You are on page 1of 130

การจัดการเชิงกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ที่จังหวัดยะลา

โสพิศ พงค์ รัตน์

การค้นคว้าอิสระนีเ้ ป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสู ตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต


บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พ.ศ. 2560
Strategic Management of Plaa Som Products in Yala

SOPIT PONGRUT

An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of


The Requirements for the Master of Business Administration
Graduate School
Yala Rajabhat University
2017
บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องการค้นคว้าอิสระ การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จังหวัดยะลา
ชื่อผู้ทาการค้นคว้าอิสระ โสพิศ พงค์รัตน์
ชื่อปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ปีการศึกษา 2559
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
1. อาจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ กรรมการ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเชิ งกลยุทธ์


ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปั ญหาอุปสรรคใน
การจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้นที่ จงั หวัดยะลา และเพื่อค้นหาแนวทางการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และก่อให้เกิดความได้เปรี ยบ
จากการแข่ ง ขัน ทางธุ ร กิ จ กลุ่ ม ตัว อย่า งที่ ใ ช้ใ นการวิ จ ัย ครั้ งนี้ คื อ วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน ซึ่ งแปรรู ป
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จานวน 3 กลุ่ม เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการส่ งเสริ มการแปรรู ปปลาส้ม จานวน 3 คน และผูซ้ ้ื อรายใหญ่ ที่รับซื้ อผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มจาก
วิสาหกิจชุ มชนเป็ นประจาและจานวนมาก จานวน 3 ราย เครื่ องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่ งโครงสร้าง วิเคราะห์ขอ้ มูลโดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอก (SWOT Analysis) การจัดทา TOWS Matrix เพื่อวางแผนกลยุทธ์หรื อแนวทางในการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
ผลการศึกษาพบว่า
1) สถานการณ์ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์
ด้านคู่แข่งขันปั จจุบนั ค่อนข้างสู ง สถานการณ์ดา้ นการจัดจาหน่ายยังไม่กว้างขวางและยังไม่เป็ นที่รู้จกั
คนต่างถิ่นมากนัก สถานการณ์ดา้ นผลิตภัณฑ์มีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ สะอาด ถูกหลักอนามัย มีแพ็กเก็จ
ที่สวยงามสามารถดึ งดูดของผูบ้ ริ โภค ช่ วยรักษาคุณภาพและช่ วยยืดอายุของปลาส้ม สถานการณ์
ด้านตลาดอัตราการเติบโตของตลาดมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี และแนวโน้มคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่ อย ๆ
2) จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ปลาส้มของ
จังหวัดยะลามีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลานและเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา
ปลาส้มมีราคาไม่แพง และกระบวนการผลิตปลาส้มไม่ซบั ซ้อนมีสูตรการผลิตที่แตกต่างกัน

3) จุดอ่อนของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ปลาส้มไม่มี
ความหลากหลาย ไม่สามารถควบคุ มคุ ณภาพและรสชาติได้ ปลาที่ใช้ในการผลิ ตมีไม่เพียงพอและ
ราคาแพง ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่ค่อยกว้าง ลูกค้าต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั และแหล่งผลิตปลา
ส้มอยูห่ ่างไกลจากตัวเมืองยะลา
4) โอกาสของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ผูบ้ ริ โภคยัง
ต้องการปลาส้มซึ่ งทุกศาสนาสามารถรับประทานได้ รัฐให้การสนับสนุ นและส่ งเสริ มวิสาหกิ จ
ชุมชน และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่ อสารช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย
5) อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า คู่แข่งขัน
ค่อนข้างสู ง ปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย และมี สินค้าชนิ ดอื่น
ทดแทนได้ง่าย
6) การวางแผนกลยุทธ์หรื อ แนวทางในการจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ม ใน
พื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การเร่ งการผลิตปลาส้มให้เพียงพอกับความต้องการ
ควบคู่ ก ับ การจัดหาวัตถุ ดิบ และตลาดโดยการเจาะตลาดกลุ่ ม ลู ก ค้า มุ ส ลิ ม และร้ านขายของฝาก
ต่างจังหวัด กลยุทธ์ ก ารเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการจัดหาวัตถุ ดิบและสต็อกโดยการเลี้ ยงปลาเองและ
ร่ วมมือกับกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาในพื้นที่และต่างจังหวัดเพื่อสร้ างเครื อข่ายพันธะสัญญาทางอาชี พ
ร่ วมกัน
Abstract

Independent study Title Strategic Management of Plaa Som Products in Yala


Researcher Sopit Pongrut
Degree Sought Master of Business Administration
Academic year 2016
Independent study Advisors
1. Dr. Nirunkait Liwkhunupakarn Chairperson
2. Assoc. Prof. Dr. Sitthawat Munssetthawit Committee

The purpose of this study aimed to analyze the situational strategic management of
pickled fish products of Yala province, to analyze strengths, weaknesses, opportunities and
threats for strategic management of pickled fish products of Yala province, and to explore a
strategic approach for strategic product management which will be fit to the situation and the
advantage of business competition.
The samples used in this research were community enterprises. There were 3 groups of
pickled fish products of Yala province. Also, there were 3 government officials who are involved in
the promotion of pickled fish processing and the major buyers who often purchase from the
community enterprise. The data collection instrument was a semi-structured interview. The internal
and external environment analysis (SWOT Analysis) and the preparation of TOWS Matrix to
determine the strategy of processing pickled fish product of Yala province were employed.
The results were as follows:
1) In case of the situation of pickled fish products of Yala province, the study found
that the current competitive situation is quite at a high level. The distribution is not widespread
and is not widely known people. The product is unique, clean, and hygienic. There are beautiful
packages that can appeal to the consumers, maintain the quality, and extend the expiration date.
The growth rate of the market is increasing every year and the trend is expected to be increase.
2) The strengths of pickled fish products of Yala province have been found that the
product has its own unique flavor, received the Halal, and selected to be a good product of Yala
province. Moreover, the pickled fish product is inexpensive and the production process of the
pickled fish product is not complicated which is different production recipes.

3) The weaknesses of pickled fish products of Yala province have been found that
fish are not diversified and the quality and taste are not controllable. Moreover, fish used in
production are inadequate and expensive. The distribution channels are not expansive. The outsider
customers of other provinces are not familiar with the product and the source of fish is far from the
city.
4) The opportunity of pickled fish products of Yala province have been found that
that the consumers wants to have fish, which all religions can eat. Therefore, the state sector also
promotes the community enterprises and the advance in technology and communication in order
to boost the distribution channels.
5) The obstacles of pickled fish products of Yala province have been found that the
competition is at a quite high level. The pickled fish product is a food that can be imitated easily
and there are others product that can be an alternative.
6) The strategic planning or strategic management of pickled fish of Yala province
have been found that the strategy to accelerate the production to meet the demand along with the
procurement of raw materials and markets by enlarging the market of Muslim customers and
provincial stores. The strategies for increasing the supply of raw materials are to stock by feeding
fish and cooperate with local and provincial farmers to create a common career commitment
network.
กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้สาเร็จได้ด้วยดีผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณอาจารย์
ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ฐานกุล กุฏิภักดี คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระที่ได้ให้ความกรุณาเสียสละเวลาแนะนา
และแนะแนวทางการเรียนรู้ตลอดจนให้กาลังใจในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้
ขอบคุณเจ้าหน้าที่สานักงานบัณฑิตศึกษาที่ให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่
รวมถึงพี่ๆเพื่อน ๆ นักศึกษาปริญญาโทที่ได้ให้กาลังใจและความช่วยเหลือตลอดมา
ท้ายที่สุดกราบขอบพระคุณคุณพ่อ -คุณแม่และครอบครัวข้าพเจ้าที่ได้ให้กาลังใจและ
ให้การสนับสนุนเสมอมาตลอดมา
สุดท้ายนี้ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณในความกรุณาของทุกท่านเป็นอย่างสูง

โสพิศ พงค์รัตน์
สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ............................................................................................................... (ง)
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ........................................................................................................ (ฉ)
กิตติกรรมประกาศ .............................................................................................................. (ซ)
สารบัญ ................................................................................................................................ (ฌ)
สารตาราง ............................................................................................................................ (ฎ)
สารบัญภาพ ......................................................................................................................... (ฏ)
บทที่ 1 บทนา ...................................................................................................................... 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ................................................................... 1
วัตถุประสงค์ของการค้นคว้าอิสระ ........................................................................... 3
ความสาคัญของการค้นคว้าอิสระ ............................................................................. 3
ขอบเขตของการค้นคว้าอิสระ................................................................................... 4
นิยามศัพท์เฉพาะ ...................................................................................................... 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .............................................................................. 7
ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม .............................................................................. 6
แนวคิด ทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ........................................................................ 23
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)........................ 34
การจัดทาแมททริกซ์อุปสรรค โอกาส จุดอ่อน จุดแข็ง (TOWS Matrix) .................. 50
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .................................................................................................... 57
กรอบแนวคิดการค้นคว้าอิสระ ................................................................................. 65
บทที่ 3 วิธีดาเนินการค้นคว้าอิสระ ..................................................................................... 66
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ....................................................................................... 66
เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระ ............................................................................ 67
การเก็บรวบรวมข้อมูล .............................................................................................. 68
การวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................................................... 69
แผนปฏิบัติการค้นคว้าอิสระ ..................................................................................... 71
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล .............................................................................................. 72

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ......................................................................... 87
สรุปผล ..................................................................................................................... 88
อภิปรายผล ............................................................................................................... 89
ข้อเสนอแนะ ............................................................................................................. 94
1. ข้อเสนอแนะในการนาผลการค้นคว้าอิสระไปใช้ ....................................... 94
2. ข้อเสนอแนะในการทาการค้นคว้าอิสระครั้งต่อไป ..................................... 95
บรรณานุกรม ....................................................................................................................... 96
ภาคผนวก ............................................................................................................................ 100
ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระ ............................................. 101
ภาคผนวก ข ผลการประเมิน IOC ของผู้เชี่ยวชาญ................................................... 109
ภาคผนวก ค รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ................................................ 114
ภาคผนวก ง หนังสือขอความอนุเคราะห์ ................................................................. 116
ภาคผนวก จ ประมวลภาพการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ............................................. 118
ประวัติผู้ทาการค้นคว้าอิสระ ................................................................................................. 121
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 ตัวแปรต่างๆ ในสภาพแวดล้อมทางสังคม....................................................................... 42
2 การจัดทากลยุทธ์ ............................................................................................................. 49
3 แผนปฏิบัติการค้นคว้าอิสระ ........................................................................................... 71
4 การวิเคราะห์ SWOT Analysis ........................................................................................ 83
5 การกาหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ โดยใช้ TOWS MATRIX............................................... 87
6 ตารางสรุปทางเลือกกลยุทธ์ และการประเมินกลยุทธ์ระดับธุรกิจ ................................... 92
สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
1 ปลาส้มครบวงจรต้นแบบ ราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านฯ ................................................... 18
2 ขั้นตอนการเตรียมปลา .................................................................................................... 20
3 ขั้นตอนการหมักเกลือ ..................................................................................................... 20
4 ขั้นตอนการคลุกส่วนประผสมที่เป็นเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ................................................ 21
5 ขั้นตอนการบรรจุถุง ........................................................................................................ 21
6 ปลาส้มพร้อมออกจาหน่าย .............................................................................................. 22
7 แสดงองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ...................................... 28
8 แสดงสภาวะแวดล้อมที่องค์การต้องเผชิญ ...................................................................... 35
9 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก .............................................................................. 44
10 ตัวแบบหลักการของ 7s ของ McKinsey ......................................................................... 46
11 การจัดทากลยุทธ์แมททริกซ์ทาวซ์ (TOWS MATRIX) ................................................... 51
12 เมตริกการจัดลาดับประเด็นต่าง ๆ ................................................................................... 53
13 แรงผลักของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ........................................................................ 54
14 แสดงกรอบแนวคิดการค้นคว้าอิสระ .............................................................................. 65
บทที่ 1

บทนำ

ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ

ในสังคมไทยปั จจุบนั มีกระแสของระบบเศรษฐกิจทุนนิ ยมหลัง่ ไหลเข้ามาคุกคามจน


ยากที่จะหลี กพ้น ชาวบ้านต้องอาศัยเวลาว่างหลังจากการทาสวน ทาไร่ ซึ่ งเป็ นอาชี พหลัก หันมา
ประกอบอาชีพเสริ มรายได้เล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถดารงชี พอยูไ่ ด้ในสังคมที่กระแสเศรษฐกิจที่
บีบรัด อาชี พเสริ มรายได้ของชาวบ้านมี หลากหลาย อาทิ เลี้ ยงสัตว์ ปลู กผัก ฯลฯ นอกจากนี้ ยงั มี
ชาวบ้า นบางท้อ งที่ ที่ รวมกลุ่ ม ขึ้ นประกอบอาชี พ เสริ ม บางกลุ่ ม สามารถดาเนิ นการได้ผ ลดี จ น
กลายเป็ นกลุ่มเศรษฐกิจขึ้นมา อาทิ กลุ่มกล้วยหิ นฉาบยีลาปั น ของตาบลตลิ่งชัน อาเภอบันนังสตา
หรื อกลุ่มชาวบ้านที่ต้ งั บ้านเรื อนใกล้เขื่อนบางลาง ซึ่ งมีปลาชุ กชุ มมาก ชาวบ้านได้ประกอบอาชี พ
เกี่ ยวกับการถนอมอาหารประเภทปลาขึ้นมา ซึ่ งกระบวนการรวมตัวกันเป็ นกลุ่มเพื่อดาเนิ นธุ รกิ จ
ดังกล่าวก็เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิ จในครัวเรื อนให้สามารถดารงชี พอยู่ได้ มิได้มุ่งหวังทาเป็ นระบบ
ธุ รกิจขนาดใหญ่แต่อย่างใด
อาเภอธารโต จังหวัดยะลา มีแหล่งน้ าอุดมสมบูรณ์ เนื่ องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขื่อน
บางลางอยูใ่ นอาเภอธารโต อาชี พประมงและการแปรรู ปปลาในเขื่อนจึงมีอยูม่ าก โดยเฉพาะการทา
ปลาส้มซึ่ งเป็ นผลิตภัณฑ์ข้ ึนชื่ อของอาเภอธารโต อาชี พการทาปลาส้มมีอยูม่ าก แต่ที่มีการรวมกลุ่ม
ของแม่บา้ นและสานักงานเกษตรเข้าไปส่ งเสริ มมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่บา้ นเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง
และกลุ่มแม่บา้ นเกษตรกรโครงการสายใยรักแห่ งครอบครัวฯ ชุ มชนเข้มแข็งและร่ มเย็นบ้านสันติ 2
จากการเข้าไปส่ งเสริ มกิ จกรรมการผลิ ตของเจ้าหน้าที่ เกษตร ก็ได้ทราบว่าขั้นตอนการทาปลาส้ ม
ของแต่ ล ะกลุ่ ม จะมี สู ต รที่ แ ตกต่ า งกัน ไม่ มี ก ฎตายตัว และไม่ ไ ด้มี ข้ นั ตอนซับ ซ้ อ นอย่า งที่ คิ ด
(อาภรณ์ รัตนพิบูลย์, 2557)
ปลาส้มบ้านคอกช้าง เกิดมาจากที่ชุมชนเป็ นหมู่บา้ นที่อยูใ่ กล้แม่น้ า ทาให้ปลาน้ าจืดมี
ไม่ขาด จึงได้มีการคิดที่จะทาปลาส้มขึ้นมารับประทานในหมู่ญาติต่อมาจึงได้ทาจาหน่ายในหมู่บา้ น
และส่ งต่อไปยังอาเภอและจังหวัด ปลาส้ม เป็ นการแปรรู ปอาหารจากปลาชนิ ดหนึ่ งที่นิยมบริ โภค
กันในเขตภาคใต้อย่างแพร่ หลาย และแพร่ ไปสู่ ภูมิภาคอื่ นๆ เป็ นภูมิปัญญาท้องถิ่ นในการถนอม
อาหาร ซึ่ งการผลิตส่ วนใหญ่ยงั เป็ นการผลิ ตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยอาศัยเทคนิ ควิธีที่
ถ่ายทอดสื บต่อกันมา ดังนั้น รสชาติ หรื อคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่ง จึงมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่
2
กับสู ตรการผลิ ต อย่างไรก็ตาม แม้สูตรการผลิ ตเดี ยวกัน ในแต่ละครั้ งก็อาจไม่ได้คุณภาพเท่ากัน
ทั้งนี้ เพราะการผลิ ตปลาส้ มจะเป็ นการหมักเพื่อให้เกิ ดเชื้ อตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุ มได้
คุ ณ ภาพและรสชาติ จึ ง มี โ อกาสเปลี่ ย นแปลงเนื่ อ งจากองค์ป ระกอบหลายๆ ด้า น รวมทั้ง
สภาพแวดล้อมของสถานที่ ผ ลิ ต ความสะอาดยัง มี ส่ วนส าคัญท าให้ ป ลาส้ ม ไม่ ส ามารถก้า วสู่
มาตรฐานการส่ งออกได้ (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)
สาหรับการผลิตปลาส้มของชาวบ้านในจังหวัดยะลา เป็ นภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่มีมา
ช้านาน ในปัจจุบนั การผลิตปลาส้มได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง สามารถผลิตออกจาหน่ายเป็ น
ลาเป็ นสันทั้งภายใน และภายนอกจังหวัด การผลิตปลาส้มเป็ นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน
ได้เป็ นอย่างดี อีกทั้งยังเป็ นการสร้ างเอกลักษณ์ และสิ นค้าของฝากประจาจังหวัดยะลาแพร่ หลาย
มากยิ่งขึ้นเรื่ อยๆ สมควรที่คนยะลาจะได้ช่วยกันส่ งเสริ มให้การผลิ ตสิ นค้าดังกล่าวได้แพร่ หลาย
ออกไป รวมทั้งต้องช่วยกันเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รู้จกั บริ โภคอาหารพื้นบ้านท้องถิ่น
ของคนยะลาแต่ตอ้ งรู ้ จกั บริ โภคอย่างถูกหลักอนามัย กล่าวคือต้องทาให้สุกเสี ยก่อน ความร่ วมมือ
ของผูผ้ ลิ ต ผูจ้ าหน่ าย ต้องผลิ ตสิ นค้าคุ ณภาพ จาหน่ ายในราคาที่ เป็ นธรรม ทางราชการต้องช่ วย
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพราะจะเสริ มสร้างรายได้และสร้างชื่ อเสี ยงให้แก่จงั หวัด รวมทั้งถ้าคนไทย
นิ ยมบริ โภคสิ นค้าไทยอย่างจริ งจัง ประเทศไทยก็จะสามารถลดการนาเข้าผลิ ตภัณฑ์อาหารจาก
ต่างประเทศได้อีกหนทางหนึ่งด้วย
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผูว้ ิจยั เห็ นว่าเป็ นสิ่ งที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่จะศึ กษาเกี่ ยวกับ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา เนื่องจากผลที่ได้จะเป็ นข้อมูลที่ช่วยให้
ผูผ้ ลิ ตปลาส้ ม และหน่ วยงานภาครั ฐจะได้นาผลการวิ จยั ครั้ งนี้ ไปใช้เ ป็ นข้อมู ล ในการวางแผน
ปรั บปรุ ง และพัฒนาการแปรรู ปผลิ ตปลาส้ ม ให้ มี คุ ณภาพ สามารถก้า วสู่ มาตรฐานการส่ งออก
ตลอดจนเพื่อเป็ นแนวทางสาหรับผูท้ ี่สนใจนาผลการวิจยั ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า
ต่อไป

คำถำมงำนวิจยั

1) สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาที่เป็ นอยูใ่ นปั จจุบนั เป็ นอย่างไร


2) อะไรคื อจุ ดแข็ง จุ ดอ่อน โอกาส และปั ญหาอุ ปสรรคในการจัดการเชิ งกลยุท ธ์
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
3) อะไรคือแนวทางสาคัญในการจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัด
ยะลา
3
วัตถุประสงค์ของกำรค้นคว้ำอิสระ

การวิจยั ครั้งนี้ ผูว้ จิ ยั ได้กาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจยั ไว้ดงั นี้


1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัด
ยะลา
2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปั ญหาอุปสรรคในการจัดการเชิ งกลยุทธ์
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
3) เพื่อค้นหาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้เหมาะสมสอดคล้อง
กับสถานการณ์ และก่อให้เกิดความได้เปรี ยบจากการแข่งขันทางธุ รกิจ

ควำมสำคัญของกำรค้นคว้ำอิสระ

1) ภาคเอกชนสามารถนาสิ่ งที่คน้ พบเกี่ยวกับการจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม


ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพในการผลิตและการ
แข่งขันกับคู่แข่งขันทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
2) ภาครัฐสามารถนาผลการศึกษาไปใช้เป็ นแนวทางในการวางแผนและดาเนิ นงาน
สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เพื่อการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพ
ในการผลิตและการแข่งขันในอุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
3) ทางด้านวิชาการ ผลการศึกษาจะเป็ นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับ
การจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวคิ ดเกี่ ยวกับการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มเพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
4
ขอบเขตของกำรค้นคว้ำอิสระ

ในการวิจยั เรื่ อง การจัดการเชิ ง กลยุท ธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา ได้
กาหนดขอบเขตของการวิจยั ไว้ดงั นี้

1. ขอบเขตด้ ำนประชำกรและกลุ่มตัวอย่ ำง
1.1 ประชากร (Population) ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
1) วิสาหกิจชุมชน ซึ่ งแปรรู ปผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
2) เจ้าหน้าที่ หน่ วยงานภาครั ฐที่ มีส่วนเกี่ ยวข้องกับการส่ งเสริ มการแปรรู ป
ปลาส้ม
3) ผูซ้ ้ื อรายใหญ่ ที่รับซื้ อผลิตภัณฑ์ปลาส้มจากวิสาหกิจชุ มชนเป็ นประจาและ
จานวนมาก
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
1) วิสาหกิจชุ มชน ซึ่ งแปรรู ปผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จานวน
3 กลุ่ม ทั้งนี้ ใช้การเลื อกลุ่ มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเฉพาะวิสาหกิ จชุ มชนที่ แปรรู ปปลาส้ มที่
ได้รับผลการประเมิน ดี ซึ่ งได้จากข้อมูลของกรมส่ งเสริ มการเกษตร หน่วยส่ งเสริ มการผลิต
2) เจ้าหน้าที่ หน่ วยงานภาครั ฐที่ มีส่วนเกี่ ยวข้องกับการส่ งเสริ มการแปรรู ป
ปลาส้ ม 3 คน ได้แก่ เจ้า หน้าที่ สานัก งานเกษตรจัง หวัดยะลา เจ้าหน้า ที่ ส านักงานอุ ตสาหกรรม
จังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่สานักงานพัฒนาชุ มชนจังหวัดยะลา ทั้งนี้ ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจงเฉพาะหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการส่ งเสริ มการแปรรู ปปลาส้มเท่านั้น
3) ผูซ้ ้ื อรายใหญ่ที่รับซื้ อผลิตภัณฑ์ปลาส้มจากวิสาหกิจชุ มชนเป็ นประจาและ
จานวนมาก 3 ราย ทั้งนี้ ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะร้านขายของฝากในจังหวัดยะลา
เท่านั้น

2. ขอบเขตด้ ำนเนือ้ หำ
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
2.1 การจัดการเชิ งกลยุทธ์ (Strategy Analysis) คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
2.2 การกาหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation) คือ แมททริ กซ์อุปสรรค-โอกาส-
จุดอ่อน-จุดแข็ง (TOWS Matrix)
5
3. ขอบเขตด้ ำนตัวแปร
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่
1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
2) แมททริ กซ์อุปสรรค-โอกาส-จุดอ่อน-จุดแข็ง (TOWS Matrix)
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การกาหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา

4. ขอบเขตด้ ำนสถำนที่
การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา

นิยำมศัพท์เฉพำะ

ในการศึกษาครั้งนี้ เรื่ องการจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา


ได้มีการกาหนดคานิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องไว้ดงั ต่อไปนี้
กำรจั ด กำรเชิ ง กลยุ ท ธ์ หมายถึ ง กระบวนการจัด การขององค์ก ารเพื่ อ ให้บ รรลุ
เป้ าหมายในระยะยาวที่ กาหนดไว้ตามวัตถุ ประสงค์ มี การวิเคราะห์ และประเมิ นปั จจัยต่างๆที่
เกี่ยวข้องโดยคานึ งถึงบริ บทขององค์การและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ได้แผนงาน
ในการปฏิบตั ิ งานที่เหมาะสมก่อนที่จะนาแผนงานลงสู่ การปฏิบตั ิ
ผลิตภัณฑ์ ปลำส้ ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทาจากปลาที่ผา่ นกรรมวิธีการหมักด้วยเกลือ
ข้าวสวย หรื อข้าวเหนี ยวนึ่ ง และกระเทียมจนมีรสเปรี้ ยวอาจทาจากปลาทั้งตัว หรื อเฉพาะเนื้ อปลา
ก็ได้
สภำพแวดล้ อมภำยในและภำยนอก (SWOT Analysis) หมายถึง เครื่ องมือในการ
ประเมินสถานการณ์ สาหรับองค์กรหรื อโครงการ ซึ่ งช่ วยผูบ้ ริ หารกาหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจาก
สภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มี
ศักยภาพจากปั จจัยเหล่านี้ต่อการทางานขององค์กร
แมททริ กซ์ อุปสรรค-โอกำส-จุ ดอ่ อน-จุดแข็ง (TOWS Matrix) หมายถึง เป็ นตาราง
การวิเคราะห์ที่นาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจากัด มาวิเคราะห์เพื่อ
กาหนดออกมาเป็ นยุทธศาสตร์ หรื อกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ
บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จังหวัดยะลา ผู้วิจัยได้


ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
แนวคิด ทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
การจัดทาแมททริกซ์อุปสรรค-โอกาส-จุดอ่อน-จุดแข็ง (TOWS Matrix)
งานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม

ปลาส้มเกิดจากการแปรรูปเนื้อปลาผ่านกระบวนการหมัก โดยการนาปลาสดที่ตัดแต่ง
แล้วมาหมักกับส่วนผสมต่างๆ จนเกิดรสเปรี้ยว เป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคอีสาน
โดยปลาส้มอาจทาแบบปลาทั้งตัว หรือเฉพาะเนื้อปลา เช่น ปลาส้มตัว ปลาส้มชิ้น ปลาส้มเส้น หรือ
ปลาส้มฟัก ปลาส้มมีรสชาติถูกปาก นิยมบริโภคทั้งภาคอีสานและภูมิภาคอื่น จนเกิด OTOPผลิตภัณฑ์
ปลาส้มในหลายจังหวัด (ASTVผู้จัดการออนไลน์, 2557)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์
ส านัก งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (2557 : 1-3 ) ได้ก ล่าวถึง มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลาส้ม ไว้ดังนี้
1. ความหมายของปลาส้ม
ปลาส้ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทาจากปลาที่ผ่านกรรมวิธีการหมักด้วยเกลือ ข้าวเจ้า
สุกหรือข้าวเหนียวนึ่ง อาจเติมส่วนผสมอื่น เช่น กระเทียม พริกไทย จะมีรสเปรี้ยว ควรทาให้สุก
ก่อนบริโภค
2. ประเภทของปลาส้ม
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์ (2560) ได้แบ่งปลาส้ม ออกเป็น
4 ประเภท คือ
7
1) ปลาส้มตัว เป็นปลาส้มที่ทาจากปลาทั้งตัวที่ผ่าท้องควักไส้ออกแล้ว
2) ปลาส้มชิ้นเป็นปลาส้มที่ทาจากเนื้อปลาล้วนหั่นเป็นชิ้นตามขวางของลาตัวปลา
3) ปลาส้มเส้น เป็นปลาส้มที่ทาจากเนื้อปลาล้วนที่หั่นเป็นเส้น
4) ปลาส้มฟัก หรือ แหนมปลา เป็นปลาส้มที่ทาจากเนื้อปลาล้วนที่บดหรือสับ
3. คุณลักษณะของปลาส้มที่ดี
1) ลักษณะภายนอกต้องอยู่สภาพเรียบร้อย สะอาด อาจมีน้าซึมได้เล็กน้อย ใน
ภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นปลาชนิดเดียวกัน ยังคงสภาพเป็นตัว ชิ้น หรือเส้น เนื้อแน่น ไม่ยุ่ย
2) ต้องมีสีดีตามธรรมชาติปลาส้ม
3) ต้องมีกลิ่นที่ดีตามธรรมชาติของปลาส้ม ไม่มีกลิ่นอื่นที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น
กลิ่นอับ กลิ่นหืน
4) ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของปลาส้ม ไม่มีกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์
เช่น กลิ่นรสเปรี้ยวบูด
5) ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย
กรวด ชิ้นส่วนหรือปฏิกูลจากสัตว์
6) ความเป็นกรด-ด่าง ต้องไม่เกิน 4.6 เมื่อถึงกาหนดวัน เดือน ปีที่เริ่มบริโภค
7) สารปนเปื้อน
- ตะกั่ว ต้องน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- สารหนูในรูปอนินทรีย์ ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- ปรอท ต้องน้อยกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
8) วัตถุเจือปนอาหาร
- ห้ามใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด
- หากมีการใช้วัตถุกันเสีย ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกาหนด
- หากมีก ารใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไนเทรต ให้ใ ช้ไ ด้ไ ม่เกิดน 500
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือโซเดียมหรือโพแทสเซียมไนไทรต์ ต้องไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หรือถ้าใช้โซเดียวหรือโพแทสเซียมไนเทรตและโซเดียมหรือโพแทสเซียมไนไทรต์ รวมกันต้องไม่
เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยปริมาณโซเดียมไนเทรตและ/หรือโซเดียมไนไทรต์ที่ตรวจสอบ
พบในผลิตภัณฑ์น้อยกว่า 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
- หากมีการใช้ฟอสเฟตในรูปของโมโน- ได- และโพลิของเกลือโซเดียหรือ
โพแทสเซียมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตามชนิดที่ก ฎหมายกาหนด (คานวณเป็ฟอสฟอรัส
ทั้งหมด) ต้องไม่เกิน 2 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยไม่รวมกับปริมาณฟอสฟอรัสที่มีในธรรมชาติ
8
9) จุลินทรีย์
- แซลโมเนลลา ต้องไม่พบในตัวอย่าง 25 กรัม
- สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
- บาซิลลัส ซีเรียส ต้องน้อยกว่า 1 x 103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
- คลอสทริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ต้องน้อยกว่า 1x103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
- เอสเซอริเชีย โคโล โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม
- ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 1 x 103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
10) พยาธิ
- พยาธิตัวจี๊ด แนธโธสโตมา สไปนิจิรุม (Gnathostoma spinigerum) ต้อง
ไม่พบในตัวอย่าง 100 กรัม
- ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ในตับ (Metacercaria of Opisthorchis viverrini) ต้อง
ไม่พบในตัวอย่าง 100 กรัม
4. คุณลักษณะของปลาส้มที่ไม่ดี
ลักษณะปลาส้มที่ไม่ดี ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด คือ น้าที่ได้จากการหมักปลาส้ม
มีสีขุ่น ฟองมาก กลิ่นเหม็น เนื้อปลาเละและข้าวเหนียวนึ่งมีกลิ่นบูด (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)
5. วัตถุดิบสาคัญที่ใช้จะประกอบด้วย
1) ปลาสด ปลาน้าจืดที่นิยมทาปลาส้มตัวมากที่สุดคือ ปลาตะเพียน รองลงมาคือ
ปลาขาว แต่ปัจจุบัน ปลาตะเพียนแถบภาคอีสานมีจานวนน้อย สามารถใช้ปลาจีน ปลาสร้อย ปลา
นวลจันทร์ ก็นามาทาได้แต่จะทาในลักษณะเป็นปลาส้มชิ้น หลังหมักปลาจนเป็นปลาส้มสามารถ
รับประทานได้ ลักษณะปลาส้มที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค คือ มีสีชมพู เนื้อแข็ง รสชาติอร่อย
2) เกลือ ที่นิยมใช้ในการทาปลาส้มที่ดี ควรเป็นเกลือทะเลป่น ขาว สะอาด และมี
ความเค็มสูง แต่จะมีราคาแพง หรือบางแหล่งอาจใช้เกลือสินเธาว์ เกลือเม็ด เกลือต้ม ขึ้นอยู่ความ
สะดวกในการซื้อเกลือ หรือใกล้แหล่งผลิตเกลือในภาคอีสาน ซึ่งเกลือทาหน้าที่ควบคุมและรักษา
สภาวะการหมักให้จุลินทรีย์ที่ต้องการ จาพวกแลคติกแอซิดแบคทีเรีย
3) ข้าว เหนียวนึ่ง จะใช้ข้าวเหนียวใหม่มาทาการนึ่ง และล้างในน้าสะอาดเพื่อให้
เมล็ดข้าวแยกไม่เกาะติดกันเป็นก้อน ข้าวเหนียวนึ่งนี้จะทาหน้าที่เป็นตัวเร่ งให้จุลินทรีย์จาพวกแล
คติก แอซิดแบคที เรียเจริญได้รวดเร็วในช่วงแรกของการหมักและทาให้เกิดกลิ่นรสเปรี้ยว ของ
ผลิตภัณฑ์ ก่อนที่จุลินทรีย์ชนิดอื่นที่ไม่ต้องการจะเจริญเติบโตทาให้เกิดกลิ่นรสที่ ไม่ต้องการ
4) กระเทียม เป็นตัวช่วยในการปรับปรุงกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม โดยแหล่ง
รับซื้อกระเทียมที่สาคัญจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้อาจเติมผงชูรสหรือน้าตาลเพื่อช่วยในการปรุง
แต่งรสชาติ ดินประสิวและสีผสมอาหารเพื่อเพิ่มสีสันให้มีสีแดงขึ้น (มารตี แจ่มสุวรรณ, 2559)
9
กระบวนการผลิตปลาส้ม
การผลิตปลาส้มโดยทั่วไป จะเริ่มจากการนาปลาสด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว (เมื่อ
ปลาสดมาถึงควรทาทันที เนื่องจากว่าปลาสดหากเก็บไว้จะทาให้คุณภาพของปลาไม่ดี เน่าเสียได้
ง่าย เพราะว่าหลังจากที่ปลาตาย เอ็นไซม์จะย่อยสลายโปรตีนในเนื้อปลาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเอ็นไซม์
cathepsins ซึ่งมีอยู่ในกล้ามเนื้อปลาเรียกว่าเกิดการย่อยสลายตัวเอง ทาให้ปลามีสภาพที่เหมาะสมต่อการ
เจริญของแบคทีเรียตามธรรมชาติที่ไม่ต้องการ ซึ่งจะผลิตเอ็นไซม์ออกมาย่อยเนื้อปลา ทาให้เกิดกลิ่น
ในช่วงที่ทาการหมัก) มาทาการขอดเกร็ด ควักไส้ ตัดแต่งในขั้นตอนการตัดแต่งปลานั้น จะบั้งปลาที่
ข้างลาตัว ทั้งนี้เพื่อทาให้เกลือสามารถแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อของปลาได้ดีขึ้น จากนั้นล้างน้าทา
ความสะอาด สะเด็ดน้าให้แห้ง นามาคลุกเคล้าหรือแช่ในน้าเกลือ บีบนวดและคลุกเคล้ากับกระเทียม
ข้าวเหนียวนึ่ง ผงชูรส แล้วทาการหมัก ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะทาการหมักในถุงพลาสติกแล้วใส่ในภาชนะ
จาพวกปี๊บโลหะ กะละมังเคลือบ หรือถังพลาสติก แล้ววางในพื้นที่ว่างในบริเวณแหล่งผลิต สาหรับ
ระยะเวลาในการหมักปลาจนได้ปลาส้มที่สามารถบริโภคได้ จะใช้เวลา 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพ
อากาศหรืออุณหภูมิในสถานที่ผลิต ซึ่งถ้าอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม - เมษายน จะใช้เวลา
เพียง 2 วัน ในขณะที่ฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่าในเดือน ธันวาคม - มกราคม อาจใช้เวลา 7 วัน จึงจะ
สามารถบริโภคได้ โดยปกติแล้วผู้ผลิตจะจาหน่ายให้ลูกค้าเพื่อนาไปจาหน่ายให้แก่ผู้บริโภคอีก ทอด
หนึ่ง หลังจากทาการหมักเพียง 1-2 วัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่นาไปจาหน่ายมีเวลาในการขายผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
ให้แก่ผู้ บริโภคมากขึ้น (มารตี แจ่มสุวรรณ, 2559)
การผลิตปลาส้มในแต่ละท้องถิ่นจะมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันไป ทาให้ผลผลิต
มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น ภาคเหนือและภาคอีสานนิยมใช้ข้าวเหนียวนึ่งสุก ส่วนปลาส้ม
ในภาคกลางนิยมใช้ข้าวสวย เป็นต้น (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557)

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต/คุณค่าทางโภชนาการ
ล้างปลาให้สะอาด จนตัวปลาซีดไม่มีเลือดและเมือกจากตัวปลา นาปลาล้างในน้าซาว
ข้าวอีกครั้งเพื่อลบกลิ่นคาวออกจากตัวปลา
นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนาการของปลาส้ม จัดเป็นอาหารหมักจากปลาที่มีคุณค่าทาง
โภชนาการค่อนข้างสูง โดยจะได้รับโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ แต่ไม่เหมาะสาหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต
เพราะมี ปริ มาณเกลื อสู งจากนั้ น กรดอะมิ โนจะสลายตั วไปเป็ นเอมี น กรดคี โต แอมโมเนี ย และ
คาร์ บอนไดออกไซด์ และไขมั นบางส่ วนของเนื้ อปลาจะย่ อยสลายไปเป็ นกรดไขมั น กลี เซอรอล
นอกจากนี้ยังเกิดสารพวกคีโตนและออลดีไฮด์ด้วย (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559 : ไม่ปรากฏเลขหน้า)
10
อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่ควรรับประทานปลาส้มดิบ ๆ ควร
ปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เพราะอาจมีพยาธิใบไม้ตับปะปนอยู่ ทาให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
ลาไส้ และมะเร็งตับได้ (สานักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558 : 4)
ในปั จ จุ บั น เปปไทด์ อิ ส ระที่ ป ลดปล่ อ ยออกมาจากโปรตี น ของเนื้ อ ปลาหรื อ ของ
เนื้อสัตว์หรือของถั่วเหลืองนั้นเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นเปปไทด์ที่มีหน้าที่ต่อสุขภาพเรียกว่าเป็นเปปไทด์
ที่มีหน้าที่หรือ functional peptides ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่ม bioactive peptides ที่พบว่ามีหน้าที่ต่อ
สุขภาพในด้านต่างๆ อาทิ การต่อต้านสภาวะความดันโลหิตสูง (antihypertensive peptide) การต้าน
อนุมูลอิสระ (antioxidative peptide) การยับยั้งจุลินทรีย์ (antimicrobial peptide) เป็นต้น ทาให้
ขณะนี้ได้มีแนวทางต่อยอดงานวิจัยของปลาส้มในการที่จะหาหน้าที่ของเปบไทด์อิสระที่ตรวจพบ
จากปลาส้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคทางด้านใดตามที่กล่าวมา โดยอาจจะเป็น
อาหารสมองป้องกันการเป็นอัลไซเมอร์ได้เหมือนกับเปปไทด์ที่ปลดปล่อยออกมาจากโปรตีนถั่วเหลือง
ระหว่างการหมักเต้าหู้อย่างที่กลุ่มนักวิจัยของประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาไว้ก็อาจเป็นไปได้ ทั้งนี้ยังต้อง
รอผลการดาเนินการวิจัย ทั้งนี้ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นในการที่จะเปิดโลกทัศน์ให้สาธารณะชนทั่วไปที่
เคยถูกปลูกฝังว่า อาหารหมักดองเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ย วกับ
อาหารหมักดองว่าก็สามารถเป็นอาหารที่มีหน้าที่ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน (กองบริหารงานวิจัย
มข., 2559 : ไม่ปรากฏเลขหน้า)

