You are on page 1of 64

HUMBLE TRADER BOOK

VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH

HUMBLE TRADER DIARY


HUMBLE TRADER BOOK
VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
INTRODUCTION
หนังสือ Humble Trader Book Volume 1 : Surviving Market Crash เล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม
ปี 2022 ซึ่งเป็ นช่วงที่สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกถูกเทขาย ไม่ว่าจะเป็ นตลาดหุ้นอเมริกา ตลาดหุ้นจีน ตลาด
หุ้นเวียดนาม สกุลเงินดิจิตัล รวมถึงตลาดหุ้นประเทศไทยเช่นกัน หนังสือเล่มนี้ เป็ นหนังสือที่ผมตั้งใจ
รวบรวมบทความที่ผมแปลและเขียนจากเพจของตัวเอง (www.facebook.com/HumbleTraderDiary) ซึ่งจะ
เป็ นบทความที่เขียนเกี่ยวกับการรับมือกับการขาดทุนหนักและรับมือกับสภาวะตลาดขาลง เพื่อหวังว่า
มันจะเป็ นส่วนเล็กๆ ที่ช่วยผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้สามารถข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากเหล่านี้ไปได้ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งนักลงทุนหรือเทรดเดอร์มือใหม่ หนังสือเล่มนี้ถูกทำขึ้นเพื่อแจกจำหน่ายแบบฟรีๆ ดังนั้นถ้า
ท่านอ่านแล้วเห็นว่ามันมีประโยชน์ ก็สามารถส่งต่อให้ท่านอื่นๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตผมก็ได้
ครับ แต่ถ้าใครอยากให้กำลังใจให้ feedback หรืออยากอ่านงานอื่นๆ ของผม ก็สามารถทำได้ทางเพจ
facebook นะครับ สุดท้ายนี้ก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านอยู่รอดและทำผลงานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ โชคดีในการ
เทรดทุกท่านครับ

HUMBLE TRADER DIARY


ผู้เขียน

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME ONE
SURVIVING MARKET CRASH
Conte ts
TABLE OF
n

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
02 เมื่ อทุกอย่างผิดพลาดไปหมด

06 อย่าหมดกำลังใจ

09
พฤติกรรมสำคัญของเทรดเดอร์ที่

ประสบความสำเร็จ

18 หนทางรอดในช่วงที่เราขาดทุนหนัก

23 5 เหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่ขาดทุน

28 5 วิธีชนะความกลัวในการเทรดหุ้น

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
การบริหารความเสี่ยงทำให้คุณ
33 ได้เปรียบคนส่วนใหญ่

36
สิ่งที่มือโปรทำเมื่ อเจอสถานการณ์ที่ไม่

แน่นอน

40 เคารพความเสี่ยง

46 ได้เวลาถือเงินสด

50 วิชาเอาตัวรอดในตลาดหุ้น

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
Bill O'neil
ความลับของการชนะครั้งใหญ่ในตลาดหุ้น
ไม่ใช่การที่กำไรตลอดเวลา แต่เป็ นการขาดทุน
ให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็ นไปได้ในทุกครั้งที่คุณผิด

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 1
เมื่อทุกอย่างผิดพลาดไปหมด

บทความนี้แปลและเรียบเรียงมาจากการอ่านบทความของคุณ Jack Schwager ผู้เขียนหนังสือที่


โด่งดังอย่าง Market Wizards คิดว่าน่าจะเหมาะกับช่วงนี้ตลาดเริ่มยากและมีหลายคนหัวเสียกับ
ตลาดหุ้นเลยนำมาลองแปลมาให้อ่านกันนะครับ
**********
ในช่วงที่เราเทรดได้ดีทุกอย่างมันช่างง่ายดายไปหมด แต่เมื่อถึงช่วงที่คุณมีผลการเทรดที่ย่ำแย่
คุณจะทำอย่างไร?
คุณจะรับมือกับสถานการณ์ในช่วงนั้นอย่างไรถ้าคุณขาดทุนติดๆ กันเป็ นช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
จากการสัมภาษณ์เหล่าตำนานเทรดเดอร์หรือผู้จัดการกองทุนระดับโลกเป็ นจำนวนมาก พวกเขา
เหล่านั้นก็เหมือนกับมนุษย์ทั่วไปที่จะมีช่วงที่เทรดไม่ได้ตามผลลัพธ์ที่หวัง ซึ่งแต่ละคนมักจะให้คำ
แนะนำในการจัดการกับช่วงเวลาที่ยากลำบากคล้ายๆกัน คือ

1. เทรดให้น้อยลง (reduce your trading size)


Paul Tudor Jones หนึ่งในเทรดเดอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของพวกเรา เขาเคยประสบปัญหาพบ
ช่วงเวลาการเทรดแย่เช่นเดียวกัน ซึ่งเขาเคยได้ให้สัมภาษณ์กับผมไว้ว่า “เมื่อผมเทรดได้แย่ ผม
จะลด position size (ขนาดการเทรด) ลงซึ่งการที่ผมทำแบบนี้ ผมจะเทรดด้วยจำนวนเงินที่น้อย
ที่สุดในช่วงเวลาที่ย่ำแย่ และเทรดด้วยจำนวนเงินที่มากเมื่อผมเทรดได้กำไร”

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 02


Ed Seykota สุดยอดเทรดเดอร์และหนึ่งในผู้บุกเบิก systematic futures trading ให้คำแนะนำไว้
คล้ายๆ กับคุณ Paul Tudor Jones คือ “เมื่ออยู่ในช่วงที่พอร์ตของผมเกิด drawdown ผมจะลด
ขนาดการเทรดของผมทันที เพื่อไม่ให้ผมพบประสบการณ์เดียวกับที่คุณ Livermore ได้พบ”
Marty Schwartz เทรดเดอร์แชมเปี้ยนส์ ผู้ที่สามารถทำเงินจาก $40,000 เป็ น $20,000,000 ได้ใน
เวลาไม่กี่ปี ก็คิดคล้ายๆ กัน ในช่วงเวลาที่ผมสัมภาษณ์เขาจะลดปริมาณการเทรดลงจากปกติมาก
เมื่อเจอช่วงเวลาที่ไม่ดีซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจของเขา เขากล่าวว่า “หลังจากที่ผมเสียเงินจำนวน
มาก ผมจะเทรดด้วยจำนวนเงินน้อยมากและเทรดไปเรื่อยๆ จนมันเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้วจริงๆ
จึงเพิ่มขนาดกลับมาเป็ นปกติ” ในช่วงวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 คุณ Schwartz ขาดทุนไป
$600,000 เขาแก้ปัญหาโดยการเทรดในขนาดที่ลดลง และค่อยๆเก็บสะสมกำไรขึ้นมาแล้วเมื่อจบ
เดือนพฤศจิกายนปี นั้นการขาดทุนของเขาลดเหลือเพียง $57,000 เท่านั้น
Randy McKay เทรดเดอร์ผู้เปลี่ยนเงินจาก $2000 เป็ น $70,000 ในเวลาเพียงหนึ่งปี และขึ้นไป
เป็ น $10,000,000 ในเวลาไม่กี่ปี ต่อมา ได้ใช้การลดขนาดสถานะ เมื่อเขาอยู่ในช่วงที่ขาดทุนเช่น
กัน เขากล่าวว่า “ผมจะลดขนาดการลงทุนของผมลงเมื่อผมขาดทุน จากการที่เคยเปิ ดสัญญาต่อ
ครั้งถึง 3,000 สัญญาผมอาจจะลดเหลือเพียง 10 สัญญาเลยถ้าผมเทรดได้แย่มาก การปรับขนาด
การเทรดคือหนึ่งในกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จของผม”

2. หยุดเทรด
บางครั้งการลดขนาดของการเทรดอาจจะไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่
ดีที่สุดในการรักษาความมั่นใจและการรักษาพอร์ต คือการหยุดเทรด
Michael Marcus ตำนานฟิ ลเจอร์เทรดเดอร์บอกกับผมว่า “ความพ่ายแพ้มันจะนำพาความพ่ายแพ้
อื่นๆตามมาด้วย เมื่อคุณเริ่มที่จะขาดทุน มันจะเริ่มมีบางสิ่งเข้ามารบกวนจิตใจของคุณแล้วมัน
จะทำให้คุณหลุดฟอร์มหรือเทรดได้ไม่ดี และเมื่อผมเจอช่วงเวลาเหล่านั้นผมก็จะหยุดทันที”
Richard Dennis สุดยอดปรมาจารย์เทรดเดอร์ผู้เปลี่ยนเงิน $400 เป็ น $200,000,000 ก็ให้แง่คิดที่
คล้ายคลึงกันคือ เมื่อคุณขาดทุนไปเรื่อยๆ จนมันเริ่มที่จะเข้าไปกระทบกระบวนการตัดสินใจของ
คุณ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือการหยุดเทรด (ประโยคเด็ดของคุณ Dennis ที่แอดมินจำได้เลยคือ When
you are getting beat to death, get your head out of the mixer.)
เมื่อคุณพบกับช่วงการเทรดที่ขาดทุนติดๆกัน วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดคือการไม่พยายามเทรด
มากเกินไป แต่ทำสิ่งตรงข้ามคือ การหยุดเทรด หาเวลาออกจากหน้าจอและหยุดพักซะบ้าง การ
หยุดพักจะทำให้สิ่งร้ายๆนั้นลดลงและทำให้ความมั่นใจของคุณค่อยๆกลับมา ซึ่งเรื่องพวกนี้ล้วน
เกิดในช่วงที่คุณเทรดได้แย่ทั้งนั้น และเมื่อคุณกลับมาเทรดใหม่ ก็ค่อยเริ่มสะสมความมั่นใจจาก
การเทรดด้วยจำนวนน้อยๆ ก่อนและค่อยๆ เพิ่มเมื่อเราได้ผลลัพธ์ที่ดี
แม้ว่าเหล่าเทรดเดอร์จะสามารถตระหนักได้ว่าพวกเขากำลังอยู่ในช่วงไม่ดี แต่ส่วนใหญ่แล้วพวก
เขารู้เมื่อมันสายไปหรือการขาดทุนมันรุกรามไปมากแล้ว พวกเขายอมที่จะให้การขาดทุนนั้นมาก
ขึ้นโดยที่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอะไรเลย ซึ่งส่วนใหญ่มันเกิดจากอาการ “ช็อค” จาก
drawdown ที่เกิดขึ้น สิ่งที่ผมแนะนำในการแก้ปัญหานี้ คือให้จดบันทึกและ plot equity curve เป็ น
รายวันหรือรายสัปดาห์เพื่อให้ทราบสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับพอร์ตของเราและสามารถ
แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงทีอย่างที่คุณ Marcus ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 03


“เมื่อ equity curve ของคุณอยู่ในช่วงขาลง นั่นแสดงถึงสัญญาณที่คุณจำเป็ นจะต้องลดขนาดการ
เทรดและประเมินสถานการณ์ใหม่”
**********
จากที่แอดมินได้อ่านตามหน้าเพจหรือกลุ่มพบว่าช่วงนี้เทรดเดอร์ก็ประสบปัญหาการลงจาก
สภาพตลาดที่ผันผวน หวังว่าบทความแปลนี้จะช่วยท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
เมื่อทุกอย่างผิดพลาดไปหมด โดย Jack Schwager แปลและเรียบเรียงโดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 04


HUMBLE TRADER BOOK
VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 2
อย่าหมดกำลังใจ

บทความนี้เป็ นบทความแปลจากคุณ Joe Fahmy หนึ่งในไอดอลนักลงทุนของแอดมินเอง เพื่อให้


กำลังใจใครหลายๆ คนที่ตอนนี้กำลังท้อหรือหมดกำลังใจจากตลาดการเงินทั่วโลกที่กำลังผันผวน
ครับ ลองอ่านกันดูนะครับ
**********
ผมเขียนข้อความเหล่านี้เพื่อให้กำลังใจและหวังว่าจะช่วยคนให้เรียนรู้จากความผิดพลาดของผม
หลายๆคนไม่ชอบที่จะยอมรับในความผิดพลาดและการขาดทุนของตัวเอง เพราะพวกเราทุกคน
อยากที่จะยืดอกและแสดงให้โลกเห็นว่า “กูอ่ะเทพ”
ผมไม่มีปัญหาเลยที่จะยอมรับการขาดทุน สมัยก่อนที่เริ่มต้นผมเคยดิ้นรนอย่างหนักในช่วงตลาด
ขาลง เหมือนที่หลายๆคนต้องเผชิญในตอนนี้ จนผมเริ่มที่จะปรับปรุงบางสิ่งบางอย่าง ผมเทรด
อยู่ในตลาดหุ้นมานานกว่า 19 ปี ในช่วง 12 ปี แรกผมทำเงินจากตลาดขาขึ้นได้อย่างมากมายเพื่อ
ที่แค่จะคืนพวกมันกลับไปในช่วงตลาดขาลง ส่วนที่แย่ที่สุดเลย คือ ผมวิเคราะห์สัญญาณของ
ตลาดได้อย่างแม่นยำและรู้ว่านี่เป็ นช่วงที่เทรดยากมาก แต่ผมก็ยังฝื นตัวเองที่จะเทรดในช่วงที่
ตลาดเป็ นขาลง ผมทำแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนผมตัดสินใจที่จะหยุดเทรดในช่วงตลาดขาลง
หลายๆคนบอกผมว่า มันมีกลยุทธ์อีกหลายอย่างที่เราสามารถใช้ได้ในช่วงตลาดขาลงโดยที่ไม่
จำเป็ นต้องหยุดเทรดหรือถือเงินสด เช่น การเล่นฝั่ ง short หรือการเล่น option เพื่อที่จะหาเงิน
จากช่วงตลาดขาลง แต่อย่างที่ผมพูดอยู่ตลอดว่า จงทำในสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 06


ผมชอบที่จะหยุดเทรดในช่วงที่ตลาดผันผวนเพื่อปกป้ องความมั่นใจของตัวเองและผมจำเป็ นต้อง
มีช่วงพักเบรกของสภาพจิตใจ เพื่อให้ผมพร้อมที่สุดสำหรับตลาดขาขึ้นรอบถัดไป อย่างไรก็ตาม
คำแนะนำที่ดีที่สุดของผมที่จะให้กับพวกคุณได้ คือ ผมแนะนำให้พวกคุณเทรดให้น้อยลงและเพิ่ม
การถือเงินสด หรือจะพูดอีกอย่างคือ รักษาเงินต้นของคุณเพื่อเทรดในช่วงที่ตลาดเริ่มกลับมา
เป็ นขาขึ้นรอบต่อไป
ในช่วงต้นของปี 2016 ผมถือเงินสดมากถึง 90-100% ในพอร์ตของลูกค้าที่บริหารอยู่ นอกจากที่
ผมทำแบบนี้เพื่อรักษาเงินต้นของพวกเขาแล้ว ผมยังทำเพื่อปกป้ องความมั่นใจของตัวเองด้วย
ขณะนี้ ผมมีพลังและความกระตือรือร้นมากกว่าที่ผ่านมา...
ทำไมน่ะเหรอ?
เพราะผมมั่นใจว่าพวกเราจะเจอตลาดขาขึ้นรอบใหม่อีกครั้งแล้วผมก็จะเสาะหาหุ้นนำตลาดและ
เข้าไปเทรดพวกมันอย่างหนักหน่วง ประเด็นสำคัญตอนนี้คือ คุณต้องมีวินัย ปกป้ องเงินทุนของ
คุณ และไม่ฝื นที่จะเทรดมากเกินไป ถ้าคุณรอดจากการปรับฐานของตลาดขาลงนี้ ผมขอปรบมือ
และยินดีกับความมีวินัยของคุณด้วย แต่ถ้าคุณยังต้องกระเสือกกระสนในช่วงตลาดขาลงอยู่

อย่ายอมแพ้นะครับ
เรียนรู้จากความผิดพลาดของคุณ เพื่อที่คุณจะไม่ทำมันผิดอีก ตลาดขาขึ้นจะต้องมาอีกแน่นอน
ในอนาคต เราแค่ต้องอดทนและรักษาเงินต้นเพื่อรอมันเท่านั้นเอง
บทความ อย่าหมดกำลังใจ โดย Joe Fahmy แปลและเรียบเรียงโดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 07


THE MORE YOU

LEARN
THE MORE YOU

EARN

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 3
พฤติกรรมสำคัญของ
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ

ช่วงนี้ผมชอบหาเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการเทรดมาอ่านครับ ไปเจอบทความหนึ่งของคุณ
Sam Eder แล้วชอบมากๆ จึงนำมาแปลและสรุปให้ทุกท่านอ่านกันครับ บทความยาวมากแต่คิด
ว่ามีประโยชน์กับการเทรดของทุกท่าน ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ
**********
มีอยู่คำถามหนึ่งที่ผมมักจะถูกคนอื่นถามอยู่บ่อยครั้ง
What makes a good trader?
ผมคิดว่าคำถามนี้ไม่ง่ายเลยที่จะตอบได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามบทความนี้ผมจะลองอธิบาย
ถึงสิบคุณลักษณะทางพฤติกรรมที่สำคัญของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ
จากมุมมองของผม เทรดเดอร์ทุกคนล้วนเริ่มต้นด้วยความตั้งใจที่ยอดเยี่ยมแต่บ่อยครั้งที่พวกเขา
มักจะโฟกัสไปในทิศทางที่ผิด ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจที่มากเกินไปกับการบรรลุเป้ า
หมายในระยะสั้นและหลงลืมหรือไม่ใส่ใจกับกระบวนการและการพัฒนา

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 09


สำหรับเทรดเดอร์ที่ปรารถนาจะพัฒนาตัวเองด้วยการมีทัศนคติและวิธีคิดที่จำเป็ นเพื่อประสบ
ความสำเร็จในตลาดการเงิน ผมขอแนะนำให้คุณตั้งเป้ าหมายในการพยายามที่จะฝึ กฝน ปฏิบัติ
และนำคุณลักษณะทั้งสิบประการนี้ไปใช้ในการทำงานของพวกคุณเอง สิบพฤติกรรมที่ผมกล่าวนี้
ไม่ได้มีอะไรที่สำคัญไปกว่ากัน ในหลายๆ กรณีพฤติกรรมแต่ละอย่างต่างช่วยเหลือและเกื้อหนุน
ซึ่งกันและกัน การบรรลุเป้ าหมายเหล่านี้จะเป็ นการช่วยให้เทรดเดอร์สามารถพัฒนาขีดความ
สามารถและเพิ่มความเชื่อมันในความสามารถของตนเองในการเป็ นเทรดเดอร์ที่ประสบความ
สำเร็จ

