You are on page 1of 20

1

สาขาวิชาจิตรกรรมไทย

ภาควิชาศิลปะประจาชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง

แบบเสนอหัวข้อ และ โครงการวิจัยทางศิลปกรรม

ส่วนที่ 1 รายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัย

ข้าพเจ้า นายพัศพงศ์ บุญขันธ์ธนาลัย

รหัสประจาตัว 4601070641126 ปีการศึกษา 2/2562

1. ชื่อหัวข้อโครงการวิจัย

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต

Medicine Buddha

2. ความเป็นมาและความสาคัญของการศึกษา

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภานั้นพระสูตรทางฝ่ายมหายานกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งซึ่งมีพระกิตติ
คุณด้านการรักษาทั้งทางโลกและทางธรรมทรงตั้งมหาปณิธานไว้ 12 ประการเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ตามอุดมคติของ
พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อนึ่งการปรากฏของพระไภษัชยคุรุและพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ องค์อื่นๆนี้เป็น
ปรากฏการณ์หนึ่งในการเผยแผ่ศาสนาของฝ่ายมหายานที่อนุโลมไปตามจริตของศาสนิกชนที่ยังคุ้นเคยกับการอ้อน
วอนและต้องการหลักประกันในการดารงชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
2

เนื่องด้วยพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสามารถประยุ กต์หลักธรรมกับความเชื่อ
ต่างๆที่ไม่ขัดกับพุทธมติได้ จึงไม่เป็นที่คุ้นเคยในนิกายเถรวาทที่มีอุดมคติจะรักษาพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์ เหตุดังนี้
สังคมไทยซึ่งนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเป็นหลักและมีทัศนคติตอบพระพุทธเจ้าและเทพเจ้าในฐานะบุคคลอยู่ จึงไม่คุ้น
ชิ น กั บ พระพุ ท ธเจ้ า พระโพธิ สั ต ว์ ต่ า งๆทางมหายานซึ่ ง เป็ น บุ ค ลาธิ ษ ฐานที่ ส ามารถถอดเป็ น ธรรมาธิ ษ ฐานได้
เหตุดังนี้จึงเห็นคุณค่าในการถ่ายทอดพุท ธศาสนาฝ่ายมหายานในรูปของพระไภษัชยคุรุซึ่ งก็คือความกรุณาของ
พระพุทธเจ้าที่จะปลดปล่อยสัตว์โลกให้พ้นจากโรคทั้งทางกายและจิตใจ ทาให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
ผลงาน โดยการเอาประติมานวิทยาและรูปแบบของฝ่ายมหายานมาดัดแปลงเป็นจิตรกรรมไทยประเพณีพร้อมกับ
ประยุกต์เอาองค์ประกอบจากศิลปกรรมแบบเปอร์เซีย จีนและการใช้สีอย่างจิตรกรรมไทย เทคนิคสีฝุ่นบนพื้นดินสอ
พองกาวมะขาม จัดองค์ประกอบให้ตัวภาพประธานคือพระไภษัชยคุ รุมีประภามณฑลล้อมรอบแสดงความยิ่งใหญ่
กาลังก้มพระองค์ลงมารักษาสรรพสัตว์และปรากฏพระโพธิสัตว์ 2 องค์ที่เป็นบริวารกาลังช่วยฉุดสรรพสัตว์จากสห
โลกธาตุ สื่อความหมายถึงความเมตตากรุณา โดยสหโลกธาตุมีพระศากยมุนีประทับอยู่บนพื้นดินสื่อถึงพระองค์เป็น
พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในโลกที่ไม่บริสุทธิ์ กาลังแนะนาสรรพสัตว์ในทะเลทุกข์ให้ตั้งจิตไปเกิดในโลกของพระไภษัชยคุรุ

ผลงานชิ้นนี้จึงเกิดขึ้นจากความศรัทธาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่จะแสดงความกรุณาของพระไภษัชยคุรุ
พุทธเจ้าในรูปแบบของจิตรกรรมไทยประเพณี และแสดงคติที่แปลกใหม่จากคติเถรวาทเพื่อให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความ
สนใจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและเป็นปัจจัยให้เกิดการศึกษาต่อไป

3. วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.เพื่อศึกษาและค้นคว้าหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ประยุกต์กับการใช้
องค์ประกอบจากจิตรกรรมในสมุดภาพไตรภูมิ จิตรกรรมแบบเปอร์เซียและศิลปินท่านอื่นๆ โดยนาเสนอในลักษณะ
มุมมองเฉพาะตน

2.เพื่อสะท้อนคติธรรมเรื่องความกรุณา และการเยียวยาโรคทางกายและใจ ตามอุดมคติฝ่ายมหายาน


3

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั

1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบที่ประยุกต์มาจากศิลปกรรมทีอ่ ื่นจากจิตรกรรมไทยประเพณี

2.ได้แสดงหลักมหากรุณา และการเยียวยาสรรพชีวิตให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ในรูปแบบจิตรกรรมไทยแบบ


ประเพณี

5. สมมติฐานของการศึกษา

จากการศึกษาพระสูตรของพระไภษัชยคุรุนั้นทาให้ทราบถึงโลกธาตุของพระพุทธองค์นี้ว่าเป็นโลกธาตุอย่าง
อุดมคติจึงจัดองค์ประกอบให้โลกธาตุอยู่ในทรงดอกบัวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์โดยวางเยื้องมาทางด้านซ้ายของภาพ
มีโลกธาตุของเราอยู่ทางด้านล่างแทนด้วยพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าประทับหน้าเขามอเทศนาให้คนในทะเลทุกข์ซึ่ง
หมายถึงโลกธาตุนี้มีหุบเหวสูงต่าไม่สะอาดต้องอดทนอยู่เป็นนิจ โดยเชื่อมโลกธาตุทั้งสองด้วยสตรีที่กาลังถูกช่วยจาก
พระจันทรประภาโพธิสัตว์และมีกรอบล้อม 2 โลกนี้ไว้ด้านในมีดาวนักษัตรทั้ง 12ซึ่งหมายถึงเสนาบดีทั้ง 12 ของพระ
ไภษัชยคุรุที่ประจานักษัตรต่างๆ

6. ขอบเขตของการศึกษา

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์ หัวข้อ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ได้กาหนดขอบเขตการสร้างสรรค์ไว้ดังนี้

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา แสดงความกรุณาของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ที่คอยรักษาเยียวยาเวไนยสัตว์ใน


รูปแบบจิตรกรรมไทยแบบประเพณี

2. ขอบเขตด้านรูปแบบ สร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีผสมผสานกับองค์ประกอบ
จิตรกรรมแบบเปอร์เซีย โดยใช้เทคนิคสีฝุ่น บนพื้นดินสอพองกาวมะขาม
4

7. แหล่งข้อมูล

1. ข้อมูลภาคเอกสาร

1.1 พระสูตรมหายานแปลไทย

1.2 บทความทางวิชาการเกี่ยวกับพุทธศาสนา

1.3 หนังสือภาพจิตรกรรมไทยและเปอร์เซีย

2. ข้อมูลภาคสนาม

2.1 พระอุโบสถวัดทิพยวารีวิหาร

2.2 วัดมังกรกมลาวาส เยาวราช

8. วิธีการศึกษา

1.ศึกษาค้นคว้าและทาความเข้าใจเกี่ยวกับคติธรรม ระบบพุทธเกษตรและประติมานวิทยาของพุทธศาสนา
ฝ่ายเถรวาทและมหายาน

2.รวบรวมข้อมูลจากพระสูตร ตารา และการศึกษาภาคสนามมาพัฒนาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

3.กาหนดขอบเขตในการทางาน พิจารณาการจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะให้ตรงตามแนวคิด

4.สร้างสรรค์ผลงานด้วยจิตรกรรมไทยแบบประเพณี

5.วิเคราะห์ข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อนามาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
5

9. คาจากัดความที่ใช้ในการศึกษา

พุทธเกษตร หมายถึง ถิ่นหรือดินแดนของพระพุทธเจ้า นัยหนึ่งคือ โลกธาตุที่มี พระพุทธเจ้าลง


