบบกลุ่มอาชีพ ที่มี


เป้าหมายเพื่อความรัก ความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในกลุ่มแม่บ้าน ดังนัน มีวิธีการจัดหน้าที่ ความ
รับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง สร้างแรงจูงใจ ขวัญก้าลังใจ ความรู้ ความสามารุ ที่เหมาะสม
เพื่อให้กลุ่มสมาชิกประสบความส้าเร็จตามให้เป้าหมายที่วางได้
4.6.2 การวางแผนในอนาคต
กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้วางแผนทางการเงินเพราะการท้าธุรกิจ
ต้องมีเงินเปนนปัจจัยที่ส้าคัญในการด้าเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะสั่งซือวัตุุดิบ ค่าแรง ค่าน้า ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ กลุ่ ม แม่ บ้ านจะต้ อ งมี ร ายได้จ ากการซื อขายผลิ ต ภั ณ ฑ์ จึ งต้ อ งมี การจัด การให้ รายได้ กับ รายจ่ าย
เหมาะสม มีก้าไรและต้องรู้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเงินเข้าเงินออกของกลุ่มตลอดเวลาเพื่อความ
โปร่งใสในการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้าน
4.6.3 การโยกย้ายแม่บ้าน
กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่เปนนภรรยาทหารที่ติดตามสามีมา
ประจ้าการที่ 3 จังหวัดชายแดน ซึ่งมีโอกาสจะการโยกย้ายประจ้าปี ท้าให้กลุ่มแม่บ้านมีการสับเปลี่ยน
ตามช่วงเวลาของการโยกย้ายของกองทัพ ซึ่งอาจจะส่งผลกับการด้าเนินธุรกิจในระยะยาว
4.6.4 การพัฒนาบุคคลกร
กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีการพัฒนาตัวเองโดยการเข้าอบรมการท้า
น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น เครื่องส้าอางที่มีส่วนประสมน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น เพื่อต่อยอดผลิ ตภัณฑ์ และ
เรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าไปให้ความรู้ตามที่กลุ่มแม่บ้าน
ต้องการพัฒนาตนเองมีการเรียนรู้ การขายสินค้าในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจ้าหน่าย
4.6.5 การพัฒนาการผลิต
การพัฒนาการผลิตจะต้องมีการวางแผนการจัดการผลิตที่ดี กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นุึงการน้าทรัพยากรมาผลิตภัณฑ์ให้เกิดประสิทธิภาพและสนองความต้องการ
ของลู กค้าได้ กลุ่ มแม่บ้ าน ได้ป ฏิบั ติตามขันตอนการผลิ ตต้องมี การจัดการให้ ุูกขันตอน ุูกวิธีการ
ุูกต้อ ง ุู กเวลา เพื่ อให้ ได้ ผลิ ตภั ณ ฑ์ และบริการที่ มี คุณ ภาพ เพื่ อ ลดต้ น ทุน ให้ ต่้า และการส่ งมอบ
ผลิตภัณฑ์ตรงตามเวลา
4.6.6 การพัฒนาการตลาด
การพัฒนาการตลาดกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้การท้าการตลาดโดย
ให้ ความส้าคัญ กับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เรียนรู้ คู่แข่งขัน รู้เรื่องราคาขาย เรียนรู้ช่องทางการจัดจ้าหน่าย
ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ การใช้สื่อให้ลูกค้าเข้าุึงกลุ่มแม่บ้านได้รวดเร็วที่สุด
35

4.6.7 การพัฒนาสังคม
กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนใกล้เคียง
ในการสั่งซือวัตุุดิบ เพราะสร้างรายได้ให้กับคนชุมชน เนื่องจากวัตุุดิบบางส่วนมีในพืนที่
4.6.8 สารสนเทศ
กลุ่ ม แม่ บ้ าน อ้ าเภอหนองจิ ก จั งหวั ด ปั ต ตานี มี เว็ บ ไซต์ ในการจั ด จ้ าหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์
เครื่องส้าอางของกลุ่ม และใช้ช่องทาง Line

4.7 กำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็นของ
กลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การพัฒนาความสามารุในการแข่งขันได้น้าเอาจุดอ่อนมาแก้ไขโดยเร่งพัฒนาเปนนประเด็น
ที่ต้องพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มแม่บ้าน ได้ผลออกมาเปนน 5 ด้าน ดังนี
4.7.1 ผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐาน โดยให้กลุ่มแม่บ้าน ยื่นค้าขอต่อส้านักงาน
มาตรฐานผลิ ตภัณ ฑ์อุตสาหกรรม จังหวั ด พร้อมหลั กฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามแบบที่ส้ านั กงาน
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก้าหนด เพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งในแต่ละผลิตภัณฑ์
4.7.2 โรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้มาตรฐาน ทางผู้บังคับบัญชาได้มีการวางแผนจัดท้าโรงเรือน
เพื่อใช้ในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม แต่มีสัดส่วนพืนที่ในการผลิตที่เปนนสัดส่วนมากขึน
ท้าให้การผลิตมีมาตรฐานที่สูงขึน เพื่อรองรับการตรวจสอบจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช) ที่จะ
เข้าประเมินสุานที่ผลิต
4.7.3 ตลาดยั ง ไม่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ กลุ่ ม แม่ บ้ า นมี ก ระบวนการผลิ ต ตามค้ า สั่ ง ของ
ผู้ บั งคั บ บั ญ ชา ท้ าให้ ไม่ มี ก ารจั ด ท้ าการวางแผนทางการตลาด ซึ่ งได้ มี ก ารจัด อบรมให้ ค วามรู้ แ ละ
ประโยชน์ เพื่ อ จั ด ท้ า แผนการตลาด และให้ ก ลุ่ ม แม่ บ้ านเริ่ม จั ด ท้ าแผนการตลาดที่ ุู ก ต้ อ ง เพื่ อ ให้
กระบวนการทางการตลาดมีศักยภาพในการแข่งขันสู้กับคู่แข่งในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันได้
4.7.4 ช่องทางการจ้าหน่ายสิน ค้ามีน้อย กลุ่มแม่บ้านได้มีการจ้าหน่ายสินค้าผ่านลูกค้า
โดยตรง ซึ่งท้าให้กลุ่มลูกค้าไม่ครอบคลุม แต่ในปัจจุบัน กลุ่มแม่บ้านได้มีการเพิ่มช่องทางจัดจ้าหน่าย
ทางออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าุึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วุึงและท้าให้ยอดขายเพิ่มมากขึนตามไปด้วยและ
ในอนาคต กลุ่ มแม่บ้ านจะท้าการขยายฐานลู กค้าไปยังทั่ วประเทศ โดยหาช่องทางการจัดจ้าหน่าย
หลากหลายรูปแบบมากขึน
4.7.5 ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มแม่บ้านใช้แบบดังเดิม
คือปากต่อ ปาก ให้ ลู กค้ าบอกต่อ ซึ่งในปั จจุบั น มีก ารให้ ความรู้ด้ านการประชาสั มพั น ธ์ห ลากหลาย
36

รูปแบบ เช่น การใช้สื่ อออนไลน์ การฝากจ้าหน่าย การออกบูท ตามงานต่างๆเปนนต้น ท้าให้ผลิตภัณฑ์


ของกลุ่มแม่บ้านเปนนที่รู้จักเพิ่มมากขึนอย่างรวดเร็ว และท้าให้ยอดการผลิตและจ้าหน่ายเพิ่มมากขึนด้วย

4.8 ผลกำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็น
ของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การประเมินการผลการพัฒ นาความสามารถในการแข่งขันได้ ได้ผลออกมาเป็น 5 ด้าน
ดังนี้
4.8.1 การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐาน กลุ่มแม่บ้านได้ ยื่นคา
ขอต่อสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จังหวัด พร้อมหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามแบบที่
สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาหนด เพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งในแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่ง
สามารถประเมินผลการพัฒนาความความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด
เย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีได้ดั งนี้ จากการได้รับการจดทะเบียนมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ส่งผลให้กลุ่มแม่บ้านเพิ่มความเชื่อมั่นเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านคุณภาพที่ มีความ
เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือเป็นที่ ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการ
เลื อ กซื้ อผลิ ต ภั ณ ฑ์ โดยมุ่งเน้ น ให้ กลุ่ มแม่บ้ านเกิ ดการพั ฒ นาอย่างยั่ งยื น เพื่ อ ยกระดั บ คุณ ภาพของ
ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มแม่บ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนดอย่างต่อเนื่อง ประโยชน์ที่กลุ่มแม่บ้าน
ได้รับอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ 1.กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นมีความเข้าใจ และมี
ความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ 2. สินค้าได้รับรองคุณภาพมากยิ่งขึ้น 3. สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือและ
เกิ ด การสั่ ง ซื้ อ มากยิ่ ง ขึ้ น และ กลุ่ ม แม่ บ้ า นสามารถน าผลิ ต ภั ณ ฑ์ เข้ า คั ด สรร OTOP Product
Champion (ระดับดาว) ต่อไป
37

ภำพที่ 4.1 ใบทะเบียนพาณิชย์


ที่มา (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดปัตตานี, 2559)
38

ภำพที่ 4.2 แบบแจ้งการผลิตเพื่อขายหรือนาเข้าเพื่อขายเครื่องสาอางควบคุม


ที่มา (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดปัตตานี, 2559)
39

4.8.2 การประเมินกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โรงเรือนที่ใช้มาตรฐาน


