You are on page 1of 17

การใช้สญ

ั ลักษณ์ในสถาปัตยกรรม สาหรับอาคารของสถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน
The Decoding Signification in Architecture of Academic Institution Buildings in the
Northeastern Region

นิธิ ลิศนันท์1 รัฐพล ปั ญจอาภรณ์2 ขวัญนภา สิทธิประเสริฐ3


Received: May 30, 2019
Revised: October 1, 2019
Accepted: October 15, 2019
บทคัดย่อ
การสร้างอัตลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมสาหรับอาคารประเภทสถาบันการศึกษาในภาคอีสาน ขึน้ อยู่กบั กับวิธกี าร
เลือกใช้สญั ลักษณ์ ของผู้ออกแบบและการสื่อสารไปยังผู้ใช้อาคาร บทความนี้ มวี ตั ถุประสงค์เพื่อ 1) สารวจรูปแบบของ
สัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน 2) วิเคราะห์การรับรูแ้ ละการสือ่ ความหมายรูปแบบของ
สัญลักษณ์ 3) ถอดสัญลักษณ์ทแ่ี สดงถึงแนวคิดในงานสถาปั ตยกรรม กระบวนการวิจยั ประกอบไปด้วย การสารวจอาคารใน
สถาบัน อุ ด มศึก ษาภาคอีส าน 13 แห่ ง ที่ ใ ช้ ส ัญ ลัก ษณ์ ท างสถาปั ต ยกรรม น ามาวิเคราะห์ ร ะดับ การใช้ รู ป สัญ ญะ
ด้วยแบบสอบถาม 415 ชุด โดยนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าทีม่ หาวิทยาลัยบุคคลภายนอก และแบบสัมภาษณ์สถาปนิกและ
นักวิชาการทางด้านสถาปั ตยกรรม
ผลการวิจยั พบว่าการรับรู้ด้วยการมองเห็นต่อสัญลักษณ์ในอาคารของผูต้ อบคาถาม มีความเข้าใจต่อสัญลักษณ์
ของอาคาร ทีส่ ่อื ความเป็ นอีสาน คือ รูปทรงหลังคาทีเ่ ป็ นแบบทรงจัว่ และแบบทรงปราสาทขอม ต้นแบบความเป็ นอีสานที่
เลือกมาใช้มากที่สุด คือ บ้านพักอาศัย การถอดสัญลักษณ์ จากแนวคิดในการออกแบบสถาปั ตยกรรมของสถาปนิกและ
นักวิชาการ พบว่ามี 3 ประเด็น คือ 1) การใช้สญ ั ลักษณ์ แปลความหมายจากบริบท การอุปมาอุปมัยของลักษณะสาคัญ
อีสาน 2) อัตลักษณ์ อสี านเชิงรูปธรรมคือ หลังคาจัว่ ใต้ถุนสูง ลวดลายผนัง 3) แนวทางการใช้สญ ั ลักษณ์ ผู้อ อกแบบต้อง
เข้าใจวัตถุประสงค์ของอาคาร เพื่อใช้สญ ั ลักษณ์ให้ปรากฏเป็ นองค์รวม และต้องลดการหยิบยืมรูปแบบเดิม ๆ เพื่อหาทาง
สือ่ สารจากต้นแบบด้วยภาษาของตนเองให้มากทีส่ ุด สรุปได้ว่าการใช้รปู แบบสัญญะทางสถาปั ตยกรรม นาลักษณะต้นแบบ
มาแทนด้วยสัญ ลักษณ์ ในภาษาที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา จากเฮือนอีสาน ปราสาทหิน อาคารศาสนาเพื่อการจดจาได้
และการสร้างสัญลักษณ์ดว้ ยการลดหยิบยืมรูปแบบเดิมเพื่อสร้างภาษาสถาปั ตยกรรมขึน้ ใหม่ แต่ต้องไม่ขาดองค์ประกอบ
หลักของรูปแบบสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ อีสานต้นแบบ

คาสาคัญ: สัญวิทยา สถาปั ตยกรรม สถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน

Abstract
Creating the identity for academic or institutional architecture in Thailand northeastern region (Isan)
depends on the selection of significant symbols and ways of communication that a designer or an architect intend
to deliver to the users. The objectives are to 1) explore significant symbolic patterns and forms presented in
academic or institutional buildings in Thailand Northeastern region, 2) analyze the visual impact and interpretation
of significant symbolic forms and patterns, and 3) decode significant symbolic forms and patterns reflecting Thai
Isan signification. The research methods included on-site survey on the academic institutional buildings in thirteen
academic institutes, which represented Isan signification. The perception of signification was analysed. Four

1-3 สาขาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

75 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

hundred and fifteen questionnaires were used to ask students, teachers, support staff, and outsiders, and
interview questionnaires were also used to inquire architects and scholars in architecture.
The results of the study showed that the respondents understood the signification of buildings
representing the northeast style, a gable roof and Khmer castle style. The prototype of Northeastern Region was
the most selected residential (Huan-Isan). Decoding signification from the architectural design ideas revealed
three key issues: 1) the use of interpretive signification from context and metaphors of key characteristics of Isan,
2) Isan identity in the form of gable roofs, high basements, and wall designs, and 3) the use of signification that
architects must understand the purpose of the building in order to use the signification to represent Isan identity
and reduce the use of original forms and patterns in order to build a way to communicate their own language as
much as possible. In conclusion, the use of Isan architectural signatures requires simplification and
straightforward language from Huan Isan, a stone castle, a religious building to increase people’s recognition and
reduces using original forms to create a new architectural language. The architect also needs to aware the
northeastern vernacular architectural language.

Keywords: Semiology, Architecture, Academic Institutions in the Northeastern Region

1.บทนา
การใช้สญั ลักษณ์ ในงานสถาปั ตยกรรม แสดงให้เห็นองค์ป ระกอบทางกายภาพของอาคาร ด้วยการแทนวัตถุ
ต้นแบบ (Object) ทีม่ อี ยู่จริง แล้วใช้กระบวนการถ่ายทอดเป็ นภาษาสถาปั ตยกรรม เพื่อสื่อสารไปยังผูใ้ ช้อาคารให้ได้รบั รู้
ด้วยการมองเห็น นาไปสู่การตีความความหมายทีเ่ กิดขึน้ ต่อสัญลักษณ์ในอาคารนัน้ สัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมเป็ น
สื่อกลางของการสื่อสารระหว่างผูอ้ อกแบบไปยังผูใ้ ช้อาคาร ผูอ้ อกแบบต้องอาศัยตัวสัญญะ (Sign) มาก่อให้เกิดรูปสัญญะ
(Signifier) ขึน้ ทัง้ นี้การใช้สญ
ั ลักษณ์ นัน้ จาเป็ นต้องเชื่อ มโยงกับวัตถุต้นแบบที่มอี ยู่จริง เพื่อสร้างให้สญ
ั ลักษณ์ ในอาคาร
เป็ นภาษาสถาปั ตยกรรมที่คุ้นเคย จดจาได้ สามารถนึกกลับไปถึงวัตถุท่อี ้างอิงได้ หรือในบางครัง้ การสร้างสัญลักษณ์ ใน
อาคาร อาจไม่ ส ามารถเชื่อ มโยงไปยัง วัต ถุ ต้ น แบบที่อ้ า งอิง เดิม ๆ ได้ แต่ ผู้อ อกแบบต้ อ งการสื่อ สารให้ ผู้ใช้อ าคาร
ตีความหมายจากภาษาสถาปั ตยกรรมขึน้ ใหม่ ดังนัน้ การค้นหาการใช้สญ ั ลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรม ตามหลักการสร้าง
สัญลักษณ์เพราะเป็ นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของตัวสัญญะกับวัตถุทม่ี อี ยู่จริง แบ่งเป็ น 3 ประเภทคือ 1) สัญญะทีม่ ี
ลักษณะคล้าย/เหมือนกับวัตถุอา้ งอิงของจริงมากทีส่ ุด เรียกว่า สัญญะแบบเสมือน (Icon) 2) สัญญะทีม่ คี วามเกี่ยวโยงกัน
อย่างมีเหตุผลกับวัตถุของจริง เรียกว่า สัญญะแบบดัชนี (Index) และ 3) สัญญะทีไ่ ม่มคี วามเกีย่ วข้องกับวัตถุอา้ งอิงของจริง
แต่ อย่างใด แต่ ท ว่าความสัม พัน ธ์จะเกิดขึ้น จากข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างผู้ออกแบบสัญ ญะนัน้ ๆ เรียกว่า สัญ ญะแบบ
สัญลักษณ์ (Symbol) ทัง้ 3 ประเภทนี้แสดงให้เห็นความยากง่ายของการถอดสัญญะ (กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หิน
วิมาน, 2560) วิธกี ารศึกษาสัญวิทยา (Semiology) คือศาสตร์ทศ่ี กึ ษาการทางานของสัญญะ (Sign) และสารวจกระบวนการ
ได้มาซึ่งความหมาย(Signification) มีส่วนประกอบ สองส่วน คือ รูปสัญญะ (Signifier) และความหมายสัญญะ (Signified)
(สันต์ สุวจั ฉราภินันท์และคณะ, 2555) กล่าวคือ รูปสัญญะ เป็ นเรือ่ งของรูปลักษณ์ หรือเครือ่ งหมาย (เชิงรูปธรรม) ทีป่ รากฏ
ส่วนความหมายสัญญะเป็ นเรือ่ งของนามหรือแนวความคิด (เชิงนามธรรม) (ปิ ยลดา เทวกุล ทวีปรังษีพร, 2554)
การออกแบบงานสถาปั ตยกรรม เริม่ ต้นจากผูอ้ อกแบบ (สถาปนิก) ได้ศกึ ษาวัตถุประสงค์ของอาคารและค้นหา
ความต้องการของผูใ้ ช้อาคาร สภาพแวดล้อมของทีต่ งั ้ อาคาร อัตลักษณ์ของท้องถิน่ แล้วนาข้อมูลมาสร้างความหมายเป็ น
รูปสัญญะ เพื่อสื่อสารแนวคิดการออกแบบไปส่งถึงผูใ้ ช้อาคาร เรียกว่า การส่งภาษาสถาปั ตยกรรมไปยังให้ผใู้ ช้ได้รบั รู้ดว้ ย
การมองเห็น โดยเชื่อมโยงกับมโนภาพหรือภาพในใจของผูอ้ อกแบบกับผูใ้ ช้อาคาร จากการแทนความหมายของภาษานัน้
ด้วยสัญญะ เมื่อผูใ้ ช้อาคาร อ่านภาษาสถาปั ตยกรรมทีส่ ่ือออกมาเป็ นอย่างไรนัน้ ย่อมขึน้ อยู่กบั 1) เนื้อหาของสารสามารถ
ส่งถึงผูร้ บั สารแล้วอ่านได้อย่างถูกต้อง หรือ ผิดเพี้ยน จึงแปลได้ว่าเนื้อหาของสารแทนความหมายด้วยสัญญะที่เลือกใช้

