You are on page 1of 7

1

ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)


ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สอบประจ�ำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562

ชื่อ ................................................................................... นามสกุล ......................................................................


เลขประจ�ำตัวสอบ ............................................................. โรงเรียน ......................................................................
สอบวันที่ ........................ เดือน ....................................... พ.ศ. ........................ คะแนนเต็ม 30 คะแนน
ฝ่ายโครงการพัฒนาการวัดและประเมินผล สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) เวลาสอบ 60 นาที

นักเรียนเขียนเครื่องหมาย ✕ ทับตัวอักษรหน้าค�ำตอบที่ถูกต้อง (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)


1. ตาราง อัตราเร็วของเสียงในตัวกลางต่าง ๆ
ชนิดของตัวกลาง อัตราเร็วของเสียง (m/s)
นํ้า 1,498
อากาศ 346
สเตนเลส 5,200

ข้อใดเรียงลำ�ดับการเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลางจากเร็วที่สุดไปช้าที่สุดได้ถูกต้อง ตามลำ�ดับ
ก. นํ้า อากาศ สเตนเลส
ข. อากาศ สเตนเลส นํ้า
ค. สเตนเลส นํ้า อากาศ
ง. อากาศ นํ้า สเตนเลส
2. ขณะภูผากำ�ลังนั่งทำ�ข้อสอบวิทยาศาสตร์ ได้ยินเสียงไซเรนของรถพยาบาลวิ่งผ่านหน้าโรงเรียน
แสดงว่าเสียงไซเรนเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางข้อใด
ก. อากาศ
ข. ของแข็ง
ค. ของเหลว
ง. สุญญากาศ

8 854515 738567

* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5


2

3. ถ้าวัตถุกำ�เนิดเสียงมีความถี่ตํ่า จะเกิดเสียงตามข้อใด
ก. เสียงดัง
ข. เสียงตํ่า
ค. เสียงสูง
ง. เสียงแหลม
4. ขณะเล่นดนตรีไทย ถ้าต้องการตีฆ้องให้มีเสียงสูง ต้องเลือกตีลูกฆ้องข้อใด


ก.

ข.

ค.

ง.

5. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำ�ให้วัตถุเกิดเสียงดัง เสียงค่อย
ก. ขนาดตัวของผู้รับฟังเสียง
ข. ระยะทางจากแหล่งกำ�เนิดเสียง
ค. ชนิดของตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่
ง. ความแรงในการสั่นของแหล่งกำ�เนิดเสียง
6. นักดนตรีบรรเลงเพลงโดยตีระนาดให้มีเสียงดัง เสียงค่อยได้อย่างไร
ก. ใช้ลูกระนาดที่มีความยาวไม้ต่างกัน
ข. ตีลูกระนาด 2 ลูก ที่ทำ�จากวัสดุต่างชนิดกัน
ค. ออกแรงตีลูกระนาดด้วยแรงมากน้อยต่างกัน
ง. ใช้ไม้ตีระนาด 2 อัน ที่ทำ�ด้วยวัสดุต่างชนิดกัน
* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5
3