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
สานักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2558 : 5) ได้กล่าวถึง
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปลาส้ม คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้มีคุณภาพดี ปลอดภัย
ต่ อ สุ ข ภาพ และตรงตามความต้ อ งการของผู้ บ ริ โ ภค สามารถใช้ ห ลั ก ในการควบคุ ม คุ ณ ภาพ
ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานเหล่านี้
1. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP) โดย
ข้อจากัด GMP สุขลักษณะทั่วไป มีอยู่ 6 ข้อจากัด ดังนี้
1) สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต
3) การควบคุมกระบวนการผลิต
4) การสุขาภิบาล
5) การบารุงรักษาและการทาความสะอาด
6) บุคลากรและสุขลักษณะ
11
ในแต่ ล ะข้ อ ก าหนดมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก เพื่ อ ให้ ผู้ ผ ลิ ต มี ม าตรการป้ อ งกั น การ
ปนเปื้อนอันตรายทั้งทางด้านจุลินทรีย์ เคมี และกายภาพ ลงสู่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจมาจากสิ่งแวดล้อม
ตัวอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้การดาเนินงานในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงการจัดการในด้าน
สุขอนามัย ทั้งในส่วนของความสะอาด การบารุงรักษาและผู้ปฏิบัติงาน
2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(สมอ.) ได้ จั ด ท าโครงการมาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชน (มผช.) เพื่ อ รองรั บ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพ
ผลิตภัณฑ์ ชุ ม ชน หรือระดับ พื้ นบ้ านที่ยั งไม่ไ ด้รับการพั ฒนาเท่าที่ควร เพื่ อส่งเสริมและพั ฒนา
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรอง และแสดงเครื่องหมายการรับรอง ส่งเสริมด้าน
การตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการ
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้ง
สนับสนุนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในโครงการหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่
1) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
2) สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
3) สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
4) สามารถนาผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับดาว)
5) ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. สานัก งานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย. คือ อักษรย่ อของ “ส านักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา” (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดาเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครอง
สุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง
อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสาอางค์)โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและ
ปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมี
ความเหมาะสม เพื่ อให้ ประชาชนได้ บริ โภคผลิ ตภั ณฑ์ สุ ขภาพที ปลอดภั ยและสมประโยชน์ (ปิ
ยะวรรณ อานาจศักดิ์, 2557)
เครื่องหมาย อย. ที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ
อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและ
อาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิตการสุขาภิบาล
โรงงานการบารุงรักษาและทาความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดี
ในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพ
มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง
12
หรือทาให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปร
รู ป ที่ มี ภ าชนะบรรจุ ส นิ ท รั บ ผิ ด ชอบโดย ส านั ก งานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวง
สาธารณสุข (ปิยะวรรณ อานาจศักดิ์, 2557)
4. มาตรฐานอาหารฮาลาล
อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทา ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปร
สภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร
หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้โดยสนิทใจ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล”
หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสาคัญ (Werawit, 2559)
ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากจาก
สังคมไทย มิใช่ เพียงแต่ชาวไทยมุสลิมที่จาเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการ
ซึ่งต้องการผลิตอาหารฮาลาลจาหน่ายแก่ผู้บริโภคมุสลิมในประเทศ และผลิตเพื่อการส่งออกใน
ตลาดโลกมุสลิมก็จาเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง และดาเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล
ให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่า
ด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองจาก
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจาจังหวัดแล้วแต่กรณี
และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล" จะต้องรับอนุญาตให้ใ ช้
เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ)
ประกอบกั บ ประเทศไทยเป็ นแหล่ งผลิต อาหารที่ส าคั ญของโลก ตลาดโลกมุ ส ลิ มมี ประชากร
ผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel)
ที่สาคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market
Segmentation) ให้มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการ
ส่งออกและได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริม
ผู้ ป ระกอบการ การแสวงหาตลาดและการพั ฒ นากลไกการรั บ รองมาตรฐานฮาลาลให้ เ ป็ น ที่
น่าเชื่อถือยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอานาจหน้าที่ในการตรวจรับรอง
และอนุญาตให้ใช้ (สานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2557)

ปัญหาที่มักพบในผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเกิด
อันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งมีรสชาติไม่คงที่สม่าเสมอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการปลาส้มอีกหลายราย
ยังไม่สามารถขอการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้ เนื่องจากคุณภาพของปลาส้ม
ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดจึงไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานของ มผช. (กรุงเทพธุรกิจ, 2557)
13
การแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
รัฐบาลมีนโยบายการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่ง
ในยุ ท ธศาสตร์ประเทศ กรมวิทยาศาสตร์บริก าร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วน
รับผิดชอบในการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ( OTOP) ซึ่งจะนาไปสู่การ
สร้า งขี ดความสามารถในการแข่ งขันและขยายศัก ยภาพทางการค้า รวมถึงความปลอดภัย ของ
ผู้บริโภคโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและถ่ายทอดเทคโนโลยีใน
เชิงลึก เรื่องการถนอมอาหาร การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิต
การพัฒนาสถานที่ผลิตแก่ผู้ประกอบการ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการมาตรฐาน
(pre-test) ก่อนยื่นขอการรับรองมาตรฐาน รวมทั้งติดตามผลการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็น
ระยะ เพื่ อให้ ผลิตภั ณฑ์ ป ลาส้ม มี คุ ณภาพและได้ รับการรับรองมาตรฐานต่า งๆ เช่น มาตรฐาน
กระบวนการผลิตที่ดีขั้นต้น (primary GMP) มาตรฐานกระบวนการผลิตที่ดี ( GMP) มาตรฐานผลิตภัณฑ์
อาหารและยา (อย.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)นาไปสู่การเพิ่มศักยภาพฐานการผลิต
ของกลุ่มให้แข็งแกร่ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เชื่อมโยงกับฐานการผลิตของท้องถิ่น
และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย ทาให้เกิดประโยชน์ โดยตรงกับ
ชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ในชุมชน รวมทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยทั่วไป ที่จะได้บริโภค
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ส ะอาด และปลอดภัย อี ก ด้ ว ยที่ ส าคั ญ ยั ง ก่ อ ให้ เ กิ ดการบู ร ณาการความร่ ว มมื อ กั บ
หน่ ว ยงานราชการที่ เ กี่ ย วข้ อ งอี ก หลายหน่ ว ยงาน เริ่ ม จากกรมวิ ท ยาศาสตร์ บ ริ ก าร กระท รวง
วิท ยาศาสตร์ ฯ อุตสาหกรรมจัง หวัด กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ดู แลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน
สาธารณสุขจังหวัด กระทรวงสาธารณสุข ผู้ดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาหารและยา และพั ฒนา
ชุมชน กระทรวงมหาดไทย ผู้ดูแลสินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP เพื่อให้เกิดการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มให้ได้มาตรฐานการผลิตเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อย่างยั่งยืน
(กรุงเทพธุรกิจ, 2557)

แหล่งผลิตปลาส้มที่สาคัญในประเทศไทย
ปลาส้มจัดเป็นผลิตภัณฑ์ปลาหมักชนิดหนึ่ง ที่ผลิตมากในภาคอีสาน
คนทั่วไปอาจจะรวมเรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบดเนื้อปลากับส่ว นผสมอื่นๆแล้วทา
การห่อด้วยใบตองหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทจนเกิดรสชาติเปรี้ยว คนอีสานเรียกว่า " สัมฟัก " หรือ
" ส้มปลา " ว่า ปลาส้ม จะได้จากการหมักปลาสดที่ตัดแต่งแล้วกับส่วนผสมต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว
กระเทียม และเกลือ เป็นหลัก จนเกิดรสเปรี้ยวและที่สาคัญคือเนื้อ ปลาสดที่ใช้ในการผลิตจะไม่มี
การถูกบดให้ ละเอียด ในบางท้องถิ่นอาจเรียกปลาส้มอีกชื่อหนึ่งว่า " ปลาข้าวสุก " นอกจากเราจะมี
14
ผลิตภัณฑ์ปลาหมัก ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศฟิลิปปินส์มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า " Burong-isda "
เกาหลีมีผลิตภัณฑ์เรียกว่า " Jol-kal " และญี่ปุ่นมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า " Funa - shushi " เดิมที่แหล่งผลิตปลา
ส้มที่สาคัญในภาคอีสาน จะกระจายอยู่ตามแหล่งน้า ลุ่มแม่น้า เขตน้าท่วมขังหรือน้าหลากตาม
ฤดูกาล เช่น เขตลุ่มแม่น้ามูลในจังหวัดอุบลราชธานี เขตลุ่มแม่น้าชีในจังหวัดยโสธร เขตลุ่มแม่น้า
สงครามและเขตน้าท่วมขังในฤดูน้าหลากในจังหวัดสกลนครและนครพนม แต่แหล่งที่ผลิตทาปลา
ส้มที่สาคัญ คือ จังหวัดยโสธร นครพนม และอุบลราชธานี ในปัจจุบันพบว่าแหล่งผลิตภัณฑ์ปลา
ส้มมีการกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากว่าปริมาณปลาจากแหล่งน้าภาคอีสานที่นิยมมาทาปลาส้ม
มีปริมาณลดลง อีกทั้งการขนส่งที่สะดวกขึ้น จึงได้มีการนาปลาตะเพียนของภาคกลางมาทาแทน
เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และพิษณุโลก เป็นต้น (มารตี แจ่มสุวรรณ, 2559)
ปลาส้มของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ต่างไป โดยจะนาปลา เช่น ปลากระดี่ ปลา
ตะเพียน มาผ่าท้องเอาไส้ออก หมักเกลือไว้ 2-3 วัน แล้วจึงล้าง จากนั้นนาไปชุบในน้าตาลโตนดที่
เคี่ยวกับข้าวคั่วจนข้น เรียงใส่ไห ปิดปากไหให้แน่น ทิ้งไว้ วัน 10 -7 (ณัฐศร เกียรติพัฒนาชัย, 2557)

ข้อมูลด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ปลาส้มของไทย
ด้านการตลาดสามารถจาแนกปริมาณและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ในภาคอีสาน
พบว่าในอุตสาหกรรมการผลิตแปรรูปปลาน้าจืดในรูปของปลาส้ม มีปริมาณการผลิตประมาณ
1.35 ล้านกิโลกรัมต่อปี หรือเป็นมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี หรือซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่สร้าง
เม็ดเงินให้กับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี (ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรม
เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557 : ไม่ปรากฏเลขหน้า)
ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ปลาส้มแปรรูปขายดีมาก มีประชาชน นักท่องเที่ยว
นิยมซื้อไปเป็นของฝากกลับบ้าน และกลับไปเก็บไว้กินที่ต่างจังหวัด เพราะมีรสชาติอร่อย และยัง
สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือน มีทั้งเป็นประเภท ปลาเกล็ด ปลาเนื้ออ่อน ส้มปลาแผ่น และปลา
แห้ง สามารถนาไปประกอบอาหาร นึ่ง ย่าง ทอด ได้ตามความชอบ เหมาะสาหรับการนากลับไป
ฝากญาติพี่น้อง ทาให้ยอดขายเพิ่มขึ้นทะลุเป้า จากปกติตามร้านต่างๆ ขายได้วันละ 2,000 – 3,000 บาท
เพิ่มเป็นประมาณ 15,000 – 20,000 บาท สร้างเงินหมุนเวียนในพื้นที่จานวนร้างเงินหมุนเวียนในพื้นที่
จานวนมาก โดยปลาส้มของชาวบ้านถือเป็นสินค้าขึ้นชื่อได้รับความนิยมมาก ผลิตตลอดปี และขาย
ได้ดีทุกเทศกาลที่สาคัญ (ผู้จัดการ Online, 2560)
รัฐบาลมีนโยบายการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่ง
ในยุทธศาสตร์ประเทศ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วน
รับผิดชอบในการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ซึ่งจะนาไปสู่การ
15
สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายศักยภาพทางการค้า รวมถึงความปลอดภัยของ
ผู้บริโภค (กรุงเทพธุรกิจ, 2557)

ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์ กว่า 80 ครัวเรือน หันมายึดอาชีพแปรรูปปลาสดที่รับต่อมาจาก


แม่ค้าคนกลาง เช่น ปลานิล สวาย ยี่สก และปลาตะเพียน มาแปรรูปเป็นปลาส้ม ปลาแดดเดียว และ
ปลาข้าวคั่ว ด้วยสูตรแบบภูมิปัญญาชาวบ้านขายทั้งปลีกและส่งลูกค้าทั้งในและต่างจังหวัด สร้าง
รายได้ดีวันละ 3-4 พันบาทต่อครัวเรือน หักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้วก็จะเหลือวันละ 1-2 พันบาท ซึ่งถือ
เป็นอาชีพที่มั่นคงสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี จากเมื่อก่อนหลังเสร็จฤดูทานาชาวบ้าน
ส่วนใหญ่ก็จะทิ้งถิ่นฐานอพยพไปขายแรงงานต่างจังหวัด แต่ก็มีรายได้ไม่มั่นคงแน่นอนทาให้ไม่มี
เงินเหลือเก็บ จึงตัดสินใจกลับมาบ้านก็เห็นชาวบ้านแปรรูปปลาขายมีรายได้ จึงทาทั้งปลาส้ม ปลา
แดดเดียว และปลาข้าวคั่ว ซึ่งสูตรหรือขั้นตอนการทาก็ไม่ยุ่งยากเพราะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคย
ทารับประทานก็ดัดแปลงทาขาย กระทั่งมีลูกค้าขาประจา แต่ละวันจะทาส่งขาย 200-300 กิโลกรัม
ทาให้มีรายได้เฉลี่ยวันละ 3-4 พันบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือ 1-2 พันบาท ถือเป็นอาชีพที่มั่นคงและ
รายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี (ผู้จัดการออนไลน์, 2560 : ไม่ปรากฏเลขหน้า)
ไร่กานันจุล ศูนย์รวมของฝากซึ่งเป็นสินค้าเกษตรคุณภาพภายใต้แบรนด์ไร่กานันจุล
กว่า 200 รายการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปลาส้มกานัลจุล อันลือชื่อผลิตภัณฑ์อี กประเภทหนึ่งที่โดด
เด่นและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ จนเป็นเอกลักษณ์ของไร่กานันจุลก็คือ “ปลาส้ม” ไร่กานันจุลขุด
บ่อเลี้ยงปลาบนเนื้อที่ 4,000 ไร่ สาหรับเลี้ยงปลานานาชนิด เริ่มจากได้รับพระราชทานพันธุ์ปลานิล
จานวน 56 ตัว จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวให้มาเลี้ย งเพื่ อเป็นอาหารแก่ พ นัก งาน ต่อมา
ขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปลาสด ยังเหลือจากการ รับประทานแล้วขายจึงนามาแปรรูปเป็นปลาส้ม
โดยพนั ก งานเป็ น ผู้ เ ริ่ ม ท า ปรากฏว่ า รสชาติ อ ร่ อ ยถู ก ปาก จึ ง ท าเป็ น ธุ ร กิ จ เสริ ม ขายดิ บ ขาย
ดี กรรมวิธีการทาสะอาดถูกหลักอนามัย เนื้อปลาแต่ละชิ้นที่บรรจุในถุงพลาสติกสุญญากาศ เนื้อ
แน่ น สด สะอาด จากบ่ อเลี้ย งปลา แบบธรรมชาติ ที่มี ระบบการไหลเวีย น ของน้าตลอดเวลา
เลือกใช้วัตถุดิบอย่างดีมาเป็นส่วนผสมในการปรุงรส จึงทาให้ ปลาส้มของ ไร่กานันจุล มีรสชาติ
มาตรฐานอร่อยทุกถุง เป็นสินค้าขายดีอันดับหนึ่ง (Slideon7687, 2558)
ศูนย์วิจัยและพัฒนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (2559) ได้กล่าวถึง
ไร่กานันจุล ส่งปลาส้ม-น้าผลไม้ลุยอาเซียน ไว้ดังนี้
ไร่กานัลจุล เตรียมส่งปลาส้มทาตลาดต่างประเทศ เจาะตลาดร้านอาหารไทย ร้านขาย
ของชาในภูมิภาค สร้างความพร้อมเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ ศึกษารายตลาด
ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักไร่กานันจุลในฐานะผู้ผลิตปลาส้ม ซึ่งเป็นธุรกิจต่อเนื่องจาก
การทาสวนส้ม เพราะไร่กานัลจุล มีพื้ นที่ 10,000 ไร่ และจาเป็นต้องขุดสระขนาด 2,000ไร่ เพื่อกัก
16
เก็บน้าไว้ใช้ในไร่ เมื่อมีสระน้าขนาดใหญ่แล้วเห็นว่าควรใช้ประโยชน์จากสระน้าแห่งนี้ จึงได้เลี้ยง
ปลาแล้วนาปลามาจาหน่ายทั้งในแบบปลาส้มและปลาแปรรูป
ไร่กานัลจุลได้ไปงานแสดงสินค้าต่าง ๆ และนาสินค้าในไร่ไปแสดงมีชาวต่างชาติมา
ชิมสินใจแล้วพอใจ รวมทั้งโรงงานของไร่กานัลจุลได้มาตรฐาน GMP และ HACCP จึงทาให้มี
บริษัทเทรดเดอร์เริ่มมาสนใจมากขึ้น และที่ผ่านมาได้ส่งปลาส้มไปขายที่ร้านอาหารไทยในมาเลเซีย
และส่งออกไปออสเตรเลียเพื่อไปจาหน่ายในร้านอาหารของชาวเอเชียในออสเตรเลีย โดยเป็นที่
ต้องการของคนไทยและคนลาวที่อาศัยในออสเตรเลียมาก
ทั้งนี้ ไร่กานันจุลยังใหม่กับตลาดต่างประเทศ แต่หลังจากนี้จะมีแผนในการร่วมงาน
แสดงสินค้ามากขึ้น เพราะต้องการสร้างความพร้อมให้กับบริษัทก่อน เช่นการไปดูแนวคิดการผลิต
สินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งการที่เอสเอ็มอีจะไปทาตลาดต่างประเทศได้ ต้องมีภาครัฐเข้ามา
ช่วยอย่างมาก เพราะเอสเอ็มอีมีประสบการณ์ต่างประเทศน้อย
มาถึงขณะนี้เชื่อว่าไร่กานัลจุลพร้อมที่จะออกไปทาตลาดต่างประเทศ เพราะได้เตรียม
ความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีมาตรฐานสินค้า วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์และซัพพลายเออร์ที่จั ดหาวัตถุดิบ
ให้โดยการส่งออกจะใช้แบรนด์ที่มีประวัติและลูกค้าต่างชาติเริ่มรู้จัก ซึ่งเริ่มจากคนต่างชาติที่มา
เที่ยวเมืองไทยและซื้อกลับไปและมองว่าภายใน 5 ปี การส่งออกของไร่กานัลจุลน่าจะเป็นรูปธรรม
มากขึ้น
ส่วนลาวเหมาะที่จะเข้าไปทาตลาดปลาส้ม แต่ต้องปรับสินค้าให้ แตกต่างจากสินค้า
ท้องถิ่นที่ มีราคาถูก กว่า โดยจะต้องปรับบรรจุภัณฑ์ และทาตลาดระดับบนมากขึ้นเพราะสินค้า
ท้องถิ่นมีราคาถูกและคงไปแข่งขันด้านราคาไม่ได้
มี เอสเอ็ ม อี ไม่ น้ อยที่ ส นใจออกไปทาตลาดในต่ างประเทศ เพราะจะทาให้ต ลาด
ขยายตัวมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ติดปัญหาประสบการณ์การทาธุรกิจในต่างประเทศ และมีปัญหาไม่เข้า
ใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาด ซึ่งการทาตลาดในต่างประเทศจะต้องปรับสินค้าเพราะ
สินค้าที่ขายในไทยอาจจะไม่เป็นทีต้องการในต่างประเทศ เช่น รสชาติปลาส้มของไทยกับของลาว
แตกต่างกัน ก่อนที่จะส่งปลาส้มไปทาตลาดในลาวก็ต้องปรับรสชาติใหม่ ซึ่งต้องเตรียมความพร้อม
ทุกด้านก่อนไปทาตลาดต่างประเทศเต็มตัว

ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จังหวัดยะลา
จังหวัดยะลา แบ่งเขตการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น 8 อาเภอ คืออาเภอเบตง
อาเภอธารโต อาเภอบันนังสตา อาเภอกรงปินัง อาเภอยะหา อาเภอกาบัง อาเภอรามัน และอาเภอ
เมืองยะลา ในจานวนนี้ได้แบ่งการปกครองเป็นตาบล จานวน 58 ตาบล 379 หมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งหมด
2,825,673.75 ไร่ เศรษฐกิจรายได้หลักมาจากผลผลิตทางการเกษตร การค้าและการท่องเที่ยว พื้นที่
17
โดยรวมจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีลักษณะเป็นภูเขา เนินเขาและหุบเขาตั้งแต่ตอนกลางจนถึงใต้สุด
ของจังหวัด มีที่ราบบางส่วนทางตอนเหนือของจังหวัด จังหวัดยะลามีแม่น้าที่สาคัญ 2 สาย คือ
แม่น้าปัตตานี และแม่น้าสายบุรี แม่น้าปัตตานี ต้นน้าเกิดจากภูเขาในท้องที่ อาเภอเบตง ไหลผ่าน
อาเภอธารโต อาเภอบันนังสตา อาเภอกรงปินัง อาเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อาเภอยะรัง และลง
ทะเลในท้องที่อาเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยเฉพาะอาเภอเบตง อาเภอธารโต
และอาเภอบันนังสตา เป็นแอ่งน้าระหว่างภูเขา ทาให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ก่อสร้าง
เขื่อนในตาบลบาเจาะ และตาบลเขื่อนบางลาง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า จาหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศเพื่อนบ้าน ในชื่อว่า เขื่อนบางลาง ส่วนแม่น้าสายบุรี ต้นน้าเกิดจาก
สันเขาสันกาลาคีรี ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ในพื้นที่ อาเภอสุคิริน
ไหลผ่าน อาเภอแว้ง อาเภอศรีสาคร อาเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ผ่านอาเภอรามัน จังหวัดยะลา
อาเภอกะพ้อ และไหลลงทะเลที่อาเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (อับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์, 2552)
การประมงปลาน้าจืด เป็นอาชีพเสริมอาชีพหนึ่งรองจากอาชีพการทาสวนยางและ
สวนผลไม้ ที่เกษตรกรชาวจังหวัดยะลานิยมประกอบการ โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้รัศมี
หรือรอบ ๆ อ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ ของเขื่อนบางลาง และแหล่งน้าธรรมชาติ รวมเนื้อที่ 48,021,107 ไร่
นอกจากนี้เกษตรกรยังได้ทาการเพาะเลี้ยงปลาน้าจืดเพื่อการแปรรูป ทั้งในบ่อดิน และในกระชัง
ในเนื้อที่ 1,730 ไร่ จานวน 3,853 ราย อีกด้วย ทาให้ปริมาณปลาที่จับได้มีจานวนมากขึ้น ทาให้เกิด
กลุ่มแปรรูปปลาน้าจืดเป็นปลาส้มขึ้น เพื่อสนองความต้องการบริโภคปลาของประชากรในพื้นที่
และต่างพื้นที่ ซึ่งปัจจุบัน การแปรรูปปลาส้มของพื้นที่อาเภอธารโต เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคใน
พื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนเป็นสินค้าโอท็อปที่ขึ้นชื่อของจังหวัดยะลาในด้าน
ความอร่อยของปลาส้มทาให้ผู้ที่เดินทางผ่านอาเภอธารโต จะแวะหาซื้อปลาส้มที่มีการวางขายใน
ตลาดคอกช้าง ตาบลแม่หวาด เพื่อเป็นของฝากติดไม้ติดมือมอบให้กับเพื่อนสนิทมิตรสหายและ
ญาติพี่น้องด้วย สาหรับปลาที่นิยมแปรรูปเป็นปลาส้ม ส่วนใหญ่จะเป็น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลา
ทับทิม ปลากด ปลาแรด (อับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์, 2552)
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (2559)
ได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลาส้มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปลาส้มครบวงจรต้นแบบ ราษฎรอาสา
รักษาหมู่บ้านในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (อรบ.ริมเขื่อน) ไว้ดังนี้
ชาวบ้ านวัง ไทร อาเภอธารโต จังหวัดยะลา รวมกลุ่มผลิตปลาส้มครบวงจร สร้าง
รายได้เสริมให้ตนเองและสร้างธุรกิจต่อเนื่องให้ชุมชน โดยมี นางสาววิลาศ ทองคา เป็นประธาน
กลุ่มฯ พร้อมด้วยสมาชิกร่วมดาเนินการจานวน 15 คน โดยการนาปลาที่ได้จากเขื่อนบางลาง ใช้เป็น
วัตถุดิบมาใช้หลักการถนอมอาหารพื้นบ้าน มาผลิตเป็นปลาส้ม เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างงาน สร้างอาชีพ
ให้แก่สมาชิก และประชาชนในชุมชนมีรายได้อย่างสม่าเสมอ
18
กลุ่มผลิตปลาส้มเกิดจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใย
ราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงพระราชทานความช่วยเหลือผ่านโครงการพระราชดาริฯ
เพื่อไม่ให้ราษฎรละทิ้งถิ่นฐาน ประกอบกับสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(สสว.) ร่วมกับ กรมราชองค์รักษ์ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการเสริมสร้างความรู้ด้านอาชีพ และ
ผลักดันจนเกิดเป็นกลุ่มผลิตปลาส้ม สร้างรายได้ให้กับชุมชน ประกอบกับได้รับการส่งเสริมและการ
สนับสนุนจากสานักงานเกษตรจังหวัดยะลา สานักงานเกษตรอาเภอธารโต รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทาให้
ปัจจุบันกลุ่มฯ มี สมาชิก จานวน 15 คน สามารถผลิตปลาส้มได้ครั้งละ 500 กิโลกรัม มี รายได้เฉลี่ย
40,000-50,000 บาทต่อเดือน สามารถสร้างรายได้เสริมให้กบั สมาชิกได้เป็นอย่างดี
สาหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม คือ การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นปลาธรรมชาติจาก
เขื่อนบางลางทั้งหมด และการได้รับเครื่องหมาย (อย.) จากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา,
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุ มชน (มผช.) และ เครื่องหมายฮาลาล รวมทั้ง ได้รับการ คัดเลือก
ให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาว ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ราคา
จาหน่ายปลาส้ม ถุงเล็กขนาด 180 กรัม ราคา 35 บาท และถุงใหญ่ขนาด 500 กรัม ราคา 75 บาท
อาภรณ์ รัตนพิบูลย์ (2557) วิธีทาปลาส้มกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโครงการสายใยรักแห่ง
ครอบครัวฯ ชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ 2
1. เตรียมปลา โดยล้างให้สะอาด ใช้ปลาธรรมชาติจึงเป็นปลาตัวเล็กสามารถใช้ทั้งตัว
ได้เลยไม่ต้องแล่
2. หมักเกลือ 8 % และน้าตาลแว่น 5 % จากน้าหนักปลาโดยประมาณ หมักทิ้งไว้ 2 คืน
3. เทน้าส่วนเกินที่ออกมาจากตัวปลาทิ้งโดยไม่ต้องล้างน้า
4. เติมน้าต้มสุกที่เย็นแล้วลงไปให้จมตัวปลา หมักไว้ในถังหมักประมาณ 6-7 วัน
5. เทน้าทิ้ง ล้างปลาให้สะอาด ทิ้งให้สะเด็ดน้า
6. นามาคลุกข้าวคั่วให้ทั่วตัวปลา บรรจุถุง

ภาพที่ 1 ปลาส้มครบวงจรต้นแบบ ราษฎรอาสารักษาหมู่บ้านในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


พระบรมราชินีนาถ (อรบ.ริมเขื่อน)
ที่มา (ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า, 2559)
19
เกียรตินารี ธชีพันธุ์ (2559) ได้กล่าวถึง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลา
ส้มคอกช้าง ไว้ดังนี้
อาเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นอาเภอที่มีแหล่งน้าอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วน
ใหญ่ของเขื่อนบางลางอยู่ในอาเภอธารโต อาชีพประมงและการแปรรูปปลาในเขื่อนจึงมีอยู่มาก
โดยเฉพาะการทาปลาส้มซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของอาเภอธารโต
ปลาส้มบ้านคอกช้างเกิดมาจากที่ชุมชนเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้แม่น้า ทาให้ปลาน้าจืดมี
ไม่ขาด จึงได้มีการคิดที่จะทาปลาส้มขึ้นมารับประทานในหมู่ญาติต่อมาจึงได้ทาจาหน่ายในหมู่บ้าน
และส่งต่อไปยังอาเภอและจังหวัด
ปลาส้ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทาจากปลาที่ผ่านกรรมวิธีการหมักด้วยเกลือ ข้าวสวย
หรือข้าวเหนียวนึ่ง และกระเทียมจนมีรสเปรี้ยวอาจทาจากปลาทั้งตัว หรือเฉพาะเนื้อปลาก็ได้
ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันในเขตภาคใต้ อย่าง
แพร่หลาย และแพร่ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถนอมอาหารซึ่งการผลิตส่วน
ใหญ่ยังเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยอาศัยเทคนิควิธีทีถ่ายทอดสืบต่อกันมา
ดังนั้น รสชาติ หรือคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่ง จึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสูตรการผลิต
อย่างไรก็ตาม แม้สูตรการผลิตเดียวกัน ในแต่ละครั้งก็อาจไม่ได้คุณภาพเท่ากัน ทั้งนี้เพราะการผลิต
ปลาส้มจะเป็นการหมักเพื่อให้เกิดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมได้คุณภาพและรสชาติ จึงมี
โอกาสเปลี่ยนแปลงเนื่องจากองค์ประกอบหลายๆ ด้าน
อัตลักษณ์เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์) ลักษณะของผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่ดี ตามที่
ผู้บริโภคต้องการควรจะมีลักษณะ
- เนื้อปลาแข็ง ไม่ยุ่ย และมีสีชมพู
- มีกลิ่นกระเทียมและกลิ่นเปรี้ยวไม่แรง
- ชิ้นปลาส้มสมบูรณ์ไม่แตก
- ข้าวเหนียวนึ่งบนตัวปลาส้ม บานออกและแยกเป็นเม็ดเต็ม ติดอยู่บนตัวปลา
- นอกจากนี้ขนาดและจานวนเป็นตัวตัดสินใจของลูกค้าซึ่งผู้บริโภคทั่วไป นิยมปลา
ส้มขนาด ตัวต่อกิโลกรัม และในทางตรงกันข้ามลักษณะปลาส้มที่ไม่ดี ไม่เป็นที่ต้องการของ 5-3
นเหม็น เนื้อปลาตลาด คือ น้าที่ได้จากการหมักปลาส้มที่มีสีขุ่น ฟองมาก กลิ่ และข้างเหนียวนึ่งมี
กลิ่นบูด
ทางด้ า นโภชนาการผลิ ต ภั ณฑ์ ป ลาส้ มจั ด เป็ น อาหารหมั ก จากปลาที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง
โภชนาการค่อนข้างสูง โดยจะได้รับโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ แต่ปลาส้มไม่เหมาะสาหรับผู้ที่ป่วย
เป็นโรคไต เพราะมีปริมาณเกลือสูง จากนั้นกรดอะมิโนจะสลายตัวไปเป็นเอมีน กรดคีโต แอมโมเนีย
และคาร์บอนไดออกไซด์ และไขมันบางส่วนของเนื้อปลาจะย่อยสลายไปเป็นกรดไขมันกลีเซอรอล
20
นอกจากนี้ยังเกิดสารพวกคีโตนและออลดีไฮด์ด้วย วัตถุดินและส่วนประกอบสูตร
ปลาส้ม คุณดาว
1. ส่วนผสม (สาหรับปลา 2 กิโล)
1) ปลาตะเพียน มกิโลกรั 2
2) เกลือป่น ช้อนโต้ะ 2
3) กระเทียมบดหรือตา ½ ถ้วย
4) ข้าวสารคั่วพอหอมตาละเอียดพอประมาณ ถ้วย 1

2. วิธีทาดังนี้
1. เตรียมปลา โดยล้างให้สะอาด แล่เนื้อปลาเป็นชิ้น (ปลาตัวใหญ่)

ภาพที่ 2 ขั้นตอนการเตรียมปลา
ที่มา (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)

2. หมักเกลือ โดยใช้เกลือประมาณ 10% จากน้าหนักตัวปลา ขึ้นอยู่กับขนาดปลา) )


หมักทิ้งไว้ในกะละมัง 1 คืน

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการหมักเกลือ
ที่มา (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)
21
3. ล้างปลาและแช่น้าไว้นานๆ เพื่อล้างความเค็มออกให้มากที่สุด
4. คลุกส่วนผสมที่เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ได้แก่ น้าตาลแว่นบด 5% และข้าวคั่ว 10%
โดยประมาณ หมักไว้ในถังหมักประมาณ วัน 5

ภาพที่ 4 ขั้นตอนการคลุกส่วนประผสมที่เป็นเครื่องปรุงรสต่าง ๆ
ที่มา (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)

5. นาออกมาบรรจุถุ ง อี ก วั น จะมีร สชาติพ อดีส ามารถรั บประทานได้ หรื อจะ 5


ปรี้ยวมากหรือน้อยรับประทานหรือหลังจากนั้นแล้วแต่ว่าชอบเ

ภาพที่ 5 ขั้นตอนการบรรจุถุง
ที่มา (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)
22

6. พร้อมออกจาหน่าย ในแพ็กเกจที่สวยงามและมีแผ่นใสที่สามารถเห็นเนื้อปลาด้านใน

ภาพที่ 6 ปลาส้มพร้อมออกจาหน่าย
ที่มา (พัทธวรรณ พิบูลย์, 2559)

จะเห็นได้ว่าแม้ขั้นตอนในการทาทั้ง 2 สูตรจะแตกต่างกัน แต่มีเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่


เหมือนกันคือ ไม่ใช่น้าตาลทรายแต่จะใช้น้าตาลแว่นแทน จะได้รสชาติดีกว่าและกระดูกจะนิ่มทา
ให้รับประทานได้ทั้งตัว รสชาติของปลาส้ม 2 สูตรนี้อาจต่างกันบ้างแต่ก็อร่อยเป็นเอกลักษณ์ของแต่
ละกลุ่มก็แล้วแต่คนชอบ (อาภรณ์ รัตนพิบูลย์, 2557)