คุณลักษณะที่ 1 เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จล้วนแต่เรียนรู้จากความผิดพลาด
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เคยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เจ็บปวดมาแล้วหลายครั้ง
หลายหน ในขณะที่คนทั่วไปเรียนรู้จากมันระดับหนึ่ง เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเรียนรู้จาก
ความผิดพลาดได้ดีกว่าคนอื่่นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ คือคนที่พร้อมที่จะเรียนรู้และไม่
เคยเพ้อไปว่าตัวเองรู้ไปหมดซะทุกอย่าง ในการเทรดช่วงที่เวลาที่คุณคิดว่าคุณรู้มันซะทุกอย่าง
มันคือช่วงเวลาที่คุณไม่รู้อะไรเลย
เรย์ ดาลิโอ ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงทศวรรษหลังๆ และผู้ก่อ
ตั้งบริดจ์วอเตอร์ส ได้เน้นแง่มุมนี้เข้าไปในการทำงานของเขา และฝังมันลงไปในวัฒนธรรมของ
ธุรกิจที่เขาก่อตั้งด้วย คุณดาลิโอเชื่อว่าความผิดพลาดต่างๆ คือเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่ใช้ใน
การเรียนรู้ และบริดจ์วอเตอร์สที่เขาก่อตั้ง มีหลักการสำคัญหนึ่งคือ
“การทำผิดพลาดเป็ นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่มันยอมรับไม่ได้เลยที่จะไม่รู้ว่าทำไมคุณถึงผิดพลาด หรือ
คุณผิดพลาดได้อย่างไร”
พฤติกรรมที่จะช่วยเกื้อหนุนให้คุณเป็ นคนเป็ นคนที่เรียนรู้จากความผิดพลาด มีดังนี้
เก็บและจดบันทึกเกี่ยวกับการกระทำ ความคิด และความรู้สึก
รีวิวและประเมินการกระทำและพฤติกรรมของตนเอง
เต็มใจและเปิ ดใจที่จะรับกับคำติชม
ฝึ กฝนและและพัฒนาความชัดเจนทางด้านจิตใจและความสามารถในการประเมิน
พฤติกรรมของตนเองอย่างไม่มีอคติ
กำหนดและสังเกตการณ์การเติบโตและการพัฒนาของแผนการอย่างต่อเนื่อง

คุณลักษณะที่ 2 ความรักในการเทรด และความมุ่งมั่นในการชนะการแข่งขัน


เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จนั้นรักในการเทรดอย่างมาก พวกเขาหลงใหลในการ
เทรดอย่างแท้จริง ถ้าหากคุณไม่มีความปรารถนาและแพชชั่นที่แรงกล้าในการเทรด โอกาสที่คุณ
จะประสบความสำเร็จในอาชีพเทรดเดอร์คงมีไม่มากนัก
อย่าเข้าใจผมผิด คนส่วนใหญ่เข้ามาในตลาดเพราะเรื่องของเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่องเหล่านี้
มันถูกเปลี่ยนไปเป็ นความหลงใหลและแพชชั่น ผมเคยถามเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จหลาย
คนว่า อะไรคือสิ่งที่่เป็ นผลักดันให้เขาเป็ นเทรดเดอร์ต่อไปทั้งที่เขาประสบความสำเร็จเรียบร้อย
แล้ว มีไม่มากนักที่จะพูดถึงเรื่องของตัวเงิน ส่วนใหญ่คำตอบที่ผมเจอมักจะเป็ นเรื่องความรักใน
อาชีพ หรือเรื่องอะไรในทำนองเดียวกัน

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 10


พฤติกรรมที่จะช่วยให้คุณมีลักษณะสำคัญนี้คือ
พัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง
หมกมุ่นอยู่กับการเรียนรู้ การฝึ นฝน และการพัฒนาตนเอง
โฟกัสที่เป้ าหมายระยะยาว
ใช้เวลาร่วมกับคนที่มีแพชชั่นในการเทรดสูงๆ

คุณลักษณะที่ 3 มีสไตล์การเทรดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบุคลิกภาพและลักษณะ
ของตัวเอง
เทรดเดอร์ระดับท๊อปมีสไตล์การเทรดที่สรรค์สร้างซึ่งมาจากจุดแข็งเฉพาะตัวและมันเป็ นวิธีที่
สร้างเพื่อชดเชยจุดอ่อนและข้อบกพร่องที่ตัวพวกเขามี มันไม่น่าจะเป็ นไปได้ที่เทรดเดอร์มือใหม่
จะเริ่มต้นด้วยการเทรดสไตล์หนึ่งและใช้มันได้จนลงตัวโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรจากตอนแรก
ในช่วงเริ่มต้นพวกเขาคงนำสไตล์การเทรดมาจากครูหรือเมนเทอร์ของพวกเขาแต่เมื่อเวลาผ่าน
ไปพวกเขาจะปรับเปลี่ยนมันให้เข้ากับลักษณะนิสัยและบุคลิกของพวกเขา
เพื่อที่จะการประสบความสำเร็จในการเทรด พวกเขาจำเป็ นจะต้องมีความรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง
ซึ่งประกอบไปด้วยความสามารถในการไตร่ตรองและประเมินตนเองอย่างไร้อคติ ซึ่งจำเป็ นจะ
ต้องใช้ความซื่อสัตย์ต่อตนเองระดับสูงและเป็ นสิ่งยากที่จะพัฒนาและใช้เวลาหลายปี ในการ
บรรลุเป้ าหมาย ในการทำงานของผมกับเหล่าเทรดเดอร์ ผมได้บุกเบิกการใช้ การประเมินความ
เสี่ยงในการช่วยเทรดเดอร์ให้สามารถเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้น และสร้าง
สไตล์การเทรดที่เหมาะกับบุคลิกภาพกับตัวพวกเขา
หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของเทรดเดอร์เลย คือเขาใช้วิธีที่ไม่เหมาะกับตัวพวกเขาเอง เทรดเดอร์
ที่ประสบความสำเร็จใช้วิธีการที่เหมาะกับตัวพวกเขาซึ่งมันสร้างความได้เปรียบในการเทรด มัน
ทำให้ไม่ว่าคุณเทรดเดอร์ประเภทไหนก็ตาม ถ้าคุณหาวิธีที่เหมาะกับตัวเองเจอคุณจะสามารถ
ประสบความสำเร็จได้
สิ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
การจัดระเบียบวิธีการเทรดอย่างตั้งใจเพื่อให้เหมาะสมกับจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเรา
พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ทั้งทางด้านนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัว
เต็มใจที่จะแสวงหาและรับคำ feedback
ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการประเมินบุคลิกภาพและความเสี่ยง
ตั้งเป้ าหมายให้สอดคล้องไปกับจุดแข็งและลักษณะนิสัยของตนเอง

คุณลักษณะที่ 4 การจัดการความวิตกกังวลและความเครียดให้ลดลง
ความวิตกกังวลและความเครียดคือสิ่งที่เราจะต้องพบเจอในการเทรด เราไม่อาจหลีกหนีมันได้
เลย ธรรมชาติของการเทรดทำให้เราจมอยู่กับความไม่แน่นอน ความวิตกกังวลและความเครียด
ส่งผลกับแต่ละคนในหลายเวลาและหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้บิดเบือนวิธีการการรับรู้ต่อโลกและ
สภาพแวดล้อมของเราอย่างฉับพลัน รวมถึงการลดความสามารถและประสิทธิภาพในการตัดสิน
ใจที่เหมาะสมลงไป เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะพัฒนาวิธีที่หลากหลายจนทำให้เขา
บรรเทาและลดระดับความวิตกกังวลลงได้ เช่น การเตรียมตัวและการวางแผนการเทรด ซึ่งมัน
ช่วยลดพฤติกรรมการไปตายเอาดาบหน้าลงได้

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 11


เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จยังจัดการทรัพยากรของพวกเขาอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เวลา
ร่างกาย และสภาวะจิตใจซึ่งช่วยให้พวกเขาพร้อมสำหรับการเทรดอยู่ตลอดรวมถึงลดอาการหัว
ร้อนที่เกิดขึ้นจากการเทรดด้วย อย่างไรก็ตามคุณควรรู้ว่าการขจัดความเครียดและความวิตกออก
ไปอย่างสมบูรณ์ไม่ใช่จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุด จริงๆ แล้วความเครียดก็ทำให้คุณตื่นตัวต่อภัย
คุกคาม ภัยอันตรายและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและมันทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเรานั้นลื่น
ไหล หลายๆ ครั้งที่การมีระดับความเครียดที่ต่ำเกินไปอาจทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพและนำ
ไปสู่การเทรดที่ไร้พลัง พฤติกรรมเหล่านี้อาจเกิดในตอนที่เทรดเดอร์ได้กำไรติดๆ ซึ่งเป็ นสาเหตุ
หลักที่เทรดเดอร์คืนกำไรกลับไป เทรดเดอร์บางคนอาจจะหยุดพักหลังจากที่ได้กำไรก้อนใหญ่ไป
เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้
พฤติกรรมที่จะช่วยทำให้คุณพัฒนาการการจัดการความวิตกกังวลและความเครียดให้ลดลงได้แก่
มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง
หาแรงบันดาลใจที่ช่วยหยุดกระบวนการคิดเชิงลบ
หาเวลาที่อยู่ห่างจากการเทรดบ้าง พูดคุยกับคนอื่น อย่าขังตัวเองไว้คนเดียว
แบ่งปันความคิดและความรู้สึกของคุณกับผู้ฟังที่มีความเห็นอกเห็นใจ
หาวิธีการในการระงับการตัดสินตนเอง
ทำบันทึกและเรียนรู้ที่จะอ่านพฤติกรรมคนอื่นและตัวเอง

คุณลักษณะที่ 5 ความอ่อนน้อมถ่อมตน : การกำจัด อีโก้และความภาคภูมิใจ


ทุกเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญในการล่มสลายของตลาดการเงินก็เกิดจากเรื่องของอีโก้และ
ความหยิ่งยะโส ผมได้เห็นอีโก้และความหยิ่งทะนงของเทรดเดอร์มากมายจนทำให้พวกเขาเข้าไป
พัวพันกับการเทรดที่อันตรายรวมถึงตัวของผมเองในหลายๆ ครั้งก็ไม่สามารถต้านทานเรื่องพวก
นี้ได้ สิ่งที่ตรงข้ามกับอีโก้และความทะนงคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งความอ่อนน้อมนี่ไม่ได้ถูก
พูดถึงในหน้าสื่อเกี่ยวกับเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จให้เรารับรู้เท่าไหร่ อย่างไรก็ตามความ
อ่อนน้อมถ่อมตนเป็ นสิ่งที่ผมเห็นได้ในเหล่าสุดยอดเทรดเดอร์ที่ผมรู้จัก
ข้อผิดพลาดใหญ่หลวงที่สุดที่เทรดเดอร์หลายคนยอมรับคือการที่เขายอมให้อีโก้ของพวกเขาเอง
ครอบงำการเทรด ความเชื่อ และมุมมองที่เขามีต่อตลาด ซึ่งคุณก็อาจพูดเรื่องเดียวกันนี้ได้กับ
เรื่องของ ความภาคภูมิใจเช่นเดียวกัน ซึ่งมีความใกล้กันกับเรื่องของอีโก้มากๆ แม้ว่าความภาค
ภูมิใจดูเหมือนจะเป็ นอารมณ์เชิงบวก แต่ความภาคภูมิใจที่มากเกินความจำเป็ นจนอาจเรียกได้
ว่าเป็ นความโอหัง มันอาจจะเป็ นสิ่งที่ฉุดรั้งในการประสบความสำเร็จในการเทรดได้ มันสำคัญ
มากๆ ที่เทรดเดอร์จะมีความสามารถที่จะยอมรับว่าตัวเองทำผิด สามารถทำผิดพลาดได้ และ
เข้าใจว่าตัวเรามีข้อจำกัดและข้อบกพร่อง การที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองสามารถทำผิดพลาดได้ อาจ
ทำให้เทรดเดอร์คนนั้นคิดว่าตัวเองนั้นรู้ดีกว่าตลาดหรือถือสถานะที่ขาดทุนเอาไว้แทนที่จะขาย
ตัดขาดทุนไปจนทำให้พอร์ตเสียหายในที่สุด
พฤติกรรมที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะทางด้านนี้ได้แก่
เลิกคิดถึงการถูกผิด และใช้แนวทางที่ยึดมั่นต่อกระบวนการเทรด
เป็ นผู้ฟังที่ดี และเปิ ดโอกาสหรือน้อมรับต่อ feedback ที่เข้ามา
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวเองพร้อมที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง
พยายามเป็ นพวกที่น้ำไม่เต็มแก้ว ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเองและพร้อมที่จะปรับตัว

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 12


พยายามมีสติและไม่ไปอีโก้ปากดีใส่ชาวบ้าน
หลีกเลี่ยงการโอ้อวดตัวเองและสร้างตัวตนต่อผู้อื่น
ฟังคนเยอะๆ และหัดถามคำถาม
หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์และตัดสินคนอื่น
ฝึ กฝนวิธีการพัฒนาความคิดและการไตร่ตรองเป้ าหมาย

คุณลักษณะที่ 6 วางแผน เตรียมตัว อดทนและมีวินัย


ยากมากที่หนังสือเกี่ยวกับการเทรดจะไม่พูดถึงเรื่องพวกนี้แต่ก็นั่นแหละการทำให้ได้ในชีวิตจริง
มันยากกว่าแค่พูดหรือเขียนมันลงไป การทำงานและการเตรียมตัวอย่างหนักอาจจะสูญหายไปได้
อย่างรวดเร็วถ้าเราขาดวินัย เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะให้ความสำคัญอย่างมากในแง่มุมนี้
ของการเทรด พวกเขาคิดถึงสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติอย่างถี่ถ้วน การเตรียมตัวและแผนการของพวก
เขาเป็ นรากฐานสำคัญที่จะทำให้พวกเขามีความอดทนและมีวินัยในการเทรด รวมถึงมันจะช่วยลด
ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น และช่วยลดระดับของความเครียดของตัวผู้เทรดอีกด้วย จริงๆ แล้ว
ในเรื่องพวกนี้ไม่มีใครที่เพอร์เฟค แต่แค่พวกคนที่ประสบความสำเร็จจะแสดงทักษะทางด้านนี้ได้
มากกว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ ซึ่งการที่มีทักษะเหล่านี้มันทำให้เทรดเดอร์คนนั้นอยู่ในจุดที่สามารถ
ทำผลงานที่ดีได้ในระยะยาวเหมือนอย่างที่ แกรี่ เพลย์เยอร์ โปรกอล์ฟระดับตำนาน เคยกล่าวไว้
"Luck is what happens when preparation meets opportunity"
พฤติกรรมที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
ลงทุนในการพัฒนาและปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองให้เหมาะสม
รีวิวความก้าวหน้าของตัวเองโดยตั้งเป้ าหมายจากการพัฒนาการของตัวคุณ
พัฒนาโครงสร้างและมุมมองเชิงกลยุทธ์ในการเทรดของคุณและเลือกใช้แทคติกที่เหมาะสม

คุณลักษณะที่ 7 เคารพในความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วนแล้วแต่ให้ความเคารพอย่างสูง ต่อความเสี่ยงและความ
อันตรายของความไม่แน่นอน ความเสี่ยงนั้นเป็ นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของความไม่แน่นอน ถ้า
สถานะของพวกเขาถูกปิ ด เขาจะเสียเงินเป็ นจำนวน “x” ซึ่งนั่นคือความเสี่ยง ทุกครั้งๆ ที่พวกเขา
เทรดนั่นคือเขากำลังเสี่ยงอยู่ ด้วยการคิดตามหลักการนี้มันทำให้เรามีความชัดเจนในตัวเอง
ความไม่แน่นอนนั้นกว้างมาก เป็ นไปไม่ได้เลยที่จะระบุมูลค่าของมันอย่างแม่นยำว่าตลาดจะมี
พฤติกรรมอย่างไรในวันพรุ่งนี้ บางคนพยายามที่ฝื นมันซึ่งทำให้พวกเขาล้มเหลวจากความเสี่ยงที่
เกิดขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าคนที่พยายามทำเรื่องพวกนี้จะจบลงด้วยความหายนะ เทรดเดอร์ระดับท๊อป
โอบรับความเสี่ยง และเคารพความไม่แน่นอน พวกเขารู้ดีว่าพวกเขาไม่มีทางรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ต่อไป เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่นักพนัน คาสิโนเกมแบบเดียวที่เทรดเดอร์พวกนี้เล่น
มักจะเล่นอยู่บ่อยๆ คือ โป๊ กเกอร์ ซึ่งพวกเขาไม่ได้มองโป๊ กเกอร์ว่าเป็ นการพนัน เพราะพวกเขามี
ความสามารถในการทำให้พวกเขาได้เปรียบในการเล่นเกมนี้ได้ ซึ่งคาสิโนเกมอื่นๆ เขามีแต่จะ
เสียเปรียบคาสิโนทั้งหมด เทรดเดอร์ที่เก่งไม่ใช่แค่ประเมินทิศทางของตลาดได้อย่างชัดเจนเท่านั้น
แต่ต้องสามารถสร้าง Positive expectancy ที่ทำให้ผลลัพธ์ของเขาเป็ นบวกในระยะยาวด้วย

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 13


พฤติกรรมที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
พัฒนากฎการเทรดเพื่อบริหารความเสี่ยงและประเมินร่วมกับเป้ าหมายกำไร
คิดแผนการเทรดซึ่งรวมไปถึงความเสี่ยงในการประเมินการเทรด
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีความสม่ำเสมอในการมีวิธีที่จะบังคับตัวเองให้เล่นอยู่ในกลยุทธ์
ประเมินและติดตามผลงานของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประเมินความเสี่ยง

คุณลักษณะที่ 8 พัฒนาแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยง และการบริหารเงินที่มี