ทางสมาชิ ก กลุ่ ม แม่ บ้ า นได้ มี ก ารวางแผนการด าเนิ น งานและน าเสนอแผนการด าเนิ น งานต่ อ
ผู้บังคับบัญชาเพื่อขอพื้นที่จัดทาโรงเรือนในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม แต่มีสัดส่วนพื้นที่
ในการผลิ ต ที่ เป็ น สั ด ส่ ว นมากขึ้น ท าให้ ก ารผลิ ตมี ม าตรฐานที่ สู งขึ้น เพื่ อ รองรับ การตรวจสอบจาก
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่จะเข้าประเมินสถานที่ผลิต

ภำพที่ 4.3 กลุ่มแม่บ้านที่ได้รับการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์


ที่มา (กลุ่มแม่บ้านน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, 2559)

4.8.3 การประเมินในแผนการตลาดมีการส่งเสริมการขายมากขึ้น โดยผู้วิจัยได้จัดอบรมให้กับ


กลุ่มแม่บ้าน ชมรมแม่บ้านกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น มีกระบวนการผลิตตาม
การจัดทาการวางแผนทางการตลาด ซึ่งได้มีการจัดอบรมให้ความรู้และประโยชน์เพื่อจัดทาแผนการ
ตลาด โดยทางผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท ศรีพงษ์อาจารย์ปิยะดา มณีนิลและอาจารย์สัสดี กาแพง
ดี ได้ให้ ความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ ตลาดและลูกค้า
เป้าหมาย สินค้าและบริการ กลยุทธ์การตลาดและการขาย แผนการดาเนินงาน องค์กรและโครงสร้าง
40

การบริหารการเงิน การประเมินความเสี่ยง และให้กลุ่มแม่บ้านเริ่มจัดทาแผนการตลาดที่ถูกต้อง เพื่อให้


กระบวนการทางการตลาดมีศักยภาพในการแข่งขันสู้กับคู่แข่งในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันได้
4.8.4 การประเมินช่องทางการจาหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น กลุ่มแม่บ้านได้มีการจาหน่ายสินค้า
ผ่านลูกค้าโดยตรง ซึ่งทาให้มีกลุ่มลูกค้าหลากหลายขึ้น กลุ่มแม่บ้านได้มีการเพิ่ มช่องทางจัดจาหน่ายทาง
ออนไลน์ ได้แก่ ID Line: 0807776672 facebook ชื่อ wi 15 ผลิตภัณฑ์แม่บ้าน ทบ หน่วย ขกท. พล.
ร. 15 และออกจ าหน่ าย ณ ตลาดห้ อ งเย็ น อ าเภอหนองจิก จั งหวัดปั ตตานี ทุ ก สั ป ดาห์ และวาง
จาหน่ายที่สมาคมแม่บ้านทหารบกวิภาวดีรังสิต เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึงและทาให้
ยอดขายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยและในอนาคต กลุ่มแม่บ้านจะทาการขยายฐานลูกค้าไปยังทั่วประเทศ
โดยหาช่องทางการจัดจาหน่ายหลากหลายรูปแบบมากขึ้นออกบูทขายสินค้านอกพื้นที่และตามงานต่างๆ
4.8.5. การประเมิน การโฆษณาประชาสัมพันธ์ มีการให้ ความรู้ด้านการประชาสั มพั นธ์
หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้สื่อออนไลน์ การฝากจาหน่าย การออกบูธตามงานต่างๆ เช่น ID Line:
0807776672 , facebook ชื่อ wi 15 ผลิตภัณฑ์แม่บ้าน ทบ หน่วย ขกท. พล. ร. 15 และออกจาหน่าย
ณ ตลาดห้ องเย็ น อาเภอหนองจิ ก จังหวัดปั ต ตานี ทุ ก สั ป ดาห์ และวางจาหน่ ายที่ส มาคมแม่ บ้ าน
ทหารบกวิภาวดีรังสิต ทาให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และทาให้
ยอดการผลิตและจาหน่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย
41

ภำพที่ 4.4 การประชาสัมพันธ์และออกบูทจาหน่ายสินค้า


ที่มา (กลุ่มแม่บ้านน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, 2559)
42

ภำพที่ 4.5 ผลิตภัณฑ์จากน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น


ที่มา (กลุ่มแม่บ้านน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, 2559)
43

บทที่ 5
สรุปผลกำรวิจัยและข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรู ปน้ามันมะพร้าวสกัด


เย็นของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีผลการวิจัย ดังนี้

5.1 สรุปผลกำรวิจัย
5.1.1 สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำรของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
1) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร กลุ่ มแม่บ้านมีระบบงานโดยขึ้นตรงกับ
โดยส่วนใหญ่สมาชิกในกลุ่มจะมีที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันทั้งหมด โดยจะใช้เวลาที่ว่างงานตรงกัน
เพื่อเข้ามารวมตัวกันเพื่อผลิตสินค้า โดยใช้บ้านผู้บังคับบัญชาเป็นสถานที่ในการผลิตชั่วคราว โดยแยก
สัดส่วนพื้นที่ทาการผลิตอย่างชัดเจน สามารถดาเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
2) สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร กลุ่มแม่บ้านใช้วัตถุดิบที่นามาใช้ที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่ หาได้ง่าย มีราคาไม่สูง โดยการบวนการผลิตสินค้าสามารถใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก
กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์สามารถใช้ได้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่มีการแบ่งเชื้อ
ชาติห รือศาสนา ส่ ว นทางด้านคู่แข่ง ในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ยังมีคู่แข่งน้อย ส่ วนใหญ่ จะเป็นน้ามัน
มะพร้าวสูตรปกติ

ตารางที่ 5.1 สรุปผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม


จุดแข็ง จุดอ่อน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น มีจ้าว ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่ม
มะพร้าวเปนนส่วนประกอบหลัก ส่วนประกอบที่ แม่ บ้ าน อ้ า เภ อ ห น อ งจิ ก จั ง ห วั ด ปั ต ต านี
ใช้ในการผลิตสามารุหาได้ในชุมชนท้าให้ การ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ยั ง ไม่ ได้ ก ารรั บ รองมาตรฐาน เรื่ อ ง
หาวัตุุดิบเปนนไปได้ง่ายและราคาุูกวัตุุดิบที่ใช้ เครื่องหมายจดแจ้งสิ น ค้า โรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้
เปนนน้ามันมะพร้าว ความคงทนสูงจึงสามารุหา มาตรฐานแผนการตลาดยังไม่มีประสิทธิภาพ การ
ซือมาเก็บ กักตุน ได้ในช่ว งที่มีราคาุูก แรงงาน วางแผนทางด้านเงินลงทุนไม่มีคู่แข่งขันเลียนแบบ
เปนนสมาชิกในกลุ่มสามารุตกลงเวลาการท้างาน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ได้ ง่า ย การเก็ บ วั ต ุุ ดิ บ ยั งไม่ มี การ
ได้ สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี บริ ห ารช่ อ งทางการจ้ าหน่ า ยสิ น ค้ า มี น้ อ ย ไม่ มี
ความรู้ทางด้านการท้าบัญชีรายรับ รายจ่าย อย่าง
44

เปนนระบบ จึงไม่สามารุน้าเปนนหลักฐานการขอกู้
เงินทุนเพิ่มเติมได้ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์
ให้เปนนที่รู้จัก
โอกาส อุปสรรค
ผลิ ตภั ณ ฑ์ แ ปรรูป น้ ามั น มะพร้ าวสกั ด เย็น ของ ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่ม
กลุ่มแม่บ้าน การขยายธุรกิจหลักได้เนื่องจากยัง แม่บ้ าน อ้าเภอหนองจิก จังหวัด ปั ตตานี มี การ
เปนนที่ต้องการของตลาด การขยายเข้าไปสู่ตลาด เพิ่มขึนของผู้ประกอบการที่ท้าเกี่ย วกับผลิตภัณฑ์
ในส่ ว นอื่ น ๆ สามารุท้ า ได้ ุ้ า มี ก ารพั ฒ นา น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นมากขึน ความต้องการเปนน
รูปแบบของการบรรจุภัณฑ์ สามารุสร้างความ เพียงเฉพาะกลุ่ม มีสินค้าทดแทนอื่นๆ มีลักษณะ
ได้เปรี ย บด้านต้ น ทุ น ได้เนื่ อ งจากวัต ุุดิบ หาได้ เฉพาะตัวจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในวงจ้ากัดตลาด
ง่ายในชุม ชนและมี ราคาุูก การขยายหรือ เพิ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ า มั น มะพร้ า วสกั ด เย็ น ยั ง มี ก าร
ผลิตภัณฑ์ชนิดผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น เจริญเติบโตค่อนข้างช้า
สามารุประยุกต์ให้เปนนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
เช่ น โลชั่ น สบู่ ยาสระ ครี ม นวดผม ครีม บ้ ารุง
หน้าสามารุขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศได้หาก
มีการท้าแผนการตลาดที่ได้รับการส่งเสริมจาก
รัฐบาลในเรื่องสินค้าหนึ่งต้าบล หนึ่งผลิตภัณฑ์มี
หน่ ว ยงานราชการเข้ า มาให้ ค วามรู้ ความ
ช่วยเหลือในการพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ มีการ
สนั บ สนุ น อุ ป กรณ์ แ ละเงิน ทุ น จากหน่ ว ยงาน
ราชการ และการพัฒนาอาชีพ

ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)


หลังจากมีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นุึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และข้อจ้ากัดแล้ว ผู้วิจัยน้าข้อมูลทังหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริกซ์ โดยใช้ตาราง
TOWS Matrix เพื่อก้าหนดออกมาเปนนกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเปนนแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมใน
การพัฒนาความสามารุในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานีดังนี
45