มาตรัสรู้

ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา หมายถึง พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาพยาบาล ทรงมีประณิธานว่าจะรักษาโรคทุก


ชนิด พระวรกายสีน้าเงิน พระหัตถ์ขวาถือต้นสมุนไพรอคทะ พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรหรือหม้อยา มักทารูปประดิษฐาน
ทางด้านซ้ายของพระศากยมุนี

พระศากยมุนี หมายถึง พระนามของพระโคตมพุทธเจ้าที่ฝ่ายมหายานนิยมออกพระนาม

ประติมานวิทยา หมายถึง วิชาอธิบายกฏเกณฑ์กับรูปเคารพทางศาสนา

๑๐. การนาเสนอผลงาน

เป็นการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีสกุลรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประยุกต์กับจิตรกรรม
เปอร์เซีย โดยใช้เทคนิคสีฝุ่นบนพื้นดินสอพองกาวมะขาม
6

ส่วนที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรม (Review of related literature)

ในหัวข้อการวิจัยสร้างสรรค์ เรื่อง "พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต" ได้มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลภาค


เอกสารในเบื้องต้น และวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการศึกษา ดังนี้

๑. ข้อมูลภาคเอกสาร/การทบทวนวรรณกรรม ๒. ข้อมูลทางศิลปกรรม

๑. ข้อมูลภาคเอกสาร/การทบทวนวรรณกรรม

๑.๑ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์ O หนังสือพิมพ์ O สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ชื่อหัวข้อหรือเอกสาร มหายาน ภาษาคน-ภาษาธรรม ผู้แต่ง สุมาลี มหณรงค์ชัย

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า

คาว่ามหายานสามารถตีความได้เป็น 2 นัยคือ ภาษาคนและภาษาธรรม ในทางภาษาคนมหายานถูกบัญญัติ


ขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกและเปรียบเทียบ การยกตนข่มเถรวาท มหายานแบบภาษาคนจึงเป็นการปกป้องทิฐิเพื่อต้องการให้
กลุ่มของตนเป็นที่ยอมรับนับถือ ในทางภาษาธรรม มหายานเป็นขบวนการทางปัญญา เป้าหมายอุดมคติเป็นไปเพื่อ
ส่วนรวมด้วยการบาเพ็ญบารมีเพื่อการสาเร็จเป็นพระพุทธเจ้า โดยทั้งสองมุมมองนี้นาไปสู่ความเข้าใจในมหายาน
ต่างกันสิ้นเชิง

การตีความอุปายโกศลของฝ่ายมหายานทางภาษาธรรมสามารถกลมกลืนกับฝ่ายเถรวาทได้เป็นอย่างดี เพราะ
อิ ท ธิ ป าฏิ ห าริ ย์ ข องพุ ท ธศาสนานิ ก ายมหายาน ที่ มั ก จะแสดงความยิ่ ง ใหญ่ อ ลั ง การนั้ น ล้ ว นสามารถตี ค วามเป็ น
โลกุตรธรรมได้ทั้งสิ้น เช่นกรณีการตั้งปณิธาณเพื่อที่จะได้ดารงอยู่ในสังสารวัฏไปเรื่อยๆ โดยยกเอาสรรพสัตว์เป็นที่ตั้ง
ถึกระนั้นก็ไม่ยึดติดในธรรมและไม่จมลงไปในห้วงสงสาร ก็คือการแสดงถึงปัญญาอันแยบคายกับความเมตตากรุณาอัน
ไพศาลนั่นเอง

จึงพบว่าความกว้างขวางและยึดหยุ่นของนิกายมหายานทาให้ไม่มีกรอบตายตัวในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆใน
พระพุทธศาสนาถ้าสิ่งใดนับว่ายังอยู่ในพุทธมติแล้วถึงจะไม่มีในพุทธพจน์แต่ก็สามารถนามาประยุกต์ได้แม้ข้อเสียคือทา
ให้ธรรมดั้งเดิมไม่บริสุทธิ์แต่ก็มีข้อได้เปรียบในการเผยแผ่ศาสนาที่สามารถปรับตัวเข้าหาคนทุกชนชาติทุกกลุ่มได้