ประสิทธิภาพ
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จมองการเทรดของพวกเขาเป็ นเหมือนกับการทำธุรกิจซึ่งคนทั่วไป
ส่วนใหญ่เทรดเหมือนการพนัน ซึ่งคนอยู่รอดแบบนี้ล้วนมาจากความโชคดี การดำเนินธุรกิจต้อง
มีการจัดการต้นทุนและจัดการรายจ่ายอย่างรอบคอบและรัดกุม เจ้าของธุรกิจที่รอบคอบจะไม่ใส่
ไข่ลงในตะกร้าใบเดียวซึ่งหลักการเทรดจริงๆ แล้วก็ควรจะเป็ นไปในหลักการเดียวกัน เทรดเดอร์
ที่ประสบความสำเร็จอุทิศเวลาให้กับเรื่องพวกนี้ เพราะพวกเขารู้ว่าถ้าพวกเขาละเลยในการทำ
ตามหลักการของการบริหารความเสี่ยง พวกเขามีสิทธิที่จะล้มเหลวในธุรกิจนี้ได้
เป็ นเรื่องน่าประหลาดใจที่เทรดเดอร์จำนวนมากมักง่ายด้วยการไม่วางจุดตัดขาดทุน มีการถอน
จุดตัดขาดทุนออก หรือเข้าซื้อสถานะที่ใหญ่เกินไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก
และทำให้โอกาสในการล้มเหลวพุ่งสูงขึ้น รวมถึงการทำกำไรที่เร็วเกินไปมันทำให้พวกเขาไม่
สามารถได้กำไรจน cover การขาดทุนได้ทั้งหมด เทรดเดอร์มากมายสนใจแต่ว่าเขาจะทำกำไรได้
เท่าไหร่ แต่หลงลืมไปว่าเขาก็มีสิทธิจะเสียได้เหมือนกันจนเขาไม่ได้ประเมินความเสี่ยง ยิ่งไปกว่า
นั้น เทรดเดอร์หลายคนยังรันกลยุทธ์ที่ใช้หลักการ martingales ซึ่งเป็ นหลักการที่เมื่อผิดพลาด
แล้วจะทำให้ผู้ใช้ได้รับความเสียหายที่หนัก การบริหารเงินนั้นไม่ได้น่าเย้ายวนและค่อนข้างน่า
เบื่อ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นในการเทรดเลย และนี่คือ
สาเหตุว่าทำไมพวกที่ชอบแสวงหาความตื่นเต้นถึงได้ล้มเหลวในการเทรด บ่อยครั้งที่คนทั่วไป
ทุ่มเทพลังงานไปกับการประเมินทิศทางตลาด จุดเข้า-จุดออกสถานะ ซึ่งพวกเขาละทิ้งเรื่องของ
การจัดการเงินไปเลย การที่จะ “Mastery of trading” มันคือการเน้นความสำคัญของการจัดการ
บัญชี การบริหารเงินและบริหารความเสี่ยงซึ่งเป็ นส่วนสำคัญของการดำเนินกลยุทธ์การเทรด
พฤติกรรมที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
มีโครงสร้างหรือแผนงานที่ดีในการเทรด
พัฒนามุมมองเชิงกลยุทธ์ในการเทรดของคุณ
พัฒนากฏเกี่ยวกับความเสี่ยง เช่นการประเมินความเสี่ยงในแต่ละการเทรด
พัฒนาวิธีที่ใช้ในการประเมิน Risk/Reward
เข้าใจในเรื่องของ Position size ซึ่งคิดมาจากการประเมินความเสี่ยงในการขาดทุน

คุณลักษณะที่ 9 เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จโฟกัสที่การทำเงิน ไม่ใช่การทำถูก


เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จล้วนตระหนักได้ว่าเขาไม่สามารถควบคุมตลาดได้ (เพราะตลาด
เป็ นสิ่งที่ไม่แน่นอน) พวกเขามองว่าตลาดเป็ นพลังงานธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ พวกเขา
รู้ว่าสิ่งเดียวที่เขาสามารถควบคุมได้คือ การกระทำ พฤติกรรม แล้วอารมณ์ของตัวเอง

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 14


พวกเขารู้ว่าตัวเองไม่ได้สมบูรณ์แบบ มนุษย์ทุกคนล้วนมีอคติและมีการรับรู้ที่จำกัดซึ่งทุกคนก็
สามารถที่จะถูกรบกวนและลังเลได้ง่าย บุคลิกภาพและนิสัยของทุกคนล้วนแตกต่างกันแล้วมันส่ง
ผลต่ออิทธิพลในการตัดสินใจของตนเอง เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จดำเนินอาชีพโดยขึ้นอยู่
กับปัจจัยเหล่านี้และยอมรับว่าความพ่ายแพ้คือส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จระยะยาว
พวกเขารู้ว่าอาชีพของเขาคือการทำเงิน ไม่ใช่การทำถูก
มันเป็ นสิ่งลี้ลับอีกสิ่งหนึ่งในอาชีพนี้คือ เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จสามารถที่จะขาดทุนได้
สามารถที่จะคาดการณ์ตลาดผิดได้ แต่ก็ยังสามารถทำผลงานได้อย่างสม่ำเสมอตลอดอาชีพเขา
ในทางตรงกันข้าม เทรดเดอร์ที่ล้มเหลวสามารถชนะบ่อยๆ คาดการณ์ตลาดได้ถูกต้อง แต่ก็ยัง
ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จชนะในเกมของจิตใจ พวกเขาใช้โฟกัสกับ
สิ่งที่จำเป็ นจริงๆ พวกเขาอยู่บนหลักความจริง ไม่ใช่แนวคิดเพ้อฝันที่หวังว่าตลาดจะเข้าทางตัว
เองรอดและคร่ำครวญเกี่ยวกับตลาดไม่แฟร์เมื่อพบกับความล้มเหลว พวกเขาอยู่กับปัจจุบัน ไม่
อยู่กับเรื่องแพ้ชนะในอดีตหรือฉลองกับชัยชนะที่ยังไม่เกิดขึ้น
สำคัญที่สุด เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับความพ่ายแพ้ บางคนถึง
กับยืนยันกับผมด้วยซ้ำว่า พวกเขารักในการขาดทุนด้วยซ้ำ ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้เขายอมรับพวก
มันได้ง่ายขึ้นและพวกเขาสามารถเปลี่ยนบริบทของการขาดทุนเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของการได้
กำไรระยะยาว
พฤติกรรมที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
โฟกัสที่เป้ าหมายระยะยาว และหาเครื่องมือที่จะทำให้เราสามารถบรรลุเป้ าหมายได้ง่ายขึ้น
รีวิวและประเมินการกระทำและพฤติกรรมในการเทรดของตัวเอง
เปิ ดรับ feedback อยู่เสมอ
รู้จักการถอยทัพ
ฝึ กการทำสติและการพัฒนาความคิด

คุณลักษณะที่ 10 บรรลุความสมดุลในชีวิต
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จพยายามที่จะรักษาชีวิตนอกเวลาเทรดให้สมดุลและไม่ซับซ้อน
การเทรดเป็ นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา แล้วถ้าส่วนอื่นๆ ของชีวิตพวกเขานั้นยุ่งเหยิง มันก็จะส่ง
ผลกระทบโดยตรงกับการเทรด ในทำนองเดียวกันเมื่อการเทรดไม่ดี มันก็อาจจะส่งผลถึงส่วนอื่น
ในชีวิตของตัวเขาด้วย เทรดเดอร์หลายคนพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงการทำ
อะไรที่เลยเถิด การลงทุนของพวกเขาเองก็ค่อนข้างไม่ซับซ้อนและปลอดภัย ทั้งหมดนี้ช่วยให้เขา
มั่นใจได้ว่าสภาพจิตใจของเขาจะปลอดโปร่งและชัดเจนเพื่อให้เขาสามารถที่จะพุ่งความสนใจ
ทั้งหมดไปที่การเทรดได้ ในความเป็ นจริงแล้วมันเป็ นเรื่องง่ายมากที่จะลืมองค์ประกอบทางด้าน
ทรัพยากรณ์มนุษย์ในการเทรดด้วยการทดแทนด้วยเครื่องมือและระบบการเทรดต่างๆ แต่อย่าง
ไรก็ตาม ความเป็ นมนุษย์นี่แหละที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ
มาแชล มอนต์โกเมอรี ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง กล่าวไว้ว่า
“‘Man is still the first weapon of war.”

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 15


สิ่งนี้เหมือนกันกับการเทรดเลย ความเป็ นมนุษย์และความสามารถทางด้านจิตใจของเราคือพลัง
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ถึงแม้ว่าตัวเราจะมีจุดอ่อนและมีข้อจำกัด
พฤติกรรมที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมคุณลักษณะนี้ได้แก่
หยุดพักเพื่อใช้เวลากับสิ่งอื่นหรือความรับผิดชอบอื่่นๆ ในชีวิต
โฟกัสที่เป้ าหมายระยะยาว ร่วมกับการโฟกัสที่กลยุทธ์และแทคติก
มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมร่างกายและสภาพจิตใจ
สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง
คุยกับผู้คน อย่าอยู่แต่กับตัวเอง
แชร์ความคิดและความรู้สึกให้กับเพื่อน คู่ชีวิต หรือผู้รับฟังที่ดี
พฤติกรรมสำคัญของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ โดย Sam Eder แปลและเรียบเรียงโดย
Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 16


HUMBLE TRADER BOOK
VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 4
หนทางรอดในช่วงที่เราขาดทุนหนัก

ช่วงนี้แอดมินกำลังอินกับเรื่องของ การเทรดอย่างมีสติครับ (Mindful Trading) วันนี้ผมเลยสรุป


สัมมนาของ Gary Dayton โค้ชจิตวิทยาการเทรดชื่อดังและผู้เขียนหนังสือ Trade Mindfully เกี่ยว
กับเรื่องของการฟื้นฟูตัวเองจากการขาดทุนมาฝากครับ ซึ่งน่าจะเหมาะกับช่วงนี้ที่ตลาดค่อนข้าง
ผันผวนและผ่านจากวิกฤตในตลาดหุ้นมาไม่นาน หวังว่าบทความนี้จะช่วยหลายๆ คนได้ ลอง
อ่านกันดูนะครับ
**********
การขาดทุนหนักมันได้ทำลายเรา ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องทางการเงินเพียงอย่างเดียวแต่ทำลายสภาพ
จิตใจของเราด้วย
วิธีการที่เราตอบสนองต่อการขาดทุนนั้นสำคัญกว่าเรื่องของการขาดทุน
นักลงทุนที่ขาดประสบการณ์มักจะถูกชักนำโดยอารมณ์ของพวกเขาหลังจากที่พบกับการขาดทุน
อย่างหนัก บางคนพยายามฝื นเทรดต่อไปทั้งๆ ที่เจ็บปวดซึ่งส่วนใหญ่มักจะจบด้วยความเสียหาย
ที่มากกว่าเดิม บางคนอาจถอนตัวจากการเทรด เก็บเรื่องราวใส่ลิ้นชัก หลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงมัน
และหลงลืมมันไป บางคนก้มหน้าก้มตาและพยายามที่จะเทรดให้ดีขึ้น เพื่อที่จะเอาเงินที่ขาดทุน
คืน ซึ่งการตอบสนองในรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีแบบไหนเลยที่เป็ นการตอบสนองที่ดี

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 18


ชีวิตการเทรดของพวกเขาอาจจะถูกทำลายได้ หากไม่เรียนรู้เกี่ยวกับการรับมือการขาดทุน การ
ตัดสินใจเทรดในครั้งถัดๆ ไปจะเต็มไปด้วยอารมณ์ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่แน่นอน เช่น พวก
เขาอาจจะทำขายทำกำไรเร็วเกินไป บางคนอาจจะเทรดถี่ขึ้น บางคนอยู่กับการเทรดที่ตัวเองไม่
ได้กำไรนานเกินไปเพื่อหวังให้มันกลับมาเท่าทุน ซึ่งเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมามักจะเกิดจากการกลัว
ความล้มเหลวหรือการขาดทุน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จกับเทรดเดอร์ที่ล้มเหลว คือวิธีการ
ที่เขาตอบสนองและรับมือกับการขาดทุน เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จมองการขาดทุนเป็ น
เหมือนกับโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาการเทรดของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้น การกลับมาจากการ
ขาดทุนหนักเป็ นเรื่องที่ยากและท้าทายแต่ความสำเร็จไม่เคยประสบผลหากเราหลีกเลี่ยงและเพิก
เฉยต่อการขาดทุน
การขาดทุนโดยเฉพาะการขาดทุนอย่างหนักเป็ นบทเรียนและโอกาสครั้งสำคัญที่ทำให้คุณกลาย
เป็ นเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่เก่งกว่าเดิม และนี่คือเจ็ดขั้นตอนการรับมือกับการขาดทุนของ
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเพื่อทำให้พวกเขามีจิตใจและวินัยที่ดีขึ้น

1. รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
คุณเป็ นคนที่ทำการเทรดและทำให้ตัวเองขาดทุน ฉะนั้นอย่าพยายามปัดความรับผิดชอบ หรือไป
กล่าวโทษคนอื่นว่าเป็ นต้นเหตุทำให้เราขาดทุน

2. หยุดการเทรด
คุณต้องหยุดพักซักพักเพื่อมาดูว่าเกิดข้อผิดพลาดอะไรขึ้นกับการเทรดที่ผ่านมาของคุณ จากนั้น
ให้ทำการประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการทบทวนแต่ละเหตุการณ์อย่างละเอียดว่าส่วนไหนที่คุณทำ
ผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น คุณเสี่ยงในการเทรดนี้มากเกินไปหรือไม่? แผนการเทรดที่ใช้มันดี
จริงๆ หรือไม่? สภาวะจิตใจในช่วงที่เราทำการเทรดนั้นเป็ นอย่างไร หรือคุณมีความกลัวในการ
ขาดทุนหลังจากที่เทรดหรือไม่?

3. มีแผนการที่ชัดเจน
สิ่งที่คุณต้องทำคือมีรายละเอียดของแผนการเทรดล่วงหน้า โดยที่ส่วนประกอบของแผนการเทรด
ควรจะประกอบไปด้วยสิ่งที่คุณต้องทำเมื่อเกิดเงื่อนไขต่างๆ (เช่นการตัดขาดทุน เงื่อนไขในการ
ทำกำไร เป็ นต้น) และคุณควรระบุสิ่งที่คุณห้ามทำลงในแผนด้วย (เช่น การเลื่อนจุดตัดขาดทุน
เมื่อถึงจุดตัดขาดทุน)

4. ทำแผนให้ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถระบุปัจจัยที่ทำให้คุณกลับสถานะการเทรดของคุณได้หรือไม่ ?
เทรดเดอร์ที่ดี คือเทรดเดอร์ที่สามารถตัดขาดทุนและรอโอกาสในรอบต่อไปได้ แต่เทรดเดอร์ที่ดี
ยิ่งกว่านั้นสามารถที่จะกลับสถานะของเขาเมื่อโอกาสมาถึง ซึ่งเปลี่ยนจากที่เขาเสียเงินกลายเป็ น
เขาได้เงินจากการเทรด ซึ่งการกลับสถานะได้นั้นคุณจะต้องระบุเงื่อนไขของมันให้ได้อย่างชัดเช่น

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 19


เช่น การเปลี่ยนของแปลงของ momentum การเพิ่มขึ้นของปริมาณการซื้อขายอย่างผิดปกติ หรือ
พฤติกรรมราคาที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนทิศของราคา
ถ้าเราสามารถระบุปัจจัยสำคัญเหล่านี้ได้ เราจะไม่เพียงแค่ลดในเรื่องของการสูญเสียเท่านั้นแต่
ยังเป็ นการเพิ่มความได้เปรียบในการเทรดอีกด้วย

5. มองการขาดทุนเป็ นเพียงส่วนหนึ่งของการเทรด
คุณควรมองการขาดทุนเป็ นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการเทรด การสูญเสียเงินหรือแม้กระทั่ง
การขาดทุนอย่างหนักมันไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวคุณลดลงเลย อย่าไปซีเรียสกับการขาดทุนจน
เกินไป พยายามหาจุดสมดุลให้กับชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่ขาดทุนเพื่อให้ตัวคุณสามารถฟื้นคืน
สภาพจิตใจกลับมาได้ไวและสามารถเทรดต่อไปได้

6. หาแรงบันดาลใจ
คุณควรใช้การขาดทุนแต่ละครั้งเป็ นแรงขับเคลื่อนในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของคุณเพื่อให้
คุณเทรดได้ดีขึ้น พยายามมองมันในแง่บวกให้ได้ นักกีฬาอาชีพจะตื่นเต้นเสมอเมื่อค้นพบข้อ
บกพร่องในเกมการเล่นของตัวพวกเขาเองเพราะพวกเขาใช้จุดอ่อนเหล่านี้เป็ นตัวกระตุ้นในการ
พัฒนาความเป็ นนักกีฬาของตัวเอง

7. กลับเข้าสู่เกม
หลังจากที่คุณทำการฟื้นฟูตัวเองตามขั้นตอนที่กล่าวมาด้านบนเรียบร้อยก็ถึงเวลากลับเข้าสู่การ
เทรด ถ้าคุณทำตามที่กล่าวมาข้างต้นได้อย่างสมบูรณ์ จิตใจและความพร้อมของคุณจะแข็งแกร่ง
และดีกว่าเดิม คุณต้องปล่อยการขาดทุนไปและใส่ใจในเรื่องของปฎิบัติเพื่อสร้างผลรับที่ดีขึ้น
**********
จากที่มานั่งฟังคุณ Dayton สอนเกี่ยวกับเรื่องของการรับมือการขาดทุน สิ่งที่ผมเห็นด้วยอย่าง
มากคือ มุมมองที่แต่ละคนมองในเรื่องของการขาดทุนครับ โดยส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนมักจะมอง
เรื่องของการขาดทุนเป็ นเรื่องเลวร้ายและเป็ นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง ซึ่งเป็ นสิ่งที่สะท้อนให้เราเห็น
อยู่ตามหน้าฟี ดเฟสบุ๊ก
เราจะเห็นแต่การโชว์กำไรกันเต็มไปหมดหรือมีการโชว์ขาดทุนและพูดถึงการขาดทุนแต่ในภาพมี
ออเดอร์ที่กำไรที่มากกว่าแนบติดมาด้วย ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งกับความเป็ นจริงที่คนส่วนใหญ่ใน
ตลาดนั้นเสียเงิน
มุมมองเกี่ยวกับการขาดทุนเหล่านี้มักจะแตกต่างกับมุมมองของเหล่าคนที่ประสบความสำเร็จ
จริงๆ ในตลาดอย่างสิ้นเชิง คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมองในเรื่องของความล้มเหลว หรือ
การขาดทุน (ที่มาจากการทำตามแผน) ในแง่บวก ดังเช่น quotes ที่ยกมาให้อ่านด้านล่างนี้ครับ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 20


“Instead of getting upset over getting stopped out of a trade, I began to assign pleasure to
sticking to my discipline and taking small losses to protect my capital. While at the same time,
I associated a great amount of pain with large losses and breaking my discipline. With this new
thinking, I could see small losses as an opportunity to avoid larger, more destructive losses.
This enabled me to manage my risk in relation to my reward and maintain a profitable edge in
my trading. It was a major turning point in my career. And it all happened by shifting my
perception of pain and pleasure.” โดย Mark Minervini
“If you’re not failing, you’re not pushing your limits, and if you’re not pushing your limits, you’re
not maximizing your potential … Pain plus reflection equals progress” โดย Ray Dalio
“No failure – only feedback; which is the breakfast of champions” โดย Steve Wards
"I've missed more than 9,000 shots in my career. I've lost almost 300 games. Twenty-six times,
I've been trusted to take the game winning shot and missed. I've failed over and over and over
again in my life. And that is why I succeed." โดย Michael Jordan
คนที่ประสบความสำเร็จสามารถปรับมุมมองที่คนส่วนใหญ่มองในแง่ลบให้ตัวเองสามารถมองใน
แง่บวกได้
ผมเข้าใจว่า การมองเรื่องของการขาดทุนให้เป็ นเรื่องที่ดีหรือเรื่องปกติ มันค่อนข้างจะทำได้ยาก
ในทางปฏิบัติและขัดกับความเชื่อบางอย่าง แต่คิดว่าถ้าเราให้เวลากับมัน แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยน
มุมมองต่างๆ หรือ reframing ให้ไปในทิศทางเดียวกันกับคนที่ประสบความสำเร็จเขาคิดกัน
สุดท้ายแล้วเราจะทำมันได้ในที่สุดครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็ นประโยชน์สำหรับหลายๆ คน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักนะครับ
หนทางรอดในช่วงที่เราขาดทุนหนัก โดย Dr. Gary Dayton แปลและเรียบเรียงโดย
Humble Trader Diary
ปล. quotes แต่ละอันผมไม่อยากแปลเป็ นไทยให้ครับ เพราะการอ่านภาษาจากต้นฉบับมันน่าจะ
อินมากกว่า

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 21


There is time to go long, time to go
short and time to go fishing.