5.1.2 สรุปผลด้ำนกลยุทธ์ในกำรแข่งขัน
ตารางที่ 5.2 สรุปผลด้านกลยุทธ์ในการแข่งขัน
กลยุ ท ธ์ เ ชิ ง รุ ก (SO Strategy) ขยายตลาด โดย กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัด จดทะเบียน OTOP และจดทะเบียนกลุ่มธุรกิจชุมชน
เย็น เข้าเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) สร้างมาตรฐาน


การเสริมการต่อยอดทางความรู้ การบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ความ
กลุ่ม และลดต้นทุนการผลิต ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐบาลในการจัดแสดง
สินค้าตามหน่วยงานราชการหรือการจัดงานต่างๆ
ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)

1) กลยุ ท ธ์ ก ารก้ า หนดตลาดเป้ า หมาย (Marketing Targeting) ก้ า หนด


กลุ่ มเป้ าหมายเพื่ อสามารุพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แปรรูป น้ ามั น มะพร้าวสกั ด เย็ น และโปรแกรมส่ งเสริม
การตลาดได้อย่างเหมาะสม
2) กลยุ ท ธ์ส ร้างการยอมรับ ในผลิ ตภั ณ ฑ์ และตราสิ น ค้า การวางต้าแหน่ ง
ผลิตภัณฑ์ ให้ลูกค้าจ้าได้ง่าย ด้วยการเน้นความเปนนธรรมชาติและกลุ่มแม่บ้านทหาร เปนนจุดขาย
3) กลยุ ทธ์ท างด้านราคา และก้าหนดราคาเพื่ อการแข่งขัน มีการตังราคา
สินค้ามีบทบาทส้าคัญส้าหรับการอยู่รอดของกลุ่มแม่บ้านหากการวางแผนส่วนประสมทางการตลาดมี
การวางแผนผลิตภัณฑ์ที่ดี มีการวางแผนการส่งเสริมการตลาดที่ครอบคลุม
4) กลยุ ท ธ์ พั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ เพิ่ ม ช่ อ งทางการจั ด จ้ า หน่ า ยตลาดสิ น ค้ า
วิสาหกิจชุมชน เปนนตลาดสินค้าขนาดเล็กสามารุการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆได้ทันเวลา

5.1.3 สรุปผลดัชนีชี้วัดสุขภำพธุรกิจ
1) การบริหารเงินสด กลุ่มแม่บ้าน มีการบริหารเงินสดอยู่ในระดับที่ ดีและ
เพียงพอ โดยแบ่งการส้ารองเงินดังกล่าวตามวัตุุประสงค์ ซึ่งกลุ่มแม่บ้านแบ่งเงินสดเปนน 2 ส่วน คือ
46

ส่วนแรกคิดเปนนสัดส่วน ร้อยละ 70 เปนนเงินหมุนเวียนในก้าเดินเนินธุรกิจ และส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ใช้


เปนนผลตอบแทนของสมาชิกกลุ่มแม่บ้าน
2) การบริหารลูกหนี ทางกลุ่มแม่บ้านได้มีการบริหารจัดการลูกหนี โดยการ
ขายสินค้าเปนนเงินสดอย่างเดียว ท้าให้ไม่มีลูกหนีเกิดขึนในระบบ รวมุึงการตามเก็บหนีด้วย จึงท้าให้
กลุ่มแม่บ้านมีเงินสดเพียงพอต่อการบริหารจัดการกลุ่ม
3) การบริ ห ารเจ้ า หนี การค้ า กลุ่ ม แม่ บ้ า นได้ มี ก ารบริ ห ารเงิ น สดที่ มี
ประสิทธิภาพ และได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยไม่มีอั ตราดอกเบีย ท้าให้กลุ่มแม่บ้าน
ไม่ต้องส้ารองเงินเพื่อใช้จ่ายเปนนเงินเชื่อในการซือสินค้าหรือวัตุุดิบ
4) การบริห ารสินค้าคงคลั ง กลุ่มแม่บ้านท้าการผลิตสินค้าแต่ละชนิดตาม
ความต้องการของตลาดและตามความต้องการของลูกค้า โดยจะเน้นผลิตสินค้าที่มีความต้องการใน
ท้องตลาดมากเปนนอันดับแรกและจะผลิตสินค้าคงคลังไว้ในปริมาณที่น้อย
5) การบริหารรายได้ กลุ่มแม่บ้านมีการบริหารรายได้ โดยมีกลุ่มลูกค้าประจ้า
อยู่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่กลุ่มแม่บ้านผลิต มีคุณสมบัติที่ดีอยู่แล้ว ฐาน
ลูกค้าเดิมอยู่ซึ่งส่วนใหญ่ เปนนคนวัยท้างาน
6) การบริหารสินทรัพย์ โดยใช้เงินลงทุนเริ่มแรกในการซืออุปกรณ์ เปนนเงิน
30,000 บาท
7) ความสามารถในการทากาไร ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านมีผลิตภัณฑ์ที่จัด
จ้าหน่าย จ้านวน 10 รายการ ได้ก้าไร 20,000-30,000 บาทต่อรอบการผลิต

5.1.4 สรุปดัชนีความสามารถในการทาธุรกิจ
ตารางที่ 5.3 สรุปดัชนีความสามารุในการท้าธุรกิจ
การเปรียบเทียบ ธุรกิจของกลุ่มแม่บ้าน อาเภอ สินค้าโอทอป OTOP (5
หนองจิก จังหวัดปัตตานี ดาว)
ต้นทุนของสินค้าและบริการ ธุรกิจยังมีต้นทุนที่สูงกว่า ธุรกิจยังมีต้นทุนที่ต่ากว่า
เนื่องจากผลิตจานวนไม่มาก เนื่องจากผลิตจานวนมาก
ความแตกต่างของสินค้าและ น้ามันที่ทาจากจาวมะพร้าว ให้ น้ามันมะพร้าวจากเนื้อมะพร้าว
บริการ คุณสมบัติที่ดีกว่าน้ามันจากเนื้อ ไม่มีส่วนประกอบของ
มะพร้าว จาวมะพร้าว
ความสามารุในการเข้าุึง กลุ่มแม่บ้านยังไมมีแหล่งเงินที่ มีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน
47

แหล่งเงินทุน ทุนที่จะสนับสนุน นอกจาก และเงินทุนของผู้ประกอบการ


หน่วยงานต้นสังกัด OTOP
คุณภาพสินค้าและบริการ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ ามั น มะพร้ า วสกั ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น้ ามั น มะพร้ า วสกั ด
เย็ น ไม่ เ หม็ น หื น และมี ไ ม่ เ ยื่ อ เย็ น มี เ ลขที่ ใ บ จดแจ้ ง สิ น ค้ า
โปรตี น ตกตะกอนที่ ก้ น ขวด ประเภทเครื่องส้ าอางและตรา
ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ มีคุณภาพดี เครื่องหมาย สินค้า OTOP และ
แต่กลุ่ มแม่ บ้านยังขาดเลขที่ ใบ จดท ะเบี ยน วิ ส าหกิ จ ชุ ม ช น
จ ด แ จ้ ง สิ น ค้ า ป ร ะ เ ภ ท รู ป แ บ บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ค ว าม
เครื่ อ งส้ า อาง เครื่ อ งหมาย ทั น สมั ย ขนาดบรรจุ ภั ณ ฑ์
สิ น ค้ า OTOP และไม่ มี ก ารจด เหมาะสม มีมาตรฐานการผลิ ต
ท ะ เบี ย น วิ ส า ห กิ จ ชุ ม ช น การตังราคาสามารุตังได้ต่้ากว่า
รู ป แ บ บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ค ว าม เนื่ อ งจากมี ต้ น ทุ น สิ น ค้ า ต่้ า มี
ทั น สมั ย ขนาดบรรจุ ภั ณ ฑ์ ความเหมาะสมกั บ ต้ น ทุ น มี
เหมาะสม ยังขาดมาตรฐานการ ช่ อ ง ท า ง ก า ร จั ด จ้ า ห น่ า ย
ผลิ ต การตั งราคาบางชนิ ด มี ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลายช่ อ งทาง เช่ น
ความเหมาะสมกั บ ต้ น ทุ น ไม่ การออกร้าน ช่ องทางการขาย
บางผลิ ตภั ณ ฑ์ ยังไม่ เหมาะสม ท างเว็ บ ไซ ต์ ต่ างๆ ห รื อ มี
กับต้นทุน และขาดช่องทางการ หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนการ
จั ด จ้ า ห น่ า ย ก ลุ่ ม แ ม่ บ้ า น จ้าหน่าย
ด้าเนิ น การจ้าหน่ ายสิ น ค้ าด้ว ย
ตัวเอง
ความสามารุของพนักงาน กลุ่มแม่บ้านยังขาดความรู้ความ ผู้ประกอบการ OTOP มีความ
และลูกจ้าง เข้าใจในเรื่องของการประกอบ พร้อมภาครัฐให้การสนับสนุน
ธุรกิจ และการผลิตยังไม่ อบรมความรู้ให้กับพนักงาน
สามารุด้าเนินได้ทุกคน หรือสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้เกิด
เนื่องจากยังขาดความช้านาญ ความช้านาญในอาชีพ
48

ความสัมพันธ์และความผูกพัน กลุ่มแม่บ้านมีความสัมพันธ์กับ ผู้ประกอบการ OTOP มีกลุ่ม


กับลูกค้า กลุม่ ลูกค้า เนื่องจากส่วนใหญ่ ลูกค้าที่หลากหลาย โอกาสได้
ลูกค้าจะเปนนคนที่รู้จัก หรือ เปนน พบลูกค้าหลายกลุ่ม สร้าง
ลูกค้าที่ใช้สินค้าอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์
ที่มา (สังเคราะห์จากแบบสัมภาษณ์, 2559)

เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลิ ตภัณ ฑ์ โอทอป ระดับ 5 ดาวในพื้นที่ ธุรกิจยังมีต้นทุนที่สูงกว่า