แนวคิด ทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการจัดการองค์การ ผู้บริหารจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทา
อย่ างไรจึง จะให้องค์ กรบรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ สอดคล้องกับสภาพความ
เปลี่ยนแปลแลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ ผู้บริหารจาเป็นจะต้อง
รู้จักเลือกคนและนาคน นาจุดแข็งและความรู้ความสามารถของคนมาหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารพัฒนาก้าวทันการ
เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งสุดท้ายคือผู้บริหารต้องมีวิ สัยทัศน์ เพื่อสร้างภาพที่อยากให้
องค์กรเป็นไปในอนาคต เพื่อกาหนดแนวทางในการดาเนินงาน รวมทั้งจะต้องรู้จักวางแผนกลยุทธ์
เพราะกลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสาเร็จหรือความเป็นเลิศซึ่งต้องอาศัย
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึง
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น(จิราวรรณ บุญศรีวงษ์ (เกษรสิทธิ์), 2560)
23
ผู้ประกอบการปัจจุบันต่างตระหนักถึงความรุนแรงของการแข่งขันในธุรกิจ ทั้งการ
แข่งขันจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ การดาเนินธุรกิจที่อยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
(globalization) ในยุคโลกไรพรมแดน ผู้ประกอบการสามารถรับรู้ข้อมูลและข่าวสารจากประเทศ
ต่า งๆ ในเวลาเดีย วกั น ทั้ ง นี้เนื่องจากระบบเทคโนโลยี ก ารสื่อสารที่ทันสมัย ในปัจจุบัน ดังนั้น
ผู้ประกอบการในยุคโลกาภิวัฒน์ที่อยู่ท่ามกลางภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงต้องมีการปรับตัวอย่าง
รวดเร็ว โดยการนาข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรม และสถานการณ์ด้านต่างๆ อาทิ
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสภาวการณ์แข่งขัน เป็นต้น มา
ใช้ในการวิเคราะห์แลวางแผนการดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 4)
1. ความหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การกาหนดแนวทางในการดาเนินงานขององค์การ
ในระยะยาว เพื่อทาให้การดาเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่กาหนดไว้ ซึ่งการดาเนินงาน
ให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น องค์การต้องดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 4 กิจกรรม ได้แก่ (สุดใจ วันอุดม
เดชาชัย, 2556 : 19)
1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2) การกาหนดกลยุทธ์องค์การ
3) การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ
4) การประเมินผลลัพธ์และการควบคุมกลยุทธ์
การจัดการเชิ งกลยุทธ์ เป็นการกาหนดแนวทางหรือวิถีทางในการดาเนินงานของ
องค์การ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ซึ่งการกาหนดแนวทางหรือ
ทิศทางในการดาเนินงานนั้น ผู้บริหารจาเป็นต้องทาการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกิดจาก
สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อจัดทาแผนงานดาเนินงานที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (พิบูล ทีปะปาล, 2555: 10)
การจัดการเชิง กลยุ ทธ์ คือ การกระทาและการตัดสินใจในการก าหนดการปฏิบัติ
เชิ ง กลยุ ท ธ์ ซึ่ง จะท าให้เปรีย บเที ย บการแข่งขันกั บองค์ก ารต่างๆ สามารถเผชิญกั บสภาวะการ
แข่งขันที่สูงได้และสามารถที่จะนาพาองค์การไปสู่ เป้าหมายเพื่อให้เกิดการกาหนดกลยุทธ์ที่จะ
น ามาใช้ และมี ก ระบวนการบริ ห ารจั ด การที่ มี ค วามต่ อ เนื่ อ งในการพิ จ ารณาก าหนดกลวิ ธี ที่
เหมาะสมต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยการ
วิเคราะห์และการทบทวนสถานการณ์กาหนดทิศทางการดาเนินงาน การตัดสินใจกาหนดแผนงาน
การดาเนินงานหลัก และการควบคุมโดยรวมอย่ างมีประสิทธิภาพ เพื่ อนาไปสู่ความส าเร็จตาม
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในระยะยาวขององค์การ และก่อให้เกิดคุณค่าที่ยั่งยืน (พระมหาศิริชัย
สิรินฺทญาโณ, (ศรีรัมย์, 2556 : 9 - 10)
24
การจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ เป็นสิ่งที่กาหนดทิศทางขององค์การ และช่วยให้นักบริหาร
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้นทาให้นัก
บริหารสามารถกาหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับ
สภาวะความเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไว้แล้วทาให้
องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่เข้า
มาเกี่ ย วข้ อ งทั้ ง นี้ เนื่ อ งจากการจั ด การเชิ ง กลยุ ท ธ์ เ ป็ น การก าหนดวิ ธี ก ารหรื อ แนวทางในการ
ดาเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้ง
ไว้อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหาร
องค์การในส่วนต่างๆ และช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ (มัติติกา
แบนอ้น, 2556 : 21)
จากความหมายข้างต้นสรุปว่า การจัดการกลยุทธ์ คือกระบวนการในการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อกาหนดแนวทางหรือทิศทางของการดาเนินงาน
ขององค์การเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
2. ความสาคัญการจัดการเชิงกลยุทธ์
ความสาคัญการจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย (จิราวรรณ บุญศรีวงษ์(เกษร
สิทธิ์), 2560)
1) การจัดการเชิงกลยุทธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
2) การจัดการเชิ งกลยุทธ์จะคานึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกั บองค์การ
อย่างกว้างขวาง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (stakeholders) หมายถึง กลุ่มผู้มีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจกาหนดนโยบายขององค์การ ซึ่งการกาหนดนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การต้อง
คานึงถึงความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้อย่างเหมาะสม
3) การจัดการเชิงกลยุทธ์ต้องคานึงถึงผลทั้งระยะสั้นและยะยาว การจัดการเชิงกล
ยุท ธ์ท าให้ผู้บริหารระดับสูง ต้องก าหนดวัตถุประสงค์และกลยุ ทธ์ระยะยาวขึ้นก่ อน จากนั้นจึง
มอบหมายให้ผู้บริหารระดับกลางนากลยุทธ์ระยะยาวเหล่านั้นไปกาหนดเป็นแผนปฏิบัติงานตาม
หน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละงาน อันเป็นผลต่อความสาเร็จขององค์การทั้งในระยะสั้นและระยาว
4) การจัดการเชิงกลยุทธ์มุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นเกณฑ์ที่ใช้
วัดผลสาเร็จของงาน
3. ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจั ด การกลยุ ท ธ์ ช่ ว ยให้ อ งค์ ก ารด าเนิ น งานในลั ก ษณะเชิ ง รุ ก มากกว่ า ที่ จ ะ
ดาเนินงานในลักษณะเชิงรับ เนื่องจากผู้บริหารตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
และผู้บริหารมีความสามารถในการคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตขององค์การ ทาให้องค์การสามารถ
25
ปรับตัวได้ดีกว่าคู่แข่งขัน และสามารถฉกฉวยโอกาสได้ดีกว่าหรือได้ก่อนคู่แข่งขัน ผู้บริหารของ
องค์การไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นองค์การที่หวังผลกาไรจากการ
ดาเนินงานหรือองค์การที่ไม่หวังผลกาไรจากการดาเนินงาน ย่อมได้รับประโยชน์จากการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ทั้งสิ้น ซึ่งประโยชน์อันดับแรกของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ องค์การที่บริหารงานด้าน
วิธีการจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยสนับสนุนให้การกาหนดกลยุทธ์ขององค์การได้ดีกว่าองค์การที่ไม่ได้
นาการจัดการเชิงกลยุท ธ์มาใช้ในการดาเนินงาน เพราะการจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้ผู้บริหารมี
วิธีก ารด าเนินงานแบบเป็ นระบบ ซึ่งมี ก ารบริ หารตามล าดับก่ อนหน้า หลัง รวมทั้งการจัดสรร
ทรัพยากรองค์การไปยังฝ่ายงานต่างๆ เพื่อให้สามารถนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ และบรรลุวัตถุประสงค์
เชิงกลยุทธ์ที่ตั้งไว้
ประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์นอกจากจะเพิ่มความสามารถด้านการทากาไร
แล้ว ยังมี ประโยชน์ด้านพฤติก รรมการบริหาร (behavioral effects) ทาให้บริษั ทเกิดผลดีหลาย
ประการ ดังนี้ (พิบูล ทีปะปาล, 2555 : 23-24)
1) กิจกรรมการจัดทากลยุทธ์มีส่วนช่วยป้องกันมิให้บริษัทเกิดปัญหาต่างๆ ได้มาก
ผู้จัดการซึ่งกระตุ้นความสนใจของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สนใจด้านการวางแผน จะเป็นแรงผลักดันที่
สาคัญทาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของตน ที่จะต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบใน
การวางแผนกลยุทธ์ เป็นสิ่งสาคัญมากกว่าที่จะสนใจด้านอื่นๆ
2) การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์โดยอาศัยกลุ่ม อันเกิดจากมุมมองของสมาชิกของกลุ่ม
ที่มีความรู้ความชานาญหลายสาขามาร่วมกันตัดสินใจ จะทาให้เกิดแนวทางการจัดทากลยุทธ์ที่
หลากหลาย และผ่านการเลือกสรรนากลยุทธ์ไปใช้ที่เหมาะสม เพราะผ่านการกลั่นกรองที่ดี
3) การให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทากลยุทธ์ ทาให้พวกเขา
เข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภาพกับรางวัล (productivity-reward relationship) เป็นอย่างดี
นั่นคือรู้ว่า หากผลการดาเนินงานประสบผลสาเร็จ ผลตอบแทนที่ได้รับคืออะไรในทุกๆ แผน จะมี
ส่วนช่วยให้พนักงานมีขวัญและกาลังใจในการทางานที่ดี และในขณะเดียวกันก็จะส่งผลทาให้ผลิต
ภาพเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย เป็นไปตามหลักการที่ว่า “ขวัญสูงจะนาไปสู่ผลิตภาพที่สูงขึ้นด้วย” หรือ
“High morale leads to high productivity”
4) การเกิดช่องว่างหรืองานซ้าซ้อนกัน ในการดาเนินกิจกรรมระหว่างบุคคลและ
กลุ่มผู้ทางานจะลดลง เพราะการที่ ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการจัดทากลยุทธ์ร่วมกัน จะทาให้แต่ละ
คนรู้บทบาทและหน้าที่ของตนที่ชัดเจน
5) การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (resistance to change) จะลดลงจากการที่พนักงาน
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทากลยุทธ์ ย่อมทาให้เขาเกิดความพอใจจากการตัดสินใจของเขาเอง จึงมี
ความเป็นไปได้สูงที่จะยอมรับ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
26
นอกจากนี้การจัดการเชิงกลยุทธ์มีประโยชน์ดังนี้ (จิราวรรณ บุญศรีวงษ์(เกษร
สิทธิ์), 2560: ไม่ปรากฏเลขหน้า)
1) ช่วยให้องค์การกาหนดวัตถุประสงค์และกาหนดทิศทางหรือภารกิจหลักใน
อนาคตได้อย่างชัดเจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการทางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) ช่วยให้ทุกคนในองค์การดาเนินงานในหน้าที่ต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกันและมี
ความสอดคล้องกันในระหว่างส่วนย่อยต่าง ๆ ขององค์การโดยมีกรอบทิศทางที่แน่ชัด
3) ช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการบริหาร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาองค์การด้วยความรัก และถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นผู้นาให้แก่ผู้บริหารด้วยเช่นกัน
4) ช่ วยให้ผู้บ ริหารระดับสูงมีวิ สั ย ทัศน์ที่ ก ว้างขวางสามารถตัดสินใจได้อย่ า ง
รอบคอบและสามารถลดความเสี่ยงได้
4. กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management process) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
(จิราวรรณ บุญศรีวงษ์(เกษรสิทธิ์), 2560)
1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณา “จุดแข็ง-จุดอ่อน” ภายในหน่วยงาน
และ “โอกาส-อุปสรรค” จากภายนอกหน่วยงาน ซึ่งเป็นปัจจัยเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุ
ความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ทั้งที่เป็นปัจจัยเงื่อนไขในระยะเวลาที่ผ่านมาและที่จะ
เป็นไปในอนาคต
2) การจัดวางทิศทางของหน่วยงาน โดยพิจารณาภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งเน้น
เหตุผลในการมี หน่วยงาน และเป้ าประสงค์ของหน่วยงาน ซึ่งเน้นประโยชน์ที่ไ ด้รับจากการมี
หน่วยงาน
3) การกาหนดกลยุทธ์ (strategy formulation) หรือการวางแผนกลยุทธ์ (strategy
planning) โดยพิจารณาออกแบบและเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและสามารถนาไปปฏิบัติได้จริงจาก
การวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4) การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดาเนินงานตามแผนปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ที่
กาหนดไว้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยคานึงถึงโครงการสร้างของหน่วยงานและวัฒนธรรมของ
หน่วยงาน เพื่อนาไปสู่ความสาเร็จที่พึงประสงค์
5) การควบคุ ม เชิ ง กลยุ ท ธ์ โดยวิ ธี ก ารติ ด ตามผลการปฏิ บั ติ ง านและวิ ธี ก าร
ประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสาเร็จของหน่วยงาน รวมถึงการติดตามสถานการณ์และ
เงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทาให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์
27
5. ตัวแบบพื้นฐานของการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุ ทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 อย่างต่อไปนี้ (ภักดี
มานะหิรัญเวท, 2556 : 6)
1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental scanning)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการกากับ ประเมินผลและเป็นการเผยแพร่
ข้อมูลจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในให้บุคคลในบริษัทให้ได้รับทราบ สภาพแวดล้อม
ภายนอกประกอบด้วยตัวแปร (โอกาสและภัยคุกคาม) ซึ่งอยู่ภายนอกองค์การ และโดยทั่วไปไม่ได้
อยู่การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ตัวแปรเหล่านี้เป็นตัวก่อให้เกิดกรอบการดารงอยู่ของ
บริษัท เป็นแรงผลักดันทั่วไปและแนวโน้มภายในสภาพแวดล้อมทางสังคม (social environment)
หรือปัจจัยเฉพาะที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในงาน (task environment) ขององค์การ มักเรียกว่าเป็น
อุตสาหกรรมขององค์การนั้นๆ ส่วนสภาพแวดล้อมภายในของบริษัทประกอบด้วยตัวแปร(จุดแข็ง
และจุดด้อย) ที่อยู่ภายในองค์การเอง และมักจะไม่อยู่ในการควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง
ตัวแปรเหล่านี้ทาให้เกิดการทางานซึ่งรวมถึงโครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท (ภักดี
มานะหิรัญเวท, 2556 : 7)
2) การกาหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation)
การกาหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวสาหรับการจัดการโอกาส
และภัยคุ ก คามในสภาพแวดล้อมอย่ างมีประสิทธิภาพ โดยตระหนัก ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของ
บริษัทโดยรวมถึงการกาหนดพันธกิจ (mission) วัตถุประสงค์ (objective) ที่สามารถบรรลุผลสาเร็จ
ได้และก าหนดไว้ชัดเจน การก าหนดกลยุทธ์ (strategies) และการก าหนดแนวทางของนโยบาย
(policy) (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 : 7)
3) การนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ (strategy implementation)
การน ากลยุ ท ธ์ไ ปปฏิบัติ เป็น กระบวนการที่นาเอากลยุ ท ธ์และนโยบายมา
ปฏิบั ติ โดยการจัดท าโปรแกรมงบประมาณและระเบีย บวิธีก ารปฏิบัติง าน กระบวนการนี้อาจ
เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างวัฒนธรรม หรือระบบการจัดการโดยรวมของทั้งองค์การ
หรือภายในทุกอย่ างที่ก ล่าวมาข้า งต้น อย่างไรก็ตามการนากลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้น มัก กระทาโดย
ผู้บริหารระดับกลางและระดับ ล่าง โดยผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตรวจสอบ ยกเว้ นกรณีที่มีความ
จาเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์การอย่างมาก บางครั้งการนากลยุทธ์ไปปฏิบัติเกี่ยวโยงไปถึง
การวางแผนการด าเนิ น การ ซึ่ ง มั ก จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การตั ด สิ น ใจประจ าวั น ในเรื่ อ งการจั ด สรร
ทรัพยากรอย่างเหมาะสม (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 : 11-12)
28
4) การประเมินและการควบคุม (Evaluation and control)
การประเมิ น ผลและการควบคุ ม กระบวนการที่ ต้ อ งมี ก ารก ากั บ ผลการ
ปฏิ บั ติง าน และกิ จกรรมต่ า งๆ ของบริ ษั ท เพื่ อ ให้ ผ ลการปฏิ บัติ ง านจริง ใกล้ เ คีย งกั บ ผลงานที่
คาดหวัง ผู้บริหารทุ กระดับ จะใช้ ผลจากข้อมูล เหล่านี้ไ ปปรับปรุงการปฏิบัติ งานและการแก้ ไ ข
ปัญหาให้ถูกต้อง ถึงแม้การประเมินผลและการควบคุมจะเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของการจัดการ
เชิงกลยุทธ์แล้วก็ตาม แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของการนาแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติใช้ก่อนหน้า
นี้ได้ ฉะนั้น จึงทาให้เกิดการกระตุ้นทั้งกระบวนการให้เริ่มต้นใหม่ (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 : 13)

การตรวจสอบ การจัดทา การปฏิบตั ิตาม การประเมินผล


สภาพแวดล้อม กลยุทธ์ กลยุทธ์ และการควบคุม

ภาพที่ 7 แสดงองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
ที่มา (พิบูล ทีปะปาล, 2555 : 12)

จากภาพข้างต้น การจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ขั้นตอน


คือ (พิบูล ทีปะปาล, 2555 : 11-20)
1) การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (environmental scanning)
การตรวจสอบสภาพแวดล้อม เริ่มต้นจากการศึก ษาวิเคราะห์ ตรวจสอบ และ
ประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก เพื่ อนาข้อมูลที่ไ ด้จากการตรวจสอบเผยแพร่ใ ห้
บุคคลสาคัญภายในบริษัทได้ทราบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุ “ปัจจัยเชิงกลยุทธ์” (strategic factors)
ทั้ง ปัจจัย ที่เกิดจากสิ่ง แวดล้อมภายนอกและภายใน ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวจะเป็นตัวก าหนด
อนาคตของบริษัท
2) การจัดทากลยุทธ์ (strategy formulation)
การจัดทากลยุทธ์ คือ การจัดทาแผนระยะยาว (long-range plans) เพื่อนามาใช้ใน
การบริหารงาน เพื่อให้เหมาะสมกับโอกาสและปัญหาอุปสรรคที่เป็นอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งจะต้อง
สอดคล้องกับจุดแข็งจุดอ่อนของบริษัท การจัดทาแผนกลยุทธ์ประกอบด้วย การกาหนดพันธกิจของ
บริษัท (corporate mission) กาหนดวัตถุประสงค์ (objectives) ที่สามารถบรรลุผลสาเร็จได้ การพัฒนา
กลยุทธ์ (strategies) และกาหนดนโยบาย (policy) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
29
3) การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (strategy implementation)
การปฏิบั ติตามกลยุทธ์ เป็นกระบวนการดาเนินงานนากลยุ ทธ์และนโยบายที่
ก าหนดไว้ เ ข้ า สู่ ก ารปฏิ บั ติ ด้ ว ยการพั ฒ นาจั ด ท าเป็ น โปรแกรมด าเนิ น งาน ( programs) จั ด ท า
งบประมาณ (budgets) และวิธีก ารดาเนินงาน (procedures) ในขั้นนี้อาจเกี่ย วข้องกับการเปลี่ย น
แปลงวัฒนธรรมขององค์การ โครงสร้าง และระบบการจัดการทั้งหมดทั่วทั้งองค์การก็ได้ การปฏิบัติ
ตามกลยุทธ์ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นหน้าที่ของผู้จัดการระดับกลางและระดับล่าง (middle and lower
level managers) เท่านั้น โดยผู้บริหารระดับสูง (top management) เป็นผู้ตรวจสอบ เนื่องจากเป็น
แผนงานปฏิบัติการ การปฏิบัติตามกลยุทธ์จึงมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจประจาวัน (day-to-day
decision) ในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อนาไปใช้ในการดาเนินงาน
4) การประเมินผลและการควบคุม (evaluation and control)
การประเมินผลและการควบคุม เป็นการตรวจสอบกิจกรรมและผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดขององค์การ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าผลการปฏิบัติงานจริง (actual performance) กับผลการ
ดาเนินงานที่ตั้งความมุ่งหวังไว้ (desired performance) บรรลุผลตามเป้าหมายหรือไม่ ผู้จัดการทุก
ระดับจะนาข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินในขั้นนี้เพื่อนาไปแก้ไข (take corrective action) และ
หาทางแก้ปัญหาต่อไป

ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา (2557 : 132-145) ได้กล่าวถึง การกาหนดกลยุทธ์ขององค์กร


ผู้บริการควรตอบคาถามต่าง ๆ ดังนี้
1) องค์กรจะขยายตัว หดตัว หรือทาทุกอย่างเหมือนเดิม
2) องค์กรจะอยู่ในอุตสาหกรรมเดิมหรือขยายตัวไปสู่อุตสาหกรรมอื่น
3) ถ้าจะโตหรือขยายตัวแล้ว จะกระทาโดยขยายจากภายในหรือภายนอก
จากคาถามดังกล่าวสามารถจาแนกกลยุทธ์ระดับองค์กรออกเป็นหลายแนวทางซึ่งในที่นี้จะแบ่งกล
ยุทธ์องค์กรเป็น 4 แนวทาง ได้แก่ กลยุทธ์การขยายตัว กลยุทธ์รักษาระดับ กลยุทธ์การถอย และกล
ยุทธ์ผสมผสาน

1. กลยุทธ์การขยายตัว (Growth Strategies)


กลยุทธ์การขยายตัวเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทมุ่งใช้เพื่อให้เกิดการดาเนินธุรกิจที่เติบโต
ด้วยการเพิ่ มขึ้ นของสินค้า และบริก าร รวมทั้งการเพิ่ มขึ้นของส่วนแบ่งการตลาดหรือการขยาย
ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นการขยายตลาดในต่างจังหวัดหรือขยายตลาดในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อ
เพิ่มปริมาณกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้มากขึ้น
30

1.1 การมุ่งความเชี่ยวชาญ (Concentration)


กลยุทธ์การขยายตัวโดยมุ่งความเชี่ยวชาญ บริษัทจะมุ่งเน้นทรัพยากรของ
ตัวเองเพื่อขยายตัวในอุตสาหกรรมที่ดารงอยู่ กลยุทธ์นี้บริษัทจะมุ่งทั้งด้านการจัดการเวลา การบริหาร
และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ การมุ่งความเชี่ยวชาญแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
การมุ่งความเชี่ยวชาญตามแนวนอนและการมุ่งความเชี่ยวชาญตามแนวตั้ง
1.1.1 การมุ่งความเชี่ยวชาญตามแนวนอน (Horizontal Concentration) คือ
กลยุทธ์การขยายตัวไปยังตลาดส่วนอื่นหรือตลาดใหม่ เป็นการขยายตั วในเชิงภูมิศาสตร์ (Market
Expansion) นั่นก็คือการขยายไปสู่ตลาดพื้นที่ การขยายตัวดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขายและ
กาไรของบริษัท
1.1.2 การมุ่งความเชี่ยวชาญตามแนวตั้ง (Vertical Concentration) เป็นการ
ขยายตัวโดยกลับไปหาการผลิตวัตถุดิบหรือการมุ่งไปข้างหน้าเพื่อหาช่ องทางการจัดจาหน่าย อาจ
กล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นกลยุทธ์แบบครบวงจร ซึ่งเป็นการมุ่งความเชี่ยวชาญแบบเดินหน้า (Forward
Integration) ทั้งนี้เป็นการลดต้นทุนหรือสร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
1.2 การกระจายธุรกิจ (Diversification)
กลยุ ท ธ์ก ารขยายตัว โดยมุ่งเน้นการกระจายธุรกิ จเป็นการขยายธุรกิ จที่มี
ความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมหรือไม่สัมพันธ์กับธุรกิจเดิมเลยก็ได้ ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีผลกาไร
ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกอุตสาหกรรมที่ดึงดูดใจจึงเป็นการกระจายผลกาไรในอุตสาหกรรมที่มี
ศักยภาพ (Rumelt, 1982 อ้างถึงในไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา, 2557 : 138) นอกจากนี้แนวคิดการ
กระจายธุรกิจยังเป็นการลดความเสี่ยงในอุตสาหกรรมเดิมได้ถ้าอุตสาหกรรมนั้นมีความน่าสนใจ
น้อยหรือมีความเสี่ยงสูง การกระจายธุรกิจอาจเป็นการสร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโตขึ้นและประสบ
ความสาเร็จในการสร้างโอกาสได้
1.2.1 การกระจายธุรกิจแบบเกาะกลุ่ม (Concentric Diversification) คือ การ
ขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจใหม่โดยที่ยังมีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิม เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกัน
เข้ามาภายในบริษัท เหมาะสมกับบริษัทที่ต้องการใช้ประโยชน์จากจุดเด่นทางฐานะการแข่งขันของ
พวกเขา
1.2.2 การกระจายธุรกิจแบบไม่เกาะกลุ่ม (Conglomerate Diversification)
คือ การขยายสู่ธุรกิจใหม่โดยธุรกิจนั้นไม่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจเดิมหรือการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่มี
ความสัมพันธ์กับบริษัท
31
2. กลยุทธ์รักษาระดับ (Stability Strategies)
กลยุ ท ธ์รักษาระดับ ใช้เมื่อบริษั ทหรื อธุรกิ จยังคงใช้โครงสร้างการบริหารเดิม
(Function Management) และยังคงจาหน่ายผลิตภัณฑ์ (Products) หรือบริการ (Service) แบบเก่าไป
ยังกลุ่มเป้าหมาย (Target Market) เดิมหรือเป็นการรักษาสถานภาพเดิมของธุรกิจไว้นั่นเอง แต่การ
ดาเนินกลยุทธ์รักษาระดับมิได้ หมายความว่ าธุรกิจไม่ได้ทาอะไรเลยหรืออยู่นิ่งจนไม่เคลื่อนไหว
แต่เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ๆ และผลิตภัณฑ์เดิม รวมทั้งการบริหาร
โครงสร้างเดิม องค์กรที่ใช้กลยุทธ์รักษาระดับนั้นจะเป็นธุรกิจที่อยู่ในขั้นของการพัฒนามายาวนาน
(Mature Stage) สภาพการแข่งขันมิได้เปลี่ยนแปลงในเชิงผันผวนมากนัก การเติบโตของตลาดมิได้
ก้าวกระโดดจนคาดการณ์ยาก แต่เป็นธุรกิจซึ่งอัตราการทากาไรค่อนข้างจะสม่าเสมอหรือเป็นธุรกิจ
ที่ทาเงินอยู่ (Cash Cow) นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัว
ธุรกิจ จึงต้องใช้กลยุทธ์รักษาระดับ

3. กลยุทธ์การถอย (Retrenchment Strategies)


กลยุทธ์การถอยหรือกลยุทธ์หดตัว อาจหมายถึงการที่องค์กรธุรกิจมีความจาเป็น
ลดขนาดการดาเนินงานในด้านต่าง ๆ เช่น ยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด หรือหน่วยงานต่าง ๆ
กลยุทธ์ดังกล่าวอาจหมายรวมถึงการปรับโครงสร้างองค์กร การลดพนักงาน (Lay off) ตลาดจนลด
กิจกรรมบางส่วน เช่ น ลดงานด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ลดงบประมาณหรือลดกิจกรรมทาง
การตลาด อย่างไรก็ตามกลยุทธ์การถอยไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้บริหารเพราะการถอยอาจดู
เหมือนว่าธุรกิจประสบปัญหาหรือล้มเหลวจากการดาเนินกลยุทธ์ที่ผิดพลาดมาก่อนหน้านี้ อย่างไร
ก็ตามกลยุทธ์นี้มักจะใช้ในช่วงวิกฤติ โดยธุรกิจใช้ทางเลือกอื่น ๆ จนหมดหนทางแล้วจึงจาเป็นต้อง
ใช้กลยุทธ์การถอยเป็นทางเลือกสุดท้าย
กลยุทธ์การถอยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
3.1 กลยุทธ์การฟื้นกิจการ (Turnaround Strategy) คือ การเปลี่ยนแปลง ปรั บปรุง
องค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลยุทธ์นี้เหมาะกับกิจการที่ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่ดึงดูดสูง และ
ประสบปัญหาที่ร้ายแรง กลยุทธ์ฟื้นฟูสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การลดขนาดต้นทุนและ
ต้นทุน (ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ) ลักษณะที่ 2 คือ การพลิกฟื้นกิจการเพื่อดาเนินงานต่อไปเมื่อผ่านพ้น
ขั้นตอนที่ 2 แล้ว บริษัทอาจเข้าสู่การเริ่มต้นใหม่หรือขยายตัวได้อีก
3.2 กลยุทธ์ไม่ลงทุน (Divestment Strategy) กลยุทธ์ไม่ลงทุนหรือการเลิกการ
ลงทุนใช้ในกรณีบริษัทหรือหน่วยธุรกิจ (SBU) อยู่ในอุตสาหกรรมที่ดึงดูดต่า หรืออ่อนแอ หรือผล
การดาเนินงานไม่ดี ไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์โดยรวมขององค์กร เป็นต้น
32
3.3 กลยุทธ์เชลย (Captive Company Strategy) หมายถึง กลยุทธ์ที่บริษัทพึ่งพา
ลูกค้ารายใหญ่ข องบริษัท เพี ยงรายเดียวให้เป็นผู้ซื้อสินค้าของบริษัท อันเนื่องจากบริษั ทอาจไม่
สามารถสร้างตลาดนั้นมาได้หรือความเข้มแข็งทางธุรกิจของบริษัทต่า หรืออุตสาหกรรมมีความ
น่าสนใจไม่มากการพึ่งพาลูกค้ารายใหญ่จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ข้อเสียของกลยุทธ์นี้คือบริษัทต้อง
ขึ้นอยู่กับลูกค้ารายใหญ่ ฝากอนาคตไว้กับลูกค้าเป็นผู้ควบคุม ดั งนั้นลูกค้าจะมีอานาจต่อรองมาก
อาจมีการวางเงื่อนไข รูปแบบการผลิตหรือกระบวนการผลิตต้องเป็นไปตามแบบที่ลูกค้ารายใหญ่
ต้องการ
3.4 กลยุทธ์การเลิกดาเนินงาน (Liquidation Strategy) กลยุทธ์การเลิกดาเนินงาน
จะใช้เมื่อบริษัทมีฐานะทางการแข่งขันที่ไม่สามารถสู้คู่แข่งขันได้หรือ ฐานะการแข่งขันของบริษัท
อ่อนแอและอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่ดึงดูด กลยุทธ์นี้จะใช้เมื่อกลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการและกลยุทธ์ไม่
ลงทุนประสบความล้มเหลว การเลิกดาเนินงานจะไม่ค่อยนามาใช้เพราะผู้บริการอาจถูกมองว่า
ล้มเหลวในการบริหารงาน รวมทั้งชื่อเสียงที่สั่งสมมานานก็ถูกกระทบ อย่างไรก็ดีกลยุทธ์นี้มีข้อดีถ้า
ผู้บริหารยอมรับว่าล้มเหลว โดยใช้กลยุทธ์เลิกลงทุนจะดีกว่าที่ดื้อแพ่งหรือรอให้โชคช่วยให้ดีขึ้น
ซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นก็ได้

4. กลยุทธ์ผสมผสาน (Combination Strategies)


กลยุทธ์ผสมผสานอันที่จริงแล้วคือ กลยุทธ์รวมทั้ง 3 แบบของกลยุทธ์ที่กล่าวมาคือ
กลยุทธ์การขยายตัว กลยุทธ์รักษาระดับและกลยุทธ์การถอย โดยการใช้ทั้ง 3 รูปแบบร่วมกัน แต่ใช้
ในหน่วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน กลยุทธ์ผสมผสานส่วนมากจะใช้กับบริษัทที่หลายหน่วยกลยุทธ์และ
มีสายผลิตภัณฑ์หลากหลายครอบคลุมในอุตสาหกรรมหลายชนิด นอกจากนี้หน่วยธุรกิจที่แตกต่าง
กันก็อาจอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ผสมผสานมาจากสาเหตุที่หลากหลาย
ดังมีรายละเอียดสนับสนุนคือ
ประการแรก ธุรกิจมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและในแต่ละผลิตภัณฑ์ก็มีวงจรชีวิต
(Product Life Cycle) ที่ไม่เหมือนกัน ผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งอาจจะอยู่ในช่วงรุ่งเรืองหรืออีกตัวหนึ่งอยู่
ในช่วงถดถอย นั่นคือความแตกต่างที่ต้องดาเนินกลยุทธ์ในสายผลิตภัณฑ์ที่รุ่งเรืองอาจใช้กลยุทธ์
การขยายตัว ส่วนในสายผลิตภัณฑ์ที่ถดถอยอาจต้องดาเนินกลยุทธ์การถอย เป็นต้น
ประการที่ 2 บริษัทข้ามชาติที่ดาเนินธุรกิ จหลายประเทศ การดาเนินกลยุทธ์ย่อม
แตกต่างกันไปตามพื้นที่แต่ละประเทศ เช่น ในประเทศที่กาลังเจริญเติบโตเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น
ก็อาจใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจในทางกลับกันประเทศที่อยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็อาจเลือกใช้
กลยุทธ์การถอย
33
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงาน


ในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสาคัญในการดาเนินงานสู่สภาพ
ที่ต้องการในอนาคต (สุขสันต์ ไชยรักษา, 2560)
การวิเคราะห์ SWOT หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือใน
การประเมินสถานการณ์สาหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจาก
สภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบ
ต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภท (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ, 2559)
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพ
แวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์
สาหรับองค์กรหรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกาหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน
โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้
ต่อการทางานขององค์กร (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2558)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (environmental scanning) เป็นการกากับ ควบคุม ดูแล
ประเมินผลและกระจายข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในให้กับกลุ่ม
ผู้บริหารหลัก ๆ ภายในกิจการ ธุรกิจใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นเครื่องมือทางการจัดการเพื่อ
หลีกเลี่ยงความตื่นตระหนกเชิงกลยุทธ์และเป็นการทาให้กิจการมั่นใจได้ถึงความมั่น คงในระยะยาว
ของกิจการ และเป็ นที่ยอมรับกันว่าการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีผลต่อการทากาไรของกิจการ
(ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 : 40)
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมที่มี
ผลกระทบต่อผลการดาเนินงานขององค์การที่มาจากสภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อม
ภายในขององค์การ ซึ่งจาแนกออกเป็นสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
เทคโนโลยี การเมืองและกฎหมาย เป็นต้น และสภาวะแวดล้อมของการดาเนินงาน ได้แก่ คู่แข่งขัน
ลูกค้า ผู้จาหน่ายวัตถุดิบ ผู้ถือหุ้น สหภาพแรงงาน สาธารณชนรัฐบาล เป็นต้น (วรพจน์ บุษราคัมวดี,
2556: 41)

ประเภทของสภาวะแวดล้อม
การวิ เ คราะห์ ส ภาพแวดล้ อ ม สามารถแบ่ ง ออกเป็ น 2 ส่ ว น คื อ การวิ เ คราะห์
อุตสาหกรรม และการวิเคราะห์คู่แข็ง (พิบูล ทีปะปาล, 2555 : 32-45)
34
1) การวิเคราะห์อุตสาหกรรมของพอร์เตอร์ เป็นการสร้างตัวแบบเพื่อนามาใช้เป็น
เครื่องวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้น เรียกว่า “ตัวแบบพลังผลักดัน 5 ประการ
หรือ Five Forces Model” ตามตัวแบบนี้ชี้ให้เห็นว่า มีปัจจัย 5 ประการ ที่จะเป็นตัวกาหนด สภาวะ
การแข่ง ขัน อันจะมีผลต่อศั กยภาพการทาก าไร (profitability potential) และการดึงดูดใจใน
อุตสาหกรรมนั้น (industry attractiveness)
2) การวิเคราะห์คู่แข่งขัน (comprtitor analysis) การวางแผนกลยุทธ์ เพื่อนาความ
ได้เปรียบมาสู้บริษัท ผู้วางแผนจาเป็นต้องทาการวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวข้องกับคู่แข่งให้ได้มาก
ที่สุด นักวางแผนกลยุทธ์จะต้องพยายามค้นหาสืบทราบให้ได้ว่า ขณะนี้คู่แข่งกาลังทาอะไรอยู่ และ
กาลังจะทาอะไรต่อไป และการกระทานั้นจะมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร

นอกจากนี้แ ล้ ว สภาวะแวดล้อ มแบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท ได้ แก่ สภาวะแวดล้ อ ม


ภายนอกธุรกิจ และสภาวะแวดล้อมภายในธุรกิจ (วรพจน์ บุษราคัมวดี, 2556: 42-44)
1) สภาวะแวดล้อมภายนอกธุรกิจ
มีความสาคัญต่อการดาเนินธุรกิจ เนื่องจากผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ที่รวดเร็ว ทาให้การดาเนินธุรกิจต้องอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ดังนั้น การดาเนินธุรกิจ
ที่เหมาะสม องค์การจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของลูกค้า คู่แข่งขัน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กฎหมาย เทคโนโลยี
นอกจากนี้ผู้บริหารที่มีข้อมูลข่าวสารด้านสภาวะแวดล้อม และนาข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและ
ตัดสินใจในการกาหนดกลยุทธ์จะเป็นปัจจัยสาคัญที่จะทาให้องค์การสามารถประสบความสาเร็จใน
การแข่งขัน
2) สภาพแวดล้อมภายใน
เป็ น สภาวะแวดล้ อ มที่ ธุ ร กิ จ สามารถควบคุ ม ได้ แ ละเกี่ ย วข้ อ งกั บ การก าหนด
นโยบาย เป็ นปั จจัย ที่มี ค วามส าคัญและมีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงาน ได้แก่ ปัจจัยด้าน
บุคลากร ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้สภาวะแวดล้อมภายในยัง
รวมถึงนโยบายและเป้าหมายด้วย สภาวะแวดล้อมภายในองค์การเป็นปัจจัยที่เกิดจากการดาเนินงาน
ทั้งในด้านการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน
35
สภาวะแวดล้อมภายนอก

เศรษฐกิจภายในและระหว่างประเทศ สภาวะแวดล้อมภายใน สภาวะแวดล้อมธรรมชาติ


อุตสาหกรรม
เทคโนโลยี - ผูจ้ าหน่ายวัตถุดิบ โครงสร้างประชากรศาสตร์
- คู่แข่งขัน
- ลูกค้า
รัฐบาล โครงสร้างทางสังคม

ภาพที่ 8 แสดงสภาวะแวดล้อมที่องค์การต้องเผชิญ
ที่มา (วรพจน์ บุษราคัมวดี, 2556: 42)

SWOT คือ เทคนิคอย่างหนึ่งที่นามาใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและ


ภายนอกองค์ ก ร เพื่ อ น าผลที่ ไ ด้ ใ นรู ป แบบของจุด แข็ ง (Strength) จุ ด อ่ อ น (Weakness) โอกาส
(Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat) มากาหนดเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการวางแผนและพัฒนาองค์กร
SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สาหรับองค์กรหรือโครงการ ซึ่งช่วย
ผู้บริหารกาหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก สาหรับกาหนดแผนงานโครงการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกาหนดวิสัยทัศน์และการกาหนด
กลยุทธ์เพื่อให้อุตสาหกรรมพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม ซึ่ง SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ
ดังต่อไปนี้ (อภิชา ประกอบเส้ง, 2560 :1)
Strengths หรือ S หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ เป็นปัจจัยภายในที่มีผลดีต่อการ
ดาเนินงานขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องค้นหาความสามารถที่โดดเด่น เพื่อนามากาหนดเป็นกลยุทธ์
ให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารงานขององค์กร เช่น องค์กรภาครัฐนามากลยุทธ์เพื่อให้การ
ดาเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามแผนที่วางไว้ ส่วนองค์กรธุรกิจนาจุดแข็งมากาหนดเป็น
กลยุทธ์เพื่อให้มีความสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข็งทางด้านการตลาด
Weaknesses หรือ W หมายถึง จุดด้อย หรือจุดอ่อนหรือข้อ เสียเปรียบที่เกิดจากสภาพ
แวดล้อมภายในต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบหรือส่งผลเสียต่อการบริหารงาน
ขององค์กร เช่น ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เครื่องมือเครื่องใช้ขาดคุณภาพ
หรือไม่ได้มาตรฐาน ทาให้องค์กรไม่สามารถนามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน
Opportunities หรือ O หมายถึง โอกาสหรือปัจจัยภายนอกที่เอื้ออานวยให้การทางาน
ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งได้แก่สภาพแวดล้อมที่นามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดาเนินงาน
การที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดาเนินงานขององค์กร โอกาส
36
แตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมา
จากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอและใช้ประโยชน์
จากโอกาสนั้น เช่น การเมือง การปกครอง กฎหมาย ราคาน้ามัน ค่าเงินบ้าน เป็นต้น
Threats หรือ T หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจากัด ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก
บางครั้งการจาแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทาได้ยาก และเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถ
แก้ ไ ขเปลี่ ย นแปลงได้ นอกจากการควบคุ ม าและวิ เ คราะห์ เ พื่ อ หาแนวทางป้ อ งกั น ให้ ไ ด้ รั บ
ผลกระทบหรือมีความเสียหายน้อยลง

จิรดา นาคฤทธิ์ (2558) ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) ไว้ดังนี้


จุดแข็ง (Strengths) เป็นการพิจารณาข้อดีหรือจุดเด่นที่เกี่ยวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์ ส่วน
ประสมทางการตลาด (4 P’s) และปัจจัยภายในที่บริษัทสามารถควบคุมได้ และนามาใช้ในการวางแผน
กลยุทธ์การตลาด ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ สินค้ามีคุณภาพดี ความชานาญของบุคลากร บรรจุภัณฑ์
ทันสมัย ความแข็งแกร่งของตราสินค้า เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ทาเลที่ตั้งของกิจการที่เหมาะสม
มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ระบบตรวจสอบคุณภาพที่ทันสมัย ส่วนแบ่งทางการตลาดสูง ภาพพจน์ของ
สินค้าและบริษัทดี ต้นทุนการผลิตสินค้าต่า มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถสร้างความพึง
พอใจให้กับลูกค้า ฯลฯ
จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นการพิจารณาข้อเสียหรือจุดด้อยหรือข้อบกพร่องที่อยู่ภายใน
บริษัทและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่บริ ษัทสามารถควบคุมได้และบริษัทจาเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข
ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ สินค้ามีให้เลือกน้อย ราคาสินค้าแพงกว่าคู่แข่งขัน รูปแบบสินค้า ไม่
ทันสมัย เงินทุนไม่เพียงพอ กาลังการผลิตต่า สายผลิตภัณฑ์สั้น ต้นทุนการผลิตสูง จานวนแรงงานไม่
เพียงพอ ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่เพียงพอ ไม่มีงบประมาณการโฆษณา ฯลฯ
โอกาส (Opportunities) เป็นการพิจารณาถึงข้อได้เปรียบของกิจการหรือของผลิตภัณฑ์
ที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่ภายนอกที่เอื้ออานวยประโยชน์ต่อบริษัท ให้นาไปใช้ใน
การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างของโอกาส ได้แก่ การแข่งขันยังมีน้อย คู่แข่งขันเลิกกิจการ
จานวนผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น การเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่องได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ทัศนคติ
ที่ดีต่อสินค้าของผู้บริโภค เศรษฐกิจมีอัตราเจริญเติบโตสูงขึ้น มีคนกลางที่ช่วยจัดจาหน่ายมาก
เทคโนโลยีหรือวิชาการใหม่ที่เอื้ออานวยประโยชน์ต่อธุรกิจ ฯลฯ
อุปสรรค (Threats) เป็นการพิจารณาข้อเสียเปรียบ ข้อจากัด หรือปัญหาที่อยู่ภายนอก
กิจการ และเป็นอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อบริษัท เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ตัวอย่าง
ของข้อจากัด ได้แก่ ราคาของต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาด มีกฎหมายหรือ
ระเบียบข้อบังคับใหม่ คู่แข่งขันทุ่มการโฆษณาสูง มีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ สินค้าถูกกดราคาจาก
37
คนกลาง เศรษฐกิจอยู่ในขั้นตกต่า ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรสนิยม จานวนผู้บริโภคลดน้อยลง ฯลฯ
การตรวจสอบภาพแวดล้อมหรือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ง่ายที่สุด คือ การใช้วิธี
วิเคราะห์ที่เรียกว่า “การวิเคราะห์สวอท” หรือ“SWOT analysis” เกิดจากตัวอักษร 4 ตัว ดังนี้ (พิบูล
ทีปะปาล, 2555 : 12)
S = Strengths (จุดแข็ง)
W = Weaknesses (จุดอ่อน)
O = Opportunities (โอกาส)
T = Threats (อุปสรรค หรือ ข้อจากัด)

พิบูล ทีปะปาล (2555 : 90-92) ได้กล่าวถึง SWOT ไว้ดังนี้


จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ข้อได้เปรียบของบริษัทเหนือคู่แข่งขันที่บริษัทสามารถ
นามาใช้ในการดาเนินงานธุรกิจในตลาดหรืออุตสาหกรรมนั้น ได้แก่สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ มีทีมงาน
บริหารที่เชียวชาญมีประสบการณ์สูง และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม และ
ลูกค้าเป็นอย่างดี มีความรู้ความชานาญทางด้านเทคนิคหรือทักษะบางอย่างที่โดดเด่นเป็นพิเศษ
มีส่วนครองตลาดสูง เป็นผู้นาทางการตลาด มีฐานะทางการเงินที่ มั่นคง เพื่อสร้างความเจริญเติบโต
ให้กั บ ธุรกิ จ มี บุ ค ลากรทางด้า นการตลาดที่มีคุ ณภาพสูง ขีดความสามารถทางด้ านการผลิตสู ง
มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาดี ประสบการด้านการขายสูง มีช่องทางการจัดจาหน่ายกว้าง
และมั่นคง มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ลอกเลียนแบบได้ยากมี ชื่อเสียงดี เป็นที่ครองใจลูกค้ามานานมี
พนักงานที่ซื่อสัตย์ และจงรัก ภัก ดี มีการบริหารบุคลากรที่ดีมีความแข็งแกร่งด้านโฆษณา และ
ส่งเสริมการตลาดมีชื่อเสียงด้านการบริการลูกค้าที่ดี มีคุณภาพด้านผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่าของคู่แข่งขัน
และมีความได้เปรียบด้านต้นทุน ฯลฯ
จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง สิ่งที่บริษัทยังขาดหรือมีแต่ด้อยกว่าของคู่แข่งขันหรือ
อยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ อันเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการดาเนินงาน ได้แก่ การขาดทรัพยากร
ด้านการเงิน การขาดประสบการณ์ด้านการบริหารในอุตสาหกรรมนั้น ส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่า
เครื่องมือด้านการผลิตมีคุณภาพด้อยกว่า ชื่อเสียงไม่มี เพราะเป็นบริษัทใหม่ พนักงานไม่จงรักภักดี
ไม่ซื่อสัตย์ ใช้แรงงานเด็ก มีแหล่งวัตถุดิบจากัด และขึ้นอยู่กับฤดูกาล มีเครื่องจักรไม่ทันสมัย และอายุ
การใช้งานนาน วัฒนธรรมของบริษัทไม่เอื้ออานวย โครงสร้างขององค์การใหญ่ และเชื่องช้าเกินไป
ผู้บริการไม่มีวิสัยทัศน์ เป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก ใช้ระบบครอบครัวในการบริหารงาน
ภาพลักษณ์ของบริษัทไม่ ดีทิศทางกลยุทธ์ไม่ชัดเจน มีสิ่งอานวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ที่ล้าสมัย
มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเมื่อเปรียบเทียบกับของคู่แข่งขันหลักและการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังล้าหลัง
38
โอกาส (Opportunities) หมายถึง ปัจจัย หรือสถานการณ์ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้
บริษัทสามารถใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือมากกว่าที่มุ่งหวังไว้อย่างมาก
โอกาสของบริษัทที่เป็นไปได้ (Potential Company Opportunities) ได้แก่ การเพิ่มบริการให้กับกลุ่ม
ลูกค้ามากขึ้นหรือการขยายเข้าตลาดใหม่ การขยายสายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของลูกค้าที่มีขอบเขตกว้างขึ้น การนาความรู้ความชานาญ หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีของ
บริษัทมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือธุ รกิจใหม่ การเปิดเกมเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจาก
คู่แข่งขัน ความสามารถในการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ในสภาวะที่ความต้องการของตลาด
เพิ่ ม ขึ้ น มาก การเลิ ก การกี ด กั น ทางการค้ า ในตลาดต่ า งประเทศที่ น่ า สนใจ การซื้ อ กิ จ การ
(Acquisition) ของบริษัทคู่แข่ง การเป็นพันธมิตร (Alliances) หรือการเข้าร่วมลงทุน (Joint Venture)
ของธุรกิจ ซึ่งทาให้การครอบคลุมตลาดของบริษัท และขีดความสามารถทางการแข่งขันขยายตัว
มากขึ้ น การเปิ ดตั ว น าเทคโนโลยี ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใหม่ มาใช้ ประโยชน์ ก่ อนคู่ แข่ ง ขั น การเปิ ด ตัว ทาง
การตลาดเพื่อขยายชื่อตราผลิตภัณฑ์หรือชื่อเสียงของบริษัทให้กว้างขวางขึ้นในท้องที่ใหม่ ๆ ฯลฯ
อุปสรรคหรือภัยคุกคาม (Threats) หมายถึง ปัจจัยภายนอกซึ่งอาจมีผลกระทบทาให้
บริ ษั ท ประสบความล้ ม เหลว ไม่ บ รรลุวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ วางไว้ ส าหรั บอุ ป สรรคหรื อ ภัย คุ ก คาม
ภายนอกที่อาจเกิดขึ้นได้ (Potential External Threats) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของบริษัท
ได้แก่ ความเป็ นไปได้ที่ คู่แข่ งขั นหน้าใหม่ที่มีพลังจะเข้ามาเป็นคู่แข่งในอนาคต การเกิดสินค้า
ทดแทน ทาให้สูญเสียยอดขายไป (Loss of sales) การเจริญเติบโตของตลาด มีอัตราชะลอตัวลง
(Slowdown) การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลร้ ายด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และนโยบาย
การค้าของรัฐบาลต่างประเทศ การออกกฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นใหม่ ทาให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ความอ่อนแอต่อการเกิดภาวะซบเซาของธุรกิจ (Recession) และวัฏจักรธุรกิจ (Business cycles)
อานาจต่อรอง (Bargaining Power) ของลูกค้าหรือผู้จาหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) มีมากขึ้น การ
เปลี่ยนแปลงด้านความต้องการ และรสนิยมของผู้ซื้อต่อผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการเปลี่ยนแปลง
ที่เป็นผลร้ายทางด้านประชากรศาสตร์ ความอ่อนแอด้านพลังผลักดันของอุตสาหกรรม ฯลฯ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (external environment)