JESSE LIVERMORE
LESSON 5
5 เหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่ขาดทุน

วันนี้เอาบทความของคุณ Felix De Vliegher ผู้ที่เชี่ยวชาญการเทรดในตลาด Forex มาให้อ่านกัน


ครับ แอดมินไม่ได้เทรด forex กับเขาหรอกครับ แต่ชอบอ่านงานของเทรดเดอร์ท่านนี้ และคิดว่า
เอามาสรุปให้อ่านกันน่าจะเป็ นประโยชน์กับคนที่เล่นหุ้นเช่นเดียวกันครับ ไม่ค่อยยาวเท่าไหร่
ลองอ่านกันดูนะครับ
**********
ทำไมตัวเราถึงยังขาดทุนอยู่?
คำถามนี้เคยทำให้ผมนอนไม่หลับ คุณเคยสงสัยเรื่องนี้เหมือนกันมั้ย?
ผมเคยสงสัยมันอยู่บ่อยครั้ง ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ในตอนที่ผมยังไม่สามารถทำกำไรได้ต่อเนื่องในตลาด
forex ผมหมดหวังในการหาคำตอบนี้ ไม่ใช่แค่นั้น ผมต้องการที่จะหาให้ได้ว่ามันมี pain points
อะไรบ้างที่ทำให้เทรดเดอร์นั้นขาดทุน
ผมไม่อยากจะเป็ นเทรดเดอร์ขี้แพ้ไปตลอดชีวิต...ไม่มีวัน
ดังนั้นผมจึงเริ่มที่จะทำการค้นคว้าทำไมเทรดเดอร์ถึงยังขาดทุน?
คำตอบง่ายๆ เลยคือ เพราะว่ามันเป็ นสิ่งที่ยากมากที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 23


แต่ก็ยังมีเทรดเดอร์อีกพอสมควรที่มีผลงานระดับสุดยอดที่เราสามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นการที่จะ
ทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ มันต้องเป็ นไปได้สิ ระหว่างที่ผมได้ทำการค้นคว้า ผมได้ค้นพบว่ามีห้า
เหตุผลสำคัญที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขาดทุน และหลังจากที่ผมเริ่มแก้ไขพวกมัน ผมพบว่าผล
งานของผมก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
และนี่คือ 5 เหตุผลที่ทำไมเทรดเดอร์ถึงยังขาดทุนอยู่ (รวมถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
เหล่านี้ด้วย)

1. การบริหารความเสี่ยงที่ห่วยแตก
ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่จะเป็ นหนึ่งในเรื่องที่ควรจะอยู่ในลิสต์นี้ คนส่วนใหญ่มักจะเสี่ยงเกินไป forex
นั้นเป็ นการเทรดที่ใช้ leverage และ มันง่ายมากที่จะล้างพอร์ตหากว่าคุณทำการเสี่ยงมากเกินไป
แม้แต่เทรดเดอร์ระดับโลกอย่าง William Eckhardt ยังเคยบอกว่าเขาจะไม่เสี่ยงเกิน 2% พอร์ตต่อ
การเทรดแต่ละครั้งเลย
ขนาดระดับโลกยังเสี่ยงครั้งละน้อยๆ แล้วทำไมคุณถึงเสี่ยงมากกว่านั้นกันหละ?
วิธีการแก้ไข
จงสร้างกฎการเทรดให้คุณเสี่ยงเพียง 1-2% พอร์ตในแต่ละช่วงเวลา นั่นหมายถึงถ้าคุณเปิ ด
สถานะ 2 สถานะ ในแต่ละสถานะคุณจะเสี่ยงแค่ 1% พอร์ตเท่านั้น
คุณควรค้นคว้าเกี่ยวกับเรืองของ risk/reward, r-multiples, position sizing, drawdowns และ
currency correlation การมีวิธีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมทำให้คุณสามารถอยู่ในเกมนี้ได้
นานขึ้น นั่นหมายถึงการที่คุณจะมีโอกาสได้เรียนรู้จากความผิดพลาดจนคุณสามารถพัฒนา
ตัวเองขึ้นมาได้

2. ไม่มีวินัย
การมีวินัยมักจะเป็ นสิ่งหนึ่งที่ถูกมองข้ามอยู่เสมอๆ ในตลาด forex ที่เต็มไปด้วย indicator,
กลยุทธ์การเทรด และสัญญาณซื้อขาย แต่จริงๆ แล้ววินัยนั้นโคตรสำคัญ ในตอนที่คุณมีความรู้
เกี่ยวกับ forex ในระดับหนึ่ง ปัญหาที่พวกเราส่วนใหญ่จะเจอคือ พวกเราจะเข้าไปเทรดเพียง
เพราะอยากจะลุ้นหรือตื่นเต้น หรือไม่ก็ถ่าง stop loss และ take profit เร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็ น
ดังนั้นมันเป็ นสิ่งสำคัญมากที่คุณจะมีภาพที่ชัดเจนว่าอะไรที่คุณต้องการจะประสบความสำเร็จใน
การเทรด และยึดติดกับสิ่งๆ นั้น คุณควรจะศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการเทรดและเรื่องจำพวก
cognitive biases ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเทรดของคุณ การบริหารความเสี่ยงที่ห่วยแตก
จะทำให้คุณขาดทุนออกจากตลาดอย่างรวดเร็ว แต่การที่คุณไม่มีวินัย มันจะให้ผลลัพธ์ในแบบ
เดียวกัน เพียงแค่ช้ากว่าก็เท่านั้นเอง
วิธีการแก้ไข
คุณต้องระวังในเรื่องของ fear of missing out (FOMO) และ cognitive biases ที่มันจะเข้า
มารบกวนการเทรดของคุณ แค่เพียงคุณรู้เกี่ยวกับมันคุณก็จะสามารถลดการเทรดที่ไม่
จำเป็ นออกไปได้แล้ว

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 24


คุณต้องมี “แผนการเล่น” ในทุกๆ การเทรด รู้ล่วงหน้าให้ได้ว่าคุณจะซื้อตอนไหนตัดขาดทุน
เมื่อไหร่ และขายทำกำไรอย่างไร รู้ให้ได้ว่าสภาวะไหนจะขัดขวางการเทรดของคุณ

3. ไม่มีโครงสร้างหรือแบบแผน
มีเทรดเดอร์จำนวนไม่น้อยที่เทรดแบบมั่วๆ โดยไม่รู้ว่าทำไมพวกเขาถึงเทรดแบบนั้น อาจเพราะ
เหตุผลแย่ๆ คือคุณไม่มี track record ในการเทรด ทำให้คุณไม่รู้ว่าอะไรที่มันเวิร์ค และไม่เวิร์ค
คุณจะวิเคราะห์ผลตอบแทนของคุณได้อย่างไร ถ้ายังเทรดมั่วๆ อย่างที่คุณเป็ นอยู่แบบนี้?
นี่มันเป็ นหนทางแห่งความล้มเหลวชัดๆ
มีเทรดเดอร์จำนวนมากที่ไม่มีโครงสร้างในการเทรด แผนการเทรด และการบันทึกในทุกๆ การ
เทรดจะทำให้คุณมีโครงสร้างนั้นๆ เป็ นเวลาหลายปี ที่ผมได้เทรดมา ผมก็ยังใช้ Checklist อยู่ เพื่อ
ให้ผมรู้ว่าการเทรดที่ผมได้ทำไปนั้น ตรงตามแผนที่ผมได้วางไว้รึเปล่า ซึ่งมันก็เวิร์คมากๆ
วิธีการแก้ไข
มีแผนการที่ใช้ในการเทรด ถ้าคุณยังไม่มี ก็เริ่มทำมันซะ
บันทึกการเทรดของคุณ มันจะช่วยทำให้คุณเก็บบันทึกผลการเทรด วิเคราะห์และพัฒนาตัว
เองได้อย่างดีเยี่ยม
ใช้ trading checklist ก่อนที่คุณจะเทรดทุกครั้ง ซึ่งผมมีตัวอย่างของผมมาให้ดู (คุณจะปรับ
ให้เข้ากับตัวคุณก็ได้นะ)
การเทรดนี้ตรงตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ?
ได้บันทึกการเทรดนี้ลงในบันทึกการเทรดหรือยัง?
การเทรดครั้งเป็ นการเทรดที่ตามแนวโน้มระยะยาวหรือไม่?
ไม่ได้เข้าซื้อเพราะว่าเบื่อหรือกลัวพลาดอะไรบางอย่างใช่หรือไม่?
รู้จุดเข้าซื้อและเงื่อนไขการออกสถานะ รวมถึงจุดตัดขาดทุนและจุดทำกำไรหรือไม่?
Risk/Reward และ Position size ครั้งนี้ดีพอสำหรับการเข้าสถานะหรือไม่?
รู้สึกมั่นใจในการเทรดครั้งนี้รึยัง ?

4. เปลี่ยนกลยุทธ์ไปมา
นี่คือเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นบ่อยครั้งกับเทรดเดอร์มือใหม่ พวกเขาต้องการที่จะลองกลยุทธ์ใหม่ หลัง
จากที่เทรดจบไปแล้วสามครั้ง พวกเขาก็คิดซะแล้วว่ามันใช้งานไม่ได้และเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์อื่นๆ
นี่คือสิ่งที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ลืมที่จะตระหนักถึง ว่าคุณจำเป็ นจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพื่อที่จะ
สร้างกลยุทธ์ของตัวคุณเองขึ้นมา มันไม่ได้ง่ายหรือเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วข้ามคืน คุณจะต้องเรียนรู้
รายละเอียดและรู้ให้ได้ว่าอะไรที่มันสามารถใช้งานได้ และอะไรใช้งานไม่ได้ ทดลองใช้กลยุทธ์นั้น
เป็ นระยะเวลายาวนานจนมีข้อมูลมากพอมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติ เทรดเดอร์จะเห็นได้ด้วยตัวเอง
ว่าผลลัพธ์ของเขาจะดีขึ้นถ้าหากเขายึดติดและใช้กลยุทธ์เพียงแค่กลยุทธ์เดียว แต่น่าเสียดายที่
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะมองหา “holy grail” และเปลี่ยนวิธีที่พวกเขาใช้เร็วเกินไป

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 25


วิธีการแก้ไข
เรียนรู้กลยุทธ์ที่คุณเชื่อ จากนั้นก็ใช้มันไปซักระยะหนึ่ง จากนั้นผลงานการเทรดของคุณจะ
พัฒนาขึ้นตามระยะเวลาที่คุณได้ใช้กับมันและมันจะกลายเป็ นกลยุทธ์เฉพาะตัวของคุณเอง
indicators ก็เช่นเดียวกัน อย่าใช้อะไรที่มากเกินไป มันจะส่งผลให้การตัดสินใจของคุณออก
มาแย่ ดังนั้น พยายามทำอะไรที่มันเรียบง่ายจะดีกว่า

5. ความพยายาม
แม้ว่าคุณจะแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาด้านบนได้ทั้งหมด มันก็อาจจะต้องใช้เวลาหลายปี กว่าที่คุณจะ
สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 80% ของเทรดเดอร์ทั้งหมดจะล้มเลิกออก
จากตลาดไปภายในสองปี แรก อย่าคาดหวังว่าการเทรด forex จะเป็ นอะไรที่ง่ายๆ จงทำการเทรด
ให้เหมือนกับการทำธุรกิจ เรียนรู้ ใช้เวลากับมันเยอะๆ จริงจังกับมัน และเหนือสิ่งอื่นใดคุณควร
ที่จะรักในการเทรด คุณจะเห็นได้ว่า หากคุณยึดติดกับมันได้นานพอ ผลลัพธ์ที่ดีมันจะออกมาใน
ท้ายที่สุด
วิธีการแก้ไข
เทรดและเรียนรู้การเทรด forex อย่างต่อเนื่องให้เป็ นนิสัย ด้วยความพยายาม คุณจะไปถึง
ระดับที่สามารถทำกำไรได้ในที่สุด
จงทำการเทรดให้เหมือนกับการทำธุรกิจ มันจะต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่ผลลัพธ์ของมันจะ
คุ้มค่ากับการที่คุณทุ่มเทแรงกายแรงใจไปอย่างแน่นอน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด … Felix De Vliegher
บทความ 5 เหตุผลสำคัญที่คนส่วนใหญ่ขาดทุน โดย Felix De Vliegher แปลและเรียบเรียงโดย
Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 26


Jack Schwager
การทำผิดพลาดเป็
นเรื่องที่ยอมรับได้
แต่การอยู่กับความผิดพลาดต่อไป
เป็ นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยสิ้นเชิง

HUMBLE TRADER BOOK


VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 6
5 วิธีชนะความกลัวในการเทรดหุ้น

ความกลัวเป็ นสิ่งที่เราต้องพบเจอเป็ นปกติในการเทรดและการลงทุน เพราะเรื่องพวกนี้เป็ นสิ่ง


เราจะต้องอาศัยคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอนาคตเป็ นสิ่งไม่แน่นอนทำให้เราไม่สามารถ
คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดได้อย่างสมบูรณ์ 100%
ไม่ว่าจะเป็ นการกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ การกลัวที่จะขาดทุน การกลัวที่จะทำผิด การกลัวที่จะขายหมู
การกลัวที่จะพลาดโอกาสในการซื้อหุ้นดีและการกลัวที่หุ้นที่เรากำไรจะกลายเป็ นหุ้นที่เราขาดทุน
สิ่งเหล่านี้มักจะทำให้เกิดความลังเล ความไม่มั่นใจ และรบกวนกระบวนการตัดสินใจในการเทรด
ทำให้เราตัดสินใจไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็ นบ่อเกิดให้เราไม่สามารถประสบความสำเร็จในการ
เทรดในระยะยาว
วันนี้ผมก็เลยเขียนบทความที่สรุปมาจากการอ่านจากหลายๆที่ และประสบการณ์ส่วนตัวของผม
มาแชร์ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวเอาไว้ด้านบนนะครับ

1. คาดการณ์เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นทั้งหมดก่อนการเทรด
ถึงแม้ว่าเราไม่สามารถจะมั่นใจได้อย่าง 100% ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เราก็พอจะคาด
การณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดก่อนการเทรดได้ครับ เช่น การที่เราซื้อหุ้นหนึ่งตัวไป สิ่งที่มัน
จะเกิดขึ้นต่อไปคือ หุ้นขึ้น หุ้นลงและหุ้นอยู่ที่เดิม เป็ นต้น จากนั้นพอเราทราบเหตุการณ์ที่จะเกิด
ขึ้นทั้งหมดแล้ว สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำก็คือการวางแผนกับเหตุการณ์ทั้งหมดที่เราได้คาดการณ์ไว้
ว่าเราจะทำอะไรบ้าง เช่น

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 28


เมื่อหุ้นที่เราถือขาดทุนเป็ นจำนวน xx% เราจะตัดขาดทุน ขายบางส่วนหรือถัว
เมื่อหุ้นเรากำไรถึงระดับที่เหมาะสม เราจะขายทำกำไร ขายบางส่วน ซื้อเพิ่ม หรือถือต่อ
เมื่อหุ้นเราไม่ไปไหน เราจะถือต่อ ขายออกมาก่อน ขายบางส่วนหรือรอจนกว่าจะมีตัวที่น่า
สนใจแล้วค่อยขายเปลี่ยนตัว
เมื่อหุ้นที่เราตัดขาดทุนไปแล้วเด้ง เราจะรอ เข้าใหม่ หรือเข้าบางส่วน
เมื่อภาวะตลาดเป็ นขาลงหรือเกิดความผัวผวน เราจะอยู่เฉยๆ ขายหุ้นออกมาถือเงินสด
เล่นกลยุทธ์อื่น หรือปรับจุดการขายหุ้น
และอย่าลืมคิดถึงเหตุการณ์เมื่อเกิด worst case scenario เช่น ก่อการร้าย ไฟไหม้โรงงาน ทำให้
หุ้นเราลงหนักหรือฟลอร์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เราก็ต้องมีแผนฉุกเฉิน และคิดถึงการกระจายการลงทุน
รวมถึงการกำหนด position ให้เหมาะสมต่อการเทรดเพื่อลดอัตราการเกิด risk of ruin เรื่องพวกนี้
ให้เขียนออกมาเป็ น action plan นะครับ อย่าคิดไว้ในหัวเพียงอย่างเดียวไม่งั้นประสิทธิภาพจะ
ต่างกันเยอะมากๆ เหตุการณ์เหล่านี้เราสามารถกำหนดการกระทำก่อนที่จะเกิดได้แทบทั้งหมด
และเมื่อเรารู้แล้วสิ่งหนึ่งที่มันจะป้ องกันได้แน่นอนคือ ความช็อกและความลังเล เพราะเราคาด
การณ์และกำหนดการกระทำของเราไว้หมดแล้ว สิ่งที่เหลือก็คือ เล่นเกมตามที่วาง ทำตามแผน
ให้ได้ซึ่งต้องอาศัยวินัยในตัวเอง ซึ่งเรื่องพวกนี้ต้องฝึ กเองนะครับ คนอื่นไม่สามารถช่วยคุณได้

2. เข้าใจสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้
เมื่อคุณเป็ นเพียงผู้เล่นตัวเล็กๆ (เหมือนกับตัวผม) ในการเทรดหุ้นนั้นสิ่งที่เราควบคุมได้นั้นมี
เพียงไม่กี่อย่าง
เมื่อเวลาที่เราจะซื้อหุ้น สิ่งที่เราควบคุมได้นั้นมีเพียง เราจะซื้ออะไร, จำนวนเท่าไหร่ และ
เมื่อไหร่
เมื่อเวลาที่เรามีหุ้นอยู่ในมือ สิ่งที่เราควบคุมได้มีเพียง เราจะขายเมื่อไหร่
นอกจากเรื่องเหล่านี้ มันล้วนจะเป็ นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้แทบทั้งหมด เช่น การทำให้หุ้นขึ้น
เยอะๆ ทำให้ตลาดโดยรวมเอื้อต่อวิธีที่เราจะเทรด ทำให้บริษัทที่เราถือมียอดขายและกำไรที่มาก
ขึ้นและทำให้เจ้าของบริษัทไม่ขายหุ้นที่ตัวเองถือ เป็ นต้น ดังนั้นจะดีกว่ามั้ยที่เราจะใส่ใจเฉพาะ
กับสิ่งที่เราควบคุมได้ และไม่เอาใจไปผูกติดกับสิ่งที่เราไม่สามารถไปควบคุมได้
มีคนเคยถามคุณ Mark Minervini หนึ่งใน Market Wizards บน Twitter ว่า คุณเคยกลัวกับการถือ
หุ้นมั้ย โดยเฉพาะช่วงที่ตลาดผันผวนและมีความไม่แน่นอนสูงคุณ Minervini ก็ได้ตอบกลับคน
ที่มาถามว่า
ทำไมผมจะต้องกลัว ทั้งที่ผมวาง Position size, กำหนดจุดตัดขาดทุนและ risk per trade ที่เหมาะ
สมกับสภาวะตลาดไว้เรียบร้อยแล้ว ถึงผมจะขาดทุนในครั้งนี้ ผมก็อยู่รอดและทำการเทรดต่อไป
ได้อยู่ดี เรื่องพวกนี้ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนเราเข้าไปเทรดซะอีก
สิ่งที่พ่อมดตลาดหุ้นรายนี้สนใจก็แค่โฟกัสและทำให้ดีที่สุดในเรื่องที่ตัวเองควบคุมได้เท่านั้น ไม่
ได้สนสิ่งที่เขาควบคุมไม่ได้ สุดท้ายแล้วเราก็ไม่สามารถหลีกหนีความไม่แน่นอนได้ ก็แค่ต้อง
ทำใจโอบรับความไม่แน่นอนไว้ และโฟกัสแต่สิ่งที่เราควบคุมได้เท่านั้น พอเราสามารถฝึ กให้คิด
ได้แบบนี้แล้วความกลัวในสิ่งที่ไม่แน่นอนที่จะลดลงไปได้เองครับ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 29


