You are on page 1of 256

luangpordu.

com
ตามรอยธรรมย้ำรอยครู
หลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ
ประวัติ​และคติธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ

สงวนลิขสิทธิ์
พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ห้ามคัดลอก ตัดตอน หรือนำไปพิมพ์จำหน่าย

ฉบับปรับปรุง
พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม

เอื้อเฟื้อภาพ : มานพ เลิศอิทธิพร


กนก สุริยสัตย์

จัดทำโดย : กลุ่มเพื่อนธรรมเพื่อนทำ
พรสิทธิ์ อุดมศิลป์จินดา วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี
เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล นิศา สุวรรณสุขโรจน์
ปฏิภัทร ปัจฉิมสวัสดิ์

ศิลปกรรม : ARTISTIC GROUP


โทร. ๐๘๑-๙๒๒-๑๓๕๑ โทรสาร ๐๒-๘๘๔-๓๕๓๖

ดำเนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด


โทร. ๐๒-๘๐๐-๒๒๙๒, ๐๘๔-๙๑๓-๘๖๐๐ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๓๖๔๙
luangpordu.com

Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปั นเป็ นธรรมทาน


สารบัญ
ประวัติ​หลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ ๑
คติธรรมคำสอนของหลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ
๑. สมมุติและวิมุติ ๒๙
๒. อุปมาศีล สมาธิ ปัญญา ๓๐
๓. หนึ่งในสี่ ๓๑
๔. อานิสงส์การภาวนา ๓๒
๕. แสงสว่างเป็นกิเลส ๓๓
๖. ปลูกต้นธรรม ๓๔
๗. วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด ? ๓๕
๘. เทวทูต ๔ ๓๖
๙. อารมณ์อัพยากฤต ๓๗
๑๐. ตรี โท เอก ๓๘
๑๑. ต้องสำเร็จ ๓๙
๑๒. จะเอาโลกหรือเอาธรรม ๔๐
๑๓. แนะวิธีปฏิบัติ ๔๑
๑๔. การบวชจิต-บวชใน ๔๒
๑๕. ควรทำหรือไม่ ? ๔๔
๑๖. การอุทิศส่วนกุศลภายนอกภายใน ๔๕
๑๗. สติธรรม ๔๖
๑๘. ธรรมะจากซองยา ๔๗
๑๙. ธรรมะจากโรงพยาบาล ๔๘
๒๐. ของจริง ของปลอม ๔๙

luangpordu.com
๒๑. คำสารภาพของศิษย์ ๕๐
๒๒. ทรรศนะต่างกัน ๕๒
๒๓. อุเบกขาธรรม ๕๓
๒๔. ให้รู้จักบุญ ๕๕
๒๕. อุบายวิธีทำความเพียร ๕๖
๒๖. พระเก่าของหลวงปู่ ๕๗
๒๗. ข้อควรคิด ๕๘
๒๘. ไม่พยากรณ์ ๕๙
๒๙. จะตามมาเอง ๖๐
๓๐. แนะวิธีวางอารมณ์ ๖๑
๓๑. อย่าพูดมาก ๖๒
๓๒. เชื่อจริงหรือไม่ ? ๖๓
๓๓. คิดว่าไม่มีดี ๖๔
๓๔. พระที่คล้องใจ ๖๕
๓๕. จะเอาดีหรือเอารวย ๖๖
๓๖. หลักพระพุทธศาสนา ๖๘
๓๗. “พ” พาน ของหลวงปู่ ๖๙
๓๘. การสอนของท่าน ๗๐
๓๙. หัดมองชั้นลึก ๗๑
๔๐. เวลาเป็นของมีค่า ๗๒
๔๑. ต้องทำจริง ๗๓
๔๒. ของจริงนั้นมีอยู่ ๗๔
๔๓. ล้มให้รีบลุก ๗๕
๔๔. สนทนาธรรม ๗๗

luangpordu.com
๔๕. ผู้บอกทาง ๗๘
๔๖. อย่าทำเล่น ๗๙
๔๗. อะไรมีค่าที่สุด ๘๐
๔๘. นายระนาดเอก ๘๒
๔๙. เสกข้าว ๘๓
๕๐. สำเร็จที่ไหน ๘๔
๕๑. เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา ๘๕
๕๒. คนดีของหลวงปู่ ๘๖
๕๓. สั้นๆ ก็มี ๘๗
๕๔. แบบปฎิบัติธรรมหลวงปู่ดู่เป็นเช่นใด ? ๘๘
๕๕. บทเรียนบทแรก ๙๐
๕๖. หนึ่งในสี่ (อีกครั้ง) ๙๓
๕๗. วิธีคลายกลุ้ม ๙๕
๕๘. อะไรได้ อะไรเสีย ๙๘
๕๙. ความสำเร็จ ๑๐๐
๖๐. อารมณ์ขันของหลวงปู่ ๑๐๒
๖๑. ของหายาก ๑๐๓
๖๒. คนหายาก ๑๐๕
๖๓. ด้วยรักจากศิษย์ ๑๐๗
๖๔. ด้วยรักจากหลวงปู่ ๑๐๙
๖๕. จิ้งจกทัก ๑๑๑
๖๖. หลวงปู่กับศิษย์ใหม่ ๑๑๓
๖๗. คาถาของหลวงปู่ ๑๑๖
๖๘. อย่าให้ใจเหมือน... ๑๑๙

luangpordu.com
๖๙. วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัต ๑๒๑
๗๐. ทำไมหลวงปู่ ๑๒๓
๗๑. “งาน” ของหลวงปู่ ๑๒๖
๗๒. ขอเพียงความรู้สึก ๑๒๘
๗๓. ปาฏิหาริย์ ๑๓๐
๗๔. เรื่องบังเอิญที่ไม่บังเอิญ ๑๓๓
๗๕. คลื่นกระทบฝั่ง ๑๓๕
๗๖. หลวงปู่บอกข้อสอบ ๑๓๙
๗๗. ตัวประมาท ๑๔๒
๗๘. ของโกหก ๑๔๔
๗๙. ถึงวัดหรือยัง ๑๔๕
๘๐. รางวัลทุนภูมิพล ๑๔๗
๘๑. หลวงปู่ทวดช่วยชีวิต ๑๔๙
๘๒. ทามาก็อตจิ ๑๕๒
๘๓. ไตรสรณาคมน์ ๑๕๕
๘๔. ไม่พอดีกัน ๑๕๘
๘๕. ธรรมะจากสัตว์ ๑๖๐
๘๖. สังคมวิปริต ๑๖๒
๘๗. เชื้อดื้อยา ๑๖๔
๘๘. คุณธรรม ๖ ประการ ๑๖๖
๘๙. ลิงติดตัง ๑๖๘
๙๐. ปรารภเรื่อง “การเกิด” ๑๖๙
๙๑. เมด อิน วัดสะแก ๑๗๑
๙๒. หลวงปู่ดู่ หลวงปู่ทวด ๑๗๓

luangpordu.com
๙๓. กรรมฐานพาลจิตเพี้ยน ๑๗๕
๙๔. จะไปทางไหน ๑๗๙
๙๕. ตีเหล็กร้อนๆ ๑๘๑
๙๖. ครูพักลักจำ ๑๘๓
๙๗. ที่สุดแห่งทุกขเวทนา ๑๘๕
๙๘. พุทธนิมิต ๑๘๙
๙๙. หลวงปู่บอกหวย ๑๙๒
๑๐๐. อยากได้วัตถุมงคลของหลวงปู่ ๑๙๖
๑๐๑. เห็นแล้วไม่หัน ๒๐๐
๑๐๒. เปรียบศีล ๒๐๓
๑๐๓. บทเรียนทางธรรม ๒๐๔
๑๐๔. พลิกชีวิต ๒๐๙
๑๐๕. บาป ๒๑๒
๑๐๖. ความเมตตาและขันติธรรมของหลวงปู่ ๒๑๕
๑๐๗. หลวงปู่ตายแล้วต้องลงนรก ? ๒๑๗
๑๐๘. ที่มา​ของ​วัตถุ​มงคล​รุ่น​​“​เปิด​โลก​” ๒๒๑
๑๐๙. ปฏิบัติแบบโง่ๆ ๒๓๑
๑๑๐. พุทธคุณกับการเช็คพระ ! ๒๓๓
๑๑๑. ธรรม ทำให้ครบ ๒๓๗
๑๑๒. ช้าง​มา​ไหว้​หลวง​ปู่ ๒๔๐

ภาคผนวก
• คาถาบูชาพระ ๒๔๔
• คำสมาทานพระกรรมฐาน ๒๔๕

luangpordu.com
luangpordu.com
1 ๑​

ประวัติ​หลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ​
​ชาติ​ภูมิ​
​ พระคุณ​เจ้า​หลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ​​มี​ชาติ​กำเนิด​ใน​สกุล​​“หนู​ศรี”​
เดิม​ชอ่ื ​​ด​ู่ เกิด​เมือ่ ​วนั ​ท​่ี ​๒๙ เมษายน​​พ​.​ศ​.​๒๔๔๗​​ตรง​กบั ​วนั ​ศกุ ร์​ขน้ึ ​​๑๕​​คำ่ ​
เดือน​ ​๖​ ​ปี​มะโรง​ ​ซึ่ง​ตรง​กับ​วัน​วิสาข​บูชา​ ​ณ​ ​บ้าน​ข้าวเม่า​ ​ตำบล​ข้าวเม่า​
อำเภอ​อุทัย​​จังหวัด​พระนครศรีอยุธยา​
​ โยม​บดิ า​ชอื่ ​พ​ ดุ ​โ​ยม​มารดา​ชอื่ ​พ​ มุ่ ​ ท​ า่ น​มพ​ี น​ี่ อ้ ง​รว่ ม​มารดา​เดียวกัน​
๓​​คน​​ท่าน​เป็น​บุตร​คน​สุดท้าย​​มี​โยม​พี่​สาว​​๒​​คน​​มีชื่อ​ตาม​ลำดับ​ดังนี้​
​ ๑​.​​พี่​สาว​ชื่อ​​ทองคำ​​สุ​นิมิตร​
​ ๒​.​​พี่​สาว​ชื่อ​​สุ่ม​​พึ่ง​กุศล​
​ ๓​.​​ตัว​ท่าน​

​ปฐมวัย​และ​การ​ศึกษา​เบื้อง​ต้น​
​ ชีวติ ใ​น​วยั เ​ด็กข​ อง​ทา่ น​ดจ​ู ะ​ขาด​ความ​อบอุน่ อ​ ยูม​่ าก​ด​ ว้ ย​ก​ ำพร้าบ​ ดิ า​
มารดา​ตงั้ แ​ ต่เ​ยาว์ว​ ยั ​น​ าย​ยวง​พ​ งึ่ ก​ ศุ ล​ซ​ งึ่ ม​ ศ​ี กั ดิเ​์ ป็นห​ ลาน​ของ​ทา่ น​ไ​ด้เ​ล่า​
ให้​ฟัง​ว่า​ ​บิดา​มารดา​ของ​ท่าน​มี​อาชีพ​ทำ​นา ​โดย​นอก​ฤดู​ทำ​นา​จะ​มี​อาชีพ​
ทำ​ขนม​ไข่ม​ งคล​ขาย​เ​มือ่ ต​ อน​ทท​ี่ า่ น​ยงั เ​ป็นเ​ด็กท​ ารก​ม​ เ​ี หตุการณ์ส​ ำคัญท​ ​ี่
ควร​บันทึก​ไว้​​คือ​ใน​คืน​วัน​หนึ่ง​ซึ่ง​เป็น​หน้า​น้ำ​​ขณะ​ที่​บิดา​มารดา​ของ​ท่าน​
กำลังท​ อด​“​ ข​ นม​มงคล​”อ​ ยูน​่ นั้ ​ท​ า่ น​ซงึ่ ถ​ กู ว​ าง​อยูบ​่ น​เบาะ​นอกชาน​คน​เดียว​​
ไม่​ทราบ​ด้วย​เหตุ​ใด​ตัว​ท่าน​ได้​กลิ้ง​ตกลง​ไป​ใน​น้ำ​ทั้งคน​ทั้ง​เบาะ​ ​แต่​เป็น​ที่​

luangpordu.com
๒ 2

อัศจรรย์​ยิ่ง​ที่​ตัว​ท่าน​ไม่​จม​น้ำ​​กลับ​ลอย​น้ำ​จน​ไป​ติด​อยู่​ข้าง​รั้ว ​กระทั่ง​สุนัข​
เลีย้ ง​ทบ​ี่ า้ น​ทา่ น​มา​เห็นเ​ข้าจ​ งึ ไ​ด้เ​ห่าพ​ ร้อม​กบั ว​ งิ่ ก​ ลับไ​ป​กลับม​ าระ​หว่าง​ตวั ​
ท่าน​กบั ม​ ารดา​ทา่ น​เ​มือ่ ม​ ารดา​ทา่ น​เดินต​ าม​สนุ ขั เ​ลีย้ ง​ออก​มา​จงึ ไ​ด้พ​ บ​ทา่ น​
ลอย​นำ้ ต​ ดิ อ​ ยูท​่ ข​ี่ า้ ง​รวั้ ​ซ​ งึ่ เ​หตุการณ์ค​ รัง้ น​ นั้ ท​ ำให้ม​ ารดา​ทา่ น​เชือ่ ม​ นั่ ว​ า่ ท​ า่ น​
จะ​ต้อง​เป็น​ผู้​มี​บุญ​วาสนา​มาก​มา​เกิด​
​มารดา​ของ​ทา่ น​ได้​ถงึ แก่​กรรม​ตง้ั ​แต่​ทา่ น​ยงั ​เป็น​ทารก​อยู​่ ต่อ​มา​บดิ า​
ของ​ทา่ น​กจ​็ าก​ไป​อกี ข​ ณะ​ทา่ น​มอี ายุไ​ด้เ​พียง​๔​ ​ข​ วบ​เ​ท่านัน้ ​ท​ า่ น​จงึ ต​ อ้ ง​กำพร้า​
บิดา​มารดา​ตง้ั แ​ ต่ย​ งั เ​ป็นเ​ด็กเ​ล็กจ​ ำ​ความ​ไม่ไ​ด้​ท​ า่ น​ได้อ​ าศัยอ​ ยูก​่ บั ย​ าย​โดย​ม ​ี
โยม​พส​ี่ าว​ทช​ี่ อื่ ส​ มุ่ เ​ป็นผ​ ด​ู้ แู ล​เอาใจ​ใส่​และ​ทา่ น​กไ็ ด้ม​ โ​ี อกาส​ศกึ ษา​เล่าเ​รียน ​
ที่​วัดกลาง​คลอง​สระ​บัว​​วัด​ประดู่​ทรงธรรม​​และ​วัด​นิเวศน์​ธรรม​ประวัติ​

สู่​เพศ​พรหม​จรรย์​
​ เมื่อ​ท่าน​อายุ​ได้​​๒๑​​ปี​​ก็ได้​เข้า​พิธี​บรรพชา​อุปสมบท​เมื่อ​วัน​ที่​​๑๐​​
พฤษภาคม​พ​ .​ศ​ .​​๒​ ๔๖๘​ต​ รง​กบั ว​ นั อ​ าทิตย์แ​ รม​๔​ค​ ำ่ ​เ​ดือน​๖​ ​ณ ​ ​ว​ ดั สะแก​​
ตำบล​ธนู​อ​ ำเภอ​อทุ ยั ​จ​ งั หวัดพ​ ระ​น​ คร​ศรีอยุธยา​โ​ดย​มห​ี ลวง​พอ่ ก​ ลัน่ ​เจ้าอ​ าวาส​
วัด​พระ​ญาติกา​ราม​​เป็น​พระ​อุป​ัชฌาย์​ ​มี​หลวง​พ่อ​แด่​ ​เจ้า​อาวาส​วัด​สะแก​
ขณะ​นน้ั เ​ป็นพ​ ระกร​รม​วา​จา​จาร​ย​์ แ​ ละ​มห​ี ลวง​พอ่ ฉ​ าย​ว​ ดั กลาง​คลอง​สระ​บวั ​
เป็น​พระ​อนุ​สาว​นา​จาร​ย์​​ได้​รับ​ฉายา​ว่า​“​ ​พรหม​ปัญโญ​”​
​ ใน​พรรษา​แรกๆ​ ​นั้น​ ​ท่าน​ได้​ศึกษา​พระ​ปริยัติ​ธรรม​ที่​วัด​ประดู่​
ทรงธรรม​ซ​ งึ่ ใ​น​สมัยน​ นั้ เ​รียก​วา่ ว​ ดั ป​ ระดูโ​่ รง​ธรรม​โ​ดย​มพ​ี ระ​อาจารย์ผ​ ส​ู้ อน​​
คือ​​ท่าน​เจ้า​คุณ​เนื่อง​​พระครู​ชม​​และ​หลวง​พ่อ​รอด​​(​เสือ​)​​เป็นต้น​

luangpordu.com
3 ๓

​ ใน​ด้าน​การ​ปฏิบัติ​พระกร​รม​ฐาน​นั้น​ ​ท่าน​ได้​ศึกษา​กับ​หลวง​พ่อ​
กลั่น​ผู้​เป็น​อุป​ัชฌาย์​ ​และ​หลวง​พ่อ​เภา​ ​ศิษย์​องค์​สำคัญ​ของ​หลวง​พ่อ​กลั่น​
ซึ่ง​มี​ศักดิ์​เป็น​อา​ของ​ท่าน​ ​เมื่อ​ท่าน​บวช​ได้​พรรษา​​ที่​สอง​ประมาณ​ปลาย​ปี​
พ​.​ศ​.​ ๒๔๖๙​ ​หลวง​พ่อ​กลั่น​มรณภาพ ​ท่าน​จึง​ได้​ศึกษา​หาความ​รู้​จาก
​หลวง​พ่อ​เภาเป็น​สำคัญ​ ​นอกจาก​น​้ที า่ น​ยงั ​ได้​ศกึ ษา​จาก​ตำรับ​ตำรา​ท​่มี ​ีอยู่​​
จาก​ชาดก​บา้ ง​ ​ จาก​ธรรมบท​บ้าง​ ​และ​ด้วย​ความ​ที่​ท่าน​เป็น​ผู้​ใฝ่รู้รัก​การ​
ศึกษา​​ ​ท่าน​จึง​ได้เดิน​ทาง​ไป​ศึกษา​หาความ​รู้​เพิ่ม​เติม​จาก​พระ​อาจารย์​อีก​
หลาย​ท่าน​ที่จังหวัดสุพรรณบุรี​และ​สระบุรี​

​ประสบการณ์​ธุดงค์​
​ ประมาณ​เดือน​พฤศจิกายน​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๔๘๖​ ​ออก​พรรษา​แล้ว​ท่าน​ก็​
เริ่ม​ออก​เดิน​ธุดงค์​จาก​จังหวัด​พระนครศรีอยุธยา​​โดย​มี​เป้า​หมาย​ที่​ป่า​เขา​
ทาง​แถบ​จงั หวัดก​ าญจนบุร​ี แ​ ละ​แวะ​นมัสการ​สถาน​ทส​ี่ ำคัญท​ าง​พระพุทธ-​
ศาสนา​​เช่น​​พระพุทธ​ฉาย​และ​รอย​พระ​พุทธ​บาท​​จังหวัด​สระบุรี​​จาก​นั้น​
ท่าน​ก็​เดิน​ธุดงค์​ไป​ยัง​จังหวัด​สิงห์บุรี​ ​สุพรรณบุรี​ ​จนถึง​จังหวัด​กาญจนบุรี​
จึง​เข้า​พัก​ปฏิบัติ​ตาม​​ป่า​เขา​และ​ถ้ำ​ต่างๆ​
​ หลวงปู่ดู่​ ​ท่าน​เคย​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​เริ่ม​แรก​ที่​ท่าน​ขวนขวาย​ศึกษา​และ​
ปฏิบตั ​นิ น้ั ​ ​แท้จริง​มไิ ด้​มงุ่ ​เน้น​มรรคผล​นพิ พาน​ ​หาก​แต่​ตอ้ งการ​เรียน​ร​ใู้ ห้​ได้​
วิชา​ต่าง​ๆ​ ​เป็นต้น​ว่า​ ​วิชา​คงกระพัน​ชาตรี​ ​ก็​เพื่อ​ที่​จะ​สึก​ออก​ไป​แก้​แค้น​
พวก​โจร​ที่​ปล้น​บ้าน​โยม​พ่อ​โยม​แม่​ท่าน​ถึง​ ​๒​ ครั้ง​ ​แต่​เดชะ​บุญ​ ​แม้​ท่าน​
จะ​สำเร็จ​วิชา​ต่าง​ๆ​​ตาม​ที่​ตั้งใจไว้​​ท่าน​กลับ​ได้​คิด​​นึก​สลด​สังเวช​ใจ​ตัว​เอง​

luangpordu.com
๔ 4

ที่​ปล่อย​ให้​อารมณ์​อาฆาต​แค้น​ทำร้าย​จิตใจ​ตนเอง​อยู่​เป็น​เวลา​นับ​สิบ​ๆ​​ปี​
ใน​ที่สุด​ท่าน​ก็ได้​ตั้ง​จิต​อโหสิกรรม​ให้แก่โจรเหล่า​นั้น​ ​แล้ว​มุ่งปฏิบัติฝึกฝน
อบรมตน ตาม​ทางแห่ง​ศีล​สมาธิ​​และ​ปัญญา​​อย่าง​แท้จริง
​ ​ใน​ระหว่าง​ท่ี​ท่าน​เดิน​ธุดงค์​อยู่​น้ัน​ ​ท่าน​เคย​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​ได้​พบ
ฝูง​ควาย​ป่า​กำลัง​เดิน​เข้า​มา​ทาง​ท่าน​ ​ท่าน​ต้งั ​สติ​อยู่​ครู่​หนึ่ง​จึง​ตัดสิน​ใจ​
อย่าง​เด็ด​เดี่ยว​ หยุด​ยืน​ภาว​นา​นิ่ง​อยู่​ ​ฝูง​ควาย​ป่า​ที่​มุ่ง​ตรง​​มา​ทางท่าน​
พอ​เข้า​มา​ใกล้​จะ​ถึง​ตัว​ท่าน​ ​ก็​กลับ​เดิน​ทักษิณา​รอบ​​ท่าน​แล้ว​ก็​จากไป​​
บาง​แห่ง​ที่​ท่าน​เดิน​ธุดงค์​ไป​ถึง​ ​ท่าน​มัก​พบ​กับ​พวก​นักเลง​ที่​ชอบลอง​ของ​
ครั้ง​หนึ่ง​ ​มี​พวก​นักเลง​เอา​ปืน​มา​ยิง​ใส่​ท่าน​ขณะ​นั่ง​ภาวนา​อยู่​ใน​กลด​​
ท่าน​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​ ​พวก​น้ี​ไม่​เคารพ​พระ ​สนใจ​แต่​“​ของดี​”​ ​เมื่อ​ยิง​ปืน​
ไม่​ออก​ ​จึง​พา​กัน​มา​แสดง​ตัว​ด้วย​ความ​​นอบน้อม​ ​พร้อม​กับอ้อนวอน​
ขอ​​“​ของดี​”​​ทำให้​ท่านต้อง​ออก​เดิน​ธุดงค์​หนี​ไป​ทาง​อื่น​
​ การ​ปฏิบัติ​ของ​ท่าน​ใน​ช่วง​ธุดงค์​อยู่​น้นั ​ ​เป็น​ไป​อย่าง​เอา​จริง​เอา​จัง​
ยอม​มอบ​กาย​ถวาย​ชีวิต​ไว้​กับ​ป่า​เขา​ ​แต่​สุขภาพ​ธาตุ​ขันธ์​ของ​ท่าน​ก็​ไม่​
เป็นใจ​เสีย​เลย​ ​บ่อย​ครั้ง​ที่​ท่าน​ต้อง​เอา​ผ้า​มา​คาด​ที่​หน้า​ผาก​เพื่อ​บรรเทา​
อาการ​ปวด​ศีรษะ​ ​อีก​ทั้ง​ก็​มี​อาการ​เท้า​ชา​​รุนแรง​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​ ​แม้​กระนั้น​​
ท่าน​ก็​ยัง​ไม่​ละ​ความ​เพียร​ ​สม​ดัง​ที่​ท่าน​​เคย​สอน​ลูก​ศิษย์​ว่า​ ​“​นิพพาน​อยู่​
ฟาก​ตาย​”​ใ​น​การ​ประพฤติป​ ฏิบตั น​ิ นั้ ​จ​ ำ​ตอ้ ง​ยอม​มอบ​กาย​ถวาย​ชวี ติ ล​ ง​ไป
​ดัง​ที่​ท่าน​เคย​กล่าว​​ไว้​ว่า​ “​ ​ถ้า​มัน​ไม่​ดหี​ รือ​ไม่​ได้​พบ​ความ​จริง​ก็​ให้​มัน​ตาย​
​ถ้า​มัน​ไม่​ตาย​ก็​ให้​มันดี​​หรือ​ได้​พบ​กับ​ความ​จริง​”​

luangpordu.com
5 ๕

​ ดัง​นั้น​ ​อุปสรรค​ต่างๆ​ ​จึง​กลับ​เป็น​ปัจจัย​ช่วย​ให้​จิตใจ​ของ​ผู้​ปฏิบัติ​


แข็งแกร่ง​ขึ้น​เป็น​ลำดับ​

​นิมิต​ธรรม​
​ อยู่​มา​วัน​หนึ่ง​ ประมาณก่อน​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๐๐​ ​เล็ก​น้อย ​หลัง​จาก​
หลวงปู่ดู่​สวด​มนต์​ทำวัตร​เย็น​ ​และ​ปฏิบัติ​กิจ​ส่วน​ตัว​เสร็จ​เรียบร้อย​แล้ว​
ท่าน​ก​จ็ ำวัด​ ​เกิด​นมิ ติ ​ไป​วา่ ​ได้​ฉนั ​ดาว​ท​ม่ี ​แี สง​สว่าง​​มาก​ ​๓​ ​ดวง​ ​ใน​ขณะ​ท่​ี
กำลัง​ฉนั ​อยู​น่ น้ั ​ก​ร็ สู้ กึ ​วา่ ​กร​อบๆ​​ด​ี ​ก​เ็ ลย​​ฉนั ​เข้าไป​ทง้ั หมด​​แล้ว​จงึ ​ตกใจตืน่ ​​
เมือ่ ท​ า่ น​พจิ ารณา​ใคร่ครวญ​ถงึ น​ มิ ติ ธ​ รรม​ทเ​ี่ กิดข​ นึ้ ​ก​ เ​็ กิดค​ วาม​เข้าใจ​
ขึ้น​ว่า​แก้ว​​๓​​ดวง​นั้น​​ก็​คือ​พระ​ไต​รส​รณา​คมน​์​นั่นเอง​​พอ​ท่าน​ว่า​​
“​พุทธ​ัง​ ​สรณ​ัง​ ​คัจฉา​มิ​,​ ธัมมัง​ ​สรณ​ัง​ ​คัจฉา​มิ​,​ ​สังฆ​ัง​ ​สรณ​ัง​​
คัจฉา​มิ​”​ ​ก็​เกิด​อัศจรรย์​ขึ้น​ใน​จิต​ท่าน​ ​พร้อม​กับ​อาการ​ปีติ​อย่าง​ท่วมท้น​​
ทั้ง​เกิด​ความ​รู้สึก​ลึก​ซึ้ง​และ​มั่นใจ​ว่า​ ​พระ​ไต​รส​รณา​คมน​์​นี้​แห​ล่ะ​เป็น​ราก​
แก้ว​ของ​พระพุทธ​ศาสนา​​ท่าน​จึง​กำหนด​เอา​มา​เป็น​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​ตั้ง​
แต่​นั้น​เป็นต้น​มา​เน้น​หนัก​ที่​การ​ปฏิบัติ​
​ หลวงปูด่ ท​ู่ า่ น​ให้ค​ วาม​สำคัญอ​ ย่าง​มาก​ใน​เรือ่ ง​ของ​การ​ปฏิบตั ส​ิ มาธิ​
ภาวนา​​ท่าน​ว่า​“​ ​ถ้า​ไม่​เอา​​(​ปฏิบัต)ิ​​​เป็น​เถ้า​เสีย​ดี​กว่า​”​​ใน​สมัย​ก่อน​เมื่อ​
ตอน​ที่​ศาลาปฏิบัติ​ธรรม​หน้า​กุฏิ​ท่าน​ยัง​สร้าง​ไม่​เสร็จ​นั้น​ ​ท่าน​ก็​เมตตา​ให้​
ใช้​ห้อง​ส่วน​ตัว​ที่​ท่าน​ใช้​จำวัด​ ​เป็น​ที่​รับรอง​สานุ​ศิษย์​และ​ผู้​สนใจ​ได้​ใช้​เป็น​
ที่​ปฏิบัติ​ธรรม​​ซึ่ง​นับ​เป็น​เมตตา​อย่าง​สูง​
​ สำหรับ​ผู้​ที่​ไป​กราบ​นมัสการ​ท่า​นบ่อยๆ​ ​หรือ​มี​โอกาส​ได้​ฟัง​ท่าน​

luangpordu.com
๖ 6

สนทนา​ธรรม​ ​ก็​คงจะ​ได้​เห็น​กุศโลบาย​ใน​การ​สอน​ของ​ท่าน​ที่​จะ​โน้ม​น้าว​
ผู้​ฟัง​ให้​วก​เข้า​สู่​การ​ปรับปรุง​แก้ไข​ตนเอง​ ​เช่น​ ​ครั้ง​หนึ่ง​มี​ลูก​ศิษย์​วิ​พาก​ษ์​
วิจารณ์ค​ น​นนั้ ค​ น​นใ​ี้ ห้ท​ า่ น​ฟงั ใ​น​เชิงว​ า่ ก​ ล่าว​วา่ ​ เป็นต​ น้ เ​หตุข​ อง​ปญ
ั หา​และ​
ความ​ยุ่ง​ยาก​ ​แทนที่​ท่าน​จะ​เออออ​ไป​ตาม​อัน​จะ​ทำให้​เรื่อง​ยิ่ง​บาน​ปลาย​
ออก​ไป​ ​ท่าน​กลับ​ปราม​ว่า​ “​ ​เรื่อง​ของ​คน​อื่น​ ​เรา​ไป​แก้​เขา​ไม่​ได้​ ​ที่​แก้​ได้​
คือ​ตัว​เรา​​แก้​ข้าง​นอก​เป็น​เรื่อง​โลก​แ​ ต่​แก้​ที่​ตัว​เรา​นี่​เป็น​เรื่อง​ธรรม​”​
​ คำ​สอน​ของ​หลวงปู่ดู่​จึง​สรุป​ลง​ที่​การ​ใช้​ชีวิต​อย่าง​คน​ไม่​ประมาท​​
นั่น​หมาย​ถึงว่า​สิ่ง​ที่​จะ​ต้อง​เป็น​ไป​พร้อม​ๆ​ ​กัน​ ​ก็​คือ​ ​ความ​พากเพียร​ที่​ลง​
สู่ภาค​ปฏิบัติ​ ​ใน​มรรค​วิถี​ที่​เป็น​สาระ​แห่ง​ชีวิต​ของ​ผู้​ไม่​ประมาท​ ​ดัง​ที่​ท่าน​
พูด​ย้ำ​เสมอ​ว่า​“​หมั่น​ทำ​เข้า​ไว้​ๆ”​

อ่อนน้อม​ถ่อม​ตน​
​ นอกจาก​ความ​อดทน​อ​ ด​กลัน้ ย​ งิ่ แ​ ล้ว​ห​ ลวงปูด่ ย​ู่ งั เ​ป็นแ​ บบ​อย่าง​ของ​
ผู้​ไม่​ถือตัว​​วางตัว​เสมอ​ต้น​เสมอ​ปลาย​​ไม่​ยก​ตน​ข่ม​ผู้​อื่น​​เมื่อ​ครั้ง​ที่​สมเด็จ​
พระ​พฒ ุ า​ จ​ าร​ย​์ (​เ​สงีย่ ม​)​ว​ ดั ส​ ท​ุ ศั น์เ​ทพว​รา​ราม​ห​ รือท​ เ​ี่ รา​เรียก​กนั ว​ า่ ​“​ ท​ า่ น​
เจ้า​คุณ​เสงี่ยม​”​ ​ซึ่ง​มีอายุ​พรรษา​มาก​กว่า​หลวงปู่ดู่​ ​๑​ ​พรรษา​มา​นมัสการ​
หลวง​พ่อ​โดย​ยกย่อง​เป็น​ครู​เป็น​อาจารย์​ ​แต่​เมื่อ​ท่าน​เจ้า​คุณ​เสงี่ยม​กราบ​
หลวง​พ่อ​เสร็จ​แล้ว​หลวง​พ่อ​ท่าน​ก็​กราบ​ตอบ​ ​เรียก​ว่า​ต่าง​องค์​ต่าง​กราบ​
ซึ่ง​กัน​และ​กัน​เป็น​ภาพ​ที่​พบเห็น​ได้​ยาก​เหลือ​เกิน​ใน​โลก​ที่​ผู้คน​ทั้ง​หลาย​มี​
แต่​จะ​เติบโต​ทาง​ด้าน​ทิฏฐิ​มานะ​ ​ความ​ถือตัว​ ​อวดดี​ ​อวด​เด่น​ ​ยก​ตน​ข่ม​
ท่าน​​ปล่อย​ให้​กิเลส​ตัว​หลง​ออก​เรี่ยราด​​เที่ยว​ประกาศ​ให้​ผู้คน​ทั้ง​หลาย​ได้​

luangpordu.com
7 ๗

รู้​ว่า​ตน​เก่ง​​โดย​เจ้า​ตัว​ก็​ไม่รู้​ว่า​ถูก​กิเลส​ขึ้น​ขี่​คอ​พา​บงการ​ให้​เป็น​ไป​
​ หลวงปู่ดู่​ไม่​เคย​วิ​พาก​ษ์​วิจารณ์​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​ของ​สำนัก​ไหน​​ๆ​
ใน​เชิง​ลบหลู่​หรือ​เปรียบ​เทียบ​ดูถูก​ดู​หมิ่น​​ท่าน​ว่า“​ ​คน​ดีน่ะ​​เขา​ไม่​ตี​ใคร​”​
ซึ่ง​ลูก​ศิษย์​ทั้ง​หลาย​ได้​ถือ​เป็น​แบบ​อย่าง​
​ หลวงปู่ดู่​เป็น​พระ​พูด​น้อย​ ​ไม่​มาก​โวหาร​ ​ท่าน​จะ​พูด​ย้ำ​อยู่​แต่​ใน​
เรื่อง​ของ​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​และ​ความ​ไม่​ประมาท​ ​เช่น​ “​ของดี​อยู่​ที่​ตัว​เรา​​
หมั่นทำ​​(​ปฏิบัติ​)​​เข้า​ไว้​”​​“​ให้​หมั่น​ดู​จิต​​รักษา​จิต​”​​“​อย่า​ลืมตัว​ตาย​”​
และ​“​ ​ให้​หมั่น​พิจารณา​อนิจ​จัง ​ทุก​ขัง​​อนัตตา​”​​เป็นต้น​

​อุบาย​ธรรม​
​ หลวงปูด่ เ​ู่ ป็นผ​ ท​ู้ ม​ี่ อ​ี บุ าย​ธรรม​ลกึ ซ​ งึ้ ​ส​ ามารถ​ขดั เกลา​จติ ใจ​คน​อย่าง​
ค่อย​เป็นค​ อ่ ย​ไป​ม​ ไิ ด้เ​ร่งรัดเ​อา​ผล​เ​ช่นค​ รัง้ ห​ นึง่ ม​ น​ี กั เลง​เหล้าต​ ดิ ตาม​เพือ่ น​
ซึ่ง​เป็น​ลูก​ศิษย์​มาก​ราบ​นมัสการ​ท่าน ​สนทนา​กัน​ได้​สัก​พัก​หนึ่ง​ เพื่อน ​
ทีเ​่ ป็นล​ กู ศ​ ษิ ย์ก​ ช​็ กั ชวน​เพือ่ น​นกั เลง​เ​หล้าใ​ห้ส​ มาทาน​ศลี ​๕​ ​พ​ ร้อม​กบั ฝ​ กึ หัด​
ปฏิบัติ​สมาธิ​ภาวนา​ ​นักเลง​​เหล้า​ผู้​นั้น​ก็​แย้ง​ว่า​ ​“​จะ​มา​ให้​ผม​สมาทาน​ศีล​
และ​ปฏิบัติ​ได้​ยัง​ไง​ ก็​ผม​ยัง​กิน​เหล้า​เมา​ยา​อยู่​นี่​ครับ​”​ ​หลวงปู่ดู่​ท่าน​ก็ ​
ตอบ​วา่ ​“​ เ​อ็งจ​ ะ​กนิ ก​ ก​็ นิ ไ​ป​ซ​ิ ข​ า้ ไ​ม่ว​ า่ ​แ​ ต่ใ​ ห้เ​อ็งป​ ฏิบตั ใ​ิ ห้ข​ า้ ว​ นั ล​ ะ​๕​ ​น​ าที​
ก็​พอ​”​ ​นักเลง​เหล้า​ผู้​นั้น​เห็น​ว่า​นั่ง​สมาธิ​แค่​วัน​ละ​ ​๕​ ​นาที​ ​ไม่ใช่​เรื่อง​ยาก​
เย็น​อะไร​​จึง​ได้​ตอบ​ปาก​รับคำ​จาก​หลวง​พ่อ​
​ ด้วย​ความ​ที่​เป็น​คน​นิสัย​ทำ​อะไร​ทำ​จริง​ ​ซื่อสัตย์​ต่อ​ตัว​เอง​​ทำให้​
เขา​สามารถ​ปฏิบัติ​ได้​สม่ำเสมอ​เรื่อย​มา​มิได้​ขาด​แม้แต่​วัน​เดียว ​บาง​ครั้ง ​

luangpordu.com
๘ 8

ถึง​ขนาด​งด​ไป​กิน​เหล้า​กับ​เพื่อน​ ​ๆ​ ​เพราะ​ได้​เวลา​ปฏิบัติ​ ​จิต​ของ​เขา


​เริ่ม​เสพ​คุ้น​กับ​ความ​สุข​สงบ​จาก​การ​ที่​จิต​เป็น​สมาธิ​ ​ไม่​ช้า​ไม่​นาน​เขา​
ก็ ​ส ามารถ​เ ลิ ก ​เ หล้ า ​ไ ด้ ​โ ดย​ไ ม่ รู้ ​ตั ว ​ด้ ว ย​อุ บ าย​ธ รรม​ที่ ​น้ อ มนำ​ม า​จ าก​
หลวง​ปู่​ ​ต่อ​มา​เขา​ได้​มี​โอกาส​มา​นมัสการ​ท่าน​อีก​ครั้ง​ ​ที่​นี้​หลวงปู่ดู่ท่าน​
ให้​โอวาท​ว่า​ ​“​ที่​แก​ปฏิบัติ​อยู่​ ​ให้​รู้​ว่า​ไม่​ใช่​เพื่อ​ข้า​ แต่​เพื่อ​ตัว​แก​เอง​”​
คำ​พูด​ของ​หลวง​ปู่​ทำให้​เขา​เข้า​ใจ​อะไร​มาก​ขึ้น​ ​ศรัทธาและ​ความ​เพียร
​ต่อ​การ​ปฏิบัติ​ก็​มี​มาก​ขึ้น​ตาม​ลำดับ​ ​ถัด​จาก​นั้น​ไม่​กี่​ปี​ ​เขา​ผู้​ที่​อดีต​
เคย​เป็น​นักเลง​เหล้า​ก็​ละ​เพศ​ฆราวาส​เข้า​สู่​เพศ​บรรพชิต ตั้งใจปฏิบัติ​
ธรรม​เรื่อย​มา​
​ อีก​ครั้ง​หนึ่ง​มี​ชาว​บ้าน​หา​ปลา​มา​นมัสการ​ท่าน​​และ​ก่อน​กลับ​​ท่าน​
ก็​ให้​เขา​สมาทาน​ศีล​ ​๕​ ​เขา​เกิด​ตะขิดตะขวง​ใจ​กราบ​เรียน​ท่าน​ว่า​ ​“​ผม​ไม่​
กล้า​สมาทาน​ศีล​ ​๕​ ​เพราะ​รู้​ว่า​ประ​เดี๋ยว​ก็​ต้อง​ไป​จับ​ปลา​ ​จับ​กุ้ง​ ​มัน​เป็น​
อาชีพ​ของ​ผม​ครับ​”​ ​หลวง​ปู่​ตอบ​เขา​​ด้วย​ความ​เมตตา​ว่า​ ​“​แก​จะ​รู้​เห​รอ
​ว่า​ ​แก​จะ​ตาย​เมื่อ​ไหร่​ ​ไม่​แน่​ว่า​แก​เดิน​ออก​ไป​จาก​กุฏิ​ข้า​แล้ว​ ​อาจ​ถูก​งู​
กัด​ตาย​เสีย​กลาง​​ทาง​ก่อน​ไป​จับ​ปลา​ ​จับ​กุ้ง​ ​ก็ได้​ ​เพราะ​ฉะนั้น​เมื่อ​ตอน​นี้​
แก​​ยัง​ไม่​ได้​ทำบาป​กรรม​อะไร​​ยัง​ไงๆ​​ก็​ให้​มี​ศีล​ไว้​ก่อน​​ถึง​จะ​มี​ศีล​ขาด​ก็​ยัง​
ดี​กว่า​ไม่มี​ศีล​”​
​ หลวงปู่ ดู่ ​ท่ า นไม่ ​เ พี ย ง​พ ร่ ำ ​ส อน​ใ ห้ ​บ รรดา​ศิ ษ ย์ ​ทั้ ง ​ห ลาย​เจริ ญ​
บำเพ็ญ​คุณ​งาม​ความ​ดี​เท่านั้น​ ​หาก​แต่​ยัง​เน้น​ย้ำ​ให้​เห็น​ความ​​สำคัญ​และ​
ระมัดระวัง​ใน​การ​รักษา​ไว้​ซึ่ง​คุณ​งาม​ความ​ดี​นั้น​ๆ​ ​ให้​คง​อยู่​ ​รวม​ทั้ง​เจริญ​
งอกงาม​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​ ​ท่าน​มัก​จะ​พูด​เตือน​เส​มอๆ​​ว่า​เมื่อ​ปลูก​ต้น​ธรรม​ด้วย​

luangpordu.com
9 ๙

ดีแล้ว​ก็​ต้อง​คอย​หมั่น​ระวัง​อย่า​ให้​หนอน​และ​แมลง​ ​ได้แก่​ ​ความ​โลภ​​


ความ​โกรธ​ ​และ​ความ​หลง​ ​มา​กัด​กิน​ทำลาย​ต้น​ธรรม​ที่​อุตส่าห์​ปลูก​ขึ้น​​
และ​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ที่​ท่าน​แสดง​ถึง​แบบ​อย่าง​ของ​ความ​เป็น​ครู​อาจารย์​ที่​
ปราศ​จาก​ทิฏฐิ​มานะ​และ​​เปี่ยม​ด้วย​อุบาย​ธรรม​ ​ก็​คือ​ครั้ง​ที่​มี​นัก​ศึกษา
มหาวิทยาลัย​ธรรม​ศาสตร์​ ​๒​ ​คน​ ​ซึ่ง​เป็น​ลูก​ศิษย์​ของ​ท่าน​ ​มาก​ราบ​ลา​
พร้อม​กับ​เรียน​ให้ท่า​นท​ราบ​ว่า​ จะ​เดิน​ทาง​ไป​พัก​ค้าง​​เพื่อ​ปฏิบัติ​ธรรม​
กับท​ า่ น​พระ​อาจารย์ม​ หา​บวั ​ญ ​ าณ​สมั ป​ นั โ​น​ว​ ดั ป​ า่ บ​ า้ น​ตาด​จ​ งั หวัดอ​ ดุ รธานี​
​หลวงปู่ดู่​ท่าน​ฟัง​แล้ว​ก็​ยกมือ​พนม​ขึ้น​ไหว้​ไป​ทาง​ข้างๆ​ พร้อม​กับ​
พูด​ว่า​ ​“​ข้า​โม​ทนา​กับ​พวก​แก​ด้วย​ ​ตัว​ข้า​ไม่มี​โอกาส​.​.​.​”​ ไม่มี​เลย​ที่​ท่าน​
จะ​ห้าม​ปราม​หรือ​แสดง​อาการ​ที่​เรียก​ว่า​หวง​ลูก​ศิษย์​ ตรง​กัน​ข้าม​มี​แต่​จะ​
ส่ง​เสริม​ ​สนับสนุน​ ​ให้​กำลัง​ใจ​เพื่อ​ให้​ลูก​ศิษย์​ของ​ท่าน​ขวนขวาย​ใน​การ​
ปฏิบัติ​ธรรม​ยิ่ง​ๆ​​ขึ้น​ไป​
​แต่​ถ้า​เป็น​กรณี​ที่​มี​ลูก​ศิษย์​มา​เรียน​ให้ท่า​นท​ราบ​ถึง​ครู​อาจารย์​นั้น​
องค์​นี้​ ​ใน​ลักษณะ​ตื่น​ครู​ตื่น​อาจารย์​ ​ท่าน​ก็​จะ​ปราม​​เพื่อ​วก​เข้า​สู่​เจ้า​ตัว​
โดย​พูด​เตือน​สติ​ว่า​ ​“​ครู​อาจารย์​ดีๆ​ ​แม้​จะ​มี​อยู่​มาก​ ​แต่​สำคัญ​ที่​ตัว​แก​
ต้อง​ปฏิบัติ​ให้​จริง​​สอน​ตัว​เอง​ให้​มาก​​นั่น​แหละ​จึง​จะ​ดี​”​
​ หลวงปู่ดู่​ท่าน​มี​แนวทาง​การ​สอน​ธรรมะ​ที่​เรียบ​ง่าย ฟัง​ง่าย​ ​ชวน​
ให้​ติดตาม​ฟัง​​ท่าน​นำ​เอา​สิ่ง​ที่​เข้าใจ​ยาก​มา​แสดง​ให้​เข้า​ใจง่าย​​เพราะ​ท่าน​
จะ​ยก​อปุ มา​อปุ ไมย​ประกอบ​ใน​การ​สอน​ธรรมะ​จ​ งึ ท​ ำให้ผ​ ฟ​ู้ งั เ​ห็นภ​ าพ​และ​
เกิดค​ วาม​เข้าใจ​ใน​ธรรม​ทท​ี่ า่ น​นำ​มา​แสดง​แ​ ม้วา่ ท​ า่ น​มกั จ​ ะ​ออกตัวว​ า่ ท​ า่ น​
เป็นพ​ ระ​บา้ น​นอก​ทไ​ี่ ม่มค​ี วาม​ร​ อ​ู้ ะไร​แ​ ต่ส​ ำหรับบ​ รรดา​ศษิ ย์ท​ งั้ ห​ ลาย​ค​ ง​ไม่​

luangpordu.com
๑๐ 10

อาจ​ปฏิเสธ​ว่า ​หลาย​ครั้ง​ที่​ท่าน​สามารถ​พูด​แทง​เข้าไป​ถึง​ก้น​บึ้ง​หัวใจ​
ของ​ผู้​ฟัง​ที​เดียว​
อ​ กี ป​ ระการ​หนึง่ ​ด​ ว้ ย​ความ​ทท​ี่ า่ น​มร​ี ปู ร​ า่ ง​ลกั ษณะ​ทเ​ี่ ป็นท​ น​ี่ า่ เ​คารพ​
เลือ่ ม​ใส​เ​มือ่ ใ​คร​ได้ม​ า​พบเห็นท​ า่ น​ดว้ ย​ตนเอง​แ​ ละ​ถา้ ย​ งิ่ ไ​ด้ส​ นทนา​ธรรม​กบั ​
ท่าน​โดยตรง​ก​ จ​็ ะ​ยงิ่ เ​พิม่ ค​ วาม​เคารพ​เลือ่ ม​ใส​และ​ศรัทธา​ใน​ตวั ท​ า่ น​มาก​ขนึ้ ​
เป็น​ทวีคูณ​
​ หลวงปู่ดู่​ท่าน​พูด​ถึง​การ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ของ​คน​สมัย​นี้​ว่า​ ​“​คน​เรา​
ทุก​วัน​นี้​ ​โลก​เท่า​แผ่น​ดิน​ ​ธรรม​เท่า​ปลาย​เข็ม​ ​เรา​​มัว​พา​กัน​ยุ่ง​อยู่​กับ​โลก​
จน​เหมือน​ลิง​ติด​ตัง​​เรื่อง​ของ​โลก​​เรื่อง​เละ​ๆ​​เรื่อง​ไม่มี​ที่​สิ้น​สุด​​เรา​ไป​แก้ไข​
เขา​ไม่ไ​ด้จ​ ะ​ตอ้ ง​แก้ไข​ทต​ี่ วั เ​รา​เอง​ต​ น​ของ​ตน​เตือน​ตน​ดว้ ย​ตนเอง​” ​ ท่าน​ได้​
อบรม​สงั่ ส​ อน​ศษิ ย์​โ​ดย​ให้พ​ ยายาม​ถอื เ​อา​เหตุการณ์ต​ า่ งๆ​ท​ เ​ี่ กิดข​ นึ้ ม​ า​เป็น​
ครู​สอน​ตนเอง​เสมอ​​เช่น​​ใน​หมู่​คณะ​​หาก​มี​ผู้​ใด​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ดี​​เจริญ​ใน​
ธรรม​ปฏิบัติ​ ​ท่าน​ก็​กล่าว​​ชม​และ​ให้​ถือ​เป็น​แบบ​อย่าง​ ​แต่​ถ้า​มี​ผู้​ประพฤติ​
ผิด​​ถูก​ท่าน​ตำหนิ​ติ​เตียน​​ก็​ให้​น้อม​เอา​เหตุ​กา​รณ์​นั้น​ๆ​​มา​สอน​ตน​ทุก​ครั้ง​
ไป​ท​ า่ น​ไ​ม่ไ​ด้ช​ ม​ผท​ู้ ำ​ดจ​ี น​หลงลืมต​ น​แ​ ละ​ทา่ น​ไม่ไ​ด้ต​ เ​ิ ตียน​ผท​ู้ ำ​ผดิ จ​ น​หมด​
กำลัง​ใจ​​แต่​ถือ​เอา​เหตุ​กา​รณ์ ​เป็น​เสมือน​ครู​ที่​เป็น​ความ​จริง ​แสดง​​เหตุผล​
ให้​เห็น​ธรรม​ที่แท้​จริง​
​ การ​สอน​ของ​ท่าน​ก็​พิจารณา​ดู​บุคคล​ด้วย​​เช่น​​คน​บาง​คน​พูด​ให้​ฟัง​
เพียง​อย่าง​เดียว​​ไม่​เข้าใจ​​บางที​ท่าน​ก็​ต้อง​ทำให้​เกิด​ความ​กลัว​​เกิด​ความ​
ละอาย​บ้าง​ถึง​จะ​หยุด​ ​เลิก​ละ​การ​กระทำ​ที่​ไม่​ดี​นั้น​ๆ​ ​ได้​ ​หรือ​บาง​คน​เป็น​
ผู้​มี​อุปนิสัย​เบาบาง​อยู่​แล้ว​ ​ท่าน​ก็​สอน​ธรรมดา​ ​การ​สอน​ธรรมะ​ของ​ท่าน​​

luangpordu.com
11 ๑๑

บางที​ก็​สอน​ให้​กล้า​​บางที​ก็​สอน​ให้​กลัว​​ที่​ว่า​สอน​ให้​กล้า​นั้น​​คือ​​ให้​กล้า​ใน​
การ​ทำความ​ดี​ ​กล้า​ใน​การ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​เพื่อ​ถอดถอน​กิเลส​ออก​จาก​ใจ
​ไม่​ให้​ตก​เป็น​ทาส​ของ​กิเลส​อยู่​ร่ำไป​ ​ส่วน​ที่​สอน​ให้​กลัว​นั้น​ ​ท่าน​ให้​กลัว​ใน​
การ​ทำ​​ความ​ชั่ว​ ​ผิด​ศีล​ธรรม​ ​เป็น​โทษ​ ​ทำ​แล้ว​ผู้​อื่น​เดือด​ร้อน​ ​บางที​ท่าน​
ก็ส​ อน​ให้เ​ชือ่ ​ค​ อื ใ​ห้เ​ชือ่ ม​ นั่ ใ​น​คณ ุ พ​ ระพุทธ​พ​ ระ​ธรรม​พ​ ระ​สงฆ์​เ​ชือ่ ใ​น​เรือ่ ง​
กรรม​ ​อย่าง​ที่​ท่าน​เคย​กล่าว​ว่า​ ​“​เชื่อ​ไหม​ล่ะ​ ​ถ้า​เรา​เชื่อ​จริง​ ​ทำ​จริง​ ​มัน​ก็​
เป็น​ของ​จริง​​ของ​จริง​มี​อยู่​​แต่​เรา​มัน​ไม่​เชื่อ​จริง​​จึง​ไม่​เห็น​ของ​จริง​”​
​หลวงปู่ดู่​ท่าน​สอน​ให้​มี​ปฏิปทา​สม่ำเสมอ​ ​ท่าน​ว่า​“​ขยัน​ก็​ให้​ทำ​
ขีเ​้ กียจ​กใ​็ ห้ท​ ำ​ถ​ า้ ว​ นั ไ​หน​ยงั ก​ นิ ข​ า้ ว​อยูก​่ ต​็ อ้ ง​ทำ​วนั ไ​หน​เลิกก​ นิ ข​ า้ ว​แล้ว​น​ นั่ ​
แหละ​​จึง​ค่อย​เลิก​ทำ​”​
ก​ าร​สอน​ของ​ทา่ น​นนั้ ม​ ไิ ด้เ​น้นแ​ ต่เ​พียง​การ​นงั่ ห​ ลับต​ า​ภาวนา​ห​ าก​แต่​
หมาย​รวม​ไป​ถึง​การ​กำหนด​ดู​ ​กำหนด​รู้​ ​และ​พิจารณา​สิ่ง​ต่าง​ ​ๆ​ ​ใน​ความ​
เป็นข​ อง​ไม่เ​ทีย่ ง​เ​ป็นท​ กุ ข์​เ​ป็นอ​ นัตตา​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ​ท​ า่ น​ชใ​ี้ ห้เ​ห็นถ​ งึ ​
สังขาร​ร่างกาย​ที่​มัน​เกิด​มัน​ตาย​อยู่​ตลอด​เวลา​ ​ท่าน​ว่า​ ​เรา​วัน​นี้​กับ​เรา​เมื่อ​
ตอน​เป็นเ​ด็กม​ นั ก​ ไ​็ ม่เ​หมือน​เก่า​เ​รา​ขณะ​นก​ี้ บั เ​รา​เมือ่ ว​ าน​กไ​็ ม่เ​หมือน​เก่า​จ​ งึ ​
ว่า​เรา​เมื่อ​ตอน​เป็น​เด็ก​​หรือ​เรา​เมื่อ​วาน​มัน​ได้​ตาย​ไป​แล้ว​​เรียก​ว่า​ร่างกาย​
เรา​มัน​เกิด​​-​​ตาย​​อยู่​ทุก​ลม​หายใจ​เข้า​ออก​​มัน​เกิด​​-​​ตาย​​อยู่​ทุก​ขณะ​จิต​
ท่าน​สอน​ให้​บรรดา​ศิษย์​เห็น​จริง​ถึง​ความ​สำคัญ​ของ​ความ​ทุกข์​ยาก​ ว่า
​เป็น​สิ่ง​มี​คุณค่า​ใน​โลก​
​ท่าน​จึง​พูด​บ่อย​ครั้ง​ว่า​​การ​ที่​เรา​ประสบ​ทุกข์​​นั่น​แสดง​ว่า​เรา​มา​ถูก​
ทาง​แล้ว​​เพราะ​อาศัย​ทุกข์​นั่น​แหละ​​จึง​ทำให้​เรา​เกิด​ปัญญา​ขึ้น​ได้​

luangpordu.com
๑๒ 12

​ใช้​ชีวิต​อย่าง​ผู้​รัก​สันโดษ​และ​เรียบ​ง่าย​
​ หลวงปูด่ ท​ู่ า่ น​ยงั เ​ป็นแ​ บบ​อย่าง​ของ​ผม​ู้ กั น​ อ้ ย​สนั โดษ​ใช้ช​ วี ติ เ​รียบ​งา่ ย​​
ไม่​นิยม​ความ​หรูหรา​ฟุ่มเฟือย​​แม้แต่​การ​สรง​น้ำ​​ท่าน​ก็​ยัง​ไม่​เคย​ใช้​สบู่​เลย​​
แต่​ก็​น่า​อัศจรรย์​เมื่อ​ได้​ทราบ​จาก​พระ​อุปัฏฐาก​ว่า​ ​ไม่​พบ​ว่า​ท่าน​มี​กลิ่น​ตัว​​
แม้​ใน​ห้อง​ที่​ท่าน​จำวัด​
​ มี​ผู้​ปวารณา​ตัว​จะ​ถวาย​เครื่อง​ใช้​และ​สิ่ง​อำนวย​ความ​สะดวก​ต่างๆ​​
ให้​กับ​ท่าน​ ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​ท่าน​จะ​ปฏิเสธ​ ​คง​รับ​ไว้​บ้าง​เท่า​ที่​เห็น​ว่า​ไม่​เกิน​
เลย​อัน​จะ​เสีย​สมณะ​สารูป​ ​และ​ใช้สอย​พอ​ให้​ผู้​ถวาย​ได้​เกิด​ความ​ปลื้มปีติ​
ที่​ได้​ถวาย​แก่​ท่าน​ ​ซึ่ง​ใน​ภาย​หลัง​ท่าน​ก็​มัก​ยก​ให้​เป็น​ของ​สงฆ์​ส่วน​รวม​​
เช่น​เดียว​กับข้าว​ของ​ต่างๆ​ ​ที่​มี​ผู้​มา​ถวาย​เป็น​สังฆทาน​โดย​ผ่าน​ท่าน​ และ
​เมื่อ​ถึง​เวลา​เหมาะ​ควร​​ท่าน​ก็​จะ​​จัดสรร​ไป​ให้​วัด​ต่างๆ​ ​ที่​อยู่​ใน​ชนบท ​
และ​ยัง​ขาดแคลน​อยู่​
​ สิ่ง​ที่​ท่าน​ถือ​ปฏิบัติ​สม่ำเสมอ​ใน​เรื่อง​ลาภ​สัก​การ​ะ​ ​ก็​คือ​การ​ยก​ให้​
เป็น​ของ​สงฆ์​ส่วน​รวม​ ​แม้​ปัจจัย​ที่​มี​ผู้​ถวาย​ให้​กับ​ท่าน​เป็น​ส่วน​ตัว​สำหรับ​
ค่า​รักษา​พยาบาล​ ​ท่าน​ก็​สมทบ​เข้า​ใน​กองทุน​สำหรับ​จัดสรร​ไป​ใน​กิจ​
สาธารณประโยชน์​ต่างๆ​​ทั้ง​โรงเรียน​และ​โรง​พยาบาล​
​ หลวงปู่ดู่​​ท่าน​ไม่มี​อาการ​แห่ง​ความ​เป็น​ผู้​อยาก​เด่น​อยาก​ดัง​แม้แต่​
น้อย​ ​ดัง​นั้น​ ​แม้​ท่าน​จะ​เป็น​เพียง​พระ​บ้าน​นอก​รูป​หนึ่ง​ซึ่ง​ไม่​เคย​ออก​จาก​
วัด​ไป​ไหน​ ​ทั้ง​ไม่มี​การ​ศึกษา​ระดับ​สูง​ๆ​ ​ใน​ทาง​โลก​ ​แต่​ใน​ความ​รู้สึก​ของ​
ลูก​ศิษย์​ทั้ง​หลาย​ ​ท่าน​เป็น​ดั่ง​พระ​เถระ​ผู้​ถึง​พร้อม​ด้วย​จริยวัตร​อัน​งดงาม​​
สงบ​​เรียบ​ง่าย​​เบิก​บาน​​และ​ถึง​พร้อม​ด้วย​ธรรม​วุฒิ​ที่​รู้​ถ้วน​ทั่ว​ใน​วิชชา​อัน​
luangpordu.com
13 ๑๓

จะ​นำพา​ให้​พ้น​เกิด​​พ้น​แก่​​พ้น​เจ็บ​​พ้น​ตาย​​ถึง​ฝั่ง​อัน​เกษม​​เป็น​ที่​ฝาก​เป็น​
ฝาก​ตาย​และ​ฝาก​หัวใจ​ของ​ลูก​ศิษย์​ทุก​คน​
​ใน​เรื่อง​ทรัพย์​สมบัติ​ดั้งเดิม​ของ​ท่าน​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ที่​นา​ ​ซึ่ง​มี​
อยู่​ประมาณ​​๓๐​​ไร่​​ท่าน​ก็ได้​แบ่ง​ให้​กับ​หลาน​ๆ​​ของ​​ท่าน​​ซึ่ง​ใน​จำนวน​นี้​
นาย​ยวง​ ​พึ่ง​กุศล​ ​ผู้​เป็น​บุตร​ของ​นาง​สุ่ม​ ​โยม​​พี่สาว​คนกลาง​ที่​เคย​เลี้ยง​ดู​
ท่าน​มา​ตลอด​ ​ก็ได้​รับ​ส่วน​แบ่ง​ที่​นา​จาก​ท่าน​ด้วย​จำนวน​ ​๑๘​ ​ไร่​เศษ​ ​แต่​
ด้วย​ความ​ที่​นาย​ยวง​​ผู้​เป็น​หลาน​ของ​ท่าน​นี้​ไม่มี​ทายาท​ ​ได้​คิด​ปรึกษา​นาง​
ถม​ยา​ผู้​ภรรยา​เห็น​ควร​ยก​ให้​เป็น​สาธารณประโยชน์​ ​จึง​ยก​ที่ดิน​แปลง​
นี้​ให้​กับ​โรงเรียน​​วัด​สะแก​ ​ซ่งึ ​หลวงปู่ด่​ทู ่า​นก็อนุโม​ทนา​ใน​กุศล​เจตนา​ของ​
คน​ทง้ั ​สอง​

​กุศโลบาย​ใน​การ​สร้าง​พระ​
​ หลวงปู่ดู่​ท่าน​มิได้​ตั้ง​ตัว​เป็น​เกจิ​อาจารย์​ ​การ​ที่​ท่าน​​สร้าง​หรือ​
อนุญาต​ให้​สร้าง​พระ​เครื่อง​หรือ​พระ​บูชา​ ​ก็​เพราะ​เห็น​ประโยชน์​ ​เพราะ​
บุคคล​จำนวน​มาก​ยัง​ขาด​ที่​ยึด​เหนี่ยว​ทาง​จิตใจ ​ท่าน​มิได้​จำกัด​ศิษย์​อยู่
เฉพาะ​กลุ่ม​ใด​กลุ่ม​หนึ่ง​ ​ดัง​นั้น​คณะ​ศิษย์​ของ​​ท่าน​จึง​มี​กว้าง​ขวาง​ออก​
ไป​ ​ทั้ง​ที่​ใฝ่ใจ​ธรรม​ล้วน​ ​ๆ​ ​หรือ​ที่​ยัง​ต้อง​​อิง​กับ​วัตถุ​มงคล​ ​ท่าน​เคย​พูด​ว่า​
“​ติด​วัตถุ​มงคล​​ก็​ยัง​ดี​กว่า​ที่​จะ​ให้​ไป​ติด​วัตถุ​อัปมงคล​”​​ทั้งนี้​ท่าน​ย่อม​ใช้​
ดุลย​พินิจ​พิจารณา​ตาม​ความ​เหมาะ​ควร​แก่​ผู้​ที่​ไป​หา​ท่าน​
​ แม้ว่า​หลวงปู่ดู่​จะ​รับรอง​ใน​ความ​ศักดิ์​สิทธิ์​ของ​พระ​​เครื่อง​ที่​ท่าน​
อธิษฐาน​จติ ใ​ห้​แ​ ต่ส​ งิ่ ท​ ท​ี่ า่ น​ยกไว้เ​หนือก​ ว่าน​ นั้ ก​ ค​็ อื ก​ าร​ป​ ฏิบตั ​ิ ด​ งั จ​ ะ​เห็นไ​ด้​

luangpordu.com
๑๔ 14

จาก​คำ​พดู ​ของ​ทา่ น​วา่ ​“​ ​เอา​ของ​จริง​ด​กี ว่า​พุทธ​งั ฯ​​ธมั มังฯ​​สงั ฆ​งั ฯ​​สรณ​งั ​
คัจฉา​มิ​​นี่​แหละ​ของ​แท้​”​
​ จาก​คำ​พูด​นี้​​จึง​เสมือน​เป็นการ​ยืนยัน​ว่าการ​ปฏิบัติ​ภาวนา​นี้​แหละ​
เป็น​ที่สุด​แห่ง​เครื่องราง​ของ​ขลัง​ ​เพราะ​คน​บาง​คน​แม้​แขวน​​พระ​ที่​ผู้ทรง​
คุณว​ เิ ศษ​อธิษฐาน​จติ ใ​ห้ก​ ต็ าม​ก​ ใ​็ ช่ว​ า่ จ​ ะ​รอด​ปลอดภัยอ​ ยูด่ ม​ี ส​ี ขุ ไ​ป​ทกุ ก​ รณี​
อย่างไร​เสีย​ทุก​คน​ไม่​อาจ​หลีก​หนี​วิบาก​กรรม​​ที่​ตน​ได้​สร้าง​ไว้​ ​ดัง​ที่​ท่าน​
ได้กล่าว​ไว้​ว่า​​สิ่ง​ศักดิ์​สิทธิ์​ที่​อยู่​เหนือ​สิ่ง​ศักดิ์​สิทธิ์​​ก็​คือ​​กรรม​
​ ดัง​นั้น​​จึง​มี​แต่​​พระ​​“​สติ​”​​พระ​​“​ปัญญา​”​​ที่​ฝึกฝน​อบรม​​มา​ดีแล้ว​
เท่านั้น​ ​ที่​จะ​ช่วย​ให้​ผู้​ปฏิบัติ​รู้​เท่า​ทัน​และ​พร้อม​ที่​จะ​เผชิญ​กับ​ปัญหา​และ​
สิ่ง​กระทบ​ต่าง​ๆ​ ​ที่​เข้า​มา​ใน​ชีวิต​ ​อย่าง​ไม่​ทุกข์​ใจ​ ​ดุจ​ว่า​สิ่ง​เหล่า​นั้น​เป็น​
เสมือน​ฤดูกาล​ที่​ผ่าน​เข้า​มา​ใน​ชีวิต​ ​บาง​ครั้ง​ร้อน​บาง​ครั้ง​หนาว​ ​ทุก​สิ่ง ​
ทุก​อย่าง​ล้วน​เป็น​ไป​ตาม​ธรรมดา​ของ​โลก​
​ พระ​เครื่อง​หรือ​พระ​บูชา​ต่างๆ​ ​ที่​ท่าน​อธิษฐาน​ปลุก​เสก​ให้​แล้ว​นั้น​
ปรากฏ​ผล​แก่​ผู้​บูชา​ใน​ด้าน​ต่างๆ​ ​เช่น​ ​แคล้วคลาด​ฯลฯ ​นั่น​ก็​เป็น​เพียง​
ผลพลอยได้​ ​ซึ่ง​เป็น​ประโยชน์​ทาง​โลกๆ​ ​แต่​ประโยชน์​ที่​ท่าน​สร้าง​มุ่ง​หวัง​
อย่าง​แท้จริง​นั้น​ก็​คือ​ ​ใช้​เป็น​เครื่อง​มือ​ในก​าร​ปฏิบัติ​ภาวนา​ ​มี​พุทธ​านุ​สติ​
กรรม​ฐาน​ ​เป็นต้น​ ​นอกจาก​นี้​แล้ว​ผู้​ปฏิบัติ​ยัง​ได้​อาศัย​พลังจิต​ที่​ท่าน​ตั้งใจ​
บรรจุ​ไว้​ใน​พระ​เครื่อง​ช่วย​น้อมนำ​และ​ประ​คับ​ประคอง​ให้​จิต​รวม​สงบ​ได้​
เร็ว​ขึ้น​ ​ตลอด​ถึง​การ​ใช้​เป็น​เครื่อง​เสริม​กำลัง​ใจ​และ​ระงับ​ความ​หวาด​วิตก​
ในขณะ​ปฏิบัต ิ​ ​ถือ​เป็น​ประโยชน์​ทาง​ธรรม​ซึ่ง​ก่อ​ให้​เกิด​พัฒนาการ​ทาง​จิต​
ของ​​ผู้​ใช้​ไป​สู่​การ​พึ่งพา​ตนเอง​ได้​ใน​ที่สุด​

luangpordu.com
15 ๑๕

​ จาก​ทเ​่ี บือ้ ง​ตน้ ​เ​รา​ได้อ​ าศัย​พ​ ทุ ธ​งั ​ส​ รณ​งั ​ ค​ จั ฉา​ม ​ิ ธมั มัง ​ ส​ รณ​งั ​ค​ จั ฉา​ม​ิ
และ​ ​สังฆ​ัง​ ​สรณ​ัง​ ​คัจฉา​มิ​ ​คือ​ยึด​เอา​พระพุทธ​ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​เป็น​
สรณะ​จ​ น​จติ ข​ อง​เรา​เกิดศ​ รัทธา​โ​ดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ท​ เ​ี่ รา​เรียก​กนั ว​ า่ ​ต​ ถาคต​
โพธิ​สัทธา​ ​คือ​เชื่อ​ปัญญา​ตรัสรู้​ของ​พระพุทธเจ้า​ขึ้น​แล้ว​ ​เรา​ก็​ย่อม​เกิด​
กำลังใ​จ​ขนึ้ ว​ า่ พ​ ระพุทธ​องค์เ​ดิมก​ เ​็ ป็นค​ น​ธรรมดา​เช่นเ​ดียว​กบั เ​รา​ค​ วาม​ผดิ ​
พลาด​พระองค์​ก็​เคย​ทรง​ทำ​มา​ก่อน​ ​แต่​ด้วย​ความ​เพียร​ประกอบ​กับ​พระ​​
สติ​ปัญญา​ที่​ทรง​อบรม​มา​ดีแล้ว​ ​จึง​สามารถ​ก้าว​ข้าม​วัฏฏะ​สงสาร​สู่​ความ​
หลุด​พ้น​ ​เป็นการ​บุก​เบิก​ทาง​ที่​เคย​รกชัฏ​ให้​พวก​เรา​ได้​เดิน​กัน​ ​ดัง​นั้น​ ​เรา​
ซึง่ เ​ป็นม​ นุษย์เ​ช่นเ​ดียว​กบั พ​ ระองค์​ก​ ย​็ อ่ ม​ทจ​ี่ ะ​มศ​ี กั ยภาพ​ทจ​ี่ ะ​ฝกึ ฝน​อบรม​
กาย​ ​วาจา​ ​ใจ​ ​ด้วย​ตัว​เรา​เอง​ได้​เช่น​เดียว​กับ​ที่​พระองค์​ทรง​กระทำ​มา​ ​พูด​
อีก​อย่าง​หนึ่ง​ก็​คือ​​กาย​​วาจา ​ใจ​​เป็น​สิ่ง​ที่​ฝึกฝน​อบรม​กัน​ได้​​ใช่​ว่า​จะ​ต้อง​
ปล่อย​ให้​ไหล​ไป​ตาม​ยถากรรม​​
​ เมื่อ​จิต​เรา​เกิด​ศรัทธา​ดัง​ที่​กล่าว​มา​นี้​แล้ว​ ​ก็​มี​การ​น้อม​​นำ​เอา​ข้อ​
ธรรม​คำ​สอน​ต่าง​​ๆ​​มา​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ขัดเกลา​กิเลส​ออก​จาก​ใจ​ตน​​จิตใจ​
ของ​เรา​ก็​จะ​เลื่อน​ชั้น​จาก​ปุถุชน​ที่​หนา​แน่น​ด้วย​กิเลส​ ​ขึ้น​สู่​กัลยาณ​ชน​​
และ​​อริย​ชน​ ​เป็น​ลำดับ​ ​เมื่อ​เป็น​ดังนี้​แล้ว​ใน​ที่สุด​เรา​ก็​ย่อม​เข้า​ถึงที่​พึ่ง​คือ ​
ตัว​เรา​เอง​ ​อัน​เป็น​ที่​พึ่ง​ที่แท้​จริง​เพราะ​กาย​ ​วาจา​ ​ใจ​ ​ที่​ได้​ผ่าน​ขั้น​ตอน​
การ​ฝึกฝนอบรม​โดย​การ​​เจริญ​ศีล​ ​สมาธิ​ ​และ​ปัญญา​แล้ว​ ​ย่อม​กลาย​เป็น ​
กาย​สจุ ริต​ว​ าจาสุจริต​แ​ ละ​มโน​สจุ ริต​ก​ ระทำ​สงิ่ ใ​ด​พ​ ดู ส​ งิ่ ใ​ด​ค​ ดิ ส​ งิ่ ใ​ด​ก​ ย็ อ่ ม​
หา​โ​ทษ​มไิ ด้​ถ​ งึ เ​วลา​นนั้ แ​ ม้พ​ ระ​เครือ่ ง​ไม่ม​ี ก​ ไ​็ ม่อ​ าจ​ทำให้เ​รา​เกิดค​ วาม​ห​ วัน่ ​
ไหว​​หวาด​กลัว​​ขึ้น​ได้​เลย​

luangpordu.com
๑๖ 16

​เปี่ยม​ด้วย​เมตตา​
​ นึกถึงส​ มัยพ​ ทุ ธ​กาล​เ​มือ่ พ​ ระพุทธ​องค์ท​ รง​ประชวร​หนักค​ รัง้ ส​ ดุ ท้าย​
แห่งก​ าร​ปรินพิ พาน​ท​ า่ น​พระ​อานนท์ผ​ อ​ู้ ปุ ฏั ฐาก​พระองค์อ​ ยูต​่ ลอด​เวลา​ได้​
ห้าม​มานพ​ผู้​หนึ่ง​ซึ่ง​ขอร้อง​จะ​ขอ​เข้า​เฝ้า​พระพุทธเจ้า​ขณะ​นั้น​
​ พระ​อานนท์​คัด​ค้า​นอย่างเด็ด​ขาด​ไม่​ให้​เข้า​เฝ้า​​แม้​มานพ​ขอร้อง​ถึง​
๓​ ​ครั้ง​ ​ท่าน​ก็​ไม่​ยอม​ ​จน​กระทั่ง​เสียง​ขอ​กับ​เสียง​ขัด​ดัง​ถึง​พระพุทธ​องค์​​
พระพุทธ​องค์จ​ งึ ต​ รัสว​ า่ ​“​ อ​ านนท์​อ​ ย่าห​ า้ ม​มานพ​นนั้ เ​ลย​จ​ ง​ให้เ​ข้าม​ า​เดีย๋ ว​
นี”​้ ​เ​มือ่ ไ​ด้ร​ บั อ​ นุญาต​แล้ว​ม​ านพ​ก​ เ​็ ข้าเ​ฝ้าพ​ ระพุทธเจ้าไ​ด้ฟ​ งั ธ​ รรม​จ​ นบรรลุ​
มรรคผล​แล้ว​ขอ​บวช​เป็น​พระ​สาวก​องค์​สุดท้าย​มี​นาม​ว่า​​“​พระ​สุภ​ัท​ทะ​”​
​ พระ​อานนท์​ท่าน​ทำ​หน้าที่​ของ​ท่าน​ถูก​ต้อง​แล้ว​ ​ไม่มี​ความ​ผิด​
อัน​ใด​เลย​แม้แต่​น้อย​ ​ส่วน​ที่​พระพุทธเจ้า​ให้​เข้า​เฝ้า​นั้น​เป็น​ส่วน​พระ​
มหากรุณาธิคุณ​ของ​พระองค์​ที่​ทรง​มี​ต่อ​สรรพ​สัตว์​ทั้ง​หลาย​โดย​ไม่มี​
ประมาณ​ย​ อ่ ม​แผ่ไ​พศาล​ไป​ทวั่ ท​ งั้ ส​ าม​โลก​พ​ ระ​สาวก​รนุ่ ห​ ลังก​ ระทัง่ ถ​ งึ พ​ ระ​
เถระ​หรือ​ครูบา​อาจารย์​ผู้​สูง​อายุ​โดย​ทั่วไป​ที่​มี​เมตตา​สูง​ ​รวม​ทั้ง​หลวง​พ่อ​
ย่อม​เป็นท​ เ​ี่ คารพ​นบั ถือข​ อง​ชน​หมูม​่ าก​ท่าน​กอ​็ ทุ ศิ ช​ วี ติ เ​พือ่ ก​ จิ พ​ ระ​ศาสนา​​
ก็​ไม่​ค่อย​คำนึง​ถึง​ความ​ชรา​​อาพาธ​ของ​ท่าน​ ​เห็น​ว่า​ผู้​ใด​ได้​ประโยชน์​จาก
การ​บูชา​สัก​การ​ะ​ท่าน​ท่าน​ก็​อำนวย​ประโยชน์​นั้น​แก่​เขา​
​ เมื่อ​ครั้ง​ที่​หลวง​ปู่​อาพาธ​อยู่​ ​ได้​มี​ลูก​ศิษย์​กราบ​เรียน​ท่าน​ว่า​ ​“​รู้สึก​
เป็น​ห่วง​หลวง​ปู่​”​ ​ท่าน​ได้​ตอบ​ศิษย์​ผู้​นั้น​ด้วย​ความ​เมตตา​​ว่า​ “​ ​ห่วง​ตัว​แก ​
เอง​เถอะ​”​ ​อีก​ครั้ง​ที่​ผู้​เขียน​เคย​เรียน​หลวง​ปู่​ว่า ​“​ขอ​ให้​หลวง​ปู่​พัก​ผ่อน ​
มาก​ๆ​”​
luangpordu.com
17 ๑๗

หลวง​ปต​ู่ อบ​ทนั ทีว​ า่ ​“​ พ​ กั ไ​ม่ไ​ด้​ม​ ค​ี น​เขา​มา​กนั ม​ าก​บ​ างทีก​ ลางคืน
เ​ขา​กม​็ า​กนั ​เ​รา​เหมือน​นก​ตวั นำ​เ​รา​เป็นค​ รูเ​ขา​น​ี่ ค​ รู.​.​.​​เ​ขา​ตร​ี ะฆังไ​ด้เ​วลา​
สอน​แล้ว​ก็​ต้อง​สอน​​ไม่​สอน​ได้​ยัง​ไง​”​
​ ชีวิต​ของ​ท่าน​เกิด​มา​เพื่อ​เกื้อกูล​ธรรม​แก่​ผู้​อื่น​ ​แม้​จะ​อ่อน​เพลีย ​
เมื่อย​ล้า​สัก​เพียง​ใด​ ​ท่าน​ก็​ไม่​แสดงออก​ให้​ใคร​ต้อง​รู้สึก​วิตก​กังวล​หรือ​
ลำบาก​ใจ​แต่​อย่าง​ใด​เลย​ ​เพราะ​อาศัย​ความ​เมตตา​เป็น​ที่​ตั้ง​ ​จึง​อาจ​กล่าว​
ได้​ว่า​ ​ปฏิปทา​ของ​ท่าน​เป็น​ดั่ง​พระ​โพธิ​สัตว์​หรือ​หน่อ​พุทธ​ภูมิ​ ​ซึ่ง​เห็น​
ประโยชน์​ของ​ผู้​อื่น​มาก​กว่า​ประโยชน์​ส่วน​ตน​ดัง​เช่น​ ​พระ​โพธิ​สัตว์​หรือ
ห​ น่อพ​ ทุ ธ​ภมู อ​ิ กี ท​ า่ น​หนึง่ ​ค​ อื ​ห​ ลวง​ปทู่ วด​เ​หยียบ​นำ้ ท​ ะเล​จดื ​พ​ ระ​สป​ุ ฏิปนั โ​น​
สมัย​กรุง​ศรีอยุธยา​ ซึ่ง​หลวงปู่ดู่​ได้​สอน​ให้​ลูก​ศิษย์​ให้​ความ​เคารพ​เสมือน​
ครู​อาจารย์​ผู้​ชี้แนะ​แนว​​ทางการ​ปฏิบัติ​อีก​ท่าน​หนึ่ง​
​หลวงปู่ดู่​ ​ท่าน​ได้​ตัดสิน​ใจ​ไม่​รับ​กิจ​นิมนต์​ออก​นอก​วัด​ตั้ง​แต่​ก่อน​ปี​
พ​.ศ​ .​​๒​ ๔๙๐​ด​ งั น​ นั้ ​ท​ กุ ค​ น​ทต​ี่ งั้ ใจ​ไป​กราบ​นมัสการ​และ​ฟงั ธ​ รรม​จาก​ทา่ น​จะ​
ไม่ผ​ ดิ ห​ วังเ​ลย​วา่ จ​ ะ​ไม่ไ​ด้พ​ บ​ทา่ น​ท​ า่ น​จะ​นงั่ ร​ บั แขก​บน​พนื้ ไ​ม้ก​ ระ​ดาน​แข็งๆ​​
หน้า​กุฏิของ​ท่าน​ทุก​วัน​ตั้ง​แต่​เช้า​จรด​ค่ำ​ ​บาง​วัน​ที่​ท่าน​อ่อนเพลีย​ ​ท่าน​จะ​
เอนกาย​พกั ผ​ อ่ น​หน้าก​ ฏุ ​ิ แ​ ล้วห​ า​อบุ าย​สอน​เด็กว​ ดั โ​ดย​ให้เ​อา​หนังสือธ​ รรมะ​
มา​อ่าน​ให้​ท่าน​ฟัง​ไป​ด้วย​
​ข้อ​วัตร​ของ​ท่าน​อีก​อย่าง​หนึ่ง​ก็​คือ​ ​การ​ฉัน​อาหาร​มื้อ​เดียว​​ซึ่ง​ท่าน​
กระทำ​มา​ตั้ง​แต่​ประมาณ​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๐๐​ ​แต่​ภาย​หลัง​คือ​ประมาณ​ปี​
พ​.​ศ​. ​๒๕๒๕​ ​เหล่า​สานุ​ศิษย์​ได้​กราบ​นิมนต์​ให้​ท่าน​ฉัน​ ​๒​ ​มื้อ​ ​เนื่องจาก​
ความ​ชราภาพ​ของ​ท่าน​ ​ประกอบ​กับ​ต้อง​รับแขก​มาก​ขึ้น​ ​ท่าน​จึง​ได้​ผ่อน​

luangpordu.com
๑๘ 18

ปรน​ตาม​ความ​เหมาะ​ควร​แห่งอ​ ตั ภาพ​ท​ งั้ จ​ ะ​ได้เ​ป็นการ​โปรด​ญาติโยม​จาก​


ที่​ไกล​ๆ​​ที่​ตั้งใจ​มา​ทำบุญ​ถวาย​ภัต​ตา​หาร​แด่​ท่าน​
​ หลวง​ปู่ ​แ ม้ ​จ ะ​ช ราภาพ​ม าก​แ ล้ ว ​ ​ท่ า น​ก็ ​ยั ง ​อุ ต ส่ า ห์ ​นั่ ง ​รั บ ​แขก​
ทีม่ าจาก​ทศิ ต​ า่ ง​ๆ​ ​ว​ นั แ​ ล้วว​ นั เ​ล่า​ศ​ ษิ ย์ท​ กุ ค​ น​กต​็ งั้ ใจ​มา​เพือ่ ก​ ราบ​นมัสการ​
ท่าน​ ​บาง​คน​ก็​มา​เพราะ​มี​ปัญหา​หนักอก​หนักใจ​แก้ไข​ด้วย​ตนเอง​ไม่​ได้​ ​จึง​
มุ่ง​หน้า​มา​เพื่อ​กราบ​เรียน​ถาม​ปัญหา​เพื่อ​ให้​คลาย​ความ​ทุกข์​ใจ​​บาง​คน​มา​
หา​ทา่ น​เพือ่ ต​ อ้ งการ​ของดี​เ​ช่นเ​ครือ่ งราง​ของ​ขลัง​ซ​ งึ่ ก​ ม​็ กั ได้ร​ บั คำ​ตอบ​จาก​
ท่าน​ว่า​​“​ของดี​นั้น​อยู่​ที่​ตัว​เรา​​พุทธ​ัง​​ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​นี่​แหละ​ของดี​”​
​บาง​คน​มา​หา​ท่าน​เพราะ​ได้ยิน​ข่าว​เล่า​ลือ​ถึง​คุณ​ความ​ดี​ศีล​า​จา​ริย-
วัตร​ของ​ท่าน​ใน​ด้าน​ต่างๆ​ ​บาง​คน​มา​หา​ท่าน​เพื่อ​ขอ​หวย​หวัง​รวย​ทาง​ลัด​
โดย​ไม่​อยาก​ทำงาน​​แต่​อยาก​ได้​เงิน​มาก​ๆ​
​บาง​คน​เจ็บ​ไข้​ไม่​สบาย​ก็​มา​เพื่อ​ให้​ท่าน​รดน้ำ​มนต์​​เป่า​หัว​ให้​​มา​ขอ
ด​อก​บัว​บูชา​พระ​ของ​ท่าน​เพื่อ​นำ​ไป​ต้ม​ดื่ม​ให้​หาย​จาก​โรค​​ภัย​ไข้​เจ็บ​ต่าง​ๆ​​
นานา​สารพัน​ปัญหา​ ​แล้ว​แต่​ใคร​จะ​นำ​มา​เพื่อ​หวัง​ให้​ท่าน​ช่วย​ตน​ ​บาง​คน​
ไม่​เคย​เห็น​ท่าน​ก็​อยาก​มา​ดู​ว่า​ท่าน​มี​รูป​ร่าง​​หน้าตา​อย่างไร​​บ้าง​แค่​มา​เห็น​
ก็​เกิด​ปีติ​​สบาย​อก​สบายใจ​จน​ลืม​คำถาม​หรือ​หมด​คำถาม​ไป​เลย​
​ หลาย​คน​เสีย​สละ​เวลา​ ​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​เดิน​ทาง​ไกล​มา​เพื่อ​พบ​ท่าน​​
ด้วย​เหตุ​นี้​ ​ท่าน​จึง​อุตส่าห์​นั่ง​รับแขก​อยู่​ตลอด​วัน​โดย​ไม่​ได้​พัก​ผ่อน​เลย​​
และ​ไม่​เว้น​แม้​ยาม​ป่วย​ไข้​ ​แม้​นาย​แพทย์​ผู้​ให้การ​​ดูแล​ท่าน​อยู่​ประจำ​จะ​
ขอร้องท่าน​อย่างไร​ ​ท่าน​ก็​ไม่​ยอม​ตาม​ด้วย​​เมตตา​สงสาร​ ​และ​ต้องการ​ให้​
กำลัง​ใจ​แก่​ญาติโยม​ทุก​คน​ที่มา​​พบ​ท่าน​

luangpordu.com
19 ๑๙

​ท่าน​เป็น​ดุจ​พ่อ​
​ หลวงปู่ดู่​ท่าน​เป็น​ดุจ​พ่อ​ของ​ลูก​ศิษย์​ทุก​ๆ​ ​คน​ ​เหมือน​อย่าง​ที่​
พระกรรม​ฐาน​สาย​พระ​อาจารย์ม​ นั่ ​เ​รียก​หลวง​ปม​ู่ นั่ ว​ า่ ​“​ พ​ อ่ แ​ ม่ค​ รูอ​ าจารย์”​ ​
​ซึ่ง​ถือ​เป็น​คำ​ยกย่อง​อย่าง​สูง​ ​เ​พื่อ​ให้​สม​ฐานะ​อัน​เป็น​ที่​รวม​แห่ง​ความ​เป็น​
กัลยาณมิตร​
​ หลวงปู่ดู่​ท่าน​ให้การ​ต้อนรับ​แขก​อย่าง​เสมอ​หน้า​กัน​หมด​ ​ไม่มี​การ​
แบ่ง​ชั้น​วรรณะ​ ​ท่าน​จะ​พูด​ห้าม​ปราม​ ​หาก​มี​ผู้​มา​เสนอ​ตัว​เป็น​นาย​หน้า​
คอย​จัดแจง​เกี่ยว​กับ​แขก​ที่​เข้า​มา​นมัสการ​​ท่าน​ ​ถึง​แม้​จะ​ด้วย​เจตนา​ดี​
​อัน​เกิด​จาก​ความ​ห่วงใย​ใน​สุขภาพ​ของ​​ท่าน​ก็ตาม​ ​เพราะ​ท่าน​ทราบ​ดี​ว่า​
มี​ผู้​ใฝ่​ธรรม​จำนวน​มาก​ที่​อุตส่าห์​เดิน​ทาง​มา​ไกล​​เพื่อ​นมัสการ​และ​ซัก​ถาม​
ข้อ​ธรรม​จาก​ท่าน​ ​หาก​​มา​ถึง​แล้ว​ยัง​ไม่​สามารถ​เข้า​พบท่าน​ได้​โดย​สะดวก​
ก็​จะ​ทำให้​เสีย​กำลังใจ​
​ นีเ​้ ป็นเ​มตตา​ธรรม​อย่าง​สงู ซ​ งึ่ น​ บั เ​ป็นโ​ชค​ดข​ี อง​บรรดา​ศษิ ย์ท​ งั้ ห​ ลาย​
ไม่ว​ า่ ใ​กล้ห​ รือไ​กล​ท​ ส​ี่ ามารถ​มโ​ี อกาส​เข้าก​ ราบ​นมัสการ​ทา่ น​ได้โ​ดย​สะดวก​​
หาก​มี​ผู้​สนใจ​การ​ปฏิบัติ​กรรม​ฐาน​มา​หา​ท่าน​​ท่าน​จะ​เมตตา​สนทนา​ธรรม​
เป็น​พิเศษ​ ​อย่าง​ไม่​เห็น​แก่​เหน็ดเหนื่อย​ ​บาง​ครั้ง​หลวง​พ่อ​ก็​มิได้​กล่าว​
อะไร​มาก​​เพียง​การ​ทักทาย​ศิษย์​ด้วย​ถ้อย​คำ​สั้น​ๆ​​เช่น​​“​เอ้​า​.​.​.​กิน​น้ำ​ชา​สิ​”​
ห​ รือ​“​วา่ ไ​ง​..​.​”​ ฯ​ ลฯ ​เ​ท่าน​ ก​ี้ เ​็ พียง​พอทีย​่ งั ป​ ตี ใ​ิ ห้เ​กิดข​ นึ้ ก​ บั ศ​ ษิ ย์ผ​ น​ู้ นั้ เ​หมือน​
ดังหยาด​น้ำ​ทิพย์​ชโลม​ให้​เย็น​ฉ่ำ​ ​เกิด​ความ​สดชื่น​ตลอด​ร่าง​​กาย​ ​จน​.​.​. ​
ถึง​จิต​.​.​.​ถึงใจ​
​ หลวงปูด่ ท​ู่ า่ น​ให้ค​ วาม​เคารพ​ใน​องค์ห​ ลวง​ปทู่ วด​อย่าง​มาก​ท​ งั้ ก​ ล่าว​
luangpordu.com
๒๐ 20

ยกย่อง​ใน​ความ​ที่​เป็น​ผู้​ที่​มี​บารมี​ธรรม​เต็ม​เปี่ยม​ตลอด​ถึง​การ​ที่​จะ​ได้​มา​
ตรัสรู้​ธรรม​ใน​อนาคต​ ​ให้​บรรดา​ลูก​ศิษย์​ทั้ง​หลาย​ยึด​มั่น​และ​หมั่น​ระลึก​
ถึง​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​เมื่อ​ติดขัด​ใน​​ระหว่าง​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​ ​หรือ​แม้แต่​
ประสบ​ปัญหา​ใน​ทาง​โลกๆ​​ ท่าน​ว่า​หลวง​ปู่ทวด​ท่าน​คอย​จะ​ช่วย​เหลือ​ทุก​
คน​อยู่​แล้ว​​แต่​ขอ​ให้​ทุก​คน​อย่า​ได้​ท้อถอย​หรือ​ละทิ้ง​การ​ปฏิบัติ​

