You are on page 1of 1

ผู้วิจัยใช้ข้อมูลบทเพลง และบทวรรณกรรมข้างต้น เป็ นแนวทางการวิจัย

เพื่อนำมารังสรรค์ให้สอดคล้องกลมกลืนกับสำเนียงดนตรีตะวันตกได้
อย่างงดงาม ส่วนในการใช้วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีเป็ นงานสร้างสรรค์
ในสังคีตลักษณ์แบบ Symphonic Poem หรือ แบบ Tone Poem ดัง
ตัวอย่างผลงานดนตรีในอดีตจากยุคของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงเธอ เจ้าฟ้ า
บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ และศาสตราจารย์พระเจน
ดุริยาง (ปิ ติ วิทยากร Peter Veit) งานประพันธ์ และงานเรียบเรียงดนตรี
ส่วนใหญ่ของผู้ประพันธ์ และเรียบเรียงจัดอยู่ในประเภท "ดนตรีบริสุทธิ"์
(Absolute music) จากการสืบค้นยังพบอีกว่า มีผลงานการประพันธ์
ดนตรีของ พลเรือเอก ม.ล. อัสนี ปราโมทย์ องคมนตรี ศิลปิ นแห่งชาติ
เพียงท่านเดียวที่มีผลงานดนตรีประเภท "ดนตรีพรรณา" เพียงแต่ท่านได้
ตัง้ ชื่อผลงานของท่านว่า "เพลงชุด หรือเพลงสวีท" (Orchestra Suite) ซึ่ง
ท่านได้ประพันธ์ไว้สองชุดเมื่อปี พ.ศ. 2526 คือ บทเพลง "ทัศนะ" (View)
แต่บทเพลงสวีท "ทัศนะ" นีเ้ ป็ นที่น่าเสียดายว่าโน้ตเพลงหายหมด ผู้วิจัย
ได้ร่วมแสดงบทเพลงนีเ้ ป็ นรอบแรก (World Premier) ในปี เดียวกัน ณ
หอประชุม A.U.A. ภายใต้การอำนวยการเพลงของท่านองคมนตรีเอง
บทเพลงอีกบทหนึ่งคือ "ศรีปราชญ์" (Sri the poet) ซึง่ ท่านได้ประพันธ์
ขึน
้ เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยเป็ นเจ้าภาพในการจัดค่ายดนตรีเยาวชน
อาเซียน (Asian youth music workshop) ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งแสดง ณ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยท่านให้เกียรติเป็ นผู้อำนวยเพลง
ด้วยตัวท่านเอง และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Bangkok symphony
orchestra) ก็ได้บรรเลงบทเพลงนีใ้ นไลฟ์ คอนเสิร์ต สำหรับ "ศรีปราชญ์"
นีม
้ ีคุณลักษณะตรงกับดนตรีพรรณนาโดยสมบูรณ์

You might also like