Vol. 29 76
หากมิใช่สญ ั ญะที่รบั รูก้ นั โดยทัวไปหรื
่ อแบบสากล อาจทาให้การรับรูเ้ ป็ นไปได้ยากและเข้าใจผิดได้ 2) เนื้อหาของสารที่
สามารถส่งถึงผู้ใช้อาคาร แล้วอ่านได้อย่างชัดเจน หรือ กากวม แปลได้ว่าเนื้อหาของสารแทนความหมายด้วยสัญญะ อาจมี
ระยะห่างระหว่างตัวสัญญะกับการเชื่อมโยงทางความคิดของผูส้ ่งสารทีม่ ากเกินไป หรือเป็ นการแทนค่าด้วยสัญญะในส่วนที่
ไม่สาคัญจึงทาให้การรับรูเ้ ป็ นไปอย่างคลุมเครือ
ความสาคัญของบทความวิจยั เรื่องนี้ เป็ นการสารวจการใช้ภาษาสถาปั ตยกรรม แทนค่าความหมายของสัญญะ
เพื่อสร้างสัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรม และสัญลักษณ์นัน้ สร้างการรับรูด้ ว้ ยการมองเห็นของผูใ้ ช้อาคารอย่างได้ผลด้วย
เกณฑ์การรับรู้ตามหลักจิตวิทยาสภาพแวดล้อม (วิม ลสิทธิ ์ หรยางกูรและคณะ, 2554) โดยใช้ก รณี ศึกษากับ อาคารใน
สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในภาคอี ส าน เนื่ องจากที่ ผ่ า นมาพบว่ า งานสถาปั ตยกรรมในท้ อ งถิ่ น โดยเฉพาะในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน นิยมสร้างสรรค์รปู ทรงทางสถาปั ตยกรรมด้วยการใช้สญ ั ลักษณ์แสดงถึงความเป็ นอีสาน
เช่น รูป ทรงหลังคาจัว่ ต้น แบบหลังคาของสิม อีสาน ความเป็ น อีสานในเชิงอัต ลัก ษณ์ ที่สะท้อนถึงลัก ษณะเรีย บง่า ย
ตรงไปตรงมา ดูมนคง ั ่ แข็งแรง สามารถแทนค่าออกมาได้เป็ นภาษาสถาปั ตยกรรม ด้วยการใช้รูป ทรงที่เรียบง่าย เช่น
รูปทรงเรขาคณิตสามเหลีย่ มหน้าจัวของหลั ่ งคา การลดรูปแบบเหลือเพียงความหนาของฐานอาคาร การเพิม่ เส้นตัง้ ของเสา
ให้เด่นแสดงความมันคง ่ แข็งแรงให้กบั อาคาร ทัง้ หมดนี้ลว้ นแล้วเป็ นปรากฏการณ์ทพ่ี บเห็นได้มากในงานสถาปั ตยกรรม
ของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ออกแบบอาคารเพื่อสื่อความเป็ นอัตลักษณ์ ป ระจา
สถาบัน พบอยูใ่ นช่วงระยะเวลาไม่เกิน 15 -20 ปี อาคารของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน ปรากฏสัญญะทีใ่ ช้มหี ลากหลาย
เนื่ องจากสถาบันแต่ละแห่งมุ่งสร้างอัตลัก ษณ์ อีสานในภาษาของตนเอง เพราะสถาบันการศึก ษาเป็ นแหล่งจุดประกาย
ความคิดให้กบั ผูค้ นแสดงออกถึงภูมปิ ั ญญาก่อให้เกิดการสร้างอัตลักษณ์ให้ปรากฏอย่างชัดเจน ยึดโยงสู่ความเป็ นท้องถิน่
นัน้ ๆ สถาปั ตยกรรมทีป่ รากฏออกมาย่อมสะท้อนความคิดความอ่านของสถาบัน สร้างความเป็ นเจ้าของสถานที่ (Sense
of Belonging Place) จุดหมายตา (Landmark) ผลผลิตของความหมายของสถาปั ตยกรรมใดๆ จะประสบผลสาเร็จหรือไม่
นัน้ ขึ้นอยู่กับวิธีการถ่ายทอดภาษาสถาปั ตยกรรมของผู้ออกแบบเพื่อ สื่อสาร ผ่านวิธีการออกแบบรูป ทรง การใช้เส้น
ระนาบ พื้น ผิว ของผนั ง การใช้ส ัด ส่ ว น มาตรส่ ว นขององค์ป ระกอบอาคาร การใช้ภ าษาของสัญ ลัก ษณ์ ห รือ สัญ ญะ
ทีแ่ ฝงความหมายเชิงนามธรรมไว้กบั รูปทรงอาคาร
การใช้รปู แบบสัญญะในงานสถาปั ตยกรรมประเภทสถาบันอุดมศึกษาของภาคอีสานในแต่ละแห่ง สามารถบ่งบอก
ถึงการเลือกใช้วธิ กี ารนาลักษณะสาคัญ ของสถาปั ตยกรรมอีสานมาเป็ นองค์ประกอบของอาคาร เป็ นข้อสรุปสาคัญของ
วิธกี ารสือ่ สารจากผูอ้ อกแบบผ่านการใช้ภาษาสถาปั ตยกรรมในเชิงรูปธรรมไปถึงการรับรูข้ องผูใ้ ช้อาคาร

2. วัตถุประสงค์การวิ จยั
2.1 เพือ่ สารวจรูปแบบของสัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน
2.2 เพือ่ วิเคราะห์การรับรูแ้ ละการสือ่ ความหมายในรูปแบบของสัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษา
ในภาคอีสาน
2.3 เพือ่ ถอดสัญลักษณ์ทแ่ี สดงถึงแนวคิดในงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน

3. แนวคิ ดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.1 ความหมายของสัญศาสตร์
สัญศาสตร์ (Semiotics) เป็ นศาสตร์วา่ ด้วยความหมาย เป็ นการศึกษาว่า “ สิง่ แทนความ” (Representation) อาจ
ก่อให้เกิดความหมายได้อย่างไร เป็ นการศึกษาถึงกระบวนการทีท่ าให้เราเข้าใจความหมายของสิง่ ใด ๆ หรือกระบวนการที่
เราให้ความหมายแก่สงิ่ ใด ๆ หากพิจารณาสัญศาสตร์อย่างสัมพันธ์กบั ภาพ หรือ ขยายกรอบการพิจารณาออกไปถึง ทัศนธรรม
(Visual Culture) และวัตถุธรรม (Material Culture) (เถกิง พัฒโนภาษ, 2551)
ระดับ ของสัญ ญะสามารถแบ่ งออกเป็ น 3 อย่าง ตามแนวคิด ของเพิร์ซ (1839-1914) (เถกิง พัฒ โนภาษ,
2551; Broadbent, et al., 1980; สันต์ สุวจั ฉราภินันท์ และคณะ, 2555; ภัคพงศ์ อัครเศรณี , 2548) คือ 1) ระดับเสมือน