๑.๒ ข้อมูลประเภท O หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์


7

O หนังสือพิมพ์ O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์

√ อื่นๆ โปรดระบุ ไฟล์เอกสาร

ชื่อหัวข้อหรือเอกสาร ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร ผู้แปล พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ทรงเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งสถิตอยู่ทางทิศตะวันออกของพุทธเกษตร
ของเรา(สหาโลกธาตุ) พุทธเกษตรนั้นมีชื่อว่าศุทธิไวฑูรย์ โดยพระมัญชุศร๊โพธิสัตว์ได้อาราธนาพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้
ทรงแสดงพระคุณของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาพุทธเจ้านี้ เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ใสมัยที่ พระสัทธรรมเสื่อม
ถอย

อนึ่งในสมัยที่พระไภษัชยพุทธเจ้าเป็นโพธิสัตว์อยู่นั้น ทรงตั้งมหาปณิธานไว้ ๑๒ข้อ โดยประเด็นหลักคือการ


สร้างพุทธเกษตรที่บริสุทธ์ การลดทิฐิของสรรพสัตว์ การช่วยเหลือเยียวยาสัตวโลกจากความขัดสนและโรคร้ายต่างๆ
ในพระสูตรนี้ยังกล่าวถึงอานุภาพของพระองค์ที่ช่วยให้พ้นเคราะห์ ไม่มรณะก่อนเวลาอันควร มีมหายักษ์เสนาบดีทั้ง
๑๒ซึ่งเป็นบุคคลาธิษฐานของนักษัตรทั้ง๑๒ คอยพิทักษ์ถ้ามีความเชื่อมั่นภาวนานามและพระสูตรของพระพุทธองค์

เหตุดังนี้พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ทรงบาเพ็ญบารมีเพื่อปลดปล่อยเวไนยสัตว์จากเคราะห์กรรม
ต่างๆ จึงได้รับการยกย่องเป็นพระพุทธเจ้าแห่งการเยียวยารักษา และเป็นที่พึ่งสาหรับผู้ที่ยังดารงชีวิตอยู่ให้ปราศจาก
โรคภัยและสรรพกิเลสอันเป็นเหตุของโรคด้วยโดยพระสูตรนี้ได้บรรยายลักษณะของพระพุทธเจ้าไว้ว่าทรงมีพระกาย
แ ล ะ พ ร ะ รั ศ มี ดุ จ ไ พ ฑู ร ย์ ซึ่ ง ท า ง ศิ ล ป ก ร ร ม ม ห า ย า น ใ ช้ เ ป็ น ไ พ ฑู ร ย์ สี น้ า เ งิ น
ยังกล่าวถึงมนุษย์ในโลกมันว่ามีลักษณะไม่ต่างจากพระพุทธเจ้าอีกทั้งไม่มีเพศจึงออกแบบให้ผู้ที่อยู่ในโลกนั้นมีร่างกาย
แบบมหาบุรุษแต่ไม่ใส่รัศมีเพราะยังไม่ตรัสรู้ ทั้งสตรีที่กาลังจะขึ้นไปนั้นเครื่องแสดงความเป็นเพศก็หลุดออกเพื่อแสดง
ถึงความไม่มีเพศในโลกธาตุนั้น และได้ออกแบบพระสุริยประภาโพธิสัตว์พระจันทรประภาโพธิสัตว์พร้อมด้วยเสนาบดี
ทั้ง 12 เป็นบริวารตามนัยแห่งพระสูตรนี้

แก่นสารของพระสูตรถ้ามองจากภายนอกก็คือการพึ่งอานาจพระพุทธเจ้าแต่ถ้ามองจากภายในแล้วมีความ
เป็นธรรมมาที่ฐานพระไภษัชยคุ รุพระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็คือความเมตตาต่อสรรพสัตว์ในใจของเรานี่เองเหตุนี้จึงเป็น
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงถึงความเมตตากรุณาและความสงบเย็น
8

๑.๓ ข้อมูลประเภท O หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O หนังสือพิมพ์ O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์
9