เนื่องจากผลิตจานวนไม่มาก คุณภาพสินค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์
โดยชูจุดเด่นในเรื่องของน้ามันที่ทาจากจาวมะพร้าว ให้คุณสมบัติที่ ดีกว่าน้ามันจากเนื้อมะพร้าว โดย
ธุรกิจมีการสนับสนุนในสมาชิกในกลุ่มอบรมเพื่อให้เกิดความชานาญในการผลิต ในด้านดัชนีความยั่งยืน
ของธุรกิจ พบว่า กลุ่มแม่บ้ านกระตุ้นการมีส่ วนร่วม มีการจัดหน้าที่อย่างชัดเจนเพื่อให้ กลุ่ มประสบ
ความสาเร็จ มีการวางแผนทางการเงิน ทารายรับ รายจ่ายเพื่อบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้าน แต่ยังประสบ
ปัญหาในเรื่องของการโยกย้ายของสามี ทาให้กลุ่มแม่บ้านต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆตาม
ช่วงเวลาให้เหมาะสม และกลุ่มแม่บ้านได้จัดทาแผนการพัฒนาตนเอง โดยเข้าโครงการอบรมเพื่อต่อยอด
ผลิตภัณฑ์ มีการขายสินค้าในเว็บไซต์ และมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งเรียนรู้การหาช่องทาง
การจัดจาหน่ายที่หลากหลาย ในด้านการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้านได้มี
การยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการปรับสร้างโรงเรือนที่ใช้ในการผลิตใหม่เพื่อให้
ได้มาตรฐานการผลิต มีการหาช่องทางการจัดจาหน่ายและการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้อง
กับศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์ (2556) เรื่อง ปัจจัยสู่ความสาเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ การ
คั ด สรรสุ ด ยอดสิ น ค้ า หนึ่ ง ต าบลหนึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ระดั บ 5 ดาว อ าเภอสั น ทราย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่
วัตถุป ระสงค์เพื่ อศึกษาการดาเนิ น งานในแต่ละด้านปัญ หา และอุปสรรคในการดาเนินงานของกลุ่ ม
พบว่า ทุกธุรกิจมีการวางแผน ปฏิบัติตาม แผน และทบทวน ปรับปรุงแผนงานอย่างสม่าเสมอ มีการ
คัดเลือกสมาชิกเป็นคนในพื้ นและมีประสบการณ์มีการถ่ายทอดความรู้แบบไม่เป็นทางการ มีการวาง
แผนการผลิต มีโรงงานผลิตจัดซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด และเงินเชื่อ ใช้แหล่ง วัตถุดิบในท้องถิ่นและต่างถิ่น
มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้ นงาน ทุกธุรกิจมีการทางบดุล งบกาไรขาดทุน งบกาไรสะสม และบัญชี
ครัวเรือน

5.1.5 ดัชนีความยั่งยืน
49

กลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอหนองจิก จังหวั ดปัตตานี ใช้หลักในการท้าธุรกิจแบบกลุ่มอาชีพ ที่มี


เป้าหมายเพื่อความรัก ความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในกลุ่มแม่บ้าน มีวางแผนทางการเงินเพราะการ
ท้าธุรกิจ ซึ่งกลุ่ มแม่บ้ านจะต้องมีรายได้จากการซือขายผลิ ตภัณ ฑ์ จึงต้องมีการจัดการให้ รายได้กับ
รายจ่ายเหมาะสม มีก้าไรและต้ องรู้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเงินเข้าเงินออกของกลุ่มตลอดเวลา
เพื่อความโปร่ งใสในการบริ ห ารจั ดการกลุ่ ม แม่ บ้านและส่ ว นใหญ่ เปนน ภรรยาทหารที่ติดตามสามีม า
ประจ้าการที่ 3 จังหวัดชายแดน ซึ่งมีโอกาสจะการโยกย้ายประจ้าปี ท้าให้กลุ่มแม่บ้านมีการสับเปลี่ยน
ตามช่วงเวลาของการโยกย้ายของกองทัพ ซึ่งอาจจะส่งผลกับการด้าเนินธุรกิจในระยะยาว กลุ่มแม่บ้าน
มีการพัฒนาตัวเองโดยการเข้าอบรมการท้า น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น ท้าให้เกิดประสิทธิภาพและสนอง
ความต้องการของลูกค้าได้

5.1.6 กำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็ น
ของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การพัฒนาความสามารุในการแข่งขันได้น้าเอาจุดอ่อนมาแก้ไขโดยเร่งพัฒนาเปนนประเด็น
ที่ต้องพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มแม่บ้าน ได้ผลออกมาเปนน 5 ด้าน ดังนี
1) ด้านผลิ ต ภั ณ ฑ์ ยั งไม่ ได้ก ารรับ รองมาตรฐาน ที ม ผู้ วิจั ยจึงมี การอบรม
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านมีความเข้าใจร่วมกันและเพื่อ ให้กลุ่ม
แม่บ้าน ยื่นค้าขอต่อส้านักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งในแต่
ละผลิตภัณฑ์
2) ด้านโรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้มาตรฐาน ทีมผู้ วิจัยและกลุ่ มแม่บ้านได้มีการ
ส้ารวจพืนที่ของค่ายอิงคยุทธบริการ และพูดคุยกับผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวทางร่วมกัน ในการหาสุาน
ที่ตังโรงเรือน พร้อมมีการวางแผนจัดท้าโรงเรือนเพื่อใช้ในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม แต่
มีสัดส่วนพืนที่ในการผลิตที่เปนนสัดส่วนมากขึน ท้าให้การผลิตมีมาตรฐาน
3) ด้าน แผนการตลาดยังไม่มีประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านมีกระบวนการผลิต
ตามค้ า สั่ งของผู้ บั งคั บ บั ญ ชา ท้ าให้ ไม่ มี ก ารจั ด ท้ า การวางแผนทางการตลาด ที ม ผู้ วิ จั ย เล็ งเห็ น ว่ า
การตลาดเปนนสิ่งส้าคัญ ซึ่งได้มีการจัดอบรมเรื่องการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม การ
วิ เคราะห์ ต ลาดและลู ก ค้ า เป้ า หมาย สิ น ค้ า และบริ ก าร กลยุ ท ธ์ ก ารตลาดและการขาย แผนการ
ดาเนินงาน องค์กรและโครงสร้าง การบริหารการเงิน การประเมินความเสี่ยง ให้ความรู้และประโยชน์
เพื่อจัดท้าแผนการตลาด และให้กลุ่มแม่บ้านเริ่มจัดท้าแผนการตลาดทีุู่กต้อง
50

4) ด้านช่องทางการจ้าหน่ายสินค้ามีน้อย กลุ่มแม่บ้านได้มีการจ้าหน่ายสินค้า
ผ่านลูกค้าโดยตรง ซึ่งท้าให้กลุ่มลูกค้าไม่ครอบคลุม แต่ในปัจจุบัน ทีมผู้วิจัยได้ปรึกษากับ กลุ่มแม่บ้าน
เพื่ อ เพิ่ ม ช่ อ งทางจั ด จ้ าหน่ ายทางออนไลน์ โดยการสอนให้ ก ลุ่ ม แม่ บ้ านเรีย นรู้ระบบออนไลน์ เช่ น
facebook , line เพื่อให้ลูกค้าเข้าุึงผลิตภัณฑ์ได้อย่างทั่วุึงและท้าให้ยอดขายเพิ่มมากขึนตามไปด้วย
และในอนาคต กลุ่มแม่บ้านจะท้าการขยายฐานลูกค้าไปยังทั่วประเทศ โดยหาช่องทางการจัดจ้าหน่าย
หลากหลายรูปแบบมากขึน
5) ด้านขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการให้ความรู้ด้านการ
ประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้สื่อออนไลน์ การฝากจ้าหน่าย การออกบูท ตามงานต่างๆ
เพิ่มมากขึนด้วย

5.1.7 กำรประเมินผลกำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมัน
มะพร้ำวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การประเมิน การผลการพัฒ นาความสามารถในการแข่งขันได้ จากการพัฒ นามาตรฐาน
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ก ารรั บ รองมาตรฐาน กลุ่ ม แม่ บ้ า นได้ ยื่ น ค าขอต่ อ ส านั ก งานมาตรฐาน
ผลิ ตภัณ ฑ์อุตสาหกรรม จังหวัด พร้อมหลั กฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามแบบที่ สานั กงานมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาหนด เพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งในแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถประเมินผลการ
พัฒ นาความความสามารถในการแข่งขันผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน
อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เช่น ได้มีการวางแผนจัดทาโรงเรือนเพื่อใช้ในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่
ใกล้กับบริเวณเดิม แต่มีสัดส่วนพื้นที่ในการผลิตที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น ทาให้การผลิตมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
การประเมินในแผนการตลาดมีการส่งเสริมการขาย กลุ่มแม่บ้านได้มีการเพิ่มช่องทางจัดจาหน่ายทาง
ออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ มีการให้ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ หรือการออกบูท
ตามงานต่างๆ

5.2 อธิปรายผล
สภาพแวดล้ อ มทางการจั ด การของกลุ่ ม แม่ บ้ า น อ้ า เภอหนองจิ ก จั ง หวั ด ปั ต ตานี
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร กลุ่มแม่บ้านมีระบบงานโดยขึนตรงกับ โดยส่วนใหญ่สมาชิกในกลุ่มจะมีที่
พักอาศัยอยู่ ในบริเวณเดียวกันทังหมด โดยจะใช้เวลาที่ว่างงานตรงกันเพื่อเข้ามารวมตัวกันเพื่อผลิ ต
สินค้า โดยใช้บ้านผู้บังคับบัญชาเปนนสุานที่ในการผลิตชั่วคราว โดยแยกสัดส่วนพืนที่ท้าการผลิตอย่าง
ชัดเจน สามารุด้าเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร กลุ่มแม่บ้านใช้วัตุุดิบ
51