77 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

(Icon) เป็ นสัญญะทีม่ รี ปู ร่างหน้าตาคล้าย หรือ เหมือนกับวัตถุทม่ี จี ริงอย่างมากทีส่ ุดเป็ นระดับทีม่ คี วามเข้มข้นมากทีส่ ุด การ
ถอดรหัสของระดับเสมือนนัน้ เพียงแค่ได้เห็นก็ถอดรหัสถึงวัตถุตน้ แบบ (Object) ได้แล้ว 2) ระดับดัชนี (Index) เป็ นสัญญะ
ทีม่ คี วามเกี่ยวพันโดยตรงกับวัตถุท่มี อี ยู่จริง การถอดรหัสของ Index นัน้ จะใช้การคิดหาเหตุผลเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์
เชิงเหตุ-ผล ระหว่างระดับดัชนี กับวัตถุตน้ แบบ 3) ระดับสัญลักษณ์ (Symbol) เป็ นสัญญะทีไ่ ม่มคี วามเกีย่ วพันเชื่อมโยงอัน
ใดระหว่างตัวสัญญะกับวัตถุท่มี อี ยู่จริง การถอดรหัสของระดับสัญลักษณ์ จาเป็ นต้องอาศัยการเรียนรูข้ องผูใ้ ช้สญ ั ญะนัน้
เพียงอย่างเดียว
3.2 สัญศาสตร์กบั งานสถาปัตยกรรม
การสื่อความหมายด้วยสัญญะในงานสถาปั ตยกรรม มีระดับทีเ่ ข้มข้นจากมากไปน้อย เรียกว่า ระดับเสมือน
(Icon) ระดับดัชนี (Index) ระดับสัญลักษณ์ (Symbol) งานสถาปั ตยกรรมเน้นการสื่อความหมายด้วยสัญญะ ระดับดัชนี
และระดับเสมือน มากที่สุด เพราะเป็ นสัญญะที่ค่อนข้างตรงไปตรงมาและสื่อถึงผูค้ นได้ง่าย แม้ต่างวัฒนธรรม (ปิ ยลดา
เทวกุล ทวีป รังษีพร, 2554) การสร้างสถาปั ตยกรรมเพื่อการรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสของมนุ ษย์ (ผู้รบั สาร) วัดการ
สื่อ สารของสถาปั ต ยกรรมได้ง่า ยที่สุ ด รูป แบบการสร้า งสัญ ลัก ษณ์ ในงานสถาปั ต ยกรรม หรือ เรีย กว่ า รหัส ในงาน
สถาปั ตยกรรม หมายถึง สิง่ สาคัญที่ปรากฏเป็ นรูปลักษณ์ ทางสถาปั ตยกรรม ถูกกาหนดโดยผูป้ ระพันธ์ (สถาปนิก) และ
ผูอ้ ่าน (ผูใ้ ช้/ผูร้ บั สาร) บางครัง้ รหัสเป็ นการสื่อสารตรงไปตรงมาตามประโยชน์ใช้สอย เป็ นรูปทรงบริสุทธิ ์ บางครัง้ ต้องอ่าน
รหัสนัน้ จากรูปแบบสถาปั ตยกรรม ที่มาจากการออกแบบเชิงอุปมาอุปมัย จากขนบธรรมเนียมทางวัฒ นธรรม (Jencks,
1991) โดยใช้รหัสแสดงแบบความหมายตรงคือการแสดงออกถึงการใช้งานพื้นฐาน เช่น หลังคา บันได หน้ าต่าง และ
การแสดงแบบความหมายแฝง คือ การแสดงความหมายชัน้ ที่ ส องที่แ ฝงอยู่ ใ นการใช้ ง าน เช่ น รู ป ทรงนกเหิ น บิ น
มีความหมายแฝงถึงความอิสรเสรี การพัฒนาและก้าวหน้า
3.3 การสื่อสารในงานสถาปัตยกรรม
การสื่อสารในงานสถาปั ตยกรรม คือ การใช้เทคนิค ชัน้ เชิงในกระบวนการออกแบบสถาปั ตยกรรม เพื่อให้
งานสถาปั ตยกรรม พูด สื่อสารตัวสัญญะ ทัง้ ภาษาของรูปและความหมาย ของสิง่ นัน้ ออกมา เพื่อส่งสารไปถึงผูร้ บั สารให้ได้
ยิน การสื่อสารความหมายทางสถาปั ตยกรรม ตามแนวคิดของภัคพงศ์ อัครเศรณี (2548) กล่าวว่า ผูส้ ่งสาร (ผูอ้ อกแบบ)
ต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวสารกับผูร้ บั สาร (กลุ่มเป้ าหมาย) เป็ นอันดับแรก โดยเนื้อหาของสารเป็ นเรื่องทีม่ ี
ความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม เป้ าหมายในด้านใดด้านหนึ่ ง เช่น อัตลัก ษณ์ ของพื้นที่ เป็ นลัก ษณะร่วมที่สามารถสื่อสารไปยัง
กลุ่มเป้ าหมายในพืน้ ที่ ทีม่ คี วามคุน้ เคย เกีย่ วข้องกับเนื้อหาร่วมนัน้ ในทางสถาปั ตยกรรมจะเกีย่ วกับบริบทของสถานทีต่ งั ้
(Context) เป็ นได้ทงั ้ บริบทเชิงกายภาพ หรือ บริบทในเชิงสังคมวัฒนธรรม ซึง่ จะนามาใช้ในงานสถาปั ตยกรรมเป็ นเนื้อหา
ร่วม ทีแ่ สดงออกในรูปสัญญะของสถาปั ตยกรรม
3.4 การใช้รปู แบบสถาปัตยกรรมกับงานประเภทสถาบัน ในลักษณะอีสาน
การออกแบบอาคารประเภทสถาบัน แบบไทยร่ว มสมัย โดยอิงกับ รูป แบบในอดีต มาใช้ในการออกแบบ
เป็ นการนารูปแบบเดิมของลักษณะไทยท้องถิน่ ตามทีต่ งั ้ ของอาคารในแต่ละภูมภิ าค มาปรับเปลีย่ นหรือ ทาให้เรียบง่ายขึน้
เพื่อให้มรี ปู แบบทีส่ บื สานทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิน่ ก็นับว่าเป็ นแนวทางในการพัฒนาลักษณะไทยสมัยใหม่ ทีม่ คี วาม
เหมาะสมกับอาคารประเภทสถาบัน เนื่องจากอาคารประเภทสถาบัน มีความสาคัญส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจซึ้งถึงคุณค่า
ของวัฒ นธรรมในแต่ ล ะท้อ งถิ่น ที่ม ีป ระวัติศ าสตร์รากเหง้าทางวัฒ นธรรมรวมทัง้ สิ่งแวดล้อ มที่แ ตกต่ างกัน ไป (ปรีช า
นวประภากุล, 2540) อาคารสาคัญ ของแต่ละท้องถิน่ เช่น พิพธิ ภัณฑ์ สถาบันการศึกษา มักจะมีรูปแบบไทยของท้องถิน่
นัน้ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ (วิมลสิทธิ ์ หรยางกูร, 2537) การสร้างสรรค์งานสถาปั ตยกรรมประเภทสถาบันในภาคอีสานจึงมี
แนวโน้มการใช้สญ ั ลักษณ์ อิงลักษณะความเป็ นอีสานในอดีตเป็ นสาคัญ การนารูปแบบสถาปั ตยกรรมที่สะท้อนลักษณะ
พืน้ บ้านอีสานแบบดัง้ เดิม มีต้นแบบมาจาก 3 ประเภท (คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ,
2551; กิตต์ มักการุณ, 2542) คือ 1) บ้านอยู่อาศัย รูปทรงของยุง้ ข้าวและที่อยู่อาศัยเป็ นรูปแบบที่เอื้อกับการแก้ปัญหา
ตอบสนองตามสภาพภูมศิ าสตร์ของเมืองไทย ตลอดถึงการนาวัสดุทอ้ งถิน่ มาใช้ได้เหมาะสม 2) อาคารศาสนา ปราสาทหิน

Vol. 29 78
ด้วยความศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนาช่างพืน้ บ้าน 3) อาคารสาธารณะ เถียงนา ศาลาพักคนเดินทาง ซึ่งตัง้ อยู่ปาก
ทางเข้าหมู่บ้านและศาลา ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมของอีสานที่มตี ่อการสร้างสรรค์งานสถาปั ตยกรรมอีสาน ทัง้ ในเชิง
รูปธรรมและเชิง นามธรรมนัน้ มีความเรียบง่าย สมถะ และมีพลัง (คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี, 2551)

4. ระเบียบวิ ธีวิจยั
4.1 กาหนดพื้นที่ ศึกษา โดยแบ่งพื้นที่สารวจสถาบันอุดมศึกษาที่มกี ารออกแบบสถาปั ตยกรรมที่มสี ญ ั ลักษณ์
แสดงถึงความเป็ นอีสาน ในพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ อีสานเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อีสานกลาง ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อีสานใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลอีสาน ศูนย์กลางนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรรี มั ย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรนิ ทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรนิ ทร์ ทัง้ นี้เพื่อแสดงให้เห็นถึง
การสร้างสรรค์งานสถาปั ตยกรรมทีม่ วี ฒ ั นธรรมของท้องถิน่ ทัง้ เหมือนและแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน
4.2 สารวจอาคารในสถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน จานวน 13 แห่ง ทีม่ อี าคารทีใ่ ช้สญ ั ลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรม
สะท้อนถึงความเป็ นอีสาน นามาวิเคราะห์ระดับการใช้รปู สัญญะในงานสถาปั ตยกรรม โดยการทาแบบสอบถามจานวน 415
ชุด มีผตู้ อบแบ่งออกเป็ น 4 กลุ่ม คือ นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าทีม่ หาวิทยาลัยบุคคลภายนอก ร่วมกับการสัมภาษณ์ ดว้ ย
การตอบคาถามแบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบสถาปั ตยกรรมในภาคอีสาน แบ่งเป็ น สถาปนิก จานวน
4 คน และนักวิชาการทางด้านสถาปั ตยกรรม จานวน 3 คน
4.3 ค้นหารูปสัญญะของงานสถาปัตยกรรม ด้วยการจาแนกประเภทของสัญญะ คือ แบบเสมือน (Icon) แบบดัชนี (Index)
แบบสัญลักษณ์ (Symbol) แบ่งระดับความเข้มข้นของสัญญะ (สาร) ทีส่ อ่ื สารในงานสถาปั ตยกรรม ใน 4 ระดับโดยใช้เกณฑ์
ระดับความเข้มข้นมากน้อยขึน้ อยู่กบั การสื่อสารของอาคารมีความเชื่อมโยงกับลักษณะวัตถุตน้ แบบทีน่ ามาใช้มากหรือน้อย
มีระยะห่างระหว่างต้นแบบน้อยแสดงว่าระดับความเข้มข้นมาก หรือมีระยะห่างระหว่างต้นแบบมากแสดงว่าระดับความ
เข้มข้นน้อย ดังนี้ 1 ระดับความเข้มข้นมากที่สุด คือการจาลองต้นแบบอย่างเลือกสรร นาสถาปั ตยกรรมพื้นถิน่ ตามแบบ
ดัง้ เดิม มาเป็ นต้ น แบบ 2 ระดับ ความเข้ม ข้น มาก คือ การรัก ษาลัก ษณะส าคัญ ของสถาปั ต ยกรรมพื้น ถิ่น เป็ นหลัก
แต่ ผ สมผสานกับ วิธีก ารออกแบบปั จ จุ บ ัน 3 ระดับ ความเข้ม ข้น น้ อ ย คือ การเลือ กใช้ ส ัญ ญะที่เป็ น องค์ป ระกอบของ
สถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ บางส่วน เพือ่ สือ่ สารโดยตรงและมีการดัดแปลง และ 4 ระดับความเข้มข้นน้อยทีส่ ุดคือ การตีความใหม่
เป็ นการนาสถาปั ตยกรรมพื้นถิ่น และบริบทของที่ตงั ้ ประโยชน์ ใช้สอยมาสร้างสัญ ลักษณ์ เน้ นความเป็ นกลาง ด้วยการ
ตีความใหม่
4.4 วิ เคราะห์องค์ประกอบที่ ใช้ สื่อสารความหมายและเอกลักษณ์ ในงานสถาปั ตยกรรมจากต้ นแบบ ทัง้ จาก
แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แนวความคิดในออกแบบงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในอีสานของสถาปนิก
และนามาสรุปผลการใช้สญ ั ญะจากการรับรู้ด้วยการมองเห็น เพื่อสรุปของการถอดสัญลักษณ์ ในงานสถาปั ตยกรรมของ
สถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน

5. ผลการวิ จยั
5.1 ผลการสารวจรูปแบบของสัญลักษณ์ ในงานสถาปัตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน แสดงให้เห็น
ถึงระดับความเข้มข้น ของการใช้สญ
ั ลักษณ์ในการงานสถาปั ตยกรรม ทีน่ าต้นแบบสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ อาคารศาสนา และ
อาคารสาธารณะแบบดัง้ เดิม จากมากทีส่ ุดไปน้อยทีส่ ุด แบ่งเป็ น 4 ประเภท จากนัน้ ประเมินว่าอาคารทีส่ ารวจเข้าข่าย คือ
ระดับแบบดัชนี (Index) ระดับแบบเสมือน (Icon) และระดับแบบสัญลักษณ์ (Symbol)

79 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

5.1.1 ระดับความเข้มข้นมากที่สุด คือ การจาลองต้นแบบ โดยใช้นาสถาปั ตยกรรมพื้นถิ่น มาถอดลักษณะ


สาคัญของสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ ได้แก่ รูปแบบ รูปทรงหลังคา ส่วนประดับตกแต่ง และ สัดส่วนอาคาร
5.1.2 ระดับความเข้มข้นมาก คือ การรักษาลักษณะสาคัญสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ ในรูปแบบมีความร่วมสมัยขึน้
ด้วยการผนวกอัตลักษณ์ของสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ เช่น อาคารศาสนา เข้ากับความทันสมัยโดยคลีค่ ลาย ลดรายละเอียดของ
ต้นแบบให้รว่ มสมัย
5.1.3 ระดับความเข้มข้นน้อย คือ การเลือกใช้สญ ั ญะ จากสถาปั ตยกรรมพื้นถิน่ ด้วยการดัดแปลงบางส่วน
การใช้สญ
ั ลักษณ์แทนค่าผ่านสัญญะสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ โดยอิงความเป็ นต้นแบบไว้
5.1.4 ระดับความเข้มข้นน้อยทีส่ ุด คือ การตีความใหม่จากสถาปั ตยกรรมพืน้ การตีความของรูปแบบดัง้ เดิม
ของสถาปั ตยกรรมพื้นถิน่ เลือกมาใช้เป็ น มีความเป็ นกลาง รูปทรง ปริมาตรที่บริสุทธิ ์ ที่ไม่ยดึ ถือตามเค้าโครงของต้น
แบบเดิม

ตารางที่ 1 ผลการสารวจรูปแบบสัญลักษณ์แสดงถึงระดับความเข้มข้นของการใช้สญ
ั ญะ
มหาวิ ทยาลัย อาคาร ประเภทระดับความเข้มข้น ประเมิ น

ม.ราชภัฏสกลนคร หอประชุมวชิราลงกรณ์ การตีความใหม่ แบบ


สัญลักษณ์

อาคารโรงยิมหลังใหม่ การเลือกใช้สญ
ั ญะ แบบดัชนี

ม.ราชภัฏเลย หอประชุมทองวิไล การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี

สานักงานอธิการบดี การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี

ม.ราชภัฏอุดรธานี หอประชุม อเนกประสงค์ การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี

สานักศิลปะและ การจาลองต้นแบบ แบบ


วัฒนธรรม เสมือน
ม.ขอนแก่น ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์ การตีความใหม่ แบบ
สัญลักษณ์

หอศิลปวัฒนธรรม การจาลองต้นแบบ แบบ


เสมือน

อาคารคณะ การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี


สถาปั ตยกรรมศาสตร์

Vol. 29 80
ตารางที่ 1 (ต่อ)
มหาวิ ทยาลัย อาคาร ประเภทระดับความเข้มข้น ประเมิ น

ม.มหาสารคาม อาคารคณะมนุษยศาสตร์ การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบ
และสังคมศาสตร์ สัญลักษณ์

อาคารคณะ การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี


สถาปั ตยกรรมศาสตร์

ม.ราชภัฏอุบลราชธานี หอประชุมไพรพะยอม การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี

ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม การจาลองต้นแบบ แบบ


กาญจนาภิเษกอุบล เสมือน

ม.อุบลราชธานี ศูนย์เครือ่ งมือกลางและ การตีความใหม่ แบบ


ปฏิบตั เิ ทคโนโลยีชวี ภาพ สัญลักษณ์

ม.อุบลราชธานี อาคารวิทยาลัยแพทย์ การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี
และการสาธารณสุข

ม.ราชภัฏนครราชสีมา หอประชุมนานาชาติ การตีความใหม่ แบบ


สัญลักษณ์

อาคารศูนย์รวมกิจการ การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี


นักศึกษา

ม.เทคโนโลยีราชมงคล อาคารห้องประชุม การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี


อีสาน สถาปั ตยกรรมศาสตร์

ม.เทคโนโลยีราชมงคล อาคารหอประชุมวทัญญู การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี
อีสาน ณ ถลาง

อาคารสุรสัมนาคาร การตีความใหม่ แบบ


สัญลักษณ์

ม.เทคโนโลยีสุรนารี อาคารศูนย์วจิ ยั การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี
มันสาปะหลัง

อาคารสุรพัฒน์ 2 การเลือกใช้สญ
ั ญะ แบบดัชนี

81 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

ตารางที่ 1 (ต่อ)
มหาวิ ทยาลัย อาคาร ประเภทระดับความเข้มข้น ประเมิ น

ม.วงษ์ชวลิตกุล อาคารมุขปราณี การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี

อาคารศูนย์วฒ
ั นธรรม การจาลองต้นแบบ แบบ
เสมือน

ม.ราชภัฏบุรรี มั ย์ หอประชุมศิวาลัย การจาลองต้นแบบ แบบ


เสมือน

ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม การจาลองต้นแบบ แบบ


อีสานใต้ เสมือน

ม.ราชภัฏสุรนิ ทร์ อาคารคณะครุศาสตร์ การรักษาลักษณะสาคัญ แบบดัชนี

อาคารคณะมนุษยศาสตร์ การจาลองต้นแบบ แบบ


และสังคมศาสตร์ เสมือน

ม.เทคโนโลยีราชมงคล อาคารเรียนหลังใหม่ การเลือกใช้สญ


ั ญะ แบบดัชนี
อีสาน วิทยาเขต คณะเทคโนโลยีการ
สุรนิ ทร์ จัดการ

ผลการส ารวจพบว่า รูป แบบสัญ ลัก ษณ์ ท่ีใช้ในสถาบัน อุ ด มศึก ษาในอีส าน สามารถแบ่ งระดับ ความเข้ม ข้น
ของสัญ ญะของแต่ละสถาบันที่สารวจ ได้ 4 ประเภท คือ 1) ระดับ ที่ม ีค วามเข้ม ข้น มากที่สุด เช่น ศูนย์ศิลปวัฒ นธรรม
กาญจนาภิเษกอุบล มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร ศูน ย์ศิลปวัฒ นธรรมอีสานใต้ มหาวิท ยาลัยราชภัฏ บุ รรี มั ย์ และหอ
ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) ระดับที่มคี วามเข้มข้นมาก เช่น อาคารมุขปราณี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
อาคารคณะมนุ ษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาคารวิทยาลัยแพทย์และการสาธารณสุข
มหาวิท ยาลัย อุ บ ลราชธานี 3) ระดับ ที่ม ีค วามเข้ม ข้น น้ อ ย เช่ น อาคารคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ มหาวิท ยาลัย
มหาสารคาม หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และอาคารเรียนหลังใหม่คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรนิ ทร์ 4) ระดับความเข้มข้นน้อยที่สุด เช่น หอประชุมวชิราลงกรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ศูนย์เครื่องมือกลางและปฏิบตั เิ ทคโนโลยีชวี ภาพ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหอประชุม
นานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงสรุปอาคารในสถาบันทีใ่ ช้สญ ั ญะในระดับทีม่ คี วามเข้มข้น 4 ระดับ ตามแนวคิด
ของ สันต์ สุวจั ฉราภินันท์และคณะ (2555) คือ ระดับ 1 การจาลองต้นแบบ จานวน 10 อาคาร ระดับ 2 การรักษาลักษณะ
สาคัญ จานวน 13 อาคาร ระดับ 3 การเลือกใช้สญ ั ญะ จานวน 26 อาคาร ระดับ 4 การตีความใหม่ จานวน 9 อาคาร
ดูจากตารางที่ 1
5.2 ผลการวิ เคราะห์การรับรู้และการสื่ อความหมายในรูปแบบของสัญลักษณ์ งานสถาปั ตยกรรมของ
อาคารสถาบันอุดมศึกษา เป็ นผลจากการทาแบบสอบถามถึงการรับรูแ้ ละการสื่อความหมายจากการมองเห็นสัญลักษณ์
ในอาคารของแต่ละสถาบัน แสดงว่าสัญลักษณ์ทส่ี ร้างการรับรูข้ องผูใ้ ช้อาคารได้ พบว่าผลการรับรูข้ องผูใ้ ช้อาคารต่อการใช้
องค์ประกอบต่าง ๆ ของสถาปั ตยกรรม ต้องวิเคราะห์จากผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มผู้ใช้อาคารในเรื่อง การรับรู้ส่วน
สาคัญของสถาปั ตยกรรมทีท่ าให้ผใู้ ช้อาคารรับรูส้ ญ
ั ลักษณ์ได้อย่างชัดเจนทีส่ ุด จากตารางที่ 2

