You are on page 1of 132

อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
ราชบัณฑิต
.
อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน

ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒

ราชบัณฑิตยสภา
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
ชาตะ ๒๑ มีนาคม ๒๔๖๑
มตะ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
4 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

น�ำราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก กรรมการวิชาการ ผู้บริหาร ข้าราชการ และลูกจ้างราชบัณฑิตยสถาน


เชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจ�ำปี ๒๕๔๒ ไปถวาย
ณ วัดภคินีนาถวรวิหาร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ
เมื่อวันพุธที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 5

ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถานเมื่อครั้งด�ำรงต�ำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
6 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

สัมมนาทางวิชาการ เรื่อง
คลองกระ : ผลประโยชน์ยิ่งใหญ่ของไทยและโลก
เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 7

สัมมนาโครงการปราชญ์เพื่อแผ่นดิน ครั้งที่ ๒ เรื่อง ฐานปัญญาไทยในโลกสากล


เมื่อวันพุธที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
8 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

การประชุมวิชาการ เรื่อง สังคมศาสตร์กับชีวิตที่พอเพียง : ปัจจุบัน–อนาคต


เมื่อวันพุธที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 9

การเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๕๖๑
“ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น อ่าน เขียน พูดไทย อย่างถูกใจและถูกต้อง”
เมื่อวันพุธที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
10 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ศึกษาดูงานแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์
ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม และเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างราชบัณฑิตยสถาน
กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ถึงวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 11
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
12 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ศึกษาดูงานแหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม


ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันศุกร์ที่ ๕ ถึงวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 13
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
14 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง
สุโขทัยศึกษาและล้านนาศึกษา
เมื่อวันพุธที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ถนนหลานหลวง
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 15

การสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ภาษาไทย ภาษาถิ่น : วันเวลา ภาษา จารึก”


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องอมรินทร์ โรงแรม เอส. ดี. อเวนิว กรุงเทพฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
16 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการวิชาการของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 17

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๒-๒๕๔๔)
ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัตศิ าสตร์ สาขาวิชาโบราณคดี ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ราชบัณฑิตยสภา
เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ จังหวัดแพร่
ประวัติการศึกษา
ระดับปริญญาตรี - ปริญญาตรี (สาขาเกษตรวิศวกรรม) จากมหาวิทยาลัย
ฟิลิปปินส์ (University of the Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ โดยทุนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
(ก.พ.)
- ธรรมศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.)
ระดับปริญญาโท - ปริญญาโท ทางด้านสถิติ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
(Cornell University) สหรัฐอเมริกา
ระดับปริญญาเอก - ปริญญาเอก ทางด้านสถิติ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
(Cornell University) สหรัฐอเมริกา
การศึกษาอื่น ๆ - ประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๑๑

ประวัติการท�ำงานที่ส�ำคัญ
๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เลขาธิการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ศาสตราจารย์ประจ�ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เลขาธิการและรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ รักษาการในต�ำแหน่งปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
และเป็นผู้ใช้อ�ำนาจของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ของรัฐจนกระทั่งมีรัฐมนตรีว่าการทบวงฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
18 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ


๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายพลเรือน กองอ�ำนวยการคณะปฏิวัติ
๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เกษียณอายุราชการ

งานคณะกรรมการวิชาการในส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา ณ พ.ศ. ๒๕๖๒


๑. ประธานบรรณาธิการ คณะบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
๒. ประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย
๓. ประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย
ภาคอีสาน
๔. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการช�ำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ
๕. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ประวัติศาสตร์ไทย
๖. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการช�ำระพจนานุกรม
๗. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมโบราณศัพท์
๘. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย
ภาคเหนือ
๙. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
๑๐. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการจัดท�ำหลักเกณฑ์การใช้ราชาศัพท์
๑๑. กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการจัดท�ำหลักเกณฑ์การถอดอักษรภาษาตระกูลไทเป็น
อักษรโรมัน
๑๒. กรรมการ คณะกรรมการด�ำเนินงานจัดท�ำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ
๑๓. กรรมการ คณะกรรมการด�ำเนินงานจัดท�ำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน

ต�ำแหน่งหน้าที่ที่ส�ำคัญในอดีต
- ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- กรรมการบริหารในคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 19

- กรรมการผูท้ รงคุณวุฒใิ นสภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย


มหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
- กรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งชาติ
- รองประธานสาขาเกษตรศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
ฯลฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- มหาวชิรมงกุฎ
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
- ทุติยดิเรกคุณาภรณ์
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

เกียรติยศหรือรางวัลที่ได้รับ
- รางวัลที่ ๑ ในการประกวดร้อยกรอง ประเภทกลอนหก ชื่อ “อุทกเทวี” พ.ศ. ๒๔๘๖
- รางวัลที่ ๑ ในการประกวดร้อยกรอง ประเภทกลอนหก ชื่อ “เชื่อผู้น�ำ” พ.ศ. ๒๔๘๗
- รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองค�ำ ร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
จักรพันธ์เพ็ญศิริ ในผลงานการประพันธ์ค�ำร้องเพลง “ฝากรัก” พ.ศ. ๒๕๐๙
- สมาชิกสมาคม ฟาย กาป้า ฟาย ในฐานะที่เรียนดี
- สมาชิกสมาคม ซิกม่า ซาย ในฐานะที่เป็นนักวิจัยดีเด่น
- รับโล่ Distinguished Alumnus จากมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๓๑ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
จากส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
20 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

- กิตติเมธี สาขาศิลปศาสตร์ ประจ�ำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๓๑–๒๕๓๓


- รับพระราชทานพระเกี้ยวทองค�ำในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๓๑
- ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ของส�ำนักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๓๕
- ASEAN Award For Culture, Communication and Literary Works 1993
รางวัลเกียรติยศแก่ผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศสมาชิก จัดขึ้นครั้งที่ ๓
ณ ประเทศเนการาบรูไนดารุสซาลาม (วันที่ ๘–๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖)
- นักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น เนื่องในงาน ๑๐๐ ปีนักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. ๒๕๓๗
- รางวัลสุรินทราชา ในฐานะนักแปลอาวุโสดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๐ จากสมาคมนักแปลและ
ล่ามแห่งประเทศไทย
- รางวัลนราธิป พ.ศ. ๒๕๕๐ ในด้านภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ จาก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
- เข็มเกียรติคุณในฐานะผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๕๓
- รางวัลสดุดีเกียรติคุณเป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยคณะกรรมการผู้สูงอายุ
แห่งชาติและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปีละ ๑ คน)
- บุคคลแห่งปี ๒๕๖๑ ในโครงการสุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี พ.ศ. ๒๕๖๑
- ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ ประจ�ำปี ๒๕๖๒
ฯลฯ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 21
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
22 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 23
แด่ “ครูผู้ประเสริฐ”
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 25

ค�ำไว้อาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


ของนายกราชบัณฑิตยสภา

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. ๒๕๔๒–๒๕๔๔)


ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาโบราณคดี ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา
ท่านเป็นราชบัณฑิตอาวุโสที่มีคุณูปการอเนกอนันต์ต่อราชบัณฑิตยสภาและส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เป็นบุคคลตัวอย่างทั้งในเรื่องวิชาการและวัตรปฏิบัติอันงดงาม
ในทางวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้รอบรู้
ในสรรพวิชา อาทิ ด้านสถิติ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ จารึก ไทยศึกษา ผลงานของท่านมีผู้น�ำไปศึกษา
และอ้างอิงอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ ท่านยังมีสว่ นร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทีเ่ ป็นประโยชน์
ในการประชุมวิชาการของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภาหลายคณะ เช่น คณะกรรมการช�ำระพจนานุกรม
คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมโบราณศัพท์ คณะกรรมการช�ำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ
ท่านเป็นอาจารย์สอนสถิติให้แก่นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหลายสถาบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
ผมได้มโี อกาสเรียนกับท่านในวิชาชีวสถิติ เมือ่ ครัง้ เป็นนักศึกษาเตรียมแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านเคยบอกว่า สมองจะดีต้องให้สมองท�ำงานอยู่ตลอดเวลา วิธีการหนึ่งที่อาจารย์
ชอบท�ำอยู่บ่อย ๆ คือการบวกเลขทะเบียนรถที่เห็นอยู่ตรงหน้า จากเลขสี่หลักบวกให้เหลือหลักเดียวด้วย
เวลาที่น้อยที่สุด เช่น ถ้าเห็นเลข ๖๒๓๔ ก็ตอบได้ทันทีว่า ๖ เพราะเลข ๖ กับเลข ๓ คือ ๙ ก็จะเหลือเลข
๒ กับเลข ๔ คือค�ำตอบเท่ากับ ๖ เคล็ดลับก็แค่จ�ำให้คล่องว่าเลขแต่ละตัวบวกกันได้เท่าใด ไม่ต้องยกนิ้ว
ขึ้นมานับ ท�ำบ่อย ๆ สนุกได้ฝึกสมองไปในตัว นอกจากนี้ ท่านยังเคยบอกอยู่เสมอว่า พอตื่นขึ้นมาก็จะ
นึกอยู่ทุกวันว่าจะท�ำอะไรให้ประเทศชาติได้บ้าง ถ้าวันนี้ท�ำอะไรไปแล้ว พรุ่งนี้จะท�ำอย่างไรให้ดีกว่านี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของคนไทยที่จะต้องนึกถึงส่วนรวมเป็นอันดับแรก
การจากไปของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ท�ำให้รู้สึกใจหายและเสียดาย เพราะท่านเป็น
ราชบัณฑิตอาวุโสที่มีคุณูปการต่อกิจกรรมของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็น
ผูท้ ที่ กุ คนเคารพรักและนับถือแล้ว ท่านยังเป็นต้นแบบของวัตรปฏิบตั อิ นั ดีงามหลายด้าน ไม่วา่ จะเป็นความ
อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว ความสมถะ ความขยันหมั่นเพียร สนใจใฝ่รู้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ค�ำนึงถึงประโยชน์สว่ นรวมก่อนประโยชน์สว่ นตน ท่านเป็นกรรมการวิชาการของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ในหลายคณะ เป็นผู้ที่มีความสนใจและมีความรู้ในสรรพวิชาทั้งทางกว้างและทางลึกมากมาย ยากจะ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
26 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

หาใครเทียบได้ และที่ส�ำคัญแม้จะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี แต่มีความจ�ำดีมาก ท่านยังสามารถให้ค�ำแนะน�ำและ


แสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างดี ท่านยังท�ำงานจนถึงวาระสุดท้าย
แม้การสูญเสียปูชนียาจารย์อันทรงคุณค่าเช่นศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ไปอย่างไม่มี
วันกลับ จะยังความโศกเศร้าเสียใจและเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หากแต่องค์ความรู้ทั้งหลายที่ศาสตราจารย์
ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้สั่งสมและอุทิศแก่ประเทศชาติจะยังคงตราตรึงอยู่ในบรรณพิภพ และคุณงาม
ความดีที่ท่านได้เพียรบ�ำเพ็ญมาโดยตลอดจะอ�ำนวยผลให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
อย่างแน่นอน.

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล


นายกราชบัณฑิตยสภา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 27

ค�ำไว้อาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


ของประธานส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง อดีตนายก


ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน ท่านได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณ ฑิต ประเภท
ประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๙
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้มีคุณูปการต่อราชบัณฑิตยสภาและส�ำนักงาน
ราชบัณฑิตยสภามาโดยตลอด ท่านได้เข้าร่วมการประชุมส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมืองทุกวันพุธสัปดาห์
ที่ ๑ และ ๓ ของเดือนมาอย่างสม�่ำเสมอ และในบางครั้งเมื่อประธานส�ำนักติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วม
ประชุมได้ ท่านได้กรุณาท�ำหน้าที่ประธานที่ประชุมให้มาโดยตลอด นอกจากนี้ ท่านยังได้อุทิศเวลาให้แก่
คณะกรรมการวิชาการของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภาที่ท่านเป็นกรรมการที่ปรึกษา ประธานกรรมการ
ประธานบรรณาธิการ และกรรมการหลายคณะ อาทิ กรรมการทีป่ รึกษาในคณะกรรมการช�ำระพจนานุกรม
กรรมการที่ปรึกษาในคณะกรรมการช�ำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ ประธานบรรณาธิการในคณะ
บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
ผลงานทางวิชาการของท่านทีท่ า่ นได้สร้างไว้ให้แก่ประเทศชาติยอ่ มเป็นทีป่ ระจักษ์กนั อย่างชัดเจน
โดยทั่วไปแล้ว การสูญเสียท่านท�ำให้ราชบัณฑิตยสภาและประเทศสูญเสียบุคคลส�ำคัญ เมื่อท่านจากไป
อย่างไม่มีวันกลับ กระผมจึงขอกุศลผลบุญที่ท่านได้เพียรบ�ำเพ็ญมาโดยตลอด อ�ำนวยให้ท่านได้ไปสู่สุคติ
ในสัมปรายภพด้วยเทอญ.

ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร


ประธานส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
28 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ด้วยเคารพ-รักและอาลัย
แด่
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต

ข้าพเจ้าได้รู้จัก ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ครั้งแรกเมื่อข้าพเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ


ท�ำพจนานุกรมบัญญัตศิ พั ท์ของทบวงมหาวิทยาลัยในสมัยทีท่ า่ นอาจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นปลัดทบวง
มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเห็นว่า ท่านอาจารย์ประเสริฐ ณ นคร เป็นผูเ้ พียบพร้อมไปด้วยความรู้ ความสามารถ
และให้เกียรติผนู้ อ้ ยอย่างข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าจึงได้ชกั ชวนให้ทา่ นสมัครเป็นภาคีสมาชิก ส�ำนักธรรมศาสตร์
และการเมืองแห่งราชบัณฑิตยสถานสมัยนั้น (ปัจจุบันคือ ราชบัณฑิตยสภา) และได้น�ำใบสมัครเป็นภาคี
สมาชิกให้ท่าน ท่านบอกว่า เคยมีผู้น�ำใบสมัครไปให้ท่านเหมือนกัน แต่ท่านไม่ได้เขียนใบสมัคร แต่เมื่อ
ข้าพเจ้าน�ำใบสมัครไปให้ทา่ น ท่านก็ยอมรับและเขียนสมัคร มอบให้นำ� มาเสนอประธานส�ำนักธรรมศาสตร์
และการเมือง และทางส�ำนักก็ยอมรับท่าน ท่านก็ได้เป็นภาคีสมาชิก ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
แต่นนั้ มา จนกระทัง่ ได้รบั พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้เป็นราชบัณฑิต และต่อมาก็ได้รบั เลือก
ให้เป็นนายกราชบัณฑิตยสถาน เวลาท่านเห็นข้าพเจ้า ท่านจะต้องยกมือไหว้ขา้ พเจ้าทุกที ข้าพเจ้ารูส้ กึ ว่า
ท่านให้เกียรติข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าเคยพูดในที่ประชุมว่าท่านอาจารย์ประเสริฐเป็นคนที่มีความเคารพ
นบนอบ อ่อนน้อมถ่อมตน แม้แต่คนที่เด็กกว่าท่าน ท่านก็ไหว้ ท่านได้พูดกับข้าพเจ้าว่า ท่านไม่ได้ไหว้
ทุกคนนะ ท่านไหว้เฉพาะบางคนที่ท่านนับถือเท่านั้น ต่อมา พอข้าพเจ้าเห็นท่านทีไร ข้าพเจ้าต้องรีบไหว้
ท่านก่อนทุกที
ในการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ราชบัณฑิตยสถาน ถ้าท่านได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะ
กรรมการ ท่านก็จะนั่งเก้าอี้ประธานที่หัวโต๊ะเสมอ แต่บางครั้งข้าพเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ
แทนท่าน และท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษา ตามปรกติข้าพเจ้าก็จะนั่งเก้าอี้ประธานคณะ
กรรมการแทนท่าน แต่ข้าพเจ้าจะไม่นั่งเก้าอี้ประธานฯ ข้าพเจ้าจะให้ท่านนั่งเก้าอี้ประธานฯ เหมือนเดิม
ข้าพเจ้าบอกข้าพเจ้านัง่ ทีไ่ หนก็เป็นประธานได้ ข้าพเจ้าได้ปฏิเสธเช่นนีต้ อ่ ผูท้ ขี่ า้ พเจ้าเคารพนับถือและเคย
เป็นครูบาอาจารย์ข้าพเจ้าเสมอ อย่างเช่นท่านอาจารย์สิริ เพชรไชย เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะ
กรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก ท่านก็นงั่ เก้าอีป้ ระธานทีห่ ัวโต๊ะ ต่อมาข้าพเจ้าได้รบั แต่งตัง้
เป็นประธานแทนท่าน ท่านได้รบั แต่งตัง้ เป็นกรรมการทีป่ รึกษา ข้าพเจ้าก็ให้ทา่ นนัง่ เก้าอีป้ ระธานกรรมการ
จนท่านถึงแก่อนิจกรรมเช่นเดียวกัน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 29

ท่านศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ท่านมีความเมตตากรุณาข้าพเจ้าเสมอ


เมื่อท่านมีหนังสืออะไรออกมาใหม่ ๆ ท่านจะมอบให้ข้าพเจ้าเป็นประจ�ำ ข้าพเจ้าซึ่งเคารพนับถือท่านตลอดมา
จนท่านถึงแก่อนิจกรรม ข้าพเจ้าก็ไปร่วมอาบน�้ำศพและขอขมาลาโทษท่าน หรือถ้าหากท่านมีอะไรต่อ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็อโหสิกรรมให้แก่ทา่ น เพือ่ ให้ดวงวิญญาณของท่านไปสูส่ คุ ติโลกสวรรค์ตามคติความเชือ่ ถือ
ในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าในเมืองไทยของเรานี้จะหาบุคคลที่เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต
ที่มีความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ มากมายอย่างท่านศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิตนี้หาได้ยากยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่านศิลาจารึกต่าง ๆ อย่างหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง
การจากไปของท่านศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต นับเป็นการสูญเสียบุคคล
ส�ำคัญในด้านประวัติศาสตร์ส�ำคัญที่สุดคนหนึ่งของชาติไปอย่างน่าเสียดายอย่างยิ่ง
ขอเดชะอ� ำ นาจแห่ ง คุ ณ พระศรี รั ต นตรั ย ได้ โ ปรดอภิ บ าลคุ ้ ม ครองให้ ด วงวิ ญ ญาณของท่ า น
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้ไปสถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ จนกว่าจะบรรลุนิพพาน
อันเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาตลอดไปเทอญ.

ศาสตราจารย์พิเศษจ�ำนงค์ ทองประเสริฐ
ราชบัณฑิต ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
30 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

คุรุบูชาแด่ “ครูผู้ประเสริฐ”

“ข้าพเจ้าเห็นว่าคนไทยต้องอ่านจารึกให้ได้
ถ้าไม่มีคนไทยคนอื่นอ่านได้ ข้าพเจ้าจะต้องอ่านให้ได้เอง”
ข้อความข้างต้นเป็นปณิธานในการศึกษาจารึกของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต
ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ผูเ้ ป็นเมธีทางด้านการอ่านจารึกและเอกสาร
โบราณของประเทศไทย
ก่อนที่ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จะสนใจศึกษาจารึกอย่างจริงจังนั้น ท่านมีความรอบรู้
และเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ทั้งวิชาที่ท่านศึกษาจากสถาบันการศึกษาได้แก่วิชาสถิติและวิชา
กฎหมาย รวมทัง้ วิชาทีท่ า่ นสนใจเป็นพิเศษทีไ่ ด้ศกึ ษาค้นคว้า เรียนรูก้ บั ครูเฉพาะทาง และฝึกฝนด้วยตนเอง
อย่างจริงจังนั้นมีหลายวิชา วิชาแรกเป็นวิชาด้านอักษรโบราณ ภาษาและวรรณกรรมล้านนา โดยที่ท่าน
เกิดที่จังหวัดแพร่ มีความรู้ในภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นทุนอยู่แล้วจึงท�ำให้ท่านสนใจที่จะศึกษาโคลงนิราศ
หริภญ
ุ ชัย ตัง้ แต่เมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๖ และก่อนทีจ่ ะปริวรรตโคลงนิราศหริภญ ุ ชัย ท่านต้องศึกษาอักษรโบราณ
ของล้านนา ๒ ชนิดที่ใช้เขียนโคลงดังกล่าวก่อนคือ อักษรธรรมล้านนาและอักษรที่พัฒนาไปจากอักษร
ฝักขาม ซึ่งท่านเรียกว่า “อักษรขอมไทย” เมื่อปริวรรตค�ำในโคลงนิราศหริภุญชัยมาเป็นค�ำไทยปัจจุบันและ
แบ่งวรรคตอนให้ถกู ต้องตามฉันทลักษณ์ของโคลงเสร็จแล้ว ท่านได้วเิ คราะห์คำ� ศัพท์และเขียนค�ำแปลโคลง
แต่ละบทซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของโคลงได้เป็นอย่างดี หนังสือโคลงนิราศหริภุญชัยนี้ได้พิมพ์
เผยแพร่มาแล้วถึง ๔ ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๔๖ นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาวิชาภาษาศาสตร์ ภาษาถิ่น
ตระกูลไท อักษรไทในต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ และวิชาโหราศาสตร์อีกด้วย ซึ่งวิชาเหล่านี้ล้วนแล้ว
แต่เป็นประโยชน์ต่อการอ่าน การก�ำหนดอายุจารึก การวิเคราะห์ค�ำศัพท์ การแปล การตีความจารึกและ
เอกสารโบราณทั้งสิ้น
ส่วนการอ่านจารึกนั้น ท่านฝึกอ่านด้วยตนเองดังที่ท่านเขียนไว้ในบทความเรื่อง “ศิลาจารึกกับ
ข้าพเจ้า” ว่า ท่านได้ฝึกอ่านจารึกในหนังสือประชุมศิลาจารึกจนสามารถแก้ไขค�ำที่อ่านไว้ผิดได้ โดยอาศัย
ความเข้าใจภาษาไทยมาพิจารณาข้อความ หากตอนใดทีส่ งสัยว่าจะไม่ถูกต้อง ก็ไปสอบทานกับภาพจารึก
ซึ่งก็พบว่าผิดจริง ๆ เช่น ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑ มีจารึก ๑๕ หลัก ท่านพบที่ผิดกว่า ๕๐ แห่ง
แต่มีค�ำว่า “ชนก” ในข้อความว่า “อันตนชนกประดิษฐาแต่ก่อน” ในจารึกหลักที่ ๘ จารึกเขาสุมณกูฏ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 31

ที่ท่านเห็นว่าความดูจะขัดแย้งกับประวัติศาสตร์ เมื่อได้ตรวจสอบก็พบว่าจารึกแตกตรงค�ำนั้นพอดี แต่ยัง


เห็นส่วนต้นของพยัญชนะตัวแรกและตัว ก ชัดเจน ท่านคิดว่าพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว ห ท่านจึงส่ง
หลักฐานไปให้ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้อ่านจารึก พิจารณาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช
เซเดส์ ได้ตอบกลับว่า เห็นด้วยกับค�ำอ่านใหม่ที่จะเป็นค�ำว่า “หาก” และข้อความในตอนนั้นก็จะเป็น
“อันตนหากประดิษฐาแต่ก่อน” พร้อมทั้งขอบคุณที่ชี้ให้เห็นข้อผิดที่อ่านไปและยินดีที่จะพิจารณา
ข้อแนะน�ำอื่น ๆ ที่อาจจะมีต่อไป การได้รับจดหมายจากศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ คงจะท�ำให้
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ภาคภูมิใจและมีความมั่นใจในการศึกษาจารึกมากขึ้น ดังที่ท่านได้
เขียนไว้วา่ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นปราชญ์ยงิ่ ใหญ่ทยี่ อมรับฟังความคิดเห็นของผูท้ ไี่ ม่มผี ลงานด้าน
จารึกมาก่อนเลย ซึ่งผลส�ำเร็จครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันให้ท่านศึกษาจารึก และประการส�ำคัญท�ำให้ท่าน
ตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าคนไทยต้องอ่านจารึกให้ได้ ถ้าไม่มีคนไทยคนอื่นอ่านได้ ข้าพเจ้าจะต้อง
อ่านให้ได้เอง...” และท่านได้มุ่งมั่นท�ำตามปณิธานนั้นมาตลอดชีวิต ด้วยการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจารึก
ทัง้ ในประเทศและจารึกทีเ่ กีย่ วข้องกับประเทศไทยในต่างประเทศ สนับสนุนส่งเสริมการเปิดหลักสูตรด้าน
จารึกศึกษา อีกทั้งยังเขียนหนังสือ บทความ บรรยายในการประชุมสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ จนเป็นที่
ยอมรับในหมูน่ กั วิชาการว่า ท่านเป็นเอตทัคคะทางด้านจารึกและประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย และทีส่ ำ� คัญยิง่ คือ
ท่านได้ถา่ ยทอดศาสตร์ดา้ นการอ่านจารึกและเอกสารโบราณ ภาษาและวรรณกรรมท้องถิน่ ให้แก่นกั ศึกษา
ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งอีกด้วย
ส�ำหรับที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้กรุณา
มาเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาการอ่านจารึกสุโขทัยและจารึกล้านนาให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้นมา ตามค�ำเชิญของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล คณบดีในขณะนั้น
ต่อมา เมือ่ ปีการศึกษา ๒๕๑๙ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ซึง่ มีผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ร.อ. เสนีย์
วิลาวัลย์ เป็นหัวหน้าภาควิชา ได้เปิดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตเกี่ยวกับจารึก ๒ หลักสูตร คือ สาขาวิชา
จารึกภาษาตะวันออก และสาขาวิชาจารึกภาษาไทย ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้มีส่วนร่วม
ในการร่างหลักสูตรและผลักดันให้เปิดหลักสูตรดังกล่าว ทัง้ ยังได้กรุณามาช่วยสอนวิชาจารึกสุโขทัย จารึก
ล้านนา วรรณกรรมล้านนา ตลอดจนวิชาพืน้ ฐานเกีย่ วกับอักษรและภาษาถิน่ ภาคเหนือซึง่ เป็นวิชาในสาขา
วิชาจารึกภาษาไทย พร้อมกับรับเป็นที่ปรึกษาและกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์อีกด้วย
การสอนการอ่านจารึกและเอกสารโบราณของท่านนั้น ใช้วิธีสอนแบบง่ายไปหายากและวิธีการ
ศึกษาจารึกจากประสบการณ์ของท่านเอง ในชั่วโมงแรก ๆ ท่านจะให้นักศึกษาฝึกอ่านจารึกจากส�ำเนาที่
ชัดเจน อ่านง่าย และให้ดคู ำ� อ่านจารึกหากติดขัด แล้วจึงอ่านจารึกทีย่ ากขึน้ พร้อมกับบันทึกรูปอักษรและ
อักขรวิธพี เิ ศษในจารึกแต่ละหลักไว้ จากนัน้ ท่านก็จะอธิบายให้ความรูแ้ ละข้อสังเกตทีเ่ กีย่ วข้องกับจารึกที่
ก�ำลังอ่านทั้งในด้านอักขรวิธีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับจารึกหลักอื่น ๆ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับ
โหราศาสตร์และชื่อวัน เดือน ปี แบบโบราณ และการอ่านดวงชะตาที่พบมากในจารึกล้านนา ตลอดจน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
32 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

การค�ำนวณหาวันเดือนปีต่าง ๆ กล่าวได้ว่าท่านให้ความรู้ด้านอักขรวิทยาและจารึกวิทยาไปพร้อม ๆ กัน


ท่านเป็นครูที่ใจเย็น ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา ท�ำให้บรรยากาศในห้องเรียนผ่อนคลาย เรียนสนุก และ
ยิ่งได้ความรู้มากขึ้นเมื่อมีค�ำถามมาถาม เพราะจะได้รับค�ำตอบและค�ำอธิบายเพิ่มเติมโดยมีหลักฐานจาก
จารึกประกอบอย่างกว้างขวางจากท่านเสมอ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สอนจารึกที่ภาควิชาภาษาตะวันออก จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๘
หลังจากนั้นท่านกรุณาไปช่วยบรรยายในบางหัวข้อในแต่ละรายวิชา การบรรยายครั้งสุดท้ายเป็นการ
บรรยายเกี่ยวกับจารึกสุโขทัยให้แก่ผู้เข้าอบรมใน “โครงการอบรมการอ่านจารึกสุโขทัยส�ำหรับครู
มัธยมศึกษา” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งโครงการนี้ภาควิชาภาษาตะวันออก
จัดขึ้นเพื่อเป็นการสักการะแด่ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ในวาระอายุวัฒนมงคล ๙๙ ปี
นอกจากการสอนแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ใช้ความรูท้ างด้านจารึก โบราณศัพท์
ภาษาถิน่ ตลอดจนประสบการณ์การอ่านจารึกและเอกสารโบราณของท่าน ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การประชุม
วิชาการของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะการประชุมของกรมศิลปากร เช่น การประชุมคณะอนุกรรมการ
พิจารณาจารึกที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย และการประชุมคณะกรรมการวิชาการหลายคณะของ
ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา อาทิ คณะกรรมการช�ำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ คณะกรรมการ
จัดท�ำพจนานุกรมโบราณศัพท์ คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ
คณะกรรมการจัดท�ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิน่ ไทย ภาคอีสาน คณะกรรมการด�ำเนินงานจัดท�ำ
พจนานุกรมภาษาไทยถิน่ ภาคเหนือ คณะกรรมการด�ำเนินงานจัดท�ำพจนานุกรมภาษาไทยถิน่ ภาคอีสาน
ซึง่ คณะกรรมการในการประชุมทีย่ กตัวอย่างมานี้ ต่างก็ประจักษ์ในความรอบรูใ้ นค�ำศัพท์โบราณของท่าน
ประหนึ่งมีคลังค�ำในสมองที่สามารถน�ำมาใช้วิเคราะห์ถ้อยค�ำต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ท่านสามารถวินิจฉัย
ตีความส�ำนวนภาษาแบบโบราณและสรุปใจความได้กระชับชัดเจน โดยเฉพาะทีเ่ ป็นภาษากฎหมายโบราณ
ช่วยให้ที่ประชุมสามารถให้ค�ำอธิบายศัพท์หรืออธิบายความต่าง ๆ ได้ และท�ำให้การประชุมผ่านไปได้ด้วยดี
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นแบบอย่างในการด�ำรงตนและการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ได้อย่างประเสริฐ เป็นนักวิชาการทีป่ ระเสริฐด้วยคุณธรรมและความใจกว้าง ท่านมีผลงานเขียนจ�ำนวนมาก
ทั้งหนังสือและบทความนับ ๑๐๐ เรื่องที่มีคุณค่าอเนกอนันต์ต่อวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทย
จารึกสุโขทัย จารึกล้านนา ภาษาและวรรณกรรมท้องถิน่ ไทย ถือเป็นมรดกทางปัญญาทีท่ า่ นมอบให้คนรุน่ หลัง
ได้ศึกษาเพิ่มพูนความรู้หรือใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัย และเป็น “ครูผู้ประเสริฐ” ที่มีความจริงใจ
มีความปรารถนาดีต่อลูกศิษย์มานานกว่า ๗๐ ปี ท่านจึงมีลูกศิษย์หลายรุ่นจากหลายสถาบันที่ได้สืบทอด
และน�ำความรู้ที่ได้รับจากท่านไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือสร้างสรรค์งานให้เกิดประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติสืบต่อไป
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 33

การถึงแก่อนิจกรรมของศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ถือเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่


ในวงวิชาการด้านจารึกและประวัตศิ าสตร์ไทย เป็นการสูญเสียปราชญ์คนส�ำคัญของชาติทที่ ำ� ให้ครอบครัว
ผู้ใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ตลอดจนลูกศิษย์จ�ำนวนมากต่างเกิดความเสียใจ เสียดายเป็นที่สุด
จึงขอตัง้ จิตอธิษฐาน ขออ�ำนาจคุณพระศรีรตั นตรัย อ�ำนาจบุญกุศลและคุณความดีทศี่ าสตราจารย์
ดร.ประเสริฐ ณ นคร สั่งสมมาชั่วชีวิต โปรดดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุคติ มีความสุข
ในสัมปรายภพตลอดไปด้วยเทอญ.

รองศาสตราจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม
ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาอักษรโบราณ ส�ำนักศิลปกรรม
ประมวลผลงานวิชาการ
ของ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ปาฐกถา
เรื่อง ภาษาถิ่นกับศิลาจารึก
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
36 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ปาฐกถา
เรื่อง ภาษาถิ่นกับศิลาจารึก
โดย
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต
จัดโดย
ส�ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔

ชาวอีสานคิดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช เขียนด้วยภาษาถิ่นอีสาน


ชาวล้านนาเห็นว่า จารึกพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชเขียนด้วยภาษาถิน่ ล้านนา และชาวปักษ์ใต้กว็ า่ จารึก
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชใช้ภาษาถิน่ ใต้ มีแต่คนภาคกลางบอกว่า อ่านจารึกพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
ไม่ค่อยเข้าใจ
ชาวอีสานและชาวล้านนาพูดกับไทลื้อที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนาได้เข้าใจเกือบร้อยละ ๑๐๐ ไทมาว
หรือไทยเหนือที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน สื่อสารกับชาวอีสาน ชาวล้านนา และชาวใต้ได้สะดวก
แต่พูดกับคนภาคกลางไม่ค่อยรู้เรื่อง เพื่อนไทมาวของผู้บรรยายบอกว่าอ่านจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง
มหาราชเข้าใจได้ดี แต่อา่ นหนังสือพิมพ์เมืองไทยไม่คอ่ ยเข้าใจ ทัง้ นีเ้ พราะภาษากลางมีคำ� ยืมจากภาษา
เขมรและบาลีสันสกฤตปนอยู่มาก
คนไทยที่เกิดในภูมิภาคต่าง ๆ จึงควรภาคภูมิใจว่าสามารถพูดกับคนไทนอกประเทศได้รู้เรื่อง
อ่านวรรณกรรมโบราณของไทย และอ่านจารึกโบราณของไทยรู้เรื่องดีกว่าคนภาคกลาง
ภาษาไทยโบราณบางค�ำในศิลาจารึกสุโขทัยยังใช้กันอยู่ในท้องถิ่นและนอกประเทศ เช่น กว่า
จารึกใช้วา่ ล้มตายหายกว่า ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้วา่ ภาษาไทยโบราณในเมืองจีนแปล
ว่า เสีย เช่น ตายกว่าแล้ว หลวงวิจติ รวาทการ แปลว่า จาก เพราะสมัยนีใ้ ช้วา่ ล้มหายตายจาก ผูบ้ รรยาย
เคยเรียนเสนอพระยาอนุมานราชธนว่า น่าจะแปลอย่างภาษาไทใหญ่ว่า ไป ซึ่งท่านก็เห็นพ้องด้วย
ต่อมาได้อ่านค�ำแปลที่อาจารย์ใหญ่ภาษาไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ไป และมาจากค�ำเดียวกับ
คลา ผู้บรรยายเห็นว่า กว่า แปลว่า ไป แน่นอน ดังปรากฏในโคลงนิราศนรินทร์ว่า “จรรโลงโลกกว่ากว้าง”
จารึกพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชว่า “ด้วยรู้ด้วยหลวัก” ค�ำ หลวัก นี้ออกเสียง ห ล ว ควบกัน
ออกเสียงยาก ภาคกลางจึงตัดลงเหลือ หลัก แปลว่า หลักแหลม แต่ภาษาถิ่นล้านนาใช้ หลวก แปลว่า
ฉลาด
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 37

โคลงนิราศหริภญุ ชัย ว่า “จากเจียนฉ้อฟ้าโลก ลงดิน” อาจารย์ภาษาไทยมักจะอธิบายว่า เจียน


มาจาก เจียร แปลว่า นาน ความจริง เจียน น่าจะเป็นค�ำคู่กับ จาก (เหมือนอย่าง ข้าศึก คู่กับ ข้าเสือ)
เพราะทวาทศมาสใช้ว่า “วันเจียนสุดาภินท์”
ถ้าจะน�ำศัพท์แต่ละค�ำมาศึกษาก็จะมีมากมายเกินไป จะขอกล่าวถึงหลักใหญ่ของการกลายเสียง
ของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ทีจ่ ะช่วยตีความหมายของศัพท์ในศิลาจารึกและวรรณกรรมโบราณ
ของไทยได้อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผล ดังนี้
๑. การกลายเสียงของพยัญชนะ
หลักที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕
วรรค กะ ก ข ค ฆ ง
วรรค จะ จ ฉ ช ฌ ญ
วรรค ตะ ต ถ ท ธ น
วรรค ปะ ป ผ พ ภ ม
กฎข้อที่ ๑ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียงพยัญชนะหลักที่ ๓ (อักษรต�่ำ) ไม่ได้ ใช้เสียงพยัญชนะ
หลักที่ ๑ (อักษรกลาง) ในวรรคเดียวกันแทน เช่น เค้า เป็น เก๊า ช้าง เป็น จ๊าง ทุ่ง เป็น ต้ง พ่อ เป็น ป้อ
กฎข้อที่ ๒ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ร เป็น ฮ เช่น รัก เป็น ฮัก
กฎข้อที่ ๓ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ฉ เป็น ส เช่น แม่ (น�้ำ) ฉอด เป็น แม่สอด
กฎข้อที่ ๔ พยัญชนะหลักที่ ๑ ควบกับ ร กลายเป็นพยัญชนะหลักที่ ๒ ในวรรคเดียวกัน เช่น
กราบ เป็น ขาบ ตราบ เป็น ถาบ ปราบ เป็น ผาบ เราอาจอธิบายได้ดังต่อไปนี้ เวลาเขียนอักษร
โรมัน ก – K ข – Kh คือ ก + ฮ นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อล้านนาออกเสียง ก + ร เป็น ก + ฮ หรือ Kh
จึงเป็น ข ไปนั่นเอง
กฎข้อที่ ๕ ภาษาล้านนาไม่มีเสียงอักษรควบกับ ร และ ล ถ้าพยัญชนะต้นควบกับ ล ก็จะ
ไม่ออกเสียง ล เลย เช่น ปลา อ่านว่า ป๋า
ถ้าเราท�ำปากเตรียมไว้ออกเสียง บ แต่ทำ� เสียงขึน้ จมูก เสียงทีอ่ อกมาจะเป็น ม ไป เช่น ค�ำ มะขาม
ถิ่นล้านนาออกเสียงเป็น บะขาม ท�ำนองเดียวกัน ถ้าเราท�ำปากเตรียมไว้ออกเสียง ด แต่ท�ำเสียง
ขึ้นจมูก เสียงที่ออกมาจะกลายเป็น น ไป ฉะนั้น ค�ำว่า ดอน กับ โนน ในภาษาถิ่นจึงเป็นค�ำเดียวกัน
และ นนถี ในนิราศหริภุญชัย ก็ตรงกับ ดนตรี นั่นเอง
ในขณะเดียวกัน ไทใหญ่ออกเสียง ด เป็น ล เช่น เมือง ดอย ออกเสียงเป็นเมือง หลอย ในจารึก
หลักที่ ๒ “จงเดรหา” เดร แปลว่า เที่ยวเตร่ ตรงกับ เล ใน กาเลหม่านไต ซึ่ง ศ. ดร.บรรจบ พันธุเมธา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
38 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