√ อื่นๆ โปรดระบุ ไฟล์เอกสาร

ชื่อหัวข้อหรือเอกสาร ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร ผู้แปล พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า

ในคติ แ พทยราชาของพระพุ ท ธศาสนาฝ่ า ยมหายานนั้ น ได้ ย กเอาพระไภษั ช ยคุ รุ ไวฑู ร ยประภาเป็ น


พระพุทธเจ้าแห่งการเยียวยารักษา แต่ในพระสูตรนี้ได้บรรยายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าที่มีปณิธานจะเยียวยา
สรรพสัตว์ทั้งสิ้น ๗พระองค์ มีพระนามต่างกัน ชื่อของพุทธเกษตรต่างกัน และแต่ละพระองค์มีปณิธานไม่เท่ากัน
โดยศาสนิกชนมหายานจะเรียกพระพุทธเจ้ากลุม่ นี้ว่าพระไภษัชยคุรุทั้ง๗

เมื่อพระมัญชุศรีได้อาราธนาพระพุทธศากยมุนีให้ทรงแสดงมูลปณิธานของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗พระองค์แล้ว
พระศากยมุนีได้แสดงรายละเอียดของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าอย่างพิสดาร แล้วทรงอัญเชิญพระพุทธเจ้า ๗พระองค์นั้น
มาที่ชมพูทวีป เพื่อเป็นประจักษ์พยานในพระธรรมเทศนา พระมัญชุศรีได้อาราธนาพระพุทธเจ้าแหล่านั้นให้แสดงมหา
ธารณีแล้ว ก็กล่าถึงอานิสงค์ต่างๆจากการอ่านท่องพระสูตร

พระสูตรนี้จึงเป็นสูตรสาคัญสูตรหนึ่งของพุทธศาสนามหายาน ที่เป็นต้นกาเนิดของพิธีกรรม ความเชื่อต่างๆซึ่ง


สัมพันธ์กับระบบดาราศาสตร์ของลัทธิเต๋ าอีกด้วย เพราะสัมพันธ์ไปถึง อุตรเคราะห์นิรภัยจิรายุวัฒนาวิเศษสูตร ที่ได้
กล่าวว่าเทพนพเคราะห์ทั้ง๙นั้น เป็นนิรมาณกาย(ร่างเนรมิต)ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๗และมหาโพธิสัตว์อีก๒องค์ อีกทั้ง
ได้ปรากฏธารณีเช่นเดียวกับไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาปูรวปณิธานสูตรที่กล่าวถึงการแสดงธารณีออกมาจากอุษณีษะ
ของพระโคตมะพุทธเจ้า

แต่พระสูตรนี้เป็นการเปล่งธารณีออกจากพระอุษณีษะของพระไภษัชยคุรุเองจึงนาเหตุการณ์มาใส่ในผลงานโดยให้
ปลายพระรัศมีซึ่งเชื่อมกับพระอุษณีษะปล่อยธารณีลอยขึ้นไปสู่ด้านบนภาพ

๑.๔ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O หนังสือพิมพ์ O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์
10

O อื่นๆ โปรดระบุ ไฟล์เอกสาร

ชื่อหัวข้อหรือเอกสาร พลังแห่งกรุณาคือการเยียวยาสูงสุด ผู้แต่ง ลามะโซปะ ริมโปเซ

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า

โดยพื้นฐานธรรมชาติของการเยียวยามาจากจิตใจ เพราะดั้งเดิมนั้นจิตเป็นความบริสุทธิไม่เกี่ยวข้องกับกิเลส
ความบกพร่องต่างๆทั้งด้านร่างกายและจิตใจล้วนไม่เที่ยงแท้ ความทุกข์และโรคภัยต่างๆจึงเป็นสิ่งชั่วคราว อีกทั้ง
จิตใจของเรานี้ก็ยังว่างเปล่าจากการดารงอยู่ที่แท้ จริง ว่างเปล่าจากการดารงอยู่ด้วยตัวมันเอง(เพราะเกิดจากปัจจัย
หลายๆอย่างมาประกอบกัน) เพราะเหตุที่จิตใจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆนั้น จิตจึงสามารถพัฒนาการไปสู่ความบริสุทธิ์
คือความหลุดพ้นได้