ที่น้ามาใช้ที่เกิดขึนในพืนที่ หาได้ง่าย มีราคาไม่สูง โดยการบวนการผลิตสิน ค้าสามารุใช้อุปกรณ์และ


เทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เปนนสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์สามารุใช้ได้กับลูกค้า
ทุกกลุ่ม ไม่มีการแบ่งเชือชาติหรือศาสนา ส่วนทางด้านคู่แข่ง ในพืนที่จังหวัดปัตตานี ยังมีคู่แข่งน้อย
ส่วนใหญ่จะเปนนน้ามันมะพร้าวสูตรปกติ
5.2.1 การวิเคราะห์ SWOT
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ปรรู ป น้ า มั น มะพร้ า วสกั ด เย็ น มี จ้ า วมะพร้ า วเปน น ส่ ว นประกอบหลั ก
ส่ว นประกอบที่ใช้ในการผลิ ตสามารุหาได้ในชุมชนท้าให้ การหาวัตุุดิบ เปนนไปได้ง่ายและราคาุูก
วัตุุดิบที่ใช้เปนนน้ามันมะพร้าว ซึ่งไม่มีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บ มีความคงทนสูง จึงสามารุหาซือมาเก็บ
กักตุนได้ในช่วงที่มีราคาุูก แรงงานเปนนสมาชิกในกลุ่มสามารุตกลงเวลาการท้างานได้ สมาชิกกลุ่มมี
ความสามัคคีแต่ยังคงมีจุดอ่อนในประเด็นส้าคัญ คือ เครื่องหมายจดแจ้งสินค้า โรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้
มาตรฐานแผนการตลาดยั งไม่มีป ระสิทธิภ าพการวางแผนทางด้า นเงินลงทุนไม่มีคู่แข่งขันเลียนแบบ
ผลิตภัณฑ์ได้ง่ายการเก็บ วัตุุดิบยังไม่มีการจัดการสมาชิกที่ช่วยงานบ้างครังไม่สามารุมาท้างานได้
เนื่องจากมีอาชีพเสริมอื่นร่วมด้วย การบริหารช่องทางการจ้าหน่ายสินค้ามีน้อย การขอกู้เงินทุนเพิ่มเติม
ได้ขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เปนนที่รู้จัก ซึ่งสอดคล้องกับธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ
สังขรั ตน์ (2556)ใน เรื่องแนวทางการพัฒ นาการด้าเนินงานของวิส าหกิจชุมชนในเขตลุ่ มทะเลสาบ
สงขลา ใช้ ก ารวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ด้ ว ยวิ ธี ก าร PESTLE analysis SWOT analysis พบว่ า ปั จ จั ย ด้ า น
การเมือง ปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านสังคม เอืออ้านวยต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจ
ชุมชน ส่ ว นปั จ จั ย ทางด้าน เทคโนโลยี และปั จจัยทางนิเวศวิท ยา เปนน ปั จจัย ที่เปน นอุ ปสรรคต่อการ
ด้าเนินงาน ในด้านปัญหาและ อุปสรรคในการด้าเนินงานของวิสาหกิจชุมชนมีดังนี ปัญหาด้านการตลาด
ปัญหาด้านบัญชีและ การเงิน ปัญหาด้านการผลิต ปัญหาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาด้าน
การออกแบบ ผลิตภัณฑ์และปัญหาต้นทุนการผลิต
หลังจากมีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นุึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ
ข้อจ้ากัดแล้ว ผู้วิจัยน้าข้อมูลทังหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเมตริ กซ์ โดยใช้ตาราง
TOWS Matrix เพื่อก้าหนดออกมาเปนนกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ เพื่อเปนนแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมใน
การพัฒนาความสามารุในการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน อ้าเภอ
หนองจิก จังหวัดปัตตานีดังนี
1) กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ขยายตลาด โดยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็น
52

2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) การเสริมการต่อยอดทางความรู้ การ


บริหารจัดการกลุ่ม และลดต้นทุนการผลิต
3) กลยุ ทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) จดทะเบียน OTOP และจดทะเบี ยน
กลุ่มธุรกิจชุมชนเข้าเปนนเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ
4) กลยุ ท ธ์ เชิ ง รั บ (WT Strategy) สร้ า งมาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐบาลในการจัดแสดงสินค้าตามหน่วยงานราชการ
หรือการจัดงานต่างๆ
5) กลยุ ท ธ์ ก ารก้ า หนดตลาดเป้ า หมาย (Marketing Targeting) ก้ า หนด
กลุ่ มเป้ าหมายเพื่ อสามารุพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ แปรรูป น้ ามั น มะพร้าวสกั ด เย็ น และโปรแกรมส่ งเสริม
การตลาดได้อย่างเหมาะสม
6) กลยุ ทธ์ส ร้างการยอมรับ ในผลิ ตภั ณ ฑ์ และตราสิ นค้ า การวางต้าแหน่ ง
ผลิตภัณฑ์ ให้ลูกค้าจ้าได้ง่าย ด้วยการเน้นความเปนนธรรมชาติและกลุ่มแม่บ้านทหาร เปนนจุดขาย
7) กลยุทธ์ทางด้านราคา และก้าหนดราคาเพื่อการแข่งขัน มีการตังราคา
สินค้ามีบทบาทส้าคัญส้าหรับการอยู่รอดของกลุ่มแม่บ้านหากการวางแผนส่วนประสมทางการตลาดมี
การวางแผนผลิตภัณฑ์ที่ดี มีการวางแผนการส่งเสริมการตลาดที่ครอบคลุม
8) กลยุ ท ธ์ พั น ธมิ ต รทางธุรกิ จ เพิ่ ม ช่ อ งทางการจัด จ้ าหน่ ายตลาดสิ น ค้ า
วิสาหกิจชุมชน เปนนตลาดสินค้าขนาดเล็กสามารุการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆได้ทันเวลา

5.2.2 ดัชนีชี้วัดสุขภำพธุรกิจ
การบริหารเงินสด กลุ่มแม่บ้าน มีการบริหารเงินสดอยู่ในระดับที่ดีและเพียงพอ โดยแบ่งการ
สารองเงินดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ซึ่งกลุ่มแม่บ้านแบ่งเงินสดเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกคิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 70 เป็นเงินหมุนเวียนในกาเดินเนินธุรกิจ และส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ใช้เป็นผลตอบแทนของ
สมาชิกกลุ่มแม่บ้าน
การบริหารลูกหนี้ ทางกลุ่มแม่บ้านได้มีการบริหารจัดการลูกหนี้ โดยการขายสินค้าเป็นเงินสด
อย่างเดียว ทาให้ไม่มีลูกหนี้เกิดขึ้นในระบบ รวมถึงการตามเก็บหนี้ด้วย จึงทาให้กลุ่มแม่บ้านมีเงินสด
เพียงพอต่อการบริหารจัดการกลุ่ม
53

การบริหารเจ้าหนี้การค้า กลุ่มแม่บ้านได้มีการบริหารเงินสดที่มีประสิทธิภาพ และได้รับเงิน


สนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยไม่มีอัตราดอกเบี้ย ทาให้กลุ่มแม่บ้านไม่ต้องสารองเงินเพื่อใช้จ่าย
เป็นเงินเชื่อในการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ
การบริหารสินค้าคงคลัง กลุ่มแม่บ้านทาการผลิตสินค้าแต่ละชนิดตามความต้องการของตลาด
และตามความต้องการของลูกค้า โดยจะเน้นผลิตสินค้าที่มีความต้องการในท้องตลาดมากเป็นอันดับ แรก
และจะผลิตสินค้าคงคลังไว้ในปริมาณที่น้อย
การบริหารรายได้ กลุ่มแม่บ้านมีการบริหารรายได้ โดยมีกลุ่มลูกค้าประจาอยู่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไป
ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวสกัดเย็นที่กลุ่มแม่บ้านผลิต มีคุณสมบัติที่ดีอยู่แล้ว ฐานลูกค้าเดิมอยู่ซึ่งส่วน
ใหญ่ เป็นคนวัยทางาน
การบริ ห ารสิ น ทรั พ ย์ โดยใช้ เงิ น ลงทุ น เริ่ ม แรกในการซื้ อ อุ ป กรณ์ เป็ น เงิ น 30,000 บาท
ความสามารถในการทากาไร ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านมีผลิตภัณฑ์ที่จัดจาหน่าย จานวน 10
รายการ ได้กาไร 20,000-30,000 บาทต่อรอบการผลิต
ซึงแตกต่างกับกับ สุมาลี รามนัฎ (2559) เรื่องการศึกษาความมั่งคั่ง ของการประกอบการ
ธุรกิจแบบหนึ่ งตาบลหนึ่ งผลิ ตภัณฑ์( OTOP) การวิจัยครั้งนี้เป็นศึกษาความมั่งคั่งให้ กับการประกอบ
ธุรกิจแบบหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่กรมพัฒ นาชุมชน กระทรวงมหาดไทย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
วิธีการสร้ างความมั่งคั่ งโดยดูความสั มพั น ธ์ระหว่างประสบการณ์ เจ้าของธุรกิจแบบหนึ่ งตาบลหนึ่ ง
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (OTOP) กับ ระดั บ การบู ร ณาการกลยุ ท ธ์ น่ านน้ าสี ค ราม (Blue Ocean Strategy) ศึ ก ษา
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการบูรณาการกลยุทธ์น่านน้าสีคราม
(Blue Ocean Strategy) เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กร โครงการเครือข่ายองค์ความรู้ Knowledge
Based OTOP (KBO) ผู้ประกอบการโอทอป (OTOP) ที่ทางรัฐบาลได้คัดเลือกกลุ่มที่ประสบความสาเร็จ
ในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ ด้านการผลิตและการหาช่องทางการตลาด
โดยที่ ผ ลิ ตภั ณ ฑ์ เหล่ านั้ น เป็ น ผลิ ตภั ณ ฑ์ ที่ มี มาตรฐาน สามารถขายได้ ดีและเป็น ที่นิ ยมในท้ องตลาด
ผู้ประกอบการที่ถูกคัดเลือกให้ อยู่ในกลุ่มโครงการเครือข่ายองค์ ความรู้ Knowledge Based OTOP
(KBO) ผู้ป ระกอบธุรกิจแบบหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้ประกอบการมี ยอดขายเฉลี่ยต่อเดือน
ประมาณ 100,000 - 199,999 บาท กาไรสุทธิต่อปีประมาณ 21 - 40 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย ลูกค้า
รายใหญ่กลับมาซื้อซ้าเป็นประจาทุกๆ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกระดับมหาภาค พบว่า
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์
เป็นที่ดึงดูดใจของลูกค้าเมื่อเทียบกับสินค้าใกล้เคียง การออกแบบผลิตภัณฑ์เพิ่มเอกลักษณ์พิเศษ เช่น
วัฒ นธรรมของแหล่งผลิต มีผ ลต่อการตัดสินใจซื้อของลู กค้า การที่ผ ลิตภัณฑ์ มีความแปลกใหม่และ
แตกต่างจากคู่แข่ง ช่วยสร้างความพึงพอใจต่อ
54

