You are on page 1of 206

วารสารราชบัณฑิตยสภา

The Journal of the Royal Society of Thailand

ภาพหน้าปก
ภาพหนุมานจับนางมัจฉา (พ.ศ. ๒๕๖๐)
เทคนิค ลายรดน้ำ�บนพื้นรักสี
นายสนั่น รัตนะ ราชบัณฑิต สำ�นักศิลปกรรม

ISSN 0125-2968
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
Volume 43 Number 3 September-December 2018
วารสารราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand

วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ผลงานวิชาการของราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และนักวิชาการทั่วไป

ก�ำหนดเผยแพร่
เป็นวารสารราย ๔ เดือน ก�ำหนดเผยแพร่ในเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม

เจ้าของ
ราชบัณฑิตยสภา/ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ที่ปรึกษา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปัญญา บริสุทธิ์ ประธานราชบัณฑิตที่ปรึกษา
ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ นายกราชบัณฑิตยสภา
ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขส�ำราญ ประธานส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ศาสตราจารย์ นพ.สุรพล อิศรไกรศีล ประธานส�ำนักวิทยาศาสตร์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ประธานส�ำนักศิลปกรรม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต
นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
นางแสงจันทร์ แสนสุภา รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา

บรรณาธิการ
รองศาสตราจารย์ประยูร ทรงศิลป์ ภาคีสมาชิก

กองบรรณาธิการ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมพล ประคองพันธ์ ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์ ดร. ทนพ.อานนท์ บุณยะรัตเวช ราชบัณฑิต
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ราชบัณฑิต
ศาสตราจารย์ ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ภาคีสมาชิก
วารสารราชบัณฑิตยสภา
วารสารราย ๓ เดือน

ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ชุนหจินดา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ภาคีสมาชิก
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคีสมาชิก
นายสนั่น รัตนะ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ภาคีสมาชิก

คณะท�ำงาน
นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นักวรรณศิลป์ช�ำนาญการพิเศษ
นางชวนพิศ เชาวน์สกุล นักวรรณศิลป์ช�ำนาญการ
นายสุชัจจ์ นนตกร นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นายธนทัต ด�ำคลองตัน นักจัดการงานทั่วไป

ส�ำนักงาน
ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒
e-mail: ripub@royin.go.th
http://www.royin.go.th

• บทความในวารสารราชบัณฑิตยสภาเป็นความคิดเห็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการและ/หรือราชบัณฑิตยสภา
ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
• บทความที่เผยแพร่จะมีการตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review)
• กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงที่มา
วารสารราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑ Volume 43 Number 3 September-December 2018

บทบรรณาธิการ

การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับ : ภาวะที่เหมาะสม ๑
และจลนศาสตร์การดูดซับ
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่มสม และคณะ
การเปรียบเทียบความรับผิดของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุดบกพร่อง ๒๖
ในสหรัฐอเมริกาและไทย
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล
ดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู ้ ๔๔
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยรุ่น ๖๙
ในครอบครัวไทยปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
“โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้” ๙๐
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี ๑๒๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส
ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริมแคลเซียมส�ำหรับผู้ให้นมบุตร ๑๓๖
และผู้สูงอายุ
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์
ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองและการเก็บกักคาร์บอนแบบยั่งยืน ๑๕๒
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ
มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย ๑๗๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑

บทบรรณาธิการ
ราชบัณฑิตยสภาได้จดั ท�ำวารสารราชบัณฑิตยสภาเพือ่ เป็นสือ่ กลางเผยแพร่ผลงาน
วิชาการผลงานวิจยั ตลอดจนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะงานวิชาการตามศาสตร์สาขาต่าง ๆ
ของราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปมาถึงปัจจุบัน นับเป็นปีที่ ๔๓ แล้ว
วารสารราชบัณฑิตยสภาได้ผลัดเปลี่ยนกองบรรณาธิการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันผลิต
และพัฒนาวารสารราชบัณฑิตยสภามาเป็นล�ำดับ โดยปัจจุบนั ได้จดั ท�ำเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(e-journal) เผยแพร่แทนการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ท�ำให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก
และรวดเร็ว
วารสารราชบัณฑิตยสภาฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม) ซึ่งเป็นฉบับ
สุดท้ายของปีที่ ๔๓ มีบทความเผยแพร่ จ�ำนวน ๙ เรือ่ ง ประกอบด้วยบทความของราชบัณฑิต
และภาคีสมาชิกส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๒ เรื่อง ส�ำนักวิทยาศาสตร์ ๔ เรื่อง และ
ส�ำนักศิลปกรรม ๓ เรื่อง แต่ละบทความผู้เขียนได้เน้นองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ที่เชี่ยวชาญ
บทความแรกของวารสารราชบัณฑิตยสภาฉบับนี้ คือ เรื่อง “การบ�ำบัดน�้ำเสีย
จากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับ : ภาวะทีเ่ หมาะสมและจลนศาสตร์การดูดซับ”
ของศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุน่ สม และคณะ ได้แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นประสิทธิภาพใน
การบ�ำบัดน�้ำเสียจากกระบวนการดูดซับ โดยใช้ตัวดูดซับเชิงพานิชย์ ๓ ชนิด คือ เบนทอไนต์
อะลูมินากัมมันต์ และถ่านกัมมันต์ จะมีความเชื่อมโยงระหว่างคุณสมบัติของตัวดูดซับ และ
ความสามารถในการลดสารมลพิษอย่างไร บทความนี้จะอธิบายไขความไว้ได้อย่างละเอียด
ผู้สนใจด้านกฎหมาย ความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุด
บกพร่องในสหรัฐอเมริกาและในไทยเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร จะมีข้อเสนอแนะ
ทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในประเทศไทยในแง่ใดได้บ้าง ติดตามอ่าน
ได้จากบทความเรื่อง “การเปรียบเทียบการรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความ
ช�ำรุดบกพร่องในสหรัฐอเมริกาและในไทย” ของศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และ
ดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ซึ่งผู้เขียนทั้ง ๒ ท่านได้น�ำเสนอความรู้วิเคราะห์และให้ข้อ
เสนอแนะด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนผู้ที่สนใจติดตามบทความเกี่ยวกับ
แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ในวารสารราชบัณฑิตยสภามาหลายฉบับ ในฉบับนี้ยังมี
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑

บทความเรื่อง “การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อ
การเรียนรู้” ของผู้เขียนท่านเดิมคือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ มา
เพิ่มพูนความรู้ให้ผู้สนใจอีกหลายประเด็น
บทความวิจยั เรือ่ ง “ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลีย้ งดูกบั พฤติกรรม
ประชาธิปไตยของวัยรุ่นในครอบครัวไทยปัจจุบัน” ของรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์
ศิริวรรณบุศย์ ได้แสดงผลการวิจัยให้เห็นว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นของครอบครัวไทย
ปัจจุบันที่ต่างกันจะส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยรุ่นแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งนับว่า
เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวไทยในสังคมปัจจุบันอย่างยิ่ง ส่วนไบโอชาร์ คืออะไร มีประโยชน์
ต่อการปรุงดินเพือ่ เพิม่ ผลผลิตทางการเกษตรกรรมได้มากและยัง่ ยืนได้อย่างไร อีกทัง้ ไบโอชาร์
ยังสามารถน�ำไปใช้ในการฟื้นฟูต้นไม้เก่าแก่หรือต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่ก�ำลังได้ผลกระทบจาก
การพัฒนาเมืองและการท่องเที่ยวได้อย่างไร ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ได้อธิบายไว้
ในบทความเรื่อง “ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองและการเก็บกักคาร์บอนแบบยั่งยืน” ซึ่ง
ความรู้จากบทความนี้สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี
ส่วนผู้ที่สนใจความรู้ด้านวรรณกรรมไทยประเภทร้อยกรอง โดยเฉพาะร้อยกรอง
ประเภทโคลงแบบพิเศษ บทความเรื่อง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้” ของศาสตราจารย์
ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ได้ให้ความรู้เรื่องความหมายของโคลงกลบทและโคลงกระทู้ ความ
เหมือนคล้ายและความแตกต่างของโคลงทั้ง ๒ ประเภทในแต่ละประเด็น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจ
ลักษณะของโคลงกลบทและโคลงกระทู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและไม่เกิดความสับสนในการจ�ำแนก
และจะเป็นแนวทางให้แก่ผู้แต่งโคลงในสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นอกจากบทความเรื่อง
“โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู”้ ดังกล่าวแล้วยังมีบทความด้านวรรณกรรมร้อยกรองทีม่ เี นือ้ หา
เกี่ยวข้องกับของวิเศษอเนกประสงค์ ซึ่งมีคุณสมบัติและอนุภาพมหัศจรรย์ มีคุณประโยชน์
หลากหลายและมีคุณค่าส�ำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่ตัวละครได้น�ำไปใช้เพื่อประโยชน์แห่งตน ของ
วิเศษอเนกประสงค์นั้นคือ ตราราหูของนางละเวง ตัวละครส�ำคัญในเรื่องพระอภัยมณีของ
สุนทรภู่ ของวิเศษจะมีความวิเศษอเนกประสงค์อย่างไร บทความเรื่อง “ตราราหู : ของวิเศษ
อเนกประสงค์ในเรือ่ งพระอภัยมณี” ของรองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส จะบอกกล่าวได้อย่าง
กระจ่างแจ้ง
ปัจจุบนั ผูค้ นให้ความสนใจและใส่ใจในสุขภาพมากขึน้ ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริม
นานาชนิดมีมากมาย อาหารเสริมแคลเซียมเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหนึง่ ในหลายชนิดทีเ่ ป็น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑

สิ่งจ�ำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ให้นมบุตร บทความเรื่อง “ถอดบทเรียนด้านการพัฒนา


ผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริมแคลเซียมส�ำหรับผูท้ ใี่ ห้นมบุตรและผูส้ งู อายุ” ของศาสตราจารย์
ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ได้ให้ความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและ
อาหารเสริ ม แคลเซี ย มส� ำ หรั บ ผู ้ ห ญิ ง ที่ ใ ห้ น มบุ ต รและผู ้ สู ง อายุ ทั้ ง ชายหญิ ง ซึ่ ง ต้ อ งการ
แคลเซียมเพิ่มสูงขึ้นกว่าภาวะปรกติอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มผู้บริโภคดังกล่าว และ
บทความสุดท้ายของฉบับคือบทความเรื่อง “มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย” ของศาสตราจารย์
เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ได้กล่าวถึงมนุษยนิยมปรัชญาระบบหนึ่งในฐานะวิชาเป็นมนุษย์
ทั้ ง วิ ช าชีวิตและวิชาชีพ ซึ่งทรงอิท ธิพ ลและพลานุ ภาพยิ่ ง ต่ อ มวลมนุ ษ ยชาติ ที่ ส านสั ม พั นธ์
กับคตินิยมไทยได้อย่างลงตัวอย่างไร เชิญท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามความรู้และแนวคิดได้จาก
บทความนี้
กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในวารสารราช-
บัณฑิตยสภาฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในเรื่องต่าง ๆ ตามสมควร และขอถือโอกาสนี้
เชิญชวนราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลทั่วไปส่งต้นฉบับบทความเพื่อ
เผยแพร่ในวารสารราชบัณฑิตยสภาฉบับต่อ ๆ ไป และขอขอบพระคุณกองบรรณาธิการทุกท่าน
ทีช่ ว่ ยกันผลักดันให้วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ นีส้ ำ� เร็จลุลว่ งไปด้วยดี สามารถ
เผยแพร่สสู่ าธารณชนได้ตามวัตถุประสงค์แม้วา่ จะล่าช้าไปบ้างก็ตาม หากท่านผูอ้ า่ นมีขอ้ เสนอแนะ
ทีจ่ ะช่วยท�ำให้วารสารราชบัณฑิตยสภาได้พฒ ั นาไปสูค่ ณ ุ ภาพทีด่ ยี งิ่ ขึน้ กองบรรณาธิการขอน้อมรับ
ไว้ด้วยความยินดียิ่ง และจะน�ำข้อเสนอแนะไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อการพัฒนาต่อไป

รองศาสตราจารย์ประยูร ทรงศิลป์
ภาคีสมาชิก ส�ำนักศิลปกรรม
บรรณาธิการ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑

การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล
ด้วยกระบวนการดูดซับ : ภาวะที่เหมาะสม
และจลนศาสตร์การดูดซับ
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม
ภาคีสมาชิก สำ�นักวิทยาศาสตร์
ราชบัณฑิตยสภา
นายเจตริน ข่ายป้องค่าย นายธนพนธ์ เสมอเนตร
นายพชรสกล ประยูรพันธ์รัตน์ และนายตฤณ เจตสุคนธร
ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำ�บัดน้ำ�เสียจากการผลิตไบโอ-
ดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับโดยใช้ตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ ตัวแปรที่ศึกษาคือ ชนิดของตัวดูดซับ
(เบนทอไนต์ อะลูมินากัมมันต์ และถ่านกัมมันต์) ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน้ำ�เสีย (๑.๒-
๗.๒) ปริมาณตัวดูดซับที่เหมาะสม (๑.๕-๖.๕ กรัม/ลิตร) และเวลาในการดูดซับ (๐.๕-๔.๐
ชั่วโมง) พบว่าพื้นที่ผิว BET ของตัวดูดซับมีผลต่อการดูดซับสารมลพิษในน้ำ�เสียมากกว่าชนิด/
ปริมาณของหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจนและค่าความเป็นกรด-เบสเมื่อประจุบนพื้นผิวของตัวดูดซับ
มีคา่ เป็นศูนย์ โดยถ่านกัมมันต์มปี ระสิทธิภาพในการดูดซับสารมลพิษในน้ำ�เสียจากการผลิตไบโอ-
ดีเซลมากกว่าเบนทอไนต์และอะลูมินากัมมันต์ โดยสามารถลดสารมลพิษในรูปซีโอดีและน้ำ�มัน/
ไขมันได้รอ้ ยละ ๓๔.๔ และ ๕๙.๓ ตามลำ�ดับ รูปแบบการดูดซับซีโอดีและน้ำ�มัน/ไขมันบนพืน้ ผิว
ของถ่านกัมมันต์ที่ภาวะสมดุลสอดคล้องกับไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ กลไกการดูดซับสารมลพิษ
ถูกควบคุมด้วยการแพร่ในช่วง ๒ ชั่วโมงแรก และถูกควบคุมด้วยการดูดซับบนพื้นผิวของถ่าน
กัมมันต์เมื่อเวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าจลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและ
น้ำ�มัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์สอดคล้องกับแบบจำ�ลองการดูดซับอันดับสองเทียมและเป็นการ
ดูดซับทางเคมี

คำ�สำ�คัญ : กระบวนการดูดซับ ถ่านกัมมันต์ น้ำ�เสียจากการผลิตไบโอดีเซล จลนศาสตร์การดูดซับ


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

Abstract: Treatment of biodiesel wastewater by adsorption process :


Optimum condition and adsorption kinetics
Professor Dr. Mali Hunsom
Associate Fellow of the Academy of Science,
The Royal Society of Thailand
Mr.Jetarin Khaipongkai, Mr.Thanapon Samernate,
Mr.Patsakol Prayoonpunratn and Mr.Trin Jedsukontorn
Department of Chemical Technology, Faculty of Science,
Chulalongkorn University
The work was carried out to comparative study the treatment of
biodiesel wastewater by adsorption process using commercial adsorbents. The
investigated parameters were type of adsorbent (bentonite, activated alumina
and activated carbon), initial pH of wastewater (1.2–7.2), dose of optimum
adsorbent (1.5–6.5 g/L) and adsorption time (0.5–5.0 h). The preliminary results
showed that the BET surface area of adsorbent affected the adsorption capacity
of adsorbent higher than type/quantity of oxygen-containing surface functional
group and the pH at point of zero charge. In summary, the activated carbon
exhibited the highest adsorption capacity in comparison with bentonite and
activated alumina, which can reduced the contaminants measured in terms of
COD and oil/grease of 34.4 and 59.3%, respectively. The adsorption behavior was
fit well with the Langmuir isotherm. The adsorption mechanism was controlled
by the diffusion of pollutant molecule to the surface of adsorbent during the
first 2 h of adsorption period and then by the adsorption of pollutant onto the
activated carbon surface. Finally, the adsorption kinetics was fit very well with
the pseudo-second-order equation as the chemical adsorption behavior.

Keywords: Adsorption, activated carbon, biodiesel wastewater, adsorption


kinetics
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๓

บทน�ำ
จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และชุมชนท�ำให้ประเทศไทยมีความต้องการ
การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่ต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดการ
ขาดดุลทางการค้าและเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานภายในประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการ
ใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ในช่วง ๕-๑๕ ปี ที่ผ่านมา ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นพลังงาน
ทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากการน�ำน�้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ที่น�ำมาสกัดเอายางเหนียวและ
สิง่ สกปรกออก (Degumming) จากนัน้ น�ำไปผ่านกระบวนการทางเคมีทเี่ รียกว่าทรานส์เอสเทอริฟเิ คชัน
(Transesterification) โดยการเติมแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล และมีโซเดียมหรือโปแตสเซียม-
ไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ภายใต้อุณหภูมิสูงเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของน�้ำมันจาก
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นเอสเทอร์ มีลักษณะคล้ายน�้ำมันดีเซล เรียกว่า เมทิลเอสเตอร์
หรือไบโอดีเซล (Lam et al, 2010) ข้อดีของการใช้ไบโอดีเซลทดแทนน�้ำมันดีเซล คือ ให้ค่าดัชนี
การหล่อลืน่ และเลขซีเทนสูง เผาไหม้สมบูรณ์ จุดวาบไฟสูงจึงมีความปลอดภัยในการใช้งาน (Knoth,
2005; Smith et al, 2009)
กระบวนการผลิตไบโอดีเซลประกอบด้วย ๖ ขั้นตอน คือ ๑) การเตรียมน�้ำมันก่อนท�ำ
ปฏิกิริยา ๒) การเตรียมสารละลายแอลกอฮอล์ ๓) การท�ำปฏิกิริยา ๔) การแยกกลีเซอรีน ๕) การ
ล้างสิ่งปนเปื้อนออก และ ๖) การก�ำจัดน�้ำออกจากไบโอดีเซล ในขั้นตอนการล้างสิ่งปนเปื้อนออก
จะเกิดน�้ำเสียจ�ำนวนมาก ปัจจุบันประเทศไทยมีก�ำลังการผลิตไบโอดีเซลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยมีก�ำลังการผลิตไบโอดีเซลมากถึง ๔.๙๘ ล้านลิตรต่อวัน ในการผลิต
ไบโอดีเซล ๑๐๐ ลิตร จะมีน�้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ ๒๐ ลิตร แสดงว่าจะมีน�้ำเสียเกิดขึ้นอย่างน้อย
๐.๙๖ ล้านลิตรต่อวัน น�้ำเสียดังกล่าวจะมีกลีเซอรอล กรดไขมัน แอลกอฮอล์ และสบู่ เป็น
องค์ประกอบ (McNeill et al, 1986)
ปัจจุบันมีงานวิจัยจ�ำนวนมากศึกษาและพัฒนากระบวนการบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิต
ไบโอดีเซล เช่น กระบวนการทางชีวภาพ (Khan el al, 2015; Chia et al, 2018; Guldhe et al,
2019) กระบวนการทางเคมี (Ngamlerd pokin et al, 2011; Rattanapan et al, 2011; Daud
el al, 2013; Pansa-Ngat el al, 2017, 2018) กระบวนการทางเคมีไฟฟ้า (Chavalparit and
Ongwandee, 2009; Romero et al, 2013; Jaruwat el al, 2010; Jaruwat el al, 2016)
กระบวนการทางกายภาพ (Mozaffarikhan et al, 2017) นอกจากนี้การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการ
ผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับยังเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากไม่
ก่อให้เกิดกากตะกอนจากการบ�ำบัดและด�ำเนินการง่าย (Urano and Tachikawa, 1991) สามารถ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

ใช้ตัวดูดซับได้หลายชนิดทั้งตัวดูดซับเชิงพาณิชย์และตัวดูดซับจากธรรมชาติ เช่น ถ่านพีต (Peat)


เบนทอไนต์ (Bentonite) ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) ขยะจากการเกษตร ไคโตซาน
(Chitosan) โดย Peereboom และคณะ (Peereboom et al, 2007) ศึกษาการก�ำจัดกลีเซอรอล
และโพรพิลีนไกลคอลในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลโดยการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ พบว่า การ
ดูดซับของกลีเซอรอลและโพรพิลีนไกลคอลเป็นไปตามไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์โดยการดูดซับจะ
มากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลายมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวของการดูดซับ ความสามารถในการ
ดูดซับโพรพิลีนไกลคอล ๓.๕ เท่าของการดูดซับกลีเซอรีน Liu และคณะ (Liu et al, 2009) ศึกษา
การดูดซับกลีเซอรอลในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ถ่านกัมมันต์ ดินเหนียว (Clay และ
ซีโอไลต์ (Zeolite) พบว่า ความสามารถในการดูดซับกลีเซอรอลของถ่านกัมมันต์มีค่าสูงสุดที่ ๕๕
มิลลิกรัมกลีเซอรอล/ต่อกรัมถ่านกัมมันต์ ตามมาด้วยดินเหนียวที่ ๓๙ มิลลิกรัมกลีเซอรอล/กรัมดิน
เหนียว และสุดท้ายด้วยซีโอไลต์ที่ ๓๘.๕ มิลลิกรัมกลีเซอรอล/กรัมซีโอไลต์ Pitakpoolsil และ
Hunsom (Pitakpoolsil and Hunsom, 2013) ศึกษาความเป็นไปได้ในการก�ำจัดสารปนเปื้อนใน
น�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลโดยการดูดซับด้วยไคโตซาน พบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการท�ำงาน คือ
เวลาการดูดซับ ๓ ชั่วโมง ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๔ ปริมาณไคโตซาน ๓.๕ กรัม
ต่อลิตร และอัตราการกวนเท่ากับ ๓๐๐ รอบต่อนาที ไคโตซานสามารถดูดซับบีโอดี ซีโอดี และ
น�้ำมัน/ไขมันได้ ๒๓๖ ๔๕๐๓ และ ๑๔๐ กรัมต่อกรัมไคโตซาน หรือคิดเป็นร้อยละการลดลงของ
บีโอดี ซีโอดี และน�้ำมัน/ไขมันเท่ากับ ๗๖ ๙๐ และ ๖๗ ตามล�ำดับ จลนศาสตร์ของการดูดซับสารปน
เปื้อนในน�้ำเสียโดยไคโตซานจะสอดคล้องกับแลงเมียร์ไอโซเทิร์ม Obanla และคณะ (Obanla et al,
2018) ศึกษาการลดโลหะหนักในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลโดยการดูดซับด้วยซีโอไลต์และถ่าน
กัมมันต์ พบว่าซีโอไลต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักในน�้ำเสียมากกว่าถ่านกัมมันต์ กล่าวคือ
ซีโอไลต์สามารถลดโครเมียมได้ร้อยละ ๘๙ ในขณะที่ถ่านกัมมันต์สามารถลดโครเมียมได้เพียงร้อยละ
๗๖ ต่อมา Savcı (Savcı, 2017) ศึกษาการบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยเมล็ดมัสตาร์ด
พบว่าการดูดซับสารมลพิษในน�้ำเสียถึงภาวะสมดุลที่เวลา ๑๘๐ นาที แต่การดูดซับบีโอดี ซีโอดี และ
น�้ำมัน/ไขมันด้วยเมล็ดมัสตาร์ดไม่สอดคล้องกับไอโซเทิร์มทั้งแบบแลงเมียร์และฟรุนดริช
งานวิจัยนี้สนใจศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล
ด้วยกระบวนการดูดซับโดยใช้ตวั ดูดซับเชิงพาณิชย์ชนิดต่าง ๆ เพือ่ ศึกษาความเชือ่ มโยงระหว่างสมบัติ
ของตัวดูดซับและความสามารถในการลดสารมลพิษ นอกจากนี้ยังศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการ
ดูดซับพลศาสตร์ จลนศาสตร์ และไอโซเทิร์ม การดูดซับสารมลพิษในรูปของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมัน
บนตัวดูดซับที่เหมาะสม
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๕

วิธีการทดลอง
๑. วัตถุดิบ
ตัวดูดซับที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ ๓ ชนิด คือ เบนทอไนต์ (Sigma-
Aldrich) อะลูมินากัมมันต์ (Sigma-Aldrich) และถ่านกัมมันต์ (Panreac)
น�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้ในการศึกษาได้รับความอนุเคราะห์จากอุตสาหกรรม
ผลิตไบโอดีเซลซึ่งใช้น�้ำมันประกอบอาหารใช้แล้ว (Used cooking oil) เป็นวัตถุดิบในการผลิต
ไบโอดีเซล ก่อนการใช้งานน�้ำเสียดังกล่าวจะถูกน�ำไปบ�ำบัดขั้นต้นด้วยการปรับค่าความเป็นกรด-เบส
ให้มีค่าประมาณ ๑-๒ ด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้น (H2SO4 ของ QReC) เพื่อลดความเข้มข้นของ
สารมลพิษ (Jaruwat et al, 2010) จากนั้นปล่อยให้แยกชั้น โดยชั้นบนเป็นชั้นที่มีน�้ำมัน/ไขมันมาก
(Oil-rich layer) ส่วนชั้นล่างเป็นชั้นน�้ำเสีย (Water-rich layer) ที่มีความเข้มข้นสารมลพิษลดลง
หรือเรียกว่าน�้ำเสียที่ผ่านการบ�ำบัดขั้นต้น ซึ่งจะน�ำมาบ�ำบัดด้วยกระบวนการดูดซับต่อไป

๒. การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับ
บรรจุน�้ำเสียที่ผ่านการบ�ำบัดเบื้องต้นปริมาตร ๑๐๐ มิลลิลิตร ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด
๒๕๐ มิลลิลิตร เติมเบนทอไนต์น�้ำหนัก ๐.๓๕ กรัม น�ำไปเขย่าอัตราเร็วรอบ ๓๕๐ รอบ/นาที เป็น
เวลา ๔ ชั่วโมง กรองแยกเบนเทอไนต์จากน�้ำเสียด้วยกระดาษกรองเบอร์ ๕ (Whatman) น�ำน�้ำเสีย
ไปวิเคราะห์ค่าซีโอดีและปริมาณน�้ำมัน/ไขมัน ท�ำการทดลองซ�้ำโดยใช้ตัวดูดซับเป็นอะลูมินากัมมันต์
และถ่านกัมมันต์ เมื่อได้ตัวดูดซับที่ดีที่สุดแล้ว น�ำตัวดูดซับดังกล่าวมาศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการ
บ�ำบัดน�้ำเสีย ตัวแปรที่จะศึกษา คือ ค่าความเป็นกรด-เบส (๑.๒-๗.๒) โดยการปรับความเป็น
กรด-เบสด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้น (QReC) หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Carlo Erba) เข้มข้น ๑ โมล
ต่อลิตร ปริมาณตัวดูดซับ (๑.๕-๖.๕ กรัมต่อลิตร) และเวลาในการดูดซับ (๐.๕-๔.๐ ชั่วโมง)

๓. การวิเคราะห์
ตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ที่ศึกษาทุกตัวจะถูกวิเคราะห์ชนิดและปริมาณหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจน
(Oxygen containing surface functional groups) บนพื้นผิวของตัวดูดซับ ด้วยวิธี Boehm’s
method (Chen et al, 2002) ค่าความเป็นกรด-เบสเมื่อประจุพื้นผิวของตัวดูดซับมีค่าเป็นศูนย์
(Point of zero charge–PZC) (Wang et al, 2008) และพื้นผิว BET ด้วยเครื่องวิเคราะห์
พื้นผิว (Quantachrome, Autosorb-1) ส่วนดัชนีคณ ุ ภาพน�ำ้ เสียก่อนการบ�ำบัดขัน้ ต้น หลังการบ�ำบัด
ขัน้ ต้น และหลังการบ�ำบัดด้วยกระบวนการดูดซับจะถูกวัดความเป็นกรด-เบส ปริมาณบีโอดี (Biological
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

oxygen demand) ซีโอดี (Chemical oxygen demand) น�้ำมัน/ไขมัน (Oil & grease) ของ
แข็งละลายได้ (Total dissolved solid) และของแข็งแขวนลอย (Total suspended solid) ตาม
มาตรฐาน (American Public Health Association, 1998)

ผลการทดลองและอภิปรายผลการทดลอง
๑. สมบัติของตัวดูดซับเชิงพาณิชย์
รูปที่ ๑ แสดงสมบัติทางพื้นผิวของตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ พบว่าตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ทุกตัว
จะมีหมู่คาร์บอนิลสูงกว่าหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจนชนิดอื่น [รูปที่ ๑ (ก)] แสดงว่าพื้นผิวของตัวดูดซับ
ทุกตัวทีศ่ กึ ษามีหมูเ่ บสเป็นส่วนใหญ่และมีสภาพผิวเป็นบวก โดยสามารถเรียงล�ำดับตัวดูดซับเชิงพาณิชย์
ที่มีหมู่คาร์บอนิลจากมากไปน้อย คือ เบนทอไนต์ ถ่านกัมมันต์ และอะลูมินากัมมันต์ ตามล�ำดับ เมื่อ
พิจารณาค่า PZC ของตัวดูดซับ พบว่าเบนทอไนต์ อะลูมินากัมมันต์ และถ่านกัมมันต์ มีค่า PZC
เท่ากับ ๑๐.๒๕ ๘.๙๖ และ ๙.๖๒ ตามล�ำดับ [รูปที่ ๑ (ข)] นอกจากนี้ถ่านกัมมันต์จะมีพื้นที่ผิว BET
สูงสุด คือ ๑,๐๓๔ ตารางเมตร/กรัม [รูปที่ ๑ (ค)] มีขนาดรูพรุนเฉลี่ยและปริมาตรรูพรุนประมาณ
๒.๒ นาโนเมตร และ ๐.๗๕๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร/กรัม ตามล�ำดับ ในขณะที่เบนทอไนต์มีพื้นที่
ผิว BET ต�่ำสุด คือ ๓๙ ลูกบาศก์เมตร/กรัม มีขนาดรูพรุนเฉลี่ยและปริมาตรรูพรุนประมาณ ๑๓.๖
นาโนเมตร และ ๐.๑๗๑๕ ลูกบาศก์เซนติเมตร/กรัม ตามล�ำดับ

๒. สมบัติของน�้ำเสียก่อนและหลังการบ�ำบัดขั้นต้น
น�ำ้ เสียทีเ่ กิดขึน้ จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลทีใ่ ช้ในงานวิจยั นีม้ สี เี หลืองอ่อน [รูปที่ ๒ (ก)]
มีความเป็นกรดเล็กน้อย (ตารางที่ ๑) มีปริมาณบีโอดี ซีโอดี น�้ำมัน/ไขมัน ของแข็งละลายได้ และ
ของแข็งแขวนลอยสูงกว่ามาตรฐานน�ำ้ ทิง้ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ ๒.๒๕-๓.๗๕, ๒๙๕-
๓๒๙, ๓๗๐-๔๔๔, ๔.๑๒-๔.๑๗ และ ๔.๘๕-๖.๔๕ เท่า ตามล�ำดับ เมื่อน�ำน�้ำเสียไปบ�ำบัดขั้นต้น
โดยการปรับความเป็นกรด-เบสด้วยกรดซัลฟิวริกตามงานวิจัยที่ผ่านมา (Jaruwat et al, 2016) พบ
ว่าน�้ำเสียจะแยกเป็น ๒ ชั้น ชั้นบนมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดสีน�้ำตาลเข้มซึ่งเป็นชั้นของกรดไขมัน
ที่ละลายอยู่ในน�้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล ส่วนชั้นล่างเป็นสีขาวขุ่นเล็กน้อย [รูปที่ ๒ (ข)]
ปริมาณบีโอดี น�้ำมัน/ไขมัน ซีโอดี และของแข็งแขวนลอยลดลง แต่มีปริมาณของแข็งละลายได้
เพิ่มขึ้น อาจเกิดจากการสะสมตัวของแอลคาไลน์ไอออน (Na+ K+) จากปฏิกิริยาโปรโตเนชันของสบู่
และซัลเฟตไออน (SO42-) จากกรดที่เติมลงไปในน�้ำเสีย อย่างไรก็ดีน�้ำเสียที่ผ่านการบ�ำบัดขั้นต้นยังมี
ปริมาณบีโอดี ซีโอดี น�้ำมัน/ไขมัน ของแข็งละลายได้ และของแข็งแขวนลอย สูงกว่ามาตรฐานน�้ำทิ้ง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๗

ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ ๑.๑๗-๑.๖๗, ๒๒๘-๒๙๕, ๒๔๑-๓๒๗, ๑๐.๘-๑๑.๘ และ


๑.๐๙-๑.๕๓ เท่า ตามล�ำดับ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

รูปที่ ๑ (ก) ปริมาณหมู่ฟังก์ชันที่มีออกซิเจน (ข) ค่าความเป็นกรด-เบสเมื่อประจุบนพื้นผิวของตัวดูดซับมีค่า


เป็นศูนย์ และ (ค) พื้นผิว BET ของตัวดูดซับเชิงพาณิชย์

ตารางที่ ๑ สมบัติของน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลก่อนและหลังการบ�ำบัด

ดัชนีคุณภาพน�้ำ มาตรฐาน น�้ำเสียก่อนการบ�ำบัด น�้ำเสียที่ผ่านการบ�ำบัด น�้ำเสียหลังการบ�ำบัดด้วย


ขั้นต้น ขั้นต้นก กระบวนการดูดซับข
ความเป็นกรด-เบส ๕.๕-๙.๐ ๔.๒-๕.๙ ๑.๐-๑.๕ ๕.๒2
บีโอดี (มิลลิกรัม/ลิตร) < ๖๐ ๑๓๕-๒๒๕ ๗๐-๑๐๐ ไม่ได้วิเคราะห์
ซีโอดี (มิลลิกรัม/ลิตร) < ๔๐๐ ๑๑๘,๐๐๐-๑๓๑,๕๐๐ ๙๑,๐๐๐-๑๑๘,๐๑๕ ๗๕,๓๖๔–๗๙,๕๐๕
น�้ำมัน/ไขมัน (มิลลิกรัม/ลิตร) < ๕ ๑,๘๕๐-๒,๒๒๐ ๑,๒๐๕-๑,๖๓๕ ๔๗๕-๕๘๐
ของแข็งละลายได้ < ๓,๐๐๐ ๑๒,๓๗๐-๑๒,๕๐๗ ๓๒,๓๗๒-๓๕,๒๘๐ ๓๒,๙๕๓–๓๔,๑๐๗
(มิลลิกรัม/ลิตร)
ของแข็งแขวนลอย < ๑๕๐ ๗๒๗-๙๖๗ ๑๖๓-๒๓๐ ๑๒๐–๑๓๓
(มิลลิกรัม/ลิตร)

บ�ำบัดขั้นต้นด้วยการปรับความเป็นกรด-เบสด้วยกรดซัลฟิวริกเข้มข้น

บ�ำบัดด้วยกระบวนการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ อัตราการ
เขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลา ๒ ชั่วโมง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๙

(ก) (ข)

รูปที่ ๒ น�้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล (ก) ก่อนการบ�ำบัดขั้นต้น และ (ข) หลังการบ�ำบัดขั้นต้นด้วย


กรดซัลฟิวริก

๓. การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการดูดซับ
รูปที่ ๓ แสดงผลของชนิดตัวดูดซับต่อร้อยละการลดลงของสารมลพิษในน�้ำเสียจากการ
ผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้ตัวดูดซับปริมาณ ๓.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสีย ๑.๒
อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลา ๔ ชั่วโมง พบว่าถ่านกัมมันต์สามารถลดสารมลพิษใน
น�้ำเสียได้สูงที่สุดโดยพิจารณาจากการลดลงของค่าบีโอดี ซีโอดี และน�้ำมัน/ไขมัน ซึ่งน่าจะเป็นผล
มาจากการที่ถ่านกัมมันต์มีพื้นที่ผิว BET สูงเมื่อเทียบกับตัวดูดซับชนิดอื่นท�ำให้ที่พื้นที่ผิวในการดูดซับ
สารมลพิษมาก นอกจากนี้หมู่คาร์บอนิลบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์มีสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน (Yu
et al, 2008) จึงสามารถสร้างพันธะกับประจุลบของสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน�้ำเสีย เช่น กรดไขมัน
อิสระ (Free fatty acid, R-COO) หรือไบโอดีเซล (Fatty acid methyl ester–FAME) ส่งผลให้
สารมลพิษในน�้ำเสียลดลง อย่างไรก็ดีแม้เบนทอไนต์จะมีหมู่คาร์บอนิลบนพื้นผิวสูงกว่าถ่านกัมมันต์แต่
ประสิทธิภาพในการลดสารมลพิษต�ำ่ กว่ามาก อาจเนือ่ งจากเบนทอไนต์มพี นื้ ทีผ่ วิ BET ต�ำ่ (๓๖ ตาราง–
เมตร/กรัม) ส่งผลให้มีพื้นที่ผิวในการดูดซับสารมลพิษต�่ำ
รูปที่ ๔ แสดงผลของความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียในช่วง ๑.๒-๗.๒ ต่อร้อยละ
การลดลงของสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๓.๕ กรัม/ลิตร
อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลา ๔ ชั่วโมง พบว่าการลดสารมลพิษจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่ม
ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียจาก ๑.๒ เป็น ๕.๒ และการลดสารมลพิษจะต�่ำลงเมื่อเพิ่ม
ความเป็นกรด-เบสเริม่ ต้นของน�ำ้ เสียเป็น ๗.๒ ทัง้ นีอ้ าจเป็นผลของค่า PZC ของถ่านกัมมันต์ กล่าวคือ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

เมื่อสารละลายมีความเป็นกรด-เบสต�่ำกว่าค่า PZC ของตัวดูดซับ ประจุบนพื้นผิวของตัวดูดซับจะ


เป็นประจุบวก แต่ถ้าสารละลายมีความเป็นกรด-เบสสูงกว่าค่า PZC ของตัวดูดซับ ประจุบนพื้นผิว
ของตัวดูดซับจะเป็นประจุลบ (Chham et al, 2018) จากการวิเคราะห์ข้างต้น พบว่าถ่าน
กัมมันต์มีค่า PZC เท่ากับ ๙.๖๒ ดังนั้นพื้นผิวของถ่านกัมมันต์ในน�้ำเสียที่ทุกภาวะที่ศึกษาจะมีสภาพ
เป็นบวก ในระบบที่มีความเป็นกรด-เบสต�่ำ (ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ ๑.๒-๓.๒) จะมีปริมาณ H+
สูง จึงอาจไปแย่งจับสารมลพิษ ส่งผลให้ความสามารถในการดูดซับสารมลพิษในน�้ำเสียลดลง แต่
เมื่อความเป็นกรด-เบสของน�้ำเสียเพิ่มขึ้น (ความเป็นกรด-เบสเท่ากับ ๕.๒) ปริมาณ H+ จะลดลง
ประสิทธิภาพในการดูดซับสารมลพิษในน�้ำเสียของตัวดูดซับจึงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อเพิ่มความเป็น
กรด-เบสถึง ๗.๒ จะมีหมู่ –OH ในน�ำ้ เสียมาก จึงอาจแย่งจับกับประจุบวกบนตัวดูดซับ ประสิทธิภาพ
ในการดูดซับสารมลพิษของตัวดูดซับจึงลดลง

รูปที่ ๓ ผลของชนิดตัวดูดซับต่อร้อยละการลดสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้ตัวดูดซับ


ปริมาณ ๓.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสีย ๑.๒ อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที
และเวลาการดูดซับ ๔ ชั่วโมง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑๑

รูปที่ ๔ ผลของความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียต่อการลดสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล
เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๓.๕ กรัม/ลิตร อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลาการดูดซับ
๔ ชั่วโมง

รูปที่ ๕ แสดงผลของปริมาณถ่านกัมมันต์ต่อร้อยละการลดลงของสารมลพิษในน�้ำเสียจาก
การผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้น�้ำเสียที่มีความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นเท่ากับ ๕.๒ อัตราการเขย่า ๓๕๐
รอบ/นาที และเวลา ๔ ชั่วโมง พบว่าการลดลงของสารมลพิษจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณตัวดูดซับ
จาก ๑.๕ เป็น ๕.๕ กรัม/ลิตร เนื่องจากเมื่อปริมาณตัวดูดซับเพิ่มขึ้น พื้นที่ผิวในการดูดซับจะเพิ่มขึ้น
ประสิทธิภาพในการลดสารมลพิษจึงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพในการลดสารมลพิษจะลดลง
เมื่อเพิ่มปริมาณเป็น ๖.๕ กรัม/ลิตร เนื่องจากเมื่อระบบเพิ่มปริมาณตัวดูดซับมากเกินไปอาจท�ำให้
เกิดการจับกลุ่มกันของตัวดูดซับ พื้นที่ผิวในการดูดซับสารมลพิษจึงลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพใน
การลดสารมลพิษต�่ำลง (Mykola et al, 2009)
รูปที่ ๖ แสดงผลของเวลาในช่วง ๐.๕-๔.๐ ชั่วโมง ต่อการลดลงของสารมลพิษในน�้ำเสีย
จากการผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของ
น�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที พบว่าการลดลงของสารมลพิษในน�้ำเสีย
จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาต้น และมีแนวโน้มคงที่เมื่อเวลาของการดูดซับมากกว่า ๒ ชั่วโมง
การลดลงของสารมลพิษอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาต้นเกิดขึ้นจากการดูดซับของสารมลพิษบนพื้นผิว
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

ภายนอก (Exterior surface) ของอนุภาคถ่านกัมมันต์ เมื่อพื้นผิวภายนอกถูกปกคลุมด้วยอนุภาค


สารมลพิษจนเต็มพืน้ ที่ สารมลพิษจะต้องแพร่เข้าไปในรูพรุนของถ่านกัมมันต์และดูดซับทีพ่ นื้ ผิวภายใน
(Interior surface) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ (Ahmad and
Hameed, 2009) ท�ำให้ปริมาณสารมลพิษในน�้ำเสียไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

รูปที่ ๕ ผลของปริมาณถ่านกัมมันต์ต่อการลดสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้น�้ำเสียที่มี


ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นเท่ากับ ๕.๒ อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลาการดูดซับ ๔ ชั่วโมง

รูปที่ ๖ ผลของเวลาต่อการลดสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซล เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ


๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑๓

ตารางที่ ๑ แสดงดัชนีคณ
ุ ภาพน�ำ้ เสียจากการผลิตไบโอดีเซลทีผ่ า่ นการบ�ำบัดด้วยกระบวนการ
ดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒
อัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที และเวลา ๒ ชั่วโมง พบว่าน�้ำเสียที่ผ่านการบ�ำบัดด้วยกระบวนการ
ดูดซับมีปริมาณของแข็งแขวนลอยเป็นไปตามมาตรฐานน�้ำทิ้งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่ยัง
มี ค ่ า ซี โ อดี น�้ำมัน/ไขมัน และของแข็งละลายได้ สู ง กว่ า มาตรฐานน�้ ำ ทิ้ ง ประมาณ ๑๘๘-๑๙๙,
๙๕-๑๑๖ และ ๑๑.๐-๑๑.๔ เท่า ตามล�ำดับ ซึ่งต้องน�ำไปบ�ำบัดด้วยวิธีการอื่นต่อไป

๔. สมดุลและไอโซเทิร์มการดูดซับ
รูปที่ ๗ แสดงการดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุลเมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ
๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริม่ ต้นของน�ำ้ เสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที
พบว่าความสามารถในการดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมัน เพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารที่ถูกดูดซับ
ที่ภาวะสมดุลเพิ่มขึ้น
เมื่อน�ำข้อมูลที่ไปวิเคราะห์ด้วยไอโซเทิร์มการดูดซับ ๓ รูปแบบ คือ ไอโซเทิร์มแบบ
แลงเมียร์ (Langmuir isotherms) ไอโซเทิร์มแบบฟรุนดริช (Freundlich) และไอโซเทิร์มแบบ DR
(Dubinin-Radushkevich isotherms) โดยสมมติฐานของไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ คือ การดูดซับ
ของตัวถูกดูดซับบนตัวดูดซับเป็นการดูดซับแบบชั้นเดียว (Vasconcelos et al, 2008) สมการ
การดูดซับตามไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์สามารถแสดงได้ดังสมการที่ (๑)

(๑)

โดยที่ qe คือ ความสามารถในการดูดซับที่ภาวะสมดุล kL คือ ค่าคงตัวแลงเมียร์ Ce คือ ความ


เข้มข้นของสารที่ถูกดูดซับที่ภาวะสมดุล และ q0 คือ ปริมาณสารสูงสุดที่ถูกดูดซับแบบชั้นเดียว
เมื่อเขียนสมการที่ (๑) ในรูปของสมการเส้นตรงจะได้สมการที่ (๒) และจากสมการนี้ ถ้า
เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Ce/qe และ Ce [รูปที่ ๘ (ก)] จะสามารถค�ำนวณ q0 ได้จาก
ความชัน และ kL จากจุดตัดแกน y ดังแสดงในตารางที่ ๒

(๒)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

รูปที่ ๗ การดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุลเมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร


ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑๕

รูปที่ ๘ การดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุลตามไอโซเทิร์มแบบ (ก) แลงเมียร์ (ข) ฟรุนดริช และ (ค)


DR เมื่อใช้ตัวดูดซับคือ ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสีย
เท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที

ตารางที่ ๒ ค่าคงตัวการดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุลตามไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ ฟรุนดริช


และ DR

ส�ำหรับไอโซเทิร์มแบบฟรุนดริชเหมาะส�ำหรับพื้นผิววิวิธพันธุ์ (Heterogeneous surface)


และสามารถใช้ในการท�ำนายการเพิม่ อัตราการดูดซับของตัวถูกดูดซับบนพืน้ ผิวของตัวดูดซับ เมือ่ ความ
เข้มข้นของตัวถูกดูดซับในสารละลายเพิ่มขึ้น (Vázquez et al, 2007) โดยสมมติว่าเป็นการดูดซับ
ของตัวถูกดูดซับบนตัวดูดซับเป็นการดูดซับแบบหลายชั้น สมการการดูดซับตามไอโซเทิร์มแบบฟรุน-
ดริชสามารถแสดงโดยสมการที่ (๓) (Febrianto et al, 2009)
(๓)

และในรูปสมการเส้นตรงคือ (๔)

โดยที่ kF คือ ค่าคงตัวของฟรุนดริชซึ่งแสดงถึงความสามารถในการดูดซับสารของตัวดูดซับ และ n


คือ ความเข้มของการดูดซับ (Adsorption intensity) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสมบัติของตัวดูดซับ กล่าวคือ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

การดูดซับตามไอโซเทิร์มแบบฟรุนดริชจะเกิดขึ้นได้ดี เมื่อค่า ๑/n มีค่าระหว่าง ๐.๑–๑๓๓ จากสมการ


ที่ (๔) เมื่อเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง log qe และ log Ce สามารถค�ำนวณค่า ๑/n และ
kF ได้จากความชันและจุดตัดแกน y ตามล�ำดับ
ส่วนไอโซเทิร์มแบบ DR จะเป็นไอโซเทิร์มที่คล้ายกับไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ แต่สามารถ
ประยุกต์ได้กว้างกว่าเนื่องจากไม่ได้อยู่บนสมมติฐานของการดูดซับแบบชั้นเดียวเหมือนไอโซเทิร์ม
แบบแลงเมียร์ (Laus el al, 2010) สมการไอโซเทิร์มแบบ DR สามารถแสดงได้โดยสมการที่ (๕)

(๕)

เมื่อ คือ Polanyi potential ซึ่งสามารถค�ำนวณจาก



(๖)

เมื่อ R คือ ค่าคงตัวของแก๊ส และ T คืออุณหภูมิสัมบูรณ์ของการดูดซับ


สมการเส้นตรงของไอโซเทิร์มแบบ DR สามารถแสดงได้ดังสมการ (๗) โดยค่า q0 และ k
สามารถแสดงได้โดยการเขียนกราฟระหว่าง ln qe กับค่า 2 ดังแสดงในรูปที่ ๘(ค) และตารางที่ ๒

(๗)

ตารางที่ ๒ แสดงค่าคงตัวการดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุลตามไอโซเทิร์ม
แบบแลงเมียร์ ไอโซเทิร์มแบบฟรุนดริช และไอโซเทิร์มแบบ DR พบว่า ไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์
แสดงค่า R2 ส�ำหรับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันสูงกว่าไอโซเทิร์มแบบอื่น แสดงว่าการดูดซับซีโอดีและ
น�ำ้ มัน/ไขมันบนถ่านกัมมันต์เป็นการดูดซับแบบแบบชัน้ เดียว โดยการดูดซับซีโอดีจะมีคา่ q0 มากกว่า
ของน�้ำมัน/ไขมันประมาณ ๑๘ เท่า แต่มีค่า kL ต�่ำกว่าประมาณ ๘๙ เท่า

๕. พลศาสตร์และจลนศาสตร์การดูดซับ
กระบวนการดูดซับของสารถูกดูดซับบนตัวดูดซับประกอบด้วย ๒ ขั้นตอนหลัก คือ
ขั้นตอนการแพร่ของตัวถูกดูดซับจากสารละลายบริเวณบัลก์ (Bulk solution) มาที่พื้นผิวของตัว
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑๗

ดูดซับ และขัน้ ตอนการดูดซับบนพืน้ ผิว โดยการดูดซับในช่วงแรกจะเป็นการดูดซับบนพืน้ ผิวทีป่ ราศจาก


สารดูดซับ การดูดซับจึงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และกระบวนการแพร่จะเป็นกระบวนการควบคุม
(Rate controlling step) อัตราการดูดซับ
จากกฎการแพร่ของฟิกซ์ (Fick diffusion law) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถใน
การดูดซับที่เวลาต่าง ๆ (qt) และเวลา (t) สามารถเขียนได้ดังสมการที่ (๘) (Zhang and Bai, 2003)

(๘)

โดยที่ C0 คือ ความเข้มข้นเริ่มต้นของตัวถูกดูดซับในน�้ำเสีย D คือ สัมประสิทธิ์การแพร่ของตัวถูก


ดูดซับ และ S คือ พื้นที่ผิว BET ของถ่านกัมมันต์
สมการที่ (๘) สามารถเขียนได้ในรูปของแบบจ�ำลองการแพร่ภายใน (Intraparticle dif-
fusion model) ดังสมการที่ (๙) และเมื่อเขียนกราฟแสดงความสัมพันธฺระหว่าง qt และ t0.5 จะได้
กราฟเส้นตรงที่มีความชันคือค่า ki

(๙)

โดยที่ ki คือ ค่าคงตัวการแพร่ภายใน


รูปที่ ๙ แสดงพลศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันบนถ่านกัมมันต์ พบว่ากราฟ
จะแสดงความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงในช่วงที่เวลาน้อยกว่า ๒ ชั่วโมง ด้วยค่า R2 เท่ากับ ๐.๙๔๙๔ และ
๐.๙๗๖๕ ส�ำหรับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมัน ตามล�ำดับ แสดงว่าการดูดซับถูกควบคุมด้วยการแพร่ของ
สารมลพิษในช่วง ๒ ชั่วโมงแรกของการท�ำงาน เมื่อค�ำนวณค่า ki หรือค่าคงตัวการแพร่ภายในถ่าน
กัมมันต์จากความชันของกราฟ พบว่าค่า ki ของซีโอดี (๓.๘๗ กรัม/กรัม-ชั่วโมง๐.๕ มีค่ามากกว่า
น�้ำมัน/ไขมัน (๐.๐๗๕ กรัม/กรัม-ชั่วโมง๐.๕) ประมาณ ๕๑.๗ เท่า แต่เมื่อเวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง
(t๐.๕ > ๑.๔ ) กระบวนการดูดซับสารอินทรีย์จะถูกควบคุมด้วยการดูดซับบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

รูปที่ ๙ พลศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันเมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร


ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที

จลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์ตามแบบ
จ�ำลองการดูดซับอันดับหนึ่งเทียม (Pseudo-first-order equation) (McKay and Ho, 1999)
สามารถแสดงได้ดังสมการที่ (๑๐)

(๑๐)

โดยที่ k1 คือ ค่าคงตัวการดูดซับอันดับหนึ่งเทียม และ qt คือ ความสามารถในการดูดซับที่เวลา t ใด ๆ


เมื่อหาปริพันธ์ของพจน์ต่าง ๆ ในสมการที่ (๑๑) โดยให้ qt = 0 ที่ t = 0 และจัดรูปสมการ
ใหม่ ผลที่ได้ก็คือสมการที่ (๑๑) เมื่อเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง log(qe - qt) และ t จะ
ได้ค่าคงตัว k1 และ log qe จากความชันและจุดตัดแกน y ตามล�ำดับ โดยแบบจ�ำลองการดูดซับ
อันดับหนึ่งเทียมเหมาะสมที่จะใช้ในการอธิบายการดูดซับที่เกิดในช่วงเวลาต้น ๆ ของกระบวนการ
ดูดซับเท่านั้น (Ahmad et al, 2005)

(๑๑)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๑๙

ส่วนจลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์ตามแบบจ�ำลอง
การดูดซับอันดับสองเทียม (Pseudo-second-order equation) (McKay and Ho, 1999) สามารถ
แสดงได้ดงั สมการที่ (๑๒)

(๑๒)

โดยที่ k2 คือ ค่าคงตัวการดูดซับอันดับสองเทียม


เมื่อหาปริพันธ์ของพจน์ต่าง ๆ ของสมการที่ (๑๒) และจัดรูปใหม่ได้สมการที่ (๑๓) และ
(๑๔) ตามล�ำดับ ซึ่งค่า k2 และ qe สามารถค�ำนวณได้จากความชันและจุดตัดแกน y ของกราฟแสดง
ความสัมพันธ์ระหว่าง t/qt และ t และถ้าจลศาสตร์ของการดูดซับของสารใดสอดคล้องกับแบบ
จ�ำลองการดูดซับอันดับสองเทียม แสดงว่ากระบวนการดูดซับสารนั้นเป็นการดูดซับทางเคมี (Chiou
and Li, 2002)

(๑๓)

(๑๔)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒๐ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

รูปที่ ๑๐ จลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์ตามแบบจ�ำลองการดูดซับ
(ก) อันดับหนึ่งเทียม และ (ข) อันดับสองเทียม เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร
ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที

รูปที่ ๑๐ แสดงจลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์ตามแบบ
จ�ำลองการดูดซับอันดับหนึ่งเทียมและอันดับสองเทียม เมื่อใช้ถ่านกัมมันต์ปริมาณ ๕.๕ กรัม/ลิตร
ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นของน�้ำเสียเท่ากับ ๕.๒ และอัตราการเขย่า ๓๕๐ รอบ/นาที พบว่า
จลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์สอดคล้องกับแบบจ�ำลองการ
ดูดซับอันดับสองเทียม โดยมีค่า R2 ของการดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันเท่ากับ ๐.๙๙๐๒ และ
๐.๙๙๗๐ ตามล�ำดับ แสดงว่าการดูดซับสารมลพิษในน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลเป็นการดูดซับ
ทางเคมี ค่าคงตัวการดูดซับค�ำนวณตามแบบจ�ำลองการดูดซับอันดับสองเทียมแสดงดังตารางที่ ๓
พบว่า ถ่านกัมมันต์ให้คา่ คงตัวและความสามารถในการดูดซับซีโอดีสงู กว่าน�ำ้ มัน/ไขมันอย่างมีนยั ส�ำคัญ

ตารางที่ ๓ ค่าคงตัวการดูดซับและความหนาแน่นการดูดซับที่ภาวะสมดุลตามแบบจ�ำลองการดูดซับอันดับ
สองเทียม
ดัชนีคุณภาพน�้ำ k2 qe,cal R2
(กรัม/กรัม-ชั่วโมง) (กรัม/กรัม)
ซีโอดี ๑,๘๔๓ ๘.๐๒ ๐.๙๙๐๒

น�้ำมัน/ไขมัน ๐.๐๐๕ ๐.๑๓๘ ๐.๙๙๗๐
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๒๑

สรุปผลการทดลอง
งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพในการบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลด้วยกระบวนการ
ดูดซับโดยใช้ตัวดูดซับเชิงพาณิชย์ ๓ ชนิด คือ เบนทอไนต์ อะลูมินากัมมันต์ และถ่านกัมมันต์ พบว่า
ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารมลพิษในน�้ำเสียมากที่สุดในรูปของซีโอดีและน�้ำมัน/
ไขมัน เนื่องจากมีพื้นที่ผิว BET สูงที่สุด ไอโซเทิร์มการดูดซับซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันที่ภาวะสมดุล
สอดคล้องกับไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ กลไกการดูดซับสารมลพิษถูกควบคุมด้วยการแพร่ในช่วง ๒
ชั่วโมงแรก และถูกควบคุมด้วยการดูดซับบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์เมื่อเวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง
จลนศาสตร์การดูดซับของซีโอดีและน�้ำมัน/ไขมันของถ่านกัมมันต์สอดคล้องกับแบบจ�ำลองการดูดซับ
อันดับสองเทียมและเป็นการดูดซับทางเคมี

กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) ที่เอื้อเฟื้อน�้ำเสียตัวอย่าง
และขอขอบคุณทุนโครงงานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอกสารอ้างอิง
Ahmad, A.A., Hameed, B.H. (2009). Reduction of COD and color of dyeing effluent from
a cotton textile mill by adsorption onto bamboo-based activated carbon.
Journal of Hazardous Materials. 172: 1538-1543.
Ahmad, A.L., Sumathi, S., Hameed, B.H. (2005). Adsorption of residue oil from palm
oil mill effluent using powder and chitosan flake: Equilibrium and kinetic
studies. Water Research. 39: 2483-2494.
American Public Health Association, American Water Works Association, Water
Environment Federation. (1998). Standards Methods for the Examination of
Water and Wastewater, 20th ed., Washington, DC: American Public Health
Association.
Chavalparit, O., Ongwandee, M. (2009). Optimizing electrocoagulation process for the
treatment of biodiesel wastewater using response surface methodology.
Journal of Environmental Sciences. 21: 1491-1496.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒๒ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

Chen, X., Jeyaseelan, S., Graham, N. (2002). Physical and chemical properties study of
the activated carbon made from sewage sludge. Waste Management. 22:
755-760.
Chham, A., Khouya, E.H., Oumam, M., Abourriche, A., Gmouh, S., Larzek, M., Mansouri,
S., Elhammoudi, N., Hanafi, N., Hannache, H. (2018). The use of insoluble
mater of Moroccan oil shale for removal of dyes from aqueous solution.
Chemistry International 4(1): 67-77.
Chia, X., Lia, A., Lia, M., Maa, L., Tang, Y., Hub, B., Yang, J. (2018). Influent characteris-
tics affect biodiesel production from waste sludge in biological wastewater
treatment systems. International Biodeterioration & Biodegradation. 132:
226-235
Chiou, M.S., Li, H.Y. (2002). Equilibrium and kinetic modeling of adsorption of reactive
dye on cross-linked chitosan beads. Journal of Hazardous Materials. 93:
233-248.
Daud, Z., Nasir, N., Awang, H. (2013). Treatment of Biodiesel Wastewater by Coagula-
tion and Flocculation using Polyaluminum Chloride. Australian Journal of
Basic and Applied Sciences. 7(8): 258-262.
Febrianto, J.J., Kosasih, A.N., Sunarso, J., Ju, Y.H., Indraswati, N., Ismadji, S. (2009).
Equilibrium and kinetic studies in adsorption of heavy metals using
biosorbent: a summary of recent studies. Journal of Hazardous Materials.
162: 616-645.
Guldhe, A., Singh, P., Renuka, N., Bux, F. (2019). Biodiesel synthesis from wastewater
grown microalgal feedstock using enzymatic conversion: A greener approach.
Fuel. 237: 1112-1118
Jaruwat, P., Kongja, S., Hunsom, M. (2010). Management of biodiesel wastewater
by the combined processes of chemical recovery and electrochemical
treatment. Energy Conversion and Management. 51: 531-537.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๒๓

Jaruwat, P., Pitakpoolsil, W., Hunsom, M. (2016). Treatment of biodiesel wastewater


by indirect electrooxidation: Effect of additives and process kinetics. Korean
Journal of Chemical Engineering 33(7): 2090-2096.
Khan, Y., Yamsaengsung, R., Chetpattananondh, P., Khongnakorn, W. (2015). Treatment
of wastewater from biodiesel plants using microbiological reactor technology.
International Journal of Environmental Science and Technology. 12:
297-306
Knothe, G. (2005). Dependence of biodiesel fuel properties on the structure of fatty
acid alkyl esters. Fuel Processing Technology. 86: 1059-1070.
Lam, M.K., Lee, K.T., Mohamed, A.R. (2010). Homogeneous, heterogeneous and
enzymatic catalysis for transesterification of high free fatty acid oil (waste
cooking oil) to biodiesel: A review. Biotechnology Advances. 28: 500-518.
Laus, R/, Costa, T.G., Szpoganicz, B., Fávere, V.T. (2010). Adsorption and desorption
of Cu(II), Cd(II) and Pb(II) ions using chitosan crosslinked with epichlorohydrin-
triphosphate as the adsorbent. Journal of Hazardous Materials. 183:
233-241.
Liu, S., Musuku, S.R., Musuku, S., Fernando, S. (2009). Adsorption of glycerol from
biodiesel washwaters. Environmental Technology. 30: 505-510.
McKay, G., Ho, Y.S. (1999). The sorption of lead (II) on peat. Water Research. 33:
578-584.
McNeill, J., Kakuda, Y. & Kamel, B. (1986). Improving the quality of used frying oils by
treatment with activated carbon and silica. Journal of the American Oil
Chemists’ Society. 63: 1564-1567.
Mozaffarikhah, K., Kargari, A., Tabatabaei, M., Ghanavati, H., Shirazi, M.M.A. (2017).
Membrane treatment of biodiesel wash-water: A sustainable solution for
water recycling in biodiesel production process. Journal of Water Process
Engineering 19: 331-337.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒๔ การบ�ำบัดน�้ำเสียจากการผลิตไบโอดีเซลฯ

Mykola, S., Jakub, L., Urs, J., Teresa. J. (2009). Textural and chemical factors affecting
adsorption capacity of activated carbon in highly efficient desulfurization of
diesel fuel. Carbon. 47: 2491-2500.
Ngamlerdpokin, K., Kumjadpai, S., Chatanon, P., Tungmanee, U., Chuenchuanchom,
S., Jaruwat, P., Lertsathitphongs, P., Hunsom, M. (2011). Remediation of
biodiesel wastewater by chemical and electro-coagulation: A comparative
study. Journal of Environmental Managment. 92: 2454-2460.
Obanla, O.R., Bababtunde, D.E., Ogunbiyi, A.T., Oladimeji, T.E., Ifepe, I.M.I. (2018).
Biodiesel Washing Water Treatment Using Zeolite and Activated Carbon as
Adsorbents. International Journal of Engineering and Applied Sciences.
5(3). 124-126.
Pansa-Ngat, P., Jedsukontorn, T., Hunsom, M. (2017). Simultaneous H2 production and
pollutant removal from biodiesel wastewater by photocatalytic oxidation
with different crystal structure TiO2 photocatalysts. Journal of the Taiwan
Institute of Chemical Engineers. 78: 386-394.
_______ . (2018). Optimal Hydrogen Production Coupled with Pollutant Removal
from Biodiesel Wastewater Using a Thermally Treated TiO2 Photocatalyst
(P25): Influence of the Operating Conditions. Nanomaterials. 8: 96 (12 pags)
Peereboom, L., Koenigsknecht, B., Hunter, M., Jackson, J.E., Miller, D.J. (2007).
Aqueous-phase adsorption of glycerol and propylene glycol onto activated
carbon. Carbon. 45: 579-586.
Pitakpoolsil, W., Hunsom, M. (2013). Adsorption of pollutants from biodiesel waste-
water using chitosan flakes. Journal of the Taiwan Institute of Chemical
Engineers. 44(6): 963-971.
Rattanapan, C., Sawain, A., Suksaroj, T., Suksaroj, C. (2011). Enhanced efficiency of
dissolved air flotation for biodiesel wastewater treatment by acidification
and coagulation processes. Desalination. 280(1-3): 370-377.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.มะลิ หุ่นสม และคณะ ๒๕

Romero, J.A.P., Cardoso Junior, F.S.S., Figueiredo, R.T., Silva, D.P., Cavalcanti, E.B.
(2013). Treatment of Biodiesel Wastewater by Combined Electroflotation
and Electrooxidation Processes. Separation Science and Technology. 48:
2073-2079.
Savcı, S. (2017). Article treatment of biodiesel wastewater using yellow mustard
seeds. Turkish Journal of Engineering 1(1): 11-17.
Smith, P.C., Ngothai, Y., Nguyen, Q.D., O’Neill, B.K. (2009). Alkoxylation of biodiesel and
its impact on low-temperature properties. Fuel. 88(4): 605-612.
Urano, K., Tachikawa, H. (1991). Process development for removal and recovery of
phosphorus from wastewater by a new adsorbent. Industrial & Engineering
Chemistry Research. 30: 1893-1896.
Vasconcelos, H.L., Camargo, T.P., Goncalve, N.S.¸ Neves, A., Laranjeira, M.C.M., Fávere,
W.T. (2008). Chitosan crosslinked with a metal complexing agent: synthesis,
characterization and copper (II) ions adsorption. Reactive and Functional
Polymers. 68: 572-579.
Vázquez, I., Rodríguez-Iglesias, J., Marañón, E., Castrillón, L., Álvarez, M. (2007).
Removal of residual phenols from coke wastewater by adsorption. Journal
of Hazardous Materials. 147: 395-400.
Wang, S.G., Sun, X.F., Liu, X.W., Gong, W.X., Gao, B.Y., Bao, N. (2008). Chitosan hydrogel
beads for fulvic acid adsorption: Behaviors and mechanisms. Chemical
Engineering Journal. 142: 239-247.
Yu, G.X., Lu, S.X., Chen, H., Zhu, Z.N. (2005). Thermal regeneration of activated carbon
saturated with p-nitrophenol. Carbon. 43: 2285-2293.
Zhang, X., Bai R. (2003). Mechanisms and kinetics of humic acid adsorption onto
chitosan-coated granules. Journal of Colloid and Interface Science. 264:
30-38.
Zhang, M.H., Zhao, Q.L., Bai, X., Ye, Z.F. (2010). Adsorption of organic pollutants from
coking wastewater by activated coke. Colloids and Surfaces A: Physico-
chemical and Engineering Aspects. 362: 140-146.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒๖ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

การเปรียบเทียบความรับผิด
ของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุดบกพร่อง
ในสหรัฐอเมริกาและไทย
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล
ภาคีสมาชิก ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา
ดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ
ผู้ผลิตและผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุดบกพร่องในสหรัฐอเมริกามีความรับผิด
ต่อผู้ซื้อวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ (ฟาร์มที่ผลิตภายใต้
สัญญาการผลิต) ความรับผิดดังกล่าวเป็นไปตามหลักการรับประกันโดยปริยาย (implied
warranty) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายในสัญญาซื้อขาย มิใช่ความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยความ
รับผิดในผลิตภัณฑ์ [Restatement of Tort (second)] ส�ำหรับประเทศไทย ผูข้ ายวัคซีนสัตว์ปกี
ที่มีความช�ำรุดบกพร่องจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อวัคซีนซึ่งส่วนใหญ่คือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อใน
เชิงพาณิชย์ตามเกษตรพันธสัญญา ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๔๗๒ ประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ และตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา
พ.ศ. ๒๕๖๐ แต่ในกรณีทมี่ กี ารขายวัคซีนสัตว์ปกี ทีม่ คี วามช�ำรุดบกพร่องให้แก่ผซู้ อื้ ทีเ่ ป็นเกษตรกร
ผู้เลี้ยงไก่เนื้ออิสระนั้น ความรับผิดของผู้ขายจะเป็นไปตามมาตรา ๔๗๒ ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์แต่เพียงเท่านั้น ความช�ำรุดบกพร่องในกรณีเหล่านั้นจะไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมาย
ว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยเนือ่ งจากผูซ้ อื้ วัคซีนไม่เข้าข่ายเป็นผูบ้ ริโภค หาก
แต่เป็นผู้ใช้เชิงพาณิชย์รายสุดท้ายของวัคซีนสัตว์ปีก

ค�ำส�ำคัญ : วัคซีนสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ที่มีความช�ำรุดบกพร่อง การรับประกันโดยปริยาย สัญญา


การผลิต เกษตรพันธสัญญา
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๒๗

Abstract: Professor Dr. Sakda Thanitkul


Associate Fellow of the Academy of Moral and Political Sciences,
The Royal Society of Thailand
Dr. Kansak Bejrananda
Faculty of Law, Chulalongkorn University
Manufactures and seller of defective avian vaccines in the United
States are liable to buyers, the great majority of whom are commercial chicken
broiler farms (production contract farms), under the implied warranty of sale
contract, not under the strict product liability in The Restatement of Tort
(second) (Product Liability Law). Sellers of defective avian vaccines in Thailand
are liable to buyers, the great majority of whom are also commercial chicken
broiler farms (contract farming operators), under the implied warranty of Section
472 of the Thai Civil and Commercial Code (Thai CCC) and also Section 26 of the
newly enacted Promoting and Developing Contract Farming Act B.E. 2560. Sellers
of defective avian vaccines in Thailand are liable to buyers, who are independent
chicken broiler farm operators under Section 472 of the Thai CCC. Sellers of
defective avian vaccine in Thailand are not liable under the Thai Product Liability
Law because buyers in the aforementioned situations are not “consumers” but
“commercial end users” of the avian vaccines.