​หลวงปู่ดู่​กับ​ครู​อาจารย์​ท่าน​อื่น​
​ ใน​ระหว่าง​ป​ี ​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๐​​-​​๒๕๓๒​​ได้​ม​พี ระ​เถระ​และ​ครูบาอาจารย์
หลาย​ท่าน​เดิน​ทาง​มา​เยี่ยมเยียน​หลวงปู่ดู่​ ​เช่น​หลวง​ปู่​บุด​ดา​ ​ถา​วโร​​
วัดกลาง​ชู​ศรี​เจริญสุข​ ​จังหวัด​สิงห์บุรี​ ท่าน​เป็น​พระ​เถระ​ซึ่ง​มีอายุ​ย่าง​เข้า​​
๙๖​​ปี​​ก็​ยัง​เมตตา​มา​เยี่ยม​​หลวงปู่ดู่​​ที่​วัด​สะแก​ถึง​​๒​​ครั้ง​​และ​บรรยากาศ​
ของ​การ​พบ​กัน​ของ​​ท่าน​ทั้ง​สอง​นี้​ ​เป็น​ที่​ประทับ​ใจ​ผู้​ที่​อยู่​ใน​เหตุการณ์​
อย่าง​ยิ่ง​​เพราะ​ต่าง​องค์​ต่าง​อ่อนน้อม​ถ่อม​ตน​​ปราศ​จาก​การ​แสดงออก​ซึ่ง
​ทิฏฐิ​มา​นะ​ใดๆ​​เลย​​แป้ง​เสก​ที่​หลวง​ปู่​บุด​ดา​เมตตา​มอบ​ให้​หลวงปู่ดู่​ท่าน​
ก็​เอา​มา​ทา​ที่​ศีรษะ​เพื่อ​แสดง​ถึง​ความ​เคารพ​อย่าง​สูง​
​ พระ​เถระ​อกี ท​ า่ น​หนึง่ ​ซ​ งึ่ ไ​ด้เดินท​ าง​มา​เยีย่ ม​หลวงปูด่ ค​ู่ อ่ น​ขา้ ง​บอ่ ย​
ครั้ง​​คือ​​หลวง​ปู่​โง่​น​​โสร​โย​​วัด​พระพุทธบาท​เขา​รวก ​จังหวัด​พิจิตร​​ท่าน​
มีค​ วาม​หว่ งใย​ใน​สขุ ภาพ​ของ​หลวงปูด่ อ​ู่ ย่าง​มาก​โดย​ได้ส​ งั่ ใ​ห้ล​ กู ศ​ ษิ ย์จ​ ดั ท​ ำ​
ป้าย​กำหนด​เวลา​รับแขก​ใน​แต่ละ​วัน​ของ​หลวงปู่ดู่​​เพื่อ​เป็นการ​ถนอม​ธาตุ​
ขันธ์ข​ อง​หลวง​พอ่ ใ​ห้อ​ ยูไ​่ ด้น​ าน​ๆ แต่อ​ ย่างไร​กด​็ ​ี ไ​ม่ช​ า้ ไ​ม่น​ าน​ห​ ลวงปูด่ ท​ู่ า่ น​
ก็​ให้​นำ​ป้าย​ออก​ไป​เพราะ​เหตุ​แห่ง​ความ​เมตตา​ที่​ท่าน​มี​ต่อ​ผู้คน​ทั้ง​หลาย​

luangpordu.com
21 ๒๑

​ ใน​ระยะ​เวลา​เดียวกัน​นั้น​ ​ครูบา​บุญ​ชุ่ม​ ​ญาณ​สังวโร​ วัด​พระ​ธาตุ ​


ดอน​เรือง​ ​ท่าน​เป็น​ศิษย์​ของ​หลวง​ปู่​โง่​น​ ​โสร​โย​ ​ก็ได้​เดิน​ทาง​มาก​ราบ​
นมัสการ​หลวงปู่ดู่​ ​๒​ ​ครั้ง​ ​โดย​ท่าน​ได้​เล่า​ให้​ฟัง​ภาย​หลัง​ว่า​ ​เมื่อ​ได้​มา​พบ​
หลวงปู่ดู่​​จึง​ได้​รู้​ว่า​หลวงปู่ดู่​ก็​คือ​พระ​ภิกษุ​ชราภาพ​ที่​ไป​สอน​ท่าน​ใน​สมาธิ​
ใน​ช่วง​ที่​ท่าน​อธิษฐาน​​เข้า​กรรม​ปฏิบัติ​ไม่​พูด​ ​๗​ ​วัน​ ​ซึ่ง​ท่าน​ก็ได้​แต่​กราบ​
ระลึก​ถึง​อยู่​ตลอด​​ทุก​วัน​​โดย​ไม่รู้​ว่า​พระ​ภิกษุ​ชราภาพ​รูป​นี้​คือ​ใคร​​กระทั่ง​
ได้​มี​โอกาส​​มา​พบ​หลวงปู่ดู่​ที่​วัด​สะแก​ ​เกิด​รู้สึก​เหมือน​ดัง​พ่อ​ลูก​ที่​จาก​กัน​
ไป​​นาน​ๆ​ ​แม้​ครั้ง​ที่​ ​๒​ ​ที่​พบ​กับ​หลวงปู่ดู่​ ​หลวงปู่ดู่​ก็ได้​พูด​สอน​ให้ท่าน​เร่ง​
ความ​เพียร​​เพราะ​หลวง​พ่อ​จะ​อยู่​อีก​ไม่​นาน​
​ ครูบา​บุญ​ชุ่ม​ยัง​ได้​เล่า​ว่า​ ​ท่าน​ตั้งใจ​จะ​กลับ​ไป​วัด​สะแก​อีก​เพื่อ​หา​
โอกาส​ไป​อุปัฏฐาก​หลวงปู่ดู่​ ​แต่​แล้ว​เพียง​ระยะ​เวลา​ไม่​นาน​นัก​ ​ก็ได้​ข่าว​
ว่า​หลวงปู่ดู่​มรณภาพ​ ​ยัง​ความ​สลด​สังเวช​ใจ​แก่​ท่าน​ ท่าน​ได้​เขียน​บันทึก​
ความ​รู้สึก​ใน​ใจ​ของ​ท่าน​ไว้​ใน​หนังสือ​งาน​พระ​​ราช​ทาน​เพลิง​ศพ​หลวงปู่ดู่​
ตอน​หนึ่ง​ว่า​
“​.​.​.​หลวง​ปู่​ท่าน​มรณภาพ​สิ้น​ไป​ ​เปรียบ​เสมือน​ดวง​อาทิตย์​ ที่​ให้​
ความ​สว่าง​ส่อง​แจ้ง​ใน​โลก​​ดับ​ไป​ ​อุปมา​เหมือน​ดัง​ดวง​ประทีป​ที่​ให้​ความ​
สว่างไสว​แก่​ลูก​ศิษย์​ได้​ดับ​ไป​ ​ถึง​แม้​พระ​เดช​​พระคุณ​หลวง​ปู่​ได้​มรณะ​ไป​
แล้ว​ ​แต่​บุญ​ญา​บารมี​ที่​ท่าน​แผ่​เมตตาและ​รอย​ยิ้ม​อัน​อิ่ม​เอิบ​ยัง​ปรากฏ​
ฝัง​อยู่​ใน​ดวงใจ​อาตมา​ ​มิ​อาจ​ลืม​ได้​... ถ้า​หลวง​ปู่​มี​ญาณ​รับ​ทราบ​ ​และ​
แผ่​เมตตา​ลูก​ศิษย์​ลูก​หา​ทุก​คน​ ​ขอ​ให้​พระ​เดช​พระคุณ​หลวง​ปู่​เข้า​สู่​

luangpordu.com
๒๒ 22

พระ​นิพพาน​เป็น​อม​ตะ​แด่​ท่าน​เทอญ​ ​กระผมขอก​ราบ​คารวะ​พระ​เดช-​
พระคุณ​หลวง​ปู่​ดู่​พรหม​ปัญโญ​​ด้วย​ความ​เคารพ​สูงสุด​”​
​ นอกจากนี ้ ยังม​ พ​ี ระ​เถระ​อกี ร​ ปู ห​ นึง่ ท​ ค​ี่ วร​กล่าว​ถงึ ​เ​พราะ​หลวงปูด่ ​ู่
ให้ค​ วาม​ยกย่อง​มาก​ใน​ความ​เป็นผ​ ม​ู้ ค​ี ณ
ุ ธ​ รรม​สงู ​แ​ ละ​เป็นแ​ บบ​อย่าง​ของ​ผท​ู้ ​ี่
มีค​ วาม​เคารพ​ใน​พระ​รตั นตรัยเ​ป็นอ​ ย่าง​ยงิ่ ​ซ​ งึ่ ห​ ลวงปูด่ ไ​ู่ ด้แ​ นะนำ​สานุศ​ ษิ ย์​
ให้​ถือ​ท่าน​เป็น​ครู​อาจารย์​อีก​ท่าน​หนึ่ง​ด้วย​​นั่น​ก็​คือ​หลวง​พ่อ​เกษม​​เขม​โก​​
แห่ง​สุสาน​ไตร​ลักษณ์​​จังหวัด​ลำปาง​

​ปัจฉิม​วาร​
​ นับ​แต่​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๒๗​ ​เป็นต้น​มา​ ​สุขภาพ​ของ​หลวง​ปู่​เริ่ม​แสดง
​ไตร​ลักษณะ​ให้​ปรากฏ​อย่าง​ชัดเจน​ ​สังขาร​ร่างกาย​ของ​หลวง​ปู่​ซึ่ง​ก่อ​เกิด​
มา​จาก​ธาตุ​ดิน​ ​น้ำ​ ​ลม​ ​ไฟ​ ​และ​มี​ใจ​ครอง​เหมือน​เรา​ๆ​ ​ท่าน​ๆ​ ​เมื่อ​สังขาร​
ผ่าน​มา​นาน​วัน​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ถ้า​มี​การ​ใช้​งาน​มาก​ ​และ​พัก​ผ่อน​น้อย​​
ความ​ทรุด​โทรม​ก็​ย่อม​เกิด​เร็ว​ขึ้น​กว่า​ปรกติ​ ​กล่าว​คือ​ ​สังขาร​ร่างกาย​ของ​
ท่าน​ได้​เจ็บ​ป่วย​อ่อนเพลีย​ลง​ไป​​เป็น​ลำดับ​ ​ใน​ขณะ​ที่​บรรดา​ลูก​ศิษย์​ลูก​
หา​ทั้ง​ญาติโยม​และ​บรรพชิต​ก็​หลั่ง​ไหล​กัน​มา​นมัสการ​ท่าน​เพิ่ม​ขึ้น​ทุก​วัน​
ใ​น​ทา้ ย​ทสี่ ดุ แ​ ห่งช​ วี ติ ข​ อง​หลวงปูด่ ​ู่ ด​ ว้ ย​ปณิธาน​ทต​ี่ งั้ ไ​ว้ว​ า่ ​“​ ส​ แ​ู้ ค่ต​ าย​”​ท​ า่ น​
ใช้​ความ​อดทน​อด​กลั้น​อย่าง​สูง​ ​แม้​บาง​ครั้ง​จะ​มี​โรค​มา​เบียดเบียน​อย่าง​
หนัก​ท่าน​ก็​อุตส่าห์​ออก​โปรด​ญาติโยม​เป็น​ปกติ​ ​พระ​ที่​อุปัฏฐาก​ท่าน​ได้​
เล่า​ให้​ฟัง​ว่า ​บาง​ครั้ง​ถึง​ขนาด​ที่​ท่าน​ต้อง​พยุง​ตัว​เอง​ขึ้น​ด้วย​อาการ​สั่น​และ​
มี​น้ำตา​คลอ​เบ้า​ ​ท่าน​ก็​ไม่​เคย​ปริปาก​ให้​ใคร​ต้อง​เป็น​กังวล​เลย ​ใน​ปี​ท้าย​ๆ​

luangpordu.com
23 ๒๓

ท่าน​ถูก​ตรวจ​พบ​ว่า​เป็น​โรค​ลิ้น​หัวใจ​รั่ว​ ​แม้​นาย​แพทย์​จะ​ขอร้อง​ท่าน​เข้า​
พัก​รักษา​ตัว​ที่​โรง​พยาบาล​ ​ท่าน​ก็​ไม่​ยอม​ไป​ ​ท่าน​​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​ ​“​แต่​ก่อน
​เรา​เคย​อยาก​ดี​ ​เมื่อ​ดแี ล้ว​ก​เ็ อา​ให้​หาย​อยาก​ อย่าง​มาก​ก​ส็ ​แู้ ค่​ตาย​ ใคร​จะ
​เหมือน​ขา้ ​​ขา้ ​บน​ตวั ​ตาย​”​
​มี​บาง​ครั้ง​ได้​รับ​ข่าว​ว่า​ท่าน​ล้ม​ขณะ​กำลัง​ลุก​เดิน​ออก​จาก​ห้อง​เพื่อ​
ออก​โปรด​ญาติโยม​ ​คือ​ ​ประมาณ​ ​๖​ ​นาฬิกา​ ​อย่าง​ที่​เคย​​ปฏิบัติ​อยู่​ทุก​วัน​
โดย​ปกติ​ใน​ยาม​ที่​สุขภาพ​ของ​ท่าน​แข็ง​แรง​ดี​ ​ท่าน​​จะ​เข้า​จำวัด​ประมาณ​
สี่​ห้า​ทุ่ม​ ​แต่​กว่า​จะ​จำ​วัด​จริง​ๆ​ ​ประมาณ​ ​เที่ยง​​คืน​หรือ​ตี​หนึ่ง​ ​แล้ว​มา​
ตื่น​นอน​ตอน​ประมาณ​ตี​สาม​ ​มา​ช่วง​หลัง​ที่​สุขภาพ​ของ​ท่าน​ไม่​แข็ง​แรง​​
จึง​ตื่น​ตอน​ประมาณ​ตี​สี่​ถึง​ตี​ห้า​​เสร็จ​กิจ​ทำวัตร​เช้า​และ​กิจ​ธุระ​ส่วน​ตัว​แล้ว​
จึง​ออก​โปรด​ญาติโยม​ที่​หน้า​กุฏิ​
ประมาณ​ปลาย​ป​ี พ​ .​ศ​ .​​๒​ ๕๓๒​ห​ ลวงปูด่ พ​ู่ ดู บ​ อ่ ย​ครัง้ ใ​น​ค​ วาม​หมาย​
ว่า​​ใกล้​ถึง​เวลา​ที่​ท่าน​จะ​ละ​สังขาร​นี้​แล้ว​​ใน​ช่วง​ท้าย​ของ​​ชีวิต​ท่าน​​ธรรม​ที่​
ถ่ายทอด​ยงิ่ เ​ด่นช​ ดั ข​ นึ้ ​ม​ ใิ ช่ด​ ว้ ย​เทศนา​ธรรม​ของ​ทา่ น​ห​ าก​แต่เ​ป็นการ​สอน​
ด้วย​การ​ปฏิบัติ​ให้​ดู​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ปฏิปทา​ใน​เรื่อง​ของ​ความ​อดทน​​
สม​ดัง​ที่​พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​ได้​ประทาน​ไว้​ใน​โอ​วาท​ปาฏิ​โมกข์​ว่า​“​ ​ขัน​ตี​
ปรม​ัง​​ตโป​​ตี​ติก​ขา​ความ​อดทน​เป็น​ตบะ​อย่าง​ยิ่ง​”​​แทบ​จะ​ไม่มี​ใคร​เลย​​
นอกจาก​โยม​อปุ ฏั ฐาก​ใกล้ช​ ดิ ท​ ท​ี่ ราบ​วา่ ทีท​่ า่ น​นงั่ ร​ บั แขก​บน​พนื้ ไ​ม้ก​ ระ​ดาน​
แข็งๆ​​ทุก​วันๆ​​ตั้ง​แต่​เช้า​จรด​ค่ำ​​เป็น​ระยะ​เวลา​นับ​สิบ​ๆ​​ปี​​ด้วย​อาการ​​ยิ้ม​
แย้ม​แจ่มใส​ ​ใคร​ทุกข์​ใจมา​ ​ท่าน​ก็​แก้ไข​ให้​ได้​รับ​ความ​สบายใจ​กลับ​ไป​ ​แต่​
เบื้อง​หลัง​ ​ก็​คือ​ ​ความ​ลำบาก​ทาง​ธาตุ​ขันธ์​ของ​ท่าน​ ​ที่​ท่าน​ไม่​เคย​ปริปาก​

luangpordu.com
๒๔ 24

บอก​ใคร​ ​กระทั่ง​วัน​หนึ่ง​ ​โยม​อุปัฏฐาก​ได้​รับ​การ​​ไหว้​วาน​จาก​ท่าน​ให้​เดิน​


ไป​ซื้อ​ยา​ทา​แผล​ให้​ท่าน​​จึง​ได้​มี​โอกาส​ขอ​ดู​และ​ได้​เห็น​แผล​ที่​ก้น​ท่าน​​ซึ่ง​มี​
ลักษณะ​แตก​ซ้ำ​ๆ​​ซาก​ๆ​​ใน​บริเวณ​​เดิม​​เป็น​ที่​สลด​ใจ​จน​ไม่​อาจ​กลั้น​น้ำตา​
เอา​ไว้​ได้​
​ท่าน​จึง​เป็น​ครู​ที่​เลิศ​ ​สม​ดัง​พระพุทธ​โอวาท​ที่​ว่า​ ​สอน​เขา​​อย่างไร​​
พึงป​ ฏิบตั ใ​ิ ห้ไ​ด้อ​ ย่าง​นนั้ ​ด​ งั น​ นั้ ​ธ​ รรม​ใน​ขอ้ ​“​ อ​ นัตตา​”ซ​ งึ่ ห​ ลวง​ปท​ู่ า่ น​ยกไว้​
เป็นธ​ รรม​ชนั้ เ​อก​ท​ า่ น​กไ็ ด้ป​ ฏิบตั ใ​ิ ห้เ​ห็นเ​ป็นท​ ป​ี่ ระจักษ์แ​ ก่ส​ ายตา​ของ​ศษิ ย์​
ทั้ง​หลาย​แล้ว​ถึง​ข้อ​ปฏิบัติ​ต่อ​หลัก​อนัตตา​ไว้​อย่าง​บริบูรณ์​ ​จน​แม้​ความ​
อาลัย​อาวรณ์​ใน​สังขาร​ร่างกาย​​ที่​จะ​มา​หน่วง​เหนี่ยว​ ​หรือ​สร้าง​ความ​ทุกข์​
ร้อน​แก่​จิตใจ​ท่าน​ก็​มิได้​ปรากฏ​ให้​เห็น​เลย​
​ใน​ตอน​บ่าย​ของ​วัน​ก่อน​หน้าที่​ท่าน​จะ​มรณภาพ​ ​ขณะ​ที่​ท่าน​กำลัง​
เอนกาย​พัก​ผ่อน​อยู่​นั้น​ ​ก็​มี​นาย​ทหาร​อากาศ​ผู้​หนึ่ง​มา​กราบ​นมัสการ​ท่าน​​
ซึง่ เ​ป็นการ​มา​ครัง้ แ​ รก​ห​ ลวงปูด่ ไ​ู่ ด้ล​ กุ ข​ นึ้ น​ งั่ ต​ อ้ นรับด​ ว้ ย​ใบหน้าท​ ส​ี่ ดใส​ร​ าศี​
เปล่งปลั่ง​เป็น​พิเศษ​ ​กระทั่ง​บรรดา​​ศิษย์​ ​ณ​ ​ที่​นั่น​ ​เห็น​ผิด​สังเกต​ ​หลวง​ปู่​
แสดง​อาการ​ยินดี​เหมือน​รอ​​คอย​บุคคล​ผู้​นี้​มา​นาน​ ​ท่าน​ว่า​ ​“​ต่อ​ไป​นี้​
ข้าจะ​ได้ห​ าย​เจ็บห​ าย​ไข้เ​สียที”​ ​ไ​ม่มใ​ี คร​คาด​คดิ ม​ า​กอ่ น​วา่ ท​ า่ น​กำลังโ​ปรด
​ลูก​ศิษย์​คน​สุดท้าย​ของ​ท่าน​ ​หลวงปู่ดู่​ท่าน​ได้​แนะนำ​การ​ปฏิบัติ​พร้อม​ทั้ง​
ให้​นั่ง​ปฏิบัติ​ต่อ​หน้า​ท่าน​​ซึ่ง​เขา​ก็​สามารถ​ปฏิบัติ​ได้​ผล​เป็น​ที่​น่า​พอใจ​ท่าน​
ย้ำ​ใน​ตอน​ท้าย​ว่า​“​ ​ข้า​ขอ​ฝาก​ให้​แก​ไป​ปฏิบัติ​ต่อ​”​
​ ใน​คืน​นั้น​ก็ได้​มี​คณะ​ศิษย์​มาก​ราบ​นมัสการ​ท่าน​ซึ่ง​การ​มา​ใน​ครั้ง​นี้​
ไม่มใ​ี คร​คาด​คดิ ม​ า​กอ่ น​เช่นก​ นั ว​ า่ จ​ ะ​เป็นการ​มา​พบ​กบั ส​ งั ขาร​ธรรม​ของ​ทา่ น​

luangpordu.com
25 ๒๕

เป็น​ครั้ง​สุดท้าย​แล้ว​ ​หลวงปู่ดู่​ได้​เล่า​ให้​ศิษย์​คณะ​นี้​ฟัง​ด้วย​สีหน้า​ปรกติ​ว่า​
“​ไม่มส​ี ว่ น​หนึง่ ส​ ว่ น​ใด​ใน​รา่ งกาย​ข​ า้ ท​ ไ​ี่ ม่เ​จ็บป​ วด​เลย​ถ​ า้ เ​ป็นค​ น​อนื่ ค​ ง​เข้า​
ห้อง​ไอ​ซย​ี ไ​ู ป​นาน​แล้ว”​ พ​ ร้อม​ทงั้ พ​ ดู ห​ นักแ​ น่นว​ า่ ​“​ ข​ า้ จ​ ะ​ไป​แล้วน​ ะ​”​ท​ า้ ย​
ทีส่ ดุ ท่า​ น​ ก็เ​มตตา​กล่าว​ยำ้ ใ​ห้ท​ กุ ค​ น​ตงั้ อ​ ยูใ​่ น​ความ​ไม่ป​ ระมาท​“​ ถ​ งึ อ​ ย่างไร​
ก็ข​ อ​อย่าไ​ด้ท​ งิ้ ก​ าร​ปฏิบตั ​ิ ก​ เ​็ หมือน​นกั ม​ วย​ขนึ้ เ​วทีแ​ ล้วต​ อ้ ง​ชก​อย่าม​ วั แ​ ต่​
ต​ งั้ ท​ า่ เ​งอะ​ๆ​ง​ ะๆ​”​น​ ด​ี้ จุ เ​ป็นป​ จั ฉิมโ​อวาท​แห่งผ​ เ​ู้ ป็นพ​ ระบรม​ครูข​ อง​ผเ​ู้ ป็น​
ศิษย์​ทุก​คน​​อัน​จะ​ไม่​สามารถ​ลืม​เลือน​ได้​เลย​
​ หลวงปูด่ ไ​ู่ ด้ล​ ะ​สงั ขาร​ไป​ดว้ ย​อาการ​อนั ส​ งบ​ดว้ ย​โรค​หวั ใจ​ใน​กฏุ ท​ิ า่ น​​
เมื่อ​เวลา​ประมาณ​​๕​​นาฬิกา​ของ​วันพุธ​ที่​​๑๗​​มกราคม​​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๓​​อายุ​
๘๕​ป​ ​ี ๘​ ​เ​ดือน​อ​ ายุพ​ รรษา​๖​ ๕​พ​ รรษา​ส​ งั ขาร​ธรรม​ของ​ทา่ น​ได้ต​ งั้ บ​ ำเพ็ญ​
กุศล​โดย​มี​เจ้า​ภาพ​สวด​อภิ​ธรรม​เรื่อย​มา​ทุก​วัน​มิได้​ขาด​ ​ตลอด​ระยะ​เวลา​​
๔๕๙​​วัน​จน​กระทั่ง​ได้​รับ​พระราชทาน​เพลิง​ศพ​เป็น​กรณี​พิเศษ ใน​วัน​เสาร์​
ที่​​๒๐​​เมษายน​​๒๕๓๔​
พระคุณ​เจ้า​หลวงปู่ดู่​​พรหม​ปัญโญ​​ได้​อุปสมบท​และ​จำ​พรรษา​อยู่​
ณ​ว​ ดั ส​ ะแก​ม​ า​โดย​ตลอด​จ​ น​กระทัง่ ม​ รณภาพ​ยังค​ วาม​เศร้าโ​ศก​และ​อาลัย​
แก่ศ​ ษิ ยานุศษิ ย์แ​ ละ​ผเ​ู้ คารพ​รกั ท​ า่ น​เป็นอ​ ย่าง​ยงิ่ ​อ​ ปุ มา​ดงั่ ด​ วง​ประทีปท​ เ​ี่ คย​
ให้​ความ​สว่างไสว​แก่​ศิษยานุศิษย์​ได้​ดับ​ไป​ ​แต่​เมตตา​ธรรม​และ​คำ​สั่ง​สอน​
ของ​ท่าน​จะ​ยัง​ปรากฏ​อยู่​ใน​ดวงใจ​ของ​ศิษยานุศิษย์​และ​ผู้​ที่​เคารพ​รัก​ท่าน​
ตลอด​ไป​​ บัดนี้​ ​สิ่ง​ที่​คง​อยู่​มิใช่​สังขาร​ธรรม​ของ​ท่าน​ ​หาก​แต่​เป็น​หลวงปู่ดู่​
องค์​แท้​ที่​ศิษย์​ทุก​คน​จะ​เข้า​ถึง​ท่าน​ได้​ด้วย​การ​สร้าง​คุณ​งาม​ความ​ดี​ให้​เกิด​
ให้​มี​ขึ้น​ที่​ตนเอง​​สม​ดัง​ที่​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​เป็น​คติ​ว่า​

luangpordu.com
๒๖ 26

“​ ต​ ราบ​ใด​กต็ าม​ทแ​่ี ก​ยงั ไ​ม่เ​ห็นค​ วาม​ดใ​ี น​ตวั ​ก​ ย​็ งั ไม่น​ บั ว​ า่ แ​ ก​รจู้ กั ข​ า้ ​
แ​ ต่ถ​ า้ เ​มือ่ ใ​ ด​แ​ กเริม่ เ​ห็นค​ วาม​ดใ​ี น​ตวั เ​อง​แล้ว​เ​มือ่ น​ นั้ ... ข้าจ​ งึ ว​ า่ แ​ กเริม่ ​
รู้จัก​ข้า​ดี​ขึ้น​แล้ว​”​
​ ธรรม​ทั้ง​หลาย​ที่​ท่าน​ได้​พร่ำ​สอน​ ​ทุก​วรรค​ตอน​แห่ง​ธรรม​ที่​บรรดา​
ศิษย์​ได้​น้อมนำ​มา​ปฏิบัติ​ ​นั้น​ก็​คือ​การ​ที่​ท่าน​ได้​เพาะ​เมล็ด​พันธ์​ุแห่ง​ความ​
ดีงาม​บน​ดวงใจ​ของ​ศิษย์​ทุก​คน​ ​ซึ่ง​นับ​วัน​จะ​​เติบ​ใหญ่​ผลิ​ดอก​ออก​ผล​เป็น​
สติ​และ​ปัญญา​บน​ลำต้น​ที่​แข็ง​แรง​คือ​สมาธิ​ ​และ​บน​พื้น​ดิน​ที่​มั่นคง​แน่น​
หนา​คือ​​ศีล​​สม​ดัง​เจตนารมณ์​ที่​ท่าน​ได้​ทุ่มเท​ทั้ง​ชีวิต​​ด้วย​เมตตา​ธรรม​อัน​
ยิ่ง​​อัน​จัก​หา​ได้​ยาก​​ทั้ง​ใน​อดีต​​ปัจจุบัน​​และ​อนาคต​.​.​.​

luangpordu.com
luangpordu.com
คติ​ธรรมคำสอน​
​หลวง​ปู่​ดู่​​พรหม​ปัญโญ​

luangpordu.com
29 ๒๙

๑​
​สมมุติ​และ​วิ​มุตติ​


​ ใ​น​วนั ส​ นิ้ ป​ เ​ี มือ่ ห​ ลาย​ปก​ี อ่ น​ผ​ เ​ู้ ขียน​ได้ม​ า​คา้ ง​คนื อ​ ยูป​่ ฏิบตั ท​ิ ว​ี่ ดั ส​ ะแก​​
และ​ได้​มี​โอกาส​เรียน​ถาม​ปัญหา​การ​ปฏิบัติ​กับ​หลวงปู่​เรื่อง​นิมิต​จริง​นิมิต​
ปลอม​ที่​เกิด​ขึ้น​ภายใน​จาก​การ​ภาวนา​​ท่าน​ตอบ​ให้​สรุป​ใจความ​ได้​ว่า​
​ ต​ อ้ ง​อาศัยส​ มมุตข​ิ นึ้ ก​ อ่ น​จ​ งึ จ​ ะ​เป็นว​ ม​ิ ตุ ติไ​ด้​เ​ช่น​ก​ าร​ทำ​อสุภะ​ ห​ รือ​
กสิณ​นั้น​​ต้อง​อาศัย​สัญญา​และ​สังขาร​น้อม​นึก​เป็น​นิมิต​ขึ้น​​ใน​ขั้น​นี้​ไม่​ควร​
สงสัย​ว่า​นิมิต​นั้น​เป็น​ของ​จริง​หรือ​ของ​ปลอม​ ​มา​จาก​ภายนอก​หรือ​มา​จาก​
จิต​เ​พราะ​เรา​จะ​อาศัยส​ มมุตต​ิ วั น​ ไ​ี้ ป​ทำ​ประโยชน์ต​ อ่ ​ค​ อื ย​ งั จ​ ติ ใ​ห้เ​ป็นส​ มาธิ​
แน่ว​แน่​ขึ้น​​แต่​ก็​อย่า​สำคัญ​มั่น​หมาย​ว่า​ตน​รู้​เห็น​แล้ว​​หรือ​ดี​วิเศษ​แล้ว​
​ ​การ​น้อม​จิต​ตั้ง​นิมิต​เป็น​องค์​พระ​ ​เป็น​สิ่ง​ที่​ดี​ ​ไม่​ผิด​ ​เป็น​ศุภ​นิมิต​
คือ​นิมิต​ที่​ดี​ ​เมื่อ​เห็น​องค์​พระ​ ​ให้​ตั้ง​สติ​คุม​เข้าไป​ตรง​ ​ๆ​ ​(​ไม่​ปรุง​แต่ง​ ​หรือ​
อยาก​โน้น​นี้​)​​ไม่​ออก​ซ้าย​​ไม่​ออก​ขวา​​ทำความ​เลื่อม​ใส​เข้า​​เดิน​จิต​ให้​แน่ว​
แน่​​สติ​ละเอียด​เข้า​​ต่อ​ไป​ก็​จะ​สามารถ​แยกแยะ​หรือ​พิจารณา​นิมิต​ให้​เป็น​
ไตร​ลักษณ์​จน​เกิด​ปัญญา​​สามารถ​จะ​ก้าว​เข้า​สู่​วิ​มุตติ​ได้

luangpordu.com
๓๐ 30

​๒​
​อุปมา​ศีล​​สมาธิ​​ปัญญา​


​ ​ครั้ง​หนึ่ง​ได้​มี​โอกาส​สนทนา​ธรรม​กับ​หลวง​น้า​สาย​หยุด​ ​ท่าน​ได้​
เมตตา​เล่า​ให้​ผู้​เขียน​ฟัง​ว่า​ ​หลวงปู่​เคย​เปรียบ​ธรรมะ​ของ​พระพุทธเจ้า​
เหมือน​แกงส้ม​ ​แกงส้ม​นั้น​มี​ ​๓​ ​รส​ ​คือ​ ​เปรี้ยว​ ​เค็ม​ และ​เผ็ด​ ​ซึ่ง​มี​ความ​
หมาย​ดังนี้​
​ ​รส​เปรี้ยว​​หมาย​ถึง​​ศีล​​ความ​เปรี้ยว​จะ​กัดกร่อน​ความ​สกปรก​ออก​
ได้​ฉันใด​​ศีล​ก็​จะ​ขัดเกลา​ความ​หยาบ​ออก​จาก​กาย​​วาจา​​ใจ​​ได้​ฉัน​นั้น​
​ ​รส​เค็ม​​หมาย​ถึง​​สมาธิ​​ความ​เค็ม​สามารถ​รักษา​อาหาร​ต่างๆ​​ไม่​ให้​
เน่าเ​สียไ​ด้ฉ​ นั ใด​ส​ มาธิก​ ส​็ ามารถ​รกั ษา​จติ ข​ อง​เรา​ให้ต​ งั้ ม​ นั่ อ​ ยูใ​่ น​คณ
ุ ค​ วาม​ด​ี
ได้​ฉัน​นั้น​
​ ​รส​เผ็ด​ ​หมาย​ถึง​ ​ปัญญา​ ​ความ​เผ็ด​ร้อน​โลด​แล่น​ไป​ ​เปรียบ​ได้​ดั่ง​
ปัญญา​ที่​สามารถ​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​แจ้ง​ชัด​ ​ขจัด​ความ​ไม่รู้​เปลี่ยน​จาก​ของ​
คว่ำ​เป็น​ของ​หงาย​​จาก​มืด​เป็น​สว่าง​ได้​ฉัน​นั้น​

luangpordu.com
31 ๓๑

​๓​
​หนึ่ง​ใน​สี่​


​ ​ครั้ง​หนึ่ง​หลวงปู่​ได้​ปรารภ​ธรรม​กับ​ผู้​เขียน​ว่า​.​.​.​
​ ​“​ข้า​นั่ง​ดูด​ยา​ ​มอง​ดู​ซอง​ยา​แล้ว​ก็​ตั้ง​ปัญหา​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​ ​เรา​นี่​
ปฏิบตั ไ​ิ ด้​๑​ ​ใ​ น​๔​ ​ข​ อง​ศาสนา​แล้วห​ รือย​ งั ?​ ​ถ​ า้ ซ​ อง​ยา​นแ​ี้ บ่งเ​ป็น​๔​ ​ส​ ว่ น​​
เรา​นี่​ยัง​ไม่​ได้​​๑​​ใน​​๔​​มัน​จวน​เจียน​จะ​ได้​แล้ว​มัน​ก็​คลาย​​เหมือน​เรา​มัด​
เชือก​จน​เกือบ​จะ​แน่น​ได้ที่​แล้ว​เรา​ปล่อย​​มัน​ก็​คลาย​ออก​​เรา​นี่​ยัง​ไม่​เชื่อ​
จริง​​ถ้า​เชื่อ​จริง​ก็​ต้อง​ได้​​๑​​ใน​​๔​​แล้ว​”​
​ ​ตอ่ ​มา​ภาย​หลัง​ทา่ น​ได้​ขยาย​ความ​ให้​ผ​เู้ ขียน​ฟงั ​วา่ ​ ​ท​ว่ี า่ ​ ​๑​ ​ใน​ ​๔​ ​นน้ั ​​
อุปมา​ดั่ง​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​เพื่อ​ให้​บรรลุ​มรรคผล​ใน​พุทธ​ศาสนา​ซึ่ง​แบ่ง​เป็น​
ขั้น​โสดา​บัน​ ​สกิ​ทา​คามี​ ​อ​นาคา​มี​ ​และ​อร​หัต​ต​ผลอ​ย่าง​น้อย​เรา​เกิด​มา​
ชาติ​หนึ่ง​ชาติ​นี้​ ​ได้​พบพระ​พุทธ​ศาสนา​ซึ่ง​เปรียบ​เสมือน​สมบัติ​อัน​ล้ำค่า​
แล้ว​ ​หาก​ไม่​ปฏิบตั ​ธิ รรม​ให้​ได้​ ​๑​ ​ใน​ ​๔​ ​ของ​พทุ ธ​ศาสนา​เป็น​อย่าง​นอ้ ย​ คือ​
เข้าถึง​ความ​เป็น​พระ​โสดา​บัน​​ปิด​ประตู​อบาย​ภูมิ​ให้​ได้​​ก็​เท่ากับ​ว่า​เรา​เป็น​
ผู้​ประมาท​อยู่​เหมือน​เรา​มี​ข้าว​แล้ว​ไม่​กิน​​มี​นา​แล้ว​ไม่​ทำ​​ฉันใด​ก็​ฉัน​นั้น​

luangpordu.com
๓๒ 32

​๔​
​อานิสงส์​การ​ภาวนา​


​ ​หลวงปู่​ท่าน​เคย​พูด​เสมอ​ว่า​
​ ​“​อุป​ัชฌาย์​ข้า​ ​(​หลวงปู่​กลั่น​)​ ​สอน​ว่า​ ​ภาวนา​ได้​เห็น​แสง​สว่าง​
เท่า​ปลาย​หัวไม้​ขีด​​ชั่ว​ประ​เดี๋ยว​เดียว​​เท่า​ช้าง​กระดิก​หู​​งู​แลบ​ลิ้น​​ยัง​มี​
อานิสงส์​มาก​กว่า​ตักบาตร​จน​ขัน​ลงหิน​ทะลุ​”​
​ ​พวก​เรา​มัก​จะ​ได้ยิน​ท่าน​คอย​ให้​กำลัง​ใจ​อยู่​บ่อย​ๆ​​ว่า​
​ ​“​หมั่น​ทำ​เข้า​ไว้​​หมั่น​ทำ​เข้า​ไว้​​ต่อ​ไป​จะ​ได้​เป็น​ที่​พึ่ง​ภาย​หน้า​”​
​ เสมือน​หนึ่ง​เป็นการ​เตือน​ให้​เรา​เร่ง​ความ​เพียร​ให้​มาก​ ​การ​ให้​ทาน​
รักษา​ศลี ​รอ้ ย​ครัง้ ​พนั ​ครัง้ ​ก​็ไม่​เท่ากับ​นง่ั ​ภาวนา​หน​เดียว​ ​นง่ั ​ภาวนา​รอ้ ย​ครัง้ ​
พัน​ครั้ง​ ​กุศล​ที่​ได้​ก็​ไม่​เท่า​กุศล​จิต​ที่​สงบ​เป็น​สมาธิ​ที่​เกิด​ปัญญา​เพียง​​
ครั้ง​เดียว​

​ขัน​ลงหิน​​คือ​​ภาชนะ​ใช้​ใส่​อาหาร​สำหรับ​เตรียม​ใส่​บาตร​พระ​​ซึ่ง​คน​สมัย​ก่อน​นิยม​ใช้​

luangpordu.com
33 ๓๓

​๕​
​แสง​สว่าง​เป็น​กิเลส​​?​


​ มี​คน​เล่า​ให้​หลวงปู่​ฟัง​ว่า​​มี​ผู้​กล่าว​ว่าการ​ทำ​สมาธิ​แล้ว​บังเกิด​ความ​
สว่าง​หรือ​เห็น​แสง​สว่าง​นั้น​ไม่​ดี​เพราะ​เป็น​กิเลส​​มืด​ๆ​​จึง​จะ​ดี​
​ หลวง​ปู่​ท่าน​กล่าว​ว่า​
​ “​ที่​ว่า​เป็น​กิเลส​ก็​ถูก​ ​แต่​เบื้อง​แรก​ต้อง​อาศัย​กิเลส​ไป​ละ​กิเลส​
​(​อาศัย​กิเลส​ส่วน​ละเอียด​ไป​ละ​กิเลส​ส่วน​หยาบ​)​ ​แต่​ไม่​ได้​ให้​ติด​ใน​แสง​
สว่าง​หรือ​หลง​แสง​สว่าง​ ​แต่​ให้​ใช้​แสง​สว่าง​ให้​ถูก​ ​ให้​เป็น​ประโยชน์​​
เหมือน​อย่าง​กบั เ​รา​เดินผ​ า่ น​ไป​ใน​ทม​ี่ ดื ​ต​ อ้ ง​ใช้แ​ สง​ไฟ​ห​ รือจ​ ะ​ขา้ ม​แม่นำ้ ​
มหาสมุทร​ก็​ต้อง​อาศัย​เรือ​ ​อาศัย​แพ​ ​แต่​เมื่อ​ถึง​ฝั่ง​แล้ว​ก็​ไม่​ได้​แบก​เรือ​
แบก​แพ​ขึ้น​ฝั่ง​ไป​”​
​ แสง​สว่าง​อัน​เป็น​ผล​จาก​การ​เจริญ​สมาธิ​ก็​เช่น​กัน​ ​ผู้​มี​สติ​ปัญญา​
สามารถ​ใช้​เพื่อ​ให้​เกิด​ปัญญา​ อัน​เป็น​แสง​สว่าง​ภายใน​​ที่​ไม่มี​แสง​ใด​เสมอ​
เหมือน​​ดัง​ธรรม​ที่​ว่า​​
“​นัตถิ​​ปัญญา​​สมา​​อาภา​​แสง​สว่าง​เสมอ​ด้วย​ปัญญา​ไม่มี​”​

luangpordu.com
๓๔ 34

​๖​
​ปลูก​ต้น​ธรรม​


​ ​ครั้ง​หนึ่ง​หลวงปู่​เคย​เปรียบ​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​เหมือน​การ​ปลูก​ต้นไม้​
​ ​ท่าน​ว่า​.​.​.​ปฏิบัติ​นี้​มัน​ยาก​ ​ต้อง​คอย​บำรุง​ดูแล​รักษา​เหมือน​กับ​เรา​
ปลูก​ต้นไม้​
​ ​ ​ศีล​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​คือ​​ดิน​
​ ​ ​สมาธิ​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​คือ​​ลำต้น​
​ ​ ​ปัญญา​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​.​คือ​​ดอก​​ผล​
​ ​ออกดอก​เมื่อ​ใด​ก็​มี​กลิ่น​หอม​ไป​ทั่ว​ ​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​ก็​เช่น​กัน​ ​ผู้​รัก​
การ​ปฏิบัติ​ต้อง​คอย​หมั่น​รดน้ำ​พรวน​ดิน​ ระวัง​รักษา​ต้น​ธรรม​​ให้​ผลิ​ดอก​​
ออก​ใบ​​มี​ผล​น่า​รับ​ประทาน ​ต้อง​คอย​ระวัง​ตัว​หนอน​​คือ​​โลภ​​โกรธ​​หลง​​
มิใ​ห้ม​ า​กดั ก​ นิ ต​ น้ ธ​ รรม​ได้อ​ ย่าง​น​ี้ จึงจ​ ะ​ได้ช​ อื่ ว​ า่ ผ​ ร​ู้ กั ธ​ รรม​ร​ กั ก​ าร​ปฏิบตั จ​ิ ริง​

luangpordu.com
35 ๓๕

​๗​
​วัดผล​การ​ปฏิบัติ​ด้วย​สิ่ง​ใด​​?


​ ม​ ผ​ี ป​ู้ ฏิบตั ห​ิ ลาย​คน​ป​ ฏิบตั ไ​ิ ป​นาน​เข้าช​ กั เ​ขว​ไ​ม่ช​ ดั เจน​วา่ ​ตน​ปฏิบตั ​ิ
ไป​ทำไม​ห​ รือป​ ฏิบตั ไ​ิ ป​เพือ่ อ​ ะไร​ด​ งั ค​ รัง้ ห​ นึง่ ​เ​คย​มล​ี กู ศ​ ษิ ย์ก​ ราบ​เรียน​ถาม​
หลวงปู่​ว่า​
​ ​“​ภาวนา​มา​ก็​นาน​พอ​สมควร​แล้ว​ ​รู้สึก​ว่า​ยัง​ไม่​ได้​รู้​ได้​เห็น​สิ่ง​ต่าง​ ​ๆ​
มี​นิมิต​ภายนอก​​แสดง​สี​ต่างๆ​​เป็นต้น​​ดัง​ที่​ผู้​อื่น​เขา​รู้​เห็น​กัน​เลย​​”​​
​ หลวงปู่​ท่าน​ย้อน​ถาม​​สั้น​ๆ​​ว่า​
​ “​ปฏิบัติ​แล้ว​ ​โกรธ​ ​โลภ​ ​หลง​ ​ของ​แก​ลด​น้อย​ลง​หรือ​เปล่า​หล่ะ​
ถ้า​ลด​ลง​​ข้า​ก็ว่า​แก​ใช้ได้​​”​

luangpordu.com
๓๖ 36

​๘​
​เทวทูต​​๔​


​ ​ธรรมะ​ที่​หลวงปู่​ยก​มา​สั่ง​สอน​ศิษย์​เป็น​ประจำ​ ​มี​อยู่​เรื่อง​หนึ่ง​ ​คือ​
เทวทูต​​๔​​ที่​เจ้า​ชาย​สิทธัต​ถะ​พบ​ก่อน​บรรพชา​​คือ​​คน​แก่​​คน​เจ็บ​​คน​ตาย​​
และ​สมณะ​
​ ​ความ​หมาย​ของ​คำ​ว่า ​เทวทูต​ ​๔​ ​หลวงปู่​ท่าน​หมาย​ถึง​ ​ผู้​มา​เตือน​​
เพือ่ ใ​ห้ร​ ะลึกถ​ งึ ค​ วาม​ไม่ป​ ระมาท​ซ​ งึ่ เ​ป็นเ​รือ่ ง​ทค​ี่ วร​คดิ ​แ​ ต่ค​ น​สว่ น​ใหญ่ม​ กั ​
มอง​ข้าม​
​ ​หลวงปู่​ปรารภ​อยู่​เสมอ​ว่า​ ​แก่​ ​เจ็บ​ ​ตาย​ ​เน้อ​.​.​.​หมั่น​ทำ​เข้า​ไว้​ ​มี​
ความ​หมาย​โดย​นัยว่า​ ​เมื่อ​เรา​เกิด​มา​แล้ว​ ​เรา​ก็​ย่อม​ก้าว​เข้า​สู่​ความ​ชรา​
ความ​แก่​เฒ่า​อยู่​ตลอด​เวลา​ ​มี​ความ​เจ็บ​ป่วย​เป็น​ธรรมดา ​และ​เรา​จัก​ต้อง​
ตาย​เหมือน​กัน​ทุก​คน​
​ ​การ​เห็น​สมณะ​หรือ​นักบวช​​จึง​เป็น​นิมิต​หมาย​ที่​ดี​​ที่​จะ​ชักจูง​ให้​เรา​
ก้าว​ล่วง​ความ​​ทุกข์​ได้​ใน​ที่สุด​​โดย​​“​ผู้​มา​เตือน​”​​ทั้ง​​๔​​นี่เอง​

luangpordu.com
37 ๓๗

​๙​
​อา​รมณ์อัพ​ยาก​ฤต​


​ ​เคย​ม​ผี ใู้ หญ่​ทา่ น​หนึง่ ​ได้​กราบ​เรียน​ถาม​หลวงปู​ว่ า่ ​​อา​รมณ์อพั ​ยาก​ฤต​
ไม่​จำเป็น​ต้อง​มี​ได้​เฉพาะ​พระ​อร​หัน​ต์​​ใช่​หรือ​ไม่​?
​ ​ท่าน​ตอบ​ว่า​ ​“​ใช่​ ​แต่​อา​รมณ์อัพ​ยาก​ฤต​ของ​พระ​อร​หัน​ต์​ท่าน​ทรง​
ตลอด​เว​ลา​​ไม่​เหมือน​ปุถุชน​ที่​มี​เป็น​ครั้ง​คราว​เท่านั้น​”​
​ ​ท่าน​อุปมา​อารมณ์​ให้​ฟัง​ว่า​ ​เปรียบ​เสมือน​คน​ไป​ยืน​ที่​ตรง​ทาง​สอง​
แพร่ง​​ทาง​หนึ่ง​ไป​ทาง​ดี​​(​กุศล​)​​อีก​ทาง​หนึ่ง​ไป​ใน​ทาง​ที่​ไม่​ดี​​(​อกุศล​)​​ท่าน​
ว่า​​อัพ​ยาก​ฤ​ตม​ี​​๓​​ระดับ​​คือ​
​ ​-​ระดับ​หยาบ​​คือ​​อารมณ์​ปุถุชน​ที่​เฉยๆ​​ไม่​คิด​ดี​​ไม่​คิด​ชั่ว​​ซึ่ง​มี​เป็น​
ครั้ง​คราว​เท่านั้น​
​ ​-​ ระดับ​กลาง​ ​มี​ใน​ผู้​ปฏิบัติ​สมาธิ​ ​มี​สติ​ ​มี​ความ​สงบ​ของ​จิต​ ​วาง​
อารมณ์​จาก​สิ่ง​ที่​ดี​ที่​ชั่ว​​ดัง​ที่​เรียก​ว่า​​อุเบกขา​รมณ์​
​ ​- ​ระดับ​ละเอียด​ ​คือ​ ​อารมณ์​ของ​พระ​อร​หัน​ต์​ ​ซึ่ง​ไม่มี​ทั้ง​อารมณ์​
ที่​คิด​ปรุง​ไป​ใน​ทาง​ดี​ ​หรือ​ใน​ทาง​ไม่​ดี​ ​วาง​อารมณ์​อยู่​ได้​ตลอด​เวลา​ ​เป็น​
​วิหาร​ธรรม​ของ​ท่าน​

luangpordu.com
๓๘ 38

​๑๐​
​ตรี​​โท​​เอก​


​ ​ครั้ง​หนึ่ง​ ​ผู้​เขียน​จะ​จัด​ทำบุญ​เพื่อ​เป็น​กตัญญู​กตเวทิตา​ธรรม​ ​น้อม​
ถวาย​แด่​หลวงปู่​เกษม​​เขม​โก​​เนื่อง​ใน​โอกาส​ที่​หลวงปู่​ท่าน​มีอายุ​ครบ​​๗๔​​
พรรษา​​เมื่อ​วัน​ที่​​๒๘​​พฤศจิกายน​​พ​.​ศ​.​​๒๕๒๘​
​ ผู้​เขียน​ได้​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ว่า​
​ “​การ​ทำบุญ​อย่างไร​​จึง​จะ​ดี​ที่สุด​”​
​ หลวงปู่​ท่าน​ได้​เมตตา​ตอบ​ว่า​
​ “​ของดี​นั้น​อยู่​ที่​เรา​ ​ของดี​นั้น​อยู่​ที่​จิต​ ​จิต​มี​ ​๓​ ​ชั้น​ ​ตรี​ ​โท​ ​เอก​​
ถ้า​ตรี​ก็​ต่ำ​หน่อย​​โท​ก็​ปาน​กลาง​​เอก​นี่​อย่า​งอุกฤษฏ์​
​ มัน​ไม่มี​อะไร​.​.​.​ ก็​ ​อนิจ​จัง​ ​ทุก​ขัง​ ​อนัตตา​ ​ตัว​อนัตตา​นี่​แหละ​
เป็น​ตัวเอก​ ​ไล่​ไป​ไล่​มา​ ​ให้​มัน​เห็น​สังขาร​ร่างกาย​เรา​ ​ตาย​แน่ๆ​ ​คน​เรา​
หนี​ตาย​ไป​ไม่​พ้น​ ​ตาย​น้อย​ ​ตาย​ใหญ่​ ​ตาย​ใหญ่​ก็​ตาย​หมด​ ​ตาย​น้อย​ก็​
หลับ​​ไป​ตรอง​ดู​ให้​ดี​เถอะ​.​.​.​​”​

luangpordu.com
39 ๓๙

​๑๑​
​ต้อง​สำเร็จ​


​ ​หลวงปู่​เคย​สอน​ว่า​.​.​.​​
“​ความ​สำเร็จ​นั้น​ ​มิใช่​อยู่​ที่​การ​สวด​มนต์​อ้อนวอน​พระเจ้า​มา​
ประทาน​ให้​​หาก​แต่​ต้อง​ลงมือ​ทำ​ด้วย​ตนเอง​​ถ้า​ตั้งใจ​ทำ​ตาม​แบบ​แล้ว​
ทุกอ​ ย่าง​ตอ้ ง​สำเร็จ​ไ​ม่ใช่จ​ ะ​สำเร็จ​พ​ ระพุทธเจ้าท​ า่ น​วาง​แบบ​เอา​ไว้แ​ ล้ว​
ครูบา​อาจารย์​ทุก​องค์​มี​พระพุทธเจ้า​เป็น​ที่สุด​ ​ก็ได้​ทำ​ตาม​แบบ​ ​เป็น​
ตัวอย่าง​ให้​เรา​ดู​ ​อัฐิ​ท่าน​ก็​กลาย​เป็น​พระ​ธาตุ​กัน​หมด​ ​เมื่อ​ได้​ไตร่ตรอง​
พิจารณา​ให้​รอบคอบ​แล้ว​ ​ขอ​ให้​ลงมือ​ทำ​ทันที​ ​ข้า​ขอรับ​รอง​ว่า​ต้อง​
สำเร็จ​​ส่วน​จะ​ช้า​หรือ​เร็ว​นั้น​​อยู่​ที่​ความ​เพียร​ของ​ผู้​ปฏิบัติ​”​
​ ขอ​ให้​ตั้ง​ปัญหา​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​​
“​สิ่ง​นั้น​​บัดนี้​เรา​ได้​ลงมือ​ทำ​แล้ว​หรือ​ยัง​​?​”​

luangpordu.com
๔๐ 40

๑๒​
​จะ​เอา​โลก​หรือ​เอา​ธรรม​

บ่อย​ครั้ง​ที่​มี​ผู้​มา​ถาม​ปัญหา​กับ​หลวงปู่​ ​โดย​มัก​จะ​นำ​เอา​เรื่อง​ราว​
ต่างๆ​​ที่​เกี่ยว​กับ​หน้าที่​การ​งาน​​สามี​​ภรรยา​​ลูก​เต้า​​ญาติมิตร​​หรือ​คน​อื่น​
มา​ปรารภ​ให้​หลวงปู่​ฟัง​อยู่​เสมอ​
​ ครั้ง​หนึ่ง​ท่าน​ได้​ให้​คติ​เตือน​ใจ​ผู้​เขียน​ว่า​
​“​โลก​เท่า​แผ่น​ดิน​​ธรรม​เท่า​ปลาย​เข็ม​​”​
​ ซึ่ง​ต่อ​มา​ท่าน​ได้​เมตตา​ขยาย​ความ​ให้​ฟัง​ว่า​
​“​เรื่อง​โลก​มี​แต่​เรื่อง​ยุ่ง​ของ​คน​อื่น​ทั้ง​นั้น​​ไม่มี​ที่​สิ้น​สุด​เรา​ไป​แก้ไข​
เขา​ไม่ไ​ด้​ส​ ว่ น​เรือ่ ง​ธรรม​นนั้ ม​ ท​ี สี่ ดุ ​ม​ า​จบ​ทต​ี่ วั เ​รา​ให้ม​ า​ไล่ด​ ต​ู วั เ​อง​แ​ ก้ไข​
ที่​ตัว​เรา​เอง​​ตน​ของ​ตน​เตือน​ตน​ด้วย​ตนเอง​
​ ถ้า​คิด​สิ่ง​ที่​เป็น​ธรรม​แล้ว​ ​ต้อง​กลับ​เข้า​มา​หา​ตัว​เอง ​ถ้า​เป็น​โลก​
แล้ว​ ​จะ​มี​แต่​ส่ง​ออก​ไป​ข้าง​นอก​ตลอด​เวลา​ ​เพราะ​ธรรม​แท้ๆ​ ​ย่อม​เกิด​
จาก​ใน​ตัว​ของ​เรา​นี้​ทั้ง​นั้น​”​

luangpordu.com
41 ๔๑

​๑๓​
​แนะ​วิธี​ปฏิบัติ​

เคย​มี​สุภาพ​สตรี​ท่าน​หนึ่ง​มี​ปัญหา​ถาม​ว่า​ ​นั่ง​ปฏิบัติ​ภาวนา​แล้ว​จิต​
ไม่​รวม​​ไม่​สงบ​​ควร​จะ​ทำ​อย่างไร​​ท่าน​แก้​ให้​ว่า​
​ ​“​การ​ปฏิบัติ​ ​ถ้า​อยาก​ให้​เป็น​เร็ว​ๆ​ ​มัน​ก็​ไม่​เป็น​ ​หรือ​ไม่​อยาก​ให้​
เป็น​​มัน​ก็​ประมาท​เสีย​​ไม่​เป็น​อีก​เหมือน​กัน​​อยาก​เป็น​ก็​ไม่​ว่า​​ไม่​อยาก​
เป็น​ก​ไ็ ม่​วา่ ​​ทำใจ​ให้​เป็น​กลาง​ๆ​​ตง้ั ใจ​ให้​แน่ว​แน่​ใน​กมั มัฏ​ฐาน​ท​เ่ี รา​ยดึ ​มน่ั ​
อยู่​นั้น​​แล้ว​ภาวนา​เรื่อย​ไป​
​ เหมือน​กับ​เรา​กิน​ข้าว​ไม่​ต้อง​อยาก​ให้​มัน​อิ่ม​ ​ค่อย​ๆ​ ​กิน​ไป​มัน​ก็​
อิ่ม​เอง​​ภาวนา​ก็​เช่น​กัน​​ไม่​ต้อง​ไป​คาด​หวัง​ให้​มัน​สงบ​​หน้าที่​ของ​เรา​คือ​
ภาวนา​ไป​ ​ก็​จะ​ถึง​ของดี​ ​ของ​วิเศษ​ใน​ตัว​เรา​แล้ว​จะ​รู้​ชัด​ขึ้น​มา​ว่า​อะไร​
เป็น​อะไร​​ให้​หมั่น​ทำ​เรื่อย​ไป​”​

luangpordu.com
๔๒ 42

๑๔​
​การ​บวช​จิต​​-​​บวช​ใน​

​หลวงปู่​เคย​ปรารภ​ไว้​ว่า​.​.​.​
​จะ​เป็น​ชาย​หรือ​หญิง​ก็​ดี​ ​ถ้า​ตั้งใจ​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ ​มี​ศีล​ ​รัก​ใน​การ​
ปฏิบัติ​ ​จิต​มุ่ง​หวัง​เอาการ​พ้น​ทุกข์​เป็น​ที่สุด​ ​ย่อม​มี​โอกาส​เป็น​พระ​กัน ​
ได้​ทุก​ๆ​ ​คน​ ​มี​โอกาส​ที่​จะ​บรรลุ​มรรคผล​ ​นิพพาน​ ​ได้​เท่า​เทียม​กัน​ทุก​คน​​
ไม่​เลือก​เพศ​ ​เลือก​วัย​ ​หรือ​ฐานะ​แต่​อย่าง​ใด​ ​ไม่มี​อะไร​จะ​มา​เป็น​อุปสรรค​
ใน​ความ​สำเร็จ​ได้​​นอกจาก​ใจ​ของ​ผู้ฏิบัติ​เอง​
​ ท่าน​ได้​แนะ​เคล็ด​ใน​การ​บวช​จิต​ว่า​.​.​.​.​.​
​ใน​ขณะ​ที่​เรา​นั่ง​สมาธิ​เจริญ​ภาวนา​นั้น​​คำ​กล่าว​ว่า​
​ พุทธ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​ ​ ให้​นึกถึง​ว่า​เรา​มี​พระพุทธเจ้า​​
เป็น​พระ​อุป​ัชฌาย์​ของ​เรา​
​ ธัมมัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​ ​ ให้​นึก​ว่า​เรา​มี​พระ​ธรรม​​
เป็น​พระกร​รม​วา​จา​จาร​ย์​
​ สังฆ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​ม ิ ​ ให้​นึก​ว่า​เรา​มี​พระ​อริย​สงฆ์​​
​เป็น​พระ​อนุ​สาว​นา​จาร​ย์​
​แล้ว​อย่า​สนใจ​ขันธ์​​๕​​หรือ​ร่างกาย​เรา​นี้​

luangpordu.com
43 ๔๓

​ให้​สำรวม​จิต​ให้​ดี​​มี​ความ​ยินดี​ใน​การ​บวช​
​ ชาย​ก็​เป็น​พระ​ภิกษุ​​หญิง​ก็​เป็น​พระ​ภิกษุ​ณี​
​ อย่าง​น​จ้ี ะ​ม​อี านิสงส์​สงู ​มาก​​จดั ​เป็น​เนกขัม​บารมี​ขน้ั ​อกุ ​ฤษฏ์​ท​เี ดียว

luangpordu.com
๔๔ 44

​๑๕​
​ควร​ทำ​หรือ​ไม่​​?​

ครัง้ ห​ นึง่ ​ม​ ล​ี กู ศ​ ษิ ย์ห​ ลวงปูผ​่ ส​ู้ นใจ​ธรรม​ปฏิบตั ก​ิ ำลังน​ งั่ ภ​ าวนา​เงียบ​
อยู่​ ​ไม่​ห่าง​จาก​ท่าน​เท่าใด​นัก​ ​บังเอิญ​มี​แขก​มา​หา​ศิษย์​ผู้​นั้น​แต่​ไม่​เห็น​ ​ก็​มี​
ศิษย์อ​ กี ท​ า่ น​หนึง่ เ​ดินเ​รียก​ชอื่ ท​ า่ น​ผก​ู้ ำลังน​ งั่ ภ​ าวนา​อยูด​่ ว้ ย​เสียง​อนั ด​ งั ​แ​ ละ​
เมื่อ​เดิน​มา​เห็น​ศิษย์​ผู้​นั้น​กำลัง​ภาวนา​อยู่​ก็​จับ​แขน​ดึง​ขึ้น​มา​ทั้ง​ที่​กำลัง​นั่ง​
ภาวนา​
​เมื่อ​ผู้​นั้น​ห่าง​ไป​แล้ว​​หลวงปู่​ท่าน​จึง​เปรย​ขึ้น​มา​ว่า​
​ “​ใน​พุทธ​กาล​ครั้ง​ก่อน​ ​มี​พระ​อร​หัน​ต์​องค์​หนึ่ง​กำลัง​เข้า​นิ​โรธ​-
สมา​บตั ​ิ ไ​ด้ม​ น​ี ก​แสก​ตวั ห​ นึง่ บ​ นิ โ​ฉบ​ผา่ น​หน้าท​ า่ น​พร้อม​กบั ร​ อ้ ง​“​ แ​ ซก​”​
ท่าน​วา่ น​ ก​แสก​ตวั น​ นั้ เ​มือ่ ต​ าย​แล้วไ​ด้ไ​ป​อยูใ​่ น​นรก​แ​ ม้ก​ ปั น​ พ​ี้ ระพุทธเจ้า​
ผ่าน​ไป​ได้​พระองค์​ที่​สี่​แล้ว​​นก​แสก​ตัว​นั้น​ยัง​ไม่​ได้​ขึ้น​มา​จาก​นรก​เลย​”​

luangpordu.com
45 ๔๕

๑๖​

​การ​อุทิศ​ส่วน​กุศล​ภายนอก​ภายใน​

​มี​บาง​ท่าน​เข้าใจ​คลาด​เคลื่อน​เกี่ยว​กับ​การ​อุทิศ​ส่วน​กุศล​ให้​ผู้​ตาย​
ของ​หลวงปู่​ ​ซึ่ง​ท่าน​เมตตา​ทำ​เป็น​ปกติ​ ​จึง​มี​ความ​หวัง​ว่า​เมื่อ​ตน​ตาย​​
หลวงปูท​่ า่ น​จะ​เมตตา​ให้บ​ ญ ุ ส่งว​ ญ
ิ ญาณ​ส​ ง่ จ​ ติ ไ​ป​สวรรค์ไ​ป​นพิ พาน​ได้​ด​ ว้ ย​
ตน​เป็น​ผู้​เข้า​วัด​ทำ​ทาน​และ​ปรนนิบัติ​หลวงปู่​มา​นาน​​หลวงปู่​ท่าน​ก็​เมตตา​
เตือน​ว่า​
​ “​ถ้า​ข้า​ตาย​ไป​ก่อน​​แล้ว​ใคร​จะ​ส่ง​​(​บุญ​)​​ให้​แก​ล่ะ​”​
​ ด้วย​ความ​ไม่​เข้าใจ​​ท่าน​ผู้​นั้น​จึง​มี​คำ​ตอบ​ว่า​
​ “​ขอ​ให้​หลวงปู่​อยู่​ต่อ​ไป​นาน​ๆ​​ให้​พวก​ผม​ตาย​ก่อน​”​
​นี่​เป็น​จุด​ชวน​คิด​ใน​คำ​เตือน​ของ​ท่าน​ที่​บอก​เป็น​นัยว่า​ ​การ​ไป​สุคติ​
หรือ​การ​หลุด​พ้น​นั้น​​ต้อง​ปฏิบัติ​​ต้อง​สร้าง​ด้วย​ตนเอง​เป็น​สำคัญ​​มิใช่​หวัง​
พึ่งบุญ​พึ่ง​กุศล​ผู้​อื่น​ ​การ​อาศัย​ผู้​อื่น​เมื่อ​ตาย​แล้ว​นั้น​ เป็น​เพียง​ส่วน​น้อย​ที่​
อาจ​จะ​ได้​ ​อีก​ทั้ง​ยัง​เป็น​ความ​ไม่​แน่นอน​ด้วย​ ​สู้​ทำ​ด้วย​ตัว​เอง​ไม่​ได้​ ​เป็น​
แง่​ให้​คิด​ว่า​ต้อง​ปฏิบัติ​ตน​ให้​มั่นใจ​ใน​ตนเอง​ตั้ง​แต่​ก่อน​ตาย​ ​เมื่อ​ถึง​เวลา​​
จำ​ต้อง​ทิ้ง​ขันธ์​จะ​ไม่​ต้อง​มัว​กังวล​ต่อ​ภพ​ชาติ​ภาย​หน้า​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​
การ​ปฏิบัติ​ให้​รู้​แจ้ง​ใน​ธรรม​ตั้ง​แต่​ปัจจุบัน​ชาติ​นี้​เป็น​ดี​ยิ่ง​ที​เดียว

luangpordu.com
๔๖ 46

​๑๗​
​สติ​ธรรม​

​บ่อย​ครั้ง​ที่​พวก​เรา​ถูก​หลวงปู่​ท่าน​ดุ​ใน​เรื่อง​ของ​การ​ไม่​สำรวม​ระวัง​
ท่าน​มัก​จะ​ดุ​ว่า​
​ “​​ให้​ทำ​​(​ปฏิบตั ​)ิ ​​ไม่​ทำ​​ทำ​ประ​เดีย๋ ว​เดียว​​เดีย๋ ว​ออก​มา​จบั ​กลุม่ ​กนั ​
อีก​แล้ว​​ที​เวลา​คุย​​คุย​กัน​ได้​นาน​”​
ป​ ฏิปทา​ของ​ทา่ น​ตอ้ งการ​ให้พ​ วก​เรา​ตง้ั ใจ​ปฏิบตั ​ิ ต​ ง้ั ใจ​ทำให้จ​ ริง​ม​ ส​ี ติ​
สำรวม​ระวัง​​แม้​เวลา​กนิ ​ขา้ ว​​ทา่ น​ก​ใ็ ห้​ระวัง​อย่า​พดู ​คยุ ​กนั ​เอะอะ​เสียง​ดงั ​
​“​สติ​”​ ​นั้น​เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่สุด​อย่าง​หนึ่ง​ที่​จะ​ทำให้​เรา​ได้​หยุด​คิด​
พิจารณา​ก่อน​ที่​จะ​ทำ​​จะ​พูด​​และ​แม้แต่​จะ​คิด​สิ่ง​ใด​สิ่ง​หนึ่ง​ว่า​สิ่ง​นั้น​ดี​หรือ​
ชัว่ ​ม​ ค​ี ณ
ุ ป​ ระโยชน์ห​ รือเ​สียห​ าย​ค​ วร​กระทำ​หรือค​ วร​งด​เว้นอ​ ย่างไร​เ​มือ่ ย​ งั้ ​
คิด​ได้​ก็​จะ​ช่วย​ให้​พิจารณา​ทุก​สิ่ง​ทุก​อย่าง​ละเอียด​ประณีต​ ​และ​สามารถ​
กลั่น​กรอง​เอา​สิ่ง​ที่​ไม่​เป็น​สาระ​ไม่​เป็น​ประโยชน์​ออก​ให้​หมด​ ​คง​เหลือ​แต่​
เนื้อที่​ถูก​ต้อง​และ​เป็น​ธรรม​ซึ่ง​เป็น​ของ​ควร​คิด​​ควร​พูด​​ควร​ทำ​แท้ๆ​

luangpordu.com
47 ๔๗

​๑๘​
​ธรรมะ​จาก​ซอง​ยา​

บ่อย​ครัง้ ท​ ห​ี่ ลวงปูม​่ กั จ​ ะ​หยิบยก​เอา​สงิ่ ของ​รอบ​ตวั ท​ า่ น​มา​อปุ มา​เป็น​


ข้อ​ธรรมะ​ให้​ศิษย์​ได้​ฟัง​กัน​เสมอ​
​ ครัง้ ห​ นึง่ ​ท่าน​ได้อ​ บรม​ศษิ ย์ผ​ ห​ู้ นึง่ เ​กีย่ ว​กบั ก​ าร​รเ​ู้ ห็นแ​ ละ​ได้ธ​ รรม​วา่ ​
มี​ทั้ง​ชั้น​หยาบ​​ชั้น​กลาง​​ชั้น​ละเอียด​​อุปมา​เหมือน​อย่าง​ซอง​ยา​นี่​​(​หลวงปู่​
ท่าน​ชี้​ไป​ที่​ซอง​บุหรี่​)​
​ “​แรก​เริ่ม​ ​เรา​เห็น​แค่​ซอง​ของ​มัน​ ​ต่อ​มา​ ​เรา​จะ​ไป​เห็น​มวน​บุหรี่​
อยู่​ใน​ซอง​นั่น​ ​ใน​มวน​บุหรี่​แต่ละ​มวน​ก็​ยัง​มี​ยาเส้น​อยู่​ภายใน​อีก​ ​แล้ว​
ที่สุด​จะ​เกิด​ตัว​ปัญญา​ขึ้น​ ​รู้​ด้วย​ว่า​ยาเส้น​นี้​ทำ​มา​จาก​อะไร​ ​จะ​เรียก​ว่า​​
“เห็น​ใน​เห็น”​ก็ได้​​ลอง​ไป​ตรอง​ดแู​ ล้ว​เทียบ​กับ​ตัว​เรา​ให้​ดี​เถอะ​”​

luangpordu.com
๔๘ 48

​๑๙​
​ธรรมะ​จาก​โรง​พยาบาล​

โรง​พยาบาล​เป็น​สถาน​ที่​บำบัด​ทุกข์​ของ​มนุษย์​เรา​ ​อย่าง​น้อย​ ​๓​​


ประการ​​ซึ่ง​พระพุทธเจ้า​ทรง​แสดง​ไว้​ใน​พระ​สูตร​สำคัญ​หลาย​เรื่อง​​คือ​
​ ชาติ​ทุกข์​​-​​ความ​เดือด​ร้อน​เวลา​เกิด​
​ชรา​ทุกข์​​-​​ความ​เดือด​ร้อน​เมื่อ​ความ​แก่​มา​ถึง​​และ​
​ พยาธิ​ทุกข์ ​-​​ความ​เดือด​ร้อน​ใน​ยาม​เจ็บ​ไข้​ได้​ป่วย​
​ หลวงปู่​เคย​บอก​กับ​ผู้​เขียน​ว่า​​ที่​โรง​พยาบาล​นั่น​แหละ​มี​ของดี​เยอะ​​
เป็น​เหมือน​โรงเรียน​​เวลา​ไป​อย่า​ลืม​ดู​ตัว​เกิด​​แก่​​เจ็บ​​ตาย​​อยู่​ใน​นั้น​หมด​
​“​ดู​ข้าง​นอก​แล้ว​ย้อน​มา​ดู​ตัว​เรา​​เหมือน​กัน​ไหม​”​

luangpordu.com
49 ๔๙

​๒๐​
​ของ​จริง​ข​ อง​ปลอม​

​เมื่อ​หลาย​ปี​ก่อน​ ​ได้​เกิด​ไฟ​ไหม้​ที่​วัด​สะแก​บริเวณ​กุฏิ​ตรง​ข้าม​กุฏิ​
หลวงปู​่ แ​ ต่ไ​ฟ​ไม่ไ​หม้ก​ ฏุ ห​ิ ลวงปู​่ เ​ป็นท​ น​ี่ า่ อ​ ศั จรรย์ใ​จ​แก่ศ​ ษิ ย์แ​ ละ​ผท​ู้ พ​ี่ บเห็น​
เป็นอ​ ย่าง​ยงิ่ ​ถ​ งึ ข​ นาด​มฆ​ี ราวาส​ทา่ น​หนึง่ ค​ ดิ ว​ า่ ห​ ลวงปูท​่ า่ น​มพ​ี ระ​ด​ี ม​ ข​ี องดี​
ไฟ​จึง​ไม่​ไหม้​กุฏิ​ท่าน​
​ ผู้ใหญ่​ท่าน​นั้น​ได้​มา​ที่​วัด​และ​กราบ​เรียน​หลวงปู่​ว่า​
​“​หลวงปู่​ครับ​​ผม​ขอ​พระ​ดี​ที่​กัน​ไฟ​ได้​หน่อย​ครับ​”​
​หลวงปู่​ยิ้ม​ก่อน​ตอบ​ว่า​
​ “​พุทธ​ัง​​ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​ไตร​สรณ​คมน​์​นี่​แหละ​​พระ​ดี​”​
​ ผู้ใหญ่​ท่าน​นั้น​ก็​รีบ​บอก​ว่า​
​ “​ไม่ใช่​ครับ​ผม​ขอ​พระ​เป็น​องค์​ๆ​​อย่าง​พระ​สม​เด็จ​น่ะ​ครับ​”​
​ หลวงปู่​ก็​กล่าว​ยืนยัน​หนัก​แน่น​อีก​ว่า​
​ “​ก็​พุทธ​ัง​​ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​นี่​แหละ​มี​แค่​นี้​ล่ะ​​ภาวนา​ให้​ดี​”​
​ ​แล้ว​หลวงปู่​ก็​มิได้​ให้​อะไร​ ​จน​ผู้ใหญ่​ท่าน​นั้น​กลับ​ไป​ ​หลวงปู่​จึง​ได้​
ปรารภ​ธรรม​อบรม​ศิษย์​ที่​ยัง​อยู่​ว่า​
​ “​คน​เรา​นี่​ก็​แปลก​​ข้า​ให้​ของ​จริง​กลับ​ไม่​เอา​​จะ​เอา​ของ​ปลอม​”​

luangpordu.com
๕๐ 50

​๒๑​
​คำ​สารภาพ​ของ​ศิษย์​

เ​รา​เป็นศ​ ษิ ย์ร​ นุ่ ป​ ลาย​ออ้ ป​ ลาย​แขม​(อยูห่ า่ งไกล) แ​ ละ​มค​ี วาม​ขเ​ี้ กียจ​


เป็นป​ กติ​ก​ อ่ น​ทเ​ี่ รา​จะ​ไป​วดั ​เ​รา​ไม่เ​คย​สนใจ​ทำ​อะไร​จริงจังย​ าวนาน​ค​ อื เ​รา​
สนใจ​ทำ​จริงจัง​แต่​ก็​ประ​เดี๋ยว​เดียว​ ​เมื่อ​เรา​ได้​ไป​วัด​ ​ด้วย​ความ​อยาก​เห็น​​
อยาก​รู้​เหมือน​ที่​เพื่อน​บาง​คน​เขา​รู้​​เขา​เห็น​​เรา​จึง​พยายาม​ทำ​​แต่​มัน​ไม่​ได้​
ความ​พยายาม​ของ​เรา​กเ​็ ลย​ลด​นอ้ ย​ถอย​ลง​ตาม​วนั เ​วลา​ทผ​ี่ า่ น​ไป​แ​ ต่ค​ วาม​
อยาก​ของ​เรา​มนั ​ไม่​ได้​หมด​ไป​ดว้ ย ​พอ​ข​เ้ี กียจ​หนัก​เข้า​​เรา​จงึ ​ถาม​หลวงปู​ว่ า่ ​
​ “​หนู​ขี้​เกียจ​เหลือ​เกิน​ค่ะ​​จะ​ทำ​ยัง​ไง​ดี​”​
​เรา​จำ​ได้​ว่า​ท่าน​นั่ง​เอน​อยู่​ ​พอ​เรา​กราบ​เรียน​ถาม ​ท่าน​ก็​ลุก​ขึ้น​นั่ง​
ฉับไว​​มอง​หน้า​เรา​​แล้ว​บอก​ว่า​
​ “​ถ้า​ข้า​บอก​แก​ไม่​ให้​กลัว​ตาย​​แก​จะ​เชื่อ​ข้า​ไหม​ล่ะ​”​
​เรา​เงียบ​เพราะ​ไม่​เข้าใจ​ที่​ท่าน​พูด​ตอน​นั้น​เลย​
​ อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ปลอด​คน​​เรา​กราบ​เรียน​ถาม​ท่าน​ว่า​
​ “​คน​ขี้​เกียจ​อย่าง​หนู​นี้​​มี​สิทธิ์​ถึง​นิพพาน​ได้​หรือ​ไม่​”​
​หลวงปู่​ท่าน​นั่ง​สูบ​บุหรี่​ยิ้ม​อยู่​และ​บอก​เรา​ว่า​
​ ​“​ถ้า​ข้า​ให้​แก​เดิน​จาก​นี่​ไป​กรุงเทพฯ​​แก​เดิน​ได้​ไหม​”​

luangpordu.com
51 ๕๑

​เรา​เงียบ​แล้ว​ยิ้ม​แห้ง​ๆ​​ท่าน​จึง​พูด​ต่อว่า​
​ “​ถ้า​แก​กิน​ข้าว​สาม​มื้อ​​มัน​ก็​มี​กำลังวังชา​​เดิน​ไป​ถึง​ได้​ถ้า​แก​กิน​
ข้าว​มื้อ​เดียว​ ​มัน​ก็​พอ​ไป​ถึง​ได้​แต่​ช้า​หน่อย​ ​แต่​ถ้า​แก​ไม่​กิน​ข้าว​ไป​เลย​​
มัน​ก็​คง​ไป​ไม่​ถึง​​ใช่​ไหม​ล่ะ​”​
​เรา​รู้สึก​เข้าใจ​ความ​ข้อ​นี้​ซึมซาบ​เลย​ที​เดียว​ ​แล้ว​หลวงปู่​ท่าน​ก็​พูด​
ต่อว่า​
​ “​เรื่อง​ทำม้ง​ธรรมะ​อะไร​ข้า​พูด​ไม่​เป็น​หรอก​ ​ข้า​ก็​เป็น​แต่​พูด​ของ​
ข้า​อย่าง​นี้​แหละ​”​
​อรพิน​ท์​

luangpordu.com
๕๒ 52

๒๒​
​ทรรศนะ​ต่าง​กัน​

เกี่ยว​กับ​การ​อยู่​ร่วม​กัน​ใน​วง​ของ​ผู้​ปฏิบัติ​ธรรม​ ​หลวงปู่​ท่าน​ได้​ให้​
โอวาท​เตือน​ผป​ู้ ฏิบตั ไ​ิ ว้ว​ า่ ​“​ ก​ าร​มา​อยูด​่ ว้ ย​กนั ​ป​ ฏิบตั ด​ิ ว้ ย​กนั ม​ าก​เข้า ย​ อ่ มมี​
เรือ่ ง​กระทบ​กระทัง่ ก​ นั เ​ป็นธ​ รรมดา​ต​ ราบ​ใด​ทย​่ี งั เ​ป็นป​ ถุ ชุ น​คน​ธรรมดาอยู​่
ทิฏฐิค​ วาม​เห็นย​ อ่ ม​ตา่ ง​กนั ​ข​ อ​ให้เ​อาแต่ส​ ว่ น​ดม​ี าส​นบั ส​ นุน​ กัน​อ​ ย่าเ​อา​เลว​
มา​อวด​กนั ​ก​ าร​ปรามาส​พระ​กด​็ ​ี ก​ าร​พดู จา​จาบ​จว้ ง​ใน​พระพุทธ​พ​ ระ​ธรรม​​
พระ​สงฆ์​ หรือ​ทา่ น​ท​ม่ี ​ศี ลี ​ม​ธี รรม​ก​ด็ ​ี ​จะ​เป็น​กรรม​ตดิ ตัว​เรา​และ​ขดั ​ขวาง
ก​ าร​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ใน​ภาย​หน้า​ด​ งั น​ น้ั ​ห​ าก​เห็นใ​คร​ทำความ​ด​ี ก​ ค​็ วร​อนุโมทนา​
ยินดี​ดว้ ย​​แม้​ตา่ ง​วดั ​ตา่ ง​สำนัก​หรือ​แบบ​ปฏิบตั ​ติ า่ ง​กนั ​กต็ าม​”
ไ​ม่มใ​ี คร​ผดิ ห​ รอก​เ​พราะ​จดุ ม​ งุ่ ห​ มาย​ตา่ ง​กเ​็ ป็นไ​ป​เพือ่ ค​ วาม​พน้ ท​ กุ ข์​
เช่น​กัน​​เพียง​แต่​เรา​จะ​ทำให้​ดี​​ดี​ยิ่ง​​ดี​ที่สุด​
​ ขอ​ให้​ถาม​ตัว​เรา​เอง​เสีย​ก่อน​ว่า​.​.​.​​แล้ว​เรา​ล่ะ​ถึงที่​สุด​แล้ว​หรือ​ยัง​

luangpordu.com
53 ๕๓

​๒๓​
​อุเบกขา​ธรรม​

​เรา​มัก​จะ​เห็น​การ​กระทำ​ท่​ีเป็น​คำ​พูด​และ​การ​แสดงออก​อยู่​บ่อย​ๆ​​
ส่วน​การ​กระทำ​ท​เ่ี ป็นการ​นง่ิ ​​ท​เ่ี รียก​วา่ ​ม​อี เุ บกขา​นน้ั ​มกั ​​ไม่​คอ่ ย​ได้​เห็น​กนั ​
​ ใน​เรือ่ ง​การ​สร้าง​อเุ บกขา​ธรรม​ขน้ึ ใ​น​ใจ​นน้ั ​ผ​ ป​ู้ ฏิบตั ใ​ิ หม่เ​มือ่ ไ​ด้เ​ข้าม​ า​
รู​ธ้ รรม​​เห็น​ธรรม​​ได้​พบเห็น​สง่ิ ​แปลก​ๆ​​และ​คณ ุ ค่า​ของ​พทุ ธ​ศาสนา​​มกั ​เกิด​
อารมณ์ค​ วาม​รสู้ กึ ว​ า่ อ​ ยาก​ชวน​คน​มา​วดั ม​ า​ปฏิบตั ใ​ิ ห้ม​ าก​ๆ​โ​ดย​ลมื ด​ พ​ู น้ื ฐ​ าน​
จิตใจ​ของ​บคุ คล​ท​ก่ี ำลัง​จะ​ชวน​วา่ ​เขา​ม​คี วาม​สนใจ​มาก​นอ้ ย​เพียง​ใด​
​ หลวงปู่​ท่าน​บอก​ว่า​
“​ ใ​ห้ร​ ะวังใ​ห้ด​ จ​ี ะ​เป็นบ​ าป​เ​ปรียบ​เสมือน​กบั ก​ าร​จดุ ไ​ฟ​ไว้ต​ รง​กลาง​
ระหว่าง​คน​สอง​คน​ถ​ า้ เ​รา​เอา​ธรรมะ​ไป​ชวน​เขา​เ​ขา​ไม่เ​ห็นด​ ว้ ย​ป​ รามาส​
ธรรม​นซ​ี้ งึ่ เ​ป็นธ​ รรม​ของ​พระพุทธเจ้าก​ เ​็ ท่ากับเ​รา​เป็นค​ น​กอ่ ​แ​ ล้วเ​ขา​เป็น​
คน​จุด​ไฟ​.​.​.​​บาป​ทั้ง​คู่​เรียก​ว่า​​เมตตา​จะ​พา​ตก​เหว​”​
​แล้ว​ท่าน​ยก​อุทาหรณ์​สอน​ต่อว่า​
​“​เหมือน​กับ​มี​ชาย​คน​หนึ่ง​ตก​อยู่​ใน​เหว​ลึก​​มี​ผู้​จะ​มา​ช่วย​คน​ที่​​๑​
มี​เมตตา​จะ​มา​ช่วย​​เอา​เชือก​ดึง​ขึ้นจ​ าก​เหว​​ดึง​ไม่​ไหว​จึง​ตกลง​ไป​ใน​เหว​
เหมือน​กนั ​ค​ น​ท​ี่ ๒​ ​ม​ ก​ี รุณา​มา​ชว่ ย​ดงึ อ​ กี ก​ ต​็ กลง​เหว​อกี ​ค​ น​ท​ี่ ๓​ ​ม​ ม​ี ทุ ติ า​
มา​ช่วย​ดึง​อีก​ก็​พลาด​ตก​เหว​อีก​เช่น​กัน​
luangpordu.com
๕๔ 54

​ คน​ที่​ ​๔​ ​สุดท้าย​ ​เป็น​ผู้​มี​อุเบกขา​ธรรม​ ​เห็น​ว่า​เหว​นี้​ลึก​เกิน​กว่า​