5.2.3 ดัชนีควำมสำมำรถในกำรทำธุรกิจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ โอทอป ระดับ 5 ดาวในพื้นที่ ธุรกิจยังมีต้นทุนที่สูงกว่าเนื่องจาก
ผลิตจานวนไม่มาก คุณภาพสินค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ โดยชู
จุดเด่นในเรื่องของน้ามันที่ทาจากจาวมะพร้าว ให้คุณสมบัติที่ดีกว่าน้ามันจากเนื้อมะพร้าว โดยธุรกิจมี
การสนับสนุนในสมาชิกในกลุ่มอบรมเพื่อให้เกิดความชานาญในการผลิต ในด้านดัชนีความยั่งยืนของ
ธุ ร กิ จ พบว่ า กลุ่ ม แม่ บ้ า นกระตุ้ น การมี ส่ ว นร่ ว ม มี ก ารจั ด หน้ า ที่ อ ย่ า งชั ด เจนเพื่ อ ให้ ก ลุ่ ม ประสบ
ความสาเร็จ มีการวางแผนทางการเงิน ทารายรับรายจ่ายเพื่อบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้าน แต่ ยังประสบ
ปัญหาในเรื่องของการโยกย้ายของสามี ทาให้กลุ่มแม่บ้านต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆตาม
ช่วงเวลาให้เหมาะสม และกลุ่มแม่บ้านได้จัดทาแผนการพัฒนาตนเอง โดยเข้าโครงการอบรมเพื่อต่อยอด
ผลิตภัณฑ์ มีการขายสินค้าในเว็บไซต์ และมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งเรียนรู้การหาช่องทาง
การจัดจาหน่ายที่หลากหลาย ในด้านการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้านได้มี
การยื่นขอจดทะเบียนตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีการปรับสร้างโรงเรือนที่ใช้ในการผลิตใหม่เพื่อให้
ได้มาตรฐานการผลิต มีการหาช่องทางการจัดจาหน่ายและการประชาสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นซึ่งสอดคล้อง
กับศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์ (2556) เรื่อง ปัจจัยสู่ความสาเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ การ
คั ด สรรสุ ด ยอดสิ น ค้ า หนึ่ งต าบลหนึ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ระดั บ 5 ดาว อ าเภอสั น ทราย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่
วัตถุป ระสงค์เพื่อศึกษาการดาเนิ น งานในแต่ล ะด้านปัญ หา และอุปสรรคในการดาเนินงานของกลุ่ ม
พบว่า ทุกธุรกิจมีการวางแผน ปฏิบัติตาม แผน และทบทวน ปรับปรุงแผนงานอย่างสม่าเสมอ มีการ
คัดเลือกสมาชิกเป็นคนในพื้นและมีประสบการณ์มีการถ่ายทอดความรู้แบบไม่เป็นทางการ มีการวาง
แผนการผลิต มีโรงงานผลิตจัดซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด และเงินเชื่อ ใช้แหล่ง วัตถุดิบในท้องถิ่นและต่างถิ่น
มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้นงาน ทุกธุรกิจมีการทางบดุล งบกาไรขาดทุน งบกาไรสะสม และบัญชี
ครัวเรือน
5.2.4 ดัชนีควำมยั่งยืน
กลุ่มแม่บ้าน อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ใช้หลักในการทาธุรกิจแบบกลุ่มอาชี พ ที่มี
เป้าหมายเพื่อความรัก ความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในกลุ่มแม่บ้าน มีวางแผนทางการเงินเพราะการ
ทาธุรกิจ ซึ่งกลุ่ มแม่บ้ านจะต้องมีรายได้จากการซื้อขายผลิ ตภัณ ฑ์ จึงต้องมีการจัดการให้ รายได้กับ
รายจ่ายเหมาะสม มีกาไรและต้องรู้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเงินเข้า เงินออกของกลุ่มตลอดเวลา
เพื่อความโปร่ งใสในการบริ ห ารจั ดการกลุ่ ม แม่ บ้านและส่ ว นใหญ่ เป็น ภรรยาทหารที่ติดตามสามีม า
ประจาการที่ 3 จังหวัดชายแดน ซึ่งมีโอกาสจะการโยกย้ายประจาปี ทาให้กลุ่มแม่บ้านมีการสับเปลี่ยน
ตามช่วงเวลาของการโยกย้ายของกองทัพ ซึ่งอาจจะส่งผลกับการดาเนินธุรกิจในระยะยาว กลุ่มแม่บ้าน
55

มีการพัฒนาตัวเองโดยการเข้าอบรมการทา น้ามันมะพร้าวสกัดเย็น ทาให้เกิดประสิทธิภาพและสนอง


ความต้องการของลูกค้าได้ซึ่งสอดคล้องกับศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์ (2556) เรื่อง ปัจจัยสู่ความสาเร็จ
ทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับ การคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว
อาเภอสั น ทราย จั งหวัดเชี ย งใหม่ วัตถุ ป ระสงค์ เพื่ อศึ กษาการดาเนิ น งานในแต่ ล ะด้ านปั ญ หา และ
อุป สรรคในการด าเนิ น งานของกลุ่ ม พบว่า ทุ กธุรกิ จมี การวางแผน ปฏิ บั ติ ตาม แผน และทบทวน
ปรับปรุงแผนงานอย่างสม่าเสมอ มีการคัดเลื อกสมาชิกเป็นคนในพื้นและมีประสบการณ์มีการถ่ายทอด
ความรู้แบบไม่เป็นทางการ มีการวางแผนการผลิต มีโรงงานผลิตจัดซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด และเงินเชื่อ
ใช้แหล่ง วัตถุดิบในท้องถิ่นและต่างถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้นงาน ทุกธุรกิจมีการทางบดุล งบ
กาไรขาดทุน งบกาไรสะสม และบัญชีครัวเรือน
5.2.5 กำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็น
ของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้นาเอาจุดอ่อนมาแก้ไขโดยเร่งพัฒนาเป็นประเด็น
ที่ต้องพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มแม่บ้าน ได้ผลออกมาเป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้การรับรอง
มาตรฐาน โดยให้กลุ่มแม่บ้าน ยื่นคาขอต่อสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อให้ได้
หมายเลขจดแจ้งในแต่ละผลิตภัณฑ์ ด้านโรงเรือนที่ใช้ยังไม่ได้มาตรฐาน ได้มีการวางแผนจัดทาโรงเรือน
เพื่อใช้ในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณเดิม แต่มีสัดส่วนพื้นที่ในการผลิตที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น
ทาให้การผลิตมีมาตรฐานที่ ด้าน แผนการตลาดยังไม่มีประสิทธิภาพ กลุ่มแม่บ้านมีกระบวนการผลิต
ตามคาสั่งของผู้ บั งคับ บั ญชา ทาให้ไม่มีการจัดทาการวางแผนทางการตลาด ซึ่งได้มีการจัดอบรมให้
ความรู้และประโยชน์เพื่อจัดทาแผนการตลาด และให้กลุ่มแม่บ้านเริ่มจัดทาแผนการตลาดที่ถูกต้อง ด้าน
ช่องทางการจาหน่ายสินค้ามีน้อย กลุ่มแม่บ้านได้มีการจาหน่ายสินค้าผ่านลูกค้าโดยตรง ซึ่งทาให้กลุ่ม
ลูกค้าไม่ครอบคลุม แต่ในปั จจุบัน กลุ่มแม่บ้านได้มีการเพิ่มช่องทางจัดจาหน่ายทางออนไลน์ เพื่อให้
ลูกค้าเข้าถึงผลิ ตภัณ ฑ์ ได้อย่ างทั่ วถึงและทาให้ ยอดขายเพิ่ มมากขึ้น ตามไปด้วยและในอนาคต กลุ่ ม
แม่บ้านจะทาการขยายฐานลูกค้าไปยังทั่วประเทศ โดยหาช่องทางการจัดจาหน่ายหลากหลายรูปแบบ
มากขึ้ น ด้ านขาดการโฆษณาประชาสั มพั น ธ์ ซึ่ งในปั จจุบั นมี ก ารให้ ค วามรู้ด้านการประชาสั มพั น ธ์
หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้สื่อออนไลน์ การฝากจาหน่าย การออกบูทตามงานต่างๆเพิ่มมากขึ้นด้วย