Keywords: Avian vaccine, defective product, implied warranty, product contract,


contract farming

บทน�ำ
การควบคุมโรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) นับได้ว่าเป็นความท้าทายส�ำคัญที่สุดต่อ
ความอยู่รอดของการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ทั่วโลก เนื่องจากโรคมาเร็กซ์เป็นเชื้อไวรัสสัตว์ปีกที่มีความ
ร้ายแรงถึงขนาดที่สามารถท�ำลายไก่ทั้งฝูงได้ ทั้งนี้ การควบคุมโรคมาแรกซ์โดยการใช้วัคซีนถือได้ว่า
ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับที่ ๙
(มีสัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ ๒ ของการผลิตทั้งโลก) และได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อ
เป็นอันดับที่ ๕ ของโลก อนึ่ง ร้อยละ ๓๐-๔๐ ของการผลิตไก่เนื้อของประเทศไทย ถูกส่งออกไปยัง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๒๘ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

ญี่ปุ่น ร้อยละ ๕๐ และสหภาพยุโรป ร้อยละ ๓๘ และประเทศกลุ่มอาเซียน ร้อยละ ๑๒ ดังนั้น


อุตสาหกรรมสัตว์ปีกถือได้ว่าเป็นภาคธุรกิจที่มีความส�ำคัญมากต่อเศรษฐกิจไทย ในกรณีที่มีการใช้
วัคซีนสัตว์ปกี ทีม่ คี วามช�ำรุดบกพร่อง ผูผ้ ลิตสัตว์ปกี ควรจะต้องอ้างมูลคดีทเี่ หมาะสมอันจะน�ำไปสูก่ าร
เรียกร้องให้ผู้ผลิตวัคซีนท�ำการเยียวยาได้
สหรัฐอเมริกามีอุตสาหกรรมสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และส่งออกสัตว์ปีกมากเป็นอันดับ
๒ ของโลกใน ค.ศ. ๒๐๑๐ สหรัฐอเมริกามีปริมาณการผลิตไก่เนื้อจ�ำนวน ๓๖.๙ พันล้านปอนด์
และมีปริมาณการส่งออกไก่เนื้อทั้งหมด ๖.๘ พันล้านปอนด์ คิดเป็นมูลค่าได้ ๓.๑ พันล้านดอลลาร์
สหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้การจัดการกับข้อพิพาทในคดีวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุดบกพร่องในระบบ
กฎหมายของสหรัฐอเมริกาจึงให้บทเรียนส�ำคัญแก่ระบบกฎหมายไทยในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว
ใน ค.ศ. ๒๐๐๖ จากการส�ำรวจใน ๑๗ มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่ามีจ�ำนวน
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อทั้งสิ้น ๑๗,๔๔๐ ราย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมไก่เนื้อในสหรัฐอเมริกานั้นถูกครอบง�ำ
โดยสัญญาการผลิต (production contracts) ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อเกือบทุกราย
ส�ำหรับผู้ส่งออกเนื้อไก่ในประเทศไทยก็น�ำสัญญาการผลิตดังกล่าวมาใช้ในการจัดระบบการผลิต
เช่นเดียวกัน โดยเรียกสัญญาการผลิตดังกล่าวว่า เกษตรพันธสัญญา (contract farming) อนึ่ง ใน
สหรัฐอเมริกานั้น กฎหมายที่ใช้กับข้อพิพาทระหว่างผู้ผลิตวัคซีนสัตว์ปีกกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ใน
กรณีที่วัคซีนสัตว์ปีกมีความช�ำรุดบกพร่องคือกฎหมายสัญญา ไม่ใช่กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์
อย่างเคร่งครัด (strict product liability law) ผู้เขียนเสนอว่า เพื่อที่จะรักษาความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศในการผลิตและส่งออกไก่เนื้อ ข้อพิพาทระหว่างผู้ส่งออกไก่เนื้อรายส�ำคัญซึ่งจัดส่ง
วัคซีนสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ควรตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติตามมาตรา ๔๗๒ แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๐
และไม่ควรตกอยู่ภายใต้ขอบเขตของพระราชบัญญัติความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่
ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยจะอธิบายเหตุผลในส่วนการวิเคราะห์ทางกฎหมายและข้อเสนอแนะ

ความรับผิดของผู้ผลิตและผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกในสหรัฐอเมริกา
๑. การจัดระบบการผลิต
การน� ำ สั ญ ญาการผลิ ต มาใช้ ใ นการจั ด การระบบการผลิ ต ท� ำ ให้ ก ารผลิ ต สั ต ว์ ป ี ก ของ
สหรัฐอเมริกามีประสิทธิภาพ สัญญาการผลิตดังกล่าวครอบง�ำเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เกือบทุกรายที่อยู่ใน
อุตสาหกรรมสัตว์ปีกของสหรัฐอเมริกา จากการส�ำรวจพบว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระเพียงแค่ไม่กี่
รายเท่านั้นซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ ๐.๔ ของจ�ำนวนไก่ที่ผลิตได้ทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ส่วน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๒๙

การผลิตไก่ภายใต้สัญญาการผลิตนั้น มีปริมาณการผลิตโดยเกษตรกรแต่ละรายเฉลี่ยถึง ๔๘๓,๖๐๐


ตัวต่อคน ซึ่งแปลงเป็นน�้ำหนักของผลผลิตที่สามารถขายได้ทั้งหมด ๒.๖๕ ล้านปอนด์ ทั้งนี้ การผลิต
ตามสัญญาการผลิตนั้นจะเป็นความสัมพันธ์ระยะยาว จากการส�ำรวจพบว่าระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการ
ท�ำสัญญาคือ ๑๓ ปี
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อภายใต้สัญญาการผลิตจะมีความช�ำนาญการและจะด�ำรงกิจการ
อยู่ได้จากค่าตอบแทนที่ได้รับจากสัญญาการผลิต โดยเฉลี่ยแล้วค่าตอบแทนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ
๘๕ ของรายได้ที่เป็นเงินสดทั้งหมดของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อภายใต้สัญญาการผลิต ค่าตอบแทน
ดังกล่าวขึ้นอยู่กับความสามารถของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อในการเลี้ยงไก่ให้ได้น�้ำหนักตามที่ตลาด
ต้องการ โดยมีการเปรียบเทียบกับความสามารถของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายอื่นด้วย ภายใต้เงื่อนไข
ดังกล่าว เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีหากสามารถส่งเนื้อไก่ได้มากกว่ารายอื่น เมื่อ
เทียบกับจ�ำนวนอาหารและจ�ำนวนลูกไก่ที่ได้รับ ดังนั้น ค่าตอบแทนที่เกษตรกรได้รับจะขึ้นอยู่กับ
ความสามารถในการเลีย้ งและอัตราการตายของไก่ นอกจากนี้ สัญญาการผลิตอาจก�ำหนดให้เกษตรกร
ผู้เลี้ยงไก่เนื้อด�ำเนินการกระบวนผลิตบางประการซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายของ
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ จากการส�ำรวจของกระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกา หรือ United States
Department of Agriculture–USDA พบว่าผู้รับซื้อไก่เนื้อมักจะเรียกร้องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ
ทดสอบเชื้อไข้หวัดนก เชื้อ Salmonella หรือเชื้ออื่น ๆ กับฝูงไก่เนื้อที่เลี้ยง ประมาณร้อยละ ๘๕
ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อรายงานว่ากระบวนการผลิตจะถูกด�ำเนินการภายใต้หลักการ “เข้าหมด-
ออกหมด” (all-in-all-out basis) กล่าวคือ การน�ำไก่ออกทั้งหมดในคราวเดียว และน�ำไก่เข้ามา
ทั้งหมดในคราวเดียว ซึ่งหลักการดังกล่าวจะสามารถลดอัตราการแพร่กระจายของโรคได้ และมีส่วน
ช่วยให้สามารถให้อาหารไก่ตามช่วงอายุได้อย่างเหมาะสม

๒. กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวภัณฑ์สัตว์ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ใน ค.ศ. ๑๙๑๓ รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาได้ออกรัฐบัญญัติว่าด้วยไวรัส-ซีรัม-ชีวพิษ
(Virus-Serum-Toxin Act ต่อไปจะเรียกว่า VST Act) เพื่อควบคุมผลิตภัณฑ์ชีวภาพทั้งหมด (ดู ๒๑
U.S.C §§ 151) ก่อนที่จะมีกฎหมายดังกล่าวผู้ผลิตวัคซีนไม่ได้ถูกควบคุมเท่าใดนัก จึงก่อให้เกิด
ปัญหาส�ำคัญทั้งทางด้านความมีประสิทธิภาพและด้านฤทธิ์ของยา ใน ค.ศ. ๑๙๙๕ มีการแก้ไข VST
Act โดยก�ำหนดให้คณะกรรมการอาหารและยา (Federal Food and Drug Administration–FDA)
เป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการควบคุมชีวภัณฑ์สัตว์ทั้งหมด มาตรา ๑๕๑ ระบุไว้โดยเฉพาะว่า “การ
เตรียม การขาย...ไวรัส ซีรัม และชีวพิษ หรือผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้รักษา
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๓๐ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

สัตว์อันปนเปื้อน สิ้นประสิทธิภาพทางการรักษา เป็นอันตราย หรือให้โทษ เป็นการกระท�ำที่ผิด


กฎหมาย” อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอ�ำนาจก�ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้อนุญาตส�ำหรับชีวภัณฑ์
สัตว์รวมทั้งวัคซีนด้วย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตร (Secretary of Agriculture) ส่วน
USDA มีอ�ำนาจในการให้การอนุญาตส�ำหรับวัคซีน โดยใช้อ�ำนาจดังกล่าวผ่านองค์กรย่อยที่ชื่อว่า
Animal and Plant Health Inspection Service–APHIS ทั้งนี้ การที่ APHIS ได้ให้การอนุญาต
แก่วัคซีนใดแล้วนั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความรับผิดในความช�ำรุดบกพร่องของวัคซีนสัตว์นั้น ๆ
เช่นเดียวกันกับที่การอนุญาตชีวภัณฑ์ของมนุษย์โดย FDA มีผลต่อความรับผิดทางกฎหมายของวัคซีน
มนุษย์ที่ช�ำรุดบกพร่อง อนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายระดับสหพันธ์ย่อมมีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายของ
มลรัฐที่มีเนื้อหาขัดแย้งกันเสมอ ยิ่งไปกว่านั้น ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ APHIS ออกกฎว่า “มลรัฐไม่มีอ�ำนาจ
ก�ำหนดเงื่อนไขในด้านความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพ และความบริสุทธิ์ของสินค้าที่แตกต่าง
หรือเพิ่มเติมจากที่ USDA ก�ำหนด”

๓. คดีส�ำคัญเกี่ยวกับวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความช�ำรุดบกพร่อง : โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease)


การรั ก ษาสุ ข ภาพของไก่ ใ นฟาร์ ม โดยการใช้ วั ค ซี น ถื อ เป็ น เรื่ อ งส�ำคั ญ ส� ำหรั บ กิ จ การ
เลี้ยงไก่ โรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่พบในไก่คือ โรคมาเร็กซ์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกท้องที่ในโลก และ
สามารถท�ำลายไก่ได้ทั้งฝูง มีการประมาณการว่าโรคดังกล่าวสร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมไก่
ของโลกไปกว่า ๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โรคมาเร็กซ์เป็นโรคที่เกี่ยวกับเนื้องอกซึ่งเกิดจากการ
ติดเชื้อ herpes virus ซึ่งท�ำลายระบบการมองเห็น ระบบประสาทและอวัยวะภายใน ส่งผลให้เป็น
อัมพาต มีเนื้องอกที่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และอวัยวะภายใน อัตราการตายจากโรคนี้สูงถึงร้อยละ ๘๐
การได้ รั บ วั ค ซี น ส่ ง ผลให้ ไ วรั ส หยุ ด การส่ ง ผลทางพยาธิ วิ ท ยาเท่ า นั้ น แต่ ไ ม่ ส ามารถขจั ด ไวรั ส ได้
นอกจากนี้ ในบางกรณีเชื้อไวรัสที่สามารถเอาตัวรอดได้สามารถท�ำลายล้างได้รุนแรงกว่าเดิม โดย
ท�ำให้เกิดการตายเกือบร้อยละ ๑๐๐ ได้ภายใน ๑๐ วันนับแต่ติดเชื้อ เนื่องจากไวรัสชนิดนี้แพร่เชื้อ
ได้ทางสะเก็ดผิวหนัง ดังนั้น จึงจ�ำเป็นจะต้องท�ำลายไก่ที่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการระบาด การควบคุม
โรคมาเร็กซ์อย่างเหมาะสมจึงมีความส�ำคัญต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นอย่างมาก
โดยทั่วไปแล้ว ลูกไก่เกิดใหม่จะได้รับการฉีดวัคซีนเป็นรายตัวภายในไม่กี่วันนับแต่เกิด
โดยการฉีดวัคซีนเข้าใต้ผวิ หนังบริเวณหลังของล�ำคอโดยลูกจ้างของเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่ อีกวิธกี ารหนึง่
ที่สามารถท�ำได้คือ การฉีดวัคซีนไปในร่างกายของไก่ ก่อนที่ไข่จะฟัก ไม่ว่าจะท�ำโดยวิธีใดก็ตาม
กระบวนการเหล่านั้น จะต้องได้รับการด�ำเนินการภายในเวลาที่ก�ำหนด มิฉะนั้น วัคซีนจะไม่มี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความส�ำคัญต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ได้แก่ สุขภาพ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๓๑

ของไก่ก่อนที่จะได้รับวัคซีน การตอบสนองของไก่ ระดับการสัมผัสไวรัส และความสะอาดของ


สิ่งแวดล้อม
กระบวนการฉีดวัคซีนจะต้องด�ำเนินการด้วยความระมัดระวัง วัคซีนที่ถูกแช่แข็งใน
ไนโตรเจนเหลวจะต้องถูกใส่เข้าไปในสารทีใ่ ช้ทำ� การเจือจาง (dilutant) ด้วยความระมัดระวัง เพือ่ มิให้
วัคซีนปนเปื้อนกับแบคทีเรียหรือสารอื่น ๆ และวัคซีนนั้นจะต้องไม่ละลายไปเสียก่อนที่จะฉีดเข้าไป
ในสารที่ใช้ท�ำการเจือจาง นอกจากนี้ เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเข็มและกระบอกฉีด รวมทั้ง
สายเชื่อมระหว่างวัคซีนกับสารที่ใช้ท�ำการเจือจางจะต้องถูกฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด ผู้ด�ำเนินการฉีด
จะต้องบันทึกรายละเอียดในถังใส่สารที่ใช้ท�ำการเจือจางอย่างละเอียดทั้งในเรื่องของวันและเวลา
เนื่องจากวัคซีนที่ถูกเจือจางแล้วจะมีอายุการใช้งานที่แน่นอน และไม่อาจจะใช้ได้เมื่อพ้นเวลาดังกล่าว

Incubadora Mexicana AS de CV Zoetis, Inc
ผู้เขียนได้ศึกษาคดี Incubadora Mexicana AS de CV Zoetis, Inc ซึ่งเป็นคดีล่าสุด
ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโรคมาเร็กซ์ คดีดังกล่าวได้แสดงแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฟ้องและการยกข้อ
ต่อสู้ในกฎหมายสหรัฐอเมริกา
๑) การฟ้องเกี่ยวกับการรับประกัน (Warranty claims)
สิง่ ทีน่ า่ สนใจในคดีนี้ คือ ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทวี่ า่ จ�ำเลยได้ให้การรับประกันโดยชัดแจ้ง
เกี่ยวกับคุณภาพของวัคซีนใน ๒ เรื่องซึ่งเป็นอิสระต่อกัน ประการแรก โจทก์อ้างว่าพนักงานฝ่าย
การตลาดของจ�ำเลย “ให้คำ� มัน่ (รับประกัน) กับโจทก์วา่ วัคซีนโรคมาเร็กซ์ของพวกเขานัน้ มีประสิทธิ
สูงสุดในตลาด” ประการที่สอง ตัวแทนของจ�ำเลยได้แถลงว่า “วัคซีนของพวกเขาได้รับการผลิต
การขนส่ง และการจัดเก็บภายใต้สภาวะดีที่สุด เพื่อรับประกันว่าจะสามารถให้วัคซีนแก่ไก่ได้ดีที่สุด”
การรับประกันประการที่สองนี้ที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่จ�ำเลย
ศาลในคดีดังกล่าวตัดการรับประกันประการแรกออกจากการพิจารณาอย่างรวดเร็วโดย
ใช้หลักทางตรรกะที่ว่า การกล่าวอ้างว่าเป็นวัคซีนที่ “มีประสิทธิภาพสูงสุด” เป็นเพียงการโอ้อวด
เกินจริงอย่างกว้าง ไม่สามารถบังคับกันทางสัญญาได้อย่างการรับประกันโดยชัดแจ้ง อย่างไรก็ดี การ
รับประกันประการที่สองนั้นต่างจากการรับประกันประการแรกอย่างสิ้นเชิง ในกรณีการรับประกัน
ประการที่สองนี้จ�ำเลยกล่าวอ้างอย่างชัดแจ้งว่าวัคซีน “ได้รับการผลิต การขนส่ง และการจัดเก็บ
ภายใต้สภาวะดีที่สุด” ขณะที่การให้ค�ำมั่นเกี่ยวกับการผลิตภายใต้สภาวะดีที่สุดนั้นอาจถูกควบคุมโดย
APHIS ไปแล้วตั้งแต่แรก ศาลเห็นว่าการให้ค�ำมั่นดังกล่าวนั้นคือ การให้ค�ำมั่นว่า “จะตรวจสอบ
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ นั บ แต่ ขั้ น ตอนการผลิ ต จนถึ ง ขั้ น การจั ด ส่ ง ไปยั ง ลู ก ค้ า เพื่ อ รั บ ประกั น ว่ า วั ค ซี น ยั ง คงมี
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๓๒ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

ประสิทธิภาพ” คดีนี้โจทก์มีมูลคดีที่สมบูรณ์และไม่อาจยกฟ้องได้ เนื่องจากการให้ค�ำมั่นหรือการ


รับประกันว่าจะใช้ความระมัดระวังอย่างเหมาะสมในการขนส่งและจัดเก็บสินค้าในระหว่างขนส่งเป็น
คนละเรื่องกับการรับประกันใด ๆ ที่ปรากฏในฉลากซึ่งได้รับการอนุญาตตามกระบวนการขออนุญาต
และไม่มีความเกี่ยวพันกับอ�ำนาจของ APHIS ในด้านความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพ และความ
บริสุทธิ์ของชีวภัณฑ์
นอกจากนี้ โจทก์ยังกล่าวอ้างอีกว่าจ�ำเลยไม่ปฏิบัติตาม “การรับประกันโดยปริยายถึง
ความเหมาะสมส�ำหรับวัตถุประสงค์ของการใช้” (implied warrantee of fitness for a particular
purpose) ทั้งนี้ การกล่าวอ้างเช่นว่า ไม่ได้มีฐานมาจากการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือการน�ำเสนอ
โดยชัดแจ้ง express warranty or representation) ของจ�ำเลยแต่อย่างใด ศาลในคดี Mexicana นี้
ได้อ้างค�ำพิพากษาในคดี Altronics of Bethlehem, Inc., v Repco, Inc., ซึ่งมีข้อเท็จจริงเกี่ยวข้อง
กับวัคซีนส�ำหรับตัวมิงค์ทใี่ ห้ขน (fur bearing mink) ทีศ่ าลตัดสินไว้วา่ การรับประกัน “เกิดขึน้ โดย
ผลของกฎหมาย เพื่อท�ำหน้าที่ปกป้องผู้ซื้อจากความเสียหายในกรณีที่สินค้าที่ซื้อไปมีคุณภาพต�่ำกว่า
คุณภาพทางการค้า หรือไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ของผูซ้ อื้ ” ในการนี้ เพือ่ ทีจ่ ะให้ครบองค์ประกอบที่
จะฟ้องให้จ�ำเลยรับผิดส�ำหรับการไม่กระท�ำตามการรับประกันส�ำหรับวัตถุประสงค์บางประการได้นั้น
โจทก์ กล่าวคือ ผู้ซื้อจะต้องพิสูจน์ว่า ผู้ขายทราบหรือควรจะทราบได้ว่า วัตถุประสงค์บางประการ
ของผู้ซื้อในเวลาที่ขายนั้นคืออะไร นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังต้องพิสูจน์อีกว่า ผู้ขายเป็นผู้มีความรู้หรือ
แสดงตนว่าเป็นผูม้ คี วามรูเ้ กีย่ วกับเงือ่ นต่าง ๆ ของสินค้าทีจ่ ะสามารถบรรลุวตั ถุประสงค์ในการใช้สนิ ค้า
ของผู้ซื้อได้ และประการสุดท้ายผู้ซื้อจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่า การตัดสินใจของตนมีฐานมาจากการ
เชื่อถือในการน�ำเสนอของผู้ขายอย่างแท้จริงอันน�ำไปสู่ความเสียหายในท้ายที่สุด
หากพิจารณาโดยผิวเผินแล้ว การรับประกันความเหมาะสมส�ำหรับวัตถุประสงค์บางประการ
โดยปริยายควรเป็นเรื่องที่อยู่ในอ�ำนาจหน้าที่รับผิดชอบของ APHIS มาแต่ต้น เพราะสาระส�ำคัญของ
ค�ำฟ้องโจทก์ในกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไม่มีประสิทธิภาพของวัคซีน ดังที่ได้อธิบายไว้
ข้างต้นแล้วว่า APHIS ได้แถลงโดยอาศัยอ�ำนาจของรัฐสภาว่า การให้อนุญาตโดย APHIS ท�ำให้
ไม่อาจมีการด�ำเนินคดีละเมิดในระดับมลรัฐ (state tort action) ซึ่งกล่าวอ้างว่าวัคซีนที่ได้รับการ
อนุญาตนั้นมีความช�ำรุดบกพร่อง อย่างไรก็ดี ในคดีดังกล่าวนั้นปรากฏว่าโจทก์ได้ตั้งฐานของค�ำฟ้อง
อยู่บนทฤษฎีที่ว่า การรับประกันนั้นเกิดขึ้นโดยการกระท�ำและการกล่าวอ้างของจ�ำเลยซึ่งเป็นอิสระ
จากผลของการอนุญาตโดย APHIS ทั้งนี้ ศาลในคดีดังกล่าวระบุว่า ตามกฎหมายแล้ว ล�ำพังการให้
ประกันก็เพียงพอที่จะท�ำให้เกิดข้อเรียกร้องในเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ดี ศาลไม่ได้ยืนยันว่า การฟ้อง
ในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตามการรับประกันในความเหมาะส�ำหรับวัตถุประสงค์บางประการนั้นจะ
ประสบความส�ำเร็จเสมอไป เพื่อที่จะชนะคดี โจกท์จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า วัคซีนที่ตนใช้นั้นมีความ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๓๓

ช�ำรุดบกพร่องจริง ไม่ใช่เพียงพิสูจน์ในทางทฤษฎีว่าวัคซีนดังกล่าวถูกผลิตตามที่ APHIS อนุญาต


หรือไม่ ทัง้ นี้ ลูกขุนจะเป็นผูพ้ จิ ารณาในทางข้อเท็จจริงว่าวัคซีนทีโ่ จทก์ฉดี ให้มงิ ค์มคี วามช�ำรุดบกพร่อง
หรือไม่
๒) การฟ้องคดีละเมิด
ในคดี Incubadora Mexicana AS de CV Zoetis, Inc โจทก์อ้างว่าการขายวัคซีนที่
มีความช�ำรุดบกพร่องนั้น นอกเหนือจากจะเป็นการผิดสัญญาแล้วยังเป็นละเมิดอีกด้วย จ�ำเลยจึง
ตอบโต้ว่า การกล่าวอ้างดังกล่าวตกไปตาม “หลักความเสียหายเชิงเศรษฐกิจ” (economic loss
doctrine) ซึ่งวางหลักไว้ว่า ในกรณีใด หากมีความสัมพันธ์ทางสัญญาซึ่งก�ำหนดสิทธิและหน้าที่
ระหว่างคู่กรณีอยู่แล้ว ในกรณีเช่นว่า จะไม่มีความแตกต่างระหว่างความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติ
ตามสัญญากับความเสียหายจากละเมิด คดีละเมิดจึงตกไป เนื่องจากโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับการ
ชดเชยความเสียหายสองเท่า โดยศาลได้ให้เหตุผลไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าได้ฟ้องผู้ผลิต และความ
เสียหายแต่เพียงอย่างเดียวที่ผู้ซื้อกล่าวอ้าง คือ ความเสียหายทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากความ
บกพร่องของสินค้าในการที่จะสามารถท�ำงานได้ตามที่ได้รับความคาดหวัง ในกรณีเช่นว่านี้ การฟ้อง
โดยอ้างการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือปริยายภายใต้กฎหมายสัญญาเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการ
ชดเชยความเสียหายของผู้ซื้อ” ศาลจึงตัดสินว่าจะไม่พิจารณาประเด็นข้อกล่าวหาที่ว่าจ�ำเลยกระท�ำ
ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
๓) การฟ้องลาภมิควรได้
ในคดีนี้ โจทก์กล่าวอ้างด้วยว่าจ�ำเลยได้รับประโยชน์ซึ่งไม่มีมูลจะอ้างได้ตามกฎหมาย
โดยอ้างว่าวัคซีนนั้นช�ำรุดบกพร่องในขณะหรือก่อนที่จะมีขนส่งและช�ำระราคา อย่างไรก็ดี การฟ้อง
ลาภมิควรได้นนั้ โจทก์จะต้องพิสจู น์ให้ได้วา่ มูลเหตุทางกฎหมายของการช�ำระราคาสินค้านัน้ ถดถอยลง
ดังนั้นในคดีนี้ เมื่อวัคซีนช�ำรุดบกพร่องตั้งแต่ถูกขนส่งมายังโจทก์ สิ่งที่โจทก์ได้รับก็คือสินค้าที่ไร้ค่า
เพื่อตอบแทนกับเงินซึ่งเป็นสิ่งมีค่านั่นเอง หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า จ�ำเลยได้รับผลประโยชน์
ไปโดยไม่มีมูลจะอ้างได้เมื่อจัดส่งสินค้าที่ช�ำรุดบกพร่อง กล่าวคือ วัคซีนที่ไร้ค่า ทั้งนี้เช่นเดียวการ
ฟ้องในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตามการรับประกันในความเหมาะสมส�ำหรับวัตถุประสงค์บางประการ
โจทก์จ�ำเป็นต้องพิสูจน์ว่า วัคซีนดังกล่าวมีความช�ำรุดบกพร่องมาตั้งแต่มีการขนส่งแล้ว อนึ่ง การ
อ้างว่าวัคซีนมีความช�ำรุดบกพร่องนัน้ ไม่ใช่การอ้างว่าต�ำรับยาของวัคซีนมีความช�ำรุดบกพร่อง ดังนัน้
ค�ำฟ้องในประเด็นนี้จึงไม่ถูกตัดบท ศาลจึงปฏิเสธค�ำร้องของจ�ำเลยให้มีการพิจารณาคดีโดยรวบรัด
(summary
judgement)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๓๔ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

๔) กลฉ้อฉล
ในคดีนี้ โจทก์อ้างว่าจ�ำเลยทราบในขณะที่ท�ำการขายว่าวัคซีนดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ
แต่ยังท�ำการขายต่อไป ประเด็นนี้ โจทก์จ�ำเป็นจะต้องมีหลักฐานว่าจ�ำเลยทราบว่าวัคซีนมีความช�ำรุด
บกพร่องตั้งแต่เวลาขนส่ง ล�ำพังแค่การกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอ เพราะการด�ำเนินคดีฉ้อโกงนั้นจะต้อง
ท�ำให้ข้อเท็จจริงและหลักฐานต่าง ๆ นั้นปรากฏเพื่อสนับสนุนค�ำกล่าวอ้างนั่นเอง ดังนั้น เมื่อโจทก์
ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าวัคซีนมีความช�ำรุดบกพร่องตั้งแต่เวลาขนส่ง ศาลจึงพิพากษาประเด็น
ข้อกล่าวหาที่ว่าจ�ำเลยกระท�ำการฉ้อฉลนั้นฟังไม่ขึ้น

ความรับผิดของผู้น�ำเข้าหรือผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกภายใต้กฎหมายไทย
๑. ความส�ำคัญของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกต่อเศรษฐกิจไทย
อุตสาหกรรมสัตว์ปีกมีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากชิ้นส่วนไก่
แช่แข็งและไก่เนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วเป็นสินค้าส่งออกส�ำคัญประเภทหนึ่งของไทย ใน ค.ศ.
๒๐๑๖ ประเทศไทยผลิตไก่เนื้อได้ ๑,๕๕๐ ล้านตัว หรือคิดเป็นน�้ำหนักของเนื้อไก่ที่ผ่านกระบวนการ
ผลิตแล้วจ�ำนวน ๒.๔๒ ล้านตัน ทั้งนี้ร้อยละ ๓๐-๔๐ ของก�ำลังการผลิตไก่เนื้อของประเทศไทยได้
ถูกส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นร้อยละ ๕๐ สหภาพยุโรปร้อยละ ๓๘ และประเทศกลุ่มอาเซียน
ร้อยละ ๑๒

๒. การจัดระบบการผลิต
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่ า่ นมา อุตสาหกรรมสัตว์ปกี ในประเทศไทยประสบกับการเปลีย่ นแปลง
โครงสร้างอย่างมีนยั ส�ำคัญ โดยก้าวสูค่ วามเป็นอุตสาหกรรมมากยิง่ ขึน้ ประกอบกับมีการรวมตัวกันใน
แนวดิ่งมากยิ่งขึ้น จนกระทั่ง ค.ศ. ๒๐๑๔ เทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิง่ การน�ำการท�ำความเย็นแบบระเหยมาในใช้ในโรงเรือนเลีย้ งไก่ ซึง่ เป็นการประหยัด
ต้นทุนด้านแรงงานและท�ำให้อุตสาหกรรมเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ปัจจัยกระตุ้นอีกประการหนึ่งก็คือ
เกษตรพันธสัญญา (contract farming) หรือสัญญาการผลิต (production contract) ซึ่งเป็นการ
ตกลงที่ท�ำให้ผู้ซื้อรายใหญ่มีทางเลือกมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนปริมาณการผลิตของตนให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ สัญญาดังกล่าวช่วยให้ผู้ท�ำสัญญามีความ
เสี่ยงที่ลดลงและมีรายได้มากขึ้นกว่าการด�ำเนินธุรกิจด้านการเกษตรแบบดั้งเดิม
ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ครบวงจร
๑๒ ราย เช่น CPF, Betagro, GFPT, Sunfood, Laemthong, Golden Poultry มีปริมาณการผลิต
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๓๕

เนื้อไก่ร่วมกันกว่าร้อยละ ๙๐ ขณะที่ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่อิสระมีปริมาณการผลิตรวมกันน้อยกว่า
ร้อยละ ๑๐
ผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่น�ำเข้าวัคซีนส�ำหรับรักษาโรคสัตว์ปีก อาทิ วัคซีนโรค
นิวคาสเซิล (Newcastle disease) และโรคมาเร็กซ์ ทั้งเพื่อใช้เองในกิจการของตน และในขณะ
เดียวกันก็ขายวัคซีนเหล่านั้นไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ที่ท�ำเกษตรพันธสัญญากับตนด้วย โดยขาย
พร้อมกับอาหาร สารเคมีต่าง ๆ และอุปกรณ์ส�ำหรับเลี้ยงไก่ ประเด็นปัญหาส�ำคัญก็คือ ตามกฎหมาย
ไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ตามเกษตรพันธสัญญา หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระที่ซื้อวัคซีนเหล่านั้นไป
จากผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่จะสามารถเรียกร้องให้มีการเยียวยาได้หรือไม่ในกรณีที่วัคซีน
มีความช�ำรุดบกพร่อง

๓. กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับชีวภัณฑ์สัตว์
ส�ำหรับประเทศไทยนัน้ ทัง้ วัคซีนทีใ่ ช้ในมนุษย์และในสัตว์ตา่ งก็ได้รบั การควบคุมโดยกฎหมาย
ฉบับเดียวกันคือ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ค�ำว่า “ยาแผนปัจจุบัน” ตามพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้หมายความรวมทั้งยาส�ำหรับมนุษย์และสัตว์ ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่
จะน�ำเข้าวัคซีนสัตว์ปีกเข้ามาในประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากส�ำนักยา ส�ำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขเสียก่อน
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่น�ำเข้าลูกไก่และแม่พันธุ์ไก่รวมทั้งวัคซีน
สัตว์ปีกมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหรัฐ-
อเมริกา และสหราชอาณาจักร ซึง่ วัคซีนหลักทีผ่ ปู้ ระกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่นำ� เข้ามามี ๓ ประเภท
คือ วัคซีนโรคนิวคาสเซิล โรคมาเร็กซ์ และโรคฝีดาษ
เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า ส�ำนักยา ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำ� นาจอนุญาตส�ำหรับ
การผลิต การน�ำเข้าวัคซีนสัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย แต่ส�ำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นหน่วยงานที่มีอ�ำนาจตรวจสอบปริมาณการน�ำเข้า
และการใช้วัคซีนที่น�ำเข้ามา
ในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา อุตสาหกรรมสัตว์ปกี ของไทยได้เปลีย่ นทิศทางจากการท�ำเกษตร
พันธสัญญาเป็นการรวมตัวกันในแนวดิ่ง เพื่อที่จะท�ำให้แน่ใจได้ว่าจะสามารถบรรลุตามเงื่อนไขเรื่อง
ความปลอดภัยของอาหารและสวัสดิภาพของสัตว์ของผู้น�ำเข้าในสหภาพยุโรปได้ ปัจจัยกระตุ้นหลัก
ของปรากฏการณ์ดังกล่าวก็คือ การอุบัติขึ้นของไข้หวัดนกชนิดก่อโรครุนแรง (highly pathogenic
avian influenza–HPAI) ซึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๒๐๐๔ อันส่งผลให้เนื้อไก่แช่แข็งจากประเทศไทย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๓๖ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

ถูกห้ามน�ำเข้าไปในญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ๒ แห่งของการส่งออก


เนื้อไก่แช่แข็งของประเทศไทย เหตุการณ์ดังกล่าวท�ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระขนาดเล็กได้รับผล
กระทบเป็นอย่างมาก และต้องออกจากอุตสาหกรรมไปในที่สุด หลังจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของ
HPAI (ระหว่าง ค.ศ. ๒๐๐๔-๒๐๐๖) การให้ฉีดวัคซีนไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากผู้น�ำเข้าสัตว์ปีก
รายใหญ่จากประเทศไทยเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวดยิ่งกว่ามาตรฐานตาม
องค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal Health–OIE) ก�ำหนดไว้เสียอีก ใน
ปัจจุบันผู้ผลิตแบบครบวงจรรายใหญ่ได้น�ำการเลี้ยงไก่ในโรงเรือนแบบปิดมาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อที่
จะรับประกันได้วา่ จะมีระดับความปลอดภัยทีส่ งู ขึน้ อุตสาหกรรมสัตว์ปกี ในปัจจุบนั ได้นำ� การแบ่งส่วน
แบบควบคุม (control-compartmentalization) อย่างเคร่งครัดมากขึ้นมาใช้ตามค�ำแนะน�ำของ
กรมปศุสัตว์และองค์การสุขภาพสัตว์โลก อย่างไรก็ดี การแบ่งส่วนดังกล่าวท�ำให้ต้องมีการรวมตัวกัน
ที่มากยิ่งขึ้นและมีขนาดของกิจการที่ใหญ่ขึ้น

๔. ความรับผิดของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกตามกฎหมายไทย
ประเด็นส�ำคัญทีต่ อ้ งพิจารณาคือ ผูข้ ายวัคซีนมีความรับผิดตามพระราชบัญญัตคิ วามรับผิด
ในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือไม่ ผู้เขียนมีความเห็นว่า ผู้ขายไม่มี
ความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์
ในประเทศต่าง ๆ ที่มีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึง
ประเทศไทย ต่างก็มุ่งปกป้องผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนซึ่งไม่มีอ�ำนาจต่อรอง และไม่มีความสามารถใน
การตรวจสอบและแยกแยะได้วา่ ผลิตภัณฑ์ทจี่ ะใช้หรือบริโภคมีอนั ตรายร้ายแรงหรือไม่ ตามมาตรา ๙
ของพระราชบัญญัตดิ งั กล่าว ผูป้ ระกอบการไม่สามารถยกข้อตกลงระหว่างตนกับผูบ้ ริโภคทีท่ ำ� ขึน้ ก่อน
ที่จะเกิดความเสียหาย และไม่สามารถยกการแจ้งข้อความใด ๆ ของตนขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพื่อที่จะ
ยกเว้นหรือจ�ำกัดความรับผิดของตนในกรณีที่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากสินค้าไม่ปลอดภัยได้ ใน
ทางกลับกัน หากเป็นการท�ำสัญญาระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเองแล้ว จะเขียนข้อสัญญายกเว้น
หรือจ�ำกัดความรับผิดของตนในกรณีที่มีความเสียหายอันเนื่องมาจากสินค้าไม่ปลอดภัยอย่างไรก็ได้
ด้วยเหตุนี้ มาตรา ๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่
ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ผู้บริโภคมีความหมาย
เช่นเดียวกับนิยามค�ำว่า “ผู้บริโภค” ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น ความเสียหาย
ต่อทรัพย์สินของคู่สัญญาที่ได้รับความเสียหายจะต้องถูกตีความโดยจ�ำกัดแค่ทรัพย์สินที่ผู้บริโภคมี
เพือ่ ใช้สอยเป็นการส่วนตัวหรือใช้บริโภคเท่านัน้ ไม่รวมไปถึงทรัพย์สนิ เพือ่ ใช้ในธุรกิจ แน่นอนว่า ฝูงไก่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๓๗

ทัง้ หมดหรือเนือ้ ไก่ถอื ว่าเป็นทรัพย์สนิ ทีใ่ ช้เพือ่ วัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ จึงไม่ได้รบั การคุม้ ครองภายใต้
พระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ว่าผู้ขายวัคซีนจะไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดในความเสียหายที่เกิด
จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่ซึ่งขายวัคซีนสัตว์ปีก
ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ตามเกษตรพันธสัญญาหรือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระอาจมีความรับผิดตาม
มาตรา ๔๗๒ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนื่องจากนักวิชาการทางนิติศาสตร์ของไทยที่มี
ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับกฎหมายซือ้ ขายของไทย และกฎหมายซือ้ ขายของสหรัฐอเมริกาอย่างลึกซึง้
มีความเห็นว่ามาตรา ๔๗๒ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับการรับประกันความ
เหมาะสมส�ำหรับวัตถุประสงค์ของการใช้โดยปริยาย (implied warranty) ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ตามเกษตรพันธสัญญา หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระซื้อวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความ
ช�ำรุดบกพร่อง อาทิ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ซื้อวัคซีนโรคนิวคาสเซิลมาฉีดให้กับไก่ในฟาร์ม แต่ปรากฏว่า
ไก่ตายทั้งฝูง เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ดังกล่าวสามารถฟ้องผู้ขายให้รับผิดในความเสียหายได้
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม
และพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้นเพื่อที่จะยกระดับสัญญาการผลิต (เกษตร
พันธสัญญา) ไปสู่มาตรฐานสากล โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา
๒๖ ของพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ข้อตกลงในเกษตรพันธสัญญาซึ่งยกเว้นความรับผิดของ
ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรในกรณีที่อาหาร ยา สารเคมี หรืออุปกรณ์ที่ตนขายให้แก่เกษตรกรตาม
เกษตรพันธสัญญามีความช�ำรุดบกพร่องนั้น ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น หากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ตาม
เกษตรพันธสัญญาซื้อวัคซีนสัตว์ปีกจากผู้ประกอบธุรกิจครบวงจรรายใหญ่แล้ว ปรากฏว่าไก่ทั้งฝูงของ
ตนตาย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายดังกล่าวสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แม้จะมีข้อตกลงว่าผู้ประกอบ
ธุรกิจครบวงจรไม่ต้องรับผิดชอบในความช�ำรุดบกพร่องดังกล่าวก็ตาม

การวิเคราะห์ทางกฎหมายและข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ส�ำคัญของกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเริ่มในประเทศอุตสาหกรรม
ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เนื่องจากการเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่
๒ คือการใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังงานไอน�้ำ และการใช้สายพานล�ำเลียงในระบบการผลิต ซึ่ง
ท�ำให้การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงมาก ตัวอย่างที่เด่นชัด คือ การผลิตรถยนต์ของ
บริษัท Ford Motor ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสูงมาก สามารถท�ำให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์
ของบริษัทลดลงถึงร้อยละ ๖๐ พลังงานไฟฟ้าและระบบการผลิตแบบใช้สายพานล�ำเลียง ท�ำให้เกิด
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๓๘ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

การผลิตแบบจ�ำนวนมาก ๆ (mass production) ในสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด เช่น รถยนต์


เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ในครัวเรือน และเนื่องจากราคาสินค้าของอุตสาหกรรม
มีราคาจ�ำหน่ายถูกลงมากเนื่องจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ท�ำให้เกิดการบริโภคของผู้บริโภคเป็น
จ�ำนวนมาก ๆ (mass consumption) แต่เทคโนโลยีการผลิตและลักษณะของสินค้ามีความซับซ้อน
มากขึ้น เช่น การผลิตรถยนต์ ๑ คันต้องใช้ชิ้นส่วนมาประกอบกันประมาณ ๓๐,๐๐๐ ชิ้น การผลิต
ยารักษาโรคต้องใช้เทคโนโลยีท่ีซับซ้อนมาก ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้ามาใช้ ผู้บริโภคไม่มีความรู้
ความสามารถที่จะตรวจดูได้ว่าสินค้าที่ตนซื้อมามีความช�ำรุดบกพร่องในส่วนไหน อย่างไร เมื่อเกิด
อุบัติเหตุขึ้นมาแล้วผู้บริโภคได้รับความเสียหายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน แม้ว่าโดยหลักแล้วผู้บริโภค
สามารถฟ้องผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมนั้นได้ตามกฎหมายละเมิด แต่ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้
ว่า ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าชิ้นที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุนั้นประมาทเลินเล่อในการผลิตสินค้า
ชิ้นนั้นซึ่งภาระการพิสูจน์ของโจทก์ (ผู้เสียหาย) จะสูงมากจนอาจกล่าวได้ว่าแทบเป็นไปไม่ได้ในความ
เป็นจริง ซึ่งเมื่อพิสูจน์ไม่ได้ศาลก็จะพิพากษาให้ยกฟ้องของโจทก์ หากโจทก์จะฟ้องจ�ำเลยโดยกล่าว
อ้างว่าจ�ำเลยผิดสัญญาซื้อขาย แม้ว่าโจทก์จะพิสูจน์ได้ว่า สินค้าช�ำรุดบกพร่อง แต่การเยียวยาตาม
สัญญาซื้อขายจะจ�ำกัดอยู่ที่ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับตัวทรัพย์ที่ช�ำรุดบกพร่อง ตัวอย่างเช่น กรณีที่
คันเร่งน�้ำมันของรถยนต์ช�ำรุดบกพร่องแล้วก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง คือท�ำให้คนขับพิการ ต้องเสีย
ค่ารักษาพยาบาลจ�ำนวนมาก ได้รับความทุกข์ทรมานระหว่างการรักษาและภายหลังเมื่อออกมาจาก
โรงพยาบาลนายจ้างให้ออกจากงานเพราะไม่สามารถท�ำงานในต�ำแหน่งเดิมได้ ค่าสินไหมทดแทน
ตามสัญญาซื้อขาย คือการได้รับราคารถ แต่ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล ค่าทนทุกข์ทรมาน ค่าเสียหาย
ต่อจิตใจ ค่าขาดสมรรถนะในการประกอบอาชีพ นอกจากนั้น ยังมีหลายกรณีที่ผู้เสียหายไม่ใช่
คู่สัญญาซื้อขาย เช่น แม่ซื้อนมผงเลี้ยงทารกปนเปื้อนสารพิษมาให้ลูกดื่ม ซึ่งลูกไม่ได้เป็นคู่สัญญา
ซื้อขาย หรือกรณีที่พนักงานเสิร์ฟอาหารในภัตตาคารตาบอดเนื่องจากน�้ำอัดลมที่ก�ำลังถือไปบริการ
ลูกค้าระเบิดท�ำให้มเี ศษแก้วมาแทงตา พนักงานเสิรฟ์ ไม่ได้เป็นคูส่ ญ ั ญาจึงไม่สามารถน�ำคดีมาฟ้องศาล
ได้ ดังนั้นกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์จึงเป็นกฎหมายที่มีความจ�ำเป็นในประเทศที่มีระดับการ
พัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตจ�ำนวนมาก (mass production) และบริโภคจ�ำนวนมาก (mass
consumption) โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาในคดี MacPherson v. Buick Motor Co. ตั้งแต่
ค.ศ. ๑๙๑๖ เป็นต้นมา ดังนั้นประสบการณ์อันยาวนานของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับกฎหมายความ
รับ ผิ ด ในผลิ ต ภั ณ ฑ์จึงน่าจะให้ประโยชน์ต่อประเทศไทยซึ่ ง มี ก ฎหมายความรั บผิ ดในผลิ ต ภั ณ ฑ์
เมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๘ โดยมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่
เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๓๙

กฎหมายความรั บ ผิ ด ในผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องสหรั ฐ อเมริ ก าและกฎหมายความรั บ ผิ ด ใน


ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยมีความเหมือนกัน คือ ผู้ประกอบการต้องรับผิดโดยเคร่งครัด (strict
liability) แม้ว่าผู้ประกอบการจะไม่ได้ประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ความแตกต่างกันคือ ภาระการ
พิสูจน์ของโจทก์ (ผู้เสียหาย) ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาจะสูงกว่า กล่าวคือ แม้โจทก์ไม่ต้อง
น�ำสืบพิสูจน์ว่าจ�ำเลยประมาทเลินเล่อในการผลิตสินค้าชิ้นที่ช�ำรุดบกพร่องและก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่โจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่น�ำสืบพิสูจน์ว่า สินค้าชิ้นนั้นมีความช�ำรุดบกพร่องใน
การผลิต (manufacturing defect) หรือความช�ำรุดบกพร่องในการออกแบบ (design defect)
หรือบกพร่องในการเตือน (warning defect) แต่ภาระการพิสูจน์ตามกฎหมายความรับผิดใน
ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยจะต�่ำกว่า กล่าวคือ โจทก์มีหน้าที่น�ำสืบเพิ่มว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย
แก่ร่างกายหรือทรัพย์สินที่เป็นของใช้ส่วนตัวของโจทก์จากการใช้สินค้าของจ�ำเลย และการใช้สินค้า
ชิน้ นัน้ ก็เป็นการใช้ตามปรกติธรรมดา (normal use) ซึง่ กล่าวได้วา่ ภาระการพิสจู น์ของโจทก์ตำ�่ มาก
นอกจากนั้นแล้วข้อต่อสู้ของจ�ำเลย ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ที่จะท�ำให้จ�ำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ (affirma-
tive defence) จะเป็นข้อต่อสู้ที่น�ำพิสูจน์ได้ยาก ได้แก่ ข้อต่อสู้ตามมาตรา ๗(๑) ที่จ�ำเลยต้อง
พิสูจน์ว่า สินค้าชิ้นนั้นไม่ได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพราะสินค้าชิ้นนั้นไม่มีความช�ำรุดบกพร่องจาก
การผลิต หรือความช�ำรุดบกพร่องจากการออกแบบ หรือความบกพร่องจากการเตือน ค�ำอธิบาย วิธี
การใช้ การเก็บรักษา กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายไทยได้ผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นยาก คือ
สินค้าชิ้นที่ก่ออุบัติเหตุแก่โจทก์น้ันมีความช�ำรุดบกพร่องให้ตกแก่จ�ำเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมาย
ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นแล้วในสหรัฐอเมริกา สินค้าบางประเภท เช่น ยารักษาโรคของคนที่
ต้องมีใบแพทย์ส่ัง เมื่อขออนุญาตขึ้นทะเบียนยาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา
แล้วก็จะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีความช�ำรุดบกพร่อง เครื่องมือแพทย์ประเภทที่ต้องใช้เทคโนโลยีการ
ออกแบบการผลิตที่สลับซับซ้อน เช่น เครื่องปรับจังหวะการเต้นของหัวใจ (pacemaker) เมื่อได้รับ
อนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยาแล้วก็จะถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีความช�ำรุดบกพร่อง ส�ำหรับ
วัคซีนสัตว์นั้น เมื่อ APHIS ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การ
อนุญาตแก่วัคซีนชนิดใดแล้ว ย่อมถือว่าวัคซีนที่ได้รับอนุญาตนั้นไม่มีความช�ำรุดบกพร่อง ดังที่เห็น
ในค�ำพิพากษาคดี Incubadona Maxicana As de CV Zoetis, Inc โจทก์ (ผู้เสียหายจากการที่ไก่
ที่เลี้ยงในเชิงพาณิชย์จ�ำนวนมากตายลงโดยกล่าวอ้างว่าเพราะวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์ที่ซื้อมาจาก
จ�ำเลยใช้ไม่ได้ผล) ต้องฟ้องจ�ำเลยตามมูลสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าจ�ำเลยผิดสัญญา
ซื้อขายในประเด็นที่ว่า จ�ำเลยได้ให้การรับประกันอย่างชัดแจ้ง (express warranty) และการรับ
ประโดยปริยาย (implied warranty) แต่โจทก์มีหน้าที่น�ำสืบพิสูจน์ในแต่ละประเด็นแตกต่างกัน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔๐ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

ตามรายละเอียดของค�ำพิพากษาที่ได้กล่าวมาข้างต้น สรุปคือในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันการฟ้องผู้ผลิต


วัคซีนให้ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้เลี้ยงไก่ได้รับความเสียหายเนื่องจากไก่ที่เลี้ยงตายลงเพราะเป็นโรคที่
ผูเ้ ลีย้ งไก่ได้ให้วคั ซีนป้องกันโรคนัน้ แล้ว ท�ำให้ผเู้ ลีย้ งไก่เชือ่ ว่าเป็นเพราะวัคซีนทีใ่ ช้ปอ้ งกันโรคนัน้ ช�ำรุด
บกพร่อง กรณีเช่นนี้ผู้เลี้ยงไก่ต้องฟ้องผู้ผลิตวัคซีนให้ต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขาย
เนื่องจากในสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตเนื้อไก่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และส่งออกเนื้อไก่มากเป็นอันดับ ๒ ของโลก เกษตรกร ๑ รายสามารถเลี้ยงไก่จ�ำนวนมากถึง
๔๘๓,๖๐๐ ตัว และแปลงเป็นน�ำ้ หนักเนือ้ ไก่ได้ถงึ ๒.๖๕ ล้านปอนด์ หรือประมาณ ๑.๒ ล้านกิโลกรัม
ซึ่งเป็นระบบการผลิตเนื้อไก่ที่มีประสิทธิภาพ โดยหัวใจระบบผลิตที่มีประสิทธิภาพนี้อยู่ที่ระบบ
เกษตรพันธสัญญา (contract farming) ซึ่งครอบคลุมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อถึงร้อยละ ๙๙.๖๐
กล่าวคือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแทบทุกรายเป็นเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญา ซึ่งเหตุผล
ที่ท�ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแทบทุกรายสมัครใจเข้าท�ำสัญญากับบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้รับซื้อไก่เนื้อจาก
เกษตรกร คือความเสี่ยง (risk) ในเรื่องราคาที่ผันผวนของเนื้อไก่จะตกเป็นภาระอยู่กับบริษัทผู้รับซื้อ
เกษตรกรจึงสามารถทุ่มเทไปที่การเลี้ยงไก่เนื้อให้โตเร็ว สุขภาพดีเท่านั้น โดยไม่ต้องกังวลว่าราคา
ไก่เนื้อจะตกต�่ำเพราะบริษัทผู้รับซื้อจะรับซื้อในราคาที่รับประกันไว้ตามสัญญาเสมอ อุตสาหกรรม
การเลี้ยงไก่เนื้อในประเทศไทยก็เป็นอุตสาหกรรมที่ด�ำเนินการตามแนวทางของอุตสาหกรรมการ
เลี้ยงไก่ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือเกษตรกรประมาณร้อยละ ๙๐ จะเป็นเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่
เข้าท�ำเกษตรพันธสัญญากับบริษัทขนาดใหญ่ ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ครบวงจร ๑๒
บริษัท เหลือเพียงอีกประมาณร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อิสระ ด้วยระบบการผลิต
ไก่เนื้อที่อาศัยระบบเกษตรพันธสัญญา จึงท�ำให้การผลิตไก่เนื้อในประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูง
กล่าวคือราคาเนื้อไก่ที่ผลิตในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าประเทศอื่น ๆ ท�ำให้ประเทศไทยเป็นประเทศ
ผู้ส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งที่ส�ำคัญในล�ำดับต้น ๆ ของโลก ท�ำให้ธุรกิจการผลิตและส่งออกเนื้อไก่
ได้น�ำเงินตราต่างประเทศจ�ำนวนมากเข้ามาในประเทศ เพราะเนื้อไก่เป็นสินค้าส่งออกในล�ำดับต้น ๆ
ของประเทศไทย ดังนัน้ การรักษาระบบการผลิตไก่เนือ้ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงในปัจจุบนั จึงเป็นเรือ่ งส�ำคัญ
กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยอาจเป็นตัวแปรส�ำคัญที่มีผลกระทบ
ในด้านลบต่อระบบการผลิตไก่เนื้อที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากบทบัญญัติของมาตรา ๔ ของพระราช
บัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ก�ำหนดให้ผู้น�ำเข้า
หรือผู้ขายปลีกที่ไม่สามารถระบุผู้ผลิตหรือผู้น�ำเข้าได้ต้องรับผิดในกรณีที่สินค้าที่น�ำเข้านั้นได้ก่อให้
เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน เมื่ออ่านบทบัญญัติของ
มาตรา ๔ และตีความตามตัวอักษรแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อตามเกษตรพันธสัญญา ซึ่งเป็นผู้ซื้อ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๔๑

ลูกไก่เนื้อ อาหารเลี้ยงไก่เนื้อ อุปกรณ์ส�ำหรับเลี้ยงไก่ วัคซีนและสารเคมีต่าง ๆ จากผู้ประกอบธุรกิจ


ทางการเกษตรรายใหญ่ซงึ่ เป็นผูน้ ำ� เข้าวัคซีนจากต่างประเทศ แล้วให้วคั ซีนแก่ไก่เนือ้ ทีเ่ ลีย้ ง แต่ตอ่ มา
ไก่เนื้อเนื่องจากโรคติดต่อที่ตนได้ใช้วัคซีนที่ซื้อมาป้องกันไว้แล้ว เช่นนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ย่อม
สามารถฟ้องให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรรายใหญ่ซึ่งเป็นผู้น�ำเข้าและผู้ขายปลีกวัคซีนที่ช�ำรุด
บกพร่องได้ ต้องรับผิดต่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของตน ซึ่งได้แก่ การตายทั้งฝูงของไก่เนื้อที่
เลี้ยงได้ และภาระการพิสูจน์ของเกษตรกรผู้เสียหายย่อมเป็นไปตามมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติ
ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งต�่ำมาก กล่าวคือ
พิสูจน์ว่าฝูงไก่ของตนเองตายลง และตนเองได้ใช้วัคซีนที่ซื้อมาจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ตาม
ปรกติธรรมดา ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก แต่ภาระการพิสูจน์หักล้างที่ตกเป็นของผู้ประกอบธุรกิจ
การเกษตรรายใหญ่จะสูงและยากมาก เพราะจะต้องพิสูจน์ให้ได้ตามมาตรา ๗ ซึ่งโอกาสจะพิสูจน์
หักล้างจะเป็นไปได้น้อยมาก ผลคือผู้ประกอบกิจการเกษตรรายใหญ่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแก่เกษตรกรผู้ผลิตไก่เนื้อ คือมูลค่าของไก่ทั้งฝูงที่ตายเพราะโรคติดต่อของสัตว์ปีกนั้น ผลของ
ค�ำพิพากษาของศาลในกรณีตามอุทาหรณ์ดงั กล่าวย่อมท�ำให้ผปู้ ระกอบธุรกิจต้องรับความเสีย่ งเพิม่ ขึน้
โดยเหตุและผลแล้วการที่วัคซีนใช้ไม่ได้ผลไม่น่าจะเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการการ
น�ำเข้าและการเก็บรักษาวัคซีนของผูป้ ระกอบธุรกิจการเกษตรรายใหญ่ ซึง่ มีความพร้อมในด้านบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดต่อสัตว์ปีก
แต่ละชนิด ตลอดจนวิธีการและความเชี่ยวชาญในการบริหารการน�ำเข้า การจัดเก็บ การกระจาย
วัคซีนไปสู่เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อซึ่งอาจจะไม่มีความรู้ ความ
เชี่ยวชาญ และทรัพยากร (เงินทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรักษาวัคซีน
อุปกรณ์การให้วัคซีน ฯลฯ) เช่น อาจไม่ได้จัดเก็บวัคซีนที่ซื้อมาในไนโตรเจนเหลว และการขนส่ง
วัคซีนท�ำไม่ถูกต้อง ท�ำให้วัคซีนใช้ไม่ได้ผล นอกจากนั้นแล้วยังมีประเด็นเรื่อง บุคคลที่ตกอยู่ภายใต้
การคุม้ ครองของพระราชบัญญัตคิ วามรับผิดต่อความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จากสินค้าทีไ่ ม่ปลอดภัย ว่ารวมถึง
เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่เนือ้ ด้วยหรือไม่นนั้ ผูเ้ ขียนเห็นว่าไม่นา่ จะรวมถึงเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่เนือ้ ด้วย เนือ่ งจาก
เหตุผลที่ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา ต้องการปกป้อง
ผู้บริโภค (consumer) และรวมถึงบุคคลภายนอกอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้มีนิติสัมพันธ์กับผู้ผลิตสินค้า เช่น
เด็กทารกที่ดื่มนมผงที่ปนเปื้อนสารพิษเพราะมีความผิดพลาดในกระบวนการผลิตนมผงของบริษัท
ผูผ้ ลิต แต่ผซู้ อื้ คือมารดาของเด็กทารก หรือผูเ้ ข้าไปเดินซือ้ ของในห้างจ�ำหน่ายอาหาร (supermarket)
แล้วมีขวดน�้ำอัดลมที่วางอยู่ในชั้นวางของระเบิดใส่จนได้รับบาดเจ็บ แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อใน
เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรตามสัญญาเกษตรพันธสัญญาหรือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้ออิสระ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔๒ การเปรียบเทียบความรับผิดชอบของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกฯ

ล้วนแต่เป็นผูใ้ ช้ประโยชน์วคั ซีนขัน้ สุดท้าย (end user) ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของห่วงโซ่อปุ ทาน (supply
chain) ของระบบการผลิตไก่เนื้อในเชิงพาณิชย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อทั้งสอง
ประเภทข้างต้น ล้วนแต่เป็นผู้ประกอบการในเชิงพาณิชย์ทั้งนั้น จึงตกอยู่นอกขอบเขตการคุ้มครอง
ของกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ซึ่งมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคและบุคคลภายนอกที่ไม่มีนิติสัมพันธ์
กับผู้ผลิตเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วทรัพย์สินที่ตกอยู่ภายในการคุ้มครองของพระราชบัญญัติฉบับนี้
ควรเป็นทรัพย์สินที่ใช้หรือบริโภคส่วนตัว (private use or consumption) ของผู้เสียหายเท่านั้น
ตามแนวทางบทบัญญัติของกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นกฎหมายที่
ส�ำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคใช้เป็นหนึ่งในบรรดาต้นแบบที่ใช้ยกร่างพระราชบัญญัติ
ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ดังนั้นไก่เนื้อที่ตายจึงไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อการใช้หรือการบริโภคส่วนตัวแต่เป็น
ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางพาณิชย์ จึงไม่ตกอยู่ภายในขอบเขตของการคุ้มครองของพระราช
บัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้

บทสรุป
ข้อเสนอแนะในทางกฎหมายของผูน้ พิ นธ์ คือ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่เนือ้ อิสระทีไ่ ก่เนือ้ ทีเ่ ลีย้ ง
ตาย ที่ประสงค์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายควรต้องฟ้องตามบทบัญญัติของมาตรา ๔๗๒ ของประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ผู้ขายวัคซีนรับผิด แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้ออิสระก็มีภาระการพิสูจน์
ตามมาตรา ๔๗๒ ว่าสินค้ามีความช�ำรุดบกพร่อง ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่มีสัญญาเกษตรพันธะ
กับผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรรายใหญ่ และมีข้อสัญญาในสัญญาเกษตรพันธะว่า “ผู้ขายไม่ต้อง
รับผิดในกรณีทวี่ คั ซีนทีต่ นขายให้แก่ผซู้ อื้ มีความช�ำรุดบกพร่อง” ควรฟ้องตามบทบัญญัตมิ าตรา ๔๗๒
ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบมาตรา ๒๖ ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
เกษตรพันธสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๐ และต้องมีหน้าทีพ่ สิ จู น์ตามบทบัญญัตขิ องมาตรา ๔๗๒ ซึง่ หากสิทธิ
หน้าที่ของผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นไปตามข้างต้นแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ก็จ�ำเป็นที่จะต้องมี
การระมัดระวังในการจัดเก็บ การขนส่ง และการให้วัคซีน และมีการจัดท�ำเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้อย่าง
เพียงพอ ชัดเจน เพื่อใช้ในการพิสูจน์ว่าตนเองได้ใช้ความระมัดระวังตามลักษณะอาชีพแล้ว
ผลของการเดินตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาเกีย่ วกับความรับผิดของผูข้ ายวัคซีนสัตว์ปกี
ที่มีความช�ำรุดบกพร่อง น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ประเทศไทยรักษาระบบการผลิตไก่เนื้อที่มี
ประสิทธิภาพและน�ำเงินตราจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าภาระการพิสูจน์ของเกษตรกรพันธสัญญาและเกษตรกรอิสระ
ก็ยังสูงมาก ประกอบกับค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการฟ้องร้องด�ำเนินคดี อาจท�ำให้เกษตรกรทั้ง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล และดร.กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ ๔๓

๒ ประเภทตัดสินใจไม่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือฟ้องร้องคดีแต่แพ้คดี เพราะไม่สามารถพิสูจน์


ให้ศาลเชื่อได้ว่าวัคซีนสัตว์ช�ำรุดบกพร่อง ท�ำให้ต้องประสบเคราะห์ร้ายโดยปราศจากการได้รับการ
เยียวยา ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะว่ารัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีควรเป็นผู้ให้การเยียวยาแก่เกษตรกรทั้ง
สองประเภทแทน

เอกสารอ้างอิง
ชุมพล ต่อบุญ. (๒๕๕๕). กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์เลี้ยง.
กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ�ำกัด (มหาชน). (๒๕๕๙). อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป. [ออนไลน์].
จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/b183a13a-002b-4aa3-8318-
ae74566d89b6/10_Chicken_2016_TH.aspx. [๗ มิถุนายน ๒๕๖๐].
วิษณุ เครืองาม. (๒๕๔๙). ค�ำอธิบายกฎหมายว่าด้วย ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. กรุงเทพมหานคร :
นิติบรรณาการ.
ศักดา ธนิตกุล. (๒๕๕๓). ค�ำอธิบายและค�ำพิพากษาเปรียบเทียบ: กฎหมายความรับผิดต่อความ
เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์
วิญญูชน.
สถาบันอาหาร. (๒๕๖๐). อุตสาหกรรมไก่เนื้อ. [ออนไลน์]. จาก http://fic.nfi.or.th/foodsector-
databank-detail.php?id=32. [๑๐ กันยายน ๒๕๖๐].
ส�ำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ กรมปศุสัตว์. (๒๕๕๙). ความต้องการวัคซีนส�ำหรับสัตว์. [ออนไลน์].
จาก www.dld.go.th. [๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐].
Cobb-vantress. (2013). Vaccination Procedure Guide. Arkansas: COBB.
James M. MacDonald. (2008). The Economic Organization of U.S. Broiler Produc-
tion. 38, 1-26.
Nitish Boodhoo et al. (2016). Marek’s disease in chickens: a review with focus on
immunology. Veterinary Research 47, 119-138
Viroj Na Ranong. (2008). Structural Changes in Thailand’s Poultry Sector: Avian
Influenza and Its Aftermath. TDRI Quarterly Review. 23(3), 3-10.
World Organisation for Animal Health. (2017). OIE Terrestrial Manual 2017. Paris:
World Organisation for Animal Health.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔๔ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรม
ผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์
ราชบัณฑิต ส�ำนักวิทยาศาสตร์
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
บทความนี้น�ำเสนอวิธีการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางเข้า/ออกแบบ
อนุกรม (ในวงจรรวม ๘๒๕๑) และช่องทางเข้า/ออกแบบขนาน (ในวงจรรวม ๘๒๕๕) ของแผง
วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ เพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนฮาร์ดแวร์ที่ผู้นิพนธ์เคยน�ำเสนอ
ไว้ก่อนแล้ว การส่งและรับข้อมูลผ่านช่องทางแบบอนุกรม ในบทความนี้ใช้สัญญาณตรรกะตาม
ข้อก�ำหนดของระบบทีทีแอล (TTL) เท่านั้น ไม่ใช้สัญญาณตรรกะตามข้อก�ำหนดของระบบ
อาร์เอส-๒๓๒ (RS-232) ส่วนการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางแบบขนานมีอปุ กรณ์
เสริม คือ วงจรรวมส�ำหรับแปลงข้อมูลแบบขนานเป็นแบบอนุกรมและวงจรรวมส�ำหรับแปลง
ข้อมูลแบบอนุกรมเป็นแบบขนาน นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ยังได้น�ำเสนอซอฟต์แวร์ที่จะใช้ควบคุม
ระบบฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องด้วย การทดลองทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ส�ำหรับการส่งและรับ
ข้อมูลแบบอนุกรมด้วยวิธีต่าง ๆ ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

ค�ำส�ำคัญ : ไมโครคอนโทรลเลอร์ ข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลแบบขนาน วงจรรวม ๘๐๘๘,


๘๒๕๑, ๘๒๕๓, ๘๒๕๕, 74HC165, 74HC595
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๔๕

Abstract: Serial Data Transmission and Reception Through the Microcontroller


Board for Learning
Professor Emeritus Dr. Mongkol Dejnakarintra
Fellow of the Academy of Science,
The Royal Society of Thailand
This article presents various methods for serially sending and receiving
data through the serial port (on IC 8251) and the parallel port (on IC 8255) of
the Microcontroller Board for Learning, the hardware which the author has
previously presented. Data communication through the serial port uses the TTL
logic signal levels only, i.e., no RS-232 logic signal levels are involved. Serial data
communication through the parallel port relies on supporting devices, namely,
an IC that converts a parallel data into a serial one and another IC that converts
a serial data into a parallel one. In addition, the author presents the software
for controlling the associated hardware. Experiments done on the hardware
and software for various methods of the data transmission and reception gave
satisfactory results.

Keywords: microcontroller, serial data, parallel data, ICs 8088, 8251, 8253, 8255,
74HC165, 74HC595

บทน�ำ
บทความที่ผ่านมารวม ๔ บท ผู้นิพนธ์ได้น�ำเสนอแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการ
เรียนรู้ ซึ่งใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ ๘๐๘๘ ของบริษัทอินเทลเป็นส่วนประกอบหลัก รวมทั้งซอฟต์แวร์
ระบบ วิธีใส่ข้อมูลแบบขนานให้แก่แผงวงจรและวิธีแสดงผลข้อมูลแบบขนานจากแผงวงจรดังกล่าว
บทความบทแรก (มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๖ ก : ๓๖-๖๑) ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์
และให้โปรแกรมภาษาแอสเซมบลีที่จะใช้ทดสอบส่วนประกอบส่วนต่าง ๆ ในแผงวงจรที่สร้างขึ้น
โดยที่โปรแกรมเหล่านั้นต้องถูกบรรจุลงในหน่วยความจ�ำรอม (ROM) ทุกครั้งก่อนที่จะทดสอบหรือ
ทดลอง บทความบทที่ ๒ (มงคล เดชนครินทร์ ๒๕๕๖, ข : ๑๔๖-๑๗๑) ได้น�ำเสนอซอฟต์แวร์ระบบ
(system software) ที่จะใช้อ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้แผงวงจรในการทดลองควบคุมการท�ำงาน
ของฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้ต้องการบรรจุโปรแกรมส�ำหรับการควบคุมลงในหน่วย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔๖ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

ความจ�ำแรม (RAM) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ และต้องการให้ด�ำเนินโปรแกรมจากหน่วยความจ�ำ


ดังกล่าวได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยหน่วยความจ�ำรอมตัวใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงการทดลองไป
จากเดิม บทความบทที่ ๓ (มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๗ : ๑๕๘-๑๗๗) ได้น�ำเสนอวิธีการแบบต่าง ๆ
ในการใส่ขอ้ มูลผ่านช่องทางเข้าแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ทเี่ กีย่ วข้อง ส่วนบทความ
บทที่ ๔ (มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๘ : ๑๔๐-๑๖๕) ได้น�ำเสนอวิธีการแบบต่าง ๆ ในการแสดงผล
ข้อมูลผ่านช่องทางออกแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์
สิ่งที่จะน�ำเสนอต่อไปในบทความนี้คือ วิธีการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทาง
เข้า/ออก ทั้งที่เป็นแบบอนุกรมและที่เป็นแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘
ดังกล่าว เพื่อความสะดวกในการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรม ผู้นิพนธ์ได้เพิ่มชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ให้แก่
แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ในบทความนี้

การเพิ่มชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์
แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เดิม (มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๖ ก : ๓๖-๖๑) มีแผนผัง
การวางต�ำแหน่งชิ้นส่วนที่เป็นวงจรรวมและส่วนประกอบอื่น ๆ ตามรูปที่ ๑ ในรูปนี้ บรรดาสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าที่มีด้านเป็นเส้นประแสดงถึงต�ำแหน่งที่อาจใส่วงจรรวมเพิ่มได้อีก

รูปที่ ๑ แผนภาพการวางต�ำแหน่งของชิ้นส่วนต่าง ๆ บนแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๔๗

เพื่อให้แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ ใช้ ส ามารถท� ำ งานรั บข้ อ มู ล เข้ า และส่ ง ข้ อ มู ล


ออกแบบอนุกรมได้คล่องตัวดีขึ้น ผู้นิพนธ์ได้ใส่วงจรรวม ๘๒๕๑ ตัวที่ ๒ (หมายเลข (๒) ในซีกบน
ของรูปที่ ๑) ในต�ำแหน่งที่ว่างอยู่ทางด้านขวาของวงจรรวม ๘๒๕๑ ตัวเดิม (หมายเลข (๑) ใน
ซีกบนของรูปที่ ๑) นอกจากนี้ เพื่อให้มีช่องทางรับข้อมูลเข้าแบบขนานและส่งข้อมูลออกแบบขนาน
ได้มากขึ้น ผู้นิพนธ์ได้เพิ่มวงจรรวม ๘๒๕๕ อีกตัวหนึ่ง [หมายเลข (๑) ในซีกล่างของรูปที่ ๑] ใน
ต�ำแหน่งที่ว่างอยู่ทางด้านขวาของวงจรรวม ๘๒๕๕ ตัวเดิม [หมายเลข (๒) ในซีกล่างของรูปที่ ๑]
ซึ่งได้ใช้ส่งข้อมูลออกขนาด ๘ บิต ผ่านวงจรรวม ๗๔๒๔๐ ไปแสดงผลที่ไดโอดเปล่งแสง ๘ หน่วย
ทางขวาสุด
วงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ที่ใส่เพิ่มทางซีกบนของแผงวงจรนี้ใช้สัญญาณตรรกะในระบบ
ทีทีแอล (TTL: transistor-transistor logic) ซึ่งก�ำหนดให้ระดับแรงดันไฟฟ้า ๐ โวลต์แทนตรรกะ ๐
และระดับแรงดันไฟฟ้า ๕ โวลต์แทนตรรกะ ๑ จึงไม่ต้องต่อผ่านวงจรรวม MAX232 อย่างในกรณี
ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๑) ซึ่งใช้สัญญาณตรรกะในระบบอาร์เอส-๒๓๒ (RS-232: Recommended
Standard-232) ผ่านวงจรรวม MAX232 และก�ำหนดให้ระดับแรงดันไฟฟ้า +๑๕ โวลต์แทน
ตรรกะ ๐ อีกทั้งระดับแรงดันไฟฟ้า –๑๕ โวลต์แทนตรรกะ ๑ ส่วนวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) ที่ใส่เพิ่ม
ทางซีกล่างของแผงวงจรนั้นสามารถใช้งานช่องทางสัญญาณ A, B และ C ได้ครบทั้ง ๓ ช่อง และ
เตรียมไว้เพื่อรับและส่งข้อมูลออกแบบอนุกรมหรือแบบขนานตามที่ต้องการ รายละเอียดของวงจร
รวม ๘๒๕๕ มีอยู่ในบทความบทที่ ๓ ของชุดบทความแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้
(มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๗ : ๑๕๗-๑๕๘)

รูปที่ ๒ วงจรสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมที่ใช้วงจรรวม ๘๒๕๑ (๒)


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๔๘ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

รูปที่ ๒ แสดงวงจรสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมที่ประกอบด้วยวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) และ


วงจรเสริมส�ำหรับการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางใหม่นี้ รายละเอียดของการต่อสาย
สัญญาณกับขาต่าง ๆ ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ในที่นี้คล้ายกับกรณีของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๑) ซึ่ง
ผู้ที่สนใจสามารถค้นดูได้จากบทความบทแรกของชุดบทความแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการ
เรียนรู้ (มงคล เดชนครินทร์, ๒๕๕๕ : ๔๘-๔๙) ส่วนที่แตกต่างออกไปคือ เรจิสเตอร์ส�ำหรับข้อมูล
ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) จะอยู่ ณ เลขที่อยู่ 34h และเรจิสเตอร์ส�ำหรับค�ำสั่งควบคุมของวงจรรวม
๘๒๕๑ (๒) จะอยู่ ณ เลขที่อยู่ 35h แทนที่จะเป็น 20h และ 21h อย่างในวงจรรวม ๘๒๕๑ (๑)
นอกจากนี้ โปรดสังเกตด้วยว่า ขา ๑๗ (CTS: clear to send) ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ถูกต่อเข้า
กับขา ๒๓ (RTS: request to send) ผ่านทางขา ๘ และขา ๗ ของหัวต่อ DB9 (ซึ่งอยู่ทางขวาสุด
ในรูปที่ ๒) อีกทั้งขา ๒๒ (DSR: data set ready) ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ถูกต่อเข้ากับขา ๒๔
(DTR: data terminal ready) เหตุผลของการนี้คือเพื่อประสานงานการส่งและรับข้อมูล และเพื่อ
ประหยัดสายสัญญาณที่จะต่อกับวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ให้เหลือเพียง ๓ สาย คือ สายรับสัญญาณเข้า
ซึ่งต่อกับขา ๓ (RxD: receive data ผ่านทางขา ๒ ของหัวต่อ DB9) สายส่งสัญญาณออกซึ่งต่อกับ
ขา ๑๙ (TxD: transmit data ผ่านทางขา ๓ ของหัวต่อ DB9) และสายดินซึ่งต่อกับขา ๕ ของ
หัวต่อ DB9

หลักการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑
วงจรรวม ๘๒๕๑ สามารถใช้ส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมได้ทั้งตามแบบวิธีประสานเวลา
(synchronous mode) และตามแบบวิธไี ม่ประสานเวลา (asynchronous mode) แบบวิธแี รกต้อง
อาศัยสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวก�ำหนดจังหวะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของบิตข้อมูล ส่วนแบบวิธีหลังไม่
ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกาส�ำหรับก�ำหนดจังหวะเวลาของบิตข้อมูล แต่ใช้บิตข้อมูลเพิ่มเติมที่ส่วนต้น
และส่วนท้ายของกลุ่มบิตข้อมูลในการก�ำหนดความยาวของกลุ่มข้อมูลที่ส่งและรับด้วยอัตราเร็วตาม
ที่ตกลงกันไว้ระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลกับอุปกรณ์รับข้อมูล รายละเอียดของวิธีการส่งและรับข้อมูล
ตามแบบวิธีทั้งสองนี้มีอยู่ในคู่มือการใช้งานวงจรรวม ๘๒๕๑ (เช่น Intel Corp, 1986a: 1-26) ใน
ที่นี้ ผู้นิพนธ์จะใช้การส่งและรับข้อมูลตามแบบวิธีไม่ประสานเวลาเท่านั้น
กลุ่มของบิตข้อมูลที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมตามแบบวิธีไม่ประสานเวลานั้น
ประกอบด้วยบิตเริ่ม (start bit) ๑ บิต (ตรรกะ ๐) ตามด้วยบิตข้อมูลที่จะใช้งานจริงจ�ำนวน ๗ หรือ
๘ บิต โดยที่บิตนัยส�ำคัญต�่ำสุด (บิต ๐) ในจ�ำนวนบิตเหล่านี้ถูกส่ง (และถูกรับ) เป็นบิตแรกสุดทีต่ าม
หลังบิตเริม่ ถ้าข้อมูลทีจ่ ะใช้งานจริงมีจำ� นวนเพียง ๗ บิตเท่านัน้ บิตที่ ๘ อาจถูกใช้เป็นบิตภาวะคู่หรือคี่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๔๙

(parity bit) ส�ำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล บิตท้ายสุดของกลุม่ บิตข้อมูลจะเป็นบิตหยุด


(stop bit) จ�ำนวน ๑ หรือ ๒ บิต (ตรรกะ ๑) รูปที่ ๓ แสดงแผนภาพของกลุ่มบิตข้อมูลที่กล่าวถึงนี้

รูปที่ ๓ กลุ่มบิตข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลาผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑



ช่วงเวลาที่ใช้ก�ำหนดความกว้างของบิตข้อมูลแต่ละบิต ซึ่งเรียกว่า ช่วงเวลาบิต (bit
time) เท่ากับส่วนกลับของอัตราบอด (baud rate) ยกตัวอย่าง กลุ่มบิตข้อมูลที่ประกอบด้วยบิตเริ่ม
๑ บิต บิตข้อมูลใช้งาน ๗ บิต บิตภาวะคูห่ รือคี่ ๑ บิต และบิตหยุด ๒ บิต รวมทัง้ หมด ๑๑ บิต ใช้
ช่วงเวลาบิตรวม ๑๑ ช่วง แต่ละช่วงมีความกว้าง ๙.๐๙ มิลลิวินาที และมีอัตราบอดเท่ากับ ๑๑๐
ถ้าอัตราบอดสูงกว่า ๑๑๐ บิตหยุดที่ใช้จะมีจ�ำนวนเพียง ๑ บิต และกลุ่มบิตข้อมูลโดยรวมจะใช้ช่วง
เวลาบิตเพียง ๑๐ ช่วงเท่านั้น ในกรณีนี้อัตราบอดจะเท่ากับ ๑๐ เท่าของจ�ำนวนกลุ่มบิตข้อมูลที่
ส่งหรือรับผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑ ในระยะเวลา ๑ วินาที เช่น ที่อัตราบอดเท่ากับ ๙๖๐๐ จ�ำนวน
กลุ่มบิตข้อมูลที่ส่งหรือรับใน ๑ วินาทีเท่ากับ ๙๖๐ กลุ่ม (ตัวอักขระที่ส่งหรือรับมีจ�ำนวน ๙๖๐ ตัว)
และช่วงเวลาบิตจะเท่ากับ ๐.๑๐๔ มิลลิวินาที
อัตราการส่งข้อมูล (อัตราบอด) ของวงจรรวม ๘๒๕๑ สามารถก�ำหนดได้โดยใช้ชุดค�ำสั่ง
ที่เหมาะสมชุดหนึ่งในการเริ่มต้น (initialize) การท�ำงานของวงจรรวม ๘๒๕๓ (ตัวจับเวลา/ตัวนับ)
ในแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ของบทความนี้ เพื่อให้ส่งคลื่นสัญญาณนาฬิกาที่มีความถี่เหมาะสม
ค่าหนึ่งแก่วงจรรวม ๘๒๕๑ (ผ่านทางขา ๙ และ ๒๕ ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๒) ส่วนองค์ประกอบของ
กลุ่มบิตข้อมูลที่ใช้ (ดังตัวอย่างในรูปที่ ๓) สามารถก�ำหนดได้โดยใช้ชุดค�ำสั่งที่เหมาะสมอีกชุดหนึ่งใน
การเริม่ ต้นการท�ำงานของวงจรรวม ๘๒๕๑ รายละเอียดเกีย่ วกับเรือ่ งนีม้ อี ยูใ่ นคูม่ อื การใช้งานวงจรรวม
๘๒๕๑ และ ๘๒๕๓ (Intel Corp. 1986a, 1986b) และมีตัวอย่างดังที่จะน�ำเสนอในหัวข้อต่อไป

ตัวอย่างวงจรและซอฟต์แวร์สำ� หรับรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒)


หัวข้อนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้วงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์
เพื่อการเรียนรู้ในการรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ (keyboard) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และส่ง
ข้อมูลไปยังมอดูลแสดงผลตัวอักขระแอลซีดีแบบอนุกรม วงจรที่ใช้ในการนี้เป็นดังรูปที่ ๔
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๕๐ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

รูปที่ ๔ วงจรส�ำหรับการรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒)



ส่วนบนของรูปที่ ๔ แสดงถึงวงจรทีใ่ ช้ตอ่ ประสาน (interface) แผงแป้นอักขระแบบ PS/2
ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ ในบทความนี้ โดยผ่าน
วงจรรวม KB1 (Lucid Technologies 2012: 1-25) และวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) (Intel Corp.
1986 a: 1-26) ชิ้นส่วนของวงจรทางด้านขวาสุดของรูปนี้คือเต้ารับ (socket) ส�ำหรับตัวเสียบต่อ
(connector) ของแผงแป้นอักขระแบบ PS/2 ซึ่งส่งสัญญาณนาฬิกา (KBCLK) และข้อมูลตัวอักขระ
(KBDAT) ในรูปของข้อมูลแบบอนุกรม เข้าสู่ขา ๑๓ และขา ๑๒ ของวงจรรวม KB1 จากนั้น KB1
จะแปลงข้อมูลเข้าให้เป็นข้อมูลออก แล้วส่งข้อมูลนี้แบบอนุกรมออกทางขา ๖ (TxD) ด้วยอัตราบอด
ที่ก�ำหนดโดยสัญญาณตรรกะด้านเข้า ณ ขา ๑๐ (ตรรกะ ๐ : ๑๒๐๐; ตรรกะ ๑: ๙๖๐๐) สัญญาณ
ออกจากขา ๖ ของ KB1 นี้จะเข้าสู่ขา ๓ (RxD) ของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) ผ่านทางขา ๒ ของหัวต่อ
DB9 โปรดสังเกตว่า ขา ๕ (RxD) ของ KB1 ถูกต่อลงกราวนด์ (ตรรกะ ๐) ทั้งนี้ก็เพราะว่าไม่ต้องการ
ให้ KB1 รับสัญญาณเข้าผ่านขานี้
แผนภาพที่อยู่ล่างสุดของรูปที่ ๔ แสดงถึงมอดูลแสดงผลอักขระแอลซีดีที่รับข้อมูลเข้า
แบบอนุกรมจากแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ ของบทความนี้ มอดูลนี้มีรายละเอียด
เกี่ยวกับการป้อนข้อมูลรวมทั้งค�ำสั่งควบคุมอยู่ในเอกสารคู่มือการใช้งาน (Longtech Optics 2011:
1-20) ซึ่งค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต มอดูลดังกล่าวมีสมรรถนะโดยสรุปดังต่อไปนี้
๑) มอดูลรับข้อมูลเข้าแบบอนุกรมในแบบวิธีไม่ประสานเวลา ใช้อัตราบอดโดยปริยาย
(default) เท่ากับ ๙๖๐๐ โดยที่กลุ่มบิตข้อมูลประกอบด้วยบิตเริ่ม ๑ บิต ตามด้วยบิต
ข้อมูลใช้งาน ๘ บิต ไม่มีบิตภาวะคู่หรือคี่ ปิดท้ายด้วยบิตหยุด ๑ บิต
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๕๑

๒) มอดูลสามารถแสดงอักขระ (ตัวอักษรและตัวเลข) ได้ ๒ แถว แถวละ ๑๖ ตัว แต่ละตัว


มีขนาด ๕x๘ จุด
๓) การท�ำงานโดยปริยายเมื่อเริ่มต่อกับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า ๕ โวลต์ คือจอสว่าง ตัว
ชี้ต�ำแหน่ง (cursor) อยู่ที่ด้านซ้ายสุดบนบรรทัดแรกของจอ ตัวชี้ต�ำแหน่งไม่มีเส้นใต้
อักขระและไม่กะพริบ ความจ้าของแสงที่ส่องจากด้านหลังอยู่ที่ระดับ ๘ (สูงสุดคือ
๑๖) ค่าความเปรียบต่างระหว่างจุดมืดกับจุดสว่างอยู่ที่ระดับ ๔๐ (สูงสุดคือ ๕๐)
๔) ข้อมูลส�ำหรับแสดงผลอักขระบนจอคือข้อมูลแอสกี (ASCII: American Standard
Code for Information Interchange) เป็นจ�ำนวนฐานสิบหกขนาด ๑ ไบต์ เช่น
30h ใช้แสดงเลข ๐ และ 7Ah ใช้แสดงตัวอักษร z
๕) ค�ำสั่งที่ใช้ในการจัดภาวะของจอประกอบด้วยจ�ำนวนฐานสิบหกขนาด ๑ ไบต์ (๘ บิต)
รวม ๒ หรือ ๓ ไบต์ โดยที่ไบต์แรกจะเป็น FEh เสมอ กล่าวคือ ค�ำสั่งดังกล่าวมีรูปแบบ
FEh IJh [MNh]
โดยที่ I, J, M, N เป็นจ�ำนวนฐานสิบหก (0-9, A-F) และ [MNh] เป็นไบต์ที่อาจมี
เพิ่มได้ ยกตัวอย่างเช่น ค�ำสั่งเปิดแสงบนจอคือ FEh 41h และค�ำสั่งปรับความจ้าของ
หน้าจอเป็นระดับ ๑๐ คือ FEh 53h 0Ah
รูปที่ ๕ แสดงซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ ของบทความนี้
ให้รับข้อมูลแบบอนุกรมจากแผงแป้นอักขระ แล้วส่งข้อมูลที่ได้ไปยังจอมอดูลแสดงผลอักขระในวงจร
ตามรูปที่ ๔
จากรูปที่ ๕ จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้น (initialize) การท�ำงานของวงจรรวม ๘๒๕๓ (ตัว
จับเวลา/ตัวนับ) ใช้ชุดค�ำสั่ง (ส่วนล่างใน Page 1) ส�ำหรับก�ำหนดสมบัติของสัญญาณนาฬิกาที่จะส่ง
ให้แก่วงรรวม ๘๒๕๑ (๒) ดังนี้
mov al,00110110b ;mode 3, sq. wve., timer 0
out timer_ctrl,al ;at 33h
mov al,4 ;divide 2.5MHz by 4
out timer_0,al
mov al,0 ;send MS byte of divide-by factor
out timer_0,al
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๕๒ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

ในชุดค�ำสัง่ ข้างบนนี้ ค�ำสัง่ ๒ บรรทัดแรกแสดงถึงการป้อนข้อมูลฐานสอง คือ 00110110b