3. อย่าให้ความสำคัญกับการถูกผิดมากเกินไป
การกลัวว่าเราจะทำผิดเป็ นสิ่งที่เกิดกับทุกคน โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วเราอยากที่จะทำถูกอยู่
ตลอดเวลา โดยที่เรื่องนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากระบบการศึกษาของเราที่ให้รางวัลกับเราเมื่อเรา
ทำถูกและลงโทษเมื่อเราทำผิด ซึ่งค่อนข้างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในโลกของการลงทุนและการเก็ง
กำไร ในโลกของการลงทุนและการเก็งกำไร คุณสามารถที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้
ถึงแม้ว่าระบบการเทรดของคุณจะทำถูกแค่เพียง 30-50% มีเทรดเดอร์หลายท่านก็มี % win rate
ไม่ได้สูงมากนักก็สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว ในทางตรงกันข้ามถึงแม้การลงทุนของคุณจะถูก
ถึง 90% คุณก็สามารถหมดตัวได้จากโลกของการลงทุนเช่นกัน
สิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องจำกัดการขาดทุนให้อยู่ในขนาดที่ยอมรับได้ ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะทำผิด
ก็แค่ยอมรับ ตัดขาดทุนออกมา แล้วเดินหน้าต่อ มองไปที่ภาพใหญ่เข้าไว้ เราสามารถขาดทุน
ระยะสั้น เพื่อประสบความสำเร็จระยะยาวได้ครับ
“When you learn to cut your losses and "fail" small, you stay in the game. If you get to keep
playing, sooner or later you’re going to succeed. The people who lose the game are the ones
who rarely fail, but eventually fail so big that they don’t get to play again.” Mark Minervini
“If you can’t take a small loss, sooner or later you will take the mother of all losses.”
Ed Seykota

4. การแบ่งการขายเพื่อให้เกิด Win/Win Solution


หลายๆคนน่าจะเคยเจอปัญหาเวลาได้กำไรถึงระดับที่น่าพอใจ แล้วเกิดความกลัวและลังเลว่าจะ
ขายหรือถือหุ้นต่อดี เพราะถ้าเราขายหุ้นไป ก็กลัวเสียดายว่าหุ้นจะขึ้นต่อแล้วพลาดโอกาสทำ
กำไรก้อนโต หรือถ้าเกิดเรายังถือหุ้นต่อ ก็กลัวว่ากำไรที่มีอยู่จะหดหายไป สิ่งเหล่านี้มักจะทำให้
นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ปวดหัวไม่มากก็น้อย
วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ อย่ามองเรื่องพวกนี้เป็ นขาวหรือดำครับ เราไม่จำเป็ นต้องตัดสิน
ใจสุดโต่งไปว่าจะขายทั้งหมดหรือถือทั้งหมด แต่เราสามารถเลือกใช้การทยอยขายบางส่วนหรือ
ครึ่งหนึ่งได้ การใช้การทยอยขายมันทำให้เกิด Win/Win solution ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราถือ
หุ้นจนมีกำไรในระดับที่พอใจแล้ว ให้เราขายหุ้นไปครึ่งนึงของที่เรามีอยู่เมื่อหุ้นมันยังขึ้นต่อ อย่าง
น้อยเราก็ยังมีหุ้นอีกครึ่งนึงที่ยังสามารถสร้างกำไรได้ต่อได้ หรือถ้าหุ้นมันลง เราก็ได้ทำกำไรใน
ระดับที่เราพอใจไปแล้วส่วนหนึ่งของที่เราถือ
วิธีการนี้ช่วยลดอาการหัวร้อนของเราได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและช่วยให้เราคงสภาพจิตใจ
ของเราได้ค่อนข้างดีครับ หลายๆคนอาจจะดีไซด์การเทรดให้ขายหลายๆส่วนก็ได้ตามวิธีที่ตัวเอง
ถนัด เช่น แบ่งเป็ น 4 ส่วน ส่วนแรกขายเมื่อได้กำไรตามเป้ า ส่วนที่ 2 ขายตาม sell rule ที่ตัวเอง
กำหนด เช่น การเกิด climax top, stalling action หรือการที่ market condition เปลี่ยน ส่วนที่ 3
ขายตามสัญญาณเทคนิคเช่น ema ระยะสั้น และส่วนที่ 4 กำหนดให้เป็ น core position ที่ใช้รัน
เทรนระยะยาว เป็ นต้น เรื่องพวกนี้อยู่ที่วิธีการเทรดและความถนัดของแต่ละคนเลยครับ ลองไป
ดีไซด์กันดูนะครับ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 30


5. ใช้ตัวช่วยในการเทรด
ปัจจุบันเราค่อนข้างโชคดีกว่าคนที่เขาเทรดสมัยก่อนเยอะครับ เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือมากมายที่ช่วย
อำนวยความสะดวกให้เราตามติดหุ้นได้อย่างใกล้ชิด เราสามารถตั้งการแจ้งเตือนเมื่อหุ้นที่เรา
สนใจใกล้จุดที่เรากำหนดหรือการตั้งคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ ทำให้เราสามารถขายหุ้นได้ในตามจุด
ที่เรากำหนด ซึ่งเป็ นผลดีต่อคนเทรดที่ไม่ได้มีเวลาเฝ้ าจอมาก ทำให้ลดความกังวลลงไปได้เยอะ
หรือถ้าใครไม่ถนัดใช้เครื่องมือต่างๆ เราก็สามารถให้ที่ปรึกษาการลงทุนดูแลได้ กำหนดแผนจุด
ซื้อขายให้เขาส่งคำสั่งแทนให้หรือโทรมาเตือนเราตอนเราไม่ได้ดู เสียค่าคอมให้ผู้ดูแลน่าจะคุ้ม
กว่าค่าเสียโอกาสกับค่าที่เราขาดทุนนะครับ
วันนี้ก็น่าจะมีเท่านี้นะครับ (คิดออกเท่านี้) หวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเทรดกันอย่างมั่นใจมากขึ้นนะ
ครับ ขอทิ้งท้ายไปด้วย Quote ของ Michael Jordan นักกีฬาบาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลละกันนะ
ครับ
“I never feared about my skills because I put in the work. Work ethic eliminates fear. So if you
put forth the work, what are you fearing? You know what you’re capable of doing and what
you’re not.” Michael Jeffrey Jordan
บทความ 5 วิธีชนะความกลัวในการเทรดหุ้น โดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 31


HUMBLE TRADER BOOK
VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH
LESSON 7
การบริหารความเสี่ยงทำให้คุณ
ได้เปรียบคนส่วนใหญ่

ช่วงนี้มีลูกเพจมาปรึกษาเรื่องหุ้นหลายท่านเลยครับ ส่วนใหญ่จะมาเพราะเรื่องขาดทุนหนักจาก
ตลาดขาลงโควิดช่วงนี้ครับ ไม่ก็คืนกำไรที่ทำได้ในรอบสามสี่ปี นี้ไป ผมฟังแล้วก็เครียดแทนครับ
วันนี้ผมก็เลยหาบทความเกี่ยวกับบริหารความเสี่ยงมาฝาก ซึ่งผมคิดว่าการบริหารความเสี่ยงเป็ น
เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับการหาหุ้นเลย บทความนี้เป็ นการสรุปงานของ Steve Burns ผู้เขียนหนังสือ
New Trader Rich Trader เกี่ยวกับเรื่องของความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ลองอ่านกันดู
นะครับ
**********
ผู้คนจำนวนมากมีความเชื่อว่าคนที่ชนะตลาดเป็ นเรื่องของดวงไม่ใช่เรื่องของความสามารถ และ
พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงเลย ว่ามีบางสิ่งที่ผู้ชนะตลาดในระยะยาวมีเหมือนกัน เหล่าเทรดเดอร์ที่
ประสบความสำเร็จอย่างสม่ำเสมอไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะเกิดจากความฟลุค แต่พวกเขา
มีชุดทักษะที่จำเป็ น คนที่ประสบความสำเร็จและสามารถอยู่รอดได้ในตลาดเป็ นสิบ ยี่สิบปี มี
อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ
พวกเขาเป็ น “นักบริหารความเสี่ยง”
ผู้ชนะในระยะยาวมีทักษะในการสร้างวิธีในการหาผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อความเสี่ยง จำกัดการ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 33


ขาดทุน เข้าใจในเรื่องของการวางเงินในแต่ละการเทรดและสามารถควบคุมความเสี่ยงในแต่ละ
การเทรดได้ยอดเยี่ยม พวกเขาเชี่ยวชาญในเรื่องของการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและ
จัดการเรื่องของอารมณ์และอีโก้ได้อย่างดี
เทรดเดอร์, นักลงทุน และ เฮดจ์ฟันด์ที่ล้มเหลวมักจะทำผิดพลาดโดยการที่ ทำการเดิมพันใน
แต่ละครั้งใหญ่เกินไป พวกเขาปล่อยให้อีโก้ของตัวเองเข้าครอบงำและเมื่อการเทรดนั้นผิดพลาด
พวกเขาไม่มีแผนการรับมือสำหรับการเทรดนั้น ทำให้เขาเข้าไปอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่จำกัดและ
ล้มหายตายจากไปในที่สุด เหล่าผู้ชนะในระยะยาวไม่มีจุดอ่อนเหล่านี้หรืออย่างน้อยพวกเขาก็
สามารถแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้ในที่สุดจึงค่อยประสบความสำเร็จ
ส่วนตัวแล้วผมจะจำกัดความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา โดยที่จะเปิ ดสถานะไม่เกินสามสถานะ และ
แต่ละสถานะผมจะเสี่ยงไม่เกินหนึ่งหนึ่งเปอร์เซ็นต์พอร์ต ผมตั้งจุดตัดขาดทุนจากราคาในระดับที่
ผมคิดว่าเมื่อถึงจุดนั้น คือการเทรดของผมนั้นผิดและผมจะเสียเงินเพียงไม่เกินหนึ่งเปอร์เซ็นต์
พอร์ตเท่านั้น สิ่งที่ดีคือ คุณจะมีเงินสำรองเหลือเอาไว้ในทุกสถานการณ์
มีไม่บ่อยมากนักที่ผมจะลงเงินมากกว่า 50% พอร์ตในแต่ละช่วงเวลา และน้อยมากที่ผมจะลงเงิน
เกิน 80% พอร์ต ซึ่งผมจะเปิ ดเกมรุกอย่างหนักก็ต่อเมื่อตลาดอยู่ในช่วงแรกของตลาดกระทิง
เท่านั้น มันเป็ นการดีเสมอที่จะจำกัดความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนมันเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
อย่าพยายามที่จะ All in จนคุณไม่สามารถปรับเปลี่ยนสถานะของคุณได้เลย
การมีจุดตัดขาดทุนแสดงให้เห็นว่าคุณเปิ ดกว้างว่าคุณมีความน่าจะเป็ นที่คุณสามารถผิดพลาดได้
การไม่มีกลยุทธ์ในการออกจากสถานะเมื่อคุณเข้าไปเทรดคือ ความจองหองต่อตลาด
trailing stop คืออุปกรณ์ที่สามารถทำให้คุณสามารถปล่อยให้กำไรของคุณงอกเงิยได้ และทำกำไร
ออกมาเมื่อการขึ้นของราคาครั้งนั้นสิ้นสุด ความสามารถในการเล่นเกมป้ องกันโดยการจำกัด
ความเสี่ยงทำให้เทรดเดอร์สามารถประสบความสำเร็จระยะยาวได้
สิ่งที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้ว คือมีคนจำนวนคนเพียงแค่ 10% ของทั้งตลาดเท่านั้นที่สามารถทำเงินใน
ระยะยาวได้จริงๆ แต่สิ่งที่ทุกคนไม่รู้หรือไม่ถูกพูดถึงเลยคือที่คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ
นั่นเพราะว่าเขาไม่เคารพความเสี่ยง
การทำกำไรแค่ชั่วคราวใครก็สามารถทำได้ แต่การรักษากำไรนั้นไว้ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ ที่คน
เหล่านั้นไม่เคารพความเสี่ยงก็เพราะเรื่องของ อารมณ์ อีโก้ และความเขลา ถ้าหากคุณต้องการที่
ทำกำไรได้ในระยาว คุณต้องเริ่มจากมีการจำกัดความเสี่ยง และการบริหาร position sizing ที่ถูก
ต้อง และแน่นอนการที่คุณจะทำเรื่องพวกนี้ให้ได้ดี คุณจะต้องมี mindset ที่ถูกต้องด้วย
ความได้เปรียบที่สำคัญที่สุดที่คุณสามารถในการเทรดได้ คือการที่คุณมีกระบวนการเทรดที่เป็ น
ระบบซึ่งมันสามารถสร้างการเทรดที่ทำกำไรคุ้มค่ากับความเสี่ยง ด้วยการจัดการความเสี่ยงที่
เยี่ยมยอด พร้อมกับสามารถทำกำไรสูงสุดได้ในระยะยาว
บทความ การบริหารความเสี่ยงทำให้คุณ ได้เปรียบคนส่วนใหญ่ โดย Steve Burns
แปลและเรียบเรียงโดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 34


PAUL
TUDOR
JONES

อย่าโฟกัสไปที่การทำเงิน แต่ให้โฟกัสที่การปกป้ องสิ่งที่คุณมี


LESSON 8
สิ่งที่มือโปรทำเมื่อเจอ
สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

ตลาดหุ้นมักจะชอบปั่ นประสาทพวกเรา สิ่งที่ตลาดมักจะทำได้ดีที่สุดเลย คือ การเขย่าลิงลงมา


จากต้นไม้ ในตลาดทุนนั้นความเครียดและสถานการณ์ที่มีความกดดันสูงเป็ นสิ่งที่พวกเราหลีก
เลี่ยงมันไม่ได้ ซึ่งบ่อยครั้ง เทรดเดอร์ทั้งหลายไม่ได้เตรียมตัวพบกับเรื่องน่าปวดหัวเหล่านี้
ในบทความนี้ ผมต้องการจะแชร์ 4 เรื่องที่เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จปฏิบัติเพื่อช่วยให้เขา
สามารถคิดและทำเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันและไม่แน่นอน

1. พวกเขามีพิธีการหรือวิธีเฉพาะตัว
สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเลยคือ สถานการณ์ที่มีความกดดันมักจะทำให้เราปฏิบัติในสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่
เราอยากที่จะทำ ตลาดมักจะเกิดสิ่งที่เราไม่คาดคิดขึ้น ซึ่งทำให้เราตัดสินใจตามสัญชาตญาณการ
เอาตัวรอด และปิ ดความคิดที่มีเหตุผลของเรา หัวใจที่เต้นรัว อาการหายใจหอบ และการรับรู้ที่
รู้สึกถึงภัยอันตรายทำให้เราตัดสินใจอะไรไปอย่างไร้เหตุผล เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเรียน
รู้ที่จะโอบรับความไม่แน่นอนซึ่งเป็ นส่วนหนึ่งของเกมการเทรด พวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับ
สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดตลอดเวลา ก่อนที่ตลาดจะเปิ ด พวกเขาจะมีพิธีการที่ช่วยให้พวกเขา
ผ่อนคลายและดึงศักยภาพของตัวพวกเขาออกมา อาทิ เช่น
การทำสมาธิ ซึ่งช่วยให้เขามีสมาธิ อยู่กับปัจจุบัน และมีจิตใจที่สงบ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 36


การฝึ กการหายใจ เพื่อให้สมองของคุณรับออกซิเจนได้มากขึ้นซึ่งมันช่วยให้คุณนิ่งและมีสติ
มากยิ่งขึ้น
Visualization เกี่ยวกับเป้ าหมายและความสำเร็จ การฝึ กนี้จะทำให้คุณมีแรงกระตุ้นและเห็น
ภาพใหญ่เพื่อให้คุณทำตามเป้ าหมายที่วางไว้
Positive affirmations (การโปรแกรมจิตใต้สำนึกตนเองด้วยความคิดเชิงบวก) ช่วยทำให้คุณ
มีความรู้สึกมั่นใจและผ่อนคลาย
Visualization เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤต เพื่อช่วยให้เขาเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อให้พร้อมกับ
สถานการณ์ที่เลวร้าย
ฟังเพลง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่ทำให้พวกเขาวิตกกังวล
พิธีการเตรียมตัวเหล่านี้ไม่ใช่เป็ นเพียงแค่เครื่องมือของเทรดเดอร์เท่านั้น นักกีฬา นักดนตรีหรือ
นักธุรกิจที่จำเป็ นจะต้องรับมือกับความกดดันก็ทำพิธีเหล่านี้ก่อนที่เขาจะแสดงฝี มือเหมือนกัน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยพวกเขาในการควบคุมและเปลี่ยนสภาวะจิตใจของเขาที่ตึงเครียดไปเป็ นสภาวะ
ที่มั่นใจและทรงพลัง
พวกคุณไม่จำเป็ นจะต้องปฏิบัติตามทุกวิธีด้านบน แค่ทำอะไรซักอย่างที่คุณสามารถทำได้และทำ
ในอะไรก็ได้ที่ช่วยให้ชีวิตการเทรดของคุณนั้นนิ่งขึ้นและเปี่ ยมไปด้วยความมั่นใจ