อธิบายว่า “ไปเที่ยวบ้านไทย กาเล หม่านไต” เทียบตัวต่อตัวจะเป็น คลา เดร่ บ้าน ไทย ค ออกเสียง
เป็น ก ด ออกเสียงเป็น ล บ ออกเสียงเป็น ม และ ท ออกเสียงเป็น ต
ลิลติ ยวนพ่าย บทที่ ๘๙ “เพียงบานทพาธิก ทรงเดช ทีค่ นเคารพไข้ ข่าวขยรร” ประหนึง่ กษัตริย์
ปาณฑพผู้ยิ่งใหญ่ที่คณะเการว ได้ข่าวแล้วหวาดกลัว (ขยั้น) จนเป็นไข้ ท่านผู้แต่งแผลง ก เป็น ค
๒. การกลายเสียงของสระ
สระเสียงเดียว ๙ ตัว อาจจัดแบ่งได้ดังแผนต่อไปนี้
หน้า กลาง หลัง
เปิดปากแคบ อี อือ อู
ปานกลาง เอ เออ โอ
กว้าง แอ ออ
อา
สระหน้าใช้ปลายลิ้นกระดกขึ้นช่วยในตอนเปล่งเสียง สระกลางเรากระดกลิ้นตรงกลางขึ้น
สระหลังเรากระดกโคนลิ้นขึ้น ถ้าเราท�ำเสียง อี ปากเปิดแคบ ถ้าเตรียมออกเสียง อี แต่เปิดปากปานกลาง
เสียงจะเปลี่ยนเป็น เอ และถ้าเปิดปากกว้างเสียงจะเปลี่ยนเป็น แอ สระหน้า อี เอ แอ มักจะแทน
กันได้ เช่น อาเม ในภาษาไทใหญ่ อาจจะตรงกับ อ้าแม่ ของเรา เพดาน มาจากปาลีว่า วิตาน “ไก่ใด
ขันขิ่งน้องวานเฉลย” ขิ่ง อาจจะแปลว่า แข่ง หรือจะแปลว่า กริ่ง คือยังสงสัย ก็ลองพิจารณาดูเอง
สระกลาง อือ เออ อา มักจะใช้แทนกันได้ เช่น ถึง เถิง กึ่ง เกิ่ง
สระหลัง อู โอ ออ มักจะใช้แทนกันได้ เช่น มุ่ง ม่ง สอง โสง แม่น�้ำของ โขง อาจารย์เคย
สอนว่า เป็นเครื่องแผลงสระ แต่ที่จริงไทยเผ่าต่าง ๆ ออกเสียงโดยเปิดปากไม่เท่ากัน เสียงสระจึงผิด
กันไป เช่น ทุ่ง โต้ง ตะวันโอก ตะวันออก
สระ เอีย เป็นเสียงผสม อี + อา คือ เปิดปากแคบออกเสียง อี แล้วเปิดปากกว้างออกเสียง อา
พวกไทใหญ่เปิดปากปานกลางออกเสียง เอ (โปรดดูแผนข้างบนประกอบ เช่น เมีย เป็น เม)
สระ เอือ คือ อือ + อา ไทใหญ่เปิดปากปานกลางออกเสียง เออ เช่น เมือง เป็น เมิง
สระ อัว คือ อู + อา ไทใหญ่ออกเสียงเป็น โอ (โปรดดูแผนประกอบ) เช่น ถั่ว เป็น โถ่ พ่อขุน
น�ำถุม หรือน�ำถมในจารึกหลักที่ ๒ จึงตรงกับ พ่อขุนน�้ำถ้วม (ท่วม) เพื่อน ไทอาหมใช้ ปื้น แปลว่า มี
เสน่ห์ แพง ไทอาหมใช้ ปิง แปลว่า น่ารัก แพง (ล้านนา) แปลว่า รัก เหมือนกัน พระเพื่อนพระแพง
จึงแปลว่า พระผู้มีเสน่ห์และพระผู้น่ารัก นางรื่น นางโรย ไทใหญ่ออกเสียง รวย เป็น โรย ค�ำแปล
นางรื่น นางโรยจึงตรงกันกับ ระรื่นระรวย นั่นเอง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 39

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบลง อา + อี เป็นสระไอ อา + อู เป็น


สระอาว ส่วน อา + อือ เป็นสระใอไม้ม้วน ซึ่งปัจจุบันเราออกเสียงเป็นแบบเดียวกับสระไอไม้มลายไป
เสียแล้ว แต่จะสังเกตได้ว่า ไทยบางถิ่นออกเสียงสระใอ เป็นสระอือก็มี เช่น ให้ เป็น หื้อ บางถิ่น
ออกเสียงเป็นสระเออ ลากเสียงยาว เช่น ใจ เป็น เจ้อ (ไทใหญ่) และในโคลงประกาศแช่งน�้ำ ผาเยอ
เท่ากับ ผาใหญ่ ดังนี้เป็นต้น
๓. การกลายเสียงของวรรณยุกต์
ค�ำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต�่ำรูปวรรณยุกต์ โท เช่น ช้าง จะออกเสียงเป็น ซ่าง ในภาษาถิ่น
อีสาน ค�ำ เชื้อ ก็ย่อมออกเสียงเป็น เซื่อ ในภาษาถิ่นอีสานเช่นกัน
การเทียบค�ำจากภาษาถิ่นต่าง ๆ มาเป็นค�ำไทยมาตรฐานจะต้องเทียบเสียงวรรณยุกต์ให้
ถูกต้องตามกลุ่มอักษรสูง กลาง ต�่ำ และตามรูปวรรณยุกต์ด้วย เช่น ภาษาถิ่นล้านนา จ อาจจะตรงกับ
จ หรือ ช ในภาคกลางก็ได้ ฉะนั้นจึงต้องฟังเสียงวรรณยุกต์ประกอบด้วย ใจ๋ (เสียงจัตวา) ตรงกับ ใจ
ภาคกลาง แต่ ไจ (เสียงสามัญ) ตรงกับ ชัย ของภาคกลาง สถานี เด่นชัย เมืองแพร่ควรจะเป็น เด่น
ใจ เพราะชาวบ้านเรียกว่า เด่นใจ๋ ส่วนเรือ่ งพระลอตามไก่ “ขันขานเสียงเอาใจ” น่าจะเป็นไก่ขนั เอาชัย
มากกว่า ยวนพ่ายบทที่ ๑๖๔ “หัวเมืองแซ่ห่มห้าว แหนทวาร รอบแฮ” แซ่ห่ม ตรงกับ แช่ห่ม
ออกเสียง ช เป็น ซ แบบอีสานและตรงกับอ�ำเภอ แจ้ห่ม จังหวัดล�ำปาง ตามเสียงของล้านนา ยวนพ่าย
ใช้ กรุงลาว แทน กษัตริย์ลาว และ หัวเมืองแซ่ห่ม แทน เจ้าเมืองแจ้ห่ม

บัตรค�ำ
เมื่ออ่านวรรณคดีหรือศิลาจารึก ผู้บรรยายจะขีดเส้นใต้ค�ำศัพท์ที่แปลไม่ได้ หรือเป็นค�ำศัพท์ที่มี
อยู่ในภาษาถิ่น เพื่อเตรียมไว้เป็นตัวอย่างอธิบายให้นักศึกษาฟัง ถ้ามีเวลา ควรจะถ่ายทอดค�ำศัพท์เหล่านั้น
ลงในบัตรขนาดเล็ก บัตรละค�ำ คัดประโยคทีพ่ บลงไว้ในบัตรและบอกทีม่ าว่าได้มาจากเรือ่ งใด หน้าใด หรือ
เป็นโคลงบททีเ่ ท่าใด แล้วน�ำบัตรค�ำเหล่านัน้ มาเรียงตามล�ำดับอักษร ค�ำศัพท์คำ� เดียวกันทีพ่ บจากทีต่ า่ ง ๆ
ก็จะไปรวมอยู่กลุ่มเดียวกัน มีประโยคตัวอย่างหลายประโยค ท�ำให้มีทางแปลความหมายได้ถูกต้อง
เช่น ค�ำ บัดแมง พบในมหาชาติค�ำหลวงหน้า ๑๒๑ “ธก็เสด็จเอาอาศนบัดแม่งแห่งต้นไทร” และใน
ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๗ “เมื่อรุ่งจึงเสด็จออกอยู่บัดแมงให้คนทั้งหลายเห็น” อีสาน
ใช้ บัดแม้ง แปลว่า ชั่วขณะหนึ่ง
การรวบรวมศัพท์โดยใช้บัตรค�ำนี้ มีข้อควรระวังเกี่ยวกับความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตาม
ยุคสมัย เช่น ค�ำว่า ชีสา แปลว่า แม้ว่า ในยวนพ่ายบทที่ ๑๐๗ และบทที่ ๑๒๑ “ชีสาท่านโอนเอาดีต่อ
ก็ดี คิดใคร่ควักดีผู้เผ่าดี” แม้ว่าท่านทั้งหลายโอนอ่อนท�ำดีต่อ ก็โดยหวังที่จะควักความดีออกมาจาก
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
40 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ผูม้ ตี ระกูลดีได้และ “ชีสาท่านกุมเลียวลาญชีพ ก็ด”ี แม้วา่ ท่านจะจับประหารชีวติ เสียก็ตาม แต่ในโคลง


ทวาทศมาส บทที่ ๘๘ และ ๘๙ ชีสา อาจจะแปลว่า แม้ว่า หรือจะแปลอย่างพจนานุกรมว่า ค�ำเรียก
ผู้เป็นใหญ่ ก็น่าจะพิจารณาดู
“วายุโอบพระพรุณเป็น เมฆกลุ้ม ชีสามุ่งใจโจม จรจ่อม เอานา ในเมฆอันคลุ้มคลุ้ม โอบมา”
“ครไลครลั่งแล้วกระมัง แม่ฮา จับบ่เริ่มนุชคลา ถ่านี้ ชีสาอยู่ใน บังวา ยุเมฆ โพ้นนา เจตกมลผี้
ผี้ รวบเอา”
เราจะน�ำบัตรค�ำเหล่านี้มาเทียบกัน เมื่อเป็นค�ำในวรรณคดียุคเดียวกันหรือใกล้กันเทียบกับ
พจนานุกรมไทยทุกถิ่นรวมทั้งภาคกลาง และเทียบกับพจนานุกรมภาษาของชาติที่อยู่ใกล้เคียงกับไทย

การใช้พจนานุกรมภาษาอื่น
เมื่อได้เทียบค�ำในพจนานุกรมภาษาถิ่นว่าตรงกับค�ำใดในภาคกลาง โดยสังเกตพยัญชนะต้นว่า
เป็นอักษรสูง กลาง หรือต�่ำ และเสียงวรรณยุกต์ของภาษาถิ่น ท�ำให้ก�ำหนดได้ว่าตรงกับรูปวรรณยุกต์ใด
ในภาษาภาคกลางแล้ว เราก็จะเริ่มดูค�ำแปลของศัพท์แต่ละค�ำ ถ้าหากความหมายตรงกับค�ำภาคกลาง
หรือเป็นค�ำภาษาถิน่ ทีเ่ ราทราบความหมายอยูแ่ ล้ว เราก็จะอ่านผ่านไป ถ้าค�ำแปลใดผิดแปลกจากทีเ่ คย
ทราบ เราจะขีดเส้นใต้ไว้ เช่น คอน (ไทขาว) เป็นค�ำกริยาแปลว่า จับคอน ซึ่งไม่ปรากฏในภาคกลาง
หากเป็นค�ำที่น่าสนใจ เช่น ก้องข้าว แปลว่า ต�ำข้าว ถ้าเช่นนั้นค�ำ ข้าวกล้อง จะแปลว่า ข้าวต�ำ หรือไม่
เราก็อาจจะเติมดอกจันไว้ดอกหนึ่ง ถ้าหากเป็นค�ำที่เราเคยพบในวรรณคดีหรือจารึกที่ยังแปลไม่ออก
หรือแปลออกแต่ยงั หาหลักฐานไว้อา้ งอิงยังไม่ได้ เราก็อาจเติมเครือ่ งหมายดอกจันไว้สองดอก เช่น ก๊าน
(ค้าน) แปลว่า พังลง โคลงนิราศหริภุญชัยบทที่ ๖๕ “สองตราบมัคคาพัง ค่นค้าน” และมหาชาติ
ค�ำหลวง หน้า ๓๓๘ “คือจะค่นค้านไพรสะเทือน” โค่นค้าน จึงแปลว่า พังทลาย เฟือด แปลว่า กระฉอก
ล้นออก นิราศหริภุญชัย บทที่ ๒๔ “เหราเฟือดพัดฟองคือค่าย งามเอย” คือ แปลว่า คูเมือง อนึ่งค�ำ
ที่ออกเสียงเอือ ของไทไย้ ตรงกับเสียงอา ในไทยภาคกลาง และค�ำที่ออกเสียงอา ของไทไย้ ตรงกับ
เสียงเอือของภาคกลางหลายค�ำ เฟือด จึงตรงกับ ฟาด ผู้บรรยายพยายามหาค�ำภาคกลางที่ตรงกับ
เมือ คือ มา ในล้านนา ซึ่งแปลว่า ไป มา ไม่ได้ บัดนี้จึงทราบว่า เมือ คือ มา นั่นเอง และ เตื้อ (เทื่อ)
ของล้านนาแปลว่า ครั้ง ก็ตรงกับค�ำ ท่า ในกราบงามสามท่า คือ สามครั้ง นั่นเอง

การเทียบพยัญชนะที่แทนที่กันได้
ในตอนต้นได้กล่าวมาแล้วว่า ล ด น ใช้แทนกันได้ ยังมีพยัญชนะอื่นที่ใช้แทนกันได้ เช่น บ
กับ ว บาก – หวาก บ่าย – อว่าย บ�๋ำ – หว�ำ บิ่น – วิ่น บุ๋ม – หวุม เบ้อ – เว่อ เบอะ – เหวอะ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 41

แบะ – แหวะ โบ๋ – โหว่ ฉะนั้นในนิราศหริภุญชัยบทที่ ๒๖ “อกบ่า บินแฮ” แปลว่า อกหว่า หรือ
ว้าเหว่ แต่ไทขาวใช้ เมืองบ่า แปลว่า เสียงเมือง อกบ่าจะเหมือนกับขวัญหายไปกระมัง หมาว้อ แปล
ว่า หมาบ้า คงจะตรงกับหมาบอ นั่นเอง
ฟ กับ ล ในมังรายศาสตร์ กฎหมายของพระเจ้ามังราย (เม็งราย) มีค�ำ พีก แปลว่า หลีก ท�ำให้
คิดได้ว่า เฟอะ เลอะ เฟือน เลือน เฟะ เละ ฯลฯ ใช้แทนกันได้ โคลงทวาทศมาสบทที่ ๖๓ “พระพรุณ
รายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยม” เฟ็ดโพยม แปลว่า เล็ดจากฟ้า ท�ำให้นึกถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว ยวนพ่ายบทที่ ๔๓
“ลวงแส้งเฟดไฟ่อ้อม เอาชัยเชี่ยวแฮ” เชิงตั้งใจเล็ดลอดออกไปแล้วไล่ล้อมข้าศึก เฟดไฟ่ เท่ากับ เล็ด
ไล่ ค�ำว่า ลวง หมายถึง ทาง (ล้านนา) หรือ เชิง บทที่ ๔๐ ใช้ กล บทที่ ๔๑ ใช้ เชิง บทที่ ๔๒-๔๔
ใช้ ลวง ในความหมายเดียวกันว่า ในทาง ในมหาชาติค�ำหลวงมี “เจ้าฟ้าฟอก ไพชยนต์” เปรียบเทียบ
พระพุทธเจ้าเหมือนพระอินทร์ ฟอก ตรงกับ ลอก ภาษาไทอาหม แปลว่า เนรมิต เจ้าฟ้าฟอกไพชยนต์
คือ พระผู้เนรมิตไพชยนต์ขึ้นมา
สมัยโบราณมีอกั ษรควบกล�ำ้ มากกว่าในปัจจุบนั เช่น ม กับ ล จารึกหลัก ๒ ใช้ฟา้ แมลบ ปัจจุบนั
ภาคกลางใช้ แลบ ล้านนาใช้ แมบ ในท�ำนองเดียวกันนี้ มีค�ำ มลื่น – ลื่น – มื่น มล้าง – ล้าง – ม้าง
เราอาจจะแปล ไม้มลาย ไม่ออกแล้ว แต่ไทยล้านนาใช้ มาย แปลว่า คลายออก ฉะนั้นไม้ม้วนเขียน
ปลายม้วนเข้า ไม้มลายเขียนปลายคลายออกไป ค�ำว่า มลาก แปลว่า ดี เช่น ยินมลาก ฉะนั้นผู้ลาก
มากดี ก็แปลว่า ผู้ดีดีดี นั่นเอง
ล กับ ว เช่น จารึกหลักที่ ๑ หลวัก ปัจจุบนั ภาคกลางใช้ หลักแหลม อีสานและล้านนาใช้ หลวก
แปลว่า ฉลาด ปักษ์ใต้ไม่ใช้ค�ำนี้ แต่ไทยในกลันตันใช้ หลวก เหมือนกัน ในกลันตันยังใช้ค�ำ ผ้าผึ้ง แปล
ว่า ผ้าเช็ดหน้า ยืนยันค�ำในไตรภูมพิ ระร่วงหน้า ๑๒๔ “นางอสันธิมติ ตา” ได้ให้ทานผ้าผึง้ แก่พระปัจเจก
โพธิเจ้า ฉบับแก้ไขใหม่ได้แก้ ผ้าผึ้ง เป็น น�้ำผึ้งไปเสีย แต่ในหน้า ๑๐๑ ยังมีข้อความยืนยันว่า “ได้ถวาย
ผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่ง” (ได้มาจากนายฉันทัส ทองช่วย วิทยานิพนธ์เรื่อง “ภาษาไทยในกลันตัน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ง กับ ว เช่น งว้าย (ล้านนา) แปลว่า วกกลับ งัว และ วัว น่าจะมาจาก งวัว ทางล้านนาเรียก
แมงวัน ว่า แมงงูน วันวานว่า วันงวา โคลงโบราณมีค�ำ ไหง้ว และ ไหงว เช่น ยวนพ่าย บทที่ ๒๖๘
“หาญเราต่อเต่งง้วงไหงวฤา” แปลว่า ทวยหาญของเราจะสู้กับช้างไหวหรือ
ตัวอย่างค�ำภาษาถิ่นในจารึกหลักที่ ๑ และ ๒
จารึกหลักที่ ๑
เตียมแต่ – ตั้งแต่
เกลื่อน – เคลื่อน (ดูยวนพ่ายบทที่ ๘๑ “กลัวกลับเกลื่อนพลอยายอยังออก”)
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
42 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

แพ้ – ชนะ
เพือ่ – เพราะ โคลงประกาศแช่งน�ำ
้ “อย่ากินข้าวเพือ่ ไฟจนตาย” คือกินข้าวแล้วกลายเป็นแกลบ
ไหม้ไฟแต่ปากลงไปจนถึงทวารหนัก
ส้ม – เปรี้ยว
เงือน – เงิน (ชาวน่าน)
ลูท่าง – ยูต้าง – อยู่ช่าง – เป็นการสะดวก
ไพร่ฟ้าหน้าใส – พลเมือง เช่น มหาชาติค�ำหลวงกัณฑ์มหาพล หน้า ๑๖๙ “ไพร่ฟ้าหน้าใส
ชาวเชตุดร ก�ำจัดท้าวจร จากเมืองมานาน” ชาวเมืองโกรธพระเวสสันดร จึงมาขับไล่ คงไม่มาด้วยหน้าตา
แจ่มใสหรือหน้าใสเป็นแน่ พจนานุกรมไทยยวน – ไทย – อังกฤษ ของนายเมธ รัตนประสิทธิ์ แปล
ไพร่ฟ้าหน้าใส ว่า ไพร่ฟ้า แต่น่าเสียดายที่ไม่อ้างที่มาหรือยกตัวอย่างไว้
ล้มตายหายกว่า กว่า – ไป (ไทใหญ่)
เสื้อ – เชื่อ (อีสาน) – เชื้อ พ่อเชื้อเสื้อค�ำเป็นวลีคู่กัน หมายความเท่ากับ พ่อเชื้อหรือพ่อนั่นเอง
เยีย – ยุ้ง ฉาง
หั้น – นั้น
เจ็บท้องข้องใจ – จะแปลว่าเดือดเนื้อร้อนใจ หรือจะแปลตามไทขาว ข้องใจ – ทะเลาะกัน
บ่ไร้ – ไม่ยาก
แลปีแล – เยียปีเยีย – เยปีเย – แต่ละปี
เยียมาบางผึ้ง – และมาบางผึ้ง เยียอาจแปลว่า ท�ำ และ แล้ว หรือจึงก็ได้
เลื้อน – อ่านท�ำนองเสนาะ (ดร.บรรจบ ว่าเป็นภาษาถิ่นของไทในพม่า)
ราม – ปานกลาง จารึกวัดอโสการาม สุโขทัย แปลรามว่ามัชฌิม
ลุกมา – มาจาก
มน – กลม
เที่ยง – มั่นคง สงบสุข (ไทขาว)
อั้น – นั้น เช่น ผีในเขาอั้น
เดือนบ้าง – ข้างแรม (ชาวน่าน)
สูดธรรม – สวดธรรม
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 43

หาใคร่ใจในใจ หา – ด้วยตนเอง (ไทขาว)


ใคร่ใจในใจ – คิดในใจ (ไทอาหม)
รอด – ถึง ตลอด

จารึกหลักที่ ๒
รอม – รวม
ตบ – ตลบ ทบ
อีนดู – น่าสงสาร
หลวง – ใหญ่
ตาง – แทน
หนดิน – ทางพื้นดิน
ซ่อย – ช่วย
บ่อยา – ไม่หยุด
บัดหัว บัดไห้ – เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้
ล้อ – เกวียน
ถ่อง – แถว
มล้าง – ล้าง งัด
โคลงประกาศแช่งน�้ำมี “มารเฟียดไทยทศพล ช่วยดู” มหาชาติค�ำหลวงกล่าวถึง พระพุทธเจ้า
ว่ามารพยศน ฉะนั้น มารเฟียด จึงมาจาก มารพยศน์ แปลว่า ผู้ประหารมาร รวมทั้งทศพลก็หมายถึง
พระพุทธเจ้า
ไตรภูมิพระร่วง
เรียนแต่ไกลด้วย สารพิสัย มหาชาติค�ำหลวงแปลค�ำนี้จาก ทูต ในที่นี้หมายถึง ผู้สื่อสาร
ร�ำพึงน้อง ร�ำพึงทราม (ปานกลาง) ร�ำพึงหนักหนา
ตาอันแต่งดู จมูกอันแต่งดม จารึกหลักที่ ๔๕ แต่งตาดู – เฝ้าดู ท�ำหน้าที่ดู
เคียดฟูน – โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
44 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

บ่มิอย่าเลย – ไม่ต้องสงสัย แน่นอน


ล�ำเชือกเขา – เครือหวาย – เครือเขา – เถาวัลย์
เทียรย่อม – ย่อม โดยปรกติ
อยู่ได้แรงใจสะน้อย – อยู่พักผ่อนสบายเล็กน้อย
เนื้ออันบ่แรงนั้นกลัวเขา – ไม่มีแรง อ่อนแอ
เถิงที่น�้ำลึกแลน้อย – ไปถึงน�้ำลึกลงทีละน้อย ๆ
ผ้าร้าย – ผ้าขี้ริ้ว
ข้าวเพรา – ข้าวเย็น ค�่ำเช้าเพรางาย – ค�่ำข้าวเพรา เช้าข้าวงาย
ที่เถ้า ที่ตาย ที่เร่วคนกันอยู่ เร่ว – ศพคนที่ตายนานแล้ว ในต�ำนานเชียงแสนเฝ้าศพทั้งสอง ใช้ว่า
เฝ้าเรี่ยวทั้งสอง (ป่าช้า ล้านนาออกเสียง ป่าเรี่ยว เป็นป่าเหี้ยวบ้าง ป่าเห้วบ้าง ปักษ์ใต้ เรียกว่า เปรว)
คน – ปนกัน ระคน นั่งก�ำมือ
เซาเจ่าอยู่ – พักจับเจ่า
บรรพตหีบและเหง – หนีบและทับ
บ่เริ่มดั่งพระปัจเจกโพธิเจ้าก็ดี – แม้ว่า บ่เริ่ม ในเตภูมิกถาฉบับอยุธยาเปลี่ยนเป็น แม้นว่า ใน
ฉบับใหม่
กากินบมิพัก ก้ม – ไม่เสียเวลา
เท่าว่า – แต่ทว่า
ยินหลาก – ยินดี
เข้าล่วงอากาศ ลวง – ทาง
เยียวว่า เราไส้ได้กระท�ำบุญ – ชะรอยว่า
คนหากเปรียวไปโดย – ปลิว
ที่ท�ำเนแห่งหนึ่ง – ท�ำเล
บมิได้ป่วยการเลย – เสียงาน
บมิได้ติงได้ไหวแลมิได้ผัด – หนุน
หาค�ำบ่ได้แลกล่าวนั้น – ความ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 45

ไพร่ฟ้าอันอยู่ดินแดนเมืองเรา...เราผู้เป็นไท บ่มิควรเอาดอก (เบี้ย)


ผงจะติดแปดกาย – เปื้อน
ลูกชายผู้เป็นพี่เอ้ย – พี่อ้าย ลูกชายคนโต
ทั้งผอกทั้งแลง ข้าวผอก (ลาวและอีสาน) – ข้าวเลี้ยงผี
บ่มิเอื้อนบ่มิวาย – หยุด เช่นฝนเอื้อนฝนมิได้ตกสักเล็ด – เม็ด
ปลาฝา – ตะพาบน�้ำ
ปลา ๗ ตัว เชื่อม แลไหลเป็นน�้ำมัน เชื่อม (ลาว) ลักษณะเป็นก้อนเปื่อยออกเพราะถูกความร้อน
เชื่อม (อีสาน) เช่น น�้ำตาลก้อนตากน�้ำค้างละลาย
กินอาหารแวนมาก – มาก
สะเล็กสะน้อย – เล็ก ๆ น้อย ๆ
ผู้บรรยายเพิ่งคิดออกว่า ม่วนซื่น ของประเทศลาว ตรงกับ ชื่นมื่น ในร่ายยาวพระเวสสันดร
ของเรานั่นเอง

ตัวอย่างค�ำศัพท์จากไทขาว
อ่าว – คิด หรือวาดภาพในใจ เผา (อิฐ)
เบ้ (ฝา) – เป้า (ยิง)
เบ้ (เบี้ยว) – ใบเมล็ด (พนมหมาก พนมเบี้ย)
โบ้น (เบียนบ่อน) หนอนโบ้น – หนอนยุ่บยั่บ
เบิ๋นมุน – จันทร์เพ็ญ
แปกเก่า (แปลกเก่า) – เหมือนเดิม
ก๋อม (ค้อม) – โค้ง กลม ๆ
โก๋ง (กลวง) – ข้างใน
กู้ – เก็บผ้า
กีบ (กลีบ) – ชั้นหนึ่ง
หมากลาง – หมาก
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
46 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

จ๋าว – ดอกเป็นพวง เช่น หญ้า


จั้ง – ป้องกัน
ลักชัง – เกลียด
โจ้แขก (ชั่วแขก) – ภายในระยะที่ตะโกนถึง
จุ๋ย (จุย) – เร่งเร้าดังในเพลงซอ “จุยหมายุยเข้าเหล่า” ไล่หมาขนปุยเข้าทุ่งหญ้าที่ไร้ต้นไม้
ยอง – ฝ้าย (ยองใย – จะเป็นใยฝ้ายกระมัง)
ดาก (ดิน) – เลว
ผีด�้ำ – ผีบรรพบุรุษ
แดก – ต�ำ (ปลาแดก – ปลาร้า)
หน้าแด่น – หน้าผาก
ดอก – พูดหยอกล้อ
ฟ้าแดด – พระอาทิตย์ก�ำลังส่องแสง
ป้านฝาย – ท�ำท�ำนบ
ฟาน (เจ้า) – ทรยศ (ฟื้นเจ้า)
เฝา (เผ่า) – ขี้เถ้า (เผ้าธุลี)
ใฝ่ – สร้างวิมานบนอากาศ
ฝี – หนึ่งในสองข้าง เช่น ฝีมือ ฝีปาก
ฟอง – ลูกคลื่น
อืน – ชื้น
ไปแขกหา – ไปเยี่ยม
หาก – ต่างไปจาก
ฮ้าน (ร้าน) – หลายชั้น
หางฮี – หางยาว (ยันฮี – ย่านยาว)
ห้อม – ต้นคราม (เสื้อหม้อห้อม)
ห้อมหา – ต้องการให้เอามาจนได้
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 47

หอด – ปราศจากข้าวและน�้ำ หายใจไม่ออก


โหง (ร่วง) – ร่วมทิ้งลงมา
เฮ้อ (เรื้อ) – ละทิ้งแล้ว เช่น นาเรื้อ
หุ่น – ภาพ รูปภาพ
ข่าง – วิดน�้ำออก
ค่าว – ความคิด ความปรารถนา ความรู้สึกน่าจะตรงกับค�ำว่า ค่าวซอ
เคิง – วิตก กังวล
ขืม – ยึดไม่ให้เคลื่อนที่
ขื่ม – ข่ม ผลัก บังคับ
ขอก – ข้างนอก
ขอนผี – โลงที่มีศพ
คอบ – ตอบ
คุน – คน ด้วยกัน (โจทย์ระคน)
ลักอาย – ขี้อาย
ขวันดุ้ง – ตกใจเกือบตาย กลัวมาก
เย็ดเล่า – ท�ำซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า
ใหล – พูด (ในขณะหลับ) ละเมอ
ไล่ (ไม้) – ไม้ไผ่ขนาดเล็กประมาณหนึ่งนิ้ว
หลั่นลุง – ถล่มลง
แล่ง – แบ่ง
แลบ – ละเอียด
ลี – ท�ำนบไม้ไผ่ดักปลา
ล้อ (ฝ้าย) – ม้วน
หลอน – อย่างไม่คาดหวัง สั้นเกินไป
โลด – ทันที
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
48 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

หมิด – นิดเดียว นิราศหริภุญชัย “บ่ห่างสักเหม็ดแม้นเมื่อใกล้วิภาดา” คนไม่ขาดสักนิดเดียว


แม้จะใกล้รุ่งแล้ว
เม่อ (เมื่อ) – ช่วงเวลาในอดีต “เมื่อชั่วพ่อขุนรามค�ำแหง” แสดงว่าสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามค�ำแหง
แล้ว
มุน (บน) – จัตุรัส เต็มดวง
นาง – นางสาว ลูกสาว ผู้ดี
เหน้า – คู่รัก
น�้ำหม้า – น�้ำขึ้น
เนิง (เนือง) – นันเนือง อึงมี่
ป้อนม (พ่อนม) – พ่อแท้ ๆ ไม่ใช่พ่อเลี้ยง
งาว – บิด งอ
เงาะ – งอก นิราศหริภุญชัย “พฤกษาสางต้นงอก เงยเงาะ”
ญ่าย – แตกเป็นชิ้น หนีไป
พาย (ผีพราย) – ผีแม่ออกลูกตายหรือตายก่อนลูกครบเดือนหนึ่ง
เป้าปู่ – บรรพบุรุษ
แป๋ง (แปลง) – ซ่อม
พาม – ที่พักหลบแดดฝนชั่วคราว (ผาม – ปะร�ำ)
ผ่าว (เฝ่า) – ประทัด
กว๋าน – เจ้าหน้าที่
กวาน – ปกครอง
ซัก – ส�ำลัก
เส – เสีย กว่า
ซ้อน – มะลิ จารึกหลักที่ ๒ ดอกซ้อน ดอกพุด
ซุง – ไม่เคลื่อนไหว
ยืนซุงอยู่ – ต้นยังตั้งอยู่
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 49

ต่อ – การเล่นเกม (พนันขันต่อ)


ตอ – ขวิด
ต้อย – ตาม
ต้องใส่ – แกะสลัก
โตน – ผู้น�ำ
สื่อ – ตัวเมียสาว
แต่งดู – คอยเฝ้า (แต่งตาดู)
ถ่าว – ตัวผู้หนุ่ม
แถวน�้ำ – ทางน�้ำล�ำธาร แม่น�้ำ จารึกหลักที่ ๒ ดังสายฟ้าแลบ ดังแถวน�้ำแล่นในกลางหาว
ถิว – ผิว (ปาก)
ถ่อม – เฝ้า คอยหา
แฉ่น – ตัดด้วยตะไกรเป็นชิ้น ๆ
แฉ่ง – ฉาบ
ฉือใด – อย่างไร เช่นใด
แวน – ดีขึ้น ดีกว่า (ล้านนาใช้ แควน)
การใช้พจนานุกรมภาษาถิ่นอาจไม่ได้ผลอย่างที่คิดก็ได้ เช่น หมากลาง ไทใหญ่ว่า ขนุน ไทขาว
ว่า หมาก (พลู) บางถิ่นว่า มะพร้าว บางถิ่นเรียก มะพร้าวเปลือกหนาผลในเล็ก เปลือกใช้แกงส้มได้ว่า
หมากลาง บางถิ่นเรียก มะพร้าวขนาดเล็กเท่าก�ำมือว่า หมากลาง ผู้บรรยายขอแปลว่า ขนุน ไปพลาง
ก่อน เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอยู่ทั่วไปแถวสุโขทัย

ค�ำศัพท์ในจารึกสุโขทัย โดย ศาสตราจารย์อิชิอิ โยเนโอะ และคณะ


กราย – ผ่านไปใกล้ ๆ
กลวง – ควง (ไม้ศรีมหาโพธิ์) คลวง ข่วง (บริเวณ)
ขาน – ตอบ
ข�้ำ – ข่มขี่
ขึ้นใหญ่ – อายุ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
50 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

คม้อ – มักว่า
ค้อน – ไม้ตี เอาไม้ค้อนไปยอนหูหมา
คลาลั่นปั่นเฟือน – ไหว
งวง – ช้าง
เงือน – เงิน แต่ไม่ใช่ เงือนขามป้อมตั้งกึ่ง กลางกร ไส้แฮ ซึ่งแปลว่า ประหนึ่ง (เงื่อน) วางมะขามป้อม
ไว้ในมือ
จ้อง – ร่ม
จารีตร – จารึก ต้องจารีตร – สลักจารึก
ชู่ – ทุก
ญญ่าย – ไย่ ๆ ไปอย่างรวดเร็ว
ดวง – ลักษณนามของของที่กลม
ดอกซ้อน – ดอกมะลิ
ดังริแล – ดังรือแล เหตุใดแล
เดือนบ้าง – เดือนแหว่ง ข้างแรม
ตกท่ง – (ศึก) มาประชิดเมือง
ตวง – จนกระทั่ง
ตู – เราทั้งหลายไม่รวมผู้ฟัง
เผือ – เราทั้งสองไม่รวมผู้ฟัง
รา – เราทั้งสองรวมผู้ฟังด้วย
เขือ – ท่านทั้งสอง
ขา – เขาทั้งสอง
เตียมแต่ – ตั้งแต่ (ล้านนา ปักษ์ใต้)
ถ้า ท่า – ครั้ง
เถิง – ถึง
ท่อ – ตี กวาดต้อน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 51

ท่อ – คู
ทอง – ทองเหลือง ทองแดง
เหมืองฝาย – ท�ำนบชลประทาน
พระธาตุ – เจดีย์
บน – สวรรค์
บเหิง – ไม่นาน
บัวรณมี – บูรณมี วันเพ็ญ
บัดแมง – ชั่วครู่
บั้น – ส่วน ฝ่าย
บิ้ง – (นา) แปลง
บริบวร – บริบูรณ์
ประหญา – ผะหยา ปัญญา
ไป่ – ยังไม่
แผ้ว – ถาง (เผี้ยว – ล้านนา)
พยาธิ – (เป็น) โรค
พระขพุง – เขาสูง มีพระขพุง ผีเทพยดาในเขาอันนั้น ไม่ใช่พระขพุงผี เป็นเพราะแบ่งวรรคผิด
พ่อออก – พ่อแท้ ๆ พ่อของสามี
พ่อท่าน – พระสงฆ์ผู้มีอายุ (ปักษ์ใต้)
พี้ – เพ้ นี้
พู่งช้าง – รบช้าง, ชนช้าง
ฟูก – เสื่อ
เพื่อน – เพื่อนบ้าน มีเสน่ห์ (ไทอาหม) สรรพนามบุรุษที่ ๓
แพ้ – ชนะ
เฟือน – ไหว
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
52 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

มน – กลม
มล ควบ เช่น มลาก ดี ผู้ลากมากดี มล้าง มลาย
มัก – ชอบ
มี่ – นัน ดัง
เมือ – ไป มา
ยั้ง – หยุด
ยา – รักษา
เยีย – ยุ้ง ท�ำ และ (แล)
ลวง – ทาง
ล่ามหมื่น – เจ้าหน้าที่ติดต่อระหว่างเจ้าหมื่นกับเจ้าพัน
ลายสือไทย – ตัวอักษรไทย
ลูท่าง – อยู่ช่าง เป็นการสะดวก
ลุน – หลัง
เลื้อน – อ่านท�ำนองเสนาะ การร้องเพลงโต้ระหว่างชายกับหญิง
แลปีแล – ปีละ
(เมื่อ) แล้ง – (ฤดู) ร้อน
ลุกแต่ – มาจาก
แล่น – วิ่ง (ล้านนา ปักษ์ใต้)
เป็นที่แล้ว – เป็นแดน เป็นที่สิ้นสุด
วัวมอ – ไทยบางเผ่าเรียกวัวว่า มอ
แว่น – กระจก
สทาย – โบก (ปูน) ผสม (ปูน)
ส้ม – เปรี้ยว หมากส้ม – ผลไม้รสเปรี้ยว
สเล็กสน้อย – เล็ก ๆ น้อย ๆ
สาด – เสื่อ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 53

สุง – เตาไฟ
สู่ – (มา) อยู่ด้วย
สู้ – ยินยอม
หนี – หลีก
ลาง – ขนุน มะพร้าว หมาก
หลวัก – ฉลาด หลักแหลม
หลวง – ใหญ่
หัวนอน – ทิศใต้ (อีสานและปักษ์ใต้)
หัวปาก – ผู้ดูแลไพร่ร้อยคน
หา – หาก ด้วยตนเอง
เหิง – นาน
เหียก – ดีบุก
อด – อดทน
ตวง – จนกระทั่ง
อเนจอนาถ (อนิตยอนาต) – อนิจจัง อนัตตา
อโยธยา – ชื่ออาณาจักรก่อนกรุงแตกครั้งที่ ๑ กรุงแตกแล้วจึงเปลี่ยนเป็นอยุธยา
อร่อย – ดี
ขอม – มาจาก กรอม โกรม คนต่างชาติที่อยู่ทางใต้

ภาษาถิ่นใต้ โดย ศาสตราจารย์วิจินตน์ ภาณุพงศ์


ตร กับ กร – แทนกันได้
ได้แรง – สบาย (อีสาน)
โตก – โต๊ะ
อีกเล่า – เล่าเท่ากับอีก
แกล้ง – ตั้งใจ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
54 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เคร่า – คอย กินข้าวนั่งเคร่าอยู่คอยท่า


แน่ง – นิ่ง
เมลื่อย – เมื่อย
ยัง – มี เช่น คนยังเบี้ยเท่ากับคนมีเงิน
วี – พัด (ล้านนา อีสาน)
กินกาง – กินสินบน กินสะกาง
สู – สรรพนามบุรุษที่ ๒
หับ – ปิด (ล้านนา อีสาน)
หั้น – นั้น
เชียก – เชือก
ตายืน – ตาค้าง ตาตอกขอกตายืน ตาตอก – ตาเดียว
อุก – ปล้น
ยะ – ห่าง (แยกแยะ)
หัวรอ – ที่ริมทะเลหรือริมคลองที่มีเขื่อนกั้น

นิทานศีลห้า ของ ดร.อนาโตล ร. เป็ลติเยร์


พ่อออก – โยมผู้ชาย
ข่าม – ยอมรับ
คิดขุ่ง – ค�ำนึง
คอง – รอ คอย
ชะคล้าย – เฉย ดูดาย (จรกล้าย อุเบกขา วางเฉย)
หื้อรู้ค่าว – ให้รู้เรื่อง (อธิบายค่าวซอ)
พันดั่ง – ส่วน
แลว – ดาบ
เจ – มุม
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 55