ให้แก่ช่องทางควบคุม (control port) ของวงจรรวม ๘๒๕๓ ณ ต�ำแหน่งที่อยู่ 33h ข้อมูลฐานสอง
ดังกล่าวให้ข้อก�ำหนดในรายละเอียด (จาก Intel Corp. 1986 b: 4-5) ดังนี้
; Page 1 ; Page 2
;Program for receiving and sending serial data ;initialize Aux 8251 serial port
;via IC 8251(2) of the uC8088 board mov al,0
;Program name: SERCOM1.ASM out ser_ctrl,al ;send three 0s to
;Date: June 24, 2016 out ser_ctrl,al ;reset 8251
;use Borland’s Turbo Assembler and Linker out ser_ctrl,al
;assemble: tasm SERCOM1 mov cx,4
;link: tlink /t SERCOM1.OBJ, SERCOM1.BIN dela0: loop dela0 ;I/O delay
;burn SERCOM1.BIN to 32-KB ROM or mov al,01000000b ;reset 8251 to
;transfer it to ROM emulator out ser_ctrl,al ;mode set
.model tiny mov cx,4
.code dela1: loop dela1 ;I/O delay
mov al,ser_mode ;set serial mode
;CONSTANTS for 8253 and 8251(2) out ser_ctrl,al
timer_0 equ 30h ;8253 timer mode port mov cx,4
timer_ctrl equ 33h ;8253 control port dela2: loop dela2 ;I/O delay
ser_data equ 34h ;8251 (2) data port mov al,xcv_cmnd ;command word
ser_ctrl equ 35h ;8251 (2) control port out ser_ctrl,al
ser_mode equ 01001111b ;1 stop bit,no par, mov cx,4
;8-bit data, baud x 64 dela3: loop dela3 ;I/O delay
xcv_cmnd equ 00110111b ;ser. xcve command sti ;enable sys. interrupt

;CONSTANTS for SLCD control ;initialize SLCD


displa_on equ 41h ;turn on display call slcd_ini
displa_off equ 42h ;turn off display ;clear SLCD screen
CUR_LOCA equ 45h ;put cursor at a loca. mov bl,0 ;char count
;with loca. no. mov al,clear_scr ;clear screen, put
cur_lin2 equ 40h ;used with 45h for cursor ;cursor at (1,1)
;at line 2,col.1 call send_cmd1
cur_home1 equ 46h ;put cursor at line 1,col.1
und_curon equ 47h ;underline cursor on ;receive keyboard data
und_curoff equ 48h ;underline cursor off recv: in al,ser_ctrl ;polling for reception
cur_left equ 49h ;move cursor left 1 space jmp short $+2 ;I/O delay
cur_right equ 4Ah ;move cursor right 1 space test al,2 ;bit 1 = 1 => RxRDY
cur_blkon equ 4Bh ;turn on blinking cursor jz recv
cur_blkoff equ 4Ch ;turn off blinking cursor in al,ser_data ;receive char
back_sp equ 4Eh ;destructive backspace jmp short $+2 ;I/O delay
clear_scr equ 51h ;clear SLCD, cursor at and al,7Fh ;clear parity bit
;line 1,col.1 cmp al,20h ;lowest legal ASCII
CONTRAST equ 52h ;set display contrast, jb recv ;discard read char
;with no.<= 50 cmp al,7Fh ;highest legal ASCII
BRIGHT equ 53h ;set backlight, w/ no.<= 16 ja recv ;discard read char
SET_BAUD equ 61h ;set baud rate, w/ param inc bl ;count char read
;1=>300,2=>1200,4=>9600 cmp bl,16 ;end of line 1?
jne not_16 ;not end of line 1
org 8000h ;start of ROM prog. call send_byte ;write char at end of
main proc ;line 1
cli ;prevent sys. interrupt call cur_home2 ;put cursor at (2,1)
;segment setup mov al,cur_blkon ;blinking cursor on
mov ax,0 call send_cmd1
mov ds,ax jmp recv ;get new char
mov es,ax not_16:
mov ss,ax cmp bl,32 ;end of line 2?
mov bp,ax jb wr_char ;not end of line 2
mov si,ax call send_byte ;write char at end
mov di,ax ;of line 2
mov ax,8000h ;stack top mov bl,0 ;reset char count
mov sp,ax call cur_home ;put cursor at (1,1)
mov al,cur_blkon ;blinking cursor on
;initialize 8253 for 9600 baud: call send_cmd1
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๕๓

;(9.6k)x64 = 614.4 kHz = 2.5 MHz/4 jmp recv ;get new char
mov al,00110110b ;mode 3, sq. wve., ;write char in al on SLCD
;timer 0 wr_char:
out timer_ctrl,al ;at 33h call send_byte ;cursor moves right
mov al,4 ;divide 2.5MHz by 4 ;automatically
out timer_0,al jmp recv ;get new char
mov al,0 ;send MS byte of
;divide-by factor main endp
out timer_0,al ;******************************************
(To be continued to Page 3)

; Page 3 ; Page 4
slcd_ini proc ; initialization of SLCD send_cmd1 proc ;send prefix + (al = func no.)
;set SLCD baud rate to default 9600 push ax
mov al,SET_BAUD ;61h: change baud rate call send_cmd ;send prefix
mov ah,4 ;9600 baud pop ax ;func in al
call send_cmd2 call sending ;send func
call cur_home ;set cursor at (1,1) call delay1
mov al,und_curon ;underln cursor on ret
call send_cmd1 send_cmd1 endp
mov al,cur_blkon ;blinking cursor on ;*********************************************
call send_cmd1 ;send prefix + (al=func) + (ah=param)
;write “READY” on SLCD send_cmd2 proc
mov al,”R” push ax
call send_byte call send_cmd1 ;send prefix +
mov al,”E” ;(al=func)
call send_byte pop ax ;param in ah
mov al,”A” mov al,ah
call send_byte call sending ;send param
mov al,”D” call delay1
call send_byte ret
mov al,”Y” send_cmd2 endp
call send_byte ;**********************************************
call delay2 cur_home proc ;put cursor at line 1, col.1
call delay2 mov al,cur_home1 ;func 46h
ret call send_cmd1
slcd_ini endp ret
;********************************************** cur_home endp
sending proc ;send 1-byte char ;*********************************************
push ax ;save char in ax
send: in al,ser_ctrl ;polling for x-mission cur_home2 proc ;put cursor at line 2, col.1
jmp short $+2 ;I/O delay mov al,CUR_LOCA ;func 45h
and al,00000101b ;bit0 = 1 => TxRDY mov ah,cur_lin2 ;param = 40h
cmp al,00000101b ;bit2 = 1 => Tx call send_cmd2
;buffer empty ret
jnz send ;not ready for x-mission yet cur_home2 endp
pop ax ;retrieve char ;*********************************************
out ser_data,al ;send data to port contraxx proc ;set display contrast <= 50
jmp short $+2 ;I/O delay push ax ;save parameter
ret mov al,CONTRAST ;func 52h
sending endp call send_cmd1
;********************************************** pop ax ;retrieve param
delay1 proc ;delay of about 160 ms cmp al,50
push cx jbe valid1
mov cx,4000h mov al,50
delay5: loop delay5 valid1: call sending
pop cx call delay1
ret ret
delay1 endp contraxx endp
;********************************************** ;*********************************************
delay2 proc ;delay of about 0.6 sec brightxx proc ;set backlite bright <= 16
push cx push ax ;save param
mov cx,0F000h mov al,BRIGHT ;func 53h
delay6: loop delay6 call send_cmd1
pop cx pop ax ;retrieve param
ret cmp al,16
delay2 endp jbe valid2
;********************************************** mov al,16
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๕๔ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

send_byte proc ;send 1 byte char in al valid2: call sending


call sending call delay1
call delay1 ret
ret brightxx endp
send_byte endp ;*********************************************
;**********************************************
send_cmd proc ;send command prefix org 0fff0h ;Instruction Pointer address
mov al,0FEh ;at reset
call sending db 0eah,0,80h,0,0 ;far jump to start of ROM
call delay1
ret end main
send_cmd endp
;**********************************************

รูปที่ ๕ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ (ต่อ)

บิต ๗ - บิต ๖ = 00 ==> เลือกใช้ตัวนับเวลาหมายเลข ๐ (Timer 0)


บิต ๕ - บิต ๔ = 11 ==> รับข้อมูลตัวหารความถี่โดยเริ่มจากไบต์นัยส�ำคัญต�่ำสุดก่อน
แล้วตามด้วยไบต์นัยส�ำคัญสูงสุด
บิต ๓ - บิต ๑ = 011 ==> ท�ำงานตามแบบวิธี ๓ (Mode 3) ซึ่งจะให้สัญญาณนาฬิกา
รูปคลื่นจัตุรัส
บิต ๐ = 0 ==> ใช้ข้อมูลที่เป็นจ�ำนวนฐานสอง (ไม่ใช้ BCD หรือจ�ำนวนฐานสิบเข้ารหัส
ฐานสอง)

ค�ำสั่งในบรรทัดที่ ๓ และ ๔ ของชุดค�ำสั่งที่กล่าวถึงข้างบนนี้ แสดงถึงการป้อนไบต์นัย-


ส�ำคัญต�่ำสุด (04h) ของข้อมูลตัวหารความถี่ เข้าสู่ช่องทางข้อมูล (data port) ของวงจรรวม ๘๒๕๓
ณ ต�ำแหน่งที่อยู่ 30h ส่วนค�ำสั่งใน ๒ บรรทัดสุดท้าย แสดงถึงการป้อนไบต์นัยส�ำคัญสูงสุด (00h)
ของข้อมูลตัวหารความถี่เข้าสู่ช่องทางข้อมูลของวงจรรวม ๘๒๕๓ โดยรวมแล้ว ตัวหารความถี่ขนาด
๒ ไบต์ที่วงจรรวม ๘๒๕๓ ได้รับจะเป็น 0004h ซึ่งก็คือ ๔ ในระบบฐานสิบนั่นเอง เนื่องจากสัญญาณ
นาฬิกาทางด้านเข้าของวงจรรวม ๘๒๕๓ มีความถี่ ๒.๕ เมกะเฮิรตซ์ หรือ ๒,๕๐๐ กิโลเฮิรตซ์ ดังนั้น
สัญญาณนาฬิกาทางด้านออกซึ่งถูกส่งให้แก่วงจรรวม ๘๒๕๑ จะมีความถี่เป็น ๒,๕๐๐/๔ กิโลเฮิรตซ์
หรือ ๖๒๕,๐๐๐ เฮิรตซ์ ซึ่งเมื่อหารต่อไปด้วย ๖๔ จะได้เป็นอัตราบอด ๙๖๐๐ โดยประมาณ
ส�ำหรับการเริ่มต้นการท�ำงานของวงจรรวม ๘๒๕๑ (๒) นั้น ในตอนแรกเราป้อนข้อมูล 00h
ให้แก่ช่องทางควบคุม ณ ต�ำแหน่งที่อยู่ 35h รวม ๓ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าวงจรรวมตัวนี้อยู่ในภาวะ
ตั้งใหม่ (reset) จากนั้นก็ป้อนข้อมูลค�ำสั่งงาน (command word) ฐานสอง คือ 01000000b
เข้าสู่ช่องทางควบคุมเพื่อสั่งวงจรรวม ๘๒๕๑ ให้เตรียมรับข้อมูลแบบวิธีการท�ำงาน (mode word)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๕๕

ที่จะป้อนตามมา ข้อมูลค่าหลังนี้ก็คือ ser_mode (= 01001111b) ซึ่งให้ข้อก�ำหนดในรายละเอียด


(จาก Fuller, 1995: 156-158) ดังนี้
บิต ๗ - บิต ๖ = 01 ==> ใช้บิตหยุด (stop bit) ๑ บิต ในกลุ่มบิตข้อมูลที่รับ/ส่งแบบ
ไม่ประสานเวลา
บิต ๕ - บิต ๔ = 00 ==> ไม่ใช้บิตภาวะคู่หรือคี่ (no parity bit)
บิต ๓ - บิต ๒ = 11 ==> ข้อมูลใช้งานมีจ�ำนวน ๘ บิต
บิต ๑ - บิต ๐ = 11 ==> ใช้ค่า ๖๔ ในการคูณกับอัตราบอดเพื่อก�ำหนดความถี่ของ
สัญญาณนาฬิกา
ในตอนท้ายสุด ป้อนข้อมูลค�ำสั่งงาน คือ xcv_cmnd (= 00110111b) เข้าสู่ช่องทาง
ควบคุมของวงจรรวม ๘๒๕๑ โดยที่ข้อมูลค่านี้ให้ข้อก�ำหนดในรายละเอียด (จาก Fuller, 1995:
158-159) คือ
บิต ๗ - บิต ๖ = 00 ==> ไม่มีการตั้งใหม่ (reset) ภายในวงจรรวม
บิต ๕ - บิต ๔ = 11 ==> ส่งค่าตรรกะ ๐ ออกทางขา RTS และตั้งค่าตัวบ่งชี้ค่า
ผิดพลาดเป็นตรรกะ ๐
บิต ๓ - บิต ๒ = 01 ==> การท�ำงานเป็นปกติ และเปิดใช้ช่องทางรับข้อมูล
บิต ๑ - บิต ๐ = 11 ==> ส่งค่าตรรกะ ๐ ออกทางขา DTR และเปิดใช้ช่องทางส่ง
ข้อมูล

ในการรับและส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ ในที่นี้


ซอฟต์แวร์ตามรูปที่ ๕ ใช้วิธีการหยั่งสัญญาณ (polling) เพื่อดูความพร้อมของวงจรรวม ๘๒๕๑ ที่จะ
รับหรือส่งข้อมูล วิธีการนี้อาศัยการอ่านข้อมูลสถานะ (status word) จากช่องทางควบคุมของวงจร
รวมดังกล่าว (โปรดดูรายละเอียดใน Fuller, 1995: 159-161) ถ้าบิต ๑ ของข้อมูลสถานะมีค่า
ตรรกะเป็น ๑ แสดงว่ามีข้อมูลพร้อมที่จะให้รับเข้าผ่านช่องทางข้อมูลอยู่แล้ว และถ้าบิต ๐ กับบิต ๒
ของข้อมูลสถานะมีค่าตรรกะเป็น ๑ ทั้งคู่ หมายถึงว่า วงจรรวม ๘๒๕๑ พร้อมที่จะส่งข้อมูลออก
ผ่านช่องทางข้อมูล อีกทั้งได้ล้างที่พักข้อมูล (buffer) เตรียมรับข้อมูลใหม่ไว้แล้วด้วย

การส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางออกแบบขนานและการกู้ข้อมูลที่ปลายทาง
การส่งข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางออกแบบขนานจะใช้เมื่อต้องการประหยัดจ�ำนวน
เส้นลวดในสายส่ง จาก ๘ เส้น (ส�ำหรับข้อมูลแบบขนานขนาด ๘ บิต) เหลือเพียง ๒ หรือ ๓ เส้น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๕๖ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

โดยที่เส้นลวดเส้นหนึ่งท�ำหน้าที่ส่งข้อมูลและเส้นลวดอีก ๑ หรือ ๒ เส้นท�ำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุม


โดยทั่วไปสัญญาณควบคุมสัญญาณหนึ่งในจ�ำนวน ๒ สัญญาณนี้จะเป็นสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ประสาน
จังหวะการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ดังนั้น การส่งข้อมูลด้วยวิธีการนี้จึงจัดเป็นแบบประสานเวลา
(synchronous) นั่นเอง
หัวข้อนี้จะกล่าวถึงการส่งข้อมูลออกแบบอนุกรมผ่านช่องทางออกแบบขนานในวงจรรวม
๘๒๕๕ (๑) และการกู้ข้อมูลที่ปลายทางให้เป็นแบบขนาน โดยใช้วงจรรวมที่แปลงข้อมูลแบบอนุกรม
เป็นแบบขนาน หรือเรจิสเตอร์เลื่อนข้อมูลแบบเข้าอนุกรมออกขนาน (serial-in/ parallel-out shift
register: SIPO) เช่น 74HC595 (NXP Semiconductors, 2016: 1-23) ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๖

รูปที่ ๖ วงจรส่งข้อมูลแบบอนุกรม ๘ บิตผ่านวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) และกู้ข้อมูลด้วยวงจรรวม 74HC595

ข้อมูลแบบขนานจากวงจรรวม 74HC595 อาจถูกแสดงผลผ่านวงจรรวม 74LS240 และ


ไดโอดเปล่งแสง ๘ หน่วยดังในรูปที่ ๖ หรืออาจถูกส่งเข้าอุปกรณ์ดิจิทัลชนิดอื่นที่รับข้อมูลแบบขนาน
ขนาด ๘ บิตก็ได้ รายละเอียดเกี่ยวกับขารับสัญญาณเข้า ขาส่งสัญญาณออก และขารับสัญญาณ
ควบคุม ของวงจรรวม 74HC595 ในรูปที่ ๖ มีดังนี้
ขา DS (Data Serial, ขา ๑๔) ใช้รับข้อมูลเข้าแบบอนุกรม โดยที่บิตข้อมูล ณ ขานี้จะถูกส่ง
ไปออกที่ Q0 ก่อน แล้วถูกเลื่อนไปออกที่ Q1, Q2, …, Q7 ตามล�ำดับ
ขา Q0 (ขา ๑๕) และขา Q1-Q7 (ขา ๑-๗) ใช้ส่งข้อมูลออกแบบขนานขนาด ๘ บิต
ขา Q7S (Serial Data Output, ขา ๙) เป็นขาส่งข้อมูลอนุกรม Q7 ไปยังขา DS ของวงจร
รวม 74HC595 อีกตัวหนึ่งที่รับข้อมูลนัยส�ำคัญสูงกว่า ใช้ในกรณีที่ส่งและรับข้อมูลขนาด ๑๖ บิต
หรือมากกว่า
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๕๗

ขา SHCP (Shift Clock Pulse, ขา ๑๑) ใช้รับสัญญาณนาฬิกาเพื่อเลื่อนข้อมูลไปยัง


ต�ำแหน่งที่อยู่สูงกว่าเดิม ๑ บิต โดยที่ขอบขาขึ้นของสัญญาณนี้เป็นตัวกระตุ้นการเลื่อนข้อมูล
ขา STCP (Storage Clock Pulse, ขา ๑๒) ใช้รับสัญญาณส�ำหรับแลตช์ (latch) ข้อมูล
ออกแบบขนาน โดยที่ขอบขาขึ้นของสัญญาณนี้เป็นตัวกระตุ้นการแลตช์
ขา MR (Master Reset, ขา ๑๐) ใช้รับสัญญาณตรรกะ ๐ (๐ โวลต์) ส�ำหรับการตั้งใหม่
(reset) ของตัววงจรรวม ปรกติต่อกับสัญญาณตรรกะ ๑ (+๕ โวลต์)
ขา OE (Output Enable, ขา ๑๓) ปรกติจะต่อรับสัญญาณตรรกะ ๐ เพื่อให้ส่งข้อมูล
ออกได้

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการท�ำงานของวงจรในรูปที่ ๖ นั้น แสดงไว้ในรูปที่ ๗ ซอฟต์แวร์


ดังกล่าวเริ่มท�ำงานด้วยการจัดภาวะเริ่มต้นของวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) และ ๘๒๕๕ (๒) ให้อยู่ใน
โหมด ๐ โดยที่ช่องทาง A, B และ C แต่ละช่องทางท�ำหน้าที่ส่งข้อมูลออกแบบขนานขนาด ๘ บิต
; Page 1 ; Page 2
;Program for serially sending data via IC outport1 proc ;output data via Port1b
;8255 (1) of the uC8088 board and receiving it out ppi_port1_b,al
;with IC 74HC595 (serial-to-parallel shift reg) call delay1
;8255 Port1b connected to 74HC595 ret
;line PB0<->DS(pin 14), PB1<->SHCP(pin 11), outport1 endp
;PB2<->STCP(pin 12) ;**********************************************

;Program name: SERCOM2.ASM outport2 proc ;display parallel data on Port2b


;Date: June 30, 2016 out ppi_port2_b,al
;use Borland’s Turbo Assembler and Linker call delay2
;assemble: tasm SERCOM2 ret
;link: tlink /t SERCOM2.OBJ, SERCOM2.BIN outport2 endp
;burn SERCOM2.BIN to 32-KB ROM or ;**********************************************
;transfer it to ROM emulator send_dat proc ;send data in al, MS bit first
.model tiny push cx ;save cx
.code rol al,1 ;MS bit becomes LS
org 8000h ;start of ROM address mov ah,al ;save data
;I/O port configuration and al,01h ;LS bit only
ppi_port1_a equ 24h ;parallel port1 A call outport1 ;send data, SHCP = lo
ppi_port1_b equ 25h ;parallel port1 B or al,02h ;set PB1=SHCP = hi
ppi_port1_c equ 26h ;parallel port1 C call outport1 ;send data + SHCP
ppi_ctrl_port1 equ 27h and al,01h ;reset PB1=SHCP=lo
ppi_port2_a equ 28h ;parallel port2 A call outport1
ppi_port2_b equ 29h ;parallel port2 B
ppi_port2_c equ 2Ah ;parallel port2 C mov cx,7 ;for next 7 bits
ppi_ctrl_port2 equ 2Bh loop1:
rol ah,1 ;a high bit becomes LS
main proc mov al,ah ;retrieve data
cli ;prevent sys. interrupts and al,01h ;LS bit only
mov ax,0 ;set all segments to 0000 call outport1 ;send data + PB1=SHCP=lo
mov ds,ax or al,02h ;set PB1=SHCP=hi
mov es,ax call outport1 ;send data + SHCP
mov ss,ax and al,01h ;reset SHCP=lo, STCP=lo
mov ax,8000h ;set stack top at 8000h call outport1
mov sp,ax loop loop1
;config. 8255s for mode 0 on groups A & B,
;ports A,B,C = output ;latch 8-bit data to output reg. of 595
mov al,10000000b mov al,04h ;set PB2=STCP=hi
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๕๘ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

out ppi_ctrl_port1,al call outport1 ;STCP: lo -> hi


call delay1 ;I/O delay mov al,0 ;reset PB2=STCP=lo
out ppi_ctrl_port2,al call outport1
call delay1 pop cx ;retrieve cx
sti ;enable sys. interrupts ret
send_dat endp
strt: call runsled ;**********************************************
jmp strt
delay1 proc ;time delay about 160 ms
main endp push cx
;********************************************** mov cx,4000h ;delay value
;running light on 595 & Port2b LEDs delay5: loop delay5 ;count down CX
runsled proc pop cx
begin1: mov al,01h ;light LS bit LED ret
call send_dat ;display on 595’s LEDs delay1 endp
mov al,01h ;**********************************************
call outport2 ;display on Port2b LEDs
mov cx,0007h ;for each of next 7 bits delay2 proc ;time delay about 0.6 sec
lop11: shl al,1 ;light higher bit LED push cx
push ax ;save data mov cx,0F000h ;delay value
call send_dat ;display on 595’s LEDs delay6: loop delay6 ;count down CX
pop ax ;retrieve data pop cx
call outport2 ;display on Port2b LEDs ret
loop lop11 ;next bit delay2 endp
;**********************************************
mov al,0 ;turn off all LEDs
call send_dat ;of 595 org 0fff0h ;Instruction Pointer address
mov al,0 ;at reset
call outport2 ;and of Port2b db 0eah,0,80h,0,0 ;far jump to start of ROM
ret
runsled endp end main
;**********************************************

รูปที่ ๗ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการท�ำงานของวงจรในรูปที่ ๖

จากนัน้ กระบวนค�ำสัง่ (procedure) runsled จะส่งกลุม่ ข้อมูลขนาด ๘ บิตจ�ำนวน ๘ กลุม่ ในแต่ละ


กลุ่มจะส่งแบบอนุกรมเป็นรายบิตจนครบ ๘ บิต ทั้งนี้โดยให้ออกทางขา PB0 ของวงจรรวม ๘๒๕๕
(๑) ไปยังวงจรรวม 74HC595 แล้วผ่านวงจรรวม 74LS240 ไปแสดงผลที่ไดโอดเปล่งแสง ๘ หน่วย
ข้อมูลทั้ง ๘ กลุ่มนี้ ได้แก่ 00000001b, 00000010b, 00000100b, 00001000b, 00010000b,
00100000b, 01000000b, และ 10000000b สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยเปรียบเทียบ
กับข้อมูลแบบขนานขนาด ๘ บิตที่ส่งออกในคราวเดียวผ่านช่องทางออก B ของวงจรรวม ๘๒๕๕ (๒)
ไปแสดงผลที่ไดโอดเปล่งแสงจ�ำนวน ๘ หน่วยอีกชุดหนึ่ง (โดยที่ไดโอดจะเปล่งแสงทีละ ๑ หน่วย
เริม่ จากต�ำแหน่งนัยส�ำคัญต�ำ่ สุดไปสิน้ สุดทีต่ ำ� แหน่งนัยส�ำคัญสูงสุด) ส่วนรายละเอียดของการส่งข้อมูล
รายบิตพร้อมกับสัญญาณนาฬิกาจากวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) ไปยังวงจรรวม 74HC595 นั้น อยู่ใน
กระบวนค�ำสั่ง send_dat
ในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลแบบอนุกรมขนาด ๑๖ บิตไปยังวงจรปลายทางที่รับข้อมูลแบบ
ขนานขนาด ๑๖ บิต จะใช้วงจรที่คล้ายกับรูปที่ ๖ และใช้วิธีการส่งในท�ำนองเดียวกัน แต่ที่ปลายทาง
ต้องใช้วงจรรวม 74HC595 จ�ำนวน ๒ ตัวต่ออนุกรมกันเพือ่ รับข้อมูลดังกล่าว วงจรทีใ่ ช้ในกรณีใหม่นี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๕๙

จะเป็นดังรูปที่ ๘ ซึง่ แสดงว่า วงจรรวม 74HC595 ตัวล่าง (ส�ำหรับไบต์ขอ้ มูลนัยส�ำคัญต�ำ่ ) ส่งสัญญาณ


แบบอนุกรมออกทางขา Q7S (ขา ๙) ไปยังขา DS (ขา ๑๔) ของวงจรรวม 74HC595 ตัวบน
(ส�ำหรับไบต์ข้อมูลนัยส�ำคัญสูง) อีกทั้งวงจรรวมทั้ง ๒ ตัวนี้ใช้สัญญาณ SHCP (ผ่านขา ๑๑) และ
สัญญาณ STCP (ผ่านขา ๑๒) ร่วมกัน

รูปที่ ๘ วงจรส่งข้อมูลแบบอนุกรม ๑๖ บิตผ่านวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) และกู้ข้อมูล


ด้วยวงจรรวม 74HC595 จ�ำนวน ๒ ตัวต่อกันแบบอนุกรม

การส่งข้อมูลโดยใช้วงจรรวมที่แปลงข้อมูลแบบขนานเป็นแบบอนุกรม
การส่งข้อมูลในหัวข้อที่ผ่านมาใช้วิธีการทางซอฟต์แวร์ กล่าวคือ ใช้การหมุนข้อมูลขนาด
๘ บิตไปทางซ้าย (rotate left: rol) ๑ บิต เพื่อให้บิตนัยส�ำคัญสูงสุดกลายเป็นบิตนัยส�ำคัญต�่ำสุด
แล้วส่งบิตนัยส�ำคัญต�่ำสุดที่ได้นี้ออกไปทางสาย PB0 ของวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) จากนั้นท�ำเช่นนี้ซ�้ำ
หลังจากที่หมุนข้อมูลไปทางซ้ายครั้งละ ๑ บิต ซึ่งเป็นการแปลงข้อมูลแบบขนานให้เป็นแบบอนุกรม
นัน่ เอง ความจริงแล้วอาจน�ำวิธกี ารทางฮาร์ดแวร์มาใช้แทนก็ได้ ทัง้ นีโ้ ดยอาศัยวงจรรวมทีแ่ ปลงข้อมูล
แบบขนานเป็นแบบอนุกรม หรือเรจิสเตอร์เลื่อนข้อมูลแบบเข้าขนานออกอนุกรม (parallel-in/
serial-out shift register: PISO) เช่น 74HC165 (NXP Semiconductors 2015: 1-21) ข้อดี
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖๐ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

ของวิธีการแบบหลังนี้ก็คือสามารถส่งข้อมูลแบบขนาน ทั้งที่อยู่ในหน่วยความจ�ำของแผงวงจรไมโคร-
คอนโทรลเลอร์เองและที่อยู่ภายนอกแผงวงจรไปสู่ปลายทางได้เร็วขึ้น ตัวอย่างของวงจรที่ใช้ส่งข้อมูล
ภายนอกผ่านวงจรรวม 74HC165 เข้าสู่แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ ของบทความนี้เป็น
ดังรูปที่ ๙
รายละเอียดเกี่ยวกับขารับสัญญาณเข้า ขาส่งสัญญาณออก และขารับสัญญาณควบคุมของ
วงจรรวม 74HC165 ในรูปที่ ๙ มีดังนี้
ขา D0-D7 (ขา ๑๑-๑๔ และ ๓-๖) เป็นขารับข้อมูลเข้าแบบขนานขนาด ๘ บิต
ขา Q7 (ขา ๙) เป็นขาส่งข้อมูลออกแบบอนุกรม โดยที่บิตนัยส�ำคัญสูงสุด (D7) ของข้อมูล
แบบขนานจะถูกส่งออกเป็นบิตแรก และบิตนัยส�ำคัญต�่ำสุด (D0) ของข้อมูลแบบขนานจะถูกส่งออก
เป็นบิตสุดท้าย
ขา Q7 (ขา ๗) เป็นขาส่งข้อมูลออกแบบอนุกรมที่เป็นส่วนเติมเต็ม (complement) ของ
Q7

รูปที่ ๙ วงจรส่งข้อมูล ๘ บิต ผ่านวงจรรวม 74HC165



ขา DS (Data Serial, ขา ๑๐) เป็นขารับข้อมูลแบบอนุกรมจากขา Q7 ของวงจรรวม
74HC165 อีกตัวหนึ่งที่รับข้อมูลนัยส�ำคัญต�่ำกว่า ใช้ในกรณีที่ส่งและรับข้อมูลขนาด ๑๖ บิตหรือ
มากกว่า ในรูปที่ ๙ ขา DS ไม่ใช้ จึงถูกต่อลงกราวนด์ (ตรรกะ ๐)
ขา CP (Clock Pulse, ขา ๒) ใช้รับสัญญาณนาฬิกาที่จะควบคุมการเลื่อนและส่งบิตข้อมูล
ออกทางขา Q7 ครั้งละ ๑ บิต โดยที่ขอบขาขึ้นของสัญญาณนี้เป็นตัวกระตุ้นการเลื่อนข้อมูล
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๖๑

ขา CE (Clock Enable, ขา ๑๕) ใช้รับสัญญาณตรรกะ ๐ เพื่อเปิดทางให้สัญญาณนาฬิกา


จากขา CP ท�ำงานได้ ปรกติขานี้จะต่อลงกราวนด์ (ตรรกะ ๐)
ขา PL (Parallel Load, ขา ๑) ใช้รับสัญญาณตรรกะ ๐ เพื่อบรรจุข้อมูลแบบขนานเข้าสู่
ภายในวงจรรวม 74HC165 ในตอนเริม่ แรกเท่านัน้ จึงต่อขานีเ้ ข้ากับแรงดันไฟฟ้า ๕ โวลต์ (ตรรกะ ๑)
ผ่านตัวต้านทานขนาด ๑ กิโลโอห์ม
หากจะส่งสัญญาณควบคุมผ่านขา PB0 และ PB1 ของช่องทาง B ในวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑)
ตามรูปที่ ๙ ไปยังขา PL และ CP ของวงจรรวม 74HC165 ตามล�ำดับ และจะให้วงจรรวม ๘๒๕๕ (๑)
รับข้อมูลแบบอนุกรมจากขา Q7 ของวงจรรวม 74HC165 ผ่านทางขา PA0 ของช่องทาง A ครั้นเมื่อ
ได้ข้อมูลแบบขนานครบ ๘ บิตแล้ว วงจรรวม ๘๒๕๕ (๒) ก็จะส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านออกทางช่องทาง
B ไปแสดงผลที่ไดโอดเปล่งแสง ๘ หน่วย ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมวงจรตามรูปที่ ๙ เป็นดังที่
แสดงไว้ในรูปที่ ๑๐
ในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลแบบขนานขนาด ๑๖ บิตไปยังวงจรปลายทางที่รับข้อมูลแบบ
อนุกรมเป็นรายบิต จะใช้วงจรที่คล้ายกับรูปที่ ๙ และใช้วิธีการรับในท�ำนองเดียวกัน แต่ที่ต้นทางต้อง
ใช้วงจรรวม 74HC165 จ�ำนวน ๒ ตัวต่ออนุกรมกันเพื่อให้ใส่ข้อมูลแบบขนานได้ ๑๖ บิต วงจรที่ใช้ใน
กรณีใหม่นี้จะเป็นดังรูปที่ ๑๑ ซึ่งแสดงว่า วงจรรวม 74HC165 ตัวล่าง (ส�ำหรับไบต์ข้อมูลนัยส�ำคัญ
ต�่ำ) ส่งสัญญาณแบบอนุกรมออกทางขา Q7 (ขา ๙) ไปยังขา DS (ขา ๑๐) ของวงจรรวม 74HC165
ตัวบน (ส�ำหรับไบต์ข้อมูลนัยส�ำคัญสูง) อีกทั้งวงจรรวมทั้ง ๒ ตัวนี้ใช้สัญญาณ PL (ผ่านขา ๑) และ
สัญญาณ CP (ผ่านขา ๒) ร่วมกัน

; Page 1 ; Page 2
;Program for serially sending parallel data via recv_dat proc ;get ser. data bit from 74HC165
;IC 74HC165 (parallel-to-serial shift reg.) to mov al,01h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=lo
;IC 8255 (1) of the uC8088 board out ppi_port1_b,al
;8255 Port1a and Port1b connected to 74HC165 call delay0
;line PA0<->DS(165.p9), PB0<->!PL(165.p1), mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi
;PB1<->CP(165.p2) out ppi_port1_b,al ;pulse CP lo->hi
call delay0
;Program name: SERCOM3.ASM in al,ppi_port1_a ;read data bit
;Date: July 1, 2016 call delay0
;use Borland’s Turbo Assembler and Linker and al,01h ;take LS bit only
;assemble: tasm SERCOM3 ret
;link: tlink /t SERCOM3.OBJ, SERCOM3.BIN recv_dat endp
;burn SERCOM3.BIN to 32-KB ROM or ;**********************************************
;transfer it to ROM emulator
.model tiny inpport1 proc ;read data bit via Port1a
.code in al,ppi_port1_a
org 8000h ;start of ROM address call delay0
;I/O port configuration ret
ppi_port1_a equ 24h ;parallel port1 A inpport1 endp
ppi_port1_b equ 25h ;parallel port1 B ;**********************************************
ppi_port1_c equ 26h ;parallel port1 C
ppi_ctrl_port1 equ 27h outport1 proc ;output ctrl. signal via Port1b
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖๒ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

ppi_port2_a equ 28h ;parallel port2 A out ppi_port1_b,al


ppi_port2_b equ 29h ;parallel port2 B call delay1
ppi_port2_c equ 2Ah ;parallel port2 C ret
ppi_ctrl_port2 equ 2Bh outport1 endp
;**********************************************
main proc
cli ;prevent sys. interrupts outport2 proc ;display parallel data on Port2b
mov ax,0 ;set all segments to 0000 out ppi_port2_b,al
mov ds,ax call delay2
mov es,ax ret
mov ss,ax outport2 endp
mov ax,8000h ;set stack top at 8000h ;**********************************************
mov sp,ax
;config. 8255 for mode 0 on groups A & B, delay0 proc ;time delay about 40 ms
;ports A,C = input, port B = output push cx
mov al,10011001b mov cx,1000h ;delay value
out ppi_ctrl_port1,al delay4: loop delay4 ;count down CX
call delay1 pop cx
out ppi_ctrl_port2,al ret
call delay1 delay0 endp
sti ;enable sys. interrupts ;**********************************************
strt: call run165
jmp strt delay1 proc ;time delay about 160 ms
main endp push cx
;********************************************** mov cx,4000h ;delay value
run165 proc ;get ser data from 74HC165 delay5: loop delay5 ;count down CX
;and show it on Port2b LEDs pop cx
begin1: mov al,81h ;turn on MS and LS LEDs ret
call outport2 ;on Port2b delay1 endp
mov al,0 ;then turn them off ;**********************************************
call outport2
mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi delay2 proc ;time delay about 0.6 sec
call outport1 ;send signals via Port1b push cx
mov al,02h ;PB0=!PL=lo, PB1=CP=hi mov cx,0F000h ;delay value
call outport1 ;load paral. data to 165 delay6: loop delay6 ;count down CX
mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi pop cx
call outport1 ;PB=!PL: hi->lo->hi ret
call inpport1 ;read MS bit w/o using CP delay2 endp
mov ah,al ;save it in ah ;**********************************************
mov cx,7 ;for next 7 bits
lop11: shl ah,1 ;shift to higher position org 0fff0h ;Instruction Pointer address
call recv_dat ;read ser. data into al ;at reset
or ah,al ;add it to ah db 0eah,0,80h,0,0 ;far jump to start of ROM
loop lop11
mov al,ah ;get 8-bit data into al end main
call outport2 ;display on Port2b LEDs
call delay2
ret
run165 endp
;**********************************************

รูปที่ ๑๐ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการท�ำงานของวงจรในรูปที่ ๙
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๖๓

รูปที่ ๑๑ วงจรส่งข้อมูล ๑๖ บิต ผ่านวงจรรวม 74HC165 จ�ำนวน ๒ ตัว

การส่งข้อมูลผ่านวงจรรวม 74HC165 และรับข้อมูลผ่านวงจรรวม 74HC595


เนื้อหาในหัวข้อ ๒ หัวข้อที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า สามารถส่งและรับข้อมูลขนาด ๘ บิต
(หรือมากกว่านี้) แบบอนุกรมได้ โดยใช้วงจรรวม 74HC165 เพื่อรับข้อมูลแบบขนานที่ต้นทาง
และใช้วงจรรวม 74HC595 เพื่อกู้ข้อมูลกลับเป็นแบบขนานที่ปลายทาง ในการนี้แผงวงจรไมโคร
คอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ จะท�ำหน้าที่ให้สัญญาณนาฬิกาและสัญญาณควบคุมที่จ�ำเป็นแก่วงจรรวมทั้ง
๒ ตัวดังกล่าว ถ้าให้แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นทางผ่านหรือที่พักชั่วคราวของบิตข้อมูลแบบ
อนุกรมระหว่างการส่งผ่านข้อมูลด้วย จะต้องใช้สายสัญญาณรวมทั้งหมด ๖ สาย โดยที่วงจรรวม
ฝ่ายส่งและฝ่ายรับแต่ละตัวใช้สายสัญญาณ ๓ สาย (สายข้อมูลอนุกรม ๑ สาย และสายสัญญาณ
ควบคุม ๒ สาย) อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้สายข้อมูลสายเดียวต่อจากขา Q7 (ขา ๙) ของวงจรรวม 74HC165
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖๔ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

ไปยังขา DS (ขา ๑๔) ของวงจรรวม 74HC595 โดยตรง (ไม่ผ่านแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์)


และใช้สายสัญญาณนาฬิกาของวงจรรวมทั้ง ๒ ตัวร่วมกันเป็นสายเดียว จะสามารถลดสายสัญญาณ
ควบคุมจากแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ลงเหลือเพียง ๓ เส้นเท่านั้น คือ สายสัญญาณนาฬิการ่วม
(CP, SHCP) ๑ เส้น, สาย ส�ำหรับการบรรจุข้อมูลเข้าแบบขนานให้แก่วงจรรวม 74HC165 ๑ เส้น
และสาย STCP ส�ำหรับการแลตช์ข้อมูลออกแบบขนานจากวงจรรวม 74HC595 อีก ๑ เส้น รูปที่ ๑๒
แสดงวิธีการอย่างหลังนี้ซึ่งช่วยให้ประหยัดสายสัญญาณได้จ�ำนวนหนึ่ง

รูปที่ ๑๒ วงจรส่งข้อมูลผ่านวงจรรวม 74HC165 และรับข้อมูลผ่านวงจรรวม 74HC595

ในรูปที่ ๑๒ ส่วนของสายสัญญาณนาฬิการ่วมจากขา PB1 ของวงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) ไป


ยังขา SHCP ของวงจรรวม 74HC595 มีตัวผกผันสัญญาณ (วงจรรวม 74LS04) ต่ออนุกรมอยู่ด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้วงจรรวม 74HC595 ถูกกระตุ้นด้วยช่วงขาลงของสัญญาณนาฬิกาที่ออกจากขา PB1 ของ
วงจรรวม ๘๒๕๕ (๑) ในขณะที่วงจรรวม 74HC165 ถูกกระตุ้นด้วยช่วงขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา
ดังกล่าว ผลคือวงจรรวม 74HC595 ได้รับบิตข้อมูลแบบอนุกรมหลังจากที่วงจรรวม 74HC165 ได้
ปล่อยบิตข้อมูลบิตนั้นออกมาก่อนแล้วเป็นเวลาครึ่งคาบของสัญญาณนาฬิกา ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะ
เกิดความผิดพลาดในการรับข้อมูลปลายทาง ส่วนวงจรที่ประกอบด้วยตัวต้านทาน ๓๓๐ โอห์มต่อ
อนุกรมกับตัวเก็บประจุขนาด ๐.๐๐๒ ไมโครฟารัด และต่อระหว่างสายสัญญาณนาฬิกาของวงจรรวม
74HC595 กับกราวนด์นั้น ใช้ลดคลื่นรบกวน ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการรับข้อมูล
ปลายทางด้วยเช่นกัน ข้อมูลแบบขนานที่ออกจากวงจรรวม 74HC595 ทางขวาสุดของรูปที่ ๑๒
สามารถแสดงผลได้ด้วยไดโอดเปล่งแสงดังในรูปที่ ๖ และสังเกตได้ว่าเปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลแบบ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๖๕

ขนานที่เข้าสู่วงจรรวม 74HC165 (รูปที่ ๑๒ ไม่ใส่วงจรแสดงผลไว้เนื่องจากต้องการประหยัดเนื้อที่


ของรูปดังกล่าว)
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการท�ำงานของวงจรตามรูปที่ ๑๒ เป็นดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๑๓

ผลการทดลอง
ผู้นิพนธ์ได้ทดลองใช้งานซอฟต์แวร์ชุดต่าง ๆ ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ ๕, ๗, ๑๐ และ ๑๓
ร่วมกับวงจรสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง คือ วงจรในรูปที่ ๔, ๖, ๙ และ ๑๒ ตามล�ำดับ การทดลองให้ผล
ตรงตามความคาดหมายและน่าพอใจ

; Page 1 ; Page 2
;Program for serially sending parallel data via call outport1 ;CP: hi->lo, SHCP: lo->hi
;IC 74HC165 and receiving it with IC 74HC595 ;=> move top bit into 595
;controlled by IC 8255 (1) of the uC8088 board mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi
;ser. line Q7(165.p9) connected to DS(595.p14) ;SHCP=!PB1=lo,PB2=STCP=lo
;8255 Port1b connected to 74HC165 & 74HC595 call outport1 ;CP: lo->hi, SHCP: hi->lo
;line PB0<->!PL(165.p1), PB1<->CP(165.p2), loop lop13
;!PB1<->SHCP(595.p11), PB2<->STCP(595.p12)
;store par. data in 595
;Program name: SERCOM4.ASM mov al,07h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi
;Date: July 5, 2016 ;SHCP=!PB1=lo,PB2=STCP=hi
;use Borland’s Turbo Assembler and Linker call outport1 ;PB2=STCP: lo->hi
;assemble: tasm SERCOM4 mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi
;link: tlink /t SERCOM4.OBJ, SERCOM4.BIN ;SHCP=!PB1=lo,PB2=STCP=lo
;burn SERCOM4.BIN to 32-KB ROM or call outport1 ;PB2=STCP: hi->lo
;transfer it to ROM emulator call delay2
.model tiny ret
.code runsxcv endp
org 8000h ;start of ROM address ;**********************************************
;I/O port configuration
ppi_port1_a equ 24h ;parallel port1 A outport1 proc ;output signal via Port1b
ppi_port1_b equ 25h ;parallel port1 B out ppi_port1_b,al
ppi_port1_c equ 26h ;parallel port1 C call delay0
ppi_ctrl_port1 equ 27h ret
ppi_port2_a equ 28h ;parallel port2 A outport1 endp
ppi_port2_b equ 29h ;parallel port2 B ;**********************************************
ppi_port2_c equ 2Ah ;parallel port2 C
ppi_ctrl_port2 equ 2Bh outport2 proc ;display parallel data on Port2b
out ppi_port2_b,al
main proc call delay2
cli ;prevent sys. interrupts ret
mov ax,0 ;set all segments to 0000 outport2 endp
mov ds,ax ;**********************************************
mov es,ax
mov ss,ax delay0 proc ;time delay about 40 ms
mov ax,8000h ;set stack top at 8000h push cx
mov sp,ax mov cx,1000h ;delay value
delay4: loop delay4 ;count down cx
;config. 8255 for mode 0 on groups A & B, pop cx
;ports A,C=in, B=out ret
mov al,10011001b delay0 endp
out ppi_ctrl_port1,al ;**********************************************
call delay1
out ppi_ctrl_port2,al delay1 proc ;time delay about 160 ms
call delay1 push cx
sti ;enable sys. interrupts mov cx,4000h ;delay value
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖๖ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

strt: call runsxcv delay5: loop delay5 ;count down CX


jmp strt pop cx
main endp ret
;********************************************** delay1 endp
;*********************************************
runsxcv proc ;move ser. data from 74HC165
;directly to 74HC595 delay2 proc ;time delay about 0.6 s
begin1: push cx
mov al,81h ;turn on MS & LS LEDs mov cx,0F000h ;delay value
call outport2 ;on Port2b delay6: loop delay6 ;count down CX
mov al,0 ;then turn them off pop cx
call outport2 ret
;load par. data into 165 using PB0: lo -> hi delay2 endp
mov al,02h ;PB0=!PL=lo, PB1=CP=hi ;**********************************************
;SHCP=!PB1=lo, PB2=STCP=lo
call outport1 ; org 0fff0h ;Instruction Pointer address
mov al,03h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=hi ;at reset
;SHCP=!PB1=lo, PB2=STCP=lo db 0eah,0,80h,0,0 ;far jump to start of ROM
call outport1 ;MS bit now on Q7 (165.p9)
;and on DS (595.p14) end main
mov cx,8 ;for next 8 bits ;**********************************************
lop13: ;shift next bit on Q7 of
;165 to DS of 595
mov al,01h ;PB0=!PL=hi, PB1=CP=lo
;SHCP=!PB1=hi, PB2=STCP=lo

รูปที่ ๑๓ ซอฟต์แวร์ควบคุมการส่งและรับข้อมูลของวงจรในรูปที่ ๑๒

สรุป
บทความนี้ได้น�ำเสนอวิธีการส่งและรับผลข้อมูลแบบอนุกรมผ่านช่องทางเข้า/ออกแบบ
อนุกรมและช่องทางเข้า/ออกแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ เพื่อการเรียนรู้
โดยใช้วงจรรวมดิจิทัลที่แปลงข้อมูลแบบขนานเป็นแบบอนุกรมและวงจรรวมดิจิทัลที่แปลงข้อมูล
แบบอนุกรมเป็นแบบขนานมาช่วย คือ วงจรรวม 74HC165 และ 74HC595 การทดลองทาง
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ส�ำหรับการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมด้วยวิธีต่าง ๆ ในบทความนี้ให้ผล
เป็นที่น่าพอใจ
การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมมีข้อดี คือ สามารถประหยัดจ�ำนวนเส้นลวดที่ใช้ในการส่ง
และรับข้อมูลได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการส่งและรับข้อมูลแบบขนานขนาด ๘ บิต แต่มี
ข้อด้อย คือ อัตราการส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมจะลดลงเหลือประมาณ ๑/๘ ของการส่งและรับ
ข้อมูลแบบขนานดังกล่าว
ในบทความนี้ ผู้นิพนธ์ยังไม่ได้กล่าวถึงการส่งและรับข้อมูลด้วยวิธีการแบบอื่น ๆ ที่อาจ
ท� ำ ผ่ า นช่ อ งทางเข้ า /ออกแบบอนุ ก รมและช่ อ งทางเข้ า /ออกแบบขนานของแผงวงจรไมโคร-
คอนโทรลเลอร์ ๘๐๘๘ เช่น การสือ่ สารข้อมูลแบบอนุกรมผ่านวงจรรวม ๘๒๕๑ ตามแบบวิธปี ระสาน
เวลา (synchronous mode) การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมตามแบบ SPI (Serial Peripheral
Interface) และการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมตามแบบ I2C (Inter-Integrated Circuit) ซึ่งผู้ที่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มงคล เดชนครินทร์ ๖๗

สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าได้จากแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต แต่วิธีการเท่าที่น�ำเสนอก็ถือได้ว่า
เพียงพอแก่การท�ำงานของระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้อ่านที่สนใจสามารถดัดแปลง
วิธีการแสดงผลข้อมูลในบทความนี้ไปใช้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ระบบอื่น ๆ ที่ใช้งานเชิงปฏิบัติได้

กิตติกรรมประกาศ
ผู้นิพนธ์ขอขอบคุณ อาจารย์บุญช่วย ทรัพย์มนชัย แห่งห้องปฏิบัติการวิจัยสมองกลฝังตัว
และการออกแบบวงจรรวม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงบทความนี้

เอกสารอ้างอิง
มงคล เดชนครินทร์. (๒๕๕๖). แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อการเรียนรู้. วารสารราช-
บัณฑิตยสถาน. ๓๘ (๓), (กรกฎาคม-กันยายน (ก)), ๓๖-๖๑.
_______ . (๒๕๕๖). ซอฟต์แวร์ระบบส�ำหรับแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพือ่ การเรียนรู.้ วารสาร
ราชบัณฑิตยสถาน. ๓๘ (๓), (กรกฎาคม-กันยายน (ข)), ๑๔๖-๑๗๑.
_______ . (๒๕๕๗). การใส่ขอ้ มูลเข้าแบบขนานให้แก่แผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์เพือ่ การเรียนรู.้
วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๙ (๔), (ตุลาคม-ธันวาคม), ๑๕๘-๑๗๗.
_______ . (๒๕๕๘). การแสดงผลข้อมูลผ่านช่องทางออกแบบขนานของแผงวงจรไมโครคอนโทรล-
เลอร์เพื่อการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสภา. ๔๐ (๔), (ตุลาคม-ธันวาคม), ๑๔๐-๑๖๕.
Fuller, W. (1995). Build Your Own Computer. New York: Delmar Publishers Inc.
Intel Corp. (1986 a). 8251A Programmable Communication Interface. pp. 1-26.
[online]. from http://pdf.datasheet catalog.com/datasheet/Intel/mXtyswx.
pdf. [23 Jun. 2016].
_______ . (1986 b). 8253/8253-5 Programmable Interval Timer. pp. 1-11. [online].
from http://pdf1.alldatasheet.com/datasheet-pdf/view/66098/INTEL/8253.
html. [23 Jun. 2016].
Longtech Optics. (2011). Specifications of LCD Module LCM1602K3-FL-GBW. pp.
1-20. [online]. from http://micro-research.co.th/files_manual/LCM1602K3_
FL_GBW.pdf. [22 Jun. 2016].
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๖๘ การส่งและรับข้อมูลแบบอนุกรมฯ

Lucid Technologies. (2012). User’s Manual Version 1.0 for KB1 AT-PS/2 Keyboard
Interface Chip. pp. 1-25. [online]. from http://www.lucidtechnologies.info/
kb1_manual.pdf. [22 Jun. 2016].
NXP Semiconductors. (2016). 74HC595; 74HCT595 8-Bit Serial-in, serial or
parallel-out Shift Register with Output Latches; 3-State. pp. 1-23. [online].
from http://www.nxp.com/documents/data_sheet/74HC_HCT595.pdf. [29 Jun.
2016].
_______ . (2015). 74HC165; 74HCT165 8-bit parallel-in/serial out shift register.
Netherlands, pp. 1-21. [online]. from http://www.nxp.com/documents/data_
sheet/74HC_HCT165.pdf. [1 Jul. 2016].
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๖๙

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
กับพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยรุ่น
ในครอบครัวไทยปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
ราชบัณฑิต ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมประชาธิปไตย
กับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของไดอานา บอมรินด์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมจ�ำนวน
๑,๓๑๖ คน จากกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาคในประเทศไทย ข้อมูลเก็บจากแบบสอบถาม
๓ ชุด คือ แบบวัดรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของบอมรินด์ แบบวัดพฤติกรรมประชาธิปไตย และ
แบบข้อมูลประวัติส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญในตัวแปรภูมิภาคและรูปแบบการ
อบรมเลี้ยงดู แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญในตัวแปรล�ำดับการเกิดหรือประเภทของ
ครอบครัว นักเรียนที่ถูกเลี้ยงดูด้วยรูปแบบการเอาใจใส่จากพ่อแม่จะมีพฤติกรรมประชาธิปไตย
สูงกว่านักเรียนที่ถูกเลี้ยงดูในรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูอื่น ๆ

ค�ำส�ำคัญ : รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู พฤติกรรมประชาธิปไตย วัยรุ่น


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๗๐ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

Abstract: Relationships between Parenting styles and Adolescents Democratic


Behaviors in Thai Families
Associate Professor Dr. Puntip Sirivunnabood
Fellow of the Academy of Moral and Political Sciences,
The Royal Society of Thailand
The Purpose of this study was to investigate the relationship between
democratic behaviors and Diana Baumrind parenting styles. The subject were
1,316 students from Bangkok and four different regions in Thailand. The data
were collected via three questionnaires, Baumrind’s Parenting Styles, Demo-
cratic Behaviors scale and subjects personal information. The results showed
significant differences of residential regions and parenting styles but whereas
birth order, family types had no significant differences. Students with authorita-
tive parenting style showed better democratic behaviors than the students with
the other three parenting styles.

Keywords: Parenting styles, democracy behavior, Adolescence

บทน�ำ
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีกับการเร่งพัฒนาประเทศเพื่อก้าวไปสู่ความเจริญ
สูงสุดทางวิชาการยุค ๔.๐ ล้วนส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงการเมืองการปกครอง
ของประเทศไทย ภายใต้การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้านี้จึงแฝงไว้ด้วยปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อ
การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะพฤติกรรมจริยธรรมและพฤติกรรมทางสังคมต่าง ๆ ของเยาวชน
ประเทศก�ำลังพัฒนามักจะประสบปัญหาวิกฤตการณ์ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
วิกฤตการณ์ทางการเมืองและพฤติกรรมประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากประเทศเพื่อนบ้านประสบ
ปัญหาวิกฤตทางการเมืองอยู่เนือง ๆ ประเทศไทยเองในฐานะที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
ประชาชนในชาติควรได้มกี ารแสดงออกซึง่ การมีสว่ นร่วมทางการเมือง และมีพฤติกรรมประชาธิปไตย
อันเป็นหนทางในการพัฒนาประเทศชาติ หากประชาชนขาดจิตส�ำนึกประชาธิปไตย ประเทศชาติ
จะเป็นประชาธิปไตยไม่ได้เลย การพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้องได้รับการกล่อมเกลา
มาตัง้ แต่วยั เยาว์ และสถาบันแรกทีม่ คี วามส�ำคัญในการกล่อมเกลาให้บคุ คลได้มพี ฤติกรรมทีเ่ หมาะสม
คือสถาบันครอบครัว
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๗๑

ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกในชีวิตของมนุษย์ เป็นสถาบันซึ่งสามารถสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนโดยพัฒนาคนให้เกิดศักยภาพในการพัฒนาจิตใจและภูมิปัญญา (Spirituality) การเรียนรู้
ในการพัฒนาตน (Learning in self-development) อันน�ำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
ในสังคมไทยปัจจุบันเยาวชนไทยจ�ำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่เป็นปัญหาแก่สังคม
เช่น ก้าวร้าว ติดยาเสพติด ไม่สนใจปัญหาส่วนรวมสนใจแต่การใฝ่หาความสุขส่วนตัว จึงเป็นที่น่าวิตก
กังวลส�ำหรับอนาคตของประเทศไทย
ปัจจัยที่จะยกระดับมาตรฐานทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งพฤติกรรม
ประชาธิปไตยสามารถท�ำได้โดยผ่านกระบวนการของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งรวมไปถึงการอบรม
เลี้ยงดูที่ได้รับอิทธิพลจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้พฤติกรรมประชาธิปไตยจากงานวิจัยที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่ท�ำการศึกษาในกลุ่มนักเรียนและท�ำการวิจัยเกี่ยวกับการสอนพฤติกรรมประชาธิปไตยผ่าน
ระบบการศึกษา อีกส่วนหนึ่งศึกษาในลักษณะของความรู้พฤติกรรมประชาธิปไตย การรับรู้พฤติกรรม
ประชาธิปไตย และค่านิยมประชาธิปไตย นอกจากนี้ในเรื่องของพฤติกรรมทางการเมืองซึ่งรวมไปถึง
ความรับผิดชอบทางการเมืองก็มีผู้ได้ท�ำการศึกษาในลักษณะการจัดกิจรรมจ�ำลองทางการเมืองใน
ระบบการศึกษาซึ่งมีไม่มากนัก

เยาวชนไทยกับจิตวิทยาการเมือง
ในการปฏิวัติรัฐประหารและกบฏในประเทศไทยนับแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีทั้งหมด ๒๕ ครั้ง
ครัง้ สุดท้ายคือวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึง่ น�ำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในจ�ำนวน
๒๕ ครัง้ นี้ มีเยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปี เข้าไปมีบทบาทเกีย่ วข้องทีป่ รากฏหลักฐานชัดเจนคือ การปฏิวตั ิ
ประชาชน วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และเยาวชนจะเป็นพลังหลักของการปฏิวตั แิ ละปฏิรปู ตัง้ แต่
นั้นมา ในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ มีเยาวชนเป็นจ�ำนวนมาก
เสียชีวิต บางคนต้องละทิ้งการศึกษาหนีไปต่างประเทศหรือเข้าไปใช้ชีวิตในป่า และในวันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งน�ำโดย พลเอก สุนทร
คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เข้ายึดอ�ำนาจการปกครองรัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย
ชุณหะวัณ และ ๒๒ มีนาคมปีเดียวกัน ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๕ พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเกิดการประท้วงจาก
นิสติ นักศึกษาและประชาชน ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนรุง่ สาง รัฐบาลได้ปราบปราม
ผูช้ มุ นุมซึง่ ส่วนใหญ่คอื นิสติ นักศึกษา ท�ำให้มผี เู้ สียชีวติ จ�ำนวนมากตามหลักฐานทีป่ รากฏ คือ ๔๐ คน
บาดเจ็บ ๖๐๐ คน ในปัจจุบันการประท้วงหรือการแสดงการต่อต้านรัฐบาลก็จะอาศัยก�ำลังของ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๗๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

เยาวชนไม่ว่าจะเป็นรัฐประหาร วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่มีการประท้วงในความโปร่งใส


ของรัฐบาลในขณะนั้น นิสิตนักศึกษาและประชาชนมีการเดินขบวนโดยนิสติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อต้านเผด็จการรัฐสภาของนายทักษิณ ชินวัตร แต่เมื่อมีการรัฐประหาร
การต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหารก็เกิดจากนิสิตนักศึกษาเช่นกัน ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าพลังของนิสิต
นักศึกษาเป็นพลังส�ำคัญ ทั้งการสนับสนุนและต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร แม้ในต่างประเทศ
นักศึกษาไทยก็แสดงจุดยืนทางการเมือง เช่น วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีนิสิตนักศึกษา
จ�ำนวนประมาณ ๑๐๐ คน แต่งชุดด�ำไว้อาลัยให้กับประชาธิปไตย และถือป้าย “No To Taksin,
No to Coup” ฉะนัน้ ในเยาวชนนัน้ มีทงั้ กลุม่ สนับสนุนและกลุ่มคัดค้านคณะปฏิรูปการปกครอง
อย่างไรก็ตามพลังของวัยรุ่นที่แสดงออกทางการเมือง แสดงถึงความผูกพันห่วงใยใน
ประเทศชาติแสดงความความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองตามวัยและวุฒิภาวะของวัยรุ่น วัยรุ่นต้องเข้าใจ
ระบบการเมืองการปกครองที่ถูกต้องและเหมาะสมส�ำหรับประเทศไทย วิกฤตการทางการเมืองที่
เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ และประเทศไทย ปัจจัยพื้นฐานที่ส�ำคัญคือพฤติกรรมของประชากรของ
แต่ละประเทศโดยเฉพาะพฤติกรรมทางการเมืองและพฤติกรรมจริยธรรม หากประชาชนชาวไทยมี
ความรับผิดชอบทางการเมืองมีการพัฒนาพฤติกรรมและจิตส�ำนึกประชาธิปไตย ประเทศไทยก็สามารถ
ด�ำเนินสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ เพราะการพัฒนาพฤติกรรมดังกล่าวต้องมาจากการกล่อมเกลา
ของสถาบันที่มีหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทาง
สังคมดังได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการประเทศต้องรับผิดชอบที่จะกล่อมเกลาและปลูกฝังจิตส�ำนึก
แก่ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตั้งแต่เยาว์วัยเพราะพฤติกรรมประชาธิปไตย ตลอดจิตส�ำนึกความ
รับผิดชอบทางการเมืองจะพัฒนาตามการเจริญเติบโตของบุคคล
ผู้เขียนในฐานะนักจิตวิทยาพัฒนาการที่มีความสนใจในพฤติกรรมประชาธิปไตย โดยเห็น
ว่าพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะได้รับอิทธิพลจากรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบที่แตกต่างกันหรือไม่
ผู้เขียนจึงได้ศึกษางานวิจัยที่ใกล้เคียงเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมประชาธิปไตย ดังจะได้กล่าวโดย
ละเอียดในล�ำดับต่อไป

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
ในบทความวิจัยนี้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู คือ พฤติกรรมของบิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู
ที่ปฏิบัติต่อเด็ก โดยมาจากสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายใน รูปแบบวิธีการต่าง ๆ ของการอบรม
เลี้ยงดูที่เด็กได้รับไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขยาย และเป็นกระบวนการที่ส่งผล
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๗๓

โดยตรงจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค ในการนี้ผู้เขียนได้น�ำรูปแบบ
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวคิดของไดอานา บอมรินด์ (Diana Baumrind’s Parenting styles) ซึ่ง
ได้รับการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของเด็กและรูปแบบการอบรม
เลีย้ งดูทแี่ ตกต่างกัน บอมรินด์ศกึ ษาเจตคติของบิดาและมารดาทีส่ ง่ ผลต่อรูปแบบพฤติกรรมการอบรม
เลี้ยงดูของบิดามารดา (Baumrind, 1967, 1971, 1989, 1991a, 1991b) บอมรินด์ได้ศึกษาค้นคว้า
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูติดต่อกันเป็นระยะเวลากว่า ๑๐ ปี ผู้นิพนธ์จึงใช้แนวทางและรูปแบบการ
อบรมเลี้ยงดูที่พัฒนาโดยบอมรินด์มาเป็นตัวแปรอิสระในการศึกษาพฤติกรรมประชาธิปไตยในการ
ศึกษาวิจัยครั้งนี้
ในการศึกษางานของบอมรินด์หรือนักวิจัยคนอื่น ได้แก่ เซลเลอร์ (Shaller, 1994)
แมคโคบีและมาติน (Maccoby & Martin, 1983) ได้มีการแบ่งการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงดูของ
บอมรินด์เป็น ๒ มิติใหญ่ ดังแผนภาพข้างล่างนี้

ภาพที่ ๑ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแสดง ๒ มิติหลักของไดอานา บอมรินด์

ในบทความวิจัยนี้ต้องการศึกษา วิเคราะห์รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งบอมรินด์ได้วิเคราะห์


รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ๔ แบบ จากการผสมผสานการอบรมเลี้ยงจากสองมิติหลัก ดังนี้
๑. มิติการควบคุมหรือเรียกร้องจากบิดามารดา (Controlling/demand) คือ การที่บิดา
มารดาก�ำหนดมาตรฐานส�ำหรับลูกและเรียกร้องให้เด็กท�ำตามมาตรฐานตามที่บิดามารดาได้ก�ำหนด
ไว้ แสดงถึงระดับการควบคุมพฤติกรรมบุตรของบิดามารดาในระดับสูง บิดามารดาคาดหวังให้เด็ก
เชื่อฟังและปฏิบัติตาม ซึ่งมิติควบคุมจะพบอยู่ในรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและในรูปแบบ
การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ด้วย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๗๔ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

๒. มิตกิ ารตอบสนองต่อเด็ก (Responsive) คือ การทีบ่ ดิ ามารดาหรือผูด้ แู ลเด็กตอบสนอง


ต่อความต้องการของเด็ก โดยที่บิดามารดาจะเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็น ความรู้สึกต่าง ๆ ของเด็กจะได้รับการตอบสนองอย่างอบอุ่นและเข้าใจระดับการตอบสนอง
ของบิดามารดาจะส่งผลต่อรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่บอมรินด์ได้ศึกษาโดยที่การอบรมเลี้ยงดูที่บิดา
มารดามีการตอบสนองสูง คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบดูแลเอาใจใส่และการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ
จากระดับความเข้มของทั้ง ๒ มิติที่อธิบายข้างต้น บอมรินด์ได้พัฒนารูปแบบการอบรม
เลี้ยงดูของความแตกต่างในการผสมผสานออกเป็น ๔ รูปแบบดังนี้
๑) การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative) คือ การอบรมเลี้ยงดูอย่าง
เหมาะสมต่อพัฒนาการตามวุฒภิ าวะของเด็กโดยทีบ่ ดิ ามารดาจะอนุญาตให้เด็กมีอสิ ระตามวุฒภิ าวะ
ของเด็ก แต่ในขณะเดียวกันบิดามารดาจะก�ำหนดขอบเขตพฤติกรรมของเด็กและก�ำหนดให้เด็ก
เชื่อฟังและปฏิบัติตามแนวทางที่บิดามารดาก�ำหนดไว้ บิดามารดาจะแสดงความรักเอาใจใส่และ
ให้ความอบอุ่นต่อเด็ก
๒) การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian) คือ การอบรมเลี้ยงดูที่บิดา
มารดามีความเข้มงวดเรียกร้อง แต่ไม่ตอบสนองความต้องการของเด็กโดยสิ้นเชิง มีการจัดระบบการ
ควบคุมวางกฎเกณฑ์ให้เด็กปฏิบัติอย่างเข้มงวดโดยมีการให้ค�ำอธิบายน้อยมากหรือไม่มีเลย เด็กต้อง
ยอมรับในค�ำพูดของพ่อแม่ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมเสมอ มีการใช้อ�ำนาจควบคุม โดยวิธีบังคับ
และลงโทษเมื่อเด็กไม่ท�ำตามความคาดหวังของพ่อแม่ ห่างเหินและปฏิเสธเด็ก บอมรินด์พบว่าเด็ก
ที่มาจากการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ มักจะไม่ค่อยมีความสุข ชอบหลีกหนีสังคม มีความวิตกกังวล และ
รู้สึกไม่มั่นคง มีความคับข้องใจสูง และขาดความกระตือรือร้น มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต�่ำ ขาดความ
ยืดหยุน่ อนุรกั ษ์นยิ ม เจ้าระเบียบจนเกินไป เด็กจะมีแนวโน้มทีจ่ ะไม่สามารถปรับตนให้เข้ากับผูอ้ นื่ ได้
๓) การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive) คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่
บิดามารดาปล่อยให้เด็กท�ำสิง่ ต่าง ๆ ตามการตัดสินใจของเด็กเองโดยไม่มกี ารก�ำหนดขอบเขต ใช้
การลงโทษน้อย ไม่เรียกร้องหรือควบคุมพฤติกรรมเด็ก เด็กสามารถแสดงออกซึง่ ความรูส้ กึ และอารมณ์
ได้อย่างเปิดเผย บิดามารดาอาจให้ค�ำปรึกษาหรือพยายามใช้เหตุผลกับเด็ก แต่ไม่มีอ�ำนาจในการ
ควบคุมพฤติกรรมของเด็ก บิดามารดาจะให้ความรักความอบอุน่ และตอบสนองความต้องการของเด็ก
เสมอ ให้โอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วมในกฎระเบียบของครอบครัว เด็กที่ได้รับการ
อบรมเลี้ยงดูเช่นนี้ บอมรินด์อธิบายว่าเด็กมักไม่มีศักยภาพตามวุฒิภาวะเพียงพอ มีความสามารถ
ควบคุมตนเองต�่ำ มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นสูง มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๗๕

๔) การอบรมเลีย้ งดูแบบทอดทิง้ (Uninvolved) คือ การอบรมเลีย้ งดูทบี่ ดิ ามารดา


ไม่ให้ความสนใจหรือตอบสนองความต้องการของเด็ก ให้การดูแลเอาใจใส่ต่อเด็กน้อยมาก บิดา
มารดาอาจปฏิเสธเด็กแต่แรก หรือหมกมุน่ อยูก่ บั ปัญหาและกดดันในชีวติ ประจ�ำวันส่วนตัวจนไม่มเี วลา
ดูแลเอาใจใส่ลกู บิดามารดากลุม่ นีจ้ ะเพิกเฉยต่อเด็กพอ ๆ กับไม่เรียกร้องหรือวางมาตรฐานพฤติกรรม
ใด ๆ ให้เด็กปฏิบัติ เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบนี้จะเป็นเด็กก้าวร้าวและมีปัญหาต่อต้านสังคม
(Anitsocial) อาจน�ำไปสู่การติดยาเสพติดหรือกระท�ำผิดทางอาชญากรรมต่าง ๆ เมื่อท�ำการค้นคว้า
วิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมาระยะหนึ่ง บอมรินด์ได้จ�ำกัดการศึกษารูปแบบการอบรม
เลี้ยงดูไว้เพียง ๓ รูปแบบ โดยตัดการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งออกไปโดยให้เหตุผลว่า บิดามารดา
ที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งนั้นพบไม่มากพอ หากเปรียบเทียบกับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น ๆ
แต่ผู้เขียนได้ถกแถลงในประเด็นนี้กับคณะวิจัยมหภาคและมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ส�ำหรับใน
ประเทศไทยยังน่าจะมีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้อยู่ จึงเก็บการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบนี้ไว้ในการวิจัย

พฤติกรรมประชาธิปไตย
การสัมมนากลุ่มของคณะวิจัยมหภาคเรื่องรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ได้สรุปพฤติกรรม
ประชาธิปไตย มีองค์ประกอบย่อย ดังนี้
๑. การรู้จักบทบาทความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
๒. การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
๓. การมีวินัยในตนเอง
๔. การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
๕. การใช้ปัญญา คุณธรรม และเหตุผลในการตัดสินใจ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมประชาธิปไตยมีไม่มากนักจึงขอยกในลักษณะพฤติกรรม
แต่ละด้านในลักษณะรวมและที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากนักทฤษฎีทางการเมืองได้อธิบายการเรียนรู้ทาง
การเมืองว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดทางสังคม ซึ่งเริ่มต้นจากครอบครัวและต่อเนื่องไปยัง
สถาบันทางศาสนาและสถาบันศึกษาอย่างเป็นขั้นตอน
กุสมุ าวดี พะวินรัมย์ (๒๕๓๘) ได้ศกึ ษาพฤติกรรมประชาธิปไตยของครูอนุบาลในโรงเรียน
อนุบาลสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ พบว่าครูจดั ประสบการณ์การเรียนรู้
ให้แก่เด็กในระดับมากด้านการเคารพผู้อื่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่วนรวม การปฏิบัติตนตาม
สิทธิหน้าที่และเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น ด้านการแสดงความคิดเห็นและการยอมรับฟังความเห็น
ของผู้อื่น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๗๖ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

ผลการวิจยั พบว่า ครูจดั ประสบการณ์การเรียนรูใ้ ห้แก่เด็กในระดับปานกลางด้านการตัดสินใจ


อย่างมีเหตุผลและด้านการพิจารณาความคิดเห็นของผูอ้ นื่ ครูเป็นตัวแบบทีด่ ใี นให้แก่เด็กในระดับมาก
ในด้านการมีส่วนร่วมกิจกรรมของส่วนรวม ด้านการปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของตนเอง
และผูอ้ นื่ และด้านการยอมรับฟังความคิดเห็นของผูอ้ นื่ ครูปฏิบตั ติ วั เป็นแบบอย่างในระดับปานกลาง
ด้านการเคารพผู้อื่นและด้านการพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่น ส่วนผลจากแบบสังเกตพฤติกรรม
ประชาธิปไตย พบว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กพบว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่เป็นประชา-
ธิปไตยเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า รู ป แบบการอบรมเลี้ ย งดู มี ค วามสั ม พั น ธ์ สู ง กั บ การแสดงความรั ก
ความห่วงใยต่อผู้อื่น แม้กระทั่งความเชื่อในตนเอง โดยเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความอบอุ่น
จะมีพฤติกรรมแสดงความเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์และจะมีความพึงพอใจในตนเองมากกว่าการอบรม
เลี้ยงดูรูปแบบอื่น ๆ
สิ่งที่ชัดเจนคือกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมส่งผลต่อพฤติกรรมทั้ง ๒ องค์ประกอบ
ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่จะท�ำในสถาบันการศึกษา และพบว่าส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของเด็ก
และเยาวชนคือครอบครัว
ชนะ นิลรัตน์ (๒๕๑๙) ศึกษาเจตคติแบบประชาธิปไตยของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๓
โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จ�ำนวน ๒๗๔ คน ที่มีการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบ
ต่างกัน พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยสัมพันธ์กับเจตคติแบบประชาธิปไตยด้านปัญญา
ธรรมซึ่งสูงกว่าด้านอื่น ๆ โดยไม่พบความแตกต่างของเจตคติแบบประชาธิปไตยระหว่างเพศชายและ
หญิง นอกจากนี้ สมนึก มังน้อย (๒๕๓๙) พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖ รับรู้พฤติกรรมประชา-
ธิปไตยของตนอยู่ในระดับดีในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน
๒. ด้านการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
๓. ด้านการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
๔. ด้านการยอมรับและเคารพในสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
๕. ด้านการใช้ปัญญาหรือเหตุผลในการตัดสินปัญหา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมประชาธิปไตยในครอบครัวไทย
๒. เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและรูปแบบอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อ
พฤติกรรมประชาธิปไตย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๗๗

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น
๑. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู (Parenting Stye) ๔ รูปแบบ ได้แก่
๑.๑ การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative)
๑.๒ การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian)
๑.๓ การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive)
๑.๔ การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (Uninvolved)
๒. ภูมิภาค
๓. ประเภทของครอบครัว
๔. ประเภทล�ำดับการเกิด
ตัวแปรตาม
พฤติกรรมประชาธิปไตย

ขอบเขตการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษา
ปีที่ ๖ จากโรงเรียนสหศึกษาในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาคต่าง ๆ ที่จ�ำแนกเข้ารูปแบบการ
อบรมเลี้ยงดูของบอมรินด์ จ�ำนวน ๑,๓๑๖ คน
แต่บทความวิจัยนี้จะน�ำเสนอข้อมูลการวิจัยในตัวแปรที่ส�ำคัญเพียงบางส่วนประกอบ
บทความเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเท่านั้น ตัวแปรที่น�ำเสนอ ได้แก่ ภูมิภาค ประเภทของครอบครัว
ล�ำดับการเกิด และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู

ค�ำจ�ำกัดความที่ใช่ในบทความวิจัย
พฤติกรรมประชาธิปไตย มีองค์ประกอบย่อย ดังนี้
๑. การรู้จักบทบาทความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
๒. การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
๓. การมีวินัยในตนเอง
๔. การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
๕. การใช้ปัญญา คุณธรรม และเหตุผลในการตัดสินใจ
โดยในบทความวิจัยนี้วัดได้โดยแบบสอบถามพฤติกรรมประชาธิปไตยที่พัฒนาขึ้นโดยคณะ
ผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๗๘ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู หมายถึง รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กรับรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับ


พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อเด็ก แบ่งเป็น ๔ รูปแบบตามมาตรวัดที่คณะผู้วิจัยโครงการวิจัย
มหภาคได้พัฒนาขึ้นตามแนวทางผลงานวิจัยของไดอานา บอมรินด์ (Diana Baumrind) ดังนี้
๑. การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative Parenting Style)
๒. การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian Parenting Style)
๓. การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive Parenting Style)
๔. การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (Uninvolved Parenting Style)
ประเภทของครอบครัว ได้แก่ อยู่ร่วมกับพ่อแม่ และครอบครัวประเภทอื่น
ล�ำดับการเกิด ได้แก่ ลูกคนเดียว ลูกคนโต ลูกคนกลาง (ซึ่งมิใช่ลูกตนโตหรือคนเล็ก)
ลูกคนสุดท้อง
ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ
ภาคใต้

วิธีด�ำเนินการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงส�ำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ
การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวไทย กับพฤติกรรมประชาธิปไตย
๑. กลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้เป็นการเลือกแบบสุ่มหลายขั้นตอน (Multi Stages
Sampling) โดยมีขั้นตอนดังนี้
๑.๑ แบ่งพื้นที่
ผูว้ จิ ยั แบ่งพืน้ ทีป่ ระเทศไทยเป็น ๕ ส่วน คือ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง
ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
๑.๒ การเลือกพื้นที่โรงเรียน
๑.๒.๑ กรุงเทพมหานคร แบ่งส�ำนักงานเขตปกครอง ๕๐ เขต ในการวิจัยครั้งนี้
เลือกเขต ๑ ใน ๑๐ ของเขตทั้งหมดจ�ำนวน ๕ เขต คือ เลือกเขตใจกลางเมือง ๓ เขต ได้แก่ เขต
ปทุมวัน : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) เขตพญาไท : โรงเรียนสันติราษฎร์
วิทยาลัย และเขตจตุจักร : โรงเรียนหอวัง เขตชานเมือง ๒ เขต ได้แก่ เขตพระโขนง : โรงเรียน
พระโขนงพิทยาลัย และเขตบางเขน : โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบ�ำรุง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๗๙

๑.๒.๒ ส่วนภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ


ภาคใต้ ผู้วิจัยแบ่งจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ตามเกณฑ์ของกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทยและ
แต่ละภูมิภาคเลือก ๒ จังหวัด โดยวิธีเฉพาะเจาะจงเลือกจังหวัดใหญ่ ๑ จังหวัด จังหวัดเล็ก ๑
จังหวัด ทั้งหมดรวมเป็น ๘ จังหวัด และในแต่ละจังหวัดแบ่งเป็นอ�ำเภอเมืองและอ�ำเภอรอบนอก
รวมเป็น ๑๖ อ�ำเภอ และเลือกโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่ของอ�ำเภอ ดังมีรายละเอียดดังนี้
– ภาคเหนือ เลือกได้ดังนี้
(๑) จังหวัดเชียงใหม่ : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม
(๒) จังหวัดล�ำปาง : โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาและโรงเรียนแม่เมาะวิทยา
– ภาคกลาง เลือกได้ดังนี้
(๑) จังหวัดเพชรบุรี : โรงเรียนพรหมนุสรณ์และโรงเรียนบ้านลาดวิทยา
(๒) จังหวัดนครปฐม : โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยและโรงเรียนวัดไร่ขิง
(ฝ่ายมัธยม)
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกได้ดังนี้
(๑) จังหวัดอุบลราชธานี : โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชและโรงเรียนวิจติ รพิทยา
(๒) จังหวัดยโสธร : โรงเรียนยโสธรพิทยาคมและโรงเรียนค้อวังวิทยาคม
– ภาคใต้ เลือกได้ดังนี้
(๑) จังหวัดสงขลา : โรงเรียนมหาวชิราวุธและโรงเรียนสะเดา “ขรรค์ชัยกัม-
พลานนท์อนุสรณ์”
(๒) จังหวัดตรัง : โรงเรียนวิเชียรมาตุและโรงเรียนห้วยยอด
๑.๓ เลือกกลุ่มตัวอย่าง
๑.๓.๑ คณะผู้วิจัยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และมัธยมศึกษาปีที่ ๖
โดยเลือกระดับชั้นละไม่น้อยกว่า ๕๐ คน ในแต่ละโรงเรียน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘๐ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