2. พวกเขาไม่คิดว่าสถานการณ์กดดันเป็ นภัยคุกคาม
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คิดว่าความไม่แน่นอนและสถานการณ์กดดันเป็ นภัยอันตรายที่คุกคามพวก
เขา สิ่้งเหล่านี้มันมักจะทำลายความมั่นใจในตนเองของพวกเขา ดึงความกลัวในความล้มเหลว
ของพวกเขาขึ้นมา จนกระทั้่งไปกระทบกระบวนการตัดสินใจของพวกเขาในที่สุด
แต่สำหรับเทรดเดอร์มือโปร พวกเขาเรียนรู้และมองสิ่งเหล่านี้เป็ นสิ่งที่ท้าทายและโอกาสในการ
เติบโต ดังนั้นผมอยากแนะนำให้คุณเปลี่ยนมุมมอง แทนที่จะมองความไม่แน่นอนเป็ นภัยคุกคาม
ให้เราลองมองมันเป็ นความท้าทายที่เข้ามาในชีวิตกันดูบ้าง พวกเราล้วนแล้วแต่มีเลือดของนักสู้
ที่อยากจะชนะอุปสรรคและความท้าทายกันทั้งนั้น ดังนั้นถ้าหากคุณมองเรื่องที่ยากให้เป็ นความ
ท้าทายที่คุณอยากจะเอาชนะมัน คุณจะถูกกระตุ้นเพื่อใช้พลังงานและความใส่ใจของคุณในการ
ทำมันให้ดีที่สุด
ดังนั้น ลองใช้ความคิดในเรื่องของการท้าทายตนเองเข้ามาในชีวิตการเทรดของคุณดู การเปลี่ยน
มุมมองนี้จะทำให้โลกของคุณเปลี่ยนไปอย่างไม่เคยเป็ นมาก่อน

3. พวกเขาเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะเทรดได้ในสถานการณ์กดดันเพราะว่าพวกเขารู้ว่า พวกเขา
กำลังทำอะไรอยู่ พวกเขามีแผนการที่ดี และพวกเขาอุทิศเวลาในการทำความเข้าใจว่าทำไมแผน
ถึงได้ผลและทำไมแผนเหล่านั้นถึงได้เป็ นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ดังนั้น เมื่อเผชิญกับความไม่
แน่นอน พวกเขาไม่เคยตัดสินใจด้วยความร้อนรนเลย ทุกสิ่งถูกจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าให้พร้อม
สำหรับทุกอย่างแล้ว เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะรู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ และพวกเขา
จะทำแต่ในสิ่งที่พวกเขารู้เท่านั้น แผนการที่ถูกเตรียมไว้อย่างดีคือ ปราการด่านสำคัญที่ทำให้คุณ
รับมือกับความไม่แน่นอนของตลาดได้ ดังนั้น ทำให้แน่ใจว่าคุณมีแผนการที่ดีพอ และสามารถทำ
ตามมันได้อย่างเต็มที่

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 37


4. พวกเขาโฟกัสในการเทรดให้ได้ดี
พวกเรามักจะมีเป้ าหมายและต้องการทำเงินให้ได้จำนวน xxx ในทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน
แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่คุณจะเป็ นคนตัดสินใจว่าคุณจะได้เท่าไหร่ ตลาดต่างหากที่ทำหน้าที่นั้น
กระบวนการเทรดและพฤติกรรมของคุณต่างหาก คือสิ่งที่คุณสามารถควบคุมมันได้ ตลาดและ
ผลลัพธ์การเทรดในแต่ละครั้งคือสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้โดยสิ้นเชิง ถ้าหากคุณไปยึดติดแต่
เป้ าหมายในเรื่องของตัวเงิน คุณจะหมกมุ่นกับการเคลื่อนไหวของราคาตลอดเวลา คุณจะตรวจ
สถานะของคุณทุกนาทีที่ผ่านไปและฝื นทำในสิ่งที่นอกเหนือจากกระบวนการเทรดของคุณเพื่อให้
ได้เงินตามที่คุณคิด นั่นไม่ใช่วิธีที่ดีในการเทรด เพราะอย่างที่บอกไปในตอนแรก คุณไม่สามารถ
ควบคุมผลลัพธ์ของการเทรดในแต่ละครั้งได้ ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็ นผลลัพธ์แบบสุ่ม
ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จระยะยาว คุณจำเป็ นจะต้องมีกระบวนการ คุณจะต้องยึดมั่นใน
กระบวนการ และคุณจะต้องโฟกัสในการพัฒนาทักษะเพื่อให้คุณเทรดให้ได้ดี
นั่นคือสิ่งที่คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้เขาทำกัน โดยส่วนใหญ่แล้วเงินไม่ใช่รางวัลที่แท้
จริงของคนพวกนี้หรอก ชัยชนะและความสนุกที่ได้เล่นเกมนี้ต่างหากที่เป็ นรางวัลที่แท้จริง
ดังนั้นพวกเขาจึงใส่ใจในกระบวนการ (และต้องเป็ นกระบวนการของตัวพวกเขาเองไม่ใช่ใครอื่น)
เพราะพวกเขารู้ว่า การใส่ใจในกระบวนการคือก้าวสำคัญในการประสบความสำเร็จในอาชีพนี้
ข้อความทิ้งท้ายของผม
ตลาดทุนมักจะมีสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและอันตรายมาให้พวกเราได้ปวดหัวเสมอ แต่แม้จะมี
ความไม่แน่นอนเข้ามา คุณก็ต้องเตรียมพร้อมและอยู่ในจุดที่คุณสามารถจะทำการตัดสินใจและ
ลงมือเทรดได้อย่างดีที่สุด ดังนั้น การรับมือสถานการณ์กดดันที่เกิดจากสิ่งที่ไม่แน่นอน คือทักษะ
ที่สำคัญที่คุณจำเป็ นจะต้องฝึ ก
หวังว่า 4 ขั้นตอนที่ผมได้แชร์จะช่วยให้คุณเข้าใกล้เป้ าหมายของคุณได้มากยิ่งขึ้น หวังว่าพวกมัน
จะนำพาคุณให้มี Mindset การเทรดที่ถูกต้อง และสนใจในกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ถ้าหาก
คุณทำได้ สิ่งที่ดีคงจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
บทความ สิ่งที่มือโปรทำเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดย Yvan Byeajee แปลและเรียบเรียง
โดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 38


MARK MINERVINI
LESSON 9
เคารพความเสี่ยง

โดยปกติแล้วผมจะไม่พยายามพยากรณ์ตลาดหรือฟันธงว่าตลาดจะเป็ นอย่างไร ผมแค่ทำตาม


กระบวนการเทรดของผมซึ่งมีรากฐานมาจาก การบริหารความเสี่ยง การบริหารเงินทุน ระดับ
ราคา และเส้นค่าเฉลี่ย ผมจะทำตามแนวคิดหลักของผม นั่นคือ
เคารพราคา เคารพความเสี่ยงและเตรียมพร้อมสำหรับทุกๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
ในช่วงนี้ที่ตลาดสินทรัพย์ทั่วโลกแต่ละที่อยู่แถว All-time highs และมีกระแสเงินไหลเข้าตลาด
อย่างมากมาย มันเหมือนว่าจะเป็ นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเตือนตัวเองว่า เราควรที่จะโฟกัส
ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง
เหล่าสุดยอดเทรดเดอร์ อย่าง Soros, Druckenmiller, Paul Tudor Jones, Kovner และอีกหลาย
ท่านๆ ล้วนแล้วแต่มุ่งเน้นไปที่การรักษาเงินต้นและการบริหารความเสี่ยงพวกเขามักกล่าวต่อ
สาธารณะว่าการบริหารความเสี่ยงและการตัดขาดทุนเป็ นรากฐานสำคัญของความสำเร็จของ
พวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Paul Tudor Jones เทรดเดอร์ระดับตำนาน เรามักเห็นเขาพูดเกี่ยว
กับเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง อย่างข้อความด้านล่างนี้
“…at the end of the day, the most important thing is how good you are at risk control. Ninety-
percent of any great trader is going to be the risk control.”

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 40


“Don’t focus on making money; focus on protecting what you have.”
“I am always thinking about losing money as opposed to making money.”
“…at the end of the day, the most important thing is how good you are at risk control. Ninety-
percent of any great trader is going to be the risk control.”
“Don’t focus on making money; focus on protecting what you have.”
“I am always thinking about losing money as opposed to making money.”
Bruce Kovner สุดยอดเทรดเดอร์อีกท่าน ได้สัมภาษณ์ในหนังสือ Market Wizards ว่า
“First, I would say that risk management is the most important thing to be well understood”
จากที่ได้กล่าวมาเราจะเห็นได้ว่าการบริหารความเสี่ยงนั้นเป็ นสิ่งที่สำคัญมาก และนี่คือแนวคิด
หลักเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของตัวผม

1. เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มักจะโฟกัสเรื่องของเขาจำนวนเงินที่เขาจะขาดทุน
แต่ละครั้งและการบริหารความเสี่ยงเป็ นเรื่องแรก
ในขณะที่เทรดเดอร์ทั่วไปส่วนใหญ่โฟกัสแต่เรื่องว่าเขาจะได้เงินเท่าไหร่ในแต่ละการเทรด โดยไม่
ได้สนเรื่องของการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นหรือการบริหารความเสี่ยงเลย เทรดเดอร์ที่มีทักษะระดับ
สูงเข้าใจว่าถ้าเขาใส่ใจเรื่องของการปกป้ องเงินทุน ในที่สุดแล้วเขาจะทำกำไรได้เอง ในช่วงตลาด
ขาขึ้น มันไม่ยากเท่าไหร่นักที่จะหาหุ้นที่เป็ นขาขึ้นและได้กำไรจากมัน ซึ่งแค่สแกนหาหุ้นที่ทำจุด
สูงสุดใหม่ในรอบปี แล้วแล้วเข้าไปเทรด การเข้าไปเทรดในช่วงที่เป็ นขาขึ้นนั้นเป็ นเรื่องที่เบสิค
มาก เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ให้หุ้นขาขึ้นมันทำงานของมันไป และใส่ใจในเรื่องของกำจัดการ
เทรดที่ขาดทุนเพื่อไม่ให้พอร์ตของพวกเขาเสียหาย

2. ราคาของหุ้นมักจะลดลงได้เร็วกว่าตอนที่ราคาของมันขึ้น
หุ้นมักจะขึ้นเหมือนขึ้นบันได แต่ราคาตกเหมือนลงลิฟท์
ความกลัวและความโลภเป็ นสองอารมณ์ที่ปกคลุมอยู่ในตลาดหุ้น และอารมณ์ที่แข็งแกร่งที่สุดคือ
ความกลัว ในช่วงที่ตลาดหุ้น all time high มันคือช่วงที่ตลาดดูดีที่สุดซึ่งมันเป็ นเรื่องจริง แต่เรื่อง
ที่ดีก็อาจจะพลิกกลับได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ตลาด S&P 500 อยู่จุดต่ำสุดที่ 768 จุดใน
เดือนตุลาคมปี 2002 และมันไปสูงถึง 1576 จุดในเดือนตุลาคมปี 2007 ซึ่งขึ้นถึง 105% ในระยะ
เวลา 5 ปี จากนั้นในช่วงมีนาคม 2009 เพียงแค่ 17 เดือนเท่านั้น ตลาดร่วงลงเหลือเพียง 666 จุด
ตลาดใช้เวลาขึ้นถึงห้าปี แต่กลับตกลงโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งปี ครึ่งเท่านั้น

3. คุณจะต้องเจอกับการขาดทุนอย่างแน่นอน
สุดยอดเทรดเดอร์จำนวนมากได้เปิ ดเผยว่าเขามีอัตราชนะการเทรดไม่ถึง 50% ของจำนวนการ
เทรดที่เขาเทรดทั้งหมด Scott Bessent (อดีต Chief Investment Officer ของ Soros Fund ) เคย
บอกว่า Soros ต้องการอัตราการชนะแค่เพียง 30%-50% ก็เพียงพอแล้ว ในความเป็ นจริงไม่ว่า
คุณจะเทรดด้วยอะไรก็ตาม ยังไงคุณก็จะต้องมีส่วนที่คุณขาดทุน มันไม่สำคัญว่าระบบการเทรด
ของคุณจะมีอัตราการชนะในอดีตที่เท่าไหร่ หรือกราฟราคาของหุ้นคุณจะสวยงามขนาดไหน
หรือข้อมูลที่คุณมีจะสำคัญต่อราคาหุ้นเพียงใด สถานะการเทรดของคุณก็สามารถดำเนินไปใน
ทิศทางตรงข้ามกับที่คุณอยากให้มันเป็ นได้อยู่ดี และนี่เป็ นความจริงที่คุณไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 41


ผมเทรดโดยรู้ว่าพวกมันอาจจะเป็ นการเทรดที่ขาดทุนเมื่อไหร่ก็ได้ และกำหนดขนาดการเทรดให้
เหมาะสมกับความเสี่ยงโดยรวมและความเสี่ยงในแต่ละสถานะการณ์ เมื่อไหร่ก็ตามที่เทรดเดอร์
สามารถยอมรับได้ว่า ทุกๆ การเทรดสามารถขาดทุนได้ทั้งหมด เมื่อนั้นเขาจะสามารถรับมือกับ
ความจริงในชีวิตการเทรดและสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากการขาดทุนได้

4. คุณจะเจอกับการขาดทุนติดๆกัน
ผมขอพูดเสริมจากข้อที่แล้ว สำหรับเทรดเดอร์ทุกคนหรือระบบเทรดแต่ละระบบ เมื่อคุณเทรด
ไปเรื่อยๆ ยังไงคุณก็จะเจอการเทรดที่คุณขาดทุนติดๆ กัน ตำนานหลายๆ ท่านมักจะเทรดให้
น้อยลงเมื่อพวกเขาเจอกับช่วงการขาดทุนติดๆ กัน ด้วยการใช้ fixed percentage risk sizing (การ
เสี่ยงโดยใช้เปอร์เซ็นต์ที่เท่ากันทุกครั้งในการเทรด) มันจะรับรองได้ว่าเขาจะขาดทุนต่อครั้งน้อย
ลงเรื่อยๆ เมื่อเขาอยู่ในช่วงที่ขาดทุนติดๆ เพราะว่าขนาดของการเทรดจะถูกกำหนดโดยขนาด
ของพอร์ตโฟลิโอ และเมื่อเขาทำผลงานได้ดีขึ้น ขนาดการเทรดของเขาก็จะใหญ่ขึ้นตามขนาด
ของพอร์ตโฟลิโอที่เพิ่มขึ้น ประเด็นสำคัญคือ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการขาดทุนติดๆกัน การ
ทำตามแผนอย่างเคร่งครัด และไม่พยายามเอาคืนในช่วงที่เราขาดทุนติดๆกัน
ตลาดไม่ได้ทำให้เทรดเดอร์พ่ายแพ้ พวกเขาทำตัวเอง เพราะอยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ทั้งหมดที่
เกิดขึ้นให้เป็ นไปอย่างที่ต้องการ ซึ่งนั่นคือหนทางพ่ายแพ้ในตลาด

5. เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คิดว่าพวกเขาสามารถจัดการกับ drawdown ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจ


จะไม่จริงเสมอไป
อาจารย์ของผมมักจะบอกกับผมว่าเทรดเดอร์สามารถรับมือกับความผันผวนที่ไม่จำกัดได้ในเวลา
ที่พวกเขากำไร หลายๆ คนอาจจะคิดว่าพวกเขาสามารถรับมือกับความผันผวนได้ตราบใดที่แนว
โน้มของตลาดยังเป็ นไปในทิศทางที่เขาคิดและเขายังกำไรอยู่ พวกเราทุกคนล้วนกล้าหาญในยาม
ที่เราได้เปรียบ แต่เมื่อถึงช่วงที่ตลาดเกิดการ pullback และมี drawdown เกิดขึ้น เทรดเดอร์เห็น
ว่าหุ้นของตัวเอง เริ่มมีสีแดง และเกิดอาการความวิตกจนทำให้ต้องขายสถานะนั้นๆ ออกมา
เพียงเพื่อที่จะหยุดความเจ็บปวดจากการที่พอร์ตเริ่มเจ็บหนักซึ่งบ่อยครั้งหลังจากที่ขายสถานะ
เหล่านั้นไป หุ้นก็หยุดตกแล้วกลับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่โดยที่ปราศจากพวกเขา ในความเป็ นจริง
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะรับมือกับ drawdown ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่เขาคิดว่าเขารับได้
เท่านั้น กล่าวคือ ถ้าเขาคิดว่าเขารับ drawdown ได้ 30% จริงๆแล้วพวกเขารับได้เพียงประมาณ
15% เท่านั้น

6. การตัดขาดทุนนั้นเป็ นสิ่งจำเป็ นมาก แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงของคุณนั้นหาย


ไปทั้งหมด
เทรดเดอร์ที่ยอดเยี่ยมรู้ว่าเขาจะออกจากหุ้นเมื่อไหร่ก่อนที่เขาจะเข้าหุ้น พวกเขามักถามตัวเอง
สองคำถาม คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเทรดผิดทางและเราจะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการ
ขาดทุนได้อย่างไร Soros และเทรดเดอร์ดังคนอื่นๆ มักเป็ นผู้แพ้ที่ดี และสามารถตัดขาดทุนได้
อย่างไม่ลังเลเมื่อตลาดพิสูจน์ว่าพวกเขาผิด การตัดขาดทุนนั้นเป็ นสิ่งสำคัญที่ช่วงให้คุณลดความ
เสียหายในแต่ละครั้ง แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงของคุณนั้นหายไปทั้งหมด การกำหนดขนาด
การลงทุนควรจะนำมาปรับใช้เพื่อควบคุมความเสี่ยง และเทรดเดอร์ควรเตรียมตัวสำหรับการเกิด

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 42


gap down ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ซึ่งทำให้คุณสามารถขาดทุนได้มากกว่าที่คุณวางแผนเอาไว้
ฉะนั้นขนาดการเทรดที่ลดลงก็จะช่วยลดความเสียหายถ้าหุ้นเกิด gap down ทะลุจุดตัดขาดทุน
ของคุณ

7. เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นั้น Overtrade และปล่อยให้ตัวเองเสี่ยงมากเกินไป


ผมขออนุญาติกล่างถึง Bruce Kovner อีกครั้งหนึ่งซึ่งเขาแนะนำเทรดเดอร์ว่า สิ่งที่คุณควรทำคือ
“undertrade, undertrade, undertrade” เขาเคยพูดว่าจากประสบการณ์ของเขา เทรดเดอร์มือใหม่
มักจะเทรดสถานะที่ใหญ่กว่าปกติถึง 3-5 เท่า ในความคิดเห็นของผม overtrading คือสิ่งที่สร้าง
ความเสียหายที่สุดให้กับเทรดเดอร์ overtrading ไม่ใช่แค่การที่คุณเทรดบ่อยเกินไป แต่มันรวมถึง
การเปิ ดสถานะที่มากเกินไป การเทรดที่มีความสัมพันธ์ต่อกันที่มากเกินไป การเสี่ยงที่มากเกินไป
ในแต่ละการเทรดและการเทรดหมดหน้าตักหรือการ all in ซึ่งถ้าคุณเทรดได้กำไร มันก็เหมือนจะ
เป็ นความคิดที่ดี แต่ถ้ามันไม่เป็ นอย่างที่คิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
และรุนแรงเกินกว่าจะรับมือ