7. อุปกรณ์ข้อใดสามารถใช้วัดความดังของเสียงได้
ก. หูฟัง
ข. สัญญาณไซเรน
ค. เทอร์มอมิเตอร์
ง. แอปพลิเคชันซาวนด์ มิเตอร์์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่
8. ถ้านำ�เครื่องมือวัดระดับเสียงไปวัดระดับความดังของเสียงในสถานที่ต่าง ๆ สถานที่ข้อใดน่าจะมีระดับ
ความดังของเสียงน้อยที่สุด
ก. ฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมกระป๋อง
ข. ถนนทางด่วน
ค. โรงเลื่อยไม้
ง. โรงพยาบาล
9. ข้อใดเป็นมลพิษทางเสียง
ก. เสียงประทัด เสียงเครื่องบิน
ข. เสียงฟ้าร้อง เสียงดินถล่ม
ค. เสียงจิ้งหรีด เสียงวัว
ง. เสียงตุ๊กแก เสียงกบ
10. ถ้าพี่ชายเป็นช่างซ่อมรถ นักเรียนจะแนะนำ�พี่ชายให้ป้องกันมลพิษทางเสียงจากการทำ�งานตามข้อใด
จึงจะเหมาะสม
ก. บอกให้เจ้าของอู่ทราบ
ข. สร้างกำ�แพงกั้นเสียง
ค. ติดกระจกกั้นพื้นที่
ง. ใช้อุปกรณ์อุดหู
11. วัตถุท้องฟ้าข้อใดเป็นแหล่งกำ�เนิดแสงและสามารถมองเห็นได้บนท้องฟ้าในเวลากลางคืน
ก. ดาวศุกร์
ข. ดาวฤกษ์
ค. ดวงอาทิตย์
ง. ดาวเคราะห์

* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5


4

12. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของดาวเคราะห์
ก. แสงนวลนิ่ง
ข. สีหลากหลาย
ค. ความสว่างไม่คงที่
ง. เปลี่ยนตำ�แหน่งไปในแต่ละคืน
13. ดาวข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ทั้งหมด
ก. ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์
ข. ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวเหนือ
ค. ดาวศุกร์ ดาวเหนือ ดาวปาริชาต
ง. ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์
14. ถ้านักเรียนกำ�มือโดยเหยียดแขนให้สดุ ความกว้างของมือทีก่ ำ�กับมุมบนท้องฟ้า จะได้มมุ ประมาณกีอ่ งศา
ก. 1 องศา ข. 5 องศา
ค. 10 องศา ง. 15 องศา
15.

ในวันที่ 22 มีนาคม จะไม่สามารถมองเห็นกลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มใด


ก. กลุ่มดาวหญิงสาว
ข. กลุ่มดาวปลา
ค. กลุ่มดาวแกะ
ง. กลุ่มดาววัว
* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5
5

16. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับเส้นสุริยะวิถีได้ถูกต้อง
ก. ความสว่างของดวงอาทิตย์
ข. ทางเดินของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี
ค. กลุ่มดาวที่อยู่ภายในเส้นศูนย์สูตรฟ้า
ง. ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และกลุ่มดาวฤกษ์
17. ข้อใดเป็นแหล่งนํ้าที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก
ก. มหาสมุทร
ข. ธารนํ้าแข็ง
ค. ทะเลสาบ
ง. นํ้าใต้ดิน
18. ข้อใดเป็นแหล่งนํ้าใต้ดิน
ก. บึง
ข. แม่นํ้า
ค. ทะเล
ง. นํ้าบาดาล
19. แหล่งนํ้าข้อใดเป็นแหล่งนํ้าจืดที่มนุษย์สามารถนำ�มาใช้อุปโภคได้
ก. อ่าวไทย
ข. ทะเลอันดามัน
ค. แม่นํ้าเจ้าพระยา
ง. มหาสมุทรแปซิฟิก
20. การกระทำ�ข้อใดเป็นการใช้นํ้าอย่างประหยัด
ก. ปิดฝักบัวขณะสระผม
ข. เปิดก๊อกนํ้าขณะแปรงฟัน
ง. ใช้นํ้าบาดาลแทนนํ้าประปา
ค. รดนํ้าต้นกล้าในกระถางด้วยสายยาง
21. การรณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดนํ้า ทำ�ให้เกิดผลดีตามข้อใด
ก. เพิ่มปริมาณนํ้าให้มีใช้ได้นาน
ข. เพิ่มปริมาณพืชนํ้าในแหล่งนํ้า
ค. เพิ่มปริมาณสัตว์นํ้าในแหล่งนํ้า
ง. เพิ่มปริมาณการใช้เส้นทางคมนาคมทางนํ้า
* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5
6