ตารางที่ ๑ แสดงจ�ำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บทั้งหมด

๑.๓.๒ คณะผู้วิจัยน�ำแบบทดสอบส�ำรวจกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๒,๕๓๕ คน


วิเคราะห์รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของกลุ่มตัวอย่างและจ�ำแนกกลุ่มตัวอย่างตามรูปแบบการอบรม
เลี้ยงดู โดยมีขั้นตอนดังนี้
๑.๓.๒.๑ น�ำคะแนนเฉลี่ยการอบรมเลี้ยงดูแต่ละรูปแบบไปค�ำนวณเป็น
คะแนนมาตรฐาน (Z-score)
๑.๓.๒.๒ น�ำคะแนนแต่ละรูปแบบมาลบด้วยคะแนนรูปแบบอื่น ๆ
๑.๓.๒.๓ นักเรียนมีคะแนนรูปแบบใดจะต้องมีคะแนนรูปแบบนั้นสูงกว่า
อีก ๓ รูปแบบ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการค�ำนวณข้างต้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดสามารถจ�ำแนกเป็นการอบรมเลี้ยงดู
รูปแบบทัง้ ๔ ของ Diana Baumrind ได้ ๑,๓๑๖ คน ส่วนทีเ่ หลือ ๑,๒๑๙ คน ไม่สามารถแยกรูปแบบ
การอบรมเลี้ยงดูได้ตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด
ฉะนั้น ตัวอย่างที่จะน�ำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดจึงมีท้ังสิ้น ๑,๓๑๖ คน แบ่ง
เป็นชาย ๕๒๘ คน หญิง ๗๘๘ คน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จ�ำนวน ๖๖๒ คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จ�ำนวน ๖๕๔ คน และแบ่งเป็นการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบต่าง ๆ
ดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๘๑

ตารางที่ ๒ แสดงกลุ่มตัวอย่างจ�ำแนกตามภูมิภาคและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู

๒. เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย
๒.๑ ตอนที่ ๑ แบบส�ำรวจข้อมูลภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ศาสนา
เชือ้ ชาติ สถานภาพของครอบครัว ผูท้ เี่ ด็กอาศัยอยูด่ ว้ ย จ�ำนวนพีน่ อ้ ง ล�ำดับการเกิด ระดับการศึกษา
สูงสุดของพ่อ ระดับการศึกษาสูงสุดของแม่ อาชีพหลักของครอบครัว ผลการเรียน (GPA)
๒.๒ ตอนที่ ๒ แบบส�ำรวจรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู สร้างและพัฒนาโดยคณะผู้วิจัย
มหภาคตามแนวคิดและงานวิจัยของบอมรินด์
การสร้ า งและพั ฒ นามาตรฐานวั ด การอบรมเลี้ ย งดู เ ป็ น มาตรวั ด รู ป แบบการอบรม
เลี้ยงดูที่พัฒนาขึ้นโดยคณะผู้วิจัยมหภาคได้สร้าง และพัฒนาข้อกระทงตามแนวคิดและงานวิจัยของ
บอมรินด์ โดยใช้รูปแบบการรายงานของตนเอง โดยแบ่งการอบรมเลี้ยงดูเป็น ๔ รูปแบบ คือ
๑. การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative Parenting Style)
๒. การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (Authoritarian Parenting Style)
๓. การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive Parenting Style)
๔. การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (Uninvolved Parenting Style)
๒.๒.๑ ลักษณะแบบส�ำรวจ
แบบส�ำรวจการอบรมเลี้ยงดูตามการรับรู้ของตนเองซึ่งพัฒนาโดยคณะ
ผู้วิจัยมหภาคโดยใช้แบบประเมินค่าของลิเคิร์ต (Likert Scale) มีข้อเลือก ๕ ระดับ คือ ไม่ตรงเลย
ไม่ค่อยตรง พอ ๆ กัน ตรง และตรงมาก ซึ่งรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูทั้ง ๔ รูปแบบ ประกอบด้วย
ข้อกระทงจ�ำนวน ๙๙ ข้อ โดยการอบรมเลี้ยงดูในแต่ละแบบจะประกอบด้วยลักษณะค�ำส�ำคัญ
(Key Word) ๘ ประการ โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาจากงานวิจัยและการศึกษาค้นคว้าตามทฤษฎีการ
อบรมเลีย้ งดูของบอมรินด์ ซึง่ การจัดข้อกระทงในแต่ละลักษณะ คณะผูว้ จิ ยั มหภาคได้พฒ ั นาข้อกระทง
ในแบบทดสอบ ในแต่ละลักษณะค�ำส�ำคัญ (Key Word) ไม่น้อยกว่า ๒ ข้อ ค�ำส�ำคัญ ๘ ประการ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘๒ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้
๑. ตรวจสอบความเป็นไปของข้อมูลทั้งรหัสเดี่ยว เช่น เพศ และรหัสสัมพันธ์ เช่น
จ�ำนวนพี่น้อง และประเภทล�ำดับการเกิด และแก้ไขให้ถูกต้อง
๒. กรณีมขี อ้ มูลทีข่ าดหาย มีเงือ่ นไขว่าส�ำหรับตัวแปรตาม ได้แก่พฤติกรรมประชาธิปไตย
จะมีข้อมูลขาดหายได้ไม่เกิน ๑ ตัวแปร โดยค่าที่ขาดหายไปจะถูกแทนด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิตของ
ตัวแปรนั้น ๆ
๓. ค�ำนวณหาจ�ำนวนนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยรูปแบบที่เด่นชัดแต่ละรูป
แบบรวม ๔ รูปแบบ
๔. ค�ำนวณค่าร้อยละของรูปแบบการอบรบเลี้ยงดูทั้ง ๔ รูปแบบที่พบในแต่ละภูมิภาค
และทั้งประเทศไทย
๕. วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (2-way Anova) โดยใช้ตัวแปรรูปแบบการ
อบรมเลี้ยงดูที่เด่นชัด ๔ รูปแบบเป็นตัวแปรต้นตัวแรก และใช้ตัวแปรต้นอื่น ๆ ๘ ตัวแปร แต่ใน
บทความนี้น�ำเสนอตัวแปรเพียง ๓ ตัวแปร ได้แก่ ล�ำดับการเกิด ภูมิภาค และประเภทของครอบครัว
ตัวแปรตาม คือพฤติกรรมประชาธิปไตย
๖. กรณีอทิ ธิพลหลัก (Main effect) ของตัวแปรใดมีนยั ส�ำคัญ จะน�ำผลไปเปรียบเทียบคู่
(Multiple comparison) ต่อไปด้วยวิธีของ Scheffé
๗. การน�ำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบตารางแสดงผล กราฟ แผนภาพ

ผลการวิจัย
การน�ำเสนอผลการวิจัยจะประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จ�ำนวนนักเรียนที่ได้รับ
การอบรมเลี้ยงดูด้วยรูปแบบที่เด่นชัด ๔ รูปแบบ ที่อยู่ในประเทศไทยตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง
โดยในแต่ละการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย ๒ ส่วน ได้แก่
วิเคราะห์ตัวแปรพฤติกรรมประชาธิปไตย
การวิเคราะห์ในครั้งนี้ใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติส�ำเร็จรูป (SPSS for Windows) โดยมี
การพิจารณาผลอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ (Interaction Effect) และอิทธิพลหลัก (Main Effect) โดย
หากอิทธิพลหลักมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ผู้วิจัยจะใช้การเปรียบเทียบรายคู่ (Muliple
Comparison) ด้วยวิธีของ Scheffé ต่อไป
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๘๓

ภูมิภาคกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยตามตัวแปรภูมิภาค
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของตัวแปรพฤติกรรมประชาธิปไตยจ�ำแนกตามรูปแบบการอบรม
เลี้ยงดูและภูมิภาค แสดงในตารางที่ ๓
ส่วนผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน ๒ ทาง แสดงในตาราง ๔ พบว่า ปฏิสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรทั้งสองไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาอิทธิพลหลักของตัวแปรรูปแบบการอบรม
เลี้ยงดูพบว่ามีนัยส�ำคัญทางสถิติ (F=100.76, p < .001) ส่วนอิทธิพลหลักของตัวแปรภูมิภาคพบว่า
มีนัยส�ำคัญทางสถิติ (F=9.11, p < .001)
ผู้วิจัยได้ท�ำการเปรียบเทียบรายคู่ต่อไป แสดงในตารางที่ ๕ พบว่า นักเรียนที่ได้รับ
การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีพฤติกรรมประชาธิปไตย (M=4.24) มากกว่านักเรียนที่ได้รับการ
อบรมเลีย้ งดูอกี ๓ รูปแบบ และนักเรียนทีไ่ ด้รบั อบรมเลีย้ งดูแบบควบคุม (M=3.90) และแบบตามใจ
(M=3.86) มีพฤติกรรมประชาธิปไตยแตกต่างกัน แต่ทั้ง ๒ กลุ่มมีคะแนนพฤติกรรมประชาธิปไตย
มากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (M=3.75) ส่วนการเปรียบเทียบรายคู่ภูมิภาค
(แสดงในตาราง ๓.๒๒) พบว่า นักเรียนจากกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมประชาธิปไตย (M=3.89) น้อยกว่า
นักเรียนจากทุกภูมิภาค
ขณะทีน่ กั เรียนจากภาคเหนือ (M=4.01) มีคะแนนน้อยกว่านักเรียนจากภาคใต้ (M=4.13)
แต่ไม่แตกต่างจากนักเรียนจากภาคกลางและนักเรียนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ นักเรียนจากภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีความ
แตกต่างกันในทางสถิติ น�ำข้อมูลไปแสดงได้ ดังตารางที่ ๖

ตารางที่ ๓ ค่าเฉลีย่ เลขคณิตของตัวแปรพฤติกรรมประชาธิปไตย จ�ำแนกตามรูปแบบการอบรมเลีย้ งดูและภูมภิ าค


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘๔ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

ตารางที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและภูมิภาคต่อพฤติกรรม
ประชาธิปไตย

หมายเหตุ *** p<.๐๐๑



ตารางที่ ๕ การเปลี่ยนเทียบรายคู่โดยวิธีของ Scheffé ตัวแปรพฤติกรรมประชาธิปไตยจ�ำแนกตามรูปแบบ
การอบรมเลี้ยงดู

ตารางที่ ๖ การเปลี่ยนเทียบรายคู่โดยวิธีของ Scheffé ตัวแปรพฤติกรรมประชาธิปไตยจ�ำแนกตามภูมิภาค


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๘๕

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู

ภาพที่ ๒ คะแนนพฤติกรรมประชาธิปไตยจ�ำแนกตามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและภูมิภาค

ผลการวิจัยที่พบในระดับการเกิดและประเภทของครอบครัวนั้นไม่พบความแตกต่าง แต่
จะพบความแตกต่างเฉพาะในรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูทั้ง ๒ ตัวแปร และพบว่าการเลี้ยงดูแบบ
เอาใจใส่เด็กจะมีพฤติกรรมประชาธิปไตยสูงกว่าการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น

อภิปรายผล
ผลการวิจัยความสัมพันธ์ของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและพฤติกรรมประชาธิปไตยตาม
ตัวแปรทั้ง ๓ ตัวแปร ได้แก่ ล�ำดับการเกิด ประเภทของครอบครัว และภูมิภาค
ผลการวิจัยโดยรวม พบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่จะมีพฤติกรรม
ประชาธิปไตยมากกว่านักเรียนทีไ่ ด้รบั การอบรมเลีย้ งดูรปู แบบอืน่ ในทุกตัวแปรทีศ่ กึ ษา และนักเรียนที่
ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งมีพฤติกรรมประชาธิปไตยน้อยที่สุดในทุกตัวแปรที่ศึกษาซึ่งสนับสนุน
ผลการวิจัยในอดีตที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมประชาธิปไตยของเด็ก
อันเป็นพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
เเอล สไตเบิกร์ และคณะ (๑๙๙๔) พบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์สูงกับ
การแสดงความรักความห่วงใยต่อผูอ้ นื่ รวมถึงความเชือ่ ในตนเอง โดยเด็กทีไ่ ด้รบั การอบรมเลีย้ งดูดว้ ย
ความอบอุ่นจะมีพฤติกรรมแสดงความรักความเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์และจะมีความพึงพอใจใน
ตนเองซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมในทางที่ดีมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ ด้วย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘๖ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

ผลการวิ จั ย แสดงว่ า การอบรมเลี้ ย งดู แ บบเอาใจใส่ จ ะได้ รั บ ความรั ก ความอบอุ ่ น จาก


ครอบครัวอย่างเหมาะสม มีการรับฟังเหตุผล ความคิดเห็น สนับสนุนให้เด็กมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ
เรื่องต่าง ๆ ในครอบครัว มีบรรยากาศที่อบอุ่นมีการก�ำหนดกรอบและแนวทางให้ประพฤติปฏิบัติ
ร่วมกันให้การควบคุมชี้แนะอย่างมีเหตุผล มีความใกล้ชิดและไว้วางใจกันส่งเสริมให้นักเรียนมีความ
เป็นตัวของตัวเองสามารถตัดสินใจได้ดว้ ยตนเองในกติกาทีว่ างร่วมกัน การอบรมรูปแบบนีจ้ งึ น่าจะเป็น
รูปแบบที่เสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยในเยาวชน
๑. ล�ำดับการเกิด
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ มีพฤติกรรมประชา-
ธิปไตยมากกว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น ๆ โดยเมื่อพิจารณาดูค่าเฉลี่ยในเรื่อง
การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ พบว่านักเรียนที่เป็นลูกคนโตจะรับรู้ว่าตนได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ
เอาใจใส่มากกว่านักเรียนที่มีล�ำดับการเกิดเป็นลูกคนเดียวและลูกคนสุดท้อง เมื่อพิจารณาดูในส่วน
อิทธิพลหลักของล�ำดับการเกิดและผลปฏิสัมพันธ์ของ ๒ ตัวแปรไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญ
แสดงว่าล�ำดับการเกิดของนักเรียนไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
ดังกล่าวคือรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แม้เด็กจะมีล�ำดับการเกิดที่แตกต่างกัน หากการอบรมเลี้ยงดู
ไม่ใช่รูปแบบเอาใจใส่ประเภทล�ำดับการเกิดก็ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตย ในปัจจุบันผู้วิจัย
ไม่พบการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมประชาธิปไตยกับล�ำดับการเกิดที่จะ
สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนผลการวิจัยครั้งนี้
๒. ประเภทของครอบครัว
ผลการวิจัย พบว่าประเภทของครอบครัวไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยตรง
แต่ที่มีผลคือ รูปแบบอบรมเลี้ยงดู โดยพบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่จะมี
พฤติกรรมประชาธิปไตยมากกว่าการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น ๆ ส่วนประเภทของครอบครัวนั้นไม่
ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตย เช่นเดียวกับอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ตัวแปรนี้ ผลการวิจัย
พบว่าพ่อแม่ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีแนวโน้มที่จะอบรมรูปแบบเอาใจใส่มากกว่าพ่อแม่ที่มีความสัมพันธ์
ทีไ่ ม่ดี แต่งานวิจยั นีไ้ ม่พบความแตกต่างของพฤติกรรมประชาธิปไตยและประเภทของครอบครัวในทุก
รูปแบบ
๓. ภูมิภาค
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีพฤติกรรมประชา-
ธิปไตยมากกว่ารูปแบบอื่นอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรภูมิภาค พบว่านักเรียนกรุงเทพ-
มหานครมีพฤติกรรมประชาธิปไตยน้อยกว่านักเรียนภูมิภาคอื่น ซึ่งผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับงาน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๘๗

วิจยั ของชัยพร วิชชาวุธ ธีระพร อุวรรณโณ และพรรณทิพย์ ศิรวิ รรณบุศย์ (๒๕๓๑) ทีพ่ บว่านักเรียน
ในกรุงเทพมหานครมีศักยภาพพฤติกรรมในทางที่ดีมากกว่านักเรียนในภาคอื่น ๆ ในพฤติกรรม
ส่วนใหญ่ ทั้งนี้ อาจมาจากการที่สังคมไทยในกรุงเทพมหานครมีการแข่งขันสูง ท�ำให้ความร่วมมือ
ช่วยเหลือส่วนรวมหรือเอาใจใส่ต่อการเมือง และแม้ว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่จะส่งผลต่อ
พฤติกรรมทางบวกมากกว่าการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่น แต่พ่อแม่ในกรุงเทพมหานครก็มีการอบรม
เลีย้ งดูรปู แบบเอาใจใส่นอ้ ยกว่าพ่อแม่ทอี่ ยูใ่ นภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจเป็นเพราะชีวติ
ในกรุงเทพมหานครต้องรีบเร่งและมีการแข่งขันสูง ท�ำให้มีเวลาใกล้ชิดกับลูกน้อยลง
ผลการวิ จั ย ระบุ ว ่ า พฤติ ก รรมประชาธิ ป ไตยของเยาวชนต้ อ งได้ รั บ การกล่ อ มเกลา
จากครอบครัว โดยรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่จะช่วยท�ำให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรม
ประชาธิปไตยมากกว่าการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบอื่น พฤติกรรมประชาธิปไตยในการวิจัยนี้ คือ
๑. รู้จักบทบาทความรับผิดชอบในหน้าที่ เด็กและเยาวชนที่ต้องได้รับการปลูกฝังให้
ตระหนักรู้ว่าหน้าที่ของตนคืออะไร และต้องรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองด้วยตนเอง
๒. การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การยอมรับฟังความคิดเห็นต่างเป็นสิ่งส�ำคัญใน
การสร้างและพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตย เด็กและเยาวชนต้องรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้
๓. การมีวินัยในตนเอง ข้อนี้เยาวชนไทยจะอ่อนด้อยกว่าชาติอื่น ๆ ในอาเซียน โดย
คิดว่าท�ำอะไรตามใจคือไทยแท้ การขาดวินัยในตนเองจะน�ำมาซึ่งภัยพิบัตินานาประการ
๔. การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ถ้าคนไทยยอมเสียสละประโยชน์
ส่วนตัวให้กับส่วนรวม ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ มิใช่ประเทศก�ำลังพัฒนาเช่น
ปัจจุบัน
๕. การใช้ปัญญา คุณธรรม และเหตุผลในการตัดสินใจส่วนใหญ่ เยาวชนส่วนใหญ่ไทย
จะใช้อารมณ์น�ำในการตัดสินใจท�ำสิ่งใด จึงท�ำให้เกิดความขัดแย้ง การเอาชนะแบ่งสี บางกลุ่ม หากใช้
ปัญญาและคุณธรรม ความขัดแย้งก็จะเกิดน้อยขึ้นในประเทศไทย
พฤติกรรมประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยในประเทศที่พัฒนาแล้ว และจะท�ำให้ประเทศไทยจะสามารถก้าวเคียงบ่าเคียงไหล่กับ
ประเทศชั้นน�ำในอาเซียนหรือนานาชาติได้เป็นอย่างดี
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๘๘ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูฯ

เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ มณฑิราช. (๒๕๓๙). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารสิ่งแวดล้อมด้านป่าไม้กับความรู้
ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้ของเยาวชนในจังหวัดกาญจนบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กมล รอดคล้าย. (๒๕๒๖). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับบทบาทของครูภาษาไทยในการอนุรักษ์
และสืบทอดวัฒนธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชามัธยม
ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (๒๕๕๖). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : ส�ำนัก
พิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, ธีรพร อุวรรณโณ, เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์, สุภาพรรณ โคตรจรัส,
คัคนางค์ มณีศรี, และพรรณระพี สุทธิวรรณ. (๒๕๔๕). การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์
ระหว่างพฤติกรรมของคนไทยกับกระบวนการสังคมประกิตของครอบครัวในปัจจุบันที่
เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, วัชรี ทรัพย์มี และกรรณิการ์ นลราชสุวัจน์. (๒๕๔๗). รายงานการวิจัย
ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรู ป แบบการอบรมเลี้ ย งดู กั บ พฤติ ก รรมประชาธิ ป ไตยและ
พฤติกรรมทางการเมืองของวัยรุ่นในครอบครัวไทยปัจจุบันที่มีต่อการพัฒนาประเทศ.
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนะ นิลรัตน์. (๒๕๑๙). การศึกษาทัศน์คติประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในเขตการ
ศึกษา ๒. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ชัยพร วิชชาวุธ ธีระพร อุวรรณโณ และพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (๒๕๓๑). พฤติกรรมทาง
จริยธรรมสังคมไทยปัจจุบัน : ศึกษาตามแนวทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมาลี ตู้หิรัญมณี. (๒๕๓๗). การเปรียบเทียบค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียนในระดับมัธยม
ศึกษาตอนปลายในโรงเรียนต่างจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาค
วิชาสารัตถศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรทัศน์ บุญโตร. (๒๕๓๗). การจัดกิจกรรมนักเรียนทีส่ ง่ เสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดีในโรงเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา ๖. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ๘๙

วิชิต ประสบปลื้ม. (๒๕๑๙). ความส�ำนึกทางเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียน


ราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชามัธยม
ศึกษา บัณฑิตวิทยลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนนึก มังน้อย. (๒๕๓๙). การรับรู้พฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชามัธยมศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมนึก พิพิธรังษี. (๒๕๔๐). พฤติกรรมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนอายุ ๑๘-๑๙ ปี
ศึกษากรณีจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการ
ปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายทิพย์ สุคติพันธ์. (๒๕๒๔). การเรียนรู้ทางการเมืองของเยาวชนไทย : ศึกษากรณีนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต
ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baumrind, D. (1991). Parenting styles and adolescent development. In R.M. Loner, A.C
Peterson, J. Bookslum (Edit). Encyclopedia of Adolescence (Vol.2). New
York: Garland.
_______ . (1991a). Parenting styles on adolescent competence and substance use.
Journal of Early Adolescent, 11, 56-95.
Lane, R. (1972). Political man. London: Free Press.
Steinberg, L, Lanborn, S., Darling, N., Mounts, N.+ Dornbusch;, (1994) Over-time
Changes in adjustment and competence among adolescents from authorita-
tive, authoritarian, mdulgent, and neglectful families. Child Development.
65, 754-770.
Walker, L. and Henning, K. (1999). Parenting style and the development of moral
reasoning. Journal of moral Education. 28, 359-374.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๙๐ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

“โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”*


ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
ภาคีสมาชิก ส�ำนักศิลปกรรม
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
“โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” เป็นโคลง ๒ ชนิดที่จัดรวมในกลุ่มโคลงแบบพิเศษ
กวีโบราณแต่งโคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วและเขียนรูปแบบโคลงทั้ง ๒ ชนิด
ต่างกันอย่างเป็นระบบโดยไม่สับสน นักวิชาการสมัยหลังน�ำโคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้มาศึกษาวิเคราะห์
และเขียนอธิบายไม่ชดั เจน โดยน�ำโคลงกลบทชนิดวางค�ำชุดเดียวกันทีต่ น้ บาทมาเป็นโคลงกระทู้
และเขียนในรูปแบบของโคลงกระทูด้ ว้ ย มีผลให้เกิดความเข้าใจสับสนระหว่างโคลงทัง้ ๒ ชนิดนี้
แก่นักวิชาการ นิสิตนักศึกษาและกวีบางคนในสมัยปัจจุบันการศึกษาความเหมือนคล้ายและ
ความแตกต่างระหว่าง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้” ในบทความเรื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจ
ลักษณะของโคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้ได้ชัดเจน ทั้งเรื่องการใช้ค�ำต้นบาท วิธีแต่งโคลงแต่ละชนิด
การเขียนค�ำต้นบาท และการอ่านโคลง ซึ่งสะท้อนความคิดที่เป็นระบบในการสร้างสรรค์โคลง
ทั้ง ๒ ชนิดนี้ของกวีโบราณ อนึ่ง แม้ “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” เป็นโคลงต่างชนิดกัน
แต่กวีก็สามารถน�ำมาแต่งร่วมกันได้หลากหลายลักษณะและแต่งได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ค�ำส�ำคัญ : โคลงกลบท โคลงกระทู้ ความสับสนระหว่างโคลงกลบทกับโคลงกระทู้ ความเหมือน


คล้ายและความแตกต่างระหว่างโคลงกลบทกับโคลงกระทู้ การแต่งโคลงกลบท
ร่วมกับโคลงกระทู้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๙๑

Abstract: Khlong Konlabot and Khlong Krathu


Professor Emeritus Dr. Cholada Ruengruglikit
Associate Fellow of the Academy of Arts,
The Royal Society of Thailand
Khlong konlabot and khlong krathu are categorized in a special
group of “khlong baep phiset” or khlong in special patterns. Ancient Thai
poets had composed these 2 kinds of khlong since the Ayutthaya period in
systematic and different forms of khlong patterns. Later on some Thai scholars
analyzed these 2 kinds of Khlong of ancient poets and explained them with
confusion. They misunderstood that some kinds of khlong konlabot at which
the same word or the same group of words fixed in front of each line in the
same verse are khlong krathu and also wrote them into khlong krathu pattern.
This gave afterwards confused comprehension of khlong konlabot and khlong
krathu to some young scholars, students and some poets. The study on the
similarities and differences between khlong konlabot and khlong krathu in this
article would give much help for whom that have confused comprehension to
understand the characteristics of these 2 kinds of khlong patterns; the word
or a group of words used in front of each line in the same verse, the way of
composing each kind of these 2 khlong patterns, the way of writing down the
word or a group of words in front of each line and the correct way of reading
khlong konlabot and khlong krathu that portray the systematic idea of creating
these 2 kinds of khlong patterns. However, though khlong konlabot and
khlong krathu are quite different, both of them could interestingly be
composed together in a variety of styles.

Keywords: Khlong konlabot, khlong krathu, the confused comprehension on


Khlong konlabot and khlong krathu patterns, the composition of
both Khlong konlabot and khlong krathu
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๙๒ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

ความน�ำ
ในการแต่งค�ำประพันธ์ของไทยนัน้ นอกจากต้องแต่งให้ถกู ต้องตามฉันทลักษณ์ของค�ำประพันธ์
แต่ละประเภทและแต่ละชนิดแล้ว กวีหลายคนยังอวดความสามารถพิเศษของตนโดยใช้รปู แบบการแต่ง
ที่เรียกว่า “กลบท” และ “กระทู้” ด้วย รูปแบบการแต่งทั้ง ๒ แบบนี้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ดังปรากฏโคลงกลบทวัวพันหลักและม้าเทียมรถในโคลงสี่ดั้นบาทกุญชรเรื่อง
ลิลติ โองการแช่งน�ำ้ ๑ ตัง้ แต่ตน้ สมัยอยุธยาและปรากฏโคลงกระทู๒้ ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ส่วนมาก
มักแต่งแทรก๓ ไว้ในผลงานที่แต่งเป็นโคลง อย่างไรก็ตาม มีกวีบางคน นักวิชาการหลายคน และ
นิสิตนักศึกษาจ�ำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจสับสนระหว่าง “โคลงกลบท” บางชนิดกับ “โคลงกระทู้”
แต่ยงั ไม่มนี กั วิชาการคนใดได้อธิบายความเข้าใจสับสนดังกล่าว ผูเ้ ขียนจึงสนใจทีจ่ ะศึกษาลักษณะเด่น
ของโคลงกลบทและโคลงกระทู้เพื่อให้ผู้ที่มีความเข้าใจสับสนสามารถจ�ำแนกโคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้
ออกจากกัน

วัตถุประสงค์
การศึกษาครั้งนี้ ผู้เขียนมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
๑. เพื่อชี้ให้เห็นความเหมือนคล้ายและความแตกต่างระหว่าง “โคลงกลบท” กับ “โคลง
กระทู้” เพื่อขจัดความเข้าใจสับสนในการจ�ำแนก “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

โคลงกลบทวัวพันหลักซ�้ำค�ำท้ายบาท ๑ ค�ำกับค�ำต้นบาทถัดไป ๑ ค�ำ ส่วนโคลงกลบทม้าเทียมรถซ�้ำค�ำในลักษณะ
เดียวกัน แต่ใช้ซ�้ำ ๒ ค�ำ ดังตัวอย่างในลิลิตโองการแช่งน�้ำ (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, ๒๕๖๐ : ๑๒๐) ดังนี้
กล่าวถึงน�้ำฟ้าฟาด ฟองหาว
ฟองหาวดับเดโช ฉ�่ำหล้า
ฉ�่ำหล้าปลาดินดาว เดือนแอ่น
เดือนแอ่นลมกล้าป่วน ไปมา

ปรากฏในโคลงบางบทในจินดามณี และท้ายเรื่องเสือโคค�ำฉันท์ ในที่นี้ยกตัวอย่างจากเสือโคค�ำฉันท์ ดังนี้
จบ จนจอมนาถไท้ คาวี
บ พิตรเสวยบุรี ร่วมน้อง
ริ พลหมู่มนตรี ชมชื่น จิตนา
บูรณ์ บ�ำเรอรักซ้อง แซ่ไหว้ถวายพร

ยกเว้นโคลงบางเรื่อง เช่น โคลงกระทู้ของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ที่แต่งโคลงกระทู้ทั้งเรื่อง “โดย
ประมวลค�ำสุภาษิตต่าง ๆ ของไทยมาท�ำเป็นค�ำกระทู้ และแต่งโคลงเพื่ออธิบายความหมายของสุภาษิต ขณะ
เดียวกันก็ให้ความรู้และคติธรรมแก่คนอ่าน (วีรวัฒน์ อินทรพร, ๒๕๕๘ : ๑๑๒) และมีโคลงกระทู้คติโลก ของ
พระภิกษุ หลวงจ�ำนงพลภักดิ์ แห่งวัดราชบุรณะ (๒๔๖๙) ที่แต่งโคลงกระทู้ ๑๐๑ บาทเป็นคติสอนใจทั้งเรื่อง โดย
มีค�ำน�ำซึ่งแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพรวม ๔ บท และค�ำสรุปเป็นโคลงสี่สุภาพอีก ๑ บท
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๙๓

๒. เพื่อชี้ให้เห็นลักษณะการแต่ง “โคลงกลบท” ร่วมกับ “โคลงกระทู้” ที่เคยมีมาแล้วใน


อดีต ซึ่งจะเป็นแนวทางให้แก่ผู้แต่งโคลงในสมัยปัจจุบันต่อไป
๓. เพื่อเสนอแนะเรื่องที่ควรใส่ใจเมื่อแต่ง “โคลงกลบท” หรือและ “โคลงกระทู้”

ความหมายของ “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้”


๑. ความหมายของ “โคลงกลบท”
ในสมัยโบราณแม้ไม่ปรากฏค�ำว่า “กลบท” หรือไม่มีค�ำอธิบายเรื่อง “โคลงกลบท” แต่
กวีก็แต่ง “โคลงกลบท” กันมาแล้วในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ของสมัยอยุธยาตั้งแต่ต้นสมัย ในจินดามณี
(๒๕๑๔ : ๔๖-๔๗) ซึ่งแต่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กวียกตัวอย่างโคลงกลบทไว้หลาย
ชนิดโดยไม่ได้ใช้ค�ำว่า “กลบท” เช่น “ชื่อนาคพันธ์ ชื่อสนธิอลงกฎ” “อันนี้ชื่อสกัดแคร่ แต่เปนทวา-
ตรึงประดับ” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเทพโมฬีแห่งวัดราชบุรณะราช-
วรมหาวิหารแต่งแบบเรียนประถมมาลา๔ มีหัวข้อหนึ่งชื่อ “ลักษณะการแต่งโคลง” ได้ยกตัวอย่าง
โคลงกลบทไว้หลายชนิดโดยไม่ใช้ค�ำว่า “กลบท” เช่นกัน เช่น อักษรล้วน ตรีเพชรประดับ๕ ทวาตรึง-
ประดับ๖ ต้นเสมอ๗ (พระเทพโมฬี, ๒๕๕๘ : ๔๐-๔๓)
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบาย “โคลงกลบท” และ “โคลง
กระทู้” ในพระบรมราชาธิบายในการประพันธ์ (๒๕๑๔ : ๑๖) มีพระบรมราชาธิบายเรื่อง “โคลง
กลบท” ว่า คือโคลงสุภาพ แต่ใช้วิธีแต่งคล้ายกลอนกลบท คือ “โยกโย้เล่นต่าง ๆ” นอกจากนี้ ยัง
ทรงกล่าวว่า “โคลงกลบทเปนโคลงแผลงซึ่งโดยปรกติก็ไม่ใคร่จะมีใครแต่ง เพราะการหาค�ำให้เหมาะ
นั้นยากนัก และถ้าจะยิ่งจ�ำกัดเอกโทเข้าด้วยแล้ว ก็จะยิ่งยากหนักขึ้น แต่ครั้นว่าจะไม่น�ำมารวบรวม
ไว้ในที่นี้ก็ดูจะเปนต�ำราอันบกพร่องไป จึ่งน�ำตัวอย่างมาลงไว้ อย่างน้อยก็พอได้อ่านเล่นแปลก ๆ”

หน้าปกฉบับทีม่ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิมพ์เขียนสะกดชือ่ ว่า “ปฐมมาลา” แต่ภายในต้นฉบับเขียน “ประถม
มาลา”

โคลงตรีเพชรประดับใช้ค�ำที่มีวรรณยุกต์ ๓ เสียงในแต่ละบาท คือ เขียนค�ำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ค�ำที่มีรูปวรรณยุกต์
เอกและโท เช่น บาทแรกใช้ว่า “ส�่ำสองราร่าร้า เรองแรง” (๒๕๕๘ : ๔๑)

โคลงทวาตรึงประดับใช้ค�ำหน้าบาทและท้ายบาทเป็นค�ำชุดเดียวกัน ใช้ทั้ง ๔ บาทว่า “จ�ำ ไว้ ใส่ ใจ” ดังตัวอย่าง
บาทแรกว่า “จ�ำ นงจงเร่งต้งงใจจ�ำ” (๒๕๕๘ : ๔๓)

โคลงที่เรียกว่า “ต้นเสมอ” ใช้ค�ำต้นบาท ๑ ค�ำซึ่งเป็นค�ำชุดเดียวกันว่า “สรวม” ผู้เขียนสันนิษฐานว่าพระเทพ
โมฬีไม่ได้จัดเป็นโคลงกระทู้ เพราะรวมไว้ในกลุ่มโคลงกลบทที่เรียกว่า “ต้นเสมอ” ใช้ค�ำชุดเดียวกันและจ�ำนวน
ค�ำเท่ากันที่ต้นบาททั้ง ๔ บาท คือค�ำว่า “สรวม” ดังข้อความในบาทแรกว่า “สรวม ผลสรรค์พจนไว้ หวังสอน”
(๒๕๕๘ : ๔๓)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๙๔ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

โคลงกลบททีท่ รงคัดมาเป็นตัวอย่าง ได้แก่ โคลงกลบทนาคเกีย่ ว๘ โคลงกลบทนาคเกีย่ ว ๒ ชัน้ ๙ โคลง


กลบทอักษรล้วน๑๐ และโคลงกลบทอักษรล้วนสลับ๑๑ (เป็นโคลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น) และมี
ที่ทรงน�ำมาจากจินดามณี ได้แก่ โคลงกลบทนาคพันธ์๑๒ โคลงกลบทสารถีชักรถ๑๓ โคลงกลบท
บทสังขยา๑๔ และโคลงกลบททวารประดับ๑๕ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๑๔ :
๑๖-๑๘)
พระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๕๓๙ : ๔๐๔-๔๐๙) กล่าวในหลักภาษาไทยว่า “โคลงกลบท”
เป็นหนึ่งใน “โคลงพิเศษต่าง ๆ” ซึ่งประกอบด้วยโคลงกระทู้ โคลงกลบท และโคลงกลอักษร แล้ว
อธิบายความหมายของ “โคลงกลบท” ว่าคือ “แบบโคลงที่ท่านก�ำหนดสัมผัสสระ สัมผัสอักษร
(หมายถึงสัมผัสพยัญชนะ-ผู้เขียน) หรือวางค�ำไว้ตรงนั้นตรงนี้เป็นแบบต่าง ๆ แล้วให้ชื่อต่าง ๆ กัน
บางแบบก็เหมือนกลอนกลบท แล้วแต่เหมาะ”
บุญเตือน ศรีวรพจน์ (๒๕๔๑ : ๔๖-๔๙) รวม “โคลงกลบท” ไว้ใน “โคลงกล” ๓ ชนิด
ได้แก่ “โคลงกระทู”้ “โคลงกลบท” และ “โคลงกลอักษร” และอธิบายความหมายของ “โคลงกลบท”

โคลงกลบทนาคเกี่ยวนี้ทรงหมายถึงซ�้ำค�ำที่ ๗ ท้ายบาทกับต้นบาทถัดไป

โคลงกลบทนาคเกีย่ ว ๒ ชัน้ นีท้ รงหมายถึงซ�ำ้ ค�ำท้ายบาททัง้ ค�ำที่ ๖ และ ๗ กับค�ำที่ ๑ และ ๒ ทีอ่ ยูใ่ นต้นบาทถัดไป
๑๐
โคลงกลบทอักษรล้วนนี้ทรงหมายถึงเล่นค�ำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกันในแต่ละบาท
๑๑
โคลงกลบทอักษรล้วนสลับนี้ทรงหมายถึงแต่งให้มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงหนึ่งใน ๒ ค�ำแรกของวรรคหน้าในบาท
กับ ๒ ค�ำในวรรคหลังของบาทเดียวกัน ส่วนค�ำที่ ๓-๕ ในวรรคหน้าของบาทใช้เสียงพยัญชนะต้นอีกเสียงหนึง่
เช่น “ร่วงราชข่มขอมเขิน รุทร้าว”
๑๒
โคลงกลบทนาคพันธ์ทรงหมายถึงเล่นค�ำสลับที่ระหว่างค�ำที่ ๖ และ ๗ ท้ายบาทกับค�ำต้นบาท ๒ ค�ำในบาทถัดไป
เช่น
“ฝนตกนกร้องร�่ำ ครวญคราง
ครางครวญถึงนวลนาง โศกเศร้า”
๑๓
โคลงกลบทสารถีชักรถทรงหมายถึงใช้ค�ำที่ ๖ และ ๗ เหมือนค�ำที่ ๒ และ ๓ ในบาทเดียวกัน เช่น “แจ้งค�ำถาม
ข่าวแจ้ง ค�ำถาม”
๑๔
โคลงกลบทบทสังขยานี้ทรงหมายถึงเล่นค�ำสลับที่ระหว่างค�ำต้นบาทกับท้ายบาท เช่น “ร้อนร่วมในความใน
ร่วมร้อน” แต่มีข้อสังเกตว่าในจินดามณีเขียนเป็นโคลงกลอักษรว่า
ใจจงรักษ์เจ้า
ร้อนร่วมในความ
พ่างจากไปไกล
คนึงแสนยิ่งรักษข้อน
๑๕
โคลงกลบททวารประดับนี้ทรงยกตัวอย่างโคลงซึ่งมีวิธีแต่งเหมือนกันกับโคลงกลบทบทสังขยาที่เล่นค�ำสลับที่
ระหว่างค�ำต้นบาทกับท้ายบาท เช่น “ลางวัน ฟังข่าวร้าย วันลาง”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๙๕

ว่าคือโคลงที่ “ก�ำหนดให้ใช้อักษรหรือค�ำตามต�ำแหน่งที่บังคับ อาจเป็นการซ�้ำเสียงสระ ซ�้ำเสียง


พยัญชนะต้น เล่นคู่เสียง หรือเรียงเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์...”
ตามความเห็นของผู้เขียน “โคลงกลบท” คือโคลงที่เล่นกับภาษาโดยเพิ่มข้อบังคับพิเศษ
มากกว่าข้อบังคับเดิมในการแต่งโคลงสี่สุภาพหรือโคลงสี่ดั้น ข้อบังคับพิเศษดังกล่าว เช่น ก�ำหนดให้
เล่นเสียงพยัญชนะ เล่นเสียงสระ เล่นเสียงวรรณยุกต์ เล่นค�ำด้วยการก�ำหนดจ�ำนวนค�ำ เล่นค�ำใน
ต�ำแหน่งต่าง ๆ เล่นค�ำสลับที่ เล่นค�ำด้วยการซ�้ำค�ำในลักษณะต่าง ๆ โคลงกลบทมีหลายชนิด เช่น
โคลงกลบทกบเต้นสามตอน กินนรเก็บบัว นาคบริพันธ์ บุษบงแย้มผกา บัวบานกลีบ พวงแก้วกุดั่น
ม้าเทียมรถ วัวพันหลัก อักษรบริพันธ์ อักษรล้วน
๒. ความหมายของค�ำว่า “โคลงกระทู้”
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖ : ๔๔)
อธิบายความหมายของค�ำ “กระทู้” ว่า คือเสาหรือหลัก และให้ความหมายของ “กระทู้” ในการแต่ง
ค�ำประพันธ์ว่าหมายถึงหัวข้อหรือข้อความที่ตั้งไว้เพื่อให้แต่งอธิบายเป็นค�ำประพันธ์ตามรูปแบบที่ได้
ก�ำหนดไว้ ซึ่งหมายถึงการแต่งในรูปแบบของ “โคลงกระทู้” นั่นเอง
ในงานของกวีโบราณ ไม่ปรากฏค�ำ “โคลงกระทู้” แต่กวีก็รู้จักแต่งโคลงชนิดนี้กันแล้ว
ดังมีตัวอย่างอยู่ในจินดามณี (๒๕๑๔ : ๖๕) สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น “สีหคติก�ำกาม นาคบริ-
พันธฉันท” “ใช้ค�ำกระทู้ว่า “ธ โม โอ ปาก” ดังนี้
ธ วัวกลัวเมียเพี้ยง กลัวเสือ
โม เมาเงางุนเยือ กล่าวกล้า
โอ โถงโครงเปล่าเหลือ ตัวแต่ง
ปาก หากลากค�ำค้า คึ่งให้ใครขาม
สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเทพโมฬี (๒๕๕๘ : ๔๐) ไม่ได้อธิบายวิธี
แต่งโคลงกระทู้ แต่แบ่งโคลงกระทู้ออกเป็น ๓ ชนิด เรียกชื่อว่า “กทู้หนึ่ง” “กทู้สอง” “กทู้สาม”
พร้อมทั้งยกตัวอย่างแต่ละชนิดโดยเขียนค�ำกระทู้ไว้ที่ต้นบาทอย่างชัดเจน ค�ำกระทู้หนึ่ง คือ “นก
ไร้ ไม้ โหด” ค�ำกระทู้สอง คือ “เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย” และค�ำกระทู้สาม คือ
“ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า”
สมัยรัชกาลที่ ๔ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แล้ว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขรัวอินโข่งน�ำสุภาษิตโบราณมาเขียนเป็นรูปภาพที่ผนังกรอบประตู
หน้าต่างพระอุโบสถของวัดนี้ ตรงใต้ภาพโปรดเกล้าฯ ให้กวีแต่งโคลงสุภาษิตโบราณจารึกไว้บนแผ่น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๙๖ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

ศิลา (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, ๒๔๗๒ : ค�ำอธิบาย ในโคลงสุภาษิต


ประจ�ำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม) รวม ๒๐๘ บท ส่วนมากแต่งเป็นโคลงสีส่ ภุ าพ
ในจ�ำนวนนีแ้ ต่งเป็นโคลงกระทู้ ๓๔ บท เช่น บทที่ ๙๓ ใช้คำ� กระทูว้ า่ “กิง้ ก่า ได้ ทอง” บทที่ ๑๐๖
ใช้ค�ำกระทู้ว่า “คน ล้ม อย่า ข้าม”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๕๑๔ : ๑๑-๑๒) ทรงอธิบายไว้ในพระบรม
ราชาธิบายในการประพันธ์ว่า “โคลงกระทู้” คือ โคลงที่ใช้ถ้อยค�ำในโคลงบรรยายขยายความของค�ำ
กระทู้ที่ตั้งไว้หน้าบาทนั้นบาทต่อบาท ทั้งยังทรงกล่าวถึงความหมายของค�ำ “กระทู้” และการเลือก
ค�ำมาตั้งเป็น “ค�ำกระทู้” ว่า
คือประโยคอัน ๑ ซึ่งตั้งขึ้นไว้แล้วและแต่งโคลงบรรยายความอีกชั้น ๑ ประโยค
ที่จะตั้งเปนกระทู้นั้น ต้องเลือกให้ได้ประโยคที่มี ๔ ค�ำ (หรือ ๔ พยางค์) หรือค�ำ
(หรือ ๘ พยางค์) ที่จะแบ่งออกเป็น ๔ ภาคได้โดยสะดวก และได้ความทุกภาค
เช่น “มือ, ด้วน, ได้, แหวน” หรือ “เพื่อนกิน, หาง่าย, เพื่อนตาย, หายาก” ดังนี้
นับว่าเป็นกระทู้อย่างดี แต่ถ้าแบ่งออกแล้วไม่ได้ความเรียบร้อยทั้ง ๔ ภาค เช่น
“จบ, บ, ริ, บูรณ” ดังนี้ จัดว่าเปนกระทู้แผลง แต่ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (๒๕๑๔ : ๑๒-๒๐)
มีพระราชด�ำริว่าควรจัดให้มีค�ำกระทู้จ�ำนวนเท่ากันอย่างสม�่ำเสมอตรงต้นบาทแต่ละบาท และ “ค�ำ
กระทู้” ที่ดีควรมีความหมายในแต่ละค�ำ แต่ในกรณีที่มีบางค�ำไม่มีความหมาย ก็ทรงอนุโลมให้ใช้
เป็นค�ำกระทู้ได้ เช่น “จบ บ ริ บูรณ์” ทั้งทรงแบ่ง “ค�ำกระทู้” ตามจ�ำนวนค�ำต้นบาทเป็น “กระทู้
๑ พยางค์” “กระทู้ ๒ พยางค์” ทรงแบ่ง “ค�ำกระทู้” ออกเป็นหลายชนิด เช่น “กระทู้สามัญ”๑๖
“กระทู้พันธ์”๑๗ “กระทู้ทวีพันธ์”๑๗ “กระทู้ยืน”๑๙ “กระทู้สกัดแคร่”๒๐ และ “กระทู้พันธวีสติ”๒๑

๑๖
กระทู้สามัญคือค�ำกระทู้ที่ไม่มีสัมผัส
๑๗
กระทู้พันธ์คือกระทู้ค�ำเดียวที่มีสัมผัสกลางค�ำกระทู้
๑๘
กระทู้ทวีพันธ์คือกระทู้ ๒ ค�ำที่มีสัมผัสตรงกลางค�ำกระทู้
๑๙
กระทู้ยืนนี้ทรงน�ำโคลงกลบทบุษบงแย้มผกาที่ใช้ค�ำ “เสีย” ขึ้นต้นทุกบาทในโลกนิติค�ำโคลง โดยขึ้นต้นบทว่า
“เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์” มาทรงเขียนเป็นโคลงกระทู้ทั้งที่ในต้นฉบับเดิมไม่ได้จัดเป็นโคลงกระทู้
๒๐
กระทู้สกัดแคร่คือโคลงที่มีค�ำกระทู้ว่า “เนตร น้อง ส่อง มา” และใช้ค�ำชุดเดียวกันนี้ตรงท้ายบาทด้วย เช่น
“เนตร คมสมลักษณเนื้อ นิล เนตร”
๒๑
กระทู้พันธวีสติคือโคลงที่แบ่งค�ำในวรรคหน้าของทุกบาทเป็น ๕ ค�ำ เมื่ออ่านแต่ละแถวลงตามแนวดิ่งจะได้วรรค
ละ ๔ ค�ำที่มีสัมผัสตรงกลาง คือระหว่างค�ำที่ ๒ กับ ๓ แต่ไม่ได้เนื้อความดีนัก
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๙๗

ส่วนลักษณะการแต่งโคลงกระทู้นั้น มีพระบรมราชาธิบาย ว่าเป็นโคลงที่เหมาะส�ำหรับ


หัดแต่งโคลง โดยให้วางค�ำกระทู้ที่ต้นบาทแล้วแต่งโคลงขยายความหมายของ “ค�ำกระทู้” ในแต่ละ
บาทนั้น ดังที่ทรงพระราชนิพนธ์ว่า “การแต่งโคลงกระทู้มักใช้ส�ำหรับฝึกหัดการแต่งโคลง คือหัดให้
ขยายความจากประโยคอัน ๑ คล้ายหัดเรียงความจากปัญหาฉะนั้น” แต่ก็มีพระราชด�ำริว่าการแต่ง
โคลงกระทู้มีข้อจ�ำกัดมาก จึงไม่ใช่โคลงที่ใช้แต่งทั่วไป และการจะแต่งโคลงกระทู้หลายบทติดต่อกัน
โดยให้มีเนื้อหาต่อกันเป็นเรื่องยาก จึงเหมาะที่จะให้ใช้ส�ำหรับฝึกหัดแต่งโคลง หรือแต่งสุภาษิตเป็น
โคลงกระทูแ้ ทรกไว้บทหรือ ๒ บท ไม่ใช้โคลงกระทูด้ ำ� เนินเรือ่ ง๒๒
พระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๔๘๕ : ๔๐๔-๔๐๕) กล่าวว่า “โคลงกระทู้” “คือโคลงที่ต้องแต่ง
ตามกระทู้ หมายความว่าเมื่อจะแต่งโคลงชนิดนี้ซึ่งเป็นโคลง ๔ เป็นพื้น จะต้องตั้งค�ำที่นับว่าเป็น
กระทู้ (หลัก) ไว้หน้าบาททั้ง ๔ ก่อน...แล้วก็แต่งโคลงขยายความของกระทู้ให้ได้ความกว้างขวาง
ออกไป” ทั้งยังอธิบายความหมายของ “ค�ำกระทู้” ว่า “จะเป็นค�ำ ๆ เดียวกัน เช่น ขอ ขอ ขอ ขอ
ดังนีก้ ไ็ ด้หรือจะเป็นค�ำ ๔ ค�ำซึง่ มีความหมายต่าง ๆ เช่น อย่า ไว้ ใจ ทาง” ส่วนการเรียกชือ่ โคลงกระทู้
นั้น อธิบายว่าเรียกตามจ�ำนวน “ค�ำกระทู้” ต้นบาท ถ้าใช้ ๑ ค�ำเรียกว่า “กระทู้ ๑” ถ้าใช้ ๒ ค�ำ
เรียกว่า “กระทู้ ๒” ใช้ ๓ ค�ำเรียกว่า “กระทู้ ๓” และใช้ ๔ ค�ำเรียกว่า “กระทู้ ๔” และสรุปว่า
ปรกติมักใช้ “กระทู้ ๑” และ “กระทู้ ๒” นอกนั้นพบน้อย โดยได้ยกตัวอย่างโคลงกระทู้ทั้ง ๔ ชื่อไว้
ด้วย ค�ำกระทู้ ๑ ได้แก่ “จูบ ลูก ถูก และแม่” ค�ำกระทู้ ๒ ได้แก่ “เพื่อนกิน หาง่าย และเพื่อนตาย

๒๒
สมัยรัชกาลที่ ๓ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (๒๕๕๒ : ๗๗-๗๙) เมือ่ ทรงพระนิพนธ์จนิ ดามณี
ตามพระบรมราชโองการ ทรงพระนิพนธ์โคลงกระทู้ต่อเนื่องกันรวม ๓๕ บท โดยทรงน�ำค�ำในแต่ละวรรคของ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ที่แต่งต่อกันจ�ำนวน ๕ บทมาเป็นค�ำกระทู้เดี่ยว ได้แก่ “จะ แต่ง โคลง กทู้ ไว้ หวัง เปน
ครู ให้ ดู ล�ำ น�ำ เหมือน เตือน สะ ติ เร่ง ตริะ ตรอง ค�ำ ใช่ จะ แกล้ง ท�ำ แต่ ภอ คล้อง และจอง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ชิต บุรทัต (๒๔๕๘ : ๗๐-๗๖) ได้แต่งโคลงกระทู้เรื่อง “ชาติปิยานุศร โคลงกระทู้
วิชชุมมาลาฉันท์” โดยแต่งโคลงกระทู้ต่อเนื่องกัน ๓๒ บทโดยน�ำค�ำในแต่ละวรรคของวิชชุมมาลาฉันท์ซึ่งแต่งต่อ
เนื่องกันรวม ๔ บทมาท�ำเป็น “ค�ำกระทู้” เช่น “เกิด เปน คน ไทย ทั้ง ใจ แล นาม พร้อม สอง ปอง ความหมาย
คง ตรง กัน ชื่อ ตน คน ไทย ส่วน ใจ เห หัน เปน อื่น พื้น พรรค พาล โหด โฉด เขลา นอกจากนี้ ในสมัยเดียวกัน
พระภิกษุ หลวงจ�ำนงพลภักดิ์ แห่งวัดราชบุรณะ แต่งโคลงกระทู้คติโลก (๒๔๖๙) จ�ำนวน ๑๐๑ บท (ไม่นับ
โคลงสี่สุภาพที่อยู่ในค�ำน�ำตอนต้น ๔ บทและส่วนสรุปท้ายอีก ๑ บท) โดยใช้ค�ำกระทู้เดี่ยวแต่ละบทส่งสัมผัส
ต่อเนื่องกันตลอดทั้ง ๑๐๑ บท ทุกบทขึ้นต้นค�ำกระทู้ว่า “อย่า” และรับสัมผัสตรงค�ำกระทู้ค�ำที่ ๒ ทั้งหมด เช่น
บทที่ ๑-๗ ใช้ค�ำกระทู้ว่า “อย่า ท�ำ ใจ ง่าย” “อย่า หมาย เกิน การ” “อย่า หาญ เกิน แรง” “อย่า แข่ง เกิน
ฤทธ” “อย่า คิด เทียม เจ้า” “อย่า เฝ้า กวน กัน” “อย่า หัน ทาง ผิด”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๙๘ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

หายาก” ค�ำกระทู้ ๓ ได้แก่ “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว และเจ้าพึ่งข้า” และค�ำกระทู้ ๔


ได้แก่ “ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง แม่ม่ายใส่เสื้อ และเอาเสื่อคลุมหลัง”
บุญเตือน ศรีวรพจน์ (๒๕๔๑ : ๔๖) อธิบายความหมายของ “โคลงกระทู้” หรือ
“โคลงกลกระทู้” ว่าเป็นโคลงกลที่ง่ายที่สุดในบรรดาโคลงกลทั้งหมด เหมาะส�ำหรับผู้เริ่มแต่งโคลง
ใช้เป็นแบบฝึกแต่งโดยก�ำหนดค�ำต้นบาทแล้วพยายามแต่งควบคุมเนื้อหาให้อยู่ในกระทู้ บุญเตือน
ศรีวรพจน์ แบ่ง “โคลงกระทู้” ออกเป็นชนิดย่อย ๆ ว่ามี “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” “โคลงกระทู้เดี่ยว”
“โคลงกระทู้ ๒” “โคลงกระทู้ ๓” “โคลงกระทู้ ๔” ทั้งยังอธิบาย “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” ว่าคือโคลง
กระทู้ที่ใช้ค�ำขึ้นต้นแต่ละบาทเป็นค�ำเหมือนกัน อาจเป็นค�ำเดียว เช่น “ห้าม ห้าม ห้าม ห้าม” หรือ
ใช้ค�ำมากกว่า ๑ ค�ำก็ได้ เช่น “ค�ำปราชญ์ว่าอย่า” ที่ต้นบาททุกบาทในโคลงบทเดียวกัน๒๓ นอกจาก
นีค้ �ำว่า “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” ที่บุญเตือน ศรีวรพจน์ ใช้นี้น่าจะมีความหมายตรงกับที่โกชัย
สาริกบุตร เรียกว่า “โคลงกระทู้ยืน”๒๔ ทั้งนี้ โกชัย สาริกบุตร (๒๕๑๘ : ๑๐๕, ๑๐๙) ยังอธิบาย
เพิ่มเติมว่าหากเป็น “กระทู้ยืน ๑ ค�ำ” ก็เทียบได้กับ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” ถ้าเป็นกระทู้ยืน
๒ ค�ำ เทียบได้กับ “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” ค�ำอธิบายนี้แสดงให้เห็นความเข้าใจสับสนของโกชัย
สาริกบุตรอย่างชัดเจนเรื่อง “โคลงกระทู้” ๑ ค�ำ และ ๒ ค�ำคือโคลงกลบทบุษบงแย้มผกาและโคลง
กลบทบัวบานกลีบ ตามล�ำดับ ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าผิดข้อเท็จจริง
สุภาพร มากแจ้ง (๒๕๓๕ : ๒๖๒-๒๖๓) อธิบายความหมายของ “โคลงกระทู้” ไว้ว่า
“เป็นลักษณะพิเศษของการแต่งโคลง โดยบังคับค�ำขึน้ ต้นบาทแต่ละบาทของโคลง ส่วนมากมักใช้แต่ง
กับโคลงสี”่ และอธิบายว่า “ค�ำกระทู”้ มีได้ตงั้ แต่บาทละ ๑ ค�ำจนกระทัง่ ถึง ๔ ค�ำ เรียกว่า “กระทู้
เดีย่ ว” “กระทู้คู่” “กระทู้สาม” และ “กระทู้สี่” ตามล�ำดับ “ค�ำกระทู้” อาจเป็นค�ำคล้องจองกัน
หรือไม่ก็ได้ ทั้งยังอธิบายว่าค�ำที่น�ำมาเป็นกระทู้นี้อาจมีความหมายหรือไม่ก็ได้ ที่เป็นค�ำกระทู้ไม่มี
ความหมาย เช่น “จก จี้ รี้ ไร” หรือ “โก วา ปา เปิด”
สุภาพร มากแจ้ง (๒๕๓๕) มีความเห็นเหมือนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั
พระยาอุปกิตศิลปสาร และบุญเตือน ศรีวรพจน์ ที่กล่าวว่ากระทู้เดี่ยวอาจใช้ค�ำเดียวกันทุกบาท
หรือค�ำต่างชุดกันได้ ถ้าเป็นค�ำชุดเดียวกัน สุภาพร มากแจ้งเรียกว่า “กระทูย้ นื ” เหมือนดังทีพ่ ระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (๒๕๑๔ : ๑๙) ทรงเคยใช้ชอื่ ดังกล่าวนีเ้ รียก “ค�ำกระทู”้ ลักษณะนีใ้ น
๒๓
ผู้เขียนคิดว่า “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” ที่บุญเตือน ศรีวรพจน์ เรียกนี้น่าจะได้อิทธิพลมาจากค�ำ “ต้นเสมอ” ของ
พระเทพโมฬีในปฐมมาลาหรือประถมมาลา แต่ของพระเทพโมฬีใช้หมายถึงโคลงกลบทต้นเสมอที่ใช้ค�ำต้นบาท
สม�่ำเสมอทั้ง ๔ บาทซึ่งสอดคล้องกับกลบทบุษบงแย้มผกาที่ยกตัวอย่างไว้ (ขึ้นต้นทุกบาทด้วยค�ำว่า “สรวม”)
๒๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ค�ำนี้มาก่อน โดยทรงยกตัวอย่างโคลงกลบทบุษบงแย้มผกาที่ขึ้น
ต้นทุกบาทด้วยค�ำว่า “เสีย” เป็นตัวอย่าง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๙๙

การแต่งโคลงกลบทบุษบงแย้มผกามาแล้ว มีข้อสังเกตว่าพระยาอุปกิตศิลปสารไม่ได้บัญญัติชื่อเรียก
โคลงกลลักษณะดังกล่าว แต่บญ ุ เตือน ศรีวรพจน์ (๒๕๔๑ : ๔๖) เรียกว่า “โคลงกระทูต้ น้ เสมอ” ทัง้ ที่
ผู้เขียนเห็นว่าตามข้อเท็จจริงเป็นโคลงกลบทที่แต่งโดยใช้จ�ำนวนค�ำชุดเดียวกันที่ต้นบาทสม�่ำเสมอกัน
ทั้ง ๔ บาท
ตามความเห็นของผู้เขียน “โคลงกระทู้” คือโคลงที่มีค�ำหลักหรือค�ำกระทู้วางไว้ตรงต้น
บาทแต่ละบาท โดยค�ำในแต่ละบาทต้องเป็นค�ำต่างชุดกัน มีได้ทงั้ “โคลงกระทู้ ๑” หรือ “โคลงกระทู้
เดี่ยว” “โคลงกระทู้ ๒” “โคลงกระทู้ ๓” และ “โคลงกระทู้ ๔”
มีข้อควรสังเกตว่าพระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๕๓๙ : ๔๐๕) อธิบายว่าในการแต่งโคลง
กระทู้นี้สามารถแต่งปนกับโคลง ๔ ได้ทุกชนิด แต่ห้ามก้าวก่ายชนิดกัน หมายความว่าถ้าเดิมแต่งเป็น
โคลงสี่สุภาพ โคลงกระทู้ที่แต่งแทรกก็ต้องแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพด้วย หากแต่งเป็นโคลง ๔ ดั้นโคลง
กระทู้ที่แต่งก็ต้องแต่งเป็นโคลงสี่ดั้น ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ความเหมือนคล้ายระหว่าง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”


“โคลงกลบท” บางชนิดมีความเหมือนคล้ายกับ “โคลงกระทู้” ๒ ประการ ดังรายละเอียด
ต่อไปนี้
๑. เหมือนคล้ายเรือ่ งต�ำแหน่งข้อบังคับในการวางค�ำแต่ละบาท การแต่งโคลงกลบทชนิด
ที่บังคับการวางค�ำที่ใช้แต่งโคลงกลบทไว้ต้นบาทซึ่งได้แก่ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา”๒๕ และ
“โคลงกลบทบัวบานกลีบ”๒๖ “โคลงกลบทอเนกพล”๒๗ “โคลงกลบทจตุรสโรช”๒๘ ซึง่ เหมือนคล้าย
๒๕
“โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” ในที่นี้หมายถึงโคลงที่ใช้ค�ำชุดเดียวกัน ๑ ค�ำขึ้นต้นบาททุกบาทในโคลงบทเดียว
กัน แต่มี “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” อีกลักษณะหนึ่งที่ใช้ค�ำชุดเดียวกันจ�ำนวน ๑ ค�ำขึ้นต้นบทโคลงแต่ละ
บทซึ่งแต่งให้ต่อเนื่องกันตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป เช่น ในเรื่องโคลงนิราศพระยาตรัง ของพระยาตรัง พระยาตรัง
(๒๕๔๗ : ๑๓๐) ใช้ค�ำ “ถึง” ต้นบทหรือต้นบาทแรกของโคลงที่แต่งต่อเนื่องกัน ๒ บท บทแรกขึ้นต้นว่า “ถึงวัด
ดอกไม้มุ่งเมิลหา” และบทที่ ๒ ขึ้นต้นว่า “ถึงลัดจักลัดหน้า เรือจร”
๒๖
มี “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” อีกลักษณะหนึ่งที่ใช้กลุ่มค�ำชุดเดียวกันจ�ำนวน ๒ ค�ำขึ้นต้นบทโคลงแต่ละบทที่
แต่งต่อเนื่องกัน เช่น “ขอพรพุทธรูปเรื้อง จอมอาริย” “ขอพรพระพุทธห้าม สมุทไทย” “ขอพรพุทธยาตร-
เยือ้ ง เจียรจร” “ขอพรพุทธภาคยเพีย้ ร จักรวรรดิ” ในบาทแรกของโคลงแต่ละบท (กรมศิลปากร, ๒๕๓๐ : ๖๐)
๒๗
วรางคณา ศรีก�ำเนิด เป็นผู้คิดชื่อโคลงกลบทอเนกพลขึ้นให้หมายถึงโคลงกลบทที่ใช้กลุ่มค�ำชุดเดียวกัน ๓-๖
ค�ำขึ้นต้นทุกบาทในโคลงบทเดียวกัน โคลงชนิดนี้มีมาแล้วในมหาชาติค�ำหลวงและในอนิรุทธค�ำฉันท์ในสมัยต้น
อยุธยา โดยมากกลบทชนิดนี้มักแต่งขึ้นโดยมีเนื้อความพรรณนาพลังของแสนยากรในกองทัพ
๒๘
ผู้เขียนคิดชื่อกลบทชนิดนี้ตามจ�ำนวนค�ำกลบท ๔ ค�ำที่วางต้นบาทเพื่อให้เข้าพวกกับกลบทบุษบงแย้มผกาและ
กลบทบัวบานกลีบ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐๐ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

กับการแต่งโคลงกระทู้ที่วางค�ำกระทู้ไว้ตรงต้นบาทไม่ว่าจะเป็น “โคลงกระทู้ ๑” “โคลงกระทู้ ๒”


“โคลงกระทู้ ๓” และ “โคลงกระทู้ ๔”
๒. เหมือนคล้ายเรื่องจ�ำนวนค�ำต้นบาท “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” “โคลงกลบทบัว-
บานกลีบ” “โคลงกลบทอเนกพล” และ “โคลงกลบทจตุรสโรช” ใช้จ�ำนวนค�ำต้นบาท ๑ ค�ำ ๒ ค�ำ
๓ ค�ำ และ ๔ ค�ำ ตามล�ำดับ ซึ่งตรงกับจ�ำนวนค�ำกระทู้ใน “โคลงกระทู้ ๑” “โคลงกระทู้ ๒” “โคลง
กระทู้ ๓” และ “โคลงกระทู้ ๔” โดยล�ำดับ
ตัวอย่างต�ำแหน่งการวางค�ำต้นบาทและจ�ำนวนค�ำใน “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”
ที่กล่าวถึงข้างต้น ผู้เขียนน�ำ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” ที่ใช้ค�ำว่า “สยง” ต้นบาททุกบาทจาก
ยวนพ่ายโคลงดั้น (กรมศิลปากร, ๒๕๒๙ : ๓๓๗) และน�ำ “โคลงกระทู้ ๑” มาจากโคลงท้ายเรื่อง
บุณโณวาทค�ำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย ซึ่งใช้ค�ำกระทู้ว่า “จบ บ ริ บูรรณ” (กรมศิลปากร,
๒๕๓๑ : ๓๓๓) ดังนี้
โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา โคลงกระทู้ ๑
สยงสโพนพิณพาทยก้อง กาหล จบ จนกระษัตรสร้าง เสร็จฉลอง
สยงสู่ศรีสารจยน จั่นแจ้ว บ พิตรเสด็จไพรคนอง เถื่อนถ�้ำ
สยงคณคนคฤม คฤโฆษ ริ ร่างสฤษดิสารสนอง เสนอเนตร
สยงพวกพลกล้าแกล้ว โห่หรรษ์ บูรรณ เสร็จเสด็จกรุงซ�้ำ เรือ่ งซัน้ สรรเสริญ
ผูเ้ ขียนน�ำตัวอย่างการวางค�ำต้นบาทและจ�ำนวนค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบทบัวบานกลีบ”
มาจากเรื่องโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเมื่อครั้งทรง
ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ทรงใช้ค�ำ
ขึ้นต้นทุกบาทว่า “จงพระ” (กรมศิลปากร, ๒๕๓๑ : ๑๗๗) และน�ำ “โคลงกระทู้ ๒” คือ “เจ้าฟ้า,
กรมขุน, เสนา, พิทักษ์” มาจากโคลงท้ายเรื่องกาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง๒๙ (กรมศิลปากร,
๒๕๓๑: ๒๓๘) ดังนี้
โคลงกลบทบัวบานกลีบ โคลงกระทู้ ๒
จงพระแรมโรคร้าง ในสกนธ์ เจ้าฟ้า เลิศล�้ำโพธิ สมภาร
จงพระจ�ำเริญชนม์ กว่าร้อย กรมขุน หลวงพญากราน กราบเกล้า
จงพระเสวยศุขผล เพียรเพิ่ม เสนา นราบาล ใจชื่น ชมนา
จงพระไทยไคลคล้อย คลาศพ้องพงษพันธุ พิทักษ์ รักษาเช้า ค�่ำด้วยใจเกษม
๒๙
นักวิชาการปัจจุบันมีความเห็นว่าไม่ใช่นิราศเพราะไม่มีบทครวญ มีแต่บทชมธรรมชาติจึงเรียกชื่อว่ากาพย์ห่อ
โคลงประพาสธารทองแดง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๐๑

ผู้เขียนน�ำตัวอย่างการวางค�ำต้นบาทและจ�ำนวนค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบทอเนกพล”
มาจากโคลงดัน้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของพระยาตรัง (พระยาตรัง,
๒๕๔๗ : ๒๒๕) ที่ใช้ค�ำต้นบาททุกบาทว่า “พลรถรถ” และน�ำ “โคลงกระทู้ ๓ ค�ำ” มาจากเรื่อง
โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ที่ทรงใช้ค�ำกระทู้ว่า
“ไป่เห็นน�้ำ ตัดกระบอก ไป่เห็นรอก ขึ้นน่าไม้” (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๓๙๖) ดังนี้
โคลงกลบทอเนกพล โคลงกระทู้ ๓
พลรถรถครั่นครื้น เครงเสียง ไป่เห็นน�้ำ หน้าด่วน ชวนกัน
พลรถรถราญรอน ราพณ์ร้าย ตัดกระบอก แบ่งปัน ส่วนใช้
พลรถรถเร็วเพียง พางจักร ไป่เห็นรอก อวดขัน มือแม่น
พลรถรถแผลงผ้าย เพิดพัง ขึ้นน่าไม้ ไว้ให้ หย่อนแท้เสียสาย
ผู้เขียนน�ำตัวอย่างการวางค�ำต้นบาทและจ�ำนวนค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบทจตุรสโรช”
มาจากโคลงกลบทวัดพระเชตุพน ทีก่ วีแต่งเป็นโคลงกลชือ่ “กลโคลงพันธวีสติ” พระพุทธโฆษาจารย์
เป็นผู้แต่ง (นิยะดา เหล่าสุนทร, ๒๕๔๔ : ๘๖) แต่เมื่อถอดกลแล้วได้โคลงที่เป็นโคลงกลบทจตุร-
สโรชที่ใช้ค�ำขึ้นต้นบาททุกบาทว่า “ค�ำปราชว่าอย่า” โดยผู้เขียนคงการเขียนสะกดค�ำในโคลงบทนี้
ตามต้นฉบับ และน�ำ “โคลงกระทู้ ๔” มาจากโคลงกระทู้โบราณที่ใช้ค�ำกระทู้ว่า “ฝนตกแดดออก
นกกระจอกเข้ารัง แม่ม่ายใส่เสื้อ เอาเสื่อคลุมหลัง” (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙ : ๔๐๕) ดังนี้
โคลงกลบทจตุรสโรช โคลงกระทู้ ๔
ค�ำปราชว่าอย่าค้า ยาพิศม์ ฝนตกแดดออก แจ้ แจ่มแสง
ค�ำปราชว่าอย่าคิด คดจ้าว นกกระจอกเข้ารัง แฝง ใฝ่เร้น
ค�ำปราชว่าอย่าชิด คนชั่ว แม่ม่ายใส่เสื้อ แดง ดูฉาด
ค�ำปราชว่าอย่าห้าว หักเหี้ยนหายคม เอาเสื่อคลุมหลัง เต้น ต่อล้อหลอกฝน
นอกจากมีความเหมือนคล้ายเรื่องต�ำแหน่งการวางค�ำและจ�ำนวนค�ำตรงต้นบาทในการ
แต่ง “โคลงกลบท” ๔ ชนิดข้างต้นกับ “โคลงกระทู้” ดังที่กล่าวมาแล้ว โคลงเหล่านี้ยังมีข้อแตกต่าง
กันอย่างเห็นเด่นชัดด้วย ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

ความแตกต่างระหว่าง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”


“โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” “โคลงกลบทอเนกพล” และ
“โคลงกลบทจตุรสโรช” แตกต่างจาก “โคลงกระทู้ ๑” “โคลงกระทู้ ๒” “โคลงกระทู้ ๓” และ
“โคลงกระทู้ ๔” ดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐๒ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

๑. ความแตกต่างเรื่องค�ำที่ใช้ตรงต้นบาท ค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบท” ไม่ว่าเป็น “โคลง


กลบทบุษบงแย้มผกา” “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” “โคลงกลบทอเนกพล” และ “โคลงกลบทจตุร-
สโรช” ล้วนใช้ค�ำหรือกลุ่มค�ำชุดเดียวกันทั้ง ๔ บาท แต่ “ค�ำกระทู้” ใน “โคลงกระทู้ ๑” “โคลง
กระทู้ ๒” “โคลงกระทู้ ๓” และ “โคลงกระทู้ ๔” ซึ่งเป็นค�ำหรือกลุ่มค�ำต่างชุดกันในแต่ละบาท
ผู้เขียนจะยกตัวอย่างค�ำใน “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้” ที่กล่าวถึงข้างต้น โดยน�ำ
“โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” มาจากโคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๙๕) ซึ่งใช้ค�ำในกลบทเป็นค�ำชุดเดียวกัน คือ “อาย”
ต้นบาททั้ง ๔ บาท ส่วนค�ำกระทู้ใน “โคลงกระทู้ ๑” เป็นค�ำต่างชุดกันดังตัวอย่างจากเรื่องพระบรม
ราชาธิบายในการประพันธ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (๒๕๑๔ : ๑๘)
ที่ทรงใช้ค�ำกระทู้ว่า “ช่วย ท�ำ รั้ว บ้าน” ดังนี้
โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา โคลงกระทู้ ๑
อายครูไซร้ถ่อยรู้ วิชา ช่วย กันเถิดพี่น้อง ร่วมชาติ
อายแก่ราชาคลา ยศแท้ ท�ำ สิ่งซึ่งยังขาด อยู่แท้
อายแก่ภริยาหา บุตรแต่ ไหนนา รั้ว กันศัตรูอาจ จรเหยียบ
อายกับท�ำบุญแล้ สุขนั้นฤามี บ้าน แตกย่อยยับแล้ สุขได้ฉันใด
ตัวอย่างค�ำทีใ่ ช้ใน “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” น�ำมาจากโคลงท้ายเรือ่ งพระมาลัยค�ำหลวง
กวีใช้ค�ำ “เดชะ” ซึ่งเป็นค�ำชุดเดียวกันต้นบาททุกบาทในโคลงบทเดียวกัน (กรมศิลปากร, ๒๕๓๑:
๑๗๗) ส่วน “โคลงกระทู้ ๒” ผู้เขียนยกตัวอย่างจากโคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรม-
วงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรที่ทรงใช้ค�ำกระทู้ซึ่งเป็นค�ำต่างชุดว่า “เพื่อนกิน หาง่าย เพื่อนตาย
หายาก” (กรมศิลปากร, ๒๕๓๑ : ๑๔๗) ดังนี้
โคลงกลบทบัวบานกลีบ โคลงกระทู้ ๒
เดชะข้ากล่าวแกล้ง ศุภสาร เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี
เดชะแถลงนิทาน เทียบไว้ หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
เดชะเพียรเจียรกาล จนเสร็จ เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี วาอาตม์
เดชะบุญแต่งให้ พบไท้ทรงธรรม หายาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา
ตัวอย่างค�ำที่ใช้ใน “โคลงกลบทอเนกพล” น�ำมาจากโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของพระยาตรัง (พระยาตรัง, ๒๕๔๗ : ๒๗๑) กวีใช้กลุ่มค�ำชุด
เดียวกัน คือ “พระฤทธิ์ฤทธิ” หน้าบาททุกบาท ส่วน “โคลงกระทู้ ๓” ผู้เขียนน�ำมาจากโคลงใน
ปฐมมาลา ซึ่งพระเทพโมฬี (๒๕๕๘) วัดราชบุรณะราชวรวิหาร กวีในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นผู้แต่ง ใน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๐๓

“โคลงกระทู้ ๓” นี้กวีใช้ค�ำต่างชุด ๓ ค�ำในแต่ละบาท ได้แก่ “ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งพาย นายพึ่งบ่าว


เจ้าพึ่งข้า” (พระเทพโมฬี ๒๕๕๘ : ๔๐) ดังนี้
โคลงกลบทอเนกพล โคลงกระทู้ ๓
พระฤทธิ์ฤทธิลาดฟ้า ดินไหว ป่าพึ่งเสือ หมู่ไม้ มากมูล
พระฤทธิ์ฤทธิลลาญเลือง โหล่งล้วน เรือพึ่งพาย พายูร ยาตรเต้า
พระฤทธิ์ฤทธิกษัย สูญเศิก นายพึ่งบ่าว บริบูรณ์ บริ วารแฮ
พระฤทธิ์ฤทธิมาม้วน แผ่นพาล เจ้าพึ่งข้า ค�่ำเช้า ช่วยสิ้นเสร็จงาน
ตัวอย่างค�ำที่ใช้ใน “โคลงกลบจตุรสโรช” ผู้เขียนน�ำมาจากโคลงกลบทบทหนึ่งในโคลง
กลบทวัดพระเชตุพน (นิยะดา เหล่าสุนทร, ๒๕๔๔ : ๘๖) ซึ่งเมื่อถอดค�ำแล้วกลายเป็นโคลงกลบท
ที่ใช้กลุ่มค�ำชุดเดียวกัน คือ “ค�ำปราชว่าอย่า” และน�ำ “โคลงกระทู้ ๔” ซึ่งใช้ค�ำกระทู้ซึ่งเป็น
กลุ่มค�ำต่างชุดว่า “อย่าท�ำความชั่ว, อย่ามั่วคนพาล, อย่าหาญต่อศึก, อย่าฮึกสู้เสือ” มาจากหนังสือ
หลักภาษาไทย ของก�ำชัย ทองหล่อ (๒๕๓๐ : ๔๔๖-๔๔๗) ดังนี้
โคลงกลบทจตุรสโรช โคลงกระทู้ ๔
ค�ำปราชว่าอย่าค้า ยาพิศม์ อย่าท�ำความชั่ว ให้ ปราชญ์ติ เตียนแฮ
ค�ำปราชว่าอย่าคิด คดจ้าว อย่ามั่วคนพาล ริ ชั่วช้า
ค�ำปราชว่าอย่าชิด คนชั่ว อย่าหาญต่อศึก ตริ ตรองชอบ ก่อนนา
ค�ำปราชว่าอย่าห้าว หักเหี้ยนหายคม อย่าฮึกสู้เสือ กล้า จักม้วยเพราะเสือ

๒. ความแตกต่างเรื่องวิธีการแต่ง แม้ “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” เป็นโคลงสี่


เหมือนกัน๓๐ แต่มีวิธีการแต่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ทั้งโคลงกลบทและโคลงกระทู้มีทั้งที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพและโคลงสี่ดั้น มีข้อสังเกตว่าโคลงกระทู้ส่วนใหญ่แต่ง
๓๐

เป็นโคลงสี่สุภาพ ที่แต่งเป็นโคลงสี่ดั้นพบน้อยมาก เช่น โคลงกระทู้ของนายชิต บุรทัต ซึ่งแต่งเป็นโคลงกระทู้ดั้น