8. เลิกสนใจการทำนาย การคาดการณ์และการฟันธง
ผมตระหนักได้มานานแล้วว่า ไม่มีซักคนที่สามารถจับทิศทางของตลาดได้ถูกต้องตลอดเวลา
ไม่แม้กระทั่งเหล่ากูรูหรือเหล่าคนดังในอินเตอ์เน็ต
ถ้าหากว่า Paul Tudor Jones และ Soros มีอัตราการชนะการเทรดประมาณ 50% แล้วคุณคิดว่า
จะมีใครฟันธงได้เก่งกว่าเทรดเดอร์ระดับตำนานพวกนี้ ?
การทำนายมันไม่ได้ดีกว่าไปกว่าการโยนเหรียญหัวก้อยนั่นแหละ การคาดการณ์ที่ผิดจะถูกกวาด
ไว้ใต้พรมแต่เมื่อคาดการณ์ถูกพวกเขาเหล่านั้นก็จะถูกยกยอปอปั้น เทรดเดอร์หลายคนมักจะ
อนุญาติให้ตัวเองเก็บสถานะที่ขาดทุนเอาไว้นานเกินกว่าที่วางแผนเพียงเพราะกูรูที่เขาชื่นชอบ
แนะนำพวกเขาทางทีวีหรือมีการปรับเป้ าประมาณการจากนักวิเคราะห์ พวกเขาไม่มานั่งบอกคุณ
ชดเชยค่าเสียหายให้คุณหรอกถ้าคุณขาดทุน และก็ไม่บอกด้วยว่าเมื่อไหร่เขาจะเปลี่ยนใจจากหุ้น
ตัวนั้นๆ ฉะนั้นการพัฒนาวิธีการเทรดของตัวเองและไม่ยึดติดกับความคิดของคนอื่นเป็ นสิ่งที่
จำเป็ น ผมเลิกสนใจเกี่ยวกับความเห็นต่างๆ แม้ว่าคนพูดจะฉลาดหรือเก่งเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ผม
ทำคือการยึดมั่นในราคาหุ้นและเส้นค่าเฉลี่ย

9. ตระหนักให้ได้ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ตลาดหรือหุ้นอาจพังทลายได้โดยไม่จำเป็ นจะ


ต้องมีเหตุผลมารองรับ
หลายๆ คนมักเชื่อว่าการที่จะได้กำไรออกจากตลาด พวกเขาจำเป็ นต้องรู้ว่าตลาดมันขึ้นเพราะ
อะไร ซึ่งในความเป็ นจริง ไม่มีใครรู้เหตุผลที่แท้จริงหรอกว่ามันขึ้นเพราะอะไร
ตลาดเคลื่อนไหวจากผู้เล่นและคอมพิวเตอร์มากมายเป็ นล้านๆ บัญชี และพวกเขาต่างมีกระบวน
การคิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เหตุผลหนึ่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเอาชนะมนุษย์ได้เพราะว่าพวกมันไม่เสียเวลาในการหาเหตุผล
พวกมันแค่เพียงทำตามกระบวนการที่ถูกคิดไว้

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 43


เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเรายอมรับได้ว่าตลาดมันขึ้นและลงได้อย่างอิสระ พวกเราจะยอมรับได้ว่าใน
ทุกการเคลื่อนไหวของมันไม่จำเป็ นจะต้องมีเหตุผลหรือคำอธิบายอะไรมากมาย การถือสถานะที่
ขาดทุนเพียงเพราะหุ้นมีพื้นฐานที่ดี หรือกราฟราคาสวย และเพิกเฉยต่อความจริงที่ว่าการเทรด
ของคุณกำลังทำสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่คุณต้องการ มันอาจจะทำความเสียหายได้มากกว่าที่คุณคิด
ฉะนั้น เคารพราคา เคารพความเสี่ยงและจงเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทุกผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
บทความ เคารพความเสี่ยง โดย Larry Tentarelli แปลและเรียบเรียงโดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 44


L A R R Y H I T E
LESSON 10
ได้เวลาถือเงินสด

บทความนี้ต้นฉบับถูกเขียนขึ้นในช่วงปี 2016 ที่ตลาดอเมริกาเกิดการปรับฐานซึ่งน่าจะเหมาะกับ


สถานการณ์ของตลาดบ้านเราในช่วงนี้ที่เผชิญกับปัญหาโควิดระบาดรอบใหม่นะครับ ซึ่งเป็ น
บทความที่ผมชอบมากๆ ของเทรดเดอร์ต้นแบบอย่างคุณ Joseph Fahmy, Managing director
ของ Zor Capital, LLC ลองอ่านกันดูนะครับ
**********

ได้เวลาถือเงินสด?
ผมได้รับอีเมล์จำนวนมากตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจากคนที่พบกับการขาดทุนหนักในช่วงที่
ตลาดตกหนัก นี่ไม่ใช่เหตุการณ์วันสิ้นโลก นี่เป็ นเพียงแค่การปรับฐานของตลาดเท่านั้นเอง
ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับการลงทุนของพวกเขาคือ เราควรถือหุ้นไว้
ไม่ต้องทำอะไร หรือว่าเราควรขายออกมาบ้างแล้วถือเงินสดดี ?
เอาจริงๆ คนเราก็อยากจะได้ประโยชน์จากทั้งสองทางนั่นแหละซึ่งมันไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็ น
จริงเลย อีกนัยหนึ่งคือเมื่อตลาดส่วนใหญ่เป็ นขาขึ้น (อย่างในช่วงปี 2013-2015) ทุกคนหวังว่าเรา
จะลงทุนอย่างเต็มที่และปล่อยให้หุ้นมันวิ่งขึ้นไป และเมื่อตลาดเกิดการปรับฐาน (อย่างเช่นที่เกิด
อยู่ในตอนนี้) ทุกคนก็หวังว่าพวกเขาจะโปรแอคทีฟมากขึ้นและลดจำนวนการถือหุ้นก่อนที่หุ้นจะ
ลง

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 46


จากประสบการณ์ของผม คำแนะนำของผมคือ ตลาดหุ้นจะแข็งแรงสองถึงสามครั้งต่อปี เมื่อ
ตลาดแข็งแรงผมจะซื้อหุ้นเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดซึ่งมีศักยภาพจะทำให้ราคาไปได้ไกล เมื่อตลาด
อ่อนแอ ผมจะลดจำนวนการถือหุ้นแล้วเน้นเล่นหุ้นแบบตั้งรับ
นี่คือปัญหาใหญ่ที่สุดของปรัชญานี้ ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่ามันไม่สามารถทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็ น
เพราะพวกเขาไม่อยากทุ่มเทเวลาและความพยายามกับเรื่องพวกนี้ ยิ่งกว่านั้นผู้คนส่วนใหญ่ไม่มี
ความมั่นใจมากพอในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่และไม่อยากตัดสินใจอะไรด้วยความกลัวและความ
ลังเล
ในตอนนี้ลูกค้าของผมถือเงินสด 100% พวกเราถือเงินสดมากกว่า 90% ตั้งแต่ต้นปี โดยปกติแล้ว
ผมไม่ชอบแชร์ระดับการลุงทุนของผมต่อสาธารณะเนื่องจาก
1. ผมไม่ต้องการให้ใครทำตามอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า
2. ผมสนับสนุนให้คนคิดด้วยตัวของพวกเขาเอง
3. ผมสามารถปรับระดับการลงทุนของตัวผมได้เร็วมากๆ ตามสถานการณ์ของตลาดที่เกิดขึ้น
อย่างที่คุณ Stanley Druckenmiller ได้กล่าวไว้ “หนึ่งในทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผมคือผม
สามารถเปลี่ยนความคิดของผมได้อย่างรวดเร็ว” กล่าวคือ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ผมไม่มีปัญหา
เลยที่จะตัดสินใจและกลับไปซื้อหุ้น เรื่องของความลังเลและการนั่งอยู่ข้างสนามเป็ นปี ๆ ไม่เคย
อยู่ในความคิดของผม
กลยุทธ์นี้ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน ถ้าคุณเป็ นนักลงทุนหรือยังหนุ่มยังแน่น ผมแนะนำให้คุณ
ลงทุนระยะยาว นำเงินไปลงทุนในกองทุนเกษียณอายุหรือที่อื่นๆ และไม่ต้องเปลี่ยนไปถือเงินสด
หนึ่งในเหตุผลที่ผมถือเงินสดมากกว่าปกติในช่วงตลาดปรับฐานเพราะสี่ในห้าส่วนของหุ้นทั้งหมด
จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับทิศทางของตลาด ไม่ว่าบริษัทนั้นจะยอดเยี่ยมแค่ไหนก็ตาม ยก
ตัวอย่างในช่วงวิกฤตการเงินในปี 2008 หุ้นแอปเปิ ลตกจากราคา $200 ไปที่ $80 และนั่นเป็ นช่วง
เริ่มต้นของการเปิ ดตัวสองสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (IPad และ IPhone)
ผมได้ศึกษาเหล่าเทรดเดอร์ที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์หลายท่าน เช่นคุณ Jesse Livermore และ
Gerald Loeb พวกเขาเชื่อว่าคุณควรที่อยู่ในตลาดเมื่อความน่าจะเป็ นอยู่ข้างคุณและคุณเป็ นฝ่ าย
ได้เปรียบ
อย่างเข้าใจผมผิด ผมต้องการให้ตลาดหุ้นแข็งแกร่ง ผมแค่เคารพและเข้าใจว่าตลาดมันไม่ได้เป็ น
ขาขึ้นอยู่ตลอดเวลา
และเมื่อตลาดหุ้นเริ่มปรับฐานเหมือนในช่วงที่ผ่านมาเป้ าหมายของผมคือการปกป้ องทรัพย์สิน
ของลูกค้าและปกป้ องความมั่นใจของผม
อย่างที่ผมได้กล่าวมาในขั้นต้น นี่ไม่ใช่วันสิ้นโลก มันเป็ นเพียงแค่การปรับฐานและมันเกิดขึ้นเป็ น
ครั้งคราว ผมไม่รู้ว่าตลาดจะปรับฐานไปอีกนานแค่ไหนและไม่มีใครรู้

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 47


แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสามารถการันตีได้เลยว่าเมื่อการปรับฐานนั้นสิ้นสุด ตลาดจะพบกับขาขึ้นรอบใหม่
ที่น่าอัศจรรย์ สิ่งสำคัญคือ คุณต้องความอดทนและวินัยจนกว่าสภาวะตลาดจะดีขึ้น
…. หลังจากที่ตลาดปรับฐานเสร็จในช่วงปลายปี 2016 ตลาดอเมริกาก็เกิดขาขึ้นรอบใหญ่
**********
น่าจะเป็ นบทความที่เหมาะกับช่วงนี้ที่ตลาดไทยค่อนข้างผันผวนนะครับ
คำแนะนำส่วนของผมสำหรับการเทรดในช่วงนี้นะครับ
1. เพิ่มจำนวนการถือเงินสด เราไม่จำเป็ นจะต้องสุดโต่งว่าจะถือเงินสดเต็มจำนวน หรือถือหุ้น
เต็มจำนวน ถ้าสถานการณ์ยังไม่ได้ชัดมาก ก็วางเกมแบบกลางๆ มีหุ้นและ cash ถ้าสรุปตลาดไม่
ลงจริงเราจะได้มีหุ้นเหลือบ้าง แต่ถ้าตลาดลงเราก็ได้ออก position ไปบางส่วนแล้ว พอตลาด
เลือกข้างเราค่อย follow ทางนั้น ส่วนตัวไหนที่ผมคิดว่าเราควรลดposition มันคือตัวที่ลงเยอะสุด
ในช่วงนี้ แล้วถือหุ้นที่ไม่ค่อยลงไปกับตลาดครับ
2. ในช่วงที่ตลาดลง แล้วเรามี cash พอสมควร เราจะเห็นภาพกว้างขึ้นกว่าคนที่มีหุ้นอยู่ในตลาด
เต็มๆ คล้ายๆ กับนักกีฬาที่อยู่ข้างสนามเราจะเห็นภาพในเกมเต็มสนามกว่าคนที่กำลังเล่นอยู่
ฉะนั้นใช้จุดนี้ให้เป็ นประโยชน์โดยการหาหุ้นในชุดถัดไป ซึ่งอยู่ที่แนวทางการเล่นของแต่ละท่าน
เลย ถ้าเน้นพื้นฐาน ก็หาหุ้นชุดที่ลงมาแล้ว value มันสูงกว่า price ที่ลงมาแล้วทำการบ้านกับผล
ประกอบการ Q2 ที่กำลังจะออก หรือถ้าเป็ นในแนวที่ผมถนัด ผมจะดูว่าหุ้นและอุตสาหกรรมไหน
ที่มีความแข็งแกร่งกว่าตลาด แล้วหาจุดเข้าซื้อที่เหมาะสมทิ้งไว้ พอสถานการณ์ตลาดเริ่มดีขึ้นก็
ยิงไปตามแผนที่ได้วางไว้ครับ
คำแนะนำของผมก็ประมาณนี้ครับ หวังว่าทุกคนจะรอดกับตลาดช่วงปรับฐานครั้งนี้ครับ พยายาม
อดทนและมีวินัยตลอดเวลาในการเทรดและการลงทุนและที่สำคัญรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ
ได้เวลาถือเงินสด โดย Joseph Fahmy แปลและเรียบเรียงโดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 48


PAIN + REFLECTION = PROGRESS
LESSON 11
วิชาเอาตัวรอดในตลาดหุ้น

“แอดมินคุมความเสี่ยงยังไงบ้างครับ ผม drawdown หนักทำไงดีแอด พี่มีวิธีคัทยังไงบ้างอ่ะ พอร์ต


ผมแม่งวูบหวะพี่ทำไงดี, คัทรัวๆ แล้วใจเสียทำไงดีแอด”
คำถามพวกนี้เป็ นส่วนหนึ่งที่ผมยกมาจากแชทที่ผมคุยกับแฟนเพจในช่วงนี้ครับ ช่วงนี้มักจะเจอ
กับคำถามแบบนี้ ซึ่งตรงข้ามกับช่วงต้นปี เลย ต้นปี มีแต่คำถามแบบว่า
“ผมรันยังไงดีให้ไม่ขายหมู ทำไงให้หาหุ้นเด้งได้ ใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนรันหุ้นได้ดีขึ้น”
ธีมของคำถามมันแตกต่างกันมากเลยครับ จากสภาพตลาดหรือ market condition ช่วงต้นปี กับ
ตอนนี้ค่อนข้างแตกต่างกัน ต้นปี ง่ายกว่า ตอนนี้ยากขึ้น หลายๆ คนทำเงินไม่ได้แบบเดิม บางคน
คืนตลาดไป หรือที่หนักกว่านั้นก็คือขาดทุนเลย
ผมคิดว่าทุกคนคงเข้าใจการหาหุ้นหรือวิธีทำกำไรกันอยุ่แล้วเพราะมันน่าจะมีให้อ่านอยู่ทุกที่
ฉะนั้นบทความนี้ก็เลยอยากเขียนอะไรที่มันเข้าธีมกับตลาดช่วงนี้ นั่นคือเรื่องของการเอาตัวรอด
ครับ ถือว่าเป็ นการแนะนำนักลงทุนหน้าใหม่ไปในตัวด้วย ถ้าใครคิดว่ารอดแล้วสบายๆ ข้าม
บทความนี้ได้เลยครับ เสียเวลาท่านเปล่าๆ ผมขอใช้ชื่อบทความว่า "A Defensive Mentality" ซึ่ง
เป็ นแนวความคิดหลักที่ผมใช้ในการเทรดครับ ตอนเด็กๆ ผมมักจะคิดแต่เรื่องทำกำไรเยอะๆ
เอาไว้ก่อน แต่พอเวลาล่วงเลยมาเกือบสิบปี ทุกวันนี้ผมมักจะเตือนตัวเองเสมอว่า
“ป้ องกันตัวเองสำคัญสุด เอาตัวให้รอดก่อนแล้วอย่างอื่นจะตามมาเอง”

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 50


จริงๆ แล้วคำว่า "Defensive Mentality" มันเป็ นศัพท์ที่ใช้ในวงการกีฬา คือ การเน้นเล่นเกม
ป้ องกันหรือการเล่นเกมรับ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่ดูกีฬามาตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะกีฬา
ฟุตบอลและบาสเกตบอลที่แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีทีมกีฬาไหนเลยที่เกมป้ องกันไม่ดีแล้วสามารถ
ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว บาสเกตบอลนี่เห็นชัดมากๆ ทีมที่ผูกขาดความสำเร็จในแต่ละ
ยุคล้วนแล้วแต่เป็ นทีมที่มีผู้เล่นหรือโค้ชที่มีเกมรับที่ยอดเยี่ยมประกอบอยู่ในทีมทั้งนั้น (ฺBulls ยุค
90, Spurs x Lakers ยุค 2000 และ Heat x Warriors ยุค 2010)
“Offense sells tickets, defense wins championships” Paul Bryant
ถ้าเราวกกลับมาที่เรื่องของการลงทุน ผมว่ามันมีความคล้ายคลึงกันมากครับ
ถ้าเรามาพูดถึงสมการที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับผลลัพธ์จากตลาดหุ้นคือ
ผลลัพธ์ = รายรับ (กำไร) - รายจ่าย (ขาดทุน)
ผมไม่ได้บอกว่าการเล่นเกมรุก (การทำกำไร) นั้นไม่สำคัญ จริงๆ มันสำคัญทั้งคู่ เราต้อง balance
มันทั้งสองฝั่ ง ไม่งั้นพอร์ตมันโตไม่ยั่งยืนตามเหตุของสมการที่กล่าวไว้ด้านบน แต่คนส่วนใหญ่
เลือกที่จะเน้นศึกษาแค่การทำกำไรด้านเดียว เช่น การหาหุ้น ซื้อหุ้น หรือการเทคกำไร ส่วนทาง
ด้านการป้ องกัน หลายๆ คนอาจจะศึกษาแค่เรื่องของวิธีการตัดขาดทุน ซึ่งผมว่ามันไม่เพียงพอที่
จะทำให้คุณเล่นเกมป้ องกันได้อย่างรัดกุมครับ
ถ้าคิดว่าเราศึกษาด้านเกมรุกมากกว่าเกมรับในการลงทุนจริงมั้ย ?
ผมขอยกตัวอย่างแบบลวกๆ ถึงชื่อบุคคลเกี่ยวกับการลงทุน/เทรดมา 6 ท่านครับ
William O’Neil, Warren Buffet, Ed Seykota, Bennett A. McDowell, Ralph Vince, Van K Tharp
จากชื่อที่กล่าวมาข้างต้น คุณรู้จักบุคคลเหล่านี้กี่ท่าน และรู้จักพวกเขากันมากขนาดไหนครับ ?
ผมเชื่อว่า 70% น่าจะรู้จักสามท่านแรก (อย่างดี) และไม่รู้จักสามท่านหลังหรือรู้จักแต่ชื่อ แต่ไม่
ได้ลงรายละเอียดลึกซึ้งเท่าสามคนแรกครับ สามท่านแรกเป็ นสุดยอดนักลงทุนที่สามารถสร้างผล
ตอบแทนระดับสุดยอดได้และมีวิธีการลงทุนที่โดดเด่นในยุคของท่าน ส่วนอีกสามท่านหลัง คือผู้
ที่ผลักดันเกี่ยวกับทางด้านการบริหารเงินและบริหารความเสี่ยงและแต่ละคนเป็ นเจ้าของหนังสือ
ขายดีทางด้านนี้ครับ ซึ่งที่ยกตัวอย่างมาแบบลวกๆ นี้เป็ นการแสดงให้เห็นว่าเราน่าจะศึกษาทาง
ด้านเกมรุกมากกว่าเกมรับ (ซึ่งเป็ นเรื่องปกติครับ)
เพื่อเป็ นการให้ผู้อ่านทุกท่านศึกษาทางด้านเกมรับได้ง่ายขึ้น วันนี้ผมก็เลยเอาวิธีเบื้องต้นที่ผมใช้
ในการเล่นเกมป้ องกันเพื่อเอาตัวรอดในการเทรดหุ้นครับ
ก่อนอื่นเลย ผมต้องบอกก่อนว่าสิ่งที่ผมใช้จะไม่ได้นำสินทรัพย์อื่นมาเกี่ยวเลย ยกเว้นหุ้นและเงิน
สดเท่านั้น และการเทรดจะเป็ นแบบ directional trading ที่เป็ น long bias เพียงอย่างเดียว ฉะนั้น
ถ้าใครถนัดสินค้าและเทคนิคแบบอื่นก็สามารถเอามาผสมเข้าไปให้มันปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น
ครับ และผมจะไม่พูดถึงเทคนิคในด้านของการตัดขาดทุน (cut loss) จริงๆ เรื่องการตัดขาดทุน