กำลังข​ อง​ตน​ทจ​ี่ ะ​ชว่ ย​ก​ ม​็ ไิ ด้ท​ ำ​ประการ​ใด ท​ งั้ ๆ​ ​ท​ จ​ี่ ติ ใจ​กม​็ เ​ี มตตา​ธรรม​​
ที่​จะ​ช่วย​เหลือ​อยู่​ ​คน​สุดท้าย​นี้​จึง​รอด​ชีวิต​จาก​การ​ตก​เหว​ตาม​ ​เพราะ​
อุเบกขา​ธรรม​นี้​แล​”​

luangpordu.com
55 ๕๕

​๒๔​
​ใหรู้จ​ ัก​บุญ​

การ​ทำบุญ​ทำ​กุศล​นั้น​ ​โปรด​อย่า​นึก​ว่า​จะ​ต้อง​หอบ​ข้าว​หอบ​ของ​
ไป​ใส่​บาตร​ที่​วัด​ทุก​วัน​ ​หรือ​บุญ​จะ​เกิด​ได้​ก็​ต้อง​ทอด​กฐิน​สร้าง​โบสถ์​ ​สร้าง​
ศาลา​​และ​อื่น​​ๆ​​อย่าง​ที่​เขา​โฆษณา​​ขาย​บุญ​กัน​​ทั้ง​ทาง​วิทยุ​​หนังสือพิมพ์​
และ​ใบ​เรีย่ ไ​ร​กนั เ​กลือ่ น​กลาด​จ​ น​รสู้ กึ ว​ า่ จ​ ะ​ตอ้ ง​เป็นภ​ าระ​ทต​ี่ อ้ ง​บริจาค​เมือ่ ​
ไป​วัด​หรือ​สำนัก​นั้น​ๆ​ ​​เป็น​ประจำ​
​ บท​สวด​มนต์​ชื่อ​พระพุทธ​ชัยมงคล​คาถา​ ​ที่​ขึ้น​ต้น​ด้วย​ ​“​พา​หุง​.​.​.​”​
มี​อยู่​ท่อน​หนึ่ง​​ซึ่ง​กล่าว​ถึง​พระพุทธเจ้า​ทรง​ชนะ​มาร​คือ​กิเลส​​ว่า​
​“​ทา​นาท​ิธัมม​วิธ​ินา​​ชิต​วา​ม​ ุ​นิน​โท​”​​แปล​ว่า​
​ “​พระพุทธเจ้า​ผู้ทรง​เป็น​จอม​ปราชญ์​ ​ทรง​ชนะ​มาร​คือ​ ​กิเลส​ ​ด้วย​
วิธี​บำเพ็ญ​บารมี​ธรรม​คือ​​ความ​ดี​​มี​การ​บริจาค​ทาน​​เป็นต้น​”​
​ พระพุทธเจ้าท​ รง​สอน​การ​ทำบุญท​ ำ​กศุ ล​ด​ ว้ ย​การ​ให้ท​ าน​ร​ กั ษา​ศลี ​
และ​สวด​มนต์​เจริญ​สมาธิ​ภาวนา​ ​ให้​ทาน​ทุก​ครั้ง​ ​ให้​ทำลาย​ความ​โลภ​ ​คือ​
กิเลส​ทกุ ค​ รัง้ ​ร​ กั ษา​ศลี ​เ​จริญภ​ าวนา​เพือ่ ท​ ำลาย​ความ​โกรธ​ค​ วาม​เห็นแ​ ก่ต​ วั ​
​ให้​ใจ​สะอาด​ ​ใจ​ไม่​เศร้า​หมอง​ มอง​เห็น​บาป​บุญ​คุณโทษ​ได้​ทุก​ครั้ง​ ​ทำได้​
ดังนี้​​จึง​ชื่อ​ว่า​ทำ​ตาม​พระพุทธเจ้า​

luangpordu.com
๕๖ 56

​๒๕​
​อุบาย​วิธี​ทำความ​เพียร​

ครัง้ ห​ นึง่ ท​ ไ​่ี ด้ส​ นทนา​ปญั หา​ธรรม​กบั ห​ ลวงปู​่ ท​ า่ น​เล่าใ​ห้ผ​ เ​ู้ ขียน​ฟงั ว่า​
เขา​มา​ถาม​ปัญหา​ข้า​​ข้า​ก็​ตอบ​ไม่​ได้​อยู่​ปัญหา​หนึ่ง​​
ผู้​เขียน​เรียน​ถาม​ท่านว่า​“​ ​ปัญหา​อะไร​ครับ​”​​
ท่าน​เล่า​ว่า​​“​เขา​ถาม​ว่า​​ขี้​เกียจ​​(​ปฏิบัติ​)​​จะ​ทำอย่างไรดี”​
​หลวงปู่​หัวเราะ​​ก่อน​ที่​จะ​ตอบ​ต่อ​ไป​ว่า​​
“​บ๊ะ​​ขี้​เกียจ​ก็​หมดกัน​​ก็​ไม่​ต้อง​ทำ​ซิ​”​
​ สัก​ครู่​ท่าน​จึง​เมตตา​สอน​ว่า​​
“​หมัน่ ท​ ำ​เข้าไ​ว้.​.​.​​ถ้าข​ เ​้ี กียจ​ให้น​ กึ ถึงข้า​ข​ า้ ท​ ำ​มา​๕​ ๐​ป​ ​ี อ​ ปุ ช​ั ฌาย์​
ข้าเ​คย​สอน​ไว้ว​ า่ ​ถ​ า้ ว​ นั ไ​หน​ยงั ก​ นิ ข​ า้ ว​อยู​่ ก็ต​ อ้ ง​ทำ​ว​ นั ไ​หน​เลิกก​ นิ ข​ า้ ว​..​.​​
นั่น​แหละ​ถึง​ไม่​ต้อง​ทำ​”​

luangpordu.com
57 ๕๗

​๒๖​
​พระ​เก่า​ของ​หลวงปู่​

ส​ ำหรับพ​ ระ​เครือ่ ง​แล้ว​พ​ ระ​สมเด็จว​ ดั ร​ ะฆังฯ​ ​เ​ป็นท​ ร​ี่ จู้ กั ก​ นั ด​ ใ​ี น​หมู​่
นักเลง​พระ​วา่ ​​เป็น​ของ​หา​ยาก​และ​มรี​ าคา​แพง​​ใคร​ได้​ไว้บ​ ูชา​นบั เ​ป็นม​ งคล​
อย่าง​ยิ่ง​
​ หลวงปูไ​่ ด้ส​ อน​วา่ ​ก​ าร​นบั ถือพ​ ระ​เช่นน​ เ​ี้ ป็นส​ งิ่ ท​ ด​ี่ ​ี แ​ ต่เ​ป็นด​ ภ​ี ายนอก​
มิใช่​ดี​ภายใน​​ท่าน​บอก​ว่า​“​ ​ให้หา​พระ​เก่า​ให้​พบ​​น​ซ่ี ​ขิ อง​แท้​ของดี​จริง​”​
ผู้​เขียน​เรียน​ถาม​ท่าน​ว่า​“​ ​พระ​เก่า​หมายความ​ว่า​อย่างไร​ครับ​”​
​ท่าน​ว่า​​“​ก็​หมาย​ถึง​พระ​พุทธ​เจ้าน่ะ​ซิ​​นั่น​​ท่าน​เป็น​พระ​เก่า​​พระ​
โบราณ​​พระองค์​แรก​ที่สุด​”​

luangpordu.com
๕๘ 58

​๒๗​
​ข้อ​ควร​คิด​

​การ​ไป​วัด​ ​ไป​ไหว้​พระ​ ​ตลอด​จน​การ​สนทนา​ธรรม​กับ​ท่าน​ สมควร​


ทีจ​่ ะ​ตอ้ ง​มค​ี วาม​ตงั้ ใจ​และ​เตรียม​ให้พ​ ร้อม​ทจ​ี่ ะ​รบั ธ​ รรม​จาก​ทา่ น​ม​ ฉ​ิ ะนัน้ ก​ ​็
อาจ​เกิด​เป็น​โทษ​ได้​​ดัง​เรื่อง​ต่อ​ไป​นี้​... ปกติ​ของ​หลวงปู่​ท่าน​มี​ความ​เมตตา​​
อบรม​สั่ง​สอน​ศิษย์​และ​สนทนา​ธรรม​กับ​ผู้​สนใจ​ตลอด​มา​ ​วัน​หนึ่ง​มี​ผู้​มา​
ก​ราบ​นมัสการ​ท่าน​และ​เรียน​ถาม​ปัญหา​ต่างๆ​​จาก​นั้น​จึง​กลับ​ไป​
​ หลวงปู่​ท่าน​ได้​ยก​เป็น​คติ​เตือน​ใจ​ให้​ผู้​เขียน​ฟัง​ว่า​ “คน​ที่มา​เมื่อ​กี้​​
หาก​ไป​เจอ​พระ​ดีล่ะ​ก็​ลง​นรก​​ไม่​ไป​สวรรค์​​นิพพาน​หรอก​”
​ผู้​เขียน​จึง​เรียน​ถาม​ท่าน​ว่า​“​ ​เพราะ​เหตุ​ไร​ครับ​”​
​ ท่าน​ตอบ​วา่ “​ ก​ จ​็ ะ​ไป​ปรามาส​พระ​ทา่ น​นะ่ ซ​ ​ี ​ไม่ไ​ด้ไ​ป​เอา​ธรรม​จากท่าน”​
​หลวงปู​เ่ คย​เตือน​พวก​เรา​ไว้​วา่ ​ ​“​การ​ไป​อยู​ก่ บั ​พระ​อร​หนั ​ต​์ ​อย่า​อยู่​
กับท​ า่ น​นาน​เ​พราะ​เมือ่ เ​กิดค​ วาม​มกั ค​ นุ้ แ​ ล้ว​ม​ กั ท​ ำให้ล​ มื ตัว​เห็นท​ า่ น​เป็น​
เพือ่ น​เล่น​ ​คยุ ​เล่น​หวั ​ทา่ น​บา้ ง​ ​ให้​ทา่ น​เหาะ​ให้​ด​บู า้ ง​ ​ถงึ ​กบั ​ออกปาก​ใช้​
ท่าน​เลย​กม​็ ​ี ก​ าร​กระทำ​เช่นน​ ​้ี ถ​ อื เ​ป็นการ​ปรามาส​พระ​ล​ บหลูค​่ รูอ​ าจารย์​
และ​เป็นบ​ าป​มาก​ป​ ดิ ก​ น้ั ท​ าง​มรรคผล​นพิ พาน​ได้​จ​ งึ ข​ อ​ให้พ​ วก​เรา​สำรวม​
ระวัง​ให้​ด​”ี ​

luangpordu.com
59 ๕๙

​๒๘​
​ไม่​พยากรณ์​

​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ปฏิบัติ​ธรรม​แล้ว​จะ​ได้​สำเร็จ​มรรคผล​นิพพาน​หรือ​ไม่​
เคย​มี​พระ​ภิกษุ​ท่าน​หนึ่ง​ได้​มาก​ราบ​นมัสการ​และ​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ว่า​
​ “​หลวงปู่​ครับ​ ​กระผม​จะ​ได้​สำเร็จ​หรือ​ไม่​ ​หลวงปู่​ช่วย​พยากรณ์​
ที​ครับ”​
​หลวงปู่​นิ่ง​สัก​ครู่​หนึ่ง​ก่อน​ตอบ​ว่า​
​ “​พยากรณ์​ไม่​ได้​”​
​พระ​ภิกษุ​รูป​นั้น​ได้​เรียน​ถาม​ต่อว่า​
​ “​เพราะ​เหตุ​ไร​หรือ​ครับ​”​
​หลวงปู่​จึง​ตอบ​ว่า​
​ “​ถ้า​ผม​บอก​ว่า​ท่าน​จะ​ได้​สำเร็จ​ ​แล้ว​ท่าน​เกิด​ประมาท​ไม่​ปฏิบัติ​
ต่อ​ ​มัน​จะ​สำเร็จ​ได้​อย่างไร​ ​และ​ถ้า​ผม​บอก​ว่า​ท่าน​จะ​ไม่​สำเร็จ​ ​ท่าน​ก็​
คงจะ​ขี้​เกียจ​และ​ละทิ้ง​การ​ปฏิบัติ​ไป​​นิมนต์​ท่าน​ทำ​ต่อ​เถอะ​ครับ​”​

luangpordu.com
๖๐ 60

​๒๙​
​จะ​ตาม​มา​เอง​

​หลาย​ปี​มา​แล้ว​ ​มี​พระ​ภิกษุ​รูป​หนึ่ง​ ​ได้​มา​บวช​ปฏิบัติ​ธรรม​อยู่​ที่ ​


วัด​สะแก​ ​ก่อน​ที่​จะ​ลา​สิกขา​เข้า​สู่​เพศ​ฆราวาส​ ​ท่าน​ได้​นัดแนะ​กับ​เพื่อน ​
พระ​ภิกษุ​ที่​จะ​สึก​ด้วย​กัน​ ​๓​ ​องค์​ว่า​ ​เพื่อ​ความ​เป็น​สิริ​มงคล​ ​ก่อน​สึก​พวก​
เรา​จะ​ไป​กราบ​ขอ​ให้​หลวงปู่​พรม​น้ำมนต์​และ​ให้​พร​
​ท่าน​ได้​เล่า​ให้​ผู้​เขียน​ฟัง​ว่า​
​ ขณะ​ทห​ี่ ลวงปูพ​่ รม​นำ้ มนต์​ใ​ห้พ​ ร​อยูน​่ นั้ ​ท​ า่ น​กน​็ กึ อ​ ธิษฐาน​อยูใ​่ น​ใจ​
ว่า​“​ ​ขอ​ความ​ร่ำรวย​มหาศาล​​ขอ​ลาภ​ขอ​ผล​พูน​ทวี​​มี​กิน​มี​ใช้​​ไม่รู้​หมด​​จะ​
ได้​แบ่ง​ไป​ทำ​บุญ​มากๆ​”​
​ หลวงปู่​หัน​มา​มอง​หน้า​หลวง​พี่​ที่​กำลัง​คิด​ละเมอ​เพ้อ​ฝัน​ถึง​ความ​
ร่ำรวย​นี้​​ก่อน​ที่​จะ​บอก​ว่า​
​“​ท่าน​.​.​.​ ​ที่​ท่าน​คิดน่ะ​มัน​ต่ำ​ ค​ ิด​ให้​มัน​สูง​ไว้​ไม่​ดี​หรือ​ ​แล้ว​เรื่อง​ที่​
ท่าน​คิดน่ะ​จะ​ตาม​มา​ทีหลัง​”​“​

luangpordu.com
61 ๖๑

​๓๐​
​แนะ​วิธี​วาง​อารมณ์​

​หลวงปู่​เคย​พูด​เสมอ​ว่า​ ​“​ผู้​ปฏิบัติ​ต้อง​หมั่น​ตาม​ดู​จิต​ ​รักษา​จิต​”​​


สำหรับ​คน​ที่​ไม่​เคย​ปฏิบัติ​แล้ว​ไม่รู้​จะ​ดู​ที่ไหน​อะไร​ ​จะ​ดู​อะไร​ ​รู้สึก​สับสน​​
แยก​ไม่ถ​ กู เ​พราะ​ไม่เ​คย​ด​ู ไ​ม่เ​คย​สงั เกต​อะไร​เ​คย​อยูแ​่ ต่ใ​น​ความ​คดิ ป​ รุงแ​ ต่ง​
อยู่​กับ​อารมณ์​แต่​แยก​อารมณ์​ไม่​ได้​ ​ยิ่ง​คน​ที่​ยัง​ไม่​เคย​บวช​ ​คน​ที่​อยู่​ใน​โลก​
แบบ​วุ่น​วาย​​ยิ่ง​ดู​จิต​ของ​ตน​ได้​ยาก​
​ หลวงปูไ​่ ด้เ​ปรียบ​ให้ผ​ เ​ู้ ขียน​ฟงั ​โ​ดย​ทา่ น​ได้ก​ ำ​มอื แ​ ละ​ยนื่ น​ วิ้ ก​ ลาง​มา​
ข้าง​หน้าผ​ เ​ู้ ขียน​วา่ ​เ​รา​ภาวนา​ทแ​ี รก​กเ​็ ป็นอ​ ย่าง​น​ี้ ส​ กั ค​ รูท​่ า่ น​กย​็ นื่ น​ วิ้ ช​ อ​ี้ อก​มา
สักค​ รูก​่ ย​็ นื่ น​ วิ้ น​ าง​พร้อม​กบั ม​ อื ไ​หว​เล็กน​ อ้ ย แ​ ละ​ทา่ น​กย​็ นื่ น​ วิ้ ห​ วั แ​ ม่ม​ อื แ​ ละ​
นิว้ ก​ อ้ ย​ออกมาตาม​ลำดับจ​ น​ครบ​๕​ ​น​ วิ้ ​ท่าน​ทำ​มอื โ​คลง​ไป​โคลง​มา​เ​ปรียบ​
การ​ภาวนา​ของ​นกั ​ปฏิบตั ​ทิ ​จ่ี ติ ​แตก​​ไม่​สามารถ​รวมใจ​ให้​เป็น​หนึง่ ​ได้​
​ผู้​ฝึก​จิต​ถ้า​ทำ​จิต​ให้​มี​อารมณ์​หลาย​อย่าง​จะ​สงบ​ไม่​ได้​ ​และ​ไม่​เห็น​
สภาพ​ของ​จิต​ตาม​เป็น​จริง​​ถ้า​ทำ​จิตใจ​ให้​ดิ่ง​แน่ว​แน่​อยู่​ใน​อารมณ์​อัน​เดียว​
แล้ว​ ​จิต​ก็​มี​กำลัง​เปล่ง​รัศมี​แห่ง​ความ​สว่าง​ออก​มา​เต็ม​ที่​ ​มอง​สภาพ​ของ​
จิต​ตาม​ความ​เป็น​จริง​ได้​ว่า​​อะไร​เป็น​จิต​​อะไร​เป็น​กิเลส​​อะไร​ที่​ควร​รักษา​​
อะไร​ที่​ควร​ละ​

luangpordu.com
๖๒ 62

​๓๑​
​อย่า​พูด​มาก​

​“​เวลา​ปฏิบัติ​ ​พอ​จะ​ได้​ดี​หน่อย​ ​มัน​อยาก​จะ​พูด​ ​อยาก​จะ​เล่า​ให้​


ใคร​ฟัง​​จริง​ไหม​ล่ะ​แก​​ข้า​รู้​​ข้า​ก็​เคย​เป็น​มา​”​​หลวงปู่​ท่าน​กล่าว​​แล้ว​เล่า​
เรื่อง​เป็น​อุทาหรณ์​ว่า​
​“​มี​พระองค์​หนึ่ง​ปฏิบัติ​จิต​สงบ​ดี​ ​แล้ว​เกิด​นิมิต​เห็น​พระพุทธเจ้า​
นับร​ อ้ ย​องค์เ​ดินเ​ข้าม​ า​หา​ท​ า่ น​มค​ี วาม​ปตี เ​ิ อิบอ​ มิ่ ย​ นิ ดีม​ าก​อ​ ยาก​จะ​เล่า​
ให้​หมู่​เพื่อน​ฟัง​ ตอน​เช้า​จึง​เล่า​ผล​การ​ปฏิบัติ​ของ​ตน​ให้​หมู่​เพื่อน​ทราบ​​
ผล​ปรากฏ​ว่า​พระรูป​นั้น​ทำ​สมาธิ​อีก​เป็น​เดือน​ก็​ยัง​ไม่​ปรากฏ​จิต​สงบ​ดี​
ถึง​ระดับ​ที่​เคย​นั้น​เลย​”​​
ถึง​ตรง​นี้​​ท่าน​สั่ง​เลย​ว่า​
“​ แ​ ก​จำ​ไว้เ​ลย​นะ​ค​ น​ทท​ี่ ำ​เป็น​เ​ขา​ไม่พ​ ดู ​ค​ น​ทพ​ี่ ดู น​ นั่ ย​ งั ท​ ำ​ไม่เ​ป็น”​ ​

luangpordu.com
63 ๖๓

​๓๒​
​เชื่อ​จริง​หรือ​ไม่​

​สำหรับ​ผู้​ปฏิบัติ​แล้ว​ ​คำ​ดุ​ด่า​ว่า​กล่าว​ของ​ครู​อาจารย์​ ​นับ​เป็น​เรื่อง​


สำคัญ​และ​มี​คุณค่า​ยิ่ง​​หาก​ครูบา​อาจารย์​เมิน​เฉย​ไม่​ดุ​ด่า​ว่า​กล่าว​ก็​เหมือน​
เป็นการ​ลงโทษ​
​ ผู้​เขียน​เคย​ถูก​หลวงปู่​ดุ​ว่า​
​ “​แก​ยงั ​เชือ่ ​ไม่​จริง​​ถา้ ​เชือ่ ​จริง​​พทุ ธ​งั ​​ธมั มัง​​สงั ฆ​งั ​​สรณ​งั ​​คจั ฉา​มิ​
ต้อง​เชือ่ แ​ ละ​ยอมรับพ​ ระพุทธ​พ​ ระ​ธรรม​พ​ ระ​สงฆ์​เ​ป็นท​ พ​่ี ง่ึ ​แ​ ทนทีจ​่ ะ​เอา
​ความ​โลภ​มา​เป็น​ท​พ่ี ง่ึ ​ ​เอา​ความ​โกรธ​มา​เป็น​ท​พ่ี ง่ึ ​ ​เอา​ความ​หลง​มา​เป็น​
ที​พ่ ง่ึ ​”​
​หลวงปู่​ท่าน​กล่าว​กับ​ผู้​เขียน​ว่า​
​ “​โกรธ​โ​ลภ​ห​ ลง​เ​กิดข​ น้ึ ​ใ​ห้ภ​ าวนา​แ​ ล้วโ​กรธ​โ​ลภ​ห​ ลง​จะ​คลาย​ลง​
​ขา้ ​รบั รอง​​ถา้ ​ทำ​แล้ว​ไม่​จริง​​ให้​มา​ดา่ ​ขา้ ​ได้​”​

luangpordu.com
๖๔ 64

​๓๓​
​คิด​ว่าไ​ม่มี​ดี​

ผู้​ปฏิบัติ​ส่วน​ใหญ่​มัก​จะ​ไม่​พอใจ​ใน​ผล​การ​ปฏิบัติ​ของ​ตน​ โดยที่​มัก​
จะ​ขาด​การ​ไตร่ตรอง​ว่า​สาเหตุ​นั้น​เป็น​เพราะ​อะไร​ ​ดัง​ที่​เคย​มี​ลูก​ศิษย์​คน​
หนึ่ง​ของ​หลวงปู่​ ได้​มา​นั่ง​บ่น​ให้​ท่าน​ฟังใน​ความ​อาภัพ​อับ​วาสนา​ของ​ตน​
ใ​น​การ​ภาวนา​วา่ ​ต​ น​ไม่ไ​ด้ร​ ​ู้ ไ​ม่ไ​ด้เ​ห็นส​ งิ่ ต​ า่ งๆ​ภ​ ายใน​ม​ น​ี มิ ติ ภ​ าวนา​เ​ป็นต้น​
ลงท้าย​ก็​ตำหนิ​ว่า​ตน​นั้น​ไม่มี​ความ​รู้​อรรถ​รู้​ธรรม​และ​ความ​ดี​อะไร​เลย​
​หลวงปู่​นั่ง​ฟัง​อยู่​สัก​ครู่​ ​ท่าน​จึง​ย้อน​ถาม​ลูก​ศิษย์​จอม​ขี้​บ่น​ผู้​นั้น​ว่า​​
“​แก​แน่ใจ​หรือ​ว่า​ไม่มี​อะไร​ดี​​แล้ว​แก​รู้จัก​พระพุทธ​​พระ​ธรรม​​พระ​สงฆ์​
หรือ​เปล่า​”​
​ลูก​ศิษย์​ผู้​นั้น​นิ่ง​อึ้ง​สัก​ครู่​จึง​ตอบ​ว่า​“​ ​รู้จัก​ครับ​”​
​หลวงปู่​จึง​กล่าว​สรุป​ว่า​ ​“​เออ​ ​นั่นซี​ ​แล้ว​แก​ทำไม​จึง​คิด​ว่า​ตัว​เรา​
ไม่มี​ดี​”​
​ นี่​เป็น​ตัวอย่าง​หนึ่ง​ที่​แสดง​ถึง​ความ​เมตตา​ของ​ท่าน​ ​ที่​หา​ทางออก​
ทาง​ปัญญา​ให้​ศิษย์​ผู้​กำลัง​ท้อถอย​ด้อย​ความ​คิด​ ​และ​ตำหนิ​วาสนา​ตนเอง​​
หาก​ปล่อย​ไว้​ย่อม​ทำให้​ไม่มี​กำลัง​ใจ​ใน​การ​ปฏิบัติ​เพื่อ​ผล​ที่​ควร​ได้​แห่ง​ตน​

luangpordu.com
65 ๖๕

​๓๔​
​พระ​ทคี่​ ล้อง​ใจ​

เ​มื่อม​ ผี​ ไ​ู้ ป​ขอ​ของดีจ​ ำพวก​วัตถุม​ งคล​จาก​หลวงปูไ่​ว้ห​ อ้ ย​คอ​หรือ​พก​


ติดตัว​​หลวงปู่​จะ​สอน​ว่า​
​ “​จะ​เอา​ไป​ทำไม​ข​ องดีภ​ ายนอก​ท​ ำไม​ไม่เ​อา​ของดีภ​ ายใน​พ​ ทุ ธัง​
ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​นี่​แหละ​ของ​วิเศษ​”​
​ ท่าน​ให้​เหตุผล​ว่า​
​“​คน​เรา​นั้น​​ถ้า​ไม่​มี​พุทธ​ัง​​ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​เป็น​ของดี​ภายใน​​ถึง​แม้​
จะ​ได้ข​ องดีภ​ ายนอก​ไป​แล้ว​ก​ ไ​็ ม่เ​กิดป​ ระโยชน์อ​ ะไร​..​.​​ทำ​อย่างไร​จงึ จ​ ะได้​
เห็นพ​ ระ​จริงๆ​ ​เ​ห็นม​ แ​ี ต่พ​ ระ​ปนู ​พ​ ระ​ไม้​พ​ ระ​โลหะ​พ​ ระรูปถ​ า่ ย​พระ​สงฆ์​
ลอง​กลับ​ไป​คิด​ดู​”​

luangpordu.com
๖๖ 66

​๓๕​
​จะ​เอา​ดี​หรือ​จะ​เอา​รวย​

อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ที่​คณะ​ผู้​เขียน​ได้​มา​นมัสการ​หลวงปู่​ ​เพื่อน​ของ​ผู้​เขียน​
ท่าน​หนึ่ง​ต้องการ​เช่า​พระ​อุป​คุต​ที่​วัด​เพื่อ​นำ​ไป​บูชา​ โดย​กล่าว​กับ​ผู้​ที่มา​
ด้วย​กัน​ว่า​​บูชา​แล้ว​จะ​ได้​รวย​
​เพื่อน​ของ​ผู้​เขียน​ท่าน​นั้น​แทบ​ตะลึง​​เมื่อ​มาก​ราบ​หลวงปู่​​แล้ว​ท่าน​
ได้​ตัก​เตือน​ว่า​“​ ​รวย​กับ​ซวย​มัน​ใกล้​ๆ​ ​​กัน​นะ​”​
​ ผู้​เขียน​ได้​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ว่า​“​ใกล้​กัน​ยัง​ไง​ครับ​”​
​ ท่าน​ยิ้ม​และ​ตอบ​ว่า​“​ ​มัน​ออก​เสียง​คล้าย​กัน​”​​
พวก​เรา​ต่าง​ยิ้ม​น้อย​ยิ้ม​ใหญ่​ ​สัก​ครู่​ท่าน​จึง​ขยาย​ความ​ให้​พวก​เรา​
ฟังว่า “​จะ​เอา​รวย​น่ะ​​จะ​หา​มายัง​ไง​ก็​ทุกข์​​จะ​รักษา​มัน​ก็​ทุกข์​หมด​ไป​
ก็​เป็น​ทุกข์​อีก​ ​กลัว​คน​จะ​จี้​จะ​ปล้น​ ไ​ป​คิด​ดูเถอะ​ ​มัน​ไม่​จบ​หรอก​ ​มี​แต่​
เรื่อง​ยุ่ง​​เอา​ดี​​ดี​กว่า​”​
​ คำ​ว่า​​“​ดี​”​​ของ​หลวงปู่​มี​ความ​หมาย​ลึก​ซึ้ง​มาก​​ผู้​เขียน​ขอ​อัญ​เชิญ​
พระบรม​ราโชวาท​ของ​ในหลวง​ของ​เรา​ใน​เรือ่ ง​การ​ทำความ​ด​ี ม​ า​เปรียบ​ณ ​​
ที่​นี้​​ความ​ตอน​หนึ่ง​ว่า​

luangpordu.com
67 ๖๗

​ “​.​.​.​ความ​ดี​นี้​ ​ไม่​ต้อง​แย่ง​กัน​ ​ความ​ดี​นี้​ ​ทุก​คน​ทำได้​ ​เพราะ​ความ​ดี​


นี้​ทำ​แล้ว​ก็​ดี​ตาม​​คำ​ว่า​​‘​ดี​’​​นี้​​ดี​ทั้ง​นั้น​​ฉะนั้น​​ถ้า​ช่วย​กัน​ทำ​ดี​​ความ​ดี​นั้น​
ก็​จะ​ใหญ่​โต​​จะ​ดี​ยิ่ง​​ดี​เยี่ยม​.​.​.​”​

luangpordu.com
๖๘ 68

​๓๖​
​หลัก​พระพุทธ​ศาสนา​

​เล่า​กัน​ว่า​ ​มี​โยม​ท่าน​หนึ่ง​ ​ไป​นมัสการ​พระ​เถระ​องค์​หนึ่ง​อยู่​เป็น​


ประจำ​​และ​ใน​วัน​หนึ่ง​ได้​ถาม​ปัญหา​ธรรม​กับ​ท่าน​ว่า​
​ “​หลัก​ของ​พระพุทธ​ศาสนา​คือ​อะไร...​”​
​พระ​เถระ​ตอบ​ว่า​
​“​ละ​ความ​ชั่ว​​ทำความ​ดี​​ทำ​จิต​ของ​ตน​ให้​ผ่อง​แผ้ว​”​
​ โยม​ท่าน​นั้น​ได้​ฟัง​แล้ว​​พูด​ว่า​
​“​อย่าง​นี้​เด็ก​​๗​​ขวบ​ก็​รู้​”​
​พระ​เถระ​ยิ้ม​เล็ก​น้อย​ก่อน​ตอบ​ว่า​
“​ จ​ ริงข​ อง​โยม​เ​ด็ก​๗​ ​ข​ วบ​กร​็ ​ู้ แ​ ต่ผ​ ใู้ หญ่อ​ ายุ​๘​ ๐​ก​ ย​็ งั ป​ ฏิบตั ไ​ิ ม่ไ​ด้”​ ​
​อย่าง​นี้​กระมัง​ที่​ผู้​เขียน​เคย​ได้ยิน​หลวงปู่​พูด​เสมอ​ว่า​
​“​ของ​จริง​​ต้อง​หมั่น​ทำ​”​
​ พระพุทธ​ศาสนา​นนั้ ​ถ​ า้ ป​ ราศ​จาก​การ​นอ้ มนำ​เข้าไป​ไว้ใ​น​ใจ​แล้ว​ก​ าร​​
“​ถือ​”​​พุทธ​ศาสนา​ก็​ไม่มี​ความ​หมาย​แต่​อย่าง​ใด​

luangpordu.com
69 ๖๙

​๓๗​
​“​พ​”​​พาน​ของ​หลวงปู่​

หลวงปู่​เคย​ปรารภ​ธรรม​กับ​ผู้​เขียน​ว่า​
​“​ถ้า​แก​เขียน​ตัว​​พ​​พาน​​ได้เ​มื่อไร​​นั่น​แหละ​จึง​จะ​ดี​”​
​ผู้​เขียน​ถาม​ท่าน​ว่า​“​ ​เป็น​อย่างไร​ครับ​​พ​​พาน​”​
​ ท่าน​ตอบ​ว่า​“​ ​ก็​ตัว​​พอ​​น่ะ​ซี​​”​
​คน​เรา​จะ​มี​ชีวิต​อยู่​ใน​โลก​​ไม่​จำเป็น​ต้อง​ร่ำรวย​​มี​ฐานะ​แล้ว​จึง​จะ​มี​
ความ​สขุ ​ม​ ค​ี น​ทล​ี่ ำบาก​อกี ม​ าก​แ​ ต่เ​ขา​รจู้ กั ว​ า่ อ​ ะไร​คอื ส​ งิ่ ท​ พ​ี่ อตัว​ก​ ส​็ ามารถ​
อยู่​อย่าง​เป็นสุข​ได้​
​ นี่​ก็​อยู่​ที่​คน​เรา​​รู้จัก​คำ​ว่า​​“​พอ​”​​หรือ​ไม่​​
รู้จัก​​“​พอ​”​​ก็​จะ​มี​แต่​ความ​สุข​​
หากไม่รู้​จัก​​“​พอ​”​​ถึง​แม้​จะ​ร่ำรวย​​มี​เกียรติ​​ตำแหน่ง​ใหญ่​โต​​มัน​ก็​
ไม่มี​ความ​สุข​ได้​เหมือน​กัน​
​คน​ที่​มี​เงิน​​ก็​ยิ่ง​อยาก​มี​เงิน​เพิ่ม​ขึ้น​อีก​
​ คน​ที่​ทำงาน​​ก็​อยาก​กิน​ตำแหน่ง​สูง​ขึ้น​
​ มี​สิ่ง​ใด​ก็​เป็น​ทุกข์​เพราะ​สิ่ง​นั้น​​ไม่มี​ที่​สิ้น​สุด​

luangpordu.com
๗๐ 70

​๓๘​
​การ​สอน​ของ​ท่าน​

ว​ ธิ ว​ี ดั อ​ ย่าง​หนึง่ ว​ า่ ผ​ ใ​ู้ ด​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ได้ด​ เ​ี พียง​ใด​นนั้ ​ท​ า่ น​ให้ส​ งั เกต​ด​ู
ว่า ผ​ น​ู้ นั้ ส​ ามารถ​ฝกึ ต​ น​ส​ อน​ตวั เ​อง​ได้ด​ เ​ี พียง​ใด​ก​ าร​เตือน​ผอ​ู้ นื่ ไ​ม่ใ​ห้ห​ ลง​ผดิ ​
ได้​นั้น​เป็น​สิ่ง​ที่​ดี​​แต่​การ​เตือน​ตน​ให้​ได้​ย่อม​ดี​กว่า​
​ การ​สอน​ของ​หลวงปูท​่ า่ น​จะ​ทำให้เ​รา​ดเ​ู ป็นต​ วั อย่าง​ท​ า่ น​สอน​ให้เ​รา​
ทำ​อย่าง​ทท​ี่ า่ น​ทำ​ม​ ไิ ด้ส​ อน​ให้ท​ ำ​ตาม​ทท​ี่ า่ น​สอน​ทกุ อ​ ย่าง​ท​ ท​ี่ า่ น​สอน​ทา่ น​
ได้ท​ ดลอง​ทำ​และ​ปฏิบตั ท​ิ าง​จติ จ​ น​รจ​ู้ น​เห็นห​ มด​แล้วท​ งั้ ส​ นิ้ ​จ​ งึ น​ ำ​มา​อบรม​
แก่​ศิษย์​
เ​หมือน​เป็นแ​ บบ​อย่าง​ให้เ​รา​ได้ย​ ดึ ถือต​ าม​ครูอ​ าจารย์ว​ า่ ​ก​ าร​แนะนำ​
อบรม​หรือ​สอน​ธรรม​ผู้​อื่น​นั้น​​เรา​ต้อง​ปฏิบัติ​จน​แน่ใจ​ตนเอง​เสีย​ก่อน​​และ​
ควร​คำนึงถ​ งึ ส​ ติป​ ญ ั ญา​ความ​สามารถ​ของ​ตน​ถ​ า้ ก​ ำลังไ​ม่พ​ อ​แต่จ​ ะ​รบั ภ​ าระ​
มาก​​นอกจาก​ผู้​มา​ศึกษา​จะ​ไม่​ได้​รับ​ประโยชน์​แล้ว​​ตนเอง​ยัง​จะ​กลาย​เป็น​
คน​เสีย​ไป​ด้วย​ ​ท่าน​ว่า​เป็นการ​ไม่​เคารพ​ธรรม​ ​และ​ไม่​เคารพ​ครู​อาจารย์​
อีก​ด้วย​

luangpordu.com
71 ๗๑

​๓๙​
​หัด​มอง​ชั้น​ลึก​

ทุกส​ งิ่ ท​ กุ อ​ ย่าง​ทอ​ี่ ยูร​่ อบ​ตวั เ​รา​ล​ ว้ น​มค​ี วาม​หมาย​ชนั้ ล​ กึ โ​ดย​ตวั ข​ อง​
มันเ​อง​อยูเ​่ สมอ​ไ​อน์สไ​ตน์ม​ อง​เห็นว​ ตั ถุ​เ​ขา​คดิ ท​ ะลุเ​ลย​ไป​ถงึ ก​ าร​ทจ​ี่ ะ​สลาย​
วัตถุใ​ห้เ​ป็นป​ รมาณู​ส​ องพีน่ อ้ ง​ตระ​กลู ไ​รท์ม​ อง​เห็นน​ ก​บนิ ไ​ป​มา​ใน​อากาศ​ก​ ​็
คิด​เลย​ไป​ถึง​การ​สร้าง​เครื่อง​บิน​ได้​
​พระพุทธเจ้า​แต่​ครั้ง​เป็น​เจ้า​ชาย​สิทธัต​ถะ​​ได้​ทรง​พบ​คน​แก่​​คน​เจ็บ​
คน​ตาย​​ท่าน​ก็​มอง​เห็น​ถึง​ความ​ไม่​แก่​ไม่​เจ็บ​​ไม่​ตาย​
​ หลวงปูเ​่ คย​เตือน​สติล​ กู ศ​ ษิ ย์ร​ นุ่ ห​ นุม่ ท​ ย​ี่ งั ม​ อง​เห็นส​ าว​ๆ​ว่าส​ วย​วา่ ง​ าม
​น่า​หลงใหล​ใฝ่ฝัน​กัน​นัก​​ว่า​.​.​.​
​“​แก​มัน​ดู​ตัว​เกิด​​ไม่​ดู​ตัว​ดับ​ไม่​สวย​​ไม่​งาม​​ตาย​​เน่า​​เหม็น​
​ให้​เห็น​อย่าง​นี้​ได้​เมื่อไร​​ข้า​ว่า​แก​ใช้ได้​”

luangpordu.com
๗๒ 72

​๔๐​
​เวลา​เป็นข​ อง​มี​ค่า​

​หลวงปู่​เคย​บอก​ว่า​.​.​.​
​“​คน​ฉลาด​น่ะ​​เขา​ไม่​เคย​มี​เวลา​ว่าง​”​
​เวลา​เป็น​ของ​มี​ค่า​ ​เพราะ​ไม่​เหมือน​สิ่ง​อื่น​ ​แก้ว​แหวน​ ​เงิน​ ​ทอง​​
สิ่งของ​ทั้ง​หลาย​​เมื่อ​หมด​ไป​แล้ว​สามารถ​หา​มา​ใหม่​ได้​
​แต่​สำหรับ​เวลา​แล้ว​ ​หาก​ปล่อย​ให้​ผ่าน​เลย​ไป​โดย​เปล่า​ประโยชน์​​
ขอ​ให้​ตั้ง​ปัญหา​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​.​.​.​
​“​สมควร​แล้ว​หรือ​กับ​วัน​คืน​ที่​ล่วง​ไปๆ​​คุ้ม​ค่า​แล้ว​หรือ​กับ​ลม​หายใจ​
ที่​เหลือ​น้อย​ลง​ทุก​ขณะ​”​

luangpordu.com
73 ๗๓

​๔๑​
​ต้อง​ทำ​จริง​

ใน​เรื่อง​ของ​ความ​เคารพ​ครู​อาจารย์​ ​และ​ความ​ตั้งใจ​จริง​ใน​การ​
ปฏิบัติ​​หลวงปู่​เคย​บอก​ว่า​
​ “​การ​ปฏิบัติ​ ​ถ้า​หยิบ​จาก​ตำรา​โน้น​นี้​ ​(​หรือ​)​ ​แบบแผน​มา​สงสัย​
ถาม​​มัก​จะ​โต้​เถียง​กัน​เปล่า​​โดย​มาก​ชอบ​เอา​อาจารย์​โน่น​นี่​ว่า​อย่าง​นั้น​
อย่าง​นี้​มา​
การ​จะ​ปฏิบัติ​ให้​รู้​ธรรม​​เห็น​ธรรม​​ต้อง​ทำ​จริง​​จะ​ได้​​อยู่​ที่​ทำ​จริง​
ข้าเ​ป็นค​ น​มท​ี ฏิ ฐิแ​ รง​เ​รียน​จาก​ครูบา​อาจารย์น​ ​ี้ ย​ งั ไ​ม่ไ​ด้ผ​ ล​กจ​็ ะ​ตอ้ ง
​เอา​ให้​จริง​ให้​รู้​ ​ยัง​ไม่​ไป​เรียน​กับ​อาจารย์​อื่น​ ​ถ้า​เกิด​ไป​เรียน​กับ​อาจารย์​
อื่น​โดย​ยัง​ไม่​ทำให้​จริง​ให้​รู้​​ก็​เหมือน​ดูถูก​ดู​หมิ่น​ครู​อาจารย์​”​

luangpordu.com
๗๔ 74

​๔๒​
​ของ​จริง​นั้น​มี​อยู่​

ม​ ค​ี น​จำนวน​ไม่น​ อ้ ย​ทป​ี่ ฏิบตั ธ​ิ รรม​แล้วเ​กิดค​ วาม​ทอ้ ใจ​ป​ ฏิบตั อ​ิ ยูเ​่ ป็น​
เวลา​นาน​ก​ ย​็ งั ร​ สู้ กึ ว​ า่ ต​ นเอง​ไม่ไ​ด้พ​ ฒ
ั นา​ขนึ้ ​ห​ ลวงปูเ​่ คย​เมตตา​สอน​ผเ​ู้ ขียน​
ว่า​“​ของ​ที่​มี​มัน​ยัง​ไม่​จริง​​ของ​จริง​เขา​มี​​เมื่อ​ยัง​ไม่​จริง​​มัน​ก็​ยัง​ไม่มี​”​
​หลวงปู่​เมตตา​กล่าว​เสริม​อีก​ว่า​
​ “​คน​ที่​กล้า​จริง​​ทำ​จริง​​เพียร​ปฏิบัติ​อยู่​เสมอ​​จะ​พบ​ความ​สำเร็จ​
ใน​ที่สุด​​ถ้า​ทำ​จริง​แล้ว​ต้อง​ได้​แน่​ๆ​”​
​หลวงปู่​ยืนยัน​อย่าง​หนัก​แน่น​และ​ให้​กำลัง​ใจ​แก่​ลูก​ศิษย์​ของ​ท่าน​
เสมอ​ ​เพื่อ​ให้​ตั้งใจ​ทำ​จริง​ ​แล้ว​ผล​ที่​เกิด​จาก​ความ​ตั้งใจ​จริง​จะ​เกิด​ขึ้น​
ให้​ตัวผู้​ปฏิบัติ​ได้​ชื่นชม​ยินดี​ใน​ที่สุด​

luangpordu.com
75 ๗๕

​๔๓​
​ล้ม​ให้​รีบ​ลุก​

​เป็น​ปกติ​ของ​ผู้​ปฏิบัติ​ธรรม​ ​ช่วง​ใด​เวลา​ใด​ที่​สามารถ​ปฏิบัติ​ธรรม​
ได้​ก้าวหน้า​ ​จิตใจ​สงบ​เย็น​เป็น​สมาธิ​ได้​ง่าย​ ​สามารถ​พิจารณา​อรรถ​ธรรม​
ให้​ผ่าน​ทะลุ​จิตใจ​ได้​โดยตลอด​สาย​ ​ช่วง​ดัง​กล่าว​มัก​จะ​ต้อง​มี​ปัญหา​ ​และ​
อุปสรรค​ทเ​ี่ ข้าม​ า​ใน​รปู แ​ บบ​ใด​รปู แ​ บบ​หนึง่ ​เพือ่ ม​ า​ขวาง​กนั้ ก​ าร​ปฏิบตั ธ​ิ รรม
​ของ​ผู้​ปฏิบัติ​นั้น​ๆ​​ถ้า​ผู้​ปฏิบัติ​ธรรม​ไม่​สามารถ​เตรียม​ใจ​รับ​กับ​สถาน​กา​รณ์​
นั้น​ๆ​ ​ได้​ ​ธรรม​ที่​กำลัง​พิจารณา​ดีๆ​ ​ก็​ต้อง​โอนเอน​ไป​มา​ หรือ​ล้มลุก​
​คลุก​คลาน​อีก​ได้​
ผ​ เ​ู้ ขียน​เคย​กราบ​เรียน​ให้ห​ ลวงปูท​่ ราบ​ถงึ ป​ ญ
ั หา​และ​อปุ สรรค​ทก​ี่ ำลัง​
ประสบ​อยู่​
​ หลวงปู่​เมตตา​ให้​กำลัง​ใจ​ว่า​.​.​.​.​
​“​พอ​ล้ม​ให้​รีบ​ลุก​​รู้ตัว​ว่า​ล้ม​แล้ว​ต้อง​รีบ​ลุก​​แล้ว​ตั้ง​หลัก​ใหม่​​จะ​
ไปย​อม​มัน​ไม่​ได้​
​ .​.​.​ก็​เหมือน​กับ​ตอน​ที่​แก​เป็น​เด็ก​คลอด​ออก​มา​ ​กว่า​จะ​เดิน​เป็น​
​แก​ก็​ต้อง​หัด​เดิน​จน​เดิน​ได้​ ​แก​ต้อง​ล้ม​กี่​ที​ เคย​นับ​ไหม​ ​พอ​ล้ม​ แก​ก็​ต้อง​
ลุก​ขึ้น​มา​ใหม่​ใช่​ไหม​​.​.​.​ค่อย​ๆ​​ทำ​ไป​”​

luangpordu.com
๗๖ 76

​ ​หลวงปู่​เพ่ง​สายตา​มา​ที่​ผู้​เขียน​แล้ว​เมตตา​สอน​ว่า​.​.​.​
​ “​ของ​ข้า​ ​เสีย​มา​มาก​กว่า​อายุ​แก​ซะ​อีก​ ​ไม่​เป็นไร​ ​ตั้ง​มัน​กลับ​ขึ้น​
มา​ใหม่​”​
​ ผู้​เขียน​“​ ​แล้ว​จะ​มี​วิธี​ป้องกัน​ไม่​ให้​ล้ม​บ่อย​ได้​อย่างไร​”​
​ หลวงปู​่ “​ ต​ อ้ ง​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ให้ม​ าก​ถ​ า้ ร​ ว​ู้ า่ ใ​จ​เรา​ยงั แ​ ข็งแกร่งไ​ม่พ​ อ
​ถูก​โลก​เล่น​งาน​ง่ายๆ​ ​แก​ต้อง​ทำให้​ใจ​แก​แข็งแกร่ง​ให้​ได้​ ​แก​ถึง​จะ​สู้​กับ​
มัน​ได้​”​
​เพื่อ​เป็นการ​เพิ่ม​กำลัง​ใจ​ของ​นัก​ปฏิบัติ​ ​ไม่​ว่า​จะ​ล้ม​สัก​กี่​ครั้ง​ก็ตาม​​
แต่ท​ กุ ๆ​ ​ค​ รัง้ ​เ​รา​จะ​ได้บ​ ท​เรียน​ไ​ด้ป​ ระสบการณ์ท​ แ​ี่ ตก​ตา่ ง​กนั ไ​ป​ใ​ห้น​ อ้ มนำ​
สิง่ ท​ เ​ี่ รา​เผชิญม​ า​เป็นค​ รู​เ​ป็นอ​ ทุ าหรณ์ส​ อน​ใจ​ของ​เรา​เอง​เ​ตรียม​ใจ​ของ​เรา​
ให้​พร้อม​อีก​ครั้ง​​ถ้า​เกิด​เหตุการณ์​เช่น​นั้น​อีก​

luangpordu.com
77 ๗๗

​๔๔​
​สนทนา​ธรรม​

​เมื่อ​ครั้ง​ที่​ผู้​เขียน​กับ​หมู่​เพื่อน​ใกล้​สำเร็จ​การ​ศึกษา​ ​ได้​มาก​ราบ​
นมัสการ​หลวงปู​่ ท​ า่ น​ได้ส​ นทนา​กบั พ​ วก​เรา​อยูน​่ าน​สาระ​สำคัญท​ เ​ี่ กีย่ ว​กบั ​
การ​ปฏิบัติ​คือ​
​เมื่อ​พบ​แสง​สว่าง​ใน​ขณะ​ภาวนา​ให้​ไล่​ดู​ ​ถาม​ท่าน​ไล่​แสง​หรือ​ไล่​จิต​​
ท่าน​ตอบ​ว่า​ให้​ไล่​จิต​โดย​เอา​แสง​เป็น​ประธาน​​(​เข้าใจ​ว่า​อาศัย​ปีติ​คือ​ความ​
สว่าง​มา​สอน​จติ ต​ นเอง​)​เ​ช่น​ไ​ล่ว​ า่ พ​ ระพุทธ​พ​ ระ​ธรรม​พ​ ระ​สงฆ์​ม​ จ​ี ริงห​ รือ​
ไม่​​มี​จริง​ก็​เป็น​พยาน​แก่​ตน​
​ถาม​ท่าน​ว่า​ไล่​ดู​เห็น​แต่​สิ่ง​ปกปิด​​คือ​กิเลส​ใน​ใจ​
​ ท่าน​ว่า​
“​ถ้า​แก​เกลียด​กิเลส​เหมือน​เป็น​หมา​เน่า​ ​หรือ​ของ​บูด​เน่า​ก็​ดี​
​ให้​เกลียด​ให้​ได้​อย่าง​นั้น​”​

luangpordu.com
๗๘ 78

๔๕
ผูบอกทาง

ค​ รัง้ ห​ นึง่ ​ม​ ผี ม​ู า​หา​ซอ​้ื ย​ า​ลม​ภาย​ในวัด​ ​ไ​ม​ท​ ราบ​วา​ ม​ จ​ี ำ​หน​า​ ย​ทก​่ี ฏุ ไ​ิ หน​​
หลวง​ปทู่ ​า น​ได​​บ อก​ทางให​​ ​เมือ่ ​ผ​นู น้ั ​ผ​า น​ไป​แล​​ว ​​หลวง​ปทู่ ​า น​ได​​ป รารภ​ธรรม​
ให​​ล กู ​ศษิ ย​​ท ​น่ี ง่ั ​อย​​ฟู ​ง ว​​า ​
“​ข​า ​นง่ั ​อย​​ู ​ก​เ็ หมือน​คน​คอย​บอก​ทาง​​เขา​มา​หาข​​า แล​​ว ก็​ไป​.​.​.​”​​
ผ​เ​ู ขียน​ได​ฟ​ ง​ แล​ว​ ร​ ะลึกถ​ งึ พ​ ระพุทธ​เจ​า​ ผ​เ​ู ป​น​ ​“​ ก​ ลั ยาณมิตร​” ค​ อย​ชแ​้ี นะ
ใ​ห​ท​ าง​เดิน​ด​ งั พ​ ทุ ธ​ภาษิตว​า​ ​“​จง​รบี พ​ ากเพียร​พยายาม​ดำเนินต​ าม​ทาง​ทบ​่ี อก​
เสียแต​​เ ดีย๋ ว​น​้ี ​ตถาคต​ทง้ั ​หลาย​เป​​น ​เพียง​ผ​ชู ​ท้ี าง​ให​​เ ท​​า ​นน้ั ​”
​หลวง​ปเู่ ป​​น ผ​​บู อก​​แต​​พ วก​เรา​ต​อ งเป​​น ​คน​ทำ​​และ​ต​อ ง​ทำ​​เดีย๋ ว​น้ี

luangpordu.com
79 ๗๙

​๔๖​
​อย่าท​ ำ​เล่น​

​เคย​มี​ผู้​ปรารภ​กับ​ผู้​เขียน​ว่า​ปฏิบัติ​ธรรม​มา​หลาย​ปี​เต็มที​ ​แต่​ภูมิจิต​
ภูมิธร​รม​ ​ไม่​ค่อย​จะ​ก้าวหน้า​ถึง​ขั้น​ ​“​น่า​ชมเชย​”​ ​ยัง​ล้มลุก​คลุก​คลานอยู่​
มอง​ไป​ทาง​ไหน​กเ​็ ห็นแ​ ต่ต​ วั เ​อง​และ​หมูเ​่ พือ่ น​เป็นโ​รค​ระบาด​ค​ อื โ​รคขาอ่อน​​
หลัง​อ่อน ​ไม่​สามารถ​จะ​เดิน​จงกรม​ ​นั่ง​สมาธิ​ได้​ ​ต้อง​อาศัย​นอน​ภาวนา​
พิจารณา​​“​ความ​หลับ​”​​เป็น​อารมณ์​เลย​ต้อง​พ่าย​แพ้​ต่อ​เจ้า​กรรม​นายเวร​​
คือ​เสื่อ​และ​หมอน​ตลอด​ชาติ​
​พระพุทธเจ้า​ทรง​บำเพ็ญ​บารมี​ถึง​ ​๔​ ​อสงไขย​ ​กำไร​แส​นม​หาก​ัป​​
ครั้น​ออกบวช​ก็​ทรง​เพียร​ปฏิบัติ​อยู่​หลาย​ปี​ ​กว่า​จะ​ได้​บรรลุ​พระ​โพธิ​ญาณ​​
หลวง​ปู่​มั่น​ ​หลวง​ปู่​ฝั้น​ ​หลวง​ปู่​แหวน​ ​ฯลฯ​ ​ท่าน​ปฏิบัติ​ธรรม​ตาม​ป่า​ตาม​
เขา​​บาง​องค์​ถึง​กับ​สลบ​เพราะ​พิษ​ไข้ป่า​ก็​หลาย​ครั้ง​​หลวงปู่​ดู่​ท่าน​ก็​ปฏิบัติ​
อย่าง​จริงจัง​มา​ตลอด​หลาย​สิบ​พรรษา​​กว่า​จะ​ได้​ธรรม​แท้​​ๆ​​มา​อบรม​พร่ำ​
สอน​เรา​
​แล้ว​เรา​ล่ะ​​ปฏิบัติ​กัน​จริงจัง​แค่​ไหน​
​“​ปฏิบัติ​ธรรม​สมควร​แก่​ธรรม​”​​แล้ว​หรือ​ยัง​

luangpordu.com
๘๐ 80


​๔๗​
​อะไร​มี​ค่าที่​สุด​

ถ้าเ​รา​มา​ลอง​คดิ ด​ ก​ู นั แ​ ล้ว​ส​ งิ่ ท​ ม​ี่ ค​ี า่ ม​ าก​ทสี่ ดุ ใ​น​ชวี ติ เ​รา​ตงั้ แ​ ต่ว​ นั เ​กิด​
จน​กระทัง่ ว​ นั ต​ าย​ค​ อื อ​ ะไร​ห​ ลาย​คน​อาจ​ตอบ​วา่ ​ทรัพย์ส​ มบัต​ิ ส​ ามี​ภ​ รรยา​
​บุคคล​ที่รัก​ ​หรือ​บุตร​ ​หรือ​อะไร​อื่น​ๆ ​ ​แต่​ท้าย​ที่สุด​ก็​ต้อง​ยอมรับ​ว่า​ ชีวิต​
ของ​เรา​นั้น​มี​ค่าที่​สุด​ ​เพราะ​ถ้า​เรา​สิ้น​ชีวิต​แล้ว​ ​สิ่ง​ที่​กล่าว​ข้าง​ต้น​ก็​ไม่มี​ค่า​
ความ​หมาย​ใด​ๆ​ ชีวิต​เป็น​ของ​มี​ค่าที่​สุด​ ​ใน​จำนวน​สิ่ง​ที่​เรา​มี​อยู่​ใน​โลก​นี้​​
พระ​ธรรม​คำ​สอน​ของ​พระพุทธเจ้า​ก็​เป็น​ของ​มี​ค่าที่​สุด​ใน​โลก​​สิ่ง​ต่าง​​ๆ​​ใน​
โลก​ช่วย​ให้​เรา​พ้น​ทุกข์​ชนิด​ถาวร​ไม่​ได้​​แต่​พระ​ธรรม​ช่วย​เรา​ได้​ผู้​มี​ปัญญา​
​ท้งั ​หลาย​ควร​จะ​ผนวก​เอา​ส่งิ ​ท่​มี ี​คุณค่า​ท่สี ุด​ท้งั ​สอง​น้​ใี ห้​ขนาน​ทาบ​ทับ​เป็น​
เส้น​เดียวกัน​​อย่า​ให้​แตกแยก​จาก​กนั ​ได้​เลย​​ดงั ​พระพุทธ​พจน์​ตอน​หนึง่ ว่า​
​ กิจ​โฉ​​มนุ​สส​ะปฏิ​ลาโภ​​ การ​ได้​เกิด​เป็น​มนุษย์​เป็น​ของ​ยาก​
​ กิจ​ฉัง ​มัจ​จาน​ัง ชี​วิตัง การ​ได้​มี​ชีวิต​อยู่​เป็น​ของ​ยาก​
​กิจ​ฉัง สัทธัมมะสะ​สวน​ัง การ​ได้​ฟัง​พระ​สัท​ธรรม​ของ​
พระพุทธเจ้า​เป็น​ของ​ยาก​
กิจ​โฉ​​พุทธ​า​นะมุปป​โท​​ การ​บังเกิด​ขึ้น​ของ​พระพุทธเจ้า​
​ เป็น​ของ​ยาก​

luangpordu.com
81 ๘๑

​ อะไร​จะ​มค​ี า่ ทีส​่ ดุ ​ส​ ำหรับผ​ ท​ู้ ไ​ี่ ด้ม​ า​นมัสการ​หลวงปูน​่ นั้ ​ค​ ง​ไม่ใช่พ​ ระ​
พรหม​ผง​​หรือ​เหรียญ​อัน​มีชื่อ​ของ​ท่าน​
​ หลวงปู่​เคย​เตือน​ศิษย์​เสมอ​ว่า​
​“​ข้า​ไม่มี​อะไร​ให้​แก​
​(​ธรรม​)​​ที่​สอน​ไป​นั้น​แหละ​​
ให้​รักษา​เท่า​ชีวิต​”​

luangpordu.com
๘๒ 82

​๔๘​

​นาย​ระนาด​เอก​

​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ไหว​พริบ​ ปฏิภาณ​และ​ตัว​ปัญญา​ ​หลวงปู่​ท่าน​ได้​ยก​


ตัวอย่าง​ ​เรื่อง​ของ​นาย​ระนาด​เอก​ไว้​ให้​ฟัง​ว่า​ ​สมัย​ก่อน​การ​เรียน​ระนาด​
นั้น​ ​อาจารย์​จะ​สอน​วิชา​การ​ตีระ​นาด​แม่​ไม้​ต่างๆ​ ​โดย​ทั่วไป​แก่​ศิษย์​ ​ส่วน​
แม่​ไม้​วิชา​ครู​จะ​เก็บ​ไว้​เฉพาะ​ตน​​มิได้​ถ่ายทอด​ให้​แก่​ศิษย์​ผู้​หนึ่ง​ผู้​ใด​​อยู่​มา​
วันห​ นึง่ ​น​ าย​ระนาด​เอก​พกั ผ​ อ่ น​นอน​เล่นอ​ ยูใ​่ ต้ถนุ เ​รือน​ทบ​ี่ า้ น​อาจารย์ข​ อง​
ตน​ ​ได้ยิน​เสียง​อาจารย์​ของ​เขา​กำลัง​บรรเลง​ระนาด​ทบทวน​แม่​ไม้​วิชา​ครู​
อยู่​​นาย​ระนาด​เอก​ก็​แอบ​ฟัง​​ตั้งใจ​จดจำ​ไว้​จน​ขึ้นใจ​
​ วันห​ นึง่ อ​ าจารย์ไ​ด้เ​รียก​ศษิ ย์ท​ กุ ค​ น​มา​แสดง​ระนาด​ให้ด​ เ​ู พือ่ ท​ ดสอบ​
ฝีมอื ​ถ​ งึ ค​ รา​นาย​ระนาด​เอก​กไ็ ด้แ​ สดง​แม่ไ​ม้ว​ ชิ า​ครูซ​ งึ่ ไ​พเราะ​กว่าศ​ ษิ ย์ผ​ อ​ู้ นื่ ​
อาจารย์ร​ สู้ กึ แ​ ปลก​ใจ​มาก​ทศ​ี่ ษิ ย์ส​ ามารถ​แสดง​แม่ไ​ม้ข​ อง​ครูไ​ด้​โ​ดยทีต​่ น​ไม่​
เคย​สอน​มา​ก่อน​ ​จึง​ถาม​นาย​ระนาด​เอก​ว่า​ไป​ได้​แม่​ไม้​นี้​มา​จาก​ไหน​ ​นาย​
ระนาด​เอก​จึง​ตอบ​ว่า​“​ ​ได้​มา​จาก​ใต้ถุน​เรือน​​ครับ​”​
แ​ ล้วห​ ลวงปูไ​่ ด้ส​ รุปใ​ห้พ​ วก​เรา​ฟงั ว​ า่ ​ก​ าร​เรียน​รธ​ู้ รรม​กเ​็ ช่นก​ นั ​ต​ อ้ ง​ลกั เ​ขา​​
แอบ​เขา​เรียน​ ​คอื ​ ​จดจำ​เอา​สง่ิ ​ท​ด่ี ​งี าม​ของ​ผ​อู้ น่ื ​มา​ปฏิบตั ​แิ ก้ไข​ตนเอง​ให้​ได้​ ​ตวั ​
ท่าน​เอง​สอน​ได้​บอก​ทาง​ได้​แต่​ไม่​หมด​ ที​เ่ หลือ​เรา​ตอ้ ง​คน้ คว้า​และ​ฝกึ ฝน​ปฏิบตั ิ​
ด้วย​ตนเอง​​ใคร​ไหว​พริบ​ด​กี ​เ็ รียน​ได้​เร็ว​​เหมือน​นาย​ระนาด​เอก​ใน​เรือ่ ง​น้ี
luangpordu.com
83 ๘๓

​๔๙​
​เสก​ข้าว​

​ครั้ง​หนึ่ง ​เคย​มี​ศิษย์​บาง​ท่าน​นำ​ข้าว​มา​ให้​หลวงปู่​ท่าน​เสก​อธิษฐาน​
จิต​ให้​ทาน​เสมอ​​ซึ่ง​ท่าน​ก็​เมตตา​ไม่​ขัด​​แต่​บ่อย​ๆ​​เข้า​ท่าน​ก็​พูด​ว่า​
​“​เสก​อะไร​กัน​ให้​บ่อย​ๆ​​เสก​เอง​บ้าง​สิ​​”​
​คำ​พูด​นี้​ท่าน​ได้​ขยาย​ความ​ให้​ฟัง​ใน​ภาย​หลัง​ว่า​ ​คำ​ว่า​ ​เสก​เอง​ ​คือ​
การ​เสก​ตนเอง​ให้​เป็น​พระ​ ​ซึ่ง​หมาย​ถึง​การ​ปฏิบัติ​ต่อ​จิตใจ​ของ​ตนเอง​ ​ยก​
ระดับใ​ห้ส​ งู ข​ นึ้ ​ห​ รือม​ ใ​ี จ​เป็นพ​ ระ​บา้ ง​ม​ ใิ ช่จ​ ะ​เป็นท​ า่ น​อธิษฐาน​เสก​เป่าข​ อง​
ภายนอก​​เพื่อ​หวัง​เป็น​มงคล​ถ่าย​เดียว​​โดย​ไม่​คิด​เสก​ตนเอง​ด้วย​ตนเอง​

luangpordu.com
๘๔ 84

​๕๐​
​สำเร็จท​ ี่ไหน​

มี​ผู้​ปฏิบัติ​ธรรม​บาง​ท่าน​ข้องใจ​ข้อ​ปฏิบัติ​ธรรมะ​เกี่ยว​กับ​การ​วาง​
ที่​ตั้ง​ตาม​ฐาน​ของ​จิต​ใน​การ​ภาวนา​ ​จึง​ได้​ไป​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ตาม​ที่​เคย​ได้​
รับ​รู้​รับ​ฟัง​มา​ว่า​​“​การ​ภาวนา​ที่​ถูก​ต้อง​​หรือ​จะ​สำเร็จ​มรรคผล​ได้​นั้น​​ต้อง​
ตั้ง​จิต​วาง​จิต​ไว้​ที่​กลาง​ท้อง​เท่านั้น​​ใช่ห​รือ​ไม่ ​?​”​
​ หลวงปู่​ท่าน​ตอบ​อย่าง​หนัก​แน่น​ว่า​
​“​ที่​ว่า​สำเร็จ​นั้น​สำเร็จ​ที่​จิต​ ​ไม่​ได้​สำเร็จ​ที่​ฐาน​ ​คน​ที่​ภาวนา​เป็น​
แล้ว ​จะ​ตั้ง​จิต​ไว้​ที่​ปลาย​นิ้ว​ชี้​ก็​ยัง​ได้​​”​
​ แล้ว​ท่าน​ก็​บอก​จำนวน​ที่​ตั้ง​ตาม​ฐาน​ต่างๆ​​ของ​จิต​ให้​ฟัง​
​ จะ​เห็น​ได้​ว่า ​ท่าน​ไม่​ได้​เน้น​ว่า​ต้อง​วาง​จิตใจ​ที่​เดียว​ที่​นั่น​ที่​นี่​เพราะ​
ฐาน​ต่างๆ​ ​ของ​จิต​เป็น​ทาง​ผ่าน​ของ​ลม​หายใจ​ทั้ง​สิ้น​ ​ท่าน​เน้น​ที่​สติ​และ​
ปัญญา​ที่มา​กำกับ​ใจ​ต่าง​หาก​​สม​ดัง​ใน​พระพุทธ​พจน์​ที่​ว่า​
​ “​ม​ โน​​ปุพพังคะมา​​ธัมมา​​มโน​เสฏฐา​​มโน​ม​ยาฯ​ ​
ธรรม​ทั้ง​หลายมี​ใจถึง​ก่อน​​มี​ใจ​เป็น​ใหญ่​เป็น​ประธาน
​สำเร็จ​ได้​ด้วย​ใจ​”​

luangpordu.com
85 ๘๕

​๕๑​
​เรา​รักษา​ศีล​​ศีล​รักษา​เรา​

​ศีล​เป็น​พื้น​ฐาน​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ของ​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​ทุก​อย่าง​ ​หลวงปู่​
มัก​จะ​เตือน​เสมอ​ว่า ​ใน​ขั้น​ต้น​ให้​หมั่น​สมาทาน​รักษา​ศีล​ให้​ได้​ ​แม้​จะ​เป็น​
โลกียศ​ ลี ​ร​ กั ษา​ได้บ​ า้ ง​ไ​ม่ไ​ด้บ​ า้ ง​บ​ ริสทุ ธิบ​์ า้ ง​ไ​ม่บ​ ริสทุ ธิบ​์ า้ ง​ก​ ใ​็ ห้เ​พียร​ระวัง​
รักษา​ไป​ส​ ำคัญท​ เ​่ี จตนา​ทจ​่ี ะ​รกั ษา​ศลี ไ​ว้​แ​ ละ​ปญ ั ญา​ทค​่ี อย​ตรวจ​ตรา​แก้ไข​ตน​
​“​เจ​ตนาหัง​​ภิกขเว​​สี​ลัง​​วะ​ทา​มิ​”​​เจตนา​เป็น​ตัว​ศีล​
​“​เจ​ตนาหัง​​ภิกขเว​​ปุญญัง​​วะ​ทา​มิ​”​​เจตนา​เป็น​ตัว​บุญ​
​ จึง​ขอ​ให้​พยายาม​สั่งสม​บุญ​นี้​ไว้​ ​โดย​อบรม​ศีล​ให้​เกิด​ขึ้น​ที่​จิต​ ​เรียก​
ว่า​ ​เรา​รักษา​ศีล​ ​ส่วน​จิต​ที่​อบรม​ศีล​ดีแล้ว​ ​จน​เป็น​โลก​ุตร​ศีล​ ​เป็น​ศีล​ที่​ก่อ​
ให้​เกิด​ปัญญา​ใน​อริย​มรรค​อริยผล​นี้​ จะ​คอย​รักษา​ผู้​ประพฤติ​ปฏิบัติ​มิ​ให้​
เสื่อม​เสีย​หรือ​ตกต่ำ​ไป​ใน​ทาง​ที่​ไม่​ดี​ไม่​งาม​นี้​แล​เรียก​ว่า​​ศีล​รักษา​เรา​

luangpordu.com
๘๖ 86

​๕๒​
​คน​ดี​ของ​หลวงปู่​

ธรรมะ​ที่​หลวงปู่​นำ​มา​อบรม​พวก​เรา​เป็น​ธรรม​ที่​สงบ​เย็น​และ​ไม่​
เบียดเบียน​ใคร​ด้วย​กรรม​ทั้ง​สาม​คือ​​ความ​คิด​​การ​กระทำ ​และ​คำ​พูด​
​ ครั้ง​หนึ่ง​ท่าน​เคย​อบรม​ศิษย์​เกี่ยว​กับ​วิธี​สังเกต​คน​ดี​สั้น​ๆ​ ​ประโยค​
หนึ่ง​คือ​
​ “​คน​ดี​​เขา​ไม่​ตี​ใคร​”​
ท​ กุ ส​ งิ่ ท​ กุ อ​ ย่าง​ไม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นการ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ห​ รือก​ าร​ทำงาน​ใน​ทาง​
โลก​นั้น​ย่อม​มี​การ​กระทบ​กระทั่ง​กัน​เป็น​ธรรมดา​ของ​โลก​ปุถุชน​ ​หาก​เรา​
กระทำ​การ​สิ่ง​ใด​ซึ่ง​ชอบ​ด้วย​เหตุ​และ​ผล​ ​คือ​ ​ได้​พยายาม​ทำ​อย่าง​ดี​ที่สุด​​
แล้ว​อย่า​ไป​กลัว​ว่า ​ใคร​เขา​จะ​ว่า​อะไร​เรา ​ใคร​เขา​จะ​โกรธ​เรา​ ​แต่​ให้​กลัว​
ที่​เรา​จะ​ไป​ว่า​อะไร​เขา​​กลัว​ที่​เรา​จะ​ไป​โกรธ​เขา​

luangpordu.com
87 ๘๗

​๕๓​
​สั้นๆ​ ​​ก็​มี​

​เคย​มี​ผู้​ปฏิบัติ​กราบ​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ว่า​
​ “​หลวงปู่​ครับ​ ​ขอ​ธรรมะ​สั้น​ๆ​ ​ใน​เรื่อง​วิธี​ปฏิบัติ​เพื่อ​ให้​กิเลส​ ​๓​ ​ตัว​
คือ​​โกรธ​​โลภ​​หลง​​หมด​ไป​จาก​ใจ​เรา​​จะ​ทำได้​อย่างไร​ครับ​”​
​ หลวงปู่​ตอบ​เสียง​ดัง​ฟัง​ชัด​​จน​พวก​เรา​ใน​ที่​นั้น​ได้ยิน​กัน​ทุก​คน​ว่า​​
“​สติ​”​

luangpordu.com
๘๘ 88

​๕๔​
​แบบ​ปฏิบัติ​ธรรม​หลวงปู่​ดู่​เป็น​เช่น​ใด​?

ใน​ยุค​ปัจจุบัน​ที่​สังคม​มี​การ​เปลี่ยนแปลง​อย่าง​รวดเร็ว​ ​ผู้คน​เผชิญ​
กับค​ วาม​ทกุ ข์ค​ วาม​เดือด​รอ้ น​กนั ถ​ ว้ น​หน้า​ไ​ม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นป​ ญ ั หา​ใน​เรือ่ ง​ปาก​
ท้อง​​ความ​ปลอดภัย​ใน​ชีวิต​และ​ทรัพย์​สิน​​ผู้คน​ต่าง​แสวงหา​ที่​พึ่ง​​แสวงหา​
คำ​ตอบ​ของ​ชีวิต​ ​ใน​ขณะ​เดียวกัน​ก็​มี​ผู้​ตั้ง​ตน​เป็น​อาจารย์​สอน​การ​ปฏิบัติ​
ธรรม​กัน​มาก​
​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​แบบ​ปฏิบัติ​ธรรม​นี้​ ​หลวงปู่​ได้​เล่า​ไว้​ว่า​เคย​มี​ผู้​พิมพ์​
แบบ​ปฏิบัติ​ธรรม​มา​ถวาย​และ​ใช้​คำ​ว่า​ ​“​แบบ​ปฏิบัติ​ธรรม​วัด​สะแก​”​
ท่านแก้​ให้​ว่า อย่าง​นี้​ไม่​ถูก​ต้อง ​เพราะ​เป็น​แบบ​ของ​พระพุทธเจ้า​ ​ไม่​ควร​
ใช้​ว่า​เป็น​แบบ​ของวัด​ใด​
​ อีก​ครั้ง​หนึ่ง​ที่​เคย​มี​ผู้​ตั้ง​คำถาม​ใน​อิน​เตอร์​เน็ต​ว่า​
​“​แบบ​ปฏิบัติ​ธรรม​ของ​หลวงปู่​ดู่​เป็น​อย่างไร​”​
​ข้าพเจ้า​หวน​ระลึก​ถึง​บท​สนทนา​ตอน​หนึ่ง​ที่​หลวงปู่​เคย​เล่า​ให้​ฟัง​
เมือ่ ค​ รัง้ ม​ ล​ี กู ศ​ ษิ ย์ม​ า​ขอ​ศกึ ษา​ธรรม​ตาม​แบบ​ของ​ทา่ น​ห​ ลวงปูไ​่ ด้ต​ อบ​ศษิ ย์​
ผูน​้ นั้ ไ​ป​วา่ ​ข​ า้ ไ​ม่ใช่อ​ าจารย์ห​ รอก​อ​ าจารย์น​ นั่ ​ต​ อ้ ง​พระพุทธเจ้า​ห​ ลวงปูท่ วด​
นั่น​​ข้า​เป็น​ลูก​ศิษย์​ท่าน​

luangpordu.com
89 ๘๙

ข้าพเจ้าก​ ลับม​ า​นงั่ ค​ ดิ ท​ บทวน​อยูห​่ ลาย​ครัง้ ​ค​ วาม​ชดั เจน​ใน​คำ​ตอบ​


ของ​หลวงปู่​จึง​ค่อย​​ๆ​​กระจ่าง​ขึ้น​เป็น​ลำดับ​​เสียง​สวด​มนต์​ทำวัตร​แว่ว​มา​
แต่​ไกล​​
.​.​.​.​โย​ ​ธัมมัง​ ​เท​เส​สิ​ ​อาทิ​กัล​ยาณัง​ ​มัช​เฌ​กัลยาณ​ัง​ ​ปริ​โย​สา​นะ​
กัลยาณ​ัง​ ​สาต​ถัง​ ​สะ​พ​ยัญ​ชะ​นัง​ ​เก​วะ​ละ​ปะ​ริปุ​ณณัง​ ​ปะ​ริ​สุทธ​ัง​ ​พรัหมะ​
จะ​ริ​ยัง​​ปะ​กา​เส​สิ​​
แปล​ได้​ความ​ว่า​​
....พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​เจ้า​ ​พระองค์​ใด​ ​ทรง​แสดง​ธรรม​แล้ว​ ​มี​ความ​
ไพเราะ​งดงาม​ใน​เบือ้ ง​ตน้ ​ไ​พเราะ​งดงาม​ใน​ทา่ มกลาง​ไ​พเราะ​งดงาม​ใน​ทสี่ ดุ ​
ทรง​ประกาศ​พรหม​จรรย์​คือ​ ​แบบ​แห่ง​การ​ปฏิบัติ​อัน​ประเสริฐ​ ​บริสุทธิ์​​
บริบูรณ์​โดย​สิ้น​เชิง​​พร้อม​ทั้ง​อร​รถะ​​พร้อม​ทั้ง​พยัญชนะ​
​ สาธุ​ถ​ กู ข​ อง​หลวงปูแ​่ ละ​จริงเ​ป็นท​ สี่ ดุ ​พ​ ระพุทธเจ้าท​ รง​วาง​แบบแผน​
การ​ปฏิบตั ไ​ิ ว้อ​ ย่าง​ดย​ี งิ่ ​เ​ป็นข​ นั้ เ​ป็นต​ อน​และ​สมบูรณ์แ​ บบ​ทสี่ ดุ ​ไ​ม่ต​ อ้ งการ​
ผู้​ใด​มา​แต่ง​มา​เติม​อีก​​กุญแจ​คำ​ตอบ​สำหรับ​เรื่อง​นี้​ได้​เฉลย​แล้ว​
​ ตะ​มะ​หัง​​ภะคะ​วัน​ตัง​​อะภิ​ปู​ชะ​ยา​มิ​
​ ตะ​มะ​หัง​​ภะคะ​วัน​ตัง​​สิระ​สา​​นะ​มา​มิ​
​ ข้าพเจ้า​ขอ​บูชา​อย่าง​ยิ่ง​เฉพาะ​พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​เจ้า​พระองค์​นั้น​
​ ข้าพเจ้า​ขอน​อบ​น้อม​พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​เจ้า​พระองค์​นั้น​
ด้วย​เศียร​เกล้า​

luangpordu.com
๙๐ 90

​๕๕​
​บท​เรียน​บท​แรก​

​หาก​ย้อน​ระลึก​ถึง​หลวงปู่​ดู่​ ​พรหม​ปัญโญ​ ​ใน​ความ​ทรง​จำ​ของ​


ข้าพเจ้า​นั้น​ ​ข้าพเจ้า​ได้​มาก​ราบ​นมัสการ​หลวงปู่​เป็น​ครั้ง​แรก​เมื่อ​ ​พ​.​ศ​.​​
๒๕๒๖​ ​ด้วย​การ​ชักชวน​ของ​เพื่อน​กัลยาณมิตร​ จาก​นั้น​ไม่​นาน​ ​บท​เรียน​
บท​แรก​ที่​หลวงปู่​ได้​เมตตา​สอน​ลูก​ศิษย์​ขี้​สงสัย​ก็ได้​เริ่ม​ขึ้น​ ​เหมือน​เป็น​
ปฐม​บท​แห่ง​การ​เริ่ม​ต้น​ที่​ท่าน​รับ​ข้าพเจ้า​ไว้​เป็น​ลูก​ศิษย์​
​ มี​เหตุการณ์​ที่​ประทับ​ใจ​ข้าพเจ้า​ใน​ช่วง​แรก​จาก​การ​ได้​มาก​ราบ​
หลวงปู่​ ​อัน​เป็น​จุด​เริ่ม​ต้น​แห่ง​ศรัทธา​ ​ซึ่ง​ต่อ​มา​ภาย​หลัง​ได้​กลาย​เป็น​​
อจล​ศรัทธา​ ​ศรัทธา​ที่​แน่ว​แน่​มั่นคง​​ต่อ​องค์​หลวงปู่​ของ​ข้าพเจ้า​ ​คือ​​
ข้าพเจ้าไ​ด้บ​ ชู า​พระพุทธ​รปู แ​ ก้วใ​ส​ปาง​สมาธิจ​ าก​ตลาด​พระ​ทว​ี่ ดั ร​ าช​นดั ดา​​
กรุงเทพฯ​ ​มา​หนึ่ง​องค์​ ​และ​ได้​นำ​มา​ที่​วัด​สะแก​เพื่อขอ​ให้​หลวงปู่​ช่วย​แผ่​
เมตตา​อธิษฐาน​จิต​เพื่อ​นำ​ไป​สัก​การ​ะ​บูชา​เป็น​พระพุทธ​รูป​ประจำ​บ้าน​
​ หลวงปูด​่ ท​ู่ า่ น​ประนม​มอื ไ​หว้พ​ ระ​และ​ยก​พระพุทธ​รปู ข​ นึ้ ม​ า​จ​ บั อ​ งค์​
พระ​ของ​ข้าพเจ้า​แล้ว​หลับตา​นิ่ง​สัก​ครู่​หนึ่ง​จึง​ลืมตา​ขึ้น​มา​​
ท่าน​บอก​ให้​ข้าพเจ้า​นำ​สอง​มือ​มา​จับ​ที่​ฐาน​ของ​พระพุทธ​รูป​ซึ่ง​ปิด​
ทองคำ​เปลว​โดย​รอบ​ ​ท่าน​ให้​ข้าพเจ้า​หลับตา​ ​สัก​ครู่​ท่าน​ถาม​ข้าพเจ้า​ว่า​

luangpordu.com
91 ๙๑

เห็นอ​ ะไร​ไหม​ข​ า้ พเจ้าเ​ห็นพ​ ระพุทธ​รปู อ​ ยูเ​่ บือ้ ง​หน้า​แ​ ต่ข​ า้ พเจ้าน​ งิ่ ไ​ม่ต​ อบ​
อะไร​ท่าน ​เนื่องจาก​ตั้ง​แต่​ข้าพเจ้า​เกิด​มา​ใน​ชีวิต​ ​ยัง​ไม่​เคย​พบ​เหตุการณ์​
เช่น​นี้​จึง​ไม่​ทราบ​ว่า“​ ​เห็น​”​​ใน​ความ​หมาย​ของ​หลวงปู่​นั้น​หมาย​ถึง​“​ ​เห็น​
อย่างไร​”​​และ​ชัดเจน​ขนาด​ไหน​ที่​เรียก​ว่า“​ ​เห็น​”​​ของ​ท่าน​
​ สัก​ครู่​ท่าน​จึง​พูด​ย้ำ​กับ​ข้าพเจ้า​ว่า​ ​“​แก​เห็น​พระพุทธ​รูป​แล้ว​นี่​
ดู​เสีย​ที่​นี่​ ​จะ​ได้​หาย​สงสัย​ว่า​ข้า​ให้​อะไร​แก​ ​กลับ​บ้าน​แก​จะ​ได้​ไม่​สงสัย​​
เป็น​พระยืน​​เดิน​​นั่ง​​หรือ​ว่า​นอน​”​
​ “​ยืน​ครับ​”​​ข้าพเจ้า​ตอบ​ท่าน​
​ “​เออ​!​​ข้า​โม​ทนา​สาธุ​ด้วย​​ที่​ข้า​ให้​เป็น​พระ​ประจำ​วัน​เกิด​ของ​แก​​
เอา​ไป​บูชา​ให้​ดี​”​​ท่าน​ตอบ​
​ตั้ง​แต่​วัน​นั้น​เป็นต้น​มา​ ​ศิษย์​ขี้​สงสัย​อย่าง​ข้าพเจ้า​มี​หรือ​จะ​ไม่​อด​
ที่​จะ​สงสัย​ต่อ​ ​ยาม​ว่าง​ทั้ง​ใน​เวลา​กลาง​วัน​หรือ​กลาง​คืน ​ข้าพเจ้า​จะ​มา​นั่ง​
มอง​ดู​พระพุทธ​รูป​ ​เอา​สอง​มือ​ประคอง​จับ​ที่​ฐาน​ของ​องค์​พระ​.​.​.​หลับตา​.​.​
ทำ​สมาธิ​.​.​.​ด้วย​ความ​อยาก​ดู​.​.​.​อยาก​รู้​อยาก​เห็น​องค์​พระ​อย่าง​ที่​ท่าน​เคย​
ทำให้​ข้าพเจ้า​เห็น​
​วัน​แล้ว​วัน​เล่า​​ครั้ง​แล้ว​ครั้ง​เล่า​​.​.​.​อนิจจา​.​.​.​เวลา​ผ่าน​ไป​​๑​​สัปดาห์​
.​.​.​๑​​เดือน​.​.​.​๒​​เดือน​.​.​.​๓​​เดือน​ก็​แล้ว​​ยัง​ไม่มี​วี่แวว​ที่​ข้าพเจ้า​จะ​ได้​เห็น​องค์​
พระ​ที่​ท่าน​ทำให้​ข้าพเจ้า​ดู​ที่​วัด​สะแก​เช่น​วัน​นั้น​อีก​เลย​
​ จวบ​จน​กระทั่ง​หลาย​เดือน​ต่อ​มา​ ​ข้าพเจ้า​ได้​มี​โอกาส​มาก​ราบ​
นมัสการ​หลวงปู่​อีก​ ​จึง​ได้​เรียน​ถาม​ท่าน​ว่า ​ทำไม​เมื่อ​ข้าพเจ้า​กลับ​ไป​บ้าน​

luangpordu.com
๙๒ 92

แล้ว​ลอง​จับ​พระ​อีก​ ​จับ​จน​ทองคำ​เปลว​ที่​ปิด​ฐาน​ของ​องค์​พระ​ซีด​เป็น​
รอย​มือ​ ​ข้าพเจ้า​ก็​ยัง​ไม่​เห็น​องค์​พระ​แม้​สัก​ครั้ง​เดียว​ ​หลวงปู่​ยิ้ม​ก่อน​ตอบ​
ข้าพเจ้า​ด้วย​ความ​เมตตา​ว่า​ ​“​ทำ​จน​หาย​อยาก​แหละ​แก​ ​ข้า​ทำ​มา​ก่อน​
แล้ว​”​
​ ข้าพเจ้าก​ ลับม​ า​นงั่ ค​ ดิ ท​ บทวน​อยูห​่ ลาย​ครัง้ ​ค​ วาม​ชดั เจน​ใน​คำ​ตอบ​
ของ​หลวงปูจ​่ งึ ค​ อ่ ย​ๆ​ก​ ระจ่าง​ขนึ้ เ​ป็นล​ ำดับ.​.​.​ต​ อ้ ง​เริม่ ท​ ค​ี่ วาม​อยาก​เสียก​ อ่ น​​
จึงค​ ดิ ท​ จ​ี่ ะ​ทำ​แ​ ต่ถ​ า้ ท​ ำ​ดว้ ย​ความ​อยาก​ก​ จ​็ ะ​ไม่ส​ ำเร็จ​เ​มือ่ ค​ วาม​อยาก​หมด​
ไป​เมื่อไร​​เมื่อ​นั้น​จึง​จะ​พบ​ของ​จริง​
​ กุญแจ​คำ​ตอบ​สำหรับ​.​.​.​บท​เรียน​บท​แรก​ของ​การ​เรียน​ธรรมะ​จาก​
หลวงปู่​ ​ทำให้​ข้าพเจ้า​เข้าใจ​ได้​ว่า​ ท่าน​ได้​ใช้​กุศโลบาย​ให้​ข้าพเจ้า​จดจำ​​
รูป​พรรณ​สัณฐาน​ของ​องค์​พระพุทธ​รูป​ให้​ได้​​หลัง​จาก​ที่​ได้​ใช้​เวลา ​บวก​กับ​
ความ​อยาก​อยู่​เป็น​เวลา​หลาย​เดือน ​ข้าพเจ้า​จึง​เริ่ม​ได้​ พุทธ​านุ​สติ​ ​ธัม​มา-​
น​ุ​สติ​ ​และ​ สังฆานุสติ​ ​จาก​การ​เพ่ง​มอง​องค์​พระ​จน​เกิด​เป็น​ภาพ​ติดตา​.​.​.​
ติดใจ​ ​ใน​ที่สุด​ ​เป็นการ​สอน​การ​ภาวนา​ใน​ภาค​สมถ​ธรรม​ ​พร้อม​กับ​แนะ​
วิธี​วาง​อารมณ์​พระกร​รม​ฐาน​ของ​หลวงปู่​สำหรับ​ข้าพเจ้า​อย่าง​เยี่ยม​ยอด​
ที​เดียว​

luangpordu.com
93 ๙๓

​๕๖​
​หนึ่ง​ใน​สี่​​(​อีก​ครั้ง​)​

หลาย​ปก​ี อ่ น​หลวงปูไ​่ ด้ป​ รารภ​ธรรม​กบั ข​ า้ พเจ้าใ​น​เรือ่ ง​ของเป้าห​ มาย​


ชีวิต​ที่​แต่ละ​คน​เกิด​มา​อย่าง​น้อย​ก็​ควร​ให้​เข้า​ถึง​ความ​เป็น​พระ​โสดา​บัน​​
ท่าน​ได้​ปรารภ​ไว้​ว่า​
​ “​ข้า​นั่ง​ดูด​ยา​ ​มอง​ดู​ซอง​ยา​แล้ว​ตั้ง​ปัญหา​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​ ​เรา​นี่​
ปฏิบัติ​ได้​หนึ่ง​ใน​สี่​ของ​พระพุทธ​ศาสนา​แล้ว​หรือ​ยัง​?​ ​ถ้า​ซอง​ยา​นี้​แบ่ง​
ออก​เป็น​สี่​ส่วน​ ​เรา​นี่​ยัง​ไม่​ได้​หนึ่ง​ใน​สี่​ ​มัน​จวน​เจียน​จะ​ได้​แล้ว​ก็​คลาย​​
เหมือน​เรา​มัด​เชือก​จน​เกือบ​จะ​แน่น​ได้ที่​แล้ว​เรา​ปล่อย​ ​มัน​ก็​คลาย​ออก​​
เรา​นี่​ยัง​ไม่​เชื่อ​จริง​​ถ้า​เชื่อ​จริง​ต้อง​ได้​หนึ่ง​ใน​สี่​แล้ว​”​
​ อีก​ครั้ง​หนึ่ง​หลวงปู่​ได้​ปรารภ​กับ​ข้าพเจ้า​อีก​ใน​เรื่อง​เดียวกัน​ ​แต่​
คราว​นี้​ท่าน​บอก​ว่า​​
“​ข้า​นั่ง​มอง​ดู​กระจก​หน้าต่าง​ที่​หอ​สวด​มนต์​ ​กระจก​มัน​มี​สี่​มุม​​
เปรียบ​การ​ปฏิบัติ​ของ​เรา​นี่​​ถ้า​มัน​ได้​สัก​มุม​หนึ่ง​ก็​เห็นจะ​ดี​”​​
หลวงปู่​ได้​เฉลย​ปริศนา​ธรรม​เรื่อง​นี้​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า​ ​ที่​ว่า​หนึ่ง​ใน​สี่​
นั้น​​หมาย​ถึง​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​เพื่อ​ให้​บรรลุ​มรรคผล​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​​ซึ่ง​
แบ่ง​เป็น​

luangpordu.com
๙๔ 94


โสดา​ปัตติ​มรรค​​ โสดา​ปัตติ​ผล​
​ สกิ​ทา​คา​มิ​มรรค​ ​สกิ​ทา​คา​มิ​ผล​
​ อ​นาคา​มิ​มรรค​​ อ​นาคา​มิ​ผล​
​อร​หัต​ตมรรค​​ อร​หัต​ต​ผล​
​ อย่าง​น้อย​เรา​เกิด​มา​​ชาติ​นี้​ได้​พบ​พุทธ​ศาสนา​เปรียบ​เหมือน​สมบัติ​
ล้ำค่าแ​ ล้ว​ก​ ค​็ วร​ปฏิบตั ต​ิ าม​คำ​สอน​ทา่ น​ให้เ​ข้าถ​ งึ ค​ วาม​พน้ ท​ กุ ข์​อย่าง​นอ้ ย​
ที่สุด​คือ​โสดา​ปัตติ​ผล​ ​เพราะ​คน​ที่​เข้า​ถึง​ความ​เป็น​พระ​โสดา​บัน​แล้ว​ ​หาก​
ยัง​ไม่​บรรลุ​พระ​นิพพาน​ใน​ชาติ​นี้​ชาติ​ต่อ​ไป​ก็​จะ​ไม่​เกิด​ใน​ภพ​ภูมิ​ที่​ต่ำ​กว่า​
มนุษย์​อัน​ได้แก่​​สัตว์​นรก​​เปรต​​อสุร​กาย​​สัตว์​เดรัจฉาน​อีก​
​ ข้าพเจ้า​เชื่อ​ว่าการ​ที่​หลวงปู่​เปรียบ​ธรรม​ใน​เรื่อง​นี้​กับ​ซอง​บุหรี่​บ้าง​​
หรือ​แผ่น​กระจก​บ้าง​เพราะ​ต้องการ​ให้​เรา​หมั่น​นึกคิด​พิจารณา​ใน​เรื่อง​นี้​
บ่อย​ๆ​ว​ ตั ถุร​ ปู ท​ รง​สเี่ หลีย่ ม​เป็นร​ ปู ท​ รง​วตั ถุท​ เ​ี่ รา​สามารถ​พบ​ได้บ​ อ่ ย​ทสี่ ดุ ใ​น​
ชีวติ ป​ ระจำ​วนั ​ม​ อ​ี ยูร​่ อบ​ตวั เ​รา​ตลอด​เวลา​ตงั้ แ​ ต่ว​ นั เ​กิดก​ ระทัง่ ว​ นั ต​ าย​ม​ อ​ี ยู​่
ทั่วไป​ได้แก่​​เตียง​นอน​​นาฬิกา​ปลุก​​หนังสือ​​รูปภาพ​​รถยนต์​​โต๊ะ​ทำงาน​​
โทรทัศน์​​หน้าต่าง​ประตู​​และ​อื่น​​ๆ​​อีก​มากมาย​​จน​กระทั่ง​สิ่ง​สุดท้าย​ที่​อยู่​
ใกล้​ตัว​เรา​คือ​โลง​ศพ​
​ หาก​ผใ​ู้ ด​เห็นว​ า่ ธ​ รรม​เรือ่ ง​หนึง่ ใ​น​สข​ี่ อง​หลวงปูเ​่ ป็นธ​ รรม​สำคัญแ​ ล้ว​
ข้าพเจ้าเ​ชือ่ เ​หลือเ​กินว​ า่ ​ผูน​้ นั้ จ​ ะ​เป็นผ​ ไ​ู้ ม่มก​ี เิ ลส​ใน​ไม่ช​ า้ น​ ​ี้ จ​ งึ ข​ อ​ฝาก​ธรรมะ​
จาก​หลวงปู่​ให้​เรา​นำ​ไป​พิจารณา​ด้วย​

luangpordu.com
95 ๙๕

​๕๗​

​วิธี​คลาย​กลุ้ม​

ค​ วาม​กลุม้ เ​ป็นบ​ อ่ เ​กิดข​ อง​ความเครียด​ค​ วามเครียด​กเ​็ ป็นท​ มี่ า​ของ​


ความ​กลุ้ม​เช่น​กัน​ หลาย​คน​คง​เห็น​ด้วย​กับ​ข้าพเจ้า​ว่า​ ​เมือง​ไทย​นี้​ดี​กว่า​
เมือง​ฝรัง่ ​เ​วลา​ทเ​ี่ รา​มเ​ี รือ่ ง​กลุม้ อ​ ก​กลุม้ ใ​จ​ใ​น​ตา่ ง​ประเทศ​ส​ งิ่ ท​ น​ี่ ยิ ม​กนั ม​ าก​
คือ​​ไป​หา​หมอ​รักษา​โรคจิต​​กลุ้ม​ใจ​ที​ก็​ไป​เอา​กลุ้ม​ออก​โดย​นั่ง​ระบาย​ความ​
ทุกข์​​ระบาย​ปัญหา​ให้​จิตแพทย์​ฟัง​​เสร็จ​แล้ว​จ่าย​เงิน​ให้​หมอ​เป็น​ค่า​นั่ง​ฟัง​
เฮ้อ​!​ ​คน​เรา​น​ก่ี ​แ็ ปลก​ด​นี ะ ​​เอา​กลุม้ ​ออก​อย่าง​เดียว​ไม่​พอ​​ เงิน​ใน​กระเป๋า
​ออก​ไป​ดว้ ย​
​เท่า​ที่​สังเกต​ดู​ ​ฝรั่ง​ไป​หา​จิตแพทย์​กัน​เป็น​เรื่อง​ปกติ​ ​แต่​ระยะ​หลัง​
ใน​เมือง​ไทย​เรา​​คนไข้​โรคจิต​นับ​วัน​จะ​มี​มาก​ขึ้น​ทุกที​คน​ไทย​ไม่​นิยม​ไป​หา​
จิตแพทย์เ​หมือน​ฝรัง่ ​แ​ ต่จ​ ะ​ไป​หา​จติ แพทย์ก​ ต​็ อ่ เ​มือ่ ท​ น​ไม่ไ​หว​แล้วจ​ ริง​ๆ​ค​ อื ​
ใกล้จ​ ะ​บา้ แ​ ล้วน​ นั่ เอง​ค​ น​ไทย​โชค​ดก​ี ว่าฝ​ รัง่ ต​ รง​ทม​ี่ ว​ี ดั แ​ ทน​คลีน​ คิ จ​ ติ แพทย์​
มี​พระ​นี่​ล่ะ​ดี​กว่า​ด้วย​เพราะ​ไม่​ต้อง​เสีย​ตังค์​​แถม​ไป​หา​หลวงปู่​ได้​ทำบุญ​​ได้​
ฟัง​ธรรมะ​จาก​ท่าน​ ​กลาง​วัน​ยัง​ได้​ทาน​อา​หา​รบุฟเฟ่ต์​หลัง​จาก​หลวงปู่​ฉัน​
เสร็จ​บ​ าง​ครัง้ ​สมัยท​ ข​ี่ า้ พเจ้าย​ งั เ​รียน​หนังสืออ​ ยู​่ ห​ าก​เดินท​ าง​มา​ถงึ ว​ ดั ต​ อน​
เย็น​ท่าน​จะ​มข​ี นม​ฝอยทอง​ท​ อง​หยิบ​ท​ อง​หยอด​ผ​ ล​ไม้ป​ ระเภท​สม้ ​ก​ ล้วย​​

luangpordu.com
๙๖ 96

บางที​โชค​ดี​ก็​มี​แอปเ​ปิ้ล​ให้​ได้​ทาน​อิ่ม​ท้อง​ด้วย​
​ มี​เรื่อง​เล่า​ว่า​ ​มี​โยม​คน​หนึ่ง​เกิด​กลุ้ม​อก​กลุ้ม​ใจ​ใน​ชีวิต​ที่​แสน​สับสน​​
วุ่น​วาย​ของ​ตน​โดย​ไม่รู้​ว่า​จะ​แก้ไข​อย่างไร​ ​จึง​ได้​ไป​กราบ​ขอ​ให้​หลวงพ่อ​
​พุทธ​ทาส​ช่วย​คลาย​ทุกข์​ให้​
​ หลวงพ่อถาม​ว่า​​“​มัน​กลุ้ม​มาก​หรือ​โยม​”​
​“​มาก​ครับ​ท่าน​​สมอง​แทบ​จะ​ระเบิด​เลย​​แน่น​อยู่​ใน​อก​ไป​หมด​”​
​ “​เอา​งี้​ ​โยม​ออก​ไป​ยืน​ที่​กลาง​แจ้ง​ ​สูด​ลม​หายใจ​เข้า​ปอด​แรงๆ​​
สาม​ครั้ง​แล้ว​ตะโกน​ให้​ดัง​ที่สุด​ว่า​ ​กกู​ ลุ้ม​จริง​โว้ย ​กู​กลุ้ม​จริง​โว้ย​ ​กู​กลุ้ม​
จริง​โว้ย​”​
​โยม​ผู้​นั้น​ออก​ไป​ทำ​ตาม​ที่​หลวงพ่อ​แนะนำ​แล้วก​ลับ​เข้า​มา​หา​ท่าน​
ด้วย​ใบหน้า​ที่​ผ่อน​คลาย​
​ “​เป็น​ไง​”​​หลวงพ่อ​ถาม​
​ “​รู้สึก​สบาย​ขึ้น​แล้ว​ครับ​”​​เขา​ตอบ​
​“​เออ​​เอา​กลุ้ม​ออก​แล้ว​นี่​”​​ท่าน​กล่าว​ยิ้ม​ๆ​​แล้ว​ไม่​พูด​อะไร​อีก​
​ข้าพเจ้า​เคย​เห็น​คน​ที่​ไป​หา​หลวงปู่​ดู่​หลาย​ราย​มี​ความ​กลุ้ม​ ​มี​
ความเครียด​ ​เสร็จ​แล้ว​เมื่อ​มา​ถึง​วัด​ ​นั่ง​อยู่​ต่อ​หน้า​ท่าน​ หลาย​คน​เล่า​ให้​
ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า ​ไม่รู้​ว่า​ไอ้​เจ้า​ตัว​กลุ้ม​ตัว​เครียด​มัน​พา​กัน​หาย​ไป​ไหน​หมด​ ​มี​
แต่​ความ​เบา​สบาย​กาย​​สบายใจ​​อยาก​อยู่​ตรง​หน้า​หลวงปู่​นาน​ๆ​​บาง​คน​ ​