การประเมิ น สภาพแวดล้อ มภายนอกของบริษั ท ทาให้ส ามารถค้น หาโอกาสและ
อุป สรรค การดาเนินงานของบริ ษั ทที่ ไ ด้รั บผลกระทบจากสภาพแวดล้ อมทางเศรษฐกิ จ ทั้งใน
ประเทศและระหว่ า งประเทศที่ เ กี่ ย วกั บ การด าเนิ นงานของบริ ษั ท เช่ น อัต ราการขยายตั วทาง
เศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้ง
ถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ
และวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และ
39
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ, 2559)
การวิ เ คราะห์ ส ภาพแวดล้ อ มภายนอก เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี ค วามส าคั ญ ต่ อ ผู้ บ ริ ห าร
ระดับสูงขององค์การ เพื่อนาไปใช้ในการกาหนดกลยุทธ์ขององค์การ ด้วยความสาคัญของการ
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก จึงได้มีการแบ่งประเภทของสภาพแวดล้อมภายนอกออกได้ดังนี้
(สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 48-47)

1. สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment Analysis)


สภาพแวดล้อมทั่วไป ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านสังคมในมิติกว้างๆ ซึ่งเป็นปัจจัย
ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งปัจจัยสภาพแวดล้อมทั่วไปที่มี
ผลกระทบต่อการดาเนินธุรกิจจาแนกออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 56)
1) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Environment)
สภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีอิทธิพลต่อภาวการณ์ดาเนินงานของ
ธุรกิจและอุตสาหกรรม ดังนั้นองค์การจาเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลต่อการดาเนินงานขององค์การอย่างมีนั ยสาคัญ รวมทั้งการ
คาดการณ์ถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งองค์การอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้กลยุทธ์ดังกล่าวสามารถนาไปใช้
ปฏิบั ติง านได้อย่ า งมี ป ระสิท ธิผล โดยปัจจัย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ควรคานึ งถึง ได้แก่
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น, อัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินเฟ้อ และ
อัตราแลกเปลี่ยน (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 56-61)
2) สภาพแวดล้ อ มทางสั ง คม วั ฒ นธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่ ง แวดล้ อ ม
(Society, Culture, Demography and Natural Environment)
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์
และสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบสาคัญต่อทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ ตลาด และลูกค้าของธุรกิจ ธุรกิจไม่ว่า
จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจที่หวังกาไรจากการลงทุน และธุรกิจที่ไม่หวังผล
กาไรจากการลงทุนในทุกอุตสาหกรรมไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
ของปั จ จั ย ตั ว แปรสภาพแวดล้ อ มดั ง กล่ า ว โดยปั จ จั ย สภาพแวดล้ อ มทางสั ง คม วั ฒ นธรรม
ประชากรศาสตร์ และสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ปลี่ ย นแปลงนั้ น ก่ อ ให้ เ กิ ด โอกาสและอุ ป สรรคในการ
ดาเนินงานให้แก่องค์การ เนื่องจากโลกทุ กวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนั่นเอง ซึ่งแนวโน้ม
สภาพแวดล้อมทางสัง คม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพ ลต่อวีทางการ
ดาเนินชีวิต การทางาน การผลิต และการบริโภค แนวโน้มปัจจัยตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิด
40
ประเภทของลูกค้าที่มีความต้องการในสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป องค์การ
แต่ละแห่งจาเป็นต้องเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อฉกฉวยโอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่
เปลี่ยนไป และพยายามหลีกเลี่ยงอุปสรรคจากปัจจัยสภาพแวดล้อมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความ
ได้เปรียบทางการแข่งขัน (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 62-63)
3) สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment)
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของสังคมและ
ธุรกิจ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่สาคัญ ๆ คือ เรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการ
ผลิตและวัตถุดิบ ในส่วนของเทคโนโลยีจะรวมความถึงสถาบันและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ และถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โดยก่อให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ
ผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ และวัตถุดิบใหม่ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว ธุรกิจมีความจาเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี เพราะความสาเร็จในการ
พัฒนาเทคโนโลยีนามาซึ่งการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งทางการตลาดและอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
(สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 68-69)
4) สภาพแวดล้อมทางการเมือง รัฐบาล และกฎหมาย (Political, Government and
Legal Environment)
สภาพแวดล้อมทางการเมือง รัฐบาล และกฎหมาย เป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่
องค์การและกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นคู่แข่งต้องปฏิบัติตาม รวมถึงวิธีการและข้อร้องเรียนเกี่ยวกับ
กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ โดยทั่วไปปัจจัยเหล่านี้แสดงให้
เห็นว่าองค์การธุรกิจพยายามที่จะโน้มน้าวให้รัฐบาลออกกฎหมายและกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการ
ดาเนินงานของธุรกิจ หรือในทางกลับกั นรัฐบาลออกกฎหมายและกฎระเบีย บเพื่ อโน้มน้าวให้
องค์การธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบในกรณีที่ปัจจัยทางการเมือง รัฐบาล และ
กฎหมาย มีการเปลี่ยนแปลงจะมีอิทธิพลต่อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ในการแข่งขันให้มีการ
เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 70-71)

2. สภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม
คือ ชุดของปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อธุรกิจในการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์ทาง
การแข่งขัน ประกอบด้วย อุปสรรคจากคู่ แข่งขันที่เข้ามาใหม่ในตลาด อานาจการต่อรองของผู้ขาย
ปัจจัยการผลิต อานาจการต่อรองของผู้ซื้อ อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทดแทนกันได้และความ
รุนแรงของการแข่งขันระหว่างธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยทั่วไปการมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่ า งพลั ง ผลั ก ดั น ทั้ ง 5 จะแสดงถึ ง ศั ก ยภาพในการท าก าไรของธุ ร กิ จ ในอุ ต สาหกรรมนั้ น
(สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 51)
41
3. สภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน
คือ การที่องค์การรวบรวมและทาการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขันของธุรกิจที่
เรียกว่า การวิเคราะห์คู่แข่งขัน การศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน
ของคู่แข่งขัน ทาให้องค์การสามารถทราบถึงกลยุทธ์ที่คู่แข่งขันได้ดาเนินงาน ซึ่งเป็นการมุ่งศึกษา
หรือวิเคราะห์เฉพะคู่แข่งขันที่ต้องการทาการแข่งขันเท่านั้น (สุดใจ วันอุดมเดชาชัย, 2556 : 53)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมทาง
สังคม และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงาน (พิบูล ทีปะปาล, 2559 : 31-32)
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคม (analyzing the societal environments)
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมออกเป็น 4 ด้าน เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มและ
การเปลี่ยนแปลงปัจจัยตัวแปรที่สาคัญ (important variables) ที่ก่อให้เกิดโอกาส (opportunities)
และอุปสรรค (threats) มีดังนี้
1) ปัจจัยตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจ (economic variables) ได้แก่
- แนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
- อัตราดอกเบี้ย (interest rates)
- ปริมาณเงิน (money supply)
- อัตราเงินเฟ้อ (inflation rates)
- ระดับว่างงาน (unemployment levels)
- การควบคุมค่าจ้างและราคา (wage/price control)
- การลดค่าเงิน (devaluation) เป็นต้น
2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (technological variables) ได้แก่
- ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนารัฐบาล
- ความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์
- การป้องกันสิทธิบัตร
- พัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยี
- การปรับปรุงด้านผลิตภาพโดยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ
- ความเจริญก้างหน้าทางด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
3) ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (political-legal variables) ได้แก่
- การออกกฎหมายป้องกันการผูกขาด (antitrust regulations)
- กฎหมายภาษี (tax laws)
- กฎหมายการป้องกันสิ่งแวดล้อม (environmental protection laws)
- ทัศนคติต่อบริษัทต่างชาติ (attitudes toward foreign companies)
42
- เสถียรภาพของรัฐบาล (stability of government)
- การผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ (deregulation) เป็นต้น
4) ปัจจัยตัวแปรทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural variables) ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงแบบการดาเนินชีวิต (lifestyle changes)
- การกระจายอายุของประชากร (age distribution of population)
- อัตราการเกิด (birth rates)
- อัตราการเติบโตของประชากร (growth rate of population)
- ความสนใจต่อสภาพแวดล้อม (concern for the environment),
- ความคาดหวังงานอาชีพ (career expectations)
- การเกิดแรงงานสตรี (women in the work force)

ตารางที่ 1 ตัวแปรต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมทางสังคม

สภาพแวดล้อม ตัวแปร
เศรษฐกิจ - แนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวม
- อัตราดอกเบี้ย
- อัตราเงินเฟ้อ
- อัตราการว่างงาน
- อัตราค่าจ้าง/การควบคุมราคา/การลดค่าของเงิน/การปรับค่าของเงิน
- การมีอยู่และต้นทุนของพลังงาน
- รายได้สุทธิหลังหักภาษีและค่าใช้จ่ายที่จาเป็น
- ตลาดเงินตรา
เทคโนโลยี - ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลสาหรับการวิจัยและพัฒนา
- ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของอุตสาหกรรมสาหรับการวิจัยและพัฒนา
- ความพยายามมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี
- การจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ใหม่
- การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่จากห้องทดลองออกสู่ตลาด
- การปรับปรุงผลิตภาพโดยผ่านระบบอัตโนมัติ
- การมีอยู่ของระบบอินเตอร์เน็ต
- โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม
- กิจกรรมการโจรกรรมข้อมูลในคอมพิวเตอร์
43
ตารางที่ 1 ตัวแปรต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมทางสังคม

สภาพแวดล้อม ตัวแปร
กฎหมาย-การเมือง - กฎระเบียบห้ามการผูกขาด
- กฎหมายสิ่งแวดล้อม
- กฎหมายภาษีอากร
- การสนับสนุนพิเศษทางการค้า
- ทัศนคติต่อบริษัทต่างชาติ
- กฎหมายการจ้างงานและการเลื่อนตาแหน่ง
- เสถียรภาพของรัฐบาล
- ประเด็นปัญหาด้านการก่อการร้ายและความลับส่วนตัว
- กฎระเบียบด้านการว่าจ้างงานบริษัทภายนอก
วัฒนธรรมสังคม - การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
- ความคาดหวังในด้านอาชีพการงาน
- การตื่นตัวของผู้บริโภค
- อัตราการสร้างครอบครัวใหม่
- อัตราการเติบโตของประชากร
- การย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากร
- การกระจายอายุของประชากร
- การย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากร
- อัตราการเกิดของประชากร
- ช่วงอายุขัยของประชากร
- แผนการเงินบาเหน็จบานาญ
- สวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ
- ระดับการศึกษา

ที่มา (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :44)


44
2. สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับงาน (Analyzing the task environment)
จุดมุ่ ง หมายที่ ส าคัญของการวิ เคราะห์ส ภาพแวดล้ อมเกี่ ย วกั บงาน ก็ เพื่ อทราบ
สภาวะแวดล้อมทางด้า นการแข่ งขันในอุตสาหกรรมที่บริษัทดาเนินการอยู่ว่ามีลักษณะอย่างไร
รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งขัน เพราะว่าบริษัทจะไม่สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หากบริษัทไม่เข้าใจสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้น และทั้งไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง
ประเภทของการวิ เ คราะห์ ส ภาพแวดล้ อ มเกี่ ย วกั บ งาน แบ่ ง ออกได้ 2 ส่ ว น คื อ การวิ เ คราะห์
อุตสาหกรรม (industry analysis) และการวิเคราะห์คู่แข่ง (competitor analysis)
1) การวิเคราะห์อุตสาหกรรม
2) การวิเคราะห์คู่แข่ง
การตรวจสอบสภาพแวดล้อมของบริษัทควรรวมถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบทุก
ส่ ว นของสภาพแวดล้ อ มในงาน การวิ เ คราะห์ เ หล่ า นี้ เ ขี ย นอยู่ ใ นรู ป แบบรายงานโดยกลุ่ ม คน
หลากหลายในส่วนที่แตกต่างกันของบริษัท

การวิเคราะห์สภาพแวดล้ อมในงาน
เศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม เทคโนโลยี กฎหมาย-การเมือง
การวิเคราะห์ตลาด
การวิเคราะห์ชมุ ชน การวิเคราะห์คแู่ ข่งขัน
การวิเคราะห์ผ้ จู ดั หา
การเลือกปั จจัยกลยุทธ์ วัตถุดิบ

การวิเคราะห์  โอกาส การวิเคราะห์


กลุม่ ผลประโยชน์  ภัยคุกคาม กลุม่ ผลประโยชน์

ภาพที่ 9 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ที่มา (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 : 45)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิ เ คราะห์ แ ละพิ จารณาทรัพ ยากรและความสามารถภายในบริ ษั ท ทุ ก ๆ ด้ า น
เพื่ อ ที่ จ ะระบุ จุ ด แข็ ง และจุ ด อ่ อ นของธุ ร กิ จ แหล่ ง ที่ ม าเบื้ อ งต้ น ของข้ อ มู ล เพื่ อ การประเมิ น
สภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง
ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทางานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ
การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดาเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์
และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ, 2559)
45
กระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ สามารถระบุปัจจัยที่เป็นโอกาส
และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค จากการตรวจสิบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว การทราบ
ปัจจัยเพียง 2 อย่างนี้ ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage)
ให้กับบริษัทในการจัดทากลยุทธ์เพื่อให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นจาเป็นจะต้องอาศัย
ความเข้าใจสภาพแวดล้อมภายในองค์กรด้วย นั้นคือ สามารถระบุ จุดแข็ง (strengths) และจุดอ่อน
(weaknesses) ขององค์กรได้ด้วย ซึ่งรวมเรียกว่า “ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายใน” (internal strategic factors)
อันเป็นปัจจัยที่บริษัทจานะมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบจากโอกาสที่เปิดให้ และเพื่อหลีกเลี่ยง
อุปสรรค หรือภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น (พิบูล ทีปะปาล, 2555 : 58)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การจัดการกลยุทธ์ นอกจากจะต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว
ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) องค์กรด้วย บทนี้จะกล่าวถึง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร ด้วยการนาเสนอเครื่องมือการวิเคราะห์องค์กร ผู้บริหาร
จะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เลย ถ้าไม่ทราบถึงสถานะของตนเอง การทราบถึงสถานะตัวเอง
จะนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว ดังที่นักกลยุทธ์ของจีนได้กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบ
ร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (ไพโรจน์, 2556 : 105-110)
ในส่วนแรกจะเสนอมุมมองภาพรวมการวิเคราะห์ภายในองค์ก ร โดยเครื่องมือที่
เรียกว่าห่วงโซ่แห่งคุณค่า
ส่วนที่ 2 จะเสนอมุมมองด้านทรัพยากร ขีดความสามารถ และสมรรถนะหลักองค์กร
สมรรถนะหลักองค์กรเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
ส่วนที่ 3 จะเป็นการเสนอมุมมองการวิเคราะห์องค์กร โดยใช้ผลประกอบการ พร้อม
ทั้งวิธีการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลงานมาตรฐาน

กิจกรรมหลักประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
วัตถุดิบ (Inbound Logistics) ได้แก่ การจัดหาการลาเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต
หรือเป็นการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเข้าสู่การดาเนินงาน
การดาเนินการ (Operations) ได้แก่ ประสิทธิภาพของเครื่องจักรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
ความเหมาะสมของกระบวนการผลิต โดยการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ประสิทธิภาพการวางผังโรงงาน
และการออกแบบการหมุนเวียนของงาน ประสิทธิผลของการควบคุมการผลิตที่มีคุณภาพและลดต้นทุน
วัตถุดิบ (Outbound Logistics) ได้แก่ การส่งมอบสินค้า และบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
และทันเวลา กิจกรรมที่เกี่ยวกับการคลังสินค้าสินค้าสาเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพ
46
การตลาดและการขาย (Marketing and Sales) ได้แก่ ประสิทธิผลการวิจัยตลาด เพื่อ
กาหนดระบุถึงความต้องการและการแบ่งส่วนตลาด นวัตกรรมการส่งเสริมการขายและการโฆษณา
การประเมินทางเลือกของช่องทางการจัดจาหน่าย การจูงใจและความสามารถของนักขาย การพัฒนา
ภาพลักษณ์ของคุณภาพและชื่อเสียง การขยายความภักดีในตราสินค้า
การบริการ (Service) ได้แก่ การพิจารณาการรับรู้ของลูกค้าเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
การให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องของลูกค้า การมีนโยบายการประกันคุณภาพและสินค้าอย่างเหมาะสม
คุณภาพในการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ลูกค้า ความสามารถที่จัดหาชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการทดแทน
และการให้บริการซ่อมแซม

หลักการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นกระบวนการที่สาคัญในการจัดทาแผนพัฒ นาด้าน
แรงงาน เชิงบูรณาการจังหวัดยโสธร โดยใช้หลักการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็น
เครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ด้านแรงงานของจังหวัดยโสธร เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้าน
จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน นอกจากนี้
ยังต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ต่าง ๆ ในเชิงกว้าง
(Scenario Analysis) เพื่อตรวจสอบดูว่าสถานการณ์ใดบ้างที่เป็นโอกาส (Opportunities) และ
สถานการณ์ใดบ้างที่เป็นภัยคุกคาม (Threats) ที่มีอิทธิพลกับการดาเนินงานด้านแรงงาน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis) การวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายใน เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) เพื่อพิจารณา
ว่าการดาเนินงานด้านแรงงานในอดีตที่ผ่านมาว่ามีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไรบ้าง และประเด็นใดมี
อิทธิพลต่อการดาเนินงาน โดยอาศัยหลักการของ 7s ของ McKinsey ซึ่งประกอบด้วย

ภาพที่ 10 ตัวแบบหลักการของ 7s ของ McKinsey


ที่มา (ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, 2556)
47
1. Staff พิจารณาเกี่ยวกับบุคลากรว่ามีความพร้อมมากน้อยเพียงใดและมีจานวน
เพียงพอหรือไม่อย่างไรจะช่วยให้เกิดการคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถการพัฒนาบุคลากร
อย่างต่อเนื่อง
2. Skill บุค ลากรมีความเชี่ย วชาญหรือชานาญมากน้อยเพียงใดมีทักษะในการ
ปฏิบัติงานสอดคล้องกับภารกิจหลักหรือไม่อย่างไร
3. Style รูปแบบการบริหารเป็นอย่างไรและมีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร
4. Structure โครงสร้างขององค์กรมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานหรือโครงสร้าง
ขององค์กรในระดับต่างๆสนับสนุนหรือเอื้อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างคล่องตัวหรือไม่อย่างไรถ้า
โครงสร้า งขององค์ ก รมีค วามเหมาะสมและสอดคล้องกั บแผนกลยุทธ์แล้วก็ จะเป็นจุดแข็งของ
องค์กรแต่ถ้าโครงสร้างขององค์กรไม่เหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรก็จะทาให้เกิดเป็น
จุดอ่อนขององค์กร
5. Strategy พิจารณาว่ามีการกาหนดกลยุทธ์หรือมียุทธศาสตร์อย่างไรสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อ มภายนอกและภายในหรือ ไม่อ ย่ า งไรจะช่ว ยในการวางแผนเพื่ อตอบสนองการ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเพื่อให้ช่วยสนับสนุนให้องค์กรมีขีดความสามารถเหนือคู่แข่งขัน
6. System เป็นการวิเคราะห์ถึงระบบงานขององค์กรในทุกๆเรื่องทั้งเรื่องระบบการ
บริหารจัดการระบบการปฏิบัติงานเช่นระบบสารสนเทศระบบการวางแผนระบบงบประมาณระบบ
การควบคุมและวัสดุอุปกรณ์มีความพร้อมที่จะรองรับและตอบสนองการปฏิบัติงานของบุคลากร
หรือไม่รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทางานเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนและจุดแข็งอะไรบ้าง
7. Shared Value เป็นการวิเคราะห์ถึงค่านิยมร่วมความเชื่อร่วมขององค์กรนั้นๆว่าเป็น
อย่างไรเพื่อให้เกิดปัจจัยแห่งความสาเร็จบุคลากรและองค์กรมีค่านิยมที่จะปฏิบัติงานอย่างอย่างไร
ค่านิยมดังกล่าวที่มีอยู่นั้นเป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งและมีค่านิยมอะไรที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น

การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยเช่นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม


และศักยภาพหรือการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สาหรับ
องค์กรหรือโครงการซึ่งช่วยผู้บริหารกาหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายในโอกาส
และอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการ
ทางานขององค์กรเทคนิคนี้อัลเบิร์ตฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนา
เทคนิคนี้มา แสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
48
ความหมายของ SWOT คาว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว
ได้แก่
S มาจากStrengths หมายถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายในเป็นข้อดี
ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัทเช่นจุดแข็งด้านส่วนประสมจุดแข็งด้านการเงินจุดแข็งด้าน
การผลิตจุดแข็งด้านทรัพยากรบุ คคลบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกาหนดกลยุทธ์
การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อนซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆของบริษัทซึ่งบริษัทจะต้องหา
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาสซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นผลจากการที่
สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดาเนินงานขององค์กรโอกาส
แตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกแต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมา
จากสภาพแวดล้อมภายในนักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอและใช้ประโยชน์จาก
โอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรคซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นข้อจากัดที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งธุรกิจจะเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัด
อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้

การจัดทาแมททริกซ์อุปสรรค โอกาส จุดอ่อน จุดแข็ง (TOWS MATRIX)

การจัดทา TOWNS Matrix ประกอบด้วย 9 ช่องคือ เป็นช่องปัจจัยหลักสาคัญ 4 ช่อง


ช่องกลยุทธ์ 4 ช่วง กับอีก 1ช่อง บอกที่มาของปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายใน ช่องกลยุทธ์ 4 ช่อง
ให้ชื่อว่า กลยุทธ์ SO กลยุทธ์ WO กลยุทธ์ ST กลยุทธ์ WT ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการใส่ปัจจัย
หลักสาคัญ 4 ช่อง
สาหรับขั้นตอนการจัดทาจะแระกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้คือ (David, 2001 :205 อ้าง
ใน พิบูล ทีปะปาล , 2559 :99-101)
1. เขียนรายงานปัจจัยภายนอกที่เป็น โอกาส (O) ที่สาคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วย
ธุรกิจโดยเลือกจากตาราง EFAS
2. เขียนรายงานปัจจัยภายนอกที่เป็น อุปสรรค (T) ที่สาคัญที่สุดของบริษัท หรือ
หน่วยธุรกิจโดยเลือกจากตาราง EFAS
3. เขียนรายงานปัจจัยภายในที่เป็น จุดแข็ง (S) ที่สาคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วย
ธุรกิจโดยเลือกจากตาราง IFAS
49
4. เขียนรายงานปัจจัยภายในที่เป็น อ่จุดอน (W) ที่สาคัญที่สุดของบริษัท หรือ หน่วย
ธุรกิจโดยเลือกจากตาราง IFAS
5. จับคู่ จุดแข็งภายใน (S) กับ โอกาสภายนอก (O) เพื่อรวมตัวเป็นกลยุทธ์ SO
6. จับคู่ จุดแข็งภายใน (W) กับ โอกาสภายนอก (O) เพื่อรวมตัวเป็นกลยุทธ์ WO
7. จับคู่ จุดแข็งภายใน (S) กับ โอกาสภายนอก (T) เพื่อรวมตัวเป็นกลยุทธ์ ST
8. จับคู่ จุดแข็งภายใน (W) กับ โอกาสภายนอก (T) เพื่อรวมตัวเป็นกลยุทธ์ WT
สาหรับแนวทางการจัดทากลยุทธ์ ทั้ง 4 รูปแบบ มีวิธีการจัดทาดังนี้ (พิบูล ทีปะปาล,
2559 : 101)

ตารางที่ 2 การจัดทากลยุทธ์

ปัจจัยภายใน จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W)


S1 เลือกเขียน W1 เลือกเขียน
S2 5-10 รายการ W2 5-10 รายการ
ปัจจัยภายนอก S3 W3
โอกาส (O) กลยุทธ์ SO กลยุทธ์ WO
O1 เลือกเขียน จั ด ท ากลยุ ท ธ์ โ ดยใช้ จุ ด แข็ ง จั ด ท ากลยุ ท ธ์ โ ดยเอาชนะ
O2 5-10 รายการ เพื่ อ สร้ า งความได้ เ ปรี ย บจาก จุดอ่อนเพื่อใช้ประโยชน์จาก
O3 โอกาส โอกาส
อุปสรรค (T) กลยุทธ์ ST กลยุทธ์ WT
T1 เลือกเขียน จัดทากลยุทธ์โดยใช้จุดแข็งเพื่อ จัดทากลยุ ทธ์เพื่ อลดจุดอ่อน
T2 5-10 รายการ หลี ก เลี่ ย งอุ ป สรรคหรื อ ภั ย และหลีกเลี่ยงอุปสรรค
T3 คุกคาม

ที่มา (พิบูล ทีปะปาล, 2559 : 101)

1. กลยุทธ์ SO (SO strategies) เป็นแนวคิดหาแนวทางการดาเนินงานของบริษัทโดย


ใช้จุดแข็งที่มีอยู่เพื่อสร้างความได้เปรียบจากโอกาสที่เอื้ออานวยให้
2. กลยุทธ์ WO (WO strategies )เป็นการใช้ความพยายามเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนภายใน
บริษัทให้ดีขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นภายนอก สถานการณ์ เช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ
บริษัทพบว่า มีโอกาสที่ดีเกิดขึ้นภายนอก แต่บริษัทมีจุดอ่อนภายในไม่สามารถที่จะนาโอกาสที่
50
เกิดขึ้นนั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
3. กลยุทธ์ ST (ST strategies) เป็นการใช้จุดแข็งของบริษัท เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงหรือ
ลดผลกระทบจากอุปสรรคหรือภัยคุกคามจากภายนอก
4. กลยุทธ์ WT (WT strategies) เป็นยุทธวิธีป้องกันตัว (defensive tactics) ของบริษัท
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดจุดอ่อนภายในให้เหลือน้อยที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรค หรือภยันตราย
ที่เกิดขึ้นจากภายนอก

TOWS matrix เป็นเครื่องมือที่นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในการจัดทากลบยุทธ์


เพื่อให้เกิ ดทางเลือกหลายๆทอง หรือเพื่อมองกันได้หลายๆมุม สามารถนามาใช้ได้ทั้งในระดับ
บริษัทอันเป็นส่วนรวมและระดับธุรกิจ (SBU) และกลยุทธ์ที่จัดทาขึ้นมาก็ไม่ได้หมายความว่าจะ
นาไปใช้ในขั้นปฏิบัติการทั้งหมด เพียงแต่ต้องการแสดงให้เห็นว่า การจัดทากลยุทธ์มีโอกาสทาได้
ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ กลยุทธ์ในเชิงรุกที่ดี (good offense) โดยปราศจากกลยุทธ์เชิงรับที่ดี (good
defense) หรือในทางกลับกันมักจะนาไปสู่ความพ่ายแพ้เสมอ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นโดยการใช้จุดแข็ง
เพื่อฉกฉวยประโยชน์จากโอกาส ถือเป็นกลยุทธ์ในเชิงรุก (offense) ส่วนกลยุทธ์ที่ออกแบบขึ้น
ปรับปรุงจุดอ่อนและในขณะเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคหรือข้อจากัด ก็ถือเป็นกลยุทธ์ในเชิงรับ
หรือป้องกันตัว (defense) (David, 2001:204 ; อ้างใน พิบูล ทีปะปาล , 2559 : 101) และเนื่องจากทุก
องค์การต่างก็มีโอกาสและอุปสรรคภายนอก และมีจุดแข็งจุดอ่อนภายใน ดังนั้นจึงสามารถจัดทากล
ยุทธ์ได้ทั้งสองแนวทาง ดังกล่าว
สรุป การจัดทากลยุทธ์เป็นงานขั้นที่ 2 ในกระบวนการการจัดการเชิ งกลยุทธ์เริ่มจาก
การวิเคราะห์สถานการณ์ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 4 อย่าง คือจุดแข็งจุดอ่อนภายในบริษัท และ
โอกาส และอุปสรรคภายนอกบริษัท ซึ่งนิยมเรียกการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้ว่า “การวิเคราะห์สวอท”
(SWOT analysis)
จุดแข็ง (S) หมายถึง ข้อได้เปรียบของบริษัทเหนือคู่ แข็งขันที่บริษัทสามารถนามาใช้
ในการดาเนินงานธุรกิจ ได้แก่ ทีมงานบริหารที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์สูง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
และมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับอุตสาหกรรม และลูกค้าเป้นอย่างดี เป็นต้น
จุดอ่อน (W) หมายถึง สิ่งที่บริษัทยังขาด หรือมีด้อยกว่าคู่แข่งขัน ได้แก่ การขาด
ทรั พ ยากรด้ า นการเงิ น การขาดประสบการณ์ ด้า นการบริ หารในอุ ตสาหกรรมนั้ น หรื อ การมี
เครื่องมือด้านการผลิตที่มีคุณภาพด้อยกว่า เป็นต้น
โอกาส (O) หมายถึง ปัจจัยหรือสถานการณ์ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถ
ใช้ความพยายาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือมากกว่าที่มุ่งหวังไว้อย่างมาก โอกาสของ
บริษัทที่เป็นไปได้เช่น การเพิ่มบริการให้กลุ่มลูกค้ามากขึ้น หรือการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่เป็นต้น
51
อุปสรรค หรือ ภัยคุกคาม (T) หมายถึง ปัจจัยภายนอก ซึ่งอาจมีผลกระทบทาให้
บริษัทประสบความล้มเหลว ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ วางไว้ เช่น ความเป็นไปได้ที่คู่แข่งหน้าใหม่ที่
มีพลังจะเข้ามาเป็นคู่แข็งในอนาคต หรือการเกิดสินค้าทดแทน ทาให้ต้องสูญเสียยอดขายไป เป็นต้น
จากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน จะนามาสรุปรวมกันในรูปของแมททริกซ์ ซึ่ง
จะเป็นข้อมูลในการจัดทากลยุทธ์ต่อไป รวมทั้งการจัดทา TOWS Matrix เพื่อให้เกิดทางเลือกใช้กล
ยุทธ์หลาย ๆ ทาง หรือมองกันได้หลายๆ มุม

TOWS Matrix
เป็นเครื่องมือที่ใช้ฐานข้อมูลจาก SWOT Analysis Model มาใช้ในการจับคู่ปัจจัย
ต่างๆของข้อมูลใน SWOT มาวิเคราะห์ในแบบ TOWS Matrix เพื่อก่อให้เกิดประเด็นกลยุทธ์หรือ
กิจกรรมแผนงานแนวทางการปฏิบัติต่างๆเพื่ อการปิดช่องว่างที่เกิ ดขึ้นต่อการดาเนินกลยุ ทธ์ที่
องค์กรได้เลือกไว้

ภาพที่ 11 การจัดทากลยุทธ์แมททริกซ์ทาวซ์ (TOWS MATRIX)


ที่มา (กฤษณา ศรีอ่อน และทวินรัตน์ โจมฤทธิ์, 2558)

กลยุทธ์ S - O (SO Strategy) เป็นตาแหน่งหรือสถานการณ์ที่เป็นเป้าหมายของทุก


บริษั ท โดยบริษั ท จะใช้ จุดแข็ ง และข้อได้เปรี ย บจากโอกาสถ้ ามีจุด อ่อนก็ พ ยายามแก้ ไ ขเพื่ อให้
เปลี่ยนเป็นจุดแข็งถ้าเผชิญอุปสรรคก็ต้องพยายามเปลี่ยนให้เป็นโอกาสในกรณีนี้บริษัทจะใช้จุดแข็ง
ที่มีเพื่อสร้างความได้เปรียบจากโอกาส
52
กลยุทธ์ W - O (WO Strategy) เป็นตาแหน่งหรือสถานการณ์ที่ธุรกิจพยายามให้มี
จุดอ่อนต่าสุดและมีโอกาสสูงสุดดังนั้นธุรกิจที่มีจุดอ่อนในบางกรณีจะต้องพยายามหาวิธีการแก้ไข
โดยใช้ข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยีหรือบุคลากรที่มีทักษะจากภายนอกในการพัฒนาองค์กรในกรณี
นี้บริษัทจะพยายามแก้ไขจุดอ่อนและสร้างข้อได้เปรียบจากโอกาส
กลยุทธ์ S - T (ST Strategy) เป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจมีจุดแข็งและมีอุปสรรคจาก
สภาพแวดล้อมภายนอกเป้า หมายของบริษัทคือพยายามให้มีจุดแข็งสูงสุดและมีอุปสรรคต่าสุด
ดังนั้นบริษัทอาจใช้จุดแข็งด้านเทคโนโลยีการเงินการบริหารจัดการหรือการตลาดเพื่อขจัดอุปสรรค
จากคู่แข่งขันในกรณีนี้บริษัท
กลยุทธ์ “W - T (WT Strategy) เป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจมีจุดอ่อนและอุปสรรคโดยมี
เป้าหมายเพื่อสร้างจุดแข็งและขจัดอุปสรรคให้ต่าสุดโดยบริษัทอาจใช้วิธีการร่วมลงทุน (Joint venture)
การลดค่าใช้จ่าย (Retrench) การเลิกผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกาไร (Liquidate) ในกรณีนี้บริษัทจะพยายาม
สร้างจุดแข็งและเอาชนะอุปสรรคให้ได้

การกาหนดปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายนอก (External Strategic Factor Identification)


บริษัทมักจะตอบสนองแตกต่างกันสาหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเดียวกัน
เพราะว่าความสามารถของผู้จัดการมีความแตกต่างกันที่จะรับรู้และเข้าใจปัจจัยและประเด็นเชิงกล
ยุทธ์ภายนอก มีบริษัทส่วนน้อยสามารถติดตามทุกปัจจัยภายนอกที่สาคัญ ถึงแม้ว่าผู้จัดการยอมรับ
ว่าความสาคัญเชิงกลยุทธ์เป็นตัวกาหนดว่าตัวแปรใดต้องติดตามอย่างสม่าเสมอ พวกเขาบางครั้ง
พลาดหรือไม่ใส่ใจพัฒนาการใหม่ที่สาคัญยิ่ง ค่านิยมส่วนบุคคลของผู้จัดการบริษัทและความสาเร็จ
ของกลยุทธ์ปัจจุบันมีแนวโน้มทาให้ผู้จัดการมีอคติในการรับรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งสาคัญที่ต้องติดตาม
ในสภาพแวดล้อมภายนอกรวมถึงการแปลความหมายของสิ่งที่พวกเขารับรู้ แนวโน้มเหล่านี้เป็น รู้
กันว่าเป็นการขาดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic myopia) ซึ่งหมายถึงความเต็มใจที่จะปฏิเสธข้อมูล
ที่ไ ม่ คุ้ นเคยและเป็ นลบ ถ้า บริษัท หนึ่งจาเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกลยุ ทธ์ของตัวเองบริษัทอาจไม่
ประสบความสาเร็จในการรวบรวมข้อมูลปัจจัยภายนอกที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์
อย่างประสบความสาเร็จ (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :46-47)
53
โอกาสเกิดผลกระทบต่อบริษัท

สูง กลาง ต่า

ลาดับสูง ลาดับสูง ลาดับกลาง


สูง
กลาง

ลาดับสูง ลาดับกลาง ลาดับต่า

ลาดับกลาง ลาดับต่า ลาดับต่า


ต่า

ภาพที่ 12 เมตริกการจัดลาดับประเด็นต่างๆ
ที่มา (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :46)

การกาหนดและวิเคราะห์พัฒนาการต่างๆในสภาพแวดล้อมภายนอกคือการใช้เมตริกซ์
การจัดลาดับความสาคัญขอประเด็น (Issues priority matrix) ดังภาพข้างต้นนี้ (ภักดี มานะหิรัญเวท,
2556 :46-47)
1) ระบุแนวโน้มต่างๆที่น่าจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมและสภาพแวดล้อม
ในงานประเด็นสภาพแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic environmental Issues) หรือแนวโน้มที่สาคัญ
เหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นเกิดขึ้น จะกาหนดว่าอุตสาหกรรมหลากหลายจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
2) ประเมินความเป็นไปได้ (จากต่าถึงสูง) ของแนวโน้มเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริง
3) พยายามหาผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้นกับบริษัท (จากลาดับต่า ถึง ลาดับสูง ) ของแต่
ละแนวโน้ม

เมตริกซ์การจัดลาดับความสาคัญของประเด็นสามารถถูกใช้ช่วยให้ผู้จัดการตัดสินใจ
ว่าแนวโน้มสภาพแวดล้อมใดควรตรวจสอบเพียงเล็กน้อย (ลาดับต่า) และสิ่ง ไหนควรติดตามใน
ฐานะเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ (ลาดับสูง) ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายนอก (External strategic factors) ของ
บริษัทคือแนวโน้มสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นซึ่งถูกพิจารณาว่ามีโอกาสเกิดขึ้นในลาดับกลางถึงสูงและมี
โอกาสของผลกระทบต่อบริษั ท ในล าดับกลางถึงล าดับสู ง แนวโน้ มสภาพแวดล้อมเหล่ านี้ถู ก
พิจารณาว่าเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของของบริษัทและนอกจากนั้นถูกจัดประเภทเป็นโอกาสและภัย
คุกคาม และถูกครอบคลุมไว้ในการกาหนดกลยุทธ์ (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :46-47)
54
แนวคิดการวิเคราะห์อุตสาหกรรมของ Michael Porter
ตามแนวคิดของ Michael Porter ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ในการแข่งขันได้ระบุ
ไว้ว่าบริษัท มักกังวลมากที่สุดเกี่ ยวกับการแข่งขันที่รุนแรงภายในอุตสาหกรรมพลังการแข่งขัน
พื้นฐานซึ่งระดับความรุนแรงนี้แสดงในรูปที่ 4 ความเข้มข้นร่วมกันของของพลังการแข่งขันเหล่านี้
จาเป็นตัวกาหนดศักยภาพในการทากาไรสูงสุดในอุตสาหกรรม ศักยภาพในการทากาไรขั้นสุดท้าย
วัดผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว ถ้าความเข้มข้นของแต่ละพลังเหล่านี้ก็ยิ่งทาให้บริษัทมี
ข้อจากัดในความสามารถในการขึ้นราคาสินค้าและทากาไรมากขึ้น ถึงแม้ว่า Porter กล่าวถึงพลัง
เพียง 5 ด้าน พลังด้านที่ 6 ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ถูกรวมเพิ่มเติมในที่นี้เพื่อเป็นการสะท้อน
ให้เห็นถึงอานาจซึ่งรัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น และกลุ่มอื่นๆ จากสภาพแวดล้อมในงานที่มีอานาจเหนือ
กิจกรรมในอุตสาหกรรม (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :48)

คู่แข่ งรายใหม่
ภัยคุมคามของ
อานาจของรัฐบาล
คู่แข่งรายใหม่ อานาจต่อรอง
กลุ่มผลประโยชน์
ผูม้ ีส่วนได้ อื่นๆ ฯลฯ คู่แข่งขัน ของผูซ้ ้ือ
ส่ วนเสี ยอื่น