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 51


เป็ นสิ่งที่สำคัญของกลยุทธ์ที่เป็ นแบบ directional trading แต่ผมว่ามันเป็ นการแก้ปัญหาปลายเหตุ
และน่าจะมีคนพูดเรื่องนี้เต็มไปหมด
สิ่งที่ผมใช้มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างหลักครับ คือ

1. Portfolio Structure
อย่าแรกคือการออกแบบโครงสร้างพอร์ตฟอลิโอ ยิ่งเราออกแบบโครงสร้างได้ดีและตามจุด
ประสงค์ (เพื่อความอยู่รอด) เรายิ่งมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น และสามารถทำผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับ
ความเสี่ยงที่เราวางแผนไว้ได้ครับ ซึ่งสิ่งที่ผมใส่ใจเป็ นหลักจะมีดังนี้ครับ
จำนวนถือครองหุ้นในแต่ละสถานการณ์ ผมแนะนำให้มีจำนวนหุ้นประมาณ 4-12 ตัว ขึ้น
อยู่ความดุดันและขนาดพอร์ตของแต่ละคนครับ ผมไม่แนะนำให้เล่นน้อยกว่านี้ครับ เวลา
ได้มันได้เยอะจริง แต่เวลาเสียก็เสียเยอะไม่ต่างกัน แล้วถ้ามันมีประเด็นในหุ้นที่คุณหวด
หนักๆ พอร์ตของคุณมีสิทธิจะยวบสูงมาก อย่าที่บอกไปตั้งแต่ต้น concept ของตัวผมคือ
“เอาตัวรอดก่อน” อะไรที่เปิ ดโอกาสให้ผมมีสิทธิไม่รอด ผมไม่เอาเลยครับ
อุตสาหกรรมของหุ้นที่เรามีอยู่ในพอร์ต ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาที่ผมมีสถานะผมจะพยายาม
กระจายอุตสาหกรรมไปหลายๆ อุตสาหกรรม เพราะมันมีความสัมพันธ์ต่อกันค่อนข้างสูง
ครับ เช่น กลุ่มเหล็กหรือเรือ เวลาขึ้นก็ขึ้นกันหมด เวลาลงก็ลงกันหมด ขึ้นเยอะก็ดีหรอก
แต่ตอนลงมันก็ควบคุมพอร์ตยากครับ ผมจะพยายามไม่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเกิน
30% ของพอร์ตในแต่ละช่วง หรือถ้ามากกว่านั้นจะต้องเป็ นกรณีที่เราได้เงินชัวๆ แล้วจาก
หุ้นในอุตสาหกรรมนั้นแล้วตั้ง trailing stop ที่ค่อนข้าง tight ตัวเลขนี้ผมว่าสามารถปรับขึ้น
ปรับลงได้ตามวิธีการที่คุณเทรดเหมือนกัน ถ้าเล่นแนว position trading หรือ buy and hold
ผมว่าควรปรับลดลง เพราะคุณต้องถือสถานะนานกว่าวิธีอื่น แต่ถ้าเล่นแนว short-term
trading หรือ Swing trading อาจจะเพิ่มได้อีกหน่อย อาศัย momentum จากอุตสาหกรรม
แล้วรีบเข้าออกสถานะ ลดสัดส่วนลงเมื่อเริ่มได้กำไร เพื่อป้ องกันช่วงหุ้นกลับทิศทาง
ควบคุม position size ของแต่ละตัวให้เหมาะสม โดยปกติผมคิดว่าเราไม่ควรซื้อเกิน 25%
พอร์ตต่อตัว ทุกวันนี้ average size ของผมอยู่ที่ประมาณ 15% กว่าๆ ถ้าตัวมั่นใจและมี
liquidity พอก็จะประมาณ 20% ยกเว้นถ้าผมได้กำไรจากตัวนั้นเยอะๆ แล้วอยากจะ add up
ขึ้นไปก็อาจจะมากกว่านั้น แต่ผมจะทำการแยกออเดอร์เลย ออเดอร์เก่าที่กำไรก็ตั้งจุด
trailing ตามแผน ไม้ใหม่ก็หาจุด stop loss ใหม่แยกกัน ทำในไฟล์ excel
Portfolio Heat หรือความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตในแต่ละช่วงเวลาเป็ นเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งนี้จะ
คิดมาจาก bet size x stop loss ของแต่ละตัวมารวมกัน ปกติผมจะคิด heat ที่ช่วง 2-6% (ถ้า
leverage หรือ margin อาจจะสูงขึ้นกว่านี้ได้) อยู่ที่สถานการณ์ที่เกิด ถ้าสถานการณ์ดีฟอร์ม
ดี Heat จะสูง แต่ถ้าสถานการณ์แย่ ฟอร์มแย่ ส่วนตัวผมจะลด heat ให้เหลือต่ำมากๆ
จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้นครับ ซึ่งการคุม heat จะไปสัมพันธ์ต่อสัดส่วนของหุ้นและเงิน
(exposure) ด้วยครับ ถ้าเราวาง heat และ exposure อย่างรัดกุม โอกาสรอดตายก็จะสูงครับ
ประเภทหรือขนาดของหุ้นที่เราเล่น โดยปกติผมจะกำหนดสัดส่วนของประเภทหุ้นด้วยว่า
ในพอร์ตมีหุ้นประเภทไหนบ้าง อันนี้ขึ้นแรงมั้ย อันนี้ไม่ค่อยผันผวนเท่าไหร่ ผมไม่แนะนำว่า
เราควรจะมีแต่หุ้นที่ขึ้นแรงลงแรง อย่างที่บอกไปหลายรอบในบทความนี้ ขึ้นมันก็ดีแต่คุณ

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 52


ไม่ได้โชคดีอยู่แค่ตอนที่มันขึ้นหรอกครับ โดยปกติแล้ว ผมจะมีหุ้นขนาดเล็กมากๆ ในพอร์ตไม่
เกิน 20% ที่เหลือจะเป็ นหุ้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ (ส่วนตัวผมจะเน้นหุ้นขนาดกลางที่มี
Market Cap 7000-30000 ล้านบาท) หรือถ้าจะเล่น W หรือ DW พ่วงก็ต้องคิดสัดส่วนดีดีครับ คุณ
สามารถใช้ 2 สิ่งที่จะพูดในหัวข้อถัดไปมาผสมเพื่อหาสัดส่วนตรงนี้ได้เช่นกันครับ ถ้าสถานการณ์
เปิ ดหน้าแลกได้หรือหุ้นขนาดเล็กมันทำได้ดี เราอาจจะเล่นหุ้นขนาดเล็กเพิ่มเป็ น 30-40% พอร์ต
ได้ แต่ถ้าสถานการณ์ยากที่ต้องการความชัวหรือเขาไปดันหุ้นกลุ่มที่ใหญ่กว่า คุณก็สามารถปรับ
สัดส่วนตรงนี้ลดลงแล้วไปเพิ่มหุ้นที่เป็ นประเภทกลางหรือใหญ่ได้ครับ

2. Market Theory/ Market Sign


ในส่วนที่ 2 จะเป็ นเรื่องของทฤษฎี หรือสัญญาณต่างๆ ที่มาใช้ในการประกอบการตัดสินใจ มี
หลายทฤษฎีหรือสัญญาณทางเทคนิคหลายอย่างที่เราสามารถนำมาใช้ในเรื่องของการกำหนด
กลยุทธ์และความเสี่ยงได้ เช่น การใช้เส้น moving average , Dow Theory, CANSLIM market
direction, market breadth หรือ indicator ที่ใช้ดูการกลับทิศของตลาดมาจับจังหวะตลาด (SET)
หาสถานะของมันว่าดีหรือแย่ เพราะโดยปกติแล้วถ้าตลาดไปใน direction ไหน หุ้นโดยส่วนใหญ่
70-90% จะเป็ นไปในทิศทางนั้นๆ ครับ ตลาดขาลง หุ้นส่วนใหญ่จะ perform ยาก, ตลาดขาขึ้นหุ้น
ส่วนใหญ่ก็ดีหากำไรไม่ยาก รวมถึงการดูตลาดรองเช่น Set50 Set100 Sset Mai มาจับกับ
indicator เช่น moving average ก็น่าสนใจ จะทำให้เรารู้ว่าเงินมันไปอยู่ในหุ้นขนาดประมาณไหน
ในตอนนี้ เช่นในช่วงปี 21 นี้ตลาด Sset, Mai คึกคักกว่าหุ้นใหญ่ เราก็นำมากำหนดเป็ นแผนและ
วางโครงในการจัดพอร์ตได้ครับ
เชิงทฤษฎีพวกนี้สำคัญนะครับ แต่ที่สำคัญกว่าคือ ในทางปฏิบัติมันเป็ นอย่างไรเมื่อนำมาใช้ซะ
มากกว่า หลายๆครั้งทฤษฎีมันบอกแบบหนึ่งแล้วจะให้ผลลัพธ์แบบนึง แต่พอเรานำมาใช้แล้วได้
ผลที่แตกต่าง เรื่องนี้ไม่แปกเลยครับ เพราะว่าทุกคนมีเอกลักษณ์ และสไตลล์การเทรดที่แตกต่าง
กัน ผมขอยกตัวอย่างนิดนึงของตัวเองเลยครับ ปี ที่แล้วปี 2020 ช่วงเดือน ก.ค.- ต.ค. ถ้าเรามอง
ไปที่ตลาด ตลาดจะเป็ นขาลงครับ ส่วนตลาดรองจะออกแนวออกข้าง แต่นั่นเป็ นช่วงที่พอร์ตของ
ผม performance ดีที่สุดในปี ที่แล้วเลย ขณะที่ในช่วงพฤศจิกายนปี ที่แล้ว ตลาดขึ้นหนักเลย
พอร์ตของผมดันทำผลงานดูไม่จืดครับ ฉะนั้น สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปคือ theory ไหนที่ใช้แล้วมัน
เหมาะกับเอกลักษณ์และสไตล์เทรดของเรา ซึ่งจะเก็บผล backtest หรือ ทำ post analysis ดูผล
การเทรดแล้วจับไป match กับ Theory พวกนี้ก็ได้ว่าในแต่ละช่วงของเราเป็ นอย่างไร ผลงานเราดี
หรือแย่ อย่างผมพอเทรดมาซักระยะ เก็บผล แล้วทำการทดลองย้อนกลับ จะพบว่าบางทฤษฎีนี้
ถ้ามันเกิดขึ้น 80% ของจำนวนครั้งที่เกิดพอร์ตผมจะ Drawdown อย่างมีนัยยะสำคัญ สิ่งที่ผมทำ
ต่อไปก็คือ ปรับพอร์ตครับ เพิ่มการถือ cash แล้วก็ป๊ อดเพลเซฟครับ หรือในหลายกรณีที่หลายๆ
อย่างดูเหมือนไม่ดี แต่ถ้ามีสัญญาณบางอย่างเกิด ผมอาจจะเพิ่มพอร์ตเพราะผมทำเงินจาก
condition นี้ได้ครับ
ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่คนอื่นเขาทำแล้วได้ผลอะไร ช่างแม่งครับ คุณสนว่าตัวเองใช้อะไรแล้วมัน
work พอ ซึ่งจะรู้ก็ต่อเมื่อคุณทำงานหนัก จดบันทึกและเอาจริงกับการลงทุนและการเทรดครับ

3. Performance Feedback
ไม่มี feedback ใดที่มีค่ามากเท่ากับผลงานการเทรดของคุณแล้วครับ อย่างที่บอกในตอนท้ายของ
ข้อ 2 ครับ theory สำคัญแต่ actual trade สำคัญกว่า ซึ่งเราจำเป็ นจะต้องรู้ให้ได้ว่า ณ ขณะนี้ผล

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 53


งานของเราเป็ นอย่างไรครับ ซึ่งมันก็หนีไม่พ้นเรื่องของการจดบันทึกการเทรดครับ โดยที่ผมจะ
จดเรื่องของ equity curve, underwater equity curve, consecutive win/loss เอาไว้แล้ว monitor มัน
ครับ ผมจะใช้ในส่วนนี้ในการกำหนดแผนการเทรดและการวางเงินในด้านของ heat และ position
size ร่วมไปกับ theory ในข้อที่สองครับ ซึ่งถ้าผลงานเราดี ก็เพิ่มเงิน ผลงานเราแย่ก็ลดพอร์ต
หรือถ้าดีเกินไปกว่าโดยปกติก็ต้องเฝ้ าระวังหา action plan ว่าต้องทำไงให้พอร์ตไม่คืนกำไรไปมาก
สิ่งที่คนมักลืมไปคือชอบดูแต่ว่าหุ้นอยู่ในสถานะไหน ขาขึ้น sideway หรือขาลง แต่ลืมไปว่าจริงๆ
ผลงานตัวเองก็เป็ นลักษณะแบบนั้นเช่นกัน หุ้นเริ่มจะเป็ นขาลงเรายังรู้จักขาย take profit ออกมา
แล้วทำไมพอร์ตเราเริ่มลง เรายังนั่งเฉยๆ ดูมันย่อยยับหละครับ ?
หรือถ้าใครจะประยุกต์เอา indicator มาจับกับ equity curve เพื่อบ่งบอกสถานะแล้วกำหนด
action plan ก็ทำได้ครับ โดยปกติผมจะมีการตั้งกฎอยู่ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ว่า ถ้า curve ผมลงไปถึง
จุดๆ หนึ่ง ผมจะลดพอร์ต ลด heat และเพิ่มการถือเงินสดทันทีครับ ก็จะวางไว้หลายๆ ระดับ ยิ่ง
แย่ ยิ่ง conservative หรือ การใช้ consecutive loss ก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน เช่นถ้า
consecutive loss เราเกิดมากกว่าค่าเฉลี่ยของระบบที่ควรจะเป็ น ก็ลด size เทรด ลดพอร์ตไป
สิ่งสำคัญก็จะเหมือนเดิมครับ ไม่มีใครมานั่งเก็บค่าพวกนี้ให้เรา เราต้องเก็บเองและประยุกต์ใช้
ให้เหมาะสม
ข้อควรระวังของการ management ด้วย Performance feedback แบบนี้คือบางทีมันอาจจะ
เป็ นการเข้าไปแทรกแซงระบบที่เราใช้ครับ เช่น พอร์ตเราไม่ดี เราจึงลดพอร์ตทั้งที่ไม่ถึงจุดขายที่
วางไว้ กลายเป็ นว่าเราดันขายหุ้นที่มี potential ที่จะไปต่อแล้วทำให้ระบบที่วางมามันไม่เป็ นไป
แบบนั้นครับและผลตอบแทนที่คุยได้อาจจะลดลง สำหรับตัวผมเอง ที่บอกไปขั้นต้นผมสน “เอา
ตัวรอด” performance อาจจะลดลง แต่ถ้าทำให้พอร์ตผันผวนน้อยลง drawdown คุมง่ายขึ้น ผม
ยอมหมดครับ
ถ้าเราวางเกมให้เรารอดก่อน เราจะเล่นมันได้เรื่อยๆ จนกว่าเราจะชนะครับ
ก็นี่คือสามอย่างเบื้องต้นที่ผมใช้เอาตัวรอดในการเล่นหุ้นนะครับ แต่เหนืออื่นใดคุณเอาตัวรอด
นั้นไม่พอ เกมป้ องกันดี ก็ต้องมีเกมรุกที่ดีเช่นกัน ฉะนั้นการวางแผนและกลยุทธ์การเทรดที่ทำให้
คุณสามารถทำเงินได้เรื่อยๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน รวมถึง mindset และวินัยในการปฎิบัติตามแผน
ให้ตลอดรอดฝั่ งก็สำคัญ คิดแผนมาอย่างดีแต่ถ้าทำตามไม่ได้ก็ชิบหายเหมือนกันนะครับ
กลัวบทความจะยืดยาวเกินไปคิดว่าเขียนไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ตัวผมอยากให้ทุกคนคิดถึงการเล่น
เกมป้ องกันให้เยอะๆนะครับ เอารอดก่อนแล้วค่อยเปิ ดเกมรุกนะครับ ขอทิ้งท้ายกับ quote ของ
สุดยอดตำนาน hedge fund manager นะครับ
“The most important rule is to play great defense, not great offense. Don’t focus on making
money; focus on protecting what you have. “ Paul Tudor Jones, Original Market Wizard
A Defensive Mentality วิชาเอาตัวรอดในตลาดหุ้น โดย Humble Trader Diary

HUMBLE TRADER BOOK VOL.1 SURVIVING MARKET CRASH | PAGE 54


จบไปสำหรับ 11 บทความเกี่ยวกับการรับมือสภาะวะตลาดขาลงนะครับ หวังว่าจะมี
อย่างน้อยซักบทความหนึ่งที่เป็ นประโยชน์จนสามารถช่วยคุณให้สามารถรับมือกับ
ช่วงเวลาแบบนี้ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ ถ้าหากสนใจอ่านงานเขียนอื่นๆ ของผม สามารถ
ติดตามได้ที่เพจ www.facebook.com/HumbleTraderDiary ครับ สุดท้ายนี้ผมก็ขอให้ทุก
ท่านโชคดีกับการลงทุน/การเทรดกันนะครับ
HUMBLE TRADER BOOK
VOLUME 1 : SURVIVING MARKET CRASH

You might also like