วิวิธมาลี จ�ำนวน ๒ บท (อาจิณ จันทรัมพร และช่วย พูลเพิ่ม, ๒๕๓๕ : ๓๒๘) ดังนี้
อย่า ดีจนเลิศล้น เลยดี ไปพ่อ
ดี เถิดดีพอควร ขีดขั้น
อย่า ชั่วอย่างไม่มี ใครคบ ตนเลย
ชั่ว กลับดีได้นั้น น่าชม
อย่า กลัวสิ่งผิดเพี้ยน ฟังเกรง
กลัว ที่ถูกธรรมนิยม ยึดน้าว
อย่า กล้าอย่างนักเลง โตเก่ง ก๋าเลย
กล้า ทอดชีพให้ด้าว สิดี
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐๔ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

การแต่งโคลงกลบท เช่น โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา ต้องน�ำค�ำค�ำเดียวซึ่งเป็นค�ำชุด


เดียวกันวางไว้ต้นบาททั้ง ๔ บาทในโคลงบทเดียวกันโดยเน้นความหมายของค�ำกลบทนั้น เช่น โคลง
โลกนิตบิ ทหนึ่งซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ที่ทรงใช้ค�ำว่า
“ห้าม” ขึ้นต้นบาท เน้นความหมายของค�ำว่า “ห้าม” ในโคลงทั้งบท มีความหมายว่าหากห้ามไฟไม่
ให้มีควัน ห้ามดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ห้ามอายุให้ถดถอยน้อยลงได้ จึงจะห้ามคน
ไม่ให้นินทาได้ (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๕๖) ดังนี้
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา
วิธีแต่ง “โคลงกลบท” เป็นการแต่งอวดฝีมือด้วยการแต่งให้ถูกต้องตามข้อบังคับทั่วไป
ของการแต่งโคลงสี่สุภาพโดยให้มีเนื้อความที่เหมาะสมและขณะเดียวกันก็ต้องแต่งตามข้อบังคับ
พิเศษตามที่โคลงกลบทชนิดนั้น ๆ ก�ำหนดไว้เพื่อแสดงว่าแต่งได้ดีเพียงใด เช่น “โคลงกลบทบัวบาน
กลีบ” ชุดดอกไม้บนปลายปืนของไพฑูรย์ พรหมวิจิตร (๒๕๓๘ : ๕๙) แต่งได้อย่างเป็นระบบ คือ
ใช้กลุ่มค�ำชุดเดียวกันจ�ำนวน ๒ ค�ำ คือ “เป็นศพ” ต้นบาททุกบาท ซึ่งแต่งได้ความหมายดี ดังนี้
เป็นศพสยบเพราะผู้ พลใคร
เป็นศพสิ้นลมประลัย ปวดร้าว
เป็นศพสุดแสนไกล บ้านเกิด
เป็นศพสังเวยห้าว โหดพาล
ส่วนค�ำในโคลงกระทู้ ใช้ค�ำตรงต้นบาทต่างชุดกัน มีทั้งค�ำกระทู้ที่มีความหมาย และ
ค�ำกระทู้ที่ไม่มีความหมาย ค�ำกระทู้ท่ีมีความหมายนี้จะมีสัมผัสหรือไม่มีสัมผัสก็ได้ แต่สังเกตว่าค�ำ
กระทู้ที่ไม่มีความหมายมักมีสัมผัส เช่น “โก วา ปา เปิด” “จก จี้ รี้ ไร” “ทะ ลุ่ม ปุ่ม ปู” และ “มุ
สุ ทุ ดุ”
หากเป็นค�ำกระทู้ที่มีความหมาย ต้องแต่งให้เนื้อความในแต่ละบาทขยายความหมาย
ของค�ำกระทู้ที่อยู่ต้นบาทนั้น ๆ โดยให้มีความหมายของโคลงทั้งบทสอดคล้องกับความหมายของ
ค�ำกระทู้ในโคลงบทเดียวกัน เช่น โคลงที่มีค�ำกระทู้ว่า “อา ภัพ เหมือน ปูน” พระนิพนธ์ของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๑๔๕) แต่ละบาทแต่งให้
มีเนื้อความอย่างเดียวกัน คือ ท�ำสิ่งใดแล้วไม่ได้รับผลใด ๆ ตอบแทนเลยแม้แต่น้อย โดยให้ความ
ทั้งหมดของโคลงบทนี้สอดคล้องกับความหมายของค�ำกระทู้ทั้งหมด ดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๐๕

อา สาสุดสิ้นเรี่ยว แรงกาย
ภัพ และผลพังหาย โหดเศร้า
เหมือน เพลิงตกสินธุ์สาย ศูนย์ดับ ไปนา
ปูน ต่อขาดขอดเต้า จึ่งรู้คุณปูน
หากเป็นค�ำกระทู้ที่ไม่มีความหมาย ผู้แต่งต้องหาค�ำมาแต่งขยายความค�ำกระทู้ให้มี
ความหมายตามที่ต้องการหรือตามที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น ค�ำกระทู้ “ทะ ลุ่ม ปุ่ม ปู” ใน “กระทู้
พม่า” (สุภาพร มากแจ้ง, ๒๕๓๕ : ๒๖๓) ดังนี้
ทะ แกล้วซากเกลื่อนพื้น อยุธยา
ลุ่ม แห่งเลือดน�้ำตา ท่วมหล้า
ปุ่ม อิฐฝุ่นทรายสา- มารถกล่าว
ปู แผ่สัจจะกล้า ป่าวฟ้าดินฟัง
พระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๕๓๙ : ๔๐๕) ให้ข้อสังเกตการแต่ง “โคลงกระทู้” ไว้ ๓ ประการ
ได้แก่
๑. ในการแต่งโคลงกระทู้ ต้องแต่งขยายความของค�ำกระทูใ้ ห้ได้ใจความแจ่มแจ้งชัดเจนและ
ไม่ซ�้ำกัน เว้นแต่ใช้ค�ำกระทู้ที่ไม่มีความหมาย เช่น “โก วา ปา เปิด” หรือ “ทุ สุ มุ ดุ” ผู้นิพนธ์
หรือมีความหมายกว้างมาก ก็ให้เลือกหาความมาแต่งได้เองตามแต่เห็นเหมาะสม กรณีต้องการแต่ง
ให้ขบขันก็แต่งขยายความให้ต่างไปจากความหมายของค�ำกระทู้ก็ได้
๒. ในการแต่งโคลงกระทู้ จะตั้งค�ำกระทู้หน้าบาทไม่เท่ากันทุกบาทได้ เช่น “ช้าช้า ได้ พร้า
สองเล่ม งาม” ไม่มีข้อห้าม แต่ต้องแยกค�ำกระทู้ให้ห่างออกจากเนื้อโคลง
๓. ผู้แต่งอาจแต่งโคลงกระทู้เป็นโคลงสี่สุภาพหรือโคลงสี่ดั้นก็ได้ แต่ต้องเป็นโคลงชนิด
เดียวกันกับโคลงอื่นในเรื่องเดียวกัน เช่น โคลงอื่นแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ โคลงกระทู้ในเรื่องนั้นก็ต้อง
แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพด้วย แต่หากโคลงอื่นแต่งเป็นโคลงสี่ดั้น โคลงกระทู้ในเรื่องนั้นก็ต้องแต่งเป็น
โคลงสี่ดั้นด้วย
ผู้นิพนธ์มีความเห็นว่าข้อสังเกตประการที่ ๒ ข้างต้นขัดแย้งกับพระราชด�ำริของพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงอธิบายว่าต้องจัดค�ำกระทู้ให้เท่ากันสม�่ำเสมอในแต่ละบาท

๓. ความแตกต่างเรื่องการเขียนค�ำต้นบาท “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” มีวิธีการ


เขียนค�ำต้นบาทต่างกัน ผู้แต่ง “โคลงกลบท” เขียนค�ำต้นบาทต่อเนื่องกับค�ำอื่น ๆ ในเนื้อโคลง
ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๕๓๙ : ๔๐๕) กล่าวว่าผู้แต่ง “โคลงกระทู้” ต้องเขียน “ค�ำกระทู้”
ห่างออกมาจากค�ำอื่น ๆ ในเนื้อโคลง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐๖ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

ตัวอย่างการเขียนค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” น�ำมาจากเรือ่ งลิลติ พระลอ


ตอน พระนางบุญเหลือพระราชทานพรแก่พระลอ ก่อนทีพ่ ระลอจะเสด็จออกจากเมืองสรวงไปยังเมือง
สรองของพระเพื่อนและพระแพง (กรมศิลปากร, ๒๕๒๙ : ๓๘๔) และน�ำตัวอย่างการเขียนค�ำต้น
บาทใน “โคลงกระทู้ ๑ ค�ำ” มาจากผลงานของนายชิต บุรทัต (อาจิณ จันทรัมพร และช่วย พูลเพิ่ม,
๒๕๓๕ : ๓๐๑) ดังนี้
โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา โคลงกระทู้ ๑
ขอลุสมสบสร้อย สองนาง โคลน เปรียบเครื่องกีดกั้น กันทาง เจริญฤๅ
ขออย่าลุเล่ห์ทาง เสน่ห์รั้ง ติด เปรียบว่ามาขวาง ขัดข้อง
ขอคิดอย่าใจจาง ค�ำแม่ สอนนา ล้อ เปรียบกิจการปาง เดินมิ สะดวกแล
ขอพ่อเร็วคืนกั้ง ขอบแคว้นไกรกรุง รถ เปรียบประเทศต้อง ติดค้างทางเจริญ
อย่างไรก็ดี ผู้นิพนธ์มีความเห็นว่าแม้การเขียนค�ำต้นบาทใน “โคลงกลบท” และใน
“โคลงกระทู้” มีวิธีการเขียนต่างกัน แต่หากเขียนผิด คือ เขียน “โคลงกลบท” เป็น “โคลงกระทู้”
หรือเขียน “โคลงกระทู้” เป็น “โคลงกลบท” ก็ไม่อาจเปลี่ยนชนิดของโคลงได้ เพราะค�ำต้นบาทจะ
แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่าโคลงที่แต่งนั้นมีค�ำกระทู้หรือไม่ ถ้าไม่มีค�ำกระทู้ก็เป็นโคลงกลบท แต่ถ้ามี
ค�ำกระทู้ก็เป็นโคลงกระทู้

๔. ความแตกต่างเรื่องการอ่าน “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” มีวิธีการอ่านโคลง


ต่างกัน การอ่าน “โคลงกลบท” อ่านเหมือนอ่านโคลงทั่วไป ต่างกับการอ่าน “โคลงกระทู้” ซึ่งก�ำชัย
ทองหล่อ (๒๕๓๐ : ๔๔๗) กล่าวว่าต้องอ่าน ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกอ่านเฉพาะค�ำกระทู้ก่อน แล้วจึง
อ่านรวมกันทั้งหมดอย่างอ่านโคลงธรรมดาทั่วไปแต่ตอนอ่านค�ำกระทู้ อ่านเป็นเสียงธรรมดา ไม่ต้อง
อ่านเป็นท�ำนองเสนาะ
ในตัวอย่าง “โคลงกระทู้ ๑” ต้องอ่านค�ำกระทู้ทั้ง ๔ บาทว่า “โคลน ติด ล้อ รถ” แล้ว
จึงเริ่มอ่านค�ำในบาทที่ ๑ ว่า “โคลน เปรียบเครื่องกีดกั้น กันทาง เจริญฤๅ” ต่อด้วยบาทที่ ๒ ๓
และ ๔ จนจบบท กรณีที่เป็น “โคลงกระทู้” ให้อ่านค�ำกระทู้ทั้งหมดก่อนว่า “ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า
เมียรัก” แล้วจึงเริ่มอ่านค�ำทั้งหมดในโคลงกระทู้ตั้งแต่ค�ำแรกในบาทแรกจนถึงบาทสี่ เป็น “โคลง
กระทู้ ๓” อ่านค�ำกระทู้ทั้ง ๔ บาทก่อน คือ “ไป่เห็นน�้ำ ตัดกระบอก ไป่เห็นรอก ขึ้นน่าไม้” แล้ว
จึงเริ่มอ่านบาทแรกจนถึงบาทที่ ๔ ในโคลง ส่วน “โคลงกระทู้ ๔” อ่านค�ำกระทู้ทั้ง ๔ บาทก่อน คือ
“อย่าท�ำความชั่ว อย่ามั่วคนพาล อย่าหาญต่อศึก อย่าฮึกสู้เสือ” แล้วจึงอ่านเนื้อความของโคลง
กระทู้ตั้งแต่ค�ำแรกในบาทแรกจนถึงค�ำสุดท้ายในบาท ๔
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๐๗

ความแตกต่างทั้ง ๔ ประการข้างต้นนี้ ความแตกต่างเรื่องการใช้ค�ำต้นบาทซึ่งในโคลง


กระทู้เรียกว่า “ค�ำกระทู้” และวิธีแต่งโคลงแต่ละชนิดส�ำคัญที่สุด เพราะเป็นลักษณะเด่นที่จ�ำแนก
โคลงทั้ง ๒ ชนิดออกจากกันอย่างชัดเจน
ความแตกต่างทั้ง ๔ ประการนี้สะท้อนให้เห็นความคิดที่จ�ำแนกโคลง ๒ ชนิดออกจาก
กันอย่างเป็นระบบของกวีโบราณที่คิดรูปแบบการแต่งโคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้ หากเข้าใจลักษณะแตกต่าง
ทั้ง ๔ ประการนี้อย่างถ่องแท้ก็จะไม่สับสนเรื่อง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

ความสับสนระหว่าง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”


ความสับสนเรื่อง “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้ ” ได้แก่
๑. ความสับสนเรื่องชนิดของโคลง เกิดจากมีนักวิชาการน�ำโคลงกลบทต้นเสมอของ
พระเทพโมฬี ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลงกลบทบุษบงแย้มผกามาอธิบายเป็นโคลงกระทู้ แล้วเรียกว่า
“กระทู้ยืนบ้าง” (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๑๔ : ๑๙ และสุภาพร มากแจ้ง,
๒๕๓๕ : ๒๖๓) หรือ “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” บ้าง (บุญเตือน ศรีวรพจน์, ๒๕๔๑ : ๔๖) ทั้งยังมี
นักวิชาการบางคน (โกชัย สาริกบุตร, ๒๕๑๘) เข้าใจผิดว่า “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” ดังเช่น
โคลงกลบทในเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งใช้ค�ำชุดเดียวกันขึ้นต้นแต่ละบาทว่า “ขอ ขอ ขอ ขอ” เป็น
กระทู้ยืน โดยกล่าวว่า “เทียบได้กับกลบทชื่อ ‘กลบทบุษบงแย้มผกา’” ซึ่งแสดงให้เห็นความเข้าใจ
สับสนที่มากขึ้นไปอีก
๒. ความสับสนเรื่องการเขียนรูปแบบโคลง นักวิชาการบางคน (สุภาพร มากแจ้ง,
๒๕๓๕ : ๒๖๓ และบุญเตือน ศรีวรพจน์, ๒๕๔๑ : ๔๖) เขียน “โคลงกลบท” เป็นรูปแบบของ
“โคลงกระทู้” ดังนี้
๒.๑ เขียนค�ำต้นบาทแต่ละบาทใน “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” แยกออกจากค�ำอืน่ ๆ
ในเนื้อโคลงบาทเดียวกัน แล้วระบุว่าเป็น “โคลงกระทู้ ๑ ค�ำ” หรือ “โคลงกระทู้เดี่ยว” หรือ
“โคลงกระทู้ยืน” หรือ “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากค�ำที่ใช้แล้วไม่สามารถจัดเป็น
“โคลงกระทู้ ๑” ได้เลย เพราะไม่มีค�ำกระทู้ ทั้งวิธีการแต่งก็ไม่ใช่การแต่งขยายความของค�ำกระทู้
เลย ดังเช่น สุภาพร มากแจ้ง (๒๕๓๕ : ๒๖๓) ยกมาจากยวนพ่ายโคลงดั้น ทั้ง ๆ ที่ในเรื่องเดิมไม่ได้
เขียนแยกค�ำเช่นนี้ (กรมศิลปากร, ๒๕๒๙ : ๓๑๓) ดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๐๘ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

โคลงที่นักวิชาการเขียน โคลงในเรื่องเดิม
พระ เบญโญภาศเพี้ยง ทินกร พระเบญโญภาศเพี้ยง ทินกร
พระ ส�ำนยงปานสวร สี่หน้า พระส�ำนยงปานสวร สี่หน้า
พระ โฉมเฉกศรีสมร ภิมภาคย ไส้แฮ พระโฉมเฉกศรีสมร ภิมภาคย ไส้แฮ
พระ แจ่มพระเจ้าจ้า แจ่มอินทร พระแจ่มพระเจ้าจ้า แจ่มอินทร
บุญเตือน ศรีวรพจน์ (๒๕๔๑ : ๔๖) ยกโคลงบทหนึ่งจากโลกนิติค�ำโคลง แล้วเขียนค�ำ
ต้นบาทแยกจากค�ำอื่น ๆ ในเนื้อโคลง ทั้ง ๆ ที่ในเรื่องเดิม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา-
เดชาดิศร ทรงเขียนค�ำต้นบาทติดกับค�ำอื่นในบาท ไม่ได้ทรงแยกค�ำ (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๕๖)
ดังนี้
โคลงที่นักวิชาการเขียน โคลงในเรื่องเดิม
ห้าม เพลิงไว้อย่าให้ มีควัน ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้าม สุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้ ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้าม อายุให้หัน คืนเล่า ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้าม ดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา
มีข้อสังเกตว่านักวิชาการข้างต้นไม่ได้น�ำ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” มาอธิบายเปรียบ
เทียบกับ “โคลงกระทู้ยืน” หรือ “โคลงกระทู้ต้นเสมอ” แต่อย่างใดเลย
อย่างไรก็ดี โกชัย สาริกบุตร ได้น�ำ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” มาเทียบกับ “โคลง
กระทู้ยืน ๑ ค�ำ” ดังที่ผู้นิพนธ์ได้กล่าวไปแล้ว ซึ่งน่าจะส่งผลให้กวีบางคน นักวิชาการหลายคนและ
นิสิตนักศึกษาเข้าใจผิด และน�ำ “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” มาจัดเป็น “โคลงกระทู้” และเขียน
ในรูปแบบของ “โคลงกระทู้ ๑”
อนึง่ เมือ่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (๒๕๔๕) แต่งเรือ่ งชักม้าชมเมือง อธิบายไว้ทา้ ยเล่มว่าแต่ง
“โคลงกระทู้” ไว้ในเรื่อง ๒ แห่ง แห่งแรกแต่งในหัวข้อ “ดีดสีตีเป่า” ปรากฏในโคลงบทที่ ๒๑-๒๔
(นวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ๒๕๔๕ : ๒๓๔) ใช้ค�ำต้นบาททุกบาทเป็นค�ำชุดเดียวกันในโคลงแต่ละบทรวม
๔ บท โคลงบทแรกใช้ค�ำต้นบาทว่า “ดีด” บทที่ ๒ ใช้ค�ำต้นบาทว่า “สี” บทที่ ๓ ใช้ค�ำต้นบาทว่า
“ตี” และโคลงบทที่ ๔ ใช้ค�ำต้นบาทว่า “เป่า” (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ๒๕๔๕ : ๕๕-๕๖) โดยเขียน
ค�ำต้นบาททุกบาทแยกห่างจากค�ำอื่น ๆ ในบาทเดียวกันในรูปแบบของ “โคลงกระทู้ ๑” ทั้ง ๆ ที่ค�ำ
เหล่านี้ไม่ใช่ค�ำกระทู้แต่อย่างใด ดังโคลงบทแรก
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๐๙

ดีดสีตีเป่า
ดีด สายจะเข้ครั่น คะนึงหา
ดีด กระจับปี่ผวา ประหวัดโพ้น
ดีด จองหน่องวัจนา แนวถนัด
ดีด อดีตอนาถโน้น ขณะนี้เนืองขยาย
ลักษณะเช่นนี้จึงไม่ใช่ “โคลงกระทู้” แต่เป็นโคลงกลบทบุษบงแย้มผกา แต่ที่เรียกเป็น
โคลงกระทู้ น่าจะรับอิทธิพลมาจากค�ำอธิบายในต�ำราต่าง ๆ ข้างต้นที่เขียนด้วยความเข้าใจผิดนั่นเอง
ส่วนโคลงกระทู้แห่งที่สอง กวีเรียกว่า “โคลงกระทู้ บ้าน นอก คอก นา” (เนาวรัตน์ พงษ์-
ไพบูลย์, ๒๕๔๕ : ๗๑) เป็นการจ�ำแนกและเขียนรูปแบบโคลงกระทู้อย่างถูกต้องตามแบบโบราณ คือ
“โคลงกระทู้ ๑” จ�ำนวนทั้งสิ้น ๑ บท มีเนื้อความของโคลงทั้งบทอธิบายความหมายของค�ำกระทู้
แสดงให้เห็นว่ากวีมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการแต่ง “โคลงกระทู้” โคลงกระทู้ดังกล่าว ได้แก่
บ้าน เพื่อนบ้านพี่น้อง คณานับ
นอก เขตนาครลับ ลิบโน้น
คอก วัวคอกควายสับ แซมฟาก
นา ล่มนาแล้งโล้น ลิ่วคว้างกลางนา
นอกจากนี้ ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ ซึ่งเป็นผู้แต่งนวนิยายเรื่อง กาหลมหรทึก ใช้
โคลงกลอักษรและโคลงกลบทในการสืบหาตัวฆาตกรในเรื่องอย่างแยบยล แต่เข้าใจผิดว่าโคลงบทที่
ขึ้นต้นว่า “น�้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม” โดยใช้ค�ำขึ้นต้นทั้ง ๔ บาทว่า “น�้ำ ทราย ตา ลิง” เป็นโคลง
กระทู้ โดยเขียนค�ำต้นบาทแยกจากค�ำอื่น ๆ ในบาทเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะของการเขียนค�ำกระทู้
(๒๕๕๗ : ๑๘๕) ทั้ง ๆ ที่ในโคลงโลกนิติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรไม่ได้เขียน
แยกค�ำเช่นนั้นเพราะไม่ใช่โคลงกระทู้ (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๖๔) ดังนี้
โคลงในกาหลมหรทึก โคลงในเรื่องเดิม
น�้ำ เคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม น�้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทราย เหลือบเห็น ยูงงาม ว่าหญ้า
๓๑
ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า
ตา ทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ
ลิง ว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดด๓๒ ตาม ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดยตาม
๓๑
เขียนค�ำผิดจากต้นฉบับ ที่ถูกไม่ใช่ค�ำ “เห็น” แต่เป็น “หาง”
๓๒
เขียนค�ำผิดจากต้นฉบับ ทีถ่ ูกไม่ใช่ค�ำ “โดด” แต่เป็น “โดย”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๑๐ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

๒.๒ เขียนค�ำต้นบาทแต่ละบาทใน “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” แยกออกจากค�ำอื่น ๆ


ในเนื้อโคลงบาทเดียวกัน เช่น สุภาพร มากแจ้ง (๒๕๓๕ : ๒๖๔) เขียนค�ำต้นบาทของ “โคลงกลบท
บัวบานกลีบ” ในโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ของพระยาตรัง
ให้เป็น “โคลงกระทู้ ๒” ทั้งที่แต่เดิม พระยาตรัง (๒๕๔๗ : ๒๗๐)ไม่ได้เขียนแยกค�ำ ดังนี้
โคลงที่นักวิชาการเขียน โคลงในเรื่องเดิม
พระยศ เยียวพุ่งพ้น สุรแสง พระยศเยียวพุ่งพ้น สุรแสง
พระยศ จรจรูญ รุ่งหล้า พระยศจรจรูญ รุ่งหล้า
พระยศ เสด็จมาแสดง ดลทั่ว พระยศเสด็จมาแสดง ดลทั่ว
พระยศ ขจรฟ้า เฟื่องฟู พระยศขจรฟ้า เฟื่องฟู
ผู้นิพนธ์คิดว่านักเขียนและนักวิชาการไม่ควรเขียนรูปโคลงให้ผิดไปจากต้นฉบับเดิมเพราะ
ท�ำให้ผู้อ่านเข้าใจชนิดของโคลงผิดไปจากข้อเท็จจริง

การแต่ง “โคลงกลบท” ร่วมกับ “โคลงกระทู้”


แม้ “โคลงกลบท” และ”โคลงกระทู้” มีความแตกต่างกันดังที่ได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว แต่
ก็พบว่ามีกวีบางคนน�ำ “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” มาแต่งร่วมกันได้อย่างน่ายกย่อง ปรากฏ
ใน ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. แต่งโคลงกลบทและโคลงกระทูแ้ ทรกในเรือ่ งเดียวกันทีแ่ ต่งเป็นโคลงสีส่ ภุ าพ ดังตัวอย่าง
๑.๑ ในโคลงโลกนิติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงพระนิพนธ์
เป็นโคลงสี่สุภาพโดยทรงแทรก “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” ไว้บ้าง
ตัวอย่างที่เป็น “โคลงกลบทบัวบานกลีบ” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
เดชาดิศรทรงใช้ค�ำต้นบาททุกบาทเป็นค�ำชุดเดียวกัน ๒ ค�ำว่า “หายาก” (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ :
๗๓) ส่วนตัวอย่างที่เป็น “โคลงกระทู้” ทรงใช้ค�ำกระทู้ซึ่งเป็นค�ำต่างชุดที่ต้นบาทแต่ละบาท บาทละ
๒ ค�ำว่า “เพื่อนกิน หาง่าย เพื่อนตาย หายาก” (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ : ๑๔๗) ดังนี้
โคลงกลบทบัวบานกลีบ โคลงกระทู้ ๒
หายากเชิงรอบรู้ การกิจ เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี
หายากเชิงชาญชิด ชอบใช้ หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
หายากเช่นเชิงมิตร คุงชีพ เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี วาอาตม์
หายากเชิงช่างให้ ชอบน�้ำใจจริง หายาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหา
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๑๑

๑.๒ ในชักม้าชมเมือง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ และแทรกทั้งโคลง


กลบทและโคลงกระทู้ไว้ด้วย
ตัวอย่าง “โคลงกลบทสารถีขับรถ” ใช้ค�ำต้นบาท ๒ ค�ำ คือ “กลองถี่” แล้วสลับที่
ค�ำเป็น “ถี่กลอง” ไว้ท้ายบาทของบาทเดียวกันในบาทแรกของบทโคลง (กรมศิลปากร, ๒๕๖๑ :
๑๗๖) ดังนี้ ส่วนตัวอย่าง “โคลงกระทู้ ๑” กวีใช้ค�ำกระทู้ “บ้าน นอก คอก นา” ดังจะยกมาให้
เห็นคู่กัน ดังนี้
โคลงกลบทสารถีขับรถ โคลงกระทู้ ๑
กลองถีร่ ะทึกกระทั้น ถี่กลอง บ้าน เพื่อนบ้านพี่น้อง คณานับ
ด้นเดาะสองไม่ปอง เดาะด้น นอก เขตนาครลับ ลิบโน้น
ทั่งติ่งทั่งติ่งตรอง ติ่งทั่ง คอก วัวคอกควายสับ แซมฟาก
ตริงตรีดกรีดนิ้วด้น คะครึกเต้นตรีดตริง นา ล่มนาแล้งโล้น ลิ่วคว้างกลางนา
การแต่ง “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” แทรกในโคลงส่วนใหญ่ที่แต่งเป็นโคลง
สี่สุภาพนี้เป็นการแต่งอวดฝีมือของกวีว่านอกจากแต่งโคลงสี่สุภาพได้เป็นอย่างดีตามข้อบังคับ
ฉันทลักษณ์แล้ว ยังแต่งให้เป็นโคลงแบบพิเศษทีเ่ รียกว่า “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู”้ ได้ดอี กี ด้วย

๒. แต่ง “โคลงกลบท” แล้วน�ำค�ำในโคลงกลบทมาเป็น “ค�ำกระทู้” ในการแต่ง “โคลง


กระทู้” ดังที่พระช�ำนิโวหาร (๒๕๔๖) แต่งโคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธ-
ยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ขึ้นต้นเรื่องด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑๓ บท ๓ บทแรกเป็นบทนมัสการและบอกนาม
ผู้แต่ง โดยใช้ค�ำกระทู้ต้นบาทแต่ละบาทว่า “ช�ำ นิ โว หาร” เพื่อบอกนามผู้แต่ง
โคลงบทที่ ๔–๑๑ แต่งเป็น “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา”
บทที่ ๔ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ศรี”
บทที่ ๕ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “สิทธิ”
บทที่ ๖ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ฤทธิ”
บทที่ ๗ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ไชย”
บทที่ ๘ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ไกร”
บทที่ ๙ ใช้ค�ำขึ้นต้นแต่ละบาททุกบาทว่า “กรุง”
บทที่ ๑๐ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ฟุ้ง”
บทที่ ๑๑ ใช้ค�ำขึ้นต้นทุกบาทว่า “ฟ้า”
โคลงบทที่ ๑๒–๑๓ แต่งเป็น “โคลงกระทู้ ๑ ค�ำ” สรุปค�ำใน “โคลงกลบท” ที่แต่งก่อน
หน้า
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๑๒ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

บทที่ ๑๒ สรุปค�ำต้นบาทในโคลงบุษบงแย้มผกาในบทที่ ๔-๗ ทีใ่ ช้คำ� ขึน้ ต้นแต่ละบาท


ในบทเดียวกันว่า “ศรี” “สิทธิ” “ฤทธิ” “ไชย” มาสรุปเป็นค�ำกระทู้ในโคลงกระทู้บทเดียวกันว่า
“ศรี สิทธิ ฤทธิ ไชย”
บทที่ ๑๓ สรุปค�ำต้นบาทในโคลงบุษบงแย้มผกาในบทที่ ๘-๑๑ ที่ใช้ค�ำขึ้นต้นแต่ละ
บาททุกบาทในโคลงบทเดียวกันว่า “ไกร” “กรุง” “ฟุ้ง” “ฟ้า” มาสรุปเป็นค�ำกระทู้ในโคลงกระทู้
บทเดียวกันว่า “ไกร กรุง ฟุ้ง ฟ้า” ดังตัวอย่าง
ศรี๓๓ มาเมืองมิ่งแก้ว เกษมศรี
ศรี สวัสดิ์สว่างใจตรี โลกย์ล�้ำ
ศรี สุทธิพระศรีฉวี งามเปล่ง ปลั่งนา
ศรี โภคเพ็ญพ่างน�้ำ สมุทรห้วงหากเสมอ
สิทธิ สมพรหเมศเรื้อง รังสฤษฎ์ พระนา
สิทธิ เกียรติกฤษณฤทธิ์ รุ่งเร้า
สิทธิ ธรรมทศพิธกิจ ประกอบ เนืองนา
สิทธิ จักหักหั่นเกล้า หมู่ร้ายเสียบเศียร
ฤทธิ รงค์คงคู่ท้าว ทินกร
ฤทธิ ภาพปราบบูรบร บั่นม้วย
ฤทธิ ไกรเปรียบไกรสร สุรภาพ
ฤทธิ รุทธ์อุตดมด้วย เดชไท้ธ�ำรง
ไชย ยานุภาพล�้ำ ฦๅไชย
ไชย ลาภลุหฤทัย ปิ่นเกล้า
ไชย ไชยเศิกกษัย เกษมราษ ฎรนา
ไชย ช�ำนะผ่านเผ้า ทั่วเที้ยรถวายไชย
...
ศรี ศรีสัมฤทธิได้ กรุงศรี
สิทธิ เดชนฤบดีดี กว่ากี้
ฤทธิ หาญหักไพรี เร็วรวด
ไชย ช�ำนะนอกนี้ นับร้อยเรืองไชย

ฉบับที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๔๖ พิมพ์ค�ำต้นบาทของโคลงกลบทแยกห่างจากค�ำอื่น ๆ ของเนื้อ


๓๓

โคลงในบาทเดียวกัน อาจเพราะต้องการเน้นค�ำหรือไม่เข้าใจวิธีวางค�ำต้นบาทก็เป็นได้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๑๓

ลักษณะการแต่งเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากวีต้องการเน้นค�ำต้นบาททั้งใน “โคลงกลบท”
และใน “โคลงกระทู้” เพื่อขับเน้นความหมายของค�ำที่ใช้นั่นเอง

๓. แต่งเป็น “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” ในโคลงบทเดียวกัน มีกวีบางคนอวด


ฝีมือการแต่งโคลงบทเดียวกันที่เป็นได้ทั้ง “โคลงกลบท” และ”โคลงกระทู้” พบในงานของกวีโบราณ
เช่น
๓.๑ ในจินดามณี (๒๕๑๔ : ๔๗) เป็น “โคลงกลบทสกัดแคร่แบบทวาตรึงประดับ” ที่
ใช้ค�ำต้นบาทและท้ายบาทเป็นค�ำเดียวกัน และขณะเดียวกันเป็น “โคลงกระทู้ ๑ ค�ำ” ที่ใช้ค�ำกระทู้ว่า
“เนตร น้อง ส่อง มา” ดังนี้
เนตร คมสมลักษณเนื้อ นิล เนตร*
น้อง จรวรวานเชฐ เหนี่ยว น้อง
ส่อง ศรห่อนถูกเภท เรียม ส่อง
มา สบจบจวบห้อง ต่อเท้าวันมา
๓.๒ ในโคลงของ ชิต บุรทัต ชิต บุรทัตแต่ง “โคลงกลบทอักษรล้วน” และ “โคลง
กระทู้ ๑” รวมไว้ในโคลงบทเดียวกัน (อาจิณ จันทรัมพร และช่วย พูลเพิ่ม, ๒๕๓๕ : ๑๘๕) โดยตั้งค�ำ
กระทู้ว่า “นึก สม อม ยิ้ม” มีความหมายว่ากวีจินตนาการว่าสมรักและได้สัมผัสนางผู้เป็นที่รักแล้ว
เกิดความสุขถึงกับอมยิ้มอย่างสมใจ ดังนี้
นึก น้องนุชนาฏเนื้อ นางนวล
สม สู่สมสุขสรวล สร่างเศร้า
อม องค์อบอายอวล โอบแอบ อกเอย
ยิ้ม เยาะยียวนเย้า ยั่วแย้มยามยล
จากทีก่ ล่าวมาเห็นชัดเจนว่าแม้ “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู”้ เป็นโคลงต่างชนิดกัน
และมีกลวิธีการแต่งต่างกัน แต่ก็สามารถน�ำมาแต่งร่วมกันในวรรณคดีเรื่องเดียวกันหรือในโคลงบท
เดียวกันได้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ข้อควรค�ำนึงในการแต่ง “โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้”


ผู้เขียนแบ่งหัวข้อนี้ออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้
๑. ข้อควรค�ำนึงในการแต่งโคลงกลบท มีดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๑๔ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

๑.๑ แต่งให้ถกู ต้องตามข้อบังคับการแต่ง ผูแ้ ต่งต้องท�ำตามข้อบังคับการแต่งโคลงกลบท


แต่ละชนิดอย่างเคร่งครัด ไม่ควรแต่งออกนอกกฎเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่ออวดฝีมือการแต่งนั่นเอง
๑.๒ แต่งให้ได้เนื้อความที่ดีมีสาระ การแต่งกลบทเป็นการแต่งเพื่ออวดฝีมือทั้งด้าน
ฉันทลักษณ์และเนื้อความ ซึ่งมีความส�ำคัญทั้ง ๒ เรื่อง ไม่ควรย่อหย่อนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงจะนับ
ว่ามีฝีมือการแต่งอย่างแท้จริง
๑.๓ เขียนค�ำที่ใช้แต่งโคลงกลบทตรงต้นบาทอย่างถูกต้อง คือ เขียนต่อเนื่องกับค�ำอื่น
ของเนื้อโคลงในบาทเดียวกัน ไม่เขียนเว้นวรรคหรือเขียนห่างจากค�ำอื่น
๒. ข้อควรค�ำนึงในการแต่งโคลงกระทู้ มีดังนี้
๒.๑ ตั้งค�ำกระทู้ได้ถูกต้องและเหมาะสม มีนักวิชาการบางคนกล่าวว่า “ค�ำกระทู้” ใน
การแต่ง“โคลงกระทู้” อาจเป็นค�ำหรือกลุ่มค�ำชุดเดียวกันหรือค�ำต่างชุดก็ได้ ดังที่กล่าวว่า “กระทู้นั้น
จะเป็นค�ำค�ำเดียวกัน เช่น ขอ ขอ ขอ ขอ ดังนี้ก็ได้ หรือจะเป็นค�ำ ๔ ค�ำซึ่งมีความหมายต่าง ๆ
เช่น อย่า ไว้ ใจ ทาง...” (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙ : ๔๐๔) ค�ำอธิบายเช่นนี้ท�ำให้เกิดความ
เข้าใจผิดหรือสับสนในการแต่งโคลงกระทู้
ค�ำกระทู้ “ขอ ขอ ขอ ขอ” ที่พระยาอุปกิตศิลปสารกล่าวไว้ข้างต้นน่าจะได้แก่ ค�ำ
ใน “โคลงกลบทบุษบงแย้มผกา” ในเรื่องลิลิตพระลอ ตอนพระนางบุญเหลือพระราชทานพรแก่
พระลอก่อนพระลอจะเสด็จออกจากเมืองสรวงไปหาพระเพื่อนพระแพงที่เมืองสรอง (กรมศิลปากร,
๒๕๒๙ : ๓๘๔) ดังนี้
ขอลุสมสบสร้อย สองนาง
ขออย่าลุเล่ห์ทาง เสน่ห์รั้ง
ขอคิดอย่าใจจาง ค�ำแม่ สอนนา
ขอพ่อเร็วคืนกั้ง ขอบแคว้นไกรกรุง
ตามความเห็นของผูเ้ ขียน ค�ำกระทูต้ อ้ งเป็นค�ำต่างชุดในแต่ละบาท ไม่เป็นค�ำชุดเดียวกัน
หากเป็นค�ำชุดเดียวกัน จะเรียกว่า “ค�ำกระทู้” ได้อย่างไร ทั้งค�ำกระทู้ส่วนใหญ่ต้องมีความหมาย
ในตัว จึงจะแต่งค�ำอืน่ ในโคลงขยายความหมายของค�ำกระทูไ้ ด้ตามหลักเกณฑ์ของการแต่งโคลงกระทู้
ของโบราณ และเมือ่ พิจารณาโคลงกระทูข้ องกวีโบราณก็ไม่ปรากฏลักษณะการใช้คำ� กระทูช้ ดุ เดียวกัน
มาก่อน มีแต่นักวิชาการในชั้นหลังที่น�ำมาอธิบายแล้วน�ำ “โคลงกลบท” นั้นมาเขียนให้เป็น “โคลง
กระทู้” อย่างจงใจ ทั้งที่ควรเป็น “โคลงกลบท”
อนึ่ง แม้มีค�ำกระทู้ซึ่งเป็นค�ำต่างชุดอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีความหมายในตัว แต่ผู้แต่งต้อง
แสดงฝีมือด้วยการสร้างค�ำกระทู้ที่ไม่มีความหมายนั้นให้เป็นค�ำมีความหมายให้ได้ ซึ่งเป็นการแต่งที่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๑๕

ไม่บังคับเนื้อความอย่างค�ำกระทู้ที่มีความหมาย ผู้แต่งมีอิสระเสรีในการแต่งเนื้อความได้อย่างเต็มที่
และผู้แต่งต่างคนสามารถแต่งให้มีเนื้อความต่างกันได้ เป็นการเล่นกับภาษาและฝีมือของผู้แต่ง เช่น
ค�ำกระทู้ “ทะ ลุ่ม ปุ่ม ปู” ซึ่งปรากฏในโคลงกวีโบราณที่พระยาตรังรวบรวมไว้และระบุว่าเป็น
โคลงกระทู้ที่ศรีปราชญ์แต่ง (พระยาตรัง, ๒๕๔๗ : ๓๑๘) และโคลงกระทู้ของอังคาร กัลยาณพงศ์
แต่งในหัวข้อ “มนุษย์ชาติชอบการฆ่าการด่าท�ำลาย” ซึง่ อยูใ่ นรวมกวีนพิ นธ์ชดุ บางกอกแก้วก�ำศรวล
หรือนิราศนครศรีธรรมราช (อังคาร กัลยาณพงศ์, ๒๕๒๑ : ๕๕) ท�ำให้เกิดเนื้อหาที่เป็นความรักของ
ชายที่มีต่อหญิงในโคลงกระทู้บทแรกและเนื้อหาวิจารณ์พฤติกรรมด้านลบของมนุษย์ในโคลงกระทู้
บทหลัง ดังนี้
โคลงของกวีโบราณ โคลงของกวีรัตนโกสินทร์
ทะ เลแม่ว่าห้วย เรียมฟัง ทะ ลวงฟ้าล่าเสี้ยว เดือนทอง
ลุ่ม ว่าดอนเรียมหวัง ว่าด้วย ลุ่ม แห่งกิเลสสยดสยอง หม่นไหม้
ปุ่ม เปือกว่าปะการัง เรียมร่วม ความแม่ ปุ่ม ด้อยถ่อยใจหมอง มนุษย์ชั่ว ชาติแฮ
ปู ว่าหอยแม้กล้วย ว่ากล้ายเรียมตาม ปู แผ่นิวเคลียร์ไว้ ฆ่าหล้าแหลกสลาย
๒.๒ จ�ำนวนค�ำกระทู้ที่ใช้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่าการ
จัดแบ่งค�ำกระทู้มาวางต้นบาทแต่ละบาทควรท�ำอย่างเป็นระบบ ดังนี้ “ประโยคที่จะตั้งเปนกระทู้นั้น
ต้องเลือกให้ได้ประโยคที่มี ๔ ค�ำ (หรือ ๔ พยางค์) หรือ ๘ ค�ำ (หรือ ๘ พยางค์) ที่จะแบ่งออก
เปน ๔ ภาคได้โดยสะดวกและได้ความทุกภาค เช่น “มือ ด้วน ได้ แหวน” หรือ “เพื่อนกิน หาง่าย
เพื่อนตาย หายาก” ดังนี้นับว่าเปนกระทู้อย่างดี (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๑๔ :
๑๑)
อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการชั้นหลังอธิบายว่า จ�ำนวนค�ำกระทู้อาจจัดไม่เท่ากันในแต่ละ
บาทได้เพราะไม่มีข้อห้าม เช่น “ช้าช้า ได้ พร้าสองเล่ม งาม” (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๕๓๙ : ๔๐๕)
“ขี่ ช้าง ไล่ จับตั๊กแตน” (พระยาอุปกิตศิลปสาร, ๒๔๘๔ : ๑๕๘, ๑๖๓, ๑๖๘) และ “ปลาหมอ ตาย
เพราะ ปาก” “นั่งเจียม ดีกว่า นั่ง พรม”
สุภาพร มากแจ้ง (๒๕๓๕ : ๒๖๕) ก็มีความเห็นสอดคล้องกับพระยาอุปกิตศิลปสาร
โดยกล่าวว่าอาจเรียกโคลงที่มีจ�ำนวนค�ำกระทู้ไม่เท่ากันในโคลงบทเดียวกันว่า “โคลงกระทู้ผสม” ได้
ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่าผูฝ้ กึ หัดแต่งโคลงกระทูแ้ ละผูแ้ ต่งโคลงกระทูค้ วรใช้จำ� นวนค�ำกระทู้
ในแต่ละบาทให้เท่ากัน หรือให้มีจ�ำนวนค�ำใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อแสดงความคิดที่เป็นระบบใน
การแต่งโคลงกระทู้ว่าเป็น “โคลงกระทู้” ชนิดใด อย่างที่ก�ำชัย ทองหล่อ (๒๕๓๐ : ๔๔๖-๔๔๗) ได้
น�ำเสนอไว้ ดังนี้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๑๖ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

“บุป ผา นา รี” เป็น “โคลงกระทู้ ๑”


“ลูกรัก ลูกใคร่ ดวงใจ ของพ่อ” เป็น “โคลงกระทู้ ๒”
“อย่าเมาศักดิ์ อย่ามักมาก อย่าถากถาง อย่าหมิ่นคน” เป็น “โคลงกระทู้ ๓”
และ “อย่าท�ำความชั่ว อย่ามั่วคนพาล อย่าหาญต่อศึก อย่าฮึกสู้เสือ” เป็น “โคลง
กระทู้ ๔”
อนึ่ง เมื่อผู้ฝึกหัดแต่งโคลงจะตั้ง “ค�ำกระทู้” อาจจ�ำเป็นต้องตัดค�ำบางค�ำบ้าง เช่น
“ขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน” หากจัดเป็นค�ำกระทู้ ๑ ควรตัดค�ำ “ไล่” เป็น “ขี่ ช้าง จับ
ตั๊กแตน”
“ต�ำข้าวสารกรอกหม้อ” หากจัดเป็นค�ำกระทู้ ๑ ควรตัดค�ำ “สาร” เป็น “ต�ำ ข้าว
กรอก หม้อ”
อนึง่ ส�ำนวนไทยทีว่ า่ “เนือ้ ไม่ได้กนิ หนังไม่ได้รองนัง่ ” เมือ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเดชาดิศร ทรงพระนิพนธ์เป็นโคลงกระทู้ ทรงตัดค�ำ “รอง” ออก เพื่อให้ได้ค�ำกระทู้ ๑
เท่ากันตรงต้นบาทของโคลงกระทู้ ๒ บทที่ทรงพระนิพนธ์ต่อเนื่องกัน คือ “เนื้อ ไม่ ได้ กิน หนัง ไม่
ได้ นั่ง”
“คนโง่ยอ่ มตกเป็นเหยือ่ ของคนฉลาด” หากท�ำให้เป็นค�ำกระทู้ ๒ หน้าบาททุกบาท ต้อง
ตัดค�ำว่า “ของ” จึงจะได้จ�ำนวนค�ำกระทู้เท่ากันเป็น “คนโง่ ย่อมตก เป็นเหยื่อ คนฉลาด”
“ไม่เห็นน�้ำตัดกระบอกไม่เห็นกระรอกขึ้นน่าไม้” หากจัดเป็นค�ำกระทู้ ๓ จะได้ค�ำกระทู้
ว่า “ไม่เห็นน�้ำ ตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอก ขึ้นน่าไม้” ลักษณะเช่นนี้ค�ำกระทู้ต้นบาทสาม คือ “ไม่
เห็นกระรอก” จะมีค�ำมากกว่าค�ำกระทู้ที่ต้นบาทอื่น ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนค�ำ “กระรอก” เป็น
“รอก” ได้แก่ “ไม่เห็นน�้ำ ตัดกระบอก ไม่เห็นรอก ขึ้นน่าไม้”
ในบางกรณีอาจต้องเติมค�ำบางค�ำเข้าไปในกระทู้ท่ีใช้เพื่อให้มีจ�ำนวนค�ำกระทู้สม�่ำเสมอ
ในแต่ละบาท เช่น
“ตักน�้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา” หากจัดเป็นค�ำกระทู้ ๑ รวม ๒ บท ควรเติมค�ำเป็น
“ตัก น�้ำ ใส่ กะโหลก ชะโงก ไป ดู เงา”
“ช้าช้าได้พร้าสองเล่มงาม” หากจัดเป็นค�ำกระทู้ ๒ ควรเติมค�ำเป็น “ช้าช้า ได้พร้า
สองเล่ม งามงาม”
“อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว” เมื่อจัดเป็นกระทู้ ๒ ต้องเติมค�ำ เป็น “อย่าเห็น กงจักร
ว่าเป็น ดอกบัว”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๑๗

อนึ่ง การใช้ค�ำกระทู้ที่มีจ�ำนวนไม่เท่ากันเป็นที่ยอมรับกันได้กรณีที่เป็นชื่อของกวี เป็น


การแต่งแบบอนุโลม เวลาอ่านก็ควรอ่านแบบรวบค�ำ เช่น โคลงกระทู้ท้ายเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ต้อง
อ่านรวบค�ำกระทูต้ น้ บาทแรกของโคลง (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส, ๒๕๓๐ :
๑๑๘) ดังนี้
กรมหมื่นนุชิต เชื้อ กวีวร
ชิโนรส มิ่งมหิศร เสกให้
ศรีสุคต พจนสุนทร เถลิงลักษณ์ นี้นา
ขัตติวงศ์ ผจงโอษฐ์ไว้ สืบหล้าอย่าสูญ
นอกจากนี้ การใช้ค�ำกระทู้ที่มีจ�ำนวนไม่เท่ากันสามารถใช้ได้ในกรณีที่เป็นค�ำเดียวแต่มี
๒ หรือ ๓ พยางค์และพยางค์หน้าเป็นค�ำออกเสียงสั้นซึ่งอ่านรวบเสียงได้ เช่น “ตัก น�้ำ ใส่ ตะกร้า”
“ตี วัว กระทบ คราด” “วัน ดี วงศ์ กระวี” “หนี เสือ ปะ จระเข้” จัดเป็น “โคลงกระทู้ ๑”
หรือในกรณีที่เป็นค�ำกระทู้ ๒ ใช้ได้ว่า “สวรรค์ ในอก นรก ในใจ” ดังปรากฏในโคลงโลกนิติ
บทหนึ่งซึ่งเป็นส�ำนวนเก่า (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๓ : ๕๕๕)
ตามความเห็นของผูเ้ ขียน หากผูแ้ ต่งโคลงคิดค�ำกระทูท้ ไี่ ม่เท่ากันในแต่ละบาทโดยแสดง
ให้เห็นความคิดที่เป็นระบบได้ก็น่าจะใช้ได้เช่นกัน เช่น ค�ำกระทู้ที่ว่า “อย่าฉ้อหลวง ให้ขาด อย่า
ฉ้อราษฎร์ ให้ขุ่น” (สุภาพร มากแจ้ง, ๒๕๓๕ : ๒๖๕) เพราะได้ทั้งระบบและได้ทั้งความหมายที่
จะแต่งเนื้อโคลงขยายความหมายของค�ำกระทู้ได้ต่อไป ลักษณะเช่นนี้อาจเรียกว่า “โคลงกระทู้ผสม
๓-๒” ได้

สรุป
“โคลงกลบท” และ “โคลงกระทู้” นี้เป็นโคลงต่างชนิดกันซึ่งจัดรวมอยู่ในกลุ่ม “โคลง
แบบพิเศษ” ที่มีข้อบังคับการแต่งโคลงมากกว่าข้อบังคับทั่วไป เป็นการแต่งค�ำประพันธ์ที่อวดความ
สามารถของผู้แต่ง ทั้งยังแต่งเพื่อเน้นค�ำบางค�ำหรือกลุ่มค�ำบางค�ำเป็นพิเศษได้เป็นอย่างดีด้วย จึงมี
วรรณศิลป์ทั้งด้านเสียง ค�ำและความหมาย โคลงทั้ง ๒ ชนิดนี้มีหลักเกณฑ์การแต่งที่เห็นชัดเจนว่า
แตกต่างกัน และจ�ำแนกออกจากกันอย่างเป็นระบบยิ่ง กวีโบราณแต่งทั้ง “โคลงกลบท” และ “โคลง
กระทู้” อย่างเป็นระบบและเขียนชัดเจนโดยไม่สับสน เพียงแต่นักวิชาการสมัยหลังวิเคราะห์โคลง
ของกวีโบราณแล้วอธิบายวิธีแต่งโคลงทั้ง ๒ ชนิดอย่างไม่ถูกต้องนัก ทั้งยังเขียนรูปแบบโคลงผิดไป
จากที่กวีโบราณเขียนไว้ และตั้งชื่อใหม่หลายชื่อให้แก่โคลงกระทู้ เช่น โคลงกระทู้ยืน โคลงกระทู้
ต้นเสมอ โคลงกระทู้ผสม ซึ่งทั้ง ๓ ชื่อนี้ไม่มีอยู่ในโคลงกระทู้ของกวีโบราณแต่อย่างใดเลย ลักษณะ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๑๘ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

ดังกล่าวข้างต้นท�ำให้กฎเกณฑ์ซึ่งเดิมเป็นระบบดีอยู่แล้วคลายความเป็นระบบไปจากเดิม และท�ำให้
เกิดความสับสนในหมูค่ นรุน่ ใหม่ หวังว่าบทความเรือ่ งนีจ้ ะช่วยขจัดความสับสนระหว่าง “โคลงกลบท”
กับ “โคลงกระทู้” ได้สมดังเจตนารมณ์ของผู้เขียน

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๓). ประชุมโคลงโลกนิต.ิ กรุงเทพฯ : สถาบันภาษาไทย.
กรมศิลปากร. (๒๕๒๙). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.
_______ . (๒๕๓๐). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.
_______ . (๒๕๓๑). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๓. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์.
_______ . (๒๕๖๑). โคลงโลกนิติจ�ำแลง และ โคลงโลกนิต.ิ กรุงเทพฯ : ส�ำนักวรรณกรรมและ
ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ก�ำชัย ทองหล่อ. (๒๕๓๐). หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.
โกชัย สาริกบุตร. (๒๕๑๘). การวิเคราะห์กลบทในกวีนิพนธ์ไทย. เอกสารนิเทศการศึกษาฉบับที่
๑๖๙ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
โคลงสุภาษิตประจ�ำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (๒๔๗๒). พระนคร : โรงพิมพ์
พิพรรฒธนากร. (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ โปรดให้พิมพ์เป็น
มิตรพลีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๒).
จ�ำนงพลภักดิ์, พระภิกษุ หลวง. โคลงกระทู้คติโลก. แต่งช่วยในงานพระราชทานเพลิง จอมมารดา
เลี่ยม จอมมารดาของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ณ วัดประทุมวนาราม ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๔๖๙.
จินดามณี เล่ม ๑-๒ บันทึกเรื่องจินดามณีและจินดามณี ฉบับสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ. (๒๕๑๔).
พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๖๐). อ่านโองการแช่งน�้ำ ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. พิมพ์ครั้งที่ ๔.
กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จ�ำกัด.
ช�ำนิโวหาร, พระ. (๒๕๔๖). โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์.
กรุงเทพฯ : ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ชิต บุรทัต. (๒๔๕๘). “ชาติปิยานุศร โคลงกระทู้วิชชุมมาลาฉันท์” สมุทสาร. ๒(๑๐), ๗๐-๗๖.
ตรัง, พระยา. (๒๕๔๗). โคลงดั้นสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.
พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ : ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๑๙

นิยะดา เหล่าสุนทร. (๒๕๔๔). โคลงกลบทวัดพระเชตุพน. คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน พิมพ์ประกาศ


พระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ๙ - ๑๐ - ๑๑ ธันวาคม.
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (๒๕๔๕). ชักม้าชมเมือง ชุดประค�ำกรอง. กรุงเทพฯ : บริษัทเกี้ยว-เกล้า จ�ำกัด.
บุญเตือน ศรีวรพจน์ (เรียบเรียง). (๒๕๔๑). การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (๒๕๓๐). ลิลิตตะเลงพ่าย. พิมพ์ครั้งที่ ๒.
กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์. (๒๕๕๗). กาหลมหรทึก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง.
พระเทพโมฬี. (๒๕๕๘). ปฐมมาลา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา-
ธิราช.
ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร. (๒๕๓๘). ชุดดอกไม้บนปลายปืน. เชียงใหม่ : คนเมือง.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๑๔). พระบรมราชาธิบายในการประพันธ์. พิมพ์เป็น
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนค�ำนวณวิจิตร (เชย บุนนาค) ณ สุสานหลวง
วัดเทพศิรินทราวาส ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๔.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
วงษาธิราชสนิท, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง. (๒๕๕๒). ประชุมพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงษาธิราชสนิท. ๒๐๐ ปีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑-๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒.
วีรวัฒน์ อินทรพร. (๒๕๕๘). “โคลงกระทู้: วรรณศิลป์แห่งปัญญา” วารสารภาษาและวรรณคดีไทย.
๓๒(๒), ๘๒-๑๒๒.
สุภาพร มากแจ้ง. (๒๕๓๕). กวีนิพนธ์ไทย ๑. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
อังคาร กัลยาณพงศ์. (๒๕๒๑). บางกอกแก้วก�ำศรวลหรือนิราศนครศรีธรรมราช. มูลนิธเิ สฐียรโกเศศ–
นาคะประทีป จัดพิมพ์ด้วยความร่วมมือของธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด เนื่องในโอกาสงาน
ฉลองครบรอบ ๑๐ ปีของห้องสมุดอนุมานราชธน ณ หอสมุดแห่งชาติ ๑๔ ธันวาคม.
อาจิณ จันทรัมพร และช่วย พูลเพิ่ม (บรรณาธิการร่วม). (๒๕๓๕). ๑๐๐ ปีชิต บุรทัต. กรุงเทพฯ :
ส�ำนักพิมพ์ดอกหญ้า.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒๐ “โคลงกลบท” กับ “โคลงกระทู้”

อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. (๒๔๘๔). ชุมนุมนิพนธ์ – “อ.น.ก.”. นิสิตอักษรศาสตร์


ทุกรุน่ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์ขนึ้ เพือ่ ฉลองพระคุณ อ�ำมาตย์เอก พระยาอุปกิต-
ศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (๒๕๓๙). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทส�ำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
จ�ำกัด.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๒๑

ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์
ในเรื่องพระอภัยมณี
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส
ภาคีสมาชิก ส�ำนักศิลปกรรม
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
ตราราหูในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นของวิเศษอเนกประสงค์ของกษัตริย์เมือง
ลังกา เป็นมณีวิเศษทรงคุณค่า มีความส�ำคัญ มีอานุภาพอัศจรรย์ สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์
ได้อย่างหลากหลาย เช่น ขจัดอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อ�ำนวยความสะดวก
สบายและความปลอดภัยให้ชีวิต เป็นเครื่องรางช่วยให้แคล้วคลาด เป็นอาวุธ และเป็นเครื่อง
แสดงสิทธิความเป็นกษัตริย์ แม้ว่าคุณสมบัติ อานุภาพ และคุณค่าความส�ำคัญของตราราหู
ตามที่ปรากฏในเรื่องสันนิษฐานว่าน่าจะได้เค้ามาจากหลายแหล่ง ได้แก่ ความรู้บางประการ
เกี่ยวกับจักรพรรดิรัตนะและอุตรกุรุในไตรภูมิพระร่วง ตราหยกในสามก๊ก และเครื่องรางราหู
ตามความเชื่อแต่โบราณของไทย ทว่าเป็นด้วยจินตนาการความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็น
เจ้าของวัตถุเพียงสิ่งเดียวแต่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายท�ำให้กวีสร้างสรรค์ตราราหูให้มี
ความโดดเด่นในฐานะของวิเศษอเนกประสงค์ดังกล่าว

ค�ำส�ำคัญ : ตราราหู ของวิเศษอเนกประสงค์ พระอภัยมณี


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒๒ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

Abstract: Tra Rahu: The Multipurpose Magical Gem in Phra Aphaimani


Associate Professor Chosita Maneesai
Associate Fellow of the Academy of Arts,
The Royal Society of Thailand
In Phra Aphaimani written by Suntonphu, Tra Rahu is a magic gem
with multiple uses, possessed by the King of Langka. Made of the magical
gem, this valuable, significant, and magically powerful Tra Rahu is versatile:
it can appease the nature, and facilitate daily life. Tra Rahu is also used as
a talisman for averting dangers and hardships, a weapon, and a symbol
of the kingship. Though its quality, power and significance in the story are
here assumed taken from other literary sources: the information about The
Emperor’gems and Uttarakuru in Triphum Phraruang (Tebhumikatha), the
Jade Seal in Samkok (The Three Kingdoms), and the Rahu amulet in the
ancient Thai belief, it is the human wishful imagination of versatility that
inspires the creation of such a marvelous multipurpose item.

Keywords: Tra Rahu, magic gem with multipurpose, Phra Aphaimani

ความน�ำ
ความจ�ำกัดด้านเทคโนโลยีในยุคสมัยอาจท�ำให้มนุษย์ไม่สามารถควบคุมหรือก�ำหนดสภาพ
แวดล้อมบางประการให้เป็นไปตามความต้องการได้ แต่จินตนาการของมนุษย์ไม่เคยถูกจ�ำกัดไม่ว่า
จะเป็นยุคสมัยใด จินตนาการเรื่องการมีของส�ำคัญเพียงสิ่งหนึ่งแต่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้แบบ
อเนกประสงค์สอดคล้องกับบริบททางสังคมและความจ�ำเป็นเกิดขึ้นตามความใฝ่ฝันของมนุษย์
มานานแล้ว ยิ่งของดังกล่าวมีคุณสมบัติและอานุภาพมหัศจรรย์แล้วย่อมนับว่าเป็นของวิเศษโดยแท้
ในวรรณคดีไทยเรือ่ งพระอภัยมณีกล่าวถึงของวิเศษอเนกประสงค์ซงึ่ มีคณุ สมบัตแิ ละอานุภาพมหัศจรรย์
มีคุณประโยชน์หลากหลาย อีกทั้งยังมีคุณค่าความส�ำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือตราราหูของนางละเวง

คุณสมบัติและอานุุภาพของตราราหู
ในเรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่กล่าวถึงคุณสมบัติและอานุภาพของตราราหูไว้ว่า
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๒๓

ประการหนึ่งซึ่งตราพระราหู เป็นของคู่ขัตติยาเทวาถวาย
เป็นตราแก้วแววเวียนวิเชียรพราย แต่เช้าสายสีรุ้งดูรุ่งเรือง
ครั้นแดดแข็งแสงขาวดูพราวพร้อย ครั้นบ่ายคล้อยเคลือบสีมณีเหลือง
ครั้นค�่ำช่วงดวงแดงแสงประเทือง อร่ามเรืองรัศมีเหมือนสีไฟ
แม้นเดินหนฝนตกไม่ถูกต้อง เอาไว้ห้องหับแห่งต�ำแหน่งไหน
ไม่หนาวร้อนอ่อนอุ่นละมุนละไม ถ้าชิงชัยแคล้วคลาดซึ่งศาสตรา
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๓๑๓)

ค�ำประพันธ์นี้กล่าวว่า ตราราหูเป็นตราซึ่งเทพยดาประสาทให้ เป็นของส�ำหรับกษัตริย์ ท�ำ
จากแก้วมณีที่มีคุณสมบัติเปล่งประกายแพรวพราว แปรสีเมื่อต้องแสงในเวลาต่าง ๆ ของวัน ยามเช้า
สายแดดอ่อนแก้วนี้จะส่งประกายสีรุ้ง ยามแดดจ้าขึ้นจะแปรเป็นสีขาว พอยามบ่ายจะกลายเป็น
สีเหลือง ครัน้ ตกค�ำ่ แก้วนีจ้ ะมีสแี ดงและเปล่งรัศมีเรืองรองราวกับไฟ เมือ่ มีตราราหูอยูก่ บั ตัวแม้ฝนตก
ก็ไม่เปียก หากไว้ในสถานที่อยู่ก็ท�ำให้อากาศเย็นสบาย และหากต้องสู้รบก็ช่วยให้แคล้วคลาดจาก
อาวุธ
โดยนัยนีน้ บั ว่าตราราหูเป็นของวิเศษอเนกประสงค์ มีอานุภาพมหัศจรรย์กอ่ ให้เกิดประโยชน์
ตอบโจทย์ความต้องการได้หลากหลาย เช่น เป็นเสมือนดวงไฟให้ความสว่างรุ่งเรืองตลอดเวลา ใน
ยามมืดมิดก็มิพักต้องตามประทีปชวาลาหรือจัดหาไต้คบแต่อย่างใด ยามฝนตกยังป้องกันสายฝน
มิให้ตกต้อง ท�ำให้สามารถอยู่ท่ามกลางสายฝนได้โดยที่ร่างไม่เปียกฝน เมื่ออยู่ในเคหสถานยังปรับ
อุณหภูมิห้องให้พอเหมาะอยู่เสมอ และโดยเหตุท่ีเป็นของส�ำหรับกษัตริย์ผู้ย่อมต้องมีภารกิจในการ
สู้รบ ตราราหูนี้ยังสามารถป้องกันศัสตราวุธอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ในเรื่องพระอภัยมณี คุณสมบัติและอานุภาพของตราราหูตามที่กล่าวข้างต้น
ปรากฏการน�ำไปใช้เพียงบางประการเท่านั้น โดยมีผลต่อเนื้อเรื่องและการด�ำเนินเรื่อง ได้แก่
๑. การเป็นดวงไฟให้แสงสว่าง นางละเวงใช้ประโยชน์ข้อนี้ตอนมองหาที่พักค้างแรมหลัง
จากหลีกหนีพระอภัยมณีไปในความมืด ดังที่ว่า
เอาแก้วตราราหูขึ้นชูช่วง โชติดังดวงดาวสว่างกระจ่างแสง
เที่ยวส่องดูภูผาศิลาแลง เห็นต�ำแหน่งหนึ่งเลี่ยนเตียนสบาย
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๔๐๑)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒๔ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

การเป็นดวงไฟส่องสว่างยามค�่ำคืนกลางป่านับว่าเป็นประโยชน์อย่างส�ำคัญ เพราะป่าเวลา
ค�่ำคืนย่อมมีแต่ความมืดมิด การแสวงหาที่พักที่เหมาะสมในยามนั้นส�ำหรับนางละเวงย่อมจะล�ำบาก
มากหากปราศจากตราราหู
แม้ตราราหูจะเป็นประโยชน์สำ� คัญในการส่องแสงสว่างรุง่ เรืองอยูต่ ลอดเวลาดังกล่าว แต่การ
พกพาตราราหูก็ต้องระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจตกอยู่ในสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น ท�ำให้เกิด
การเปิดเผยตัวโดยไม่เจตนา ดังในตอนพระอภัมณีออกติดตามรุกรบตอบโต้นางละเวงที่ลอบโจมตี
ยามค�่ำคืน พระอภัยมณีได้เห็นตัวนาง “ด้วยดวงตราแก้วสว่างกระจ่างแสง” ท�ำให้ทราบว่าผู้นั้นคือ
นางละเวงแม่ทัพฝ่ายศัตรูโดยไม่ต้องมีการแนะน�ำตัวแต่อย่างใด
ความสว่างรุง่ เรืองในความมืดของตราราหูทำ� ให้นางละเวงเข้าสูส่ ถานการณ์วกิ ฤต ดังตอนที่
นางหลงทางกลางป่า พบพวกโจรและกะลาสีใจฉกรรจ์จ�ำนวนนับพันที่ก�ำลังพักพลเสพสุราอาหารอยู่
ใกล้หนองน�้ำ นางตรงเข้าไปหาเพื่อถามทางในสภาพสูงส่งสว่างไสว ด้วยความมั่นใจในสถานภาพของ
ตนและของวิเศษคู่กาย ดังนี้
ใส่หมวกเสื้อเครือกระหนกเนาวรัตน์ แจ่มจ�ำรัศรัศมีศรีสยาม
ทั้งตราแก้วแพรวพราวดูวาววาม แลอร่ามรุ่งเรืองทั้งเครื่องม้า
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๔๐๕)
เหตุการณ์ตอนนีท้ ำ� ให้นางละเวงต้องสูร้ บกับพวกโจรจนเจียนจะเสียที หากแต่พวกชาวบ้าน
สิกคารน�ำมาช่วยไว้ทนั และพานางกลับหมูบ่ า้ นอย่างปลอดภัย ความเป็นดวงแก้วส่องสว่างของตราราหู
ในตอนนี้แม้จะน�ำพานางละเวงให้ได้ความเดือดร้อนอยู่บ้าง แต่ก็นับว่ามีบทบาทในการสร้างความ
ประทับใจและการด�ำเนินเรือ่ ง เพราะช่วยให้เห็นความแกล้วกล้าสามารถของนาง ทัง้ เหตุการณ์ตอนนี้
ยังช่วยให้นางได้พบบาทหลวงปีโป นางยุพาผกา และนางสุลาลีวนั ซึง่ จะเป็นตัวละครทีม่ บี ทบาทส�ำคัญ
ในเนื้อเรื่องต่อไป
๒. การช่วยให้แคล้วคลาดจากศัสตราวุธ ดังปรากฏในตอนที่พระอภัยมณีรบกับนางละเวง
พระอภัยมณีตกอยูใ่ นวงล้อมข้าศึกจึงใช้เพลงปีส่ ะกดทัพให้หลับใหล แต่นางละเวงมีตราราหูชว่ ยป้องกัน
จากอ�ำนาจเพลงปี่ จึงไม่ต้องมนต์สะกด
ส�ำเนียงดังวังเวงเพลงสังวาส ดูวินาศนอนซบสลบไสล
ยังแต่นางพลางสลดระทดใจ จะเรียกใครก็ไม่ตื่นไม่ฟื้นกาย
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๓๙๓)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๒๕

ตอนที่นางละเวงพักแรมที่เขตถ�้ำกล�ำพัน ย่องตอดใช้มนต์สะกดหมายลอบเข้าไปท�ำร้าย
อ�ำนาจของตราราหูก็ท�ำให้นางละเวงไม่ตกอยู่ในอ�ำนาจมนต์สะกดของย่องตอดเหมือนคนอื่น ๆ ดัง
ที่ว่า
เทวดาอาเพศให้พบรถ เสกสะกดก้าวย่องค่อยมองหมาย
นางไม่หลับกลับตื่นฟื้นพระกาย เห็นคลับคล้ายคลับคลาเข้ามามอง
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๔๑๗)
อานุภาพของตราราหูในการช่วยให้แคล้วคลาดจากศัสตราวุธ ส่งผลให้นางละเวงไม่ตกอยู่
ในอ�ำนาจมนต์สะกด นางจึงมีโอกาสต่อสู้จนได้ชัยชนะ ไม่เพลี่ยงพล�้ำเสียตั้งแต่แรกที่ยังไม่ได้มีการ
ต่อสู้ โดยเฉพาะการที่นางละเวงไม่ตกอยู่ในอ�ำนาจสะกดของเพลงปี่ ท�ำให้นางได้เผชิญหน้ากับ
พระอภัยมณีตามล�ำพัง ได้รบสู้ ได้ต่อปากต่อค�ำ ได้เกิดความประทับใจซึ่งจะมีผลต่อความสัมพันธ์
ลึกซึ้งของตัวละครทั้งสองในเวลาต่อมา ส่วนการต่อสู้จนสามารถสยบย่องตอดได้นั้น ท�ำให้นางละเวง
ได้ย่องตอดมาเป็นก�ำลัง
น่าสังเกตว่า ในเรื่องพระอภัยมณี นิยามของค�ำ “ศัสตราวุธ” ไม่ใช่สิ่งที่ใช้ประหาร ฟัน
แทง อย่างเช่น กริช หอก ดาบ ศร ธนู หากหมายถึงสิ่งอื่นที่ใช้ต่อสู้ ท�ำลายล้างผู้อื่น เช่น เพลงปี่
ของพระอภัยมณี มนต์สะกดของย่องตอด นิยามดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความคิดของผู้แต่งว่า อาวุธ
ที่ใช้ท�ำร้ายผู้อื่นมีรูปแบบหลากหลาย เวทมนต์ก็เป็นอาวุธอย่างหนึ่ง แม้ค�ำพูดของนางวาลีก็ถูกระบุ
ว่าเป็นอาวุธเหมือนกัน ดังที่ว่า “จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ” (แต่ไม่แน่ใจนักว่าหากอุศเรนมีตราราหู
อยู่ อานุภาพของตราราหูจะช่วยอุศเรนให้แคล้วคลาดจาก “อาวุธ” ของนางวาลีได้หรือไม่ ด้วยว่า
อุศเรนตายเพราะความคั่งแค้นแน่นใจที่ต้องอัปยศจากการถูกฝ่ายข้าศึกจับตัวได้ เสียใจที่ทราบว่า
พระบิดาเพลี่ยงพล�้ำในการรบถึงแก่ชีวิต ซ�้ำยังมาถูกหญิงอัปลักษณ์อย่างนางวาลีพูดจาเย้ยหยัน จึง
กระอักโลหิตเสียชีวิต)
ข้อน่าสังเกตอีกประการคืออานุภาพของตราราหูตามที่กล่าวในตอนต้นระบุเพียงด้าน
แคล้วคลาดป้องกันศัสตราวุธเท่านั้น ต่อมาได้ขยายขอบเขตไปถึงการป้องกันภัยจากภูติผีปีศาจด้วย
ดังที่ว่า
อันดวงตราราหูคู่กษัตริย์ คุ้มจังหวัดแว่นแคว้นแดนสิงหล
ถึงผีสางปะรางควานไม่ทานทน ย่อมแพ้ผลวาสนาบารมี
(สุนทรภู่, ๕๒๙ : ๔๑๗)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒๖ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

เหตุนี้นางละเวงจึงใช้อานุภาพของตราราหูสยบย่องตอดได้ แม้ย่องตอดจะมีสภาพเหมือน
ผีดิบ เป็นอมตะ และมีฤทธิ์เดชมากเพียงใด ก็พ่ายแพ้อานุภาพของตราราหู ตามที่ย่องตอดกล่าวว่า
ข้ากินเนื้อเสือเหลืองเป็นเนืองนิตย์ ใครฆ่าตีชีวิตไม่วอดวาย
เว้นแต่ตราราหูสู้ไม่ได้ ท่านจับไว้วันนี้ไม่หนีหาย
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๔๑๗)
ยิง่ กว่านัน้ คุณสมบัตแิ ละอานุภาพของตราราหูยงั ได้ขยายขอบเขตจากการป้องกันศัสตราวุธ
ไปเป็นตัวอาวุธ ใช้ส�ำหรับการต่อสู้ในระยะประชิด มีสายคล้องจับกระชับมือ ส่งผลให้การป้องกันภัย
และการเป็นอาวุธกลายเป็นคุณสมบัตแิ ละอานุภาพเด่นอีกประการหนึง่ ของตราราหูในเรือ่ งพระอภัยมณี
เนื่องจากตราราหูมีคุณสมบัติพื้นฐานคือไฟให้แสงสว่าง เมื่อใช้เป็นอาวุธจึงมีอานุภาพอย่าง
ไฟ ดังตอนที่กล่าวถึงนางละเวงต่อสู้กับพระอภัยมณีโดยใช้ตราราหูฟาดเป็นไฟกรด ว่า
พระหลบเลี่ยงเพลี่ยงผิดประชิดไล่ นางฟาดไฟกรดพรายกระจายผลาญ
ถูกกายกรร้อนรนพระทนทาน โถมทะยานฉวยพลาดนางฟาดฟัน
พระรับรองป้องปัดสกัดจับ นางกลอกกลับเลี้ยวลัดสะบัดผัน
จนอาวุธหลุดพระกรอ่อนด้วยกัน นางกระสันสายตราคอยราวี
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๓๙๔)
และตอนที่นางละเวงต่อสู้กับย่องตอดก็ใช้ตราราหูเป็นอาวุธเช่นกัน ดังที่ว่า
อ้ายย่องตอดลอดลัดสกัดจับ นางเลี้ยวลับหลีกลัดฉวัดเฉวียน
เอาตราแกว่งแสงสว่างเหมือนอย่างเทียน จนจวนเจียนจึงฟาดปราดประกาย
ถูกตรงหัวขมองอ้ายย่องตอด ปวดตลอดล�ำหูไม่รู้หาย
หกล้มลงนิ่งสลบเหมือนศพตาย มนต์ก็คลายคนฟื้นตื่นตกใจ
ฯลฯ
พอพูดกันมันฟื้นยืนสลัด เชือกที่มัดหลุดโลดโดดถลา
นางตีซ�้ำหน�ำจิตด้วยฤทธิ์ตรา อุปมาเหมือนจะดิ้นสิ้นชีวิต
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๔๑๗-๔๑๘)
คุณสมบัติและอานุภาพของตราราหูนับว่ามีพลวัตน่าสนใจ โดยมีจุดเริ่มมาจากการช่วยให้
ด�ำรงชีวิตอย่างสุขสบายด้วยการที่สามารถเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ช่วยให้มีความปลอดภัยใน
ชีวิต ด้วยอานุภาพด้านแคล้วคลาดและป้องกันศัสตราวุธ ต่อมาได้ขยายขอบเขตเป็นช่วยป้องกันภัย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๒๗

จากภูติผีปีศาจ และในที่สุดขยายขอบเขตไปถึงการเป็นอาวุธทรงอานุภาพเอาชนะศัตรู พลวัตนี้ช่วย


เน้นย�้ำความเป็นของวิเศษอเนกประสงค์ของตราราหูให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

คุณค่าความส�ำคัญของตราราหู
ในเรือ่ งพระอภัยมณี ตราราหูไม่เพียงมีคณ
ุ สมบัตแิ ละอานุภาพอัศจรรย์ดงั กล่าวมาแล้ว หาก
ยังมีคณ
ุ ค่าความส�ำคัญอย่างยิง่ ยวดในเชิงสังคม ตราราหูเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นกษัตริยข์ องเมือง
ลังกา เป็นเครื่องหมายแห่งสิทธิในการครองบัลลังก์ เมื่อนางละเวงและมังคลาขึ้นครองเมืองก็ต้องรับ
ตรานี้เป็นส�ำคัญ
ตอนเสนาอมาตย์เชิญนางละเวงขึ้นครองเมืองลังกา
บัดนี้สิ้นปิ่นกษัตริย์ขัตติยา พระธิดาจงเป็นใหญ่ได้เอ็นดู
จะได้คิดปิดอุมงค์ปลงพระศพ เป็นเคารพรับตราพระราหู
แล้วจึงคิดกิจการผลาญศัตรู ที่เป็นคู่เคืองแค้นแทนบิดร
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๓๑๓)
ตอนนางละเวงรับราชสมบัติ
เชิญละเวงวัณฬาธิดาราช ขึ้นนั่งอาสน์เนาวรัตน์จ�ำรัสไข
ฝ่ายเสนีที่บ�ำรุงเจ้ากรุงไกร ถวายไอศวรรยาทั้งธานี
ทั้งหัศเกนเป็นนายฝ่ายทหาร ถวายรถคชสารชาญชัยศรี
แล้วเวียงวังคลังนาบรรดามี อัญชลีแล้วถวายรายกันไป
นางถือตราราหูคู่พระหัตถ์ เพชรรัตน์รุ้งพร่างสว่างไสว
ทรงกระบี่มีโกร่งโปร่งเปลวไฟ จึงปราศรัยเสนาบรรดามี
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๓๑๔-๓๑๕)
ตอนราชาภิเษกมังคลา
นางวัณฬาพาพระหน่อวรนาถ ขึ้นนั่งอาสน์อดิเรกภิเษกศรี
ให้วลายุดานั้นอัญชลี ขึ้นนั่งที่อุปราชอาสน์โอฬาร์
เจ้าหัสกันนั้นให้นั่งบัลลังก์ซ้าย เจ้าวายุพัฒน์พี่ชายนั่งฝ่ายขวา
นางมอบตราราหูคู่พารา ให้องค์พระมังคลาปรีชาชาญ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๒๘ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

ทั้งพระแสงแต่งตั้งสั่งประกาศ ให้ครองราชนิเวศน์ประเทศสถาน
ฝ่ายเสนาข้าบาทในราชการ ต่างก้มกรานกราบช่วยอ�ำนวยชัย
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๗๙๓)
ตราราหูมีความส�ำคัญอย่างยิ่งในตัวเอง ผู้ถือตราแม้จะมิใช่กษัตริย์ผู้ครองเมือง แต่หากถือ
ตรานั้นแล้วจะทรงสิทธิ์แห่งกษัตริย์ทุกประการทั้งสิทธิ์ในการว่าราชการและอาญาสิทธิ์ ดังที่กล่าวไว้
เมือ่ นางละเวงมอบตราราหูให้พระอภัยมณีเป็นผูถ้ อื คราวต้อนรับทูตจากกองทัพของศรีสวุ รรณทีม่ าล้อม
ลังกา ว่า
ถวายตราราหูเป็นคู่องค์ ส�ำหรับทรงว่าขานการพารา
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๕๐๓)
ทั้งถือตราราหูคู่พระหัตถ์ ใครแข็งขัดเข่นฆ่าให้อาสัญ
(สุนทรภู่, ๒๕๒๙ : ๕๐๑)
คุณค่าความส�ำคัญของตราราหูดังกล่าวนี้นับว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เน้นย�้ำความเป็นของวิเศษ
อเนกประสงค์ของตราราหูให้ประจักษ์