ในขณะที่ยาภายนอกสามารถใช้เพื่อเยียวยาร่างกาย ยาภายในคือการภาวนา โดยการใช้ จิตใจและทัศนคติ


ทางบวกในการเยียวยาตนเองและผู้อื่น การเยียวยาที่ได้ผลจะต้องอาศัยการพัฒนาคุณภาพที่ดีของจิตใจ โดยความ
กรุณานั้นนับเป็นการเยียวยาได้ดีที่สุด อนึ่งเราต้องกรุณาต่อทุกๆสรรพชีวิตด้วยเหตุว่าทุกชีวิตต่างต้องการความสุขและ
กลัวทุกข์ ทุกๆครั้งที่เราเจริญกรุณาย่อมบังเกิดกุศลอันไม่สิ้นสุด เนื่องด้วยเมื่อพิจารณาสรรพสัตว์มากเข้าย่อมรู้ได้ว่า
สรรพชีวิตและตัวเราเองล้วนสัมพันธ์กันทาให้เราสามารถลดอัตตาลงไปได้ โดยความกรุณาที่เยียวยาสรรพสัตว์นี้
ปรากฎในรูปของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาพุทธเจ้า และกลุ่มพระไภษัชยคุรุอีก๖พระองค์

โดยสมมุติพระไภษัชยคุรุทั้ง๗พระองค์นี้ทรงอยู่ทางโลกทิศตะวันออก ใช้อานุภาพของพระองค์เยียวยาสรรพ
สัตว์ทั้งทางตรงทางอ้อมตามนัยแห่ง ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร แต่ก็ต้องใช้จิตใจแห่ง
กรุณาอันบริสุทธ์ของเราในการถึงซึ่งพระตถาคตเหล่านั้น ดังนี้แล้วพระไภษัชยคุรุที่แท้จริงก็สถิตอยู่ในจิตใจของสรรพ
ชีวิตที่มีความเมตตากรุณานั่นเองเห็นดังนี้ความสงบเย็นและความเมตตาจึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
โดยใช้สีน้าเงินเป็นบรรยากาศเพื่อแสดงความสุขุมเยือกเย็นอีกครั้งเป็นการแสดงถึงรัศมีของพระพุทธเจ้าองค์นี้ตามนัย
แห่งพระสูตรด้วย

๑.๕ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O หนังสือพิมพ์ O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์
11

O อื่นๆ โปรดระบุ ไฟล์เอกสาร

ชื่อหัวข้อหรือเอกสาร พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน ผู้แต่ง พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า

ตามคติขอบพระพุทธศาสนาทุกๆนิกายนั้นยอมรับว่ามีพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้มาแล้วนับประมาณพระองค์มิได้
(เพราะอดีตกาลสามารถย้อนไปได้ไม่สิ้นสุด) และที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตก็มีไม่สิ้นสุด แม้พระพุทธเจ้าในปัจจุบันที่ดารง
อยู่ในโลกธาตุอื่นๆก็มีไม่สิ้นสุด ซึ่งพทธศาสนานิกายเถรวาทเน้นการบรรลุพระนิพพานในชาตินี้ จึงให้ความสาคัญพระ
ศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นพิเศษ ฝ่ ายมหายานเน้นการเป็นพระโพธิสัตว์ จึงให้ความสาคัญ กับความเป็นพระพุทธเจ้า
มากกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

มหายานได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าจานวนมหาศาล ทั้งยังแบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น๓พระกาย เรียกว่าทฤษฎีตรี


กาย โดยแบ่งเป็น ธรรมกาย(สภาวะบริสุทธิ์สิ้นเชิง) สัมโภคกาย(กายที่เป็นธรรมนิยามคือไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย) และ
นิรมาณกาย(พระพุทธเจ้าที่ลงมาตรัสรู้ในโลกต่างๆ) ซึ่งพระพุทธเจ้าที่เป็นนิรมาณกายเหล่านี้ก็มี ความโดดเด่น และ
มหาปณิธาณต่างๆกันไป เช่นพระอมิตาภะ เด่นเรื่องการพาสรรพสัตว์ไปสู่แดนสุขาวดี พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา
พุทธเจ้า มีปณิธานจะเยียวยาโรคทางกายและใจของสรรพสัตว์ โดยโลกธาตุหนึ่งๆจะมีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว
รายละเอียดของโลกธาตุต่างๆล้วนมีบรรยายในพระธรรมสูตร