5.2.6 กำรประเมินผลกำรพัฒนำควำมสำมำรถในกำรแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมัน
มะพร้ำวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้ำน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี
การประเมิ น การผลการพั ฒ นาความสามารถในการแข่ งขั น ได้ จากการพั ฒ นามาตรฐาน
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ก ารรั บ รองมาตรฐาน กลุ่ ม แม่ บ้ า นได้ ยื่ น ค าขอต่ อ ส านั ก งานมาตรฐาน
56

ผลิ ตภัณ ฑ์อุตสาหกรรม จังหวัด พร้อมหลั กฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามแบบที่ สานั กงานมาตรฐาน


ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกาหนด เพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งในแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถประเมินผลการ
พัฒ นาความความสามารถในการแข่งขันผลิ ตภัณ ฑ์แปรรูปน้ามันมะพร้าวสกัดเย็นของกลุ่มแม่บ้าน
อาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เช่น ได้มีการวางแผนจัดทาโรงเรือนเพื่อใช้ในการผลิตแห่งใหม่ ซึ่งอยู่
ใกล้กับบริเวณเดิม แต่มีสัดส่วนพื้ นที่ในการผลิตที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น ทาให้การผลิตมีมาตรฐานที่สูงขึ้น
การประเมินในแผนการตลาดมีการส่งเสริมการขาย กลุ่มแม่บ้านได้มีการเพิ่มช่องทางจัดจาหน่ายทาง
ออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ มีการให้ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ หรือการออกบูท
ตามงานต่างๆสอดคล้องกับสุมาลี สันติพลวุฒิและรสดา เวษฎาพันธ (2558) เรื่อง การประเมินผลการ
ดาเนินงานของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาการลงทุนพัฒนาเครื่องผลิตแผ่นข้าวตังของ วิสาหกิจชุมชนโส
ธรพัฒนา จังหวัดฉะเชิงเทรา วัตถุประสงค์เพื่อนาแผนพัฒนา วิสาหกิจชุมชนมาดาเนินการพัฒนาอย่างมี
ประสิทธิภาพ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาวิสาหกิจให้ก้าวไปสู่การเป็น SMEs ในอนาคตและเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของผู้ประกอบการในวิสาหกิจให้มีความ สามารถในการแข่งขันและสามารถดาเนินธุรกิจได้
อย่างยั่งยืน ในการวิจัยนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งพบว่ าการผลิต
แผ่น ข้าวตังโดยใช้เตาที่พัฒ นาขึ้น ใหม่มีความคุ้มค่าในการ ลงทุนเนื่องจากมีค่า NPV, BCR และ IRR
มากกว่า และมีระยะเวลาคืนทุนเร็วกว่ากรณีการใช้เตาผลิต แผ่นข้าวตังแบบเดิม ผลการดาเนินงาน
บรรลุ เป้าหมายตามตัวชี้วัดที่กาหนดไว้ เนื่องจากการใช้เตา ดังกล่าวทาให้ ลดระยะเวลาในการผลิต ลด
จานวน แรงงาน ลดการสูญเสียส่วนเหลือจากการผลิต สามารถสร้างสินค้ารูปแบบใหม่ ทาให้รายได้ของ
วิส าหกิจ เพิ่ มขึ้ น ประมาณร้ อยละ 15 ต่อ เดื อน พั ฒ นาช่ องทางการจัดจ าหน่ ายได้ 2 ช่อ งทาง และ
วิสาหกิจมี ความพึงพอใจต่อการดาเนินงานและผลลัพธ์ของการ ดาเนินงานในระดับสูง

5.3 ข้อเสนอแนะงำนวิจัย
5.3.1 ข้อเสนอแนะด้ำนผู้ประกอบธุรกิจ
1) ควรจะมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับกลุ่มแม่บ้านอย่างสม่าเสมอและ
ต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สู้กับคู่แข่งได้
2) ควรจะมี จั ด การกระบวนการกลุ่ ม แม่ บ้ า นให้ ชั ด เจน เพื่ อ ง่ า ยต่ อ การ
รวบรวมข้อมูลด้านต่างๆและง่ายต่อการบริหารจัดการกลุ่มในอนาคต
3) ควรมีการพัฒนาระบบการตลาดเพื่อจาหน่ายในตลาดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
5.3.2 ข้อเสนอแนะด้ำนหน่วยงำนภำครัฐ
57

1) ควรจะมีหน่วยงานของภาครัฐเข้ามาดูแลและจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม
แม่บ้าน ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านได้รับความรู้ใหม่ และสามารถนาความรู้นั้นไป
ประยุกต์ใช้ในดาเนินธุรกิจของกลุ่มแม่บ้าน
2) ควรมีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาอบรมหรือช่วยพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ และเพิ่มแหล่งจาหน่ายให้กับกลุ่มแม่บ้าน
3) หน่วยงานของภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณในการจัดแหล่งเรียนรู้ ให้กับ
กลุ่มแม่บ้าน

บรรณำนุกรม

กัญญามน อินหว่าง, สุพจน์ อินหว่าง และ อภิชาติ วรรณภิระ. (2554). กำรจัดกำรวิสำหกิจชุมชน.


พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
กษมาพร พวงประยงค์และ นพพร จันทรนาชู. (2556). แนวทำงกำรพัฒนำวิสำหกิจชุมชนกลุ่มกำร
แปรรูปและผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงครำม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
ปีท5ี่ ฉบับที่1. มกราคม - มิถุนายน 2556.
เดชวิทย์ นิลวรรณ, ธวัชชัย บุญมี, ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์, สุวลักษณ์อ้วนสอาด, พุทธมน สุวรรณอาสน์
และ เติมพันธ์ บุญมาประเสริฐ. (2554). กำรศึกษำกำรจัดกำรควำมรู้เพื่อพัฒนำธุรกิจ
ชุมชนกลุ่มตัดเย็บบ้ำนดอกแดง ตำบลสง่ำบ้ำน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.
วำรสำรวิจัยรำชภัฏเชียงใหม่. 13(1), 25-39.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์ (2556). แนวทำงกำรพัฒนำกำรดำเนินงำนของ
วิสำหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสำบสงขลำ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธวัชชัย สุจริตวรกุล, สัจจา บรรจงศิริ และ บาเพ็ญ เขียวหวาน. (2555) กำรพัฒนำวิสำหกิจชุมชน
ด้ำนกำรผลิตลำไย อำเภอบ้ำนแพ้ว จังหวัดสมุทรสำคร. การประชุมเสนอผลงานวิจัย
ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครั้งที่ 2. 4-5 กันยายน 2555.
เบญญาภา ไชยกาญจน์. (2558, มิถุนายน, 20). ประธำนกลุ่มแม่บ้ำนผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมัน
มะพร้ำวสกัดเย็น บ้ำนน้ำดำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตำนี. สัมภาษณ์.
เมธาวิทย์ ไชยะจิตรกาธร. (2555). SWOT Analysis. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558 จาก
http://methawit.blogspot.com/2012/04/blog-post.html.
วรรณดี สุทธินรากร. (2554). เอกสำรประกอบกำรบรรยำยกำรวิจัยเชิงปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม.
58

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). ควำมสำมำรถในกำรแข่งขันของ
ประเทศไทยในเวทีโลก. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง
สมภาร คืนดี และธีระพงศ์ โพธิ์มั่น. (2555). แม่ญิง (ผู้หญิง) แม่มูน : วิถีชีวิตและกำรต่อสู้.
อุบลรำชธำนี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). กำรจัดกำร:จำกมุมมองนักบริหำร (พิมพ์ครั้งที5่ ). กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซ
เบอร์พรินท์.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2551). กำรตลำดจำกแนวคิดสู่กำรปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทำงกำรพัฒนำศักยภำพกำรจัดกำรที่ดีของวิสำหกิจชุมชนใน
จังหวัดกำฬสินธุ์. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 133-139.
สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนำสถิติจังหวัดปัตตำนี. กรุเทพฯ: ผู้แต่ง.
สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบำยของคณะรัฐมนตรี
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชำ นำยกรัฐมนตรี แถลงต่อสภำนิติบัญญัติแห่งชำติ.
กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อัจฉรา มลิวงค์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช (2554). รูปแบบกำรพัฒนำผลิตภัณฑ์ชุมชมของกลุ่ม
วิสำหกิจชุมชนนวดแผนไทยบ้ำนแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปำง. การประชุม
วิชาการและการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ แม่โจ้ -แพร่ วิจัย ครั้งที่ 2 , 1-2 กันยายน
2554., 526-532.
59

ภำคผนวก ก

แบบสัมภำษณ์กลุม่
60

กลุ่มแม่บ้ำนผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมันมะพร้ำวสกัดเย็น
ดัชนีชี้วัดสุขภำพธุรกิจ
1. กำรบริหำรสภำพคล่อง
1.1.การบริหารเงินสด(เช่น การสารองเงินสดหมุนเวียน การลงทุนเพิ่มเพื่อให้เกิดดอกผล)
………………………………...………………………………………………………………………………………………………….…
……………………….........................................................................................................................
1.2. การบริหารลูกหนี้
( ) ไม่มีลูกหนี้ เนื่องจากขายเฉพาะเงินสด (ข้ามไปข้อ 1.3)
( ) มีลูกหนี้ เนื่องจากขายเงินเชื่อ โดยมีระยะเวลาการให้เครดิต……………………………
การดาเนินกิจกรรมต่อไปนี้ในการบริหารหนี้
-การประเมินเครดิตของลูกหนี้ / ข้อมูลลูกหนี้……………………………….……
-การขอหลักประกันการชาระหนี้……………………………………………………….
-ระเบียบการวางใบแจ้งหนี้และการชาระเงิน…………………………………………
-การทาบัญชีลูกหนี้และติดตามหนี้………………………………………………………
-กิจกรรมอื่น ๆ ที่ดาเนินเพื่อบริหารหนี้………………………………………………
ปัญหาเกี่ยวกับการขายเงินเชื่อ……………………………………………………………