ร่องรอยความคิดและจินตนาการที่ใช้สร้างสรรค์ตราราหู
ความคิดและจินตนาการที่ใช้สร้างสรรค์คุณสมบัติอานุภาพตลอดจนคุณค่าความส�ำคัญ
ของตราราหูนั้นหากจะพิจารณาสืบเค้าร่องรอยก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่ง เพราะการศึกษา
เชือ่ มโยงถึงข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องย่อมส่งผลให้เกิดความรู้ ความคิด และความตระหนักเห็นคุณค่าวรรณคดี
เรื่องนี้ในมุมมองใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น
จากการสืบเค้าร่องรอยความคิดและจินตนาการที่ใช้สร้างสรรค์ตราราหูพบว่าน่าจะมาจาก
หลายแหล่ง ได้แก่
๑. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ มาสโลว์ (๑๙๔๓) (Mcload, 2018) กล่าวว่า มนุษย์
มีความต้องการขั้นพื้นฐานและเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีล�ำดับขั้นความต้องการ
พืน้ ฐานของเขา (Maslow’s Hierachy of Needs Theory) กล่าวถึงความต้องการพืน้ ฐานของมนุษย์
ว่ามีล�ำดับดังนี้ คือความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) ความต้องการความมั่นคง
และปลอดภัย (safety needs) ความต้องการความรักและความผูกพัน (love and belonging
needs) ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) ความต้องการรู้จักตนเองอย่างแท้จริงและ
พัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ (need for self-actualization)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๒๙

ในกรณีนี้น่าพิจารณาว่าจินตนาการด้านคุณสมบัติ อานุภาพ และคุณค่าความส�ำคัญของ


ตราราหูได้รับแรงผลักดันจากความต้องการขั้นพื้นฐานในใจมนุษย์แง่ความต้องการทางร่างกาย ความ
ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และความต้องการได้รับความยกย่องนับถือ
ความต้องการทางร่างกายในการด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยความสบาย ไม่ต้องเดือดร้อนกับอุปสรรค
ทางธรรมชาติที่มีผลต่อการด�ำรงชีวิต สิ่งนี้ผลักดันให้เกิดจินตนาการถึงคุณสมบัติและอานุภาพของ
ตราราหูในการสามารถขจัดผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเป็นเรื่องเหนือวิสัย เช่น
ความมืด ภูมิอากาศตามฤดูกาล หรือฝนที่ท�ำให้เปียก
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตผลักดันให้เกิดจินตนาการถึงคุณสมบัติและ
อานุภาพในการป้องกันศัสตราวุธหากต้องมีการสู้รบ ป้องกันภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนใช้เป็นอาวุธ
อันทรงฤทธิ์
ความต้องการได้รบั ความยกย่องนับถือผลักดันให้เกิดจินตนาการด้านคุณค่าความส�ำคัญของ
ตราราหูในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ที่ผู้คนทั้งหลายเคารพนับถือและยอมรับอ�ำนาจ
ทัง้ นีค้ ณ
ุ สมบัตแิ ละอานุภาพทัง้ หลายของตราราหูกเ็ ป็นปัจจัยช่วยเสริมความต้องการในข้อนีด้ ว้ ย เพราะ
แสดงให้เห็นถึงบุญญาธิการของผู้ครอบครอง ได้รับการยอมรับว่าเหนือผู้อื่น
ทฤษฎีล�ำดับขั้นความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์นั้นกล่าวถึงความต้องการขั้นพื้นฐานของ
มนุษย์ที่ต้องได้รับการตอบสนองเป็นขั้น ๆ ไปตามล�ำดับ หมายความว่า เมื่อความต้องการขั้นแรกได้
รับการตอบสนองแล้วมนุษย์จึงจะเริ่มความต้องการที่อยู่ในล�ำดับขั้นต่อไป ทฤษฎีของเขาได้รับการ
ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาจิตวิทยา แต่ความคิดของผู้วิจารณ์ทฤษฎีก็ได้รับการยอมรับ
เช่นกันว่า ความต้องการขั้นพื้นฐานอาจไม่เป็นไปตามล�ำดับขั้น บางกรณีพบการสลับขั้น บางกรณี
พบว่าการเกิดขึ้นพร้อมกัน (Mcload, 2018)
จินตนาการเกี่ยวกับคุณสมบัติ อานุภาพ และคุณค่าความส�ำคัญของตราราหูนี้น่าจะเป็น
อีกกรณีที่เกิดจากแรงผลักดันของความต้องการขั้นพื้นฐานหลายด้านพร้อมกัน ทั้งความต้องการทาง
ร่างกาย ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และความต้องการได้รับความยกย่องนับถือ ทั้ง
ความต้องการเหล่านี้ยังเป็นตัวการก�ำหนดคัดเลือกจินตนาการรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับตราราหู
ดังได้กล่าวมาแล้ว
๒. ประสบการณ์การรับรูข้ องผูแ้ ต่งเกีย่ วกับจินตนาการและความคิดความเชือ่ อันได้ประมวล
จากแหล่งอื่น ๆ ช่วยเสริมส่งให้เกิดจินตนาการสร้างสรรค์รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ อานุภาพ
และคุณค่าความส�ำคัญของตราราหู ได้แก่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๓๐ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

๒.๑ จินตนาการเกีย่ วกับแก้วมณีวเิ ศษทีม่ อี านุภาพส่องแสงสว่างรุง่ เรือง ไตรภูมพิ ระร่วง


กล่าวถึงผู้เป็นมหาจักรพรรดิราชจะครอบครองรัตนสมบัติ ๗ ประการอันมีมาด้วยบุญแห่งตน ได้แก่
จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ลูกแก้ว และขุนคลังแก้ว สิ่งที่ท�ำให้ปราสาทราชวังของ
พระองค์สว่างไสวอยู่ทุกเมื่อคือจักรแก้ว ดังที่ว่า
อันว่าในปรางค์ปราสาทที่พระญามหาจักรพรรดิราชเจ้าอยู่นั้น ธมิพักตามประทีป
แลชวาลาเลย หากสว่างอยู่ด้วยรัสมีแห่งกงจักรแก้วนั้นส่องไปให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่ง
แม้นว่ากลางคืนก็ดีเหมือนดังกลางวันแล ผู้ใดและมีใจจะใคร่ให้มืดไส้ก็มืดไปโดย
ใจเขาผู้นั้นแลฯ
(ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย, ๒๕๐๔ : ๑๒๖)

ส่วนแก้วมณีชื่อมณีรัตนะนั้นเป็นพระยาแห่งรัตนะทั้งปวง สามารถขจัดความมืดทั้ง ๔
ประการคือ มืดเดือนดับ มืดป่าชัฏ มืดฟ้ามืดฝน และมืดเที่ยงคืน อ�ำนาจแห่งมณีรัตนะท�ำให้ทุกหน
แห่งสว่างดังกลางวัน (ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย, ๒๕๐๔ : ๑๓๔) อานุภาพของตราราหูใน
การให้ความสว่างรุ่งเรือง ขจัดความมืด ไม่ต่างจากแก้วมณีวิเศษที่กล่าวไว้ในเรื่องไตรภูมิพระร่วงแต่
อย่างใด
๒.๒ จินตนาการเกี่ยวกับอานุภาพในการช่วยให้สถานที่อยู่อาศัยมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ
สร้างความสบาย และการช่วยให้ไม่เปียกฝน ใน ไตรภูมิพระร่วง ตอนที่กล่าวถึงชาวอุตรกุรุ ได้พูดถึง
ข้อนี้ว่า “อนึ่งชาวอุตรกุระนั้นเขาบห่อนจะรู้ร้อนรู้หนาวเลย..ทั้งลมแลฝนก็บห่อนจะท�ำร้ายแก่เขา”
(ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย, ๒๕๐๔ : ๘๔) อุตรกุรุเป็นดินแดนที่มีสภาวะเป็นอุดมคติ
ทุกสิ่งในที่แห่งนั้นตอบสนองความปรารถนาที่มนุษย์ใฝ่ฝัน มีสภาวะธรรมชาติเอื้ออ�ำนวยต่อความ
สุขสบายของมนุษย์ในทุกประการ ไม่ร้อน ไม่หนาว ถึงจะมีลมมีฝนก็ไม่ต้องกายหรือสร้างผล
กระทบใด ๆ ต่อมนุษย์แม้แต่น้อย กวีได้เลือกน�ำจินตนาการเรื่องสภาวะธรรมชาติในอุตรกุรุจาก
ไตรภูมิพระร่วงนี้มาใช้สร้างสรรค์ตราราหูให้มีอานุภาพดลบันดาลความอัศจรรย์ดังกล่าว อนึ่ง เรื่อง
การไม่เปียกฝนนี้อาจกล่าวว่ามีเค้าความคิดจากเรือ่ งฝนโบกขรพรรษในเวสสันดรชาดก เป็นฝนทีต่ กลง
มาแล้วคนอธิษฐานไม่ให้เปียกก็ได้เหมือนกัน
๒.๓ จินตนาการเกี่ยวกับอานุภาพด้านความแคล้วคลาด ป้องกันภัย ป้องกันภูตผีปีศาจ
ประกอบกับชื่อของตราราหูเป็นเบาะแสให้เกิดความคิดเชื่อมโยงถึงเครื่องรางราหูซึ่งโบราณเชื่อว่า
มีอานุภาพดังกล่าว
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๓๑

เครือ่ งรางราหูมที มี่ าจากความเชือ่ เรือ่ งพระราหู ซึง่ ในทางโหราศาสตร์พระราหูเป็นหนึง่


ในเทพนพเคราะห์ที่พระอีศวรทรงสร้างขึ้นจากหัวผีโขมด ๑๒ หัว (มีก�ำลัง ๑๒ ตามคัมภีร์มหาทักษา
พยากรณ์๑) มีนิสัยเหมือนผีโขมดซึ่งเป็นปีศาจมีอ�ำนาจ มักเบียดเบียนมนุษย์ และมีลักษณะนิสัย
คล้ายพระเสาร์ซงึ่ เป็นเทพคูม่ ติ ร แต่รา่ เริง และหนักทางความมัวเมาทุกด้าน มัวเมาในลาภยศ ในกาม
ในความโกรธความพยาบาท เป็นนักเลง นักพนัน ถือตนเป็นใหญ่ ก้าวร้าวองอาจกล้าหาญ เป็น
พาลในทุกเรื่อง ตลอดจนล้างผลาญทรัพย์สิน ดวงชะตาใดมีพระราหูกุมในราศีที่เสื่อมย่อมให้โทษ
แก่เจ้าชะตา แม้จะมั่งมีแต่ก�ำเนิดก็จะถอยทรัพย์ ดวงชะตาใดพระราหูอยู่ในต�ำแหน่งดีย่อมส่งผลให้
คุณมหาศาลอย่างที่สุด แต่ถ้าอยู่ในต�ำแหน่งร้ายก็จะส่งผลให้โทษมหันต์ฉุดให้ฉิบหายวายวอดได้อย่าง
ถึงที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้ผลทั้งหลายขึ้นกับความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์อื่น ๆ ด้วย หากพระราหูทับลัคน์
โดยมีดาวศุภเคราะห์จรมาร่วมจึงจะให้คุณ แต่ถ้าพระราหูทับลัคน์มีดาวบาปเคราะห์จรมาร่วมจะให้
โทษร้ายหนัก เจ้าชะตาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (พ.สุวรรณ, ๒๕๕๙ : ๔๖-๔๗) พระราหูส่งผลอย่าง
รวดเร็วและอย่างผิดความคาดหมาย ให้คุณยิ่งใหญ่หรือโทษได้ร้ายแรงกว่าพระเคราะห์อื่น ความเชื่อ
เรื่องพระราหูตามที่กล่าวท�ำให้มีการสร้างเครื่องรางราหูเพื่อป้องกันอันตราย
เครื่องรางราหูสร้างจากกะลาตาเดียวซึ่งถือเป็นมหาอุด๒ (พระเครื่อง, ๒๕๖๑) กะลานี้จะ
แกะเป็นรูปพระราหูอมจันทร์๓ เพราะราหูจะปรากฏในเวลาที่เกิดคราสเท่านั้น
การท�ำเครื่องรางราหู ผู้ท�ำจะต้องแกะกะลาตาเดียวเป็นรูปพระราหูอมจันทร์แล้วปลุกเสก
รอไว้ ยามที่เกิดสุริยคราสและจันทรคราสจะถือเป็นฤกษ์ท�ำพิธีจารอักขระลงยันต์สุริยประภาและ


มหาทักษาพยากรณ์ เป็นต�ำราว่าด้วยเกณฑ์ดาวเคราะห์เสวยอายุและค�ำพยากรณ์ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะน�ำไปช่วยเพิ่ม
ความแม่นย�ำในการท�ำนายโชคชะตา รวมทั้งวิธีบูชาเทวดาและสะเดาะพระเคราะห์ เนื่องจากก�ำลังแห่งเทวดาซึ่ง
เสวยอายุให้คุณหรือโทษต่างกันตามวาระแห่งก�ำลังที่เสวยอายุ ตามก�ำลังแห่งวัน เดือน ปีที่เทวดาเข้าเสวยอายุ
หากให้คณ ุ เจ้าชะตาก็จะมีสขุ รุง่ เรือง ได้ทรัพย์สนิ ไม่มโี รคภัยไข้เจ็บ หากให้โทษเจ้าชะตาก็จะมีแต่ทกุ ข์เดือดร้อน
สูญเสียทรัพย์สนิ โรคภัยเบียดเบียน จึงต้องมีการบูชาพระเคราะห์และสะเดาะพระเคราะห์ (ห้องโหรศรีมหาโพธิ,์
๒๕๒๒ : ๔๐๐-๓๗๔)

ค�ำนี้มีเสียงคล้าย มหาอุจ ซึ่งทางโหราศาสตร์หมายถึง สูงส่งอย่างยิ่ง (อุจ แปลว่า สูง ตรงข้ามกับ นิจ/นีจ
แปลว่า ต�่ำ) อุจ มีเสียงพ้องกับ อุด คือ จุกให้แน่น ไม่รั่ว ดังนั้น ค�ำว่ามหาอุด จึงมีความหมายเชื่อมโยงไปถึง
ความขลัง ความอยู่ยงคงกะพัน และอาจหมายถึง มหาอุจ ซึ่งเป็นต�ำแหน่งที่ดีที่พระราหูจะให้คุณเป็นอย่างมาก

เรื่องพระราหูเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์และพระจันทร์มีนิทานอธิบายหลายแหล่ง มีรายละเอียดต่างกัน แต่มีเค้า
ตรงกันว่าราหูเป็นพญาอสูรผู้มีฤทธิ์ ขณะลอบดื่มน�้ำอมฤต พระอาทิตย์และพระจันทร์เห็นเข้าจึงไปฟ้องเทพ
ผู้ใหญ่ ราหูถูกเทพผู้ใหญ่ลงโทษขว้างด้วยจักรตัดกายขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ราหูเป็นอมตะไปแล้วด้วยน�้ำอมฤต
จึงไม่ตาย นับแต่นั้นราหูจึงพยาบาทพระอาทิตย์และพระจันทร์ เมื่อโคจรสวนกันก็จะจับกินบ้าง เอามือบังบ้าง
ท�ำให้พระอาทิตย์และพระจันทร์มีราศีหมองมัวไป
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๓๒ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

จันทรประภาซึง่ เป็นพญายันต์อนั ประเสริฐยิง่ และเมือ่ ท�ำพิธจี ารอักขระลงยันต์แล้วก็จะปลุกเสกซ�ำ้ อีก


ครั้งหนึ่ง การท�ำเครื่องราหูมีถิ่นก�ำเนิดจากดินแดนฝั่งลาว สืบทอดผ่านทางอีสานเข้ามาในไทยสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น เครื่องรางราหูมีคุณด้านเมตตา แคล้วคลาด ป้องกันภัย ป้องกันคุณไสยและ
ภูตผีปีศาจ (พระเครื่อง, ๒๕๖๑)

ภาพที่ ๑ ส่วนหนึ่งของเครื่องรางราหูรูปแบบต่าง ๆ
ที่มา : http://www.itti-patihan.com

ความเชื่อว่าเครื่องรางราหูมีคุณด้านแคล้วคลาด ป้องกันภัย ป้องกันคุณไสยและภูตผีปีศาจ


ดังกล่าวสอดคล้องกับอานุภาพของตราราหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อของตราน่าจะถือเป็นตัวบ่งชี้ได้ดี
ท�ำให้เข้าใจว่าความเชื่อเรื่องเครื่องรางราหูน่าจะมีอิทธิพลต่อจินตนาการสร้างสรรค์คุณสมบัติของ
ตราราหู แม้เครื่องรางราหูกับตราราหูจะมีสภาวะและรูปลักษณ์จะแตกต่างกัน ก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุผล
ปฏิเสธความเกีย่ วข้องได้ เพราะโดยสภาพตราราหูเป็นดวงแก้วมณีมาแต่ตน้ กวีเพียงน�ำเฉพาะคุณสมบัติ
ของเครื่องรางราหูไปก�ำหนดให้ดวงแก้วมณีนั้น สภาวะและรูปลักษณ์ที่แตกต่างจึงไม่ใช่ปัญหา ชื่อ
ของตราและคุณสมบัติที่สอดคล้องกันอย่างเห็นได้ชัดจึงต่างหากเป็นประเด็นที่มีน�้ำหนักน่าพิจารณา
๒.๔ จินตนาการเกี่ยวกับความส�ำคัญของตราราหูในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์
ในแง่นดี้ ไู ม่แตกต่างจากตราหยกในสามก๊ก ตราหยกดังกล่าวท�ำขึน้ สมัยพระเจ้าจิน๋ ซีออ๋ งเป็นสัญลักษณ์
แห่งราชสมบัติ ใช้สำ� หรับว่าราชการเมือง แต่ตอ่ มาตรานีไ้ ด้หายไป ซุนเกีย๋ นเจ้าเมืองกังตัง๋ หนึง่ ในผูม้ า
ช่วยปราบปรามพวกก่อความไม่สงบทีเ่ มืองหลวง (ลกเอีย๋ ง) เป็นผูพ้ บตราหยกดังกล่าวเนือ่ งจากตราหยก
ได้ส่งแสงสว่างขึ้นจากบ่อแห่งหนึ่ง ตราหยกที่พบมีลักษณะดังนี้
ตราหยกสี่เหลี่ยมจัตุรัสดวงหนึ่งหน้าแปดนิ้ว ยอดนั้นจ�ำหลักติดประจ�ำเป็นมังกรห้าตัว
เกี่ยวกัน แต่เหลี่ยมข้างหนึ่งนั้นลิอยู่ เอาทองค�ำตีเลี่ยมเข้าไว้ ตรานั้นแกะเป็นอักษรว่า
เทวดาประสิทธิ์ให้ ถ้าผู้ใดได้ไว้แล้วครองราชย์สมบัติก็จะจ�ำเริญพระชันษาสืบไป
(เจ้าพระยาพระคลัง (หน), ๒๕๑๖ : ๑๑๐)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๓๓

เทียเภาเล่าให้ซุนเกี๋ยนฟังถึงความเป็นมาของตราหยกนี้ว่า ตราหยกนี้เป็นตราส�ำหรับราช-
สมบัติ ท�ำจากหยกในก้อนศิลาที่หงส์จับอยู่บนเขา ครั้นพระเจ้าจิ๋นซีอ๋องเสวยราชย์ก็โปรดให้น�ำหยก
นั้นมาท�ำเป็นตราส�ำหรับพระมหากษัตริย์ แกะเป็นข้อความด้วยอักษรแปดตัวความว่า “เทวดา
ประสิทธิ์ให้ ถ้าผู้ใดได้ไว้แล้วครองราชย์สมบัติก็จะจ�ำเริญพระชันษาสืบไป” เมื่อพระเจ้าจิ๋นซีอ๋อง
สวรรคต ตรานี้ถูกน�ำมาถวายพระเจ้าฮั่นโกโจ อองมังเป็นขบถ นางตังไทฮอเอาตรานี้ขว้างใส่ทหาร
ของอองมังแต่ถูกผนังตึกท�ำให้เหลี่ยมด้านหนึ่งของตราลิไป จึงมีการน�ำทองค�ำมาเลี่ยมตราเข้าไว้
พระเจ้าฮั่นกองบู๊ได้ตราดวงนี้จึงได้เสวยราชย์ต่อมา ครั้นสิ้นสมัยพระเจ้าเลนเต้เกิดความไม่สงบขึ้น
เพราะการแย่งชิงความเป็นใหญ่ เกิดไฟไหม้พระราชวัง หองจูเปียนและหองจูเหียบราชบุตรถูกพาไป
พ้นอันตราย แต่ครั้นกลับคืนพระราชวังปรากฏว่าตราหยกได้หายไปแล้ว (เจ้าพระยาพระคลัง (หน),
๒๕๑๖ : ๑๑๓-๑๑๔)
เมื่อขุนนางทั้งหลายทราบว่าซุนเกี๋ยนพบตราหยกนี้ จึงหาทางรบพุ่งแย่งชิง เพราะเหตุที่ตรา
หยกมีความส�ำคัญยิ่งดังกล่าว
ตราราหูในเรื่องพระอภัยมณีมีความสอดคล้องกับตราหยกในเรื่องสามก๊กหลายประการทั้ง
ในแง่ความเป็นมา คุณสมบัติ อานุภาพ และคุณค่าความส�ำคัญในเชิงสังคม ตั้งแต่เรื่องเทวดาประสิทธิ์
การท�ำขึ้นจากอัญมณีมีค่า อานุภาพในการส่องแสงสว่าง ความส�ำคัญต่อความเป็นกษัตริย์ ค�ำระบุ
เรียกว่าตราทั้งที่มิได้กล่าวถึงประโยชน์ใช้สอยแง่การเป็นลัญจกร ท�ำให้สันนิษฐานว่าจินตนาการด้าน
ความส�ำคัญของตราราหูในเรื่องพระอภัยมณีน่าจะมาจากเรื่องตราหยกในสามก๊ก
อย่างไรก็ตาม ตราทั้งสองมีความแตกต่างที่ส�ำคัญ คือ ตราหยกในสามก๊กมีคุณสมบัติเป็น
ตราใช้ประทับหรือพระราชลัญจกร๔ ขณะที่ตราราหูเป็นเครื่องรางใช้ป้องกันภัยและใช้เป็นอาวุธ
ตราหยกในสามก๊กมีอานุภาพเพียงส่องสว่าง ขณะทีต่ ราราหูมอี านุภาพอัศจรรย์มากกว่าหลายประการ
ตราหยกมีแต่คุณค่าความส�ำคัญ ขณะที่ตราราหูมีทั้งคุณค่าความส�ำคัญและคุณค่ามหัศจรรย์ที่เอื้อต่อ
การใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
อาจกล่าวได้ว่าความคิดและจินตนาการที่กวีน�ำมาใช้สร้างสรรค์ตราราหูนั้นมีความต้องการ
ขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นตัวการผลักดันและก�ำหนดรายละเอียด ทั้งด้านความต้องการทางร่างกาย
ดังที่ตราราหูสามารถป้องกันความหนาวร้อน ความเปียกชื้น และความมืด ด้านความต้องการความ
มั่นคงและปลอดภัย ดังที่ตราราหูสามารถใช้เป็นอาวุธ เป็นเครื่องป้องกันอาวุธและคุณไสย ด้าน
ความต้องการการยกย่อง ดังที่ตราราหูเป็นเครื่องหมายของกษัตริย์และอ�ำนาจการปกครอง แม้ว่า

ราชวงศ์จีนเริ่มใช้ตรามาตั้งแต่ประมาณ ๑,๗๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๓๔ ตราราหู : ของวิเศษอเนกประสงค์ในเรื่องพระอภัยมณี

จินตนาการรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ อานุภาพ และความส�ำคัญส่วนใหญ่จะสืบเค้าได้ว่าปรากฏ


ในแหล่งอื่น ๆ มาก่อน เช่น คุณสมบัติและอานุภาพของแก้วจักรพรรดิ คุณสมบัติความเป็นอาวุธ
การป้องกันภัยทั้งอาวุธและคุณไสยของเครื่องรางราหู คุณสมบัติความทรงสิทธิ์อ�ำนาจของกษัตริย์
แห่งตราหยกของฮ่องเต้ แต่ของวิเศษสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กล่าวมาก็มิได้มีคุณสมบัติและอานุภาพครบ
ถ้วนในตัวอย่างตราราหู ทั้งนี้กวีได้ประมวลจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ที่มีคุณสมบัติล�้ำเลิศใน
รายละเอียดเหล่านี้มาประชุมไว้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของตราราหูแต่สิ่งเดียว จึงเกิดเป็นจินตนาการ
เกี่ยวกับของวิเศษที่มีคุณประโยชน์หลากหลายยิ่งกว่าของวิเศษใด ๆ ที่เคยมีมา (หากไม่พบดวงมณี
ที่ใช้เป็นอาวุธฟาดเป็นไฟกรดในเรื่องอื่นก็นับว่าเป็นคุณสมบัติและอานุภาพของตราราหูที่เกิดจาก
จินตนาการริเริม่ ของกวี) โดยมีความต้องการขัน้ พืน้ ฐานของมนุษย์เป็นตัวผลักดันให้เกิดความคิดและ
จินตนาการดังกล่าว ตราราหูนับเป็นของวิเศษอเนกประสงค์ชิ้นส�ำคัญที่เป็นผลผลิตจากจินตนาการ
พิเศษนี้

สรุป
เรื่องของตราราหูในพระอภัยมณีของสุนทรภู่เกิดจากการที่กวีได้ประมวลจินตนาการจาก
หลายแหล่งมาใช้สร้างสรรค์คุณสมบัติ อานุภาพ และความส�ำคัญ โดยที่ความต้องการขั้นพื้นฐานของ
มนุษย์มีบทบาทในการก�ำหนด ท�ำให้ตราราหูเป็นของวิเศษอันทรงคุณค่าและคุณประโยชน์หลาก
หลาย เป็นของคู่กายที่มีคุณสมบัติและอานุภาพอัศจรรย์เลิศล�้ำกว่าของของวิเศษที่เคยมีมา แสดงให้
เห็นว่ามนุษย์มีจินตนาการความปรารถนาที่จะครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งซึ่งสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์
ได้อย่างอเนกประสงค์ครบครันมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เท่าที่มนุษย์จะนึกฝันได้ โดยความประสงค์นั้น
เป็นไปเพื่อความสะดวกสบาย ความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิต ตลอดจนความส�ำคัญทางสังคมใน
ฐานะที่เป็นของคู่บุญและเป็นสัญลักษณ์ของผู้ปกครองสูงสุด เป็นจินตนาการที่ไม่จ�ำกัดด้านขอบเขต
ประเภท และกาลเวลา เพิ่มขีดความสามารถ และมีวิวัฒนาการสอดคล้องกับบริบทสังคมและ
ฐานภาพของผู้ครอบครอง ตราราหูซึ่งเป็นผลผลิตโดดเด่นจากจินตนาการดังกล่าวช่วยเพิ่มพูนคุณค่า
ความน่าสนใจให้แก่วรรณคดีเรื่องนี้

เอกสารอ้างอิง
ไตรภูมิพระร่วงของพระญาลิไทย. (๒๕๐๔). พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร. ๓๒๗ หน้า
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. (๒๕๑๖). สามก๊ก. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
รองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ๑๓๕

พระเครือ่ ง. “ความรูเ้ กีย่ วกับเครือ่ งรางของขลัง.” [ออนไลน์]. จาก http://www.itti-patihan.com/


ราหูอมจันทร์-ดีทางเมตตามหานิยม-แคล้วคลาด-มหาอุด-และป้องกันภูติผีปีศาจ.html.
[๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๑.]
พ.สุวรรณ. (๒๕๕๙). ต�ำราพรหมชาติส�ำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพฯ : บ้านมงคล.
เมธา หริมเทพาธิป. (๒๕๖๐). ทฤษฎีล�ำดับขั้นความต้องการพื้นฐาน (Maslow’s Hierachy of
Needs Theory). [ออนไลน์]. จาก http://www.gotoknow.org. [๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๑]
ส. พลายน้อย. (๒๕๒๗). ความรู้เรื่องตราต่าง ๆ : พระราชลัญจกร. กรุงเทพฯ : บ�ำรุงสาส์น.
สุนทรภู่. (๒๕๒๙). พระอภัยมณี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.
ห้องโหรศรีมหาโพธิ์. (๒๕๒๒). ต�ำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ส�ำนัก
พิมพ์อ�ำนวยสาส์น.
Mcload Saoul. (2018). “Maslow’s Hierachy of Needs”. [online]. from https://www.
simplypsychology.org/maslow.html. [29 Aug. 2018]
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๓๖ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา
และอาหารเสริมแคลเซียม
ส�ำหรับผู้ที่ให้นมบุตรและผู้สูงอายุ
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์
ภาคีสมาชิก ส�ำนักวิทยาศาสตร์
ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
ประเทศไทย โดยส�ำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ก�ำหนดไว้ว่า
ผูท้ อี่ ายุ ๑๙-๕๐ ปีควรรับประทานแคลเซียม ๘๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผูท้ มี่ อี ายุมากกว่า ๕๐ ปี
ควรรับประทาน ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณแคลเซียมที่ก�ำหนดในแต่ละช่วงอายุผันแปร
ตามความสามารถของล�ำไส้ที่ดูดซึมแคลเซียมและความสามารถในการปรับตัวของร่างกายเพื่อ
ดูดซึมแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการ เช่น การที่ร่างกายใช้วิตามินดีกระตุ้นการดูดซึม
แคลเซียมที่ล�ำไส้ ซึ่งการตอบสนองต่อวิตามินดีมักลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ในภาวะพิเศษ เช่น ผู้
หญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสที่ ๓ และผู้ที่ก�ำลังให้นมบุตร จะมีความต้องการแคลเซียม
มากขึน้ เพือ่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และการสร้างน�ำ้ นม และถึงแม้วา่ ร่างกายของแม่จะ
ต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน แต่เนื่องจากร่างกายผลิต
ฮอร์โมนหลายชนิด เช่น โพรแลคติน เพิ่มขึ้นในช่วงเวลานี้เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม จึง
ท�ำให้ยังไม่มีความจ�ำเป็นต้องก�ำหนดให้รับประทานแคลเซียมมากขึ้นเกินกว่า ๘๐๐ มิลลิกรัม
ต่อวัน หลักการส�ำคัญในการเสริมแคลเซียมคือ เสริมให้รับประทานถึงปริมาณที่แนะน�ำเท่านั้น
ไม่มีความจ�ำเป็นต้องรับประทานให้เกินจากที่ก�ำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแคลเซียมใน
อาหารมักพบในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ส่วนอาหารไทยทัว่ ไป มักมีแคลเซียมไม่สงู มากนัก จึง
เป็นโอกาสให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริมแคลเซียมส�ำหรับผู้ที่ให้นมบุตรและผู้สูง
อายุ ซึง่ เป็นช่วงทีม่ กั ต้องการแคลเซียมเพิม่ สูงขึน้ กว่าภาวะปรกติ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสูตร
แคลเซียมจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงกลไกทางสรีรวิทยาของการดูดซึมแคลเซียมที่ล�ำไส้ กล่าวคือ สูตร
แคลเซียมควรประกอบด้วยสารประกอบแคลเซียมที่แตกตัวเป็นไอออนได้ดี และมีองค์ประกอบ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๓๗

ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมได้ ตลอดจนใช้วัตถุดิบที่มีราคาไม่แพง และหาได้ง่ายใน


ประเทศ

ค�ำส�ำคัญ : กระดูกพรุน การให้นมบุตร แคลเซียม ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม วิตามินดี

Abstract: A lesson on the development of calcium-fortified products and


calcium-rich food supplements for breastfeeding mothers and the elderly
Professor Dr. Narattaphol Charoenphandhu
Associate Fellow of the Academy of Science,
The Royal Society of Thailand
The Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public
Health, Thailand has determined that Thais with ages of 19-50 years should
consume 800 mg elemental calcium per day, whereas individuals older than
50 years should consume 1,000 mg per day. The daily calcium requirement
in each age range varies according to the intestinal ability to absorb calcium
from the intestinal lumen across the epithelium into the circulation as well
as the body responsiveness to calcium-regulating hormone—for example, the
intestinal response to vitamin D, which often declines with age. Under certain
special conditions, such as women who are in the third trimester pregnancy
or breastfeeding, usually need more calcium for intrauterine fetal growth
and milk production, respectively. Nevertheless, there is no need to escalate
calcium intake greater than 800 mg per day although mothers normally lose
approximately 200-300 mg per day for lactogenesis. This is because the
mother’s body is capable of producing several hormones, such as prolactin,
to help absorb calcium. Therefore, the principle of calcium supplementation
is only to adequately supply dietary calcium to reach the recommended
dosage. In other words, one does not need to consume beyond the
recommended amount. However, since dietary calcium is often found
in milk and dairy products and Thai dishes sometimes have relatively low
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๓๘ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

calcium amount, it is an opportunity for the development of alternative


calcium-rich products for breastfeeding mothers and the elderly, the periods
of high calcium demand. To achieve this goal, these tailor-made products
should consist of inexpensive calcium compounds with high water solubility
as well as special ingredients with ability to enhance calcium absorption
efficiency.

Keywords: osteoporosis, breastfeeing, calcium, calcium-fortified product,


vitamin D

ความต้องการแคลเซียมของร่างกายและแนวทางการเสริมแคลเซียม
แคลเซียมในร่างกายมนุษย์มี ๓ รูปแบบหลัก คือ ๑) แคลเซียมที่อยู่ในกระดูก ซึ่งคิด
เป็นร้อยละ ๙๙ ของแคลเซียมทั้งหมดในร่างกาย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปผลึกไฮดรอกซิลอะพาไทต์
[Ca10(PO4)6(OH)2] ๒) แคลเซียมอิสระทีล่ ะลายอยูใ่ นเลือด และ ๓) แคลเซียมไอออนทีจ่ บั กับโปรตีน
ในเลือดโดยไม่แตกตัวเป็นไอออนอิสระ นอกจากนี้มีแคลเซียมอีกเล็กน้อยที่อยู่ภายในเซลล์ต่าง ๆ
แคลเซียมทุกรูปแบบมีความส�ำคัญ เช่น แคลเซียมในกระดูกท�ำให้กระดูกแข็งแรงและยังเป็นแหล่ง
สะสมแคลเซียมเผื่อการใช้ในยามจ�ำเป็น ส่วนแคลเซียมในเลือดส�ำคัญต่อเซลล์ประสาท เซลล์กล้าม
เนื้อหัวใจ และการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นร่างกายจึงจ�ำเป็นต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเพื่อให้
ระบบต่าง ๆ ของร่างกายท�ำงานเป็นปรกติ แคลเซียมทีร่ า่ งกายได้รบั เกินสามารถขับออกทางไตได้ แต่
ระบบทางเดินปัสสาวะมีความสามารถขับแคลเซียมได้จ�ำกัด จึงไม่ควรรับประทานแคลเซียมมากเกิน
ความจ�ำเป็น
โดยทั่วไป ร่างกายได้รับแคลเซียมโดยการรับประทานเท่านั้น หลักการที่ส�ำคัญของการ
รับประทานแคลเซียมทั้งในรูปแบบของยาเสริมแคลเซียม อาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ คือ การรับ
ประทานให้ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมต่อวันเท่ากับที่ก�ำหนดไว้ใน “ปริมาณสารอาหารอ้างอิง
ที่ควรได้รับประจ�ำวัน (dietary reference intake–DRI)” ซึ่งก�ำหนดโดยส�ำนักโภชนาการ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ผู้บริโภคไม่จ�ำเป็นต้องรับประทานให้เกินกว่าปริมาณที่
ก�ำหนดไว้ การรับประทานเกินกว่าที่ก�ำหนดนอกจากจะไม่เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกหรือชะลอ
การเกิดโรคกระดูกพรุนแล้ว ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ความผิด
ปรกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือแม้แต่ภาวะสมองเสื่อมได้ (Kern et al, 2016; Larsson
et al, 2017; Malihi et al, 2016)
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๓๙

ปัจจุบันประเทศไทยก�ำหนดไว้ว่า ผู้ที่อายุ ๑๙-๕๐ ปีควรรับประทานแคลเซียม ๘๐๐


มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี ควรรับประทาน ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน (ตารางที่ ๑)
และไม่ควรรับประทานเกิน ๓,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน การเสริมแคลเซียมในรูปแบบของยาต้องมีข้อ
บ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนและผู้ที่ตรวจพบว่าขาดแคลเซียม
ประเทศไทยและหลายประเทศในสหภาพยุโรปยังไม่มีนโยบายเสริมแคลเซียมส�ำหรับผู้หญิงที่อยู่ใน
ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แม้ว่าร่างกายของแม่จะต้องใช้แคลเซียมเพิ่มขึ้นอีกราว ๒๐๐-
๓๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน เพือ่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หรือใช้สร้างน�ำ้ นมตามล�ำดับ ซึง่ แตกต่าง
จากนโยบายของบางประเทศ เช่น แคนาดาที่ก�ำหนดให้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรรับประทาน
แคลเซียมสูงถึง ๑,๓๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการแคลเซียมของร่างกายอาจผันแปร
ตามต�ำแหน่งที่ตั้งของแต่ละประเทศ เนื่องจากผิวหนังต้องโดนแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตที่มี
ความยาวคลื่น ๒๘๐-๓๑๕ นาโนเมตร เพื่อสร้างวิตามินดีซึ่งจ�ำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมที่ล�ำไส้
(Marwaha et al, 2016)
ตารางที่ ๑ ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันของไทย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔๐ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

แนวทางการเสริมแคลเซียมของหลาย ๆ ประเทศ คือ ควรรับประทานแคลเซียมจากอาหาร


โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง ซึ่งหากมีความจ�ำเป็นต้องรับประทาน
เสริม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบยาเสริมแคลเซียมหรืออาหารและเครื่องดื่มที่เติมแคลเซียมก็มักแนะน�ำให้
รับประทานให้เพียงพอต่อความต้องการต่อวันเท่านั้น อาหารไทยที่มีแคลเซียมสูงมักเป็นอาหารที่มี
กระดูกหรือโครงสร้างแข็งของสัตว์เป็นส่วนประกอบ เช่น ปลาตัวเล็กตัวน้อย ปลากระป๋องที่มี
ก้างปลา กุ้งแห้ง ส่วนแคลเซียมจากผักมีหลายชนิด เช่น ผักต�ำลึง ใบยอ ผักกระเฉด แต่การดูดซึม
แคลเซียมจากพืชมีอัตราที่ไม่แน่นอน และยังต้องมีการวิจัยในเชิงลึกอีกมากถึงประสิทธิภาพ และ
กลไกการดูดซึมแคลเซียมที่อยู่ในพืช ผู้บริโภคอาจสังเกตปริมาณแคลเซียมที่รับประทานว่าเพียงพอ
หรือไม่ โดยดูจากฉลากข้างผลิตภัณฑ์อาหาร ดังตัวอย่างในภาพที่ ๑ ซึ่งส่วนใหญ่จะระบุเป็นร้อยละ
ของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน

ภาพที่ ๑ ฉลากข้างผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมปรากฏอยู่
ที่มา : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์

สรีรวิทยาของการดูดซึมแคลเซียมที่ล�ำไส้
เมื่อรับประทานอาหาร แคลเซียมบางส่วนที่อยู่ในอาหารจะแตกตัวเป็นไอออนในกระเพาะ
อาหาร เนื่องจากสารประกอบแคลเซียมมักแตกตัวได้ดีในภาวะที่เป็นกรด และเคลื่อนไปดูดซึม
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๔๑

บริเวณล�ำไส้เล็ก โดยล�ำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) มีประสิทธิภาพและอัตราการดูดซึมสูงสุด แต่


เนื่องจากล�ำไส้ส่วนนี้ค่อนข้างสั้นจึงมีเวลาในการดูดซึมไม่มาก ปริมาณแคลเซียมส่วนใหญ่ที่ล�ำไส้เล็ก
ดูดซึมจึงเกิดขึ้นที่ล�ำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และส่วนปลาย (ileum) แม้ว่าอัตราการดูดซึมจะไม่
สูงเท่าล�ำไส้เล็กส่วนต้น ในระหว่างที่ผ่านล�ำไส้เล็ก แคลเซียมจ�ำนวนมากกลับมาตกตะกอนเป็น
สารประกอบที่ละลายน�้ำยาก เนื่องจากโพรงล�ำไส้เล็กมีสภาพเป็นเบส แต่เมื่อแคลเซียมเคลื่อนมาถึง
บริเวณล�ำไส้ใหญ่ แคลเซียมบางส่วนจะกลับมาแตกตัวเป็นไอออนอีกครั้งจากกรดอินทรีย์และกรด
ไขมันสายสั้น (short-chain fatty acid) ที่อยู่ภายในโพรงล�ำไส้ใหญ่ กรดเหล่านี้ได้มาจากการหมัก
ไฟเบอร์ประเภทพรีไบโอติกส์โดยแบคทีเรียของล�ำไส้ใหญ่ ดังนั้นจึงมีความพยายามในการพัฒนาสูตร
ของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมโดยการเติมสารประเภทพรีไบโอติกส์ดว้ ย เช่น อินนูลนิ (inulin) โอลิโก-
ฟรุกแตน (oligofructan) (Demigné C et al, 2008; Krupa-Kozak et al, 2017)
การดูดซึมแคลเซียมของเซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้มีความซับซ้อนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อายุ เพศ ส่วนของล�ำไส้ และต�ำแหน่งของเซลล์บนวิลลัส กล่าวโดยสังเขป คือ
อัตราการดูดซึมแคลเซียมจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพศหญิงมีแนวโน้มดูดซึมแคลเซียมได้ดีกว่า
เพศชาย ล�ำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าล�ำไส้ใหญ่มาก แม้ว่าส่วนต้น ๆ ของล�ำไส้ใหญ่
จะมีอัตราการดูดซึมแคลเซียมที่สูงกว่า (Van Corven et al, 1985) ส่วนเซลล์เยื่อบุผิวที่ดูดซึม
แคลเซียมได้ดีมักอยู่บริเวณส่วนปลายของวิลลัส (ภาพที่ ๒) ส่วนบริเวณโคนของวิลลัสมักดูดซึม
แคลเซียมได้น้อย

ภาพที่ ๒ แสดงเซลล์เยื่อบุผิวของล�ำไส้เล็กที่บริเวณปลายวิลลัสที่มักจะมีการดูดซึมแคลเซียมได้ดี
ที่มา : ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์

วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔๒ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

โดยทั่วไป การดูดซึมแคลเซียมเกิดขึ้นผ่าน ๒ ช่องทาง คือ ผ่านตัวเซลล์เยื่อบุผิว หรือผ่าน


ช่องระหว่างเซลล์เยือ่ บุผวิ (Bronner F et al, 1986 ) แต่ละช่องทางต้องอาศัยตัวกระตุน้ ทีแ่ ตกต่างกัน
ซึง่ หากผลิตภัณฑ์ทตี่ อ้ งการพัฒนาขึน้ มีการเติมตัวกระตุน้ ทีเ่ หมาะสม ก็จะท�ำให้ประสิทธิภาพการดูดซึม
เพิม่ ได้มากขึน้ การดูดซึมแคลเซียมแบบผ่านเซลล์ตอ้ งมีโปรตีนขนส่งเป็นการเฉพาะ เนือ่ งจากแคลเซียม
ซึ่งมีประจุบวกไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้อิสระ เช่น การขนส่งแคลเซียมจากโพรงล�ำไส้เล็กเข้าสู่
ไซโทพลาซึมต้องอาศัยโปรตีนขนส่งชื่อ TRPV6 การขนส่งออกจากเซลล์เข้าสู่สารน�้ำรอบเซลล์ต้องใช้
โปรตีนขนส่งชือ่ PMCA1b (Bronner F, 1998) ส่วนการขนส่งผ่านช่องระหว่างเซลล์ขนึ้ อยูก่ บั ประเภท
ของโปรตีนบริเวณไทต์จังก์ชัน (tight junction) ไม่ได้เป็นการแพร่ธรรมดาแบบที่เคยเชื่อกันในอดีต
(Alexander et al, 2014) วิตามินดีเป็นตัวกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมได้ดี เพราะสามารถปรับ
การท�ำงานของโปรตีนขนส่งเหล่านี้ นอกเหนือจากวิตามินดีแล้ว ยังมีฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่มี
ประสิทธิภาพดีในการกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม เช่น เอสโทรเจน โพรแลคติน (Ajibade et al,
2010; Van Cromphaut et al, 2003) แต่ฮอร์โมนเหล่านี้ไม่เหมาะต่อการใช้จริงกับผลิตภัณฑ์
เสริมแคลเซียม เนื่องจากอาจท�ำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้
ค�ำถามที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งคือ ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมมากจนเกิดอันตรายได้
หรือไม่ การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าโอกาสเกิดขึ้นน้อยเนื่องจากแคลเซียมเป็นสารอาหารที่ดูดซึม
ได้ไม่คอ่ ยดีอยูแ่ ล้ว (ประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐ ของปริมาณทีร่ บั ประทาน) และร่างกายยังมีกลไกการ
ป้องกันหลายชั้นที่ช่วยลดปริมาณแคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายเกินความจ�ำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ลดการสร้างอนุพันธ์บางตัวของวิตามินดีเมื่อระดับแคลเซียมสูงในเลือด หรือการสร้างเพปไทด์ที่ลด
การดูดซึมแคลเซียมโดยเซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้เอง เช่น ไฟโบรบลาสต์โกรทแฟกเตอร์-๒๓ (fibroblast
growth factor-23) (Khuituan et al, 2012; 2013) ดังนัน้ การรับประทานแคลเซียมทีม่ ากจนเกิด
อันตรายจึงต้องรับประทานในปริมาณมาก เช่น มากกว่าวันละ ๓ กรัม ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ หรือ
มีความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่ท�ำให้ดูดซึมแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้น

เมแทบอลิซึมของแคลเซียมในผู้ที่ให้นมบุตรและผู้สูงอายุ
เมแทบอลิซมึ ของแคลเซียมจะเปลีย่ นไปอย่างมากในระหว่างให้นมบุตรและเมือ่ อายุมากขึน้
ดังที่กล่าวมาพอสังเขปในหัวข้อก่อนหน้านี้ ส่วนเหตุผลหลักของการเปลี่ยนแปลงมีจุดร่วมกันอยู่ คือ
การตอบสนองต่อฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ในกรณีของผู้ที่ให้นมบุตร วิตามินดีจะไม่ใช่ฮอร์โมนหลัก
ที่กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียม แต่จะมีการใช้ฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ด้วย เช่น เอสโทรเจน โพรแลคติน
(Ajibade et al, 2010; Charoenphandhu et al, 2009; Van Cromphaut, 2013) ซึ่งจะท�ำให้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๔๓

อัตราแคลเซียมเพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอต่อการสร้างน�้ำนม แต่ทั้งนี้แม่ต้องรับประทานแคลเซียมอย่าง
เพียงพอด้วย หากรับประทานแคลเซียมน้อยจะมีการสลายแคลเซียมจากกระดูกมาช่วยสร้างน�้ำนม
ซึ่งเป็นสาเหตุท่ีท�ำให้กระดูกบาง (osteopenia) ได้ โดยทั่วไปในระหว่างการให้นมบุตร แม่จะ
สูญเสียแคลเซียมประมาณร้อยละ ๖-๑๐ จากกระดูกเพื่อใช้ในการสร้างน�้ำนม อย่างไรก็ตาม มวล
กระดูกมักกลับมาเป็นปรกติหลังหย่านม (Chan et al, 2005) ดังนั้นภาวะกระดูกบางในผู้ที่ก�ำลัง
ให้นมบุตรจึงมักไม่มีผลเสียในระยะยาว แม้จะมีรายงานทางการแพทย์ซึ่งมักเป็นรายงานขนาดเล็ก
ที่ระบุว่า แม่ที่รับประทานแคลเซียมน้อยอาจท�ำให้เกิดโรคกระดูกพรุนระหว่างให้นมบุตรหรือเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุ (Bolzetta et al, 2014)
ส่วนเมือ่ อายุมากขึน้ เซลล์เยือ่ บุผวิ ล�ำไส้จะตอบสนองต่อฮอร์โมนโดยเฉพาะวิตามินดีนอ้ ยลง
(Brown et a, 2005) ซึ่งจะท�ำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมที่ล�ำไส้ลดลงด้วย ในระหว่างนั้น
เซลล์สร้างกระดูกก็ท�ำงานได้น้อยลงตามอายุเช่นกัน (Marie, 2014) ซึ่งเป็นผลจากความชราของ
เซลล์รว่ มกับการตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงน้อยลง (ฮอร์โมนเพศเป็นตัวกระตุน้ ส�ำคัญ
ที่ท�ำให้เซลล์สร้างกระดูกท�ำงาน) สวนทางกับเซลล์สลายกระดูกที่ท�ำงานเพิ่มขึ้น อนึ่ง ความเครียด
ออกซิเดชัน (oxidative stress) รวมถึงการอักเสบเรื้อรังจากโรคทางเมแทบอลิซึมต่าง ๆ เช่น
เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด ยังเพิ่มการท�ำงานของเซลล์สลายกระดูก ซึ่งล้วนท�ำให้ความหนาแน่น
ของกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วและเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย (Kurra et al, 2014; Wongdee and
Charoenphandhu, 2015) ในกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดกระดูกหัก การรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ
ก็อาจท�ำให้กระดูกที่หักประสานกันได้ช้าลง

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม
แม้จะเป็นที่ทราบดีว่าการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอจะช่วยให้เซลล์สร้างกระดูกมี
วัตถุดิบในการสร้างกระดูก รวมถึงการซ่อมแซมกระดูกที่มีการแตกหรือร้าวในระดับจุลภาคจากแรง
กระทบกระแทกที่มีต่อกระดูกในชีวิตประจ�ำวัน แต่การรับประทานแคลเซียมให้ได้ถึงปริมาณ ๘๐๐
มิลลิกรัมต่อวันส�ำหรับผู้หญิงระยะให้นมบุตร หรือ ๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อวันส�ำหรับผู้ที่อายุเกิน ๕๐ ปี
ท�ำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากแคลเซียมส่วนใหญ่อยู่ในอาหารประเภทนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น
นม เนยแข็ง โยเกิรต์ ซึง่ ไม่ใช่อาหารหลักของคนไทยส่วนใหญ่ ส�ำนักงานส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย
(สสท) ได้ตีพิมพ์รายงานการส�ำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑-
๒๕๕๒ มีข้อมูลว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยรับประทานแคลเซียมน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของปริมาณที่
แนะน�ำไว้ เหตุที่การรับประทานแคลเซียมน้อยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นเรื่องของการปรับตัวทาง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔๔ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

สรีรวิทยาของร่างกายโดยใช้ฮอร์โมน เช่น พาราไทรอยด์ฮอร์โมนร่วมกับวิตามินดีในการกระตุ้น


การดูดซึมแคลเซียมที่ล�ำไส้และลดการสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะ แต่หากอายุเพิ่มมากขึ้นการรับ
ประทานแคลเซียมไม่เพียงพอต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจท�ำให้มวลกระดูกลดลงเร็วกว่าที่ควรได้
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมสามารถแบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบ คือ การพัฒนา
เพื่อเป็นยาเสริมแคลเซียมส�ำหรับผู้ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งมักเป็นรูปแบบยาเม็ด หรือเม็ดฟู่
ละลายน�้ำส�ำหรับดื่ม และการพัฒนาเป็นอาหารแคลเซียมสูง ซึ่งในกรณีหลังอาจอยู่ในรูปแบบเม็ด
ผงชงดื่ม เม็ดฟู่ หรือเครื่องดื่มก็ได้ การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมทั้ง ๒ กรณีนี้ไม่ควรรับประทาน
เกินกว่าปริมาณที่แนะน�ำต่อวัน เช่น กรณีของผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร ควรรับประทานเสริม
ให้เพียงพอถึง ๘๐๐ มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ไม่จ�ำเป็นต้องรับประทานให้เกินจากที่แนะน�ำไว้
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมต้องมีความเข้าใจเรื่องชีวเคมีและสรีรวิทยาของการ
ดูดซึมแคลเซียม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมของล�ำไส้ทสี่ ามารถดูดซึมแคลเซียม
ได้น้อยเพียงร้อยละ ๑๕-๒๐ ของปริมาณที่รับประทาน ซึ่งหากรับประทานธาตุแคลเซียม ๑,๐๐๐
มิลลิกรัม จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ มิลลิกรัมเท่านั้น การเอาชนะการปรับตัวทาง
สรีรวิทยาของล�ำไส้เมื่ออาหารที่รับประทานมีแคลเซียมสูง กล่าวคือ เซลล์เยื่อบุผิวของล�ำไส้จะยิ่งลด
ประสิทธิภาพการดูดซึมเมื่อความเข้มข้นของแคลเซียมในโพรงล�ำไส้เพิ่มขึ้น (Sato et al, 2006;
Tudpor et al, 2005) ซึง่ เป็นกลไกปรกติของร่างกายทีป่ อ้ งกันไม่ให้เกิดพิษจากแคลเซียม แต่กเ็ ป็น
อุปสรรคต่อการให้แคลเซียมเสริม นอกจากนี้ยังมีเรื่องการขับแคลเซียมของเยื่อบุผิวล�ำไส้ด้วย ซึ่ง
เป็นธรรมชาติของเยื่อบุผิวชนิดที่มีความต้านทานทางไฟฟ้าต�่ำ (low transepithelial resistance)
แคลเซียมสามารถรั่วผ่านช่องระหว่างเซลล์ออกมาสู่โพรงล�ำไส้ได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่มี
ประสิทธิภาพดีจึงต้องประกอบด้วยแคลเซียมที่แตกตัวเป็นไอออนได้ดี และจ�ำเป็นต้องมีสารกระตุ้น
การดูดซึมแคลเซียมซึ่งมักจะเป็นวิตามินดีหรืออนุพันธ์ของวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีจะกระตุ้น
ให้ชุดโปรตีนส�ำหรับขนส่งแคลเซียม เช่น TRPV6, calbindin, PMCA1b ท�ำงานได้เพิ่มขึ้น
(Kutuzova and DeLuca, 2004; Khuituan et al, 2012; Song and Fleet, 2004) อย่างไร
ก็ตาม ในช่วงให้นมบุตรชุดโปรตีนที่เซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้ใช้ในการดูดซึมแคลเซียมจะต่างไปจากภาวะ
ปรกติ ท�ำให้ตอ้ งมีการวิจยั เพือ่ ค้นหาสารกระตุน้ การดูดซึมชนิดใหม่ ๆ ทีท่ ำ� งานสอดคล้องกับชุดโปรตีน
ชนิดใหม่นี้ ผลการวิจัยจากหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหิดล พบว่าการดูดซึมแคลเซียมในระหว่างให้นมบุตรจะดีขึ้นหากในผลิตภัณฑ์มีเกลือโซเดียมและ
น�้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กาแลคโตส ในความเข้มข้นที่เหมาะสม อนึ่ง ประสิทธิภาพจะยิ่ง
ดีขึ้นถ้ารับประทานก่อนให้ลูกดูดนมราว ๓๐-๖๐ นาที เพื่อให้แคลเซียมที่รับประทานเคลื่อนไป
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๔๕

อยู่บริเวณล�ำไส้เล็กส่วนต้นพร้อมดูดซึม และเมื่อลูกดูดนมจะท�ำให้ต่อมใต้สมองของแม่หลั่งฮอร์โมน
โพรแลคติน ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น (Suntornsaratoon
et al, 2014)
ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมส�ำหรับผูส้ งู อายุมคี วามแตกต่างทีก่ ารใช้สารกระตุน้
การดูดซึม นอกจากวิตามินดีแล้วยังมีสารอีกหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น กรดอะมิโน เปปไทด์สาย
สั้น ๆ สารเคมีที่ได้จากการหมักพรีไบโอติกส์ (McCabe et al, 2015; Ohta et al, 1998;
Thammayon et al, 2017) ซึ่งบางชนิดเพิ่งจะเริ่มมีผู้น�ำมาพัฒนาเป็นสูตรเมื่อไม่นานมานี้ จึงเป็น
โอกาสของนักวิจัยและผู้ประกอบการในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ส�ำหรับผู้สูงอายุ บางผลิตภัณฑ์มี
การเติมธาตุอาหารและวิตามินอื่น ๆ ที่เชื่อว่าส�ำคัญต่อการรักษามวลกระดูก เช่น สังกะสี วิตามินเค
การเสริมแคลเซียมในกรณีอนื่ ๆ เช่น การเสริมในเด็ก การเสริมในนักกีฬา ยังไม่มขี อ้ สรุปที่
แน่ชดั ในต่างประเทศมีรายงานการเสริมแคลเซียมส�ำหรับนักกีฬาหรือผูท้ อี่ อกก�ำลังกาย แต่สว่ นใหญ่
มักไม่มีความชัดเจนถึงผลดีระยะยาวที่มีต่อกระดูก และไม่สามารถยืนยันได้ว่า การเสริมแคลเซียม
จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุได้

ความท้าท้ายในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
การพัฒนาต้นแบบของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมต้องค�ำนึงถึงความยากง่ายในการผลิตใน
ระดับอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มแรก และมีการหารือกับผู้ประกอบการหรือผู้ที่จะรับผลิตตั้งแต่แรก ๆ
การพัฒนาในเชิงเทคนิคต้องค�ำนึงถึงต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงประสิทธิภาพในการแตกตัวเป็นไอออน
และการดูดซึมด้วย เช่น สารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตมีราคาถูกแต่ละลายน�้ำได้ไม่ดี และมีผล
ข้างเคียงในผู้บริโภคบางราย เช่น ท้องอืด ส่วนแคลเซียมซิเตรตหรือแคลเซียมกลูโคเนต มีรายงาน
ว่าดูดซึมดีกว่า (Praet et al, 1998) แต่ราคาแพงกว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการท�ำเป็นเม็ดฟู่
อาจแก้ปญ ั หาเรือ่ งการแตกตัวของสารประกอบแคลเซียมได้แต่ราคาจะยิง่ สูงขึน้ ไปอีก อนึง่ สมบัตทิ าง
กายภาพ เช่น ความชื้นของสารประกอบแคลเซียม ยังมีผลต่อความคงทนของผลิตภัณฑ์ การขนส่ง
และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจท�ำให้ผู้ประกอบการไม่พร้อมที่จะลงทุนได้ ผู้ประกอบการบาง
รายอาจให้ทัศนะว่า สารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตมีความคุ้มค่าที่สุดถึงแม้ว่าจะดูดซึมไม่ดีแต่มี
ราคาถูกมาก แม้ว่าจะต้องรับประทานเพิ่มขึ้นก็ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคมากนัก แต่ใน
กรณีที่พัฒนาเป็นอาหาร แคลเซียมคาร์บอเนตยังมีอุปสรรคในเรื่องของรสชาติและรสสัมผัสคล้าย
ชอล์กที่พัฒนาให้อร่อยได้ยาก
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔๖ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

อุปสรรคที่ส�ำคัญประการหนึ่งคือ การวัดอัตราการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งท�ำได้


ยากทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์ หากต้องการวัดให้ได้แม่นย�ำ จ�ำเป็นต้องใช้สารกัมมันตรังสี เช่น
แคลเซียม-๔๕ หากใช้ไอโซโทปที่เสถียรต้องมีเครื่องมือราคาแพงและมีเทคนิคการวัดเป็นการเฉพาะ
อนึ่ง หากต้องการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบัน จ�ำเป็นต้องทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในห้อง
ปฏิบัติการที่มีระบบคุณภาพที่ช่วยจัดการห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐาน (good laboratory practice
–GLP) และอาจต้องขยายขนาดการผลิตในโรงงานที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิต
(good manufacturing practice–GMP) ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมความร่วมมือด้าน
การวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน โดยมีแนวคิดในการตราพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย
ลูกที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและขึ้นทะเบียนเวชภัณฑ์ เช่น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริม
การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมไม่สามารถเน้นศึกษาเฉพาะเรื่องแคลเซียม หรือ
สรีรวิทยาของการดูดซึมแคลเซียมเพียงเท่านั้นได้ แต่จ�ำเป็นต้องขยายขอบเขตของความรู้ไปสู่ศาสตร์
ด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเคมี โภชนศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ และวัสดุศาสตร์ เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต�่ำและดูดซึมได้ดี ตลอดจนต้องมีการส่งเสริมความรอบรู้ทาง
สุขภาพให้แก่ผู้บริโภค เช่น ควรเลี่ยงการรับประทานแคลเซียมพร้อมกับแร่ธาตุบางชนิด เช่น เหล็ก
แม้ว่าเซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้เล็กจะดูดซึมเหล็กโดยอาศัยชุดโปรตีนที่ต่างกับแคลเซียม แต่เมื่อไอออน
ของเหล็กเข้าสูเ่ ซลล์แล้ว จะรบกวนการแพร่ของแคลเซียมภายในเซลล์ได้ จึงท�ำให้แคลเซียมผ่านเข้าสู่
ร่างกายได้น้อยลง (Kraidith et al, 2016)
ส่วนความรู้ในเรื่องประสาทวิทยาศาสตร์กับเมแทบอลิซึมของแคลเซียมยังเป็นเรื่องใหม่ใน
วงวิชาการ กล่าวคือ ปัจจุบันมีข้อมูลว่าสมอง ความผิดปกติของสัญญาณประสาทจากความวิตกกังวล
โรคซึมเศร้า และความเครียด ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตที่เกี่ยวข้องกับความเครียด รวมถึงระบบ
ประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) ทีท่ ำ� งานผิดปรกติสามารถลดการดูดซึมแคลเซียม
ได้ ซึ่งอาจท�ำให้ผู้สูงอายุที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยอยู่แล้วยิ่งน้อยลงไปอีก เมื่อเร็ว ๆ นี้ยัง
มีการค้นพบเซลล์เยื่อบุผิวล�ำไส้ชนิดพิเศษที่เรียกว่าเซลล์เอ็นเตอโรเอ็นโดคริน (enteroendocrine
cell) ที่สามารถตรวจรับสารอาหารชนิดต่าง ๆ ในโพรงล�ำไส้ได้ และมีการเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาท
โดยตรง (เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่ภายในร่างแหประสาทของล�ำไส้) (Latorre et al, 2016) ความรู้
ในส่วนนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและอาจน�ำมาช่วยพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมในอนาคตได้
ในส่วนของความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ก็มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาสูตรแคลเซียมเช่นกัน ทั้ง
เรื่องของการเลือกสารประกอบแคลเซียมที่มีสมบัติเหมาะสมต่อการดูดซึมที่ล�ำไส้ เช่น แตกตัวเป็น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๔๗

ไอออนได้ดีในโพรงล�ำไส้ หรือแตกตัวได้ในภาวะที่เป็นเบสอ่อน ๆ และในกรณีที่เกิดกระดูกหักขึ้นก็มี


ความพยายามในการใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนาโนมาช่วยพัฒนาซีเมนต์เชื่อม
กระดูก (bone cement) และกระดูกเทียมส�ำหรับผู้สูงอายุ

สรุป
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมไม่เพียงต้องอาศัยความรูใ้ นด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
พื้นฐานซึ่งใช้อธิบายกลไกในการดูดซึมแคลเซียมและเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมต่อการดูดซึมที่ล�ำไส้
เท่านัน้ ยังต้องค�ำนึงถึงประเด็นในมุมของผูป้ ระกอบการ ทัง้ ความยากง่ายในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
ต้นทุนวัตถุดิบ ตลอดจนความรับรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะหลัก
การทีว่ า่ การเสริมแคลเซียมเป็นการเสริมเพือ่ ให้เพียงพอต่อปริมาณทีต่ อ้ งการในแต่ละวันเท่านัน้ ไม่มี
ความจ�ำเป็นต้องรับประทานเกินกว่าปริมาณที่ก�ำหนดไว้ การใช้ยาเสริมแคลเซียมต้องมีข้อบ่งชี้ทาง
การแพทย์ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันประสิทธิภาพ ซึ่งยังคงมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลจาก
งานวิจัยทางคลินิกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กิตติกรรมประกาศ
ผูน้ พิ นธ์ขอบคุณ ดร.จรินธร ธีระพรพันธกิจ ทีช่ ว่ ยจัดเตรียมรูปและตารางประกอบบทความ
นี้ งานวิจยั ของผูน้ พิ นธ์ได้รบั การสนับสนุนจาก ทุนส่งเสริมกลุม่ วิจยั เมธีวจิ ยั อาวุโส สกว. รหัสโครงการ
RTA6080007 ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน-
โลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารอ้างอิง
Ajibade DV, Dhawan P, Fechner AJ, Meyer MB, Pike JW, Christakos S. (2010). Evidence
for a role of prolactin in calcium homeostasis: regulation of intestinal transient
receptor potential vanilloid type 6, intestinal calcium absorption, and the
25-hydroxyvitamin D3 1α hydroxylase gene by prolactin. Endocrinology.
151(7): 2974-84.
Alexander RT, Rievaj J, Dimke H. (2014). Paracellular calcium transport across renal
and intestinal epithelia. Biochem Cell Biol. 92(6): 467-80.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๔๘ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

Bolzetta F, Veronese N, De Rui M, Berton L, Carraro S, Pizzato S, Girotti G, De Ronch I,


Manzato E, Coin A, Sergi G. (2014). Duration of breastfeeding as a risk factor
for vertebral fractures. Bone. 68: 41-5.
Bronner F. (1998) Calcium absorption—a paradigm for mineral absorption. J Nutr.
128(5): 917-20.
Bronner F, Pansu D, Stein WD. (1986). An analysis of intestinal calcium transport
across the rat intestine. Am J Physiol. 250(5 Pt 1): G561-9.
Brown AJ, Krits I, Armbrecht HJ. (2005). Effect of age, vitamin D, and calcium on the
regulation of rat intestinal epithelial calcium channels. Arch Biochem
Biophys. 437(1): 51-8.
Chan SM, Nelson EA, Leung SS, Cheng JC. (2005). Bone mineral density and calcium
metabolism of Hong Kong Chinese postpartum women—a 1-y longitudinal
study. Eur J Clin Nutr. 59(7): 868-76.
Charoenphandhu N, Nakkrasae LI, Kraidith K, Teerapornpuntakit J, Thongchote K,
Thongon N, Krishnamra N. (2009). Two-step stimulation of intestinal Ca2+
absorption during lactation by long-term prolactin exposure and suckling-
induced prolactin surge. Am J Physiol Endocrinol Metab. 297(3): E609-19.
Demigné C, Jacobs H, Moundras C, Davicco MJ, Horcajada MN, Bernalier A, Coxam
V. (2008). Comparison of native or reformulated chicory fructans, or non-
purified chicory, on rat cecal fermentation and mineral metabolism. Eur J
Nutr. 47(7): 366-74.
Kern J, Kern S, Blennow K, Zetterberg H, Waern M, Guo X, Borjesson-Hanson A,
Skoog I, Ostling S. (2016). Calcium supplementation and risk of dementia in
women with cerebrovascular disease. Neurology. 87(16): 1674-80.
Khuituan P, Teerapornpuntakit J, Wongdee K, Suntornsaratoon P, Konthapakdee N,
Sangsaksri J, Sripong C, Krishnamra N, Charoenphandhu N. (2012). Fibroblast
growth factor-23 abolishes 1,25-dihydroxyvitamin D3-enhanced duodenal
calcium transport in male mice. Am J Physiol Endocrinol Metab. 302(8):
E903-13.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๔๙

Khuituan P, Wongdee K, Jantarajit W, Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Charoen-


phandhu N. (2013). Fibroblast growth factor-23 negates 1,25(OH)2D3-
induced intestinal calcium transport by reducing the transcellular and para-
cellular calcium fluxes. Arch Biochem Biophys. 536(1): 46-52.
Kraidith K, Svasti S, Teerapornpuntakit J, Vadolas J, Chaimana R, Lapmanee S,
Suntornsaratoon P, Krishnamra N, Fucharoen S, Charoenphandhu N.
(2016). Hepcidin and 1,25(OH)2D3 effectively restore Ca2+ transport in beta-
thalassemic mice: reciprocal phenomenon of Fe2+ and Ca2+ absorption. Am J
Physiol Endocrinol Metab. 311(1): E214-23.
Krupa-Kozak U, Markiewicz LH, Lamparski G, JuŚkiewicz J. (2017). Administration of
inulin-supplemented gluten-free diet modified calcium absorption and caecal
microbiota in rats in a calcium-dependent manner. Nutrients. 9(7).
Kurra S, Fink DA, Siris ES. Osteoporosis-associated fracture and diabetes. (2014).
Endocrinol Metab Clin North Am. 43(1): 233-43.
Kutuzova GD, Deluca HF. (2004). Gene expression profiles in rat intestine identify
pathways for 1,25-dihydroxyvitamin D3 stimulated calcium absorption and
clarify its immunomodulatory properties. Arch Biochem Biophys. 432(2):
152-66.
Larsson SC, Burgess S, Michaelsson K. (2017). Association of Genetic Variants Related
to Serum Calcium Levels With Coronary Artery Disease and Myocardial
Infarction. JAMA. 318(4): 371-80.
Latorre R, Sternini C, De Giorgio R, Greenwood-Van Meerveld B. (2016). Enteroendo-
crine cells: a review of their role in brain-gut communication. Neurogastro-
enterol Motil. 28(5): 620-30.
Malihi Z, Wu Z, Stewart AW, Lawes CM, Scragg R. (2016). Hypercalcemia, hypercal-
ciuria, and kidney stones in long-term studies of vitamin D supplementation:
a systematic review and meta-analysis. Am J Clin Nutr. 104(4): 1039-51.
Marie PJ. (2014). Bone cell senescence: mechanisms and perspectives. J Bone Miner
Res. 29(6): 1311-21.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๕๐ ถอดบทเรียนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาฯ

Marwaha RK, Yenamandra VK, Sreenivas V, Sahay R, Baruah MP, Desai A, Kurvilla S,
Joseph S, Unnikrishnan AG, Lakshmy R, Apoorva C, Sharma VK, Sethuraman
G. (2016). Regional and seasonal variations in ultraviolet B irradiation and
vitamin D synthesis in India. Osteoporos Int. 27(4): 1611-7.
McCabe L, Britton RA, Parameswaran N. (2015). Prebiotic and probiotic regulation
of bone health: role of the intestine and its microbiome. Curr Osteoporos
Rep. 13(6): 363-71.
Ohta A, Motohashi Y, Sakai K, Hirayama M, Adachi T, Sakuma K. (1998). Dietary
fruc tooligo-saccharides increase calcium absorption and levels of
mucosal calbindin-D9k in the large intestine of gastrectomized rats. Scand J
Gastroenterol. 33(10): 1062-8.
Praet JP, Peretz A, Mets T, Rozenberg S. (1998). Comparative study of the intestinal
absorption of three salts of calcium in young and elderly women. J
Endocrinol Invest. 21(4): 263-7.
Sato T, Yamamoto H, Sawada N, Nashiki K, Tsuji M, Nikawa T, Arai H, Morita K,
Taketani Y, Takeda E. (2006). Immobilization decreases duodenal calcium
absorption through a 1,25-dihydroxyvitamin D-dependent pathway. J Bone
Miner Metab. 24(4): 291-9.
Song Y, Fleet JC. (2004). 1,25 dihydroxycholecalciferol-mediated calcium absorption
and gene expression are higher in female than in male mice. J Nutr. 134(8):
1857-61.
Suntornsaratoon P, Kraidith K, Teerapornpuntakit J, Dorkkam N, Wongdee K,
Krishnamra N, Charoenphandhu N. (2014). Pre-suckling calcium supple
mentation effectively prevents lactation-induced osteopenia in rats.
Am J Physiol Endocrinol Metab. 306(2): E177-88.
Thammayon N, Wongdee K, Lertsuwan K, Suntornsaratoon P, Thongbunchoo J,
Krishnamra N, Charoenphandhu N. (2017). Na+/H+ exchanger 3 inhibitor
diminishes the amino-acid-enhanced transepithelial calcium transport
across the rat duodenum. Amino Acids. 49(4): 725-34.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ ๑๕๑

Tudpor K, Charoenphandhu N, Saengamnart W, Krishnamra N. (2005). Long-term


prolactin exposure differentially stimulated the transcellular and solvent
drag-induced calcium transport in the duodenum of ovariectomized rats.
Exp Biol Med (Maywood). 230(11): 836-44.
Van Corven EJ, Roche C, van Os CH. (1985). Distribution of Ca2+-ATPase, ATP-depen-
dent Ca2+-transport, calmodulin and vitamin D-dependent Ca2+-binding
protein along the villus-crypt axis in rat duodenum. Biochim Biophys Acta.
820(2): 274-82.
Van Cromphaut SJ, Rummens K, Stockmans I, Van Herck E, Dijcks FA, Ederveen AG,
Carmeliet P, Verhaeghe J, Bouillon R, Carmeliet G. (2003). Intestinal calcium
transporter genes are upregulated by estrogens and the reproductive cycle
through vitamin D receptor-independent mechanisms. J Bone Miner Res.
18(10): 1725-36.
Wongdee K, Charoenphandhu N. (2015). Update on type 2 diabetes-related osteo-
porosis. World J Diabetes. 6(5): 673-8.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๕๒ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมือง
และการเก็บกักคาร์บอนแบบยั่งยืน
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ
ราชบัณฑิต ส�ำนักศิลปกรรม
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
เศษชีวมวลจากการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์เมืองที่ถูกก�ำจัดด้วยวิธีการต่าง ๆ
ในที่สุดจะเวียนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับสู่บรรยากาศได้อีกตามวัฏจักร การค้นพบว่า
หย่อมดินด�ำรอบ ๆ เมืองร้างที่มีดินเลวหลายเมืองในป่าฝนแอมะซอนที่สามารถเพิ่มผลผลิตทาง
เกษตรให้สงู พอรองรับประชากรนับแสนของเมืองได้ และยังคงความอุดมสมบูรณ์อยูไ่ ด้ถงึ ปัจจุบนั
เป็นเวลาหลายพันปีนั้น เกิดจากใช้ผงถ่านหรือที่เรียกว่าไบโอชาร์ในปัจจุบันเป็นวัสดุปรุงดิน
เนื่องจากโพรงพรุนและพื้นผิวจ�ำนวนมหาศาลในตัวไบโอชาร์สามารถดูดซับน�้ำ แร่ธาตุและเป็น
ทีอ่ ยูอ่ าศัยของจุลนิ ทรีย์ ช่วยเพิม่ ผลผลิตทางเกษตรกรรมได้มากและยัง่ ยืน และด้วยความเสถียร
และน�้ำหนักที่เบาจึงมีการน�ำมาใช้ในงานภูมิทัศน์เมืองเพื่อแก้ปัญหาการปลูกต้นไม้ใหญ่บนผิว
ดาดแข็งทึบหรือบริเวณที่ดินถูกบดอัดแน่น ท�ำให้น�้ำและอากาศสามารถลงไปถึงระบบรากได้
มากพอ ช่วยต้นไม้ปลูกใหม่เจริญเติบโตแข็งแรงไม่โค่นล้มเป็นอันตรายในอนาคต และยังสามารถ
น�ำไปใช้ในการฟื้นฟูต้นไม้เก่าแก่หรือต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่ก�ำลังได้รับผลกระทบจากการพัฒนา
เมืองและการท่องเที่ยวได้อีกด้วย แม้การศึกษาวิจัยและการสนับสนุนให้ใช้ไบโอชาร์ในภาคการ
เกษตรของประเทศไทยได้แพร่หลายไปบ้างแล้วก็ตาม แต่การค้นคว้าและทดลองเพื่อใช้ผสมกับ
ดินโครงสร้างส�ำหรับปลูกต้นไม้บนผิวแข็งในงานภูมทิ ศั น์เมือง และการใช้เพือ่ ฟืน้ ฟูตน้ ไม้ประวัต-ิ
ศาสตร์ที่ก�ำลังทรุดโทรมก่ออันตรายอยู่ในขณะนี้นั้นยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร และโดยที่การใช้
ไบโอชาร์จะต้องฝังลงไปในดิน จึงถือได้ว่าเป็นการเก็บกักคาร์บอนอย่างยั่งยืนไปในตัวได้ด้วย
ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศทั่วโลกจึงต่างตื่นเต้นและเห็นตรงกันว่า การใช้ไบโอชาร์
คือวิธีเดียวที่มีค่าใช้จ่ายต�่ำและยั่งยืนที่สุดในการเก็บกักคาร์บอนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

ค�ำส�ำคัญ : ไบโอชาร์ ก๊าซเรือนกระจก ดินโครงสร้าง การฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ งานรุกขกรรม


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๕๓

Abstract: Biochar in Urban Landscape and Sustainable Way for Carbon


Sequestration
Professor Emeritus Decha Boonkham
Fellow of the Academy of Arts,
The Royal Institute, Thailand
The disposal of biomass leftover from tree and shrub pruning and
storm damages in urban landscape, almost everywhere in the world, will
become carbon dioxide at the end of its natural carbon cycle and return into
atmosphere. The discovery of highly fertile dark soil patches around ancient
cities of Amazon rain forest that enabled yields of crops enough to support
hundreds of thousand population residing in poor soil of Amazon rain forest
that; it was mixed with charcoal --manmade carbon, now called biochar. The
mixture is still stable and retaining its fertility up to present day due to its
large number of surfaces within its countless pores which can absorbed huge
amount of air, water, mineral as well as microbes essential for producing food
for plant roots, thus increasing yields. With its stability and light weigh prop-
erties, it has now been used for planting trees in hard paving or compacted
soil in urban landscape project areas, allowing enough air and water as will as
nutrients to reach plant root zones promoting strong roots that reducing
public risk and saving the cost of damages in the future. Biochar is also useful
for rehabilitating big old trees or historic trees dying from urban or tourism
development of present day. Though there are some research and practices
being done in agricultural sectors well over a decade in Thailand, the uses of
biochar in urban tree planting, particularly as structural soil mixtures to reduce
tree loss are still lagging. Due to it uses that must be buried underground,
therefore, and more importantly for scientists all over the world, it turned out
to be the cheapest and sustainable way for carbon sequestration they are
searching for decades to stop the threatening of global warming.