ผูจ้ ดั หาวัตถุดิบ ผูซ้ ้ือ


อานาจต่อรองของ
ผูจ้ ดั หาวัตถุดิบ
การแข่งขันระหว่างบริ ษทั ภัยคุกคามจาก
ที่อยูใ่ นอุตสาหกรรม สิ นค้าทดแทน

สิ นค้าทดแทน

ภาพที่ 13 แรงผลักของการแข่งขันในอุตสาหกรรม
ที่มา (ภักดี มานะหิรัญเวท, 2556 :48)
55
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บัวอร วงษ์ป้อง และสาธิต อดิตโต. (2560) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การวางแผนเชิงกล


ยุ ท ธ์ เ พื่ อ พั ฒ นาศู น ย์ ข้ า วชุ ม ชนห้ ว ยยางศรี วิ ไ ล อ าเภอเขาสวนกลาง จั ง หวั ด ขอนแก่ น ” ซึ่ ง มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรคณะกรรมการและสมาชิกศูนย์ข้าง
ชุมชนห้วยยางศรีวิไล และศึกษาปัจจัยภายในภายนอกและกาหนดกลยุทธ์การจัดการของศูนย์ ผล
การศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก พบว่า จุดแข็งคือ ประธานมีภาวะความ
เป็นผู้นาสูง มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติภายในศูนย์ ผลการวิเคราะห์
คุณภาพผ่านจึงจะทาการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธ์เพื่อจาหน่ายในราคาที่ไม่แพง จุดอ่อนคือ ไม่ มี
การตรวจตัดพั นธุ์ป นอย่ า งเคร่ง ครัด ชาระคืนเงินกู้ ไ ม่ตรงเวลา โอกาสคือ มีหน่วยงานราชการ
สนับ สนุนปั จจัย การผลิต จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ ให้คาแนะนาให้คณะกรรมการและสมาชิก
ผู้จัดทาแปลงของศูนย์ อุปสรรคคือ มีพื้นที่เสี่ยงต่อการประสบภัยแล้ง เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นใน
การผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ดีของศูนย์ที่ออกจาหน่าย กลยุทธ์ที่กาหนดเพื่อพัฒนาศูนย์ข้าง
ชุมชน คือ 1) กลยุทธ์ด้านการจัดการองค์กร นาสมาชิกและคณะกรรมการศูนย์ศึกษาดูงานและจัด
อบรมถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพสมาชิกของกลุ่ม 2) กลยุทธ์ด้านการผลิต จัดสรรพื้นที่ปลูก ให้
ดูแลให้ทั่วถึง กาหนดกฎระเบียบการยืม – คืนข้าวให้ชัดเจน ข้าวพันธุ์ดีที่ออกจาหน่ายมีป้ายบอก
รายละเอียดคุณภาพสามารถตรวจสอบได้ 3) กลยุทธ์ด้านการตลาด มีการประชาสัมพันธ์ขายข้าง
พันธุ์ดีของกลุ่มผ่านการประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนระดับจังหวัด ส่วนข้าวที่ ไม่ผ่าน
มาตรฐานให้นามาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
จารุวรรณ ไร่ขาม สุรกานต์ จังหาร และสมปอง ศรีกัลยา. (2559) ได้ทาการวิจัยเรื่อง
“การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การทาปลาส้มไร้ก้างกลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การทาปลาส้มไร้ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 กาหนดเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) ศึกษา
ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 4) ศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ผล
การศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การทาปลาส้มไร้
ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
80.40/84.92 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ย
หลัก การอบรมสูง กว่า คะแนนเฉลี่ย ก่ อนการอบรมอย่ างมีนัย ส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผล
56
การศึ ก ษาทั ก ษะปฏิ บั ติ ง านของนัก เรี ย นโดยการจั ดกิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แบบโครงงานมี ทัก ษะ
ปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ใ นระดับดีมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ทิพย์กมล ภูมิพันธ์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2559) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “สุขลักษณะ
ของการประกอบกิจการผลิตปลาร้าและปลาส้มในอาเภอหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินสุขลักษณะของสถานที่ผลิตและการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยาของภาชนะอุปกรณ์ มือ
ผู้ปฏิบัติงานและผลิตภัณฑ์ ของการประกอบกิจการผลิตปลาร้าและปลาส้ม ในอาเภอหนึ่ง จั งหวัด
ขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่าสุขลัก ษณะของสถานประกอบการผลิตปลาร้าและปลาส้มร้อยละ
83.33 ไม่ผ่านตามหลักเกณฑ์ โดยข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด คือ หมวดสถานที่ตั้งอาคารที่ผลิต และ
สุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ผลการวิเคราะห์ MPN E.coli, Salmonella spp. และเชื้อราในตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 79.17 25.00 และ 83.33 ตามลาดับ ส่วน Staphylococcus aureas
ผ่านมาตรฐานทุกอย่าง การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตและมือ
ของผู้ปฏิบัติงานสารวจไม่พบ S. aureas แต่พบ E.coli และจุลินทรีย์รวมไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ
45.83 และ 51.67 ตามลาดับ จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการ
ปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนและควบคุมดูแลให้มีการ
ปรับปรุงสถานประกอบกิจการ รวมทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบกิจการและผู้ปฏิบัติงาน
ให้มีการปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ปลาร้าและปลาส้มมีความปลอดภัยสู่ผู้บริโภค
ณัฐกฤตา ภู่ทั บ ทิ ม และวนิดา แซ่จึง . (2559) ได้ทาการวิจัย เรื่อง “การคัดเลือ ก
แบคทีเรียแลคติกและใช้เป็นต้นเชื้อบริสุทธิ์ในการหมักปลาส้ม” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติ
ของแบคทีเรียแลคติกที่คัดแยกได้จากปลาส้มที่ผลิตในจังหวัดพะเยาจากนั้นคัดเลือกไอโซเลทและ
ปริมาณของแบคทีเรียแลคติกที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นต้นเชื้อบริสุทธิ์ในการหมักปลาส้มโดยการนา
แบคทีเรียแลคติก จานวน 15 ไอโซเลท มาตรวจสอบปริมาณกรดโดยรวม ปริมาณกรดแลคติกและ
ความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรีย Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella sp.
ผลการทดลองพบว่า Leuconostoc mesenteroides ไอโซเลท LM2 ผลิตกรดโดยรวมและกรดแลคติก
ได้สูงสุดที่สุด Lactobacillus plantarum ไอโซเลท LPB3 ไอโซเลท LPB1 และ Wissella cibaria ไอ
โซเลท WCD สามารถยับยั้ง E. coli, S. aureus และ Salmonella sp. ได้ดีที่สุดตามลาดับ จึงนา
แบคทีเรียแลคติกทั้ง 4 ไอโซเลท นี้มาเตียมเป็นต้นเชื้อบริสุทธิ์แบบผสมที่ 10 4, 106, และ 108 ซีเอฟยู
ต่อมิลลิลิตร เติมลงในปลาส้มก่อนการหมัก ที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 (ปริมาตรต่อน้าหนัก) อีกทั้งยัง
มีการเติมต้นเชื้อบริสุทธิ์แบคทีเรียแลคติกแบบผสมร่วมกับเชื้อแบคทีเรีย E. coli, S. aureus หรือ
Salmonella sp. เพื่อศึกษาการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ซึ่งพบว่าต้นเชื้อบริสุทธิ์แบคทีเรียแล
คติกแบบผสมที่ 108 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร เป็นปริมาณที่เหมาะสมในทั้งสองการทดลองคุณภาพทาง
57
ประสาทสัมผัสของปลาส้มที่มีการเติมต้นเชื้อบริสุทธิ์แบคทีเรียแบบเชื้อผสมที่ 10 4, 106 และ 108 ซี
เอฟยูต่อมิลลิลิตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ (p>0.05) ยกเว้นด้านความเปรี้ยว (p≤0.05) ผล
การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าต้นเชื้อบริสุทธิ์แบคทีเรียแลคติกแบบผสมที่ 10 8 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร
เป็นปริมาณที่เหมาะสมในการหมักปลาส้ม
พีรญา ชื่นวงศ์. (2558) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผล
ต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์
ปัจจัย ภายในองค์ กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์ก รของธนาคารพาณิชย์ ในประเทศไทย 2) เพื่ อ
วิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
ไทย ผลการศึ ก ษาพบว่ า วั ฒ นธรรมองค์ ก ร ลั ก ษณะปั จ เจกบุ ค คลเป็ น ปั จ จั ย ภายในองค์ ก รที่ มี
ความสัมพันธ์ต่อกันและส่งผลต่อพฤติกรรมองค์กร และส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคาร
พาณิช ย์ในประเทศไทย โดยที่วัฒนธรรมองค์ก รมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์กรและมี
อิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยโดยผ่านพฤติกรรม
องค์กร ในขณะที่ลัก ษณะปั จเจกบุคคลมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมองค์กร และเป็นอิทธิพ ล
ทางอ้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์กรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยซึ่งข้อค้นพบจากการ
ทดสอบปัจจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในบริบทของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย แสดงให้เห็นว่า
ลัก ษณะปั จ เจกบุ ค คลมี ค วามเกี่ ย วข้อ งกั น กั บองค์ก ร หน่วยงาน ก าลังแรงงาน ซึ่งมี ผลกระทบ
โดยตรงต่อพฤติกรรมของพนักงานในองค์ก ร จึงเป็นบทบาทที่ส าคัญสาหรับผู้บริหารที่จะต้อง
เพิ่ม พูนทัก ษะทางด้านการบริหารคนให้สามารถดึงศักยภาพของเฉพาะบุคคลออกมาใช้ให้เกิ ด
ประโยชน์ สู ง สุด ต่ อ องค์ ก รและก่ อ เกิ ด เป็ นพฤติ ก รรมองค์ก รตามที่ อ งค์ก รคาดหวั ง ในขณะที่
วัฒนธรรมองค์กรก็จะเป็นแบบแผนพฤติกรรมขององค์กรที่จะก่อให้เกิดการผูกพัน การมีส่วนร่วม
ในการทางานเพื่อองค์กร และเป็นเครื่องมือชี้แนวทางสาหรับพนักงานในการประพฤติปฏิบัติหรือ
กระทากิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยองค์ กรจะต้องมีการกาหนดภารกิจที่เหมาะสม มีกรอบ
และทิ ศ ทางการบริหารจัดการที่ ชั ดเจน จึงจะทาให้องค์ก รสามารถบรรลุผลส าเร็จหรือบรรลุสู่
ประสิทธิผลตามที่ต้องการได้
ปิโยรส หงษาชาติ และวิชัย เสริมผล. (2558) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การแยกและศึกษา
คุณลักษณะของแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้จากปลาส้มในจังหวัดหนองคาย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์
เพื่ อ คั ดแยกและศึ ก ษาคุ ณ ลั ก ษณะของเชื้ อ บริ สุ ท ธิ์จ ากปลาส้ ม ในพื้ น ที่ จัง หวั ด หนองคาย และ
เปรียบเทียบความสามารถในการเจริญและสร้างกรดแลคติกในสภาวะที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์
แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการย้อมแกรมเป็นแกรมบวก มีรูปร่างลักษณะเป็นท่อนและกลม
ให้ผลการทดสอบคะคะเลสเป็ นลบ บางไอโซเลตสามารถสร้างแก้ ส ในการหมัก ได้ เมื่อนามา
ทดสอบความสามารถในการทดเกลือโซเดียมคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 0, 2.5, 5 และ 7% น้าหนัก
58
โดยปริมาตรพบว่าแต่ละไอโซเลตมีความสามารถในการเจริญและสร้างกรดที่แตกต่างกัน โดยที่ทุก
ตัวสามารถเจริญได้ที่ความเข้มข้นของเกลือโซเดียม 2.5% ขณะที่มี 36 ไอโซเลตสามารถเจริญได้ที่
ความเข้มข้น 5% และผลิตกรดแลคติก และมีเพียง 7 ไอโซเลตที่สามารถเจริญและผลิตกรดที่ความ
เข้มข้นของเกลือโซเดียม 7% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแบคที่เรียกรดแลคติกเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะ
นาไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนามาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการหมักปลาส้มให้มีคุณภาพต่อไป
อรสุดา ดุสิตรัตนกุล. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติง านของบุค ลากรสานัก งานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึก ษาเฉพาะกรณีของ
บุค ลากรส่วนกลาง” ซึ่ง มี วัตถุป ระสงค์เพื่ อ 1) ศึก ษาถึงระดับประสิทธิภาพในการทางานของ
บุคลากรของสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของบุคลากรของสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า
บุคลากรสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านบุคคล ด้าน
ความผูกพันกับหน่วยงาน ด้านการทางานเป็นทีม และด้านความก้าวหน้าในตาแหน่งงาน อยู่ใน
ระดับ ดีมากมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทางานอยู่ใ นระดับดีที่สุด มี
ระดับประสิทธิภาพในการทางาน ด้านความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงาน
และความซื่อสัตย์และภักดีต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง ปัจจัยในการปฏิบัติงานด้านบุคคลของบุคลากร
ของสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพในการ
ทางานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ปัจจัยในการปฏิบัติงานด้านสภาพแวดล้อมในการ
ปฏิบัติของบุคลากรของสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับ
ประสิทธิภาพในการทางานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยในการปฏิบัติงาน ด้าน
ความผู ก พั นกั บ หน่วยงานของบุ คลากรของส านัก งานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ มี
ความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพในการทางาน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยใน
การปฏิบัติงาน ด้านการทางานเป็นทีมของบุคลากรของสานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพในการทางานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยใน
การปฏิบั ติง าน ด้านความก้า วหน้าในการปฏิบัติงานของบุคลากรของสานัก งานปลัดกระทรวง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิภาพในการทางานอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
นฤมล พึ่งทอง. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอก
องค์ ก รที่ มี ค วามสัม พั น ธ์กั บ การส่ ง ออกของอุ ต สาหกรรมยางรถยนต์ จ ากประเทศไทย ” ซึ่ ง มี
วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งปั จ จั ย ภายในและปั จ จั ย ภายนอกองค์ ก รของ
อุตสาหกรรมกับมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จากประเทศไทยและอิทธิพ ลของ
ปัจจัยภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่มีต่อการส่งออกยางรถยนต์ ผลการศึกษาพบว่าภายปัจจัย
59
ภายในองค์กรด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีและเครื่องจักร ด้านเงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้าน
การสื่อสารภายในองค์กร ด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านการขนส่งและปัจจัยภายนอกองค์กร
ด้านภาวะเศรษฐกิจ กฎหมายการเมืองและวัฒนธรรม ด้านอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ด้านราคา
ของวัตถุดิบ และด้านคู่ แข่ ง ขันมี ความสัมพั นธ์กั บการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จาก
ประเทศไทยในระดับปานกลาง และผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุพบว่า ปัจจัยภายใน
องค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กรของอุตสาหกรรมยางรถยนต์มีอิทธิพลต่อส่งออกยางรถยนต์จาก
ประเทศไทยปานกลาง
จตุพร เสถียรคง. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์แห่งความสาเร็จในการบริหาร
จัด การภาครั ฐ ของไทย” ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ คื อ 1) ศึ ก ษากระบวนการจั ดการเชิ ง กลยุ ท ธ์ ข อง
หน่วยงานที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด ประจาปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 2)
ปัจจัยที่ ส่ง ผลต่อความส าเร็จในการพั ฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด 3) แนว
ทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อกาหนดรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐสู่องค์การแห่งความ
เป็นเลิศครบทุกด้าน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงานที่ได้รับรางวัล
การบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด ประจาปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2556 ทั้ง 10 หน่วยงาน มีรูปแบบ
ที่คล้ายคลึงกันโดยเริ่มจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เพื่อนามาเป็นข้อมูล
สาหรับกาหนดเป้าประสงค์และกลยุท ธ์การดาเนินการ การนากลยุทธ์มาปฏิบัติ มีการสื่อสารและ
ปรับทัศนคติของบุคลากรให้เปิดใจรับความเปลี่ยนแปลง การให้ทุกฝ่ายทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วม
ในการสร้างคุณภาพ โดยเน้นการตรวจสอบ ประเมินหาข้อบกพร่องและนามาปรับปรุงแก้ไขอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อนาไปสู่ความสาเร็จตามเป้า หมายของแต่ละหน่วยงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จใน
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรายหมวด พบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผล ได้แก่ ปัจจัยด้าน
ผู้นาและปัจจัยการบริหาร กล่าวคือ ผู้นาหน่วยงานทุกระดับให้การยอมรับและเล็งเห็นความสาคัญ
ของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พร้อมให้ก ารส่งเสริมสนับสนุน ผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพงาน
โดยมีการส่งเสริมให้มีการนาหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ โดยเน้น
จัดการเชิง กลยุท ธ์ (Strategic management) การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์ก าร (Total quality
management : TQM) โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม เน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้า มีการปรับปรุงแก้ไข
ตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA) เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ เน้นการมีธรรมมาภิบาล (Good governance)
การทางานเป็นทีม การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result based management : RBM) การ
ประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรแบบสมดุล (Balanced scorecard) การสร้างขวัญและแรงจูงใจใน
การทางานเพื่อนาไปสู่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practices) และสร้างนวัตกรรม มาใช้ในการพัฒนา
คุณภาพงานอย่างสม่าเสมอ หลักและวิธีการบริหารดังกล่าวจึงถือแนวทางการพัฒนาการบริหาร
จัดการเพื่อกาหนดรูปแบบการพัฒนาองค์การเพื่อนาไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศครบทุกด้าน
60
บุรณิน รัตนสมบัติ. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การ
จัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนา
กรอบตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ของการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยื นในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ 2) เพื่อ
วิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนใน
อนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ 3) เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนใน
อนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ ผลการศึกษาพบว่ าการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นความสามารถ
ขององค์ก รในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเน้นการ
จัดการเชิงกลยุทธ์ของตัวชี้วัดที่สาคัญของการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาด
ใหญ่ ได้ แ ก่ ภาวะผู้ น า การก ากั บ ดู แ ลและกลยุ ท ธ์ อ งค์ ก ร การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มและความ
รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงสร้างเชิงสาเหตุของตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์เหล่านี้
พบว่าตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิผลทางตรงต่อต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร คือ การจัดการ
สิ่งแวดล้อม ภาวะผู้นา และการกากั บดูแลและกลยุ ทธ์องค์กรตามลาดับ และเมื่อพิจารณาความ
รั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมขององค์ ก รในฐานะที่ เ ป็ น ผลลั พ ธ์ สุ ด ท้ า ยของตั ว แบบวิ จั ย เห็ น ว่ า ความ
รับผิดชอบต่อสังคมขององค์ กรได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากภาวะผู้นา รองลงมาคือ การจัดการ
สิ่งแวดล้อม และการกากับดูแลและกลยุทธ์องค์กร โดยความรับผิดชอบต่อสังคมมีความความสาคัญ
ต่อการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการยอมรับของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ องค์กร
ขนาดใหญ่ที่ มีจุดแข็ งในเรื่องภาวะผู้นา ความพร้อมทางด้านบุคลากรและทรัพยากร และมีก าร
ดาเนินการการจัดการสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์ก รอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
สามารถต่อยอดไปสู่การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนได้โดยการกาหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม
ไกรสิทธิ์ สิงห์ยะบุศย์ . (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การจัดการเชิงกลยุทธ์และปัจจัย
ความสาเร็จ: กรณีศึกษาสานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(องค์ ก ารมหาชน)” ซึ่ง มี วั ตถุ ป ระสงค์ คื อ 1) เพื่ อ ศึ ก ษาการจั ดการเชิ ง กลยุ ทธ์ ข องส านัก งาน
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน (จุด
แข็ง จุดอ่อน) และภายนอก (โอกาส อุปสรรค) ที่ส่งผลต่อสานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระ
เกียรติฯ (องค์การมหาชน) 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการนากลยุทธ์ของสานักงาน
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ (องค์การมหาชน) ไปปฏิบัติ และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการ
จัดการเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ให้เป็นแหล่ งเรียนรู้เกษตร
เศรษฐกิ จ พอเพี ย งที่ มี ชี วิ ต ผลการศึ ก ษาพบว่ า ส านั ก งานพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ กษตรเฉลิ ม พระเกี ย รติ ฯ
(องค์การมหาชน) ได้จัดทาแผนแม่บทตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ความสาเร็จในการนากลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือ (1) การจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและกิจกรรมการ
เรีย นรู้เกษตรเศรษฐกิ จพอเพี ยง (2) บุคลากรมีความรู้ มีจิตใจบริการ ปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่
61
ยืดหยุ่น ช่วยงานซึ่งกันและกัน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ สานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
(องค์การมหาชน) ควรมุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านการพัฒนาการตลาด โดยใช้ผลิตภัณ ฑ์เดิมเพื่อเพิ่มกลุ่ม
ลูกค้า กลยุทธ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาคุณภาพ คุณสมบัติ คุณลักษณะ กลยุทธ์ด้านการเจาะ
ตลาด นาผลิตภัณฑ์เดิม ลูกค้ากลุ่มเดิม เพิ่มปริมาณการใช้ ความถี่ และวิธีใช้ กลยุทธ์การเป็นผู้นา
ด้านต้นทุนต่า สร้างความได้เปรียบด้านราคา กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง สร้างภาพลักษณ์ใหม่
และกลยุทธ์มุ่งเฉพาะส่วน พัฒนาสินค้าเฉพาะสาหรับลูกค้าเฉพาะ ตลาดจนควรมุ่งปฏิบัติกลยุทธ์
เครือ ข่ า ยและภาคี ค วามร่วมมื อกลยุ ทธ์ พั ฒนาองค์ ความรู้ กลยุ ท ธ์ประชาสัมพั น ธ์ และกลยุ ท ธ์
การตลาดเพื่อเพิ่มผู้รับบริการ
สมชาย มุ้ยจีน. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิง
นิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงในมิติด้าน
ต่า ง ๆ จากการพั ฒนาอุตสาหกรรมในพื้ นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด ใน 5 มิติ ตามมิติของเมือง
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งประกอบด้วย มิติด้านกายภาพ มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม มิติด้าน
เศรษฐกิจ และมิติด้านการบริหารจัดการ และเพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิง
นิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองมาบ
ตาพุด เป็นไปได้ช้ากว่าการเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จากความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
และประชากรเนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ ประกอบกับความซับซ้อนของการบริหาร
จัดการพื้นที่ ที่มีทั้งแนวระนาบและแนวดิ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ตามมา ซึ่งแนวคิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่ จะเป็นการวางแนวทางการป้องกัน
และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างความเชื่อมโยงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
และการมี ส่ ว นร่ ว มของภาคส่ ว นต่ า ง ๆ ในพื้ น ที่ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง โดยมี เ ป้ า หมายสู่ ก ารเป็ น เมื อ ง
อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และนาไปสู่แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้
ศิรประภา สุขสาโรง. (2557) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและ
ปัจจัยภายนอกประเทศที่มีต่อการส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปประเทศจีน ” ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่ มีต่อการส่งออก
ยางพาราชนิ ดยางแผ่ น รมควั นชั้ น 3 ไปประเทศจีน ผลการศึ ก ษาพบว่า ปัจ จัย ในแบบจาลองนี้
สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปประเทศ
จีนได้ร้อยละ 77.31% ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดได้แก่ ราคาส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควัน
ชั้น 3 ของไทย ถ้าราคาส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของไทย ถ้าลดลงร้อยละ 1 จะมี
ผลทาให้ ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.653 ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกรองลงมาคือ
ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ณ ตลาดล่วงหน้าโตเกียว ปริมาณการผลิตรถยนต์นั่งของจีน ปริ มาณการ
ผลิตยางแผ่นรมควันของไทย ราคาส่งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศเวียดนาม
62
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีน
กนกวรรณ ทรงผาสุข. (2556) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
สุข ภาพชุ มชมปลาส้ม และไข่เ ค็ ม ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูล ค่าผลิตภัณฑ์ ท้องถิ่นในพื้ นที่
จังหวัดลพบุรี จานวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือปลาส้มและไข่เค็ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีการผลิต และ
จาหน่ายกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ผลการศึกษาพบว่าการสารวจสถานที่ผลิตในส่วน
ของสถานการผลิตปลาส้มทั้งหมด 4 แห่ง และสารวจสถานประกอบการผลิตไข่เค็ม จานวน 2 แห่ง
พบว่าสถานที่ผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดี อาจมีข้อปรับปรุงบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ผล
การทดสอบเรื่องความปลอดภัยในอาหารของผลิตภัณฑ์ปลาส้มและไข่เค็มที่เก็บมาจากแหล่งผลิต
ทั้งหมด ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์
คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหาร และภาชนะสัมผัสอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 เรื่อง อาหารปรุง
สุกหรืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีเก็บรักษา ซึ่งกาหนดไว้สาหรับอาหารหมักพื้นเมืองที่เป็นผลิตภัณฑ์
จากสั ต ว์ ส่ ว นคุ ณ ภาพทางด้ า นเคมี แ ละกายภาพ พบว่ า ผลที่ ไ ด้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ทั้ ง หมดผ่ า นเกณฑ์
ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มใช้เกณฑ์มาตรฐาน มผช. 27/2546 เรื่อง ไข่เค็ม โดยผลิตภัณฑ์ผ่านการวิเคราะห์ทั้ง
คุณภาพทางจุลชีววิทยาและสารปนเปื้อน เห็นได้ว่าสถานที่ผลิตดังกล่าวมีศักยภาพในการผลิตและ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้อาหารที่ปลอดภัย
สักรินทร์ อยู่ผ่อง และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2556) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “การศึกษา
รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ
ศึกษาองค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก 2) เพื่อศึกษารูปแบบ
การบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบการ
บริหารเชิงกลยุทธ์ตามความคิดเห็นผู้บริหารที่มีต่อการบริหารเชิงกลยุทธ์สาหรับสถานประกอบการ
ขนาดเล็กในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการกาหนดกลยุทธ์ ระดับมากสู งสุด
ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านการควบคุมเชิงกลยุทธ์ ระดับมาก และด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์
อยู่ในระดับปานกลาง การบริหารจัดการองค์กรสาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก ในภาพรวม
ผลการพบว่า อยู่ ใ นระดับ มากทุ ก ด้า น เรี ย งล าดั บดังนี้ ด้านการจัดโครงสร้ างองค์ก รมากสูงสุ ด
รองลงมา ด้านการนา ด้านการวางแผน และด้านการควบคุม ส่วนรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์
สาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนใน
การปฏิบัติ การบริหารตามรูปแบบ POLC และแนวทางปฏิบัติ
พัช รินทร์พ ร ภู่อภิสิทธิ์, ระจิตรา ศุภ ดิลกลัก ษณ์, อนงค์ ไต่วัล ย์ และวัชราภรณ์
ชัยวรรณ. (2556) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการตลาดน้าอย่างยั่งยืน ” ซึ่ง
มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการตลาดน้า 2) วิเคราะห์ศักยภาพการ
บริหารจัดการตลาดน้าอย่างยั่งยืน 3) กาหนดกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการตลาดน้าอย่าง
63
ยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าตลาดน้าตั้งอยู่ในวัดตะเคียนไม่ไกลจากรุงเทพ ทิศใต้ติดคลองบางคูเวียง
ลาคลองด้านทิศตะวันออกของตลาดน้ามีสภาพเป็นธรรมชาติ ชุมชนให้ความร่วมมือและผูกพันกับ
วัด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทาบุญและได้ ท่องเที่ยวตลาดน้าด้วย โครงสร้างองค์การของตลาดน้าอยู่
ภายใต้การกากับดูแลของวัดตะเคียนโดยมีผู้จัดการตลาดเป็นผู้บริหาร ระบบบริหารจัดการยังไม่
ชัดเจน มีที่จอดรถและห้องน้าเพื่ออานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวอย่างเพียงพอ มีสินค้าที่มี
ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์หลายช่องทาง ศักยภาพการบริหารจัดการ
ตลาดน้าอย่างยั่งยืน พิจารณาจากปัจจัยโอกาสและปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง ปัจจัยโอกาสที่ส่งผลต่อการ
บริหารจัดการตลาดน้าวัดตะเคียนอย่างยั่งยืน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ ชุมชนรอบตลาดน้า บ้านเรือน
ริมคลอง ลักษณะลาคลองบางคูเวียง ปัจจัยที่เป็นจุดแข็งที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตลาดน้าวัด
ตะเคียนอย่างยั่งยืน ได้แก่ นโยบายเจ้าอาวาส การบริหารจัดการของผู้จัดการ การมีส่วนร่วมในการ
บริหารจัดการ สถาปั ตยกรรมของวัด พื้นที่ทางเดินบนบก กิจกรรมดนตรีไ ทย อาหารและราคา
ผลิตภัณฑ์ กาหนดกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารจัดการตลาดน้าอย่างยั่งยืน ดังต่อไปนี้ กลยุทธ์การ
พั ฒนาตลาดน้าคู่ กั บ ประเพณีวั ฒนธรรมทางศาสนา กลยุ ทธ์ อาหารอร่อ ยราคาถูก และกลยุ ท ธ์
ล่องเรือชมธรรมชาติ
สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล . (2556) ได้ทาการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
ความรั บ ผิ ด ชอบในการปฏิ บั ติ ง านของบุ ค ลากรกรมป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย
กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งมี วัตถุประสงค์คือ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมความรับผิดชอบใรการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรกรมป้องกันฯ ที่มีลักษณะชีวสังคมต่างกัน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ปั จ จั ย ภายในและภายนอกที่ ส่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรมความรั บ ผิ ด ชอบในการปฏิ บั ติ ง าน 3) ศึ ก ษา
ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งปั จ จั ย ภายในและภายนอกที่ ส่ ง ผลต่ อ พฤติ ก รรมความรั บ ผิ ด ชอบในการ
ปฏิบัติงาน และ 4) อธิบายและทานายพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติด้วยตัวแปรปัจจัย
ภายในและภายนอกของบุคลากรกรมป้องกันฯ ผลการศึกษาพบว่า 1) พบปฏิ สัมพันธ์ระหว่างตัว
แปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการ
ปฏิ บั ติง าน ในกลุ่ ม รวมและกลุ่ ม ย่ อ ย ได้แ ก่ กลุ่ มระดับ การศึ ก ษาสูง กว่า ปริญ ญาตรี และกลุ่ ม
ข้าราชการ (P< .05) 2) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุ มตน และ
ถ่ายทอดทางสังคมในการทางาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในกลุ่ม
ย่อย ได้แก่ กลุ่มระดับการศึกษาต่ากว่าหรือเทียบเท่าปริญญาตรี และกลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่า
ปริญญาตรี (P< .05) 3) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน และการ
สนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในกลุ่มย่อยเฉพาะ
กลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี (P< .05) 4) ปัจจัยภายนอกสามารถทานายพฤติกรรมความ
รับผิดชอบในการปฏิบัติงานได้เพิ่มขึ้นจากปัจจัยภายใน ได้อย่างมีนัยสาคัญในกลุ่มรวม และในกลุ่ม
64
ย่อยประเภทข้าราชการ โดยมีร้อยละการทานายที่เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ .3 ถึง ร้อยละ 13 โดยใน
กลุ่มรวมทานายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ .9 และทานายได้เพิ่มขึ้นสูงสุด ร้อยละ 13 ในกลุ่มเพศชาย มีตัว
ทานายที่สาคัญคือ เจตคติต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และแรงจูงในใฝ่สัมฤทธิ์
อดิเทพ มโนการ และรุจาภา แพ่งเกษร. (2556) ได้ทาการวิจัย เรื่อง “การศึกษา
สภาพแวดล้อมในการทางานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการ
ทหารสื่อสาร” ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างทางด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ
คุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการทหารสื่อสาร 2) เพื่อศึกษาความสัมพัน์
ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทางานกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประวนกรมการ
ทหารสื่ อสาร 3) เพื่ อ ศึ ก ษาความสั มพั นธ์ ระหว่า งปั จจั ย ภายในกั บคุ ณภาพชีวิ ตของข้ าราชการ
นายทหารชั้นประทวนกรมการทหารสื่อสาร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอกกับ
คุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการทหารสื่อสาร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย
ส่วนบุคคล เฉพาะรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมในการทางาน 1 ด้านที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของ
ข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการทหารสื่อสารอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ
สภาพการท างาน ปั จจัย ภายในมีความสัมพั นธ์ต่อคุณภาพชีวิต พบว่ามีตัวแปรอิส ระของปัจจัย
ภายในทั้ง 2 ด้านที่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการ
ทหารสื่อสาร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านสุขภาพและด้านจิตใจ ปัจจัยภายนอกมี
ความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตพบว่ามีตัวแปรอิสระของปัจจัยภายนอก 2 ก้านที่มีความสัมพันธ์กับ
คุณภาพชีวิตของข้าราชการนายทหารชั้นประทวนกรมการทหารสื่อสารอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 คือ ด้านครอบครัว และด้านเศรษฐกิจ
65
กรอบแนวคิดการค้นคว้าอิสระ

ผู้วิจัย ใช้แนวคิ ดอยู่ บนพื้ นฐานกรอบการกาหนดกลยุ ทธ์เป็นเกณฑ์ ในการก าหนด


กรอบแนวคิด

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอก (SWOT Analysis) แผนการจัดการเชิงกลยุทธ์
- แมททริ กซ์อุปสรรค-โอกาส-จุดอ่อน-จุด ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
แข็ง (TOWS Matrix) ในพื้นที่จงั หวัดยะลา

ภาพที่ 14 แสดงกรอบแนวคิดการค้นคว้าอิสระ
บทที่ 3

วิธีดำเนินกำรค้นคว้ำอิสระ
การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ของหน่วยบริ หารหนี้ และคดีธนาคารออมสิ นเขตปัตตานี ได้ดาเนินการตาม
แนวทางที่ศึกษาที่กาหนดไว้จากการตรวจสอบเอกสาร กรอบแนวคิดงานวิจยั และวัตถุประสงค์ใน
การศึกษา ซึ่ งมีวธิ ี การดาเนินการศึกษาวิจยั ดังนี้

ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษากลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์ของหน่วย
บริ หารหนี้และคดีธนาคารออมสิ นเขตปั ตตานีครั้งนี้ ได้แก่
1) หัวหน้าหน่ วยและพนักงานหน่ วยบริ หารหนี้ และคดี ธนาคารออมสิ นเขตปั ตตานี
ชื่อ ตาแหน่ง ผูช้ ่วยผูอ้ านวยการธนาคารออมสิ นเขตปั ตตานี หน่วยบริ หารหนี้ และคดี และตาแหน่ง
พนักงานบริ หารหนี้และคดี ซึ่ งมีหน้าที่ควบคุม ติดตาม ดูแล หนี้ คา้ ง และดาเนิ นคดีทางกฎหมายกับ
ลูกหนี้คา้ งชาระ จานวน 3 คน
2) ผูเ้ ชี่ ย วชาญด้า นการติ ดตามหนี้ ค้า งช าระ ได้แก่ ผูเ้ ชี่ ย วชาญในการติ ด ตามหนี้
ประสบการณ์ติดตามหนี้ เกิน 10 ปี จานวน 1 คน และทนายความ บริ ษทั กรนิติธรรมทนายความ
จากัด จานวน 1 คน รวมทั้งหมด จานวน 2 คน
3) ลูกหนี้ คา้ งชาระเกิน 4 เดือน ที่ได้มีการปรับปรุ งโครงสร้างหนี้ วงเงินกูท้ ี่คา้ งชาระ
เกิน 1,000,000 จานวน 3 คน วงเงินกูท้ ี่คา้ งชาระเกิน 500,000-1,000,000 บาท จานวน 3 คน

เครื่องมือที่ใช้ในกำรค้นคว้ำอิสระ

การศึ กษาครั้ งนี้ เป็ นลักษณะการวิจยั เชิ งคุ ณภาพ (Qualitative Research) ใช้หลัก
วิเคราะห์ขอ้ มูลเชิ งพรรณนา เพื่อให้ได้ขอ้ มูลอย่างละเอี ยดและครบถ้วน ผูว้ ิจยั จึงใช้เครื่ องมือใน
การศึกษาได้แก่ แบบสัมภาษณ์
62
วิธีการสร้ างเครื่องมือ
ในการสร้างเครื่ องมือการจัดการเชิ งกลยุทธ์ของหน่วยบริ หารหนี้ และคดีธนาคารออม
สิ นเขตปั ตตานี ผูว้ จิ ยั ได้ดาเนินการสร้างเครื่ องมือ ดังนี้
1) ศึ ก ษาแนวคิ ดทฤษฎี ต่า งๆ ตารา และบทความทางวิช าการ เอกสารงานวิจยั ที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
2) นาข้อมู ล ที่ ไ ด้จากการศึ ก ษา มาสร้ า งแบบสั ม ภาษณ์ โดยก าหนดประเด็ น และ
ขอบเขตของคาถาม ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจยั
3) น าแบบสั ม ภาษณ์ ที่ ส ร้ า งเสร็ จ แล้ว เสนอต่ อ อาจารย์ที่ ป รึ ก ษาเพื่ อ ตรวจสอบ
ปรับปรุ งความถูกต้องตามข้อเสนอแนะ
4) นาแบบสัมภาษณ์ที่ได้ทาการปรับปรุ งแล้ว เสนอต่อผูเ้ ชี่ยวชาญ จานวน 3 ท่าน เพื่อ
พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง ด้านเนื้ อหา (Content Validity) แล้วทาการปรับปรุ งแก้ไขเพื่อให้
มีความถูกต้องสมบูรณ์ยงิ่ ขึ้น
5) นาแบบสัมภาษณ์ดงั กล่าวไปตรวจสอบความเที่ยงและความเข้าใจในภาษากับกลุ่ม
พนักงานไปที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 5 ชุด
6) นาแบบสัมภาษณ์เสนออาจารย์ที่ปรึ กษา ตรวจสอบเพื่อปรับปรุ งแก้ไขครั้งสุ ดท้าย
7) นาแบบสัม ภาษณ์ ที่ผ่านกระบวนการต่า งๆ จนมี ความสมบู รณ์ ค รบถ้วนแล้วมา
จัดทาเป็ นชุดแบบสัมภาษณ์ จานวน 11 ชุด

การหาประสิ ทธิภาพเครื่องมือ
การตรวจสอบความตรง ในการสร้ างเครื่ องมื อในครั้ งนี้ ผูว้ ิจยั ใช้วิธีการตรวจสอบ
ความตรงเชิ งเนื้ อหา (Content Validity) จากผูท้ รงคุณวุฒิหรื อผูเ้ ชี่ ยวชาญ จานวน 3 ท่าน ทาการ
ตรวจสอบเชิงเนื้อหาและใช้ดชั นีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับจุดประสงค์ (Index of Item-
objective Congruence : IOC) เป็ นเกณฑ์ตรวจสอบ โดยกาหนดเกณฑ์ให้คะแนนดังนี้
ให้ 1 คะแนน เมื่อแน่ใจว่าข้อคาถามมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้ 0 คะแนน เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อคาถามมีความสอดคล้องกับจุดประสงค์หรื อไม่
ให้ -1 คะแนน เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อคาถามไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้น น าคะแนนของผูเ้ ชี่ ย วชาญมาหาค่ า ดัช นี ค วามสอดคล้อ งโดยใช้สู ต รของ


โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (1977) มีสูตรการคานวณดังนี้
R
IOC =
N
63
โดยที่ IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้อง
R หมายถึง ดัชนีความสอดคล้อง
N หมายถึง จานวนผูเ้ ชี่ยวชาญ
โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนี ความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้จาก
การคานวณจากสู ตรที่จะมีค่าอยูร่ ะหว่าง 0.00 ถึง 1.00 เกณฑ์การพิจารณาเป็ นไปได้ 2 ทางคือ ค่า
IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปคัดเลือกข้อคาถามข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่หากค่า IOC ต่ากว่า 0.50 ควรพิจารณา
แก้ไขปรับปรุ งหรื อตัดข้อคาถามนั้นทิ้ง

กำรเก็บรวบรวมข้อมูล

การศึกษาครั้งนี้เป็ นลักษณะการวิจยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กลยุทธ์การ