Vol. 29 82
ตารางที่ 2 การรับรูส้ ญ
ั ลักษณ์ในส่วนสาคัญขององค์ประกอบของสถาปั ตยกรรม
กลุ่มผูใ้ ช้อาคาร รายละเอียดขององค์ประกอบทีส่ าคัญในงานสถาปั ตยกรรม (ร้อยละ)
ช่องหน้าต่าง ประตู รูปทรงอาคาร วัสดุส่วนประดับ หลังคา ไม่ตอบ
ซุม้ ทางเข้า ฐานอาคาร เสา ผนังอาคาร ยอดหลังคา
เจ้าหน้าทีใ่ นมหาวิทยาลัย 0.24 0.96 0.24 0.96 0.24
นักศึกษา 5.06 37.35 13.98 23.37 6.02
บุคลากรภายนอก 0.24 2.17 0.72 1.93 0.24
อาจารย์ 0.24 0.96 0.00 2.17 0.00
ไม่ตอบ 0.00 0.48 0.24 0.24 0.00
อื่นๆ 0.24 0.48 0.24 0.72 0.24
รวม 6.02 42.41 15.42 29.40 6.75

ผลการรับรู้สญ
ั ลักษณ์ ในส่วนสาคัญขององค์ประกอบของสถาปั ตยกรรม ได้ชดั เจนที่สุด ของทุกกลุ่มผู้ใช้
อาคาร มากทีส่ ุด คือ ส่วนของรูปทรงอาคาร ฐานอาคาร เสา รองลงมาคือ ส่วนหลังคา และยอดหลังคา และลาดับสุดท้าย
คือ ส่วนของวัสดุ ส่วนประดับ ผนังอาคาร ผลการวิจยั ในการรับรูส้ ญ ั ลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรม พบว่าผูใ้ ช้อาคารรับรูใ้ น
ส่วนสาคัญ ของอาคารในส่วนรูป ทรงอาคาร ฐานอาคาร เสา หลังคา โดยการรับรู้ท าให้ได้ผ ล (พึงพอใจมาก) ต้องเน้ น
สัญลักษณ์ทม่ี ลี กั ษณะเรียบง่าย มีรปู ทรงสมมาตร จะส่งผลต่อการรับรูผ้ ใู้ ช้อาคารได้ชดั เจน
ผลวิเคราะห์ร่วมกับการสัมภาษณ์สถาปนิกและนักวิชาการต่อการใช้สญ ั ญะในงานสถาปั ตยกรรม พบว่าการ
เลือกใช้สญ ั ญะมาจาก 2 แนวทางคือ 1) ใช้สญ ั ญะจากบริบท ที่ตงั ้ สภาพแวดล้อม 2) ใช้สญ ั ญะด้วยการยืมรูปแบบหรือ
อุปมาอุปมัยสถาปั ตยกรรมพืน้ ถิน่ อีสาน นอกจากนัน้ สถาปนิกคานึงถึงการสร้างอัตลักษณ์ของความอีสานในเชิงรูปธรรมที่
เห็นได้ชดั เจน ด้วยการออกแบบอาคารลักษณะหลังคาจัว่ ใต้ถุนสูง ลวดลายบนหน้าจัว่ ซึ่งสถาปั ตยกรรมนัน้ ต้องสื่อสาร
อย่างตรงไปตรงมา ไม่ปรุงแต่ประดับประดา วัสดุสะท้อนบริบทที่ตงั ้ และการใช้สดั ส่วนดูหนักแน่ นรับกับรูปทรงอาคาร
โดยรวม
5.3 ผลการถอดสัญลักษณ์ ที่แสดงถึงแนวคิ ดในงานสถาปั ตยกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน
เป็ นการถอดสัญลักษณ์ท่ใี ช้กบั อาคารในสถาบันอุดมศึกษาในอีสาน ทีน่ าแนวคิดของผูอ้ อกแบบมาวิเคราะห์ร่วมกับความ
เป็ นต้นแบบที่เชื่อมโยงกับลักษณะสาคัญของสถาปั ตยกรรมพื้นถิน่ อีสาน จากข้อค้นพบการรับรู้ของผู้ใช้อาคาร ในส่วน
สาคัญของสถาปั ตยกรรม จากตารางที่ 2 จึงได้นาองค์ประกอบทีส่ าคัญได้แก่ หลังคา ฐานอาคาร ส่วนประดับ การตกแต่ง
ของอาคารมาถอดสัญ ลักษณ์ ให้เห็นการเชื่อมโยงถึงการออกแบบ เพื่อวิเคราะห์ค้นหาการเลือกใช้สญ ั ญะที่สาคัญ จาก
ต้นแบบที่มคี วามเป็ นไปได้ โดยใช้เกณฑ์พจิ ารณาต้นแบบจากส่วนสาคัญของหลังคา รูปทรงอาคาร ฐาน ผนัง ที่มคี วาม
คล้ายคลึงกัน ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ถอดสัญลักษณ์ของส่วนสาคัญขององค์ประกอบสถาปั ตยกรรม ทีส่ อ่ื ความหมายถึงลักษณะอีสาน


ส่วนสาคัญขององค์ประกอบสถาปั ตยกรรม ของลักษณะอีสาน
วิเคราะห์จาก
อาคาร ต้นแบบทีม่ คี วาม หลังคา ฐานอาคาร ส่วนประกอบผนัง การตกแต่ง
เป็ นไปได้ ช่องเปิ ด เสา ราว สถาปั ตยกรรมและ
ระเบียง รายละเอียด
อาคารคณะ
สถาปั ตยกรรม
ศาสตร์
(ม.มหาสารคาม)

83 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

ตารางที่ 3 (ต่อ)

ส่วนสาคัญขององค์ประกอบสถาปั ตยกรรม ของลักษณะอีสาน


วิเคราะห์จาก
อาคาร ต้นแบบทีม่ คี วาม หลังคา ฐานอาคาร ส่วนประกอบผนัง การตกแต่ง
เป็ นไปได้ ช่องเปิ ด เสา ราว สถาปั ตยกรรมและ
ระเบียง รายละเอียด
อาคารศูนย์รวม
กิจการนักศึกษา
(ม.รภ.นครราชสีมา)
ทีม่ า: ชวลิต อธิปัตยกุล
(2559)
อาคารคณะ
วิทยาการจัดการ
(ม.รภ.อุดรธานี)
ทีม่ า: สานักวัฒนธรรม
ม.ขอนแก่น (2562)
ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม
(ม.รภ.บุรรี มั ย์)

ทีม่ า: ชวลิต อธิปัตยกุล


(2559)

อาคารเรียนหลังใหม่
คณะเทคโนโลยีการ
จัดการ (ม.ทร อีสาน
ทีม่ า: เชาวลิต สิมสวย
วิทยาเขตสุรนิ ทร์) (2558)

จากตารางที่ 3 พบว่า ส่วนสาคัญขององค์ประกอบของสถาปั ตยกรรม คือ 1) หลังคา 2) ฐานอาคาร 3) การเลือกใช้


วัสดุผนังสีอาคาร 4) องค์ประกอบตกแต่งสถาปั ตยกรรม มีเชื่อมโยงระหว่างอาคารในสถาบันและสถาปั ตยกรรมต้นแบบ
พบว่าสัญ ญะที่สาคัญ ที่มกั จะนามาใช้มาจากลักษณะสาคัญ ของอาคาร ใน 3 ประเภท คือ 1) บ้านที่อยู่อาศัย 2) อาคาร
ศาสนา ปราสาท วัด และ 3) อาคารสาธารณะ ตามแนวคิดของวิโรฒ ศรีสุโร (2536) และกิตต์ มักการุณ (2542) เห็นได้
จากสัญญะทีป่ รากฎ ยกตัวอย่างเช่น การใช้หลังคาทรงจัวน ่ ามาจากหลังคาของเฮือนพักอาศัย การย่อมุมเพื่อเกิดเหลีย่ มมุม
ของผนังอาคารนามาจากการย่อสัดส่วนของปราสาทหิน การยกพื้นใต้ถุนสูงลอยชัน้ ล่างโล่งมาจากการยกใต้ถุนสูงของ
ยุง้ ข้าว การถอดสัญลักษณ์ของสัญญะเชิงรูปธรรมในงานสถาปั ตยกรรม จาแนกจาก 3 ลักษณะ คือ 1) แบบเสมือน (Icon)
เป็ นสัญญะที่มรี ูปร่างหน้าตาคล้าย หรือเหมือนกับวัตถุท่มี จี ริงอย่างมากที่สุด 2) แบบดัชนี (Index) เป็ นสัญญะที่มคี วาม
เกี่ยวพันโดยตรงกับวัตถุท่มี อี ยู่จริง การถอดรหัสของแบบดัชนี นัน้ จะใช้การคิดหาเหตุผลเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์เชิง
เหตุ-ผล ระหว่างแบบดัชนี กับวัตถุต้นแบบ 3) แบบสัญลักษณ์ (Symbol) เป็ นสัญญะที่ไม่มคี วามเกี่ยวพันเชื่อมโยงอันใด
ระหว่างตัวสัญญะกับวัตถุทม่ี อี ยู่จริง การถอดรหัสของแบบสัญลักษณ์นัน้ จาเป็ นต้องอาศัยการเรียนรูข้ องผูใ้ ช้สญ ั ญะนัน้ เพียง
อย่า งเดีย วในการถอดสัญ ลัก ษณ์ พ บว่า สัญ ลัก ษณ์ ข องสถาปั ต ยกรรมที่ใช้แ บบดัช นี แ ละแบบเสมือ นมากที่สุ ด เพราะ
เป็ นสัญญะที่ค่อนข้างตรงไปตรงมาและสื่อถึงผู้คนได้ง่าย สอดคล้องกับแนวคิดของปิ ยลดา เทวกุล ทวีปรังสีพร (2554)
ดังนัน้ จากการศึกษาวิจยั พบว่า มีการใช้สญ ั ญะ ทีส่ ร้างการรับรูไ้ ด้งา่ ยสามารถเชื่อมโยงถึงความเป็ นอีสาน มีตน้ แบบมาจาก
1) เฮือนพักอาศัย 2) ปราสาทหิน 3) ยุง้ ข้าวหรือเล้าข้าว ดังแสดงตารางที่ 4