ยินวอย – ห่างไกล
ที่ข้อง – ห้องนอน
สังว่า – หากว่า (อาหม สังบ่) สังมิมาน้องแก้ว พี่ชี้ชวนดู
ผ้ง – ก�ำลัง (อีสาน)
เฝือ – ใบไม้
เบ่าอย่า – บ่อย่า แน่นอน
สัพหลี้ – เจ้าเล่ห์
ยั้ง – พัก
ผ่านแผ้ว – วิเศษ
นอนพอย – คนเดียว
ขิ่ง – วอน เวลา
สอนแหน – สอนให้
คลา – จาก
สันแหน – เหมือนดังอธิบาย
กว่าแถ้ง – ไปอีก
กาย – ผ่าน กราย แตะต้อง
ค้าย – ย้าย
ฅ่าว – เรื่องราว นิทาน
คิ่น – กรรมสิทธิ์ แท้
เชิญตีน – ยกตีน
แชง – ระมัดระวัง ส�ำรวม
ถี่ – ชัดแจ้ง
เถียง – ห้างนา กระต๊อบ
ปอง – คิด พยายาม ท�ำ
ปาง – ที่พัก ระหว่างทาง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
56 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ฝูง – ฝูง ปะ
เฝียด – เก็บ รักษา จัดเข้าที่
ใภ้ – เฝ้า รอ
พ้อย – ท�ำไม ผันแปร
เมี้ยนชาติ – ตาย
ส้าย – ชดใช้ ทดแทน
หาด – ขนาดกลาง
เหง้อ – โง่ เขลา
อ้วนม่อย – อ่อนเพลีย
ออน – ก่อน น�ำหน้า
แหน – ชี้ บอก แสดง
อ้วน – อ่อน

จ้วงใต้ โดย รองศาสตราจารย์ปราณี กุลละวณิชย์


อาบท้า (ท่า) – ว่ายในแม่น�้ำ
ใหน (นาย) – เช้า
เป๋นหรูน – ออกเรือน
ป่าว – โฆษณา
ป๋าน – เร่รอน (พ่าน?)
ปอก – คว�่ำ (ล้านนา ป้อก กลับ)
ปอบ – สูบ ดูด (เทียบ ผีปอบ)
ปึ๋น (ปืน) – ลูกธนู
ปล๋ายตาด – ริมหน้าผา
ใปล (ใหล) – ละเมอ
ปล๋ายผ้า – ขอบฟ้า
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 57

ต่าว – กลับ
ใม – สรรพนามบุรุษที่ ๒
ตอก – เตะ เขก
ต้องถิ่น – สลักหิน
ตู – ตัว (ตัวเนื้อตัวปลา)
ตุ้ง – ถัง (ล้านนา น�้ำทุ่ง)
ตืนจิ่ง – เชิงก�ำแพง (ตีนเชียง)
ฟ้าแดด – ฟ้าแจ่ม
ไฟฟ้า – ไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า
เฟม – คว�่ำ (ฟ�่ำ)
ฝัก – ฝ่าย (สองฝักสองฝ่าย)
ฟั้น – หมื่น (พัน?)
ฟูก – เสื่อ
กั้ง – พูด คุย (คลั่งใหล)
ก่าว – ฟ้องร้อง (จักกล่าวถึงขุนบ่ไร้)
แก้ – อธิบาย บรรยาย
แกว – เวียดนาม
ก็อกขรอว – กกหู
ก็อนแขก – อาคันตุกะ (คนแขก)
เกวก – เขก
กวาว – เคล้า
แกว้ – เกี่ยว
กวิ้ง – ล้มกลิ้ง
กือ – มะเขือ
กลับงอว – คราบงู
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
58 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เกล้า – กวน คน (กวนเกลา ล้านนา)


ขาง – เหล็กหลอม
ขอน – ก้อน (ลักษณนาม)
ขวิด – ขุด
ขรา – หา
เขร้ง – (น�้ำ) ขัง
เคล้า – เขย่า
ลูกเป๊า – ลูกสะใภ้
หมักหลัง – หมาก (ลาง)
หมอ – วัว
ถู – หัว
มู้ง – ตาข่าย
เน้มเมก – น�้ำหมึก
เน้มหนาย – น�้ำลาย
เหนง – ผิวหนัง
ใด๋ – ใน
ดิบ – ไม่แห้ง เช่น ฝืน (ฟืน) ดิบ
ดื๋อ – เดือย
แนม – ติดตาม (ดู สอดแนม)
ง = ย – เช่น แงบ – เย็บ งิด – ยึด
หนอนเกรน – นอนกรน
ผ้า – เมฆ แผ่น (ฝ้า ล้านนา)
ผลักกาดจ๊า – ผักกาดป่า (ช้า = ป่า?)
พลุ่ง – เผา ไหม้
รัน – เรือน ห้อง (ร้าน)
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 59

ใร้ – ผืน แปลง (ไร่)


สายต๊อง – สายสะดือ (ท้อง)
สั่น – นับ
สั้นปั๊น – กระจัดกระจาย (ดูแบ่งสันปันส่วน)
สาง – ท�ำฌาปนกิจ
ใส้ – ใช้ เรียกใช้
แซ้ย – ใช่
สิง – เมือง ก�ำแพง (เชียง)
แส่ว – ปัก หนังสือ
แส่วลาย – ตัวเขียน (ลายสือ)
แส่วลิก – ปฏิทิน
ทาตอก – ตาเดียว (ตาตอก)
ถ้อ – กระต่าย (เถาะ)
จ๊าย – เอียง เฉ (ตะวัน) ชาย
จ๊อว – ก็
อุม – รักษา (ออม?)
ผูบ้ รรยายได้ตอ่ สูเ้ พือ่ ให้เห็นว่าภาษาถิน่ ส�ำคัญ ท่ามกลางบรรยากาศทีว่ า่ ประเทศจะมัน่ คงเพราะ
ถือศาสนาเดียว ภาษาเดียว ผูบ้ รรยายได้ชแี้ จงว่า คนเราต้องรักตัวเองก่อน แล้วรักครอบครัว รักหมูบ่ า้ น
อ�ำเภอ ขยายไปถึงรักประเทศชาติ ถ้าตัดความรักถิน่ เสีย เขาก็จะไม่รกั ชาติอย่างแน่นอน บัดนี้ กระทรวง
ศึกษาธิการได้เห็นความส�ำคัญของภาษาถิ่นและก�ำลังกระตุ้นให้สนใจและสงวนภาษาถิ่นไว้ เวลา
ค่อนข้างจะสายไปแล้ว เพราะคนท้องถิน่ เริม่ เลิกใช้ภาษาถิน่ น�ำค�ำภาคกลางไปออกส�ำเนียงเป็นส�ำเนียง
ท้องถิ่น เลิกใช้ศัพท์ภาษาถิ่นเดิมไปเสียมากแล้ว ผู้บรรยายอยากจะกระตุ้นให้ทุกคนรักและสงวน
ภาษาถิ่นไว้ อย่างน้อยเพื่อไว้ใช้อ่านวรรณกรรมโบราณของภาคกลาง ศิลาจารึกและวรรณกรรมท้องถิ่น
ของตนเองและยังอาจใช้ชว่ ยพิสจู น์วา่ ถิน่ ไทยเดิมอยูท่ ไี่ หนใครแยกออกจากกลุม่ เดิมมาก่อน และต่อมา
แยกจากกันต่อไปอีก ขอให้ภาคภูมใิ จในภาษาถิน่ ของแต่ละถิน่ ไว้แล้วจะเกิดประโยชน์อย่างมากมายกับ
วงวิชาการภาษาไทย.
บทความวิชาการจาก
สารานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 61

เกษตรกร
ผู้ที่ประกอบอาชีพหรือผู้ได้รับการฝึกฝนมาในทางเกษตรกรรมเป็นต้นว่า ชาวนา ชาวสวน
คนเลี้ยงไก่ คนเลี้ยงโคนม ฯลฯ เดิมใช้ค�ำว่า กสิกร ปัจจุบันนี้ใช้ทั้งเกษตรกรและกสิกร ในความหมาย
เดียวกัน.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ หน้า ๑๕๐๗, ๒๔๙๙-๒๕๐๒]

เกษตรกรรม
การท�ำไร่นาหรือเลี้ยงสัตว์ก็ได้ และอาจจะหมายถึงศิลปะและวิทยาแห่งการเพาะปลูกหรือ
เลี้ยงสัตว์ในไร่นาก็ได้ เดิมใช้ค�ำว่า กสิกรรม มาก่อน ต่อมานิยมใช้ค�ำสองค�ำนี้ในความหมายเดียวกัน และ
บางทีก็ใช้ค�ำว่า เขตรกรรม ด้วย ค�ำนี้ความหมายตรงกับค�ำ Agriculture ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ
ค�ำว่า กสิกรรม ในปัจจุบันนี้เป็นชื่อกรมกรมหนึ่ง ซึ่งมีประวัติและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
กรมกสิกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ กระทรวงเกษตราธิการได้เริ่มตั้งกรมช่างไหมขึ้น และเปลี่ยนชื่อ
เป็นกรมเพาะปลูก ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นต้นมา และรวมงานปศุสัตว์เข้าไว้ด้วย ได้จัดตั้ง
สวนทดลองการเพาะปลูก (สถานีกสิกรรม) ขึ้นเป็นแห่งแรก ที่อ�ำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ และจัดท�ำนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นก้าวใหม่ในการคัดพันธุ์
และขยายพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดมาแนะน�ำแก่ราษฎร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ตั้งสวนทดลองผลไม้ขึ้นที่
คลองบางกอกน้อย ต่อมาได้โอนกรมเพาะปลูกไปสมทบกับกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ ตั้งเป็นกรมตรวจ
กสิกรรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔
เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมเกษตร สังกัดกระทรวงเศรษฐการ
และเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รวมกรม ๒ กรมเป็นกรมเกษตรและการประมง สังกัด
กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งแยกออกมาต่างหากจากกระทรวงเศรษฐการ กรมประมงกลับแยกออกไปอีก
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้แยกกองสัตวบาลและกองสัตวรักษ์จากกรมเกษตร ไปตั้งเป็นกรมปศุสัตว์และ
สัตว์พาหนะ ตั้งแต่วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กรมเกษตรได้เปลี่ยนนามไปเป็นกรมการกสิกรรม
เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ และเปลี่ยนเป็นกรมกสิกรรมเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗
กรมการข้าวแยกออกไปจากกรมกสิกรรมตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๖
หน้าที่โดยย่อ กรมกสิกรรมมีหน้าที่ท�ำการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับพืชไร่ พืชสวน อันรวมทั้ง ผัก
ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชสวนใหญ่ เช่น ยาง การท�ำไร่นาผสม เรื่องแมลงและโรคพืช การปราบศัตรูพืช
การส�ำรวจดิน การวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ย การคัดและขยายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และท�ำการ
ส่งเสริมพืชต่าง ๆ ออกหนังสือพิมพ์และเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการกสิกรรม.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ หน้า ๑๕๐๗−๑๕๐๘, ๒๔๙๙−๒๕๐๒]
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
62 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เกษตรศาสตร์
ศิลปะและวิทยาแห่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ตรงกับความหมายส่วนหนึ่งของค�ำว่า
Agriculture ในภาษาอังกฤษ ค�ำเกษตรศาสตร์นี้ ในปัจจุบันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยและกรม ดังต่อไปนี้
คือ
มหาวิ ท ยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ก่อสร้างมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ขนึ้ โดยพระราชบัญญัตมิ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖ เมือ่ วันที่ ๒๑ มกราคม
๒๔๘๖ เพื่อจัดการสอน ค้นคว้าและส่งเสริมวิชาการทางทฤษฎีและปฏิบัติการในสาขาวิชาเกี่ยวเนื่องกับ
เกษตรกรรม โดยรวมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนเข้ากับวิทยาลัยวนศาสตร์ที่จังหวัดแพร่ และมี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่ที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
การศึกษาและการปกครอง ในขัน้ มหาวิทยาลัย เดิมได้จดั แบ่งเป็น ๔ คณะ คือ ๑. คณะเกษตรศาสตร์
(ปัจจุบัน-คณะกสิกรรมและสัตวบาล) ๒. คณะวนศาสตร์ ๓. คณะการประมง (ปัจจุบัน-คณะประมง)
๔. คณะสหกรณ์ (ปัจจุบัน-คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์) และในเดือนธันวาคม ๒๔๙๗ ได้โอนคณะ
สัตวแพทยศาสตร์มาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กับมีอ�ำนาจให้ปริญญาส�ำหรับวิชาช่างชลประทาน
โดยให้รวม ร.ร. ช่างชลประทานเข้ามา และก�ำลังอยู่ในระหว่างด�ำเนินการก่อตั้งขึ้นเป็นคณะที่หกใน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาทุกประเภทมีหลักสูตร ๓ ปีส�ำหรับอนุปริญญา และ ๕ ปีส�ำหรับปริญญาตรี
เว้นแต่สัตวแพทยศาสตร์ซึ่งได้ขยายหลักสูตรออกเป็น ๖ ปี ส่วนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์นั้น ได้โอนไปขึ้นกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒
หน้าทีโ่ ดยย่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหี น้าทีจ่ ดั การสอน ค้นคว้าและส่งเสริมวิชาการทางทฤษฎี
และปฏิบัติการในสาขาวิชาเกี่ยวกับการเกษตร เช่น วิชาเกษตรกรรม วิชาการประมง วิชาการสหกรณ์
วิชาวนศาสตร์ วิชาวิศวกรรมชลประทาน และวิชาสัตวแพทย์ เป็นต้น ในการที่จะบ�ำรุงการกสิกรรมของ
ประเทศให้เจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นมั่นคง
กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. ๒๔๙๕
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นเพื่อด�ำเนินการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ หน้า ๑๕๑๐−๑๕๑๑, ๒๔๙๙−๒๕๐๒]

ปลัด
ต�ำแหน่งรองหัวหน้าของหน่วยงานราชการระดับต่าง ๆ มาแต่โบราณ ดังปรากฏในกฎหมาย
ตราสามดวง ว่าด้วยพระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือน พ.ศ. ๑๙๑๙ ว่ามีตำ� แหน่งปลัดทูลฉลอง ช่วยราชการ
อัคมหาเสนาธิบดี ปลัดบาญชี ปลัดวัง ปลัดเวรมหาดเล็ก ปลัดเวรขอเฝ้า ปลัดกอง ปลัดนายกอง ปลัด
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 63

นั่งศาลหลวง ปลัดนั่งศาลราษฎร ปลัดจางวาง ปลัดปืน ปลัดเขน ปลัดแตร ปลัดร้อย (ช่วยนายร้อย)


ปลัดทิพจักร ปลัดสิทธิสาร ปลัดพระครูพิเชด ปลัดพระครูพิราม และปลัดเมือง เป็นต้น
บางหน่วยงานราชการอาจมีปลัดซ้าย และปลัดขวา เช่น ปลัดทูลฉลอง ปลัดกรม ปลัดตรวจคุก
และปลัดเรือ เป็นต้น
เนื่องจากวิธีเขียนกฎหมายแต่โบราณมักเขียนแต่ศักราชที่เริ่มใช้กฎหมายนั้น หากแก้ไขเพิ่มเติม
ก็มักจะไม่ระบุไว้ว่าแก้ไขส่วนใดเมื่อใดบ้าง ฉะนั้น จึงก�ำหนดได้แต่เพียงว่า ต�ำแหน่งปลัดที่อ้างถึงข้างต้น
มีใช้อยู่เมื่อช�ำระกฎหมายตราสามดวงใน พ.ศ. ๒๓๔๗ และจากกฎ ๓๖ ข้อ ซึ่งช�ำระในรัชกาลสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีปลัดกรมอยู่เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๗ แต่ก่อนหน้านี้ ก็คงมีต�ำแหน่งปลัดต่าง ๆ มานาน
แล้ว เพราะไทยคุ้นเคยกับระบบการปกครองของน่านเจ้า ซึ่งมีต�ำแหน่ง “เหย่าม้อง” เทียบเท่า
ปลัดกระทรวงอยู่แล้ว
ปลัดกระทรวง สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัย พ.ศ. ๒๔๗๕ กระทรวงต่าง ๆ มีเสนาบดี
เป็นเจ้ากระทรวง และมี ปลัดทูลฉลอง เป็นผู้ช่วย (ซึ่งในรัชกาลที่ ๕ เรียกว่า ราชปลัดทูลฉลอง)
เมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ แล้วจึงเปลี่ยนต�ำแหน่งเสนาบดีเป็น รัฐมนตรี และ
เปลีย่ นปลัดทูลฉลองเป็น ปลัดกระทรวง ในปัจจุบนั นี้ มีกระทรวง และส่วนราชการทีม่ ฐี านะเป็นกระทรวง
ดังต่อไปนี้
ส�ำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุตธิ รรม กระทรวง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม
ทบวงมหาวิทยาลัย
ส่วนราชการเหล่านี้ มีต�ำแหน่งปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวง แล้วแต่
กรณี
หน้าที่ของปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี ส�ำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายก
รัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี ให้มปี ลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึง่ มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบ
ควบคุมราชการประจ�ำในส�ำนักนายกรัฐมนตรี และก�ำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของ
ส่วนราชการในส�ำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผูบ้ งั คับบัญชาข้าราชการในส�ำนักนายกรัฐมนตรีรองจากนายก
รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี เว้นแต่ราชการและข้าราชการของ
ส�ำนักท�ำเนียบนายกรัฐมนตรี ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส�ำนักงบประมาณ ส�ำนักงานสภาความมัน่ คง
แห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ และส�ำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจะให้มีรองปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ช่วยปลัดส�ำนัก
นายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่ง
หรือปฏิบัติราชการแทนปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
64 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีมีอ�ำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจ�ำทั่วไปของส�ำนักนายก
รัฐมนตรีและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้ก�ำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดส�ำนักนายก
รัฐมนตรีโดยเฉพาะ มีปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผูบ้ งั คับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบตั ิ
ราชการของส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรี
หน้าทีข่ องปลัดกระทรวง กระทรวงหนึง่ นอกจากมีรฐั มนตรีวา่ การกระทรวงและรัฐมนตรีชว่ ยว่าการ
กระทรวง ให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจ�ำในกระทรวง และก�ำกับ
เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
ในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี และจะให้มีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวง หรือมีทั้งรองปลัด
กระทรวง และผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงมีอำ� นาจหน้าทีเ่ กีย่ วกับราชการประจ�ำทัว่ ไปของกระทรวง และราชการที่
คณะรัฐมนตรีมิได้ก�ำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ มีปลัดกระทรวง
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส�ำนักงานปลัดกระทรวง
หน้าที่ของปลัดทบวง ทบวงนอกจากมีรัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ให้มีปลัด
ทบวงคนหนึ่ง มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจ�ำในทบวง และก�ำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติ
ราชการของส่วนราชการในทบวงรองจากรัฐมนตรี และจะให้มีรองปลัดทบวงหรือผู้ช่วยปลัดทบวง หรือมี
ทั้งรองปลัดทบวงและผู้ช่วยปลัดทบวง เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดทบวงก็ได้
ในกรณีที่ปลัดทบวงจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือค�ำสั่งใด หรือมติของคณะ
รัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือค�ำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้
กล่าวถึงอ�ำนาจของปลัดทบวงไว้ ให้ปลัดทบวงมีอ�ำนาจหน้าที่ดังเช่นปลัดกระทรวง
ส�ำนักงานปลัดทบวงมีอำ� นาจหน้าทีเ่ กีย่ วกับราชการประจ�ำของทบวง และราชการทีค่ ณะรัฐมนตรี
มิได้ก�ำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดทบวงโดยเฉพาะ มีปลัดทบวงเป็นผู้บังคับบัญชา
ข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส�ำนักงานปลัดทบวง
ปลัดจังหวัด ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา
ข้าราชการและรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัด ให้มปี ลัดจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการประจ�ำ
จังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจ�ำท�ำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมี
อ�ำนาจบังคับบัญชาข้าราชการบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการจังหวัด เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหาร
ราชการแผ่นดินในจังหวัดนัน้ คณะกรรมการนีม้ ผี วู้ า่ ราชการจังหวัดเป็นประธาน มีปลัดจังหวัดและหัวหน้า
ส่วนราชการประจ�ำจังหวัดเป็นกรรมการ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 65

ปลัดจังหวัดอาจเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดได้ หากผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่า


ราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มี หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ปลัดอ�ำเภอ ในอ�ำเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอ�ำเภอเป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชาและรับผิดชอบ
ให้มปี ลัดอ�ำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการประจ�ำอ�ำเภอ ทีก่ ระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจ�ำให้ปฏิบตั ิ
หน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอ�ำเภอ
อ�ำเภอหนึ่ง เคยมีปลัดอ�ำเภอ ๒ คน แต่ในปัจจุบัน จ�ำนวนปลัดอ�ำเภออาจเพิ่มขึ้นได้ตามความ
จ�ำเป็น
ปลัดเทศบาล เทศบาลมีพนักงานเทศบาลและจัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนต่าง ๆ ตามปริมาณ
และคุณภาพของงาน โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผูบ้ งั คับบัญชาและรับผิดชอบในงานประจ�ำทัว่ ไปของเทศบาล
ในการปฏิบตั หิ รือด�ำเนินการตามกฎหมายใด คณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีอาจมอบอ�ำนาจ
โดยท�ำเป็นหนังสือให้นายกเทศมนตรี เทศมนตรี ปลัดเทศบาล หรือรองปลัดเทศบาลท�ำการแทนได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจให้นายกเทศมนตรี เทศมนตรี ปลัดเทศบาล รองปลัด
เทศบาล หรือหัวหน้าแขวงในเขตเทศบาลมีอ�ำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติได้
ปลัดกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีปลัดกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง มีอ�ำนาจหน้าที่ตามที่
กฎหมายก�ำหนดและตามค�ำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการ
ประจ�ำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ก�ำกับ เร่งรัด ติดตามการปฏิบัติ
ราชการของส่ ว นราชการในกรุ ง เทพมหานคร รวมทั้ ง เป็ น ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาข้ า ราชการและลู ก จ้ า ง
กรุงเทพมหานคร รองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอาจมีรองปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้ช่วย
ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือมีทั้งรองปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ช่วยก็ได้
ปลัดกรุงเทพมหานครอาจเป็นผูร้ กั ษาราชการแทนผูว้ า่ ราชการกรุงเทพมหานครได้ หากผูว้ า่ ราชการ
กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ปลัดเมืองพัทยา เมืองพัทยามีปลัดเมืองพัทยาคนหนึ่ง ท�ำหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาให้เป็น
ไปตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา และอาจมีรองปลัดเมืองพัทยา เป็นผู้ช่วยได้ไม่เกิน ๒ คน
ปลัดเมืองพัทยาเป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามีอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑. ร่างแผนเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
๒. บริหารกิจการตามนโยบายและแผนของสภาเมืองพัทยาตาม ๑.
๓. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณ และข้อบัญญัติอื่น เพื่อเสนอต่อสภาเมืองพัทยา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
66 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

๔. ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย และข้อบัญญัติ


๕. รวบรวมปัญหาในการบริหารราชการเมืองพัทยา พร้อมด้วยข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอสภาเมือง
พัทยา
๖. รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�ำปีของเมืองพัทยาต่อสภาเมืองพัทยา
๗. ปฏิบัติงานอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้
ปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างเมืองพัทยา และรับผิดชอบในการ
ปฏิบัติราชการเมืองพัทยา
ในปัจจุบัน ต�ำแหน่งปลัดอื่น ๆ ที่กล่าวชื่อมาในตอนต้น โดยมิได้ให้รายละเอียดไว้ เช่น ปลัดกรม
ปลัดกอง เป็นต้น ได้เลิกใช้ไปแล้ว รวมทั้งต�ำแหน่งปลัดบัญชาการส�ำนักนายกรัฐมนตรีด้วย ยกเว้นแต่
ต�ำแหน่งปลัดบัญชีทหาร ซึ่งยังคงมีอยู่.

หนังสืออ้างอิง
๑. กฎหมายตราสามดวง กรมศิลปากร.
๒. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ และ ๒๑๘.
๓. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ (แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว).
๔. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ (แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว).
๕. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑.
๖. ประชุมกฎหมายประจ�ำศก พ.ศ. ๒๔๑๘.
๗. ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๓๕ และ พ.ศ. ๒๔๗๕ (๒๔ มิถุนายน และ ๑๐ ธันวาคม).
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๘ หน้า ๑๑๓๘๗–๑๑๓๙๓, ๒๕๒๔–๒๕๒๖]

พระยา ผากอง ๑
กษัตริย์ไทยเมืองน่าน เมืองพลัว (อ�ำเภอปัว) สมัยสุโขทัย พระยาผากอง (ผู้ปู่) ครองเมือง
พ.ศ. ๑๘๖๓–๑๘๙๒ และพระยาผากอง (ผู้หลาน) ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๐๔–๑๙๒๙ กรีกโบราณและไทย
สมัยสุโขทัยนิยมน�ำชื่อปู่มาเป็นชื่อหลาน เช่น มหาธรรมราชาผู้ปู่ กับมหาธรรมราชาผู้หลาน และพระเจ้า
ไสยลือไทยเป็นนัดดาของพระเจ้าลือไทย (ลิไทย) แต่ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ ใช้พระยาผากอง (ผู้ปู่)
ว่าเป็นพระยาผานองไป
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 67

จารึกหลักที่ ๘ (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑) ได้กล่าวถึงอาณาเขตของสุโขทัยสมัยพระเจ้าลิไทยว่า


จดกับอาณาเขตของเจ้าพระยาผากอง เจ้าเมืองน่าน เมืองพลัว และตามจารึกหลักที่ ๙ พระเจ้าลิไทยยก
ไปตีเมืองแพร่ได้ใน พ.ศ. ๑๙๐๒–๑๙๐๓ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐได้กล่าวถึงเรื่อง ท้าวผาคองมา
ช่วยสุโขทัยรบกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ที่เมืองชากังราว (ก�ำแพงเพชร) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๑ และ
ทัพท้าวผาคองแตก จับได้ตัวท้าวพระยาและเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก
จารึกหลักที่ ๖๔ (พ.ศ. ๑๙๓๕) ได้กล่าวถึงเมืองน่าน เมืองพลัว เมืองแพร่ และเมืองงาว ว่าอยู่ใน
อาณาเขตของกษัตริย์น่าน
ราชวงศ์ของพระยาผากองมีดงั ต่อไปนี้ พระยาภูคา ครองเมืองย่างหรือภูคา มีโอรสบุญธรรม ๒ องค์
คือ ชุมนุ่ม (น่าจะตรงกับปู่มุงในจารึกหลักที่ ๔๕) ตั้งและครองจันทบุรี (อาจจะเป็นเวียงจันทน์) ทางตะวันออก
ของแม่น�้ำโขง และขุนฟอง (จารึกว่าปู่ฟอง) ตั้งและครองเมืองพลัว โอรสขุนฟอง คือ เจ้าเก้าเกื่อน
(จารึกว่า ปู่ฟ้าฟื้น ตามตัวอักษรธรรมลานนา เก้าเกื่อนและฟ้าฟื้นมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก) โอรสเจ้า
เก้าเกื่อน คือ ขุนใส หรือใส่ยศ ต่อมาเป็นพระยาผานอง ครองเมือง พ.ศ. ๑๘๖๓–๑๘๙๒ (จารึกว่า ผากอง)
เจ้าไสผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๘๙๒–๑๘๙๔ เจ้ากานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาครองเมือง พ.ศ. ๑๘๙๔–
๑๙๐๔ เจ้ากานเมืองสร้างและย้ายมาครองเมืองที่แซ่แห้งตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระยาผากองผู้เป็นโอรส
ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๐๔–๑๙๒๙
พระยาผากองมาสร้างเมืองน่านที่เวียงกุมบ้านห้วยไค้ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๙ พระยาค�ำต้นผู้เป็นโอรส
ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๒๙–๑๙๓๙ เจ้าศรีจันต๊ะผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๓๙ เจ้าหุงผู้เป็นพระอนุชา
ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๔๑–๑๙๔๘ เจ้าปู่เข็งผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๔๘–๑๙๕๘ เจ้าพันต้น
ผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๕๘–๑๙๖๗ เจ้างั่วผาสุมผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๖๗–๑๙๗๔
เจ้าอินต๊ะแก่นผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๗๔ และครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๗๖–๑๙๙๑ เจ้าแปง
ผู้เป็นพระอนุชาครองเมือง พ.ศ. ๑๙๗๕–๑๙๗๖ เจ้าผาแสงผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๐๒
ในฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่สมัยพระเจ้าติโลกราช ต่อจากนั้นเชียงใหม่ส่งคนมาครองเมืองน่าน.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๙ หน้า ๑๒๒๒๔–๑๒๒๒๖, ๒๕๒๗]

พ่อขุน
ในสมัยสุโขทัยตอนต้น “พ่อขุน” เป็นค�ำขึ้นต้นพระนามพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรใหญ่
ในขณะที่ “ขุน” เป็นค�ำขึ้นต้นพระนามพระเจ้าแผ่นดินแคว้นเล็ก ๆ ส่วน “พระ” เป็นพระนามเจ้านาย
ที่มีบรรดาศักดิ์สูง ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระนามพระเจ้าแผ่นดินจึงเปลี่ยนไป
ขึ้นต้นด้วยค�ำว่า “พญา” หรือ “พระญา” แล้วเปลี่ยนไปเป็น “สมเด็จพระ” หรือ “พระเจ้า” ในสมัยอยุธยา
จนในที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ต้องเป็น “พระบาทสมเด็จ” จึงจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
ค�ำว่า “พ่อขุน” ประกอบไปด้วยค�ำว่า “ขุน” ซึ่งเป็นค�ำเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินแคว้นเล็ก ๆ
และค�ำว่า “พ่อ” ซึ่งแสดงว่าเป็นหัวหน้าของขุนในแคว้นต่าง ๆ เทียบได้กับค�ำว่า “แม่” ในค�ำ “แม่ทัพ”
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
68 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ตัวอย่างที่ปรากฏในศิลาจารึก คือ พ่อขุนศรีนาวน�ำถุม (น�้ำท่วม) กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเชลียง


สุโขทัย พ่อขุนผาเมือง กษัตริยเ์ มืองราด เมืองลุม และเมืองสะค้า ซึง่ สันนิษฐานกันว่า อยูแ่ ถวลุม่ แม่นำ�้ น่าน
หรือมิฉะนั้นก็แถวแควป่าสัก พ่อขุนบางกลางหาว (หรือเดิมอ่านผิดเป็น พ่อขุนบางกลางท่าว) ซึ่งต่อมา
เปลี่ยนพระนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามค�ำแหง (หรือพ่อขุนรามราช) ๒ พระองค์นี้เป็น
พระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรศรีสัชนาลัยสุโขทัย
ตัวอย่างกษัตริย์แคว้นเล็ก ๆ เช่น ขุนสามชนแห่งเมืองฉอด และตัวอย่างพระนามของเจ้านายที่มี
บรรดาศักดิ์สูง เช่น พระรามค�ำแหงซึ่งเป็นพระนามเดิมของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
เรื่องค�ำว่า “พ่อขุน” นี้ หนังสือจดหมายเหตุ เรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ กรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนตลอดรัชกาลที่ ๕ พิมพ์ตามที่พบต้นร่าง พ.ศ. ๒๔๕๗ โรงพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในค�ำน�ำว่าดังนี้ (ตามต้นฉบับเก่า)
“ค�ำที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยแต่โบราณมา เห็นใช้ ๕ ค�ำ คือ
๑. พระองค์
๒. ขุน
๓. พ่อขุน
๔. ขุนหลวง
๕. ท้าว
มูลเหตุที่ใช้ค�ำ ๕ ค�ำนี้ ข้าพเจ้ายังไม่พบอธิบายในที่ใด ๆ ได้แต่สันนิษฐานตามเค้าเงื่อนที่ได้พบใน
หนังสือเก่าต่าง ๆ
๑. ค�ำว่า “พระองค์” สงไสยว่าจะหมายความอย่างเดียวกับค�ำว่า “นัก” ของเขมร ซึ่งแปลความ
ว่า “ท่าน” เพราะฉนั้น ในภาษาชั้นหลังลงมา เมื่อใช้ค�ำว่าพระองค์เนื่องด้วยพระเจ้าแผ่นดินจึงมักใช้เปน
แต่สรรพนาม ที่มาของศัพท์ซึ่งเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าพระองค์นี้ พบแต่ในหนังสือต�ำนานโยนกเรื่องเดียว
แต่เห็นเปนหลักถานอยู่ ด้วยในชั้นหลังเลื่อนเอาลงมาใช้เปนยศในราชตระกูล
๒. ค�ำว่า “ขุน” เปนค�ำในภาษาไทย (บางทีจะเปนค�ำเดียวกับที่จีนเรียกว่า กุ๋น) ส�ำหรับเรียกเจ้าที่
ครองแผ่นดินมาเก่าแก่ชา้ นาน ตัง้ แต่ไทยยังอยูใ่ นเมืองเดิม ทีเ่ ปนประเทศจีนฝ่ายใต้ บรรดาเจ้าไทยทีค่ รอง
เมืองเรียกว่า ขุน มีตัวอย่างทั้งในศิลาจาฤกแลหนังสือเก่าหลายเรื่อง เช่น เรียกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
ขุนบรมที่ครองอาณาจักร์สิบสองจุไทย ขุนเจืองที่ครองเมืองเซ่า (คือ เมืองหลวงพระบางครั้งเปนเอกราช)
เปนต้น แลมีนามเจ้าครองเมืองในอาณาจักร์ลานนาไทยซึ่งเรียกว่า ขุน แจ้งอยู่ในหนังสือต�ำนานโยนก
เปนอันมาก ค�ำว่า ขุน นี้ใช้ติดต่อลงมาจนขุนหมากรุก ยังเรียกกันอยู่ในทุกวันนี้ ก็หมายความว่าผู้เปนเจ้า
เปนใหญ่นั้นเอง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 69

๓. ค�ำว่า “พ่อขุน” พบแต่ในศิลาจาฤกศุโขไทยหลักเดียว เรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินสยามที่


ครองพระนครศุโขไทยเปนราชธานี ว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” แล “พ่อขุนรามค�ำแหง” จาฤกนี้เปน
กระแสรับสั่งของพระเจ้าขุนรามค�ำแหง แต่เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่า ค�ำ พ่อขุน ซึ่งใช้ในศิลาจาฤกนั้น จะเปน
การแสดงพระองค์ว่าเปนพ่อของราษฎร แต่เมื่อมาระลึกถึงความจริง ที่มีวิธีเรียกเจ้าเมืองน้อย ๆ ว่า “พ่อ
เมือง” ยังมีอยู่ทางหัวเมืองไทยใหญ่จนทุกวันนี้ เปนชื่อใช้มาแต่โบราณ ดังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระร่วง ว่าเปนพ่อเมืองลโว้ เมื่อค�ำว่า พ่อเมือง เปนยศผู้ปกครอง
เมืองเปนแน่แล้ว ก็ชวนให้เห็นว่า ค�ำว่า พ่อขุน จะยกเปนยศเหมือนกัน บางทีจะหมายความว่า พระเจ้า
แผ่นดินที่มีอาณาจักรกว้างขวาง มีขุน คือ ประเทศราชขึ้นอยู่หลายเมือง จึงยกพระเกียรติยศเปนพ่อขุน
แต่เห็นจะไม่ได้ใช้คำ� นีอ้ ยูช่ า้ นาน เพราะไม่ได้พบในทีอ่ นื่ อิก นอกจากศิลาจาฤกหลักเดียวทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว
๔. ค�ำว่า “ขุนหลวง” เห็นจะเปนค�ำแก้มาจาก พ่อขุน แปลให้ตรงศัพท์ มหาราชา ในภาษามคธ
แต่ไม่พบใช้ในหนังสือราชการ เห็นแต่ใช้กันในค�ำพูดอย่างเราเรียกพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า “ขุนหลวงตาก”
ทุกวันนี้
๕. ยังมีค�ำที่เรียกเจ้าครองเมืองอิกค�ำ ๑ คือ ค�ำว่า “ท้าว” มูลเดิมจะมาจาก “เจ้า” หรือจะมาจาก
ค�ำใด ข้าพเจ้ายังตรองไม่เห็น มักใช้มากในหนังสือทีแ่ ต่งกันในภาษาไทย แม้จนชัน้ หลังลงมา เช่น ท้าวดาหา
ท้าวกุเรปัน ท้าวยศวิมล ท้าวสามนต์ ท้าวสญชัย ผู้ชนกของพระเวสสันดร ในเรื่องมหาชาติ แลท้าวทศรถ
ผู้ชนกของพระรามจันทร ในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ค�ำว่า ท้าว นี้ที่ใช้ที่จริงเห็นจะใช้ทางหัวเมืองไทยข้างฝ่าย
เหนือ ด้วยยังปรากฏค�ำว่า “ท้าวเพี้ย” ซึ่งมาจากค�ำว่า “ท้าว” แล “พระ” อย่างในหนังสือที่อ้างมาแล้ว
ที่เรียกท้าวยศวิมล พระสังข์ ท้าวสญชัย พระเวสสันดร ท้าวทศรถ แล พระราม พระลักษมณ์ เปนต้น
ในครั้งนครศุโขทัยเปนราชธานี ภายหลังพ่อขุนรามค�ำแหงครองราชสมบัติ ณ พระนครศุโขไทย
เพียงสัก ๕๐ ปี ในศิลาจาฤกของพระมหาธรรมราชา (ลิไทย) ผู้เปนพระราชนัดดา ที่ได้สืบพระวงษ์ ต่อมา
ในนครศุโขไทย พระนามพระเจ้าแผ่นดิน เปลี่ยนขึ้นค�ำว่า “พญา” ส่วนจาฤกภาษาเขมรใช้ขึ้นพระนามว่า
“พระบาทกมรเดงอัต” หาได้ใช้ค�ำว่า พ่อขุน ดังแต่ก่อนไม่ ครั้นมาถึงสมัยเมื่อกรุงศรีอยุทธยาเปนราชธานี
บรรดาหนังสือเก่าที่ได้พบ คือ บานแพนกในกฎหมาย เปนต้น พระนามพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยา
เลิกใช้ขึ้นด้วยค�ำว่า “พระยา” อย่างครั้งศุโขไทย ใช้ค�ำว่า พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว หรือ
พระเปนเจ้า คล้ายกับแบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ เห็นจะเปนด้วยกรุงศรีอยุทธยาอยู่ใกล้กับเมืองเขมร แลตีเมือง
เขมรได้หลายคราว กวาดผู้คนครอบครัวเข้ามามาก จะได้ผู้รู้แบบแผนราชประเพณีทางกรุงกัมพูชา ซึ่ง
เก่ากว่าแบบแผนทีใ่ ช้อยูค่ รัง้ นครศุโขไทยเข้ามา แบบแผนครัง้ กรุงเก่า จึง่ เจือไปข้างราชประเพณีกรุงกัมพูชา
มาก ค�ำว่า พระยา กลับไปใช้เรียกผู้ปกครองต่างประเทศ เช่น เรียกเจ้ากรุงกัมพูชาว่า พระยาลแวก
เปนต้น ลงมาจนตอนปลายกรุงเก่าจึงเรียกเปนอย่างอื่น”.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๐ หน้า ๑๓๐๓๘–๑๓๐๔๑, ๒๕๒๘–๒๕๒๙]
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
70 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยในความหมายไทย มาจากค�ำว่า มหา+วิทยะ+อาลัย ซึ่งแปลโดยรูปศัพท์ว่า ที่อยู่ของ
วิชาการหรือความรู้อันยิ่งใหญ่ ความหมายนี้นับว่าตรงกับความหมายของ University ในภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีรากศัพท์เดิมจาก Universitas แปลว่า กลุ่มทั้งหมด
ก�ำเนิดของ University มาจากการรวมกลุ่มนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการเรียนรู้และความ
เจริญงอกงามทางวิชาการ
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัย หมายถึง สถาบันทางวิชาการที่ท�ำหน้าที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ซึ่งเป็นการศึกษาระดับสูงสุดของประเทศ ต่อจากระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย คณะวิชา สถาบัน ส�ำนัก และศูนย์ ซึ่งมีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
ขึ้นไป และสร้างสรรค์ความเป็นเลิศทางวิชาการ
จุดมุง่ หมายและหน้าทีข่ องมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยในฐานะทีเ่ ป็นสถาบันสังคม ย่อมมีววิ ฒ
ั นาการ
ของจุดมุ่งหมายและบทบาทหน้าที่ไปตามกาลสมัยและสภาพของสังคม จากระยะเริ่มต้นที่เป็นแหล่งรวม
กลุ่มนักวิชาการเพื่อแสวงหาความเรืองปัญญาและการพัฒนาบุคคล ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปครอบคลุม
ถึงการพัฒนาวิชาชีพและก�ำลังคนระดับสูงให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัยที่
กล่าวได้ว่า เป็นสากลและเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุด มีอยู่ในขอบข่าย ๓ ประการ คือ
๑. มุ่งบุกเบิก แสวงหา บ�ำรุงรักษา และถ่ายทอดความรู้เพื่อสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าและความ
เป็นเลิศทางวิชาการ
๒. ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นแหล่งวิทยาการชั้นสูง ที่เอื้อ
อ�ำนวยประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
๓. ทะนุบ�ำรุงและส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
ตามจุดมุง่ หมายดังกล่าว มหาวิทยาลัยในปัจจุบนั จึงได้รบั การก�ำหนดบทบาทให้ทำ� หน้าทีค่ รบถ้วน
ในงานหลัก ๔ ลักษณะ คือ การสอนวิชาการและวิชาชีพเพือ่ สนองความต้องการก�ำลังคนระดับสูงของสังคม
การค้นคว้าวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การบริการเผยแพร่วิชาการแก่สังคม และการทะนุบ�ำรุง
ศิลปวัฒนธรรม ภารกิจในการผลิตบัณฑิตและการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย จึงมีลักษณะแตกต่างจาก
สถาบันอุดมศึกษาอืน่ ๆ ในแง่ทตี่ อ้ งครอบคลุมงานทัง้ ๔ ประการดังกล่าวอย่างครบถ้วน ในขณะทีส่ ถาบัน
อุดมศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยอาจเน้นเฉพาะการสอนและการผลิตบัณฑิต หรือสถาบันวิจัยเน้นการวิจัย
ค้นคว้าทางวิชาการเป็นงานหลักเพียงด้านเดียว
พัฒนาการของแนวความคิดและการจัดตั้งมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แนวคิดและ
การจัดตั้งส�ำนักศึกษาชั้นสูง ซึ่งเทียบได้กับระดับอุดมศึกษานั้น เริ่มขึ้นจากโลกตะวันตก ตั้งแต่สมัยกรีก
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 71