ขอ​เพียง​ได้​นั่ง​เฉย ​ๆ​​ก็​มี​

​ ทุก​วัน​นี้​ หลวงปู่​จาก​พวก​เรา​ไป​แล้ว​ ​แต่​เป็นการ​จาก​เพียง​รูป​กาย​​

luangpordu.com
97 ๙๗

ธรรม​ที่​ท่าน​เคย​สอน​ไว้​มิได้​สูญหาย​ไป​ด้วย​เลย​ ​หาก​เรา​มี​ความ​กลุ้ม​อก​
กลุม้ ใ​จ​ไม่ว​ า่ เ​รือ่ ง​ใด​โ​ดย​เฉพาะ​เรือ่ ง​ปญ ั หา​เศรษฐกิจย​ คุ ป​ จั จุบนั ​ป​ ญ
ั หา​เรือ่ ง​
สุขภาพ​​ปัญหา​เรื่อง​ครอบครัว ​ปัญหา​เรื่อง​งาน​​ปัญหา​อะไร​ก็​แล้ว​แต่​
​ ข้าพเจ้า​ขอ​แนะนำ​วิธี​คลาย​เครียด​ที่​ดี​ที่สุด​วิธี​หนึ่ง​คือ​ให้หา​มุม​สงบ​
ใน​บ้าน​ของ​ท่าน ​หรือ​จะ​เป็น​ห้อง​พระ​ก็​ยิ่ง​ดี​​ขอ​ให้​ท่าน​นั่ง​ที่​หน้า​พระพุทธ​
รูป​หรือ​รูป​หลวงปู่​ดู่​​จะ​ลืมตา​หลับตา​ก็ตาม​แต่​อัธยาศัย​ครับ​​สูด​ลม​หาย​ใจ​
​ลึก​ๆ​ ​พอ​สบาย​ดีแล้ว​ก็​พูด​ระบาย​ความ​ใน​ใจ​ให้​ท่าน​ฟัง​ ​ความ​กลุ้ม​​ความ
เครียด​จะ​ลด​ลง​ได้​
​เหมือน​คน​ที่​ทาน​อาหาร​มาก​เกิน​ไป​จน​มี​แก๊ส​อยู่​เต็ม​ท้อง​ ​อึดอัด​
ไป​หมด​ ​หาก​ได้​ดื่ม​น้ำ​ขิง​ร้อน​หรือ​ทาน​ยา​ขับ​ลมเสีย​บ้าง​คงจะ​ดี​ ​เมื่อ​กาย​
สบายใจ​สบาย​ ​สมอง​ก็​จะ​ปลอด​โปร่ง​แจ่มใส​สบาย​กาย​สบายใจ​ ​และ​
สามารถ​มอง​เห็น​หนทาง​แก้ไข​ปัญหา​ได้​ดี​ขึ้น​
​ เรา​เคย​รู้สึก​อย่าง​นี้​กัน​บ้าง​ไหม​ ​ถ้า​ถาม​ข้าพเจ้า​ก็​ต้อง​ขอ​ตอบ​อย่าง​
มั่นใจ​ว่า​
​ “​เคย​ครับ​”​
​ ข​ า้ พเจ้าเ​ชือ่ ว​ า่ ห​ ลวงปูท​่ า่ น​เมตตา​คอย​เป็นก​ ำลังใ​จ​และ​ให้ค​ วาม​ชว่ ย​
เหลือ​เรา​เสมอ​​ขอ​ให้​เรา​ตั้งใจ​แก้​ปัญหา​ด้วย​สุจริต​วิธี​
​ ไม่มี​ปัญหา​ใด​ใน​โลก ​ที่​มนุ​ษย์ก่อ​ขึ้น​แล้ว​มนุษย์​จะ​ไม่​สามารถ​แก้ไข​
ได้​​ข้าพเจ้า​เชื่อ​อย่าง​นี้​จริง​ๆ​

luangpordu.com
๙๘ 98

​๕๘​
​อะไร​ได้​​อะไร​เสีย​

คง​ไม่มี​ใคร​ปฏิเสธ​ได้​ว่า​ใน​ชีวิต​คน​เรา​นั้น​​ต้อง​ประสบ​ความ​สูญ​เสีย​
ทุก​คน​​บาง​คน​สูญ​เสียคน​รัก​​พ่อ​​แม่​​ลูก​​เมีย​​ญาติ​​เพื่อน​​อัน​เป็น​เหตุ​แห่ง​
ความ​กระทบ​กระเทือน​ทาง​จิตใจ​ที่​สำคัญ​ยิ่ง​​การ​สูญ​เสีย​เงิน​ทอง​​ข้าว​ของ​​
ทรัพย์ส​ มบัต​ิ ก​ เ​็ ป็นต้นเ​หตุห​ นึง่ ข​ อง​ความ​ทกุ ข์โ​ทมนัสอ​ นั ใ​หญ่ห​ ลวง​ของ​อกี ​
ห​ลาย​ๆ​ ​คน​ ​ของ​ที่​เคย​มี​เคย​ได้​ ​กลับ​เป็น​ของ​ที่​ไม่มี​ไม่​ได้​ ​คน​ที่​เคย​รัก​ต้อง​
พลัด​พราก​จาก​ไกล​กัน​​การ​ค้า​ที่​เคย​มี​กำไร​กลับ​กลาย​เป็น​ขาดทุน​เสีย​หาย​
จน​ทำใจ​ให้​ยอมรับ​ได้​ยาก​
​ หาก​ยัง​จำ​กัน​ได้​ ​พระ​ราช​ดำรัส​ของ​พระบาท​สมเด็จ​พระเจ้า​อยู่​หัว​
ที่​พระราชทาน​เนื่อง​ใน​โอกาส​วัน​เฉลิม​พระชนมพรรษา​ ​เมื่อ​ปี​ ​๒๕๓๔​ ​มี​
ความ​ตอน​หนึ่ง​ว่า​
​“​การ​ขาดทุน​ของ​เรา​ ​เป็นการ​ได้​กำไร​ของ​เรา​ ​(​Our​ ​loss​ ​is​ ​our​​
gain​.​)​”​ ​ซึ่ง​ท่าน​ได้​อธิบาย​ว่า​ “​ ​ถ้า​เรา​ทำ​อะไร​ที่​เป็นการ​กระทำ​ ​แล้ว​เรา​ก็​
เสีย​​แต่​ใน​ที่สุด​​ก็​ไอ้​ที่​เรา​เสีย​นั้น​มัน​เป็นการ​ได้​เพราะ​ว่า​ทาง​อ้อม​ได้​”​
​เป็น​พระ​ราช​ดำรัส​ที่​มี​ความ​ไพเราะ​​ลึก​ซึ้ง​​กิน​ใจ​ยิ่ง​นัก​
​ สำหรับน​ กั ป​ ฏิบตั แ​ิ ล้ว​ถ​ า้ เ​รา​พร้อม​ทจ​ี่ ะ​เรียน​ร​ู้ ท​ กุ ส​ งิ่ ท​ กุ อ​ ย่าง​ทผ​ี่ า่ น​

luangpordu.com
99 ๙๙

เข้าม​ า​ใน​ชวี ติ ก​ จ​็ ะ​เป็นค​ รูข​ อง​เรา ไ​ม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นการ​กระทำ​ทถ​ี่ กู ต​ อ้ ง​ห​ รือก​ าร​
กระทำ​ที่​ผิด​พลาด​​สิ่ง​ที่​ได้​มา​​สิ่ง​ที่​เสีย​ไป ​ความ​ทรง​จำ​อัน​สวยงาม​หรือ​ไม่​
งาม​​สิ่ง​ที่​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่​หรือ​สิ้น​ไป​แล้ว​ก็ตาม​
​ เสียง​ของ​หลวงปู​แ่ ว่ว​มา​ใน​ความ​คดิ ​คำนึง​ของ​ขา้ พเจ้า​ทนั ที​ ​“​ถกู ​เป็น
ค​ รู​ผ​ ดิ ก​ เ​็ ป็นค​ รู”​ ​แ​ ต่ผ​ ดิ เ​ป็นค​ รูท​ ด​ี่ ก​ี ว่าเ​พราะ​ทำให้เ​รา​ไม่ป​ ระมาท​ให้ผ​ ดิ ว​ นั ​
นี้​ ​เป็น​ถูก​ของ​วัน​หน้า​​ให้​สิ่ง​ที่​เสีย​ไป​​คือ​สิ่ง​ที่​ได้​มา​​อย่าง​ที่​ในหลวง​ท่าน​*​.​.​.
​ได้​มอบ​ไว้​ให้​พวก​เรา​

luangpordu.com
๑๐๐ 100

​๕๙​
​ความ​สำเร็จ​

“​.​.​.​เมื่อ​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ ​สิ่ง​แรก​ก็​คือ​ ​ดีใจ​จน​ลืมตัว​และ​โง่​ลง​ใน​


บาง​อย่าง​​สำหรับ​จะ​ประมาท​​หรือ​สะเพร่า​ใน​อนาคต​​ความ​สำเร็จ​เป็น​ครู​
ที่​ดี​น้อย​กว่า​ความ​ไม่​สำเร็จ​ ​แต่​มี​เสน่ห์​จน​คน​ทั่วไป​เกลียด​ความ​ไม่​สำเร็จ​
เมือ่ ไ​ม่ป​ ระสบ​ความ​สำเร็จ​เ​รา​จะ​ได้อ​ ะไร​ทม​ี่ ค​ี า่ ม​ าก​กว่า​เ​มือ่ ป​ ระสบ​ความ​
สำเร็จไ​ป​เสียอ​ กี ​แ​ ต่ค​ น​ทวั่ ไป​มอง​ใน​แง่ล​ บ​เ​ห็นเ​ป็นค​ วาม​เสียห​ าย​แ​ ละ​เกิด​
ทุกข์​ใหม่​เพิ่ม​ขึ้น​อีก​​เป็น​โชค​ร้าย​ไป​เสีย​โน่น​
​ ถ้าต​ อ้ นรับค​ วาม​ไม่ส​ ำเร็จอ​ ย่าง​ถกู ต​ อ้ ง​ม​ นั จ​ ะ​มอบ​ความ​รท​ู้ จ​ี่ ะ​ทำให้​
ประสบ​ความ​สำเร็จ​ถึงที่​สุด​ใน​กาล​ข้าง​หน้า​ ​จน​กลาย​เป็น​ผู้​ทำ​อะไร​สำเร็จ​
ไป​หมด​.​.​.​”​
​ ส่วน​หนึง่ ข​ อง​ขอ้ เ​ขียน​ปชู นียบ​ คุ คล​“​ ท​ า่ น​พทุ ธ​ทาส​”​ซ​ งึ่ แ​ สดง​ไว้ใ​น​
ห้อง​นทิ รรศการ​เกีย่ ว​กบั ​“​ ช​ วี ติ ผ​ ล​งาน​ทา่ น​พทุ ธ​ทาส​”​ณ ​ ​อ​ าคาร​คณะ​ธรรม​
ทาน​ท​ ต​ี่ งั้ อ​ ยูห​่ น้าป​ ระตูด​ า้ น​ทศิ ใ​ต้ข​ องวัดธ​ าร​นำ้ ไ​หล​ห​ รือเ​ป็นท​ ร​ี่ จู้ กั ม​ กั ค​ นุ้ ​
ใน​นาม​ ​“​สวน​โมก​ข​พลา​ราม​”​ ​แห่ง​ ​ตำบล​พุม​เรียง​ ​อำเภอ​ไชยา​ ​จังหวัด​
สุราษฎร์ธานี​

luangpordu.com
101 ๑๐๑

​ ม​ พ​ี ระ​สตู ร​ทพ​ี่ ระพุทธเจ้าแ​ สดง​แก่อ​ นาถ​บณ ิ ฑ​กิ เ​ศรษฐีใ​น​เรือ่ ง​ความ​


ปรารถนา​ของ​มนุษย์​ที่​จะ​ทำให้​สำเร็จ​สมหวัง​ได้​ยาก​​๔​​ประการ​​คือ​
​ ขอ​ให้​สมบัติ​จง​เกิด​มี​แก่​เรา​ใน​ทาง​ที่​ชอบ​
​ ขอ​ยศ​จง​มี​แก่​เรา​และ​ญาติ​พี่​น้อง​
​ ขอ​ให้​เรา​เป็น​ผู้​มีอายุ​ยืนนาน​
​ เมื่อ​ตาย​จาก​โลก​นี้​ไป​​ขอ​ให้​เรา​ได้​ไป​เกิด​ใน​สวรรค์​
​ ความ​ปรารถนา​ทงั้ ​๔​ ​ข​ อ้ ท​ ก​ี่ ล่าว​มา​น​ี้ จ​ ะ​สมหวังไ​ด้ม​ ใิ ช่ด​ ว้ ย​เหตุเ​พียง​
ปรารถนา​อ้อนวอน​มิได้​ทำ​อะไร​เลย​หรือ​ทำ​อะไร​ที่​ไม่​ตรง​เหตุ​ ​ผล​ย่อม​ไม่​
บังเกิด​ ​ความ​สำเร็จ​ใน​ชีวิต​ย่อม​เกิด​จาก​การ​วางแผน​ที่​ดี​ ​มิใช่​ทำเหตุ​เพียง​
เล็ก​น้อย​แต่​หวัง​ผล​ไว้​สวย​หรู​
​ ถ้า​เข้าใจ​ว่า​ ​ไม่มี​อะไร​ที่​มี​ค่า​แล้ว​ได้​มา​ง่าย​ ​ๆ​ ​ก็​จะ​ไม่​หมด​กำลัง​ใจ​​
อยาก​ได้​ผลอ​ย่าง​ไร​ ​ควร​สร้าง​เหตุ​ให้​เกิด​ผลอ​ย่าง​นั้น​ด้วย​ความ​อุตสาห​ะ​
พยายาม​อย่าง​เต็ม​ที่​
​ใน​โลก​นี้​.​.​.​ไม่มี​อะไร​ฟรี​ครับ​​!​

luangpordu.com
๑๐๒ 102

​๖๐​
​อารมณ์​ขัน​ของ​หลวงปู่​

​ญาติโยม​คณะ​หนึ่ง​ ​เป็นก​ล่มุ ​ท่​ีชอบ​แสวงหา​พระ​​หา​เจ้า​ ​หลวง​ปู่​​


หลวงพ่อองค์​ไหน​ท​ว่ี า่ ​ดงั ​วา่ ​ด​ี ​ม​คี น​ขน้ึ ​กนั ​มาก​ ​โยม​คณะ​น​จ้ี ะ​พา​กนั ​ไป​กราบ​
ไหว้​​ไป​ทำบุญ​กนั ​​และ​ก​เ็ ป็น​ธรรมดา​​ทห​่ี ลาย​คน​ท​น่ี บั ถือ​หลวงปู​ด่ ​ู่ ​ใน​ฐานะ​ท่​ี
เป็น​เกจิ​อาจารย์​ดงั ​​คดิ ​วา่ ​ทา่ น​คง​ให้​หวย​เบอร์​เหมือน​อย่าง​อาจารย์​บาง​องค์​
เ​มือ่ ส​ บ​โอกาส​โ​ยม​คน​หนึง่ ก​ เ​็ ข้าม​ าก​ราบ​เรียน​ขอ​หวย​จาก​หลวงปู​่ ใ​น​
วัน​นั้น ​เผอิญ​ข้าพเจ้า​ได้​มี​โอกาส​มา​กราบ​นมัสการ​หลวงปู่​อยู่​ด้วย​​หลวงปู่​
มอง​หน้า​โยม​คน​นั้น​ ​พร้อม​กับ​ชี้​มือ​ไป​ที่​ปฏิทิน​ราย​เดือน​ที่​มี​รูป​ในหลวง​​
แบบ​ทธ​ี่ นาคาร​ทงั้ ห​ ลาย​ชอบ​แจก​ซ​ งึ่ ต​ ดิ อ​ ยูข​่ า้ ง​ฝา​ทด​ี่ า้ น​หลังท​ า่ น​แ​ ล้วท​ า่ น​
ก็​ว่า​“​นั่น​แหละ​​แก​ไป​สลับ​เลข​เอา​เอง​​มี​เลข​รางวัล​ครบ​ทุก​ตัว​​ข้า​ให้​ตั้ง​
แต่​รางวัล​ที่​หนึ่ง​​ยัน​เลข​ท้าย​สอง​ตัว​เลย​​ถ้า​ไม่​ถูก​​ให้​มา​ด่า​ข้า​ได้​”​
​ข้าพเจ้า​ขำ​จน​แทบ​กลิ้ง​ ​แต่​โยม​ที่​ขอ​หวย​จาก​หลวงปู่​คง​ขำ​ไม่​ออก​
และ​คง​เข็ด​​ไม่​กล้า​ขอ​หวย​จาก​หลวงปู่​ไป​อีก​นาน​
​หลัง​จาก​ที่​โยม​คน​นั้น​กลับ​ไป​แล้ว​ ​หลวงปู่​ได้​ให้​โอวาท​กับ​ศิษย์​ที่​
เหลือ​และ​ข้าพเจ้า​ว่า​
​ “​คน​เรา​นี่​ก็​แปลก​​ให้​ธรรมะ​ของดี​ไม่​เอา​​จะ​เอาแต่​หวย​เบอร์​.​.”

luangpordu.com
103 ๑๐๓

​๖๑​
​ของ​หา​ยาก​

​เมื่อ​วัน​ที่​ ​๘​ ​พฤศจิกายน​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๓๐​ ​มี​เรื่อง​ประทับ​ใจ​ที่​ข้าพเจ้า​


ต้อง​บันทึก​ไว้​เรื่อง​หนึ่ง​ ​คือ​วัน​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​รับ​ตะกรุด​ของ​หลวงปู่​ ​หรือ​ที่​
เรียก​กัน​ใน​หมู่​ลูก​ศิษย์​ของ​ท่าน​ว่า​​“​ตะกรุด​มหาจักร​พร​รดิ์​”​​เรื่อง​มี​อยู่​ว่า​
​ วันน​ นั้ ม​ ค​ี น​มาก​ราบ​นมัสการ​หลวงปูจ​่ ำนวน​มาก​ห​ ลังจ​ าก​ทข​ี่ า้ พเจ้า​
ได้ก​ ราบ​หลวงปูแ​่ ละ​ขอ​โอกาส​หลีกม​ า​นงั่ ภ​ าวนา​ทห​ี่ อ​สวด​มนต์​ส​ กั ค​ รูใ​่ หญ่​
ก่อน​ทจ​ี่ ะ​เลิกภ​ าวนา​จ​ ๆู่ ​ก​ ม​็ น​ี มิ ติ เ​ป็นอ​ งค์ห​ ลวงปูด​่ ล​ู่ อย​เด่น​พ​ ร้อม​รศั มีก​ าย​
สว่างไสว​อยู​เ่ บือ้ ง​หน้า​ขา้ พเจ้า​​และ​ม​เี สียง​ทา่ น​บอก​ขา้ พเจ้า​วา่ ​​“​ขา้ ​ให้​แก”​
​ ใน​ขณะ​นั้น​ข้าพเจ้า​ไม่​ได้​นึก​แปล​ความ​หมาย​นิมิต​เป็น​อื่น​ใด​ ​เข้าใจ​
เพียง​ว่า​ท่าน​คง​ให้​ธรรมะ​กับ​เรา​ ข้าพเจ้า​บังเกิด​ความ​ปีติ​มาก​ ​หลัง​จาก​
เลิกภ​ าวนา​แล้วข​ า้ พเจ้าไ​ด้เ​ดินไ​ป​หลังว​ ดั เ​พือ่ ไ​ป​นมัสการ​หลวง​นา้ ส​ าย​หยุด​
ระหว่าง​ทาง​ผา่ น​กฏุ ข​ิ อง​หลวง​พอ​ี่ งค์ห​ นึง่ ซ​ งึ่ เป็นพ​ ระ​ภกิ ษุท​ ข​ี่ า้ พเจ้าเ​คย​เห็น​
ท่าน​อยู่​ที่​วัด​สะแก​หลาย​ปี​ ​แต่​ไม่​เคย​ได้​สนทนา​อะไร​เป็น​กิจจะลักษณะ​
กับ​ท่าน​มา​ก่อน​เลย​ประการ​หนึ่ง​ ​และ​ไม่​เคย​เอ่ย​ปากขอ​อะไร​จาก​ท่าน​
อีก​ประการ​หนึ่ง​ ​แต่​วัน​นั้น​นับ​เป็น​เหตุการณ์​ประหลาด​อัศจรรย์​สำหรับ​
ข้าพเจ้า​​ที่​หลวง​พี่​เกิด​นึก​เมตตา​ข้าพเจ้า​อย่าง​กะทันหัน​​ท่าน​บอก​ข้าพเจ้า​

luangpordu.com
๑๐๔ 104

ว่า​ เดี๋ยว​ก่อน​ ​จาก​นั้น​ท่าน​กลับ​เข้าไป​ใน​กุฏิ​ชั่ว​อึดใจ​ ท่าน​ออก​มา​พร้อม​


กับ​พระ​ผง​แบบ​หยด​น้ำ​รูป​พระพุทธเจ้า​และ​รูป​หลวงปู่​ดู่​ ๒-๓ ​องค์​ ​และ​
ตะกรุด​ขนาด​เล็ก​กระ​ทัด​รัด​ของ​หลวงปู่​ยื่น​ให้​ข้าพเจ้า​และ​บอก​ว่า​ ​“​ของ​
หลวง​ปู่​​เก็บ​เอา​ไว้​ใช้​”​
​ เป็น​ที่​แปลก​ใจ​ยิ่ง​สำหรับ​ข้าพเจ้า​ที่​เหตุการณ์​เกิด​ขึ้น​ภาย​หลัง​จาก​
ที่​ข้าพเจ้า​ได้​นิมิต​ว่า​ได้​รับ​“​ ​อะไร​”​​จาก​หลวงปู่​เมื่อ​ห้า​นาที​ที่​ผ่าน​มา​
​ข้าพเจ้า​ได้​มา​เรียน​เรื่อง​นี้​ถวาย​ให้​หลวงปู่​ฟัง​
​ ท่าน​ยัง​ได้​ให้​โอวาท​ข้าพเจ้า​อีก​ว่า​.​.​.​
​ “​.​.​.​ที่​ว่า​ ​ข้า​ให้​แก​นั้น​ ​ข้า​ให้​พุทธ​ัง​ ​ธัมมัง​ ​สังฆ​ัง​ ​ส่วนเครื่องราง​
ของ​ขลัง​ภายนอก​นั้น​หาไม่​ยาก​ ​พระ​พุทธ​ัง​ ​ธัมมัง​ ​สังฆ​ัง​ ​หา​ยาก​กว่า​
​แก​ไป​ตรอง​ดู​ให้​ดี​เถอะ​​”​

luangpordu.com
105 ๑๐๕

​๖๒​
​คน​หา​ยาก​

​ ​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​ได​​พูด​ถึง​บุคคล​หา​ได​​ยาก​ใน​โลก​นี้​มี​​๒​​ประเภท​
คือ​​บุพการี​​และ​บุคคล​ผู​มี​กตัญ ​ ู​กตเวที​
​ บ​ พุ การี​ห​ มาย​ถงึ บ​ คุ คล​ผท​ู ำ​อปุ ก​ าร​ะก​อ​ น​หรือค​ อื ผ​ ม​ู พ​ี ระคุณน​ นั่ เอง​​
ได​​แก​​ ​พระพุทธ​เจ​​า​ ​ครู​อา​จาร​ย​ ​มารดา​บิดา​ ​และ​พระ​มหา​กษัตร​ิย​ที่​ทรง​
​ทศ​พิ​ธรา​ช​ธรรม​​ใน​ที่​นี้​จะ​ขอ​พูด​ถึงพ​​อแม​​ของ​เรา​
​ ใน​มงคล​สูตร​ได​​กล​​าว​ไว​​ตอน​ห​นึ่ง​ว​า​ ​มา​ตาป​​ตุ​อุป​ฏ​ฐาน​ัง​ ​เอตัมมัง​
คะ​ละ​มตุ ​ตะมัง​​การ​บำรุง​มารดา​และ​บ​ดิ าเป​​น มงคล​สงู สุด​ใน​ช​วี ​ติ อย​​า ง​หนึง่ ​
ม​ ผี ก​ู ล​า​ วว​า​ ​“​ ว​ นั แ​ ม​”​ ​ส​ ำหรับล​ กู ห​ ลาย​ๆ​ค​ น​มว​ี นั เ​ดียว​ใน​หนึง่ ป​ ​แ​ ต​​
สำหรับ​แม​​แล​​ว​“​ ​วัน​ลูก​”​​มีอย​ู​ทุก​วัน​
​ ความ​ข​อ​นี้​เป​​น​จริง​อย​​าง​ที่​ไม​​มี​ใคร​อาจ​ปฏิเสธ​ได​​ ​โดย​ทั่วไป​แล​​ว​​
ความ​รัก​ที่​แม​​มีต​อ​ลูก​นั้น​ ​ย​อม​มี​มา​กกว​​า​ความ​รัก​ที่​ลูก​มีต​อแม​​ ​ใน​บท​สวด​
เทว​ตาทิสส​ทัก​ขิณ​านุโม​ทนา ​ได​​กล​​าว​เปรียบ​ไว​​ว​า​​
“...​มา​ตา​ปุต​ตัง​​วะ​​โอระสัง​​เท​วะ​ตาน​ุกัมป​​โต​.​.​.​”​
​คำ​แปล​ตอน​หนึ่ง​ของ​บท​สวด​มี​ความ​ว่า​
​“​.​.​.​บัณฑิต​ชาติ​อยู่​ใน​สถาน​ที่​ใด​ ​พึง​เชิญ​ท่าน​ที่​มี​ศีล​สำรวม​ระวัง​​

luangpordu.com
๑๐๖ 106

ประพฤติพ​ รหม​จรรย์ใ​น​ทน​่ี น้ั ​เ​ทวดา​เหล่าใ​ด​มใ​ี น​ทน​่ี น้ั ​ควร​อทุ ศิ ท​ กั ษิณาทาน​


เพื่อ​ท่าน​เหล่า​นั้น​ด้วย​ ​เทวดา​ที่​ได้​บูชา​แล้ว​นับถือ​แล้ว​ ​ท่าน​ย่อม​บูชา​บ้าง​​
ย่อม​นับถือ​บ้าง​​ท่าน​ย่อม​อนุเคราะห์​เขา​ประ​หนึ่ง​​มารดา​อนุเคราะห์​บุตร​
ผู้​เกิด​จาก​อก​ ​ผู้​ที่​ได้​อาศัย​เทวดา​อนุเคราะห์​แล้ว​ ​ย่อม​มี​แต่​ความ​เจริญ​
​ทุก​เมื่อ​”​
​ มารดา​บิดา​เป็น​พระ​พรหม​ของ​ลูก​ ​เป็น​ครู​อาจารย์​คน​แรก​ของ​ลูก​​
และ​เป็น​เทวดา​องค์​แรก​ของ​ลูก​​จึง​เป็น​ผู้​ควร​รับ​การ​สัก​การ​ะ​บูชา​จาก​ลูก​
​ พระพุทธเจ้า​ได้​สอน​ไว้​ใน​“​ ​มาตา​ปิตุ​คุณ​สูตร​”​​ว่า​
​ บุตร​ไม่อ​ าจ​ตอบแทน​คณ ุ แ​ ก่ม​ ารดา​บดิ า​นนั้ ​ใ​ห้ส​ นิ้ ส​ ดุ ไ​ด้โ​ดย​ประการ​
ใด​ๆ​ ​ด​ ว้ ย​อปุ การะ​อนั เ​ป็นโ​ลกียะ​ ​แ​ ม้จ​ ะ​ทำให้ท​ า่ น​ทงั้ ส​ อง​นงั่ อ​ ยูบ​่ น​บา่ ข​ วา​​
บน​บ่า​ซ้าย​ของ​ลูก​ ​ลูก​ปรนนิบัติ​ดูแล​ท่าน​ตลอด​หนึ่ง​ร้อย​ปี​ ​ก็​ไม่​สามารถ​
ตอบแทน​บุญ​คุณ​ท่าน​ได้​ ส่วน​บุตร​คน​ใด​ทำให้​มารดา​บิดา​ผู้​ไม่มี​ศรัทธา​
ให้​ตั้ง​อยู่​ใน​ศรัทธา​ ​ทำให้​มารดา​บิดา​ผู้​ไม่มี​ศีล​ให้​ตั้ง​อยู่​ใน​ศีล​ ​ทำให้​มารดา​
บิดา​ผู้​มี​ความ​ตระหนี่​ถี่​เหนียว​ให้​ตั้ง​อยู่​ใน​จาคะ​​ทำให้​มารดา​บิดา​ผู้​มี​ความ​
หลง​ให้ต​ งั้ อ​ ยูใ​่ น​ปญ ั ญา​สมั มา​ทฏิ ฐิ​บ​ ตุ ร​นนั้ จ​ งึ จ​ ะ​ได้ช​ อื่ ว​ า่ ไ​ด้ท​ ำการ​ตอบแทน​​
บุญ​คุณ​ของ​มารดา​บิดา​อย่าง​เต็ม​ที่​
​ ลูกท​ ไ​ี่ ม่มค​ี วาม​ฉลาด​ยอ่ ม​ไม่เ​ห็นค​ ณ ุ ค่าค​ วาม​รกั ข​ อง​พอ่ แ​ ม่ท​ ม​ี่ ต​ี อ่ ล​ กู ​
ลูก​ที่​มี​ความ​ฉลาด​ย่อม​เห็น​คุณค่า​ของ​สิ่ง​เหล่า​นี้​ตั้ง​แต่​พ่อ​แม่​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่​
วัน​นี้​.​.​.​เรา​ได้​ทำ​สิ่ง​ดี​​ๆ​​ให้​พ่อ​กับ​แม่​.​.​.​แล้ว​หรือ​ยัง​

luangpordu.com
107 ๑๐๗

​๖๓​
​ด้วย​รัก​จาก​ศิษย์​

​.​.​.​หลวงปู่​ครับ​ ​ถ้า​หาก​หมุน​เข็ม​นาฬิกา​ให้​เดิน​ย้อน​กลับ​ได้​ ​ผม​ขอ​


หมุนก​ ลับไ​ป​เป็นป​ ​ี พ​ .​ศ​ .​​๒​ ๕๒๕​ป​ ท​ี พ​ี่ วก​เรา​ได้เ​ริม่ ม​ าก​ราบ​หลวงปู​่ ร​ อย​ยมิ้ ​
และ​ภาพ​อากัปกิริยา​ของ​หลวงปู่​เมื่อ​คราว​ที่​สอน​พวก​เรา​ ​หลวงปู่​หัวเราะ​
และ​เอา​มอื ต​ บ​ทห​ี่ น้าต​ กั พ​ วก​เรา​ยงั จ​ ำ​ได้ด​ ​ี พ​ วก​เรา​ยงั จ​ ำ​ได้​แ​ ละ​จะ​พยายาม​
ทำ​ตาม​ที่​หลวงปู่​สอน​​ไม่​ให้​ถอย​หลัง​​ไม่​ให้​หลวงปู่​ต้อง​ผิด​หวัง​ครับ​
.​.​.​ห​ ลวงปูข​่ า​ห​ ลวงปูเ​่ คย​บอก​วา่ ป​ ฏิบตั ม​ิ ากๆ​เ​ถอะ​จะ​ด​ี ส​ มบัตน​ิ อก​
กาย​ไม่​จีรัง​​กิน​เข้าไป​เดี๋ยว​ก็​ขี้​ออก​มา​​เสื้อผ้า​สวย​ๆ​​หา​มา​แต่ง​​เดี๋ยว​ก็​ต้อง​
ทิง้ ​เ​งินต​ อน​ตาย​ญาติเ​อา​ใส่ป​ าก​สปั เหร่อก​ เ​็ อา​ไป​ซอื้ เ​หล้า​เ​สือ้ ผ้าก​ ถ​็ อด​ออก​​
เหลือ​แต่​ตัว​เปล่า​ให้​เขา​เอา​ไป​เผา​​.​.​.​ที่แท้​เรา​ไม่มี​อะไร​สัก​อย่าง​
​ .​..​ห​ ลวงปูเ​่ จ้าค​ ะ​ห​ นูร​ ตู้ ว​ั ด​ ว​ี า่ ใ​จ​ตวั เ​อง​ถา้ เ​ผลอ​ม​ นั ก​ จ​็ ะ​ลง​ตำ่ อ​ ยูร​่ ำ่ ไป​
ถ้า​ไม่มี​หลวงปู่​คอย​เป็น​กำลัง​ใจ​ ​ขอ​หลวงปู่​อยู่​เป็น​กำลัง​ใจ​ให้​หนู​ตลอด​ไป​
นะคะ​
.​.​.​ห​ ลวง​ปค​ู่ รับ​ไ​ด้เ​จอะ​เจอ​หลวง​ปใ​ู่ น​ชวี ติ น​ ผ​ี้ ม​ถอื เ​ป็นบ​ ญ ุ ห​ ลาย​พ​ ระ​
ท่าน​วา่ ​ป​ ชู า​จ​ ะ​ป​ ช​ู นีย​ าน​งั เ​อตัมมัง คะ​ละ​มตุ ต​ ะมัง​​ก​ าร​บชู า​บคุ คล​ทค​ี่ วร​
บูชา​​เป็น​มงคล​สูงสุด​ของ​ชีวิต​

luangpordu.com
๑๐๘ 108

​.​.​.​ได้​มา​เจอ​หลวง​ปู่​​ผม​ถือว่า​ไม่​เสีย​ชาติ​เกิด​แล้ว​ครับ​
​ หลวงปูค​่ รับ.​.​.​ใ​คร​จะ​คดิ ว​ า่ ห​ ลวงปูด​่ ก​ู่ บั ห​ ลวง​ปทู่ วด​เป็นอ​ งค์เ​ดียวกัน​
หรือ​ไม่​​ผม​ไม่​สนใจ​หรอก​ครับ​
ห​ าก​หลวงปูเ​่ ป็นห​ ลวง​ปทู่ วด​จริง​ๆ​ ​ผ​ ม​ถอื ว่าพ​ วก​เรา​โชค​ดท​ี สี่ ดุ ค​ รับ​
ความ​ทห​ี่ ลวงปู.​่ .​.​เ​ป็นห​ ลวงปูด​่ …​ู่ อ​ ย่าง​เดียว​ก​ ท​็ ำให้ผ​ ม​รกั แ​ ละ​เคารพ​หลวงปู​่
จน​เต็ม​ล้น​หัวใจ​ไม่มี​อะไร​จะ​ทำให้​เต็ม​ไป​กว่า​นี้​อีก​แล้ว​ครับ​

luangpordu.com
109 ๑๐๙

​๖๔​
​ด้วย​รัก​จาก​หลวงปู่​

เมือ่ ค​ รัง้ ท​ ห​่ี ลวงปูอ​่ าพาธ​ใน​ชว่ ง​๒​ ​-​​๓​ ​ป​ ​ี ก​ อ่ น​ทท​่ี า่ น​จะ​จาก​พวกเรา​ไป​​
คุณ​ธรรม​อัน​โดด​เด่น​คือ ​ความ​อดทน​และ​ความ​เมตตา​ของ​ท่าน​ยิ่ง​ชัดเจน​
ใน​ความ​รู้สึก​ของ​ข้าพเจ้า​
​ บ่อย​ครั้ง​ที่​ศิษย์​จอม​ขี้แย​อย่าง​ข้าพเจ้า​ ​ไม่​สามารถ​ที่​จะ​กลั้น​น้ำตา​
ไว้ไ​ด้ใ​น​ความ​คดิ ค​ ำนึงว​ า่ ไ​อ้ค​ วาม​ขเ​้ี กียจ​ค​ วาม​ไม่เ​อา​ไหน​ไ​ม่เ​อา​ถา่ น​ของ​เรา​​
ทำให้​ท่าน​ต้อง​ทน​นั่ง​แบก​ธาตุ​ขันธ์​ที่​เจ็บ​ป่วย​สอน​ศิษย์​โง่​ๆ​ ​อย่าง​เรา​ ​ทั้ง​
อบรม​ก็​แล้ว​​พร่ำ​สอน​ก็​แล้ว​​ว่า​กล่าว​ตัก​เตือน​ก็​แล้ว​​ศิษย์​จอม​ขี้​เกียจ​ก็​ยัง​
ไม่​สามารถ​เอา​ตัว​เอง​เป็น​ที่​พึ่ง​ได้​
​ สรีระ​ของ​หลวงปู่​เปลี่ยนแปลง​​ผ่าย​ผอม ​และ​ซูบซีด​ลง​​แต่​ตรง​กัน​
ข้าม​กบั ก​ ำลังใ​จ​ของ​ทา่ น​ทเ​ี่ อ่อล​ น้ ด​ ว้ ย​ความ​รกั แ​ ละ​หว่ งใย​ศษิ ย์​ทีก​่ ลับเ​พิม่ ​
ทวีคูณ​ขึ้น​ใน​หัวใจ​ของ​ท่าน​​จน​ยาก​ที่​ศิษย์​ทุก​ชีวิต​จะ​ปฏิเสธ​ได้​ใน​ความ​รัก​
และ​ปรารถนา​ดี​ของ​ท่าน​
​ใน​โลก​ของ​ข้าพเจ้า​ ​ความ​รัก​ของ​หลวงปู่​ยิ่ง​ใหญ่​อย่าง​​ยิ่ง​ ​แต่​สิ่ง​ที่​
สำคัญ​ยิ่ง​กว่า​คือ​​ท่าน​สอน​ให้​ศิษย์​ทั้ง​หลาย​รู้จัก​วิธี​ที่​จะ​หยิบ​ยื่น​ความ​รัก​.​.​.​
ความ​ปรารถนา​ดี​.​.​.​ให้​กับ​คน​รอบ​ข้าง​​ดัง​ที่​ท่าน​ได้​ปฏิบัติ​เป็น​แบบ​อย่าง​ได้​

luangpordu.com
๑๑๐ 110

อย่าง​เหมาะ​สม​และ​กลมกลืน...​ ​อย่าง​สม่ำเสมอ​และ​ยาวนาน​ ​และ​ยืนยัน​


คำ​พูด​ของ​ท่าน​ที่​ว่า​.​.​.​
​ “​แก​คิดถึง​ข้า​​ข้า​ก็​คิดถึง​แก​
​ แก​ไม่​คิดถึง​ข้า​​ข้า​ก็​ยัง​คิดถึง​แก​”​

luangpordu.com
111 ๑๑๑

​๖๕​
​จิ้งจก​ทัก​

​พูด​ถึง​เรื่อง​ลาง​สังหรณ์​แล้ว​ ​คน​โบราณ​เชื่อ​ปรากฏการณ์​ต่างๆ​ ​ที่​


ผิด​ไป​จาก​ชีวิต​ประจำ​วัน​ ​อย่าง​เช่น​ ​การ​เขม่น​ตา​ ​อาการ​กระตุก​ที่​เปลือก​
ตา​ ​การ​จาม​ ​หรือ​การ​ที่​จิ้งจก​ตก​ใส่​ ​มี​งู​หรือ​สัตว์​บาง​อย่าง​เข้า​บ้าน​ถือ​เป็น​
สิ่ง​บอก​เหตุ​เช่น​กัน ​ ​คน​สมัย​ก่อน​เชื่อ​เรื่อง​จิ้งจก​ทัก​อยู่​มาก​ ​เวลา​สั่ง​สอน​
หรือ​ห้าม​ปราม​ใคร​ไม่​ฟัง​แล้ว​มัก​พูด​ว่า​ ​แม้​จิ้งจก​ทัก​โบราณ​ยัง​เชื่อ​ ​คน​ทัก​
ทำไม​ไม่​เชื่อ​
​หลวงปู่​เคย​บอก​ให้​ศิษย์​ฟัง​ว่า​​ถ้า​ข้า​ไป​หา​พวก​แก​​ให้​ฟัง​เสียง​จิ้งจก​
ให้​ดี มี​ศิษย์​ผู้​หนึ่ง​ถาม​ว่า​​ทำไม​ต้อง​เป็น​จิ้งจก​คะ​​ท่าน​ตอบ​ว่า​
​ลอง​นึกดู​ว่า​​หาก​แก​สวด​มนต์​ไหว้​พระ​อยู่​ที่​บ้าน​​จู่ๆ​​ข้า​ก็​มาที่​บ้าน​
แก​​จะ​เป็น​ยัง​ไง​
​ ก็​ช็อค​ซิ​เจ้า​คะ​​ศิษย์​ตอบ​
​ ก็​นั่น​น่ะ​ซิ​​หลวงปู่​ตอบ​และ​ยิ้มเกลื่อน​ด้วย​เมตตา ​เป็น​บท​สรุป​แทน​
คำ​ตอบ​
​ ผู้​หลัก​ผู้ใหญ่​ที่​มี​ประสบการณ์​ผ่าน​ร้อน​ผ่าน​หนาว​ ​ท่าน​มัก​มี​ความ​
ปรารถนา​ดี​เมื่อ​เห็น​ผู้​น้อย​จะ​คิด​ ​จะ​พูด​ ​จะ​ทำ​ใน​สิ่ง​ที่​ไม่​ควร​ ท่าน​จึง​

luangpordu.com
๑๑๒ 112

เตือน​หรือ​ปราม​ไว้​ลว่ ง​หน้า​ ​เป็น​ทำนอง​กนั ​ไว้​ด​ีกว่า​แก้​ ​หลาย​คน​ท​่ยี งั ​ไม่มี​


ประสบการณ์​ท่​ีเกิด​ข้นึ ​กับ​ตนเอง​ ​บาง​ครั้ง​อาจ​ไม่​แน่ใจ​ว่า​เสียง​จ้งิ จก​น้​ีใช่​
หลวงปู​เ่ ตือน​หรือ​ไม่​ ​หาก​ยงั ​ม​คี วาม​ตง้ั ใจ​ท​จ่ี ะ​ทำ​ด​จี ริง​ก​จ็ ะ​พบ​วา่ ​หลวงปู​จ่ ะ​
เตือน​ผา่ น​จง้ิ จก​ซำ้ ​แล้ว​ซำ้ ​อกี ​จน​ผ​นู้ น้ั ​เกิด​ความ​มน่ั ใจ​ดว้ ย​ตนเอง​​ม​ติ อ้ ง​ไป​ซกั ​
ถาม​ผใ​ู้ ด​เ​สียง​จง้ิ จก​มห​ี ลาย​ลกั ษณะ​แตก​ตา่ ง​กนั ​เ​ช่น​เ​สียง​ ดังๆ​ส​ น้ั ๆ​ ​เ​สียง​พอ​
ให้​ได้ยนิ ​ให้​รตู้ วั ​ ​หรือ​เสียง​ทกั ​ให้​ได้ยนิ ​พร้อม​กนั ​หลาย​คน​ ​ความ​หมาย​ก​แ็ ตก​
ต่าง​กนั ​ไป​​เช่น​​เป็นการ​ด​ุ ​เป็นการ​บอก​กล่าว​หรือ​เป็นการ​เตือน​ให้​ระวัง​ตวั ​
​เรื่อง​ที่​ข้าพเจ้า​ประสบ​กับ​ตัว​เอง​คือ​ ​ครั้ง​หนึ่ง​ที่​ข้าพเจ้า​ขับ​รถยนต์​
จะ​เดินท​ าง​ไป​ตา่ ง​จงั หวัด​ข​ ณะ​จะ​ออก​จาก​บา้ น​ก​ ไ็ ด้ย​ นิ เ​สียง​จงิ้ จก​ทกั ​แ​ ละ​
เหตุการณ์ใ​น​วนั น​ นั้ ค​ อื ม​ ร​ี ถ​มอเตอร์ไซค์ม​ า​เฉีย่ ว​ชน​รถ​เ​รือ่ ง​ราว​ทศ​ี่ ษิ ย์ผ​ อ​ู้ นื่ ​
เล่าใ​ห้ฟ​ งั ก​ ม​็ ​ี เ​ช่น​เ​กือบ​ทกุ ค​ รัง้ ท​ ส​ี่ วด​มนต์ห​ น้าห​ งิ้ พ​ ระ​กอ่ น​ออก​จาก​บา้ น​ไป​
ทำงาน​​ก็​จะ​ได้ยิน​เสียง​จิ้งจก​ทัก​ออก​มา​จาก​หิ้ง​พระ​​ซึ่ง​ศิษย์​ท่าน​นั้น​ก็​รู้สึก​
อุน่ ใ​จ​เหมือน​ทา่ น​รบั ร​ ด​ู้ ว้ ย​ทกุ ค​ รัง้ ​ศ​ ษิ ย์อ​ กี ท​ า่ น​เล่าว​ า่ ใ​น​ยาม​คบั ขันข​ อง​ชวี ติ ​
ครัง้ ห​ นึง่ ไ​ด้น​ กึ ถึงห​ ลวงปูแ​่ ละ​ขอ​ให้ท​ า่ น​ชว่ ย​เหลือ​จ​ าก​นนั้ เ​ขา​กไ็ ด้ย​ นิ เ​สียง​
จิ้งจก​ทัก​โดยที่​บริเวณ​นั้น​ไม่​เห็น​ตัว​จิ้งจก​เลย​ ​สุดท้าย​ปัญหา​และ​อุปสรรค​
ของ​เขา​กส​็ ามารถ​ผา่ น​ไป​ได้ด​ ว้ ย​ด​ี ห​ ลวงปูเ​่ คย​ฝาก​ขอ้ คิดแ​ ก่ข​ า้ พเจ้าใ​น​เรือ่ ง​
นีไ​้ ว้ว​ า่ ​ค​ น​โบราณ​เขา​วา่ ห​ าก​จงิ้ จก​ทกั ​จ​ ะ​ไป​ไหน​มา​ไหน​กต​็ อ้ งเต​รย​ี ม​เครือ่ ง​
ให้​ครบ​​หาก​ไม่​รบ​ก็​อาจ​ต้อง​สู้​​แก​ว่า​จริง​ไหม​
​ จาก​นี้​ไป​​เรา​คงจะ​เงี่ย​หู​ฟัง​เสียง​จิ้งจกทัก​กัน​มาก​ขึ้น​แล้ว​ล่ะ​​จุ๊​.​.​.​จุ๊​.​..​
จุ๊​.​.​.​

luangpordu.com
113 ๑๑๓

​๖๖​
​หลวงปู่​กับ​ศิษย์​ใหม่​

ห​ ลวงปูด​่ ​ู่ พ​ รหม​ปญ ั โญ​ท​ า่ น​เป็นพ​ ระ​ทม​ี่ ค​ี วาม​เมตตา​เป็นห​ ว่ ง​เป็นใ​ย​


แก่ศ​ ษิ ย์แ​ ละ​ผท​ู้ ร​ี่ ะลึกถ​ งึ ท​ า่ น​ทกุ ค​ น​อย่าง​ทไ​ี่ ม่ต​ อ้ ง​สงสัย​ม​ เ​ี รือ่ ง​เล่าม​ ากมาย​
เกี่ยว​กับ​ความ​รัก​ความ​เมตตา​อาทร​ของ​ท่าน​ที่​มี​ต่อ​ศิษย์​ ​หนึ่ง​ใน​หลาย​ๆ​​
เหตุการณ์​นั้น​ก็​คือ​เรื่อง​ของ​พระ​เพื่อน​สห​ธรรมิก​ของ​ข้าพเจ้า​
​ใน​ปี​​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๒​​ระหว่าง​ช่วง​เทศกาล​เข้า​พรรษา​​พระ​นวกะ​จาก​
วัดบ​ วร​นเิ วศ​วหิ าร​จ​ ำนวน​๓​ ​ร​ ปู ​ไ​ด้เ​ดินท​ าง​จาก​กรุงเทพฯ​เ​พือ่ ม​ า​นมัสการ​
หลวงปู่​ดู่​ ​ที่​วัด​สะแก​ ​ทั้ง​สาม​องค์​ต่าง​มี​ความ​ตั้งใจ​ตรง​กัน​ว่า​จะ​นำ​ดอกไม้​​
ธูป​เทียน​ ​มา​ถวาย​ตัว​เป็น​ศิษย์​ของ​หลวงปู่​เพื่อ​กราบ​นมัสการ​ ​และ​ถวาย​
ตัว​เป็น​ศิษย์​เพื่อ​ขอ​เรียน​พระกร​รม​ฐาน​
​ครั้น​กำหนด​วัน​ได้​เรียบร้อย​ตรง​กัน​ดีแล้ว​ ​ก็​ออก​เดิน​ทาง​โดย​ไม่มี​
โอกาส​ได้​กราบ​เรียน​ให้​หลวงปู่​ทราบ​ล่วง​หน้า​ก่อน​ ​เมื่อ​เดิน​ทาง​มา​ถึง​
ที่​หมาย​คือ​วัด​สะแก​ก็​เป็น​ช่วง​เวลา​ใกล้​เพล​แล้ว​ที่​บริเวณ​ปาก​ทาง​เข้า​วัด​
ต่าง​องค์​ต่าง​ปรึกษา​หารือ​กัน​ว่า ​จะ​ไป​กราบ​หลวงปู่​ก่อน​ดี​หรือ​จะ​แวะ​ฉัน​
เพล​ก่อน​ดี​​ถ้า​หาก​แวะ​ฉัน​เพล​ก่อน​ก็​จะ​ติด​เวลา​ที่​หลวงปู่​พัก​หลัง​เวลา​เพล​​
จะ​ทำให้​หลวงปู่​มี​เวลา​พัก​ผ่อน​น้อย​ลง​​ต้อง​เสีย​เวลา​มา​นั่ง​รับแขก​​แต่​หาก​

luangpordu.com
๑๑๔ 114

ไป​กราบ​นมัสการ​ทา่ น​เลย​ท​ งั้ ส​ าม​องค์ต​ า่ ง​กม​็ ก​ี งั วล​วา่ แ​ ล้วจ​ ะ​ได้ฉ​ นั เ​พล​กนั ​
หรือ​ไม่​
ใ​น​ทสี่ ดุ ก​ ต​็ ดั สินใ​จ​วา่ ไ​ม่ไ​ด้ฉ​ นั ก​ ไ​็ ม่เ​ป็นไร​ไ​ป​กราบ​หลวงปูใ​่ ห้ส​ ม​ความ​
ตัง้ ใจ​กอ่ น​ดก​ี ว่า​ค​ รัน้ พ​ อ​เดินเ​ข้าป​ ระตูว​ ดั ไ​ด้ป​ ระมาณ​สกั ร​ อ้ ย​เมตร​ก​ ม​็ ศ​ี ษิ ย์​
ฆราวาส​ของ​หลวงปูค​่ น​หนึง่ ต​ รง​เข้าม​ า​หา​แล้วบ​ อก​วา่ ​“​ ห​ ลวงปูน​่ มิ นต์ใ​ห้ฉ​ นั ​
เพล​ที่​นี่​​ท่าน​ไม่​ต้อง​กังวล​​หลวงปู่​ให้​เด็ก​จัด​อาหาร​ให้​แล้ว​”​
​ ทุก​องค์​ต่าง​แปลก​ใจ​ ​เหมือน​กับ​หลวงปู่​จะ​รู้​ล่วง​หน้า​ว่า​ จะ​มี​พระ​
เดิน​ทาง​มา​หา​จึง​ให้​ลูก​ศิษย์​จัด​เตรียม​อาหาร​ไว้​ถวาย​พระ​ด้วย​
​ จาก​นั้น​พระ​ทั้ง​สาม​องค์​ได้​ขึ้น​มา​ที่​หอ​สวด​มนต์​บริเวณ​ตรง​ข้าม​กุฏิ​
ของ​หลวงปู่​ก้ม​ลง​กราบ​พระ​​๓​​ครั้ง​​แล้ว​หัน​มา​ทางหลวงปู่​​ยกมือ​ไหว้​ท่าน​
จาก​ระยะ​ไกล​ก​ อ่ น​ทจ​ี่ ะ​เข้าม​ าก​ราบ​ทา่ น​แ​ ต่จ​ ะ​นงั่ พ​ บั เ​พียบ​กย​็ งั ไ​ม่ก​ ล้าน​ งั่ ​
ได้​แต่​นั่ง​คุกเข่า​อยู่​​ต่าง​องค์​ต่าง​ก็​ยัง​นั่ง​กระ​สับ​กระ​ส่าย​ด้วย​คิด​กังวล​กัน​ว่า​
คง​ตอ้ ง​อาบัตห​ิ าก​ตอ้ ง​นงั่ ฉ​ นั โ​ดย​ไม่มอ​ี าสนะ​ใน​ทเ​ี่ ดียว​กบั ท​ น​ี่ งั่ ข​ อง​ฆราวาส​​
เพราะ​ตาม​พระ​วินัย​แล้ว​ ​ภิกษุ​จะ​ไม่​นั่ง​เสมอ​หรือ​ร่วม​อาสนะ​เดียว​กับ​
อนุป​ สัมบ​ นั ​ซ​ งึ่ ห​ มาย​ถงึ ​ผ​ ท​ู้ ย​ี่ งั ไ​ม่ไ​ด้อ​ ปุ สมบท​ไ​ด้แก่​ค​ ฤหัสถ์​และ​สามเณร​​
หรือ​ผู้​ที่​ไม่ใช่​ภิกษุ​หรือ​ภิกษุ​ณี​
​ สัก​ครู่​หนึ่ง​​ฆราวาส​คน​เดิม​ก็​เข้า​มาบ​อก​ว่า​
​“​หลวงปู่​ท่าน​ถาม​ว่า​​ธรรม​ยุติ​นี้​ต้อง​มี​อาสนะ​ใช่​หรือ​ไม่​ท่าน​ให้​จัด​
เตรียม​อาสนะ​มา​ให้​แล้ว​”​
​ ทั้ง​สาม​องค์​จึง​ได้​อาสนะ​มา​ปู​นั่ง​ฉัน​จน​เรียบร้อย​ ​ไม่​ต้อง​อาบัติ​​

luangpordu.com
115 ๑๑๕

​นี้​เป็น​อัศจรรย์​เหมือน​หลวงปู่​สามารถ​ร้​ูวาระ​จิต​ของ​พระ​ท้งั ​สาม​เป็น​ครั้ง​
ทีส​่ อง​เ​มือ่ ฉ​ นั เ​สร็จจ​ งึ ไ​ด้ม​ าก​ราบ​นมัสการ​ทา่ น​ไ​ด้แ​ ต่น​ งั่ ข​ า้ ง​ลา่ ง​ไ​ม่ก​ ล้าน​ งั่ ​
เสมอ​กับ​ท่าน​​หลวงปู่​ท่าน​ได้​เมตตา​เป็น​ที่สุด​​โดย​เรียก​ให้​พระ​ใหม่​นั่ง​ข้าง​
บน​เสมอ​กับ​ท่าน​และ​บอก​ว่า​“​ ​เรา​ลูก​พระพุทธเจ้า​เหมือน​กัน​”​
​ จาก​นั้น​ทั้ง​สาม​องค์​ต่าง​ถวาย​ตัว​เป็น​ศิษย์​ ​หลวงปู่ท่าน​กล่าว​
อนุโมทนา​แล้วแ​ นะนำ​ให้ไ​ป​เรียน​พระกร​รม​ฐาน​กบั พ​ ระ​สาย​หยุด​ภ​ รู ท​ิ ตั โต​​
ที่​กุฏิ​หลัง​วัด​

luangpordu.com
๑๑๖ 116

​๖๗​
​คาถา​ของ​หลวงปู่​

ท่าน​ที่​เคย​มี​โอกาส​ไป​เยือน​เจดีย์​พิพิธภัณฑ์​ของ​ท่าน​พระ​อาจารย์​
จวน​ ​กุล​เชษโฐ​ ​ณ​ ​วัด​เจ​ติ​ยาค​ิ​รี​วิหาร​ ​จังหวัด​หนองคาย​ ​จะ​สังเกต​บาน​
ประตูไ​ม้ป​ ระดูแ​่ ผ่นเ​ดียว​แ​ กะ​สลักด​ ว้ ย​ลาย​ทเ​ี่ รียบ​งา่ ย​ปดิ ท​ อง​และ​กระจก​ส​ี
เพือ่ ร​ กั ษา​เนือ้ ไ​ม้​ก​ ลาง​ประตูด​ า้ น​ใน​สลักเ​ป็นร​ ปู น​ ก​ยงู ​ซ​ งึ่ เ​ป็นส​ ญ
ั ญ​ลกั ษณ์​
หมาย​ถึง​​คาถา​ยูง​ทอง​ของ​ท่าน​พระ​อาจารย์​มั่น​​ภูริ​ทัต​ตม​หา​เถระ​​ที่​ศิษย์​
ของ​ท่าน​ทุก​องค์​ต่าง​ให้​ความ​เคารพ​และ​ระลึก​ถึง​โดย​สวด​สาธยาย​เป็น​
ประจำ​ว่า​
​ “​.​.​.​นะโม​​วิ​มุต​ตานัง​​นะโม​​วิมุตติ​ยา​”​
​ คืน​วัน​หนึ่ง​ข้าพเจ้า​ได้​มี​โอกาส​กราบ​นมัสการ​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ดู่​ว่า​​
“​ลูก​ศิษย์​ท่าน​พระ​อาจารย์​มั่น​ ​มี​คาถา​ยูง​ทอง​เป็น​เครื่อง​ระลึก​ถึง​ครูบา-​
อาจารย์​ ​แล้ว​ลูก​ศิษย์​ของ​หลวงปู่​ควร​ใช้​คาถา​บท​ใด​เป็น​เครื่อง​ระลึก​ถึง​
พระคุณ​ของ​ครูบา​อาจารย์​บ้าง​”​
​ หลวงปูไ​่ ด้ว​ สิ ชั นา​โดย​ให้ข​ า้ พเจ้าไ​ป​เปิดด​ ​ู “อุณห​สิ ส​ะวิชะยะ​สตู ร” ใ​น​
หนังสือ​มุตโ​ตทัย​ซ​ งึ่ เ​ป็นค​ ำ​สอน​ของ​ทา่ น​พระ​อาจารย์ม​ นั่ ​ภ​ รู ท​ิ ตั ต​ ม​หา​เถระ​​
​(​รวบรวม​และ​เรียบ​เรียง​โดย​พระ​อาจารย์​วิ​ริ​ยัง​ค์​​สิ​ริน​ธโร​​วัด​ธรรมมงคล​)​

luangpordu.com
117 ๑๑๗

พ​ ระ​สตู ร​นม​ี้ ค​ี วาม​ไพเราะ​ทงั้ อ​ รรถ​และ​พยัญชนะ​ทค​ี่ วร​ศกึ ษา​จ​ ดจำ​​


และ​ทำความ​เข้าใจ​ให้​แยบคาย​โดย​ยิ่ง​ ​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​ว่า​ ​“​ผู้​ใด​มา​ถึง​
พระพุทธเจ้า​ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​เป็น​สรณะ​ที่​พึ่ง​แล้ว​ ​ผู้​นั้น​ย่อม​ชนะ​ได้​
ซึ่ง​ความ​ร้อน​”​
​ อุณหิส​สะ​​​​คือ​​ความ​ร้อน​อัน​เกิด​แก่​ตน​​มี​ทั้ง​ภายใน​และ​ภายนอก​​
ภายนอก​มี​เสือ​สาง​ค่าง​แดง​​ภูตผี​ปีศาจ​เป็นต้น​​ภายใน​คือ​กิเลส​
​ วิชะยะ​​คือ​​ความ​ชนะ​​ผู้​ที่มา​น้อม​เอา​สรณะ​ทั้ง​สาม​นี้​เป็น​ที่​พึ่ง​แล้ว​
ย่อม​จะ​ชนะ​ความ​รอ้ น​เหล่าน​ นั้ ไ​ป​ได้ห​ มด​ทกุ อ​ ย่าง​ท​ เ​ี่ รียก​วา่ ​อ​ ณ
ุ ห​สิ สะ​วชิ ยั ​
​อุณหิสส​ะวิ​ชะโย​​ธัมโม พระ​ธรรม​เป็น​ของ​ยิ่ง​ใน​โลก​ทั้ง​สาม​
​ โล​เก​​อะนุ​ตตะโร สามารถ​ชนะ​ซึ่ง​ความ​ร้อน​อก​ร้อน​ใจ​
อัน​เกิด ​แต่​ภัย​ต่าง​​ๆ​
​ปะริ​วัชเช​​ราช​ะทันเฑ ​ จะ​เว้น​ห่าง​จาก​อันตราย​ทั้ง​หลาย​​คือ​
​ พยัคเฆ​​นาเค​​วี​เส​ภู​เต​​ อาชญา​ของ​พระ​ราชา​​เสือ​สาง​​นาค​
​ ​ ​ ยา​พิษ​​ภูตผี​ปีศาจ​
​อะกา​ละมะระเณนะ​​จะ​​ หาก​ยงั ไ​ม่ถ​ งึ ค​ ราว​ถงึ ก​ าล​ทจ​ี่ กั ต​ ายแล้ว​
​ สัพพัสสะ​มา​มะระณ​า​ ​ ​ ก็​จัก​พ้น​ไป​ได้​จาก​ความ​ตาย​
มุตโต ด้วย​อำนาจ​พระพุทธ​​พระ​ธรรม​​
พระ​สงฆ์​​ที่​ตน​น้อม​
​ เอา​เป็น​สรณะ​ที่​พึ่ง​ที่​นับถือ​นั้น​
​ความ​ข้อ​นี้​มี​พระ​บาลี​สาธก​ดัง​จะ​ยก​มา​อ้างอิง​ ​ใน​สมัย​เมื่อ​สมเด็จ​

luangpordu.com
๑๑๘ 118

พระ​ผ​มู้ ​พี ระ​ภาค​เจ้า​ประทับ​อยู​ร่ าวป่า​มหา​วนั ​ใกล้​กรุ​งก​บลิ ​พสั ด์​​พร้อม​ดว้ ย​


พระ​อร​หนั ต​ ห​์ นุม่ ​๕​ ๐๐​ร​ ปู ​เ​ทวดา​ทง้ั ห​ ลาย​พา​กนั ม​ า​ดแ​ู ล้วก​ ล่าว​คาถา​ขน้ึ ว​ า่ ​

เย​เกจิ​​พุทธัง​​สะระณัง บุคคล​บาง​พวก​ หรือ​บุคคล​ใด​​ๆ​
คตา​​เส​​น​ะ ​เต​​คมิส​สัน​ติ​ มา​ถึง​พระพุทธเจ้า​เป็น​สรณะ​ที่​
อ​ปาย​ภมู ​ิ ​ป​ะหายะ​​มาน​สุ งั พึ่ง​แล้ว​บุคคล​เหล่า​นั้น​ย่อม​ไม่​ไป​
เทหัง​​เท​วะกายัง สู่​อบาย​ภูมิ​ทั้ง​​๔​​มี​​นรก​​เป็นต้น​
ปะริ​ปู​เรสสันติ​ เมือ่ ล​ ะ​รา่ งกาย​อนั เ​ป็นข​ อง​มนุษย์​
นี้​แล้ว​จัก​ไป​เป็น​หมู่​แห่ง​เทพยดา​
ทั้ง​หลายดังนี้​
​สรณะ​ทั้ง​ ​๓​ ​คือ​พระพุทธ​ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​มิได้​เสื่อม​สูญ​​
อันตรธาน​ไป​ไหน​ ​ยัง​ปรากฏ​อยู่​แก่​ผู้​ปฏิบัติ​เข้า​ถึง​อยู่​เสมอ​ ​ผู้​ใด​มา​ยึดถือ​
เป็น​ที่​พึ่ง​ของ​ตน​แล้ว​​ผู้​นั้น​จะ​อยู่​ใน​กลาง​ป่า​หรือ​เรือน​ว่าง​ก็ตาม​​สรณะ​ทั้ง​
สาม​ปรากฏ​แก่​เขา​อยู่​ทุก​เมื่อ​​จึง​ว่า​เป็น​ที่​พึ่ง​แก่​บุคคล​จริง​​เมื่อ​ปฏิบัติ​ตาม​
สรณะ​ทั้ง​สาม​จ​ริงๆ​ ​แล้ว​ ​จะ​คลาด​แคล้ว​จาก​ภัย​ทั้ง​หลาย​ ​อัน​ก่อ​ให้​เกิด​
ความ​ร้อน​อก​ร้อน​ใจ​ได้​แน่นอน​ที​เดียว​ ​สม​ดัง​ที่​หลวงปู่​ดู่​ท่าน​พร่ำ​ย้ำ​เตือน​
ศิษย์​อยู่​เสมอ​ว่า​
​ “​พุทธ​ัง​​ธัมมัง​​สังฆ​ัง​​​ใคร​เชื่อ​จริง​​ทำ​จริง​​ก็​จะ​เจอ​ของ​จริง​”​

luangpordu.com
119 ๑๑๙

​๖๘​
​อย่า​ให้​ใจ​เหมือน​.​.​.​

ใ​น​หนังสือง​ าน​พระราชทาน​เพลิงศ​ พ​ของ​หลวง​ปข​ู่ าว​อ​ น​ าล​โย​แ​ ห่ง​


วัด​ถ้ำ​กลอง​เพล​ ​จังหวัด​อุดรธานี​ ​ซึ่ง​เขียน​โดย​ท่าน​พระ​อาจารย์​มหา​บัว​​
ญาณ​สัม​ปัน​โน​ ​ได้​เล่า​ถึง​คราว​ที่​หลวง​ปู่​ขาว​เกิด​ความ​สงสัย​ใน​การ​ปฏิบัติ​
และ​ได้​เรียน​ถาม​หลวง​ปู่​มั่น​ว่า​
“​ ใ​น​ครัง้ พ​ ทุ ธ​กาล​ต​ าม​ประวัตว​ิ า่ ม​ ผ​ี ส​ู้ ำเร็จม​ รรคผล​นพิ พาน​มาก​และ​
รวดเร็วก​ ว่าส​ มัยน​ ​ี้ ซ​ งึ่ ไ​ม่ค​ อ่ ย​มผ​ี ใ​ู้ ด​สำเร็จก​ นั ​แ​ ม้ไ​ม่ม​ าก​เหมือน​ครัง้ โ​น้น​ห​ าก​
มี​การ​สำเร็จ​ได้​​ก็​รู้สึก​จะ​ช้า​กว่า​กัน​มาก​”​
​หลวง​ปู่​มั่น​ท่าน​ตอบ​ว่า​“​กิเลส​ของ​คนใน​พุทธ​สมัย​มี​ความ​เบาบาง​
มาก​กว่าใ​น​สมัยป​ จั จุบนั ​แ​ ม้ก​ าร​อบรม​กง​็ า่ ย​ผ​ ดิ ก​ บั ส​ มัยน​ อ​ี้ ยูม​่ าก​ป​ ระกอบ​
กับผ​ ส​ู้ งั่ ส​ อน​ใน​สมัยน​ นั้ ก​ เ​็ ป็นผ​ ร​ู้ ย​ู้ งิ่ เ​ห็นจ​ ริงเ​ป็นส​ ว่ น​มาก​ม​ พ​ี ระ​ศาสดา​เป็น​
พระ​ประมุข​ประธาน​แห่ง​พระ​สาวก​ ใน​การ​ประกาศ​สอน​ธรรม​แก่​หมู่​ชน​​
การ​สอน​จึง​ไม่​ค่อย​ผิด​พลาด​คลาด​เคลื่อน​จาก​ความ​จริง​ ​ทรง​ถอด​ออก​มา​
จาก​พระทัย​ที่​บริสุทธิ์​ล้วนๆ​ ​หยิบ​ยื่น​ให้​ผู้​ฟัง​อย่าง​สดๆ​ ​ร้อน​ๆ​ ​ไม่มี​ธรรม​
แปลก​ปลอม​เคลือบ​แฝง​ออก​มา​ด้วย​เลย​
​ ​ผู้​ฟัง​ก็​เป็น​ผู้​มุ่ง​ต่อ​ความ​จริง​อย่าง​เต็มใจ​ซึ่ง​เป็น​ความ​เหมาะ​สม​ทั้ง​

luangpordu.com
๑๒๐ 120

สอง​ฝ่าย​ ​ผล​ที่​ปรากฏ​เป็น​ขั้น​ๆ​ ​ตาม​ความ​คาด​หมาย​ของ​ผู้​มุ่ง​ความ​จริง​​


จึงไ​ม่มป​ี ญ
ั หา​ทค​ี่ วร​ขดั แ​ ย้งไ​ด้ว​ า่ ​สมัยน​ นั้ ค​ น​สำเร็จม​ รรคผล​กนั ท​ ล​ี ะ​มากๆ​​
จาก​การ​แสดง​ธรรม​แต่ละ​ครั้ง​ของ​พระ​ศาสดา​และ​พระ​สาวก​
​ ส่วน​สมัย​นี้​ไม่​ค่อย​มี​ใคร​สำเร็จ​ได้​ ​คล้าย​กับ​คน​ไม่ใช่​คน​ ​ธรรม​ไม่ใช่​
ธรรม​ ​ผล​จึง​ไม่มี​ ​ความ​จริง​คน​ก็​คือ​คน​ ​ธรรม​ก็​คือ​ธรรม​อยู่​นั่นเอง​ ​แต่​คน​
ไม่​สนใจ​ธรรม​ ​ธรรม​ก็​เข้า​ไม่​ถึงใจ​ ​จึง​กลาย​เป็น​ว่า​ ​คน​ก็​สักว่า​คน​ ​ธรรม​ก็​
สักว่า​ธรรม​ ​ไม่​อาจ​ยัง​ประโยชน์​ให้​สำเร็จ​ได้​ ​แม้​คน​จะ​มี​จำนวน​มาก​และ​
แสดง​ให้​ฟัง​ทั้ง​พระ​ไตร​ปิฎก​​จึง​เป็น​เหมือน​เท​น้ำ​ใส่​หลัง​หมา​​มัน​สลัด​ออก​
เกลี้ยง​ไม่มี​เหลือ​ ​ธรรม​จึง​ไม่มี​ความ​หมาย​ใน​ใจ​ของ​คน ​เหมือน​น้ำ​ไม่มี ​
ความ​หมาย​บน​หลัง​หมา ​ฉะนั้น​”​
​ ข้าพเจ้า​อด​นึก​ถาม​ตัว​เอง​ไม่​ได้​ว่า​.​.​.​
​ “​แล้ว​เรา​ล่ะ​​เวลา​นี้​​ใจ​เรา​เป็น​เหมือน​หลัง​หมา​หรือ​เปล่า​”​

luangpordu.com
121 ๑๒๑

​๖๙​
​วัตถุ​สมบัติ​​ธรรม​สมบัติ​

ท่ามกลาง​ความ​หลาก​หลาย​ของ​อารมณ์​ ​ความ​รู้สึก​นึกคิด​ ​และ​


กระแส​แห่งค​ วาม​แสวงหา​ใ​จ​ทกุ ด​ วง​ทม​่ี ค​ี วาม​เร่าร้อน​วนุ่ ว​ าย​สบั สน​เ​ป้าหมาย​
คือเ​พือ่ ใ​ห้ไ​ด้ส​ งิ่ ท​ ต​ี่ อ้ งการ​มา​แ​ ต่เ​มือ่ ไ​ด้ส​ งิ่ ท​ ค​ี่ ดิ ว​ า่ ต​ อ้ งการ​มา​แล้ว​ก​ ด​็ เ​ู หมือน​
ว่า​ยิ่ง​แสวงหา​ ​ก็​ยิ่ง​ต้อง​ดิ้นรน​มาก​ขึ้น​ ​สิ่ง​ที่​ได้​มา​นั้น​มี​สุข​น้อย​มี​ทุกข์​มาก​​
หาก​จะ​มส​ี ขุ บ​ า้ ง​กเ​็ ป็นเ​พียง​สขุ เ​ล็กน​ อ้ ย​ใน​เบือ้ ง​ตน้ ​แ​ ต่ใ​น​ทสี่ ดุ ก​ ก​็ ลับก​ ลาย​
เป็น​ทุกข์​อีก​​เป็น​อย่าง​นี้​ซ้ำ​แล้ว​ซ้ำ​เล่า​อารมณ์​ต่างๆ​​เหล่า​นี้​​ไม่​เพียง​พอที่​
จะ​ให้เ​กิดค​ วาม​ชมุ่ ฉ​ ำ่ เ​ย็นใจ​อบอุน่ ไ​ด้ย​ าวนาน​ห​ าก​แต่เ​ป็นอ​ ารมณ์ท​ ค​ี่ า้ ง​ใจ​
อยูต​่ ลอด​เวลา​ทำให้อ​ ยาก​ดนิ้ รน​แสวงหา​สงิ่ ใ​หม่ม​ า​ทดแทน​อยูเ​่ สมอ​น​ เ​ี้ ป็น​
ธรรมดา​ของ​.​.​.​วัตถุ​สมบัติ​
​ ส่วน​.​.​.​ธรรม​สมบัติ​ ​นั้น​ ​จะ​ยัง​ความ​ชุ่ม​ชื่น​ ​เพียง​พอ​ให้​เกิด​ขึ้น​แก่​
จิตใจ​ได้​ ​มี​ลักษณะ​เป็น​ความ​สุข​ที่​ไม่​กลับ​กลาย​มา​เป็น​ความ​ทุกข์​อีก​ ​วัตถุ​
สมบัติ​ยิ่ง​ใช้​นับ​วัน​ยิ่ง​หมด​ไป​ ​ต้อง​ขวนขวาย​แสวงหา​เพิ่ม​เติม​ด้วย​ความ​
กังวล​ใจ​ ​ธรรม​สมบัติ​ยิ่ง​ใช้​นับ​วัน​ยิ่ง​เจริญ​งอกงาม​ขึ้น​ ​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​สุข​​
สงบ​​เย็นใจ​แก่​ตน​และ​คน​รอบ​ข้าง​
​ คง​ไม่มี​ใคร​ที่​ได้​รู้จัก​หลวงปู่​ปฏิเสธ​ว่า​ ​หลวงปู่​ท่าน​เป็น​แบบ​อย่าง​ที่​

luangpordu.com
๑๒๒ 122

ดี​ของ​บุคคล​ที่​ใช้​ธรรม​สมบัติ​ ​ยัง​ความ​​สงบ​เย็น​ให้​แก่​ใจ​ทุก​ดวง​ที่​ได้​เข้า​มา​
ใกล้​ชิด​ท่าน​ไม่​เฉพาะ​คน​หรือ​สัตว์​​แต่​รวม​ไป​ถึง​เหล่า​เทพยดา​และ​อมนุษย์​
ทัง้ ห​ ลาย​ทศ​ี่ ษิ ย์ข​ อง​หลวงปูห​่ ลาย​คน​ต​ า่ ง​มป​ี ระสบการณ์อ​ นั เ​ป็น​ป​ จั จัตต​ งั ​
และ​สามารถ​เป็น​ประจักษ์​พยาน​ได้​อย่าง​ดี​
​ หลวงปู่​เคย​บอก​ข้าพเจ้า​ว่า​
​“​คน​ทำ​​(​ภาวนา​)​​เป็น​นี่​​ใคร​ๆ​​ก็​รัก​
​ ไม่​เฉพาะ​คน​​หรือ​สัตว์​ที่รัก​
​ แม้แต่​เทวดา​เขา​ก็​อนุโมทนา​ด้วย​”​

luangpordu.com
123 ๑๒๓

​๗๐​
​ทำไม​หลวงปู่​.​.​.​

สมัย​ที่​พระพุทธเจ้า​ประทับ​อยู่​ใน​พระ​เชต​วัน​ ​ทรง​ปลง​อายุ​สังขาร​
แล้ว​นั้น​ ​ได้​ทรง​ปรารภ​เรื่อง​พระ​ติส​สะ​เถระ​ใน​คราว​ที่​พระองค์​จวน​จะ​
ปรินพิ พาน​​ม​คี วาม​ตอน​หนึง่ ​ท​ท่ี า่ น​พระ​อาจารย์​มหา​บวั ​​ญาณ​สมั ​ปนั โน​​ได้​
นำ​มา​ถ่ายทอด​อบรม​​ศิษย์​ไว้​ใน​หนังสือ“​ ​ความ​รัก​เสมอ​ตน​ไม่มี​”​​ความ​ว่า​
​ “​ก่อน​จะ​ปรินิพพาน ​จาก​วัน​ปลง​พระชนม์​ไป​ถึง​วันเพ็ญเดือน​หก​​
​พระ​สงฆ์​ยุ่ง​กัน​ใหญ่​ ​พอ​ปลง​พระชนม์​ว่า​จะ​ปรินิพพาน​​ ​ยุ่ง​กัน​ เกาะ​กัน​
เป็น​ฝูง​ๆ​ ​ว่า​งั้น​เลย​ ​อย่า​ว่า​เป็น​คณะ​ๆ​ ​เลย​ ​เป็น​ฝูง​ๆ​ ​คือ​จิตใจ​มัน​ยุ่ง​
แต่​ภายนอก​ มี​พระ​ติส​สะ​องค์​เดียว​ไม่​ยุ่ง​กับ​ใคร​ ​เข้า​อยู่​ใน​ป่า​ตลอด​ทั้ง​
วัน​ทั้ง​คืน​ ​แล้ว​พระ​บ้า​เหล่า​นี้​หา​ว่า​พระ​ติส​สะ​ไม่มี​ความ​จงรัก​ภักดี​ต่อ​
พระพุทธเจ้า​พ​ ระพุทธเจ้าจ​ ะ​ปรินพิ พาน​พ​ ระ​ตสิ ส​ ะ​ไม่เ​ห็นม​ า​ปรารภ​อะไร​
เลย​อ​ ยูแ​่ ต่ใ​น​ปา่ ​จ​ งึ พ​ า​กนั เ​ข้าฟ​ อ้ ง​พระพุทธเจ้าว​ า่ พ​ ระ​ตสิ ส​ ะ​ไม่มค​ี วาม​หวังด​ ​ี
ใน​พระพุทธเจ้า​​ไม่มี​ความ​เยื่อ​ใย​ใน​พระพุทธเจ้า​​หลีก​ไป​อยู่​แต่​องค์​เดียว​
​พระองค์​เป็น​ผู้ทรง​เหตุผล​อยู่​แล้ว จึง​รับสั่ง​เรียกพระ​ติส​สะ​​มา
เข้าเฝ้า​ท่ามกลาง​สงฆ์​ ​ไหน​วา่ ​อย่างไร​พระ​ตสิ ​สะ​ เวลา​น​้พี วก​บา้ ​น​้ี ​ถา้ ​เป็น​
หลวง​ตา​บัว​จะ​พูด​อย่างนั้น​ ​เวลา​น้​ีพวก​บ้า​น่นั ​ว่า​เธอ​ไม่มี​ความ​จงรัก​ภักดี​

luangpordu.com
๑๒๔ 124

ต่อ​เราตถาคต​​เธอไป​แอบ​อยู​ค่ น​เดียว​ทง้ั ​วนั ​ทง้ั ​คนื ​​ไม่​เข้า​มา​เกีย่ วข้อง​มว่ั สุม​


กับ​หมู​เ่ พือ่ น​เลย​​วา่ ​อย่างไร​พระ​ตสิ ​สะ​
​ “ข้าพ​ ระองค์ม​ ค​ี วาม​จงรักภ​ กั ดีต​ อ่ พ​ ระองค์ส​ ดุ ห​ วั ใจ”​น​ นั่ เ​วลา​ตอบ​​
“ที่​ข้า​พระองค์​ไม่​ได้​มา​เกี่ยวข้อง​กับ​หมู่​เพื่อน​ ​ก็​เพราะ​เห็น​ว่า​เวลา​ของ​
พระองค์​นั้น​กำหนด​ไว้​เรียบร้อย​แล้ว​ ​จากวัน​นี้​ถึง​วัน​นั้น​จะ​ปรินิพพาน​​
ข้าพระองค์จึง​รีบ​เร่ง​ขวนขวาย​ให้ได้​บรรลุ​ธรรม​​ใน​เวลา​ที่​พระองค์​ยัง​ทรง​
พระชนม์อ​ ยู​่ ข​ า้ พ​ ระองค์ต​ อ้ ง​รบี เ​ร่งข​ วนขวาย​ทาง​ดา้ น​จติ ใจ​ไ​ม่ไ​ด้เ​กีย่ วข้อง​
กับ​ใคร​เลย​ทั้ง​วัน​ทั้ง​คืน”​​
พระพุทธองค์ ตรัสว่า เอ้อ​​ถูก​ต้อง​แล้ว​ติส​สะ​​สาธุ​ๆ​​ถูก​ต้อง​แล้ว​​
จาก​นั้น​ก็​ยก​ขึ้น​เป็น​ภาษิต​ว่า​​
“​ผใ​ู้ ด​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​สมควร​แก่ธ​ รรม​ ผูน​้ นั้ ช​ อื่ ว​ า่ บ​ ชู า​เรา​ตถาคต​..​.​”​ ​
​คำ​ว่า​ปฏิบัติ​ธรรม​สมควร​แก่​ธรรม​นี้ ​ทำให้​ข้าพเจ้า​นึกถึง​ครั้ง​ที่​มี​เพื่อน
​ผู้​หนึ่ง​มา​ปรารภ​ให้​ฟัง​เกี่ยว​กับ​การ​ภาวนา​ของ​ตน​ว่า​ ​“​ไม่​ก้าวหน้าเลย​​
ทำไม​หลวงปู่​ไม่​มา​สอน​ผม​​ทำไม​หลวงปู่​ไม่​ช่วย​​ทำไม​หลวงปู่​.​.​.​”​
​ หลวงปู​ด่ ​ไู่ ด้​เคย​ให้​กำลัง​ใจ​ใน​การ​ปฏิบตั ​แิ ก่​ขา้ พเจ้า​วา่ ​“​ ​หมัน่ ​ทำ​เข้า​
ไว้​พ​ ระ​ทา่ น​คอย​จะ​ชว่ ย​เรา​อยู​แ่ ล้ว​​เรา​ได้​ชว่ ย​เหลือ​ตวั ​เอง​กอ่ น​หรือ​ยงั ​”​
ข้าพเจ้าจ​ งึ ต​ อบ​เพือ่ น​ผน​ู้ นั้ ก​ ลับไ​ป​วา่ ​อ​ ย่าม​ วั แ​ ต่ถ​ าม​วา่ ท​ ำไม​หลวงปู​่
.​.​.​​ทำไม​หลวงปู่​.​.​.​แต่​ควร​ถาม​ตัว​เรา​เอง​ว่า​
​“​ทำไม​เรา​ไม่​ทำตัว​ให้​สม​กับ​ที่​ท่าน​สอน​ล่ะ​
​เรา​ปฏิบัติ​ธรรม​สมควร​แก่​ธรรม​แล้ว​หรือ​ยัง​”​

luangpordu.com
125 ๑๒๕

​ ถ้า​เรา​ปฏิบัติ​ธรรม​สมควร​แก่​ธรรม​แล้ว​ ​ได้​เตรียม​ใจ​ของ​เรา​ให้​เป็น​
ภาชนะ​อย่าง​ดี​สำหรับ​รองรับ​ธรรม​ ​สามารถ​เก็บ​รักษา​ธรรม​มิ​ให้​ตกหล่น​​
สูญหาย​ไป​ได้​​ข้าพเจ้า​เชื่อ​เหลือ​เกิน​ว่า​.​.​.​
​ พระพุทธเจ้า​และ​หลวงปู่​ไม่​ทิ้ง​เรา​แน่นอน​

luangpordu.com
๑๒๖ 126

​๗๑​
​“​งาน​”​​ของ​หลวงปู​่

ทุก​ชีวิต​ย่อม​มี​งาน​​เพราะ​งาน​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ชีวิต ​บางที​เรา​อาจ​
ลืมไ​ป​วา่ ​ง​ าน​ของ​ชวี ติ ท​ เ​ี่ รา​ทำ​อยูด่ แ​ี ล้วพ​ อแล้ว​แ​ ต่ย​ งั ม​ ง​ี าน​อนื่ ท​ น​ี่ อก​เหนือ​
จาก​หน้าที่​การ​งาน​หรือ​งาน​ประจำ​ที่​เรา​ทำ​อยู่​ ​ท่าน​พุทธ​ทาส​ภิกขุ​เคย​ให้​
โอวาท​ตอน​หนึ่ง​ว่า​
​“​.​.​.​.​.​ให้​เอางาน​ใน​ความ​หมาย​ของ​คน​ทั่วไป​เป็น​งาน​อดิเรก​​
เอางาน​คอื ก​ าร​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​เป็นง​ าน​หลักข​ อง​ชวี ติ เ​ป็นการ​งาน​ทแี่ ท้จ​ ริง​
ของ​ชีวิต​”​
​ ถ้า​เรา​เข้าใจ​ใน​ความ​หมาย​นี้​ ​ชีวิต​จะ​สดใส​ขึ้น​ ​ปลอด​โปร่ง​ใจ​ขึ้น​​
ความ​กังวล​ความ​กลัดกลุ้ม​จะ​ลด​ลง​ ​ความ​โลภ​​ความ​โกรธ​​ความ​หลง​จะ ​
ลด​ลง​​หาก​ได้​ฝึก​สังเกต​ความ​คิด​และ​ความ​รู้สึก​ของ​ตนเอง​​นี่​เป็น​งาน​ของ​
ชีวิต​อีก​ระดับ​หนึ่ง​ที่​ควร​ทำความ​เข้าใจ​และ​ปฏิบัติ​ให้​ถูก​ต้อง​ ​หลวงปู่​ดู่​มัก​
จะ​ใช้ค​ ำ​ศพั ท์ท​ ว​ี่ า่ ใ​ห้ไ​ป​“ท​ ำงาน​”​ก​ บั ล​ กู ศ​ ษิ ย์​ซ​ งึ่ ห​ มาย​ถงึ ​ใ​ห้ไ​ป​“​ ภ​ าวนา”​​
หรือ​อีก​นัย​หนึ่ง​ ​“​งาน​”​ ​ใน​ความ​หมาย​ของ​ท่าน​ ​ก็​คือ​ ​“​งาน​รื้อวัฏฏะ​”​​
นั่นเอง​
ท่าน​เคย​บอก​ข้าพเจ้า​ว่า​

luangpordu.com
127 ๑๒๗

​ “​ทุก​อย่าง​ที่​เรา​ทำ​วัน​นี้​ ​เพื่อ​เอา​ไว้​กิน​วัน​ข้าง​หน้า​ ​พอ​ตาย​แล้ว​​


โลก​เขา​ขน​เอา​บาป​กัน​ไป​​แต่​เรา​จะ​ขน​เอา​บุญ​​เอา​นิพพาน​ไป​”​
ใ​น​ครัง้ พ​ ทุ ธ​กาล​พ​ ระพุทธเจ้าไ​ด้ต​ รัสก​ บั พ​ ระ​อานนท์แ​ ละ​พระ​อร​หนั ต​ ​์
ทั้ง​หลาย​ว่า​
​ “​ดก​ู อ่ น​ภกิ ษุท​ งั้ ห​ ลาย​บ​ คุ คล​ผจ​ู้ ะ​ไป​สส​ู่ คุ ติไ​ด้น​ นั้ น​ อ้ ย​มาก​เ​ท่ากับ​
โค​สอง​เขา​เท่านัน้ ​ผ​ ท​ู้ จ​ี่ ะ​ตก​อยูใ​่ น​หว้ ง​ของ​อบาย​ภมู น​ิ นั้ ม​ เ​ี ท่าก​ นั ก​ บั ข​ น​โค​
ทั้ง​ตัว​”​
​ อัน​ที่​จริง​มนุษย์​แต่ละ​คน​อยู่​ใน​โลก​นี้​ชั่ว​ระยะ​เวลา​สั้น​เหลือ​เกิน​​ถ้า​
เทียบ​กับ​อายุ​ของ​โลก​หรือ​อายุ​ของ​จักรวาล​
​ ถูก​ของ​หลวงปู่​เป็น​ที่สุด​.​.​.​
เ​วลา​ไม่ก​ ป​ี่ บ​ี น​โลก​ใบ​น​ี้ เ​รา​ยงั เ​ตรียม​อะไร​กนั ต​ งั้ ม​ ากมาย​ข​ วนขวาย​
หา​ซอื้ บ​ า้ น​ซ​ อื้ ท​ ดี่ นิ ​ซ​ อื้ ร​ ถยนต์​ห​ าเงิน เ​ก็บเ​งินฝ​ าก​ธนาคาร​แ​ สวงหา​สมบัต​ิ
พัสถาน​จิปาถะ​แ​ ละ​ยงั ต​ อ้ ง​แสวง​หา​ไว้เ​ผือ่ ล​ กู เ​มีย​บ​ าง​คน​ถงึ ร​ นุ่ ห​ ลาน​กย​็ งั ​
กิน​ไม่​หมด​เลย​ที​เดียว​​ทุก​ชีวิต​สิ้น​สุด​ที่​“​ ตาย”​​คำ​เดียว​เสมอ​กัน​หมด​​เรา​
พร้อม​สำหรับ​วัน​นั้น​หรือ​ยัง​
​มา​ทำงาน​ถวาย​หลวงปู่​กัน​เถอะ​

luangpordu.com
๑๒๘ 128

​๗๒​
​ขอ​เพียง​ความ​รู้สึก​

​นัก​ปฏิบัติ​ภาวนา​หลาย​ท่าน​ชอบ​ติด​อยู่​กับ​การ​ทำ​สมาธิ​แบบ​สงบ​​
ไม่​ชอบ​ที่​จะ​ใช้​ปัญญา​พิจารณา​เรื่อง​ราว​ต่างๆ​ ​ให้​เห็น​เหตุ​และ​ผล​ ​ให้​ลง​
หลัก​ความ​จริง​​หาก​จะ​ถาม​ว่า​พิจารณา​อย่างไร​?​
​ ครั้ง​หนึ่ง​ ​หลวงปู่​เคย​ยก​ตัวอย่าง​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า​ ​หาก​ใจ​เรา​ว่าง​
จาก​การ​พิจารณา​เรื่อง​เกี่ยว​กับ​ความ​จริง​ของ​ชีวิต​แล้ว​ ​เรื่อง​ที่​ควร​สนใจ​
ศึกษา​นอ้ มนำ​มา​พจิ ารณา​ให้ม​ าก​อกี เ​รือ่ ง​หนึง่ ​ค​ อื ​พ​ ทุ ธ​ประวัต​ิ ป​ ระวัตข​ิ อง​​
ครูบา​อาจารย์​องค์​ต่างๆ​ ​ได้แก่​ ​ท่าน​พระ​อาจารย์​มั่น​ ​ภูริ​ทัต​โต​ ​ท่าน​​
พระ​อาจารย์​มหา​บัว​​ญาณ​สัม​ปัน​โน​​เป็นต้น​​
​ การ​พิจารณา​นั้น​ ​ขอ​ให้​เทียบ​เคียง​ความ​รู้สึก​ว่า​ ​เรา​มี​ความ​รู้​ความ​
เข้าใจ​ใน​เรื่อง​ที่​ศึกษา​มาก​ขึ้น​เพียง​ใด​ ​เช่น​ ​ใน​ช่วง​ปี​แรก​ที่​เรา​ได้​รู้จัก​ท่าน​​
พระ​อาจารย์​มหา​บัว​ ​ญาณ​สัม​ปัน​โน​ ​เรา​มี​ความ​รู้สึก​เคารพ​เลื่อม​ใส​ท่าน​
อย่างไร​ต​ อ่ ม​ า​เรา​ได้ไ​ป​อยูป​่ ฏิบตั ภ​ิ าวนา​ทว​ี่ ดั ข​ อง​ทา่ น​ไ​ด้เ​ห็นข​ อ้ ว​ ตั ร​ปฏิบตั ​ิ
ต่างๆ​ ​ของ​ท่าน​ ​ได้​เห็น​สาธารณประโยชน์​หลาย​อย่าง​ที่​ท่าน​พา​ทำ​ ​ความ​
รู้สึก​เคารพ​เลื่อม​ใส​ศรัทธา​ของ​เรา​ย่อม​มี​มาก​ขึ้น​ฉันใด​ ​การ​ศึกษา​พุทธ-​
ประวัติ​ก็​ฉัน​นั้น​

luangpordu.com
129 ๑๒๙

ใ​น​ระยะ​แรก​ของ​การ​ศกึ ษา​..​.​เ​รา​อาจ​จะ​ยงั ไ​ม่มค​ี วาม​เคารพ​เลือ่ ม​ใส​


ใน​พระพุทธเจ้าม​ าก​นกั ​แ​ ต่เ​มือ่ เ​รา​ได้ป​ ฏิบตั ภ​ิ าวนา​มาก​ขนึ้ ​ไ​ด้พ​ จิ ารณา​มาก​
ขึน้ ​ก​ าร​ได้อ​ า่ น​เรือ่ ง​ของ​เจ้าช​ าย​สทิ ธัตถ​ ะ​จ​ ะ​ไม่เ​ป็นเ​พียง​การ​อา่ น​เรือ่ ง​ราว​
ของ​เจ้า​ชาย​ที่​ละทิ้ง​ปราสาท​ราชวัง​ ​ทิ้ง​พระ​ชายา​ ​พระ​โอรส​ ​เหมือน​สมัย​
เรา​เป็น​เด็ก​ที่​เพิ่ง​เริ่ม​ศึกษา​พุทธ​ประวัติ​หาก​แต่​เรา​จะ​สามารถ​เข้าใจ​ความ​
รู้สึก​ของ​เจ้า​ชาย​สิทธัต​ถะ​ ​ใน​แต่ละ​เหตุการณ์​ของ​พุทธ​ประวัติ​ได้​อย่าง​ดี​​
จาก​ศรัทธา​ธรรมดา​ที่​เคย​มี​ใน​ใจ​ ​จะ​เริ่ม​ก่อ​ตัว​มั่นคง​ยิ่ง​ขึ้น​ ​จน​กลาย​เป็น​​
ตถาคต​โพธิ​สัทธา​​คือ​​ความ​เชื่อ​ใน​ปัญญา​ตรัสรู้​ของ​พระพุทธเจ้า​​เมื่อ​นั้น​
ความ​ปีติ​ ​อิ่ม​เอิบ​ ​และ​สงบ​เย็น​จะ​ปรากฏ​ขึ้น​ใน​ใจ​ ​ใจ​กับ​ธรรม​ที่​เคย​แยก​
เป็น​คนละ​ส่วน​กัน​ ​จะ​กลาย​เป็นใจ​กับ​ธรรม​ที่​ผสม​ผสาน​เป็น​อัน​หนึ่ง​อัน​
เดียวกัน​
​ การ​ฟัง​เทศน์​จาก​ครู​อาจารย์​ที่​เคย​ฟัง​ผ่าน​เพียง​โสต​วิญญาณ​ ​จะ​
กลาย​เป็นการ​ฟงั ธ​ รรม​ทก​ี่ าร​ฟงั น​ นั้ ส​ มั ผัสล​ ง​สม​ู่ โน​วญิ ญาณ​ส​ ามารถ​เข้าถ​ งึ ​
ความ​รู้สึก​ของ​ใจ​อย่าง​แท้จริง​

luangpordu.com
๑๓๐ 130

​๗๓​

​ปาฏิหาริย์​

ข้าพเจ้าข​ อ​อนุญาต​เขียน​เรือ่ ง​น​ี้ เ​พือ่ ท​ ท​ี่ า่ น​ผอ​ู้ า่ น​จะ​ได้ม​ ค​ี วาม​เข้าใจ​