Vol. 29 84
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีตน้ แบบเชิงรูปธรรม ทีน่ ามาใช้สอ่ื สารในงานสถาปั ตยกรรม
ต้นแบบ รูปแบบอาคารที่พบในสถาบันอุดมศึกษา วิ ธีการใช้สญ
ั ญะ

เฮือนพักอาศัยผสมกับหอ อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น


แจก
แบบดัชนี (index) หลังคาทรงจัวมี ่ ปีกน
กรอบ แบบไม่มชี านจัว่ และมีการซ้อน
หลังคาเพือ่ ลดสัดส่วนลง เป็ นลักษณะ
ผสมผสานกับหลังคาของอาคารศาสนา
ในอีสาน

การใช้ยอดแป้ นลม และการใช้ผนังก่อ


อิฐเว้นร่องแสดงให้แนวอิฐทีก่ ่อและ
ผนังดินเผานูนต่าเป็ นสิง่ ประดับอาคาร
แสดงความเป็ นเอกลักษณ์ทอ้ งถิน่
ทีม่ า: วิชติ คลังบุญครอง (2546) อีสาน

การเน้นให้อาคารดูโล่งยกใต้ถุนสูง
ระบายอากาศเข้ากับสภาพในเขตร้อน
เชื่อมอาคารด้วยชาน ระเบียงทีม่ ชี าน
แดดเชื่อมอาคาร แต่ละหลัง

รูปด้านข้าง
ทีม่ า: สุมาลี ประทุมนันท์ (2537)

ปราสาทหิน / ปราสาทขอม อาคารเรียนรวม ม.วงษ์ชวลิตกุล

แบบดัชนี (Index) ผสมกับ แบบเสมือน


(Icon) การจาลองโดยการถอด
ทรวดทรงปราสาทหิน มาใช้กบั มุข
อาคารด้านหน้า ทัง้ สองข้าง โดยสร้าง
ทีม่ า: ชวลิต อธิปัตยกุล (2559) ตัวยอดของอาคาร ด้วยต้นแบบปรางค์
ประธานปราสาท
วิธกี ารออกแบบใช้การสร้างรูปแบบ
ทรงปราสาทแล้วสวมทับเข้าไปเหมือน
การใส่หน้ากากให้กบั อาคารทีซ่ อ้ นอยู่
ทีม่ า: มิวเซียมไทยแลนด์ (2562)
ด้านหลัง

รูปด้านหน้า
ทีม่ า: พหลไชย เปรมใจ (2543)

85 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

ตารางที่ 4 (ต่อ)

ต้นแบบ รูปแบบอาคารที่พบในสถาบันอุดมศึกษา วิ ธีการใช้สญ


ั ญะ

ปราสาทหิน / ปราสาทขอม อาคารกิจการนักศึกษาและโรงยิมเนเซียม ม.ราชภัฏนครราชสีมา

แบบ Index
เน้นรูปทรงอาคารแบบสมมาตร ทีท่ บึ
ตันดู มันคงแข็
่ งแรง โดยการสร้าง
ทีม่ า: ชวลิต อธิปัตยกุล (2559)
ส่วนบนให้ยน่ื เหมือนยอดอาคารและ
ลดหลันเป็
่ น ขัน้ ๆ คล้ายปราสาทหิน

ใส่สว่ นประดับช่องแสงลาย ลูกมะหวด


เน้นกรอบหน้าต่างให้เด่นชัด สร้างมุข
อาคารเป็ นบันไดทางขึน้ ด้วยผนังทึบ
ตัน ใช้ผวิ ปูดว้ ยทรายล้างสีน้าตาล
การลดความเทอะทะ ด้วยการลดขนาด
อาคารเป็ นชัน้ ๆ การเน้นเส้นตัง้ ของ
ผนังด้วยหน้าต่างสัดส่วนแคบสูง

รูปด้านหน้า
ทีม่ า: เมธา คล้ายแก้ว, ศรัณย์ กฤติยา
ทีม่ า: เมธา คล้ายแก้วและคณะ (2554)
นันต์, ภาณุวฒั น์ ยะคาป้ อ และ
กรรณิการ์ เชียรจรัสวงศ์
(2554)

ยุง้ ข้าวหรือเล้าข้าว อาคารหอศิลปวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น

แบบดัชนี (index) ใช้รปู ทรงอาคาร


องค์ประกอบทีส่ อ่ื เล้าข้าวของอีสาน
เปลีย่ นจากหลังคาจัวทรงปั
่ น้ หยา และ
ยอดทรงปิ รามิดกระจก เพือ่ รับแสงลง
ทีม่ า: ธิติ เฮงรัศมี, ธนู พลวัฒน์ และ ไปยังโถงกลางอาคาร
ธาดา สุทธิธรรม (2535)

สัดส่วนของอาคาร ดัดแปลงให้มผี นัง


อาคารให้เอียงสอบจากฐานสูส่ ่วนบน
โชว์เสาให้ใหญ่ ยืน่ นอกผนัง มีเส้นปูน
ปั น้ ให้ยน่ื ออกมาจากผนังทัง้ แนวตัง้
แนวนอน ซึง่ มาจากฝั กตูเล้าข้าว
ลักษณะทีส่ าคัญของเล้าข้าว มีลกั ษณะ
มันคงแข็
่ งแรง ทึบตัน ลวดลายทีผ่ นัง
รูปด้านที1่ อาคารเป็ นลวดลายผ้าทอในอีสาน

ทีม่ า: วิชติ คลังบุญครอง (2546) ทีม่ า: คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2551)

Vol. 29 86
การถอดสัญ ลัก ษณ์ เพื่อ แสดงถึง แนวคิด ในงานสถาปั ต ยกรรม โดยได้เห็น ถึง แนวความคิด หลัก ที่ใช้ในงาน
สถาปั ต ยกรรมในสถาบัน อุ ด มศึก ษา ในภาคอีส าน ผลการศึก ษาพบว่ า สามารถแบ่ ง แนวคิด ในการใช้ส ัญ ญะในงาน
สถาปั ตยกรรม ออกได้เป็ น 3 แนวทาง ดังรูปที่ 1

แนวคิดการใช้สญ
ั ญะในงานสถาปั ตยกรรม
1.จาลองความเป็ น 2. ใช้ภาษาสากลเข้าใจได้ในวงกว้าง 3. เปลี่ยนรูปแบบไปโดยไม่คิดถึง
ต้นแบบ หรือภาษาเฉพาะส่วนตัว ที่ยงั คงไว้ ภาพต้นแบบเดิ ม อาศัยภาษาที่ใช้สื่อเชิ ง
ถึงการอุปมาอุปมัย เชื่อมโยงไปถึง สัญลักษณ์มาก
ต้นแบบ

ตัวอย่าง

รูปที่ 1 แนวคิดการใช้สญ
ั ญะในงานสถาปั ตยกรรม

กรณีศกึ ษาที่ 1 วิเคราะห์แนวคิดในการใช้สญ


ั ญะงานสถาปั ตยกรรม ทีพ่ บในสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน
รูปทรงอาคารเฮือนพักอาศัยพืน้ ถิน่ อีสาน ที่
เป็ นมุขยืน่ ของด้านหน้าอาคาร หลังคาทรงจัว่
และต่อชายคาไม่ยาวให้เทลาดเอียงชันลงมา
คลุม ชานต่อรับกับบันไดขึน้ บ้าน

ทีม่ า: วิเชษฎ ธวัชนันทชัย และ


สันทยา ภิรมย์เกียรติ (2559)
สร้างจากรูปทรงและองค์ประกอบจากเล้าข้าว
โดยเน้นเสาใหญ่นอกผนัง เลือกการเอียงสอบ
ผนังลดทรวด ทรงอาคารแต่ยงั คงให้ฐานใหญ่
ถึงหลังคาคลุมเรียวขึน้ เน้นความเป็ นเหลีย่ ม
ทีม่ า: คณะศิลปประยุกต์และการ
ออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ทึบ หนัก มันคง
่ ตัง้ แต่ฐานเสาทีเ่ ห็นเป็ นส่วน
(2551) หนึ่งของอาคาร เหมือนตีนเสาเรือนอีสาน
รูปทรงอาคารเป็ นเหลีย่ ม ย่อมุม คล้าย
ปราสาทหิน โดยการใช้ผนังอาคารเป็ นทราย
ล้าง แทนศิลาแลง การใช้ช่องเปิ ดด้วย เสา
ทีม่ า: เมธา คล้ายแก้วและคณะ (2554) ลูกกรง ลายลูกมะหวด ในกรอบหน้าต่างเป็ น
ช่วง ๆ

รูปที่ 2 วิเคราะห์แนวคิดกรณีศกึ ษาที่ 1

87 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

กรณีศกึ ษาที่ 2 วิเคราะห์แนวคิดในการใช้สญ


ั ญะงานสถาปั ตยกรรม ทีพ่ บในสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน
การสร้างยอดอาคารทีส่ ร้างจุด
สนใจ ด้วยนาลักษณะยอดปรางค์
ปราสาทหินเป็ นสัญญะทีส่ าคัญ ที่
นามาดัดแปลงให้เรียบลดหลันเป็ ่ น
ทีม่ า: พหลไชย เปรมใจ (2543)
ชัน้ ๆ โดยการใช้การทรงหลาย
เหลีย่ ม
การใช้ยอดอาคารเป็ น
ประติมากรรมบนอาคาร โดยการ
สร้างสัญลักษณ์อาคาร โดยนา
รูปทรง พระธาตุใน ศาสนสถานใน
ทีม่ า: ฟิ วเจอร์ เอ็นจิเนียริง่ คอนซัลแตนท์ อีสาน มาสร้างรูปทรงทีเ่ รียบง่าย
(2559) ทรงเรขาคณิตมากขึน้ สร้างการ
รับรูข้ องผูพ้ บเห็นได้
การนาลักษณะอาคารหอแจกในวัด
ของอีสาน ทีน่ ามาดัดแปลง โดย
เพิม่ ให้สงู 2 ชัน้ และมีการใช้ผนัง
ทึบ รอบด้าน สร้างการเว้นมวล
อาคารเพือ่ สร้างสัดส่วนไม่ให้ทบึ ตัน
มาก ใช้จงั หวะแนวเสาติดผนังเป็ น
ทีม่ า: ฟิ วเจอร์ เอ็นจิเนียริง่ คอนซัลแตนท์ เสาเรียงเป็ นช่วง ๆ คล้ายเสารับ
(2559)
หลังคาหอแจก
รูปที่ 3 วิเคราะห์แนวคิดกรณีศกึ ษาที่ 2