22. ถ้าแหล่งนํ้าในชุมชนมีปริมาณแก๊สออกซิเจนน้อย นักเรียนจะแนะนำ�ผู้นำ�ชุมชนให้แก้ปัญหาดังกล่าว


ตามข้อใดจึงเป็นการอนุรักษ์นํ้า
ก. ปลูกผักตบชวา
ข. เลี้ยงปลาหางนกยูง
ค. ปลูกหญ้าแฝกริมตลิ่ง
ง. ติดตั้งกังหันนํ้าชัยพัฒนา
23. ข้อใดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในวัฏจักรนํ้า
ก. ฝนตก
ข. สึนามิ
ค. แผ่นดินถล่ม
ง. แผ่นดินไหว
24. ถ้าโลกของเราไม่มีการหมุนเวียนของนํ้า จะเกิดอะไรขึ้น
ก. อุณหภูมิทั่วโลกตํ่ามาก จนไม่มีสิ่งมีชีวิต
ข. นํ้าท่วมโลก นํ้าบนโลกเปลี่ยนเป็นนํ้าแข็ง
ค. ปริมาณนํ้าจืดอาจไม่เพียงพอต่อการดำ�รงชีวิต
ง. ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตยังคงอาศัยอยู่บนโลก
25. กระบวนการข้อใดทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนของนํ้าในวัฏจักรนํ้า
ก. การหายใจ
ข. การกลายเป็นไอ และการควบแน่น
ค. การสังเคราะห์ด้วยแสง และการย่อยสลายอินทรียสาร
ง. การระเหิด การระเหย และการคายความร้อนของนํ้า
26. กระบวนการเกิดเมฆ หมอก นํ้าค้าง และนํ้าค้างแข็ง มีสิ่งใดเหมือนกัน
ก. เกิดในอุณหภูมิสูง
ข. เกิดในสถานะเดียวกัน
ค. เกิดในบริเวณใกล้พื้นดิน
ง. เกิดจากการควบแน่นของไอนํ้าเป็นละอองนํ้าขนาดเล็ก

* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5


7

27. หยดนํ้าที่เปลี่ยนสถานะเป็นนํ้าแข็ง แล้วถูกพายุพัดวนซํ้าไปซํ้ามาในเมฆฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่


และอยูใ่ นระดับสูงจนเป็นก้อนนํ้าแข็ง
จากข้อความข้างต้น หมายถึงสิ่งใด
ก. ฝน
ข. นํ้าค้าง
ค. ลูกเห็บ
ง. นํ้าค้างแข็ง
28. ปรากฏการณ์ข้อใด นํ้าจะอยู่ในสถานะของแข็งเพียงสถานะเดียว
ก. เมฆ
ข. หมอก
ค. นํ้าค้าง
ง. นํ้าค้างแข็ง
29. ปรากฏการณ์ข้อใดเกิดจากไอนํ้าในอากาศระเหิดกลับเป็นผลึกนํ้าแข็ง แล้วรวมตัวกัน
จนมีนํ้าหนักมากขึ้นเกินกว่าอากาศจะพยุงไว้ จึงตกลงมา
ก. ฝน
ข. หิมะ
ค. หมอก
ง. ลูกเห็บ
30. หิมะกับลูกเห็บมีความแตกต่างกันตามข้อใด
A. หิมะมีขนาดเล็กประมาณ 1-20 มิลลิเมตร แต่ลูกเห็บมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร
B. หิมะมีสถานะเป็นของเหลว ลูกเห็บมีสถานะเป็นของแข็ง
C. หิมะเกิดในเมฆคิวมูโลนิมบัส ลูกเห็บเกิดในเมฆคิวมูลัส
ก. เฉพาะข้อ A
ข. เฉพาะข้อ B
ค. ข้อ A และ B
ง. ข้อ B และ C

* ข้อสอบชุดนี้ห้ามน�ำไปเผยแพร่ เพราะอาจจะท�ำให้การทดสอบคลาดเคลื่อนได้ ข้อสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.5

You might also like