Keywords: biochar, carbon sequestration, structural soil, tree rehabilitation,


arboriculture
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๕๔ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

บทน�ำ
นักวิทยาศาสตร์ทกี่ ำ� ลังเฝ้าระวังปัญหาโลกร้อนต่างยอมรับร่วมกันว่า ขณะนีป้ ริมาณคาร์บอน-
ไดออกไซด์ในบรรยากาศได้เพิ่มเกินระดับปลอดภัยไปแล้ว๑ แม้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะได้ร่วมมือ
กันลดการปล่อยและหาวิธเี ก็บกักคาร์บอนทุกวิถที าง ซึง่ รวมถึงการระดมปลูกต้นไม้เพิม่ ขึน้ ทัว่ โลกอย่าง
เร่งด่วน เพราะมวลของต้นไม้ทุกส่วนเกิดจากการดูดซับคาร์บอนจากบรรยากาศ การปลูกต้นไม้ทั้ง
ในป่าและในเมืองจ�ำนวนมากทั่วโลกจึงถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บกักคาร์บอน (carbon seques-
tration) แต่เมื่อต้นไม้ที่หมดอายุขัยถูกเผาหรือถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนได-
ออกไซด์เวียนคืนสูบ่ รรยากาศได้อกี จึงถือกันว่าต้นไม้มคี วามเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral)
ไม่ใช่การเก็บกักอย่างถาวร ดังนัน้ การปลูกต้นไม้เพิม่ แม้จะมากเท่าใดก็ยอ่ มไม่ทนั ต่อการลดอัตราการ
เพิม่ อุณหภูมขิ องโลกที่ได้สูงเกินระดับแก้กลับคืนได้ไปแล้ว การค้นพบหย่อมดินด�ำท่ามกลางดินเลวใน
ป่าฝนแอมะซอนที่เอื้อให้ผลิตอาหารได้มากพอกับพลเมืองนับแสนคนได้ว่าเป็นดินที่มีถ่านที่คนยุค
นั้นจงใจเผาจากไม้ในป่าและบดใส่ไว้ การสอบอายุพบว่าถ่านนั้นแม้จะมีอายุหลายพันปีแต่ยังคงอุดม
ไปด้วยจุลนิ ทรียแ์ ละแร่ธาตุตา่ ง ๆ การค้นพบครัง้ นีท้ ำ� ให้นกั วิทยาศาสตร์ทกี่ ำ� ลังล้มเหลวในการค้นคว้า
วิจัยทุกวิถีทางเพื่อค้นหาวิธลี ดก๊าซเรือนกระจกจากบรรยากาศต่างตืน่ เต้นมีความหวัง เพราะพบว่าวิธี
ของชนโบราณทีใ่ ช้ถ่านปรุงดินในป่าแอมะซอนที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ไบโอชาร์ นั้น นอกจากจะมีง
ค่าใช้จ่ายต�่ำสุดแล้วยังมีประสิทธิภาพดีที่สุดส�ำหรับชะลออัตราการเพิ่มอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกินจุด
วิกฤติดังกล่าวได้อย่างมีนัยส�ำคัญ เพราะถ่านที่ฝังลงไปในดินมีความเสถียรไม่กลายเป็นก๊าซ จึงนับ
เป็นการเก็บกักที่เป็นลบทางคาร์บอน (Carbon negative) ที่เชื่อว่าสามารถลดปริมาณคาร์บอนได-
ออกไซด์ในบรรยากาศลงได้จริง
งานตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ในเมืองจะมีเศษชีวมวลจ�ำนวนมากทีจ่ ะต้องน�ำไปท�ำลาย เช่น กรุงเทพ-
มหานครมีไม้ยืนต้นที่ต้องตัดแต่งดูแลมากกว่า ๓ ล้านต้น ในจ�ำนวนนี้อยู่ใต้แนวสายไฟที่ถูกตัดหนัก
ทุกปีจ�ำนวนมากว่า ๑๕๐,๐๐๐ ต้น๒ นอกจากนี้ยังมีต้นไม้ริมถนน ทางหลวง สวนสาธารณะ ตาม
ที่สาธารณะขององค์กรปกครองท้องถิ่น ตามสวนผลไม้ และในที่ดินเอกชนทั่วประเทศอีกจ�ำนวน
มหาศาลทีจ่ ะต้องถูกตัดแต่งในแต่ละปี การน�ำไบโอชาร์ซงึ่ เป็นธาตุคาร์บอนทีเ่ สถียรใส่กลับลงไปในดิน
ซึ่งเป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจดังกล่าวจึงได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก หลายเมือง

ระดับปลอดภัย ๓๕๐ ppm (ส่วนต่อล้านส่วน) ระดับอันตราย ๓๙๒ ppm, ระดับปัจจุบัน ๔๐๐ ppm ที่มา:
www.mn350.org/the-facts/

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร จากไทยรัฐออนไลน์: https://www.thairath.co.th/content/
888020
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๕๕

ทั่วโลกจึงได้มีการจัดตั้งศูนย์รุกขกรรมป่าไม้เมืองเพื่อด�ำเนินการในด้านนี้เป็นการเฉพาะขึ้น ปัจจุบัน
ประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ดูแลและจัดการงานด้านรุกขกรรม หรือด้านการป่าไม้เมือง (urban forest
center) เพื่อจัดการกับเศษชีวมวลในเมืองต่าง ๆ ที่มีจ�ำนวนมหาศาลดังกล่าว การน�ำชีวมวลที่ได้
จากงานรุกขกรรมและมูลฝอยอินทรีย์ในเมืองมาแปรสภาพเป็นไบโอชาร์นอกจากเป็นการแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในเมืองแล้ว ยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาของโลกโดยรวมได้
อีกด้วย

ภาพที่ ๑ ส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ใหญ่ที่ถูกตัดแต่งในบ้านแห่งหนึ่งในเมืองซึ่งมีทั้ง ใบ กิ่งก้าน กิ่งใหญ่


และล�ำต้นจ�ำนวนมากที่จะต้องถูกน�ำไปก�ำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์เวียนกลับสู่บรรยากาศอีก
ที่มา : เดชา บุญค�้ำ, ๒๕๖๑

ไบโอชาร์ (biochar) คืออะไร


ไบโอชาร์ (Biochar) เป็นค�ำเรียกย่อของ Bio-charcoal หรือถ่านที่เกิดจากการเผาวัสดุ
ชีวมวลแบบไร้ออกซิเจน๓ จนเหลือแต่โพรงพรุนของคาร์บอน ไบโอชาร์ขนาดเพียง ๑ ลูกบาศก์
เซนติเมตร มีพื้นที่ผิวรวมมากกว่าสนามฟุตบอล และการที่จะเรียกว่าเป็นไบโอชาร์ได้นั้น จะต้องน�ำ
ถ่านไปบดแล้วบ่ม “เพาะเชื้อ” (inoculate) เสียก่อน โดยน�ำไปหมักกับน�้ำปุ๋ยหมักและดินที่มี
จุลินทรีย์เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่ผิวโพรง และปล่อยให้จุลินทรีย์ในดินเจริญระยะหนึ่งก่อนจึงจะน�ำ
ไปใช้งานได้ การน�ำไปใส่ในดินทันทีจะช่วยดูดความชื้นและอากาศพร้อมแร่ธาตุจากดินโดยรอบพร้อม
กับจุลินทรีย์เข้าไปเกาะอยู่ตามผิวโพรงจนอิ่มตัวมากพอระยะหนึ่งเสียก่อนที่ต้องใช้เวลาพอควรแล้ว


Pyrolysis คือ การสลายวัสดุด้วยความร้อนตั้งแต่ ๓๗๐-๘๗๐ องศาเซลเซียส จนเหลือคาร์บอนโครงสร้างที่เป็น
โพรงโปร่งที่มีพื้นที่มหาศาล
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๕๖ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

จึงจะปลดปล่อยออกธาตุอาหารมาให้รากต้นไม้จะน�ำไปใช้ได้เต็มที่ การบ่มหรือเพาะเชือ้ ให้แก่ถา่ นบด


เสียก่อนจึงเป็นสิ่งควรปฏิบัติ
การค้นพบ “ดินด�ำ” (Tera Petra๔) ที่อุดมสมบูรณ์เมื่อ ๕๐ ปีก่อนที่อยู่เป็นหย่อม ๆ ที่มี
พื้นที่ขนาดต่าง ๆ ที่กระจายอยู่โดยรอบเมืองโบราณซึ่งบางเมืองมีอารยธรรมสูงและเคยมีประชากรถึง
๓๐๐,๐๐๐ คน เป็นการตอบข้อกังขาของนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีที่สงสัยว่าสภาพดินที่เลว
จากการชะล้างของป่าฝนแอมะซอนไม่น่าจะมีผลผลิตทางเกษตรกรรมเพียงพอแก่การเป็นเมืองที่มี
ความเจริญหนาแน่นได้นั้น ...ว่าเกิดจากการเผาถ่านท�ำเป็นปุ๋ยใส่ลงไปในดินอย่างจงใจเพื่อท�ำให้ดินดี
ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารรองรับประชากรจ�ำนวนมากที่มีอารยธรรมระดับสูงในบริเวณดินเลวได้แม้จะ
มีอายุมากถึง ๓,๐๐๐-๙,๐๐๐ ปี การวัดค่าอายุจากดินด�ำที่พบว่ามีเศษถ้วยชามดินเผาและจากเศษ
กระดูกจากอาหารชั้นล่าง ๆ ที่ฝังปนอยู่ พบว่าตัวถ่านที่ท�ำให้ดินมีสีด�ำยังคงสภาพทางกายภาพและ
คงความอุดมสูงอยู่จนถึงปัจจุบัน

ภาพที่ ๒ โพรงในถ่านไบโอชาร์ขยาย ๖๐๐ เท่า


ที่มา : http://oldmooresalmanac.com/a-revival-of-biochar/


Terra preta (“dark earth”) ค้นพบโดยนักปฐพีวิทยาชาวฮอลันดาชื่อ Wim Sombroek ในช่วงคริสต์ทศวรรษ
1950, จากหย่อมบริเวณขนาดเล็กที่มีดินอุดมสมบูรณ์ในป่าฝนแอมะซอน ป่าที่ได้ชื่อว่ามีดินบนที่เลวและบาง
โดยได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “Amazon Soils” เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๕๗

ภาพที่ ๓ การเจริญเติบโตของรากกล้าไม้ในดินที่อุดมด้วยจุลินทรีย์
ที่มา : www.mberg.com.auimagesmycorrhiza.png

ไบโอชาร์ : ทางออกในการแก้ปัญหาโลกร้อนพร้อมกับการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรกรรม
นับตั้งแต่โลกเริ่มรณรงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่น�ำไปสู่ข้อ
ตกลงตามกฎบัตรเกียวโต (Kyoto Protocol) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ให้มีผลใช้บังคับใน พ.ศ. ๒๕๔๘
เพือ่ ลดอุณหภูมขิ องโลกลง ๒ องศาเซลเซียส เท่ากับช่วงก่อนยุคปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม โดยตัง้ เป้าลดลง
เท่าระดับ พ.ศ. ๒๕๓๓ ใน พ.ศ. ๒๕๖๓ และลดจากระดับนีล้ งไปให้กา๊ ซเรือนกระจกได้ทะยานสูงเกิน
จุดกลับคืน คือ ๔๐๐ ppm ไปแล้ว ดังจะเห็นได้ว่าภัยพิบัติธรรมชาติความที่รุนแรงขึ้นในขณะนี้ และ
ยังได้คาดการณ์กันว่าในอีก ๘๐ ปีข้างหน้า ระดับน�้ำทะเลยังอาจสูงขึ้นอีก ๖๐-๑๘๐ เซนติเมตร และ
จะท่วมเมืองใหญ่ชายฝัง่ ต่าง ๆ ทัว่ โลกรวมทัง้ กรุงเทพฯ ความห่วงใยและคิดหาทางแก้ไขจึงเกิดขึน้ อย่าง
จริงจังในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมาดังกล่าวมาแล้ว ไบโอชาร์ ซึ่งเป็น carbon negative จึงมีความ
ส�ำคัญ ทัง้ นีเ้ พราะงานวิจยั สิง่ ประดิษฐ์ และมาตรการต่าง ๆ ทีค่ ดิ ค้นผ่านมาไม่สามารถรับสถานการณ์
ได้ทัน เพราะต่างล้วนมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตทั้งสิ้น แม้แต่การระดมปลูก
ต้นไม้และการรณรงค์ให้หันมาใช้ไม้ที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral) ให้มากขึ้นก็ยังไม่
ทันการณ์ เพราะเมื่อไม้หมดสภาพหรือตายมันจะผุพังกลับสภาพเป็นก๊าซเรือนกระจกได้อีกดังกล่าว
มาแล้ว การค้นพบคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ของดินด�ำ (Terra Preta) ดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนการค้น
พบวิธีแก้ปัญหาที่ยากมากได้ด้วยวิธีง่าย ๆ นั่นเอง (Eureka eureka!)๕

นักรณรงค์บางกลุม่ เปรียบเทียบการค้นพบวิธแี ก้ปญ
ั หาการเก็บกักคาร์บอนด้วยวิธงี า่ ย ๆ นีว้ า่ เหมือนกับทีอ่ าคิเมดิส
อุทานขึน้ (Eureka eureka!!) เมือ่ ฉุกคิดการหาปริมาตรของวัตถุรปู ทรงซับซ้อนด้วยวิธงี า่ ย ๆ ด้วยการวัดปริมาตร
ของน�้ำที่ล้นจากอ่างว่าเท่ากับบริมาตรของร่างกายที่ลงไปแทนที่น�้ำ
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๕๘ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

การค้นพบวิธีเก็บกักคาร์บอนแบบติดลบ (negative carbon sequestration) ที่ถาวร


ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูก กระแสการส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอชาร์จึงเกิดขึ้นและได้รับการสนับสนุนอย่าง
จริงจังและกว้างขวางทัว่ โลก โดยเฉพาะในช่วง ๒ ทศวรรษทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยก็มกี ารค้นคว้าวิจัย
และส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอชาร์ในการเกษตร รวมทัง้ เริม่ มีการผลิตเชิงพาณิชย์จำ� หน่ายในตลาด
บ้างแล้วในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการบางกลุ่ม แต่ก็ยังคงอยู่ในวงแคบไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ในหมู่ประชาชนทั่วไป

ก ข
ภาพที่ ๔ การทดลองเปรียบเทียบความอุดมของดินด�ำและดินธรรมดาในป่าฝนแอมะซอนในบริเวณใกล้เคียงกัน
ก. ดินทั่วไปที่เป็นดินเหนียวขาดอินทรียวัตถุและธาตุอาหารจากการถูกชะล้างโดยน�้ำฝนจึงให้
ผลผลิตทางเกษตรไม่สูงพอรองรับเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
ข. ดินด�ำหรือดินมี “ไบโอชาร์” ที่พบตามหย่อมแหล่งเพาะปลูกโบราณที่กระจายอยู่รอบ ๆ เมือง
โบราณในป่าแอมะซอน
ที่มา : http://www.biochar-international.org/biochar/soils
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๕๙

ในงานรุกขกรรมเมืองและรุกขกรรมสาธารณูปโภคทัว่ โลก ซึง่ มีเนือ้ ไม้จากการตัดแต่งต้นไม้


ทีจ่ ะต้องไปก�ำจัดจ�ำนวนมหาศาลในแต่ละปีอยูแ่ ล้ว ดังนัน้ หากน�ำชีวมวลเหล่านีไ้ ปผลิตเป็นไบโอชาร์
เพื่อการปรับปรุงดินและใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ทั้งในเมืองและในงานเพาะปลูก และเมื่อรวมกับวัสดุ
เหลือทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวในชนบทแล้ว คาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ที่พืชดูดซับจากบรรยากาศก็
จะถูกเก็บกักไว้ในดินได้เป็นเวลาหลายพันปีและอาจถึง ๑๓,๐๐๐ ปี ดังถ่านจากไฟป่าที่พบและวัด
อายุได้ในแคนาดา (Peters, 2016) จึงนับได้ว่าเป็นวิธีท่ีควรน�ำมาปฏิบัติเพราะมีค่าใช้จ่ายต�่ำสุดและ
มีประสิทธิภาพสูงสุดในการหยุดยั้งการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึง
เชื่อว่าไบโอชาร์เป็นทางออกทางเดียวที่เหลืออยู่ นอกจากนี้ ไบโอชาร์ยังสามารถช่วยเพิ่มปริมาณ
ชีวมวลให้มากเป็นทวีคูณได้อีกด้วย ทุกประเทศจึงให้การสนับสนุนการใช้ไบโอชาร์ในด้านต่าง ๆ เป็น
อย่างมาก รวมทั้งงานค้นคว้าวิจัยและการเผยแพร่ ซึ่งหากค้นค�ำ biochar ใน Google Scholar จะ
พบว่ามีบทความวิชาการด้านนี้มากกว่า ๓๘,๐๐๐ เรื่อง และในเว็บไซต์ทั่วไปในภาษาอังกฤษจะพบ
ว่ามีมากถึง ๔๘๐,๐๐๐ เรื่อง ส่วนในภาษาไทยมี ๒๑๔,๐๐๐ เรื่อง และที่อาจนับว่าเป็นเว็บไซต์ทาง
วิชาการได้ก็มีมากถึง ๓๔,๐๐๐ เรื่อง แต่เป็นที่น่าสงสัยที่วิชาความรู้อันมากมายเหล่านี้กลับมีการน�ำ
ไปใช้ในทางปฏิบัติน้อยมาก

ก ข
ภาพที่ ๕ ก. วัฏจักรของคาร์บอน ...ชีวมวลของพืชทีด่ ดู ซับไว้เมือ่ ย่อยสลายหรือถูกเผา คาร์บอนเกือบทัง้ หมด
จะกลับคืนสู่บรรยากาศดังเดิม
ข. ชีวมวลที่ถูกเผาแบบไร้ออกซิเจนส่วนหนึ่งจะกลายเป็นแก๊สหรือน�้ำมันที่ให้ความร้อนที่สามารถ
น�ำไปใช้ในการหุงต้มแทนเตาแก๊สที่มาจากฟอสซิล ส่วนที่เหลือมากกว่าร้อยละ ๕๐ จะกลายเป็น
ถ่านส�ำหรับท�ำไบโอชาร์ที่สามารถเก็กกักคาร์บอนไว้ได้อย่างยั่งยืนนับหมื่นปี
ที่มา : http://www.biocharsolutions.com/overview.html
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖๐ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

คุณประโยชน์อื่น ๆ ของไบโอชาร์
นอกจากการใช้เป็นตัวเก็บกักคาร์บอน (Carbon sequestration) ที่มีราคาถูกและยั่งยืน
ดังกล่าวมาแล้ว ประโยชน์ทั่วไปของไบโอชาร์สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
๑. การฟื้นฟูดิน การเพิ่มผลผลิตการเกษตร และการปลูกป่า ไบโอชาร์มีเนื้อที่ผิวโพรง
มากอย่างไม่นา่ เชือ่ (ภาพที่ ๒) ความสามารถในการดูดซับก๊าซและดูดซึมความชืน้ จึงสูงและยังมีโพรง
จ�ำนวนมาก ท�ำให้จลุ นิ ทรียช์ นิดทีต่ อ้ งการออกซิเจนในดินมีทอี่ ยูอ่ าศัยเจริญเติบโต ช่วยย่อยสลายแร่ธาตุ
ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ คุณสมบัติในการเพิ่มความจุในการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า [Cution
Exchange Capacity (CEC)] ของคาร์บอนท�ำให้แร่ธาตุและปุ๋ยที่ถูกตรึงไว้ได้ไม่ถูกชะล้างตามน�้ำ
ถูกย่อยสลายให้เป็นสารประกอบทีร่ ากต้นไม้นำ� ไปใช้ได้เต็มที่ ระบบรากของต้นไม้จงึ มีปริมาณมากกว่า
ดินทั่วไปที่ปรับปรุงด้วยการใส่ปุ๋ย ท�ำให้พืชเจริญเติบโตให้ผลผลิตและมีชีวมวลมากเป็นทวีคูณตาม
สิ่งแวดล้อมได้ถึงปีละร้อยละ ๑๑-๔๐ ไบโอชาร์จึงเหมาะส�ำหรับการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมที่ถูกชะล้าง
เช่น เขาหัวโล้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกกว่าวิธีอื่นมากอีกด้วย
“ความหวังใหม่ส�ำหรับการฟื้นฟูเหมืองร้างด้วยไบโอชาร์ที่สามารถเปลี่ยนเนินหินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นผืนป่าสีเขียวอันเยี่ยมยอด”
New hope for mine cleanups after biochar transforms barren mountainside into bodacious greenery

ก ข
ภาพที่ ๖ การใช้ไบโอชาร์ในการฟื้นฟูสภาพ
ธรรมชาติของเหมืองร้างในต่างประเทศ
ก. ภาพเนินของเหมืองเงินในรัฐโคโลราโด สหรัฐ-
อเมริกา ที่ถูกทิ้งร้างมานาน ๖๐ ปีโดยที่
พืชไม่สามารถขึ้นปกคลุมได้เพราะอินทรียวัตถุ
และธาตุอาหารถูกชะล้างไปจนหมด
ข. การพ่นไบโอชาร์คลุมผิวเนิน
ค ค. เนินที่พืชขึ้นปกคลุมได้หนาแน่นพอที่จะยับยั้ง
การถูกชะล้างได้ในปีถัดมา
ที่มา : http://archives.realaspen.com/article/850/New-hope-for-mine-cleanups-after-biochar-
transforms-barren-mountainside-into-bodacious-greenery
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๖๑

๒. คุณประโยชน์อื่น ๆ ถ่านที่เผาแบบไร้ออกซิเจน (Pyrolysis) ด้วยอุณหภูมิสูงมากที่


เรียกว่าถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) ได้ถูกน�ำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ มานานนับร้อยปีแล้ว เช่น
ทางการแพทย์ การอุตสาหกรรม เพือ่ ดูดซับสารพิษ ดับกลิน่ กรองน�ำ้ และอืน่ ๆ ปัจจุบนั มีการน�ำถ่าน
ไบโอชาร์ไปกรองน�ำ้ เสียครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมือ่ อิม่ ตัวแล้วจึงน�ำมาใช้เป็นปุย๋ หรือวัสดุ
คลุมดินในภายหลัง แต่การน�ำถ่านมาใช้ในฐานะของไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพเพื่อการเก็บกักคาร์บอน
เพิ่งเริ่มกันอย่างจริงจังเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมานี้เองจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนดังกล่าวแล้ว ปัจจุบัน
หลายประเทศมีการทดลองและน�ำไบโอชาร์มาใช้ในการปรับปรุงดินในงานภูมิทัศน์เมืองและงาน
เกษตรกรรม เมืองที่ดินเสื่อมสภาพจากการปลูกสร้างและการถูกชะล้าง รวมทั้งการน�ำมาใช้ในการ
ปลูกป่าที่พบว่าสามารถเพิ่มอัตราการฟื้นฟูได้มากถึงร้อยละ ๔๑ (Thomas, 2015)

ภาพที่ ๗ การทดลองปลูกหญ้าบนพื้นที่ดินทรายแห้งแล้งด้วยการใช้และไม่ใช้ไบโอชาร์โดยมหาวิทยาลัยแห่ง
ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=tj_Z4QM4nro

การท�ำไบโอชาร์ในประเทศไทย
การเผาถ่านเพื่อการหุงต้มในโลกรวมทั้งประเทศไทย มีแต่โบราณและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
แต่ก็ลดลงเปลี่ยนไปใช้แก๊สและไฟฟ้าที่สะดวกและสะอาดกว่า นอกจากนี้ ความห่วงใยเกี่ยวกับ
การตัดไม้ท�ำลายป่าและปัญหามลพิษในอากาศได้มีส่วนท�ำให้การใช้ถ่านในการหุงต้มยิ่งลดลงไปอีก
โดยเฉพาะในเมือง อย่างไรก็ดี การตระหนักได้ในปัจจุบันว่าการใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงที่ถือได้ว่ามีความ
เป็นกลางทางคาร์บอน ท�ำให้การเผาถ่านแพร่หลายขึ้นอีกครั้งในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา แต่ข้อที่ถือว่าดี
ก็ยังเป็นเพียงการลดการปล่อยคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเท่านั้น
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖๒ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

ความรู้ด้านการใช้ไบโอชาร์เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนควบคู่กับประโยชน์ทางเกษตรกรรมเริ่ม
เป็นทีร่ จู้ กั ทางวิชาการเป็นครัง้ แรกในวงแคบ๙ เมือ่ ประมาณ ๑๐ ปีเศษมานีเ้ อง ปัจจุบนั มีการถ่ายทอด
และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอชาร์อย่างแพร่หลายและอย่างรวดเร็วในเกือบทุกมหาวิทยาลัย
ที่มีการสอนวิชาเกษตรกรรม นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีการเผยแพร่และฝึก
อบรมวิธกี ารสร้างเตาเผาไบโอชาร์ราคาถูก มีการสอนวิธกี ารน�ำไปใช้ในการเกษตร รวมทัง้ การเผยแพร่
ในวารสารทางวิชาการจ�ำนวนหนึ่งด้วย แต่กระนั้น ส�ำหรับประชาชนทั่วไปก็ยังไม่รู้จัก รวมทั้งใน
วงการงานรุกขกรรมที่มีเศษวัสดุชีวมวลจ�ำนวนไม่น้อยที่ถูกปล่อยให้สลายตัวผุพังหรือเผาทิ้งกลายเป็น
ก๊าซเรือนกระจกคืนสู่บรรยากาศ นอกจากนี้ ภูมิสถาปนิกและนักจัดสวนซึ่งเป็นผู้ก�ำหนดคุณสมบัติ
ของดินปลูกเองก็ยังไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และการใช้ไบโอชาร์เท่าที่ควร
ปัจจุบัน การผลิตเตาเผาไร้ควันและเตาหุงต้มชีวมวลส�ำเร็จรูปมีจ�ำหน่ายอย่างแพร่หลายใน
ต่างจังหวัด ซึ่งมีการผลิตไบโอชาร์ส�ำเร็จรูปออกจ�ำหน่ายไปทั่วประเทศทั้งในปริมาณมากเป็นคิวบิก
เมตรจัดส่งถึงที่ และที่ท�ำเป็นถุงเล็กพร้อมใช้ตามครัวเรือนหรือสวนขนาดเล็กที่สามารถสั่งซื้อได้ทาง
อินเทอร์เน็ต

ก ข ค ง
ภาพที่ ๘ ก หนึ่งในวารสารหลายฉบับที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับถ่านชีวภาพแก่ประชาชน
ข เตาไบโอชาร์เหล็กไร้สนิมมีฉนวนหุ้มอย่างดีที่ผลิตจ�ำหน่ายในประเทศไทยส�ำหรับระดับครัวเรือน
เกษตร
ค แบบเตาที่เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง
ง เตาไบโอชาร์อย่างง่ายที่ผู้เขียนสั่งซื้อก�ำลังอยู่ในระหว่างการเผาจากบนลงล่าง โปรดสังเกต
เปลวไฟไร้ควันที่เกิดจากแก๊สในเนื้อไม้ที่ให้ความร้อนประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ องศาเซลเซียส
ที่มา : ภาพ ก-ค เว็บไชต์โฆษณาสินค้าเตาไบโอชาร์ที่เผยแพร่ทั่วไปทางอินเทอร์เน็ต
ภาพ ง เดชา บุญค�้ำ, ๒๕๖๐

http://research.rdi.ku.ac.th/forest/Project.aspx?ProjectNumber=0930858000&BudgetYear=2009
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๖๓

การใช้ไบโอชาร์แก้ปัญหาการปลูกต้นไม้ใหญ่ในงานภูมิทัศน์เมือง
ผิวพื้นที่ในเมืองส่วนใหญ่มักถูกบดอัดหรือถูกดาดผิวทึบแข็ง เช่น ถนน ลานเมือง ลาน
จอดรถ หรือทางเดินเท้า เป็นสาเหตุให้ระบบรากของต้นไม้ปลูกใหม่ไม่เติบโตแข็งแรงเท่าที่ควร จาก
การขาดออกซิเจนและความชื้นที่ไม่เอื้อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายแร่ธาตุในดินในรูปที่ต้นไม้น�ำไปใช้ได้
ดังกล่าวแล้วข้างต้น ส่วนต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ปลูกไว้เดิมที่เมื่อระบบราก โดยเฉพาะรากสมอที่ท�ำ
หน้าที่ยึดล�ำต้นไม่ให้โค่นถูกบดอัดแน่นจะค่อย ๆ เสื่อมถอย โดยเริ่มจากรากฝอยและรากแขนงที่ผุ
ลามมาตามล�ำดับ และเมื่อผุถึงโคน ต้นไม้ก็จะโค่นล้มสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น
หลายประเทศจึงมีการน�ำไบโอชาร์ที่มีความเสถียรและมีโพรงโปร่งอากาศและเก็บความชื้นได้ดี
ดังกล่าวนี้ไปผสมกับดินที่เรียกว่าดินโครงสร้าง ซึ่งเมื่อถูกบดอัดแน่นแล้วก็ยังคงสภาพโพรงที่เอื้อต่อ
การด�ำรงชีวิตของจุลินทรีย์และระบบรากได้ดี ท�ำให้ต้นไม้ที่เสื่อมโทรมใกล้ตายหรือใกล้ล้ม สามารถ
ฟื้นคืนสู่สภาพที่มีรากแข็งแรงปลอดภัยได้ดังเดิม หรือดีกว่าเดิม

ภาพที่ ๙ ซ้าย สภาพต้นไม้ใหญ่ปลูกบนพื้นที่ผิวดาดแข็งที่ก�ำลังเสื่อมโทรมในกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน


โปรดสังเกตต้นซ้ายสุดที่ก�ำลังส่ออาการตาย
ขวา สภาพต้นไม้หลังการฟื้นฟูระบบรากด้วยดินโครงสร้างที่ผสมด้วยไบโอชาร์เพียง ๒ ปี
ที่มา : Johan Östberg, Stockholm Biochar Projec, Swedish University of Agricultural Sciences
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖๔ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

การใช้ไบโอชาร์เพื่อการปรับปรุงดินโครงสร้าง (Structural soil) ในงานภูมิทัศน์เมือง


ดินโครงสร้างที่เริ่มใช้เป็นวัสดุปลูกต้นไม้ส�ำหรับบริเวณที่ถูกบดอัด เช่น ถนน ทางเดิน
หรือลานเมือง ท�ำโดยการใช้หินท�ำถนนทั่วไปขนาดเดียวกันที่ร่อนแล้วมาบดอัดให้รับน�้ำหนักได้มาก
โดยยังมีโพรงที่มั่นคงให้ดินปลูกและอินทรีย์วัตถุที่ผสมแทรกยังคงอากาศและความชื้นไว้ได้โดยไม่ถูก
อัดแน่น มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ทดลองใช้และขุดดูการเจริญของรากต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกใต้ผิวลาน
แข็งมาแล้วเป็นเวลา ๗ ปี ปรากฏว่ารากสามารถเจริญและเดินได้ดี โตเร็ว และแข็งแรงกว่าการใช้ดนิ
ปลูกธรรมดา งานปลูกต้นไม้บนลานผิวแข็งที่รับน�้ำหนักมากด้วยการใช้ดินโครงสร้างจึงแพร่หลายและ
กลายเป็นข้อก�ำหนด (Specification) มาตรฐานส�ำหรับงานปลูกต้นไม้ใหญ่ในเมืองมากขึ้น อย่างไร
ก็ดี การใช้ดินโครงสร้างดังกล่าวก็ยังมีปัญหาความอุดมของดินดีที่ผสมแทรกพร้อมปุ๋ยเคมีถูกชะล้าง
หายไปตามน�ำ้ ฝนทีต่ กหนักซึมลงสูด่ นิ ชัน้ ล่าง และยังมีปญ
ั หาการคงความชืน้ ไว้ได้นอ้ ยในฤดูแล้งอีกด้วย
การน�ำไบโอชาร์มาใช้เป็นส่วนผสมมาตรฐานจึงเป็นทางออกในการแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ก ข


ภาพที่ ๑๐ การทดลองการใช้ดินโครงสร้างแบบธรรมดาและแบบใส่ไบโอชาร์ฟื้นฟูต้นไม้เมือง
ก ดินโครงสร้างธรรมดาก่อนเติมดินปลูกธรรมดาสูตรปรกติ
ข ดินโครงสร้างผสมไบโอชาร์
ค การเป่าดินเดิมที่แน่นและขาดธาตุอาหารออกด้วยเสียมลม (air spade) ก่อนใส่ดินโครงสร้าง
ผสมไบโอชาร์
ที่มา : Johan Östberg, Swedish University of Agricultural Sciences
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๖๕

เทศบาลนครสตอกโฮล์มได้น�ำร่องทดลองใช้ไบโอชาร์ซึ่งมีคุณสมบัติในการอุ้มความชื้น
และอากาศไว้ได้มากและนานดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมของดินโครงสร้าง ปรากฏว่าได้ผลดีกว่า
ต้นไม้ที่ปลูกด้วยดินโครงสร้างทั่วไปที่ท�ำให้ต้นไม้เติบโตเร็วในระยะแรกแต่ชะลอการเติบโตและค่อย
ๆ ทยอย
ตายในบางพื้นที่ (ภาพที่ ๘) ดังนั้น การใช้ดินโครงสร้างที่มีส่วนผสมของไบโอชาร์จึงเป็นการแก้
ปัญหาการปลูกต้นไม้ใหญ่บนผิวแข็งในเมืองได้พร้อมกันกับการแก้ปัญหาการเก็บกักคาร์บอนแบบ
ถาวรที่เริ่มแพร่หลายไปทั่วโลก

ก ข
ภาพที่ ๑๑ การเสื่อมโทรมของต้นไม้ประวัติศาสตร์จากการท่องเที่ยว
ก ต้นตะเคียนวัดโพธิประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
ข ต้นจ�ำปาขาวที่เชื่อว่ามีอายุมากกว่า ๗๐๐ ปีที่อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางท่าว อ�ำเภอนครไทย
พิษณุโลก ที่เสี่ยงต่อการตายจากการอัดแน่นและการขาดแร่ธาตุและอินทรียวัตถุจากผิวดิน
ที่มา : ภาพ ก จาก www.bloggang.com / กรกฎาคม 2552 ภาพ ข จาก เดชา บุญค�้ำ, ๒๕๔๙

ไบโอชาร์กับงานฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ในเมืองและต้นไม้ประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
การพัฒนาเมืองและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว คือสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่
ทยอยกันโค่นล้มก่ออันตรายแก่สาธารณชนดังเป็นข่าวที่บ่อยมากขึ้นเป็นล�ำดับ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ใต้
ต้นไม้มักถูกบดอัดหรือถูกดาดผิวแข็งทับเพื่อใช้ส�ำหรับกิจการบริการต่าง ๆ ของเมืองที่ระบบราก
ใกล้ผวิ ดินขาดอากาศและความชืน้ จึงค่อย ๆ ตาย และท�ำให้พมุ่ ใบส่วนบนของต้นไม้ซงึ่ มักเป็นกิง่ ใหญ่
ที่หนักทรุดโทรมมีใบน้อยลงจนสร้างพลังงานไม่เพียงพอ เมื่อรากสมออ่อนแอจากการผุ จึงหมด
คุณสมบัติในการยึดดินและโค่น สร้างความเสียหายตามเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศถี่ขึ้นเป็นล�ำดับ โดย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖๖ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

เฉพาะหลังพายุฝน
เกือบทุกเมืองของประเทศไทยมักมีตน้ ไม้ใหญ่เก่าแก่คเู่ มืองขึน้ อยู่ และมีไม่นอ้ ยทีเ่ ป็นต้นไม้
ประวัติศาสตร์ซึ่งรวมถึงต้นไม้ทรงปลูก หรือต้นไม้ที่มีความโดดเด่นสร้างเอกลักษณ์ให้แก่เมือง นอก
จากนี้ ยังมีต้นไม้เก่าแก่อีกมากทั้งในอุทยานประวัติศาสตร์ในบางบริเวณที่จ�ำเป็นต้องพัฒนาให้เป็น
พื้นที่ส�ำหรับส่วนบริการนักท่องเที่ยว ต้นไม้เก่าแก่ของบางเมืองที่ได้รับการประโคมข่าวว่าใหญ่ที่สุด
ของจังหวัดก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน เพราะปล่อยให้มีการเทคอนกรีตหรือแอสฟัลต์ด้วย
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การกระท�ำดังกล่าว นอกจากจะเป็นการเพิ่มจ�ำนวนการสูญเสียต้นไม้ที่มี
คุณค่าสูงที่ประมาณค่าไม่ได้แล้ว ยังสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในแต่ละปีมากขึ้นด้วย
ดังนัน้ นอกจากจะเป็นทางออกในการเก็บกักคาร์บอนทีเ่ มืองปล่อยสูบ่ รรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และยัง่ ยืนด้วยจ�ำนวนต้นไม้ทปี่ ลูกเพิม่ ในเมืองเป็นจ�ำนวนมากแล้ว ไบโอชาร์ยงั กลายเป็นส่วนประกอบ
ส�ำคัญในการปลูกต้นไม้ในบริเวณดาดผิวแข็งในเมืองและใช้ส�ำหรับใช้ในงานฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ที่ก�ำลัง
ป่วยหรือทรุดโทรมก่ออันตรายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ก ข
ภาพที่ ๑๒ การตายของต้นพะยอม ต้นไม้ประวัติศาสตร์อายุนับร้อยปีแห่งเมืองพิษณุโลก
ก สภาพการเสื่อมโทรมของต้นพะยอมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖ (ต้นที่ล้มในภาพ ข) จากการพัฒนา
‘ภูมิทัศน์เมือง’
ข การพัฒนาด้วยการเทผิวดาดแข็งเหนือระบบราก ท�ำให้รากฝอยและรากแขนงขาดอากาศ
และน�้ำส�ำหรับจุลินทรีย์ที่ท�ำหน้าที่ย่อยสลายแร่ธาตุและขาดน�้ำส่งให้ใบเพื่อสังเคราะห์แสง
สร้างน�้ำตาลส่งให้ราก รากจึงทยอยตายและค่อย ๆ ผุลามถึงรากสมอใหญ่ที่โคน
ที่มา : ภาพ ก จาก คม-ชัด-ลึกออนไลน์ ๒๕๕๖ ภาพ ข จาก พิษณุโลกนิวส์ออนไลน์, ๒๕๖๐
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๖๗

ก ข ค
ภาพที่ ๑๓ ความพยายามฟื้นฟูต้นยางนาประวัติศาสตร์ที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยการ
ก ถากผิวแอสฟัลต์ออก
ข พรวนดินใส่ดินปลูก (ไม่ได้ใช้ไบโอชาร์)
ค ปูด้วยก้อนคอนกรีตมีช่องพรุนแล้วปลูกหญ้าเพื่อให้น�้ำและอากาศลงถึงระบบราก เอื้อให้
จุลินทรีย์ในดินเพิ่มจ�ำนวนและย่อยสลายแร่ธาตุให้ระบบรากฝอยฟื้นตัวและเพิ่มปริมาณ
ที่มา : บรรจง สมบูรณ์ชัย, ๒๕๖๑

สรุป
ในแต่ละปีมีชีวมวลปริมาณมหาศาลที่เกิดจากการตัดแต่งต้นไม้ในเมืองทั่วโลกที่ก่อให้เกิด
ปัญหาด้านการจัดการเป็นอย่างมาก หลายประเทศจึงได้จดั ตัง้ ศูนย์การป่าไม้เมืองขึน้ เพือ่ น�ำเศษชีวมวล
เหล่านี้ไปผลิตเป็นปุ๋ยหมัก วัสดุคลุมดิน หรือเผาทิ้งแบบธรรมดา ซึ่งก่อปัญหามลพิษและหมอกควัน
ซึ่งในที่สุดก็จะเปลี่ยนเป็นก๊าซเรือนกระจกตามวัฏจักรได้ดังเดิม และโดยที่ไบโอชาร์สามารถเก็บกัก
คาร์บอนได้อย่างยั่งยืนและมีค่าใช้จ่ายต�่ำ การน�ำมาผลิตเป็นไบโอชาร์แทนวิธีเดิมจึงมีความส�ำคัญ
และแพร่หลายมากขึน้ นอกจากนีย้ งั สามารถรวมเอาเศษขยะชีวมวลครัวเรือนทีแ่ ห้งแล้วทุกชนิดทีเ่ ป็น
มาใช้ในการนีไ้ ด้ดว้ ย เทศบาลนครสตอกโฮล์มได้รณรงค์ให้ประชาชนน�ำขยะทีเ่ ป็นชีวมวลทุกชนิดมาแลก
กับไบโอชาร์ที่ศูนย์ผลิตขึ้นเพื่อน�ำไปใช้ในการปลูกต้นไม้ในบ้านทั้งบนดิน ในกระถางท�ำสวนครัวบน
ดาดฟ้าหรือท�ำสวนหลังคาที่นอกจากเป็นการเก็บกักคาร์บอนจากบรรยากาศได้อย่างถาวมากกว่า
ร้อยละ ๕๐ แล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาการก�ำจัดขยะมูลฝอยอินทรีย์ที่รกตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๖๘ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

โดยทีว่ ธิ กี ารเผาชีวมวลในสภาวะออกซิเจนต�ำ่ ทีม่ คี วันและกลิน่ น้อย ศูนย์ไบโอชาร์จงึ สามารถ


ตัง้ อยูใ่ นบริเวณชุมชนชานเมืองหรือในบริเวณศูนย์ดแู ลรักษาในสวนสาธารณะของเมืองได้ดว้ ย รัฐบาล
จึงควรส่งเสริมให้ทุกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้งศูนย์การป่าไม้เมืองหรือชุมชนเพิ่มเติมขึ้นจาก
ที่ได้ส่งเสริมเพื่อการเกษตรในชนบทไปบ้างแล้ว
ในด้านงานพัฒนาภูมิทัศน์เมืองและงานรุกขกรรม สมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ก็ควรพิจารณาให้
มีการออกข้อก�ำหนดคุณสมบัตมิ าตรฐาน (Standard specification) ของดินปลูกให้มกี ารใช้ไบโอชาร์
เป็นส่วนผสมดินโครงสร้างและดินปลูกทั่วไปส�ำหรับการปลูกต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะในบริเวณดาดผิว
แข็ง รวมทั้งควรก�ำหนดให้มีการน�ำไบโอชาร์ไปใช้ในงานฟื้นฟูระบบรากของต้นไม้ใหญ่และต้นไม้
ประวัติศาสตร์ของเมืองหรือชุมชนที่ก�ำลังทรุดโทรมดังเมืองหลายแห่งในต่างประเทศซึ่งได้พิสูจน์แล้ว
ว่าประสบผลส�ำเร็จเป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง
กุลธิดา สะอาด. (๒๕๖๐). มารู้จักถ่านชีวภาพกันเถิด. นิตยสาร สสวท. ๔๕(๒), ๑๔-๑๗.
พินิจภณ ปิตุยะ. (๒๕๕๗). เอกสารองค์ความรู้ เรื่องถ่านชีวภาพ. เพชรบุรี : ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
ห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ.
อรสา สุกสว่าง. (๒๕๑๕). ยุทธศาสตร์ท�ำหนึ่งได้สาม : ไบโอชาร์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ดิน ลด
โลกร้อนและลดความยากจน. กรุงเทพมหานคร : โครงการความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัย
เกตรศาสตร์. [ออนไลน์]. จาก http://kukr.lib.ku.ac.th/db/BKN/search_detail/result/
309372, 2554. [๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๑].
Biochar Solution Inc., Biochar is a carbon negative. [online]. from http://www.
biocharsolutions.com/overview.html. [23 Jun. 2561].
Biochar.org. Biochar carbon sink - implementation in south Sumatra, Indonesia,
[online]. from http://www.biochar.org/joomla/index.php?option=com_content
&task=view&id=46&Itemid=3. [23 Jun. 2561].
Cayce, J. (2016). Biochar and Reclaiming Urban Soil. Nakano Associates. [online].
from http://www.nakanoassociates.com/biochar/. [23 Jun. 2561].
Cornell University. Mycorrhizal hyphae (Glomus clarum) growing on biochar.
Biochar Inoculant Project, (photo: S. Vanek). [online]. from http://www.css.
cornell.edu/faculty/lehmann/BREAD/updates.html. [7 Jul. 2561].
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณเดชา บุญค�้ำ ๑๖๙

Embrén, B. Planting Urban Trees with Biochar. [online]. from https://www.


biochar-journal.org/en/ct/77. [7 Jul. 2561].
Kansai Environmental Engineering Center Co., McLaughlin, Hugh and Pyle, Keegan.
(2016). Practical Applications of Biochar in the Landscape. Ecological
Landscape Alliance. [online]. from https://www.ecolandscaping.org/04/biochar/
practical-applications-of-biochar-in-the-landscape/. [23 Jun. 2561].
Peters, D. P. C. Editor. (2016). 13,000 years of fire history derived from soil charcoal
in a British Columbia coastal temperate rain forest. Ecosphere Journal, 7(7)
[online]. from https://esajournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/
ecs2.1415
Scharenbroch, B. (2014). Biochar and Biosolids Increase Tree Growth and Improve Soil
Quality for Urban Landscapes. Journal of Environmental Quality Abstract.
Shackley, Simon and others. (2008-2009) Biochar: reducing and removing CO2
while improving soils: A significant and sustainable response to climate
change? Evidence submitted to the Royal Society Geo-Engineering Climate
Enquiry in December 2008 and April 2009. [online]. from https://www.geos.
ed.ac.uk/homes/sshackle/WP2.pdf. [23 Jun. 2561].
Thomas SC, Gale N. (2015). Biochar and forest restoration: a review and meta-
analysis of tree growth responses. New Forests (Abstract). Springer
Troy, H. (2011). New hope for mine cleanups after biochar transforms barren
mountainside into bodacious greenery Real. Aspen–September 9, 2011.
[online]. from http://archives.realaspen.com/article/850/New-hope-for-mine-
cleanups-after-biochar-transforms-barren-mountainside-into-bodacious
greenery. [23 Jun. 2561].
Wilson, K. Justus von Liebig and the birth of modern biochar. [online]. from
https://www.biochar-journal.org/en/ct/5-Justus-von-Liebig-and-the-birth-of-
modern-biochar. [7 Jul. 2561].
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๗๐ ไบโอชาร์ในงานภูมิทัศน์เมืองฯ

Zwart, Drew C. (2015). Biochar & Carbon Concerns in the Urban Forest, Bartlett
Tree Research Laboratories (West). Texas ISA Carbon Talk. [online]. from
http://isatexas.com/wp-content/uploads/2015/12/Zwart-Texas-ISA-2015-
carbon-talk.pdf. [23 Jun. 2561].
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๗๑

มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์
ภาคีสมาชิก ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา

บทคัดย่อ
มนุษยนิยมเป็นปรัชญาอีกระบบหนึ่งในฐานะวิชาเป็นมนุษย์ ทั้งวิชาชีวิตและวิชาชีพ
ทรงอิทธิพลและพลานุภาพยิ่งต่อมวลมนุษยชาติแต่อดีตจนปัจจุบันและสู่อนาคต น�ำพาเพื่อน
มนุษย์ให้ด�ำเนินวิถีชีวิตข้ามพ้นคตินิยมเดิม ๆ ที่แบ่งแยกความเป็นมนุษย์ว่า “คนตะวันตกก็คือ
คนตะวันตก คนตะวันออกก็คือคนตะวันออก ทั้งสองหาเป็นหนึ่งเดียวกันได้ไม่” มนุษยนิยม
ค้นพบและสร้างสรรค์ขึ้นโดยมนุษย์ ผสมผสานปรัชญาบริสุทธิ์กับปรัชญาประยุกต์ที่เน้นเนื้อหา
และแนวทางตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ ญาณวิทยา คุณวิทยา และภววิทยา ตีความและขยาย
ความสู่ปรัชญาทุกสาขา
คตินิยมไทย-ปรัชญาไทย มีมนุษยนิยมเป็นรากฐาน ให้คนไทยได้ความรู้สึกนึกคิด
ความเห็น และความเชือ่ ในการครองชีวติ เป็นแบบคนไทย มีลกั ษณะเป็นธรรมชาตินยิ ม มัชฌิม-
นิยม เหตุผลนิยม สัมพัทธนิยม และประโยชน์สุขนิยม ตีความขยายความและปรับแต่งขึ้นจาก
ปรัชญาและศาสนา อินเดีย จีน และภายหลังได้จากปรัชญาตะวันตกมีกรีกเป็นแหล่งเกิดที่เน้น
ปรัชญาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยถือมนุษย์เป็นทรัพยากร ทรงคุณค่าเช่นทรัพยากรอืน่ ๆ
ในโลกทางวัตถุ
คตินิยมไทยสอนคุณลักษณะของคนไทยในอุดมคติ เน้นบูรณาการคดีโลกกับคดีธรรม
เป็นวิถชี วี ติ เชิดชูคณ
ุ ค่าและศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ทพี่ ฒ
ั นาขึน้ ผ่านวัฒนธรรมการศึกษาทีถ่ กู ต้อง
เพียงพอ ให้มีวิชาอันเป็นเลิศกับประเสริฐทางความประพฤติ มีบูรณาการคุณภาพชีวิตแห่ง
สุขภาพกายกับสุขภาพจิต เป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเองและพึ่งพาอาศัยกันได้ มีความเป็นไทย
นิยมกับสากลนิยม ครองชีวิตพอดี พอเพียง และสงบสุขสง่างาม

ค�ำส�ำคัญ : มนุษยนิยม คตินิยมไทย ชีวิตแบบคนไทย วิชาเป็นมนุษย์


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๗๒ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

Abstract: Humanism and Thai Ideology


Professor Emeritus Dr. Siddhi Butr-Indr
Associate Fellow of the Academy of Moral and Political Sciences,
The Royal Academy of Thailand
Humanism is a philosophical system in a scope of human science
for both life wisdom and professional knowledge. This philosophy has been
the influential and powerful for all man kinds since the past up to present
and towards the future. It shows the way to all humans to go beyond the
old ideology that discriminates humanity as “the westerners are the west,
the easterners are the east, both of them are heterogeneous”. Humanism
has been discovered by and is the product of human beings by mixing the
pure philosophy and applied philosophy and emphasizing on the content and
method of logic, ethics, epistemology, axiology and ontology, and expanding
to all branches of applied philosophies.
Thai Ideology–Thai philosophy, which its main source as Humanism,
is penetrated in sensation, thought, view and belief of Thai way of life, by which
its identities are corresponding to naturalism, moderation-ism, rationalism,
relativism, and utilitarianism. It has been developed and adapted from Indian
and Chinese traditions emphasizing on ethics and axiology, and later on from
the West as Greek tradition emphasizing on the philosophy of science and
technology, which evaluates Human Being as Human Resource as the same as
other ones in the material world.
Thai Ideology connotes the characteristics of an ideal Thai with
emphasizing on integrating secular and spiritual way of life and adores human
value and dignity by which one can develop via right and sufficient educational
culture, to be exalted with excellent knowledge and conduct, able to integrate
life and qualification in physio-mental health, being self-reliant, independent,
good friend, able to compromise Thai-ism with universalism, and able to live a
moderate, sufficiency, peace and beauty life.

Keywords: Humanism, Thai ideology, Thai life, Human Life wisdom


วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๗๓

บทน�ำ
วิถชี วี ติ ไทย ความรูส้ กึ นึกคิดไทย และคตินยิ มไทย มีววิ ฒ
ั นาการและพัฒนาการมายาวนาน
ได้สร้างสรรค์และสืบสานวัฒนธรรมคติธรรมบนรากฐานค่านิยมไทยและคตินิยมไทย อีกทั้งยัง
ปฏิสมั พันธ์แลกเปลีย่ นผสมกลมกลืนกับคตินยิ มอืน่ จนบรรลุวฒ ุ ภิ าวะทางปรีชาญาณไทยถึงระดับปรัชญา
ไทยทีม่ มี นุษยนิยมขยายความถึงมัชฌิมนิยมและสัมพัทธนิยม เป็นคุณลักษณะพิเศษและเป็นทีย่ อมรับ
เชื่อถือกันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ในยุคปัจจุบันไทยก�ำลังเสียดุลยภาพการครองชีวิตและด�ำเนินชีวิต
ตามวิถคี ตินยิ มไทยให้แก่พลานุภาพแห่งองค์ความรู้ ความคิดเห็น ความเชือ่ และคตินยิ มลัทธิเอาอย่าง
แนววัตถุนิยม บริโภคนิยม และกามสุขนิยม น�ำพาโดยตรรกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้
มหิทธานุภาพปรัชญาตะวันตกก็ตาม ไทยก็ยังตระหนักถึงความจริงโดยเหตุโดยผลข้อนี้ และก�ำลัง
ปรับแต่งวิถีชีวิตให้ถือมั่นในมนุษยนิยม มัชฌิมนิยม และสัมพัทธนิยม แห่งความพอดี พอเพียง
พอควร และคุณค่าความเป็นมนุษย์ บนรากฐานคตินิยมอันมั่นคงแห่งวัฒนธรรมไทย หนึ่งแห่ง
วัฒนธรรมเอเชีย คนไทยจึงน่าที่จะภูมิใจในคตินิยมไทยจากปรีชาญาณชนไทย ตามแนววิถีไทยที่ควร
ต้องได้รับการปรับแต่งให้คงดุลยภาพเพื่อลูกไทยหลานไทยสืบไป
คตินยิ มไทยบนรากฐานมนุษยนิยมได้สะสมไว้ในจิตวิญญาณของคนไทย ไม่ใช่เพียงเพือ่ สนอง
การสร้างสรรค์ สะสม และเสพเสวยผลประโยชน์ทางวัตถุธรรมเป็นส�ำคัญ แต่เพื่อปลูกฝัง เรียนรู้
หล่อเลี้ยง และพัฒนาคุณค่า คุณภาพ และคุณสมบัติ แห่งความรู้สึกนึกคิดจิตใจของคนไทย ให้
เป็นองค์คุณค่าส่วนรวมร่วมกันของมวลมนุษยชาติ จึงไม่ได้หวงแหนไว้เป็นของคนไทยเท่านั้น เช่น
มนุษยธรรม ขันติธรรม ยุติธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม คนไทยถือคตินิยมเหล่านี้เป็นพลังสูงสุด
ก�ำหนดจัดวางและน�ำพาวิถีชีวิตแห่งความเป็นไทย แสดงออกทางสังคม การเมือง การปกครอง
บริหาร จริยธรรม นิติธรรม วรรณกรรม จารีตประเพณี การศึกษา และอื่น ๆ คตินิยมนี้คือมิติแห่ง
คุณค่าซึง่ เป็นวัฒนธรรมคติธรรม ก�ำหนดวัฒนธรรมวัตถุธรรมอีกชัน้ หนึง่ เป็นพลังสร้างสรรค์ ปรุงแต่ง
ความเป็นคนไทยแบบไหนให้มคี ณ ุ สมบัติ บุคลิกลักษณะ อุปนิสยั ใจคอ ความรูส้ กึ นึกคิด จิตใจ และ
รสนิยมชีวิต เป็นคนลักษณะไหน ชนิดใด นักสู้หรือนักจ�ำนน ผู้น�ำหรือผู้ตาม ใฝ่รู้ใฝ่เรียนใฝ่คิดหรือ
ตรงกันข้าม ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์หรือผู้ลอกเลียนเอาอย่าง ผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ผู้สร้างหรือผู้ท�ำลาย ผู้คิด
เองท�ำเองหรือผู้เจริญรอยตามด้วยความจงรักภักดีอันหาที่สุดมิได้ มีน�้ำใจหรือแล้งน�้ำใจ สยามเมือง
ยิ้มหรือสยามเมืองน�้ำตา เป็นต้น ซึ่งลูกไทยหลานไทยต้องแสวงหาค�ำตอบต่อไป
อนึ่ง ชาติไทยและวิถีไทยไม่ได้เกิดมีขึ้นตามคตินิยมไทยในปรัชญาไทยอย่างเดียวล้วน ๆ
แต่อาศัยการผสมผสานกับบางส่วน ที่ได้จากคตินิยมในปรัชญาของชนชาติอื่นด้วยระดับหนึ่ง ทั้งใน
โลกตะวันออกคืออินเดียและจีนเป็นรากเหง้าเค้าเดิม และในโลกตะวันตกมีกรีกเป็นแหล่งก�ำเนิด ถ้า
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๗๔ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

ปรัชญาไทย วิถไี ทย และคตินยิ มไทยผสมผสานกับของชาติอนื่ ไม่ได้ยอ่ มไม่มคี วามเป็นไทยจนถึงปัจจุบนั


หรือผสมกับของเขามากเกินเหตุเกินผลเกินพอดีพอเหมาะพอควร เกินมิติสายกลาง-มัชฌิมนิยม
ความเป็นไทยย่อมถูกกลืน อยู่รอดมาจนบัดนี้ไม่ได้ เรียกว่า สิ้นชาติไทย ไทยจึงต้องฉลาดเลือกสรร
กลั่นกรองเอาบางอย่างของคตินิยมอื่นมาผสมกลมกลืนหลอมรวมปรุงแต่งเข้ากับของไทยเป็นหลัก
ที่ได้คัดสรรกลั่นกรองดีแล้วให้เป็นของไทยเพื่อความเป็นไทย ตามคตินิยมไทยที่มีลักษณะเด่นเป็น
มนุษยนิยมและมัชฌิมนิยม “..ของเก่าใช่ว่าจะเสียไปทุกอย่าง จึงมัวเมาเอาแต่ของใหม่ ของใหม่
ใช่ว่าจะเสียไปทุกอย่าง จึงมัวเมาเอาแต่ของเก่า...”

มนุษยนิยม
มนุษยนิยมมีแนวคิดความเห็น คตินิยมและความเชื่อหลักในเรื่องชีวิตแห่งความเป็นจริง
ความมีเหตุผล คุณธรรม ความถูกต้องดีงาม คุณค่า ศักดิ์ศรี ความมีศักยภาพและอิสรภาพของมนุษย์
โดยมนุษย์ เพื่อมนุษย์และสิ่งสัมพันธ์กับมนุษย์ มนุษยนิยมเป็นระบบปรัชญาพัฒนาขึ้นบนรากฐาน
ธรรมชาตินิยม ประสบการณ์นิยม เหตุผลนิยม สัมพัทธนิยม มัชฌิมนิยม มีแนวคิดความเห็นและ
ความเชื่อ สรุปได้ใจความว่า มนุษย์มีความส�ำคัญเหนือสิ่งอื่นใดในจักรวาล ความเป็นมนุษย์โดย
ธรรมชาติของมนุษย์มคี ณ ุ ค่าและความหมายสูงสุดเท่าเทียมเสมอเหมือนกันหมด ในการประกอบกรรม
เพื่อความเป็นอหังการ (Being) และความมีมมังการ (Having) ของมนุษย์ที่มนุษย์รับผิดชอบเอง
มนุษย์เป็นศูนย์กลางก�ำหนดมาตรการและวัดมาตรฐานของทุกสิ่งทุกอย่างในเรื่องของมนุษย์และที่
เกี่ยวกับมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยเหตุผลและคุณธรรม มีชีวิตอยู่ในธรรมชาติและภายใต้
กฎธรรมชาติ (Natural law) มีเจตจ�ำนงเสรี มีความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ศักยภาพและความสามารถ
เหนือสัตว์อนื่ ใด ในการพัฒนาตนเองให้บรรลุวตั ถุประสงค์ดา้ นต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ได้จนถึงความสิน้
ทุกข์ โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ แนะน�ำสั่งสอน ฝึกอบรมบ่มเพาะ ใช้เหตุผล มีมโนธรรม
มนุษยธรรม ปัญญาธรรม ผ่านวัฒนธรรมการศึกษาที่ถูกต้องเพียงพอ โดยไม่ต้องอาศัยอ�ำนาจ
บารมีใด ๆ ทีม่ กั กล่าวอ้างว่าเหนือธรรมชาติ แต่อย่างใด มนุษยนิยมยังหมายความรวมถึง แนวคิดความ
เห็น คตินิยม และความเชื่อในยุคหลัง ผสมกลมกลืนระหว่างจักรวาลวิทยาแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์
กับจริยศาสตร์ของศาสนาเทวนิยมนั้น ๆ ที่สัมพันธ์กับมนุษย์ แต่ไม่ถือว่าความเชื่อในเทพเจ้าหรือ
พระเป็นเจ้า (God) โดยชือ่ หลากหลายเหล่านัน้ เป็นค�ำตอบปัญหาสมบูรณ์เบ็ดเสร็จเด็ดขาดทุกอย่าง
ของมนุษย์ ในการพัฒนาชีวิตให้บรรลุภาวะสมบูรณ์ได้ มนุษย์ต้องอาศัยวิชาชีวิตจากศรัทธาและ
หลักค�ำสอนด้านคุณธรรมจริยธรรมของศาสนานั้น ๆ เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติในการครองชีวิต
และด�ำเนินชีวิตส่วนบุคคลและในสังคมมนุษย์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๗๕

มนุษยนิยมถือว่า มนุษย์มิใช่ผลิตผลทางสสารวัตถุล้วน ๆ ตามแนวปรัชญาสารนิยม-


วัตถุนิยม ทั้งมิใช่เป็นผลงานเนรมิตของสิ่งเหนือธรรมชาติที่เรียกกันว่าพระเป็นเจ้า โดยชื่อต่าง ๆ
ตามปรัชญาฝ่ายเทวนิยม แม้คุณค่า ศักดิ์ศรี สิ่งมุ่งประสงค์ และคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์ก็
มิได้ถูกก�ำหนดให้เป็นไปตามหลักความเชื่อของปรัชญาสุดโต่งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันระหว่างเทวนิยม
กับวัตถุนยิ มนัน้ เรือ่ งของมนุษย์เริม่ ต้น เป็นไป และสิน้ สุดเบ็ดเสร็จทีม่ นุษย์และโดยมนุษย์เอง คุณค่า
ความส�ำคัญและความหมายของความเป็นมนุษย์วินิจฉัยด้วยเหตุด้วยผลการประกอบกรรมของมนุษย์
เอง มนุษย์ครองพลังหลายลักษณะและหลายระดับในกระบวนชีวิตผ่านวัฒนธรรมการศึกษาเรียนรู้
วิชาเป็นมนุษย์ พลานุภาพเหล่านี้ก�ำหนดความเป็นไปของมนุษย์ ซึ่งแล้วแต่มนุษย์จะพัฒนาขึ้นมา
และใช้ไปในทางไหนเพื่ออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยเจตจ�ำนงอิสระ (Free will) ของมนุษย์เอง การได้เกิด
มามีชีวิตเป็นมนุษย์ได้ถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ความประเสริฐหรือความต�่ำทราม ทุกข์หรือสุข
มนุษย์รวมทั้งมนุษย์แบบไทยเป็นผู้ประกอบขึ้นมาเองและรับผิดชอบเอง
คนไทยตามคตินิยมไทยในปรัชญามนุษยนิยมพึงชื่นชมและพึงพอใจกับคุณค่าของชีวิต
ชีวติ ทีไ่ ด้มาและอยูไ่ ด้โดยยากนีแ้ ม้เพียงอึดใจเดียวก็ตาม พึงศึกษาเข้าใจและเข้าถึงความจริงและความ
ถูกต้องดีงามของชีวิต ไม่พึงหลีกเลี่ยงปัญหาใด ๆ ในวิสัยรับผิดชอบตามเหตุตามผลของมนุษย์ พึง
เสริมสร้างเงื่อนไขปัจจัยใด ๆ ที่ยังไม่เกินพอดี เพื่อประเทืองชีวิตนี้ให้สงบสุข สง่างาม ได้บูรณาการ
คุณภาพชีวิตแห่งสุขภาพกายกับสุขภาพจิต รวมและร่วมกันอยู่กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในสังคมที่ดี
ที่ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมาตามระบบความสัมพันธ์ของชีวิต ที่ให้ทุกคนได้เสวยมโนธรรม มนุษยธรรม
ยุติธรรม มั่นคง อบอุ่นใจ เย็นใจ ไว้เนื้อเชื่อใจ ถือใจเขาใจเรา ความผาสุกและสันติสุข เอื้อเฟื้ออาทร
กัน ความเป็นอิสรเสรีตามเหตุผล ให้ความดีในสังคมเป็นของทุกคน ไม่ผูกขาดแก่คนใดคนหนึ่ง หรือ
ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง ให้ทุกคนแสวงหาความดีและสง่างามแก่ชีวิต ครอง
ชีวิตและด�ำเนินชีวิตเยี่ยงคนในโลกมนุษย์นี้ที่ทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของร่วมกัน ภายใต้โลกธรรม (เรื่อง
ประจ�ำโลกมนุษย์) เดียวกันคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นี้สายหนึ่ง เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
และนี้อีกสายหนึ่งเคียงคู่กันเสมอมาที่คนมักพยายามแยกออกจากกัน โดยขอให้ได้เลือกเดินทางชีวิต
ตามสายแรกหากท�ำได้และหลบหลีกสายหลังหากท�ำได้ ความจริงมีอยู่ว่าทุกคนนับแต่ลมหายใจแรก
เกิดมา มิได้อยูบ่ นทางชีวติ สองเส้นเพียงสายใดสายหนึง่ ซึง่ ขนานควบคูก่ นั ไป แต่เป็นสายคูท่ างเดียวกัน
ที่ทุกคนรวมทั้งคนไทยด้วยต้องเดิน และก็มิใช่เป็นทางจ�ำแนกระดับความหมายเด็ดขาดและความ
ส�ำคัญสูงสุดในความเป็นมนุษย์ ทั้งหมดย่อมหมายถึงการประกอบกรรมและรับผลกรรมตามที่มนุษย
บัญญัติขึ้นใช้ในโลกและสังคมมนุษย์ ซึ่งโลกธรรมเหล่านี้ย่อมยุติพร้อมกับชีวิตมนุษย์ในโลกนี้และใน
ชาตินี้เท่านั้น แต่มนุษย์ยังเป็นและยังมีสืบต่อไปอีกตามยถากรรม
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๗๖ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

ชีวิตมนุษย์ปรุงแต่งขึ้นด้วยกายกับจิต จิตเป็นธาตุรู้เรียกว่าวิญญาณ ท�ำหน้าที่รับรู้ นึกคิด


และสะสมความรูค้ วามนึกคิดทีเ่ กิดจากปฏิกริ ยิ าตอบระหว่างอวัยวะรับรู้ มีตาเป็นต้นทีเ่ ป็นอัตวิสยั กับ
สิ่งมีอยู่ของโลกภายนอก มีรูปเป็นต้นที่เป็นวัตถุวิสัยตามสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ปรุงแต่งขึ้น (สังขาร)
เกิดส�ำคัญขึ้นมาว่า นี่คือตัวเรา (อหังการ) มีตัวตนเป็นต้น และนี่คือของเรา (มมังการ) มี ลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข เป็นต้น อหังการและมมังการ ไม่มีเวลาใดและ ณ ที่ใด โลกบัญญัติว่าโลกโดยมนุษย์
และมนุษยบัญญัติ ว่าเรื่องและข้อก�ำหนดปรุงแต่งขึ้นโดยมนุษย์ย่อมไม่มีเวลานั้นและ ณ ที่นั้น...
(สุตฺ.สสา.๑๘/๗๕-๗๖/๔๘-๔๙) ในโลกมิตินี้ มนุษย์ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ทุกขณะในวัฏสงสาร
วงจรชีวิตมนุษย์ในภพชาติต่าง ๆ ตามพลังกรรมโดยเจตนาของมนุษย์ จิตมนุษย์ก็ยังคงเกิดดับ ๆ
เป็นสันตติสืบเนื่องต่อไปในภพชาติใหม่ มีสภาวะเปลี่ยนแปรตลอดเวลาและทุกสถานที่ ร่างกายกับ
จิตเป็นสิ่งคู่กันและอิงอาศัยกัน โดยเหตุปัจจัยให้เกิดเป็นชีวิตมนุษย์แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะจิตไม่
ได้เป็นคุณสมบัติของสสารวัตถุที่มีขึ้นจากการรวมตัวปรุงแต่งของวัตถุธาตุตามทัศนะของวัตถุนิยม
ทัศนะวิถีพุทธอันเป็นแหล่งส�ำคัญยิ่งแห่งปรัชญาไทยถือว่าในความเป็นมนุษย์นี้จิตส�ำคัญกว่าร่างกาย
ซึ่งจะเป็นอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร จิตเป็นฝ่ายก�ำหนดน�ำพา เพราะจิตเป็นใหญ่เป็นฝ่ายน�ำ กาย
เป็นฝ่ายตาม
เมธีชนคนไทยนับแต่ปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งในและนอกราชส�ำนักจนถึงผู้รู้พื้นบ้านท้องถิ่น
ไทย ได้รวบรวมองค์ความรู้แนวพุทธผสมพราหมณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาขยายความ ตีความ
ดัดแปลง และเสริมแต่งขึ้น ปรากฏในวรรณคดีไทยลักษณะต่าง ๆ อาทิ เตภูมิกถา หรือที่รู้กันทั่วไป
ว่า ไตรภูมิพระร่วง ถือเป็นต�ำนานส�ำคัญยิ่งฉบับหนึ่งที่ว่าด้วยโลกทัศน์และชีวทัศน์ไทยสืบต่อจาก
ทัศนะแนวพุทธต้นแบบให้คนไทยได้ศกึ ษา มองเห็น และเข้าใจเรือ่ งโลกและมนุษย์ ๓ มิติ คือ มิตทิ าง
ธรรมชาติในกฎธรรมชาติ มิติทางวัฒนธรรมได้จากการสร้างเสริมธรรมชาติปรับแต่งให้เป็นวิถีชีวิต
ไทย โดยข้อก�ำหนดที่คนไทยบัญญัติขึ้นตามคตินิยมไทยแนวมัชฌิมนิยมเรียกว่า วัฒนธรรมไทย
และมิติเหนือโลกธรรมชาติทางกายภาพคือโลกทิพย์ ซึ่งหมายถึงเทวโลกและพรหมโลก ที่มิใช่
สิ่งเดียวกันกับพรหมโลกในศาสนาพราหมณ์
นอกจากองค์ประกอบทางวัตถุธรรมคือร่างกาย และทางนามธรรมคือจิตวิญญาณหรือจิตใจ
แล้ว ในชีวิตมนุษย์ยังมีบางสิ่งแลไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ ท�ำหน้าที่ดุจเป็นพลังค�้ำจุนให้มนุษย์มีชีวิตคงอยู่
เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตวิญญาณ คนไทยเรียกบางสิ่งนี้ว่าขวัญ (สิทธิ์ บุตรอินทร์,
๒๕๒๓ : ๖๘) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ อธิบายความไว้วา่ “ขวัญคือสิง่ ไม่มี
ตัวตน นิยมกันว่ามีอยู่ประจ�ำชีวิตของคน ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล อยู่สุขสบาย
จิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างกายไปเสีย ซึ่งเรียกว่าเสียขวัญ ขวัญหาย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๗๗

ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ท�ำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ และยังอนุโลมใช้ขวัญในสัตว์หรือสิ่งของ


บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคน” ขวัญอยู่
ในสายสิ่งนามธรรมเดียวกับจิตใจ แต่ไม่ใช่จิตวิญญาณ ภายหลังตายไป สิ่งไปเกิดใหม่ในภพชาติใหม่
ตามบุญตามกรรมดังกล่าวข้างต้นคือจิตวิญญาณ ส่วนขวัญหาได้ไปด้วยไม่ คนอาจถูกท�ำร้ายได้ ๒
ทางคือ ทางร่างกายกับทางจิตใจ เมื่อถูกท�ำร้ายทางจิตใจก็พูดกันว่าท�ำลายขวัญและเจ็บใจ ท�ำให้
ขวัญเสียหรือขวัญหนีดีฝ่อ ออกจากชีวิตคนไปร่วมสิงอยู่ในที่อื่น ๆ จึงต้องมีพิธีเชิญขวัญกลับคืนสู่ชีวิต
ให้ชื่อว่าพิธีเรียกขวัญ ยิ่งกว่านี้ คนไทยยังเชื่อว่า แม้ธรรมชาติก็มีชีวิตจิตใจและขวัญที่มนุษย์พึงต้อง
ระมัดระวังไม่ลบหลู่เบียดเบียนและท�ำลายธรรมชาติ เหตุเพราะคตินิยมที่ว่าชีวิตมนุษย์เองก็เป็นเพียง
ส่วนหนึ่งของธรรมชาติภายใต้กฎธรรมชาติและกฎที่มนุษย์ก�ำหนดขึ้นใช้เอง เรียกว่า มนุษยบัญญัติ
หรือวัฒนธรรม

คตินิยมไทย
คตินิยมไทยแนวปรัชญาไทยปรุงแต่งขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดจิตใจ ความเห็น เหตุผล สติ
ปัญญา คุณธรรม คุณค่า ค่านิยม และความเชื่อ ปรากฏออกมาทางวาจาและทางกายให้เป็นรูปธรรม
หรือวัตถุธรรม สร้างสรร ดัดแปลง แต่งเติม ผสมกลมกลืน และหลอมรวมให้เป็นอุดมคติ อุดมการณ์
คตินิยม หลักการ และแนวทางปฏิบัติในการครองชีวิตและด�ำเนินชีวิต ผ่านประมวลประสบการณ์
ชีวิตของคนไทยแต่อดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคต ปรับแต่งจากวิถีพุทธไทยเป็นหลักและวิถีพื้นบ้านท้องถิ่น
ไทย มีคุณลักษณะทั้งแบบไทยนิยมและสากลนิยมหลอมรวมเข้าด้วยกัน คตินิยมไทยมีขึ้นโดยการ
ศึกษาเรียนรู้ ปลูกฝัง อบรมสั่งสอน และน�ำพาสู่ความประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิต ถือเป็นรากฐานส�ำคัญ
และจ�ำเป็นยิ่งในการพัฒนาชีวิตไทย คาดหวังให้คนไทยต้องมีวิชาเป็นมนุษย์ให้มีชีวิตเป็นได้ ทั้งคนดี
และคนเก่งด้วยวิชาชีวิตทางคดีธรรมซึ่งเรียนตลอดชีวิตไม่มีจบ มุ่งท�ำให้เป็นคนดี กับวิชาชีพทาง
คดีโลกเรียนจบได้ตามหลักสูตรนัน้ ๆ ทีท่ ำ� ให้เป็นคนเก่ง บูรณาการวิชาชีวติ กับวิชาชีพเข้าด้วยกัน ให้
คนไทยสามารถประกอบสัมมาชีพ รู้ดีรู้ชั่ว รู้ผิดรู้ถูก รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มีอุปนิสัย
ใจคอโอบอ้อมอารี ปรองดอง ก�ำราบความอิจฉาริษยาอาฆาตพยาบาท เอื้อเฟื้อเกื้อกูล พึ่งพาอาศัย
กัน แบบใจเขาใจเรา เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ขยันหมั่นเพียร มีเหตุมีผล มีขันติธรรม สามัคคีธรรม
ความกล้าหาญทางจริยธรรม มีวินัยแห่งตน มีความใฝ่ใจใคร่รู้ไม่มีอิ่มไม่มีพอ มีความซุกซนทาง
ความคิด ไม่ประมาท เพือ่ พัฒนาคุณค่าคุณภาพและคุณสมบัตคิ นไทยให้เป็นคนดีและคนเก่งนี้ คนไทย
จึงได้มีคตินิยมและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมมา โดยให้ผู้ชายที่สังคมไทยมักนิยมให้เป็นเสมือน
ช้างเท้าหน้าน�ำครอบครัวและชุมชน ควรต้องบวชเรียนเขียนอ่านเป็นสามเณรหรือพระภิกษุในวัด วัด
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๗๘ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

จึงเป็นโรงเรียนปลูกฝังและฝึกอบรมวิชาเป็นคนไทยแห่งแรกในวิถีไทยถัดจากบ้านหรือครอบครัวมุ่ง
ให้ลูกไทยหลานไทยมีวิชาอันเป็นเลิศกับประเสริฐทางความประพฤติ รู้บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์
มิใช่ประโยชน์ ค�ำน�ำหน้าชื่อว่าบัณฑิต หมายถึง ผู้รู้ในสังคมไทย ต่อมาค�ำว่าบัณฑิตกร่อนสั้นเข้าตาม
อัธยาศัยแบบไทยเหลือแต่ฑิต ประเพณีการบวชเรียนเขียนอ่านตามรากฐานวิถีพุทธไทยนี้ยังคงถือ
ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส�ำหรับลูกไทยหลานไทยที่รัฐขยายความเอื้ออาทร
ให้โอกาสการศึกษาเล่าเรียนไม่ทั่วถึง วัดจึงรับช่วงจากบ้านซึ่งภารกิจพัฒนาลูกไทยหลานไทยผ่าน
กระบวนการศึกษาเล่าเรียน และวัดจึงเป็นที่พึ่งพาอย่างแท้จริงในวิถีชีวิตไทยเสมอมาก่อนมีโรงเรียน
ของรัฐ ซึ่งส่วนมากเริ่มต้นสร้างขึ้นภายในวัด ค�ำว่า “บวร” บ้าน วัด และโรงเรียน จึงเป็นแหล่งและ
สัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ในคตินิยมการพัฒนาลูกไทยหลานไทยแต่เดิมมา (สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๔๘ :
๑๐๓-๑๐๖) ดังจะได้ขยายความในข้อว่าด้วยคตินิยมการศึกษา
ชาวพืน้ บ้านท้องถิน่ ไทยครองชีวติ อันสงบสุขสง่างามในกรอบชะตาชีวติ แห่งบุญท�ำกรรมแต่ง
แต่อดีตถึงปัจจุบันสู่อนาคตชาติ เป็นชีวิตต้องตามแบบอย่างขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยืดหยุ่น
ได้ไม่เกินเหตุเกินผล รับการปลูกฝังหล่อหลอมกล่อมเกลา อบรมสั่งสอนให้เติบใหญ่ขึ้นมา หวังให้
เป็นได้ทั้งคนดีและคนเก่ง สอนให้มองโลกเข้าใจชีวิตและเข้าถึงความเป็นคนในด้านดีงามให้คุณให้
ประโยชน์ อยูก่ บั ความสุนทรียะตามธรรมชาติ ในกฎธรรมดา แห่งธรรมชาติและชีวติ ทีเ่ สริมสร้างปรับ
แต่งเพิ่มขึ้นตามคตินิยมและคุณค่าทางวัฒนธรรม พึงพอใจในชีวิต อยู่รวมและร่วมกันอย่างเรียบง่าย
อยู่ง่ายกินง่าย สะดวก สบาย และสนุกตามอัตภาพ ลดการวางเงื่อนไขชีวิตให้เหลือแต่พอดีพองาม
กันเอง ใจเขาใจเรา ที่ไม่มุ่งเอาส่วนตัวเหนือส่วนรวม รังเกียจความขัดแย้ง ตัวใครตัวมัน เอาดีใส่ตัว
หาชั่วใส่คนอื่น เบียดเบียนข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ เหลื่อมล�้ำต�่ำสูง อยุติธรรม อคติ มีชีวิตอยู่มุ่ง
เอาดีในโลกนี้ หวังได้ดอี กี ในโลกหน้า ถือว่าไม่มอี ะไรสมบูรณ์ไปทุกอย่างและพิการไปทุกเรือ่ ง ชีวติ มีทงั้
ทุกข์ทั้งสุข สมหวัง ผิดหวัง มีการให้ก็มีการรับ มีได้ก็มีเสีย มีสรรเสริญก็มีนินทา บ้านกับวัด คดีโลกกับ
คดีธรรม และคตินิยมอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
‘...เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ อย่าใฝ่เอาของรักท่าน อย่าริอ่านแก่ความ
ประพฤติตามบูรพระบอบ เอาแต่ชอบเสียผิด อย่ากอบกิจเป็นพาล อย่าอวดหาญแก่เพื่อน...อย่า
ใฝ่สูงเกินศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย...อย่าประมาทท่านผู้ดี มีสิน
อย่าอวดมัง่ ผูเ้ ฒ่าสัง่ จงจ�ำความ...สูเ้ สียสินอย่าเสียศักดิ.์ ..’ ผูร้ ไู้ ทยจึงสัง่ สอนไว้ในสุภาษิตไทยซึง่ ความ
เป็นจริงตามคตินิยมไทย :
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๗๙