พระพุทธเจ้าจานวนมหาศาลนี้ทาให้พุทธศาสนิกชนมีความอบอุ่นใจ และมีกาลังใจในการปฏิบัติธรรม(ตามคติ
มหายาน) โดยมีจุดประสงค์เพื่อได้สาเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้วกลับมาช่วยเหลือเวไนยสัตว์อันเป็นอุดมการณ์ของ
พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานโดยในภาพจะปรากฏพระพุทธเจ้าอยู่ 2
พระองค์แสดงถึงพระพุทธเจ้าแต่พระองค์ทรงสอนเวไนยสัตว์ในโลกธาตุที่ต่างๆกัน โดยพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงสอน
สัตว์ในโลกแห่งความเสื่อม 5 ประการส่วนพระไภษัชยคุรุทรงสอนสัตว์ในโลกแห่งอุดมคติ

๒. ข้อมูลทางศิลปกรรม

๒.๑ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์


12

O ภาพถ่าย O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์

O อื่นๆ โปรดระบุ...........................................

..

ภาพที่ ๑
ที่มา : Masterpieces of Islamic art.
ศิลปิน ไม่ระบุ
ชื่อผลงาน Khosrow listens to Barbad singing
ขนาด ไม่ระบุ
เทคนิค จิตรกรรม

จากผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ได้แสดงออกเป็นภาพเล่าเรื่อง โดยจัดให้มีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมภาพ แต่มีต้นไม้ทะลุ


กรอบออกมาทาให้กรอบสี่เหลี่ยมดูไม่แข็งกระด้าง ภาพในใช้หินในการแบ่งสัดส่วนภาพ องค์ประกอบโดยรวมดูสงบนิ่ง
ประดิษฐ์ธรรมชาติให้เป็นแบบอุดมคติ ใช้สีกลมกลืนกัน โดยใช้สีโทนเย็นเป็นหลักทาให้ภาพมีความเบาสบาย เป็น
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้กรอบล้อมภาพไว้และมีวัตถุธรรมชาติเช่นต้นไม้หินรถออกมาจากตัว
กรอบ

๒.๒ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์


13

O ภาพถ่าย O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์

O อื่นๆ โปรดระบุ...........................................

..

ภาพที่ ๒
ที่มา : สมุดภาพไตรภูมิฉบับอักษรขอม ภาษาไทย.
ศิลปิน ไม่ระบุ
ชื่อผลงาน ไม่ระบุ
ขนาด ๑๒.๕*๔๒ เซนติเมตร
เทคนิค จิตรกรรมสีฝุ่นบนกระดาษข่อย

จากผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ได้แสดงออกเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์โดยใช้กรอบสร่เหลี่ยมและรูปเปรตแทน
เขาคิชฌกูฏ พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับกษัตริย์ มีประภามณฑลสีแดงล้องพระเศียร โดยข้างหลังเป็นต้นไม้เป็นสีคู่ตรง
ข้ามคือสีเขียว ขณะที่เปรตใช้สีค่อนไปทางโทนเดียวกัน และภาพรวมเป็นสีอ่อน ทาให้ภาพตรงกลางเกิดเป็นจุดเด่น
ขึ้นมา จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเน้นตัวภาพประธานด้วยกรอบประภามณฑลและใช้ระบบสัญลักษณ์ในการอธิบาย
รายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆในภาพ

๒.๓ ข้อมูลประเภท √ หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O ภาพถ่าย O สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์
14

O อื่นๆ โปรดระบุ...........................................

..