และโรมันโบราณ เมื่อกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว คือ อะแคเดมี (Academy) ของพลาโต (Plato) และไลซีอัม
(Lyceum) ของอริสโตเติล (Aristotle) ส�ำนักศึกษาในยุคนั้นมุ่งพัฒนาความเรืองปัญญาและคุณธรรมของ
ผูเ้ รียน จึงเน้นการให้ความรูป้ ระเภทปรัชญาตรรกศาสตร์ ภาษา และกฎหมาย ให้เป็นความรูพ้ นื้ ฐานส�ำหรับ
คนกลุ่มเฉพาะให้เป็นอภิชน (Elite) เพื่อเตรียมท�ำหน้าที่ปกครองประเทศ
ต่อมา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งเป็นมัธยสมัยของยุโรป ได้มีการรวมกลุ่มนักวิชาการผู้ทรง
คุณวุฒิและนักศึกษาเข้าด้วยกันตามเมืองใหญ่ ๆ ในบางประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาวิชาที่
สนใจและเห็นประโยชน์ ยุคนั้นจึงนับเป็นการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยอย่างถาวรในฐานะเป็นศูนย์รวม
ความรู้ ความคิดทางวิชาการ ควบคู่ไปกับการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพชั้นสูงด้วย คือ ทางศิลปศาสตร์
กฎหมาย ศาสนา และแพทยศาสตร์
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒–๒๓ เป็นต้นมา บทบาทของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย
และการใช้เทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางวิชาการแขนงต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของชีวิตและสังคมได้เข้าไปมี
ส่วนส�ำคัญในการตั้งจุดมุ่งหมายและการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มขึ้นก่อนที่ประเทศเยอรมนี
และในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ได้มีการผสมผสานแนวคิดและการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้มี
ลักษณะครอบคลุมงานด้านการสอน การวิจัย บริการ และการทะนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรมดังที่ได้กล่าวมา
แล้วในตอนต้น อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยแต่ละประเทศก็อาจมีการเน้นเฉพาะลักษณะเด่นบางลักษณะ
ทีแ่ ตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ เน้นการศึกษาระดับปริญญาตรีให้สามารถ
ผลิตบัณฑิตที่ใช้งานได้ดี มหาวิทยาลัยเยอรมัน เน้นการค้นคว้าวิจัย และงานระดับบัณฑิตศึกษา ส่วน
มหาวิทยาลัยอเมริกัน ให้ความส�ำคัญมากต่อการบริการสังคม เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว อาจกล่าวได้วา่ แนวคิดและการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัยจากประเทศตะวันตกได้
แพร่หลาย และมีอิทธิพลต่อระบบมหาวิทยาลัยของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในสมัยโบราณ การศึกษาระดับสูงของคนไทยมีจ�ำกัดเฉพาะคน
กลุ่มน้อย คือ ผู้ชายที่ได้บวชเรียนรับการศึกษาจากวัด ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ และผู้ที่ได้อยู่กับ
ส�ำนักนักปราชญ์ราชบัณฑิตในวังหรือในครอบครัวของขุนนางชั้นสูง การศึกษาในระยะนั้นเป็นการเน้น
ทางด้านอักษรศาสตร์ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และการฝึกความเชี่ยวชาญในวิชาชีพบางแขนง
แนวคิดและการจัดตัง้ มหาวิทยาลัยเพิง่ เริม่ ขึน้ เมือ่ ประมาณ ๑๐๐ ปีมานีเ้ อง การพัฒนาการของมหาวิทยาลัย
ไทย อาจแบ่งอธิบายได้เป็น ๕ ช่วงระยะ กล่าวคือ
ช่วงระยะที่ ๑ คือ ช่วงเวลาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. ๒๔๗๕) สืบเนื่องจากอิทธิพล
จากแนวคิดทางการศึกษาของตะวันตก และความต้องการก�ำลังคนส�ำหรับรับราชการ จึงได้มีการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๕๙ คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึง่ เป็นการยกฐานะ
โรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึน้ เป็นมหาวิทยาลัยเพือ่ ให้ผลิตนักวิชาชีพชัน้ สูงเข้ารับราชการ โดยมีคณะวิชา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
72 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ที่เปิดสอนในระยะแรก ๔ คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์


คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในยุคนั้น
ช่วงระยะที่ ๒ ได้แก่ช่วงเวลา ๑๐ ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
โดยมีพระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข ได้มกี ารจัดตัง้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึน้ เพือ่ เปิดโอกาส
ให้ประชาชนได้รบั การศึกษาและมีความพร้อมเกีย่ วกับระบบการเมืองและการปกครองประเทศ การสอน
เน้นหนักทางสังคมศาสตร์ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และการทูต โดยจัดระบบการศึกษาเป็นแบบ
ตลาดวิชา ไม่ต้องมีการสอบคัดเลือกเข้า และไม่มีระเบียบการเข้าชั้นเรียน แต่ในระยะต่อมา มหาวิทยาลัย
แห่งนี้ได้เปลี่ยนระบบการศึกษามาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิดเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
ช่วงระยะที่ ๓ คือ ช่วงหลังจากระยะที่ ๒ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งเป็นระยะที่รัฐบาลเน้นนโยบาย
การผลิตบัณฑิตตามความต้องการเฉพาะทางของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จึงได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ขึน้ อีก ๓ แห่งพร้อมกันใน พ.ศ. ๒๔๘๖ คือ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต่อมาได้เปลีย่ นชือ่ เป็นมหาวิทยาลัย
มหิดล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร
ช่วงระยะที่ ๔ ครอบคลุมระยะเวลาตัง้ แต่หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ มาจนสิน้ ระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ช่วงนี้เป็นระยะของการเริ่มกระจายความเจริญและการ
พัฒนาการศึกษาออกไปสูภ่ มู ภิ าค และเน้นการจัดการอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงได้มกี ารก่อตัง้ มหาวิทยาลัยในส่วนภูมภิ าคขึน้ คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้ท�ำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและ
การพัฒนาภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ ตั้งอยู่ การเปิดสาขาวิชาที่สอน เน้นหนักทางวิทยาศาสตร์
แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ นอกจากนั้น ในช่วงระยะนี้ได้มีการส่งเสริมการจัดการ
ศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี จึงได้มีการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ขึ้น เปิดการสอนระดับ
บัณฑิตศึกษาในคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ และสถิติประยุกต์
ช่วงระยะที่ ๕ คือ ตั้งแต่หลัง พ.ศ. ๒๕๑๔ มาถึงปัจจุบัน นับเป็นช่วงเวลาของการขยายโอกาส
ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยมีการด�ำเนินงานส�ำคัญ ๓ ลักษณะ คือ การจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยเปิด การยกฐานะวิทยาลัยต่าง ๆ ขึน้ เป็นมหาวิทยาลัย และการจัดตัง้ วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
เอกชน
ในด้านการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเปิดนั้น มหาวิทยาลัยรามค�ำแหงเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้ผู้ที่จบ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าได้เข้าศึกษาต่อโดยไม่ต้องมีการสอบคัดเลือก และไม่จ�ำกัดรับ
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๑ ก็ได้มกี ารก่อตัง้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขึน้ เป็นมหาวิทยาลัยเปิดแบบระบบ
การสอนทางไกล ซึ่งผู้เรียนไม่ต้องเข้าชั้นเรียนเลย แต่ศึกษาจากสื่อการสอนต่าง ๆ คือ วิทยุ โทรทัศน์
ไปรษณีย์ ห้องสมุด และศูนย์บริการการศึกษาประจ�ำท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเปิดทั้ง ๒ แห่งนี้เปิดการสอน
วิชาส่วนใหญ่ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวิทยาการด้านการจัดการต่าง ๆ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 73

จ�ำนวนผู้เรียนในมหาวิทยาลัยเปิดมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากจนมีสัดส่วนเป็นประมาณ ๓ ใน ๔ ส่วนของ
จ�ำนวนผู้เรียนในมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมด
ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการยกฐานะวิทยาลัยต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา
และทางการศึกษาขึน้ เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอีกหลายแห่ง ทัง้ ในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค ตัวอย่าง
เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น รัฐได้มีนโยบายให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา จึงมีวิทยาลัยเอกชนเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ใน พ.ศ. ๒๕๒๘ ก็ได้มีการยกฐานะ
วิทยาลัยเอกชนขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ๔ แห่งด้วยกัน คือ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเอกชนเปิดการสอนส่วนใหญ่
ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การพยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ และ
โปลีเทคนิค
กล่าวโดยสรุปแล้ว นับว่าการด�ำเนินงานอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยของประเทศได้มีการขยายตัว
อย่างมากและรวดเร็วในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยและสถาบัน
ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ๑๘ แห่ง โดยเป็นของรัฐ ๑๔ แห่ง และของเอกชน ๔ แห่ง ทัง้ นีไ้ ม่รวมถึงสถาน
ศึกษาระดับวิทยาลัยและสถาบันเฉพาะทางในสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ อีกเป็นจ�ำนวนมาก
รูปแบบการบริหารงานมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ สถาบัน
อุดมศึกษามีสังกัดอยู่ในกระทรวง กรม และหน่วยงานต่าง ๆ หลายหน่วยงาน ต่อมา ด้วยการตระหนักถึง
ความส�ำคัญและความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีหน่วยประสานงานระดับชาติขนึ้ จึงได้มกี ารจัดตัง้ สภามหาวิทยาลัย
ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ให้มีหน้าที่ดูแลจัดการและควบคุมการศึกษาระดับนี้ให้มีมาตรฐานระดับเดียวกัน
และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ต่อมา หน่วยงานนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
สภาการศึกษาแห่งชาติ และเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ก็ได้กลายเป็นส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ท�ำหน้าที่วางนโยบายการศึกษาระดับชาติ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ มีการก่อตั้งทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐขึ้น ท�ำหน้าที่เป็นเจ้าสังกัด ดูแลรับผิดชอบ
มหาวิทยาลัยและสถาบันของรัฐโดยตรง ต่อมา ได้รวมมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเอกชนด้วย จึงเปลีย่ นชือ่
เป็นทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐
การบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งนั้น ก็มีการด�ำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติของ
แต่ละมหาวิทยาลัย โดยมีสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันหรือส�ำนักศูนย์ หัวหน้า
ภาควิชา เป็นผู้บริหารงานในระดับต่าง ๆ ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายและรูปแบบที่ก�ำหนดไว้ในพระราช
บัญญัติการจัดระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นรูปแบบสากลคล้ายคลึงกับ
มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ คือ การใช้ระบบปีการศึกษาเป็นแบบทวิภาค (semester) หรือไตรภาค
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
74 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

(trimester) การใช้ระบบหน่วยกิต (credit system) การก�ำหนดมาตรฐานคุณวุฒิและต�ำแหน่งวิชาการ


ของอาจารย์ เป็นต้น
แนวโน้มของมหาวิทยาลัยไทยในอนาคต บทบาทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้มีความเกี่ยวพัน
โดยตรงกับการพัฒนาประเทศตลอดมา ตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้นทีก่ อ่ ตัง้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพือ่ เตรียมบุคคล
เข้ารับราชการมาสู่ยุคต่าง ๆ ของการเตรียมประชาชนเพื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย การผลิต
ก�ำลังคนทีม่ คี วามช�ำนาญในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ตลอดจนการกระจายความเจริญสู่ส่วนภูมิภาคและการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูง
ในสภาพการณ์ปจั จุบนั และอนาคตทีโ่ ลกก�ำลังเผชิญกับความเปลีย่ นแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
ในแทบทุกด้าน ประเทศไทยก็ยิ่งมีความจ�ำเป็นต้องเร่งพัฒนาประเทศ ต้องการขุมวิชาการและก�ำลังคน
ที่มีคุณภาพสูงยิ่งกว่ายุคสมัยใด ๆ ที่ผ่านมาแล้ว มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นศูนย์รวมทางวิชาการ เป็นแหล่งของ
การลงทุนและความคาดหวังอย่างสูงของประเทศ จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับสภาพและบทบาทให้มี
คุณภาพและประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ทัง้ ในด้านการผลิตบัณฑิตสนองตอบความต้องการก�ำลังคนในสาขา
วิชาชีพที่มีความจ�ำเป็นรีบด่วน ในด้านการค้นคว้าวิจัยเพื่อแสวงหาและเสนอแนะข้อความรู้และวิธีการ
ใหม่ ๆ ทีจ่ ะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาประเทศ และในแง่ของการท�ำหน้าทีเ่ ป็นพลังกระตุน้ น�ำทางให้เกิด
การมองปัญหาของสังคมและเกิดการเปลีย่ นแปลงไปในทิศทางทีเ่ หมาะสม การด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย
จึงจ�ำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบให้มีระบบการประสานงานและการควบคุมคุณภาพ
ที่ได้ผลยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยต้องยึดหลักการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติภารกิจ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของแผนที่ก�ำหนดไว้ ลักษณะที่ส�ำคัญยิ่งอีกด้านหนึ่ง คือ การต้องมุ่ง
ด�ำเนินการให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในงานมหาวิทยาลัยมากขึน้ ทัง้ ในแง่ของการลงทุน การสนับสนุน
การสร้างความสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมในการด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ เพื่อให้ผลผลิตของ
มหาวิทยาลัยตรงกับความต้องการในการท�ำงานของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น กับทั้งยังเป็นการกระจายโอกาส
ความรับผิดชอบและการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับเอกชนในการสร้างสรรค์ขมุ พลังทางปัญญาและทรัพยากร
มนุษย์ระดับสูงให้แก่ประเทศด้วย.
หนังสืออ้างอิง
๑. ไพฑูรย์ สินลารัตน์, พัฒนาการของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๖.
๒. วราภรณ์ บวรศิริ, วิเคราะห์นโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐบาลหลังการ
เปลีย่ นแปลงการปกครอง. วารสารครุศาสตร์ ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๒ ตุลาคม–ธันวาคม ๒๕๒๕, หน้า ๗๐–๙๓.
๓. วิจิตร ศรีสอ้าน, หลักการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จ�ำกัด,
๒๕๑๘.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 75

๔. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, รายงานการวิจัยเรื่องระบบอุดมศึกษาไทย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๒.
๕. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, รายงานการประเมินสภาพการจัดการศึกษาและ
ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕–๒๕๒๙) ระดับอุดมศึกษา. ส�ำนัก
นายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๘.
๖. Chonhenchob, Arthorn. Private Institutions of Higher Education in Thailand,
Ministry of University Affairs, Bangkok, Thailand, 1984.
๗. Levine, Arthur. Handbook on undergraduate curriculum, San Francisco: Jossey–
Bass Publishers, 1979.
๘. Malakul, Prasarn. Higher education expansion in Thailand : Process, problems
and prospects. A paper presented at the International Seminar on Asian Higher
Education, Hiroshima, Japan, 26 January–February, 1985.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๒ หน้า ๑๔๓๙๕–๑๔๔๐๔, ๒๕๓๒–๒๕๓๓]

พญาเม็งราย
พญาเม็งราย (พ.ศ. ๑๗๘๒–๑๘๕๔) มีพระนามที่ถูกต้องว่า พญามังราย ทั้งนี้ ปรากฏตามหลักฐาน
ในศิลาจารึก ต�ำนานและเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด ยกเว้นพงศาวดารโยนกที่พระยาประชากิจกรจักร
เรียบเรียงขึ้น และเอกสารที่อ้างอิงพงศาวดารโยนกในชั้นหลังซึ่งใช้พระนาม เม็งราย
พญาเม็งรายเป็นกษัตริยไ์ ทยฝ่ายเหนือผูท้ รงรวบรวมอาณาจักรล้านนาขึน้ เป็นปึกแผ่นสมัยเดียวกับ
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช ผู้ทรงสร้างอาณาจักรสุโขทัยขึ้น
พญาเม็งรายเป็นโอรสของลาวเมงแห่งหิรญ ั นครเงินยางเชียงราวและพระชนนี คือ นางเทพค�ำขยาย
ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย กษัตริย์เมืองเชียงรุ่ง สิบสองพันนา
พญาเม็งรายขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์องค์ทึ่ ๒๕ ในหิรัญนครเงินยางเชียงราวเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๔
ราชวงศ์นี้มีลาวจังกราช หรือลาวจก เป็นปฐมกษัตริย์และขุนเจื๋องเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๙ พญาเม็งรายมี
พระประสงค์ที่จะสร้างอาณาจักรใหม่ โดยรวบรวมเมืองที่เป็นอิสระต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เริ่ม
ทางหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อน แล้วจึงขยายลงมาทางหัวเมืองฝ่ายใต้ พระองค์ทรงสร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกหลาย
เมือง เช่น ทรงสร้างเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ เมืองฝาง พ.ศ. ๑๘๑๖ เมืองชะแว
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของล�ำพูน พ.ศ. ๑๘๒๖ เวียงกุมกามในอ�ำเภอเมืองและอ�ำเภอสารภี จังหวัด
เชียงใหม่ พ.ศ. ๑๘๒๙ และเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๘๓๙ เชียงใหม่มชี อื่ เต็มว่า “นพบุรศี รีนครพิงค์เชียงใหม่”
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
76 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ซึง่ ต่อมาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา เมือ่ สร้างเมืองใหม่แต่ละครัง้ พญาเม็งรายได้เสด็จไปประทับ


อยู่ ณ เมืองใหม่นั้น ทั้งนี้ คงมีพระประสงค์ที่จะสร้างชุมชนขึ้นใหม่ เพื่อรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่
ให้มาตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทรงแสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสมจะเป็นเมืองหลวงถาวรของ
พระองค์ต่อไป
พญาเม็งรายทรงตีได้เมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงค�ำ หัวเมืองที่มาอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น
เช่นเมืองร้าง ต่อมา ทรงตีได้เมืองเชียงของ พ.ศ. ๑๘๑๒ เมืองเซริง พ.ศ. ๑๘๑๘
พระองค์ทรงปรารถนาทีจ่ ะได้เมืองหริภญ ุ ชัย (ล�ำพูน) เพราะเป็นเมืองมัง่ คัง่ สมบูรณ์ เป็นศูนย์กลาง
การค้าระหว่างประเทศ และมีทางน�้ำติดต่อกับละโว้และอโยธยา จึงทรงใช้อ้ายฟ้าไปเป็นไส้ศึกอยู่ในเมือง
หริภุญชัย อ้ายฟ้าได้ใช้วิธีท�ำให้ราษฎรไม่พอใจพญาญีบากษัตริย์เมืองหริภุญชัย โดยเกณฑ์ประชาชนไป
ขุดเหมืองในฤดูร้อนเพื่อน�ำน�้ำจากแม่น�้ำปิงมายังแม่น�้ำกวงเป็นระยะทาง ๓๖ กม. เหมืองนี้ยังใช้ได้ดีมาถึง
ปัจจุบัน นอกจากนี้ อ้ายฟ้ายังตัดไม้ซุงลากผ่านนาชาวบ้านในฤดูปลูกข้าว ท�ำให้ข้าวเสียหายเป็นอันมาก
โดยอ้ายฟ้าแจ้งให้ประชาชนทราบว่า พญาญีบาจะทรงสร้างพระราชวังใหม่ ประชาชนจึงเต็มใจจะให้
พญาเม็งรายเข้ามาปกครองพวกตนแทนพญาญีบา อ้ายฟ้าเป็นไส้ศกึ อยูเ่ กือบ ๗ ปี พญาเม็งรายจึงยึดเมือง
หริภุญชัยได้โดยง่ายเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๔ (ชินกาลมาลีปกรณ์ว่า พ.ศ. ๑๘๓๕ ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า) พระองค์ทรง
ยึดครองนครเขลางค์ (ล�ำปาง) ได้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ เมืองพุกามยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๓
ตามพงศาวดารโยนก พญาเม็งรายได้ทรงน�ำช่างฆ้อง ช่างหล่อ ช่างเหล็ก และช่างต่าง ๆ กลับมาจากพุกาม
ด้วย แล้วทรงส่งช่างทองไปอยูท่ เี่ ชียงตุง แต่เรือ่ งนีไ้ ม่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ ถ้าเทียบปีตามเหตุการณ์
อื่น ๆ ในชินกาลมาลีปกรณ์ น่าจะเป็น พ.ศ. ๑๘๔๓ มากกว่า ด้วยเหตุที่เมืองมอญอยู่ในความคุ้มครอง
ของสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช จึงน่าจะต้องรอให้สิ้นรัชสมัยของพระองค์ท่านเสียก่อน อนึ่ง
จากเอกสารจีนและเอกสารไทยลื้อ พญาเม็งรายได้ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงรุ่ง และตีพม่าบางส่วน
เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๐ และทรงตีสิบสองพันนาในปีต่อไปราว พ.ศ. ๑๘๔๔ จีนยกมาตีล้านนา แต่ไม่สามารถ
เอาชนะได้
อาณาเขตของล้านนาสมัยพญาเม็งราย ทางทิศเหนือถึงเชียงรุ่ง เชียงตุง ทางทิศตะวันออกถึง
แม่น�้ำโขง แต่ไม่รวมพะเยา น่าน และแพร่ ทางทิศใต้ถึงล�ำปาง ทางทิศตะวันตกถึงพุกาม
นอกจากนี้ พญาเม็งรายยังทรงมีสัมพันธไมตรีกับพญาง�ำเมืองแห่งพะเยาและพ่อขุนรามค�ำแหง
มหาราช ทั้ง ๓ พระองค์ทรงเป็นศิษย์ร่วมส�ำนักเดียวกัน ณ เมืองละโว้ และเป็นพระสหายร่วมสาบานกัน
เมื่อพญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ก็ได้ทรงปรึกษาหารือกับพระสหายทั้ง ๒ พระองค์ และทรงยินยอม
ลดขนาดของเมืองจากความยาวด้านละ ๒๐๐๐ วา ลงมาเหลือประมาณครึ่งหนึ่งตามข้อเสนอของพ่อขุน
รามค�ำแหงมหาราช เพราะเกรงว่าในอนาคตเมื่อเกิดศึก อาจจะไม่มีคนมากพอที่จะรักษาบ้านเมืองไว้ได้
มิตรภาพระหว่างกษัตริย์ทั้ง ๓ นี้ เป็นผลให้ไทยสามารถขยายดินแดนกว้างขวางออกไปโดยไม่ห่วงหน้า
พะวงหลัง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 77

พญาเม็งรายทรงปกครองโดยอาศัยกฎหมายมีชอื่ ว่า มังรายศาสตร์ จากมังรายศาสตร์ฉบับวัดเสาไห้


ซึ่งเป็นฉบับที่คัดไว้เก่าแก่ที่สุดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๒ กฎหมายนี้เป็นราชศาสตร์ซึ่งรวบรวมข้อความที่กษัตริย์
ทรงวินิจฉัยไว้ แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ ใช้ร่วมกับธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นกฎหมายหลักดัดแปลงมาจาก
ธรรมศาสตร์ของพวกฮินดู แต่เดิมมังรายศาสตร์คงจะมีอยู่เพียง ๒๒ ข้อแรก ต่อมา ได้เพิ่มเติมข้อความขึ้นอีก
หลายยุคหลายสมัย จนมีข้อความยาวขึ้นกว่า ๑๐ เท่า ข้อความเดิมมีเรื่องหนีศึก ท�ำความชอบในสงคราม
ให้ไพร่ผลัดเวรมาท�ำงานหลวง ๑๐ วัน กลับไปสร้างเหมืองฝายไร่นาเรือกสวนทีด่ นิ ๑๐ วัน สลับกันไป ไพร่
สร้างไร่นาได้ให้ทำ� กิน ๓ ปีกอ่ น จึงเก็บค่านาค่าสวน ฯลฯ พญาเม็งรายทรงบัญญัตกิ ฎหมายนีไ้ ว้เพือ่ ให้ทา้ ว
พญาทั้งหลายผู้เป็นลูก หลาน เหลน และเสนาอ�ำมาตย์ผู้ปกครองเมืองสืบไป รู้จักผิด รู้จกั ชอบตามบัญญัติ
ในมังรายศาสตร์นี้
ในด้านศาสนา พญาเม็งรายทรงให้ช่างก่อเจดีย์กู่ค�ำ (วัดเจดีย์เหลี่ยม) ที่เวียงกุมกาม และให้สร้าง
อารามวัดการโถม (วัดช้างค�้ำ) สร้างพระพุทธปฏิมากร ๕ พระองค์ สูงใหญ่เท่าส่วนองค์ของพญาเม็งราย
สร้างมหาวิหารและเจดีย์ที่วัดนี้ พระองค์ทรงส่งช่างการโถมผู้สร้างวัดการโถมไปครองเมืองรอย (ต่อมา
ตั้งเป็นเมืองเชียงแสน)
พญาเม็งรายทรงส่งราชบุตรองค์ใหญ่ชื่อ ขุนเครื่อง ไปครองเชียงราย แต่ต่อมาคิดขบถ พระองค์จึง
ทรงใช้คนไปฆ่าเสีย ราชบุตรองค์ที่ ๒ ชือ่ ขุนคราม ไปตีเมืองล�ำปางได้ จึงได้เป็นพญาชัยสงครามครองเมือง
เชียงราย องค์ที่ ๓ ชื่อ ขุนเครือ ครองเมืองพร้าว ถูกเนรเทศไปเมืองกองใต้ พวกไทยใหญ่สร้างเมืองนาย
ให้ขุนเครือครอง พญาเม็งรายมีพระชนมายุได้ ๗๓ ปี ถูกอสุนีบาตตกต้องสวรรคตกลางเมืองเชียงใหม่
พญาชัยสงครามขึ้นครองราชย์แทน
ราชวงศ์เม็งรายครอบครองอาณาจักรล้านนาไทยเป็นเอกราชอยู่ และเคยขยายอาณาเขตลงมาถึง
พะเยา ตาก น่าน แพร่ สวรรคโลก และสุโขทัย จนถึง พ.ศ. ๒๑๐๑ จึงถูกพม่าตีแตก หลังจากนั้น ล้านนา
ไทยเป็นเมืองขึ้นของพม่าบ้าง เป็นเอกราชบ้าง และเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาบ้าง รวมเป็นเวลาประมาณ
๒๐๐ ปี จึงได้ร่วมมือกับไทยทางใต้ขับไล่พม่าไป และมารวมเป็นประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน
การที่พญาเม็งรายได้ทรงรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยขึ้นมา จัดได้ว่าเป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่งที่
ท�ำให้ดินแดนของประเทศไทยกว้างใหญ่ไพศาลออกไป.
หนังสืออ้างอิง
๑. กรมศิลปากร, ชินกาลมาลีปกรณ์. พ.ศ. ๒๕๐๑.
๒. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ต�ำนานสิบห้าราชวงศ์ เล่มที่ ๑. พ.ศ. ๒๕๒๔.
๓. พงศาวดารโยนกฉบับหอสมุดแห่งชาติ. ส�ำนักพิมพ์คลังวิทยา, พ.ศ. ๒๕๐๗.
๔. ประเสริฐ ณ นคร, มังรายศาสตร์. เรียบเรียงเป็นภาษาปัจจุบัน, ๒๕๑๔.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
78 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

๕. ล้านนาไทย. อนุสรณ์พระราชพิธเี ปิดพระบรมราชานุสาวรียส์ ามกษัตริย,์ ๒๕๒๖–๒๕๒๗. หน้า


๑๒–๑๖ และ ๒๗๓–๒๗๗.
๖. โครงการศูนย์วจิ ยั ล้านนาไทย ฝ่ายมานุษยวิทยาและวัฒนธรรม ล�ำดับที่ ๑ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
หนังสือพื้นเมืองเชียงใหม่. พ.ศ. ๒๕๑๕.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๓ หน้า ๑๔๙๖๗–๑๔๙๗๑, ๒๕๓๔−๒๕๓๕]

ยามสามตา
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า “น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู
ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก เวียนกันไป” เรื่องยามสามตานี้ เมื่อกล่าวตามต�ำรายามสามตา (ตรีเนตร) ท่าน
ก�ำหนดไว้เป็นสูตรดังนี้

ใส
๑ (อาทิตย์)

ด�ำ ๓ (อังคาร) ปลอด ๒ (จันทร์)

แล้วบอกวิธีท�ำนายไว้เป็นกาพย์ ต�ำราฉบับต่อไปนี้มีข้อความสมบูรณ์มากกว่าฉบับอื่นในเรื่อง
เดียวกัน จึงน�ำมาแสดงไว้เพื่อรักษามิให้สูญหายไป แต่ภาษาที่ใช้อ่านเข้าใจได้ยาก จึงได้เรียงความเสียใหม่
เป็นร้อยแก้ว เพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น
หลัก ๓ หลักมีดังนี้ เลข ๑ แทนอาทิตย์ อยู่ต�ำแหน่งเดียวกับ ใส เลข ๒ แทนจันทร์ ต�ำแหน่งเดียว
กับ ปลอด และเลข ๓ แทนอังคาร ต�ำแหน่งเดียวกับ ด�ำ
เวลาท�ำนาย ให้นับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันที่จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนตามเข็มนาฬิกา
ถ้าวันที่จับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเริ่มต้นที่เลข ๑ หรืออาทิตย์ แล้วเวียนทวนเข็มนาฬิกา ไปที่เลข ๓
หรืออังคาร ต่อไปที่เลข ๒ หรือจันทร์ คือนับเลข ๑-๓-๒-๑-๓-๒ ... ไปจนถึงวันที่จับยาม เช่น ถ้าจับยาม
วันแรม ๕ ค�่ำ นับ ๑ ที่อาทิตย์ นับ ๒ ที่อังคาร นับ ๓ ที่จันทร์ นับ ๔ ที่อาทิตย์ และนับ ๕ ที่อังคาร
แล้วหยุดลงตรงนั้น
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 79

เริ่มนับยามที่ ๑ ณ ต�ำแหน่งที่หยุดนั้น คือยาม ๑ ที่อังคาร ยาม ๒ ที่จันทร์ ยาม ๓ ที่อาทิตย์


ไปจนถึงยามที่ท�ำนาย ทั้งนี้ต้องนับทวนเข็มนาฬิกาเพราะเป็นวันข้างแรม
กลางวันมี ๑๒ ชั่วโมง แบ่งเป็น ๘ ยาม ยามละหนึ่งชั่วโมงครึ่ง คือยาม ๑ เวลา ๖.๐๐–๗.๓๐ น.
ยาม ๒ เวลา ๗.๓๐–๙.๐๐ น. ยาม ๓ เวลา ๙.๐๐–๑๐.๓๐ น. จนถึงยาม ๘ เวลา ๑๖.๓๐–๑๘.๐๐ น.
กลางคืนมี ๑๒ ชั่วโมง ก็แบ่งออกเป็น ๘ ยามเช่นเดียวกัน
ถ้าวันที่จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับ ๑ ที่ต�ำแหน่ง ๑ หรืออาทิตย์ แล้วนับเวียนตามเข็มนาฬิกาไป
ที่ต�ำแหน่ง ๒ หรือจันทร์ ต่อไปที่เลข ๓ หรืออังคาร คือนับเลข ๑-๒-๓-๑-๒-๓ ... ไปจนถึงวันที่จับยาม
เช่น วันที่จับยามขึ้น ๘ ค�่ำ จะไปหยุดที่ต�ำแหน่ง ๒ คือ จันทร์หรือปลอด แล้วเริ่มนับยามที่ ๑ ณ ต�ำแหน่ง
ที่หยุด คือ ปลอด เวียนตามเข็มนาฬิกาต่อไปเพราะเป็นวันข้างขึ้น
“ถ้าดูสู้กัน เล็งดูยามนั้น จะเป็นฉันใด ถ้าด�ำอยู่หลัง เบื้องหน้ายามใส ว่าเขาจักได้ เราแพ้เสียคน”
แปลความหมายว่า นับถึงยามที่ท�ำนาย ตกที่ปลอดหรือ ๒ วันท�ำนายเป็นวันข้างแรม เพราะเมื่อนับทวน
เข็มนาฬิกาถึงปลอด เราผ่านด�ำทิ้งไว้ข้างหลังและใสจะอยู่ข้างหน้า ฉะนั้นถ้าดูเรื่องสู้รบกัน ข้าศึกจะชนะ
ฝ่ายเราจะแพ้เสียผู้คน
“ถ้าข้าศึกมา เรือนด�ำอยู่หน้า ศึกมาถึงเรา ถ้าใสอยู่หน้า มาแล้วกลับเล่า หน้าปลอดจักเปล่า
ถ้าเจ็บอย่าฟัง” ถ้าเป็นข้างขึ้น นับยามมาตกที่ปลอด ด�ำจะอยู่ข้างหน้า ถามเรื่องข้าศึก ท�ำนายว่า ข้าศึก
จะมาประชิดเรา แต่ถ้าเป็นข้างแรม นับยามตกที่ปลอด ใสจะอยู่ข้างหน้า ท�ำนายว่า ข้าศึกมาแล้วก็กลับ
ไป ถ้าหน้าปลอด ท�ำนายว่า ไม่มีอะไร ถ้าถามเรื่องเจ็บไข้ ทายว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เทียบกับข้อความในบท
ต่อไปว่า “ถ้าว่าหน้าใส คนน้อยอย่าฟัง” ถ้าข้างหน้าใส ทายว่า ข้าศึกจะมาน้อย ไม่ต้องเป็นห่วง
อันที่จริงต�ำราฉบับนี้ไม่บอกไว้ชัดว่าวันหนึ่งแบ่งเป็นกี่ยาม อาจแบ่งกลางวันและกลางคืนออกเป็น
อย่างละ ๔ ยามก็ได้ ตามที่แบ่งกลางวันออกเป็น ๘ ยามนี้ อนุโลมตามต�ำราฤกษ์ยามของนายเหรียญ
มีเดช (นาครเขษมบุ๊คสโตร์ พ.ศ. ๒๔๗๕) ต�ำรานายเหรียญ นับวันและยามต่อกันไปแบบเดียวกับต�ำรา
ข้างบนนี้ แต่ทายวันและยามแยกจากกัน เช่น วันอาจจะตกต�ำแหน่งทีด่ แี ต่ยามตกต�ำแหน่งทีไ่ ม่ดี ก็ให้ทาย
เป็นปานกลาง ส่วนต�ำราทีน่ ำ� มาอธิบายนี้ นับยามต่อไปจากวันขึน้ แรม แล้วทายตามยามทีต่ กแต่อย่างเดียว
ต่อไปนี้เป็นค�ำประพันธ์แบบกาพย์ตามต�ำราฉบับเดิม
ท่านท้าวตรีเนตร เล็งญาณชาญเหตุ แต่ยามสามตา คือยามทิพย์ยล ยามนี้วิเศษ ท่านท้าวตรีเนตร
เล็งรู้เหตุผล ผู้ใดได้พบ ยามเจ้าจุมพล อาจเข้าใจคน เรียนรู้ทุกประการ.
เดือนแรมบ่ผิด ให้นับอาทิตย์ ไปหาอังคาร เวียนไปตามค�่ำ แล้วจึงนับยาม ชอบเวลางาม จึงทาย
อย่าคลา.
ถ้าเดือนขึ้นไซร้ นับอาทิตย์ไป หาพระจันทรา นับตามค�่ำแล้ว จึงนับยามมา ให้ชอบเวลา แม่นแล้ว
จึงทาย.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
80 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ก�ำลังอังคาร ท่านท้าวมัฆวาน บอกไว้โดยหมาย จันทร์ปลอดมัธยม เล่ห์ลมอุบาย ยามเจ้าฤๅสาย


เที่ยงแท้สัตย์จริง.
อาทิตย์คือใส ก�ำหนดลงไว้ อย่าได้ยุ่งยิ่ง ตรองให้เห็นเงื่อน อย่าเชือนประวิง ถูกแน่แท้จริง อย่าได้
สงสัย.
ถ้าดูสู้กัน เล็งดูยามนั้น จะเป็นฉันใด ถ้าด�ำอยู่หลัง เบื้องหน้ายามใส ว่าเขาจักได้ เราแพ้เสียคน.
ถ้าด�ำอยู่หน้า ยามใสโสภา อยู่หลังเป็นต้น เขาแพ้กุมเอา ยุบยับอับเฉา ฝ่ายเรามีชัย อับในท�ำเนา.
ถ้าข้าศึกมา เรือนด�ำอยู่หน้า ศึกมาถึงเรา ถ้าใสอยู่หน้า มาแล้วกลับเล่า หน้าปลอดจักเปล่า ถ้าเจ็บ
อย่าฟัง.
คนมากเท่าใด ถ้าหน้าด�ำไซร้ คนมากโดยหวัง ถ้าว่าหน้าใส คนน้อยอย่าฟัง ถ้าปลอดอย่าหวัง หาไม่
สักคน.
คนหาญหรือขลาด หน้าด�ำสามารถ เรี่ยวแรงแสนกล หน้าใสพอดี บ่มีฤทธิรณ หน้าปลอดอ�ำพน
ว่าชายเหมือนหญิง
ถืออันใดมา หน้าด�ำโสภา ถือสาตราจริง หน้าใสถือไม้ มาได้สักสิ่ง หน้าปลอดประวิง ว่ามือเปล่ามา.
ว่าสูงหรือต�่ำ หน้าด�ำควรจ�ำ ว่าสูงโสภา หน้าใสปานกลาง ปลอดต�่ำหนักหนา ทายตามเวลา
ยามเจ้าไตรตรึงส์.
ว่างามมิงาม หน้าด�ำอย่าขาม ว่างามบ่ถึง หน้าใสงามนัก หน้าปลอดพอพึง ยามเจ้าไตรตรึงส์
อย่าได้สงกา.
ว่าหนุ่มหรือแก่ หน้าด�ำนั้นแล ว่าแก่ชรา หน้าใสกลางคน ปลอดเด็กหนักหนา ประดินเวลา
แม่นแล้วจึงทาย.
คนผอมหรือพี หน้าด�ำมีศรี ว่าพีพ่วงกาย หน้าใสพอดี ฉวีเฉิดฉาย หน้าปลอดเร่งทาย ว่าผอมเสียศรี.
ด�ำแดงหรือขาว หน้าด�ำควรกล่าว ว่าด�ำอัปรีย์ หน้าใสด�ำแดง เป็นแสงมีศรี หน้าปลอดขาวดี
เที่ยงแท้โดยถวิล.
ต้นลงหรือปลาย หน้าด�ำเร่งทาย ว่าปลายลงดิน หน้าใสปลายขึ้น ต้นลงอาจิณ หน้าปลอดเร่งถวิล
ว่านอนราบลง.
สุกหรือดิบห่าม หน้าด�ำอย่าขาม ว่าสุกโดยตรง หน้าใสห่ามแท้ ทายแต่โดยตรง หน้าปลอดเร่ง
ปลง ว่าดิบหนักหนา.
ว่าหญิงหรือชาย หน้าด�ำเร่งทาย ว่าชายละหนา หน้าใสบัณฑิตย์ พึงพิศโสภา หน้าปลอดทายว่า
หญิงงามโดยหมาย.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 81