ใน​วิธี​การ​สอน​ของ​หลวงปู่​ดู่​มาก​ยิ่ง​ขึ้น​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​เรื่อง​ของ​​
​“​ปาฏิหาริย์​”​ ​ที่​คน​ส่วน​ใหญ่​เข้าใจ​กัน​แต่​เพียง​ความ​หมาย​ของ​ ​“​อิทธิ-​
ปาฏิหาริย์​”​ ​และ​เหมา​รวม​ว่า​เป็น​สิ่ง​เดียวกัน ​ซึ่ง​เป็น​ความ​เข้าใจ​ที่​ไม่ ​
ถูก​ต้อง​ ​เท่า​ที่​ข้าพเจ้า​ได้ยิน​ได้​ฟัง​จาก​เพื่อน​หมู่​คณะ​และ​ที่​ประสบ​ด้วย​
ตนเอง​ ​จึง​เชื่อ​เหลือ​เกิน​ว่า​ศิษย์​หลวงปู่​หลาย​ๆ​ ​ท่าน​เคย​มี​ประสบการณ์​
และ​เห็นช​ ดั ด​ ว้ ย​ตนเอง​มา​แล้ว​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​น​ี้ พ​ ระพุทธเจ้าท​ า่ น​สอน​
เรื่อง​ปาฏิหาริย์​ไว้​มี​​๓​​อย่าง​​คือ​
​ ๑​.​อ​ ทิ ธิป​ าฏิหาริย​์ ค​ อื ​ป​ าฏิหาริยใ​์ น​เรือ่ ง​การ​แสดง​ฤทธิ​์ แ​ สดง​ความ​
เป็น​ผู้​วิเศษ​​ดล​บันดาล​สิ่ง​ต่าง​​ๆ​​เหาะ​เหิน​​เดิน​อากาศ​​นิรมิต​กาย​ให้​เป็น​
หลาย​คน​ได้​​มี​หู​ทิพย์​​ตา​ทิพย์​​เป็นต้น​
​๒​.​​อาเทศ​นา​ปาฏิหาริย์​​คือ​​การ​ทาย​ใจ​​ทาย​ความ​รู้สึก​ใน​ใจ​​ทาย​
ความ​คิด​ของ​ผู้​ถูก​สอน​ได้​
๓​.​​อนุ​สา​สนี​ปาฏิหาริย์​​คือ​​คำ​สอน​ที่​แสดง​ความ​จริง​ให้​ผู้​ฟัง​รู้​และ​
เข้าใจ​​มอง​เห็น​ความ​เป็น​จริง​ของ​โลก​​ให้​ผู้​ฟังได้​ปฏิบัติ​ตาม​อย่าง​นี้​​ละเว้น​

luangpordu.com
131 ๑๓๑

การ​ปฏิบตั อ​ิ ย่าง​นนั้ ​แ​ ละ​ยงั ส​ ามารถ​นำ​ไป​ประพฤติป​ ฏิบตั ต​ิ าม​จ​ น​รเ​ู้ ห็นไ​ด้​
ผล​จริง​ด้วย​ตนเอง​
​ ปาฏิหาริย์​ทั้ง​ ​๓​ ​อย่าง​นี้​ ​พระพุทธเจ้า​ไม่​ทรง​สรรเสริญ​ ​๒​ ​อย่าง​
แรก​ ​คือ​ ​อิทธิ​ปาฏิหาริย์​ ​และ​อาเทศ​นา​ปาฏิหาริย์​ ​หาก​แสดง​เพียง​อย่าง​
ใด​อย่าง​หนึง่ แ​ ละ​ไม่น​ ำ​ไป​สอ​ู่ นุส​ าสน​ป​ี าฏิหาริยซ​์ งึ่ เ​ป็นป​ าฏิห​ า​รยิ ท​์ พ​ี่ ระองค์​
ทรง​สรรเสริญ​มาก​ที่สุด​
​ ใน เก​วัฏฏ​สูตร ​ได้​เล่า​ถึง​ครั้ง​พุทธ​กาล​ ​มี​ชาว​บ้าน​ที่​เมือง​นา​ลันทา​
ชื่อ​ เก​วัฏฏะ​ ​ได้​กราบทูล​พระพุทธเจ้า​ ​ขอ​อนุญาต​ให้​พระ​ภิกษุ​รูป​หนึ่ง​
กระทำ​อิทธิ​ปาฏิหาริย์​ ​เพื่อ​ให้​ชาว​เมือง​นา​ลัน​ทา​เลื่อม​ใส​ใน​พระพุทธเจ้า​​
พระพุทธเจ้า​ทรง​ตอบ​เกวัฏฏะ​สรุป​ได้​ความ​ว่า​ ​ทรง​รังเกียจ​ปาฏิหาริย์​
ประเภท​ฤทธิ์​​เนื่องจาก​ปาฏิหาริย์​ประเภท​ฤทธิ์​​แม้​จะ​มี​ฤทธิ์​มากมาย​​แต่​
ก็​ไม่​อาจ​ทำให้​ผู้​ถูก​สอน​รู้​ความ​จริง​ใน​สิ่ง​ทั้ง​หลาย​ ​ไม่​สามารถ​แก้​ข้อ​สงสัย​
ใน​ใจ​ตน​ได้​ ​เมื่อ​แสดง​แล้ว​ผู้​ได้​พบเห็น​หรือ​ได้ยิน​ได้​ฟัง​ก็​จะ​งง​ ​ดู​เหมือน​​
ผูท​้ แ​ี่ สดงจะ​เก่งฝ่ายเดียว ในขณะทีผ​่ ถ​ู้ กู ส​ อน​กย​็ งั ม​ ค​ี วาม​ไม่รอ​ู้ ยูเ​่ หมือน​เดิม​
ส่วนอนุส​ าสน​ปี​ าฏิหาริย์นนั้ จ​ ะ​ทำให้ผ​ ​ฟู้ งั เ​กิดป​ ญ
ั ญา​ไ​ด้ร​ ค​ู้ วาม​จริง​ไ​ม่ต​ อ้ ง​
มัว​พึ่งพา​ผู้​ที่​แสดง​ปาฏิหาริย์​​แต่​จะ​สามารถ​พึ่งพา​ตนเอง​ได้​
​ เหตุผล​อีก​ประการ​หนึ่ง​ ​คือ​หาก​ชาว​พุทธ​มัว​แต่​ยกย่อง​ผู้​มี​อิทธิ-​
ปาฏิหาริย์​แล้ว​อาจ​ทำให้​เสีย​หลัก​ศาสนา​ได้​ ​เนื่องจาก​พระ​สงฆ์​ผู้​ปฏิบัติ​ดี​
​ปฏิบัติ​ชอบ​ ​แต่​ไม่มี​อิทธิ​ปาฏิหาริย์​ซึ่ง​มี​อยู่​เป็น​จำนวน​มาก​ ​จะ​ไม่​ได้​รับ​
การ​บำรุง​จาก​ชาว​บ้าน​ ​แต่​ผู้​ที่​ไม่มี​คุณ​ธรรม​เป็น​สาระ​แก่น​สาร​ ​หาก​แต่​มี​

luangpordu.com
๑๓๒ 132

อิทธิ​ปาฏิหาริย์​​จะ​มี​ผู้คน​ศรัทธา​ให้​ความ​เคารพ​นับถือ​แทน​
​ อย่างไร​ก็ตาม​พระพุทธเจ้า​ก็​มิได้​ทรง​ละ​การ​ทำ​ฤทธิ์​และ​ดัก​ทาย​ใจ​​
ถ้า​เรา​ได้​ศึกษา​พุทธ​ประวัติ​ใน​บท​สวด​พา​หุง​ฯ ​จะ​พบ​ว่า​พระองค์​ทรง​ใช้​
ฤทธิ์​ปราบ​​เช่น​​เรื่อง​พระ​อง​คุ​ลิ​มาล​​หรือ​​ทรง​ใช้​ฤทธิ์​ปราบ​ฤทธิ์​​เช่น​​เรื่อง​
ปราบ​พญานาค​ที่​ชื่อ​ นัน​โท​ปนัน​ทะ​ ​หรือ​เรื่อง​ปราบ​ทิฏฐิ​ ท้าว​พกา​พรหม​​
เมื่อ​ปราบ​เสร็จ​ก็​เข้า​สู่​อนุ​ศาสน​ี​ปาฏิหาริย์​ ​คือ​ ​ทรง​แสดง​คำ​สอน​ที่​ทำให้​
เห็น​หลัก​ความ​เป็น​จริง​ซึ่ง​เมื่อ​ผู้​ใด​ปฏิบัติ​ตาม​ก็​ย่อม​จะ​พบ​ความ​จริง​แห่ง​
ความ​พ้น​ทุกข์​
​ หลวงปูด​่ ท​ู่ า่ น​กไ็ ด้ด​ ำเนินต​ าม​พทุ ธ​วธิ ก​ี าร​สอน​นเ​ี้ ช่นก​ นั ​ข​ า้ พเจ้าแ​ ละ​
เพื่อน​หมู่​คณะ​หลาย​ท่าน​ขอ​เป็น​ประจักษ์​พยาน​​ใน​ระยะ​แรก​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​
มา​วดั ส​ ะแก​และ​พบ​กบั เ​หตุการณ์ต​ า่ งๆ​ท​ เ​ี่ รียก​กนั ว​ า่ ​“​ ป​ าฏิหาริย”​์ ​อ​ นั เ​กีย่ ว​
เนื่อง​กับ​หลวงปู่​ดู่​นี้​ ​ข้าพเจ้า​รู้สึก​แปลก​ใจ​และ​งุนงง​กับ​เรื่อง​ราว​ที่​เกิด​ขึ้น​
ต่อ​มา​เมื่อ​ได้​ศึกษา​คำ​สอน​ของ​ครูบา​อาจารย์​มาก​ขึ้น​ ​จึง​เริ่ม​มี​ความ​เข้าใจ​
ที่​ถูก​​และ​เริ่ม​รู้​ว่า​หลวงปู่​ต้องการ​จะ​สอน​อะไร​กับ​เรา​
​ การ​เรียน​ธรรมะ​ ​การ​ฟัง​ธรรมะ​ของ​ผู้​เริ่ม​สนใจ​ศึกษา​ห​ลาย​ๆ​ ​ท่าน​
เปรียบ​เสมือน​การ​กนิ ย​ า​ขม​​ห​ ลวงปูจ​่ งึ ไ​ด้ใ​ช้ก​ ศุ โลบาย​นำ​เอา​“​ ป​ าฏิหาริย”์ ​
ทั้ง​สาม​อย่าง​มา​ใช้​กับ​ศิษย์​ประกอบ​กัน​จึง​สำเร็จ​ประโยชน์​ด้วย​ดี​
เ​หมือน​กบั ท​ า่ น​ให้เ​รา​ทาน​ยา​ขม​ทเ​ี่ คลือบ​ดว้ ย​ขนม​หวาน​เอา​ไว้​เ​มือ่ ​
ทุกค​ น​ตระหนักแ​ ละ​เข้าใจ​ใน​คณ ุ ป​ ระโยชน์ข​ อง​ยา​ขม​ดแี ล้ว​ข​ นม​หวาน​นนั้ ​
ก็​จะ​หมด​ความ​หมาย​ไป

luangpordu.com
133 ๑๓๓

​๗๔​
​เรื่อง​บังเอิญ​ที่​ไม่​บังเอิญ​

ใ​น​ชวี ติ ข​ อง​เรา​ทกุ ๆ​ ​ค​ น​ค​ ง​เคย​ได้ผ​ า่ น​เหตุการณ์ต​ า่ งๆ​ห​ ลาก​หลาย​


รส​แ​ ละ​ใน​บรรดา​เหตุการณ์ห​ ลาย​เรือ่ ง​ทผ​ี่ า่ น​ไป​นนั้ ​ค​ ง​มบ​ี าง​เรือ่ ง​ทเ​ี่ รา​เคย​
มี​ความ​รู้สึก​ว่า​.​.​.​ช่าง​บังเอิญ​เสีย​จริง​ๆ​
​ คำ​ว่า​​“​บังเอิญ​”​​นี้​สำหรับ​นัก​ปฏิบัติ​ภาวนา​แล้ว​ดู​เหมือน​จะ​ขัด​กับ​
“​หลัก​ความ​จริง​”​​ตาม​คำ​สอน​ของ​พระพุทธเจ้า​ของ​เรา​​ดัง​เรื่อง​ที่​ข้าพเจ้า​
ขอ​ยก​มา​เป็น​ตัวอย่าง​นี้​
​ ภาย​หลัง​ที่​พระพุทธเจ้า​ตรัสรู้​ ​และ​ได้​แสดง​ธรรม​โปรด​ฤๅษี​ทั้ง​ ​๕​​
หรือ​ปญ ั จ​วคั คีย​์ ​จน​ได้​บรรลุ​ธรรมเป็น​พระ​อร​หนั ​ต​แ์ ล้ว ว​ นั ​หนึง่ ​พ​ ระ​อสั ​ส​ชิ​
หนึ่ง​ใน​ปัญจ​วัคคีย์​ได้​เข้าไป​บิณฑบาต​ใน​เมือง​ ​ยัง​มี​ปริ​พา​ชก​หรือ​นักบวช​
นอก​พุทธ​ศาสนา​รูป​หนึ่ง​ชื่อ​อ​ ุป​ติส​สะ​เ​ดิน​มา​พบ​พระ​อัส​ส​ชิ​เข้า​​ได้​แล​เห็น​
ท่าทาง​อัน​สงบ​น่า​เลื่อม​ใส​​จึง​เข้าไป​ถาม​ท่าน​ว่า​
​“​ใคร​เป็น​ศาสดา​ของ​ท่าน​​ศาสดา​ของ​ท่าน​สอน​ว่า​อย่างไร​”​
​ พระ​อัส​ส​ชิต​อบ​ว่า​
​​ “​เย​​ธัม​มา​​เห​ตุปัปภะ​วา​​เตสัง​​เหตุ​​ต​ถาค​ะโต​​เตสัญ​​จะ​​โย​​นิ​โรโธ​​
จ​ะ ​เอวัง​​วาที​​มหา​สะมะโณ​”​

luangpordu.com
๑๓๔ 134

​ แปล​ได้​ความ​ว่า​ “​ ​ธรรม​ทั้ง​หลาย​เกิด​จาก​เหตุ​ ​ถ้า​ต้องการ​ดับ​ ​ต้อง​


ดับ​เหตุ​ก่อน​​พระพุทธ​องค์​ทรง​สอน​อย่าง​นี้​”​
​ อุป​ติส​สะ​เมื่อ​ได้ยิน​คำ​ตอบ​ก็​เกิด​ความ​แจ้ง​ใน​จิต​ ​จน​ได้​บรรลุ​ธรรม​
เบื้อง​ต้น​ใน​ที่​นั้น​เอง​ และ​ขอ​เข้า​บวช​กับ​พระพุทธเจ้า​ ​ต่อ​มา​ท่าน​ได้​บรรลุ​
ธรรม​เป็นพ​ ระ​อร​หนั ต​ ​์ เ​ป็นพ​ ระ​อคั ร​สาวก​เบือ้ ง​ขวา​ทเ​ี่ รา​รจู้ กั ก​ นั ใ​น​นามของ​​
พระ​สา​รี​บุตร​​นั่นเอง​
​ พระพุทธ​ศาสนา​เป็นศ​ าสนา​ทว​ี่ า่ ด​ ว้ ย​เหตุก​ บั ผ​ ล​ผ​ ล​ยอ่ ม​เกิดแ​ ต่เ​หตุ​
เท่านั้น​​จะ​เกิด​ขึ้น​ลอยๆ​​ไม่​ได้​
​หลวงปู่​เคย​บอก​ข้าพเจ้า​ว่า​
​“​ถ้า​เรา​มี​ญาณ​หยั่ง​รู้​ ​ทุก​สิ่ง​ทุก​อย่าง​ที่​เกิด​ใน​ชีวิต​เรา​ ไม่มี​เรื่อง​
บังเอิญ​เลย​”​
​ ผู้​ปฏิบัติ​ภาวนา​ต้อง​ให้​ความ​สำคัญ​ที่​เหตุ​ ​มาก​กว่า​ให้​ความ​สำคัญ​
ที่​ผล​​จึง​ขอ​ให้​ตั้งใจ​สร้าง​แต่​เหตุ​ที่​ดีๆ​​เพื่อ​ผล​ที่​ดี​ใน​วัน​พรุ่ง​นี้​​และ​ต่อ​ๆ​​ไป​

luangpordu.com
135 ๑๓๕

​๗๕​
​คลื่น​กระทบ​ฝั่ง​

​ข้าพเจ้า​ขอ​เล่า​เหตุการณ์​หนึ่ง​ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​ต้นปี​ ​๒๕๔๐​ ​มา​นี้​


​ที่​ข้าพเจ้า​เชื่อ​ว่า​หลวงปู่​ดู่​ท่าน​เมตตา​มาโปรด​ ​โดย​เฉลย​ปัญหา​ข้อ​ขัดข้อง​
ใจ​ใน​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​ของ​ข้าพเจ้า​
​เรื่อง​มี​อยู่​ว่า​ใน​ระหว่าง​นั้น​​ข้าพเจ้า​มี​ข้อ​ขัดข้อง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ว่า​จะ​
มี​อุบาย​วิธี​อย่างไร​จึง​จะ​สามารถ​ควบคุม​อารมณ์​ ​ควบคุม​จิตใจ​ของ​เรา​ให้​
เป็น​ไป​ใน​ทาง​ที่​เรา​ต้องการ​ได้​ ​ใน​คืน​นั้น​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​เดิน​จงกรม​ภาวนา​​
เมื่อ​ใจ​เกิด​ความ​สงบ​ดีแล้ว​ ​ข้าพเจ้า​รู้สึก​เหมือน​ได้ยิน​เสียง​หลวงปู่​ดู่​บอก​
ข้าพเจ้า​ว่า​ ​คำ​ตอบ​ที่​ข้าพเจ้า​ต้องการ​นั้น​อยู่​ใน​หนังสือ​ ​“​อุป​ลมณี​”​ ​ซึ่ง​
เป็นห​ นังสือเ​รือ่ ง​ราว​ชวี ติ แ​ ละ​การ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ต​ ลอด​จน​รวม​ธรรม​ะคำ​สอน​
ของ​ทา่ น​พระ​โพธิญ ​ าณ​เถระ​หรือห​ ลวงปูช​่ า​ส​ ภุ ท​ั โ​ท​ว​ ดั ห​ นอง​ปา่ พ​ ง​อ​ ำเภอ​
วารินชำราบ​​จังหวัด​อุบลราชธานี​ข้าพเจ้า​จึง​เดิน​ไป​ที่​ตู้​หนังสือ​​และ​หยิบ​
เอา​หนังสือ​อุป​ลมณี​มา​พลิกดู​ ​เป็น​ที่​อัศจรรย์​สำหรับ​ข้าพเจ้า​ว่า​ ​หนังสือ​
อุป​ลมณี​ ​ซึ่ง​เป็น​หนังสือ​เล่ม​โต​ ​มี​ความ​หนา​ถึง​ ​๕๘๕​ ​หน้า​ ​ข้าพเจ้า​พลิก​
ดู​เพียง​สอง​สาม​หน้า​ก็​บังเกิด​ความ​ปตี ​ขิ นลุก​ขน​ชนั ​เนือ่ งจาก​ได้​พบ​กบั ​เรือ่ ง​ท่​ี
ต้องการใน​หน้า​​๒๗๖​​มี​ใจความ​ว่า​

luangpordu.com
๑๓๖ 136

​ “ธรรม​อุปมา”​
​การ​อุปมา​เป็น​วิธี​การ​สอน​ธรรมะ​ที่​ดู​เหมือน​หลวงปู่​ชอบ​มาก​ที่สุด​​
และ​เป็นว​ ธิ ท​ี ท​ี่ า่ น​ถนัดม​ าก​ทสี่ ดุ ด​ ว้ ย​ท​ า่ น​ยก​เอา​ธรรมชาติร​ อบ​ดา้ น​เข้าก​ บั ​
สภาวะ​เ​ข้าก​ บั ป​ ญ ั หา​ถกู ก​ บั จ​ ริตน​ สิ ยั ข​ อง​คน​นนั้ ​อ​ ปุ มา​อปุ ไมย​ประกอบ​การ​
สอน​ธรรมะ​จ​ งึ ท​ ำให้ผ​ ฟ​ู้ งั เ​กิดภ​ าพพจน์ต​ าม​ไป​ดว้ ย​ท​ ำให้ผ​ ฟ​ู้ งั ส​ ามารถ​มอง​
ปัญหา​ได้​อย่าง​ทะลุ​ปรุโปร่ง​ ​หมด​ความ​สงสัย​ใน​หลัก​ธรรม​ที่​นำ​มา​แสดง​
ตัวอย่าง​การ​อุปมา​ของ​หลวงปู่​​ได้แก่​
​ “​การ​ทำกรรม​ฐาน​ ​ทำ​เหมือน​ระฆัง​ใบ​นี้​ ​ระฆัง​นี้​ตั้ง​ไว้​เฉยๆ​ ​เสียง​
ไม่มี​นะ​ ​สงบ​ ​สงบ​จาก​เสียง​ ​เมื่อ​มี​เหตุ​กระทบ​ขึ้น​มา​ ​(​หลวงปู่​ตี​ระฆัง​ดัง​
๑ ที​)​ ​เห็น​ไหม​เสียง​มัน​เกิด​ขึ้น​มา​ ​นัก​ปฏิบัติ​เป็น​คน​มัก​น้อย​อย่าง​นั้น​ ​เมื่อ​
มี​ปัญหา​เกิด​ขึ้น​มา​​แก้ไข​ทัน​ท่วงที​​เลย​ชนะ​ด้วย​ปัญญา​ของ​เรา​​แก้​ปัญหา​
แล้ว​ก็​สงบ​ตัว​ของ​เรา​เหมือน​ระฆัง​นี้​”​
“​ เ​หมือน​กบั ค​ ลืน่ ใ​น​ทะเล​ทก​ี่ ระทบ​ฝงั่ ​เ​มือ่ ข​ นึ้ ม​ า​ถงึ แ​ ค่ฝ​ งั่ ม​ นั ก​ ส​็ ลาย​
เท่านั้น​ ​คลื่น​ใหม่​มา​ก็​ต่อ​ไป​อีก​ ​มัน​จะ​เลย​ฝั่ง​ไป​ไม่​ได้​ ​อารมณ์​มันจะ​เลย​
ความ​รู้​ของ​เรา​ไป​ไม่​ได้​เหมือน​กัน​​เรื่อง​​อนิจ​จัง​​ทุก​ขัง​​อนัตตา​ ​จะ​พบกัน​
ที่​ตรง​นั้น​ ​มัน​จะ​แตก​ร้าว​อยู่​ที่​ตรง​นั้น​ ​มัน​จะ​หาย​ก็​อยู่​ตรง​นั้น​ ​เห็น​ว่า​
อนิจ​จัง​ ​ทุก​ขัง​ ​อนัตตา​ ​คือ​ ​ฝั่ง​ทะเล​อารมณ์​ทั้ง​หลาย​ผ่าน​เข้า​มา​เหมือน​
คลื่น​ทะเล​”​
ขณะ​นนั้ เ​ป็นเ​วลา​ดกึ ม​ าก​แล้ว​ข​ า้ พเจ้าค​ ดิ ว​ า่ ส​ มควร​แก่เ​วลา​พกั ผ​ อ่ น​​
จึง​ได้​ขน้ึ ​มา​ท​ห่ี อ้ ง​นอน​​ท​ต่ี ​หู้ วั ​เตียง​ม​หี นังสือ​อยู​ห่ ลาย​เล่ม​​แต่​เหมือน​ม​สี ง่ิ ​ใด​

luangpordu.com
137 ๑๓๗

ดลใจ​ให้​ขา้ พเจ้า​หยิบ​หนังสือ​เล่ม​หนึง่ ข​ น้ึ ​มา​​ชอ่ื “​ ​พทุ ธ​ทาส​​สวน​โมก​ข​พลา​ราม​​


กำลัง​แห่ง​การ​หลุด​พน้ ​”​​เป็น​หนังสือ​ขนาด​พอๆ​​กับ​อุป​ลมณี​​ซึ่ง​รวม​คำ​สอน​
ของ​ท่าน​พุทธ​ทาส​ภิกขุ​ไว้​มี​เนื้อหา​​๓๕๖​​หน้า​​และ​มี​ความ​หนา​ถึง​หนึ่ง​นิ้ว​
ข้าพเจ้า​เปิด​หนังสือ​ ​พลิก​ดู​ ​๒​-​๓​ ​หน้า​ ​ก็​บังเกิด​ความ​ปีติ​จน​ขนลุก​ขน​ชัน​
อีกค​ รัง้ ​เ​นือ่ งจาก​ได้พ​ บ​กบั ธ​ รรม​อปุ มา​ใน​เรือ่ ง​ค​ ลืน่ ก​ ระทบ​ฝงั่ ​ซ​ งึ่ เ​ป็นเ​รือ่ ง​
เดียวกัน​อีก​​คัด​ลอก​จาก​เทป​บันทึก​เสียง​ท่าน​พุทธ​ทาส​ภิกขุ​​ซึ่ง​อยู่​ใน​หน้า​
๑๔๖​​มี​ใจความ​ว่า​
“​หลัก​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​พลังงาน​ทาง​เพศ​”
​ มัน​เป็น​ไป​โดย​อัตโนมัติ​ ​ไม่​ได้​มี​แผนการ​คือ​ ​เรา​ทำงาน​ที่​เรา​ชอบ​
หาม​รุ่ง​หาม​ค่ำ​ ​แล้ว​พลังงาน​ที่​เหลือ​ที่​รุนแรง​ทาง​นั้น​มัน​ก็​ลด​ ​มัน​ก็​หมด​ไป​​
แรง​กระตุ้น​อยาก​มีชื่อ​เสียง​ ​อยาก​ให้​มี​ประโยชน์​แก่​ผู้​อื่น​ที่​เขา​คอย​รอ​ผล​
งาน​ของ​เรา​​อัน​นี้​มัน​มี​มาก​กว่า​​นี่​ก็​เลย​ทำ​เสีย​จน​หมด​แรง​​พอ​เพลีย​ก็​หลับ​
ไป​​พอ​ตื่น​ขึ้น​มา​ก็​ทำ​อีก​​ไม่มี​โอกาส​ใช้​แรง​ไป​ทาง​เพศ​ตรง​กัน​ข้าม​​เรา​ไม่​ได้​
เจตนา​โดยตรง​​มัน​เป็น​ไป​เอง ​เหตุการณ์​มัน​บังคับ​ให้​เป็น​ไป​เอง​​คือ​เรา​หา​
อะไร​ทำให้​มัน​ง่วน​อยู่​กับ​งาน​ ​พอใจ​ใน​งาน​ ​เป็นสุข​ใน​งาน​มัน​ก็​ซับ​บ​ลี​เมท​​
(​sublimate​ ​หมาย​ถึง​ ​กลั่น​กรอง​ ​ทำให้​บริสุทธิ์​ ​-​ ​ผู้​เขียน​)​ ​ของ​มัน​เอง​​
เอา​แรง​ทาง​เพศ​มา​ใช้​ทาง​สติ​ปัญญา​ ​เอา​แรงงาน​กิเลส​มา​ใช้​เป็น​เรื่อง​ของ​
สติ​ปัญญา​ ​ต้อง​มี​งาน​อัน​หนึ่ง​ซึ่ง​พอใจ​ ​หลงใหล​ขนาด​เป็น​นางฟ้า​ ​เหมือน​
กับ​เรียน​พระ​ไตร​ปิฎก​ ​ต้อง​หลงใหล​ขนาด​นางฟ้า​ ​ความ​รู้สึก​ทาง​เพศ​มัน​ก็​
ต้อง​เกิด​ ​แต่​ว่า​ความ​รู้สึก​ทาง​นี้​ ​(​ความ​คิด​ที่​จะ​เป็น​ประโยชน์​แก่​ส่วน​รวม​)​

luangpordu.com
๑๓๘ 138

เหมือน​กบั ส​ งิ่ ต​ า้ นทาน​เ​ช่นว​ า่ ​ค​ ลืน่ ก​ บั ฝ​ งั่ ​ค​ ลืน่ ม​ นั ก​ แ​็ รง​เหมือน​กนั ​แ​ ต่ว​ า่ ​
ฝั่ง​มัน​แข็ง​แรง​พอ​จะ​รับ​​(​หัวเราะ​)​
​ ถาม ​-​ว​ ิกฤต​แบบ​จวน​เจียน​จะ​ไป​ไม่​ไป​​ตัดสิน​ใจ​อย่างไร​
​ นั่น​มัน​เรื่อง​คิด​ฝัน​ ​เวลา​มัน​ช่วย​ได้​หรือ​ว่า​ไม่รู้​ไม่​ชี้​ ​(​หัวเราะ​)​ ​มัน​
ช่วย​ได้​​มัน​เหมือน​กับ​​คลื่น​กระทบ​ฝั่ง​​พอ​พ้น​สมัย​​พ้น​เวลา​​มัน​ก็​ไม่รู้​หาย​
ไป​ไหน​ ​แต่​สรุป​แล้ว​มัน​ต้อง​ทำงาน​ ​พอ​ถึง​เวลา​เข้า​ ​มัน​ต้อง​ทำงาน​ ​มัน​รัก​
งาน​อยู่​​ไป​ทำงาน​เสีย​​ความ​คิด​ฝัน​นั่น​ก็​ค่อย​ๆ​​ซา​ไปๆ​​มัน​ไป​สนุก​ใน​งาน​
​ ข้าพเจ้า​ได้​มา​พิจารณา​แล้ว​ เห็น​ว่า​เรื่อง​นี้​เป็น​อุปมา​ธรรม​ที่​มี​
ประโยชน์​มาก​​หาก​ไม่​บันทึก​ไว้​เป็น​หลัก​ฐาน​ก็​เกรง​ว่า​ตนเอง​จะ​หลงลืม​ใน​
ภาย​หลัง​​และ​จะ​ไม่​เกิด​ประโยชน์​อะไร​​หาก​ไม่​น้อมนำ​มา​พิจารณา​บ่อยๆ​​
เรื่อง​ค​ ลื่น​กระทบ​ฝั่ง​นี้​​จึง​กลาย​เป็น​​เรื่อง​บังเอิญ​ที่​ไม่​บังเอิญ​​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​
“​ประสบ​”​​อีก​เรื่อง​หนึ่ง​

luangpordu.com
139 ๑๓๙

​๗๖​
​หลวงปู่​บอก​ข้อสอบ​

ใน​ราว​ปี​​พ​.​ศ​.​​๒๕๒๗​​-​​๒๕๒๘​​สมัย​ที่​ข้าพเจ้า​ยัง​เป็น​นัก​ศึกษา​อยู่​
ที่​คณะ​พาณิช​ย​ศาสตร์​และ​การ​บัญชี​​มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์​​หลวงปู่​ดู่​
ท่าน​เคย​บอก​ข้อสอบ​ให้​ข้าพเจ้า​ทราบ​ล่วง​หน้า​และ​ช่วย​เหลือ​ข้าพเจ้า​ใน​
การ​ทำ​ข้อสอบ​​เท่า​ที่​ข้าพเจ้า​จำ​ความ​ได้​ถึง​​๕​​วิชา​ด้วย​กัน​
​ ข้าพเจ้า​จะ​ขอ​เล่า​เฉพาะ​วัน​ที่​หลวงปู่​บอก​ข้อสอบ​ ​วิชา​ที่​อาจารย์​
ฉาย​ศิลป์​​เชี่ยวชาญ​พิพัฒน์​​เป็น​ผู้​สอน​​คือ ​วิชา​​แรงงานสัมพันธ์​​คืน​วันนั้น​
เวลา​ประมาณ​๓​ ​ท​ มุ่ ​ก​ อ่ น​วนั ส​ อบ​๑​ ​ว​ นั ​ข​ า้ พเจ้าน​ งั่ อ​ า่ น​ตำรา​และ​ทบทวน​
ความ​รู้​ที่​อาจารย์​ได้​สอน​มา​ตลอด​เทอม​ ​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​กำลัง​มี​สมาธิ​กับ​
ตำรา​ที่​อยู่​เบื้อง​หน้า​ ​ข้าพเจ้า​รู้สึก​เย็น​วาบ​ขึ้น​ที่​ใจ​พร้อม​กับ​มี​เสียง​บอก​
ข้าพเจ้า​ว่า​“พระ​ธาตุ​หลวง​ปู่ทวด​เสด็จ”​ ​ข้าพเจ้า​หัน​หลัง​กลับ​ไป​มอง​ที่​
โต๊ะ​หมู่​บูชา​ใน​ห้อง​ทันที​และ​เกิด​ความ​สงสัย​ว่า​พระ​ธาตุ​เสด็จ​มา​​แล้ว​ท่าน​
อยู่​ที่ไหน​ล่ะ​.​.​.​อยู่​ที่​กระถาง​ธูป​​เสียง​ตอบ​ข้าพเจ้า​
ข​ า้ พเจ้าห​ ยุดอ​ า่ น​หนังสือ​เ​ดินต​ รง​มายังโ​ต๊ะห​ มูบ​่ ชู า​ส​ ายตา​หยุดอ​ ยู​่
ที่​กระถาง​ธูป​ใบ​น้อย​.​.​.​แล้ว​ข้าพเจ้า​จะ​ทราบ​ได้​อย่างไร​ล่ะ​ ​ว่า​อัน​ไหน​เป็น​
เม็ด​กรวด​ ​เม็ด​ทราย​ ​อัน​ไหน​เป็น​พระ​ธาตุ​ ​แต่​แล้ว​ข้าพเจ้า​ก็​มอง​เห็น​องค์​

luangpordu.com
๑๔๐ 140

พระ​ธาตุ​สี​น้ำตาล​เกือบ​ดำ​ ​มี​สัณฐาน​ค่อน​ข้าง​กลม​ ​ขนาด​เล็ก​มาก​เหมือน​


ไข่ปลา​​ข้าพเจ้า​จึง​แยก​ออก​มา​จาก​กระถาง​ธูป​เพื่อ​นำ​มา​บูชา​
​ จาก​นนั้ ข​ า้ พเจ้าไ​ด้ม​ า​นงั่ อ​ า่ น​หนังสือต​ อ่ ​ส​ กั ค​ รูก​่ ม​็ ค​ี วาม​รสู้ กึ เ​หมือน​
มี​คน​บอก​ให้​ข้าพเจ้า​เขียน​จดหมาย​วิจารณ์​การ​สอน​ของ​อาจารย์​ผู้​สอน​​
ข้าพเจ้า​ก็​เลย​นึก​สนุก​ขึ้น​มา​ ​นั่ง​เขียน​จดหมาย​อย่าง​เอา​จริง​เอา​จัง​ ​แทนที่​
จะ​นงั่ อ​ า่ น​หนังสือ​เ​ขียน​เสร็จก​ พ​็ บั ใ​ส่ซ​ อง​ต​ งั้ ใจ​ไว้ว​ า่ ว​ นั ร​ งุ่ ข​ นึ้ เ​มือ่ ส​ อบ​เสร็จ​
จะ​นำ​ไป​มอบ​ให้​อาจารย์​ที่​ห้อง​พัก​ของ​ท่าน​
​ วัน​รุ่ง​ขึ้น​เป็น​วัน​สอบ​ ​เมื่อ​ข้าพเจ้า​ได้​เห็น​ข้อสอบ​ซึ่ง​เป็น​ข้อสอบ​
บรรยาย​เสียส​ ว่ น​ใหญ่​ขา้ พเจ้าต​ อ้ ง​แปลก​ใจ​ทห​่ี นึง่ ใ​น​ขอ้ สอบ​บรรยาย​ขอ้ ใ​หญ่​
นั้น​ให้​วิจารณ์​การ​เรียน​การ​สอน​ของ​​อา​จาร​ย์ฯ​
​ใน​ตอน​แรก​ข้าพเจ้า​ก็​ไม่​ค่อย​จะ​แน่​่ใจ​ตนเอง​เท่าใด​นัก ​ว่า​เรา​คิด​
​เอา​เอง​หรือ​เปล่า​​เป็น​เรื่อง​บังเอิญ​หรือ​ไม่​
เ​รือ่ ง​พระ​ธาตุเ​สด็จ​ห​ ลวงปูบ​่ อก​ขอ้ สอบ​ข​ า้ พเจ้าเ​ชือ่ ว​ า่ ห​ าก​เป็นค​ น​
อื่น​ก็​คง​ไม่​แน่ใจ​ตนเอง​เหมือน​กัน​ ​แต่​ใน​ที่สุด​ก็​มี​เรื่อง​ที่​ยืนยัน​ให้​ข้าพเจ้า​
แน่ใจ​วา่ เ​ป็นเ​รือ่ ง​จริง​เ​พราะ​เหตุการณ์เ​กิดซ​ ำ้ ร​ อย​เดิม​ห​ าก​เป็นเ​รือ่ ง​บงั เอิญ​
คง​ไม่​สามารถ​เกิด​เรื่อง​ทำนอง​เดียวกัน​ได้​หลาย​ครั้ง​ ​หลวงปู่​บอก​ข้อสอบ​
ข้าพเจ้า​ ​อีก​เป็น​ครั้ง​ที่​ ​๒​ ​ครั้ง​ที่​ ​๓​ ​และ​ครั้ง​ที่​ ​๔​ ​ต่าง​กรรม​ต่าง​วาระ​กัน​​
จน​ผล​การ​สอบ​ของ​ข้าพเจ้า​ออก​มา​ได้​เกรด​เอ​​หลาย​วิชา​
​ข้าพเจ้า​ได้​พิจารณา​ดู​แล้ว ​คิด​ว่า​เรื่อง​นี้​หลวงปู่​ต้องการ​สอน​อะไร​​
บาง​อย่าง​ให้​แก่​ข้าพเจ้า​ ​คง​มิใช่​เพียง​แค่​การ​บอก​ข้อสอบ​และ​ก็​คง​มิใช่​เอา​

luangpordu.com
141 ๑๔๑

ไว้​ให้​ข้าพเจ้า​นำ​มา​เล่า​ให้​หมู่​คณะ​ฟัง​เท่านั้น​
ปริศนา​ธรรม​จาก​นิมิต​ครั้ง​นี้​ ​จะ​จริง​หรือ​เท็จ​ประการ​ใด ​พระ​ธาตุ​
เสด็จ​มา​จริง​หรือ​ไม่​ ​หรือ​หลวงปู่​บอก​ข้อสอบ​จริง​หรือ​ไม่​ ​สำหรับ​ข้าพเจ้า​
แล้ว​ถือว่า​เป็น​ปาฏิหาริย์​ที่​หลวงปู่​เมตตา​ให้​บท​เรียน​บท​ต่อ​มา​กับ​ข้าพเจ้า​
เป็น​บท​เรียน​ที่​นำ​ไป​สู่​ ​อนุ​สา​สนี​ปาฏิหาริย์​ ​ให้​ข้าพเจ้า​ได้​มี​ความ​เข้าใจ​
​ใน​ธรรม​มาก​ขึ้น​​และ​เป็น​ส​ ัมมา​ทิฏฐิ​​มาก​ขึ้น​ใน​เวลา​ต่อ​มา​

luangpordu.com
๑๔๒ 142

​๗๗​
​ตัว​ประมาท​

​หลัง​จาก​ที่​หลวงปู่​ได้​บอก​ข้อสอบ​ให้​ข้าพเจ้า​ทราบ​​ครั้ง​แรก​แล้ว​
ท่าน​ก็ได้​ช่วย​ข้าพเจ้า​ทำ​ข้อสอบ​อีก​เป็น​ครั้ง​ที่​​๒​​ที่​ท่าน​ช่วย​เหลือ​ข้าพเจ้า​
คราว​นี้​เป็น​วิชา​ ​พบ​.​ ​๒๘๓​ ​วิชา​การ​บริหาร​งาน​ผลิต​ซึ่ง​มี​อาจารย์​ผู้​สอน​
หลาย​ท่าน​ ​ข้อสอบ​มี​หลาย​ลักษณะ​ทั้ง​บรรยาย​​เติม​คำ​ ​ให้​กากบาท​หน้า​
ข้อ​ที่​ถูก​ต้อง​ที่สุด​​ฯลฯ​
ห​ ลวงปูด​่ ท​ู่ า่ น​เคย​สอน​วธิ ท​ี ำ​ขอ้ สอบ​แบบ​ปรนัย​(​ใ​ห้ก​ ากบาท​หน้าข​ อ้ ​
ทีถ​่ กู ต​ อ้ ง​ทสี่ ดุ )​​ใ​ห้ข​ า้ พเจ้าว​ า่ ​เ​วลา​ทเ​ี่ รา​ไม่แ​ น่ใจ​แ​ ทนทีเ​่ รา​จะ​เดา​สมุ่ ห​ รือท​ ​ี่
เรียก​วา่ ก​ า​สง่ เดช​เ​รา​จะ​ไม่ท​ ำ​อ​ ย่าง​นนั้ ห​ ลวงปูท​่ า่ น​สอน​ให้ข​ า้ พเจ้าห​ ลับตา​
และ​นึกถึง​หลวงปู่​ทวด​ ​(​หลวงปู่​ทวด​ ​เหยียบ​น้ำ​ทะเล​จืด​)​ ​แล้วก​ราบ​เรียน​
ถาม​ท่าน​
​ ขณะ​ที่​อยู่​ใน​ห้อง​สอบ​ ​เมื่อ​ข้าพเจ้า​ทำ​ข้อสอบ​เสร็จ​ ​แต่​เวลา​ยัง​
ไม่​หมด​ ​และ​ยัง​มี​ข้อสอบ​ประเภท​กากบาท​เหลือ​อีก​ประมาณ​ ​๑๐​ ​ข้อ​ที่​
ข้าพเจ้าไ​ม่แ​ น่ใจ​ข​ า้ พเจ้าไ​ม่ร​ อ​ชา้ ​น​ กึ ถึงท​ ห​ี่ ลวงปูส​่ อน​ทนั ที​ค​ อ่ ย​ๆ​พ​ จิ ารณา​
ที​ละ​ข้อ​ ​หาก​ข้อ​ใด​ถูก​ต้อง​เมื่อ​ข้าพเจ้า​เอา​ปากกา​จิ้ม​ไป​ที่​ตัว​เลือก​ ​จะ​เกิด​
เป็น​แสง​สว่าง​ขึ้น​ทันที​​แต่​ถ้า​ไม่​ถูก​ต้อง​​ก็​จะ​มืด​และ​ไม่มี​แสง​สว่าง​

luangpordu.com
143 ๑๔๓

​ ข้าพเจ้าท​ ำ​ขอ้ สอบ​สว่ น​ทเ​ี่ หลือด​ ว้ ย​วธิ น​ี จ​ี้ น​เสร็จเ​รียบร้อย​หลังจ​ าก​
ประกาศ​ผล​สอบ​ออก​มา​​ข้าพเจ้า​ได้​เกรด​​A​​เช่น​เคย​​เดือน​ต่อ​มา​​ข้าพเจ้า​
ได้​มี​โอกาส​นำ​เรื่อง​นี้​ไป​เรียน​ถวาย​ให้​หลวงปู่​ทราบ​ ​ใน​ครั้ง​นั้น ​มี​เพื่อน​
​ของ​ข้าพเจ้า​ซึ่ง​เรียน​อยู่​ใน​มหาวิทยาลัย​อีก​แห่ง​หนึ่ง​มาก​ราบ​หลวงปู่​ด้วย​
เช่น​กัน​​เพื่อน​ข้าพเจ้า​คน​นี้​ได้​ฟัง​เรื่อง​ที่​ข้าพเจ้า​เล่า​ถวาย​หลวงปู่​​เขา​จึง​ได้​
กราบ​เรียนถาม​หลวงปู่​ว่า​
​ “ผม​ได้​ทำ​ข้อสอบ​กากบาท​แบบ​นี้​เหมือน​กัน​ ​ข้อสอบ​มี​ ​๑๐๐​ ​ข้อ​​
พอ​เข้า​ห้อง​สอบ​ผม​ก็​หลับตา​นึกถึง​หลวงปู่​ ​ขอ​ให้​ช่วย​ทำ​ข้อสอบ​ด้วย​​
จาก​นนั้ ก​ ท​็ ำ​ขอ้ สอบ​โดย​ใช้ว​ ธิ ห​ี ลับตา​เช็คท​ ล​ี ะ​ขอ้ จ​ น​ครบ​๑​ ๐๐​ข​ อ้ ​ผ​ ล​สอบ​
ออก​มา​ปรากฏ​ว่า​ได้​​F​​คือ​​สอบ​ตก​​ทำไม​เป็น​อย่าง​นี้​ครับ​หลวงปู่​” ​
​หลวงปู่​มอง​หน้า​เพื่อน​ของ​ข้าพเจ้า ​และ​เมตตา​อบรม​เตือน​สติ​
ทั้ง​เพื่อน​และ​ข้าพเจ้า​ว่า​
​“​แก​ไม่​พิจารณา​ให้​ดี​ ​นั่น​แหละ​ตัว​ประมาท​ ​จำ​ไว้ตัว​ประมาท​นี่​
แหละ​ตัว​ตาย​”​
​ ตรง​กับ​พระพุทธ​พจน์​ที่​ว่า​​
ปมา​โท​ ​มัจจุ​โน​ ​ป​ทัง​ ​ความ​ประมาท​เป็น​หนทาง​ไป​สู่​ความ​ตาย​​
นั่นเอง​

luangpordu.com
๑๔๔ 144

​๗๘​
​ของ​โกหก​

มี​พระพุทธ​พจน์​ว่า​
​ “​บุคคล​ใด​ ​เห็น​สิ่ง​อัน​ไม่​เป็น​สาระ​ว่า​เป็น​สาระ​ ​และ​เห็น​สิ่ง​อัน​เป็น​
สาระ​ว่า​ไม่​เป็น​สาระ​ ​บุคคล​นั้น​มี​ความ​ดำริ​ผิด​ประจำ​ใจ​ ​ย่อม​ไม่​อาจ​พบ​
สาระ​ได้​
​ ส่วน​บุคคล​ใด​ ​เห็น​สิ่ง​อัน​เป็น​สาระ​ว่า​เป็น​สาระ​ ​สิ่ง​อัน​ไม่​เป็น​สาระ​
ว่า​ไม่​เป็น​สาระ​​บุคคล​นั้น​มี​ความ​ดำริ​ถูก​ประจำ​ใจ​​ย่อม​สามารถ​พบ​สิ่ง​อัน​
เป็น​สาระ​”​
​เรื่อง​ราว​​เหตุการณ์​​บุคคล​​สัตว์​​สิ่งของ​ต่างๆ​​ที่​ผ่าน​เข้า​มา​ใน​ชีวิต​
ของ​เรา​นั้น​​
สรรพ​สงิ่ ล​ ว้ น​เปลีย่ นแปลง​ไ​ม่ค​ งที​่ แ​ ละ​ไม่ส​ ามารถ​คง​อยูต​่ ลอด​ไป​ ​
หาก​เรา​รู้จัก​สังเกต​ ​ฝึกหัด​พิจารณา​หาเหตุ​หา​ผล​ ​จน​ใจ​คุ้น​เคย​กับ​
ความ​เห็น​ตาม​ความ​จริง​
เ​รา​จะ​เห็นถ​ งึ ค​ วาม​เปลีย่ นแปลง​ทง้ั บ​ คุ คลและ​สง่ิ ของ​ทกุ อ​ ย่างรอบ​ตวั ​
เรา​ได้​ไม่​ยาก​นัก​

luangpordu.com
145 ๑๔๕

​๗๙​
​ถึง​วัดห​ รือ​ยัง​

ธรรมะ​เป็นส​ งิ่ ท​ ม​ี่ อ​ี ยูร​่ อบ​ๆ​ต​ วั เ​รา​ทกุ ๆ​ ​ค​ น​เ​พียง​แต่ว​ า่ เ​รา​จะ​สามารถ​
มอง​เห็น​และ​นำ​มา​พิจารณา​ได้​แค่​ไหน​อย่างไร​​ใน​สมัย​พุทธ​กาล​​ท่าน​หมอ​
ชี​วก​โก​มาร​ภัจจ์​ ​แพทย์​ประจำ​องค์​พระพุทธเจ้า​ของ​เรา​ ​สมัย​ที่​ศึกษา​อยู่​
กับ​อา​จาร​ย์​ทิศ​า​ปาโมกข์​​ก่อน​จะ​สำเร็จ​วิชา​การ​แพทย์​​ท่าน​ให้​ถือ​เสียม​ไป​​
เที่ยว​หา​ดู​ว่า​มี​สิ่ง​หนึ่ง​สิ่ง​ใด​ที่​ใช้​เป็น​ยา​ไม่​ได้​​ให้​นำ​มา​ให้​​โดย​ให้​ไป​เที่ยว​หา​​
๔​​วัน​​วัน​ละ​ทิศ​​ทิศ​ละ​​๑​​โยชน์​​รอบ​เมือง​ตัก​ศิลา​​ท่าน​หมอ​ชีว​กรับ​คำ​สั่ง​
อาจารย์​แล้ว​ถือ​เสียม​ไป​เที่ยว​หา​ตาม​คำ​สั่ง​ของ​อาจารย์​ ​ก็​ไม่​ได้​พบเห็น​สิ่ง​
ใด​ที่​ไม่ใช่​ยา​เลย​ ​เมื่อ​กลับ​มา​แล้ว​เข้า​พบ​อาจารย์​ ​แจ้ง​ความ​นั้น​ให้​ทราบ​​
อาจารย์​จึง​กล่าว​ว่า​ ​เธอ​เรียน​วิชา​แพทย์​สำเร็จ​แล้ว​ ​ความ​รู้​เท่า​นี้​พอ​เพียง​
ที่​เธอ​จะ​ใช้​เป็น​อาชีพ​ได้​แล้ว​
​ตน้ ไม้​ทกุ ​ชนิด​​หนิ ​​ดนิ ​​แร่​ตา่ งๆ​​ม​คี ณ ุ ค่า​​สามารถ​นำ​มา​เทียบ​เป็น​ยา​
ได้​ฉันใด​ ​บุคคล​ผู้​มี​ความ​ฉลาด​ก็​ฉัน​นั้น​ ​รอบ​ๆ​ ​ตัว​เรา​ทุก​สิ่ง​ทุก​อย่าง​ไม่​ว่า​
คน​ ​สัตว์​ ​สิ่งของ​ ​เรื่อง​ราว​เหตุ​กา​รณ์​ใดๆ​ ​ก็ตาม​ที่​เกิด​ขึ้น​ ​และ​ผ่าน​เข้า​มา​
ใน​ชีวิต​ประจำ​วัน​ของ​เรา​นั้น​ ​ไม่มี​เรื่อง​ใด​ ​ที่​ไม่​สามารถ​นำ​มา​พิจารณา​ให้​
เป็น​ธรรมะ​ได้​เลย​

luangpordu.com
๑๔๖ 146

​ ​พระพุทธ​เจ​​าท​​าน​สอน​ให​​เรา​ม​ีความ​เข​​า​ใจ​ใน​โลก​ธรรม​ทง้ั ​ ​๘​ ​อย​​าง​​


​ได​​แ ก​​
​ ​ ​ได​​ล าภ​​​เสือ่ ม​ลาภ​
​ ​ ​ได​​ย ศ​​​เสือ่ ม​ยศ​
​ ​ ​ได​​ร บั ​ความ​สขุ ​​​ประสบ​กบั ​ความ​ทกุ ข​​
​ ​ ​ม​คี น​สรรเสริญ​​​และ​ม​คี น​นนิ ทา​
​ ​.​.​.​ถ​า ​ใจ​เปรียบ​เหมือน​นำ้ ​นง่ิ ​​เมือ่ ​ใจ​เรา​กระทบ​กบั ​โลก​ธรรม​​๘​​อย​​า ง​น้​ี
​ ​วก​ระ​เพื่อ​ม​ไหว​ไป​ตาม​อา​รมณ​​ ​ก็เป​​น​โลก​ ​แต​​ถ​า​พิจารณา​อย​​า​งมี​สติ​
แล​
​ เท​​า​ทัน​โลก​ธรรม​ ​๘​ ​อย​​าง​แล​​ว​ ​ไม​​ซัด​ส​าย​ไป​ตาม​อา​รมณ​​ท้งั หมด​น้ี​
จน​
​ใจ​กเ็ ป​​น ธรรม​อย​​โู ดย​ตลอด​
​ ​ธรรมะ​แท​​อ ย​​ทู ​ใ่ี จ​ ​มใิ ช​​ท​ว่ี ดั ​ ​พระ​สงฆ​​ ​หรือ​คมั ภีร​ใ บ​ลา​นทีล​่ ​ว นเป​​น ​
ศาสน​สถาน​ ​ศาสน​บคุ คล​ ​หรือ​ศาสน​วตั ถุ​ ​เท​​า ​นน้ั ​ ​หาก​เรา​เข​​า ​ใจ​ได​​อ ย​​า ง​น้​ี ​
ศาสน​ธรรม​อนั ​เป​​น ​สง่ิ ​สำคัญ​ทส่ี ดุ ​ก​จ็ ะ​เกิด​ขน้ึ ​ท​ต่ี วั ​เรา​ ​เมือ่ ​นน้ั ​ ​เรา​ก​จ็ ะ​เข​​า ​ใจ​
คำว​​า ​​“พระ​ท​ค่ี ล​​อ ง​ใจ​” ​มใิ ช​​ ​“พระ​ท​ค่ี ล​​อ ง​คอ”​
​ ​หลวง​ปดู่ ​ู ​ท​า น​สรุป​เรือ่ ง​นใ้ี ห​​ข ​า พ​เจ​​า ฟ​​ง ว​​า ​
​ ​“​ถงึ ​แก​มา​วดั ​​แต​​ใ จ​ยงั ​ม​โี กรธ​โ​ลภ​​หลง​​ไป​ตาม​​๘ อย​​า ง​ท​ว่ี ​า ​น​้ี ​แก​
ยัง​มาไม​​ถ งึ ​วดั ​ ​แต​​ถ ​า ​แกอย​​บู ​า น​หรือ​ท​ไ่ี หน​ๆ​ ​แต​​ไ ม​​โ กรธ​ ​ไม​​โ ลภ​ ​ไม​​ห ลง​​
ไม​​ม ​ี ​๘​​อย​​า ง​น​ม่ี าก​วน​ใจ​​ข​า ว​​า ​แก​มา​ถงึ ​วดั ​แล​​ว ​”

luangpordu.com
147 ๑๔๗

​๘๐​

​รางวัล​ทุน​ภูมิพล​

เมื่อ​ปี​ ​พ​.​ศ​.​๒๕๒๗​ ​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​กำลัง​ศึกษา​อยู่​ที่​มหาวิทยาลัย​


ธรรมศาสตร์​ ​มี​เหตุการณ์​หนึ่ง​ซึ่ง​หลวง​ปู่ทวด​ได้​เมตตา​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​
จน​ข้าพเจ้า​ไม่มี​วัน​ที่​จะ​ลืม​ไป​ได้​ ​คือ​วัน​หนึ่ง​ ข้าพเจ้า​ได้​ทราบ​ข่าว​ว่า​ ​ทาง​
มหาวิทยาลัย​จัด​ประกวด​การ​เขียน​เรียง​ความ​ใน​หัวข้อ​เรื่อง​ “​พระบาท-​
สมเด็จ​พระเจ้า​อยู่​หัว​ภูมิ​พลอ​ดุลย​เดช​กับ​พุทธ​ศาสนา​ใน​สังคม​ไทย​”​
​ ข้าพเจ้าเ​กิดค​ วาม​สนใจ​ทจ​ี่ ะ​เขียน​เรียง​ความ​ดงั ก​ ล่าว​ขนึ้ ม​ า​ทนั ที​แ​ ต่​
ก็​ไม่​แน่ใจ​ตนเอง​ว่า​จะ​มี​ความ​สามารถ​เขียน​ได้​ดี​สัก​เพียง​ใด​ ​เมื่อ​ข้าพเจ้า​
ตัดสินใ​จ​แน่นอน​แล้วว​ า่ จ​ ะ​เขียน​จ​ งึ ไ​ด้ม​ าก​ราบ​พระ​ร​ ะลึกถ​ งึ พ​ ระคุณค​ รูบา-​
อาจารย์​ ​และ​อาราธนา​หลวง​ปู่ทวด​และ​หลวงปู่​ดู่​เพื่อ​ขอ​ความ​ช่วย​เหลือ​
จาก​ท่าน​ให้​งาน​เขียน​ชิ้น​นี้​สำเร็จ​ลุล่วง​ไป​ด้วย​ดี​ ​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​กำลัง​นึก​
อธิษฐาน​อยูใ​่ น​หอ้ ง​พระ​เพียง​ลำพังน​ ​ี้ ก​ บ​็ งั เกิดน​ มิ ติ เ​ป็นห​ ลวง​ปทู่ วด​ทา่ น​เดิน​
ออก​มา​จาก​โต๊ะห​ มูบ​่ ชู า​มา​หา​ขา้ พเจ้า​ข​ า้ พเจ้าแ​ ล​เห็นภ​ าพ​ตวั เ​อง​นงั่ ค​ กุ เข่า​
หมอบ​ตัว​ลง​ ​และ​หงาย​ฝ่ามือ​ทั้ง​สอง​ยื่น​ไป​ข้าง​หน้า​เบื้อง​หน้า​ ​ข้าพเจ้า​แล​
เห็น​เป็น​ภาพ​หลวง​ปู่ทวด​ยืน​สวด​มนต์​ให้​พร​ ​พร้อม​กับ​เป่า​ลง​ที่​มือ​ทั้ง​สอง​
ของ​ข้าพเจ้า​​ใน​นิมิต​นั้น​​ข้าพเจ้า​เห็น​เป็น​อักขระ​โบราณ​อยู่​เต็ม​สอง​ฝ่ามือ​

luangpordu.com
๑๔๘ 148

ข้าพเจ้าจ​ งึ ก​ ราบ​เรียน​ถาม​หลวง​ปทู่ วด​วา่ ​“​ อ​ ะไร​หรือข​ อรับ”​ท​ า่ น​ตอบ​สนั้ ๆ​​


ว่า​“​ ​ความ​รู้​”​​จาก​นั้น​ท่าน​ก็​หัน​หลัง​เดิน​กลับ​หาย​ลับ​เข้าไป​ใน​โต๊ะ​หมู่​บูชา​
​ ข้าพเจ้า​ปลื้ม​ปีติ​มาก​ ​และ​เกิด​เป็น​กำลัง​ใจ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​การ​เขียน​
หนังสือ​ครัง้ ​นน้ั ​ ​และ​ได้​ใช้​เวลา​กว่า​สาม​เดือน​ ​จงึ ​เขียน​เรียง​ความ​แล้ว​เสร็จ​
ขณะ​ที่​เขียน​หาก​ติดขัด​อะไร​ ​เมื่อ​นึกถึง​หลวง​ปู่ทวด​ ​จะ​เหมือน​ท่าน​ช่วย​
ดลใจ​ให้ส​ ามารถ​เขียน​ตอ่ ไ​ด้​จ​ ะ​คน้ คว้าห​ รือห​ า​ขอ้ มูลอ​ า้ งอิงใ​ด​ๆ​ก​ ไ​็ ม่ต​ ดิ ขัด​
เลย​​เป็น​เรียง​ความ​เรื่อง​ยาว​ขนาด​มาก​กว่า​​๓๐​​หน้า​กระดาษ​พิมพ์​ดีด​​ซึ่ง​
นับ​เป็น​งาน​เขียน​ที่​ยาว​ที่สุด​ใน​ชีวิต​ของ​ข้าพเจ้า​เลย​ที​เดียว​​
เมือ่ ท​ าง​มหาวิทยาลัยป​ ระกาศ​ผล​การ​ประกวด​เรียง​ความ​ง​ าน​เขียน​
ของ​ข้าพเจ้า​เป็น​งาน​เขียน​ชิ้น​เดียว​ใน​ปี​นั้น​ที่​ได้​รับ​พระราชทาน​รางวัล​ทุน​
ภูมิพล​ ​โดย​ได้​เข้า​รับ​พระราชทาน​รางวัล​เป็น​ทุน​การ​ศึกษา​จาก​พระหัตถ์​
ของ​พระบาท​สมเด็จ​พระเจ้า​อยู่​หัวฯ​​ใน​วันพระ​ราช​ทาน​ปริญญา​บัตร​
​ จาก​คน​ที่​ไม่​เคย​เขียน​หนังสือ​ ​จาก​คน​ที่​ไม่​เคย​สนใจ​งาน​ด้าน​ขีด​ๆ​​
เขียน​ๆ​​มา​ก่อน​​จน​มา​ได้​รับ​พระราชทาน​รางวัล​​ทุน​ภูมิพล​​ไม่​เป็น​ที่​สงสัย​
เลย​วา่ ข​ า้ พเจ้าจ​ ะ​ยนิ ดีแ​ ละ​ดใี จ​เพียง​ใด​ข​ า้ พเจ้าข​ อก​ราบ​แทบ​เบือ้ ง​บาท​ของ​
หลวง​ปทู่ วด​และ​หลวงปูด​่ ​ู่ ข​ อ​นมัสการ​ดว้ ย​ความ​เคารพ​..​.​ด​ ว้ ย​เศียร​..​.​​แ​ ละ​​
เกล้า​.​.​.​ที่​ทำ​ฝัน​ของ​ข้าพเจ้า​ให้​เป็น​จริง​

luangpordu.com
149 ๑๔๙

​๘๑​
​หลวง​ปู่ทวด​ช่วย​ชีวิต​

ความ​ไม่ม​ีโรค​เป็น​ลาภ​อนั ​ประเสริฐ​ ​เป็น​คำ​สอน​ของ​พระพุทธ​องค์​


ที่​ใช้ได้​ทุก​ยุค​ทุก​สมัย​ ​ความ​ทุกข์​ของ​คน​เรา​นั้น​มี​มากมาย​หลาย​เรื่อง​
หลาย​อย่าง​ ​การ​เจ็บ​ป่วย​ด้วย​โรค​เรื้อรัง​ที่​เพียร​พยายาม​รักษา​อย่างไร​
​ก็​ไม่​ยอม​หาย​สัก​ที​ ​นี่​ก็​เป็น​ความ​ทุกข์​ที่​ทรมาน​จิตใจ​มาก​เรื่อง​หนึ่ง​ของ​
มนุษย์​เรา​ ​บทความ​ที่​ท่าน​จะ​ได้​อ่าน​ต่อ​ไป​นี้​ ​เป็น​เรื่อง​ของ​คุณ​รัต​นา​ภรณ์​​
อินทร​กำแหง​ ​ซึ่ง​เขียน​โดย​เบญจ​ะ​ ​ชิน​ปัญ​ชนะ​ ​จาก​หนังสือ​ขวัญ​เรือน​​
​ได้​เล่า​ไว้​ดังนี้​
​ คุณ​รัต​นา​ภรณ์​​อินทร​กำแหง​​เป็น​ศิลปิน​ดารา​ที่​เด่น​ดัง​ใน​อดีต​และ​
ยัง​ม​ผี ล​งาน​อยู​ถ่ งึ ​ทกุ ​วนั ​น​้ี ​ชวี ติ ​จริง​ของ​ศลิ ปิน​ทา่ น​น​ไ้ี ด้​ผา่ น​อปุ สรรค​มา​แล้ว​
อย่าง​มากมาย​ ​ตื่น​เต้น​เร้าใจ​ยิ่ง​กว่า​ภาพยนตร์​ที่​เธอ​แสดง​ ​และ​เมื่อ​ถึง​บท​
เศร้าแ​ ล้ว​เ​ศร้าส​ ลด​จน​ตอ้ ง​ฆา่ ต​ วั ต​ าย​เ​มือ่ ห​ ลาย​ปก​ี อ่ น​คณ ุ ร​ ตั น​ า​ภรณ์ไ​ด้เกิด​
ล้มป​ ว่ ย​เป็นอ​ มั พาต​ล​ กุ เ​ดินไ​ม่ไ​ด้​ไ​ด้ไ​ป​รกั ษา​ตวั ท​ โ​ี่ รง​พยาบาล​มชี อื่ แ​ ห่งห​ นึง่ ​
หมด​เงิน​ไป​ร่วม​​๒​​แสน​บาท​​แต่​ไม่​หาย​​และ​ไม่​ดี​ขึ้น​เลย​​พอ​รู้​ข่าว​ว่าที่​ไหน​
มีห​ มอ​เก่ง​จ​ ะ​รบี ใ​ห้ค​ น​พา​ไป​ร​ กั ษา​แล้วก​ เ​็ หมือน​เดิม​ร​ กั ษา​ไป​จน​ทรัพย์ส​ นิ ​
เงิน​ทอง​เกือบ​หมด​​

luangpordu.com
๑๕๐ 150

โรค​ร้าย​ที่​ทรมาน​เพราะ​ลุก​เดิน​ไม่​ได้​ก็​ยัง​ทรมาน​ใจ​อยู่​ ​เป็น​เช่น​นี้​
อยู่​นาน​ถึง​ ​๗​ ​เดือน​ จนคิดอยากฆ่า​ตัว​ตาย​ ​คน​เรา​เมื่อ​หมด​หนทาง ​ไม่มี​
ทางออก​กม็ กั คิดส​ นั้ ​ค​ น​ทต​ี่ อ้ ง​อยูใ​่ น​สภาพ​ทช​ี่ ว่ ย​ตวั เ​อง​ไม่ไ​ด้เ​ป็นร​ ะยะ​เวลา​
นาน​ๆ​ ​ต้อง​อยู่​แต่​ใน​ห้อง​ที่​แคบ​ๆ​ ​จะ​ทำ​อะไร​ก็​ต้อง​อาศัย​ผู้​อื่น​ มัน​น่า​เบื่อ​
หน่าย​คบั แ​ ค้นใ​จ​ยง่ิ น​ กั ​ต​ าย​ซะ​จะ​ดก​ี ว่า​ช​ าติท​ แ​่ี ล้วค​ ง​ทำกรรม​ไว้ม​ าก​ข​ อ​ยอม​
ชดใช้​กรรม​แต่​เพียง​เท่า​นี้​
​ นั่น​เป็น​คำ​พูด​ของ​คุณ​รัต​นา​ภรณ์​ ​ที่​น้อย​อก​น้อยใจ​ใน​ชะตา​กรรม​
ของ​ตนเอง​ก​ อ่ น​ทจ​ี่ ะ​ตดั สินใ​จ​ไป​ตาย​เ​มือ่ ต​ ดั สินใ​จ​แล้วจึงเ​ดินท​ าง​ทอ่ งเทีย่ ว​
แบบ​สงั่ ล​ า​อ​ ยาก​ไป​ทไี่ หน​กไ​็ ป​ช​ อบใจ​ทไี่ หน​กอ​็ ยูน​่ าน​หน่อย​เ​มือ่ ไ​ป​ถงึ ภ​ เู ก็ต​
เกิดค​ วาม​เบือ่ ​จึงห​ ลบ​ไป​ชายหาด​ทไ​่ี ม่มค​ี น ส​ ง่ั บ​ ตุ ร​บญ ุ ธ​ รรม​(​ค​ ณ
ุ ร​ ตั น​ า​ภรณ์​
หรือ​คุณ​แดง​ ​ไม่มี​บุตร​)​ ​ให้​ไป​ซื้อ​ข้าว​ปลา​อาหาร​ทาน​กัน​ที่​ชายหาด​ เมื่อ​
ไม่มี​ใคร​อยู่​แล้ว​ ​คุณ​แดง​จึง​ได้​ตั้ง​จิต​อธิษฐาน​ต่อ​คุณ​พระ​ศรี​รัตนตรัย​ ​โดย​
เฉพาะ​หลวงปู่​ทวด​​ท่​เี คารพ​นับถือ​มาก​ ​เพราะ​เคย​ได้​ประจักษ์​ใน​​อิทธิ​ฤทธิ์​
อภินหิ าร​จาก​การ​รอด​ตาย​มา​แล้ว​(​ถ​ งึ ก​ บั ไ​ด้ช​ กั ชวน​คณ ุ สมบัต​ิ เ​มท​ะนี​ด​ ารา​​
ยอด​นิยม​ใน​อดีต​ ​ช่วย​กัน​สร้าง​พระ​เครื่อง​​หลวงปู่​ทวด​ ​ถวาย​ให้​วัด​ช้าง​ให้​
ไป​รุ่น​หนึ่ง​)​​ช่วง​นั้น​คุณ​แดง​ได้​ตั้ง​จิต​อธิษฐาน​ต่อ​องค์​หลวงปู่​ทวด​ไว้​ว่า​
​ “​ขณะ​นี้​ลูก​ได้​ถูก​โรค​ร้าย​เบียดเบียน​​ทน​ทุกข์​ทรมาน​เป็น​เวลา​นาน​
แล้ว​ ​วัน​นี้​ได้​ตัดสิน​ใจ​ขอ​ลาตาย​ ​บุญใ​ด​ที่​ลูก​ได้​ทำ​มา​แล้ว​ ​ใน​อดีต​ชาติ​ก็​ดี​​
และ​ใน​ชาติน​ ก​ี้ ด​็ ​ี ล​ กู ข​ อ​อทุ ศิ บ​ ญ
ุ น​ นั้ ใ​ห้ก​ บั เ​จ้าก​ รรม​นายเวร​ทไ​ี่ ด้ล​ ว่ ง​เกินก​ นั ​
มา​​จะ​ด้วย​เจตนา​ก็​ดี​​ไม่​เจตนา​ก็​ดี​​ขอ​ให้​หลวงปู่​ทวด​​ช่วย​เป็น​สื่อ​ไป​บอก​

luangpordu.com
151 ๑๕๑

ให้​เจ้า​กรรม​นายเวร​ต่าง​​ๆ​​มา​รับ​ไป​และ​อโหสิกรรม​ให้​ลูก​ด้วย​​และ​ถ้า​เมื่อ​
ลูกไ​ด้ห​ มด​กรรม​จริงแ​ ล้ว​ข​ อ​ให้ห​ ลวงปูท​่ วด​ได้เ​มตตา​สงเคราะห์ใ​ห้ห​ าย​จาก​
โรค​ภัย​ใน​วัน​นี้​ด้วย​​ถ้า​ยัง​ไม่​หาย​​ลูก​ขอ​ลาตาย​ใน​บัดนี้​”​
​ เมือ่ จ​ บ​คำ​อธิษฐาน​แล้ว​ค​ ณ ุ แ​ ดง​กล​็ งมือค​ ลาน​กลิง้ ต​ วั ล​ ง​ทะเล​ไป​เ​มือ่ ​
เจอ​คลืน่ ซ​ ดั ม​ า​ก​ ก​็ ลิง้ ก​ ลับไ​ป​แ​ ต่ก​ ย​็ งั ก​ ระเสือก​กระสน​คลาน​ตอ่ ไ​ป​แ​ ล้วก​ ถ​็ กู ​
คลื่น​ซัด​เข้า​ฝั่ง​อีก​​ต่อสู้​กับ​คลื่น​เพื่อ​ที่​จะ​ไป​ให้​ลึก​พอที่​จะ​จม​น้ำ​แล้ว​หายใจ​
ไม่อ​ อก​เ​ป็นเ​ช่นน​ อ​ี้ ยูค​่ รึง่ ช​ วั่ โมง​จ​ น​บตุ ร​บญ ุ ธ​ รรม​กบั ค​ นใช้ม​ า​พบเห็น​ช​ ว่ ย​
พยุง​ตัว​ขึ้น​ฝั่ง​​ขณะ​นั้น​เหนื่อย​จน​ไม่​ได้สติ​​มา​ตกใจ​รู้ตัว​เพราะ​เสียง​ตะโกน​
ลั่น​ว่า​“​ แม่​หาย​แล้ว​​!​​แม่​หาย​แล้ว​​!​”​​
ปาฏิหาริย์​เกิด​ขึ้น​แล้ว​ ​เพราะ​คุณ​แดง​ยืน​ได้​แล้ว​ ​เดิน​ได้​ด้วย​ ​หาย​
จาก​โรค​ร้าย​แล้ว​ ​เพราะ​คุณ​พระ​รัตนตรัย​และ​หลวงปู่​ทวด​ที่​ประทาน​ให้​
เนรมิต​ให้​โดย​ใช้​เวลา​สั้น​ๆ​​หลังจาก​​ที่​ต้อง​ทน​ทรมาน​อยู่​นาน​ถึง​​๗​​เดือน​
​ นี้​เป็น​อีก​เรื่อง​หนึ่ง​ที่​ข้าพเจ้า​ขอ​ฝาก​ท่าน​ผู้​อ่าน​ไว้​ ​เป็น​เครื่อง​เจริญ​
ศรัทธา​

luangpordu.com
๑๕๒ 152

​๘๒​
​ทา​มา​ก็อต​จิ​

ทา​มา​กอ็ ต​จ​ิ ห​ รือเ​จ้าส​ ตั ว์เ​ลีย้ ง​คอมพิวเตอร์ท​ แ​ี่ สน​จะ​ขอ​ี้ อ้ น​ซ​ งึ่ ก​ ำลัง​
แพร่​ระบาด​และ​เป็น​ที่​นิยม​เลี้ยง​กัน​ใน​หมู่​นักเรียน​นัก​ศึกษา​ ​โดย​เฉพาะ​
อย่าง​ยิ่ง​ที่​ญี่ปุ่น​และ​ใน​บ้าน​เรา​ ​จน​ทาง​โรงเรียน​ต้อง​ห้าม​นักเรียน​ไม่​ให้​นำ​
มา​โรงเรียน​เ​พราะ​จะ​ทำให้เ​สียก​ าร​เรียน​เ​นือ่ งจาก​ตอ้ ง​คอย​ดแู ล​ทา​มา​กอ็ ต​
ยิ่ง​กว่า​ไข่​ใน​หิน​ ​ต้อง​คอย​ป้อน​อาหาร​ให้​ทาน​ ​พา​เข้า​ห้องน้ำ​ ​เจ็บ​ป่วย​ต้อง​
พา​ไป​​หา​หมอ​และ​อื่น​ๆ​​อีก​จิปาถะ​​มิ​ฉะนั้น​.​.​.​​มัน​ก็​จะ​ตาย​
​ จาก​เรือ่ ง​ทา​มา​กอ็ ต​สตั ว์เ​ลีย้ ง​ปลอม​ท​ ำให้ข​ า้ พเจ้าค​ ดิ ถึงว​ รรณกรรม​
ที​ม่ ชี อ่ื ​เรือ่ ง​หนึง่ ​ใน​อดีต​คอื ​ “​ตลิง่ ​สงู ​ ​ซงุ ​หนัก”​ ​ของ​นคิ ม​ ​รายย​วา​ ​กวี​ซี​ไรท์​
เมื่อ​หลาย​ปี​ก่อน​ ​ครั้ง​นั้น​ ​นิคม​ได้​นำ​เสนอ​เรื่อง​ความ​เป็น​ ​ของ​จริง​ ​และ​​
ของปลอม​ไ​ด้อ​ ย่าง​ไพเราะ​กนิ ใ​จ​ยงิ่ น​ กั ​น​ คิ ม​ไ​ด้ใ​ห้​ค​ ำ​งาย​ต​ วั เอก​ของเรือ่ ง​
เรียน​รู้​และ​พบ​คำถาม​ได้​โดย​การ​ ​“​ประสบ​”​ ​กับ​คำ​ตอบ​อัน​เป็น​รูป​ธรรม​
หลาย​​ๆ​ ​ครั้ง​จน​สามารถ​โยง​เข้า​สู่​ปริศนา​ใน​ใจ​ได้​ คำ​งาย​เริ่ม​แกะ​ช้าง​ใหญ่​
เท่าต​ วั จ​ ริง​เ​ขา​เริม่ ต​ งั้ ค​ ำถาม​วา่ ​“​ เ​รา​เคยเดินท​ าง​ไกล​ไ​ด้พ​ บเห็นอ​ ะไร​หลาย​
อย่าง​ ​แต่​ตัว​เรา​เอง​เป็น​ของ​ใกล้​ที่สุด​ ​เรา​กลับ​ไม่​เคย​เห็น​มัน​เลย​”​ ​จน​เมื่อ​
คำ​งาย​แกะ​ช้าง​ได้​เป็น​ตัว​เป็น​ตน​แล้ว​​แต่​เขา​ยัง​หาความ​เป็น​ช้าง​ไม่​ได้​

luangpordu.com
153 ๑๕๓

​ จน​วัน​หนึ่ง​​เมื่อ​เขา​อยู่​บน​หลัง​พลาย​สุด​​ยาม​ที่​พลาย​สุด​ตกมัน​​เมื่อ​
เขา​กุม​สติ​ได้ ​เขา​พบ​ว่า​สิ่ง​นี้​เอง​ที่​เรา​อยาก​รู้​​เขา​คิด​ขณะ​ความ​อุ่น​และอ่อน​
ละมุน​จาก​ตัว​ช้าง​แล่น​ซ่าน​ใต้​ร่าง​เขา​​มัน​มี​อารมณ์​​มี​เลือด​เนื้อ​​มี​ชีวิต​และ​
วิญญาณ​เ​ขา​สมั ผัสไ​ด้ถ​ งึ ค​ วาม​มทุ ะลุร​ นุ แรง​ทก​ี่ ำลังท​ ะยาน​ไป​ขา้ ง​หน้ารูส้ กึ ​
ถึง​ความ​หวาด​กลัว​และ​หวัน่ ​ไหว​ชว่ั ​ขณะ​ของ​มนั ​ ​ความ​เศร้า​ ​ความเจ็บ​ปวด​​
และ​ความ​ตกใจ​ข​ ณะ​ดนิ้ รน​และ​วงิ่ พ​ ล่าน​ฟดั เ​หวีย่ ง​อยูก​่ บั แ​ อ่งท​ ห​ี่ า​ทางออก​
ไม่ไ​ด้​ส​ งิ่ ท​ ค​ี่ ำ​งาย​คน้ พ​ บ​น​ี้ ไ​ม่ใช่เ​พียง​แต่ช​ วี ติ แ​ ละ​เลือด​เนือ้ ข​ อง​ชา้ ง​ตวั ห​ นึง่ ​
เท่านัน้ ​แ​ ต่ค​ อื ช​ วี ติ แ​ ละ​เลือด​เนือ้ ข​ อง​มนุษยชาติท​ ข​ี่ าด​หาย​ไป​ใน​โลก​ปจั จุบนั ​
โลก​ท​ผ่ี คู้ น​ชมชืน่ ​กบั ​ชวี ติ ​ท​เ่ี ป็น​“​ ​ซาก​”​​มาก​กว่า​ชวี ติ ​ท​เ่ี ป็น“​ ​จริง​”​
​ ดัง​นั้น​ ​คำ​งาย​จึง​หัน​กลับ​มา​พิจารณา​ช้าง​ไม้​ของ​เขา​ ​อีก​ครั้ง​หนึ่ง​​
และ​ฉงน​ฉงาย​นัก​ว่า​ ​“​คน​เรา​นี่​แปลก​จริง​ๆ​ ​ไม้​ใหญ่​มัน​ก็​ใหญ่​ของ​มัน​อยู่​
แล้วใ​คร​ไม่ไ​ด้ท​ ำให้ร​ ปู ช​ า้ ง​ใหญ่​แ​ ต่ท​ อ่ น​ไม้ม​ นั ใ​หญ่ข​ อง​มนั เ​อง​ต​ วั ม​ นั จ​ ริงๆ​​
คือ​ต้นไม้​ใหญ่​​แต่​คน​กลับ​ไม่​เห็น​ความ​สวย​และ​มี​ค่า​ของ​มัน​ตอน​มี​ร่ม​เงา​มี​
ชีวติ ​ก​ ลับโ​ค่นม​ นั ล​ ดิ ก​ งิ่ ใ​บ​ให้เ​ป็นซ​ าก​ไม้แ​ ล้วเ​อา​มา​แกะ​ให้เ​หมือน​ซาก​ชา้ ง​​
ชื่นชม​มัน​มาก​กว่า​ได้​เห็น​ช้าง​หรือ​ต้นไม้​ที่​มี​ชี​วิต​จริง​ๆ​ ​เสีย​อีก​ ​ทำ​ไป​ทำ​มา​
จะ​ไม่มี​ของ​จริง​เลย​สัก​อย่าง​​ไม่​ว่า​ช้าง​หรือ​ไม้​”​
​เรื่อง​ของ​ทา​มา​ก็อต​จิ​ ​คำ​งาย​ ​และ​พลาย​สุด​ ​เป็น​ตัวอย่าง​อัน​ดี​ให้​
ข้าพเจ้า​ได้​ความ​เข้าใจ​ชัดเจน​แจ่ม​แจ้ง​ขึ้น​ใน​เรื่อง​​ของ​จริง​​ของ​ปลอม​
​ บท​สนทนา​ตอน​หนึ่ง​ ​ที่​หลวงปู่​ดู่​ท่าน​พูด​คุย​กับ​ข้าพเจ้า​และ​เพื่อน​​
เมื่อ​คราว​ที่​ได้​กราบ​นมัสการ​และ​ถวาย​ดอกบัว​แก่​ท่าน​ ​ก่อน​ที่​จะ​ถวาย​

luangpordu.com
๑๕๔ 154

ดอกบัว​ ​เพื่อน​ของ​ข้าพเจ้า​ได้​นำ​ดอกบัว​ ​มา​พับ​กลีบ​บัว​ให้​ดู​เหมือน​เป็น​


ดอก​กุหลาบ​ ​อีก​กลุ่ม​ก็​เอา​ดอกบัว​มา​พับ​กลีบ​เข้าไป​ที​ละ​ชั้น​จน​เห็น​เกษ​ร
ด​อก​บัว​ที่​อยู่​ด้าน​ใน​​หลวงปู่​ท่าน​นั่ง​มอง​ดู​อยู่​​ใน​ที่สุด​ท่าน​ได้​ฝาก​ข้อคิด​​ใน​
การ​ไป​ทำบุญ​ครั้ง​นั้น​ให้​ข้าพเจ้า​ว่า​
​“​ดอกบัว​ท​พ่ี บั ​กบั ​ดอกบัว​ท​ไ่ี ม่​ได้​พบั ​​อย่าง​ไหน​อยู​ไ่ ด้​นาน​กว่า​กนั ”​
​“​อย่าง​ที่​ไม่​พับ​ครับ​”​​ข้าพเจ้า​ตอบ​
​ “​เอ้อ​ ​!​ ​ก็​เรา​มัน​อยาก​นี่​นา​ ​อยาก​ให้​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​อยาก​ให้​เป็น​
อย่าง​นี้​​ข้า​ฝาก​แก​ไป​คิด​ดู​”​
​ พับ​กัน​ไป​พับ​กัน​มา​ ​ใน​ที่สุด​ของ​จริง​ก็​อยู่​ได้​ทน​นาน​ตาม​ธรรมชาติ​
กว่า​ของ​ที่​ถูก​พับ​ ​และ​ก็​ดู​จริง​ๆ​ ​แล้ว​ดอกบัว​ที่​ถูก​พับ​เป็น​ดอก​กุหลาบ​นั้น​
จะ​ดู​เป็น​ดอกบัว​ก็​ไม่ใช่​​จะ​เป็น​ดอก​กุหลาบ​ก็​ไม่​เชิง​
​ เอา​ความ​เป็น​ดอกบัว​.​.​.​ถวาย​ท่าน​ดี​กว่า​​ข้าพเจ้า​ตอบ​กับ​ตัว​เอง​

luangpordu.com
155 ๑๕๕

​๘๓​
​ไต​รส​รณา​คมน​์​

คุณห​ มอ​อมรา​ม​ ลิล​ า​เ​ป็นฆ​ ราวาส​ผป​ู้ ระพฤติธ​ิ รรม​ทข​ี่ า้ พเจ้าเ​คารพ​


นับถือ​และ​ถือ​เป็น​แบบ​อย่าง​ ​วัน​หนึ่ง​ข้าพเจ้า​ได้​มี​โอกาส​สนทนา​ธรรม​กับ​
ท่าน​ที่​ธรรม​สถาน​​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​
​ บท​สนทนา​วัน​นั้น​​ได้​พูด​กัน​ถึง​พระ​ไต​รส​รณา​คมน​์​​คุณ​หมอ​ได้​ฝาก​
ข้อคิด​ใน​เรื่อง​ที่​กล่าว​กัน​ว่าการ​ขอ​ถึง​พระพุทธ​ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​เป็น​
สรณะ​​เป็น​ที่​พึ่ง​​จะ​สามารถ​กำจัด​ภัย​ได้​จริง​นั้น​​ถึง​อย่างไร​​จึง​กำจัด​ภัย​ได้​
จริง​​คุณ​หมอ​ได้​อธิบาย​ว่า​
​ การ​ถงึ พ​ ระพุทธ​เ​พือ่ เ​ป็นส​ รณะ​นนั้ ​ห​ มาย​ถงึ ​ก​ าร​เข้าใจ​ถงึ ศ​ กั ยภาพ​
ของ​จิต​แท้​ที่​เป็น​พุทธ​ะ​ ​ผู้​รู้​ ​ผู้​ตื่น​ ​ผู้​เบิก​บาน​ ​ใคร​ก็ตาม​ที่​เชื่อ​เช่น​นี้​ ​จน​
พากเพียร​บาก​บั่น​ ​ฝึก​อบรม​จิตใจ​ของ​ตน​ให้​เกิด​เป็น​สัมมา​ทิฏฐิ​ ​ตั้ง​มั่น​ใน​
มรรค​​ไม่​ย่อ​หย่อน​​อ่อนแอ​​ท้อแท้​​เกียจคร้าน​​ที่​จะ​ปฏิบัติ​ให้​ยิ่ง​ๆ​​ขึ้น​ไป​​
จน​ใน​ที่สุด​ ​ใจ​นั้น​ถึง​พร้อม​ด้วย​สติ​ ​สมาธิ​ ​ปัญญา​ ​และ​มี​กำลัง​พอที่​จะ​ขุด​
ราก​ถอน​โคน​กเิ ลส​อา​สวะ​ทงั้ ป​ วง​ออก​ไป​จาก​จติ ใจ​ได้​จ​ ติ ข​ อง​ผน​ู้ นั้ ​ก​ จ​็ ะ​เป็น​
อิสระ​จาก​สิ่ง​เศร้า​หมอง​ ​คือ​ ​อวิชชา​ ​ตัณหา​ ​อุปาทาน​ ​ตื่น​ ​เบิก​บาน​ ​เป็น​
พุทธ​ะ​ม​ ค​ี วาม​บริสทุ ธิเ​์ ทียบ​เท่าก​ บั พ​ ทุ ธ​ะข​ อง​พระ​อร​หนั ต​ ท​์ งั้ ป​ วง​แ​ ละ​ของ​

luangpordu.com
๑๕๖ 156

พระพุทธเจ้า​ทุก​พระองค์​​แต่​ความ​สามารถ​ทาง​อภิญญา​อาจ​ยิ่ง​หย่อน​กว่า​
กัน​ได้​
​ การ​ถึง​พระ​ธรรม​​คือ​​การ​มี​สติ​รักษา​ใจ​ให้​น้อม​เอา​เหตุการณ์​ต่างๆ​​
ทีเ​่ กิดข​ นึ้ ใ​น​ชวี ติ ม​ า​เป็นธ​ รรมะ​สอน​ใจ​แทน​การ​ปล่อย​ให้ป​ รุงค​ ดิ เ​ตลิดไ​ป​ตาม​
สัญญา​อ​ ารมณ์​เกิดเ​ป็นค​ วาม​ทกุ ข​ค​์ วาม​คบั ข​ อ้ งใจ​ห​ รือเ​มือ่ ใ​ด​ใจ​คดิ ฟ​ งุ้ ซ​ า่ น​​
ก็ห​ ยุดก​ ำหนด​รอ​ู้ ยูก​่ บั ป​ จั จุบนั ค​ อื ข​ ณะ​เดีย๋ ว​น​ี้ เ​ฉพาะ​หน้าแ​ ต่ละ​ขณะ​แ​ ต่ละ​
ขณะ​​ใจ​ที่​ฝึก​เช่น​นี้​​จะ​เปรียบ​เสมือน​มี​ธรรม​ของ​พระพุทธ​องค์​เทศน์​ให้​ฟัง​
อยู่​ใน​ใจ​ตลอด​เวลา​
​เมื่อ​ไม่มี​สิ่ง​กระทบ​ก็​รู้​อยู่​กับ​ปัจจุบัน​ ​เมื่อ​มี​สิ่ง​กระทบ​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​
ผัสส​ะจ​ าก​ภายนอก​หรืออ​ ารมณ์ข​ อง​ใจ​เอง​ก​ จ​็ ะ​หมุนใ​ห้ค​ ดิ เ​ป็นม​ รรค​ทกุ ครัง้ ​
จะ​เปลี่ยน​จาก​ความ​คิด​ที่​เป็น​กิเลส​​ให้​เป็น​มรรค ​เปลี่ยน​กิเลส​เป็น​มรรค​​
ดังนี้​เรื่อย​ไป​ ​ดัง​นั้น​ ​ความ​คิด​ ​คำ​พูด​ ​หรือ​การ​กระทำ​ด้วย​กาย​ทุ​กอ​ย่าง​ๆ​​
จะ​เป็นการ​กระทำ​เพื่อ​ความ​สิ้น​สุด​แห่ง​ทุกข์​ถ่าย​เดียว​
​ การ​ถงึ พ​ ระ​สงฆ์​ค​ อื ​ก​ าร​นอ้ ม​ตน​ให้ป​ ฏิบตั ด​ิ งั “​ พ​ ระ​สงฆ์”​ ​ค​ อื ​เ​ป็นผู​้
ปฏิบตั ​ดิ ​ี ​(​ส​ปุ ฏิปนั ​โน​)​​ปฏิบตั ​ติ รง​​(​อชุ ​ปุ ฏิปนั ​โน​)​​ปฏิบตั ​ถิ กู ​​(​ญาย​ปฏิปนั ​โน​)​
ปฏิบัติ​ชอบ​​(​สามี​จิ​ปฏิปัน​โน​)​​ตลอด​เวลา​ที่​จะ​ระลึก​ได้​​
​การ​ปฏิบัติ​ดัง​กล่าว​มา​นี้​คือ​​การ​ถึง​พระพุทธ​​พระ​ธรรม​​พระ​สงฆ์​​ที่​
จะ​เป็น​สรณะ​ที่​พึ่ง​อัน​แท้จริง​​สามารถ​กำจัด​ทุกข์​​กำจัด​ภัย​ได้​จริง​
​ ข้าพเจ้า​ฟัง​คุณ​หมอ​อธิบาย​จน​จบ​ได้​แต่​อมยิ้ม​
​ ใบหน้า​ของ​หลวงปู่​ดู่​ลอย​เด่น​พร้อม​กับ​เสียง​ของ​ท่าน​​ดัง​ขึ้น​มา​ใน​

luangpordu.com
157 ๑๕๗

โสต​ประสาท​ของ​ข้าพเจ้า​ว่า​
“​ ​นั่น​แหละ​​พระ​ไต​รส​รณา​คมน​์​​ใคร​เชื่อ​พระ​ก็​เป็น​พระ​​ใคร​ละ​ได้​
ก็​ไม่ใช่​คน​”​

luangpordu.com
๑๕๘ 158

​๘๔​

​ไม่​พอดี​กัน​

ข้าพเจ้าเ​คย​ได้ยนิ ผ​ อ​ู้ ำนวย​การ​วยั ห​ า้ ส​ บิ ท​ า่ น​หนึง่ ใ​น​ธนาคาร​ปรารภ​