1.3 การบริหารเจ้าหนี้การค้า
( ) ไม่มี (ข้ามไปข้อ 1.5)
( ) มี โดยมีระยะเวลาการได้เครดิต……………………………………………………………………………..
การดาเนินกิจกรรมต่อไปนี้ในการบริหารเจ้าหนี้การค้า
61

-การขอเงื่อนไขการชาระหนี้ที่สมเหตุผล……………………………………………..
-การชะลอการชาระหนี้โดยไม่เสียเครดิต…………………………………………….
-การกระจายความเสี่ยงจากคู่ค้าหลายราย………………………………………..
-อื่น ๆ…………………………………………………………………………………………….
1.4 การบริหารสินค้าคงคลัง
แหล่งซื้อสินค้า…………………………………………………………………………………………………….
การวางแผนการจั ด ซื้ อ (เช่น รอบระยะเวลาการสั่ งซื้อ ปริม าณการสั่ งซื้ อที่ ป ระหยั ด
วิธีการขนส่งที่ประหยัด ฯลฯ)…………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การจัดเก็บและรักษาสินค้าคงคลัง…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1.5 การบริหารทุน (เช่น เตรียมทุนสารองยามฉุกเฉิน การระดมทุน)……………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
1.6 การบริหารรายได้ (เช่น รักษาฐานลูกค้า หาตลาดใหม่เพื่อเพิ่มลูกค้าใหม่ หาโอกาสในการทา
ธุรกิจ ใหม่ อาทิ เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิม หรือต่างกลุ่มผลิตภัณฑ์ ฯลฯ)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………..………………………………………………………………………………………………………………………………
1.7 ภาษี…………………………………………………………………………………………………………………………

2. กำรบริห ำรสิน ทรัพ ย์ (เช่น การใช้สิ นทรัพย์ให้ เกิดประโยชน์สู งสุ ด พิจารณาการซื้อหรือให้ เช่ า
สินทรัพย์บางประเภท การขายหรือให้เช่าสินทรัพย์ที่ไม่ก่อประโยชน์ ฯลฯ)……………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………..…………………………………………………………………………………………………………………………………

3. กำรบริหำรหนี้สิน (เช่น มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนอย่างเหมาะสม หาแหล่งเงินกู้ที่มีต้นทุนต่า ขอ


วงเงินเผื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. ควำมสำมำรถในกำรทำกำไร (อัตรำกำไรขั้นต้น อัตรำกำไรจำกกำรดำเนินงำน อัตรำกำไรสุทธิ
อัตรำผลตอบแทนผู้ถือหุ้น)
62

ขายสุทธิ………………………………………………………………………………………………………………………………
ต้นทุนการผลิต………………………………………………………………………………………………………………………….
ค่าแรง……………………………………………………………………………………………………………………………………
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าขนส่ง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า………………………………………………………………….
จานวนสมาชิก………การแบ่งกาไร……………………………………………………………………………………………..

2. ดัชนีควำมสำมำรถในกำรทำธุรกิจ
ผู้ประกอบการวิเคราะห์ธุรกิจตนเอง และคู่แข่ง ในประเด็นต่อไปนี้
2.1 ต้นทุนของสินค้ำและบริกำร
ของธุรกิจ…………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..…

2.2 คุณ ภำพของสินค้ำและบริกำร (เช่น รูปลักษณ์ ผลิตภัณ ฑ์ สี กลิ่น บรรจุภัณ ฑ์ ตรำสินค้ำ


ฉลำก กำรบริกำร)
ของธุรกิจ……………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.3 ควำมแตกต่ำงของสินค้ำและบริกำร
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
63

2.4 ควำมสำมำรถในกำรตั้งรำคำขำย
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.5 กำไรขั้นต้นที่กิจกำรได้รับ
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.6 ควำมสำมำรถในกำรเข้ำถึงแหล่งเงินทุน
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………..…..
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.7 ควำมสำมำรถของพนักงำนและลูกจ้ำง
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.8 ควำมสัมพันธ์และควำมผูกพันกับลูกค้ำ
ของธุรกิจ………………………………………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ของคู่แข่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดาว………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

สรุปจุดอ่อนที่เด่นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งได้รับมำตรฐำนผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ดำว
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
64

………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ดัชนีควำมยั่งยืนของธุรกิจ
3.1 แนวคิดการบริหาร/การกากับดูแลกิจการที่ด…ี ……………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.2 การวางแผนในอนาคต (ทิศทางธุรกิจ/ เป้าหมาย)……………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.3 การบริหารความเสี่ยงเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ อย่างไร
การเปลี่ยนแปลงผู้นากลุ่ม…………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การโยกย้ายของแม่บ้าน………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ความเสี่ยงที่รายได้จะหดตัวลงอย่างฉับพลัน เนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพเศรษฐกิจ
คู่แข่ง …..…………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ความเสี่ยงที่ปัจจัยการผลิตจะขาดแคลน……………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
อื่น ๆ (ประเด็นปัญหาที่คาดว่ามีผลกระทบต่อการดาเนินธุรกิจ) ………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.3 การดาเนินการพัฒนาบุคลากรและองค์กรในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน


3.3.1 การพัฒนาบุคลากร
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก……………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย………………………………………………………………………..………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.3.2 การพัฒนาด้านการผลิต
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก………………………………………………………………………………
65

………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย…………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.3.3 การพัฒนาด้านการตลาด (ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจาหน่าย)
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.3.4 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.3.5 การใช้ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ


( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก…………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย…………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.3.6 การสร้างนวัตกรรม เช่น กระบวนการดาเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือ
คิดค้นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือจากภูมิปัญญาของกลุ่มฯลฯ)
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย………………………………………………………………………………………..….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
66

3.3.7 การดาเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (เช่น การร่วมกิจกรรมชุมชน เป็น


วิทยากรถ่ายทอดความรู้ ฯลฯ
( ) ไม่ได้ดาเนินการ เนื่องจาก………………………………………………………………………
( ) ดาเนินการ โดย………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ภำคผนวก ข

แบบวิเครำะห์สภำพแวดล้อมทำงธุรกิจ
67

การวิเคราะห์ SWOT

จุดแข็ง จุดอ่ อน

โอกาส อุปสรรค
68

ภำคผนวก ค

ภำพประกอบกำรปฏิบัติกำรกลุ่ม
69

กำรสัมภำษณ์กลุ่ม เพื่อศึกษำสภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำร
70

ภำคผนวก ง

ภำพประกอบกำรปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม
71

กำรจัดกิจกรรมปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วมในกำรร่วมกันวิเครำะห์สภำพแวดล้อมทำงกำรจัดกำร
72

ภำคผนวก จ

ประวัติคณะวิจัย
73

ประวัติคณะวิจัย

นำยสัสดี กำแพงดี
Mr. Sasadee Kamphaengdee
ตาแหน่งปัจจุบัน: อาจารย์ประจาภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
โทรศัพท์ 081-0756667
E-mail: sasadee01@hotmail.com
ประวัติการศึกษา: บธ.บ. (การเงินการธนาคาร) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
บธ.ม. (การเงินการธนาคาร) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ประสบการณ์งานวิจัย:
1. ความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์กลุ่มการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ความต้องการของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการเงินและการ
ธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
3. ความต้องการของนักเรียนในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
4. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกาลัง
พล กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย

นำงปิยะดำ มณีนิล
Mrs. Piyada Maneenin
74

ตาแหน่งปัจจุบัน: อาจารย์ประจาภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
โทรศัพท์ 086-4980890
E-mail: humor000@gmail.com
ประวัติการศึกษา: บธ.บ. (การตลาด) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
บธ.ม. (การจัดการ) มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ประสบการณ์งานวิจัย:
1. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเทศบาลนคร
ยะลา
2. ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
3. การบริหารจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา
4. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกาลัง
พล กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย

ผศ.ดร.ชมพูนุท ศรีพงษ์
Assistant Professor Dr. Chompunuch Sriphong
ตาแหน่งปัจจุบัน: อาจารย์ประจาภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
โทรศัพท์ 086-963-6116
E-mail : Chompunuch2@ hotmail.com
ประวัติการศึกษา: วท.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บธ.ม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Ph.D. (Administration) สถาบันการศึกษานานาชาติ
มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ประสบการณ์งานวิจัย:
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการเลือกสถานีบริการน้ามัน
2. แรงจูงใจในการทางานของพนักงานภาคเอกชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. พฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารภาคเอกชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
75

4. การดาเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
5. ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
6. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
7. ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานภาคธุรกิจเอกชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
8. คุณภาพชีวิตการทางานของพนักงานภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัดยะลา
9. ทัศนคติของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ
ดาเนินชีวิตภายใต้บริบทสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน
10. ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครอบครัวของประชาชนใน
จังหวัดยะลา
11. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจจะลาออกและแนวทางลดการลาออกจากงานของอาสาสมัครทหาร
พราน กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย
12. ความผูกพันต่อองค์การของอาสาสมัครทหารพราน กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย
13. พฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ดีในภารกิจการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ของอาสาสมัครทหารพราน กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย
14. ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักการบริหารธุรกิจของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ
15. ความผูกพันในการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ของอาสาสมัครทหารพราน กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย
16. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาและรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของกาลัง
พล กองทัพภาคที่ 4 กองทัพบกไทย

You might also like