วิเคราะห์อาคารกรณีศกึ ษาที่ 1 และ 2 (รูปที่ 2 และ 3) ผูอ้ อกแบบจะใช้แนวคิดการใช้สญ


ั ญะ ที่เป็ นภาษาสากล
เข้าใจได้ในวงกว้าง ที่ยงั คงไว้ถงึ การอุปมาอุปมัย เชื่อมโยงไปถึงต้นแบบ ด้วยการลดทอนรูปทรงต้นแบบให้เรียบง่ายขึน้
เพื่อสร้างความจดจาได้ง่าย เน้ นรูปทรงอาคารตัง้ แต่ส่วนฐานอาคารยกสูง ผนังอาคารทึบตัน ส่วนยอดหลังคาทรงยอด
ปราสาท ยอดพระธาตุ ทรงหลัง คาเฮื อ นพัก อาศัย โดยตกแต่ ง ด้ ว ยหน้ า ต่ า งลวดลายลู ก มะหวดของปราสาทหิ น
นอกจากนัน้ ผูอ้ อกแบบได้ใช้แนวคิดการใช้สญ ั ญะเปลี่ยนรูปแบบไปเลย โดยไม่คดิ ถึงภาพต้นแบบเดิม อาศัยภาษาทีใ่ ช้ส่อื
เชิงสัญลักษณ์ มาก ใน 2 ลักษณะ คือ 1) กรอบของรูปร่างอาคารเป็ นตัวแสดงสัญลักษณ์ (Outlining of Shape Symbol)
ไว้ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร คือ การลดทอนรูปร่างหรือเลือกองค์ประกอบสถาปั ตยกรรมต้นแบบ เช่น การเน้นกรอบซุ้ม
ทางเข้าอาคาร เน้นส่วนยื่นเป็ นเหมือนระเบียงหรือชานด้านหน้าอาคาร และ 2) ใช้รูปทรงอาคารเป็ นตัวแสดงสัญลักษณ์
(Forming Symbol) คือ การสร้างรูปทรงอาคารเน้นเป็ นจุดหมายตา มักจะสร้างรูปทรงหลังคา (Form) เป็ นส่วนที่เด่นทีส่ ุด
เช่น หลังคาทรงจัวแหลมสู
่ ง รูปทรงจัวสามเหลี
่ ย่ ม ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 รูปแบบสัญญะในแบบสัญลักษณ์ (Symbol) ของซุม้ ทางเข้าด้านหน้าอาคารแต่ละแบบ

Vol. 29 88
6. อภิ ปรายผล
6.1 การออกแบบสถาปัตยกรรมคือการสร้างรูปสัญญะโดยผู้ออกแบบ ด้วยการใช้กลวิธใี นการแปลความจาก
วัตถุจริง โดยการจาลองให้เล็กลง การใช้สที ่ตี รงกับวัตถุของจริง เพื่อสร้างความหมาย ไปสู่การตีความไปอิงกับวัตถุนัน้ ได้จริง
พบว่ามีสอดคล้องกับแนวคิดของเพริชท์ (1839-1914) ทีว่ ่าการสร้างความหมาย นัน้ เกิดจาก 3 ปั จจัย (เถกิง พัฒโนภาษ, 2551)
ประกอบด้วย 1) สัญญะ (Sign ทีใ่ ช้แทน สิง่ อื่น) 2) การตีความ หรือ การแปลความ (Interpretant) หรือ ผลของความหมาย
(Meaning–effect) 3) วัตถุ (Object หรือ Referent คือ สิง่ ทีส่ ญ ั ญะอ้างความถึง) ทัง้ นี้ การแทนค่า มีการใช้ในระดับทีม่ าก
หรือน้อย ขึน้ อยู่กบั การตีความของสิง่ ทีผ่ ูอ้ อกแบบ ทีต่ ้องการสื่อสารให้มคี วามหมายโดยตรง หรือ ความหมายแฝง พบว่า
อาคารทีม่ กี ารใช้สญ ั ญะแทนค่ารูปลักษณ์ทค่ี ล้ายปราสาทขอม ในระดับดัชนี (Index) ไปจนถึง ระดับเสมือน (Icon) เป็ นการ
สื่อสารแบบตรงไปตรงมา ย่อมส่งผลต่อการสร้างเอกลัก ษณ์ได้ชดั เจน ทีจ่ ะบ่งถึงความเป็ นอีสาน ผูอ้ อกแบบเพียงเลือกใช้
สัดส่วนฐานกว้าง ยอดแหลมเรียว จังหวะเส้นโค้ง รูปทรงทึบตัน ซึง่ มีเค้าโครงของปราสาทหินให้คงอยู่ โดยอาจไม่ตอ้ งอาศัย
การออกแบบที่ซบั ซ้อนก็ได้ ส่วนการเลือกใช้การอุปมาอุปมัย โดยที่ไม่เกี่ยวกับการแทนค่าวัตถุจริง ในระดับสัญลักษณ์
(Symbol) พบว่าการรับรูส้ ญ ั ญะแบบนี้จะต้องอาศัยประสบการณ์ดา้ นงานสถาปั ตยกรรมของผูร้ บั สารด้วยเป็ นสาคัญ
6.2 การใช้ สญ ั ลัก ษณ์ ในงานสถาปั ตยกรรม มีลกั ษณะแบบผสมผสาน คือ นิยมนาองค์ป ระกอบต่าง ๆ มา
ประสมกัน จนขาดความพอดี ทาให้การสื่อสารส่วนทีส่ าคัญขาดเกินอยู่ไม่น้อย ด้วยเหตุเพราะ 1) การเลือกหยิบยืมสัญญะ
มาใช้แบบเป็ นชิน้ ๆ ลักษณะปะติดปะต่อกันเข้า จนบางครัง้ ทาให้อาคารดูมอี งค์ประกอบที่ฟ่ ุมเฟื อย และสัดส่วนไม่สมบูรณ์
เช่น การใช้หน้ าสีเรือนลายตะเว็น ต้องให้คงมีสดั ส่วนหน้ าจัวของด้ ่ านสกัด 2) องค์ประกอบประดับอาคารไม่ตรงตาม
รูปแบบเรือนพักอาศัยพืน้ ถิน่ อีสาน อาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้ เช่น ใช้ค้ายันรับหลังคาทีเ่ ป็ นเสาเอียงค้า ระหว่างหลังคา
กับ ผนัง ซึ่งไม่ม ีในเรือนอีสาน พบว่าสอดคล้อ งกับ แนวคิดของ Jencks (1991) ในเรื่องการสื่อ สารงานสถาปั ต ยกรรม
ทีจ่ าเป็ นต้องใช้คา (Word) โดยมีไวยากรณ์ (Syntax) ทางสถาปั ตยกรรม เกี่ยวข้องกับการใช้งาน ที่ไม่ทาให้เข้าใจผิดจาก
หน้าทีก่ ารใช้งานของตัวมัน หากใช้คาและไวยากรณ์ทเ่ี ปลีย่ นแปลงไปมาก ย่อมส่งผลต่อการสือ่ สารสถาปั ตยกรรม
6.3 การใช้รปู ทรงของสถาปัตยกรรมอีสาน จากแนวคิดของ วิโรฒ ศรีสุโร (2536) สรุปได้ว่า มีความเรียบง่าย สมถะ
และมีพ ลัง โดยในทางรูป ธรรมจะมองเห็น ได้เด่ น ชัด กว่า เช่ น รูป แบบทางสถาปั ต ยกรรม (รวมทัง้ อาคารศาสนาและ
บ้านเรือน) ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างตรงไปตรงมา การตกแต่งก็รพู้ อดี ไม่แต่งเติม จึงก่อให้เกิดพลังบนความเรียบ
ง่าย (คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2551) พบว่ารูปทรงของสถาปั ตยกรรมอีสาน มีความ
ทึบตัน มีความเป็ นมวลอาคาร เป็ นเหลี่ยมมุมชัดเจน การสร้างความลดหลันของสั ่ ดส่วนจากฐานไปลาตัวจนกระทังถึ
่ ง
หลังคาหรือยอด การใช้สดั ส่วน ลดความใหญ่โตเทอะทะ ด้วยเส้นแนวตัง้ เช่น การเพิม่ ความหนาของเสาให้ดูมขี นาดใหญ่
เป็ นเสาตัง้ ตรงเรียงกันเป็ นแนวยาว หรือ การใช้ระนาบทึบ ยื่นนอกผนัง การใช้เส้นนอนเซาะร่องผนัง สร้างให้เกิดจังหวะ
ของการซ้ากันของเส้น
6.4 การสื่อสารงานสถาปั ตยกรรม จะประสบความสาเร็จให้คนทัวไปรั ่ บรู้ จากแนวคิดของสันต์ สุวจั ฉราภินันท์และ
คณะ (2555) กล่าวถึงรูปสัญญะ ต้องสื่อสารให้คนยอมรับในวงกว้าง มิฉะนัน้ ความหมายนัน้ อาจไม่ถูกตีความสอดคล้องกับ
บทความวิจยั นี้และยังพบเพิม่ เติมอีกว่า ส่วนของอาคารทีร่ บั รูส้ ญ ั ญะได้ชดั เจนทีส่ ุด คือ รูปทรงอาคาร ฐานอาคาร เสาอาคาร
ฉะนัน้ การออกแบบโดยการใช้สญ ั ญะรูปทรงอาคาร ฐานอาคาร เสาอาคาร ย่อมเป็ นทีย่ อมรับให้คนส่วนเข้าถึงความหมายได้
ชัดเจนทีส่ ุด เพราะผูค้ นมองอาคารและใช้งานในระยะใกล้ จะรับรูต้ ่อ รูปทรงอาคาร ฐานอาคาร เสาอาคาร ได้ทนั ทีทนั ใด