กับ​ผู้ใหญ่​อีก​ท่าน​ว่า​ สมัย​หนุ่ม​ๆ​ ​มี​เรี่ยวแรง​ดี​ ​แต่​เงิน​เดือน​น้อย​ ​อยาก​ไป​
เทีย่ ว​เมือง​นอก​กไ​็ ป​ไม่ไ​ด้​เ​พราะ​ไม่มส​ี ตางค์​แ​ ต่ท​ กุ ว​ นั น​ ม​ี้ เ​ี งินเ​ดือน​มาก​อ​ ายุ​
ก็​มาก​ขึ้น​ตาม​มา​​มี​เงิน​ไป​เที่ยว​ได้​อย่าง​สบาย​​แต่​ไม่มี​แรง​ไป​
​ ข้าพเจ้า​นึกถึง​คำคม​ที่​​อุดม​​แต้​พา​นิช​​หรือ​​“​โน้ส​”​​ศิลปิน​ตลก​และ​
นัก​เขียน​ที่​โด่ง​ดัง​สุดขีด​จาก​เดี่ยว​ไมโครโฟน​​และ​งาน​เขียน​หนังสือ​ที่​ขาย​ดี​
ติดอ​ นั ดับย​ อด​ขาย​สงู สุดค​ น​หนึง่ ใ​น​บา้ น​เรา​ขณะ​น​ี้ ไ​ด้เ​ล่าไ​ว้ใ​น​หนังสือ​N​ ote​​
Book​​หน้า​​๑๓๑​​ว่า​
​ มี​แรง​​มี​เวลา​​ไม่มี​เงิน​
​ มี​แรง​​มี​เงิน​​ไม่มี​เวลา​
​ มี​เงิน​​มี​เวลา​​ไม่มี​แรง​
​ นี้​เป็น​ข้อคิด​ที่​ดี​ที​เดียว​​ทำให้​ข้าพเจ้า​นึกถึง​คำ​สอน​หลวงปู่​ดู่​ที่​สอน​
ข้าพเจ้า​ให้​ตั้ง​อกตั้ง​ใจ​ภาวนา​ตั้ง​แต่​อายุ​ไม่​มาก​ ​ใน​เวลา​ที่​พอ​มี​เรี่ยวแรง​ ​มี​
เวลา ​(​จะ​มี​เงิน​หรือ​ไม่มี​เงิน​​ช่าง​มัน​​!​)​​ว่า​
​ “​ข้อ​สำคัญ​ที่สุด​ของ​การ​ปฏิบัติ​คือ​​ต้อง​ไม่​ประมาท​

luangpordu.com
159 ๑๕๙

​ ต้อง​ปฏิบัติ​ให้​เต็ม​ที่​ตั้ง​แต่​วัน​นี้​​ใคร​จะ​รู้​ว่า​ความ​ตาย​จะ​มา​ถึง​เรา​
เมื่อไร​ ​?​ เคย​เห็น​ไหม​ ​เพื่อน​เรา​ ​คน​ที่​เรา​รู้จัก​ที่​ตาย​ไป​แล้ว​ ​นั่น​น่ะ​ ​เขา​
เตือน​เรา​
​ ถ้าเ​รา​ปฏิบตั ไ​ิ ม่เ​ป็นเ​สียแ​ ต่ว​ นั น​ ​ี้ เวลา​จะ​ตาย​มนั ก​ ไ​็ ม่เ​ป็นเ​หมือนกัน
​เหมือน​กับ​คน​ที่​เพิ่ง​คิด​หัด​ว่าย​น้ำ​เวลา​ใกล้​จะ​จม​น้ำตาย​นั่น​แหละ​ ​ก็​จม​
ตาย​ไป​เปล่า​ๆ​
​ แก​ไม่​ปฏิบัติ​หนึ่ง​วัน​นี่​​เสีย​หาย​หลาย​แสน​วัน​นึง​ก็​มี​ความ​หมาย​
ข้า​ฝาก​ให้​แก​ไป​คิด​เป็นการ​บ้าน​”​

luangpordu.com
๑๖๐ 160

๘๕​

​ธรรมะ​จาก​สัตว์​

เ​วลา​พระพุทธเจ้าต​ รัสส​ อน​เหล่าพ​ ระ​สาวก​ท​ า่ น​มกั จ​ ะ​ยก​สตั ว์ต​ า่ ง​ๆ​ ​


มา​แสดง​เปรียบ​เทียบ​ให้ไ​ด้แ​ ง่ค​ ดิ ท​ าง​ธรรม​อยูเ​่ สมอ​น​ บั เ​ป็นว​ ธิ ส​ี อน​ธรรม​ท​ี่
ทำให้​ผู้​ฟัง​เกิด​ความ​เข้าใจ​​และ​มอง​เห็น​ภาพ​ได้​อย่าง​ชัดเจน​ที​เดียว​
​ ดัง​ตัวอย่าง​​เช่น​​ยก​เรื่อง​งู​พิษ​เปรียบ​กับ​การ​ศึกษา​​เล่า​เรียน​​ถ้า​เรียน​
ไม่ด​ ​ี เ​รียน​ไม่เ​ป็น​ไ​ด้ค​ วาม​รม​ู้ า​ผดิ ๆ​ ​ค​ วาม​รน​ู้ นั้ อ​ าจ​จะ​เป็นอ​ นั ตราย​ดจุ เ​ดียว​
กับ​งู​พิษ​ที่​ขนด​หาง​​ย่อม​ถูก​งู​พิษ​แว้ง​กัด​เอา​ได้​
​ ยก​ลิง​โง่​อยาก​ลอง​เอา​มือ​จับ​ตัง​ ​เอา​เท้า​ถีบ​และ​ใช้​ปาก​กัด​ ​ผล​ที่สุด​
ติด​ตัง​ดิ้น​ไม่​หลุด​ ​เปรียบ​เหมือน​คน​ที่​ไม่รู้​จัก​วิธี​แก้​ปัญหา​ที่​ถูก​ต้อง​เต็ม​ไป​
ด้วย​ความ​เห็น​ผิด​ ​ความ​เข้าใจ​ที่​ผิด​ ​ใน​ที่สุด​ก็​จะ​ตก​อยู่​ใน​สถานการณ์​ที่​
ลำบาก​
​ ยก​เต่า​หด​หัว​อยู่​ใน​กระดอง​ ​ได้ยิน​เสียง​อะไร​ที่​ผิด​ปกติ​ก็​จะ​หด​หัว​
เข้า​กระดอง​ปลอดภัย​ไว้​ก่อน​ ​เปรียบ​ดัง​ผู้​ปฏิบัติ​ที่​สำรวม​อินทรีย์​ ​(​คือ​ ​ตา​​
หู​​จมูก​​ลิ้น​​กาย​​ใจ​)​​เห็น​อะไร​​ได้ยิน​อะไร​.​.​.​ก็​มี​สติ​​ไม่​ยินดี​​ยิน​ร้าย​ไป​ตาม​
เสียง​เร้า​จาก​ภายนอก​​ก็​ย่อม​ปลอดภัย​จาก​กิเลส​ได้​
​ ยก​นกเขา​ ​ที่​ร้อง​เสียง​ ​คู​ ​คู​ ​เหมือน​คน​ที่​ตระหนี่​ถี่​เหนียว​หวงแหน​

luangpordu.com
161 ๑๖๑

โภคทรัพย์​ ​ไม่​แบ่ง​ปัน​คน​อื่น​ ​ตัว​เอง​ก็​ไม่​กิน​ไม่​ใช้​ ​บุญ​กุศล​ก็​ไม่​ทำ​ ​ได้​แต่​


นอน​กอด​ทรัพย์​ภูมิใจ​ว่า​ทรัพย์​ของ​กู​​ของ​กู​หลง​ยึด​ติด​อยู่​อย่าง​นั้น​
​ ใน​บรรดา​เรื่อง​ที่​ยก​ตัวอย่าง​มา​นี้​ ​เรื่อง​ที่​หลวงปู่​ดู่​นำ​มา​เล่า​เป็น​
อุทาหรณ์​สอน​ใจ​ให้​ศิษย์​ได้​ฟัง​กัน​บ่อย​ๆ​ ​คือ​ ​เรื่อง​นกเขา​ ​ที่​ร้อง​เสียง​ ​คู​ ​คู​
ได้ฟ​ งั แ​ ล้วเ​หมือน​เป็นเ​ครือ่ ง​เตือน​ใจ​ใ​ห้ศ​ ษิ ย์ท​ งั้ ห​ ลาย​อย่าไ​ด้ป​ ระมาท​แ​ ละ​
หมั่น​พิจารณา​อยู่​เนือง​​ๆ​​ว่า​
​ ตัว​เรา​.​.​.​ตัว​เขา​
​ ไม่ใช่​เรา​.​.​.​ไม่ใช่​เขา​
​ของ​เรา​.​.​.​ของ​เขา​
​ไม่ใช่​ของ​เรา​.​.​.​ไม่ใช่​ของ​เขา​

luangpordu.com
๑๖๒ 162

​๘๖​
​สังคม​วิปริต​

ใ​น​หนังสือพ​ ทุ ธ​ธรรม​กบั ส​ งั คม​ซงึ่ เ​ขียน​โดย​ศ​ าสตราจารย์น​ าย​แพทย์​


ประเวศ​ว​ ะ​ส​ี ไ​ด้ก​ ล่าว​ถงึ ส​ งั คม​ไทย​ตงั้ แ​ ต่​พ​ .​ศ​ .​​๒​ ๕๒๘ ไว้ว​ า่ ​“​ประเทศไทยมี​
วัดก​ ว่า​๒​ ๕,๐๐๐​ว​ ดั ​พ​ ระ​กว่าส​ อง​แสน​รปู ​เ​ณร​กว่าแ​ สน​รปู ​พ​ ทุ ธ​ศา​สนิกชน​
อีก​เต็ม​ประเทศ​​ไฉน​เรา​จึง​มี​ปัญหา​ทาง​สังคม​มาก​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​”​
​ ความ​เป็น​คน​ใจบุญ​สุ​นทา​นข​อง​ผู้คน​ไทย​ใน​อดีต​​และ​การ​ที่​มี​วัดวา​
อาราม​สร้าง​อยู่​ทุก​มุม​เมือง​​ไม่​ได้​ช่วย​ให้​ปัญหา​สังคม​ลด​ลง​ไป​ใน​ปัจจุบัน​
​ สภาพ​เศรษฐกิจ​​การเมือง​และ​สังคม​ถึง​ขั้น​วิกฤต​​ผู้คน​มี​ความ​ทุกข์​
ยาก​กัน​มากมาย​​เรา​มี​ผู้นำ​บ้าน​เมือง​ที่​ไม่​สามารถ​เอา​เป็น​แบบ​อย่าง​ที่​ดี​ได้​
จน​สื่อมวลชน​ต่าง​พา​กัน​ขนาน​นาม​ว่า ​เป็น​ยุค​ราหู​ครอง​เมือง​​ทั้ง​ผู้นำ​และ​
คน​รอบ​ข้าง​หมด​ปัญญา​แก้ไข​ปัญหา​บ้าน​เมือง​ใน​ทาง​ที่​ถูก​ที่​ควร​ ​ถึง​ขนาด​
ต้อง​สะเดาะ​เคราะห์ต​ อ่ ช​ ะตา​ท​ ำ​พธิ ร​ี บั ส​ ง่ ร​ าหู​ด​ ฮ​ู ว​ ง​จยุ้ ก​ นั ใ​ห้ว​ นุ่ ว​ าย​สบั สน​​
จน​เปรอะ​กัน​ไป​หมด​​ประชาชน​เดือด​ร้อน​​สังคม​วิปริต​กัน​ถ้วน​หน้า​
ท่าน​พระ​พรหม​คณ ุ าภรณ์​(​ป​ .​อ​ .​​ป​ ย​ ตุ โ​ฺ ต​)​ไ​ด้ฝ​ าก​ขอ้ คิดห​ ลักธ​ รรม​ไว้​
ใน​หนังสือข​ อง​ทา่ น​ช​ อื่ ​“​ เ​มือง​ไทย​จะ​วกิ ฤต​ถ​ า้ ค​ น​ไทย​มศ​ี รัทธา​วปิ ริต”​ ​ซ​ ง่ึ ​
ข้าพเจ้า​ขอ​อนุญาต​คดั ​ลอก​มา​​ณ​​ท​น่ี ​้ี ​สรุป​ความ​วา่ ​​คณ ุ สมบัต​ขิ อง​ชาว​พทุ ธ​

luangpordu.com
163 ๑๖๓

ที่​ดี​​หรือ​อุบาสก​ธรรม​​๕​​ประการ​​ที่​ควร​ปฏิบัติ​คือ​
​ ๑​.​​มี​ศรัทธา​​เชื่อ​อย่าง​มี​เหตุผล​​มั่น​ใน​คุณ​พระ​รัตนตรัย ​ไม่​งมงาย​
​๒​.​​ม​ศี ลี ​​ม​คี วาม​ประพฤติ​สจุ ริต​ด​งี าม ​อย่าง​นอ้ ย​ดำรง​ตน​ได้​ใน​ศลี ๕​
​ ๓​.​ ​ไม่​ตื่น​ข่าว​มงคล​ ​เชื่อ​กรรม​ ​มุ่ง​หวัง​ผล​จาก​การ​กระทำ​ ​มิใช่​จาก​
โชคลาง​ของ​ขลัง​​พิธีกรรม​​สิ่ง​ศักดิ์​สิทธิ์​
​ ๔​.​​ไม่​แสวง​หา​ทัก​ขิไณย​นอก​หลัก​คำสอ​นข​อง​พระพุทธเจ้า​
​ ๕​.​​เอาใจ​ใส่​​ทำนุ​บำรุง​ช่วย​กิจการ​พระพุทธ​ศาสนา​
​ เริ่ม​ต้น​ที่​ตัว​เรา​.​.​.​เริ่ม​ที่​บ้าน​เรา​ ​แล้ว​เรา​จะ​มิใช่​ตัว​ปัญหา​ที่​ทำ​สังคม​
ให้​วิปริต​​แต่​จะ​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ที่​ช่วย​แก้​ปัญหา​สังคม​วิปริต​​ให้​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​
ที่​ลูก​ศิษย์​หลวงปู่​มอบ​เป็น​ของ​ขวัญ​ถวาย​แด่​ในหลวง​​และ​มอบ​ถวาย​แด่​.​.​.​
หลวงปู่​ของ​เรา​

luangpordu.com
๑๖๔ 164

​๘๗​
​เชื้อ​ดื้อยา​

หนังสือพิมพ์​มติ​ชน​ราย​วัน​ ​ฉบับ​วัน​อังคาร​ที่​ ​๗​ ​พฤษภาคม​ ​พ​.​ศ​.​​


๒๕๓๙​ ​หน้า​ ​๒๐​ ​ใน​คอลัมน์​เมนู​ข้อมูล​โดย​นาย​ดาต้า​ ​ได้​พูด​ถึง​เรื่อง​ของ​
หมอ​กับ​การ​สั่ง​ยา​ให้​แก่​คนไข้​​เรื่อง​ของ​เรื่อง​มี​ว่า​​มี​คำถาม​จาก​ชาว​บ้าน​ถึง​
นาย​ดาต้า​​ข้าพเจ้า​ขอ​คัด​ลอก​มา​ดังนี้​
“​ ผ​ ม​สงั เกต​วา่ เ​ดีย๋ ว​นไ​ี้ ป​หา​หมอ​แ​ ล้วห​ มอ​สงั่ ย​ า​มา​ให้ม​ าก​อ​ ย่าง​เป็น​
หวัด​ไป​รักษา​ที่​โรง​พยาบาล​เอกชน​​ค่า​รักษา​​ค่า​ยา​​๔๐๐​​-​​๕๐๐​​บาท​​ทุก​
ครั้ง​ ​ทั้ง​ที่​แต่​เดิม​นั้น​โรค​หวัด​นี่​กิน​ยา​แผง​ไม่​กี่​บาท​ก็​หาย​แล้ว​ ทำไม​ถึง​เป็น​
เช่น​นั้น​”​
​ จาก​คำถาม​ข้อ​สงสัย​ดัง​กล่าว​ ​นาย​ดาต้า​ก็ได้​ตอบ​ไป​ใน​ลักษณะ​ที่​
ว่า​ ​หมอ​จ่าย​ยา​ให้​ไป​เกิน​กว่า​เหตุ​ ​ข้าพเจ้า​ได้​นำ​เรื่อง​นี้​ไป​สอบถาม​จาก​
ญาติ​ซึ่ง​เป็น​อายุรแพทย์​ ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญ​ทางการ​รักษา​ด้วย​ยา​ซึ่ง​ก็ได้​
ความ​กระจ่าง​กลับม​ า​วา่ ​เ​รา​คง​เคย​ทราบ​กนั ว​ า่ ม​ เ​ี ชือ้ โ​รค​มากมาย​มอ​ี าการ​
ดือ้ ยา​ท​ ำให้ร​ กั ษา​หาย​ได้ย​ าก​โดย​เฉพาะ​ใน​เมือง​ไทย​ท​ งั้ นี​้ ม​ ส​ี าเหตุท​ ส​ี่ ำคัญ​
คือ​การ​ให้การ​รักษา​ที่​ไม่​เต็ม​ที่​ ​ดัง​เช่น​ ​คนไข้​ไป​ซื้อ​ยา​มา​ทาน​เอง​จาก​ร้าน
ข​ าย​ยา​ห​ รือไ​ป​พบ​แพทย์ต​ าม​คลีน​ คิ ​โ​รง​พยาบาล​แ​ พทย์ส​ ว่ น​ใหญ่จ​ ะ​จดั ย​ า​

luangpordu.com
165 ๑๖๕

ให้​คนไข้​ครบ​ตาม​จำนวน​ว่า ​จะ​ต้อง​ทาน​​ยา​กี่​วัน​​๕​​วัน​​๗​​วัน​​หรือ​​๑๐​​วัน​
ก็​จะ​จัด​ยา​ให้​ครบ​​เช่น​​คนไข้​เป็น​หวัด​เนื่องจาก​ติด​เชื้อ​แบคทีเรีย​​ซึ่ง​คนไข้​
จำ​ตอ้ ง​ได้ย​ า​ปฏิชวี นะ​หรือย​ า​แก้อ​ กั เสบ​ค​ นไข้ท​ เ​ี่ ป็นว​ ณ ั โรค​ค​ นไข้ท​ เ​ี่ ป็นโ​รค​
กระเพาะ​ปัสสาวะ​อักเสบ​​ฯลฯ​
​ เมือ่ ค​ นไข้เ​หล่าน​ ท​ี้ าน​ยา​แล้วม​ อ​ี าการ​ดข​ี นึ้ ​ห​ รือ​ห​ าย​ไป​กจ​็ ะ​หยุดย​ า​
ทั้ง​ๆ​​ที่​เชื้อ​โรค​ยัง​ไม่​หาย​​เมื่อ​หยุด​ยา​​ขณะ​ที่​เชื้อ​โรค​บาง​ส่วน​ยัง​ไม่​ตายนั้น​
มัน​จะ​กลับ​ฟน้ื ​ขน้ึ ​มา​ใหม่​ ​แพร่​พนั ธ์​ใุ หม่​ออก​มา​ซง่ึ ​เป็น​พนั ธ์​ทุ ​ม่ี วี ​วิ ฒ ั นา​การ​
ใ​ห้ด​ อ้ื ต​ อ่ ย​ า​ทเ​่ี คย​ใช้ม​ า​กอ่ น​แต่ใ​ช้ไ​ม่ค​ รบ​ตาม​จำนวน​จ​ าก​นน้ั ไ​ม่น​ าน​อาการ​
เจ็บ​ไข้​ก็​จะ​เกิด​ข้นึ ​มา​ใหม่​ ​คราว​น้​ีจะ​รักษา​ให้​หาย​ก็​จะ​ยาก​กว่า​ครั้ง​แรก​​
แน่นอน​ตอ้ ง​ใช้ย​ า​ทแ​ี่ รง​ขนึ้ ก​ ว่าเ​ก่า​ห​ าก​คนไข้ใ​ช้ย​ า​ผดิ ว​ ธิ ​ี เ​ชือ้ ก​ จ​็ ะ​ดอื้ ยา​ขนึ้ ​
มา​อีก​ ​ทุก​วัน​นี้​จึง​มี​โรค​ดื้อยา​​เกิด​ขึ้น​มากมาย​ ​เพราะ​การ​ใช้​ยา​ที่​ไม่​ศึกษา​
ให้​ถูก​วิธี​
​ใน​เรื่อง​ของ​การ​ศึกษา​ปฏิบัติ​ธรรม​ก็​เช่น​เดียวกัน​
​ การ​ใช้​ยา​ไม่​ถูก​วิธี​.​.​.​ ​ทำให้​เชื้อ​โรค​ดื้อยา​ขึ้น​ฉันใด​ ​การ​ศึกษา​
ปฏิบัติ​ธรรม​ไม่​ถูก​วิธี​.​.​.​ก็​ทำให้​ศิษย์​ดื้อ​คำ​สอน​ของ​ครู​อาจารย์​ฉัน​นั้น​

luangpordu.com
๑๖๖ 166

​๘๘​
​คุณ​ธรรม​​๖​​ประการ​

หลวงปูด​่ ​ู่ เ​คย​ปรารภ​ธรรม​เกีย่ ว​กบั เ​รือ่ ง​การ​เจริญโ​พชฌงค์​อ​ นั เ​ป็น​


คุณธ​ รรม​ทท​ี่ ำให้บ​ คุ คล​ผป​ู้ ฏิบตั ต​ิ าม​ได้บ​ รรลุม​ รรค​ผ​ ล​น​ พิ พาน​ม​ แ​ี ต่ค​ วาม​
เย็นใจ​ใน​ทุก​ที่​ทุก​สถาน​​ใน​กาล​ทุก​เมื่อ​​เป็น​ธรรม​ที่​เป็น​ประโยชน์​อย่าง​ยิ่ง​
อีกท​ งั้ ม​ ค​ี วาม​ไพเราะ​ทงั้ อ​ รรถ​และ​ธรรม​จ​ งึ ข​ อ​ฝาก​ไว้ก​ บั ศ​ ษิ ย์ห​ ลวงปู​่ ให้ไ​ด้​
นำ​ไป​พิจารณา​กัน​
​ “​ดก​ู อ่ น​ทา่ น​ผเ​ู้ ห็นภ​ ยั ใ​ น​วฏั ฏ​สงสาร​ทงั้ ห​ ลาย​ผ​ ท​ู้ เ​ี่ ห็นภ​ ยั ใ​ น​วฏั ฏ-​
สงสาร​นน้ั ​​ถา้ ​ประกอบ​ดว้ ย​คณ ุ ​ธรรม​​๖​ป​ ระการ​น​้ี ​ยอ่ ม​จะ​ได้​บรรลุ​มรรค​
ผล ​นพิ พาน​ถึง​ความ​เยือก​เย็น​อย่าง​ยอด​เยีย่ ม​​คณ ุ ​ธรรม​​๖​​ประการ​นน้ั ​
คือ​
​ ข่ม​จิต​ใน​สมัย​ที่​ควร​ข่ม​
​ ประคอง​จิต​ใน​สมัย​ที่​ควร​ประคอง​
​ยัง​จิต​ให้​ร่าเริง​ใน​สมัย​ที่​ควร​ร่าเริง​
​วาง​เฉย​จิต​ใน​สมัย​ที่​ควร​วาง​เฉย​
​ มี​จิต​น้อม​ไป​ใน​มรรค​​ผล​​อัน​ประณีต​สูงสุด​
​ ยินดี​ยิ่ง​ใน​พระ​นิพพาน​”​

luangpordu.com
167 ๑๖๗

ผู้​ปฏิบัติ​ที่​มี​ความ​ชาญ​ฉลาด​ ​ย่อม​จะ​ต้อง​ศึกษา​จิตใจ​และ​อารมณ์​
ของ​ตน​ให้​เข้าใจ​ ​และ​รู้จัก​วิธี​กำหนด​ ​ปล่อย​วาง​ ​หรือ​ควบคุม​จิตใจ​และ​
อารมณ์ใ​ห้ไ​ด้​เ​ปรียบ​เสมือน​เวลา​ทเ​ี่ รา​ขบั ร​ ถยนต์​จ​ ะ​ตอ้ ง​ศกึ ษา​ให้เ​ข้าใจ​ถงึ ​
วิธ​กี าร​ขบั ขี​ท่ ​ป่ี ลอดภัย​บ​ าง​ครัง้ ​ควร​เร่ง​บ​ าง​คราว​ควร​ผอ่ น​​บางที​ก​ต็ อ้ ง​หยุด​
​เร่ง​ใน​เวลา​ที่​ควร​เร่ง​
​ผ่อน​ใน​เวลา​ที่​ควร​ผ่อน​
​ หยุด​ใน​เวลา​ที่​ควร​หยุด​
​ ก็​จะ​สามารถ​ถึงที่​หมาย​ได้​อย่าง​ปลอดภัย​
​เปรียบ​เหมือน​การ​ปฏิบัติ​ธรรมะ​นี่​ล่ะ​ ​ทำนอง​เดียวกัน​ให้​พิจารณา​
อย่าง​นี้​

luangpordu.com
๑๖๘ 168

​๘๙​
​ลิง​ติด​ตัง​

ท่ามกลาง​กระแส​สังคม​ที่​สับสน​วุ่น​วาย​​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​กิจ​ธุระ​ส่วน​ตัว​
กิจ​ธุระ​เรื่อง​ครอบครัว​ ​เรื่อง​ที่​ทำงาน​ ​เรื่อง​ของ​ญาติ​สนิท​มิตร​สหาย​ ​จน​
บ่อย​ครัง้ ท​ เ​ี่ รา​รสู้ กึ เ​หมือน​ถกู พ​ นั ธนาการ​ดว้ ย​ภาระ​และ​หน้าทีท​่ ต​ี่ อ้ ง​จดั การ​
มากมาย​อยู่​ทุ​กวี​่ทุก​วัน​​ทั้ง​ตัว​เรา​เอง​และ​ทั้ง​ผู้คน​รอบ​ข้าง​
​ หลวงปู่​ได้​เคย​เปรียบ​ลักษณะ​เช่น​นี้​กับ​อาการ​ของ​ลิง​ ​โดย​ท่าน​ได้​
ถาม​ข้าพเจ้า​ว่า​“​แก​เคย​รู้จัก​ไหม​​โลก​ติดตัว​เหมือน​ลิง​ติด​ตัง​”​
(​“​ ต​ งั ”​ ​ต​ าม​ความ​หมาย​ใน​พจนานุกรม​หมาย​ถงึ ​ย​ าง​ไม้ท​ ผ​ี่ สม​กบั ส​ งิ่ ​
อื่น​แล้ว​​ทำให้​เหนียว​ใช้​สำหรับ​ดัก​นก​)​
​เวลา​ที่​เขา​มา​ดัก​จับ​ลิง​ ​เมื่อ​ลิง​มา​ติด​กับ​ที่​มี​ตังติด​อยู่​ ​ตังติด​มือลิง​
ข้าง​หนึ่ง​​มัน​ก็​ใช้​มือ​อีก​ข้าง​มา​แกะ​ออก​​แต่​แกะ​ไม่​ออก​​กลับ​ติด​ตัง​ทั้ง​สอง​
มือ​​เอา​เท้า​มา​ช่วย​ถีบ​ออก​​ก็​ไม่​ออก​อีก​​เอา​ปาก​กัด​อีก​​ผล​ที่สุด​เลย​ติด​ตัง​
ไป​ทั้ง​ตัว​​ทั้ง​สอง​มือ​​สอง​เท้า​​และ​ปาก​​ติด​ตัง​ไป​หมด​​นอน​รอ​ให้​เขา​มา​จับ​
ตัว​เอา​ไป​ข้าพเจ้า​ก้ม​ลง​ดู​ตัว​เอง​​และ​เหลียว​มอง​ดู​รอบ​ตัว​​ไม่​เห็น​ลิง​แม้แต่​
ตัว​เดียว​ที่​ติด​ตัง​​เห็น​แต่​ตัว​เอง​และ​คน​รอบ​ๆ​​ข้าง​​ติด​ตัง​เต็ม​ไป​หมด​.​.​.​​ไม่มี​
ลิง​สัก​ตัว ...ใคร​ก็ได้​​ช่วย​แกะ​ที​เถอะ​ครับ​​!​

luangpordu.com
169 ๑๖๙

​๙๐​
​ปรารภ​ธรรม​เรื่อง​​“​การ​เกิด​”​

บ่าย​ร่ม​ลม​เย็น​วัน​หนึ่ง​ ​ใน​อิริยาบถ​สบาย​ ​ๆ​ ​ของ​หลวงปู่​ที่​กุฏิ​ท่าน​​


หลวงปู่​ได้​ปรารภ​ธรรม​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ ​“​การ​เกิด​”​ ​ให้​กับ​ศิษย์​ได้​ฉุกคิด​
เป็นการ​บ้าน​
​ท่าน​ได้​ปรารภ​ไว้​ว่า​
​ “​คน​เรา​เกิดม​ า​ไม่เ​ห็นม​ อ​ี ะไร​ด​ี ม​ ด​ี อ​ี ยูอ​่ ย่าง​เดียว​ส​ วด​มนต์ไ​หว้พ​ ระ​​
ปฏิบัติ​ภาวนา​”​
​ ข้าพเจ้าห​ วน​รำลึกถ​ งึ ค​ ำ​สอน​ทา่ น​พทุ ธ​ทาส​ภกิ ขุจ​ าก​หนังสือ​“​ เ​ล่าไว้​
เมื่อ​วัย​สนธยา​”​ ​ซึ่ง​สัมภาษณ์​โดย​พระ​ประชา​ ​ปสันน​ธัมโม​ ​ท่าน​พุทธ​ทาส​
ภิกขุ​ได้​พูด​ถึง​เรื่อง​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ใน​ชีวิต​ว่า​ ​คนเราเกิด​มา​ควร​จะ​ได้​อะไร​
​เกิด​มา​ทำไม​
​ คน​ส่วน​ใหญ่​สมัย​เป็น​เด็ก​ๆ​ ​ไม่มี​ทาง​รู้​ว่า​เกิด​มา​ทำไม​ ​พ่อ​แม่​ก็​ไม่​
ได้​สอน​ว่า​เกิด​มา​ทำไม​ ​เพียง​แต่​ได้​รับ​การ​ดูแล​ว่า ​ทำ​อย่าง​นั้น​ทำ​อย่าง​นี้​​
ที่​เรียก​ว่า​ดีๆ​​ให้​เรียน​หนังสือ​​ให้​ประพฤติ​ดี​​ก็​ดี​แต่​ไม่รู้​ว่า​เกิด​มา​ทำไม​​จน​
กระทั่ง​เป็น​หนุ่ม​สาว​​ก็​ไม่รู้​ว่า​เกิด​มา​ทำไม​​เพื่อ​ประโยชน์​อะไร​​แต่​ก็ได้​ทำ​
ทุก​ๆ​ ​อย่าง​ตาม​ที่​ผู้​หลัก​ผู้ใหญ่​สอน​ให้​ทำ​ตาม​ขนบธรรมเนียม​ประเพณี​

luangpordu.com
๑๗๐ 170

​มี​ให้​ทำ​ ​จึง​มี​การ​ศึกษา​ ​มี​อาชีพ​สำหรับ​ทำ​มา​หากิน​ ​มี​ความ​เป็น​อยู่​ที่​ดี​ขึ้น​


บาง​คนจน​เลย​วัย​ผู้ใหญ่​ล่วง​ถึง​วัย​ชรา​ ​ก็​ไม่มี​โอกาส​ ​แม้​จะ​คิด​หา​คำ​ตอบ​
ที่​สำคัญ​ที่สุด​ใน​ชีวิต​นี้​ ​ข้าพเจ้า​ขอ​อนุญาต​ ​ขีด​เส้น​ใต้​คำ​ว่า​ ​ที่​สำคัญ​ที่สุด​
ใน​ชีวิต​นี้​
​ ท่าน​พุทธ​ทาส​ภิกขุ​​ได้​เฉลย​คำ​ตอบ​นี้​ไว้​ว่า​.​.​.​
​“​เกิด​มา​ให้​ได้​รับ​สิ่ง​ดี​ที่สุด​ที่​มนุษย์​ควร​จะ​ได้​ ​คือ​ให้​มี​ชีวิต​ที่​เย็น​​
​ที่​ไม่​เป็น​ทุกข์​เลย​”​
​ สรุป​ได้​ว่า​​เพื่อ​แสวงหา​ความ​สุข​ที่​ไม่​กลับ​กลาย​เป็น​ความ​ทุกข์​อีก​
​มี​สุ​ภาษิต​จีน​บท​หนึ่ง​ที่​ว่า​.​.​.​
​ รู้​ก่อน​​แก้​ก่อน​
​รู้​หลัง​​แก้​หลัง​
​ไม่รู้​​ไม่​แก้​
​ รู้​แล้ว​​ทำไม​ไม่​แก้​
​ นั่น​น่ะ​ซิ​​รู้​แล้ว​.​.​.​ทำไม​​(​ยัง​)​​ไม่​แก้​​(​วะ​)​​!​
​ ข้าพเจ้า​อุทาน​กับ​ตัว​เอง​

luangpordu.com
171 ๑๗๑

​๙๑​
​เมด​​อิน​​วัด​สะแก​

ท่าน​ท​ม่ี ​คี วาม​สนใจ​ใน​วตั ถุมงคลของ​หลวงปู​ด่ ​ู่ ​พรหมปัญโญ จะ​พบ


​ว่า​พระ​เครื่อง​พระ​บูชา​​ของ​ท่าน​มี​มากมาย​หลาย​รุ่น​หลาย​แบบ​ ​เท่าที่​
พอ​จะ​สืบ​ทราบ​ ​หลวงปู่​ได้​เริ่ม​สร้าง​ต้ัง​แต่​ปี​ ​พ​.​ศ​.​๒๔๘๔​ ​เรื่อย​มา มี​ท้ัง​
ชุด​พระ​บูชา​ท่ี​เป็น​พระพุทธ​รูป​และ​ท่ี​เป็น​รูป​หล่อ​หลวง​ปู่ทวด​ ​หลวงปู่​ดู่​​
ครูบา​อาจารย์​องค์​อื่น​ๆ​ ​เช่น​ ​หลวงปู่​เกษม​ ​เขม​โก​ ​ที่​เป็น​พระเครื่องก็
ได้แ​ ก่​ช​ ดุ พ​ ระ​เหนือพ​ รหม​ช​ ดุ ช​ ยั มงคล​คาถา​(​พ​ า​หงุ ฯ​ )​​ช​ ดุ เ​หรียญรูปเ​หมือน​
หลวงปูด​่ ​ู่ ร​ วม​ทงั้ เ​หรียญ​โลหะ​อ​ นื่ ๆ​ ​พ​ ระ​หยด​นำ้ ​ร​ ปู ห​ ล่อล​ อย​องค์ข​ นาด​เล็ก​
พระ​พิมพ์​ต่าง​​ๆ​​ตลอดจนล็อกเกต​​และ​แหวน​
เ​มือ่ ต​ น้ ป​ ​ี ๒​ ๕๔๐​ข​ า้ พเจ้าไ​ด้เ​ห็นห​ นังสือพ​ ระ​เครือ่ ง​เล่มห​ นึง่ ​ผ​ เ​ู้ ขียน​
ได้​เล่า​ถึง​ข่าว​ดัง​ใน​รอบ​ปี​​๒๕๓๙​​และ​ได้​จัด​อันดับ​​๑๐​​ข่าว​ดัง​แห่ง​วงการ​
พระ​เครื่อง​ใน​รอบ​ปี​ ​ซึ่ง​ก็​ว่า​กัน​ไป​ตาม​ประสา​คนใน​วงการ​พระ​เครื่อง​ ​แต่​
มี​ข่าว​หนึ่ง​ใน​บรรดา​​๑๐​​ข่าว​ดังนี้​ที่​สะดุด​ใจ​ข้าพเจ้า​​คือ​
​ “​​สบั สน​ทส่ี ดุ ​ ​ใน​วงการ​พระ​เครือ่ ง​คอื ​ ​พระ​เครือ่ ง​บชู า​ของ​หลวง​ปดู่ ่​ู
พรหม​ปัญโญ​ ​วัด​สะแก​ ​อำเภอ​อุทัย​ ​จังหวัด​พระนครศรีอยุธยา​ ​สับสน​
จน​บรรดา​เซียน​พระ​ไม่​กล้า​จัด​ประกวด​เพราะ​ไม่​สามารถ​แยกแยะ​ได้​ว่า​

luangpordu.com
๑๗๒ 172

อัน​ไหน​ของ​จริง​ ​อัน​ไหน​ของ​ปลอม​”​ ​ข้าพเจ้า​อ่าน​แล้ว​อด​ขำ​ไม่​ได้​ ​ก็​พวก​


ท่าน​ทั้ง​หลาย​ ​(​บรรดา​เซียน​พระ​เครื่อง​)​ ​เล่น​จัด​ประกวด​พระ​เครื่อง​ด้วย​
วัตถุประสงค์​ที่​จะ​ตี​ราคา​พระ​เครื่อง​พระ​บูชา​ของ​หลวงปู่​ออก​มา​ใน​เชิง​
พาณิชย์​ ​เพื่อ​นำ​มา​ซื้อ​ๆ​ ​ขาย​ๆ​ ​แสวงหา​กำ​รี้​กำไร​กัน​ใน​ตลาด ​ซึ่ง​ไม่ใช่​
วัตถุประสงค์​ของ​หลวงปู่​
​วัตถุประสงค์​ของ​หลวงปู่​ ​ต้องการ​ให้​พระ​เครื่อง​บูชา​ของ​ท่าน​เป็น​
สื่อ​.​..​ให้​เข้า​ถึง​พระ​แท้​ใน​จิตใจ​ของ​ผู้​ประพฤติ​ปฏิบัติ​ตาม​ธรรม​คำ​สอน​ของ​
ท่าน​ต​ อ้ งการ​ให้พ​ ระ​นไ​ี้ ด้ถ​ งึ ม​ อื บ​ คุ คล​ทส​ี่ นใจ​ศกึ ษา​ปฏิบตั จ​ิ ริง​ๆ​ ​ด​ งั จ​ ะ​เห็น​
ได้จ​ าก​การ​ทม​ี่ พ​ี ระ​เครือ่ ง​พระ​บชู า​ของ​หลวงปู​่ จ​ ำนวน​มาก​ทท​ี่ ำ​เป็นพ​ ระ​ผง​
ผสม​ปนู ซ​ เี มนต์ข​ าว​มจ​ี ำนวน​มากมาย​นบั แ​ สน​องค์​จ​ น​บาง​คน​มค​ี วาม​รสู้ กึ ว​ า่ ​
พระ​หลวงปู​ด่ ​.ู่ ​.​.​ไม่ม​รี าคา​​แต่​ขา้ พเจ้า​กลับ​รสู้ กึ ​ตรง​กนั ​ขา้ ม​วา่ ​​พระ​หลวงปู​ด่ ู่​
.​.​.​​เมด​​อิน​​วัด​สะแก​นี้​ที่​ว่า​.​.​.​ไม่มี​ราคา​นั้น​​คือ​​ไม่มี​ราคา​แบบ​ที่​หา​ค่า​มิได้​
เป็น​​Invaluable​​หรือ​​Priceless​​Thing​​สำหรับ​ผู้​รู้​คุณค่า​​มิใช่​สำหรับ​
ผู้​รู้​มูลค่า​​ที่​นิยม​การ​ซื้อ​ขาย​แลก​เปลี่ยน​เป็น​เงิน​ทอง​กัน​

luangpordu.com
173 ๑๗๓

๙๒​

​หลวงปู่​ดู่​ห​ ลวง​ปู่ทวด​

วันห​ นึง่ ใ​น​คราว​ทป​ี่ ลอด​คน​ข​ า้ พเจ้าไ​ด้ม​ โ​ี อกาส​อยูท​่ ก​ี่ ฏุ ข​ิ อง​หลวงปู​่
กับ​ท่าน​โดย​ลำพัง​ ​หลวงปู่​ได้​เล่า​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า​ ​มี​ลูก​ศิษย์​นาย​ทหาร​คน​
หนึ่ง​มา​เล่า​ให้​ท่าน​ฟัง​ว่า​​หลวง​ปู่ทวด​ท่าน​ไป​หลอก​เขา​
​ “​หลอก​ยัง​ไง​หรือ​ครับ​”​​ข้าพเจ้า​ถาม​ท่าน​
​ “​เขา​ว่า​เวลา​ที่​เขา​ภาวนา​อยู่​ ​หลวง​ปู่ทวด​ไป​ยืน​อยู่​ข้าง​หน้า​เขา​​
สัก​พัก​ตัว​ท่าน​ก็​เปลี่ยน​ไป​​หัว​เป็น​หลวง​ปู่ทวด​​ตัว​เป็น​ข้า​.​.​.​”​
​ หลวงปู่​ตอบ​ข้าพเจ้า​ยัง​ไม่​จบ​​ข้าพเจ้า​อด​ถาม​แทรก​ไม่​ได้​ว่า​​“​เขา​รู้​
ได้​อย่างไร​ครับ​ว่า​ตัว​เป็น​หลวงปู่​”​
​ ท่าน​ตอบ​ขา้ พเจ้าว​ า่ ​“​ เ​ขา​จำ​รอย​สกั ร​ ปู ผ​ เ​ี สือ้ ท​ ม​ี่ อื ข​ า้ ไ​ด้​”​ ​ห​ ลวงปู​่
ได้​เล่า​ต่อว่า​ ​“​เมื่อ​หลวง​ปู่ทวด​ไป​หลอก​เขา​โดย​แสดง​ให้​เห็น​ ​หัว​เป็น​
หลวง​ปู่ทวด​​ตัว​เป็น​ข้า​แล้ว​​สัก​พัก​ก็​เปลี่ยน​ใหม่​​ทีนี้​หัว​เป็น​ข้า​​ส่วน​ตัว​
เป็น​หลวง​ปู่ทวด​ถือ​ไม้​เท้า​​กลับ​ไป​กลับ​มา​อย่าง​นี้​​”​
เ​รือ่ ง​ทห​ี่ ลวงปูไ​่ ด้เ​ล่าใ​ห้ข​ า้ พเจ้าฟ​ งั น​ ​ี้ ต​ รง​กบั น​ มิ ติ ท​ ศ​ี่ ษิ ย์ข​ อง​หลวงปู​่
หลาย​คน​เคย​มน​ี มิ ติ เ​กีย่ ว​กบั ท​ า่ น​ค​ อื ​เ​ป็นน​ มิ ติ ร​ ปู พ​ ระพุทธเจ้าอ​ ยูต​่ รง​กลาง​
ด้าน​ขวา​ด​ า้ น​ซา้ ย​มร​ี ปู ห​ ลวง​ปทู่ วด​และ​หลวงปูด​่ ​ู่ ส​ กั พ​ กั ภ​ าพ​ทงั้ ส​ าม​กค​็ อ่ ยๆ​​

luangpordu.com
๑๗๔ 174

เลื่อน​มา​รวม​เป็น​ภาพ​เดียวกัน​คือ​เป็น​ภาพ​พระพุทธเจ้า​ ...หาก​หลวงปู่​ดู่​
และ​หลวง​ปู่ทวด​มิใช่​พระองค์​เดียวกัน​แล้ว​ ​สมควร​แล้ว​หรือ​ที่​นิมิต​ที่​ศิษย์​
นาย​ทหาร​ท่าน​นั้น​จะ​เห็น​ศีรษะ​หลวงปู่​ดู่​ไป​วาง​บน​ลำ​ตัว​หลวง​ปู่ทวด​​
สมควร​แล้ว​หรือ​ที่​ศีรษะ​หลวง​ปู่ทวด​มา​วาง​บน​ลำ​ตัว​หลวงปู่​ดู่​​และ​สมควร​
แล้ว​หรือ​ที่​ภาพ​พระพุทธเจ้า​ ​หลวง​ปู่ทวด​ ​และ​หลวงปู่​ดู่​ ​มา​รวม​เป็น​ภาพ​
เดียวกัน​
​ ข้าพเจ้า​เชื่อ​ว่า​หลวงปู่​ดู่​เป็น​พระ​โพธิ​สัตว์​ที่​ปรารถนา​พุทธ​ภูมิ​
เช่น​เดียว​กับ​หลวง​ปู่ทวด​​ส่วน​ท่าน​จะ​เป็น​องค์​เดียวกัน​หรือ​ไม่​นั้น​​ข้าพเจ้า​
ไม่ท​ ราบ​ได้​เ​พราะ​เป็นว​ สิ ยั ข​ อง​ผม​ู้ ญ
​ี าณ​เท่านัน้ ท​ จ​ี่ ะ​พงึ ท​ ราบ​เ​หตุท​ บ​ี่ นั ทึก​
เรื่อง​นี้​ไว้​ก็​เพียง​เพื่อ​เตือน​ใจ​ตัว​เอง​ที่​ครั้ง​หนึ่ง​หลวงปู่​ได้​เคย​เมตตา​เล่า​
​เรื่อง​นี้​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ ​และ​หาก​จะ​เป็น​ประโยชน์​กับ​ใคร​บ้าง​ ​ช่วย​สร้าง​
ศรัทธา​ป​สา​ทะ​ให้​เกิด​ความ​พาก​ความ​เพียร​ ​ที่​จะ​ก้าว​ล่วง​ความ​ทุกข์​ให้​ได้​
แล้ว​​ข้าพเจ้า​ขอ​อนุโมทนา​ด้วย​อย่าง​ยิ่ง​ครับ​

luangpordu.com
175 ๑๗๕

​๙๓​
​กรรม​ฐาน​พาล​จิต​เพี้ยน​

​หลาย​ปี​ก่อน​มี​การ​เสวนา​ทาง​วิชา​การ​เรื่อง​ “​ ​โรคจิต​กับ​กรรม​ฐาน”​​
จัดโ​ดย​ธรรม​สถาน​จฬุ าลงกรณ์ม​ หาวิทยาลัย​ใ​น​ครัง้ น​ นั้ ม​ ก​ี าร​เชิญจ​ ติ แพทย์​
จาก​โรง​พยาบาล​ศิริราช​ ​มา​เล่า​ถึง​ปัญหา​โรคจิต​ที่​เกิด​จาก​การ​นั่ง​วิปัสสนา​
กรรม​ฐาน​วา่ ทีจ​่ ริงแ​ ล้วก​ าร​ทำกรรม​ฐาน​ไม่ไ​ด้เ​ป็นส​ าเหตุข​ อง​การ​เกิดโ​รคจิต
​แต่​ประการ​ใด​​การ​ที่​คน​ทั่วไป​นั่ง​วิปัสสนา​กลับ​มา​แล้ว​เกิด​อาการ​ทาง​จิต​ที่​
คน​อื่น​มอง​ว่า​“​ ​เพี้ยน​”​​หรือ​เป็น​โรคประสาท​​เป็น​เพราะ​ทำ​ไม่​ถูก​วิธี​
​ จิตแพทย์​ท่าน​นั้น​ได้​กล่าว​ว่า​ ​การ​ที่​มี​ผู้​ไป​ทำ​วิปัสสนา​กลับ​มา​แล้ว​
ผิด​ปกติ​มี​ไม่​มาก​นัก​​แต่​สิ่ง​ที่​น่า​เป็น​ห่วง​มาก​ก็​คือ​ปัจจุบัน​มี​สำนัก​สอน​การ​
ปฏิบตั ร​ิ วม​ทงั้ ว​ ปิ สั สนา​เกิดข​ นึ้ อ​ ย่าง​มากมาย​จ​ น​ทำให้ค​ น​คดิ ว​ า่ เป็นแ​ ฟชัน่ ​
ที่​กำลัง​ได้​รับ​ความ​นิยม​ ​คาด​ว่า​มี​สำนัก​น้อย​ใหญ่​ทั่ว​ประเทศ​เป็นพัน​แห่ง​​
สาเหตุ​ที่​ทำให้​คน​มุ่ง​เข้า​สู่​สำนัก​กรรม​ฐาน​เหล่า​นี้​เนื่อง​มา​จาก​ความทุกข์​​
ความ​ผิด​หวัง​ใน​ชีวิต​​ต้องการที่​พึ่ง​ทาง​ใจ​​สรุป​ได้​ว่า​คน​ที่​เพี้ยน​จาก​การทำ
กรรม​ฐาน​นนั้ ส​ ว่ น​ใหญ่ม​ ค​ี วาม​ออ่ นแอ​ทาง​จติ ใจ​อยูแ​่ ล้ว​แ​ ละ​มา​พบ​แนวทาง​
ปฏิบตั ทิ ผ​ี่ ดิ ๆ​ ​เ​ช่น​อ​ า่ น​ตำรา​แล้วน​ ำ​ไป​ตคี วาม​เอง​ห​ รือคิดค้นว​ ธิ ป​ี ฏิบตั เ​ิ อง​
นอก​แบบ​ของ​ครู​อาจารย์​หรือ​ฟัง​จาก​เพื่อน​ที่​เล่า​ให้​ฟัง​ต่อ​ๆ ​กัน​มา​

luangpordu.com
๑๗๖ 176

​ เจ้า​สำนัก​กรรม​ฐาน​บาง​แห่ง​มัก​ใช้​วิธี​พิสดาร​ต่างๆ​ ​เพื่อ​สร้าง​ความ​
ขลัง​ให้​สำนัก​ตน​ด้วย​การ​ฝึก​แบบ​แปลกๆ​ ​จน​ทำให้​คน​ที่​ฝึก​แบบ​ที่​ผิด​ๆ​ ​นี้​
เกิด​อาการ​เคร่งเครียด​ ​บ้าง​ก็​เกิด​ความ​กลัว​หวาดระแวง​ ​เกิด​เป็น​อาการ​
เพี้ยน​ต่างๆ​​ตาม​มา​​อาการ​เพี้ยน​นี้​มิใช่​เพิ่ง​เกิด​ใน​สมัย​ปัจจุบัน​​หาก​แต่​ใน​
ครั้ง​พุทธ​กาล​ก็​มี​หลัก​ฐาน​ปรากฏ​ใน​พระ​วินัย​ปิฎก​ภาค​อาทิ​กัมมิิกะ​​คือ​
​ สมัย​หนึ่ง​ที่​พระพุทธเจ้า​ทรง​สอน​กรรม​ฐาน​ข้อ​ที่​ว่า​ด้วย​การ​ให้​
พิจารณา​ร่างกาย​ดุจ​เป็น​ซากศพ​แก่​พระ​ภิกษุ​ ​หลัง​จาก​นั้น​พระพุทธเจ้า​
เสด็จ​เข้า​ผาสุก​วิหาร​ธรรม​​คือ​ทรง​พัก​ผ่อน​ส่วน​พระองค์​เป็น​เวลา​​๑๕​​วัน​
ใน​ระหว่าง​นี้​ ​จะ​ไม่​เสด็จ​ออก​บิณฑบาต​ ​จะ​มี​แต่​พระ​ภิกษุ​ผู้​ทำ​หน้าที่​คอย​
อุปัฏฐาก​อยู่​​ไม่​ทรง​รับแขก​และ​งด​การ​แสดง​ธรรม​
​ พระ​ภกิ ษุท​ ไ​่ี ด้ฟ​ งั พ​ ระพุทธเจ้าส​ อน​เรือ่ ง​อ​ สุภะ​ ก​ รรม​ฐาน​ไ​ด้น​ ำ​คำ​สอน​
ไป​ปฏิบัติ​โดย​ไม่มี​ครู​อาจารย์​คอย​ควบคุม​อย่าง​ใกล้​ชิด​ก็​เกิด​อาการ​วิปริต​​
เห็น​ร่างกาย​เป็น​ซากศพ​ ​เป็น​ที่​น่า​ขยะแขยง​เป็น​ทุกข์​ ​จึง​จ้าง​วาน​คน​อื่น​
ให้​ฆ่า​ตัว​เอง​บ้าง​ล​ งมือ​ฆ่า​กันเอง​บ้าง​​เมื่อ​พระพุทธเจ้า​ทรง​เสร็จ​จาก​ผาสุก​
วิหาร​ธรรม​ ​ทรง​ทราบ​เรื่อง​เข้า​ จึง​ทรง​สอน​ให้​ภิกษุ​ที่​เหลือ​อยู่​ให้​พิจารณา​
กรรม​ฐาน​ใน​แนว​ใหม่​
​ อีกเ​รือ่ ง​หนึง่ ​เ​รือ่ ง​พระ​ภกิ ษุก​ ลุม่ ห​ นึง่ เ​รียน​กรรม​ฐาน​จากพระพุทธเจ้า​
แล้วก​ราบ​ทูล​ลา​เข้า​ป่า​หา​ที่​สงบ​ปฏิบัติ​กรรม​ฐาน​จน​ได้​บรรลุ​ฌาน​แล้ว​ ​ไม่​
นาน​กเ​็ กิดค​ วาม​สำคัญผ​ ดิ ค​ ดิ ว​ า่ ต​ น​ได้ส​ ำเร็จข​ นั้ อ​ ร​หนั ต​ แ​์ ล้ว​จ​ งึ ช​ วน​กนั อ​ อก​
จาก​ป่า​กลับ​มา​เฝ้า​พระพุทธเจ้า​ ​และ​ได้​บอก​ความ​ประสงค์​เรื่อง​นี้​แก่​พระ​

luangpordu.com
177 ๑๗๗

อานนท์​ ​พระ​อานนท์​เข้าไป​กราบทูล​พระพุทธเจ้า​เพื่อ​ขอ​อนุญาต​เข้า​เฝ้า​
พระพุทธเจ้าไ​ม่ท​ รง​อนุญาต​ร​ บั สัง่ ใ​ห้พ​ ระ​อานนท์ไ​ป​บอก​พระ​ภกิ ษุเ​หล่าน​ นั้ ​
ให้ไ​ป​พจิ ารณา​ซากศพ​ใน​ปา่ ช้าก​ อ่ น​ซ​ งึ่ ใ​น​ขณะ​นนั้ ใ​น​ปา่ ช้าม​ ค​ี น​ทต​ี่ าย​ใหม่ๆ​
ยังไ​ม่ไ​ด้เ​ผา​พระ​ภกิ ษุเ​หล่าน​ นั้ ก​ ไ็ ด้ไ​ป​ดศ​ู พ​ใน​ปา่ ช้า​เ​มือ่ ด​ ศ​ู พ​ทก​ี่ ำลังข​ นึ้ อ​ ดื ​
ก็​บังเกิด​ความ​เกลียด​ ​และ​เมื่อ​ไป​ดู​ศพ​หญิง​สาว​ที่​เพิ่ง​ตาย​ ​แล​เห็น​อวัยวะ
ทุก​ส่วน​ยัง​สด​อยู่​ก็​บังเกิด​ราคะ​ ​พระ​ภิกษุ​เหล่า​นั้น​จึง​ทราบ​ว่า ​พวก​ตน​​
ยังไ​ม่ไ​ด้บ​ รรลุธ​ รรม​ใดๆ​ก​ เ​็ กิดค​ วาม​สลด​สงั เวช​ใจ​ใน​ความ​สำคัญผ​ ดิ ข​ อง​ตน​​
หลังจ​ าก​นนั้ ไ​ด้เ​ข้าเ​ฝ้าพ​ ระพุทธเจ้า​ไ​ด้ฟ​ งั ธ​ รรม​จงึ ไ​ด้ส​ ำเร็จเ​ป็นพ​ ระ​อ​ ร​หนั ต​ ​์
ใน​เวลา​ต่อ​มา​
​ นีเ​้ ป็นห​ ลักฐ​ าน​วา่ การ​ปฏิบตั ก​ิ รรม​ฐาน​ตาม​หลักศ​ าสนา​พทุ ธ​จ​ ำเป็น​
ต้อง​มค​ี รูอ​ าจารย์ค​ อย​ดแู ล​เ​ช่นค​ อย​แนะนำ​วา่ ภ​ าพ​ทเ​ี่ ห็นแ​ ละ​ความ​คดิ ท​ เ​ี่ กิด​
ขึ้น​ใน​ขณะ​ที่​เจริญ​พระกร​รม​ฐาน​หรือ​เวลา​นั่ง​กรรม​ฐาน​​ตลอด​จน​อารมณ์​
ต่างๆ​ ​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ระหว่าง​นั้น​มี​ความ​หมาย​อย่างไร ​และ​ควร​วาง​อารมณ์​
ต่อ​สิ่ง​เหล่านั้น​อย่างไร​​มิ​ฉะนั้น​​ผู้​ทำกรรม​ฐาน​อาจ​เกิด​ความ​เห็น​ผิด​​แล้ว​
พัฒนา​กลาย​เป็น​ความ​วิปริต​หรือ​ผิด​เพี้ยน​​ที่สุด​แล้ว​อาการ​อาจ​รุนแรง​จน​
ควบคุม​ไม่​ได้​​กลาย​เป็น​คน​วิกลจริต​ไป​ก็​มี​
​ ผู้​ปฏิบัติ​จึง​ควร​เริ่ม​ต้น​ศึกษา​พุทธ​ศาสนา​ด้วย​การ​ศึกษา​หาความรู้​
ทำความ​เข้าใจ​ใน​หลัก​คำ​สอน​ของ​พระพุทธเจ้า​ให้​เข้าใจ ​ก่อน​ที่​จะ​ลงมือ​
​นั่ง​สมาธิ​เจริญ​ภาวนา​​เพราะ​การ​ทำ​สมาธิ​แต่​เพียง​อย่าง​เดียว​ก็​มี​โทษ​​มิใช่​
มี​ประโยชน์​ด้าน​เดียว​

luangpordu.com
๑๗๘ 178

​ ดังน​ นั้ ​จ​ งึ ข​ อ​ฝาก​ผป​ู้ ฏิบตั ท​ิ ม​ี่ กั ม​ น​ี มิ ติ ภ​ าวนา​ไ​ม่ว​ า่ เ​ป็นน​ มิ ติ ป​ ระเภท​
ภาพ​​เสียง​​กลิ่น​​หรือ​สิ่ง​อื่น​ใด​ก็ตาม​​หลวงปู่​ท่าน​เคย​สอน​ไว้​ว่า​​
“​อย่า​ยินดี​ยิน​ร้าย​​และ​อย่า​น้อม​ใจ​เชื่อ​ใน​นิมิต​ที่​เกิด​ขึ้น​”​​
ท่าน​สอน​ไม่​ให้​ปฏิเสธ​​หรือ​ว่า​ไม่​ให้​เชื่อ​นิมิต​ทันที​ที่​นิมิต​เกิด​ขึ้น​​แต่​
สอน​ให้​เชื่อ​หรือ​ปฏิ​เสธ​ก็​ต่อ​เมื่อ​ค​ วาม​จริง​​ปรากฏ​ขึ้น​เท่านั้น​​
หลวง​ปด​ู่ ลู ย์​อ​ ต​ โุ ล​ท​ า่ น​ได้เ​คย​แนะนำ​วธิ ล​ี ะ​นมิ ติ ก​ บั ศ​ ษิ ย์ค​ น​หนึง่ ใ​น​
หนังสือ​​“​หลวง​ปู่​ฝาก​ไว้​”​​เรียบ​เรียง​โดย​พระ​โพธิ​นันท​มุนี​​ว่า​
​ “​.​.​.​นิมิต​บาง​อย่าง​มัน​ก็​สนุก​ดี​​น่า​เพลิดเพลิน​อยู่​หรอก​​แต่​ถ้า​ติด​อยู่​
แค่น​ นั้ ม​ นั ก​ เ​็ สียเ​วลา​เปล่า​ว​ ธิ ล​ี ะ​ได้ง​ า่ ยๆ​ก​ ค​็ อื อ​ ย่าไ​ป​ดส​ู งิ่ ท​ ถ​ี่ กู เ​ห็นเ​หล่าน​ นั้ ​
ให้​ดู​ผู้​เห็น​​แล้ว​สิ่ง​ที่​ไม่​อยาก​เห็น​นั่น​ก็​จะ​หาย​ไป​เอง​”​

luangpordu.com
179 ๑๗๙

​๙๔​
​จะ​ไป​ทาง​ไหน​

หลวงปู่​เคย​พูด​ถึง​ความ​รู้สึก​ห่วงใย​ของ​ท่าน​ที่​มี​กับ​บรรดา​ศิษย์​ว่า​​
หลาย​คน​ก่อน​จะ​มา​เกิด​นี่​ ​พวก​ที่​อยู่​บน​สวรรค์​ก็ได้​ไป​ร่ำ​ลา​พระ​ก่อน​ ​พอ​
ลง​มา​แล้ว​ก็​มา​เพลิดเพลิน​หลง​ติด​อยู่​กับ​โลก​ ​ครั้น​เมื่อ​ตาย​ไป​แล้ว​ก็​ไป​เกิด​
ใน​ที่​ลำบาก​​ใน​อบาย​ภูมิ​​มีน​รก​​เปรต​​อสุร​กาย​​สัตว์​เดรัจฉาน​​ไม่​สามารถ​
กลับ​ขึ้น​ไป​รับ​ผล​บุญ​บน​สวรรค์​ชั้น​พรหม​​หรือ​ไป​นิพพาน​ได้​
​ พระพุทธเจ้า​เคย​เปรียบ​บุคคล​ไว้​​๔​​จำพวก​​คือ​
​ ๑​.​ ​บุคคล​ที่​มืด​มา​แล้ว​มืด​ไป​ ​เปรียบ​ได้​กับ​บุคคล​ที่มา​จาก​ภพ​ภูมิ​ที่​
ต่ำ​กว่า​มนุษย์​​ได้แก่​​นรก​​เปรต​​อสุร​กาย​​สัตว์​เดรัจฉาน​​ครั้น​มา​เกิด​แล้ว​
ก็​ประกอบ​แต่​กรรม​ชั่ว​​เมื่อ​ตาย​จาก​โลก​มนุษย์​ก็​กลับ​ไป​สู่​อบาย​ภูมิ​อีก​
​ ๒​.​บ​ คุ คล​ทม​ี่ ดื ม​ า​แล้วส​ ว่าง​ไป​เ​ปรียบ​ได้ก​ บั บ​ คุ คล​ทมี่ า​จาก​ภพ​ภมู ท​ิ ​ี่
ต่ำ​กว่า​มนุษย์​​ได้แก่​​นรก​เปรต​​อสุร​กาย​​สัตว์​เดรัจฉาน​​ครั้น​มา​เกิด​แล้ว​ก็​
ประกอบ​แต่ก​ รรม​ด​ี เ​มือ่ ต​ าย​จาก​โลก​มนุษย์​เ​ขา​กส​็ ามารถ​ไป​สส​ู่ คุ ติม​ ส​ี วรรค์​
พรหม​​พระ​นิพพาน​ได้​
๓​.​บ​ คุ คล​ทส​ี่ ว่าง​มา​แล้วม​ ดื ไ​ป​เ​ปรียบ​ได้ก​ บั บ​ คุ คล​ทมี่ า​จาก​ภพ​ภมู ท​ิ ​ี่
สูงก​ ว่าภ​ มู ม​ิ นุษย์​ไ​ด้แก่​สวรรค์​พ​ รหม​ค​ รัน้ ม​ า​เกิดแ​ ล้วก​ ป​็ ระกอบ​แต่ก​ รรม​ชวั่ ​

luangpordu.com
๑๘๐ 180

​เมื่อ​ตาย​จาก​โลก​มนุษย์​ก็​กลับ​ไป​สู่​อบาย​ภูมิ​
​ ๔​.​ ​บุคคล​ที่​สว่าง​มา​แล้ว​สว่าง​ไป​ ​เปรียบ​ได้​กับ​บุคคล​ที่มา​จาก​ภพ​
ภูมิ​ที่​สูง​กว่า​ภูมิ​มนุษย์​ ​ได้แก่​ ​สวรรค์​ ​พรหม​ ​ครั้น​มา​เกิด​แล้ว​ก็​ประกอบ​
แต่​กรรม​ดี​​เมื่อ​ตาย​จาก​โลก​มนุษย์​​เขา​ก็​สามารถ​ไป​สู่​สุคติ​มี​สวรรค์​พรหม​
พระ​นิพพาน​ได้​
​ จะ​มืด​มา​หรือ​สว่าง​มา​ ​ข้าพเจ้า​คิด​ว่า​ไม่​สำคัญ​เท่ากับ​จะ​มืด​ไป​หรือ​
สว่าง​ไป​​เพราะ​อย่างไร​เสีย​​เรา​ก็ได้​มา​เกิด​แล้ว​​แต่​ขณะ​นี้​เรา​ยัง​ไม่​ได้​.​.​.​ไป​
​ ใน​ประวัติ​ของ​สมเด็จ​พระ​พุฒ​า​จาร​ย์​โต​ ​พรหม​รังสี​ ​แห่ง​วัด​ระฆัง​-​
โฆ​สิ​ตา​ราม​ ​เมื่อ​คราว​ที่​ในหลวง​รัชกาล​ที่​ ​๔​ ​ทรง​ให้​ขุด​สระ​น้ำ​และ​ปลูก​
​พระ​ตำหนัก​กลาง​สระ​น้ำ​อย่าง​สวยงาม​​ท่าน​ได้​ตรัส​ถาม​สมเด็จ​โต​ว่า​​
“​สวย​ไหม​​ขรัว​โต​”​
​สมเด็จ​โตก​ราบ​ทูล​ตอบ​ว่า​ ​“​สวย​มาก​มหาบพิตร​ ​ดุจ​ราช​รถ​อัน​
วิจิตร​”​
​ เท่า​นี้​แหละ​ ​ในหลวง​ทรง​กริ้ว​ไป​หลาย​วัน​ ​เพราะ​ท่าน​เป็น​ปราชญ์​
เชี่ยวชาญ​ภาษา​บาลี​​คำ​กราบทูล​ของ​สมเด็จ​โต​ว่า“​ ​ดุจ​ราช​รถ​อัน​วิจิตร​”​​นี้​
ตรง​กับ​พุทธ​ภาษิต​บท​หนึ่ง​ว่า​
​ “​สท​ู ง้ั ห​ ลาย​จง​มา​ดโ​ู ลก​น​้ี อ​ นั ต​ ระการ​ตา​ดจุ ร​ าช​รถอันว​ จิ ติ ร​ท​ พ​่ี วก​
คน​โง่​หลง​ตดิ ​อยู​่ ​แต่​ผ​รู้ ​หู้ า​ตดิ ​ขอ้ ง​อยู​ไ่ ม่​”​

luangpordu.com
181 ๑๘๑

​๙๕​
​ตี​เหล็ก​ร้อนๆ​

ค​ รัง้ ห​ นึง่ ​ม​ เ​ี พือ่ น​ผป​ู้ ฏิบตั ธ​ิ รรม​ของ​ขา้ พเจ้าไ​ด้ฝ​ าก​เรียน​ถาม​หลวงปู​่
ว่า​“​ ใน​ยคุ ป​ จั จุบนั ​ผ​ คู้ น​กำลังม​ ค​ี วาม​ทกุ ข์ก​ นั ม​ ากมาย​น​ อกจาก​การ​ปฏิบตั ​ิ
ธรรม​แล้ว​​ควร​ทำ​อย่างไร​อีกครับ”​
​ข้าพเจ้า​ได้​กราบ​เรียน​ถาม​หลวงปู่​​ซึ่ง​ท่าน​เมตตา​ตอบ​ว่า​​
“คำถาม​มนั ม​ ค​ี ำ​ตอบ​อยูใ​่ น​ตวั แ​ ล้ว​น​ อกจาก​การ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​แล้ว​
ไม่ม​อี ย่าง​อน่ื ​​เพราะ​การ​ปฏิบตั ​ธิ รรม​คอื ​ปฏิบตั ​ใิ ห้​ถกู ​ตอ้ ง​​ท​ส่ี ำคัญ​อย่าง​
แรก​คอื ต​ อ้ ง​ทำความ​เห็นเ​รา​ให้ถ​ กู เ​สียก​ อ่ น​วา่ ทีว​่ า่ ป​ ฏิบตั ธ​ิ รรม​น​ น้ั ​ป​ ฏิบตั ​ิ
อะไร​​​และ​ปฏิบตั ​อิ ย่างไร​”​​
หลวงปูท่ า่ น​ได้ขยายความโดย​แยกแยะ​ไ​ว้เ​ป็นส​ อง​นยั ค​ อื ​โ​ลกียธรรม​​
และ​​โลก​ุตร​ธรรม​
​ โลกีย​ธรรม​​คือ​​ให้​ปฏิบัติ​หน้าที่​ของ​เรา​ให้​พร้อม​สมบูรณ์​​ไม่​ว่า​จะ​
เป็น​หน้าที่​ต่อ​พ่อ​แม่​ ​ครูบา​อาจารย์​ ​หัวหน้า​ ​ลูก​น้อง​ ​เพื่อน​ๆ​ ​และ​หน้าที่​
ต่อ​ตัว​เอง​
โ​ลก​ตุ ร​ธรรม​ก​ ใ​็ ช้ท​ กุ ข์จ​ าก​สภาพ​ทเ​ี่ ป็นอ​ ยูน​่ แ​ี้ หละ​เป็นเ​ครือ่ ง​กำหนด​
รู้​ ​สำหรับ​ผู้​มี​ปัญญา​แล้ว​ ​ยิ่ง​เห็น​ทุกข์​มาก​เท่าใด​ ​ก็​ยิ่ง​อยาก​ที่​จะ​พ้น​ทุกข์​

luangpordu.com
๑๘๒ 182

มาก​เท่านั้น​​โดย​อาศัย​หนทาง​มรรค​ที่​พระพุทธเจ้า​สอน​เป็น​แนวทาง​เดิน​
​ เมื่อได้​ฟัง​คำ​ตอบ​ของ​หลวงปู่​ ​ทำให้​ข้าพเจ้า​ระลึก​ถึง​ประวัติ​ของ​
สมเด็จ​โต​​วัด​ระฆัง​ฯ​​อีก​ครั้ง...
​โดย​ปกติ​ในหลวง​รัชกาล​ที่​ ​๔​ ​มัก​นิมนต์​สมเด็จ​โต​เข้า​มา​เทศน์​ใน​
วัง​เสมอ​​วัน​หนึ่ง​ที่​ท่าน​นิมนต์​สมเด็จ​โต​มา​เทศน์​​พอดี​วัน​นั้น​ท่าน​มี​กิจ​ธุระ​
ที่​จะ​ต้อง​ไป​ทำ​ต่อ​ ​เมื่อ​สมเด็จ​โต​มา​เทศน์​ ​ท่าน​ทราบ​ดี​ว่า​ในหลวง​มี​เรื่อง​
ร้อน​พระทัย​อยู่​จะ​รีบ​ไป​ ​ท่าน​ก็​เทศน์​ให้​ในหลวง​ฟัง​อยู่​เสีย​นาน​กว่า​จะ​จบ​
ลง​ได้​
​ ครั้ง​ต่อ​มา​ ​ในหลวง​นิมนต์​สมเด็จ​โต​เข้า​มา​เทศน์​ใน​วัง​อีก​ ​วัน​นั้น​
ท่าน​วา่ ง​จาก​กจิ ธ​ รุ ะ​การ​งาน​ดแี ล้ว​ต​ งั้ ใจ​จะ​ฟงั เ​ทศน์ส​ มเด็จเ​ต็มท​ ​ี่ ส​ มเด็จโ​ต​
แทนที่​จะ​เทศน์​อะไร​ให้​ในหลวง​ฟัง​ ​วัน​นั้น​ ​ท่าน​กลับ​ไม่​แสดง​ธรรม​และ​ไม่​
เทศน์​เลย​​เพียง​แต่​ขน้ึ ​ตน้ ​วา่ ​“ธรรม​ใดๆ​​มหาบพิตร​ก​ท็ รง​ทราบ​ด​อี ยู​แ่ ล้ว​
เอวัง​ก​ม็ ​ดี ว้ ย​ประการ​​ฉะนี​”้
​เรื่อง​นี้​สอน​ให้​รู้​ว่า​จะ​ตี​เหล็ก​ให้​ตี​ตอน​ร้อนๆ​​ใน​วัน​แรก​ในหลวง​ทรง​
มี​เรื่อง​กังวล​พระทัย​จิตใจ​ไม่​ปกติ​ ​สมเด็จ​โต​ท่าน​จึง​ต้อง​เทศน์​นาน​หน่อย​​
แต่​วัน​ต่อ​มา​ท่าน​สบาย​พระทัย​ ​จิตใจ​เป็น​ปกติ​ดี​ ​ก็​ไม่มี​เหตุ​อัน​ใด​ที่​ต้อง​
เทศน์​สอน​อีก​​ฉันใด​​การ​พิจารณา​ทุกข์​ให้​เข้าใจ​ทุกข์​​ให้​ผ่าน​ทุกข์​ให้​ได้​​ก็​
ต้อง​พิจารณา​ใน​ยาม​ที่​เผชิญ​ทุกข์​มากๆ​ ​ยาม​ที่​ปัญหา​เศรษฐกิจ​รุม​เร้า​เช่น​
ปัจจุบัน​นี้​​ฉัน​นั้น​

luangpordu.com
183 ๑๘๓

​๙๖​
​ครู​พัก​ลัก​จำ​

คุณธ​ รรม​ทโ​ี่ ดด​เด่นข​ อง​หลวงปูด​่ อ​ู่ กี ป​ ระการ​หนึง่ ท​ ข​ี่ า้ พเจ้าย​ งั จ​ ดจำ​


ได้​ดี​ ​คือ​หลวงปู่​รู้จัก​เอา​เหตุ​กา​รณ์​เล็ก​ๆ​ ​น้อย​ๆ​ ​ที่​ดู​เหมือน​ไม่​สลัก​สำคัญ​
อะไร​ม​ า​จดุ ป​ ระกาย​ความ​คดิ แ​ ก่ศ​ ษิ ย์​ด้วย​วธิ ค​ี ดิ แ​ ละ​กศุ โลบาย​อนั แ​ ยบคาย​​
จน​ทำให้เ​หตุก​ า​รณ์เ​ล็กๆ​ ​น​ อ้ ย​ๆ​ก​ ลับเ​ป็นเ​รือ่ ง​ราว​ทม​ี่ ค​ี า่ ​ก​ ลาย​เป็นบ​ ท​เรียน​
อัน​ทรง​คุณค่าสำหรับ​ศิษย์​ใน​เวลา​ต่อ​มา​ ​อย่าง​เช่น​ ​เรื่อง​หนึ่ง​ใน​สี่​ ​หลวงปู่​
ได้​เคย​ปรารภ​ธรรม​กับ​ข้าพเจ้า​ว่า​
​ “​ ​ข้า​นั่ง​ดูด​ยา​ ​มอง​ดู​ซอง​ยา​แล้ว​ตั้ง​ปัญหา​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​ ​เรา​นี่​
ปฏิบัติ​ได้​หนึ่ง​ใน​สี่​ของ​ศาสนา​หรือย​ ัง​ ​ถ้า​ซอง​ยา​นี้​แบ่ง​เป็น​สี่​ส่วน​ ​เรา​นี่​
ยังไ​ม่ไ​ด้ห​ นึง่ ใ​ น​ส​ี่ ม​ นั จ​ วน​เจียน​จะ​ได้แ​ ล้วก​ ค​็ ลาย​เ​หมือน​กบั เ​รา​มดั เ​ชือก​
จน​เกือบ​จะ​แน่น​ได้ที่​แล้ว​เรา​ปล่อย​ ​มัน​ก็​คลาย​ออก​ ​เรา​นี่​ยัง​ไม่​เชื่อ​จริง​​
ถ้า​เชื่อ​จริง​นี่​มัน​ต้อง​ได้​หนึ่ง​ใน​สี่​แล้ว​”​
​ ต่อ​มา​ภาย​หลัง​ท่าน​ได้​ขยาย​ความ​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า​
​ “​ทว​ี่ า่ ห​ นึง่ ใ​น​สน​ี่ นั้ ​อ​ ปุ มา​ดงั่ ก​ าร​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​เพือ่ ใ​ห้บ​ รรลุม​ รรคผล​
ใน​พุทธ​ศาสนา​​ท่าน​แบ่ง​ไว้​เป็น ​ขั้น​โสดา​บัน ​สกิ​ทา​คามี​​อ​นาคา​มี​​และ​
อร​หตั ต​ ผ​ ล​อ​ ย่าง​นอ้ ย​เรา​เกิดม​ า​ใน​ชาติน​ ไ​ี้ ด้พ​ บพระ​พทุ ธ​ศาสนา​เ​ปรียบ​

luangpordu.com
๑๘๔ 184

เหมือน​ได้พ​ บ​สมบัตล​ิ ำ้ ค่า​ห​ าก​ไม่ป​ ฏิบตั เ​ิ อา​ให้ไ​ด้อ​ ย่าง​นอ้ ยห​นงึ่ ใ​ น​ส​ี่ ใ​ ห้​
ถึง​ความ​เป็น​พระ​โสดา​บัน​ ​ปิด​ประตู​อบาย​ภูมิ​ให้​ได้​ ​ก็​เท่ากับ​ว่า​เรา​เป็น​
ผู้​ประมาท​อยู่​มาก​”​
ยิ่งข้าพเจ้า​ได้​ศึกษา​ ​ได้​เรียน​รู้​กับ​หลวงปู่​ ​ข้าพเจ้า​ก็​ยิ่ง​บังเกิด​ความ​
อัศจรรย์ข​ นึ้ ใ​น​จติ ใจ​ท​ า่ น​สอน​ให้เ​รา​ได้ห​ ลักแ​ ละ​วธิ ค​ี ดิ ด​ ว้ ย​โ​ยนิโส​มนสิการ​​
ทำให้เ​รา​ได้เ​กิดศ​ รัทธา​และ​กอ่ ใ​ห้เ​กิด​“​ ป​ ญ ั ญา​”​อ​ นั เ​ป็นย​ อด​ปรารถนา​ของ​
ทุกค​ น​ท​ ำให้เ​กิดค​ วาม​เข้าใจ​แจ่มช​ ดั ใ​น​เรือ่ ง​ตวั ต​ น​ของ​เรา​และ​ทกุ ช​ วี ติ ท​ อ​ี่ ยู​่
รอบ​ข้าง​
​ หลวงปู่​ท่าน​เคย​เล่า​ให้​ข้าพเจ้า​ฟัง​ว่า​
​ “​คน​สมัย​ก่อน​ที่​เขา​ปฏิบัติ​กัน​ได้​ดี​ ​ต้อง​รู้จัก​ลัก​สังเกต​จดจำ​สิ่ง​ที่​
ดี​งาม​ของ​ผู้​อื่น​มา​ปฏิบัติ​ตาม ​เพื่อ​ให้​เกิด​ให้​มี​ที่​ตัว​เรา ​เหมือน​ที่​ข้า​สอน​
พวก​แก​น​ี่ ไ​ม่ใช่ส​ ำนักป​ ฏิบตั ​ิ ไ​ม่ใช่ส​ ำนักว​ ดั ส​ ะแก​ถ​ า้ เ​ป็นส​ ำนักก​ ต​็ อ้ ง​ตงั้ ​
แบบ​ใหม่​
​ ที่​ข้า​สอน​นี่​ไม่ใช่​แบบ​ใหม่​​แต่เ​ป็น​แบบ​ของ​พระพุทธเจ้า​​ข้า​ก็​ลัก​
สอน​แอบ​สอน​อยู่​นี่​​ใคร​เชื่อ​จริง​เอา​จริง​ก็ได้​ไป​​ช่วย​ๆ​​กัน​​.​.​.​ช่วย​เหลือ​
พระ​ศาสนา​”​

luangpordu.com
185 ๑๘๕

​๙๗​
​ที่สุด​แห่งท​ ุกขเวทนา​

“​ธรรม​นั้น​อยู่​ฟาก​ตาย​​ไม่​รอด​ตาย​​ไม่​เห็น​ธรรม​”​
​เป็น​คำ​สอน​ธรรม​ที่​ไพเราะ​ ​กิน​ใจ​ ​และ​เป็น​ประโยชน์​ใน​การนำ​มา​
ขบคิด​พิจารณา​ให้​แจ่ม​แจ้ง​กับ​ตนเอง​อย่าง​ยิ่ง​
​ วัน​หนึ่ง​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​นั่ง​ปฏิบัติ​ภาวนา​ ​ใจ​มี​ความ​สงบ​ระงับ​พอ​
สมควร​​เวลา​ผ่าน​ไป​ได้​สัก​​๒​​-​​๓​​ชั่วโมง​​ทุกขเวทนา​อัน​เนื่อง​มา​จาก​ความ​
ปวด​เมื่อย​ตาม​ร่างกาย​เริ่ม​ทวี​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​
​ ใน​ครั้ง​แรก​ ​ข้าพเจ้า​อาศัย​กำลัง​สมาธิ​เข้า​ข่ม​ความ​เจ็บ​ปวด​ ​โดย​
พยายาม​ให้​จติ ​จดจ่อ​อยู​ก่ บั ​คำ​ภาวนา​ให้​มน่ั คง​ขน้ึ ​​ความ​ปวด​เมือ่ ย​ก​ห็ าย​ไป​​
แต่​ก็​เป็น​เพียง​ชั่ว​ขณะ​ไม่​นาน​นัก​ ​ความ​ปวด​เมื่อย​นั้น​ก็​กลับ​คืน​มา​อีก​และ​
รุนแรง​ขึ้น​​ข้าพเจ้า​จึง​ตั้ง​คำถาม​ตัว​เอง​ว่า​.​.​.​
​ “​ที่​ว่า​เจ็บ​ปวด​​มัน​ปวด​ตรง​ไหน​​ที่​จิต​หรือ​ที่​กาย​”​
​ “​เจ็บ​ที่​กาย​”​​ข้าพเจ้า​ตอบ​ตัว​เอง​
​ “​เออ​​เจ็บ​ที่​กาย​​มัน​ก็​ต้อง​ไม่​เกี่ยว​กับ​จิต​​ถ้า​เรา​เชื่อ​พระพุทธเจ้า​ว่า​
จิต​กับ​กาย​เป็น​คนละ​ส่วน​กัน​​เรา​จะ​ต้อง​เห็น​จิต​เห็น​กาย​ว่า​เป็น​คนละ​ส่วน​
ด้วย​ตวั เ​รา​แ​ ละ​ตอ้ ง​ไม่ท​ รุ น​ทร​ุ าย​จาก​ความ​เจ็บป​ วด​อนั น​ ”​ี้ ​ข​ า้ พเจ้าบ​ อก​กบั ​
ตัว​เอง​อีก​
luangpordu.com
๑๘๖ 186

​ เวลา​ผา่ น​ไป​อย่าง​ชา้ ๆ​แ​ ต่อ​ นิจจา​ความ​เจ็บป​ วด​มไิ ด้ห​ าย​ไป​ไหน​เลย​​


กลับ​ทวี​ความ​รุนแรง​ถึง​ขนาด​ที่​ขา​ทั้ง​สอง​ข้าง​ของ​ข้าพเจ้า​สั่น​ระริก​และ​
กระตุก​ด้วย​ความ​เจ็บ​ปวด​เอง​​ขณะ​นั้น​เกิด​เป็น​ความ​ร้อน​ทั่ว​ร่างกาย​​โดย​
เฉพาะ​ที่​หัว​เข่า​ที่​นั่ง​ ​ขัด​สมาธิ​เกิด​ความ​เจ็บ​ปวด​แสน​สาหัส​เหมือน​มี​ใคร​
มา​บิด​ขา​และ​ดึง​ให้​ยืด​ออก​​เป็น​ความ​ทรมาน​ที่สุด​ครั้ง​หนึ่ง​ของ​การ​ปฏิบัติ​
ภาวนา​ของ​ข้าพเจ้า​ที​เดียว​
​ ข้าพเจ้า​บอก​กับ​ตนเอง​ว่า​วัน​นี้​ต้อง​ให้​เห็น​ที่สุด​ของ​ทุกขเวทนา​ให้​
ได้​ ​เรา​จะ​ไม่​ยอม​ลุก​จาก​ที่​นั่ง​โดย​ไม่​ผ่าน​ทุกข์​ ​ไม่​เห็น​ที่สุด​ของ​ทุกขเวทนา​​
ถ้าเ​รา​ลกุ แ​ ปล​วา่ เ​รา​ไม่เ​ชือ่ พ​ ระพุทธเจ้า​ถ​ า้ เ​รา​เชือ่ พ​ ระพุทธเจ้าจ​ ริงเ​รา​ตอ้ ง​
ผ่าน​ทกุ ข์ใ​ห้ไ​ด้​ใ​ห้ใ​จ​เรา​เห็นใ​ห้ไ​ด้ว​ า่ ​“​ จิตก​ บั ก​ าย​นเ​ี้ ป็นค​ นละ​สว่ น​กนั ”​ถ​ า้ ​
หาก​วนั น​ เ​ี้ รา​แพ้ก​ ไ​็ ป​หา​ผา้ ถุงม​ า​นงุ่ เ​สีย​แ​ ล้วไ​ม่ต​ อ้ ง​มา​ปฏิบตั อ​ิ กี เ​ลย​ป​ ฏิบตั ​ิ
ไป​ก็​ตาย​เปล่า​​เพราะ​คน​ขี้​แพ้​ทำ​อะไร​มัน​ก็​แพ้​อยู่​วัน​ยัง​ค่ำ​​เวลา​จะ​ตาย​มัน​
เจ็บ​ปวด​เพียง​ไร​จะ​ทน​ไหว​หรือ​
เ​มือ่ ต​ กลง​กบั ต​ วั เ​อง​ดงั นีแ​้ ล้ว​ค​ วาม​เจ็บป​ วด​กย​็ งั ม​ ไิ ด้ห​ าย​ไป​ไหน​เลย​​
คราว​นี้​กลับ​เพิ่ม​ความ​รุนแรง​ขึ้น​จน​น้ำตา​ข้าพเจ้า​ไหล​ออก​มา​เป็น​สาย​ ​ใน​
ใจ​ขณะ​นั้น​ข้าพเจ้า​ไม่​หวัง​อะไร​ทั้ง​สิ้น​​ไม่​ต้องการ​แม้​กระทั่ง​ความ​สงบ​​นึก​
เพียง​อย่าง​เดียว​วา่ ทีเ​่ รา​ทำ​อยูน​่ ​ี้ ท​ ำ​ดว้ ย​ศรัทธา​ด​ ว้ ย​ความ​รกั ห​ ลวงปูด​่ แ​ู่ ละ​
ขอ​เอา​ชีวิต​เป็น​เดิม​พัน​ ​เมื่อ​ความ​เจ็บ​ปวด​รุม​เร้า​ข้าพเจ้า​อย่าง​แสน​สาหัส​​
ถึง​ขนาด​เจียน​อยู่​เจียน​ไป​ ​จน​ข้าพเจ้า​รู้ตัว​ดี​ว่า​ไม่​สามารถ​ทน​ต่อ​ไป​ได้​อีก​
แล้ว​​แต่​ใจ​ก็​ยัง​ไม่​ยอม​แพ้​​ไม่​ยอม​ลุก​​และ​ไม่​ยอม​ขยับเขยื้อน​​

luangpordu.com
187 ๑๘๗

ข้าพเจ้าร​ สู้ กึ ว​ า่ ต​ วั เ​อง​เหมือน​เด็กท​ ย​ี่ นื ก​ ำ​หมัด​ก​ ดั ฟัน​แ​ ล้วว​ งิ่ เ​ข้าไป​


ชก​กับ​คู่​ต่อสู้​ที่​รูป​ร่าง​สูง​ใหญ่​ได้​เปรียบ​กว่า​ทุก​ประตู​ ​ข้าพเจ้า​ทั้ง​ร้องไห้ ​
ทั้ง​ตะโกน​อยู่​ใน​ใจ​ว่า​​“​ผม​ทำ​ถวาย​หลวงปู่​ครับ​”​
​ สิ้น​คำ​กล่าว​ของ​ข้าพเจ้า​นี้​ ​เหมือน​กับ​หลวงปู่​ท่าน​รับ​ทราบ​ ​พลัน​
เกิด​เหตุ​อัศจรรย์​เป็น​นิมิต​ที่​ข้าพเจ้า​จดจำ​ได้​ตลอด​ชีวิต​ ​คือ​ ​ข้าพเจ้า​เห็น​
หลวงปู่​ดู่​เป่า​พรวด​ลง​มา​ที่​กระหม่อม​ของ​ข้าพเจ้า​​ความ​รู้สึก​ขณะ​นั้น​ดุจ​มี​
น้ำท​ พิ ย์ช​ โลม​รด​ตงั้ แ​ ต่ศ​ รี ษ​ะจน​จรด​ปลาย​เท้า​ท​ กุ ขเวทนา​ความ​ปวด​เมือ่ ย​​
ทีเ​่ มือ่ ส​ กั ค​ รูร​่ าวกับถ​ กู ก​ อ้ น​หนิ ท​ ม​ี่ น​ี ำ้ ห​ นักห​ นึง่ ร​ อ้ ย​กโิ ล​ทบั ไ​ว้​ก​ พ​็ ลันห​ าย​ไป​
ใน​พริบต​ า​เ​กิดเ​ป็นค​ วาม​เย็นก​ าย​เย็นใจ​ตงั้ แ​ ต่ศ​ รี ษะ​จน​จรด​ปลาย​เท้า​ไ​ม่ม​ี
ที่​ใด​ที่​ความ​เจ็บ​ปวด​ซ่อน​เร้น​หรือ​หลง​เหลือ​อยู่​เลย​
​ ข้าพเจ้า​เริ่ม​มี​ความ​มั่นใจ​ใน​การ​ปฏิบัติ​มาก​ขึ้น​ ​ความ​ลังเล​สงสัย​ใน​
วิถี​ทาง​ปฏิบัติ​เริ่ม​หมด​ไป​ ​มี​แต่​ความ​ปลาบปลื้ม​ปีติ​ใน​ธรรม​อย่าง​ที่​ไม่​เคย​
เป็นม​ า​กอ่ น​ส​ งั เกต​ดจ​ู ติ ก​ บั อ​ ารมณ์ถ​ กู แ​ ยก​ออก​เป็นค​ นละ​สว่ น​เหมือน​แก้ว​
ทีใ​่ ส่น​ ำ้ ไ​ว้​แ​ ก้วก​ บั น​ ำ้ แ​ ม้อ​ ยูด​่ ว้ ย​กนั ​แ​ ก้วก​ เ​็ ป็นแ​ ก้ว​น​ ำ้ ก​ เ​็ ป็นน​ ำ้ ​อ​ ยูก​่ นั ค​ นละ​
ส่วน​ฉันใด​​จิต​ก็​เป็น​จิต​..​เป็น​ผู้​รู้​​อารมณ์​ก็​เป็น​อารมณ์​​.​.​เป็น​ผู้​ถูก​รู้​​ฉัน​นั้น ​
เมือ่ ห​ ยุดอ​ ยูส​่ กั พ​ กั ห​ นึง่ ​จ​ งึ น​ อ้ ม​เอา​ความ​สงบ​มา​พจิ ารณา​ธร​รมา​รมณ์ต​ า่ งๆ​​
ที่มา​กระทบ​ใจ​ต่อ​ไป​
​ อย่าง​น​ก้ี ระมัง​ท​ท่ี า่ น​หลวง​ตา​​(​พระ​อาจารย์​มหา​บวั ​​ญาณ​สมั ​ปนั ​โน)​​
เคย​สอน​ไว้​ว่า​ ​การ​ต่อสู้​กับ​กิเลส​ ​ถ้า​สู้​กับ​มัน​ ​ชก​กับ​มัน​ ​หาก​สู้​ไม่​ไหว​ ​ถูก​
มัน​จับ​ได้​​จับ​มือ​เรา​มัด​ไว้​​ขา​เรา​มี​​ก็​ต้อง​เตะ​ถีบ​มัน​​หาก​ถูก​มัน​จับ​ขา​ได้​อีก​

luangpordu.com
๑๘๘ 188

ปาก​เรา​มี​ก็​ต้อง​กัด​​ต้อง​ด่า​มัน​​ให้​สู้​จน​ยิบ​ตา​
​ ข้าพเจ้าเ​ริม่ เ​ข้าใจ​บท​เรียน​บท​นแ​ี้ ล้ว​ค​ วาม​เข้าใจ​เริม่ ม​ ม​ี าก​ขนึ้ ​พ​ ร้อม​
กับ​ความ​รัก​ที่​มี​ต่อ​หลวงปู่​ดู่​ก็​มี​มาก​ขึ้น​เช่น​กัน​

luangpordu.com
189 ๑๘๙

​๙๘​
​พุทธ​นิมิต​

ก​ าร​ตอบ​คำถาม​ของ​หลวงปูแ​่ ก่ศ​ ษิ ย์ช​ า่ ง​สงสัยอ​ ย่าง​ขา้ พเจ้า​บ​ าง​ครัง้ ​