วิจยั แบบ Case Study เพื่อให้ได้ขอ้ มูลอย่างละเอียดและครบถ้วน ผูว้ ิจยั จึงใช้เครื่ องมือในการศึกษา
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยใช้วธิ ี การเก็บข้อมูลแบ่งออกได้เป็ น 2 ส่ วน ดังนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ เชิ งลึ ก
เพื่อเข้าถึงข้อมูลแบบเจาะจงเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง ซึ่ งเป็ นหัวหน้าหน่ วยและพนักงานบริ หารหนี้ และ
คดีธนาคารออมสิ นเขตปัตตานี เพื่อหาแนวทางในการกาหนดกลยุทธ์ โดยการ
1) สัมภาษณ์ลูกหนี้คา้ งชาระเกิน 4 เดือน ที่ได้มีการปรับปรุ งโครงสร้างหนี้ วงเงิน
กูท้ ี่คา้ งชาระเกิน 1,000,000 จานวน 3 คน วงเงินกูท้ ี่คา้ งชาระเกิน 500,000-1,000,000 บาท จานวน 3
คน แบบเจาะจง ทั้งหมด 6 คน โดยประสานงานและนัดเวลาการสัมภาษณ์ ณ ธนาคารออมสิ นเขต
ปั ตตานี ผ่านหัวหน้าหน่วยบริ หารหนี้และคดีเขตปั ตตานี
2) สัมภาษณ์หวั หน้าหน่วยและพนักงานหน่วยบริ หารหนี้ และคดีธนาคารออมสิ น
เขตปั ตตานี ชื่ อ ตาแหน่ ง ผูช้ ่ วยผูอ้ านวยการธนาคารออมสิ นเขตปั ตตานี หน่ วยบริ หารหนี้ และคดี
และตาแหน่ง พนักงานบริ หารหนี้ และคดี ซึ่ งมีหน้าที่ควบคุม ติดตาม ดูแล หนี้ คา้ ง และดาเนิ นคดี
ทางกฎหมายกับ ลู ก หนี้ ค ้า งช าระ จ านวน 2 คน โดยท าหนังสื อ ขออนุ ญ าตและนัดเวลาการเข้า
สัมภาษณ์ ณ หน่วยบริ หารหนี้และคดีธนาคารออมสิ นเขตปั ตตานี
3) สัมภาษณ์ ผูเ้ ชี่ ยวชาญด้านการติ ดตามหนี้ คา้ งชาระ จานวน 2 คน โดยทา
หนังสื อขออนุ ญาตและนัดเวลาการเข้าสัมภาษณ์ ณ หน่วยบริ หารหนี้ และคดีธนาคารออมสิ นเขต
ปัตตานี
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ทั้งข้อมูลจากตารา เอกสาร รายงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทางสถิติที่ทางหน่วยบริ หารหนี้ และคดีได้
รวบรวมไว้ รวมถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ
64
กำรวิเครำะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ขอ้ มูลประเภทต่าง ๆ โดยการนาเอาข้อสนเทศที่ได้จากการเก็บข้อมูลไม่


ว่าจะเป็ นการสัมภาษณ์ เจาะลึ ก การถอดความจากวีดีโอเทป หรื อจากเอกสารบันทึ กและรายงาน
ต่างๆ ที่ เกี่ ยวข้องกับประเด็นที่ ศึกษามาแบ่งเป็ นส่ วนต่างๆ หรื อข้อความย่อยต่างๆ ที่ สื่อแนวคิ ด
(concepts) ในเรื่ องเดี่ยวกันออกมาใช้ประโยชน์โดยการให้รหัส (coding) ของแต่ละข้อความย่อยซึ่ ง
อาจเป็ นประโยค หรื อย่อหน้าข้อความ แล้วนารหัสมารวมกันยกระดับเป็ นกลุ่มประเภท (category)
เพื่อให้มีความหมายสู งขึ้ นเมื่ อนากลุ่มประเภท (categories) ที่ เกิ ดขึ้ นจากกการรวมกลุ่มรหัส มา
วิเคราะห์จนเห็นแบบแผนของความสั มพันธ์ (patterns of relationships) ของกลุ่มประเภทว่าอะไร
สัม พันธ์ ก ับอะไร มี สาระสาคัญหรื อมี ค วามหมาย (meanings) อะไรเพื่ อให้เกิ ดความเข้า ใจใน
ปรากฏการณ์ที่ศึกษาและนาความเข้าใจนั้นมาสร้างเป็ นทฤษฎีที่เกิดขึ้นมาเอง (emerging theories)
จากข้อมูลที่จดั เก็บมา

สถิติทใี่ ช้ วเิ คราะห์ ข้อมูล


1) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่ องมือการตรวจสอบความตรง
IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้อง
R หมายถึง คะแนนของผูเ้ ชี่ยวชาญ
N หมายถึง จานวนผูเ้ ชี่ยวชาญ
โดยกาหนดเกณฑ์การพิจารณาระดับค่าดัชนี ความสอดคล้องของข้อคาถามที่ได้
จากการคานวณจากสู ตรที่จะมีค่าอยูร่ ะหว่าง 0.00 ถึง 1.00 เกณฑ์การพิจารณาเป็ นไปได้ 2 ทาง คือ
ถ้าค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป คัดเลื อกข้อคาถามข้อนั้นไว้ใช้ได้ แต่หากค่า IOC ต่ ากว่า 0.50 ควร
พิจารณาแก้ไขปรับปรุ งหรื อตัดข้อคาถามนั้นทิ้ง
2) เครื่ องมือใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล
เนื่ อ งจากการศึ ก ษาในครั้ งนี้ เป็ นลัก ษณะของการวิ จ ัย เชิ ง คุ ณภาพ (Qualitative
Research) จึงใช้หลักการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงพรรณนา ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
และภายนอก (SWOT Analysis) การจัดทา TOWS Matrix เขียนพรรณนาอธิ บายเป็ นเรื่ องราวที่มี
ความสอดคล้อง เชื่ อมโยง และเกี่ยวเนื่ องกัน เพื่อกาหนดเป็ นกลยุทธ์ของหน่ วยบริ หารหนี้ และคดี
ธนาคารออมสิ นเขตปัตตานี
65
แผนปฏิบัติกำรค้นคว้ำอิสระ

เพื่อให้การศึกษาครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้ศึกษาได้กาหนดแผนปฏิบัติการค้นคว้า
อิสระ โดยกาหนดขั้นตอนเป็นแกนท์ ชาร์ท (Gant Chart) ดังแสดงในตารางที่ 1

ตำรำงที่ 3 แผนปฏิบัติการค้นคว้าอิสระ

พ.ศ. 2560
กิจกรรม/ระยะเวลำ
มกรำคม กุมภำพันธ์ มีนำคม เมษำยน พฤษภำคม มิถุนำยน
1. กาหนดปัญหาและ
นาเสนอหัวข้อการ
ค้นคว้าอิสระ
2. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. จัดทาและนาเสนอเค้า
โครงการค้นคว้าอิสระ
4. จัดเก็บและรวบรวม
ข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูลและ
แปลผล
6. นาเสนอผลการศึกษา
7. เขียนรายงานการค้นคว้า
อิสระ
บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล

จากการวิจยั เรื่ อง “การจัดการเชิ ง กลยุท ธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ ม ในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา”
ผูว้ ิจยั ใช้วิธีการศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิ งลึกจาก 1) วิสาหกิ จชุ มชน ซึ่ งแปรรู ป
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา 3 กลุ่ม 2) เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ ยวข้องกับ
การส่ งเสริ มการแปรรู ปปลาส้ ม 3 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สานักงานเกษตรจังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่
สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่สานักงานพัฒนาชุมชมจังหวัดยะลา และ 3) ผูซ้ ้ื อ
รายใหญ่อีก 3 ราย รวม 9 ราย ผูว้ จิ ยั แบ่งการนาเสนอผลการวิจยั ออกเป็ น 5 ส่ วน ดังนี้
ผลการศึกษาจากเอกสารและการสังเกต
ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis
ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix
การก าหนดแผนกลยุทธ์ และการตัดสิ นใจเลื อกกลยุท ธ์ ผลิ ตภัณฑ์ป ลาส้ มในพื้ นที่
จังหวัดยะลา

ผลการศึกษาจากการข้ อมูลเอกสารและการสั งเกต

ในเบื้ องต้นนั้นจากการศึกษาพบว่าลักษณะโดยทัว่ ไปของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้นที่


จังหวัดยะลา ปลาส้ ม จัดว่าเป็ นการแปรรู ปอาหารที่ เกิ ดจากปลาซึ่ งเป็ นภู มิปัญญาท้องถิ่ นในการ
ถนอมอาหาร การผลิตปลาส้มส่ วนใหญ่ยงั เป็ นการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยอาศัย
เทคนิควิธีที่ถ่ายทอดสื บต่อกันมา จึงทาให้รสชาติ หรื อคุณภาพของปลาส้มแต่ละมีความแตกต่างกัน
ขึ้นอยูก่ บั สู ตรการผลิต การแปรรู ปปลาส้มส่ วนใหญ่ต้ งั อยู่ในพื้นที่อาเภอธารโต มีการวางจาหน่าย
ทัว่ ไปตามร้ านค้าของแต่ละพื้นที่ และร้านขายของฝากในจังหวัดยะลา รวมทั้งมีการออกบูธแสดง
สิ นค้า มีหน่ วยงานของรัฐค่อยให้การส่ งเสริ มและสนับสนุ นทางด้านต่าง ๆ และเป็ นของดีประจา
จังหวัดยะลา
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า อาชี พการทาปลาส้มมีอยู่มาก แต่ที่มีการรวมกลุ่ม
และจดทะเบียนวิสาหกิ จชุ มชน จานวน 12 กลุ่ ม ซึ่ งขั้นตอนการจัดทาปลาส้มของแต่ละกลุ่ มจะมี
สู ตรไม่เหมือนกัน ปั ญหาที่มกั พบในการแปรรู ปปลาส้ม คือการขาดแคลนปลาซึ่ งเป็ นวัตถุดิบหลัก
73
ในการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการจัดหาตลาด ส่ งผลให้ปลาส้มของจังหวัดยะลายังไม่เป็ นที่
รู ้ จกั แก่ ผูบ้ ริ โภคต่างจังหวัดและไม่สามารถก้าวสู่ มาตรฐานการส่ งออก จึงต้องมีกลยุทธ์ เพื่อเพิ่ม
แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเพิ่มยอดขายและตลาดให้สามารถก้าวสู่ มาตรฐานการส่ งออกต่อไป ซึ่ ง
ผูว้ ิจยั จึงนาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ เชิ งลึกผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลามาวิเคราะห์
ประมวลผลรวมกัน

ผลการศึกษาจากการสั มภาษณ์ เชิงลึก

จากการศึกษาวิเคราะห์ขอ้ มูลดังกล่าวตามหลักการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิ งคุณภาพ ผูว้ ิจยั


ได้จดั กลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา ดังต่อไปนี้
สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาในปัจจุบนั
จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
โอกาสของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
การวางแผนกลยุทธ์หรื อแนวทางในการจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่
จังหวัดยะลา

การจัดการเชิงกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาเพื่อขยายตลาดและเพิ่ม


ยอดขายในอนาคต สามารถนามาใช้ใ นการจัดการเชิ ง กลยุท ธ์ ท้ งั ในปั จจุ บ ันและแนวทางที่ จ ะ
นาไปใช้ในอนาคตเพื่อทาให้ผ ลิ ตภัณฑ์ปลาส้ ม สามารถขยายตลาดและเพิ่มยอดขายเพื่ อรองรั บ
สถานการณ์ในอนาคตได้อย่างดีที่สุด ซึ่งผูว้ จิ ยั จะได้นาเสนอรายละเอียดต่างๆ ต่อไปนี้จะนาเสนอถึง
ตารางรายละเอียดที่คน้ พบดังนี้
จากการสั มภาษณ์ เชิ งลึก ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุ มชนซึ่ งแปรรู ปผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มใน
พืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา จานวน 3 กลุ่ม สามารถสรุ ปได้ ดังนี้

สถานการณ์ ผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ในปัจจุบนั ซึ่งประกอบไปด้วยสถานการณ์ 2 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์ดา้ นคู่แข่งขัน
2. สถานการณ์ดา้ นการจัดจาหน่าย
74
จากการศึ กษาครั้งนี้ พบว่า สถานการณ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในปั จจุ บนั นั้น มีลกั ษณะ
สาคัญดังนี้ คือ
สถานการณ์ดา้ นคู่แข่งขัน ปั จจุบนั คู่แข่งขันค่อนข้างสู งทั้งระดับเขตและภูมิภาคอีกทั้ง
บริ เวณโดยรอบมากราย เนื่ องจากผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นอาหารพื้นบ้าน มีข้ นั ตอนการทาไม่ยงุ่ ยาก
และมีตน้ ทุนต่ า ประกอบกับมีหน่ วยงานราชการเข้ามาสนับสนุ นจึงทาให้มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นตามไป
ด้วย แต่ดว้ ยความแตกต่างทางด้านรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์จึงทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลายังเป็ นที่
ต้องการของลูกค้าทัว่ ไป
สถานการณ์ ดา้ นการจัดจาหน่ าย ปั จจุบนั ปลาส้มของจังหวัดยะลาจาหน่ ายเฉพาะใน
พื้นที่จงั หวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น เช่น นราธิ วาส สงขลา พัทลุ ง ผ่านร้ านขายฝากและ
ร้านขายของชาต่าง ๆ การจัดจาหน่ายยังไม่กว้างขวางและยังไม่เป็ นที่รู้จกั คนต่างถิ่ นมากนัก มีการ
ออกบูธแสดงสิ นค้าที่หน่ วยงานของรัฐเป็ นผูจ้ ดั ทั้งในงานระดับจังหวัดและภูมิภาค ซึ่ งการออกบูธ
ในพื้นที่ห่างไกลส่ วนใหญ่จะเป็ นการฝากปลาส้มไปวางจาหน่าย จึงทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลา
ยังไม่เป็ นที่รู้จกั แก่ผบู ้ ริ โภคต่างจังหวัดเท่าที่ควร

จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


มีลกั ษณะที่สาคัญ จานวน 3 ข้อ คือ
1. ปลาส้มมีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์
2. มีร้านของฝากในจังหวัดยะลารับซื้ อเป็ นประจา
3. มีเครื่ องซีนถุงสู ญญากาศที่ทนั สมัย
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด แข็ง ของผลิ ตภัณ ฑ์ป ลาส้ ม ในพื้ นที่ จงั หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
ปลาส้ มมี รสชาติ เป็ นเอกลักษณ์ อร่ อย ถู กปลาของคนในพื้นที่ ไม่เปรี้ ยวจนเกิ นไป
และมีสูตรความอร่ อยที่แตกต่างกันขึ้นอยูก่ บั รสมือ เพราะแต่ละแห่ งจะมีการคัดเลือกชนิ ดของปลา
สัดส่ วนระหว่างส่ วนผสม ตลอดจนขั้นตอนวิธีการและระยะเวลาในการหมักปลาที่ไม่เหมือนกัน จึง
ทาให้รสชาติปลาส้มแต่ละที่มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน
มี ร้ า นของฝากในจัง หวัด ยะลารั บ ซื้ อ เป็ นประจา ได้แ ก่ ร้ านเฮน เบเกอรี่ เอกศิ ลป์
(เจ๊หงส์ ) วุน้ คุณเชี ยร์ แฟมมิลี่ ไฮเบอร์ ร้านหยก ร้านมังกร ร้านดวงตะวัน ร้านป้ าสน ฯ ซึ่ งในแต่ละ
ครั้งจะมีปริ มาณการสั่งซื้ อเป็ นจานวนมากและมียอดการสั่งซื้ อทุกสัปดาห์ รวมทั้งร้านค้าต่างๆ ใน
ชุมชม ส่ งผลให้มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 200,000 – 300,000 บาท
75
มีเครื่ องซีนถุงสู ญญากาศที่ทนั สมัย ทาให้กระบวนการผลิตของปลาส้มมีคุณภาพมาก
ยิ่งขึ้น สามารถผลิ ตได้คราวละมาก ๆ และยังสะดวกในการเก็บและส่ งไปจาหน่ าย สามารถสร้าง
ความน่าเชื่ อถื อ รักษาความสะอาดให้ปลาส้มน่ารับประทาน และยังช่ วยยืดอายุและรักษาคุณภาพ
ของปลาส้มให้อยูไ่ ด้นานมากยิง่ ขึ้นอีกด้วย

จุดอ่ อนของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยจุดอ่อนที่สาคัญจานวนทั้งสิ้ น 3 ข้อ ดังนี้
1. ปลาที่ใช้ในการผลิตมีไม่เพียงพอและราคาสู ง
2. ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและรสชาติปลาส้มได้
3. ไม่มีตแู ้ ช่ปลาที่ทนั สมัย
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด อ่ อ นของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
ปลาที่ใช้ในการผลิตปลาส้มมีไม่เพียงพอและราคาสู ง ระยะแรกการผลิตปลาส้มใน
พื้นที่จะใช้ปลาที่จบั จากเขื่อนมาใช้เป็ นวัตถุดิบ เนื้อปลาจะสดและอร่ อยจนลูกค้าติดใจ แต่ระยะหลัง
จานวนปลาลดน้อยลง ประกอบกับมี ผผู ้ ลิ ตปลาส้มมี มากขึ้น ทาให้กลุ่มผลิ ตปลาส้ มที่ใช้ปลาจาก
เขื่ อ น เกิ ดปั ญญาขาดแคลนปลาซึ่ งเป็ นวัตถุ ดิบ หลัก ในการผลิ ต อยู่บ่ อยครั้ ง ส่ ง ผลให้ก ารผลิ ต
หยุดชะงัก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า บางกลุ่มจึงหันไปสั่งซื้ อปลาเลี้ยงจากต่างจังหวัด
แทน ซึ่ งต้องสั่งซื้ อผ่านพ่อค้าคนกลาง จึ งทาให้ราคาปลาข่อนข้างสู งส่ งผลให้ตน้ ทุ นในการผลิ ต
สู งขึ้นตามไปด้วย
ไม่สามารถควบคุ มคุ ณภาพและรสชาติปลาส้มได้ ทั้งนี้ เพราะกระบวนการผลิตปลา
ส้มเป็ นการหมักเพื่อให้เกิดเชื้ อตามธรรมชาติ จึงทาให้คุณภาพและรสชาติ ของปลาส้มไม่สม่าเสมอ
ขึ้ นอยู่ก ับ ปั จจัย หลาย ๆ ด้า น เช่ น การคัด เลื อกใช้ว ตั ถุ ดิบ ชนิ ด ปลา สั ดส่ วนระหว่า งส่ วนผสม
ตลอดจนขั้นตอนวิธีการ และระยะเวลาในการหมักปลาที่ไม่เหมือนกัน จึงทาให้รสชาติแตกต่างกัน
ไป และยังส่ งผลให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่าเสมอในแต่ละครั้งที่มีการผลิต
ไม่มีตูแ้ ช่ปลาที่ทนั สมัย ซึ่ งวิสาหกิจชุ มชนจะใช้วิธีการแช่ปลาในตูน้ ้ าแข็ง และจะเร่ ง
การผลิ ตปลาส้มให้เสร็ จโดยเร็ วเพื่อไม่ให้ปลาเน่ าเสี ย ส่ งผลให้ความสดและรสชาติของปลาอาจ
เปลี่ยนแปลงไป จึงทาให้เกิดปั ญหาเกี่ยวกับการเก็บรักษาและคุณภาพของปลาในการผลิต
76
โอกาสของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา
ซึ่งประกอบไปด้วยโอกาสที่สาคัญจานวน 3 ข้อ คือ
1. ความต้องการซื้ อปลาส้มในพื้นที่มีมาก
2. มีหน่วยงานของรัฐค่อยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ
3. ผูแ้ สวงบุญชาวไทยมุสลิม ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮจั ย์ ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย
นิยมซื้ อปลาส้มไปเป็ นของฝาก
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า โอกาสของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
ความต้องการซื้ อปลาส้มในพื้นที่มีมาก เนื่องจากปลาส้มมีรสชาติอร่ อย เป็ นที่รู้จกั และ
ถูกปากของคนในพื้นที่ ประกอบกับมีข้ นั ตอนการปรุ งรับประทานที่ไม่ยงุ่ ยาก ราคาไม่แพง สามารถ
เก็บไว้ได้นาน ปลาส้มจัดได้วา่ เป็ นอาหารหมักจากปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการข่อนข้างสู ง ไม่ใส่
สารกันบูดและผงชู รส ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและผูผ้ ลิตเป็ นมุสลิม เมื่อผลิตเสร็ จจะมีลูกค้าใน
พื้นที่ รอรั บซื้ อ ทั้งที่ซ้ื อไปรับประทานเองและซื้ อไปเป็ นของฝาก และมี ร้านขายของฝากที่รับซื้ อ
ปลาส้มเป็ นประจาและจานวนมาก ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 200,000 – 300,000 บาท
มี ห น่ ว ยงานของรั ฐ ค่ อ ยให้ ก ารสนั บ สนุ น และช่ ว ยเหลื อ การแปรรู ป ปลาส้ ม มี
หน่วยงานของรัฐค่อยให้การช่วยเหลือหลายหน่วยงาน ทั้งทางด้านวิชาการ เครื่ องจักร และอุปกรณ์
ได้แก่ สานักงานเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุ มชน (พช.) กระทรวงสาธารณสุ ข (ขอ
อย.) เช่น สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอสนับสนุนเครื่ องซี นถุงสุ ญญากาศ การออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์
และการจัดแสดงสิ นค้า OTOP ส่ วนสานักงานเกษตรจะช่วยเหลือทางด้านการจัดตลาดสิ นค้าเกษตร
ทุกวันจันทร์ และวันพฤหัสบดี ซึ่ งเปิ ดโอกาสให้วสิ าหกิจชุมชนสามารถนาสิ นค้ามาวางจาหน่ายเป็ น
การเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่ายได้อีกช่องทางหนึ่ง
ผูแ้ สวงบุญชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮจั ย์ ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย นิยม
ซื้ อปลาส้มไปเป็ นของฝากและนาไปบริ โภค เนื่ องจากปลาส้มสามารถเก็บไว้ได้นานและมีรสชาติ
อร่ อย รั บ ประทานง่ า ย มี เครื่ องหมายฮาลาล ชาวมุ ส ลิ ม ทัว่ โลกสามารถรั บ ประทานได้ รวมทั้ง
ผูป้ ระกอบการหรื อลูกจ้างที่ผลิตปลาส้มส่ วนใหญ่จะเป็ นมุสลิม ทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่
ไว้วางใจแก่ลูกค้าที่ไปแสวงบุญ

อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยอุปสรรคที่สาคัญ จานวนทั้งสิ้ น 2 ข้อ คือ
1. คู่แข่งขันค่อนข้างสู ง
2. การแปรรู ปปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
77
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่าอุ ปสรรคของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
คู่แข่งขันค่อนข้างสู ง ทั้งระดับเขตและภูมิภาคอีกทั้งบริ เวณโดยรอบมากราย เนื่องจาก
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นอาหารพื้นบ้าน และมีข้ นั ตอนการทาไม่ยงุ่ ยาก สามารถจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ใน
การผลิตได้ง่ายในพื้นที่และมีตน้ ทุนต่ า ประกอบกับมีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุ นจึงมีคู่แข่ง
ขันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งที่จดทะเบียนเป็ นวิสาหกิ จชุ มชนและยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่ดว้ ย
ความแตกต่างทางด้านรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์จึงทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลายังเป็ นที่ตอ้ งการของ
ลูกค้าทัว่ ไป
การแปรรู ปปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายและจัดทาได้
เอง เนื่ อ งจากการผลิ ต ปลาส้ ม มี ส่ ว นผสม วัส ดุ แ ละอุ ป กรณ์ แ ละขั้น ตอนในการผลิ ต ไม่ ยุ่ง ยาก
ซับซ้อน สามารถศึกษาขั้นตอนการผลิตได้จากแหล่ง Social ต่าง ๆ จึงทาให้สามารถลอกเลียนแบบ
การผลิ ตและสามารถจัดท าเพื่อรั บ ประทานเองในครั วเรื อน ส่ งผลให้ป ริ ม าณความต้องการซื้ อ
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มลดน้อยลงตามไปด้วย

จากการสั มภาษณ์เชิ งลึก เจ้ าหน้ าที่หน่ วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้ องกับการส่ งเสริม


การแปรรู ปปลาส้ ม จานวน 3 คน สามารถสรุ ปได้ ดังนี้
สถานการณ์การผลิตภัณฑ์ปลาส้มในในพื้นที่จงั หวัดยะลาในปั จจุบนั ซึ่ งประกอบไป
ด้วยสถานการณ์ 2 สถานการณ์ คือ
1. สถานการณ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
2. สถานการณ์ดา้ นการตลาด
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พ บว่า สถานการณ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ ม ในปั จจุ บนั นั้น มี ลกั ษณะ
สาคัญดังนี้ คือ
สถานการณ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ ปลาส้มของจังหวัดยะลามีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ สะอาด
ถูกหลักอนามัย เน้นความปลอดภัยของผูบ้ ริ โภคเป็ นหลักโดยวิสาหกิจชุ มชนจะไม่ใช้สารกันบูดใน
การผลิต และผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่ งจะช่วยสร้างความมัน่ ใจแก่ผบู ้ ริ โภค
ปลาส้มจังหวัดยะลามีแพ็กเก็จที่สวยงามสามารถมองเห็ นเนื้ อปลา เป็ นที่ ดึงดูดของผูบ้ ริ โภค และ
ด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่กบั การแพ็คแบบสุ ญญากาศ จึงช่วยรักษาคุณภาพและช่วยยืดอายุของปลา
ส้มอีกทางหนึ่ ง ปลาส้มจัดได้ว่าเป็ นของดี เมืองยะลาที่ผบู ้ ริ โภคทัว่ ไปรู ้ จกั และนิ ยมซื้ อติดไม้ติดมือ
ไปเป็ นของฝาก ประกอบกับมีหน่วยงานของรัฐค่อยให้การสนับสนุ นช่วยเหลือด้านต่าง ๆ จึงทาให้
ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่รู้จกั ของคนในพื้นที่และเป็ นสิ นค้าระดับท็อปของจังหวัดยะลา
78
สถานการณ์ดา้ นตลาด อัตราการเติบโตด้านตลาดปลาส้มของจังหวัดยะลามีเพิ่มมาก
ขึ้นทุกปี และแนวโน้มคาดว่าความต้องการซื้ อมาบริ โภคจะเพิ่มมากขึ้นเรื่ อยๆ เนื่องจากปลาส้มของ
จังหวัดยะลาได้รับการยอมรับจากกลุ่มผูบ้ ริ โภค ทั้งทางด้านคุ ณภาพ และรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์
อร่ อย สะอาด ถูกหลักอนามัย และมีหน่วยงานของรัฐค่อยให้การสนับสนุ นและส่ งเสริ มทางด้านต่าง ๆ
รวมทั้งการออกบูธแสดงสิ นค้า การจัดหาตลาด การจัดทาเว็บไซค์สินค้า OTOP จึงทาให้ปลาส้มเป็ น
ที่รู้จกั มากขึ้น

จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยจุดแข็งที่สาคัญ จานวนทั้งสิ้ น 3 ข้อ คือ
1. ปลาส้มมีรสชาติอร่ อย และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา
2. ปลาส้มสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
3. กระบวนการผลิตไม่ซบั ซ้อน และมีสูตรการผลิตที่แตกต่างกัน
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด แข็ ง ของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
ปลาส้มมีรสชาติอร่ อย และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา ปลาส้มของจังหวัดยะลาจัด
ได้ว่ามีรสชาติอร่ อย เป็ นสิ นค้า OTOP ที่ได้รับรางวัลมากมายในเรื่ องคุณภาพและรสชาติที่เป็ น
เอกลักษณ์ และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลาทาให้ผบู ้ ริ โภคให้ความสนใจและเป็ นที่รู้จกั มากขึ้น
ปลาส้ ม สามารถเก็บ รั กษาไว้ไ ด้นาน ปลาส้ ม เป็ นการแปรรู ป อาหารที่ ส ามารถเก็ บ
รักษาไว้ได้นานแม้ไม่ได้เก็บรั กษาไว้ในตูเ้ ย็น ซึ่ งวิสาหกิ จชุ มชนจะไม่ใส่ สารกันบูดและผงชู รส
ส่ งผลให้ผบู ้ ริ โภคเกิดความไว้วางใจในคุณภาพ จึงนิยมซื้ อไปรับประทานและซื้ อไปเป็ นของฝากแก่
ญาติ พี่ น้อง ประกอบกับการมี ข้ นั ตอนการปรุ งรั บประทานที่ ไม่ ยุ่งยาก สามารถจัดท าอาหารได้
หลากหลาย และไม่เน่าเสี ยง่าย
กระบวนการผลิตปลาส้มไม่ซับซ้อน และมีสูตรการผลิตที่แตกต่างกัน การผลิตปลา
ส้มมีข้ นั ตอนและวิธีการทาก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน ส่ วนมากการทาปลาส้มจะอาศัยเทคนิ ควิธีการ
ถ่ายทอดสื บต่อกันมา ดังนั้น รสชาติ หรื อคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่งจึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่
กับสู ตรการผลิตของแต่ละพื้นที่และองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง

จุดอ่ อนของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยจุดอ่อนที่สาคัญ จานวน 3 ข้อ คือ
1. ผลิตภัณฑ์ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย
2. ช่องทางการตลาดยังไม่ค่อยกว้าง ผูบ้ ริ โภคต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั
79
3. แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่างไกลจากตัวเมืองยะลา
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด อ่ อ นของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญดังนี้ คือ
ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาส่ วนใหญ่ผลิ ต
เหมือน ๆ กัน ซึ่ งส่ วนใหญ่จะผลิ ตแบบมีกา้ ง มีท้ งั ปลาเป็ นตัวและเป็ นชิ้ น โดยใช้น้ าหนักของปลา
เป็ นเกณฑ์ ไม่ค่อยมี ความหลากหลายทางด้านผลิ ตภัณฑ์ เช่ น รสชาติ ที่แปลกใหม่ บรรจุ ภณ ั ฑ์ที่
แตกต่าง ชนิดของปลา จึงทาให้ผบู ้ ริ โภคไม่มีตวั เลือกในการซื้ อไปรับประทานมากนัก
ช่ องทางการตลาดยังไม่ค่อยกว้า ง ผูบ้ ริ โภคต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้ จกั ปลาส้ มส่ วน
ใหญ่จะขายเฉพาะในพื้นที่จงั หวัดยะลา และจังหวัดใกล้เคียง ผ่านร้ านขายของฝากและร้ านค้าใน
ชุ มชน วิสาหกิ จชุ มชนจะไม่ค่อยให้ความสาคัญกับการออกบูธแสดงสิ นค้าและการขายสิ นค้าผ่าน
ระบบออนไลน์เนื่ องจากวิสาหกิจชุ มชนไม่ค่อยมีความรู ้ดา้ น IT มากนัก ซึ่ งปั จจุบนั การขายสิ นค้า
ผ่านระบบออนไลน์ ถื อเป็ นสิ่ งที่สาคัญเพราะจะทาให้เจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหญ่ โดยใช้เงิ นลงไม่
มาก และสามารถติดต่อค้าขายได้รวดเร็ วเป็ นที่ประจับใจแก่ผบู ้ ริ โภค ประกอบกับวิสาหกิจชุ มชนจะ
ยังไม่ค่อยมีความรู ้ทางด้านการตลาด จึงทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลายังไม่ค่อยเป็ นที่รู้จกั เท่าที่ควร
แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่ างไกลจากตัวเมืองยะลา สถานที่ผลิตปลาส้มส่ วนใหญ่อยูใ่ น
พื้นที่อาเภอธารโต เนื่ องจากมีแหล่งน้ าอุดมสมบูรณ์ และเมื่อก่อนมีปลาชุ กชม จึงนิ ยมน้ าปลาจาก
เขื่อนมาแปรรู ปกันมาก จนกลายเป็ นอาชี พเศรษฐกิ จของคนในท้องถิ่ น และเริ่ มแพร่ กระจายไปสู่
พื้นที่ ต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา เช่ น อาเภอยะลา อาเภอกรงปิ นัง อาเภอเบตง เป็ นต้น แต่เนื่ องจาก
ปั จจุบนั ปลามีนอ้ ยจึงทาให้ผปู ้ ระกอบการหันไปใช้ปลาเลี้ยงจากต่างจังหวัดแทน จึงทาให้ผบู้ ริ โภค
ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซื้ อปลาส้มในพื้นที่ทาให้ตอ้ งซื้ อผ่านร้านขายของฝากในอาเภอเมืองยะลา

โอกาสของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยโอกาสที่สาคัญจานวนทั้งสิ้ น 3 ข้อ คือ
1. รัฐบาลมีนโยบายส่ งเสริ มวิสาหกิจชุมชน
2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่ อสาร
3. มีหน่วยงานของรัฐสนับสนุนและช่วยเหลือ
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า โอกาสของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญดังนี้ คือ
รั ฐบาลมี นโยบายส่ ง เสริ ม ให้มี การแปรรู ปสิ นค้าเกษตรกรรม รวมทั้ง การส่ งเสริ ม
วิสาหกิจชุ มชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้แต่ละกลุ่มสามารถพึ่งพาตัวเองได้ แก้ไขปั ญหาเศรษฐกิ จ
ฐานรากของประเทศ สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้
80
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่ อสารสามารถนามาประยุกต์ใช้ในการเพิ่ม
ช่องทางการจาหน่ายและการติดต่อสื่ อสารให้ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่รู้จกั มากยิ่งขึ้น เช่น การ
โฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ ป ลาส้ ม ผ่ า นเว็ บ ไซต์ ข องกรมการพั ฒ นาชุ มชน ชื่ อเว็ บ ไซต์
http://thaiotop.cdd.go.th ที่กรมพัฒนาชุ มชนจัดทาขึ้นเพื่อส่ งเสริ มด้านช่องทางการตลาดของสิ นค้า
OTOP ของประเทศไทย การขายแปลาส้มและการติดต่อสื่ อสารผ่าน facebook ผ่านโปรแกรม Line
เพื่อให้ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่รู้จกั กว้างขวางมากยิง่ ขึ้น
มี ห น่ ว ยงานของรั ฐ สนับ สนุ น และช่ ว ยเหลื อ ทั้ง ทางด้า นวิ ช าการ เครื่ อ งจัก รและ
อุปกรณ์ในการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ สานักงานเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุ มชน (พช.)
กระทรวงสาธารณสุ ข (ขอ อย.) ซึ่ งแต่ ล ะหน่ วยงานจะมี หน้า ที่ ใ นการส่ ง เสริ ม และสนับ สนุ น
ทางด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามอานาจและหน้าที่ของตนเอง เช่น กระทรวงสาธารณสุ ข จะมีส่วน
เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร (อย.) สานักงานเกษตร จะช่วยเหลือทางด้านอบรมให้
ความรู้ สานักงานพัฒนาชมชน ช่วยออกแบบบรรจุภณั ฑ์ เป็ นต้น

อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยอุปสรรคที่สาคัญจานวนทั้งสิ้ น 1 ข้อ คือ การแปรรู ปปลาส้มเป็ น
การแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่าอุ ปสรรคของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา มี
ลักษณะสาคัญดังนี้ คื อ การแปรรู ปปลาส้ มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่ สามารถลอกเลี ยนแบบได้ง่าย
เนื่ องจากเป็ นสิ นค้าพื้นบ้านที่ มีข้ นั ตอนการทาไม่ยุ่งยากและซับซ้อน และมีตน้ ทุนในการผลิ ตต่ า
สามารถศึกษาและหาข้อมูลในการจัดทาได้เองในครัวเรื อน

จากการสั มภาษณ์ เชิ งลึก ผู้ซื้อรายใหญ่ ที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มจากวิสาหกิจชุ มชน


เป็ นประจาและจานวนมาก จานวน 3 ราย สามารถสรุ ปได้ ดังนี้
สถานการณ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้ นที่ จ ังหวัดยะลาในปั จจุ บ ัน ซึ่ งประกอบไปด้วย
สถานการณ์ที่สาคัญจานวน 1 สถานการณ์ คือ สถานการณ์ดา้ นตลาด
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พ บว่า สถานการณ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ ม ในปั จจุ บนั นั้น มี ลกั ษณะ
สาคัญดังนี้ คือ สถานการณ์ดา้ นตลาด ปลาส้มจัดได้วา่ เป็ นการแปรรู ปอาหารที่นิยมบริ โภคกันทัว่ ไป
ซึ่ งแต่ละพื้นที่ จะมี สู ตรการผลิ ตแตกต่า งกัน รสเปรี้ ยวจากการหมักของปลาจะเป็ นที่ ชื่นชอบแก่
ลูกค้าที่นิยมรับประทานอาหารแปรรู ปและเป็ นที่ตอ้ งการของตลาดโดยเฉพาะช่ วงเทศกาลต่าง ๆ
ลูกค้าจะนิยมซื้ อไปเป็ นของฝากและซื้ อกลับบ้านไปรับประทาน จึงทาให้ปลาส้มขายดีตลอดทั้งปี
81
จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา
ซึ่งประกอบไปด้วยจุดแข็งที่สาคัญ จานวนทั้งสิ้ น 3 ข้อ คือ
1. มีตราของผลิตภัณฑ์และรสชาติเป็ นที่รู้จกั ของลูกค้า
2. ปลาส้มได้รับเครื่ องหมายฮาลาล
3. ปลาส้มมีราคาไม่แพง
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด แข็ ง ของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ
มีตราของผลิ ตภัณฑ์และรสชาติเป็ นที่รู้จกั ของลู กค้า ปลาส้มแต่ละกลุ่ มจะมีรสชาติ
และตราผลิ ตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป ตลอดจนได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็ นเครื่ องแสดงความสาเร็ จ และ
ผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็ นเครื่ องประกันคุณภาพ จึงทาให้ปลาส้มเป็ นที่
รู ้จกั แก่ลูกค้าที่มาซื้ อ ทั้งที่ซ้ื อไปรับประทานเอง และที่ซ้ื อไปเป็ นของฝากซึ่ งเป็ นจุดแข็งของปลาส้ม
ในพื้นที่จงั หวัดยะลา
ปลาส้มได้รับเครื่ องหมายฮาลาล ปลาส้มในจังหวัดยะลาส่ วนใหญ่จะได้รับเครื่ องหมาย
ฮาลาล ซึ่ งเป็ นจุดแข็งของปลาส้ มในพื้นที่เนื่ องจากประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะนับถื อศาสนา
อิสลาม วิสาหกิจชุ มชนจึงให้ความสาคัญกับขอเครื่ องหมายฮาลาลเพื่อให้ปลาส้มเป็ นที่ยอมรับของ
ผูบ้ ริ โภคเพื่อแสดงถึงความเป็ นสากลของอาหารมุสลิม เป็ นการรับประกันว่าชาวมุสลิมโดยทัว่ ไป
สามารถรับประทานปลาส้มได้
ปลาส้มมีราคาไม่แพง ปลาส้มจะขายอยู่ประมาณถุงละ 35 บาท หรื อ 3 ถุง 100 บาท
ราคาปลาส้มของแต่ละกลุ่มจะไม่แตกต่างกันมากนัก หากซื้ อในปริ มาณที่เยอะและซื้ อเป็ นประจา
วิสาหกิจชุมชนจะขายให้ในราคาส่ ง เพื่อให้สามารถนาไปขายต่อในราคาที่ไม่แพงมากนัก ซึ่ งราคาที่
จัดจาหน่ายค่อนข้างถูกและยังเหมาะกับผูม้ ีรายได้นอ้ ย เพราะราคาไม่แพง

จุดอ่ อนของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่ งประกอบไปด้วยจุดอ่อนที่สาคัญ จานวนทั้งสิ้ น 1ข้อ คือ ปลาส้มมีคุณภาพและ
รสชาติไม่สม่าเสมอ
จากการศึ ก ษาครั้ งนี้ พบว่า จุ ด อ่ อ นของผลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
ลักษณะสาคัญ คือ ปลาส้ มมีคุณภาพและรสชาติ ไม่สม่ าเสมอ เนื่ องจากการแปรรู ปเป็ นการหมัก
อาหารที่ เกิ ดเชื้ อขึ้ นตามธรรมชาติ ส่ งผลให้คุ ณภาพและรสชาติ ของปลาส้ มแต่ล ะครั้ งที่ ผลิ ตไม่
เหมือนกัน ซึ่ งถ้าหากร้านค้าเก็บปลาส้มไว้นานอาจทาให้รสชาติของปลาส้มเปลี่ยนแปลงไป ส่ งผล
ให้ปลาส้มมีรสเปรี้ ยวเพิ่มมากขึ้นและก้างปลาจะแข็งตามไปด้วย
82
โอกาสของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา
ซึ่งประกอบไปด้วยโอกาสที่สาคัญ จานวนทั้งสิ้ น 3 ข้อ คือ
1. ผูบ้ ริ โภคยังต้องการอาหารประเภทกึ่งสาเร็ จรู ปจากปลา
2. ลูกค้ามีแนวโน้มสนใจผลิตภัณฑ์แปรรู ปที่ใส่ ใจสุ ขภาพ
3. ทุกศาสนาสามารถรับประทานได้
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าโอกาสของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา มีลกั ษณะ
สาคัญดังนี้ คือ
ผูบ้ ริ โภคยังต้องการอาหารประเภทกึ่งสาเร็ จรู ปจากปลา เนื่องจากปลาส้มจัดเป็ นอาหาร
กึ่งสาเร็ จรู ปที่รับประทานได้ง่าย มีข้ นั ตอนการปรุ งที่ไม่ยงุ่ ยากเหมาะกับสถานการณ์การเร่ งรี บในปั จจุบนั
ปลาส้ ม จัด ได้ว่ า เป็ นอาหารที่ มี คุ ณ ค่ า ทางโภชนาการข่ อ นข้า งสู ง ลู กค้า จึ งนิ ยมซื้ อปลาส้ มไป
รับประทานและซื้ อเป็ นของฝากแก่ญาติพี่นอ้ ง
ลูกค้ามีแนวโน้มสนใจผลิ ตภัณฑ์แปรรู ปที่ ใส่ ใจสุ ขภาพ ปลาส้ มจัดได้ว่าเป็ นอาหาร
หมักจากปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการข่อนข้างสู ง ย่อยง่าย ซึ่ งมีโปรตีนจากเนื้อปลา มีแคลเซี ยมจากการ
หมัก และมีคาร์ โบไฮเดรตจากข้าวคัว่ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ จากส่ วนผสมอื่น ๆ จึงเป็ นโอกาสให้
ลูกค้ากลุ่มที่ใส่ ใจสุ ขภาพหันมารับประทานปลาส้มเพิ่มมากขึ้น
ทุกศาสนาสามารถรับประทานได้ การแปรรู ปปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่เกิดจาก
ปลาซึ่งทุกศาสนาสามารถรับประทานได้ ซึ่งปลาส้มส่ วนใหญ่จะได้รับเครื่ องหมายตราฮาลาล และมี
มุสลิมเป็ นผูผ้ ลิตจึงทาให้ลูกค้ามุสลิมให้ ความไว้วางใจและนิ ยมซื้ อไปรับประทานและซื้ อไปเป็ น
ของฝาก

อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา


ซึ่งประกอบไปด้วยอุปสรรคที่สาคัญ จานวน 1 ข้อ คือ มีสินค้าชนิดอื่นทดแทนได้ง่าย
จากการศึ กษาครั้ ง นี้ พบว่าอุ ปสรรคของผลิ ตภัณฑ์ป ลาส้ ม ในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา มี
รายละเอียดดังนี้ คือ มีสินค้าชนิ ดอื่นทดแทนได้ง่าย ผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่เกิ ด
จากปลา ซึ่งมีอาหารอาหารชนิดอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ค่อนข้างหลากหลาย และวางจาหน่ายอยู่
ในร้านค้าทัว่ ไป เช่น ปลาเค็ม กุง้ ส้ม ปลาร้า ประกอบกับมีระดับราคาและรสชาติไม่แตกต่างกันมาก
นัก จึงทาให้ผบู ้ ริ โภคหันไปรับประทานอาหารชนิดอื่นได้ง่าย
83
ผลการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)

จากการสัมภาษณ์เชิ งลึก สามารถนามาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก


(SWOT Analysis) ของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา ได้ดงั นี้

ตารางที่ 4 การวิเคราะห์ SWOT Analysis

จุดแข็ง จุดอ่ อน
S1 ปลาส้มของจังหวัดยะลามีรสชาติเป็ น W1 ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถ
เอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและเป็ น ควบคุมคุณภาพและรสชาติได้ รวมทั้ง
ของดีประจาจังหวัดยะลา ปลาที่ใช้ในการผลิตมีไม่เพียงพอและ
S2 ปลาส้มมีราคาไม่แพง ราคาแพง
S3 กระบวนการผลิตปลาส้มไม่ซบั ซ้อน และมี W2 ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่กว้าง ลูกค้า
สู ตรการผลิตที่แตกต่างกัน ต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั
W3 แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่างไกลจากตัว
เมืองยะลา

โอกาส อุปสรรค
O1 ผูบ้ ริ โภคยังต้องการปลาส้ม ซึ่งทุกศาสนา T1 คู่แข่งขันค่อนข้างสู ง
สามารถรับประทานได้ T2 การแปรรู ปปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหาร
O2 รัฐให้การสนับสนุนและส่ งเสริ มวิสาหกิจ ที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย
ชุมชน T3 มีสินค้าชนิดอื่นทดแทนได้ง่าย
O3 ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการ
สื่ อสารช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย
84
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ของปลาส้ มในพื้นที่ จงั หวัดยะลา
เลือกวิเคราะห์เฉพาะระดับธุ รกิจ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุ รกิจ

จุดแข็ง (Strengths: S)
1. ปลาส้มของจังหวัดยะลามีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและเป็ น
ของดีประจาจังหวัดยะลา ปลาส้มของจังหวัดยะลาจะมีรสชาติอร่ อย ถูกปลาของคนในพื้นที่ และมี
สู ตรความอร่ อยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กบั รสมือ เป็ นสิ นค้า OTOP ที่ได้รับรางวัลมากมายในเรื่ อง
คุณภาพและรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาล และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา มี
เครื่ องซีนถุงสู ญกาศที่ทนั สมัย และมีร้านของฝากในจังหวัดยะลาที่รับซื้ อเป็ นประจาและจานวนมาก
ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 200,000 – 300,000 บาท
2. ปลาส้ มมี ราคาไม่แพง ปลาส้ มจะขายอยู่ประมาณถุ งละ 35 บาท หรื อ 3 ถุ ง 100
บาท ราคาปลาส้ มของแต่ละกลุ่ มจะไม่แตกต่างกันมากนัก หากซื้ อในปริ มาณที่ เยอะและซื้ อเป็ น
ประจาวิสาหกิ จชุ มชนจะขายให้ในราคาส่ ง ซึ่ งราคาที่จดั จาหน่ ายค่อนข้างถูกและยังเหมาะกับผูม้ ี
รายได้นอ้ ย เพราะราคาไม่แพง
3. กระบวนการผลิ ตปลาส้มไม่ซับซ้อน และมีสูตรการผลิ ตที่ แตกต่างกัน การผลิ ต
ปลาส้มมีข้ นั ตอนและวิธีการทาก็ไม่ได้ยงุ่ ยากซับซ้อน ส่ วนมากการทาปลาส้มจะอาศัยเทคนิควิธีการ
ถ่ายทอดสื บต่อกันมา ดังนั้น รสชาติ หรื อคุณภาพของปลาส้มแต่ละแห่งจึงมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่
กับสู ตรการผลิตของแต่ละพื้นที่และองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง

จุดอ่ อน (Weaknesses: W)
1. ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถควบคุ มคุ ณภาพและรสชาติได้ รวมทั้ง
ปลาที่ใช้ในการผลิ ตมีไม่เพียงพอและราคาแพง ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาจะผลิ ตเหมือน ๆ กัน
ไม่มีความหลากหลาย ทาให้ผูบ้ ริ โภคไม่มีตวั เลื อกในการซื้ อ และไม่สามารถควบคุมคุณภาพและ
รสชาติปลาส้มได้ เนื่ องจากการผลิ ตปลาส้ มเป็ นการหมักเพื่อให้เกิ ดเชื้ อตามธรรมชาติ จึงทาให้
คุณภาพและรสชาติไม่สม่าเสมอ ปลาที่ใช้ในการผลิตปลาส้มมีไม่เพียงพอและราคาสู ง ต้องอาศัย
พ่อค้าคนกลางสั่งซื้ อปลาเลี้ยงจากต่างจังหวัด และไม่มีตแู ้ ช่ปลาที่ทนั สมัย
2. ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่กว้าง ลูกค้าต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั ปลาส้มส่ วนใหญ่
จะขายเฉพาะในพื้นที่จงั หวัดยะลา และจังหวัดใกล้เคียง ผ่านร้านขายของฝากและร้ านค้าในชุ มชน
วิสาหกิ จชุ มชนจะไม่ค่อยให้ความสาคัญกับการออกบูธแสดงสิ นค้าและการขายสิ นค้าผ่านระบบ
ออนไลน์เนื่ องจากวิสาหกิ จชุ มชนไม่ค่อยมีความรู ้ ดา้ น IT มากนัก ซึ่ งปั จจุบนั การขายสิ นค้าผ่าน
85
ระบบออนไลน์ ถื อเป็ นสิ่ งที่สาคัญเพราะจะทาให้เจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหญ่ โดยใช้เงิ นลงไม่มาก
และสามารถติดต่อค้าขายได้รวดเร็ วเป็ นที่ประจับใจแก่ผบู ้ ริ โภค ประกอบกับวิสาหกิจชุ มชนจะยัง
ไม่ค่อยมีความรู ้ทางด้านการตลาด จึงทาให้ปลาส้มของจังหวัดยะลายังไม่ค่อยเป็ นที่รู้จกั เท่าที่ควร
3. แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่างไกลจากตัวเมืองยะลา สถานที่ผลิตปลาส้มส่ วนใหญ่อยูใ่ น
พื้นที่อาเภอธารโต เนื่ องจากมีแหล่งน้ าอุดมสมบูรณ์ และเมื่อก่อนมีปลาชุ กชม จึงนิ ยมน้ าปลาจาก
เขื่อนมาแปรรู ปกันมาก จนกลายเป็ นอาชี พเศรษฐกิ จของคนในท้องถิ่ น และเริ่ มแพร่ กระจายไปสู่
พื้นที่ ต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา เช่ น อาเภอยะลา อาเภอกรงปิ นัง อาเภอเบตง เป็ นต้น แต่เนื่ องจาก
ปั จจุบนั ปลามีนอ้ ยจึงทาให้ผปู ้ ระกอบการหันไปใช้ปลาเลี้ยงจากต่างจังหวัดแทน จึงทาให้ผบู ้ ริ โภค
ไม่สะดวกที่จะซื้ อปลาส้มในพื้นที่ทาให้ตอ้ งซื้ อผ่านร้านขายของฝากในอาเภอเมืองยะลา

โอกาส (Opportunities: O)
1. ผูบ้ ริ โภคยังมีความต้องการปลาส้ม และลูกค้าทุก ศาสนาสามารถรับประทานได้
ความต้อ งการซื้ อ ปลาส้ ม ในพื้ น ที่ มี ม าก เนื่ อ งจากปลาส้ ม ของจัง หวัด ยะลามี ร สชาติ อ ร่ อ ย มี
ประโยชน์ สะอาด ถูกหลักอนามัย เน้นความปลอดภัยของผูบ้ ริ โภคเป็ นหลักโดยวิสาหกิจชุ มชนจะ
ไม่ใช้สารกันบูดและผงชู รสในการผลิ ต ซึ่ งจะช่ วยสร้ างความมัน่ ใจแก่ ผบู ้ ริ โภค ประกอบกับมี
ขั้นตอนการปรุ งรับประทานที่ไม่ยุ่งยากเหมาะกับสถานการณ์ การเร่ งรี บในปั จจุบนั ราคาไม่แพง ทุก
ศาสนาสามารถรับประทานได้ และปลาส้มของจังหวัดยะลาส่ วนใหญ่จะได้รับตราฮาลาลจึงทาให้
ผูบ้ ริ โภคให้ความไว้วางใจ
2. หน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนและส่ งเสริ มวิสาหกิจชุมชน การแปรรู ปปลาส้ม
มี หน่ วยงานของรั ฐค่ อยให้ ก ารช่ วยเหลื อหลายหน่ วยงาน ทั้ง ทางด้า นวิ ช าการ เครื่ องจัก ร และ
อุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้แก่ สานักงานเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กรมพัฒนาชุ มชน (พช.) กระทรวง
สาธารณสุ ข (ขอ อย.) ซึ่ งช่ วยเหลื อทางด้านต่าง ๆ เช่ น การสนับสนุ นเครื่ องซี นสู ญญากาศ การ
ออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ การออกบูธแสดงสิ นค้าที่หน่ วยงานของรั ฐจัดขึ้น ฯลฯ รวมทั้งการส่ งเสริ ม
วิส าหกิ จชุ ม ชนให้มี ค วามเข้ม แข็ ง เพื่ อให้แต่ ล ะกลุ่ ม สามารถพึ่ ง พาตัวเองได้ เพื่ อแก้ไ ขปั ญหา
เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่ อสารสามารถนามาประยุกต์ใช้ในการเพิ่ม
ช่องทางการจาหน่ายและการติดต่อสื่ อสารให้ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่รู้จกั มากยิ่งขึ้น เช่น การ
โฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ ป ลาส้ ม ผ่ า นเว็ บ ไซต์ ข องกรมการพั ฒ นาชุ มชน ชื่ อเว็ บไซต์
http://thaiotop.cdd.go.th ที่กรมพัฒนาชุ มชนจัดทาขึ้นเพื่อส่ งเสริ มด้านช่องทางการตลาดของสิ นค้า
OTOP ของประเทศไทย การขายแปลาส้มและการติดต่อสื่ อสารผ่าน facebook ผ่านโปรแกรม Line
เพื่อให้ปลาส้มของจังหวัดยะลาเป็ นที่รู้จกั กว้างขวางมากยิง่ ขึ้น
86
อุปสรรค (Threats: T)
1. คู่ แ ข่ ง ขัน ค่ อ นข้า งสู ง ทั้ง ระดับ เขตและภู มิ ภ าคอี ก ทั้ง บริ เ วณโดยรอบมากราย
เนื่ องจากผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นอาหารพื้นบ้าน และมีข้ นั ตอนการทาไม่ยุ่งยาก สามารถจัดหาวัสดุ
อุปกรณ์ในการผลิตได้ง่ายในพื้นที่และมีตน้ ทุนต่า ประกอบกับมีหน่วยงานราชการเข้ามาสนับสนุ น
จึงมี คู่แข่งขันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่ งมี ท้ งั ที่จดทะเบี ยนเป็ นวิสาหกิ จชุ มชนและยังไม่ได้รับการจด
ทะเบียน
2. ปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย และสามารถจัดทา
ได้เอง เนื่ องจากการผลิ ตปลาส้ มมี ส่วนผสมและขั้นตอนในการผลิ ตไม่ ยุ่งยากซับซ้อน สามารถ
ศึกษาขั้นตอนการผลิตได้จากแหล่ง Social ต่าง ๆ จึงทาให้สามารถลอกเลียนแบบการผลิตได้ง่าย จึง
ทาให้ปริ มาณต้องการซื้ อปลาส้มลดน้อยลงตามไปด้วย
3. มีสินค้าชนิ ดอื่นทดแทนได้ง่าย ผลิตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่เกิดจาก
ปลา ซึ่ งมีอาหารอาหารชนิดอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้ค่อนข้างหลากหลาย และวางจาหน่ายอยูใ่ น
ร้านค้าทัว่ ไป เช่น ปลาเค็ม กุง้ ส้ม ปลาร้า ประกอบกับมีระดับราคาและรสชาติไม่แตกต่างกันมากนัก
จึงทาให้ผบู ้ ริ โภคหันไปรับประทานอาหารชนิ ดอื่นได้ง่าย

ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix

จาก SWOT Analysis สามารถจับคู่โดยใช้ TOWS Matrix เพื่อสร้ างกลยุทธ์ เกิ ด


ประเด็น หรื อแผนกิ จกรรมแผนงาน แนวทางการปฏิ บตั ิต่างๆ เพื่อการปิ ดช่ องว่างที่เกิ ดขึ้นต่อการ
ดาเนินกลยุทธ์ที่องค์กรเลือกไว้ ดังนี้
87
ตารางที่ 5 การกาหนดกลยุทธ์ระดับธุ รกิจ โดยใช้ TOWS Matrix

จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่ อน (Weaknesses)


ปั จจัยภายใน S1 : ปลาส้มของจังหวัดยะลามีรสชาติ W1 : ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย ไม่
เป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาล สามารถควบคุมคุณภาพและรสชาติ
และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา ได้ รวมทั้งปลาที่ใช้ในการผลิตมีไม่
S2 : ปลาส้มมีราคาไม่แพง เพียงพอและราคาแพง
S3 : กระบวนการผลิตปลาส้มไม่ W2 : ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่
ซับซ้อน และมีสูตรการผลิตที่แตกต่าง กว้าง ลูกค้าต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั
กัน W3 : แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่างไกล
ปั จจัยภายนอก จากตัวเมืองยะลา
โอกาส (Opportunities) SO Strategies WO Strategies
O1 : ผูบ้ ริ โภคยังมีความ กลยุทธ์ผลิตปลาส้มให้เพียงพอกับ - กลยุทธ์การเพิม่ ประสิ ทธิ ภาพ
ต้องการปลาส้ม และลูกค้าทุก ความต้องการ ควบคู่กบั การจัดหา การจัดหาวัตถุดิบและสต็อก โดย
ศาสนาสามารถรับประทานได้ วัตถุดิบและตลาด โดยการเจาะ การเลี้ยงปลาเอง และร่ วมมือกับ
O2 : หน่วยงานของรัฐให้การ ตลาดกลุ่มลูกค้ามุสลิมและร้านขาย กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาในพื้นที่
สนับสนุนและส่ งเสริ ม ของฝากต่างจังหวัด และต่างจังหวัดเพื่อสร้างเครื อข่าย
วิสาหกิจชุมชน ทางอาชีพร่ วมกัน
O3 : ความก้าวหน้าทางด้าน S1,O1) (W1, O1)
เทคโนโลยีและการสื่ อสาร - กลยุทธ์ร่วมมือกับหน่วยงาน
ช่วยเพิ่มช่องทางการจัด ภาครัฐในการวิจยั และพัฒนาเพื่อ
จาหน่าย ควบคุมคุณภาพและรสชาติปลา
ส้ม (W1, O2)
อุปสรรค (Threats) ST Strategies WT Strategies
T1 : คู่แข่งขันค่อนข้างสูง กลยุทธ์การขายออนไลน์ผา่ นตัวแทน กลยุทธ์การพัฒนาปลาส้มให้มีความ
T2 : ปลาส้มเป็ นการแปรรู ป จาหน่ายของแต่ละจังหวัดเพื่อกระจาย หลากหลายทางด้านรสชาติ และ
อาหารที่สามารถลอกเลียนแบบ ปลาส้มของจังหวัดยะลาออกสู่ ตลาด คุณประโยชน์เพื่อสร้างความ
ได้ง่าย ต่างจังหวัดเพื่อสร้างความได้เปรี ยบ แตกต่างเหนือคู่แข่งขัน เช่น ปลา
T3 : มีสินค้าชนิดอื่นทดแทนได้ ทางการแข่งขัน ส้มไรซ์เบอร์รี่ ปลาส้มข้าวกล่อง
ง่าย เช่น ปลาเค็ม กุง้ ส้ม ปลาร้า ปลาส้มสมุนไพร
ปลาหวาน (S1,T1) (W4,T1)
88
การกาหนดแผนกลยุทธ์ และการตัดสิ นใจเลือกกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ ปลาส้ มในพืน้ ทีจ่ ังหวัดยะลา

จากผลการสัมภาษณ์เชิ งลึก สามารถนามาวิเคราะห์ SWOT Analysis และจับคู่ดว้ ย


Tows Matrix และกาหนดเป็ นแผนกลยุทธ์ระดับธุ รกิจ ได้ดงั นี้

ทางเลือกที่ 1 กลยุทธ์การเร่ งการผลิตปลาส้มให้เพียงพอกับความต้องการ ควบคู่กบั


การจัดหาวัตถุดิบและตลาด โดยการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้ามุสลิมและร้านขายของฝากต่างจังหวัด
การเร่ งการผลิตปลาส้มให้เพียงพอกับความต้องการโดยการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้น
ตลอดจนการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิ ตปลาส้มเพียงพอกับความต้องการ
ของลูกค้าที่มีอยูเ่ ดิมควบคู่กบั การหาลูกค้าใหม่ โดยการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้ามุสลิมต่างจังหวัดและ
ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศมาเลเซี ย รวมทั้งร้านขายของฝากต่างจังหวัดซึ่ งเป็ นแหล่งท่องเที่ยว
ของประเทศไทยควบคู่กนั การเร่ งการจัดหาวัตถุดิบโดยการติดต่อกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงปลาน้ าจืดใน
พื้นที่ และต่างจังหวัด เพื่อสร้ างพันธะสัญญาระหว่างกันในการจัดส่ งปลา เพื่อแก้ปัญหาการขาด
แคลนปลาในระยะยาวให้สามารถผลิตปลาส้มได้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าตลอดทั้งปี

ข้ อดี
1. ช่วยให้มีปลาส้มเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า และเพิม่ ยอดขายในระยะยาว
2. ช่วยให้มีวตั ถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการผลิต และทาให้ไม่เสี ยลูกค้า
3. การร่ วมมือกับกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงปลาเป็ นการสร้างเครื อข่ายทางอาชี พร่ วมกัน
เพื่อป้ องกันการขาดแคลนปลาในอนาคต

ข้ อเสี ย
1. ใช้เงินทุนในการจ้างแรงงานและการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. การเร่ งการผลิตปลาหากไม่มีการวางแผนที่ดีอาจทาให้มีปริ มาณปลาส้มมากจน
เกินความต้องการ
89
ทางเลือกที่ 2 กลยุทธ์การเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการจัดหาวัตถุดิบและสต็อก โดยการเลี้ยง
ปลาเอง และร่ วมมื อกับ กลุ่ ม เกษตรกรเลี้ ยงปลาในพื้นที่ และต่างจังหวัดเพื่อสร้ างเครื อข่ายพันธะ
สัญญาทางอาชีพร่ วมกัน
การเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการจัดหาวัตถุดิบและสต็อก โดยการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบ
ในการผลิตไม่ให้มีการสู ญเสี ย ไม่คา้ งสต็อก คานึ งถึงการมีวตั ถุดิบสาหรับการแปรรู ปปลาส้มอย่าง
ต่อเนื่ องตลอดทั้งปี โดยการที่ วิสาหกิ จชุ มชนเลี้ ยงปลาเอง เพื่อแก้ไขปั ญหาการขาดแคลนปลาใน
ระยะยาว และร่ วมมื อกับกลุ่ มเกษตรเลี้ ย งปลาน้ าจื ดในพื้นที่ หรื อต่างจังหวัด เพื่อสร้ างเครื อข่า ย
พันธะสัญญาทางอาชี พร่ วมกันในการจัดส่ งปลาให้แก่วิสาหกิจชุ มชนเพื่อให้สามารถผลิตปลาส้ม
เพียงพอกับความต้องการตลอดทั้งปี

ข้ อดี
1. การจัดหาและการวางแผนการสต็อกวัตถุดิบที่ดีจะทาให้วิสาหกิจชุ มชมมีวตั ถุดิบ
เพียงพอกับความต้องการผลิตปลาส้มตลอดทั้งปี
2. หากวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลาเอง จะเป็ นการลดต้นทุนการผลิตอีกทางหนึ่ง

ข้ อเสี ย
1. ใช้เงินลงทุนในการจัดหาวัตถุดิบและสต็อก
2. การเลี้ ยงปลาเองต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ ยงปลา หากไม่มีความรู ้ ทางด้านการ
เลี้ยงปลาอาจก่อให้เกิดปั ญหาตามมาได้

ทางเลือกที่ 3 กลยุทธ์ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการวิจยั และพัฒนาเพื่อควบคุม


คุณภาพและรสชาติปลาส้มเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
เป็ นการประสานความร่ วมมือหน่ วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัยและทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ในการวิจยั และการพัฒนาเพื่อควบคุมคุณภาพและรสชาติของปลาส้ม เพื่ อให้ปลา
ส้มมีคุณภาพและรสชาติสม่าเสมอทุกครั้งที่ผลิตและสามารถก้าวสู่ มาตรฐานการส่ งออกได้
90
ข้ อดี
1. การวิจยั และการพัฒนาเพื่อควบคุมคุณภาพและรสชาติของปลาส้มจะทาให้ลูกค้า
เกิดการยอมรับและความประทับใจในรสชาติปลาส้ม เนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติสม่าเสมอ
2. กระบวนการผลิตปลาส้มที่ได้มาตรฐานทั้งด้านรสชาติและคุณภาพที่แน่นอนและ
มี ก รรมวิธี ก ารผลิ ตที่ ส ะอาดปลอดภัย สามารถขยายการผลิ ตไปสู่ ก ารท าเป็ นอุ ตสาหกรรมและ
สามารถต่อยอดเพื่อก้าวสู่ มาตรฐานการส่ งออกได้

ข้ อเสี ย
1. การวิจยั และการพัฒนาจะต้องใช้ระยะเวลาข่อนนาน
2. ใช้งบประมาณจานวนมากในการลงทุน

ทางเลือกที่ 4 กลยุทธ์การขายออนไลน์ผ่านตัวแทนจาหน่ ายของแต่ละจังหวัดเพื่อ


กระจายปลาส้มของจังหวัดยะลาออกสู่ ตลาดต่างจังหวัดเพื่อสร้างความได้เปรี ยบทางการแข่งขัน
เป็ นการขายปลาส้มผ่านทางออนไลน์โดยการหาตัวแทนจาหน่ ายปลาส้มของแต่ละ
จังหวัดเพื่อช่ วยกระจายปลาส้ มของจังหวัดยะลาออกสู่ ตลาดต่างจังหวัด โดยการส่ งเสริ มการขาย
ผ่านตัวแทนจาหน่าย เช่น การให้ส่วนลดในการขาย การเปิ ดบิล การให้รางวัลตัวแทนจาหน่ายที่ทา
ยอดขายได้มากที่ สุด การขายโดยไม่ ตอ้ งสต็อก การจัดส่ ง ในนาม ฯลฯ ซึ่ งตัวแทนจาหน่ า ยจะมี
ความสาคัญต่อยอดขายและความสามารถในการแข่งขัน ตัวแทนจาหน่ายที่มีประสิ ทธิ ภาพสามารถ
เพิม่ ยอดขายปลาส้มได้ ระบบการบริ หารจัดการตัวแทนจาหน่ายจึงสาคัญเนื่ องจากประสิ ทธิ ภาพใน
การบริ หารจัดการงานและข้อมูลของตัวแทนจาหน่ายสามารถกาหนดอนาคตของธุ รกิจได้ ไม่วา่ จะ
เป็ นการเพิ่ มยอดขายหรื อการสร้ า งพึงพอใจของลู ก ค้าก็ล้วนแล้วแต่ข้ ึ นอยู่ก ับประสิ ทธิ ภาพของ
ตัวแทนจาหน่ายทั้งสิ้ น

ข้ อดี
1. การมีตวั แทนจาหน่ ายจะช่ วยกระจายปลาส้มของจังหวัดยะลาให้ออกไปสู่ ตลาด
ต่างจังหวัดได้รวดเร็ ว และเป็ นการเพิม่ ยอดขาย
2. การมีตวั แทนจาหน่ายแต่ละจังหวัดจะช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
3. การมีตวั แทนจาหน่ายที่ดีจะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันระยะยาว
91
ข้ อเสี ย
1. กาไรต่อชิ้นลดลงเนื่องจากต้องขายให้ตวั แทนจาหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด
2. ต้องใช้เงินลงทุนในการจัดโปรโมชัน่ ให้ตวั แทนจาหน่ าย เพื่อให้ตวั แทนจาหน่ าย
สนใจในการธุ รกิจร่ วมกัน

ทางเลือกที่ 5 กลยุทธ์การพัฒนาปลาส้มให้มีความหลากหลายทางด้านรสชาติ และ


คุณประโยชน์เพื่อสร้างความแตกต่างเหนื อคู่แข่งขัน เช่น ปลาส้มไรซ์เบอร์ รี่ ปลาส้มข้าวกล่อง ปลา
ส้มสมุนไพร
การพัฒนาความหลากหลายของปลาส้มโดยการสร้างสู ตรในการผลิตปลาส้มที่มีความ
หลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผบู ้ ริ โภคและเป็ นการสร้างความได้เปรี ยบทางการแข่งขันที่มีอยู่
ในท้องตลาด โดยการนาข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาใช้เป็ นส่ วนผสมในการแปรรู ปปลาส้มเป็ นการ
เพิ่มมูลค่าและคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ปลาส้มเพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าที่รักสุ ขภาพ และยกระดับ
ด้านการตลาด เพิม่ มูลค่าเชิงพาณิ ชย์ ขยายตลาดให้เข้าถึงผูบ้ ริ โภคทุกกลุ่มอีกช่องทางหนึ่ง
1. การมีปลาส้มที่หลากหลายช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ผบู ้ ริ โภคเพิ่มมากขึ้น
2. ลูกค้าเกิดความประทับใจปลาส้มของวิสาหกิจชุมชน
3. การมีปลาส้มที่หลากหลายเป็ นการยกระดับด้านการตลาด เพิ่มมูลค่าเชิ งพาณิ ชย์
ขยายตลาดให้เข้าถึงผูบ้ ริ โภคทุกกลุ่มอีกช่องทางหนึ่งด้วย
4. การมีปลาส้มที่หลากหลาย ทาให้ลูกค้ามีทางเลือกในการซื้ อปลาส้มของวิสาหกิ จ
ชุมชนเป็ นการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว

ข้ อเสี ย
1. คู่แข่งขันอาจลอกเลียนแบบได้
2. ต้องใช้ระยะเวลาและเงินลงทุนในการสร้างความหลากหลายของปลาส้ม
92
ตาราง 6 ตารางสรุ ปทางเลือกกลยุทธ์ และการประเมินกลยุทธ์ระดับธุ รกิจ

ระดับ
กลยุทธ์ ข้ อดี ข้ อเสี ย กลยุทธ์ ทดี่ ีทสี่ ุ ด
กลยุทธ์
กลยุทธ์ระดับ กลยุทธ์การเร่ งผลิต 1. มีปลาส้มเพียงพอ 1. ใช้เงินทุนใน กลยุทธ์การเร่ งการ
ธุรกิจ ปลาส้มให้เพียงพอ กับความต้องการของ การจ้างแรงงาน ผลิตปลาส้มให้
กับความต้องการ ลูกค้า และเพิ่มยอดขาย และจัดหา เพียงพอกับความ
ควบคู่กบั การจัดหา 2. มีวตั ถุดิบเพียงพอ วัตถุดิบ ต้องการ ควบคู่กบั
วัตถุดิบและตลาด กับการผลิต ไม่เสี ย อาจทาให้มี การจัดหาวัตถุดิบ
โดยการเจาะตลาด ลูกค้า ปริ มาณปลาส้ม และตลาด โดยการ
กลุ่มลูกค้ามุสลิม สร้างเครื อข่ายทาง มากเกินความ เจาะตลาดกลุ่ม
และร้านขายของ อาชีพร่ วมกัน ป้ องกัน ต้องการ ลูกค้ามุสลิมและ
ฝากต่างจังหวัด การขาดแคลนปลาใน ร้านขายของฝาก
อนาคต ต่างจังหวัด
กลยุทธ์การเพิ่ม 1. มีวตั ถุดิบเพียงพอ 1. ใช้เงินลงทุน กลยุทธ์การเพิ่ม
ประสิ ทธิ ภาพการ ต่อความต้องการผลิต ในการจัดหา ประสิ ทธิ ภาพการ
จัดหาวัตถุดิบและ 2. ลดต้นทุนการผลิต วัตถุดิบและ จัดหาวัตถุดิบและ
สต็อก โดยการเลี้ยง สต็อก สต็อก โดยการเลี้ยง
ปลาเอง และร่ วมมือ 2. การเลี้ยงปลา ปลาเอง และร่ วมมือ
กับกลุ่มเกษตรกร ต้องใช้ กับกลุ่มเกษตรกร
เลี้ยงปลาในพื้นที่ ระยะเวลา เลี้ยงปลาในพื้นที่
และต่างจังหวัดเพื่อ และอาจ และต่างจังหวัดเพื่อ
สร้างเครื อข่ายพันธะ ก่อให้เกิด สร้างเครื อข่ายพันธะ
สัญญาทางอาชีพ ปัญหาตามมา สัญญาทางอาชีพ
ร่ วมกัน ร่ วมกัน
กลยุทธ์ร่วมมือกับ 1. เป็ นที่ยอมรับของ 1. ต้องใช้ระยะ
หน่วยงานภาครัฐใน ลูกค้า เวลา
การวิจยั และพัฒนา 2. สามารถขยายการ 2. ใช้
เพื่อควบคุมคุณภาพ ผลิตไปสู่การทาเป็ น งบประมาณ ใน
และรสชาติปลาส้ม อุตสาหกรรมและ การลงทุน
สามารถก้าวสู่ ค่อนข้างสูง
มาตรฐานการส่ งออก
93

ตาราง 6 ตารางสรุ ปทางเลือกกลยุทธ์ และการประเมินกลยุทธ์ระดับธุ รกิจ

ระดับ
กลยุทธ์ ข้ อดี ข้ อเสี ย กลยุทธ์ ทดี่ ีทสี่ ุ ด
กลยุทธ์
กลยุทธ์การขาย 1. ช่วยกระจายปลาส้ม 1. กาไรต่อชิ้น
ออนไลน์ผา่ น ออกสู่ตลาดต่างจังหวัด ลดลง
ตัวแทนจาหน่าย เพิ่มยอดขาย 2. ใช้เงินลงทุน
ของแต่ละจังหวัด 2. สร้างความพึงพอใจ ในการจัด
เพื่อกระจายปลาส้ม ให้แก่ลกู ค้า โปรโมชัน่ ต่างๆ
ของจังหวัดยะลา 3. เพิ่มความสามารถ
ออกสู่ตลาด ทางการแข่งขันใน
ต่างจังหวัดเพื่อ ระยะยาว
สร้างความ
ได้เปรี ยบทางการ
แข่งขัน
กลยุทธ์การพัฒนา 1. เพิ่มทางเลือกให้แก่ 1. คู่แข่งขัน
ปลาส้มให้มีความ ผูบ้ ริ โภค สามารถ
หลากหลายทางด้าน 2. ลูกค้าประทับใจ ลอกเลียนแบบ
รสชาติ และ 3. ยกระดับด้าน ได้
คุณประโยชน์เพื่อ การตลาด เพิ่มมูลค่าเชิง 2. ต้องใช้
สร้างความแตกต่าง พาณิ ชย์ ขยายตลาด ระยะเวลาและ
เหนือคู่แข่งขัน เช่น 4. เพิ่มความสามารถ เงินลงทุน
ปลาส้มไรซ์เบอร์รี่ ทางการแข่งขันใน
ปลาส้มข้าวกล่อง ระยะยาว
ปลาส้มสมุนไพร
บทที่ 5

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การศึ ก ษาเรื่ อ งการจัด การเชิ ง กลยุ ท ธ์ ผ ลิ ต ภัณ ฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จ ัง หวัด ยะลา มี
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้นที่
จังหวัดยะลา 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปั ญหาอุปสรรคในการจัดการเชิงกลยุทธ์
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา 3) เพื่อค้นหาแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์และก่อให้เกิดความได้เปรี ยบจากการแข่งขันทางธุ รกิจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจยั ครั้งนี้ คือ วิสาหกิจชุมชน ซึ่ งแปรรู ปผลิตภัณฑ์ปลาส้มใน
พื้นที่จงั หวัดยะลา จานวน 3 กลุ่ม เจ้าหน้าที่หน่ วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ ยวข้องกับการส่ งเสริ มการ
แปรรู ปปลาส้ ม จานวน 3 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สานักงานเกษตรจังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่ สานักงาน
อุตสาหกรรมจังหวัดยะลา และเจ้าหน้าที่ สานักงานพัฒนาชุ มชนจังหวัดยะลา และผูซ้ ้ื อรายใหญ่
ที่รับซื้ อผลิตภัณฑ์ปลาส้มจากวิสาหกิจชุมชนเป็ นประจาและจานวนมาก จานวน 3 ราย
วิเคราะห์ขอ้ มูลลักษณะการวิจยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กลยุทธ์ โดย
การสัมภาษณ์เชิ งลึก เพื่อให้ได้ขอ้ มูลอย่างละเอียดและครบถ้วน ผูว้ ิจยั จึงใช้เครื่ องมือในการศึกษา
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ซึ่ งต้องการทราบว่า
1. สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาที่เป็ นอยูใ่ นปั จจุบนั เป็ นอย่างไร
2. อะไรคือจุ ดแข็ง จุ ดอ่อน โอกาส และปั ญหาอุ ปสรรคในการจัดการเชิ งกลยุทธ์
ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา
3. อะไรคือแนวทางสาคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัด
ยะลา
95
สรุปผล

1) สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า


สถานการณ์ดา้ นคู่แข่งขัน ปั จจุบนั คู่แข่งขันค่อนข้างสู งทั้งระดับเขตและภูมิภาคอีก
ทั้ง บริ เวณโดยรอบมากราย เนื่ องจากผลิ ตภัณฑ์ป ลาส้ ม เป็ นอาหารพื้นบ้าน มี ข้ นั ตอนการทาไม่
ยุง่ ยาก และมีตน้ ทุนต่ า ประกอบกับมีหน่ วยงานราชการเข้ามาสนับสนุ นจึงทาให้มีคู่แข่งเพิ่มมากขึ้น
ตามไปด้วย
สถานการณ์ดา้ นการจัดจาหน่ าย ปลาส้มของจังหวัดยะลาจาหน่ ายเฉพาะในพื้นที่
จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียง การจัดจาหน่ายยังไม่กว้างขวางและยังไม่เป็ นที่รู้จกั คนต่างถิ่นมากนัก
สถานการณ์ ด้า นผลิ ต ภัณ ฑ์ ปลาส้ ม ของจัง หวัด ยะลามี ร สชาติ เ ป็ นเอกลัก ษณ์
สะอาด ถูกหลักอนามัย มีแพ็กเก็จที่สวยงามสามารถดึงดูดของผูบ้ ริ โภค ช่วยรักษาคุณภาพและช่วย
ยืดอายุของปลาส้ม ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลทาให้เป็ นที่ยอมรับแก่กลุ่มลูกค้ามุสลิม
สถานการณ์ ดา้ นตลาด อัตราการเติบโตของตลาดของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มจังหวัด
ยะลามีเพิ่มมากขึ้นทุกปี และแนวโน้มคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่ อย ๆ
2) จุดแข็งของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ปลาส้ม
ของจังหวัดยะลามีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา
ปลาส้มมีราคาไม่แพง และกระบวนการผลิตปลาส้มไม่ซบั ซ้อนมีสูตรการผลิตที่แตกต่างกัน
3) จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ปลาส้มไม่
มีความหลากหลาย ไม่สามารถควบคุ มคุณภาพและรสชาติได้ ปลาที่ใช้ในการผลิตมีไม่เพียงพอและ
ราคาแพง ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่กว้างลูกค้าต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั และแหล่งผลิตปลาส้มอยู่
ห่างไกลจากตัวเมืองยะลา
4) โอกาสของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า ผูบ้ ริ โภคยัง
ต้องการปลาส้มซึ่ งทุกศาสนาสามารถรับประทานได้ รัฐให้การสนับสนุ นและส่ งเสริ มวิสาหกิ จ
ชุมชน และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่ อสารช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย
5) อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า คู่แข่งขัน
ค่อนข้างสู ง ปลาส้มเป็ นการแปรรู ป อาหารที่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย และมี สินค้าชนิ ดอื่น
ทดแทนได้ง่าย
6) การวางแผนกลยุทธ์หรื อ แนวทางในการจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ใน
พื้นที่จงั หวัดยะลา จากการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การเร่ งการผลิตปลาส้มให้เพียงพอกับความต้องการ
ควบคู่ ก ับ การจัดหาวัตถุ ดิบ และตลาดโดยการเจาะตลาดกลุ่ ม ลู ก ค้า มุ ส ลิ ม และร้ านขายของฝาก
ต่างจังหวัด และกลยุทธ์การเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการจัดหาวัตถุดิบและสต็อกโดยการเลี้ยงปลาเองและ
96
ร่ วมมือกับกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลาในพื้นที่และต่างจังหวัดเพื่อสร้ างเครื อข่ายพันธะสัญญาทางอาชี พ
ร่ วมกัน

อภิปรายผล

การศึกษาวิจยั เรื่ อง การจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา ผูว้ ิจยั