ไร้สิ่งสิ้นอับแสง ปัญญา
อีกญาติวงศ์พงศา บ่ใกล้
คนรักย่อมโรยรา รสรัก กันแฮ
พบแทบทางท�ำใบ้ เบี่ยงหน้าเมินหนีฯ

พันเอก พระยาสารสาสนพลขันธ์ ชาวเยอรมันแท้ ๆ เป็นคนแรกที่ได้รวบรวมสุภาษิตไทย
พ.ศ. ๒๔๔๗ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “สุภาษิตค�ำสอนไทยในคตินิยมไทยแสดงให้เห็นอัธยาศัย อุปนิสัย
ใจคอ และความคิดเห็นอันเฉียบแหลมของคนไทยในวิถีไทยอย่างดีเลิศ...” (พระครูวินัยธรประจักษ์,
๒๕๔๕ : ๓๖)
คนไทยในวิถีไทยแนวคตินิยมไทยได้รับการอบรมสั่งสอนวิชาชีวิตให้รู้จักพอดี พอเพียง
พอประมาณ เจียมเนื้อเจียมตัว ถ่อมตัว ตระหนักในความเป็นไปได้ไม่ได้ เหมาะสมไม่เหมาะสม
ควรค่าไม่ควรค่า เกินตัวไม่เกินตัว อย่างไร และสอนสั่งไม่ให้ลูกไทยหลานไทยอ่อนแอ ท้อแท้ ยอม
แพ้ ยอมจ�ำนน และทอดทิ้งคตินิยมวิถีไทย คตินิยมไทยคือวัฒนธรรมคติธรรมที่คนไทยสร้างสรรปรุง
แต่งขึ้นเองจากภูมิปัญญาไทยและได้รับจากผู้รู้ นักคิด นักปรัชญา นักศาสนา และองค์ศาสดาที่มี
แหล่งก�ำเนิดนอกประเทศไทย คือจากอินเดียและจีน เช่น มนุษยนิยม มัชฌิมนิยม และต่อมาจาก
วัฒนธรรมคติธรรมตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บริโภคนิยม กามสุขนิยม
คตินิยมไทยแนวมนุษยนิยม : คนไทยถือคตินิยมว่ามนุษย์คือเวไนยสัตว์ เกิดมีมาตาม
ธรรมชาติของมนุษย์ภายใต้กฎธรรมชาติคือกฎไตรลักษณ์ และกฎที่มนุษย์บัญญัติขึ้นใช้ในหมู่มนุษย์
ทั้ง ๒ กฎ คลุมเนื้อหาทุกด้านในโลกทัศน์และชีวทัศน์ไทย คนไทยแม้ไม่ปฏิเสธสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือ
ธรรมชาติแต่ได้รับการปลูกฝังให้เชื่อถือในกฎแห่งกรรม-บุญท�ำกรรมแต่ง โดยการประกอบกรรมทาง
มโนกรรม วจีกรรม และกายกรรมของตนเองในความรับผิดชอบของตนเอง ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว
สัมพันธ์กันทางเหตุผล ความดีความชั่ว ความถูกความผิด ความถูกต้องความบกพร่องผิดพลาด
ความทุกข์ความสุขในชีวติ และโลกเกิดขึน้ ตามเหตุตามผลโดยมนุษย์และรับผิดชอบโดยมนุษย์ แม้อาศัย
เหตุปัจจัยอื่นบ้างก็เป็นเพียงปัจจัยรอง มโนธรรมและมนุษยธรรม คือ คติธรรมพื้นฐานและส�ำคัญ
ที่สุดส�ำหรับคุณค่าความเป็นมนุษย์ จึงเห็นได้ว่าปรัชญามนุษยนิยมคือรากเหง้าและแก่นแกนคตินิยม
ไทยแนวปรัชญาไทยในทุกมิติทุกด้านและทุกระดับของวิถีชีวิตไทย
คตินิยมไทยแนวธรรมชาตินิยม : คตินิยมไทยสอนให้เข้าใจกฎธรรมชาติ-ธรรมดาและ
เข้าถึงความจริง เหตุผล บทเรียน ประโยชน์ และคุณค่าของธรรมชาติ รวมถึงสิง่ ตามธรรมชาติภายใต้กฎ
ธรรมชาติเดียวกัน ทุกอย่างในธรรมชาติย่อมไหลเลื่อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป ในการครองชีวิต
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘๐ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

และด�ำเนินชีวติ ให้สมั พันธ์กบั ธรรมชาตินี้ คนไทยควรต้องงดเว้นการละเมิดและฝ่าฝืนธรรมชาติได้เท่าไร


ยิ่งอยู่สงบสุขร่มเย็นได้เท่านั้น เชื่อได้ว่าแม้มนุษย์จะพัฒนาสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยา-
ศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่จากคตินิยมตะวันตกสักปานใด เพื่อหวังเอาชนะธรรมชาติ และถือ
เอาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมาบ�ำรุงบ�ำเรอสนองการเสพเสวยของมนุษย์ แต่มนุษย์อาจ
ท�ำได้บ้างในระดับหนึ่งในกาลเทศะหนึ่งเท่านั้น ‘คนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และได้ทุกอย่างจาก
ธรรมชาติ แต่ธรรมชาติไม่ได้อะไรเลยจากคน’ ยิ่งข่มเหงรังแกธรรมชาติเท่าไร คนยิ่งประสบปัญหา
ชีวิตและเป็นทุกข์ในชีวิตเท่านั้น คนไทยจึงอ้างเหตุผลแนวเปรียบเทียบถือชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันกับ
ธรรมชาติ ‘คนมีความรู้สึกนึกคิดจิตใจอย่างไร ธรรมชาติก็เป็นฉะนั้น’ สิ่งโดยธรรมชาติทั้งหลาย
ย่อมเป็นเองมีเองตามธรรมดาของสิ่งเหล่านั้น ดังโคลงโลกนิติว่า
‘พริกเผ็ดใครให้เผ็ด ฉันใด
หนามย่อมแหลมเองใคร เสี้ยมได้
จันทน์กฤษณาไฉน ใครอบ หอมฤา
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ ไหนด้วยฉลาดเองฯ’
คตินิยมไทยแนวมัชฌิมนิยม : คนไทยแต่เดิมมาไม่นิยมวิถีสุดโต่ง แต่นิยมชีวิตพอดี
พอเหมาะ พอควร พอเพียง ตามเหตุตามผล อนุโลมตามกฎธรรมชาติ รูว้ า่ ยิง่ ฝืนยิง่ ขัดขืนและอยูห่ า่ ง
ธรรมชาติ ชีวิตยิ่งมีปัญหาและเป็นทุกข์ จึงต้องด�ำเนินชีวิตทางสายกลางให้ได้บูรณาการแห่งสภาพ
แวดล้อมธรรมชาติ สภาพแวดล้อมมนุษย์-สังคม และสภาพแวดล้อมวัฒนธรรม ท�ำให้ชีวิตได้ปรกติ
ภาพ ดุลยภาพ ความพอดี พอประมาณ สมเหตุสมผล ลูกไทยหลานไทยรุ่นก่อนสร้างดุลยภาพในชีวิต
และวุฒิภาวะจากการเรียนรู้ ทั้งโดยประสบการณ์ชีวิตและการศึกษาเล่าเรียน ในสถาบันครอบครัว
สถาบันศาสนา และต่อมาขยายสู่สถาบันการศึกษาระดับและลักษณะต่าง ๆ เป็นแหล่งรวบรวม
องค์ความรู้ แนวคิดเห็น ความเชื่อ และคตินิยมเหล่านั้น คตินิยมวิถีชีวิตสายกลางนี้ ผู้เขียนถือเอา
ชื่อว่ามัชฌิมนิยม อิงรากศัพท์พุทธปรัชญา ‘มัชฌิมาปฏิปทา’ จากอริยสัจ ๔ ข้อสุดท้าย น�ำมาตี
ความขยายความและประยุกต์ความหมายเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ตามนัยนี้ มัชฌิมนิยม จึงได้
ความหมายอเนกส�ำนวนคิดในคตินิยมไทย เช่น ความเป็นกลาง สมภาพ ดุลยภาพ เหนือความสุด
โต่งและตกขอบ เหนือความขัดแย้ง ปกติภาพ บูรณภาพ ความเป็นธรรมดา ความยุติธรรมปราศจาก
อคติ พอดีพอเพียง ไม่ขาดไม่เกิน ผสมกลมกลืนได้ที่ได้ขนาด ลงตัว สามัคคี สมานฉันท์ ปรองดอง
ใจเขาใจเรา อุเบกขา เป็นไปได้ สมควร สมเหตุสมผล สมนัยและเชื่อมนัยตามต�ำราวิชาตรรกศาสตร์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๘๑

โดยนั ย ทางสายกลางแห่ ง คติ นิ ย มไทยที่ เ น้ น คุ ณ ค่ า แห่ ง สามั ค คี ธ รรมและขั น ติ ธ รรมนี้


เสถียรโกเศศ (๒๕๓๑ : ๓๔-๓๖) ได้ให้ทรรศนะว่า เหตุใดชาติไทยจึงอยู่รอดและอยู่ดีมาได้ตราบ
เท่าปัจจุบัน สรุปใจความตอนหนึ่งว่า ‘...ชาติไทยในชั้นเดิม เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในแหลมอินโดจีนนี้
ก็เป็นแต่แตกแยกกันอยู่ในทางเหนือมาก่อน... ถือมั่นในตัวตน หย่อนสามัคคีธรรม ที่ชาติยิ่งใหญ่ทั้ง
หลายเขามีกัน เป็นคุณสมบัติอันประเสริฐประจ�ำชาติ คนไทยต่างฝ่ายต่างได้รับความเจ็บปวดบอบช�้ำ
หวิดหายนะล่มจมและสิ้นชาติ แต่แล้วก็จ�ำเป็นต้องรวมกันครั้งแล้วครั้งเล่า (ด�ำเนินวิถีชีวิตความเป็น
ไทยสายเดียวกันอีก) เป็นแคว้น...เป็นประเทศโดยล�ำดับ จนได้มาเป็นประเทศไทยขึ้นในบัดนี้ จะเห็น
ได้ว่า เราเคยย่อยยับอับปางมาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งเราก็กลับฟื้นคืนมาได้ (มาร่วมครองชีวิต
วิถีสายกลางแห่งความปรองดอง ละทิ้งการเสพมิจฉาทิฐิ อหังการมมังการ ตัวใครตัวมัน) เพราะ
อะไรเราจึงด�ำรงความเป็นไทยมาได้ เหลือเป็นชาติเดียวโดดเดี่ยวในแหลมอินโดจีนนี้ ถ้าพูดอย่าง
หลักตรรกศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แปลว่าที่ชาติไทยเหลือรอดอยู่ได้เพราะความเหมาะเจาะ ทุก
อย่างพอดีกัน ตามวิถีสายกลาง ถ้าชาติไทยไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะเจาะความพอดี ในความเป็นไป
ตามเหตุ ตามผล ตามเหตุการณ์ ชาติไทยก็คงไม่อยู่รอดตลอดมาจนทุกวันนี้ จริงอยู่เราอาจมีสิ่งอื่นที่
ไม่พอดี จ�ำเพาะ เหมาะเจาะ ในความเป็นไทยอยู่บ้าง...’ ในประวัติศาสตร์ไทย คนไทยและผู้น�ำไทย
อาศัยคตินิยมไทยในปรัชญามัชฌิมนิยมเป็นแนวก�ำหนดนโยบายของชาติด้านต่าง ๆ เสมอมา เช่น
ด้านสังคม การเมือง การเศรษฐกิจ การต่างประเทศ อย่างเช่นทีศ่ าสตราจารย์กติ ติคณ ุ ดร.เพ็ญศรี ดุก๊
(๒๕๓๑ : ๓๔-๓๖) ให้ความเห็นใจความว่า ‘ไทยถือนโยบายอะลุม่ อล่วย ผ่อนสัน้ ผ่อนยาว ใจเขาใจเรา
ผูกมิตร ถ่วงดุลอ�ำนาจ เป็นพันธมิตร และคงสภาพเป็นกลางแห่งความเป็นไทยแต่เดิม (ไม่ใช่แบบ
นกสองหัวหรือเหยียบเรือสองแคม) ซึ่งสืบทอดแนวคิดเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของรัชกาล
ที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงรักษาชาติบ้านเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากลัทธิล่า
อาณานิคมของมหาอ�ำนาจตะวันตก’ พระเจ้าแผ่นดินไทยทั้ง ๒ พระองค์ทรงมีพระบรมราโชบาย
ถือตามปรัชญามัชฌิมนิยมแนวมนุษยนิยม ให้ชาติทั้งหลายชื่นชมสรรเสริญในช่วงที่ทรงปฏิรูปและ
ปฏิวตั ชิ าติไทยแบบบัวไม่ชำ�้ น�ำ้ ไม่ขนุ่ ระหว่างไทยนิยมกับสากลนิยมให้เป็นไทยใหม่จนปัจจุบนั สูอ่ นาคต
เพือ่ ด�ำเนินวิถชี วี ติ ตามคตินยิ มสายกลาง คนไทยย่อมพยายามรูจ้ กั ตน รูจ้ กั ผูอ้ นื่ รูจ้ กั พัฒนา
ตน ให้หลุดพ้นจากสภาพชีวิตสุดโต่ง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหลื่อมล�้ำต�่ำสูง ไร้ความเป็นธรรมความยุติธรรม
ในสังคมลักษณะ ‘ไหใหญ่ล้น ไหน้อยบ่เต๋ม’ ตามคติค�ำสอนของชาวล้านนาไทยและถือคตินิยมชีวิต
แห่งความพอดี พอเพียง ไม่เอารัดเอาเปรียบ สอดคล้องกลมกลืน เอื้ออาทร ที่รับการปลูกฝังสั่งสอน
อบรมมาตามวิถีชีวิตไทย ดังนั้น ส�ำหรับคนไทยจึงย่อมไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่พ่อแม่ในครอบครัวใดเห็นลูก
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘๒ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

โตเกินค�ำสั่งสอนอบรมและปลูกฝังวิชาชีวิตแนวคตินิยมไทย ‘...ลูกหลานเอ๋ย ดูเอาเถิดในบ้านเมือง


ไทยเรานี้...แต่ไหนแต่ไรมา คนที่มีกิ๋นก็กิ๋นจนฮาก (อาเจียน) คนที่อดอยากก็อดอยากกันไปจน
ตาย...’ คือส�ำนวนถ้อยค�ำแปลจากความรู้สึกนึกคิดจิตใจ ออกเป็นข้อคิดแห่งความเจ็บปวด ให้ลูก
หลานจดจ�ำและส�ำนึกเสมอถึงวิถีชีวิตในสังคมไทยที่ขาดความเสมอภาคไม่ด�ำเนินตามวิถีสายกลาง
ขาดสมดุล ไร้ความเป็นธรรมยุติธรรม ให้ต้องประสบความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูง ได้เปรียบเสียเปรียบใน
ความเป็นคนไทย มุ่งหวังให้ลูกไทยหลานไทยครองชีวิตร่วมกันเป็นไทยเท่าเทียมกัน ของผู้เฒ่าผู้แก่
ชาวไทยอิสานทีแ่ สดงความน้อยเนือ้ ต�ำ่ ใจในชะตาชีวติ ภายใต้ระบบอ�ำนาจนิยม ศักดินานิยม อุปถัมภ-
นิยมไทย และบริโภคนิยมสุดโต่ง ดังภาษิตค�ำพังเพยอุปมาอุปมัยและปริศนาค�ำสอน อาทิ ‘กว่าถั่ว
จะสุกงาก็ไหม้’ ‘เจอไม้งามเมื่อขวานบิ่น’ ‘สุกก่อนห่าม’ ‘ฆ่าช้างเอางา’ ‘ขี่ช้างจับตั๊กแตน’ ‘แล้ว
นาฆ่าโคถึก แล้วศึกฆ่าขุนพล’ ‘ปากปราศรัยน�้ำใจเชือดคอ’ ‘ปากอย่างใจอย่าง’ ‘บาตรใหญ่ล้น
บาตรน้อยบ่เต็ม’ ‘ต้นตรงปลายตรง’ ‘หามดีกว่าหาบ หาบดีกว่าคอน’ ‘ตกต๋าเปิ้นใคร่หัว ตกต๋า
ตั๋วใคร่ไห้’ ‘เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น’ ‘ที่มีกิ๋นก็กิ๋นกันจนฮาก (อาเจียน) ที่อดหยากก็อดหยาก
ไปจนตาย’ เป็นต้น
คตินิยมไทยแนวสัมพัทธนิยม : ในมิติคตินิยมนี้มีว่า สรรพสิ่งทั้งรูปธรรมและนามธรรม
ในโลกธาตุหรือสากลจักรวาล รวมถึงโลกและมนุษย์นี้ย่อมเกี่ยวโยงสัมพันธ์ถึงกัน เป็นเหตุเป็นผลกัน
เกิดขึ้น ตั้งอยู่และไหลเลื่อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป เป็นสามัญลักษณะของสรรพสิ่ง ที่เป็นอยู่
มีอยู่เพียงหนึ่งเดียวไม่ได้ หมู่มนุษย์ในสังคมย่อมสัมพันธ์กันอยู่ มีชีวิตอิงอาศัยกัน พึ่งพากันแลกัน
เกิดขึ้น เป็นอยู่ และแม้ตายไปก็ยังผูกพันกันไม่จบสิ้น แม้แต่ความถูกต้องดีงามและคุณค่าทุกอย่าง
ทุกระดับ ย่อมมีการปรุงแต่งขึ้นและยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่องค์ประกอบยังสัมพันธ์กันอยู่อย่างสมดุล
และพอดีกัน อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการบางท่านแสดงข้อคิดความเห็นว่า คตินิยมไทยลักษณะนี้
ให้ผลทางปฏิบัติเป็นปัจเจกนิยม ท�ำให้คนไทยถือตัวตนเป็นหลักเหนืออุดมการณ์ และหย่อนอุดมคติ
น�ำพาให้นิยมตัวบุคคลและลัทธิเอาอย่างเกาะติดตัวบุคคลเป็นที่พึ่งที่ระลึก ถือสายใครสายมัน สีใคร
สีมัน ทางใครทางมัน สถาบันใครสถาบันมัน ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร ซึ่งเป็นที่มาแห่งอ�ำนาจ
นิยม ศักดินานิยม และอุปถัมภนิยม
คตินิยมไทยแนวกรรมนิยม : ด้วยความเชื่อในกฎแห่งกรรมเป็นหลัก โยงถึงเรื่องอื่น ๆ ที่
เกี่ยวกับมนุษย์ คนไทยเข้าใจและเข้าถึงเรื่องชีวิตมนุษย์ เน้นความหมายด้านจริยศาสตร์ อรรฆวิทยา
และตรรกศาสตร์เป็นส�ำคัญ คนไทยไม่นยิ มเชือ่ ว่ามนุษย์ดเี ลิศประเสริฐแท้แต่กำ� เนิดและไม่เปลีย่ นแปลง
ขณะเดียวกันคนไทยก็ไม่ถือว่า มนุษย์เป็นเรื่องของธรรมชาติล้วน ๆ เป็นสัตว์เห็นแก่ตัวที่สุด มักมาก
ที่สุด โหดร้ายที่สุด สกปรกที่สุด และเปราะบางที่สุด ทั้ง ๒ ขั้วแนวคิดดังกล่าวล้วนเป็นคตินิยม
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๘๓

สุดโต่งขัดแย้งกัน แต่คนไทยส่วนใหญ่เห็นว่ามนุษย์มชี วี ติ อยูเ่ หนือสัตว์อนื่ แม้ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกัน


เพราะเป็นสัตว์มีกรรมและมีเหตุผลผ่านการศึกษาเล่าเรียน เกิดมาเสวยผลกรรมที่ตนเคยประกอบ
เอาไว้ในอดีต และก�ำลังประกอบกรรมอีกเพื่อหวังผลในอนาคต มนุษย์จึงเป็นสัตว์บุญท�ำกรรมแต่ง
ไม่ดหี มดทุกอย่างและไม่เลวหมดทุกอย่าง เป็นทัง้ สัตว์และเทพในชะตาชีวติ มีทงั้ ดีทงั้ เลวประกอบกัน
ถ้าดีมากก็สุขมาก ถ้าดีน้อยก็ทุกข์มาก เป็นไปไม่ได้ที่ดีให้ผลเสีย เสียให้ผลดี เพราะขัดแย้งต่อ
กฎแห่งกรรมและหลักเหตุผลทางตรรกศาสตร์ อาศัยปรัชญาพุทธเป็นหลัก คนไทยส่วนใหญ่ย่อม
เข้าใจคตินิยมเรื่องกรรมแม้ผสมกับชะตาชีวิตแบบพราหมณ์บ้าง เหตุให้เกิดกรรมเรียกว่า เหตุกรรม
ผลเกิดจากกรรมเรียกว่า ผลกรรมหรือวิบากกรรม คนไทยทั่วไปจึงเชื่อและถือคตินิยม “ท�ำดีได้ดี
ท�ำชั่วได้ชั่ว” กรรมมี ๒ ประเภท คือ กุศลกรรม–กรรมดี ให้ผลเป็นคุณเป็นประโยชน์ และอกุศล-
กรรม–กรรมชั่วให้ผลเป็นความชั่วร้ายนานาประการ ดังนั้น ในชะตาชีวิตมนุษย์ เหตุกรรม–กรรม–
วิบากกรรม ไตรยางศ์นี้ย่อมมาด้วยกันเสมอ จึงเรียกว่า ชะตาชีวิต-ชะตากรรมของมนุษย์
อนึ่ง ส�ำหรับคนไทยทั่วไป กรรมให้ผลดีเรียกว่า บุญกรรม ส่วนกรรมให้ผลร้ายเรียกว่า
เวรกรรม ชะตาชีวิตเป็นไปตามชะตากรรม ชะตาชีวิตมนุษย์ย่อมมีขึ้นมีลง หมุนเวียนเปลี่ยนไปตาม
ยถากรรม คืออ�ำนาจบุญกรรมที่เคยท�ำไว้ “กงกรรมกงเกวียน” ดุจวงล้อกับซีกล้อเกวียนย่อมหมุน
เวียนไปฉะนัน้ เช่นนี้คือชะตาชีวิตของมนุษย์ เป็นวัฏจักรชีวิตตามกรรมลิขิต เชื่อมโยงส่งถึงกันใน ๓
มิติแห่งกาลเวลา-อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ ชะตาชีวิตมนุษย์ทั้งส่วนบุคคลและผู้อื่น
ย่อมสัมพันธ์กันในพฤติกรรมทุกอย่างของชีวิต “ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน” แต่เป็นคุณค่าที่แบ่งปันกัน ที่
ส�ำนวนไทยล้านนาเรียกว่า ปั๋นบุญ จึงนิยมชักชวนให้ “ท�ำบุญร่วมถาด ตักบาตรร่วมขัน ขึ้นสวรรค์
ร่วมกัน” จึงมีความเชื่อเรื่องโลกหน้า (อนาคตชาติ) โลกหลัง (อดีตชาติ) ว่า “กรรมใดใครก่อ (เหตุ
ปัจจัย) กรรมนั้นตามสนอง (วิบาก-ผล)” ชาติก่อนที่ไม่ได้ท�ำดี–ให้เป็นเสบียงกรังเอาไว้เพียงพอ
เกิดมาชาตินี้จึงเป็นคนต�่ำต้อยด้อยฐานะทุกข์ยากปากหมอง น�ำพาชะตาชีวิตให้ต้องไร้ที่พึ่งพาอาศัย
ล�ำบากล�ำบนเป็นคนด้อยค่า มนุษย์ไม่ได้เป็นนายก�ำหนดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือธรรมชาติและความ
เป็นไปของธรรมชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายให้ทุกอย่างแก่มนุษย์ ทั้งไม่ได้เป็นเจ้าของครอบครอง ใช้ และเสพ
เสวยทรัพยากรธรรมชาติ สนองความอยากของมนุษย์เองได้ตามใจอยาก แม้อา้ งว่ามีสติปญ ั ญาเพียงใด
ก็ตาม ทัง้ นีด้ ว้ ยตระหนักในศีลธรรมและกฎแห่งกรรมซึง่ เกีย่ วข้องกับชะตาชีวติ ของมนุษย์ ปรีชาญาณ
ชนไทยจึงประยุกต์หลักบุญกรรมนี้มาขยายความปรับเป็นส�ำนวนร้อยกรอง ให้เป็นคติค�ำสอนปรากฏ
ในโคลงโลกนิติบทหนึ่งว่า
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘๔ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

ไม้ล้มควรข้ามได้ โดยหมาย
คนล้มจักข้ามกราย ห่อนได้
ท�ำชอบชอบห่อนหาย ชอบกลับ สนองนา
ท�ำผิดผิดจักให้ โทษแท้ถึงตนฯ

คตินิยมคนไทยในอุดมคติ : ในการก�ำหนดลักษณะและคุณสมบัติของคนไทยในอุดมคติ
ว่าเป็นคนแบบไหน อย่างไร และระดับใด คนไทยปัจจุบนั มักนิยมถือคุณค่าแห่งความมี อันเป็นสมบัติ
ภายนอกตัวที่สร้างขึ้น ได้มา สะสม ถือครองเป็นเจ้าของและเสพเสวย มนุษยนิยมแนวพุทธเรียกว่า
มมังการ-ของฉัน ของกู ส�ำคัญว่าตนมีนั่นมีนี่ เป็นเจ้าของสิ่งนั้นสิ่งนี้ ครองฐานะต�ำแหน่งระดับนี้
ระดับนั้น เป็นต้น ในอรรฆวิทยาแนวตะวันตกเรียกว่า Virtue of Having เช่น มียศถาบรรดาศักดิ์
มีทรัพย์สินศฤงคาร ถือเป็นคุณสมบัติภายนอกตัวตน ได้มาหลังเกิดมีชีวิตเป็นคน และนิยมถือ
คุณค่าแห่งความเป็นเรียกว่า อหังการ-ตัวฉัน ตัวกู เป็นผู้มีบุญญาบารมี ตรงกับแบบตะวันตกที่
เรียกว่า Virtue of Being อันเป็นคุณสมบัติที่ปลูกฝังสร้างขึ้นภายในตัว เช่น เป็นคนดี อาศัย
คตินิยมที่เน้นคดีโลกลักษณะนี้เป็นเบื้องต้น คนไทยในอุดมคติจึงหมายถึง ผู้ครองชีวิตอุดมด้วย
ยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อ�ำนาจบารมี บริษัท บริวาร ท�ำการใด ๆ บรรลุผลดังใจ
หมาย เป็นประโยชน์แก่ตน ผู้เป็นที่รักแห่งตน ประเทศชาติบ้านเมือง วิชาความรู้ ความคิดอ่านกว้าง
ไกล ลุ่มลึกและแยบยล มีคนนับหน้าถือตาพึ่งพาอาศัยได้ อุปถัมภ์ค�้ำจุนได้ ทางการศึกษา สังคม
เศรษฐกิจ การเมือง ความมัน่ คงปลอดภัยในชีวติ ทรัพย์สนิ และอืน่ ๆ ในแนวทางให้คณ ุ ได้ให้ประโยชน์
ได้ ถึงกระนั้นได้มีเมธีปราชญ์ราชบัณฑิตไทยร่วมสมัยหลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะเน้น
คดีธรรมกับคดีโลกเป็นรากฐานของคนไทยในอุดมคติ ที่นิยมแต่เดิมมาจนปัจจุบัน ใจความว่าคนไทย
ในอุดมคติประกอบด้วยคุณลักษณะและคุณสมบัติ เป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยดีทั้งสุขภาพกายและ
สุขภาพจิต มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นเลิศในวิทยาการต่าง ๆ มีความคิดอ่านดี ริเริ่มสร้างสรรค์
สามารถวิเคราะห์ได้เหตุได้ผลตามสูตรตรรกศาสตร์ อุดมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม
ยุตธิ รรม มีบคุ ลิกทีม่ คี วามเป็นไทย และความเป็นสากลในระดับหนึง่ มีวสิ ยั ทัศน์กว้างไกลและลุม่ ลึก
มีความเป็นประชาธิปไตย และครองชีวิตสงบสุขสง่างาม อาศัยศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ ด้วยเหตุ
ด้วยผล ทั้งคดีโลกและคดีธรรม ประกอบกัน ผู้เขียนจึงได้แนวคิดเห็นสรุปความได้ดังนี้
๑) คนดีมีคุณธรรมและมนุษยธรรม : คนไทยทั่วไปถือคุณค่าทางจิตใจเหนือทางร่างกาย
ประเมินคุณค่าเน้นตรรกศาสตร์และจริยศาสตร์ ‘ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ใจก�ำหนดควบคุม
น�ำพาและประเมินคุณค่าในการด�ำรงและด�ำเนินชีวิตเป็นมนุษย์แห่งกายกับใจ’ ทั้ง ๒ มาคู่กัน
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๘๕

เสมอแบ่งแยกมิได้ในความมีชีวิต จึงกล่าวว่า ‘ชีวิตจิตใจ’ ไม่ได้เรียกว่า ‘ชีวิตกาย’ คนไทยนิยม


ว่า ‘ทุกข์สุขอยู่ที่ใจ...สวรรค์ในอกนรกในใจ’ ‘ใจเป็นบุญเป็นกุศลบันดาลให้คนบรรลุสิ่งดีงามทุก
อย่างในชีวิต’ ‘มีน�้ำใจ’ ‘ใจก�ำหนดพฤติกรรมทางวาจาและทางกายในกิจการทุกอย่างของชีวิต’
‘ประพฤตินอกใจ ข่มเหงและข่มขืนใจ ท�ำร้ายและท�ำลายจิตใจ’ เช่นนี้ เป็นต้น ทั้งหมดสอดคล้อง
กับพุทธภาษิตว่า มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา...ใจความว่า ‘เรื่องทั้งหลายของมนุษย์เริ่มต้นที่ใจ มีใจมา
ก่อน ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นผู้น�ำ ทุกอย่างส�ำเร็จอยู่ที่ใจ... ทุกข์หรือสุข ดีหรือชั่ว เป็นต้น ขึ้นอยู่ที่
ใจ ...’ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๑๐ : ๒๑) ดังนั้น คตินิยมไทย
จึงประเมินความเป็นคนในอุดมคติ เริ่มด้วยคุณค่าและคุณสมบัติทางจิตใจเป็น ‘คนดี’ ต้องเริ่มด้วย
‘ใจดี’ ปรัชญาไทยแนะน�ำให้เคารพเชื่อถือและยกย่องสรรเสริญคนมีน�้ำใจ ใจสูง ใจบุญสุนทาน
โอบอ้อมอารี เอื้ออาทร ยุติธรรม ไร้อคติ มากกว่าคนรูปร่างสวยงาม คุณค่านี้จึงปรากฏออกมาใน
วรรณคดีไทยเรื่องต่าง ๆ อาทิ สังข์ทอง ของกวีสุนทรภู่ ที่สอนคตินิยมเน้นงามภายในเหนืองาม
ภายนอก คนไทยจึงประเมินคุณค่าความดี ๓ ชั้น ความงาม ๔ ชั้น คือ ดี ๓ ชั้นตามล�ำดับต�่ำสูง
ได้แก่ กายดี วาจาดี และใจดี หรือ ท�ำดี พูดดี และคิดดี งาม ๔ ชั้น ได้แก่ งามอาภรณ์ งามร่างกาย
งามความรู้ และงามจิตงามใจ สุภาษิตค�ำพังเพยต่าง ๆ เช่น ‘คางคกขึ้นวอ’ ‘ปากปราศรัยน�้ำใจ
เชือดคอ’ ‘หน้าเนื้อใจเสือ’ ‘นอกดูผู้ดีในอัปปรีย์หีนชาติ’ ‘ด�ำแต่นอกในแผ้วผ่องเนื้อนพคุณ’ ล้วนชี้
บอกให้นิยมคุณค่าคนดีทั้งสิ้น
ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉันท์ ชาดป้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดังคนใจร้าย นอกนั้นดูงามฯ
๒) คนมีความรู้ดีและประพฤติดี : ปรีชาญาณชนไทยได้อบรมสั่งสอนลูกไทยหลานไทย
ให้เข้าถึงวิชาเป็นมนุษย์ เป็นแนวทางครองชีวิตและด�ำเนินชีวิตเป็นคนดี-ความรู้ดีกับประพฤติชอบ
ผ่านวัฒนธรรมการศึกษาเล่าเรียนที่ถูกต้องเพียงพอทั้งวิชาชีพและวิชาชีวิต บูรณาการเข้าด้วยกัน
บกพร่องผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่งถือเป็นผลเนื่องมาจากการศึกษาพิการท�ำให้วิถีชีวิตลูกไทยหลาน
ไทยพิการ วิชาชีพใช้ท�ำมาหาปัจจัยเลี้ยงชีวิต ยิ่งได้ยิ่งดี เพื่อผลประโยชน์ทางคดีโลกและความเจริญ
รุ่งเรืองทางวัตถุธรรม วิชานี้มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการสาขาต่าง ๆ แต่ต้องประกันและประเมิน
คุณค่าด้วยวิชาชีวิตแห่งคุณธรรม ศีลธรรม มโนธรรม และมนุษยธรรม ดังที่ระบุไว้ในวิถีไทยพุทธ
ว่า ‘สัมมากัมมันตะ–สัมมาอาชีวะ-สัมมาวายามะ’ เป็นต้น สัมมา-มีความหมายทางวิชาชีวิต มุ่ง
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘๖ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

เน้นความประเสริฐทางความประพฤติดีปฏิบัติชอบ เช่น คุณธรรมจริยธรรมของผู้เป็นพ่อแม่ จรรยา


บรรณครูบาอาจารย์ วิชาชีวิตเรียนไม่มีจบและสอนไม่มีหมด ตลอดชีวิต วิชาชีวิตใช้ท�ำเงินท�ำทอง
หาผลประโยชน์ สร้างความมั่งคั่งร�่ำรวยทางวัตถุธรรมไม่ได้โดยตรง แต่หากปราศจากคุณค่าวิชานี้
โลกมนุษย์ สังคมมนุษย์ และชีวติ มนุษย์อยูเ่ ย็นเป็นสุขไม่ได้ และจะเรียกสัตว์ชนิดนีว้ า่ มนุษย์ยอ่ มไม่ได้
วิชาชีวิตก�ำหนดกรอบและก�ำกับวิชาชีพให้ด�ำเนินไปในแนวทางที่เหมาะที่ควร ให้ถูกต้องดีงาม เป็น
อารยชน เป็นชนชาติพัฒนาแล้ว เป็นเมธีปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นธรรมและยุติธรรม ไม่น�ำพา
มนุษย์ไปสู่กลียุคและมิคสัญญีภาพ วิชาชีพท�ำให้เป็นคนเก่ง วิชาชีวิตท�ำให้เป็นคนดี คนไทยใน
อุดมคติจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งคนเก่งและคนดี ‘ที่มีวิชาอันเป็นเลิศกับประเสริฐทางความ
ประพฤติ’ ในบุคคลเดียวกัน
๓) คนครองชีวิตพอดีพอเพียงสงบสุขสง่างาม : คตินิยมการด�ำเนินวิถีชีวิตสายกลางหรือ
มัชฌิมนิยม เป็นชีวิตที่รับการพัฒนาได้บูรณาการคุณค่าและคุณภาพแห่งสุขภาพกายกับสุขภาพจิต
ความพอดี พอเพียง พอเหมาะ พอควร และได้ดุลยภาพ คดีโลกมิให้ช�้ำคดีธรรมมิให้เสีย ใจเขา
ใจเรา อภัยให้กันได้ ถือว่าไม่มีใครดีพร้อมทุกอย่างหรือเลวทรามไปทุกอย่าง คนเราต่างจิตต่างใจ มี
อุปนิสัยประนีประนอม มีขันติธรรม สามัคคีธรรม ปรองดอง ไม่เบียดเบียนข่มเหงกัน ไม่ยกตน
ข่มท่าน ไม่เอาดีใส่ตัวหาชั่วใส่คนอื่น ไม่ท�ำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน พึ่งตนเองได้ ให้คนอื่นพึ่งพาได้
ไม่คอยเพ่งโทษจับผิดกัน ละเว้นอคติและอยุตธิ รรม เข้าใจและเข้าถึงความจริงและความถูกต้องดีงาม
ของโลกและชีวติ นอบน้อมถ่อมตน มีเหตุผล ลด ละ และเลิกอิจฉา-ริษยา มีมทุ ติ าจิต มีสจั การแห่ง
ตน กตัญญูกตเวที มีความกล้าหาญทางจริยธรรม มีวนิ ยั ในตน เห็นกาลและการณ์ไกล ใฝ่ใจใคร่รไู้ ม่มี
เลิกไม่มีอิ่มตลอดชีวิต ซุกซนทางความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มักง่าย เชื่อง่าย ชักจูงง่าย ไม่ประมาท
ในการครองชีวติ เรียบง่าย พึงพอใจในชีวติ (สันโดษ) ให้คนรักใคร่เชือ่ ถือเมือ่ ยังมีชวี ติ อยู่ ให้คนรุน่ หลัง
ได้ชื่นชมและถือเป็นแบบอย่างได้บ้างเมื่อละชีวิตไปแล้ว
คตินิยมไทยในการศึกษา : การศึกษาในข้อนี้ ผู้เขียนขออนุญาตก�ำหนดเอาระยะเวลา
สมัยรัชกาลที่ ๔-๕ เป็นต้นมา ที่ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างการปฏิรูปและปฏิวัติคตินิยมการศึกษาไทย
และอื่น ๆ โดยแท้ ‘การจัดการศึกษาก็เพื่ออุดหนุนความเป็นไทย แต่ไม่ละเว้นความเป็นเทศ
ประสานกัน ใช่ว่าการศึกษานั้นเป็นตัวให้สูญเสียความเป็นไทย เห็นไทยต�่ำต้อยล้าหลังไปหมด
เป็นทางน�ำสู่ความสิ้นหวัง สิ้นชาติศาสน์กษัตริย์ก็หาไม่ การศึกษาต้องท�ำให้คนไทยและประเทศไทย
เข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเอง พึ่งตนเอง และเป็นตัวของตัวเองได้ เป็นเอกราชไม่ล้าหลัง...’
(สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๔๖ : ๖๐-๗๔) คือส่วนหนึ่งแห่งพระราชด�ำริและพระราชด�ำรัสของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๘๗

๑) คุณค่าและความหมาย : การศึกษาพัฒนามนุษย์ให้ครองชีวิตพิเศษและพิสดารกว่า
สัตว์อื่น แม้อยู่ภายใต้ธรรมชาติเดียวกัน มนุษย์มีชีวิตเป็นแบบมนุษย์ไม่ได้หากไม่มีวิชาเป็นมนุษย์
มนุษย์ด้อยพัฒนาเพราะรับการศึกษาเสเพล การศึกษาเสเพลน�ำพาลูกไทยหลานไทยสู่การพัฒนา
พิการ-ด้อยพัฒนา ล้าหลัง การศึกษามิใช่สิ่งมุ่งหมายของมนุษย์ เป็นแต่เพียงแนวทางและพาหะ
น�ำพาสู่สิ่งมุ่งประสงค์ของชีวิต อย่างสามัญคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข อย่างพิเศษคือความจริง
ความถูกต้องดีงาม มั่นคงปลอดภัย อิสระ สันติสุข เป็นธรรม และสูงสุดคือความสิ้นทุกข์ ลูกไทย
หลานไทยควรต้องได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างถูกต้องเพียงพอสู่การพัฒนาชีวิตให้สามารถครองตน
ครองคน ครองงาน ครองสุข และครองความถูกต้องดีงาม ตามทางสายกลางการศึกษา ให้ได้
ดุลยภาพแห่งการพัฒนาชีวิตและบูรณาการคุณภาพชีวิตทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ไทยนิยมกับ
สากลนิยม ไม่ละทิ้งของเก่าไม่มัวเมาของใหม่
โดยทัว่ ไป คนไทยมีคณุ ลักษณะเชาวน์ไวไหวพริบดี เจ้าความคิดความเห็น เจ้าคารมโวหาร
รับรู้เรียนรู้ไว ฉลาดเฉียบแหลม แต่มักลอกเลียนและเอาอย่างเก่ง แก้ตัวเก่ง นิยมรูปแบบมากกว่า
เนื้อหาและระบบ นิยมวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่นิยมถูกวิพากษ์วิจารณ์ การศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่าน
เป็นแต่เพียงอุบายวิธีพัฒนาคนไทยให้มีวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ สาขาต่าง ๆ ทั้งศาสตร์และศิลป์
เดิมทีเรียกศิลปวิทยา ทั้งคดีโลกและคดีธรรมส�ำหรับให้เป็นวิชาพัฒนาคนไทย ด้วยวิธีการเล่าเรียน
เขียนอ่าน สั่งสอน ฝึกฝนอบรมบ่มนิสัย ปลูกฝังหล่อหลอม คุณสมบัติความเป็นคน ให้เพิ่มพูนคุณค่า
และคุณภาพจากที่ได้มาโดยธรรมชาติ คือ ชีวิตและตามที่บุญท�ำกรรมแต่งมาแต่ปางก่อน โดยอาศัย
ท่านผู้รู้ผ่านชีวิตมานานมีประสบการณ์มามาก ที่ยกย่องเชิดชูเป็นครูบาอาจารย์ มีบิดามารดาเป็น
เบื้องต้น ผู้ให้ค�ำแนะน�ำสั่งสอนหนังสือ เรียนและฝึกปฏิบัติ ตามแบบอย่าง จึงได้ส�ำนวนไทยแต่เดิม
มาว่า “เรียนหนังสือ” คตินิยมการศึกษานี้ หวังผลเบื้องต้น ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ท�ำมาหาเลี้ยงชีพ
อยู่เย็นเป็นสุข มีความรู้ดีกับประพฤติชอบ อย่างแรกให้เอาดีวิชาชีพทางคดีโลกหวังให้เป็นคนเก่ง
อย่างหลังให้เข้าใจเข้าถึงวิชาชีวิตทางคดีธรรมหวังให้เป็นคนดี หลักการครองชีวิตแนววิถีไทย จึง
นิยมถือกันว่า ‘ชีวิตนี้คดีโลกมิให้ช�้ำคดีธรรมมิให้เสีย’ เป็นวิถีชีวิตสายกลางเหนือวัตถุนิยมสุดโต่งและ
จิตนิยมสุดโต่ง
คนไทยถือคุณค่าและคตินิยมในการศึกษาเล่าเรียนว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐ ผู้รู้และทรง
คุณธรรมคือครูบาอาจารย์ มีบิดามารดา เป็นต้น ผู้เป็นแหล่งความรู้ แบบอย่าง และเบ้าหล่อหลอม
ความประพฤติย่อมเป็นปูชนียบุคคล ย่อมได้รับความเคารพนับถือ ยกย่องเชิดชู และบูชาในฐานะ
อันสูงยิ่ง ถือครูบาอาจารย์เป็นพ่อแม่คนที่ ๒ ต่อจากพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้าผู้เป็นครูคนแรกของลูก
ต่อมาคือครูบาอาจารย์เป็นผู้ชุบเลี้ยงความเป็นผู้เป็นคน ให้เติบใหญ่ด้วยวิทยาคุณอันทรงพลังสู่
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๘๘ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

ความเจริญรุ่งเรืองตลอดชีวิต โยงถึงหลักคุณธรรมแห่งกตัญญูกตเวที และอื่น ๆ อันเป็นคุณสมบัติ


และสัญลักษณ์ของคนดีในอุดมคติไทย ประเพณีไหว้ครูจงึ เป็นเอกลักษณ์คตินยิ มแนววิถไี ทยแต่เดิมมา
ในปรัชญาและศาสนาไทย ในวรรณกรรม วรรณคดี และสุภาษิตค�ำสอนพื้นบ้านท้องถิ่นไทย ทั้ง
ร้อยแก้วและร้อยกรอง ได้พรรณนากระตุ้นให้คนไทยเห็นและเข้าถึงคุณค่าความส�ำคัญของการศึกษา
เล่าเรียนไว้เป็นอเนกประการ อาทิ ในวรรณกรรม ‘ประชุมโคลงโลกนิติ’ (สมเด็จกรมพระยาเดชา-
ดิศร, ๒๕๑๑ : ๗๙, ๘๗, ๙๑) ท่านผู้เรียบเรียงได้บรรจุแนวคิดเห็นและความเชื่อ แสดงถึงคุณค่าและ
ความส�ำคัญของวิชาความรู้ ผ่านการศึกษาเล่าเรียนไว้มากมายหลายนัย ดังตัวอย่าง
คนใดยืนอยู่ร้อย พรรษา
ใจบ่มีปรีชา โหดไร้
วันเดียวเด็กเกิดมา ใจปราชญ์
สรรเพชรฑูรไว้ เด็กนั้นควรยอฯ
วิชาควรรักรู้ ฤาขาด
อย่าหมิ่นศิลป์ศาสตร์ ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย ชั่วลูกหลานเหลนฯ
ผะหญา (ส�ำลี รักสุทธี, ๒๕๔๐ : ๙, ๑๕, ๙๖) หรือปัญญา ความรู้ ในคตินิยมพื้นบ้าน
ท้องถิ่นไทยอิสานและล้านนาไทยถือเป็นสมบัติและทรัพย์สินทางปัญญาอันล�้ำค่า เพื่อการด�ำเนินชีวิต
ทั้งคดีโลกและคดีธรรม ทั้งความรู้และคุณธรรมจริยธรรม ด้วยวิชาชีพและวิชาชีวิตประกอบกันเสมอ
‘มีเงินเต๋มซ้า บ่ห่อนสู้ผะหญาเต็มพุง’ หมายความว่า ปัญญาเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน ย่อมมี
คุณค่าความส�ำคัญและความจ�ำเป็นเหนือการมีทรัพย์สินเงินทองแม้มากมายมหาศาล “แม้นว่ามี
ความฮู้เต็มพุงเพียงปาก กะตามถ่อน คันสอนโต๋บ่ได้ไผสิย้องว่าดี๋ คันเจ้ามีความฮู้อย่าถือตัวอวด
เก่ง ให้ลงมาเหยียบพื้นยื๋นดิ๋นได้ส�่ำสู่คน เด้อหล่า...” ใจความว่า ‘คนเราถึงอวดอ้างอวดดีมีความ
รู้มากมายเหลือล้น แต่คุณค่าอยู่ที่สอนตนเองให้ได้ดีเสียก่อนจึงถือว่ามีความรู้จริง อนึ่ง แม้นว่ามี
ความรู้ ก็อย่าเป็นคนถือตัวโอ้อวดหยิ่งจองหอง จงประพฤติตนเจียมตัว ตีนติดดิน ได้เหมือนคน
ทั้งหลาย เน้อ ลูกเอ้ยหลานเอ้ย’ คนไทยทั่วไปอย่างเช่นชาวพื้นบ้านท้องถิ่น ได้รับการปลูกฝังให้มี
คตินิยมแน่นหนาในระบบศักดินานิยมของสังคมไทย เชื่อว่าเฉพาะผู้รู้หนังสือเท่านั้น ชีวิตจึงมีโอกาส
ประสบความสมหวังเป็นเจ้าคนนายคนได้ เริ่มด้วยการเอาความรู้ไปสอบเข้าเป็นครูบ้านนอกเป็น
ข้าราชการ ตามที่นิยมกันนักหนาว่า เป็นเส้นทางชีวิตเดียวที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ครองฐานันดรศักดิ์
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๘๙

ทรงคุณค่าสูงส่งเหนือวิถีชีวิตอื่นใด เหนือพ่อค้าชาวไร่ชาวนา และอาจเหนือกว่าคนไทยใด ๆ ที่มิ


ได้เป็นเจ้าคนนายคน คนไทยทั้งหลายจึงพากันใฝ่ฝันนักหนา และถือว่าการศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น
จึงสนองความหวังนั้นได้ ดังที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทยอีสานสั่งลูกสอนหลานว่า ‘...ลูกเอ้ยหลานเอ้ย..
ขยันหมั่น เพียรเรียนให้เก่ง ๆ เข้าไว้นะ โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่เป็นโตเป็นเจ้าคนนายคนกะเขามั่ง
พ่อแม่อ้ายน้องจึงพลอยมีหน้ามีตาพึ่งพาอาศัยอยู่สุขสบาย..’ (สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๐๕ : ๙๒,
๒๕๒๓ : ๑๐๙)
๒) วิถีการศึกษา : สถาบันการศึกษา : วัฒนธรรมการศึกษาไทย มีคุณลักษณะพิเศษ
แนวประสบการณ์นิยม ปฏิบัตินิยม และประโยชน์สุขนิยม ประยุกต์จากปรัชญามนุษยนิยมและ
มัชฌิมนิยมบนพื้นฐานประมวลประสบการณ์ชุมชน อาทิ ‘ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด’ หมายถึง
หากมีวิชาความรู้จริง ต้องน�ำความรู้นั้นมาประพฤติปฏิบัติให้เห็นผลได้จริง เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รู้
และผู้เกี่ยวข้องได้ ใช่ว่าอวดอ้างว่ารู้–รู้แล้วต้องท�ำได้ ท�ำได้ต้องให้คุณประโยชน์ได้ ‘สิบปากว่า
ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคล�ำ สิบมือคล�ำไม่เท่าท�ำได้เอง’ และ ‘สิบรู้ไม่เท่าเคย สิบ
ลูกเขยไม่เท่าพ่อตา’ ลักษณะเหล่านี้ เป็นต้น ในสังคมไทยโดยคตินิยมไทย บ้านหรือครอบครัวเป็น
ทั้งที่ให้ชีวิตเกิด และให้ก�ำเนิดการศึกษาเล่าเรียนแก่ชีวิตที่เกิดแล้ว โยงสายสัมพันธ์สู่วัดและโรงเรียน
(บวร) พ่อแม่คือครูคนแรกของคนไทย ทายาทจะเป็นคนแบบไหน อย่างไร และเป็นคนไทยเพื่ออะไร
ย่อมต้องประกันด้วยแหล่งที่มาและเบ้าหล่อหลอมแห่ง ๓ สถาบันหลักนี้ ให้เกิดความเป็นไทยมา
ดุจเชือก ๓ เส้นพันเป็นเกลียวให้เป็นเส้นเดียวกัน ลักษณะนี้คือสายสัมพันธ์ทางการศึกษาไทย
วัฒนธรรมการศึกษาไทยได้ก�ำหนดวิถีการศึกษาเป็นนโยบายหลักของรัฐที่ส�ำคัญยิ่งและ
จ�ำเป็นพิเศษเสมอมา โดยจัดตั้งโรงเรียนชุมชนเป็นทางการและมีระบบขึ้นที่วัดเป็นแหล่งเริ่มต้น
ขยายโอกาสการศึกษาเล่าเรียนออกจากวังมาสัมพันธ์กับวัด อาศัยวัดวาอารามทั้งส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาคเป็นแหล่งเพาะ ปลูกฝัง หล่อหลอม และเสริมสร้างพลังไทยเพื่อความเป็นไทยที่ยังคงสาย
สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพื่อพัฒนาชาติบ้านเมือง เริ่มที่การศึกษาเล่าเรียนของ
ลูกไทยหลานไทยตามพระราโชบายและนโยบายในรัชกาลที่ ๔-๕ เตรียมความพร้อมน�ำพาสยาม
ประเทศสู่ไทยใหม่ สืบสานแนวคิดเห็นและความเชื่อนี้มาจนปัจจุบัน (สุมน อมรวิวัฒน์, ๒๕๔๑ :
๙-๑๑๐ และ สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๔๖) น�ำพาโดยคตินิยมไทยแนวปรัชญามนุษยนิยมและมัชฌิม
นิยม ตามวิถกี ารศึกษาไทยแต่เดิมมา สายสัมพันธ์ทางการศึกษาเล่าเรียน จัดวางเป็น ๒ มิติ คือ มิตริ วม
หมายถึงสายสัมพันธ์ระยะกว้างแห่งบ้าน วัด และโรงเรียน คลุมวิถีชีวิตไทยไว้ทั้งหมด และมิติเฉพาะ
หมายถึงเอาสายสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้คือครูอาจารย์กับผู้เรียนคือลูกศิษย์ ความร่วมมือทั้ง ๒ ฝ่าย
ประกันความเจริญหรือความเสือ่ ม พัฒนาหรือด้อยพัฒนา และความเป็นความตายของการศึกษาไทย
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๙๐ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

และอนาคตไทย ทั้ง ๒ ฝ่ายครองความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแน่นแฟ้นฉันท์พ่อแม่กับลูก จึงมีค�ำ


นิยมเรียกครูบาอาจารย์ว่า พ่อครู ปู่ครู พระครู คนไทยถือคตินิยมว่าพ่อแม่บังเกิดเกล้าคือผู้ให้
ก�ำเนิดชีวิตลูกมา ขณะที่ครูบาอาจารย์คือพ่อแม่ผู้ให้ชีวิตอีกหน เฝ้าเลี้ยงดูอุ้มชูให้เติบใหญ่เป็นผู้
เป็นคนขึ้นมาได้ จึงมีเพียงชาติไทยแห่งเดียวในโลกที่มีพิธีไหว้ครูในทุกสถาบันการศึกษา
๓) นโยบายและวัตถุประสงค์ : นโยบาย การปรับแต่งวิถีไทยแนวปรัชญาไทยเดิมกับ
วิถีเทศแนวปรัชญาตะวันตก โดยถือตามปรัชญามัชฌิมนิยม มุ่งให้เป็นวิถีไทยใหม่ แห่งระบอบ
ประชาธิปไตย ปรีชาญาณชนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเป็นผู้น�ำร่วมกันก�ำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์การศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาลูกไทยหลานไทย
ให้เป็นก�ำลังคนได้คุณภาพคุณสมบัติและปริมาณเพียงพอ สู่การพัฒนาตนเองและชาติบ้านเมือง
ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทูลถวายสมเด็จ
พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส “...การทีบ่ ำ� รุงการศึกษาเล่าเรียน ก็เพือ่ จะได้กำ� ลังคน
มีความรู้ความสามารถไว้บ�ำรุงแผ่นดินและพระศาสนา ถ้าการศึกษาชักช้าอยู่เท่าไรก็ขาดผลดีพึง
ได้ไปเท่านั้น ครั้นคนไทยถึงก�ำหนดอายุแล้วเลิกเรียนหรือเล่าเรียนไม่ได้หรือเพิ่มพูนวิชาไม่ได้ ราคา
และค่าของผู้นั้นก็น้อย ทางหาเลี้ยงชีพก็ฝืดลงไม่พอแข่งขัน ตั้งตัวได้ ทั้งผลดีแห่งแผ่นดินก็น้อยลง
ตามก�ำลังคนผู้มีการศึกษา...
“ที่ส�ำคัญคือ นโยบายการศึกษาต้องอุดหนุนให้คนไทยมีการศึกษาดีทั่วถึงทั้งวิชาและ
จรรยา มุ่งคุณประโยชน์สูงสุดให้คุ้มค่าและราคาที่อุดหนุน ทั้งในกาลใกล้และกาลไกล จัดให้ได้
ประโยชน์ตามความต้องการของผู้เรียนทั้งท้องถิ่นและบ้านเมืองโดยรวม อย่างไรก็ตาม ที่พึง
สังวรแม้การเรียนได้ความรู้สูงหรือแม้เป็นประโยชน์และท�ำได้ในประเทศอื่น แต่ยังไม่จ�ำเป็นต้อง
ใช้ความรู้นั้นเลยในประเทศไทย หรือยังมองไม่เห็นว่าจะน�ำความรู้น้ันมาใช้ให้เกิดประโยชน์อัน
ใดก็ยังไม่ต้องจัดการศึกษานั้นให้หมดเปลืองก�ำลังตามรอยเท้าเขา แต่หากรวมกันใช้อนาคตัง-
สญาณพิเคราะห์ดูเห็นดีล่วงหน้าแล้ว บ้านเมืองต้องการคนมีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติ
ประการใด ก็จ�ำเป็นต้องร่วมกันขวนขวายจัดให้มีขึ้น ด้วยหลักการประหยัดและได้ประโยชน์คุ้ม
ค่า” “...เช่นนี้การศึกษาที่ถูกต้องจึงจะด�ำเนินการตามกฎแห่งวิชาประหยัด (Economic) ใน
ข้อว่า ความต้องการกับความจัดท�ำต้องพอดีกัน (ทางสายกลาง) เป็นเหตุปัจจัยต่อกัน ผลการ
ศึกษาจึงจะส�ำเร็จแก่คนเล่าเรียนและแก่แผ่นดิน ไม่เช่นนั้น ความสูญเปล่า ความเหลือ ความ
ฟุ่มเฟือย ความสิ้นเปลือง ความขาดแคลน และไม่เสมอส่วนกัน ก็จะต้องมีแน่นอนในบ้านเมือง
เรา เหตุเพราะจัดการศึกษาผิดพลาด...” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,
๒๕๑๕ : ๓๘, ๘๑-๘๒) คือใจความส่วนหนึง่ ตามพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๙๑

อยู่หัว วัตถุประสงค์ อาศัยพระราชด�ำริ พระราชด�ำรัส และนโยบายการศึกษาดังกล่าวข้างต้นเป็น


บรรทัดฐาน ผู้เขียนขออนุญาตขยายความและจัดแบ่งวัตถุประสงค์การศึกษาไทย ดังนี้
๓.๑) เพื่อพัฒนาก�ำลังคนของชาติ การศึกษาคือ มรรควิธีส�ำคัญสูงสุด ใช้พัฒนาก�ำลังคน
ของชาติให้ได้ดุลย์และเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ ด้านวิชาหนังสือ สติปัญญา ความสามารถ
สุขภาพพลานามัย อาชีพ และอื่น ๆ สนองการพัฒนาไทยแนวใหม่ ตามหลักคิดตั้งเค้าสืบทอดมา
แต่ปลายรัชกาลที่ ๔ เพื่อปฏิรูปชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงในทุก ๆ ด้านทุกระดับตาม
วิถีสายกลางแห่งไทยนิยมกับสากลนิยม ดังพระราชปรารภในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๕
(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ๒๕๐๘ : ๑๔๕-๖) “...ในเมืองเรานี้ไม่ขัดสนอันใดยิ่ง
กว่าคนมีคุณภาพและคุณสมบัติ การเจริญอันใดจะเป็นไปไม่ได้เร็ว และไม่ได้ดีที่ควรได้ ก็เพราะ
คนนี้อย่างเดียว...การจะพัฒนาคนได้ ก็ด้วยการให้การศึกษาเล่าเรียนทั่วถึงและเพียงพอ...ฉันจึง
ได้มีจุดหมายตั้งใจ ที่จะจัดการศึกษาเล่าเรียนทั่วไป ทั้งบ้านทั้งเมืองให้เป็นการรุ่งเรืองเจริญขึ้น
โดยเร็ว...” จึงได้ทรงมอบหมายภารหน้าที่รับผิดชอบในการนี้ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
พระยาวชิรญาณวโรรส (สมัยทรงกรมหมื่น) สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ และพระยาวิสุทธิ-
สุริยศักดิ์ พร้อมใจกันเสริมสร้างสานต่อแนวพระราชด�ำรินี้ และด�ำเนินการจนบรรลุผลดังปรากฏ
มาถึงปัจจุบัน
๓.๒) เพือ่ พึง่ ตนเองและพึง่ พากันและกัน การศึกษาเล่าเรียนทีถ่ กู ต้องเพียงพอและให้คณุ
ประโยชน์ ย่อมท�ำให้คนเป็นคนเก่งและคนดี เป็นไทแก่ตน มีวินัยในตน มีสัจการแห่งตน มีความ
กล้าหาญทางจริยธรรม ประกอบสัมมาชีพ พึ่งตนเองได้ที่ไม่เกินวิสัย เป็นตัวของตัวเองได้ ที่มีเกียรติ
มีศักดิ์ศรี ไม่หวังแต่พึ่งคนอื่นพึ่งชาติอื่น ตามคนอื่น อิงอาศัยแต่คนอื่น หลงใหลมัวเมาคตินิยมลัทธิ
เอาอย่าง เผื่อแผ่ตนให้คนเขาพึ่งพาอาศัยตามสมควร ไม่ทอดธุรการอื่นเอาแต่การตน ไม่เป็นคนใจ
คับแคบ ขาดน�้ำจิตน�้ำใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่เป็นผลดีต่อสาธารณ์ ดังพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดเผยต่อที่ประชุมบรรดาปรีชาญาณชนไทย ใจความตอนหนึ่ง
ว่า “...การศึกษาก็เพื่อพัฒนาไทยให้ถูกทาง ให้ไทยเข้มแข็ง พัฒนาตนเองได้ เป็นตัวของตัวเองได้ พึ่ง
ตนเองแลพึ่งพากันแลกันได้...หลักการจัดการศึกษาต้องให้คนรู้ รู้แล้วต้องท�ำได้ ต้องมีความคิดอ่าน
ลุ่มลึก ยาวไกล ทันคน เป็นไท ต้องเลือกสรรให้เป็นและหมายมั่นว่าจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สุขใน
บ้านเมืองเราได้หรือไม่...” (สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๔๖ : ๔๗-๕๑)
๓.๓) เพือ่ อนุรกั ษ์วถิ ไี ทย การศึกษาต้องท�ำให้คนไทยรักชาติบา้ นเมือง หวงแหนและภูมใิ จ
ในคตินิยมไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตไทย เพื่อด�ำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย ต้องให้ผู้ศึกษา
เล่าเรียนได้ส�ำนึกและเชิดชูคุณค่าในศิลปวิทยาการไทย สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยสติปัญญาไทย บ�ำรุงให้
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๙๒ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

เจริญรุ่งเรือง รักษาไว้ให้วัฒนาถาวร ป้องกันวิถีไทยมิให้เสื่อมเสียไร้เกียรติยศเกียรติคุณ ด้วยถือเป็น


อ�ำนาจส�ำคัญยิ่งส่วนหนึ่งที่ต้องแข่งขันกับนานาชาติ ด้วยการปลูกฝัง ฝึกหัด อบรมสั่งสอนให้
คนไทยชื่นชมลักษณะไทยและศักดิ์ศรีความเป็นไทยเชื่อมสัมพันธ์กับความเป็นเทศได้
๓.๔) เพื่อเป็นพลเมืองดี การศึกษาเล่าเรียนต้องพัฒนาคนไทยใฝ่ใจใคร่รู้ในการแสวงหา
ศิลปวิทยา ให้อบรมสติปัญญาพัฒนาความสามารถ ก�ำกับควบคุมโดยความประพฤติปฏิบัติชอบ
ตามท�ำนองคลองธรรม เป็นพลเมืองดีให้เคารพเชื่อฟัง และระลึกบุญคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์
และชาติบ้านเมือง ให้ด�ำรงรักษาวงศ์ตระกูลของตน ให้โอบอ้อมอารีแก่พี่น้อง ให้มีความกลมเกลียว
ร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นคู่ชีวิตกันในสามีภรรยา ให้มีความซื่อตรงต่อกันในหมู่เพื่อนฝูง ให้รู้จักกระเหม็ด
กระแหม่ เจียมตัว ครองชีพแต่พอดีพองาม ให้มีเมตตามุทิตาจิตแก่ผู้อื่นแม้มิใช่ญาติมิตร ให้มีความ
สามัคคี ขันติ และอุดหนุนสาธารณประโยชน์ ให้ประพฤติตามข้อก�ำหนด ระเบียบแบบแผนกฎหมาย
ขื่อแป และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของบ้านเมืองโดยเคร่งครัด ด้วยมีวินัยแก่ตน เมื่อถึง
คราวที่ต้องช่วยชาติบ้านเมือง ให้ยอมกายสวามิภักดิ์ด้วยองอาจกล้าหาญ และด้วยความจงรักภักดี
ต่อชาติบ้านเมือง (ประไพ รักษา, ๒๕๒๒ : ๑๖๑-๑๖๔)
๓.๕) เพือ่ จรรโลงพระศาสนาและศีลธรรม คุณธรรม ศีลธรรม และมนุษยธรรมคือรากฐาน
วิชาชีวิตน�ำพาวิชาชีพ ที่มาแห่งความประพฤติดีปฏิบัติชอบ เพื่อปลูกฝังอบรมสั่งสอนให้คนไทย
เป็นคนดี พระศาสนาสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยหลักธรรมค�ำสอนเน้นคดีธรรม ให้คนมีคุณธรรม ศีลธรรม
สามัคคีธรรม ขันติธรรม อวิหิงสา กตัญญูกตเวที ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม เคารพเชื่อฟังกฎหมายและ
ระเบียบวินัย ปลูกฝังสัจการแห่งตน ความกล้าหาญทางจริยธรรม เป็นต้น เหตุนี้รัชกาลที่ ๕ จึงทรง
ตระหนักว่า ‘การรู้หนังสือ (วิชาการ) ไม่ใช่หลักประกันว่าจะท�ำให้คนเป็นคนดีโดยอัตโนมัติ แต่
อาจท�ำให้คนเก่งวิชาการ น�ำความรู้ความสามารถไปใช้เป็นประโยชน์แห่งตนและพวกพ้องในทาง
มิชอบได้ ความรู้ดี ความสามารถสูง ต้องก�ำกับด้วยความประพฤติดี’ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ๒๕๔๑ : ๑๒)

สรุป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เนื่องด้วยคตินิยมไทยและ
ลักษณะนิสยั ของคนไทย เรือ่ ง “ลัทธิเอาอย่างและโคลนติดล้อ” โดยทรงใช้พระนามแฝง “อัศวพาหุ”
(อัศวพาหุ, ๒๕๐๖ : ๑๘-๑๙) แสดงเหตุผล วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์ ใจความว่า ‘การเอา
อย่างแม้ว่าจะมีคุณค่าอยู่บ้าง แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษอย่างน้อย ๓ ประการคือ ๑) การเอาอย่าง
จะเป็นข้อตัดรอนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการใช้เหตุผล ๒) การเอาอย่างเป็นองค์แห่งคนขลาด
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๙๓

และองค์แห่งทาส ขาดความองอาจกล้าหาญและความเป็นตัวของตัวเอง และ ๓) การเอาอย่าง


เป็นเหตุท�ำให้เสียเวลา เพราะจะต้องรอให้ผู้อื่นเริ่มก่อน คนไทยจึงจะกระท�ำตาม มันง่าย สะดวก
และสบาย’ ผู้เขียนขออัญเชิญบางส่วนในพระราชนิพนธ์ มาสรุปได้ใจความว่า ‘...ความจริงนั้น
การที่คนไทยเราเอาอย่างฝรั่งด้วยอาการและลักษณะต่าง ๆ นานา เขาก็ย่อมรู้สึกพออกพอใจเสมอ
เหมือนว่า ได้รับการยกย่องสรรเสริญและเชิดชู เพราะฉะนั้น จึงรู้สึกมีไมตรีจิตเอ็นดูต่อผู้ที่ตาม
เขาเอาอย่างเขา ดุจเรารู้สึกเมตตาลูกหมาที่รู้จักนั่งเป็นอย่างลูกคนนั่ง ฉะนั้นการที่ลูกหมานั่งได้
ถึงตัวมันเองจะคิดอย่างไร ๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถจะท�ำให้มันกลายเป็นลูกคนได้ การที่เราชอบลูก
หมาที่นั่งได้มากกว่าลูกหมาอื่น ๆ ซึ่งไม่รู้จักนั่งและไม่พยายามที่จะนั่งนั้น ใช่ว่าเพราะเราถือลูกหมา
ที่นั่งได้นั้นเป็นลูกคนก็หามิได้ เราชอบมันเพราะว่า มันรู้จักเลียนอิริยาบถของเราอย่างหนึ่ง ซึ่งท�ำให้
เรารูส้ กึ เอ็นดู ตบหัวมันเล่น แล้วก็เรียกมันว่าเป็นหมาฉลาด เหตุไฉนหนอ ชาวเอเซียซึง่ ประพฤติกริยา
และขนบธรรมเนียมของฝรั่ง ดุจทาสเอาอย่างนาย จึงไม่รู้สึกตรึกตรองเห็นความข้อนี้บ้างเลย เขา
เอ็นดูเราเหมือนลูกหมาที่นั่งได้ เรากลับยินดี ส�ำคัญว่าเขายกย่องชื่นชมนับถือเราเป็นคนเท่ากับเขา
อนิจจา..!?’
อีกทั้งในพระราชนิพนธ์เรื่อง “โคลนติดล้อ” พระองค์ได้ทรงมีพระราชวิจารณ์ด้วยเหตุผล
ถึงมูลเหตุที่ถ่วงรั้งความเจริญของชาติบ้านเมืองไว้ สรุปความตอนหนึ่งว่า ‘...โคลนซึ่งติดล้อแห่ง
ความเจริญของชาติเราก้อนที่หนึ่งและก้อนที่ร้ายที่สุดนั่นก็คือ การหลับหูหลับตาเอาอย่างโดยไม่
ละอายใจและไม่ตริตรองให้เห็นความจริงและความถูกต้องดีงาม ตามเหตุตามผลอันยาวไกล...’
จะเห็นได้ว่าคตินิยมลัทธิเอาอย่างคือโคลนติดล้อสู่การพัฒนาที่ท�ำให้คนไทยหลงตัวผิด ดูทีทันสมัย
แต่ไม่พัฒนาและดูทีก้าวหน้าที่แท้ล้าหลัง ลัทธิเอาอย่างเป็นลักษณะคตินิยมคนไทย ผ่านวิถีการ
ศึกษาเล่าเรียนที่ลอกเลียนเขามา ท�ำให้คนไทยมีนิสัย มักซื้อ มักใช้ มักเช่า มักส�ำเนา แต่สร้าง
และซ่อมเองไม่เป็น เพราะคนไทยมักได้ มักง่าย มักสะดวก มักสนุก มักสบาย และมักลดแลก
แจกแถม ทุกวันนี้คนไทยมักลอกเลียนแบบวัฒนธรรมทั้งวัตถุธรรมและคติธรรมแบบตะวันตก ทั้ง
ทางตรงและทางอ้อม ดังภาษาส�ำนวนที่ส่อให้รู้สึกน้อยเนื้อต�่ำใจตลอดมาว่า วัฒนธรรมต่างแดนที่น�ำ
พาโดยองค์ความรูท้ างตรรกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวัฒนธรรมทีด่ เี ลิศประเสริฐกว่าวัฒนธรรม
อื่น ๆ ทั้งหลาย รวมถึงวัฒนธรรมไทย อันเนื่องมาจากชาวตะวันตกเป็นชาติที่ค้นพบและน�ำพาความ
เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อน จึงเป็นผู้ก�ำอ�ำนาจทรัพย์สินทางปัญญา ความคิด
ความเชื่อ และคตินิยมดังกล่าว ยิ่งคนไทยสมัยปัจจุบันที่การศึกษาเสเพลมักอวดอ้างเหตุผลพิการ
เสมอ ๆ ว่า ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นเป็นอาณานิคมใคร แต่พากันเสพเสวยวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านี้
ทีส่ อนให้แข่งขันช่วงชิงทรัพยากรธรรมชาติ ท�ำมนุษย์แท้ ๆ ให้เป็นเพียง “ทรัพยากรมนุษย์ (Human
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๙๔ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

Resourse) ทรงคุณค่าและความหมายเทียบได้กับทรัพยากรอื่น ๆ ผ่านทางการศึกษา หนังสือ สื่อ


สังคม ภายใต้พลานุภาพวัตถุนิยมสุดโต่ง บริโภคนิยมสุดโต่ง กามสุขนิยมสุดโต่ง และอื่น ๆ
ความท้ายสุดนี้ ผู้เขียนขออนุญาตอัญเชิญพระราชด�ำริด้านการศึกษาและการพัฒนาไทย
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระราชกรณียกิจทั้งแนวปฏิวัติและแนว
ปฏิรูป ในความหมายแท้จริง มาอ้างอิงเป็นบทสรุป (สิทธิ์ บุตรอินทร์, ๒๕๔๔ : ๕๗-๕๘)**
“...การศึกษาทรงคุณค่าและพลานุภาพยิ่งส�ำหรับพัฒนาความเป็นคน การศึกษาไทยก็เพื่อพัฒนา
ความเป็นไทยให้ถูกทาง ต้องท�ำให้ไทยเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ เป็นตัวของตัวเองได้
พึ่งตนเองและพึ่งพากันแลกันได้ ...หลักการจัดการศึกษา ต้องให้คนเรียนรู้ รู้แล้วต้องท�ำได้ ต้อง
มีความคิดความอ่านให้ลุ่มลึกยาวไกล ทันคน เป็นไท ต้องเลือกสรรให้เป็น และหมายมั่นว่าจะ
ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สุขในบ้านเมืองเราได้หรือไม่ หรือว่าจะต้องยักย้ายอยากให้เป็นเหมือนเขา
พึ่งเขา เดินตามรอยเท้าเขา เห็นเขาคิดอะไร เชื่ออะไร ท�ำอะไรจะเอาอย่างไปหมด ไม่ใช้เหตุผล
ไตร่ตรองวิเคราะห์วิจัย คัดสรรกลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล ให้ละเอียดลุ่มลึกและรอบคอบถี่ถ้วนนั้น
เห็นไม่ชอบ เช่น เห็นเขากินขนมปัง จะเลิกกินข้าวกันเสียอย่างไร จะต้องรู้เขารู้เรา จะต้องรู้จัก
รู้ถึงความคิดความอ่านเขา จะต้องรู้จักรู้ถึงหัวนอนปลายตีนของตัว ไม่ใช่ยิ่งเรียนก็ยิ่งโกงกิน
พิสดารกว่าคนไม่ได้เรียน ยิ่งเรียนก็ยิ่งลืมตัวเสียตัวเสียคน ตามหลังเขาให้ได้เป็นดีไปทุกทาง
...ดังนั้น หลักการจัดการศึกษา ต้องท�ำให้คนไทยมีเหตุมีผล เป็นได้ทั้งไทยนิยมและสากลนิยม
อย่างกลมกลืน มีความรู้ความคิดอ่านริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถ และศีลธรรม ในกิจการ
อันเป็นวิสัยของตน พึ่งตนเพื่อตนและเพื่อผู้อื่นและเพื่อชาติบ้านเมือง จึงได้ชื่อว่าส�ำเร็จประโยชน์ใน
การศึกษาเล่าเรียน เพื่อความสุขความเจริญของไทยโดยแท้...”

เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา. (๒๕๓๙). วิธีคิดของคนไทย. เอกสารประกอบการ
สัมมนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ค�ำหมาน คนไค. (๒๕๒๘). ผญ๋า-ภูมิปัญญาอิสาน มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม.
**
ในคติเดียวกัน พระองค์ทรงน้อยพระทัย เมื่อได้เปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นในแผ่นดินพระเจ้าจักรพรรดิเมจิ
มหาราช (๑๑ ปีก่อน ร.๕ ของไทย) ร่วมรัชสมัยเดียวกับที่ส่งคนไปเลือกเรียนเอาวิทยาการสมัยใหม่ ยังประเทศใน
ยุโรปและอเมริกา ดังใจความตอนหนึง่ ว่า “...พระเจ้าเมจิทรงสมประสงค์ทกุ ประการทีค่ นของพระองค์ทกุ คนเล่าเรียน
วิชาการสาขาต่าง ๆ กลับมาพัฒนาบ้านเมืองได้เต็มทุกด้าน แต่นักเรียนไทยที่ส่งไปเรียนไม่ค่อยได้ดีดังหวังกลับมา...”
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๑๙๕

เจือ สตะเวทิน. (๒๕๑๖). สุภาษิตไทย กรุงเทพฯ : สุทธิสารการพิมพ์.


จ�ำนงค์ ทองประเสริฐ และคณะ. (๒๕๓๗). ราชนีติ-ธรรมนีติ. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. (๒๕๒๓). กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อนุมานราชธน, พระยา. (๒๕๑๓). เรื่องของชาติไทย กรุงเทพฯ : ประจักษ์วิทยา.
พระครูวินัยธรประจักษ์. (๒๕๔๕). พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหา-
วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ป.ปยุตฺโต). (๒๕๑๘). ปรัชญาการศึกษาไทย กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์เกล็ดไทย.
เพ็ญศรี ดุ๊กและคณะ (บรรณาธิการ). (๒๕๓๑). รวมบทความประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ :
สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสภา. (๒๕๖๐). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (๒๕๑๕, ๒๕๓๕, ๒๕๓๙). ประมวลพระ
นิพนธ์-ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา. (พระมหาสมณศาส์น). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เสถียรโกเศศ (๒๕๑๕). ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.
สิทธิ์ บุตรอินทร์ (๒๕๐๕ ). ถิ่นภูไทและภูไทพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
_______ . (๒๕๒๓). โลกทัศน์ชาวไทยลานนา. เชียงใหม่ : ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
_______ . (๒๕๔๖). สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระด�ำริด้านการ
ศึกษาและการปกครอง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์-
มหาวิทยาลัย.
_______ . (๒๕๔๗). ตรรกศาสตร์ วิชาการใช้เหตุผล พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มหา-
มกุฏราชวิทยาลัย.
_______ . (๒๕๔๗). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏ-
ราชวิทยาลัย
_______ . (๒๕๕๔). ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกกับตะวันตก. กรุงเทพฯ : บริษัท
สร้างสรรค์บุ๊คส์ จ�ำกัด.
_______ . (๒๕๕๙). ปรัชญานิพนธ์. กรุงเทพฯ : ศยาม.
_______ . และภูมินทร์ บุตรอินทร์. (๒๕๕๔). ปรัชญาการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : ศยาม.
วารสารราชบัณฑิตยสภา
ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๖๑
๑๙๖ มนุษยนิยมกับคตินิยมไทย

สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ. (๒๕๔๑). ปรีชาญาณสยาม : บทวิเคราะห์ด้านการศึกษ. (จัดพิมพ์โดย


เงินทุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ส�ำเริง บุญเรืองรัตน์. (๒๕๔๙). ปรัชญาในวรรณคดีสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัย
รัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : บริษัท ๙๕๙ พับลิชชิ่ง จ�ำกัด.
อัศวพาหุ (พระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (๒๕๐๖). ลัทธิเอาอย่าง
และโคลนติดล้อ. พระนคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
อรุณ เวชสุวรรณ. (๒๕๒๑). คนไทยกับอารยธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
Nakamura, H. (1971). Ways of Thinking of Eastern Peoples. Hawaii: The University
Press of Hawaii
Siddhi Butr-Indr. (1999). The Social Philosophy of Buddhism. 9th ed. Bangkok:
Mahamakut Buddhist University.
ภาพปกหลัง
ภาพหงส์คู่ (พ.ศ. ๒๕๕๗)
เทคนิค ลายรดน้ำ�
นายสนั่น รัตนะ ราชบัณฑิต สำ�นักศิลปกรรม

You might also like