ท่าน​ไม่ต​ อบ​ตรง​ๆ​ ​แ​ ต่ต​ อบ​ดว้ ย​การ​กระทำ​ก​ าร​แสดง​ให้ด​ ​ู แ​ ละ​การ​ตอบ​ของ​
ท่าน​ก็​ยัง​ความ​อัศจรรย์​ให้​เกิด​ขึ้น​แก่​ข้าพเจ้า​และ​เพื่อน​ๆ​​เป็น​อย่าง​ยิ่ง​​ดัง​
เหตุการณ์​เมื่อ​ครั้ง​ที่​เกิด​​“​พุทธ​นิมิต​”​​เมื่อ​คืน​วัน​ขึ้น​​๑๔​​ค่ำ​เดือน​​๖​​ก่อน​
วัน​วิสาข​บูชา​ปี​​พ​.​ศ​.​๒๕๒๘​​หนึ่ง​คืน​ที่​วัด​สะแก​
เ​หตุเ​ริม่ แ​ รก​เกิดจ​ าก​เมือ่ ต​ อน​กลาง​วนั ใ​น​วนั น​ นั้ ​ข​ า้ พเจ้าและหมูเ่ พือ่ น​
ได้ม​ าก​ราบ​นมัสการ​หลวงปูท​่ ว​ี่ ดั ​พ​ ร้อม​กบั พ​ ก​พา​เอา​ความ​สงสัย​๒​ ​เ​รือ่ ง​ค​ อื ​
เวลา​ทห​ี่ ลวงพ่อห​ ลวง​ปท​ู่ งั้ ห​ ลาย​ท​ า่ น​จะ​ไป​ชว่ ย​ลกู ศ​ ษิ ย์ท​ อ​ี่ ยูห​่ า่ ง​กนั ค​ นละ​
ที่​ใน​เวลา​เดียวกัน​​ท่าน​ไป​ได้​อย่างไร​พร้อม​กับ​เรื่อง​นี้​​ใน​วัน​นั้น​ข้าพเจ้าได้​
นำ​รูป​ปาฏิหาริย์​ของ​ครู​อาจารย์​ท่าน​อื่น​ๆ​ ​ที่​ศิษย์​ของ​ท่าน​เหล่า​นั้น​ถ่าย​
ภาพ​ไ​ด้ร​ วบรวม​มา​ถวาย​ให้ห​ ลวงปูท​่ า่ น​ด​ู ม​ ภ​ี าพ​ของ​พระ​อาจารย์ม​ หา​ปนิ่ ​
หลวง​ปู่​ขาว​ ​หลวง​ปู่ครู​บา​ชัย​ยะ​วงศา​ฯ​ ​และ​พระ​อาจารย์​จวน​ ​ด้วย​ความ​
งวยงง​สงสัย​ ​ข้าพเจ้า​จึง​ถาม​ท่าน​ว่า​ภาพ​เหล่า​นี้​ถ่าย​กัน​จริง​ ​หรือ​ว่า​ทำ​ขึ้น​
มา​ห​ ลวงปูท​่ า่ น​พจิ ารณา​ดร​ู ปู เ​หล่าน​ นั้ ท​ ล​ี ะ​ใบ​จน​ครบ​ใ​ช้เ​วลา​ประมาณ​หนึง่ ​
นาที​ ​แล้ว​รวบ​เข้า​ไว้​ด้วย​กัน​ ​ยกมือ​ไหว้​ ​แล้ว​บอก​ข้าพเจ้า​ว่า​ ​“​ข้า​โม​ทนา​
สาธุ​ด้วย​​ของ​จริง​ทั้ง​นั้น​”​​ดัง​นั้น​​จึง​ไม่มี​คำ​อธิบาย​อื่น​ใด​อีก​นอกจาก​นี้​
luangpordu.com
๑๙๐ 190

​ ครั้น​ตก​เวลา​กลาง​คืนป​ ระมาณ​สอง​ทุ่ม​ข​ ้าพเจ้าก​ ับ​เพือ่ น​ๆ​ม​ า​ท​กี่ ฏุ ​ิ


หลวงปู่​อีก​ครั้ง​​มี​ลูก​ศิษย์​มากมาย​ต่าง​มาส​รง​น้ำ​หลวงปู่​ใน​โอกาส​วัน​คล้าย​
วัน​เกิด​ท่าน​.​.​.​วัน​วิ​สาข​ปุร​ณ​มี​ ​เมื่อ​คณะ​ที่มา​สรง​น้ำ​หลวงปู่​เดิน​ทาง​กลับ​
ไป​หมด​ ​เหลือ​แต่​ข้าพเจ้า​และ​เพื่อน​ๆ​ ​พวก​เรา​ขอ​อนุญาต​หลวงปู่​ถ่าย​รูป​
กับ​ท่าน​ไว้​เป็น​ที่​ระลึก​ ​ข้าพเจ้า​จำ​ได้​ดี​ว่า​เมื่อ​หลวงปู่​อนุญาต​แล้ว​ ​จาก​นั้น​
ท่าน​ก็​นั่ง​นิ่ง​ ​ไม่​ขยับเขยื้อน​ ​ไม่​เคลื่อน​ไหว​ใดๆ​ ​ทั้ง​สิ้น​ ​ศิษย์​ตา​กล้อง​ผลัด​
กัน​ถ่าย​ภาพ​ได้​ประมาณ​สิบ​ภาพ​ ​แล้ว​ทุก​คน​ก็​กราบ​นมัสการ​ท่าน​อีก​ครั้ง​
บรรยากาศ​คนื น​ นั้ ​ข​ า้ พเจ้าม​ ค​ี วาม​รสู้ กึ ท​ แ​ี่ ปลก​ไป​กว่าท​ กุ ว​ นั ​จ​ ำ​ได้ว​ า่ บ​ ริเวณ​
กุฏิ​หลวงปู่​เย็น​สบาย​.​.​.​​เย็น​เข้าไป​ถึง​จิต​ถึงใจ​ข้าพเจ้า​อย่าง​ยิ่ง​
​ เมือ่ น​ ำ​ฟลิ ม์ ท​ งั้ หมด​ไป​ลา้ ง​ป​ รากฏ​วา่ ม​ ภ​ี าพ​ปาฏิหาริย​์ “​ พ​ ทุ ธ​นมิ ติ ”​​
เกิด​ขึ้น​​ส่วน​แรก​เป็น​ภาพ​พุทธ​นิมิต​​คือ​เป็น​ภาพ​พระพุทธเจ้า​ที่​ถ่าย​ได้​โดย​
ไม่มี​วัตถุ​ทเี่​ป็นพ​ ระพุทธ​รูป​​เหตุ​อศั จรรย์​อกี ​ประการ​หนึง่ ​คือ​เป็น​ภาพ​ทอี่​ ยู่​
ต้นฟ​ ลิ ม์ ท​ ม​ี่ ไิ ด้ต​ งั้ ใจ​ถา่ ย​เ​ป็นภ​ าพ​ทผ​ี่ ถ​ู้ า่ ย​ตอ้ ง​กา​รกดชัตเ​ตอร์ท​ งิ้ ​ส​ ว่ น​ทส​ี่ อง​
เป็น​ภาพ​หลวงปู่​โดย​มี​แสง​สี​เป็น​รังสี​ต่างๆ​​รอบ​ๆ​​องค์​ท่าน​​
​ สำหรับ​ข้าพเจ้า​แล้ว​ ​นี่​เป็นการ​ตอบ​คำถาม​ที่​หลวงปู่​เมตตา​ตอบ​
ข้าพเจ้า​ที่​ได้​ถาม​ท่าน​ไว้​สอง​คำถาม​เมื่อ​ตอน​กลาง​วัน​ภาพ​ ​“​พุทธ​นิมิต​”​​
เป็นการ​ตอบ​คำถาม​ที่​ว่า​ เวลา​ที่​หลวงพ่อ​หรือ​หลวง​ปู่​ทั้ง​หลาย​ท่าน​จะ​ไป​
ช่วย​ลูก​ศิษย์​ที่​อยู่​ห่าง​กัน​คนละ​ที่​ใน​เวลา​เดียวกัน​ ​ท่าน​ไป​ได้​อย่างไร​ ​ส่วน​
ภาพ​หลวงปู่​ดู่​ที่​มี​แสง​สี​เป็น​รังสี​ต่าง​ๆ​ ​รอบ​​ๆ​ ​องค์​ท่าน​ ​ก็​เป็นการ​ตอบ​ต่อ​
คำถาม​ที่​ว่า​ภาพ​ครู​อาจารย์​องค์​ต่างๆ​ ​ที่​ข้าพเจ้า​นำ​มา​ถวาย​ให้​ท่าน​ดู​นั้น​​

luangpordu.com
191 ๑๙๑

“​เป็น​ของ​จริง​”​ ​ข้าพเจ้า​เชื่อ​แน่​เหลือ​เกิน​ว่า​ ​หลวงปู่​คง​มิได้​ตอบ​คำถาม​


ข้าพเจ้า​เพียง​สอง​คำถาม​เท่านั้น​​จึง​ขอ​ฝาก​ท่าน​ผู้​รู้​ที่​ได้​เห็น​ภาพ​เหล่า​นี้​ให้​
นำ​ไป​พิจารณา​ด้วย​ดี​​ก็​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​อีก​มาก​ที​เดียว​
​ หลัง​จาก​เกิด​เหตุการณ์​นี้​ ​ข้าพเจ้า​ได้​นำ​ภาพ​เหล่า​นี้​มา​ถวาย​ให้​
หลวงปู่​ดู่​และ​กราบ​เรียน​ขอ​คำ​อธิบาย​จาก​ท่าน​
​ ท่าน​ตอบ​อย่าง​รวบรัด​ว่า​​“​เขา​ทำให้​เชื่อ​”​
​ หลวงปู่​เน้น​เสียง​​สีหน้า​เกลื่อน​ยิ้ม​ด้วย​เมตตา​

luangpordu.com
๑๙๒ 192

​๙๙​
​หลวงปู่​บอก​หวย​

ความ​จริงแ​ ล้วข​ า้ พเจ้าค​ วร​ตงั้ ช​ อื่ เ​รือ่ ง​นว​ี้ า่ ​“​ ว​ ดี โี อ​ประวัตแ​ิ ละ​คำ​สอน​
ของ​หลวงปู่​”​ ​มาก​กว่า​ ​แต่​ชื่อ​เรื่อง​ยาว​ไป​ ​และ​ไม่​ชวน​อ่าน​เท่า​ ​“​หลวงปู่​
บอก​หวย​”​จ​ ึง​ขอ​อนุญาต​ใช้​ชื่อ​เรื่อง​นี้​แทน​
​ ข้าพเจ้าแ​ ละ​หมูค​่ ณะ​อกี ห​ ลาย​คน​มค​ี วาม​ตงั้ ใจ​ทจ​ี่ ะ​ทำ​วดิ โี อ​ประวัต​ิ
และ​คำ​สอน​ของ​หลวงปู​่ เ​พือ่ เ​ป็นอ​ นุสรณ์ร​ ำลึกถ​ งึ ท​ า่ น​โ​ดย​จดั ท​ ำ​ดว้ ย​ความ​
เคารพ​ท่าน​เป็น​ที่สุด​​ไม่​ต้องการ​หา​ผล​กำไร​จาก​การ​นี้​
​ จาก​นนั้ ก​ ไ็ ด้ป​ รึกษา​กนั ใ​น​เรือ่ ง​ทนุ ท​ จ​ี่ ะ​ดำเนินก​ าร​แ​ ละ​หลังจ​ าก​ทไ​ี่ ด้​
แบ่งง​ าน​กนั แ​ ล้ว​ท​ กุ ค​ น​พร้อมใจ​กนั ม​ าก​ราบ​นมัสการ​หลวงปูต​่ อ่ ห​ น้าส​ รีระ​
ของ​ทา่ น​ทต​ี่ งั้ ไ​ว้ท​ ห​ี่ อ​สวด​มนต์​ซ​ งึ่ อ​ ยูต​่ รง​ขา้ ม​กบั ก​ ฏุ ข​ิ อง​หลวงปูใ​่ น​ปจั จุบนั ​
ข้าพเจ้าจ​ ำ​ได้ว​ า่ ค​ ำ​อธิษฐาน​ของ​พวก​เรา​ใน​วนั น​ นั้ ​ค​ อื ​ข​ อ​อนุญาต​ตอ่ ห​ ลวงปู​่
ใน​การ​จัด​ทำ​วิดีโอ​ประวัติ​และ​คำ​สอน​ของ​ท่าน​ ​และ​หาก​หลวงปู่​อนุญาต​​
ขอ​ให้​หลวงปู่​บอก​พวก​เรา​ด้วย​​จะ​โดย​นิมิต​​มา​เข้า​ฝัน​​หรือ​วิธี​ใด​ก็​แล้ว​แต่​
เพื่อ​ให้​พวก​เรา​สบายใจ​ว่า​ไม่​ได้​ทำ​โดยที่​หลวงปู่​ไม่​อนุญาต​​และ​ขอ​ให้​สิ่ง​ที่​
จะ​ต้อง​ทำ​ทุก​อย่าง​สะดวก​ราบ​รื่น​ ​ไม่​ติดขัด​จน​งาน​สำเร็จ​ ​แต่​หาก​หลวงปู่​
ไม่อ​ นุญาต​แล้ว​ข​ อ​ให้การ​ทำงาน​ของ​พวก​เรา​ตดิ ขัด​ม​ อ​ี ปุ สรรค​ท​ ำให้ท​ อ้ ใจ​​
และ​เลิก​ล้ม​ความ​ตั้งใจ​ที่​จะ​ทำ​กัน​ใน​ที่สุด​
luangpordu.com
193 ๑๙๓

​ จาก​วัน​ที่​พวก​เรา​ได้​ขอ​อนุญาต​หลวงปู่​แล้ว​ ​พวก​เรา​สิบ​กว่า​คนใช้​
เวลา​กัน​ประมาณ​หนึ่ง​ปี​​เพื่อ​จัด​ทำ​วิดีโอ​ที่​มี​ความ​ยาว​ประมาณ​​๓๐​​นาที​
เริม่ ต​ งั้ แ​ ต่ก​ าร​เขียน​บท​เ​ปลีย่ น​จาก​บท​ให้เ​ป็นส​ ค​รปิ ต์​ต​ ดิ ต่อห​ า​ขอ้ มูลเ​กีย่ ว​
กับห​ ลวงปูต​่ งั้ แ​ ต่ช​ วี ติ ข​ อง​ทา่ น​ใน​วยั เ​ยาว์​จ​ น​กระทัง่ อ​ ปุ สมบท​เป็นพ​ ระ​ภกิ ษุ​
สอบถาม​จาก​พระ​เถระ​ครูอ​ าจารย์ท​ เ​ี่ คย​รว่ ม​ธดุ งค์ก​ บั ท​ า่ น​ผ​ เ​ู้ ฒ่าผ​ แ​ู้ ก่ท​ ร​ี่ จู้ กั ​
ท่าน​ติดต่อ​ช่าง​ภาพ​ที่​จะ​มา​ถ่าย​ทำ​วิดีโอ​นอก​สถาน​ที่​​โดย​ต้อง​ไป​ถ่าย​ทำ​ที่​
บ้าน​เกิด​ของ​ท่าน​​เป็นต้น​​จน​กระทั่ง​วิดีโอ​ที่​ช่วย​กัน​จัด​ทำ​แล้ว​เสร็จ​
​ข้าพเจ้า​ยัง​จำ​ได้​ดี​วัน​นั้น​เป็น​วัน​ที่​ ​๓๑​ ​มกราคม​ ​๒๕๓๖​ ​เวลา​​
กลาง​คืน​ประมาณ​สาม​ทุ่ม​ ​ข้าพเจ้า​นั่ง​ดู​วิดีโอ​อยู่​คน​เดียว​ที่​ชั้น​ล่าง​ ​ดู​ไป​ก็​
คิดถึงท​ า่ น​ไป​ผ​ า่ น​ไป​ได้ค​ อ่ น​เรือ่ ง​ด​ ว้ ย​ความ​คดิ ถึงท​ า่ น​น​ ำ้ ตา​เจ้าก​ รรม​ของ​
ข้าพเจ้า​ก็​เอ่อ​ล้น​ขึ้น​มา​ ​ใน​ขณะ​เดียวกัน​นั้น​เอง​ ​ข้าพเจ้า​แล​เห็น​หลวงปู่​ด​ู่
ทาง​ด้าน​ขวา​มือ​ข้าพเจ้า​ ​ท่าน​เดิน​เข้า​มา​หา​แล้ว​หยุด​ห่าง​จาก​ข้าพเจ้า​
ประมาณ​เมตร​เศษ​​แล้ว​บอก​ข้าพเจ้า​ว่า​
​ “​ข้า​อนุโมทนา​กับ​พวก​แก​ด้วย​​ที่​ทำให้​คน​อื่น​ได้​บุญ​หลาย​”​
​ ข้าพเจ้าเ​ห็นท​ า่ น​ดว้ ย​หาง​ตา​ค​ รัน้ เ​มือ่ ห​ นั ไ​ป​มอง​ทา่ น​ตร​ งๆ​ป​ รากฏ​
ว่า​ท่าน​หาย​ไป​ ​แล้ว​ข้าพเจ้า​ถาม​ตัว​เอง​ว่า​คิด​เอา​เอง​หรือ​เปล่า​ ​เสียง​จิ้งจก​
ทัก​ทันที​ที่​ความ​คิด​นี้​เกิด​ขึ้น​ใน​ใจ​ ​ข้าพเจ้า​นึกถึง​คำ​ที่​หลวงปู่​เคย​บอก​พวก​
เรา​ไว้​ว่า​
​ “​ถ้า​ข้า​ไป​หา​แก​​ให้​คอย​ฟังเ​สียง​จิ้งจก​ให้​ดี​”​
​ พอดีว​ ดิ โี อ​จบ​ข​ า้ พเจ้าจ​ งึ ข​ นึ้ ไ​ป​หอ้ ง​พระ​ชนั้ บ​ น​ข​ ณะ​ทข​ี่ า้ พเจ้าก​ ำลัง​

luangpordu.com
๑๙๔ 194

จะ​ก้ม​ลง​กราบ​พระ​​ภาพ​หลวงปู่​ก็​ปรากฏ​เบื้อง​หน้า​​ทาง​ด้าน​ซ้าย​ของ​โต๊ะ​
บูชา​พระ​​หรือ​ขวา​มือ​ของ​ข้าพเจ้า​​แล้ว​ท่าน​ก็​บอก​ข้าพเจ้า​อีก​ว่า​“​ ​​พรุ่ง​นี้​
หวย​ออก​๒​ ๑​”​ข​ า้ พเจ้าย​ งั ง​ นุ งง​กบั เ​หตุการณ์ท​ ก​ี่ ำลังเ​กิดข​ นึ้ ใ​น​เวลา​นนั้ ว​ า่ ​
คิด​เอา​เอง​อีก​หรือ​เปล่า​​ทำไม​ถึง​เป็น​เรื่อง​เป็น​ราว​ที​เดียว​​หลวงปู่​ท่าน​คง​รู้​
ความ​คิด​ของ​ข้าพเจ้า​ใน​ขณะ​นั้น​​ท่าน​จึง​บอก​ข้าพเจ้า​อีก​ว่า​​“​​ไม่​เชื่อ​ให้​ดู​
ใน​รูป​ข้า​​ปฏิทิน​​๒๑​”​
​ ข้าพเจ้า​รีบ​เดิน​เข้า​ใกล้​ที่​บูชา​พระ​ซึ่ง​มี​รูป​หลวงปู่​ ​ขนาด​ ​๘​ ​x​ ​๑๐​​
นิ้ว​ ​ใส่​กรอบ​ตั้ง​อยู่​ ​เป็น​รูป​หลวงปู่​นั่ง​สมาธิ​ ​หน้า​กุฏิ​ท่าน​เอง​ ​ที่​ข้าง​ฝา​กุฏิ​
มี​ปฏิทิน​แบบ​ฉีก​ใบ​ละ​วัน​แขวน​ไว้​ ​วัน​ที่​ใน​ปฏิทิน​ที่​เห็น​นั้น​เป็น​วัน​ที่​ ​๒๑​​
ซึ่ง​ตรง​กับ​ที่​ข้าพเจ้า​ได้ยิน​หลวงปู่​บอก​อยู่​ใน​เวลา​นี้​ ​ข้าพเจ้า​ก้ม​ลง​กราบ​
พระ​ ​๓​ ​ครั้ง​ ​และ​เรียน​หลวงปู่​ว่า​ข้าพเจ้า​ไม่​เคย​คิด​จะ​ขอ​หวย​หลวงปู่​เลย​​
ข้าพเจ้าเ​ริม่ เ​ข้าใจ​แล้วล​ ะ่ ​ห​ าก​วนั น​ ห​ี้ ลวงปูม​่ า​จริง​ไ​ม่ใช่ภ​ าพ​นมิ ติ ท​ ข​ี่ า้ พเจ้า​
คิด​ขึ้น​เอง​ก็​ขอ​ให้​พรุ่ง​นี้​หวย​ออก​ ​๒๑​ ​จริง​ ​แต่​ถ้า​พรุ่ง​นี้​หวย​ไม่​ออก​ ​๒๑​​
แปล​ว่า​ภาพ​นิมิต​ทั้งหมด​เป็น​เรื่อง​ไม่​จริง​และ​ข้าพเจ้า​เพี้ยน​เอง​ตั้ง​แต่​ต้น​
จน​จบ​รายการ​นี้​
​ วัน​รุ่ง​ขึ้น​ข้าพเจ้า​มี​งาน​ที่​ทำงาน​ ​จำ​ได้​ว่า​กำลัง​ยุ่ง​อยู่​กับ​การ​จัด​ทำ​
แผน​งาน​ประจำ​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๓๖​ ​ข้าพเจ้า​ลืม​เรื่อง​นี้​ไป​สนิท​ตลอด​ทั้ง​วัน​​
ตก​เย็น​ก็​ต้อง​ทำงาน​ล่วง​เวลา​กว่า​จะ​ได้​กลับ​บ้าน​ก็​เป็น​เวลา​ค่ำ​ ​เส้น​ทาง​ที่​
ข้าพเจ้า​ขับ​รถ​กลับ​บ้าน​ต้อง​ข้าม​สะพาน​พระปิ่น​เกล้า​เป็น​ประจำ​ทุก​วัน​
วันน​ นั้ ข​ า้ พเจ้าข​ บั ร​ ถ​มา​ตดิ ไฟ​แดง​อยูท​่ ห​ี่ น้าส​ ำนักงาน​สลาก​กนิ แ​ บ่งร​ ฐั บาล​

luangpordu.com
195 ๑๙๕

พอดี​​พลัน​ข้าพเจ้า​นึก​ขึ้น​มา​ได้​​จึง​เหลือบ​ไป​มอง​ผล​การ​ออก​สลาก​กิน​แบ่ง​
รัฐบาล​ทต​ี่ ดิ ป​ ระกาศ​เป็นต​ วั เลข​เด่นอ​ ยูห​่ น้าส​ ำ​นกั ง​ าน​ฯ​ส​ งิ่ ท​ ข​ี่ า้ พเจ้าไ​ด้เ​ห็น​
ก็​คือ​เลข​ท้าย​สอง​ตัว​ของ​หวย​งวด​ประจำ​วัน​ที่​​๑​​กุมภาพันธ์​​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๖​​
ออก​เลข​​๒๑​​ซึ่ง​ตรง​กับ​ที่​หลวงปู่​ได้​บอก​ข้าพเจ้า​ไว้​ตั้ง​แต่​เมื่อ​คืน​นี้​
​ เหตุการณ์​ที่​เกิด​ขึ้น​นี้​ ​ข้าพเจ้า​มา​สรุป​เอง​ได้​ว่า​ ​หลวงปู่​ต้องการ​มา
บ​อก​ให้​ข้าพเจ้า​ทราบ​ว่า​ ​ท่าน​อนุญาต​ให้​พวก​เรา​ทำ​วิดีโอ​เรื่อง​ของ​ท่าน​ได้​
ซึง่ ข​ า้ พเจ้าไ​ด้น​ ำ​เรือ่ ง​นม​ี้ า​เล่าใ​ห้ห​ มูค​่ ณะ​ได้ร​ บั ท​ ราบ​วา่ พ​ วก​เรา​ไม่ไ​ด้ท​ ำ​กนั ​
โดย​พลการ​ ​หลวงปู่​อนุญาต​แล้ว​จ​ริงๆ​ ​ซึ่ง​หาก​ท่าน​ไม่​บอก​เหตุการณ์​ล่วง​
หน้า​โดย​มา​ผูก​เรื่อง​กับ​หวย​ที่​จะ​ออก​ใน​วัน​รุ่ง​ขึ้น​ ​ข้าพเจ้า​ก็​คงจะ​ไม่​เชื่อ​
ว่า​ท่าน​อนุญาต​สำหรับ​ข้าพเจ้า​แล้ว​ ​นี้​เป็น​เหตุการณ์​ที่​ประทับ​ใจ​ข้าพเจ้า​
มาก​ที่สุด​ครั้ง​หนึ่ง​ที่​แสดง​ถึง​ความ​รัก​ ​ความ​เมตตา​ ​และ​ความ​ห่วงใย​ของ​
หลวงปู่​ที่​มี​ต่อ​บรรดา​ศิษยานุศิษย์​ ​ข้าพเจ้า​มี​ความ​เชื่อ​ ​๑๐๐​ ​%​ ​เต็ม​ ​ว่า​
ถึง​แม้​หลวงปู่​ดู่​จะ​มรณภาพ​ไป​แล้ว​ ​ก็​เป็นการ​จาก​ไป​แต่​กาย​ของ​ท่าน​ ​แต่​
หลวงปูด​่ อ​ู่ งค์จ​ ริงท​ เ​ี่ ป็นอ​ งค์ธ​ รรม​ของ​ทา่ น​ยงั อ​ ยูค​่ อย​ชว่ ย​เหลือพ​ ระ​ศาสนา​​
และ​คอย​ชว่ ย​เหลือผ​ ป​ู้ ฏิบตั ธ​ิ รรม​ทงั้ ห​ ลาย​อย่าง​ทไ​ี่ ม่เ​สือ่ ม​ถอย​ไป​กว่าส​ มัยท​ ​ี่
ท่าน​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่​เลย​
​เหตุการณ์​เรื่อง​หลวงปู่​บอก​หวย​นี้​ ​เป็น​เพียง​ตัวอย่าง​หนึ่ง​ใน​หลาย​
เหตุการณ์​ที่​หลวงปู่​ท่าน​เมตตา​มา​ช่วย​เหลือ​หมู่​คณะ​​ซึ่ง​ข้าพเจ้า​และ​ศิษย์​
หลาย​คน​ที่​เคย​มี​ประสบการณ์​​คง​ไม่มี​ใคร​ปฏิเสธ​ว่า​หลวงปู่​ดู่​ท่าน​.​.​.​​มา​ได้​
จริง​ๆ​

luangpordu.com
๑๙๖ 196

​๑๐๐​
​อยาก​ได้​วัตถุ​มงคล​ของ​หลวงปู่​

ผม​ได้​รับ​ทราบ​คำ​สอน​และ​ปฏิปทา​เกี่ยว​กับ​หลวง​ปู่​ดู่​จาก​ศิษย์​ของ​
ท่าน​คน​หนึ่ง​ ​จน​เกิด​ศรัทธา​ป​สา​ทะ​ ​กระทั่ง​ได้​มี​โอกาส​เดิน​ทาง​ไป​ถวาย​
สังฆทาน​กับ​หลวง​ปู่​ครั้ง​หนึ่ง​ ​ซึ่ง​เป็น​ครั้ง​เดียว​ที่​ได้​พบ​ได้​กราบ​ท่าน​ ​หลัง​
จาก​นั้น​เวลา​ผ่าน​ไป​.​.​.​ผม​ได้​รับ​ทราบ​เรื่อง​ราว​​ของ​หลวง​ปู่​มาก​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​​
ความ​รัก​ความ​เคารพ​บูชา​มี​มาก​ขึ้น​ตาม​กาล​เวลา​ ​แต่​ก็​ไม่​เคย​ได้​ไป​กราบ​
ท่าน​อีก​จน​ท่าน​มรณภาพ​
​ วัน​นั้น​.​.​.​เมื่อ​คราว​ไป​ทำบุญ​กับ​หลวง​ปู่​​ผม​เคย​คิด​น้อยใจ​ที่​ไม่​ได้​รับ​
โอวาท​คำ​สอน​หรือว​ า่ ส​ งิ่ ใ​ด​จาก​หลวง​ปเ​ู่ ลย​ค​ วาม​คดิ เ​ช่นน​ แ​ี้ ม้ไ​ม่ถ​ กู ต​ อ้ ง​นกั ​
เพราะ​เป็นการ​ทำบุญ​ที่​หวัง​ผล​ ​แต่​นี่​คือ​ความ​รู้สึก​ของ​ปุถุชน​คน​หนึ่ง​ที่​ยัง​
ต้องการ​กำลัง​ใจ​​ต้องการ​ที่​พึ่ง​พิง​ทาง​ใจ​อยู่​
​ ถึง​วัน​นี้​.​.​.​ผม​เชื่อ​ใน​ความ​เมตตา​ของ​ท่าน​ ​เพียง​แต่​จะ​แผ่​มา​ถึง​เรา​
ใน​ลักษณะ​ใด​เท่านั้น​​ผม​ได้​รับ​ฟัง​เรื่อง​ราว​เกี่ยว​กับ​คุณ​ธรรม​และ​คุณ​วิเศษ​
ของ​หลวง​ปู่​หลาย​เรื่อง​หลาย​ลักษณะ​ ​แต่​ไม่​เคย​ได้​ประสบ​กับ​ตนเอง​ ​จน​
ครั้ง​หนึ่ง​ใน​ชีวิต​.​.​.​ได้​เกิด​ขึ้น​
ผ​ ม​เป็นค​ น​ทช​ี่ อบ​สะสม​และ​สนใจ​พระ​เครือ่ ง​แ​ ละ​เชือ่ ว​ า่ พ​ ระ​ทห​ี่ ลวง​
ปูอ​่ ธิษฐาน​จติ ​ม​ ค​ี วาม​ศกั ดิส​์ ทิ ธิแ​์ ละ​เป็นม​ งคล​กบั ผ​ ค​ู้ รอบ​ครอง​ผ​ ม​เอง​กไ็ ด้​
luangpordu.com
197 ๑๙๗

แสวงหา​กระทั่ง​ได้​เหรียญ​รุ่น​ “​ ​เปิดโ​ลก​”​ ​จาก​ลูก​ศิษย์​หลวง​ปู่​ ​ทีนี้​ปัญหา​


เกิด​ตรง​ที่​ว่า​ตัว​เอง​ได้​แล้ว​ยัง​ไม่​พอ​.​.​.​ยัง​อยาก​ได้​เผื่อ​ไว้​ให้​รุ่น​พี่​ที่​ทำงาน​​ซึ่ง​
เป็น​คน​นิสัย​ดี​มี​น้ำใจ​เกิด​ความ​รู้สึก​อยาก​ให้​พี่​คน​นี้​มี​พระ​ของ​หลวง​ปู่​ ​โดย​
เฉพาะ​เหรียญ​รุ่น​เปิด​โลก​นี่​แหละ​
​ ทุกข์เ​กิดข​ นึ้ แ​ ล้ว.​.​.​ต​ วั เ​อง​กไ​็ ม่ม​ี แ​ ต่อ​ ยาก​ให้เ​ขา​..​.​จ​ ะ​ไป​ขอ​ใคร​กก​็ ลัว​
เขา​ว่า​​ได้​ไม่รู้​จัก​พอ​หรือ​ไง​
​ ปกติ​ผม​จะ​สวด​มนต์​ไหว้​พระ​ก่อน​นอน​ทุก​คืน​ ​คืน​นี้​ก็​เช่น​เดียวกัน​
ใจ​ก​ย็ งั ​คง​ม​คี วาม​คดิ ​วา่ ​จะ​หา​พระ​ให้​พ​ค่ี น​น​ย้ี งั ​ไง​​จติ ​ก​ค็ ดิ ​วา่ ​พระ​ของ​หลวงปู่​
ขอ​จาก​หลวง​ปก​ู่ แ​็ ล้วก​ นั ​น​ กึ แ​ ล้วจ​ งึ ห​ นั ห​ น้าไ​ป​ทาง​รปู ห​ ลวง​ปแ​ู่ ล้วเ​รียนท่าน​
ว่า​ ​“​หลวง​ปู่​ครับ​ ​ผม​อยาก​ได้​เหรียญ​เปิด​โลก​ของ​หลวง​ปู่​ไป​ให้​คุณ​.​.​.​เพื่อ​
ให้​เป็น​สิริ​มงคล​คุ้มครอง​ตัว​ ​แต่​ผม​ไม่มี​พระ​ของ​หลวง​ปู่​ ​ขอ​ให้​ผม​ได้​พระ​
ของ​หลวง​ปู่​ด้วย​ครับ​”​
​ ขอโทษ​ครับ​.​.​.​ความ​รู้สึก​ว่า​จะ​ได้​พระ​นั้น​ไม่มี​ ​เพราะ​เป็น​เพียง​การ​
นึก​เอง​ ​คิด​เอง​และ​พูด​เอง​ ​คิด​ว่า​ท่าน​คง​ไม่​ได้​รับ​รู้​สิ่ง​ที่​บอก​กับ​ตนเอง​คือ​
นอน​ดี​กว่า​​คิดมาก​ก็​ฟุ้ง​ซ่าน​เป​ล่า​ๆ​​เช้า​ของ​สอง​วัน​ต่อ​มา​​ลูก​ศิษย์​หลวง​ปู่​
เจอ​ผม​บอก​ว่า​“​ ​เดี๋ยว​ว่าง​ๆ​​มี​เรื่อง​จะ​ถาม​พี่​หน่อย​”​
​ จาก​เช้า​.​.​.​จน​บ่าย​ ​เขา​ก็​ยัง​ไม่​ว่าง​และ​คง​ลืม​ไป​แล้ว​ ตก​เย็น​เขา​จะ​
กลับ​บ้าน​​ผม​นึก​ได้​เลย​ถาม​เขาเอง​ว่า​“​ ​เมื่อ​เช้า​จะ​ถาม​อะไร​ผม​หรือ​ครับ​”​
​ “​ออ้ !​​ค​ อื อ​ ย่าง​น​้ี จ​ ะ​ถาม​วา่ ​เ​หรียญ​เปิดโ​ลก​น​่ี พ​ จ​่ี ะ​เอา​กเ​่ี หรียญ​ครับ”​
เขา​ถาม​

luangpordu.com
๑๙๘ 198

“​ ฮ​ า้ ​!​​พ​ ดู ใ​หม่อ​ กี ท​ ซ​ี ค​ิ รับ​พ​ ดู ​ช​ า้ ๆ​ ​ช​ ดั ๆ​ ”​ ​ผ​ ม​อทุ าน​ดว้ ย​ความ​แปลก​
ใจ​และ​รู้สึก​ได้​ทันที​ว่า​มี​อะไร​ผิด​ปกติ​แน่นอน​
​เพื่อน​ผม​คน​นั้น​ก็​ทวน​คำถาม​เดิม​แล้ว​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​
“​เมื่อ​คืน​สวด​มนต์​ไหว้​พระ​ตาม​ปกติ​​ขณะ​ที่​จิต​สงบ​อยู่​ก็​มี​นิมิต​เป็น​
หน้า​พี่​ปรากฏ​ขึ้น​และ​ได้ยิน​เสียง​ของ​หลวงปู่​ดู่​บอก​ว่า​เอา​เหรียญ​เปิด​โลก​
ของ​ข้า​ไป​ให้​เขา​​พอ​ตอน​เช้า​มา​ว่า​จะ​ถาม​พี่​แล้ว​ก็​ลืม​”​
​เขา​ยัง​ได้​เล่า​ให้​ฟัง​เพิ่ม​เติม​ว่า
“​เห็น​นิมิต​เช่น​เดียวกัน​นี้​ตั้ง​แต่​คืน​วาน​แล้ว​แต่​ไม่​แน่ใจ​​นึก​ว่า​คิด​ไป​
เอง​จน​กระทัง่ เ​มือ่ ค​ นื เ​กิดน​ มิ ติ เ​หมือน​เดิมอ​ กี ​ภ​ าพ​ปรากฏ​ชดั เจน​ขนึ้ ​เสียง​
ของ​หลวงปู่​ที่​สั่ง​ก็​ดัง​ฟัง​ชัด​​จึง​คิด​ว่า​ไม่​น่า​ที่​จะ​คิด​เอา​เอง”​
​ ผม​จึง​ได้​เล่า​ราย​ละเอียด​สิ่ง​ที่​ได้​คิด​ได้​ทำ​ให้​เพื่อน​ผม​ฟัง ​และ​ขอ​
เหรียญ​เปิด​โลก​มา​ให้​พี่​คน​ดี​ของ​ผม​ได้​ตาม​ที่​ตั้งใจ​ไว้​ ​เหตุการณ์​นี้​เป็น​เรื่อง​
จริง​ที่​เกิด​ขึ้น​กับ​ตัว​ผม​เอง​ ​และ​คง​ยืนยัน​ถึง​ความ​เมตตา​ของ​หลวง​ปู่​ที่​
สงเคราะห์​ผม​และ​คน​รอบ​ข้าง​ด้วย​
​ “​แก​คิดถึง​ข้า​​ข้า​ก็​คิดถึง​แก​”​​คำ​พูด​นี้​ยัง​ก้อง​อยู่​ใน​หู​ของ​ผม​​และ​
คง​ก้อง​อยู่​ใน​หู​ของ​ลูก​ศิษย์​ของ​หลวง​ปู่​ตลอด​ไป​ ​และ​สิ่ง​ที่​แปลก​สำหรับ​
ปุถุชน​คน​ธรรมดา​อย่าง​เรา​ก็​คือ​​หลวง​ปู่​ท่าน​มรณภาพ​ไป​แล้ว​​ทำไม​ยัง​มา​
ช่วย​เรา​ได้​อกี ​​
เรา​คง​เคย​ได้ยนิ ​ผ​ปู้ ฏิบตั ​ธิ รรม​ได้​พบพระ​พทุ ธ​เจ้า​พระ​สงฆ์​ผ​ปู้ ฏิบตั ดิ ี​
ปฏิบตั ช​ิ อบ​ทงั้ ห​ ลาย​ทท​ี่ า่ น​มรณภาพ​ไป​แล้วเ​ช่นก​ นั ม​ า​สอน​มาโปรด​ลกู ศิษย์​

luangpordu.com
199 ๑๙๙

ใน​รูป​แบบ​ต่าง​ๆ​​แต่​คน​ธรรมดา​อย่าง​เรา​​ตาย​กัน​ไป​แล้ว​มากมาย​​บาง​ครั้ง​
อยาก​ให้​มา​ก็​ไม่​เห็น​มา​
​ สิง่ เ​หล่าน​ เ​ี้ กิดข​ นึ้ ไ​ด้อ​ ย่างไร​เ​ป็นเ​พราะ​บญ
ุ บ​ ารมีข​ อง​แต่ละ​ทา่ น​หรือ​
เปล่า​​?​...​ขอ​ฝาก​ให้​ช่วย​กัน​คิด​ต่อ​ไป​
ลาภ​ะปัญโญ​

luangpordu.com
๒๐๐ 200

๑๐๑​

​เห็น​แล้ว​ไม่​หัน​

ครัง้ แ​ รก​ทด​ี่ ฉิ ันถ​ กู เ​พือ่ น​ชวน​ไป​วดั ต​ า่ ง​จงั หวัดแ​ ห่งห​ นึง่ ​ด​ ว้ ย​ความ​ร​ู้
เท่า​ไม่​ถึง​การณ์​ เริ่ม​จาก​ดิฉัน​ได้​ถาม​เพื่อน​ว่า​ “​ ​วัน​เสาร์​นี้​ว่าง​ไหม​”​ ​เพื่อน​​
ผู้​นั้น​ตอบ​ว่า​“​ ​ไม่​ว่าง​”​
​ “​ไป​ไหน​”​​ดิฉัน​ซัก​ด้วย​ความ​สงสัย​
​ “​ไป​อยุธยา​”​​เพื่อน​ตอบ​
​ “​ไป​ด้วย​คน​ซิ​ ​อยุธยา​น่า​สนใจ​ดี​ออก​”​ ​ดิฉัน​ตอบ​รับ​อย่าง​กระ​ตือ-​
รือร้น​ด้วย​ความ​อยาก​เที่ยว​
​“​ไป​วัด​นะ​”​​เพื่อน​ย้ำ​
​ “​วัด​อะไร​”​
​ “​วัด​สะแก​”​
​“​ไป​ทำไม​​วัด​สะแก​”​​ดิฉัน​สงสัย​เพราะ​ไม่​เคย​ได้ยิน​ชื่อ​วัด​มา​ก่อน​
​ “​ไป​กราบ​หลวงปู่​ดู่​”​
​ “​ไป​กไ​็ ป​”​ด​ ฉิ นั ต​ อบ​ตกลง​ดว้ ย​ความ​ทอ​ี่ ยาก​ออก​ไป​ไหน​สกั แ​ ห่งน​ อก​
กรุงเทพฯ​
​ วัน​แรก​ที่​ไป​ถึง​วัด​สะแก​​สังเกต​จาก​ภายนอก​เป็น​วัด​ธรรมดา​​เก่า​ๆ​
​ไม่มี​อะไร​ที่​น่า​สนใจ​ ​เมื่อ​เดิน​ขึ้น​กุฏิ​ ​ได้​พบ​และ​กราบ​หลวงปู่​ ​ท่าน​กำลัง ​
luangpordu.com
201 ๒๐๑

สูบ​บุหรี่​​ดิฉัน​นึก​ใน​ใจ​ว่า“​ ​พระ​สูบ​บุหรี่​ไม่​เห็น​ชอบ​เลย​”​ตอนนั้น​ใกล้​เพล​
แล้ว​ป​ ระกอบกับเ​ป็นว​ นั ท​ ำงาน​ปกติ​จ​ งึ ม​ คี น​ไม่ม​ าก​นกั ​ด​ ฉิ นั ไ​ด้ท​ าน​อาหาร​
กลาง​วนั แ​ บบ​บฟุ เฟ่ตค​์ รัง้ แ​ รก​คอื ​น​ งั่ ท​ าน​อาหาร​ทห​ี่ ลวงปูฉ​่ นั เ​สร็จแ​ ล้ว​โ​ดย​
นั่ง​รวม​กัน​หลาย​ๆ​​คน​​กับ​พื้น​ไม้​กระดาน​บริเวณ​หน้า​กุฏิ​ท่าน​
​ ภาย​หลังอ​ าหาร​มอื้ น​ นั้ ​ด​ ฉิ นั ห​ มาย​มนั่ ป​ นั้ ม​ อื เ​ตรียม​คำถาม​ทอ​ี่ า่ น​มา​
จาก​หนังสือ​แล้ว​เกิด​ความ​สงสัย​หา​คำ​ตอบ​ไม่​ได้​ ​จึง​ขอ​นำ​มา​ถาม​หลวงปู่​​
หลวงปู่​ท่าน​อยู่​ใน​อิริยาบถ​พัก​ผ่อน​แบบ​สบาย​​ๆ​​ของ​ท่าน​
“​ ห​ ลวงปูเ​่ จ้าค​ ะ​ก​ ศุ ล​กรรม​ชกั นำ​กศุ ล​กรรม​อ​ กุศล​กรรม​ชกั นำอกุศล-​
กรรม​​นี่​หมายความ​ว่า​อย่าง​ไร​เจ้า​คะ​”​
​ หลวงปู่​ท่าน​มอง​หน้า​ดิฉัน​อยู่​ครู่​หนึ่ง​​แล้ว​ยิ้ม​อย่าง​อารมณ์​ดี​
​“​ข้า​ไม่​ตอบ​เอ็ง​ล่ะ​​เอ็ง​มอง​ดู​ที่​กระดาน​เอา​เอง​ก็​แล้ว​กัน​”​
​ดิฉัน​​มอง​หา​กระดาน​อย่าง​งง​ๆ​
​ “​คน​หัน​ไม่​เห็น​​คน​เห็น​แล้วไ​ม่​หัน​”​​ดิฉัน​อ่าน​ตาม​เบาๆ​​ใน​ใจ​​
“​หมายความ​ว่า​อย่าง​ไร​เจ้า​คะ​”​​ดิฉัน​ถาม​ท่าน​ด้วย​ความ​โง่​ซื่อ​
​“​เอ็ง​ว่า​อย่างไร​ล่ะ​”​​หลวงปู่​ถาม​
​ดิฉัน​เงียบ​จน​เพื่อน​ต้อง​สะกิด​
​ “​ไม่​ทราบ​เจ้าค่ะ​”​
​ หลวงปู่​จึง​ได้​อธิบาย​ให้​ฟัง​ว่า​
​ “​ถ้า​เอ็ง​หัน​ไป​​เอ็ง​ก็​ไม่​เห็น​อะไร​
​แต่​ถ้า​เอ็ง​เห็น​แล้ว​​เอ็ง​ก็​ไม่​ต้อง​หันไ​ป​หา​อะไร​”​

luangpordu.com
๒๐๒ 202

​ตั้ง​แต่​วัน​นั้น​เป็นต้น​มา​ ​ดิฉัน​ได้​มา​ที่​วัด​สะแก​อีก​หลาย​ครั้ง​ ​เพื่อ​ที่​


จะ​รู้​ว่าที่​“​ ​เห็น​”​​น่ะ​​เขา​“​เห็น​”​​อะไร​กัน​​บ่อย​ครั้ง​ใน​ช่วง​เวลา​หลาย​ปี​นั้น​
ดิฉัน​มี​เรื่อง​ไม่​สบายใจ​​มี​ปัญหา​มากมาย​​จึง​เตรียม​ตัว​เตรียม​คำถาม​ที่​เป็น​
ปัญหา​ไป​ถาม​หลวงปู่​ ​แต่​เป็น​ที่​น่า​แปลก​ว่า​เมื่อ​ได้​มา​พบ​กับ​หลวงปู่​แล้ว​
คำถาม​ตา่ งๆ​ท​ ล​ี่ ว้ น​เป็นป​ ญ ั หา​หนักอก​ทาง​โลก​ทเ​ี่ ตรียม​มา​ถาม​นนั้ ไ​ด้ม​ อ​ี นั ​
อันตรธาน​หาย​ไป​หมด​น​ กึ เ​ท่าไร​กน​็ กึ ไ​ม่อ​ อก​เ​ป็นเ​ช่นน​ อ​ี้ ยูบ​่ อ่ ย​ครัง้ จ​ น​ดฉิ นั ​
สังเกต​ได้​
​ มี​อยู่​ครั้ง​หนึ่ง​ ​มี​ปัญหา​หนักอก​ตั้งใจ​จะ​ไป​ถาม​หลวงปู่​อีก​ ​ตั้งใจ​ไว้​
อย่าง​ดี​ว่า​ต้อง​ไม่​ลืม​ ​ต้อง​ถาม​ท่าน​ให้​ได้​ ​วัน​นั้น​ได้​ไป​กราบ​หลวงปู่​ ​โดย​มี​
เพื่อน​ร่วม​เดิน​ทาง​คน​เดิม​ เช่น​เคย​หลวงปู่​นั่ง​พัก​ผ่อน​อิริยาบถ​ภาย​หลัง​
อาหาร​เพล​
​ เพื่อน​ดิฉัน​สะกิด​แล้ว​ว่า​​
“​อรพิน​ท์​​มี​อะไร​จะ​มา​ถาม​หลวงปู่​ไม่ใช่​หรือ​​?​”​
​ ดิฉัน​นึกถึง​คำถาม​ที่​เตรียม​มา​ถาม​ ​ใน​ใจ​รู้สึก​ว่า​ผ่อน​คลาย​แล้ว​​
ปัญหา​นั้น​ไม่​เห็น​สำคัญ​ตรง​ไหน​เลย​
​ “​ไม่มี​แล้ว​ล่ะ​”​​ดิฉัน​ยิ้ม​และ​ตอบ​เพื่อน​ไป​
​ เช่น​เดิม​ ​เบื้อง​หน้า​ดิฉัน​เป็น​ภาพ​หลวงปู่​ดู่​นั่ง​ยิ้ม​อย่าง​​มี​เมตตา​เป็น​
ที่สุด​
​ อรพิน​ท์​

luangpordu.com
203 ๒๐๓

​๑๐๒​
​เปรียบ​ศีล​

​ดิฉัน​เป็น​คน​ช่าง​สังเกต​และ​ขี้​สงสัย​ว่า​ ​ทำไม​ใน​บท​สวด​สมาทาน​
พระกร​รม​ฐาน​ของ​หลวงปู่​ถึง​ได้​ต้อง​มี​การ​อาราธนา​ศีล​ ซึ่ง​มี​ผู้​แนะนำ​ให้​
ทำ​เป็น​ประจำ​ทุก​วัน​
​ ด้วย​ความ​อด​รน​ทน​ไม่​ได้​ ​เมื่อ​สบ​โอกาส​ที่​ได้​มาก​ราบ​นมัสการ​
หลวงปู่​​จึง​เรียน​ถาม​ท่าน​​
“​หลวงปู่​เจ้า​คะ​​ทำไม​เวลา​สวด​มนต์​จึง​ต้อง​ขอ​ศีล​ทุก​วันคะ​”​
​ หลวงปู่​อธิบาย​ว่า​​
“​ก็​เหมือน​เชือก​ล่ะ​​เอ็ง​เคย​เห็น​เชือก​ไหม​​ห้า​เส้น​ควั่น​เป็น​เกลียว​​
ถ้าเ​ส้นห​ นึง่ ข​ าด​เ​รา​กผ​็ กู ใ​ หม่​สอง​เส้นข​ าด​เ​รา​กผ​็ กู ส​ อง​เส้นใ​ หม่​แ​ ล้วถ​ า้ ​
เอ็ง​ไม่​ผูก ​มัน​จะ​เป็น​ยัง​ไง​ล่ะ​​?​”​​
หลวงปู่​จบ​คำ​ตอบ​ด้วย​คำถาม​
​ ดิฉัน​นั่ง​นึก​อย่าง​เห็น​ภาพ​.​.​.​เชือก​ก็​คง​บาง​ลง​ ​และ​คงขาด​ที​ละ​เส้น​​
สอง​เส้น​.​.​.​​จน​หมด​
​ หลวงปู่​มอง​ข้าพเจ้า​แล้ว​ยิ้ม​
​ อรพิน​ท์​

luangpordu.com
๒๐๔ 204

​๑๐๓​
​บท​เรียน​ทาง​ธรรม​

บท​ที่​​๑​​ความ​กตัญญู​​และ​กุศโลบาย​ใน​การ​หา​บุญ​
​ ครั้ง​แรก​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​ไป​กราบ​หลวงปู่​ดู่​​ใน​ปี​​พ​.​ศ​.​​๒๕๒๖​​โอวาท​ที่​
ท่าน​มอบ​ให้ก​ บั ล​ กู ศ​ ษิ ย์ห​ น้าใ​หม่ค​ น​นก​ี้ ค​็ อื ​“​ ท​ ำบุญก​ บั พ​ ระ​ทไ​ี่ หน​ๆ​ก​ ต​็ อ้ ง​
ไม่​ลืม​พระ​ที่​บ้าน​​พ่อ​แม่​เรา​นี้​แหละ​..​​.​อย่า​มอง​ข้าม​ท่าน​ไป​”​
​ครั้ง​นั้น​​ยัง​จำ​ได้​ว่า​ข้าพเจ้า​และ​เพื่อน​ๆ​​ได้​ซื้อ​ดอกบัว​ไป​ถวาย​ท่าน​
ด้วย​ ​ท่าน​รับ​และ​นำ​ไป​บูชา​พระพุทธ​รูป​ ​แล้ว​ก็​ให้​โอวาท​อีก​ว่า​ ​“​พวก​แก​
ยัง​เป็น​นักเรียน​​นกั ​ศกึ ษา​​ยงั ​ตอ้ ง​แบมือข​ อ​เงิน​พ่อ​แม่​อยู​่ ​คราว​หน้า​อย่า​
ไป​เสีย​เงิน​เสีย​ทอง​ซื้อ​ดอกไม้​มา​ถวาย​​ระหว่าง​ทาง​มา​วัด​​หาก​เห็น​สระ​
บัว​ที่ไหน​ ​ก็​ให้​ตั้ง​จิต​นึก​น้อม​เอา​ดอกบัว​ถวาย​เป็น​พุทธ​บูชา​ ​ธรรม​บูชา​​
สังฆ​บูชา​​ก็​ใช้ได้​แล้ว​”​
​ นอกจาก​นี้​ ​วิธี​หา​บุญ​แบบ​ง่ายๆ​ ​โดย​ไม่​ต้อง​เสีย​สตางค์​ ​สามารถ​
ทำได้​ทั้ง​วัน​คือ​​ตื่น​เช้า​มา​​ขณะ​ล้าง​หน้า​​หรือ​ดื่ม​น้ำ​ก็​ให้​ว่า​​“​พุทธ​ัง​​สรณัง​
คัจฉา​มิ​,​​ธัมมัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​,​​สังฆ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​”​​​ก่อน​จะ​กิน​ข้าว​
ก็​ให้​นึก​ถวาย​ข้าว​พระพุทธ​ ​ออก​จาก​บ้าน​เห็น​คน​อื่น​เขา​กระทำ​ความ​ดี​
เป็นต้น​ว่า​​ใส่​บาตร​พระ​​จูง​คน​แก่​ข้าม​ถนน​​ฯลฯ​​ก็​ให้​นึก​อนุโมทนา​กับ​เขา​​
ผ่าน​ไป​เห็นด​ อกไม้ท​ ใ​ี่ ส่ก​ ระจาด​วาง​ขาย​อยู​่ ห​ รือด​ อกบัวใ​น​สระ​ขา้ ง​ทาง​ก​ ใ​็ ห้​
luangpordu.com
205 ๒๐๕

นึกอ​ ธิษฐาน​ถวาย​เป็นเ​ครือ่ ง​บชู า​พระ​รตั นตรัยโ​ดย​วา่ ​“​ พ​ ทุ ธ​สั ส​ ะ​ธ​ มั มัสสะ​​


สังฆ​สั ส​ ะ​ป​ เู ช​ม”​ิ ​แ​ ล้วต​ อ้ ง​ไม่ล​ มื อ​ ทุ ศิ บ​ ญ ุ ใ​ห้แ​ ม่คา้ ข​ าย​ดอกไม้แ​ ละ​รกุ ข​เท​วา​
ที่​ดูแล​สระ​บัว​นั้น​ด้วย​
​ ตอน​เย็น​นั่ง​รถ​กลับ​บ้าน​ ​เห็น​ไฟ​ข้าง​ทาง​ก็​ให้​นึก​น้อม​บูชา​พระ​
รัตนตรัย​โดย​ว่า​​“​โอม​อัคคี​ไฟฟ้า​​พุทธ​บูชา​​ธรรม​บูชา​​สังฆ​บูชา​”​​กลับ​
มา​บ้าน​ ​ก่อน​นอน​ก็​นั่ง​สมาธิ​ ​เอนตัว​นอน​ลง​ก็​ให้​นึก​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​​
ไต​รส​รณา​คมน​์​จน​หลับ​​ตื่น​ขึ้น​มา​ก็​บริ​กรรม​ภาวนา​ต่อ​อีก​
​นี่​เรียก​ว่า​เป็น​กุศโลบาย​ของ​หลวงปู่​ดู่​ ​ที่​ต้องการ​ให้​พวก​เรา​คอย​
ตะล่อม​จิต​ให้​อยู่​แต่​ใน​บุญ​ใน​กุศล​ตลอด​ทั้ง​วัน​เลย​ที​เดียว​

บท​ที่​​๒​​ระวัง​จะ​ตก​ต้นตาล​
​ ด้วย​ความ​ที่​ข้าพเจ้า​เป็น​คน​ที่​สนใจ​อ่าน​หนังสือ​ธรรม​อยู่​เส​มอๆ​​
ทำให้ส​ ญั ญา​หรือค​ วาม​จดจำ​มนั ล​ ว่ ง​หน้าไ​ป​ไกล​ก​ ว่าก​ าร​ปฏิบตั ช​ิ นิดไ​ม่เ​ห็น​
ฝุ่น​เลย​ที​เดียว​
​ เช้าว​ นั ห​ นึง่ ​ใ​น​ชว่ ง​ทข​ี่ า้ พเจ้าร​ จู้ กั แ​ ละ​ไป​กราบ​หลวง​ปใ​ู่ หม่ๆ​ ​ข​ า้ พเจ้า​
ถาม​ท่าน​ว่า​​
“​หลวงปู่​ครับ​​พระ​ท่าน​สอน​ว่า​บุญ​ก็​ไม่​ให้​เอา​​บาป​ก็​ไม่​ให้​เอา​​และ​
อย่าไ​ป​ยนิ ดีย​ นิ ร​ า้ ย​กบั ส​ งิ่ ท​ งั้ ป​ วง​ท​ นี ท​ี้ ำ​อย่างไร​ผม​ถงึ จ​ ะ​หมด​ความ​ยนิ ดีย​ นิ ​
ร้าย​ครับ​”​
​ หลวงปู่​ท่าน​ยิ้ม​และ​ตอบ​พลาง​หัวเราะ​ว่า​​

luangpordu.com
๒๐๖ 206

“​เบื้อง​ต้น​ก็​จะ​ขึ้น​ยอด​ตาล​​มี​หวัง​ตกลง​มา​ตาย​เท่านั้น​”​​
คำตอบของท่านทำเอา​ข้าพเจ้า​รู้สึก​เขิน​ ​และ​คิด​ได้ว่าการ​ปฏิบัติ​
ธรรม​ทถ​ี่ กู ท​ ค​ี่ วร​นนั้ ไ​ม่ค​ วร​จะ​อา่ น​ตำรับต​ ำรา​มาก​แ​ ต่ค​ วร​ปฏิบตั อ​ิ ย่าง​คอ่ ย​
เป็นค​ อ่ ย​ไป​ม​ งุ่ ป​ ระกอบ​เหตุท​ ด​ี่ อ​ี ย่าง​เสมอ​ตน้ เ​สมอ​ปลาย​โ​ดย​ไม่เ​ร่งรัดห​ รือ​
คาด​คั้น​เอา​ผล​ ​และ​ที่​สำคัญ​คือ​อย่า​สำคัญ​ผิด​คิด​ว่า​ “​ ​สัญญา​”​ (ความจำ)​
เป็น​“​ ​ปัญญา​”​​(ความจริง) เพราะ​หาก​ยัง​เป็น​แค่​สัญญา​หรือ​ความ​รู้​ที่​เป็น​
เพียง​การ​จด​การ​จำ​​มัน​ยัง​ไม่​ช่วย​ให้​เรา​เอา​ตัว​รอด​หรือ​พ้น​ทุกข์​ได้​

บท​ที่​​๓​​อย่า​ประมาท​
​ หลวงปูท​่ า่ น​พดู เ​ตือน​เสมอ​เพือ่ ใ​ห้พ​ วก​เรา​ไม่ป​ ระมาท​ร​ บี ทำความดี​
เสียแ​ ต่ย​ งั แ​ ข็งแ​ รง​อยู​่ เ​พราะ​เมือ่ แ​ ก่เ​ฒ่าล​ ง​ห​ รือม​ โ​ี รค​ภยั ไ​ข้เ​จ็บม​ า​เบียดเบียน​
ก็​จะ​ปฏิบัติ​ได้​ยาก​​ท่าน​ว่า​
​“​ปฏิบัติ​ธรรม​เสีย​ตั้ง​แต่​ยัง​เป็น​เด็ก​ ​เป็น​หนุ่ม​ ​เป็น​สาว​ ​นี้​แหละ​
ดี​​เพราะ​เมื่อ​แก่​เฒ่า​ไป​แล้ว​​จะ​นั่ง​ก็​โอย​​จะ​ลุก​ก็​โอย​​หาก​จะ​รอ​ไว้​ให้​แก่​
เสียก​ อ่ น​แล้วจ​ งึ ค​ อ่ ย​ปฏิบตั ​ิ ก​ เ​็ หมือน​คน​ทค​ี่ ดิ จ​ ะ​หดั ว​ า่ ย​นำ้ เ​อา​ตอน​ทแ​ี่ พ​
ใกล้​จะ​แตก​​มัน​จะ​ไม่ทัน​การณ์​”​​
นอกจาก​นั้น​​ท่าน​ยัง​แนะ​ให้หา​โอกาส​ไป​โรง​พยาบาล​​ท่าน​ว่า​​
“​โรง​พยาบาล​นี้​แหละ​ ​เป็น​โรงเรียน​สอน​ธรรมะ​ ​มี​ให้​เห็น​ทั้ง​เกิด​
แก่​​เจ็บ​​และ​ตาย​​ให้​พิจารณา​ให้​เห็น​ความ​จริง​​ทุกข์​ทั้ง​นั้น​​.​.​.​​อนิจ​จัง​
ทุก​ขัง​​อนัตตา​”​

luangpordu.com
207 ๒๐๗

บ​ ท​ที่​​๔​​ให้​หมั่น​ดู​จิต​
​ คำ​สอน​ของ​หลวงปู่​ที่​ข้าพเจ้า​ได้ยิน​แทบ​จะ​ทุก​ครั้ง​ที่​ ​ไป​นมัสการ​
ท่าน​ก็​คือ​
​“​ของดี​อยู่​ที่​ตัว​เรา​​ของ​ไม่​ดี​ก็​อยู่​ที่​ตัว​เรา​
​ให้​หมั่น​ดู​จิต​​รักษา​จิต​”​
​ นับเ​ป็นโ​อวาท​ทส​ี่ นั้ ​แ​ ต่เ​อา​ไป​ปฏิบตั ไ​ิ ด้ย​ าว​จน​ชวั่ ช​ วี ติ ห​ รือย​ าวนาน​
จนกว่า​จะ​พ้น​จาก​วัฏฏะ​สงสาร​นี้​ไป​ได้​​ซึ่ง​สอดคล้อง​กับ​พุทธ​พจน์ที่ว่า​
​ “​ผู้​ใด​หมั่น​ตาม​ดู​จิต​​ผู้​นั้น​จะ​พ้น​จาก​บ่วง​แห่ง​มาร​”​
​ การ​ขาด​การ​ตาม​ดู​จิต​​รักษา​จิต​​เป็น​เหตุ​ให้​เรา​ไม่​ฉลาด​ใน​ความ​คิด​
หรืออ​ ารมณ์​ซ​ งึ่ ถ​ งึ แ​ ม้วา่ เ​รา​จะ​เคย​ได้ยนิ ไ​ด้ฟ​ งั ค​ ำ​สอน​ของ​ครูบา​อาจารย์ม​ า​
มาก​ก​ ไ​็ ม่อ​ าจ​ชว่ ย​อะไร​เรา​ไดั​เ​พราะ​เพียง​แค่ก​ าร​ฟงั ธ​ รรม​จาก​ครูบา​อาจารย์​
ภายนอก​โดย​ปราศ​จาก​โยนิโส​มนสิการ​ห​ มัน่ ต​ รึกพ​ จิ ารณา​สงิ่ ต​ า่ งๆ​ใ​ห้เ​ป็น​
ธรรม​​หรือ​อีกนัย​หนึ่ง​คือ​ขาด​การ​ฟัง​ธรรม​ใน​ใจ​เรา​เอง​บ้าง ​ธรรม​ต่าง​ๆ ​ที่​
ได้ยิน​ได้​ฟัง​มา​นั้น​ก็​ย่อม​ไม่​อาจ​สำเร็จ​ประโยชน์​เป็น​ความ​ดับ​ทุกข์​ได้​เลย​

บท​ที่​​๕​​รู้จัก​หลวงปู่​อย่างไร​
​เช้า​วัน​หนึ่ง​ ​ใน​เดือน​มกราคม​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๓๓​ ​ก่อน​หน้าที่​หลวงปู่​จะ​
ละ​สงั ขาร​ไม่ก​ ว​ี่ นั ​ใ​น​ขณะ​ทร​ี่ อ​ใส่บ​ าตร​อยูท​่ ห​ี่ น้าก​ ฏุ ข​ิ อง​ทา่ น​ห​ ลวงปูไ​่ ด้พ​ ดู ​
เป็น​คติ​แก่​สานุ​ศิษย์​​ณ​​ที่​นั้น​ว่า​.​.​.​

luangpordu.com
๒๐๘ 208

​“​ตราบ​ใด​ก็ตาม​ที่​แก​ยัง​ไม่​เห็น​ความ​ดี​ใน​ตัว​
​ก็​ยังไม่​นับ​ว่า​แก​รู้จัก​ข้า​
​แต่​ถ้า​เมื่อ​ใด ​แกเริ่ม​เห็น​ความ​ดี​ใน​ตัว​เอง​แล้ว​
​เมื่อ​นั้น​...​ข้า​จึง​ว่า​แก​รู้จัก​ข้า​ดี​ขึ้น​แล้ว​”​
​คำ​พูด​นี้​ ​ถือ​เป็น​คำ​พูด​เตือน​สติ​แก่​ผู้​ที่มา​ปฏิบัติ​ใน​สมัย​ที่​ท่าน​ยัง​มี​
ชีวิต​อยู่​ว่า​ ​อย่า​ได้​สำคัญ​ตน​ว่า​เคย​ได้​อยู่​ใกล้​ชิด​ ​หรือ​เคย​ได้​รับ​ฟัง​คำ​สอน​
โดยตรง​จาก​ท่าน​ ​เพราะ​ตัว​วัด​ว่า​รู้จัก​ท่าน​ดี​หรือ​ไม่​นั้น​ ​ท่าน​ว่า​อยู่​ที่​การ​
ฝึกฝน​ตน​ให้​เป็น​คน​ที่​ดี​ขึ้น​ได้​หรือ​ไม่​​ถ้า​ไม่​ได้​​ก็​เท่ากับ​ว่า​ไม่รู้​จัก​ท่าน​จริง​
​ ใน​ทาง​กลับ​กัน​ ​คำ​พูด​นี้​ช่วย​ให้​เกิด​กำลัง​ใจ​แก่​ผู้​ที่​ไม่มี​โอกาส​ได้​
มา​สัมผัส​ท่าน​ใน​ขณะ​ที่​ท่าน​ยัง​มี​ชีวิต​ ​หาก​แต่​มี​ศรัทธา​น้อม​เอา​ธรรมะ​
คำ​สอน​ของ​ท่าน​มา​ปฏิบัติ​ขัดเกลา​ตนเอง​จนความโลภ โกรธ หลง ลดลง
เรียกว่าเห็นความดีในตัวเอง หลวงปู่​ท่าน​ก็​รับรอง​ว่าเป็น​ผู้​ที่รู้จัก​ท่านจริง​
คำ​พูด​ของ​หลวงปู่​นั้น​ทำให้​ผู้​เขียน​นึกถึง​พุทธ​พจน์​ที่​ว่า​
​“​ผู้​ใด​เห็น​ธรรม​​ผู้​นั้น​เห็น​เรา​.​.​.​ตถาคต​”​
​ “​พอ​”​

luangpordu.com
209 ๒๐๙

​๑๐๔​
​พลิก​ชีวิต​

ดิฉัน​ได้​มี​โอกาส​มา​พบ​หลวงปู่​ดู่​ ​ที่​วัด​สะแก​ ​ตั้ง​แต่​ปี​ ​พ​.​ศ​.​ ​๒๕๒๙​​


คือก​ อ่ น​ทท​ี่ า่ น​จะ​ละ​สงั ขาร​ประมาณ​๔​ ​ป​ ​ี โ​ดย​การ​แนะนำ​ของ​เพือ่ น​รกั ค​ น​
หนึ่ง​​และ​นั่น​คือ​จุด​หักเห​ชีวิต​ที่​สำคัญ​ที่สุด​ของ​ดิฉัน​​เพราะ​ก่อน​ที่​ดิฉัน​จะ​
ได้​มา​พบ​หลวงปู่​ ​ชีวิต​ของ​ดิฉัน​ช่าง​ไร้​สาระ​ ​วัน​คืน​หมด​ไป​กับ​การ​ดื่ม​สุรา​​
และ​เล่นก​ าร​พนัน​เ​พียง​เพือ่ จ​ ะ​กลบ​เกลือ่ น​ทกุ ข์ไ​ป​วนั ๆ​ ​โ​ดย​ไม่มส​ี ติป​ ญ ั ญา​
ที่​จะ​เตือน​ตัว​เอง​ได้​ว่า​​นั่น​ไม่ใช่​การ​แก้​ปัญหา​​ตรง​กัน​ข้าม​กลับ​เป็นการ​ซ้ำ​
เติม​ชีวิต​ให้​เลว​ร้าย​ลง​ไป​เรื่อย​​ๆ​​กระทั่ง​ได้​มา​พบ​หลวงปู่​​ผู้​ที่​พลิก​ชีวิต​ของ​
ข้าพเจ้า​จาก​ด้าน​มืด​มา​ให้​ได้​เห็น​แสง​สว่าง​ ​ท่าน​ทำให้​ดิฉัน​รู้​ว่า​จะ​ใช้​ชีวิต​
อย่างไร​จงึ จ​ ะ​เกิดค​ ณ ุ ค่าแ​ ก่ช​ วี ติ ท​ เ​ี่ หลืออ​ ยู​่ ท​ งั้ แ​ ก่ต​ นเอง​ต​ อ่ ค​ รอบครัว​แ​ ละ​
ต่อ​คน​รอบ​ข้าง​
​ หลวงปูท​่ า่ น​มก​ี ศุ โลบาย​ใน​การ​พลิกช​ วี ติ ข​ อง​ดฉิ นั ใ​ห้ส​ ามารถ​ละ​เลิก​
อบายมุขไ​ด้ทล​ี ะ​อย่าง​โ​ดย​เด็ดข​ าด​แ​ ละ​ทส​ี่ ำคัญค​ อื ด​ ว้ ย​ความ​สมัคร​ใจ​ของ​
ตัว​ดิฉัน​เอง​ ​เป็นต้น​ว่า​ ​ท่าน​สอน​ให้​ดิฉัน​พิจารณา​เห็น​โทษ​และ​ความ​ไม่​ดี​
ต่าง​ๆ​​ของ​การ​เมา​สุรา​​โอกาส​ใน​การ​สอน​ของ​ท่าน​มา​ถึง​เมื่อ​เช้า​วัน​หนึ่ง​ที่​
ดิฉนั เ​ดินท​ าง​ไป​ถวาย​ภตั ต​ า​หาร​แก่ท​ า่ น​พ​ อดีก​ บั ม​ ช​ี าว​บา้ น​เมา​สรุ า​หลับอ​ ยู​่
ใกล้​ๆ​​กับ​บันได​ทาง​ขึ้น​กุฏิ​​หลวงปู่​ท่าน​พูด​ว่า​​
luangpordu.com
๒๑๐ 210

“​ข้า​ว่า​​คน​เมา​เห​ล้าน​่ะ​​เลว​กว่า​หมา​​แก​ว่า​ไหม​?​”​​
“​เลว​กว่า​ยัง​ไง​เจ้า​คะ​”​​
ดิฉัน​ถาม​อย่าง​ขึงขัง​​เพราะ​รู้สึก​จะ​เป็น​เรื่อง​ใกล้​ตัว​เข้า​มา​ทุกที​​
ท่าน​ก็​ย้อน​ถาม​มา​อีก​ว่า​​
“​ถ้า​เรา​เอา​ขี้​กับ​เอา​เหล้า​ไป​ตั้ง​ไว้​​แก​ว่า​หมา​มัน​จะ​กิน​อะไร​”​
​แล้ว​ท่าน​ก็​เฉลย​ต่อว่า​​
“​มนั ก​ เ​็ ลือก​กนิ ข​ น​ี้ ะ​ส​ิ ม​ นั ไ​ม่เ​ลือก​กนิ เ​หล้าน​ ะ​ข​ า้ จ​ งึ ว​ า่ ค​ น​กนิ เ​หล้า​
นี่​เลว​กว่า​หมา​”​​
เท่านัน้ แ​ หละ​ด​ ฉิ นั ก​ บ​็ งั เกิดค​ วาม​ละอาย​ใจ​บอก​กบั ต​ วั เ​อง​วา่ ฉ​ นั จ​ ะ​
ไม่​กิน​เหล้า​อีก​​พร้อม​กับ​ท่อง​บ่น​ใน​ใจ​ว่า​
​ “​…​หมา​มัน​กิน​ขี้​ ​มัน​ไม่​กิน​เหล้า​ ​คน​กิน​เหล้า​นี่​เลว​กว่า​หมา​ ​ฉัน​ไม่​
ต้องการ​จะ​เป็น​คน​ที่​เลว​กว่า​หมา​…​”​
​ ไม่ใช่​เพียง​แค่​การ​ดื่ม​สุรา​ยา​เมา​เท่านั้น​ที่​ดิฉัน​สามารถ​เลิก​ได้​ ​หาก​
แต่ด​ ว้ ย​อบุ าย​การ​สอน​ของ​หลวงปู​่ ดิฉนั จ​ งึ ส​ ามารถ​เลิกอ​ บายมุขอ​ ย่าง​อนื่ ๆ​​
ด้วย​ ​รวม​ไป​ถึง​การ​ใช้​เครื่อง​สำอาง​ที่​ท่าน​ว่า​เกิน​งาม​และ​เป็น​อันตราย​ต่อ​
สุขภาพ​ ​ทั้งนี้​ทั้ง​นั้น​ ​ท่าน​คง​ทราบ​ว่า​ขณะ​นั้น​ดิฉัน​ยัง​มาก​ด้วย​ทิฏฐิ​มานะ​
ท่าน​จึง​หลีก​เลี่ยง​การ​สอน​หรือ​ว่า​กล่าว​ที่​ตัว​ดิฉัน​โดยตรง​ ​หาก​แต่​ใช้​วิธี​ยก​
สิง่ ต​ า่ ง​ๆ​ข​ นึ้ เ​ป็นอ​ ปุ มา​อปุ มัย​แ​ ล้วใ​ห้ค​ ดิ พ​ จิ ารณา​ตาม​จน​เห็นท​ กุ ข์เ​ห็นโ​ทษ​​
และ​เป็นฝ​ า่ ย​สมัคร​ใจ​ละ​เลิกส​ งิ่ ไ​ม่ด​ ไ​ี ม่ง​ าม​ตา่ ง​ๆ​ ​ด​ ว้ ย​ตวั เ​อง​ด​ ฉิ นั จ​ งึ ส​ ามารถ​
รับ​การ​ขัดเกลา​ที​ละ​เล็ก​ที​ละ​น้อย​จาก​ท่าน​ได้​​

luangpordu.com
211 ๒๑๑

หลวงปู่​ท่าน​ฉลาด​และ​อดทน​ใน​การ​อบรม​ลูก​ศิษย์​อย่าง​ยิ่ง​​ท่าน​ไม่​
เพียง​แนะนำ​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​แก่​ดิฉัน​เท่านั้น​ ​หาก​แต่​ยัง​ได้​เมตตา​ให้​ดิฉัน​
เกิดป​ ญ ั ญา​รค​ู้ วาม​เหมาะ​ควร​ใน​การ​ดำรง​ชวี ติ ใ​น​เพศ​ฆราวาส​เพือ่ ใ​ห้ด​ ำเนิน​
ไป​ได้​ทั้ง​ทาง​โลก​และ​ทาง​ธรรม​ ​อย่าง​ที่​ท่าน​พูด​ว่า​ โลก​ก็​ไม่​ให้​ช้ำ​ ​ธรรม​ก็​
ไม่​ให้​เสีย​
​ การ​จาก​ไป​ของ​หลวงปู่​ ​ยาก​ที่​ดิฉัน​จะ​ยอมรับ​ได้​ ​แม้ว่า​ท่าน​จะ​ได้​
เมตตาพูด​ เ​ปรย​ให้ท​ ราบ​มา​เป็นร​ ะยะ​ๆ​ร​ วม​ทงั้ ส​ งั่ ด​ ฉิ นั ไ​ม่ใ​ห้ร​ อ้ งไห้เ​มือ่ ท​ า่ น​
ละ​สังขาร​แล้ว​ก็ตาม​​
ใน​เช้า​วัน​ที่​ ​๑๗​ ​มกราคม​ ​๒๕๓๓​ ​วัน​ที่​ทราบ​ข่าวมรณกรรมของ
หลวงปู่​ ​ดิฉัน​เร่ง​รีบ​เดิน​ทาง​ไป​ที่​วัด​โดยทันที​ ​และ​เมื่อ​ไป​ถึง​ ​ดิฉัน​ก็​ไม่​อาจ​
กลั้น​ความ​เศร้า​โศก​เสียใจ​ รวมทั้ง​ไม่อาจทรงตัวยืนอยู่ได้ ต้องอาศัยกอด
ต้นไม้​ข้าง​กุฏิ​ ​ร้องไห้​ฟูมฟาย​อยู่​พัก​ใหญ่​ ​ดิฉันรู้สึกว่าเวลาแห่งการได้พบ​
ได้เห็น และได้ยินได้ฟังคำสอนของหลวงปู่นั้น มันช่างน้อยเสียเหลือเกิน
แม้ว่า​หลวงปู่​ดู่​ ​ผู้​ที่​ฉุด​ชีวิต​ของ​ดิฉัน​ขึ้น​จาก​โคลน​ตม​ ​ได้​ละ​สังขาร​
ไป​แล้ว​ ​แต่​ดฉิ นั ​ก​ต็ ง้ั ​สจั ​อธิษฐาน​วา่ ​จะ​ขอ​ยดึ ​มน่ั ​ใน​ไตร​สรณา​คมน​​์ ​และ​จะ​
ไม่​ทง้ิ ​การ​ปฏิบัติ​ธรรมไป​จน​ตลอด​ชีวิต​ ​เพื่อ​บูชา​คุณ​หลวงปู่​ดู่​ ​ที่​ได้​เมตตา​
ต่อ​ดิฉัน​และ​ครอบครัว​อย่าง​หา​ที่สุด​และ​หา​บุคคล​อื่น​เสมอ​เหมือน​มิได้​

“​นิ​”​

luangpordu.com
๒๑๒ 212

​๑๐๕​
​บาป​

หลวงปูด​่ ท​ู่ า่ น​เป็นพ​ ระ​ทม​ี่ ค​ี วาม​ละเอียด​อย่าง​มาก​โ​ดย​เฉพาะ​อย่าง​


ยิ่ง​ใน​เรื่อง​ความ​ระมัดระวัง​ไม่​ให้​เกิด​บาป​​ตลอด​ระยะ​เวลา​ประมาณ​​๘​​ปี​
ทีพ​่ บ​และ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​กบั ท​ า่ น​ย​ งิ่ น​ าน​วนั ก​ ย​็ งิ่ ป​ ระทับใ​จ​ใน​ปฏิปทา​ใน​เรือ่ ง​
นีข​้ อง​ทา่ น​แ​ ละ​บาง​เรือ่ ง​ขา้ พเจ้าเ​ห็นว​ า่ เ​ป็นเ​รือ่ ง​ทน​ี่ า่ ค​ ดิ ​เ​พราะ​กอปร​ดว้ ย​
เหตุผล​ ​อีก​ทั้ง​ไม่​เคย​ได้ยิน​ได้​ฟัง​ใคร​กล่าว​สอน​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา​เช่น​น​ี้
มา​กอ่ น​จ​ งึ เ​ป็นแ​ รง​บนั ดาล​ใจ​ทจ​ี่ ะ​ถา่ ยทอด​ไว้​ณ ​ ​ท​ น​ี่ ​ี้ เ​ผือ่ ว​ า่ จ​ ะ​เกิดป​ ระโยชน์​
แก่​ผู้​อ่าน​บ้าง​ไม่​มาก​ก็​น้อย​​โดย​ให้​ชื่อ​หัวข้อ​เรื่อง​ว่า​“​ ​ปกิณ​กบาป​”​

พา​เด็กเล็ก​เข้า​วัด​​-​​บาป​
​ เรื่อง​นี้​ค่อน​ข้าง​เป็น​เรื่อง​ที่​สวน​กับ​ความ​รู้สึก​ของ​คน​ทั่วไป​ แต่​
หาก​ได้​พิจารณา​ความ​จริง​ไป​ตาม​เหตุผล​ที่​หลวงปู่​ได้​เมตตา​ชี้แนะ​ก็​จะ​
เข้าใจได้​ ​ท่าน​ว่า​เด็ก​เล็ก​ที่​พา​มา​วัด​นั้น​ยัง​ควบคุม​ดูแล​ตนเอง​ไม่​ได้​ ​จึง​
มัก​ซุกซนและคึก​คะนอง​ไป​ตาม​ประสา​เด็ก​ ​แต่​เนื่องจาก​ที่​วัด​มัก​มี​ผู้​มา​
ฝึกหัดปฏิบัติ​สมาธิ​ภาวนา​อยู่​เส​มอๆ​ ​ดัง​นั้น​ ​เสียง​รบกวน​ของ​เด็ก​ ​จึง​
อาจรบกวนผู้ที่กำลัง​ปฏิบัติ​ภาวนาอยู่​​ดัง​นั้น​​บาป​จึง​เกิด​กับ​เด็ก​อย่าง​ไม่รู้​
ตัว​​ทั้งนี้​ก็​ด้วย​พ่อ​แม่​ผู้​ปกครอง​ไม่​เข้าใจ​และปล่อยปละละเลย
luangpordu.com
213 ๒๑๓

​ ภาพ​แห่ง​ความ​เมตตา​ที่​ท่าน​เมตตา​อบรม​ชี้แนะ​ข้าพเจ้า​ยัง​ชัดเจน​
อยู่​ใน​ความ​ทรง​จำ​ ​วัน​นั้น​ข้าพเจ้า​พา​ลูก​ซึ่ง​ยัง​เล็ก​ไป​วัด​สะแก​ด้วย​ ​จำ​ได้​
ว่าการ​ไป​วัด​ใน​วัน​นั้น​ ​ข้าพเจ้า​ไม่สู้​รู้สึก​ปลอด​โปร่ง​นัก​เพราะ​ว่า​ต้อง​มา​มัว​
กังวล​กบั ล​ กู น​ อ้ ย​ทเ​ี่ ดีย๋ ว​กส​็ ง่ เ​สียง​รอ้ งไห้​เ​ดีย๋ ว​กป​็ สั สาวะ​รด​พ​ อ​หลวงปูท​่ า่ น​
เห็น​จังหวะ​เห​มาะ​​ท่าน​ก็​เรียก​ข้าพเจ้า​ให้​เข้าไป​ใกล้​ๆ​​แล้ว​บอก​ว่า​​
“​นี่​เพราะ​ข้า​รัก​แก​หรอก​นะ​ ​จึง​บอก​จึง​สอน​ให้​รู้​ ​คน​เขา​ภาวนา​
กัน​อยู่​​แก​พา​เด็ก​ๆ​​มา​วิ่งเล่นซุกซน​​ส่ง​เสียง​รบกวน​​มัน​บาปนะ​​
อันท​ จ​ี่ ริงแ​ ก​เอา​เด็กเ​ล็กไ​ว้ท​ บ​ี่ า้ น​กไ็ ด้​เ​วลา​ทแ​ี่ ก​ภาวนา​กใ​็ ห้น​ กึ ถึง​
เขา ​แผ่​เมตตา​ให้​เขา​​เขา​ก็ได้​บุญ​เหมือน​กัน​”​

ช​ วน​คน​เข้า​วัด​​–​​บาป​
​ บางที​คน​เรา​ก็​มอง​อะไร​ไม่​รอบ​ด้าน​​ดัง​นั้น​​แม้​จะ​มี​ความ​ปรารถนา​
ดี​​ก็​ไม่​เป็น​หลัก​รับ​ประกัน​ว่า​ทุก​อย่าง​จะ​ออก​มา​ดี​​ดัง​เช่น​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​รับ​
การ​อบรม​จาก​หลวงปู่​ว่า​​
“​แก​เที่ยว​ชวน​คน​เขา​มา​วัด​​ระวัง​นะ​​จะ​กลาย​เป็นต้น​บาป​”​
​ ท่าน​ชี้แนะ​เพิ่ม​เติม​ว่า​​
“​แก​จะ​ไป​รเ​ู้ ห​รอ​วา่ ส​ งิ่ ท​ แ​ี่ ก​เห็นว​ า่ ด​ ​ี เ​ขา​จะ​เห็นว​ า่ ด​ ต​ี าม​แก​ไป​ดว้ ย​​
ถ้าเ​ขา​ปรามาส​จน​เกิดบ​ าป​แ​ ก​ตอ้ ง​มส​ี ว่ น​รบั บ​ าป​นนั้ ไ​ป​ดว้ ย​ครึง่ ห​ นึง่ ใ​ น​
ฐานะ​ที่​พา​เขา​มา​ให้​เกิด​บาป​”​

luangpordu.com
๒๑๔ 214

อ​ ยู่​ใกล้​พระ​อร​หัน​ต์​นาน​​ๆ​​–​​บาป​
เ​รือ่ ง​นก​ี้ เ​็ ป็นอ​ กี เ​รือ่ ง​หนึง่ ท​ ด​ี่ จ​ู ะ​สวน​ทาง​กบั ค​ วาม​รสู้ กึ ข​ อง​คน​ทวั่ ๆ​ ​ไ​ป
เพราะ​ทุก​คน​ย่อม​จะ​คิด​ว่า​หาก​เรา​ได้​อยู่​ใกล้​ชิด​พระอร​หัน​ต์​ ​ก็​ย่อม​จะ​มี​
โอกาส​สั่งสม​บุญ​กุศล​ได้​อย่าง​เต็ม​ที่​ ​แต่​การณ์​หา​เป็น​เช่น​นั้น​ไม่​ ​หลวงปู่​ดู่​
ท่าน​สอน​ว่า​
​“​อย่า​ไป​อยู่​ใกล้​พระ​อร​หัน​ต์​นาน​​ประ​เดี๋ยว​จะ​บาป​​จะ​บาป​ยังไง​​
ก็​บาป​ตรง​ที่​อาศัย​ความ​คุ้น​เคย​ ​เลย​เอา​ท่าน​เป็น​เพื่อน​เล่น​บ้าง​ ​ใช้​ท่าน​
ทำ​โน่น​ทำ​นี่​ให้​บ้าง ​แล้ว​จะ​ไม่​ให้​บาป​ได้​ยัง​ไง​”​

ถ่าย​รูป​กับ​พระ​ที่​มี​คุณ​ธรรม​​–​​บาป​
​ หลวงปู่​เคย​ตั้ง​คำถาม​กับ​ข้าพเจ้า​ว่า​​
“​เวลา​ที่​แก​ถ่าย​รูป​กับ​พระ​ ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​กับ​ครู​อาจารย์​ที่​
ท่าน​มี​คุณ​ธรรม​แก​จะ​เอา​รูป​ไป​ตั้ง​ไว้​ที่ไหน​
​หาก​แก​เอา​รูป​ไป​ไว้​ใน​ที่​ๆ​ ​ไม่บ​ ังควร​ก็​จะ​เกิด​บาป​ขึ้น​ได้​ ​ส่วน​ว่า​
จะ​เอา​รูป​ไป​ตั้ง​บูชา​ใน​ที่​สูง​​ใคร​ผ่าน​ไป​ผ่าน​มา​ก็​ยกมือ​ไหว้​​แล้ว​ตรอง​ดู​
ซิ​ว่า​ ​แก​มี​คุณ​ธรรม​เสมอ​กับ​ท่าน​เห​รอ​ ​หรือ​แก​มี​คุณ​ธรรม​อะไร​ที่​จะ​ให้​
เขา​ยกมือ​ไหว้​แก​”​

​“​อุ๋ย​”​

luangpordu.com
215 ๒๑๕

​๑๐๖​
​ความ​เมตตา​และ​ขันติ​ธรรม​ของ​หลวงปู่​

จะ​มี​ใคร​​ทราบ​บ้าง​ว่า​เบื้อง​หลัง​ภาพ​การ​ปฏิสันถาร​พูดจา​ปราศรัย
​ให้​แง่​คิด​และ​กำลัง​ใจ​แก่​ผู้​ที่มา​กราบ​นมัสการ​หลวงปู่​ดู่​นั้น​ ​บ่อย​ครั้ง​ ท่าน​
ต้อง​ใช้​ขันติ​มาก​สัก​เพียง​ใด​ ​โดย​ปรกติ​หลวงปู่​ท่าน​รับแขก​ตั้ง​แต่​เช้า​มืด​
กระทั่ง​จน​ดึก​จน​ดื่น​ทุก​ๆ​ ​วัน​ ​ต่อ​เนื่อง​นับระยะเวลา​เป็นสิบๆ ​ปี​ ​ซึ่ง​ไม่​ว่า​
ใคร​จะ​ทกุ ข​ร์ อ้ น​วนุ่ ว​ าย​ใจมา​อย่างไร​ห​ ลวงปูท​่ า่ น​กจ​็ ะ​ปฏิสนั ถาร​ดว้ ย​ความ​
เมตตา​เสมอ​โ​ดย​จะ​มใ​ี คร​บา้ ง​ไหม​ทจ​ี่ ะ​สงั เกต​หรือส​ งสัยว​ า่ ​ท​ า่ น​นงั่ ร​ บั แขก​
บน​พนื้ ก​ ระดาน​แข็งๆ​ ​อ​ ย่าง​นนั้ ต​ งั้ แ​ ต่เ​ช้าจ​ รด​คำ่ ใ​น​แต่ละ​วนั ​ท​ า่ น​แทบ​จะ​ไม่​
ได้ล​ กุ ไ​ป​ไหน​เลย​ท​ า่ น​ไม่ป​ วดไม่เ​มือ่ ย​บา้ ง​หรือ​ท​ า่ น​ไม่ป​ วด​ทอ้ ง​หนักท​ อ้ ง​เบา​
บ้าง​หรือ​ ​ท่าน​เจ็บ​ไข้​ไม่​สบาย​บ้าง​หรือ​เปล่า​ ​ส่วน​ว่า​จะ​รอ​ฟัง​ท่าน​เอ่ย​ปาก​
ออก​มา​ก็​คง​เป็น​เรื่อง​ที่​ยาก​ ​เพราะ​หลวงปู่​เป็น​พระ​ที่​ขี้​เกรงใจ​อย่าง​มาก​​
แค่​จะ​ใช้สอย​ลูก​ศิษย์​ให้​เดิน​ออก​ไป​ซื้อ​ยา​ที่​หน้า​วัด​ ​ก็​ยัง​ต้อง​เอ่ย​ปาก​ถาม​
ลูก​ศิษย์​อย่าง​เกรง​อก​เกรงใจ​
​ ข้าพเจ้าเ​อง​ได้ม​ า​ประจักษ์ค​ วาม​อดทน​ของ​ทา่ น​จนมิอาจ​กลัน้ น​ ำ้ ตา​
เอา​ไว้​ได้​ ​ก็​ใน​ตอน​ที่​ได้​อุปัฏฐาก​รับ​ใช้​ท่าน​ใน​ยาม​ที่​ท่าน​ชรา​มาก​แล้ว​ ​โดย​
มี​โอกาส​ถวาย​การ​ทายา​แผล​ที่​ก้น​ของ​ท่าน​ ​ภาพ​ที่​ปรากฏ​แก่​สายตา​ของ​
ข้าพเจ้าน​ นั้ ค​ อื ร​ อ่ ง​รอย​ของ​แผล​ทแ​ี่ ตก​ซำ้ ๆ​ ​ซ​ าก​ๆ​ใ​น​ทเ​ี่ ดิม​น​ ค​ี่ ง​เป็นแ​ ผล​ท​ี่
luangpordu.com
๒๑๖ 216

เกิดจ​ าก​การ​ทท​ี่ า่ น​ตอ้ ง​นงั่ บ​ น​พนื้ ก​ ระ​ดาน​แข็งๆ​ต​ อ่ เ​นือ่ ง​เป็นแ​ รม​ป​ี ข​ า้ พเจ้า​
รูส้ กึ แ​ ปลก​ใจ​มาก​ทท​ี่ า่ น​เป็นถ​ งึ ข​ นาด​นแ​ี้ ล้ว​ข​ า้ พเจ้าห​ รือล​ กู ศ​ ษิ ย์ค​ น​อนื่ ๆ​ ​ก​ ​็
ไม่​เคย​ได้ยิน​ท่าน​เอ่ยหรือ​บ่น​ให้ใคร​ได้​รับ​รู้​บ้าง​เลย​​ตรง​กัน​ข้าม ​เรา​ทุก​คน​
ยังค​ ง​เห็นท​ า่ น​ทำ​หน้าทีค​่ รูอ​ าจารย์ท​ ค​ี่ อย​ให้ก​ ำลังใ​จ​ลกู ศ​ ษิ ย์ด​ ว้ ย​อาการ​ยมิ้ ​
แย้ม​แจ่มใส​เป็น​ปรกติ​อยู่​อย่าง​นั้น​​ช่วยให้​เขา​เหล่า​นั้น​กลับ​บ้าน​​ด้วย​ความ​
ปีติ​ทุก​ราย​ไป​
​ ข้าพเจ้า​เห็น​แผล​ของ​ท่าน​แล้ว​ก็​ไม่​อาจ​กลั้น​น้ำตา​เอา​ไว้​ได้​ ​ได้​แต่​
ซาบซึง้ ใ​จ​ใน​เมตตา​และ​ขนั ติธ​ รรม​อนั ย​ งิ่ ข​ อง​ทา่ น​อ​ กี ท​ งั้ ภ​ มู ใิ จ​ทไ​ี่ ม่เ​สียช​ าติ​
เกิด​ที่​ได้​มี​โอกาส​มา​เป็น​ลูก​ศิษย์​รับ​การ​อบรม​สั่ง​สอน​จาก​ท่าน​​เพราะ​ทา่ น​
ไม่เ​พียง​พดู ส​ อน​เพียง​อย่าง​เดียว​ห​ าก​แต่ท​ า่ น​ยงั ส​ อน​ดว้ ย​การ​ทำให้ด​ ​ู ข​ า้ พเจ้า​
จึง​ภาค​ภูมิใจ​ที่​มี​ครู​อาจารย์​เช่น​ท่าน​.​.​.​ ​หลวงปู่​ดู่​ ​พรหม​ปัญโญ​ ​พระ​แท้​ที่​
จะ​อยู่​ใน​ดวงใจ​ของ​ข้าพเจ้า​ตลอด​ไป​