เต็มหรือพร่องแห้ง หน้าด�ำควรแถลง ว่าเต็มบ่มิคลาย หน้าใสบ่มิเต็ม งวดเข้มจงหาย หน้าปลอด


กลับกลาย ว่าแห้งห่อนมี.
ขุนนางหรือไพร่ หน้าด�ำควรไข ว่าคนมีศรี หน้าใสโสภา วาสนาพอดี หน้าปลอดกาลี เข็ญใจหนักหนา.
ไข้เป็นหรือตาย หน้าด�ำเร่งทาย ว่าตายบ่คลา หน้าใสว่าไข้ ล�ำบากหนักหนา หน้าปลอดทายว่า
ไข้นั้นบ่ตาย.
ท่านรักหรือชัง หน้าด�ำท่านหวัง รักดังลูกชาย หน้าใสมิรัก มิชังโดยหมาย หน้าปลอดเร่งทาย ว่าชัง
หนักหนา.
หน้าจืดหรือหวาน หน้าด�ำเปรียบปาน น�้ำตาลโอชา หน้าใสรสหวาน ประมาณรสา หน้าปลอดทาย
ว่า จืดชืดมิดี.
หน้าขมหรือฝาด หน้าด�ำสามารถ ว่าขมแสนทวี หน้าใสทายว่า ฝาดนักมิดี หน้าปลอดตรงที่ ว่าจืด
จริงนา.
ว่าอยู่หรือไป ถ้าหน้าด�ำไซร้ ว่าไปบ่ช้า หน้าใสแม้นไป กลางทางกลับมา หน้าปลอดทายว่า ว่าแต่
จะไป.
สี่ตีนหรือสอง หน้าด�ำควรสนอง ว่าสี่ตีนแท้ หน้าใสสองตีน ประดินจงแน่ หน้าปลอดจงแก้ ว่าตีนบ่มี.
แม้นดูของหาย หน้าด�ำเร่งทาย ว่าได้บัดนี้ หน้าใสแม้นได้ ช้าเจียรขวบปี หน้าปลอดหน่ายหนี บ่ได้
เลยนา.
แม้นดูปลูกเรือน นับยามอย่าเชือน เร่งทายอย่าคลา แม้ด�ำอยู่หลัง ยามใสอยู่หน้า ว่าดีหนักหนา
ถาวรมีศรี.
หน้าด�ำน�ำพา คือด�ำอยู่หน้า ท่านว่ามิดี แม่เรือนจะตาย วอดวายเป็นผี หน้าปลอดมิดี บอกให้รู้นา.
ว่าคว�่ำหรือหงาย หน้าด�ำเร่งทาย ว่าคว�่ำบ่คลา หน้าใสหงายแท้ นอนแผ่อยู่นา หน้าปลอดทายว่า
ตะแคงแฝงตน.
ยามนี้วิเศษ ท่านท้าวตรีเนตร เล็งรู้เหตุผล คือเนตรท่านเอง แลเล็งทิพย์ผล สมเด็จจุมพล ให้ไว้
เราทาย.
ผู้ใดได้พบ ยามเจ้าไตรภพ ร�่ำเรียนกฎหมาย เดือนขึ้นเดือนลง วันคืนเช้าสาย ให้แม่นแล้วทาย
อย่าคลาดเวลา.
พระอาทิตย์ฤทธิไกร คือเนตรท้าวไท ท่านท้าวพันตา อยู่ตรงนลาฏ พระบาทภูวนา ดูงามหนักหนา
รุ่งเรืองเฉิดฉัน.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
82 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ครั้นจักมีเหตุ ร้อนอาสน์ตรีเนตร ตรึกเหตุด้วยพลัน เล็งแลทั่วโลก ทุกทิศหฤหรรษ์ พระองค์


ทรงธรรม์ เล็งตาทิพย์พราย.
ท่านให้นับยาม ครั้นรุ่งอร่าม สายงามแก่งาย แม้ตะวันเที่ยง เฉวียงตะวันชาย สายบ่ายบ่คลาย
ฝ่ายค�่ำสุริยัน.
ค�่ำเฒ่าเข้านอน เด็กหลับกลับผ่อน ใหญ่นอนเงียบพลัน เที่ยงคืนยามสาม ล่วงเข้าไก่ขัน ใกล้
พระสุริยัน สุวรรณเรืองรอง.
ต�ำราและยามแบบนี้ ท่านเรียกขานกันมาว่า “ยามสามตาหรือต�ำราตรีเนตร” มีอยู่ทั้งภาคใต้และ
ภาคกลาง นับกาลแต่โบราณมา ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เขาเล่าเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ และเคยท่องจ�ำได้คู่กับ
วิชาหมอดูตลอดมา ท่านผูกเป็นค�ำกาพย์ แต่ดั้งเดิมมาที่เป็นส�ำนวนร้อยแก้วก็มี แต่ไม่ละเอียดลออ การ
จับยามหรือแลยามตามต�ำรานี้ ท่านให้นับ ใส ด�ำ และปลอดตามเดือนจันทรคติขึ้นแรมและยามเป็นหลัก
ถ้าพลาดหลักทั้ง ๒ จะหาความแม่นมิได้เลย.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๔ หน้า ๑๕๔๖๓–๑๕๔๖๘, ๒๕๓๙
เขียนร่วมกับ วงศ์ เชาวนะกวี]

ยูนนาน
ชื่อมณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน มีชนชาติไทยอาศัยอยู่ประมาณ ๗๖๐,๐๐๐ คน ยูนนาน
แปลว่า แดนใต้แห่งเมฆหมอก (ยูน แปลว่า เมฆหมอก และ นาน แปลว่า ใต้) ทั้งนี้เพราะเป็นดินแดนที่
อยู่ทางใต้ของเทือกเขายูนหลิ่ง
ยูนนานมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับมณฑลไกวเจาและมณฑลกวางสี ทิศใต้จดเวียดนาม
และลาว ทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้จดพม่าและทิเบต ทิศเหนือจดมณฑลเสฉวน เมืองหลวง
ของยูนนานชื่อ คุนหมิง
อ�ำเภอต้าหลี่ (ตาลีฟ)ู อยูท่ างทิศตะวันตกของคุนหมิงแต่คอ่ นไปทางเหนือเล็กน้อย ห่างออกไปตาม
ทางรถยนต์ประมาณ ๔๐๐ กม. ต้าหลีเ่ คยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้าและต่อมาเป็นเมืองหลวง
ของอาณาจักรตาลีฟูเมื่อกว่าพันปีมาแล้ว
แต่เดิมเชื่อกันว่าชาวไทยเป็นผู้สร้างอาณาจักรน่านเจ้า และเมื่อกุบไลข่านพิชิตอาณาจักรนี้แล้ว
ชนชาติไทยจึงอพยพลงมาตั้งกรุงสุโขทัย ในปัจจุบันนี้นักภาษาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อ
กันว่า อาณาจักรน่านเจ้าเป็นของชนชาติไป๋ซึ่งไม่ใช่ชนชาติไทย อนึ่ง เมื่อกุบไลข่านพิชิตอาณาจักรนี้ได้ใน
พ.ศ. ๑๗๙๗ นั้น สุโขทัยได้ก่อตั้งเป็นอาณาจักรอยู่ก่อนแล้ว ในจดหมายเหตุจีนก็ไม่เคยบันทึกว่าคนไทย
อพยพจากจีนลงมาเป็นกลุม่ ใหญ่เลย แต่มบี นั ทึกว่า คนไทยเคยตีขนึ้ ไปถึงยูนนาน หลังจากกุบไลข่านพิชติ
น่านเจ้าแล้ว กษัตริย์ของน่านเจ้ายังได้ร่วมมือกับจักรพรรดิจีนต่อมาอีกหลายร้อยปี
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 83

ค�ำศัพท์พวกน่านเจ้าที่จดส�ำเนียงไว้ตรงกับภาษาของโลโลซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-พม่า อีกทั้ง
ธรรมเนียมการตั้งชื่อซึ่งเอาค�ำท้ายของชื่อพ่อมาตั้งเป็นค�ำต้นของชื่อลูกก็ไม่ตรงกับธรรมเนียมของชนชาติ
ไทย แต่ตรงกับธรรมเนียมของพวกโลโล เช่น พีล่อโก๊ะมีลูกชื่อโก๊ะล่อฝง มีหลานชื่อฝงกาอี
นักภาษาศาสตร์ให้เหตุผลว่า ถ้าหากยูนนานเป็นถิ่นก�ำเนิดของชนชาติไทยมาแต่ดั้งเดิมก็ควรจะมี
ภาษาถิ่นหลากหลายชนิดอยู่รอบ ๆ ยูนนาน แต่ไม่ปรากฏว่ามีภาษาไทยถิ่นเช่นว่านั้น ชนชาติไทยในยูนนาน
ใช้ภาษาไทยเหนือและไทยลื้อ ซึ่งจัดว่าเป็นภาษาถิ่นภาษาเดียวกับไทยขาวและไทยลื้อทางทิศตะวันออก
ไทยลื้ อ ทางใต้ แ ละไทยเขิ น ทางทิ ศ ตะวั น ตก และไม่ เ คยมี ร ายงานว่ า มี ภ าษาไทยถิ่ น อื่ น อยู ่ เ หนื อ
ยูนนานขึ้นไปเลย เว้นแต่ชนชาติไทยที่เพิ่งอพยพขึ้นไปอยู่ใหม่ในระยะ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมานี้ ยูนนานจึงน่า
จะเป็นดินแดนเหนือสุดที่ชนชาติไทยอพยพขึ้นไป ดินแดนที่มีภาษาไทยถิ่นมาก ได้แก่ มณฑลกวางสีของ
จีนต่อกับเดียนเบียนฟูของเวียดนาม
ปัจจุบันนี้ไม่มีคนพื้นเมืองที่เป็นชนชาติไทยอยู่ในคุนหมิงและต้าหลี่ ยกเว้นพวกคนไทยในสิบสอง
ปันนาที่ขึ้นไปหางานท�ำและมีอยู่เป็นจ�ำนวนน้อยมาก
สิบสองปันนาเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน อยูใ่ นมณฑลยูนนานทางภาคใต้ มีเชียงรุง่ เป็น
เมืองหลวง อยู่ห่างจากคุนหมิงลงไปประมาณ ๗๘๐ กม. ชนชาติไทยในสิบสองปันนาเป็นพวกไทยลื้อ
ไทยเหนือ ไทยด่อนหรือไทยขาว และไทยปอง
อาณาเขตของสิบสองปันนาทางทิศตะวันออกติดกับเมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เมืองบุน่ เหนือ และเมือง
บุ่นใต้ของประเทศลาว มีแม่น�้ำของ (โขง) ไหลผ่านกลาง แม่น�้ำนี้มีต้นน�้ำอยู่ใต้เมืองต้าหลี่ ค�ำ “สิบสอง
ปันนา” เป็นเสียงอ่านของไทยในยูนนานจากค�ำ “สิบสองพันนา” ในภาษาเขียน เดิมแบ่งการปกครองออก
เป็นสิบสองหัวเมืองใหญ่หรือพันนา
ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรุ่ง ขุนเจื๋องเป็นกษัตริย์องค์แรกของเชียงรุ่ง และ
สวรรคตใน พ.ศ. ๑๗๗๒ ท้าวรุ่งแก่นชายเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔ มีธิดาชื่อนางเทพค�ำกราย (เทพค�ำขยาย)
อภิเษกกับเจ้าชายเชียงแสน ตรงกับพงศาวดารโยนกว่า นางเทพค�ำกรายอภิเษกกับลาวเม็ง และมีโอรสคือ
พระเจ้ามังราย (เม็งราย) ผู้ทรงรวบรวมอาณาจักรล้านนาขึ้นเป็นปึกแผ่น กษัติรย์องค์สุดท้ายของเชียงรุ่ง
คือเจ้าหม่อมค�ำลือ (พ.ศ. ๒๔๙๐) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔๔ และสิ้นสภาพเป็นกษัตริย์ของสิบสองปันนาเมื่อ
ประเทศจีนประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชนชาติไทยในสิบสองปันนาส่วนใหญ่นบั ถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ซึง่ สันนิษฐานว่า จะเผยแผ่
เข้าไปในสิบสองปันนาหลังจากการสังคายนาพระพุทธศาสนาเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก ในรัชสมัยพระเจ้า
ติโลกราชแห่งล้านนาใน พ.ศ. ๒๐๒๐ เพราะคนไทยในสิบสองปันนาเองกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเพิ่งเข้า
สู่ดินแดนของตนเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมานี้
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
84 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของคนไทยในสิบสองปันนาคล้ายคลึงกับของ


คนไทยในล้านนา ซึง่ มีอาณาเขตครอบคลุม ๘ จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบนั ทัง้ นีส้ าเหตุ
ใหญ่ประการหนึ่ง คือ ตามพงศาวดารน่านเจ้าและเอกสารจีน พระเจ้ามังรายทรงยกกองทัพไปตีเมือง
เชียงรุ่ง ๒ ครั้งใน พ.ศ. ๑๘๔๐ และ พ.ศ. ๑๘๔๑ ตามพงศาวดารโยนก พระเจ้าติโลกราชทรงยกกองทัพ
ไปตีสิบสองปันนาใน พ.ศ. ๑๙๙๘ และ พ.ศ. ๑๙๙๙ และในสมัยพระยากาวิละ ทัพล้านนาตีได้เมืองต่าง ๆ
ในสิบสองปันนา รวมทัง้ เมืองเชียงรุง่ และได้กวาดต้อนชาวไทยลงมาไว้ในจังหวัดทางภาคเหนือเป็นจ�ำนวน
มาก.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๔ หน้า ๑๕๕๕๔−๑๕๕๕๖, ๒๕๓๙]

พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
พ่ อขุ น รามค�ำแหงมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่ว งแห่ง
ราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑ พระองค์ทรงรวบรวม
อาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ท�ำให้ชาติไทยได้สะสม
ความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่า ๗๐๐ ปี
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง
พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่ ๒ ทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า
พระยาบานเมือง และได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
จึงได้เสวยราชย์แทน
ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พระยามังรายมหาราช (หรือพระยา
เม็งราย) แห่งล้านนา และพระยาง�ำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ ส�ำนัก
พระสุตทันตฤๅษีที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน พระยามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๒
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชน่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้
เมือ่ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา พระองค์ได้ทรงท�ำยุทธหัตถีมชี ยั ต่อพ่อขุน
สามชน เจ้าเมืองฉอด (อยูบ่ นน�ำ้ แม่สอดใกล้จงั หวัดตาก แต่อาจจะอยูใ่ นเขตประเทศพม่าในปัจจุบนั ) พ่อขุน
ศรีอนิ ทราทิตย์จงึ ทรงขนานพระนามพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชว่า “พระรามค�ำแหง” สันนิษฐานว่าพระนาม
เดิมของพระองค์คือ “ราม” เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า “พ่อขุนรามราช” อนึ่ง สมัยนั้น
นิยมน�ำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า “พระยาพระราม” (จารึก
หลักที่ ๑๑) และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา มีเจ้าเมืองพระนามว่า “พระยาบาลเมือง” และ
“พระยาราม” (เหตุการณ์ พ.ศ. ๑๙๖๒ ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 85

นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒ เพราะเป็น


ปีทที่ รงปลูกต้นตาลทีส่ โุ ขทัย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จึงได้หาหลักฐานมาประกอบว่า กษัตริย์
ไทอาหมทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อย ๗ รัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะ
อยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา
รัชสมัยของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชเป็นยุคทีก่ รุงสุโขทัยเฟือ่ งฟูและเจริญขึน้ กว่าเดิมเป็นอันมาก
ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับ
ต่างประเทศ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ไพร่ฟา้ ประชาชนอยูด่ กี นิ ดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทัง้ ทาง
เกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้าง
ใหญ่ไพศาล
พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ท�ำให้อนุชนชั้นหลังสามารถศึกษาความรู้
ต่าง ๆ ได้สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่า
ตัวหนังสือของชาติอนื่ ซึง่ ขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ คือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และ
วรรณยุกต์ เพิ่มขึ้น ให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของค�ำภาษาไทยได้ทุกค�ำ และได้น�ำสระและพยัญชนะ
มาอยูใ่ นบรรทัดเดียวกันโดยไม่ตอ้ งใช้พยัญชนะซ้อนกัน ท�ำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้งา่ ยและสะดวก
มากยิ่งขึ้น นับว่าพระองค์ทรงพระปรีชาล�้ำเลิศและทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกลอย่างหาผู้ใดเทียบเทียม
ได้ยาก
ในด้านการปกครอง เมือ่ พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากเมืองสุโขทัยได้
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ดังข้อความในจารึก
หลักที่ ๑ ว่า “เมื่อชั่วพ่อกู กูบ�ำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน
อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้
งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู” ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือพ่อแม่ และถือว่า
ความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องส�ำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าก็เป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือ
พระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว
พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ ปกครองพลเมืองเสมือนเป็นลูกหลาน
ช่วยให้มที ที่ ำ� กิน คอยป้องกันมิให้คนถิน่ อืน่ มาแย่งชิงถิน่ ถ้าลูกหลานทะเลาะวิวาทกันก็ตดั สินคดีดว้ ยความ
เป็นธรรม พระองค์มพี ระราชอ�ำนาจสิทธิข์ าดทีจ่ ะบริหารราชการแผ่นดิน ท�ำศึกสงคราม ตลอดจนพิพากษา
อรรถคดี แต่พระองค์ก็มิได้ทรงใช้พระราชอ�ำนาจเฉียบขาดอย่างกษัตริย์เขมร ดังปรากฏข้อความในจารึก
หลักที่ ๑ ว่า
ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจกอบหรือภาษีผ่านทาง
ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์สมบัติตกเป็นมรดกแก่ลูก
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
86 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์
ได้
ยิ่งกว่านั้น พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง
โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรขึ้น ให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนใน
วันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์เสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน
เมื่อประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ดีที่ชอบ การปกครองก็
สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น
ในด้านอาณาเขต พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล
คือ ทางทิศตะวันออกทรงปราบได้เมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สะค้า (๒ เมืองนี้อาจ
อยู่แถวลุ่มแม่น�้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้) ข้ามฝั่งแม่น�้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์ เวียงค�ำในประเทศลาว ทาง
ทิศใต้พระองค์ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน ก�ำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณภูมิ
ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช มีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน ทางทิศตะวันตก พระองค์
ทรงปราบได้เมืองฉอด เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน ทางทิศเหนือ พระองค์ทรงปราบได้เมืองแพร่
เมืองม่าน เมืองพลัว (อ.ปัว จ.น่าน) ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน
ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงท�ำพระราชไมตรีกับพระยา
มังรายแห่งล้านนา และพระยาง�ำเมืองแห่งพะเยาทางด้านเหนือ ทรงยินยอมให้พระยามังรายขยาย
อาณาเขตล้านนาทางแม่น�้ำกก แม่น�้ำปิง และแม่น�้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับ
สุโขทัย และยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพระยามังรายหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙
ทางประเทศมอญ มีพอ่ ค้าไทยใหญ่ชอื่ มะกะโท เข้ารับราชการอยูใ่ นราชส�ำนักของพ่อขุนรามค�ำแหง
มหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระราชธิดาของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่
เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองเมาะตะมะแล้วเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๔ แล้วขออภัยโทษ
ต่อพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช และขอพระราชทานนาม ทั้งยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย
ซึ่งพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชได้พระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว
ทางทิศใต้ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎก
มาจากนครศรีธรรมราช เพื่อให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
ส่วนเมืองละโว้ยังเป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปเมืองจีนอยู่ระหว่าง
พ.ศ. ๑๘๓๔ ถึง พ.ศ. ๑๘๔๐ พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชคงจะได้ทรงผูกไมตรีเป็นมิตรกับเมืองละโว้
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงส่งราชทูตไปเมืองจีน ๓ ครัง้ เพือ่ แสดงความเป็นมิตรไมตรีกบั ประเทศ
จีน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 87

วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่จารึกหลักที่ ๑
(พ.ศ. ๑๘๓๕) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองกัน ท�ำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่น
“ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว ... ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ... เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสิน
ท่านบ่ใคร่เดือด” นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัย ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน โดยมิได้มีผู้มาคัดลอก
ให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
จากจดหมายเหตุจีน พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๑ พระเจ้าเลอไทยซึ่งเป็น
พระราชโอรสเสวยราชย์แทนในปีนั้น.
หนังสืออ้างอิง
๑. ตรี อมาตยกุล. “ประวัติศาสตร์สุโขทัย.” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี. ปีที่ ๑๔
เล่ม ๑ (๒๕๒๓) ปีที่ ๑๕ เล่ม ๑ (๒๕๒๔) ปีที่ ๑๖ เล่ม ๑ (๒๕๒๕) และปีที่ ๑๘ เล่ม ๑ (๒๕๒๗).
๒. ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๑๕.
๓. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑. คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๑.
๔. ประเสริฐ ณ นคร. “ประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยจากจารึก.” งานจารึกและประวัตศิ าสตร์ของประเสริฐ
ณ นคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน, ๒๕๓๔.
๕. ­ .“ลายสือไทย.” งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน, ๒๕๓๔.
๖. พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. ราชาธิราช. พระนคร : บรรณาการ, ๒๕๑๕.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๕ หน้า ๑๕๘๘๗–๑๕๘๙๒, ๒๕๔๔]

ราหู
ค�ำที่ใช้เรียกต�ำแหน่งส�ำคัญแห่งหนึ่งของดวงจันทร์บนเส้นทางโคจรรอบโลก เมื่อมองจากอวกาศ
นอกโลกจะเห็นระนาบทางโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นมุม
ประมาณ ๕ องศา ๘ ลิปดา ดวงจันทร์จึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่เหนือหรือใต้ระนาบทางโคจรของโลก มี
จุดส�ำคัญ ๒ จุดทีด่ วงจันทร์ผา่ นระนาบทางโคจรของโลกเรียกว่า จุดโหนด (Node) ถ้าผ่านจากเหนือระนาบ
ลงสู่ใต้ระนาบตรงระนาบทางโคจรของโลกเรียกว่า จุดโหนดลง (Descending Node) และจุดตรงข้าม
ซึง่ ดวงจันทร์ผา่ นระนาบทางโคจรของโลกจากใต้ระนาบขึน้ เหนือระนาบเรียกว่า จุดโหนดขึน้ (Ascending
Node) นักโหราศาสตร์เรียกจุดโหนดขึ้นว่า ราหู (Rahu) และเรียกจุดโหนดลงว่า เกตุ (Ketu) ราหูและเกตุ
จึงไม่ใช่ดวงดาวจริง แต่เป็นจุดสมมุตแิ สดงต�ำแหน่งดวงจันทร์บนระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
88 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เวลาใดที่ราหูหรือเกตุอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์พอดี เวลานั้นจะเกิดสุริยุปราคา และก่อนหรือ


หลังเวลานี้ประมาณ ๒ สัปดาห์ มักจะเกิดจันทรุปราคาด้วย.
ตามจารึกหลักที่ ๔ (พ.ศ. ๑๙๐๔) ปรากฏว่าพระเจ้าลิไทยกษัตริย์แห่งสุโขทัยทรงสามารถค�ำนวณ
สุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ การค�ำนวณนี้ต้องอาศัยต�ำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และราหู (เงา
ของโลก) เป็นเกณฑ์ แต่คนไทยส่วนใหญ่ในสมัยนั้นก็ยังเชื่อว่า สุริยุปราคาเกิดจากราหูอมอาทิตย์ และ
จันทรุปราคาเกิดจากราหูอมจันทร์ ดังปรากฏในไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ
พระเจ้าลิไทยก่อนเสวยราชย์ (พ.ศ. ๑๘๘๘) ว่า พระยาอสูรผู้ชื่อ ราหู อิจฉาว่าพระจันทร์ในวันเพ็ญและ
พระอาทิตย์แลดูงามนัก จึงคอยมาดักอมพระจันทร์และพระอาทิตย์ ไทยรับความคิดนี้มาจากอินเดีย
แต่ความคิดดั้งเดิมของคนไทยมีอยู่ว่ากบกินเดือนและกบกินตะวัน
ทางโหราศาสตร์ถอื ว่าอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ และเกตุเป็นดาวพระเคราะห์
ทัง้ ๙ หรือนพเคราะห์ ผูเ้ กิดวันอาทิตย์ พระอาทิตย์จะเสวยอายุ ๖ ปี ควบคุมดูแลชะตาราศีของผูน้ นั้ ตัง้ แต่
เกิดจนอายุ ๖ ขวบ ต่อไปจันทร์จะเสวยอายุ ๑๕ ปี ตามล�ำดับทีก่ ล่าวมาข้างต้น ส่วนราหูจะเสวยอายุ ๑๒ ปี
ตามต�ำราโลกธาตุ พระราหูครองธาตุลม ผิวผ่อง กาฬพรรณ หมอกเมฆ ประดับเทพอาภรณ์ล้วน
สัมฤทธิ์ ทรงครุฑราชเป็นพาหนะ เมื่อจรไปรับแสงที่พระอาทิตย์แล้ว เลยมาครองธาตุลมทางทิศตะวันตก
เฉียงเหนือ
อาจารย์สมัยโบราณมีวิธีสอนให้ศิษย์จ�ำเคล็ดต่าง ๆ ที่จะใช้ท�ำนาย โดยผูกเป็นต�ำนานขึ้น เช่นว่า
ในปางก่อน พระอังคารเป็นต้นเกตก์ พระราหูเป็นไฟไหม้ป่ามาไหม้ต้นเกตก์ เวลาพระราหูจรมาอยู่ที่เดียว
กับพระอังคาร ให้ระวังว่าไฟจะไหม้เรือนและต้องตัวด้วย แต่ศิษย์โดยทั่วไปมิได้ทราบอุบายนี้ จึงยึดถือ
ต�ำนานว่าเป็นเรื่องที่เกิดมาแต่ปางก่อนจริง.
หนังสืออ้างอิง
๑. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๑. คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารประวัติศาสตร์ ส�ำนัก
นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๒๑.
๒. ลิไทย, พระญา. ไตรภูมกิ ถา. งานพระราชทานเพลิงศพ นายอดิเรก ประชันรณรงค์. โรงพิมพ์ภกั ดี
ประดิษฐ์, ๒๕๑๗.
๓. โลกธาตุ. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระพรหมมุนี (อุปวิกาโส แย้ม). โรงพิมพ์ภูไท,
๒๔๗๖.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๕ หน้า ๑๕๙๓๘–๑๕๙๓๙, ๒๕๔๙
เขียนร่วมกับ นายนิพนธ์ ทรายเพชร]
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 89

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ปฐมกษัตริยใ์ นราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย รายพระนามกษัตริยใ์ นราชวงศ์พระร่วงมีดงั นี้
๑. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ.ศ. ๑๗๙๒– )
๒. พ่อขุนบานเมือง (พ.ศ. –๑๘๒๒) พระโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
๓. พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒–๑๘๔๑) พระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง
๔. พระยาเลอไทย (พ.ศ. ๑๘๔๑–๑๘๖๖) พระโอรสของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
๕. พระยางั่วน�ำถุม (พ.ศ. ๑๘๖๖–๑๘๙๐) พระโอรสของพ่อขุนบานเมือง
๖. พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย พ.ศ. ๑๘๙๐–๑๙๑๑) พระโอรสของพระยาเลอไทย
๗. พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (พ.ศ. ๑๙๑๑–๑๙๔๒) พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๑
๘. พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย พ.ศ. ๑๙๔๓–๑๙๖๒) พระนัดดาของพระมหาธรรมราชา
ที่ ๑
๙. พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล พ.ศ. ๑๙๖๒–๑๙๘๑) พระโอรสของพระมหาธรรมราชา
ที่ ๒
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองราชสมบัติในปี ๑๗๙๒๑ ในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ ระบุว่าบ้านเดิม
ของพระองค์อยูท่ บี่ า้ นโค (ค�ำว่า “โค” นีอ้ าจจะเป็นค�ำว่า “โคณ” ในภาษาบาลี หม่อมเจ้าจันทรจิรายุวฒั น์
รัชนี จึงทรงสันนิษฐานว่าจะเป็นบ้านโคน ใน จ.ก�ำแพงเพชร ในปัจจุบัน) ก่อนที่จะกล่าวถึงราชวงศ์
พระร่วง จ�ำเป็นต้องโยงถึงความสัมพันธ์กับราชวงศ์ศรีนาวน�ำถุม (พ.ศ. ๑๗๖๒–๑๗๙๒)๒ ซึ่งเป็นราชวงศ์
ก่อนหน้าราชวงศ์พระร่วง อาศัยหลักฐานจากจารึกหลักที่ ๒ กล่าวว่า เมื่อพ่อขุนศรีนาวน�ำถุม (เดิมอ่าน
คลาดเคลื่อนว่า ศรีนาวน�ำถม) สิ้นพระชนม์ในปี ๑๗๙๒ ขอมสบาดโขลญล�ำพงได้ยึดเมืองศรีสัชนาลัย
สุโขทัยได้กอ่ นพ่อขุนผาเมืองซึง่ เป็นพระโอรสของพ่อขุนศรีนาวน�ำถุม และครองราชย์อยูท่ เี่ มืองราด พ่อขุน
ผาเมืองจึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว (เดิมอ่านข้อความนี้ผิดว่า บางกลางท่าว เป็นเจ้าเมืองบางยาง)
วางแผนทีจ่ ะตีสโุ ขทัย พ่อขุนบางกลางหาวขึน้ ไปเมืองบางยาง พ่อขุนผาเมืองจึงน�ำพลมาสมทบและจัดสรร


ตัวเลข ๑๗๙๒ ได้มาจากคัมภีรส์ รุ ยิ ยาตร ซึง่ ใช้คำ� นวณต�ำแหน่งทีอ่ ยูข่ องดาวนพเคราะห์โดยโหรน�ำเลข ๖๑๐ มาลบจากปีจลุ ศักราช
เพื่อให้ตัวเลขน้อยลงและท�ำให้สามารถค�ำนวณได้เร็วขึ้นมาก ศักราช ๑ ตรงกับ จ.ศ. ๖๑๑ หรือ พ.ศ. ๑๗๙๒ ซึ่งน่าจะเป็นปีที่ ๑
ของอาณาจักรสุโขทัย ตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และพันเอกพิเศษ เอื้อน มนเทียรทอง ซึ่งเสนอตรงกัน

ตัวเลข ๑๗๖๒ คือปีที่สันนิษฐานว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งราชอาณาจักรขอมสิ้นพระชนม์ ท�ำให้ดินแดนในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา
ว่างกษัตริย์ คนไทยซึ่งสามารถในการชนช้าง สามารถเอาชนะหัวหน้าชนชาติอื่น จึงตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ได้
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
90 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

แบ่งพลกันใหม่ พ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางขลงได้ และยก ๒ เมืองนั้นให้แก่พ่อขุน


ผาเมือง จากนั้นทั้งสององค์ก็ยกพลมารวมกัน ท�ำอุบายว่าทรงช้างตัวเดียวกัน พ่อขุนผาเมืองยกทัพไปที่
เมืองราด ขอมสบาดโขลญล�ำพงเข้าใจว่าทั้งสององค์มารวมพลอยู่ด้วยกัน จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย
พ่อขุนผาเมืองจึงตีเมืองสุโขทัยได้ พ่อขุนผาเมืองได้มอบพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม “ศรีอินทรบดินทรา
ทิตย์” ซึ่งได้รับมอบผีฟ้าเจ้าเมืองยโศธรปุระ (ซึ่งเป็นพระสัสสุระ) ให้พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบาง
กลางหาวต่อมาก็คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ การที่มีการเปลี่ยนแปลงพระนามมาเป็น “ศรีอินทราทิตย์”
นั้นเข้าใจว่าพระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” นั้นเป็นร่องรอยแสดงถึงการรับอิทธิพลของขอม เพราะ
ค�ำนี้ประกอบด้วย ศรี + อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ เป็นการยอมรับว่าอยู่ใต้อิทธิพลเมืองอินทรปัต
ของขอม จึงทรงใช้พระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” แทน
รัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นช่วงเวลาที่สุโขทัยได้ขยายดินแดนกว้างขวางออกไป โดยอาศัย
พระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์เล็กคือพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช สันนิษฐานว่าคงจะครอบคลุมลงไป
ถึงพระบาง (นครสวรรค์) ทางทิศใต้ เพราะดินแดนของราชวงศ์พอ่ ขุนศรีนาวน�ำถุม และดินแดนของพระยา
ลิไทยพระนัดดาของพ่อขุนรามค�ำแหง ทางใต้ก็สิ้นสุดแค่พระบางเช่นกัน อาศัยหลักฐานตามชินกาลมาลี
ปกรณ์ พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ทรงติดต่อกับนครศรีธรรมราชเกีย่ วกับพระศาสนาพุทธสายลังกา พระองค์ได้
ทรงรับพระพุทธสิหิงค์มาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ เป็นที่ชื่อกันว่า การค้ากับต่างประเทศของสุโขทัย
ในสมัยพ่อขุนรามแหงมหาราชมาจนถึงสมัยอยุธยาประกอบไปด้วยของป่าและเครื่องปั้นเผา แต่จาก
การส�ำรวจขุดค้น เตาทุเรียงมีในบริเวณเชลียงและสุโขทัยมาหลายร้อยปีกอ่ นสมัยสุโขทัยแล้ว จึงน่าจะสรุป
ได้ว่า การค้ากับต่างประเทศสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คงประกอบด้วยของป่าและเครื่องปั้นเผาเช่นกัน
ไม่ปรากฏว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่หลังจากสมัยของพระองค์ พ่อขุนบานเมือง
พระโอรสขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อมา.

หนังสืออ้างอิง
๑. เฉลิม ยงบุญเกิด. เมืองไทยในจดหมายเหตุจีน ศิลปากร ปีที่ ๗ เล่ม ๒. กรกฎาคม ๒๕๐๖.
๒. ประเสริฐ ณ นคร. การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย โครงการกิตติเมธีสาขาวิชาศิลปศาสตร์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗.
๓. . ต�ำนานมูลศาสนาวัดป่าแดง เชียงตุง. สารัตถคดีประเสริฐ ณ นคร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, ๒๕๒๗.
๔. . ประวัติศาสตร์จากจารึกวัดบูรพาราม และวัดอโสการาม. สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร
จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 91

๕. ศิลปากร, กรม. ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.


๖. . ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง ฉบับตรวจสอบช�ำระใหม่. ๒๕๒๖.
๗. พระราชพงศาวดารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาฉบั บ ปลี ก หมายเลข ๒/ก๑๐๔. ความยอกย้ อ นของ
ประวัติศาสตร์ คณะกรรมการช�ำระประวัติศาสตร์ไทย. ส�ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ๒๕๓๙.
๘ พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ประชุมจดหมายเหตุอยุธยา ภาคที่ ๑. โรงพิมพ์
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๑๐.
[สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๖ หน้า ๑๖๘๖๑–๑๖๘๖๕, ๒๕๔๙]
บทความจาก
สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 93

กรอม : ขอม
ค�ำว่า กรอม กร๋อม เพี้ยนมาจากค�ำภาษาเขมรว่า โกรม แปลว่า ใต้ และค�ำที่เขียนว่า “กรอม”
นี้ ชาวล้านนาอ่านออกเสียงเป็น “ขอม” ส่วนคนไทยภาคกลางออกเสียงเป็น “กร๋อม” กรอมหรือขอม จึง
เป็นค�ำที่ใช้เรียกชื่อชาวต่างชาติที่อยู่ทางทิศใต้ เช่น ไทยใหญ่เรียกคนไทยในประเทศไทยว่า ขอม ต�ำนาน
ต่าง ๆ ของล้านนากล่าวว่า เมื่อคนไทยอพยพลงมายังตอนบนของประเทศไทย บริเวณนั้นมีมอญโบราณ
ครอบครองอยู่ก่อนแล้ว คนไทยจึงเรียกพวกมอญโบราณว่า กรอมด�ำ ส่วนขอมที่อยู่ทางทิศใต้ของสุโขทัย
หรืออยุธยาก็คือ บรรพบุรุษของเขมรในปัจจุบัน
ต�ำนานเมืองสุวรรณโคมค�ำ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๒) กล่าวถึงกรอมด�ำว่า เป็นชาติหนึ่งอยู่ใน
แคว้นสุวรรณโคมค�ำ มีเขตแดนทิศเหนือจดปากทางหนองแส (ในยูนนานหรือหยุนหนาน) ทางทิศตะวันตก
จดฝายนาค (แก่งลี่ผีในแม่น�้ำโขง) ทิศตะวันออกจดแม่น�้ำแท้ ทิศใต้จดแม่น�้ำตู ภายหลังเมืองสุวรรณโคมค�ำ
ถูกน�้ำท่วมท�ำลายไป พวกกรอมด�ำที่เหลือตาย หนีไปอยู่ยังเมืองอุมงคเสลา ซึ่งอยู่บนฝั่งของแม่น�้ำกกทาง
ด้านเหนือ บ้างก็ไปอยู่ที่เมืองนครไทยเทศ (เมืองไทยในยูนนาน)
ตามต�ำนานสิงหนวัติ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๒) ต่อมา เมืองอุมงคเสลาเป็นกบฏต่อเมือง
โยนกนาคนครไชยบุรีศรีช้างแส่น (ช้างแส่น แปลว่า ช้างร้อง ต่อมามีชื่อว่า เชียงแสน) พระยากรอมแห่ง
อุมงคเสลามาตีเมืองโยนกนาคนครได้จากพระองค์พัง ภายหลังพรหมกุมารโอรสพระเจ้าพังตีเมืองคืนได้
และไล่ติดตามพวกกรอมลงมา จนพระอินทร์ต้องมาเนรมิตท�ำก�ำแพงหินกั้นไว้ เพื่อมิให้พรหมกุมารรุกไล่
กรอมด�ำต่อไป (ต่อมา บริเวณนี้เรียกว่า เมืองก�ำแพงเพชร) พรหมกุมารได้เป็นพระเจ้าพรหมสืบต่อจาก
พระองค์พังประมาณ พ.ศ. ๑๔๐๐
ตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ พระนางจามเทวีเป็นอัครมเหสีของเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ
ซึ่งพระราชบิดาคือ พระเจ้าจักรพรรดิเมืองลวะปุระส่งให้ไปครองหริภุญชัย (ราว พ.ศ. ๑๕๐๐) ต่อมา
ไม่นาน ในรัชกาลของพระเจ้ากัมพลเกิดโรคห่า ชาวหริภุญชัยหนีโรคนี้ไปอยู่เมืองสุธรรมนคร (สะเทิม)
ภายหลังถูกพระยาปุณกาม (พุกาม) เบียดเบียนจึงหนีกลับมา
ตามพงศาวดารพม่า ในสมัยพระเจ้าอนิรุทธแห่งพุกาม มีกองทัพกรอมจากที่เมืองเชียงใหม่
ในปัจจุบนั ยกไปประชิดเมืองพะโค และในต�ำนานเมืองสะเทิมของมอญอันเป็นตอนต้นของเรือ่ งราชาธิราช
ว่า ในสมัยพระเจ้าอุทินแห่งเมืองสะเทิม มีพวกกรอมยกมารบเมืองสะเทิม พุกามต้องยกกองทัพมาช่วย
จึงสามารถตีพวกกรอมแตกไป
นักโบราณคดีลงความเห็นว่า ชาวละโว้ (ลวะปุระ) พระนางจามเทวีกับพวกที่อพยพไปเมือง
หริภุญชัยน่าจะเป็นมอญ พวกกรอมที่ยกไปเมืองสะเทิมดังกล่าวข้างต้น ก็น่าจะเป็นมอญที่ยกไปจาก
หริภุญชัยนั่นเอง.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
94 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

บรรณานุกรม
เสฐียรโกเศศ. (นามแฝง). “ขอม.” ใน สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เล่ม ๓ กาลิทาส-ขอม
แปรพักตร์. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๔๙๙-๒๕๐๒.

พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. ๒๒๘๕–๒๓๕๗)


พระเจ้ากาวิละ เป็นโอรสองค์แรกในจ�ำนวน ๗ องค์ของเจ้าฟ้าชายแก้ว เจ้าเมืองล�ำปาง ประสูตเิ มือ่
พ.ศ. ๒๒๘๕ เดิมชื่อ เจ้าขนานกาวิละ ต่อมาได้เป็นพระยากาวิละ และได้เป็นก�ำลังส�ำคัญกอบกู้เอกราชให้
ล้านนาพ้นจากอ�ำนาจของพม่า จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองล�ำปางใน พ.ศ. ๒๓๑๗ และเป็นพระยา
เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๒๙ ต่อมา ได้เลื่อนเป็นพระเจ้ากาวิละ เจ้าประเทศราชของไทยใน พ.ศ. ๒๓๔๕
เป็นต้นสกุล ณ เชียงใหม่
ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๑ แม้ว่าอยุธยาจะตีล้านนาคืนได้ในบางสมัย และ
ล้านนาเองพยายามตั้งตนเองเป็นอิสระได้ในบางสมัยก็ตาม แต่ส่วนใหญ่พม่ามีอ�ำนาจครอบครองล้านนา
ถึงสมัยธนบุรี
เจ้าขนานกาวิละ มีปู่ชื่อ นายทิพช้าง ซึ่งเป็นต้นตระกูล เจ้าเจ็ดตน (เจ็ดองค์) นายทิพช้างได้เป็น
พระยาสุลวะลือไชย ครองเมืองล�ำปางซึ่งอยู่ใต้อ�ำนาจพม่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๕–๒๓๐๒ หลังจากนั้น เจ้าฟ้า
ชายแก้วได้ครองเมืองล�ำปางสืบต่อมา มีลูกชายทั้งเจ็ดหรือเจ้าเจ็ดตน คือ พระยากาวิละและน้องชาย
อีก ๖ คน ซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญช่วยปกครองบ้านเมือง เจ้าฟ้าชายแก้วมีลูกหญิง ๓ คน คนโตชื่อ เจ้าศิริรจนา
(เจ้าศรีอโนชา) ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พม่าส่งกองทัพมาปราบล้านนาใน พ.ศ. ๒๓๐๕ และใช้เป็นที่มั่นไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา พม่าได้
เบียดเบียนชาวไทยในล้านนามาก เจ้าฟ้าชายแก้วจึงเข้าไปอยูป่ รนนิบตั โิ ป่อภัยคามินที เี่ ชียงใหม่เพือ่ ให้พม่า
เห็นใจ และให้พระยากาวิละและน้องระวังรักษาเมืองล�ำปาง เจ้าเจ็ดตนสามารถป้องกันเมืองไว้ได้โดยรบ
ชนะศึกพระยาจันทร์หนองหล้องและศึกเช็คคายสุริยะ เมืองเถิน
ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทรงแต่งตั้งโป่มะยุง่วนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ และได้
เบียดเบียนคนไทยในล้านนามากขึ้น ใน พ.ศ. ๒๓๑๔ พระยากาวิละและพระยาจ่าบ้านได้รวบรวมชาว
ล้านนาสู้รบพม่าในเมืองเชียงใหม่ แต่พ่ายแพ้พม่า จึงหนีไปหาโป่สุพลาแม่ทัพพม่าประจ�ำเมืองเวียงจันทน์
โป่มะยุง่วนจับเจ้าฟ้าชายแก้วและบุตรภรรยาพระยาจ่าบ้านเป็นตัวจ�ำน�ำ คุมส่งไปเมืองอังวะ
ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละกราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ส่งกองทัพจากกรุงธนบุรีไปปราบพม่า พระยากาวิละท�ำอุบายให้เจ้าค�ำสมคุมพลพม่า ไทยใหญ่ และลาว
ไปตัง้ รับกองทัพไทย เหลือก�ำลังเพียงเล็กน้อยรักษาเมืองล�ำปาง พระยากาวิละจึงสังหารข้าหลวงพม่า ตาม
ไปชิงบิดาของตนกับครอบครัวของพระยาจ่าบ้านกลับคืนได้ แล้วเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 95

มหาราช และอาสาเป็นทัพหน้าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในปีนนั้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณา


แต่งตั้งพระยาจ่าบ้าน เป็นพระยาวิเชียรปราการ ครองเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละครองเมืองล�ำปาง
โดยมีน้องทั้ง ๖ คนช่วยราชการอยู่ด้วย
เจ้าเจ็ดตนพี่น้องร่วมกันป้องกันเมืองล�ำปางไว้ได้ ในขณะที่พม่ายึดครองเมืองล�ำพูนและเมือง
เชียงใหม่ได้อีกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ เมืองล�ำปางจึงเป็นที่มั่นส�ำคัญของไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
โปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) คุมทัพไปสมบทกับพระยากาวิละเจ้าเมืองนครล�ำปาง ยกไปตีเมือง
เชียงใหม่คนื มาได้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชด�ำริวา่ หากพม่ายกทัพมาอีก ชาวเมืองเชียงใหม่
มีไม่พอที่จะรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้ได้ จึงมีรับสั่งให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เสีย เมืองเชียงใหม่จึงร้างไปกว่า ๑๔ ปี
ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระยา
กาวิละได้ให้นายค�ำฟั่นผู้น้องลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ครั้งศึกลาดหญ้าทัพพม่า
ยกมาล้อมเมืองล�ำปางและตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ กองทัพกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปช่วยทัน พม่าจึงเลิกทัพกลับไป
ใน พ.ศ. ๒๓๒๙ พระยาแพร่ซงึ่ ถูกอะแซหวุน่ กีจ้ บั ตัวเอาไปพม่า ได้กลับมาอยูท่ เี่ มืองเชียงแสน และ
ร่วมมือกับพระยายองจับนายทัพพม่า พาครอบครัวมาสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช พระยากาวิละได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบ พระองค์จงึ โปรดเกล้าฯ ให้พระยายองกลับ
ขึ้นไปอยู่กับพระยากาวิละ แต่ให้พระยาแพร่ท�ำราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ต่อมา พม่าจะยกมาตีเมืองล�ำปางอีก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระด�ำริว่า การที่พม่ายกมาตีเมืองไทยได้ก็เพราะได้
อาศัยเสบียงและพาหนะจากล้านนา จะปล่อยให้พม่ามาตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่ไม่ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จฯ ขึน้ ไปจัดการทีเ่ มืองเชียงใหม่ ให้นอ้ ยธรรมน้องคนที่ ๒ เป็น
พระยาอุปราช ให้พุทสารผู้เป็นญาติข้างมารดาพระยากาวิละเป็นพระยาราชวงศ์ พระยากาวิละจึงขอรับ
พระราชทานครัวเชียงใหม่ซึ่งตกค้างอยู่ที่เมืองเหนือทั้งปวงไปตั้งอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ในปีนั้น อนึ่ง
มีพระบัณฑูรตัง้ น้องชาย ๓ คนของพระยากาวิละเป็นพระยานครล�ำปาง พระยาอุปราช และพระยาราชวงศ์
แต่ผคู้ นทีม่ ไี ม่พอจะตัง้ เมืองเชียงใหม่ได้ จึงลงมาตัง้ อยูท่ เี่ มืองป่าซาง ใกล้เมืองล�ำพูน ต่อมา พม่ายกมาล้อม
เมืองป่าซาง พระยากาวิละขอกองทัพไทยยกไปช่วยตีกองทัพพม่าแตกไป ใน พ.ศ. ๒๓๓๙ พระยากาวิละ
จึงยกไปตั้งเมืองเชียงใหม่ได้ส�ำเร็จ
ใน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระยากาวิละกับพระยานครล�ำปางยกทัพไปตีเมืองสาด จับเจ้าเมืองและครอบครัว
ส่งลงมาถวายที่กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๔๕ พม่ายกกองทัพ ๗ กองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละ
รักษาเมืองไว้อย่างกล้าหาญมั่นคงถึง ๒ เดือนเศษ กองทัพกรุงเทพฯ ได้มาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายไป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยากาวิละขึ้น
เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ มีราชทินนามว่า พระบรมราชาธิบดีศรีสรุ ยิ วงศ์ องค์อนิ ทรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราช
ชาติราไชศวรรย์ เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี เป็นใหญ่ในล้านนา ๕๗ หัวเมือง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
96 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ต่อมา เจ้าเวียงจันทน์อาสาน�ำกองทัพพระยายมราชจากกรุงเทพฯ ไปตีเมืองเชียงแสน แต่ไม่ส�ำเร็จ


ครัน้ ถึง พ.ศ. ๒๓๔๖ พระเจ้ากาวิละ พระยานครล�ำปาง และเจ้าฟ้าเมืองน่าน ยกไปตีได้เมืองเชียงแสนและ
เมืองยอง กวาดต้อนข้าวของผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่และเมืองล�ำปาง แล้วบอกข่าวราชการลงมายัง
กรุงเทพฯ
ใน พ.ศ. ๒๓๔๘ พระยาเชียงตุงเป็นกบฏต่อกรุงอังวะ อพยพครอบครัวมาอยูเ่ มืองเชียงใหม่ ขอเป็น
ข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพฯ แต่ไม่ช้าก็กลับใจหนีกลับไปเมืองเชียงตุง ปีต่อมาทัพเชียงใหม่และล�ำปางยก
ไปตีเมืองเชียงรุง่ ในทีส่ ดุ เจ้าเมืองเชียงรุง่ และท้าวพระยาสิบสองพันนาก็ออ่ นน้อมยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา
ของกรุงเทพฯ
ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ พระเจ้ากาวิละทรงแบ่งคนเชียงใหม่และล�ำปางมาตั้งเมืองล�ำพูนซึ่งร้างอยู่ ต่อมา
พระเจ้ากาวิละประชวร และถึงแก่พิราลัยเมื่อพระชันษา ๗๒ ปี.

บรรณานุกรม
ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๗.
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. เล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เล่ม ๒. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม,
๒๕๐๑.

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๙๙–๒๔๑๓)


พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อันดับที่ ๖ และเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของ
พระเจ้ากาวิละ มีพระนามเดิมว่า นายหนานสุริยวงศ์
สมุดขาวเรื่องพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) กล่าวว่า
จ.ศ. ๑๑๘๗ ปีดับเร้า (พ.ศ. ๒๓๖๘) นายหนานสุริยวงศ์ได้เลื่อนเป็นพระยาบุรีรัตนเมืองแก้ว
ใน พ.ศ. ๒๓๘๑ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วเป็นแม่ทัพ ไปตีต้อนครัวเจ้าฟ้าเมืองนายที่ยกมาตั้ง ณ
แขวงเมืองสาด เมืองตอน อันเป็นดินแดนแว่นแคว้นนครเชียงใหม่
ใน พ.ศ. ๒๓๙๑ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วเป็นแม่ทัพยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุงในพม่า แต่ไม่ได้
เมือง เพราะแม่ทัพขาดความสามัคคีกัน ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วได้เป็นแม่ทัพ สมทบกับ
ทัพกรุงเทพฯ ซึง่ มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงเป็นแม่ทพั ใหญ่ และเจ้าพระยายมราช
เป็นแม่ทัพอีกกองหนึ่งยกไปตีเมืองเชียงตุง แต่ตีเมืองไม่ได้ เพราะพม่าระดมก�ำลังจ�ำนวนมากมาช่วย
ฝ่ายไทยจึงถอยทัพคืนมา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 97

หลังจากพระเจ้ามโหตรประเทศแห่งนครเชียงใหม่ถึงแก่พิราลัยแล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ พระบาท


สมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ เลื่ อ นยศพระยาบุ รี รั ต นเมื อ งแก้ ว เป็ น
เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ด�ำรงนพีสีนครสุนทรทศลักษเกษตร วรฤทธิเดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี และใน
พ.ศ. ๒๔๐๔ ได้เลื่อนขึ้นเป็น “พระเจ้าประเทศราช” มีพระนามว่า พระเจ้ากาวิโลรสฯ
พระเจ้ากาวิโลรสสุรยิ วงศ์ได้ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ คือ ในด้านกฎหมาย พระองค์ทรง
ตั้งข้อบัญญัติพระก�ำหนดกฎหมายส�ำหรับการพิจารณาคดีความ
ด้านศาสนา ได้ทรงท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา โดยสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม
มากมายหลายแห่ง เช่น ทรงหล่อระฆังขนาดใหญ่ถวายบูชาพระธาตุดอยสุเทพ และพระมหาธาตุเมือง
ล�ำพูน ทรงซ่อมรูปสิงห์ ๒ ตัว ณ หัวเวียง ต�ำบลช้างม่อย อ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ ทรงฉลองวิหาร
วัดพันตาเกิน (วัดชัยศรีภูมิ) สร้างพระวิหารวัดสุพรรณ หอไตรวัดแสนเมืองมา พระวิหารวัดนันทาราม วัด
พระนอนและวัดพระสิงห์ อนึ่ง พระองค์ทรงยอมให้พวกมิชชันนารีอเมริกันมาเผยแผ่คริสต์ศาสนาได้เพื่อ
หวังให้เมืองเชียงใหม่ได้รับความเจริญและความรู้แผนใหม่ เช่น การแพทย์
ด้านการปกครอง พระเจ้ากาวิโลรสฯ ทรงเชื่อมความสามัคคีของเจ้านายฝ่ายเหนือ ซึ่งแม้จะสืบ
เชื้อสายมาจากพระยาสุลวะลือไชย (ทิพช้าง) ด้วยกัน แต่ก็มีเรื่องกระทบกระทั่งกันอยู่เสมอ และถ้าหาก
ทิ้งไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อบ้านเมืองได้ พระเจ้ากาวิโลรสฯ ทรงวางพระองค์เป็นหลัก และทรงพยายาม
เชื่อมความสามัคคีของเจ้านายทางฝ่ายเหนือ เช่น พ.ศ. ๒๔๐๕ พระองค์เสด็จไปนครล�ำปางเพื่อว่ากล่าว
สมัครสมานเจ้าอุปราช และเจ้านครล�ำปาง ซึ่งมีเรื่องขัดแย้งกัน ให้กลับมาปรองดองกันดังเดิม
พ.ศ. ๒๔๐๘–๒๔๐๙ เจ้านายนครเชียงใหม่มีหนังสือกล่าวโทษมายังกรุงเทพฯ ว่า พระเจ้ากาวิโลรสฯ
ทรงเอาใจออกหากจากไทยไปเข้ากับพม่า โดยการตัดถนนจากเชียงใหม่ไปถึงท่าผาแดง และจัดช้างพลาย
๒ เชือก กับปืนไปถวายพระเจ้ามินดง ซึง่ เป็นกษัตริยพ์ ม่าขณะนัน้ และทรงได้รบั สิง่ ของจากพม่าเป็นเครือ่ ง
ตอบแทนมา พระเจ้ากาวิโลรสฯ ทรงน�ำสิง่ ของเหล่านัน้ ขึน้ น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับแหวนทับทิมไว้เพียงวงเดียว พอมิให้พระเจ้ากาวิโลรสฯ เสียพระทัย เมื่อช�ำระ
ความแล้ว ปรากฏว่า พระองค์ไม่ทรงมีความผิดร้ายแรงแต่อย่างใด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เอาตัว
พวกเจ้านายที่เป็นโจทก์ไว้ที่กรุงเทพฯ แต่พระเจ้ากาวิโลรสฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทาน
ญาติพี่น้องเหล่านี้กลับไปเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑
ในด้านการศาสนา เริม่ แต่ พ.ศ. ๒๔๐๗ เจ้าฟ้าโกหล่าน เจ้าเมืองหมอกใหม่ ขอให้เชียงใหม่สง่ กองทัพ
ไปช่วยรบกับเจ้าฟ้าเมืองนาย ทัพเชียงใหม่จงึ ยกขึน้ ไปช่วย เจ้าฟ้าโกหล่านสัญญาว่าจะมาขึน้ กับกรุงเทพฯ
ในภายหลัง แต่จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๒ ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังไม่ท�ำ
ตามสัญญา พระเจ้ากาวิโลรสฯ ทรงส่งช้างพลายสีประหลาดมาน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ และได้เสด็จมาถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองแด่พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วประชวรลง ระหว่างนี้เจ้าฟ้าโกหล่านจึงถือโอกาสยกทัพมากวาดต้อนผูค้ น
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
98 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ที่เมืองปายซึ่งเป็นเมืองขึ้นของนครเชียงใหม่ ทัพเมืองเหนือยกติดตามไปแต่ไม่ทัน จึงถอยทัพกลับคืนมา


พระเจ้ากาวิโลรสฯ ถึงแก่พิราลัยหลังจากเสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ พระองค์ทรงด�ำรง
ต�ำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่เป็นเวลา ๑๕ ปี ตามหนังสือประวัตพิ ระเจ้านครเชียงใหม่ ปรากฏว่า มีพระชันษา
๗๑ ปี
ในสมัยนั้น การปกครองต้องอาศัยความเด็ดขาด พวกราษฎรขนานพระนามพระองค์ว่า “เจ้าชีวิต
อ้าว” เพราะสามารถสั่งตัดศีรษะผู้คนได้ เพียงแต่กล่าวค�ำว่า “อ้าว” เท่านั้น
พระเจ้ากาวิโลรสฯ มีพระชายา คือ เจ้าแม่อุษา พระธิดาพระเจ้ามโหตรประเทศเจ้านครเชียงใหม่
องค์ที่ ๕ และมีธิดา ๒ องค์ คือ เจ้าทิพเกสรและเจ้าอุบลวรรณา.

บรรณานุกรม
ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๗.
พงศาวดารเมืองเชียงใหม่. สมุดขาวเลขที่ ๓๓ มัด ๔ กรมศิลปากร.
ศิลปากร, กรม. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๓. พระนคร : กองวรรณคดีและประวัตศิ าสตร์จดั พิมพ์, ๒๕๐๗.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๒๙.
หนังสือประวัตพิ ระเจ้านครเชียงใหม่และเจ้าเชียงใหม่. โรงพิมพ์บำ� รุงประเทศเจริญ บ้านอ่อ นครเชียงใหม่
ผู้เขียนเขียนถวายเจ้าดารารัศมี เนื่องจากงานฉลองกู่ ร.ศ. ๑๒๘.

ขอมสะบาดโขลญล�ำพง
ขอมสะบาดโขลญล�ำพง เป็นขุนนางขอมผู้สามารถยึดอ�ำนาจครอบครองแคว้นเชลียงสุโขทัยได้ใน
ตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เดิมพ่อขุนศรีนาวน�ำถุมครอบครองแคว้นนี้อยู่ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒
เป็นต้นมา พ่อขุนผาเมืองโอรสของพระองค์ไปครองกลุ่มเมืองราด เมืองสะค้า และเมืองลุมบาจาย เมื่อ
พ่อขุนศรีนาวน�ำถุมถึงแก่พิราลัย ขอมสะบาดโขลญล�ำพงยึดแคว้นเชลียงสุโขทัยได้ ก่อนที่พ่อขุนผาเมือง
จะทรงยกทัพมาจากเมืองราด พ่อขุนบางกลางหาว (ต่อมาคือ พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์) พระสหายของพ่อขุน
ผาเมือง ทรงยึดเมืองเชลียง (ปัจจุบันคือ อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย) คืนมาได้ แล้วเวนเมืองให้แก่
พ่อขุนผาเมือง
กษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ทรงช้างเชือกเดียวกันให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นกลลวงให้ขอมสะบาด
โขลญล�ำพงหลงเข้าใจว่าทัง้ สองพระองค์ทรงมาชุมนุมกันอยูท่ เี่ มืองเชลียง แล้วพ่อขุนผาเมืองลอบเสด็จกลับ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 99

ไปเมืองราด เมื่อขอมสะบาดโขลญล�ำพงยกทัพจากเมืองสุโขทัยมาตีเมืองเชลียงคืน พ่อขุนผาเมืองก็ทรง


ยกทัพจากเมืองราดเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้ และทรงร่วมกับพ่อขุนนางกลางหาวช่วยกันตีขนาบขอมสะบาด
โขลญล�ำพง จนพ่ายแพ้ไป
เรื่องราวของขอมสะบาดโขลญล�ำพงที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๒ มีเพียงเท่านี้ ขอมมาจากค�ำ
กร๋อม หรือโกรม แปลว่า ใต้ หมายถึงคนต่างชาติทางทิศใต้ เช่น ขอมของล้านนา คือ พวกมอญ แต่ขอม
ของชาวสุโขทัย คือ ชนชาติโบราณทางใต้ที่สืบเชื้อสายมาเป็นเขมร โขลญ ในจารึกขอมโบราณ หมายถึง
หัวหน้า เช่น หัวหน้าพนักงานดูแลวัด เป็นต้น ขอมสะบาดโขลญล�ำพงอาจเป็นผู้ที่กษัตริย์ขอมใช้ให้คอย
ดูแลความเคลื่อนไหวของคนไทยก็ได้ ตอนที่พ่อขุนศรีนาวน�ำถุมถึงแก่พิราลัย ขอมสะบาดโขลญล�ำพง
ฉวยโอกาสยึดแคว้นเชลียงสุโขทัยได้กอ่ นทีพ่ อ่ ขุนผาเมืองจะทรงยกทัพจากเมืองราดมาทัน แต่ขอมสะบาด
โขลญล�ำพงก็หลงกลยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย จนต้องเสียเมืองสุโขทัยและพ่ายแพ้ไปในที่สุด
พ่อขุนผาเมืองเวนเมืองสุโขทัยให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว พร้อมทั้งถวายพระนามว่า พ่อขุนศรี
อินทราทิตย์ มีข้อสันนิษฐานในการที่ยกเมืองสุโขทัยให้พระสหาย แทนที่จะครองเมืองเสียเอง ๓ ประการ
ประการแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาว อาจจะเป็นลูกเขยของพ่อขุนศรีนาวน�ำถุม เป็นไปได้ว่า ได้รับ
สืบสิทธิการครองราชสมบัติทางภริยา ประการที่ ๒ คือ พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองเป็นสหายกัน
แต่พ่อขุนผาเมืองได้ดื่มน�้ำพิพัฒน์สัตยาต่อกษัตริย์ขอมว่าจะไม่คิดทรยศต่อขอม และประการที่ ๓ พ่อขุน
ผาเมืองเป็นบุตรเขยของกษัตริย์ขอม เกรงว่าประชาชนจะไม่ไว้วางใจ
พ่อขุนผาเมืองเสด็จกลับไปเมืองราด ต่อมาไปประทับที่เมืองศรีสัชนาลัย.

บรรณานุกรม
ประเสริฐ ณ นคร. งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริม
และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน, ๒๕๓๕.
สารนิพนธ์ ประเสริฐ ณ นคร. ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
100 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ข้าไท
“ข้าไท” ปรากฏในวลี “ไพร่ฝ้าข้าไท” ในจารึกสมัยสุโขทัย เช่น จารึกหลักที่ ๑ พ.ศ. ๑๘๓๕
หลักที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๐๐ และหลักที่ ๕ พ.ศ. ๑๙๐๔ ไพร่ฝ้าข้าไท หมายถึง ประชาราษฎร เช่น จารึก
หลักที่ ๕ ว่า “พระยาลือไทย...รู้ปรานีแก่ไพร่ฝ้าข้าไททังหลาย” ต่อมาในสมัยอยุธยา ใช้ค�ำว่า “ฟ้า”
แทนค�ำว่า “ฝ้า” ดังปรากฏในกฎหมายตราสามดวงใช้ไพร่ฟ้าข้าไทหลายแห่ง เช่น “เจ้าเมืองเอาพล
ไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายออกเลี้ยงนอกเมือง” และใช้ “อณาประชาราษฎรไพร่ฟ้าข้าขอบขัณฑเสมา”
ไพร่คกู่ บั ฟ้า แต่เดิมคงมีความหมายเท่ากับข้าคูก่ บั ไท เพราะจารึกสุโขทัยชอบใช้วลีทมี่ คี วามหมาย
อย่างเดียวกัน ซ้อนกัน เช่น ข้าเสิกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบ กฎหมายตราสามดวงกล่าวถึง “ข้าหนีเจ้า ไพร่หนี
นาย”
ข้าคงไม่เท่ากับทาส เพราะจารึกหลักที่ ๓ มีข้อความว่า “ไพร่ฝ้าข้าไทขี่เรือไปค้า ขี่ม้าไปขาย” ถ้า
ปล่อยให้ทาสไปค้าขาย ก็คงจะหลบหนีกันไปหมด
ต่อมาถึงสมัยอยุธยา ไพร่ของฟ้าคงจะหมายถึงคนของหลวง และข้าของไทหมายถึงบริวารของ
นาย และท้ายที่สุดในกฎหมายตราสามดวง ได้ลดฐานะของข้าลง โดยใช้ “ถ้าไพร่ฟ้าทาษไทใคร ๆ หนีนาย
หนีเจ้า”
นอกจากนี้ จารึกสุโขทัยยังกล่าวรวมไพร่ฝ้าข้าไทไปกับทรัพย์ศฤงคารของบุคคล เช่น จารึกหลักที่ ๑
“ช้างขอ ลูกเมีย เยียข้าว ไพร่ฝ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู (ของ) พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น” และจารึกหลัก
ที่ ๑๐๒ พ.ศ. ๑๙๒๒ กล่าวถึง “ช้างม้าข้าไททังหลาย” ไตรภูมิกถากล่าวถึง “มีช้าง มีม้า มีข้า มีไท แกล้ว
หาญ มีรี้พลเพียงดังพระอินทร์” ไท หมายถึง ผู้มีอิสระแก่ตน ดังจะเห็นได้จากจารึกหลักที่ ๑๐๖ พ.ศ.
๑๙๒๗ ว่า “ข้าและเมียมัก (รัก) กัน ให้ขา (เขาทั้งสอง) แก่กันไปเป็นไทให้เลี้ยงแม่ผู้ชาย”
จากข้อมูลข้างบนนี้ อาจสรุปได้ว่า สมัยสุโขทัย ข้าไท ใช้คู่กับ ไพร่ฟ้า แปลว่า ประชาราษฎร แต่มี
อีกความหมายหนึ่งว่า บริวาร ต่อมาในสมัยอยุธยา ข้าของไท หมายถึง บริวารของนาย คู่กับไพร่ฟ้า
ซึ่งหมายถึง คนของหลวง ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ใช้ไพร่ฟ้าทาสไทแทนที่ ไพร่ฟ้าข้าไท แสดงว่า
ข้ามีความหมายเช่นเดียวกับทาส จึงเป็นอันว่าข้าไทค่อย ๆ ลดฐานะของคนอิสระลงมาจนกลายเป็นทาส
ไปในที่สุด.

บรรณานุกรม
ขจร สุขพานิช. ฐานันดรไพร่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๙.
ศิลปากร, กรม. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ, ๒๕๒๖. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปีลายสือไทย
พุทธศักราช ๒๕๒๖).
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 101

ข้าพระ
ข้าพระ คือคนที่มีผู้อุทิศให้แก่วัด เพื่อรักษาวัด พระพุทธรูป และอุปัฏฐากพระสงฆ์ เป็นต้น
ในปัจจุบันไม่มีข้าพระแล้ว
จารึกหลักที่ ๑๐๗ จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๑๘๘๒ เจ้าเมืองตรอกสลอบอุทิศ “คนครอกหนึ่งให้ดูพระ”
จารึกหลักที่ ๙ จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๒ พระมหาธรรมราชาลิไทยไปรบเมืองแพร่ แล้วเอา “คนสิบห้า
เรือน” อุทิศให้วัดป่าแดง ศรีสัชนาลัย จารึกหลักที่ ๓๘ จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๔๐ กล่าวถึง ข้าชีบา
พระอุปัธยาจารย์
ค�ำว่า “ข้าพระ” ปรากฏในจารึกผ้าขาวทอง จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๖๕ ว่า ชีปะขาวชื่อทองอุทิศ
เมียและลูกเป็นข้าพระ ค�ำ “ข้าพระ” ยังปรากฏในจารึกหลักที่ ๑๐๐ จังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๐๓๕ ว่า
“พระมหาราชเทวีเจ้าให้คนขอครัวรักษาพระพุทธรูป และพระมหาเถรเจ้า ใครอย่ารบกวนข้าพระเหล่านี”้
และค�ำ “ข้าพระ” ปรากฏในจารึกเชียงราย ๕ พ.ศ. ๒๐๔๕ ว่า “เจ้าพันนาหวังให้ลูกเป็นข้าพระ ถ้าเขา
อยู่ไม่ได้ให้เอาเงินค่าตัวไปไถ่ได้” ส่วนจารึกวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๒๒๓ ว่า “พระราชทาน
ข้าพระไว้ส�ำหรับพระอาราม ข้าพระได้แตกฉานซ่านเซ็นไป จึงถวายคนใหม่แทนตามเดิม ถ้าผู้ใดเอาไปใช้
ราชการหรือท�ำเรื่องอื่น ขอให้ไปตกนรก”
ตามศิลาจารึก ปรากฏว่า มีการอุทิศคน หุงจังหัน และตีระนาดบ�ำเรอพระพุทธรูป เฝ้าอุโบสถ
พระอาราม และพระศรีรัตนธาตุ
จารึกหลักที่ ๑๐ จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๑๙๔๗ ว่า ผู้ที่ถูกอุทิศให้วัด จะต้องท�ำหน้าที่ในศาสนาไป
ตลอดจนถึงลูกหลานเหลนสืบสายไป ข้อความอย่างเดียวกันปรากฏในจารึกหลักที่ ๗๓ จังหวัดล�ำพูน
พ.ศ. ๒๐๕๕
จารึกหลักที่ ๖๙ จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๐๓๙ ว่า “พระเจ้าแผ่นดินอุทิศคน ๑๐ ครัวปลงอาชญา
ให้ ‘หลาบค�ำ’ (สุพรรณบัฏ) ไว้”
จารึกหลักที่ ๑๐๔ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๐๙๙ ว่า “ห้ามมิให้น�ำข้าพระไปท�ำศึก แม้ข้าศึกมา
ประชิดเมืองก็จะเกณฑ์ข้าพระไปรักษาเมืองไม่ได้ อย่าเรียกเก็บส่วยไร อย่าให้ไปราชการทางน�้ำทางบก
อย่าเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าช้างม้า” จารึกหลักที่ ๙๒ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๑ กล่าวถึง
ข้าพระ ในกฎหมายตราสามดวง พ.ศ. ๒๓๔๗ ก็กล่าวถึงข้าพระในพระราชก�ำหนดเก่าข้อ ๘.

บรรณานุกรม
คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึก
ภาคที่ ๔. พระนคร : โรงพิมพ์ส�ำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ๒๕๑๓.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
102 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

เจมส์ เอช. ดับเบิ้ลยู. ทอมป์สัน, มูลนิธิ. จารึกล้านนาภาค ๑ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๔. (จัดพิมพ์ใน
วโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุครบ ๓ รอบ พุทธศักราช
๒๕๓๔).
ขุน
“ขุน” เดิมเป็นต�ำแหน่งเจ้าหรือผู้ปกครองแคว้นสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา ขุนเป็นต�ำแหน่ง
ยศขุนนางตามล�ำดับดังนี้ พระยา พระ หลวง ขุน และหมื่น ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ขุนเป็นล�ำดับ
ฐานันดรศักดิ์ของขุนนางตามล�ำดับดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น
และจ่า
ในสมัยสุโขทัย ขุนเป็นต�ำแหน่งเจ้า หรือผู้ปกครองนครหรือแคว้น เช่น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด
ส่วนพ่อขุนเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรใหญ่ มีขุนมาขึ้นด้วยจ�ำนวนมาก เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนรามค�ำแหง ต่อมาในสมัยอยุธยา ขุนกลายมาเป็นยศขุนนาง ดังปรากฏในกฎมนเทียรบาล สมัยสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ ตราขึ้นราว พ.ศ. ๒๐๑๑ มาตรา ๑๐๑ ความว่า “ถ้าแลมีพระราชฎีกาด�ำเนิร มีตรา
ขุนอินทราทิตยน�ำ ถ้าพระราชเสาวนีด�ำเนิร ตราขุนอินทราทิตยน�ำ” อย่างไรก็ตาม ยศขุนในสมัยอยุธยามี
ศักดินาแตกต่างกันไปตามต�ำแหน่งที่ด�ำรง เช่น ที่ปรากฏในพระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือนซึ่งตราขึ้นใน
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเช่นกัน ขุนราชนิกุลนิตยภักดี ต�ำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย
นา ๑๐๐๐ ขุนราชพินิจใจ ต�ำแหน่งราชปลัดถือพระธรรมนูญ นา ๘๐๐ ขุนพินิจอักษร ต�ำแหน่งเสมียน
ตรา นา ๖๐๐ ขุนแก้ว ต�ำแหน่งเจ้ากรมช่างดอกไม้เพลิงขวา นา ๓๐๐ ขุนไฉนไพเราะ ต�ำแหน่งพนักงาน
ปี่พาทย์ นา ๒๐๐
ล�ำดับฐานันดรศักดิ์ ขุนนางในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามทีป่ รากฏในพระราชก�ำหนดใหม่ พ.ศ. ๒๓๒๖
กฎหมายตราสามดวง กฎข้อ ๔ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๒๖ ระบุล�ำดับฐานันดรศักดิ์ของขุนนางไว้
ดังนี้ “…เจ้าพญา แลพญา พระ หลวง เมือง เจ้าราชนิกุล ขุน หมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน…”
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติศักดินา
ขุนหมื่นนายเวรเสมียร ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ มาตรา ๑ ระบุว่า “บันดาขุนหมื่นในกระทรวง
ต่าง ๆ ที่รับประทวนเจ้ากระทรวงตั้ง ยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ฤๅยังมิได้ก�ำหนดศักดินา
ในพระราชก�ำหนดกฎหมาย ขุนให้ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ เป็นอย่างสูง ๓๐๐ ไร่ เป็นอย่างต�่ำ... ตามแต่
เจ้ากระทรวงจะก�ำหนดตั้งในประทวน”
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีการแต่งตั้ง
บุคคลให้ด�ำรงบรรดาศักดิ์ขุนนางตามระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีก และในที่สุด
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ ตามประกาศเรื่องการยกเลิก
บรรดาศักดิ์ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์อันมีราชทินนาม เป็น เจ้าพระยา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 103

พระยา พระ หลวง ขุน เพื่อความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย แต่หากผู้มีบรรดาศักดิ์ผู้ใดประสงค์จะคง


อยู่ในบรรดาศักดิ์ด้วยเหตุผลเฉพาะตัว ให้ชี้แจงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเป็นราย ๆ รวมทั้ง
ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล ก็ต้องท�ำเรื่องขออนุญาตต่อกระทรวงมหาดไทย
อย่างไรก็ตาม ๒ ปีต่อมา ได้มีประกาศเรื่องให้ยกเลิกประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการยกเลิกยศและ
บรรดาศักดิ์ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เปิดโอกาสให้บุคคลที่ลาออกจากบรรดาศักดิ์กลับคืน
บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานแต่เดิมได้ โดยให้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตภายใน ๙๐ วัน
นับแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นต้นมา.

บรรณานุกรม
กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อุดมศึกษา, ๒๕๒๑.
“ประกาศเรื่องการยกเลิกบรรดาศักดิ.์ ” ราชกิจจานุเบกษา. (แผนกกฤษฎีกา) เล่ม ๕๙ ภาค ๑ ตอนที่ ๓๓
(๑๙ พฤษภาคม ๒๔๘๕) : ๑๐๘๙-๑๐๙๑.
“ประกาศเรื่ อ งให้ ย กเลิ ก ประกาศพระบรมราชโองการเรื่ อ งการยกเลิ ก ยศและบรรดาศั ก ดิ์ . ”
ราชกิจจานุเบกษา. (แผนกกฤษฎีกา) เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๗๙ (๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๗) : ๑๒๘๒-๑๒๘๗.
“พระราชบัญญัติศักดินาขุนหมื่น นายเวรเสมียร.” กฎหมายในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), ๒๕๔๐. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพนายจิตติ ติงศภัทย์ ณ เมรุหลวง
หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐).
ศิลปากร, กรม. พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑. พระนคร : กอง
การพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล, ๒๔๙๙.