7. สรุปและข้อเสนอแนะ
การใช้สญั ลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมในสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสานจากวัตถุประสงค์สรุปได้ว่า 1) การสารวจ
ในการใช้รูป แบบสัญ ญะทางสถาปั ต ยกรรมของสถาบัน อุ ด มศึก ษาในภาคอีส าน ในแบบดัช นี (Index) มีม ากที่สุ ด คือ
นาลักษณะสาคัญของต้นแบบมาแปลความหมายเชิงสัญลักษณ์ดว้ ยภาษาที่เรียบง่าย เข้าใจง่าย เพื่อสื่อสารองค์ประกอบ
ส่วนทีส่ าคัญได้ เนื่องจากไม่ใช้ภาษามากเกินไปจนถึงขัน้ เหมือนต้นแบบ ในระดับแบบเสมือน (Icon) หรือ ไม่ใช่ภาษาน้อย

89 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
Arch Journal Issue 2019

เกินไปจนกระทังดู ่ ไม่ออก ในระดับแบบสัญลักษณ์ (Symbol) 2) การรับรูข้ องผูใ้ ช้อาคารต่อการสื่อรูปแบบสัญลักษณ์ทน่ี ิยม


ใช้เป็ นแนวทางหลักในการออกแบบสถาปั ตยกรรมอีสาน มีตน้ แบบมาจากเฮือนอีสาน ปราสาทหิน เล้าข้าว และอาคารทาง
ศาสนา 3) แนวคิดในการใช้สญ ั ลักษณ์ในอาคาร มี 2 แนวทาง คือเลือกใช้สญ ั ญะแบบการอุปมาอุปมัยจากต้นแบบดัง้ เดิม
เป็ นลักษณะแบบผสมผสาน และเลือกการใช้สญ ั ญะแบบสัญลักษณ์ ทีไ่ ม่ได้เชื่อมโยงกับต้นแบบดัง้ เดิมอีกต่อไป เน้นสร้าง
จุดเด่นของอาคารด้วยรูปทรงหลังคา กรอบซุม้ ทางเข้า เพือ่ ลดทอนสัดส่วนรูปทรงให้เรียบบริสทุ ธิ ์ ให้จดจาง่าย
ข้อเสนอแนะทีไ่ ด้ จากการค้นหาสัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมในบทความวิจยั ฉบับนี้ ทาการศึกษาเฉพาะรูปทรง
ภายนอกของอาคารเป็ นหลักเท่านัน้ ใช้วธิ กี ารศึกษาจากแบบอาคาร (Drawing Document) รูปด้านอาคาร รูปถ่ายอาคาร
แบบสอบถามและสัม ภาษณ์ แล้วน ามาวิเคราะห์ร่ว มกัน เพื่อ ค้น หาสัญ ญะในอาคารแต่ ล ะหลัง จึงได้ข้อ สรุป ในการใช้
สัญลักษณ์ ในงานสถาปั ตยกรรมในการมองเห็นจากกายภาพเป็ นหลักเท่านัน้ แต่มไิ ด้วเิ คราะห์ในเรื่องการใช้สญ ั ญะในมิติ
ของการใช้พน้ื ที่ การใช้งาน ทีว่ า่ งภายในอาคาร ดังนัน้ หากต้องการถอดสัญญะในงานสถาปั ตยกรรม ในมิตขิ องการใช้ทว่ี า่ ง
การใช้พน้ื ทีข่ องอาคาร จะทาให้การศึกษาเรือ่ งสัญลักษณ์ในงานสถาปั ตยกรรมได้อย่างครอบคลุมยิง่ ขึน้

8. กิ ตติ กรรมประกาศ
บทความวิจ ัย ชิ้ น นี้ เป็ นส่ ว นหนึ่ ง ของโครงการวิจ ัย เรื่อ ง การถอดสัญ ลัก ษณ์ ใ นงานสถาปั ต ยกรรมของ
สถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน โดยได้รบั ทุนสนับสนุ นทุนวิจยั จากสานักงานการวิจยั แห่งชาติและและสถาบันวิจยั และ
พัฒ นา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา งบประมาณแผ่นดิน ประจาปี งบประมาณ 2560 ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ ทาง
หน่ วยงานที่สนับสนุ นทุนวิจยั และมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ให้ความอนุ เคราะห์แบบอาคารในมหาวิทยาลัย สุดท้าย
ขอขอบคุณคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หน่วยงานต้นสังกัดมา ณ โอกาสนี้

เอกสารอ้างอิ ง
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2560). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพฯ:
ห้างหุน้ ส่วนจากัดภาพพิมพ์.
กิตต์ มักการุณ. (2542). สถาปัตยกรรมอีสานร่วมสมัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปั ตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปั ตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปั ตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2551). หนังสือราลึก วิ โรฒ ศรีสโุ ร. อุบลราชธานี:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชวลิต อธิปัตยกุล. (2559). ศิ ลปะอีสาน: จากวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบนั โดยสังเขป. อุดรธานี: โรงพิมพ์
บ้านเหล่าการพิมพ์.
เชาวลิต สิมสวย. (2558). ภูมปิ ัญญาในการเก็บข้าวมีผลต่อรูปแบบและทีต่ งั ้ ของยุง้ ข้าวบริเวณบ้านพักอาศัยในสังคม
เกษตรกรรม. วารสารวิ จยั และพัฒนา มหาวิ ทยาลัยราชภัฏบุรีรมั ย์. 10(1), 23-32.
เถกิง พัฒโนภาษ. (2551). สัญศาสตร์ กับ ภาพแทนความ. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิ ทยาลัย. (57)1, 39-40.
ธิติ เฮงรัศมี, ธนู พลวัฒน์ และธาดา สุทธิธรรม. (2535). รายงานวิ จยั เรื่อง การพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรม
บ้านพักอาศัยในชนบทอีสาน แถบลุ่มน้าชี. ขอนแก่น: คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิ ยลดา เทวกุล ทวีปรังษีพร. (2554). คา ความคิ ด สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ลายเส้น พับบลิชชิง่ .
ปรีชา นวประภากุล. (2540). ลักษณะไทยสมัยใหม่สาหรับงานสถาปัตยกรรมประเภทสถาบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
สถาปั ตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปั ตยกรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พหลไชย เปรมใจ. (2543). อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารอาษาสมาคมสถาปนิ กสยามใน
พระบรมราชูปถัมภ์. (2543)12, 60-65.

Vol. 29 90
ฟิ วเจอร์ เอ็นจิเนียริง่ คอนซัลแตนท์. (2559). แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคารศูนย์การเรียนรู้พฒ ั นาภูมิ
ปัญญาท้องถิ่ น มหาวิ ทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ฟิ วเจอร์ เอ็นจิเนียริง่ คอนซัลแตนท์.
ภัคพงศ์ อัครเศรณี. (2548). การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสื่อความหมายโดยประยุกต์ใช้หลักการของวิ ชา
สัญศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปั ตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปั ตยกรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
เมธา คล้ายแก้ว, ศรัณย์ กฤติยานันต์, ภาณุวฒ ั น์ ยะคาป้ อ และกรรณิการ์ เชียรจรัสวงศ์. (2554). แบบร่างแนวความคิ ด
ในการออกแบบอาคารศูนย์รวมกิ จการนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สโตนเฮ้นจ์.
มิวเซียมไทยแลนด์. (2562). อุทยานประวัตศิ าสตร์พมิ าย. เข้าถึงได้จาก:
https://www.museumthailand.com/th/museum/Phimai-Historical-Park.
วิชติ คลังบุญครอง. (2546). รูปแบบและรายละเอียดของเฮือนอีสาน. อีสานสถาปัตย์ ฉบับพิ เศษ สถาปัตยกรรม
อีสาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 33-55.
วิโรฒ ศรีสุโร. (2536). สิ มอีสาน. โตเกียว: มูลนิธโิ ตโยต้าแห่งประเทศญีป่ ่ ุน.
วิมลสิทธิ ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจ และศิวาพร กลิน่ มาลัย.(2554). จิ ตวิ ทยาสภาพแวดล้อม มูลฐานการ
สร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่ าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: บี.พี.เซ็นเตอร์.
วิมลสิทธิ ์ หรยางกูร. (2537). สถาปั ตยกรรมไทย ข้อจากัดและทางเลือกในการสืบสาน.วารสารอาษาสมาคมสถาปนิ ก
สยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2537)12, 87-95.
วิเชษฎ ธวัชนันทชัย และสันทยา ภิรมย์เกียรติ. (2559). แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของอาคารเรียนคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิ ตศิ ลป์ มหาวิ ทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
สันต์ สุวจั ฉราภินนั ท์, ทวีศกั ดิ ์ เกียรติวรี ะศักดิ ์ และรัฏฐา ฤทธิศร. (2555). รายงานฉบับบสมบูรณ์เรื่องการ
ถอดรหัสและการประยุกต์ใช้อตั ลักษณ์เพื่อเป็ นแนวทางการออกแบบ. เชียงใหม่: คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุมาลี ประทุมนันท์. (2537). คณะสถาปั ตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารอาร์คแอนด์ไอเดีย. 1(14),
30-39.
สานักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). วัดพิ จิตรสังฆาราม. เข้าถึงได้จาก: http://cac.kku.ac.th/esanart/
19%20Province/ Mukdahan/PijitSangkaram/MDH%20PijitSangkaram.html.
Broadbent, G., Bunt, R., and Jencks, C. (1980). Sign, Symbols and Architecture. New York: John Wiley&Sons.
Jencks, C. (1991). The Language of Post-Modern Architecture. London: Academy Group.

91 วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.

You might also like