ได้อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจยั ดังนี้
1. สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลาในปั จจุบนั จากผลการศึกษา
ดังกล่าวข้างต้น สถานการณ์ ดา้ นคู่แข่งขัน ปั จจุบนั คู่แข่งขันค่อนข้างสู งทั้งระดับเขตและภูมิภาคอีก
ทั้งบริ เวณโดยรอบมากราย เนื่ องจากผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มเป็ นอาหารพื้นบ้า น มี ข้ นั ตอนการทาไม่
ยุ่งยาก และมีตน้ ทุนต่ า ประกอบกับมีหน่ วยงานราชการเข้ามาสนับสนุ นจึงทาให้มีคู่แข่งรายใหม่
เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ งสอดคล้องกับ จิรดา นาคฤทธิ์ )8552 ) ได้กล่าวถึ ง อุปสรรค )Threats)
เป็ นการพิ จารณาข้อเสี ย เปรี ย บ ข้อจากัด หรื อปั ญหาที่ อยู่ภายนอกกิ จการ และเป็ นอุ ป สรรคที่ มี
ผลกระทบต่ อบริ ษ ทั เป็ นปั จจัย ภายนอกที่ ไ ม่ ส ามารถควบคุ ม ได้ตวั อย่า งของข้อจากัด ได้แก่ คู่
แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาด มีกฎหมายหรื อระเบียบข้อบังคับใหม่ คู่แข่งขันทุ่มการโฆษณาสู ง มี
สิ น ค้า ที่ ใ ช้ ท ดแทนกัน ได้ สิ น ค้า ถู ก กดราคาจากคนกลาง เศรษฐกิ จ อยู่ ใ นขั้น ตกต่ า ผู ้บ ริ โ ภค
เปลี่ยนแปลงรสนิยม จานวนผูบ้ ริ โภคลดน้อยลง
สถานการณ์ดา้ นการจัดจาหน่ าย ปลาส้มของจังหวัดยะลาจาหน่ ายเฉพาะในพื้นที่
จังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียง การจัดจาหน่ายยังไม่กว้างขวางและยังไม่เป็ นที่รู้จกั คนต่างถิ่นมากนัก
ซึ่ งสอดคล้องกับ จิรดา นาคฤทธิ์ )2558)ได้กล่าวถึง จุดอ่อน (Weaknesses) เป็ นการพิจารณาข้อเสี ย
หรื อจุดด้อยหรื อข้อบกพร่ องที่อยูภ่ ายในบริ ษทั และผลิตภัณฑ์ ซึ่ งเป็ นปั จจัยที่บริ ษทั สามารถควบคุมได้
และบริ ษทั จาเป็ นต้องปรับปรุ งแก้ไข ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่เพียงพอ
ไม่มีงบประมาณการโฆษณา
สถานการณ์ ด้า นผลิ ต ภัณ ฑ์ ปลาส้ ม ของจัง หวัด ยะลามี ร สชาติ เ ป็ นเอกลัก ษณ์
สะอาด ถูกหลักอนามัย มีแพ็กเก็จที่สวยงามสามารถดึงดูดของผูบ้ ริ โภค ช่วยรักษาคุณภาพและช่วย
ยืดอายุของปลาส้ม ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลทาให้เป็ นที่ยอมรับแก่กลุ่มลูกค้ามุสลิม ซึ่ งสอดคล้องกับ
จิรดา นาคฤทธิ์ )2558)ได้กล่าวถึง จุดแข็ง (Strengths) เป็ นการพิจารณาข้อดีหรื อจุดเด่นที่เกี่ยวกับ
บริ ษทั ผลิตภัณฑ์ ส่ วนประสมทางการตลาด )4 P’s) และปั จจัยภายในที่บริ ษทั สามารถควบคุมได้
และนามาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ สิ นค้ามีคุณภาพดี บรรจุภณ ั ฑ์
ทันสมัย ความแข็งแกร่ งของตราสิ นค้า เครื่ องมือที่มีประสิ ทธิ ภาพ ภาพพจน์ของสิ นค้าและบริ ษทั ดี
97
สถานการณ์ ด้านตลาด อัตราการเติบโตของตลาดของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มจังหวัด
ยะลามีเพิ่มมากขึ้นทุกปี และแนวโน้มคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่ อย ๆ ซึ่ งสอดคล้องกับ จิรดา นาคฤทธิ์
)2558)ได้กล่าวถึ ง โอกาส (Opportunities) เป็ นการพิจารณาถึงข้อได้เปรี ยบของกิ จการหรื อของ
ผลิ ตภัณฑ์ที่มีเหนื อกว่าคู่แข่งขัน ซึ่ งเป็ นปั จจัยที่ อยู่ภายนอกที่ เอื้ ออานวยประโยชน์ต่อบริ ษทั ให้
นาไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างของโอกาส ได้แก่ การเติบโตของตลาดอย่าง
ต่อเนื่ องได้รับการส่ งเสริ มจากรัฐบาล ทัศนคติที่ดีต่อสิ นค้าของผูบ้ ริ โภค เทคโนโลยีหรื อวิชาการ
ใหม่ที่เอื้ออานวยประโยชน์ต่อธุ รกิจ
ผูว้ จิ ยั มีความคิดเห็นว่า สถานการณ์ของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา ใน
ปัจจุบนั สถานการณ์ดา้ นการจัดจาหน่ายปลาส้มของจังหวัดยะลาจาหน่ายเฉพาะในพื้นที่จงั หวัดยะลา
และจังหวัดใกล้เคียง การจัดจาหน่ ายยังไม่กว้างขวางและยังไม่เป็ นที่ รู้จกั คนต่างถิ่ นมากนัก โดยจัด
จาหน่ ายผ่านพ่อค้าคนกลาง ได้แก่ ร้ านขายของชาและร้ านขายของฝากต่าง ๆ ซึ่ งหากวิสาหกิ จและ
หน่วยงานภาครัฐให้ความสาคัญเกี่ยวกับการช่องทางการจัดจาหน่ายมากกว่านี้ จะทาให้ปลาส้มของ
จัง หวัดยะลาสามารถท าตลาดลู ก ค้า ต่ า งจัง หวัดได้เพิ่ ม มากขึ้ น เนื่ องจากผลิ ตภัณฑ์ป ลาส้ ม ของ
จังหวัดยะลามีรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์และเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา และอาจต่อยอดไปสู่ การทา
ตลาดต่างประเทศต่อไป
2. จุ ด แข็ง ของผลิ ต ภัณฑ์ ป ลาส้ ม ในพื้ นที่ จ ัง หวัดยะลา จากผลการศึ ก ษาดัง กล่ า ว
ข้างต้น จะเห็นได้วา่ ปลาส้มของจังหวัดยะลามีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและ
เป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา ปลาส้มมีราคาไม่แพง และกระบวนการผลิตปลาส้มไม่ซบั ซ้อนมีสูตร
การผลิตที่แตกต่างกัน สอดคล้องกับคาอธิ บายของ พิบูล ทีปะปาล )2555)ได้ให้ความหมายจุดแข็ง
(Strengths) คือ ข้อได้เปรี ยบของบริ ษทั เหนื อคู่แข่งขันที่บริ ษทั สามารถนามาใช้ในการดาเนิ นงาน
ธุ รกิจในตลาดหรื ออุตสาหกรรมนั้น ได้แก่สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาดี
มีคุณภาพด้านผลิ ตภัณฑ์ที่ดีกว่าของคู่แข่งขัน และมีความได้เปรี ยบด้านต้นทุน และสอดคล้องกับ
คาอธิ บายของจิรดา นาคฤทธิ์ )2558) ได้กล่าวถึง จุดแข็ง )Strengths) เป็ นการพิจารณาข้อดี หรื อ
จุดเด่นที่เกี่ ยวกับบริ ษทั ผลิ ตภัณฑ์ ส่ วนประสมทางการตลาด )4 P’s) และปั จจัยภายในที่บริ ษทั
สามารถควบคุมได้ และนามาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด ตัวอย่างของจุดแข็ง ได้แก่ สิ นค้ามี
คุณภาพดี บรรจุภณ ั ฑ์ทนั สมัย ความแข็งแกร่ งของตราสิ นค้า เครื่ องมือที่มีประสิ ทธิ ภาพ ภาพพจน์
ของสิ นค้าและบริ ษทั ดี มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถสร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้า
ผูว้ ิจยั มีความคิดเห็ นว่า จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา คือ มี
รสชาติเป็ นเอกลักษณ์ ได้รับเครื่ องหมายฮาลาลและเป็ นของดีประจาจังหวัดยะลา เนื่องจากผลิตปลา
ส้มของจังหวัดยะลาจะมีสูตรการผลิตที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นและมีรสชาติเป็ นเอกลักษณ์เป็ นที่ชื่น
ชอบของลูกค้า ได้รับรางวัลต่าง ๆ เป็ นเครื่ องหมายแสดงความสาเร็ จและผ่านการรับรองมาตรฐาน
98
จากหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับได้รับเครื่ องหมายฮาลาลจึงทาให้เกิดความไว้วางใจแก่ลูกค้า
ในพื้นที่และสามารถต่อยอดไปสู่ ลูกค้าต่างจังหวัดและต่างประเทศได้
3. จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่หวัดยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น
จะเห็นได้วา่ ปลาส้มไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและรสชาติได้ ปลาที่ใช้ในการ
ผลิตมีไม่เพียงพอและราคาแพง ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่กว้าง ลูกค้าต่างจังหวัดยังไม่ค่อยรู ้จกั และ
แหล่งผลิตปลาส้มอยูห่ ่างไกลจากตัวเมืองยะลา สอดคล้องกับคาอธิ บายของ พิบูล ทีปะปาล )2555)
ได้ให้ความหมาย จุดอ่อน (Weaknesses) คือ สิ่ งที่บริ ษทั ยังขาดหรื อมีแต่ดอ้ ยกว่าของคู่แข่งขันหรื อ
อยูใ่ นสภาพที่เสี ยเปรี ยบ อันเป็ นปั ญหาหรื ออุปสรรคในการดาเนิ นงาน ได้แก่ มีแหล่งวัตถุดิบจากัด
และขึ้ นอยู่กบั ฤดู กาล มี เครื่ องจักรไม่ทนั สมัย และอายุการใช้งานนาน ใช้ระบบครบครั วในการ
บริ หารงาน และการวิจยั และพัฒนา )R&D) ยังล้าหลัง และสอดคล้องกับคาอธิ บายของ จิรดา นาค
ฤทธิ์ )8552) ได้กล่าวถึง จุดอ่อน )Weaknesses) เป็ นการพิจารณาข้อเสี ยหรื อจุดด้อยหรื อข้อบกพร่ อง
ที่อยู่ภายในบริ ษทั และผลิ ตภัณฑ์ ซึ่ งเป็ นปั จจัยที่ บริ ษทั สามารถควบคุ มได้และบริ ษทั จาเป็ นต้อง
ปรับปรุ งแก้ไข ตัวอย่างของจุดอ่อน ได้แก่ สิ นค้ามีให้เลือกน้อย ช่องทางการจัดจาหน่ายไม่เพียงพอ
ผูว้ จิ ยั มีความคิดเห็นว่า จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา คือ ปลา
ส้มไม่มีความหลากหลาย ไม่สามารถควบคุ มคุ ณภาพและรสชาติได้ รวมทั้งปลาที่ใช้ในการผลิตมี
ไม่เพียงพอและราคาแพง ซึ่ งปลาส้มของจังหวัดยะลาส่ วนใหญ่จะผลิตเหมือน ๆ กัน ทาให้ลูกค้าไม่
มี ตวั เลื อกที่ แปลกใหม่ใ นการจัดซื้ อ มี ปัญหาด้านการจัดหาปลาซึ่ งเป็ นวัตถุ ดิบหลัก ในการผลิ ต
ส่ งผลให้ปลาที่ใช้ในการผลิ ตมีไม่เพียงพอต้องสั่งซื้ อปลาจากต่างจังหวัดผ่านพ่อค้าคนกลางทาให้
ราคาปลาข่อนข้างสู ง และกระบวนการผลิตปลาส้มยังเป็ นภูมิปัญญาแบบชาวบ้านทาให้ไม่มีระบบ
ควบคุ มคุ ณภาพและรสชาติ จึงทาให้ปลาส้มไม่สามารถก้าวสู่ มาตรฐานการส่ งออกและแข่งขันใน
ตลาดต่างประเทศได้
4. โอกาสของผลิ ตภัณฑ์ป ลาส้ ม ในพื้ น ที่ จงั หวัดยะลา จากผลการศึ ก ษาดัง กล่ า ว
ข้างต้น จะเห็ นได้ว่า ผูบ้ ริ โภคยังต้องการปลาส้มซึ่ งทุกศาสนาสามารถรับประทานได้ รัฐให้การ
สนับสนุ นและส่ งเสริ มวิสาหกิจชุ มชน และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการสื่ อสารช่วย
เพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย สอดคล้องกับคาอธิ บายของ พิบูล ทีปะปาล )2555) ได้ให้ความหมาย
โอกาส (Opportunities) คือ ปั จจัยหรื อสถานการณ์ ภายนอก ที่มีส่วนช่วยให้บริ ษทั สามารถใช้ความ
พยายามเพื่อให้บรรลุ วตั ถุ ประสงค์ที่วางไว้ หรื อมากกว่าที่ มุ่งหวังไว้อย่างมาก โอกาสของบริ ษทั ที่
เป็ นไปได้ (Potential Company Opportunities) ได้แก่ ความสามารถในการเจริ ญเติบโตได้อย่าง
รวดเร็ ว ในสภาวะที่ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นมาก และสอดคล้องกับคาอธิ บายของ จิรดา นาค
ฤทธิ์ )2558) ได้กล่าวถึ ง โอกาส )Opportunities) เป็ นการพิจารณาถึงข้อได้เปรี ยบของกิจการหรื อ
ของผลิตภัณฑ์ที่มีเหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่ งเป็ นปั จจัยที่อยูภ่ ายนอกที่เอื้ออานวยประโยชน์ต่อบริ ษทั ให้
99
นาไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างของโอกาส ได้แก่ จานวนผูบ้ ริ โภคเพิ่มมากขึ้น
การเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่ องได้รับการส่ งเสริ มจากรัฐบาล ทัศนคติที่ดีต่อสิ นค้าของผูบ้ ริ โภค
เศรษฐกิจมีอตั ราเจริ ญเติบโตสู งขึ้น มีคนกลางที่ช่วยจัดจาหน่ายมาก เทคโนโลยีหรื อวิชาการใหม่ที่
เอื้ออานวยประโยชน์ต่อธุ รกิจ
ผูว้ ิจยั มี ความคิ ดเห็ นว่า โอกาสของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ม ในพื้ นที่ จงั หวัดยะลา คื อ
ผูบ้ ริ โภคยัง มีค วามต้องการปลาส้ม และลูก ค้าทุ ก ศาสนาสามารถรับประทานได้ เนื่ องจากตลาด
ปลาส้มของประเทศโดยรวมมีเพิ่มมากขึ้น ประชาชนนิ ยมซื้ อไปเป็ นของฝากและซื้ อไปรับประทาน
สามารถขายได้ตลอดทั้งปี และทุกเทศกาล เนื่ องจากปลาส้ มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่มีคุณค่าทาง
โภชนาการข่อนข้างสู ง สามารถจัดเก็บไว้ได้นาน และมีรสชาติที่เป็ นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกันในแต่
ละภู มิ ภ าค ซึ่ งทุ ก ศาสนาสามารถรั บ ประทานได้ ประกอบกับ ปลาส้ ม ของจัง หวัด ยะลาได้รั บ
เครื่ องหมายฮาลาล จึงทาให้เป็ นที่ยอมรับและไว้วางใจแก่ลูกค้าในพื้นที่และสามารถต่อยอดไปสู่
ลูกค้าต่างจังหวัดและต่างประเทศได้
5. อุปสรรคของผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มในพื้นที่ จงั หวัดยะลา จากผลการศึกษาดังกล่ าว
ข้างต้น จะเห็นได้ว่า คู่แข่งขันค่อนข้างสู ง ปลาส้มเป็ นการแปรรู ปอาหารที่สามารถลอกเลียนแบบ
ได้ง่าย และมีสินค้าชนิดอื่นทดแทนได้ง่าย สอดคล้องกับคาอธิ บายของ พิบูล ทีปะปาล )2555)ได้ให้
ความหมายอุปสรรคหรื อภัยคุกคาม (Threats) คือ ปั จจัยภายนอกซึ่ งอาจมีผลกระทบทาให้บริ ษทั
ประสบความล้มเหลว ไม่บรรลุวตั ถุประสงค์ที่วางไว้ สาหรับอุปสรรคหรื อภัยคุกคามภายนอกที่อาจ
เกิ ดขึ้นได้ (Potential External Threats) ซึ่ งจะมีผลกระทบต่อสวัสดิ ภาพของบริ ษทั ได้แก่ ความ
เป็ นไปได้ที่คู่แข่งขันหน้าใหม่ที่มีพลังจะเข้ามาเป็ นคู่แข่งในอนาคต การเกิ ดสิ นค้าทดแทน ทาให้
สู ญเสี ยยอดขายไป (Loss of sales) และสอดคล้องกับคาอธิ บายของ จิรดา นาคฤทธิ์ )2558 ) ได้
กล่าวถึง อุปสรรค )Threats) เป็ นการพิจารณาข้อเสี ยเปรี ยบ ข้อจากัด หรื อปั ญหาที่อยูภ่ ายนอกกิจการ
และเป็ นอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อบริ ษทั เป็ นปั จจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุ มได้ตวั อย่างของ
ข้อจากัด ได้แก่ ราคาของต้นทุ นวัตถุ ดิบสู งขึ้ น คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาด มี กฎหมายหรื อ
ระเบียบข้อบังคับใหม่ มีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้
ผูว้ ิจยั มี ความคิดเห็ นว่า อุปสรรคของผลิตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัดยะลา คือ
คู่แข่งขันซึ่ งมีเพิ่มมากขึ้นทั้งระดับเขตและภูมิภาคอีกทั้งบริ เวณโดยรอบมากราย และการมีสินค้า
ทดแทนได้ง่าย เนื่ องจากผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มเป็ นอาหารพื้นบ้าน มีข้ นั ตอนการทาไม่ยุ่งยากซับซ้อน
สามารถจัดหาวัส ดุ อุ ป กรณ์ ใ นการผลิ ตได้ง่ายในพื้นที่ และมี ตน้ ทุ นต่ า ประกอบกับ มี หน่ วยงาน
ราชการเข้ามาสนับสนุนจึงทาให้มีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้นทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด และมีอาหารชนิด
อื่นทดแทนหลากหลายวางจาหน่ายอยูท่ วั่ ไปจึงทาให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ปลาส้มลดลงตามไปด้วย
100
6. การวางแผนกลยุทธ์หรื อแนวทางในการจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มใน
พื้นที่จงั หวัดยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สามารถกาหนดกลยุทธ์ได้ดงั นี้
กลยุทธ์การเร่ งการผลิ ตปลาส้มให้เพียงพอกับความต้องการ ควบคู่กบั การจัดหา
วัตถุดิบและตลาด โดยการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้ามุสลิมและร้านขายของฝากต่างจังหวัด ซึ่ งสอดคล้อง
กับ ไพโรจน์ ปิ ยะวงศ์วฒั นา )2555) ได้กล่าวถึง กลยุทธ์การขยายตัว )Growth Strategies) เป็ นกล
ยุทธ์ที่บริ ษทั มุ่งใช้เพื่อให้เกิดการดาเนินธุ รกิจที่เติบโตด้วยการเพิ่มขึ้นของสิ นค้าและบริ การ รวมทั้ง
การเพิ่ม ขึ้ นของส่ วนแบ่งการตลาดหรื อการขยายขอบเขตทางภูมิ ศาสตร์ เป็ นการขยายตลาดใน
ต่างจังหวัดหรื อขยายตลาดในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มปริ มาณกลุ่มเป้ าหมาย )Target Group) ให้
มากขึ้น
กลยุทธ์การเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการจัดหาวัตถุดิบและสต็อก โดยการเลี้ ยงปลาเอง
และร่ วมมือกับกลุ่มเกษตรกรเลี้ ยงปลาในพื้นที่และต่างจังหวัดเพื่อสร้ างเครื อข่ายพันธะสัญญาทาง
อาชีพร่ วมกัน ซึ่ งสอดคล้องกับ ไพโรจน์ ปิ ยะวงศ์วฒั นา )2555) ได้กล่าวถึง การมุ่งความเชี่ ยวชาญ
ตามแนวตั้ง (Vertical Concentration) เป็ นการขยายตัวโดยกลับไปหาการผลิตวัตถุดิบหรื อการมุ่งไป
ข้างหน้าเพื่อหาช่ องทางการจัดจาหน่ าย อาจกล่ าวอีกนัยหนึ่ งว่าเป็ นกลยุทธ์แบบครบวงจรซึ่ งเป็ น
การมุ่งความเชี่ ยวชาญแบบเดิ นหน้า (Forward Integration) ทั้งนี้ เป็ นการลดต้นทุนหรื อสร้ างความ
มัน่ ใจในการแก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
ผูว้ ิ จ ัย มี ค วามคิ ด เห็ น ว่า กลยุ ท ธ์ ก ารเร่ ง การผลิ ต ปลาส้ ม ให้ เ พี ย งพอกับ ความ
ต้องการ ควบคู่กบั การจัดหาวัตถุดิบและตลาด โดยการเจาะตลาดกลุ่มลูกค้ามุสลิมและร้านขายของ
ฝากต่างจังหวัดเพื่อสร้างเครื อข่ายพันธะสัญญาทางอาชี พร่ วมกัน รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลา
ส้มให้มีความหลากหลายโดยการนาข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาใช้เป็ นส่ วนผสมในการแปรรู ปปลา
ส้มเป็ นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ปลาส้มเพื่อเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าที่รักสุ ขภาพ
และยกระดับด้านการตลาด เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิ ชย์ เช่น ปลาส้มไรซ์เบอร์ รี่ ปลาส้มข้าวกล่อง ปลาส้ม
สมุนไพร และพัฒนาไปสู่ ปลาส้มพร้อมรับประทาน โดยจัดจาหน่ายผ่านเซเว่น – อีเลฟเว่น ผ่าน
modern trade และพ่อค้าคนกลางทั้งในและต่างจังหวัด รวมทั้งการปรึ กษาสถาบันการศึกษาและ
หน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการผลิต การควบคุมคุณภาพและรสชาติปลาส้มให้มีความ
สม่าเสมอทุกครั้งที่ผลิตให้สามารถแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศได้เพื่อเป็ นการยกระดับ
และเพิ่มยอดขายในระยะยาวให้แก่ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
101
ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนาผลการค้นคว้าอิสระไปใช้
จากผลการศึกษาครั้ งนี้ เป็ นการจัดการเชิ งกลยุทธ์ ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มในพื้นที่จงั หวัด
ยะลา การศึกษาครั้งนี้ คน้ พบว่า การจัดการเชิ งกลยุทธ์ มีประโยชน์ในการนามาปรับใช้และแก้ไข
ปั ญหาและเพิ่มประสิ ทธิ ภาพในการทางานให้กบั วิสาหกิ จชุ มชน หน่ วยงานภาครั ฐและทางด้าน
วิชาการ จึงนามาสู่ ขอ้ เสนอแนะสาหรับสาหรับวิสาหกิจชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
ผูป้ ระกอบการรวมถึ งผูท้ ี่มีส่วนเกี่ ยวข้องกับการแปรรู ปปลาส้ ม ควรทาความเข้าใจ
เกี่ยวกับความสาคัญของการจัดการเชิ งกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม เพื่อการวางแผนและปฏิบตั ิใช้ได้
อย่างถู กต้องเหมาะสม และสร้ างความได้เปรี ยบในการแข่งขัน รวมถึ งก่ อให้เกิ ดการพัฒนาและ
ความยัง่ ยืนต่อกิจการต่อไป
1) วิสาหกิ จชุ มชนควรมีการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาผลิ ตภัณฑ์ปลาส้ มที่เป็ น
ทางการมากขึ้น โดยควรกาหนดแผนที่มีความเหมาะสมเชิงธุ รกิจ เพื่อให้เกิดแนวทางการดาเนิ นงาน
ที่ชดั เจน ซึ่ งจะนาไปสู่ การพัฒนากิจการให้เกิดความก้าวหน้าเจริ ญเติบโตอนาคต อาทิ พัฒนาทักษะ
ด้านการผลิต และเทคโนโลยีแก่วิสาหกิจชุ มชน ซึ่ งมีความสาคัญต่อการพัฒนาและการเจริ ญเติบโต
ของกิจการในอนาคต
2) ทุ ก ภาคส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้อ ง ทั้ง ภาครั ฐ เอกชน และองค์ ก รอิ ส ระอื่ น ๆ รวมถึ ง
สถาบันการศึกษา ควรตระหนักถึงความสาคัญและให้ความร่ วมมือสนับสนุ นการจัดการเชิงกลยุทธ์
ผลิ ตภัณฑ์ปลาส้มอย่างจริ งจัง เพื่อการพัฒนาสิ นค้าของไทยให้สามารถได้เปรี ยบการแข่งขันและ
สามารถอยูไ่ ด้อย่างยัง่ ยืนต่อไปในอนาคต

ข้อเสนอแนะในการทาการค้นคว้าอิสระครั้งต่อไป
เนื่องด้วยจากผลการวิจยั ครั้งนี้ มุ่งศึกษาเฉพาะการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม
ในพื้นที่จงั หวัดยะลาเท่านั้น ดังนั้นควรมีการศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ปลาส้มในระดับ
ภูมิ ภ าค หรื อ ระดับ ประเทศ เพื่ อแสวงหาแนวทางการจัด การเชิ งกลยุทธ์ ผ ลิ ต ภัณ ฑ์ป ลาส้ ม ใน
ภาพรวมต่อไป
บรรณานุกรม

กนกวรรณ ทรงผาสุ ก. (2556). การพัฒนาเพือ่ เพิ่มมูลค่ าผลิตภัณฑ์ สุขภาพชุ มชนปลาส้ มและไข่ เค็ม.
กรุ งเทพมหานคร : วารสารองค์การเภสัชกรรม ปี ที่ 39 ฉบับที่ 3 (เมษายน – มิถุนายน 2556).
กรุ งเทพธุ รกิจ. (2552). ปลาส้ มสู่ อาเซียน. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://www.nu.ac.th/th/
news_view.php?n_id=9641&img=1&action=view. [2560, มีนาคม 27].
กฤษณา ศรี อ่อน และทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ . (2552). Alternative (TOWS, BCG, SPACE, GE
Grand). [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://wirotsriherun.blogspot.com/2015/08/8planning-
alternative-tows-bcg-space-ge.html. [2560, มกราคม 8].
กองบริ หารงานวิจยั มข. (2559). “ปลาส้ ม”เสน่ ห์ความเปรี้ยวสู่ การผลิตอาหารปลอดภัยมีโอกาสเป็ น
อาหารสมอง. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0011899&l=th.
[2560, มีนาคม 15].
กิตติภณ เรื องแสน. (2558). ชาวบ้ านดอนไม้ คูณ รวมกลุ่มทาปลาส้ มฟักขายสร้ างรายได้
เกียรตินารี ธชีพนั ธุ์. (2559). ม.นเรศวร คิดค้ นกรรมวิธีกาจัดระยะติดต่ อของพยาธิใบไม้ ตับในปลา
ทีใ่ ช้ ทาอาหารพืน้ บ้ าน เช่ น ปลาส้ ม ปลาร้ า ปลาจ่ อมให้ เป็ นอาหารพืน้ บ้ านทีป่ ราศจาก
พยาธิใบไม้ ตับ พร้ อมถ่ ายทอดภาคเอกชน. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.nu.ac.th/th/news_view.php?n_id=9641&img=1&action=view. [2560,
มีนาคม 12].
ไกรสิ ทธิ์ สิ งห์ยะบุศย์. (2552). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ และปัจจัยความสาเร็จ : กรณีศึกษาสานักงาน
จตุพร เสถียรคง. (2557). กลยุทธ์ แห่ งความสาเร็จในการบริหารจัดการภาครัฐของไทย. ชลบุรี :

จารุ วรรณ ไร่ ขาม สุ รกานต์ จังหาร และสมปอง ศรี กลั ยา. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการ
เรี ยนรู้ แบบโครงงาน เรื่ อง การทาปลาส้ มไร้ ก้างกลุ่มสาระการเรี ยนรู้ การงานอาชี พและ
เทคโนโลยี ชั้ นประถมศึกษาปี ที่ 6. มหาสารคาม : การประชุมวิชาการระดับชาติการ
จัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2.
จิรดา นาคฤทธิ์ . (2552). การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
https:// jiradabbc.wordpress.com/เนื้อหาวิชา/การวิเคราะห์-swot-swot-analysis/ [2560,
พฤษภาคม 27].
จิราวรรณ บุญศรี วงษ์ (เกษรสิ ทธิ์ ). (2555). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ . [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
103
ณัฐกฤตา ภู่ทบั ทิม และวนิดา แซ่จึง. (2559). การคัดเลือกแบคทีเรียแลคติกและใช้ เป็ นต้ นเชื้อ
บริสุทธิ์ในการหมักปลาส้ ม. ปทุมธานี : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี ที่ 24
ฉบับที่ 6 (ฉบับพิเศษ) 2559.
ณัฐศร เกียรติพฒั นาชัย, (2552). ปลาส้ ม ปลาหมักภูมิปัญญาไทย. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.siamfishing.com/content/view.php?nid=165600&cat=recipe. [2560,
พฤษภาคม 30].
ทิพย์กมล ภูมิพนั ธ์ และอุไรวรรณ อินทร์ ม่วง. (2559). สุ ขลักษณะของการประกอบกิจการผลิตปลาร้ า
และปลาส้ มในอาเภอหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น : วารสารวิจยั มข. (บศ.) 16 (2) :
เม.ย. – มิ.ย. 2559.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2556). การวิเคราะห์ ปัจจัยภายในภายนอก. [Online]. เข้าได้จาก:
http://yasothon.mol.go.th/sites/yasothon.mol.go.th/files/3_0.pdf [2560, มีนาคม 1]นฤ
มล พึ่งทอง. (2552). ปัจจัยภายในองค์ กรและปัจจัยภายนอกองค์ กรทีม่ ีความสั มพันธ์
กับการส่ งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ จากประเทศไทย. ปทุมธานี : บริ หารธุ รกิจ
มหาบัณฑิต วิชาเอกธุ รกิจระหว่างประเทศ คณะบริ หารธุ รกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลธัญบุรี.
บริ ษทั สานักข่าว ไอเอ.น.เอ.น. จากัด.. (2562). ผู้ค้าปลาส้ มนครพนมยิม้ ปชช.แห่ ซื้อเป็ นของ่าก.
[Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode
=222546. [2560, มีนาคม 27].
บังอร วงษ์ป้อง และสาธิต อดิตโต. (2562). การวางแผนเชิ งกลยุทธ์ เพือ่ พัฒนาศูนย์ ข้างชุ มชนห้ วย
ยางศรีวไิ ล อาเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น : แก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ
1: (2562).
บุรณิ น รัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาตัวแบบเชิ งกลยุทธ์ การจัดการธุรกิจอย่ างยัง่ ยืนในอนาคต
ของวิสาหกิจขนาดใหญ่. กรุ งเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิ ยะวรรณ อานาจศักดิ์, (2552). เครื่องหมายการค้ า. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://fernpiyawan.
blogspot.com/2214/22/blog-post.html. [2560, มิถุนายน 12].
ปิ โยรส หงษาชาติ และวิชยั เสริ มผล. (2552). การแยกและศึกษาคุณลักษณะของแบคทีเรี ยกรดแลคติก
ทีแ่ ยกได้ จากปลาส้ มในจังหวัดหนองคาย. ภูเก.ต : การประชุมวิชาการระดับชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก.ต ครั้งที่ 5 : 2552.
104
ผูจ้ ดั การออนไลน์. (2562). เลิกเข้ ากรุ ง ชาวบ้ านบุรีรัมย์ หันทาปลาส้ ม-ปลาข้ าวคั่วสู ตรภูมิปัญญาขาย
นับเงินวันละ 3-4 พัน. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://www.manager.co.th/QOL/
ViewNews.aspx?NewsID=9600000008187. [2560, มีนาคม 15].
พระมหาศิริชยั สิ รินฺทญาโณ(ศรี รัมย์). (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เชิ งกลยุทธ์ ขององค์ การ
บริหารส่ วนตาบลในอาเภอลาปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ . กรุ งเทพมหานคร : คณะรัฐ
ประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชริ นทร์ พร ภู่อภิสิทธ์ และคนอื่นๆ. (2556) กลยุทธ์ การพัฒนาการบริหารจัดการตลาดนา้ อย่ าง
ยัง่ ยืน. กรุ งเทพมหานคร : สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคง
พระนคร.
พัทธวรรณ พิบูลย์. (2559). กลุ่มวิสาหกิจชุ มชนกลุ่มแม่ บ้านเกษตรปลาส้ มคอกช้ าง. [Online].
เข้ าถึงได้ จาก : http://001032.blogspot.com/2016/04/blog-post.html. [2559, ธันวาคม 5].
พิบูล ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ . กรุ งเทพฯ : อมรการพิมพ์.
พิพธิ ภัณฑ์ เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หัว. กรุ งเทพมหานคร :
วารสารวิชาการบริ หารธุ รกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท.)
ปี ที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2552.
พิมพ์เพ.ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2562). ปลาส้ ม. [Online]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/4045/ปลาส้ม. [2560, มีนาคม 27].
พีรญา ชื่นวงศ์. (2552). การวิเคราะห์ ปัจจัยภายในองค์ กรทีส่ ่ งผลต่ อประสิ ทธิผลองค์ กรของ
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. กรุ งเทพมหานคร : ดุษฎีบณั ฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ธุ รกิจ มหาวิทยาลัยศรี ปทุม.
ไพโรจน์ ปิ ยะวงศ์วฒั นา. (2556). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุ งเทพมหานคร :
สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ปิ ยะวงศ์วฒั นา. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์เทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุ งเทพ :
วี.พริ้ นท์.
ภักดี มานะหิรัญเวท. (2556). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ ระดับโลก. นนทบุรี : กรี นแอปเปิ้ ล กราฟฟิ คพริ้ นติง้ .
มหาวิทยาลัยบูรพา.
มัตติกา แบนอ้น. (2556). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ และนวัตกรรมทีม่ ีผลกระทบต่ อความสามารถใน
การแข่ งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ลาปาง : สาขาวิชาการจัดการทัว่ ไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง.
105
มารตี แจ่มสุ วรรณ. (2559). ภูมิปัญญาของคนกาฬสินธุ์. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
https://sites.google.com/site/marateejamsuwan/phumipayya-khxng-khn-kalsinthu.
[2560, พฤษภาคม 27].
วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2556). การพัฒนาองค์ การ. ปทุมธานี : ศูนย์เรี ยนรู้การผลิตและการจัดการ
ธุ รกิจสิ่ งพิมพ์ดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วันดี ณ ประดิษฐ์, (2562). ปลาส้ มสร้ างอาชีพ สร้ างรายได้ . [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km1_viewlist.php?action=view&div=21&kid=1285.
[2560, กุมภาพันธ์ 23].
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี . (2552). การวิเคราะห์ สวอต. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : https://
th.wikipedia.org/wiki/การวิเคราะห์สวอต. [2560, มิถุนายน 17].
ศิรประภา สุ ขสาโรง. (2552). ความสั มพันธ์ ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศทีม่ ีผล
ต่ อการส่ งออกยางพาราชนิดยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปประเทศจีน. ปทุมธานี :
บริ หารธุ รกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุ รกิจระหว่างประเทศ คณะบริ หารธุ รกิจ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศูนย์บริ การธุ รกิจอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2552).
อุตสาหกรรมเกษตร อบรมการผลิตปลาส้ มคุณภาพ. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.prcmu.cmu.ac.th/scoop_detail.php?sco_sub_id=884. [2560, มีนาคม 15].
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอานวยการรักษาความมัน่ คงภายในภาค 4 ส่ วนหน้า. (2559). ชาวบ้ านวัง
ไทร อาเภอธารโต จังหวัดยะลา รวมกลุ่มผลิตปลาส้ มครบวงจร สร้ างรายได้ เสริมให้
ตนเองและสร้ างธุรกิจต่ อเนื่องให้ ชุมชน. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=868299726609906&id=409454
452494438. [2560, มีนาคม 12].
ศูนย์วจิ ยั และพัฒนา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2559). ไร่ กานันจุล ส่ งปลา
ส้ ม-นา้ ผลไม้ ลยุ อาเซียน. เข้ าถึงได้ จาก : http://www.pandinthong.com/news-
preview/361891791861. [2560, พฤษภาคม 27].
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุ งเฮลซิ งกิ. (2559). ปัจจัยแห่ งความสาเร็จของการประกอบธุรกิจ : การ
วิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.thaiembassy.org/helsinki/th/thai-people/5299/65222 -การวิเคราะห์-SWOT-
(SWOT-Analysis).html. [2560, มิถุนายน 12].
106
สมชาย มุย้ จีน. (2557). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิ งนิเวศในพืน้ ทีเ่ ทศบาลเมืองมาบ
ตาพุด. กรุ งเทพมหานคร : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่ งแวดล้อม) คณะ
พัฒนาสังคมและสิ่ งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ .
สร้างงานร่ วมสื บสานภูมิปัญญาท้องถิ่น. บ้ านเมือง [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.banmuang.co.th/news/region/27090. [2562, มกราคม 25]
สักริ นทร์ อยูผ่ อ่ ง และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2556). การศึกษารู ปแบบการบริ หารเชิ งกลยุทธ์
สาหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก. ปทุมธานี : วารสารวิชาการ คณะบริ หารธุ รกิจ
RMUTT Global Business and Economics Review ปี ที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2556
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2552). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน ปลาส้ ม มาตรฐาน
เลขที่ มผช.26/2552. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0026_57
(ปลาส้ม).pdf. [2562, มีนาคม 22].
สานักงานมาตรฐานสิ นค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2552). มาตรฐานฮาลาลแห่ งชาติ. [Online].
เข้ าถึงได้ จาก : http://www.acfs.go.th/halal/main.php. [2560, มีนาคม 14].
สานักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2552). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปลาส้ ม.
กรุ งเทพมหานคร. กรมวิทยาศาสตร์บริ การ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุ ขสันต์ ไชยรักษา. (2562). แนวคิดของ SWOT Analysis. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://edlwq-
suksan.blogspot.com/2017/03/8.html. [2560, มิถุนายน 12].
สุ ดใจ วันอุดมเดชาชัย. (2556). การจัดการเชิ งกลยุทธ์ . กรุ งเทพฯ : ห้างหุ น้ ส่ วนจากัด สามลดา.
สุ ธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยทีเ่ กี่ยวข้ องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. กรุ งเทพมหานคร :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ.
อดิเทพ มโนการ และรุ จาภา แพ่งเกษร. (2556). การศึกษาสภาพแวดล้อมในการทางานทีส่ ่ งผลต่ อ
คุณภาพชี วติ ของข้ าราชการนายทหารชั้ นประทวนกรมการทหารสื่ อสาร. ปทุมธานี :
วารสารการวิจยั และการบริ หาร ปี ที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม – ธันวาคม 2556.
อภิชา ประกอบเส้ง) .2560). การวิเคราะห์ SWOT. [Online].เข้าได้จาก :
http://colacooper.blogspot.com/2012/08/swot_10.html. [2560, มีนาคม 25].
อรสุ ดา ดุสิตรัตนกุล. (2552). ปัจจัยทีส่ ่ งผลต่ อประสิ ทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร
สานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรส่ วนกลาง.
กรุ งเทพมหานคร : คณะพัฒนาสังคมและสิ่ งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ .
107
อับดุลการิ ม รามันห์สิริวงศ์. (2552). ชวนเทีย่ วถนนคนเดิน-มังกรคืนถิ่น “กินปลาเมืองยะลา.
อาหารปลอดภัย”. เดลินิวส์ [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=2194.2;wap2. [2562, มกราคม 25]
อาภรณ์ รัตนพิบูลย์. (2552). "ปลาส้ มคอกช้ าง สิ นค้ า "OTOP เลือ่ งชื่อ. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
https://www.facebook.com/permalink.php?id=136025619909229&story_fbid=344197
229092066. [2559, ธันวาคม 5].

ASTV ผูจ้ ดั การออนไลน์. (2552). “ปลาส้ ม” จากอาหารพืน้ บ้ าน สู่ เมนูมาตรฐานสากล(ชมคลิป).


[Online]. เข้ าถึงได้ จาก : http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID
=9570000101934. [2560, มีนาคม 27].
https://www.gotoknow.org/posts/340098. [2560, มกราคม 23].
Slideon7687. (2552). ไร่ กานัลจุล. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
https://slideon7687.wordpress.com/2015/07/13/ไร่ กานัลจุล/ [2560, พฤษภาคม 27].
Werawit. (2559). vcanfit สุ ขภาพดีได้ ง่ ายจัง.. : อาหารฮาลาน. [Online]. เข้ าถึงได้ จาก :
http://vcanfit.blogspot.com/2016/03/halal-food.html. [2560, มีนาคม 15].
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
หนังสือขอความอนุเคราะห์
110
111
112
ภาคผนวก ข
ประมวลภาพการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
114

ภาพการสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มดูซงกูญิ
ตาบลสะเอะ อาเภอกรงปิ นัง จังหวัดยะลา

ภาพการสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บา้ นเกษตรกรปลาส้มคอกช้าง (คุณดาว)


ตาบลแม่หวาด อาเภอธารโต จังหวัดยะลา
115

ภาพการสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บา้ นปลาส้มอาเส้น
ตาบลยะหา อาเภอยะหา จังหวัดยะลา

ภาพการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา
116

ภาพการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สานักงานสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา

ภาพการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สานักงานเกษตรจังหวัดยะลา
117

ภาพการสัมภาษณ์พนักงานร้านวุน้ คุณเชียร์

ภาพการสัมภาษณ์พนักงานร้านเฮน เบเกอรี่
118

ภาพการสัมภาษณ์เจ้าของร้านเอกศิลป์ (เจ๊หงส์)
ประวัติผู้ทำกำรค้นคว้ำอิสระ

ชื่อ-นามสกุล โสพิศ พงค์รัตน์

วัน เดือน ปี เกิด 27 พฤษภาคม 2524

ทีอ่ ยู่ปัจจุบัน 178/3 หมู่ที่ 1 ตาบลสะเตงนอก อาเภอเมือง จังหวัดยะลา

ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2547 สาเร็ จการศึกษาหลักสู ตรบริ หารธุ รกิจบัณฑิต


(เกียรตินิยมอันดับ 2) การบริ หารธุ รกิจ (แขนงวิชาการบัญชี)
จากสถาบันราชภัฏยะลา
พ.ศ. 2558 สาเร็ จการศึกษาหลักสู ตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
การบริ หารรัฐกิจ (รัฐประศาสนศาสตร์ )
จากมหาวิทยาลัยสุ โขทัยธรรมาธิราช

ตาแหน่ งหน้ าทีก่ ารงานปัจจุบัน อานวยการกองคลัง องค์การบริ หารส่ วนตาบลถ้ าทะลุ

สถานทีท่ างานปัจจุบัน 7/1 ถนนสุ ขยางค์ ตาบลถ้ าทะลุ อาเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

You might also like