ขุนเจือง
ขุนเจืองซึ่งบางท้องถิ่นออกเสียงว่า ขุนเจื๋อง เป็นเรื่องกึ่งต�ำนานและกึ่งประวัติศาสตร์ ตามเอกสาร
ที่มีอยู่ในประเทศไทย สรุปได้ว่า ขุนเจืองเป็นกษัตริย์ไทยอยู่ในอาณาจักรเหนือสุโขทัยขึ้นไป และน่าจะมี
พระชนม์ชีพอยู่เวลาใดเวลาหนึ่งระหว่าง พ.ศ. ๑๕๘๒–๑๗๓๕ และสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๗๔–๘๐
พรรษา
อาณาจักรของขุนเจืองครอบคลุมถึงพะเยา เชียงแสน ประเทศลาว และเมืองปะกันของแกว (ญวน)
จากเอกสารประเทศลาว ขุนเจืองอภิเษกสมรสกับนางง้อมม่วน เมืองเชียงเครือ ตามต�ำนานทุตยิ วังสะหรือ
ต�ำนานพระยาเจืองว่าเมืองเชียงเครือคือเมืองหงสาวดี เนือ่ งจากขุนเจืองมีอาณาจักรกว้างขวางเป็นทีภ่ มู ใิ จ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
104 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ของคนไทย ไทยเผ่าต่าง ๆ ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศจีนจึงเล่าขานสืบกัน


มา แต่เนือ่ งจากมิได้จดบันทึกไว้ ศักราชจึงคลาดเคลือ่ นกันไป ต�ำนานพืน้ เมืองสิบสองพันนาว่าสิน้ พระชนม์
พ.ศ. ๑๖๓๖ ต�ำนานพื้นเมืองพะเยา ประสูติ พ.ศ. ๑๕๘๒ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๖๖๐ จดหมายเหตุโหร
พ.ศ. ๑๖๑๖–๑๖๙๓ ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๖๑๗–๑๖๙๔ ต�ำนานพระยาเจือง พ.ศ. ๑๖๒๕–
๑๗๐๕ พงศาวดารเงินยางเชียงแสน พ.ศ. ๑๖๓๑–๑๗๐๕ พงศาวดารโยนก พ.ศ. ๑๖๔๒–๑๗๑๙ ล�ำดับ
เจ้าแผ่นดินแสนหวี (เชียงรุ่ง) สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๗๒๓ ต�ำนานสิงหนวัติ พ.ศ. ๑๖๕๖–๑๗๓๕
ตามพงศาวดารเงินยางเชียงแสน กล่าวว่า ขุนเจืองเป็นโอรสของขุนจอมธรรม ประสูติที่เชียงราย
หรือพะเยาหรือฝาง (ฝางหรือชัยปราการอยู่บริเวณเมืองเชียงราย ดังมีบันทึกของพม่าเมื่อมาปกครองล้านนา
ว่า ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงเชียงรายมีจ�ำนวนกิโลเมตรเท่ากับระยะทางจากเชียงใหม่ถึงชัยปราการ)
มีช้างพางค�ำเป็นช้างส�ำคัญในการรบ ได้อภิเษกสมรสกับลูกสาวเจ้าเมืองแพร่ และเจ้าเมืองน่าน ได้ครอง
พะเยา ๖ ปี แล้วไปช่วยพระยาชื่นซึ่งเป็นลุงที่เมืองเงินยางเชียงแสนชนช้างชนะแกว คือ ท้าวกวาและแองกา
ที่เงินยางเชียงแสน ขุนเจืองได้อภิเษกสมรสกับธิดาของพระยาชื่นทั้งสองคน ญาติพระยาแกวที่มาช่วยรบ
มีพระยาจันทบุรี (เวียงจันทน์) และพระยาแกวอยู่เมืองปะกัน เมืองนี้ มหาสิลา วีรวงส์ว่า เชียงขวาง ส่วน
จิตร ภูมิศักดิ์ว่า เมืองบั๊กกาน ในเวียดนาม
ขุนเจืองได้ครองเมืองหิรญ ั เงินยางเมือ่ มีพระชนมายุ ๒๔ พรรษา และได้ประกาศไปว่ายินดีจะชนช้าง
กับใครก็ได้ที่มาท้ารบ ต่อมาอีก ๕๐ ปี พระยาแมนตาตอกขอกฟ้าตายืน ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานมาท้า
ชนช้างกับขุนเจือง ขุนเจืองรูว้ า่ จะสูไ้ ม่ได้ จึงมอบเมืองต่าง ๆ ให้โอรส ๕ องค์ครอง แล้วไปชนช้างกับพระยา
แมนตาตอกขอกฟ้าตายืน จนสิ้นพระชนม์ในที่รบ
เจ้าสายเมือง เจ้าชายแห่งเชียงตุงเล่าว่า ขุนเจืองเป็นกษัตริยข์ องไทยใหญ่ ยกไปรบกับเมืองแมนตาตอก
คือเมืองเต็งยู (Tengyueh) หรือเต็งจุง (Teng Chung) อยู่ในยูนนาน ห่างจากบามอ (บ้านหม้อ)
ในพม่าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๕๐ กิโลเมตร
เชียงรุ่งถือว่าขุนเจืองเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่จดไว้ในประวัติศาสตร์ของเขาว่า สิ้นพระชนม์
พ.ศ. ๑๗๒๓
พวกข่าถือว่าขุนเจืองเป็นผูป้ ลดแอกให้ขา่ เป็นอิสระ และในอนาคตยังจะเกิดมาช่วยพวกข่าอีก ขบถ
ข่าศึกเจืองที่เชียงขวางในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ก็อ้างตนว่าเป็นขุนเจืองมาเกิดใหม่ ท�ำให้ทัพไทย
ต้องยกไปปราบ
มหากาพย์ทา้ วฮุง่ ท้าวเจืองเป็นวรรณกรรมชิน้ เอกของประเทศลาว แต่งเป็นโคลงสี่ ใช้ภาษาโบราณ
มาก ต้นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดหอสมุดแห่งชาติอาจจะได้รับมาจากเชียงขวางเมื่อสมัยขบถข่าศึกเจือง
มหากาพย์เรือ่ งนีม้ ปี ระโยชน์มากในการศึกษาวรรณกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยสมัยโบราณ
เดิมน่าจะเป็นวรรณกรรมจากล้านนาที่เผยแพร่เข้าไปในประเทศลาว เพราะเป็นเรื่องวีรกรรมของกษัตริย์
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 105

ที่ยิ่งใหญ่ในบริเวณล้านนา ประเทศลาวมีขุนบูลมเป็นวีรบุรุษอยู่แล้วไม่จ�ำเป็นต้องยกย่องขุนเจือง แต่


ประเทศลาวนิยมรสวรรณคดีเรื่องนี้เหมือนอย่างที่ประเทศไทยนิยมเรื่องรามเกียรติ์จึงรับเรื่องไว้ในฐานะ
เป็นวรรณคดี แต่ก็ได้แต่งเติมให้ขุนเจืองแพ้ขุนลอซึ่งเป็นโอรสของขุนบูลม.

บรรณานุกรม
จดหมายเหตุ โ หร ประชุ ม พงศาวดารภาคที่ ๘. พระนคร, ๒๕๐๗. (พิ ม พ์ ใ นการฌาปนกิ จ ศพ
นางเปลื้อง อินทรทูต).
ต�ำนานพืน้ เมืองเชียงใหม่. พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารประวัตศิ าสตร์ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี,
๒๕๑๔.
ต�ำนานเมืองพะเยาและค�ำเล่นค่าวซอ. เอกสารล�ำดับที่ ๘. เชียงใหม่ : คณะกรรมการศูนย์วัฒนธรรม
จังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่, ๒๕๒๖.
ต� ำ นานสิ ง หนวั ติ ประชุ ม พงศาวดารภาคที่ ๖๑. พระนคร, ๒๔๗๙. (พิ ม พ์ ใ นงานฌาปนกิ จ ศพ
นางชื่น ราชพินิจจัย).
ทวี สว่างปัญญางกูร. ต�ำนานพื้นเมืองสิบสองพันนา. เชียงใหม่ : ส�ำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
๒๕๒๙.
ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
ประเสริฐ ณ นคร. “ล�ำดับเจ้าแผ่นดินแสนหวี (เชียงรุ่ง).” ใน รวมบทความประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ :
สมาคมประวัติศาสตร์, ๒๕๒๘.
พงศาวดารเงินยางเชียงแสน ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑. พระนคร, ๒๔๗๙. (พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ
นางชื่น ราชพินิจจัย).
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และศรีธน ค�ำแปง (ปริวัตร). ต�ำนานพญาเจือง. เล่ม ๑-๒. เชียงใหม่ : คณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๒๗.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
106 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ขุนบรม
ขุนบรมหรือขุนบูลมราชาธิราช เป็นกษัตริย์ของชนเผ่าไทย ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถแผ่อาณาเขต
ครอบคลุมบางส่วนของประเทศต่าง ๆ กล่าวคือ ลาว เวียดนาม ไทย และจีน
เรื่องของขุนบรมปรากฏอยู่ใน (๑) พงศาวดารเมืองล้านช้าง ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ (๒)
นิทานเรื่องขุนบรมราชา ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (๓) พงศาวดารลาวของมหาสิลา วีระวงส์ และ
(๔) พื้นขุนบรมราชาธิราช ปริวรรตโดย นายพิทูร มลิวัลย์ มีข้อความแตกต่างกันไปหลายแห่ง
ฉบับพงศาวดารล้านช้าง กล่าวถึงปูล่ างเชิง ขุนเด็ก และขุนคานปกครองเมืองลุม่ (เมืองมนุษย์) แต่
ไม่กระท�ำพลีกรรมแก่พระยาแถน พระยาแถนจึงบันดาลให้น�้ำท่วมเมือง ขุนทั้งสามจึงต่อแพพาลูกเมียไป
อยู่เมืองฟ้ากับพระยาแถนชั่วคราว พอน�้ำแห้งแล้วขอกลับลงมาเมืองลุ่มอีก มาอยู่ที่เมืองนาน้อยอ้อยหนู
ได้ควายลงมาช่วยท�ำนา เมื่อควายตายเกิดต้นน�้ำเต้าที่รูจมูกควาย มีผลน�้ำเต้าปู้ง (โป้ง–ใหญ่) ๓ ผล ปู่ลางเชิง
ใช้สว่านเผาไฟและสิ่วเจาะผลน�้ำเต้านั้น คนที่ออกมาทางรูสิ่ว คือ ไทยเลิง ไทยลอ และไทยควาง เป็นไท
ส่วนคนที่ออกมาทางรูสว่านเผาไฟ คือ ไทยลมและไทยลี มีผิวด�ำ เป็นข้า จ�ำนวนคนที่ออกมาจากน�้ำเต้ามี
มากมายจนไม่สามารถปกครองได้ ต้องไปขอพระยาแถนให้ส่งขุนครูและขุนครองลงมาปกครอง แต่ขุน
ทั้งสองดื่มแต่เหล้า ไม่สนใจดูแลประชาชน ขุนเด็กและขุนคานต้องไปขอให้พระยาแถนเรียกขุนครูและ
ขุนครองคืนไป และส่งขุนบูลมมหาราชาธิราช (ขุนบรม) มาปกครองแทน ขุนบรมพยายามสอนให้ประชาชน
ท�ำไร่ ไถนา แต่ประชาชนมีอยู่เป็นจ�ำนวนมาก จึงต้องส่งขุนเสลิงไปขอให้พระยาแถนส่งแถนแต่งคือ
พระวิษณุกรรมและแถนอืน่ ๆ มาช่วยดูแลสัง่ สอนให้ผคู้ นท�ำมาหากินได้เป็นอย่างดี ต่อจากนัน้ พระยาแถน
ก็ตัดไม่ให้เมืองมนุษย์ขึ้นไปติดต่อกับเมืองฟ้าได้อีก
ขุนบรมสร้างบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น จึงเรียกชื่อว่า เมืองแถน (คือเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูใน
เวียดนาม)
ขุนบรมมีโอรส ๗ องค์ องค์ที่ ๑, ๒, ๓ และองค์ที่ ๗ เกิดจากนางแอกแดง องค์ที่ ๔, ๕, ๖ เกิดจาก
นางยมพลา โอรสทั้ง ๗ แยกย้ายกันไปครองเมืองต่าง ๆ ดังนี้
องค์ที่ ๑ ขุนลอ ไปครองเมืองชวา (ล้านช้าง)
องค์ที่ ๒ ยี่ผาลาน ไปครองเมืองหัวแตหรือหอแต (หนองแส)
องค์ที่ ๓ สามจูสง ไปครองเมืองแกว (เวียดนาม)
องค์ที่ ๔ ไสผง ไปครองล้านนา
องค์ที่ ๕ งั่วอิน ไปครองอโยธยา (สยาม)
องค์ที่ ๖ ลกกลม ไปครองเมืองเชียงคม (ค�ำเกิด)
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 107

องค์ที่ ๗ เจ็ดเจิง ไปครองเมืองพวน (พงศาวดารลาวว่าเชียงขวาง)


ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช สันนิษฐานว่า เมืองฟ้าของพระยาแถน คืออาณาจักรเทียนในประเทศ
จีน ส่วนขุนวิจิตรมาตรา สันนิษฐานว่า เมืองฟ้าของพระยาแถน คือเมืองหนองแถนในอาณาจักรน่านเจ้า
ขุนบรมคือพีล่อโก๊ะ กษัตริย์องค์ที่ ๕ ของไทยเมือง เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๒๗๑
พื้นขุนบูรมราชาธิราช เป็นหนังสือปริวรรตโดยนายพิทูร มลิวัลย์ จากต้นฉบับของกรมวรรณคดี
ลาว พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเขียนในรูปโคลงสาร มีข้อความตรงกันกับนิทานเรื่องขุนบรม ในประชุมพงศาวดาร
ภาคที่ ๗๐ ทั้ง ๒ ฉบับ มีข้อความไม่สมบูรณ์เหมือนพงศาวดารเมืองล้านช้าง
ตามพงศาวดารลาวของมหาสิลา วีระวงส์ ขุนบรมราชาธิราช คือพีลอ่ โก๊ะ ครองหนองแสหรือเมือง
แถน พ.ศ. ๑๒๗๒ เมื่อพระชันษาได้ ๓๒ ปี อีก ๒ ปีต่อมาย้ายเมืองหลวงไปอยู่นาน้อยอ้อยหนู หรือเมือง
กาหลง คือเชียงรุ่งในสิบสองปันนา และยกไปตีได้และครองเมืองต้าหอ (น่าจะสันนิษฐานว่า เต้อหง หรือ
ใต้คง ของพวกไทยเมา ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน) และให้ขุนลอ (โก๊ะล่อฝง) ครองเมืองกาหลงแทน
ขุนบรมสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๑๒๙๓
จากเรือ่ งเล่าเหล่านี้ สันนิษฐานว่า ในอดีตน่าจะมีกษัตริยไ์ ทยองค์หนึง่ ซึง่ ทรงพระปรีชาสามารถทาง
ด้านการเมืองการปกครองเหนือดินแดนบางส่วนของประเทศลาว เวียดนาม จีน และไทยในปัจจุบัน จึงมี
ต�ำนานเล่าขานกันมาในไทยเผ่าต่าง ๆ โดยมิได้จดเวลาไว้ให้แน่ชัด บางเผ่ากล่าวถึงพระเจ้าพรหมมหาราช
ซึ่งเทียบเสียงตามหลักภาษาศาสตร์ กลุ่มไทยที่ออกเสียงพยัญชนะควบกล�้ำไม่ได้ก็จะออก “พรหม” เป็น
“บูลม” ไปได้ เป็นไปได้วา่ ท้าวฮุง่ หรือพระยาเจือง ก็อาจเป็นบุคคลเดียวกันนี้ เพราะต�ำนานพระเจ้าพรหม
กับพระยาเจืองต่างก็ไปจับช้างที่ลอยตามแม่น�้ำโขงเป็นตัวที่ ๓ ได้ และต้องเอาพางค�ำไปตีเรื่องช้างขึ้นมา
บนฝัง่ ซึง่ ได้ชอื่ ว่า ช้างพางค�ำตรงกัน แต่ศกั ราชทีอ่ า้ งถึงก็อาจจะแตกต่างกันไปเพราะเป็นเรือ่ งเล่าด้วยปาก
สืบต่อกันมา
ส่ ว นข้ อ สั น นิ ษ ฐานทางวิ ช าการบางเรื่ อ งขาดหลั ก ฐานทางโบราณคดี ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ
ชาติพันธุ์วิทยาสนับสนุน เช่น ทฤษฎีของศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ไม่มีเค้าเงื่อนอย่างไรว่าอาณาจักร
เทียนแถบทะเลสาบเทียนในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นอาณาจักรของคนไทย แต่จีน
มีหลักฐานเป็นบันทึกว่ากษัตริย์ของเทียนสืบเชื้อสายมาจากแม่ทัพสมัยราชวงศ์ฉู่ ซึ่งยกทัพมารุกราน
ยูนนานราวพุทธศตวรรษที่ ๑ แล้วอยู่ปกครองเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในท้องถิ่นนั้น ๆ จนถึง พ.ศ. ๔๓๕ จึงยอม
อ่อนน้อมต่อกองทัพราชวงศ์ฮั่นยอมเป็นประเทศราช อีกศตวรรษหนึ่งต่อมาอาณาจักรเทียนล่มสลายลง
รูปแบบศิลปกรรมและวัฒนธรรมของเทียนที่พบในเขตสือไจ้ซานเป็นลักษณะของตนเอง โดยเฉพาะ
ไม่ละม้ายของไทย แต่บางอย่างคล้ายของจีนเพราะเลียนแบบจากราชวงศ์ฉแู่ ละราชวงศ์ฮนั่ และบางอย่าง
เป็นของจีนแท้ ๆ เพราะได้รับเป็นของขวัญหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนกับจีน
ส่วนข้อสมมติฐานเรือ่ งอาณาจักรน่านเจ้าของขุนวิจติ รมาตรานัน้ นักประวัตศิ าสตร์สว่ นใหญ่รบั แล้ว
ว่า ชนชัน้ ปกครองเป็นพวกโล่-โล้ คนไทยอาจเป็นประชากรของอาณาจักรเผ่าพันธุห์ นึง่ เท่านัน้ ทัง้ ประเพณี
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
108 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

การเฉลิมพระนามพระมหากษัตริย์ โดยใช้ค�ำท้ายขององค์แรกเป็นค�ำขึ้นต้นพระนามขององค์ต่อมา เช่น


พีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง และฝงกาอี ก็ไม่ใช่ประเพณีของไทย แต่เป็นของโล่-โล้ เรื่องขุนบรมจึงไม่น่าเกี่ยวข้อง
กับอาณาจักรเทียน และอาณาจักรน่านเจ้าในเอกสารประวัติศาสตร์แต่อย่างใด.

บรรณานุกรม
ขจร สุขพานิช. “ถิน่ ก�ำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย.” ใน แถลงงาน ประวัตศิ าสตร์ เอกสาร โบราณคดี.
ปีที่ ๔ เล่ม ๑. พระนคร, ๒๕๑๓.
พิทูร มลิวัลย์. พื้นขุนบูรมราชาธิราช กฎหมายธรรมศาสตร์ขุนบูรม ปีและศกไทยโบราณ. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๐.
วิจิตรมาตรา, ขุน (สง่า กาญจนาคพันธุ์). หลักไทย. พระนคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๐๖.
วีณา โรจนราธา. “ขุนบรม.” ในอักขรานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูไนเต็ด
โปรดักชัน, ๒๕๒๗.
ศิลปากร, กรม. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑. พระนคร : กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล, ๒๔๙๙.
. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๑๓.
สิลา วีระวงส์. พงศาวดารลาว. ประเทศลาว : กระทรวงศึกษาธิการลาว, ๒๕๐๐.

ขุนหลวง
ขุนหลวง เป็นค�ำขึ้นต้นพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ใช้อยู่ในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี ค�ำว่า
ขุนหลวง ประกอบด้วยค�ำ ขุน ซึ่งเดิมเป็นค�ำน�ำพระนามของพระมหากษัตริย์ หลวง คือ ใหญ่ และของ
ผู้เป็นใหญ่ คือ พระมหากษัตริย์ เช่น วังหลวง รถไฟหลวง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรง
ราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ขุนหลวง เป็นพระนามที่ ราษฎร
เรียกพระมหากษัตริย์เมื่อล่วงรัชกาลไปแล้ว
สมัยสุโขทัย ในระยะเริ่มแรกถึงสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช นิยมเรียกกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองว่า
ขุน เรียกพระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน ซึ่งแปลได้ว่า หัวหน้า หรือผู้เป็นใหญ่เหนือขุน คือมีขุนมาอ่อนน้อม
เป็นจ�ำนวนมาก เทียบได้กับแม่ทัพ ซึ่งแปลว่า หัวหน้าหรือผู้เป็นใหญ่ของทัพ ต่อมาถึงสมัยพระยาลิไทย
(พ.ศ. ๑๘๙๐–ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑) นิยมเรียกพระมหากษัตริย์ว่า พระยา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 109

สมัยอยุธยา ใช้ค�ำขึ้นพระนามพระมหากษัตริย์ว่า สมเด็จ ส่วนค�ำว่า ขุน และพระยา ซึ่งเคยเรียก


พระมหากษัตริย์กลายเป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในสมัยอยุธยา ขณะเดียวกันก็ได้ใช้ค�ำ ขุนหลวง เป็น
ค�ำน�ำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์อยู่ด้วย เช่น ขุนหลวงพะงั่ว (ขุนหลวงพ่องั่ว คือ กษัตริย์ที่เป็น
ลูกชายคนที่ ๕) เป็นพระนามของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒–๑๙๓๐) ขุนหลวงท้ายสระ
เป็นพระนามของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พ.ศ. ๒๒๕๑–๒๒๗๕) และขุนหลวงหาวัดเป็นพระนามของ
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พ.ศ. ๒๓๐๑)
ในสมัยธนบุรี ขุนหลวงตาก เป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐–๒๓๒๕).

บรรณานุกรม
ด�ำราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ. พระนคร : โรงพิมพ์
มหาดไทย, ๒๕๐๒.
ศิลปากร, กรม. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๖.

พระยางั่วน�ำถุม
พระยางั่วน�ำถุม เป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย พระนามปรากฏอยู่ในจารึกหลักที่ ๔๕
(พ.ศ. ๑๙๓๕) ซึง่ เป็นจารึกทีก่ ษัตริยส์ โุ ขทัยทรงท�ำสาบานกับกษัตริยน์ า่ น และมีขอ้ ความอ้างถึงบรรพบุรษุ
ของทั้งสองฝ่ายให้มาเป็นสักขีพยาน ในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒–ราว พ.ศ. ๑๘๔๑)
ขุนเป็นกษัตริยข์ องเมืองเล็ก ๆ ส่วนพ่อขุนเป็นกษัตริยข์ องแคว้นใหญ่หรืออาณาจักรทีม่ ขี นุ มาอ่อนน้อมเป็น
จ�ำนวนมาก ครั้นมาถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย พ.ศ. ๑๘๙๐ ถึงระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑–๑๙๑๗)
นิยมเรียกกษัตริย์ว่า พรญา ในจารึกหลักดังกล่าว ปรากฏพระนามปู่ไสสงคราม ปู่พรญาเลอไทย (พ.ศ.
๑๘๔๑– ) ปู่พรญางั่วน�ำถุม ปู่พรญามหาธรรมราชาที่ ๑ ตามล�ำดับ
จารึกหลักที่ ๔ (พ.ศ. ๑๙๐๔) มีข้อความเป็นภาษาเขมรว่า พ.ศ. ๑๘๙๐ พระมหาธรรมราชาที่ ๑
(ซึง่ ขณะนัน้ เป็นกษัตริยค์ รองเมืองศรีสชั นาลัยอยู)่ เสด็จน�ำพลพยุหเสนาทัง้ หลายเข้าประหารศัตรู แล้วเข้า
เสวยราชย์ในเมืองสุโขทัย ข้อความไม่ปรากฏชัดว่า พระยางั่วน�ำถุมทรงเป็นฝ่ายเดียวกับพระมหาธรรม
ราชาที่ ๑ หรือไม่ ถ้าเป็นฝ่ายเดียวกันเมื่อพระยางั่วน�ำถุมเป็นกษัตริย์ ก็คงจะทรงสนับสนุนให้พระมหา
ธรรมราชาที่ ๑ เป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยใน พ.ศ. ๑๘๘๓ ดังปรากฏว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑
เมื่อเสวยราชย์ได้ย่างเข้า ๒๒ ปี จึงทรงพระผนวชใน พ.ศ. ๑๙๐๔ และเมื่อเสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัย
ได้ย่างเข้า ๖ ปี จึงทรงพระนิพนธ์ไตรภูมิกถาในปีระกา พ.ศ. ๑๘๘๘ เมื่อพระยางั่วน�ำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว
พระโอรสของพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนพระมหาธรรมราชาที่ ๑ จึงเสด็จน�ำพลไปปราบ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
110 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ถ้าพระยางั่วน�ำถุมเป็นคนละฝ่ายกับพระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระยาเลอไทยก็คงทรงสนับสนุนให้
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ พระโอรสเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยใน พ.ศ. ๑๘๘๓ และเมื่อพระยา
เลอไทยสิน้ พระชนม์แล้ว พระยางัว่ น�ำถุมขึน้ เสวยราชย์ทเี่ มืองสุโขทัยแทน พระมหาธรรมราชาที่ ๑ จึงทรง
ยกพลไปปราบพระยางั่วน�ำถุม
ในสมัยสุโขทัยนิยมน�ำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน อาจสันนิษฐานว่า พระยางั่วน�ำถุมมีพ่อขุนศรีนาว
น�ำถมเป็นบรรพบุรษุ และพ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ พระราชบิดาของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช อาจจะอภิเษก
สมรสกับพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวน�ำถุมก็เป็นได้
งั่ว เป็นค�ำน�ำหน้านามแสดงว่าเป็นลูกชายคนที่ ๕ และ น�ำถุม ยังมีใช้ในภาษาถิ่นแปลว่า น�้ำท่วม.

บรรณานุกรม
ประเสริฐ ณ นคร. งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริม
และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน, ๒๕๓๔.
ศิลปากร, กรม จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยไู นเต็ดโปรดักชัน, ๒๕๒๖. (จัดพิมพ์เนือ่ งในโอกาส
ฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พุทธศักราช ๒๕๒๖).

พระยาง�ำเมือง (พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๖๑)


พระยาง�ำเมือง เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งแคว้นพะเยา (พ.ศ. ๑๘๐๑–๑๘๖๑)
พระยาง�ำเมืองประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นโอรสของขุนมิ่งเมืองแห่งราชวงศ์ขุนจอมธรรม ทรง
ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมกับพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช และพระยามังรายมหาราช ที่ส�ำนักพระสุกทันตฤๅษี
กรุงละโว้ แม้จะมีสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสามกษัตริย์ แต่ใน พ.ศ. ๑๘๑๙ พระยามังรายมหาราชทรงยกพล
ไปที่บ้านดอย อยู่ต่อแดนเชียงรายกับพะเยาเพื่อจะรบเอาเมืองพะเยา พระยาง�ำเมืองทรงยกทัพมาและ
ใช้คนมาเจรจาความเมืองกัน พระยาง�ำเมืองทรงยอมยกเขตแดน มีคน ๕๐๐ หลังคาเรือนให้ ส่วนต�ำนาน
พะเยามีข้อความว่า พ.ศ. ๑๘๐๕ พระยามังรายทรงได้เมือง ๒ เมือง คือ แช่พรานและเชียงเคี่ยนไปจาก
พะเยา และพระยาง�ำเมืองทรงมีปัญญามากและมีอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วง ฉลาด สุขุม ตั้งอยู่ใน
ทศพิธราชธรรม
พ.ศ. ๑๙๐๐ ต�ำนานพืน้ เมืองเชียงใหม่มขี อ้ ความว่า พระยาร่วง (หมายถึงพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช)
และพระยาง�ำเมืองเป็นพระสหายกัน เมือ่ พระยาร่วงเสด็จมาด�ำหัวทีแ่ ม่น�้ำโขงในวันสงกรานต์ นางพระยา
ง�ำเมืองชื่อ นางอั้วเชียงแสน ท�ำแกงถวายพระยาง�ำเมือง และถูกหยอกล้อว่าน�้ำแกงมากไปหน่อย นางอั้ว
เชียงแสนโกรธเลยไม่ยอมไปมาหาสูด่ ว้ ย พระยาร่วงทรงทราบว่านางอัว้ รักพระองค์จงึ ได้เสียกัน พระยาง�ำเมือง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 111

จับได้จึงขอให้พระยามังรายมหาราชทรงตัดสินคดี โดยให้พระยาร่วงเสียค่าปรับ และให้ท�ำพิธีสาบาน


เป็นไมตรีต่อกันระหว่างกษัตริย์ทั้งสามที่แม่น�้ำอิง เมืองเชียงราย เรื่องนี้ในพงศาวดารน่าน ในประชุม
พงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ ปรากฏว่า พระยาง�ำเมืองทรงหยอกนางอั้วสิมว่าแกงใส่น�้ำมากเกินไป นางอั้วสิม
โกรธ แต่ไปได้เสียกับเจ้าเมืองปราดซึง่ เป็นโอรสกษัตริยน์ า่ น และต่อมาได้ครองเมืองน่านชือ่ พระยาผานอง
จึงเห็นได้ว่า ผู้เป็นชู้กับนางอั้วสิมเป็นกษัตริย์น่านไม่ใช่พระยาร่วง อนึ่งน่าสังเกตว่า จารึกหลักที่ ๔๕ มีชื่อ
พ่อง�ำเมืองอยูใ่ นชัน้ พ่อหรือชัน้ อาของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสลือไทย) สมัยสุโขทัยนิยมน�ำชือ่ ปูห่ รือตา
มาตัง้ เป็นชือ่ หลาน ท�ำให้นา่ เชือ่ ถือว่า กษัตริยร์ าชวงศ์พระร่วงองค์ใดองค์หนึง่ น่าจะได้แต่งงานกับธิดาของ
พระยาง�ำเมือง จึงน�ำเอาชื่อบรรพบุรุษสายพะเยามาตั้งเป็นชื่อหลานในราชวงศ์พระร่วง
พ.ศ. ๑๘๓๕ พระยามังรายทรงเชิญพระยาร่วงและพระยาง�ำเมืองมาปรึกษาเพือ่ สร้างเมืองเชียงใหม่
พระยาง�ำเมืองและพระยาร่วงทรงปรารภว่า ที่จะสร้างเมืองกว้างและยาวสองพันวานั้น ภายหน้าอาจหา
คนรักษาเมืองไม่ได้เพียงพอ พระยามังรายจึงลดขนาดเมืองเป็นยาวพันวากว้างเก้าร้อยวา
พระยาง�ำเมืองสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๑ แต่บางต�ำนานว่า พ.ศ. ๑๘๔๑
ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่มีข้อความว่า พ.ศ. ๑๘๘๑ พระยาค�ำฟูแห่งล้านนาทรงตีพะเยาได้ ส่วน
พระยาง�ำเมืองทรงหนีไปได้ แต่ต�ำนานฉบับอื่นว่า พระยาค�ำลือทรงหนีไป ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า เพราะถ้า
พระยาง�ำเมืองยังอยู่ก็คงอายุร้อยปีแล้ว.

บรรณานุกรม
ประเสริฐ ณ นคร. งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร. นครปฐม : โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริม
และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก�ำแพงแสน, ๒๕๓๔.
พระราชวิสทุ ธิโสภณ และคณะ. “ประวัตพิ ระยาง�ำเมือง.” ใน ล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์,
๒๕๒๗. (อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์).
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พื้นเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๙.

หนังสือจามเทวีวงศ์
จามเทวีวงศ์ เป็นต�ำนานว่าด้วยพงศาวดารเมืองหริภุญชัย หรือล�ำพูน พระโพธิรังษี พระภิกษุชาว
ล้านนาแต่งเรื่องนี้เป็นภาษาบาลี เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ท่านเป็น
ผู้แต่งสิหิงคนิทานและในปริเฉทที่ ๘ ท่านได้กล่าวถึงพระเจ้าสามฝั่งแกน (ครองล้านนา พ.ศ. ๑๙๔๔–
๑๙๘๔) ว่ายังครองล้านนาอยู่จนถึงวันที่ท่านแต่งสิหิงคนิทาน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
112 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

พระโพธิรังษี ได้กล่าวไว้แต่ตอนต้นเรื่องว่า ท่านแปลเรื่องจามเทวีวงศ์จากฉบับภาษาไทย ซึ่งน่า


สันนิษฐานได้ว่ามีที่มาจากที่เดียวกันกับต�ำนานมูลศาสนา ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๘
จามเทวีวงศ์กล่าวถึงประวัตเิ มืองหริภญ
ุ ชัย และกษัตริยท์ คี่ รองเมือง จามเทวีวงศ์ฉบับหอพระสมุดฯ
จารด้วยอักษรขอม แบ่งเป็น ๑๕ ปริเฉท รวมเป็นใบลาน ๕ ผูก แต่ผูกที่ ๒ หายไป จึงขาดข้อความตั้งแต่
ปลายปริเฉทที่ ๔ ถึงปริเฉทที่ ๖
ปริเฉทที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์วา่ สถานทีน่ จี้ ะเป็นพระมหานคร พระอาทิจจราชจะได้ครอง
ราชย์และบ�ำรุงพระสารีริกธาตุ โดยมีกาเผือกฟังพระพุทธพจน์อยู่ด้วย
ปริเฉทที่ ๒ มีกุลบุตร ๔ คนบวชเป็นฤๅษี คือ พระวาสุเทพ ส�ำนักอยู่ยอดเขาอุจฉุบรรพต (เขาอ้อย)
พระพรหมิสิอยู่ในภูเขาทวิธาคค์ (เขาสองยอด) พระสัชชนาไลยอยู่เขาลตางค์ (เขาเครือเขา) และพระสุกกทันต์
อยู่ในภูเขาธัมมิก ณ เมืองละโว้
พระวาสุเทพพบกุมารและกุมารีเกิดอยู่ในรอยเท้าช้าง แรด โค และโคถึก อย่างละคู่ รวม ๔ คู่
จึงน�ำมาเลีย้ งไว้เป็นอุบาสกและอุบาสิกา นางเนือ้ มาดืม่ กินอสุจทิ พี่ ระดาบสถ่ายมูตรปนอยู่ ลูกนางเนือ้ เป็น
มนุษย์คู่หนึ่ง มีเชื้อสายสืบมา พระวาสุเทพสร้างเมืองหลายเมืองรวมทั้งเมืองรัมมนครอันเป็นสถานที่จะ
บังเกิดแห่งพระธาตุพระพุทธเจ้า
ปริเฉทที่ ๓ พระวาสุเทพให้ไปเชิญพระสุกกทันต์ ณ กรุงละโว้ มาเพื่อช่วยสร้างเมือง ให้คนไปขอ
เปลือกสังข์ใหญ่มาจากพระสัชชนาไลย เพื่อมาวางแล้วขีดเขตเมืองตามรูปเปลือกสังข์นั้น ชื่อว่า พิงคบุรี
ปริเฉทที่ ๔ ฤๅษีทั้งสองจึงให้ไปเชิญพระนางจามเทวีพระธิดาของพระเจ้าละโว้ ให้ไปครอง
เมืองพิงคบุรี
ตอนต่อจากนี้ ต้นฉบับขาดหายไปจนจบปริเฉทที่ ๖ จึงได้คดั ข้อความในชินกาลมาลีปกรณ์มาแทรก
ไว้ให้เต็มใจความว่า พระนางจามเทวีก�ำลังทรงครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางมาพร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน
พระมหาเถรทรงไตรปิฎก ๕๐๐ องค์ พระนางจามเทวีได้นั่งบนกองทองค�ำขณะอภิเษก จึงได้ชื่อว่า หริปุญชัย
พระนางประสูติพระโอรส ๒ พระองค์ องค์พี่ชื่อ มหันตยศ องค์น้องชื่อ อนันตยศ องค์พี่ครองราชย์เมื่อ
อายุ ๗ ปี พระยามิลักขะยกทัพมารบ แต่พ่ายแพ้หนีไป เจ้าอนันตยศขอให้พระมารดาสร้างเมืองให้ครอง
บ้าง ฤๅษีสุพรหมกับพรานเขลางค์ช่วยกันสร้างเขลางค์นครให้
ปริเฉทที่ ๗ พระเจ้ามิลักขราชพ่ายแพ้แก่เจ้ามหันตยศและเจ้าอนันตยศ
ปริเฉทที่ ๘ พระเจ้ามิลักขราชยกพระธิดาทั้งสองให้แต่งงานกับเจ้ามหันตยศและเจ้าอนันตยศ
พระนางจามเทวีขอให้พระวาสุเทพและพระสุกกทันต์มาราชาภิเษกเจ้ามหันตยศและให้เจ้าอนันตยศเป็น
อุปราช
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 113

ปริเฉทที่ ๙ เจ้าอนันตยศขอไปสร้างเมืองใหม่ มีนายพรานเขลาค์น�ำทางไป พระสุพรหมฤๅษี


สร้างเขลางค์นครให้
ปริเฉทที่ ๑๐ เจ้าอนันตยศขอสมณพราหมณ์จากหริภุญชัยไปเขลาค์นคร พร้อมด้วยพระนาง
จามเทวี
ปริเฉทที่ ๑๑ พระนางจามเทวีอยูเ่ ขลาค์นคร ๓ ปี เจ้าอนันตยศได้สร้างเมืองอาลัมพางคนครให้เป็น
ที่ประทับของพระนางจามเทวี แล้วพระนางจากไปอยู่อาลัมพางคนคร ๓ ปี เมื่อทรงพระประชวรจึงเสด็จ
กลับไปเมืองหริภุญชัยและสิ้นพระชนม์ที่เมืองนั้น
ปริเฉทที่ ๑๒ กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ที่ครองหริภุญชัย
ปริเฉทที่ ๑๓–๑๔ กล่าวถึงพระเจ้าอาทิตยราชได้ยกทัพไปล้อมกรุงละโว้ไว้ พระเจ้าละโว้ไม่ปรารถนา
จะรบพุ่งด้วย จึงแจ้งความจ�ำนงว่าต้องการท�ำธรรมยุทธ์ โดยท้าสร้างเจดีย์แข่งกันให้สูง ๑๕ วา ให้เสร็จ
ภายในคืนเดียววันเดียวและเวลาเดียว ผู้ใดสร้างเสร็จก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ พระเจ้าอาทิตยราชก็รับท้า
พระเจ้าอาทิตยราชมีกำ� ลังคนมากกว่าก็สร้างได้สงู พระเจ้าละโว้เห็นว่าจะสูไ้ ม่ได้ จึงให้สร้างปราสาทเทียม
ท�ำด้วยไม้หมุ้ ผ้าขาว ท�ำให้เหมือนยอดเจดียย์ กขึน้ ตัง้ ไว้ บนเจดียก์ รวดทีย่ งั ไม่แล้ว พออรุณขึน้ ก็โห่รอ้ งท�ำให้
ทหารหริภุญชัยพากันหนีไป พระราชบุตรพระเจ้าละโว้รับอาสาจะไปจับพระเจ้าอาทิตยราชมาถวาย
พระราชบิดา
เมือ่ พระราชบุตรพระเจ้าละโว้ยกกองทัพไปติดเมืองหริภญ ุ ชัย พระเจ้าอาทิตยราชก็ทา้ ท�ำธรรมยุทธ์
โดยการขุดสระแข่งกัน ให้กว้างลึกยาวเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้ขุดด้วยด้ามหอก พออรุณขึ้น ใครขุดได้
ลึกกว่าเป็นฝ่ายชนะ ชาวละโว้ขุดด้วยด้ามหอก พวกหริภุญชัยขุดด้วยหอกในเวลากลางวัน ขุดด้วยจอบใน
เวลากลางคืน จนตลอดรุ่ง ชาวหริภุญชัยจึงเป็นฝ่ายชนะ เพราะขุดได้ถึง ๑๘ ศอก
พระเจ้าอาทิตยราชสร้างเรือนส�ำหรับเสวยน�ำ้ จัณฑ์และเสด็จไปทีร่ ะเบียงเพือ่ จะถ่ายพระบังคนเบา
แต่ที่นั้นเป็นที่มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ กาซึ่งได้รับมอบหมายจากกาเผือกมอบให้
คอยพิทักษ์รักษา ก็มาถ่ายคูถให้ตกบนพระเศียรพระเจ้าอาทิตยราช เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง เมื่อจับกาได้
อ�ำมาตย์แนะน�ำไม่ให้ฆ่ากา พระเจ้าอาทิตยราชนิมิตฝันว่า ให้น�ำทารกอายุ ๗ วันไปไว้ใกล้กา เพื่อเรียน
ภาษากา จนฟังภาษากาออก แล้วให้กาไปตามกาขาวจากป่าหิมพานต์มาเล่าเรื่องสถานที่บังเกิดพระธาตุ
ให้ทราบ พระเจ้าอาทิตยราชทรงบูชาพระสรีรธาตุ และพระสรีรธาตุแสดงปาฏิหาริย์ จบกัณฑ์ที่ ๑๕
สดุภณ จังกาจิตต์ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ได้สืบค้นหาจามเทวีวงศ์ ผูก ๒ ที่ขาดหายไป ปรากฏว่าในปัจจุบัน
ต้นฉบับที่ล้านนามีข้อความขาดหายไปมากกว่าฉบับหอพระสมุด คือขาดผูก ๒ และผูก ๔
อูโบเก ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ที่ประเทศพม่า เคยเล่าว่า มีผู้แปลจามเทวีวงศ์ จากภาษาบาลีเป็น
ภาษามอญไว้แล้ว บัดนี้อูโบเกถึงแก่กรรมไปแล้ว หนังสือทั้งหมดเป็นมรดกของทายาท ซึ่งยากที่จะขอ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
114 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

อนุญาตเข้าไปอ่านได้ ขณะนี้จึงยังไม่สามารถสอบได้ว่า จามเทวีวงศ์ฉบับที่แปลเป็นภาษามอญ มีข้อความ


ในผูก ๒ อยู่ด้วยหรือไม่.

บรรณานุกรม
พระโพธิรังษี. “เรื่องจามเทวีวงศ์.” ใน พงศาวดารเมืองหริภุญชัย. แปลโดย พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ
ตาละลักษณ์) และพระญาณวิจิตร (สิทธิ โรจนานนท์). พระนคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๑๕.
สดุภณ จังกาจิตต์. “จามเทวีวงศ์ : วรรณกรรมที่ถูกลืม.” วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. เชียงใหม่ :
สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๔๐.