ภาพที่ ๓
ที่มา : สมุดภาพไตรภูมิฉบับธนบุร.ี
ศิลปิน ไม่ระบุ
ชื่อผลงาน ไม่ระบุ
ขนาด ๑๒.๕*๔๒ เซนติเมตร
เทคนิค จิตรกรรมสีฝุ่นบนกระดาษข่อย

จากผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ได้แสดงออกเป็นภาพเชิงสัญลักษณ์ไม่ได้เขียนตามทัศนียวิทยา บิเวณวงกลมกลาง
ภาพสื่อถึงสวนในสวรค์ชั้นดาวดึงส์ นางเทพธิดาสามคนคือสามมเหสีของพระอินทร์ ใช้สีโทนร้อนแต่สคี ่อนข้างจาง ถึง
จะมีสีชาดที่เด่น แต่ไม่ได้อยู่ตาแหน่งประธานภาพและกระจายอยู่รอบสวนสวรรค์นั้น จึงกลายเป็นองค์ประกอบรอง

เนื่องด้วยเป็นตาราสมุดภาพจะมีการใช้ตัวอักษรบรรยายสิ่งต่างๆซึ่งตัวอักษรนี้เป็นแรงบันดาลใจในการ
สร้างสรรค์ผลงานโดยการใส่อักษรบทพระธารณีลงไปประกอบด้วย

๒.๔ ข้อมูลประเภท O หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O ภาพถ่าย √ สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์

O อื่นๆ โปรดระบุ...........................................
15

..

ภาพที่ ๔
ที่มา : เพจ พระบฏ
ศิลปิน พงษ์พัฒน์ บุญอุ้ม
ชื่อผลงาน ไม่ระบุ
ขนาด ไม่ระบุ
เทคนิค จิตรกรรมสีฝุ่นบนผ้า

จากผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ได้แสดงออกเป็นภาพสัญลักษณ์ โดยมีราชรถเป็นประธานภาพ โทนสีด้านหลังป็นสี


น้าเงินเข้มทาให้บรรยากาศดูขลัง และใช้สีแดงล้อมภาพประธานทาให้ดูศักสิทธิ์มีอานาจ อีกทั้งใช้ดอกไม้ ลายเมฆต่างๆ
แก้ปัญหาช่องไฟ

และเครื่องประดับต่างๆในการแก้ไขปัญหาช่องไฟทาให้ภาพดูมีความน่าสนใจมากขึน้ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการ
สร้างสรรค์โดยการใช้สีตัดกันเพื่อเน้นจุดเด่นตัวภาพประธานและประดับด้วยลวดลายต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาช่องไฟ

๒.๕ ข้อมูลประเภท O หนังสือ/วารสาร ฯลฯ O วิทยานิพนธ์

O ภาพถ่าย √ สื่ออิเล็กทรอนิกส์/ออนไลน์

O อื่นๆ โปรดระบุ...........................................
16

..

ภาพที่ ๕
ที่มา : เพจ พระบฏ
ศิลปิน พงษ์พัฒน์ บุญอุ้ม
ชื่อผลงาน ไม่ระบุ
ขนาด ไม่ระบุ
เทคนิค จิตรกรรมสีฝุ่นบนผ้า

จากผลงานศิลปกรรมชิ้นนี้ได้แสดงออกเป็นภาพสัญลักษณ์ พื้นที่บริเวณด้านล่าง ใช้สีเข้มมืดทาให้ดึงดูดความ


สนใจและเห็นก่อนพื้นที่ด้านบนเมื่อมองตามลาดับจะเห็นภาพด้านล่างก่อนแล้วค่อยๆไล่ขึ้นไปข้างบนจึงเห็นภาพ
พระพุทธเจ้า อนึ่งศิลปินใช้ดอกไม้และเครื่องบูชาแก้ปัญหาช่องไฟ

จึงเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบองค์ประกอบภาพให้เล่าเรื่องจากด้านล่างขึ้นไปสู่ด้านบนและใช้เครื่อง
บูชาอย่างไทยเช่นธงตะขาบมาประยุกต์กับสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาวัชรยานเช่นธงตะขาบที่มียอดเป็นขัตวังคะและ
พระขรรค์แสดงถึงการประทานพรด้วยฤทธิ์และปัญญา
17

ภาคผนวก
18
19
20

You might also like