​ “​นา​ยอู๋​”​

luangpordu.com
217 ๒๑๗

​๑๐๗​
​หลวงปู่​ตาย​แล้ว​ต้อง​ลง​นรก​​?​

วันห​ นึง่ ​ห​ ลวงปูด​่ ท​ู่ า่ น​มอง​ไป​ทล​ี่ กู ศ​ ษิ ย์ใ​กล้ช​ ดิ ก​ ลุม่ ห​ นึง่ แ​ ล้วเ​อ่ยข​ นึ้ ​
ว่า​“​ ​ข้า​ตาย​แล้ว​ต้อง​ลง​นรก​”​​
พอ​ลูก​ศิษย์​ได้ยิน​เช่น​นั้น​ก็​ตกใจ​​เรียน​ถาม​ท่าน​ใน​ทันที​ว่า​​
“​หลวงปู่​จะ​ตก​นรก​ได้​อย่างไร ​ใน​เมื่อ​หลวงปู่​บำเพ็ญ​คุณ​งาม​ความ​
ดี​มา​มาก​ออก​อย่าง​นี้​”​
​ หลวงปู่​ตอบ​กลับ​ไป​ว่า​​
​“​ข้า​ก็​จะ​ลง​นรก​​เพื่อ​ไป​ดึง​พวก​แก​ขึ้น​มาน​่ะ​สิ​!​”​
​ คำ​พดู เ​ตือน​ของ​หลวงปูน​่ นั้ ​ช​ วน​ให้ศ​ ษิ ย์ท​ งั้ ห​ ลาย​ตอ้ ง​มา​นกึ ท​ บทวน​
ตัว​เอง​ว่า การ​ที่​ได้​มี​โอกาส​อยู่​ใกล้​ครูบา​อาจารย์​นั้น​ก็​มิใช่​เป็น​หลัก​ประกัน​
ว่า​จะ​ไม่​ลง​นรก​ ​ตรง​กัน​ข้าม​ ​หลวงปู่​ท่าน​ได้​พูด​เตือน​ทำนอง​​นี้​หลายครั้ง​
หลาย​หน​ ​เพราะ​ช่อง​ทาง​ทำบาป​​ของ​คน​เรา​นั้น มันมี​มาก​เหลือ​เกิน​​
ท่านเคยกล่าว​ว่า​​คน​เรา​เป็น​อยู่​โดย​บาป​ทั้ง​นั้น​​เพียง​แต่​ผู้​ที่​ตั้ง​อยู่​ใน​ความ​
ไม่​ประมาท​​ก็​บาป​น้อย​หน่อย​
​ หลวงปูท​่ า่ น​เป็นแ​ บบ​อย่าง​ทห​ี่ า​ได้ย​ าก​ใน​เรือ่ ง​การ​ระมัดระวังไ​ม่ใ​ห้​
เป็นห​ นีส​้ งฆ์​ถ​ งึ ข​ นาด​วา่ ก​ อ่ น​ทท​ี่ า่ น​จะ​มรณภาพ​ไม่ก​ ว​ี่ นั ​ท่าน​ได้บ​ อก​ชอ่ ง​ลบั ​
สำหรับเปิดประตูกุฏิ ให้​โยม​อุปัฏฐากได้้​ทราบ​ ​เพื่อ​ว่า​จะ​ได้​สามารถ​เปิด​
luangpordu.com
๒๑๘ 218

ประตู​เข้า​กุฏิ​ท่าน​ใน​กรณี​ฉุกเฉิน​ได้​​โดย​ไม่​ต้อง​ไป​งัด​ประตู​​อัน​จะเป็นการ​
ทำลาย​ของ​สงฆ์​​ซึ่ง​ใน​ที่สุด​ก็​มี​เหตุ​ให้​ได้​เปิด​ประตู​กุฏิ​ท่าน​ผ่าน​ทาง​ช่อง​ลับ​
นั้น​จริง​ๆ​​ใน​เช้า​ตรู่​ของ​วัน​พุธ​ที่​​๑๗​​มกราคม​​๒๕๓๓​​อัน​เป็น​วัน​ที่​ท่าน​ละ​
สังขาร​
​ นอกจาก​นี้​ท​ ่าน​ยงั ไ​ด้พ​ ดู เ​ตือน​อกี ​หล​ าย​ๆ​เ​รือ่ ง​ซ​ ึ่งเ​ป็น​สงิ่ ท​ ​พี่ วก​เรา​
อาจม​อง​ข้าม​​เป็นต้น​ว่า​เอ่ย​ปาก​ใช้​พระ​หยิบ​โน่น​หยิบ​นี่​​ไม่​ยกเว้น​แม้​กรณี​
ขอ​ให้พ​ ระ​ทา่ น​หยิบซ​ อง​ให้เ​พือ่ จ​ ะ​ใส่ป​ จั จัยถ​ วาย​ก​ าร​หยิบฉ​ วย​ของ​สงฆ์ไ​ป​
ใช้​ส่วน​ตัว​ ​การ​พูด​ชัก​ไป​ใน​ทาง​โลก​ใน​ขณะ​ที่​ผู้​อื่น​กำลัง​สนทนา​ธรรม​ ​การ​
ส่งเ​สียง​รบกวน​ผท​ู้ ก​ี่ ำลังป​ ฏิบตั ภ​ิ าวนา​ก​ าร​ขาย​พระ​กนิ ​ซ​ งึ่ เ​รือ่ ง​หลังน​ ​ี้ ท​ า่ น​
พูด​เอา​ไว้​ค่อน​ข้าง​รุนแรง​ว่า​​ใคร​ขาย​พระ​กิน​จะ​ฉิบหาย​​สมัย​ท่าน​ยัง​มี​ชีวิต​
ท่าน​จะ​พดู ก​ ระ​หนาบ​บอ่ ย​ครัง้ ​โ​ดย​เฉพาะ​เวลา​รบั ป​ ระทาน​อาหาร​ท​ า่ น​ไม่​
ให้พ​ ดู ค​ ยุ ก​ นั จะ​ทำ​กจิ อ​ นั ใ​ด​อยู​่ ก​ ใ​็ ห้ม​ ส​ี ติ​พ​ ยายาม​บริก​ รรม​ภาวนา​ไว้เ​รือ่ ยๆ​​
เรียก​ว่า​เกลี่ย​จิต​ไว้​ให้​ได้​ทั้ง​วัน​ ​เมื่อ​ถึง​คราว​นั่ง​ภาวนา​ ​จิต​จะ​ได้​เป็น​สมาธิ​
ได้​เร็ว​​เวลา​จิต​เกิด​โลภ​​โกรธ​​หลง​ขึ้นมา​ก็​จะ​ได้​รู้​เท่า​ทันได้โดยเร็ว​
​ดัง​ที่​หลวงปู่​สอน​ว่า​ ​การ​ตั้ง​อยู่​ใน​ความ​ไม่​ประมาท​เท่านั้น​จึง​จะ​
ช่วย​ให้เ​รา​หา่ ง​จาก​นรก​ได้​ด​ งั น​ นั้ ​เ​รา​จงึ จ​ ำเป็นต​ อ้ ง​คอย​สอบ​ทาน​ตวั เ​อง​อยู​่
เส​มอๆ​ว​ า่ เ​รา​เข้าว​ ดั เ​พือ่ อ​ ะไร​เ​พือ่ ค​ วาม​เด่นค​ วาม​ดงั ​ห​ วังล​ าภ​สกั ก​ าร​ะ​ห​ วัง​
เป็น​ผู้​จัดการ​พระ​​ผู้​จัดการ​วัด​​ฯลฯ​​หรือ​เพื่อ​มุ่ง​ละ​โลภ​​โกรธ​​หลง​​ซึ่ง​เป็น​
ตัว​ก่อ​ทุกข์​ก่อ​โทษ​ข้าม​ภพ​ข้าม​ชาติ​ไม่รู้​จัก​จบ​จัก​สิ้น​ที่​มี​อยู่​ใน​ใจ​เรา​นี้​
​ ปฏิปทา​ทจ​ี่ ะ​ชว่ ย​ให้เ​รา​ปลอดภัย​แ​ ละ​หา่ ง​ไกล​จาก​นรก​ค​ อื ก​ าร​เกรง​

luangpordu.com
219 ๒๑๙

กลัว​และ​ละอาย​ใจ​ใน​การ​ทำบาป​กรรม​ ​หรือ​สิ่ง​ที่​จะ​ทำ​จิตใจ​เรา​ให้​เศร้า​
หมอง​ขุ่น​มัว​ทั้ง​ใน​ที่​ลับ​และ​ที่​แจ้ง​ ​นอกจาก​นี้​ ​ควร​หลีก​เลี่ยง​การ​คลุกคลี​
กับ​หมู่​คณะ​โดย​ไม่​จำเป็น​ ​หาก​แต่​ควร​มุ่ง​เน้น​การ​ปฏิบัติ​ภาวนา​เป็น​หลัก
เป็นผู้​พร้อม​รับ​ฟัง​คำ​ตัก​เตือน​ของ​ผู้​อื่น​ ​โดย​เฉพาะ​คำ​ตัก​เตือน​จาก​ครูบา-​
​อาจารย์​​อย่าง​ที่ทาง​พระ​ท่าน​สอน​ว่า​ให้​อดทน​ใน​คำ​สั่ง​สอน​​ให้คิด​ว่า​ท่าน​
กำลัง​ดุ​ด่า​กิเลส​ของ​เรา​อยู่​
​ ท่อน​ซุง​ทั้ง​ท่อน​​ถ้า​ไม่​ได้​ขวาน​ช่วย​สับ​ช่วย​บาก​​ไม่​ได้​กบ​ไส​ไม้​​ช่วย​
ทำ​พื้น​ไม้​หยาบ​ๆ​ ​ให้​เกลี้ยง​เกลา​ขึ้น​ ​ไม่​ได้​กระดาษ​ทราย​ช่วย​ขัด​ให้​พื้น​ไม้​
เรียบ​เนียน​ ​ไม่​ถูก​ดัด​ถูก​ประกอบ​ ​ก็​คง​ไม่​กลาย​มา​เป็น​เครื่อง​เรือน​เครื่อง​
ใช้​ที่​มี​ประโยชน์​ ​ฉันใด​ก็​ฉัน​นั้น​ ​จิตใจ​ของ​เรา​ที่​หยาบ​อยู่​ ​หาก​ไม่​ได้​รับ​
การ​ขัดเกลา​หรือ​อบรม​จาก​ครู​อาจารย์​ ​ไม่​ได้​รับ​การ​อบรม​ด้วย​ธรรม​ของ​
พระพุทธเจ้า​​จิตใจ​นั้น​ก็​ย่อมใช้งานใช้การไม่ได้ ...​เอา​เป็น​ที่​พึ่ง​ไม่​ได้​
​ ครั้ง​หนึ่ง​​ได้​มี​โอกาส​เรียน​ถาม​หลวงปู่​ว่า​​
“​หลวงปู่​ครับ​ ​ที่​ว่า​ธรรม​ย่อม​รักษา​ผู้​ประพฤติ​ธรรม​นั้น​ ​ธรรม​ที่​ว่า​
นั้น​ท่าน​หมาย​ถึง​ธรรม​เรื่อง​ใด​ครับ​”​
​ เมื่อ​สิ้น​เสียง​คำถาม​ของ​ข้าพเจ้า​​หลวงปู่​ท่าน​ก็​ตอบ​ใน​ทันที​ว่า​​
“​กาย​สุจริต​​วาจา​สุจริต​​และ​มโน​สุจริต​”​
​ ซึ่ง​คำ​สอน​ของ​ท่าน​ข้าง​ต้น​​ก็​เป็นการ​ตอบ​ให้​ชัด​อีก​ครั้ง​ว่า​อานิสงส์​
แห่งก​ าร​ประพฤติค​ วาม​ดท​ี งั้ ท​ าง​กาย​ท​ าง​วาจา​แ​ ละ​ทาง​ใจ​นแ​ี้ หละ​จ​ ะ​กลับ​
มา​รักษา​เรา​ไม่​ให้​ตก​ไป​สู่​โลก​ที่​ชั่ว​​จึง​เป็น​หลัก​ประกัน​ที่​ช่วย​ให้​เรา​ห่าง​ไกล​

luangpordu.com
๒๒๐ 220

จาก​นรก​อ​ กี ท​ ง้ั ย​ งั ช​ ว่ ย​ให้เ​รา​สามารถ​เข้าใ​กล้ห​ ลวงปูด​่ ว้ ย​การ​เพิม่ พูนค​ ณ


ุ ธ​ รรม
​ความ​ดี​ให้​ยิ่ง​ๆ​ ​ขึ้น​ไป ​เพื่อ​ว่า​ใน​ที่สุด​จะ​ได้​ไม่​ต้อง​รบกวน​หลวงปู่​ให้​ต้อง​
ลำบาก​ลง​นรก​มา​สงเคราะห์​ศิษย์​​ดงั ​ท​ที่ ่าน​ปรารภ​ด้วย​ความ​ห่วงใย​​ตงั้ ​แต่​
ครั้ง​ที่​ท่าน​ยัง​มี​ชีวิต​อยู่​

​ “​พอ​”​

luangpordu.com
221 ๒๒๑

๑๐๘
ที่มา​ของ​วัตถุ​มงคล​รุ่น​​“​เปิด​โลก​”​

​ จาก​การ​ที่​มี​ผู้​สนใจ​วัตถุ​มงคล​รุ่น​“​ ​เปิด​โลก​”​​เป็น​จำนวน​มาก​​และ​
มี​แนว​โน้ม​มาก​ขึ้น​ทุกที​ ​ประกอบ​กับ​พบ​ว่า​ข้อมูล​บาง​อย่าง​ที่​ปรากฏ​ตาม​
หนังสือ​ต่างๆ ​รวมทั้งทางอิน​เทอร์​เน็ต​ ​หรือ​สื่อ​อื่น​ๆ​ ​มี​ความคลาด​เคลื่อน​
จาก​ข้อ​เท็จ​จริง​ ​และ​บาง​เรื่อง​ก็​เป็น​ความคลาด​เคลื่อนที่​มี​นัย​สำคัญ​ โดย​
เฉพาะอย่างยิง่ มีการโน้มน้าวผูอ้ า่ นให้เกิดความรูส้ กึ ไปในทางอภินหิ ารจน
มองข้ามเจตนารมย์ที่แท้จริงในการสร้างพระ อธิษฐานพระของหลวงปู่ดู่
ด​ ว้ ย​เหตุน​ ​ี้ ใ​น​ฐานะ​ทข​ี่ า้ พเจ้าเ​ป็นผ​ ป​ู้ ระสาน​งาน​ดำเนินก​ าร​จดั ส​ ร้าง​
พระ​รุ่น​นี้​ ​จึง​ขอ​อนุญาต​ให้​ข้อมูล​ ​เพื่อ​ให้​ท่าน​ผู้​สนใจ​ได้​ทราบ​ที่มา​และ​
วัตถุประสงค์​ ​รวม​ทั้ง​ราย​ละเอียด​ของ​การ​จัด​สร้าง​พระ​รุ่น​นี้​ ​เพื่อ​ความ​
เข้าใจ​ที่​ถูก​ต้อง​ตรง​กัน​

luangpordu.com
๒๒๒ 222

๑​ ​.​​ที่มา​และ​วัตถุประสงค์​ของ​การ​สร้าง​
จุดเ​ริม่ ข​ อง​การ​จดั ส​ ร้าง​วตั ถุม​ งคล​รนุ่ น​ ​ี้ เกิดขึน้ เ​มือ่ ป​ ระมาณ​กลางปี​
พ​.​ศ​.​ ​๒๕๓๒​ ​โดยข้าพเจ้า​ได้​รับ​การ​ติดต่อ​จาก​คุณ​ว​รวิ​ทย์​ ​ด่าน​ชัย​วิจิตร​​
ให้​เป็น​ธุระ​ใน​การ​ประสาน​งานการ​จัด​สร้าง​วัตถุมงคลของหลวงปู่ดู่เพื่อ​
เอาไว้แจกให้กับผู้ศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจปฏิบัติกรรมฐาน​​
เพราะพิจารณาเห็นว​ า่ พ​ ระ​เครือ่ ง​พระ​บชู า​ของ​หลวง​ปด​ู่ ​ู่ ม​ แ​ี นว​โน้มจ​ ะ​เป็น​
ทีต​่ อ้ งการ​และ​หายาก​มาก​ขน้ึ เ​รือ่ ย​ๆ​ป​ ระกอบ​กบั อ​ งค์ห​ ลวง​ปด​ู่ ทู่ า่ น​กม​็ อี ายุ​
มาก​แล้ว​กล่าวคือ อายุ​ของท่านนั้นย่างเข้าปีที่ ​๘๖ แล้ว​
ทั้งนี้ ​คุณ​ว​รวิ​ทย์​และคณะ​​ได้นำ​เรื่อง​นี้​ไป​กราบ​เรียนขออนุญาต
จากหลวง​ปู่​ ​ซึ่งหลวงปู่ท่าน​ก็​เมตตา​อนุญาต​ทั้ง​ที่​ท่าน​ได้​งด​อธิษฐาน​จิต​
วัตถุม​ งคล​มา​เป็นร​ ะยะ​เวลา​กว่า​๑​ ​ป​ แ​ี ล้ว​ด​ ว้ ย​เหตุผล​สว่ น​ตวั บ​ าง​ประการ​​
อย่างไร​ก็​ดี​ ​สำหรับ​วัตถุ​มงคล​รุ่น​นี้​ ​หลวง​ปู่​ท่าน​กำหนด​วัน​ประกอบ​พิธี​
อธิษฐาน​จิต​ใน​วัน​ที่​ท่าน​เรียก​ว่า​ ​“​วัน​ธงชัย​”​ ​ซึ่ง​ตรง​กับ​วัน​อังคาร​ที่​ ​๒๙​​
สิงหาคม​พ​ .​ศ​ .​​๒​ ๕๓๒​เ​วลา​๒​ ​ท​ มุ่ ​ส​ ว่ น​กำหนด​เวลา​๒​ ​ท​ มุ่ ​น​ นั้ ​ส​ นั นิษฐาน​
ว่า​น่า​จะ​เป็น​เพราะ​ท่าน​ไม่​ต้องการ​ให้​ไป​รบกวน​เวลา​ที่​ญาติโยม​มา​ทำบุญ​
หรือ​สนทนา​ธรรม​กับ​ท่าน​ใน​ช่วง​ระหว่าง​วัน​ รวมทั้งอาจไม่ต้องการให้ดู​
เอิกเกริก

๒​ ​.​​การ​ออกแบบ​เหรียญ​
​ ​เดิมที​คุณวรวิทย์และคณะต้องการ​จะ​จัด​สร้าง​เหรียญ​รูปเหมือน​

luangpordu.com
223 ๒๒๓

ของ​หลวง​ปู่​ดู่​​แต่​ท่าน​กลับ​แนะนำ​ว่า​ควร​สร้าง​รูป​เคารพ​ครูบา​อาจารย์คือ​
หลวงปู่ ท วด​ดี ​ก ว่ า ​ ​น อกจาก​นี้ ​ ​ท่ า น​ยั ง ​เ น้ น ​ด้ ว ย​ว่ า ​ ​ต้ อ ง​มี ​ข้ อ ความ​​
“หลวงพ่อทวด​เ​หยียบ​นำ้ ท​ ะเล​จดื ”​ป​ ระกอบรูปเหมือนองค์หลวงปูท่ วด​
ด้วย​​นี้​คือ​กรอบ​การออก​แบบ​เหรียญใน​เบื้อง​ต้น​ที่​ข้าพเจ้า​ได้​รับ​​
ข้าพเจ้าเองแม้จะเคยมีประสบการณ์ในการจัดทำหนังสือธรรมะ​
ของหลวงปู่ แต่ก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการสร้างพระใดๆ มาก่อนเลย
แต่ด้วยความเกรงใจในคุณวรวิทย์ จึงตกปากรับคำในการติดต่อหาช่าง​
แกะพระ รวมทั้งการประสานงานดำเนินการจัดสร้างเหรียญให้แล้วเสร็จ​
เพราะข้าพเจ้าอยูท่ างกรุงเทพฯ จึงน่าจะคล่องตัวกว่าคุณวรวิทย์ซง่ึ อยูท่ าง​
อยุธยา
ในเรื่องช่างแกะพระนั้น มีผู้แนะนำข้าพเจ้าให้รู้จักกับช่างอ๊อด
หรือคุณ​ประหยัด​ ​ลออ​พันธ์​สกุล​ ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าเห็นผลงานในอดีตของ​
ช่างผู้นี้แล้วก็รู้สึกพึงพอใจ จึงตกลงให้ดำเนินการแม้ว่าจะมีราคาที่ค่อน​
ข้างสูง เมือ่ เทียบกับช่างรายอืน่ ๆ ด้วยคิดว่าโอกาสสร้างพระถวายหลวงปูด่ ู่
นัน้ ไม่ได้มงี า่ ยๆ จึงอยากให้เหรียญออกมาสวยงามและแลดูเหมือนมีชวี ติ
สำหรับรูปต้นแบบหลวงปูท่ วด​นน้ั ​​ขา้ พเจ้าได้​อาศัย​เค้าโครงจากรูป​
หุน่ ข​ ผ​้ี ง้ึ ห​ ลวง​ปทู่ วด​ทพ​่ี พิ ธิ ภัณฑ์ห​ นุ่ ขีผ​้ ง้ึ ไ​ทย​เ​พราะ​ให้ร​ าย​ละเอียด​ทช่ี ดั เจน​​
สะดวก​สำหรับช​ า่ ง​แกะ​พระ ​และจาก​รปู แ​ บบ​หน้าตา​หลวงปูท่ วด​ทล่ี งตัวแล้ว​
ข้าพเจ้าแ​ ละ​คณะ​จงึ ได้ค​ อ่ ยๆ เริม่ ออกแบบ​เพิม่ เ​ติมร​ ายละเอียด​ทง้ั ด​ า้ น​หน้า​
และ​ดา้ น​หลัง​​ดงั นี้​

luangpordu.com
๒๒๔ 224

​•​ ฐาน​บัว​ ​บ่ง​บอก​เอกลักษณ์​ของ​องค์​หลวง​ปู่ทวด​ ​ใน​ความ​เป็น​


พระ​โพธิ​สัตว์​ที่​บารมี​เต็ม​แล้ว​​​
​•​ ลูก​แก้ว​บน​ฝ่ามือ​หลวง​ปู่ทวด​ ​สร้าง​ตาม​อย่าง​ความ​นิยม​ของวัด​
พะ​โคะ​​จังหวัด​สงขลา​และสื่อถึงลูกแก้วสารพัดนึก ​
•​ ​อักขระ​ “​ ​พุท​ ​ธะ​ ​สัง​ ​มิ​”​ ​ที่​ด้าน​หน้า​ ​หมาย​ถึง ​หัวใจ​พระ​ไตร​-​
สรณา​คมณ์​คือ​​“​พทุ ธ​งั ​​สรณ​งั ​​คจั ฉา​ม​,ิ ​​ธัมมัง​​สรณ​งั ​​คจั ฉา​ม​,ิ ​​และ​สังฆ​งั ​
สรณ​งั ​​คจั ฉา​ม​”ิ ​​​ซง่ึ ​เป็นคำทีห่ ลวง​ป​ใู่ ห้​ใช้​เป็น​คำ​บริ​กรรม​ภาวนา​​อกี ทัง้ ยัง
เป็นคำที่ใช้อธิษฐานบวชจิตอีกด้วย​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​
​•​​อักขระ​“​ ​นะ​​โม​​พุท​​ธา​​ยะ​”​​ที่​ด้าน​หลัง​​หมาย​ถึง​​​พระนาม​ย่อ​
ของ​พระพุทธเจ้า​​๕​​พระองค์​​ใน​ภัทร​กัป​นี้​
​ •​ เส้นร​ ศั มีโ​ดย​รอบ​อกั ขระ​“​ น​ ะ​โ​ม​พ​ ทุ ​ธ​ า​ย​ ะ​”​ห​ มาย​ถงึ ​อานุภาพ​
แห่งค​ ณ ุ พ​ ระพุทธ​พ​ ระ​ธรรม​พ​ ระ​สงฆ์​ท​ ม​ี่ ม​ี าก​อย่าง​จะ​นบั จ​ ะ​ประมาณ​มไิ ด้​
ซึ่ง​แผ่​ออก​ไป​ได้​ทุก​ทิศ​ทุก​ทาง​
​•​ ​สัญลักษณ์​​“นะ​ปิด​ล้อม​”​​ท่ี​อยู่​ก่ึงกลาง​อักขระ​ ​“​นะ​ ​โม​ ​พุท​​
ธา​ ​ยะ”​ ​ ​เป็น​สัญลักษณ์​ท่​ีหลวง​ป่​ูด่​ูใช้​จาร​ใน​วัตถุ​มงคล​ของ​ท่าน​เสมอๆ​​
อีกประการหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านผู้รู้กล่าวว่า “นะ”มีความหมาย
ตั้งแต่หยาบสุดไปหาละเอียดสุด นะเบื้องต่ำหมายถึง ธาตุดิน นะเบื้องสูง
หมายถึง พระธาตุ กล่าวคือ หากเราพัฒนาจิตของเราให้บริสุทธ์ถึงที่สุด​
แล้ว ความบริสุทธิ์ของจิตนั้นก็สามารถที่จะกลั่นกระดูก ซึ่งเป็นธาตุดิน​
ของเราให้กลายเป็นพระธาตุได้ นะเบื้องสูงก็คือ “พระนิพพาน” นั่นเอง

luangpordu.com
225 ๒๒๕

​ •​​ด้าน​ซา้ ย​ของ​ชอื่ พ​ ระ​พรหม​ปญ ั โญ​จ​ ะ​มพ​ี ยัญชนะ​ทด​ี่ ค​ู ล้าย​ทงั้ ​“​ ๑​ ”​ ​


​และ​​“​ด​”​​​ใน​ขณะ​ที่​สัญลักษณ์​คล้าย​กากบาท​ ​ทาง​ด้าน​ขวาของชื่อท่าน​
ล้วนเป็นสัญลักษณ์เฉพาะของหลวงปู่ดู่
​ มี​เรื่อง​แปลก​เกี่ยว​กับ​การ​แกะ​องค์​หลวง​ปู่ทวด​ที่​ขอ​อนุญาต​บันทึก​​
ไว้​ ​ณ​ ​ที่​นี้​ ​กล่าว​คือ​ใน​ตอน​แรก​นั้น​ ​ผู้​เขียน​ตกลง​กับ​ช่าง​อ๊​อด​ว่า​อยาก​ให้​
หลวง​ปู่ทวด​ห่ม​จีวร​ให้​เรียบร้อย​ ​กล่าว​คือ​ไม่​ต้องการ​ให้​เห็น​นม​หลวง​ปู่​
อย่าง​ที่​เขา​นิยม​แกะ​กัน​ ​จากนั้น​ข้าพเจ้า​ก็​เทียว​ไป​เทียว​มา​ใน​การ​ปรับ​
แก้​แบบ​ โดย​ช่าง​อ๊​อด​ใช้​เวลา​แกะ​บล็อค​เหล็ก​ต่อ​เนื่อง​กัน​นาน​ ​๑๕​ ​วัน​
​ก็แล้ว​เสร็จ​ ​จาก​นั้น​ก็​เริ่ม​ดำเนิน​การ​ปั๊ม​จริง​ ​แต่​พอ​ปั๊ม​ไป​ได้​กว่า​หนึ่ง​พัน​
เหรียญ​ ​ช่าง​อ๊​อด​ก็​เพิ่ง​มา​สังเกต​เห็น​ว่า​เหรียญ​ที่​ปั๊ม​ออก​มา​มี​นม​ปรากฏ​​
ทัง้ ๆ​ ​ท​ ไ​ี่ ม่ไ​ด้แ​ กะ​บล็อค​ข​ า้ พเจ้าแ​ ละ​ชา่ ง​ออ​็ ด​ชว่ ย​กนั ด​ ​ู ใ​น​ทสี่ ดุ ก​ พ​็ บ​วา่ ม​ เ​ี ศษ​
เหล็ก​ปุ่ม​เล็ก​​ๆ​​ไป​ฝัง​ติด​อยู่​ที่​บล็อค​​ใน​ตำแหน่ง​หัวนม​พอดี​​เมื่อ​เป็น​เช่น​นี้​
ข้าพเจ้า​จึง​ให้​ช่าง​อ๊​อด​เขี่ย​เศษ​เหล็ก​ออก​​แล้ว​ปรับปรุง​บล็อค​ด้วย​การ​แกะ​
นม​ขนึ้ ม​ า​ให้เ​ป็นเ​รือ่ ง​เป็นร​ าว​ด​ ว้ ย​สงสัยว​ า่ ห​ ลวง​ปทู่ วด​อ​ าจ​ตอ้ งการ​รกั ษา​
เอกลักษณ์​รูป​แบบ​ของ​ท่าน​ก็​เป็น​ได้​

๓​.​​ชนิด​และ​จำนวน​การ​สร้าง​
​ ​การ​จัด​ทำ​เหรียญ​หลวง​ปู่ทวด​ครั้ง​นี้​ ​นอกจาก​เหรียญ​ทองแดง​แล้ว​
ยัง​มี​เหรียญ​โลหะ​อื่น​ๆ​​รวม​ทั้ง​พระ​เนื้อ​ผง​​​โปสเตอร์​​​และ​ลูก​แก้ว​​​ซึ่ง​สรุป​
ได้​ดังนี้​

luangpordu.com
๒๒๖ 226

ชนิด จำนวน​ หมายเหตุ​


๑​.​​เหรียญ​เนื้อ​​ ๒๔๐​​​ ใช้​ทองคำ​ชนิด​​๙๖​%​​แต่ละ​เหรียญ​มี​น้ำ​หนัก​​๙.๙​​
ทองคำ เหรียญ กรัม​​ให้​สั่ง​จอง​เท่า​ราคา​ทองคำ​รวม​ค่า​กำ​เหน็จ​ที่​
ช่าง​แกะ​พระ​คิด​​คือ​เหรียญ​ละ​​๓,๔๐๐​​บาท​​ซึ่ง​
ใน​จำนวน​นี้​​มี​​๓​​เหรียญ​ที่​คุณ​ว​รวิ​ทย์​สั่ง​ทำพิเศษ​​
แต่ละ​เหรียญ​มี​น้ำ​หนัก​​๑​​บาท​​

​๒​.​​เหรียญ​เนื้อ​ ๑,๐๓๗​​ ใ​ห้​สั่ง​จอง​เท่า​ราคา​ที่​ช่าง​แกะ​พระ​คิด​​คือ​


เงิน เหรียญ ​เหรียญ​ละ​​๑๓๐​​บาท​

๓​.​​เหรียญ​เนื้อ​ ๑๐,๐๐๐​​ ไ​ม่น​ บั เ​หรียญ​ทช​ี่ า่ ง​แกะ​พระ​ปมั๊ เ​กินม​ า​อกี จ​ ำนวน​๕​ ๐๐​​


ทองแดง​ เหรียญ เหรียญ​ ​ซึ่ง​เหรียญ​เนื้อ​ทองแดง​นี้​ ​ไม่​ได้​เปิด​ให้​สั่ง​จอง​​
เพราะ​เป็น​ส่วน​ที่​มี​เจตนา​ไว้​แจก​แก่​ผู้​ปฏิบัติ​ธรรม​​

​๔​.​​เหรียญ​เนื้อ​ ๑,๐๐๐​​ ไม่​นับ​เหรียญ​ที่​มี​ข้อความ​​“​หลวงปู่​ทวด​ฯ​”​​อีก​


ตะกั่ว เหรียญ จำนวน​​๔๐๐​​เหรียญ​​เพราะ​เจตนา​เดิม​​ไม่​ให้​มี​
ข้อความ​“​หลวงปู่​ทวด​ฯ​”​​บน​เหรียญ​เนื้อ​ตะกั่ว​​
​หมายเหตุ​​​เนื้อ​ตะกั่ว​ที่​ใช้​​ได้​ผสม​พลวง​ประมาณ​​
​๗​%​​เพื่อ​เพิ่ม​ความ​แกร่ง​และ​ความ​มัน​วาว

​๕​.​​เนื้อ​ผง ๕,๐๐๐​​ ​ใช้​ผง​มวลสาร​ทำ​จาก​ว่าน​​๑๐๘​​ซึ่ง​หลวง​ปู่​ดู่​อธิษฐาน​


(​รูป​ทรง​​๔​​ องค์ ให้​​ในจำนวน​นี้​​มี​​๓๖๐​​องค์​​ที่​บรรจุ​พระ​ธาตุ​​​แต่​
เหลี่ยม ​ขอบ​ ​ เป็นท​ ี่​น่า​เสียดาย​ที่​พระ​ผงจำนวน​กว่า​​๑,๐๐๐​​องค์​​
มน​เล็ก​น้อย​) ชำรุดร​ ะหว่าง​การ​ขนส่ง​​เนื่องจาก​ความ​รีบ​เร่งขนส่ง​
ใน​ขณะ​ที่​เนื้อ​ผง​ยัง​ไม่​แห้ง​สนิท​ดี​

luangpordu.com
227 ๒๒๗

​ ​สำหรับ​เหรียญ​เนื้อ​ทองคำ​และ​เนื้อ​เงิน​นั้น​ ​ศิษย์​ของ​หลวง​ปู่​ท่าน​
หนึง่ ไ​ด้ล​ ง​เหล็กจ​ าร​บน​เหรียญ​กอ่ น​ทจ​่ี ะ​นำ​เข้าพ​ ธิ ​ี น​ อกจาก​นค​้ี ณะ​ผจ​ู้ ดั ส​ ร้าง​​
ยัง​ได้​จัด​ทำ​โปสเตอร์​หลวง​ปู่​ดู่​ใน​อิริยาบถ​ต่าง​ๆ​ ​บน​ฉาก​หลัง​รูป​ใบ​โพธิ์​​
ขนาด​ ​๑๐​ ​x​ ​๑๒​ ​นิ้ว​ ​อีก​จำนวน​ ​๑๐,๐๐๐​ ​แผ่น​ ​และ​ลูก​แก้ว​ใส​เคลือบ​
ปรอท​บาง​ๆ​ ​อ​ กี จ​ ำนวน​๕​ ,๐๐๐​ล​ กู ​(​ไ​ม่ร​ วม​ลกู แ​ ก้วช​ นิดเ​คลือบ​ปรอท​สสี นั ​
ต่าง​ๆ​​อีก​จำนวน​ประมาณ​​๕๐​​ลูก​)​
​ ​
​๔​.​​เหตุการณ์​ใน​วัน​พิธี​​(​วันอังคาร​ที่​​๒๙​​สิงหาคม​​​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๒​)​
​ ​เย็น​วัน​นั้น​ฝน​ตกลง​มา​อย่าง​หนัก​ ​ขณะ​ที่​ข้าพเจ้า​และ​น้อง​ชาย​ของ​
คุณว​รวิท​ ย์เ​ร่งข​ บั ร​ ถฝ่าพ​ ายุฝ​ น​เ​พือ่ จ​ ะ​นำ​วตั ถุม​ งคล​ทเ​ี่ หลือ​(​ส​ ว่ น​มาก​เป็น​
พระ​เนื้อ​ผง​)​ ​ไป​ที่​กุฏิ​ของ​หลวง​ปู่​ดู่​ให้​ทัน​พิธี​ ​แต่​พอ​มา​ถึง​วัด​ ​ฝน​ก็​หยุด​ตก​​
ท้องฟ้า​แจ่มใส​มาก​​​ราวกับ​ว่า​ได้​ปัด​เป่า​สิ่ง​สกปรก​ออก​ไป​จน​หมด​สิ้น​​
​ เมื่อ​ใกล้​เวลา​ ​๒​ ​ทุ่ม​ ​ก็​ปรากฏ​ว่า​มี​ผู้คน​มา​ร่วม​พิธี​กัน​จน​เต็ม​ตลอด​
พื้นที่​หน้า​กุฏิ​หลวง​ปู่​ ​หลาย​คน​ได้​นำ​วัตถุ​มงคล​ส่วน​ตัว​มา​ร่วม​พิธี​ด้วย​เป็น​
จำนวน​มาก​ ​คุณ​ว​รวิ​ทย์​ได้​เปิด​กล่อง​พร้อม​นำ​ตัวอย่าง​วัตถุ​มงคล​ที่​จัด​ทำ​
แต่ละ​ชนิด​ออก​ให้​หลวง​ป​ไู่ ด้​ชม​​ทง้ั ​เนือ้ ​ทองคำ​​เงิน​​ทองแดง​​ตะกัว่ ​​พระผง​​
โปสเตอร์​​และ​ลูก​แก้ว​​
พอ​ถงึ เ​วลา​๒​ ​ท​ มุ่ ​ห​ ลวง​ปเ​ู่ ริม่ อ​ ธิษฐาน​จติ ​อ​ ญ
ั เ​ชิญบ​ ารมีพ​ ระพุทธเจ้า​
ทัง้ แ​ สน​โกฏิจ​ กั รวาล​ร​ วม​ทงั้ บ​ ารมีค​ รูบา​อาจารย์แ​ ละ​สงิ่ ศ​ กั ดิส​์ ทิ ธิท​์ งั้ ห​ ลาย​​
มา​ประดิษฐาน​ที่​วัตถุ​มงคล​ ​และ​หลวง​ปู่​ได้​ตั้ง​จิต​อธิษฐาน​ให้​สว่าง​ไป​ทั้ง​

luangpordu.com
๒๒๘ 228

สาม​โลก​คือ ​พรหม​โลก​ ​เทวโลก​ ​และ​มนุษย​โลก​ สัก​ครู่​หนึ่ง​หลวง​ปู่​ลืมตา​


ขึ้น​ ​ยกมือ​ข้าง​ขวา​ขึ้น​ลูบ​พระ​ที่​อยู่​เบื้อง​หน้า​ ​จากนั้น​ท่าน​ก็​บอกกล่าว​ขอ​
ให้​หลวง​ปู่ทวด​และ​เทวดา​ปก​ปัก​รักษา​วัตถุ​มงคล​นี้​ตลอด​ไป​ ​ให้​ปิด​กั้น​ภัย​
อันตราย​ทุก​อย่าง​​
พอ​เสร็จ​พิธี​​ท่าน​ให้​ผู้​ที่มา​ร่วม​งาน​ตั้ง​จิต​อุทิศ​บุญ​ไป​ทั่ว​โดย​รอบ​สุด​
ขอบ​จักรวาล​ ​อนันต​จักรวาล​ ​หลัง​จาก​กราบ​ลา​หลวง​ปู่​แล้ว​ ​คุณ​ว​รวิ​ทย์​ก็​
แจก​จ่าย​วัตถุ​มงคล​ให้​กับ​ตัวแทน​หมู่​คณะ​หลาย​คน​ ​สำหรับ​มอบต่อ​ให้​กับ​
ผู้​ที่เหมาะ​สมใน​โอกาส​ต่อ​ไป​​

๕​.​​ทำไม​จึง​ชื่อ​ว่า​รุ่น​เปิด​โลก​
​ เ​ช้าว​ นั ร​ งุ่ ข​ นึ้ ​ไ​ด้ม​ ล​ี กู ศ​ ษิ ย์ห​ ลวง​ปท​ู่ เ​ี่ ป็นน​ กั ป​ ฏิบตั บ​ิ าง​คน​ซ​ งึ่ ไ​ม่ไ​ด้ม​ า​
ร่วม​งาน​​ได้​กราบ​เรียน​หลวง​ปู่​ว่า​เมื่อ​คืน​ไม่รู้​ที่​วัด​สะแก​มี​อะไร​​กำหนด​จิต​
ดู​เห็น​หลวง​ปู่ทวด​ลอย​อยู่​เต็ม​ท้องฟ้า​วัด​สะแก​​
หลวง​ปเ​ู่ ล่าใ​ห้ศ​ ษิ ย์ผ​ น​ู้ นั้ ​ร​ วม​ทงั้ ล​ กู ศ​ ษิ ย์ค​ น​อนื่ ๆ​ ​ฟ​ งั เ​กีย่ ว​กบั เ​รือ่ ง​ทม​ี่ ​ี
คณะ​ศิษย์​มา​ขอ​ให้​ท่าน​อธิษฐาน​จิต​เหรียญ​หลวง​ปู่ทวด​เมื่อ​คืน​​แล้ว​ท่าน​ก็​
พูด​เปรย​ๆ​​ขึ้น​ว่า​“​ ​เมื่อ​คืน ​ข้า​เสก​ให้​แบบ​เปิด​สาม​โลก​เลย​นะ​”​​นี่เอง​​น่า​
จะ​เป็นท​ มี่ า​ของ​การ​พดู ป​ าก​ตอ่ ป​ าก​กระทัง่ ก​ ลาย​มา​เป็นช​ อื่ ร​ นุ่ ว​ า่ ​“​ ร​ นุ่ เ​ปิด​
สาม​โลก​”​​หรือ​เรียก​สั้น​ๆ​​ว่า​​“​ รุ่น​เปิด​โลก​”​

luangpordu.com
229 ๒๒๙

๖​.​​วัตถุ​มงคล​รุ่น​เปิด​โลก​มี​ความ​ศักดิ์​สิทธิ์​กว่า​พระ​รุ่น​อื่น​จริง​หรือ​
​ ​แม้ว่า​วัตถุ​มงคล​รุ่น​ ​“​เปิด​โลก​”​ ​นี้​ ​จะ​ได้​รับ​การ​อธิษฐาน​จิต​ครั้ง​
ใหญ่​ครั้ง​สุดท้าย​ของ​หลวง​ปู่​ดู่​ ​พรหม​ปัญโญ​ ​วัด​สะแก​ ​กล่าว​คือ​ท่าน​ได้​
เมตตา​อธิษฐาน​จิต​ก่อน​ที่​ท่าน​จะ​มรณภาพ​ประมาณ​ ​๔​ ​เดือน​เศษ​ ​และ​
มี​ผู้คน​จำนวน​ไม่​น้อย​ที่​ชื่น​ชอบ​และ​ศรัทธา​ถึง​ขนาด​พูด​ว่า​วัตถุ​มงคล​รุ่น​นี้​
ดีท​ สี่ ดุ ​ศ​ กั ดิส​์ ทิ ธิท​์ สี่ ดุ ​แ​ ต่ใ​น​ทศั นะ​ของ​ผส​ู้ ร้าง​ร​ วม​ถงึ ศ​ ษิ ย์ก​ รรม​ฐาน​หลายๆ​​
ท่าน​​มิได้​คิด​เช่น​นั้น​เลย​​เพราะ​เหตุ​ที่​หลวง​ปู่​เคย​พูด​ให้​พวก​เรา​ฟัง​ว่า​​เวลา​
ที่​ท่าน​ตั้ง​จิต​อธิษฐาน​พระ​นั้น​​นอกจาก​ท่าน​จะ​ส่ง​กระแส​จิต​อัญ​เชิญ​พุทธ-​
คุณ​​ธรรม​คุณ​​สังฆ​คุณ​​บรรจุ​เข้า​ใน​วัตถุ​มงคล​ดัง​กล่าว​แล้ว​​ท่าน​ยัง​เผื่อ​แผ่​
ไป​ถึง​วัตถุ​มงคล​รุ่น​ก่อน​หน้า​ทั้งหมด​ของ​ท่าน​​ไม่​ว่า​วัตถุ​มงคล​นั้น​จะ​อยู่​​ณ​
ที่​ใด​ก็ตาม​​
ดัง​นั้น​​เมื่อ​ทราบ​ความ​ตาม​นี้​แล้ว​​ก็​ขอ​ให้​ผู้​มี​วัตถุ​มงคล​ของ​หลวงปู่​
รุ่น​ใด​ๆ​​ก็ตาม​​ขอ​ได้​โปรด​อย่า​หวั่น​ไหว​ไป​ตาม​ค่า​นิยม​ที่​ตลาด​เขา​แต่ง​แต้ม​
ให้​เลย​ ​และ​เหนืออื่นใด ขอท่านโปรดอย่าลืม​ระลึก​ถึง​พระ​ที่​หลวง​ปู่​ให้​
ความ​สำคัญ​สูงสุด​ ​ที่​หลวง​ปู่​เรียก​ว่า​ ​“​พระ​เก่า​ ​พระ​แท้​”​ ​นั่น​ก็​คือ​ ​จิต​ที่​
ฝึกฝน​อบรม​ดแี ล้วน​ นั่ เอง​เ​พราะ​พระองค์น​ เ​ี้ ท่านัน้ ท​ จ​ี่ ะ​เป็นท​ พ​ี่ งึ่ ท​ เ​ี่ ทีย่ ง​แท้​
แน่นอน​ของ​เรา​ทุก​คน​​
พระ​ภายนอกที่หลวงปู่สร้างขึ้น​ ​ก็​ล้วน​ต้องการใช้เป็นเครื่องมือ​ที่​
จะ​โยง​เข้าหา​การ​สร้าง​พระ​ภายใน​ให้​เกิด​ให้​มี​ขึ้น​ ​หาก​ปราศ​จาก​การ​สร้าง​
พระ​ภายใน​แล้วไ​ซร้​ก​ าร​มพ​ี ระ​ภายนอก​แ​ ม้ม​ าก​เท่าใด​กย​็ งั ไ​ม่ไ​ด้ช​ อื่ ว​ า่ เ​ป็น​

luangpordu.com
๒๓๐ 230

ผู้​ปลอดภัย​อย่าง​แท้จริง​ ​อีก​ทั้ง​ยัง​ไม่​นับ​ ​ว่า​รู้จัก​องค์​แท้​ของ​หลวง​ปู่​ ​ดัง​ที่​


ท่าน​กล่าว​เชิง​ท้าทาย​นัก​ปฏิบัติ​ว่า​

​“​ตราบ​ใดก็ตาม​ที่​แก​ยัง​ไม่​เห็น​ความ​ดี​ใน​ตัว​​ก็​ยังไม่​นับ​ว่า​แก​รู้จัก​ข้า​
​แต่​ถ้า​เมื่อ​ใด​​แก​เริ่ม​เห็น​ความ​ดี​ใน​ตัว​เอง​แล้ว
​เมื่อ​นั้น​.​.​.​ข้า​จึง​ว่า​​แก​เริ่ม​รู้จัก​ข้า​ดี​ขึ้น​แล้ว​”​

​“​พอ​”​

luangpordu.com
231 ๒๓๑

​๑๐๙​
​ปฏิบัติ​แบบ​โง่ๆ​

นับ​เป็น​เวลา​ที่​ค่อน​ข้าง​ยาวนาน​ที​เดียว​​กว่า​ที่​คำ​พูด​ที่​หลวงปู่​ดู่​เคย​
พูด​สอน​ว่า​ใน​เวลา​ปฏิบัติ​สมาธิ​ภาวนา​ ​ให้​ปฏิบัติ​แบบ​โง่ๆ​ ​นั้น​ ​จะ​ค่อย​ๆ​​
กระจ่าง​ชัด​ขึ้น​เรื่อย​ๆ​
​ การ​อ่าน​มาก​ ​รู้มาก​ ​บาง​ครั้ง​ก็​เป็น​ดาบส​อง​คม​ ​เพราะ​ใน​ด้าน​หนึ่ง​
การ​รู้มาก​ อาจ​ช่วย​ให้​สามารถ​มอง​เห็น​เส้น​ทาง​เดิน​ ​รวม​ทั้ง​เห็น​สิ่ง​ที่​ต้อง​
ระมัดระวัง​ล่วง​หน้า​​ฯลฯ​
แ​ ต่อ​ กี ด​ า้ น​หนึง่ ​ก​ าร​รมู้ าก​ก​ จ​็ ะ​มา​เป็นต​ วั อ​ ปุ สรรค​เสียเ​อง​เ​ช่น​เ​ผลอ​
คิด​ว่า​ความ​รู้​​(​รู้​จำ​)​​นั้น​เป็น​ปัญญา​​(​รู้​จริง​)​​เกิด​เป็น​ทิฏฐิ​มานะ​ปิด​กั้น​การ​
ด​ ดู ซ​ บั ค​ วาม​รจ​ู้ าก​ภายนอก​น​ อกจากนี้ ยังอาจเป็นอุปสรรคใน​ขณะ​ปฏิบตั ​ิ
จิต​ภาวนา​นั้น​ ​เพราะการ​รู้มาก​นี้​ก็​กลาย​เป็น​สิ่ง​รุงรัง​ใน​จิตใจ​ ​ใช้​ความ​คิด​
ผิดก​ าล​เทศะ​จน​กลาย​เป็นน​ วิ รณ์ข​ ดั ขวางไม่ให้จติ รวมเป็นสมาธิ ค​ ดิ ไ​ปล่ว​ ง​
หน้า​ตาม​ประสา​คน​รู้มาก​บ้าง​ ​คอย​ใส่​ชื่อ​เรียก​ให้​กับ​สภาวะ​ต่างๆ​ ​ที่​กำลัง​
ประสบ​บ้าง​​คอย​สงสัย​นั่น​นี่​บ้าง​
​ การ​รับ​รู้​หรือ​สัมผัส​จึง​ไม่​เป็น​ไป​อย่าง​ตรง​ไป​ตรง​มา​​แล้ว​เจ้า​ตัว​ก็​ยัง​
สำคัญ​ตัว​ว่า​กำลัง​คิด​พิจารณา​หรือ​มอง​ดู​สภาวะ​ต่างๆ​ ​ตาม​ความ​เป็น​จริง​​

luangpordu.com
๒๓๒ 232

ทั้ง​ๆ​​ที่​ของ​จริง​​“​นิ่ง​เป็น​ใบ้​”​​พอ​จิต​เข้าไป​ปรุง​แต่ง​จน​รุงรัง​ไป​หมด​แล้ว​​จึง​
ยาก​ที่​จะ​ถอย​ออก​มา​ให้​เห็น​ไป​ตาม​สภาวะ​ที่​มัน​เป็น​อย่าง​ธรรมชาติ​ ​หาก​
แต่​เป็น​ไป​อย่าง​ที่​จิต​เรา​อยาก​ให้​มัน​เป็น​​
จึง​มา​ตระหนัก​ว่า “การ​ปฏิบัติ​แบบ​โง่ๆ” ที่หลวงปู่ท่านสอนนี้​
ส​ ำคัญม​ าก​แ​ ละ​จะ​ตอ้ ง​วาง​ความ​รต​ู้ า่ งๆ​ไ​ว้ข​ า้ ง​นอก​เสีย​ก​ ระทัง่ เ​พิกสัญญา
ความ​มั่น​หมายว่า​เรา​ว่า​เขา​ ​ว่า​นั่น​ว่า​นี่​ออก​เสีย​ ​แล้วรู้​สิ่ง​ที่มา​กระทบ​ใจ​
ไปตามสภาวะ​ที่มันเป็น
​ นี่​แหละ​หนา​​หลวงปู่​ดู่​ถึงว่า​​
“​สอน​คน​รู้มาก​​​นั้น​สอน​ยาก​ส​ ู้​สอน​เด็กๆ​​หรือ​คน​รู้​น้อย​ไม่​ได้​”

“​พอ​”​

luangpordu.com
233 ๒๓๓

​๑๑๐​
​พุทธ​คุณ​กับ​การ​เช็ค​พระ​​!​

คง​ไม่มใ​ี คร​ปฏิเสธ​วา่ ​พ​ ระพุทธ​ชนิ ร​ าช​ทจ​ี่ งั หวัดพ​ ษิ ณุโลก​นนั้ ม​ ค​ี วาม​


งาม​ยงิ่ ​เ​ป็นอ​ งค์พ​ ระ​ทไ​ี่ ด้ร​ บั ก​ าร​ยกย่อง​วา่ ​เป็นพ​ ระพุทธ​รปู ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​งดงาม​
ทีส่ ดุ ใ​น​ประเทศ​ไทย​ข​ า้ พเจ้าเ​อง​กร​็ สู้ กึ เ​ช่นน​ น้ั ​ครัง้ ห​ นึง่ ใ​น​ชว่ ง​เทศกาล​ปใ​ี หม่​
ข้าพเจ้าไ​ด้ห​ า​ซอื้ ​ส​ .​ค​ .​ส​ .​​อ​ ยูใ​่ น​รา้ น​แ​ ละ​ได้แ​ ล​เห็นโ​ปสการ์ดภ​ าพ​พระพุทธ-​
ชิน​ราช​จึง​ได้​หยิบ​มา​ดู​ ​ขณะ​ที่​เพ่ง​มอง​ภาพ​อยู่​นั้น​ ​ข้าพเจ้า​รู้สึก​เหมือน​มี​
พลังงาน​บาง​อย่าง​วิ่ง​ออก​จาก​ภาพ​เข้า​สู่​ตัว​ข้าพเจ้า​จน​เกิด​ปีติ​ขนลุก​น​ ้ำตา​
ไหล​​เป็น​ความ​รู้สึก​ที่​ชัดเจน​ทั้ง​สอง​มือ​ที่​จับ​ภาพ​อยู่​​
เหตุการณ์เ​ช่นน​ ไ​ี้ ม่เ​คย​เกิดข​ นึ้ ม​ า​กอ่ น​เลย​ใน​ชวี ติ ​ท​ ำให้ข​ า้ พเจ้าเ​กิด​
ความ​สงสัยแ​ ละ​สนใจ​ใคร่ร​ ข​ู้ นึ้ ม​ า​ทนั ที​ข​ า้ พเจ้าพ​ ยายาม​ทบทวน​เหตุการณ์​
ทีเ​่ กิดข​ นึ้ ​พ​ บ​วา่ เ​หมือน​กบั เ​มือ่ ค​ รัง้ ท​ ห​ี่ ลวงปูด​่ เู่ คย​มอบ​พระ​บชู า​ให้ข​ า้ พเจ้า​
เป็นเ​หตุการณ์ข​ ณะ​ทท​่ี า่ น​ยน่ื ส​ อง​มอื จ​ บั ท​ อ​่ี งค์พ​ ระพุทธ​รปู แ​ ละ​สวด​มนต์ใ​ห้พ​ ร​​
ข้าพเจ้า​เอง​ก็​หลับตา​และ​ยื่น​สอง​มือ​แตะ​ที่​องค์​พระ​เช่น​กัน​​ใน​ระหว่าง​นั้น​
รู้สึก​ว่า​มี​พลังงาน​บาง​อย่าง​วิ่ง​ออก​จาก​ท่าน​ผ่าน​องค์​พระพุทธ​รูป​เข้า​สู่​ตัว​
ข้าพเจ้า​และ​รู้สึก​สว่างไสว​ไป​หมด​ทั้ง​ๆ​​ที่​ยัง​หลับตา​อยู่​
เ​มือ่ ท​ า่ น​ให้พ​ ร​เสร็จ​ท​ า่ น​มอง​ขา้ พเจ้าแ​ ล้วว​ า่ ​แ​ ก​“เป็น” ด​ ​ี ข​ า้ พเจ้า​
เรียน​ถาม​ท่าน​ว่า​หลวงปู่​ทราบ​ได้​อย่างไร​
luangpordu.com
๒๓๔ 234

​ ท่าน​ตอบ​ว่า​“​ มี​ปีติ​ออก​จาก​ข้า​​ไหล​ไป​ที่​แก​แล้วก​ลับ​มา​หา​ข้า”​
​ หลวงปู่​ได้​สอน​ข้าพเจ้า​ให้​หัด​จับ​พระ​ ​ซึ่ง​ใน​หมู่​ศิษย์​เรียก​กันเอง​ว่า​​
“เช็ค​พระ”​ ​วิธี​การ​คือ​ใช้​มือขวา​หรือ​ทั้ง​สอง​มือ​แตะ​ที่​ภาพ​พระ​ หรือ​กำ​​
หาก​เป็นพ​ ระ​เครือ่ ง​ห​ รือจ​ บั ท​ อ​ี่ งค์พ​ ระ​หาก​เป็นพ​ ระพุทธ​รปู ​จาก​นนั้ ท​ ำ​จติ ​
ให้​นิ่ง​​และ​จะ​รู้สึก​สัมผัส​ได้​ถึง​พุทธ​คุณ​ที่​ครูบา​อาจารย์​ท่าน​ได้​อธิษฐาน​ไว้​
ห​ ลวงปูเ​่ คย​เล่าเ​รือ่ ง​การ​ปลุกเ​สก​พระ​ให้ฟ​ งั ว​ า่ ​เ​รือ่ ง​คงกระพันช​ าตรี​
นัน้ ท​ ำ​งา่ ย​แ​ ค่ข​ นลุกก​ เ​็ หนียว​แล้ว​แ​ คล้วคลาด​ยงั ด​ ก​ี ว่าเ​พราะ​ไม่เ​จ็บต​ วั ​แ​ ต่​
ที่​ดี​ที่สุด​คือ​เมตตา ​เพราะ​แคล้วคลาด​ยัง​มี​ศัตรู​แต่​รอดพ้น​ได้​ ​ส่วน​เมตตา​
นั้น​มี​แต่​คน​รัก ​ไม่มี​ศัตรู​​การ​เสก​พระ​ให้​มี​พุทธ​คุณ​ทาง​เมตตา​จึง​ทำได้​ยาก​
ที่สุด​
​ มี​เรื่อง​ปรากฏ​ใน​พระ​ธรรมบท​ว่า​ ​ใน​กรุง​ราชคฤห์​ ​เด็ก​คน​หนึ่ง​ไป​
เก็บฟ​ นื ก​ บั บ​ ดิ า​โ​ค​ทเ​ี่ ทียม​เกวียน​ได้ห​ นีเ​ข้าไป​ใน​เมือง บ​ ดิ า​จงึ ต​ าม​โค​เข้าไป​​
แต่​เวลา​จะ​ออก​จาก​เมือง​นั้น ​ประตู​ปิด​เสีย​แล้ว​จึง​ต้อง​ทิ้ง​บุตร​น้อย​คน​
เดียว​ไว้​นอก​เมือง​นั้น​เอง​ ​ถึง​เวลา​กลาง​คืน​ขณะ​ที่​เด็ก​นอน​หลับ​ ​ได้​มี​พวก​
อมนุษย์​เข้า​มา​ทำร้าย​โดย​พา​กัน​ลาก​เท้า​ของ​เด็ก​นั้น​ไป​มา​ ​เมื่อ​เด็ก​ตกใจ​
ตื่น​ขึ้น​ก็​ระลึก​ถึง​พระพุทธเจ้า​แล้ว​ร้อง​ออก​มา​ว่า​ ​นะโม​พุทธ​ัส​สะ​ ​(​ข้า​ขอ​
นมัสการ​พระพุทธเจ้า​)​ ​พวก​อมนุษย์​ก็​ถอย​กลับ​ทันที​ ​ไม่​กล้า​ทำร้าย​เด็ก​
นัน้ อ​ กี ​ค​ วาม​ทราบ​ถงึ พ​ ระเจ้าก​ รุงร​ าชคฤห์จ​ งึ เ​สด็จไ​ป​เฝ้าท​ ลู เ​รือ่ ง​ราว​นต​ี้ อ่ ​
พระพุทธเจ้า​
​ พระพุทธ​องค์​ทรง​รับสั่ง​ว่า​ ​การ​ระลึก​ถึง​พระองค์​นั้น​ยัง​ไม่​พอ​ ​ต้อง​

luangpordu.com
235 ๒๓๕

ระลึก​ถึง​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​ตั้ง​สติ​มั่น​ ​ไม่​เบียดเบียน​ใคร​และ​มี​จิต​เมตตา​


ด้วย​ ​พระพุทธ​พจน์​ข้อ​นี้​เอง​ที่​ถือ​เป็น​หลัก​ต่อ​มา​ว่า​สิ่ง​ที่​ป้องกัน​อันตราย​ที่​
ดี​ที่สุด​นั้น​คือ​เ​มตตา​​นั่นเอง​
​ ข้าพเจ้า​รู้สึก​ว่า การ​สอน​ของ​หลวงปู่​โดย​การ​ให้​เช็ค​พระ​เช่น​นี้​
เป็นอ​ บุ าย​วธิ ก​ี าร​ฝกึ ใ​ห้ศ​ ษิ ย์ไ​ด้เ​กิด​พ​ ทุ ธ​านุส​ ติ​เ​พราะ​ทกุ ค​ รัง้ ท​ จ​ี่ บั อ​ งค์พ​ ระ​​
จิต​จะ​มี​อารมณ์​น้อม​ไป​สู่​ความ​เลื่อม​ใส​ศรัทธา​ใน​องค์​พระพุทธเจ้า​เสมอ​​
ทำให้​เรา​ระลึก​และ​ทำ​แต่​สิ่ง​ที่​ดี​
​ มี​ลูก​ศิษย์​ของ​หลวงปู่​ที่​จับ​องค์​พระ​และ​สามารถ​สัมผัส​ถึง​พุทธ​คุณ​​
ได้เ​ล่าว​ า่ ​พระ​บชู า​ทผ​ี่ า่ น​การ​ปลุกเ​สก​มา​แล้วน​ นั้ ​ห​ าก​เด่นใ​น​เรือ่ ง​คงกระพัน​
ชาตรี​​เมื่อ​จับ​ดู​ก็​จะ​มี​อาการ​ปีติ​ขนลุก​ขน​พอง​สยอง​เกล้า​​แต่​หาก​เด่น​ทาง​
เมตตา​ ​เมื่อ​จับ​ดู​ก็​จะ​มี​ปีติ​น้ำตา​ไหล​และ​บังเกิด​ความ​สงบ​เยือก​เย็น​ถึง​จิต​
ถึงใจ​
​ ทำไม​หลวงปู่​จึง​สอน​เรื่อง​เช็ค​พระ​ ​ข้าพเจ้า​มา​ใคร่ครวญ​ดู​แล้ว​พบ​
ว่าน​อก​จาก​เพื่อ​ให้​เกิด​พุทธ​านุ​สติ​แล้ว​ ​หลวงปู่​ต้องการ​ให้​ศิษย์​แต่ละ​คน​
สามารถ​เป็นป​ ระจักษ์พ​ ยาน​แก่ต​ นเอง​ได้​ใ​ห้เ​ป็น​ป​ จั จัตต​ งั ​ไ​ ด้ร​ เ​ู้ อง​เห็นเอง​​
เป็นพ​ ยาน​ให้ต​ นเอง​ได้​จ​ ะ​ได้เ​กิดค​ วาม​มนั่ ใจ​ใน​การ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​ยงิ่ ข​ นึ้ น​ นั่ เอง​​
มิใช่​ให้​ไป​อวด​เด่น​อวดดี​ ​หรือ​อวด​คุณ​วิเศษ​ใน​ตัว​ ​หรือ​เที่ยว​ไป​เช็ค​พระ​​
ให้​ผู้​อื่น​​ซึ่ง​จริง​ๆ​​แล้ว​​หาก​ผู้​อื่น​ยัง​ทำ​ไม่​เป็น​​ถึง​เขา​จะ​บอก​ว่า​เชื่อ​อย่างไร​​
โดย​ส่วน​ลึก​เขา​ก็​ยัง​มี​ความ​ลังเล​สงสัย​อยู่​นั่นเอง​ ​เพราะ​ไม่รู้​ไม่​เห็น​ด้วย​
ตนเอง​

luangpordu.com
๒๓๖ 236

​ ปัจจุบนั ม​ ผ​ี อ​ู้ า้ ง​ตน​เป็นศ​ ษิ ย์ห​ ลวงปูด​่ แ​ู่ ละ​แสดง​ความ​สามารถ​ในการ​


เช็ค​พระ​​ไม่​วา่ ​จะ​เป็น​พระ​เครือ่ ง​​พระ​บชู า​​หรือรูปเหมือน​พระ​สงฆ์องค์เจ้า​
ว่า​ท่าน​เหล่า​นั้น​มี​คุณ​ธรรม​ใน​ระดับ​นั้น​ระดับ​นี้​​โดย​หวัง​อา​มิส​และ​ลาภผล​​
ไม่ว่า​จะ​โดย​ทาง​ตรง​หรือ​ทา​งอ้อ​ม​
​การ​หลง​เชื่อ​ดัง​กล่าว​อาจ​นำ​ท่าน​ไป​สู่​ความ​เสีย​หาย​ ​ตั้ง​แต่​การ​เสีย​
ทรัพย์​ หรือ​หลง​ออก​นอก​ลู่​นอก​ทาง​ที่​พระพุทธเจ้า​ ​รวม​ทั้ง​ที่​หลวงปู่​ดู่​พา​
ดำเนิน​ ​กระทั่ง​การ​ทำบาป​กรรม​จาก​การ​ไป​ปรามาส​ครู​อาจารย์​ที่​ท่าน​มี​
คุณธ​ รรม​โดย​ไม่เ​จตนา​เ​พราะ​สงิ่ ท​ ห​ี่ ลวงปูด​่ พ​ู่ ร่ำส​ อน​นนั้ ​จ​ ะ​ตอ้ ง​เป็นไ​ป​เพือ่ ​
การ​ลดละ​ความ​โลภ​​ความ​โกรธ​​ความ​หลง​​ทิฏฐิ​มานะ​​ความ​ถือตัว​ถือ​ตน​​
จึง​เป็น​ข้อ​พึง​พิจารณา​ระมัดระวัง​ไม่​ให้​ผิด​ทาง​

luangpordu.com
237 ๒๓๗

​๑๑๑​
​ธรรม​​ทำให้​ครบ​

​แต่​ก่อน​เคย​แต่​ได้ยิน​ว่า​ธรรมะ​ทุก​ข้อ​ล้วน​พา​คน​ไป​ให้​ถึง​นิพพาน​
ได้​ ​ซึ่ง​ฟัง​แล้ว​ก็​นึก​คล้อย​ตาม​ ​แต่​ก็​อด​จะ​เก็บ​ความ​ลังเล​สงสัย​ใน​บาง​ส่วน​
ไว้​ไม่​ได้​กระทั่ง​หลวงปู่​ดู่​พูด​ถึง​​“​เมตตา​พา​ตก​เหว​”​​ประกอบ​กับ​คำ​สอน​
ของ​ทา่ น​เจ้า​คณ ุ ​อาจารย์​​พระ​พรหม​คณ ุ าภรณ์​​(​ป​.​​อ​.​ป​ยตุ ​โต​)​​ขยาย​ความ​​
ใน​เรื่อง​ทำนอง​เดียวกัน​น้​ี ​จึง​ค่อย​เกิด​ความ​กระจ่าง​และ​ตระหนัก​มาก​ข้นึ
ว่าการ​ปฏิบัติ​ธรรม​ที่​ต้อง​มี​ปัญญา​กำกับ​ใน​ทุก​ๆ​​เรื่อง​ที​เดียว​
​ ดังท​ ห​ี่ ลวงปูย​่ ก​มา​กล่าว​เตือน​ขา้ ง​ตน้ ​ซงึ่ “​เมตตา​” ก็เ​ป็นธ​ รรม​ขอ้ ห​ นึง่
ใ​น​หมวด​พรหม​วหิ าร​๔​ ​ซ​ งึ่ ป​ ระกอบ​ดว้ ย​เ​มตตา​ก​ รุณา​ม​ ทุ ติ า​แ​ ละ​อเุ บกขา​​
ซึง่ ช​ ว่ ย​ให้ม​ นุษย์อ​ ยูร​่ ว่ ม​กนั อ​ ย่าง​ผาสุก​เ​พราะ​ทา่ น​สอน​วา่ ​ก​ าร​วางท่าท​ ต​ี อ่ ​
คน​ปก​ติ​ทั่ว​ๆ​ ​ไป​ ​คือ​ ​วาง​จิต​ไว้​ด้วย​เมตตา​​ส่วน​กับ​คน​ที่​แย่​กว่า​เรา​ ​ก็​ต้อง​
กรุณา​ ​ช่วย​เหลือ​สงเคราะห์​อะไร​ได้​ก็​พร้อม​จะ​ช่วย​เหลือ​เกื้อกูล​กัน​ ​ส่วน​
กับ​คน​ที่​ดี​กว่า​หรือ​ประสบ​ความ​สำเร็จ​ใน​ทาง​ที่​ชอบ​ที่​ควร​ ​เรา​ก็​มุทิตา
คือพลอย​ยินดี​กับ​เขา​ไป​ด้วย​​จิตใจ​ก็​แช่ม​ชื่น​เบิก​บาน​​ไม่​คับ​แคบ​
​ แต่​ก็​มี​บาง​กรณี​ที่​ควร​วาง​อุเบกขา​ ​กล่าว​คือ​อย่า​เพิ่ง​แสดง​ความ​
เมตตา​ ​กรุณา​ ​หรือ​มุทิตา​ ​ออก​ไป​ ​โดย​ไม่​ได้​ใช้​ปัญญา​ไตร่ตรอง​ให้​
รอบคอบ​
luangpordu.com
๒๓๘ 238

​ ตัวอย่าง​เช่น​ก​ ารนำ​เงินไ​ป​ชว่ ย​เหลือผ​ อ​ู้ นื่ ด​ ว้ ย​เมตตา​และ​ดว้ ย​กรุณา​​


โดย​ขาด​การ​ประมาณ​ฐานะ​กำลังห​ รือค​ วาม​พอดี​ซ​ งึ่ น​ อกจาก​จะ​ชว่ ย​เหลือ​
​ผู้​อื่น​ไม่​สำเร็จ​แล้ว​ก็​ยัง​พา​ครอบครัว​ตัว​เอง​เดือด​ร้อน​ไป​ด้วย​ ​นี้​เรียก​ว่า​
เมตตา​และ​กรุณา​แต่​ขาด​อุเบกขา​
อ​ กี ต​ วั อย่าง​หนึง่ ค​ อื ก​ าร​นกึ ย​ นิ ดีก​ บั ค​ วาม​สำเร็จข​ อง​ผอ​ู้ น่ื ​โดยทีค่ วาม
สำเร็จนั้นมิได้มาโดยชอบธรรม หากแต่มา​จาก​การ​เอา​รัด​เอา​เปรียบ​หรือ​
ทุศีล​​อย่าง​นี้​ก็​ไม่ควร​นึก​ยินดี​ไป​กับ​เขา​ด้วย​จำต้องวางอุเบกขา
​ อีกตัวอย่างหนึ่ง หาก​ผู้​ที่​เป็น​ผู้​หลัก​ผู้ใหญ่​เอาแต่​ปฏิบัติ​ธรรมะ​ข้อ​
เมตตา​โดยขาดอุเบกขา ​สังคม​และ​บ้าน​เมือง​คง​เต็ม​ไป​ด้วย​ระบบ​อุปถัมภ์​
เพราะ​​เอาแต่​ช่วย​เหลือ​เพื่อน​ฝูง​คน​รู้จัก​ ​โดย​ไม่​ปล่อย​สิ่งต่างๆ ​ดำเนิน​ไป​
ตาม​กฎ​เกณฑ์หรือระเบียบ​ที่​วางเอา​ไว้​
​ ผูไ​้ ม่ร​ อบคอบ​เน้นป​ ฏิบตั ธ​ิ รรม​ขอ้ ใ​ด​ขอ้ ห​ นึง่ แ​ ล้วล​ ะเลย​ธรรม​เครือ่ ง​
ประกอบ​ข้อ​อื่น​ๆ​ ​ก็​อาจ​ทำให้​ไม่ได้ผลดังที่หมาย ​นั่น​ไม่ใช่​ว่า​ธรรมะ​​เป็น​
เครื่อง​มือ​ไม่​ดี​​หาก​แต่​เป็น​ความ​บกพร่อง​ของ​ผู้​ใช้​เครื่อง​มือ​ต่าง​หาก​
​ แม้​ใน​การ​ปฏิบัติ​สมาธิ​ภาวนา​ก็​เช่น​กัน​ ​สัมมา​สมาธิ​ใน​มรรค​มี​องค์​
แปด​ห​ รือท​ ย​ี่ น่ ย่อม​ า​เป็น​ศ​ ลี ​ส​ มาธิ​แ​ ละ​ปญ ั ญา​นนั้ ​ใ​น​คราว​ทน​ี่ ำ​มา​ปฏิบตั ​ิ
จริง​ๆ​ ​ท่าน​ก็​ให้​ปฏิบัติ​ธรรม​ข้อ​อื่น​ๆ​ ​เพื่อ​ให้​เกิด​ความ​ครบ​ถ้วน​เพียง​พอ​​
ไม่​ผิด​พลาด​ ​กล่าว​คือ​ ​จาก​สัมมา​สมาธิ​ซึ่ง​ได้แก่ ​ความ​เพียร​ชอบ​ ​(​สัมมา​
วายามะ​)​ ​ความ​ระลึก​ชอบ​ ​(​สัมมา​สติ​)​ ​และ​ความ​ตั้งใจ​มั่น​ชอบ​ ​(​สัมมา​
สมาธิ​)​ ​นั้น​ ​ท่าน​ก็​ให้​เพิ่ม​ใน​เรื่อง​ศรัทธา​และ​ปัญญา​เข้าไป​ด้วย​ ​จาก​สัมมา​

luangpordu.com
239 ๒๓๙

สมาธิ​​จึง​ขยาย​ออก​มา​ใน​ภาค​ปฏิบัติ​เป็น​พละ​​๕​​ได้แก่​​ศรัทธา​​วิริยะ​​สติ​
สมาธิ​​และ​ปัญญา​​ซึ่ง​สติ​จะ​เป็น​องค์​ธรรม​ที่​สำคัญ​ที่​คอย​ตรวจ​ดู​ให้​ศรัทธา​
กับ​ปัญญา​สมดุล​กัน​​รวม​ทั้ง​ตรวจ​ตรา​ให้​วิริยะ​และ​สมาธิ​มี​ความ​สมดุล​เช่น​
เดียวกัน​
​ ผู้​ที่​เอาแต่​ใช้​ปัญญา​ครุ่นคิด​ ​หาก​ขาด​ศรัทธา​ ​ก็​ไป​ไม่​รอด​เพราะ​
หนทาง​ดจ​ู ะ​แห้งแ​ ล้ง​แ​ ละ​ชวน​ให้อ​ อ่ น​ลา้ ​ต​ รง​กนั ข​ า้ ม​ผ​ ท​ู้ เ​ี่ อาแต่ศ​ รัทธา​นำ​​
โดย​ขาด​การ​พิจารณา​ไตร่ตรอง​ทาง​ปัญญา​ก็​อาจ​ตก​ไป​สู่​ความ​งมงาย​​หรือ​
ไป​ผิด​ทิศ​ผิด​ทาง​โดย​ไม่รู้​ตัว​
​ ส่วน​ผู้​ที่​มี​ความ​เพียร​ใน​การ​ปฏิบัติ​ ​หรือ​เพียร​ใน​การ​หยิบยก​ธรรม​
ขึ้น​พิจารณา​โดย​ขาด​ปีติ​ ​ขาด​ความ​สงบ​ ​หรือ​ก็​คือ​ขาด​สมาธิ​จะ​พิจารณา​
อะไรก็​ไม่​ชัดเจน​ ​อีก​ทั้ง​อ่อน​ล้า​ ​เหมือน​ผู้​ไม่​ได้​อาหาร​ไม่​ได้​พัก​ผ่อน​ที่​เพียง​
พอ​ ​แต่​ถ้า​สมาธิ​มาก​เกิน​ ​โดย​ไม่มี​วิริยะ​มา​ช่วย​ให้​เกิด​การ​ทำงาน​และ​การ​
เฝ้า​ระวัง​ของ​จิต​ ​ก็​มี​แนว​โน้ม​จะ​เป็น​จิต​ที่​ดำ​ดิ่ง​หรือ​ตก​ภวังค์​ไม่รู้​เนื้อ​รู้ตัว​
ได้​เช่น​เดียวกัน​
​ ดัง​นั้น​ ​กล่าว​โดย​สรุป​ก็​คือ​ ​หลวงปู่​ท่าน​สอน​ให้​ปฏิ​บัติธรรม​อย่าง​มี​
ปัญญา​ ​โดย​นำ​เครื่อง​มือ​ที่​พระพุทธเจ้า​ประทาน​มา​ให้​นั้นมาใช้​อย่าง​ครบ​
ถ้วน​ค​ รบ​หมวด​ครบ​หมู​่ จ​ งึ จ​ ะ​สามารถ​ได้ร​ บั ผ​ ล​สำเร็จจ​ าก​การ​ปฏิบตั ธ​ิ รรม​
ตาม​ที่​ท่าน​มุ่ง​หวัง​
​“​พอ​”​

luangpordu.com
๒๔๐ 240

​๑๑๒​​​

​ช้าง​มา​ไหว้​หลวง​ปู่

​มี​เหตุการณ์​ที่​ค่อน​ข้าง​แปลก​อยู่​เรื่อง​หนึ่ง​ ​ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​ใน​ราว​ปลาย​
ปี​​พ​.​ศ​.​​๒๕๓๒​​ก่อน​ที่​หลวง​ปู่​จะ​ละ​สังขาร​เพียง​ไม่​ถึง​เดือน​​กล่าว​คือ​​ช้าง​
ใหญ่​เชือก​หนึ่ง​ที่​เดิน​ทาง​มา​จาก​จังหวัด​สุรินทร์​​เพื่อ​มา​ร่วม​พิธี​คล้อง​ช้าง​ที่​
เพนียด​คล้อง​ชา้ ง​จ​ งั หวัดพ​ ระนครศรีอยุธยา​ข​ ณะ​เดินท​ าง​มา​ตาม​ถนน​สาย​
เอเชีย​ถ​ งึ บ​ ริเวณ​ใกล้ท​ าง​เข้าว​ ดั ส​ ะแก​ช​ า้ ง​กแ​็ สดง​อาการ​ไม่อ​ ยูน​่ งิ่ ​จ​ น​ทำให้​
คน​ขบั ร​ ถ​ตอ้ ง​หยุดจ​ อด​พ​ อ​รถ​จอด​นงิ่ ​ช​ า้ ง​เชือก​นนั้ ก​ เ​็ ดินล​ ง​จาก​รถ​แ​ ล้วล​ ง​
ลุย​น้ำ​มา​ตาม​คลอง​ข้าวเม่า​ ​มุ่ง​หน้า​มา​ทาง​วัด​สะแก​ ​ควาญ​ช้าง​พยายาม​
ควบคุม​ช้าง​ด้วย​การ​เอา​ขอ​เหล็ก​สับ​บน​ศีรษะ​ช้าง​ ​กระทั่ง​เลือด​ไหล​ออก​
มา​ทาง​ด้าน​หน้า​​ถึง​กระนั้น​​ช้าง​ก็​ยัง​ไม่​ยอม​หยุด​​สุดท้าย​ช้าง​ได้​มา​ขึ้น​ที่​ฝั่ง​
ตรง​ขา้ ม​วดั ส​ ะแก​แ​ ล้วย​ ก​งวง​ขนึ้ ล​ ง​เหมือน​จะ​แสดง​อาการ​เคารพ​มา​ทาง​ฝงั่ ​
วัด​สะแก​ ​มี​ผู้นำ​ควาญ​ช้าง​มาก​ราบ​หลวง​ปู่​ดู่​ ​แต่​ควาญ​ช้าง​นั้น​ยัง​มี​อาการ​
ตกใจ​ถึง​ขนาด​ว่า​ร้องไห้​ออก​มา​เพราะ​ไม่​เคย​ประสบ​กับ​เหตุการณ์​เช่น​นี้​​
เขา​พูด​ด้วย​โทสะ​ว่า​ถ้า​ควบคุม​ช้าง​ไม่​ได้​ ​เขา​ก็​จะ​ไป​เอา​ปืน​ที่​สุรินทร์​มา​ยิง​
มัน​​แล้ว​ค่อย​เอา​ศพ​มัน​กลับ​ไป​​
​ หลวง​ปู่​ให้​กำลัง​ใจ​แก่​ควาญ​ช้าง​ว่า​ ​ไม่​เป็นไร​หรอก​ ​เอา​น้ำมนต์​ไป​
รด​ ​เอา​ข้าว​ไป​ให้​มัน​กิน​ ​มัน​ก็​จะ​ค่อย​ ​ๆ​ ​ดี​ขึ้น​เอง​ ​แล้ว​สิ่ง​ที่​ไม่​คาด​คิด​ก็ได้​
luangpordu.com
241 ๒๔๑

เกิดข​ นึ้ ​ช​ า้ ง​นนั้ เ​มือ่ ไ​ด้ร​ บั น​ ำ้ มนต์ข​ อง​หลวง​ปก​ู่ ม​็ อ​ี าการ​สงบ​ลง​จริงๆ​ ​แ​ ละ​ท​ี่
แปลก​กว่าน​ นั้ ค​ อื ช​ า้ ง​ไม่มอ​ี าการ​สนใจ​กล้วย​อ​ อ้ ย​ท​ ม​ี่ ค​ี น​เอา​มา​ให้​แ​ ต่ก​ ลับ​
เอา​งวง​ดูด​ข้าว​ใน​กาละมัง​ที่​หลวง​ปู่​ให้​ลูก​ศิษย์​จัด​เตรียม​ให้​​มัน​ดูด​แค่​​๒​-​๓​
ที​ก็​หมด​กาละมัง​ ​ช้าง​อยู่​ที่​นั่น​ ​กระทั่ง​งาน​ที่​เพนียด​คล้อง​ช้าง​สิ้น​สุด​ ​และ​
เหมือน​วา่ ม​ นั จ​ ะ​ร​ู้ ม​ นั ไ​ด้เ​ดินไ​ป​รวม​กบั ห​ มูช​่ า้ ง​ทจ​ี่ ะ​กลับจ​ งั หวัดส​ รุ นิ ทร์​โ​ดย​
ควาญ​ช้าง​ไม่​ต้อง​เอา​ขอสับ​บังคับ​แต่​อย่าง​ใด​​
​มี​ลูก​ศิษย์​ที่​อยู่​ใน​เหตุการณ์​เล่า​ให้​ฟัง​ว่า​ ​หลวง​ปู่​ท่าน​ว่า​ ​“​ช้าง​มัน​
เห็น​แสง​สว่าง​ ​มัน​รู้​ ​มัน​จะ​มา​ไหว้​พระ​”​ ​บาง​คน​ก็ได้​ยิน​หลวง​ปู่​บอก​ว่า​
“​พวก​แก​สช​ู้ า้ ง​ไม่ไ​ด้​ช​ า้ ง​มนั ย​ งั ร​ จู้ กั ม​ า​สกั ก​ าร​ะห​ ลวง​ปทู่ วด​”​​บ​ า้ ง​ได้ยนิ ​
หลวง​ปบ​ู่ อก​วา่ ​“​ พ​ ระพุทธเจ้า​ต้อง​มช​ี า้ ง​”​แ​ ละ​บา้ ง​กไ็ ด้ย​ นิ ห​ ลวง​ปบ​ู่ อก​วา่ ​
“​ช้าง​ยัง​มา​อยู่​กับข้า​ไม่​ได้​​ต้อง​ไป​ใช้​เวร​ใช้​กรรม​ให้​หมด​เสีย​ก่อน​”​​ฯลฯ​​
เรือ่ ง​ราว​ความ​ลกึ ซ​ งึ้ จ​ ะ​เป็นอ​ ย่างไร​กย​็ าก​ทใ​ี่ คร​ๆ​จ​ ะ​รไ​ู้ ด้​แ​ ต่ท​ ว่าค​ วาม​บาก​
บั่น​ของ​ช้างใหญ่​เชือก​นั้น​​ทำให้​ผู้​เขียน​อด​ไม่​ได้ที่​จะ​ครุ่นคิด​ถึง​คำ​สอน​ของ​
หลวง​ปู่​ที่​ว่า​“​ ​แก​เชื่อ​จริง​ไหม​ล่ะ​”​​
​ “​แก​เชือ่ จ​ ริงไ​หม​ละ่ ”​ ​ม​ ค​ี วาม​หมาย​หยาบ​ละเอียด​หลาย​นยั ​เ​ช่น​ก​ าร​
ที่​ชาว​พุทธ​จำนวน​ไม่​น้อย​ไป​ยึดถือ​ข้อ​ปฏิบัติ​อัน​จัด​ว่า​เป็น​สีลพต​ปรามาส​​
ประพฤติ​ออก​นอก​ทาง​พระพุทธ​ศาสนา​​ถือ​เอา​มงคล​ภายนอก​ยิ่ง​กว่า​การ​
พัฒนา​ตน​ให้​เป็น​ที่​พึ่ง​แก่​ตน​ ​ข้าม​ครู​อาจารย์​ ​ข้าม​พระพุทธเจ้า​ ​ก็​ล้วน​แต่​
เพราะ​ ​“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​ ​ความ​ลังเล​สงสัย​ต่าง​ๆ​ ​ก็​ล้วน​มา​จาก​ ​“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​
นัก​ปฏิบัติ​ภาวนา​​พอ​ลม​หายใจ​จะ​ดับ​​เกิด​ตกใจ​​กลัว​ตาย​​ถอน​จาก​สมาธิ​

luangpordu.com
๒๔๒ 242

ก็​เพราะ​​“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​​​ปฏิบัติ​ธรรม​แบบ​ไฟ​ไหม้​ฟาง​ชนิด​ขยัน​ก็​ทำ​​ขี้​เกียจ​
ก็​หยุด​ ​นั่น​ก็​เพราะ​ ​“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​ ​ ​การ​ที่​ไม่​สามารถ​รักษา​ความ​บาก​บั่น​
พากเพียร​ ​หรือ​ไม่​สามารถ​รักษา​ใจ​ไม่​ให้​ย่อท้อ​ต่อ​อุปสรรค​ใด​ๆ​ ​ก็​เพราะ​​
“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​​​การที่ตั้ง​อยู่​ใน​ความ​ประมาท​​มิได้​ระลึก​ถึง​ภัย​คือ​ความ​แก่​
ความ​เจ็บ​​ความ​ตาย​​ก็​เพราะ​​“​เชื่อ​ไม่​จริง​”​​ฯลฯ​
มินา่ ล​ ะ่ ​ห​ ลวง​ปจ​ู่ งึ ม​ กั ถ​ าม​ลกู ศ​ ษิ ย์เ​ป็นเ​ชิงใ​ห้พ​ จิ ารณา​ตนเอง​อยูบ​่ อ่ ย​
ครั้ง​ว่า​​“​แก​เชื่อ​จริง​ไหม​ล่ะ​”​​
นี่​ถ้า​พา​กัน​เชื่อ​คุณ​พระพุทธ​ ​พระ​ธรรม​ ​พระ​สงฆ์​ ​กัน​จริง​ๆ​ ​ความ​
องอาจ​กล้า​หาญ​ใน​การ​ปฏิบัติ​ธรรม​เพื่อ​บูชา​คุณ​ความ​ดี​ของ​หลวง​ปู่​ ​ก็​คง​
พอ​ช่วย​ให้​ไม่​ต้อง​อาย​ช้าง​เชือก​นี้​ได้​เป็น​แน่​​

​​​​​​​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​“​พอ​”​
​​

luangpordu.com
๒๔๔ 244

​คาถา​บูชา​พระ​

​นะโม​​พุทธ​า​ยะ​​พระ​พุทธ​ะ​ไตร​รัตนะ​ญาณ​
​มณี​นพ​รัตน์​​สีสะ​หัส​สะ​​สุ​ธัม​มา​
​พุทโธ​​ธัมโม​​สังโฆ​​ยะธา​พุ​ทโมน​ะ​
​พุทธ​ะ​บูชา​​ธัมมะ​บูชา​​สังฆ​ะ​บูชา​
​อัคคี​ธานัง​​วะ​รัง​คันธ​ัง​
​สี​วลี​​จะ​​มหา​เถร​ัง​
​อะหัง​วันทา​มิ​​ทูร​ะ​โต​
​อะหัง​วันทา​มิ​​ธาตุ​โย​
​อะหัง​วันทา​มิ​​สัพ​พะโส​
​พุทธ​ะ​​ธัมมะ​​สังฆ​ะ​​ปูเช​มิ​

luangpordu.com
245 ๒๔๕

​คำ​สมาทาน​พระกร​รม​ฐาน​

บ​ ท​บูชา​พระ​
​ นะโม​​ตัส​สะ​​ภะคะ​วะ​โต​​อะระ​หะ​โต​​สัมมา​สัม​พุทธ​ัส​สะ​
​(​๓​​จบ​)​
​ พุทธ​ัง​​ชี​วิ​ตัง​​เม​​ปูเช​มิ​
​ ธัมมัง​​ชี​วิ​ตัง​​เม​​ปูเช​มิ​
​ สังฆ​ัง​​ชี​วิ​ตัง​​เม​​ปูเช​มิ​
​กราบ​พระ​​๖​​ครั้ง​
​ พุทธ​ัง​​วันทา​มิ​
​ธัมมัง​​วันทา​มิ​
​ สังฆ​ัง​​วันทา​มิ​
​ อุป​ัชฌาย์​อา​จา​ริย​คุณ​ัง​​วันทา​มิ​​(​​ชาย​​)​
​ คุณครู​บา​อาจารย์​​วันทา​มิ​​(​​หญิง​​)​
​ มาตา​ปิตุ​คุณ​ัง​​วันทา​มิ​
​พระ​ไตร​สิกขา​คุณัง​​วันทา​มิ​

สมาทาน​ศีล​​๕​
​ นะโม​​ตัส​สะ​​ภะคะ​วะ​โต​​อะระ​หะ​โต​​สัมมา​สัม​พุทธ​ัส​สะ​
(​๓​​จบ​)​

luangpordu.com
๒๔๖ 246

​ •​​พุทธ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ ธัมมัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ สังฆ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ •​​ทุ​ติยัมปิ​​พุทธ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ ทุ​ติยัมปิ​​ธัมมัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ ทุ​ติยัมปิ​​สังฆ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ •​​ตะ​ติยัมปิ​​พุทธ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ตะ​ติยัมปิ​​ธัมมัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​
​ ตะ​ติยัมปิ​​สังฆ​ัง​​สรณ​ัง​​คัจฉา​มิ​

​ปาณา​ติปา​ตา​​เวร​ะ​มะณี​​สิกขา​​ปะ​ทัง​​สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​
​อทินนาทาน​า​​เวร​ะ​มะณี​​สิกขา​ปะ​ทัง​​สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​
​กาเมสุมิจฉาจาร​า​​เวร​ะ​มะณี​​สิกขา​ปะ​ทัง​​สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​
​มุสา​วา​ทา​​เวร​ะ​มะณี​​สิกขา​ปะ​ทัง​​สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​
​สุ​รา​เมรย​ะ​​มัช​ชะ​ปะ​มาท​ัฏ​ฐาน​า​​เวร​ะ​มะณี​​สิกขา​ปะ​ทัง​
​ สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​

​อิ​มา​นิ​​ปัญจ​ะ​สิกขา​​ปะ​ทา​นิ​​สะ​มาท​ิ​ยา​มิ​​(​​๓​​ครั้ง​​)​
​ สี​เลน​ะ​​สุคะ​ติง​​ยัน​ติ​​สี​เลน​ะ​​โภค​ะสัม​ปะ​ทา​
​ สี​เลน​ะ​​นิพ​พุ​ต​ติง​​ยัน​ติ​​ตัส​มา​​สี​ลัง​​วิโส​​ธะเย​

luangpordu.com
๒๔๗

ค​ ำ​อาราธนา​พระ​
​ พุทธ​ัง​​อา​ราธะนัง​​กะ​โรม​ิ​
​ ธัมมัง​​อา​ราธะนัง​​กะ​โรม​ิ​
สังฆัง อาราธะนัง กะโรมิ
นอมระลึกถึงหลวงปูทวด แลววา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา ( ๓ ครั้ง )
นอมระลึกถึงหลวงพอดู โดยวาคาถาดังนี้
นะโม พรหมปญโญ ( ๓ ครั้ง )

คำอนุโมทนาบุญที่ผูอื่นกระทำไวดีแลว
สัทธา ทานัง อนุโมทามิ ( ๓ ครั้ง )

คำขอขมาพระรัตนตรัย
โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปง วินัสสันตุ

luangpordu.com
คำอธิษฐานแผเมตตา
ใหตั้งใจเจริญพรหมวิหาร ๔ แลวกลาวคำอธิษฐานวา
“พุทธัง อนันตัง
ธัมมัง จักรวาลัง
สังฆัง นิพพานะ ปจจะโยโหตุ ”

ค​ ำ​อธิษฐาน​พระ​เข้า​ตัว​
​ สัพ​เพ​พุทธ​า​​สัพ​เพ​ธัม​มา​​สัพ​เพ​สังฆ​า​
​ พะลัปปัต​ตา​​ปัจเจก​านัญ​​จะ​​ยัง​พะ​ลัง​
​ อะระ​หัน​ตาน​ัญ​​จะ​​เต​เชน​ะ​รัก​ขัง​​พันธ​า​มิ​​สัพ​พะโส​
​ พุทธ​ัง​​อธิ​ษฐา​มิ​
​ธัมมัง​​อธิ​ษฐา​ม ิ​
สังฆ​ัง​​อธิ​ษฐา​มิ​

luangpordu.com
คำอธิษฐานแผเมตตา
ใหตั้งใจเจริญพรหมวิหาร ๔ แลวกลาวคำอธิษฐานวา
“พุทธัง อนันตัง
ธัมมัง จักรวาลัง
สังฆัง นิพพานะ ปจจะโยโหตุ ”

ค​ ำ​อธิษฐาน​พระ​เข้า​ตัว​
​ สัพ​เพ​พุทธ​า​​สัพ​เพ​ธัม​มา​​สัพ​เพ​สังฆ​า​
​ พะลัปปัต​ตา​​ปัจเจก​านัญ​​จะ​​ยัง​พะ​ลัง​
​ อะระ​หัน​ตาน​ัญ​​จะ​​เต​เชน​ะ​รัก​ขัง​​พันธ​า​มิ​​สัพ​พะโส​
​ พุทธ​ัง​​อธิ​ษฐา​มิ​
​ธัมมัง​​อธิ​ษฐา​มิ​
สังฆ​ัง​​อธิ​ษฐา​มิ​

luangpordu.com

Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปันเป็ นธรรมทาน

You might also like