มหาเทวีจิรประภา (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๘๘–๒๐๘๙)


มหาเทวีจิรประภาหรือพระนางจิรประภา เป็นกษัตริย์ล้านนาครองเมืองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ.
๒๐๘๘–๒๐๘๙ เป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรล้านนาก�ำลังเสื่อมอ�ำนาจ ต่อมาก็ล่มสลายตกเป็นเมืองขึ้นของ
พม่าใน พ.ศ. ๒๑๐๑
อ�ำนาจของกษัตริยอ์ อ่ นแอลง อ�ำนาจทีแ่ ท้จริงตกไปอยูใ่ นมือของขุนนาง ซึง่ สามารถจะแต่งตัง้ หรือ
ถอดถอนกษัตริย์ได้ แต่ขุนนางเองไม่สามารถขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ เพราะประชาชนจะยอมรับเฉพาะผู้ที่เป็น
เชื้อสายของพระยามังรายมหาราชเท่านั้นขึ้นเป็นกษัตริย์ ดังปรากฏในค�ำพูดของหมื่นลกนครกล่าวแก่
แสนขานซึ่งเป็นกบฏต่อพระเจ้าติโลกราชว่า “เรานี้บ่ใช่เชื้อท้าวพญาจักเป็นท้าวพญาบ่ได้”
พระยอดเชียงรายขึน้ เป็นกษัตริยส์ บื ต่อจากพระเจ้าติโลกราชเมือ่ พ.ศ. ๒๐๓๐ และถูกขุนนางถอด
เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๘ พระเมืองแก้วซึ่งเป็นโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์แทนจนสิ้นพระชนม์ไปเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๘ พระ
เมืองเกศเกล้าซึ่งเป็นพระอนุชาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน จนถูกขุนนางปลดออกใน พ.ศ. ๒๐๘๑ ท้าวซายค�ำ
โอรสขึ้นครองราชย์แทนถึง พ.ศ. ๒๐๘๖ ขุนนางจับท้าวซายค�ำฆ่าแล้วน�ำพระเมืองเกศเกล้ากลับมาเป็น
กษัตริย์อีก จนถูกขุนนางชื่อแสนคราวฆ่าใน พ.ศ. ๒๐๘๘ เนื่องจากชาวล้านนาจะยอมรับผู้ที่เป็นกษัตริย์
เฉพาะเชื้อสายของพระยามังรายมหาราชเท่านั้น แสนคราวจึงไปเชิญพญาเขมรัฐเจ้าเมืองเชียงตุงมาครอง
เมืองเชียงใหม่ แต่พญาเขมรัฐไม่ยอมมา จึงให้ไปเชิญเจ้าเมืองนายจากแคว้นไทใหญ่ แต่เจ้าเมืองนายยัง
ไม่ทันมา ขุนนางหัวเมืองประกอบด้วยเจ้าเมืองล�ำปาง เจ้าเมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงแสน และเจ้าเมือง
พาน ก็ไปเชิญพระไชยเชษฐา อุปโยราชล้านช้าง (ซึง่ เป็นหลานตาของพระเมืองเกศเกล้า) มาครองเชียงใหม่
พระอุปโยราชรับค�ำว่าจะมา ในเวลาเดียวกัน หมื่นหัวเคียนจากเมืองแสนหวีก็ไม่พอใจที่แสนคราวปลง
พระชนม์พระเมืองเกศเกล้า จึงน�ำทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่สู้แสนคราวไม่ได้ หมื่นหัวเคียนจึงหนีไปเมือง
ล�ำพูน และขอให้อยุธยายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 115

พวกขุนนางหัวเมืองดังกล่าวประชุมกันที่เมืองเชียงแสน แล้วยกทัพมาฆ่าแสนคราวและพรรคพวก
เสีย ยกมหาเทวีจิรประภา (สันนิษฐานว่าเป็นพระมเหสีของพระเมืองเกศเกล้า) ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ
พ.ศ. ๒๐๘๘ พญาบรมไตรจักรแห่งอยุธยา (คือสมเด็จพระไชยราชาธิราช) ทรงยกทัพมาถึงเมืองเชียงใหม่
มหาเทวีจริ ประภาจึงแต่งเครือ่ งบรรณาการไปถวาย พญาบรมไตรจักรทรงบริจาคเงินสร้างกูเ่ ฝ่า (ทีเ่ ก็บอัฐิ
ของพระเมืองเกศเกล้า) เสด็จไปสรงน�้ำที่เวียงเจ็ดลิน แล้วเสด็จกลับอยุธยา ขณะเดียวกันกองทัพไทใหญ่
จากเมืองนายมาตัง้ ทัพทีส่ วนดอก แต่ถกู กองทัพเชียงใหม่ของมหาเทวีจริ ประภาตีแตกพ่ายกลับไป ทีเ่ มือง
เชียงใหม่ได้เกิดแผ่นดินไหว เจดีย์วัดเจดีย์หลวง เจดีย์วัดพระสิงห์ และเจดีย์องค์อื่น ๆ หักพังลงมาก
สามเดือนต่อมาทัพล้านช้างของพระอุปโยราชยกมาเสริมก�ำลังเมืองเชียงใหม่ เป็นเหตุให้พญาบรมไตรจักร
ทรงส่งเจ้าเมืองสุโขทัยมาตีได้เมืองล�ำพูน และทัพหลวงยกมาตีเมืองเชียงใหม่ แต่ถูกตีพ่ายแพ้เสียทหาร
จ�ำนวนมาก
พ.ศ. ๒๐๘๙ พระอุปโยราชเสด็จจากล้านช้างมาถึงเมืองเชียงใหม่ มหาเทวีจิรประภาได้ถวาย
เมืองให้พระอุปโยราชขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ จนถึง พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าโพธิสาร พระบิดา
พระอุปโยราชสิ้นพระชนม์ลง พระอุปโยราชจึงเสด็จกลับล้านช้างเพื่อไปร่วมพิธีศพพระบิดาพร้อมทั้ง
อัญเชิญพระพุทธรูปส�ำคัญ เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ไปให้ชาวล้านช้างสักการบูชา รวมทั้ง
น�ำช่างฝีมือต่าง ๆ ไปด้วย แต่นั้นมา บ้านเมืองล้านนาก็เกิดกลียุคเพราะขุนนางรบพุ่งฆ่าฟันกันเอง
หลายครั้ง พระยาแพร่ พระยานครล้านช้าง และพระยาหัวเวียงล้านช้างจึงถือโอกาสยกทัพมารุกราน
เชียงใหม่ แต่ถูกตีกลับไป
พ.ศ. ๒๐๙๑ พระไชยเชษฐา พระอุปโยราชได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ที่ล้านช้าง ต่อมาใน
พ.ศ. ๒๐๙๔ ทรงตัดสินพระทัยที่จะครองราชย์ที่ล้านช้าง จึงทรงส่งคนน�ำธูปเทียนข้าวตอกดอกไม้จาก
ล้านช้างมาขอสมาพระสงฆ์ทเี่ มืองเชียงใหม่วา่ จะไม่เสด็จกลับมาเชียงใหม่อกี ขอให้มหาเทวีจริ ประภาครอง
เมืองต่อไป แต่พวกขุนนางกลับไปเชิญท้าวเมกุฎ (พระนามที่ถูกต้อง คือ ท้าวแม่กุ หมายความว่า เจ้าแห่ง
แม่น�้ำกุ) จากเมืองนายซึ่งเป็นเชื้อสายของพระยามังรายมหาราช ให้มาเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ในปีนั้น
หลังจากนี้ก็ไม่ปรากฏชื่อมหาเทวีจิรประภาในพระราชพงศาวดารอีกเลย.

บรรณานุกรม
ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่, ๒๕๓๙. (จัดพิมพ์เนื่องใน
โอกาสเชียงใหม่ครบ ๗๐๐ ปี).
ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : ชูวัน, ๒๔๙๘.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. เชียงใหม่, ๒๕๓๙.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่, ๒๕๔๒.
บทความวิชาการเรื่อง
ลายสือไทย
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 117

ลายสือไทย๑

ก�ำเนิดลายสือไทย
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช
๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว
ชาติไทยได้สะสมความรูท้ งั้ ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถา่ ยทอดความรูเ้ หล่านัน้ สืบ
ต่อกันมาโดยอาศัยลายสือไทยของพระองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรือง
อยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์
ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมา
อย่างไรบ้างในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคน
จึงควรน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช มีข้อความปรากฏว่า “เมื่อก่อนลายสืไท
นี้บ่มี ๑๒๐๕ สกปีมแมพ่ฃุนรามคแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี้ลายสืไทนี้จี่งมีเพื่อฃุนผู้น้นนใศ่ไว้”
หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ใจในใจ แปลว่า ค�ำนึงในใจ (จากพจนานุกรม ไทยอาหม)
ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลา
จารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในต�ำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า ค�ำ
ที่ใช้ในจารึกมีค�ำ นี้ อยู่ต่อค�ำ ลายสือ ทุกแห่ง (๓ แห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน
มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ยังเห็นว่า พวก
ไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางล�ำนํ้ายม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ๒ ต่อมาขอมมีอ�ำนาจ
ปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลงอักษรเดิมของไทย
มาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติวา่ อักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษร
อาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉํ่า ทองค�ำวรรณ
ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง” ไว้ และได้
สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามค�ำแหงทุกตัวดัดแปลงมาจาก อักษรขอมหวัด


ตัดตอนจากบทความเรื่อง ลายสือไทย เรียบเรียงโดย ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ลงพิมพ์ในหนังสือ รวมบทความเรื่องภาษา
และอักษรไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๗ หน้า ๑๙-๒๔.

ต�ำนานอักษรไทย, หน้า ๑, ๖ และ ๑๑.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
118 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

หนังสือจินดามณี เล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติ เลขที่ ๑๑ เป็นสมุดไทยด�ำ มีข้อความเหมือน


กับจินดามณี ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า
มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลย
ได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไว้แจ้ง อนึ่งแม่หนังสือ แต่ ก กา กน ฯลฯ
ถึงเกอย เมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามค�ำแหง
มิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนแปลงอักขรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่า
เดิมอีกหลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้

มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่
ผูเ้ ขียนเคยบรรยายไว้ทหี่ อสมุดแห่งชาติ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้า ลายสือไทยนีบ้ ม่ ี หมายความ
ว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึง
เมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้ค�ำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมา
ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้ เป็นแต่ค�ำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะ
ตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้นที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่า
มีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลา
ใกล้เคียงกับการก่อก�ำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้๑
ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี ค�ำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ใน ลายสือ หรือ
รากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจ�ำ เช่น ได้จื่อจ�ำไว้ บูราณยีบอก
ประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งต�ำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ
พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนไทยเผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้น
ขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือต�ำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็น
ส่วนมาก ประวัติศาสตร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียน
จึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราว
ย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน
อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า
คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่หรือ
สิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใด
ที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ท�ำไมจึง
ไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น


หนังสือรวบรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 119

ตัวหนังสือของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึก
หลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรน�ำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่า เข้าไป
ในล้านนา เมือ่ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมือ่ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือ
สุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือ
ชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขามซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของ
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชอยู่กว่า ๑๐ หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้
ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง
ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถํ้านางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัยซึ่งมี
ลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๑)
ไทยขาว ไทยด�ำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่
กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช
ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลาย
กว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลีย่ นแปลงให้ผดิ ไปจากของทีเ่ คยชินแล้วท�ำได้
ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนค�ำว่า “น�้ำ” บัดนี้ออกเสียงเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรง
กับเสียง
ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครองก็จ�ำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือ
ที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้
เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลง
ตัวหนังสือที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือ
จีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุน
รามค�ำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยามาแต่เดิม
หากมีตวั อักษรไทยเดิมอยูแ่ ล้ว พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตวั อักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลง
จากนัน้ บ้างเล็กน้อยแทนทีจ่ ะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนัน้ มีเค้าเงือ่ นอยูใ่ นพงศาวดาร
เหนือว่าพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ
ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีน เพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพ ผิดกับหลักการเขียนเป็น
รูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชคล้ายตัวหนังสือลังกา
บังกลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไป
ทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีอยู่ก่อนแล้ว
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
120 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

สมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรค
เดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือ
ไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนึ่งคือไทยอาหมและไทยค�ำที่ (ข�ำตี้) ออกเสียงค�ำ อัน คล้ายกับค�ำ อาน
แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียงค�ำ อัก-อาก อัง-อาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดย
ออกเสียงค�ำต้นสั้นกว่าค�ำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้น
แล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงใช้ อวว (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่
จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่
จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรง
ประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่า มีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว
พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษร
มอญมาใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียงกัน ดังตัวอย่างตัวอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙
ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะ
คนไทยเพิ่งจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึก
หลายท่านเชื่อว่ารูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุน
รามค�ำแหงมหาราชเป็นระยะเวลานานทีเดียว

คุณวิเศษของลายสือไทย
๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชมีลกั ษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอนื่ ซึง่ เป็น
ลูกศิษย์ของชาวอินเดีย กล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ
และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียง
เป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียงเป็น ปีน เปน หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่าน
จะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะ สระ อีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่า
ได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากบาท) จนท�ำให้สามารถ
เขียนค�ำไทยได้ทุกค�ำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจาก ตา-กลม ท�ำให้อ่านข้อความได้
ถูกต้อง ไม่ก�ำกวม กล่าวคือ ถ้าเป็นอักษรควบกลํ้าให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป
เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 121

๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ น�ำสระมา


เรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระ
เหล่านัน้ ถูกดึงกลับไปไว้ขา้ งบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทัง้ นีเ้ พราะคนไทยเคยชินกับ
วิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นต�ำรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุน
รามค�ำแหงมหาราชอยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้ง
ช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระอุ อู วรรณยุกต์ และ สระอือ รวมเป็นช่องว่าง
ที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูลและการค้นหาข้อมูล
จะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะ
ต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวก
สระบน เช่น สระอี อึ ครัง้ ทีส่ ามกวาดพวกพยัญชนะ และครัง้ ทีส่ กี วาดพวกสระล่าง คือ สระอุ อู จึงท�ำให้
เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว
ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง
ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย
ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช คือ พยัญชนะ
ทุกตัวเขียนเรียงอยูบ่ รรทัดเดียวกัน ไม่มตี วั พยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และ
อฏ
ไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น เซเดส์
ฐ ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของ
ชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการส�ำคัญยิ่ง และควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้จะรู้สึก
พระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวกขึ้นข้อนี้ให้มาก อนึ่ง
ในสยามประเทศทุกวันนี้ การคิดแบบเครือ่ งพิมพ์ดดี และการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุง่ เรือง เป็นประโยชน์
ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการ นับว่าเพราะพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชได้ทรงพระราชด�ำริเปลี่ยนรูป
อักษรขอมแลเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศทีย่ งั ใช้วธิ ซี อ้ นตัวพยัญชนะ
เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านัน้ เป็นการยาก ไม่สจู้ ำ� เริญ แลยัง
ไม่มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดส�ำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (ต�ำนานอักษรไทย
พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางของ ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขึ้นไปกว่าอักษรตัว
อื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะ รวมทั้งสระ
โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบน จะไม่หักหายไปอย่าง
ในปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว
พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อ
พยัญชนะตัวหนึ่ง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
122 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ท�ำให้สามารถ


อ่านความหมายของค�ำได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่าเราเข้าใจภาษา
ไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน ค�ำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น
ปี๋น เปน เป่น เป้น เป๊น เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น ๑๕ ค�ำ ถ้าไม่อ่านข้อความ
ประกอบจะไม่ทราบว่าค�ำที่ถูกต้องเป็นค�ำใดกันแน่ แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชอ่านได้
เป็น ปีน แต่อย่างเดียว
ปัจจุบันนี้ คนไทยได้เลิกใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชไปบางส่วน ท�ำให้ข้อความ
ที่เขียนก�ำกวมขึ้น กล่าวคือ ข้อความว่า ตากลม อาจอ่านว่า ตา-กลม หรือ ตาก-ลม ก็ได้ แต่อักขรวิธี
แบบใหม่ก็ให้ประโยชน์ด้านประหยัดและด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพิ่มขึ้น ส่วนการที่น�ำเอาสระ
ขึ้นไปไว้ข้างบนและข้างล่างของพยัญชนะตามความเคยชินนั้นท�ำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น
สองเท่าตัวดังกล่าวมาแล้วในข้อที่ ๓ โดยมิได้ประโยชน์อื่นตอบแทนเลย จึงน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

อักขรวิธีลายสือไทย
๑. พยัญชนะต้นและสระเขียนเชื่อมติดต่อกัน เช่น กา
๒. ตัวสะกดเขียนแยกออกไป เช่น การ เขียนเป็น กา ร
๓. อักษรควบเขียนเชื่อมติดกัน เช่น กราน เขียนเป็น กรา น
๔. อักษรน�ำเขียนเชื่อมกับอักษรตาม เช่น แหนง เขียนเป็น แหน ง
๕. ไม้หันอากาศยังไม่มีใช้ ก�ำหนดให้ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน หรือพยัญชนะวรรคเดียวกัน
เขียนเชื่อมกันสองตัวแทน เช่น อัน เขียนเป็น อ นน และ อัง เขียนเป็น อ งง
๖. สระ ออ และ อือ ไม่ต้องมี อ เคียง เช่น เขียน พ่ชื่ แทน พ่อชื่อ
๗. สระ อิ อี อือ อุ อู น�ำมาเขียนข้างหน้าติดกับพยัญชนะต้น เช่น ป น แทน ปีน
๘. สระ เอือ ประกอบด้วย สระ อือ สระ เอ พยัญชนะต้น ตัว อ เรียงกันไป โดยตัวอักษร
แต่ละตัวเชื่อมกับตัวที่อยู่ถัดไปข้างหลังตามล�ำดับ เช่น เมือง เขียนเป็น เมอ ง และ เมือ เขียน เป็น
เมอ อ มี อ มาเคียงแทน ตัว ง สะกด
๙. นฤคหิต ใช้แทนตัว ม สะกด เช่น ชํ แทน ชม แต่รูปเป็นครึ่งวงกลม แทนที่จะเป็นวงกลม
ทั้งวง
๑๐. สระ เอีย ประกอบด้วยสระ อี พยัญชนะต้น ตัว ย เรียงกันไป โดยแต่ละตัวเชื่อมกับตัว
ที่อยู่ถัดไปข้างหลังตามล�ำดับและมีตัว ย เคียงอีกตัวหนึ่ง แต่วางไว้ห่างออกไป เช่น เมีย เขียน เป็น มย ย
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 123

เมื่อมีตัวสะกด เช่น เวียง เขียนเป็น วย ง โดยตัดสระ อี และเอาตัวสะกดไปแทน ตัว ย เคียง


ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะออกเสียง วะยง เร็ว ๆ ก็ฟังคล้าย เวียง อยู่แล้ว
๑๑. สระลอยมีเพียงตัวเดียว คือ สระ อี แต่ในศิลาจารึกหลักที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๐๐ มีสระลอย
สองตัว คือ สระ อี และสระ อือ
ตัวพยัญชนะไทยซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๔๔ ตัวนั้น ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพียง ๓๙ ตัว
ขาด ฌ ฑ ฒ ฬ และ ฮ แต่เชื่อได้ว่า ๔ ตัวแรกคงจะมีใช้อยู่แล้ว เพราะ ฌ ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลัก
ที่ ๒ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๒ ส่วน ฑ ฒ และ ฬ๑ ปรากฏในยุคอยุธยา แต่ ฮ ไม่ปรากฏในจารึก
สมัยสุโขทัยและอยุธยาเลย แม้ตัวหนังสือที่ลาลูแบร์รวบรวมไว้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ไม่มี
ตัว ฮ ฉะนั้น ฮ จึงน่าจะเกิดขึ้นใหม่ในยุคปลายอยุธยา ยุคธนบุรี หรือยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นายฉํ่า
ทองค�ำวรรณ เคยรายงานไว้ว่า มีตัว ฮ ในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙ คือ ข้อความว่า เหนือฮั่น
แต่ผเู้ ขียนพยายามสอบหาจารึกอยูส่ บิ กว่าปีเพือ่ สอบดูใหม่ เพราะจารึกสุโขทัยหลักอืน่ ใช้ หัน้ หลายแห่ง
แต่ไม่เคยใช้ ฮั่น เลย ข้อความน่าจะเป็น เหนืออั้น มากกว่า ในที่สุดเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ช่วยกัน
สอบทานแล้วที่ถูกเป็น เหนืออั้น


ฒ ปรากฏในจารึกวัดบูรพาราม สุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๖ และ ฬ ปรากฏในจารึกวัดอโสการาม สุโขทัย ประมาณ
พ.ศ. ๑๙๔๒ และจารึกวัดบูรพาราม.
บทความวิชาการจาก
พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย
สมัยสุโขทัย
ไตรภูมิกถา
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 125

บรรดาศักดิ์สมัยสุโขทัย
ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก ต�ำแหน่งผู้บังคับบัญชาคนของสุโขทัยคล้ายคลึงกับของล้านนา
และไม่ปรากฏว่าใช้บรรดาศักดิ์แบบอยุธยา
จากมังรายศาสตร์ฉบับอ�ำเภอเสาไห้ พ.ศ. ๒๓๔๒ ก�ำหนดต�ำแหน่งผู้บังคับบัญชาคนของ
ล้านนาว่ามีดังนี้ ไพร่สิบคนให้มีนายสิบผู้หนึ่ง และมีข่มกว้านเป็นล่ามติดต่อการงาน ล�ำดับต่อไปมี
นายห้าสิบ นายร้อย ล่ามพัน เจ้าพัน ล่ามหมื่น เจ้าหมื่น และท้าวพระยา แต่ในจารึกล้านนา ปรากฏว่า
มีนายซาว ซึ่งควบคุมไพร่ยี่สิบคนอยู่ด้วย
สมัยที่พระยายุธิษเฐียรเอาใจออกหากจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถไปเข้ากับพระเจ้า
ติโลกราชแห่งเชียงใหม่ เจ้าเมืองมีตำ� แหน่งเป็นเจ้าหมืน่ หรือหมืน่ ในขณะทีพ่ ระยายุธษิ เฐียรเป็นเจ้าเมือง
สี่เมืองได้เป็นเจ้าสี่หมื่นพระเยา
จารึกสุโขทัยมีค�ำ หัวปาก (เท่ากับ นายร้อย ดูจารึกหลักที่ ๘๖) ล่ามหมื่น ล่ามพัน (ค�ำว่า พัน
หักหายเหลือ พ เพียงครึ่งตัว ดูหลักที่ ๔๕) นายพัน (หลักที่ ๑๕) ส่วน ขุน ในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง
มหาราชเป็นเจ้าเมือง หรือกษัตริย ์ ค�ำ พ่อขุน แปลว่าผูเ้ ป็นใหญ่เหนือขุนทัง้ หลาย เหมือนแม่ทพั เป็นใหญ่
ในทัพ พ่อขุนมีขุนมาเป็นบริพารหลายเมืองด้วยกัน มาถึงสมัยพระเจ้าลิไทยใช้ พระยา น�ำพระนาม
กษัตริย์
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์เป็นสมเด็จเจ้าพระยา ในที่สุดพระบาทสมเด็จ จึง
จะเป็นกษัตริย์ ส่วนขุน พระยา สมเด็จเจ้าพระยา กลายเป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางไป
ไทอาหมมีต�ำแหน่งหัวซาว (นายยี่สิบ) หัวปาก (นายร้อย) และหัวริง (นายพัน) จึงน่าจะ
สันนิษฐานได้ว่า ก่อนที่ไทยจะแยกย้ายจากกันมาเป็นไทอาหม ล้านนา และสุโขทัยนั้นคงได้ใช้ต�ำแหน่ง
แบบนี้มาก่อนแล้ว
ส่วนอยุธยาปรากฏตามพระราชพงศาวดารฉบับปลีกว่า ตอนต้นรัชสมัยสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถ ยังใช้เรียกเจ้าประเทศราชเป็นพรญาอยู่ เวลายกทัพไปมีแม่ทัพนายกอง ส่วนใหญ่เป็นขุน
เช่น ขุนก�ำแพงเพชร และมี หมื่น อยู่บ้าง ต่อมาตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปรากฏ
ตามพระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือน ว่ามีต�ำแหน่ง พระ หลวง ขุน หมื่น ลงไปจนถึง นายหัวสิบ แสดงว่า
รับแบบบรรดาศักดิ์จากเขมรเข้ามาใช้ร่วมกับต�ำแหน่ง หมื่นพัน ฯลฯ ซึ่งเป็นของเดิม หรือมิฉะนั้น
ก็อาจน�ำเอาต�ำแหน่งเจ้าประเทศราช (เจ้าพรญา พรญา) และต�ำแหน่งเจ้าเมืองที่เป็นเมืองขึ้น (ขุน)
มาเป็นต�ำแหน่งขุนนางอยุธยา
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
126 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ในไตรภูมิกถามีแห่งเดียวที่ใช้ พระ หลวง ขุน หมื่น จึงน่าจะเป็นข้อความที่ผู้คัดลอกชั้นหลัง


ได้เติมเข้าไป เพื่อให้คนสมัยของตนเข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ไตรภูมิกถาฉบับอยุธยาใช้ค�ำ
เคียดฟุน ซึ่งแปลว่า โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ (เชียงใหม่ยังใช้ เคียด แต่ออกเสียงเป็น เกี้ยด แปลว่า โกรธ อยู่)
แต่ฉบับธนบุรีและฉบับรัตนโกสินทร์แก้เป็น เดือดฟุ้ง เพื่อให้คนสมัยนั้นเข้าใจความหมายได้.

หนังสืออ้างอิง
๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก – ข้อมูลประวัติศาสตร์ในรอบศตวรรษ (พ.ศ. ๒๕๒๐-
๒๕๓๐) ของสมาคมประวัติศาสตร์.
๒. พระไอยการต�ำแหน่งนาพลเรือน – กฎหมายตราสามดวง กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่.
๓. มังรายศาสตร์. พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงโหตรกิตยานุพัทธ์ (อาสา โหตระกิตย์)
พ.ศ. ๒๕๑๔.

ผู้นิพนธ์และวันนิพนธ์ไตรภูมิกถา
ผู้นิพนธ์
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ข้าพเจ้าได้เขียนบทความเรื่องประวัติศาสตร์สุโขทัย และได้แสดงให้เห็นว่า
พระเจ้าลิไทยนิพนธ์ไตรภูมิกถาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ แต่มาจนถึงบัดนี้ก็ยังมีผู้อ้างพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ
กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพว่า ปีนิพนธ์ศักราช ๒๓ ปีระกาไม่ทราบว่าปีใด กรณีคล้ายคลึงกันใน
พ.ศ. ๒๔๘๗ ข้าพเจ้าได้แสดงให้เห็นว่า โคลงนิราศหริภญชัยแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ ศรีทิพเป็นผู้หญิง
มิใช่ผู้แต่ง แต่จนบัดนี้คนจ�ำนวนมากก็ยังอ้างว่า นายศรีทิพ เป็นผู้แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๐
ต่อมา นายไมเคิล วิกเกอรี เขียนบทความคัดค้านว่า ผู้นิพนธ์ไตรภูมิกถาน่าจะเป็นพระยา
ไสยลิไทย พระราชนัดดาของพระเจ้าลิไทยมากกว่า โดยอ้างความในอวสานพจน์ว่า “พระยาลิทัยผู้เป็น
หลานปูพ่ ระยาเลลิทยั ผูเ้ สวยราชย์ในเมืองศรีสชั นาลัยแลสุกโขทัย ผูเ้ ป็นหลานแก่พระรามราช” ผูน้ พิ นธ์
จึงเป็นหลานของพระเจ้าลิไทยผู้เป็นหลานพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชอีกต่อหนึ่ง ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี
ทรงรับความเห็นนี้และทรงต�ำหนิว่าข้าพเจ้าปิดบังความจริง กล่าวถึงแต่บานแพนก ไม่กล่าวถึงอวสานพจน์
ไว้ด้วย
ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อความในบานแพนกและอวสานพจน์เป็นข้อความเดียวกัน แต่คดั ลอกหลาย
ครั้งจนคลาดเคลื่อนกลายเป็นคนละเรื่องไป และเห็นว่าข้อความตอนต้นผู้คัดยังมีสมาธิไม่เมื่อยล้าจึงน่า
เชื่อกว่าข้อความตอนอวสาน ซึ่งผู้คัดเบื่อหน่ายมากแล้ว ฉะนั้นจึงถือว่า “เจ้าพญาเลไทยผู้เป็นลูกแห่ง
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 127

เจ้าพญาเลลิไทยผู้เสวยราชสัมปัตติในเมืองศรีสัชชนาลัยแลสุกโขทัย แลเจ้าพญาลิไทยนี้ ธ เป็นหลาน


เจ้าพระยารามราชผู้เป็นสุริยวงศ์ แลเจ้าพรญาเลไทยได้เสวยราชสมบัตติในเมืองสัชชนาลัยอยู่ได้ ๖ เข้า
จึงได้สร้างไตรภูมิกถานี้” ถูกต้องกว่า กล่าวคือ พระยาลิไทยเป็นลูกพระยาเลอไทย และพระเจ้าลิไทย
เป็นหลานพระยารามราช (พ่อขุนรามค�ำแหง) โดยถือแบบไทยใหญ่วา่ รูปสระอีแทนเสียงสระหน้าทัง้ หมด
คือ อี เอ หรือ แอ ได้ เช่น เขียน ปีน อาจหมายความว่า ปีน เป็น หรือ แป้น ก็ได้ ลิไทยจึงพออนุโลมว่า
ตรงกับเลไทยได้ ส่วนเลลิไทย เดิมน่าจะเขียน เลิไทย ออกเสียงว่าเลอไทย (เทียบกับค�ำ เลิก) แต่ผู้อ่าน
ยุคหลังเปลี่ยนอักขรวิธีไปแล้ว จึงอ่านไม่ออก เลยเข้าใจว่าจะต้องออกเสียงเหมือนมี ล สองตัว คือ เลลิ
เหมือนอักขรวิธีล้านนาและอีสานซึ่งเขียน จูอง อ่านเป็น จูงจ่อง ได้
เมื่อตกลงว่า พระยาลิไทยนิพนธ์ไตรภูมิกถาเมื่อเสวยราชย์ในศรีสัชชนาลัย (ยังไม่ได้ครอง
อาณาจักรสุโขทัย) ได้ ๖ เข้าแล้ว ก็อาจค�ำนวณได้จากจารึกหลักที่ ๕ ว่าพระองค์เสวยราชย์ได้ ๒๒
เข้าลุ พ.ศ. ๑๙๐๔ (ถ้านับแบบลังกาคือแบบปีย่าง จะเป็น พ.ศ. ๑๙๐๕) ปีนิพนธ์ไตรภูมิกถาเสวยราชย์
ได้ ๖ เข้าจะตรงกับ พ.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๖ = พ.ศ. ๑๘๘๘ ส่วนปีนิพนธ์คือศักราช ๒๓ ปีระกานั้นยังไม่มี
ผู้ใดทราบว่าเป็นศักราชอะไร แต่ พ.ศ. ๑๘๘๘ ตรงกับปีระกายันกันอยู่

วันนิพนธ์
(๑) ในบานแพนก มีข้อความว่า วันนิพนธ์ วันพฤหัสบดี เพ็งเดือนสี่
(๒) ในอวสานพจน์ว่า วันนิพนธ์ วันพฤหัสบดี เพ็งเดือนสิบ
(๓) ต่อจาก ข้อ (๒) มีข้อความว่า “มฤคเศียรนักษัตร” เมื่อเป็นวันเพ็ญควรจะตรงกับเดือน
อ้าย
การคัดตัวเลขอาจผิดพลาดได้ง่าย จึงน่าเชื่อถือว่าวันนิพนธ์ควรจะเป็นเดือนอ้าย วันเพ็ญ
ตรงกับวันพฤหัสบดี
เมือ่ สอบกับวันในสัปดาห์แล้ว วันเพ็ญเดือนอ้าย พ.ศ. ๑๘๘๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี แต่วนั เพ็ญ
เดือนสี่หรือเดือนสิบไม่ตรงกับวันพฤหัสบดี จึงช่วยยืนยันว่า วันนิพนธ์ไตรภูมิกถา ตรงกับวันพฤหัสบดี
วันเพ็ญ เดือนอ้าย ปีระกา พ.ศ. ๑๘๘๘
หากจะให้สนั นิษฐานว่า การคัดลอกเดือนอาจจะผิดพลาดมาอย่างใด ก็อาจสันนิษฐานว่าเดิม
เขียนเดือนอ้ายเป็นตัวเลขคือเดือน ๑ แล้วมีจุดเปื้อนมาต่อท้ายท�ำให้อ่านเป็นเดือน ๑๐ แล้วเขียนเป็น
ตัวหนังสือเวลาคัดหรืออ่านได้ยินเป็นเดือนสี่ไปอีกต่อหนึ่ง.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
128 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

ไพร่
ไพร่ หมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งยามปรกติเป็นพลเรือน ยามสงครามเป็นทหาร ไพร่สิบคน
มีหัวหน้าคนหนึ่ง เรียกว่า นายสิบ ไพร่ร้อยคนมีหัวหน้า คือ หัวปาก ล�ำดับต่อไปมีหัวพัน หัวหมื่น และ
เจ้าแสน การปกครองแบบนี้ใช้อยู่ในสุโขทัย ล้านนา ไทยอาหม ฯลฯ สมัยโบราณ
.
ไพร่ฟ้าข้าไท
จารึกหลักที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๓๕) หลักที่ ๓ (พ.ศ. ๑๙๐๐) และหลักที่ ๕ (พ.ศ. ๑๙๐๔) ใช้ ไพร่ฝ้า
ข้าไท หมายถึง ประชาราษฎร เช่น จารึกหลักที่ ๕ ว่า “พระยาลือไทย...รู้ปราณีแก่ไพร่ฝ้าข้าไท
ทั้งหลาย” กฎหมายตราสามดวงใช้ ไพร่ฟ้าข้าไท หลายแห่ง ตัวอย่างเช่น
“เจ้าเมืองเอาพลไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายออกเลี้ยงนอกเมือง” และใช้ “อณาประชาราษฎรไพร่ฟ้า
ข้าขอบขัณฑเสมา”
ไพร่ คู่กับ ฟ้า แต่เดิมคงมีความหมายเท่ากับ ข้า คู่กับ ไท เพราะจารึกหลักที่ ๑ ชอบใช้วลีที่
มีความหมายอย่างเดียวกันซ้อนกัน เช่น ข้าเสิกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบ กฎหมายตราสามดวงกล่าวถึง
“ข้าหนีเจ้า ไพร่หนีนาย”
ข้า คงไม่เท่ากับ ทาส เพราะจารึกหลักที่ ๓ มีข้อความว่า “ไพร่ฝ้าข้าไทขี่เรือไปค้า ขี่ม้าไป
ขาย” ถ้าปล่อยให้ทาสไปค้าขาย ก็คงจะหลบหนีกันไปหมด
ต่อมาถึงสมัยอยุธยา ไพร่ของฟ้า คงจะหมายถึง คนของหลวง และ ข้าของไท หมายถึง บริวาร
ของผู้เป็นนาย และท้ายที่สุด ในกฎหมายตราสามดวงได้ลดฐานะของข้าลง โดยใช้ “ถ้าไพร่ฟ้าทาษไท
ใคร ๆ หนีนายหนีเจ้า”
นอกจากนี้ จารึกสุโขทัยยังกล่าวรวมไพร่ฝ้าข้าไทไปกับทรัพย์ศฤงคารของบุคคล เช่น “ช้าง
ขอ ลูกเมีย เยียข้าว ไพร่ฝ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู (ของ) พ่อเชื้อมัน” (จารึกหลักที่ ๑) และ “ช้างม้าข้าไท
ทั้งหลาย” (จารึกหลักที่ ๑๐๒) ไตรภูมิกถากล่าวถึง “มีช้าง มีม้า มีข้า มีไท แกล้วหาญ มีรี้พลเพียงดัง
พระอินทร์” ไท หมายถึง ผู้มีอิสระแก่ตน ดังจะเห็นได้จากจารึกหลักที่ ๑๐๖ ว่า “ข้าและเมียมัก (รัก)
กันให้ขา (เขาทั้งสอง) แก่กันไปเป็นไท”.
อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร 129

พระเกตุ
พระเกตุ (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ มีเลข ๙ เป็นเครื่องหมาย
พระเกตุมีปรากฏอยู่ในดวงชาตาซึ่งผูกขึ้นในสมัยหลังนี้ แต่ไม่ปรากฏในจารึกทั้งภาคเหนือ
และเชียงตุงสมัย พ.ศ. ๒๐๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๙ รวมทั้งจารึกเรื่องสร้างวัดบรมนิวาส พ.ศ. ๒๓๗๗ ด้วย
ในเตภูมิกถามีพระชาตาวันตรัสรู้ วันปรินิพพาน และวันธาตุนิพพาน ซึ่งมีพระเกตุอยู่ราศี
พฤษภ แต่ขาดลัคนาซึ่งจ�ำเป็นจะต้องปรากฏในพระชาตาด้วย ตามพระชาตาที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงให้โหรค�ำนวณไว้ ทัง้ พระชาตาวันตรัสรูแ้ ละวันปรินพิ พาน ลัคนาอยูร่ าศีพฤษภ
แต่พระเกตุอยูร่ าศีอนื่ จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ผูค้ ดั ลอกเตภูมกิ ถาคงจะส�ำคัญผิดอ่าน ล ซึง่ แทนลัคนาเป็น
พระเกตุไป เพราะสมัยโบราณ เลข ๙ ซึ่งแทนพระเกตุ มีลักษณะเหมือน ล อยู่ด้วย.

นาที
นาที ในเตภูมิกถาตรงกับมหานาทีที่ใช้ในโหราศาสตร์ และเป็นหน่วยเวลาเท่ากับ ๒๔ นาที
ตามเวลาปัจจุบัน ในที่นี้จะใช้ค�ำ “มหานาที” แทน “นาที (โบราณ) ในเตภูมิกถา” เพื่อป้องกันความ
เข้าใจสับสนระหว่างนาทีโบราณกับนาทีปัจจุบัน
ทางโหราศาสตร์ วันหนึ่งแบ่งออกเป็น ๖๐ มหานาที ๑ มหานาทีจึงเท่ากับ ๒๔ นาที ปัจจุบัน
เตภูมิกถาอธิบายว่า วันที่กลางวันกลางคืนเท่ากันนั้น กลางวันยาว ๑๕ มหานาที (๖ ชั่วโมง) และกลางคืน
ยาว ๑๕ มหานาที (๖ ชั่วโมง) หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร์) อธิบายไว้ในต�ำราโหราศาสตร์
เล่ม ๓ ว่า กลางวัน (กลางของวัน) ก�ำหนดแต่เวลาเที่ยงวันมาถึงเวลายํ่าคํ่า (เท่ากับครึ่งวัน) และ
กลางคืน (กลางของคืน) ก�ำหนดแต่เที่ยงคืนถึงยํ่ารุ่ง (เท่ากับครึ่งคืน) ถ้านับกลางวันเต็มวันจะเป็นเวลา
๓๐ มหานาที เท่ากับ ๑๒ ชั่วโมง
ในเวลาที่กลางวันยาวที่สุด กลางวันยาวถึง ๑๘ มหานาที คิดแต่เที่ยงวันถึงยํ่าคํ่า ถ้าคิดกลางวัน
ทั้งวันตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่าคํ่า กลางวันที่ยาวที่สุดจะยาวเท่ากับ ๓๖ มหานาที หรือ ๑๔ ชั่วโมง ๒๔ นาที
และกลางคืนในตอนนัน้ จะสัน้ ลงเหลือเพียง ๑๒ มหานาที เมือ่ คิดตัง้ แต่เทีย่ งคืนถึงยํา่ รุง่ ถ้าคิดเต็มทัง้ คืน
จะเป็นเวลา ๒๔ มหานาที หรือ ๙ ชั่วโมง ๓๖ นาที.

หนังสืออ้างอิง
๑. พระสุริยยาตร์และมานัตต์. โรงพิมพ์ศรีหงส์, ๒๔๗๓.
๒. วิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร์), หลวง. ต�ำราโหราศาสตร์ เล่ม ๓ ภาคที่ ๑.
พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๖๐๓๓-๔

You might also like